sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
323577
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืช ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 13)
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฉบับที่ ๑๓) เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด่านตรวจพืชเพิ่มเติมไว้ ดังต่อไปนี้ ด่านตรวจพืชมุกดาหาร ถือเขตด่านศุลกากรมุกดาหาร ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๒๑ ป. กรรณสูต รัฐมนตรีว่าการประทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศรตม์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ พิมลกร/ปรับปรุง ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๙๒/หน้า ๒๘๗๘/๕ กันยายน ๒๕๒๑
312960
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืช ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 12)
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฉบับที่ ๑๒) เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงด่านตรวจพืช ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ เสียใหม่ให้เป็นการเหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑. ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ (ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานสงขลา) แห่งประกาศกระทรวงเกษตร ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๐๗ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืช และสถานกักพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๔) ข้อ ๒ ให้สถานที่ต่อไปนี้ (๑) ท่าอากาศยานหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นด่านตรวจพืช ถือเขตศุลกากรสนามบินหาดใหญ่ (๒) ท่าอากาศยานเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นด่านตรวจพืช ถือเขตศุลกากรสนามบินเชียงใหม่ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๖ จักรพันธุ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิมลกร/ผู้จัดทำ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๐/ตอนที่ ๑๘๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๓/๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
312957
ประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช พาหะ จากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไข ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 11)
ประกาศกระทรวงเกษตร ประกาศกระทรวงเกษตร (ฉบับที่ ๑๑) เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไขเพิ่มเติมจากประกาศกระทรวงเกษตร ฉบับที่ ๖ ลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๗ ดังต่อไปนี้ ลำดับที่ พืช ศัตรูพืช หรือพาหะ แหล่งที่กำหนด ข้อยกเว้น ๑. พืชในสกุลกอสซิปเปียม (Gossypium spp.) เช่น ฝ้าย ฝ้ายแดง ฝ้ายตุ่น ฝ้ายชัน ฯลฯ สหรัฐอเมริกา (United States of America) เม็กซิโก (Mexico) อาฟริกา (Africa) หมู่เกาะอินเดียตะวันตก (West Indies) อเมริกากลาง (Central America) เวเนซูเอลา (Venezuela) - น้ำมันที่ได้จากการสกัดเมล็ดฝ้าย - กากเมล็ดฝ้ายที่เหลือจากสกัดน้ำมันแล้ว - ปุยฝ้ายที่นำเข้ามาเพื่อการอุตสาหกรรม กรณีปุยฝ้ายนี้จะต้องมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากประเทศผู้ส่งออกกำกับมาด้วย เงื่อนไข ในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้นำสิ่งต้องห้ามเข้ามาเพื่อการทดลองหรือการวิจัย ต้องกระทำตามวิธีปฏิบัติทางวิชาการที่อธิบดีกรมกสิกรรมเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๑๔ หม่อมราชวงศ์จักรทอง ทองใหญ่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร พิมลกร/ผู้จัดทำ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๘/ตอนที่ ๕๗/หน้า ๑๖๓๐/๑ มิถุนายน ๒๕๑๔
312952
ประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 10)
ประกาศกระทรวงเกษตร ประกาศกระทรวงเกษตร (ฉบับที่ ๑๐) เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร กำหนดด่านตรวจพืชเพิ่มเติมไว้ ดังต่อไปนี้ ด่านตรวจพืชสัตหีบ ถือเขตท่าเรือสัตหีบและท่าเรือหาดสอ ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๑๑ พลเอก จ. นาวีเสถียร รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร พิมลกร/ผู้จัดทำ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๕ พลัฐวัษ/ตรวจ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๕/ตอนที่ ๖๖/หน้า ๒๒๘๖/๒๓ กรกฎาคม ๒๕๑๑
312949
ประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 9)
ประกาศกระทรวงเกษตร ประกาศกระทรวงเกษตร (ฉบับที่ ๙) เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกำหนดด่านตรวจพืชเพิ่มเติมจากประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชและสถานกักพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๔) และประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๗) ไว้ ดังต่อไปนี้ ๑. ด่านตรวจพืชกันตัง ถือเขตด่านศุลกากรกันตัง ๒. ด่านตรวจพืชตากใบ ถือเขตด่านศุลกากรตากใบ ๓. ด่านตรวจพืชแม่สาย ถือเขตศุลกากรแม่สาย ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๑ พระประกาศสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร พิมลกร/ผู้จัดทำ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๕/ตอนที่ ๕๑/หน้า ๑๕๗๙/๔ มิถุนายน ๒๕๑๑
323573
ประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 8)
ประกาศกระทรวงเกษตร ประกาศกระทรวงเกษตร (ฉบับที่ ๘) เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๐๗ ข้อ ๒ แต่งตั้งให้ผู้มีตำแหน่งดังต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ คือ ๑. รองอธิบดีกรมกสิกรรม ๒. ผู้เชี่ยวชาญทางกีฏวิทยา กรมกสิกรรม ๓. ผู้อำนวยการกองพืชพันธุ์ กรมกสิกรรม ๔. นักกสิกรรมเอก และนักวิทยาศาสตร์เอก กองพืชพันธุ์ กรมกสิกรรม ๕. หัวหน้าแผนกตรวจและกักกันโรคพืช กองพืชพันธุ์ กรมกสิกรรม ๖. นักกสิกรรมโท นักวิทยาศาสตร์โท และพนักงานกสิกรรมโท แผนกตรวจและกักกันโรคพืช กองพืชพันธุ์ กรมกสิกรรม ๗. นักกสิกรรมตรี นักวิทยาศาสตร์ตรี และพนักงานกสิกรรมตรี แผนกตรวจและกักกันโรคพืช กองพืชพันธุ์ กรมกสิกรรม ๘. พนักงานกสิกรรมจัตวา แผนกตรวจและกักกันโรคพืช กองพืชพันธุ์ กรมกสิกรรม ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๑๑ พระประกาศสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร พิมลกร/ผู้จัดทำ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๕/ตอนที่ ๔๘/หน้า ๑๕๐๔/๒๘ พฤษภาคม ๒๕๑๑
312943
ประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 7)
ประกาศกระทรวงเกษตร ประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๗)[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกำหนดด่านตรวจพืชเพิ่มเติมจากประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชและสถานกักพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๔) ดังนี้ ด่านตรวจพืชพิบูลมังษาหาร ถือเขตด่านศุลกากรพิบูลมังษาหาร ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๐๘ พลเอก จ. นาวีเสถียร รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร พิมลกร/ผู้จัดทำ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๓/ตอนที่ ๓/หน้า ๑๗๙/๑๑ มกราคม ๒๕๐๙
312941
ประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืชหรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้นและเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 6)
ประกาศกระทรวงเกษตร ประกาศกระทรวงเกษตร (ฉบับที่ ๖) เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไขไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืชหรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๑) ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๐๗ ข้อ ๒ ให้ใช้ประกาศกระทรวงเกษตร (ฉบับที่ ๖) เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืชหรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แทน ดังต่อไปนี้ พืช ศัตรูพืช หรือพาหะ แหล่งที่กำหนด ข้อยกเว้น พืชในตระกูลโอไรซา (Oryza spp.) เช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวป่า ฯลฯ อาฟริกาตะวันตก (West Africa) อเมริกากลาง (Central America) อเมริกาใต้ (South America) สหรัฐอเมริกา (United States of America) หมู่เกาะอินเดียตะวันตก (West Indies) ญี่ปุ่น (Japan) ฟิลิปปินส์ (Philippines) อินเดีย (India) ลังกา (Ceylon) สาธารณรัฐจีน (Republic of China) แป้ง อาหารสำเร็จรูปที่ฆ่าเชื้อแล้ว สิ่งประดิษฐ์จากพืชในสกุลโอไรซา (Oryza spp.) ที่ผ่านกรรมวิธีซึ่งเจ้าของได้แจ้งให้อธิบดีกรมกสิกรรมทราบก่อนนำเข้า และอธิบดีกรมกสิกรรมได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการปลอดศัตรูพืช พืชในสกุลฮีเวีย (Hevea spp.) เช่น ยางพารา และพาหะ ดังต่อไปนี้ น้ำยางสด ยางก้อน ยางเน่า และขี้ยาง อเมริกากลาง (Central America) อเมริกาใต้ (South America) หมู่เกาะอินเดียตะวันตก (West Indies) พืชในสกุลซิตรัส (Citrus spp.) เช่น มะนาว มะกรูด และส้มชนิดต่าง ๆ ฯลฯ และพืชในสกุลฟอจูเนลลา (Fortunella spp.) เช่น ส้มจิ๊ด อาฟริกา (Africa) อเมริกากลาง (Central America) อเมริกาใต้ (South America) ยุโรป (Europe) ตะวันออกใกล้ (Near East) ประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Region) สหรัฐอเมริกา (United States of America) อินเดีย (India) ญี่ปุ่น (Japan) ลังกา (Ceylon) อินโดนีเซีย (Indonesia) ออสเตรเลีย (Australia) อาหารสำเร็จรูป* มะพร้าว (Cocos nucifera L.) อาฟริกาตะวันออก (East Africa) อาฟริกาตะวันตก (West Africa) อเมริกากลาง (Central America) อเมริกาใต้ (South America) หมู่เกาะอินเดียตะวันตก (West Indies) ฟิลิปปินส์ (Philippines) อินเดีย (India) เกาะกวม (Guam) อาหารสำเร็จรูป สิ่งประดิษฐ์จากพืชมะพร้าว (Cocos nucifera L.) ที่ผ่านกรรมวิธีซึ่งเจ้าของได้แจ้งให้อธิบดีกรมกสิกรรมทราบก่อนนำเข้าและอธิบดีกรมกสิกรรมได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการปลอดศัตรูพืช มันสำปะหลัง (Manihot esculentu Grant.) อาฟริกา (Africa) บราซิล (Brazil) อินโดนีเซีย (Indonesia) อาหารสำเร็จรูป แป้ง สาคู ดิน ทุกแหล่ง ปุ๋ยอินทรีย์ ทุกแหล่ง ปุ๋ยอินทรีย์จากสัตว์นอกจากมูลสัตว์ ศัตรูพืช เช่น เชื้อโรคพืช แมลงศัตรูพืช ไส้เดือนฝอย หอยทาก ทาก วัชพืช และสัตว์หรือพืชที่ก่อความเสียหายแก่พืช ทุกแหล่ง เงื่อนไข ในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้นำสิ่งต้องห้ามเข้ามาเพื่อการทดลองหรือการวิจัยต้องกระทำตามวิธีปฏิบัติทางวิชาการที่อธิบดีกรมกสิกรรมเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๗ พระประกาศสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร พิมลกร/ผู้จัดทำ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๕ พลัฐวัษ/ตรวจ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๑/ตอนที่ ๑๑๓/หน้า ๒๘๕๔/๑ ธันวาคม ๒๕๐๗ *อาหารสำเร็จรูป คือ อาหารที่ที่เก็บไว้ได้ไม่บูดเสีย
312937
ประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 5)
ประกาศกระทรวงเกษตร ประกาศกระทรวงเกษตร (ฉบับที่ ๕) เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ ๑. นายด่านศุลกากรปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ๒. นายด่านศุลกากรนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ๓. นายด่านศุลกากรสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ๔. นายด่านศุลกากรบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ๕. นายด่านศุลกากรเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ๖. นายด่านศุลกากรชุมพร จังหวัดชุมพร ๗. นายด่านศุลกากรหลังสวน จังหวัดชุมพร ๘. นายด่านศุลกากรตะโก จังหวัดชุมพร ๙. นายด่านศุลกากรสายบุรี จังหวัดปัตตานี ๑๐. นายด่านศุลกากรตากใบ จังหวัดนราธิวาส ๑๑. นายด่านศุลกากรกระบุรี จังหวัดระนอง ๑๒. นายด่านศุลกากรตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ๑๓. นายด่านศุลกากรพังงา จังหวัดพังงา ๑๔. นายด่านศุลกากรกระบี่ จังหวัดกระบี่ ๑๕. นายด่านศุลกากรเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ๑๖. นายด่านศุลกากรกันตัง จังหวัดตรัง ๑๗. นายด่านศุลกากรหยงสตาร์ จังหวัดตรัง ๑๘. นายด่านศุลกากรเกาะนก จังหวัดสตูล ๑๙. นายด่านศุลกากรเกาะยาว จังหวัดสตูล ๒๐. นายด่านศุลกากรปากบารา จังหวัดสตูล ๒๑. นายด่านศุลกากรสุไหงอุเป จังหวัดสตูล ๒๒. นายด่านศุลกากรเกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ๒๓. นายด่านศุลกากรบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ๒๔. นายด่านศุลกากรแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ๒๕. นายด่านศุลกากรมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร ๒๖. นายด่านศุลกากรท่าแฉลบ จังหวัดจันทบุรี ๒๗. นายด่านศุลกากรคลองใหญ่ จังหวัดตราด ๒๘. นายด่านศุลกากรแม่สาย จังหวัดเชียงราย ๒๙. นายด่านศุลกากรเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ๓๐. นายด่านศุลกากรเชียงของ จังหวัดเชียงราย ๓๑. นายด่านศุลกากรแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ๓๒. นายด่านศุลกากรแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ๓๓. นายด่านศุลกากรแม่สอด จังหวัดตาก ๓๔. นายด่านศุลกากรฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ๓๕. นายด่านศุลกากรเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ๓๖. นายด่านศุลกากรท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ๓๗. นายด่านศุลกากรบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย ๓๘. นายด่านศุลกากรศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ๓๙. นายด่านศุลกากรนครพนม จังหวัดนครพนม ๔๐. นายด่านศุลกากรธาตุพนม จังหวัดนครพนม ๔๑. นายด่านศุลกากรมุกดาหาร จังหวัดนครพนม ๔๒. นายด่านศุลกากรท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ๔๓. นายด่านศุลกากรเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ๔๔. นายด่านศุลกากรพิบูลมังษาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ๔๕. นายด่านศุลกากรเชียงคาน จังหวัดเลย ๔๖. นายด่านศุลกากรช่องจอม จังหวัดสุรินทร์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวแล้วมีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการตามมาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ และรับการแจ้งการนำเข้าหรือนำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสิ่งไม่ต้องห้ามตามข้อ ๔ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ออกตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๗ พระประกาศสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร พิมลกร/ผู้จัดทำ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๑/ตอนที่ ๑๑๐/หน้า ๒๗๗๗/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๐๗
312935
ประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชและสถานกักพืช ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 4)
ประกาศกระทรวงเกษตร ประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชและสถานกักพืช ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๔)[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกำหนดด่านตรวจพืชและสถานกักพืชไว้ ดังต่อไปนี้ ๑. ด่านตรวจพืชท่าเรือกรุงเทพฯ ถือเขตศุลกากรท่ากรุงเทพฯ ๒. ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานกรุงเทพฯ ถือเขตศุลกากรสนามบินดอนเมือง ๓. ด่านตรวจพืชไปรษณีย์กลางกรุงเทพฯ ถือเขตกองตรวจสินค้าทางไปรษณีย์ ๔. ด่านตรวจพืชสงขลา ถือเขตด่านศุลกากรสงขลา ๕. ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานสงขลา ถือเขตศุลกากรสนามบินจังหวัดสงขลา ๖. ด่านตรวจพืชสะเดา ถือเขตด่านศุลกากรสะเดา ๗. ด่านตรวจพืชปาดังเบซาร์ ถือเขตด่านศุลกากรปาดังเบซาร์ ๘. ด่านตรวจพืชภูเก็ต ถือเขตด่านศุลกากรภูเก็ต ๙. ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานภูเก็ต ถือเขตศุลกากรสนามบินจังหวัดภูเก็ต ๑๐. ด่านตรวจพืชเบตง ถือเขตด่านศุลกากรเบตง ๑๑. ด่านตรวจพืชปัตตานี ถือเขตด่านศุลกากรปัตตานี ๑๒. ด่านตรวจพืชนราธิวาส ถือเขตด่านศุลกากรนราธิวาส ๑๓. ด่านตรวจภืชสุไหงโกลค ถือเขตด่านศุลกากรสุไหงโกลค ๑๔. ด่านตรวจพืชหนองคาย ถือเขตด่านศุลกากรหนองคาย ๑๕. ด่านตรวจพืชอรัญญประเทศ ถือเขตด่านศุลกากรอรัญญประเทศ ๑๖. ด่านตรวจพืชระนอง ถือเขตด่านศุลกากรระนอง ๑๗. ให้อาคารสถานกักพืชในบริเวณเกษตรกลางบางเขน ซึ่งมีบริเวณประมาณ ๔๖๐ ตารางวา มีอาณาเขต ดังนี้ ๑. ทิศเหนือติดกับซอยถนนหลวงสุวรรณฯ ๒. ทิศตะวันออกติดกับอาณาเขตของตึกที่ทำการแผนกวิชากีฏวิทยาและโรคพืช ๓. ทิศตะวันตกติดกับคูข้างถนนหลวงสุวรรณฯ ๔. ทิศใต้ติดกับอาณาเขตของตึกที่ทำการกีฏวิทยาและกักกันพืช เป็นสถานที่กักพืชและสิ่งต้องห้ามเพื่อสังเกตและวิจัย ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๐๗ พลเอก สุรจิต จารุเศรนี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร พิมลกร/ผู้จัดทำ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ [๑]ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๑/ตอนที่ ๕๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐/๑๙ มิถุนายน ๒๕๐๗
312932
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 3)
ประกาศกระทรวงเกษตร ประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๓)[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ไว้ ดังต่อไปนี้ ๑. รองอธิบดีกรมกสิกรรม ๒. ผู้เชี่ยวชาญทางโรคและศัตรูพืช ๓. หัวหน้ากองพืชพันธุ์ ๔. นักกสิกรรมเอก และพนักงานกสิกรรมเอก ในกองพืชพันธุ์ ๕. หัวหน้าแผนกตรวจโรคและกักกันโรคพืช กองพืชพันธุ์ ๖. นักกสิกรรมโท และพนักงานกสิกรรมโท ในแผนกตรวจและกักกันโรคพืช กองพืชพันธุ์ ๗. นักกสิกรรมตรี และพนักงานกสิกรรมตรี ในแผนกตรวจและกักกันโรคพืช กองพืชพันธุ์ ๘. พนักงานกสิกรรมจัดวา ในแผนกตรวจและกักกันโรคพืช กองพืชพันธุ์ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๐๗ พลเอก สุรจิต จารุเศรนี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร พิมลกร/ผู้จัดทำ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๑/ตอนที่ ๕๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๙/๑๙ มิถุนายน ๒๕๐๗
312929
ประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืชหรือพาหะเป็นสิ่งจำกัด ข้อยกเว้นและเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 2)
ประกาศกระทรวงเกษตร ประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดพืช หรือพาหะเป็นสิ่งกำกัด ข้อยกเว้น และเงื่อนไข ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๒)[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกำหนดพืชหรือพาหะเป็นสิ่งกำกัด ข้อยกเว้น และเงื่อนไขไว้ ดังต่อไปนี้ พืชหรือพาหะ ข้อยกเว้น *พืชในสกุลโอไรซา (Oryza spp.) เช่น ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวป่า ฯลฯ และพาหะ ดังต่อไปนี้ แป้งน้ำและสิ่งสกัดจากเมล็ดข้าวงอก อาหารสำเร็จรูป** แป้ง *พืชในสกุลฮีเวีย (Hevea spp.) เช่น ยางพารา และพาหะ ดังต่อไปนี้ น้ำยางสด ยางก้อน ยางเน่า และขี้ยาง - *พืชในสกุลซิตรัส (Citrus spp.) เช่น มะนาว มะกรูด และส้มชนิดต่าง ๆ ฯลฯ และพืชในสกุลฟอจูเนลลา (Fortunella spp.) เช่น ส้มจิ๊ด อาหารสำเร็จรูป *มะพร้าว (Cocos nucifera Linn.) อาหารสำเร็จรูป *มันสำปะหลัง (Manihot esculenta Grant.) อาหารสำเร็จรูป พืชในสกุลซัคคารัม (Saccharum spp.) เช่น อ้อย พง แขม ฯลฯ อาหารสำเร็จรูป พืชในสกุลคอฟเฟีย (Coffea spp.) เช่น กาแฟ เข็มขาว สีเถื่อนยามควาย ฯลฯ อาหารสำเร็จรูป เมล็ดกาแฟที่คั่วแล้ว มันเทศ (Ipomaea batatus Lam) อาหารสำเร็จรูป แป้ง พืชในสกุลกอซซิปเปียม (Gossypium spp.) เช่น ฝ้ายแดง ฝ้าย ฝ้ายตุ่น ฝ้ายชัน ฯลฯ - ยาสูบ (Nicotiana tabacum Linn) บุหรี่ ยาเส้น ซิการ์ ข้าวโพด (Zea mays Linn.) อาหารสำเร็จรูป แป้ง โกโก้ (Theobroma cacao Linn.) อาหารสำเร็จรูป พืชในสกุลมูซา (Musa spp.) เช่น กล้วยต่าง ๆ ต้นป่านมนิลา ฯลฯ กล้วยตาก เชือก มันฝรั่ง (Solanum tuberosum Linn.) อาหารสำเร็จรูป ถั่วลิสง (Arachis hypogaea Linn.) อาหารสำเร็จรูป สัปปะรด (Ananas comosus Merr.) อาหารสำเร็จรูป พืชในสกุลคาเมลเลีย (Camellia spp.) เช่น ชา เมี่ยง ฯลฯ อาหารสำเร็จรูป ชาสำหรับชง ปาล์มน้ำมัน (Elaeis guinensis Jacq.) - มะเขือเทศ (Lycopersicum esculentum Mill.) อาหารสำเร็จรูป มะละกอ (Carica papaya Linn.) อาหารสำเร็จรูป พืชในสกุลอะเลอไรติส (Aleurites spp.) เช่น มะเยา รุมบัง โพธิสัตว์ ฯลฯ - เผือก (Colocasia antiguorum var. esculenta) อาหารสำเร็จรูป ข้าวสาลี (Triticum vulgare Vill.) อาหารสำเร็จรูป แป้ง เงื่อนไข สิ่งกำกัดที่ได้กำหนดไว้ข้างบนนี้ ถ้านำเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อปลูกก็ดี เพื่อขยายพันธุ์ก็ดี ต้องกระทำตามวิธีปฏิบัติทางวิชาการที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๐๗ พลเอก สุรจิต จารุเศรนี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร พิมลกร/ผู้จัดทำ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๑/ตอนที่ ๕๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๗/๑๙ มิถุนายน ๒๕๐๗ * จากแหล่งที่ไม่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงเกษตร ฉบับที่ ๑ ** อาหารสำเร็จรูป คืออาหารที่เก็บไว้ได้ไม่บูดเสีย
312925
ประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืชหรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้นและเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 1)
ประกาศกระทรวงเกษตร ประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้นและเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๑)[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้นและเงื่อนไขไว้ ดังต่อไปนี้ พืช ศัตรูพืชหรือพาหะ แหล่งที่กำหนด ข้อยกเว้น พืชในสกุลโอไรซา (Oryza spp.) เช่น ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวป่า ฯลฯ และพาหะ ดังต่อไปนี้ แป้งน้ำและสิ่งสกัดจากเมล็ดข้าวงอก อาฟริกาตะวันตก (West Africa) อเมริกากลาง (Central America) อเมริกาใต้ (South America) สหรัฐอเมริกา (United States of America) หมู่เกาะอินเดียตะวันตก (West Indies) ญี่ปุ่น (Japan) ฟิลิปปินส์ (Philippines) อินเดีย (India) ลังกา (Ceylon) สาธารณรัฐจีน (Republic of China) แป้งและอาหารสำเร็จรูปที่ฆ่าเชื้อแล้ว พืชในสกุลฮีเวีย (Hevea spp.) เช่น ยางพารา และพาหะ ดังต่อไปนี้ น้ำยางสด ยางก้อน ยางเน่า และขี้ยาง อเมริกากลาง (Central America) อเมริกาใต้ (South America) หมู่เกาะอินเดียวตะวันตก (West Indies) พืชในสกุลซิตรัส (Citrus spp.) เช่น มะนาว มะกรูด และส้มชนิดต่าง ๆ ฯลฯ และพืชในสกุลฟอจูเนลลา (Fortunella spp) เช่น ส้มจิ๊ด อาฟริกา (Africa) อเมริกากลาง (Central America) อเมริกาใต้ (South America) ยุโรป (Europe) ตะวันออกใกล้ (Near East) ประเทศแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean region) สหรัฐอเมริกา (United States of America) อินเดีย (India) ญี่ปุ่น (Japan) ลังกา (Ceylon) อินโดนีเซีย (Indonesia) ออสเตรเลีย (Australia) อาหารสำเร็จรูป* มะพร้าว (Cocos nucifera L.) อาฟริกาตะวันออก (East Africa) อาฟริกาตะวันตก (West Africa) อเมริกากลาง (Central America) อเมริกาใต้ (South America) หมู่เกาะอินเดียตะวันตก (West Indies) ฟิลิปปินส์ (Philippines) อินเดีย (India) เกาะกวม (Guam) อาหารสำเร็จรูป มันสำปะหลัง (Manihot esculenta Grant) อาฟริกา (Africa) บราซิล (Brazil) อินโดนีเซีย (Indonesia) อาหารสำเร็จรูป แป้ง สาคู ดิน ทุกแหล่ง ปุ๋ยอินทรีย์ ทุกแหล่ง ปุ๋ยอินทรีย์ซากสัตว์ ศัตรูพืช เช่น เชื้อโรคพืช แมลงและสัตว์ หรือพืชที่อาจก่อความเสียหายแก่พืช ทุกแหล่ง เงื่อนไข ในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้นำสิ่งต้องห้ามเข้ามาเพื่อการทดลองหรือการวิจัย ต้องกระทำตามวิธีปฏิบัติทางวิชาการที่อธิบดีเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๐๗ พลเอก สุรจิต จารุเศรนี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร พิมลกร/ผู้จัดทำ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๑/ตอนที่ ๕๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๕/๑๙ มิถุนายน ๒๕๐๗ * อาหารสำเร็จรูป คืออาหารที่เก็บไว้ได้ไม่บูดเสีย
696071
ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะเดินทางตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 พ.ศ. 2547 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายค่าป่วยการ และค่าพาหนะเดินทางตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยเป็นการสมควรกำหนดระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะเดินทางของพนักงานเจ้าหน้าที่ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะเดินทาง ไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะเดินทางตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ พ.ศ. ๒๕๔๗” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ประกาศหรือคำสั่งใดที่ขัดแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบฉบับนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ค่าป่วยการ และค่าพาหนะ” หมายความว่า เงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับเนื่องจากการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติดังกล่าวในวันหยุดราชการหรือนอกเวลาราชการ หรือนอกสถานที่ราชการไม่ว่าในหรือนอกเวลาราชการ ข้อ ๕ เงินค่าป่วยการของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ ในกรมวิชาการเกษตรเรียกเก็บตามมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้นำมารวมกันเพื่อคำนวณแบ่งจ่ายเป็นค่าป่วยการแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ค่าป่วยการให้เรียกเก็บจากผู้ประกอบการตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ข้อ ๖ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีสิทธิได้รับค่าป่วยการ ได้แก่ ๖.๑ ผู้ซึ่งได้รับอนุมัติให้ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการหรือวันหยุดราชการ หรือนอกสถานที่ราชการ ไม่ว่าในหรือนอกเวลาราชการ ๖.๒ ผู้ซึ่งต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการหรือวันหยุดราชการไม่ว่าจะมีการขอทำงานนอกเวลาราชการหรือไม่ ข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า ๑๐ ชั่วโมงต่อเดือน จึงจะมีสิทธิเบิกค่าป่วยการได้ แต่จะเบิกค่าป่วยการได้ไม่เกินเดือนละ ๔๕ ชั่วโมง ในกรณีที่ปฏิบัติงานไม่ถึง ๔๕ ชั่วโมง ให้ได้รับค่าป่วยการลดลงตามส่วนของเวลา พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานไม่ได้ผลเท่าที่ควร ผู้บังคับบัญชาระดับหัวหน้าหน่วยงานที่มีการปฏิบัติงาน จะเสนอขอให้อธิบดีกรมวิชาการเกษตรพิจารณาลดค่าป่วยการลงตามจำนวนที่เห็นสมควรก็ได้ ในการปฏิบัติงานดังกล่าว ผู้รับผิดชอบจะต้องจัดให้มีรายการแสดงวันเวลาปฏิบัติงานพร้อมแสดงเหตุผลที่ขอทำการ โดยผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายตรวจสอบรับรองและเก็บรักษาไว้พร้อมที่จะให้ตรวจสอบได้เสมอ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรหรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้อนุมัติการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยให้ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานที่ขอทำการเสนอชื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เห็นสมควรให้ปฏิบัติงาน ข้อ ๘ เมื่อมีการปฏิบัติงานแล้ว การที่ผู้ใดได้ปฏิบัติงานครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ในข้อ ๗ ไม่เป็นเหตุให้มีสิทธิหยุดปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ หรือวันหยุดราชการ หรือนอกสถานที่ราชการไม่ว่าในหรือนอกเวลาราชการที่ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ปฏิบัติงานตามความจำเป็นของทางราชการ และจะรับค่าอาหารทำการนอกเวลาตามระเบียบของทางราชการอีกไม่ได้ ข้อ ๙ วัน เวลาราชการ และวันหยุดราชการ ให้ถือตามประกาศของทางราชการ ข้อ ๑๐ ในวันแรกของวันทำการถัดจากวันสิ้นเดือน ให้หัวหน้าหน่วยงานแต่ละแห่งที่ขอทำการรายงานจำนวนพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ทำการในเดือนนั้น ๆ ต่อสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตรโดยด่วน เพื่อคำนวณค่าป่วยการต่อไป ข้อ ๑๑[๒] การจ่ายเงินค่าป่วยการในเดือนหนึ่ง ห้ามมิให้จ่ายเกินอัตรา ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป (ก) ระดับปฏิบัติงาน ไม่เกินเดือนละ ๔,๗๒๕ บาท (ข) ระดับชำนาญงาน ไม่เกินเดือนละ ๗,๖๕๐ บาท (ค) ระดับอาวุโส ไม่เกินเดือนละ ๙,๔๕๐ บาท (ง) ระดับทักษะพิเศษ ไม่เกินเดือนละ ๑๐,๘๐๐ บาท (๒) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ (ก) ระดับปฏิบัติการ ไม่เกินเดือนละ ๖,๓๐๐ บาท (ข) ระดับชำนาญการ ไม่เกินเดือนละ ๘,๕๕๐ บาท (ค) ระดับชำนาญการพิเศษ ไม่เกินเดือนละ ๙,๙๐๐ บาท (ง) ระดับเชี่ยวชาญ ไม่เกินเดือนละ ๑๐,๘๐๐ บาท (จ) ระดับทรงคุณวุฒิ ไม่เกินเดือนละ ๑๑,๗๐๐ บาท (๓) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ (ก) ระดับต้น ไม่เกินเดือนละ ๙,๙๐๐ บาท (ข) ระดับสูง ไม่เกินเดือนละ ๑๐,๘๐๐ บาท (๔) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร (ก) ระดับต้น ไม่เกินเดือนละ ๑๐,๘๐๐ บาท (ข) ระดับสูง ไม่เกินเดือนละ ๑๑,๗๐๐ บาท ข้อ ๑๒ ค่าพาหนะของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยเพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้เรียกเก็บได้เท่าที่จำเป็นและจ่ายจริง ข้อ ๑๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีสิทธิได้รับค่าพาหนะต้องเป็นผู้ซึ่งได้รับอนุมัติหรือผู้ซึ่งต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ หรือในวันหยุดราชการ หรือนอกสถานที่ราชการไม่ว่าในหรือนอกเวลาราชการ ข้อ ๑๔ เมื่ออธิบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายอนุมัติให้จ่ายเงินแล้ว ให้กองคลังจ่ายเงินค่าป่วยการจากบัญชีเงินฝากคลังให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ สำหรับหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค ให้กองคลังโอนเงินค่าป่วยการเข้าบัญชีเงินฝากที่สำนักงานคลังจังหวัดหรือสำนักงานคลังอำเภอแล้วแต่กรณี เมื่อได้รับโอนแล้วให้หัวหน้าหน่วยงานผู้เบิกเบิกเงินจากสำนักงานคลังจังหวัด หรือสำนักงานคลังอำเภอแล้วแต่กรณีให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามจำนวนเงินที่ได้รับอนุมัติ ข้อ ๑๕ การเบิกเงิน การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำส่งเงินตามระเบียบนี้ให้ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการโดยอนุโลม ข้อ ๑๖ การบัญชี ให้ปฏิบัติตามระบบบัญชีของส่วนราชการ ข้อ ๑๗ ให้อธิบดีกรมวิชาการเกษตรรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะเดินทางตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔[๓] ศรตม์/ผู้จัดทำ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๖ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๗/๔ มิถุนายน ๒๕๔๗ [๒] ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะเดินทางตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๘๙ ง/หน้า ๑/๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๔
654311
ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะเดินทาง ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายค่าป่วยการ และค่าพาหนะเดินทาง ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยเป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะเดินทาง ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะเดินทาง ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑ แห่งระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะเดินทาง ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๑ การจ่ายเงินค่าป่วยการในเดือนหนึ่ง ห้ามมิให้จ่ายเกินอัตรา ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป (ก) ระดับปฏิบัติงาน ไม่เกินเดือนละ ๔,๗๒๕ บาท (ข) ระดับชำนาญงาน ไม่เกินเดือนละ ๗,๖๕๐ บาท (ค) ระดับอาวุโส ไม่เกินเดือนละ ๙,๔๕๐ บาท (ง) ระดับทักษะพิเศษ ไม่เกินเดือนละ ๑๐,๘๐๐ บาท (๒) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ (ก) ระดับปฏิบัติการ ไม่เกินเดือนละ ๖,๓๐๐ บาท (ข) ระดับชำนาญการ ไม่เกินเดือนละ ๘,๕๕๐ บาท (ค) ระดับชำนาญการพิเศษ ไม่เกินเดือนละ ๙,๙๐๐ บาท (ง) ระดับเชี่ยวชาญ ไม่เกินเดือนละ ๑๐,๘๐๐ บาท (จ) ระดับทรงคุณวุฒิ ไม่เกินเดือนละ ๑๑,๗๐๐ บาท (๓) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ (ก) ระดับต้น ไม่เกินเดือนละ ๙,๙๐๐ บาท (ข) ระดับสูง ไม่เกินเดือนละ ๑๐,๘๐๐ บาท (๔) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร (ก) ระดับต้น ไม่เกินเดือนละ ๑๐,๘๐๐ บาท (ข) ระดับสูง ไม่เกินเดือนละ ๑๑,๗๐๐ บาท” ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๑/๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๔
438181
ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะเดินทางตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 พ.ศ. 2547
ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายค่าป่วยการ และค่าพาหนะเดินทางตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยเป็นการสมควรกำหนดระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายค่าป่วยการ และค่าพาหนะเดินทางของพนักงานเจ้าหน้าที่ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะเดินทางไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะเดินทางตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ พ.ศ. ๒๕๔๗” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ประกาศหรือคำสั่งใดที่ขัดแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบฉบับนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ค่าป่วยการ และค่าพาหนะ” หมายความว่า เงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับเนื่องจากการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติดังกล่าวในวันหยุดราชการหรือนอกเวลาราชการ หรือนอกสถานที่ราชการไม่ว่าในหรือนอกเวลาราชการ ข้อ ๕ เงินค่าป่วยการของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ ในกรมวิชาการเกษตรเรียกเก็บตามมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้นำมารวมกันเพื่อคำนวณแบ่งจ่ายเป็นค่าป่วยการแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ค่าป่วยการให้เรียกเก็บจากผู้ประกอบการตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ข้อ ๖ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีสิทธิได้รับค่าป่วยการ ได้แก่ ๖.๑ ผู้ซึ่งได้รับอนุมัติให้ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการหรือวันหยุดราชการ หรือนอกสถานที่ราชการไม่ว่าในหรือนอกเวลาราชการ ๖.๒ ผู้ซึ่งต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการหรือวันหยุดราชการไม่ว่าจะมีการขอทำงานนอกเวลาราชการหรือไม่ ข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า ๑๐ ชั่วโมงต่อเดือน จึงจะมีสิทธิเบิกค่าป่วยการได้ แต่จะเบิกค่าป่วยการได้ไม่เกินเดือนละ ๔๕ ชั่วโมง ในกรณีที่ปฏิบัติงานไม่ถึง ๔๕ ชั่วโมง ให้ได้รับค่าป่วยการลดลงตามส่วนของเวลา พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานไม่ได้ผลเท่าที่ควร ผู้บังคับบัญชาระดับหัวหน้าหน่วยงานที่มีการปฏิบัติงาน จะเสนอขอให้อธิบดีกรมวิชาการเกษตรพิจารณาลดค่าป่วยการลงตามจำนวนที่เห็นสมควรก็ได้ ในการปฏิบัติงานดังกล่าว ผู้รับผิดชอบจะต้องจัดให้มีรายการแสดงวันเวลาปฏิบัติงานพร้อมแสดงเหตุผลที่ขอทำการ โดยผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายตรวจสอบรับรองและเก็บรักษาไว้พร้อมที่จะให้ตรวจสอบได้เสมอ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรหรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้อนุมัติการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยให้ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานที่ขอทำการเสนอชื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เห็นสมควรให้ปฏิบัติงาน ข้อ ๘ เมื่อมีการปฏิบัติงานแล้ว การที่ผู้ใดได้ปฏิบัติงานครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ในข้อ ๗ ไม่เป็นเหตุให้มีสิทธิหยุดปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ หรือวันหยุดราชการ หรือนอกสถานที่ราชการไม่ว่าในหรือนอกเวลาราชการที่ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ปฏิบัติงานตามความจำเป็นของทางราชการ และจะรับค่าอาหารทำการนอกเวลาตามระเบียบของทางราชการอีกไม่ได้ ข้อ ๙ วัน เวลาราชการ และวันหยุดราชการ ให้ถือตามประกาศของทางราชการ ข้อ ๑๐ ในวันแรกของวันทำการถัดจากวันสิ้นเดือน ให้หัวหน้าหน่วยงานแต่ละแห่งที่ขอทำการรายงานจำนวนพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ทำการในเดือนนั้นๆ ต่อสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตรโดยด่วน เพื่อคำนวณค่าป่วยการต่อไป ข้อ ๑๑ การจ่ายเงินค่าป่วยการในเดือนหนึ่ง ห้ามมิให้จ่ายเกินอัตรา ดังต่อไปนี้ ผู้ดำรงตำแหน่งในระดับ ๑ ไม่เกินเดือนละ ๑,๖๕๐ บาท ผู้ดำรงตำแหน่งในระดับ ๒ ไม่เกินเดือนละ ๒,๗๕๐ บาท ผู้ดำรงตำแหน่งในระดับ ๓ ไม่เกินเดือนละ ๓,๓๐๐ บาท ผู้ดำรงตำแหน่งในระดับ ๔ ไม่เกินเดือนละ ๓,๘๕๐ บาท ผู้ดำรงตำแหน่งในระดับ ๕ ไม่เกินเดือนละ ๔,๔๐๐ บาท ผู้ดำรงตำแหน่งในระดับ ๖ ไม่เกินเดือนละ ๔,๙๕๐ บาท ผู้ดำรงตำแหน่งในระดับ ๗ ไม่เกินเดือนละ ๕,๕๐๐ บาท ผู้ดำรงตำแหน่งในระดับ ๘ ไม่เกินเดือนละ ๖,๐๕๐ บาท ผู้ดำรงตำแหน่งในระดับ ๙ ไม่เกินเดือนละ ๖,๖๐๐ บาท ผู้ดำรงตำแหน่งในระดับ ๑๐ ไม่เกินเดือนละ ๗,๑๕๐ บาท ข้อ ๑๒ ค่าพาหนะของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยเพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้เรียกเก็บได้เท่าที่จำเป็นและจ่ายจริง ข้อ ๑๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีสิทธิได้รับค่าพาหนะต้องเป็นผู้ซึ่งได้รับอนุมัติหรือผู้ซึ่งต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ หรือในวันหยุดราชการ หรือนอกสถานที่ราชการไม่ว่าในหรือนอกเวลาราชการ ข้อ ๑๔ เมื่ออธิบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายอนุมัติให้จ่ายเงินแล้ว ให้กองคลังจ่ายเงินค่าป่วยการจากบัญชีเงินฝากคลังให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ สำหรับหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค ให้กองคลังโอนเงินค่าป่วยการเข้าบัญชีเงินฝากที่สำนักงานคลังจังหวัดหรือสำนักงานคลังอำเภอแล้วแต่กรณี เมื่อได้รับโอนแล้วให้หัวหน้าหน่วยงานผู้เบิกเบิกเงินจากสำนักงานคลังจังหวัด หรือสำนักงานคลังอำเภอแล้วแต่กรณีให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามจำนวนเงินที่ได้รับอนุมัติ ข้อ ๑๕ การเบิกเงิน การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำส่งเงินตามระเบียบนี้ให้ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการโดยอนุโลม ข้อ ๑๖ การบัญชี ให้ปฏิบัติตามระบบบัญชีของส่วนราชการ ข้อ ๑๗ ให้อธิบดีกรมวิชาการเกษตรรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๘ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๗/๔ มิถุนายน ๒๕๔๗
695941
ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนส่วนขยายพันธุ์พืชระหว่างประเทศ พ.ศ. 2546
ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนส่วนขยายพันธุ์พืชระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๖[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนส่วนขยายพันธุ์พืชระหว่างประเทศให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการปกป้องทรัพยากรทางชีวภาพของประเทศ มิให้มีการนำเอาส่วนขยายพันธุ์พืชไปใช้ประโยชน์โดยไม่เหมาะสม จึงควรกำหนดให้มีการจัดทำสัญญาถ่ายโอนวัสดุทางชีวภาพในกรณีการส่งส่วนขยายพันธุ์พืชออกนอกราชอาณาจักร เพื่อก่อสิทธิและหน้าที่ของผู้รับส่วนขยายพันธุ์พืช ทั้งนี้ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนส่วนขยายพันธุ์พืชระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๖” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนส่วนขยายพันธุ์พืชระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๒ ลงวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๔๒ ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ส่วนขยายพันธุ์พืช” หมายความว่า พืชหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพืชที่สามารถทำให้เกิดพืชต้นใหม่ได้ โดยวิธีปกติทางเกษตรกรรม และให้หมายความรวมถึง สารพันธุกรรม เซลล์ และเนื้อเยื่อด้วย ข้อ ๕ การแลกเปลี่ยนส่วนขยายพันธุ์พืชระหว่างประเทศ ให้นำเข้าหรือส่งออกได้เฉพาะเพื่อการศึกษา ทดลอง วิจัย และพัฒนาที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าเท่านั้น ในกรณีการนำเข้ามาในราชอาณาจักซึ่งส่วนขยายพันธุ์พืช จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และจะต้องปฏิบัติ ดังนี้ ก. การนำส่วนขยายพันธุ์พืชเข้ามาในประเทศ (๑) ให้ข้าราชการกรมวิชาการเกษตรทุกคนที่นำส่วนขยายพันธุ์พืชมาจากต่างประเทศ มอบส่วนขยายพันธุ์พืชทั้งหมดแก่พนักงานเจ้าหน้าที่กักกันพืช ณ ด่านตรวจพืชที่นำเข้า เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายด่านตรวจพืชและฝ่ายวิชาการกักกันพืชทำการตรวจโรคและศัตรูพืช (๒) ให้สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร จัดทำทะเบียนส่วนขยายพันธุ์พืชที่นำเข้ามาในประเทศทุกชนิด ตามแบบที่แนบท้ายระเบียบนี้ ข. แหล่งรวบรวมพันธุ์พืช ส่วนขยายพันธุ์พืชที่นำเข้าในประเทศ เมื่อผ่านพิธีการด้านกักกันพืชและได้รับการขึ้นทะเบียนส่วนขยายพันธุ์พืชโดยสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตรแล้ว ให้กอง/สถาบัน/สำนัก/ศูนย์วิจัย/สถานีทดลอง ที่นำส่วนขยายพันธุ์พืชเข้ามาในประเทศไทยตามข้อ ก. รับส่วนขยายพันธุ์พืชไปทดลองพันธุ์ คัดพันธุ์ หรือผสมพันธุ์ต่อไปได้ แต่จะต้องเก็บรักษาไว้ในแหล่งรวบรวมพันธุ์พืชตามสถานที่ที่ได้กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้ ในกรณีการส่งออกนอกราชอาณาจักรซึ่งส่วนขยายพันธุ์พืช ให้กอง สถาบัน หรือสำนัก ดำเนินการเสนอรายละเอียดการส่งออกซึ่งส่วนขยายพันธุ์พืชตามชนิดและปริมาณพันธุ์พืชต่ออธิบดีกรมวิชาการเกษตร เพื่อขออนุญาตทำการแลกเปลี่ยนหรือถ่ายโอนกับต่างประเทศเป็นกรณี ๆ ไป และในกรณีที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นควรอนุญาต ให้มีการจัดทำสัญญาถ่ายโอนวัสดุชีวภาพไว้เป็นหลักฐาน โดยจะต้องปรากฏข้อตกลงอย่างน้อยตามแบบแนบท้ายระเบียบนี้ และถ้าส่วนขยายพันธุ์พืชนั้นเป็นส่วนขยายพันธุ์ของพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปหรือพันธุ์พืชป่า จะต้องปฏิบัติตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒ ด้วย ข้อ ๖ ผู้ขอส่วนขยายพันธุ์พืชจากประเทศไทย จะต้องเป็นส่วนราชการ หรือสถาบัน หรือองค์กรที่มีหน้าที่ทำการค้นคว้าทดลองวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับพันธุ์พืช ข้อ ๗ ชนิดและปริมาณส่วนขยายพันธุ์พืชที่อนุญาตให้ส่งออกได้ ให้เป็นไปตามชนิดและปริมาณที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ต้องการใบรับรองปลอดศัตรูพืช ให้กอง สถาบัน หรือสำนักเจ้าของส่วนขยายพันธุ์พืชนำส่วนขยายพันธุ์พืชไปมอบให้สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตรทำการตรวจโรคและศัตรูพืชเพื่ออกใบรับรองปลอดศัตรูพืช ข้อ ๙ การดำเนินการเพื่อส่งส่วนขยายพันธุ์พืชไปต่างประเทศ ให้กอง สถาบัน หรือสำนักเจ้าของส่วนขยายพันธุ์พืชเป็นผู้ดำเนินการ ประกาศ ณ วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. ใบทะเบียนส่วนขยายพันธุ์พืชที่นำเข้ามาในประเทศไทย ๒. แหล่งรวบรวมพันธุ์พืช ๓. สัญญาถ่ายโอนวัสดุชีวภาพเพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร ๔. ชนิดและปริมาณส่วนขยายพันธุ์พืชที่อนุญาตให้ส่งออกได้ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ศรตม์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑]ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๒๑/๑๑ เมษายน ๒๕๔๖
695939
ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนส่วนขยายพันธุ์พืชระหว่างประเทศ พ.ศ. 2542
ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนส่วนขยายพันธุ์พืชระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๒[๑] ด้วยในปัจจุบันนี้ประเทศไทยและมิตรประเทศมีความต้องการส่วนขยายพันธุ์พืช หรือต้องการแลกเปลี่ยนส่วนขยายพันธุ์พืชเพื่อนำไปใช้ในการทดลอง คัดพันธุ์ ปรับปรุงและผสมพันธุ์มากขึ้น เพื่อให้การแลกเปลี่ยนส่วนขยายพันธุ์พืชระหว่างประเทศเป็นไปตามวัตถุประสงค์ปราศจากปัญหา กรมวิชาการเกษตรจึงวางระเบียบกรมวิชาการเกษตรว่าด้วยหลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนส่วนขยายพันธุ์พืชระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมวิชาการเกษตรว่าด้วยหลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนส่วนขยายพันธุ์พืชระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๒” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก ระเบียบกรมวิชาการเกษตรว่าด้วยหลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนส่วนขยายพันธุ์พืชระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๑ ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ส่วนขยายพันธุ์พืช” หมายความว่า พืชหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชที่ใช้ทำพันธุ์ได้ ข้อ ๕ การแลกเปลี่ยนส่วนขยายพันธุ์พืชระหว่างประเทศให้นำเข้าหรือส่งออกได้เฉพาะเพื่อการค้นคว้าทดลอง วิจัย และพัฒนาเท่านั้น ในการนำเข้ามาในประเทศจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ และคำสั่งกรมวิชาการเกษตรที่ ๓๕๒/๒๕๒๘ ลงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๒๘ เรื่อง ระเบียบการนำพันธุ์พืชเข้ามาในประเทศไทยและกำหนดแหล่งรวบรวมพันธุ์พืช การส่งออกซึ่งส่วนขยายพันธุ์พืชตามชนิดและปริมาณพันธุ์พืชที่อนุญาตให้แลกเปลี่ยนกับต่างประเทศ ให้กองและสถาบันดำเนินการเสนออธิบดีกรมวิชากรเกษตรอนุญาตเป็นราย ๆ ไป ข้อ ๖ ผู้ขอส่วนขยายพันธุ์พืชจากประเทศไทยจะต้องเป็นส่วนราชการ หรือสถาบัน หรือองค์กรที่มีหน้าที่ทำการค้นคว้าทดลองวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับพันธุ์พืช ข้อ ๗ ชนิด และปริมาณส่วนขยายพันธุ์พืชที่อนุญาตให้ส่งออกได้ ให้เป็นไปตามชนิด และปริมาณที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ต้องการใบรับรองปลอดศัตรูพืช ให้กองหรือสถาบันเจ้าของส่วนขยายพันธุ์พืช นำส่วนขยายพันธุ์พืชไปมอบให้กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตรทำการตรวจโรคและศัตรูพืชเพื่อส่งออกใบรับรองปลอดศัตรูพืช ข้อ ๙ การส่งส่วนขยายพันธุ์พืชไปต่างประเทศ ให้กองหรือสถาบันเจ้าของส่วนขยายพันธุ์พืชเป็นผู้ดำเนินการ ประกาศ ณ วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ อนันต์ ดาโลดม อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. ชนิดและปริมาณส่วนขยายพันธุ์พืชที่อนุญาตให้แลกเปลี่ยนกับต่างประเทศตามระเบียบกรมวิชาการเกษตรว่าด้วยหลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนส่วนขยายพันธุ์พืชระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๒ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ศรตม์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๗๙/๘ เมษายน ๒๕๔๒
313030
ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542
ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒[๑] เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและให้การบริการประชาชนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๙ และข้อ ๑๒ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๓๒ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร จึงออกระเบียบไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ.๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่ง ของข้อ ๔ แห่งระเบียบกรมวิชาการเกษตรว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ พ.ศ. ๒๕๔๐ ลงวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๔๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๔ ขั้นตอนและระยะเวลาการขออนุญาตนำสิ่งต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร แต่ไม่รวมถึงสิ่งต้องห้ามที่เป็นพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม ระยะเวลา ๗ วันทำการ ดังนี้” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความใน (จ) ของข้อ ๕ แห่งระเบียบกรมวิชาการเกษตรว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ พ.ศ. ๒๕๔๐ ลงวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๔๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(จ) การตรวจสิ่งต้องห้าม สิ่งกำกัด และสิ่งไม่ต้องห้ามตามข้อ ก ข้อ ข ข้อ ค และข้อ ง แล้วแต่กรณี หากพบศัตรูพืชและพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรต้องทำการกำจัดศัตรูพืชจะใช้เวลากำจัดศัตรูพืช ๑ – ๕ วันทำการ” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความใน (ค) ของข้อ ๖ แห่งระเบียบกรมวิชาการเกษตรว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ พ.ศ. ๒๕๔๐ ลงวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๔๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ค) การออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชตามข้อ ก. หรือ ข. กรณีจำเป็นต้องกำจัดศัตรูพืชพนักงานเจ้าหน้าที่จะดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือควบคุมการกำจัดศัตรูพืช ๑ – ๕ วันทำการ” ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ อนันต์ ดาโลลม อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ศรตม์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๓๒ ง/หน้า ๓๙/๒๒ เมษายน ๒๕๔๒
318484
พระราชบัญญัติกาชาด พ.ศ. 2499
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ กาชาด พ.ศ. ๒๔๙๙ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นปีที่ ๑๑ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่ประเทศไทยเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาเจนีวา เพื่อให้ผู้บาดเจ็บและป่วยไข้ในกองทัพในสนามรบมีสภาวะดีขึ้น ลงวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ และแห่งอนุสัญญาเจนีวา เพื่อให้ผู้สังกัดในกองทัพ ขณะอยู่ในทะเลซึ่งบาดเจ็บป่วยไข้และเรือต้องอับปาง มีสภาวะดีขึ้น ลงวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ และโดยที่เป็นการสมควร ที่จะตรากฎหมายเพื่ออนุวัตตามบทแห่งอนุสัญญาดังกล่าว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกาชาด พ.ศ. ๒๔๙๙” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติกาชาด พุทธศักราช ๒๔๘๑ พระราชบัญญัติกาชาด (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๘๕ บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้บังคับ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “อนุสัญญา” หมายความว่า “อนุสัญญาเจนีวา เพื่อให้ผู้บาดเจ็บและป่วยไข้ในกองทัพในสนามรบมีสภาวะดีขึ้น ลงวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๒” และ “อนุสัญญาเจนีวา เพื่อให้ผู้สังกัดในกองทัพขณะอยู่ในทะเล ซึ่งบาดเจ็บ ป่วยไข้ และเรือต้องอับปาง มีสภาวะดีขึ้น ลงวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๒” แล้วแต่กรณี “เครื่องหมายกาชาด” หมายความว่า กากบาทสีแดงบนพื้นสีขาว “นามกาชาด” หมายความถึงคำ “กาชาด” หรือคำ “กาเจนีวา” มาตรา ๕ ให้ใช้เครื่องหมายกาชาด เป็นเครื่องหมายของบริการทางการแพทย์ในกองทัพไทย ให้แสดงเครื่องหมายกาชาดไว้บนธงผ้าพันแขน และบนบรรดาเครื่องมือที่ใช้ในบริการทางการแพทย์ ตามที่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจทางทหารจะสั่ง มาตรา ๖ ให้สภากาชาดไทยใช้เครื่องหมายกาชาดได้ในยามสงบศึกตามกฎหมายว่าด้วยสภากาชาดไทย มาตรา ๗ การใช้เครื่องหมายกาชาด ในยามสงบศึกเพื่อแสดงให้รู้ว่าเป็นยานพาหนะที่ใช้เป็นรถพยาบาล และเพื่อหมายที่ตั้งสถานีบรรเทาทุกข์ ซึ่งใช้เฉพาะการรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บหรือป่วยไข้โดยไม่คิดมูลค่านั้น จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตพิเศษจากสภากาชาดไทยตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำหนด มาตรา ๘ ให้สภากาชาดไทย อยู่ในความควบคุมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เว้นแต่ในเรื่องธรรมดาธุรกิจอันจะต้องดำเนินไปตามกฎและข้อบังคับแห่งคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและสันนิบาตสภากาชาด มาตรา ๙ ผู้ใดใช้เครื่องหมายกาชาดหรือนามกาชาดโดยไม่มีสิทธิตามอนุสัญญา หรือตามพระราชบัญญัตินี้ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๐ ผู้ใดใช้เครื่องหมายหรือถ้อยคำใด ๆ เลียนแบบเครื่องหมายกาชาดหรือนามกาชาด หรือคล้ายคลึงเครื่องหมายหรือนามเช่นว่านั้น จนอนุมานได้ว่าทำเพื่อหลอกลวงประชาชน มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑ ผู้ใดกระทำความผิดตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๙ หรือ มาตรา ๑๐ ด้วยความมุ่งหมายทางการเงินหรือทางการพาณิชย์ใด ๆ ประทับเครื่องหมายกาชาด หรือนามกาชาดบนสินค้าเพื่อขาย เป็นต้นว่า ฉลาก หรือเครื่องหมายการค้า มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒ ให้นำมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ มาใช้บังคับแก่เครื่องหมายซีกวงเดือนแดงบนพื้นสีขาว หรือสิงโตแดงและดวงอาทิตย์บนพื้นสีขาวและแก่นาม “ซีกวงเดือนแดง” หรือ “สิงโตแดง และดวงอาทิตย์” โดยอนุโลม มาตรา ๑๓ ผู้ใดใช้เครื่องหมายตราแผ่นดินของสหพันธ์สวิส หรือใช้เครื่องหมายใด ๆ เทียมหรือเลียนหรือคล้ายคลึงตราแผ่นดินของสหพันธ์สวิส โดยมิชอบด้วยอนุสัญญา มีความผิดต้องระวางโทษตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ หรือมาตรา ๑๒ แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๔ บรรดาเครื่องหมายหรือนามอันมิชอบตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ หรือมาตรา ๑๓ เงินที่เรี่ยไรได้ตลอดจนสินค้าหรือสังหาริมทรัพย์อื่น ภาชนะหรือหีบห่อ บรรดาที่มีเครื่องหมายหรือนามเช่นว่านั้นประทับไว้ ศาลจะริบเสียก็ได้ มาตรา ๑๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาเจนีวา เพื่อให้ผู้บาดเจ็บและป่วยไข้ในกองทัพในสนามรบมีสภาวะดีขึ้น ลงวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ และแห่งอนุสัญญาเจนีวา เพื่อให้ผู้สังกัดในกองทัพขณะอยู่ในทะเลซึ่งบาดเจ็บป่วยไข้และเรือต้องอับปาง มีสภาวะดีขึ้น ลงวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๔๙๒ และโดยที่เป็นการสมควรที่จะตรากฎหมายเพื่ออนุวัตตามบทแห่งอนุสัญญาดังกล่าว ธนพันธ์/แก้ไข พลัฐวัษ/ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๓/ตอนที่ ๖๓/หน้า ๙๒๔/๑๔ สิงหาคม ๒๔๙๙
301242
กฎกระทรวง (พ.ศ. 2499) ออกตามความในพระราชบัญญัติกาชาด พ.ศ. 2499
กฎกระทรวง กฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๔๙๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติกาชาด พ.ศ. ๒๔๙๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติกาชาด พ.ศ. ๒๔๙๙รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ เงื่อนไขที่สภากาชาดไทยจะให้อนุญาตพิเศษเกี่ยวกับการใช้เครื่องหมายกาชาดในยามสงบศึก ตามมาตรา ๗ มีดังต่อไปนี้ คือ (๑) ผู้ขออนุญาตมีหลักฐานเป็นที่เชื่อถือได้ และ (๒) วัตถุประสงค์ ในการใช้เครื่องหมายนั้นไม่ขัดกับหลักการของกาชาด ให้ไว้ ณ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ พล.ท. ประยูร ภมรมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาเจนีวา เพื่อให้ผู้บาดเจ็บและป่วยไข้ในกองทัพในสนามรบมีสภาวะดีขึ้น ลงวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ และแห่งอนุสัญญาเจนีวา เพื่อให้ผู้สังกัดในกองทัพขณะอยู่ในทะเลซึ่งบาดเจ็บป่วยไข้ และเรือต้องอับปาง มีสภาวะดีขึ้น ลงวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ จึงควรออกกฎกระทรวงกำหนดเงื่อนไขการใช้เครื่องหมายกาชาดในยามสงบศึก เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติกาชาด พ.ศ. ๒๔๙๙ วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๔ ปริญสินีย์/ปรับปรุง ๒๐ กันยายน ๒๕๕๖
648955
พระราชบัญญัติการกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2554
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ๒๕๕๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกลับเป็นผู้ประกันตน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ๒๕๕๔” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ผู้ประกันตน” หมายความว่า ผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดหรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา แล้วแต่กรณี “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม มาตรา ๔ ผู้ประกันตนซึ่งความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงตามมาตรา ๔๑ (๔) หรือ (๕) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากมีความประสงค์จะกลับเป็นผู้ประกันตนให้ยื่นคำขอต่อสำนักงานตามแบบที่เลขาธิการกำหนดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๕ เมื่อสำนักงานได้รับคำขอตามมาตรา ๔ ให้ดำเนินการตรวจสอบคำขอและในกรณีที่เห็นว่าผู้ยื่นคำขอมีสิทธิกลับเป็นผู้ประกันตนให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายในเจ็ดวัน ในกรณีที่เห็นว่าผู้ยื่นคำขอไม่มีสิทธิกลับเป็นผู้ประกันตน ให้สำนักงานเสนอรายงานพร้อมเหตุผลต่อเลขาธิการเพื่อพิจารณาและมีคำสั่ง และแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายในสิบห้าวันคำสั่งเลขาธิการนั้นให้เป็นที่สุด มาตรา ๖ การกลับเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง ให้เริ่มตั้งแต่เดือนที่ยื่นคำขอและให้ผู้ประกันตนมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มีผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ จำนวนมากไม่ได้ส่งเงินสมทบตามมาตรา ๔๑ (๔) หรือ (๕) ทำให้ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงเป็นเหตุให้ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมและไม่อาจกลับเป็นผู้ประกันตนได้อีกเพื่อเป็นการให้โอกาสแก่บุคคลดังกล่าวในการขอกลับเป็นผู้ประกันตนได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๓๔ ก/หน้า ๗๑/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔
802810
ประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขอกลับเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติการกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2561
ประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขอกลับเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติการกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ๒๕๖๑[๑] เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่ประสงค์จะกลับเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติการกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงตามมาตรา ๔๑ (๔) หรือ (๕) ที่มีความประสงค์จะกลับเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ ตามพระราชบัญญัติการกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ๒๕๖๑ ยื่นแบบคำขอกลับเป็นผู้ประกันตน (สปส. ๑-๒๐/๑) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีเลขประจำตัวประชาชนและรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้ ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งจะยื่นแบบคำขอกลับเป็นผู้ประกันตน (สปส. ๑-๒๐/๑)ทางไปรษณีย์ก็ได้โดยส่งแบบคำขอดังกล่าวพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่มีเลขประจำตัวประชาชนและรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้มายังสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดหรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา ข้อ ๓ ผู้ประกันตนตามข้อ ๒ จะแสดงความประสงค์ขอกลับเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติการกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ๒๕๖๑ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ โดยแสดงความประสงค์และชำระเงินสมทบผ่านธนาคารหรือหน่วยบริการที่สำนักงานประกันสังคมทำความตกลงตามวิธีการแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ ความเป็นผู้ประกันตนตามข้อ ๒ และข้อ ๓ ให้เริ่มตั้งแต่เดือนที่แสดงความประสงค์กลับเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. วิธีการแสดงความประสงค์ขอกลับเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แนบท้ายประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขอกลับเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติการกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ๒๕๖๑ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วิวรรธน์/จัดทำ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๑๔/๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑
802337
ประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดแบบคำขอกลับเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติการกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2561
ประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดแบบคำขอกลับเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติการกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ๒๕๖๑[๑] เพื่อให้การยื่นคำขอกลับเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติการกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ๒๕๖๑ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๒ “ผู้ประกันตน” หมายความว่า ผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ ซึ่งความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงตามมาตรา ๔๑ (๔) หรือ (๕) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ ก่อนวันที่พระราชบัญญัติการกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ๒๕๖๑ ใช้บังคับ ข้อ ๓ ให้ผู้ประกันตนที่ประสงค์จะกลับเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ ยื่นแบบคำขอกลับเป็นผู้ประกันตน (สปส. ๑ - ๒๐/๑) ท้ายประกาศนี้ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดหรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขาแล้วแต่กรณี ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบคำขอกลับเป็นผู้ประกันตน (ตามพระราชบัญญัติการกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ๒๕๖๑) (สปส. ๑-๒๐/๑) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วิวรรธน์/จัดทำ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๗ ง/หน้า ๑/๓๐ เมษายน ๒๕๖๑
651259
ประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดแบบคำขอกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2554
ประกาศสำนักงานประกันสังคม ประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดแบบคำขอกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ๒๕๕๔[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ๒๕๕๔ เลขาธิการจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดแบบคำขอกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒ ผู้ประกันตน หมายถึง ผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ ซึ่งความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงตามมาตรา ๔๑ (๔) หรือ (๕) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ ก่อนวันที่พระราชบัญญัติการกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ๒๕๕๔ ใช้บังคับ ข้อ ๓ ผู้ประกันตนหากมีความประสงค์จะกลับเป็นผู้ประกันตนให้ยื่นคำขอต่อสำนักงานตามแบบคำขอกลับเป็นผู้ประกันตน (สปส.๑-๒๐/๑) ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบคำขอกลับเป็นผู้ประกันตน (ตามพระราชบัญญัติการกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ๒๕๕๔) (สปส. ๑-๒๐/๑) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๔๗/๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔
801417
พระราชบัญญัติการกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2561
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ๒๕๖๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกลับเป็นผู้ประกันตน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ๒๕๖๑” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ผู้ประกันตน” หมายความว่า ผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา แล้วแต่กรณี “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม มาตรา ๔ ผู้ประกันตนซึ่งความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงตามมาตรา ๔๑ (๔) หรือ (๕) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากมีความประสงค์จะกลับเป็นผู้ประกันตนให้ยื่นคำขอต่อสำนักงานตามแบบที่เลขาธิการกำหนดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๕ เมื่อสำนักงานได้รับคำขอตามมาตรา ๔ ให้ดำเนินการตรวจสอบคำขอและในกรณีที่เห็นว่าผู้ยื่นคำขอมีสิทธิกลับเป็นผู้ประกันตน ให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ในกรณีที่เห็นว่าผู้ยื่นคำขอไม่มีสิทธิกลับเป็นผู้ประกันตน ให้สำนักงานเสนอรายงานพร้อมเหตุผลต่อเลขาธิการเพื่อพิจารณาและมีคำสั่ง และแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ คำสั่งเลขาธิการนั้นให้เป็นที่สุด มาตรา ๖ การกลับเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง ให้เริ่มตั้งแต่เดือนที่ยื่นคำขอและให้ผู้ประกันตนมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มีผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ ประกันสังคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ จำนวนมากไม่ส่งเงินสมทบสามเดือนติดต่อกันตามมาตรา ๔๑ (๔) หรือส่งเงินสมทบไม่ครบเก้าเดือนภายในระยะเวลาสิบสองเดือนตามมาตรา ๔๑ (๕) ทำให้ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง เป็นเหตุให้ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมและไม่อาจกลับเป็นผู้ประกันตนได้อีก เพื่อเป็นการให้โอกาสแก่บุคคลดังกล่าวในการขอกลับเป็นผู้ประกันตนได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พรวิภา/จัดทำ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๑ ปริญสินีย์/ตรวจ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๒๗ ก/หน้า ๔๔/๑๙ เมษายน ๒๕๖๑
717113
พระราชบัญญัติการกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 พ.ศ. 2557
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ พ.ศ. ๒๕๕๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ พ.ศ. ๒๕๕๗” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ “เงินสะสม” หมายความว่า เงินสะสมตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ “เงินสมทบ” หมายความว่า เงินสมทบตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ “เงินประเดิม” หมายความว่า เงินประเดิมตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ “เงินชดเชย” หมายความว่า เงินชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๔ ให้บุคคลดังต่อไปนี้มีสิทธิขอกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (๑) ข้าราชการซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ (๒) ผู้รับบำนาญอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ซึ่งเคยเป็นสมาชิกกองทุนตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ (๓) ทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดซึ่งเคยเป็นสมาชิกกองทุนตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๕ ข้าราชการตามมาตรา ๔ (๑) หากมีความประสงค์จะกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้แสดงความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ในกรณีที่ข้าราชการตามวรรคหนึ่งออกจากราชการไปเนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรืออยู่ในระหว่างร้องทุกข์หรืออุทธรณ์คำสั่งให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ ก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ และกลับเข้ารับราชการหลังวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้แสดงความประสงค์ได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่กลับเข้ารับราชการ ในกรณีที่ข้าราชการตามวรรคหนึ่งออกจากราชการไม่ว่ากรณีใด ๆ นอกจากเหตุตามวรรคสอง หลังวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ยกเว้นกรณีถึงแก่ความตายหรือถูกลงโทษไล่ออกจากราชการ ให้แสดงความประสงค์ได้จนถึงวันก่อนวันออกจากราชการ มาตรา ๖ ผู้รับบำนาญตามมาตรา ๔ (๒) หากมีความประสงค์จะกลับไปใช้สิทธิรับบำนาญตามหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้แสดงความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา ๗ ทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามมาตรา ๔ (๓) หากมีความประสงค์จะกลับไปใช้สิทธิรับบำนาญเหตุทดแทนตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้แสดงความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เว้นแต่กรณีออกจากกองหนุนเบี้ยหวัดเพื่อรับบำนาญเหตุทดแทนก่อนวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้แสดงความประสงค์ได้จนถึงวันก่อนวันออกจากกองหนุนเบี้ยหวัดเพื่อรับบำนาญเหตุทดแทน มาตรา ๘ การแสดงความประสงค์ตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ และมาตรา ๗ ให้แสดงความประสงค์ต่อส่วนราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๙ ผู้ซึ่งได้แสดงความประสงค์ไว้ตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ หรือมาตรา ๗ จะถอนคืนการแสดงความประสงค์นั้นมิได้ แต่ถ้าผู้แสดงความประสงค์ถึงแก่ความตายก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้ถือว่าการแสดงความประสงค์เป็นอันสิ้นผล มาตรา ๑๐ ให้สมาชิกภาพในกองทุนของข้าราชการซึ่งได้แสดงความประสงค์ตามมาตรา ๕ สิ้นสุดลงภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ (๑) ข้าราชการซึ่งได้แสดงความประสงค์ตามมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง ให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เว้นแต่ข้าราชการนั้นต้องออกจากราชการไม่ว่ากรณีใด ๆ ยกเว้นกรณีถึงแก่ความตายหรือถูกลงโทษไล่ออกจากราชการก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตั้งแต่วันออกจากราชการ (๒) ข้าราชการซึ่งได้แสดงความประสงค์ตามมาตรา ๕ วรรคสอง ให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตั้งแต่วันถัดจากวันแสดงความประสงค์ต่อส่วนราชการ (๓) ข้าราชการซึ่งได้แสดงความประสงค์ตามมาตรา ๕ วรรคสาม ให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตั้งแต่วันออกจากราชการ มาตรา ๑๑ ข้าราชการตามมาตรา ๔ (๑) ซึ่งได้แสดงความประสงค์ตามมาตรา ๕ มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติมตั้งแต่วันออกจากราชการ ให้ผู้รับบำนาญตามมาตรา ๔ (๒) ซึ่งได้แสดงความประสงค์ตามมาตรา ๖ เป็นผู้รับบำนาญตามหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติมตั้งแต่วันออกจากราชการ ทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามมาตรา ๔ (๓) ซึ่งได้แสดงความประสงค์ตามมาตรา ๗ มีสิทธิได้รับบำนาญเหตุทดแทนตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติมตั้งแต่วันออกจากกองหนุนเบี้ยหวัดเพื่อรับบำนาญเหตุทดแทน มาตรา ๑๒ ข้าราชการตามมาตรา ๔ (๑) ซึ่งได้แสดงความประสงค์ตามมาตรา ๕ มีสิทธิได้รับเฉพาะเงินสะสมและผลประโยชน์ตอบแทนของเงินสะสม แต่ไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าว ให้กองทุนจ่ายคืนเงินสะสมและผลประโยชน์ตอบแทนของเงินสะสมแก่ข้าราชการผู้นั้น ให้กองทุนนำส่งเงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าวของข้าราชการตามวรรคหนึ่ง เข้าบัญชีเงินสำรองตามมาตรา ๗๑ (๑) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ การจ่ายคืนเงินสะสมและผลประโยชน์ตอบแทนของเงินสะสมตามวรรคสอง และการส่งเงินเข้าบัญชีเงินสำรองตามวรรคสาม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กองทุนกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง มาตรา ๑๓ ผู้รับบำนาญตามมาตรา ๔ (๒) ซึ่งได้แสดงความประสงค์ตามมาตรา ๖ ต้องคืนเงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าวที่กองทุนคำนวณให้ในวันปิดบัญชีเงินรายบุคคลของผู้รับบำนาญนั้น และเงินบำนาญที่ได้รับหรือพึงได้รับตามหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ตั้งแต่วันออกจากราชการจนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้แก่ส่วนราชการ โดยวิธีการหักกลบลบกันกับเงินบำนาญที่พึงได้รับตามหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ ตั้งแต่วันออกจากราชการจนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ในกรณีที่ดำเนินการหักกลบลบกันแล้ว ผู้รับบำนาญตามวรรคหนึ่งผู้ใดต้องคืนเงิน ให้ดำเนินการส่งเงินคืนให้แก่ส่วนราชการภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ หรือจะแบ่งชำระเงินออกเป็นส่วน ๆ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ก็ได้ และให้ส่วนราชการนั้นส่งเงินให้กรมบัญชีกลางเก็บรักษาไว้ตามมาตรา ๑๕ ในกรณีที่ดำเนินการหักกลบลบกันแล้ว ผู้รับบำนาญตามวรรคหนึ่งผู้ใดได้รับเงินส่วนเพิ่ม ให้กรมบัญชีกลางนำเงินที่เก็บรักษาไว้ตามมาตรา ๑๕ จ่ายให้แก่ผู้นั้น ในกรณีที่ผู้รับบำนาญตามวรรคหนึ่งซึ่งมีหน้าที่ต้องคืนเงินตามวรรคสองผู้ใดไม่คืนเงินให้แก่ส่วนราชการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ถือว่าการแสดงความประสงค์ตามมาตรา ๖ ของผู้นั้น เป็นอันสิ้นผล ในกรณีที่ผู้รับบำนาญตามวรรคหนึ่งไม่ส่งเงินคืนให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือถึงแก่ความตายก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้ส่วนราชการแจ้งกรมบัญชีกลางเพื่อถอนเงินที่เก็บรักษาไว้ตามมาตรา ๑๕ เพื่อจ่ายเงินที่ผู้รับบำนาญได้คืนให้แก่ส่วนราชการตามวรรคสองให้แก่ผู้รับบำนาญหรือผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบำนาญนั้น แล้วแต่กรณี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การหักกลบลบกัน การคืนเงินให้แก่ส่วนราชการ การจ่ายเงินส่วนเพิ่มให้แก่ผู้รับบำนาญและการจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบำนาญตามมาตรานี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๔ ทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามมาตรา ๔ (๓) ซึ่งได้แสดงความประสงค์ตามมาตรา ๗ ไม่มีสิทธิได้รับเงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าว และต้องคืนเงินสมทบและผลประโยชน์ตอบแทนของเงินสมทบที่ได้รับไปจากกองทุนให้แก่ส่วนราชการภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เว้นแต่ทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดซึ่งออกจากกองหนุนเบี้ยหวัดเพื่อรับบำนาญเหตุทดแทนก่อนวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้คืนเงินสมทบและผลประโยชน์ตอบแทนของเงินสมทบดังกล่าวให้แก่ส่วนราชการภายในวันก่อนวันออกจากกองหนุนเบี้ยหวัดเพื่อรับบำนาญเหตุทดแทน ให้ส่วนราชการนำส่งเงินที่ได้รับตามวรรคหนึ่งให้กรมบัญชีกลางเก็บรักษาไว้ตามมาตรา ๑๕ ในกรณีที่ทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดซึ่งมีหน้าที่ต้องคืนเงินตามวรรคหนึ่งผู้ใดไม่คืนเงินให้แก่ส่วนราชการภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าการแสดงความประสงค์ตามมาตรา ๗ เป็นอันสิ้นผล ในกรณีที่ทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามวรรคหนึ่งถึงแก่ความตายก่อนวันออกจากกองหนุนเบี้ยหวัดเพื่อรับบำนาญเหตุทดแทน ให้ส่วนราชการแจ้งกรมบัญชีกลางเพื่อจ่ายเงินที่ทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดได้คืนให้แก่ส่วนราชการตามวรรคหนึ่ง ให้แก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยให้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง รายการเงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ ให้กองทุนนำส่งเงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าวของทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามวรรคหนึ่ง เข้าบัญชีเงินสำรองตามมาตรา ๗๑ (๑) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กองทุนกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง การคืนเงินให้แก่ส่วนราชการ และการจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามมาตรานี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๕ เงินที่ส่วนราชการได้รับจากผู้รับบำนาญและทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดและเงินที่กรมบัญชีกลางได้รับจากส่วนราชการตามมาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้เก็บรักษาเงินตามวรรคหนึ่ง โดยนำฝากกระทรวงการคลัง ในกรณีที่ต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้รับบำนาญตามมาตรา ๑๓ วรรคสาม หรือผู้รับบำนาญหรือผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบำนาญตามมาตรา ๑๓ วรรคห้า แล้วแต่กรณี ให้กรมบัญชีกลางจ่ายจากเงินที่เก็บรักษาไว้ตามวรรคสอง ถ้าเงินที่ได้รับไว้ไม่พอจ่าย ให้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง รายการเงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เมื่อกรมบัญชีกลางได้ดำเนินการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับบำนาญและผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบำนาญเสร็จสิ้นแล้ว หากมีเงินตามวรรคสองคงเหลือ ให้กรมบัญชีกลางนำส่งเข้าบัญชีเงินสำรองตามมาตรา ๗๑ (๑) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด และให้รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ มาตรา ๑๖ ให้กองทุนจัดทำรายงานการนำเงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าวตามมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๔ ส่งเข้าบัญชีเงินสำรองตามมาตรา ๗๑ (๑) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ เสนอต่อกรมบัญชีกลางตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๗ ให้นำความในพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่การกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ ของบุคคลดังต่อไปนี้ (๑) ข้าราชการซึ่งรับราชการอยู่ในวันก่อนวันที่บทบัญญัติหมวด ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ใช้บังคับ ซึ่งต้องลาออกจากราชการเนื่องจากได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลปกครอง และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง และต้องเข้าเป็นสมาชิกกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั้งนี้ ต้องได้รับการแต่งตั้งไม่เกินวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ (๒) ข้าราชการซึ่งรับราชการอยู่ในวันก่อนวันที่บทบัญญัติหมวด ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ใช้บังคับ ซึ่งลาออกจากราชการและกลับเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่บทบัญญัติหมวด ๓ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ ทั้งนี้ ต้องกลับเข้ารับราชการไม่เกินวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ (๓) ข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งเคยเป็นสมาชิกกองทุนตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และเป็นสมาชิกกองทุนตามมาตรา ๗๐/๑ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว (๔) พนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐซึ่งเคยเป็นสมาชิกกองทุนตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และเป็นสมาชิกกองทุนตามมาตรา ๗๐/๖ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว (๕) ผู้รับบำนาญอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ซึ่งเคยเป็นบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ในวันก่อนวันออกจากราชการ หรือเคยเป็นบุคคลตาม (๔) ในวันก่อนวันพ้นสภาพการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง ให้บทนิยามคำว่า “ข้าราชการ” ตามพระราชบัญญัตินี้ หมายความรวมถึงบุคคลตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) และให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับข้าราชการและผู้รับบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาใช้บังคับกับบุคคลตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) โดยอนุโลม ในกรณีที่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นตาม (๓) ได้แสดงความประสงค์ตามมาตรา ๕ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตั้งแต่วันออกจากราชการ โดยบำเหน็จบำนาญให้จ่ายจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ในการนี้ ให้นับเวลาราชการต่อเนื่องกับการเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น และให้นำระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดมาใช้บังคับแก่การขอรับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการส่วนท้องถิ่นดังกล่าวโดยอนุโลม ในกรณีที่ผู้รับบำนาญตาม (๕) ซึ่งเคยเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นตาม (๓) ได้แสดงความประสงค์ตามมาตรา ๖ ให้มีสิทธิได้รับบำนาญตามหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตั้งแต่วันออกจากราชการ โดยบำนาญให้จ่ายจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ในกรณีที่พนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐตาม (๔) ได้แสดงความประสงค์ตามมาตรา ๕ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตั้งแต่วันพ้นสภาพการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยให้นับเวลาราชการต่อเนื่องกับการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ทั้งนี้ การคำนวณบำเหน็จบำนาญของพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐนั้น ให้คำนวณโดยใช้เงินเดือนเดือนสุดท้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดบัญชีอัตราเงินเดือนเพื่อใช้ในการคำนวณเงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชยและบำเหน็จบำนาญของพนักงานมหาวิทยาลัย มาตรา ๑๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่สมควรให้ข้าราชการซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และผู้รับบำนาญ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัด ซึ่งเคยเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่รับราชการอยู่ในวันก่อนวันที่บทบัญญัติ หมวด ๓ สมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิกแห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ใช้บังคับสามารถกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ จุฑามาศ/ผู้ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๗๗ ก/หน้า ๖/๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
723710
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการจ่ายคืนเงินแก่สมาชิกที่แสดงความประสงค์กลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 และการส่งเงินเข้าบัญชีเงินสำรอง พ.ศ. 2558
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการจ่ายคืนเงินแก่สมาชิกที่แสดงความประสงค์กลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ และการส่งเงินเข้าบัญชีเงินสำรอง พ.ศ. ๒๕๕๘[๑] โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายคืนเงินสะสมและผลประโยชน์ตอบแทนของเงินสะสมให้แก่สมาชิกที่แสดงความประสงค์กลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ และการส่งเงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าวเข้าบัญชีเงินสำรอง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ วรรคสี่ และมาตรา ๑๔ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ พ.ศ. ๒๕๕๗ คณะกรรมการโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการจ่ายคืนเงินแก่สมาชิกที่แสดงความประสงค์กลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ และการส่งเงินเข้าบัญชีเงินสำรอง พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ผู้แสดงความประสงค์” หมายความว่า สมาชิกที่แสดงความประสงค์กลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ ตามพระราชบัญญัติการกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ พ.ศ. ๒๕๕๗ ข้อ ๔ เมื่อกองทุนได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงความประสงค์กลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ ของผู้แสดงความประสงค์จากกระทรวงการคลังแล้วกองทุนจะตรวจสอบ (๑) สิทธิของผู้แสดงความประสงค์ รวมทั้งจำนวนเงินสะสมและผลประโยชน์ตอบแทนของเงินสะสมที่ปรากฏในบัญชีเงินรายบุคคลของผู้แสดงความประสงค์ซึ่งกองทุนจะต้องจ่ายคืนให้แก่ผู้แสดงความประสงค์ (๒) จำนวนเงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าวที่ปรากฏในบัญชีเงินรายบุคคลของผู้แสดงความประสงค์ซึ่งกองทุนจะต้องนำส่งเข้าบัญชีเงินสำรอง ข้อ ๕ กองทุนจะจ่ายคืนเงินสะสมและผลประโยชน์ตอบแทนของเงินสะสมตามข้อ ๔ (๑) ให้แก่ผู้แสดงความประสงค์ที่พ้นสมาชิกภาพการเป็นสมาชิกของกองทุนภายในสิบวันทำการนับแต่วันที่ได้รับข้อมูลถูกต้องครบถ้วน ให้กองทุนจัดเตรียมสภาพคล่องให้เพียงพอกับการจ่ายคืนเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสมให้แก่ผู้แสดงความประสงค์ โดยกองทุนอาจขายหลักทรัพย์ที่กองทุนลงทุนหรือปรับสัดส่วนการลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของสมาชิกเป็นสำคัญ ข้อ ๖ ในการนำส่งเงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าวตามข้อ ๔ (๒) เข้าบัญชีเงินสำรอง กองทุนจะโอนหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าเท่ากับเงินสมทบเงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าวของผู้แสดงความประสงค์เข้าบัญชีเงินสำรองภายในสิบวันทำการนับแต่วันที่ได้รับข้อมูลถูกต้องครบถ้วน ให้กองทุนทยอยแปลงหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งที่มิใช่ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจให้เป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจภายในระยะเวลาที่เหมาะสมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ทั้งนี้ ให้เสร็จสิ้นภายในห้าปีนับแต่วันที่กองทุนโอนหลักทรัพย์จากบัญชีเงินรายบุคคลของผู้แสดงความประสงค์เข้าบัญชีเงินสำรองตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๗ เมื่อกองทุนได้รับข้อมูลถูกต้องครบถ้วนจากกระทรวงการคลังแล้ว ให้กองทุนใช้มูลค่าต่อหน่วย ณ วันทำการที่กองทุนคำนวณให้ในวันปิดบัญชีเงินรายบุคคล สำหรับการจ่ายคืนเงินให้แก่ผู้แสดงความประสงค์และสำหรับการคำนวณมูลค่าหลักทรัพย์เพื่อนำส่งเข้าบัญชีเงินสำรองตามระเบียบนี้ ข้อ ๘ ให้ประธานกรรมการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ รวมทั้งให้มีอำนาจในการตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ มีนาคม ๒๕๕๘ วิศนี/ผู้ตรวจ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๑/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
302197
พระราชบัญญัติการกักเรือ พ.ศ. 2534
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การกักเรือ พ.ศ. ๒๕๓๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นปีที่ ๔๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกักเรือ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการกักเรือ พ.ศ. ๒๕๓๔” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “เรือ” หมายความว่า เรือเดินทะเลที่ใช้ในการขนส่งของหรือคนโดยสารทางทะเลระหว่างประเทศ “สิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือ” หมายความว่า สิทธิเรียกร้องอันเกิดจาก (ก) ความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของบุคคลใด ๆ ที่มีเหตุมาจากเรือหรือการดำเนินงานของเรือ (ข) การช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล (ค) สัญญาเกี่ยวกับการใช้ เช่า เช่าซื้อ หรือยืมเรือ การให้บริการบรรทุก หรือสัญญาอื่นทำนองเดียวกัน (ง) สัญญาเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเลที่มีการออกใบตราส่ง (จ) การเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป ในกรณีที่เจ้าของเรือ ผู้ขนส่งและเจ้าของของที่บรรทุกมาในเรือนั้น มีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เจ้าของทรัพย์สินที่สูญหาย หรือเสียหายจากการกระทำโดยเจตนาด้วยความจำเป็นตามสมควรเพื่อความปลอดภัยร่วมกันของเรือและของที่บรรทุกมาในเรือนั้น หรือต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไปด้วยความจำเป็นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่ายหรือเพื่อความปลอดภัยร่วมกันของเรือและของที่บรรทุกมาในเรือนั้น ทั้งนี้ เมื่อมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือสัญญาระหว่างคู่กรณีกำหนดความรับผิดในเรื่องนี้ไว้ (ฉ) การสูญหายหรือเสียหายอันเกิดแก่ทรัพย์สินที่บรรทุกมาในเรือ (ช) การให้บริการลากจูงเรือไม่ว่าโดยวิธีใด (ซ) การให้บริการนำร่อง (ฌ) การจัดหาของหรือวัสดุใด ๆ เพื่อใช้ในการดำเนินงานของเรือ หรือการซ่อมบำรุงเรือ (ญ) การต่อ ซ่อม หรือจัดเครื่องบริภัณฑ์ให้แก่เรือ หรือค่าธรรมเนียมการใช้อู่เรือ (ฎ) การให้บริการของท่าเรือ หรือค่าภาระหรือค่าบริการในการใช้ท่าเรือ (ฏ) ค่าจ้างขนของลงเรือหรือขึ้นจากเรือ (ฐ) ค่าจ้างนายเรือหรือคนประจำเรือ (ฑ) ค่าใช้จ่ายของเรือที่นายเรือ ผู้เช่าเรือ ตัวแทน หรือผู้ส่งของได้ทดรองจ่ายไปแทนเจ้าของเรือหรือผู้ครอบครองเรือ (ฒ) ข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในตัวเรือ (ณ) ข้อพิพาทระหว่างเจ้าของรวมเกี่ยวกับการครอบครอง การใช้เรือ หรือรายได้จากเรือ (ด) การจำนองเรือ “เจ้าหนี้” หมายความว่า ผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ “ศาล” หมายความว่า ศาลแพ่ง ศาลแพ่งธนบุรี และศาลจังหวัด “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๕ และมาตรา ๖ ก่อนฟ้องคดีต่อศาล ไม่ว่าลูกหนี้จะมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรหรือไม่ก็ตาม เจ้าหนี้ซึ่งมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรอาจขอให้ศาลสั่งกักเรือลำหนึ่งลำใดที่เป็นของลูกหนี้หรือลูกหนี้เป็นผู้ครอบครอง เพื่อให้เพียงพอที่จะเป็นประกันการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือนั้นได้ โดยทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลที่เรือซึ่งเจ้าหนี้ขอให้สั่งกักอยู่หรือจะเข้ามาอยู่ในเขตศาล มาตรา ๕ เจ้าหนี้อาจขอให้ศาลสั่งกักเรือที่ลูกหนี้เป็นผู้ครอบครองแต่มิได้เป็นของลูกหนี้ได้ ถ้าเหตุแห่งสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือเกิดจากเรือหรือธุรกิจของเรือนั้นและลูกหนี้เป็นผู้ครอบครองเรือนั้นทั้งในเวลาที่เกิดสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือและในเวลาที่ขอให้ศาลสั่งกักเรือ มาตรา ๖ ในกรณีที่สิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในตัวเรือ ข้อพิพาทระหว่างเจ้าของรวมเกี่ยวกับการครอบครองเรือ การใช้เรือ หรือรายได้จากเรือ หรือข้อพิพาทเกี่ยวกับการจำนองเรือ เจ้าหนี้จะขอให้ศาลสั่งกักเรือลำอื่นที่เป็นของลูกหนี้หรือลูกหนี้เป็นผู้ครอบครองนอกจากเรือลำที่เกี่ยวกับข้อพิพาทนั้นมิได้ มาตรา ๗ คำร้องขอให้กักเรือให้ทำเป็นคำร้องฝ่ายเดียว คำร้องขอให้กักเรือต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือ หนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือ และอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อเจ้าหนี้ ชื่อลูกหนี้ ชื่อเรือ หมายเลขทะเบียนเรือ ขนาดเรือ สัญชาติ และเมืองท่าขึ้นทะเบียนเรือ ชื่อนายเรือหรือผู้ควบคุมเรือหากทราบ และทำเลหรือถิ่นที่ทอดจอดเรือ มาตรา ๘ เมื่อได้รับคำร้องขอให้กักเรือ ให้ศาลดำเนินการไต่สวนฝ่ายเดียวเป็นการด่วน ถ้าเป็นที่พอใจจากพยานหลักฐานที่เจ้าหนี้นำมาสืบว่าสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือที่ยกขึ้นอ้างเป็นเหตุในการขอให้กักเรือนั้นมีมูล และในกรณีที่เรือที่เจ้าหนี้ขอให้ศาลสั่งกักมิได้อยู่ในราชอาณาจักรในเวลาที่ยื่นคำร้อง เจ้าหนี้ได้แสดงให้เป็นที่พอใจศาลว่าเรือนั้นจะเข้ามาในราชอาณาจักรและจะเข้ามาอยู่ในเขตศาล ให้ศาลสั่งกักเรือนั้น ในการสั่งกักเรือตามวรรคสอง ถ้าเป็นกรณีที่ลูกหนี้ไม่มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักร ศาลจะสั่งให้เจ้าหนี้นำหลักประกันตามที่ศาลเห็นสมควรมาวางต่อศาลก่อนการบังคับตามคำสั่งกักเรือ เพื่อเป็นประกันความเสียหายเนื่องจากการกักเรือ ซึ่งเจ้าหนี้อาจต้องรับผิดต่อลูกหนี้ก็ได้ แต่ในกรณีที่ลูกหนี้มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักร ให้ศาลสั่งให้เจ้าหนี้นำหลักประกันมาวางต่อศาลก่อนการบังคับตามคำสั่งกักเรือทุกกรณี เว้นแต่เจ้าหนี้จะได้แสดงให้เป็นที่พอใจศาลว่า ทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ที่อยู่ในราชอาณาจักรมีไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้ คำสั่งกักเรือตามวรรคสอง ให้ศาลกำหนดหลักประกันที่ลูกหนี้หรือบุคคลตามมาตรา ๒๒ จะต้องวางต่อศาลเพื่อขอให้ปล่อยเรือนั้นไว้ด้วย คำสั่งกักเรือตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด มาตรา ๙ ในการบังคับตามคำสั่งกักเรือ ให้ศาลออกหมายกักเรือส่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการต่อไปเป็นการด่วน และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีนั้น ดำเนินการตามหมายกักเรือได้ทั่วราชอาณาจักร หมายกักเรือตามวรรคหนึ่ง ให้ทำตามแบบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนด มาตรา ๑๐ ก่อนเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการกักเรือ ให้เจ้าหนี้ชำระค่าธรรมเนียมกักเรือในอัตราร้อยละหนึ่งของหนี้ที่เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือ แต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาท ในกรณีเจ้าหนี้ฟ้องคดีตามสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือ ให้หักค่าธรรมเนียมกักเรือตามวรรคหนึ่งจากค่าขึ้นศาลที่เจ้าหนี้จะต้องเสียในคดีนั้นด้วย และให้ถือว่าค่าธรรมเนียมกักเรือเป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งสำหรับคดีนั้น มาตรา ๑๑ เมื่อได้รับหมายกักเรือจากศาล ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งโดยทางโทรศัพท์ โทรเลข โทรพิมพ์ หรือวิธีการอื่น ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปล่อยเรือออกจากท่าทราบโดยพลันว่าศาลได้สั่งกักเรือลำนั้น ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด เมื่อได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปล่อยเรือออกจากท่าระงับการปล่อยเรือนั้นออกจากท่า เพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๒ ต่อไปจนกว่าจะได้รับแจ้งเป็นอย่างอื่น มาตรา ๑๒ เมื่อได้รับหมายกักเรือจากศาล ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ (๑) ส่งหมายกักเรือให้นายเรือหรือผู้ควบคุมเรือลงลายมือชื่อรับไว้ในใบรับเป็นหลักฐาน (๒) ปิดหมายกักเรือไว้ ณ ที่แลเห็นได้ง่ายในเรือ (๓) ดำเนินการอย่างอื่นที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุผลตามหมายกักเรือ และ (๔) แจ้งเป็นหนังสือให้สถานกงสุลของประเทศที่เรือนั้นมีสัญชาติทราบถึงการกักเรือ ในการส่งหมายกักเรือตาม (๑) ถ้านายเรือหรือผู้ควบคุมเรือปฏิเสธไม่ยอมลงลายมือชื่อรับหมายกักเรือจากเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือตำรวจไปด้วยเพื่อเป็นพยาน และถ้านายเรือหรือผู้ควบคุมเรือยังคงปฏิเสธไม่ยอมลงลายมือชื่อรับอีกก็ให้วางหมายกักเรือไว้ ณ ที่นั้น และให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้รับหมายกักเรือนั้นแล้ว ในกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายกักเรือนั้นได้ตามความใน (๑) หรือวรรคสอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดหมายกักเรือไว้ ณ ที่แลเห็นได้ง่ายในเรือ และให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้รับหมายกักเรือนั้นแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำรายงานการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรานี้ และส่งต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวนความต่อไป มาตรา ๑๓ ในการบังคับตามหมายกักเรือ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยอนุโลม และให้มีอำนาจสั่งให้นายเรือ ผู้ควบคุมเรือ คนประจำเรือ และบุคคลอื่นซึ่งเกี่ยวข้อง กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้บรรลุผลตามหมายกักเรือ ถ้าบุคคลเช่นว่านั้นฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีร้องขอความช่วยเหลือจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือตำรวจเพื่อให้สามารถดำเนินการตามคำสั่งได้ และในการนี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือตำรวจมีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวบุคคลเช่นว่านั้นไว้เท่าที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีร้องขอหรือพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควร พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้นายเรือทอดจอดเรือ ณ ที่ปลอดภัย หรือดำเนินการอย่างอื่นเพื่อให้บรรลุผลตามหมายกักเรือได้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นอุปสรรคในการขนของลงเรือหรือขึ้นจากเรือ มาตรา ๑๔ ให้เจ้าหนี้มีหน้าที่ช่วยเหลือเจ้าพนักงานบังคับคดีและทดรองค่าใช้จ่ายทั้งปวงที่จำเป็นต้องจ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามมาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ และมาตรา ๒๖ ถ้าเจ้าหนี้ไม่ยอมช่วยเหลือหรือไม่ยอมทดรองค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่ง และการไม่ช่วยเหลือหรือไม่ทดรองค่าใช้จ่ายเช่นว่านั้นทำให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรอการปฏิบัติหน้าที่ไว้และรายงานให้ศาลที่มีคำสั่งกักเรือทราบโดยด่วน เมื่อได้รับรายงานจากเจ้าพนักงานบังคับคดีตามวรรคสอง ให้ศาลมีคำสั่ง ดังนี้ (๑) ในกรณีที่ยังมิได้ปิดหมายกักเรือตามมาตรา ๑๒ (๒) ให้งดการบังคับตามคำสั่งกักเรือไว้ จนกว่าเจ้าหนี้จะช่วยเหลือและทดรองค่าใช้จ่ายภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดซึ่งต้องไม่เกินสามวันทำการ เมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ถ้าเจ้าหนี้ยังไม่ยอมช่วยเหลือและทดรองค่าใช้จ่าย ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้เจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปล่อยเรือออกจากท่าทราบเพื่อให้ยกเลิกการระงับการปล่อยเรือตามมาตรา ๑๑ วรรคสอง โดยให้นำความในมาตรา ๒๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม (๒) ในกรณีที่ได้ปิดหมายกักเรือตามมาตรา ๑๒ (๒) แล้ว ให้เจ้าหนี้ให้ความช่วยเหลือและทดรองค่าใช้จ่าย โดยแสดงความจำนงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดซึ่งต้องไม่เกินสามวันทำการ ถ้าเจ้าหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว ให้ศาลสั่งปล่อยเรือหรือคืนหลักประกันที่วางไว้ตามมาตรา ๒๑ หรือมาตรา ๒๒ แล้วแต่กรณี คำสั่งศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด มาตรา ๑๕ ความรับผิดต่อเจ้าของเรือ นายเรือ ผู้ควบคุมเรือ คนประจำเรือ หรือต่อบุคคลภายนอก เพื่อความเสียหาย ถ้าหากมี อันเกิดจากการกักเรือ ย่อมไม่ตกแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่แต่ตกแก่เจ้าหนี้ เว้นแต่เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ได้กระทำการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น มาตรา ๑๖ หมายกักเรือให้ใช้บังคับได้ทั่วราชอาณาจักรจนกว่าจะสิ้นอายุความฟ้องคดีตามสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือนั้น มาตรา ๑๗ เมื่อได้ดำเนินการตามมาตรา ๑๒ (๑) และ (๒) แล้ว (๑) ให้การกักเรือตามคำสั่งกักเรือมีผลใช้บังคับจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น และ (๒) การก่อให้เกิด โอน หรือเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในตัวเรือ หรือสิทธิครอบครองเรือระหว่างที่การกักเรือตามคำสั่งกักเรือมีผลใช้บังคับจะใช้ยันแก่เจ้าหนี้หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้ มาตรา ๑๘ เรือที่ถูกกักตามพระราชบัญญัตินี้ให้ถือว่าเป็นทรัพย์สินอันเจ้าพนักงานได้ยึดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๙ ถ้าลูกหนี้นำเงินมาวางศาลเต็มจำนวนที่กำหนดไว้ในคำสั่งกักเรือตามมาตรา ๘ วรรคสี่ โดยยอมรับผิด ให้การกักเรือตามคำสั่งกักเรือเป็นอันสิ้นสุดลง และให้ศาลสั่งปล่อยเรือที่กักไว้นั้นโดยพลัน ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าได้มีคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เจ้าหนี้ชนะคดีตามสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือที่ระบุไว้ในคำร้องขอให้กักเรือ มาตรา ๒๐ ในกรณีที่ลูกหนี้มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักร ถ้าลูกหนี้นำเงินมาวางศาลเต็มจำนวนที่กำหนดไว้ในคำสั่งกักเรือตามมาตรา ๘ วรรคสี่ โดยไม่ยอมรับผิด ให้การกักเรือตามคำสั่งกักเรือเป็นอันสิ้นสุดลง และให้ศาลสั่งปล่อยเรือที่กักไว้นั้นโดยพลัน มาตรา ๒๑ ลูกหนี้ซึ่งไม่มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรอาจขอให้ศาลที่สั่งกักเรือปล่อยเรือนั้นโดยทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาล พร้อมทั้งวางหลักประกันตามที่ศาลกำหนดไว้ในคำสั่งกักเรือเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้จะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือหรือโดยทางโทรเลขหรือโทรพิมพ์ให้บุคคลซึ่งมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรเป็นตัวแทนในการยื่นคำร้องขอให้ปล่อยเรือก็ได้ ให้ลูกหนี้ตั้งบุคคลซึ่งมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรเป็นตัวแทนเพื่อรับคำคู่ความและเอกสารในการดำเนินกระบวนพิจารณา โดยจะทำเป็นหนังสือหรือโดยทางโทรเลขหรือโทรพิมพ์ก็ได้ ในกรณีที่ตัวแทนตามวรรคสองเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาล ถ้าลูกหนี้ไม่ได้ตั้งตัวแทนตามวรรคสามไว้ ให้ถือว่าผู้ยื่นคำร้องนั้นเป็นตัวแทนตามวรรคสามด้วย ให้ตัวแทนตามวรรคสองและวรรคสาม ให้ถ้อยคำสาบานตัวต่อศาลว่าตนได้รับมอบอำนาจจากลูกหนี้จริง และมิให้นำมาตรา ๔๗ วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การตั้งตัวแทนดังกล่าว มาตรา ๒๒ บุคคลอื่นซึ่งได้รับหรือจะได้รับความเสียหายจากการที่เรือถูกกักอาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ปล่อยเรือได้โดยวางหลักประกันในนามของลูกหนี้ และให้ถือว่าบรรดาการกระทำที่ผู้ยื่นคำร้องนั้นจำเป็นต้องกระทำไปในการขอให้ศาลปล่อยเรือเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของลูกหนี้ บุคคลตามวรรคหนึ่งจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือหรือโดยทางโทรเลขหรือโทรพิมพ์ให้บุคคลซึ่งมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรเป็นตัวแทนในการยื่นคำร้องขอให้ปล่อยเรือก็ได้ ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยเรือโดยลูกหนี้ไม่ได้ตั้งตัวแทนตามมาตรา ๒๑ วรรคสามไว้ ให้ถือว่าผู้ยื่นคำร้องนั้นเป็นตัวแทนเพื่อรับคำคู่ความและเอกสารในการดำเนินกระบวนพิจารณา และถ้าผู้ยื่นคำร้องมิได้มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักร ให้ตั้งบุคคลซึ่งมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรเพื่อรับคำคู่ความและเอกสารแทนลูกหนี้โดยจะทำเป็นหนังสือหรือโดยทางโทรเลขหรือโทรพิมพ์ก็ได้ ให้ตัวแทนตามวรรคสองและวรรคสาม ให้ถ้อยคำสาบานตัวต่อศาลว่าตนได้รับมอบอำนาจจากบุคคลตามวรรคหนึ่งจริง และมิให้นำมาตรา ๔๗ วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การตั้งตัวแทนดังกล่าว มาตรา ๒๓ ในการยื่นคำร้องขอให้ปล่อยเรือ นอกจากต้องวางหลักประกันตามมาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง แล้ว (๑) ในกรณีที่ลูกหนี้ซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรเป็นผู้ยื่นคำร้องด้วยตนเอง ต้องแนบหลักฐานการตั้งตัวแทนตามมาตรา ๒๑ วรรคสาม ไปพร้อมกับคำร้อง (๒) ในกรณีที่ตัวแทนตามมาตรา ๒๑ วรรคสอง ของลูกหนี้เป็นผู้ยื่นคำร้อง ต้องแนบหลักฐานการตั้งตัวแทนตามมาตรา ๒๑ วรรคสอง ไปพร้อมกับคำร้อง (๓) ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง เป็นผู้ยื่นคำร้อง ถ้าผู้ยื่นคำร้องนั้นมิได้มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรและไม่ได้แนบหลักฐานการตั้งตัวแทนตามมาตรา ๒๑ วรรคสาม ของลูกหนี้ ต้องแนบหลักฐานการตั้งตัวแทนตามมาตรา ๒๒ วรรคสาม ไปพร้อมกับคำร้อง ถ้าผู้ยื่นคำร้องไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลมีคำสั่งไม่รับพิจารณาคำร้องนั้น มาตรา ๒๔ คำร้องขอให้ปล่อยเรือให้ทำเป็นคำร้องฝ่ายเดียว มาตรา ๒๕ นอกจากกรณีตามมาตรา ๑๙ และมาตรา ๒๐ ศาลมีอำนาจสั่งให้ปล่อยเรือได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยเรือ (๒) เจ้าหนี้มิได้ฟ้องคดีตามสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดหมายกักเรือตามมาตรา ๑๒ (๒) (๓) เมื่อมีคำร้องขอให้ปล่อยเรือตามมาตรา ๒๑ หรือมาตรา ๒๒ และศาลได้พิจารณาเป็นที่พอใจว่าหลักประกันที่ผู้ยื่นคำร้องวางต่อศาลมีมูลค่าหรือราคาไม่น้อยกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในคำสั่งกักเรือ หรือในกรณีที่ผู้ยื่นคำร้องขอวางหลักประกันน้อยกว่าที่กำหนดไว้ในคำสั่งกักเรือโดยได้แสดงเหตุผลไว้ในคำร้อง เมื่อศาลได้ส่งสำเนาคำร้องให้เจ้าหนี้ทราบเพื่อคัดค้านภายในเวลาที่ศาลกำหนด แต่เจ้าหนี้ไม่คัดค้านภายในเวลาที่ศาลกำหนดนั้น หรือเมื่อศาลได้พิจารณาคำคัดค้านของเจ้าหนี้แล้วเห็นว่าสมควรลดหลักประกันที่กำหนดไว้ในคำสั่งกักเรือ และศาลได้สั่งให้ผู้ยื่นคำร้องวางหลักประกันตามที่เห็นสมควร และได้มีการวางหลักประกันนั้นแล้ว คำสั่งปล่อยเรือตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด มาตรา ๒๖ เมื่อศาลได้มีคำสั่งปล่อยเรือตามมาตรา ๒๕ แล้ว ให้ศาลแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ (๑) แจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ทราบ แล้วแต่กรณี (๒) แจ้งเป็นหนังสือให้สถานกงสุลของประเทศที่เรือนั้นมีสัญชาติทราบ และ (๓) แจ้งโดยทางโทรศัพท์ โทรเลข โทรพิมพ์ หรือวิธีการอื่น ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปล่อยเรือออกจากท่าทราบโดยพลันว่าศาลได้มีคำสั่งปล่อยเรือนั้น ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด เมื่อได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม (๓) ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปล่อยเรือออกจากท่าดำเนินการปล่อยเรือนั้นโดยไม่ชักช้า มาตรา ๒๗ ให้ศาลสั่งคืนหลักประกันที่เจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือบุคคลตามมาตรา ๒๒ วางไว้ต่อศาลเมื่อ (๑) เจ้าหนี้มิได้ฟ้องคดีตามสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดหมายกักเรือตามมาตรา ๑๒ (๒) และลูกหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้คืนหลักประกันของตนเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันดังกล่าว (๒) ลูกหนี้มิได้ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายอันเป็นผลจากการที่เจ้าหนี้ขอให้สั่งกักเรือภายในหกสิบวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดหมายกักเรือตามมาตรา ๑๒ (๒) และเจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้คืนหลักประกันของตนเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันดังกล่าว (๓) เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้คืนหลักประกันของตนไม่ว่าในเวลาใด ๆ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่คัดค้าน (๔) ในกรณีที่มีการวางหลักประกันตามมาตรา ๒๒ (ก) เจ้าหนี้มิได้ฟ้องคดีตามสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดหมายกักเรือตามมาตรา ๑๒ (๒) และบุคคลตามมาตรา ๒๒ ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้คืนหลักประกันของตนเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันดังกล่าว (ข) เจ้าหนี้หรือบุคคลตามมาตรา ๒๒ ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้คืนหลักประกันของตนไม่ว่าในเวลาใด ๆ และเจ้าหนี้หรือบุคคลตามมาตรา ๒๒ แล้วแต่กรณี ไม่คัดค้าน มาตรา ๒๘ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดหมายกักเรือตามมาตรา ๑๒ (๒) แล้ว เจ้าหนี้จะฟ้องคดีตามสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือต่อศาลดังต่อไปนี้ก็ได้ คือ (๑) ศาลที่สั่งกักเรือ (๒) ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งมิใช่ศาลตาม (๑) แต่ศาลจะรับฟ้องไว้พิจารณาต่อเมื่อเจ้าหนี้ได้ยื่นคำร้องแสดงให้เป็นที่พอใจว่าการพิจารณาคดีในศาลนั้นจะเป็นการสะดวก มาตรา ๒๙ เมื่อลูกหนี้ซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรถูกฟ้องคดีแล้ว และยังไม่ได้ตั้งทนายความไว้ การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดให้แก่จำเลย ถ้าไม่สามารถส่งในราชอาณาจักรได้ ให้เจ้าพนักงานศาลปฏิบัติดังนี้ (๑) ถ้ามีตัวแทนตามมาตรา ๒๑ วรรคสาม ให้ส่งแก่ตัวแทนดังกล่าว (๒) ถ้าเป็นกรณีตามมาตรา ๒๒ วรรคสาม ให้ส่งแก่ผู้ยื่นคำร้องหรือบุคคลซึ่งผู้ยื่นคำร้องตั้งไว้เพื่อรับคำคู่ความหรือเอกสาร แล้วแต่กรณี (๓) ถ้าไม่มีตัวแทนตาม (๑) และไม่เป็นกรณีตาม (๒) ให้ส่งแก่นายเรือหรือผู้ควบคุมเรือนั้น ที่เรือหรือ ณ ที่อยู่ของบุคคลดังกล่าวในราชอาณาจักร ในกรณีที่ไม่สามารถส่งคำคู่ความหรือเอกสารให้แก่บุคคลตาม (๑) หรือ (๒) ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้ ศาลอาจสั่งให้ปิดคำคู่ความ หรือเอกสารไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของบุคคลดังกล่าว หรือในกรณีที่ไม่สามารถส่งคำคู่ความหรือเอกสารให้แก่บุคคลตาม (๓) ได้ ศาลอาจสั่งให้ปิดคำคู่ความหรือเอกสารไว้ ณ ที่แลเห็นได้ง่ายในเรือ ในกรณีเช่นนี้มิให้นำมาตรา ๗๙ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ เมื่อได้ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้ว ให้ถือว่าจำเลยได้รับคำคู่ความหรือเอกสารนั้นเมื่อระยะเวลาสิบห้าวันได้ล่วงพ้นไปแล้วนับแต่วันที่ได้ส่งหรือปิดคำคู่ความ หรือเอกสารนั้น มาตรา ๓๐ ในกรณีที่สิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือเกิดจากความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของบุคคลใด ๆ ที่มีสาเหตุมาจากเรือหรือการดำเนินงานของเรือ เมื่อพนักงานอัยการเห็นสมควรจะรับดำเนินคดีตามสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือดังกล่าวแทนเจ้าหนี้ก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้พนักงานอัยการมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้กักเรือแทนเจ้าหนี้และให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมกักเรือตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๓๑ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากเรือเดินทะเลที่ให้บริการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศประมาณกว่าร้อยละ ๙๐ เป็นเรือต่างชาติ ซึ่งเจ้าของเรือและผู้ดำเนินงานของเรือเหล่านี้ส่วนมากไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร เมื่อเกิดกรณีที่เจ้าของเรือหรือผู้ดำเนินงานต้องรับผิดทางแพ่งต่อบุคคลซึ่งอยู่ในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นความรับผิดตามสัญญา ความรับผิดเพื่อละเมิด หรือความรับผิดโดยผลแห่งกฎหมาย บุคคลดังกล่าวก็ไม่สามารถดำเนินการให้เจ้าของเรือหรือผู้ดำเนินงานชำระหนี้หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ตนได้ เนื่องจากเจ้าของเรือหรือผู้ดำเนินงานไม่มีทรัพย์สินอยู่ในราชอาณาจักร ซึ่งหากนำคดีขึ้นสู่ศาลก็ไม่เกิดประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ประกอบกับพฤติการณ์ทำนองเดียวกันนี้ เจ้าหนี้ในต่างประเทศสามารถฟ้องร้องเจ้าของเรือไทยหรือผู้ดำเนินงานต่อศาลในประเทศของตนได้ สมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกักเรือ ให้อำนาจศาลสั่งกักเรือที่เป็นของลูกหนี้ หรือลูกหนี้เป็นผู้ครอบครองเพื่อให้เพียงพอที่จะเป็นประกันการชำระหนี้อันมีมูลมาจากสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือนั้นได้ ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้ในราชอาณาจักรไม่ให้เสียเปรียบเจ้าของเรือหรือผู้ดำเนินงานต่างชาติโดยไม่เป็นธรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ กองกฎหมายไทย ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๙๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
318851
ระเบียบกระทรวงคมนาคมและกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับคำสั่งกักเรือและคำสั่งปล่อยเรือตามพระราชบัญญัติการกักเรือ พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2535 รก.(2538/37ง./15ส.)
