sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
315735
พระราชกฤษฎีกา เงินค่าตอบแทนตุลาการศาลปกครอง พ.ศ. 2544
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินค่าตอบแทนตุลาการศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๔[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นปีที่ ๕๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินค่าตอบแทนตุลาการศาลปกครอง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินค่าตอบแทนตุลาการศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๔” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ เป็นต้นไป มาตรา ๓ นอกจากค่าตอบแทนที่มีกฎหมายหรือระเบียบกำหนดไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ตุลาการศาลปกครองมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนเกี่ยวกับเบี้ยประชุมกรรมการและเงินค่าตอบแทนอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้นำระเบียบการเบิกจ่ายระเบียบกระทรวงการคลัง และระเบียบอื่นของทางราชการในเรื่องดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลม เพื่อประโยชน์ในการคำนวณเงินค่าตอบแทนตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ตุลาการในศาลปกครองชั้นต้นได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับข้าราชการพลเรือนระดับ ๑๐ และให้ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับข้าราชการพลเรือนระดับ ๑๑ มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยมีตุลาการศาลปกครองทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครอง และตุลาการศาลปกครองมีฐานะเป็นข้าราชการประเภทหนึ่ง ดังนั้น เพื่อให้ตุลาการศาลปกครองมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกับข้าราชการประเภทอื่น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ภคินี/แก้ไข ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๕ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๙๓ ก/หน้า ๑/๙ ตุลาคม ๒๕๔๔
315733
พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านตุลาการศาลปกครอง พ.ศ. 2544
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านตุลาการศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๔[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นปีที่ ๕๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินค่าเช่าบ้านตุลาการศาลปกครอง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านตุลาการศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๔” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ตุลาการศาลปกครองมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ ออกตามความในพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ สิทธิตามวรรคหนึ่งให้ได้รับตามจำนวนเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินเดือนละสี่พันบาท ให้นำระเบียบการเบิกจ่าย ระเบียบกระทรวงการคลัง และระเบียบอื่นของทางราชการที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับแก่การเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านตุลาการศาลปกครองโดยอนุโลม มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยมีตุลาการศาลปกครองทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครอง และตุลาการศาลปกครองมีฐานะเป็นข้าราชการประเภทหนึ่ง ดังนั้น เพื่อให้ตุลาการศาลปกครองมีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้านได้เช่นเดียวกับข้าราชการประเภทอื่น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ภคินี/แก้ไข ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๕ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๙๓ ก/หน้า ๕/๙ ตุลาคม ๒๕๔๔
315708
พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการตุลาการศาลปกครองและเงินช่วยพิเศษในกรณีที่ตุลาการศาลปกครองถึงแก่ความตาย พ.ศ. 2544
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการตุลาการศาลปกครอง และเงินช่วยพิเศษในกรณีที่ตุลาการศาลปกครองถึงแก่ความตาย พ.ศ. ๒๕๔๔[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นปีที่ ๕๖ ในรัชการปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินสวัสดิการตุลาการศาลปกครองและเงินช่วยพิเศษในกรณีที่ตุลาการศาลปกครองถึงแก่ความตาย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการตุลาการศาลปกครองและเงินช่วยพิเศษในกรณีที่ตุลาการศาลปกครองถึงแก่ความตาย พ.ศ. ๒๕๔๔” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ตุลาการศาลปกครองมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลการศึกษาของบุตร เงินสวัสดิการอื่น ๆ และเงินช่วยพิเศษในกรณีที่ถึงแก่ความตาย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้นำระเบียบการเบิกจ่าย ระเบียบกระทรวงการคลัง และระเบียบอื่นของทางราชการในเรื่องดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลม เพื่อประโยชน์ในการคำนวณเงินสวัสดิการตุลาการศาลปกครองและเงินช่วยพิเศษในกรณีที่ตุลาการศาลปกครองถึงแก่ความตายตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ตุลาการในศาลปกครองชั้นต้นได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับข้าราชการพลเรือนระดับ ๑๐ และให้ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับข้าราชการพลเรือนระดับ ๑๑ มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดี พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยมีตุลาการศาลปกครองทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครอง และตุลาการศาลปกครองมีฐานะเป็นข้าราชการประเภทหนึ่ง ดังนั้น เพื่อให้ตุลาการศาลปกครองมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการต่าง ๆ และเงินช่วยพิเศษในกรณีที่ถึงแก่ความตายได้เช่นเดียวกับข้าราชการประเภทอื่น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ อัมพิกา/แก้ไข ๓๐ เมษายน ๒๕๔๕ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๙๓ ก/หน้า ๓/๙ ตุลาคม ๒๕๔๔
324928
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. 2544
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๔[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นปีที่ ๕๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดการจ่ายเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๔” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเบี้ยกันดาร พ.ศ. ๒๕๒๔ มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “เงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ” หมายความว่า เงินที่จ่ายช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ เนื่องจากการปฏิบัติงานประจำสำนักงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่พิเศษ “สำนักงาน” หมายความว่า ที่ทำการของส่วนราชการสังกัดกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม แต่ไม่รวมถึงที่ทำการของส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ และหน่วยงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทต่าง ๆ ซึ่งได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่าย แต่ไม่รวมถึงข้าราชการสังกัดส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ “ลูกจ้างประจำ” หมายความว่า ลูกจ้างของส่วนราชการที่จ้างไว้เพื่อปฏิบัติงานที่มีลักษณะประจำโดยไม่มีกำหนดเวลา และได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย เว้นแต่ลูกจ้างชาวต่างประเทศที่มีสัญญาจ้าง มาตรา ๕ ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติราชการประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ หรือได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติราชการในลักษณะประจำตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดในสำนักงานในพื้นที่พิเศษ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษคนละหนึ่งพันบาทต่อเดือน มาตรา ๖ ให้กระทรวงการคลังประกาศกำหนดสำนักงานในพื้นที่พิเศษตาม มาตรา ๕ โดยร่วมพิจารณากับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้ (๑) ความยากลำบากของการคมนาคม (๒) ความขาดแคลนสาธารณูปโภค สาธารณูปการ หรือปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพ (๓) ความเสี่ยงภัย (๔) ความชุกชุมของโรคภัยไข้เจ็บ มาตรา ๗ การประกาศตามมาตรา ๖ ให้กระทรวงการคลังกระทำทุกปี มาตรา ๘ ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการตามมาตรา ๕ หากได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการหรือไปรักษาราชการแทน หรือได้รับอนุญาตให้ไปศึกษา ฝึกอบรมหรือดูงานนอกสำนักงานเกินกว่าสิบห้าวัน ไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษสำหรับระยะเวลาที่เกินสิบห้าวันนั้น มาตรา ๙ ในกรณีที่ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษมีสิทธิได้รับเงินตอบแทนอื่นในลักษณะทำนองเดียวกับเงินสวัสดิการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำนั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการดังกล่าวหรือเงินตอบแทนอื่น แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า มาตรา ๑๐ การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๑ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีการจ่ายเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ เพื่อใช้บังคับแทนการจ่ายเบี้ยกันดารตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเบี้ยกันดาร พ.ศ. ๒๕๒๔ เนื่องจากหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน เพราะรัฐต้องจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายสำหรับเงินสวัสดิการดังกล่าวเป็นจำนวนสูงขึ้นทุกปี และได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคมเป็นอย่างมากแล้ว อีกทั้งสมควรนำเรื่องการให้สิทธิประโยชน์ตอบแทนแก่ครูและลูกจ้างในโรงเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัย ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๓๑ มาบัญญัติรวมไว้ด้วย เพราะเป็นเงินที่จ่ายให้สำหรับการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษทำนองเดียวกับเบี้ยกันดาร จำจึงเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ชไมพร/แก้ไข ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๔๕ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๑๑๒ ก/หน้า ๔๕/๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
328551
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นปีที่ ๕๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของมาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๑) มีอายุตั้งแต่สี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไปสำหรับข้าราชการทหารหรือมีอายุตั้งแต่ห้าสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปสำหรับข้าราชการอื่น หรือมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีขึ้นไป ทั้งนี้ ให้นับถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ของปีที่ลาออกจากราชการตามโครงการ” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ลักษณะของการรับราชการทหารมีความแตกต่างกับข้าราชการอื่น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติให้ข้าราชการทหารที่มีอายุครบสี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไปเป็นผู้มีสิทธิแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการให้เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุได้ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับลักษณะของการรับราชการทหารดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๙๗ ก/หน้า ๓๑/๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๓
311567
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๒ --------------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นปีที่ ๕๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตาม งบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๒" มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราช กิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๘ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุม กรรมการ พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๘ กรรมการและอนุกรรมการซึ่งมิได้เป็นข้าราชการ พนักงานหรือ ลูกจ้างของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือมิได้เป็นพนักงาน หรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจให้ได้รับเบี้ยประชุมในอัตราเดียวกับเบี้ยประชุมของกรรมการและ อนุกรรมการ ซึ่งเป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ" ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี +-------------------------------------------------------------------------------------------------------+ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีการยกเลิกพระราช กฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ เพื่อให้กรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการ หรือผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ ซึ่งเป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็น พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมกรรมการเช่นเดิม ในการนี้สมควร ปรับปรุงอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการและอนุกรรมการซึ่งมิได้เป็นข้าราชการ หรือพนักงานหรือ ลูกจ้างของส่วนราชการหรือมิได้เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจให้เหมาะสมโดยเป็นไปใน อัตราเดียวกันกับเบี้ยประชุมของกรรมการหรืออนุกรรมการอื่น จึงจำเป็นต้องตราพระราช กฤษฎีกานี้
311564
พระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2542
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๔๒ ------------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นปีที่ ๕๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตาม งบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราช กฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๔๒" มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี +----------------------------------------------------------------------------------------------------------------+ หมายเหตุ: - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ บัญญัติให้ระงับการจ่ายเบี้ยประชุมแก่กรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการ ของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ ซึ่งเป็น ข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของราชการส่วนกลางราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ เป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๐ เป็นต้น มาเพื่อถือปฏิบัติตามมาตรการประหยัดเงินงบประมาณ แต่ในขณะนี้สภาพปัญหาเกี่ยวกับ สภาวะการเงินการคลังได้รับการแก้ไขในระดับหนึ่งแล้ว สมควรให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับ เบี้ยประชุมกรรมการเช่นเดิม จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
310183
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ พ.ศ. 2542
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ พ.ศ. ๒๕๔๒[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นปีที่ ๕๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ พ.ศ. ๒๕๔๒” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการรัฐสภาสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร และข้าราชการประเภทอื่นที่ได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด “โครงการ” หมายความว่า โครงการให้เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ “เงินเดือนเดือนสุดท้าย” หมายความว่า เงินที่ได้รับจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ออกจากราชการ รวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา และหรือเงินเพิ่มการเลื่อนฐานะ และหรือสำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ และหรือสำหรับการสู้รบและหรือสำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิด แต่ไม่รวมถึงเงินเพิ่มอย่างอื่น ๆ ส่วนข้าราชการตำบล ซึ่งกรมตรวจสั่งแต่งตั้งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากผู้ว่าจ้าง เงินเดือนเดือนสุดท้าย หมายความว่า เงินเดือนที่ผู้ว่าจ้างจ่ายตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาตามอัตราเงินเดือนที่ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจเดือนสุดท้ายที่ออกจากราชการ รวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา และหรือเงินเพิ่มการเลื่อนฐานะ และหรือสำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ และหรือสำหรับการสู้รบ และหรือสำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิด แต่ไม่รวมถึงเงินเพิ่มอย่างอื่น ๆ “เวลาราชการ” หมายความว่า เวลาราชการที่ข้าราชการรับราชการมาตั้งแต่ต้นจนถึงวันสุดท้ายที่ได้รับเงินเดือนตามเกณฑ์ละวิธีการที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการโดยไม่ให้นับเศษของปี และไม่รวมถึงเวลาราชการที่มีสิทธิได้นับเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ “เวลาราชการที่เหลือ” หมายความว่า เวลาตั้งแต่วันที่ข้าราชการลาออกจากราชการจนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ของปีงบประมาณที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ มาตรา ๔ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรที่จะให้มีโครงการให้เงินช่วยเหลือข้าราชการซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ให้กระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ. สำนักงบประมาณ และส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดทำรายละเอียดของโครงการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป รายละเอียดของโครงการตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย (๑) องค์ประกอบของคณะกรรมการโครงการซึ่งจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติให้ข้าราชการรายใดเข้าร่วมโครงการ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนสำนักงาน ก.พ. ผู้แทนสำนักงบประมาณและผู้แทนส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องตามจำนวนที่เหมาะสม (๒) ประมาณการข้าราชการที่จะเข้าร่วมโครงการ (๓) หลักเกณฑ์และวิธีการแสดงความจำนงของข้าราชการที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมทั้งกำหนดระยะเวลาการแจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการโครงการไปยังข้าราชการ ซึ่งได้แสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการ มาตรา ๕ เมื่อคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติรายละเอียดของโครงการตามมาตรา ๔ วรรคสอง ในปีงบประมาณใด ให้เริ่มใช้โครงการในปีงบประมาณถัดไป มาตรา ๖ อัตราเงินช่วยเหลือข้าราชการซึ่งลาออกจากราชกรก่อนเกษียณอายุและหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าวให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ ส่วนวิธีการเบิกจ่ายนั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๗ ข้าราชการที่จะแสดงความจำนงเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือตามโครงการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (๑) มีอายุตั้งแต่ห้าสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปหรือมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีขึ้นไป ทั้งนี้ ให้นับถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ของปีที่ลาออกจากราชการตามโครงการ (๒) มีเวลาราชการที่เหลือไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่ลาออกจากราชการตามโครงการ (๓) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสอบสวนหรือสอบหาข้อเท็จจริงทางวินัยหรือพิจารณาโทษทางวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชกาประเภทนั้น ๆ หรือเป็นผู้ต้องห้ามในคดีอาญา ซึ่งมิใช่ความผิดลหุโทษหรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท (๔) ไม่เป็นผู้ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะต้องออกจากราชการไม่ว่ากรณีใด ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น ๆ มาตรา ๘ ให้ข้าราชการซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุตามโครงการมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือตามจำนวนและหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่ผู้นั้นรับบำเหน็จ ให้ได้รับเงินช่วยเหลือในอัตราเจ็ดเท่าของเงินเดือนเดือนสุดท้าย โดยแบ่งจ่ายเป็นสองงวดในจำนวนเท่ากัน และจ่ายในปีละงวด (๒) ในกรณีที่ผู้นั้นรับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับเงินช่วยเหลือตามจำนวนและหลักเกณฑ์ตาม (๑) รวมทั้งเงินช่วยเหลือรายเดือนผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเรียกโดยย่อว่า “ช.ร.บ.” ซึ่งคำนวณจากอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีเวลาราชการที่เหลือหารด้วยห้าสิบ ทั้งนี้ จำนวนเงิน ช.ร.บ. นี้ ต้องไม่สูงกว่าร้อยละยี่สิบของเงินเดือนเดือนสุดท้าย และเมื่อนำไปรวมกับเบี้ยหวัดหรือบำนาญหรือเงินเพิ่มอื่น ๆ แล้วจะต้องไม่สูงกว่าเงินเดือนเดือนสุดท้าย เงินเดือนเดือนสุดท้ายให้หมายความรวมถึงเงินเดือนที่ได้เลื่อนในวันที่ ๓๐ กันยายน ของปีที่ลาออกจากราชการตามโครงการด้วย มาตรา ๙ การจ่าย ช.ร.บ.ให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับ ช.ร.บ. ให้เบิกจ่ายพร้อมกับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับ ช.ร.บ. ถึงแก่ความตายให้จ่าย ช.ร.บ. ถึงวันที่ถึงแก่ความตาย โดยให้จ่ายตามส่วนแห่งจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับ และจะนำ ช.ร.บ. ไปรวมกับบำนาญหรือเงินเพิ่มพิเศษอื่น ๆ ในการคำนวณบำเหน็จตกทอดและเงินช่วยพิเศษไม่ได้ มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินตามมาตรา ๗ ถึงแก่ความตายก่อนได้รับเงินช่วยเหลอดังกล่าว ให้จ่ายเงินช่วยเหลือนั้นแก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือตามมาตรา ๗ ได้กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ หรือกลับเข้าทำงานเป็นพนักงานหรือลูกจ้างประจำในรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน ให้ผู้นั้นหมดสิทธิรับเงินช่วยเหลือตั้งแต่วันที่กลับเข้ารับราชการหรือเข้าทำงานดังกล่าว และให้ส่งคืนเงินช่วยเหลือที่ได้รับไว้ทั้งหมดพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากประจำสิบสองเดือนของธนาคารออมสินให้แก่กระทรวงการคลังตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๒ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับ ช.ร.บ. ได้กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการการเมืองและได้เลิกรับบำนาญเพื่อนับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการในตอนหลัง ก็ให้ระงับการจ่าย ช.ร.บ. ตั้งแต่วันที่กลับเข้ารับราชการนั้น และเมื่อผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมืองแล้ว ก็ให้มีสิทธิได้รับ ช.ร.บ. ตามจำนวนที่เคยได้รับต่อไป มาตรา ๑๓ ผู้ซึ่งรับเบี้ยหวัดเมื่อย้ายประเภทไปเป็นผู้รับบำเหน็จเหตุทดแทนให้ผู้นั้นหมดสิทธิรับ ช.ร.บ. ตั้งแต่วันที่ย้ายประเภทเป็นต้นไป มาตรา ๑๔ ผู้ซึ่งรับ ช.ร.บ. ผู้ใดเสียสิทธิรับบำนาญปกติตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเสียสิทธิรับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ให้ผู้นั้นหมดสิทธิรับ ช.ร.บ. ตั้งแต่วันเสียสิทธิดังกล่าว มาตรา ๑๕ ให้โครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิตข้าราชการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับเป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกานี้ และให้ข้าราชการที่ได้แสดงความจำนง โดยขอลาออกจากราชการเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือตามโครงการดังกล่าวและได้รับอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือตามจำนวนและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ เป็นต้นไป มาตรา ๑๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกา ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการปฏิรูประบบราชการ ซึ่งมีแผนในการปรับอัตรากำลังข้าราชการให้มีขนาดเล็กแต่มีประสิทธิภาพสูง โดยมีมาตรการจูงใจให้ข้าราชการลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ อันได้แก่เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ สมควรดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายในการปฏิรูประบบราชการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๙๓ ก/หน้า ๗/๗ ตุลาคม ๒๕๔๒
307138
พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 6 ) พ.ศ. 2541
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นปีที่ ๕๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๑” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นต้นไป เว้นแต่บทบัญญัติมาตรา ๓ และมาตรา ๔ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๖ หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมขึ้นไปมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงบประมาณรายจ่ายเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ตามความจำเป็นและประหยัดภายใต้หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามพระราชกฤษฎีกานี้ ส่วนวิธีการเบิกจ่ายนั้นให้ปฏิบัติตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลังซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ทั้งนี้ หัวหน้าส่วนราชการดังกล่าวอาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณรายจ่ายเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้มีการใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและประหยัดก็ได้” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๓ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๓ ผู้เดินทางไปราชการประจำซึ่งมิใช่ผู้ซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานแห่งใหม่ตามคำร้องขอของตนเองให้เบิกค่าใช้จ่ายได้ตามมาตรา ๑๔ และให้เบิกค่าขนย้ายของส่วนตัวในลักษณะเหมาจ่ายได้ตามอัตราในบัญชี ๓ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๐ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๗๐ ค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ให้เบิกในลักษณะเหมาจ่ายตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางจากประเทศไทยไปราชการประจำในต่างประเทศ และคู่สมรสหรือบุตรซึ่งต้องเดินทางจากประเทศไทยไปอยู่ด้วย ให้เบิกได้ในอัตราสองเท่าครึ่งของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวจะพึงได้รับจากทางราชการ (๒) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางออกจากต่างประเทศหนึ่งไปราชการประจำในต่างประเทศอื่นและคู่สมรสหรือบุตรซึ่งติดตามไปอยู่ด้วยจากประเทศเดียวกับผู้เดินทาง ให้เบิกได้ในอัตราสองเท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวจะพึงได้รับตามอัตราสำหรับประเทศซึ่งจะไปราชการประจำใหม่ (๓) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางจากเมืองหนึ่งไปราชการประจำอีกเมืองหนึ่งในต่างประเทศเดียวกัน และคู่สมรสหรือบุตรซึ่งติดตามไปอยู่ด้วยจากเมืองเดียวกับผู้เดินทางให้เบิกได้ในอัตราหนึ่งเท่าครึ่งของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวจะพึงได้รับตามอัตราสำหรับประเทศนั้น (๔) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางจากต่างประเทศที่มีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่กลับประเทศไทย และคู่สมรสหรือบุตรซึ่งกลับมาด้วยจากประเทศเดียวกับผู้เดินทาง ให้เบิกได้ในอัตราหนึ่งเท่าครึ่งของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวได้รับครั้งสุดท้ายก่อนเดินทางกลับประเทศไทย ในกรณีที่คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับก่อนการเบิกค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ให้เป็นไปตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด" ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ โดยส่วนใหญ่มีหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินเท่าที่จ่ายแต่ไม่เกินอัตราที่กำหนด ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเดินความจำเป็นโดยไม่คำนึงถึงงบประมาณที่ได้รับ สมควรกำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมขึ้นไปมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงบประมาณรายจ่ายเพื่อควบคุมดูแลให้การเดินทางไปราชการเป็นไปโดยประหยัดและใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น และเพื่อให้การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเป็นไป เพื่อประโยชน์ของทางราชการโดยแท้จริง จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการประจำสำนักงานแห่งใหม่ตามคำร้องขอของตนเองไม่มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามเจตนารมณ์ดังกล่าวประกอบกับสมควรปรับปรุงอัตราค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ของผู้ที่ได้รับคำสั่งให้ไปดำรงตำแหน่งประจำในต่างประเทศ หรือกรณีที่ผู้นั้นเดินทางกลับประเทศไทยให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณรายจ่าย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๙๖ ก/หน้า ๑/๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๑
306701
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2541
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๑ --------------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นปีที่ ๕๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตาม งบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๑" มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราช กิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้าน ข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๕ สิทธิที่จะเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการของข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งให้ เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ตามคำร้องขอของตนเองที่มีอยู่ตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้าน ข้าราชการพ.ศ. ๒๕๒๗ ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะหมด สิทธิตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราช กฤษฎีกานี้ สิทธิที่จะเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการของข้าราชการซึ่งต้องไปปฏิบัติราชการประจำ สำนักงานในต่างท้องที่เนื่องจากสำนักงานที่ปฏิบัติราชการประจำอยู่เดิมได้ย้ายสถานที่ทำการไปตั้ง ในท้องที่ใหม่ใกล้เคียงกับท้องที่ที่ตั้งสำนักงานเดิมตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดที่มี อยู่ตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันสิ้นสุดลง" ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี +-----------------------------------------------------------------------------------------------------+ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาค่า เช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้ตราขึ้นโดยมีเจตนารมณ์ส่วนหนึ่งที่จะปรับปรุง บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการมิให้ข้าราชการซึ่งต้องไปปฏิบัติราชการประจำ สำนักงานในต่างท้องที่ เนื่องจากสำนักงานที่ปฏิบัติราชการประจำอยู่เดิมได้ย้ายสถานที่ทำการไป ตั้งในท้องที่ใหม่ใกล้เคียงกับท้องที่ที่ตั้งสำนักงานเดิมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดมีสิทธิได้รับค่า เช่าบ้านข้าราชการต่อไป โดยยกเว้นให้แก่ข้าราชการดังกล่าวเฉพาะผู้ซึ่งมีสิทธิในการเบิกค่า เช่าบ้านข้าราชการก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับเพื่อเป็นการควบคุมงบประมาณ รายจ่ายของรัฐในส่วนนี้ที่ในอนาคตรัฐบาลมีนโยบายจะย้ายส่วนราชการเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากในสภาวการณ์ปัจจุบันรัฐบาลยังคงประสบปัญหาด้านงบประมาณรายจ่าย จึงเห็น สมควรยกเลิกสิทธิของข้าราชการดังกล่าวผู้ซึ่งมีสิทธิในการเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการอยู่เดิมนั้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ [รก. ๒๕๔๑/๘๓ก./๑๓/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๑]
590826
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2523 (ฉบับ Update ณ วันที่ 19/08/2541) (ฉบับที่ 7)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นปีที่ ๓๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ค่ารักษาพยาบาล”[๒] หมายความว่า เงินที่สถานพยาบาลเรียกเก็บในการรักษาพยาบาล ดังนี้ (๑) ค่ายา ค่าเลือด และส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน ค่าน้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน และอื่น ๆ ทำนองเดียวกันที่ใช้ในการบำบัดรักษาโรค (๒) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม (๓) ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์โรค แต่ไม่รวมถึงค่าจ้างผู้พยาบาลพิเศษ ค่าธรรมเนียมพิเศษ และค่าบริการอื่นทำนองเดียวกันที่มีลักษณะเป็นเงินตอบแทนพิเศษ (๔) ค่าห้องและค่าอาหารตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล (๕) ค่าตรวจสุขภาพประจำปี “สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานพยาบาลของทางราชการและสถานพยาบาลของเอกชน “สถานพยาบาลของทางราชการ” หมายความว่า สถานพยาบาลของทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และให้หมายความรวมถึงสถานพยาบาลของกรุงเทพมหานคร รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ สภากาชาดไทย คุรุสภา สมาคมปราบวัณโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและสถานพยาบาลอื่นที่กระทรวงการคลังกำหนด “สถานพยาบาลของเอกชน”[๓] หมายความว่า สถานพยาบาลของเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินยี่สิบห้าเตียง ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล” “บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า (๑) บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นแล้ว (๒) คู่สมรสของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (๓) บิดาหรือมารดาของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล “การรักษาพยาบาล”[๔] หมายความรวมถึง การตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อประโยชน์ทางด้านสาธารณสุข มาตรา ๕ การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ ส่วนวิธีการเบิกจ่ายนั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๖ [๕]ภายใต้บังคับมาตรา ๘ และมาตรา ๑๑ ทวิ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวของตนตามพระราชกฤษฎีกานี้ (๑) ข้าราชการและลูกจ้าประจำซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำของกระทรวง ทบวง กรม (๒) ลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งมีหนังสือสัญญาจ้างที่ได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย และสัญญาจ้างนั้นมิได้ระบุเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลไว้ (๓) ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้ได้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด มาตรา ๖ ทวิ[๖] ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้และบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นประสบอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยในคราวเดียวกันและผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ได้เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยในคราวนั้นให้บุคคลในครอบครัวของผู้นั้น ซึ่งได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามสิทธิที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกานี้เฉพาะการเจ็บป่วยในครั้งนั้น” มาตรา ๗ ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๖ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรได้เพียงคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม ให้นับเรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลัง ทั้งนี้ ไม่ว่าเป็นบุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งใด หรืออยู่ในอำนาจปกครองของตนหรือไม่ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้ใดมีบุตรเกินสามคน และต่อมาบุตรคนหนึ่งคนใดในจำนวนสามคนตามวรรคหนึ่งนั้นตายลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะก็ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรเพิ่มขึ้นอีกเท่าจำนวนบุตรที่ตายนั้นโดยให้นับบุตรคนที่อยู่ในลำดับถัดไปก่อน มาตรา ๗ ทวิ[๗] ผู้มีสิทธิได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ผู้ใดยังไม่มีบุตรหรือมีบุตรที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๗ ยังไม่ถึงสามคน ถ้าต่อมามีบุตรแฝดซึ่งทำให้มีจำนวนบุตรเกินสามคน ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๗ สำหรับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้าย แต่บุตรแฝดดังกล่าวจะต้องเป็นบุตรซึ่งเกิดจากคู่สมรส หรือเป็นบุตรของตนเอง ในกรณีที่หญิงเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ในกรณีที่บุตรคนใดคนหนึ่งของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งตายลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะ ก็ให้ลดจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลลงจนกว่าจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเหลือไม่เกินสามคน และหลังจากนั้น ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลดังกล่าว จึงจะมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นได้ตามมาตรา ๗ วรรคสาม เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ บทบัญญัติที่อ้างถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สามของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้หมายถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๗ ตรี[๘] การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายในกรณีที่ไม่อาจทราบลำดับการเกิดก่อนหลังของบุตรแฝดได้โดยแน่ชัด ให้นับลำดับบุตรแฝดตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘[๙] ข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจซึ่งอยู่ในระหว่างรับการศึกษาอบรมในสถานศึกษาของกรมตำรวจ อันเป็นการศึกษาอบรมก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการประจำ ไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้” มาตรา ๙ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น มีสิทธิหรือได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่นแล้ว ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือบุคคลใดในครอบครัวของผู้นั้นได้รับค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลจากผู้อื่นแล้ว ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ไปก่อนแล้ว ภายหลังได้รับค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลจากบุคคลอื่นมีจำนวนเท่าหรือเกินกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้นำเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับไปนั้นส่งคืน แต่ถ้าเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบุคคลอื่นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้ส่งคืนเท่าจำนวนที่ได้รับจากบุคคลอื่นนั้น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๑[๑๐] การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอย่างอื่น ซึ่งมิใช่การตรวจสุขภาพประจำปี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตรา ดังนี้ (๑) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการ ทั้งประเภทผู้ป่วยภายนอกหรือผู้ป่วยภายใน ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง เว้นแต่ (ก) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม ให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด (ข) ค่าห้องและค่าอาหารให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด (๒) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชน หรือสถานพยาบาลของเอกชนอื่นซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นประสบอุบัติเหตุ อุบัติภัย หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของบุคคลดังกล่าว เมื่อได้มีใบรับรองของแพทย์จากสถานพยาบาลของเอกชนนั้นมาประกอบให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ดังนี้ (ก) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรครวมทั้งค่าซ่อมแซม ค่าห้อง และค่าอาหาร ให้เบิกได้เช่นเดียวกับผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการ (ข) ค่ารักษาพยาบาลประเภทอื่นๆ ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่จะต้องไม่เกินสามพันบาท (๓) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของเอกชนในกรณีที่เป็นการเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นครั้งคราวเพราะเหตุที่สถานพยาบาลของทางราชการมีความจำเป็นต้องส่งตัวให้แก่สถานพยาบาลของเอกชนนั้น ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๑ ทวิ[๑๑] การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพประจำปี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตรา ดังนี้ (๑) ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพประจำปีต้องเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ หรือผู้ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (๒)[๑๒] เข้ารับการตรวจสุขภาพในสถานพยาบาลของทางราชการ (๓) ค่าตรวจสุขภาพให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๒[๑๓] ในกรณีที่สถานพยาบาลตามมาตรา ๑๑ ไม่มียาเลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน น้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ออกซิเจน อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคจำหน่าย หรือไม่อาจให้การตรวจทางห้องทดลอง หรือเอ๊กซเรย์แก่ผู้เข้ารักษาพยาบาลได้ เมื่อแพทย์ผู้ตรวจรักษาหรือหัวหน้าสถานพยาบาลของสถานพยาบาลแห่งนั้นลงลายมือชื่อรับรองตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนดแล้ว ก็ให้ผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลซื้อ หรือรับการตรวจทางห้องทดลองหรือเอ็กซเรย์จากสถานที่อื่นซึ่งอยู่ในประเทศไทยแล้วนำมาเบิกได้ตามมาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ ทวิ[๑๔] เมื่อปรากฏว่าสถานพยาบาลของเอกชนใดมีพฤติการณ์ในทางทุจริตร่วมกับผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นในเรื่องการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนดังกล่าวให้กระทรวง ทบวง กรมทราบ เพื่อมิให้เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของเอกชนนั้นอีกต่อไป เว้นแต่จะเป็นกรณีตามข้อเว้นของมาตรา ๑๑ (๒) การแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนตามวรรคหนึ่ง ให้มีผลเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแจ้ง การแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในสถานพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่การแจ้งมีผล มาตรา ๑๒ ตรี[๑๕] ในกรณีที่ข้าราชการตามมาตรา ๖ (๑) ไปมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ หลักเกณฑ์และอัตราของเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของข้าราชการดังกล่าว รวมทั้งคู่สมรสและบุตรซึ่งไปอยู่ในต่างประเทศกับข้าราชการผู้นั้น ขณะที่อยู่ในต่างประเทศ ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๓ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น หากได้รับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในของสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคัลและสถานพยาบาลนั้นเรียกค่ารักษาพยาบาลคาบเกี่ยวถึงวันที่ประราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ได้รับค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๔ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตร ผู้ใดมีบุตรเกินสามคนอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรเหล่านั้นต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๑ กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายเกี่ยวกับการลดอัตราเพิ่มประชากร สมควรกำหนดเกณฑ์ขึ้นใหม่ โดยให้มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรได้เพียงสามคนเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร พ.