ระเบียบกระทรวงคมนาคมและกระทรวงยุติธรรม ระเบียบกระทรวงคมนาคมและกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วย วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับคำสั่งกักเรือและคำสั่งปล่อยเรือ ตามพระราชบัญญัติการกักเรือ พ.ศ. ๒๕๓๔ พ.ศ. ๒๕๓๕[๑] เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปล่อยเรือออกจากท่า และพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติการกักเรือ พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๖ (๓) และมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการกักเรือ พ.ศ. ๒๕๓๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจึงวางระเบียบปฏิบัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงคมนาคมและกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วย วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับคำสั่งกักเรือและคำสั่งปล่อยเรือ ตามพระราชบัญญัติการกักเรือ พ.ศ. ๒๕๓๔ พ.ศ. ๒๕๓๕” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ เป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งหรือหนังสืออื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทนในข้อที่ขัดหรือแย้งกันนั้น หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๔ การใดที่เป็นหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการกักเรือ พ.ศ. ๒๕๓๔ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปล่อยเรือออกจากท่า และพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มีหน้าที่ต้องปฏิบัติการนั้นนอกเวลาราชการและในวันหยุดราชการด้วย ข้อ ๕ เจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปล่อยเรือออกจากท่า ตามพระราชบัญญัติการกักเรือ พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้แก่ เจ้าท่าผู้มีอำนาจอนุญาตให้เรือออกจากท่าซึ่งเรือที่ถูกสั่งกักอยู่หรือจะเข้ามาอยู่ในเขตอำนาจ เมื่อจะต้องแจ้งคำสั่งกักเรือหรือคำสั่งปล่อยเรือ หรือส่งสำเนาหมายกักเรือหรือสำเนาคำสั่งปล่อยเรือ ไปยังเจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปล่อยเรือออกจากท่าให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งหรือส่งไปยังที่ทำการของเจ้าท่าผู้มีอำนาจอนุญาตให้เรือออกจากท่า ณ กรมเจ้าท่า หรือสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามเขตอำนาจที่แสดงไว้ใน ภาคผนวก ๑ ท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๖ การแจ้งคำสั่งกักเรือหรือคำสั่งปล่อยเรือ ให้ระบุสาระสำคัญในหมายกักเรือหรือคำสั่งปล่อยเรือ แล้วแต่กรณี ให้เป็นการเพียงพอต่อการที่เจ้าท่าผู้มีอำนาจอนุญาตให้เรือออกท่าจะสามารถดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งอย่างน้อยต้องระบุ (๑) ชื่อเจ้าหนี้ และลูกหนี้ (๒) หมายเลขคดีของศาลที่สั่งกักเรือ (๓) ชื่อ สัญชาติ และหมายเลขทะเบียนเรือ (๔) สภาพแห่งสิทธิเรียกร้อง และ (๕) ชื่อ ชื่อสกุล และตำแหน่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้แจ้งคำสั่ง หมวด ๒ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับคำสั่งกักเรือ ข้อ ๗ เมื่อได้รับหมายกักเรือจากศาล ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งคำสั่งศาลโดยระบุสาระสำคัญตามข้อ ๖ ไปให้เจ้าท่าตามข้อ ๕ ทราบโดยพลัน โดยทางโทรศัพท์ โทรเลข โทรพิมพ์หรือโทรสาร ในกรณีที่แจ้งโดยทางโทรสาร ให้ผู้แจ้งลงลายมือชื่อและประทับตราเจ้าพนักงานบังคับคดีในสำเนาหมายกักเรือ แล้วส่งโทรสารสำเนาหมายที่ลงลายมือชื่อและประทับตราแล้วนั้นไปยังเจ้าท่าตามข้อ ๕ ในกรณีที่ไม่อาจแจ้งโดยวิธีการตามวรรคหนึ่งได้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการแจ้งโดยวิธีอื่นเท่าที่จะสามารถทำได้ เพื่อให้เจ้าท่าตามข้อ ๕ ได้ทราบคำสั่งกักเรือโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ข้อ ๘ นอกจากจะแจ้งคำสั่งศาลตามวิธีการในข้อ ๗ แล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งสำเนาหมายกักเรือไปยังเจ้าท่าตามข้อ ๕ โดยเร็วที่สุด การส่งสำเนาหมายกักเรือตามข้อนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมอบหมายให้เจ้าหนี้หรือผู้แทนเจ้าหนี้เป็นผู้จัดการส่งแทนก็ได้ ข้อ ๙ เมื่อได้รับแจ้งคำสั่งกักเรือตามข้อ ๗ หรือเมื่อได้รับสำเนาหมายกักเรือตามข้อ ๘ แม้จะยังไม่ได้รับแจ้งตามข้อ ๗ ก็ตาม ให้เจ้าท่าตามข้อ ๕ ระงับการอนุญาตให้เรือลำนั้นออกจากท่าไว้ก่อน และแจ้งการไม่อนุญาตให้เรือออกจากท่าไปยังนายเรือและตัวเรือของเรือลำนั้นโดยไม่ชักช้า การแจ้งการไม่อนุญาตให้เรือออกจากท่าตามวรรคหนึ่ง ให้ทำเป็นหนังสือตามแบบในภาคผนวก ๒ ท้ายระเบียบนี้ ส่งให้นายเรือและตัวแทนเรือลงลายมือชื่อรับทราบการกักเรือไว้ในหนังสือ ถ้าบุคคลดังกล่าวไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบให้เจ้าท่าจดแจ้งพฤติการณ์เช่นว่านั้นไว้ในหนังสือดังกล่าว ข้อ ๑๐ เมื่อเจ้าหนี้ประสงค์จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการกักเรือ ให้ยื่นคำขอและชำระค่าใช้จ่ายรวมทั้งค่าส่งหมายต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด ค่าใช้จ่ายและค่าส่งหมายตามวรรคหนึ่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดตามอัตราที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและระเบียบกรมบังคับคดีที่เกี่ยวข้องโดยอนุโลม ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ศาลได้ออกหมายกักเรือแล้ว แต่เรือได้ออกจากท่าไปก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้แจ้งคำสั่งกักเรือให้เจ้าท่าตามข้อ ๕ ทราบ ถ้าเรือนั้นยังออกไปไม่พ้นราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติดังนี้ (๑) ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติตามข้อ ๗ โดยแจ้งคำสั่งศาลไปยังเจ้าท่าซึ่งเส้นทางที่เรือนั้นเดินผ่านอยู่ในเขตอำนาจ และส่งสำเนาหมายกักเรือไปยังเจ้าท่าดังกล่าวโดยปฏิบัติตามข้อ ๘ โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ (๒) ในกรณีเช่นนี้ ถ้าเจ้าหนี้แสดงความประสงค์จะให้ทำการกักเรือให้เจ้าท่าซึ่งได้รับแจ้งตาม (๑) ดำเนินการตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยขอความร่วมมือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการหยุดเรือนั้นไว้ก่อนออกไปนอกราชอาณาจักร และนำเรือดังกล่าวกลับมาอยู่ในเขตอำนาจของศาลที่สั่งกักเรือนั้นทั้งนี้ โดยเจ้าหนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งปวงที่จำเป็นต้องใช้จ่ายในการดำเนินการดังกล่าว หมวด ๓ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับคำสั่งปล่อยเรือ ข้อ ๑๒ เมื่อได้รับคำสั่งปล่อยเรือจากศาล ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งคำสั่งศาลโดยระบุสาระสำคัญตามข้อ ๖ ไปให้เจ้าท่าตามข้อ ๕ ทราบโดยพลัน โดยทางโทรศัพท์ โทรเลข โทรพิมพ์หรือโทรสาร ในกรณีที่แจ้งโดยทางโทรสาร ให้ปฏิบัติตามข้อ ๗ วรรคสอง โดยอนุโลม ในกรณีที่ไม่อาจแจ้งโดยวิธีการตามวรรคหนึ่งได้ ให้ปฏิบัติตาม ข้อ ๗ วรรคสามโดยอนุโลม ข้อ ๑๓ นอกจากจะแจ้งคำสั่งศาลตามวิธีการในข้อ ๑๒ แล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งสำเนาคำสั่งศาลไปยังเจ้าท่าตามข้อ ๕ โดยเร็วที่สุด การส่งสำเนาคำสั่งศาลตามข้อนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมอบหมายให้ลูกหนี้หรือผู้มีส่วนได้เสียซึ่งร้องขอให้ปล่อยเรือหรือผู้แทนของบุคคลดังกล่าวเป็นผู้จัดการส่งแทนก็ได้ ข้อ ๑๔ เมื่อได้รับแจ้งคำสั่งปล่อยเรือตามข้อ ๑๒ หรือเมื่อได้รับสำเนาคำสั่งศาลตามข้อ ๑๓ แม้จะยังไม่ได้รับแจ้งตามข้อ ๑๒ ก็ตาม ให้เจ้าท่าตามข้อ ๕ ดำเนินการในเรื่องการอนุญาตให้เรือออกจากท่าโดยไม่ชักช้า หมวด ๔ เบ็ดเตร็ด ข้อ ๑๕ ให้จัดให้มีสารบบคำสั่งกักเรือและปล่อยเรือไว้ที่กรมเจ้าท่าเพื่อประโยชน์ในการค้นหาอ้างอิงของส่วนราชการและบุคคลอื่นซึ่งมีส่วนได้เสียหรืออาจมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับการกักเรือ การจัดทำสารบบและการลงรายการในสารบบตามวรรคหนึ่งให้อนุโลมตามสารบบความของศาลยุติธรรมเท่าที่อาจทำได้ ข้อ ๑๖ การแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวก ๑ และภาคผนวก ๒ ท้ายระเบียบนี้ ให้ทำเป็นคำสั่งร่วมกันของกระทรวงคมนาคมและกระทรวงยุติธรรม และให้เป็นอำนาจหน้าที่ร่วมกันของปลัดกระทรวงดังกล่าวในอันที่จะทำคำสั่งเช่นว่านั้น ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๕ นุกูล ประจวบเหมาะ ประภาศน์ อวยชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๓๗ ง/หน้า ๑๕/๙ พฤษภาคม ๒๕๓๘
318485
พระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ.2518
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงิน บางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นปีที่ ๓๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายในประเภทดังต่อไปนี้ ให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา (๑) ค่าเช่าซื้อบ้านข้าราชการ (๒) ค่าเช่าบ้านข้าราชการหรือค่าที่อยู่อาศัยของข้าราชการ (๓) ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (๔) เบี้ยประชุมกรรมการ (๕) เงินเดือนระหว่างลาของข้าราชการ (๖) เงินสวัสดิการจากทางราชการ พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ การจ่ายเงิน วิธีการเบิกจ่าย อัตราการจ่าย ของผู้มีสิทธิได้รับเงินนั้นและหลักเกณฑ์อื่น ตามที่เห็นสมควร มาตรา ๔ นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนระหว่างลาของข้าราชการพลเรือนและตุลาการ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนระหว่างลาของข้าราชการอัยการ และประกาศกระทรวงการคลังที่ออกตามความในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และระเบียบการจ่ายเงินช่วยเหลือข้าราชการในประเภทต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงใช้ได้ต่อไประหว่างที่ยังมิได้มีการตราพระราชกฤษฎีกา ประกาศกระทรวงการคลัง หรือระเบียบที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ขึ้นใหม่ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันหลักเกณฑ์การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายที่เกี่ยวกับค่าเช่าบ้าน ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น ได้กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา ประกาศกระทรวงการคลัง และระเบียบกระทรวงการคลังต่าง ๆ กัน สมควรแก้ไขให้กระทำได้เฉพาะในรูปพระราชกฤษฎีกาเท่านั้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ศรตม์/ปรับปรุง มีนาคม ๒๕๕๖ อุดมลักษณ์/ตรวจ มิถุนายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒/ตอนที่ ๓๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘
471233
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. 2521 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นปีที่ ๓๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๒๐ และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ผู้ได้รับเบี้ยหวัดหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ หรือบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ต่ำกว่าเดือนละสี่พันบาท ให้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ เรียกโดยย่อว่า “ช.ค.บ.” ในอัตราเดือนละสองร้อยบาท ผู้ได้รับเบี้ยหวัดหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ หรือบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการตั้งแต่เดือนละสี่พันบาทขึ้นไปแต่ไม่เกินสี่พันสองร้อยบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละสองร้อยบาท แต่เมื่อรวม ช.ค.บ. กับเบี้ยหวัดบำนาญแล้ว ให้ได้รับไม่เกินเดือนละสี่พันสองร้อยบาท มาตรา ๔[๒] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอด ในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ต่ำกว่าเดือนละสี่พันบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละหนึ่งร้อยบาท ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอด ในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตั้งแต่เดือนละสี่พันบาทขึ้นไป แต่ไม่เกินสี่พันหนึ่งร้อยบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละหนึ่งร้อยบาท แต่เมื่อรวม ช.ค.บ. กับบำนาญแล้ว ให้ได้รับไม่เกินเดือนละสี่พันหนึ่งร้อยบาท มาตรา ๔ ทวิ[๓] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๓ และยังคงได้รับหรือมีสิทธิได้รับอยู่ในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๕ เดือนละต่ำกว่าอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของข้าราชการแต่ละประเภท ตามกฎหมายว่าด้วยการให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน บัญชีอัตราเงินเดือนทหาร บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม หรือบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ แล้วแต่กรณี ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละร้อยละสามสิบเก้าของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับแต่ทั้งนี้ เมื่อรวม ช.ค.บ. ตามวรรคนี้กับเบี้ยหวัดหรือบำนาญแล้ว ให้ได้รับไม่เกินอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของข้าราชการแต่ละประเภทดังกล่าว ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตั้งแต่วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๒๓ เป็นต้นมา และยังคงได้รับหรือมีสิทธิได้รับอยู่ในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๕ เดือนละต่ำกว่าอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของข้าราชการแต่ละประเภท ตามกฎหมายว่าด้วยการให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน บัญชีอัตราเงินเดือนทหาร บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม หรือบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ แล้วแต่กรณี ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละร้อยละสิบหกของจำนวนเบี้ยหวัด หรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ แต่ทั้งนี้เมื่อรวม ช.ค.บ. ตามวรรคนี้กับเบี้ยหวัดหรือบำนาญแล้ว ให้ได้รับไม่เกินอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของข้าราชการแต่ละประเภทดังกล่าว สำหรับผู้มีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ให้ถือบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของผู้ที่ก่อให้เกิดสิทธิในบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดนั้น ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญรายใดไม่อาจนำอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของข้าราชการแต่ละประเภทมาใช้บังคับ ให้ใช้อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนหมายเลข ๓ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ ตรี[๔] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้ว ในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ และ ช.ค.บ. ตามมาตรา ๓ มาตรา ๔ หรือมาตรา ๔ ทวิ แล้วแต่กรณี อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละร้อยละหกของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญ และ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละหกของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ จัตวา[๕] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้ว ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ตามมาตรา ๓ มาตรา ๔ มาตรา ๔ ทวิ หรือมาตรา ๔ ตรี แล้วแต่กรณี อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละร้อยละสิบของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสิบของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ เบญจ[๖] ผู้ได้รับบำนาญปกติที่มีเวลาราชการรวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ และได้รับ ช.ค.บ. ตามมาตรา ๓ มาตรา ๔ ทวิ มาตรา ๔ ตรี หรือมาตรา ๔ จัตวา แล้วแต่กรณี อยู่แล้วให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตรา ดังนี้ (๑) ถ้าผู้ที่ได้รับบำนาญปกติมีอายุตั้งแต่เจ็ดสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่ถึงแปดสิบปีบริบูรณ์ และได้รับบำนาญปกติรวมกับ ช.ค.บ. เดือนละไม่ถึงสามพันบาทให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของเงินจำนวนสามพันบาทหักด้วยบำนาญปกติและ ช.ค.บ. ที่ได้รับอยู่ (๒) ถ้าผู้ที่ได้รับบำนาญปกติมีอายุตั้งแต่แปดสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่ถึงเก้าสิบปีบริบูรณ์ และได้รับบำนาญปกติรวมกับ ช.ค.บ. เดือนละไม่ถึงห้าพันบาทให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของเงินจำนวนห้าพันบาทหักด้วยบำนาญปกติและ ช.ค.บ. ที่ได้รับอยู่ (๓) ถ้าผู้ที่ได้รับบำนาญปกติมีอายุตั้งแต่เก้าสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป และได้รับบำนาญปกติรวมกับ ช.ค.บ. เดือนละไม่ถึงหกพันบาทให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของเงินจำนวนหกพันบาทหักด้วยบำนาญปกติและ ช.ค.บ. ที่ได้รับอยู่ มาตรา ๔ ฉ[๗] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหมผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้ว และยังคงได้รับหรือมีสิทธิได้รับอยู่ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญก่อนวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสี่สิบของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญตั้งแต่วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑ ถึงวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละยี่สิบของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญ และ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๓) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญตั้งแต่วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ถึงวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสิบสองของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ สัตต[๘] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอด ในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้ว ในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๗ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังนี้ (๑) ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละร้อยละสิบเอ็ดของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ.ในอัตราเดือนละร้อยละสิบเอ็ดของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ อัฎฐ[๙] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้ว ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละร้อยละสามของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละ ร้อยละสามของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ นว[๑๐] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ถ้าได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญรวมกันทุกประเภทเมื่อรวมกับ ช.ค.บ. แล้ว ต่ำกว่าเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของจำนวนเงินหนึ่งหมื่นบาทหักด้วยจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญทุกประเภท และ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ มาตรา ๔ ทศ[๑๑] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้วในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นไป (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละร้อยละห้าของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละห้าของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ เอกาทศ[๑๒] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้วในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละร้อยละสี่ของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสี่ของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ ทวาทศ[๑๓] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้วในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละร้อยละห้าของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละห้าของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ เตรส[๑๔] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้วในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละร้อยละสี่ของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสี่ของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๕[๑๕] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ไม่มีสิทธิได้รับ ช.ค.บ.ตามมาตรา ๓ หรือมาตรา ๔ ถ้าเข้ารับราชการหรือกลับเข้ารับราชการหรือเข้าทำงานหรือกลับเข้าทำงานสังกัดราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่น มาตรา ๖ การจ่าย ช.ค.บ. ให้นำกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่ในกรณีผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญถึงแก่ความตาย ให้จ่าย ช.ค.บ. เพียงวันที่ถึงแก่ความตาย มาตรา ๗ การเบิกจ่าย ช.ค.บ. ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ส. โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากภาวะการครองชีพโดยทั่วไปในปัจจุบันได้สูงขึ้นมาก สมควรให้เงินช่วยเหลือจำนวนหนึ่งเป็นเงินช่วยค่าครองชีพแก่ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ โดยให้ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพแล้วไม่เกินเดือนละสี่พันสองร้อยบาท จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓[๑๖] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๔ บัญญัติให้ทายาทผู้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดเท่านั้นเป็นผู้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ซึ่งไม่สอดคล้องกับการจ่ายเงินบำนาญพิเศษและบำนาญตกทอดในกรณีที่ผู้ตายไม่มีทายาท สมควรให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญด้วย นอกจากนี้เมื่อได้มีการปรับให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน บัญชีอัตราเงินเดือนทหาร ฯลฯ เพื่อให้ข้าราชการทหาร ฯลฯ มีรายได้เหมาะสมกับภาวะการครองชีพในปัจจุบันแล้ว ในการนี้ สมควรให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๓ เดือนละต่ำกว่าอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๒ ของข้าราชการแต่ละประเภท ตามกฎหมายว่าด้วยการให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน บัญชีอัตราเงินเดือนทหาร ฯลฯ แล้วแต่กรณี ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มในอัตราเดือนละร้อยละยี่สิบของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๓ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๕[๑๗] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการโดยให้ได้รับตามบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๕ ในการนี้สมควรให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มขึ้นในรูปเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญด้วย แต่ปรากฏว่าบุคคลดังกล่าวมีอยู่สองประเภท คือ ประเภทแรกได้แก่ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๓ (วันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓) และได้รับเงินช่วยค่าครองชีพเพิ่มในอัตราร้อยละยี่สิบของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญอยู่แล้วตามพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยคำนวณจากเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๑ กับประเภทที่สอง ได้แก่ผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญตั้งแต่วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๒๓ (หลังวันที่พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ ใช้บังคับ) โดยคำนวณจากเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๒ และยังไม่มีการเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพ จึงจำเป็นต้องปรับให้บุคคลทั้งสองประเภทได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพเพิ่มในอัตราส่วนเท่าเทียมกันและสอดคล้องกับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ดังนั้น ผู้ได้รับเบี้ยหวัดฯ ประเภทแรก จึงควรให้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละสามสิบเก้าและผู้ได้รับเบี้ยหวัดฯ ประเภทหลังจึงควรให้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละสิบหกของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๕ เป็นต้นไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๒[๑๘] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มขึ้นจากที่ได้รับอยู่เดิมให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๓[๑๙] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มขึ้นจากที่ได้รับอยู่เดิมให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๓[๒๐] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากผู้รับบำนาญปกติซึ่งได้รับราชการมาเป็นเวลานาน ขณะนี้สูงอายุและได้รับเงินบำนาญเป็นจำนวนน้อยไม่เหมาะสมกับสภาวะค่าครองชีพในปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้รับบำนาญปกติซึ่งมีอายุตั้งแต่เจ็ดสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป สมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มขึ้นจากที่ได้รับอยู่เดิมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๕[๒๑] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มขึ้นจากที่ได้รับอยู่เดิมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และเพื่อให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดบำนาญที่เข้าทำงานหรือกลับเข้าทำงานในรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือองค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญในอัตราที่น้อยยังคงมีสิทธิได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๓๘[๒๒] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญให้สูงขึ้นจากที่ได้รับอยู่เดิมเพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๗[๒๓] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับภาวะการครองชีพ สมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๘[๒๔] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันได้เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดบำนาญในการครองชีพ สมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพสำหรับผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดบำนาญซึ่งเมื่อรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพแล้วต่ำกว่าเดือนละห้าพันหนึ่งร้อยบาท ให้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพเพิ่มอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของจำนวนเงินห้าพันหนึ่งร้อยบาทหักด้วยจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญ และเงินช่วยค่าครองชีพที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๔๘[๒๕] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับภาวะการครองชีพ สมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๐[๒๖] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับภาวะการครองชีพ สมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๕๒[๒๗] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันได้เพิ่มสูงขึ้น สมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ เพื่อให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดบำนาญซึ่งเมื่อรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญแล้วต่ำกว่าเดือนละหกพันบาทได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มอีกตามอัตราที่กำหนด อันเป็นการช่วยเหลือบุคคลดังกล่าวในการครองชีพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๕๔[๒๘] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ สมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญให้แก่ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพื่อให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๘๑/๒๕๕๗ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑[๒๙] พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๕๘[๓๐] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับภาวะค่าครองชีพ สมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญให้แก่ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพื่อให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๖) พ.ศ. ๒๕๖๒[๓๑] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันได้เพิ่มสูงขึ้น สมควรปรับปรุงอัตราเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ เพื่อกำหนดให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญซึ่งเมื่อรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญแล้วต่ำกว่าเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มขึ้นอีกตามอัตราที่กำหนด อันเป็นการช่วยเหลือบุคคลดังกล่าวในการครองชีพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/เพิ่มเติม ๔ สิงหาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ปรับปรุง ๑๗ เมษายน ๒๕๕๘ พัชรภรณ์/เพิ่มเติม ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ภาณุรุจ/ตรวจ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๑๑๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐/๑๙ ตุลาคม ๒๕๒๑ [๒] มาตรา ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๓] มาตรา ๔ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๕ [๔] มาตรา ๔ ตรี เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๕] มาตรา ๔ จัตวา เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๓ [๖] มาตรา ๔ เบญจ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๓ [๗] มาตรา ๔ ฉ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๘] มาตรา ๔ สัตต เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๓๘ [๙] มาตรา ๔ อัฏฐ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๗ [๑๐] มาตรา ๔ นว แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๖) พ.ศ. ๒๕๖๒ [๑๑] มาตรา ๔ ทศ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๑๒] มาตรา ๔ เอกาทศ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๑๓] มาตรา ๔ ทวาทศ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๑๔] มาตรา ๔ เตรส เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๑๕] มาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๓๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖/๑๑ มีนาคม ๒๕๒๓ [๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๙/ตอนที่ ๒๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑/๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕ [๑๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๑/หน้า ๑/๑๗ มกราคม ๒๕๓๒ [๑๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๕๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓/๙ เมษายน ๒๕๓๓ [๒๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๒๔๓/หน้า ๕๑๒/๖ ธันวาคม ๒๕๓๓ [๒๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๗๐/หน้า ๑/๑๕ มิถุนายน ๒๕๓๕ [๒๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๓๗/๓๐ มกราคม ๒๕๓๘ [๒๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๓๙ ก/หน้า ๑/๓ สิงหาคม ๒๕๔๗ [๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๘๕ ก/หน้า ๑๐/๒๓ กันยายน ๒๕๔๘ [๒๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๑๐ ก/หน้า ๖/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ [๒๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๙/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๐ [๒๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๔๖ ก/หน้า ๑๑/๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ [๒๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๑/๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ [๒๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง/หน้า ๕/๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ [๓๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๒๑ ก/หน้า ๘๙/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘ [๓๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๗๒ ก/หน้า ๔๓/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒
471237
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2523 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นปีที่ ๓๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ค่ารักษาพยาบาล”[๒] หมายความว่า เงินที่สถานพยาบาลเรียกเก็บในการรักษาพยาบาล ดังนี้ (๑) ค่ายา ค่าเลือด และส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน ค่าน้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน และอื่นๆ ทำนองเดียวกันที่ใช้ในการบำบัดรักษาโรค (๒) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม (๓) ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์โรค แต่ไม่รวมถึงค่าจ้างผู้พยาบาลพิเศษ ค่าธรรมเนียมพิเศษ และค่าบริการอื่นทำนองเดียวกันที่มีลักษณะเป็นเงินตอบแทนพิเศษ (๔) ค่าห้องและค่าอาหารตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล (๕) ค่าตรวจสุขภาพประจำปี “การรักษาพยาบาล”[๓] หมายความรวมถึง การตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อประโยชน์ทางด้านสาธารณสุข “สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานพยาบาลของทางราชการและสถานพยาบาลของเอกชน “สถานพยาบาลของทางราชการ” หมายความว่า สถานพยาบาลของทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และให้หมายความรวมถึงสถานพยาบาลของกรุงเทพมหานคร รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ สภากาชาดไทย คุรุสภา สมาคม ปราบวัณโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและสถานพยาบาลอื่นที่กระทรวงการคลังกำหนด “สถานพยาบาลของเอกชน”[๔] หมายความว่า สถานพยาบาลของเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินยี่สิบห้าเตียง ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล “บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า (๑) บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม หรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นแล้ว (๒) คู่สมรสของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (๓) บิดาหรือมารดาของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล มาตรา ๕ การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ ส่วนวิธีการเบิกจ่ายนั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๖[๕] ภายใต้บังคับมาตรา ๘ และมาตรา ๑๑ ทวิ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวของตนตามพระราชกฤษฎีกานี้ (๑) ข้าราชการและลูกจ้างประจำซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำของกระทรวง ทบวง กรม (๒) ลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งมีหนังสือสัญญาจ้างที่ได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย และสัญญาจ้างนั้นมิได้ระบุเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลไว้ (๓) ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้ได้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด มาตรา ๖ ทวิ[๖] ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้และบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นประสบอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยในคราวเดียวกันและผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ได้เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยในคราวนั้น ให้บุคคลในครอบครัวของผู้นั้น ซึ่งได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามสิทธิที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกานี้เฉพาะการเจ็บป่วยในครั้งนั้น มาตรา ๗ ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๖ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรได้เพียงคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม ให้นับเรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลัง ทั้งนี้ ไม่ว่าเป็นบุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งใด หรืออยู่ในอำนาจปกครองของตนหรือไม่ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้ใดมีบุตรเกินสามคน และต่อมาบุตรคนหนึ่งคนใดในจำนวนสามคนตามวรรคหนึ่งนั้นตายลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะก็ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรเพิ่มขึ้นอีกเท่าจำนวนบุตรที่ตายนั้นโดยให้นับบุตรคนที่อยู่ในลำดับถัดไปก่อน มาตรา ๗ ทวิ[๗] ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ผู้ใดยังไม่มีบุตรหรือมีบุตรที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๗ ยังไม่ถึงสามคน ถ้าต่อมามีบุตรแฝดซึ่งทำให้มีจำนวนบุตรเกินสามคน ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๗ สำหรับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้าย แต่บุตรแฝดดังกล่าวจะต้องเป็นบุตรซึ่งเกิดจากคู่สมรส หรือเป็นบุตรของตนเองในกรณีที่หญิงเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ในกรณีที่บุตรคนใดคนหนึ่งของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งตายลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะ ก็ให้ลดจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลลงจนกว่าจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเหลือไม่เกินสามคน และหลังจากนั้น ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลดังกล่าว จึงจะมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นได้ตามมาตรา ๗ วรรคสาม เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ บทบัญญัติที่อ้างถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สามของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้หมายถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๗ ตรี[๘] การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายในกรณีที่ไม่อาจทราบลำดับการเกิดก่อนหลังของบุตรแฝดได้โดยแน่ชัด ให้นับลำดับบุตรแฝดตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘[๙] ข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจซึ่งอยู่ในระหว่างรับการศึกษาอบรมใน สถานศึกษาของกรมตำรวจ อันเป็นการศึกษาอบรมก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการประจำ ไม่มีสิทธิ ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๙ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น มีสิทธิหรือได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่นแล้ว ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือบุคคลใดในครอบครัวของผู้นั้นได้รับค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลจากผู้อื่นแล้ว ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ไปก่อนแล้ว ภายหลังได้รับค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลจากบุคคลอื่น มีจำนวนเท่าหรือเกินกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้นำเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับไปนั้นส่งคืน แต่ถ้าเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบุคคลอื่นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้ส่งคืนเท่าจำนวนที่ได้รับจากบุคคลอื่นนั้น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๑[๑๐] การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอย่างอื่น ซึ่งมิใช่เป็นการตรวจสุขภาพประจำปี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตรา ดังนี้ (๑)[๑๑] ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการ ทั้งประเภทผู้ป่วยภายนอกหรือผู้ป่วยภายใน ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง ทั้งนี้ กระทรวงการคลังอาจกำหนดอัตราให้เบิกได้ต่ำกว่าจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงก็ได้ (๒) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชน หรือสถานพยาบาลของเอกชนอื่นซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นประสบอุบัติเหตุ อุบัติภัย หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของบุคคลดังกล่าว เมื่อได้มีใบรับรองของแพทย์จากสถานพยาบาลของเอกชนนั้นมาประกอบให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ดังนี้ (ก) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรครวมทั้งค่าซ่อมแซม ค่าห้อง และค่าอาหาร ให้เบิกได้เช่นเดียวกับผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการ (ข) ค่ารักษาพยาบาลประเภทอื่นๆ ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่จะต้องไม่เกินสามพันบาท (๓) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของเอกชนในกรณีที่เป็นการเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นครั้งคราวเพราะเหตุที่สถานพยาบาลของทางราชการมีความจำเป็นต้องส่งตัวให้แก่สถานพยาบาลของเอกชนนั้น ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๑ ทวิ[๑๒] การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพประจำปี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตรา ดังนี้ (๑) ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพประจำปีต้องเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ หรือผู้ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (๒)[๑๓] เข้ารับการตรวจสุขภาพในสถานพยาบาลของทางราชการ (๓) ค่าตรวจสุขภาพให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๒[๑๔] ในกรณีที่สถานพยาบาลตามมาตรา ๑๑ ไม่มียาเลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน น้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ออกซิเจน อวัยวะเทียมหรืออุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคจำหน่าย หรือไม่อาจให้การตรวจทางห้องทดลอง หรือเอ๊กซเรย์แก่ผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลได้ เมื่อแพทย์ผู้ตรวจรักษาหรือหัวหน้าสถานพยาบาลของสถานพยาบาลแห่งนั้นลงลายมือชื่อรับรองตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนดแล้ว ก็ให้ผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลซื้อ หรือรับการตรวจทางห้องทดลองหรือเอ๊กซเรย์จากสถานที่อื่นซึ่งอยู่ในประเทศไทยแล้วนำมาเบิกได้ตามมาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ ทวิ[๑๕] เมื่อปรากฏว่าสถานพยาบาลของเอกชนใดมีพฤติการณ์ในทางทุจริตร่วมกับผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นในเรื่องการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนดังกล่าวให้กระทรวง ทบวง กรมทราบ เพื่อมิให้เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของเอกชนนั้นอีกต่อไป เว้นแต่จะเป็นกรณีตามข้อยกเว้นของมาตรา ๑๑ (๒) การแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนตามวรรคหนึ่ง ให้มีผลเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแจ้ง การแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนนั้นที่มีอยู่ก่อนวันที่การแจ้งมีผลโดยได้รับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่การแจ้งมีผล มาตรา ๑๒ ตรี[๑๖] ในกรณีที่ข้าราชการตามมาตรา ๖ (๑) ไปมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ หลักเกณฑ์และอัตราของเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของข้าราชการดังกล่าว รวมทั้งคู่สมรสและบุตร ซึ่งไปอยู่ในต่างประเทศกับข้าราชการผู้นั้น ขณะที่อยู่ในต่างประเทศ ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๓ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น หากได้เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในของสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับและสถานพยาบาลนั้นเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลคาบเกี่ยวถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ได้รับค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๔ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตร ผู้ใดมีบุตรเกินสามคนอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรเหล่านั้นต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๑ กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายเกี่ยวกับการลดอัตราเพิ่มประชากร สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นใหม่ โดยให้มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรได้เพียงสามคนเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร พ.ศ. ๒๕๒๑ นอกจากนี้ได้กำหนดให้ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลที่ซื้ออุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคจากสถานที่อื่นแล้ว ให้เบิกค่าซื้ออุปกรณ์นั้นจากทางราชการได้เช่นเดียวกับอวัยวะเทียม ทั้งนี้จำกัดเฉพาะกรณีเมื่อสถานพยาบาลแห่งนั้นไม่มีจำหน่าย นอกจากนั้น ได้แก้ไขอัตราค่าห้องและค่าอาหารที่เคยเบิกได้รวมกันไม่เกินวันละหนึ่งร้อยยี่สิบบาทเป็นให้เบิกได้ตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนดเพื่อให้สามารถแก้ไขได้ตามความเหมาะสมกับภาวะค่าครองชีพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘[๑๗] มาตรา ๗ ในท้องที่อำเภอหรือเขตใดไม่มีสถานพยาบาลของเอกชน ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินสิบเตียงแต่ไม่เกินยี่สิบห้าเตียงซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ (๑) กรณีที่ท้องที่อำเภอหรือเขตนั้นไม่มีสถานพยาบาลเช่นว่านั้นอีก ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนอื่น ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ได้ (๒) กรณีที่มีอุบัติเหตุ หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากผู้ป่วยมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้นั้นได้ ถ้าได้เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนอื่น ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ได้ ให้นำมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ และมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๒ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ มาใช้บังคับแก่สถานพยาบาลตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม ในท้องที่อำเภอหรือเขตตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีการจัดตั้งสถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้แล้วไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่งที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลตามวรรคหนึ่งที่มีอยู่ก่อนวันที่มีการจัดตั้งสถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้โดยได้รับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่มีการจัดตั้งสถานพยาบาลนั้น มาตรา ๘ สิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับโดยได้รับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ มาตรา ๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้กำหนดบทนิยามคำว่า “สถานพยาบาลของเอกชน” ไว้ไม่เหมาะสมเป็นเหตุให้มีการทุจริตในการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ สถานพยาบาลของเอกชนบางแห่งมิได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๐๔ เช่นไม่บันทึกรายละเอียดในทะเบียนผู้ป่วยภายนอก รับผู้ป่วยภายในไว้เกินจำนวนเตียงที่กำหนดในใบอนุญาต และออกหลักฐานใบเสร็จรับเงินไม่ตรงตามความเป็นจริง ฉะนั้น เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบเกี่ยวกับการเบิกค่ารักษาพยาบาล สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยปรับปรุงบทนิยามดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนที่มีพฤติการณ์ทุจริตดังกล่าวให้กระทรวง ทบวง กรมทราบ เพื่อมิให้เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของเอกชนแห่งนั้นอีกต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒[๑๘] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการดังกล่าวสำหรับบุตรได้เพียงสามคน แต่เนื่องจากในบางกรณีอาจมีบุตรแฝด ทำให้มีจำนวนบุตรเกินสามคนได้โดยที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการไม่มีเจตนา สมควรให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในกรณีเช่นนี้ได้ และสมควรแก้ไขปัญหาในการนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้าย ในกรณีที่ไม่อาจทราบลำดับการเกิดก่อนหลังของบุตรแฝด โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๓[๑๙] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่การตรวจสุขภาพประจำปีจะทำให้สามารถตรวจพบโรคในระยะเริ่มแรกซึ่งง่ายต่อการรักษาและเสียค่าใช้จ่ายน้อย อันเป็นการประหยัดงบประมาณของรัฐในด้านการสาธารณสุข สมควรกำหนดให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และผู้ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีจากสถานพยาบาลของทางราชการสามารถนำค่าตรวจสุขภาพสำหรับตนเองมาเบิกจากทางราชการได้ และสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การนับระยะเวลาการเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชนในกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลหลายครั้งให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔[๒๐] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่เหมาะสม สมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยกำหนดให้กระทรวงการคลังมีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือรักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ รวมทั้งคู่สมรสและบุตรซึ่งไปอยู่ในต่างประเทศกับข้าราชการผู้นั้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๐[๒๑] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ กำหนดให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และผู้ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญสามารถนำค่าตรวจสุขภาพประจำปีมาเบิกเป็นค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการได้ แต่ต้องเป็นการตรวจสุขภาพประจำปีในสถานพยาบาลของทางราชการ ซึ่งสภาพการณ์ในปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพประจำปีไม่สามารถเข้ารับบริการตรวจสุขภาพได้ทันต่อความต้องการ ดังนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกสมควรขยายสิทธิให้ผู้มีสิทธิดังกล่าวสามารถไปรับบริการตรวจสุขภาพประจำปีในสถานพยาบาลของเอกชน และนำมาเบิกเป็นค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการได้ตามรายการและอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๑[๒๒] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากการเบิกค่ารักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของเอกชนของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นยังไม่มีวิธีการควบคุมที่มีมาตรฐานเพียงพอ ทำให้มีการเบิกค่ารักษาพยาบาลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง สมควรปรับปรุงสิทธิในการเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีการเข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของเอกชน โดยกำหนดให้เบิกได้เฉพาะกรณีที่บุคคลดังกล่าวประสบอุบัติเหตุ อุบัติภัย หรือมีความจำเป็นรีบด่วนซึ่งหากมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต หรือในกรณีที่สถานพยาบาลของทางราชการขาดเครื่องมือหรือมีเครื่องมือไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วยหรือมีความจำเป็นด้วยประการใดๆ ต้องส่งตัวผู้ป่วยเข้ารับการรักษาจากสถานพยาบาลของเอกชน รวมทั้งสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพประจำปีเสียใหม่ โดยกำหนดให้มีสิทธิเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับค่าตรวจสุขภาพประจำปีได้เฉพาะกรณีการเข้ารับการตรวจสุขภาพจากสถานพยาบาลของทางราชการเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างประหยัด รัดกุม และสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประกอบกับสมควรกำหนดให้บุคคลในครอบครัวของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหากประสบอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยในคราวเดียวกันกับผู้มีสิทธิ ซึ่งได้เสียชีวิตลง เพื่อมิให้บุคคลดังกล่าวต้องได้รับความเดือดร้อนเพิ่มขึ้นอีก จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๕[๒๓] หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการ ทั้งประเภทผู้ป่วยภายนอกหรือผู้ป่วยภายใน โดยกำหนดให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง ทั้งนี้ กระทรวงการคลังอาจกำหนดอัตราให้เบิกได้ต่ำกว่าจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงก็ได้ เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างประหยัดและสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน และเพื่อให้กระทรวงการคลังสามารถแก้ไขเพิ่มเติมอัตราการจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลให้เหมาะสมกับงบประมาณของทางราชการ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ สุนันทา/ผู้จัดทำ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๑๗๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๒๓ [๒] มาตรา ๔ นิยามคำว่า “ค่ารักษาพยาบาล” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๓ [๓] มาตรา ๔ นิยามคำว่า “การรักษาพยาบาล” เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๓ [๔] มาตรา ๔ นิยามคำว่า “สถานพยาบาลของเอกชน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘ [๕] มาตรา ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๓ [๖] มาตรา ๖ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๑ [๗] มาตรา ๗ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๘] มาตรา ๗ ตรี เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๙] มาตรา ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๑๐] มาตรา ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๑ [๑๑] มาตรา ๑๑ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๑๒] มาตรา ๑๑ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๐ [๑๓] มาตรา ๑๑ ทวิ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๑ [๑๔] มาตรา ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘ [๑๕] มาตรา ๑๒ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘ [๑๖] มาตรา ๑๒ ตรี เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๒๐๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘/๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๘ [๑๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๕๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๙/๑ เมษายน ๒๕๓๒ [๑๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๗๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๕/๗ พฤษภาคม ๒๕๓๓ [๒๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๙๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗/๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ [๒๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๓๗ ก/หน้า ๑๙/๗ สิงหาคม ๒๕๔๐ [๒๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๔๙ ก/หน้า ๑/๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๑ [๒๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๗๑ ก/หน้า ๒/๒๖ กรกฎาคม ๒๕๔๕
476195
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นปีที่ ๓๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๓ (๒) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๔๙๐ (๓) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๔๙๑ (๔) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๔๙๖ (๕) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๐๒ (๖) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.๒๕๑๑ (๗) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๑๖ (๘) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ.๒๕๑๗ (๙) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๐) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๑) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๓ (๑๒) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๔ (๑๓) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๕ บรรดากฎ ข้อบังคับ และระเบียบอื่นในส่วนที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชกฤษฎีกานี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ใช้พระราชกฤษฎีกานี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร และข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู “เงินเดือน” หมายความว่า เงินเดือนสุทธิที่ข้าราชการได้รับ ทั้งนี้ เมื่อหักเงินเบิกลดเนื่องจากการปรับชั้นเงินเดือนออกแล้ว และรวมกับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชาหรือเงินเพิ่มการเลื่อนฐานะ หรือสำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ หรือสำหรับการสู้รบ “ท้องที่” หมายความว่า กรุงเทพมหานคร อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือท้องที่ของอำเภอและหรือกิ่งอำเภอที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดให้เป็นท้องที่เดียวกันตามมาตรา ๕ มาตรา ๕[๒] สิทธิที่จะเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการของข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ตามคำร้องขอของตนเองที่มีอยู่ตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ สิทธิที่จะเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการของข้าราชการซึ่งต้องไปปฏิบัติราชการประจำสำนักงานในต่างท้องที่เนื่องจากสำนักงานที่ปฏิบัติราชการประจำอยู่เดิมได้ย้ายสถานที่ทำการไปตั้งในท้องที่ใหม่ใกล้เคียงกับท้องที่ที่ตั้งสำนักงานเดิมตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดที่มีอยู่ตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันสิ้นสุดลง มาตรา ๖ การจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายเป็นเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราตามพระราชกฤษฎีกานี้ การเบิกจ่ายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๗[๓] ภายใต้บังคับมาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๗ ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้น (๑) ทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้อยู่แล้ว (๒) มีเคหสถานของตนเอง หรือของสามีหรือภริยาที่พออาศัยอยู่ร่วมกันได้ในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ (๓) ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรก หรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ (๔) ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ตามคำร้องขอของตนเอง (๕) เป็นข้าราชการวิสามัญ ข้าราชการผู้ใดได้รับเงินเดือนไม่ตรงกับอัตราเงินเดือนในบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ได้รับค่าเช่าบ้านตามส่วนของเงินเดือนโดยคำนวณตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๗ ทวิ[๔] ข้าราชการผู้ใดต้องไปปฏิบัติราชการประจำสำนักงานในต่างท้องที่เนื่องจากสำนักงานที่ปฏิบัติราชการประจำอยู่เดิมได้ย้ายสถานที่ทำการไปตั้งในท้องที่ใหม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้เช่นเดียวกับข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ตามมาตรา ๗ เว้นแต่ท้องที่ใหม่ที่สำนักงานได้ย้ายไปนั้นอยู่ใกล้เคียงกับท้องที่ที่ตั้งสำนักงานเดิมตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘ ข้าราชการผู้ใดรับราชการหรือได้รับคำสั่งให้ไปรับราชการในท้องที่ใด และไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเพราะเหตุที่มีเคหสถานของตนเอง แม้ข้าราชการผู้นั้นได้โอนกรรมสิทธิ์ในเคหสถานนั้นไป ก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิที่จะได้รับค่าเช่าบ้านในระหว่างรับราชการในท้องที่นั้น มาตรา ๙ สามีกับภริยา ถ้ารับราชการในท้องที่เดียวกันและต่างมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้เบิกจ่ายได้เฉพาะคนใดคนหนึ่งซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านสูงกว่า ถ้ามีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเท่ากัน ให้เบิกจ่ายให้แก่สามี ข้าราชการผู้ใดมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามพระราชกฤษฎีกานี้ มีสามีหรือภริยาเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร พนักงานท้องถิ่น หรือพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ถ้าสามีหรือภริยาของผู้นั้นได้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน หรือได้อยู่ในที่พักอาศัยที่ทางการจัดให้ในท้องที่เดียวกัน ผู้นั้นไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๐ ข้าราชการซึ่งได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการอยู่แล้วภายหลังได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ถ้าเงินเดือนที่ได้รับเพิ่มขึ้นไม่ตรงกับอัตราเงินเดือนในบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการดังกล่าว ให้ได้รับค่าเช่าบ้านตามส่วนของเงินเดือนโดยคำนวณตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๑ การงดหรือลดเบิกจ่ายเงินเดือนแก่ข้าราชการผู้ใด เนื่องจากการถูกตัดเงินเดือนหรือการลาโดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน ไม่กระทบต่อสิทธิของผู้นั้นที่จะได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ และให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเสมือนหนึ่งไม่มีการงด หรือลดเบิกจ่ายเงินเดือนเช่นว่านั้น เว้นแต่เป็นการลาติดตามสามีหรือภริยาซึ่งย้ายไปรับราชการในต่างประเทศ มาตรา ๑๒ ข้าราชการผู้ใดซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือมีกรณีอื่นใดอันเป็นเหตุให้ถูกงดเบิกจ่ายเงินเดือน ให้งดเบิกจ่ายค่าเช่าบ้าน เมื่อกรณีถึงที่สุด ถ้าปรากฏว่าผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างกรณีเช่นว่านั้น สำหรับเดือนใด ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้านสำหรับเดือนนั้นตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๓ ให้ข้าราชการมีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ ตั้งแต่วันที่ข้าราชการผู้นั้นได้เช่าอยู่จริง แต่ไม่ก่อนวันรายงานตัวเพื่อเข้ารับหน้าที่ และให้สิ้นสุดลงในวันที่ขาดจากอัตราเงินเดือนหรือวันที่อยู่ในข่ายหมดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามพระราชกฤษฎีกานี้ ถ้าผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นไม่สามารถออกเดินทางไปได้ในวันส่งมอบหน้าที่ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านต่อไปอีกไม่เกินสิบวันนับแต่วันส่งมอบหน้าที่ เว้นแต่ในกรณีจำเป็นจะต้องอยู่ต่อไปอีก ให้เบิกค่าเช่าบ้านได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๔ ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการอยู่แล้วในท้องที่หนึ่ง และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นซึ่งตนมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าบ้านข้าราชการในท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการในท้องที่ใหม่ได้ ถ้าคู่สมรสหรือบุตรซึ่งอยู่ในอุปการะของข้าราชการผู้นั้นไม่อาจติดตามข้าราชการผู้นั้นไปได้ และมีความจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้านในท้องที่เดิมต่อไป ทั้งนี้ โดยขออนุมัติตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๕ ข้าราชการซึ่งรับราชการประจำในต่างประเทศ ถ้าจำเป็นต้องเช่าบ้าน ให้เบิกค่าเช่าบ้านได้ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๖ ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ได้เช่าซื้อบ้านหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ค้างชำระอยู่ในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและได้อาศัยอยู่จริงในบ้านนั้น ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ดังกล่าวมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (๑) ตนเอง และสามีหรือภริยา ได้ทำการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้าน อยู่เพียงหลังเดียวในท้องที่นั้น (๒)[๕] จะต้องเป็นการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้กับสถาบันการเงิน หรือกับรัฐวิสาหกิจหรือสหกรณ์ที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการเคหะ ทั้งนี้ ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด หรือเป็นการผ่อนชำระเงินกู้กับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาเงินกู้ จะต้องได้รับความเห็นชอบตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด (๓) จะต้องไม่เคยใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้สำหรับบ้านหลังหนึ่งหลังใดในท้องที่นั้นมาแล้ว เว้นแต่จะเป็นกรณีที่ได้รับแต่งตั้งให้กลับไปรับราชการในท้องที่นั้นอีก และเป็นการใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ตามที่ได้เคยใช้สิทธิมาแล้ว มาตรา ๑๗ ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้มาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามมาตรา ๑๖ และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นซึ่งตนมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ในท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการในท้องที่ใหม่ได้ โดยขออนุมัติตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๘ สิทธิที่จะเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการต่อไปตามมาตรา ๑๒ (๑) และ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งมีอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๓ จนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มาตรา ๑๙ ข้าราชการผู้ใดมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๓ อยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับแต่ไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ยังคงมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๓ ต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มาตรา ๒๐ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร รองนายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข 1 สำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา และข้าราชการครู[๖] ๒. บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข 2 สำหรับข้าราชการตุลาการ[๗] ๓. บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข 3 สำหรับข้าราชการอัยการ[๘] ๔. บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข 4 สำหรับข้าราชการตำรวจ[๙] ๕. บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข 5 สำหรับข้าราชการทหาร[๑๐] (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๓ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว บทบัญญัติบางประการจึงไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน และโดยที่พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๒๗ เป็นต้นไป มีบทบัญญัติบางประการยังไม่เหมาะสม เนื่องจากกำหนดให้ข้าราชการเบิกค่าเช่าบ้านในลักษณะเหมาจ่ายตามสิทธิของข้าราชการแต่ละคน จึงไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของทางราชการ ซึ่งประสงค์จะช่วยเหลือข้าราชการที่ได้รับความเดือดร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัยอันเนื่องมาจากทางราชการเป็นเหตุ เพราะข้าราชการที่ไม่เดือดร้อนเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย อันเนื่องมาจากทางราชการเป็นเหตุ ก็มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านได้ด้วย ทำให้ทางราชการต้องรับภาระหนักเกี่ยวกับเงินงบประมาณแผ่นดิน นอกจากนั้น พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๒ กำหนดให้ข้าราชการที่ได้รับคำสั่งให้ไปประจำสำนักงานใหม่ต่างท้องที่เกินห้าปี แม้ผู้นั้นจะกลับมาประจำสำนักงานในท้องที่ที่เริ่มเข้ารับราชการครั้งแรกแล้ว ก็มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านได้ จึงไม่เป็นธรรมแก่ข้าราชการที่ยังคงรับราชการอยู่ในท้องที่ที่เริ่มเข้ารับราชการ โดยได้เช่าบ้านอยู่จริง แต่ไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน สมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการเสียใหม่ เพื่อให้มีความเหมาะสมตรงตามเจตนารมณ์ของทางราชการ และให้มีความเป็นธรรมในการได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ นอกจากนั้น สมควรผ่อนผันให้มีการใช้หลักฐานที่ข้าราชการเช่าซื้อบ้านหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้าน มาเบิกเป็นค่าเช่าบ้านได้ในบางกรณี จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พะราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒[๑๑] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บัญชีเงินเดือนบัญชี ก. ของข้าราชการประเภทต่าง ๆ เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ซึ่งมีผลทำให้อัตราเงินเดือนตามบัญชี ก. ไม่ตรงกับอัตราเงินเดือนตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้สอดคล้องกับอัตราเงินเดือนตามบัญชี ก. จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓[๑๒] หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนบัญชี ข. ของข้าราชการประเภทต่าง ๆ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้นไป ซึ่งมีผลทำให้อัตราเงินเดือนตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ ไม่ตรงกับอัตราเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนบัญชี ข. ดังกล่าว สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการฯ เสียใหม่ให้สอดคล้องกับการใช้บัญชีอัตราเงินเดือน บัญชี ข. ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕[๑๓] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนของข้าราชการทุกประเภท ทำให้อัตราเงินเดือนตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ ไม่ตรงกับอัตราเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการหมายเลข ๑ ของข้าราชการทุกประเภท ที่ใช้บังคับในปัจจุบัน ประกอบกับอัตราค่าเช่าบ้านขั้นสูงสุดตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการดังกล่าวได้กำหนดไว้ไม่เกินเดือนละ ๓,๐๐๐ บาท นั้น ยังไม่เหมาะสม สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการฯ เสียใหม่ ให้ถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๙[๑๔] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนของข้าราชการทุกประเภทตามพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๘ ทำให้บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ไม่สอดคล้องกับบัญชีอัตราเงินเดือนที่ปรับปรุงใหม่ สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการฯ เสียใหม่ ให้สอดคล้องกับบัญชีอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๑[๑๕] มาตรา ๕ สิทธิที่จะเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการของข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ตามคำร้องขอของตนเอง หรือของข้าราชการ ซึ่งสำนักงานที่ปฏิบัติราชการประจำอยู่เดิมได้ย้ายสถานที่ทำการไปตั้งในท้องที่ใหม่ที่มีอยู่ตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้บัญญัติให้ข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ตามคำร้องขอของตนเองมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ ซึ่งเป็นการไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของทางราชการที่ประสงค์จะช่วยเหลือข้าราชการที่ได้รับความเดือดร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัยซึ่งมีสาเหตุมาจากทางราชการ ประกอบกับในปัจจุบันมีส่วนราชการหลายแห่งย้ายสำนักงานจากท้องที่หนึ่งไปอีกท้องที่หนึ่ง และในอนาคตจะมีการย้ายส่วนราชการเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมากตามนโยบายของรัฐบาลทำให้งบประมาณรายจ่ายของรัฐในส่วนนี้ไม่สอดคล้องกับสภาวะการเงินของประเทศที่เป็นอยู่ สมควรปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการของข้าราชการดังกล่าว โดยกำหนดให้ข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ตามคำร้องขอของตนเองไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ และกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการของข้าราชการซึ่งต้องไปปฏิบัติราชการประจำในต่างท้องที่เพราะมีการย้ายสถานที่ทำการให้ชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๑[๑๖] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้ตราขึ้นโดยมีเจตนารมณ์ส่วนหนึ่งที่จะปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการมิให้ข้าราชการซึ่งต้องไปปฏิบัติราชการประจำสำนักงานในต่างท้องที่ เนื่องจากสำนักงานที่ปฏิบัติราชการประจำอยู่เดิมได้ย้ายสถานที่ทำการไปตั้งในท้องที่ใหม่ใกล้เคียงกับท้องที่ที่ตั้งสำนักงานเดิมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการต่อไป โดยยกเว้นให้แก่ข้าราชการดังกล่าวเฉพาะผู้ซึ่งมีสิทธิในการเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับเพื่อเป็นการควบคุมงบประมาณรายจ่ายของรัฐในส่วนนี้ที่ในอนาคตรัฐบาลมีนโยบายจะย้ายส่วนราชการเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากในสภาวการณ์ปัจจุบันรัฐบาลยังคงประสบปัญหาด้านงบประมาณรายจ่าย จึงเห็นสมควรยกเลิกสิทธิของข้าราชการดังกล่าวผู้ซึ่งมีสิทธิในการเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการอยู่เดิมนั้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๕[๑๗] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากขณะนี้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ดำเนินการโครงการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของข้าราชการ โดยให้ข้าราชการซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนดังกล่าวสามารถกู้เงินเพื่อนำไปซื้อที่อยู่อาศัยได้ แต่โดยที่ในปัจจุบันพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ให้สิทธิแก่ข้าราชการสามารถนำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้เฉพาะกับสถาบันการเงิน รัฐวิสาหกิจหรือสหกรณ์ที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการเคหะมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้เท่านั้น จึงทำให้ข้าราชการซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไม่สามารถนำหลักฐานการชำระค่าผ่อนชำระเงินกู้กับกองทุนมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ ดังนั้น เพื่อให้ข้าราชการสามารถนำหลักฐานการชำระค่าผ่อนชำระเงินกู้กับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ อันจะเป็นการสนับสนุนการดำเนินการโครงการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ สุนันทา/ผู้จัดทำ ๘ ธันวาคม ๒๕๔๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๑๓๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๒๘ กันยายน ๒๕๒๗ [๒] มาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๑ [๓] มาตรา ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๑ [๔] มาตรา ๗ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๑ [๕] มาตรา ๑๖ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๖] บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข 1 สำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา และข้าราชการครู แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤาฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๙ [๗] บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข 2 สำหรับข้าราชการตุลาการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๙ [๘] บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข 3 สำหรับข้าราชการอัยการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๙ [๙] บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข 4 สำหรับข้าราชการตำรวจ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๙ [๑๐] บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข 5 สำหรับข้าราชการทหาร แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๙ [๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๗๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๘ พฤษภาคม ๒๕๓๒ [๑๒] ราชกิจจานุกเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๕๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖/๙ เมษายน ๒๕๓๓ [๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๒/หน้า ๓๕/๒๔ กันยายน ๒๕๓๕ [๑๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๓๒ ก/หน้า ๖/๑๙ สิงหาคม ๒๕๓๙ [๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๓๙ ก/หน้า ๑/๒๕ มิถุนายน ๒๕๔๑ [๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๘๓ ก/หน้า ๑๓/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ [๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๒๖ ก/หน้า ๑/๒๗ มีนาคม ๒๕๔๕
515060
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ พ.ศ. 2542 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ พ.ศ. ๒๕๔๒[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นปีที่ ๕๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอาย พ.ศ. ๒๕๔๒” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการรัฐสภาสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร และข้าราชการประเภทอื่นที่ได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด “โครงการ” หมายความว่า โครงการให้เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ “เงินเดือนเดือนสุดท้าย” หมายความว่า เงินที่ได้รับจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ออกจากราชการ รวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา และหรือเงินเพิ่มการเลื่อนฐานะ และหรือสำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ และหรือสำหรับการสู้รบและหรือสำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิด แต่ไม่รวมถึงเงินเพิ่มอย่างอื่นๆ ส่วนข้าราชการตำบล ซึ่งกรมตรวจสั่งแต่งตั้งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากผู้ว่าจ้าง เงินเดือนเดือนสุดท้าย หมายความว่า เงินเดือนที่ผู้ว่าจ้างจ่ายตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาตามอัตราเงินเดือนที่ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจเดือนสุดท้ายที่ออกจากราชการ รวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา และหรือเงินเพิ่มการเลื่อนฐานะ และหรือสำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ และหรือสำหรับการสู้รบ และหรือสำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิด แต่ไม่รวมถึงเงินเพิ่มอย่างอื่นๆ “เวลาราชการ” หมายความว่า เวลาราชการที่ข้าราชการรับราชการมาตั้งแต่ต้นจนถึงวันสุดท้ายที่ได้รับเงินเดือนตามเกณฑ์ละวิธีการที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการโดยไม่ให้นับเศษของปี และไม่รวมถึงเวลาราชการที่มีสิทธิได้นับเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ “เวลาราชการที่เหลือ” หมายความว่า เวลาตั้งแต่วันที่ข้าราชการลาออกจากราชการจนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ของปีงบประมาณที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ มาตรา ๔ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรที่จะให้มีโครงการให้เงินช่วยเหลือข้าราชการซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ให้กระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ. สำนักงบประมาณ และส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดทำรายละเอียดของโครงการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป รายละเอียดของโครงการตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย (๑) องค์ประกอบของคณะกรรมการโครงการซึ่งจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติให้ข้าราชการรายใดเข้าร่วมโครงการ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนสำนักงาน ก.พ. ผู้แทนสำนักงบประมาณและผู้แทนส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องตามจำนวนที่เหมาะสม (๒) ประมาณการข้าราชการที่จะเข้าร่วมโครงการ (๓) หลักเกณฑ์และวิธีการแสดงความจำนงของข้าราชการที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมทั้งกำหนดระยะเวลาการแจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการโครงการไปยังข้าราชการ ซึ่งได้แสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการ มาตรา ๕ เมื่อคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติรายละเอียดของโครงการตามมาตรา ๔ วรรคสอง ในปีงบประมาณใด ให้เริ่มใช้โครงการในปีงบประมาณถัดไป มาตรา ๖ อัตราเงินช่วยเหลือข้าราชการซึ่งลาออกจากราชกรก่อนเกษียณอายุและหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าวให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ ส่วนวิธีการเบิกจ่ายนั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๗ ข้าราชการที่จะแสดงความจำนงเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือตามโครงการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (๑)[๒] มีอายุตั้งแต่สี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไปสำหรับข้าราชการทหารหรือมีอายุตั้งแต่ห้าสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปสำหรับข้าราชการอื่น หรือมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีขึ้นไป ทั้งนี้ ให้นับถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ของปีที่ลาออกจากราชการตามโครงการ (๒) มีเวลาราชการที่เหลือไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่ลาออกจากราชการตามโครงการ (๓) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสอบสวนหรือสอบหาข้อเท็จจริงทางวินัยหรือพิจารณาโทษทางวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชกาประเภทนั้น ๆ หรือเป็นผู้ต้องห้ามในคดีอาญา ซึ่งมิใช่ความผิดลหุโทษหรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท (๔) ไม่เป็นผู้ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะต้องออกจากราชการไม่ว่ากรณีใด ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น ๆ มาตรา ๘ ให้ข้าราชการซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุตามโครงการมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือตามจำนวนและหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่ผู้นั้นรับบำเหน็จ ให้ได้รับเงินช่วยเหลือในอัตราเจ็ดเท่าของเงินเดือนเดือนสุดท้าย โดยแบ่งจ่ายเป็นสองงวดในจำนวนเท่ากัน และจ่ายในปีละงวด (๒) ในกรณีที่ผู้นั้นรับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับเงินช่วยเหลือตามจำนวนและหลักเกณฑ์ตาม (๑) รวมทั้งเงินช่วยเหลือรายเดือนผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเรียกโดยย่อว่า “ช.ร.บ.” ซึ่งคำนวณจากอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีเวลาราชการที่เหลือหารด้วยห้าสิบ ทั้งนี้ จำนวนเงิน ช.ร.บ. นี้ ต้องไม่สูงกว่าร้อยละยี่สิบของเงินเดือนเดือนสุดท้าย และเมื่อนำไปรวมกับเบี้ยหวัดหรือบำนาญหรือเงินเพิ่มอื่น ๆ แล้จะต้องไม่สูงกว่าเงินเดือนเดือนสุดท้าย เงินเดือนเดือนสุดท้ายให้หมายความรวมถึงเงินเดือนที่ได้เลื่อนในวันที่ ๓๐ กันยายน ของปีที่ลาออกจากราชการตามโครงการด้วย มาตรา ๙ การจ่าย ช.ร.บ.ให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับ ช.ร.บ. ให้เบิกจ่ายพร้อมกับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับ ช.ร.บ. ถึงแก่ความตายให้จ่าย ช.ร.บ. ถึงวันที่ถึงแก่ความตาย โดยให้จ่ายตามส่วนแห่งจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับ และจะนำ ช.ร.บ. ไปรวมกับบำนาญหรือเงินเพิ่มพิเศษอื่น ๆ ในการคำนวณบำเหน็จตกทอดและเงินช่วยพิเศษไม่ได้ มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินตามมาตรา ๗ ถึงแก่ความตายก่อนได้รับเงินช่วยเหลอดังกล่าว ให้จ่ายเงินช่วยเหลือนั้นแก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือตามมาตรา ๗ ได้กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ หรือกลับเข้าทำงานเป็นพนักงานหรือลูกจ้างประจำในรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน ให้ผู้นั้นหมดสิทธิรับเงินช่วยเหลือตั้งแต่วันที่กลับเข้ารับราชการหรือเข้าทำงานดังกล่าว และให้ส่งคืนเงินช่วยเหลือที่ได้รับไว้ทั้งหมดพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากประจำสิบสองเดือนของธนาคารออมสินให้แก่กระทรวงการคลังตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๒ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับ ช.ร.บ. ได้กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการการเมืองและได้เลิกรับบำนาญเพื่อนับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการในตอนหลัง ก็ให้ระงับการจ่าย ช.ร.บ. ตั้งแต่วันที่กลับเข้ารับราชการนั้น และเมื่อผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมืองแล้ว ก็ให้มีสิทธิได้รับ ช.ร.บ. ตามจำนวนที่เคยได้รับต่อไป มาตรา ๑๓ ผู้ซึ่งรับเบี้ยหวัดเมื่อย้ายประเภทไปเป็นผู้รับบำเหน็จเหตุทดแทนให้ผู้นั้นหมดสิทธิรับ ช.ร.บ. ตั้งแต่วันที่ย้ายประเภทเป็นต้นไป มาตรา ๑๔ ผู้ซึ่งรับ ช.ร.บ. ผู้ใดเสียสิทธิรับบำนาญปกติตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเสียสิทธิรับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ให้ผู้นั้นหมดสิทธิรับ ช.ร.บ. ตั้งแต่วันเสียสิทธิดังกล่าว มาตรา ๑๕ ให้โครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิตข้าราชการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับเป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกานี้ และให้ข้าราชการที่ได้แสดงความจำนง โดยขอลาออกจากราชการเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือตามโครงการดังกล่าวและได้รับอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือตามจำนวนและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ เป็นต้นไป มาตรา ๑๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกา ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการปฏิรูประบบราชการ ซึ่งมีแผนในการปรับอัตรากำลังข้าราชการให้มีขนาดเล็กแต่มีประสิทธิภาพสูง โดยมีมาตรการจูงใจให้ข้าราชการลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ อันได้แก่เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ สมควรดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายในการปฏิรูประบบราชการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓[๓] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ลักษณะของการรับราชการทหารมีความแตกต่างกับข้าราชการอื่น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติให้ข้าราชการทหารที่มีอายุครบสี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไปเป็นผู้มีสิทธิแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการให้เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุได้ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับลักษณะของการรับราชการทหารดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ วาทินี/ปรับปรุง ๑๘ กันยายน ๒๕๔๙ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนทึ่ ๙๓ ก/หน้า ๗/๗ ตุลาคม ๒๕๔๒ [๒] มาตรา ๗ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๙๗ ก/หน้า ๓๑/๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๓
515063
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. 2523 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๓ เป็นปีที่ ๓๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๐ บรรดากฎ ข้อบังคับ และระเบียบอื่นในส่วนที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชกฤษฎีกานี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ใช้พระราชกฤษฎีกานี้แทน มาตรา ๔[๒] ในพระราชกฤษฎีกานี้ “สถานศึกษาของทางราชการ” หมายความว่า (๑) มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการหรือส่วนราชการอื่น หรือที่อยู่ในกำกับของรัฐ (๒) วิทยาลัยหรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเทียบเท่าวิทยาลัยในสังกัดหรืออยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ หรือส่วนราชการอื่นที่ ก.พ. รับรองคุณวุฒิ (๓) โรงเรียนในสังกัดหรืออยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัย วิทยาลัยองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง และให้หมายความรวมถึงโรงเรียนที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีการจัดระดับชั้นเรียนด้วย (๔) โรงเรียนในสังกัดหรืออยู่ในกำกับของส่วนราชการอื่น หรือองค์การของรัฐบาลที่ ก.พ. รับรองคุณวุฒิ (๕) โรงเรียนในสังกัดส่วนราชการที่กระทรวงการคลังกำหนด (๖) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีการจัดระดับชั้นเรียนในสังกัดส่วนราชการ “สถานศึกษาของเอกชน” หมายความว่า (๑) สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (๒) โรงเรียนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษาในระบบโรงเรียน และให้รวมถึงโรงเรียนนานาชาติ “เงินบำรุงการศึกษา” หมายความว่า เงินประเภทต่าง ๆ ที่สถานศึกษาของทางราชการเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือที่กำกับ มหาวิทยาลัยองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง หรือองค์การของรัฐบาล “เงินค่าเล่าเรียน” หมายความว่า เงินค่าธรรมเนียมการเรียนหรือค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ซึ่งสถานศึกษาของเอกชนเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ “บุตร” หมายความว่า บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีอายุครบสามปีแต่ไม่เกินยี่สิบห้าปี ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมและบุตรซึ่งบิดามารดาได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น “ปีการศึกษา” หมายความว่า ปีการศึกษาที่กำหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือที่กำกับ มหาวิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง หรือองค์การของรัฐบาล มาตรา ๕ การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายเป็นเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ ส่วนวิธีการเบิกจ่ายนั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๖ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามพระราชกฤษฎีกานี้ ได้แก่ (๑) ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งรับเงินเดือนหรือค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำของกระทรวง ทบวง กรม เว้นแต่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจที่อยู่ในระหว่างเข้ารับการอบรมในสถานศึกษาของกรมตำรวจซึ่งเป็นการศึกษาอบรมก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการประจำ และลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งมีหนังสือสัญญาจ้าง (๒) ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้ได้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด มาตรา ๗ ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามมาตรา ๖ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรได้เพียงคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม ให้นับเรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลัง ทั้งนี้ ไม่ว่าเป็นบุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งใด หรืออยู่ในอำนาจปกครองของตนหรือไม่ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรผู้ใดมีบุตรเกินสามคน ถ้าบุตรคนหนึ่งคนใดในจำนวนสามคนตามวรรคหนึ่งตาย กายพิการจนไม่สามารถเล่าเรียนได้ หรือเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถที่มิได้ศึกษาในสถานศึกษาที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ก่อนอายุครบยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ก็ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเพิ่มขึ้นอีกเท่าจำนวนบุตรที่ตาย กายพิการ หรือเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบนั้น โดยให้นับบุตรคนที่อยู่ในลำดับถัดไปก่อน[๓] มาตรา ๗[๔] ทวิ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรผู้ใดยังไม่มีบุตรหรือมีบุตรที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามมาตรา ๗ ยังไม่ถึงสามคน ถ้าต่อมามีบุตรแฝดซึ่งทำให้มีจำนวนบุตรเกินสามคน ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามมาตรา ๗ สำหรับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้าย แต่บุตรแฝดดังกล่าวจะต้องเป็นบุตรซึ่งเกิดจากคู่สมรส หรือเป็นบุตรของตนเองในกรณีที่หญิงเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ในกรณีที่บุตรคนหนึ่งคนใดของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรดังกล่าวตามวรรคหนึ่งตาย กายพิการ จนไม่สามารถเล่าเรียนได้ หรือเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถที่มิได้ศึกษาในสถานศึกษาที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร วิกลจริต จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ก่อนมีอายุครบยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ก็ให้ลดจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรลงจนกว่าจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการดังกล่าวเหลือไม่เกินสามคน และหลังจากนั้น ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรดังกล่าว จึงจะมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเพิ่มขึ้นได้ตามมาตรา ๗ วรรคสาม[๕] เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ บทบัญญัติที่อ้างถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สามของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ให้หมายถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายของผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๗[๖] ตรี การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายในกรณีที่ไม่อาจทราบลำดับการเกิดก่อนหลังของบุตรแฝดได้โดยแน่ชัด ให้นับลำดับบุตรแฝดตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘[๗] การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ประเภทและอัตรา ดังต่อไปนี้ (๑) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการในหลักสูตรระดับไม่สูงกว่าอนุปริญญาหรือเทียบเท่า และหลักสูตรนั้นแยกต่างหากจากหลักสูตรระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินบำรุงการศึกษาเต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด (๒) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการในหลักสูตรระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินบำรุงการศึกษาเต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด (๓) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของเอกชนในหลักสูตรระดับไม่สูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินค่าเล่าเรียนเต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด (๔) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของเอกชนในหลักสูตรระดับสูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าแต่ไม่สูงกว่าอนุปริญญาหรือเทียบเท่า และหลักสูตรนั้นแยกต่างหากจากหลักสูตรระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินค่าเล่าเรียนครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด (๕) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของเอกชนในหลักสูตรระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินค่าเล่าเรียนครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้ บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการหรือเอกชนในหลักสูตรระดับปริญญาตรีตาม (๒) หรือ (๕) จะต้องเป็นการศึกษาในระดับปริญญาตรีเป็นหลักสูตรแรกเท่านั้น มาตรา ๘ ทวิ[๘] ภายใต้บังคับมาตรา ๗ มาตรา ๗ ทวิ และมาตรา ๗ ตรี ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ดังต่อไปนี้ (๑) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาในประเทศที่ข้าราชการผู้นั้นมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ (๒) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษานอกประเทศที่ข้าราชการผู้นั้นมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่อันเนื่องมาจากประเทศซึ่งข้าราชการมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ไม่มีสถานศึกษาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสถาบันรับรองมาตรฐานสากล หรือเป็นประเทศหรือเมืองที่มีภาวะความเป็นอยู่ไม่ปกติ ทั้งนี้ ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด การได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ประเภท หลักสูตรและอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด และให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกำหนดอายุบุตรให้ต่ำกว่าเกณฑ์ในบทนิยามคำว่า “บุตร” ตามมาตรา ๔ ได้ มาตรา ๘ ตรี[๙] (ยกเลิก) มาตรา ๙ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรผู้ใดมีบุตรเกินสามคนอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรสำหรับบุตรเหล่านั้นต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๐ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๐ กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรโดยไม่จำกัดจำนวนบุตร ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายเกี่ยวกับการลดอัตราเพิ่มประชากรสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นใหม่ และปรับปรุงรายละเอียดบางประการให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒[๑๐] มาตรา ๖ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรผู้ใดมีบุตรแฝดตามเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา ๗ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้อยู่แล้วก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับให้ผูนั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรสำหรับบุตรดังกล่าวตั้งแต่ปีการศึกษาที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับเป็นต้นไป มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกา หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบทนิยามคำว่า “สถานศึกษาของทางราชการ” และ “สถานศึกษาของเอกชน” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ ยังไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน เพราะมิได้ครอบคลุมถึงสถานศึกษาบางแห่งของทางราชการ และสถานศึกษาประเภทมหาวิทยาลัยและสถาบันตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ซึ่งได้มีการจัดตั้งขึ้นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และโดยที่มาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการดังกล่าวสำหรับบุตรได้เพียงสามคน แต่เนื่องจากในบางกรณีอาจมีบุตรแฝด ทำให้มีจำนวนบุตรเกินสามคนได้โดยที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการไม่มีเจตนา สมควรให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในกรณีดังกล่าวได้ และสมควรแก้ไขปัญหาในการนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้าย ในกรณีที่ไม่อาจทราบลำดับการเกิดก่อนหลังของบุตรแฝด โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓[๑๑] มาตรา ๕ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรผู้ใดมีบุตรที่กายพิการ หรือเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ วิกลจริต จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ตามเกณฑ์ที่กำหนดในวรรคสามของมาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ หรือวรรคสองของมาตรา ๗ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้อยู่แล้วก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรดังกล่าวตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๓๓ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรได้กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรสามารถเลื่อนบุตรในลำดับถัดไปขึ้นมาใช้สิทธิแทนที่ได้เฉพาะในกรณีที่บุตรคนหนึ่งคนใดในจำนวนสามคนตายก่อนมีอายุครบยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ส่วนในกรณีที่บุตรกายพิการจนไม่สามารถเล่าเรียนได้ หรือเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ผู้มีสิทธิกลับไม่สามารถเลื่อนบุตรในลำดับถัดไปขึ้นมาใช้สิทธิแทนที่ได้ ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรมสมควรกำหนดให้ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิแทนที่ในกรณีดังกล่าวได้ และในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรเกินสามคนอันเป็นผลมาจากการมีบุตรแฝด สมควรกำหนดให้ลดจำนวนบุตรลงเมื่อมีเหตุดังกล่าวจนเหลือไม่เกินสามคนก่อน จึงจะสามารถเลื่อนบุตรในลำดับถัดไปขึ้นมาใช้สิทธิแทนที่ได้เช่นกรณีปกติ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔[๑๒] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบัน พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรมิได้กำหนดให้ข้าราชการซึ่งรับราชการประจำในต่างประเทศ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในกรณีที่บุตรติดตามไปศึกษาในประเทศที่ข้าราชการผู้นั้นมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ แต่เนื่องจากในบางประเทศที่ไปประจำการไม่มีโรงเรียนท้องถิ่นที่ใช้ภาษาอังกฤษ จึงต้องส่งบุตรเข้าศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ ต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าเล่าเรียนในอัตราสูงมาก ข้าราชการจึงประสบปัญหาไม่สามารถรับภาระดังกล่าวได้ สมควรแก้ไขให้ข้าราชการซึ่งรับราชการประจำในต่างประเทศ มีสิทธิรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรได้ด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๘[๑๓] มาตรา ๖ การจ่ายเงินและสิทธิในการได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๘ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่หลักเกณฑ์การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานาน สมควรปรับปรุงเพื่อให้การจัดสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ตลอดจนสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ เพื่อให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรได้รับสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมจากทางราชการจึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๐[๑๔] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้กำหนดให้ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเฉพาะกรณีที่บุตรศึกษาอยู่ในประเทศเดียวกัน แต่โดยที่ในบางประเทศไม่มีสถานศึกษาที่ได้มาตรฐาน หรือประเทศหรือเมืองที่ข้าราชการมีตำแหน่งหน้าที่ประจำมีภาวะความเป็นอยู่ไม่ปกติ ทำให้ข้าราชการดังกล่าวจำเป็นต้องส่งบุตรไปศึกษาในสถานศึกษานอกประเทศที่ข้าราชการมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่โดยไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการ ดังนั้น สมควรกำหนดให้ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในกรณีดังกล่าวเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของข้าราชการ และจูงใจให้ข้าราชการไปปฏิบัติงานประจำในประเทศหรือเมืองนั้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๔[๑๕] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๔ สิทธิในการได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๔ เป็นต้นไป มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๘ ตรี แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้บัญญัติหลักเกณฑ์การได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในกรณีผู้มีสิทธิมีคู่สมรสที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรจากหน่วยงานอื่นแล้ว จะไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร เว้นแต่เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรที่ได้รับจากหน่วยงานอื่นนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามที่กำหนดไว้ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่นั้น แต่ปรากฏว่าหน่วยงานอื่นได้มีการนำหลักเกณฑ์ในลักษณะทำนองเดียวกันไปกำหนดไว้ด้วย ทำให้ผู้มีสิทธิไม่สามารถใช้สิทธิรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรจากหน่วยงานใดได้สมควรยกเลิกบทบัญญัติดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ วาทินี/ปรับปรุง ๑๘ กันยายน ๒๕๔๙ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๒๐๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๙ ธันวาคม ๒๕๒๓ [๒] มาตรา ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓] มาตรา ๗ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ [๔] มาตรา ๗ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๕] มาตรา ๗ ทวิ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ [๖] มาตรา ๗ ตรี เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๗] มาตรา ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๘] มาตรา ๘ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๙] มาตรา ๘ ตรี ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๕๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๔/๑ เมษายน ๒๕๓๒ [๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๒๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๓ กรกฎาคม ๒๕๓๓ [๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๓๓/หน้า ๖๒๘/๒ สิงหาคม ๒๕๓๔ [๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๑๑ ก/หน้า ๒๗/๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ [๑๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๙ ก/หน้า ๑๑/๕ เมษายน ๒๕๕๐ [๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๓๕ ก/หน้า ๔๕/๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔
515065
พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2535 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา การจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ (๒) พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๖ บรรดากฎ ข้อบังคับ และระเบียบอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชกฤษฎีกานี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ใช้พระราชกฤษฎีกานี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “เงินเดือน”[๒] หมายความว่า เงินเดือนและเงินอื่นที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายประเภทงบบุคลากรที่จ่ายในลักษณะเงินเดือน “เงินปี” หมายความว่า เงินที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายปีจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนของสำนักพระราชวัง “บำเหน็จ” หมายความว่า บำเหน็จตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และหมายความรวมถึงเงินทดแทนข้าราชการวิสามัญตามระเบียบกระทรวงการคลังด้วย “บำนาญ” หมายความว่า บำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และหมายความรวมถึงเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมด้วย “ข้าราชการ”[๓] หมายความว่า ข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และเพื่อประโยชน์ของมาตรา ๒๐ ให้หมายความถึงบุคคลอื่นซึ่งได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายประเภทงบบุคลากรที่จ่ายในลักษณะเงินเดือนด้วย “ปี” หมายความว่า ปีงบประมาณ มาตรา ๕ การเบิกจ่ายเงินเดือน เงินปี และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน ให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ลักษณะ ๑ เงินเดือนและเงินอื่นที่จ่ายในลักษณะเงินเดือน หมวด ๑ การถือจ่ายเงินเดือน มาตรา ๗[๔] (ยกเลิก) มาตรา ๘[๕] (ยกเลิก) มาตรา ๙ การจ่ายเงินเดือนของข้าราชการที่ได้เลื่อนเงินเดือนเพราะถึงแก่ความตายเนื่องจากปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้จ่ายจากอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นครองอยู่ หรือเงินเดือนเหลือจ่าย หรือให้โอนเงินหมวดอื่นมาตั้งจ่าย หมวด ๒ การจ่ายเงินเดือน มาตรา ๑๐[๖] การจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด มาตรา ๑๑ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเดือนไม่เต็มเดือน ให้จ่ายตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนในเดือนนั้น มาตรา ๑๒ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการกรณีบรรจุใหม่หรือกลับเข้ารับราชการใหม่ ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่เริ่มเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ มาตรา ๑๓ การจ่ายเงินเดือนกรณีที่มีการเลื่อนชั้น เลื่อนระดับ หรือเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่ระบุในคำสั่งของผู้มีอำนาจสั่งเลื่อน มาตรา ๑๔ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ ให้เป็นไปตามคำสั่งของผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ซึ่งต้องระบุด้วยว่าให้ได้รับเงินเดือนในอัตราใด และให้ขาดจากอัตราเงินเดือนเดิมไปรับอัตราเงินเดือนตำแหน่งใหม่หรือให้โอนอัตราเงินเดือนเดิมไปตั้งจ่ายสำหรับตำแหน่งใหม่ตั้งแต่เมื่อใด มาตรา ๑๕ การจ่ายเงินเดือนในกรณีโอนข้าราชการ ให้จ่ายทางสังกัดใหม่และงดจ่ายเงินเดือนทางสังกัดเดิมตั้งแต่วันที่ระบุในคำสั่งของผู้มีอำนาจสั่งโอน ในกรณีที่มีการจ่ายเงินเดือนทางสังกัดเดิมล่วงล้ำไป ให้เบิกเงินเดือนทางสังกัดใหม่ส่งใช้สังกัดเดิมโดยวิธีเบิกหักผลักส่ง แล้วในเจ้าสังกัดใหม่แจ้งการเบิกหักผลักส่งให้เจ้าสังกัดเดิมทราบ ห้ามมิให้เบิกเป็นตัวเงิน มาตรา ๑๖ ข้าราชการที่ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือหนีราชการ ห้ามมิให้จ่ายเงินเดือนสำหรับวันที่ละทิ้งหน้าที่ราชการหรือหนีราชการดังกล่าว ข้าราชการที่มิได้มาปฏิบัติราชการในกรณีอื่น จะมีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือไม่ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือตามที่อธิบดีกรมบัญชีกลางกำหนด แล้วแต่กรณี[๗] มาตรา ๑๗ การจ่ายเงินเดือนของผู้ซึ่งถูกลงโทษตัดเงินเดือน ถ้าภายหลังผู้นั้นได้รับการแต่งตั้ง โอน หรือปรับเงินเดือน โดยได้รับเงินเดือนต่างจากเดิมและยังไม่พ้นโทษตัดเงินเดือน ให้คงตัดเงินเดือนต่อไปตามจำนวนเดิม หรือถ้าเป็นกรณีตัดเงินเดือนตามส่วนของเงินเดือน ก็ให้ตัดตามส่วนของเงินเดือนเดิม มาตรา ๑๘ ข้าราชการผู้ใดตายในระหว่างรับราชการ ให้จ่ายเงินเดือนจนถึงวันที่ถึงแก่ความตาย มาตรา ๑๙ การจ่ายเงินเดือนในกรณีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ลาออก ให้จ่ายได้ถึงวันก่อนวันถึงกำหนดลาออก แต่ถ้าถึงกำหนดลาออกแล้วยังไม่ได้รับทราบคำสั่งอนุญาตให้ลาออก และข้าราชการผู้นั้นยังคงรับราชการต่อมา ให้จ่ายได้ถึงวันรับทราบคำสั่ง หรือควรได้รับทราบคำสั่ง (๒) ให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก ให้จ่ายได้ถึงวันก่อนวันที่ระบุในคำสั่ง แต่ถ้ายังไม่ได้รับทราบคำสั่ง และข้าราชการผู้นั้นยังคงรับราชการต่อมาให้จ่ายได้ถึงวันรับทราบคำสั่ง หรือควรได้รับทราบคำสั่ง (๓) ในกรณีตาม (๑) และ (๒) หากจำเป็นต้องส่งมอบงานในหน้าที่ก็ให้จ่ายต่อไปได้จนถึงวันส่งมอบงานเสร็จภายในเวลาอันไม่ชักช้าตามที่ผู้บังคับบัญชาจะกำหนดตามสภาพของงาน แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่ระบุในคำสั่งหรือวันรับทราบคำสั่งหรือควรได้รับทราบคำสั่ง แล้วแต่กรณี (๔) พ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้จ่ายได้ถึงวันสิ้นปี สำหรับกรณีที่ได้รับการต่อเวลาราชการ ให้จ่ายได้ถึงวันครบการต่อเวลาราชการ มาตรา ๒๐[๘] การจ่ายเงินเดือนข้าราชการประจำเดือน ให้จ่ายในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนสามวันทำการ สำหรับกรณีที่ต้องเบิกเงินจากธนาคาร ให้จ่ายในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของธนาคารในเดือนนั้นสามวันทำการ ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางจะกำหนดวันจ่ายเป็นอย่างอื่นก็ได้ หมวด ๓ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และผู้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ มาตรา ๒๑ การจ่ายเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ ให้จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ หรือระเบียบข้อบังคับของกระทรวงกลาโหมที่ได้ทำความตกลงไว้กับกระทรวงการคลัง อัตราเงินเดือนข้าราชการระหว่างพักราชการ ไม่ถือเป็นอัตราว่าง ข้าราชการผู้ใดตายในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถ้าเจ้ากระทรวงหรือผู้มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการหรือตามระเบียบข้อบังคับกระทรวงกลาโหมที่ได้ทำความตกลงไว้กับกระทรวงการคลังให้จ่ายเงินเดือนในระหว่างพักราชการอย่างใดก็ให้จ่ายเงินเดือนตามที่วินิจฉัยนั้นจนถึงวันที่ถึงแก่ความตาย มาตรา ๒๒ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๑ มาใช้บังคับแก่การจ่ายเงินเดือนข้าราชการผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และผู้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษให้ออก ปลดออกหรือไล่ออกด้วย โดยอนุโลม หมวด ๔ การจ่ายเงินช่วยพิเศษในกรณีที่ข้าราชการถึงแก่ความตาย มาตรา ๒๓ ข้าราชการผู้ใดถึงแก่ความตายในระหว่างรับราชการให้จ่ายเงินช่วยพิเศษจำนวนสามเท่าของเงินเดือนเต็มเดือนที่ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธิได้รับในเดือนที่ถึงแก่ความตาย และหากข้าราชการผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษค่าวิชาเงินประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ เงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ และเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการปราบปรามผู้กระทำผิด ให้รวมเงินดังกล่าวกับเงินเดือนเพื่อคำนวณเป็นเงินช่วยพิเศษจำนวนสามเท่าด้วย ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และผู้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเดือนตามมาตรา ๒๑ หรือมาตรา ๒๒ โดยอนุโลม ข้าราชการผู้ใดตายในระหว่างละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือหนีราชการ ห้ามมิให้จ่ายเงินช่วยพิเศษ มาตรา ๒๔ เงินช่วยพิเศษตามมาตรา ๒๓ ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งข้าราชการผู้ตายแสดงเจตนาโดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด ถ้าข้าราชการผู้ตายมิได้แสดงเจตนาไว้ตามวรรคหนึ่ง หรือบุคคลซึ่งข้าราชการผู้ตายแสดงเจตนาไว้ตายก่อนข้าราชการผู้ตายหรือก่อนมีการจ่ายเงิน ก็ให้จ่ายแก่บุคคลตามลำดับดังนี้ (๑) คู่สมรส (๒) บุตร (๓) บิดามารดา เมื่อปรากฏว่าบุคคลในลำดับก่อนตามวรรคสองมีชีวิตอยู่ บุคคลในลำดับถัดไปไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษ ถ้าผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษตามความในวรรคสองในลำดับเดียวกันมีหลายคนให้จ่ายให้แก่ผู้ซึ่งบุคคลในลำดับนั้นมอบหมายเป็นหนังสือ หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่จัดการศพ มาตรา ๒๕ การขอรับเงินช่วยพิเศษ ให้กระทำภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ข้าราชการผู้ซึ่งมีสิทธิรับเงินเดือนตาย เว้นแต่กรณีที่ผู้นั้นเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการ ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือผู้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ ระยะเวลาหนึ่งปีให้นับแต่วันที่การถูกสั่งพักราชการ การออกราชการไว้ก่อน หรือการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษสิ้นสุดลง แล้วแต่กรณี มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ทางราชการมีความจำเป็นต้องเข้าจัดการศพข้าราชการผู้ตายเพราะไม่มีผู้ใดเข้าจัดการในเวลาอันสมควร ให้ทางราชการหักค่าใช้จ่ายจากเงินช่วยพิเศษได้เท่าที่จ่ายจริง แล้วมอบส่วนที่เหลือ ถ้ามี ให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับตามมาตรา ๒๔ หมวด ๕ การจ่ายเงินเดือนระหว่างลา มาตรา ๒๗ ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ข้าราชการผู้ได้รับอันตราย หรือป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการ ให้ข้าราชการที่ลาป่วย ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ในปีหนึ่งไม่เกินหกสิบวันทำการ แต่ถ้าผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ตำแหน่งอธิบดีหรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไปเห็นสมควรจะให้จ่ายเงินเดือนต่อไปอีกก็ได้ แต่ไม่เกินหกสิบวันทำการ มาตรา ๒๘[๙] ข้าราชการลาเนื่องจากการคลอดบุตร ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกินเก้าสิบวัน มาตรา ๒๘/๑[๑๐] ข้าราชการซึ่งลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ภริยาคลอดบุตร ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกินสิบห้าวันทำการ แต่ถ้าเป็นการลาเมื่อพ้นสามสิบวันนับแต่วันที่ภริยาคลอดบุตร ไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ตำแหน่งอธิบดีหรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไปเห็นสมควรจะให้จ่ายเงินเดือนระหว่างลานั้นก็ได้ แต่ไม่เกินสิบห้าวันทำการ มาตรา ๒๙ ให้ข้าราชการลากิจส่วนตัวโดยได้รับเงินเดือนในปีหนึ่งไม่เกินสี่สิบห้าวันทำการ แต่ในปีที่เริ่มรับราชการ ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกินสิบห้าวันทำการ มาตรา ๒๙/๑[๑๑] ข้าราชการซึ่งลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตร ไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา มาตรา ๓๐ ให้ข้าราชการที่ลาพักผ่อนประจำปีได้รับเงินเดือนระหว่างลาไม่เกินระยะเวลาที่กำหนดในระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ มาตรา ๓๑[๑๒] ตั้งแต่เริ่มรับราชการ ข้าราชการผู้ใดยังไม่เคยอุปสมบทในพระพุทธศาสนา หรือเคยอุปสมบทในพระพุทธศาสนาโดยการอุปสมบทนั้นมีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดไม่ให้ถือเป็นวันลาของข้าราชการ หรือยังไม่เคยประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ให้ข้าราชการผู้นั้นลาอุปสมบท หรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ แล้วแต่กรณี โดยได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ทั้งนี้ ต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน มาตรา ๓๒ ข้าราชการซึ่งลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพลให้ได้รับเงินเดือนในระหว่างนั้นได้ แต่ถ้าพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้วไม่รายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติราชการภายในเจ็ดวัน ให้งดจ่ายเงินเดือนหลังจากนั้นไว้จนถึงวันเข้าปฏิบัติราชการ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ตำแหน่งอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไปจะให้จ่ายเงินเดือนระหว่างนั้นต่อไปอีกก็ได้ แต่ไม่เกินสิบห้าวัน มาตรา ๓๓ ข้าราชการซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ให้ได้รับเงินเดือนในระหว่างลาไม่เกินสี่ปี นับแต่วันไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย จนถึงวันก่อนวันมารายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติราชการ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจอนุญาตการลา เห็นสมควรให้ข้าราชการลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยเกินสี่ปี ก็ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ แต่ทั้งนี้ เมื่อรวมทั้งสิ้นจะต้องไม่เกินหกปี มาตรา ๓๔ ข้าราชการที่ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา เว้นแต่อัตราเงินเดือนที่ได้รับจากองค์การระหว่างประเทศต่ำกว่าอัตราเงินเดือนของทางราชการที่ผู้นั้นได้รับอยู่ในขณะนั้น ให้ได้รับเงินเดือนจากทางราชการสมทบ ซึ่งเมื่อรวมกับเงินเดือนจากองค์การระหว่างประเทศแล้วไม่เกินอัตราเงินเดือนของทางราชการที่ข้าราชการผู้นั้นได้รับอยู่ในขณะนั้น มาตรา ๓๕ ข้าราชการที่ลาติดตามคู่สมรส ไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา มาตรา ๓๕/๑[๑๓] ข้าราชการซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาเพื่อไปเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ แล้วแต่กรณี ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร แต่ไม่เกินสิบสองเดือน มาตรา ๓๖ การจ่ายเงินเดือนระหว่างลาของข้าราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม ให้เป็นไปตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม ลักษณะ ๒ เงินปีและเงินประจำตำแหน่ง ที่จ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนของสำนักพระราชวัง มาตรา ๓๗ ผู้มีสิทธิได้รับเงินปีในปีใด ให้จ่ายเงินปีในปีนั้นให้เต็มทั้งปีไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด มาตรา ๓๘ การจ่ายเงินประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประธานองคมนตรี หรือองคมนตรี ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป สำหรับเงินประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้เป็นไปตามอัตราที่คณะรัฐมนตรีกำหนด การจ่ายเงินประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประธานองคมนตรี หรือองคมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ให้จ่ายได้เพียงวันก่อนวันพ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่ถึงแก่ความตาย ให้จ่ายสำหรับเดือนที่ถึงแก่ความตายนั้นให้เต็มเดือน มาตรา ๓๙ การจ่ายเงินประจำตำแหน่งตามมาตรา ๓๘ ให้จ่ายในลักษณะเงินเดือน แต่ไม่ต้องทำบัญชีถือจ่าย ลักษณะ ๓ บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นที่จ่ายในลักษณะบำเหน็จ บำนาญ หมวด ๑ การจ่ายบำเหน็จ บำนาญ มาตรา ๔๐ การจ่ายบำเหน็จหรือบำนาญ ให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้พิจารณาสั่งจ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด การจ่ายบำเหน็จหรือบำนาญในกรณีผู้เคยรับบำนาญอยู่แล้วกลับเข้ารับราชการใหม่ แล้วออกจากราชการครั้งหลังโดยมีสิทธิได้รับบำนาญในครั้งหลังด้วย ถ้าการรับราชการในครั้งก่อนกับครั้งหลังต่างกระทรวง ทบวง กรมกัน ให้รวมจ่ายบำนาญทางส่วนราชการที่ออกจากราชการครั้งหลัง ในกรณีที่มีการลดหรืองดบำนาญในระหว่างเวลาที่ข้าราชการกลับเข้ารับราชการใหม่ และต่อมาออกจากราชการครั้งหลังโดยไม่มีสิทธิได้รับบำนาญ การจ่ายบำนาญที่เคยได้รับอยู่เดิมตั้งแต่วันออกจากราชการครั้งหลังจะจ่ายได้ต่อเมื่อกรมบัญชีกลางสั่งจ่ายให้แล้ว และให้จ่ายทางส่วนราชการเดิมที่จ่ายบำนาญนั้น ในกรณีที่การกลับเข้ารับราชการใหม่เป็นการกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งข้าราชการการเมือง ให้ผู้นั้นมีสิทธิเลือกขอรับบำนาญทางส่วนราชการเดิมที่ผู้นั้นมีสิทธิรับบำนาญมาก่อน หรือทางส่วนราชการที่ออกจากราชการครั้งหลังสุด หรือทางส่วนราชการที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการการเมืองในขณะนั้น[๑๔] มาตรา ๔๑ บำนาญปกติและบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพ ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันขาดจากอัตราเงินเดือนเป็นต้นไป บำนาญพิเศษในกรณีถึงแก่ความตายหรือสูญหาย ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ถึงแก่ความตาย หรือวันถัดจากวันที่สันนิษฐานว่าถึงแก่ความตายตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี มาตรา ๔๒ ถ้าผู้มีสิทธิรับบำนาญถึงแก่ความตาย ให้จ่ายบำนาญให้จนถึงวันที่ถึงแก่ความตาย นอกจากนี้ ให้จ่ายเงินช่วยพิเศษจำนวนเท่ากับบำนาญรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ถ้ามี) สามเดือน แต่ในกรณีที่ผู้มีสิทธิรับบำนาญที่ถึงแก่ความตายเป็นผู้รับบำนาญตกทอดหรือบำนาญพิเศษในฐานะทายาท ผู้อุปการะ หรือผู้อยู่ในอุปการะ ไม่ให้จ่ายเงินช่วยพิเศษ ให้นำความในมาตรา ๒๔ และมาตรา ๒๕ มาใช้บังคับแก่การจ่ายเงินช่วยพิเศษตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม ในกรณีที่ผู้มีสิทธิรับบำนาญถึงแก่ความตายก่อนที่กรมบัญชีกลางจะสั่งจ่ายบำนาญ ให้นับระยะเวลาเพื่อขอรับเงินช่วยพิเศษตามความในมาตรา ๒๕ ตั้งแต่วันที่กรมบัญชีกลางสั่งจ่ายบำนาญ มาตรา ๔๓[๑๕] การจ่ายบำนาญประจำเดือน ให้จ่ายในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนห้าวันทำการ สำหรับกรณีที่ต้องเบิกเงินจากธนาคาร หรือผู้มีสิทธิรับบำนาญได้รับบำนาญทางธนาคาร ให้จ่ายในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของธนาคารในเดือนนั้นห้าวันทำการ ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางจะกำหนดวันจ่ายเป็นอย่างอื่นก็ได้ มาตรา ๔๔[๑๖] การตรวจสอบการมีชีวิตของผู้รับบำนาญก่อนจ่ายบำนาญ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด มาตรา ๔๔ ทวิ[๑๗] ให้ผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการการเมืองและเป็นผู้รับบำนาญตามมาตรา ๔๐ ไว้แล้ว มีสิทธิเปลี่ยนส่วนราชการที่จ่ายบำนาญที่เคยได้รับอยู่เดิม โดยอาจเลือกขอรับทางส่วนราชการเดิมที่ผู้นั้นมีสิทธิรับบำนาญมาก่อน หรือทางส่วนราชการที่ผู้นั้นออกจากราชการครั้งหลังสุด หรือทางส่วนราชการที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการการเมืองก็ได้ หมวด ๒ การจ่ายเงินอื่นที่จ่ายในลักษณะบำเหน็จ บำนาญ มาตรา ๔๕ การจ่ายเงินตามกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องในการรบ กฎหมายว่าด้วยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติหน้าที่มนุษยธรรม กฎหมายว่าด้วยบำนาญพิเศษสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน หรือเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน ให้นำความในลักษณะ ๓ หมวด ๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๖ มีบทบัญญัติหลายประการที่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัยและสภาวการณ์ในปัจจุบัน ประกอบกับสิทธิและประโยชน์ของข้าราชการเกี่ยวกับการลาได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกันให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับสิทธิและประโยชน์ของข้าราชการดังกล่าวด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕[๑๘] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๔๐ แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ กำหนดวิธีปฏิบัติในการรับบำนาญยังไม่สะดวกและไม่เหมาะสมสำหรับผู้ซึ่งรับบำนาญอยู่แล้ว และกลับเข้ารับราชการใหม่ ซึ่งในการรับราชการครั้งหลังสุดเป็นข้าราชการการเมืองและผู้ซึ่งเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการการเมืองและเป็นผู้รับบำนาญอยู่แล้วตามมาตรา ๔๐ โดยที่ผู้มีสิทธิรับบำนาญหรือผู้รับบำนาญอยู่แล้วดังกล่าวมีจำนวนไม่มากนัก และการตรวจสอบเพื่อมิให้มีการจ่ายบำนาญซ้ำซ้อนกันสามารถกระทำได้โดยไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติแต่อย่างใด จึงเห็นควรให้สิทธิแก่บุคคลดังกล่าวที่จะเลือกขอรับบำนาญทางส่วนราชการเดิมที่ผู้นั้นมีสิทธิรับบำนาญมาก่อน หรือทางส่วนราชการที่ออกจากราชการครั้งหลังสุด หรือทางส่วนราชการที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการการเมือง แล้วแต่กรณีได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙[๑๙] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเดือนระหว่างลาของข้าราชการ ในกรณีลาคลอดบุตร ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ ยังกำหนดไว้ไม่เหมาะสม ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของข้าราชการสตรีและการเลี้ยงดูบุตรในระยะแรกเกิด สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเดือนระหว่างลาดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙[๒๐] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่การเบิกจ่ายเงินเดือนของส่วนราชการต่าง ๆ และการจ่ายเงินเดือนและบำนาญประจำเดือนตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ มีความล่าช้าและขาดความคล่องตัว เนื่องจากการเบิกจ่ายเงินเดือนจะต้องจัดทำเป็นบัญชีถือจ่ายและต้องรออนุมัติจากกรมบัญชีกลางก่อนจึงจะสามารถเบิกจ่ายได้ และการจ่ายเงินเดือนและบำนาญประจำเดือนในช่วงวันสิ้นเดือนมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจ่ายเงินเสียใหม่และกำหนดวันจ่ายเงินเดือนและบำนาญประจำเดือนให้เร็วขึ้น เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินเดือนและบำนาญประจำเดือนมีความคล่องตัว รวดเร็ว เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน นอกจากนั้น สมควรกำหนดให้อธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นผู้พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินเดือนให้แก่ข้าราชการที่มิได้มาปฏิบัติราชการ เพื่อเป็นการกระจายอำนาจและลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน รวมทั้งยกเลิกการแสดงตนของผู้รับบำนาญและกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบการมีชีวิตอยู่ของผู้รับบำนาญขึ้นใหม่ เพื่อไม่ให้เป็นการสร้างภาระและความลำบากแก่ผู้รับบำนาญเกินความจำเป็น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๕[๒๑] มาตรา ๗ ข้าราชการซึ่งลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรหรือลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพตั้งแต่วันที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕ ใช้บังคับ ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๘/๑ หรือมาตรา ๓๕/๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ แล้วแต่กรณี ข้าราชการซึ่งเคยอุปสมบทในพระพุทธศาสนาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการอุปสมบทนั้นไม่ถือเป็นวันลาของข้าราชการ หากปรากฏว่าได้มีการลาอุปสมบทในเวลาต่อมา ให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับเงินเดือนระหว่างลาอุปสมบทได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้กำหนดประเภทการลาขึ้นใหม่ คือ การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรและการลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ ประกอบกับยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเดือนระหว่างลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรไว้อย่างชัดเจน อีกทั้งเนื่องจากในปัจจุบันได้มีข้าราชการอุปสมบทในพระพุทธศาสนาตามมติคณะรัฐมนตรี โดยการอุปสมบทนั้นไม่ถือเป็นวันลาของข้าราชการ และหากข้าราชการดังกล่าวมีการลาอุปสมบทก็จะไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาอุปสมบทได้ สมควรกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเดือนของข้าราชการระหว่างลาในกรณีดังกล่าว และแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเดือนของข้าราชการซึ่งลาอุปสมบทให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปณตภร/ผู้จัดทำ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๓๒/หน้า ๒๕/๑ เมษายน ๒๕๓๕ [๒] มาตรา ๔ นิยามคำว่า “เงินเดือน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๓] มาตรา ๔ นิยามคำว่า “ข้าราชการ” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๔] มาตรา ๗ ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๕] มาตรา ๘ ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๖] มาตรา ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๗] มาตรา ๑๖ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๘] มาตรา ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๙] มาตรา ๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙ [๑๐] มาตรา ๒๘/๑ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๑๑] มาตรา ๒๙/๑ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๑๒] มาตรา ๓๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๑๓] มาตรา ๓๕/๑ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๑๔] มาตรา ๔๐ วรรคสี่ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๕] มาตรา ๔๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๑๖] มาตรา ๔๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๑๗] มาตรา ๔๔ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๙๖/หน้า ๑๐/๑๔ กันยายน ๒๕๓๕ [๑๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๑๔ ก/หน้า ๑/๓ พฤษภาคม ๒๕๓๙ [๒๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๓๘ ก/หน้า ๑/๑๗ เมษายน ๒๕๔๙ [๒๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๙๐ ก/หน้า ๔/๑๙ กันยายน ๒๕๕๕