ศ. ๒๕๒๑ นอกจากนี้ได้กำหนดให้ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลที่ซื้ออุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคสถานที่อื่นแล้ว ให้เบิกค่าซื้ออุปกรณ์นั้นจากทางราชการได้เช่นเดียวกับอวัยวะเทียม ทั้งนี้จำกัดเฉพาะกรณีเมื่อสถานพยาบาลแห่งนั้นไม่มีจำหน่าย นอกจากนั้น ได้แก้ไขอัตราค่าห้องและค่าอาหารที่เคยเบิกได้รวมกันไม่เกินวันละหนึ่งร้อยยี่สิบบาทเป็นให้เบิกได้ตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนดเพื่อให้สามารถแก้ไขได้ตามความเหมาะสมกับภาวะค่าครองชีพ จึงจำเป็นต้องตามพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ มาตรา ๗ ในท้องที่อำเภอหรือเขตใดไม่มีสถานพยาบาลของเอกชน ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินสิบเตียงแต่ไม่เกินยี่สิบห้าเตียงซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ (๑) กรณีที่ท้องที่อำเภอหรือเขตนั้นไม่มีสถานพยาบาลเช่นว่านั้นอีก ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาลของเอกชนอื่น ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีนี้ใช้บังคับให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาได้ (๒) กรณีที่มีอุบัติเหตุ หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากผู้ป่วยมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้นั้นได้ ถ้าได้เข้ารับการักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนอื่น ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ได้ ให้นำมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีการเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ และมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๒ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ มาใช้บังคับแก่สถานพยาบาลตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม ในท้องที่อำเภอหรือเขตวรรคหนึ่ง เมื่อมีการจัดตั้งสถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้แล้วไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่งที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลตามวรรคหนึ่งที่มีอยู่ก่อนวันที่มีการจัดตั้งสถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้โดยได้รับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่มีการจัดตั้งสถานพยาบาลนั้น มาตรา ๘ สิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับโดยได้รับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ วัชศักดิ์/พิมพ์ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ นันท์นภัสร์/จัดทำ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนพิเศษ ๑๗๘/หน้า ๑/๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๒๓ [๒] แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๔ [๓] แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ [๔] เพิ่มโดย พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๔ [๕] แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๔ [๖] มาตรา ๖ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๗ [๗] มาตรา ๗ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๓ [๘] มาตรา ๗ ตรี เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๓ [๙] มาตรา ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๕ [๑๐] มาตรา ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๗ [๑๑] มาตรา ๑๑ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๖ [๑๒] แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๗ [๑๓] มาตรา ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ [๑๔] มาตรา ๑๒ ทวิ เพิ่มโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ [๑๕] มาตรา ๑๒ ตรี เพิ่มโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๕
306642
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2541
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นปีที่ ๕๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๑” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๖ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ “มาตรา ๖ ทวิ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้และบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นประสบอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยในคราวเดียวกันและผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ได้เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยในคราวนั้นให้บุคคลในครอบครัวของผู้นั้น ซึ่งได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามสิทธิที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกานี้เฉพาะการเจ็บป่วยในครั้งนั้น” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๑ การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอย่างอื่น ซึ่งมิใช่การตรวจสุขภาพประจำปี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตรา ดังนี้ (๑) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการ ทั้งประเภทผู้ป่วยภายนอกหรือผู้ป่วยภายใน ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง เว้นแต่ (ก) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม ให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด (ข) ค่าห้องและค่าอาหารให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด (๒) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชน หรือสถานพยาบาลของเอกชนอื่นซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นประสบอุบัติเหตุ อุบัติภัย หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของบุคคลดังกล่าว เมื่อได้มีใบรับรองของแพทย์จากสถานพยาบาลของเอกชนนั้นมาประกอบให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ดังนี้ (ก) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรครวมทั้งค่าซ่อมแซม ค่าห้อง และค่าอาหาร ให้เบิกได้เช่นเดียวกับผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการ (ข) ค่ารักษาพยาบาลประเภทอื่นๆ ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่จะต้องไม่เกินสามพันบาท (๓) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของเอกชนในกรณีที่เป็นการเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นครั้งคราวเพราะเหตุที่สถานพยาบาลของทางราชการมีความจำเป็นต้องส่งตัวให้แก่สถานพยาบาลของเอกชนนั้น ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความใน (๒) ของมาตรา ๑๑ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๒) เข้ารับการตรวจสุขภาพในสถานพยาบาลของทางราชการ” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากการเบิกค่ารักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของเอกชนของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นยังไม่มีวิธีการควบคุมที่มีมาตรฐานเพียงพอ ทำให้มีการเบิกค่ารักษาพยาบาลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง สมควรปรับปรุงสิทธิในการเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีการเข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของเอกชน โดยกำหนดให้เบิกได้เฉพาะกรณีที่บุคคลดังกล่าวประสบอุบัติเหตุ อุบัติภัย หรือมีความจำเป็นรีบด่วนซึ่งหากมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต หรือในกรณีที่สถานพยาบาลของทางราชการขาดเครื่องมือหรือมีเครื่องมือไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วยหรือมีความจำเป็นด้วยประการใดๆ ต้องส่งตัวผู้ป่วยเข้ารับการรักษาจากสถานพยาบาลของเอกชน รวมทั้งสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพประจำปีเสียใหม่ โดยกำหนดให้มีสิทธิเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับค่าตรวจสุขภาพประจำปีได้เฉพาะกรณีการเข้ารับการตรวจสุขภาพจากสถานพยาบาลของทางราชการเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างประหยัด รัดกุม และสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประกอบกับสมควรกำหนดให้บุคคลในครอบครัวของผู้มีสิทธิรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหากประสบอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยในคราวเดียวกันกับผู้มีสิทธิซึ่งได้เสียชีวิตลง เพื่อมิให้บุคคลดังกล่าวต้องได้รับความเดือดร้อนเพิ่มขึ้นอีก จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ นันติญา/ผู้พิมพ์ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ นฤดล/ตรวจ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๔๙ ก/หน้า ๑/๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๑
301286
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2541
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๑ ---------------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นปีที่ ๕๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตาม งบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๑" มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราช กิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้าน ข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๗ ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่ง ให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริง ตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่า เช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้น (๑) ทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้อยู่แล้ว (๒) มีเคหสถานของตนเอง หรือของสามีหรือภริยาที่พออาศัยอยู่ร่วมกันได้ ในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ (๓) ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้ง แรก หรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ (๔) ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ตามคำร้องขอของตนเอง (๕) เป็นข้าราชการวิสามัญ ข้าราชการผู้ใดได้รับเงินเดือนไม่ตรงกับอัตราเงินเดือนในบัญชีอัตราค่าเช่าบ้าน ข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ได้รับค่าเช่าบ้านตามส่วนของเงินเดือนโดยคำนวณตามวิธี การที่กระทรวงการคลังกำหนด" มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๗ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่า เช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ "มาตรา ๗ ทวิ ข้าราชการผู้ใดต้องไปปฏิบัติราชการประจำสำนักงานใน ต่างท้องที่เนื่องจากสำนักงานที่ปฏิบัติราชการประจำอยู่เดิมได้ย้ายสถานที่ทำการไปตั้งในท้องที่ ใหม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้เช่นเดียวกับข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่ง ให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ตามมาตรา ๗ เว้นแต่ท้องที่ใหม่ที่สำนักงานได้ย้ายไป นั้นอยู่ใกล้เคียงกับท้องที่ที่ตั้งสำนักงานเดิมตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด" มาตรา ๕ สิทธิที่จะเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการของข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งให้ เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ตามคำร้องขอของตนเอง หรือของข้าราชการ ซึ่งสำนักงานที่ ปฏิบัติราชการประจำอยู่เดิมได้ย้ายสถานที่ทำการไปตั้งในท้องที่ใหม่ที่มีอยู่ตามพระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ยังคงมีอยู่ต่อไป จนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี +---------------------------------------------------------------------------------------------------+ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาค่า เช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้บัญญัติให้ข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำ สำนักงานใหม่ตามคำร้องขอของตนเองมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ ซึ่งเป็นการไม่สอดคล้อง กับเจตนารมณ์ของทางราชการที่ประสงค์จะช่วยเหลือข้าราชการที่ได้รับความเดือดร้อนในเรื่อง ที่อยู่อาศัยซึ่งมีสาเหตุมาจากทางราชการ ประกอบกับในปัจจุบันมีส่วนราชการหลายแห่งย้าย สำนักงานจากท้องที่หนึ่งไปอีกท้องที่หนึ่ง และในอนาคตจะมีการย้ายส่วนราชการเพิ่มขึ้นอีก เป็นจำนวนมากตามนโยบายของรัฐบาลทำให้งบประมาณรายจ่ายของรัฐในส่วนนี้ไม่สอดคล้อง กับสภาวะการเงินของประเทศที่เป็นอยู่ สมควรปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิได้รับค่าเช่า บ้านข้าราชการของข้าราชการดังกล่าว โดยกำหนดให้ข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไป ประจำสำนักงานใหม่ตามคำร้องขอของตนเองไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ และกำหนด หลักเกณฑ์ในเรื่องสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการของข้าราชการซึ่งต้องไปปฏิบัติราชการประจำใน ต่างท้องที่เพราะมีการย้ายสถานที่ทำการให้ชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราช กฤษฎีกานี้ [รก. ๒๕๔๑/๓๙ก./๑/๒๕ มิถุนายน ๒๕๔๑]
301285
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2541
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๔๑ ------------ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นปีที่ ๕๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพื่อเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูณแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบ ประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑" มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ กรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการของ คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ มิให้ได้รับเบี้ยประชุมตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นไป มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี +---------------------------------------------------------------------------------------------------+ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไข เพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๒๓ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ ในปัจจุบัน โดยกำหนดให้กรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการ ของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของราชการ ส่วนกลางราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นพนักงานหรือลูกจ้าง ของรัฐวิสาหกิจมิให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นการชั่วคราว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกา [รก.๒๕๔๑/๑๕ก/๘๘/๒๔มีนาคม๒๕๔๑]
301284
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2541
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษา ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๑ ---------------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นปีที่ ๕๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมและ ค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่า ตอบแทนที่ปรึกษา ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๑" มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราช กิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ที่ปรึกษา อนุกรรมการ เลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการของคณะที่ ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของราชการส่วนกลาง ราชการ ส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ มิให้ได้รับเบี้ย ประชุมตามพระราชกฤษฎกีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นไป มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี +----------------------------------------------------------------------------------------------------+ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไข เพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๓ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันโดยกำหนดให้ที่ปรึกษา อนุกรรมการ เลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการของคณะที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการซึ่งเป็น ข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วน ท้องถิ่น หรือเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ มิให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นการชั่วคราว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ [รก.๒๕๔๑/๑๕ก/๘๖/๒๔ มีนาคม ๒๕๔๑]
590824
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2523 (ฉบับ Update ณ วันที่ 07/08/2540) (ฉบับที่ 6)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นปีที่ ๓๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ค่ารักษาพยาบาล”[๒] หมายความว่า เงินที่สถานพยาบาลเรียกเก็บในการรักษาพยาบาล ดังนี้ (๑) ค่ายา ค่าเลือด และส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน ค่าน้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน และอื่น ๆ ทำนองเดียวกันที่ใช้ในการบำบัดรักษาโรค (๒) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม (๓) ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์โรค แต่ไม่รวมถึงค่าจ้างผู้พยาบาลพิเศษ ค่าธรรมเนียมพิเศษ และค่าบริการอื่นทำนองเดียวกันที่มีลักษณะเป็นเงินตอบแทนพิเศษ (๔) ค่าห้องและค่าอาหารตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล (๕) ค่าตรวจสุขภาพประจำปี “สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานพยาบาลของทางราชการและสถานพยาบาลของเอกชน “สถานพยาบาลของทางราชการ” หมายความว่า สถานพยาบาลของทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และให้หมายความรวมถึงสถานพยาบาลของกรุงเทพมหานคร รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ สภากาชาดไทย คุรุสภา สมาคมปราบวัณโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและสถานพยาบาลอื่นที่กระทรวงการคลังกำหนด “สถานพยาบาลของเอกชน”[๓] หมายความว่า สถานพยาบาลของเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินยี่สิบห้าเตียง ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล” “บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า (๑) บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นแล้ว (๒) คู่สมรสของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (๓) บิดาหรือมารดาของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล “การรักษาพยาบาล”[๔] หมายความรวมถึง การตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อประโยชน์ทางด้านสาธารณสุข มาตรา ๕ การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ ส่วนวิธีการเบิกจ่ายนั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๖ [๕]ภายใต้บังคับมาตรา ๘ และมาตรา ๑๑ ทวิ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวของตนตามพระราชกฤษฎีกานี้ (๑) ข้าราชการและลูกจ้าประจำซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำของกระทรวง ทบวง กรม (๒) ลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งมีหนังสือสัญญาจ้างที่ได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย และสัญญาจ้างนั้นมิได้ระบุเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลไว้ (๓) ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้ได้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด มาตรา ๗ ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๖ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรได้เพียงคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม ให้นับเรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลัง ทั้งนี้ ไม่ว่าเป็นบุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งใด หรืออยู่ในอำนาจปกครองของตนหรือไม่ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้ใดมีบุตรเกินสามคน และต่อมาบุตรคนหนึ่งคนใดในจำนวนสามคนตามวรรคหนึ่งนั้นตายลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะก็ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรเพิ่มขึ้นอีกเท่าจำนวนบุตรที่ตายนั้นโดยให้นับบุตรคนที่อยู่ในลำดับถัดไปก่อน มาตรา ๗ ทวิ[๖] ผู้มีสิทธิได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ผู้ใดยังไม่มีบุตรหรือมีบุตรที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๗ ยังไม่ถึงสามคน ถ้าต่อมามีบุตรแฝดซึ่งทำให้มีจำนวนบุตรเกินสามคน ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๗ สำหรับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้าย แต่บุตรแฝดดังกล่าวจะต้องเป็นบุตรซึ่งเกิดจากคู่สมรส หรือเป็นบุตรของตนเอง ในกรณีที่หญิงเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ในกรณีที่บุตรคนใดคนหนึ่งของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งตายลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะ ก็ให้ลดจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลลงจนกว่าจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเหลือไม่เกินสามคน และหลังจากนั้น ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลดังกล่าว จึงจะมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นได้ตามมาตรา ๗ วรรคสาม เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ บทบัญญัติที่อ้างถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สามของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้หมายถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๗ ตรี[๗] การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายในกรณีที่ไม่อาจทราบลำดับการเกิดก่อนหลังของบุตรแฝดได้โดยแน่ชัด ให้นับลำดับบุตรแฝดตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘[๘] ข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจซึ่งอยู่ในระหว่างรับการศึกษาอบรมในสถานศึกษาของกรมตำรวจ อันเป็นการศึกษาอบรมก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการประจำ ไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้” มาตรา ๙ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น มีสิทธิหรือได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่นแล้ว ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือบุคคลใดในครอบครัวของผู้นั้นได้รับค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลจากผู้อื่นแล้ว ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ไปก่อนแล้ว ภายหลังได้รับค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลจากบุคคลอื่นมีจำนวนเท่าหรือเกินกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้นำเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับไปนั้นส่งคืน แต่ถ้าเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบุคคลอื่นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้ส่งคืนเท่าจำนวนที่ได้รับจากบุคคลอื่นนั้น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๑[๙] การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอย่างอื่นซึ่งมิใช่เป็นการตรวจสุขภาพประจำปี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตรา ดังนี้ (๑) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการ ทั้งประเภทผู้ป่วยภายนอกหรือผู้ป่วยภายใน ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เต็มจำนวนทีได้จ่ายไปจริง เว้นแต่ (ก) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม ให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด (ข) ค่าห้องและค่าอาหาร ให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด (๒) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของเอกชนประเภทผู้ป่วยภายใน ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ดังนี้ (ก) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม ค่าห้องและค่าอาหาร ให้เบิกได้เช่นเดียวกับผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการ (ข) ค่ารักษาพยาบาลประเภทอื่น ๆ ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่จะต้องไม่เกินสามพันบาทสำหรับระยะเวลาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล ถ้าเข้ารับการรักษาพยาบาลเกินสามสิบวันให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่จะต้องไม่เกินวันละหนึ่งร้อยบาท และในกรณีที่เข้ารับการรักษาพยาบาลหลายครั้งโดยมีระยะห่างกันไม่เกินสิบห้าวัน ให้นับระยะเวลาการเข้ารับการรักษาพยาบาลทุกครั้งรวมเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีที่มีอุบัติเหตุ หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากผู้ป่วยมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้นั้นได้ ถ้าได้เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนอื่น ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตาม (ก) หรือ (ข) ได้” มาตรา ๑๑ ทวิ[๑๐] การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพประจำปี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตรา ดังนี้ (๑) ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพประจำปีต้องเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ หรือผู้ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (๒) เข้ารับการตรวจสุขภาพในสถานพยาบาล (๓) ค่าตรวจสุขภาพให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๒[๑๑] ในกรณีที่สถานพยาบาลตามมาตรา ๑๑ ไม่มียาเลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน น้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ออกซิเจน อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคจำหน่าย หรือไม่อาจให้การตรวจทางห้องทดลอง หรือเอ๊กซเรย์แก่ผู้เข้ารักษาพยาบาลได้ เมื่อแพทย์ผู้ตรวจรักษาหรือหัวหน้าสถานพยาบาลของสถานพยาบาลแห่งนั้นลงลายมือชื่อรับรองตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนดแล้ว ก็ให้ผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลซื้อ หรือรับการตรวจทางห้องทดลองหรือเอ็กซเรย์จากสถานที่อื่นซึ่งอยู่ในประเทศไทยแล้วนำมาเบิกได้ตามมาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ ทวิ[๑๒] เมื่อปรากฏว่าสถานพยาบาลของเอกชนใดมีพฤติการณ์ในทางทุจริตร่วมกับผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นในเรื่องการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนดังกล่าวให้กระทรวง ทบวง กรมทราบ เพื่อมิให้เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของเอกชนนั้นอีกต่อไป เว้นแต่จะเป็นกรณีตามข้อเว้นของมาตรา ๑๑ (๒) การแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนตามวรรคหนึ่ง ให้มีผลเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแจ้ง การแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในสถานพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่การแจ้งมีผล มาตรา ๑๒ ตรี[๑๓] ในกรณีที่ข้าราชการตามมาตรา ๖ (๑) ไปมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ หลักเกณฑ์และอัตราของเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของข้าราชการดังกล่าว รวมทั้งคู่สมรสและบุตรซึ่งไปอยู่ในต่างประเทศกับข้าราชการผู้นั้น ขณะที่อยู่ในต่างประเทศ ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๓ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น หากได้รับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในของสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคัลและสถานพยาบาลนั้นเรียกค่ารักษาพยาบาลคาบเกี่ยวถึงวันที่ประราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ได้รับค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๔ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตร ผู้ใดมีบุตรเกินสามคนอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรเหล่านั้นต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๑ กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายเกี่ยวกับการลดอัตราเพิ่มประชากร สมควรกำหนดเกณฑ์ขึ้นใหม่ โดยให้มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรได้เพียงสามคนเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร พ.ศ. ๒๕๒๑ นอกจากนี้ได้กำหนดให้ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลที่ซื้ออุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคสถานที่อื่นแล้ว ให้เบิกค่าซื้ออุปกรณ์นั้นจากทางราชการได้เช่นเดียวกับอวัยวะเทียม ทั้งนี้จำกัดเฉพาะกรณีเมื่อสถานพยาบาลแห่งนั้นไม่มีจำหน่าย นอกจากนั้น ได้แก้ไขอัตราค่าห้องและค่าอาหารที่เคยเบิกได้รวมกันไม่เกินวันละหนึ่งร้อยยี่สิบบาทเป็นให้เบิกได้ตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนดเพื่อให้สามารถแก้ไขได้ตามความเหมาะสมกับภาวะค่าครองชีพ จึงจำเป็นต้องตามพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ มาตรา ๗ ในท้องที่อำเภอหรือเขตใดไม่มีสถานพยาบาลของเอกชน ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินสิบเตียงแต่ไม่เกินยี่สิบห้าเตียงซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ (๑) กรณีที่ท้องที่อำเภอหรือเขตนั้นไม่มีสถานพยาบาลเช่นว่านั้นอีก ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาลของเอกชนอื่น ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีนี้ใช้บังคับให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาได้ (๒) กรณีที่มีอุบัติเหตุ หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากผู้ป่วยมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้นั้นได้ ถ้าได้เข้ารับการักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนอื่น ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ได้ ให้นำมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีการเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ และมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๒ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ มาใช้บังคับแก่สถานพยาบาลตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม ในท้องที่อำเภอหรือเขตวรรคหนึ่ง เมื่อมีการจัดตั้งสถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้แล้วไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่งที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลตามวรรคหนึ่งที่มีอยู่ก่อนวันที่มีการจัดตั้งสถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้โดยได้รับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่มีการจัดตั้งสถานพยาบาลนั้น มาตรา ๘ สิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับโดยได้รับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ วัชศักดิ์/พิมพ์ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ นันท์นภัสร์/จัดทำ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนพิเศษ ๑๗๘/หน้า ๑/๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๒๓ [๒] แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๔ [๓] แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ [๔] เพิ่มโดย พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๔ [๕] แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๔ [๖] มาตรา ๗ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๓ [๗] มาตรา ๗ ตรี เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๓ [๘] มาตรา ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๕ [๙] มาตรา ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๔ [๑๐] มาตรา ๑๑ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๖ [๑๑] มาตรา ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ [๑๒] มาตรา ๑๒ ทวิ เพิ่มโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ [๑๓] มาตรา ๑๒ ตรี เพิ่มโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๕
301283
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2540
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๐ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นปีที่ ๕๒ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๕๓๘ และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๐” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๑ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๑ ทวิ การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพประจำปี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตรา ดังนี้ (๑) ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพประจำปีต้องเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ หรือผู้ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (๒) เข้ารับการตรวจสุขภาพในสถานพยาบาล (๓) ค่าตรวจสุขภาพให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ กำหนดให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และผู้ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญสามารถนำค่าตรวจสุขภาพประจำปีมาเบิกเป็นค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการได้ แต่ต้องเป็นการตรวจสุขภาพประจำปีในสถานพยาบาลของทางราชการ ซึ่งสภาพการณ์ในปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพประจำปีไม่สามารถเข้ารับบริการตรวจสุขภาพได้ทันต่อความต้องการ ดังนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกสมควรขยายสิทธิให้ผู้มีสิทธิดังกล่าวสามารถไปรับบริการตรวจสุขภาพประจำปีในสถานพยาบาลของเอกชน และนำมาเบิกเป็นค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการได้ตามรายการและอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ วัชศักดิ์/พิมพ์ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ นันท์นภัสร์/จัดทำ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานาเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๓๗ ก/หน้า ๑๙/๗ สิงหาคม ๒๕๔๐
661004
พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2535 (ฉบับ Update ณ วันที่ 03/05/2539)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา การจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ (๒) พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๖ บรรดากฎ ข้อบังคับ และระเบียบอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชกฤษฎีกานี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ใช้พระราชกฤษฎีกานี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “เงินเดือน” หมายความว่า เงินเดือนและเงินอื่นที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน “เงินปี” หมายความว่า เงินที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายปีจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนของสำนักพระราชวัง “บำเหน็จ” หมายความว่า บำเหน็จตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และหมายความรวมถึงเงินทดแทนข้าราชการวิสามัญตามระเบียบกระทรวงการคลังด้วย “บำนาญ” หมายความว่า บำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และหมายความรวมถึงเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมด้วย “ข้าราชการ” หมายความว่า บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน “ปี” หมายความว่า ปีงบประมาณ มาตรา ๕ การเบิกจ่ายเงินเดือน เงินปี และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน ให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ลักษณะ ๑ เงินเดือนและเงินอื่นที่จ่ายในลักษณะเงินเดือน หมวด ๑ การถือจ่ายเงินเดือน มาตรา ๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๘ การจ่ายเงินเดือนแต่ละปี ให้กระทรวง ทบวง กรม จ่ายตามบัญชีถือจ่ายเงินเดือนประจำปีที่กรมบัญชีกลางอนุมัติ การปฏิบัติเกี่ยวกับการถือจ่ายเงินเดือน ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘ เมื่อขึ้นปีใหม่ ถ้ากรมบัญชีกลางยังมิได้อนุมัติบัญชีถือจ่ายเงินเดือนประจำปี ให้จ่ายเงินเดือนไปก่อนได้ตามบัญชีถือจ่ายปีที่แล้ว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๙ การจ่ายเงินเดือนของข้าราชการที่ได้เลื่อนเงินเดือนเพราะถึงแก่ความตายเนื่องจากปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้จ่ายจากอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นครองอยู่ หรือเงินเดือนเหลือจ่าย หรือให้โอนเงินหมวดอื่นมาตั้งจ่าย หมวด ๒ การจ่ายเงินเดือน มาตรา ๑๐ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการแต่ละเดือน ให้จ่ายตามบัญชีถือจ่ายเงินเดือนที่กรมบัญชีกลางอนุมัติแล้วตามความในหมวด ๑ มาตรา ๑๑ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเดือนไม่เต็มเดือน ให้จ่ายตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนในเดือนนั้น มาตรา ๑๒ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการกรณีบรรจุใหม่หรือกลับเข้ารับราชการใหม่ ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่เริ่มเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ มาตรา ๑๓ การจ่ายเงินเดือนกรณีที่มีการเลื่อนชั้น เลื่อนระดับ หรือเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่ระบุในคำสั่งของผู้มีอำนาจสั่งเลื่อน มาตรา ๑๔ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ ให้เป็นไปตามคำสั่งของผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ซึ่งต้องระบุด้วยว่าให้ได้รับเงินเดือนในอัตราใด และให้ขาดจากอัตราเงินเดือนเดิมไปรับอัตราเงินเดือนตำแหน่งใหม่หรือให้โอนอัตราเงินเดือนเดิมไปตั้งจ่ายสำหรับตำแหน่งใหม่ตั้งแต่เมื่อใด มาตรา ๑๕ การจ่ายเงินเดือนในกรณีโอนข้าราชการ ให้จ่ายทางสังกัดใหม่และงดจ่ายเงินเดือนทางสังกัดเดิมตั้งแต่วันที่ระบุในคำสั่งของผู้มีอำนาจสั่งโอน ในกรณีที่มีการจ่ายเงินเดือนทางสังกัดเดิมล่วงล้ำไป ให้เบิกเงินเดือนทางสังกัดใหม่ส่งใช้สังกัดเดิมโดยวิธีเบิกหักผลักส่ง แล้วในเจ้าสังกัดใหม่แจ้งการเบิกหักผลักส่งให้เจ้าสังกัดเดิมทราบ ห้ามมิให้เบิกเป็นตัวเงิน มาตรา ๑๖ ข้าราชการที่ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือหนีราชการ ห้ามมิให้จ่ายเงินเดือนสำหรับวันที่ละทิ้งหน้าที่ราชการหรือหนีราชการดังกล่าว ข้าราชการที่มิได้มาปฏิบัติราชการในกรณีอื่น จะมีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือไม่ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเห็นสมควร แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๗ การจ่ายเงินเดือนของผู้ซึ่งถูกลงโทษตัดเงินเดือน ถ้าภายหลังผู้นั้นได้รับการแต่งตั้ง โอน หรือปรับเงินเดือน โดยได้รับเงินเดือนต่างจากเดิมและยังไม่พ้นโทษตัดเงินเดือน ให้คงตัดเงินเดือนต่อไปตามจำนวนเดิม หรือถ้าเป็นกรณีตัดเงินเดือนตามส่วนของเงินเดือน ก็ให้ตัดตามส่วนของเงินเดือนเดิม มาตรา ๑๘ ข้าราชการผู้ใดตายในระหว่างรับราชการ ให้จ่ายเงินเดือนจนถึงวันที่ถึงแก่ความตาย มาตรา ๑๙ การจ่ายเงินเดือนในกรณีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ลาออก ให้จ่ายได้ถึงวันก่อนวันถึงกำหนดลาออก แต่ถ้าถึงกำหนดลาออกแล้วยังไม่ได้รับทราบคำสั่งอนุญาตให้ลาออก และข้าราชการผู้นั้นยังคงรับราชการต่อมา ให้จ่ายได้ถึงวันรับทราบคำสั่ง หรือควรได้รับทราบคำสั่ง (๒) ให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก ให้จ่ายได้ถึงวันก่อนวันที่ระบุในคำสั่ง แต่ถ้ายังไม่ได้รับทราบคำสั่ง และข้าราชการผู้นั้นยังคงรับราชการต่อมาให้จ่ายได้ถึงวันรับทราบคำสั่ง หรือควรได้รับทราบคำสั่ง (๓) ในกรณีตาม (๑) และ (๒) หากจำเป็นต้องส่งมอบงานในหน้าที่ก็ให้จ่ายต่อไปได้จนถึงวันส่งมอบงานเสร็จภายในเวลาอันไม่ชักช้าตามที่ผู้บังคับบัญชาจะกำหนดตามสภาพของงาน แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่ระบุในคำสั่งหรือวันรับทราบคำสั่งหรือควรได้รับทราบคำสั่ง แล้วแต่กรณี (๔) พ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้จ่ายได้ถึงวันสิ้นปี สำหรับกรณีที่ได้รับการต่อเวลาราชการ ให้จ่ายได้ถึงวันครบการต่อเวลาราชการ มาตรา ๒๐ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการประจำเดือน ให้จ่ายในวันทำการสุดท้ายของเดือน สำหรับกรณีที่ต้องเบิกเงินจากธนาคาร ให้จ่ายในวันทำการสุดท้ายของธนาคารในเดือนนั้น แต่ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะกำหนดวันจ่ายเป็นอย่างอื่นก็ได้ หมวด ๓ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และผู้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ มาตรา ๒๑ การจ่ายเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ ให้จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ หรือระเบียบข้อบังคับของกระทรวงกลาโหมที่ได้ทำความตกลงไว้กับกระทรวงการคลัง อัตราเงินเดือนข้าราชการระหว่างพักราชการ ไม่ถือเป็นอัตราว่าง ข้าราชการผู้ใดตายในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถ้าเจ้ากระทรวงหรือผู้มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการหรือตามระเบียบข้อบังคับกระทรวงกลาโหมที่ได้ทำความตกลงไว้กับกระทรวงการคลังให้จ่ายเงินเดือนในระหว่างพักราชการอย่างใดก็ให้จ่ายเงินเดือนตามที่วินิจฉัยนั้นจนถึงวันที่ถึงแก่ความตาย มาตรา ๒๒ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๑ มาใช้บังคับแก่การจ่ายเงินเดือนข้าราชการผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และผู้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษให้ออก ปลดออกหรือไล่ออกด้วย โดยอนุโลม หมวด ๔ การจ่ายเงินช่วยพิเศษในกรณีที่ข้าราชการถึงแก่ความตาย มาตรา ๒๓ ข้าราชการผู้ใดถึงแก่ความตายในระหว่างรับราชการให้จ่ายเงินช่วยพิเศษจำนวนสามเท่าของเงินเดือนเต็มเดือนที่ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธิได้รับในเดือนที่ถึงแก่ความตาย และหากข้าราชการผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษค่าวิชาเงินประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ เงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ และเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการปราบปรามผู้กระทำผิด ให้รวมเงินดังกล่าวกับเงินเดือนเพื่อคำนวณเป็นเงินช่วยพิเศษจำนวนสามเท่าด้วย ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และผู้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเดือนตามมาตรา ๒๑ หรือมาตรา ๒๒ โดยอนุโลม ข้าราชการผู้ใดตายในระหว่างละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือหนีราชการ ห้ามมิให้จ่ายเงินช่วยพิเศษ มาตรา ๒๔ เงินช่วยพิเศษตามมาตรา ๒๓ ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งข้าราชการผู้ตายแสดงเจตนาโดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด ถ้าข้าราชการผู้ตายมิได้แสดงเจตนาไว้ตามวรรคหนึ่ง หรือบุคคลซึ่งข้าราชการผู้ตายแสดงเจตนาไว้ตายก่อนข้าราชการผู้ตายหรือก่อนมีการจ่ายเงิน ก็ให้จ่ายแก่บุคคลตามลำดับดังนี้ (๑) คู่สมรส (๒) บุตร (๓) บิดามารดา เมื่อปรากฏว่าบุคคลในลำดับก่อนตามวรรคสองมีชีวิตอยู่ บุคคลในลำดับถัดไปไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษ ถ้าผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษตามความในวรรคสองในลำดับเดียวกันมีหลายคนให้จ่ายให้แก่ผู้ซึ่งบุคคลในลำดับนั้นมอบหมายเป็นหนังสือ หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่จัดการศพ มาตรา ๒๕ การขอรับเงินช่วยพิเศษ ให้กระทำภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ข้าราชการผู้ซึ่งมีสิทธิรับเงินเดือนตาย เว้นแต่กรณีที่ผู้นั้นเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการ ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือผู้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ ระยะเวลาหนึ่งปีให้นับแต่วันที่การถูกสั่งพักราชการ การออกราชการไว้ก่อน หรือการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษสิ้นสุดลง แล้วแต่กรณี มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ทางราชการมีความจำเป็นต้องเข้าจัดการศพข้าราชการผู้ตายเพราะไม่มีผู้ใดเข้าจัดการในเวลาอันสมควร ให้ทางราชการหักค่าใช้จ่ายจากเงินช่วยพิเศษได้เท่าที่จ่ายจริง แล้วมอบส่วนที่เหลือ ถ้ามี ให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับตามมาตรา ๒๔ หมวด ๕ การจ่ายเงินเดือนระหว่างลา มาตรา ๒๗ ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ข้าราชการผู้ได้รับอันตราย หรือป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการ ให้ข้าราชการที่ลาป่วย ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ในปีหนึ่งไม่เกินหกสิบวันทำการ แต่ถ้าผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ตำแหน่งอธิบดีหรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไปเห็นสมควรจะให้จ่ายเงินเดือนต่อไปอีกก็ได้ แต่ไม่เกินหกสิบวันทำการ มาตรา ๒๘[๒] ข้าราชการลาเนื่องจากการคลอดบุตร ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกินเก้าสิบวัน มาตรา ๒๙ ให้ข้าราชการลากิจส่วนตัวโดยได้รับเงินเดือนในปีหนึ่งไม่เกินสี่สิบห้าวันทำการ แต่ในปีที่เริ่มรับราชการ ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกินสิบห้าวันทำการ มาตรา ๓๐ ให้ข้าราชการที่ลาพักผ่อนประจำปีได้รับเงินเดือนระหว่างลาไม่เกินระยะเวลาที่กำหนดในระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ มาตรา ๓๑ ตั้งแต่เริ่มรับราชการ ข้าราชการผู้ใดยังไม่เคยอุปสมบทในพระพุทธศาสนา หรือยังไม่เคยประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย หากประสงค์จะลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ แล้วแต่กรณี ให้ลาโดยได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ทั้งนี้ ต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน มาตรา ๓๒ ข้าราชการซึ่งลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพลให้ได้รับเงินเดือนในระหว่างนั้นได้ แต่ถ้าพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้วไม่รายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติราชการภายในเจ็ดวัน ให้งดจ่ายเงินเดือนหลังจากนั้นไว้จนถึงวันเข้าปฏิบัติราชการ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ตำแหน่งอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไปจะให้จ่ายเงินเดือนระหว่างนั้นต่อไปอีกก็ได้ แต่ไม่เกินสิบห้าวัน มาตรา ๓๓ ข้าราชการซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ให้ได้รับเงินเดือนในระหว่างลาไม่เกินสี่ปี นับแต่วันไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย จนถึงวันก่อนวันมารายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติราชการ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจอนุญาตการลา เห็นสมควรให้ข้าราชการลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยเกินสี่ปี ก็ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ แต่ทั้งนี้ เมื่อรวมทั้งสิ้นจะต้องไม่เกินหกปี มาตรา ๓๔ ข้าราชการที่ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา เว้นแต่อัตราเงินเดือนที่ได้รับจากองค์การระหว่างประเทศต่ำกว่าอัตราเงินเดือนของทางราชการที่ผู้นั้นได้รับอยู่ในขณะนั้น ให้ได้รับเงินเดือนจากทางราชการสมทบ ซึ่งเมื่อรวมกับเงินเดือนจากองค์การระหว่างประเทศแล้วไม่เกินอัตราเงินเดือนของทางราชการที่ข้าราชการผู้นั้นได้รับอยู่ในขณะนั้น มาตรา ๓๕ ข้าราชการที่ลาติดตามคู่สมรส ไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา มาตรา ๓๖ การจ่ายเงินเดือนระหว่างลาของข้าราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม ให้เป็นไปตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม ลักษณะ ๒ เงินปีและเงินประจำตำแหน่ง ที่จ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนของสำนักพระราชวัง มาตรา ๓๗ ผู้มีสิทธิได้รับเงินปีในปีใด ให้จ่ายเงินปีในปีนั้นให้เต็มทั้งปีไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด มาตรา ๓๘ การจ่ายเงินประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประธานองคมนตรี หรือองคมนตรี ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป สำหรับเงินประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้เป็นไปตามอัตราที่คณะรัฐมนตรีกำหนด การจ่ายเงินประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประธานองคมนตรี หรือองคมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ให้จ่ายได้เพียงวันก่อนวันพ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่ถึงแก่ความตาย ให้จ่ายสำหรับเดือนที่ถึงแก่ความตายนั้นให้เต็มเดือน มาตรา ๓๙ การจ่ายเงินประจำตำแหน่งตามมาตรา ๓๘ ให้จ่ายในลักษณะเงินเดือน แต่ไม่ต้องทำบัญชีถือจ่าย ลักษณะ ๓ บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นที่จ่ายในลักษณะบำเหน็จ บำนาญ หมวด ๑ การจ่ายบำเหน็จ บำนาญ มาตรา ๔๐ การจ่ายบำเหน็จหรือบำนาญ ให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้พิจารณาสั่งจ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด การจ่ายบำเหน็จหรือบำนาญในกรณีผู้เคยรับบำนาญอยู่แล้วกลับเข้ารับราชการใหม่ แล้วออกจากราชการครั้งหลังโดยมีสิทธิได้รับบำนาญในครั้งหลังด้วย ถ้าการรับราชการในครั้งก่อนกับครั้งหลังต่างกระทรวง ทบวง กรมกัน ให้รวมจ่ายบำนาญทางส่วนราชการที่ออกจากราชการครั้งหลัง ในกรณีที่มีการลดหรืองดบำนาญในระหว่างเวลาที่ข้าราชการกลับเข้ารับราชการใหม่ และต่อมาออกจากราชการครั้งหลังโดยไม่มีสิทธิได้รับบำนาญ การจ่ายบำนาญที่เคยได้รับอยู่เดิมตั้งแต่วันออกจากราชการครั้งหลังจะจ่ายได้ต่อเมื่อกรมบัญชีกลางสั่งจ่ายให้แล้ว และให้จ่ายทางส่วนราชการเดิมที่จ่ายบำนาญนั้น ในกรณีที่การกลับเข้ารับราชการใหม่เป็นการกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งข้าราชการการเมือง ให้ผู้นั้นมีสิทธิเลือกขอรับบำนาญทางส่วนราชการเดิมที่ผู้นั้นมีสิทธิรับบำนาญมาก่อน หรือทางส่วนราชการที่ออกจากราชการครั้งหลังสุด หรือทางส่วนราชการที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการการเมืองในขณะนั้น[๓] มาตรา ๔๑ บำนาญปกติและบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพ ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันขาดจากอัตราเงินเดือนเป็นต้นไป บำนาญพิเศษในกรณีถึงแก่ความตายหรือสูญหาย ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ถึงแก่ความตาย หรือวันถัดจากวันที่สันนิษฐานว่าถึงแก่ความตายตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี มาตรา ๔๒ ถ้าผู้มีสิทธิรับบำนาญถึงแก่ความตาย ให้จ่ายบำนาญให้จนถึงวันที่ถึงแก่ความตาย นอกจากนี้ ให้จ่ายเงินช่วยพิเศษจำนวนเท่ากับบำนาญรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ถ้ามี) สามเดือน แต่ในกรณีที่ผู้มีสิทธิรับบำนาญที่ถึงแก่ความตายเป็นผู้รับบำนาญตกทอดหรือบำนาญพิเศษในฐานะทายาท ผู้อุปการะ หรือผู้อยู่ในอุปการะ ไม่ให้จ่ายเงินช่วยพิเศษ ให้นำความในมาตรา ๒๔ และมาตรา ๒๕ มาใช้บังคับแก่การจ่ายเงินช่วยพิเศษตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม ในกรณีที่ผู้มีสิทธิรับบำนาญถึงแก่ความตายก่อนที่กรมบัญชีกลางจะสั่งจ่ายบำนาญ ให้นับระยะเวลาเพื่อขอรับเงินช่วยพิเศษตามความในมาตรา ๒๕ ตั้งแต่วันที่กรมบัญชีกลางสั่งจ่ายบำนาญ มาตรา ๔๓ การจ่ายบำนาญประจำเดือน ให้จ่ายในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนสองวันทำการ สำหรับกรณีที่ต้องเบิกเงินจากธนาคาร หรือผู้มีสิทธิรับบำนาญได้รับบำนาญทางธนาคาร ให้จ่ายในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของธนาคารในเดือนนั้นสองวันทำการ แต่ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะกำหนดวันจ่ายเป็นอย่างอื่นก็ได้ มาตรา ๔๔ ผู้รับบำนาญจะต้องแสดงตนหรือส่งใบรับรองการมีชีวิตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จ่ายปีละครั้ง ตามแบบและระยะเวลาที่กรมบัญชีกลางกำหนดและในกรณีที่กรมบัญชีกลางเห็นสมควร จะสั่งให้ผู้รับบำนาญแสดงตนหรือส่งใบรับรองการมีชีวิตในระยะเวลาใด ๆ อีกก็ได้ ผู้รับบำนาญจะรับบำนาญไม่ได้จนกว่าจะได้แสดงตนหรือส่งใบรับรองการมีชีวิตแล้ว มาตรา ๔๔ ทวิ[๔] ให้ผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการการเมืองและเป็นผู้รับบำนาญตามมาตรา ๔๐ ไว้แล้ว มีสิทธิเปลี่ยนส่วนราชการที่จ่ายบำนาญที่เคยได้รับอยู่เดิม โดยอาจเลือกขอรับทางส่วนราชการเดิมที่ผู้นั้นมีสิทธิรับบำนาญมาก่อน หรือทางส่วนราชการที่ผู้นั้นออกจากราชการครั้งหลังสุด หรือทางส่วนราชการที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการการเมืองก็ได้ หมวด ๒ การจ่ายเงินอื่นที่จ่ายในลักษณะบำเหน็จ บำนาญ มาตรา ๔๕ การจ่ายเงินตามกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องในการรบ กฎหมายว่าด้วยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติหน้าที่มนุษยธรรม กฎหมายว่าด้วยบำนาญพิเศษสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน หรือเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน ให้นำความในลักษณะ ๓ หมวด ๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๖ มีบทบัญญัติหลายประการที่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัยและสภาวการณ์ในปัจจุบัน ประกอบกับสิทธิและประโยชน์ของข้าราชการเกี่ยวกับการลาได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกันให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับสิทธิและประโยชน์ของข้าราชการดังกล่าวด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕[๕] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๔๐ แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ กำหนดวิธีปฏิบัติในการรับบำนาญยังไม่สะดวกและไม่เหมาะสมสำหรับผู้ซึ่งรับบำนาญอยู่แล้ว และกลับเข้ารับราชการใหม่ ซึ่งในการรับราชการครั้งหลังสุดเป็นข้าราชการการเมืองและผู้ซึ่งเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการการเมืองและเป็นผู้รับบำนาญอยู่แล้วตามมาตรา ๔๐ โดยที่ผู้มีสิทธิรับบำนาญหรือผู้รับบำนาญอยู่แล้วดังกล่าวมีจำนวนไม่มากนัก และการตรวจสอบเพื่อมิให้มีการจ่ายบำนาญซ้ำซ้อนกันสามารถกระทำได้โดยไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติแต่อย่างใด จึงเห็นควรให้สิทธิแก่บุคคลดังกล่าวที่จะเลือกขอรับบำนาญทางส่วนราชการเดิมที่ผู้นั้นมีสิทธิรับบำนาญมาก่อน หรือทางส่วนราชการที่ออกจากราชการครั้งหลังสุด หรือทางส่วนราชการที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการการเมือง แล้วแต่กรณีได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙[๖] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเดือนระหว่างลาของข้าราชการ ในกรณีลาคลอดบุตร ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ ยังกำหนดไว้ไม่เหมาะสม ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของข้าราชการสตรีและการเลี้ยงดูบุตรในระยะแรกเกิด สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเดือนระหว่างลาดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปณตภร/ผู้จัดทำ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๓๒/หน้า ๒๕/๑ เมษายน ๒๕๓๕ [๒] มาตรา ๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙ [๓] มาตรา ๔๐ วรรคสี่ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๔] มาตรา ๔๔ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๙๖/หน้า ๑๐/๑๔ กันยายน ๒๕๓๕ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๑๔ ก/หน้า ๑/๓ พฤษภาคม ๒๕๓๙
301282
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2539
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๙ ---------------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นปีที่ ๕๑ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๕๓๘ และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภท ตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้น ไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๙" มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกาค่า เช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ.๒๕๒๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการตามบัญชีหมายเลข ๑ บัญชี หมายเลข ๒ บัญชีหมายเลข ๓ บัญชีหมายเลข ๔ และบัญชีหมายเลข ๕ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ แทน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] +---------------------------------------------------------------------------------------------------+ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุง อัตราเงินเดือนของข้าราชการทุกประเภทตามพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๘ ทำให้บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ไม่สอดคล้องกับบัญชีอัตราเงินเดือนที่ปรับปรุงใหม่ สมควรปรับปรุงบัญชีอัตรา ค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการฯ เสียใหม่ ให้สอดคล้องกับบัญชี อัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ [รก. ๒๕๓๙/๓๒ก./๖/๑๙ สิงหาคม ๒๕๓๙]
301281
พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2539
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา การจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นปีที่ ๕๑ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๕๓๘ และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๘ แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๘ ข้าราชการลาเนื่องจากการคลอดบุตร ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกินเก้าสิบวัน” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเดือนระหว่างลาของข้าราชการ ในกรณีลาคลอดบุตร ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ ยังกำหนดไว้ไม่เหมาะสม ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของข้าราชการสตรีและการเลี้ยงดูบุตรในระยะแรกเกิด สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเดือนระหว่างลาดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปณตภร/ปรับปรุง ๓ ตุลาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๑๔ ก/หน้า ๑/๓ พฤษภาคม ๒๕๓๙
739823
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2538
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นปีที่ ๕๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับ มาตรา ๑๗ อัฏฐ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๔ และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๘” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔ กรรมการร่างกฎหมาย กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ และกรรมการพัฒนากฎหมายให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม ครั้งละ ๑,๐๐๐ บาท อนุกรรมการที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายแต่งตั้งให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม ครั้งละ ๘๐๐ บาท” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ค่าตอบแทนของกรรมการร่างกฎหมาย กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ กรรมการพัฒนากฎหมาย และอนุกรรมการที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายแต่งตั้งตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ยังกำหนดไว้ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันและภาระหน้าที่ที่กรรมการดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ สมควรปรับปรุงค่าตอบแทนดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ผู้จัดทำ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๔ ก/หน้า ๒๗/๒๔ มกราคม ๒๕๓๘
301280
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2538
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๓๘ ---------------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นปีที่ ๕๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตาม งบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับ เบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๓๘" มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔ สัตต แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วย ค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ "มาตรา ๔ สัตต ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวง กลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอด ในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วย บำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้ว ในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๗ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังนี้ (๑) ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. อยู่แล้วให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละร้อยละสิบเอ็ดของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้ รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสิบเอ็ดของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง" ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี +------------------------------------------------------------------------------------------------------+ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีการปรับปรุงอัตรา เงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพ ในปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญให้สูงขึ้นจากที่ได้รับ อยู่เดิมเพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ [รก. ๒๕๓๘/๕ก./๓๗/๓๐ มกราคม ๒๕๓๘]
301279
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2537
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๗ ---------------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๗ เป็นปีที่ ๔๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตาม งบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๗" มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราช กิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า "คณะกรรมการ" ในมาตรา ๔ แห่ง พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน " "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย โดยประกาศพระบรมราชโองการ โดยประธานรัฐสภา โดยประธานสภาผู้แทน ราษฎรโดยประธานวุฒิสภา โดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยรัฐมนตรีเจ้าสังกัดซึ่งได้รับอนุมัติจาก คณะรัฐมนตรี" มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า "คณะอนุกรรมการ" ในมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน " "คณะอนุกรรมการ" หมายความว่า คณะอนุกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยประกาศพระบรมราชโองการ โดยประธานรัฐสภา โดยประธานสภา ผู้แทนราษฎร โดยประธานวุฒิสภา โดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยรัฐมนตรีเจ้าสังกัดซึ่งได้รับอนุมัติ จากคณะรัฐมนตรี หรือโดยคณะกรรมการ แต่ไม่รวมถึง อ.ก.พ. กระทรวง หรือทบวงการเมือง ที่มีฐานะเป็นกระทรวง อ.ก.พ. ทบวง อ.ก.พ. กรม หรือทบวงการเมืองที่มีฐานะเป็นกรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด หรือคณะอนุกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการอื่นที่มีลักษณะ ทำนองเดียวกัน" มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ย ประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๖ กรรมการซึ่งจะได้รับเบี้ยประชุมต้องอยู่ในลักษณะหนึ่งลักษณะใด ดังต่อไปนี้ ลักษณะ ๑ กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือโดย ประกาศพระบรมราชโองการ ลักษณะ ๒ กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยประธานรัฐสภา โดยประธานสภาผู้แทน ราษฎร โดยประธานวุฒิสภา โดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยรัฐมนตรีเจ้าสังกัดซึ่งได้รับอนุมัติจาก คณะรัฐมนตรี" ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี +----------------------------------------------------------------------------------------------------+ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไข เพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๒๓ เพื่อกำหนดให้คณะกรรมการและ คณะอนุกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยประธานรัฐสภาโดยประธานสภาผู้แทนราษฎร และโดย ประธานวุฒิสภาได้รับเบี้ยประชุมตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราช กฤษฎีกานี้ [รก. ๒๕๓๗/๖๔ก./๒๐/๓๑/๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๗]
675176
พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2535 (ฉบับ Update ณ วันที่ 14/09/2535)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา การจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ (๒) พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๖ บรรดากฎ ข้อบังคับ และระเบียบอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชกฤษฎีกานี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ใช้พระราชกฤษฎีกานี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “เงินเดือน” หมายความว่า เงินเดือนและเงินอื่นที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน “เงินปี” หมายความว่า เงินที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายปีจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนของสำนักพระราชวัง “บำเหน็จ” หมายความว่า บำเหน็จตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และหมายความรวมถึงเงินทดแทนข้าราชการวิสามัญตามระเบียบกระทรวงการคลังด้วย “บำนาญ” หมายความว่า บำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และหมายความรวมถึงเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมด้วย “ข้าราชการ” หมายความว่า บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน “ปี” หมายความว่า ปีงบประมาณ มาตรา ๕ การเบิกจ่ายเงินเดือน เงินปี และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน ให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ลักษณะ ๑ เงินเดือนและเงินอื่นที่จ่ายในลักษณะเงินเดือน หมวด ๑ การถือจ่ายเงินเดือน มาตรา ๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๘ การจ่ายเงินเดือนแต่ละปี ให้กระทรวง ทบวง กรม จ่ายตามบัญชีถือจ่ายเงินเดือนประจำปีที่กรมบัญชีกลางอนุมัติ การปฏิบัติเกี่ยวกับการถือจ่ายเงินเดือน ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘ เมื่อขึ้นปีใหม่ ถ้ากรมบัญชีกลางยังมิได้อนุมัติบัญชีถือจ่ายเงินเดือนประจำปี ให้จ่ายเงินเดือนไปก่อนได้ตามบัญชีถือจ่ายปีที่แล้ว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๙ การจ่ายเงินเดือนของข้าราชการที่ได้เลื่อนเงินเดือนเพราะถึงแก่ความตายเนื่องจากปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้จ่ายจากอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นครองอยู่ หรือเงินเดือนเหลือจ่าย หรือให้โอนเงินหมวดอื่นมาตั้งจ่าย หมวด ๒ การจ่ายเงินเดือน มาตรา ๑๐ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการแต่ละเดือน ให้จ่ายตามบัญชีถือจ่ายเงินเดือนที่กรมบัญชีกลางอนุมัติแล้วตามความในหมวด ๑ มาตรา ๑๑ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเดือนไม่เต็มเดือน ให้จ่ายตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนในเดือนนั้น มาตรา ๑๒ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการกรณีบรรจุใหม่หรือกลับเข้ารับราชการใหม่ ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่เริ่มเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ มาตรา ๑๓ การจ่ายเงินเดือนกรณีที่มีการเลื่อนชั้น เลื่อนระดับ หรือเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่ระบุในคำสั่งของผู้มีอำนาจสั่งเลื่อน มาตรา ๑๔ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ ให้เป็นไปตามคำสั่งของผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ซึ่งต้องระบุด้วยว่าให้ได้รับเงินเดือนในอัตราใด และให้ขาดจากอัตราเงินเดือนเดิมไปรับอัตราเงินเดือนตำแหน่งใหม่หรือให้โอนอัตราเงินเดือนเดิมไปตั้งจ่ายสำหรับตำแหน่งใหม่ตั้งแต่เมื่อใด มาตรา ๑๕ การจ่ายเงินเดือนในกรณีโอนข้าราชการ ให้จ่ายทางสังกัดใหม่และงดจ่ายเงินเดือนทางสังกัดเดิมตั้งแต่วันที่ระบุในคำสั่งของผู้มีอำนาจสั่งโอน ในกรณีที่มีการจ่ายเงินเดือนทางสังกัดเดิมล่วงล้ำไป ให้เบิกเงินเดือนทางสังกัดใหม่ส่งใช้สังกัดเดิมโดยวิธีเบิกหักผลักส่ง แล้วในเจ้าสังกัดใหม่แจ้งการเบิกหักผลักส่งให้เจ้าสังกัดเดิมทราบ ห้ามมิให้เบิกเป็นตัวเงิน มาตรา ๑๖ ข้าราชการที่ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือหนีราชการ ห้ามมิให้จ่ายเงินเดือนสำหรับวันที่ละทิ้งหน้าที่ราชการหรือหนีราชการดังกล่าว ข้าราชการที่มิได้มาปฏิบัติราชการในกรณีอื่น จะมีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือไม่ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเห็นสมควร แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๗ การจ่ายเงินเดือนของผู้ซึ่งถูกลงโทษตัดเงินเดือน ถ้าภายหลังผู้นั้นได้รับการแต่งตั้ง โอน หรือปรับเงินเดือน โดยได้รับเงินเดือนต่างจากเดิมและยังไม่พ้นโทษตัดเงินเดือน ให้คงตัดเงินเดือนต่อไปตามจำนวนเดิม หรือถ้าเป็นกรณีตัดเงินเดือนตามส่วนของเงินเดือน ก็ให้ตัดตามส่วนของเงินเดือนเดิม มาตรา ๑๘ ข้าราชการผู้ใดตายในระหว่างรับราชการ ให้จ่ายเงินเดือนจนถึงวันที่ถึงแก่ความตาย มาตรา ๑๙ การจ่ายเงินเดือนในกรณีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ลาออก ให้จ่ายได้ถึงวันก่อนวันถึงกำหนดลาออก แต่ถ้าถึงกำหนดลาออกแล้วยังไม่ได้รับทราบคำสั่งอนุญาตให้ลาออก และข้าราชการผู้นั้นยังคงรับราชการต่อมา ให้จ่ายได้ถึงวันรับทราบคำสั่ง หรือควรได้รับทราบคำสั่ง (๒) ให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก ให้จ่ายได้ถึงวันก่อนวันที่ระบุในคำสั่ง แต่ถ้ายังไม่ได้รับทราบคำสั่ง และข้าราชการผู้นั้นยังคงรับราชการต่อมาให้จ่ายได้ถึงวันรับทราบคำสั่ง หรือควรได้รับทราบคำสั่ง (๓) ในกรณีตาม (๑) และ (๒) หากจำเป็นต้องส่งมอบงานในหน้าที่ก็ให้จ่ายต่อไปได้จนถึงวันส่งมอบงานเสร็จภายในเวลาอันไม่ชักช้าตามที่ผู้บังคับบัญชาจะกำหนดตามสภาพของงาน แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่ระบุในคำสั่งหรือวันรับทราบคำสั่งหรือควรได้รับทราบคำสั่ง แล้วแต่กรณี (๔) พ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้จ่ายได้ถึงวันสิ้นปี สำหรับกรณีที่ได้รับการต่อเวลาราชการ ให้จ่ายได้ถึงวันครบการต่อเวลาราชการ มาตรา ๒๐ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการประจำเดือน ให้จ่ายในวันทำการสุดท้ายของเดือน สำหรับกรณีที่ต้องเบิกเงินจากธนาคาร ให้จ่ายในวันทำการสุดท้ายของธนาคารในเดือนนั้น แต่ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะกำหนดวันจ่ายเป็นอย่างอื่นก็ได้ หมวด ๓ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และผู้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ มาตรา ๒๑ การจ่ายเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ ให้จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ หรือระเบียบข้อบังคับของกระทรวงกลาโหมที่ได้ทำความตกลงไว้กับกระทรวงการคลัง อัตราเงินเดือนข้าราชการระหว่างพักราชการ ไม่ถือเป็นอัตราว่าง ข้าราชการผู้ใดตายในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถ้าเจ้ากระทรวงหรือผู้มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการหรือตามระเบียบข้อบังคับกระทรวงกลาโหมที่ได้ทำความตกลงไว้กับกระทรวงการคลังให้จ่ายเงินเดือนในระหว่างพักราชการอย่างใดก็ให้จ่ายเงินเดือนตามที่วินิจฉัยนั้นจนถึงวันที่ถึงแก่ความตาย มาตรา ๒๒ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๑ มาใช้บังคับแก่การจ่ายเงินเดือนข้าราชการผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และผู้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษให้ออก ปลดออกหรือไล่ออกด้วย โดยอนุโลม หมวด ๔ การจ่ายเงินช่วยพิเศษในกรณีที่ข้าราชการถึงแก่ความตาย มาตรา ๒๓ ข้าราชการผู้ใดถึงแก่ความตายในระหว่างรับราชการให้จ่ายเงินช่วยพิเศษจำนวนสามเท่าของเงินเดือนเต็มเดือนที่ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธิได้รับในเดือนที่ถึงแก่ความตาย และหากข้าราชการผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษค่าวิชาเงินประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ เงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ และเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการปราบปรามผู้กระทำผิด ให้รวมเงินดังกล่าวกับเงินเดือนเพื่อคำนวณเป็นเงินช่วยพิเศษจำนวนสามเท่าด้วย ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และผู้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเดือนตามมาตรา ๒๑ หรือมาตรา ๒๒ โดยอนุโลม ข้าราชการผู้ใดตายในระหว่างละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือหนีราชการ ห้ามมิให้จ่ายเงินช่วยพิเศษ มาตรา ๒๔ เงินช่วยพิเศษตามมาตรา ๒๓ ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งข้าราชการผู้ตายแสดงเจตนาโดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด ถ้าข้าราชการผู้ตายมิได้แสดงเจตนาไว้ตามวรรคหนึ่ง หรือบุคคลซึ่งข้าราชการผู้ตายแสดงเจตนาไว้ตายก่อนข้าราชการผู้ตายหรือก่อนมีการจ่ายเงิน ก็ให้จ่ายแก่บุคคลตามลำดับดังนี้ (๑) คู่สมรส (๒) บุตร (๓) บิดามารดา เมื่อปรากฏว่าบุคคลในลำดับก่อนตามวรรคสองมีชีวิตอยู่ บุคคลในลำดับถัดไปไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษ ถ้าผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษตามความในวรรคสองในลำดับเดียวกันมีหลายคนให้จ่ายให้แก่ผู้ซึ่งบุคคลในลำดับนั้นมอบหมายเป็นหนังสือ หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่จัดการศพ มาตรา ๒๕ การขอรับเงินช่วยพิเศษ ให้กระทำภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ข้าราชการผู้ซึ่งมีสิทธิรับเงินเดือนตาย เว้นแต่กรณีที่ผู้นั้นเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการ ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือผู้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ ระยะเวลาหนึ่งปีให้นับแต่วันที่การถูกสั่งพักราชการ การออกราชการไว้ก่อน หรือการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษสิ้นสุดลง แล้วแต่กรณี มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ทางราชการมีความจำเป็นต้องเข้าจัดการศพข้าราชการผู้ตายเพราะไม่มีผู้ใดเข้าจัดการในเวลาอันสมควร ให้ทางราชการหักค่าใช้จ่ายจากเงินช่วยพิเศษได้เท่าที่จ่ายจริง แล้วมอบส่วนที่เหลือ ถ้ามี ให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับตามมาตรา ๒๔ หมวด ๕ การจ่ายเงินเดือนระหว่างลา มาตรา ๒๗ ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ข้าราชการผู้ได้รับอันตราย หรือป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการ ให้ข้าราชการที่ลาป่วย ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ในปีหนึ่งไม่เกินหกสิบวันทำการ แต่ถ้าผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ตำแหน่งอธิบดีหรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไปเห็นสมควรจะให้จ่ายเงินเดือนต่อไปอีกก็ได้ แต่ไม่เกินหกสิบวันทำการ มาตรา ๒๘ ข้าราชการลาเนื่องจากการคลอดบุตร ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกินหกสิบวัน มาตรา ๒๙ ให้ข้าราชการลากิจส่วนตัวโดยได้รับเงินเดือนในปีหนึ่งไม่เกินสี่สิบห้าวันทำการ แต่ในปีที่เริ่มรับราชการ ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกินสิบห้าวันทำการ มาตรา ๓๐ ให้ข้าราชการที่ลาพักผ่อนประจำปีได้รับเงินเดือนระหว่างลาไม่เกินระยะเวลาที่กำหนดในระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ มาตรา ๓๑ ตั้งแต่เริ่มรับราชการ ข้าราชการผู้ใดยังไม่เคยอุปสมบทในพระพุทธศาสนา หรือยังไม่เคยประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย หากประสงค์จะลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ แล้วแต่กรณี ให้ลาโดยได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ทั้งนี้ ต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน มาตรา ๓๒ ข้าราชการซึ่งลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพลให้ได้รับเงินเดือนในระหว่างนั้นได้ แต่ถ้าพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้วไม่รายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติราชการภายในเจ็ดวัน ให้งดจ่ายเงินเดือนหลังจากนั้นไว้จนถึงวันเข้าปฏิบัติราชการ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ตำแหน่งอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไปจะให้จ่ายเงินเดือนระหว่างนั้นต่อไปอีกก็ได้ แต่ไม่เกินสิบห้าวัน มาตรา ๓๓ ข้าราชการซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ให้ได้รับเงินเดือนในระหว่างลาไม่เกินสี่ปี นับแต่วันไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย จนถึงวันก่อนวันมารายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติราชการ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจอนุญาตการลา เห็นสมควรให้ข้าราชการลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยเกินสี่ปี ก็ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ แต่ทั้งนี้ เมื่อรวมทั้งสิ้นจะต้องไม่เกินหกปี มาตรา ๓๔ ข้าราชการที่ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา เว้นแต่อัตราเงินเดือนที่ได้รับจากองค์การระหว่างประเทศต่ำกว่าอัตราเงินเดือนของทางราชการที่ผู้นั้นได้รับอยู่ในขณะนั้น ให้ได้รับเงินเดือนจากทางราชการสมทบ ซึ่งเมื่อรวมกับเงินเดือนจากองค์การระหว่างประเทศแล้วไม่เกินอัตราเงินเดือนของทางราชการที่ข้าราชการผู้นั้นได้รับอยู่ในขณะนั้น มาตรา ๓๕ ข้าราชการที่ลาติดตามคู่สมรส ไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา มาตรา ๓๖ การจ่ายเงินเดือนระหว่างลาของข้าราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม ให้เป็นไปตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม ลักษณะ ๒ เงินปีและเงินประจำตำแหน่ง ที่จ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนของสำนักพระราชวัง มาตรา ๓๗ ผู้มีสิทธิได้รับเงินปีในปีใด ให้จ่ายเงินปีในปีนั้นให้เต็มทั้งปีไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด มาตรา ๓๘ การจ่ายเงินประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประธานองคมนตรี หรือองคมนตรี ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป สำหรับเงินประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้เป็นไปตามอัตราที่คณะรัฐมนตรีกำหนด การจ่ายเงินประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประธานองคมนตรี หรือองคมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ให้จ่ายได้เพียงวันก่อนวันพ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่ถึงแก่ความตาย ให้จ่ายสำหรับเดือนที่ถึงแก่ความตายนั้นให้เต็มเดือน มาตรา ๓๙ การจ่ายเงินประจำตำแหน่งตามมาตรา ๓๘ ให้จ่ายในลักษณะเงินเดือน แต่ไม่ต้องทำบัญชีถือจ่าย ลักษณะ ๓ บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นที่จ่ายในลักษณะบำเหน็จ บำนาญ หมวด ๑ การจ่ายบำเหน็จ บำนาญ มาตรา ๔๐ การจ่ายบำเหน็จหรือบำนาญ ให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้พิจารณาสั่งจ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด การจ่ายบำเหน็จหรือบำนาญในกรณีผู้เคยรับบำนาญอยู่แล้วกลับเข้ารับราชการใหม่ แล้วออกจากราชการครั้งหลังโดยมีสิทธิได้รับบำนาญในครั้งหลังด้วย ถ้าการรับราชการในครั้งก่อนกับครั้งหลังต่างกระทรวง ทบวง กรมกัน ให้รวมจ่ายบำนาญทางส่วนราชการที่ออกจากราชการครั้งหลัง ในกรณีที่มีการลดหรืองดบำนาญในระหว่างเวลาที่ข้าราชการกลับเข้ารับราชการใหม่ และต่อมาออกจากราชการครั้งหลังโดยไม่มีสิทธิได้รับบำนาญ การจ่ายบำนาญที่เคยได้รับอยู่เดิมตั้งแต่วันออกจากราชการครั้งหลังจะจ่ายได้ต่อเมื่อกรมบัญชีกลางสั่งจ่ายให้แล้ว และให้จ่ายทางส่วนราชการเดิมที่จ่ายบำนาญนั้น ในกรณีที่การกลับเข้ารับราชการใหม่เป็นการกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งข้าราชการการเมือง ให้ผู้นั้นมีสิทธิเลือกขอรับบำนาญทางส่วนราชการเดิมที่ผู้นั้นมีสิทธิรับบำนาญมาก่อน หรือทางส่วนราชการที่ออกจากราชการครั้งหลังสุด หรือทางส่วนราชการที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการการเมืองในขณะนั้น[๒] มาตรา ๔๑ บำนาญปกติและบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพ ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันขาดจากอัตราเงินเดือนเป็นต้นไป บำนาญพิเศษในกรณีถึงแก่ความตายหรือสูญหาย ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ถึงแก่ความตาย หรือวันถัดจากวันที่สันนิษฐานว่าถึงแก่ความตายตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี มาตรา ๔๒ ถ้าผู้มีสิทธิรับบำนาญถึงแก่ความตาย ให้จ่ายบำนาญให้จนถึงวันที่ถึงแก่ความตาย นอกจากนี้ ให้จ่ายเงินช่วยพิเศษจำนวนเท่ากับบำนาญรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ถ้ามี) สามเดือน แต่ในกรณีที่ผู้มีสิทธิรับบำนาญที่ถึงแก่ความตายเป็นผู้รับบำนาญตกทอดหรือบำนาญพิเศษในฐานะทายาท ผู้อุปการะ หรือผู้อยู่ในอุปการะ ไม่ให้จ่ายเงินช่วยพิเศษ ให้นำความในมาตรา ๒๔ และมาตรา ๒๕ มาใช้บังคับแก่การจ่ายเงินช่วยพิเศษตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม ในกรณีที่ผู้มีสิทธิรับบำนาญถึงแก่ความตายก่อนที่กรมบัญชีกลางจะสั่งจ่ายบำนาญ ให้นับระยะเวลาเพื่อขอรับเงินช่วยพิเศษตามความในมาตรา ๒๕ ตั้งแต่วันที่กรมบัญชีกลางสั่งจ่ายบำนาญ มาตรา ๔๓ การจ่ายบำนาญประจำเดือน ให้จ่ายในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนสองวันทำการ สำหรับกรณีที่ต้องเบิกเงินจากธนาคาร หรือผู้มีสิทธิรับบำนาญได้รับบำนาญทางธนาคาร ให้จ่ายในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของธนาคารในเดือนนั้นสองวันทำการ แต่ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะกำหนดวันจ่ายเป็นอย่างอื่นก็ได้ มาตรา ๔๔ ผู้รับบำนาญจะต้องแสดงตนหรือส่งใบรับรองการมีชีวิตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จ่ายปีละครั้ง ตามแบบและระยะเวลาที่กรมบัญชีกลางกำหนดและในกรณีที่กรมบัญชีกลางเห็นสมควร จะสั่งให้ผู้รับบำนาญแสดงตนหรือส่งใบรับรองการมีชีวิตในระยะเวลาใด ๆ อีกก็ได้ ผู้รับบำนาญจะรับบำนาญไม่ได้จนกว่าจะได้แสดงตนหรือส่งใบรับรองการมีชีวิตแล้ว มาตรา ๔๔ ทวิ[๓] ให้ผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการการเมืองและเป็นผู้รับบำนาญตามมาตรา ๔๐ ไว้แล้ว มีสิทธิเปลี่ยนส่วนราชการที่จ่ายบำนาญที่เคยได้รับอยู่เดิม โดยอาจเลือกขอรับทางส่วนราชการเดิมที่ผู้นั้นมีสิทธิรับบำนาญมาก่อน หรือทางส่วนราชการที่ผู้นั้นออกจากราชการครั้งหลังสุด หรือทางส่วนราชการที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการการเมืองก็ได้ หมวด ๒ การจ่ายเงินอื่นที่จ่ายในลักษณะบำเหน็จ บำนาญ มาตรา ๔๕ การจ่ายเงินตามกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องในการรบ กฎหมายว่าด้วยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติหน้าที่มนุษยธรรม กฎหมายว่าด้วยบำนาญพิเศษสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน หรือเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน ให้นำความในลักษณะ ๓ หมวด ๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๖ มีบทบัญญัติหลายประการที่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัยและสภาวการณ์ในปัจจุบัน ประกอบกับสิทธิและประโยชน์ของข้าราชการเกี่ยวกับการลาได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกันให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับสิทธิและประโยชน์ของข้าราชการดังกล่าวด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕[๔] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๔๐ แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ กำหนดวิธีปฏิบัติในการรับบำนาญยังไม่สะดวกและไม่เหมาะสมสำหรับผู้ซึ่งรับบำนาญอยู่แล้ว และกลับเข้ารับราชการใหม่ ซึ่งในการรับราชการครั้งหลังสุดเป็นข้าราชการการเมืองและผู้ซึ่งเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการการเมืองและเป็นผู้รับบำนาญอยู่แล้วตามมาตรา ๔๐ โดยที่ผู้มีสิทธิรับบำนาญหรือผู้รับบำนาญอยู่แล้วดังกล่าวมีจำนวนไม่มากนัก และการตรวจสอบเพื่อมิให้มีการจ่ายบำนาญซ้ำซ้อนกันสามารถกระทำได้โดยไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติแต่อย่างใด จึงเห็นควรให้สิทธิแก่บุคคลดังกล่าวที่จะเลือกขอรับบำนาญทางส่วนราชการเดิมที่ผู้นั้นมีสิทธิรับบำนาญมาก่อน หรือทางส่วนราชการที่ออกจากราชการครั้งหลังสุด หรือทางส่วนราชการที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการการเมือง แล้วแต่กรณีได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปณตภร/ผู้จัดทำ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๓๒/หน้า ๒๕/๑ เมษายน ๒๕๓๕ [๒] มาตรา ๔๐ วรรคสี่ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๓] มาตรา ๔๔ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๙๖/หน้า ๑๐/๑๔ กันยายน ๒๕๓๕
739817
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมาตรา ๑๗ อัฏฐแห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๔ และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔ กรรมการร่างกฎหมาย กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ และกรรมการพัฒนากฎหมายให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม ครั้งละ ๕๐๐ บาท อนุกรรมการที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายแต่งตั้งให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม ครั้งละ ๔๐๐ บาท” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕ กรรมการและอนุกรรมการตามมาตรา ๔ ซึ่งมิได้เป็นข้าราชการ ลูกจ้างของทางราชการ หรือพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔ อีกหนึ่งเท่า” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๖ ประธานกรรมการร่างกฎหมาย หัวหน้าคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ประธานกรรมการพัฒนากฎหมาย และประธานอนุกรรมการที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายแต่งตั้ง ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔ อีกหนึ่งในสี่” มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๗ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการร่างกฎหมาย คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย และคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายแต่งตั้ง ตลอดจนเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมายและของที่ประชุมใหญ่กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม โดยมีอัตราเท่ากับกรรมการและอนุกรรมการตามมาตรา ๔” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย และให้กรรมการพัฒนากฎหมายและอนุกรรมการที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายแต่งตั้งได้รับค่าตอบแทนเช่นเดียวกับกรรมการกฤษฎีกา จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยกำหนดให้กรรมการพัฒนากฎหมายและอนุกรรมการที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายแต่งตั้งได้รับเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการร่างกฎหมายและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ และโดยที่พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้กำหนดให้เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์และของที่ประชุมใหญ่กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์เท่านั้นที่ได้รับเบี้ยประชุม จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว โดยกำหนดให้เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย ของคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายแต่งตั้ง ของคณะกรรมการร่างกฎหมาย ตลอดจนเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมายได้รับเบี้ยประชุมด้วยเช่นเดียวกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ผู้จัดทำ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๔/หน้า ๒๔/๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
318497
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2535
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๓๕ ---------------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตาม งบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕" มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ และให้ใช้บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการตามบัญชีหมายเลข ๑ บัญชี หมายเลข ๒ บัญชีหมายเลข ๓ บัญชีหมายเลข ๔ และบัญชีหมายเลข ๕ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ แทน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] +-----------------------------------------------------------------------------------------------------+ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุง อัตราเงินเดือนของข้าราชการทุกประเภท ทำให้อัตราเงินเดือนตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการ ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ ไม่ตรงกับอัตราเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงิน เดือนข้าราชการหมายเลข ๑ ของข้าราชการทุกประเภท ที่ใช้บังคับในปัจจุบัน ประกอบกับอัตรา ค่าเช่าบ้านขั้นสูงสุดตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการดังกล่าวได้กำหนดไว้ไม่เกินเดือนละ ๓,๐๐๐ บาท นั้น ยังไม่เหมาะสม สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราช กฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ ฯ เสียใหม่ ให้ถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตรา พระราชกฤษฎีกานี้ [รก. ๒๕๓๕/๑๐๒/๓๕/๒๔ กันยายน ๒๕๓๕]
301278
พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา การจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะอย่างเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของมาตรา ๔๐ แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ “ในกรณีที่การกลับเข้ารับราชการใหม่เป็นการกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งข้าราชการการเมือง ให้ผู้นั้นมีสิทธิเลือกขอรับบำนาญทางส่วนราชการเดิมที่ผู้นั้นมีสิทธิรับบำนาญมาก่อน หรือทางส่วนราชการที่ออกจากราชการครั้งหลังสุด หรือทางส่วนราชการที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการการเมืองในขณะนั้น” มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔๔ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๔๔ ทวิ ให้ผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการการเมืองและเป็นผู้รับบำนาญตามมาตรา ๔๐ ไว้แล้ว มีสิทธิเปลี่ยนส่วนราชการที่จ่ายบำนาญที่เคยได้รับอยู่เดิม โดยอาจเลือกขอรับทางส่วนราชการเดิมที่ผู้นั้นมีสิทธิรับบำนาญมาก่อน หรือทางส่วนราชการที่ผู้นั้นออกจากราชการครั้งหลังสุด หรือทางส่วนราชการที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการการเมืองก็ได้” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๔๐ แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ กำหนดวิธีปฏิบัติในการรับบำนาญยังไม่สะดวกและไม่เหมาะสมสำหรับผู้ซึ่งรับบำนาญอยู่แล้ว และกลับเข้ารับราชการใหม่ ซึ่งในการรับราชการครั้งหลังสุดเป็นข้าราชการการเมืองและผู้ซึ่งเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการการเมืองและเป็นผู้รับบำนาญอยู่แล้วตามมาตรา ๔๐ โดยที่ผู้มีสิทธิรับบำนาญหรือผู้รับบำนาญอยู่แล้วดังกล่าวมีจำนวนไม่มากนัก และการตรวจสอบเพื่อมิให้มีการจ่ายบำนาญซ้ำซ้อนกันสามารถกระทำได้โดยไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติแต่อย่างใด จึงเห็นควรให้สิทธิแก่บุคคลดังกล่าวที่จะเลือกขอรับบำนาญทางส่วนราชการเดิมที่ผู้นั้นมีสิทธิรับบำนาญมาก่อน หรือทางส่วนราชการที่ออกจากราชการครั้งหลังสุด หรือทางส่วนราชการที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการการเมือง แล้วแต่กรณีได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปณตภร/ปรับปรุง ๓ ตุลาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๙๖/หน้า ๑๐/๑๔ กันยายน ๒๕๓๕
301277
พระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร พ.ศ.2535
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการ เกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร พ.ศ. ๒๕๓๕[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภท ตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร พ.ศ. ๒๕๓๕” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร พ.ศ. ๒๕๒๑ (๒) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ มาตรา ๔ ข้าราชการและลูกจ้างประจำซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือบุตรหรือมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือบุตรตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ สำหรับบุตรที่เกิดก่อนวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๕ อยู่แล้วในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ยังคงมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือบุตรดังกล่าวต่อไปจนกว่าบุตรนั้นจะมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์ หรือมีอายุยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์แต่เป็นผู้บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส หรือตายลงก่อนมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนของข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจแล้ว สมควรยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘๒/หน้า ๑/๓๐ กรกฎาคม ๒๕๓๕
318496
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2535
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๕[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๕” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔ ฉ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ “มาตรา ๔ ฉ ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหมผู้ได้รับหรือ มีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้ว และยังคงได้รับหรือมีสิทธิได้รับอยู่ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญก่อนวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสี่สิบของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญตั้งแต่วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑ ถึงวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละยี่สิบของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญ และ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๓) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญตั้งแต่วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๒ ถึงวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสิบสองของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕ ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ไม่มีสิทธิได้รับ ช.ค.บ. ตามมาตรา ๓ หรือมาตรา ๔ ถ้าเข้ารับราชการหรือกลับเข้ารับราชการหรือเข้าทำงานหรือกลับเข้าทำงานสังกัด ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่น" ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ มีชัย ฤชุพันธุ์ รองนายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มขึ้นจากที่ได้รับอยู่เดิมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และเพื่อให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดบำนาญที่เข้าทำงานหรือกลับเข้าทำงานในรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือองค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญในอัตราที่น้อยยังคงมีสิทธิได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๗๐/หน้า ๑/๑๕ มิถุนายน ๒๕๓๕
301276
พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ.2535
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา การจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ (๒) พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๖ บรรดากฎ ข้อบังคับ และระเบียบอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชกฤษฎีกานี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ใช้พระราชกฤษฎีกานี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “เงินเดือน” หมายความว่า เงินเดือนและเงินอื่นที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน “เงินปี” หมายความว่า เงินที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายปีจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนของสำนักพระราชวัง “บำเหน็จ” หมายความว่า บำเหน็จตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และหมายความรวมถึงเงินทดแทนข้าราชการวิสามัญตามระเบียบกระทรวงการคลังด้วย “บำนาญ” หมายความว่า บำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และหมายความรวมถึงเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมด้วย “ข้าราชการ” หมายความว่า บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน “ปี” หมายความว่า ปีงบประมาณ มาตรา ๕ การเบิกจ่ายเงินเดือน เงินปี และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน ให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ลักษณะ ๑ เงินเดือนและเงินอื่นที่จ่ายในลักษณะเงินเดือน หมวด ๑ การถือจ่ายเงินเดือน มาตรา ๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๘ การจ่ายเงินเดือนแต่ละปี ให้กระทรวง ทบวง กรม จ่ายตามบัญชีถือจ่ายเงินเดือนประจำปีที่กรมบัญชีกลางอนุมัติ การปฏิบัติเกี่ยวกับการถือจ่ายเงินเดือน ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘ เมื่อขึ้นปีใหม่ ถ้ากรมบัญชีกลางยังมิได้อนุมัติบัญชีถือจ่ายเงินเดือนประจำปี ให้จ่ายเงินเดือนไปก่อนได้ตามบัญชีถือจ่ายปีที่แล้ว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๙ การจ่ายเงินเดือนของข้าราชการที่ได้เลื่อนเงินเดือนเพราะถึงแก่ความตายเนื่องจากปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้จ่ายจากอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นครองอยู่ หรือเงินเดือนเหลือจ่าย หรือให้โอนเงินหมวดอื่นมาตั้งจ่าย หมวด ๒ การจ่ายเงินเดือน มาตรา ๑๐ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการแต่ละเดือน ให้จ่ายตามบัญชีถือจ่ายเงินเดือนที่กรมบัญชีกลางอนุมัติแล้วตามความในหมวด ๑ มาตรา ๑๑ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเดือนไม่เต็มเดือน ให้จ่ายตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนในเดือนนั้น มาตรา ๑๒ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการกรณีบรรจุใหม่หรือกลับเข้ารับราชการใหม่ ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่เริ่มเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ มาตรา ๑๓ การจ่ายเงินเดือนกรณีที่มีการเลื่อนชั้น เลื่อนระดับ หรือเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่ระบุในคำสั่งของผู้มีอำนาจสั่งเลื่อน มาตรา ๑๔ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ ให้เป็นไปตามคำสั่งของผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ซึ่งต้องระบุด้วยว่าให้ได้รับเงินเดือนในอัตราใด และให้ขาดจากอัตราเงินเดือนเดิมไปรับอัตราเงินเดือนตำแหน่งใหม่หรือให้โอนอัตราเงินเดือนเดิมไปตั้งจ่ายสำหรับตำแหน่งใหม่ตั้งแต่เมื่อใด มาตรา ๑๕ การจ่ายเงินเดือนในกรณีโอนข้าราชการ ให้จ่ายทางสังกัดใหม่และงดจ่ายเงินเดือนทางสังกัดเดิมตั้งแต่วันที่ระบุในคำสั่งของผู้มีอำนาจสั่งโอน ในกรณีที่มีการจ่ายเงินเดือนทางสังกัดเดิมล่วงล้ำไป ให้เบิกเงินเดือนทางสังกัดใหม่ส่งใช้สังกัดเดิมโดยวิธีเบิกหักผลักส่ง แล้วในเจ้าสังกัดใหม่แจ้งการเบิกหักผลักส่งให้เจ้าสังกัดเดิมทราบ ห้ามมิให้เบิกเป็นตัวเงิน มาตรา ๑๖ ข้าราชการที่ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือหนีราชการ ห้ามมิให้จ่ายเงินเดือนสำหรับวันที่ละทิ้งหน้าที่ราชการหรือหนีราชการดังกล่าว ข้าราชการที่มิได้มาปฏิบัติราชการในกรณีอื่น จะมีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือไม่ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเห็นสมควร แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๗ การจ่ายเงินเดือนของผู้ซึ่งถูกลงโทษตัดเงินเดือน ถ้าภายหลังผู้นั้นได้รับการแต่งตั้ง โอน หรือปรับเงินเดือน โดยได้รับเงินเดือนต่างจากเดิมและยังไม่พ้นโทษตัดเงินเดือน ให้คงตัดเงินเดือนต่อไปตามจำนวนเดิม หรือถ้าเป็นกรณีตัดเงินเดือนตามส่วนของเงินเดือน ก็ให้ตัดตามส่วนของเงินเดือนเดิม มาตรา ๑๘ ข้าราชการผู้ใดตายในระหว่างรับราชการ ให้จ่ายเงินเดือนจนถึงวันที่ถึงแก่ความตาย มาตรา ๑๙ การจ่ายเงินเดือนในกรณีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ลาออก ให้จ่ายได้ถึงวันก่อนวันถึงกำหนดลาออก แต่ถ้าถึงกำหนดลาออกแล้วยังไม่ได้รับทราบคำสั่งอนุญาตให้ลาออก และข้าราชการผู้นั้นยังคงรับราชการต่อมา ให้จ่ายได้ถึงวันรับทราบคำสั่ง หรือควรได้รับทราบคำสั่ง (๒) ให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก ให้จ่ายได้ถึงวันก่อนวันที่ระบุในคำสั่ง แต่ถ้ายังไม่ได้รับทราบคำสั่ง และข้าราชการผู้นั้นยังคงรับราชการต่อมาให้จ่ายได้ถึงวันรับทราบคำสั่ง หรือควรได้รับทราบคำสั่ง (๓) ในกรณีตาม (๑) และ (๒) หากจำเป็นต้องส่งมอบงานในหน้าที่ก็ให้จ่ายต่อไปได้จนถึงวันส่งมอบงานเสร็จภายในเวลาอันไม่ชักช้าตามที่ผู้บังคับบัญชาจะกำหนดตามสภาพของงาน แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่ระบุในคำสั่งหรือวันรับทราบคำสั่งหรือควรได้รับทราบคำสั่ง แล้วแต่กรณี (๔) พ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้จ่ายได้ถึงวันสิ้นปี สำหรับกรณีที่ได้รับการต่อเวลาราชการ ให้จ่ายได้ถึงวันครบการต่อเวลาราชการ มาตรา ๒๐ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการประจำเดือน ให้จ่ายในวันทำการสุดท้ายของเดือน สำหรับกรณีที่ต้องเบิกเงินจากธนาคาร ให้จ่ายในวันทำการสุดท้ายของธนาคารในเดือนนั้น แต่ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะกำหนดวันจ่ายเป็นอย่างอื่นก็ได้ หมวด ๓ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และผู้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ มาตรา ๒๑ การจ่ายเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ ให้จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ หรือระเบียบข้อบังคับของกระทรวงกลาโหมที่ได้ทำความตกลงไว้กับกระทรวงการคลัง อัตราเงินเดือนข้าราชการระหว่างพักราชการ ไม่ถือเป็นอัตราว่าง ข้าราชการผู้ใดตายในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถ้าเจ้ากระทรวงหรือผู้มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการหรือตามระเบียบข้อบังคับกระทรวงกลาโหมที่ได้ทำความตกลงไว้กับกระทรวงการคลังให้จ่ายเงินเดือนในระหว่างพักราชการอย่างใดก็ให้จ่ายเงินเดือนตามที่วินิจฉัยนั้นจนถึงวันที่ถึงแก่ความตาย มาตรา ๒๒ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๑ มาใช้บังคับแก่การจ่ายเงินเดือนข้าราชการผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และผู้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษให้ออก ปลดออกหรือไล่ออกด้วย โดยอนุโลม หมวด ๔ การจ่ายเงินช่วยพิเศษในกรณีที่ข้าราชการถึงแก่ความตาย มาตรา ๒๓ ข้าราชการผู้ใดถึงแก่ความตายในระหว่างรับราชการให้จ่ายเงินช่วยพิเศษจำนวนสามเท่าของเงินเดือนเต็มเดือนที่ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธิได้รับในเดือนที่ถึงแก่ความตาย และหากข้าราชการผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษค่าวิชาเงินประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ เงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ และเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการปราบปรามผู้กระทำผิด ให้รวมเงินดังกล่าวกับเงินเดือนเพื่อคำนวณเป็นเงินช่วยพิเศษจำนวนสามเท่าด้วย ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และผู้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเดือนตามมาตรา ๒๑ หรือมาตรา ๒๒ โดยอนุโลม ข้าราชการผู้ใดตายในระหว่างละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือหนีราชการ ห้ามมิให้จ่ายเงินช่วยพิเศษ มาตรา ๒๔ เงินช่วยพิเศษตามมาตรา ๒๓ ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งข้าราชการผู้ตายแสดงเจตนาโดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด ถ้าข้าราชการผู้ตายมิได้แสดงเจตนาไว้ตามวรรคหนึ่ง หรือบุคคลซึ่งข้าราชการผู้ตายแสดงเจตนาไว้ตายก่อนข้าราชการผู้ตายหรือก่อนมีการจ่ายเงิน ก็ให้จ่ายแก่บุคคลตามลำดับดังนี้ (๑) คู่สมรส (๒) บุตร (๓) บิดามารดา เมื่อปรากฏว่าบุคคลในลำดับก่อนตามวรรคสองมีชีวิตอยู่ บุคคลในลำดับถัดไปไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษ ถ้าผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษตามความในวรรคสองในลำดับเดียวกันมีหลายคนให้จ่ายให้แก่ผู้ซึ่งบุคคลในลำดับนั้นมอบหมายเป็นหนังสือ หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่จัดการศพ มาตรา ๒๕ การขอรับเงินช่วยพิเศษ ให้กระทำภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ข้าราชการผู้ซึ่งมีสิทธิรับเงินเดือนตาย เว้นแต่กรณีที่ผู้นั้นเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการ ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือผู้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ ระยะเวลาหนึ่งปีให้นับแต่วันที่การถูกสั่งพักราชการ การออกราชการไว้ก่อน หรือการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษสิ้นสุดลง แล้วแต่กรณี มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ทางราชการมีความจำเป็นต้องเข้าจัดการศพข้าราชการผู้ตายเพราะไม่มีผู้ใดเข้าจัดการในเวลาอันสมควร ให้ทางราชการหักค่าใช้จ่ายจากเงินช่วยพิเศษได้เท่าที่จ่ายจริง แล้วมอบส่วนที่เหลือ ถ้ามี ให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับตามมาตรา ๒๔ หมวด ๕ การจ่ายเงินเดือนระหว่างลา มาตรา ๒๗ ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ข้าราชการผู้ได้รับอันตราย หรือป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการ ให้ข้าราชการที่ลาป่วย ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ในปีหนึ่งไม่เกินหกสิบวันทำการ แต่ถ้าผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ตำแหน่งอธิบดีหรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไปเห็นสมควรจะให้จ่ายเงินเดือนต่อไปอีกก็ได้ แต่ไม่เกินหกสิบวันทำการ มาตรา ๒๘ ข้าราชการลาเนื่องจากการคลอดบุตร ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกินหกสิบวัน มาตรา ๒๙ ให้ข้าราชการลากิจส่วนตัวโดยได้รับเงินเดือนในปีหนึ่งไม่เกินสี่สิบห้าวันทำการ แต่ในปีที่เริ่มรับราชการ ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกินสิบห้าวันทำการ มาตรา ๓๐ ให้ข้าราชการที่ลาพักผ่อนประจำปีได้รับเงินเดือนระหว่างลาไม่เกินระยะเวลาที่กำหนดในระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ มาตรา ๓๑ ตั้งแต่เริ่มรับราชการ ข้าราชการผู้ใดยังไม่เคยอุปสมบทในพระพุทธศาสนา หรือยังไม่เคยประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย หากประสงค์จะลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ แล้วแต่กรณี ให้ลาโดยได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ทั้งนี้ ต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน มาตรา ๓๒ ข้าราชการซึ่งลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพลให้ได้รับเงินเดือนในระหว่างนั้นได้ แต่ถ้าพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้วไม่รายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติราชการภายในเจ็ดวัน ให้งดจ่ายเงินเดือนหลังจากนั้นไว้จนถึงวันเข้าปฏิบัติราชการ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ตำแหน่งอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไปจะให้จ่ายเงินเดือนระหว่างนั้นต่อไปอีกก็ได้ แต่ไม่เกินสิบห้าวัน มาตรา ๓๓ ข้าราชการซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ให้ได้รับเงินเดือนในระหว่างลาไม่เกินสี่ปี นับแต่วันไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย จนถึงวันก่อนวันมารายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติราชการ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจอนุญาตการลา เห็นสมควรให้ข้าราชการลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยเกินสี่ปี ก็ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ แต่ทั้งนี้ เมื่อรวมทั้งสิ้นจะต้องไม่เกินหกปี มาตรา ๓๔ ข้าราชการที่ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา เว้นแต่อัตราเงินเดือนที่ได้รับจากองค์การระหว่างประเทศต่ำกว่าอัตราเงินเดือนของทางราชการที่ผู้นั้นได้รับอยู่ในขณะนั้น ให้ได้รับเงินเดือนจากทางราชการสมทบ ซึ่งเมื่อรวมกับเงินเดือนจากองค์การระหว่างประเทศแล้วไม่เกินอัตราเงินเดือนของทางราชการที่ข้าราชการผู้นั้นได้รับอยู่ในขณะนั้น มาตรา ๓๕ ข้าราชการที่ลาติดตามคู่สมรส ไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา มาตรา ๓๖ การจ่ายเงินเดือนระหว่างลาของข้าราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม ให้เป็นไปตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม ลักษณะ ๒ เงินปีและเงินประจำตำแหน่ง ที่จ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนของสำนักพระราชวัง มาตรา ๓๗ ผู้มีสิทธิได้รับเงินปีในปีใด ให้จ่ายเงินปีในปีนั้นให้เต็มทั้งปีไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด มาตรา ๓๘ การจ่ายเงินประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประธานองคมนตรี หรือองคมนตรี ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป สำหรับเงินประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้เป็นไปตามอัตราที่คณะรัฐมนตรีกำหนด การจ่ายเงินประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประธานองคมนตรี หรือองคมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ให้จ่ายได้เพียงวันก่อนวันพ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่ถึงแก่ความตาย ให้จ่ายสำหรับเดือนที่ถึงแก่ความตายนั้นให้เต็มเดือน มาตรา ๓๙ การจ่ายเงินประจำตำแหน่งตามมาตรา ๓๘ ให้จ่ายในลักษณะเงินเดือน แต่ไม่ต้องทำบัญชีถือจ่าย ลักษณะ ๓ บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นที่จ่ายในลักษณะบำเหน็จ บำนาญ หมวด ๑ การจ่ายบำเหน็จ บำนาญ มาตรา ๔๐ การจ่ายบำเหน็จหรือบำนาญ ให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้พิจารณาสั่งจ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด การจ่ายบำเหน็จหรือบำนาญในกรณีผู้เคยรับบำนาญอยู่แล้วกลับเข้ารับราชการใหม่ แล้วออกจากราชการครั้งหลังโดยมีสิทธิได้รับบำนาญในครั้งหลังด้วย ถ้าการรับราชการในครั้งก่อนกับครั้งหลังต่างกระทรวง ทบวง กรมกัน ให้รวมจ่ายบำนาญทางส่วนราชการที่ออกจากราชการครั้งหลัง ในกรณีที่มีการลดหรืองดบำนาญในระหว่างเวลาที่ข้าราชการกลับเข้ารับราชการใหม่ และต่อมาออกจากราชการครั้งหลังโดยไม่มีสิทธิได้รับบำนาญ การจ่ายบำนาญที่เคยได้รับอยู่เดิมตั้งแต่วันออกจากราชการครั้งหลังจะจ่ายได้ต่อเมื่อกรมบัญชีกลางสั่งจ่ายให้แล้ว และให้จ่ายทางส่วนราชการเดิมที่จ่ายบำนาญนั้น มาตรา ๔๑ บำนาญปกติและบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพ ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันขาดจากอัตราเงินเดือนเป็นต้นไป บำนาญพิเศษในกรณีถึงแก่ความตายหรือสูญหาย ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ถึงแก่ความตาย หรือวันถัดจากวันที่สันนิษฐานว่าถึงแก่ความตายตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี มาตรา ๔๒ ถ้าผู้มีสิทธิรับบำนาญถึงแก่ความตาย ให้จ่ายบำนาญให้จนถึงวันที่ถึงแก่ความตาย นอกจากนี้ ให้จ่ายเงินช่วยพิเศษจำนวนเท่ากับบำนาญรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ถ้ามี) สามเดือน แต่ในกรณีที่ผู้มีสิทธิรับบำนาญที่ถึงแก่ความตายเป็นผู้รับบำนาญตกทอดหรือบำนาญพิเศษในฐานะทายาท ผู้อุปการะ หรือผู้อยู่ในอุปการะ ไม่ให้จ่ายเงินช่วยพิเศษ ให้นำความในมาตรา ๒๔ และมาตรา ๒๕ มาใช้บังคับแก่การจ่ายเงินช่วยพิเศษตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม ในกรณีที่ผู้มีสิทธิรับบำนาญถึงแก่ความตายก่อนที่กรมบัญชีกลางจะสั่งจ่ายบำนาญ ให้นับระยะเวลาเพื่อขอรับเงินช่วยพิเศษตามความในมาตรา ๒๕ ตั้งแต่วันที่กรมบัญชีกลางสั่งจ่ายบำนาญ มาตรา ๔๓ การจ่ายบำนาญประจำเดือน ให้จ่ายในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนสองวันทำการ สำหรับกรณีที่ต้องเบิกเงินจากธนาคาร หรือผู้มีสิทธิรับบำนาญได้รับบำนาญทางธนาคาร ให้จ่ายในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของธนาคารในเดือนนั้นสองวันทำการ แต่ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะกำหนดวันจ่ายเป็นอย่างอื่นก็ได้ มาตรา ๔๔ ผู้รับบำนาญจะต้องแสดงตนหรือส่งใบรับรองการมีชีวิตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จ่ายปีละครั้ง ตามแบบและระยะเวลาที่กรมบัญชีกลางกำหนดและในกรณีที่กรมบัญชีกลางเห็นสมควร จะสั่งให้ผู้รับบำนาญแสดงตนหรือส่งใบรับรองการมีชีวิตในระยะเวลาใด ๆ อีกก็ได้ ผู้รับบำนาญจะรับบำนาญไม่ได้จนกว่าจะได้แสดงตนหรือส่งใบรับรองการมีชีวิตแล้ว หมวด ๒ การจ่ายเงินอื่นที่จ่ายในลักษณะบำเหน็จ บำนาญ มาตรา ๔๕ การจ่ายเงินตามกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องในการรบ กฎหมายว่าด้วยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติหน้าที่มนุษยธรรม กฎหมายว่าด้วยบำนาญพิเศษสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน หรือเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน ให้นำความในลักษณะ ๓ หมวด ๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๖ มีบทบัญญัติหลายประการที่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัยและสภาวการณ์ในปัจจุบัน ประกอบกับสิทธิและประโยชน์ของข้าราชการเกี่ยวกับการลาได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกันให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับสิทธิและประโยชน์ของข้าราชการดังกล่าวด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปณตภร/ปรับปรุง ๓ ตุลาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๓๒/หน้า ๒๕/๑ เมษายน ๒๕๓๕
301275
พระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ.2535
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา สวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรจัดสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของข้าราชการและลูกจ้างประจำของรัฐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำ แล้วแต่กรณี ของกระทรวง ทบวง กรม เว้นแต่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจ ซึ่งอยู่ในระหว่างเข้ารับการอบรมในสถานศึกษาของกรมตำรวจซึ่งเป็นการอบรมก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการประจำ พลทหารกองประจำการ และลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งมีสัญญาจ้างเฉพาะเป็นราย “โครงการ” หมายความว่า โครงการสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ “ธนาคาร” หมายความว่า ธนาคารอาคารสงเคราะห์ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๔ ให้กรมบัญชีกลางฝากเงินงบประมาณทั้งหมดที่ได้รับในโครงการไว้กับธนาคาร และให้ธนาคารกำหนดดอกเบี้ยสำหรับเงินฝากดังกล่าวในอัตราเดียวกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของส่วนราชการจนกว่าธนาคารจะปล่อยเงินกู้ให้แก่ข้าราชการในการปล่อยเงินกู้ตามโครงการให้แก่ข้าราชการ ให้ธนาคารนำเงินของธนาคารออกให้กู้ทั้งจำนวน อัตราดอกเบี้ยที่ผู้กู้ต้องชำระ ให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังและธนาคารร่วมกันกำหนด มาตรา ๕ เงินกู้ตามโครงการ ข้าราชการจะต้องนำไปใช้เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุดเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย หรือเพื่อปลูกสร้างอาคารที่อยู่อาศัยบนที่ดินของตนเองเท่านั้น มาตรา ๖ ให้กระทรวงการคลังจัดสรรเงินงบประมาณที่ได้รับตามโครงการให้แก่ส่วนราชการต่าง ๆ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๗ ผู้มีสิทธิกู้เงินตามโครงการ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) เป็นข้าราชการซึ่งรับราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี (๒) ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง เว้นแต่อยู่ระหว่างการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรกและทำสัญญากู้เงินนั้นภายในหกเดือนนับแต่วันรับโอนกรรมสิทธิ์หรือวันเข้าอยู่อาศัย แล้วแต่กรณี (๓) ได้รับการคัดเลือกจากส่วนราชการเจ้าสังกัดตามหลักเกณฑ์ที่ส่วนราชการนั้นเห็นสมควรกำหนด ให้ส่วนราชการกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้มีสิทธิกู้เงินตามโครงการโดยคำนึงถึงความจำเป็นและความเดือนร้อนของข้าราชการผู้นั้น ประโยชน์ที่ข้าราชการผู้นั้นกระทำให้แก่ทางราชการ และการใช้จ่ายเงินจากโครงการนี้ให้เกิดประโยชน์แก่ข้าราชการ และส่วนราชการนั้นมากที่สุด มาตรา ๘ ข้าราชการผู้ใดใช้สิทธิกู้เงินตามโครงการแล้ว ไม่มีสิทธิที่จะขอกู้เงินตามโครงการอีก มาตรา ๙ วงเงินที่จะให้ข้าราชการแต่ละรายกู้ตามโครงการนี้ให้เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด และต้องไม่เกินวงเงินดังต่อไปนี้ ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๑ - ๓ หรือเทียบเท่า ไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๔ หรือเทียบเท่า ไม่เกิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๕ หรือเทียบเท่า ไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๖ หรือเทียบเท่า ไม่เกิน ๖๐๐,๐๐๐ บาท ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๗ หรือเทียบเท่า ไม่เกิน ๗๐๐,๐๐๐ บาท ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๘ หรือเทียบเท่า ไม่เกิน ๘๐๐,๐๐๐ บาท ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๙ หรือเทียบเท่า ไม่เกิน ๙๐๐,๐๐๐ บาท ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ - ๑๑ หรือเทียบเท่า ไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท มาตรา ๑๐ ระยะเวลาผ่อนชำระเงินกู้ให้เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง มาตรา ๑๑ ผู้กู้เงินตามโครงการจะต้องชดใช้เงินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้กับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติคืนให้แก่ทางราชการในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) ออกจากราชการไม่ว่าด้วยเหตุใดภายในเจ็ดปีนับแต่วันทำสัญญากู้เงิน (๒) พ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุภายในห้าปีนับแต่วันทำสัญญากู้เงิน การชดใช้เงินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้กับอัตราดอกเบี้ยปกติตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๒ ในกรณีที่ผู้กู้เงินตามโครงการออกจากราชการ (๑) หากผ่อนชำระเงินกู้มาแล้วเป็นเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไป ให้ผู้กู้เงินนั้นมีสิทธิผ่อนชำระเงินกู้ต่อไปโดยเสียดอกเบี้ยในอัตราเดิมตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญากู้เงินตามโครงการ (๒) หากผ่อนชำระเงินกู้มาแล้วเป็นเวลาไม่ถึงสิบปี ไม่ว่าจะเป็นผู้กู้เงินซึ่งจะต้องชดใช้เงินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้กับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติคืนให้แก่ทางราชการตามมาตรา ๑๑ หรือไม่ ให้ผู้กู้เงินนั้นมีสิทธิผ่อนชำระเงินกู้ต่อไปโดยเสียดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกตินับแต่วันถัดจากวันที่ออกจากราชการ มาตรา ๑๓ ในกรณีที่ผู้กู้เงินตามโครงการถึงแก่ความตายก่อนที่จะผ่อนชำระเงินกู้ตามโครงการหมด สิทธิและหน้าที่ของผู้ของกู้เงินตามโครงการจะตกทอดไปยังทายาทเพียงใดให้เป็นตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๔ กรณีตามมาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะกำหนดให้เป็นอย่างอื่นก็ได้ มาตรา ๑๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันข้าราชการและลูกจ้างประจำของรัฐประสบความเดือดร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัยเนื่องจากรายได้น้อยและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงจนข้าราชการและลูกจ้างประจำดังกล่าวไม่สามารถซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้ สมควรจัดสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยเพื่อให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำสามารถซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนและเพื่อเป็นมาตรการในการช่วยแก้ปัญหาการสูญเสียกำลังคนของภาครัฐบาลด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๖๐/๔ มีนาคม ๒๕๓๕