515067
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นปีที่ ๓๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกาขึ้นโดยเฉพาะ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกกรรมการและอนุกรรมการ ลักษณะ ๑ ในพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๑๙ มาตรา ๔[๒] กรรมการกฤษฎีกา และกรรมการพัฒนากฎหมาย ให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมรายครั้ง เฉพาะครั้งที่มาประชุม ครั้งละ ๒,๐๐๐ บาท อนุกรรมการที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายแต่งตั้ง ให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมรายครั้ง เฉพาะครั้งที่มาประชุม ครั้งละ ๑,๐๐๐ บาท มาตรา ๕[๓] กรรมการและอนุกรรมการตามมาตรา ๔ ซึ่งมิได้เป็นข้าราชการ ลูกจ้างของทางราชการ หรือพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔ อีกหนึ่งเท่า มาตรา ๖[๔] ประธานของกรรมการกฤษฎีกาแต่ละคณะ ประธานกรรมการพัฒนากฎหมายและประธานอนุกรรมการที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายแต่งตั้ง ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔ อีกหนึ่งในสี่ มาตรา ๗[๕] เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย และคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายแต่งตั้งตลอดจนเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของที่ประชุมใหญ่คณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุมโดยมีอัตราเท่ากับกรรมการและอนุกรรมการตามมาตรา ๔ เลขานุการของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมไม่เกินหนึ่งคน และผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน มาตรา ๘[๖] (ยกเลิก) มาตรา ๙ การเบิกเบี้ยประชุม ให้เบิกจ่ายจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มาตรา ๑๐ เงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิได้รับเบี้ยประชุม และวิธีการจ่ายเบี้ยประชุม นอกจากที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๑ ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ส. โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันนี้ เบี้ยประชุมของกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของทางราชการเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๑๙ ซึ่งอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย แต่โดยที่ขณะนี้พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้บัญญัติให้คณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งประกอบด้วยกรรมการร่างกฎหมายและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ มีหน้าที่กว้างขวางยิ่งขึ้นโดยได้กำหนดโดยเฉพาะให้กรรมการกฤษฎีกาได้รับค่าตอบแทนตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษีกาและโดยที่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ปฏิบัติหน้าที่โดยมีการประชุมและมีวิธีพิจารณาที่แน่นอนตามระเบียบที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น จึงสมควรกำหนดค่าตอบแทนของคณะกรรมการกฤษฎีกาให้เป็นเบี้ยประชุมโดยพระราชกฤษีกาฉบับหนึ่งเป็นเอกเทศเพื่อให้เหมาะสมกับงานในหน้าที่ของคณะกรรมการกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓[๗] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากการจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการในลักษณะเหมาจ่ายเป็นรายเดือน ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกานั้น ยังไม่เหมาะสม สมควรกำหนดให้มีการจ่ายเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเท่านั้น เพื่อให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๓[๘] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เบี้ยประชุมกรรมการกฤษฎีกาตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้ใช้มาเป็นเวลานานแล้ว สมควรปรับปรุงอัตราเบี้ยประชุมดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๓[๙] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย และให้กรรมการพัฒนากฎหมายและอนุกรรมการที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายแต่งตั้งได้รับค่าตอบแทนเช่นเดียวกับกรรมการกฤษฎีกา จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยกำหนดให้กรรมการพัฒนากฎหมายและอนุกรรมการที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายแต่งตั้งได้รับเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการร่างกฎหมายและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ และโดยที่พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้กำหนดให้เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์และของที่ประชุมใหญ่กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์เท่านั้นที่ได้รับเบี้ยประชุม จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว โดยกำหนดให้เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย ของคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายแต่งตั้ง ของคณะกรรมการร่างกฎหมาย ตลอดจนเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมายได้รับเบี้ยประชุมด้วยเช่นเดียวกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๓[๑๐] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ค่าตอบแทนของกรรมการร่างกฎหมายกรรมการวินิจฉัยร้อยทุกข์ กรรมการพัฒนากฎหมาย และอนุกรรมการที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายแต่งตั้งตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ยังกำหนดไว้ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันและภาระหน้าที่ที่กรรมการดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ สมควรปรับปรุงค่าตอบแทนดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๒๓[๑๑] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากค่าตอบแทนของกรรมการกฤษฎีกา กรรมการพัฒนากฎหมาย และอนุกรรมการที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายแต่งตั้งตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๘ ยังไม่เหมาะสมกับภาวการณ์และภาระหน้าที่ที่กรรมการดังกล่าวต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ สมควรปรับปรุงค่าตอบแทนเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ประชุมพร/พิมพ์ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๙ วาทินี/ปรับปรุง ๒๖ กันยายน ๒๕๔๙ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๒๑๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๖/๑๙ ธันวาคม ๒๕๒๒ [๒] ข้อ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๗ [๓] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๔] ข้อ ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๗ [๕] ข้อ ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๗ [๖] ข้อ ๘ ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๙๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓/๒๗ มิถุนายน ๒๕๒๓ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๒๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑/๒๓ กรกฎาคม ๒๕๓๓ [๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๔/หน้า ๒๔/๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๔ ก/หน้า ๒๗/๒๔ มกราคม ๒๕๓๘ [๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๖๔ ก/หน้า ๑/๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๗
515071
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษา ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. 2523 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษา ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๓ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นปีที่ ๓๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๓” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๓เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๑๙ (๒) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๐ มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “คณะที่ปรึกษา” หมายความว่า คณะที่ปรึกษาหรือคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล แต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน “ที่ปรึกษา” หมายความว่า ที่ปรึกษาในคณะที่ปรึกษา หรือกรรมการในคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล แต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา ๕ .ให้ที่ปรึกษาได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม ตามอัตราที่นายกรัฐมนตรีกำหนดแต่ต้องไม่เกินอัตราท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๖ ให้อนุกรรมการซึ่งคณะที่ปรึกษาแต่งตั้ง ได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม ตามอัตราที่นายกรัฐมนตรีกำหนดแต่ต้องไม่เกินอัตราท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๗ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีมิได้กำหนดเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนให้แก่ที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการซึ่งคณะที่ปรึกษาแต่งตั้งตามมาตรา ๕ หรือมาตรา ๖ ให้ที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการซึ่งคณะที่ปรึกษาแต่งตั้งได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนในอัตราสูงสุดที่กำหนดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๘[๒] ที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการซึ่งมิได้เป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือมิได้เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจให้ได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนในอัตราเดียวกับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนของที่ปรึกษาและอนุกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ มาตรา ๙ ประธานคณะที่ปรึกษาและประธานคณะอนุกรรมการให้ได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ มาตรา ๑๐ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการ ให้ได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนเช่นเดียวกับที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการ แล้วแต่กรณี และถ้าที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย ให้เบิกเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนได้เพียงตำแหน่งเดียว เลขานุการในคณะที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการ ให้มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนไม่เกินหนึ่งคน และผู้ช่วยเลขานุการในคณะที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการ ให้มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนไม่เกินสองคน มาตรา ๑๑ ที่ปรึกษาในคณะที่ปรึกษาคณะหนึ่ง หรืออนุกรรมการในคณะอนุกรรมการคณะหนึ่ง ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียวในวันหนี่ง มาตรา ๑๒ การเบิกเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนจะเบิกจ่ายจากส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือส่วนราชการผู้เป็นเจ้าของเรื่อง ให้เป็นไปตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๓ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี อัตราเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาและอนุกรรมการ[๓] ที่ปรึกษา ครั้งละไม่เกิน ๓๐๐ บาท อนุกรรมการ ครั้งละไม่เกิน ๒๕๐ บาท หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ.๒๕๑๙ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน วิธีการเบิกจ่ายและอัตราการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษายังไม่เหมาะสม สมควรปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๓[๔] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาและอนุกรรมการตามที่กำหนดไว้ในอัตราเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาและอนุกรรมการท้ายพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้ใช้มาเป็นเวลานาน จึงไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงอัตราเบี้ยประชุมดังกล่าวเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๑[๕] มาตรา ๓ ที่ปรึกษา อนุกรรมการ เลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการของคณะที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ มิให้ได้รับเบี้ยประชุมตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นไป มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๓ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันโดยกำหนดให้ที่ปรึกษา อนุกรรมการ เลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการของคณะที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ มิให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นการชั่วคราว จึงจำเป็นต้องตรา พระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๔๒[๖] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๑ บัญญัติให้ระงับการจ่ายเบี้ยประชุมแก่ที่ปรึกษา อนุกรรมการ เลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการของคณะที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ เป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๐ เป็นต้นมาเพื่อถือปฏิบัติตามมาตรการประหยัดเงินงบประมาณ แต่ขณะนี้สภาพปัญหาเกี่ยวกับสภาวะการเงินการคลังได้รับการแก้ไขในระดับหนึ่งแล้ว สมควรให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนเช่นเดิม จึงจำเป็นต้องตรา พระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒[๗] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการยกเลิก พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๑ เพื่อให้ที่ปรึกษา อนุกรรมการ เลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการของคณะที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาเช่นเดิม ในการนี้สมควรปรับปรุงอัตราเบี้ยประชุมของที่ปรึกษาและอนุกรรมการซึ่งมิได้เป็นข้าราชการ หรือพนักงานหรือลูกจ้างของส่วนราชการ หรือมิได้เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจให้เหมาะสมโดยเป็นไปในอัตราเดียวกันกับเบี้ยประชุมของที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการอื่น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ประชุมพร/พิมพ์ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๙ วาทินี/ปรับปรุง ๒๖ กันยายน ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๙๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๗/๒๗ มิถุนายน ๒๕๒๓ [๒] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓] อัตราเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาและอนุกรรมการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๓ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๒๒๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐ /๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๓ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๑๕ ก/หน้า ๘๖/๒๔ มีนาคม ๒๕๔๑ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๑๓๗ ก/หน้า ๒๗/๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๒ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๑๓๗ ก/หน้า ๒๙/๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๒
515074
พระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร พ.ศ. 2535 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร พ.ศ. ๒๕๓๕[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภท ตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร พ.ศ. ๒๕๓๕” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร พ.ศ. ๒๕๒๑ (๒) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๓๒ มาตรา ๔[๒] ข้าราชการและลูกจ้างประจำซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือบุตรหรือมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือบุตรตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ สำหรับบุตรที่เกิดก่อนวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ อยู่แล้วในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับให้มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือบุตรดังกล่าวครั้งเดียวเต็มจำนวนโดยให้คำนวณในอัตราเดือนละห้าสิบบาทคูณด้วยระยะเวลาที่เหลืออยู่จนถึงวันที่บุตรนั้นมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนของข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจแล้ว สมควรยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๘[๓] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ของเดือนถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่การจ่ายเงินช่วยเหลือบุตรให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำที่ยังคงมีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวอยู่ตามพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นรายเดือน ๆ ละห้าสิบบาทต่อบุตรหนึ่งคนจนกว่าบุตรนั้นจะมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์ หรือมีอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์แต่บรรลุนิติภาวะโดยการสมรสหรือตายลงก่อนอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์ ทำให้ต้องมีการตั้งงบประมาณสำหรับเงินช่วยเหลือบุตรทุกปี และส่วนราชการต้องควบคุมตรวจสอบการจ่ายเงินทุกเดือน ดังนั้น เพื่อเป็นการลดภาระในการดำเนินการของส่วนราชการ สมควรแก้ไขหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือบุตรโดยกำหนดให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำดังกล่าวได้รับเงินช่วยเหลือบุตรครั้งเดียวเต็มจำนวนแทนการได้รับเป็นรายเดือน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ วาทินี/ปรับปรุง ๑๘ กันยายน ๒๕๔๙ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘๒/หน้า ๑/๓๐ กรกฎาคม ๒๕๓๕ [๒] มาตรา ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๘ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๒๗ ก/หน้า ๔๑/๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๘
590828
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2523 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นปีที่ ๓๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ค่ารักษาพยาบาล”[๒] หมายความว่า เงินที่สถานพยาบาลเรียกเก็บในการรักษาพยาบาล ดังนี้ (๑) ค่ายา ค่าเลือด และส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน ค่าน้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน และอื่น ๆ ทำนองเดียวกันที่ใช้ในการบำบัดรักษาโรค (๒) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม (๓) ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์โรค แต่ไม่รวมถึงค่าจ้างผู้พยาบาลพิเศษ ค่าธรรมเนียมพิเศษ และค่าบริการอื่นทำนองเดียวกันที่มีลักษณะเป็นเงินตอบแทนพิเศษ (๔) ค่าห้องและค่าอาหารตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล (๕) ค่าตรวจสุขภาพประจำปี “สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานพยาบาลของทางราชการและสถานพยาบาลของเอกชน “สถานพยาบาลของทางราชการ” หมายความว่า สถานพยาบาลของทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และให้หมายความรวมถึงสถานพยาบาลของกรุงเทพมหานคร รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ สภากาชาดไทย คุรุสภา สมาคมปราบวัณโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและสถานพยาบาลอื่นที่กระทรวงการคลังกำหนด “สถานพยาบาลของเอกชน”[๓] หมายความว่า สถานพยาบาลของเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินยี่สิบห้าเตียง ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล” “บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า (๑) บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นแล้ว (๒) คู่สมรสของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (๓) บิดาหรือมารดาของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล “การรักษาพยาบาล”[๔] หมายความรวมถึง การตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อประโยชน์ทางด้านสาธารณสุข มาตรา ๕ การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ ส่วนวิธีการเบิกจ่ายนั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๖ [๕]ภายใต้บังคับมาตรา ๘ และมาตรา ๑๑ ทวิ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวของตนตามพระราชกฤษฎีกานี้ (๑) ข้าราชการและลูกจ้าประจำซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำของกระทรวง ทบวง กรม (๒) ลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งมีหนังสือสัญญาจ้างที่ได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย และสัญญาจ้างนั้นมิได้ระบุเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลไว้ (๓) ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้ได้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด มาตรา ๖ ทวิ[๖] ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้และบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นประสบอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยในคราวเดียวกันและผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ได้เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยในคราวนั้นให้บุคคลในครอบครัวของผู้นั้น ซึ่งได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามสิทธิที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกานี้เฉพาะการเจ็บป่วยในครั้งนั้น” มาตรา ๗ ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๖ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรได้เพียงคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม ให้นับเรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลัง ทั้งนี้ ไม่ว่าเป็นบุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งใด หรืออยู่ในอำนาจปกครองของตนหรือไม่ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้ใดมีบุตรเกินสามคน และต่อมาบุตรคนหนึ่งคนใดในจำนวนสามคนตามวรรคหนึ่งนั้นตายลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะก็ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรเพิ่มขึ้นอีกเท่าจำนวนบุตรที่ตายนั้นโดยให้นับบุตรคนที่อยู่ในลำดับถัดไปก่อน มาตรา ๗ ทวิ[๗] ผู้มีสิทธิได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ผู้ใดยังไม่มีบุตรหรือมีบุตรที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๗ ยังไม่ถึงสามคน ถ้าต่อมามีบุตรแฝดซึ่งทำให้มีจำนวนบุตรเกินสามคน ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๗ สำหรับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้าย แต่บุตรแฝดดังกล่าวจะต้องเป็นบุตรซึ่งเกิดจากคู่สมรส หรือเป็นบุตรของตนเอง ในกรณีที่หญิงเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ในกรณีที่บุตรคนใดคนหนึ่งของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งตายลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะ ก็ให้ลดจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลลงจนกว่าจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเหลือไม่เกินสามคน และหลังจากนั้น ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลดังกล่าว จึงจะมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นได้ตามมาตรา ๗ วรรคสาม เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ บทบัญญัติที่อ้างถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สามของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้หมายถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๗ ตรี[๘] การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายในกรณีที่ไม่อาจทราบลำดับการเกิดก่อนหลังของบุตรแฝดได้โดยแน่ชัด ให้นับลำดับบุตรแฝดตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘[๙] ข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจซึ่งอยู่ในระหว่างรับการศึกษาอบรมในสถานศึกษาของกรมตำรวจ อันเป็นการศึกษาอบรมก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการประจำ ไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้” มาตรา ๙ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น มีสิทธิหรือได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่นแล้ว ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือบุคคลใดในครอบครัวของผู้นั้นได้รับค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลจากผู้อื่นแล้ว ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ไปก่อนแล้ว ภายหลังได้รับค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลจากบุคคลอื่นมีจำนวนเท่าหรือเกินกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้นำเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับไปนั้นส่งคืน แต่ถ้าเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบุคคลอื่นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้ส่งคืนเท่าจำนวนที่ได้รับจากบุคคลอื่นนั้น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๑[๑๐] การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอย่างอื่น ซึ่งมิใช่การตรวจสุขภาพประจำปี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตรา ดังนี้ (๑)[๑๑] ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการ ทั้งประเภทผู้ป่วยภายนอกหรือผู้ป่วยภายใน ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง ทั้งนี้ กระทรวงการคลังอาจกำหนดอัตราให้เบิกได้ต่ำกว่าจำนวนที่ได้ต่ำกว่าจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงก็ได้ (๒) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชน หรือสถานพยาบาลของเอกชนอื่นซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นประสบอุบัติเหตุ อุบัติภัย หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของบุคคลดังกล่าว เมื่อได้มีใบรับรองของแพทย์จากสถานพยาบาลของเอกชนนั้นมาประกอบให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ดังนี้ (ก) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรครวมทั้งค่าซ่อมแซม ค่าห้อง และค่าอาหาร ให้เบิกได้เช่นเดียวกับผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการ (ข) ค่ารักษาพยาบาลประเภทอื่นๆ ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่จะต้องไม่เกินสามพันบาท (๓) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของเอกชนในกรณีที่เป็นการเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นครั้งคราวเพราะเหตุที่สถานพยาบาลของทางราชการมีความจำเป็นต้องส่งตัวให้แก่สถานพยาบาลของเอกชนนั้น ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๑ ทวิ[๑๒] การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพประจำปี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตรา ดังนี้ (๑) ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพประจำปีต้องเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ หรือผู้ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (๒)[๑๓] เข้ารับการตรวจสุขภาพในสถานพยาบาลของทางราชการ (๓) ค่าตรวจสุขภาพให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๒[๑๔] ในกรณีที่สถานพยาบาลตามมาตรา ๑๑ ไม่มียาเลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน น้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ออกซิเจน อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคจำหน่าย หรือไม่อาจให้การตรวจทางห้องทดลอง หรือเอ๊กซเรย์แก่ผู้เข้ารักษาพยาบาลได้ เมื่อแพทย์ผู้ตรวจรักษาหรือหัวหน้าสถานพยาบาลของสถานพยาบาลแห่งนั้นลงลายมือชื่อรับรองตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนดแล้ว ก็ให้ผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลซื้อ หรือรับการตรวจทางห้องทดลองหรือเอ็กซเรย์จากสถานที่อื่นซึ่งอยู่ในประเทศไทยแล้วนำมาเบิกได้ตามมาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ ทวิ[๑๕] เมื่อปรากฏว่าสถานพยาบาลของเอกชนใดมีพฤติการณ์ในทางทุจริตร่วมกับผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นในเรื่องการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนดังกล่าวให้กระทรวง ทบวง กรมทราบ เพื่อมิให้เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของเอกชนนั้นอีกต่อไป เว้นแต่จะเป็นกรณีตามข้อเว้นของมาตรา ๑๑ (๒) การแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนตามวรรคหนึ่ง ให้มีผลเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแจ้ง การแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในสถานพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่การแจ้งมีผล มาตรา ๑๒ ตรี[๑๖] ในกรณีที่ข้าราชการตามมาตรา ๖ (๑) ไปมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ หลักเกณฑ์และอัตราของเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของข้าราชการดังกล่าว รวมทั้งคู่สมรสและบุตรซึ่งไปอยู่ในต่างประเทศกับข้าราชการผู้นั้น ขณะที่อยู่ในต่างประเทศ ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๓ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น หากได้รับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในของสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคัลและสถานพยาบาลนั้นเรียกค่ารักษาพยาบาลคาบเกี่ยวถึงวันที่ประราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ได้รับค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๔ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตร ผู้ใดมีบุตรเกินสามคนอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรเหล่านั้นต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๑ กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายเกี่ยวกับการลดอัตราเพิ่มประชากร สมควรกำหนดเกณฑ์ขึ้นใหม่ โดยให้มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรได้เพียงสามคนเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร พ.ศ. ๒๕๒๑ นอกจากนี้ได้กำหนดให้ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลที่ซื้ออุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคสถานที่อื่นแล้ว ให้เบิกค่าซื้ออุปกรณ์นั้นจากทางราชการได้เช่นเดียวกับอวัยวะเทียม ทั้งนี้จำกัดเฉพาะกรณีเมื่อสถานพยาบาลแห่งนั้นไม่มีจำหน่าย นอกจากนั้น ได้แก้ไขอัตราค่าห้องและค่าอาหารที่เคยเบิกได้รวมกันไม่เกินวันละหนึ่งร้อยยี่สิบบาทเป็นให้เบิกได้ตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนดเพื่อให้สามารถแก้ไขได้ตามความเหมาะสมกับภาวะค่าครองชีพ จึงจำเป็นต้องตามพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ มาตรา ๗ ในท้องที่อำเภอหรือเขตใดไม่มีสถานพยาบาลของเอกชน ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินสิบเตียงแต่ไม่เกินยี่สิบห้าเตียงซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ (๑) กรณีที่ท้องที่อำเภอหรือเขตนั้นไม่มีสถานพยาบาลเช่นว่านั้นอีก ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาลของเอกชนอื่น ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีนี้ใช้บังคับให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาได้ (๒) กรณีที่มีอุบัติเหตุ หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากผู้ป่วยมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้นั้นได้ ถ้าได้เข้ารับการักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนอื่น ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ได้ ให้นำมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีการเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ และมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๒ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ มาใช้บังคับแก่สถานพยาบาลตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม ในท้องที่อำเภอหรือเขตวรรคหนึ่ง เมื่อมีการจัดตั้งสถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้แล้วไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่งที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลตามวรรคหนึ่งที่มีอยู่ก่อนวันที่มีการจัดตั้งสถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้โดยได้รับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่มีการจัดตั้งสถานพยาบาลนั้น มาตรา ๘ สิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับโดยได้รับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ วัชศักดิ์/พิมพ์ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ นันท์นภัสร์/จัดทำ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนพิเศษ ๑๗๘/หน้า ๑/๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๒๓ [๒] แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๔ [๓] แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ [๔] เพิ่มโดย พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๔ [๕] แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๔ [๖] มาตรา ๖ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๗ [๗] มาตรา ๗ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๓ [๘] มาตรา ๗ ตรี เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๓ [๙] มาตรา ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๕ [๑๐] มาตรา ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๗ [๑๑] มาตรา ๑๑(๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๘ [๑๒] มาตรา ๑๑ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๖ [๑๓] แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๗ [๑๔] มาตรา ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ [๑๕] มาตรา ๑๒ ทวิ เพิ่มโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ [๑๖] มาตรา ๑๒ ตรี เพิ่มโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๕
677446
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๓ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นปีที่ ๖๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๓” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ (๒) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘ (๓) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ (๔) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๓ (๕) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ (๖) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๐ (๗) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๑ (๘) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “การรักษาพยาบาล” หมายความว่า การให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขโดยตรงแก่ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวของผู้มีสิทธิ เพื่อการรักษาโรค การตรวจวินิจฉัย การฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต และให้หมายความรวมถึงการตรวจสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคเพื่อประโยชน์ด้านสาธารณสุข ทั้งนี้ ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด แต่ไม่รวมถึงการเสริมความงาม “ค่ารักษาพยาบาล” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาล ดังต่อไปนี้ (๑) ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าเลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน ค่าน้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน และอื่น ๆ ทำนองเดียวกันที่ใช้ในการบำบัดรักษาโรค (๒) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซมอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ดังกล่าว (๓) ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการทางการพยาบาล ค่าตรวจวินิจฉัยโรค ค่าวิเคราะห์โรค แต่ไม่รวมถึงค่าธรรมเนียมแพทย์พิเศษ ค่าจ้างผู้พยาบาลพิเศษ ค่าธรรมเนียมพิเศษ และค่าบริการอื่นทำนองเดียวกันที่มีลักษณะเป็นเงินตอบแทนพิเศษ (๔) ค่าตรวจครรภ์ ค่าคลอดบุตรและการดูแลหลังคลอดบุตร (๕) ค่าห้องและค่าอาหาร ตลอดระยะเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล (๖) ค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นการเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันโรค (๗) ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ (๘) ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นแก่การรักษาพยาบาลตามที่กระทรวงการคลังกำหนด “สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานพยาบาลของทางราชการและสถานพยาบาลของเอกชน “สถานพยาบาลของทางราชการ” หมายความว่า สถานพยาบาลซึ่งเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และให้หมายความรวมถึงสถานพยาบาลของมหาวิทยาลัยของรัฐ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา องค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กรุงเทพมหานคร สภากาชาดไทย และองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก โรงพยาบาลประสานมิตร และสถานพยาบาลอื่นตามที่กระทรวงการคลังกำหนด “สถานพยาบาลของเอกชน” หมายความว่า สถานพยาบาลที่มีลักษณะการให้บริการเป็นโรงพยาบาล ซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการและดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล “ผู้มีสิทธิ” หมายความว่า (๑) ข้าราชการและลูกจ้างประจำซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำจากเงินงบประมาณรายจ่าย งบบุคลากรของกระทรวง ทบวง กรม เว้นแต่ข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจซึ่งอยู่ในระหว่างรับการศึกษาอบรมในสถานศึกษาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการประจำ (๒) ลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งมีหนังสือสัญญาจ้างที่ได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่ายและสัญญาจ้างนั้นมิได้ระบุเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลไว้ (๓) ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้ได้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด “บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า (๑) บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีสิทธิซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีสิทธิแต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น (๒) คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้มีสิทธิ (๓) บิดาหรือมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้มีสิทธิ มาตรา ๕ ให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวของตนตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ เพื่อประโยชน์ในการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้ผู้มีสิทธิมีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและบุคคลในครอบครัวของตนต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดพร้อมทั้งรับรองความถูกต้องของข้อมูล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๖ ให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรได้เพียงคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม ผู้มีสิทธิผู้ใดมีบุตรเกินสามคน และต่อมาบุตรคนหนึ่งคนใดในจำนวนสามคนตามวรรคหนึ่งตายลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะ ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรเพิ่มขึ้นอีกเท่าจำนวนบุตรที่ตาย โดยให้นับบุตรคนที่อยู่ในลำดับถัดไปก่อน การนับลำดับบุตร ให้นับเรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลัง ทั้งนี้ ไม่ว่าเป็นบุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งใด หรืออยู่ในอำนาจปกครองของตนหรือไม่ มาตรา ๗ ผู้มีสิทธิผู้ใดยังไม่มีบุตรหรือมีบุตรที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๖ ยังไม่ถึงสามคน ถ้าต่อมามีบุตรแฝดซึ่งทำให้มีจำนวนบุตรเกินสามคนให้ผู้มีสิทธิผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๖ สำหรับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้าย แต่บุตรแฝดดังกล่าวต้องเป็นบุตรซึ่งเกิดจากคู่สมรส หรือเป็นบุตรของตนเองในกรณีที่หญิงเป็นผู้ใช้สิทธิขอรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ในกรณีที่บุตรคนหนึ่งคนใดของผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่งตายลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะ ให้ลดจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลลงจนกว่าจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเหลือไม่เกินสามคน และหลังจากนั้นผู้มีสิทธิจึงจะมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นได้ตามมาตรา ๖ วรรคสอง เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ บทบัญญัติที่อ้างถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สามของผู้มีสิทธิให้หมายความถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายของผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๘ ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวของตน ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) การเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ ทั้งประเภทผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยใน (๒) การเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชนตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด ประเภทผู้ป่วยใน (๓)[๒] การเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชน ทั้งประเภทผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยใน เฉพาะกรณีที่ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉิน (๔) การเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชนตามที่กระทรวงการคลังกำหนดประเภทผู้ป่วยนอก เป็นครั้งคราว เพราะเหตุที่สถานพยาบาลของทางราชการมีความจำเป็นต้องส่งตัวให้แก่สถานพยาบาลของเอกชนนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือไม่ก็ตาม การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลโดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ประเภท และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๙ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลและก่อนที่การรักษาพยาบาลจะสิ้นสุดลง ผู้มีสิทธิได้พ้นสภาพความเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชาวต่างประเทศ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ หรือถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนหรือบุคคลในครอบครัวพ้นสภาพความเป็นบุคคลในครอบครัวตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาลในคราวนั้น มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่นให้ผู้มีสิทธิเลือกว่าจะใช้สิทธิรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ หรือใช้สิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่น และหากเลือกใช้สิทธิจากหน่วยงานอื่นผู้นั้นไม่มีสิทธิตามพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ การเลือกและการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ในกรณีที่บุคคลในครอบครัวมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิของตนเองจากหน่วยงานอื่น ผู้มีสิทธิไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุคคลในครอบครัวตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุคคลในครอบครัวเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ ในกรณีที่บุคคลในครอบครัวเป็นผู้อาศัยสิทธิของผู้อื่นซึ่งมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุคคลในครอบครัวจากหน่วยงานอื่นในขณะเดียวกัน ให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุคคลในครอบครัวตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๑ ในกรณีที่มีการทำสัญญาประกันภัยซึ่งให้ความคุ้มครองในการรักษาพยาบาลแก่ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัว หากสิทธิที่จะได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตามสัญญาประกันภัยนั้นต่ำกว่าค่ารักษาพยาบาลในคราวนั้น ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้เฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ แต่ต้องไม่เกินไปกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๒ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวได้รับค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุละเมิดเป็นค่ารักษาพยาบาลจากบุคคลอื่นแล้ว ผู้มีสิทธิไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้เฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ ในกรณีที่ได้มีการจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลไปแล้ว และปรากฏว่าผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวได้รับค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุละเมิดเป็นค่ารักษาพยาบาลจากบุคคลอื่นในภายหลัง ให้ผู้มีสิทธิส่งคืนเงินเท่ากับจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับดังกล่าว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๓ ในกรณีที่สถานพยาบาลไม่มียา เลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทนน้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ออกซิเจน อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคจำหน่ายหรือไม่อาจให้การตรวจทางห้องทดลองหรือโดยวิธีการเอกซเรย์แก่ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวได้เมื่อแพทย์ผู้ตรวจรักษาหรือหัวหน้าสถานพยาบาลของสถานพยาบาลแห่งนั้นลงลายมือชื่อรับรองตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนดแล้ว ให้ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวซื้อ หรือรับการตรวจทางห้องทดลองหรือโดยวิธีการเอกซเรย์จากสถานที่อื่นซึ่งอยู่ในประเทศไทยและนำมาเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๔ ในการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล ผู้มีสิทธิอาจนำหลักฐานการรับเงินที่สถานพยาบาลซึ่งตนเองหรือบุคคลในครอบครัวเข้ารับการรักษาพยาบาลออกให้มายื่นต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด หรืออาจให้สถานพยาบาลนั้นเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลแทนโดยระบบการเบิกจ่ายตรงก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิหรือสถานพยาบาลตามมาตรา ๑๔ เบิกเงินค่ารักษาพยาบาลโดยไม่เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือเกินสิทธิที่จะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ผู้มีสิทธิหรือสถานพยาบาลนั้นส่งคืนเงินที่ได้รับไปจากกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด เมื่อปรากฏว่าสถานพยาบาลใดมีพฤติการณ์ในทางทุจริตเกี่ยวกับการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลให้กระทรวงการคลังเรียกคืนเงินค่ารักษาพยาบาลและระงับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในระบบการเบิกจ่ายตรงกับสถานพยาบาลนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๖ ในกรณีที่ข้าราชการไปมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ หลักเกณฑ์และอัตราของเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของข้าราชการดังกล่าว รวมทั้งคู่สมรสและบุตรซึ่งไปอยู่ในต่างประเทศกับข้าราชการผู้นั้นขณะที่อยู่ในต่างประเทศ ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๗ ในกรณีที่ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงานในต่างประเทศ หรือเดินทางไปปฏิบัติราชการต่างประเทศชั่วคราว ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลขณะที่อยู่ในต่างประเทศ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๘ บรรดาระเบียบและประกาศที่ออกตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติมซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชกฤษฎีกานี้จนกว่าจะมีระเบียบหรือประกาศที่ออกตามพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เพื่อให้สอดคล้องกับการให้บริการทางการแพทย์และระบบประกันสุขภาพอื่น และเพื่อพัฒนาระบบสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของรัฐ โดยขยายสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในการเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชนให้กว้างขึ้นและกำหนดให้การเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรคเป็นการรักษาพยาบาลด้วย รวมทั้งกำหนดให้มีการนำระบบการเบิกจ่ายตรงมาใช้กับการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อันเป็นการลดขั้นตอนการดำเนินการ เพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมค่าใช้จ่ายของรัฐ และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๓] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงสิทธิในการรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับการเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชนของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ทั้งประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน เฉพาะกรณีที่ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ณัฐพร/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๒๓ ก/หน้า ๑/๒ เมษายน ๒๕๕๓ [๒] มาตรา ๘ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๐๕ ก/หน้า ๑/๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
678481
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๒๓ (๒) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๓ (๓) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๗ (๔) พระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๔๒ (๕) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๒ (๖) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๓ (๗) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๓ (๘) พระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๔๒ (๙) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔ พระราชกฤษฎีกานี้ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการ อนุกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือโดยประกาศพระบรมราชโองการ และบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือประกาศพระบรมราชโองการนั้นกำหนดเบี้ยประชุมหรือผลประโยชน์ตอบแทนของบุคคลดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะ มาตรา ๕ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “คณะกรรมการ”[๒] หมายความว่า คณะกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งและกำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ไว้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกาศพระบรมราชโองการหรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหรือโดยประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการ แต่ไม่รวมถึงกรรมการซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนอย่างอื่นในหน้าที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ “คณะอนุกรรมการ”[๓] หมายความว่า คณะอนุกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกาศพระบรมราชโองการ หรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หรือโดยประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี หรือโดยคณะกรรมการที่มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการได้ “อนุกรรมการ” หมายความว่า อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการ แต่ไม่รวมถึงอนุกรรมการซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนอย่างอื่นในหน้าที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ “ที่ปรึกษาคณะกรรมการ” หมายความว่า ที่ปรึกษาซึ่งได้รับแต่งตั้งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือโดยประกาศพระบรมราชโองการ ให้เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๖ ให้กรรมการได้รับเบี้ยประชุมดังต่อไปนี้ (๑)[๔] เบี้ยประชุมเป็นรายเดือน สำหรับกรรมการในคณะกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งและกำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ไว้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกาศพระบรมราชโองการ หรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบสูง ปฏิบัติงานในด้านการกำหนดนโยบายอันมีผลกระทบต่อการบริหาร เศรษฐกิจ หรือสังคมในภาพรวมของประเทศ ทั้งนี้ ตามรายชื่อคณะกรรมการและอัตราเบี้ยประชุมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด (๒) เบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง สำหรับกรรมการในคณะกรรมการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (๑) ตามอัตราเบี้ยประชุมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด มาตรา ๗ ให้อนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมดังต่อไปนี้ (๑) เบี้ยประชุมเป็นรายเดือน สำหรับอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการตามมาตรา ๖ (๑) ตามรายชื่อคณะอนุกรรมการและอัตราเบี้ยประชุมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด (๒) เบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง สำหรับอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (๑) เว้นแต่อนุกรรมการสามัญประจำกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง หรือกรม อนุกรรมการสามัญประจำจังหวัด หรืออนุกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ให้ได้รับเบี้ยประชุมเฉพาะอนุกรรมการที่ไม่ได้เป็นข้าราชการของส่วนราชการนั้น ทั้งนี้ ตามอัตราเบี้ยประชุมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด มาตรา ๘ กรรมการหรืออนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน ให้ได้รับเบี้ยประชุมเฉพาะในเดือนที่ได้ร่วมประชุม มาตรา ๙ ประธานกรรมการหรือประธานอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเบี้ยประชุมที่กรรมการหรืออนุกรรมการนั้นมีสิทธิได้รับ แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ประธานกรรมการหรือประธานอนุกรรมการไม่สามารถร่วมประชุมได้ให้ผู้ซึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้รับเบี้ยประชุมในอัตราเดียวกับประธานกรรมการหรือประธานอนุกรรมการตามที่กำหนดในวรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๐ รองประธานกรรมการหรือรองประธานอนุกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือโดยประกาศพระบรมราชโองการ ที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในแปดของอัตราเบี้ยประชุมที่กรรมการหรืออนุกรรมการนั้นมีสิทธิได้รับ แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๑ กรรมการในคณะกรรมการคณะหนึ่ง หรืออนุกรรมการในคณะอนุกรรมการคณะหนึ่ง ที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ให้ได้รับเบี้ยประชุมสำหรับการประชุมคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการนั้น แล้วแต่กรณี เพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง มาตรา ๑๑/๑[๕] ในกรณีที่กรรมการหรืออนุกรรมการซึ่งเป็นการแต่งตั้งโดยตำแหน่งไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ แต่ได้มอบหมายให้ผู้อื่นเข้าร่วมประชุมแทนโดยทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานการมอบหมาย ให้ถือว่าผู้ได้รับมอบหมายปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการหรืออนุกรรมการแทนผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ และให้นับเป็นองค์ประชุม ตลอดจนมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมในอัตราเดียวกับกรรมการหรืออนุกรรมการ มาตรา ๑๒ ที่ปรึกษาคณะกรรมการให้ได้รับเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการในคณะกรรมการนั้น โดยให้นำมาตรา ๘ หรือมาตรา ๑๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๓ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งตามอัตราเบี้ยประชุมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด โดยให้เลขานุการมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมไม่เกินหนึ่งคน และผู้ช่วยเลขานุการมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน ถ้ากรรมการหรืออนุกรรมการผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย ให้เบิกเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว มาตรา ๑๔ การประชุมของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ ต้องมีกรรมการหรืออนุกรรมการร่วมประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการหรืออนุกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม และมีสิทธิเบิกเบี้ยประชุมตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่บทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกาศพระบรมราชโองการ หรือคำสั่งที่จัดให้มีคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการนั้นจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การประชุมตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงการประชุมที่บทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกาศพระบรมราชโองการ หรือคำสั่งที่จัดให้มีคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการกำหนดให้สามารถใช้วิธีการติดต่อสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่สามารถถ่ายทอดภาพและเสียงได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้กรรมการหรืออนุกรรมการไม่จำเป็นต้องปรากฏตัวในที่ประชุมด้วย โดยให้ถือว่ากรรมการหรืออนุกรรมการซึ่งใช้วิธีการติดต่อสื่อสารด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว ร่วมประชุมคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการนั้น และมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม มาตรา ๑๕ ให้กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ร่วมกันจัดทำรายชื่อคณะกรรมการตามมาตรา ๖ (๑) และรายชื่อคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๗ (๑) และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ เมื่อได้จัดทำรายชื่อคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และอัตราเบี้ยประชุมตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้ว ให้เสนอรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบและประกาศกำหนดต่อไป การกำหนดอัตราเบี้ยประชุมต้องไม่เกินอัตราที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๕/๑[๖] การเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๖ คณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งซึ่งได้รับเงินสมนาคุณเป็นรายเดือนอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้คงได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน ทั้งนี้ ตามอัตราเบี้ยประชุมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด มาตรา ๑๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การจ่ายและอัตราเบี้ยประชุมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และเพื่อรวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวกับเบี้ยประชุมกรรมการ ให้อยู่ในกฎหมายฉบับเดียวกันเพื่อให้มีเอกภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐[๗] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ไม่มีบทบัญญัติที่ชัดเจนว่า ผู้เข้าร่วมประชุมแทนกรรมการหรืออนุกรรมการโดยตำแหน่ง สามารถเข้าร่วมประชุมและนับเป็นองค์ประชุมตามกฎหมาย ตลอดจนมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมหรือไม่ จึงสมควรกำหนดให้ผู้ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมประชุมแทนนับเป็นองค์ประชุม และมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕[๘] มาตรา ๗ ให้กรรมการในคณะกรรมการตามมาตรา ๖ (๑) และอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๗ (๑) แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนตามเดิมไปจนกว่ารัฐมนตรีจะประกาศกำหนดรายชื่อคณะกรรมการ และอัตราเบี้ยประชุมตามมาตรา ๖ (๑) แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการ เพื่อให้การเบิกจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการมีประสิทธิภาพและเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปณตภร/ผู้จัดทำ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๗๘ ก/หน้า ๑/๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๗ [๒] มาตรา ๕ นิยามคำว่า “คณะกรรมการ” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๓] มาตรา ๕ นิยามคำว่า “คณะอนุกรรมการ” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๔] มาตรา ๖ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๕] มาตรา ๑๑/๑ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๖] มาตรา ๑๕/๑ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๖๙ ก/หน้า ๑๕/๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๐ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๑๐ ก/หน้า ๒๗/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
697393
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๑) (๒) และ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ (๒) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ (๓) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ (๔) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๕) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๙ (๖) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๑ (๗) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๑ (๘) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ข้าราชการ”[๒] หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร และข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา “เงินเดือน” หมายความว่า เงินเดือนสุทธิที่ข้าราชการได้รับ ทั้งนี้ เมื่อหักเงินเบิกลดเนื่องจากการปรับชั้นเงินเดือนออกแล้ว และรวมกับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชาหรือเงินเพิ่มการเลื่อนฐานะ หรือสำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ หรือสำหรับการสู้รบ “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงิน รัฐวิสาหกิจ หรือสหกรณ์ที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการเคหะ ทั้งนี้ ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ “ท้องที่” หมายความว่า กรุงเทพมหานคร อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือท้องที่ของอำเภอหรือกิ่งอำเภอที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดให้เป็นท้องที่เดียวกันตามมาตรา ๕ “ท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรก” หมายความว่า ท้องที่ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ หรือมีคำสั่งให้ไปปฏิบัติราชการ และได้มีการรายงานตัวเพื่อปฏิบัติราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้เป็นครั้งแรก “ท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่” หมายความว่า ท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ “ภัยพิบัติ” หมายความว่า ภัยธรรมชาติหรือความเสียหายอย่างใด ๆ ซึ่งเกิดขึ้นโดยที่ผู้ซึ่งได้รับความเสียหายนั้นไม่มีส่วนที่จะต้องร่วมรับผิดด้วย มาตรา ๕ ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจประกาศกำหนดให้อำเภอหรือกิ่งอำเภอหลายท้องที่รวมกันเป็นท้องที่เดียวกันได้ มาตรา ๖ การจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายเป็นเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราตามพระราชกฤษฎีกานี้ การเบิกจ่ายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๗[๓] ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้น (๑)[๔] ทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด (๒) มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ โดยไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน (๓) ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในต่างท้องที่ตามคำร้องขอของตนเอง ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการผู้ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ที่เป็นท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ด้วย ข้าราชการผู้ใดได้รับเงินเดือนไม่ตรงกับที่กำหนดในบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามส่วนของเงินเดือนโดยคำนวณตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๗/๑[๕] ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่ใช่ข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้โอนมาเป็นข้าราชการไม่ว่าครั้งใดก็ตาม การบรรจุและแต่งตั้งผู้โอนมาเป็นข้าราชการนั้นในท้องที่ใด ให้ถือว่าเป็นการบรรจุและแต่งตั้งในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกตามพระราชกฤษฎีกานี้ และไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ จนกว่าจะได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ตามมาตรา ๗ มาตรา ๘ ข้าราชการผู้ใดต้องไปปฏิบัติราชการประจำสำนักงานในต่างท้องที่เนื่องจากสำนักงานที่ปฏิบัติราชการประจำอยู่เดิมได้ย้ายสถานที่ทำการไปตั้งในท้องที่ใหม่ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้เช่นเดียวกับข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ตามมาตรา ๗ เว้นแต่ท้องที่ใหม่ที่สำนักงานได้ย้ายไปนั้นอยู่ใกล้เคียงกับท้องที่ที่ตั้งสำนักงานเดิมตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๙ ข้าราชการผู้ใดรับราชการหรือได้รับคำสั่งให้ไปรับราชการในท้องที่ใด และไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเพราะเหตุที่มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสตามมาตรา ๗ (๒) แม้ว่ากรรมสิทธิ์ในเคหสถานได้โอนไปด้วยเหตุใดก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิที่จะได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการในระหว่างรับราชการในท้องที่นั้น เว้นแต่เคหสถานนั้นถูกทำลายหรือเสียหายเนื่องจากภัยพิบัติจนไม่สามารถพักอาศัยอยู่ได้ มาตรา ๑๐ ถ้าข้าราชการและคู่สมรสรับราชการในท้องที่เดียวกันและต่างก็มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้เบิกจ่ายได้เฉพาะคนใดคนหนึ่ง ข้าราชการผู้ใดมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ และมีคู่สมรสเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือพนักงานหรือเจ้าหน้าที่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือองค์การมหาชน ถ้าคู่สมรสของผู้นั้นได้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน หรือข้าราชการผู้นั้นได้อยู่ในที่พักอาศัยที่ทางราชการจัดให้แก่คู่สมรสในท้องที่เดียวกัน ข้าราชการผู้นั้นไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๑ ข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการอยู่แล้ว ภายหลังได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ถ้าเงินเดือนที่ได้รับเพิ่มขึ้นไม่ตรงกับที่กำหนดในบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการดังกล่าว ให้ได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามส่วนของเงินเดือนโดยคำนวณตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๒ การลดหรืองดเบิกจ่ายเงินเดือนแก่ข้าราชการผู้ใด เนื่องจากการถูกตัดเงินเดือนหรือการลาโดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน ไม่กระทบต่อสิทธิของผู้นั้นที่จะได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ และให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเสมือนหนึ่งไม่มีการลดหรืองดเบิกจ่ายเงินเดือนเช่นว่านั้น เว้นแต่เป็นการลาติดตามคู่สมรสซึ่งย้ายไปรับราชการในต่างประเทศ มาตรา ๑๓ ข้าราชการผู้ใดซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือมีกรณีอื่นใดอันเป็นเหตุให้ถูกงดเบิกจ่ายเงินเดือน ให้งดเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านข้าราชการ เมื่อกรณีถึงที่สุด ถ้าปรากฏว่าผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างกรณีเช่นว่านั้นสำหรับเดือนใด ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการสำหรับเดือนนั้นตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๔ ให้ข้าราชการมีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการตั้งแต่วันที่ข้าราชการผู้นั้นได้เช่าอยู่จริง แต่ไม่ก่อนวันที่รายงานตัวเพื่อเข้ารับหน้าที่ และให้สิ้นสุดในวันที่ขาดจากอัตราเงินเดือนหรือวันที่อยู่ในข่ายหมดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ถ้าผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นไม่สามารถออกเดินทางไปได้ในวันที่ส่งมอบหน้าที่ ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการต่อไปอีกไม่เกินสิบวันนับแต่วันส่งมอบหน้าที่ เว้นแต่มีความจำเป็นจะต้องอยู่ต่อไปอีก ให้เบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการต่อไปได้เท่าที่จำเป็นโดยได้รับการอนุมัติจากผู้ออกคำสั่งแต่งตั้ง มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการอยู่แล้วในท้องที่หนึ่งและต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นซึ่งตนมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าบ้านในท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการในท้องที่ใหม่ได้ ถ้าคู่สมรสหรือบุตรซึ่งอยู่ในอุปการะของข้าราชการผู้นั้นไม่อาจติดตามข้าราชการผู้นั้นไปได้ และมีความจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้านในท้องที่เดิมต่อไป มาตรา ๑๖ ข้าราชการซึ่งรับราชการประจำในต่างประเทศ ถ้าจำเป็นต้องเช่าบ้านให้เบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๗ ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ได้เช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ค้างชำระอยู่ในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและได้อาศัยอยู่จริงในบ้านนั้น ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ดังกล่าวมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (๑) ตนเอง หรือคู่สมรส ได้ทำการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านในท้องที่นั้น จะเบิกจ่ายได้เฉพาะบ้านหลังแรกเท่านั้น เว้นแต่บ้านหลังที่เคยใช้สิทธิถูกทำลายหรือเสียหายเนื่องจากภัยพิบัติจนไม่สามารถพักอาศัยอยู่ได้ (๒) หากเช่าซื้อหรือกู้เงินเพื่อชำระราคาบ้านร่วมกับบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่คู่สมรสและมีกรรมสิทธิ์รวมกับบุคคลอื่นในบ้านนั้น จะเบิกจ่ายค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ได้ตามสัดส่วนแห่งกรรมสิทธิ์สำหรับบ้านหลังดังกล่าว (๓) จะต้องเป็นการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านกับสถาบันการเงิน และสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาเงินกู้จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด (๔) จะต้องไม่เคยใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้สำหรับบ้านหลังหนึ่งหลังใดในท้องที่นั้นมาแล้ว เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับแต่งตั้งให้กลับไปรับราชการในท้องที่ที่เคยใช้สิทธินั้นอีก และเป็นการใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ตามที่ได้เคยใช้สิทธิมาแล้ว หรือขณะที่ย้ายมารับราชการในท้องที่นั้นบ้านที่เคยใช้สิทธิได้โอนกรรมสิทธิ์ไปแล้ว (๕) หากเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านสูงกว่าราคาบ้าน ให้นำค่าผ่อนชำระเงินกู้มาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ โดยให้คำนวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๙ ถึงมาตรา ๑๔ มาใช้บังคับกับการเช่าซื้อหรือการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านโดยอนุโลม มาตรา ๑๘ ข้าราชการซึ่งได้ใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามมาตรา ๑๗ และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นซึ่งตนมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านในท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการในท้องที่ใหม่ได้ มาตรา ๑๙ สิทธิที่จะเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งมาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ กำหนดให้มีอยู่ต่อไปนั้น ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๓ มาตรา ๒๐ สิทธิที่จะเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการของข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ตามคำร้องขอของตนเองตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งมีอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๒๑ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการศาลยุติธรรม ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ และข้าราชการรัฐสภา[๖] ตำแหน่งประเภทบริหาร เงินเดือน/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ระดับต้น ตั้งแต่ ๒๔,๔๐๐ แต่ไม่ถึง ๓๔,๒๗๐ ๕,๐๐๐ ตั้งแต่ ๓๔,๒๗๐ ขึ้นไป ๖,๐๐๐ ระดับสูง - ๖,๐๐๐ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ เงินเดือน/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ระดับต้น ตั้งแต่ ๑๙,๘๖๐ แต่ไม่ถึง ๒๗,๘๘๗ ๔,๐๐๐ ตั้งแต่ ๒๗,๘๘๗ แต่ไม่ถึง ๓๔,๒๗๐ ๕,๐๐๐ ตั้งแต่ ๓๔,๒๗๐ ขึ้นไป ๖,๐๐๐ ระดับสูง ตั้งแต่ ๒๔,๔๐๐ แต่ไม่ถึง ๓๔,๒๗๐ ๕,๐๐๐ ตั้งแต่ ๓๔,๒๗๐ ขึ้นไป ๖,๐๐๐ ตำแหน่งประเภทวิชาการ เงินเดือน/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ระดับปฏิบัติการ ตั้งแต่ ๗,๑๔๐ แต่ไม่ถึง ๑๕,๐๖๕ ๒,๕๐๐ ตั้งแต่ ๑๕,๐๖๕ แต่ไม่ถึง ๑๘,๔๘๐ ๓,๐๐๐ ตั้งแต่ ๑๘,๔๘๐ ขึ้นไป ๔,๐๐๐ ระดับชำนาญการ ตั้งแต่ ๑๓,๑๖๐ แต่ไม่ถึง ๑๗,๗๒๑ ๓,๐๐๐ ตั้งแต่ ๑๗,๗๒๑ แต่ไม่ถึง ๒๕,๔๗๐ ๔,๐๐๐ ตั้งแต่ ๒๕,๔๗๐ แต่ไม่ถึง ๓๔,๖๘๐ ๕,๐๐๐ ตั้งแต่ ๓๔,๖๘๐ ขึ้นไป ๖,๐๐๐ ระดับชำนาญการพิเศษ ตั้งแต่ ๑๙,๘๖๐ แต่ไม่ถึง ๒๗,๘๘๗ ๔,๐๐๐ ตั้งแต่ ๒๗,๘๘๗ แต่ไม่ถึง ๓๔,๒๗๐ ๕,๐๐๐ ตั้งแต่ ๓๔,๒๗๐ ขึ้นไป ๖,๐๐๐ ระดับเชี่ยวชาญ ตั้งแต่ ๒๔,๔๐๐ แต่ไม่ถึง ๓๔,๒๗๐ ๕,๐๐๐ ตั้งแต่ ๓๔,๒๗๐ ขึ้นไป ๖,๐๐๐ ระดับทรงคุณวุฒิ - ๖,๐๐๐ ตำแหน่งประเภททั่วไป เงินเดือน/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ระดับปฏิบัติงาน ตั้งแต่ ๔,๘๗๐ แต่ไม่ถึง ๑๕,๐๖๕ ๒,๕๐๐ ตั้งแต่ ๑๕,๐๖๕ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ระดับชำนาญงาน ตั้งแต่ ๑๐,๑๙๐ แต่ไม่ถึง ๑๔,๔๑๐ ๒,๕๐๐ ตั้งแต่ ๑๔,๔๑๐ แต่ไม่ถึง ๑๘,๔๘๐ ๓,๐๐๐ ตั้งแต่ ๑๘,๔๘๐ ขึ้นไป ๔,๐๐๐ ระดับอาวุโส ตั้งแต่ ๑๕,๔๑๐ แต่ไม่ถึง ๒๗,๘๘๗ ๔,๐๐๐ ตั้งแต่ ๒๗,๘๘๗ แต่ไม่ถึง ๓๔,๒๗๐ ๕,๐๐๐ ตั้งแต่ ๓๔,๒๗๐ ขึ้นไป ๖,๐๐๐ ระดับทักษะพิเศษ - ๖,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๒ สำหรับข้าราชการตุลาการ[๗] ตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา ตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาล ตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ที่ได้รับเงินเดือนชั้น ๒ ตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ที่ได้รับเงินเดือนชั้น ๓ ถึงตำแหน่งประธานศาลฎีกา ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ๓,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๖,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๓ สำหรับข้าราชการอัยการ[๘] ตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ตั้งแต่ตำแหน่งอัยการจังหวัดผู้ช่วย ถึงตำแหน่งอัยการประจำกอง ตั้งแต่ตำแหน่งรองอัยการจังหวัด ถึงตำแหน่งอัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ตั้งแต่ตำแหน่งอัยการจังหวัดประจำสำนักงานสำนักงานอัยการสูงสุด ถึงตำแหน่งอัยการสูงสุด ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ๓,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๖,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๔ สำหรับข้าราชการตำรวจ[๙] ระดับ พ. ๒ และ ป. ๑ ระดับ ป. ๒ ระดับ ป. ๓ ระดับ ส. ๑ ระดับ ส. ๒ ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ๒,๕๐๐ ขั้นที่ ๑-๖.๕ ขั้นที่ ๗ ขึ้นไป ๒,๕๐๐ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๖.๕ ขั้นที่ ๗-๑๕.๕ ขั้นที่ ๑๖ ขึ้นไป ๒,๕๐๐ ๓,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๑๕.๕ ขั้นที่ ๑๖-๒๓ ขั้นที่ ๒๓.๕ ขึ้นไป ๒,๕๐๐ ๓,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๗.๕ ขั้นที่ ๘-๑๘.๕ ขั้นที่ ๑๙ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ระดับ ส. ๓ ระดับ ส. ๔ ระดับ ส. ๕ ระดับ ส. ๖ ขึ้นไป ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ขั้นที่ ๑-๓ ขั้นที่ ๓.๕-๑๓ ขั้นที่ ๑๓.๕–๑๙ ขั้นที่ ๑๙.๕ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๗.๕ ขั้นที่ ๘-๑๒.๕ ขั้นที่ ๑๓ ขึ้นไป ๔,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๘ ขั้นที่ ๘.๕ ขึ้นไป ๕,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ๖,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๕ สำหรับข้าราชการทหาร[๑๐] ระดับ พ. ๒ และ ป. ๑ ระดับ ป. ๒ ระดับ ป. ๓ ระดับ น. ๑ ระดับ น. ๒ ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ๒,๕๐๐ ขั้นที่ ๑-๖.๕ ขั้นที่ ๗ ขึ้นไป ๒,๕๐๐ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๖.๕ ขั้นที่ ๗-๑๕.๕ ขั้นที่ ๑๖ ขึ้นไป ๒,๕๐๐ ๓,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๑๕.๕ ขั้นที่ ๑๖-๒๓ ขั้นที่ ๒๓.๕ ขึ้นไป ๒,๕๐๐ ๓,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๗.๕ ขั้นที่ ๘-๑๘.๕ ขั้นที่ ๑๙ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ระดับ น. ๓ ระดับ น. ๔ ระดับ น. ๕ ระดับ น. ๖ ขึ้นไป ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ขั้นที่ ๑–๓ ขั้นที่ ๓.๕-๑๓ ขั้นที่ ๑๓.๕–๑๙ ขั้นที่ ๑๙.๕ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๗.๕ ขั้นที่ ๘-๑๒.๕ ขั้นที่ ๑๓ ขึ้นไป ๔,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๘ ขั้นที่ ๘.๕ ขึ้นไป ๕,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ๖,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๖ สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา[๑๑] อันดับ ครูผู้ช่วย อันดับ คศ. ๑ อันดับ คศ. ๒ เงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท เงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท เงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นที่ ๑-๘.๕ ๒,๕๐๐ ขั้นที่ ๑-๑.๕ ๒,๕๐๐ ขั้นที่ ๑-๑๑.๕ ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๙-๑๒.๕ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๒-๖.๕ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๑๒-๑๖.๕ ๕,๐๐๐ ขั้นที่ ๑๓ ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๗-๒๑.๕ ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๑๗ ขึ้นไป ๖,๐๐๐ อันดับ คศ. ๓ อันดับ คศ. ๔ อันดับ คศ. ๕ เงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท เงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกินเดือนละ/บาท ขั้นที่ ๑-๕.๕ ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๖.๕ ๕,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ขั้นที่ ๖-๑๑.๕ ๕,๐๐๐ ขั้นที่ ๗ ขึ้นไป ๖,๐๐๐ ขั้นที่ ๑๒ ขึ้นไป ๖,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๗ สำหรับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา[๑๒] ตำแหน่งประเภทวิชาการ เงินเดือน/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท อาจารย์ ตั้งแต่ ๑๐,๑๙๐ แต่ไม่ถึง ๑๕,๐๖๕ ๒,๕๐๐ ตั้งแต่ ๑๕,๐๖๕ แต่ไม่ถึง ๑๗,๗๒๑ ๓,๐๐๐ ตั้งแต่ ๑๗,๗๒๑ แต่ไม่ถึง ๒๗,๘๘๗ ๔,๐๐๐ ตั้งแต่ ๒๗,๘๘๗ ขึ้นไป ๕,๐๐๐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ๑๙,๘๖๐ แต่ไม่ถึง ๒๗,๘๘๗ ๔,๐๐๐ ตั้งแต่ ๒๗,๘๘๗ แต่ไม่ถึง ๓๔,๒๗๐ ๕,๐๐๐ ตั้งแต่ ๓๔,๒๗๐ ขึ้นไป ๖,๐๐๐ รองศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ๒๔,๔๐๐ แต่ไม่ถึง ๓๔,๒๗๐ ๕,๐๐๐ ตั้งแต่ ๓๔,๒๗๐ ขึ้นไป ๖,๐๐๐ ศาสตราจารย์ - ๖,๐๐๐ ตำแหน่งประเภทวิชาการ เงินเดือน/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า ตั้งแต่ ๑๙,๘๖๐ แต่ไม่ถึง ๒๗,๘๘๗ ๔,๐๐๐ ตั้งแต่ ๒๗,๘๘๗ แต่ไม่ถึง ๓๔,๒๗๐ ๕,๐๐๐ ตั้งแต่ ๓๔,๒๗๐ ขึ้นไป ๖,๐๐๐ ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดีหรือเทียบเท่า ตั้งแต่ ๒๔,๔๐๐ แต่ไม่ถึง ๓๔,๒๗๐ ๕,๐๐๐ ตั้งแต่ ๓๔,๒๗๐ ขึ้นไป ๖,๐๐๐ ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะและเชี่ยวชาญเฉพาะ เงินเดือน/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ระดับปฏิบัติการ ตั้งแต่ ๗,๑๔๐ แต่ไม่ถึง ๑๕,๐๖๕ ๒,๕๐๐ ตั้งแต่ ๑๕,๐๖๕ แต่ไม่ถึง ๑๘,๔๘๐ ๓,๐๐๐ ตั้งแต่ ๑๘,๔๘๐ ขึ้นไป ๔,๐๐๐ ระดับชำนาญการ ตั้งแต่ ๑๓,๗๒๑ แต่ไม่ถึง ๑๗,๗๒๑ ๓,๐๐๐ ตั้งแต่ ๑๗,๗๒๑ แต่ไม่ถึง ๒๕,๔๗๐ ๔,๐๐๐ ตั้งแต่ ๒๕,๔๗๐ แต่ไม่ถึง ๓๔,๖๘๐ ๕,๐๐๐ ตั้งแต่ ๓๔,๖๘๐ ขึ้นไป ๖,๐๐๐ ระดับชำนาญการพิเศษ ตั้งแต่ ๑๙,๘๖๐ แต่ไม่ถึง ๒๗,๘๘๗ ๔,๐๐๐ ตั้งแต่ ๒๗,๘๘๗ แต่ไม่ถึง ๓๔,๒๗๐ ๕,๐๐๐ ตั้งแต่ ๓๔,๒๗๐ ขึ้นไป ๖,๐๐๐ ระดับเชี่ยวชาญ ตั้งแต่ ๒๔,๔๐๐ แต่ไม่ถึง ๓๔,๒๗๐ ๕,๐๐๐ ตั้งแต่ ๓๔,๒๗๐ ขึ้นไป ๖,๐๐๐ ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ - ๖,๐๐๐ ตำแหน่งประเภททั่วไป เงินเดือน/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ระดับปฏิบัติงาน ตั้งแต่ ๔,๘๗๐ แต่ไม่ถึง ๑๕,๐๖๕ ๒,๕๐๐ ตั้งแต่ ๑๕,๐๖๕ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ระดับชำนาญงาน ตั้งแต่ ๑๐,๑๙๐ แต่ไม่ถึง ๑๔,๔๑๐ ๒,๕๐๐ ตั้งแต่ ๑๔,๔๑๐ แต่ไม่ถึง ๑๘,๔๘๐ ๓,๐๐๐ ตั้งแต่ ๑๘,๔๘๐ ขึ้นไป ๔,๐๐๐ ระดับชำนาญงานพิเศษ ตั้งแต่ ๑๕,๔๑๐ แต่ไม่ถึง ๒๗,๘๘๗ ๔,๐๐๐ ตั้งแต่ ๒๗,๘๘๗ แต่ไม่ถึง ๓๔,๒๗๐ ๕,๐๐๐ ตั้งแต่ ๓๔,๒๗๐ ขึ้นไป ๖,๐๐๐ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่ชัดเจนทำให้เกิดปัญหาในการตีความและการวินิจฉัยสิทธิการได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ อีกทั้งเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยของข้าราชการ จึงสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเบิกค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าซื้อ และค่าผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านให้เหมาะสมยิ่งขึ้นนอกจากนี้ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ และบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงต้องปรับปรุงบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการให้สอดคล้องกับบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐[๑๓] มาตรา ๖ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๖ สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ให้มีผลใช้บังคับแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับเงินเดือนตามพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งได้เบิกเงินค่าเช่าบ้านตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการครู ข้าราชการศาลยุติธรรม และข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ไปก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ ในกรณีที่มีเงินส่วนต่างของอัตราค่าเช่าบ้านตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๖ สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ กับบัญชีอัตราค่าเช่าบ้าน ข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการครู ข้าราชการศาลยุติธรรมและข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้มีสิทธิได้รับเงินส่วนต่างของอัตราค่าเช่าบ้านที่ยังไม่ได้รับนั้น มาตรา ๗ สิทธิของข้าราชการผู้ที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ ให้เริ่มมีสิทธิการได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเมื่อได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ยังคงมีข้อยกเว้นที่ข้าราชการจะไม่ได้รับค่าเช่าบ้าน หากเป็นกรณีที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปรับราชการในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ สมควรปรับปรุงสิทธิการได้รับค่าเช่าบ้านให้สอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบันมากยิ่งขึ้น รวมทั้งมีความจำเป็นที่ต้องกำหนดให้มีบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้เปลี่ยนแปลงระบบตำแหน่งใหม่ เพื่อให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านในอัตราที่ถูกต้องและเป็นธรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒[๑๔] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการใช้บังคับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งมีผลเป็นการปรับปรุงระบบตำแหน่งข้าราชการพลเรือนโดยยกเลิกระดับตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนที่ได้ใช้มาแต่เดิม และปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งและการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือน สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ ให้สอดคล้องกับการกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยนำอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการสำหรับข้าราชการพลเรือนมากำหนดแยกต่างหากไว้เป็นอีกบัญชีหนึ่ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๖[๑๕] มาตรา ๕ ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่ใช่ข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่ได้โอนมาเป็นข้าราชการและมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการต่อไป มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ในการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายอื่นโอนมาเป็นข้าราชการและขอใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๑[๑๖] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๕ ให้ข้าราชการศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ และข้าราชการรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๗ สำหรับข้าราชการพลเรือน ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒ ตั้งแต่วันที่ข้าราชการศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ และข้าราชการรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา ได้ปรับเปลี่ยนการกำหนดตำแหน่งและการได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งใหม่ จนถึงวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ ในกรณีที่มีเงินส่วนต่างของอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการศาลยุติธรรมและข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ กับบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๗ สำหรับข้าราชการพลเรือน ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒ ให้ข้าราชการศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ และข้าราชการรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา มีสิทธิได้รับเงินส่วนต่างของอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการที่ยังไม่ได้รับนั้น มาตรา ๖ ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๗ สำหรับข้าราชการพลเรือน ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒ ตั้งแต่วันที่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามีสิทธิได้รับเงินเดือนตามกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓ และ กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๔ จนถึงวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามวรรคหนึ่งให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการในอัตราเดียวกับข้าราชการพลเรือนในตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน (๒) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน (๓) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานพิเศษ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส (๔) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะระดับปฏิบัติการ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ (๕) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะระดับชำนาญการ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ (๖) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะระดับชำนาญการพิเศษ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ (๗) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะระดับเชี่ยวชาญ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ (๘) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะระดับเชี่ยวชาญพิเศษ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ (๙) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทผู้บริหาร ระดับผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น (๑๐) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทผู้บริหาร ระดับผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดีหรือเทียบเท่า มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง (๑๑) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับอาจารย์ ซึ่งมีช่วงเงินเดือนระหว่าง ๖,๘๐๐ บาท แต่ไม่ถึง ๑๒,๕๓๐ บาท มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และข้าราชการที่มีช่วงเงินเดือนตั้งแต่ ๑๒,๕๓๐ บาท ขึ้นไป ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ (๑๒) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ (๑๓) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับรองศาสตราจารย์ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ (๑๔) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับศาสตราจารย์ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ มาตรา ๗ ในกรณีที่การปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการตำรวจตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๘ มีผลทำให้ข้าราชการตำรวจผู้ใดได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการต่ำกว่าที่เคยได้รับ ให้ข้าราชการตำรวจผู้นั้นมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการในอัตราที่ได้รับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๘ มีผลใช้บังคับ จนถึงวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘ ในกรณีที่การปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการทหารตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๘ มีผลทำให้ข้าราชการทหารผู้ใดได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการต่ำกว่าที่เคยได้รับ ให้ข้าราชการทหารผู้นั้นมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการในอัตราที่ได้รับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๘ มีผลใช้บังคับ จนถึงวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงระบบตำแหน่งระดับตำแหน่ง และบัญชีเงินเดือนของข้าราชการหลายประเภท ประกอบกับอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการมิได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นเวลานาน สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงระบบตำแหน่ง ระดับตำแหน่ง และบัญชีเงินเดือนของข้าราชการ และให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ชาญ/ผู้จัดทำ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๖ ปวันวิทย์/เพิ่มเติม ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๑ ก/หน้า ๒๙/๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๗ [๒] มาตรา ๔ นิยามคำว่า “ข้าราชการ” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓] มาตรา ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๔] มาตรา ๗ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๕] มาตรา ๗/๑ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๖] บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการศาลยุติธรรม ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ และข้าราชการรัฐสภา แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๗] บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๒ สำหรับข้าราชการตุลาการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๘] บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๓ สำหรับข้าราชการอัยการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๙] บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๔ สำหรับข้าราชการตำรวจ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๐] บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๕ สำหรับข้าราชการทหาร แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๑] บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๖ สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๒] บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๗ สำหรับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๘๙ ก/หน้า ๘๐/๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๐ [๑๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๙๔ ก/หน้า ๑๐/๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๒ [๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๙๑ ก/หน้า ๑/๙ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๙๘ ก/หน้า ๒๒/๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
708236
พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นปีที่ ๓๘ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ (๒) พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๘ บรรดากฎ ข้อบังคับ และระเบียบอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชกฤษฎีกานี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ใช้พระราชกฤษฎีกานี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ข้าราชการ”[๒] หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ และข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร “ลูกจ้าง” หมายความว่า ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย เว้นแต่ลูกจ้างชาวต่างประเทศที่มีสัญญาจ้าง “ภูมิลำเนาเดิม” หมายความว่า ท้องที่ที่เริ่มรับราชการ กลับเข้ารับราชการใหม่ หรือได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างครั้งแรกหรือครั้งสุดท้าย แล้วแต่กรณี “บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า บุคคลซึ่งอยู่ในอุปการะและร่วมอาศัยอยู่กับผู้เดินทางไปราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) คู่สมรส (๒) บุตร (๓) บิดามารดาของผู้เดินทางและหรือบิดามารดาของคู่สมรส (๔) ผู้ติดตาม มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ลักษณะ ๑ บททั่วไป มาตรา ๖[๓] หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมขึ้นไปมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงบประมาณรายจ่ายเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ตามความจำเป็นและประหยัดภายใต้หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามพระราชกฤษฎีกานี้ ส่วนวิธีการเบิกจ่ายนั้นให้ปฏิบัติตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลังซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ทั้งนี้ หัวหน้าส่วนราชการดังกล่าวอาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณรายจ่ายเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้มีการใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและประหยัดก็ได้ มาตรา ๗ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งเป็นข้าราชการหรือลูกจ้าง ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการได้ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งมีสัญญากับส่วนราชการกำหนดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการไว้เป็นอย่างอื่น ให้เบิกค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในสัญญา ผู้เดินทางซึ่งเป็นข้าราชการที่มิได้มีตำแหน่ง ชั้น หรือยศกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ หรือไม่มีกฎหมายกำหนดตำแหน่งของผู้นั้นเทียบไว้กับตำแหน่งระดับของข้าราชการพลเรือน ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกำหนดเทียบตำแหน่งกับตำแหน่งระดับของข้าราชการพลเรือน เพื่อประโยชน์ในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการได้ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งมิได้เป็นข้าราชการ ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกำหนดเทียบกับตำแหน่งระดับของข้าราชการพลเรือนเพื่อให้ผู้นั้นเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามอัตราของตำแหน่งระดับที่เทียบ มาตรา ๘[๔] สิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้เดินทางไปราชการ หรือวันที่ออกจากราชการ แล้วแต่กรณี ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติการเดินทางอนุมัติระยะเวลาในการเดินทางไปราชการตามความจำเป็นและเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘/๑[๕] ถ้าผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้าหรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ เพราะมีเหตุส่วนตัว โดยได้รับอนุมัติให้ลากิจหรือลาพักผ่อนตามระเบียบว่าด้วยการนั้น และได้รับอนุมัติระยะเวลาดังกล่าวจากผู้มีอำนาจอนุมัติการเดินทางตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดด้วยแล้ว ให้มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามที่พระราชกฤษฎีกานี้กำหนดไว้ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติราชการตามคำสั่งของทางราชการแล้ว มาตรา ๙ ข้าราชการซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับชั้นหรือยศ สูงขึ้นภายหลังวันที่ได้เดินทางไปราชการแล้ว ให้มีสิทธิที่จะรับค่าใช้จ่ายในการเดินทางตามอัตราสำหรับตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศ ที่สูงขึ้นนับแต่วันที่มีคำสั่งแต่งตั้งดังกล่าว แม้คำสั่งนั้นจะให้มีผลย้อนหลังไปถึงหรือก่อนวันออกเดินทางก็ตาม มาตรา ๑๐ ข้าราชการซึ่งเดินทางไปรักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทน ให้ได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทนตามอัตราสำหรับตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศที่ตนดำรงอยู่ แต่การเดินทางระหว่างที่รักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทนรวมทั้งการเดินทางกลับมาดำรงตำแหน่งเดิม ให้ได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามอัตราสำหรับตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศที่ตนรักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทน ในกรณีที่เป็นการเดินทางไปรักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทนในตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศที่ต่ำกว่า ให้ผู้เดินทางมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในอัตราสำหรับตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศที่ตนดำรงอยู่ มาตรา ๑๑ การเดินทางไปราชการ ถ้าผู้เดินทางหยุดอยู่ที่ใดโดยไม่มีเหตุอันควร ไม่มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับระยะเวลาที่หยุดนั้น มาตรา ๑๒ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งเป็นผู้ได้รับเบี้ยเลี้ยงประจำจะเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามพระราชกฤษฎีกานี้ได้ เมื่องดเบิกเบี้ยเลี้ยงประจำ มาตรา ๑๒ ทวิ[๖] เมื่อปรากฏว่าโรงแรมใดเรียกเก็บค่าเช่าที่พักสูงกว่าอัตราที่เรียกเก็บจากบุคคลทั่วไปตามปกติ ออกใบเสร็จรับเงินเกินกว่าจำนวนเงินที่โรงแรมเรียกเก็บ ออกใบเสร็จรับเงินให้โดยผู้เดินทางไปราชการมิได้เข้าพัก หรือมีพฤติการณ์ในทางทุจริตร่วมกับผู้เดินทางไปราชการหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น ในเรื่องการเบิกค่าเช่าที่พักตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้กระทรวงการคลังแจ้งชื่อโรงแรมดังกล่าวให้กระทรวง ทบวง กรม ทราบ เพื่อมิให้เบิกค่าเช่าที่พักของโรงแรมนั้นเป็นเวลาหนึ่งปี และหากกระทำซ้ำอีกก็ให้ระงับการเบิกค่าเช่าที่พักของโรงแรมนั้นโดยเด็ดขาด การแจ้งชื่อโรงแรมตามวรรคหนึ่งให้มีผลเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแจ้ง มาตรา ๑๒ ตรี[๗] ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการถึงแก่ความตายระหว่างไปราชการ โดยเหตุแห่งความตายมิได้เกิดจากการประทุษร้ายด้วยเหตุส่วนตัวหรือการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนให้บุคคลในครอบครัวหรือผู้จัดการศพของผู้เดินทางไปราชการซึ่งถึงแก่ความตายนั้น ได้รับค่าพาหนะในการเดินทางเพื่อไปปลงศพ หรือค่าพาหนะและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับการส่งศพกลับ ทั้งนี้ ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด ลักษณะ ๒ การเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร หมวด ๑ การเดินทางไปราชการชั่วคราว มาตรา ๑๓ การเดินทางไปราชการชั่วคราว ได้แก่ (๑) การไปปฏิบัติราชการชั่วคราวนอกที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา หรือตามหน้าที่ที่ปฏิบัติราชการโดยปกติ (๒)[๘] (ยกเลิก) (๓) การไปสอบคัดเลือก หรือรับการคัดเลือกตามที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา (๔) การไปช่วยราชการ ไปรักษาการในตำแหน่ง หรือไปรักษาราชการแทน (๕) การเดินทางไปราชการเฉพาะระหว่างเวลาที่อยู่ในราชอาณาจักรของผู้ซึ่งรับราชการประจำในต่างประเทศ (๖) การเดินทางข้ามแดนชั่วคราว เพื่อไปปฏิบัติราชการในดินแดนต่างประเทศตามข้อตกลงระหว่างประเทศ มาตรา ๑๔ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว ได้แก่ (๑) เบี้ยเลี้ยงเดินทาง (๒) ค่าเช่าที่พัก (๓) ค่าพาหนะ รวมถึงค่าเช่ายานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้างคนหาบหาม และอื่น ๆ ทำนองเดียวกัน (๔) ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการ มาตรา ๑๕[๙] เบี้ยเลี้ยงเดินทางให้เบิกได้ในลักษณะเหมาจ่ายภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๖[๑๐] การนับเวลาเดินทางไปราชการเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ให้นับตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติจนกลับถึงสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติ แล้วแต่กรณี เวลาเดินทางไปราชการในกรณีที่มีการพักแรม ให้นับยี่สิบสี่ชั่วโมงเป็นหนึ่งวัน ถ้าไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงหรือเกินยี่สิบสี่ชั่วโมงและส่วนที่ไม่ถึงหรือเกินยี่สิบสี่ชั่วโมงนั้นนับได้เกินสิบสองชั่วโมง ให้ถือเป็นหนึ่งวัน เวลาเดินทางไปราชการในกรณีที่มิได้มีการพักแรม หากนับได้ไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงและส่วนที่ไม่ถึงนั้นนับได้เกินสิบสองชั่วโมง ให้ถือเป็นหนึ่งวัน หากนับได้ไม่เกินสิบสองชั่วโมง แต่เกินหกชั่วโมงขึ้นไป ให้ถือเป็นครึ่งวัน ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้า หรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ เพราะมีเหตุส่วนตัว ตามมาตรา ๘/๑ การนับเวลาเดินทางไปราชการเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทางกรณีลากิจหรือลาพักผ่อนก่อนปฏิบัติราชการ ให้นับเวลาตั้งแต่เริ่มปฏิบัติราชการเป็นต้นไป และกรณีลากิจหรือลาพักผ่อนหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ ให้ถือว่าสิทธิในการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสุดเวลาการปฏิบัติราชการ มาตรา ๑๗[๑๑] การเดินทางไปราชการที่จำเป็นต้องพักแรม เว้นแต่การพักแรมซึ่งโดยปกติต้องพักแรมในยานพาหนะ หรือการพักแรมในที่พักแรมซึ่งทางราชการจัดที่พักไว้ให้แล้ว ให้ผู้เดินทางไปราชการเบิกค่าเช่าที่พักในลักษณะเหมาจ่ายหรือในลักษณะจ่ายจริงก็ได้ ทั้งนี้ ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด ในกรณีเป็นการเดินทางไปราชการในท้องที่ที่มีค่าครองชีพสูงหรือเป็นแหล่งท่องเที่ยวกระทรวงการคลังอาจกำหนดให้ผู้เดินทางไปราชการเบิกค่าเช่าที่พักในอัตราสูงได้ตามความจำเป็น การเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะซึ่งมีผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง หรือตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรี ขึ้นไป เป็นหัวหน้าคณะ หากมีความจำเป็นต้องใช้สถานที่ในที่เดียวกันกับที่พักเพื่อเป็นที่ประสานงานของคณะหรือบุคคลอื่น ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เพิ่มขึ้นสำหรับห้องพักอีกห้องหนึ่ง หรือจะเบิกค่าเช่าห้องชุดแทนก็ได้เท่าที่จ่ายจริง ทั้งนี้ ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด[๑๒] มาตรา ๑๘[๑๓] การเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางสำหรับการเดินทางไปราชการเรื่องหนึ่งเรื่องใดในสถานที่ปฏิบัติราชการแห่งเดียวกัน ให้เบิกได้เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัดด้วย มาตรา ๑๙[๑๔] (ยกเลิก) มาตรา ๒๐[๑๕] การเดินทางไปราชการ ณ สถานที่ปฏิบัติราชการใดที่ไม่สะดวกในการเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่ปฏิบัติราชการนั้นกับสถานที่อยู่ ให้เบิกค่าเช่าที่พักระหว่างที่ไปราชการได้เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัดด้วย วรรคสอง[๑๖] (ยกเลิก) มาตรา ๒๑ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการเจ็บป่วยและจำเป็นต้องพักเพื่อรักษาพยาบาล ให้เบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักสำหรับวันที่พักนั้นได้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสิบวัน ภายใต้บังคับวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ผู้เดินทางเจ็บป่วยและต้องเข้าพักรักษาตัวในสถานพยาบาล ให้งดเบิกค่าเช่าที่พัก เว้นแต่กรณีที่จำเป็น การเจ็บป่วยตามวรรคหนึ่งต้องมีใบรับรองแพทย์ที่ทางราชการรับรอง ในกรณีที่ไม่มีแพทย์ที่ทางราชการรับรองอยู่ในท้องที่ที่เกิดการเจ็บป่วย ผู้เดินทางต้องชี้แจงประกอบ มาตรา ๒๒[๑๗] การเดินทางไปราชการ โดยปกติให้ใช้ยานพาหนะประจำทางและให้เบิกค่าพาหนะได้โดยประหยัด ในกรณีที่ไม่มียานพาหนะประจำทาง หรือมีแต่ต้องการความรวดเร็วเพื่อประโยชน์แก่ราชการ ให้ใช้พาหนะอื่นได้ แต่ผู้เดินทางไปราชการจะต้องชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นไว้ในหลักฐานการขอเบิกค่าพาหนะนั้น การเบิกค่าพาหนะรับจ้างให้เบิกได้สำหรับกรณีดังต่อไปนี้ (๑) การเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก หรือสถานที่ปฏิบัติราชการกับสถานียานพาหนะประจำทาง หรือกับสถานที่จัดพาหนะที่ต้องใช้ในการเดินทางไปยังสถานที่ปฏิบัติราชการภายในเขตจังหวัดเดียวกัน (๒) การเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก กับสถานที่ปฏิบัติราชการภายในเขตจังหวัดเดียวกันวันละไม่เกินสองเที่ยว (๓) การเดินทางไปราชการในเขตกรุงเทพมหานคร การเดินทางตาม (๑) หากเป็นการเดินทางข้ามเขตจังหวัด ให้เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด การเดินทางไปสอบคัดเลือกหรือรับการคัดเลือก ผู้เดินทางไปราชการจะเบิกค่าพาหนะรับจ้างตาม (๒) ไม่ได้ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้า หรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติ เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการเพราะมีเหตุส่วนตัวตามมาตรา ๘/๑ ให้เบิกค่าพาหนะเท่าที่จ่ายจริงตามเส้นทางที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการ กรณีที่มีการเดินทางนอกเส้นทางในระหว่างการลานั้น ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงโดยไม่เกินอัตราตามเส้นทางที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการ มาตรา ๒๓ การเดินทางไปราชการโดยยานพาหนะประจำทางให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๒๔ ในท้องที่จังหวัดใดที่ไม่มีอัตราค่าพาหนะประเภทใดกำหนดไว้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนดอัตราค่าพาหนะดังกล่าวขึ้นไว้ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาอนุมัติและการตรวจสอบ เมื่อกำหนดแล้วให้แจ้งกระทรวงการคลัง มาตรา ๒๕[๑๘] การใช้พาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ ผู้เดินทางจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาดังต่อไปนี้ และต้องใช้พาหนะนั้นตลอดเส้นทาง จึงจะมีสิทธิเบิกเงินชดเชยเป็นค่าพาหนะในลักษณะเหมาจ่ายได้ คือ (๑) อธิบดีขึ้นไปหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง (๒) หัวหน้าสำนักงาน สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง ที่มีสำนักงานอยู่ในส่วนภูมิภาคหรือมีสำนักงานแยกต่างหากจากกระทรวง ทบวง กรม (๓) หัวหน้าส่วนราชการในภูมิภาค สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค ในกรณีผู้เดินทางไม่สามารถใช้พาหนะส่วนตัวได้ตลอดเส้นทาง ต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็นต่อผู้บังคับบัญชาตาม (๑) (๒) หรือ (๓) เพื่อพิจารณาอนุญาต มาตรา ๒๖ เงินชดเชยเป็นค่าพาหนะตามมาตรา ๒๕ ให้เบิกจ่ายในประเภทค่าพาหนะตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๒๗[๑๙] การเดินทางไปราชการโดยเครื่องบิน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ชั้นธุรกิจ สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ (ก) หัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาล (ข) ประธานรัฐสภา และรองประธานรัฐสภา (ค) ประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา (ง) ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (จ) รัฐมนตรี (ฉ) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า สมุหราชองครักษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (๒) ชั้นประหยัด สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง ผู้ตรวจราชการ อธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า ผู้ว่าราชการจังหวัด เอกอัครราชทูต ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรีขึ้นไป (ข) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ขึ้นไป ทั้งนี้ นอกจากที่ระบุใน (ก) (ค) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ หรือยศ ต่ำกว่าที่ระบุใน (ก) หรือ (ข) เฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ ในกรณีผู้เดินทางตาม (๒) (ก) มีความจำเป็นต้องโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งที่เดินทางดังกล่าวสามารถเดินทางและเบิกค่าโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิได้โดยต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สมุหราชองครักษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ การเดินทางซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม (๑) หรือ (๒) จะเบิกค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินค่าพาหนะในการเดินทางภาคพื้นดินระยะเดียวกันตามสิทธิซึ่งผู้เดินทางจะพึงเบิกได้ มาตรา ๒๘[๒๐] ผู้เดินทางไปราชการในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชาที่เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป หากมีความจำเป็นต้องเดินทางพร้อมกับผู้บังคับบัญชาและเพื่อประโยชน์ในการประสานสั่งการในระหว่างเดินทางไปราชการ ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่ากับที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิกและให้พักแรมในที่เดียวกับผู้บังคับบัญชา โดยเบิกค่าเช่าที่พักได้ตามสิทธิที่ตนเองได้รับ หรือเบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราต่ำสุดของที่พักนั้น แต่ไม่เกินอัตราที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิก[๒๑] ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่งมีหลายคนให้มีสิทธิเบิกค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักเท่ากับที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิกได้เพียงหนึ่งคน ส่วนผู้เดินทางไปราชการในหน้าที่เลขานุการคนอื่น ๆ ให้เบิกค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักได้ตามสิทธิของตน มาตรา ๒๙ ผู้เดินทางไปราชการเพื่อทำหน้าที่รับรอง หรือปฏิบัติงานร่วมกับชาวต่างประเทศ จะเบิกค่าพาหนะในการเดินทางเท่ากับที่ต้องเบิกสำหรับชาวต่างประเทศนั้นก็ได้ ผู้เดินทางไปราชการตามคำสั่งของทางราชการเพื่อทำหน้าที่เป็นองครักษ์ ผู้อารักขา ผู้อำนวยความสะดวกอย่างใกล้ชิด หรือผู้ที่เข้าร่วมประชุมหารือ แก่ชาวต่างประเทศที่เป็นประมุขแห่งรัฐหรือบุคคลสำคัญของต่างประเทศ นอกจากจะเบิกค่าพาหนะตามวรรคหนึ่งได้แล้ว จะเบิกค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายจริงในลักษณะประหยัดตามความจำเป็นในสถานที่แห่งเดียวกับที่ชาวต่างประเทศพักอยู่นั้นด้วยก็ได้ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดที่จะพิจารณาอนุมัติตามความจำเป็นและเหมาะสม สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ[๒๒] มาตรา ๒๙/๑[๒๓] นักบริหารการทูตระดับสูง ซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางกลับประเทศไทยเพื่อเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ เพื่อกราบถวายบังคมลาและรับพระราชสาส์นตราตั้งและพระราชสาส์นถอนก่อนเดินทางไปดำรงตำแหน่งประจำในต่างประเทศ หากจะนำคู่สมรสบุตรอายุไม่เกินยี่สิบห้าปีซึ่งไม่มีคู่สมรสและอยู่ในอุปการะที่จะต้องเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศด้วยและผู้ติดตามร่วมเดินทางกลับประเทศไทยเพื่อเดินทางพร้อมกันต่อเนื่องไปประเทศประจำการใหม่และประเทศไทยเป็นเส้นทางผ่านหรืออยู่ใกล้เคียงกับประเทศที่จะไปประจำการใหม่ ให้อยู่ในดุลยพินิจของปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดที่จะพิจารณาอนุญาตตามความจำเป็นและเหมาะสมและให้เบิกค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักได้ ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าพาหนะสำหรับคู่สมรสและบุตรดังกล่าว ให้เบิกได้ในอัตราเดียวกับนักบริหารการทูตระดับสูง แต่ถ้ามิได้เดินทางพร้อมกับนักบริหารการทูตระดับสูง ให้เบิกได้ในอัตราต่ำสุด สำหรับผู้ติดตามไม่ว่าจะเดินทางพร้อมกันหรือไม่ ให้เบิกได้ในอัตราต่ำสุด (๒) ค่าเช่าที่พักให้เบิกได้ตามความจำเป็น เว้นแต่กรณีที่ผู้เดินทางมีเคหสถานของตนเองที่สามารถพักอาศัยได้ ให้งดเบิกค่าเช่าที่พัก การเบิกค่าเช่าที่พัก ให้นักบริหารการทูตระดับสูง คู่สมรส บุตร และผู้ติดตามดังกล่าวพักแรมรวมกันสองคนต่อหนึ่งห้อง และให้เบิกค่าเช่าที่พักในอัตราค่าเช่าห้องพักคู่คนละไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่เหมาะสมจะพักรวมกัน หรือมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวสำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้เท่ากับข้าราชการในตำแหน่งระดับต่ำสุด มาตรา ๓๐ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งต้องนำสิ่งของเครื่องใช้ของทางราชการไปด้วย ให้เบิกค่าพาหนะสำหรับสิ่งของเครื่องใช้นั้นได้โดยประหยัด มาตรา ๓๑ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งต้องจ่ายค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น เนื่องในการเดินทางไปราชการ ให้เบิกค่าใช้จ่ายนั้นได้โดยประหยัด หมวด ๒ การเดินทางไปราชการประจำ มาตรา ๓๒[๒๔] การเดินทางไปราชการประจำ ได้แก่ (๑) การเดินทางไปประจำต่างสำนักงาน ไปรักษาการในตำแหน่ง หรือรักษาราชการแทนเพื่อดำรงตำแหน่งใหม่ ณ สำนักงานแห่งใหม่ (๒) การเดินทางไปประจำสำนักงานแห่งเดิมในท้องที่แห่งใหม่ในกรณีย้ายสำนักงาน (๓) การเดินทางไปปฏิบัติงานตามโครงการหรือการเดินทางไปช่วยราชการที่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดของโครงการหรือการช่วยราชการไว้ชัดเจน ซึ่งมีกำหนดเวลาตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป (๔) การเดินทางไปช่วยราชการที่ไม่อาจกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดหรือมีกำหนดเวลาไม่ถึงหนึ่งปีซึ่งต่อมาภายหลัง ส่วนราชการมีความจำเป็นต้องให้ข้าราชการผู้นั้นอยู่ช่วยราชการ ณ สถานที่แห่งเดิมนั้นให้นับเวลาการช่วยราชการต่อเนื่องและให้ถือเวลาการช่วยราชการตั้งแต่วันที่ครบกำหนดหนึ่งปีเป็นต้นไปเป็นการเดินทางไปราชการประจำ มาตรา ๓๓[๒๕] ผู้เดินทางไปราชการประจำซึ่งมิใช่ผู้ซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานแห่งใหม่ตามคำร้องขอของตนเอง ให้เบิกค่าใช้จ่ายได้ตามมาตรา ๑๔ และกรณีที่ผู้เดินทางดังกล่าวมีความจำเป็นต้องย้ายที่อยู่ใหม่ ให้เบิกค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวในลักษณะเหมาจ่ายได้ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๓๔ การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการประจำในกรณีที่มิได้กำหนดไว้ในหมวดนี้ ให้นำหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในลักษณะ ๒ หมวด ๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๓๕ การนับเวลาเดินทางไปราชการเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทางให้นับตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่อยู่จนถึงสถานที่พักที่ไปรับราชการแห่งใหม่ มาตรา ๓๖[๒๖] ผู้เดินทางไปราชการประจำจะเบิกค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะสำหรับบุคคลในครอบครัวได้โดยประหยัด การเบิกค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะสำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้ดังต่อไปนี้ (๑) หนึ่งคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหาร ซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ลงมา (๒) ไม่เกินสองคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก ขึ้นไป[๒๗] มาตรา ๓๗[๒๘] ค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักสำหรับบุคคลในครอบครัวนอกจากผู้ติดตาม ให้เบิกได้ในอัตราเดียวกับผู้เดินทางไปราชการประจำตามมาตรา ๓๓ สำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้เท่ากับข้าราชการในตำแหน่งระดับต่ำสุด ในกรณีที่เดินทางไปถึงท้องที่ตั้งสำนักงานตามมาตรา ๓๒ (๑) (๒) และ (๓) ถ้าไม่อาจเข้าพักในที่พักอาศัยที่ทางราชการจัดให้หรือบ้านเช่าได้ และผู้บังคับบัญชาดังต่อไปนี้อนุญาตแล้ว ให้เบิกค่าเช่าที่พักสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวได้ไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันไปถึงท้องที่ตั้งสำนักงานนั้น (๑) อธิบดีขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง (๒) หัวหน้าสำนักงาน สำหรับราชการบริหารส่วนกลางที่มีสำนักงานอยู่ในส่วนภูมิภาคหรือมีสำนักงานแยกต่างหากจากกระทรวง ทบวง กรม (๓)[๒๙] หัวหน้าส่วนราชการในภูมิภาค สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องเบิกค่าเช่าที่พักเกินเจ็ดวัน ต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดเดิม สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ มาตาม ๓๘ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปประจำต่างสำนักงานเดินทางโดยเครื่องบินตามมาตรา ๒๗ ให้บุคคลในครอบครัวเดินทางโดยเครื่องบินได้ด้วย มาตรา ๓๙[๓๐] ในกรณีจำเป็นซึ่งไม่อาจนำบุคคลในครอบครัวไปพร้อมกับผู้เดินทางได้ ให้ผู้เดินทางรายงานชี้แจงเหตุผลความจำเป็นและกำหนดเวลาที่จะเลื่อนการเดินทางต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดี หรือปลัดกระทรวงหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า แล้วแต่กรณี สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง หรือผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค แต่ถ้าผู้เดินทางดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ให้เสนอผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง การขอเลื่อนการเดินทางตามวรรคหนึ่ง ให้ขอก่อนที่ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้นจะเดินทาง ผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่งมีอำนาจอนุญาตให้เลื่อนการเดินทางได้ภายในเวลาอันสมควร แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ปรากฏในคำสั่งให้เดินทางไปราชการ มาตรา ๔๐ ผู้เดินทางไปราชการประจำซึ่งได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางล่วงหน้าไปแล้ว ถ้าไม่ได้เดินทางภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับให้นำเงินค่าใช้จ่ายที่ได้รับไปแล้วส่งคืนทันที่ มาตรา ๔๑[๓๑] ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในกรณีไปประจำสำนักงานซึ่งต่างสังกัดให้เบิกจากสังกัดใหม่ซึ่งไปประจำ หมวด ๓ การเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม มาตรา ๔๒ การเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม ให้หมายความถึงการเดินทางเพื่อกลับภูมิลำเนาเดิมของผู้เดินทางไปราชการประจำในกรณีที่ออกจากราชการหรือถูกสั่งพักราชการ มาตรา ๔๓ ข้าราชการซึ่งออกจากราชการหรือลูกจ้างซึ่งทางราชการเลิกจ้าง จะเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัว ได้เฉพาะค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ และค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวเพื่อกลับภูมิลำเนาเดิมของข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้น ตามอัตราสำหรับตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศครั้งสุดท้ายก่อนออกจากราชการหรือเลิกจ้าง ในกรณีที่ข้าราชการหรือลูกจ้างถึงแก่ความตาย ให้สิทธิในการเบิกค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งตกแก่ทายาทผู้ใดผู้หนึ่ง ที่อยู่กับข้าราชการหรือลูกจ้างขณะถึงแก่ความตาย ในกรณีที่ไม่มีทายาทที่อยู่กับข้าราชการหรือลูกจ้างขณะถึงแก่ความตายหรือมีทายาทแต่ไม่สามารถจัดการได้ ให้สิทธิในการเบิกค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งตกแก่ทายาทผู้ใดผู้หนึ่งที่มิได้ไปอยู่ด้วย ถ้าทายาทผู้นั้นต้องเดินทางไปจัดการดังกล่าวให้เบิกค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งสำหรับตนเองได้เฉพาะการเดินทางกลับ การเดินทางและการขนย้ายสิ่งของตามมาตรานี้ ให้กระทำภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันออกจากราชการ เลิกจ้าง หรือตาย ถ้าเกินต้องได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง มาตรา ๔๔ ข้าราชการซึ่งถูกสั่งพักราชการหรือลูกจ้างซึ่งถูกสั่งพักการจ้าง จะเบิกค่าใช้จ่ายสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัว เฉพาะค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ และค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวเพื่อกลับภูมิลำเนาเดิมของข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้นโดยจะไม่รอผลการสอบสวนถึงที่สุดก็ได้ มาตรา ๔๕ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมตามมาตรา ๔๓ และมาตรา ๔๔ จะขอเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังท้องที่อื่นซึ่งมิใช่ภูมิลำเนาเดิมโดยเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไม่สูงกว่า ให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีขึ้นไปหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าสำหรับราชการบริหารส่วนกลาง หรือผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค มาตรา ๔๖ การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมในกรณีที่มิได้กำหนดไว้ในหมวดนี้ ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ ๒ หมวด ๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ลักษณะ ๓ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศ หมวด ๑ การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว มาตรา ๔๗[๓๒] การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ได้แก่ (๑) การเดินทางของผู้รับราชการประจำในประเทศไทยซึ่งเดินทางไปราชการนอกราชอาณาจักรเพื่อปฏิบัติงานการประชุม เจรจาธุรกิจ ดูงาน ตรวจสอบบัญชี หรือปฏิบัติหน้าที่อย่างอื่นเป็นครั้งคราวตามความจำเป็น (๒) การเดินทางของผู้รับราชการประจำในต่างประเทศซึ่งเดินทางไปราชการ ณ ที่ใด ๆ ในต่างประเทศหรือมายังประเทศไทย เฉพาะเวลาที่เดินทางอยู่นอกราชอาณาจักร เพื่อปฏิบัติงานนอกที่ตั้งสำนักงานในเขตอาณาหรือเขตพื้นที่รับผิดชอบ หรือ (๓) การเดินทางของผู้รับราชการประจำในต่างประเทศซึ่งเดินทางไปช่วยราชการรักษาการในตำแหน่ง หรือรักษาราชการแทนต่างสำนักงานในต่างประเทศ เฉพาะเวลาที่ออกเดินทางจากที่พักซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งเดิมจนถึงที่พักซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ ถ้าผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศหรือจากหน่วยงานใด ๆ ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทางแล้ว ไม่มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้อีก แต่หากความช่วยเหลือที่ได้รับน้อยกว่าสิทธิที่จะพึงมีตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้เบิกค่าใช้จ่ายสมทบได้ตามเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๔๘ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ได้แก่ (๑) เบี้ยเลี้ยงเดินทาง (๒) ค่าเช่าที่พัก (๓) ค่าพาหนะรวมทั้งค่าเช่ายานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้างคนหาบหาม และอื่นๆ ทำนองเดียวกัน (๔) ค่ารับรอง (๕) ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นเนื่องในการเดินทางไปราชการ มาตรา ๔๙[๓๓] เบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวให้เบิกได้ในลักษณะเหมาจ่ายภายในวงเงินที่กระทรวงการคลังกำหนด ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวที่มิได้เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามวรรคหนึ่ง ให้เบิกค่าอาหารและค่าเครื่องดื่ม รวมทั้งค่าภาษีและค่าบริการที่โรงแรม ภัตตาคาร หรือร้านค้า เรียกเก็บจากผู้เดินทางไปราชการได้เท่าที่จ่ายจริง ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด และให้เบิกค่าใช้สอยเบ็ดเตล็ดได้ในลักษณะเหมาจ่าย ภายในวงเงินที่กระทรวงการคลังกำหนด หากผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวตามวรรคสองไปราชการตั้งแต่เจ็ดวันขึ้นไปให้เบิกค่าทำความสะอาดเสื้อผ้าสำหรับระยะเวลาที่เกินเจ็ดวันได้เท่าที่จ่ายจริง ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวจะเลือกเบิกค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้เพียงอย่างเดียว ตลอดระยะเวลาของการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวนั้นไม่ว่าจะเดินทางไปประเทศเดียว หรือหลายประเทศก็ตาม การเดินทางไปราชการชั่วคราวของผู้รับราชการประจำในต่างประเทศภายในประเทศที่ผู้นั้นประจำอยู่ ให้เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้ในอัตรากึ่งหนึ่ง ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการเจ็บป่วยและจำเป็นต้องพักเพื่อรักษาพยาบาล ให้นำมาตรา ๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม การเดินทางไปราชการของลูกจ้างที่ส่วนราชการในต่างประเทศเป็นผู้จ้าง ให้เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักได้ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๕๐[๓๔] การนับเวลาเดินทางไปราชการต่างประเทศเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทางสำหรับผู้รับราชการประจำในประเทศไทย ให้นับตั้งแต่ประทับตราหนังสือเดินทางออกจากประเทศไทยจนถึงเวลาที่ประทับตราหนังสือเดินทางเข้าประเทศไทย สำหรับผู้รับราชการประจำในต่างประเทศ ให้นับตั้งแต่เดินทางจากที่พักประจำในต่างประเทศหรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติจนกลับถึงที่พักประจำในต่างประเทศหรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติ แล้วแต่กรณี แต่ในกรณีที่เดินทางมายังประเทศไทย มิให้รวมเวลาตั้งแต่ประทับตราหนังสือเดินทางเข้าประเทศไทยจนถึงเวลาที่ประทับตราหนังสือเดินทางออกจากประเทศไทย ในกรณีการเดินทางของข้าราชการในส่วนราชการที่ใช้เอกสารอย่างอื่นซึ่งมิใช่หนังสือเดินทางเวลาที่ถือว่าเป็นเวลาเข้าและออกจากประเทศไทยให้ใช้เวลาประทับตราเข้าและออกในเอกสารนั้น เวลาเดินทางไปราชการในกรณีที่มีการพักแรม ให้นับยี่สิบสี่ชั่วโมงเป็นหนึ่งวัน ถ้าไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงหรือเกินยี่สิบสี่ชั่วโมงและส่วนที่ไม่ถึงหรือเกินยี่สิบสี่ชั่วโมงนั้นนับได้เกินสิบสองชั่วโมง ให้ถือเป็นหนึ่งวัน เวลาเดินทางไปราชการในกรณีที่มิได้มีการพักแรม หากนับได้ไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงและส่วนที่ไม่ถึงนั้นนับได้เกินสิบสองชั่วโมง ให้ถือเป็นหนึ่งวัน หากนับได้ไม่เกินสิบสองชั่วโมง แต่เกินหกชั่วโมงขึ้นไป ให้ถือเป็นครึ่งวัน ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้า หรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ เพราะมีเหตุส่วนตัวตามมาตรา ๘/๑ การนับเวลาเดินทางไปราชการเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทางกรณีลากิจหรือลาพักผ่อนก่อนปฏิบัติราชการ ให้นับเวลาตั้งแต่เริ่มปฏิบัติราชการเป็นต้นไป ยกเว้นในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีเหตุจำเป็นต้องพักแรมในท้องที่ที่ปฏิบัติราชการก่อนวันเริ่มปฏิบัติราชการให้นับเวลาเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทางตั้งแต่เวลาเข้าที่พักในท้องที่ที่ปฏิบัติราชการ ทั้งนี้ ไม่เกินยี่สิบสี่ชั่วโมงเมื่อนับถึงเวลาเริ่มปฏิบัติราชการ และกรณีลากิจหรือลาพักผ่อนหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ ให้ถือว่าสิทธิในการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสุดเวลาการปฏิบัติราชการ มาตรา ๕๑[๓๕] การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวที่จำเป็นต้องพักแรม เว้นแต่การพักแรมซึ่งโดยปกติต้องพักแรมในยานพาหนะ หรือการพักแรมในที่พักแรมซึ่งทางราชการจัดที่พักไว้ให้แล้วให้ผู้เดินทางไปราชการเบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงตามสิทธิที่ตนเองได้รับในการพักอาศัยคนเดียว ทั้งนี้ ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด การเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะ ให้ผู้เดินทางไปราชการเบิกค่าเช่าที่พักได้ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก ลงมา ให้พักแรมรวมกันสองคนต่อหนึ่งห้อง โดยให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคู่ คนละไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว ถ้าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวแยกพักห้องพักคนเดียวให้เบิกได้อัตราเดียวกัน เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่เหมาะสมจะพักรวมกันหรือมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว (๒) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว (๓) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง หรือตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรี ขึ้นไป ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะ หากมีความจำเป็นต้องใช้สถานที่ในที่เดียวกันกับที่พักเพื่อเป็นที่ประสานงานของคณะหรือกับบุคคลอื่น ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เพิ่มขึ้นสำหรับห้องพักอีกห้องหนึ่งในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวหรือจะเบิกค่าเช่าห้องชุดแทนก็ได้ แต่ทั้งนี้ ต้องมีอัตราไม่เกินสองเท่าของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว[๓๖] ในกรณีที่เป็นการสมควร กระทรวงการคลังอาจกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งระดับใด หรือตำแหน่งใดเบิกค่าเช่าที่พักเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษได้สำหรับห้องพักอีกห้องหนึ่งในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว หรือจะเบิกค่าเช่าห้องชุดแทนก็ได้ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้าก่อนเริ่มปฏิบัติราชการเพราะมีเหตุส่วนตัว ตามมาตรา ๘/๑ และมีเหตุจำเป็นต้องพักแรมในท้องที่ที่ปฏิบัติราชการก่อนวันเริ่มปฏิบัติราชการ ให้เบิกค่าเช่าที่พักก่อนวันเริ่มปฏิบัติราชการดังกล่าวได้ไม่เกินหนึ่งวัน ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการนำบุคคลอื่นที่ไม่มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปพักรวมอยู่ด้วยให้ผู้เดินทางไปราชการรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนที่เพิ่มขึ้นจากสิทธิที่พึงจะได้รับจากทางราชการ มาตรา ๕๒[๓๗] การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว โดยปกติให้ใช้ยานพาหนะประจำทางและให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงโดยประหยัด ในกรณีที่ไม่มียานพาหนะประจำทางหรือมีแต่ต้องการความรวดเร็วเพื่อประโยชน์แก่ราชการให้ใช้พาหนะอื่นได้ แต่ผู้เดินทางจะต้องชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นไว้ในหลักฐานการขอเบิกค่าพาหนะนั้น ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้า หรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ เพราะมีเหตุส่วนตัว ตามมาตรา ๘/๑ ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงตามเส้นทางที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการ กรณีที่มีการเดินทางนอกเส้นทางในระหว่างการลานั้น ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงโดยไม่เกินอัตราตามเส้นทางที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการ มาตรา ๕๓[๓๘] การเดินทางไปราชการต่างประเทศโดยเครื่องบินจากประเทศไทยไปต่างประเทศหรือจากต่างประเทศกลับประเทศไทย หรือการเดินทางในต่างประเทศ สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ให้เดินทางโดยชั้นหนึ่ง (๑) หัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาล (๒) ประธานรัฐสภา และรองประธานรัฐสภา (๓) ประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา (๔) ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (๕) รัฐมนตรี (๖) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า สมุหราชองครักษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาตรา ๕๓/๑[๓๙] การเดินทางไปราชการต่างประเทศโดยเครื่องบินจากประเทศไทยไปต่างประเทศหรือจากต่างประเทศกลับประเทศไทย หรือการเดินทางในต่างประเทศที่มีระยะเวลาในการเดินทางตั้งแต่เก้าชั่วโมงขึ้นไป ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ชั้นหนึ่ง สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง ผู้ตรวจราชการ อธิบดี หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า ผู้ว่าราชการจังหวัด เอกอัครราชทูต หรือตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พลโท พลเรือโท พลอากาศโท หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจเอก พลตำรวจโท (๒) ชั้นธุรกิจหรือชั้นระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นประหยัด สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรี (๓) ชั้นประหยัด สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ชั้น หรือยศ นอกจากที่ระบุใน (๑) และ (๒) ในกรณีผู้เดินทางตาม (๒) มีความจำเป็นต้องโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งที่เดินทางดังกล่าวสามารถเดินทางและเบิกค่าโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิได้ โดยต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สมุหราชองครักษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ มาตรา ๕๓/๒[๔๐] การเดินทางไปราชการต่างประเทศโดยเครื่องบินจากประเทศไทยไปต่างประเทศหรือจากต่างประเทศกลับประเทศไทย หรือการเดินทางในต่างประเทศที่มีระยะเวลาในการเดินทางต่ำกว่าเก้าชั่วโมง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ชั้นธุรกิจ สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง ผู้ตรวจราชการ อธิบดี หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า ผู้ว่าราชการจังหวัด เอกอัครราชทูต หรือตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พลโท พลเรือโท พลอากาศโท ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจเอก พลตำรวจโท (๒) ชั้นประหยัด สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหาร ซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรี ลงมา ในกรณีผู้เดินทางตาม (๑) และ (๒) มีความจำเป็นต้องโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งที่เดินทางดังกล่าวสามารถเดินทางและเบิกค่าโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิได้ โดยต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สมุหราชองครักษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สำหรับส่วนราชการที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ ลงมา ให้โดยสารชั้นประหยัด มาตรา ๕๓ ทวิ ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาล หรือซึ่งดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานรัฐสภา รองประธานวุฒิสภา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรัฐมนตรี ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่ากับที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิกและให้พักแรมในที่เดียวกับผู้บังคับบัญชา โดยให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงตามสิทธิที่ตนเองได้รับหรือเบิกในอัตราต่ำสุดของที่พักนั้น แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า[๔๑] ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชามีหลายคน ให้มีสิทธิเบิกค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักตามวรรคหนึ่งได้เพียงหนึ่งคน ส่วนผู้เดินทางไปราชการในหน้าที่เลขานุการคนอื่น ๆ ให้เบิกค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักได้ตามสิทธิของตน มาตรา ๕๔[๔๒] ค่ารับรองและค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการ ให้เบิกได้ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๕๔ ทวิ[๔๓] (ยกเลิก) มาตรา ๕๕ ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวจะเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับคู่สมรสได้เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อได้รับอนุญาตจากกระทรวงเจ้าสังกัดให้ติดตามไปได้ (๒)[๔๔] เมื่อนักบริหารการทูตระดับต้น และระดับสูง หรือนักการทูตระดับชำนาญการพิเศษเป็นหัวหน้าคณะไปราชการในกรณี (ก) ถวายหรือยื่นพระราชสาส์นตราตั้ง หรือทูลลาหรือลาต่อพระราชาธิบดี หรือประมุขแห่งรัฐที่อยู่ในเขตอาณา (ข) ตามเสด็จพระราชดำเนินเนื่องในการที่พระมหากษัตริย์หรือพระราชินีเสด็จเยือนประเทศที่อยู่ในเขตอาณา (ค) รัฐบาลของประเทศที่อยู่ในเขตอาณาได้เชิญคู่สมรสไปร่วมงานพิธีในประเทศเขตอาณาด้วย มาตรา ๕๖[๔๕] ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของคู่สมรสตามมาตรา ๕๕ ให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๕๗ ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว จะเบิกค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับตนเองและคู่สมรสมิได้ เว้นแต่กรณีจำเป็นตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๕๘ ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวซึ่งได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางล่วงหน้าไปแล้ว ถ้าไม่ได้เดินทางภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันได้รับ ให้นำเงินค่าใช้จ่ายที่ได้รับไปแล้วส่งคืนทันที หมวด ๒ การเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ มาตรา ๕๙ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศได้แก่ (๑) เบี้ยเลี้ยงเดินทาง (๒) ค่าเช่าที่พัก (๓) ค่าพาหนะ (๔) ค่าเครื่องแต่งตัว (๕) ค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ มาตรา ๖๐ การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศในกรณีที่มิได้กำหนดไว้ในหมวดนี้ ให้นำลักษณะ ๓ หมวด ๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๖๑[๔๖] เบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ ให้เบิกได้เฉพาะระยะเวลาระหว่างเดินทาง ในกรณีที่เดินทางไปถึงท้องที่ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ในต่างประเทศ ถ้าไม่อาจเข้าพักในที่ที่ทางราชการจัดให้หรือบ้านเช่าได้ และผู้บังคับบัญชาซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือ ตำแหน่งที่เทียบเท่าขึ้นไปอนุญาตแล้ว ให้เบิกค่าเช่าที่พักสำหรับตนเอง คู่สมรส บุตรอายุไม่เกิน ยี่สิบห้าปีซึ่งไม่มีคู่สมรสและอยู่ในความอุปการะที่จะต้องเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศด้วย และ ผู้ติดตาม ได้ไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันไปถึงท้องที่ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ ผู้เดินทางไปราชการและบุคคลในครอบครัวตามวรรคสองให้พักรวมกันสองคนต่อหนึ่งห้อง โดยให้เบิกค่าเช่าที่พักในอัตราค่าเช่าห้องพักคู่คนละไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่เหมาะสมจะพักรวมกันหรือมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวสำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้เท่ากับข้าราชการในตำแหน่งระดับต่ำสุด ในกรณีมีความจำเป็นต้องเช่าที่พักแรมเกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ ต้องได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง มาตรา ๖๒ ค่าพาหนะเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง โดยจะต้องใช้ยานพาหนะที่เหมาะสมซึ่งต้องคำนึงถึงความรวดเร็วและประหยัด ส่วนคู่สมรสและบุตรอายุไม่เกินยี่สิบห้าปีซึ่งไม่มีคู่สมรสและอยู่ในความอุปการะที่จะต้องเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศด้วย ให้เบิกได้ในอัตราเดียวกับผู้เดินทาง ผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศจะเบิกค่าพาหนะสำหรับผู้ติดตามซึ่งได้รับอนุญาตจากกระทรวงเจ้าสังกัดแล้วได้ดังต่อไปนี้ (๑) หนึ่งคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหาร ซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ลงมา (๒) ไม่เกินสองคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก ขึ้นไป[๔๗] ค่าพาหนะสำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้ในอัตราต่ำสุด ค่าพาหนะสำหรับคู่สมรส บุตร และผู้ติดตามจะเบิกไม่ได้ถ้าบุคคลดังกล่าวมิได้ออกเดินทางภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ข้าราชการหรือลูกจ้างออกเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ มาตรา ๖๓ ให้นำมาตรา ๖๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่กรณีที่ผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ คู่สมรส บุตร หรือผู้ติดตามเดินทางกลับประเทศไทย ในกรณีที่คู่สมรส บุตร หรือผู้ติดตามมีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางกลับประเทศไทยก่อนข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้น ให้กระทรวงเจ้าสังกัดทำความตกลงกับกระทรวงการคลังจึงจะเบิกค่าพาหนะเดินทางกลับได้ ค่าพาหนะสำหรับบุตรซึ่งเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศ หรือบุตรที่เกิดในระหว่างเวลาที่รับราชการประจำในต่างประเทศจะเบิกไม่ได้ถ้ามิได้เดินทางกลับภายในกำหนดสามปีนับแต่วันที่ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้นเดินทางกลับ มาตรา ๖๔ ให้นำมาตรา ๕๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่การเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศและการเดินทางกลับประเทศไทยโดยเครื่องบิน คู่สมรสหรือบุตร ให้มีสิทธิโดยสารชั้นเดียวกับผู้เดินทาง แต่ถ้ามิได้เดินทางพร้อมกับข้าราชการหรือลูกจ้าง ให้เบิกได้ในอัตราต่ำสุด สำหรับผู้ติดตามไม่ว่าจะเดินทางพร้อมกันหรือไม่ ให้เบิกได้ในอัตราต่ำสุด คู่สมรสหรือบุตรซึ่งมิได้เดินทางติดตามไปอยู่ด้วยกับข้าราชการหรือลูกจ้างที่ไปราชการประจำในต่างประเทศ หากประสงค์จะติดตามข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศอื่นหรือเดินทางไปราชการประจำอีกเมืองหนึ่งในต่างประเทศเดียวกันตามมาตรา ๗๐ (๒) หรือ (๓) แล้วแต่กรณี ให้มีสิทธิโดยสารชั้นประหยัดหรือชั้นต่ำสุด โดยให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินอัตราขั้นต่ำสุดตามเส้นทางที่ข้าราชการหรือลูกจ้างนั้นได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการประจำ เว้นแต่ในกรณีที่คู่สมรสหรือบุตรมีความจำเป็นที่จะต้องร่วมเดินทางไปกับข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้นให้กระทรวงเจ้าสังกัดทำความตกลงกับกระทรวงการคลังจึงจะเบิกค่าโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิได้[๔๘] มาตรา ๖๕[๔๙] ผู้เดินทางไปรับราชการประจำในต่างประเทศ ให้ได้รับค่าเครื่องแต่งตัวภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด เว้นแต่ผู้ซึ่งได้รับค่าเครื่องแต่งตัวมาแล้ว และในการเดินทางครั้งใหม่เป็นการเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศที่ใช้เครื่องแต่งตัวประเภทเดียวกับที่ใช้ในการเดินทางครั้งก่อน และมีระยะเวลาไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ออกเดินทางนั้น ในกรณีที่ได้รับค่าเครื่องแต่งตัวแล้ว แต่มิได้เดินทาง ให้ถือวันที่ได้รับเป็นวันออกเดินทาง มาตรา ๖๖ ให้นำมาตรา ๖๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่กรณีที่คู่สมรสและบุตรจะต้องเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศด้วย คู่สมรสและบุตร จะเบิกค่าเครื่องแต่งตัวไม่ได้ถ้ามิได้ออกเดินทางภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ข้าราชการหรือลูกจ้างออกเดินทาง มาตรา ๖๗ ในกรณีที่ทางราชการสั่งงดการเดินทางโดยมิใช่ความผิดของผู้เดินทาง ถ้าผู้เดินทางได้ใช้จ่ายค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับตนเอง คู่สมรส หรือบุตรไปแล้ว หรือมีข้อผูกพันที่จะต้องจ่ายโดยสุจริตโดยมีหลักฐานก็ไม่ต้องส่งคืน มาตรา ๖๘ ให้นำมาตรา ๔๓ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ โดยอนุโลม มาตรา ๖๙ ในกรณีที่ข้าราชการหรือลูกจ้างที่ปฏิบัติราชการประจำในต่างประเทศถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งพักการจ้าง จะเบิกค่าใช้จ่ายสำหรับตนเอง คู่สมรส บุตร หรือผู้ติดตามเฉพาะค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ และค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่กลับประเทศไทยโดยจะไม่รอผลการสอบสวนถึงที่สุดก็ได้ มาตรา ๗๐[๕๐] ค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ให้เบิกในลักษณะเหมาจ่ายตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางจากประเทศไทยไปราชการประจำในต่างประเทศ และคู่สมรสหรือบุตรซึ่งต้องเดินทางจากประเทศไทยไปอยู่ด้วย ให้เบิกได้ในอัตราสี่เท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวจะพึงได้รับจากทางราชการ ยกเว้นข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งเดินทางจากประเทศไทยไปราชการประจำในต่างประเทศเป็นครั้งแรกและคู่สมรสหรือบุตรซึ่งเดินทางจากประเทศไทยไปอยู่ด้วย ให้เบิกได้ในอัตราห้าเท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวจะพึงได้รับจากทางราชการ (๒) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางออกจากต่างประเทศหนึ่งไปราชการประจำในต่างประเทศอื่นและคู่สมรสหรือบุตรซึ่งติดตามไปอยู่ด้วย ให้เบิกได้ในอัตราสามเท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวจะพึงได้รับตามอัตราสำหรับประเทศซึ่งจะไปราชการประจำใหม่ (๓) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางจากเมืองหนึ่งไปราชการประจำอีกเมืองหนึ่งในต่างประเทศเดียวกัน และคู่สมรสหรือบุตรซึ่งติดตามไปอยู่ด้วย ให้เบิกได้ในอัตราสามเท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวจะพึงได้รับตามอัตราสำหรับประเทศนั้น (๔) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางจากต่างประเทศที่มีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศกลับประเทศไทย และคู่สมรสหรือบุตรซึ่งกลับมาด้วยจากประเทศเดียวกับผู้เดินทาง ให้เบิกได้ในอัตราสามเท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวได้รับครั้งสุดท้ายก่อนเดินทางกลับประเทศไทย ในกรณีที่คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับก่อนการเบิกค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ให้เป็นไปตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๗๐/๑[๕๑] ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของข้าราชการที่ปฏิบัติราชการประจำในต่างประเทศในกรณีไปประจำสำนักงานซึ่งต่างสังกัด ให้เบิกจากสังกัดใหม่ซึ่งไปประจำ บทเฉพาะกาล มาตรา ๗๑ การเดินทางไปราชการที่ต่อเนื่องกันในระหว่างการใช้พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ กับพระราชกฤษฎีกานี้ สำหรับสิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหรือที่ก่อหนี้ผูกพันไปแล้วโดยสุจริตก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๗๒ การเดินทางไปราชการระหว่างวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับกับวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้เดินทางยังคงมีสิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ แต่ทั้งนี้ ไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามพระราชกฤษฎีกานี้ สำหรับส่วนที่เกินจำนวนเงินค่าใช้จ่ายที่ได้รับแล้วนั้น ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชี ๑ อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร[๕๒] (ยกเลิก) ๒. บัญชี ๒ อัตราค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร[๕๓] (ยกเลิก) ๓. บัญชี ๓ ค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร[๕๔] (ยกเลิก) ๔. บัญชี ๔ อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว[๕๕] (ยกเลิก) ๕. บัญชี ๕ อัตราค่าเครื่องแต่งตัวไปรับราชการประจำในต่างประเทศ[๕๖] (ยกเลิก) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการยังไม่เหมาะสม และกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเดินทางไปราชการชั่วคราวและประจำ ทั้งในราชอาณาจักรและต่างประเทศยังไม่เป็นระบบ และโดยที่ในปัจจุบันได้มีกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีปรับปรุงตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศ ของข้าราชการบางประเภทแตกต่างไปจากเดิมมาก สมควรปรับปรุงอัตราค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน และกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเดินทางไปราชการชั่วคราวและประจำทั้งในราชอาณาจักรและต่างประเทศขึ้นใหม่ให้เป็นระบบ ตลอดจนกำหนดสิทธิการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้สอดคล้องกับการปรับปรุงตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศของข้าราชการบางประเภท จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗[๕๗] มาตรา ๑๒ การเดินทางไปราชการที่ต่อเนื่องกันในระหว่างการใช้พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ กับพระราชกฤษฎีกานี้ สำหรับสิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหรือที่ก่อหนี้ผูกพันไปแล้วโดยสุจริตก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ มาตรา ๑๓ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบันและให้สะดวกในการปฏิบัติราชการ โดยกำหนดให้ปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดหรือผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติการเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักกรณีการเดินทางไปราชการชั่วคราวในประเทศเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันแทนการขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง แก้ไขให้ผู้เดินทางเลื่อนการขนย้ายสิ่งของส่วนตัวได้โดยไม่ต้องขออนุญาตผู้บังคับบัญชา กำหนดให้การเบิกค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายจริงในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวของบุคคลอื่นนอกจากอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าหรือผู้แทนส่วนราชการซึ่งเข้าร่วมในการประชุมระดับรัฐมนตรีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดแทนการอนุมัติของปลัดกระทรวงกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนระดับ ๙ และข้าราชการอื่นซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ามีสิทธิโดยสารเครื่องบินชั้นระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นต่ำสุด กำหนดให้ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชาซึ่งมีสิทธิเดินทางโดยชั้นหนึ่งบางตำแหน่งได้มีสิทธิเบิกค่าพาหนะเท่ากับผู้บังคับบัญชาดังกล่าว รวมทั้งกำหนดให้เบิกค่ารับรองและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการที่มีอัตรากำหนดไว้แน่นอนได้และเพิ่มประเทศอิรักลงในบัญชี ๔ กับประเทศบรูไนลงในบัญชี ๕ ท้ายพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๘[๕๘] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประการใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากทางราชการได้ประกาศปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งมีผลทำให้ค่าใช้จ่ายที่ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศได้รับเป็นเงินบาท เพื่อเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ตามบัญชี ๔ และค่าเครื่องแต่งตัวไปรับราชการประจำในต่างประเทศ ตามบัญชี ๕ ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ มีมูลค่าลดน้อยลง เมื่อคิดเทียบเป็นเงินตราต่างประเทศ อันมีผลทำให้ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวและผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศได้รับความเดือดร้อน ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของผู้เดินทางดังกล่าวอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา สมควรปรับปรุงอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ตามบัญชี ๔ และอัตราค่าเครื่องแต่งตัวไปรับราชการประจำในต่างประเทศ ตามบัญชี ๕ ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๙[๕๙] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๒๒ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๖ ขึ้นไปหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าข้าราชการตุลาการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป ข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันโท นาวาโท นาวาอากาศโทขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโทขึ้นไป ในการเบิกค่าพาหนะรับจ้างสำหรับการเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก หรือสถานที่ปฏิบัติราชการกับสถานียานพาหนะประจำทาง หรือกับสถานที่จัดพาหนะที่ต้องใช้ในการเดินทางไปยังสถานที่ปฏิบัติราชการไว้ไม่ชัดเจน สมควรแก้ไขมาตราดังกล่าวให้ชัดเจนเพื่อให้ข้าราชการดังกล่าวเบิกค่าพาหนะรับจ้างได้ สำหรับทั้งกรณีการเดินทางภายในเขตจังหวัดและกรณีการเดินทางข้ามเขตจังหวัดเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔[๖๐] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่สถานการณ์เศรษฐกิจ ของประเทศในปัจจุบันขยายตัวและประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น สมควรปรับปรุงอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.๒๕๒๖ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยแก้ไขหลักเกณฑ์การเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการต่างประเทศ ค่าเช่าที่พักทั้งในประเทศและในต่างประเทศให้เป็นไปในลักษณะเท่าที่จ่ายจริงได้ ทั้งนี้ โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณากำหนดจำนวนเงินหรือเงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าว เพื่อความคล่องตัวในการกำหนดอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทาง และค่าเช่าที่พักให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง และสมควรกำหนดมาตรการควบคุมการเบิกค่าเช่าที่พักโดยกำหนดหลักเกณฑ์การเบิกค่าเช่าที่พักในกรณีที่มีการเดินทางเป็นหมู่คณะขึ้น และกำหนดมาตรการป้องกันการทุจริตร่วมกับโรงแรมในการเบิกค่าเช่าที่พักขึ้นด้วย สำหรับการเดินทางไปศึกษา ฝึกอบรมหรือสัมมนา และการประชุมสัมมนาที่ส่วนราชการจัด มิได้มีแต่เพียงรายการค่าใช้จ่ายที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเท่านั้น ทำให้ส่วนราชการไม่อาจเบิกจ่ายส่วนที่มิได้กำหนดไว้และมีลักษณะแตกต่างไป สมควรยกเลิกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพื่อให้ส่วนราชการมีความคล่องตัวในการเบิกจ่ายและผู้เดินทางไปราชการได้รับค่าใช้จ่ายครบถ้วนตามที่ได้จ่ายจริง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๑[๖๑] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ โดยส่วนใหญ่มีหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินอัตราที่กำหนด ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเกินความจำเป็นโดยไม่คำนึงถึงงบประมาณที่ได้รับ สมควรกำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมขึ้นไปมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงบประมาณรายจ่ายเพื่อควบคุมดูแลให้การเดินทางไปราชการเป็นไปโดยประหยัดและใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น และเพื่อให้การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเป็นไป เพื่อประโยชน์ของทางราชการโดยแท้จริง จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการประจำสำนักงานแห่งใหม่ตามคำร้องขอของตนเองไม่มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามเจตนารมณ์ดังกล่าวประกอบกับสมควรปรับปรุงอัตราค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ของผู้ที่ได้รับคำสั่งให้ไปดำรงตำแหน่งประจำในต่างประเทศหรือกรณีที่ผู้นั้นเดินทางกลับประเทศไทยให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณรายจ่าย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘[๖๒] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ยังไม่เหมาะสม จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเดินทางไปราชการชั่วคราวและราชการประจำในราชอาณาจักรและการเดินทางไปราชการต่างประเทศเสียใหม่ เพื่อให้ผู้มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการมีสิทธิเบิกจ่ายได้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓[๖๓] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา ๓ มาตรา ๔ และมาตรา ๕ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ปรับปรุงระบบตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญให้จำแนกตามกลุ่มลักษณะงานสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติดังกล่าว และโดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การเบิกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปลงศพหรือส่งศพกลับ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการถึงแก่ความตายในระหว่างเดินทางไปราชการ ประกอบกับสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าเช่าที่พัก และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในกรณีไปประจำสำนักงานซึ่งต่างสังกัด รวมทั้งหลักเกณฑ์การเบิกค่าโดยสารเครื่องบินในการเดินทางไปราชการชั่วคราวในราชอาณาจักรและการเบิกค่าโดยสารเครื่องบินของคู่สมรสหรือบุตรของข้าราชการหรือลูกจ้างให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐[๖๔] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๑๗ เพื่อให้การเบิกจ่ายงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความเป็นธรรม ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ จัดให้มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับชั้นโดยสารเครื่องบินเช่นเดียวกับหน่วยงานภาครัฐตามแนวทางของกระทรวงการคลังที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายในประเภทค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ยังไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงิน วิธีการเบิกจ่าย อัตราการจ่าย ของผู้มีสิทธิได้รับเงินประเภทดังกล่าว รวมทั้งหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง กรณีการเดินทางไปราชการชั่วคราวและราชการประจำในราชอาณาจักรและกรณีการเดินทางไปราชการต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ สุนันทา/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ จุฑามาศ/เพิ่มเติม ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๗ วริญา/เพิ่มเติม ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ วิชพงษ์/ตรวจ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๐/ตอนที่ ๗๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๗ พฤษภาคม ๒๕๒๖ [๒] มาตรา ๔ นิยามคำว่า “ข้าราชการ” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] มาตรา ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๑ [๔] มาตรา ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๕] มาตรา ๘/๑ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๖] มาตรา ๑๒ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๗] มาตรา ๑๒ ตรี เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๘] มาตรา ๑๓ (๒) ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๙] มาตรา ๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๑๐] มาตรา ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๑๑] มาตรา ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๑๒] มาตรา ๑๗ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๓] มาตรา ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ [๑๔] มาตรา ๑๙ ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๑๕] มาตรา ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ [๑๖] มาตรา ๒๐ วรรคสอง ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๑๗] มาตรา ๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๘] มาตรา ๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๙] มาตรา ๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒๐] มาตรา ๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๒๑] มาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒๒] มาตรา ๒๙ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๒๓] มาตรา ๒๙/๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๒๔] มาตรา ๓๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๒๕] มาตรา ๓๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๒๖] มาตรา ๓๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๒๗] มาตรา ๓๖ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒๘] มาตรา ๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๒๙] มาตรา ๓๗ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓๐] มาตรา ๓๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ [๓๑] มาตรา ๔๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๓๒] มาตรา ๔๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓๓] มาตรา ๔๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓๔] มาตรา ๕๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓๕] มาตรา ๕๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓๖] มาตรา ๕๑ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓๗] มาตรา ๕๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓๘] มาตรา ๕๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓๙] มาตรา ๕๓/๑ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๔๐] มาตรา ๕๓/๒ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๔๑] มาตรา ๕๓ ทวิ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๔๒] มาตรา ๕๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๔๓] มาตรา ๕๔ ทวิ ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๔๔] มาตรา ๕๕ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๔๕] มาตรา ๕๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๔๖] มาตรา ๖๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๔๗] มาตรา ๖๒ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๔๘] มาตรา ๖๔ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๔๙] มาตรา ๖๕ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๕๐] มาตรา ๗๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๕๑] มาตรา ๗๐/๑ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๕๒] บัญชี ๑ อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๕๓]บัญชี ๒ อัตราค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๕๔] บัญชี ๓ ค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๕๕] บัญชี ๔ อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๕๖] บัญชี ๕ อัตราค่าเครื่องแต่งตัวไปรับราชการประจำในต่างประเทศ ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๕๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๗๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๖ มิถุนายน ๒๕๒๗ [๕๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๓๑ มกราคม ๒๕๒๘ [๕๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๙๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๓ มิถุนายน ๒๕๒๙ [๖๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๓๑ มกราคม ๒๕๓๔ [๖๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๙๖ ก/หน้า ๑/๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๑ [๖๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๗๖ ก/หน้า ๑/๒ กันยายน ๒๕๔๘ [๖๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๕๘ ก/หน้า ๑๐/๒๓ กันยายน ๒๕๕๓ [๖๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๒๑ ก/หน้า ๒๕/๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
739466
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. 2544 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๔[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นปีที่ ๕๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดการจ่ายเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๔” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเบี้ยกันดาร พ.ศ. ๒๕๒๔ มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “เงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ” หมายความว่า เงินที่จ่ายช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ เนื่องจากการปฏิบัติงานประจำสำนักงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่พิเศษ “สำนักงาน” หมายความว่า ที่ทำการของส่วนราชการสังกัดกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม แต่ไม่รวมถึงที่ทำการของส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ และหน่วยงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทต่าง ๆ ซึ่งได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่าย แต่ไม่รวมถึงข้าราชการสังกัดส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ “ลูกจ้างประจำ” หมายความว่า ลูกจ้างของส่วนราชการที่จ้างไว้เพื่อปฏิบัติงานที่มีลักษณะประจำโดยไม่มีกำหนดเวลา และได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย เว้นแต่ลูกจ้างชาวต่างประเทศที่มีสัญญาจ้าง มาตรา ๕[๒] ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติราชการประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ หรือได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติราชการในลักษณะประจำตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดในสำนักงานในพื้นที่พิเศษ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษคนละสองพันบาทต่อเดือน มาตรา ๖ ให้กระทรวงการคลังประกาศกำหนดสำนักงานในพื้นที่พิเศษตามมาตรา ๕ โดยร่วมพิจารณากับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้ (๑) ความยากลำบากของการคมนาคม (๒) ความขาดแคลนสาธารณูปโภค สาธารณูปการ หรือปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพ (๓) ความเสี่ยงภัย (๔) ความชุกชุมของโรคภัยไข้เจ็บ มาตรา ๗ การประกาศตามมาตรา ๖ ให้กระทรวงการคลังกระทำทุกปี มาตรา ๘[๓] ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ หากได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติราชการนอกสำนักงานเกินสิบห้าวันในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการดังกล่าวสำหรับระยะเวลาที่เกินสิบห้าวันนั้น (๑) การไปปฏิบัติราชการชั่วคราวนอกที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา หรือตามหน้าที่ที่ปฏิบัติราชการโดยปกติ (๒) การไปช่วยราชการ ไปรักษาการในตำแหน่ง หรือไปรักษาราชการแทน ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับกรณีข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาฝึกอบรม หรือดูงานด้วย มาตรา ๙ ในกรณีที่ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษมีสิทธิได้รับเงินตอบแทนอื่นในลักษณะทำนองเดียวกับเงินสวัสดิการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำนั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการดังกล่าวหรือเงินตอบแทนอื่น แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า มาตรา ๑๐ การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๑ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีการจ่ายเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ เพื่อใช้บังคับแทนการจ่ายเบี้ยกันดารตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเบี้ยกันดาร พ.ศ. ๒๕๒๔ เนื่องจากหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน เพราะรัฐต้องจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายสำหรับเงินสวัสดิการดังกล่าวเป็นจำนวนสูงขึ้นทุกปี และได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคมเป็นอย่างมากแล้ว อีกทั้งสมควรนำเรื่องการให้สิทธิประโยชน์ตอบแทนแก่ครูและลูกจ้างในโรงเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัย ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๓๑ มาบัญญัติรวมไว้ด้วย เพราะเป็นเงินที่จ่ายให้สำหรับการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษทำนองเดียวกับเบี้ยกันดาร จำจึงเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒[๔] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้กำหนดเหตุที่ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษไว้ ไม่ครอบคลุมถึงกรณีที่ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งไปปฏิบัติราชการชั่วคราวนอกที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา หรือตามหน้าที่ที่ปฏิบัติราชการโดยปกติ หรือในกรณีที่ไปรักษาการในตำแหน่ง นอกสำนักงานทำให้บุคคลดังกล่าวยังคงมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษเต็มจำนวนตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๔ อันก่อให้เกิดความลักลั่นกับข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่ปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษและได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติราชการนอกสำนักงานในกรณีอื่นซึ่งจะไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการดังกล่าวสำหรับระยะเวลาที่เกินสิบห้าวัน จึงสมควรกำหนดให้ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในกรณีดังกล่าว ไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษสำหรับระยะเวลาที่เกินสิบห้าวันนั้นด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐[๕] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงอัตราเงินสวัสดิการสำหรับข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติราชการประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ หรือได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติราชการในลักษณะประจำ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/จัดทำ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ ปุณิกา/เพิ่มเติม ๔ กันยายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๑๑๒ ก/หน้า ๔๕/๔ ธันวาคม ๒๕๔๔ [๒] มาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] มาตรา ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๔๐ ก/หน้า ๔๖/๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๘๙ ก/หน้า ๙/๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๐
739472
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการ ปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๕๑” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ข้าราชการ”[๒] หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร และข้าราชการรัฐสภาสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา “โครงการ” หมายความว่า โครงการให้เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ “เงินเดือนเดือนสุดท้าย” หมายความว่า เงินเดือนที่ได้รับจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ออกจากราชการ รวมทั้งเงินเดือนที่ได้เลื่อนครั้งสุดท้ายก่อนออกจากราชการ และเงินประจำตำแหน่ง แต่ไม่รวมถึงเงินเพิ่มทุกประเภท “เงินประจำตำแหน่ง” หมายความว่า เงินประจำตำแหน่งตามบัญชีท้ายกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง หรือเงินวิทยฐานะตามบัญชีท้ายกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับในเดือนสุดท้ายที่ออกจากราชการ ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึง (๑) เงินประจำตำแหน่งของผู้มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งแต่ได้งดไว้โดยเลือกรับเงินประเภทอื่นแทน (๒) เงินค่าตอบแทนของผู้มีสิทธิได้รับในอัตราเท่ากับเงินประจำตำแหน่งตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนพิเศษชั่วคราวของข้าราชการในช่วงปรับโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม ใหม่ “เงินช่วยเหลือ” หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่ข้าราชการซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ “เวลาราชการ” หมายความว่า เวลาที่ข้าราชการรับราชการมาตั้งแต่ต้นจนถึงวันสุดท้ายที่ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แต่ไม่รวมถึงเวลาราชการที่มีสิทธิได้นับเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ “เวลาราชการที่เหลือ” หมายความว่า เวลาตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการจนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ของปีงบประมาณที่ข้าราชการผู้ประสงค์จะลาออกจากราชการมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ มาตรา ๔[๓] ภายใต้บังคับมาตรา ๕ ข้าราชการซึ่งมีสิทธิเข้าร่วมโครงการต้องเป็นข้าราชการในสังกัดส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) ส่วนราชการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออกจากระบบราชการ (๒) ส่วนราชการที่ประสงค์จะยุบเลิกบางภารกิจ (๓) ส่วนราชการที่มีอัตรากำลังเกินความจำเป็น (๔) ส่วนราชการที่มีจำนวนข้าราชการอายุตั้งแต่ห้าสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปมากกว่าร้อยละสิบของจำนวนข้าราชการทั้งหมดของส่วนราชการนั้น หรือ (๕) ส่วนราชการอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๕ ข้าราชการซึ่งจะเข้าร่วมโครงการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ ในวันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ (๑)[๔] มีอายุตั้งแต่ห้าสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป เว้นแต่ข้าราชการทหารต้องมีอายุตั้งแต่สี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรือมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีขึ้นไป ทั้งนี้ ให้นับถึงวันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ (๒)[๕] มีเวลาราชการที่เหลือไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ (๓)[๖] ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสอบสวน หรืออยู่ในระหว่างการดำเนินการลงโทษทางวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น ๆ หรือเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาซึ่งมิใช่ความผิดลหุโทษหรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท (๔) ไม่เป็นผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะต้องออกจากราชการไม่ว่ากรณีใด ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น ๆ (๕) ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างปฏิบัติราชการชดใช้ตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับส่วนราชการในการไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย เว้นแต่จะยินยอมชดใช้เงินตามสัญญาผูกพันที่ได้ทำไว้กับราชการและได้ปฏิบัติราชการชดใช้มาแล้วไม่น้อยกว่าระยะเวลาศึกษา ฝึกอบรมหรือปฏิบัติการวิจัยนั้น วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามวรรคหนึ่งต้องอยู่ในระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ถึงวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขของโครงการ มาตรา ๖ ให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ข้าราชการซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามโครงการเป็นจำนวนเท่ากับจำนวนปีของเวลาราชการที่เหลือบวกด้วยแปดและคูณด้วยเงินเดือนเดือนสุดท้าย แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินสิบห้าเท่าของเงินเดือนเดือนสุดท้าย การนับเวลาราชการที่เหลือตามวรรคหนึ่ง ให้คำนวณเป็นปี แต่ถ้ามีเศษของปีถึงครึ่งปีให้ได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มขึ้นอีกครึ่งหนึ่งของเงินเดือนเดือนสุดท้าย การเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด การรับเงินช่วยเหลือตามวรรคหนึ่ง ไม่ตัดสิทธิของข้าราชการที่มีอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการรวมถึงสิทธิประโยชน์อื่นใดที่ทางราชการให้แก่ผู้รับบำเหน็จบำนาญ มาตรา ๗ ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือตามมาตรา ๖ ถึงแก่ความตายก่อนได้รับเงินช่วยเหลือ ให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้มีสิทธิรับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘ ภายในระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ หากปรากฏว่าข้าราชการซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามลักษณะหนึ่งลักษณะใดตามมาตรา ๕ ข้าราชการผู้นั้นไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินช่วยเหลือตามมาตรา ๖ และให้ส่วนราชการที่อนุญาตให้ลาออกจากราชการเรียกเงินช่วยเหลือคืน โดยผู้นั้นต้องคืนเงินช่วยเหลือภายในเวลาและตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งประสงค์จะกลับเข้ารับราชการ และมิใช่กรณีที่เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๕ (๓) หรือ (๔) ให้หัวหน้าส่วนราชการซึ่งอนุญาตให้ลาออกจากราชการสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ผู้นั้นดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดิมแต่ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินอื่นที่จ่ายเป็นรายเดือน และสิทธิประโยชน์อย่างอื่นที่ทางราชการให้แก่ผู้นั้นในระหว่างที่ไม่ได้ปฏิบัติราชการ มาตรา ๙[๗] ภายใต้บังคับมาตรา ๘ ผู้ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือตามมาตรา ๖ แล้วหากกลับเข้าเป็นข้าราชการประจำในส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือกำกับของฝ่ายบริหาร หรือส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอีกให้ผู้นั้นส่งคืนเงินช่วยเหลือที่ได้รับไว้ทั้งหมด พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากประจำสิบสองเดือนของธนาคารออมสินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๐[๘] ให้นำความในมาตรา ๙ มาใช้บังคับกับผู้ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือตามมาตรา ๖ แล้วและต่อมาได้รับการบรรจุเป็นพนักงานราชการหรือพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา โดยอนุโลม ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่สัญญาจ้างมีระยะเวลาเกินหนึ่งปี โดยให้นับรวมระยะเวลาการต่ออายุสัญญาจ้างด้วย เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ “พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างให้ทำงานในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เป็นนิติบุคคล ทั้งที่เป็นส่วนราชการและที่เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ โดยผู้นั้นได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินรายได้ของสถานศึกษาของรัฐนั้น มาตรา ๑๑ ให้โครงการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการที่ส่วนราชการตามมาตรา ๔ ได้ดำเนินการก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ เป็นโครงการตามพระราชกฤษฎีกานี้ และให้ข้าราชการซึ่งแสดงความประสงค์และได้รับการอนุมัติเข้าร่วมโครงการดังกล่าวก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ เป็นการแสดงความประสงค์และได้รับการอนุมัติเข้าร่วมโครงการตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๒ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐบาลมีนโยบายให้เงินช่วยเหลือแก่ข้าราชการซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ส่วนราชการออกจากระบบราชการ หรือส่วนราชการประสงค์จะยุบเลิกบางภารกิจมีอัตรากำลังเกินความจำเป็น หรือมีจำนวนข้าราชการอายุตั้งแต่ห้าสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปมากกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนข้าราชการทั้งหมดของส่วนราชการนั้น โดยการปรับปรุงอัตรากำลังดังกล่าวจะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยรวมของส่วนราชการนั้นและมีงบประมาณรองรับ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓[๙] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๗ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๔ และมาตรา ๕ (๑) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ และให้ถือว่าข้าราชการดังกล่าวเป็นข้าราชการที่เข้าร่วมโครงการให้เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ และมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติไว้ มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากหลักเกณฑ์การจ่ายเงินตามโครงการให้เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ในส่วนที่เกี่ยวกับส่วนราชการที่เป็นสังกัดของข้าราชการซึ่งมีสิทธิเข้าร่วมโครงการ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของข้าราชการที่จะเข้าร่วมโครงการ ตลอดจนมาตรการควบคุมข้าราชการผู้เข้าร่วมโครงการที่ได้รับเงินช่วยเหลือแล้วแต่ได้รับการจ้างให้ทำงานในหน่วยงานของรัฐในภายหลังยังไม่ครอบคลุมบางกรณีที่เกิดขึ้นและทำให้เกิดอุปสรรคในการเข้าร่วมโครงการของข้าราชการบางประการ ทำให้มาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการตามนโยบายด้านการพัฒนาระบบราชการยังไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์สมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าว เพื่อส่งเสริมการดำเนินการตามนโยบายด้านการพัฒนาระบบราชการ รวมทั้งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะกรณีผู้เข้าร่วมโครงการที่ได้รับเงินช่วยเหลือแล้วและต่อมาได้รับการจ้างให้ทำงานในสถาบันอุดมศึกษา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑๐] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่ครอบคลุมถึงข้าราชการรัฐสภาสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา ประกอบกับได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติของข้าราชการที่จะเข้าร่วมโครงการให้เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ จากเดิมที่กำหนดให้มีเวลาราชการที่เหลือไม่น้อยกว่าหนึ่งปีเป็นไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ และมาตรการควบคุมให้ผู้ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือตามโครงการแล้ว หากกลับเข้าเป็นข้าราชการประจำในส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือกำกับของฝ่ายบริหารหรือส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอีก ให้ส่งเงินช่วยเหลือที่ได้รับไว้ทั้งหมดคืนพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนั้น เพื่อให้การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการถูกต้องตามข้อเท็จจริงและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ผู้จัดทำ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๗๐ ก/หน้า ๑/๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๑ [๒] มาตรา ๓ นิยามคำว่า “ข้าราชการ” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๓] มาตรา ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๔] มาตรา ๕ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๕] มาตรา ๕ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๖] มาตรา ๕ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๗] มาตรา ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๘] มาตรา ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๖ ก/หน้า ๑๗/๕ มีนาคม ๒๕๕๓ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๘๙ ก/หน้า ๓๐/๑๔ กันยายน ๒๕๕๕
851608
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านตุลาการศาลปกครอง พ.ศ. 2544 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านตุลาการศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๔[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นปีที่ ๕๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินค่าเช่าบ้านตุลาการศาลปกครอง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านตุลาการศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๔” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ตุลาการศาลปกครองมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ ออกตามความในพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ สิทธิตามวรรคหนึ่งให้ได้รับตามจำนวนเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้านแต่อย่างสูงไม่เกินเดือนละหกพันบาท[๒] ให้นำระเบียบการเบิกจ่าย ระเบียบกระทรวงการคลัง และระเบียบอื่นของทางราชการที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับแก่การเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านตุลาการศาลปกครองโดยอนุโลม มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยมีตุลาการศาลปกครองทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครอง และตุลาการศาลปกครองมีฐานะเป็นข้าราชการประเภทหนึ่ง ดังนั้น เพื่อให้ตุลาการศาลปกครองมีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้านได้เช่นเดียวกับข้าราชการประเภทอื่น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านตุลาการศาลปกครอง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๓] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงอัตราค่าเช่าบ้านตุลาการศาลปกครองให้เกิดความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ภคินี/แก้ไข ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๕ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ ปวันวิทย์/เพิ่มเติม ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๙๓ ก/หน้า ๕/๙ ตุลาคม ๒๕๔๔ [๒] มาตรา ๓ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านตุลาการศาลปกครอง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๙๘ ก/หน้า ๒๘/๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
836062
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. 2562
พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๖๒” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ (๒) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ (๓) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ (๔) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔ (๕) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๘ (๖) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๐ (๗) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ผู้มีสิทธิ” หมายความว่า (๑) ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำจากเงินงบประมาณรายจ่าย งบบุคลากรของกระทรวง ทบวง กรม เว้นแต่ข้าราชการการเมืองหรือข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจซึ่งอยู่ในระหว่างรับการศึกษาอบรมในสถานศึกษาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการประจำ (๒) ลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งมีหนังสือสัญญาจ้างที่ได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่ายและสัญญาจ้างนั้นมิได้ระบุเกี่ยวกับการได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรไว้เป็นพิเศษ (๓) ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้ได้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด “สถานศึกษาของทางราชการ” หมายความว่า (๑) มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการหรือส่วนราชการอื่น หรือที่อยู่ในกำกับของรัฐ (๒) วิทยาลัยหรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเทียบเท่าวิทยาลัยในสังกัดหรืออยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ หรือส่วนราชการอื่นที่ ก.พ. รับรองคุณวุฒิ (๓) โรงเรียนในสังกัดหรืออยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง และให้หมายความรวมถึงโรงเรียนที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีการจัดระดับชั้นเรียนด้วย (๔) โรงเรียนในสังกัดหรืออยู่ในกำกับของส่วนราชการอื่น หรือองค์การของรัฐบาลที่ ก.พ. รับรองคุณวุฒิ (๕) โรงเรียนในสังกัดส่วนราชการที่กระทรวงการคลังกำหนด (๖) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีการจัดระดับชั้นเรียนในสังกัดส่วนราชการ “สถานศึกษาของเอกชน” หมายความว่า (๑) สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (๒) โรงเรียนในระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน “เงินบำรุงการศึกษา” หมายความว่า เงินประเภทต่าง ๆ ที่สถานศึกษาของทางราชการเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือที่กำกับ มหาวิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง หรือองค์การของรัฐบาล “เงินค่าเล่าเรียน” หมายความว่า เงินค่าธรรมเนียมการเรียนหรือค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ซึ่งสถานศึกษาของเอกชนเรียกเก็บตามอัตราที่สถานศึกษากำหนด “บุตร” หมายความว่า บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีอายุครบสามปีแต่ไม่เกินยี่สิบห้าปี ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมและบุตรซึ่งบิดามารดาได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น มาตรา ๕ การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายเป็นเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ ส่วนวิธีการเบิกจ่ายนั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๖ ให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรได้เพียงคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม ผู้มีสิทธิผู้ใดมีบุตรเกินสามคน และต่อมาบุตรคนหนึ่งคนใดในจำนวนสามคนตามวรรคหนึ่งตาย กายพิการจนไม่สามารถเล่าเรียนได้ หรือเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถที่มิได้ศึกษาในสถานศึกษาที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบก่อนอายุครบยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเพิ่มขึ้นอีกเท่าจำนวนบุตรที่ตาย กายพิการ หรือเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบนั้น โดยให้นับบุตรคนที่อยู่ในลำดับถัดไปก่อน การนับลำดับบุตร ให้นับเรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลัง ทั้งนี้ ไม่ว่าเป็นบุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งใด หรืออยู่ในอำนาจปกครองของตนหรือไม่ มาตรา ๗ ผู้มีสิทธิผู้ใดยังไม่มีบุตรหรือมีบุตรที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามมาตรา ๖ ยังไม่ถึงสามคน ถ้าต่อมามีบุตรแฝดซึ่งทำให้มีจำนวนบุตรเกินสามคน ให้ผู้มีสิทธิผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามมาตรา ๖ สำหรับบุตรแฝดดังกล่าวทุกคนเมื่อบุตรแฝดดังกล่าวเป็นบุตรที่เกิดจากคู่สมรสในกรณีที่ผู้มีสิทธิเป็นชาย หรือเป็นบุตรของตนเองในกรณีที่ผู้มีสิทธิเป็นหญิง ในกรณีที่บุตรคนใดคนหนึ่งของผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่งตาย กายพิการจนไม่สามารถเล่าเรียนได้ หรือเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถที่มิได้ศึกษาในสถานศึกษาที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบก่อนอายุครบยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ให้ลดจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรลงจนกว่าจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการดังกล่าวเหลือไม่เกินสามคน และหลังจากนั้น ผู้มีสิทธิจึงจะมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเพิ่มขึ้นได้ตามมาตรา ๖ วรรคสอง เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ บทบัญญัติที่อ้างถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สามของผู้มีสิทธิให้หมายความถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายของผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๘ การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ประเภทและอัตรา ดังต่อไปนี้ (๑) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการในหลักสูตรระดับไม่สูงกว่าอนุปริญญาหรือเทียบเท่า และหลักสูตรนั้นแยกต่างหากจากหลักสูตรระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินบำรุงการศึกษาเต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด (๒) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการในหลักสูตรระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินบำรุงการศึกษาเต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด (๓) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของเอกชนในหลักสูตรระดับไม่สูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินค่าเล่าเรียนเต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด (๔) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของเอกชนในหลักสูตรระดับสูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าแต่ไม่สูงกว่าอนุปริญญาหรือเทียบเท่า และหลักสูตรนั้นแยกต่างหากจากหลักสูตรระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินค่าเล่าเรียนครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด (๕) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของเอกชนในหลักสูตรระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินค่าเล่าเรียนครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด (๖) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการหรือสถานศึกษาของเอกชนในหลักสูตรอื่นนอกจาก (๑) ถึง (๕) และไม่สูงกว่าระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินบำรุงการศึกษาหรือเงินค่าเล่าเรียนตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้ บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการหรือเอกชนในหลักสูตรระดับปริญญาตรีตาม (๒) (๕) หรือ (๖) จะต้องเป็นการศึกษาในระดับปริญญาตรีเป็นหลักสูตรแรกที่นำมาเบิกจากทางราชการเท่านั้น การจ่ายเงินสวัสดิการตามวรรคหนึ่ง ให้จ่ายสำหรับปีการศึกษาที่กำหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือที่กำกับ มหาวิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง หรือองค์การของรัฐบาล มาตรา ๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๖ และมาตรา ๗ ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ดังต่อไปนี้ (๑) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาในประเทศที่ข้าราชการผู้นั้นมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ (๒) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษานอกประเทศที่ข้าราชการผู้นั้นมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่อันเนื่องมาจากประเทศซึ่งข้าราชการมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ไม่มีสถานศึกษาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสถาบันรับรองมาตรฐานสากล หรือเป็นประเทศหรือเมืองที่มีภาวะความเป็นอยู่ไม่ปกติ ทั้งนี้ ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด การได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ประเภท หลักสูตรและอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด และให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกำหนดอายุบุตรให้ต่ำกว่าเกณฑ์ในบทนิยามคำว่า “บุตร” ตามมาตรา ๔ ได้ กรณีบุตรของข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ หากศึกษาอยู่ในสถานศึกษาในประเทศไทย สิทธิในการได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ให้เป็นไปตามมาตรา ๘ แห่งพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๐ บรรดาระเบียบ หลักเกณฑ์ หรือหนังสือเวียนที่ออกตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชกฤษฎีกานี้จนกว่าจะมีระเบียบ หลักเกณฑ์ หรือหนังสือเวียนที่ออกตามพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๑ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้บังคับใช้มาเป็นเวลานานและมีบทบัญญัติบางเรื่องไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งยังมีการตรากฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวหลายฉบับ ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้บังคับกฎหมาย สมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรให้เกิดความชัดเจน เหมาะสม และสอดคล้องกับการจัดระบบการศึกษาของประเทศไทย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ชญานิศ/จัดทำ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๓ ปริญสินีย์/ตรวจ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๗๕ ก/หน้า ๑๐/๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๒
834705
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2562
พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๖) พ.ศ. ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๖) พ.ศ. ๒๕๖๒” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔ นว แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๘๑/๒๕๕๗ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔ นว ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ถ้าได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญรวมกันทุกประเภทเมื่อรวมกับ ช.ค.บ. แล้ว ต่ำกว่าเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของจำนวนเงินหนึ่งหมื่นบาทหักด้วยจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญทุกประเภท และ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันได้เพิ่มสูงขึ้น สมควรปรับปรุงอัตราเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ เพื่อกำหนดให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญซึ่งเมื่อรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญแล้วต่ำกว่าเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มขึ้นอีกตามอัตราที่กำหนด อันเป็นการช่วยเหลือบุคคลดังกล่าวในการครองชีพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พัชรภรณ์/จัดทำ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ภาณุรุจ/ตรวจ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๗๒ ก/หน้า ๔๓/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒
820869
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านตุลาการศาลปกครอง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561
พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านตุลาการศาลปกครอง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านตุลาการศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านตุลาการศาลปกครอง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๓ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านตุลาการศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “สิทธิตามวรรคหนึ่งให้ได้รับตามจำนวนเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้านแต่อย่างสูงไม่เกินเดือนละหกพันบาท” ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงอัตราค่าเช่าบ้านตุลาการศาลปกครองให้เกิดความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปวันวิทย์/จัดทำ ๖ มีนาคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๙๘ ก/หน้า ๒๘/๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
820867
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2561
พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๑) (๒) และ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๑” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า “ข้าราชการ” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร และข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการดังต่อไปนี้ และให้ใช้บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้แทน (๑) บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการศาลยุติธรรม และข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ และบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๗ สำหรับข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒ (๒) บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๒ สำหรับข้าราชการตุลาการ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๓ สำหรับข้าราชการอัยการ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๔ สำหรับข้าราชการตำรวจ และบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๕ สำหรับข้าราชการทหารท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ (๓) บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๖ สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๕ ให้ข้าราชการศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ และข้าราชการรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๗ สำหรับข้าราชการพลเรือน ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒ ตั้งแต่วันที่ข้าราชการศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ และข้าราชการรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา ได้ปรับเปลี่ยนการกำหนดตำแหน่งและการได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งใหม่ จนถึงวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ ในกรณีที่มีเงินส่วนต่างของอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการ หมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการศาลยุติธรรมและข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ กับบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๗ สำหรับข้าราชการพลเรือน ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒ ให้ข้าราชการศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ และข้าราชการรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา มีสิทธิได้รับเงินส่วนต่างของอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการที่ยังไม่ได้รับนั้น มาตรา ๖ ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๗ สำหรับข้าราชการพลเรือน ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒ ตั้งแต่วันที่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามีสิทธิได้รับเงินเดือนตามกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓ และ กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๔ จนถึงวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามวรรคหนึ่งให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการในอัตราเดียวกับข้าราชการพลเรือนในตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน (๒) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน (๓) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานพิเศษมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส (๔) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะระดับปฏิบัติการ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ (๕) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะระดับชำนาญการ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ (๖) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะระดับชำนาญการพิเศษ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ (๗) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะระดับเชี่ยวชาญ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ (๘) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะระดับเชี่ยวชาญพิเศษ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ (๙) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทผู้บริหาร ระดับผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น (๑๐) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทผู้บริหาร ระดับผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดีหรือเทียบเท่า มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง (๑๑) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับอาจารย์ ซึ่งมีช่วงเงินเดือนระหว่าง ๖,๘๐๐ บาท แต่ไม่ถึง ๑๒,๕๓๐ บาท มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และข้าราชการที่มีช่วงเงินเดือนตั้งแต่ ๑๒,๕๓๐ บาท ขึ้นไป ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ (๑๒) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ (๑๓) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับรองศาสตราจารย์มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ (๑๔) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับศาสตราจารย์มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ มาตรา ๗ ในกรณีที่การปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการตำรวจตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๘ มีผลทำให้ข้าราชการตำรวจผู้ใดได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการต่ำกว่าที่เคยได้รับ ให้ข้าราชการตำรวจผู้นั้นมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการในอัตราที่ได้รับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๘ มีผลใช้บังคับ จนถึงวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘ ในกรณีที่การปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการทหารตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๘ มีผลทำให้ข้าราชการทหารผู้ใดได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการต่ำกว่าที่เคยได้รับ ให้ข้าราชการทหารผู้นั้นมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการในอัตราที่ได้รับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๘ มีผลใช้บังคับ จนถึงวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านราชการ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการศาลยุติธรรม ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ และข้าราชการรัฐสภา ๒. บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๒ สำหรับข้าราชการตุลาการ ๓. บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๓ สำหรับข้าราชการอัยการ ๔. บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๔. สำหรับข้าราชการตำรวจ ๕. บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๕ สำหรับข้าราชการทหาร ๖. บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๖ สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ๗. บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๗ สำหรับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงระบบตำแหน่งระดับตำแหน่ง และบัญชีเงินเดือนของข้าราชการหลายประเภท ประกอบกับอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการมิได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นเวลานาน สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงระบบตำแหน่ง ระดับตำแหน่ง และบัญชีเงินเดือนของข้าราชการ และให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปวันวิทย์/จัดทำ ๖ มีนาคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๙๘ ก/หน้า ๒๒/๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
784435
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕ ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติราชการประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ หรือได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติราชการในลักษณะประจำตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดในสำนักงานในพื้นที่พิเศษ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษคนละสองพันบาทต่อเดือน” ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงอัตราเงินสวัสดิการสำหรับข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติราชการประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ หรือได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติราชการในลักษณะประจำ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ภวรรณตรี/จัดทำ ๑ กันยายน ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๔ กันยายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๘๙ ก/หน้า ๙/๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๐
769543
พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2560
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “ข้าราชการ” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ และข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๑๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะซึ่งมีผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง หรือตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรี ขึ้นไป เป็นหัวหน้าคณะ หากมีความจำเป็นต้องใช้สถานที่ในที่เดียวกันกับที่พักเพื่อเป็นที่ประสานงานของคณะหรือบุคคลอื่น ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เพิ่มขึ้นสำหรับห้องพักอีกห้องหนึ่ง หรือจะเบิกค่าเช่าห้องชุดแทนก็ได้เท่าที่จ่ายจริง ทั้งนี้ ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๒ การเดินทางไปราชการ โดยปกติให้ใช้ยานพาหนะประจำทางและให้เบิกค่าพาหนะได้โดยประหยัด ในกรณีที่ไม่มียานพาหนะประจำทาง หรือมีแต่ต้องการความรวดเร็วเพื่อประโยชน์แก่ราชการ ให้ใช้พาหนะอื่นได้ แต่ผู้เดินทางไปราชการจะต้องชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นไว้ในหลักฐานการขอเบิกค่าพาหนะนั้น การเบิกค่าพาหนะรับจ้างให้เบิกได้สำหรับกรณีดังต่อไปนี้ (๑) การเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก หรือสถานที่ปฏิบัติราชการกับสถานียานพาหนะประจำทาง หรือกับสถานที่จัดพาหนะที่ต้องใช้ในการเดินทางไปยังสถานที่ปฏิบัติราชการภายในเขตจังหวัดเดียวกัน (๒) การเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก กับสถานที่ปฏิบัติราชการภายในเขตจังหวัดเดียวกันวันละไม่เกินสองเที่ยว (๓) การเดินทางไปราชการในเขตกรุงเทพมหานคร การเดินทางตาม (๑) หากเป็นการเดินทางข้ามเขตจังหวัด ให้เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด การเดินทางไปสอบคัดเลือกหรือรับการคัดเลือก ผู้เดินทางไปราชการจะเบิกค่าพาหนะรับจ้างตาม (๒) ไม่ได้ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้า หรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติ เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการเพราะมีเหตุส่วนตัวตามมาตรา ๘/๑ ให้เบิกค่าพาหนะเท่าที่จ่ายจริงตามเส้นทางที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการ กรณีที่มีการเดินทางนอกเส้นทางในระหว่างการลานั้น ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงโดยไม่เกินอัตราตามเส้นทางที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการ” มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๕ การใช้พาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ ผู้เดินทางจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาดังต่อไปนี้ และต้องใช้พาหนะนั้นตลอดเส้นทาง จึงจะมีสิทธิเบิกเงินชดเชยเป็นค่าพาหนะในลักษณะเหมาจ่ายได้ คือ (๑) อธิบดีขึ้นไปหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง (๒) หัวหน้าสำนักงาน สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง ที่มีสำนักงานอยู่ในส่วนภูมิภาคหรือมีสำนักงานแยกต่างหากจากกระทรวง ทบวง กรม (๓) หัวหน้าส่วนราชการในภูมิภาค สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค ในกรณีผู้เดินทางไม่สามารถใช้พาหนะส่วนตัวได้ตลอดเส้นทาง ต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็นต่อผู้บังคับบัญชาตาม (๑) (๒) หรือ (๓) เพื่อพิจารณาอนุญาต” มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๗ การเดินทางไปราชการโดยเครื่องบิน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ชั้นธุรกิจ สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ (ก) หัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาล (ข) ประธานรัฐสภา และรองประธานรัฐสภา (ค) ประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา (ง) ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (จ) รัฐมนตรี (ฉ) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า สมุหราชองครักษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (๒) ชั้นประหยัด สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง ผู้ตรวจราชการ อธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า ผู้ว่าราชการจังหวัด เอกอัครราชทูต ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรีขึ้นไป (ข) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ขึ้นไป ทั้งนี้ นอกจากที่ระบุใน (ก) (ค) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ หรือยศ ต่ำกว่าที่ระบุใน (ก) หรือ (ข) เฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ ในกรณีผู้เดินทางตาม (๒) (ก) มีความจำเป็นต้องโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งที่เดินทางดังกล่าวสามารถเดินทางและเบิกค่าโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิได้โดยต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สมุหราชองครักษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ การเดินทางซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม (๑) หรือ (๒) จะเบิกค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินค่าพาหนะในการเดินทางภาคพื้นดินระยะเดียวกันตามสิทธิซึ่งผู้เดินทางจะพึงเบิกได้” มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๒๘ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๘ ผู้เดินทางไปราชการในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชาที่เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป หากมีความจำเป็นต้องเดินทางพร้อมกับผู้บังคับบัญชาและเพื่อประโยชน์ในการประสานสั่งการในระหว่างเดินทางไปราชการ ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่ากับที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิกและให้พักแรมในที่เดียวกับผู้บังคับบัญชา โดยเบิกค่าเช่าที่พักได้ตามสิทธิที่ตนเองได้รับ หรือเบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราต่ำสุดของที่พักนั้น แต่ไม่เกินอัตราที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิก” มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๓๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การเบิกค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะสำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้ดังต่อไปนี้ (๑) หนึ่งคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหาร ซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ลงมา (๒) ไม่เกินสองคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก ขึ้นไป” มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของมาตรา ๓๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๓) หัวหน้าส่วนราชการในภูมิภาค สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค” มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๕๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะ ให้ผู้เดินทางไปราชการเบิกค่าเช่าที่พักได้ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก ลงมา ให้พักแรมรวมกันสองคนต่อหนึ่งห้อง โดยให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคู่ คนละไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว ถ้าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวแยกพักห้องพักคนเดียวให้เบิกได้อัตราเดียวกัน เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่เหมาะสมจะพักรวมกันหรือมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว (๒) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว (๓) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง หรือตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรี ขึ้นไป ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะ หากมีความจำเป็นต้องใช้สถานที่ในที่เดียวกันกับที่พักเพื่อเป็นที่ประสานงานของคณะหรือกับบุคคลอื่น ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เพิ่มขึ้นสำหรับห้องพักอีกห้องหนึ่งในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวหรือจะเบิกค่าเช่าห้องชุดแทนก็ได้ แต่ทั้งนี้ ต้องมีอัตราไม่เกินสองเท่าของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว” มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๓ การเดินทางไปราชการต่างประเทศโดยเครื่องบินจากประเทศไทยไปต่างประเทศหรือจากต่างประเทศกลับประเทศไทย หรือการเดินทางในต่างประเทศ สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ให้เดินทางโดยชั้นหนึ่ง (๑) หัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาล (๒) ประธานรัฐสภา และรองประธานรัฐสภา (๓) ประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา (๔) ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (๕) รัฐมนตรี (๖) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า สมุหราชองครักษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ” มาตรา ๑๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๓/๑ และมาตรา ๕๓/๒ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ “มาตรา ๕๓/๑ การเดินทางไปราชการต่างประเทศโดยเครื่องบินจากประเทศไทยไปต่างประเทศหรือจากต่างประเทศกลับประเทศไทย หรือการเดินทางในต่างประเทศที่มีระยะเวลาในการเดินทางตั้งแต่เก้าชั่วโมงขึ้นไป ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ชั้นหนึ่ง สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง ผู้ตรวจราชการ อธิบดี หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า ผู้ว่าราชการจังหวัด เอกอัครราชทูต หรือตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พลโท พลเรือโท พลอากาศโท หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจเอก พลตำรวจโท (๒) ชั้นธุรกิจหรือชั้นระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นประหยัด สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรี (๓) ชั้นประหยัด สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ชั้น หรือยศ นอกจากที่ระบุใน (๑) และ (๒) ในกรณีผู้เดินทางตาม (๒) มีความจำเป็นต้องโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งที่เดินทางดังกล่าวสามารถเดินทางและเบิกค่าโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิได้ โดยต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สมุหราชองครักษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ มาตรา ๕๓/๒ การเดินทางไปราชการต่างประเทศโดยเครื่องบินจากประเทศไทยไปต่างประเทศหรือจากต่างประเทศกลับประเทศไทย หรือการเดินทางในต่างประเทศที่มีระยะเวลาในการเดินทางต่ำกว่าเก้าชั่วโมง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ชั้นธุรกิจ สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง ผู้ตรวจราชการ อธิบดี หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า ผู้ว่าราชการจังหวัด เอกอัครราชทูต หรือตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พลโท พลเรือโท พลอากาศโท ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจเอก พลตำรวจโท (๒) ชั้นประหยัด สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหาร ซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรี ลงมา ในกรณีผู้เดินทางตาม (๑) และ (๒) มีความจำเป็นต้องโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งที่เดินทางดังกล่าวสามารถเดินทางและเบิกค่าโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิได้ โดยต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สมุหราชองครักษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สำหรับส่วนราชการที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ ลงมา ให้โดยสารชั้นประหยัด” มาตรา ๑๔ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๕๓ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๓ ทวิ ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาล หรือซึ่งดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานรัฐสภา รองประธานวุฒิสภา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรัฐมนตรี ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่ากับที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิกและให้พักแรมในที่เดียวกับผู้บังคับบัญชา โดยให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงตามสิทธิที่ตนเองได้รับหรือเบิกในอัตราต่ำสุดของที่พักนั้น แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า” มาตรา ๑๕ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๖๒ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศจะเบิกค่าพาหนะสำหรับผู้ติดตามซึ่งได้รับอนุญาตจากกระทรวงเจ้าสังกัดแล้วได้ดังต่อไปนี้ (๑) หนึ่งคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหาร ซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ลงมา (๒) ไม่เกินสองคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก ขึ้นไป” มาตรา ๑๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๗๐/๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ “มาตรา ๗๐/๑ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของข้าราชการที่ปฏิบัติราชการประจำในต่างประเทศในกรณีไปประจำสำนักงานซึ่งต่างสังกัด ให้เบิกจากสังกัดใหม่ซึ่งไปประจำ” มาตรา ๑๗ เพื่อให้การเบิกจ่ายงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความเป็นธรรม ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ จัดให้มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับชั้นโดยสารเครื่องบินเช่นเดียวกับหน่วยงานภาครัฐตามแนวทางของกระทรวงการคลังที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายในประเภทค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ยังไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงิน วิธีการเบิกจ่าย อัตราการจ่าย ของผู้มีสิทธิได้รับเงินประเภทดังกล่าว รวมทั้งหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง กรณีการเดินทางไปราชการชั่วคราวและราชการประจำในราชอาณาจักรและกรณีการเดินทางไปราชการต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ วริญา/ปริยานุช/จัดทำ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ วิชพงษ์/ตรวจ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๒๑ ก/หน้า ๒๕/๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
848127
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. 2521 (ฉบับ Update ณ วันที่ 26/03/2558)
พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นปีที่ ๓๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๒๐ และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ผู้ได้รับเบี้ยหวัดหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ หรือบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ต่ำกว่าเดือนละสี่พันบาท ให้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ เรียกโดยย่อว่า “ช.ค.บ.” ในอัตราเดือนละสองร้อยบาท ผู้ได้รับเบี้ยหวัดหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ หรือบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการตั้งแต่เดือนละสี่พันบาทขึ้นไปแต่ไม่เกินสี่พันสองร้อยบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละสองร้อยบาท แต่เมื่อรวม ช.ค.บ. กับเบี้ยหวัดบำนาญแล้ว ให้ได้รับไม่เกินเดือนละสี่พันสองร้อยบาท มาตรา ๔[๒] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอด ในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ต่ำกว่าเดือนละสี่พันบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละหนึ่งร้อยบาท ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอด ในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตั้งแต่เดือนละสี่พันบาทขึ้นไป แต่ไม่เกินสี่พันหนึ่งร้อยบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละหนึ่งร้อยบาท แต่เมื่อรวม ช.ค.บ. กับบำนาญแล้ว ให้ได้รับไม่เกินเดือนละสี่พันหนึ่งร้อยบาท มาตรา ๔ ทวิ[๓] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๓ และยังคงได้รับหรือมีสิทธิได้รับอยู่ในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๕ เดือนละต่ำกว่าอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของข้าราชการแต่ละประเภท ตามกฎหมายว่าด้วยการให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน บัญชีอัตราเงินเดือนทหาร บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม หรือบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ แล้วแต่กรณี ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละร้อยละสามสิบเก้าของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับแต่ทั้งนี้ เมื่อรวม ช.ค.บ. ตามวรรคนี้กับเบี้ยหวัดหรือบำนาญแล้ว ให้ได้รับไม่เกินอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของข้าราชการแต่ละประเภทดังกล่าว ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตั้งแต่วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๒๓ เป็นต้นมา และยังคงได้รับหรือมีสิทธิได้รับอยู่ในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๕ เดือนละต่ำกว่าอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของข้าราชการแต่ละประเภท ตามกฎหมายว่าด้วยการให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน บัญชีอัตราเงินเดือนทหาร บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม หรือบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ แล้วแต่กรณี ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละร้อยละสิบหกของจำนวนเบี้ยหวัด หรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ แต่ทั้งนี้เมื่อรวม ช.ค.บ. ตามวรรคนี้กับเบี้ยหวัดหรือบำนาญแล้ว ให้ได้รับไม่เกินอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของข้าราชการแต่ละประเภทดังกล่าว สำหรับผู้มีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ให้ถือบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของผู้ที่ก่อให้เกิดสิทธิในบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดนั้น ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญรายใดไม่อาจนำอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของข้าราชการแต่ละประเภทมาใช้บังคับ ให้ใช้อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนหมายเลข ๓ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ ตรี[๔] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้ว ในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตรา ดังนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ และ ช.ค.บ. ตามมาตรา ๓ มาตรา ๔ หรือมาตรา ๔ ทวิ แล้วแต่กรณี อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละร้อยละหกของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญ และ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละหกของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ จัตวา[๕] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้ว ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตรา ดังนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ตามมาตรา ๓ มาตรา ๔ มาตรา ๔ ทวิ หรือมาตรา ๔ ตรี แล้วแต่กรณี อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละร้อยละสิบของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสิบของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ เบญจ[๖] ผู้ได้รับบำนาญปกติที่มีเวลาราชการรวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ และได้รับ ช.ค.บ. ตามมาตรา ๓ มาตรา ๔ ทวิ มาตรา ๔ ตรี หรือมาตรา ๔ จัตวา แล้วแต่กรณี อยู่แล้วให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตรา ดังนี้ (๑) ถ้าผู้ที่ได้รับบำนาญปกติมีอายุตั้งแต่เจ็ดสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่ถึงแปดสิบปีบริบูรณ์ และได้รับบำนาญปกติรวมกับ ช.ค.บ. เดือนละไม่ถึงสามพันบาทให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของเงินจำนวนสามพันบาทหักด้วยบำนาญปกติและ ช.ค.บ. ที่ได้รับอยู่ (๒) ถ้าผู้ที่ได้รับบำนาญปกติมีอายุตั้งแต่แปดสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่ถึงเก้าสิบปีบริบูรณ์ และได้รับบำนาญปกติรวมกับ ช.ค.บ. เดือนละไม่ถึงห้าพันบาทให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของเงินจำนวนห้าพันบาทหักด้วยบำนาญปกติและ ช.ค.บ. ที่ได้รับอยู่ (๓) ถ้าผู้ที่ได้รับบำนาญปกติมีอายุตั้งแต่เก้าสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป และได้รับบำนาญปกติรวมกับ ช.ค.บ. เดือนละไม่ถึงหกพันบาทให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของเงินจำนวนหกพันบาทหักด้วยบำนาญปกติและ ช.ค.บ. ที่ได้รับอยู่ มาตรา ๔ ฉ[๗] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหมผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้ว และยังคงได้รับหรือมีสิทธิได้รับอยู่ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญก่อนวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสี่สิบของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญตั้งแต่วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑ ถึงวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละยี่สิบของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญ และ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๓) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญตั้งแต่วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ถึงวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสิบสองของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ สัตต[๘] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอด ในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้ว ในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๗ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังนี้ (๑) ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละร้อยละสิบเอ็ดของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ.ในอัตราเดือนละร้อยละสิบเอ็ดของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ อัฎฐ[๙] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้ว ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละร้อยละสามของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละ ร้อยละสามของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ นว[๑๐] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ถ้าได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญรวมกันทุกประเภทเมื่อรวมกับ ช.ค.บ. แล้ว ต่ำกว่าเดือนละเก้าพันบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของจำนวนเงินเก้าพันบาทหักด้วยจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญทุกประเภท และ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ มาตรา ๔[๑๑] ทศ ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้วในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นไป (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละร้อยละห้าของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละห้าของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ เอกาทศ[๑๒] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้วในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละร้อยละสี่ของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสี่ของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ ทวาทศ[๑๓] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้วในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละร้อยละห้าของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละห้าของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ เตรส[๑๔] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้วในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละร้อยละสี่ของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสี่ของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๕[๑๕] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ไม่มีสิทธิได้รับ ช.ค.บ.ตามมาตรา ๓ หรือมาตรา ๔ ถ้าเข้ารับราชการหรือกลับเข้ารับราชการหรือเข้าทำงานหรือกลับเข้าทำงานสังกัดราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่น มาตรา ๖ การจ่าย ช.ค.บ. ให้นำกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่ในกรณีผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญถึงแก่ความตาย ให้จ่าย ช.ค.บ. เพียงวันที่ถึงแก่ความตาย มาตรา ๗ การเบิกจ่าย ช.ค.บ. ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ส. โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากภาวะการครองชีพโดยทั่วไปในปัจจุบันได้สูงขึ้นมาก สมควรให้เงินช่วยเหลือจำนวนหนึ่งเป็นเงินช่วยค่าครองชีพแก่ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ โดยให้ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพแล้วไม่เกินเดือนละสี่พันสองร้อยบาท จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓[๑๖] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๔ บัญญัติให้ทายาทผู้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดเท่านั้นเป็นผู้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ซึ่งไม่สอดคล้องกับการจ่ายเงินบำนาญพิเศษและบำนาญตกทอดในกรณีที่ผู้ตายไม่มีทายาท สมควรให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญด้วย นอกจากนี้เมื่อได้มีการปรับให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน บัญชีอัตราเงินเดือนทหาร ฯลฯ เพื่อให้ข้าราชการทหาร ฯลฯ มีรายได้เหมาะสมกับภาวะการครองชีพในปัจจุบันแล้ว ในการนี้ สมควรให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๓ เดือนละต่ำกว่าอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๒ ของข้าราชการแต่ละประเภท ตามกฎหมายว่าด้วยการให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน บัญชีอัตราเงินเดือนทหาร ฯลฯ แล้วแต่กรณี ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มในอัตราเดือนละร้อยละยี่สิบของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๓ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๕[๑๗] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการโดยให้ได้รับตามบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๕ ในการนี้สมควรให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มขึ้นในรูปเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญด้วย แต่ปรากฏว่าบุคคลดังกล่าวมีอยู่สองประเภท คือ ประเภทแรกได้แก่ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๓ (วันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓) และได้รับเงินช่วยค่าครองชีพเพิ่มในอัตราร้อยละยี่สิบของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญอยู่แล้วตามพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยคำนวณจากเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๑ กับประเภทที่สอง ได้แก่ผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญตั้งแต่วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๒๓ (หลังวันที่พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ ใช้บังคับ) โดยคำนวณจากเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๒ และยังไม่มีการเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพ จึงจำเป็นต้องปรับให้บุคคลทั้งสองประเภทได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพเพิ่มในอัตราส่วนเท่าเทียมกันและสอดคล้องกับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ดังนั้น ผู้ได้รับเบี้ยหวัดฯ ประเภทแรก จึงควรให้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละสามสิบเก้าและผู้ได้รับเบี้ยหวัดฯ ประเภทหลังจึงควรให้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละสิบหกของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๕ เป็นต้นไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๒[๑๘] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มขึ้นจากที่ได้รับอยู่เดิมให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๓[๑๙] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มขึ้นจากที่ได้รับอยู่เดิมให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๓[๒๐] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากผู้รับบำนาญปกติซึ่งได้รับราชการมาเป็นเวลานาน ขณะนี้สูงอายุและได้รับเงินบำนาญเป็นจำนวนน้อยไม่เหมาะสมกับสภาวะค่าครองชีพในปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้รับบำนาญปกติซึ่งมีอายุตั้งแต่เจ็ดสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป สมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มขึ้นจากที่ได้รับอยู่เดิมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๕[๒๑] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มขึ้นจากที่ได้รับอยู่เดิมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และเพื่อให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดบำนาญที่เข้าทำงานหรือกลับเข้าทำงานในรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือองค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญในอัตราที่น้อยยังคงมีสิทธิได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๓๘[๒๒] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญให้สูงขึ้นจากที่ได้รับอยู่เดิมเพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๗[๒๓] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับภาวะการครองชีพ สมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๘[๒๔] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันได้เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดบำนาญในการครองชีพ สมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพสำหรับผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดบำนาญซึ่งเมื่อรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพแล้วต่ำกว่าเดือนละห้าพันหนึ่งร้อยบาท ให้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพเพิ่มอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของจำนวนเงินห้าพันหนึ่งร้อยบาทหักด้วยจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญ และเงินช่วยค่าครองชีพที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๔๘[๒๕] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับภาวะการครองชีพ สมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญให้สอดคล้องกันจึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๐[๒๖] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับภาวะการครองชีพ สมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๕๒[๒๗] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันได้เพิ่มสูงขึ้น สมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ เพื่อให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดบำนาญซึ่งเมื่อรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญแล้วต่ำกว่าเดือนละหกพันบาทได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มอีกตามอัตราที่กำหนด อันเป็นการช่วยเหลือบุคคลดังกล่าวในการครองชีพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๕๔[๒๘] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ สมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญให้แก่ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพื่อให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๘๑/๒๕๕๗ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑[๒๙] พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๕๘[๓๐] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับภาวะค่าครองชีพ สมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญให้แก่ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพื่อให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/เพิ่มเติม ๔ สิงหาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ปรับปรุง ๑๗ เมษายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๑๑๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐/๑๙ ตุลาคม ๒๕๒๑ [๒] มาตรา ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๓] มาตรา ๔ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๕ [๔] มาตรา ๔ ตรี เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๕] มาตรา ๔ จัตวา เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๓ [๖] มาตรา ๔ เบญจ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๓ [๗] มาตรา ๔ ฉ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๘] มาตรา ๔ สัตต เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๓๘ [๙] มาตรา ๔ อัฏฐ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๗ [๑๐] มาตรา ๔ นว แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๘๑/๒๕๕๗ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ [๑๑] มาตรา ๔ ทศ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๑๒] มาตรา ๔ เอกาทศ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๑๓] มาตรา ๔ ทวาทศ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๑๔] มาตรา ๔ เตรส เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๑๕] มาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๓๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖/๑๑ มีนาคม ๒๕๒๓ [๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๙/ตอนที่ ๒๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑/๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕ [๑๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๑/หน้า ๑/๑๗ มกราคม ๒๕๓๒ [๑๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๕๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓/๙ เมษายน ๒๕๓๓ [๒๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๒๔๓/หน้า ๕๑๒/๖ ธันวาคม ๒๕๓๓ [๒๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๗๐/หน้า ๑/๑๕ มิถุนายน ๒๕๓๕ [๒๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๓๗/๓๐ มกราคม ๒๕๓๘ [๒๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๓๙ ก/หน้า ๑/๓ สิงหาคม ๒๕๔๗ [๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๘๕ ก/หน้า ๑๐/๒๓ กันยายน ๒๕๔๘ [๒๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๑๐ ก/หน้า ๖/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ [๒๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๙/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๐ [๒๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๔๖ ก/หน้า ๑๑/๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ [๒๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๑/๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ [๒๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง/หน้า ๕/๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ [๓๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๒๑ ก/หน้า ๘๙/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘
735257
พระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2558
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๔ ให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์นำเงินตามโครงการสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของข้าราชการพร้อมดอกเบี้ยที่เกิดจากโครงการดังกล่าวทั้งหมดคืนให้กับกรมบัญชีกลางเพื่อนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน เว้นแต่เงินของโครงการที่ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำยังอยู่ระหว่างการผ่อนชำระเงินกู้กับธนาคารอาคารสงเคราะห์ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ ให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ส่งคืนกรมบัญชีกลางเมื่อได้รับชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้เงิน ระยะเวลาการนำเงินส่งคืน ตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการคืนเงิน ให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๕ ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งได้กู้เงินตามโครงการสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของข้าราชการ และอยู่ระหว่างผ่อนชำระเงินกู้หรือต้องชดใช้เงินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามโครงการดังกล่าวในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ยังคงมีสิทธิและหน้าที่ตามพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ อยู่ต่อไปจนกว่าสัญญากู้เงินสิ้นสุดลง หรือได้ชดใช้เงินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ครบถ้วนแล้ว หรือออกจากการเข้าร่วมโครงการ มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานานและไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และในปัจจุบันสถาบันการเงินมีการให้บริการสินเชื่อด้านที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ทำให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำมีทางเลือกในการหาแหล่งเงินกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ประกอบกับปัญหาการสูญเสียกำลังคนของภาครัฐได้ลดความสำคัญลงไปแล้ว สมควรยกเลิกพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๘ ปุณิกา/ผู้ตรวจ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๘๗ ก/หน้า ๑๒/๙ กันยายน ๒๕๕๘
725415
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2558
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔ เตรส แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ “มาตรา ๔ เตรส ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้วในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละร้อยละสี่ของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสี่ของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับภาวะค่าครองชีพ สมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญให้แก่ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพื่อให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๘ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๒๑ ก/หน้า ๘๙/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘
728542
พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. 2521 (ฉบับ Update ณ วันที่ 21/07/2557)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นปีที่ ๓๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๒๐ และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ผู้ได้รับเบี้ยหวัดหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ หรือบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ต่ำกว่าเดือนละสี่พันบาท ให้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ เรียกโดยย่อว่า “ช.ค.บ.” ในอัตราเดือนละสองร้อยบาท ผู้ได้รับเบี้ยหวัดหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ หรือบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการตั้งแต่เดือนละสี่พันบาทขึ้นไปแต่ไม่เกินสี่พันสองร้อยบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละสองร้อยบาท แต่เมื่อรวม ช.ค.บ. กับเบี้ยหวัดบำนาญแล้ว ให้ได้รับไม่เกินเดือนละสี่พันสองร้อยบาท มาตรา ๔[๒] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอด ในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ต่ำกว่าเดือนละสี่พันบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละหนึ่งร้อยบาท ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอด ในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตั้งแต่เดือนละสี่พันบาทขึ้นไป แต่ไม่เกินสี่พันหนึ่งร้อยบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละหนึ่งร้อยบาท แต่เมื่อรวม ช.ค.บ. กับบำนาญแล้ว ให้ได้รับไม่เกินเดือนละสี่พันหนึ่งร้อยบาท มาตรา ๔ ทวิ[๓] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๓ และยังคงได้รับหรือมีสิทธิได้รับอยู่ในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๕ เดือนละต่ำกว่าอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของข้าราชการแต่ละประเภท ตามกฎหมายว่าด้วยการให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน บัญชีอัตราเงินเดือนทหาร บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม หรือบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ แล้วแต่กรณี ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละร้อยละสามสิบเก้าของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับแต่ทั้งนี้ เมื่อรวม ช.ค.บ. ตามวรรคนี้กับเบี้ยหวัดหรือบำนาญแล้ว ให้ได้รับไม่เกินอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของข้าราชการแต่ละประเภทดังกล่าว ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตั้งแต่วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๒๓ เป็นต้นมา และยังคงได้รับหรือมีสิทธิได้รับอยู่ในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๕ เดือนละต่ำกว่าอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของข้าราชการแต่ละประเภท ตามกฎหมายว่าด้วยการให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน บัญชีอัตราเงินเดือนทหาร บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม หรือบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ แล้วแต่กรณีให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละร้อยละสิบหกของจำนวนเบี้ยหวัด หรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ แต่ทั้งนี้เมื่อรวม ช.ค.บ. ตามวรรคนี้กับเบี้ยหวัดหรือบำนาญแล้ว ให้ได้รับไม่เกินอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของข้าราชการแต่ละประเภทดังกล่าว สำหรับผู้มีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ให้ถือบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของผู้ที่ก่อให้เกิดสิทธิในบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดนั้น ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญรายใดไม่อาจนำอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของข้าราชการแต่ละประเภทมาใช้บังคับ ให้ใช้อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนหมายเลข ๓ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ ตรี[๔] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้ว ในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตรา ดังนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ และ ช.ค.บ. ตามมาตรา ๓ มาตรา ๔ หรือมาตรา ๔ ทวิ แล้วแต่กรณีอยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละร้อยละหกของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญ และ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละหกของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ จัตวา[๕] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้ว ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตรา ดังนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ตามมาตรา ๓ มาตรา ๔ มาตรา ๔ ทวิ หรือมาตรา ๔ ตรี แล้วแต่กรณี อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละร้อยละสิบของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสิบของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ เบญจ[๖] ผู้ได้รับบำนาญปกติที่มีเวลาราชการรวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ และได้รับ ช.ค.บ. ตามมาตรา ๓ มาตรา ๔ ทวิ มาตรา ๔ ตรี หรือมาตรา ๔ จัตวา แล้วแต่กรณีอยู่แล้วให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตรา ดังนี้ (๑) ถ้าผู้ที่ได้รับบำนาญปกติมีอายุตั้งแต่เจ็ดสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่ถึงแปดสิบปีบริบูรณ์ และได้รับบำนาญปกติรวมกับ ช.ค.บ. เดือนละไม่ถึงสามพันบาทให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของเงินจำนวนสามพันบาทหักด้วยบำนาญปกติและ ช.ค.บ. ที่ได้รับอยู่ (๒) ถ้าผู้ที่ได้รับบำนาญปกติมีอายุตั้งแต่แปดสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่ถึงเก้าสิบปีบริบูรณ์ และได้รับบำนาญปกติรวมกับ ช.ค.บ. เดือนละไม่ถึงห้าพันบาทให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของเงินจำนวนห้าพันบาทหักด้วยบำนาญปกติและ ช.ค.บ. ที่ได้รับอยู่ (๓) ถ้าผู้ที่ได้รับบำนาญปกติมีอายุตั้งแต่เก้าสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป และได้รับบำนาญปกติรวมกับ ช.ค.บ. เดือนละไม่ถึงหกพันบาทให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของเงินจำนวนหกพันบาทหักด้วยบำนาญปกติและ ช.ค.บ. ที่ได้รับอยู่ มาตรา ๔ ฉ[๗] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหมผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้ว และยังคงได้รับหรือมีสิทธิได้รับอยู่ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญก่อนวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสี่สิบของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญตั้งแต่วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑ ถึงวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละยี่สิบของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญ และ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๓) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญตั้งแต่วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๒ ถึงวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสิบสองของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ สัตต[๘] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอด ในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้ว ในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๗ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังนี้ (๑) ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละร้อยละสิบเอ็ดของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ.ในอัตราเดือนละร้อยละสิบเอ็ดของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ อัฎฐ[๙] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้ว ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละร้อยละสามของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละ ร้อยละสามของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ นว[๑๐] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ถ้าได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญรวมกันทุกประเภทเมื่อรวมกับ ช.ค.บ. แล้ว ต่ำกว่าเดือนละเก้าพันบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของจำนวนเงินเก้าพันบาทหักด้วยจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญทุกประเภท และ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ มาตรา ๔[๑๑] ทศ ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้วในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นไป (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละร้อยละห้าของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละห้าของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ เอกาทศ[๑๒] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้วในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละร้อยละสี่ของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสี่ของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๔ ทวาทศ[๑๓] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้วในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละร้อยละห้าของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละห้าของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง มาตรา ๕[๑๔] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ไม่มีสิทธิได้รับ ช.ค.บ.ตามมาตรา ๓ หรือมาตรา ๔ ถ้าเข้ารับราชการหรือกลับเข้ารับราชการหรือเข้าทำงานหรือกลับเข้าทำงานสังกัดราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่น มาตรา ๖ การจ่าย ช.ค.บ. ให้นำกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่ในกรณีผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญถึงแก่ความตาย ให้จ่าย ช.ค.บ. เพียงวันที่ถึงแก่ความตาย มาตรา ๗ การเบิกจ่าย ช.ค.บ. ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ส. โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากภาวะการครองชีพโดยทั่วไปในปัจจุบันได้สูงขึ้นมาก สมควรให้เงินช่วยเหลือจำนวนหนึ่งเป็นเงินช่วยค่าครองชีพแก่ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ โดยให้ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพแล้วไม่เกินเดือนละสี่พันสองร้อยบาท จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓[๑๕] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๔ บัญญัติให้ทายาทผู้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดเท่านั้นเป็นผู้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ซึ่งไม่สอดคล้องกับการจ่ายเงินบำนาญพิเศษและบำนาญตกทอดในกรณีที่ผู้ตายไม่มีทายาท สมควรให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญด้วย นอกจากนี้เมื่อได้มีการปรับให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน บัญชีอัตราเงินเดือนทหาร ฯลฯ เพื่อให้ข้าราชการทหาร ฯลฯ มีรายได้เหมาะสมกับภาวะการครองชีพในปัจจุบันแล้ว ในการนี้ สมควรให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๓ เดือนละต่ำกว่าอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๒ ของข้าราชการแต่ละประเภท ตามกฎหมายว่าด้วยการให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน บัญชีอัตราเงินเดือนทหาร ฯลฯ แล้วแต่กรณี ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มในอัตราเดือนละร้อยละยี่สิบของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๓ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๕[๑๖] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการโดยให้ได้รับตามบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๕ ในการนี้สมควรให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มขึ้นในรูปเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญด้วย แต่ปรากฏว่าบุคคลดังกล่าวมีอยู่สองประเภท คือ ประเภทแรกได้แก่ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๓ (วันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓) และได้รับเงินช่วยค่าครองชีพเพิ่มในอัตราร้อยละยี่สิบของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญอยู่แล้วตามพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยคำนวณจากเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๑ กับประเภทที่สอง ได้แก่ผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญตั้งแต่วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๒๓ (หลังวันที่พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ ใช้บังคับ) โดยคำนวณจากเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๒ และยังไม่มีการเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพ จึงจำเป็นต้องปรับให้บุคคลทั้งสองประเภทได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพเพิ่มในอัตราส่วนเท่าเทียมกันและสอดคล้องกับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ดังนั้น ผู้ได้รับเบี้ยหวัดฯ ประเภทแรก จึงควรให้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละสามสิบเก้าและผู้ได้รับเบี้ยหวัดฯ ประเภทหลังจึงควรให้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละสิบหกของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๕ เป็นต้นไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๒[๑๗] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มขึ้นจากที่ได้รับอยู่เดิมให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๓[๑๘] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มขึ้นจากที่ได้รับอยู่เดิมให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๓[๑๙] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากผู้รับบำนาญปกติซึ่งได้รับราชการมาเป็นเวลานาน ขณะนี้สูงอายุและได้รับเงินบำนาญเป็นจำนวนน้อยไม่เหมาะสมกับสภาวะค่าครองชีพในปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้รับบำนาญปกติซึ่งมีอายุตั้งแต่เจ็ดสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป สมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มขึ้นจากที่ได้รับอยู่เดิมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๕[๒๐] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มขึ้นจากที่ได้รับอยู่เดิมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และเพื่อให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดบำนาญที่เข้าทำงานหรือกลับเข้าทำงานในรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือองค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญในอัตราที่น้อยยังคงมีสิทธิได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๓๘[๒๑] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญให้สูงขึ้นจากที่ได้รับอยู่เดิมเพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๗[๒๒] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่างๆ ให้เหมาะสมกับภาวะการครองชีพ สมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๘[๒๓] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันได้เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดบำนาญในการครองชีพ สมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพสำหรับผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดบำนาญซึ่งเมื่อรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพแล้วต่ำกว่าเดือนละห้าพันหนึ่งร้อยบาท ให้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพเพิ่มอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของจำนวนเงินห้าพันหนึ่งร้อยบาทหักด้วยจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญ และเงินช่วยค่าครองชีพที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๔๘[๒๔] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่างๆ ให้เหมาะสมกับภาวะการครองชีพ สมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญให้สอดคล้องกันจึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๐[๒๕] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับภาวะการครองชีพ สมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๕๒[๒๖] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันได้เพิ่มสูงขึ้น สมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ เพื่อให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดบำนาญซึ่งเมื่อรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญแล้วต่ำกว่าเดือนละหกพันบาทได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มอีกตามอัตราที่กำหนด อันเป็นการช่วยเหลือบุคคลดังกล่าวในการครองชีพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๕๔[๒๗] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ สมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญให้แก่ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพื่อให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๘๑/๒๕๕๗ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑[๒๘] สุนันทา/ผู้จัดทำ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ จุฑามาศ/เพิ่มเติม ๔ สิงหาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๑๑๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐/๑๙ ตุลาคม ๒๕๒๑ [๒] มาตรา ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ [๓] มาตรา ๔ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๕ [๔] มาตรา ๔ ตรี เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๕] มาตรา ๔ จัตวา เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๓ [๖] มาตรา ๔ เบญจ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๓ [๗] มาตรา ๔ ฉ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๘] มาตรา ๔ สัตต เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๓๘ [๙] มาตรา ๔ อัฏฐ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๗ [๑๐] มาตรา ๔ นว แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๘๑/๒๕๕๗ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ [๑๑] มาตรา ๔ ทศ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๑๒] มาตรา ๔ เอกาทศ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๑๓] มาตรา ๔ ทวาทศ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๑๔] มาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๓๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖/๑๑ มีนาคม ๒๕๒๓ [๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๙/ตอนที่ ๒๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑/๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕ [๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๑/หน้า ๑/๑๗ มกราคม ๒๕๓๒ [๑๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๕๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓/๙ เมษายน ๒๕๓๓ [๑๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๒๔๓/หน้า ๕๑๒/๖ ธันวาคม ๒๕๓๓ [๒๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๗๐/หน้า ๑/๑๕ มิถุนายน ๒๕๓๕ [๒๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๓๗/๓๐ มกราคม ๒๕๓๘ [๒๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๓๙ ก/หน้า ๑/๓ สิงหาคม ๒๕๔๗ [๒๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๘๕ ก/หน้า ๑๐/๒๓ กันยายน ๒๕๔๘ [๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๑๐ ก/หน้า ๖/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ [๒๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๙/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๐ [๒๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๔๖ ก/หน้า ๑๑/๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ [๒๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๑/๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ [๒๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง/หน้า ๕/๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗
714747
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 81/2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. 2521
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๘๑/๒๕๕๗ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ เพื่อกำหนดให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญซึ่งเมื่อรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญแล้วต่ำกว่าเดือนละเก้าพันบาท ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มอีกตามอัตราที่กำหนด อันเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่บุคคลดังกล่าวในการครองชีพ จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔ นว แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๕๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔ นว ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ถ้าได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญรวมกันทุกประเภทเมื่อรวมกับ ช.ค.บ. แล้ว ต่ำกว่าเดือนละเก้าพันบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของจำนวนเงินเก้าพันบาทหักด้วยจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญทุกประเภท และ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗ จุฑามาศ/ผู้ตรวจ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง/หน้า ๕/๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗
851847
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 (ฉบับ Update ณ วันที่ 09/10/2556)
พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๑) (๒) และ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ (๒) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ (๓) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ (๔) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๕) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๙ (๖) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๑ (๗) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๑ (๘) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร และข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู “เงินเดือน” หมายความว่า เงินเดือนสุทธิที่ข้าราชการได้รับ ทั้งนี้ เมื่อหักเงินเบิกลดเนื่องจากการปรับชั้นเงินเดือนออกแล้ว และรวมกับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชาหรือเงินเพิ่มการเลื่อนฐานะ หรือสำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ หรือสำหรับการสู้รบ “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงิน รัฐวิสาหกิจ หรือสหกรณ์ที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการเคหะ ทั้งนี้ ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ “ท้องที่” หมายความว่า กรุงเทพมหานคร อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือท้องที่ของอำเภอหรือกิ่งอำเภอที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดให้เป็นท้องที่เดียวกันตามมาตรา ๕ “ท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรก” หมายความว่า ท้องที่ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ หรือมีคำสั่งให้ไปปฏิบัติราชการ และได้มีการรายงานตัวเพื่อปฏิบัติราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้เป็นครั้งแรก “ท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่” หมายความว่า ท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ “ภัยพิบัติ” หมายความว่า ภัยธรรมชาติหรือความเสียหายอย่างใด ๆ ซึ่งเกิดขึ้นโดยที่ผู้ซึ่งได้รับความเสียหายนั้นไม่มีส่วนที่จะต้องร่วมรับผิดด้วย มาตรา ๕ ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจประกาศกำหนดให้อำเภอหรือกิ่งอำเภอหลายท้องที่รวมกันเป็นท้องที่เดียวกันได้ มาตรา ๖ การจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายเป็นเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราตามพระราชกฤษฎีกานี้ การเบิกจ่ายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๗[๒] ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้น (๑)[๓] ทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด (๒) มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ โดยไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน (๓) ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในต่างท้องที่ตามคำร้องขอของตนเอง ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการผู้ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ที่เป็นท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ด้วย ข้าราชการผู้ใดได้รับเงินเดือนไม่ตรงกับที่กำหนดในบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามส่วนของเงินเดือนโดยคำนวณตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๗/๑[๔] ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่ใช่ข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้โอนมาเป็นข้าราชการไม่ว่าครั้งใดก็ตาม การบรรจุและแต่งตั้งผู้โอนมาเป็นข้าราชการนั้นในท้องที่ใด ให้ถือว่าเป็นการบรรจุและแต่งตั้งในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกตามพระราชกฤษฎีกานี้ และไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ จนกว่าจะได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ตามมาตรา ๗ มาตรา ๘ ข้าราชการผู้ใดต้องไปปฏิบัติราชการประจำสำนักงานในต่างท้องที่เนื่องจากสำนักงานที่ปฏิบัติราชการประจำอยู่เดิมได้ย้ายสถานที่ทำการไปตั้งในท้องที่ใหม่ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้เช่นเดียวกับข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ตามมาตรา ๗ เว้นแต่ท้องที่ใหม่ที่สำนักงานได้ย้ายไปนั้นอยู่ใกล้เคียงกับท้องที่ที่ตั้งสำนักงานเดิมตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๙ ข้าราชการผู้ใดรับราชการหรือได้รับคำสั่งให้ไปรับราชการในท้องที่ใด และไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเพราะเหตุที่มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสตามมาตรา ๗ (๒) แม้ว่ากรรมสิทธิ์ในเคหสถานได้โอนไปด้วยเหตุใดก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิที่จะได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการในระหว่างรับราชการในท้องที่นั้น เว้นแต่เคหสถานนั้นถูกทำลายหรือเสียหายเนื่องจากภัยพิบัติจนไม่สามารถพักอาศัยอยู่ได้ มาตรา ๑๐ ถ้าข้าราชการและคู่สมรสรับราชการในท้องที่เดียวกันและต่างก็มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้เบิกจ่ายได้เฉพาะคนใดคนหนึ่ง ข้าราชการผู้ใดมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ และมีคู่สมรสเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือพนักงานหรือเจ้าหน้าที่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือองค์การมหาชน ถ้าคู่สมรสของผู้นั้นได้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน หรือข้าราชการผู้นั้นได้อยู่ในที่พักอาศัยที่ทางราชการจัดให้แก่คู่สมรสในท้องที่เดียวกัน ข้าราชการผู้นั้นไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๑ ข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการอยู่แล้ว ภายหลังได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ถ้าเงินเดือนที่ได้รับเพิ่มขึ้นไม่ตรงกับที่กำหนดในบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการดังกล่าว ให้ได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามส่วนของเงินเดือนโดยคำนวณตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๒ การลดหรืองดเบิกจ่ายเงินเดือนแก่ข้าราชการผู้ใด เนื่องจากการถูกตัดเงินเดือนหรือการลาโดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน ไม่กระทบต่อสิทธิของผู้นั้นที่จะได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ และให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเสมือนหนึ่งไม่มีการลดหรืองดเบิกจ่ายเงินเดือนเช่นว่านั้น เว้นแต่เป็นการลาติดตามคู่สมรสซึ่งย้ายไปรับราชการในต่างประเทศ มาตรา ๑๓ ข้าราชการผู้ใดซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือมีกรณีอื่นใดอันเป็นเหตุให้ถูกงดเบิกจ่ายเงินเดือน ให้งดเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านข้าราชการ เมื่อกรณีถึงที่สุด ถ้าปรากฏว่าผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างกรณีเช่นว่านั้นสำหรับเดือนใด ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการสำหรับเดือนนั้นตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๔ ให้ข้าราชการมีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการตั้งแต่วันที่ข้าราชการผู้นั้นได้เช่าอยู่จริง แต่ไม่ก่อนวันที่รายงานตัวเพื่อเข้ารับหน้าที่ และให้สิ้นสุดในวันที่ขาดจากอัตราเงินเดือนหรือวันที่อยู่ในข่ายหมดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ถ้าผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นไม่สามารถออกเดินทางไปได้ในวันที่ส่งมอบหน้าที่ ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการต่อไปอีกไม่เกินสิบวันนับแต่วันส่งมอบหน้าที่ เว้นแต่มีความจำเป็นจะต้องอยู่ต่อไปอีก ให้เบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการต่อไปได้เท่าที่จำเป็นโดยได้รับการอนุมัติจากผู้ออกคำสั่งแต่งตั้ง มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการอยู่แล้วในท้องที่หนึ่งและต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นซึ่งตนมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าบ้านในท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการในท้องที่ใหม่ได้ ถ้าคู่สมรสหรือบุตรซึ่งอยู่ในอุปการะของข้าราชการผู้นั้นไม่อาจติดตามข้าราชการผู้นั้นไปได้ และมีความจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้านในท้องที่เดิมต่อไป มาตรา ๑๖ ข้าราชการซึ่งรับราชการประจำในต่างประเทศ ถ้าจำเป็นต้องเช่าบ้านให้เบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๗ ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ได้เช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ค้างชำระอยู่ในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและได้อาศัยอยู่จริงในบ้านนั้น ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ดังกล่าวมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (๑) ตนเอง หรือคู่สมรส ได้ทำการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านในท้องที่นั้น จะเบิกจ่ายได้เฉพาะบ้านหลังแรกเท่านั้น เว้นแต่บ้านหลังที่เคยใช้สิทธิถูกทำลายหรือเสียหายเนื่องจากภัยพิบัติจนไม่สามารถพักอาศัยอยู่ได้ (๒) หากเช่าซื้อหรือกู้เงินเพื่อชำระราคาบ้านร่วมกับบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่คู่สมรสและมีกรรมสิทธิ์รวมกับบุคคลอื่นในบ้านนั้น จะเบิกจ่ายค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ได้ตามสัดส่วนแห่งกรรมสิทธิ์สำหรับบ้านหลังดังกล่าว (๓) จะต้องเป็นการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านกับสถาบันการเงิน และสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาเงินกู้จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด (๔) จะต้องไม่เคยใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้สำหรับบ้านหลังหนึ่งหลังใดในท้องที่นั้นมาแล้ว เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับแต่งตั้งให้กลับไปรับราชการในท้องที่ที่เคยใช้สิทธินั้นอีก และเป็นการใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ตามที่ได้เคยใช้สิทธิมาแล้ว หรือขณะที่ย้ายมารับราชการในท้องที่นั้นบ้านที่เคยใช้สิทธิได้โอนกรรมสิทธิ์ไปแล้ว (๕) หากเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านสูงกว่าราคาบ้าน ให้นำค่าผ่อนชำระเงินกู้มาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ โดยให้คำนวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๙ ถึงมาตรา ๑๔ มาใช้บังคับกับการเช่าซื้อหรือการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านโดยอนุโลม มาตรา ๑๘ ข้าราชการซึ่งได้ใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามมาตรา ๑๗ และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นซึ่งตนมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านในท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการในท้องที่ใหม่ได้ มาตรา ๑๙ สิทธิที่จะเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งมาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ กำหนดให้มีอยู่ต่อไปนั้น ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๓ มาตรา ๒๐ สิทธิที่จะเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการของข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ตามคำร้องขอของตนเองตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งมีอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๒๑ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการศาลยุติธรรม และข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ[๕] ตำแหน่งระดับ ๑ ตำแหน่งระดับ ๒ ตำแหน่งระดับ ๓ ตำแหน่งระดับ ๔ ตำแหน่งระดับ ๕ ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นที่ ๑-๔.๕ ขั้นที่ ๕-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๘๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๒๕๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๐๐๐ ๑,๒๕๐ ๑,๕๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๒๕๐ ๑,๖๐๐ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๖๐๐ ๑,๙๕๐ ๒,๓๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๙๕๐ ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ตำแหน่งระดับ ๖ ตำแหน่งระดับ ๗ ตำแหน่งระดับ ๘ ตำแหน่งระดับ ๙ ตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๒ สำหรับข้าราชการตุลาการ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา ตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาล ตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ที่ได้รับเงินเดือนชั้น ๒ ตั้งแต่ตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ที่ได้รับเงินเดือนชั้น ๓ ถึง ตำแหน่งประธานศาลฎีกา ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๓ สำหรับข้าราชการอัยการ ตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ตั้งแต่ตำแหน่งอัยการจังหวัดผู้ช่วย ถึงตำแหน่งอัยการประจำกอง ตั้งแต่ตำแหน่งรองอัยการจังหวัด ถึงตำแหน่งอัยการประจำกรม ตั้งแต่ตำแหน่งอัยการจังหวัด ประจำกรมถึงตำแหน่งอัยการสูงสุด ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๔ สำหรับข้าราชการตำรวจ ระดับ พ. ๒ ระดับ ป. ๑ ระดับ ป. ๒ ระดับ ป. ๓ ระดับ ส. ๑ ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นที่ ๑-๔.๕ ๘๐๐ ขั้นที่ ๑-๔.๕ ๘๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ๑,๒๕๐ ขั้นที่ ๑-๑.๕ ๑,๖๐๐ ขั้นที่ ๑-๗.๕ ๑,๒๕๐ ขั้นที่ ๕–๑๐.๕ ๑,๐๐๐ ขั้นที่ ๕-๙.๕ ๑,๐๐๐ ขั้นที่ ๖–๑๐.๕ ๑,๖๐๐ ขั้นที่ ๒–๖.๕ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๘–๑๑.๕ ๑,๖๐๐ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๒๕๐ ขั้นที่ ๑๐–๑๔.๕ ๑,๒๕๐ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๗ ขึ้นไป ๒,๔๐๐ ขั้นที่ ๑๒–๑๕.๕ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๑๕ ขึ้นไป ๑,๕๐๐ ขั้นที่ ๑๖ ขึ้นไป ๒,๔๐๐ หมายเหตุ สำหรับอัตราเงินเดือนขั้นพิเศษของข้าราชการตำรวจที่กำหนดไว้เพื่อใช้เฉพาะกาลตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามอัตราดังต่อไปนี้ ขั้นพิเศษเงินเดือน ๖,๐๒๐–๗,๕๕๐ บาท มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ ๑,๒๕๐ บาท ขั้นพิเศษเงินเดือน ๗,๗๒๐-๘,๕๗๐ บาท มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ ๑,๖๐๐ บาท ระดับ ส. ๒ ระดับ ส. ๓ ระดับ ส. ๔ ระดับ ส. ๕ ระดับ ส. ๖ ขึ้นไป ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นชั่วคราว- ขั้นชั่วคราว- ขั้นชั่วคราว- ขั้นที่ ๑-๕.๕ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๑.๕ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๑.๕ ๒,๔๐๐ ขั้นที่ ๕.๕ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๒-๕.๕ ๒,๔๐๐ ขั้นที่ ๒ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๓,๕๐๐ ขั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๕ สำหรับข้าราชการทหาร ระดับ พ. ๒ ระดับ ป. ๑ ระดับ ป. ๒ ระดับ ป. ๓ ระดับ น. ๑ ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นที่ ๑-๔.๕ ๘๐๐ ชั้นที่ ๑-๔.๕ ๘๐๐ ชั้นที่ ๑-๕.๕ ๑,๒๕๐ ชั้นที่ ๑-๑.๕ ๑,๖๐๐ ชั้นที่ ๑-๗.๕ ๑,๒๕๐ ชั้นที่ ๕–๑๐.๕ ๑,๐๐๐ ชั้นที่ ๕-๙.๕ ๑,๐๐๐ ชั้นที่ ๖–๑๐.๕ ๑,๖๐๐ ชั้นที่ ๒–๖.๕ ๑,๙๕๐ ชั้นที่ ๘–๑๑.๕ ๑,๖๐๐ ชั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๒๕๐ ชั้นที่ ๑๐–๑๔.๕ ๑,๒๕๐ ชั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๙๕๐ ชั้นที่ ๗ ขึ้นไป ๒,๔๐๐ ชั้นที่ ๑๒–๑๕.๕ ๑,๙๕๐ ชั้นที่ ๑๕ ขึ้นไป ๑,๕๐๐ ชั้นที่ ๑๖ ขึ้นไป ๒,๔๐๐ หมายเหตุ สำหรับอัตราเงินเดือนขั้นพิเศษที่กำหนดไว้เพื่อใช้เฉพาะกาลตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามอัตราดังต่อไปนี้ ชั้นพิเศษเงินเดือน ๔,๑๐๐-๔,๘๐๐ บาท มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ ๘๐๐ บาท ชั้นพิเศษเงินเดือน ๔,๙๐๐-๕,๘๘๐ บาท มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ ๑๐๐๐ บาท ชั้นพิเศษเงินเดือน ๖,๐๒๐-๗,๕๕๐ บาท มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ ๑,๒๕๐บาท ชั้นพิเศษเงินเดือน ๗,๗๒๐–๘,๕๗๐ บาท มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ ๑,๖๐๐ บาท ระดับ น. ๒ ระดับ น. ๓ ระดับ น. ๔ ระดับ น. ๕ ระดับ น. ๖ ขึ้นไป ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นชั่วคราว- ชั้นชั่วคราว- ชั้นชั่วคราว- ชั้นที่ ๑-๕.๕ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ชั้นที่ ๑.๕ ๑,๙๕๐ ชั้นที่ ๑.๕ ๒,๔๐๐ ชั้นที่ ๕.๕ ๓,๐๐๐ ชั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๔,๐๐๐ ชั้นที่ ๒-๕.๕ ๒,๔๐๐ ชั้นที่ ๒ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ชั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๓,๕๐๐ ชั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๖ สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา[๖] ครูผู้ช่วย ตำแหน่งระดับ คศ. ๑ ตำแหน่งระดับ คศ. ๒ เงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท เงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท เงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๑-๒ ๑,๒๕๐ ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๑-๒ ๑,๒๕๐ ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๑-๘ ๒,๔๐๐ ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๓-๔ ๑,๖๐๐ ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๓-๑๐ ๑,๖๐๐ ขั้นที่ ๑-๑๐.๕ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๔.๕ ๑,๖๐๐ ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๑๑-๑๖ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๑๑-๒๐ ๓,๕๐๐ ขั้นที่ ๕-๘.๕ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๑-๑.๕ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๙-๑๒.๕ ๒,๔๐๐ ขั้นที่ ๒-๖.๕ ๒,๔๐๐ ขั้นที่ ๑๓ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๗-๒๑ ๓,๐๐๐ ตำแหน่งระดับ คศ. ๓ ตำแหน่งระดับ คศ. ๔ ตำแหน่งระดับ คศ. ๕ เงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท เงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๑-๘ ๒,๔๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๙-๑๖ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๖-๒๐ ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ๓,๕๐๐ ขั้นที่ ๑๑-๒๔ ๔,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๗ สำหรับข้าราชการพลเรือน[๗] ตำแหน่งประเภทบริหาร เงินเดือน/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ระดับต้น ตั้งแต่ ๒๓,๒๓๐ แต่ไม่ถึง ๒๙,๙๐๐ ตั้งแต่ ๒๙,๙๐๐ ขึ้นไป ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ระดับสูง - ๔,๐๐๐ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ เงินเดือน/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ระดับต้น ตั้งแต่ ๑๘,๙๑๐ แต่ไม่ถึง ๒๔,๓๑๐ ตั้งแต่ ๒๔,๓๑๐ แต่ไม่ถึง ๒๙,๘๐๐ ตั้งแต่ ๒๙,๘๐๐ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ระดับสูง ตั้งแต่ ๒๓,๒๓๐ แต่ไม่ถึง ๒๙,๙๐๐ ตั้งแต่ ๒๙,๙๐๐ ขึ้นไป ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ๒ ตำแหน่งประเภทวิชาการ เงินเดือน/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ระดับปฏิบัติการ ตั้งแต่ ๖,๘๐๐ แต่ไม่ถึง ๘,๓๒๐ ตั้งแต่ ๘,๓๒๐ แต่ไม่ถึง ๑๐,๑๙๐ ตั้งแต่ ๑๐,๑๙๐ แต่ไม่ถึง ๑๓,๑๐๐ ตั้งแต่ ๑๓,๑๐๐ แต่ไม่ถึง ๑๖,๐๗๐ ตั้งแต่ ๑๖,๐๗๐ ขึ้นไป ๑,๒๕๐ ๑,๖๐๐ ๑,๙๕๐ ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ระดับชำนาญการ ตั้งแต่ ๑๒,๕๓๐ แต่ไม่ถึง ๑๕,๔๑๐ ตั้งแต่ ๑๕,๔๑๐ แต่ไม่ถึง ๒๔,๒๕๐ ตั้งแต่ ๒๔,๒๕๐ ขึ้นไป ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ระดับชำนาญการพิเศษ ตั้งแต่ ๑๘,๙๑๐ แต่ไม่ถึง ๒๔,๓๑๐ ตั้งแต่ ๒๔,๓๑๐ แต่ไม่ถึง ๒๙,๘๐๐ ตั้งแต่ ๒๙,๘๐๐ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ระดับเชี่ยวชาญ ตั้งแต่ ๒๓,๒๓๐ แต่ไม่ถึง ๒๙,๙๐๐ ตั้งแต่ ๒๙,๙๐๐ ขึ้นไป ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ระดับทรงคุณวุฒิ - ๔,๐๐๐ ๓ ตำแหน่งประเภททั่วไป เงินเดือน/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ระดับปฏิบัติงาน ตั้งแต่ ๔,๖๓๐ แต่ไม่ถึง ๕,๕๓๐ ตั้งแต่ ๕,๕๓๐ แต่ไม่ถึง ๖,๘๐๐ ตั้งแต่ ๖,๘๐๐ แต่ไม่ถึง ๘,๓๒๐ ตั้งแต่ ๘,๓๒๐ แต่ไม่ถึง ๑๐,๖๔๐ ตั้งแต่ ๑๐,๖๔๐ แต่ไม่ถึง ๑๓,๑๐๐ ตั้งแต่ ๑๓,๑๐๐ ขึ้นไป ๘๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๒๕๐ ๑,๖๐๐ ๑,๙๕๐ ๒,๓๐๐ ระดับชำนาญงาน ตั้งแต่ ๑๐,๑๙๐ แต่ไม่ถึง ๑๒,๕๓๐ ตั้งแต่ ๑๒,๕๓๐ แต่ไม่ถึง ๑๖,๐๗๐ ตั้งแต่ ๑๖,๐๗๐ ขึ้นไป ๑,๙๕๐ ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ระดับอาวุโส ตั้งแต่ ๑๕,๔๑๐ แต่ไม่ถึง ๒๔,๒๕๐ ตั้งแต่ ๒๔,๒๕๐ แต่ไม่ถึง ๒๙,๘๐๐ ตั้งแต่ ๒๙,๘๐๐ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ระดับทักษะพิเศษ - ๔,๐๐๐ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่ชัดเจนทำให้เกิดปัญหาในการตีความและการวินิจฉัยสิทธิการได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ อีกทั้งเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยของข้าราชการ จึงสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเบิกค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าซื้อ และค่าผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านให้เหมาะสมยิ่งขึ้นนอกจากนี้ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ และบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงต้องปรับปรุงบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการให้สอดคล้องกับบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐[๘] มาตรา ๖ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๖ สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ให้มีผลใช้บังคับแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับเงินเดือนตามพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งได้เบิกเงินค่าเช่าบ้านตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการครู ข้าราชการศาลยุติธรรม และข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ไปก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ ในกรณีที่มีเงินส่วนต่างของอัตราค่าเช่าบ้านตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๖ สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ กับบัญชีอัตราค่าเช่าบ้าน ข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการครู ข้าราชการศาลยุติธรรมและข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้มีสิทธิได้รับเงินส่วนต่างของอัตราค่าเช่าบ้านที่ยังไม่ได้รับนั้น มาตรา ๗ สิทธิของข้าราชการผู้ที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ ให้เริ่มมีสิทธิการได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเมื่อได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ยังคงมีข้อยกเว้นที่ข้าราชการจะไม่ได้รับค่าเช่าบ้าน หากเป็นกรณีที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปรับราชการในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ สมควรปรับปรุงสิทธิการได้รับค่าเช่าบ้านให้สอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบันมากยิ่งขึ้น รวมทั้งมีความจำเป็นที่ต้องกำหนดให้มีบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้เปลี่ยนแปลงระบบตำแหน่งใหม่ เพื่อให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านในอัตราที่ถูกต้องและเป็นธรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒[๙] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการใช้บังคับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งมีผลเป็นการปรับปรุงระบบตำแหน่งข้าราชการพลเรือนโดยยกเลิกระดับตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนที่ได้ใช้มาแต่เดิม และปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งและการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือน สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ ให้สอดคล้องกับการกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยนำอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการสำหรับข้าราชการพลเรือนมากำหนดแยกต่างหากไว้เป็นอีกบัญชีหนึ่ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๖[๑๐] มาตรา ๕ ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่ใช่ข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่ได้โอนมาเป็นข้าราชการและมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการต่อไป มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ในการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายอื่นโอนมาเป็นข้าราชการและขอใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ชาญ/ผู้จัดทำ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๑ ก/หน้า ๒๙/๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๗ [๒] มาตรา ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๓] มาตรา ๗ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๔] มาตรา ๗/๑ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๕] บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการศาลยุติธรรม และข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒ [๖] บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๖ สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๗] บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๗ สำหรับข้าราชการพลเรือน เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๘๙ ก/หน้า ๘๐/๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๐ [๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๙๔ ก/หน้า ๑๐/๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๒ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๙๑ ก/หน้า ๑/๙ ตุลาคม ๒๕๕๖
695693
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2556
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๖ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นปีที่ ๖๘ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๖” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของมาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๑) ทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด” มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๗/๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ “มาตรา ๗/๑ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่ใช่ข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้โอนมาเป็นข้าราชการไม่ว่าครั้งใดก็ตาม การบรรจุและแต่งตั้งผู้โอนมาเป็นข้าราชการนั้นในท้องที่ใด ให้ถือว่าเป็นการบรรจุและแต่งตั้งในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกตามพระราชกฤษฎีกานี้ และไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ จนกว่าจะได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ตามมาตรา ๗” มาตรา ๕ ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่ใช่ข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่ได้โอนมาเป็นข้าราชการและมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการต่อไป มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ในการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายอื่นโอนมาเป็นข้าราชการและขอใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๖ ชาญ/ผู้ตรวจ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๙๑ ก/หน้า ๑/๙ ตุลาคม ๒๕๕๖
677913
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “คณะกรรมการ” ในมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งและกำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ไว้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกาศพระบรมราชโองการหรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหรือโดยประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “คณะอนุกรรมการ” ในมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกาศพระบรมราชโองการ หรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หรือโดยประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี หรือโดยคณะกรรมการที่มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการได้” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของมาตรา ๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๑) เบี้ยประชุมเป็นรายเดือน สำหรับกรรมการในคณะกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งและกำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ไว้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกาศพระบรมราชโองการ หรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบสูง ปฏิบัติงานในด้านการกำหนดนโยบายอันมีผลกระทบต่อการบริหาร เศรษฐกิจ หรือสังคมในภาพรวมของประเทศ ทั้งนี้ ตามรายชื่อคณะกรรมการและอัตราเบี้ยประชุมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด” มาตรา ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๕/๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ “มาตรา ๑๕/๑ การเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด” มาตรา ๗ ให้กรรมการในคณะกรรมการตามมาตรา ๖ (๑) และอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๗ (๑) แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนตามเดิมไปจนกว่ารัฐมนตรีจะประกาศกำหนดรายชื่อคณะกรรมการ และอัตราเบี้ยประชุมตามมาตรา ๖ (๑) แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการ เพื่อให้การเบิกจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการมีประสิทธิภาพและเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๑๐ ก/หน้า ๒๗/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
676870
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของมาตรา ๘ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๓) การเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชน ทั้งประเภทผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยใน เฉพาะกรณีที่ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉิน” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงสิทธิในการรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับการเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชนของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ทั้งประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน เฉพาะกรณีที่ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๐๕ ก/หน้า ๑/๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
673991
พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา การจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่น ในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๘/๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๒๘/๑ ข้าราชการซึ่งลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ภริยาคลอดบุตร ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกินสิบห้าวันทำการ แต่ถ้าเป็นการลาเมื่อพ้นสามสิบวันนับแต่วันที่ภริยาคลอดบุตร ไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ตำแหน่งอธิบดีหรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไปเห็นสมควรจะให้จ่ายเงินเดือนระหว่างลานั้นก็ได้ แต่ไม่เกินสิบห้าวันทำการ” มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๙/๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๒๙/๑ ข้าราชการซึ่งลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตร ไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๑ ตั้งแต่เริ่มรับราชการ ข้าราชการผู้ใดยังไม่เคยอุปสมบทในพระพุทธศาสนา หรือเคยอุปสมบทในพระพุทธศาสนาโดยการอุปสมบทนั้นมีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดไม่ให้ถือเป็นวันลาของข้าราชการ หรือยังไม่เคยประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ให้ข้าราชการผู้นั้นลาอุปสมบท หรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ แล้วแต่กรณี โดยได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ทั้งนี้ ต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน” มาตรา ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๕/๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๓๕/๑ ข้าราชการซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาเพื่อไปเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ แล้วแต่กรณี ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร แต่ไม่เกินสิบสองเดือน” มาตรา ๗ ข้าราชการซึ่งลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรหรือลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพตั้งแต่วันที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕ ใช้บังคับ ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๘/๑ หรือมาตรา ๓๕/๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ แล้วแต่กรณี ข้าราชการซึ่งเคยอุปสมบทในพระพุทธศาสนาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการอุปสมบทนั้นไม่ถือเป็นวันลาของข้าราชการ หากปรากฏว่าได้มีการลาอุปสมบทในเวลาต่อมา ให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับเงินเดือนระหว่างลาอุปสมบทได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้กำหนดประเภทการลาขึ้นใหม่ คือ การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรและการลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ ประกอบกับยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเดือนระหว่างลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรไว้อย่างชัดเจน อีกทั้งเนื่องจากในปัจจุบันได้มีข้าราชการอุปสมบทในพระพุทธศาสนาตามมติคณะรัฐมนตรี โดยการอุปสมบทนั้นไม่ถือเป็นวันลาของข้าราชการ และหากข้าราชการดังกล่าวมีการลาอุปสมบทก็จะไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาอุปสมบทได้ สมควรกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเดือนของข้าราชการระหว่างลาในกรณีดังกล่าว และแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเดือนของข้าราชการซึ่งลาอุปสมบทให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๙๐ ก/หน้า ๔/๑๙ กันยายน ๒๕๕๕
673825
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุง อัตรากำลังของส่วนราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “ข้าราชการ” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร และข้าราชการรัฐสภาสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความใน (๒) ของมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ (๒) มีเวลาราชการที่เหลือไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๘ ผู้ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือตามมาตรา ๖ แล้วหากกลับเข้าเป็นข้าราชการประจำในส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือกำกับของฝ่ายบริหาร หรือส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอีกให้ผู้นั้นส่งคืนเงินช่วยเหลือที่ได้รับไว้ทั้งหมด พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากประจำสิบสองเดือนของธนาคารออมสินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่ครอบคลุมถึงข้าราชการรัฐสภาสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา ประกอบกับได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติของข้าราชการที่จะเข้าร่วมโครงการให้เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ จากเดิมที่กำหนดให้มีเวลาราชการที่เหลือไม่น้อยกว่าหนึ่งปีเป็นไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ และมาตรการควบคุมให้ผู้ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือตามโครงการแล้ว หากกลับเข้าเป็นข้าราชการประจำในส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือกำกับของฝ่ายบริหารหรือส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอีก ให้ส่งเงินช่วยเหลือที่ได้รับไว้ทั้งหมดคืนพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนั้น เพื่อให้การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการถูกต้องตามข้อเท็จจริงและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๘๙ ก/หน้า ๓๐/๑๔ กันยายน ๒๕๕๕
649020
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2554
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๔” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกมาตรา ๘ ตรี แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๔ สิทธิในการได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๔ เป็นต้นไป มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๘ ตรี แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้บัญญัติหลักเกณฑ์การได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในกรณีผู้มีสิทธิมีคู่สมรสที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรจากหน่วยงานอื่นแล้ว จะไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร เว้นแต่เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรที่ได้รับจากหน่วยงานอื่นนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามที่กำหนดไว้ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่นั้น แต่ปรากฏว่าหน่วยงานอื่นได้มีการนำหลักเกณฑ์ในลักษณะทำนองเดียวกันไปกำหนดไว้ด้วย ทำให้ผู้มีสิทธิไม่สามารถใช้สิทธิรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรจากหน่วยงานใดได้สมควรยกเลิกบทบัญญัติดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๓๕ ก/หน้า ๔๕/๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔
647135
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2554
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๕๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๕๔” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔ ทวาทศ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ “มาตรา ๔ ทวาทศ ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้วในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละร้อยละห้าของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละห้าของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ สมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญให้แก่ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพื่อให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ เมษายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๕๔ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๑/๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔
769957
พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 (ฉบับ Update ณ วันที่ 23/09/2553)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นปีที่ ๓๘ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ (๒) พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๘ บรรดากฎ ข้อบังคับ และระเบียบอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชกฤษฎีกานี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ใช้พระราชกฤษฎีกานี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ และข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร “ลูกจ้าง” หมายความว่า ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย เว้นแต่ลูกจ้างชาวต่างประเทศที่มีสัญญาจ้าง “ภูมิลำเนาเดิม” หมายความว่า ท้องที่ที่เริ่มรับราชการ กลับเข้ารับราชการใหม่ หรือได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างครั้งแรกหรือครั้งสุดท้ายแล้วแต่กรณี “บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า บุคคลซึ่งอยู่ในอุปการะและร่วมอาศัยอยู่กับผู้เดินทางไปราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) คู่สมรส (๒) บุตร (๓) บิดามารดาของผู้เดินทางและหรือบิดามารดาของคู่สมรส (๔) ผู้ติดตาม มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ลักษณะ ๑ บททั่วไป มาตรา ๖[๒] หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมขึ้นไปมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงบประมาณรายจ่ายเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ตามความจำเป็นและประหยัดภายใต้หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามพระราชกฤษฎีกานี้ ส่วนวิธีการเบิกจ่ายนั้นให้ปฏิบัติตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลังซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ทั้งนี้ หัวหน้าส่วนราชการดังกล่าวอาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณรายจ่ายเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้มีการใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและประหยัดก็ได้ มาตรา ๗ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งเป็นข้าราชการหรือลูกจ้าง ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการได้ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งมีสัญญากับส่วนราชการกำหนดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการไว้เป็นอย่างอื่น ให้เบิกค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในสัญญา ผู้เดินทางซึ่งเป็นข้าราชการที่มิได้มีตำแหน่ง ชั้น หรือยศกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ หรือไม่มีกฎหมายกำหนดตำแหน่งของผู้นั้นเทียบไว้กับตำแหน่งระดับของข้าราชการพลเรือน ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกำหนดเทียบตำแหน่งกับตำแหน่งระดับของข้าราชการพลเรือน เพื่อประโยชน์ในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการได้ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งมิได้เป็นข้าราชการ ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกำหนดเทียบกับตำแหน่งระดับของข้าราชการพลเรือนเพื่อให้ผู้นั้นเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามอัตราของตำแหน่งระดับที่เทียบ มาตรา ๘[๓] สิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้เดินทางไปราชการ หรือวันที่ออกจากราชการ แล้วแต่กรณี ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติการเดินทางอนุมัติระยะเวลาในการเดินทางไปราชการตามความจำเป็นและเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘/๑[๔] ถ้าผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้าหรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ เพราะมีเหตุส่วนตัว โดยได้รับอนุมัติให้ลากิจหรือลาพักผ่อนตามระเบียบว่าด้วยการนั้น และได้รับอนุมัติระยะเวลาดังกล่าวจากผู้มีอำนาจอนุมัติการเดินทางตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดด้วยแล้ว ให้มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามที่พระราชกฤษฎีกานี้กำหนดไว้ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติราชการตามคำสั่งของทางราชการแล้ว มาตรา ๙ ข้าราชการซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับชั้นหรือยศ สูงขึ้นภายหลังวันที่ได้เดินทางไปราชการแล้ว ให้มีสิทธิที่จะรับค่าใช้จ่ายในการเดินทางตามอัตราสำหรับตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศ ที่สูงขึ้นนับแต่วันที่มีคำสั่งแต่งตั้งดังกล่าว แม้คำสั่งนั้นจะให้มีผลย้อนหลังไปถึงหรือก่อนวันออกเดินทางก็ตาม มาตรา ๑๐ ข้าราชการซึ่งเดินทางไปรักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทน ให้ได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทนตามอัตราสำหรับตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศที่ตนดำรงอยู่ แต่การเดินทางระหว่างที่รักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทนรวมทั้งการเดินทางกลับมาดำรงตำแหน่งเดิม ให้ได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามอัตราสำหรับตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศที่ตนรักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทน ในกรณีที่เป็นการเดินทางไปรักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทนในตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศที่ต่ำกว่า ให้ผู้เดินทางมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในอัตราสำหรับตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศที่ตนดำรงอยู่ มาตรา ๑๑ การเดินทางไปราชการ ถ้าผู้เดินทางหยุดอยู่ที่ใดโดยไม่มีเหตุอันควร ไม่มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับระยะเวลาที่หยุดนั้น มาตรา ๑๒ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งเป็นผู้ได้รับเบี้ยเลี้ยงประจำจะเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามพระราชกฤษฎีกานี้ได้ เมื่องดเบิกเบี้ยเลี้ยงประจำ มาตรา ๑๒ ทวิ[๕] เมื่อปรากฏว่าโรงแรมใดเรียกเก็บค่าเช่าที่พักสูงกว่าอัตราที่เรียกเก็บจากบุคคลทั่วไปตามปกติ ออกใบเสร็จรับเงินเกินกว่าจำนวนเงินที่โรงแรมเรียกเก็บ ออกใบเสร็จรับเงินให้โดยผู้เดินทางไปราชการมิได้เข้าพัก หรือมีพฤติการณ์ในทางทุจริตร่วมกับผู้เดินทางไปราชการหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น ในเรื่องการเบิกค่าเช่าที่พักตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้กระทรวงการคลังแจ้งชื่อโรงแรมดังกล่าวให้กระทรวง ทบวง กรม ทราบ เพื่อมิให้เบิกค่าเช่าที่พักของโรงแรมนั้นเป็นเวลาหนึ่งปี และหากกระทำซ้ำอีกก็ให้ระงับการเบิกค่าเช่าที่พักของโรงแรมนั้นโดยเด็ดขาด การแจ้งชื่อโรงแรมตามวรรคหนึ่งให้มีผลเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแจ้ง มาตรา ๑๒ ตรี[๖] ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการถึงแก่ความตายระหว่างไปราชการ โดยเหตุแห่งความตายมิได้เกิดจากการประทุษร้ายด้วยเหตุส่วนตัวหรือการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนให้บุคคลในครอบครัวหรือผู้จัดการศพของผู้เดินทางไปราชการซึ่งถึงแก่ความตายนั้น ได้รับค่าพาหนะในการเดินทางเพื่อไปปลงศพ หรือค่าพาหนะและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับการส่งศพกลับ ทั้งนี้ ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด ลักษณะ ๒ การเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร หมวด ๑ การเดินทางไปราชการชั่วคราว มาตรา ๑๓ การเดินทางไปราชการชั่วคราว ได้แก่ (๑) การไปปฏิบัติราชการชั่วคราวนอกที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา หรือตามหน้าที่ที่ปฏิบัติราชการโดยปกติ (๒)[๗] (ยกเลิก) (๓) การไปสอบคัดเลือก หรือรับการคัดเลือกตามที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา (๔) การไปช่วยราชการ ไปรักษาการในตำแหน่ง หรือไปรักษาราชการแทน (๕) การเดินทางไปราชการเฉพาะระหว่างเวลาที่อยู่ในราชอาณาจักรของผู้ซึ่งรับราชการประจำในต่างประเทศ (๖) การเดินทางข้ามแดนชั่วคราว เพื่อไปปฏิบัติราชการในดินแดนต่างประเทศตามข้อตกลงระหว่างประเทศ มาตรา ๑๔ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว ได้แก่ (๑) เบี้ยเลี้ยงเดินทาง (๒) ค่าเช่าที่พัก (๓) ค่าพาหนะ รวมถึงค่าเช่ายานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้างคนหาบหาม และอื่นๆ ทำนองเดียวกัน (๔) ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการ มาตรา ๑๕[๘] เบี้ยเลี้ยงเดินทางให้เบิกได้ในลักษณะเหมาจ่ายภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๖[๙] การนับเวลาเดินทางไปราชการเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ให้นับตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติจนกลับถึงสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติ แล้วแต่กรณี เวลาเดินทางไปราชการในกรณีที่มีการพักแรม ให้นับยี่สิบสี่ชั่วโมงเป็นหนึ่งวัน ถ้าไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงหรือเกินยี่สิบสี่ชั่วโมงและส่วนที่ไม่ถึงหรือเกินยี่สิบสี่ชั่วโมงนั้นนับได้เกินสิบสองชั่วโมง ให้ถือเป็นหนึ่งวัน เวลาเดินทางไปราชการในกรณีที่มิได้มีการพักแรม หากนับได้ไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงและส่วนที่ไม่ถึงนั้นนับได้เกินสิบสองชั่วโมง ให้ถือเป็นหนึ่งวัน หากนับได้ไม่เกินสิบสองชั่วโมง แต่เกินหกชั่วโมงขึ้นไป ให้ถือเป็นครึ่งวัน ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้า หรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ เพราะมีเหตุส่วนตัว ตามมาตรา ๘/๑ การนับเวลาเดินทางไปราชการเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทางกรณีลากิจหรือลาพักผ่อนก่อนปฏิบัติราชการ ให้นับเวลาตั้งแต่เริ่มปฏิบัติราชการเป็นต้นไป และกรณีลากิจหรือลาพักผ่อนหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ ให้ถือว่าสิทธิในการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสุดเวลาการปฏิบัติราชการ มาตรา ๑๗[๑๐] การเดินทางไปราชการที่จำเป็นต้องพักแรม เว้นแต่การพักแรมซึ่งโดยปกติต้องพักแรมในยานพาหนะ หรือการพักแรมในที่พักแรมซึ่งทางราชการจัดที่พักไว้ให้แล้ว ให้ผู้เดินทางไปราชการเบิกค่าเช่าที่พักในลักษณะเหมาจ่ายหรือในลักษณะจ่ายจริงก็ได้ ทั้งนี้ ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด ในกรณีเป็นการเดินทางไปราชการในท้องที่ที่มีค่าครองชีพสูงหรือเป็นแหล่งท่องเที่ยวกระทรวงการคลังอาจกำหนดให้ผู้เดินทางไปราชการเบิกค่าเช่าที่พักในอัตราสูงได้ตามความจำเป็น การเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะซึ่งมีผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง หรือตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นสูง ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๕ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรี ขึ้นไป เป็นหัวหน้าคณะ หากมีความจำเป็นต้องใช้สถานที่ในที่เดียวกันกับที่พักเพื่อเป็นที่ประสานงานของคณะหรือบุคคลอื่น ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เพิ่มขึ้นสำหรับห้องพักอีกห้องหนึ่งหรือจะเบิกค่าเช่าห้องชุดแทนก็ได้เท่าที่จ่ายจริง ทั้งนี้ ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๘[๑๑] การเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางสำหรับการเดินทางไปราชการเรื่องหนึ่งเรื่องใดในสถานที่ปฏิบัติราชการแห่งเดียวกัน ให้เบิกได้เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัดด้วย มาตรา ๑๙[๑๒] (ยกเลิก) มาตรา ๒๐[๑๓] การเดินทางไปราชการ ณ สถานที่ปฏิบัติราชการใดที่ไม่สะดวกในการเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่ปฏิบัติราชการนั้นกับสถานที่อยู่ ให้เบิกค่าเช่าที่พักระหว่างที่ไปราชการได้เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัดด้วย วรรคสอง[๑๔] (ยกเลิก) มาตรา ๒๑ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการเจ็บป่วยและจำเป็นต้องพักเพื่อรักษาพยาบาล ให้เบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักสำหรับวันที่พักนั้นได้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสิบวัน ภายใต้บังคับวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ผู้เดินทางเจ็บป่วยและต้องเข้าพักรักษาตัวในสถานพยาบาล ให้งดเบิกค่าเช่าที่พัก เว้นแต่กรณีที่จำเป็น การเจ็บป่วยตามวรรคหนึ่งต้องมีใบรับรองแพทย์ที่ทางราชการรับรอง ในกรณีที่ไม่มีแพทย์ที่ทางราชการรับรองอยู่ในท้องที่ที่เกิดการเจ็บป่วย ผู้เดินทางต้องชี้แจงประกอบ มาตรา ๒๒[๑๕] การเดินทางไปราชการ โดยปกติให้ใช้ยานพาหนะประจำทางและให้เบิกค่าพาหนะได้โดยประหยัด ในกรณีที่ไม่มียานพาหนะประจำทาง หรือมีแต่ต้องการความรวดเร็วเพื่อประโยชน์แก่ราชการให้ใช้พาหนะอื่นได้ แต่ผู้เดินทางไปราชการจะต้องชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นไว้ในหลักฐานการขอเบิกค่าพาหนะนั้น ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น และระดับสูง ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้นและระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ระดับอาวุโส และระดับทักษะพิเศษ หรือตำแหน่งระดับ ๖ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ขึ้นไป ให้เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้สำหรับกรณีดังต่อไปนี้ (๑) การเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก หรือสถานที่ปฏิบัติราชการกับสถานียานพาหนะประจำทาง หรือกับสถานที่จัดพาหนะที่ต้องใช้ในการเดินทางไปยังสถานที่ปฏิบัติราชการภายในเขตจังหวัดเดียวกัน (๒) การเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก กับสถานที่ปฏิบัติราชการภายในเขตจังหวัดเดียวกันวันละไม่เกินสองเที่ยว (๓) การเดินทางไปราชการในเขตกรุงเทพมหานคร[๑๖] หากการเดินทางดังกล่าวตาม (๑) เป็นการเดินทางข้ามเขตจังหวัด ให้เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด ผู้ซึ่งไม่มีสิทธิเบิกค่าพาหนะตามวรรคสามและวรรคสี่ ถ้าต้องนำสัมภาระในการเดินทางหรือสิ่งของเครื่องใช้ของทางราชการไปด้วย และเป็นเหตุให้ไม่สะดวกที่จะเดินทางโดยยานพาหนะประจำทางให้เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้ การเดินทางไปสอบคัดเลือกหรือรับการคัดเลือก ผู้เดินทางไปราชการจะเบิกค่าพาหนะรับจ้างตาม (๒) ไม่ได้ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้า หรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ เพราะมีเหตุส่วนตัว ตามมาตรา ๘/๑ ให้เบิกค่าพาหนะเท่าที่จ่ายจริงตามเส้นทางที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการ กรณีที่มีการเดินทางนอกเส้นทางในระหว่างการลานั้น ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงโดยไม่เกินอัตราตามเส้นทางที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการ มาตรา ๒๓ การเดินทางไปราชการโดยยานพาหนะประจำทางให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๒๔ ในท้องที่จังหวัดใดที่ไม่มีอัตราค่าพาหนะประเภทใดกำหนดไว้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนดอัตราค่าพาหนะดังกล่าวขึ้นไว้ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาอนุมัติและการตรวจสอบ เมื่อกำหนดแล้วให้แจ้งกระทรวงการคลัง มาตรา ๒๕ การใช้พาหนะส่วนตัวไปราชการ ผู้เดินทางจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาดังต่อไปนี้ จึงจะมีสิทธิเบิกเงินชดเชยเป็นค่าพาหนะในลักษณะเหมาจ่ายให้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเป็นค่าพาหนะส่วนตัวได้ คือ (๑) อธิบดีขึ้นไปหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง (๒) หัวหน้าสำนักงาน สำหรับราชการบริหารส่วนกลางที่มีสำนักงานอยู่ในส่วนภูมิภาค หรือมีสำนักงานแยกต่างหากจากกระทรวง ทบวง กรม (๓) หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดซึ่งเป็นผู้เบิกเงิน หรือนายอำเภอท้องที่ แล้วแต่กรณี สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค มาตรา ๒๖ เงินชดเชยเป็นค่าพาหนะตามมาตรา ๒๕ ให้เบิกจ่ายในประเภทค่าพาหนะตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๒๗[๑๗] การเดินทางไปราชการโดยเครื่องบิน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ชั้นธุรกิจ สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ (ก) หัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาล (ข) ประธานศาลฎีกา และรองประธานศาลฎีกา (ค) ประธานรัฐสภา และรองประธานรัฐสภา (ง) ประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา (จ) ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (ฉ) รัฐมนตรี (ช) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น และระดับสูง ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ หรือตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่าหรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือน ชั้น ๔ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป (๒) ชั้นประหยัดหรือชั้นต่ำสุด สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน และระดับอาวุโส หรือตำแหน่งระดับ ๖ ถึงระดับ ๘ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ขึ้นไป ทั้งนี้ นอกจากที่ระบุใน (๑) (ข) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ชั้น หรือยศ ต่ำกว่าที่ระบุใน (ก) เฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ ในการเดินทางไปราชการเพื่อรับเสด็จ ตามเสด็จ หรือส่งเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ หากที่นั่งโดยสารในชั้นที่กำหนดสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งตาม (๒) เต็ม และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินได้ให้ผู้ดำรงตำแหน่งที่เดินทางดังกล่าวสามารถเดินทางและเบิกค่าโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิได้โดยต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ การเดินทางซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม (๑) หรือ (๒) จะเบิกค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินค่าพาหนะในการเดินทางภาคพื้นดินระยะเดียวกันตามสิทธิซึ่งผู้เดินทางจะพึงเบิกได้ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิจะเบิกค่าโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิได้เมื่อได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง มาตรา ๒๘[๑๘] ผู้เดินทางไปราชการในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชาที่เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น และระดับสูง ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ หรือตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือกับข้าราชการตุลาการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ ขึ้นไป หรือกับข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือกับข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ขึ้นไป หรือกับข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป หากมีความจำเป็นต้องเดินทางพร้อมกับผู้บังคับบัญชาและเพื่อประโยชน์ในการประสานสั่งการในระหว่างเดินทางไปราชการ ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่ากับที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิกและให้พักแรมในที่เดียวกับผู้บังคับบัญชา โดยเบิกค่าเช่าที่พักได้ตามสิทธิที่ตนเองได้รับหรือเบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราต่ำสุดของที่พักนั้น แต่ไม่เกินอัตราที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิก[๑๙] ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่งมีหลายคนให้มีสิทธิเบิกค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักเท่ากับที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิกได้เพียงหนึ่งคน ส่วนผู้เดินทางไปราชการในหน้าที่เลขานุการคนอื่นๆ ให้เบิกค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักได้ตามสิทธิของตน มาตรา ๒๙ ผู้เดินทางไปราชการเพื่อทำหน้าที่รับรอง หรือปฏิบัติงานร่วมกับชาวต่างประเทศ จะเบิกค่าพาหนะในการเดินทางเท่ากับที่ต้องเบิกสำหรับชาวต่างประเทศนั้นก็ได้ ผู้เดินทางไปราชการตามคำสั่งของทางราชการเพื่อทำหน้าที่เป็นองครักษ์ ผู้อารักขา ผู้อำนวยความสะดวกอย่างใกล้ชิด หรือผู้ที่เข้าร่วมประชุมหารือ แก่ชาวต่างประเทศที่เป็นประมุขแห่งรัฐหรือบุคคลสำคัญของต่างประเทศ นอกจากจะเบิกค่าพาหนะตามวรรคหนึ่งได้แล้ว จะเบิกค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายจริงในลักษณะประหยัดตามความจำเป็นในสถานที่แห่งเดียวกับที่ชาวต่างประเทศพักอยู่นั้นด้วยก็ได้ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดที่จะพิจารณาอนุมัติตามความจำเป็นและเหมาะสม สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ[๒๐] มาตรา ๒๙/๑[๒๑] นักบริหารการทูตระดับสูง ซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางกลับประเทศไทยเพื่อเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ เพื่อกราบถวายบังคมลาและรับพระราชสาส์นตราตั้งและพระราชสาส์นถอนก่อนเดินทางไปดำรงตำแหน่งประจำในต่างประเทศ หากจะนำคู่สมรสบุตรอายุไม่เกินยี่สิบห้าปีซึ่งไม่มีคู่สมรสและอยู่ในอุปการะที่จะต้องเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศด้วยและผู้ติดตามร่วมเดินทางกลับประเทศไทยเพื่อเดินทางพร้อมกันต่อเนื่องไปประเทศประจำการใหม่และประเทศไทยเป็นเส้นทางผ่านหรืออยู่ใกล้เคียงกับประเทศที่จะไปประจำการใหม่ ให้อยู่ในดุลยพินิจของปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดที่จะพิจารณาอนุญาตตามความจำเป็นและเหมาะสมและให้เบิกค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักได้ ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าพาหนะสำหรับคู่สมรสและบุตรดังกล่าว ให้เบิกได้ในอัตราเดียวกับนักบริหารการทูตระดับสูง แต่ถ้ามิได้เดินทางพร้อมกับนักบริหารการทูตระดับสูง ให้เบิกได้ในอัตราต่ำสุด สำหรับผู้ติดตามไม่ว่าจะเดินทางพร้อมกันหรือไม่ ให้เบิกได้ในอัตราต่ำสุด (๒) ค่าเช่าที่พักให้เบิกได้ตามความจำเป็น เว้นแต่กรณีที่ผู้เดินทางมีเคหสถานของตนเองที่สามารถพักอาศัยได้ ให้งดเบิกค่าเช่าที่พัก การเบิกค่าเช่าที่พัก ให้นักบริหารการทูตระดับสูง คู่สมรส บุตร และผู้ติดตามดังกล่าวพักแรมรวมกันสองคนต่อหนึ่งห้อง และให้เบิกค่าเช่าที่พักในอัตราค่าเช่าห้องพักคู่คนละไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่เหมาะสมจะพักรวมกัน หรือมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวสำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้เท่ากับข้าราชการในตำแหน่งระดับต่ำสุด มาตรา ๓๐ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งต้องนำสิ่งของเครื่องใช้ของทางราชการไปด้วย ให้เบิกค่าพาหนะสำหรับสิ่งของเครื่องใช้นั้นได้โดยประหยัด มาตรา ๓๑ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งต้องจ่ายค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น เนื่องในการเดินทางไปราชการ ให้เบิกค่าใช้จ่ายนั้นได้โดยประหยัด หมวด ๒ การเดินทางไปราชการประจำ มาตรา ๓๒[๒๒] การเดินทางไปราชการประจำ ได้แก่ (๑) การเดินทางไปประจำต่างสำนักงาน ไปรักษาการในตำแหน่ง หรือรักษาราชการแทนเพื่อดำรงตำแหน่งใหม่ ณ สำนักงานแห่งใหม่ (๒) การเดินทางไปประจำสำนักงานแห่งเดิมในท้องที่แห่งใหม่ในกรณีย้ายสำนักงาน (๓) การเดินทางไปปฏิบัติงานตามโครงการหรือการเดินทางไปช่วยราชการที่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดของโครงการหรือการช่วยราชการไว้ชัดเจน ซึ่งมีกำหนดเวลาตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป (๔) การเดินทางไปช่วยราชการที่ไม่อาจกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดหรือมีกำหนดเวลาไม่ถึงหนึ่งปีซึ่งต่อมาภายหลัง ส่วนราชการมีความจำเป็นต้องให้ข้าราชการผู้นั้นอยู่ช่วยราชการ ณ สถานที่แห่งเดิมนั้นให้นับเวลาการช่วยราชการต่อเนื่องและให้ถือเวลาการช่วยราชการตั้งแต่วันที่ครบกำหนดหนึ่งปีเป็นต้นไปเป็นการเดินทางไปราชการประจำ มาตรา ๓๓[๒๓] ผู้เดินทางไปราชการประจำซึ่งมิใช่ผู้ซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานแห่งใหม่ตามคำร้องขอของตนเอง ให้เบิกค่าใช้จ่ายได้ตามมาตรา ๑๔ และกรณีที่ผู้เดินทางดังกล่าวมีความจำเป็นต้องย้ายที่อยู่ใหม่ ให้เบิกค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวในลักษณะเหมาจ่ายได้ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๓๔ การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการประจำในกรณีที่มิได้กำหนดไว้ในหมวดนี้ ให้นำหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในลักษณะ ๒ หมวด ๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๓๕ การนับเวลาเดินทางไปราชการเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทางให้นับตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่อยู่จนถึงสถานที่พักที่ไปรับราชการแห่งใหม่ มาตรา ๓๖[๒๔] ผู้เดินทางไปราชการประจำจะเบิกค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะสำหรับบุคคลในครอบครัวได้โดยประหยัด การเบิกค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะสำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้ ดังต่อไปนี้ (๑) หนึ่งคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน และระดับชำนาญงาน หรือตำแหน่งระดับ ๖ ลงมาหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ ลงมา หรือผู้ช่วยผู้พิพากษา หรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ลงมา (๒) ไม่เกินสองคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นและระดับสูง ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น และระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส และระดับทักษะพิเศษ หรือตำแหน่งระดับ ๗ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่าหรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก ขึ้นไป[๒๕] มาตรา ๓๗[๒๖] ค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักสำหรับบุคคลในครอบครัวนอกจากผู้ติดตาม ให้เบิกได้ในอัตราเดียวกับผู้เดินทางไปราชการประจำตามมาตรา ๓๓ สำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้เท่ากับข้าราชการในตำแหน่งระดับต่ำสุด ในกรณีที่เดินทางไปถึงท้องที่ตั้งสำนักงานตามมาตรา ๓๒ (๑) (๒) และ (๓) ถ้าไม่อาจเข้าพักในที่พักอาศัยที่ทางราชการจัดให้หรือบ้านเช่าได้ และผู้บังคับบัญชาดังต่อไปนี้อนุญาตแล้ว ให้เบิกค่าเช่าที่พักสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวได้ไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันไปถึงท้องที่ตั้งสำนักงานนั้น (๑) อธิบดีขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง (๒) หัวหน้าสำนักงาน สำหรับราชการบริหารส่วนกลางที่มีสำนักงานอยู่ในส่วนภูมิภาคหรือมีสำนักงานแยกต่างหากจากกระทรวง ทบวง กรม (๓) หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดซึ่งเป็นผู้เบิกเงิน หรือนายอำเภอท้องที่ แล้วแต่กรณี สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องเบิกค่าเช่าที่พักเกินเจ็ดวัน ต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดเดิม สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ มาตาม ๓๘ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปประจำต่างสำนักงานเดินทางโดยเครื่องบินตามมาตรา ๒๗ ให้บุคคลในครอบครัวเดินทางโดยเครื่องบินได้ด้วย มาตรา ๓๙[๒๗] ในกรณีจำเป็นซึ่งไม่อาจนำบุคคลในครอบครัวไปพร้อมกับผู้เดินทางได้ ให้ผู้เดินทางรายงานชี้แจงเหตุผลความจำเป็นและกำหนดเวลาที่จะเลื่อนการเดินทางต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดี หรือปลัดกระทรวงหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า แล้วแต่กรณี สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง หรือผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค แต่ถ้าผู้เดินทางดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ให้เสนอผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง การขอเลื่อนการเดินทางตามวรรคหนึ่ง ให้ขอก่อนที่ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้นจะเดินทาง ผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่งมีอำนาจอนุญาตให้เลื่อนการเดินทางได้ภายในเวลาอันสมควร แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ปรากฏในคำสั่งให้เดินทางไปราชการ มาตรา ๔๐ ผู้เดินทางไปราชการประจำซึ่งได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางล่วงหน้าไปแล้ว ถ้าไม่ได้เดินทางภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับให้นำเงินค่าใช้จ่ายที่ได้รับไปแล้วส่งคืนทันที่ มาตรา ๔๑[๒๘] ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในกรณีไปประจำสำนักงานซึ่งต่างสังกัดให้เบิกจากสังกัดใหม่ซึ่งไปประจำ หมวด ๓ การเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม มาตรา ๔๒ การเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม ให้หมายความถึงการเดินทางเพื่อกลับภูมิลำเนาเดิมของผู้เดินทางไปราชการประจำในกรณีที่ออกจากราชการหรือถูกสั่งพักราชการ มาตรา ๔๓ ข้าราชการซึ่งออกจากราชการหรือลูกจ้างซึ่งทางราชการเลิกจ้าง จะเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัว ได้เฉพาะค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ และค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวเพื่อกลับภูมิลำเนาเดิมของข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้น ตามอัตราสำหรับตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศครั้งสุดท้ายก่อนออกจากราชการหรือเลิกจ้าง ในกรณีที่ข้าราชการหรือลูกจ้างถึงแก่ความตาย ให้สิทธิในการเบิกค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งตกแก่ทายาทผู้ใดผู้หนึ่ง ที่อยู่กับข้าราชการหรือลูกจ้างขณะถึงแก่ความตาย ในกรณีที่ไม่มีทายาทที่อยู่กับข้าราชการหรือลูกจ้างขณะถึงแก่ความตายหรือมีทายาทแต่ไม่สามารถจัดการได้ ให้สิทธิในการเบิกค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งตกแก่ทายาทผู้ใดผู้หนึ่งที่มิได้ไปอยู่ด้วย ถ้าทายาทผู้นั้นต้องเดินทางไปจัดการดังกล่าวให้เบิกค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งสำหรับตนเองได้เฉพาะการเดินทางกลับ การเดินทางและการขนย้ายสิ่งของตามมาตรานี้ ให้กระทำภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันออกจากราชการ เลิกจ้าง หรือตาย ถ้าเกินต้องได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง มาตรา ๔๔ ข้าราชการซึ่งถูกสั่งพักราชการหรือลูกจ้างซึ่งถูกสั่งพักการจ้าง จะเบิกค่าใช้จ่ายสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัว เฉพาะค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ และค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวเพื่อกลับภูมิลำเนาเดิมของข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้นโดยจะไม่รอผลการสอบสวนถึงที่สุดก็ได้ มาตรา ๔๕ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมตามมาตรา ๔๓ และมาตรา ๔๔ จะขอเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังท้องที่อื่นซึ่งมิใช่ภูมิลำเนาเดิมโดยเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไม่สูงกว่า ให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีขึ้นไปหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าสำหรับราชการบริหารส่วนกลาง หรือผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค มาตรา ๔๖ การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมในกรณีที่มิได้กำหนดไว้ในหมวดนี้ ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ ๒ หมวด ๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ลักษณะ ๓ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศ หมวด ๑ การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว มาตรา ๔๗[๒๙] การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ได้แก่ (๑) การเดินทางของผู้รับราชการประจำในประเทศไทยซึ่งเดินทางไปราชการนอกราชอาณาจักรเพื่อปฏิบัติงานการประชุม เจรจาธุรกิจ ดูงาน ตรวจสอบบัญชี หรือปฏิบัติหน้าที่อย่างอื่นเป็นครั้งคราวตามความจำเป็น (๒) การเดินทางของผู้รับราชการประจำในต่างประเทศซึ่งเดินทางไปราชการ ณ ที่ใดๆ ในต่างประเทศหรือมายังประเทศไทย เฉพาะเวลาที่เดินทางอยู่นอกราชอาณาจักร เพื่อปฏิบัติงานนอกที่ตั้งสำนักงานในเขตอาณาหรือเขตพื้นที่รับผิดชอบ หรือ (๓) การเดินทางของผู้รับราชการประจำในต่างประเทศซึ่งเดินทางไปช่วยราชการรักษาการในตำแหน่ง หรือรักษาราชการแทนต่างสำนักงานในต่างประเทศ เฉพาะเวลาที่ออกเดินทางจากที่พักซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งเดิมจนถึงที่พักซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ ถ้าผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศหรือจากหน่วยงานใดๆในเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทางแล้ว ไม่มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้อีก แต่หากความช่วยเหลือที่ได้รับน้อยกว่าสิทธิที่จะพึงมีตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้เบิกค่าใช้จ่ายสมทบได้ตามเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๔๘ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ได้แก่ (๑) เบี้ยเลี้ยงเดินทาง (๒) ค่าเช่าที่พัก (๓) ค่าพาหนะรวมทั้งค่าเช่ายานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้างคนหาบหาม และอื่นๆ ทำนองเดียวกัน (๔) ค่ารับรอง (๕) ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นเนื่องในการเดินทางไปราชการ มาตรา ๔๙[๓๐] เบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวให้เบิกได้ในลักษณะเหมาจ่ายภายในวงเงินที่กระทรวงการคลังกำหนด ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวที่มิได้เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามวรรคหนึ่ง ให้เบิกค่าอาหารและค่าเครื่องดื่ม รวมทั้งค่าภาษีและค่าบริการที่โรงแรม ภัตตาคาร หรือร้านค้า เรียกเก็บจากผู้เดินทางไปราชการได้เท่าที่จ่ายจริง ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด และให้เบิกค่าใช้สอยเบ็ดเตล็ดได้ในลักษณะเหมาจ่าย ภายในวงเงินที่กระทรวงการคลังกำหนด หากผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวตามวรรคสองไปราชการตั้งแต่เจ็ดวันขึ้นไปให้เบิกค่าทำความสะอาดเสื้อผ้าสำหรับระยะเวลาที่เกินเจ็ดวันได้เท่าที่จ่ายจริง ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวจะเลือกเบิกค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้เพียงอย่างเดียว ตลอดระยะเวลาของการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวนั้นไม่ว่าจะเดินทางไปประเทศเดียว หรือหลายประเทศก็ตาม การเดินทางไปราชการชั่วคราวของผู้รับราชการประจำในต่างประเทศภายในประเทศที่ผู้นั้นประจำอยู่ ให้เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้ในอัตรากึ่งหนึ่ง ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการเจ็บป่วยและจำเป็นต้องพักเพื่อรักษาพยาบาล ให้นำมาตรา ๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม การเดินทางไปราชการของลูกจ้างที่ส่วนราชการในต่างประเทศเป็นผู้จ้าง ให้เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักได้ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๕๐[๓๑] การนับเวลาเดินทางไปราชการต่างประเทศเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทางสำหรับผู้รับราชการประจำในประเทศไทย ให้นับตั้งแต่ประทับตราหนังสือเดินทางออกจากประเทศไทยจนถึงเวลาที่ประทับตราหนังสือเดินทางเข้าประเทศไทย สำหรับผู้รับราชการประจำในต่างประเทศ ให้นับตั้งแต่เดินทางจากที่พักประจำในต่างประเทศหรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติจนกลับถึงที่พักประจำในต่างประเทศหรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติ แล้วแต่กรณี แต่ในกรณีที่เดินทางมายังประเทศไทย มิให้รวมเวลาตั้งแต่ประทับตราหนังสือเดินทางเข้าประเทศไทยจนถึงเวลาที่ประทับตราหนังสือเดินทางออกจากประเทศไทย ในกรณีการเดินทางของข้าราชการในส่วนราชการที่ใช้เอกสารอย่างอื่นซึ่งมิใช่หนังสือเดินทางเวลาที่ถือว่าเป็นเวลาเข้าและออกจากประเทศไทยให้ใช้เวลาประทับตราเข้าและออกในเอกสารนั้น เวลาเดินทางไปราชการในกรณีที่มีการพักแรม ให้นับยี่สิบสี่ชั่วโมงเป็นหนึ่งวัน ถ้าไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงหรือเกินยี่สิบสี่ชั่วโมงและส่วนที่ไม่ถึงหรือเกินยี่สิบสี่ชั่วโมงนั้นนับได้เกินสิบสองชั่วโมง ให้ถือเป็นหนึ่งวัน เวลาเดินทางไปราชการในกรณีที่มิได้มีการพักแรม หากนับได้ไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงและส่วนที่ไม่ถึงนั้นนับได้เกินสิบสองชั่วโมง ให้ถือเป็นหนึ่งวัน หากนับได้ไม่เกินสิบสองชั่วโมง แต่เกินหกชั่วโมงขึ้นไป ให้ถือเป็นครึ่งวัน ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้า หรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ เพราะมีเหตุส่วนตัวตามมาตรา ๘/๑ การนับเวลาเดินทางไปราชการเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทางกรณีลากิจหรือลาพักผ่อนก่อนปฏิบัติราชการ ให้นับเวลาตั้งแต่เริ่มปฏิบัติราชการเป็นต้นไป ยกเว้นในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีเหตุจำเป็นต้องพักแรมในท้องที่ที่ปฏิบัติราชการก่อนวันเริ่มปฏิบัติราชการให้นับเวลาเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทางตั้งแต่เวลาเข้าที่พักในท้องที่ที่ปฏิบัติราชการ ทั้งนี้ ไม่เกินยี่สิบสี่ชั่วโมงเมื่อนับถึงเวลาเริ่มปฏิบัติราชการ และกรณีลากิจหรือลาพักผ่อนหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ ให้ถือว่าสิทธิในการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสุดเวลาการปฏิบัติราชการ มาตรา ๕๑[๓๒] การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวที่จำเป็นต้องพักแรม เว้นแต่การพักแรมซึ่งโดยปกติต้องพักแรมในยานพาหนะ หรือการพักแรมในที่พักแรมซึ่งทางราชการจัดที่พักไว้ให้แล้วให้ผู้เดินทางไปราชการเบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงตามสิทธิที่ตนเองได้รับในการพักอาศัยคนเดียว ทั้งนี้ ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด การเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะ ให้ผู้เดินทางไปราชการเบิกค่าเช่าที่พักได้ ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน และระดับอาวุโส หรือตำแหน่งระดับ ๘ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ลงมา หรือผู้ช่วยผู้พิพากษา หรือดะโต๊ะยุติธรรมหรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก ลงมา ให้พักแรมรวมกันสองคนต่อหนึ่งห้อง โดยให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่า ห้องพักคู่ คนละไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว ถ้าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวแยกพักห้องพักคนเดียวให้เบิกได้อัตราเดียวกัน เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่เหมาะสมจะพักรวมกัน หรือมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว (๒) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น และระดับสูง ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ หรือตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือน ชั้น ๔ ขึ้นไปหรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว (๓) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง หรือตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิหรือตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือน ชั้น ๓ ขั้นสูง ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๕ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรี ขึ้นไป ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะ หากมีความจำเป็นต้องใช้สถานที่ในที่เดียวกันกับที่พักเพื่อเป็นที่ประสานงานของคณะหรือกับบุคคลอื่น ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เพิ่มขึ้นสำหรับห้องพักอีกห้องหนึ่งในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวหรือจะเบิกค่าเช่าห้องชุดแทนก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องมีอัตราไม่เกินสองเท่าของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว[๓๓] ในกรณีที่เป็นการสมควร กระทรวงการคลังอาจกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งระดับใด หรือตำแหน่งใดเบิกค่าเช่าที่พักเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษได้สำหรับห้องพักอีกห้องหนึ่งในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว หรือจะเบิกค่าเช่าห้องชุดแทนก็ได้ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้าก่อนเริ่มปฏิบัติราชการเพราะมีเหตุส่วนตัว ตามมาตรา ๘/๑ และมีเหตุจำเป็นต้องพักแรมในท้องที่ที่ปฏิบัติราชการก่อนวันเริ่มปฏิบัติราชการ ให้เบิกค่าเช่าที่พักก่อนวันเริ่มปฏิบัติราชการดังกล่าวได้ไม่เกินหนึ่งวัน ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการนำบุคคลอื่นที่ไม่มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปพักรวมอยู่ด้วยให้ผู้เดินทางไปราชการรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนที่เพิ่มขึ้นจากสิทธิที่พึงจะได้รับจากทางราชการ มาตรา ๕๒[๓๔] การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว โดยปกติให้ใช้ยานพาหนะประจำทางและให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงโดยประหยัด ในกรณีที่ไม่มียานพาหนะประจำทางหรือมีแต่ต้องการความรวดเร็วเพื่อประโยชน์แก่ราชการให้ใช้พาหนะอื่นได้ แต่ผู้เดินทางจะต้องชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นไว้ในหลักฐานการขอเบิกค่าพาหนะนั้น ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้า หรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ เพราะมีเหตุส่วนตัว ตามมาตรา ๘/๑ ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงตามเส้นทางที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการ กรณีที่มีการเดินทางนอกเส้นทางในระหว่างการลานั้น ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงโดยไม่เกินอัตราตามเส้นทางที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการ มาตรา ๕๓[๓๕] การเดินทางไปราชการต่างประเทศโดยเครื่องบินจากประเทศไทยไปต่างประเทศหรือจากต่างประเทศกลับประเทศไทย หรือการเดินทางในต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ชั้นหนึ่ง สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ (ก) หัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาล (ข) ประธานศาลฎีกา และรองประธานศาลฎีกา (ค) ประธานรัฐสภา และรองประธานรัฐสภา (ง) ประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา (จ) ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (ฉ) รัฐมนตรี (ช)[๓๖] ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง หรือตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิหรือตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นสูง ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๕ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี หรือพลอากาศตรี ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรี ขึ้นไป (๒)[๓๗] ชั้นธุรกิจหรือชั้นระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นประหยัดหรือชั้นต่ำสุด สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ หรือตำแหน่งระดับ ๙ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่าหรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ (๓) ชั้นประหยัดหรือชั้นต่ำสุด สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ชั้น หรือยศ นอกจากที่ระบุใน (๑) และ (๒) ในกรณีที่เครื่องบินที่ใช้ในการเดินทางไม่มีชั้นระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นประหยัดหรือชั้นต่ำสุดให้ผู้ดำรงตำแหน่งตาม (๒) เดินทางโดยชั้นหนึ่ง ในการเดินทางไปราชการเพื่อรับเสด็จ ตามเสด็จ หรือส่งเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ หากที่นั่งโดยสารในชั้นที่กำหนดสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งตาม (๒) และ (๓) เต็ม และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินได้ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งที่เดินทางดังกล่าวสามารถเดินทางและเบิกค่าโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิได้ โดยต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวงให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิ จะเบิกค่าโดยสารเครื่องบินนั้นในชั้นที่สูงกว่าสิทธิได้เมื่อได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง มาตรา ๕๓ ทวิ[๓๘] ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาล หรือซึ่งดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภาประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลฎีกา รองประธานรัฐสภา รองประธานวุฒิสภา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรัฐมนตรี ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่ากับที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิกและให้พักแรมในที่เดียวกับผู้บังคับบัญชา โดยเบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงตามสิทธิที่ตนเองได้รับหรือเบิกในอัตราต่ำสุดของที่พักนั้น แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชามีหลายคน ให้มีสิทธิเบิกค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักตามวรรคหนึ่งได้เพียงหนึ่งคน ส่วนผู้เดินทางไปราชการในหน้าที่เลขานุการคนอื่นๆ ให้เบิกค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักได้ตามสิทธิของตน มาตรา ๕๔[๓๙] ค่ารับรองและค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการ ให้เบิกได้ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๕๔ ทวิ[๔๐] (ยกเลิก) มาตรา ๕๕ ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวจะเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับคู่สมรสได้เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อได้รับอนุญาตจากกระทรวงเจ้าสังกัดให้ติดตามไปได้ (๒)[๔๑] เมื่อนักบริหารการทูตระดับต้น และระดับสูง หรือนักการทูตระดับชำนาญการพิเศษเป็นหัวหน้าคณะไปราชการในกรณี (ก) ถวายหรือยื่นพระราชสาส์นตราตั้ง หรือทูลลาหรือลาต่อพระราชาธิบดี หรือประมุขแห่งรัฐที่อยู่ในเขตอาณา (ข) ตามเสด็จพระราชดำเนินเนื่องในการที่พระมหากษัตริย์หรือพระราชินีเสด็จเยือนประเทศที่อยู่ในเขตอาณา (ค) รัฐบาลของประเทศที่อยู่ในเขตอาณาได้เชิญคู่สมรสไปร่วมงานพิธีในประเทศเขตอาณาด้วย มาตรา ๕๖[๔๒] ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของคู่สมรสตามมาตรา ๕๕ ให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๕๗ ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว จะเบิกค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับตนเองและคู่สมรสมิได้ เว้นแต่กรณีจำเป็นตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๕๘ ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวซึ่งได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางล่วงหน้าไปแล้ว ถ้าไม่ได้เดินทางภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันได้รับ ให้นำเงินค่าใช้จ่ายที่ได้รับไปแล้วส่งคืนทันที หมวด ๒ การเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ มาตรา ๕๙ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศได้แก่ (๑) เบี้ยเลี้ยงเดินทาง (๒) ค่าเช่าที่พัก (๓) ค่าพาหนะ (๔) ค่าเครื่องแต่งตัว (๕) ค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ มาตรา ๖๐ การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศในกรณีที่มิได้กำหนดไว้ในหมวดนี้ ให้นำลักษณะ ๓ หมวด ๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๖๑[๔๓] เบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ ให้เบิกได้เฉพาะระยะเวลาระหว่างเดินทาง ในกรณีที่เดินทางไปถึงท้องที่ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ในต่างประเทศ ถ้าไม่อาจเข้าพักในที่ที่ทางราชการจัดให้หรือบ้านเช่าได้ และผู้บังคับบัญชาซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือ ตำแหน่งที่เทียบเท่าขึ้นไปอนุญาตแล้ว ให้เบิกค่าเช่าที่พักสำหรับตนเอง คู่สมรส บุตรอายุไม่เกิน ยี่สิบห้าปีซึ่งไม่มีคู่สมรสและอยู่ในความอุปการะที่จะต้องเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศด้วย และ ผู้ติดตาม ได้ไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันไปถึงท้องที่ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ ผู้เดินทางไปราชการและบุคคลในครอบครัวตามวรรคสองให้พักรวมกันสองคนต่อหนึ่งห้อง โดยให้เบิกค่าเช่าที่พักในอัตราค่าเช่าห้องพักคู่คนละไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่เหมาะสมจะพักรวมกันหรือมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวสำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้เท่ากับข้าราชการในตำแหน่งระดับต่ำสุด ในกรณีมีความจำเป็นต้องเช่าที่พักแรมเกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ ต้องได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง มาตรา ๖๒ ค่าพาหนะเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง โดยจะต้องใช้ยานพาหนะที่เหมาะสมซึ่งต้องคำนึงถึงความรวดเร็วและประหยัด ส่วนคู่สมรสและบุตรอายุไม่เกินยี่สิบห้าปีซึ่งไม่มีคู่สมรสและอยู่ในความอุปการะที่จะต้องเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศด้วย ให้เบิกได้ในอัตราเดียวกับผู้เดินทาง ผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศจะเบิกค่าพาหนะสำหรับผู้ติดตามซึ่งได้รับอนุญาตจากกระทรวงเจ้าสังกัดแล้วได้ ดังต่อไปนี้ (๑) หนึ่งคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน และระดับชำนาญงาน หรือตำแหน่งระดับ ๖ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ลงมา หรือข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศพันตำรวจโท ลงมา (๒) ไม่เกินสองคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นและระดับสูงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น และระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโสและระดับทักษะพิเศษ หรือตำแหน่งระดับ ๗ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหาร ซึ่งรับเงินเดือนพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก ขึ้นไป[๔๔] ค่าพาหนะสำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้ในอัตราต่ำสุด ค่าพาหนะสำหรับคู่สมรส บุตร และผู้ติดตามจะเบิกไม่ได้ถ้าบุคคลดังกล่าวมิได้ออกเดินทางภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ข้าราชการหรือลูกจ้างออกเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ มาตรา ๖๓ ให้นำมาตรา ๖๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่กรณีที่ผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ คู่สมรส บุตร หรือผู้ติดตามเดินทางกลับประเทศไทย ในกรณีที่คู่สมรส บุตร หรือผู้ติดตามมีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางกลับประเทศไทยก่อนข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้น ให้กระทรวงเจ้าสังกัดทำความตกลงกับกระทรวงการคลังจึงจะเบิกค่าพาหนะเดินทางกลับได้ ค่าพาหนะสำหรับบุตรซึ่งเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศ หรือบุตรที่เกิดในระหว่างเวลาที่รับราชการประจำในต่างประเทศจะเบิกไม่ได้ถ้ามิได้เดินทางกลับภายในกำหนดสามปีนับแต่วันที่ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้นเดินทางกลับ มาตรา ๖๔ ให้นำมาตรา ๕๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่การเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศและการเดินทางกลับประเทศไทยโดยเครื่องบิน คู่สมรสหรือบุตร ให้มีสิทธิโดยสารชั้นเดียวกับผู้เดินทาง แต่ถ้ามิได้เดินทางพร้อมกับข้าราชการหรือลูกจ้าง ให้เบิกได้ในอัตราต่ำสุด สำหรับผู้ติดตามไม่ว่าจะเดินทางพร้อมกันหรือไม่ ให้เบิกได้ในอัตราต่ำสุด คู่สมรสหรือบุตรซึ่งมิได้เดินทางติดตามไปอยู่ด้วยกับข้าราชการหรือลูกจ้างที่ไปราชการประจำในต่างประเทศ หากประสงค์จะติดตามข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศอื่นหรือเดินทางไปราชการประจำอีกเมืองหนึ่งในต่างประเทศเดียวกันตามมาตรา ๗๐ (๒) หรือ (๓) แล้วแต่กรณี ให้มีสิทธิโดยสารชั้นประหยัดหรือชั้นต่ำสุด โดยให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินอัตราขั้นต่ำสุดตามเส้นทางที่ข้าราชการหรือลูกจ้างนั้นได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการประจำ เว้นแต่ในกรณีที่คู่สมรสหรือบุตรมีความจำเป็นที่จะต้องร่วมเดินทางไปกับข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้นให้กระทรวงเจ้าสังกัดทำความตกลงกับกระทรวงการคลังจึงจะเบิกค่าโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิได้[๔๕] มาตรา ๖๕[๔๖] ผู้เดินทางไปรับราชการประจำในต่างประเทศ ให้ได้รับค่าเครื่องแต่งตัวภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด เว้นแต่ผู้ซึ่งได้รับค่าเครื่องแต่งตัวมาแล้ว และในการเดินทางครั้งใหม่เป็นการเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศที่ใช้เครื่องแต่งตัวประเภทเดียวกับที่ใช้ในการเดินทางครั้งก่อน และมีระยะเวลาไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ออกเดินทางนั้น ในกรณีที่ได้รับค่าเครื่องแต่งตัวแล้ว แต่มิได้เดินทาง ให้ถือวันที่ได้รับเป็นวันออกเดินทาง มาตรา ๖๖ ให้นำมาตรา ๖๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่กรณีที่คู่สมรสและบุตรจะต้องเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศด้วย คู่สมรสและบุตร จะเบิกค่าเครื่องแต่งตัวไม่ได้ถ้ามิได้ออกเดินทางภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ข้าราชการหรือลูกจ้างออกเดินทาง มาตรา ๖๗ ในกรณีที่ทางราชการสั่งงดการเดินทางโดยมิใช่ความผิดของผู้เดินทาง ถ้าผู้เดินทางได้ใช้จ่ายค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับตนเอง คู่สมรส หรือบุตรไปแล้ว หรือมีข้อผูกพันที่จะต้องจ่ายโดยสุจริตโดยมีหลักฐานก็ไม่ต้องส่งคืน มาตรา ๖๘ ให้นำมาตรา ๔๓ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ โดยอนุโลม มาตรา ๖๙ ในกรณีที่ข้าราชการหรือลูกจ้างที่ปฏิบัติราชการประจำในต่างประเทศถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งพักการจ้าง จะเบิกค่าใช้จ่ายสำหรับตนเอง คู่สมรส บุตร หรือผู้ติดตามเฉพาะค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ และค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่กลับประเทศไทยโดยจะไม่รอผลการสอบสวนถึงที่สุดก็ได้ มาตรา ๗๐[๔๗] ค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ให้เบิกในลักษณะเหมาจ่ายตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางจากประเทศไทยไปราชการประจำในต่างประเทศ และคู่สมรสหรือบุตรซึ่งต้องเดินทางจากประเทศไทยไปอยู่ด้วย ให้เบิกได้ในอัตราสี่เท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวจะพึงได้รับจากทางราชการ ยกเว้นข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งเดินทางจากประเทศไทยไปราชการประจำในต่างประเทศเป็นครั้งแรกและคู่สมรสหรือบุตรซึ่งเดินทางจากประเทศไทยไปอยู่ด้วย ให้เบิกได้ในอัตราห้าเท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวจะพึงได้รับจากทางราชการ (๒) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางออกจากต่างประเทศหนึ่งไปราชการประจำในต่างประเทศอื่นและคู่สมรสหรือบุตรซึ่งติดตามไปอยู่ด้วย ให้เบิกได้ในอัตราสามเท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวจะพึงได้รับตามอัตราสำหรับประเทศซึ่งจะไปราชการประจำใหม่ (๓) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางจากเมืองหนึ่งไปราชการประจำอีกเมืองหนึ่งในต่างประเทศเดียวกัน และคู่สมรสหรือบุตรซึ่งติดตามไปอยู่ด้วย ให้เบิกได้ในอัตราสามเท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวจะพึงได้รับตามอัตราสำหรับประเทศนั้น (๔) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางจากต่างประเทศที่มีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศกลับประเทศไทย และคู่สมรสหรือบุตรซึ่งกลับมาด้วยจากประเทศเดียวกับผู้เดินทาง ให้เบิกได้ในอัตราสามเท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวได้รับครั้งสุดท้ายก่อนเดินทางกลับประเทศไทย ในกรณีที่คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับก่อนการเบิกค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ให้เป็นไปตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด บทเฉพาะกาล มาตรา ๗๑ การเดินทางไปราชการที่ต่อเนื่องกันในระหว่างการใช้พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ กับพระราชกฤษฎีกานี้ สำหรับสิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหรือที่ก่อหนี้ผูกพันไปแล้วโดยสุจริตก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๗๒ การเดินทางไปราชการระหว่างวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับกับวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้เดินทางยังคงมีสิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ แต่ทั้งนี้ ไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามพระราชกฤษฎีกานี้ สำหรับส่วนที่เกินจำนวนเงินค่าใช้จ่ายที่ได้รับแล้วนั้น ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชี ๑ อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร[๔๘] (ยกเลิก) ๒. บัญชี ๒ อัตราค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร[๔๙] (ยกเลิก) ๓. บัญชี ๓ ค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร[๕๐] (ยกเลิก) ๔. บัญชี ๔ อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว[๕๑] (ยกเลิก) ๕. บัญชี ๕ อัตราค่าเครื่องแต่งตัวไปรับราชการประจำในต่างประเทศ[๕๒] (ยกเลิก) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการยังไม่เหมาะสม และกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเดินทางไปราชการชั่วคราวและประจำ ทั้งในราชอาณาจักรและต่างประเทศยังไม่เป็นระบบ และโดยที่ในปัจจุบันได้มีกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีปรับปรุงตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศ ของข้าราชการบางประเภทแตกต่างไปจากเดิมมาก สมควรปรับปรุงอัตราค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน และกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเดินทางไปราชการชั่วคราวและประจำทั้งในราชอาณาจักรและต่างประเทศขึ้นใหม่ให้เป็นระบบ ตลอดจนกำหนดสิทธิการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้สอดคล้องกับการปรับปรุงตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศของข้าราชการบางประเภท จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗[๕๓] มาตรา ๑๒ การเดินทางไปราชการที่ต่อเนื่องกันในระหว่างการใช้พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ กับพระราชกฤษฎีกานี้ สำหรับสิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหรือที่ก่อหนี้ผูกพันไปแล้วโดยสุจริตก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ มาตรา ๑๓ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบันและให้สะดวกในการปฏิบัติราชการ โดยกำหนดให้ปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดหรือผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติการเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักกรณีการเดินทางไปราชการชั่วคราวในประเทศเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันแทนการขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง แก้ไขให้ผู้เดินทางเลื่อนการขนย้ายสิ่งของส่วนตัวได้โดยไม่ต้องขออนุญาตผู้บังคับบัญชา กำหนดให้การเบิกค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายจริงในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวของบุคคลอื่นนอกจากอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าหรือผู้แทนส่วนราชการซึ่งเข้าร่วมในการประชุมระดับรัฐมนตรีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดแทนการอนุมัติของปลัดกระทรวงกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนระดับ ๙ และข้าราชการอื่นซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ามีสิทธิโดยสารเครื่องบินชั้นระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นต่ำสุด กำหนดให้ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชาซึ่งมีสิทธิเดินทางโดยชั้นหนึ่งบางตำแหน่งได้มีสิทธิเบิกค่าพาหนะเท่ากับผู้บังคับบัญชาดังกล่าว รวมทั้งกำหนดให้เบิกค่ารับรองและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการที่มีอัตรากำหนดไว้แน่นอนได้และเพิ่มประเทศอิรักลงในบัญชี ๔ กับประเทศบรูไนลงในบัญชี ๕ ท้ายพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๘[๕๔] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประการใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากทางราชการได้ประกาศปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งมีผลทำให้ค่าใช้จ่ายที่ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศได้รับเป็นเงินบาท เพื่อเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ตามบัญชี ๔ และค่าเครื่องแต่งตัวไปรับราชการประจำในต่างประเทศ ตามบัญชี ๕ ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ มีมูลค่าลดน้อยลง เมื่อคิดเทียบเป็นเงินตราต่างประเทศ อันมีผลทำให้ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวและผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศได้รับความเดือดร้อน ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของผู้เดินทางดังกล่าวอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา สมควรปรับปรุงอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ตามบัญชี ๔ และอัตราค่าเครื่องแต่งตัวไปรับราชการประจำในต่างประเทศ ตามบัญชี ๕ ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๙[๕๕] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๒๒ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๖ ขึ้นไปหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าข้าราชการตุลาการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป ข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันโท นาวาโท นาวาอากาศโทขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโทขึ้นไป ในการเบิกค่าพาหนะรับจ้างสำหรับการเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก หรือสถานที่ปฏิบัติราชการกับสถานียานพาหนะประจำทาง หรือกับสถานที่จัดพาหนะที่ต้องใช้ในการเดินทางไปยังสถานที่ปฏิบัติราชการไว้ไม่ชัดเจน สมควรแก้ไขมาตราดังกล่าวให้ชัดเจนเพื่อให้ข้าราชการดังกล่าวเบิกค่าพาหนะรับจ้างได้ สำหรับทั้งกรณีการเดินทางภายในเขตจังหวัดและกรณีการเดินทางข้ามเขตจังหวัดเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔[๕๖] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่สถานการณ์เศรษฐกิจ ของประเทศในปัจจุบันขยายตัวและประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น สมควรปรับปรุงอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.๒๕๒๖ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยแก้ไขหลักเกณฑ์การเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการต่างประเทศ ค่าเช่าที่พักทั้งในประเทศและในต่างประเทศให้เป็นไปในลักษณะเท่าที่จ่ายจริงได้ ทั้งนี้ โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณากำหนดจำนวนเงินหรือเงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าว เพื่อความคล่องตัวในการกำหนดอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทาง และค่าเช่าที่พักให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง และสมควรกำหนดมาตรการควบคุมการเบิกค่าเช่าที่พักโดยกำหนดหลักเกณฑ์การเบิกค่าเช่าที่พักในกรณีที่มีการเดินทางเป็นหมู่คณะขึ้น และกำหนดมาตรการป้องกันการทุจริตร่วมกับโรงแรมในการเบิกค่าเช่าที่พักขึ้นด้วย สำหรับการเดินทางไปศึกษา ฝึกอบรมหรือสัมมนา และการประชุมสัมมนาที่ส่วนราชการจัด มิได้มีแต่เพียงรายการค่าใช้จ่ายที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเท่านั้น ทำให้ส่วนราชการไม่อาจเบิกจ่ายส่วนที่มิได้กำหนดไว้และมีลักษณะแตกต่างไป สมควรยกเลิกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพื่อให้ส่วนราชการมีความคล่องตัวในการเบิกจ่ายและผู้เดินทางไปราชการได้รับค่าใช้จ่ายครบถ้วนตามที่ได้จ่ายจริง จึงจำเป็นต้องตรา พระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๑[๕๗] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ โดยส่วนใหญ่มีหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินอัตราที่กำหนด ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเกินความจำเป็นโดยไม่คำนึงถึงงบประมาณที่ได้รับ สมควรกำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมขึ้นไปมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงบประมาณรายจ่ายเพื่อควบคุมดูแลให้การเดินทางไปราชการเป็นไปโดยประหยัดและใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น และเพื่อให้การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเป็นไป เพื่อประโยชน์ของทางราชการโดยแท้จริง จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการประจำสำนักงานแห่งใหม่ตามคำร้องขอของตนเองไม่มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามเจตนารมณ์ดังกล่าวประกอบกับสมควรปรับปรุงอัตราค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ของผู้ที่ได้รับคำสั่งให้ไปดำรงตำแหน่งประจำในต่างประเทศหรือกรณีที่ผู้นั้นเดินทางกลับประเทศไทยให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณรายจ่าย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘[๕๘] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ยังไม่เหมาะสม จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเดินทางไปราชการชั่วคราวและราชการประจำในราชอาณาจักรและการเดินทางไปราชการต่างประเทศเสียใหม่ เพื่อให้ผู้มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการมีสิทธิเบิกจ่ายได้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓[๕๙] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา ๓ มาตรา ๔ และมาตรา ๕ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ปรับปรุงระบบตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญให้จำแนกตามกลุ่มลักษณะงานสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติดังกล่าว และโดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การเบิกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปลงศพหรือส่งศพกลับ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการถึงแก่ความตายในระหว่างเดินทางไปราชการ ประกอบกับสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าเช่าที่พัก และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในกรณีไปประจำสำนักงานซึ่งต่างสังกัด รวมทั้งหลักเกณฑ์การเบิกค่าโดยสารเครื่องบินในการเดินทางไปราชการชั่วคราวในราชอาณาจักรและการเบิกค่าโดยสารเครื่องบินของคู่สมรสหรือบุตรของข้าราชการหรือลูกจ้างให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ สุนันทา/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ จุฑามาศ/เพิ่มเติม ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๐/ตอนที่ ๗๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๗ พฤษภาคม ๒๕๒๖ [๒] มาตรา ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๑ [๓] มาตรา ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๔] มาตรา ๘/๑ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๕] มาตรา ๑๒ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๖] มาตรา ๑๒ ตรี เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๗] มาตรา ๑๓ (๒) ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๘] มาตรา ๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๙] มาตรา ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๑๐] มาตรา ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๑๑] มาตรา ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ [๑๒] มาตรา ๑๙ ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๑๓] มาตรา ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ [๑๔] มาตรา ๒๐ วรรคสอง ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๑๕] มาตรา ๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๑๖] มาตรา ๒๒ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๑๗] มาตรา ๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๑๘] มาตรา ๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๑๙] มาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๒๐] มาตรา ๒๙ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๒๑] มาตรา ๒๙/๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๒๒] มาตรา ๓๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๒๓] มาตรา ๓๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๒๔] มาตรา ๓๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๒๕] มาตรา ๓๖ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๒๖] มาตรา ๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๒๗] มาตรา ๓๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ [๒๘] มาตรา ๔๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๒๙] มาตรา ๔๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓๐] มาตรา ๔๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓๑] มาตรา ๕๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓๒] มาตรา ๕๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓๓] มาตรา ๕๑ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๓๔] มาตรา ๕๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓๕] มาตรา ๕๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓๖] มาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง (๑) (ช) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๓๗] มาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๓๘] มาตรา ๕๓ ทวิ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓๙] มาตรา ๕๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๔๐] มาตรา ๕๔ ทวิ ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๔๑] มาตรา ๕๕ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๔๒] มาตรา ๕๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๔๓] มาตรา ๖๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๔๔] มาตรา ๖๒ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๔๕] มาตรา ๖๔ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๔๖] มาตรา ๖๕ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๔๗] มาตรา ๗๐ แก้ไขพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๔๘] บัญชี ๑ อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๔๙]บัญชี ๒ อัตราค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๕๐] บัญชี ๓ ค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๕๑] บัญชี ๔ อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๕๒] บัญชี ๕ อัตราค่าเครื่องแต่งตัวไปรับราชการประจำในต่างประเทศ ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๕๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๗๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๖ มิถุนายน ๒๕๒๗ [๕๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๓๑ มกราคม ๒๕๒๘ [๕๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๙๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๓ มิถุนายน ๒๕๒๙ [๕๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๓๑ มกราคม ๒๕๓๔ [๕๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๙๖ ก/หน้า ๑/๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๑ [๕๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๗๖ ก/หน้า ๑/๒ กันยายน ๒๕๔๘ [๕๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๕๘ ก/หน้า ๑๐/๒๓ กันยายน ๒๕๕๓
635984
พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นปีที่ ๖๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา ๓ มาตรา ๔ และมาตรา ๕ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๒ ตรี ในลักษณะ ๑ บททั่วไปแห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ “มาตรา ๑๒ ตรี ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการถึงแก่ความตายระหว่างไปราชการ โดยเหตุแห่งความตายมิได้เกิดจากการประทุษร้ายด้วยเหตุส่วนตัวหรือการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนให้บุคคลในครอบครัวหรือผู้จัดการศพของผู้เดินทางไปราชการซึ่งถึงแก่ความตายนั้น ได้รับค่าพาหนะในการเดินทางเพื่อไปปลงศพ หรือค่าพาหนะและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับการส่งศพกลับ ทั้งนี้ ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๕ เบี้ยเลี้ยงเดินทางให้เบิกได้ในลักษณะเหมาจ่ายภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๗ การเดินทางไปราชการที่จำเป็นต้องพักแรม เว้นแต่การพักแรมซึ่งโดยปกติต้องพักแรมในยานพาหนะ หรือการพักแรมในที่พักแรมซึ่งทางราชการจัดที่พักไว้ให้แล้ว ให้ผู้เดินทางไปราชการเบิกค่าเช่าที่พักในลักษณะเหมาจ่ายหรือในลักษณะจ่ายจริงก็ได้ ทั้งนี้ ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด ในกรณีเป็นการเดินทางไปราชการในท้องที่ที่มีค่าครองชีพสูงหรือเป็นแหล่งท่องเที่ยวกระทรวงการคลังอาจกำหนดให้ผู้เดินทางไปราชการเบิกค่าเช่าที่พักในอัตราสูงได้ตามความจำเป็น การเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะซึ่งมีผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง หรือตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นสูง ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๕ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรี ขึ้นไป เป็นหัวหน้าคณะ หากมีความจำเป็นต้องใช้สถานที่ในที่เดียวกันกับที่พักเพื่อเป็นที่ประสานงานของคณะหรือบุคคลอื่น ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เพิ่มขึ้นสำหรับห้องพักอีกห้องหนึ่งหรือจะเบิกค่าเช่าห้องชุดแทนก็ได้เท่าที่จ่ายจริง ทั้งนี้ ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด” มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๒๒ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น และระดับสูง ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้นและระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ระดับอาวุโส และระดับทักษะพิเศษ หรือตำแหน่งระดับ ๖ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ขึ้นไป ให้เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้สำหรับกรณีดังต่อไปนี้ (๑) การเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก หรือสถานที่ปฏิบัติราชการกับสถานียานพาหนะประจำทาง หรือกับสถานที่จัดพาหนะที่ต้องใช้ในการเดินทางไปยังสถานที่ปฏิบัติราชการภายในเขตจังหวัดเดียวกัน (๒) การเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก กับสถานที่ปฏิบัติราชการภายในเขตจังหวัดเดียวกันวันละไม่เกินสองเที่ยว (๓) การเดินทางไปราชการในเขตกรุงเทพมหานคร” มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๗ การเดินทางไปราชการโดยเครื่องบิน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ชั้นธุรกิจ สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ (ก) หัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาล (ข) ประธานศาลฎีกา และรองประธานศาลฎีกา (ค) ประธานรัฐสภา และรองประธานรัฐสภา (ง) ประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา (จ) ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (ฉ) รัฐมนตรี (ช) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น และระดับสูง ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ หรือตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่าหรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือน ชั้น ๔ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป (๒) ชั้นประหยัดหรือชั้นต่ำสุด สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน และระดับอาวุโส หรือตำแหน่งระดับ ๖ ถึงระดับ ๘ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ขึ้นไป ทั้งนี้ นอกจากที่ระบุใน (๑) (ข) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ชั้น หรือยศ ต่ำกว่าที่ระบุใน (ก) เฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ ในการเดินทางไปราชการเพื่อรับเสด็จ ตามเสด็จ หรือส่งเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ หากที่นั่งโดยสารในชั้นที่กำหนดสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งตาม (๒) เต็ม และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินได้ให้ผู้ดำรงตำแหน่งที่เดินทางดังกล่าวสามารถเดินทางและเบิกค่าโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิได้โดยต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ การเดินทางซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม (๑) หรือ (๒) จะเบิกค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินค่าพาหนะในการเดินทางภาคพื้นดินระยะเดียวกันตามสิทธิซึ่งผู้เดินทางจะพึงเบิกได้ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิจะเบิกค่าโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิได้เมื่อได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง” มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๒๘ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๘ ผู้เดินทางไปราชการในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชาที่เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น และระดับสูง ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ หรือตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือกับข้าราชการตุลาการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ ขึ้นไป หรือกับข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือกับข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ขึ้นไป หรือกับข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป หากมีความจำเป็นต้องเดินทางพร้อมกับผู้บังคับบัญชาและเพื่อประโยชน์ในการประสานสั่งการในระหว่างเดินทางไปราชการ ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่ากับที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิกและให้พักแรมในที่เดียวกับผู้บังคับบัญชา โดยเบิกค่าเช่าที่พักได้ตามสิทธิที่ตนเองได้รับหรือเบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราต่ำสุดของที่พักนั้น แต่ไม่เกินอัตราที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิก” มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๙/๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๙/๑ นักบริหารการทูตระดับสูง ซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางกลับประเทศไทยเพื่อเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ เพื่อกราบถวายบังคมลาและรับพระราชสาส์นตราตั้งและพระราชสาส์นถอนก่อนเดินทางไปดำรงตำแหน่งประจำในต่างประเทศ หากจะนำคู่สมรสบุตรอายุไม่เกินยี่สิบห้าปีซึ่งไม่มีคู่สมรสและอยู่ในอุปการะที่จะต้องเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศด้วยและผู้ติดตามร่วมเดินทางกลับประเทศไทยเพื่อเดินทางพร้อมกันต่อเนื่องไปประเทศประจำการใหม่และประเทศไทยเป็นเส้นทางผ่านหรืออยู่ใกล้เคียงกับประเทศที่จะไปประจำการใหม่ ให้อยู่ในดุลยพินิจของปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดที่จะพิจารณาอนุญาตตามความจำเป็นและเหมาะสมและให้เบิกค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักได้ ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าพาหนะสำหรับคู่สมรสและบุตรดังกล่าว ให้เบิกได้ในอัตราเดียวกับนักบริหารการทูตระดับสูง แต่ถ้ามิได้เดินทางพร้อมกับนักบริหารการทูตระดับสูง ให้เบิกได้ในอัตราต่ำสุด สำหรับผู้ติดตามไม่ว่าจะเดินทางพร้อมกันหรือไม่ ให้เบิกได้ในอัตราต่ำสุด (๒) ค่าเช่าที่พักให้เบิกได้ตามความจำเป็น เว้นแต่กรณีที่ผู้เดินทางมีเคหสถานของตนเองที่สามารถพักอาศัยได้ ให้งดเบิกค่าเช่าที่พัก การเบิกค่าเช่าที่พัก ให้นักบริหารการทูตระดับสูง คู่สมรส บุตร และผู้ติดตามดังกล่าวพักแรมรวมกันสองคนต่อหนึ่งห้อง และให้เบิกค่าเช่าที่พักในอัตราค่าเช่าห้องพักคู่คนละไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่เหมาะสมจะพักรวมกัน หรือมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวสำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้เท่ากับข้าราชการในตำแหน่งระดับต่ำสุด” มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๓๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การเบิกค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะสำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้ ดังต่อไปนี้ (๑) หนึ่งคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน และระดับชำนาญงาน หรือตำแหน่งระดับ ๖ ลงมาหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ ลงมา หรือผู้ช่วยผู้พิพากษา หรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ลงมา (๒) ไม่เกินสองคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นและระดับสูง ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น และระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส และระดับทักษะพิเศษ หรือตำแหน่งระดับ ๗ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่าหรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก ขึ้นไป” มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔๑ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในกรณีไปประจำสำนักงานซึ่งต่างสังกัดให้เบิกจากสังกัดใหม่ซึ่งไปประจำ” มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๕๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะ ให้ผู้เดินทางไปราชการเบิกค่าเช่าที่พักได้ ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน และระดับอาวุโส หรือตำแหน่งระดับ ๘ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ลงมา หรือผู้ช่วยผู้พิพากษา หรือดะโต๊ะยุติธรรมหรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก ลงมา ให้พักแรมรวมกันสองคนต่อหนึ่งห้อง โดยให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่า ห้องพักคู่ คนละไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว ถ้าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวแยกพักห้องพักคนเดียวให้เบิกได้อัตราเดียวกัน เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่เหมาะสมจะพักรวมกัน หรือมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว (๒) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น และระดับสูง ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ หรือตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือน ชั้น ๔ ขึ้นไปหรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว (๓) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง หรือตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิหรือตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือน ชั้น ๓ ขั้นสูง ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๕ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรี ขึ้นไป ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะ หากมีความจำเป็นต้องใช้สถานที่ในที่เดียวกันกับที่พักเพื่อเป็นที่ประสานงานของคณะหรือกับบุคคลอื่น ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เพิ่มขึ้นสำหรับห้องพักอีกห้องหนึ่งในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวหรือจะเบิกค่าเช่าห้องชุดแทนก็ได้ แต่ทั้งนี้ ต้องมีอัตราไม่เกินสองเท่าของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว” มาตรา ๑๓ ให้ยกเลิกความใน (ช) ของ (๑) ในวรรคหนึ่งของมาตรา ๕๓ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ช) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง หรือตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิหรือตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นสูง ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๕ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี หรือพลอากาศตรี ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรี ขึ้นไป” มาตรา ๑๔ ให้ยกเลิกความใน (๒) ในวรรคหนึ่งของมาตรา ๕๓ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๒) ชั้นธุรกิจหรือชั้นระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นประหยัดหรือชั้นต่ำสุด สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ หรือตำแหน่งระดับ ๙ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่าหรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ” มาตรา ๑๕ ให้ยกเลิกความใน (๒) ของมาตรา ๕๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๒) เมื่อนักบริหารการทูตระดับต้น และระดับสูง หรือนักการทูตระดับชำนาญการพิเศษเป็นหัวหน้าคณะไปราชการในกรณี (ก) ถวายหรือยื่นพระราชสาส์นตราตั้ง หรือทูลลาหรือลาต่อพระราชาธิบดี หรือประมุขแห่งรัฐที่อยู่ในเขตอาณา (ข) ตามเสด็จพระราชดำเนินเนื่องในการที่พระมหากษัตริย์หรือพระราชินีเสด็จเยือนประเทศที่อยู่ในเขตอาณา (ค) รัฐบาลของประเทศที่อยู่ในเขตอาณาได้เชิญคู่สมรสไปร่วมงานพิธีในประเทศเขตอาณาด้วย” มาตรา ๑๖ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๖๒ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศจะเบิกค่าพาหนะสำหรับผู้ติดตามซึ่งได้รับอนุญาตจากกระทรวงเจ้าสังกัดแล้วได้ ดังต่อไปนี้ (๑) หนึ่งคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน และระดับชำนาญงาน หรือตำแหน่งระดับ ๖ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ลงมา หรือข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศพันตำรวจโท ลงมา (๒) ไม่เกินสองคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นและระดับสูงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น และระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโสและระดับทักษะพิเศษ หรือตำแหน่งระดับ ๗ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหาร ซึ่งรับเงินเดือนพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก ขึ้นไป” มาตรา ๑๗ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๖๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “คู่สมรสหรือบุตรซึ่งมิได้เดินทางติดตามไปอยู่ด้วยกับข้าราชการหรือลูกจ้างที่ไปราชการประจำในต่างประเทศ หากประสงค์จะติดตามข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศอื่นหรือเดินทางไปราชการประจำอีกเมืองหนึ่งในต่างประเทศเดียวกันตามมาตรา ๗๐ (๒) หรือ (๓) แล้วแต่กรณี ให้มีสิทธิโดยสารชั้นประหยัดหรือชั้นต่ำสุด โดยให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินอัตราขั้นต่ำสุดตามเส้นทางที่ข้าราชการหรือลูกจ้างนั้นได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการประจำ เว้นแต่ในกรณีที่คู่สมรสหรือบุตรมีความจำเป็นที่จะต้องร่วมเดินทางไปกับข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้นให้กระทรวงเจ้าสังกัดทำความตกลงกับกระทรวงการคลังจึงจะเบิกค่าโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิได้” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ปรับปรุงระบบตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญให้จำแนกตามกลุ่มลักษณะงานสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติดังกล่าว และโดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การเบิกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปลงศพหรือส่งศพกลับ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการถึงแก่ความตายในระหว่างเดินทางไปราชการ ประกอบกับสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าเช่าที่พัก และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในกรณีไปประจำสำนักงานซึ่งต่างสังกัด รวมทั้งหลักเกณฑ์การเบิกค่าโดยสารเครื่องบินในการเดินทางไปราชการชั่วคราวในราชอาณาจักรและการเบิกค่าโดยสารเครื่องบินของคู่สมรสหรือบุตรของข้าราชการหรือลูกจ้างให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๓ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๕๘ ก/หน้า ๑๐/๒๓ กันยายน ๒๕๕๓
626971
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๓ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นปีที่ ๖๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๓” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ (๒) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘ (๓) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ (๔) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๓ (๕) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ (๖) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๐ (๗) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๑ (๘) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “การรักษาพยาบาล” หมายความว่า การให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขโดยตรงแก่ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวของผู้มีสิทธิ เพื่อการรักษาโรค การตรวจวินิจฉัย การฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต และให้หมายความรวมถึงการตรวจสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคเพื่อประโยชน์ด้านสาธารณสุข ทั้งนี้ ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด แต่ไม่รวมถึงการเสริมความงาม “ค่ารักษาพยาบาล” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาล ดังต่อไปนี้ (๑) ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าเลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน ค่าน้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน และอื่น ๆ ทำนองเดียวกันที่ใช้ในการบำบัดรักษาโรค (๒) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซมอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ดังกล่าว (๓) ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการทางการพยาบาล ค่าตรวจวินิจฉัยโรค ค่าวิเคราะห์โรค แต่ไม่รวมถึงค่าธรรมเนียมแพทย์พิเศษ ค่าจ้างผู้พยาบาลพิเศษ ค่าธรรมเนียมพิเศษ และค่าบริการอื่นทำนองเดียวกันที่มีลักษณะเป็นเงินตอบแทนพิเศษ (๔) ค่าตรวจครรภ์ ค่าคลอดบุตรและการดูแลหลังคลอดบุตร (๕) ค่าห้องและค่าอาหาร ตลอดระยะเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล (๖) ค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นการเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันโรค (๗) ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ (๘) ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นแก่การรักษาพยาบาลตามที่กระทรวงการคลังกำหนด “สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานพยาบาลของทางราชการและสถานพยาบาลของเอกชน “สถานพยาบาลของทางราชการ” หมายความว่า สถานพยาบาลซึ่งเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และให้หมายความรวมถึงสถานพยาบาลของมหาวิทยาลัยของรัฐ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา องค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กรุงเทพมหานคร สภากาชาดไทย และองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก โรงพยาบาลประสานมิตร และสถานพยาบาลอื่นตามที่กระทรวงการคลังกำหนด “สถานพยาบาลของเอกชน” หมายความว่า สถานพยาบาลที่มีลักษณะการให้บริการเป็นโรงพยาบาล ซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการและดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล “ผู้มีสิทธิ” หมายความว่า (๑) ข้าราชการและลูกจ้างประจำซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำจากเงินงบประมาณรายจ่าย งบบุคลากรของกระทรวง ทบวง กรม เว้นแต่ข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจซึ่งอยู่ในระหว่างรับการศึกษาอบรมในสถานศึกษาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการประจำ (๒) ลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งมีหนังสือสัญญาจ้างที่ได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่ายและสัญญาจ้างนั้นมิได้ระบุเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลไว้ (๓) ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้ได้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด “บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า (๑) บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีสิทธิซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีสิทธิ แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น (๒) คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้มีสิทธิ (๓) บิดาหรือมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้มีสิทธิ มาตรา ๕ ให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวของตนตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ เพื่อประโยชน์ในการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้ผู้มีสิทธิมีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและบุคคลในครอบครัวของตนต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดพร้อมทั้งรับรองความถูกต้องของข้อมูล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๖ ให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรได้เพียงคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม ผู้มีสิทธิผู้ใดมีบุตรเกินสามคน และต่อมาบุตรคนหนึ่งคนใดในจำนวนสามคนตามวรรคหนึ่งตายลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะ ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรเพิ่มขึ้นอีกเท่าจำนวนบุตรที่ตาย โดยให้นับบุตรคนที่อยู่ในลำดับถัดไปก่อน การนับลำดับบุตร ให้นับเรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลัง ทั้งนี้ ไม่ว่าเป็นบุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งใด หรืออยู่ในอำนาจปกครองของตนหรือไม่ มาตรา ๗ ผู้มีสิทธิผู้ใดยังไม่มีบุตรหรือมีบุตรที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๖ ยังไม่ถึงสามคน ถ้าต่อมามีบุตรแฝดซึ่งทำให้มีจำนวนบุตรเกินสามคนให้ผู้มีสิทธิผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๖ สำหรับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้าย แต่บุตรแฝดดังกล่าวต้องเป็นบุตรซึ่งเกิดจากคู่สมรส หรือเป็นบุตรของตนเองในกรณีที่หญิงเป็นผู้ใช้สิทธิขอรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ในกรณีที่บุตรคนหนึ่งคนใดของผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่งตายลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะ ให้ลดจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลลงจนกว่าจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเหลือไม่เกินสามคน และหลังจากนั้นผู้มีสิทธิจึงจะมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นได้ตามมาตรา ๖ วรรคสอง เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ บทบัญญัติที่อ้างถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สามของผู้มีสิทธิให้หมายความถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายของผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๘ ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวของตน ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) การเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ ทั้งประเภทผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยใน (๒) การเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชนตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด ประเภทผู้ป่วยใน (๓) การเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชนที่มิใช่สถานพยาบาลตาม (๒) ประเภทผู้ป่วยใน เฉพาะกรณีที่ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวประสบอุบัติเหตุ อุบัติภัย หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต (๔) การเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชนตามที่กระทรวงการคลังกำหนดประเภทผู้ป่วยนอก เป็นครั้งคราว เพราะเหตุที่สถานพยาบาลของทางราชการมีความจำเป็นต้องส่งตัวให้แก่สถานพยาบาลของเอกชนนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือไม่ก็ตาม การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลโดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ประเภท และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๙ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลและก่อนที่การรักษาพยาบาลจะสิ้นสุดลง ผู้มีสิทธิได้พ้นสภาพความเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชาวต่างประเทศ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ หรือถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนหรือบุคคลในครอบครัวพ้นสภาพความเป็นบุคคลในครอบครัวตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาลในคราวนั้น มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่นให้ผู้มีสิทธิเลือกว่าจะใช้สิทธิรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ หรือใช้สิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่น และหากเลือกใช้สิทธิจากหน่วยงานอื่นผู้นั้นไม่มีสิทธิตามพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ การเลือกและการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ในกรณีที่บุคคลในครอบครัวมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิของตนเองจากหน่วยงานอื่น ผู้มีสิทธิไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุคคลในครอบครัวตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุคคลในครอบครัวเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ ในกรณีที่บุคคลในครอบครัวเป็นผู้อาศัยสิทธิของผู้อื่นซึ่งมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุคคลในครอบครัวจากหน่วยงานอื่นในขณะเดียวกัน ให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุคคลในครอบครัวตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๑ ในกรณีที่มีการทำสัญญาประกันภัยซึ่งให้ความคุ้มครองในการรักษาพยาบาลแก่ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัว หากสิทธิที่จะได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตามสัญญาประกันภัยนั้นต่ำกว่าค่ารักษาพยาบาลในคราวนั้น ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้เฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ แต่ต้องไม่เกินไปกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๒ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวได้รับค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุละเมิดเป็นค่ารักษาพยาบาลจากบุคคลอื่นแล้ว ผู้มีสิทธิไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้เฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ ในกรณีที่ได้มีการจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลไปแล้ว และปรากฏว่าผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวได้รับค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุละเมิดเป็นค่ารักษาพยาบาลจากบุคคลอื่นในภายหลัง ให้ผู้มีสิทธิส่งคืนเงินเท่ากับจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับดังกล่าว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๓ ในกรณีที่สถานพยาบาลไม่มียา เลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทนน้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ออกซิเจน อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคจำหน่ายหรือไม่อาจให้การตรวจทางห้องทดลองหรือโดยวิธีการเอกซเรย์แก่ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวได้เมื่อแพทย์ผู้ตรวจรักษาหรือหัวหน้าสถานพยาบาลของสถานพยาบาลแห่งนั้นลงลายมือชื่อรับรองตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนดแล้ว ให้ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวซื้อ หรือรับการตรวจทางห้องทดลองหรือโดยวิธีการเอกซเรย์จากสถานที่อื่นซึ่งอยู่ในประเทศไทยและนำมาเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๔ ในการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล ผู้มีสิทธิอาจนำหลักฐานการรับเงินที่สถานพยาบาลซึ่งตนเองหรือบุคคลในครอบครัวเข้ารับการรักษาพยาบาลออกให้มายื่นต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด หรืออาจให้สถานพยาบาลนั้นเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลแทนโดยระบบการเบิกจ่ายตรงก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิหรือสถานพยาบาลตามมาตรา ๑๔ เบิกเงินค่ารักษาพยาบาลโดยไม่เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือเกินสิทธิที่จะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ผู้มีสิทธิหรือสถานพยาบาลนั้นส่งคืนเงินที่ได้รับไปจากกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด เมื่อปรากฏว่าสถานพยาบาลใดมีพฤติการณ์ในทางทุจริตเกี่ยวกับการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลให้กระทรวงการคลังเรียกคืนเงินค่ารักษาพยาบาลและระงับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในระบบการเบิกจ่ายตรงกับสถานพยาบาลนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๖ ในกรณีที่ข้าราชการไปมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ หลักเกณฑ์และอัตราของเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของข้าราชการดังกล่าว รวมทั้งคู่สมรสและบุตรซึ่งไปอยู่ในต่างประเทศกับข้าราชการผู้นั้นขณะที่อยู่ในต่างประเทศ ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๗ ในกรณีที่ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงานในต่างประเทศ หรือเดินทางไปปฏิบัติราชการต่างประเทศชั่วคราว ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลขณะที่อยู่ในต่างประเทศ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๘ บรรดาระเบียบและประกาศที่ออกตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติมซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชกฤษฎีกานี้จนกว่าจะมีระเบียบหรือประกาศที่ออกตามพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เพื่อให้สอดคล้องกับการให้บริการทางการแพทย์และระบบประกันสุขภาพอื่น และเพื่อพัฒนาระบบสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของรัฐ โดยขยายสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในการเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชนให้กว้างขึ้นและกำหนดให้การเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรคเป็นการรักษาพยาบาลด้วย รวมทั้งกำหนดให้มีการนำระบบการเบิกจ่ายตรงมาใช้กับการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อันเป็นการลดขั้นตอนการดำเนินการ เพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมค่าใช้จ่ายของรัฐ และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๒๓ ก/หน้า ๑/๒ เมษายน ๒๕๕๓
624565
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการ ตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นปีที่ ๖๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๕ ข้าราชการซึ่งมีสิทธิเข้าร่วมโครงการต้องเป็นข้าราชการในสังกัดส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) ส่วนราชการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออกจากระบบราชการ (๒) ส่วนราชการที่ประสงค์จะยุบเลิกบางภารกิจ (๓) ส่วนราชการที่มีอัตรากำลังเกินความจำเป็น (๔) ส่วนราชการที่มีจำนวนข้าราชการอายุตั้งแต่ห้าสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปมากกว่าร้อยละสิบของจำนวนข้าราชการทั้งหมดของส่วนราชการนั้น หรือ (๕) ส่วนราชการอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๑) มีอายุตั้งแต่ห้าสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป เว้นแต่ข้าราชการทหารต้องมีอายุตั้งแต่สี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรือมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีขึ้นไป ทั้งนี้ ให้นับถึงวันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๓) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสอบสวน หรืออยู่ในระหว่างการดำเนินการลงโทษทางวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น ๆ หรือเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาซึ่งมิใช่ความผิดลหุโทษหรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท” มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๐ ให้นำความในมาตรา ๙ มาใช้บังคับกับผู้ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือตามมาตรา ๖ แล้วและต่อมาได้รับการบรรจุเป็นพนักงานราชการหรือพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา โดยอนุโลม ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่สัญญาจ้างมีระยะเวลาเกินหนึ่งปี โดยให้นับรวมระยะเวลาการต่ออายุสัญญาจ้างด้วย เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ “พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างให้ทำงานในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เป็นนิติบุคคล ทั้งที่เป็นส่วนราชการและที่เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ โดยผู้นั้นได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินรายได้ของสถานศึกษาของรัฐนั้น” มาตรา ๗ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๔ และมาตรา ๕ (๑) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ และให้ถือว่าข้าราชการดังกล่าวเป็นข้าราชการที่เข้าร่วมโครงการให้เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ และมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติไว้ มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากหลักเกณฑ์การจ่ายเงินตามโครงการให้เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ในส่วนที่เกี่ยวกับส่วนราชการที่เป็นสังกัดของข้าราชการซึ่งมีสิทธิเข้าร่วมโครงการ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของข้าราชการที่จะเข้าร่วมโครงการ ตลอดจนมาตรการควบคุมข้าราชการผู้เข้าร่วมโครงการที่ได้รับเงินช่วยเหลือแล้วแต่ได้รับการจ้างให้ทำงานในหน่วยงานของรัฐในภายหลังยังไม่ครอบคลุมบางกรณีที่เกิดขึ้นและทำให้เกิดอุปสรรคในการเข้าร่วมโครงการของข้าราชการบางประการ ทำให้มาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการตามนโยบายด้านการพัฒนาระบบราชการยังไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์สมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าว เพื่อส่งเสริมการดำเนินการตามนโยบายด้านการพัฒนาระบบราชการ รวมทั้งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะกรณีผู้เข้าร่วมโครงการที่ได้รับเงินช่วยเหลือแล้วและต่อมาได้รับการจ้างให้ทำงานในสถาบันอุดมศึกษา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ มีนาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๘ มีนาคม ๒๕๕๓ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๖ ก/หน้า ๑๗/๕ มีนาคม ๒๕๕๓
784983
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. 2544 (ฉบับ Update ณ วันที่ 19/06/2552)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๔[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นปีที่ ๕๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดการจ่ายเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๔” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเบี้ยกันดาร พ.ศ. ๒๕๒๔ มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “เงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ” หมายความว่า เงินที่จ่ายช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ เนื่องจากการปฏิบัติงานประจำสำนักงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่พิเศษ “สำนักงาน” หมายความว่า ที่ทำการของส่วนราชการสังกัดกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม แต่ไม่รวมถึงที่ทำการของส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ และหน่วยงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทต่าง ๆ ซึ่งได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่าย แต่ไม่รวมถึงข้าราชการสังกัดส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ “ลูกจ้างประจำ” หมายความว่า ลูกจ้างของส่วนราชการที่จ้างไว้เพื่อปฏิบัติงานที่มีลักษณะประจำโดยไม่มีกำหนดเวลา และได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย เว้นแต่ลูกจ้างชาวต่างประเทศที่มีสัญญาจ้าง มาตรา ๕ ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติราชการประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ หรือได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติราชการในลักษณะประจำตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดในสำนักงานในพื้นที่พิเศษ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษคนละหนึ่งพันบาทต่อเดือน มาตรา ๖ ให้กระทรวงการคลังประกาศกำหนดสำนักงานในพื้นที่พิเศษตาม มาตรา ๕ โดยร่วมพิจารณากับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้ (๑) ความยากลำบากของการคมนาคม (๒) ความขาดแคลนสาธารณูปโภค สาธารณูปการ หรือปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพ (๓) ความเสี่ยงภัย (๔) ความชุกชุมของโรคภัยไข้เจ็บ มาตรา ๗ การประกาศตามมาตรา ๖ ให้กระทรวงการคลังกระทำทุกปี มาตรา ๘[๒] ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ หากได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติราชการนอกสำนักงานเกินสิบห้าวันในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการดังกล่าวสำหรับระยะเวลาที่เกินสิบห้าวันนั้น (๑) การไปปฏิบัติราชการชั่วคราวนอกที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา หรือตามหน้าที่ที่ปฏิบัติราชการโดยปกติ (๒) การไปช่วยราชการ ไปรักษาการในตำแหน่ง หรือไปรักษาราชการแทน ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับกรณีข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาฝึกอบรม หรือดูงานด้วย มาตรา ๙ ในกรณีที่ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษมีสิทธิได้รับเงินตอบแทนอื่นในลักษณะทำนองเดียวกับเงินสวัสดิการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำนั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการดังกล่าวหรือเงินตอบแทนอื่น แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า มาตรา ๑๐ การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๑ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีการจ่ายเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ เพื่อใช้บังคับแทนการจ่ายเบี้ยกันดารตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเบี้ยกันดาร พ.ศ. ๒๕๒๔ เนื่องจากหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน เพราะรัฐต้องจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายสำหรับเงินสวัสดิการดังกล่าวเป็นจำนวนสูงขึ้นทุกปี และได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคมเป็นอย่างมากแล้ว อีกทั้งสมควรนำเรื่องการให้สิทธิประโยชน์ตอบแทนแก่ครูและลูกจ้างในโรงเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัย ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๓๑ มาบัญญัติรวมไว้ด้วย เพราะเป็นเงินที่จ่ายให้สำหรับการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษทำนองเดียวกับเบี้ยกันดาร จำจึงเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒[๓] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้กำหนดเหตุที่ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษไว้ ไม่ครอบคลุมถึงกรณีที่ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งไปปฏิบัติราชการชั่วคราวนอกที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา หรือตามหน้าที่ที่ปฏิบัติราชการโดยปกติ หรือในกรณีที่ไปรักษาการในตำแหน่ง นอกสำนักงานทำให้บุคคลดังกล่าวยังคงมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษเต็มจำนวนตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๔ อันก่อให้เกิดความลักลั่นกับข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่ปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษและได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติราชการนอกสำนักงานในกรณีอื่นซึ่งจะไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการดังกล่าวสำหรับระยะเวลาที่เกินสิบห้าวัน จึงสมควรกำหนดให้ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในกรณีดังกล่าว ไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษสำหรับระยะเวลาที่เกินสิบห้าวันนั้นด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ผู้จัดทำ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๑๑๒ ก/หน้า ๔๕/๔ ธันวาคม ๒๕๔๔ [๒] มาตรา ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๔๐ ก/หน้า ๔๖/๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๒
697385
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 (ฉบับ Update ณ วันที่ 18/12/2552)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๑) (๒) และ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ (๒) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ (๓) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ (๔) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๕) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๙ (๖) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๑ (๗) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๑ (๘) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร และข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู “เงินเดือน” หมายความว่า เงินเดือนสุทธิที่ข้าราชการได้รับ ทั้งนี้ เมื่อหักเงินเบิกลดเนื่องจากการปรับชั้นเงินเดือนออกแล้ว และรวมกับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชาหรือเงินเพิ่มการเลื่อนฐานะ หรือสำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ หรือสำหรับการสู้รบ “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงิน รัฐวิสาหกิจ หรือสหกรณ์ที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการเคหะ ทั้งนี้ ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ “ท้องที่” หมายความว่า กรุงเทพมหานคร อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือท้องที่ของอำเภอหรือกิ่งอำเภอที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดให้เป็นท้องที่เดียวกันตามมาตรา ๕ “ท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรก” หมายความว่า ท้องที่ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ หรือมีคำสั่งให้ไปปฏิบัติราชการ และได้มีการรายงานตัวเพื่อปฏิบัติราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้เป็นครั้งแรก “ท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่” หมายความว่า ท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ “ภัยพิบัติ” หมายความว่า ภัยธรรมชาติหรือความเสียหายอย่างใด ๆ ซึ่งเกิดขึ้นโดยที่ผู้ซึ่งได้รับความเสียหายนั้นไม่มีส่วนที่จะต้องร่วมรับผิดด้วย มาตรา ๕ ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจประกาศกำหนดให้อำเภอหรือกิ่งอำเภอหลายท้องที่รวมกันเป็นท้องที่เดียวกันได้ มาตรา ๖ การจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายเป็นเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราตามพระราชกฤษฎีกานี้ การเบิกจ่ายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๗[๒] ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้น (๑) ทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้อยู่แล้ว (๒) มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ โดยไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน (๓) ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในต่างท้องที่ตามคำร้องขอของตนเอง ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการผู้ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ที่เป็นท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ด้วย ข้าราชการผู้ใดได้รับเงินเดือนไม่ตรงกับที่กำหนดในบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามส่วนของเงินเดือนโดยคำนวณตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘ ข้าราชการผู้ใดต้องไปปฏิบัติราชการประจำสำนักงานในต่างท้องที่เนื่องจากสำนักงานที่ปฏิบัติราชการประจำอยู่เดิมได้ย้ายสถานที่ทำการไปตั้งในท้องที่ใหม่ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้เช่นเดียวกับข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ตามมาตรา ๗ เว้นแต่ท้องที่ใหม่ที่สำนักงานได้ย้ายไปนั้นอยู่ใกล้เคียงกับท้องที่ที่ตั้งสำนักงานเดิมตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๙ ข้าราชการผู้ใดรับราชการหรือได้รับคำสั่งให้ไปรับราชการในท้องที่ใด และไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเพราะเหตุที่มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสตามมาตรา ๗ (๒) แม้ว่ากรรมสิทธิ์ในเคหสถานได้โอนไปด้วยเหตุใดก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิที่จะได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการในระหว่างรับราชการในท้องที่นั้น เว้นแต่เคหสถานนั้นถูกทำลายหรือเสียหายเนื่องจากภัยพิบัติจนไม่สามารถพักอาศัยอยู่ได้ มาตรา ๑๐ ถ้าข้าราชการและคู่สมรสรับราชการในท้องที่เดียวกันและต่างก็มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้เบิกจ่ายได้เฉพาะคนใดคนหนึ่ง ข้าราชการผู้ใดมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ และมีคู่สมรสเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือพนักงานหรือเจ้าหน้าที่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือองค์การมหาชน ถ้าคู่สมรสของผู้นั้นได้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน หรือข้าราชการผู้นั้นได้อยู่ในที่พักอาศัยที่ทางราชการจัดให้แก่คู่สมรสในท้องที่เดียวกัน ข้าราชการผู้นั้นไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๑ ข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการอยู่แล้ว ภายหลังได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ถ้าเงินเดือนที่ได้รับเพิ่มขึ้นไม่ตรงกับที่กำหนดในบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการดังกล่าว ให้ได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามส่วนของเงินเดือนโดยคำนวณตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๒ การลดหรืองดเบิกจ่ายเงินเดือนแก่ข้าราชการผู้ใด เนื่องจากการถูกตัดเงินเดือนหรือการลาโดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน ไม่กระทบต่อสิทธิของผู้นั้นที่จะได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ และให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเสมือนหนึ่งไม่มีการลดหรืองดเบิกจ่ายเงินเดือนเช่นว่านั้น เว้นแต่เป็นการลาติดตามคู่สมรสซึ่งย้ายไปรับราชการในต่างประเทศ มาตรา ๑๓ ข้าราชการผู้ใดซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือมีกรณีอื่นใดอันเป็นเหตุให้ถูกงดเบิกจ่ายเงินเดือน ให้งดเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านข้าราชการ เมื่อกรณีถึงที่สุด ถ้าปรากฏว่าผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างกรณีเช่นว่านั้นสำหรับเดือนใด ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการสำหรับเดือนนั้นตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๔ ให้ข้าราชการมีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการตั้งแต่วันที่ข้าราชการผู้นั้นได้เช่าอยู่จริง แต่ไม่ก่อนวันที่รายงานตัวเพื่อเข้ารับหน้าที่ และให้สิ้นสุดในวันที่ขาดจากอัตราเงินเดือนหรือวันที่อยู่ในข่ายหมดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ถ้าผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นไม่สามารถออกเดินทางไปได้ในวันที่ส่งมอบหน้าที่ ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการต่อไปอีกไม่เกินสิบวันนับแต่วันส่งมอบหน้าที่ เว้นแต่มีความจำเป็นจะต้องอยู่ต่อไปอีก ให้เบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการต่อไปได้เท่าที่จำเป็นโดยได้รับการอนุมัติจากผู้ออกคำสั่งแต่งตั้ง มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการอยู่แล้วในท้องที่หนึ่งและต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นซึ่งตนมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าบ้านในท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการในท้องที่ใหม่ได้ ถ้าคู่สมรสหรือบุตรซึ่งอยู่ในอุปการะของข้าราชการผู้นั้นไม่อาจติดตามข้าราชการผู้นั้นไปได้ และมีความจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้านในท้องที่เดิมต่อไป มาตรา ๑๖ ข้าราชการซึ่งรับราชการประจำในต่างประเทศ ถ้าจำเป็นต้องเช่าบ้านให้เบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๗ ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ได้เช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ค้างชำระอยู่ในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและได้อาศัยอยู่จริงในบ้านนั้น ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ดังกล่าวมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (๑) ตนเอง หรือคู่สมรส ได้ทำการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านในท้องที่นั้น จะเบิกจ่ายได้เฉพาะบ้านหลังแรกเท่านั้น เว้นแต่บ้านหลังที่เคยใช้สิทธิถูกทำลายหรือเสียหายเนื่องจากภัยพิบัติจนไม่สามารถพักอาศัยอยู่ได้ (๒) หากเช่าซื้อหรือกู้เงินเพื่อชำระราคาบ้านร่วมกับบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่คู่สมรสและมีกรรมสิทธิ์รวมกับบุคคลอื่นในบ้านนั้น จะเบิกจ่ายค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ได้ตามสัดส่วนแห่งกรรมสิทธิ์สำหรับบ้านหลังดังกล่าว (๓) จะต้องเป็นการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านกับสถาบันการเงิน และสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาเงินกู้จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด (๔) จะต้องไม่เคยใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้สำหรับบ้านหลังหนึ่งหลังใดในท้องที่นั้นมาแล้ว เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับแต่งตั้งให้กลับไปรับราชการในท้องที่ที่เคยใช้สิทธินั้นอีก และเป็นการใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ตามที่ได้เคยใช้สิทธิมาแล้ว หรือขณะที่ย้ายมารับราชการในท้องที่นั้นบ้านที่เคยใช้สิทธิได้โอนกรรมสิทธิ์ไปแล้ว (๕) หากเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านสูงกว่าราคาบ้าน ให้นำค่าผ่อนชำระเงินกู้มาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ โดยให้คำนวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๙ ถึงมาตรา ๑๔ มาใช้บังคับกับการเช่าซื้อหรือการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านโดยอนุโลม มาตรา ๑๘ ข้าราชการซึ่งได้ใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามมาตรา ๑๗ และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นซึ่งตนมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านในท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการในท้องที่ใหม่ได้ มาตรา ๑๙ สิทธิที่จะเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งมาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ กำหนดให้มีอยู่ต่อไปนั้น ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๓ มาตรา ๒๐ สิทธิที่จะเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการของข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ตามคำร้องขอของตนเองตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งมีอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๒๑ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการศาลยุติธรรม และข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ[๓] ตำแหน่งระดับ ๑ ตำแหน่งระดับ ๒ ตำแหน่งระดับ ๓ ตำแหน่งระดับ ๔ ตำแหน่งระดับ ๕ ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นที่ ๑-๔.๕ ขั้นที่ ๕-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๘๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๒๕๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๐๐๐ ๑,๒๕๐ ๑,๕๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๒๕๐ ๑,๖๐๐ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๖๐๐ ๑,๙๕๐ ๒,๓๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๙๕๐ ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ตำแหน่งระดับ ๖ ตำแหน่งระดับ ๗ ตำแหน่งระดับ ๘ ตำแหน่งระดับ ๙ ตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๒ สำหรับข้าราชการตุลาการ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา ตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาล ตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ที่ได้รับเงินเดือนชั้น ๒ ตั้งแต่ตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ที่ได้รับเงินเดือนชั้น ๓ ถึง ตำแหน่งประธานศาลฎีกา ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๓ สำหรับข้าราชการอัยการ ตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ตั้งแต่ตำแหน่งอัยการจังหวัดผู้ช่วย ถึงตำแหน่งอัยการประจำกอง ตั้งแต่ตำแหน่งรองอัยการจังหวัด ถึงตำแหน่งอัยการประจำกรม ตั้งแต่ตำแหน่งอัยการจังหวัด ประจำกรมถึงตำแหน่งอัยการสูงสุด ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๔ สำหรับข้าราชการตำรวจ ระดับ พ. ๒ ระดับ ป. ๑ ระดับ ป. ๒ ระดับ ป. ๓ ระดับ ส. ๑ ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นที่ ๑-๔.๕ ๘๐๐ ขั้นที่ ๑-๔.๕ ๘๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ๑,๒๕๐ ขั้นที่ ๑-๑.๕ ๑,๖๐๐ ขั้นที่ ๑-๗.๕ ๑,๒๕๐ ขั้นที่ ๕–๑๐.๕ ๑,๐๐๐ ขั้นที่ ๕-๙.๕ ๑,๐๐๐ ขั้นที่ ๖–๑๐.๕ ๑,๖๐๐ ขั้นที่ ๒–๖.๕ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๘–๑๑.๕ ๑,๖๐๐ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๒๕๐ ขั้นที่ ๑๐–๑๔.๕ ๑,๒๕๐ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๗ ขึ้นไป ๒,๔๐๐ ขั้นที่ ๑๒–๑๕.๕ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๑๕ ขึ้นไป ๑,๕๐๐ ขั้นที่ ๑๖ ขึ้นไป ๒,๔๐๐ หมายเหตุ สำหรับอัตราเงินเดือนขั้นพิเศษของข้าราชการตำรวจที่กำหนดไว้เพื่อใช้เฉพาะกาลตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามอัตราดังต่อไปนี้ ขั้นพิเศษเงินเดือน ๖,๐๒๐–๗,๕๕๐ บาท มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ ๑,๒๕๐ บาท ขั้นพิเศษเงินเดือน ๗,๗๒๐-๘,๕๗๐ บาท มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ ๑,๖๐๐ บาท ระดับ ส. ๒ ระดับ ส. ๓ ระดับ ส. ๔ ระดับ ส. ๕ ระดับ ส. ๖ ขึ้นไป ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นชั่วคราว- ขั้นชั่วคราว- ขั้นชั่วคราว- ขั้นที่ ๑-๕.๕ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๑.๕ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๑.๕ ๒,๔๐๐ ขั้นที่ ๕.๕ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๒-๕.๕ ๒,๔๐๐ ขั้นที่ ๒ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๓,๕๐๐ ขั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๕ สำหรับข้าราชการทหาร ระดับ พ. ๒ ระดับ ป. ๑ ระดับ ป. ๒ ระดับ ป. ๓ ระดับ น. ๑ ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นที่ ๑-๔.๕ ๘๐๐ ชั้นที่ ๑-๔.๕ ๘๐๐ ชั้นที่ ๑-๕.๕ ๑,๒๕๐ ชั้นที่ ๑-๑.๕ ๑,๖๐๐ ชั้นที่ ๑-๗.๕ ๑,๒๕๐ ชั้นที่ ๕–๑๐.๕ ๑,๐๐๐ ชั้นที่ ๕-๙.๕ ๑,๐๐๐ ชั้นที่ ๖–๑๐.๕ ๑,๖๐๐ ชั้นที่ ๒–๖.๕ ๑,๙๕๐ ชั้นที่ ๘–๑๑.๕ ๑,๖๐๐ ชั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๒๕๐ ชั้นที่ ๑๐–๑๔.๕ ๑,๒๕๐ ชั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๙๕๐ ชั้นที่ ๗ ขึ้นไป ๒,๔๐๐ ชั้นที่ ๑๒–๑๕.๕ ๑,๙๕๐ ชั้นที่ ๑๕ ขึ้นไป ๑,๕๐๐ ชั้นที่ ๑๖ ขึ้นไป ๒,๔๐๐ หมายเหตุ สำหรับอัตราเงินเดือนขั้นพิเศษที่กำหนดไว้เพื่อใช้เฉพาะกาลตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามอัตราดังต่อไปนี้ ชั้นพิเศษเงินเดือน ๔,๑๐๐-๔,๘๐๐ บาท มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ ๘๐๐ บาท ชั้นพิเศษเงินเดือน ๔,๙๐๐-๕,๘๘๐ บาท มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ ๑๐๐๐ บาท ชั้นพิเศษเงินเดือน ๖,๐๒๐-๗,๕๕๐ บาท มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ ๑,๒๕๐บาท ชั้นพิเศษเงินเดือน ๗,๗๒๐–๘,๕๗๐ บาท มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ ๑,๖๐๐ บาท ระดับ น. ๒ ระดับ น. ๓ ระดับ น. ๔ ระดับ น. ๕ ระดับ น. ๖ ขึ้นไป ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นชั่วคราว- ชั้นชั่วคราว- ชั้นชั่วคราว- ชั้นที่ ๑-๕.๕ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ชั้นที่ ๑.๕ ๑,๙๕๐ ชั้นที่ ๑.๕ ๒,๔๐๐ ชั้นที่ ๕.๕ ๓,๐๐๐ ชั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๔,๐๐๐ ชั้นที่ ๒-๕.๕ ๒,๔๐๐ ชั้นที่ ๒ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ชั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๓,๕๐๐ ชั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๖ สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา[๔] ครูผู้ช่วย ตำแหน่งระดับ คศ. ๑ ตำแหน่งระดับ คศ. ๒ เงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท เงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท เงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๑-๒ ๑,๒๕๐ ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๑-๒ ๑,๒๕๐ ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๑-๘ ๒,๔๐๐ ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๓-๔ ๑,๖๐๐ ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๓-๑๐ ๑,๖๐๐ ขั้นที่ ๑-๑๐.๕ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๔.๕ ๑,๖๐๐ ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๑๑-๑๖ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๑๑-๒๐ ๓,๕๐๐ ขั้นที่ ๕-๘.๕ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๑-๑.๕ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๙-๑๒.๕ ๒,๔๐๐ ขั้นที่ ๒-๖.๕ ๒,๔๐๐ ขั้นที่ ๑๓ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๗-๒๑ ๓,๐๐๐ ตำแหน่งระดับ คศ. ๓ ตำแหน่งระดับ คศ. ๔ ตำแหน่งระดับ คศ. ๕ เงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท เงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๑-๘ ๒,๔๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๙-๑๖ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๖-๒๐ ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ๓,๕๐๐ ขั้นที่ ๑๑-๒๔ ๔,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๗ สำหรับข้าราชการพลเรือน[๕] ตำแหน่งประเภทบริหาร เงินเดือน/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ระดับต้น ตั้งแต่ ๒๓,๒๓๐ แต่ไม่ถึง ๒๙,๙๐๐ ตั้งแต่ ๒๙,๙๐๐ ขึ้นไป ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ระดับสูง - ๔,๐๐๐ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ เงินเดือน/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ระดับต้น ตั้งแต่ ๑๘,๙๑๐ แต่ไม่ถึง ๒๔,๓๑๐ ตั้งแต่ ๒๔,๓๑๐ แต่ไม่ถึง ๒๙,๘๐๐ ตั้งแต่ ๒๙,๘๐๐ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ระดับสูง ตั้งแต่ ๒๓,๒๓๐ แต่ไม่ถึง ๒๙,๙๐๐ ตั้งแต่ ๒๙,๙๐๐ ขึ้นไป ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ๒ ตำแหน่งประเภทวิชาการ เงินเดือน/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ระดับปฏิบัติการ ตั้งแต่ ๖,๘๐๐ แต่ไม่ถึง ๘,๓๒๐ ตั้งแต่ ๘,๓๒๐ แต่ไม่ถึง ๑๐,๑๙๐ ตั้งแต่ ๑๐,๑๙๐ แต่ไม่ถึง ๑๓,๑๐๐ ตั้งแต่ ๑๓,๑๐๐ แต่ไม่ถึง ๑๖,๐๗๐ ตั้งแต่ ๑๖,๐๗๐ ขึ้นไป ๑,๒๕๐ ๑,๖๐๐ ๑,๙๕๐ ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ระดับชำนาญการ ตั้งแต่ ๑๒,๕๓๐ แต่ไม่ถึง ๑๕,๔๑๐ ตั้งแต่ ๑๕,๔๑๐ แต่ไม่ถึง ๒๔,๒๕๐ ตั้งแต่ ๒๔,๒๕๐ ขึ้นไป ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ระดับชำนาญการพิเศษ ตั้งแต่ ๑๘,๙๑๐ แต่ไม่ถึง ๒๔,๓๑๐ ตั้งแต่ ๒๔,๓๑๐ แต่ไม่ถึง ๒๙,๘๐๐ ตั้งแต่ ๒๙,๘๐๐ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ระดับเชี่ยวชาญ ตั้งแต่ ๒๓,๒๓๐ แต่ไม่ถึง ๒๙,๙๐๐ ตั้งแต่ ๒๙,๙๐๐ ขึ้นไป ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ระดับทรงคุณวุฒิ - ๔,๐๐๐ ๓ ตำแหน่งประเภททั่วไป เงินเดือน/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ระดับปฏิบัติงาน ตั้งแต่ ๔,๖๓๐ แต่ไม่ถึง ๕,๕๓๐ ตั้งแต่ ๕,๕๓๐ แต่ไม่ถึง ๖,๘๐๐ ตั้งแต่ ๖,๘๐๐ แต่ไม่ถึง ๘,๓๒๐ ตั้งแต่ ๘,๓๒๐ แต่ไม่ถึง ๑๐,๖๔๐ ตั้งแต่ ๑๐,๖๔๐ แต่ไม่ถึง ๑๓,๑๐๐ ตั้งแต่ ๑๓,๑๐๐ ขึ้นไป ๘๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๒๕๐ ๑,๖๐๐ ๑,๙๕๐ ๒,๓๐๐ ระดับชำนาญงาน ตั้งแต่ ๑๐,๑๙๐ แต่ไม่ถึง ๑๒,๕๓๐ ตั้งแต่ ๑๒,๕๓๐ แต่ไม่ถึง ๑๖,๐๗๐ ตั้งแต่ ๑๖,๐๗๐ ขึ้นไป ๑,๙๕๐ ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ระดับอาวุโส ตั้งแต่ ๑๕,๔๑๐ แต่ไม่ถึง ๒๔,๒๕๐ ตั้งแต่ ๒๔,๒๕๐ แต่ไม่ถึง ๒๙,๘๐๐ ตั้งแต่ ๒๙,๘๐๐ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ระดับทักษะพิเศษ - ๔,๐๐๐ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่ชัดเจนทำให้เกิดปัญหาในการตีความและการวินิจฉัยสิทธิการได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ อีกทั้งเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยของข้าราชการ จึงสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเบิกค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าซื้อ และค่าผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านให้เหมาะสมยิ่งขึ้นนอกจากนี้ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ และบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงต้องปรับปรุงบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการให้สอดคล้องกับบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐[๖] มาตรา ๖ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๖ สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ให้มีผลใช้บังคับแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับเงินเดือนตามพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งได้เบิกเงินค่าเช่าบ้านตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการครู ข้าราชการศาลยุติธรรม และข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ไปก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ ในกรณีที่มีเงินส่วนต่างของอัตราค่าเช่าบ้านตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๖ สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ กับบัญชีอัตราค่าเช่าบ้าน ข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการครู ข้าราชการศาลยุติธรรมและข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้มีสิทธิได้รับเงินส่วนต่างของอัตราค่าเช่าบ้านที่ยังไม่ได้รับนั้น มาตรา ๗ สิทธิของข้าราชการผู้ที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ ให้เริ่มมีสิทธิการได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเมื่อได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ยังคงมีข้อยกเว้นที่ข้าราชการจะไม่ได้รับค่าเช่าบ้าน หากเป็นกรณีที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปรับราชการในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ สมควรปรับปรุงสิทธิการได้รับค่าเช่าบ้านให้สอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบันมากยิ่งขึ้น รวมทั้งมีความจำเป็นที่ต้องกำหนดให้มีบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้เปลี่ยนแปลงระบบตำแหน่งใหม่ เพื่อให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านในอัตราที่ถูกต้องและเป็นธรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒[๗] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการใช้บังคับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งมีผลเป็นการปรับปรุงระบบตำแหน่งข้าราชการพลเรือนโดยยกเลิกระดับตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนที่ได้ใช้มาแต่เดิม และปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งและการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือน สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ ให้สอดคล้องกับการกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยนำอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการสำหรับข้าราชการพลเรือนมากำหนดแยกต่างหากไว้เป็นอีกบัญชีหนึ่ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ชาญ/ผู้จัดทำ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๑ ก/หน้า ๒๙/๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๗ [๒] มาตรา ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๓] บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการศาลยุติธรรม และข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒ [๔] บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๖ สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๕] บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๗ สำหรับข้าราชการพลเรือน เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๘๙ ก/หน้า ๘๐/๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๐ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๙๔ ก/หน้า ๑๐/๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๒
620670
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นปีที่ ๖๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการศาลยุติธรรม และข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการศาลยุติธรรม และข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้แทน มาตรา ๔ ให้เพิ่มบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๗ สำหรับข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชกฤษฎีกานี้เป็นบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการศาลยุติธรรม และข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ตำแหน่งระดับ ๑ ตำแหน่งระดับ ๒ ตำแหน่งระดับ ๓ ตำแหน่งระดับ ๔ ตำแหน่งระดับ ๕ ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นที่ ๑-๔.๕ ขั้นที่ ๕-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๘๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๒๕๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๐๐๐ ๑,๒๕๐ ๑,๕๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๒๕๐ ๑,๖๐๐ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๖๐๐ ๑,๙๕๐ ๒,๓๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๙๕๐ ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ตำแหน่งระดับ ๖ ตำแหน่งระดับ ๗ ตำแหน่งระดับ ๘ ตำแหน่งระดับ ๙ ตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๗ สำหรับข้าราชการพลเรือน ตำแหน่งประเภทบริหาร เงินเดือน/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ระดับต้น ตั้งแต่ ๒๓,๒๓๐ แต่ไม่ถึง ๒๙,๙๐๐ ตั้งแต่ ๒๙,๙๐๐ ขึ้นไป ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ระดับสูง - ๔,๐๐๐ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ เงินเดือน/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ระดับต้น ตั้งแต่ ๑๘,๙๑๐ แต่ไม่ถึง ๒๔,๓๑๐ ตั้งแต่ ๒๔,๓๑๐ แต่ไม่ถึง ๒๙,๘๐๐ ตั้งแต่ ๒๙,๘๐๐ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ระดับสูง ตั้งแต่ ๒๓,๒๓๐ แต่ไม่ถึง ๒๙,๙๐๐ ตั้งแต่ ๒๙,๙๐๐ ขึ้นไป ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ๒ ตำแหน่งประเภทวิชาการ เงินเดือน/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ระดับปฏิบัติการ ตั้งแต่ ๖,๘๐๐ แต่ไม่ถึง ๘,๓๒๐ ตั้งแต่ ๘,๓๒๐ แต่ไม่ถึง ๑๐,๑๙๐ ตั้งแต่ ๑๐,๑๙๐ แต่ไม่ถึง ๑๓,๑๐๐ ตั้งแต่ ๑๓,๑๐๐ แต่ไม่ถึง ๑๖,๐๗๐ ตั้งแต่ ๑๖,๐๗๐ ขึ้นไป ๑,๒๕๐ ๑,๖๐๐ ๑,๙๕๐ ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ระดับชำนาญการ ตั้งแต่ ๑๒,๕๓๐ แต่ไม่ถึง ๑๕,๔๑๐ ตั้งแต่ ๑๕,๔๑๐ แต่ไม่ถึง ๒๔,๒๕๐ ตั้งแต่ ๒๔,๒๕๐ ขึ้นไป ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ระดับชำนาญการพิเศษ ตั้งแต่ ๑๘,๙๑๐ แต่ไม่ถึง ๒๔,๓๑๐ ตั้งแต่ ๒๔,๓๑๐ แต่ไม่ถึง ๒๙,๘๐๐ ตั้งแต่ ๒๙,๘๐๐ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ระดับเชี่ยวชาญ ตั้งแต่ ๒๓,๒๓๐ แต่ไม่ถึง ๒๙,๙๐๐ ตั้งแต่ ๒๙,๙๐๐ ขึ้นไป ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ระดับทรงคุณวุฒิ - ๔,๐๐๐ ๓ ตำแหน่งประเภททั่วไป เงินเดือน/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ/บาท ระดับปฏิบัติงาน ตั้งแต่ ๔,๖๓๐ แต่ไม่ถึง ๕,๕๓๐ ตั้งแต่ ๕,๕๓๐ แต่ไม่ถึง ๖,๘๐๐ ตั้งแต่ ๖,๘๐๐ แต่ไม่ถึง ๘,๓๒๐ ตั้งแต่ ๘,๓๒๐ แต่ไม่ถึง ๑๐,๖๔๐ ตั้งแต่ ๑๐,๖๔๐ แต่ไม่ถึง ๑๓,๑๐๐ ตั้งแต่ ๑๓,๑๐๐ ขึ้นไป ๘๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๒๕๐ ๑,๖๐๐ ๑,๙๕๐ ๒,๓๐๐ ระดับชำนาญงาน ตั้งแต่ ๑๐,๑๙๐ แต่ไม่ถึง ๑๒,๕๓๐ ตั้งแต่ ๑๒,๕๓๐ แต่ไม่ถึง ๑๖,๐๗๐ ตั้งแต่ ๑๖,๐๗๐ ขึ้นไป ๑,๙๕๐ ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ระดับอาวุโส ตั้งแต่ ๑๕,๔๑๐ แต่ไม่ถึง ๒๔,๒๕๐ ตั้งแต่ ๒๔,๒๕๐ แต่ไม่ถึง ๒๙,๘๐๐ ตั้งแต่ ๒๙,๘๐๐ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ระดับทักษะพิเศษ - ๔,๐๐๐ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการใช้บังคับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งมีผลเป็นการปรับปรุงระบบตำแหน่งข้าราชการพลเรือนโดยยกเลิกระดับตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนที่ได้ใช้มาแต่เดิม และปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งและการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือน สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ ให้สอดคล้องกับการกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยนำอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการสำหรับข้าราชการพลเรือนมากำหนดแยกต่างหากไว้เป็นอีกบัญชีหนึ่ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ ชาญ/ปรับปรุง ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๙๔ ก/หน้า ๑๐/๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๒
609525
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2552
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๕๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นปีที่ ๖๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๕๒” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔ นว แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔ นว ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ถ้าได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญรวมกันทุกประเภทเมื่อรวมกับ ช.ค.บ. แล้ว ต่ำกว่าเดือนละหกพันบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของจำนวนเงินหกพันบาทหักด้วยจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญทุกประเภท และ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันได้เพิ่มสูงขึ้น สมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ เพื่อให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดบำนาญซึ่งเมื่อรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญแล้วต่ำกว่าเดือนละหกพันบาทได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มอีกตามอัตราที่กำหนด อันเป็นการช่วยเหลือบุคคลดังกล่าวในการครองชีพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๒ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๔๖ ก/หน้า ๑๑/๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒
606523
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นปีที่ ๖๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๘ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๘ ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ หากได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติราชการนอกสำนักงานเกินสิบห้าวันในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการดังกล่าวสำหรับระยะเวลาที่เกินสิบห้าวันนั้น (๑) การไปปฏิบัติราชการชั่วคราวนอกที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา หรือตามหน้าที่ที่ปฏิบัติราชการโดยปกติ (๒) การไปช่วยราชการ ไปรักษาการในตำแหน่ง หรือไปรักษาราชการแทน ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับกรณีข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาฝึกอบรม หรือดูงานด้วย” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้กำหนดเหตุที่ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษไว้ ไม่ครอบคลุมถึงกรณีที่ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งไปปฏิบัติราชการชั่วคราวนอกที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา หรือตามหน้าที่ที่ปฏิบัติราชการโดยปกติ หรือในกรณีที่ไปรักษาการในตำแหน่ง นอกสำนักงานทำให้บุคคลดังกล่าวยังคงมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษเต็มจำนวนตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๔ อันก่อให้เกิดความลักลั่นกับข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่ปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษและได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติราชการนอกสำนักงานในกรณีอื่นซึ่งจะไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการดังกล่าวสำหรับระยะเวลาที่เกินสิบห้าวัน จึงสมควรกำหนดให้ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในกรณีดังกล่าว ไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษสำหรับระยะเวลาที่เกินสิบห้าวันนั้นด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๔๐ ก/หน้า ๔๖/๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๒
605277
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุม ค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่นในการดำเนินงานของประธานสภา รองประธานสภา สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง กรรมการสรรหา และกรรมการ ในสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. 2552
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุม ค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่น ในการดำเนินงานของประธานสภา รองประธานสภา สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง กรรมการสรรหา และกรรมการ ในสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นปีที่ ๖๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเบี้ยประชุม ค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่นในการดำเนินงานของประธานสภา รองประธานสภา สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง กรรมการสรรหาและกรรมการ ในสภาพัฒนาการเมือง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกับมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑ และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุม ค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่นในการดำเนินงานของประธานสภา รองประธานสภา สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง กรรมการสรรหา และกรรมการ ในสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๒” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “รองประธานสภา” หมายความว่า รองประธานสภาพัฒนาการเมือง “กรรมการสรรหา” หมายความว่า กรรมการสรรหาสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง มาตรา ๔ ให้ประธานสภา รองประธานสภา และสมาชิกสภาพัฒนาการเมืองได้รับเบี้ยประชุมเหมาจ่ายเป็นรายเดือนเฉพาะในเดือนที่มีการประชุมและมาประชุมอย่างน้อยหนึ่งครั้งในเดือนนั้น ดังต่อไปนี้ (๑) ประธานสภา เดือนละหนึ่งหมื่นห้าพันบาท (๒) รองประธานสภา เดือนละหนึ่งหมื่นสี่พันบาท (๓) สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง เดือนละหนึ่งหมื่นสองพันบาท (๔) เลขานุการ เดือนละหนึ่งหมื่นสองพันบาท มาตรา ๕ ให้กรรมการสรรหาได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ดังต่อไปนี้ (๑) ประธานกรรมการสรรหา ครั้งละสองพันห้าร้อยบาท (๒) กรรมการสรรหา ครั้งละสองพันบาท (๓) เลขานุการ ครั้งละสองพันบาท มาตรา ๖ ให้กรรมการตามมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ดังต่อไปนี้ (๑) ประธานกรรมการ ครั้งละสองพันห้าร้อยบาท (๒) รองประธานกรรมการ ครั้งละสองพันบาท (๓) กรรมการ ครั้งละสองพันบาท (๔) เลขานุการ ครั้งละสองพันบาท มาตรา ๗ ให้กรรมการบริหารสำนักงาน กรรมการอิสระติดตามและประเมินผลและกรรมการบริหารกองทุนได้รับเบี้ยประชุมเหมาจ่ายเป็นรายเดือนเฉพาะในเดือนที่มีการประชุมและมาประชุมอย่างน้อยหนึ่งครั้งในเดือนนั้น ดังต่อไปนี้ (๑) ประธานกรรมการ เดือนละหนึ่งหมื่นสองพันบาท (๒) รองประธานกรรมการ เดือนละหนึ่งหมื่นหนึ่งพันบาท (๓) กรรมการ เดือนละเก้าพันบาท (๔) เลขานุการ เดือนละเก้าพันบาท มาตรา ๘ ให้ประธานสภา รองประธานสภา และสมาชิกสภาพัฒนาการเมืองมีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลหรือการประกันสุขภาพตามที่จ่ายจริงในอัตราเบี้ยประกันคนละไม่เกินสองหมื่นบาทต่อปี เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานตามพระราชกฤษฎีกานี้ “การประกันสุขภาพ” ให้หมายถึงการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองทางด้านการเงินเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สำหรับการรักษาตัวในสถานพยาบาลหรือคลินิก หรือเข้ารับการผ่าตัดโดยแพทย์ ในกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ ในกรณีที่ประธานสภา รองประธานสภา และสมาชิกสภาพัฒนาการเมืองมีสิทธิหรือได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลหรือการประกันสุขภาพจากหน่วยงานอื่นแล้ว บุคคลนั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลหรือการประกันสุขภาพตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่ารักษาพยาบาลหรือการประกันสุขภาพที่ได้รับนั้นต่ำกว่าค่ารักษาพยาบาลหรือการประกันสุขภาพที่มีสิทธิได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้มีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลหรือการประกันสุขภาพเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ มาตรา ๙ ให้ประธานสภา รองประธานสภา สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง กรรมการสรรหาหรือกรรมการตามมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานสภาพัฒนาการเมืองกำหนด เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานตามพระราชกฤษฎีกานี้ “การเดินทางไปปฏิบัติงาน” ให้หมายถึงการเดินทางไปปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่หรือตามที่สภาพัฒนาการเมืองมอบหมายไม่ว่าภายในประเทศหรือต่างประเทศ มาตรา ๑๐ ให้ประธานสภา รองประธานสภา สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง กรรมการสรรหา กรรมการตามมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑ กรรมการบริหารสำนักงาน กรรมการอิสระติดตามและประเมินผล และกรรมการบริหารกองทุน ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม ค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่นในการดำเนินงานตามพระราชกฤษฎีกานี้นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง มาตรา ๑๑ ให้ประธานรัฐสภาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติให้ประธานสภา รองประธานสภา สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง กรรมการสรรหา และกรรมการได้รับเบี้ยประชุม ค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่นในการดำเนินงานตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ บัญญัติให้การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายในประเภทค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและเบี้ยประชุมกรรมการ ให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว สมควรกำหนดเบี้ยประชุม ค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่นในการดำเนินงานของประธานสภา รองประธานสภา สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง กรรมการสรรหา และกรรมการในสภาพัฒนาการเมือง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๒ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๖ ก/หน้า ๑/๔ มิถุนายน ๒๕๕๒
579240
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2551