590822
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2523 (ฉบับ Update ณ วันที่ 08/11/2534) (ฉบับที่ 5)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นปีที่ ๓๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ค่ารักษาพยาบาล”[๒] หมายความว่า เงินที่สถานพยาบาลเรียกเก็บในการรักษาพยาบาล ดังนี้ (๑) ค่ายา ค่าเลือด และส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน ค่าน้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน และอื่น ๆ ทำนองเดียวกันที่ใช้ในการบำบัดรักษาโรค (๒) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม (๓) ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์โรค แต่ไม่รวมถึงค่าจ้างผู้พยาบาลพิเศษ ค่าธรรมเนียมพิเศษ และค่าบริการอื่นทำนองเดียวกันที่มีลักษณะเป็นเงินตอบแทนพิเศษ (๔) ค่าห้องและค่าอาหารตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล (๕) ค่าตรวจสุขภาพประจำปี “สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานพยาบาลของทางราชการและสถานพยาบาลของเอกชน “สถานพยาบาลของทางราชการ” หมายความว่า สถานพยาบาลของทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และให้หมายความรวมถึงสถานพยาบาลของกรุงเทพมหานคร รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ สภากาชาดไทย คุรุสภา สมาคมปราบวัณโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและสถานพยาบาลอื่นที่กระทรวงการคลังกำหนด “สถานพยาบาลของเอกชน”[๓] หมายความว่า สถานพยาบาลของเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินยี่สิบห้าเตียง ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล” “บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า (๑) บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นแล้ว (๒) คู่สมรสของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (๓) บิดาหรือมารดาของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล “การรักษาพยาบาล”[๔] หมายความรวมถึง การตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อประโยชน์ทางด้านสาธารณสุข มาตรา ๕ การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ ส่วนวิธีการเบิกจ่ายนั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๖ [๕]ภายใต้บังคับมาตรา ๘ และมาตรา ๑๑ ทวิ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวของตนตามพระราชกฤษฎีกานี้ (๑) ข้าราชการและลูกจ้าประจำซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำของกระทรวง ทบวง กรม (๒) ลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งมีหนังสือสัญญาจ้างที่ได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย และสัญญาจ้างนั้นมิได้ระบุเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลไว้ (๓) ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้ได้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด มาตรา ๗ ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๖ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรได้เพียงคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม ให้นับเรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลัง ทั้งนี้ ไม่ว่าเป็นบุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งใด หรืออยู่ในอำนาจปกครองของตนหรือไม่ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้ใดมีบุตรเกินสามคน และต่อมาบุตรคนหนึ่งคนใดในจำนวนสามคนตามวรรคหนึ่งนั้นตายลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะก็ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรเพิ่มขึ้นอีกเท่าจำนวนบุตรที่ตายนั้นโดยให้นับบุตรคนที่อยู่ในลำดับถัดไปก่อน มาตรา ๗ ทวิ[๖] ผู้มีสิทธิได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ผู้ใดยังไม่มีบุตรหรือมีบุตรที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๗ ยังไม่ถึงสามคน ถ้าต่อมามีบุตรแฝดซึ่งทำให้มีจำนวนบุตรเกินสามคน ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๗ สำหรับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้าย แต่บุตรแฝดดังกล่าวจะต้องเป็นบุตรซึ่งเกิดจากคู่สมรส หรือเป็นบุตรของตนเอง ในกรณีที่หญิงเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ในกรณีที่บุตรคนใดคนหนึ่งของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งตายลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะ ก็ให้ลดจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลลงจนกว่าจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเหลือไม่เกินสามคน และหลังจากนั้น ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลดังกล่าว จึงจะมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นได้ตามมาตรา ๗ วรรคสาม เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ บทบัญญัติที่อ้างถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สามของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้หมายถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๗ ตรี[๗] การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายในกรณีที่ไม่อาจทราบลำดับการเกิดก่อนหลังของบุตรแฝดได้โดยแน่ชัด ให้นับลำดับบุตรแฝดตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘[๘] ข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจซึ่งอยู่ในระหว่างรับการศึกษาอบรมในสถานศึกษาของกรมตำรวจ อันเป็นการศึกษาอบรมก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการประจำ ไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้” มาตรา ๙ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น มีสิทธิหรือได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่นแล้ว ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือบุคคลใดในครอบครัวของผู้นั้นได้รับค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลจากผู้อื่นแล้ว ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ไปก่อนแล้ว ภายหลังได้รับค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลจากบุคคลอื่นมีจำนวนเท่าหรือเกินกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้นำเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับไปนั้นส่งคืน แต่ถ้าเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบุคคลอื่นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้ส่งคืนเท่าจำนวนที่ได้รับจากบุคคลอื่นนั้น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๑[๙] การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอย่างอื่นซึ่งมิใช่เป็นการตรวจสุขภาพประจำปี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตรา ดังนี้ (๑) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการ ทั้งประเภทผู้ป่วยภายนอกหรือผู้ป่วยภายใน ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เต็มจำนวนทีได้จ่ายไปจริง เว้นแต่ (ก) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม ให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด (ข) ค่าห้องและค่าอาหาร ให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด (๒) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของเอกชนประเภทผู้ป่วยภายใน ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ดังนี้ (ก) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม ค่าห้องและค่าอาหาร ให้เบิกได้เช่นเดียวกับผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการ (ข) ค่ารักษาพยาบาลประเภทอื่น ๆ ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่จะต้องไม่เกินสามพันบาทสำหรับระยะเวลาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล ถ้าเข้ารับการรักษาพยาบาลเกินสามสิบวันให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่จะต้องไม่เกินวันละหนึ่งร้อยบาท และในกรณีที่เข้ารับการรักษาพยาบาลหลายครั้งโดยมีระยะห่างกันไม่เกินสิบห้าวัน ให้นับระยะเวลาการเข้ารับการรักษาพยาบาลทุกครั้งรวมเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีที่มีอุบัติเหตุ หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากผู้ป่วยมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้นั้นได้ ถ้าได้เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนอื่น ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตาม (ก) หรือ (ข) ได้” มาตรา ๑๑ ทวิ[๑๐] การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพประจำปีให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตรา ดังนี้ (๑) ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพ ต้องเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ หรือผู้ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (๒) ต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพในสถานพยาบาลของทางราชการ (๓) ค่าตรวจสุขภาพให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด” มาตรา ๑๒[๑๑] ในกรณีที่สถานพยาบาลตามมาตรา ๑๑ ไม่มียาเลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน น้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ออกซิเจน อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคจำหน่าย หรือไม่อาจให้การตรวจทางห้องทดลอง หรือเอ๊กซเรย์แก่ผู้เข้ารักษาพยาบาลได้ เมื่อแพทย์ผู้ตรวจรักษาหรือหัวหน้าสถานพยาบาลของสถานพยาบาลแห่งนั้นลงลายมือชื่อรับรองตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนดแล้ว ก็ให้ผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลซื้อ หรือรับการตรวจทางห้องทดลองหรือเอ็กซเรย์จากสถานที่อื่นซึ่งอยู่ในประเทศไทยแล้วนำมาเบิกได้ตามมาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ ทวิ[๑๒] เมื่อปรากฏว่าสถานพยาบาลของเอกชนใดมีพฤติการณ์ในทางทุจริตร่วมกับผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นในเรื่องการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนดังกล่าวให้กระทรวง ทบวง กรมทราบ เพื่อมิให้เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของเอกชนนั้นอีกต่อไป เว้นแต่จะเป็นกรณีตามข้อเว้นของมาตรา ๑๑ (๒) การแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนตามวรรคหนึ่ง ให้มีผลเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแจ้ง การแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในสถานพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่การแจ้งมีผล มาตรา ๑๒ ตรี[๑๓] ในกรณีที่ข้าราชการตามมาตรา ๖ (๑) ไปมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ หลักเกณฑ์และอัตราของเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของข้าราชการดังกล่าว รวมทั้งคู่สมรสและบุตรซึ่งไปอยู่ในต่างประเทศกับข้าราชการผู้นั้น ขณะที่อยู่ในต่างประเทศ ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๓ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น หากได้รับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในของสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคัลและสถานพยาบาลนั้นเรียกค่ารักษาพยาบาลคาบเกี่ยวถึงวันที่ประราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ได้รับค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๔ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตร ผู้ใดมีบุตรเกินสามคนอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรเหล่านั้นต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๑ กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายเกี่ยวกับการลดอัตราเพิ่มประชากร สมควรกำหนดเกณฑ์ขึ้นใหม่ โดยให้มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรได้เพียงสามคนเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร พ.ศ. ๒๕๒๑ นอกจากนี้ได้กำหนดให้ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลที่ซื้ออุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคสถานที่อื่นแล้ว ให้เบิกค่าซื้ออุปกรณ์นั้นจากทางราชการได้เช่นเดียวกับอวัยวะเทียม ทั้งนี้จำกัดเฉพาะกรณีเมื่อสถานพยาบาลแห่งนั้นไม่มีจำหน่าย นอกจากนั้น ได้แก้ไขอัตราค่าห้องและค่าอาหารที่เคยเบิกได้รวมกันไม่เกินวันละหนึ่งร้อยยี่สิบบาทเป็นให้เบิกได้ตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนดเพื่อให้สามารถแก้ไขได้ตามความเหมาะสมกับภาวะค่าครองชีพ จึงจำเป็นต้องตามพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ มาตรา ๗ ในท้องที่อำเภอหรือเขตใดไม่มีสถานพยาบาลของเอกชน ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินสิบเตียงแต่ไม่เกินยี่สิบห้าเตียงซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ (๑) กรณีที่ท้องที่อำเภอหรือเขตนั้นไม่มีสถานพยาบาลเช่นว่านั้นอีก ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาลของเอกชนอื่น ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีนี้ใช้บังคับให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาได้ (๒) กรณีที่มีอุบัติเหตุ หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากผู้ป่วยมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้นั้นได้ ถ้าได้เข้ารับการักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนอื่น ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ได้ ให้นำมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีการเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ และมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๒ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ มาใช้บังคับแก่สถานพยาบาลตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม ในท้องที่อำเภอหรือเขตวรรคหนึ่ง เมื่อมีการจัดตั้งสถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้แล้วไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่งที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลตามวรรคหนึ่งที่มีอยู่ก่อนวันที่มีการจัดตั้งสถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้โดยได้รับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่มีการจัดตั้งสถานพยาบาลนั้น มาตรา ๘ สิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับโดยได้รับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ วัชศักดิ์/พิมพ์ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ นันท์นภัสร์/จัดทำ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนพิเศษ ๑๗๘/หน้า ๑/๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๒๓ [๒] แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๔ [๓] แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ [๔] เพิ่มโดย พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๔ [๕] แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๔ [๖] มาตรา ๗ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๓ [๗] มาตรา ๗ ตรี เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๓ [๘] มาตรา ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๕ [๙] มาตรา ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๔ [๑๐] มาตรา ๑๑ ทวิ เพิ่มโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๔ [๑๑] มาตรา ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ [๑๒] มาตรา ๑๒ ทวิ เพิ่มโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ [๑๓] มาตรา ๑๒ ตรี เพิ่มโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๕
318495
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2534
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นปีที่ ๔๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ แห่งธรรมนูญแห่งการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๓๔ และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤาฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๘ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๘ ข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจซึ่งอยู่ในระหว่างรับการศึกษาอบรมในสถานศึกษาของกรมตำรวจ อันเป็นการศึกษาอบรมก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการประจำ ไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้” มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๒ ตรี แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ “มาตรา ๑๒ ตรี ในกรณีที่ข้าราชการตามมาตรา ๖ (๑) ไปมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ หลักเกณฑ์และอัตราของเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของข้าราชการดังกล่าว รวมทั้งคู่สมรสและบุตรซึ่งไปอยู่ในต่างประเทศกับข้าราชการผู้นั้น ขณะที่อยู่ในต่างประเทศ ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่เหมาะสม สมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยกำหนดให้กระทรวงการคลังมีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือรักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ รวมทั้งคู่สมรสและบุตรซึ่งไปอยู่ในต่างประเทศกับข้าราชการผู้นั้น จึงจำเป็นต้องตามพระราชกฤษฎีกานี้ วัชศักดิ์/พิมพ์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ นันท์นภัสร์/จัดทำ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนพิเศษ ๑๙๕/หน้า ๓๗/๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
301274
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2534
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นปีที่ ๔๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๓๔ และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๘ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ “มาตรา ๘ ทวิ ภายใต้บังคับมาตรา ๗ มาตรา ๗ ทวิ และ มาตรา ๗ ตรี ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศและมีบุตรศึกษาในประเทศที่ข้าราชการผู้นั้นมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรดังกล่าวได้ตามหลักเกณฑ์ ประเภท หลักสูตรและอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด ในการกำหนดหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกำหนดอายุของบุตรให้ต่ำกว่าเกณฑ์ในบทนิยามคำว่า “บุตร” ตามมาตรา ๔ ได้” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบัน พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรมิได้กำหนดให้ข้าราชการซึ่งรับราชการประจำในต่างประเทศ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในกรณีที่บุตรติดตามไปศึกษาในประเทศที่ข้าราชการผู้นั้นมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ แต่เนื่องจากในบางประเทศที่ไปประจำการไม่มีโรงเรียนท้องถิ่นที่ใช้ภาษาอังกฤษ จึงต้องส่งบุตรเข้าศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ ต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าเล่าเรียนในอัตราสูงมาก ข้าราชการจึงประสบปัญหาไม่สามารถรับภาระดังกล่าวได้ สมควรแก้ไขให้ข้าราชการซึ่งรับราชการประจำในต่างประเทศมีสิทธิรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรได้ด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๓๓/หน้า ๖๒๘/๑ สิงหาคม ๒๕๓๔
301273
พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2534
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นปีที่ ๔๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๒ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ “มาตรา ๑๒ ทวิ เมื่อปรากฏว่าโรงแรมใดเรียกเก็บค่าเช่าที่พักสูงกว่าอัตราที่เรียกเก็บจากบุคคลทั่วไปตามปกติ ออกใบเสร็จรับเงินเกินกว่าจำนวนที่โรงแรมเรียกเก็บ ออกใบเสร็จรับเงินให้โดยผู้เดินทางไปราชการมิได้เข้าพัก หรือมีพฤติการณ์ในทางทุจริตร่วมกับผู้เดินทางไปราชการหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น ในเรื่องการเบิกค่าเช่าที่พักตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้กระทรวงการคลังแจ้งชื่อโรงแรมดังกล่าวให้กระทรวง ทบวง กรม ทราบ เพื่อมิให้เบิกค่าเช่าที่พักของโรงแรมนั้นเป็นเวลาหนึ่งปี และหากกระทำซ้ำอีกก็ให้ระงับการเบิกค่าเช่าที่พักของโรงแรมนั้นโดยเด็ดขาด การแจ้งชื่อโรงแรมตามวรรคหนึ่งให้มีผลเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแจ้ง” มาตรา ๔ ให้ยกเลิก (๒) ของมาตรา ๑๓ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๕ เบี้ยเลี้ยงเดินทางให้เบิกได้ในลักษณะเหมาจ่ายตามจำนวนเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด เว้นแต่การเดินทางในกรณีดังต่อไปนี้ให้เบิกได้ร้อยละหกสิบของจำนวนปกติ (๑) การเดินทางไปราชการในท้องที่ต่างอำเภอในจังหวัดเดียวกันเว้นแต่อำเภอเมืองหรืออำเภอที่กระทรวงการคลังกำหนด (๒) การเดินทางไปราชการในท้องที่อำเภอซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติ หรือการเดินทางไปราชการในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติ” มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๗ การเดินทางไปราชการที่จำต้องพักแรม เว้นแต่การพักแรมซึ่งโดยปกติต้องพักแรมในยานพาหนะ หรือการพักแรมในที่พักแรม ซึ่งทางราชการจัดที่พักไว้ให้แล้ว ให้ผู้เดินทางไปราชการเบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงตามสิทธิที่ตนเองได้รับในการพักอาศัยคนเดียว ทั้งนี้ ตามจำนวนเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด การเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะ ให้ผู้เดินทางไปราชการเบิกค่าเช่าที่พักได้ดังนี้ (๑) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๘ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า ให้พักแรมรวมกันสองคนต่อหนึ่งห้อง โดยให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคู่คนละไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว ถ้าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวแยกพักห้องพักคนเดียวให้เบิกได้อัตราเดียวกัน เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่เหมาะสมจะพักรวมกัน หรือมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว (๒) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว (๓) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะหากมีความจำเป็นต้องใช้สถานที่ในที่เดียวกันกับที่พักเพื่อเป็นที่ประสานงานของคณะหรือกับบุคคลอื่น ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เพิ่มขึ้นสำหรับห้องพักอีกห้องหนึ่งในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว หรือจะเบิกค่าเช่าห้องชุดแทนก็ได้แต่ทั้งนี้ต้องมีอัตราไม่เกินสองเท่าของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว ในกรณีที่เป็นการสมควรกระทรวงการคลังอาจกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งระดับใดหรือตำแหน่งใดเบิกค่าเช่าที่พักเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษได้ สำหรับห้องพักอีกห้องหนึ่งในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว หรือจะเบิกค่าเช่าห้องชุดแทนก็ได้ ในกรณีที่ไม่มีสถานที่พักแรมในท้องที่ปฏิบัติราชการให้เบิกค่าเช่าที่พักในลักษณะเหมาจ่ายวันละไม่เกินหนึ่งร้อยบาท เว้นแต่กรณีที่ผู้เดินทางไปราชการเลือกพักโรงแรมในท้องที่ใกล้เคียง ซึ่งอยู่ในวิสัยจะเดินทางไปปฏิบัติราชการได้สะดวกจะเบิกค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายจริงก็ได้ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการนำบุคคลอื่นที่ไม่มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปพักรวมอยู่ด้วย ให้ผู้เดินทางไปราชการรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนที่เพิ่มขึ้นจากสิทธิที่พึงจะได้รับจากทางราชการ" มาตรา ๗ ให้ยกเลิกมาตรา ๑๙ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ มาตรา ๘ ให้ยกเลิกวรรคสองของมาตรา ๒๐ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในวรรคห้าของมาตรา ๒๒ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การเดินทางไปสอบคัดเลือกหรือรับการคัดเลือก หรือการเดินทางไปราชการในกรณีตามมาตรา ๑๗ วรรคสี่ ผู้เดินทางไปราชการจะเบิกค่าพาหนะรับจ้างตาม (๒) ไม่ได้” มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๗ ค่าพาหนะสำหรับบุคคลในครอบครัว ตามมาตรา ๔ (๑) (๒) และ (๓) ให้เบิกได้ในอัตราเดียวกับผู้เดินทางไปราชการตามมาตรา ๓๓ สำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้เท่ากับข้าราชการในตำแหน่งระดับต่ำสุด ผู้เดินทางไปราชการและบุคคลในครอบครัวให้พักรวมกันสองคนต่อหนึ่งห้องโดยให้เบิกค่าเช่าที่พักในอัตราค่าเช่าห้องพักคู่คนละไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่เหมาะสมจะพักรวมกัน หรือมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้ให้เบิกได้ เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว สำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้เท่ากับข้าราชการในตำแหน่งระดับต่ำสุด ในกรณีที่เดินทางไปถึงท้องที่ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ ถ้าไม่อาจเข้าพักในที่พักอาศัยที่ทางราชการจัดให้หรือบ้านเช้าได้ และผู้บังคับบัญชาดังต่อไปนี้อนุญาตแล้ว ให้เบิกค่าเช่าที่พักสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวได้ไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันไปถึงท้องที่ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ (๑) อธิบดีขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง (๒) หัวหน้าสำนักงานสำหรับราชการบริหารส่วนกลางที่มีสำนักงานอยู่ในส่วนภูมิภาคหรือมีสำนักงานแยกต่างหากจากกระทรวง ทบวง กรม (๓) หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดซึ่งเป็นผู้เบิกเงิน หรือนายอำเภอท้องที่ แล้วแต่กรณี สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องเบิกค่าเช่าที่พักเกินเจ็ดวันต้องได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง” มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔๗ การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ได้แก่ (๑) การเดินทางของผู้รับราชการประจำในประเทศไทยซึ่งเดินทางไปราชการนอกราชอาณาจักร เพื่อปฏิบัติงานการประชุมเจรจาธุรกิจ ดูงาน ตรวจสอบบัญชี หรือปฏิบัติหน้าที่อย่างอื่นเป็นครั้งคราวตามความจำเป็น (๒) การเดินทางของผู้รับราชการประจำในต่างประเทศซึ่งเดินทางไปราชการ ณ ที่ใด ๆ ในต่างประเทศ หรือมายังประเทศไทยเฉพาะเวลาที่เดินทางอยู่นอกราชอาณาจักร เพื่อปฏิบัติงานนอกที่ตั้งสำนักงานในเขตอาณา หรือเขตพื้นที่รับผิดชอบ หรือ (๓) การเดินทางของผู้รับราชการประจำในต่างประเทศซึ่งเดินทางไปช่วยราชการรักษาการในตำแหน่ง หรือรักษาราชการแทนต่างสำนักงานในต่างประเทศเฉพาะเวลาที่ออกเดินทางจากพักซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งเดิมจนถึงที่พักซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ ถ้าผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศหรือจากหน่วยงานใด ๆ ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทางแล้วไม่มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้อีก เวลาที่เดินทางอยู่นอกราชอาณาจักรสำหรับผู้รับราชการประจำในประเทศไทย หมายถึงเวลาตั้งแต่ประทับตราหนังสือเดินทางออกจนถึงเวลาที่ประทับตราหนังสือเดินทางเข้า และสำหรับผู้รับราชการประจำในต่างประเทศ หมายถึงเวลาออกเดินทางจากที่พักประจำในต่างประเทศจนกลับที่พักดังกล่าว แต่ในกรณีที่เดินทางมายังประเทศไทย มิให้รวมเวลาตั้งแต่ประทับตราหนังสือเดินทางเข้าจนถึงเวลาที่ประทับตราหนังสือเดินทางออกจากประเทศไทย ในกรณีการเดินทางของราชการในส่วนราชการที่มีวิธีปฏิบัติในการเดินทางเข้าออกโดยใช้เอกสารอย่างอื่นซึ่งมิใช่หนังสือเดินทาง เวลาที่ถือว่าเป็นเวลาเข้าและออกจากประเทศไทยให้เป็นไปตามวิธีที่ถือปฏิบัตินั้น' มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔๙ เบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวให้เบิกได้ในลักษณะเหมาจ่ายหรือเท่าที่จ่ายจริงตามจำนวนเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวจะเลือกเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางในลักษณะเหมาจ่าย หรือเท่าที่จ่ายจริงลักษณะใดลักษณะหนึ่งก็ได้ แต่ต้องเลือกเพียงอย่างเดียวตลอดระยะเวลาของการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวนั้นไม่ว่าจะเดินทางไปประเทศเดียวหรือหลายประเทศก็ตาม การเดินทางไปราชการชั่วคราวของผู้รับราชการประจำในต่างประเทศภายในประเทศที่ผู้นั้นประจำอยู่ ให้เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้ในอัตรากึ่งหนึ่ง ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการเจ็บป่วยและจำเป็นต้องพักเพื่อรักษาพยาบาล ให้นำมาตรา ๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม การเดินทางไปราชการของลูกจ้างที่ส่วนราชการในต่างประเทศเป็นผู้จ้าง ให้เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักได้ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด” มาตรา ๑๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๑ ค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงตามจำนวนเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด ให้นำความในมาตรา ๑๗ วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม และวรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม” มาตรา ๑๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๓ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๓ ทวิ ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศในหน้าที่เลขานุการ กับผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาล หรือซึ่งดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา ประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลฎีกา รองประธานวุฒิสภา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรัฐมนตรี ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่ากับที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิก และให้พักแรมในที่เดียวกับผู้บังคับบัญชา โดยเบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงตามสิทธิที่ตนเองได้รับ หรือเบิกในอัตราต่ำสุดของที่พักนั้น แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่าในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชามีหลายคน ให้มีสิทธิเบิกค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักตามวรรคหนึ่งได้เพียงหนึ่งคน ส่วนผู้เดินทางไปราชการในหน้าที่เลขานุการคนอื่น ๆ ให้เบิกค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักได้ตามสิทธิของตน” มาตรา ๑๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๔ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ “มาตรา ๕๔ ทวิ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวใช้สิทธิเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางเท่าที่จ่ายจริง ให้เบิกค่าใช้สอยเบ็ดเตล็ดได้ในลักษณะเหมาจ่ายในอัตราวันละไม่เกินสองร้อยห้าสิบบาท ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวตามวรรคหนึ่งที่มีระยะเวลาการเดินทางตั้งแต่เจ็ดวันขึ้นไป ให้เบิกค่าทำความสะอาดเสื้อผ้าสำหรับระยะเวลาที่เกินเจ็ดวันได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราวันละไม่เกินสองร้อยห้าสิบบาท” มาตรา ๑๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๖ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของคู่สมรสตามมาตรา ๕๕ ให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด” มาตรา ๑๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๖๑ เบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ ให้เบิกได้เฉพาะระยะเวลาระหว่างเดินทาง ในกรณีที่เดินทางไปถึงท้องที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ในต่างประเทศ ถ้าไม่อาจเข้าพักในที่ที่ทางราชการจัดให้หรือบ้านเช่าได้ และผู้บังคับบัญชาซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดี หรือตำแหน่งที่เทียบเท่าขึ้นไปอนุญาตแล้ว ให้เบิกค่าเช่าที่พักสำหรับตนเอง คู่สมรส บุตรอายุไม่เกินยี่สิบห้าปี ซึ่งไม่มีคู่สมรสและอยู่ในความอุปการะที่จะต้องเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศด้วย และผู้ติดตามได้ไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันไปถึงท้องที่ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ ผู้เดินทางไปราชการและบุคคลในครอบครัวตามวรรคสองให้พักรวมกันสองคนต่อหนึ่งห้อง โดยให้เบิกค่าเช่าถูกแล้วพักในอัตราค่าเช่าห้องพักคู่คนละไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่เหมาะสมจะพักรวมกันหรือมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวสำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้เท่ากับข้าราชการในตำแหน่งระดับต่ำสุด ในกรณีมีความจำเป็นต้องเช่าที่พักแรมเกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ ต้องได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง” มาตรา ๑๘ ให้ยกเลิกบัญชี ๑ อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร บัญชี ๒ อัตราค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร และบัญชี ๔ อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง และค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบันขยายตัวและประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น สมควรปรับปรุงอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.๒๕๒๖ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยแก้ไขหลักเกณฑ์การเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการต่างประเทศ ค่าเช่าที่พักทั้งในประเทศและในต่างประเทศให้เป็นไปในลักษณะเท่าที่จ่ายจริงได้ ทั้งนี้ โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณากำหนดจำนวนเงินหรือเงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าว เพื่อความคล่องตัวในการกำหนดอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทาง และค่าเช่าที่พักให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง และสมควรกำหนดมาตรการควบคุมการเบิกค่าเช่าที่พักโดยกำหนดหลักเกณฑ์การเบิกค่าเช่าที่พัก ในกรณีที่มีการเดินทางเป็นหมู่คณะขึ้น และกำหนดมาตรการป้องกันการทุจริตร่วมกับโรงแรมในการเบิกค่าเช่าที่พักขึ้นด้วย สำหรับการเดินทางไปศึกษา ฝึกอบรมหรือสัมมนา และการประชุมสัมมนาที่ส่วนราชการการจัด มิได้มีแต่เพียงรายการค่าใช้จ่ายที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเท่านั้น ทำให้ส่วนราชการไม่อาจเบิกจ่ายส่วนที่มิได้กำหนดไว้และมีลักษณะแตกต่างไป สมควรยกเลิกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพื่อให้ส่วนราชการมีความคล่องตัวในการเบิกจ่าย และผู้เดินทางไปราชการได้รับค่าใช้จ่ายครบถ้วนตามที่ได้จ่ายจริง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๓๑ มกราคม ๒๕๓๔
739811
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2533
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นปีที่ ๔๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔ กรรมการกฤษฎีกาให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม ดังต่อไปนี้ (๑) กรรมการร่างกฎหมาย ครั้งละ ๕๐๐ บาท (๒) กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ครั้งละ ๕๐๐ บาท” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๗ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการประจำคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์แต่ละองค์คณะ และเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของที่ประชุมใหญ่ กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุมโดยมีอัตราเท่ากับกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เบี้ยประชุมกรรมการกฤษฎีกาตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้ใช้มาเป็นเวลานานแล้ว สมควรปรับปรุงอัตราเบี้ยประชุมดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ผู้จัดทำ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๒๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑/๒๓ กรกฎาคม ๒๕๓๓
590820
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2523 (ฉบับ Update ณ วันที่ 07/05/2533) (ฉบับที่ 4)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นปีที่ ๓๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ค่ารักษาพยาบาล”[๒] หมายความว่า เงินที่สถานพยาบาลเรียกเก็บในการรักษาพยาบาล ดังนี้ (๑) ค่ายา ค่าเลือด และส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน ค่าน้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน และอื่น ๆ ทำนองเดียวกันที่ใช้ในการบำบัดรักษาโรค (๒) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม (๓) ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์โรค แต่ไม่รวมถึงค่าจ้างผู้พยาบาลพิเศษ ค่าธรรมเนียมพิเศษ และค่าบริการอื่นทำนองเดียวกันที่มีลักษณะเป็นเงินตอบแทนพิเศษ (๔) ค่าห้องและค่าอาหารตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล (๕) ค่าตรวจสุขภาพประจำปี “สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานพยาบาลของทางราชการและสถานพยาบาลของเอกชน “สถานพยาบาลของทางราชการ” หมายความว่า สถานพยาบาลของทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และให้หมายความรวมถึงสถานพยาบาลของกรุงเทพมหานคร รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ สภากาชาดไทย คุรุสภา สมาคมปราบวัณโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและสถานพยาบาลอื่นที่กระทรวงการคลังกำหนด “สถานพยาบาลของเอกชน”[๓] หมายความว่า สถานพยาบาลของเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินยี่สิบห้าเตียง ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล” “บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า (๑) บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นแล้ว (๒) คู่สมรสของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (๓) บิดาหรือมารดาของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล “การรักษาพยาบาล”[๔] หมายความรวมถึง การตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อประโยชน์ทางด้านสาธารณสุข มาตรา ๕ การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ ส่วนวิธีการเบิกจ่ายนั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๖ [๕]ภายใต้บังคับมาตรา ๘ และมาตรา ๑๑ ทวิ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวของตนตามพระราชกฤษฎีกานี้ (๑) ข้าราชการและลูกจ้าประจำซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำของกระทรวง ทบวง กรม (๒) ลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งมีหนังสือสัญญาจ้างที่ได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย และสัญญาจ้างนั้นมิได้ระบุเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลไว้ (๓) ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้ได้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด มาตรา ๗ ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๖ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรได้เพียงคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม ให้นับเรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลัง ทั้งนี้ ไม่ว่าเป็นบุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งใด หรืออยู่ในอำนาจปกครองของตนหรือไม่ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้ใดมีบุตรเกินสามคน และต่อมาบุตรคนหนึ่งคนใดในจำนวนสามคนตามวรรคหนึ่งนั้นตายลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะก็ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรเพิ่มขึ้นอีกเท่าจำนวนบุตรที่ตายนั้นโดยให้นับบุตรคนที่อยู่ในลำดับถัดไปก่อน มาตรา ๗ ทวิ[๖] ผู้มีสิทธิได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ผู้ใดยังไม่มีบุตรหรือมีบุตรที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๗ ยังไม่ถึงสามคน ถ้าต่อมามีบุตรแฝดซึ่งทำให้มีจำนวนบุตรเกินสามคน ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๗ สำหรับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้าย แต่บุตรแฝดดังกล่าวจะต้องเป็นบุตรซึ่งเกิดจากคู่สมรส หรือเป็นบุตรของตนเอง ในกรณีที่หญิงเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ในกรณีที่บุตรคนใดคนหนึ่งของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งตายลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะ ก็ให้ลดจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลลงจนกว่าจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเหลือไม่เกินสามคน และหลังจากนั้น ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลดังกล่าว จึงจะมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นได้ตามมาตรา ๗ วรรคสาม เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ บทบัญญัติที่อ้างถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สามของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้หมายถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๗ ตรี[๗] การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายในกรณีที่ไม่อาจทราบลำดับการเกิดก่อนหลังของบุตรแฝดได้โดยแน่ชัด ให้นับลำดับบุตรแฝดตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘ บุคคลดังต่อไปนี้ไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ (๑) ผู้ที่มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือในการรักษาพยาบาลตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ (๒) ข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจที่อยู่ในระหว่างรับการศึกษาอบรมในสถานศึกษาของกรมตำรวจ ซึ่งเป็นการศึกษาอบรมก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการประจำ มาตรา ๙ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น มีสิทธิหรือได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่นแล้ว ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือบุคคลใดในครอบครัวของผู้นั้นได้รับค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลจากผู้อื่นแล้ว ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ไปก่อนแล้ว ภายหลังได้รับค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลจากบุคคลอื่นมีจำนวนเท่าหรือเกินกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้นำเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับไปนั้นส่งคืน แต่ถ้าเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบุคคลอื่นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้ส่งคืนเท่าจำนวนที่ได้รับจากบุคคลอื่นนั้น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๑[๘] การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอย่างอื่นซึ่งมิใช่เป็นการตรวจสุขภาพประจำปี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตรา ดังนี้ (๑) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการ ทั้งประเภทผู้ป่วยภายนอกหรือผู้ป่วยภายใน ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เต็มจำนวนทีได้จ่ายไปจริง เว้นแต่ (ก) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม ให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด (ข) ค่าห้องและค่าอาหาร ให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด (๒) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของเอกชนประเภทผู้ป่วยภายใน ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ดังนี้ (ก) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม ค่าห้องและค่าอาหาร ให้เบิกได้เช่นเดียวกับผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการ (ข) ค่ารักษาพยาบาลประเภทอื่น ๆ ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่จะต้องไม่เกินสามพันบาทสำหรับระยะเวลาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล ถ้าเข้ารับการรักษาพยาบาลเกินสามสิบวันให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่จะต้องไม่เกินวันละหนึ่งร้อยบาท และในกรณีที่เข้ารับการรักษาพยาบาลหลายครั้งโดยมีระยะห่างกันไม่เกินสิบห้าวัน ให้นับระยะเวลาการเข้ารับการรักษาพยาบาลทุกครั้งรวมเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีที่มีอุบัติเหตุ หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากผู้ป่วยมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้นั้นได้ ถ้าได้เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนอื่น ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตาม (ก) หรือ (ข) ได้” มาตรา ๑๑ ทวิ[๙] การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพประจำปีให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตรา ดังนี้ (๑) ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพ ต้องเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ หรือผู้ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (๒) ต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพในสถานพยาบาลของทางราชการ (๓) ค่าตรวจสุขภาพให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด” มาตรา ๑๒[๑๐] ในกรณีที่สถานพยาบาลตามมาตรา ๑๑ ไม่มียาเลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน น้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ออกซิเจน อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคจำหน่าย หรือไม่อาจให้การตรวจทางห้องทดลอง หรือเอ๊กซเรย์แก่ผู้เข้ารักษาพยาบาลได้ เมื่อแพทย์ผู้ตรวจรักษาหรือหัวหน้าสถานพยาบาลของสถานพยาบาลแห่งนั้นลงลายมือชื่อรับรองตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนดแล้ว ก็ให้ผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลซื้อ หรือรับการตรวจทางห้องทดลองหรือเอ็กซเรย์จากสถานที่อื่นซึ่งอยู่ในประเทศไทยแล้วนำมาเบิกได้ตามมาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ ทวิ[๑๑] เมื่อปรากฏว่าสถานพยาบาลของเอกชนใดมีพฤติการณ์ในทางทุจริตร่วมกับผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นในเรื่องการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนดังกล่าวให้กระทรวง ทบวง กรมทราบ เพื่อมิให้เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของเอกชนนั้นอีกต่อไป เว้นแต่จะเป็นกรณีตามข้อเว้นของมาตรา ๑๑ (๒) การแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนตามวรรคหนึ่ง ให้มีผลเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแจ้ง การแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในสถานพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่การแจ้งมีผล มาตรา ๑๓ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น หากได้รับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในของสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคัลและสถานพยาบาลนั้นเรียกค่ารักษาพยาบาลคาบเกี่ยวถึงวันที่ประราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ได้รับค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๔ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตร ผู้ใดมีบุตรเกินสามคนอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรเหล่านั้นต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๑ กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายเกี่ยวกับการลดอัตราเพิ่มประชากร สมควรกำหนดเกณฑ์ขึ้นใหม่ โดยให้มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรได้เพียงสามคนเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร พ.ศ. ๒๕๒๑ นอกจากนี้ได้กำหนดให้ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลที่ซื้ออุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคสถานที่อื่นแล้ว ให้เบิกค่าซื้ออุปกรณ์นั้นจากทางราชการได้เช่นเดียวกับอวัยวะเทียม ทั้งนี้จำกัดเฉพาะกรณีเมื่อสถานพยาบาลแห่งนั้นไม่มีจำหน่าย นอกจากนั้น ได้แก้ไขอัตราค่าห้องและค่าอาหารที่เคยเบิกได้รวมกันไม่เกินวันละหนึ่งร้อยยี่สิบบาทเป็นให้เบิกได้ตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนดเพื่อให้สามารถแก้ไขได้ตามความเหมาะสมกับภาวะค่าครองชีพ จึงจำเป็นต้องตามพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ มาตรา ๗ ในท้องที่อำเภอหรือเขตใดไม่มีสถานพยาบาลของเอกชน ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินสิบเตียงแต่ไม่เกินยี่สิบห้าเตียงซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ (๑) กรณีที่ท้องที่อำเภอหรือเขตนั้นไม่มีสถานพยาบาลเช่นว่านั้นอีก ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาลของเอกชนอื่น ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีนี้ใช้บังคับให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาได้ (๒) กรณีที่มีอุบัติเหตุ หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากผู้ป่วยมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้นั้นได้ ถ้าได้เข้ารับการักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนอื่น ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ได้ ให้นำมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีการเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ และมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๒ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ มาใช้บังคับแก่สถานพยาบาลตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม ในท้องที่อำเภอหรือเขตวรรคหนึ่ง เมื่อมีการจัดตั้งสถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้แล้วไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่งที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลตามวรรคหนึ่งที่มีอยู่ก่อนวันที่มีการจัดตั้งสถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้โดยได้รับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่มีการจัดตั้งสถานพยาบาลนั้น มาตรา ๘ สิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับโดยได้รับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ วัชศักดิ์/พิมพ์ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ นันท์นภัสร์/จัดทำ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนพิเศษ ๑๗๘/หน้า ๑/๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๒๓ [๒] แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๔ [๓] แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ [๔] เพิ่มโดย พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๔ [๕] แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๔ [๖] มาตรา ๗ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๓ [๗] มาตรา ๗ ตรี เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๓ [๘] มาตรา ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๔ [๙] มาตรา ๑๑ ทวิ เพิ่มโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๔ [๑๐] มาตรา ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ [๑๑] มาตรา ๑๒ ทวิ เพิ่มโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒
318494
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2533
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๓[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นปีที่ ๔๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภท ตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๓” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔ เบญจ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ “มาตรา ๔ เบญจ ผู้ได้รับบำนาญปกติที่มีเวลาราชการรวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ และได้รับ ช.ค.บ. ตามมาตรา ๓ มาตรา ๔ ทวิ มาตรา ๔ ตรี หรือมาตรา ๔ จัตวา แล้วแต่กรณี อยู่แล้วให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตรา ดังนี้ (๑) ถ้าผู้ที่ได้รับบำนาญปกติมีอายุตั้งแต่เจ็ดสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่ถึงแปดสิบปีบริบูรณ์ และได้รับบำนาญปกติรวมกับ ช.ค.บ. เดือนละไม่ถึงสามพันบาทให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของเงินจำนวนสามพันบาทหักด้วยบำนาญปกติและ ช.ค.บ. ที่ได้รับอยู่ (๒) ถ้าผู้ที่ได้รับบำนาญปกติมีอายุตั้งแต่แปดสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่ถึงเก้าสิบปีบริบูรณ์ และได้รับบำนาญปกติรวมกับ ช.ค.บ. เดือนละไม่ถึงห้าพันบาทให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของเงินจำนวนห้าพันบาทหักด้วยบำนาญปกติและ ช.ค.บ. ที่ได้รับอยู่ (๓) ถ้าผู้ที่ได้รับบำนาญปกติมีอายุตั้งแต่เก้าสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป และได้รับบำนาญปกติรวมกับ ช.ค.บ. เดือนละไม่ถึงหกพันบาทให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของเงินจำนวนหกพันบาทหักด้วยบำนาญปกติและ ช.ค.บ. ที่ได้รับอยู่” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากผู้รับบำนาญปกติซึ่งได้รับราชการมาเป็นเวลานาน ขณะนี้สูงอายุและได้รับเงินบำนาญเป็นจำนวนน้อยไม่เหมาะสมกับสภาวะค่าครองชีพในปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้รับบำนาญปกติซึ่งมีอายุตั้งแต่เจ็ดสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป สมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มขึ้นจากที่ได้รับอยู่เดิมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๒๔๓/หน้า ๕๑๒/๖ ธันวาคม ๒๕๓๓
301272
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2533
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๓ ---------------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นปีที่ ๔๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมและ ค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่า ตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๓" มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกอัตราเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาและอนุกรรมการ ท้ายพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้อัตราเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาและอนุกรรมการ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้แทน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] +----------------------------------------------------------------------------------------------+ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เบี้ยประชุมและ ค่าตอบแทนที่ปรึกษาและอนุกรรมการตามที่กำหนดไว้ในอัตราเบี้ยประชุมและค่าตอบแทน ที่ปรึกษาและอนุกรรมการท้ายพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่ง นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้ใช้มาเป็นเวลานาน จึงไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ ในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงอัตราเบี้ยประชุมดังกล่าวเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกา นี้ [รก. ๒๕๓๓/๒๒๗/๒๐พ./๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๓]
301271
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2533
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๓ ---------------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๓ เป็นปีที่ ๔๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตาม งบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๓" มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๘ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุม กรรมการ พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๘ กรรมการและอนุกรรมการซึ่งมิได้เป็นข้าราชการพนักงานหรือลูกจ้าง ของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือมิได้เป็นพนักงานหรือ ลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าของอัตราเบี้ยประชุมกรรมการและ อนุกรรมการ ซึ่งกำหนดไว้ตามอัตราท้ายพระราชกฤษฎีกานี้" มาตรา ๔ ให้ยกเลิกอัตราเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการท้ายพระราช กฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้อัตราเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้แทน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] +------------------------------------------------------------------------------------------------------+ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เบี้ยประชุมกรรมการ และอนุกรรมการตามที่กำหนดไว้ในอัตราเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการท้ายพระราช กฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้ใช้มาเป็นเวลานาน จึงไม่เหมาะสมกับสภาวะ เศรษฐกิจในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงอัตราเบี้ยประชุมดังกล่าว เสียใหม่ และโดยที่บทบัญญัติ ในมาตรา ๘ ของพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ในส่วนที่เกี่ยวกับการที่กรรมการและอนุกรรมการ ซึ่งจะไม่ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าของอัตราดอกเบี้ยประชุมกรรมการและ อนุกรรมการที่กำหนดไว้ตามอัตราท้ายพระราชกฤษฎีกา ในกรณีที่กรรมการและอนุกรรมการนั้น เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของราชการส่วนท้องถิ่น ยังมีความไม่ชัดเจน สมควรปรับปรุง บทบัญญัติดังกล่าวเสียในคราวเดียวกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ [รก. ๒๕๓๓/๑๗๕/๕พ./๑๗ กันยายน ๒๕๓๓]
318493
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2533
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๓๓ ---------------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๓ เป็นปีที่ ๔๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับ การศึกษาของบุตร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตาม งบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับ การศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓" มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงิน สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรผู้ใดมีบุตรเกินสามคน ถ้าบุตรคนหนึ่งคนใดในจำนวนสามคนตามวรรคหนึ่งตาย กายพิการจนไม่สามารถเล่าเรียนได้ หรือเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถที่มิได้ศึกษาในสถานศึกษาที่มีสิทธิได้รับ เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ก่อนอายุครบ ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ก็ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเพิ่มขึ้นอีกเท่า จำนวนบุตรที่ตาย กายพิการ หรือเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบนั้น โดยให้นับบุตรคนที่อยู่ในลำดับถัดไปก่อน" มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๗ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ในกรณีที่บุตรคนหนึ่งคนใดของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษา ของบุตรดังกล่าวตามวรรคหนึ่งตาย กายพิการ จนไม่สามารถเล่าเรียนได้ หรือเป็นคนไร้ความ สามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถที่มิได้ศึกษาในสถานศึกษาที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับ การศึกษาของบุตร วิกลจริต จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ก่อนมีอายุครบยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ก็ให้ลด จำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรลงจนกว่าจำนวนบุตรที่ได้รับเงิน สวัสดิการดังกล่าวเหลือไม่เกินสามคน และหลังจากนั้น ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการ ศึกษาของบุตรดังกล่าว จึงจะมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเพิ่มขึ้นได้ตาม มาตรา ๗ วรรคสาม" มาตรา ๕ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรผู้ใดมีบุตร ที่กายพิการ หรือเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ วิกลจริต จิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ ตามเกณฑ์ที่กำหนดในวรรคสามของมาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการ เกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ หรือวรรคสองของมาตรา ๗ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้อยู่ แล้วก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการ ศึกษาของบุตรดังกล่าวตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๓๓ เป็นต้นไป ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พงส์ สารสิน รองนายกรัฐมนตรี +--------------------------------------------------------------------------------------------------+ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรได้กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับ การศึกษาของบุตรสามารถเลื่อนบุตรในลำดับถัดไปขึ้นมาใช้สิทธิแทนที่ได้เฉพาะในกรณีที่บุตร คนหนึ่งคนใดในจำนวนสามคนตายก่อนมีอายุครบยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ส่วนในกรณีที่บุตรกายพิการ จนไม่สามารถเล่าเรียนได้ หรือเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ วิกลจริต หรือ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ผู้มีสิทธิกลับไม่สามารถเลื่อนบุตรในลำดับถัดไปขึ้นมาใช้สิทธิแทนที่ ได้ ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรมสมควรกำหนดให้ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิแทนที่ในกรณีดังกล่าวได้ และในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรเกินสามคนอันเป็นผลมาจากการ มีบุตรแฝด สมควรกำหนดให้ลดจำนวนบุตรลงเมื่อมีเหตุดังกล่าวจนเหลือไม่เกินสามคนก่อน จึงจะสามารถเลื่อนบุตรในลำดับถัดไปขึ้นมาใช้สิทธิแทนที่ได้เช่นกรณีปกติ จึงจำเป็นต้องตรา พระราชกฤษฎีกานี้ [รก. ๒๕๓๓/๑๒๑/๑พ./๑๓ กรกฎาคม ๒๕๓๓]
301270
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2533
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๓ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นปีที่ ๔๕ ในรัชการปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๓” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “ค่ารักษาพยาบาล” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ “ค่ารักษาพยาบาล” หมายความว่า เงินที่สถานพยาบาลเรียกเก็บในการรักษาพยาบาล ดังนี้ (๑) ค่ายา ค่าเลือด และส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน ค่าน้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน และอื่น ๆ ทำนองเดียวกันที่ใช้ในการบำบัดรักษาโรค (๒) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม (๓) ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์โรค แต่ไม่รวมถึงค่าจ้างผู้พยาบาลพิเศษ ค่าธรรมเนียมพิเศษ และค่าบริการอื่นทำนองเดียวกันที่มีลักษณะเป็นเงินตอบแทนพิเศษ (๔) ค่าห้องและค่าอาหารตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล (๕) ค่าตรวจสุขภาพประจำปี” มาตรา ๔ ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า “การรักษาพยาบาล” ระหว่างบทนิยามคำว่า “ค่ารักษาพยาบาล” และคำว่า “สถานพยาบาล” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ ดังต่อไปนี้ “ “การรักษาพยาบาล” หมายความรวมถึง การตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อประโยชน์ทางด้านสาธารณสุข” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๖ ภายใต้บังคับมาตรา ๘ และมาตรา ๑๑ ทวิ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวของตนตามพระราชกฤษฎีกานี้ (๑) ข้าราชการและลูกจ้าประจำซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำของกระทรวง ทบวง กรม (๒) ลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งมีหนังสือสัญญาจ้างที่ได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย และสัญญาจ้างนั้นมิได้ระบุเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลไว้ (๓) ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้ได้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด” มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๑ การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอย่างอื่นซึ่งมิใช่เป็นการตรวจสุขภาพประจำปี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตรา ดังนี้ (๑) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการ ทั้งประเภทผู้ป่วยภายนอกหรือผู้ป่วยภายใน ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เต็มจำนวนทีได้จ่ายไปจริง เว้นแต่ (ก) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม ให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด (ข) ค่าห้องและค่าอาหาร ให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด (๒) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของเอกชนประเภทผู้ป่วยภายใน ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ดังนี้ (ก) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม ค่าห้องและค่าอาหาร ให้เบิกได้เช่นเดียวกับผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการ (ข) ค่ารักษาพยาบาลประเภทอื่น ๆ ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่จะต้องไม่เกินสามพันบาทสำหรับระยะเวลาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล ถ้าเข้ารับการรักษาพยาบาลเกินสามสิบวันให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่จะต้องไม่เกินวันละหนึ่งร้อยบาท และในกรณีที่เข้ารับการรักษาพยาบาลหลายครั้งโดยมีระยะห่างกันไม่เกินสิบห้าวัน ให้นับระยะเวลาการเข้ารับการรักษาพยาบาลทุกครั้งรวมเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีที่มีอุบัติเหตุ หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากผู้ป่วยมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้นั้นได้ ถ้าได้เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนอื่น ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตาม (ก) หรือ (ข) ได้” มาตรา ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๑ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ “มาตรา ๑๑ ทวิ การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพประจำปีให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตรา ดังนี้ (๑) ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพ ต้องเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ หรือผู้ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (๒) ต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพในสถานพยาบาลของทางราชการ (๓) ค่าตรวจสุขภาพให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มีการตรวจสุขภาพประจำปีจะทำให้สามารถตรวจพบโรคในระยะเริ่มแรกซึ่งง่ายต่อการรักษาและเสียค่าใช้จ่ายน้อย อันเป็นการประหยัดงบประมาณของรัฐในด้านการสาธารณสุข สมควรกำหนดให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และผู้ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีจากสถานพยาบาลของทางราชการสามารถนำค่าตรวจสุขภาพสำหรับตนเองมาเบิกจากทางราชการได้ และสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การนับระยะเวลาการเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชนในกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลหลายครั้งให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตามพระราชกฤษฎีกานี้ วัชศักดิ์/พิมพ์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ นันท์นภัสร์/จัดทำ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนพิเศษ ๗๕/หน้า ๖/๗ พฤษภาคม ๒๕๓๓
318492
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2533
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ ---------------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๓ เป็นปีที่ ๔๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร และ มาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตาม งบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓" มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้าน ข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ และให้ใช้บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้แทน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี +-----------------------------------------------------------------------------------------------------------+ หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีการประกาศใช้ พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนบัญชี ข. ของข้าราชการประเภทต่าง ๆ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้นไป ซึ่งมีผลให้อัตราเงินเดือนตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการ ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ ไม่ตรงกับอัตราเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือน บัญชี ข. ดังกล่าว สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ ฯ เสียใหม่ให้สอดคล้องกับการใช้บัญชีอัตราเงินเดือน บัญชี ข. ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ [รก. ๒๕๓๓/๕๖/๒๖พ/๙ เมษายน ๒๕๓๓]
301269
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2533
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๓[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นปีที่ ๔๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๓” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔ จัตวา แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ “มาตรา ๔ จัตวา ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้ว ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตรา ดังนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ตามมาตรา ๓ มาตรา ๔ มาตรา ๔ ทวิ หรือมาตรา ๔ ตรี แล้วแต่กรณี อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละร้อยละสิบของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสิบของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มขึ้นจากที่ได้รับอยู่เดิมให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๕๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓/๙ เมษายน ๒๕๓๓
590818
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2523 (ฉบับ Update ณ วันที่ 01/04/2532) (ฉบับที่ 3)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นปีที่ ๓๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ค่ารักษาพยาบาล” หมายความว่า เงินที่สถานพยาบาลเรียกเก็บในการรักษาพยาบาล ดังนี้ (๑) ค่ายา ค่าเลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทนค่าน้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน และอื่น ๆ ทำนองเดียวกันที่ใช้ในการบำบัดโรค (๒) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม (๓) ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์โรค แต่ไม่รวมถึงค่าจ้าง ผู้พยาบาลพิเศษ ค่าธรรมเนียมพิเศษ และค่าบริการอื่นทำนองเดียวกันที่มีลักษณะเป็นเงินตอบแทนพิเศษ (๔) ค่าห้องและค่าอาหารตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล “สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานพยาบาลของทางราชการและสถานพยาบาลของเอกชน “สถานพยาบาลของทางราชการ” หมายความว่า สถานพยาบาลของทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และให้หมายความรวมถึงสถานพยาบาลของกรุงเทพมหานคร รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ สภากาชาดไทย คุรุสภา สมาคมปราบวัณโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและสถานพยาบาลอื่นที่กระทรวงการคลังกำหนด “สถานพยาบาลของเอกชน”[๒] หมายความว่า สถานพยาบาลของเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินยี่สิบห้าเตียง ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล” “บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า (๑) บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นแล้ว (๒) คู่สมรสของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (๓) บิดาหรือมารดาของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล มาตรา ๕ การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ ส่วนวิธีการเบิกจ่ายนั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๖ ภายใต้บังคับมาตรา ๘ ให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวของตน ตามพระราชกฤษฎีกานี้ (๑) ข้าราชการซึ่งได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนของกระทรวง ทบวง กรม (๒) ลูกจ้างประจำซึ่งได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดค่าจ้างประจำของกระทรวง ทบวง กรม (๓) ลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งมีหนังสือสัญญาจ้างที่ได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย และสัญญาจ้างนั้นมิได้ระบุเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลไว้ (๔) ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้ได้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด มาตรา ๗ ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๖ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรได้เพียงคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม ให้นับเรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลัง ทั้งนี้ ไม่ว่าเป็นบุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งใด หรืออยู่ในอำนาจปกครองของตนหรือไม่ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้ใดมีบุตรเกินสามคน และต่อมาบุตรคนหนึ่งคนใดในจำนวนสามคนตามวรรคหนึ่งนั้นตายลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะก็ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรเพิ่มขึ้นอีกเท่าจำนวนบุตรที่ตายนั้นโดยให้นับบุตรคนที่อยู่ในลำดับถัดไปก่อน มาตรา ๗ ทวิ[๓] ผู้มีสิทธิได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ผู้ใดยังไม่มีบุตรหรือมีบุตรที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๗ ยังไม่ถึงสามคน ถ้าต่อมามีบุตรแฝดซึ่งทำให้มีจำนวนบุตรเกินสามคน ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๗ สำหรับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้าย แต่บุตรแฝดดังกล่าวจะต้องเป็นบุตรซึ่งเกิดจากคู่สมรส หรือเป็นบุตรของตนเอง ในกรณีที่หญิงเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ในกรณีที่บุตรคนใดคนหนึ่งของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งตายลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะ ก็ให้ลดจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลลงจนกว่าจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเหลือไม่เกินสามคน และหลังจากนั้น ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลดังกล่าว จึงจะมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นได้ตามมาตรา ๗ วรรคสาม เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ บทบัญญัติที่อ้างถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สามของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้หมายถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๗ ตรี[๔] การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายในกรณีที่ไม่อาจทราบลำดับการเกิดก่อนหลังของบุตรแฝดได้โดยแน่ชัด ให้นับลำดับบุตรแฝดตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘ บุคคลดังต่อไปนี้ไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ (๑) ผู้ที่มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือในการรักษาพยาบาลตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ (๒) ข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจที่อยู่ในระหว่างรับการศึกษาอบรมในสถานศึกษาของกรมตำรวจ ซึ่งเป็นการศึกษาอบรมก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการประจำ มาตรา ๙ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น มีสิทธิหรือได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่นแล้ว ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือบุคคลใดในครอบครัวของผู้นั้นได้รับค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลจากผู้อื่นแล้ว ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ไปก่อนแล้ว ภายหลังได้รับค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลจากบุคคลอื่นมีจำนวนเท่าหรือเกินกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้นำเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับไปนั้นส่งคืน แต่ถ้าเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบุคคลอื่นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้ส่งคืนเท่าจำนวนที่ได้รับจากบุคคลอื่นนั้น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๑ การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราดังนี้ (๑) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการทั้งประเภทผู้ป่วยภายนอกหรือผู้ป่วยภายใน ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง เว้นแต่ (ก) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรครวมทั้งค่าซ่อมแซมให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด (ข) ค่าห้องและค่าอาหารให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด (๒)[๕] ผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลของเอกชนประเภทผู้ป่วยภายใน ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ดังนี้ (ก) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรครวมทั้งค่าซ่อมแซม ค่าห้องและค่าอาหาร ให้เบิกได้เช่นเดียวกับผู้ที่เช้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการ (ข) ค่ารักษาพยาบาลประเภทอื่น ๆ ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่จะต้องไม่เกินสามพันบาทสำหรับระยะเวลาภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล และในกรณีที่เข้ารับการรักษาพยาบาลเกินสามสิบวัน ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่จะต้องไม่เกินวันละหนึ่งร้อยบาท ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีที่มีอุบัติเหตุ หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากผู้ป่วยมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันที่ทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้นั้นได้ ถ้าได้เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนอื่น ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตาม (ก) หรือ (ข) ได้ มาตรา ๑๒[๖] ในกรณีที่สถานพยาบาลตามมาตรา ๑๑ ไม่มียาเลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน น้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ออกซิเจน อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคจำหน่าย หรือไม่อาจให้การตรวจทางห้องทดลอง หรือเอ๊กซเรย์แก่ผู้เข้ารักษาพยาบาลได้ เมื่อแพทย์ผู้ตรวจรักษาหรือหัวหน้าสถานพยาบาลของสถานพยาบาลแห่งนั้นลงลายมือชื่อรับรองตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนดแล้ว ก็ให้ผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลซื้อ หรือรับการตรวจทางห้องทดลองหรือเอ็กซเรย์จากสถานที่อื่นซึ่งอยู่ในประเทศไทยแล้วนำมาเบิกได้ตามมาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ ทวิ[๗] เมื่อปรากฏว่าสถานพยาบาลของเอกชนใดมีพฤติการณ์ในทางทุจริตร่วมกับผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นในเรื่องการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนดังกล่าวให้กระทรวง ทบวง กรมทราบ เพื่อมิให้เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของเอกชนนั้นอีกต่อไป เว้นแต่จะเป็นกรณีตามข้อเว้นของมาตรา ๑๑ (๒) การแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนตามวรรคหนึ่ง ให้มีผลเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแจ้ง การแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในสถานพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่การแจ้งมีผล มาตรา ๑๓ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น หากได้รับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในของสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคัลและสถานพยาบาลนั้นเรียกค่ารักษาพยาบาลคาบเกี่ยวถึงวันที่ประราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ได้รับค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๔ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตร ผู้ใดมีบุตรเกินสามคนอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรเหล่านั้นต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๑ กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายเกี่ยวกับการลดอัตราเพิ่มประชากร สมควรกำหนดเกณฑ์ขึ้นใหม่ โดยให้มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรได้เพียงสามคนเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร พ.ศ. ๒๕๒๑ นอกจากนี้ได้กำหนดให้ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลที่ซื้ออุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคสถานที่อื่นแล้ว ให้เบิกค่าซื้ออุปกรณ์นั้นจากทางราชการได้เช่นเดียวกับอวัยวะเทียม ทั้งนี้จำกัดเฉพาะกรณีเมื่อสถานพยาบาลแห่งนั้นไม่มีจำหน่าย นอกจากนั้น ได้แก้ไขอัตราค่าห้องและค่าอาหารที่เคยเบิกได้รวมกันไม่เกินวันละหนึ่งร้อยยี่สิบบาทเป็นให้เบิกได้ตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนดเพื่อให้สามารถแก้ไขได้ตามความเหมาะสมกับภาวะค่าครองชีพ จึงจำเป็นต้องตามพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ มาตรา ๗ ในท้องที่อำเภอหรือเขตใดไม่มีสถานพยาบาลของเอกชน ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินสิบเตียงแต่ไม่เกินยี่สิบห้าเตียงซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ (๑) กรณีที่ท้องที่อำเภอหรือเขตนั้นไม่มีสถานพยาบาลเช่นว่านั้นอีก ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาลของเอกชนอื่น ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีนี้ใช้บังคับให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาได้ (๒) กรณีที่มีอุบัติเหตุ หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากผู้ป่วยมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้นั้นได้ ถ้าได้เข้ารับการักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนอื่น ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ได้ ให้นำมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีการเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ และมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๒ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ มาใช้บังคับแก่สถานพยาบาลตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม ในท้องที่อำเภอหรือเขตวรรคหนึ่ง เมื่อมีการจัดตั้งสถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้แล้วไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่งที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลตามวรรคหนึ่งที่มีอยู่ก่อนวันที่มีการจัดตั้งสถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้โดยได้รับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่มีการจัดตั้งสถานพยาบาลนั้น มาตรา ๘ สิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับโดยได้รับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ วัชศักดิ์/พิมพ์ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ นันท์นภัสร์/จัดทำ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนพิเศษ ๑๗๘/หน้า ๑/๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๒๓ [๒] แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ [๓] มาตรา ๗ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๓ [๔] มาตรา ๗ ตรี เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๓ [๕] มาตรา ๑๑(๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ [๖] มาตรา ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ [๗] มาตรา ๑๒ ทวิ เพิ่มโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒