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการ ปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๕๑” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ และข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร “โครงการ” หมายความว่า โครงการให้เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ “เงินเดือนเดือนสุดท้าย” หมายความว่า เงินเดือนที่ได้รับจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ออกจากราชการ รวมทั้งเงินเดือนที่ได้เลื่อนครั้งสุดท้ายก่อนออกจากราชการ และเงินประจำตำแหน่ง แต่ไม่รวมถึงเงินเพิ่มทุกประเภท “เงินประจำตำแหน่ง” หมายความว่า เงินประจำตำแหน่งตามบัญชีท้ายกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง หรือเงินวิทยฐานะตามบัญชีท้ายกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับในเดือนสุดท้ายที่ออกจากราชการ ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึง (๑) เงินประจำตำแหน่งของผู้มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งแต่ได้งดไว้โดยเลือกรับเงินประเภทอื่นแทน (๒) เงินค่าตอบแทนของผู้มีสิทธิได้รับในอัตราเท่ากับเงินประจำตำแหน่งตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนพิเศษชั่วคราวของข้าราชการในช่วงปรับโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม ใหม่ “เงินช่วยเหลือ” หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่ข้าราชการซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ “เวลาราชการ” หมายความว่า เวลาที่ข้าราชการรับราชการมาตั้งแต่ต้นจนถึงวันสุดท้ายที่ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แต่ไม่รวมถึงเวลาราชการที่มีสิทธิได้นับเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ “เวลาราชการที่เหลือ” หมายความว่า เวลาตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการจนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ของปีงบประมาณที่ข้าราชการผู้ประสงค์จะลาออกจากราชการมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ มาตรา ๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๕ ข้าราชการซึ่งมีสิทธิเข้าร่วมโครงการต้องเป็นข้าราชการในสังกัดส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) ส่วนราชการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออกจากระบบราชการ (๒) ส่วนราชการที่ประสงค์จะยุบเลิกบางภารกิจ (๓) ส่วนราชการที่มีอัตรากำลังเกินความจำเป็น หรือ (๔) ส่วนราชการที่มีจำนวนข้าราชการอายุตั้งแต่ห้าสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปมากกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนข้าราชการทั้งหมดของส่วนราชการนั้น มาตรา ๕ ข้าราชการซึ่งจะเข้าร่วมโครงการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ ในวันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ (๑) มีอายุตั้งแต่ห้าสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปหรือมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีขึ้นไป ทั้งนี้ ให้นับถึงวันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ (๒) มีเวลาราชการที่เหลือไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ (๓) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสอบสวน หรืออยู่ในระหว่างการดำเนินการลงโทษทางวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น ๆ หรือเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาซึ่งมิใช่ความผิดลหุโทษหรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท (๔) ไม่เป็นผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะต้องออกจากราชการไม่ว่ากรณีใด ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น ๆ (๕) ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างปฏิบัติราชการชดใช้ตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับส่วนราชการในการไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย เว้นแต่จะยินยอมชดใช้เงินตามสัญญาผูกพันที่ได้ทำไว้กับราชการและได้ปฏิบัติราชการชดใช้มาแล้วไม่น้อยกว่าระยะเวลาศึกษา ฝึกอบรมหรือปฏิบัติการวิจัยนั้น วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามวรรคหนึ่งต้องอยู่ในระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ถึงวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขของโครงการ มาตรา ๖ ให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ข้าราชการซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามโครงการเป็นจำนวนเท่ากับจำนวนปีของเวลาราชการที่เหลือบวกด้วยแปดและคูณด้วยเงินเดือนเดือนสุดท้าย แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินสิบห้าเท่าของเงินเดือนเดือนสุดท้าย การนับเวลาราชการที่เหลือตามวรรคหนึ่ง ให้คำนวณเป็นปี แต่ถ้ามีเศษของปีถึงครึ่งปีให้ได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มขึ้นอีกครึ่งหนึ่งของเงินเดือนเดือนสุดท้าย การเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด การรับเงินช่วยเหลือตามวรรคหนึ่ง ไม่ตัดสิทธิของข้าราชการที่มีอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการรวมถึงสิทธิประโยชน์อื่นใดที่ทางราชการให้แก่ผู้รับบำเหน็จบำนาญ มาตรา ๗ ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือตามมาตรา ๖ ถึงแก่ความตายก่อนได้รับเงินช่วยเหลือ ให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้มีสิทธิรับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘ ภายในระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ หากปรากฏว่าข้าราชการซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามลักษณะหนึ่งลักษณะใดตามมาตรา ๕ ข้าราชการผู้นั้นไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินช่วยเหลือตามมาตรา ๖ และให้ส่วนราชการที่อนุญาตให้ลาออกจากราชการเรียกเงินช่วยเหลือคืน โดยผู้นั้นต้องคืนเงินช่วยเหลือภายในเวลาและตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งประสงค์จะกลับเข้ารับราชการ และมิใช่กรณีที่เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๕ (๓) หรือ (๔) ให้หัวหน้าส่วนราชการซึ่งอนุญาตให้ลาออกจากราชการสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ผู้นั้นดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดิมแต่ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินอื่นที่จ่ายเป็นรายเดือน และสิทธิประโยชน์อย่างอื่นที่ทางราชการให้แก่ผู้นั้นในระหว่างที่ไม่ได้ปฏิบัติราชการ มาตรา ๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๘ ผู้ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือตามมาตรา ๖ แล้วหากกลับเข้าเป็นข้าราชการประจำในส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือกำกับของฝ่ายบริหารอีก ให้ผู้นั้นส่งคืนเงินช่วยเหลือที่ได้รับไว้ทั้งหมด พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากประจำสิบสองเดือนของธนาคารออมสินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๐ ให้นำความในมาตรา ๙ มาใช้บังคับกับผู้ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือตามมาตรา ๖ แล้ว และต่อมาได้รับการบรรจุเป็นพนักงานราชการ โดยอนุโลม ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่สัญญาจ้างมีระยะเวลาเกินหนึ่งปี โดยให้นับรวมระยะเวลาการต่ออายุสัญญาจ้างด้วย มาตรา ๑๑ ให้โครงการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการที่ส่วนราชการตามมาตรา ๔ ได้ดำเนินการก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ เป็นโครงการตามพระราชกฤษฎีกานี้ และให้ข้าราชการซึ่งแสดงความประสงค์และได้รับการอนุมัติเข้าร่วมโครงการดังกล่าวก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ เป็นการแสดงความประสงค์และได้รับการอนุมัติเข้าร่วมโครงการตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๒ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐบาลมีนโยบายให้เงินช่วยเหลือแก่ข้าราชการซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ส่วนราชการออกจากระบบราชการ หรือส่วนราชการประสงค์จะยุบเลิกบางภารกิจมีอัตรากำลังเกินความจำเป็น หรือมีจำนวนข้าราชการอายุตั้งแต่ห้าสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปมากกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนข้าราชการทั้งหมดของส่วนราชการนั้น โดยการปรับปรุงอัตรากำลังดังกล่าวจะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยรวมของส่วนราชการนั้นและมีงบประมาณรองรับ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พัชรินทร์/ผู้จัดทำ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๑ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๗๐ ก/หน้า ๑/๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๑
697381
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 (ฉบับ Update ณ วันที่ 10/12/2550)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๑) (๒) และ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ (๒) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ (๓) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ (๔) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๕) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๙ (๖) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๑ (๗) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๑ (๘) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร และข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู “เงินเดือน” หมายความว่า เงินเดือนสุทธิที่ข้าราชการได้รับ ทั้งนี้ เมื่อหักเงินเบิกลดเนื่องจากการปรับชั้นเงินเดือนออกแล้ว และรวมกับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชาหรือเงินเพิ่มการเลื่อนฐานะ หรือสำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ หรือสำหรับการสู้รบ “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงิน รัฐวิสาหกิจ หรือสหกรณ์ที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการเคหะ ทั้งนี้ ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ “ท้องที่” หมายความว่า กรุงเทพมหานคร อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือท้องที่ของอำเภอหรือกิ่งอำเภอที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดให้เป็นท้องที่เดียวกันตามมาตรา ๕ “ท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรก” หมายความว่า ท้องที่ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ หรือมีคำสั่งให้ไปปฏิบัติราชการ และได้มีการรายงานตัวเพื่อปฏิบัติราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้เป็นครั้งแรก “ท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่” หมายความว่า ท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ “ภัยพิบัติ” หมายความว่า ภัยธรรมชาติหรือความเสียหายอย่างใด ๆ ซึ่งเกิดขึ้นโดยที่ผู้ซึ่งได้รับความเสียหายนั้นไม่มีส่วนที่จะต้องร่วมรับผิดด้วย มาตรา ๕ ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจประกาศกำหนดให้อำเภอหรือกิ่งอำเภอหลายท้องที่รวมกันเป็นท้องที่เดียวกันได้ มาตรา ๖ การจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายเป็นเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราตามพระราชกฤษฎีกานี้ การเบิกจ่ายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๗[๒] ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้น (๑) ทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้อยู่แล้ว (๒) มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ โดยไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน (๓) ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในต่างท้องที่ตามคำร้องขอของตนเอง ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการผู้ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ที่เป็นท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ด้วย ข้าราชการผู้ใดได้รับเงินเดือนไม่ตรงกับที่กำหนดในบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามส่วนของเงินเดือนโดยคำนวณตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘ ข้าราชการผู้ใดต้องไปปฏิบัติราชการประจำสำนักงานในต่างท้องที่เนื่องจากสำนักงานที่ปฏิบัติราชการประจำอยู่เดิมได้ย้ายสถานที่ทำการไปตั้งในท้องที่ใหม่ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้เช่นเดียวกับข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ตามมาตรา ๗ เว้นแต่ท้องที่ใหม่ที่สำนักงานได้ย้ายไปนั้นอยู่ใกล้เคียงกับท้องที่ที่ตั้งสำนักงานเดิมตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๙ ข้าราชการผู้ใดรับราชการหรือได้รับคำสั่งให้ไปรับราชการในท้องที่ใด และไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเพราะเหตุที่มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสตามมาตรา ๗ (๒) แม้ว่ากรรมสิทธิ์ในเคหสถานได้โอนไปด้วยเหตุใดก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิที่จะได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการในระหว่างรับราชการในท้องที่นั้น เว้นแต่เคหสถานนั้นถูกทำลายหรือเสียหายเนื่องจากภัยพิบัติจนไม่สามารถพักอาศัยอยู่ได้ มาตรา ๑๐ ถ้าข้าราชการและคู่สมรสรับราชการในท้องที่เดียวกันและต่างก็มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้เบิกจ่ายได้เฉพาะคนใดคนหนึ่ง ข้าราชการผู้ใดมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ และมีคู่สมรสเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือพนักงานหรือเจ้าหน้าที่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือองค์การมหาชน ถ้าคู่สมรสของผู้นั้นได้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน หรือข้าราชการผู้นั้นได้อยู่ในที่พักอาศัยที่ทางราชการจัดให้แก่คู่สมรสในท้องที่เดียวกัน ข้าราชการผู้นั้นไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๑ ข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการอยู่แล้ว ภายหลังได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ถ้าเงินเดือนที่ได้รับเพิ่มขึ้นไม่ตรงกับที่กำหนดในบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการดังกล่าว ให้ได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามส่วนของเงินเดือนโดยคำนวณตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๒ การลดหรืองดเบิกจ่ายเงินเดือนแก่ข้าราชการผู้ใด เนื่องจากการถูกตัดเงินเดือนหรือการลาโดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน ไม่กระทบต่อสิทธิของผู้นั้นที่จะได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ และให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเสมือนหนึ่งไม่มีการลดหรืองดเบิกจ่ายเงินเดือนเช่นว่านั้น เว้นแต่เป็นการลาติดตามคู่สมรสซึ่งย้ายไปรับราชการในต่างประเทศ มาตรา ๑๓ ข้าราชการผู้ใดซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือมีกรณีอื่นใดอันเป็นเหตุให้ถูกงดเบิกจ่ายเงินเดือน ให้งดเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านข้าราชการ เมื่อกรณีถึงที่สุด ถ้าปรากฏว่าผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างกรณีเช่นว่านั้นสำหรับเดือนใด ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการสำหรับเดือนนั้นตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๔ ให้ข้าราชการมีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการตั้งแต่วันที่ข้าราชการผู้นั้นได้เช่าอยู่จริง แต่ไม่ก่อนวันที่รายงานตัวเพื่อเข้ารับหน้าที่ และให้สิ้นสุดในวันที่ขาดจากอัตราเงินเดือนหรือวันที่อยู่ในข่ายหมดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ถ้าผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นไม่สามารถออกเดินทางไปได้ในวันที่ส่งมอบหน้าที่ ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการต่อไปอีกไม่เกินสิบวันนับแต่วันส่งมอบหน้าที่ เว้นแต่มีความจำเป็นจะต้องอยู่ต่อไปอีก ให้เบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการต่อไปได้เท่าที่จำเป็นโดยได้รับการอนุมัติจากผู้ออกคำสั่งแต่งตั้ง มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการอยู่แล้วในท้องที่หนึ่งและต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นซึ่งตนมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าบ้านในท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการในท้องที่ใหม่ได้ ถ้าคู่สมรสหรือบุตรซึ่งอยู่ในอุปการะของข้าราชการผู้นั้นไม่อาจติดตามข้าราชการผู้นั้นไปได้ และมีความจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้านในท้องที่เดิมต่อไป มาตรา ๑๖ ข้าราชการซึ่งรับราชการประจำในต่างประเทศ ถ้าจำเป็นต้องเช่าบ้านให้เบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๗ ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ได้เช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ค้างชำระอยู่ในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและได้อาศัยอยู่จริงในบ้านนั้น ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ดังกล่าวมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (๑) ตนเอง หรือคู่สมรส ได้ทำการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านในท้องที่นั้น จะเบิกจ่ายได้เฉพาะบ้านหลังแรกเท่านั้น เว้นแต่บ้านหลังที่เคยใช้สิทธิถูกทำลายหรือเสียหายเนื่องจากภัยพิบัติจนไม่สามารถพักอาศัยอยู่ได้ (๒) หากเช่าซื้อหรือกู้เงินเพื่อชำระราคาบ้านร่วมกับบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่คู่สมรสและมีกรรมสิทธิ์รวมกับบุคคลอื่นในบ้านนั้น จะเบิกจ่ายค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ได้ตามสัดส่วนแห่งกรรมสิทธิ์สำหรับบ้านหลังดังกล่าว (๓) จะต้องเป็นการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านกับสถาบันการเงิน และสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาเงินกู้จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด (๔) จะต้องไม่เคยใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้สำหรับบ้านหลังหนึ่งหลังใดในท้องที่นั้นมาแล้ว เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับแต่งตั้งให้กลับไปรับราชการในท้องที่ที่เคยใช้สิทธินั้นอีก และเป็นการใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ตามที่ได้เคยใช้สิทธิมาแล้ว หรือขณะที่ย้ายมารับราชการในท้องที่นั้นบ้านที่เคยใช้สิทธิได้โอนกรรมสิทธิ์ไปแล้ว (๕) หากเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านสูงกว่าราคาบ้าน ให้นำค่าผ่อนชำระเงินกู้มาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ โดยให้คำนวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๙ ถึงมาตรา ๑๔ มาใช้บังคับกับการเช่าซื้อหรือการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านโดยอนุโลม มาตรา ๑๘ ข้าราชการซึ่งได้ใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามมาตรา ๑๗ และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นซึ่งตนมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านในท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการในท้องที่ใหม่ได้ มาตรา ๑๙ สิทธิที่จะเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งมาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ กำหนดให้มีอยู่ต่อไปนั้น ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๓ มาตรา ๒๐ สิทธิที่จะเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการของข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ตามคำร้องขอของตนเองตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งมีอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๒๑ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการศาลยุติธรรม และข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ[๓] ตำแหน่งระดับ ๑ ตำแหน่งระดับ ๒ ตำแหน่งระดับ ๓ ตำแหน่งระดับ ๔ ตำแหน่งระดับ ๕ ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นที่ ๑-๔.๕ ขั้นที่ ๕-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๘๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๒๕๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๐๐๐ ๑,๒๕๐ ๑,๕๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๒๕๐ ๑,๖๐๐ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๖๐๐ ๑,๙๕๐ ๒,๓๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๙๕๐ ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ตำแหน่งระดับ ๖ ตำแหน่งระดับ ๗ ตำแหน่งระดับ ๘ ตำแหน่งระดับ ๙ ตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๒ สำหรับข้าราชการตุลาการ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา ตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาล ตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ที่ได้รับเงินเดือนชั้น ๒ ตั้งแต่ตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ที่ได้รับเงินเดือนชั้น ๓ ถึง ตำแหน่งประธานศาลฎีกา ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๓ สำหรับข้าราชการอัยการ ตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ตั้งแต่ตำแหน่งอัยการจังหวัดผู้ช่วย ถึงตำแหน่งอัยการประจำกอง ตั้งแต่ตำแหน่งรองอัยการจังหวัด ถึงตำแหน่งอัยการประจำกรม ตั้งแต่ตำแหน่งอัยการจังหวัด ประจำกรมถึงตำแหน่งอัยการสูงสุด ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๔ สำหรับข้าราชการตำรวจ ระดับ พ. ๒ ระดับ ป. ๑ ระดับ ป. ๒ ระดับ ป. ๓ ระดับ ส. ๑ ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นที่ ๑-๔.๕ ๘๐๐ ขั้นที่ ๑-๔.๕ ๘๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ๑,๒๕๐ ขั้นที่ ๑-๑.๕ ๑,๖๐๐ ขั้นที่ ๑-๗.๕ ๑,๒๕๐ ขั้นที่ ๕–๑๐.๕ ๑,๐๐๐ ขั้นที่ ๕-๙.๕ ๑,๐๐๐ ขั้นที่ ๖–๑๐.๕ ๑,๖๐๐ ขั้นที่ ๒–๖.๕ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๘–๑๑.๕ ๑,๖๐๐ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๒๕๐ ขั้นที่ ๑๐–๑๔.๕ ๑,๒๕๐ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๗ ขึ้นไป ๒,๔๐๐ ขั้นที่ ๑๒–๑๕.๕ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๑๕ ขึ้นไป ๑,๕๐๐ ขั้นที่ ๑๖ ขึ้นไป ๒,๔๐๐ หมายเหตุ สำหรับอัตราเงินเดือนขั้นพิเศษของข้าราชการตำรวจที่กำหนดไว้เพื่อใช้เฉพาะกาลตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามอัตราดังต่อไปนี้ ขั้นพิเศษเงินเดือน ๖,๐๒๐–๗,๕๕๐ บาท มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ ๑,๒๕๐ บาท ขั้นพิเศษเงินเดือน ๗,๗๒๐-๘,๕๗๐ บาท มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ ๑,๖๐๐ บาท ระดับ ส. ๒ ระดับ ส. ๓ ระดับ ส. ๔ ระดับ ส. ๕ ระดับ ส. ๖ ขึ้นไป ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นชั่วคราว- ขั้นชั่วคราว- ขั้นชั่วคราว- ขั้นที่ ๑-๕.๕ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๑.๕ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๑.๕ ๒,๔๐๐ ขั้นที่ ๕.๕ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๒-๕.๕ ๒,๔๐๐ ขั้นที่ ๒ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๓,๕๐๐ ขั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๕ สำหรับข้าราชการทหาร ระดับ พ. ๒ ระดับ ป. ๑ ระดับ ป. ๒ ระดับ ป. ๓ ระดับ น. ๑ ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นที่ ๑-๔.๕ ๘๐๐ ชั้นที่ ๑-๔.๕ ๘๐๐ ชั้นที่ ๑-๕.๕ ๑,๒๕๐ ชั้นที่ ๑-๑.๕ ๑,๖๐๐ ชั้นที่ ๑-๗.๕ ๑,๒๕๐ ชั้นที่ ๕–๑๐.๕ ๑,๐๐๐ ชั้นที่ ๕-๙.๕ ๑,๐๐๐ ชั้นที่ ๖–๑๐.๕ ๑,๖๐๐ ชั้นที่ ๒–๖.๕ ๑,๙๕๐ ชั้นที่ ๘–๑๑.๕ ๑,๖๐๐ ชั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๒๕๐ ชั้นที่ ๑๐–๑๔.๕ ๑,๒๕๐ ชั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๙๕๐ ชั้นที่ ๗ ขึ้นไป ๒,๔๐๐ ชั้นที่ ๑๒–๑๕.๕ ๑,๙๕๐ ชั้นที่ ๑๕ ขึ้นไป ๑,๕๐๐ ชั้นที่ ๑๖ ขึ้นไป ๒,๔๐๐ หมายเหตุ สำหรับอัตราเงินเดือนขั้นพิเศษที่กำหนดไว้เพื่อใช้เฉพาะกาลตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามอัตราดังต่อไปนี้ ชั้นพิเศษเงินเดือน ๔,๑๐๐-๔,๘๐๐ บาท มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ ๘๐๐ บาท ชั้นพิเศษเงินเดือน ๔,๙๐๐-๕,๘๘๐ บาท มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ ๑๐๐๐ บาท ชั้นพิเศษเงินเดือน ๖,๐๒๐-๗,๕๕๐ บาท มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ ๑,๒๕๐บาท ชั้นพิเศษเงินเดือน ๗,๗๒๐–๘,๕๗๐ บาท มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ ๑,๖๐๐ บาท ระดับ น. ๒ ระดับ น. ๓ ระดับ น. ๔ ระดับ น. ๕ ระดับ น. ๖ ขึ้นไป ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นชั่วคราว- ชั้นชั่วคราว- ชั้นชั่วคราว- ชั้นที่ ๑-๕.๕ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ชั้นที่ ๑.๕ ๑,๙๕๐ ชั้นที่ ๑.๕ ๒,๔๐๐ ชั้นที่ ๕.๕ ๓,๐๐๐ ชั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๔,๐๐๐ ชั้นที่ ๒-๕.๕ ๒,๔๐๐ ชั้นที่ ๒ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ชั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๓,๕๐๐ ชั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๖ สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา[๔] ครูผู้ช่วย ตำแหน่งระดับ คศ. ๑ ตำแหน่งระดับ คศ. ๒ เงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท เงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท เงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๑-๒ ๑,๒๕๐ ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๑-๒ ๑,๒๕๐ ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๑-๘ ๒,๔๐๐ ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๓-๔ ๑,๖๐๐ ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๓-๑๐ ๑,๖๐๐ ขั้นที่ ๑-๑๐.๕ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๔.๕ ๑,๖๐๐ ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๑๑-๑๖ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๑๑-๒๐ ๓,๕๐๐ ขั้นที่ ๕-๘.๕ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๑-๑.๕ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๙-๑๒.๕ ๒,๔๐๐ ขั้นที่ ๒-๖.๕ ๒,๔๐๐ ขั้นที่ ๑๓ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๗-๒๑ ๓,๐๐๐ ตำแหน่งระดับ คศ. ๓ ตำแหน่งระดับ คศ. ๔ ตำแหน่งระดับ คศ. ๕ เงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท เงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๑-๘ ๒,๔๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๙-๑๖ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๖-๒๐ ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ๓,๕๐๐ ขั้นที่ ๑๑-๒๔ ๔,๐๐๐ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่ชัดเจนทำให้เกิดปัญหาในการตีความและการวินิจฉัยสิทธิการได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ อีกทั้งเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยของข้าราชการ จึงสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเบิกค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าซื้อ และค่าผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านให้เหมาะสมยิ่งขึ้นนอกจากนี้ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ และบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงต้องปรับปรุงบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการให้สอดคล้องกับบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐[๕] มาตรา ๖ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๖ สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ให้มีผลใช้บังคับแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับเงินเดือนตามพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งได้เบิกเงินค่าเช่าบ้านตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการครู ข้าราชการศาลยุติธรรม และข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ไปก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ ในกรณีที่มีเงินส่วนต่างของอัตราค่าเช่าบ้านตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๖ สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ กับบัญชีอัตราค่าเช่าบ้าน ข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการครู ข้าราชการศาลยุติธรรมและข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้มีสิทธิได้รับเงินส่วนต่างของอัตราค่าเช่าบ้านที่ยังไม่ได้รับนั้น มาตรา ๗ สิทธิของข้าราชการผู้ที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ ให้เริ่มมีสิทธิการได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเมื่อได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ยังคงมีข้อยกเว้นที่ข้าราชการจะไม่ได้รับค่าเช่าบ้าน หากเป็นกรณีที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปรับราชการในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ สมควรปรับปรุงสิทธิการได้รับค่าเช่าบ้านให้สอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบันมากยิ่งขึ้น รวมทั้งมีความจำเป็นที่ต้องกำหนดให้มีบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้เปลี่ยนแปลงระบบตำแหน่งใหม่ เพื่อให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านในอัตราที่ถูกต้องและเป็นธรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ชาญ/ผู้จัดทำ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๑ ก/หน้า ๒๙/๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๗ [๒] มาตรา ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๓] บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการศาลยุติธรรม และข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๔] บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๖ สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๘๙ ก/หน้า ๘๐/๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๐
678479
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 (ฉบับ Update ณ วันที่ 17/10/2550)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๒๓ (๒) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๓ (๓) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๗ (๔) พระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๔๒ (๕) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๒ (๖) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๓ (๗) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๓ (๘) พระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๔๒ (๙) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔ พระราชกฤษฎีกานี้ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการ อนุกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือโดยประกาศพระบรมราชโองการ และบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือประกาศพระบรมราชโองการนั้นกำหนดเบี้ยประชุมหรือผลประโยชน์ตอบแทนของบุคคลดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะ มาตรา ๕ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยประกาศพระบรมราชโองการ หรือโดยประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการ แต่ไม่รวมถึงกรรมการซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนอย่างอื่นในหน้าที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยประกาศพระบรมราชโองการ หรือโดยประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรีเจ้าสังกัดซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี หรือคณะกรรมการ “อนุกรรมการ” หมายความว่า อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการ แต่ไม่รวมถึงอนุกรรมการซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนอย่างอื่นในหน้าที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ “ที่ปรึกษาคณะกรรมการ” หมายความว่า ที่ปรึกษาซึ่งได้รับแต่งตั้งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือโดยประกาศพระบรมราชโองการ ให้เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๖ ให้กรรมการได้รับเบี้ยประชุมดังต่อไปนี้ (๑) เบี้ยประชุมเป็นรายเดือน สำหรับกรรมการในคณะกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือโดยประกาศพระบรมราชโองการ ซึ่งมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบสูง ปฏิบัติงานในด้านการกำหนดนโยบายอันมีผลกระทบต่อการบริหาร เศรษฐกิจ หรือสังคมในภาพรวมของประเทศ ตามรายชื่อคณะกรรมการและอัตราเบี้ยประชุมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด (๒) เบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง สำหรับกรรมการในคณะกรรมการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (๑) ตามอัตราเบี้ยประชุมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด มาตรา ๗ ให้อนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมดังต่อไปนี้ (๑) เบี้ยประชุมเป็นรายเดือน สำหรับอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการตามมาตรา ๖ (๑) ตามรายชื่อคณะอนุกรรมการและอัตราเบี้ยประชุมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด (๒) เบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง สำหรับอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (๑) เว้นแต่อนุกรรมการสามัญประจำกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง หรือกรม อนุกรรมการสามัญประจำจังหวัด หรืออนุกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ให้ได้รับเบี้ยประชุมเฉพาะอนุกรรมการที่ไม่ได้เป็นข้าราชการของส่วนราชการนั้น ทั้งนี้ ตามอัตราเบี้ยประชุมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด มาตรา ๘ กรรมการหรืออนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน ให้ได้รับเบี้ยประชุมเฉพาะในเดือนที่ได้ร่วมประชุม มาตรา ๙ ประธานกรรมการหรือประธานอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเบี้ยประชุมที่กรรมการหรืออนุกรรมการนั้นมีสิทธิได้รับ แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ประธานกรรมการหรือประธานอนุกรรมการไม่สามารถร่วมประชุมได้ให้ผู้ซึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้รับเบี้ยประชุมในอัตราเดียวกับประธานกรรมการหรือประธานอนุกรรมการตามที่กำหนดในวรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๐ รองประธานกรรมการหรือรองประธานอนุกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือโดยประกาศพระบรมราชโองการ ที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในแปดของอัตราเบี้ยประชุมที่กรรมการหรืออนุกรรมการนั้นมีสิทธิได้รับ แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๑ กรรมการในคณะกรรมการคณะหนึ่ง หรืออนุกรรมการในคณะอนุกรรมการคณะหนึ่ง ที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ให้ได้รับเบี้ยประชุมสำหรับการประชุมคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการนั้น แล้วแต่กรณี เพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง มาตรา ๑๑/๑[๒] ในกรณีที่กรรมการหรืออนุกรรมการซึ่งเป็นการแต่งตั้งโดยตำแหน่งไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ แต่ได้มอบหมายให้ผู้อื่นเข้าร่วมประชุมแทนโดยทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานการมอบหมาย ให้ถือว่าผู้ได้รับมอบหมายปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการหรืออนุกรรมการแทนผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ และให้นับเป็นองค์ประชุม ตลอดจนมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมในอัตราเดียวกับกรรมการหรืออนุกรรมการ มาตรา ๑๒ ที่ปรึกษาคณะกรรมการให้ได้รับเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการในคณะกรรมการนั้น โดยให้นำมาตรา ๘ หรือมาตรา ๑๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๓ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งตามอัตราเบี้ยประชุมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด โดยให้เลขานุการมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมไม่เกินหนึ่งคน และผู้ช่วยเลขานุการมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน ถ้ากรรมการหรืออนุกรรมการผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย ให้เบิกเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว มาตรา ๑๔ การประชุมของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ ต้องมีกรรมการหรืออนุกรรมการร่วมประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการหรืออนุกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม และมีสิทธิเบิกเบี้ยประชุมตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่บทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกาศพระบรมราชโองการ หรือคำสั่งที่จัดให้มีคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการนั้นจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การประชุมตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงการประชุมที่บทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกาศพระบรมราชโองการ หรือคำสั่งที่จัดให้มีคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการกำหนดให้สามารถใช้วิธีการติดต่อสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่สามารถถ่ายทอดภาพและเสียงได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้กรรมการหรืออนุกรรมการไม่จำเป็นต้องปรากฏตัวในที่ประชุมด้วย โดยให้ถือว่ากรรมการหรืออนุกรรมการซึ่งใช้วิธีการติดต่อสื่อสารด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว ร่วมประชุมคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการนั้น และมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม มาตรา ๑๕ ให้กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ร่วมกันจัดทำรายชื่อคณะกรรมการตามมาตรา ๖ (๑) และรายชื่อคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๗ (๑) และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ เมื่อได้จัดทำรายชื่อคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และอัตราเบี้ยประชุมตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้ว ให้เสนอรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบและประกาศกำหนดต่อไป การกำหนดอัตราเบี้ยประชุมต้องไม่เกินอัตราที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๖ คณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งซึ่งได้รับเงินสมนาคุณเป็นรายเดือนอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้คงได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน ทั้งนี้ ตามอัตราเบี้ยประชุมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด มาตรา ๑๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การจ่ายและอัตราเบี้ยประชุมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และเพื่อรวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวกับเบี้ยประชุมกรรมการ ให้อยู่ในกฎหมายฉบับเดียวกันเพื่อให้มีเอกภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐[๓] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ไม่มีบทบัญญัติที่ชัดเจนว่า ผู้เข้าร่วมประชุมแทนกรรมการหรืออนุกรรมการโดยตำแหน่ง สามารถเข้าร่วมประชุมและนับเป็นองค์ประชุมตามกฎหมาย ตลอดจนมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมหรือไม่ จึงสมควรกำหนดให้ผู้ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมประชุมแทนนับเป็นองค์ประชุม และมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปณตภร/ผู้จัดทำ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๗๘ ก/หน้า ๑/๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๗ [๒] มาตรา ๑๑/๑ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๖๙ ก/หน้า ๑๕/๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๐
568618
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2550
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๐” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔ เอกาทศ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ “มาตรา ๔ เอกาทศ ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้วในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละร้อยละสี่ของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสี่ของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับภาวะการครองชีพ สมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๑ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๙/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๐
568246
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๑) (๒) และ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๗ ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้น (๑) ทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้อยู่แล้ว (๒) มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ โดยไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน (๓) ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในต่างท้องที่ตามคำร้องขอของตนเอง ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการผู้ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ที่เป็นท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ด้วย ข้าราชการผู้ใดได้รับเงินเดือนไม่ตรงกับที่กำหนดในบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามส่วนของเงินเดือนโดยคำนวณตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือนข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการครู ข้าราชการศาลยุติธรรม และข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการศาลยุติธรรมและข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้แทน มาตรา ๕ ให้เพิ่มบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๖ สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้เป็นบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการ มาตรา ๖ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๖ สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ให้มีผลใช้บังคับแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับเงินเดือนตามพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งได้เบิกเงินค่าเช่าบ้านตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการครู ข้าราชการศาลยุติธรรม และข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ไปก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ ในกรณีที่มีเงินส่วนต่างของอัตราค่าเช่าบ้านตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๖ สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ กับบัญชีอัตราค่าเช่าบ้าน ข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการครู ข้าราชการศาลยุติธรรมและข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้มีสิทธิได้รับเงินส่วนต่างของอัตราค่าเช่าบ้านที่ยังไม่ได้รับนั้น มาตรา ๗ สิทธิของข้าราชการผู้ที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ ให้เริ่มมีสิทธิการได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเมื่อได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการศาลยุติธรรม และข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ตำแหน่งระดับ ๑ ตำแหน่งระดับ ๒ ตำแหน่งระดับ ๓ ตำแหน่งระดับ ๔ ตำแหน่งระดับ ๕ ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นที่ ๑-๔.๕ ขั้นที่ ๕-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๘๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๒๕๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๐๐๐ ๑,๒๕๐ ๑,๕๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๒๕๐ ๑,๖๐๐ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๖๐๐ ๑,๙๕๐ ๒,๓๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๙๕๐ ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ตำแหน่งระดับ ๖ ตำแหน่งระดับ ๗ ตำแหน่งระดับ ๘ ตำแหน่งระดับ ๙ ตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๖ สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ครูผู้ช่วย ตำแหน่งระดับ คศ. ๑ ตำแหน่งระดับ คศ. ๒ เงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท เงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท เงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๑-๒ ๑,๒๕๐ ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๑-๒ ๑,๒๕๐ ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๑-๘ ๒,๔๐๐ ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๓-๔ ๑,๖๐๐ ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๓-๑๐ ๑,๖๐๐ ขั้นที่ ๑-๑๐.๕ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๔.๕ ๑,๖๐๐ ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๑๑-๑๖ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๑๑-๒๐ ๓,๕๐๐ ขั้นที่ ๕-๘.๕ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๑-๑.๕ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๙-๑๒.๕ ๒,๔๐๐ ขั้นที่ ๒-๖.๕ ๒,๔๐๐ ขั้นที่ ๑๓ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๗-๒๑ ๓,๐๐๐ ตำแหน่งระดับ คศ. ๓ ตำแหน่งระดับ คศ. ๔ ตำแหน่งระดับ คศ. ๕ เงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท เงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๑-๘ ๒,๔๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ลำดับเงินเดือนที่ต่ำกว่า ขั้นต่ำของอันดับนับจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก ลำดับที่ ๙-๑๖ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๖-๒๐ ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ๓,๕๐๐ ขั้นที่ ๑๑-๒๔ ๔,๐๐๐ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ยังคงมีข้อยกเว้นที่ข้าราชการจะไม่ได้รับค่าเช่าบ้าน หากเป็นกรณีที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปรับราชการในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ สมควรปรับปรุงสิทธิการได้รับค่าเช่าบ้านให้สอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบันมากยิ่งขึ้น รวมทั้งมีความจำเป็นที่ต้องกำหนดให้มีบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้เปลี่ยนแปลงระบบตำแหน่งใหม่ เพื่อให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านในอัตราที่ถูกต้องและเป็นธรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ ชาญ/ปรับปรุง ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๘๙ ก/หน้า ๘๐/๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๐
564423
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๑/๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ “มาตรา ๑๑/๑ ในกรณีที่กรรมการหรืออนุกรรมการซึ่งเป็นการแต่งตั้งโดยตำแหน่งไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ แต่ได้มอบหมายให้ผู้อื่นเข้าร่วมประชุมแทนโดยทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานการมอบหมาย ให้ถือว่าผู้ได้รับมอบหมายปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการหรืออนุกรรมการแทนผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ และให้นับเป็นองค์ประชุม ตลอดจนมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมในอัตราเดียวกับกรรมการหรืออนุกรรมการ” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ไม่มีบทบัญญัติที่ชัดเจนว่า ผู้เข้าร่วมประชุมแทนกรรมการหรืออนุกรรมการโดยตำแหน่ง สามารถเข้าร่วมประชุมและนับเป็นองค์ประชุมตามกฎหมาย ตลอดจนมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมหรือไม่ จึงสมควรกำหนดให้ผู้ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมประชุมแทนนับเป็นองค์ประชุม และมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ ปณตภร/ปรับปรุง ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๖๙ ก/หน้า ๑๕/๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๐
535425
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๐ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ และมาตรา ๓ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๐” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๘ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๘ ทวิ ภายใต้บังคับมาตรา ๗ มาตรา ๗ ทวิ และมาตรา ๗ ตรี ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ดังต่อไปนี้ (๑) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาในประเทศที่ข้าราชการผู้นั้นมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ (๒) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษานอกประเทศที่ข้าราชการผู้นั้นมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่อันเนื่องมาจากประเทศซึ่งข้าราชการมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ไม่มีสถานศึกษาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสถาบันรับรองมาตรฐานสากล หรือเป็นประเทศหรือเมืองที่มีภาวะความเป็นอยู่ไม่ปกติ ทั้งนี้ ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด การได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ประเภท หลักสูตรและอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด และให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกำหนดอายุบุตรให้ต่ำกว่าเกณฑ์ในบทนิยามคำว่า “บุตร” ตามมาตรา ๔ ได้” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้กำหนดให้ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเฉพาะกรณีที่บุตรศึกษาอยู่ในประเทศเดียวกัน แต่โดยที่ในบางประเทศไม่มีสถานศึกษาที่ได้มาตรฐาน หรือประเทศหรือเมืองที่ข้าราชการมีตำแหน่งหน้าที่ประจำมีภาวะความเป็นอยู่ไม่ปกติ ทำให้ข้าราชการดังกล่าวจำเป็นต้องส่งบุตรไปศึกษาในสถานศึกษานอกประเทศที่ข้าราชการมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่โดยไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการ ดังนั้น สมควรกำหนดให้ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในกรณีดังกล่าวเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของข้าราชการ และจูงใจให้ข้าราชการไปปฏิบัติงานประจำในประเทศหรือเมืองนั้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๐ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๙ ก/หน้า ๑๑/๕ เมษายน ๒๕๕๐
675179
พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2535 (ฉบับ Update ณ วันที่ 17/04/2549)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา การจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ (๒) พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๖ บรรดากฎ ข้อบังคับ และระเบียบอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชกฤษฎีกานี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ใช้พระราชกฤษฎีกานี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “เงินเดือน”[๒] หมายความว่า เงินเดือนและเงินอื่นที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายประเภทงบบุคลากรที่จ่ายในลักษณะเงินเดือน “เงินปี” หมายความว่า เงินที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายปีจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนของสำนักพระราชวัง “บำเหน็จ” หมายความว่า บำเหน็จตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และหมายความรวมถึงเงินทดแทนข้าราชการวิสามัญตามระเบียบกระทรวงการคลังด้วย “บำนาญ” หมายความว่า บำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และหมายความรวมถึงเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมด้วย “ข้าราชการ”[๓] หมายความว่า ข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และเพื่อประโยชน์ของมาตรา ๒๐ ให้หมายความถึงบุคคลอื่นซึ่งได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายประเภทงบบุคลากรที่จ่ายในลักษณะเงินเดือนด้วย “ปี” หมายความว่า ปีงบประมาณ มาตรา ๕ การเบิกจ่ายเงินเดือน เงินปี และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน ให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ลักษณะ ๑ เงินเดือนและเงินอื่นที่จ่ายในลักษณะเงินเดือน หมวด ๑ การถือจ่ายเงินเดือน มาตรา ๗[๔] (ยกเลิก) มาตรา ๘[๕] (ยกเลิก) มาตรา ๙ การจ่ายเงินเดือนของข้าราชการที่ได้เลื่อนเงินเดือนเพราะถึงแก่ความตายเนื่องจากปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้จ่ายจากอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นครองอยู่ หรือเงินเดือนเหลือจ่าย หรือให้โอนเงินหมวดอื่นมาตั้งจ่าย หมวด ๒ การจ่ายเงินเดือน มาตรา ๑๐[๖] การจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด มาตรา ๑๑ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเดือนไม่เต็มเดือน ให้จ่ายตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนในเดือนนั้น มาตรา ๑๒ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการกรณีบรรจุใหม่หรือกลับเข้ารับราชการใหม่ ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่เริ่มเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ มาตรา ๑๓ การจ่ายเงินเดือนกรณีที่มีการเลื่อนชั้น เลื่อนระดับ หรือเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่ระบุในคำสั่งของผู้มีอำนาจสั่งเลื่อน มาตรา ๑๔ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ ให้เป็นไปตามคำสั่งของผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ซึ่งต้องระบุด้วยว่าให้ได้รับเงินเดือนในอัตราใด และให้ขาดจากอัตราเงินเดือนเดิมไปรับอัตราเงินเดือนตำแหน่งใหม่หรือให้โอนอัตราเงินเดือนเดิมไปตั้งจ่ายสำหรับตำแหน่งใหม่ตั้งแต่เมื่อใด มาตรา ๑๕ การจ่ายเงินเดือนในกรณีโอนข้าราชการ ให้จ่ายทางสังกัดใหม่และงดจ่ายเงินเดือนทางสังกัดเดิมตั้งแต่วันที่ระบุในคำสั่งของผู้มีอำนาจสั่งโอน ในกรณีที่มีการจ่ายเงินเดือนทางสังกัดเดิมล่วงล้ำไป ให้เบิกเงินเดือนทางสังกัดใหม่ส่งใช้สังกัดเดิมโดยวิธีเบิกหักผลักส่ง แล้วในเจ้าสังกัดใหม่แจ้งการเบิกหักผลักส่งให้เจ้าสังกัดเดิมทราบ ห้ามมิให้เบิกเป็นตัวเงิน มาตรา ๑๖ ข้าราชการที่ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือหนีราชการ ห้ามมิให้จ่ายเงินเดือนสำหรับวันที่ละทิ้งหน้าที่ราชการหรือหนีราชการดังกล่าว ข้าราชการที่มิได้มาปฏิบัติราชการในกรณีอื่น จะมีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือไม่ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือตามที่อธิบดีกรมบัญชีกลางกำหนด แล้วแต่กรณี[๗] มาตรา ๑๗ การจ่ายเงินเดือนของผู้ซึ่งถูกลงโทษตัดเงินเดือน ถ้าภายหลังผู้นั้นได้รับการแต่งตั้ง โอน หรือปรับเงินเดือน โดยได้รับเงินเดือนต่างจากเดิมและยังไม่พ้นโทษตัดเงินเดือน ให้คงตัดเงินเดือนต่อไปตามจำนวนเดิม หรือถ้าเป็นกรณีตัดเงินเดือนตามส่วนของเงินเดือน ก็ให้ตัดตามส่วนของเงินเดือนเดิม มาตรา ๑๘ ข้าราชการผู้ใดตายในระหว่างรับราชการ ให้จ่ายเงินเดือนจนถึงวันที่ถึงแก่ความตาย มาตรา ๑๙ การจ่ายเงินเดือนในกรณีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ลาออก ให้จ่ายได้ถึงวันก่อนวันถึงกำหนดลาออก แต่ถ้าถึงกำหนดลาออกแล้วยังไม่ได้รับทราบคำสั่งอนุญาตให้ลาออก และข้าราชการผู้นั้นยังคงรับราชการต่อมา ให้จ่ายได้ถึงวันรับทราบคำสั่ง หรือควรได้รับทราบคำสั่ง (๒) ให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก ให้จ่ายได้ถึงวันก่อนวันที่ระบุในคำสั่ง แต่ถ้ายังไม่ได้รับทราบคำสั่ง และข้าราชการผู้นั้นยังคงรับราชการต่อมาให้จ่ายได้ถึงวันรับทราบคำสั่ง หรือควรได้รับทราบคำสั่ง (๓) ในกรณีตาม (๑) และ (๒) หากจำเป็นต้องส่งมอบงานในหน้าที่ก็ให้จ่ายต่อไปได้จนถึงวันส่งมอบงานเสร็จภายในเวลาอันไม่ชักช้าตามที่ผู้บังคับบัญชาจะกำหนดตามสภาพของงาน แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่ระบุในคำสั่งหรือวันรับทราบคำสั่งหรือควรได้รับทราบคำสั่ง แล้วแต่กรณี (๔) พ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้จ่ายได้ถึงวันสิ้นปี สำหรับกรณีที่ได้รับการต่อเวลาราชการ ให้จ่ายได้ถึงวันครบการต่อเวลาราชการ มาตรา ๒๐[๘] การจ่ายเงินเดือนข้าราชการประจำเดือน ให้จ่ายในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนสามวันทำการ สำหรับกรณีที่ต้องเบิกเงินจากธนาคาร ให้จ่ายในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของธนาคารในเดือนนั้นสามวันทำการ ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางจะกำหนดวันจ่ายเป็นอย่างอื่นก็ได้ หมวด ๓ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และผู้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ มาตรา ๒๑ การจ่ายเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ ให้จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ หรือระเบียบข้อบังคับของกระทรวงกลาโหมที่ได้ทำความตกลงไว้กับกระทรวงการคลัง อัตราเงินเดือนข้าราชการระหว่างพักราชการ ไม่ถือเป็นอัตราว่าง ข้าราชการผู้ใดตายในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถ้าเจ้ากระทรวงหรือผู้มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการหรือตามระเบียบข้อบังคับกระทรวงกลาโหมที่ได้ทำความตกลงไว้กับกระทรวงการคลังให้จ่ายเงินเดือนในระหว่างพักราชการอย่างใดก็ให้จ่ายเงินเดือนตามที่วินิจฉัยนั้นจนถึงวันที่ถึงแก่ความตาย มาตรา ๒๒ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๑ มาใช้บังคับแก่การจ่ายเงินเดือนข้าราชการผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และผู้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษให้ออก ปลดออกหรือไล่ออกด้วย โดยอนุโลม หมวด ๔ การจ่ายเงินช่วยพิเศษในกรณีที่ข้าราชการถึงแก่ความตาย มาตรา ๒๓ ข้าราชการผู้ใดถึงแก่ความตายในระหว่างรับราชการให้จ่ายเงินช่วยพิเศษจำนวนสามเท่าของเงินเดือนเต็มเดือนที่ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธิได้รับในเดือนที่ถึงแก่ความตาย และหากข้าราชการผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษค่าวิชาเงินประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ เงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ และเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการปราบปรามผู้กระทำผิด ให้รวมเงินดังกล่าวกับเงินเดือนเพื่อคำนวณเป็นเงินช่วยพิเศษจำนวนสามเท่าด้วย ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และผู้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเดือนตามมาตรา ๒๑ หรือมาตรา ๒๒ โดยอนุโลม ข้าราชการผู้ใดตายในระหว่างละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือหนีราชการ ห้ามมิให้จ่ายเงินช่วยพิเศษ มาตรา ๒๔ เงินช่วยพิเศษตามมาตรา ๒๓ ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งข้าราชการผู้ตายแสดงเจตนาโดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด ถ้าข้าราชการผู้ตายมิได้แสดงเจตนาไว้ตามวรรคหนึ่ง หรือบุคคลซึ่งข้าราชการผู้ตายแสดงเจตนาไว้ตายก่อนข้าราชการผู้ตายหรือก่อนมีการจ่ายเงิน ก็ให้จ่ายแก่บุคคลตามลำดับดังนี้ (๑) คู่สมรส (๒) บุตร (๓) บิดามารดา เมื่อปรากฏว่าบุคคลในลำดับก่อนตามวรรคสองมีชีวิตอยู่ บุคคลในลำดับถัดไปไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษ ถ้าผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษตามความในวรรคสองในลำดับเดียวกันมีหลายคนให้จ่ายให้แก่ผู้ซึ่งบุคคลในลำดับนั้นมอบหมายเป็นหนังสือ หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่จัดการศพ มาตรา ๒๕ การขอรับเงินช่วยพิเศษ ให้กระทำภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ข้าราชการผู้ซึ่งมีสิทธิรับเงินเดือนตาย เว้นแต่กรณีที่ผู้นั้นเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการ ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือผู้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ ระยะเวลาหนึ่งปีให้นับแต่วันที่การถูกสั่งพักราชการ การออกราชการไว้ก่อน หรือการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษสิ้นสุดลง แล้วแต่กรณี มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ทางราชการมีความจำเป็นต้องเข้าจัดการศพข้าราชการผู้ตายเพราะไม่มีผู้ใดเข้าจัดการในเวลาอันสมควร ให้ทางราชการหักค่าใช้จ่ายจากเงินช่วยพิเศษได้เท่าที่จ่ายจริง แล้วมอบส่วนที่เหลือ ถ้ามี ให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับตามมาตรา ๒๔ หมวด ๕ การจ่ายเงินเดือนระหว่างลา มาตรา ๒๗ ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ข้าราชการผู้ได้รับอันตราย หรือป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการ ให้ข้าราชการที่ลาป่วย ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ในปีหนึ่งไม่เกินหกสิบวันทำการ แต่ถ้าผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ตำแหน่งอธิบดีหรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไปเห็นสมควรจะให้จ่ายเงินเดือนต่อไปอีกก็ได้ แต่ไม่เกินหกสิบวันทำการ มาตรา ๒๘[๙] ข้าราชการลาเนื่องจากการคลอดบุตร ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกินเก้าสิบวัน มาตรา ๒๙ ให้ข้าราชการลากิจส่วนตัวโดยได้รับเงินเดือนในปีหนึ่งไม่เกินสี่สิบห้าวันทำการ แต่ในปีที่เริ่มรับราชการ ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกินสิบห้าวันทำการ มาตรา ๓๐ ให้ข้าราชการที่ลาพักผ่อนประจำปีได้รับเงินเดือนระหว่างลาไม่เกินระยะเวลาที่กำหนดในระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ มาตรา ๓๑ ตั้งแต่เริ่มรับราชการ ข้าราชการผู้ใดยังไม่เคยอุปสมบทในพระพุทธศาสนา หรือยังไม่เคยประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย หากประสงค์จะลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ แล้วแต่กรณี ให้ลาโดยได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ทั้งนี้ ต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน มาตรา ๓๒ ข้าราชการซึ่งลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพลให้ได้รับเงินเดือนในระหว่างนั้นได้ แต่ถ้าพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้วไม่รายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติราชการภายในเจ็ดวัน ให้งดจ่ายเงินเดือนหลังจากนั้นไว้จนถึงวันเข้าปฏิบัติราชการ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ตำแหน่งอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไปจะให้จ่ายเงินเดือนระหว่างนั้นต่อไปอีกก็ได้ แต่ไม่เกินสิบห้าวัน มาตรา ๓๓ ข้าราชการซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ให้ได้รับเงินเดือนในระหว่างลาไม่เกินสี่ปี นับแต่วันไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย จนถึงวันก่อนวันมารายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติราชการ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจอนุญาตการลา เห็นสมควรให้ข้าราชการลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยเกินสี่ปี ก็ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ แต่ทั้งนี้ เมื่อรวมทั้งสิ้นจะต้องไม่เกินหกปี มาตรา ๓๔ ข้าราชการที่ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา เว้นแต่อัตราเงินเดือนที่ได้รับจากองค์การระหว่างประเทศต่ำกว่าอัตราเงินเดือนของทางราชการที่ผู้นั้นได้รับอยู่ในขณะนั้น ให้ได้รับเงินเดือนจากทางราชการสมทบ ซึ่งเมื่อรวมกับเงินเดือนจากองค์การระหว่างประเทศแล้วไม่เกินอัตราเงินเดือนของทางราชการที่ข้าราชการผู้นั้นได้รับอยู่ในขณะนั้น มาตรา ๓๕ ข้าราชการที่ลาติดตามคู่สมรส ไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา มาตรา ๓๖ การจ่ายเงินเดือนระหว่างลาของข้าราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม ให้เป็นไปตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม ลักษณะ ๒ เงินปีและเงินประจำตำแหน่ง ที่จ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนของสำนักพระราชวัง มาตรา ๓๗ ผู้มีสิทธิได้รับเงินปีในปีใด ให้จ่ายเงินปีในปีนั้นให้เต็มทั้งปีไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด มาตรา ๓๘ การจ่ายเงินประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประธานองคมนตรี หรือองคมนตรี ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป สำหรับเงินประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้เป็นไปตามอัตราที่คณะรัฐมนตรีกำหนด การจ่ายเงินประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประธานองคมนตรี หรือองคมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ให้จ่ายได้เพียงวันก่อนวันพ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่ถึงแก่ความตาย ให้จ่ายสำหรับเดือนที่ถึงแก่ความตายนั้นให้เต็มเดือน มาตรา ๓๙ การจ่ายเงินประจำตำแหน่งตามมาตรา ๓๘ ให้จ่ายในลักษณะเงินเดือน แต่ไม่ต้องทำบัญชีถือจ่าย ลักษณะ ๓ บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นที่จ่ายในลักษณะบำเหน็จ บำนาญ หมวด ๑ การจ่ายบำเหน็จ บำนาญ มาตรา ๔๐ การจ่ายบำเหน็จหรือบำนาญ ให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้พิจารณาสั่งจ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด การจ่ายบำเหน็จหรือบำนาญในกรณีผู้เคยรับบำนาญอยู่แล้วกลับเข้ารับราชการใหม่ แล้วออกจากราชการครั้งหลังโดยมีสิทธิได้รับบำนาญในครั้งหลังด้วย ถ้าการรับราชการในครั้งก่อนกับครั้งหลังต่างกระทรวง ทบวง กรมกัน ให้รวมจ่ายบำนาญทางส่วนราชการที่ออกจากราชการครั้งหลัง ในกรณีที่มีการลดหรืองดบำนาญในระหว่างเวลาที่ข้าราชการกลับเข้ารับราชการใหม่ และต่อมาออกจากราชการครั้งหลังโดยไม่มีสิทธิได้รับบำนาญ การจ่ายบำนาญที่เคยได้รับอยู่เดิมตั้งแต่วันออกจากราชการครั้งหลังจะจ่ายได้ต่อเมื่อกรมบัญชีกลางสั่งจ่ายให้แล้ว และให้จ่ายทางส่วนราชการเดิมที่จ่ายบำนาญนั้น ในกรณีที่การกลับเข้ารับราชการใหม่เป็นการกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งข้าราชการการเมือง ให้ผู้นั้นมีสิทธิเลือกขอรับบำนาญทางส่วนราชการเดิมที่ผู้นั้นมีสิทธิรับบำนาญมาก่อน หรือทางส่วนราชการที่ออกจากราชการครั้งหลังสุด หรือทางส่วนราชการที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการการเมืองในขณะนั้น[๑๐] มาตรา ๔๑ บำนาญปกติและบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพ ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันขาดจากอัตราเงินเดือนเป็นต้นไป บำนาญพิเศษในกรณีถึงแก่ความตายหรือสูญหาย ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ถึงแก่ความตาย หรือวันถัดจากวันที่สันนิษฐานว่าถึงแก่ความตายตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี มาตรา ๔๒ ถ้าผู้มีสิทธิรับบำนาญถึงแก่ความตาย ให้จ่ายบำนาญให้จนถึงวันที่ถึงแก่ความตาย นอกจากนี้ ให้จ่ายเงินช่วยพิเศษจำนวนเท่ากับบำนาญรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ถ้ามี) สามเดือน แต่ในกรณีที่ผู้มีสิทธิรับบำนาญที่ถึงแก่ความตายเป็นผู้รับบำนาญตกทอดหรือบำนาญพิเศษในฐานะทายาท ผู้อุปการะ หรือผู้อยู่ในอุปการะ ไม่ให้จ่ายเงินช่วยพิเศษ ให้นำความในมาตรา ๒๔ และมาตรา ๒๕ มาใช้บังคับแก่การจ่ายเงินช่วยพิเศษตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม ในกรณีที่ผู้มีสิทธิรับบำนาญถึงแก่ความตายก่อนที่กรมบัญชีกลางจะสั่งจ่ายบำนาญ ให้นับระยะเวลาเพื่อขอรับเงินช่วยพิเศษตามความในมาตรา ๒๕ ตั้งแต่วันที่กรมบัญชีกลางสั่งจ่ายบำนาญ มาตรา ๔๓[๑๑] การจ่ายบำนาญประจำเดือน ให้จ่ายในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนห้าวันทำการ สำหรับกรณีที่ต้องเบิกเงินจากธนาคาร หรือผู้มีสิทธิรับบำนาญได้รับบำนาญทางธนาคาร ให้จ่ายในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของธนาคารในเดือนนั้นห้าวันทำการ ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางจะกำหนดวันจ่ายเป็นอย่างอื่นก็ได้ มาตรา ๔๔[๑๒] การตรวจสอบการมีชีวิตของผู้รับบำนาญก่อนจ่ายบำนาญ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด มาตรา ๔๔ ทวิ[๑๓] ให้ผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการการเมืองและเป็นผู้รับบำนาญตามมาตรา ๔๐ ไว้แล้ว มีสิทธิเปลี่ยนส่วนราชการที่จ่ายบำนาญที่เคยได้รับอยู่เดิม โดยอาจเลือกขอรับทางส่วนราชการเดิมที่ผู้นั้นมีสิทธิรับบำนาญมาก่อน หรือทางส่วนราชการที่ผู้นั้นออกจากราชการครั้งหลังสุด หรือทางส่วนราชการที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการการเมืองก็ได้ หมวด ๒ การจ่ายเงินอื่นที่จ่ายในลักษณะบำเหน็จ บำนาญ มาตรา ๔๕ การจ่ายเงินตามกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องในการรบ กฎหมายว่าด้วยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติหน้าที่มนุษยธรรม กฎหมายว่าด้วยบำนาญพิเศษสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน หรือเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน ให้นำความในลักษณะ ๓ หมวด ๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๖ มีบทบัญญัติหลายประการที่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัยและสภาวการณ์ในปัจจุบัน ประกอบกับสิทธิและประโยชน์ของข้าราชการเกี่ยวกับการลาได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกันให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับสิทธิและประโยชน์ของข้าราชการดังกล่าวด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕[๑๔] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๔๐ แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ กำหนดวิธีปฏิบัติในการรับบำนาญยังไม่สะดวกและไม่เหมาะสมสำหรับผู้ซึ่งรับบำนาญอยู่แล้ว และกลับเข้ารับราชการใหม่ ซึ่งในการรับราชการครั้งหลังสุดเป็นข้าราชการการเมืองและผู้ซึ่งเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการการเมืองและเป็นผู้รับบำนาญอยู่แล้วตามมาตรา ๔๐ โดยที่ผู้มีสิทธิรับบำนาญหรือผู้รับบำนาญอยู่แล้วดังกล่าวมีจำนวนไม่มากนัก และการตรวจสอบเพื่อมิให้มีการจ่ายบำนาญซ้ำซ้อนกันสามารถกระทำได้โดยไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติแต่อย่างใด จึงเห็นควรให้สิทธิแก่บุคคลดังกล่าวที่จะเลือกขอรับบำนาญทางส่วนราชการเดิมที่ผู้นั้นมีสิทธิรับบำนาญมาก่อน หรือทางส่วนราชการที่ออกจากราชการครั้งหลังสุด หรือทางส่วนราชการที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการการเมือง แล้วแต่กรณีได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙[๑๕] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเดือนระหว่างลาของข้าราชการ ในกรณีลาคลอดบุตร ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ ยังกำหนดไว้ไม่เหมาะสม ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของข้าราชการสตรีและการเลี้ยงดูบุตรในระยะแรกเกิด สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเดือนระหว่างลาดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙[๑๖] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่การเบิกจ่ายเงินเดือนของส่วนราชการต่าง ๆ และการจ่ายเงินเดือนและบำนาญประจำเดือนตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ มีความล่าช้าและขาดความคล่องตัว เนื่องจากการเบิกจ่ายเงินเดือนจะต้องจัดทำเป็นบัญชีถือจ่ายและต้องรออนุมัติจากกรมบัญชีกลางก่อนจึงจะสามารถเบิกจ่ายได้ และการจ่ายเงินเดือนและบำนาญประจำเดือนในช่วงวันสิ้นเดือนมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจ่ายเงินเสียใหม่และกำหนดวันจ่ายเงินเดือนและบำนาญประจำเดือนให้เร็วขึ้น เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินเดือนและบำนาญประจำเดือนมีความคล่องตัว รวดเร็ว เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน นอกจากนั้น สมควรกำหนดให้อธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นผู้พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินเดือนให้แก่ข้าราชการที่มิได้มาปฏิบัติราชการ เพื่อเป็นการกระจายอำนาจและลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน รวมทั้งยกเลิกการแสดงตนของผู้รับบำนาญและกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบการมีชีวิตอยู่ของผู้รับบำนาญขึ้นใหม่ เพื่อไม่ให้เป็นการสร้างภาระและความลำบากแก่ผู้รับบำนาญเกินความจำเป็น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปณตภร/ผู้จัดทำ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๓๒/หน้า ๒๕/๑ เมษายน ๒๕๓๕ [๒] มาตรา ๔ นิยามคำว่า “เงินเดือน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๓] มาตรา ๔ นิยามคำว่า “ข้าราชการ” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๔] มาตรา ๗ ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๕] มาตรา ๘ ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๖] มาตรา ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๗] มาตรา ๑๖ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๘] มาตรา ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๙] มาตรา ๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙ [๑๐] มาตรา ๔๐ วรรคสี่ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๑] มาตรา ๔๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๑๒] มาตรา ๔๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๑๓] มาตรา ๔๔ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๙๖/หน้า ๑๐/๑๔ กันยายน ๒๕๓๕ [๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๑๔ ก/หน้า ๑/๓ พฤษภาคม ๒๕๓๙ [๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๓๘ ก/หน้า ๑/๑๗ เมษายน ๒๕๔๙
487113
พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2549
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา การจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นปีที่ ๖๑ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า “เงินเดือน” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““เงินเดือน” หมายความว่า เงินเดือนและเงินอื่นที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายประเภทงบบุคลากรที่จ่ายในลักษณะเงินเดือน” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า “ข้าราชการ” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และเพื่อประโยชน์ของมาตรา ๒๐ ให้หมายความถึงบุคคลอื่นซึ่งได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายประเภทงบบุคลากรที่จ่ายในลักษณะเงินเดือนด้วย” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกมาตรา ๗ และมาตรา ๘ แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๐ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด” มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๑๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้าราชการที่มิได้มาปฏิบัติราชการในกรณีอื่น จะมีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือไม่ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือตามที่อธิบดีกรมบัญชีกลางกำหนด แล้วแต่กรณี” มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๐ แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๐ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการประจำเดือน ให้จ่ายในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนสามวันทำการ สำหรับกรณีที่ต้องเบิกเงินจากธนาคาร ให้จ่ายในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของธนาคารในเดือนนั้นสามวันทำการ ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางจะกำหนดวันจ่ายเป็นอย่างอื่นก็ได้” มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๓ แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔๓ การจ่ายบำนาญประจำเดือน ให้จ่ายในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนห้าวันทำการ สำหรับกรณีที่ต้องเบิกเงินจากธนาคาร หรือผู้มีสิทธิรับบำนาญได้รับบำนาญทางธนาคาร ให้จ่ายในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของธนาคารในเดือนนั้นห้าวันทำการ ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางจะกำหนดวันจ่ายเป็นอย่างอื่นก็ได้” มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔๔ การตรวจสอบการมีชีวิตของผู้รับบำนาญก่อนจ่ายบำนาญ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่การเบิกจ่ายเงินเดือนของส่วนราชการต่าง ๆ และการจ่ายเงินเดือนและบำนาญประจำเดือนตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ มีความล่าช้าและขาดความคล่องตัว เนื่องจากการเบิกจ่ายเงินเดือนจะต้องจัดทำเป็นบัญชีถือจ่ายและต้องรออนุมัติจากกรมบัญชีกลางก่อนจึงจะสามารถเบิกจ่ายได้ และการจ่ายเงินเดือนและบำนาญประจำเดือนในช่วงวันสิ้นเดือนมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจ่ายเงินเสียใหม่และกำหนดวันจ่ายเงินเดือนและบำนาญประจำเดือนให้เร็วขึ้น เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินเดือนและบำนาญประจำเดือนมีความคล่องตัว รวดเร็ว เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน นอกจากนั้น สมควรกำหนดให้อธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นผู้พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินเดือนให้แก่ข้าราชการที่มิได้มาปฏิบัติราชการ เพื่อเป็นการกระจายอำนาจและลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน รวมทั้งยกเลิกการแสดงตนของผู้รับบำนาญและกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบการมีชีวิตอยู่ของผู้รับบำนาญขึ้นใหม่ เพื่อไม่ให้เป็นการสร้างภาระและความลำบากแก่ผู้รับบำนาญเกินความจำเป็น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พัชรินทร์/ผู้จัดทำ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๙ ปณตภร/ปรับปรุง ๓ ตุลาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๓๘ ก/หน้า ๑/๑๗ เมษายน ๒๕๔๙
708268
พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 (ฉบับ Update ณ วันที่ 02/09/2548)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นปีที่ ๓๘ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ (๒) พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๘ บรรดากฎ ข้อบังคับ และระเบียบอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชกฤษฎีกานี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ใช้พระราชกฤษฎีกานี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ และข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร “ลูกจ้าง” หมายความว่า ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย เว้นแต่ลูกจ้างชาวต่างประเทศที่มีสัญญาจ้าง “ภูมิลำเนาเดิม” หมายความว่า ท้องที่ที่เริ่มรับราชการ กลับเข้ารับราชการใหม่ หรือได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างครั้งแรกหรือครั้งสุดท้าย แล้วแต่กรณี “บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า บุคคลซึ่งอยู่ในอุปการะและร่วมอาศัยอยู่กับผู้เดินทางไปราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) คู่สมรส (๒) บุตร (๓) บิดามารดาของผู้เดินทางและหรือบิดามารดาของคู่สมรส (๔) ผู้ติดตาม มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ลักษณะ ๑ บททั่วไป มาตรา ๖[๒] หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมขึ้นไปมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงบประมาณรายจ่ายเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ตามความจำเป็นและประหยัดภายใต้หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามพระราชกฤษฎีกานี้ ส่วนวิธีการเบิกจ่ายนั้นให้ปฏิบัติตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลังซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ทั้งนี้ หัวหน้าส่วนราชการดังกล่าวอาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณรายจ่ายเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้มีการใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและประหยัดก็ได้ มาตรา ๗ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งเป็นข้าราชการหรือลูกจ้าง ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการได้ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งมีสัญญากับส่วนราชการกำหนดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการไว้เป็นอย่างอื่น ให้เบิกค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในสัญญา ผู้เดินทางซึ่งเป็นข้าราชการที่มิได้มีตำแหน่ง ชั้น หรือยศกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ หรือไม่มีกฎหมายกำหนดตำแหน่งของผู้นั้นเทียบไว้กับตำแหน่งระดับของข้าราชการพลเรือน ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกำหนดเทียบตำแหน่งกับตำแหน่งระดับของข้าราชการพลเรือน เพื่อประโยชน์ในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการได้ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งมิได้เป็นข้าราชการ ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกำหนดเทียบกับตำแหน่งระดับของข้าราชการพลเรือนเพื่อให้ผู้นั้นเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามอัตราของตำแหน่งระดับที่เทียบ มาตรา ๘[๓] สิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้เดินทางไปราชการ หรือวันที่ออกจากราชการ แล้วแต่กรณี ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติการเดินทางอนุมัติระยะเวลาในการเดินทางไปราชการตามความจำเป็นและเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘/๑[๔] ถ้าผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้าหรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ เพราะมีเหตุส่วนตัว โดยได้รับอนุมัติให้ลากิจหรือลาพักผ่อนตามระเบียบว่าด้วยการนั้น และได้รับอนุมัติระยะเวลาดังกล่าวจากผู้มีอำนาจอนุมัติการเดินทางตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดด้วยแล้ว ให้มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามที่พระราชกฤษฎีกานี้กำหนดไว้ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติราชการตามคำสั่งของทางราชการแล้ว มาตรา ๙ ข้าราชการซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับชั้นหรือยศ สูงขึ้นภายหลังวันที่ได้เดินทางไปราชการแล้ว ให้มีสิทธิที่จะรับค่าใช้จ่ายในการเดินทางตามอัตราสำหรับตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศ ที่สูงขึ้นนับแต่วันที่มีคำสั่งแต่งตั้งดังกล่าว แม้คำสั่งนั้นจะให้มีผลย้อนหลังไปถึงหรือก่อนวันออกเดินทางก็ตาม มาตรา ๑๐ ข้าราชการซึ่งเดินทางไปรักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทน ให้ได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทนตามอัตราสำหรับตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศที่ตนดำรงอยู่ แต่การเดินทางระหว่างที่รักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทนรวมทั้งการเดินทางกลับมาดำรงตำแหน่งเดิม ให้ได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามอัตราสำหรับตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศที่ตนรักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทน ในกรณีที่เป็นการเดินทางไปรักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทนในตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศที่ต่ำกว่า ให้ผู้เดินทางมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในอัตราสำหรับตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศที่ตนดำรงอยู่ มาตรา ๑๑ การเดินทางไปราชการ ถ้าผู้เดินทางหยุดอยู่ที่ใดโดยไม่มีเหตุอันควร ไม่มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับระยะเวลาที่หยุดนั้น มาตรา ๑๒ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งเป็นผู้ได้รับเบี้ยเลี้ยงประจำจะเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามพระราชกฤษฎีกานี้ได้ เมื่องดเบิกเบี้ยเลี้ยงประจำ มาตรา ๑๒ ทวิ[๕] เมื่อปรากฏว่าโรงแรมใดเรียกเก็บค่าเช่าที่พักสูงกว่าอัตราที่เรียกเก็บจากบุคคลทั่วไปตามปกติ ออกใบเสร็จรับเงินเกินกว่าจำนวนเงินที่โรงแรมเรียกเก็บ ออกใบเสร็จรับเงินให้โดยผู้เดินทางไปราชการมิได้เข้าพัก หรือมีพฤติการณ์ในทางทุจริตร่วมกับผู้เดินทางไปราชการหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น ในเรื่องการเบิกค่าเช่าที่พักตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้กระทรวงการคลังแจ้งชื่อโรงแรมดังกล่าวให้กระทรวง ทบวง กรม ทราบ เพื่อมิให้เบิกค่าเช่าที่พักของโรงแรมนั้นเป็นเวลาหนึ่งปี และหากกระทำซ้ำอีกก็ให้ระงับการเบิกค่าเช่าที่พักของโรงแรมนั้นโดยเด็ดขาด การแจ้งชื่อโรงแรมตามวรรคหนึ่งให้มีผลเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแจ้ง ลักษณะ ๒ การเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร หมวด ๑ การเดินทางไปราชการชั่วคราว มาตรา ๑๓ การเดินทางไปราชการชั่วคราว ได้แก่ (๑) การไปปฏิบัติราชการชั่วคราวนอกที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา หรือตามหน้าที่ที่ปฏิบัติราชการโดยปกติ (๒)[๖] (ยกเลิก) (๓) การไปสอบคัดเลือก หรือรับการคัดเลือกตามที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา (๔) การไปช่วยราชการ ไปรักษาการในตำแหน่ง หรือไปรักษาราชการแทน (๕) การเดินทางไปราชการเฉพาะระหว่างเวลาที่อยู่ในราชอาณาจักรของผู้ซึ่งรับราชการประจำในต่างประเทศ (๖) การเดินทางข้ามแดนชั่วคราว เพื่อไปปฏิบัติราชการในดินแดนต่างประเทศตามข้อตกลงระหว่างประเทศ มาตรา ๑๔ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว ได้แก่ (๑) เบี้ยเลี้ยงเดินทาง (๒) ค่าเช่าที่พัก (๓) ค่าพาหนะ รวมถึงค่าเช่ายานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้างคนหาบหาม และอื่น ๆ ทำนองเดียวกัน (๔) ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการ มาตรา ๑๕[๗] เบี้ยเลี้ยงเดินทางให้เบิกได้ในลักษณะเหมาจ่ายตามจำนวนเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด เว้นแต่การเดินทางในกรณีดังต่อไปนี้ให้เบิกได้ร้อยละหกสิบของจำนวนปกติ (๑) การเดินทางไปราชการในท้องที่ต่างอำเภอในจังหวัดเดียวกันเว้นแต่อำเภอเมืองหรืออำเภอที่กระทรวงการคลังกำหนด (๒) การเดินทางไปราชการในท้องที่อำเภอซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติ หรือการเดินทางไปราชการในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติ มาตรา ๑๖[๘] การนับเวลาเดินทางไปราชการเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ให้นับตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติจนกลับถึงสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติ แล้วแต่กรณี เวลาเดินทางไปราชการในกรณีที่มีการพักแรม ให้นับยี่สิบสี่ชั่วโมงเป็นหนึ่งวัน ถ้าไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงหรือเกินยี่สิบสี่ชั่วโมงและส่วนที่ไม่ถึงหรือเกินยี่สิบสี่ชั่วโมงนั้นนับได้เกินสิบสองชั่วโมง ให้ถือเป็นหนึ่งวัน เวลาเดินทางไปราชการในกรณีที่มิได้มีการพักแรม หากนับได้ไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงและส่วนที่ไม่ถึงนั้นนับได้เกินสิบสองชั่วโมง ให้ถือเป็นหนึ่งวัน หากนับได้ไม่เกินสิบสองชั่วโมง แต่เกินหกชั่วโมงขึ้นไป ให้ถือเป็นครึ่งวัน ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้า หรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ เพราะมีเหตุส่วนตัว ตามมาตรา ๘/๑ การนับเวลาเดินทางไปราชการเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทางกรณีลากิจหรือลาพักผ่อนก่อนปฏิบัติราชการ ให้นับเวลาตั้งแต่เริ่มปฏิบัติราชการเป็นต้นไป และกรณีลากิจหรือลาพักผ่อนหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ ให้ถือว่าสิทธิในการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสุดเวลาการปฏิบัติราชการ มาตรา ๑๗[๙] การเดินทางไปราชการที่จำเป็นต้องพักแรม เว้นแต่การพักแรมซึ่งโดยปกติต้องพักแรมในยานพาหนะ หรือการพักแรมในที่พักแรมซึ่งทางราชการจัดที่พักไว้ให้แล้ว ให้ผู้เดินทางไปราชการเบิกค่าเช่าที่พักได้ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ ลงมา หรือผู้ช่วยผู้พิพากษาหรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ลงมา หรือข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศพันตำรวจเอกอัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ ลงมา ให้เบิกค่าเช่าที่พักในลักษณะเหมาจ่าย (๒) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นสูง ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๕ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรี ขึ้นไป ให้เบิกค่าเช่าที่พักในลักษณะจ่ายจริง ในกรณีเป็นการเดินทางไปราชการในท้องที่ที่มีค่าครองชีพสูงหรือเป็นแหล่งท่องเที่ยวกระทรวงการคลังอาจกำหนดให้ผู้เดินทางไปราชการเบิกค่าเช่าที่พักในอัตราสูงได้ตามความจำเป็น การเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะ ซึ่งมีผู้ดำรงตำแหน่งตาม (๒) เป็นหัวหน้าคณะ หากมีความจำเป็นต้องใช้สถานที่ในที่เดียวกันกับที่พักเพื่อเป็นที่ประสานงานของคณะหรือกับบุคคลอื่น ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เพิ่มขึ้นสำหรับห้องพักอีกห้องหนึ่งหรือจะเบิกค่าเช่าห้องชุดแทนก็ได้เท่าที่จ่ายจริง ทั้งนี้ ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๘[๑๐] การเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางสำหรับการเดินทางไปราชการเรื่องหนึ่งเรื่องใดในสถานที่ปฏิบัติราชการแห่งเดียวกัน ให้เบิกได้เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัดด้วย มาตรา ๑๙[๑๑] (ยกเลิก) มาตรา ๒๐[๑๒] การเดินทางไปราชการ ณ สถานที่ปฏิบัติราชการใดที่ไม่สะดวกในการเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่ปฏิบัติราชการนั้นกับสถานที่อยู่ ให้เบิกค่าเช่าที่พักระหว่างที่ไปราชการได้เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัดด้วย วรรคสอง[๑๓] (ยกเลิก) มาตรา ๒๑ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการเจ็บป่วยและจำเป็นต้องพักเพื่อรักษาพยาบาล ให้เบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักสำหรับวันที่พักนั้นได้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสิบวัน ภายใต้บังคับวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ผู้เดินทางเจ็บป่วยและต้องเข้าพักรักษาตัวในสถานพยาบาล ให้งดเบิกค่าเช่าที่พัก เว้นแต่กรณีที่จำเป็น การเจ็บป่วยตามวรรคหนึ่งต้องมีใบรับรองแพทย์ที่ทางราชการรับรอง ในกรณีที่ไม่มีแพทย์ที่ทางราชการรับรองอยู่ในท้องที่ที่เกิดการเจ็บป่วย ผู้เดินทางต้องชี้แจงประกอบ มาตรา ๒๒[๑๔] การเดินทางไปราชการ โดยปกติให้ใช้ยานพาหนะประจำทางและให้เบิกค่าพาหนะได้โดยประหยัด ในกรณีที่ไม่มียานพาหนะประจำทาง หรือมีแต่ต้องการความรวดเร็วเพื่อประโยชน์แก่ราชการให้ใช้พาหนะอื่นได้ แต่ผู้เดินทางไปราชการจะต้องชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นไว้ในหลักฐานการขอเบิกค่าพาหนะนั้น ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๖ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ขึ้นไป ให้เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้สำหรับกรณีดังต่อไปนี้ (๑) การเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก หรือสถานที่ปฏิบัติราชการกับสถานียานพาหนะประจำทาง หรือกับสถานที่จัดพาหนะที่ต้องใช้ในการเดินทางไปยังสถานที่ปฏิบัติราชการภายในเขตจังหวัดเดียวกัน (๒) การเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก กับสถานที่ปฏิบัติราชการภายในเขตจังหวัดเดียวกันวันละไม่เกินสองเที่ยว (๓) การเดินทางไปราชการในเขตกรุงเทพมหานคร หากการเดินทางดังกล่าวตาม (๑) เป็นการเดินทางข้ามเขตจังหวัด ให้เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด ผู้ซึ่งไม่มีสิทธิเบิกค่าพาหนะตามวรรคสามและวรรคสี่ ถ้าต้องนำสัมภาระในการเดินทางหรือสิ่งของเครื่องใช้ของทางราชการไปด้วย และเป็นเหตุให้ไม่สะดวกที่จะเดินทางโดยยานพาหนะประจำทางให้เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้ การเดินทางไปสอบคัดเลือกหรือรับการคัดเลือก ผู้เดินทางไปราชการจะเบิกค่าพาหนะรับจ้างตาม (๒) ไม่ได้ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้า หรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ เพราะมีเหตุส่วนตัว ตามมาตรา ๘/๑ ให้เบิกค่าพาหนะเท่าที่จ่ายจริงตามเส้นทางที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการ กรณีที่มีการเดินทางนอกเส้นทางในระหว่างการลานั้น ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงโดยไม่เกินอัตราตามเส้นทางที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการ มาตรา ๒๓ การเดินทางไปราชการโดยยานพาหนะประจำทางให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๒๔ ในท้องที่จังหวัดใดที่ไม่มีอัตราค่าพาหนะประเภทใดกำหนดไว้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนดอัตราค่าพาหนะดังกล่าวขึ้นไว้ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาอนุมัติและการตรวจสอบ เมื่อกำหนดแล้วให้แจ้งกระทรวงการคลัง มาตรา ๒๕ การใช้พาหนะส่วนตัวไปราชการ ผู้เดินทางจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาดังต่อไปนี้ จึงจะมีสิทธิเบิกเงินชดเชยเป็นค่าพาหนะในลักษณะเหมาจ่ายให้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเป็นค่าพาหนะส่วนตัวได้ คือ (๑) อธิบดีขึ้นไปหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง (๒) หัวหน้าสำนักงาน สำหรับราชการบริหารส่วนกลางที่มีสำนักงานอยู่ในส่วนภูมิภาค หรือมีสำนักงานแยกต่างหากจากกระทรวง ทบวง กรม (๓) หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดซึ่งเป็นผู้เบิกเงิน หรือนายอำเภอท้องที่ แล้วแต่กรณี สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค มาตรา ๒๖ เงินชดเชยเป็นค่าพาหนะตามมาตรา ๒๕ ให้เบิกจ่ายในประเภทค่าพาหนะตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๒๗ การเดินทางไปราชการโดยเครื่องบินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑)[๑๕] ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๖ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ขึ้นไป ให้เดินทางได้ (๒) ข้าราชการหรือลูกจ้างนอกจาก (๑) ให้เดินทางได้เฉพาะกรณีที่จำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ (๓) การเดินทางซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม (๑) หรือ (๒) จะเบิกค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินค่าพาหนะในการเดินทางภาคพื้นดินในระยะเดียวกันตามสิทธิซึ่งผู้เดินทางจะพึงเบิกได้ มาตรา ๒๘[๑๖] ผู้เดินทางไปราชการในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชาที่เป็นหัวหน้าคณะซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือกับข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ ขึ้นไป หรือกับข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือกับข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษขึ้นไป หรือกับข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป หากมีความจำเป็นต้องเดินทางพร้อมกับผู้บังคับบัญชาและเพื่อประโยชน์ในการประสานสั่งการในระหว่างเดินทางไปราชการ ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่ากับที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิกและให้พักแรมในที่เดียวกับผู้บังคับบัญชา โดยเบิกค่าเช่าที่พักได้ตามสิทธิที่ตนเองได้รับ หรือเบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราต่ำสุดของที่พักนั้น แต่ไม่เกินอัตราที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิก ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่งมีหลายคนให้มีสิทธิเบิกค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักเท่ากับที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิกได้เพียงหนึ่งคน ส่วนผู้เดินทางไปราชการในหน้าที่เลขานุการคนอื่น ๆ ให้เบิกค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักได้ตามสิทธิของตน มาตรา ๒๙ ผู้เดินทางไปราชการเพื่อทำหน้าที่รับรอง หรือปฏิบัติงานร่วมกับชาวต่างประเทศ จะเบิกค่าพาหนะในการเดินทางเท่ากับที่ต้องเบิกสำหรับชาวต่างประเทศนั้นก็ได้ ผู้เดินทางไปราชการตามคำสั่งของทางราชการเพื่อทำหน้าที่เป็นองครักษ์ ผู้อารักขา ผู้อำนวยความสะดวกอย่างใกล้ชิด หรือผู้ที่เข้าร่วมประชุมหารือ แก่ชาวต่างประเทศที่เป็นประมุขแห่งรัฐหรือบุคคลสำคัญของต่างประเทศ นอกจากจะเบิกค่าพาหนะตามวรรคหนึ่งได้แล้ว จะเบิกค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายจริงในลักษณะประหยัดตามความจำเป็นในสถานที่แห่งเดียวกับที่ชาวต่างประเทศพักอยู่นั้นด้วยก็ได้ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดที่จะพิจารณาอนุมัติตามความจำเป็นและเหมาะสม สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ[๑๗] มาตรา ๒๙/๑[๑๘] เจ้าหน้าที่การทูตระดับ ๑๐ ซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางกลับประเทศไทยเพื่อเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ เพื่อกราบถวายบังคมลาและรับพระราชสาส์นตราตั้งและพระราชสาส์นถอน ก่อนเดินทางไปดำรงตำแหน่งประจำในต่างประเทศ หากจะนำคู่สมรส บุตรอายุไม่เกินยี่สิบห้าปีซึ่งไม่มีคู่สมรสและอยู่ในอุปการะที่จะต้องเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศด้วย และผู้ติดตาม ร่วมเดินทางกลับประเทศไทยเพื่อเดินทางพร้อมกันต่อเนื่องไปประเทศประจำการใหม่และประเทศไทยเป็นเส้นทางผ่านหรืออยู่ใกล้เคียงกับประเทศที่จะไปประจำการใหม่ ให้อยู่ในดุลยพินิจของปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดที่จะพิจารณาอนุญาตตามความจำเป็นและเหมาะสม และให้เบิกค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักได้ ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าพาหนะสำหรับคู่สมรสและบุตรดังกล่าว ให้เบิกได้ในอัตราเดียวกับเจ้าหน้าที่การทูตแต่ถ้ามิได้เดินทางพร้อมกับเจ้าหน้าที่การทูต ให้เบิกได้ในอัตราต่ำสุด สำหรับผู้ติดตามไม่ว่าจะเดินทางพร้อมกันหรือไม่ ให้เบิกได้ในอัตราต่ำสุด (๒) ค่าเช่าที่พักให้เบิกได้ตามความจำเป็น เว้นแต่กรณีที่ผู้เดินทางมีเคหสถานของตนเองที่สามารถพักอาศัยได้ ให้งดเบิกค่าเช่าที่พัก การเบิกค่าเช่าที่พัก ให้เจ้าหน้าที่การทูต คู่สมรส บุตร และผู้ติดตามดังกล่าวพักแรมรวมกันสองคนต่อหนึ่งห้อง และให้เบิกค่าเช่าที่พักในอัตราค่าเช่าห้องพักคู่คนละไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่เหมาะสมจะพักรวมกันหรือมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวสำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้เท่ากับข้าราชการในตำแหน่งระดับต่ำสุด มาตรา ๓๐ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งต้องนำสิ่งของเครื่องใช้ของทางราชการไปด้วย ให้เบิกค่าพาหนะสำหรับสิ่งของเครื่องใช้นั้นได้โดยประหยัด มาตรา ๓๑ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งต้องจ่ายค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น เนื่องในการเดินทางไปราชการ ให้เบิกค่าใช้จ่ายนั้นได้โดยประหยัด หมวด ๒ การเดินทางไปราชการประจำ มาตรา ๓๒[๑๙] การเดินทางไปราชการประจำ ได้แก่ (๑) การเดินทางไปประจำต่างสำนักงาน ไปรักษาการในตำแหน่ง หรือรักษาราชการแทนเพื่อดำรงตำแหน่งใหม่ ณ สำนักงานแห่งใหม่ (๒) การเดินทางไปประจำสำนักงานแห่งเดิมในท้องที่แห่งใหม่ในกรณีย้ายสำนักงาน (๓) การเดินทางไปปฏิบัติงานตามโครงการหรือการเดินทางไปช่วยราชการที่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดของโครงการหรือการช่วยราชการไว้ชัดเจน ซึ่งมีกำหนดเวลาตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป (๔) การเดินทางไปช่วยราชการที่ไม่อาจกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดหรือมีกำหนดเวลาไม่ถึงหนึ่งปีซึ่งต่อมาภายหลัง ส่วนราชการมีความจำเป็นต้องให้ข้าราชการผู้นั้นอยู่ช่วยราชการ ณ สถานที่แห่งเดิมนั้นให้นับเวลาการช่วยราชการต่อเนื่องและให้ถือเวลาการช่วยราชการตั้งแต่วันที่ครบกำหนดหนึ่งปีเป็นต้นไปเป็นการเดินทางไปราชการประจำ มาตรา ๓๓[๒๐] ผู้เดินทางไปราชการประจำซึ่งมิใช่ผู้ซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานแห่งใหม่ตามคำร้องขอของตนเอง ให้เบิกค่าใช้จ่ายได้ตามมาตรา ๑๔ และกรณีที่ผู้เดินทางดังกล่าวมีความจำเป็นต้องย้ายที่อยู่ใหม่ ให้เบิกค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวในลักษณะเหมาจ่ายได้ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๓๔ การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการประจำในกรณีที่มิได้กำหนดไว้ในหมวดนี้ ให้นำหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในลักษณะ ๒ หมวด ๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๓๕ การนับเวลาเดินทางไปราชการเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทางให้นับตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่อยู่จนถึงสถานที่พักที่ไปรับราชการแห่งใหม่ มาตรา ๓๖[๒๑] ผู้เดินทางไปราชการประจำจะเบิกค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะสำหรับบุคคลในครอบครัวได้โดยประหยัด การเบิกค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะสำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้ ดังต่อไปนี้ (๑) หนึ่งคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๖ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่าหรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ ลงมา หรือผู้ช่วยผู้พิพากษาหรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโทลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ลงมา (๒) ไม่เกินสองคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๗ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่าหรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก ขึ้นไป มาตรา ๓๗[๒๒] ค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักสำหรับบุคคลในครอบครัวนอกจากผู้ติดตาม ให้เบิกได้ในอัตราเดียวกับผู้เดินทางไปราชการประจำตามมาตรา ๓๓ สำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้เท่ากับข้าราชการในตำแหน่งระดับต่ำสุด ในกรณีที่เดินทางไปถึงท้องที่ตั้งสำนักงานตามมาตรา ๓๒ (๑) (๒) และ (๓) ถ้าไม่อาจเข้าพักในที่พักอาศัยที่ทางราชการจัดให้หรือบ้านเช่าได้ และผู้บังคับบัญชาดังต่อไปนี้อนุญาตแล้ว ให้เบิกค่าเช่าที่พักสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวได้ไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันไปถึงท้องที่ตั้งสำนักงานนั้น (๑) อธิบดีขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง (๒) หัวหน้าสำนักงาน สำหรับราชการบริหารส่วนกลางที่มีสำนักงานอยู่ในส่วนภูมิภาคหรือมีสำนักงานแยกต่างหากจากกระทรวง ทบวง กรม (๓) หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดซึ่งเป็นผู้เบิกเงิน หรือนายอำเภอท้องที่ แล้วแต่กรณี สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องเบิกค่าเช่าที่พักเกินเจ็ดวัน ต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดเดิม สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ มาตาม ๓๘ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปประจำต่างสำนักงานเดินทางโดยเครื่องบินตามมาตรา ๒๗ ให้บุคคลในครอบครัวเดินทางโดยเครื่องบินได้ด้วย มาตรา ๓๙[๒๓] ในกรณีจำเป็นซึ่งไม่อาจนำบุคคลในครอบครัวไปพร้อมกับผู้เดินทางได้ ให้ผู้เดินทางรายงานชี้แจงเหตุผลความจำเป็นและกำหนดเวลาที่จะเลื่อนการเดินทางต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดี หรือปลัดกระทรวงหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า แล้วแต่กรณี สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง หรือผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค แต่ถ้าผู้เดินทางดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ให้เสนอผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง การขอเลื่อนการเดินทางตามวรรคหนึ่ง ให้ขอก่อนที่ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้นจะเดินทาง ผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่งมีอำนาจอนุญาตให้เลื่อนการเดินทางได้ภายในเวลาอันสมควร แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ปรากฏในคำสั่งให้เดินทางไปราชการ มาตรา ๔๐ ผู้เดินทางไปราชการประจำซึ่งได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางล่วงหน้าไปแล้ว ถ้าไม่ได้เดินทางภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับให้นำเงินค่าใช้จ่ายที่ได้รับไปแล้วส่งคืนทันที่ มาตรา ๔๑ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในกรณีไปประจำสำนักงานซึ่งต่างสังกัดให้เบิกจากสังกัดเดิม หมวด ๓ การเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม มาตรา ๔๒ การเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม ให้หมายความถึงการเดินทางเพื่อกลับภูมิลำเนาเดิมของผู้เดินทางไปราชการประจำในกรณีที่ออกจากราชการหรือถูกสั่งพักราชการ มาตรา ๔๓ ข้าราชการซึ่งออกจากราชการหรือลูกจ้างซึ่งทางราชการเลิกจ้าง จะเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัว ได้เฉพาะค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ และค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวเพื่อกลับภูมิลำเนาเดิมของข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้น ตามอัตราสำหรับตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศครั้งสุดท้ายก่อนออกจากราชการหรือเลิกจ้าง ในกรณีที่ข้าราชการหรือลูกจ้างถึงแก่ความตาย ให้สิทธิในการเบิกค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งตกแก่ทายาทผู้ใดผู้หนึ่ง ที่อยู่กับข้าราชการหรือลูกจ้างขณะถึงแก่ความตาย ในกรณีที่ไม่มีทายาทที่อยู่กับข้าราชการหรือลูกจ้างขณะถึงแก่ความตายหรือมีทายาทแต่ไม่สามารถจัดการได้ ให้สิทธิในการเบิกค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งตกแก่ทายาทผู้ใดผู้หนึ่งที่มิได้ไปอยู่ด้วย ถ้าทายาทผู้นั้นต้องเดินทางไปจัดการดังกล่าวให้เบิกค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งสำหรับตนเองได้เฉพาะการเดินทางกลับ การเดินทางและการขนย้ายสิ่งของตามมาตรานี้ ให้กระทำภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันออกจากราชการ เลิกจ้าง หรือตาย ถ้าเกินต้องได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง มาตรา ๔๔ ข้าราชการซึ่งถูกสั่งพักราชการหรือลูกจ้างซึ่งถูกสั่งพักการจ้าง จะเบิกค่าใช้จ่ายสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัว เฉพาะค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ และค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวเพื่อกลับภูมิลำเนาเดิมของข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้นโดยจะไม่รอผลการสอบสวนถึงที่สุดก็ได้ มาตรา ๔๕ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมตามมาตรา ๔๓ และมาตรา ๔๔ จะขอเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังท้องที่อื่นซึ่งมิใช่ภูมิลำเนาเดิมโดยเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไม่สูงกว่า ให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีขึ้นไปหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าสำหรับราชการบริหารส่วนกลาง หรือผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค มาตรา ๔๖ การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมในกรณีที่มิได้กำหนดไว้ในหมวดนี้ ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ ๒ หมวด ๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ลักษณะ ๓ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศ หมวด ๑ การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว มาตรา ๔๗[๒๔] การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ได้แก่ (๑) การเดินทางของผู้รับราชการประจำในประเทศไทยซึ่งเดินทางไปราชการนอกราชอาณาจักรเพื่อปฏิบัติงานการประชุม เจรจาธุรกิจ ดูงาน ตรวจสอบบัญชี หรือปฏิบัติหน้าที่อย่างอื่นเป็นครั้งคราวตามความจำเป็น (๒) การเดินทางของผู้รับราชการประจำในต่างประเทศซึ่งเดินทางไปราชการ ณ ที่ใด ๆ ในต่างประเทศหรือมายังประเทศไทย เฉพาะเวลาที่เดินทางอยู่นอกราชอาณาจักร เพื่อปฏิบัติงานนอกที่ตั้งสำนักงานในเขตอาณาหรือเขตพื้นที่รับผิดชอบ หรือ (๓) การเดินทางของผู้รับราชการประจำในต่างประเทศซึ่งเดินทางไปช่วยราชการรักษาการในตำแหน่ง หรือรักษาราชการแทนต่างสำนักงานในต่างประเทศ เฉพาะเวลาที่ออกเดินทางจากที่พักซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งเดิมจนถึงที่พักซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ ถ้าผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศหรือจากหน่วยงานใด ๆ ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทางแล้ว ไม่มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้อีก แต่หากความช่วยเหลือที่ได้รับน้อยกว่าสิทธิที่จะพึงมีตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้เบิกค่าใช้จ่ายสมทบได้ตามเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๔๘ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ได้แก่ (๑) เบี้ยเลี้ยงเดินทาง (๒) ค่าเช่าที่พัก (๓) ค่าพาหนะรวมทั้งค่าเช่ายานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้างคนหาบหาม และอื่น ๆ ทำนองเดียวกัน (๔) ค่ารับรอง (๕) ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นเนื่องในการเดินทางไปราชการ มาตรา ๔๙[๒๕] เบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวให้เบิกได้ในลักษณะเหมาจ่ายภายในวงเงินที่กระทรวงการคลังกำหนด ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวที่มิได้เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามวรรคหนึ่ง ให้เบิกค่าอาหารและค่าเครื่องดื่ม รวมทั้งค่าภาษีและค่าบริการที่โรงแรม ภัตตาคาร หรือร้านค้า เรียกเก็บจากผู้เดินทางไปราชการได้เท่าที่จ่ายจริง ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด และให้เบิกค่าใช้สอยเบ็ดเตล็ดได้ในลักษณะเหมาจ่าย ภายในวงเงินที่กระทรวงการคลังกำหนด หากผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวตามวรรคสองไปราชการตั้งแต่เจ็ดวันขึ้นไปให้เบิกค่าทำความสะอาดเสื้อผ้าสำหรับระยะเวลาที่เกินเจ็ดวันได้เท่าที่จ่ายจริง ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวจะเลือกเบิกค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้เพียงอย่างเดียว ตลอดระยะเวลาของการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวนั้นไม่ว่าจะเดินทางไปประเทศเดียว หรือหลายประเทศก็ตาม การเดินทางไปราชการชั่วคราวของผู้รับราชการประจำในต่างประเทศภายในประเทศที่ผู้นั้นประจำอยู่ ให้เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้ในอัตรากึ่งหนึ่ง ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการเจ็บป่วยและจำเป็นต้องพักเพื่อรักษาพยาบาล ให้นำมาตรา ๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม การเดินทางไปราชการของลูกจ้างที่ส่วนราชการในต่างประเทศเป็นผู้จ้าง ให้เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักได้ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๕๐[๒๖] การนับเวลาเดินทางไปราชการต่างประเทศเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทางสำหรับผู้รับราชการประจำในประเทศไทย ให้นับตั้งแต่ประทับตราหนังสือเดินทางออกจากประเทศไทยจนถึงเวลาที่ประทับตราหนังสือเดินทางเข้าประเทศไทย สำหรับผู้รับราชการประจำในต่างประเทศ ให้นับตั้งแต่เดินทางจากที่พักประจำในต่างประเทศหรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติจนกลับถึงที่พักประจำในต่างประเทศหรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติ แล้วแต่กรณี แต่ในกรณีที่เดินทางมายังประเทศไทย มิให้รวมเวลาตั้งแต่ประทับตราหนังสือเดินทางเข้าประเทศไทยจนถึงเวลาที่ประทับตราหนังสือเดินทางออกจากประเทศไทย ในกรณีการเดินทางของข้าราชการในส่วนราชการที่ใช้เอกสารอย่างอื่นซึ่งมิใช่หนังสือเดินทางเวลาที่ถือว่าเป็นเวลาเข้าและออกจากประเทศไทยให้ใช้เวลาประทับตราเข้าและออกในเอกสารนั้น เวลาเดินทางไปราชการในกรณีที่มีการพักแรม ให้นับยี่สิบสี่ชั่วโมงเป็นหนึ่งวัน ถ้าไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงหรือเกินยี่สิบสี่ชั่วโมงและส่วนที่ไม่ถึงหรือเกินยี่สิบสี่ชั่วโมงนั้นนับได้เกินสิบสองชั่วโมง ให้ถือเป็นหนึ่งวัน เวลาเดินทางไปราชการในกรณีที่มิได้มีการพักแรม หากนับได้ไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงและส่วนที่ไม่ถึงนั้นนับได้เกินสิบสองชั่วโมง ให้ถือเป็นหนึ่งวัน หากนับได้ไม่เกินสิบสองชั่วโมง แต่เกินหกชั่วโมงขึ้นไป ให้ถือเป็นครึ่งวัน ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้า หรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ เพราะมีเหตุส่วนตัวตามมาตรา ๘/๑ การนับเวลาเดินทางไปราชการเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทางกรณีลากิจหรือลาพักผ่อนก่อนปฏิบัติราชการ ให้นับเวลาตั้งแต่เริ่มปฏิบัติราชการเป็นต้นไป ยกเว้นในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีเหตุจำเป็นต้องพักแรมในท้องที่ที่ปฏิบัติราชการก่อนวันเริ่มปฏิบัติราชการให้นับเวลาเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทางตั้งแต่เวลาเข้าที่พักในท้องที่ที่ปฏิบัติราชการ ทั้งนี้ ไม่เกินยี่สิบสี่ชั่วโมงเมื่อนับถึงเวลาเริ่มปฏิบัติราชการ และกรณีลากิจหรือลาพักผ่อนหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ ให้ถือว่าสิทธิในการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสุดเวลาการปฏิบัติราชการ มาตรา ๕๑[๒๗] การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวที่จำเป็นต้องพักแรม เว้นแต่การพักแรมซึ่งโดยปกติต้องพักแรมในยานพาหนะ หรือการพักแรมในที่พักแรมซึ่งทางราชการจัดที่พักไว้ให้แล้วให้ผู้เดินทางไปราชการเบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงตามสิทธิที่ตนเองได้รับในการพักอาศัยคนเดียว ทั้งนี้ ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด การเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะ ให้ผู้เดินทางไปราชการเบิกค่าเช่าที่พักได้ ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๘ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ลงมา หรือผู้ช่วยผู้พิพากษาหรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก ลงมา ให้พักแรมรวมกันสองคนต่อหนึ่งห้อง โดยให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคู่ คนละไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว ถ้าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวแยกพักห้องพักคนเดียวให้เบิกได้อัตราเดียวกัน เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่เหมาะสมจะพักรวมกัน หรือมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว (๒) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว (๓) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นสูง ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๕ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรี ขึ้นไป ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะ หากมีความจำเป็นต้องใช้สถานที่ในที่เดียวกันกับที่พักเพื่อเป็นที่ประสานงานของคณะหรือกับบุคคลอื่น ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เพิ่มขึ้นสำหรับห้องพักอีกห้องหนึ่งในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวหรือจะเบิกค่าเช่าห้องชุดแทนก็ได้ แต่ทั้งนี้ ต้องมีอัตราไม่เกินสองเท่าของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว ในกรณีที่เป็นการสมควร กระทรวงการคลังอาจกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งระดับใด หรือตำแหน่งใดเบิกค่าเช่าที่พักเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษได้สำหรับห้องพักอีกห้องหนึ่งในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว หรือจะเบิกค่าเช่าห้องชุดแทนก็ได้ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้าก่อนเริ่มปฏิบัติราชการเพราะมีเหตุส่วนตัว ตามมาตรา ๘/๑ และมีเหตุจำเป็นต้องพักแรมในท้องที่ที่ปฏิบัติราชการก่อนวันเริ่มปฏิบัติราชการ ให้เบิกค่าเช่าที่พักก่อนวันเริ่มปฏิบัติราชการดังกล่าวได้ไม่เกินหนึ่งวัน ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการนำบุคคลอื่นที่ไม่มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปพักรวมอยู่ด้วยให้ผู้เดินทางไปราชการรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนที่เพิ่มขึ้นจากสิทธิที่พึงจะได้รับจากทางราชการ มาตรา ๕๒[๒๘] การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว โดยปกติให้ใช้ยานพาหนะประจำทางและให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงโดยประหยัด ในกรณีที่ไม่มียานพาหนะประจำทางหรือมีแต่ต้องการความรวดเร็วเพื่อประโยชน์แก่ราชการให้ใช้พาหนะอื่นได้ แต่ผู้เดินทางจะต้องชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นไว้ในหลักฐานการขอเบิกค่าพาหนะนั้น ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้า หรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ เพราะมีเหตุส่วนตัว ตามมาตรา ๘/๑ ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงตามเส้นทางที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการ กรณีที่มีการเดินทางนอกเส้นทางในระหว่างการลานั้น ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงโดยไม่เกินอัตราตามเส้นทางที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการ มาตรา ๕๓[๒๙] การเดินทางไปราชการต่างประเทศโดยเครื่องบินจากประเทศไทยไปต่างประเทศหรือจากต่างประเทศกลับประเทศไทย หรือการเดินทางในต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ชั้นหนึ่ง สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ (ก) หัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาล (ข) ประธานศาลฎีกา และรองประธานศาลฎีกา (ค) ประธานรัฐสภา และรองประธานรัฐสภา (ง) ประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา (จ) ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (ฉ) รัฐมนตรี (ช) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นสูง ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๕ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี หรือพลอากาศตรี ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรี ขึ้นไป (๒) ชั้นธุรกิจหรือชั้นระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นประหยัดหรือชั้นต่ำสุด สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ (๓) ชั้นประหยัดหรือชั้นต่ำสุด สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ชั้น หรือยศ นอกจากที่ระบุใน (๑) และ (๒) ในกรณีที่เครื่องบินที่ใช้ในการเดินทางไม่มีชั้นระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นประหยัดหรือชั้นต่ำสุดให้ผู้ดำรงตำแหน่งตาม (๒) เดินทางโดยชั้นหนึ่ง ในการเดินทางไปราชการเพื่อรับเสด็จ ตามเสด็จ หรือส่งเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ หากที่นั่งโดยสารในชั้นที่กำหนดสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งตาม (๒) และ (๓) เต็ม และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินได้ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งที่เดินทางดังกล่าวสามารถเดินทางและเบิกค่าโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิได้ โดยต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวงให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิ จะเบิกค่าโดยสารเครื่องบินนั้นในชั้นที่สูงกว่าสิทธิได้เมื่อได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง มาตรา ๕๓ ทวิ[๓๐] ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาล หรือซึ่งดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภาประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลฎีกา รองประธานรัฐสภา รองประธานวุฒิสภา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรัฐมนตรี ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่ากับที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิกและให้พักแรมในที่เดียวกับผู้บังคับบัญชา โดยเบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงตามสิทธิที่ตนเองได้รับหรือเบิกในอัตราต่ำสุดของที่พักนั้น แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชามีหลายคน ให้มีสิทธิเบิกค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักตามวรรคหนึ่งได้เพียงหนึ่งคน ส่วนผู้เดินทางไปราชการในหน้าที่เลขานุการคนอื่น ๆ ให้เบิกค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักได้ตามสิทธิของตน มาตรา ๕๔[๓๑] ค่ารับรองและค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการ ให้เบิกได้ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๕๔ ทวิ[๓๒] (ยกเลิก) มาตรา ๕๕ ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวจะเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับคู่สมรสได้เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อได้รับอนุญาตจากกระทรวงเจ้าสังกัดให้ติดตามไปได้ (๒) เมื่อเจ้าหน้าที่การทูตระดับ ๘ ขึ้นไป เป็นหัวหน้าคณะไปราชการในกรณี (ก) ถวายหรือยื่นพระราชสาส์นตราตั้ง หรือทูลลาหรือลาต่อพระราชาธิบดี หรือประมุขแห่งรัฐที่อยู่ในเขตอาณา (ข) ตามเสด็จพระราชดำเนินเนื่องในการที่พระมหากษัตริย์หรือพระราชินีเสด็จเยือนประเทศที่อยู่ในเขตอาณา (ค) รัฐบาลของประเทศที่อยู่ในเขตอาณาได้เชิญคู่สมรสไปร่วมงานพิธีในประเทศเขตอาณาด้วย มาตรา ๕๖[๓๓] ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของคู่สมรสตามมาตรา ๕๕ ให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๕๗ ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว จะเบิกค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับตนเองและคู่สมรสมิได้ เว้นแต่กรณีจำเป็นตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๕๘ ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวซึ่งได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางล่วงหน้าไปแล้ว ถ้าไม่ได้เดินทางภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันได้รับ ให้นำเงินค่าใช้จ่ายที่ได้รับไปแล้วส่งคืนทันที หมวด ๒ การเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ มาตรา ๕๙ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศได้แก่ (๑) เบี้ยเลี้ยงเดินทาง (๒) ค่าเช่าที่พัก (๓) ค่าพาหนะ (๔) ค่าเครื่องแต่งตัว (๕) ค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ มาตรา ๖๐ การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศในกรณีที่มิได้กำหนดไว้ในหมวดนี้ ให้นำลักษณะ ๓ หมวด ๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๖๑[๓๔] เบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ ให้เบิกได้เฉพาะระยะเวลาระหว่างเดินทาง ในกรณีที่เดินทางไปถึงท้องที่ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ในต่างประเทศ ถ้าไม่อาจเข้าพักในที่ที่ทางราชการจัดให้หรือบ้านเช่าได้ และผู้บังคับบัญชาซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือ ตำแหน่งที่เทียบเท่าขึ้นไปอนุญาตแล้ว ให้เบิกค่าเช่าที่พักสำหรับตนเอง คู่สมรส บุตรอายุไม่เกิน ยี่สิบห้าปีซึ่งไม่มีคู่สมรสและอยู่ในความอุปการะที่จะต้องเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศด้วย และ ผู้ติดตาม ได้ไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันไปถึงท้องที่ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ ผู้เดินทางไปราชการและบุคคลในครอบครัวตามวรรคสองให้พักรวมกันสองคนต่อหนึ่งห้อง โดยให้เบิกค่าเช่าที่พักในอัตราค่าเช่าห้องพักคู่คนละไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่เหมาะสมจะพักรวมกันหรือมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวสำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้เท่ากับข้าราชการในตำแหน่งระดับต่ำสุด ในกรณีมีความจำเป็นต้องเช่าที่พักแรมเกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ ต้องได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง มาตรา ๖๒ ค่าพาหนะเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง โดยจะต้องใช้ยานพาหนะที่เหมาะสมซึ่งต้องคำนึงถึงความรวดเร็วและประหยัด ส่วนคู่สมรสและบุตรอายุไม่เกินยี่สิบห้าปีซึ่งไม่มีคู่สมรสและอยู่ในความอุปการะที่จะต้องเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศด้วย ให้เบิกได้ในอัตราเดียวกับผู้เดินทาง ผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศจะเบิกค่าพาหนะสำหรับผู้ติดตามซึ่งได้รับอนุญาตจากกระทรวงเจ้าสังกัดแล้วได้ดังนี้ (๑) หนึ่งคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๖ ลงมาหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันโท นาวาโท นาวาอากาศโทลงมา หรือข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศพันตำรวจโทลงมา (๒) ไม่เกินสองคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๗ ขึ้นไปหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอกขึ้นไป ค่าพาหนะสำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้ในอัตราต่ำสุด ค่าพาหนะสำหรับคู่สมรส บุตร และผู้ติดตามจะเบิกไม่ได้ถ้าบุคคลดังกล่าวมิได้ออกเดินทางภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ข้าราชการหรือลูกจ้างออกเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ มาตรา ๖๓ ให้นำมาตรา ๖๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่กรณีที่ผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ คู่สมรส บุตร หรือผู้ติดตามเดินทางกลับประเทศไทย ในกรณีที่คู่สมรส บุตร หรือผู้ติดตามมีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางกลับประเทศไทยก่อนข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้น ให้กระทรวงเจ้าสังกัดทำความตกลงกับกระทรวงการคลังจึงจะเบิกค่าพาหนะเดินทางกลับได้ ค่าพาหนะสำหรับบุตรซึ่งเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศ หรือบุตรที่เกิดในระหว่างเวลาที่รับราชการประจำในต่างประเทศจะเบิกไม่ได้ถ้ามิได้เดินทางกลับภายในกำหนดสามปีนับแต่วันที่ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้นเดินทางกลับ มาตรา ๖๔ ให้นำมาตรา ๕๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่การเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศและการเดินทางกลับประเทศไทยโดยเครื่องบิน คู่สมรสหรือบุตร ให้มีสิทธิโดยสารชั้นเดียวกับผู้เดินทาง แต่ถ้ามิได้เดินทางพร้อมกับข้าราชการหรือลูกจ้าง ให้เบิกได้ในอัตราต่ำสุด สำหรับผู้ติดตามไม่ว่าจะเดินทางพร้อมกันหรือไม่ ให้เบิกได้ในอัตราต่ำสุด คู่สมรสหรือบุตรซึ่งเดินทางติดตามไปอยู่ด้วยกับข้าราชการหรือลูกจ้างตามมาตรา ๗๐ (๒) และ (๓) ให้มีสิทธิโดยสารชั้นประหยัดหรือชั้นต่ำสุด โดยให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินอัตราขั้นต่ำสุดตามเส้นทางที่ข้าราชการหรือลูกจ้างได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการประจำ[๓๕] มาตรา ๖๕[๓๖] ผู้เดินทางไปรับราชการประจำในต่างประเทศ ให้ได้รับค่าเครื่องแต่งตัวภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด เว้นแต่ผู้ซึ่งได้รับค่าเครื่องแต่งตัวมาแล้ว และในการเดินทางครั้งใหม่เป็นการเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศที่ใช้เครื่องแต่งตัวประเภทเดียวกับที่ใช้ในการเดินทางครั้งก่อน และมีระยะเวลาไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ออกเดินทางนั้น ในกรณีที่ได้รับค่าเครื่องแต่งตัวแล้ว แต่มิได้เดินทาง ให้ถือวันที่ได้รับเป็นวันออกเดินทาง มาตรา ๖๖ ให้นำมาตรา ๖๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่กรณีที่คู่สมรสและบุตรจะต้องเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศด้วย คู่สมรสและบุตร จะเบิกค่าเครื่องแต่งตัวไม่ได้ถ้ามิได้ออกเดินทางภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ข้าราชการหรือลูกจ้างออกเดินทาง มาตรา ๖๗ ในกรณีที่ทางราชการสั่งงดการเดินทางโดยมิใช่ความผิดของผู้เดินทาง ถ้าผู้เดินทางได้ใช้จ่ายค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับตนเอง คู่สมรส หรือบุตรไปแล้ว หรือมีข้อผูกพันที่จะต้องจ่ายโดยสุจริตโดยมีหลักฐานก็ไม่ต้องส่งคืน มาตรา ๖๘ ให้นำมาตรา ๔๓ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ โดยอนุโลม มาตรา ๖๙ ในกรณีที่ข้าราชการหรือลูกจ้างที่ปฏิบัติราชการประจำในต่างประเทศถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งพักการจ้าง จะเบิกค่าใช้จ่ายสำหรับตนเอง คู่สมรส บุตร หรือผู้ติดตามเฉพาะค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ และค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่กลับประเทศไทยโดยจะไม่รอผลการสอบสวนถึงที่สุดก็ได้ มาตรา ๗๐[๓๗] ค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ให้เบิกในลักษณะเหมาจ่ายตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางจากประเทศไทยไปราชการประจำในต่างประเทศ และคู่สมรสหรือบุตรซึ่งต้องเดินทางจากประเทศไทยไปอยู่ด้วย ให้เบิกได้ในอัตราสี่เท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวจะพึงได้รับจากทางราชการ ยกเว้นข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งเดินทางจากประเทศไทยไปราชการประจำในต่างประเทศเป็นครั้งแรกและคู่สมรสหรือบุตรซึ่งเดินทางจากประเทศไทยไปอยู่ด้วย ให้เบิกได้ในอัตราห้าเท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวจะพึงได้รับจากทางราชการ (๒) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางออกจากต่างประเทศหนึ่งไปราชการประจำในต่างประเทศอื่นและคู่สมรสหรือบุตรซึ่งติดตามไปอยู่ด้วย ให้เบิกได้ในอัตราสามเท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวจะพึงได้รับตามอัตราสำหรับประเทศซึ่งจะไปราชการประจำใหม่ (๓) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางจากเมืองหนึ่งไปราชการประจำอีกเมืองหนึ่งในต่างประเทศเดียวกัน และคู่สมรสหรือบุตรซึ่งติดตามไปอยู่ด้วย ให้เบิกได้ในอัตราสามเท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวจะพึงได้รับตามอัตราสำหรับประเทศนั้น (๔) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางจากต่างประเทศที่มีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศกลับประเทศไทย และคู่สมรสหรือบุตรซึ่งกลับมาด้วยจากประเทศเดียวกับผู้เดินทาง ให้เบิกได้ในอัตราสามเท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวได้รับครั้งสุดท้ายก่อนเดินทางกลับประเทศไทย ในกรณีที่คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับก่อนการเบิกค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ให้เป็นไปตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด บทเฉพาะกาล มาตรา ๗๑ การเดินทางไปราชการที่ต่อเนื่องกันในระหว่างการใช้พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ กับพระราชกฤษฎีกานี้ สำหรับสิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหรือที่ก่อหนี้ผูกพันไปแล้วโดยสุจริตก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๗๒ การเดินทางไปราชการระหว่างวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับกับวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้เดินทางยังคงมีสิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ แต่ทั้งนี้ ไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามพระราชกฤษฎีกานี้ สำหรับส่วนที่เกินจำนวนเงินค่าใช้จ่ายที่ได้รับแล้วนั้น ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชี ๑ อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร[๓๘] (ยกเลิก) ๒. บัญชี ๒ อัตราค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร[๓๙] (ยกเลิก) ๓. บัญชี ๓ ค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร[๔๐] (ยกเลิก) ๔. บัญชี ๔ อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว[๔๑] (ยกเลิก) ๕. บัญชี ๕ อัตราค่าเครื่องแต่งตัวไปรับราชการประจำในต่างประเทศ[๔๒] (ยกเลิก) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการยังไม่เหมาะสม และกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเดินทางไปราชการชั่วคราวและประจำ ทั้งในราชอาณาจักรและต่างประเทศยังไม่เป็นระบบ และโดยที่ในปัจจุบันได้มีกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีปรับปรุงตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศ ของข้าราชการบางประเภทแตกต่างไปจากเดิมมาก สมควรปรับปรุงอัตราค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน และกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเดินทางไปราชการชั่วคราวและประจำทั้งในราชอาณาจักรและต่างประเทศขึ้นใหม่ให้เป็นระบบ ตลอดจนกำหนดสิทธิการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้สอดคล้องกับการปรับปรุงตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศของข้าราชการบางประเภท จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗[๔๓] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๑๒ การเดินทางไปราชการที่ต่อเนื่องกันในระหว่างการใช้พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ กับพระราชกฤษฎีกานี้ สำหรับสิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหรือที่ก่อหนี้ผูกพันไปแล้วโดยสุจริตก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ มาตรา ๑๓ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบันและให้สะดวกในการปฏิบัติราชการ โดยกำหนดให้ปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดหรือผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติการเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักกรณีการเดินทางไปราชการชั่วคราวในประเทศเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันแทนการขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง แก้ไขให้ผู้เดินทางเลื่อนการขนย้ายสิ่งของส่วนตัวได้โดยไม่ต้องขออนุญาตผู้บังคับบัญชา กำหนดให้การเบิกค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายจริงในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวของบุคคลอื่นนอกจากอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าหรือผู้แทนส่วนราชการซึ่งเข้าร่วมในการประชุมระดับรัฐมนตรีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดแทนการอนุมัติของปลัดกระทรวงกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนระดับ ๙ และข้าราชการอื่นซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ามีสิทธิโดยสารเครื่องบินชั้นระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นต่ำสุด กำหนดให้ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชาซึ่งมีสิทธิเดินทางโดยชั้นหนึ่งบางตำแหน่งได้มีสิทธิเบิกค่าพาหนะเท่ากับผู้บังคับบัญชาดังกล่าว รวมทั้งกำหนดให้เบิกค่ารับรองและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการที่มีอัตรากำหนดไว้แน่นอนได้และเพิ่มประเทศอิรักลงในบัญชี ๔ กับประเทศบรูไนลงในบัญชี ๕ ท้ายพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๘[๔๔] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประการใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากทางราชการได้ประกาศปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งมีผลทำให้ค่าใช้จ่ายที่ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศได้รับเป็นเงินบาท เพื่อเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ตามบัญชี ๔ และค่าเครื่องแต่งตัวไปรับราชการประจำในต่างประเทศ ตามบัญชี ๕ ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ มีมูลค่าลดน้อยลง เมื่อคิดเทียบเป็นเงินตราต่างประเทศ อันมีผลทำให้ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวและผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศได้รับความเดือดร้อน ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของผู้เดินทางดังกล่าวอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา สมควรปรับปรุงอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ตามบัญชี ๔ และอัตราค่าเครื่องแต่งตัวไปรับราชการประจำในต่างประเทศ ตามบัญชี ๕ ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๙[๔๕] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๒๒ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๖ ขึ้นไปหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าข้าราชการตุลาการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป ข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันโท นาวาโท นาวาอากาศโทขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโทขึ้นไป ในการเบิกค่าพาหนะรับจ้างสำหรับการเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก หรือสถานที่ปฏิบัติราชการกับสถานียานพาหนะประจำทาง หรือกับสถานที่จัดพาหนะที่ต้องใช้ในการเดินทางไปยังสถานที่ปฏิบัติราชการไว้ไม่ชัดเจน สมควรแก้ไขมาตราดังกล่าวให้ชัดเจนเพื่อให้ข้าราชการดังกล่าวเบิกค่าพาหนะรับจ้างได้ สำหรับทั้งกรณีการเดินทางภายในเขตจังหวัดและกรณีการเดินทางข้ามเขตจังหวัดเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔[๔๖] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่สถานการณ์เศรษฐกิจ ของประเทศในปัจจุบันขยายตัวและประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น สมควรปรับปรุงอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.๒๕๒๖ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยแก้ไขหลักเกณฑ์การเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการต่างประเทศ ค่าเช่าที่พักทั้งในประเทศและในต่างประเทศให้เป็นไปในลักษณะเท่าที่จ่ายจริงได้ ทั้งนี้ โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณากำหนดจำนวนเงินหรือเงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าว เพื่อความคล่องตัวในการกำหนดอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทาง และค่าเช่าที่พักให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง และสมควรกำหนดมาตรการควบคุมการเบิกค่าเช่าที่พักโดยกำหนดหลักเกณฑ์การเบิกค่าเช่าที่พักในกรณีที่มีการเดินทางเป็นหมู่คณะขึ้น และกำหนดมาตรการป้องกันการทุจริตร่วมกับโรงแรมในการเบิกค่าเช่าที่พักขึ้นด้วย สำหรับการเดินทางไปศึกษา ฝึกอบรมหรือสัมมนา และการประชุมสัมมนาที่ส่วนราชการจัด มิได้มีแต่เพียงรายการค่าใช้จ่ายที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเท่านั้น ทำให้ส่วนราชการไม่อาจเบิกจ่ายส่วนที่มิได้กำหนดไว้และมีลักษณะแตกต่างไป สมควรยกเลิกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพื่อให้ส่วนราชการมีความคล่องตัวในการเบิกจ่ายและผู้เดินทางไปราชการได้รับค่าใช้จ่ายครบถ้วนตามที่ได้จ่ายจริง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๑[๔๗] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นต้นไป เว้นแต่บทบัญญัติมาตรา ๓ และมาตรา ๔ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ โดยส่วนใหญ่มีหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินอัตราที่กำหนด ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเกินความจำเป็นโดยไม่คำนึงถึงงบประมาณที่ได้รับ สมควรกำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมขึ้นไปมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงบประมาณรายจ่ายเพื่อควบคุมดูแลให้การเดินทางไปราชการเป็นไปโดยประหยัดและใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น และเพื่อให้การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเป็นไป เพื่อประโยชน์ของทางราชการโดยแท้จริง จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการประจำสำนักงานแห่งใหม่ตามคำร้องขอของตนเองไม่มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามเจตนารมณ์ดังกล่าวประกอบกับสมควรปรับปรุงอัตราค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ของผู้ที่ได้รับคำสั่งให้ไปดำรงตำแหน่งประจำในต่างประเทศหรือกรณีที่ผู้นั้นเดินทางกลับประเทศไทยให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณรายจ่าย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘[๔๘] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ยังไม่เหมาะสม จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเดินทางไปราชการชั่วคราวและราชการประจำในราชอาณาจักรและการเดินทางไปราชการต่างประเทศเสียใหม่ เพื่อให้ผู้มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการมีสิทธิเบิกจ่ายได้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ สุนันทา/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๐/ตอนที่ ๗๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๗ พฤษภาคม ๒๕๒๖ [๒] มาตรา ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๑ [๓] มาตรา ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๔] มาตรา ๘/๑ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๕] มาตรา ๑๒ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๖] มาตรา ๑๓ (๒) ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๗] มาตรา ๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๘] มาตรา ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๙] มาตรา ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๑๐] มาตรา ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ [๑๑] มาตรา ๑๙ ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๑๒] มาตรา ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ [๑๓] มาตรา ๒๐ วรรคสอง ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๑๔] มาตรา ๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๑๕] มาตรา ๒๗ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๑๖] มาตรา ๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๑๗] มาตรา ๒๙ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๑๘] มาตรา ๒๙/๑ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๑๙] มาตรา ๓๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๒๐] มาตรา ๓๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๒๑] มาตรา ๓๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๒๒] มาตรา ๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๒๓] มาตรา ๓๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ [๒๔] มาตรา ๔๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๒๕] มาตรา ๔๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๒๖] มาตรา ๕๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๒๗] มาตรา ๕๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๒๘] มาตรา ๕๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๒๙] มาตรา ๕๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓๐] มาตรา ๕๓ ทวิ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓๑] มาตรา ๕๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓๒] มาตรา ๕๔ ทวิ ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓๓] มาตรา ๕๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๓๔] มาตรา ๖๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๓๕] มาตรา ๖๔ วรรคสาม เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓๖] มาตรา ๖๕ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓๗] มาตรา ๗๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓๘] บัญชี ๑ อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๓๙]บัญชี ๒ อัตราค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๔๐] บัญชี ๓ ค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๔๑] บัญชี ๔ อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๔๒] บัญชี ๕ อัตราค่าเครื่องแต่งตัวไปรับราชการประจำในต่างประเทศ ยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๔๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๗๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๖ มิถุนายน ๒๕๒๗ [๔๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๓๑ มกราคม ๒๕๒๘ [๔๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๙๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๓ มิถุนายน ๒๕๒๙ [๔๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๓๑ มกราคม ๒๕๓๔ [๔๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๙๖ ก/หน้า ๑/๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๑ [๔๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๗๖ ก/หน้า ๑/๒ กันยายน ๒๕๔๘
472810
พระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นปีที่ ๖๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือบุตร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ของเดือนถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔ ข้าราชการและลูกจ้างประจำซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือบุตรหรือมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือบุตรตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ สำหรับบุตรที่เกิดก่อนวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ อยู่แล้วในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับให้มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือบุตรดังกล่าวครั้งเดียวเต็มจำนวนโดยให้คำนวณในอัตราเดือนละห้าสิบบาทคูณด้วยระยะเวลาที่เหลืออยู่จนถึงวันที่บุตรนั้นมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่การจ่ายเงินช่วยเหลือบุตรให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำที่ยังคงมีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวอยู่ตามพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นรายเดือน ๆ ละห้าสิบบาทต่อบุตรหนึ่งคนจนกว่าบุตรนั้นจะมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์ หรือมีอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์แต่บรรลุนิติภาวะโดยการสมรสหรือตายลงก่อนอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์ ทำให้ต้องมีการตั้งงบประมาณสำหรับเงินช่วยเหลือบุตรทุกปี และส่วนราชการต้องควบคุมตรวจสอบการจ่ายเงินทุกเดือน ดังนั้น เพื่อเป็นการลดภาระในการดำเนินการของส่วนราชการ สมควรแก้ไขหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือบุตรโดยกำหนดให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำดังกล่าวได้รับเงินช่วยเหลือบุตรครั้งเดียวเต็มจำนวนแทนการได้รับเป็นรายเดือน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ ๙ มกราคม ๒๕๔๙ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๒๗ ก/หน้า ๔๑/๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๘
467748
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2548
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นปีที่ ๖๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๘” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “สถานศึกษาของทางราชการ” หมายความว่า (๑) มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการหรือส่วนราชการอื่น หรือที่อยู่ในกำกับของรัฐ (๒) วิทยาลัยหรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเทียบเท่าวิทยาลัยในสังกัดหรืออยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ หรือส่วนราชการอื่นที่ ก.พ. รับรองคุณวุฒิ (๓) โรงเรียนในสังกัดหรืออยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง และให้หมายความรวมถึงโรงเรียนที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีการจัดระดับชั้นเรียนด้วย (๔) โรงเรียนในสังกัดหรืออยู่ในกำกับของส่วนราชการอื่น หรือองค์การของรัฐบาลที่ ก.พ. รับรองคุณวุฒิ (๕) โรงเรียนในสังกัดส่วนราชการที่กระทรวงการคลังกำหนด (๖) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีการจัดระดับชั้นเรียนในสังกัดส่วนราชการ “สถานศึกษาของเอกชน” หมายความว่า (๑) สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (๒) โรงเรียนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษาในระบบโรงเรียน และให้รวมถึงโรงเรียนนานาชาติ “เงินบำรุงการศึกษา” หมายความว่า เงินประเภทต่าง ๆ ที่สถานศึกษาของทางราชการเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือที่กำกับ มหาวิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง หรือองค์การของรัฐบาล “เงินค่าเล่าเรียน” หมายความว่า เงินค่าธรรมเนียมการเรียนหรือค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ซึ่งสถานศึกษาของเอกชนเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ “บุตร” หมายความว่า บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีอายุครบสามปีแต่ไม่เกินยี่สิบห้าปี ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมและบุตรซึ่งบิดามารดาได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น “ปีการศึกษา” หมายความว่า ปีการศึกษาที่กำหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือที่กำกับ มหาวิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง หรือองค์การของรัฐบาล” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๘ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๘ การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ประเภทและอัตรา ดังต่อไปนี้ (๑) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการในหลักสูตรระดับไม่สูงกว่าอนุปริญญาหรือเทียบเท่า และหลักสูตรนั้นแยกต่างหากจากหลักสูตรระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินบำรุงการศึกษาเต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด (๒) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการในหลักสูตรระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินบำรุงการศึกษาเต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด (๓) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของเอกชนในหลักสูตรระดับไม่สูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินค่าเล่าเรียนเต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด (๔) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของเอกชนในหลักสูตรระดับสูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าแต่ไม่สูงกว่าอนุปริญญาหรือเทียบเท่า และหลักสูตรนั้นแยกต่างหากจากหลักสูตรระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินค่าเล่าเรียนครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด (๕) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของเอกชนในหลักสูตรระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินค่าเล่าเรียนครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้ บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการหรือเอกชนในหลักสูตรระดับปริญญาตรีตาม (๒) หรือ (๕) จะต้องเป็นการศึกษาในระดับปริญญาตรีเป็นหลักสูตรแรกเท่านั้น” มาตรา ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๘ ตรี แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ “มาตรา ๘ ตรี ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามพระราชกฤษฎีกานี้ผู้ใดมีคู่สมรสที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรจากหน่วยงานอื่นแล้ว ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรที่ได้รับจากหน่วยงานอื่นนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่” มาตรา ๖ การจ่ายเงินและสิทธิในการได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๘ เป็นต้นไป ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่หลักเกณฑ์การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานาน สมควรปรับปรุงเพื่อให้การจัดสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ตลอดจนสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ เพื่อให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรได้รับสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมจากทางราชการ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พชร/ผู้จัดทำ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๘ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๑๑ ก/หน้า ๒๗/๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
466538
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2548
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๔๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นปีที่ ๖๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๔๘” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔ ทศ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ “มาตรา ๔ ทศ ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้วในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นไป (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละร้อยละห้าของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละห้าของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับภาวะการครองชีพ สมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญให้สอดคล้องกันจึง จำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๑๐ ก/หน้า ๖/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
461746
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2548
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นปีที่ ๖๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๘” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔ นว แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ “มาตรา ๔ นว ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเมื่อรวมกับ ช.ค.บ. แล้ว ต่ำกว่าเดือนละห้าพันหนึ่งร้อยบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของจำนวนเงินห้าพันหนึ่งร้อยบาทหักด้วยจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญ และ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันได้เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดบำนาญในการครองชีพ สมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพสำหรับผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดบำนาญซึ่งเมื่อรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพแล้วต่ำกว่าเดือนละห้าพันหนึ่งร้อยบาท ให้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพเพิ่มอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของจำนวนเงินห้าพันหนึ่งร้อยบาทหักด้วยจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญ และเงินช่วยค่าครองชีพที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ฐิติพงษ์/ผู้จัดทำ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๘ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๘๕ ก/หน้า ๑๐/๒๓ กันยายน ๒๕๔๘
461163
พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2548
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นปีที่ ๖๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่ายพ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๘ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๘ สิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้เดินทางไปราชการ หรือวันที่ออกจากราชการ แล้วแต่กรณี ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติการเดินทางอนุมัติระยะเวลาในการเดินทางไปราชการตามความจำเป็นและเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด” มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๘/๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ “มาตรา ๘/๑ ถ้าผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้าหรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ เพราะมีเหตุส่วนตัว โดยได้รับอนุมัติให้ลากิจหรือลาพักผ่อนตามระเบียบว่าด้วยการนั้น และได้รับอนุมัติระยะเวลาดังกล่าวจากผู้มีอำนาจอนุมัติการเดินทางตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดด้วยแล้ว ให้มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามที่พระราชกฤษฎีกานี้กำหนดไว้ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติราชการตามคำสั่งของทางราชการแล้ว” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการพ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๖ การนับเวลาเดินทางไปราชการเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ให้นับตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติจนกลับถึงสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติ แล้วแต่กรณี เวลาเดินทางไปราชการในกรณีที่มีการพักแรม ให้นับยี่สิบสี่ชั่วโมงเป็นหนึ่งวัน ถ้าไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงหรือเกินยี่สิบสี่ชั่วโมงและส่วนที่ไม่ถึงหรือเกินยี่สิบสี่ชั่วโมงนั้นนับได้เกินสิบสองชั่วโมง ให้ถือเป็นหนึ่งวัน เวลาเดินทางไปราชการในกรณีที่มิได้มีการพักแรม หากนับได้ไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงและส่วนที่ไม่ถึงนั้นนับได้เกินสิบสองชั่วโมง ให้ถือเป็นหนึ่งวัน หากนับได้ไม่เกินสิบสองชั่วโมง แต่เกินหกชั่วโมงขึ้นไป ให้ถือเป็นครึ่งวัน ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้า หรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ เพราะมีเหตุส่วนตัว ตามมาตรา ๘/๑ การนับเวลาเดินทางไปราชการเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทางกรณีลากิจหรือลาพักผ่อนก่อนปฏิบัติราชการ ให้นับเวลาตั้งแต่เริ่มปฏิบัติราชการเป็นต้นไป และกรณีลากิจหรือลาพักผ่อนหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ ให้ถือว่าสิทธิในการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสุดเวลาการปฏิบัติราชการ” มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๗ การเดินทางไปราชการที่จำเป็นต้องพักแรม เว้นแต่การพักแรมซึ่งโดยปกติต้องพักแรมในยานพาหนะ หรือการพักแรมในที่พักแรมซึ่งทางราชการจัดที่พักไว้ให้แล้ว ให้ผู้เดินทางไปราชการเบิกค่าเช่าที่พักได้ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ ลงมา หรือผู้ช่วยผู้พิพากษาหรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ลงมา หรือข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศพันตำรวจเอกอัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ ลงมา ให้เบิกค่าเช่าที่พักในลักษณะเหมาจ่าย (๒) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นสูง ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๕ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรี ขึ้นไป ให้เบิกค่าเช่าที่พักในลักษณะจ่ายจริง ในกรณีเป็นการเดินทางไปราชการในท้องที่ที่มีค่าครองชีพสูงหรือเป็นแหล่งท่องเที่ยวกระทรวงการคลังอาจกำหนดให้ผู้เดินทางไปราชการเบิกค่าเช่าที่พักในอัตราสูงได้ตามความจำเป็น การเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะ ซึ่งมีผู้ดำรงตำแหน่งตาม (๒) เป็นหัวหน้าคณะ หากมีความจำเป็นต้องใช้สถานที่ในที่เดียวกันกับที่พักเพื่อเป็นที่ประสานงานของคณะหรือกับบุคคลอื่นให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เพิ่มขึ้นสำหรับห้องพักอีกห้องหนึ่งหรือจะเบิกค่าเช่าห้องชุดแทนก็ได้เท่าที่จ่ายจริง ทั้งนี้ ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด” มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๒ การเดินทางไปราชการ โดยปกติให้ใช้ยานพาหนะประจำทางและให้เบิกค่าพาหนะได้โดยประหยัด ในกรณีที่ไม่มียานพาหนะประจำทาง หรือมีแต่ต้องการความรวดเร็วเพื่อประโยชน์แก่ราชการให้ใช้พาหนะอื่นได้ แต่ผู้เดินทางไปราชการจะต้องชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นไว้ในหลักฐานการขอเบิกค่าพาหนะนั้น ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๖ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ขึ้นไป ให้เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้สำหรับกรณีดังต่อไปนี้ (๑) การเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก หรือสถานที่ปฏิบัติราชการกับสถานียานพาหนะประจำทาง หรือกับสถานที่จัดพาหนะที่ต้องใช้ในการเดินทางไปยังสถานที่ปฏิบัติราชการภายในเขตจังหวัดเดียวกัน (๒) การเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก กับสถานที่ปฏิบัติราชการภายในเขตจังหวัดเดียวกันวันละไม่เกินสองเที่ยว (๓) การเดินทางไปราชการในเขตกรุงเทพมหานคร หากการเดินทางดังกล่าวตาม (๑) เป็นการเดินทางข้ามเขตจังหวัด ให้เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด ผู้ซึ่งไม่มีสิทธิเบิกค่าพาหนะตามวรรคสามและวรรคสี่ ถ้าต้องนำสัมภาระในการเดินทางหรือสิ่งของเครื่องใช้ของทางราชการไปด้วย และเป็นเหตุให้ไม่สะดวกที่จะเดินทางโดยยานพาหนะประจำทางให้เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้ การเดินทางไปสอบคัดเลือกหรือรับการคัดเลือก ผู้เดินทางไปราชการจะเบิกค่าพาหนะรับจ้างตาม (๒) ไม่ได้ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้า หรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ เพราะมีเหตุส่วนตัว ตามมาตรา ๘/๑ ให้เบิกค่าพาหนะเท่าที่จ่ายจริงตามเส้นทางที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการ กรณีที่มีการเดินทางนอกเส้นทางในระหว่างการลานั้น ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงโดยไม่เกินอัตราตามเส้นทางที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการ” มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของมาตรา ๒๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๑) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๖ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ขึ้นไป ให้เดินทางได้” มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๘ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๘ ผู้เดินทางไปราชการในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชาที่เป็นหัวหน้าคณะซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือกับข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ ขึ้นไป หรือกับข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือกับข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษขึ้นไป หรือกับข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป หากมีความจำเป็นต้องเดินทางพร้อมกับผู้บังคับบัญชาและเพื่อประโยชน์ในการประสานสั่งการในระหว่างเดินทางไปราชการ ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่ากับที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิกและให้พักแรมในที่เดียวกับผู้บังคับบัญชา โดยเบิกค่าเช่าที่พักได้ตามสิทธิที่ตนเองได้รับ หรือเบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราต่ำสุดของที่พักนั้น แต่ไม่เกินอัตราที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิก ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่งมีหลายคน ให้มีสิทธิเบิกค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักเท่ากับที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิกได้เพียงหนึ่งคน ส่วนผู้เดินทางไปราชการในหน้าที่เลขานุการคนอื่น ๆ ให้เบิกค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักได้ตามสิทธิของตน” มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๒๙ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ผู้เดินทางไปราชการตามคำสั่งของทางราชการเพื่อทำหน้าที่เป็นองครักษ์ ผู้อารักขา ผู้อำนวยความสะดวกอย่างใกล้ชิด หรือผู้ที่เข้าร่วมประชุมหารือ แก่ชาวต่างประเทศที่เป็นประมุขแห่งรัฐหรือบุคคลสำคัญของต่างประเทศ นอกจากจะเบิกค่าพาหนะตามวรรคหนึ่งได้แล้ว จะเบิกค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายจริงในลักษณะประหยัดตามความจำเป็นในสถานที่แห่งเดียวกับที่ชาวต่างประเทศพักอยู่นั้นด้วยก็ได้ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดที่จะพิจารณาอนุมัติตามความจำเป็นและเหมาะสม สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ” มาตรา ๑๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๙/๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ “มาตรา ๒๙/๑ เจ้าหน้าที่การทูตระดับ ๑๐ ซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางกลับประเทศไทยเพื่อเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ เพื่อกราบถวายบังคมลาและรับพระราชสาส์นตราตั้งและพระราชสาส์นถอน ก่อนเดินทางไปดำรงตำแหน่งประจำในต่างประเทศ หากจะนำคู่สมรส บุตรอายุไม่เกินยี่สิบห้าปีซึ่งไม่มีคู่สมรสและอยู่ในอุปการะที่จะต้องเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศด้วย และผู้ติดตาม ร่วมเดินทางกลับประเทศไทยเพื่อเดินทางพร้อมกันต่อเนื่องไปประเทศประจำการใหม่และประเทศไทยเป็นเส้นทางผ่านหรืออยู่ใกล้เคียงกับประเทศที่จะไปประจำการใหม่ ให้อยู่ในดุลยพินิจของปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดที่จะพิจารณาอนุญาตตามความจำเป็นและเหมาะสม และให้เบิกค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักได้ ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าพาหนะสำหรับคู่สมรสและบุตรดังกล่าว ให้เบิกได้ในอัตราเดียวกับเจ้าหน้าที่การทูตแต่ถ้ามิได้เดินทางพร้อมกับเจ้าหน้าที่การทูต ให้เบิกได้ในอัตราต่ำสุด สำหรับผู้ติดตามไม่ว่าจะเดินทางพร้อมกันหรือไม่ ให้เบิกได้ในอัตราต่ำสุด (๒) ค่าเช่าที่พักให้เบิกได้ตามความจำเป็น เว้นแต่กรณีที่ผู้เดินทางมีเคหสถานของตนเองที่สามารถพักอาศัยได้ ให้งดเบิกค่าเช่าที่พัก การเบิกค่าเช่าที่พัก ให้เจ้าหน้าที่การทูต คู่สมรส บุตร และผู้ติดตามดังกล่าวพักแรมรวมกันสองคนต่อหนึ่งห้อง และให้เบิกค่าเช่าที่พักในอัตราค่าเช่าห้องพักคู่คนละไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่เหมาะสมจะพักรวมกันหรือมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวสำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้เท่ากับข้าราชการในตำแหน่งระดับต่ำสุด” มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๒ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๒ การเดินทางไปราชการประจำ ได้แก่ (๑) การเดินทางไปประจำต่างสำนักงาน ไปรักษาการในตำแหน่ง หรือรักษาราชการแทนเพื่อดำรงตำแหน่งใหม่ ณ สำนักงานแห่งใหม่ (๒) การเดินทางไปประจำสำนักงานแห่งเดิมในท้องที่แห่งใหม่ในกรณีย้ายสำนักงาน (๓) การเดินทางไปปฏิบัติงานตามโครงการหรือการเดินทางไปช่วยราชการที่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดของโครงการหรือการช่วยราชการไว้ชัดเจน ซึ่งมีกำหนดเวลาตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป (๔) การเดินทางไปช่วยราชการที่ไม่อาจกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดหรือมีกำหนดเวลาไม่ถึงหนึ่งปีซึ่งต่อมาภายหลัง ส่วนราชการมีความจำเป็นต้องให้ข้าราชการผู้นั้นอยู่ช่วยราชการ ณ สถานที่แห่งเดิมนั้นให้นับเวลาการช่วยราชการต่อเนื่องและให้ถือเวลาการช่วยราชการตั้งแต่วันที่ครบกำหนดหนึ่งปีเป็นต้นไปเป็นการเดินทางไปราชการประจำ” มาตรา ๑๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๓ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๓ ผู้เดินทางไปราชการประจำซึ่งมิใช่ผู้ซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานแห่งใหม่ตามคำร้องขอของตนเอง ให้เบิกค่าใช้จ่ายได้ตามมาตรา ๑๔ และกรณีที่ผู้เดินทางดังกล่าวมีความจำเป็นต้องย้ายที่อยู่ใหม่ ให้เบิกค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวในลักษณะเหมาจ่ายได้ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด” มาตรา ๑๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๖ ผู้เดินทางไปราชการประจำจะเบิกค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะสำหรับบุคคลในครอบครัวได้โดยประหยัด การเบิกค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะสำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้ ดังต่อไปนี้ (๑) หนึ่งคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๖ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่าหรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ ลงมา หรือผู้ช่วยผู้พิพากษาหรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโทลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ลงมา (๒) ไม่เกินสองคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๗ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่าหรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขึ้นไปหรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก ขึ้นไป” มาตรา ๑๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๗ ค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักสำหรับบุคคลในครอบครัวนอกจากผู้ติดตาม ให้เบิกได้ในอัตราเดียวกับผู้เดินทางไปราชการประจำตามมาตรา ๓๓ สำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้เท่ากับข้าราชการในตำแหน่งระดับต่ำสุด ในกรณีที่เดินทางไปถึงท้องที่ตั้งสำนักงานตามมาตรา ๓๒ (๑) (๒) และ (๓) ถ้าไม่อาจเข้าพักในที่พักอาศัยที่ทางราชการจัดให้หรือบ้านเช่าได้ และผู้บังคับบัญชาดังต่อไปนี้อนุญาตแล้ว ให้เบิกค่าเช่าที่พักสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวได้ไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันไปถึงท้องที่ตั้งสำนักงานนั้น (๑) อธิบดีขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง (๒) หัวหน้าสำนักงาน สำหรับราชการบริหารส่วนกลางที่มีสำนักงานอยู่ในส่วนภูมิภาคหรือมีสำนักงานแยกต่างหากจากกระทรวง ทบวง กรม (๓) หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดซึ่งเป็นผู้เบิกเงิน หรือนายอำเภอท้องที่ แล้วแต่กรณีสำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องเบิกค่าเช่าที่พักเกินเจ็ดวัน ต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดเดิม สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ” มาตรา ๑๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔๗ การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ได้แก่ (๑) การเดินทางของผู้รับราชการประจำในประเทศไทยซึ่งเดินทางไปราชการนอกราชอาณาจักรเพื่อปฏิบัติงานการประชุม เจรจาธุรกิจ ดูงาน ตรวจสอบบัญชี หรือปฏิบัติหน้าที่อย่างอื่นเป็นครั้งคราวตามความจำเป็น (๒) การเดินทางของผู้รับราชการประจำในต่างประเทศซึ่งเดินทางไปราชการ ณ ที่ใด ๆ ในต่างประเทศหรือมายังประเทศไทย เฉพาะเวลาที่เดินทางอยู่นอกราชอาณาจักร เพื่อปฏิบัติงานนอกที่ตั้งสำนักงานในเขตอาณาหรือเขตพื้นที่รับผิดชอบ หรือ (๓) การเดินทางของผู้รับราชการประจำในต่างประเทศซึ่งเดินทางไปช่วยราชการรักษาการในตำแหน่ง หรือรักษาราชการแทนต่างสำนักงานในต่างประเทศ เฉพาะเวลาที่ออกเดินทางจากที่พักซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งเดิมจนถึงที่พักซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ ถ้าผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศหรือจากหน่วยงานใด ๆ ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทางแล้ว ไม่มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้อีก แต่หากความช่วยเหลือที่ได้รับน้อยกว่าสิทธิที่จะพึงมีตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้เบิกค่าใช้จ่ายสมทบได้ตามเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด” มาตรา ๑๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔๙ เบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวให้เบิกได้ในลักษณะเหมาจ่ายภายในวงเงินที่กระทรวงการคลังกำหนด ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวที่มิได้เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามวรรคหนึ่ง ให้เบิกค่าอาหารและค่าเครื่องดื่ม รวมทั้งค่าภาษีและค่าบริการที่โรงแรม ภัตตาคาร หรือร้านค้า เรียกเก็บจากผู้เดินทางไปราชการได้เท่าที่จ่ายจริง ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด และให้เบิกค่าใช้สอยเบ็ดเตล็ดได้ในลักษณะเหมาจ่าย ภายในวงเงินที่กระทรวงการคลังกำหนด หากผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวตามวรรคสองไปราชการตั้งแต่เจ็ดวันขึ้นไปให้เบิกค่าทำความสะอาดเสื้อผ้าสำหรับระยะเวลาที่เกินเจ็ดวันได้เท่าที่จ่ายจริง ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวจะเลือกเบิกค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้เพียงอย่างเดียว ตลอดระยะเวลาของการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวนั้นไม่ว่าจะเดินทางไปประเทศเดียว หรือหลายประเทศก็ตาม การเดินทางไปราชการชั่วคราวของผู้รับราชการประจำในต่างประเทศภายในประเทศที่ผู้นั้นประจำอยู่ ให้เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้ในอัตรากึ่งหนึ่ง ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการเจ็บป่วยและจำเป็นต้องพักเพื่อรักษาพยาบาล ให้นำมาตรา ๒๑มาใช้บังคับโดยอนุโลม การเดินทางไปราชการของลูกจ้างที่ส่วนราชการในต่างประเทศเป็นผู้จ้าง ให้เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักได้ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด” มาตรา ๑๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๐ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๐ การนับเวลาเดินทางไปราชการต่างประเทศเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทางสำหรับผู้รับราชการประจำในประเทศไทย ให้นับตั้งแต่ประทับตราหนังสือเดินทางออกจากประเทศไทยจนถึงเวลาที่ประทับตราหนังสือเดินทางเข้าประเทศไทย สำหรับผู้รับราชการประจำในต่างประเทศ ให้นับตั้งแต่เดินทางจากที่พักประจำในต่างประเทศหรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติจนกลับถึงที่พักประจำในต่างประเทศหรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติ แล้วแต่กรณี แต่ในกรณีที่เดินทางมายังประเทศไทย มิให้รวมเวลาตั้งแต่ประทับตราหนังสือเดินทางเข้าประเทศไทยจนถึงเวลาที่ประทับตราหนังสือเดินทางออกจากประเทศไทย ในกรณีการเดินทางของข้าราชการในส่วนราชการที่ใช้เอกสารอย่างอื่นซึ่งมิใช่หนังสือเดินทางเวลาที่ถือว่าเป็นเวลาเข้าและออกจากประเทศไทยให้ใช้เวลาประทับตราเข้าและออกในเอกสารนั้น เวลาเดินทางไปราชการในกรณีที่มีการพักแรม ให้นับยี่สิบสี่ชั่วโมงเป็นหนึ่งวัน ถ้าไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงหรือเกินยี่สิบสี่ชั่วโมงและส่วนที่ไม่ถึงหรือเกินยี่สิบสี่ชั่วโมงนั้นนับได้เกินสิบสองชั่วโมง ให้ถือเป็นหนึ่งวัน เวลาเดินทางไปราชการในกรณีที่มิได้มีการพักแรม หากนับได้ไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงและส่วนที่ไม่ถึงนั้นนับได้เกินสิบสองชั่วโมง ให้ถือเป็นหนึ่งวัน หากนับได้ไม่เกินสิบสองชั่วโมง แต่เกินหกชั่วโมงขึ้นไป ให้ถือเป็นครึ่งวัน ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้า หรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ เพราะมีเหตุส่วนตัวตามมาตรา ๘/๑ การนับเวลาเดินทางไปราชการเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทางกรณีลากิจหรือลาพักผ่อนก่อนปฏิบัติราชการ ให้นับเวลาตั้งแต่เริ่มปฏิบัติราชการเป็นต้นไป ยกเว้นในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีเหตุจำเป็นต้องพักแรมในท้องที่ที่ปฏิบัติราชการก่อนวันเริ่มปฏิบัติราชการให้นับเวลาเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทางตั้งแต่เวลาเข้าที่พักในท้องที่ที่ปฏิบัติราชการ ทั้งนี้ ไม่เกินยี่สิบสี่ชั่วโมงเมื่อนับถึงเวลาเริ่มปฏิบัติราชการ และกรณีลากิจหรือลาพักผ่อนหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ ให้ถือว่าสิทธิในการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสุดเวลาการปฏิบัติราชการ” มาตรา ๑๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๑ การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวที่จำเป็นต้องพักแรม เว้นแต่การพักแรมซึ่งโดยปกติต้องพักแรมในยานพาหนะ หรือการพักแรมในที่พักแรมซึ่งทางราชการจัดที่พักไว้ให้แล้วให้ผู้เดินทางไปราชการเบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงตามสิทธิที่ตนเองได้รับในการพักอาศัยคนเดียวทั้งนี้ ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด การเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะ ให้ผู้เดินทางไปราชการเบิกค่าเช่าที่พักได้ ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๘ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ลงมา หรือผู้ช่วยผู้พิพากษาหรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก ลงมา ให้พักแรมรวมกันสองคนต่อหนึ่งห้อง โดยให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคู่ คนละไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว ถ้าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวแยกพักห้องพักคนเดียวให้เบิกได้อัตราเดียวกัน เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่เหมาะสมจะพักรวมกัน หรือมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว (๒) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว (๓) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นสูง ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๕ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรี ขึ้นไปซึ่งเป็นหัวหน้าคณะ หากมีความจำเป็นต้องใช้สถานที่ในที่เดียวกันกับที่พักเพื่อเป็นที่ประสานงานของคณะหรือกับบุคคลอื่น ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เพิ่มขึ้นสำหรับห้องพักอีกห้องหนึ่งในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวหรือจะเบิกค่าเช่าห้องชุดแทนก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องมีอัตราไม่เกินสองเท่าของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว ในกรณีที่เป็นการสมควร กระทรวงการคลังอาจกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งระดับใด หรือตำแหน่งใดเบิกค่าเช่าที่พักเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษได้สำหรับห้องพักอีกห้องหนึ่งในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว หรือจะเบิกค่าเช่าห้องชุดแทนก็ได้ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้าก่อนเริ่มปฏิบัติราชการเพราะมีเหตุส่วนตัว ตามมาตรา ๘/๑ และมีเหตุจำเป็นต้องพักแรมในท้องที่ที่ปฏิบัติราชการก่อนวันเริ่มปฏิบัติราชการ ให้เบิกค่าเช่าที่พักก่อนวันเริ่มปฏิบัติราชการดังกล่าวได้ไม่เกินหนึ่งวัน ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการนำบุคคลอื่นที่ไม่มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปพักรวมอยู่ด้วยให้ผู้เดินทางไปราชการรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนที่เพิ่มขึ้นจากสิทธิที่พึงจะได้รับจากทางราชการ” มาตรา ๒๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๒ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๒ การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว โดยปกติให้ใช้ยานพาหนะประจำทางและให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงโดยประหยัด ในกรณีที่ไม่มียานพาหนะประจำทางหรือมีแต่ต้องการความรวดเร็วเพื่อประโยชน์แก่ราชการให้ใช้พาหนะอื่นได้ แต่ผู้เดินทางจะต้องชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นไว้ในหลักฐานการขอเบิกค่าพาหนะนั้น ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้า หรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ เพราะมีเหตุส่วนตัว ตามมาตรา ๘/๑ ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงตามเส้นทางที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการ กรณีที่มีการเดินทางนอกเส้นทางในระหว่างการลานั้น ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงโดยไม่เกินอัตราตามเส้นทางที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการ” มาตรา ๒๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๓ การเดินทางไปราชการต่างประเทศโดยเครื่องบินจากประเทศไทยไปต่างประเทศหรือจากต่างประเทศกลับประเทศไทย หรือการเดินทางในต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ชั้นหนึ่ง สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ (ก) หัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาล (ข) ประธานศาลฎีกา และรองประธานศาลฎีกา (ค) ประธานรัฐสภา และรองประธานรัฐสภา (ง) ประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา (จ) ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (ฉ) รัฐมนตรี (ช) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นสูง ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๕ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี หรือพลอากาศตรี ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรี ขึ้นไป (๒) ชั้นธุรกิจหรือชั้นระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นประหยัดหรือชั้นต่ำสุด สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ (๓) ชั้นประหยัดหรือชั้นต่ำสุด สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ชั้น หรือยศ นอกจากที่ระบุใน (๑) และ (๒) ในกรณีที่เครื่องบินที่ใช้ในการเดินทางไม่มีชั้นระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นประหยัดหรือชั้นต่ำสุดให้ผู้ดำรงตำแหน่งตาม (๒) เดินทางโดยชั้นหนึ่ง ในการเดินทางไปราชการเพื่อรับเสด็จ ตามเสด็จ หรือส่งเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ หากที่นั่งโดยสารในชั้นที่กำหนดสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งตาม (๒) และ (๓) เต็ม และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินได้ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งที่เดินทางดังกล่าวสามารถเดินทางและเบิกค่าโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิได้ โดยต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวงให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิ จะเบิกค่าโดยสารเครื่องบินนั้นในชั้นที่สูงกว่าสิทธิได้เมื่อได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง” มาตรา ๒๒ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๕๓ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๓ ทวิ ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาล หรือซึ่งดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภาประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลฎีกา รองประธานรัฐสภา รองประธานวุฒิสภา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรัฐมนตรี ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่ากับที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิกและให้พักแรมในที่เดียวกับผู้บังคับบัญชา โดยเบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงตามสิทธิที่ตนเองได้รับหรือเบิกในอัตราต่ำสุดของที่พักนั้น แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า” มาตรา ๒๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๔ ค่ารับรองและค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการ ให้เบิกได้ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด” มาตรา ๒๔ ให้ยกเลิกมาตรา ๕๔ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการพ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๒๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของมาตรา ๖๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ “คู่สมรสหรือบุตรซึ่งเดินทางติดตามไปอยู่ด้วยกับข้าราชการหรือลูกจ้างตามมาตรา ๗๐ (๒) และ (๓) ให้มีสิทธิโดยสารชั้นประหยัดหรือชั้นต่ำสุด โดยให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินอัตราขั้นต่ำสุดตามเส้นทางที่ข้าราชการหรือลูกจ้างได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการประจำ” มาตรา ๒๖ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๖๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๖๕ ผู้เดินทางไปรับราชการประจำในต่างประเทศ ให้ได้รับค่าเครื่องแต่งตัวภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด เว้นแต่ผู้ซึ่งได้รับค่าเครื่องแต่งตัวมาแล้ว และในการเดินทางครั้งใหม่เป็นการเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศที่ใช้เครื่องแต่งตัวประเภทเดียวกับที่ใช้ในการเดินทางครั้งก่อน และมีระยะเวลาไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ออกเดินทางนั้น” มาตรา ๒๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๐ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๗๐ ค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ให้เบิกในลักษณะเหมาจ่ายตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางจากประเทศไทยไปราชการประจำในต่างประเทศ และคู่สมรสหรือบุตรซึ่งต้องเดินทางจากประเทศไทยไปอยู่ด้วย ให้เบิกได้ในอัตราสี่เท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวจะพึงได้รับจากทางราชการยกเว้นข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งเดินทางจากประเทศไทยไปราชการประจำในต่างประเทศเป็นครั้งแรกและคู่สมรสหรือบุตรซึ่งเดินทางจากประเทศไทยไปอยู่ด้วย ให้เบิกได้ในอัตราห้าเท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวจะพึงได้รับจากทางราชการ (๒) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางออกจากต่างประเทศหนึ่งไปราชการประจำในต่างประเทศอื่นและคู่สมรสหรือบุตรซึ่งติดตามไปอยู่ด้วย ให้เบิกได้ในอัตราสามเท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวจะพึงได้รับตามอัตราสำหรับประเทศซึ่งจะไปราชการประจำใหม่ (๓) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางจากเมืองหนึ่งไปราชการประจำอีกเมืองหนึ่งในต่างประเทศเดียวกัน และคู่สมรสหรือบุตรซึ่งติดตามไปอยู่ด้วย ให้เบิกได้ในอัตราสามเท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวจะพึงได้รับตามอัตราสำหรับประเทศนั้น (๔) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางจากต่างประเทศที่มีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศกลับประเทศไทย และคู่สมรสหรือบุตรซึ่งกลับมาด้วยจากประเทศเดียวกับผู้เดินทาง ให้เบิกได้ในอัตราสามเท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวได้รับครั้งสุดท้ายก่อนเดินทางกลับประเทศไทย ในกรณีที่คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับก่อนการเบิกค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ให้เป็นไปตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด” มาตรา ๒๘ ให้ยกเลิกบัญชี ๓ ค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักรท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และบัญชี ๕ อัตราค่าเครื่องแต่งตัวไปรับราชการประจำในต่างประเทศ ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ยังไม่เหมาะสม จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเดินทางไปราชการชั่วคราวและราชการประจำในราชอาณาจักรและการเดินทางไปราชการต่างประเทศเสียใหม่ เพื่อให้ผู้มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการมีสิทธิเบิกจ่ายได้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ ๗ กันยายน ๒๕๔๘ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๗๖ ก/หน้า ๑/๒ กันยายน ๒๕๔๘
451053
พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการของรัฐบาล ในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ พ.ศ. 2548
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการของรัฐบาล ในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นปีที่ ๖๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการของรัฐบาลในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการของรัฐบาลในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร และข้าราชการประเภทอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด “เงินช่วยเหลือ” หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่ข้าราชการซึ่งออกจากราชการตามกรณีที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกานี้ “เงินเดือนเดือนสุดท้าย” หมายความว่า เงินเดือนที่ได้รับจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ออกจากราชการ แต่ไม่รวมถึงเงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่มทุกประเภท มาตรา ๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๕ ข้าราชการซึ่งออกจากราชการในวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือ (๑) ข้าราชการซึ่งมีผลการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ ในรอบระยะเวลาระหว่าง วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่อยู่ในข่ายต้องเข้ารับการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน แต่เลือกที่จะออกจากราชการโดยไม่เข้ารับการพัฒนาดังกล่าว (๒) ข้าราชการซึ่งเจ็บป่วยด้านสุขภาพทางกายหรือสุขภาพทางจิตตามผลการตรวจสุขภาพอย่างเป็นทางการของแพทย์ ทำให้ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ และถูกสั่งให้ออกจากราชการ มาตรา ๕ ข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ ในวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ (๑) ต้องมีเวลาราชการที่เหลือไม่น้อยกว่าหนึ่งปี นับแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ของปีงบประมาณที่ข้าราชการผู้นั้นครบเกษียณอายุราชการ (๒) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสอบสวน หรืออยู่ในระหว่างการดำเนินการลงโทษทางวินัย ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น ๆ หรือเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาซึ่งมิใช่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท (๓) ไม่เป็นผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะต้องออกจากราชการไม่ว่ากรณีใด ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น ๆ (๔) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างปฏิบัติราชการชดใช้ตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับส่วนราชการในการไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย เว้นแต่จะได้ยินยอมชดใช้เงินตามสัญญาผูกพันที่ได้ทำไว้กับราชการ มาตรา ๖ ให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ข้าราชการซึ่งออกจากราชการตามมาตรา ๔ ในอัตราแปดเท่าของเงินเดือนเดือนสุดท้าย การเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด การรับเงินช่วยเหลือตามวรรคหนึ่ง ไม่ตัดสิทธิของข้าราชการที่มีอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่นใดที่ทางราชการให้แก่ผู้รับบำเหน็จบำนาญ มาตรา ๗ ในกรณีข้าราชการซึ่งมีสิทธิรับเงินช่วยเหลือถึงแก่ความตายก่อนได้รับเงินช่วยเหลือ ให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้มีสิทธิรับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘ ภายในระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ออกจากราชการ หากปรากฏว่าข้าราชการซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามลักษณะหนึ่งลักษณะใดตามมาตรา ๕ ให้ข้าราชการผู้นั้นไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินช่วยเหลือตามมาตรา ๖ และให้ส่วนราชการที่อนุญาตให้ลาออกหรือสั่งให้ออกจากราชการเรียกเงินช่วยเหลือคืน โดยผู้นั้นต้องคืนเงินช่วยเหลือภายในเวลาและตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งประสงค์จะกลับเข้ารับราชการ และมิใช่กรณีที่เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๕ (๒) หรือ (๓) ให้หัวหน้าส่วนราชการซึ่งอนุญาตให้ลาออกจากราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการ สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ผู้นั้นดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดิม แต่ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินอื่นที่จ่ายเป็นรายเดือน และสิทธิประโยชน์อย่างอื่นที่ทางราชการให้แก่ผู้นั้นในระหว่างที่ไม่ได้ปฏิบัติราชการ มาตรา ๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๘ ผู้ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือตามมาตรา ๖ แล้ว หากกลับเข้าเป็นข้าราชการประจำในส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือกำกับของฝ่ายบริหารอีก ให้ผู้นั้นส่งคืนเงินช่วยเหลือที่ได้รับไว้ทั้งหมด พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากประจำสิบสองเดือนของธนาคารออมสิน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๐ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายด้านการพัฒนาระบบราชการซึ่งมีแผนในการพัฒนาและบริหารกำลังคนในระบบราชการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงได้กำหนดมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ รวมทั้งมีมาตรการจูงใจให้ข้าราชการที่อยู่ในข่ายต้องเข้ารับการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน แต่เลือกที่จะออกจากราชการโดยไม่เข้ารับการพัฒนาดังกล่าว มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือจากทางราชการ นอกจากนั้นโดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้ข้าราชการซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการเนื่องจากเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้ มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือจากทางราชการในครั้งนี้ด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๒ ก/หน้า ๑๓/๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
456521
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๑) (๒) และ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ (๒) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ (๓) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ (๔) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๕) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๙ (๖) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๑ (๗) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๑ (๘) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร และข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู “เงินเดือน” หมายความว่า เงินเดือนสุทธิที่ข้าราชการได้รับ ทั้งนี้ เมื่อหักเงินเบิกลดเนื่องจากการปรับชั้นเงินเดือนออกแล้ว และรวมกับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชาหรือเงินเพิ่มการเลื่อนฐานะ หรือสำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ หรือสำหรับการสู้รบ “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงิน รัฐวิสาหกิจ หรือสหกรณ์ที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการเคหะ ทั้งนี้ ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ “ท้องที่” หมายความว่า กรุงเทพมหานคร อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือท้องที่ของอำเภอหรือกิ่งอำเภอที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดให้เป็นท้องที่เดียวกันตามมาตรา ๕ “ท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรก” หมายความว่า ท้องที่ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ หรือมีคำสั่งให้ไปปฏิบัติราชการ และได้มีการรายงานตัวเพื่อปฏิบัติราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้เป็นครั้งแรก “ท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่” หมายความว่า ท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ “ภัยพิบัติ” หมายความว่า ภัยธรรมชาติหรือความเสียหายอย่างใด ๆ ซึ่งเกิดขึ้นโดยที่ผู้ซึ่งได้รับความเสียหายนั้นไม่มีส่วนที่จะต้องร่วมรับผิดด้วย มาตรา ๕ ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจประกาศกำหนดให้อำเภอหรือกิ่งอำเภอหลายท้องที่รวมกันเป็นท้องที่เดียวกันได้ มาตรา ๖ การจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายเป็นเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราตามพระราชกฤษฎีกานี้ การเบิกจ่ายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๗ ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้น (๑) ทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้อยู่แล้ว (๒) มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ โดยไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน (๓) ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ (๔) ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในต่างท้องที่ตามคำร้องขอของตนเอง ข้าราชการผู้ใดได้รับเงินเดือนไม่ตรงกับที่กำหนดในบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามส่วนของเงินเดือนโดยคำนวณตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘ ข้าราชการผู้ใดต้องไปปฏิบัติราชการประจำสำนักงานในต่างท้องที่เนื่องจากสำนักงานที่ปฏิบัติราชการประจำอยู่เดิมได้ย้ายสถานที่ทำการไปตั้งในท้องที่ใหม่ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้เช่นเดียวกับข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ตามมาตรา ๗ เว้นแต่ท้องที่ใหม่ที่สำนักงานได้ย้ายไปนั้นอยู่ใกล้เคียงกับท้องที่ที่ตั้งสำนักงานเดิมตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๙ ข้าราชการผู้ใดรับราชการหรือได้รับคำสั่งให้ไปรับราชการในท้องที่ใด และไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเพราะเหตุที่มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสตามมาตรา ๗ (๒) แม้ว่ากรรมสิทธิ์ในเคหสถานได้โอนไปด้วยเหตุใดก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิที่จะได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการในระหว่างรับราชการในท้องที่นั้น เว้นแต่เคหสถานนั้นถูกทำลายหรือเสียหายเนื่องจากภัยพิบัติจนไม่สามารถพักอาศัยอยู่ได้ มาตรา ๑๐ ถ้าข้าราชการและคู่สมรสรับราชการในท้องที่เดียวกันและต่างก็มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้เบิกจ่ายได้เฉพาะคนใดคนหนึ่ง ข้าราชการผู้ใดมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ และมีคู่สมรสเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือพนักงานหรือเจ้าหน้าที่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือองค์การมหาชน ถ้าคู่สมรสของผู้นั้นได้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน หรือข้าราชการผู้นั้นได้อยู่ในที่พักอาศัยที่ทางราชการจัดให้แก่คู่สมรสในท้องที่เดียวกัน ข้าราชการผู้นั้นไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๑ ข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการอยู่แล้ว ภายหลังได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ถ้าเงินเดือนที่ได้รับเพิ่มขึ้นไม่ตรงกับที่กำหนดในบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการดังกล่าว ให้ได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามส่วนของเงินเดือนโดยคำนวณตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๒ การลดหรืองดเบิกจ่ายเงินเดือนแก่ข้าราชการผู้ใด เนื่องจากการถูกตัดเงินเดือนหรือการลาโดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน ไม่กระทบต่อสิทธิของผู้นั้นที่จะได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ และให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเสมือนหนึ่งไม่มีการลดหรืองดเบิกจ่ายเงินเดือนเช่นว่านั้น เว้นแต่เป็นการลาติดตามคู่สมรสซึ่งย้ายไปรับราชการในต่างประเทศ มาตรา ๑๓ ข้าราชการผู้ใดซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือมีกรณีอื่นใดอันเป็นเหตุให้ถูกงดเบิกจ่ายเงินเดือน ให้งดเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านข้าราชการ เมื่อกรณีถึงที่สุด ถ้าปรากฏว่าผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างกรณีเช่นว่านั้นสำหรับเดือนใด ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการสำหรับเดือนนั้นตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๔ ให้ข้าราชการมีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการตั้งแต่วันที่ข้าราชการผู้นั้นได้เช่าอยู่จริง แต่ไม่ก่อนวันที่รายงานตัวเพื่อเข้ารับหน้าที่ และให้สิ้นสุดในวันที่ขาดจากอัตราเงินเดือนหรือวันที่อยู่ในข่ายหมดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ถ้าผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นไม่สามารถออกเดินทางไปได้ในวันที่ส่งมอบหน้าที่ ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการต่อไปอีกไม่เกินสิบวันนับแต่วันส่งมอบหน้าที่ เว้นแต่มีความจำเป็นจะต้องอยู่ต่อไปอีก ให้เบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการต่อไปได้เท่าที่จำเป็นโดยได้รับการอนุมัติจากผู้ออกคำสั่งแต่งตั้ง มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการอยู่แล้วในท้องที่หนึ่งและต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นซึ่งตนมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าบ้านในท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการในท้องที่ใหม่ได้ ถ้าคู่สมรสหรือบุตรซึ่งอยู่ในอุปการะของข้าราชการผู้นั้นไม่อาจติดตามข้าราชการผู้นั้นไปได้ และมีความจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้านในท้องที่เดิมต่อไป มาตรา ๑๖ ข้าราชการซึ่งรับราชการประจำในต่างประเทศ ถ้าจำเป็นต้องเช่าบ้านให้เบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๗ ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ได้เช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ค้างชำระอยู่ในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและได้อาศัยอยู่จริงในบ้านนั้น ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ดังกล่าวมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (๑) ตนเอง หรือคู่สมรส ได้ทำการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านในท้องที่นั้น จะเบิกจ่ายได้เฉพาะบ้านหลังแรกเท่านั้น เว้นแต่บ้านหลังที่เคยใช้สิทธิถูกทำลายหรือเสียหายเนื่องจากภัยพิบัติจนไม่สามารถพักอาศัยอยู่ได้ (๒) หากเช่าซื้อหรือกู้เงินเพื่อชำระราคาบ้านร่วมกับบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่คู่สมรสและมีกรรมสิทธิ์รวมกับบุคคลอื่นในบ้านนั้น จะเบิกจ่ายค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ได้ตามสัดส่วนแห่งกรรมสิทธิ์สำหรับบ้านหลังดังกล่าว (๓) จะต้องเป็นการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านกับสถาบันการเงิน และสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาเงินกู้จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด (๔) จะต้องไม่เคยใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้สำหรับบ้านหลังหนึ่งหลังใดในท้องที่นั้นมาแล้ว เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับแต่งตั้งให้กลับไปรับราชการในท้องที่ที่เคยใช้สิทธินั้นอีก และเป็นการใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ตามที่ได้เคยใช้สิทธิมาแล้ว หรือขณะที่ย้ายมารับราชการในท้องที่นั้นบ้านที่เคยใช้สิทธิได้โอนกรรมสิทธิ์ไปแล้ว (๕) หากเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านสูงกว่าราคาบ้าน ให้นำค่าผ่อนชำระเงินกู้มาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ โดยให้คำนวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๙ ถึงมาตรา ๑๔ มาใช้บังคับกับการเช่าซื้อหรือการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านโดยอนุโลม มาตรา ๑๘ ข้าราชการซึ่งได้ใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามมาตรา ๑๗ และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นซึ่งตนมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านในท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการในท้องที่ใหม่ได้ มาตรา ๑๙ สิทธิที่จะเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งมาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ กำหนดให้มีอยู่ต่อไปนั้น ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๓ มาตรา ๒๐ สิทธิที่จะเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการของข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ตามคำร้องขอของตนเองตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งมีอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๒๑ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๑ สำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการครู ข้าราชการศาลยุติธรรม และข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ตำแหน่งระดับ ๑ ตำแหน่งระดับ ๒ ตำแหน่งระดับ ๓ ตำแหน่งระดับ ๔ ตำแหน่งระดับ ๕ ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นที่ ๑-๔.๕ ขั้นที่ ๕-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๘๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๒๕๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๐๐๐ ๑,๒๕๐ ๑,๕๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๒๕๐ ๑,๖๐๐ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๖๐๐ ๑,๙๕๐ ๒,๓๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๙๕๐ ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ตำแหน่งระดับ ๖ ตำแหน่งระดับ ๗ ตำแหน่งระดับ ๘ ตำแหน่งระดับ ๙ ตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้านไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖-๑๐.๕ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ขั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๒ สำหรับข้าราชการตุลาการ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา ตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาล ตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ที่ได้รับเงินเดือนชั้น ๒ ตั้งแต่ตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ที่ได้รับเงินเดือนชั้น ๓ ถึง ตำแหน่งประธานศาลฎีกา ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๓ สำหรับข้าราชการอัยการ ตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ตั้งแต่ตำแหน่งอัยการจังหวัดผู้ช่วย ถึงตำแหน่งอัยการประจำกอง ตั้งแต่ตำแหน่งรองอัยการจังหวัด ถึงตำแหน่งอัยการประจำกรม ตั้งแต่ตำแหน่งอัยการจังหวัด ประจำกรมถึงตำแหน่งอัยการสูงสุด ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ๒,๔๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๔ สำหรับข้าราชการตำรวจ ระดับ พ. ๒ ระดับ ป. ๑ ระดับ ป. ๒ ระดับ ป. ๓ ระดับ ส. ๑ ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นที่ ๑-๔.๕ ๘๐๐ ขั้นที่ ๑-๔.๕ ๘๐๐ ขั้นที่ ๑-๕.๕ ๑,๒๕๐ ขั้นที่ ๑-๑.๕ ๑,๖๐๐ ขั้นที่ ๑-๗.๕ ๑,๒๕๐ ขั้นที่ ๕–๑๐.๕ ๑,๐๐๐ ขั้นที่ ๕-๙.๕ ๑,๐๐๐ ขั้นที่ ๖–๑๐.๕ ๑,๖๐๐ ขั้นที่ ๒–๖.๕ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๘–๑๑.๕ ๑,๖๐๐ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๒๕๐ ขั้นที่ ๑๐–๑๔.๕ ๑,๒๕๐ ขั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๗ ขึ้นไป ๒,๔๐๐ ขั้นที่ ๑๒–๑๕.๕ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๑๕ ขึ้นไป ๑,๕๐๐ ขั้นที่ ๑๖ ขึ้นไป ๒,๔๐๐ หมายเหตุ สำหรับอัตราเงินเดือนขั้นพิเศษของข้าราชการตำรวจที่กำหนดไว้เพื่อใช้เฉพาะกาลตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามอัตราดังต่อไปนี้ ขั้นพิเศษเงินเดือน ๖,๐๒๐–๗,๕๕๐ บาท มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ ๑,๒๕๐ บาท ขั้นพิเศษเงินเดือน ๗,๗๒๐-๘,๕๗๐ บาท มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ ๑,๖๐๐ บาท ระดับ ส. ๒ ระดับ ส. ๓ ระดับ ส. ๔ ระดับ ส. ๕ ระดับ ส. ๖ ขึ้นไป ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ขั้นชั่วคราว- ขั้นชั่วคราว- ขั้นชั่วคราว- ขั้นที่ ๑-๕.๕ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๑.๕ ๑,๙๕๐ ขั้นที่ ๑.๕ ๒,๔๐๐ ขั้นที่ ๕.๕ ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๔,๐๐๐ ขั้นที่ ๒-๕.๕ ๒,๔๐๐ ขั้นที่ ๒ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ขั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๓,๕๐๐ ขั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการหมายเลข ๕ สำหรับข้าราชการทหาร ระดับ พ. ๒ ระดับ ป. ๑ ระดับ ป. ๒ ระดับ ป. ๓ ระดับ น. ๑ ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นที่ ๑-๔.๕ ๘๐๐ ชั้นที่ ๑-๔.๕ ๘๐๐ ชั้นที่ ๑-๕.๕ ๑,๒๕๐ ชั้นที่ ๑-๑.๕ ๑,๖๐๐ ชั้นที่ ๑-๗.๕ ๑,๒๕๐ ชั้นที่ ๕–๑๐.๕ ๑,๐๐๐ ชั้นที่ ๕-๙.๕ ๑,๐๐๐ ชั้นที่ ๖–๑๐.๕ ๑,๖๐๐ ชั้นที่ ๒–๖.๕ ๑,๙๕๐ ชั้นที่ ๘–๑๑.๕ ๑,๖๐๐ ชั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๒๕๐ ชั้นที่ ๑๐–๑๔.๕ ๑,๒๕๐ ชั้นที่ ๑๑ ขึ้นไป ๑,๙๕๐ ชั้นที่ ๗ ขึ้นไป ๒,๔๐๐ ชั้นที่ ๑๒–๑๕.๕ ๑,๙๕๐ ชั้นที่ ๑๕ ขึ้นไป ๑,๕๐๐ ชั้นที่ ๑๖ ขึ้นไป ๒,๔๐๐ หมายเหตุ สำหรับอัตราเงินเดือนขั้นพิเศษที่กำหนดไว้เพื่อใช้เฉพาะกาลตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามอัตราดังต่อไปนี้ ชั้นพิเศษเงินเดือน ๔,๑๐๐-๔,๘๐๐ บาท มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ ๘๐๐ บาท ชั้นพิเศษเงินเดือน ๔,๙๐๐-๕,๘๘๐ บาท มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ ๑๐๐๐ บาท ชั้นพิเศษเงินเดือน ๖,๐๒๐-๗,๕๕๐ บาท มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ ๑,๒๕๐บาท ชั้นพิเศษเงินเดือน ๗,๗๒๐–๘,๕๗๐ บาท มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านไม่เกินเดือนละ ๑,๖๐๐ บาท ระดับ น. ๒ ระดับ น. ๓ ระดับ น. ๔ ระดับ น. ๕ ระดับ น. ๖ ขึ้นไป ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นเงินเดือน ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ค่าเช่าบ้าน ไม่เกิน เดือนละ/บาท ชั้นชั่วคราว- ชั้นชั่วคราว- ชั้นชั่วคราว- ชั้นที่ ๑-๕.๕ ๓,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ชั้นที่ ๑.๕ ๑,๙๕๐ ชั้นที่ ๑.๕ ๒,๔๐๐ ชั้นที่ ๕.๕ ๓,๐๐๐ ชั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๔,๐๐๐ ชั้นที่ ๒-๕.๕ ๒,๔๐๐ ชั้นที่ ๒ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ ชั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๓,๕๐๐ ชั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๓,๐๐๐ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่ชัดเจนทำให้เกิดปัญหาในการตีความและการวินิจฉัยสิทธิการได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ อีกทั้งเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยของข้าราชการ จึงสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเบิกค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าซื้อ และค่าผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านให้เหมาะสมยิ่งขึ้นนอกจากนี้ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ และบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงต้องปรับปรุงบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการให้สอดคล้องกับบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ สุภาพร/พิมพ์ ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๘ พัชรินทร์/ฐิติพงษ์/ตรวจ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๘ ชาญ/ปรับปรุง ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๑ ก/หน้า ๒๙/๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๗
452852
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๒๓ (๒) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๓ (๓) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๗ (๔) พระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๔๒ (๕) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๒ (๖) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๓ (๗) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๓ (๘) พระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๔๒ (๙) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔ พระราชกฤษฎีกานี้ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการ อนุกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือโดยประกาศพระบรมราชโองการ และบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือประกาศพระบรมราชโองการนั้นกำหนดเบี้ยประชุมหรือผลประโยชน์ตอบแทนของบุคคลดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะ มาตรา ๕ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยประกาศพระบรมราชโองการ หรือโดยประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการ แต่ไม่รวมถึงกรรมการซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนอย่างอื่นในหน้าที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยประกาศพระบรมราชโองการ หรือโดยประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรีเจ้าสังกัดซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี หรือคณะกรรมการ “อนุกรรมการ” หมายความว่า อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการ แต่ไม่รวมถึงอนุกรรมการซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนอย่างอื่นในหน้าที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ “ที่ปรึกษาคณะกรรมการ” หมายความว่า ที่ปรึกษาซึ่งได้รับแต่งตั้งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือโดยประกาศพระบรมราชโองการ ให้เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๖ ให้กรรมการได้รับเบี้ยประชุมดังต่อไปนี้ (๑) เบี้ยประชุมเป็นรายเดือน สำหรับกรรมการในคณะกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือโดยประกาศพระบรมราชโองการ ซึ่งมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบสูง ปฏิบัติงานในด้านการกำหนดนโยบายอันมีผลกระทบต่อการบริหาร เศรษฐกิจ หรือสังคมในภาพรวมของประเทศ ตามรายชื่อคณะกรรมการและอัตราเบี้ยประชุมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด (๒) เบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง สำหรับกรรมการในคณะกรรมการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (๑) ตามอัตราเบี้ยประชุมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด มาตรา ๗ ให้อนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมดังต่อไปนี้ (๑) เบี้ยประชุมเป็นรายเดือน สำหรับอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการตามมาตรา ๖ (๑) ตามรายชื่อคณะอนุกรรมการและอัตราเบี้ยประชุมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด (๒) เบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง สำหรับอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (๑) เว้นแต่อนุกรรมการสามัญประจำกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง หรือกรม อนุกรรมการสามัญประจำจังหวัด หรืออนุกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ให้ได้รับเบี้ยประชุมเฉพาะอนุกรรมการที่ไม่ได้เป็นข้าราชการของส่วนราชการนั้น ทั้งนี้ ตามอัตราเบี้ยประชุมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด มาตรา ๘ กรรมการหรืออนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน ให้ได้รับเบี้ยประชุมเฉพาะในเดือนที่ได้ร่วมประชุม มาตรา ๙ ประธานกรรมการหรือประธานอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเบี้ยประชุมที่กรรมการหรืออนุกรรมการนั้นมีสิทธิได้รับ แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ประธานกรรมการหรือประธานอนุกรรมการไม่สามารถร่วมประชุมได้ให้ผู้ซึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้รับเบี้ยประชุมในอัตราเดียวกับประธานกรรมการหรือประธานอนุกรรมการตามที่กำหนดในวรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๐ รองประธานกรรมการหรือรองประธานอนุกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือโดยประกาศพระบรมราชโองการ ที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในแปดของอัตราเบี้ยประชุมที่กรรมการหรืออนุกรรมการนั้นมีสิทธิได้รับ แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๑ กรรมการในคณะกรรมการคณะหนึ่ง หรืออนุกรรมการในคณะอนุกรรมการคณะหนึ่ง ที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ให้ได้รับเบี้ยประชุมสำหรับการประชุมคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการนั้น แล้วแต่กรณี เพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง มาตรา ๑๒ ที่ปรึกษาคณะกรรมการให้ได้รับเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการในคณะกรรมการนั้น โดยให้นำมาตรา ๘ หรือมาตรา ๑๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๓ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งตามอัตราเบี้ยประชุมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด โดยให้เลขานุการมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมไม่เกินหนึ่งคน และผู้ช่วยเลขานุการมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน ถ้ากรรมการหรืออนุกรรมการผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย ให้เบิกเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว มาตรา ๑๔ การประชุมของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ ต้องมีกรรมการหรืออนุกรรมการร่วมประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการหรืออนุกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม และมีสิทธิเบิกเบี้ยประชุมตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่บทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกาศพระบรมราชโองการ หรือคำสั่งที่จัดให้มีคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการนั้นจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การประชุมตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงการประชุมที่บทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกาศพระบรมราชโองการ หรือคำสั่งที่จัดให้มีคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการกำหนดให้สามารถใช้วิธีการติดต่อสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่สามารถถ่ายทอดภาพและเสียงได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้กรรมการหรืออนุกรรมการไม่จำเป็นต้องปรากฏตัวในที่ประชุมด้วย โดยให้ถือว่ากรรมการหรืออนุกรรมการซึ่งใช้วิธีการติดต่อสื่อสารด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว ร่วมประชุมคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการนั้น และมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม มาตรา ๑๕ ให้กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ร่วมกันจัดทำรายชื่อคณะกรรมการตามมาตรา ๖ (๑) และรายชื่อคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๗ (๑) และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ เมื่อได้จัดทำรายชื่อคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และอัตราเบี้ยประชุมตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้ว ให้เสนอรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบและประกาศกำหนดต่อไป การกำหนดอัตราเบี้ยประชุมต้องไม่เกินอัตราที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๖ คณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งซึ่งได้รับเงินสมนาคุณเป็นรายเดือนอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้คงได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน ทั้งนี้ ตามอัตราเบี้ยประชุมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด มาตรา ๑๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การจ่ายและอัตราเบี้ยประชุมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และเพื่อรวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวกับเบี้ยประชุมกรรมการ ให้อยู่ในกฎหมายฉบับเดียวกันเพื่อให้มีเอกภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ญาณี/พิมพ์ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๘ ธัญกมล/ศุภสรณ์/ตรวจ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๘ ปณตภร/ปรับปรุง ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๗๘ ก/หน้า ๑/๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๗
442335
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2547
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๗[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมาตรา ๑๗ อัฏฐ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๔ และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๗” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔ กรรมการกฤษฎีกา และกรรมการพัฒนากฎหมาย ให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมรายครั้ง เฉพาะครั้งที่มาประชุม ครั้งละ ๒,๐๐๐ บาท อนุกรรมการที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายแต่งตั้ง ให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมรายครั้ง เฉพาะครั้งที่มาประชุม ครั้งละ ๑,๐๐๐ บาท” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖ และมาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๖ ประธานของกรรมการกฤษฎีกาแต่ละคณะ ประธานกรรมการพัฒนากฎหมายและประธานอนุกรรมการที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายแต่งตั้ง ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔ อีกหนึ่งในสี่ มาตรา ๗ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย และคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายแต่งตั้งตลอดจนเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของที่ประชุมใหญ่คณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุมโดยมีอัตราเท่ากับกรรมการและอนุกรรมการตามมาตรา ๔ เลขานุการของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมไม่เกินหนึ่งคน และผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากค่าตอบแทนของกรรมการกฤษฎีกา กรรมการพัฒนากฎหมาย และอนุกรรมการที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายแต่งตั้งตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๘ ยังไม่เหมาะสมกับภาวการณ์และภาระหน้าที่ที่กรรมการดังกล่าวต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ สมควรปรับปรุงค่าตอบแทนเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ศุภชัย/พิมพ์ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ ต่อศักดิ์/ยงยุทธ/ตรวจ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๖๔ ก/หน้า ๑/๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๗
440828
พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2547
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุม ค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่น ในการดำเนินงานของประธานสภา รองประธานสภา สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง กรรมการสรรหา และกรรมการ ในสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นปีที่ ๖๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเบี้ยประชุม ค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่นในการดำเนินงานของประธานสภา รองประธานสภา สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง กรรมการสรรหาและกรรมการ ในสภาพัฒนาการเมือง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกับมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑ และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุม ค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่นในการดำเนินงานของประธานสภา รองประธานสภา สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง กรรมการสรรหา และกรรมการ ในสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๒” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “รองประธานสภา” หมายความว่า รองประธานสภาพัฒนาการเมือง “กรรมการสรรหา” หมายความว่า กรรมการสรรหาสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง มาตรา ๔ ให้ประธานสภา รองประธานสภา และสมาชิกสภาพัฒนาการเมืองได้รับเบี้ยประชุมเหมาจ่ายเป็นรายเดือนเฉพาะในเดือนที่มีการประชุมและมาประชุมอย่างน้อยหนึ่งครั้งในเดือนนั้น ดังต่อไปนี้ (๑) ประธานสภา เดือนละหนึ่งหมื่นห้าพันบาท (๒) รองประธานสภา เดือนละหนึ่งหมื่นสี่พันบาท (๓) สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง เดือนละหนึ่งหมื่นสองพันบาท (๔) เลขานุการ เดือนละหนึ่งหมื่นสองพันบาท มาตรา ๕ ให้กรรมการสรรหาได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ดังต่อไปนี้ (๑) ประธานกรรมการสรรหา ครั้งละสองพันห้าร้อยบาท (๒) กรรมการสรรหา ครั้งละสองพันบาท (๓) เลขานุการ ครั้งละสองพันบาท มาตรา ๖ ให้กรรมการตามมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ดังต่อไปนี้ (๑) ประธานกรรมการ ครั้งละสองพันห้าร้อยบาท (๒) รองประธานกรรมการ ครั้งละสองพันบาท (๓) กรรมการ ครั้งละสองพันบาท (๔) เลขานุการ ครั้งละสองพันบาท มาตรา ๗ ให้กรรมการบริหารสำนักงาน กรรมการอิสระติดตามและประเมินผลและกรรมการบริหารกองทุนได้รับเบี้ยประชุมเหมาจ่ายเป็นรายเดือนเฉพาะในเดือนที่มีการประชุมและมาประชุมอย่างน้อยหนึ่งครั้งในเดือนนั้น ดังต่อไปนี้ (๑) ประธานกรรมการ เดือนละหนึ่งหมื่นสองพันบาท (๒) รองประธานกรรมการ เดือนละหนึ่งหมื่นหนึ่งพันบาท (๓) กรรมการ เดือนละเก้าพันบาท (๔) เลขานุการ เดือนละเก้าพันบาท มาตรา ๘ ให้ประธานสภา รองประธานสภา และสมาชิกสภาพัฒนาการเมืองมีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลหรือการประกันสุขภาพตามที่จ่ายจริงในอัตราเบี้ยประกันคนละไม่เกินสองหมื่นบาทต่อปี เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานตามพระราชกฤษฎีกานี้ “การประกันสุขภาพ” ให้หมายถึงการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองทางด้านการเงินเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สำหรับการรักษาตัวในสถานพยาบาลหรือคลินิก หรือเข้ารับการผ่าตัดโดยแพทย์ ในกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ ในกรณีที่ประธานสภา รองประธานสภา และสมาชิกสภาพัฒนาการเมืองมีสิทธิหรือได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลหรือการประกันสุขภาพจากหน่วยงานอื่นแล้ว บุคคลนั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลหรือการประกันสุขภาพตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่ารักษาพยาบาลหรือการประกันสุขภาพที่ได้รับนั้นต่ำกว่าค่ารักษาพยาบาลหรือการประกันสุขภาพที่มีสิทธิได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้มีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลหรือการประกันสุขภาพเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ มาตรา ๙ ให้ประธานสภา รองประธานสภา สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง กรรมการสรรหาหรือกรรมการตามมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานสภาพัฒนาการเมืองกำหนด เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานตามพระราชกฤษฎีกานี้ “การเดินทางไปปฏิบัติงาน” ให้หมายถึงการเดินทางไปปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่หรือตามที่สภาพัฒนาการเมืองมอบหมายไม่ว่าภายในประเทศหรือต่างประเทศ มาตรา ๑๐ ให้ประธานสภา รองประธานสภา สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง กรรมการสรรหา กรรมการตามมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑ กรรมการบริหารสำนักงาน กรรมการอิสระติดตามและประเมินผล และกรรมการบริหารกองทุน ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม ค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่นในการดำเนินงานตามพระราชกฤษฎีกานี้นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง มาตรา ๑๑ ให้ประธานรัฐสภาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติให้ประธานสภา รองประธานสภา สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง กรรมการสรรหา และกรรมการได้รับเบี้ยประชุม ค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่นในการดำเนินงานตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ บัญญัติให้การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายในประเภทค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและเบี้ยประชุมกรรมการ ให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว สมควรกำหนดเบี้ยประชุม ค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่นในการดำเนินงานของประธานสภา รองประธานสภา สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง กรรมการสรรหา และกรรมการในสภาพัฒนาการเมือง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๒ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๖ ก/หน้า ๑/๔ มิถุนายน ๒๕๕๒
426534
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการของรัฐบาล พ.ศ. 2547
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการของรัฐบาล พ.ศ. ๒๕๔๗[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการของรัฐบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการของรัฐบาล พ.ศ. ๒๕๔๗” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร และข้าราชการประเภทอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด “มาตรการ ๑” หมายความว่า มาตรการสนับสนุนสำหรับข้าราชการซึ่งออกจากราชการเพื่อเริ่มอาชีพใหม่นอกระบบราชการ “มาตรการ ๒” หมายความว่า มาตรการสนับสนุนสำหรับข้าราชการซึ่งออกจากราชการเพราะเหตุได้รับผลกระทบจากการปรับระบบราชการ “เงินเดือนเดือนสุดท้าย” หมายความว่า เงินเดือนที่ได้รับจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ออกจากราชการ รวมทั้งเงินที่ได้เลื่อนขั้นในวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ และเงินประจำตำแหน่ง แต่ไม่รวมถึงเงินเพิ่มทุกประเภท “เงินประจำตำแหน่ง” หมายความว่า เงินประจำตำแหน่งตามบัญชีท้ายกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ที่ได้รับอยู่ในวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึง (๑) เงินประจำตำแหน่งของผู้มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งแต่ได้งดไว้โดยเลือกรับเงินประเภทอื่นแทน (๒) เงินค่าตอบแทนของผู้มีสิทธิได้รับในอัตราเท่ากับเงินประจำตำแหน่งตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนพิเศษชั่วคราวของข้าราชการในช่วงปรับโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม ใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๕ “เงินช่วยเหลือ” หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่ข้าราชการซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการในโครงการตามมาตรการ ๑ หรือมาตรการ ๒ “เวลาราชการ” หมายความว่า เวลาที่ข้าราชการรับราชการมาตั้งแต่ต้นจนถึงวันสุดท้ายที่ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แต่ไม่รวมถึงเวลาราชการที่มีสิทธิได้นับเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ “เวลาราชการที่เหลือ” หมายความว่า เวลาตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ของปีงบประมาณที่ข้าราชการผู้ประสงค์จะออกจากราชการมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ มาตรา ๔ ข้าราชการซึ่งจะเข้าร่วมโครงการตามมาตรการ ๑ หรือมาตรการ ๒ ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) มาตรการ ๑ มีอายุตั้งแต่ห้าสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป เว้นแต่ข้าราชการทหารต้องมีอายุตั้งแต่สี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรือมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีขึ้นไป ทั้งนี้ ให้นับถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ และมีเวลาราชการที่เหลือไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (๒) มาตรการ ๒ เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับระบบราชการตามบัญชีรายชื่อที่ส่วนราชการจัดทำขึ้น ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกำหนด โดยไม่จำกัดอายุและเวลาราชการ และมีเวลาราชการที่เหลือไม่น้อยกว่าหนึ่งปี มาตรา ๕ ข้าราชการซึ่งจะเข้าร่วมโครงการตามมาตรการ ๑ หรือมาตรการ ๒ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาและต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ (๑) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสอบสวน หรืออยู่ในระหว่างการดำเนินการลงโทษทางวินัย ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น ๆ หรือเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาซึ่งมิใช่ความผิดลหุโทษหรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท (๒) เป็นผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะต้องออกจากราชการไม่ว่ากรณีใด ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น ๆ (๓) เป็นผู้อยู่ระหว่างปฏิบัติราชการชดใช้ตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับส่วนราชการในการไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย เว้นแต่จะได้ยินยอมชดใช้เงินตามสัญญาผูกพันที่ได้ทำไว้กับราชการ มาตรา ๖ การอนุญาตให้ข้าราชการลาออกจากราชการในโครงการตามมาตรการ ๑ หรือมาตรการ ๒ แล้วแต่กรณี ให้กระทำได้ไม่เกินร้อยละสิบของจำนวนข้าราชการที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการของแต่ละโครงการของส่วนราชการนั้น ในกรณีมีเศษถ้าถึงครึ่งให้ปัดเป็นหนึ่ง ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของราชการ คณะรัฐมนตรีจะอนุมัติให้ส่วนราชการใดอนุญาตให้ข้าราชการลาออกจากราชการเกินอัตราที่กำหนดในวรรคหนึ่งก็ได้ มาตรา ๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๖ ข้าราชการซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการเพื่อเข้าร่วมโครงการตามมาตรการ ๑ หรือมาตรการ ๒ ให้มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์วิธีการ และจำนวนที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘ สำหรับวิธีการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือตามวรรคหนึ่งถึงแก่ความตายก่อนได้รับเงินช่วยเหลือ ให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้มีสิทธิรับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘ ให้จ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่ข้าราชการตามมาตรา ๗ เป็นจำนวนเท่ากับจำนวนปีของเวลาราชการที่เหลือบวกด้วยแปดและคูณด้วยเงินเดือนเดือนสุดท้าย แต่ทั้งนี้ เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินสิบห้าเท่าของเงินเดือนเดือนสุดท้าย การนับเวลาราชการที่เหลือตามวรรคหนึ่ง ให้คำนวณเป็นปี แต่ถ้ามีเศษของปีถึงครึ่งปีให้ได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มขึ้นอีกครึ่งหนึ่งของเงินเดือนเดือนสุดท้าย การรับเงินช่วยเหลือตามวรรคหนึ่ง ไม่ตัดสิทธิของข้าราชการที่มีอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่นใดที่ทางราชการให้แก่ผู้รับบำเหน็จบำนาญ มาตรา ๙ ภายในระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันที่อนุญาตให้ลาออกจากราชการหากปรากฏว่าข้าราชการซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามมาตรา ๗ ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๔ หรือมีลักษณะหนึ่งลักษณะใดตามมาตรา ๕ ให้ข้าราชการผู้นั้นไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินช่วยเหลือตามมาตรา ๘ และให้ส่วนราชการที่อนุญาตให้ลาออกจากราชการเรียกเงินช่วยเหลือคืนโดยผู้นั้นต้องคืนเงินภายในเวลาและตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งประสงค์จะกลับเข้ารับราชการ และมิใช่กรณีที่เป็นผู้มีลักษณะตามมาตรา ๕ (๑) หรือ (๒) ให้หัวหน้าส่วนราชการซึ่งอนุญาตให้ลาออกจากราชการสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ผู้นั้นดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดิม แต่ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินอื่นที่จ่ายเป็นรายเดือนและสิทธิประโยชน์อย่างอื่นที่ทางราชการให้แก่ผู้นั้นในระหว่างที่ไม่ได้ปฏิบัติราชการ มาตรา ๑๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๙ ผู้ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือตามมาตรา ๘ แล้ว หากกลับเข้าเป็นข้าราชการประจำในส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือกำกับของฝ่ายบริหารอีก ให้ผู้นั้นส่งคืนเงินช่วยเหลือที่ได้รับไว้ทั้งหมดพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากประจำสิบสองเดือนของธนาคารออมสินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๑ ให้โครงการตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกานี้ และให้ข้าราชการซึ่งได้แสดงความจำนงและได้รับอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ เป็นการแสดงความจำนงและได้รับอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๒ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายด้านการพัฒนาระบบราชการที่มีแผนในการปรับอัตรากำลังข้าราชการให้มีขนาดเล็กแต่มีประสิทธิภาพสูง โดยได้มีการกำหนดมาตรการในการปรับจำนวนและคุณภาพของข้าราชการเพื่อให้เหมาะสมกับบทบาท ภารกิจ และการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ รวมทั้งมีมาตรการจูงใจให้ข้าราชการซึ่งลาออกจากราชการได้รับเงินช่วยเหลือจากทางราชการ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ศุภชัย/พิมพ์ สุมลรัตน์/พงษ์พิลัย/ยงยุทธ/ธรรมนิตย์/ตรวจ ๑๙ เมษายน ๒๕๔๗ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๑๔ ก/หน้า ๑/๘ เมษายน ๒๕๔๗
471239
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527(Update ณ วันที่ 27/03/2545)
เน„เธกเนˆเธžเธšเน€เธญเธเธชเธฒเธฃเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธฃ The document that you would like to see is not found.
325483
พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2545
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นปีที่ ๕๗ ในราชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แลมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๑) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการ ทั้งประเภทผู้ป่วยภายนอกหรือผู้ป่วยภายใน ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง ทั้งนี้ กระทรวงการคลังอาจกำหนดอัตราให้เบิกได้ต่ำกว่าจำนวนที่ได้ต่ำกว่าจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงก็ได้” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการ ทั้งประเภทผู้ป่วยภายนอกหรือผู้ป่วยภายใน โดยกำหนดให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง ทั้งนี้ กระทรวงการคลังอาจกำหนดอัตราให้เบิกได้ต่ำกว่าจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงก็ได้ เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างประหยัดและสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน และเพื่อให้กระทรวงการคลังสามารถแก้ไขเพิ่มเติมอัตราการจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลให้เหมาะสมกับงบประมาณของทางราชการ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ วัชศักดิ์/พิมพ์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ นันท์นภัสร์/จัดทำ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๗๑ ก/หน้า ๒/๒๖ กรกฎาคม ๒๕๔๕