301268
พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2532
ตราพระบรมราชโองการ ตราพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2532 ---------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2532 เป็นปีที่ 44 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 3 แห่ง พระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2518 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า `พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2532' มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2531 เป็นต้นไป มาตรา 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 7 ทวิ และมาตรา 7 ตรี แห่งพระราชกฤษฎีกาเงิน สวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร พ.ศ. 2521 `มาตรา 7 ทวิ ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำผู้ใดยังไม่มีบุตรหรือมีบุตรที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือ บุตรตามมาตรา 5 ยังไม่ถึงสามคนถ้าต่อมามีบุตรแฝดซึ่งทำให้มีจำนวนบุตรเกินสามคน ให้ข้าราชการหรือ ลูกจ้างประจำผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือบุตรตามมาตรา 5 สำหรับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้าย แต่บุตร แฝดดังกล่าวจะต้องเป็นบุตรซึ่งเกิดจากคู่สมรส หรือเป็นบุตรของตนเองในกรณีที่หญิงเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงิน ช่วยเหลือบุตร ในกรณีที่บุตรคนใดคนหนึ่งของข้าราชการหรือข้าราชการหรือลูกจ้างประจำดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ตายลงก่อนมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์ ก็ให้ลดจำนวนบุตรที่ได้รับเงินช่วยเหลือบุตรลงจนกว่าจำนวนบุตรที่ ได้รับเงินช่วยเหลือบุตรเหลือไม่เกินสามคนและหลังจากนั้น ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำดังกล่าวจึงมี สิทธิได้รับเงินช่วยเหลือบุตรเพิ่มขึ้นได้ตามมาตรา 6 วรรคสอง เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ บทบัญญัติที่อ้างถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สามของข้าราชการหรือลูกจ้าง ประจำที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือบุตรให้หมายถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายของข้าราชการหรือลูกจ้าง ประจำตามวรรคหนึ่ง มาตรา 7 ตรี การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายในกรณีที่ไม่อาจทราบลำดับการเกิดก่อนหลัง ของบุตรได้โดยแน่ชัด ให้นับลำดับบุตรแฝดตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด' ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี ---------------------------------------------------------------------------- หมายเหตุ:-เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 5 มาตรา 6 และมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร พ.ศ. 2521 ได้กำหนดหลักเกณฑ์และ วิธีการเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือบุตรโดยให้ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือ บุตร มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือดังกล่าวสำหรับบุตรได้เพียงสามคน แต่เนื่องจากในบางกรณีอาจมีบุตรแฝด ทำให้มีจำนวนบุตรเกินสามคนได้โดยที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือไม่มีเจตนา สมควรให้มีสิทธิได้รับเงินช่วย เหลือบุตรในกรณีเช่นนี้ได้ และสมควรแก้ไขปัญหาในการนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้าย ในกรณีที่ไม่อาจ ทราบลำดับการเกิดก่อนหลังของบุตรแฝด โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดด้วย จึง จำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
318491
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รัเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2532
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๒[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นปีที่ ๔๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภท ตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๒” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔ ตรี แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ “มาตรา ๔ ตรี ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาท หรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้ว ในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตรา ดังนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ และ ช.ค.บ. ตามมาตรา ๓ มาตรา ๔ หรือมาตรา ๔ ทวิ แล้วแต่กรณี อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละร้อยละหกของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญ และ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละหกของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มขึ้นจากที่ได้รับอยู่เดิมให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๑/หน้า ๑/๑๗ มกราคม ๒๕๓๒
301267
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2532
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นปีที่ ๔๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๗ ทวิ และมาตรา ๗ ตรี แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ “มาตรา ๗ ทวิ ผู้มีสิทธิได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ผู้ใดยังไม่มีบุตรหรือมีบุตรที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๗ ยังไม่ถึงสามคน ถ้าต่อมามีบุตรแฝดซึ่งทำให้มีจำนวนบุตรเกินสามคน ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๗ สำหรับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้าย แต่บุตรแฝดดังกล่าวจะต้องเป็นบุตรซึ่งเกิดจากคู่สมรส หรือเป็นบุตรของตนเอง ในกรณีที่หญิงเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ในกรณีที่บุตรคนใดคนหนึ่งของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งตายลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะ ก็ให้ลดจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลลงจนกว่าจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเหลือไม่เกินสามคน และหลังจากนั้น ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลดังกล่าว จึงจะมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นได้ตามมาตรา ๗ วรรคสาม เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ บทบัญญัติที่อ้างถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สามของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้หมายถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๗ ตรี การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายในกรณีที่ไม่อาจทราบลำดับการเกิดก่อนหลังของบุตรแฝดได้โดยแน่ชัด ให้นับลำดับบุตรแฝดตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ชาติชาย ชุณหวัณ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการดังกล่าวสำหรับบุตรได้เพียงสามคน แต่เนื่องจากในบางกรณีอาจมีบุตรแฝด ทำให้มีจำนวนบุตรเกินสามคนได้โดยผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการไม่มีเจตนา สมควรให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในกรณีเช่นนี้ได้ และสมควรแก้ไขปัญหาในการนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้าย ในกรณีที่ไม่อาจทราบลำดับการเกิดก่อนหลังของบุตรแฝด โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ วัชศักดิ์/พิมพ์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ นันท์นภัสร์/จัดทำ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนพิเศษ ๕๒/หน้า ๙/๑ เมษายน ๒๕๓๒
301266
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2532
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นปีที่ ๔๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๕) ของบทนิยามคำว่า “สถานศึกษาของทางราชการ” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ “(๕) โรงเรียนในสังกัดส่วนราชการที่กระทรวงการคลังกำหนด” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของบทนิยามคำว่า “สถานศึกษาของเอกชน” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๑) สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนซึ่งจัดหลักสูตรระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า แยกต่างหากจากปริญญาตรี" มาตรา ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๗ ทวิ และมาตรา ๗ ตรี แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ “มาตรา ๗ ทวิ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรผู้ใดยังไม่มีบุตรหรือมีบุตรที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามมาตรา ๗ ยังไม่ถึงสามคน ถ้าต่อมามีบุตรแฝดซึ่งทำให้มีจำนวนบุตรเกินสามคน ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามมาตรา ๗ สำหรับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้าย แต่บุตรแฝดดังกล่าวจะต้องเป็นบุตรซึ่งเกิดจากคู่สมรส หรือเป็นบุตรของตนเองในกรณีที่หญิงเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ในกรณีที่บุตรคนใดคนหนึ่งของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรดังกล่าวตามวรรคหนึ่งตายลงก่อนมีอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์ ก็ให้ลดจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรลงจนกว่าจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการดังกล่าวเหลือไม่เกินสามคนและหลังจากนั้น ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรดังกล่าว จึงจะมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเพิ่มขึ้นได้ตามมาตรา ๗ วรรคสาม เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ บทบัญญัติที่อ้างถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สามของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ให้หมายถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายของผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๗ ตรี การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายในกรณีที่ไม่อาจทราบลำดับการเกิดก่อนหลังของบุตรแฝดได้โดยแน่ชัด ให้นับลำดับบุตรแฝดตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด” มาตรา ๖ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรผู้ใดมีบุตรแฝดตามเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา ๗ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้อยู่แล้วก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรสำหรับบุตรดังกล่าวตั้งแต่ปีการศึกษาที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับเป็นต้นไป มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบทนิยามคำว่า “สถานศึกษาของทางราชการ” และ “สถานศึกษาของเอกชน” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ ยังไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน เพราะมิได้ครอบคลุมถึงสถานศึกษาบางแห่งของทางราชการ และสถานศึกษาประเภทมหาวิทยาลัยและสถาบันตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ซึ่งได้มีการจัดตั้งขึ้นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และโดยที่มาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการดังกล่าวสำหรับบุตรได้เพียงสามคน แต่เนื่องจากในบางกรณีอาจมีบุตรแฝด ทำให้มีจำนวนบุตรเกินสามคนได้โดยที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการไม่มีเจตนา สมควรให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในกรณีดังกล่าวได้ และสมควรแก้ไขปัญหาในการนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้าย ในกรณีที่ไม่อาจทราบลำดับการเกิดก่อนหลังของบุตรแฝด โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๕๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๔/๑ เมษายน ๒๕๓๒
301265
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2532
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ ---------------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๒ เป็นปีที่ ๔๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตาม งบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒" มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกาค่า เช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ และให้ใช้บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกา นี้แทน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] +-------------------------------------------------------------------------------------------------------+ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีการประกาศใช้ พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บัญชีเงินเดือนบัญชี ก. ของข้าราชการประเภทต่าง ๆ เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ซึ่งมีผลทำให้อัตราเงินเดือนตามบัญชี ก. ไม่ตรงกับอัตราเงินเดือนตามบัญชีอัตรา ค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ สมควรปรับปรุง บัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้สอดคล้องกับอัตราเงินเดือน ตามบัญชี ก. จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ [รก. ๒๕๓๒/๗๔/๑พ./๘ พฤษภาคม ๒๕๓๒]
318490
พระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว พ.ศ.2531
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการ เกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว พ.ศ. ๒๕๓๑[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นปีที่ ๔๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. ๒๕๒๑ และมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว พ.ศ. ๒๕๓๑” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว พ.ศ. ๒๕๒๑ (๒) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๒ (๓) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ (๔) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมแล้ว สมควรยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๒/หน้า ๓๘๘/๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
301264
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2530
ตราพระบรมราชโองการ ตราพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2530 ---------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2530 เป็นปีที่ 42 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศ ว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครอง ชีพชั่วคราว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 3 แห่ง พระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ.2518 มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ.2521 มาตรา 8 แห่งพระพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่าย อัยการ พ.ศ.2521 มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2521 มาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ.2521 และมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการครู พ.ศ.2523 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า `พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครอง ชีพชั่วคราว (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2530' มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2530 เป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า `ข้าราชการ' ในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาเงิน สวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว พ.ศ.2521และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน `ข้าราชการ' หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการตาม กฎหมายว่าด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่าย รัฐสภา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหารตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร และข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่า ครองชีพชั่วคราว พ.ศ.2521 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่า ครองชีพชั่วคราว (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน `มาตรา 5 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 6 และมาตรา 6 ทวิ สิทธิการได้รับ พ.ช.ค. ให้ เป็นดังนี้ (1) ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเดือนละหนึ่งพันสามร้อยยี่ สิบห้าบาท ทั้งนี้ เมื่อหักเงินเบิกลดเนื่องจากการปรับขั้นเงินเดือน (ถ้ามี) ออกแล้ว ให้ได้รับ พ.ช.ค. ในอัตราเดือนละสี่ร้อยยี่สิบสี่บาท (2) ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างตั้งแต่เดือนละหนึ่งพันสามร้อยยี่สิบ ห้าบาท แต่ต่ำกว่าเดือนละหนึ่งพันสามร้อยเก้าสิบห้าบาท ทั้งนี้เมื่อหักเงินเบิกลดเนื่องจากการปรับชั้นเงิน เดือน (ถ้ามี) ออกแล้ว ให้ได้รับ พ.ช.ค.ในอัตราเดือนละสามร้อยห้าสิบสี่บาท (3) ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างตั้งแต่เดือนละหนึ่งพันสามร้อยเก้า สิบห้าบาท แต่ต่ำกว่าเดือนละหนึ่งพันสีร้อยเจ็ดสิบบาท ทั้งนี้ เมื่อหักเงินเบิกลดเนื่องจากการปรับขั้นเงิน เดือน (ถ้ามี) ออกแล้ว ให้ได้รับ พ.ช.ค.ในอัตราเดือนละสองร้อยแปดสิบสี่บาท (4) ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างตั้งแต่เดือนละหนึ่งพันสี่ร้อยเจ็ดสิบ บาท แต่ไม่เกินเดือนละหนึ่งพันเจ็ดร้อยสามสิบบาท ทั้งนี้ เมื่อหักเงินเบิกลดเนื่องจากการปรับขั้นเงินเดือน (ถ้ามี) ออกแล้ว ให้ได้รับ พ.ช.ค.ในอัตราเดือนละสองร้อยเจ็ดสิบบาท (5) ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างสูงกว่าเดือนละหนึ่งพันเจ็ดร้อยสาม สิบบาท แต่ไม่เกินเดือนละสี่พันแปดร้อยบาท ทั้งนี้ เมื่อหักเงินเบิกลดเนื่องจากการปรับชั้นเงินเดือน (ถ้ามี) ออกแล้ว ให้ได้รับ พ.ช.ค. ในอัตราเดือนละสองร้อยบาท การคำนวณอัตราค่าจ้างรายวันหรือรายชั่วโมงเป็นรายเดือนเพื่อประโยชน์ตาม (1) (2) (3) (4) และ (5) ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด' มาตรา 5 ให้ยกเลิกความในมาตรา 6 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่า ครองชีพชั่วคราว พ.ศ.2521 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่า ครองชีพชั่วคราว (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522 และให้ความต่อไปนี้แทน `มาตรา 6 ทวิ ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับ พ.ช.ค.ตามมาตรา 5 แม้ถูกลงโทษตัดเงิน เดือนหรือค่าจ้าง ก็คงให้มีสิทธิได้รับ พ.ช.ค. ในอัตราที่กำหนดไว้สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ ข้าราชการหรือลูกจ้างนั้นเคยได้รับอยู่ก่อนถูกลงโทษ' ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ---------------------------------------------------------------------------- หมายเหตุ:-เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการจ่าย เงินช่วยเหลือเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวให้เหมาะสมกับสภาวะการครองชีพปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตรา พระราชกฤษฎีกานี้
318489
พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2529
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๙ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ เป็นปีที่ ๔๑ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภท ตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๙” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๒ การเดินทางไปราชการโดยปกติให้ใช้ยานพาหนะประจำทาง และให้เบิกค่าพาหนะได้โดยประหยัด ในกรณีที่ไม่มียานพาหนะประจำทาง หรือมีแต่ต้องการความรวดเร็วเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ ให้ใช้ยานพาหนะอื่นได้ แต่ผู้เดินทางจะต้องชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นไว้ในรายงานการเดินทางหรือหลักฐานการขอเบิกเงินค่าพาหนะนั้น ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๖ ขึ้นไปหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า ข้าราชการตุลาการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป ข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ขึ้นไปให้เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้สำหรับกรณีต่อไปนี้ (๑) การเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก หรือสถานที่ปฏิบัติราชการกับสถานียานพาหนะประจำทาง หรือกับสถานที่จัดพาหนะที่ต้องใช้ในการเดินทางไปยังสถานที่ปฏิบัติราชการ ภายในเขตจังหวัดเดียวกัน ถ้าการเดินทางดังกล่าวตาม (๑) ต้องเดินทางข้ามเขตจังหวัดให้เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด (๒) การเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก กับสถานที่ปฏิบัติราชการภายในเขตจังหวัดเดียวกัน วันละไม่เกินสองเที่ยว (๓) การเดินทางไปราชการในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้ซึ่งไม่มีสิทธิเบิกค่าพาหนะตามวรรคสาม ถ้าต้องนำสัมภาระในการเดินทางหรือสิ่งของเครื่องใช้ของทางราชการไปด้วย และเป็นเหตุให้ไม่สะดวกที่จะเดินทางโดยยานพาหนะประจำทาง ให้เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้ การเดินทางไปศึกษา ฝึก อบรม หรือสัมมนา การเดินทางไปสอบคัดเลือกหรือรับการคัดเลือก ผู้เดินทางจะเบิกค่าพาหนะรับจ้างตาม (๒) ไม่ได้” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๒๒ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๖ ขึ้นไปหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าข้าราชการตุลาการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป ข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันโท นาวาโท นาวาอากาศโทขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโทขึ้นไป ในการเบิกค่าพาหนะรับจ้างสำหรับการเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก หรือสถานที่ปฏิบัติราชการกับสถานียานพาหนะประจำทาง หรือกับสถานที่จัดพาหนะที่ต้องใช้ในการเดินทางไปยังสถานที่ปฏิบัติราชการไว้ไม่ชัดเจน สมควรแก้ไขมาตราดังกล่าวให้ชัดเจนเพื่อให้ข้าราชการดังกล่าวเบิกค่าพาหนะรับจ้างได้ สำหรับทั้งกรณีการเดินทางภายในเขตจังหวัดและกรณีการเดินทางข้ามเขตจังหวัดเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๙๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๓ มิถุนายน ๒๕๒๙
590816
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2523 (ฉบับ Update ณ วันที่ 31/12/2528) (ฉบับที่ 2)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นปีที่ ๓๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ค่ารักษาพยาบาล” หมายความว่า เงินที่สถานพยาบาลเรียกเก็บในการรักษาพยาบาล ดังนี้ (๑) ค่ายา ค่าเลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทนค่าน้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน และอื่น ๆ ทำนองเดียวกันที่ใช้ในการบำบัดโรค (๒) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม (๓) ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์โรค แต่ไม่รวมถึงค่าจ้าง ผู้พยาบาลพิเศษ ค่าธรรมเนียมพิเศษ และค่าบริการอื่นทำนองเดียวกันที่มีลักษณะเป็นเงินตอบแทนพิเศษ (๔) ค่าห้องและค่าอาหารตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล “สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานพยาบาลของทางราชการและสถานพยาบาลของเอกชน “สถานพยาบาลของทางราชการ” หมายความว่า สถานพยาบาลของทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และให้หมายความรวมถึงสถานพยาบาลของกรุงเทพมหานคร รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ สภากาชาดไทย คุรุสภา สมาคมปราบวัณโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและสถานพยาบาลอื่นที่กระทรวงการคลังกำหนด “สถานพยาบาลของเอกชน”[๒] หมายความว่า สถานพยาบาลของเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินยี่สิบห้าเตียง ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล” “บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า (๑) บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นแล้ว (๒) คู่สมรสของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (๓) บิดาหรือมารดาของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล มาตรา ๕ การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ ส่วนวิธีการเบิกจ่ายนั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๖ ภายใต้บังคับมาตรา ๘ ให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวของตน ตามพระราชกฤษฎีกานี้ (๑) ข้าราชการซึ่งได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนของกระทรวง ทบวง กรม (๒) ลูกจ้างประจำซึ่งได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดค่าจ้างประจำของกระทรวง ทบวง กรม (๓) ลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งมีหนังสือสัญญาจ้างที่ได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย และสัญญาจ้างนั้นมิได้ระบุเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลไว้ (๔) ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้ได้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด มาตรา ๗ ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๖ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรได้เพียงคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม ให้นับเรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลัง ทั้งนี้ ไม่ว่าเป็นบุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งใด หรืออยู่ในอำนาจปกครองของตนหรือไม่ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้ใดมีบุตรเกินสามคน และต่อมาบุตรคนหนึ่งคนใดในจำนวนสามคนตามวรรคหนึ่งนั้นตายลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะก็ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรเพิ่มขึ้นอีกเท่าจำนวนบุตรที่ตายนั้นโดยให้นับบุตรคนที่อยู่ในลำดับถัดไปก่อน มาตรา ๘ บุคคลดังต่อไปนี้ไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ (๑) ผู้ที่มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือในการรักษาพยาบาลตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ (๒) ข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจที่อยู่ในระหว่างรับการศึกษาอบรมในสถานศึกษาของกรมตำรวจ ซึ่งเป็นการศึกษาอบรมก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการประจำ มาตรา ๙ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น มีสิทธิหรือได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่นแล้ว ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือบุคคลใดในครอบครัวของผู้นั้นได้รับค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลจากผู้อื่นแล้ว ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ไปก่อนแล้ว ภายหลังได้รับค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลจากบุคคลอื่นมีจำนวนเท่าหรือเกินกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้นำเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับไปนั้นส่งคืน แต่ถ้าเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบุคคลอื่นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้ส่งคืนเท่าจำนวนที่ได้รับจากบุคคลอื่นนั้น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๑ การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราดังนี้ (๑) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการทั้งประเภทผู้ป่วยภายนอกหรือผู้ป่วยภายใน ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง เว้นแต่ (ก) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรครวมทั้งค่าซ่อมแซมให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด (ข) ค่าห้องและค่าอาหารให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด (๒)[๓] ผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลของเอกชนประเภทผู้ป่วยภายใน ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ดังนี้ (ก) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรครวมทั้งค่าซ่อมแซม ค่าห้องและค่าอาหาร ให้เบิกได้เช่นเดียวกับผู้ที่เช้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการ (ข) ค่ารักษาพยาบาลประเภทอื่น ๆ ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่จะต้องไม่เกินสามพันบาทสำหรับระยะเวลาภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล และในกรณีที่เข้ารับการรักษาพยาบาลเกินสามสิบวัน ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่จะต้องไม่เกินวันละหนึ่งร้อยบาท ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีที่มีอุบัติเหตุ หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากผู้ป่วยมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันที่ทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้นั้นได้ ถ้าได้เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนอื่น ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตาม (ก) หรือ (ข) ได้ มาตรา ๑๒[๔] ในกรณีที่สถานพยาบาลตามมาตรา ๑๑ ไม่มียาเลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน น้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ออกซิเจน อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคจำหน่าย หรือไม่อาจให้การตรวจทางห้องทดลอง หรือเอ๊กซเรย์แก่ผู้เข้ารักษาพยาบาลได้ เมื่อแพทย์ผู้ตรวจรักษาหรือหัวหน้าสถานพยาบาลของสถานพยาบาลแห่งนั้นลงลายมือชื่อรับรองตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนดแล้ว ก็ให้ผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลซื้อ หรือรับการตรวจทางห้องทดลองหรือเอ็กซเรย์จากสถานที่อื่นซึ่งอยู่ในประเทศไทยแล้วนำมาเบิกได้ตามมาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ ทวิ[๕] เมื่อปรากฏว่าสถานพยาบาลของเอกชนใดมีพฤติการณ์ในทางทุจริตร่วมกับผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นในเรื่องการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนดังกล่าวให้กระทรวง ทบวง กรมทราบ เพื่อมิให้เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของเอกชนนั้นอีกต่อไป เว้นแต่จะเป็นกรณีตามข้อเว้นของมาตรา ๑๑ (๒) การแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนตามวรรคหนึ่ง ให้มีผลเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแจ้ง การแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในสถานพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่การแจ้งมีผล มาตรา ๑๓ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น หากได้รับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในของสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคัลและสถานพยาบาลนั้นเรียกค่ารักษาพยาบาลคาบเกี่ยวถึงวันที่ประราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ได้รับค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๔ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตร ผู้ใดมีบุตรเกินสามคนอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรเหล่านั้นต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๑ กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายเกี่ยวกับการลดอัตราเพิ่มประชากร สมควรกำหนดเกณฑ์ขึ้นใหม่ โดยให้มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรได้เพียงสามคนเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร พ.ศ. ๒๕๒๑ นอกจากนี้ได้กำหนดให้ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลที่ซื้ออุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคสถานที่อื่นแล้ว ให้เบิกค่าซื้ออุปกรณ์นั้นจากทางราชการได้เช่นเดียวกับอวัยวะเทียม ทั้งนี้จำกัดเฉพาะกรณีเมื่อสถานพยาบาลแห่งนั้นไม่มีจำหน่าย นอกจากนั้น ได้แก้ไขอัตราค่าห้องและค่าอาหารที่เคยเบิกได้รวมกันไม่เกินวันละหนึ่งร้อยยี่สิบบาทเป็นให้เบิกได้ตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนดเพื่อให้สามารถแก้ไขได้ตามความเหมาะสมกับภาวะค่าครองชีพ จึงจำเป็นต้องตามพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ มาตรา ๗ ในท้องที่อำเภอหรือเขตใดไม่มีสถานพยาบาลของเอกชน ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินสิบเตียงแต่ไม่เกินยี่สิบห้าเตียงซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ (๑) กรณีที่ท้องที่อำเภอหรือเขตนั้นไม่มีสถานพยาบาลเช่นว่านั้นอีก ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาลของเอกชนอื่น ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีนี้ใช้บังคับให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาได้ (๒) กรณีที่มีอุบัติเหตุ หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากผู้ป่วยมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้นั้นได้ ถ้าได้เข้ารับการักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนอื่น ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ได้ ให้นำมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีการเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ และมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๒ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ มาใช้บังคับแก่สถานพยาบาลตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม ในท้องที่อำเภอหรือเขตวรรคหนึ่ง เมื่อมีการจัดตั้งสถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้แล้วไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่งที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลตามวรรคหนึ่งที่มีอยู่ก่อนวันที่มีการจัดตั้งสถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้โดยได้รับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่มีการจัดตั้งสถานพยาบาลนั้น มาตรา ๘ สิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับโดยได้รับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ วัชศักดิ์/พิมพ์ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ นันท์นภัสร์/จัดทำ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนพิเศษ ๑๗๘/หน้า ๑/๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๒๓ [๒] แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ [๓] มาตรา ๑๑(๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ [๔] มาตรา ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒ [๕] มาตรา ๑๒ ทวิ เพิ่มโดย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฉบับที่ ๒
301263
พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2528
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๘[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นปีที่ ๔๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๘” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบัญชี ๔ อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว และบัญชี ๕ อัตราค่าเครื่องแต่งตัวไปรับราชการประจำในต่างประเทศท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ และให้ใช้บัญชี ๔ และบัญชี ๕ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้แทน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี บัญชี ๔ อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ผู้ดำรงตำแหน่งหรือชั้นยศ ประเภท ก. บาทต่อวัน ประเภท ข. บาทต่อวัน เบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก เบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ตำแหน่งระดับ ๕ ลงมาหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือน ชั้น ๑ ดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรีลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจตรีลงมา ๖๐๐ ๘๕๐ ๕๕๐ ๗๕๐ ตำแหน่งระดับ ๖ ถึงระดับ ๘ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ถึงชั้น ๓ หรือข้าราชการอัยการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ถึงชั้น ๓ หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ถึงพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกพิเศษ อันดับ ๑ หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ถึงพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ อันดับ ๑ ๗๕๐ ๑,๑๐๐ ๖๐๐ ๙๐๐ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไปหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกพิเศษ อันดับ ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ อันดับ ๒ ขึ้นไป ๙๕๐ ๑,๔๕๐ ๘๕๐ ๑,๑๐๐ ประธานศาลฎีกา ประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรัฐมนตรี ๑,๒๐๐ ๑,๖๕๐ ๙๕๐ ๑,๔๕๐ หมายเหตุ ๑. ประเภท ก. ได้แก่ประเทศในทวีปยุโรป อเมริกาเหนือและใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ คูเวต ซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน และอิรัก ๒. ประเภท ข. ได้แก่ประเทศอื่น ๆ นอกจากที่กำหนดในประเภท ก. ๓. ในกรณีที่เดินทางในวันหนึ่งวันใดคาบเกี่ยวหลายประเทศ ให้ใช้สิทธิเบิกตามประเภทที่สูงกว่าได้ บัญชี ๕ อัตราค่าเครื่องแต่งตัวไปรับราชการประจำในต่างประเทศ ลำดับที่ ตำแหน่ง ประเภท ก. ประเภท ข. ๑ เจ้าหน้าที่การทูตระดับ ๕ ลงมา ภริยา หรือสามี บุตร คนละ ๓๒,๙๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๖,๕๐๐ ๒๓,๕๐๐ ๑๔,๑๐๐ ๔,๒๐๐ ๒ เจ้าหน้าที่การทูตระดับ ๖ ถึงระดับ ๙ ภริยา หรือสามี บุตร คนละ ๓๗,๖๐๐ ๒๑,๒๐๐ ๗,๑๐๐ ๒๘,๒๐๐ ๑๗,๗๐๐ ๔,๗๐๐ ๓ เจ้าหน้าที่การทูตระดับ ๑๐ ภริยา หรือสามี บุตร คนละ ๕๒,๙๐๐ ๒๔,๗๐๐ ๙,๔๐๐ ๓๒,๙๐๐ ๑๘,๘๐๐ ๗,๑๐๐ หมายเหตุ ๑. ประเภท ก. ได้แก่ประเทศอื่น ๆ นอกจากที่กำหนดในประเภท ข. ๒. ประเภท ข. ได้แก่ประเทศสาธารณะรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กัมพูชาประชาธิปไตย สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า มาเลเซีย สาธารณรัฐศรีลังกา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และบรูไน ๓. เจ้าหน้าที่การทูตระดับ ๕ ขึ้นไป ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องแต่งตัวราตรีสโมสร (white tie) หรือเครื่องแต่งตัวมอร์นิ่งโค้ต เพราะมีหน้าที่ต้องเข้างานพิธีต่าง ๆ และตามประเพณีของประเทศนั้น จำต้องแต่งตัวแบบเช่นว่านั้น รัฐมนตรีเจ้าสังกัดจะอนุมัติให้เบิกค่าเครื่องแต่งตัวดังกล่าวอย่างละ ๑ ชุดเพิ่มขึ้นอีกต่างหากก็ได้ เท่าที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกินชุดละ ๙,๔๐๐ บาท หมายเหตุ :- เหตุผลในการประการใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากทางราชการได้ประกาศปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งมีผลทำให้ค่าใช้จ่ายที่ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศได้รับเป็นเงินบาท เพื่อเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ตามบัญชี ๔ และค่าเครื่องแต่งตัวไปรับราชการประจำในต่างประเทศตามบัญชี ๕ ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ มีมูลค่าลดน้อยลง เมื่อคิดเทียบเป็นเงินตราต่างประเทศ อันมีผลทำให้ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว และผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศได้รับความเดือดร้อน ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของผู้เดินทางดังกล่าวอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา สมควรปรับปรุงอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ตามบัญชี ๔ และอัตราค่าเครื่องแต่งตัวไปรับราชการประจำในต่างประเทศ ตามบัญชี ๕ ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๓๑ มกราคม ๒๕๒๘
326964
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2528
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นปีที่ ๔๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า “สถานพยาบาลของเอกชน” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “สถานพยาบาลของเอกชน” หมายความว่า สถานพยาบาลของเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินยี่สิบห้าเตียง ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความใน (๒) ของมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๒) ผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลของเอกชนประเภทผู้ป่วยภายใน ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ดังนี้ (ก) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรครวมทั้งค่าซ่อมแซม ค่าห้องและค่าอาหาร ให้เบิกได้เช่นเดียวกับผู้ที่เช้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการ (ข) ค่ารักษาพยาบาลประเภทอื่น ๆ ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่จะต้องไม่เกินสามพันบาทสำหรับระยะเวลาภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล และในกรณีที่เข้ารับการรักษาพยาบาลเกินสามสิบวัน ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่จะต้องไม่เกินวันละหนึ่งร้อยบาท ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีที่มีอุบัติเหตุ หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากผู้ป่วยมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันที่ทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้นั้นได้ ถ้าได้เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนอื่น ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตาม (ก) หรือ (ข) ได้” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๒ ในกรณีที่สถานพยาบาลตามมาตรา ๑๑ ไม่มียาเลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน น้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ออกซิเจน อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคจำหน่าย หรือไม่อาจให้การตรวจทางห้องทดลอง หรือเอ๊กซเรย์แก่ผู้เข้ารักษาพยาบาลได้ เมื่อแพทย์ผู้ตรวจรักษาหรือหัวหน้าสถานพยาบาลของสถานพยาบาลแห่งนั้นลงลายมือชื่อรับรองตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนดแล้ว ก็ให้ผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลซื้อ หรือรับการตรวจทางห้องทดลองหรือเอ็กซเรย์จากสถานที่อื่นซึ่งอยู่ในประเทศไทยแล้วนำมาเบิกได้ตามมาตรา ๑๑” มาตรา ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๒ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ “มาตรา ๑๒ ทวิ เมื่อปรากฏว่าสถานพยาบาลของเอกชนใดมีพฤติการณ์ในทางทุจริตร่วมกับผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นในเรื่องการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนดังกล่าวให้กระทรวง ทบวง กรมทราบ เพื่อมิให้เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของเอกชนนั้นอีกต่อไป เว้นแต่จะเป็นกรณีตามข้อเว้นของมาตรา ๑๑ (๒) การแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนตามวรรคหนึ่ง ให้มีผลเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแจ้ง การแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในสถานพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่การแจ้งมีผล” มาตรา ๗ ในท้องที่อำเภอหรือเขตใดไม่มีสถานพยาบาลของเอกชน ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินสิบเตียงแต่ไม่เกินยี่สิบห้าเตียงซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ (๑) กรณีที่ท้องที่อำเภอหรือเขตนั้นไม่มีสถานพยาบาลเช่นว่านั้นอีก ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาลของเอกชนอื่น ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีนี้ใช้บังคับให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาได้ (๒) กรณีที่มีอุบัติเหตุ หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากผู้ป่วยมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้นั้นได้ ถ้าได้เข้ารับการักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนอื่น ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ได้ ให้นำมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีการเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ และมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๒ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ มาใช้บังคับแก่สถานพยาบาลตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม ในท้องที่อำเภอหรือเขตวรรคหนึ่ง เมื่อมีการจัดตั้งสถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้แล้วไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่งที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลตามวรรคหนึ่งที่มีอยู่ก่อนวันที่มีการจัดตั้งสถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้โดยได้รับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่มีการจัดตั้งสถานพยาบาลนั้น มาตรา ๘ สิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับโดยได้รับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ มาตรา ๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้กำหนดบทคำนิยามคำว่า “สถานพยาบาลของเอกชน” ไว้ไม่เหมาะสมเป็นเหตุให้มีการทุจริตในการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ สถานพยาบาลของเอกชนบางแห่งมิได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๐๔ เช่น ไม่บันทึกรายละเอียดในทะเบียนผู้ป่วยภายนอก รับผู้ป่วยภายในไว้เกินจำนวนเตียงที่กำหนดในใบอนุญาต และออกหลักฐานใบเสร็จรับเงินไม่ตรงตามความเป็นจริง ฉะนั้น เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบเกี่ยวกับการเบิกค่ารักษาพยาบาล สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยปรับปรุงบทนิยามดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนที่มีพฤติการณ์ทุจริตดังกล่าวให้กระทรวง ทบวง กรมทราบ เพื่อมิให้เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของเอกชนแห่งนั้นอีกต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ วัชศักดิ์/พิมพ์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๒๐๑/หน้า ๑๘/๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๘
318488
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ.๒๕๒๗ ---------------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๗ เป็นปีที่ ๓๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตาม งบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗" มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๓ (๒) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๔๙๐ (๓) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๔๙๑ (๔) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๔๙๖ (๕) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๐๒ (๖) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.๒๕๑๑ (๗) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๑๖ (๘) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ.๒๕๑๗ (๙) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๐) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๑) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๓ (๑๒) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๔ (๑๓) พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๕ บรรดากฎ ข้อบังคับ และระเบียบอื่นในส่วนที่บัญญัติไว้แล้วในพระราช กฤษฎีกานี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ใช้พระราชกฤษฎีกานี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ "ข้าราชการ" หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนใน มหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่าย รัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร และ ข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู "เงินเดือน" หมายความว่า เงินเดือนสุทธิที่ข้าราชการได้รับ ทั้งนี้ เมื่อหักเงิน เบิกลดเนื่องจากการปรับชั้นเงินเดือนออกแล้ว และรวมกับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา หรือเงินเพิ่มการเลื่อนฐานะ หรือสำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ หรือสำหรับ การสู้รบ "ท้องที่" หมายความว่า กรุงเทพมหานคร อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือท้องที่ของ อำเภอและหรือกิ่งอำเภอที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดให้เป็นท้องที่เดียวกันตามมาตรา ๕ มาตรา ๕ ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจประกาศกำหนดให้อำเภอ และหรือ กิ่งอำเภอหลายท้องที่รวมกันเป็นท้องที่เดียวกันได้ มาตรา ๖ การจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายเป็นเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์และอัตราตามพระราชกฤษฎีกานี้ การเบิกจ่ายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๗ ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่ง ให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริง ตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่า เช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้น (๑) ทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้อยู่แล้ว (๒) มีเคหสถานของตนเอง หรือของสามีหรือภริยาที่พออาศัยอยู่ร่วมกันได้ใน ท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ (๓) ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในท้องที่ที่เริ่มรับราชการ ครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ (๔) เป็นข้าราชการวิสามัญ ข้าราชการผู้ใดได้รับเงินเดือนไม่ตรงกับอัตราเงินเดือนในบัญชีอัตราค่าเช่าบ้าน ข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ได้รับค่าเช่าบ้านตามส่วนของเงินเดือนโดยคำนวณตาม วิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘ ข้าราชการผู้ใดรับราชการหรือได้รับคำสั่งให้ไปรับราชการในท้องที่ใด และไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเพราะเหตุที่มีเคหสถานของตนเอง แม้ข้าราชการผู้นั้นได้ โอนกรรมสิทธิ์ในเคหสถานนั้นไป ก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิที่จะได้รับค่าเช่าบ้านในระหว่างรับราชการ ในท้องที่นั้น มาตรา ๙ สามีกับภริยา ถ้ารับราชการในท้องที่เดียวกันและต่างมีสิทธิได้รับค่า เช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้เบิกจ่ายได้เฉพาะคนใดคนหนึ่งซึ่งมีสิทธิได้รับค่า เช่าบ้านสูงกว่า ถ้ามีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเท่ากัน ให้เบิกจ่ายให้แก่สามี ข้าราชการผู้ใดมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามพระราชกฤษฎีกานี้ มีสามีหรือภริยา เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร พนักงานท้องถิ่น หรือพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ ตาม กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ถ้าสามีหรือภริยาของผู้นั้นได้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน หรือ ได้อยู่ในที่พักอาศัยที่ทางการจัดให้ในท้องที่เดียวกัน ผู้นั้นไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามพระราช กฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๐ ข้าราชการซึ่งได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการอยู่แล้วภายหลังได้รับเงิน เดือนเพิ่มขึ้น ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกา นี้ ถ้าเงินเดือนที่ได้รับเพิ่มขึ้นไม่ตรงกับอัตราเงินเดือนในบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการดังกล่าว ให้ได้รับค่าเช่าบ้านตามส่วนของเงินเดือนโดยคำนวณตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๑ การงดหรือลดเบิกจ่ายเงินเดือนแก่ข้าราชการผู้ใด เนื่องจากการ ถูกตัดเงินเดือนหรือการลาโดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน ไม่กระทบต่อสิทธิของผู้นั้นที่จะได้รับค่า เช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ และให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเสมือนหนึ่งไม่มี การงด หรือลดเบิกจ่ายเงินเดือนเช่นว่านั้น เว้นแต่เป็นการลาติดตามสามีหรือภริยาซึ่งย้ายไป รับราชการในต่างประเทศ มาตรา ๑๒ ข้าราชการผู้ใดซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือมีกรณีอื่นใดอันเป็นเหตุให้ถูกงดเบิกจ่ายเงินเดือน ให้งดเบิกจ่ายค่าเช่าบ้าน เมื่อกรณีถึงที่สุด ถ้าปรากฏว่าผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างกรณี เช่นว่านั้น สำหรับเดือนใด ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้านสำหรับเดือนนั้นตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๓ ให้ข้าราชการมีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ ตั้งแต่วันที่ ข้าราชการผู้นั้นได้เช่าอยู่จริง แต่ไม่ก่อนวันรายงานตัวเพื่อเข้ารับหน้าที่ และให้สิ้นสุดลงในวันที่ ขาดจากอัตราเงินเดือนหรือวันที่อยู่ในข่ายหมดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามพระราชกฤษฎีกานี้ ถ้าผู้ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นไม่สามารถออกเดินทางไปได้ในวันส่งมอบหน้าที่ให้มี สิทธิได้รับค่าเช่าบ้านต่อไปอีกไม่เกินสิบวันนับแต่วันส่งมอบหน้าที่ เว้นแต่ในกรณีจำเป็นจะต้องอยู่ ต่อไปอีก ให้เบิกค่าเช่าบ้านได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๔ ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการอยู่แล้วในท้องที่ หนึ่ง และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นซึ่งตนมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ ตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าบ้านข้าราชการใน ท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการในท้องที่ใหม่ได้ ถ้าคู่สมรสหรือบุตรซึ่งอยู่ในอุปการะของ ข้าราชการผู้นั้นไม่อาจติดตามข้าราชการผู้นั้นไปได้ และมีความจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้านใน ท้องที่เดิมต่อไป ทั้งนี้ โดยขออนุมัติตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๕ ข้าราชการซึ่งรับราชการประจำในต่างประเทศ ถ้าจำเป็นต้องเช่าบ้าน ให้เบิกค่าเช่าบ้านได้ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๖ ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราช กฤษฎีกานี้ ได้เช่าซื้อบ้านหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ค้างชำระอยู่ในท้องที่ที่ไปประจำ สำนักงานใหม่ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและได้อาศัยอยู่จริงในบ้านนั้น ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินำ หลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ดังกล่าวมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ไม่เกิน จำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ตนเอง และสามีหรือภริยา ได้ทำการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อ หรือผ่อนชำระ เงินกู้เพื่อชำระราคาบ้าน อยู่เพียงหลังเดียวในท้องที่นั้น (๒) จะต้องเป็นการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้กับสถาบันการเงิน หรือกับรัฐวิสาหกิจหรือสหกรณ์ที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการเคหะ ทั้งนี้ ตามที่กระทรวงการคลัง กำหนด และสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาเงินกู้ จะต้องได้รับความเห็นชอบตามระเบียบที่กระทรวง การคลังกำหนด (๓) จะต้องไม่เคยใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ สำหรับบ้านหลังหนึ่งหลังใดในท้องที่นั้นมาแล้ว เว้นแต่จะเป็นกรณีที่ได้รับแต่งตั้งให้กลับไป รับราชการในท้องที่นั้นอีก และเป็นการใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงิน กู้ตามที่ได้เคยใช้สิทธิมาแล้ว มาตรา ๑๗ ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือ ค่าผ่อนชำระเงินกู้มาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามมาตรา ๑๖ และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ไป รับราชการในท้องที่อื่นซึ่งตนมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ในท้องที่เดิมมาเบิก ค่าเช่าบ้านข้าราชการในท้องที่ใหม่ได้ โดยขออนุมัติตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๘ สิทธิที่จะเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการต่อไปตามมาตรา ๑๒ (๑) และ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งมีอยู่ก่อน วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่า บ้านข้าราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๓ จนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มาตรา ๑๙ ข้าราชการผู้ใดมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๓ อยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ แต่ไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ยังคงมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามพระราช กฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๓ ต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตาม พระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มาตรา ๒๐ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร รองนายกรัฐมนตรี +----------------------------------------------------------------------------------------------------+ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๓ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว บทบัญญัติบางประการจึงไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน และโดยที่พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๒๗ เป็นต้นไป มีบทบัญญัติบางประการยังไม่เหมาะสม เนื่องจากกำหนดให้ข้าราชการเบิกค่าเช่าบ้านในลักษณะ เหมาจ่ายตามสิทธิของข้าราชการแต่ละคน จึงไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของทางราชการ ซึ่งประสงค์ จะช่วยเหลือข้าราชการที่ได้รับความเดือดร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัยอันเนื่องมาจากทางราชการเป็น เหตุ เพราะข้าราชการที่ไม่เดือดร้อนเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย อันเนื่องมาจากทางราชการเป็นเหตุ ก็มี สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านได้ด้วย ทำให้ทางราชการต้องรับภาระหนักเกี่ยวกับเงินงบประมาณแผ่นดิน นอกจากนั้น พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๒ กำหนดให้ข้าราชการที่ได้รับ คำสั่งให้ไปประจำสำนักงานใหม่ต่างท้องที่เกินห้าปี แม้ผู้นั้นจะกลับมาประจำสำนักงานในท้องที่ ที่เริ่มเข้ารับราชการครั้งแรกแล้ว ก็มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านได้ จึงไม่เป็นธรรมแก่ข้าราชการที่ยังคง รับราชการอยู่ในท้องที่ที่เริ่มเข้ารับราชการ โดยได้เช่าบ้านอยู่จริง แต่ไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน สมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการเสียใหม่ เพื่อให้มีความเหมาะสม ตรงตามเจตนารมณ์ของทางราชการ และให้มีความเป็นธรรมในการได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ นอกจากนั้น สมควรผ่อนผันให้มีการใช้หลักฐานที่ข้าราชการเช่าซื้อบ้านหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อ ชำระราคาบ้าน มาเบิกเป็นค่าเช่าบ้านได้ในบางกรณี จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ [รก. ๒๕๒๗/๑๓๓/๘พ./๒๘ กันยายน ๒๕๒๗]
301262
พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2527
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นปีที่ ๓๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภท ตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๘ การเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางสำหรับการเดินทางไปราชการเรื่องหนึ่งเรื่องใดในสถานที่ปฏิบัติราชการแห่งเดียวกัน ให้เบิกได้เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัดด้วย” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๐ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๐ การเดินทางไปราชการ ณ สถานที่ปฏิบัติราชการใดที่ไม่สะดวกในการเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่ปฏิบัติราชการนั้นกับสถานที่อยู่ ให้เบิกค่าเช่าที่พักระหว่างที่ไปราชการได้เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นอนุมัติ ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัดด้วย ผู้เดินทางตามวรรคหนึ่งให้เบิกค่าเช่าที่พักตามมาตรา ๑๗ ได้ไม่เกินสามสิบวัน ถ้าเกินให้เบิกค่าเช่าที่พักในลักษณะเหมาจ่ายได้ในอัตราประเภท ข. แห่งบัญชี ๒ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๙ ในกรณีจำเป็นซึ่งไม่อาจนำบุคคลในครอบครัวไปพร้อมกับผู้เดินทางได้ ให้ผู้เดินทางรายงานชี้แจงเหตุผลความจำเป็นและกำหนดเวลาที่จะเลื่อนการเดินทางต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดี หรือปลัดกระทรวงหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า แล้วแต่กรณี สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง หรือผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค แต่ถ้าผู้เดินทางดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ให้เสนอผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง การขอเลื่อนการเดินทางตามวรรคหนึ่ง ให้ขอก่อนที่ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้นจะเดินทาง ผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่งมีอำนาจอนุญาตให้เลื่อนการเดินทางได้ภายในเวลาอันสมควร แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ปรากฏในคำสั่งให้เดินทางไปราชการ” มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๑ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๑ การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวของบุคคลดังต่อไปนี้ จะเลือกเบิกค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายจริงโดยมีใบสำคัญคู่จ่ายก็ได้ คือ (๑) ผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าขึ้นไป (๒) ผู้เดินทางไปราชการในฐานะผู้แทนส่วนราชการเพื่อเข้าร่วมในการประชุมระดับรัฐมนตรี การเบิกค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายจริงโดยมีใบสำคัญคู่จ่าย นอกจากกรณีของบุคคลตาม (๑) และ (๒) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด” มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๓ การเดินทางไปราชการต่างประเทศโดยเครื่องบินจากประเทศไทยไปต่างประเทศหรือจากต่างประเทศกลับประเทศไทย หรือการเดินทางในต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ชั้นหนึ่ง สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ (ก) หัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาล (ข) ประธานศาลฎีกา และรองประธานศาลฎีกา (ค) ประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา (ง) ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (จ) รัฐมนตรี (ฉ) ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย และข้าราชการฝ่ายรัฐสภาซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๐ ขึ้นไป หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๕ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๕ ขึ้นไปหรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือน พลตรี พลเรือตรี หรือพลอากาศตรีขึ้นไปหรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรีขึ้นไป (๒) ชั้นระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นต่ำสุด สำหรับข้าราชการพลเรือนข้าราชการครูข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย และข้าราชการฝ่ายรัฐสภาซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๙ หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือน พันเอกนาวาเอก นาวาอากาศเอกพิเศษอันดับ ๒ หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษอันดับ ๒ (๓) ชั้นต่ำสุด สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศ นอกจากที่ระบุใน (๑) และ (๒) ในกรณีที่เครื่องบินที่ใช้ในการเดินทางไม่มีชั้นระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นต่ำสุดให้ผู้ดำรงตำแหน่งตาม (๒) เดินทางโดยชั้นหนึ่ง” มาตรา ๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๓ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ “มาตรา ๕๓ ทวิ ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาล หรือซึ่งดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา ประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานศาลฎีกา รองประธานวุฒิสภา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐมนตรี ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่ากับที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิกในการเดินทาง ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชามีหลายคน ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่ากับที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิกในการเดินทางเพียงหนึ่งคน ส่วนผู้เดินทางไปราชการในหน้าที่เลขานุการคนอื่น ๆ ให้เบิกค่าพาหนะได้ตามสิทธิของตน” มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๔ ค่ารับรองและค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการ ในเบิกในลักษณะเหมาจ่ายตามหลักเกณฑ์และวงเงินที่สำนักงบประมาณกำหนด ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการตามวรรคหนึ่ง หากเป็นค่าใช้จ่ายที่มีอัตรากำหนดไว้แน่นอน เช่น ค่าธรรมเนียม การใช้สนามบินภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง” มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในหมายเหตุท้ายบัญชี ๔ อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “หมายเหตุ ๑. ประเภท ก. ได้แก่ประเทศในทวีปยุโรป อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ คูเวต ซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน และอิรัก ๒. ประเภท ข. ได้แก่ประเทศอื่น ๆ นอกจากที่กำหนดในประเภท ก. ๓. ในกรณีที่เดินทางในวันหนึ่งวันใดคาบเกี่ยวหลายประเทศให้ใช้สิทธิเบิกตามประเภทที่สูงกว่าได้” มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความในหมายเหตุท้ายบัญชี ๕ อัตราค่าเครื่องแต่งตัวไปรับราชการประจำในต่างประเทศ ท้ายพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “หมายเหตุ ๑. ประเภท ก. ได้แก่ประเทศอื่น ๆ นอกจากที่กำหนดในประเภท ข. ๒. ประเภท ข. ได้แก่ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กัมพูชาประชาธิปไตย สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า มาเลเซีย สาธารณรัฐศรีลังกา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และบูรไน ๓. เจ้าหน้าที่การทูตระดับ ๕ ขึ้นไป ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องแต่งตัวราตรีสโมสร (white tie) หรือเครื่องแต่งตัวมอร์นิ่งโค้ต เพราะมีหน้าที่ต้องเข้างานพิธีต่าง ๆ และตามประเพณีของประเทศนั้นจำต้องแต่งตัวแบบเช่นว่านั้น รัฐมนตรีเจ้าสังกัดจะอนุมัติให้เบิกค่าเครื่องแต่งตัวดังกล่าวอย่างละ ๑ ชุด เพิ่มขึ้นอีกต่างหากก็ได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกินชุดละ ๘,๐๐๐ บาท” มาตรา ๑๒ การเดินทางไปราชการที่ต่อเนื่องกันในระหว่างการใช้พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ กับพระราชกฤษฎีกานี้ สำหรับสิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหรือที่ก่อหนี้ผูกพันไปแล้วโดยสุจริตก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ มาตรา ๑๓ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบันและให้สะดวกในการปฏิบัติราชการ โดยกำหนดให้ปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดหรือผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติการเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักกรณีการเดินทางไปราชการชั่วคราวในประเทศเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันแทนการขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง แก้ไขให้ผู้เดินทางเลื่อนการขนย้ายสิ่งของส่วนตัวได้โดยไม่ต้องขออนุญาตผู้บังคับบัญชา กำหนดให้การเบิกค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายจริงในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวของบุคคลอื่นนอกจากอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าหรือผู้แทนส่วนราชการซึ่งเข้าร่วมในการประชุมระดับรัฐมนตรีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดแทนการอนุมัติของปลัดกระทรวงกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนระดับ ๙ และข้าราชการอื่นซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ามีสิทธิโดยสารเครื่องบินชั้นระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นต่ำสุด กำหนดให้ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชาซึ่งมีสิทธิเดินทางโดยชั้นหนึ่งบางตำแหน่งได้มีสิทธิเบิกค่าพาหนะเท่ากับผู้บังคับบัญชาดังกล่าว รวมทั้งกำหนดให้เบิกค่ารับรองและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการที่มีอัตรากำหนดไว้แน่นอนได้และเพิ่มประเทศอิรักลงในบัญชี ๔ กับประเทศบรูไนลงในบัญชี ๕ ท้ายพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๗๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๖ มิถุนายน
301261
พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.2526
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๖ เป็นปีที่ ๓๘ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ (๒) พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๘ บรรดากฎ ข้อบังคับ และระเบียบอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชกฤษฎีกานี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ใช้พระราชกฤษฎีกานี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ และข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร “ลูกจ้าง” หมายความว่า ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย เว้นแต่ลูกจ้างชาวต่างประเทศที่มีสัญญาจ้าง “ภูมิลำเนาเดิม” หมายความว่า ท้องที่ที่เริ่มรับราชการ กลับเข้ารับราชการใหม่ หรือได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างครั้งแรกหรือครั้งสุดท้าย แล้วแต่กรณี “บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า บุคคลซึ่งอยู่ในอุปการะและร่วมอาศัยอยู่กับผู้เดินทางไปราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) คู่สมรส (๒) บุตร (๓) บิดามารดาของผู้เดินทางและหรือบิดามารดาของคู่สมรส (๔) ผู้ติดตาม มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ลักษณะ ๑ บททั่วไป มาตรา ๖ การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามพระราชกฤษฎีกานี้ ส่วนวิธีการเบิกจ่ายนั้นให้ปฏิบัติตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลังซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ มาตรา ๗ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งเป็นข้าราชการหรือลูกจ้าง ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการได้ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งมีสัญญากับส่วนราชการกำหนดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการไว้เป็นอย่างอื่น ให้เบิกค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในสัญญา ผู้เดินทางซึ่งเป็นข้าราชการที่มิได้มีตำแหน่ง ชั้น หรือยศกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ หรือไม่มีกฎหมายกำหนดตำแหน่งของผู้นั้นเทียบไว้กับตำแหน่งระดับของข้าราชการพลเรือน ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกำหนดเทียบตำแหน่งกับตำแหน่งระดับของข้าราชการพลเรือน เพื่อประโยชน์ในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการได้ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งมิได้เป็นข้าราชการ ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกำหนดเทียบกับตำแหน่งระดับของข้าราชการพลเรือนเพื่อให้ผู้นั้นเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามอัตราของตำแหน่งระดับที่เทียบ มาตรา ๘ สิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปราชการ หรือวันที่ออกจากราชการ แล้วแต่กรณี มาตรา ๙ ข้าราชการซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับชั้นหรือยศ สูงขึ้นภายหลังวันที่ได้เดินทางไปราชการแล้ว ให้มีสิทธิที่จะรับค่าใช้จ่ายในการเดินทางตามอัตราสำหรับตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศ ที่สูงขึ้นนับแต่วันที่มีคำสั่งแต่งตั้งดังกล่าว แม้คำสั่งนั้นจะให้มีผลย้อนหลังไปถึงหรือก่อนวันออกเดินทางก็ตาม มาตรา ๑๐ ข้าราชการซึ่งเดินทางไปรักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทน ให้ได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทนตามอัตราสำหรับตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศที่ตนดำรงอยู่ แต่การเดินทางระหว่างที่รักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทนรวมทั้งการเดินทางกลับมาดำรงตำแหน่งเดิม ให้ได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามอัตราสำหรับตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศที่ตนรักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทน ในกรณีที่เป็นการเดินทางไปรักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทนในตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศที่ต่ำกว่า ให้ผู้เดินทางมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในอัตราสำหรับตำแหน่งระดับ ชั้น หรือยศที่ตนดำรงอยู่ มาตรา ๑๑ การเดินทางไปราชการ ถ้าผู้เดินทางหยุดอยู่ที่ใดโดยไม่มีเหตุอันควร ไม่มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับระยะเวลาที่หยุดนั้น มาตรา ๑๒ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งเป็นผู้ได้รับเบี้ยเลี้ยงประจำจะเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามพระราชกฤษฎีกานี้ได้ เมื่องดเบิกเบี้ยเลี้ยงประจำ ลักษณะ ๒ การเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร หมวด ๑ การเดินทางไปราชการชั่วคราว มาตรา ๑๓ การเดินทางไปราชการชั่วคราว ได้แก่ (๑) การไปปฏิบัติราชการชั่วคราวนอกที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา หรือตามหน้าที่ที่ปฏิบัติราชการโดยปกติ (๒) การไปศึกษา ฝึก อบรม หรือสัมมนา ที่ส่วนราชการเป็นผู้จัดหรือที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงการเดินทางของเจ้าหน้าที่ผู้จัดการศึกษา ฝึกอบรม หรือสัมมนา และวิทยากรหรือผู้บรรยายด้วย (๓) การไปสอบคัดเลือก หรือรับการคัดเลือกตามที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา (๔) การไปช่วยราชการ ไปรักษาการในตำแหน่ง หรือไปรักษาราชการแทน (๕) การเดินทางไปราชการเฉพาะระหว่างเวลาที่อยู่ในราชอาณาจักรของผู้ซึ่งรับราชการประจำในต่างประเทศ (๖) การเดินทางข้ามแดนชั่วคราว เพื่อไปปฏิบัติราชการในดินแดนต่างประเทศตามข้อตกลงระหว่างประเทศ มาตรา ๑๔ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว ได้แก่ (๑) เบี้ยเลี้ยงเดินทาง (๒) ค่าเช่าที่พัก (๓) ค่าพาหนะ รวมถึงค่าเช่ายานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้างคนหาบหาม และอื่น ๆ ทำนองเดียวกัน (๔) ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการ มาตรา ๑๕ เบี้ยเลี้ยงเดินทางให้เบิกได้ในอัตราประเภท ก. แห่งบัญชี ๑ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ สำหรับการเดินทางในกรณีดังต่อไปนี้ให้เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้ในอัตราประเภท ข. แห่งบัญชี ๑ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ คือ (๑) การเดินทางไปราชการในท้องที่ต่างอำเภอในจังหวัดเดียวกัน เว้นแต่อำเภอเมืองหรืออำเภอที่กระทรวงการคลังกำหนด (๒) การเดินทางไปราชการในท้องที่อำเภอซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติ หรือการเดินทางไปราชการในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติ มาตรา ๑๖ การนับเวลาเดินทางไปราชการเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ให้นับตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติจนกลับถึงสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการปกติ แล้วแต่กรณี เวลาเดินทางไปราชการ ให้นับยี่สิบสี่ชั่วโมงเป็นหนึ่งวัน ถ้าไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงหรือเกินยี่สิบสี่ชั่วโมง และส่วนที่ไม่ถึงหรือเกินยี่สิบสี่ชั่วโมงนั้นนับได้เกินสิบสองชั่วโมง ให้ถือเป็นหนึ่งวัน มาตรา ๑๗ การเดินทางไปราชการที่จำต้องพักแรม เว้นแต่การพักแรมซึ่งโดยปกติต้องพักแรมในยานพาหนะหรือการพักแรมในที่พักซึ่งทางราชการจัดให้ ให้เบิกค่าเช่าที่พักในลักษณะเหมาจ่ายได้ตามอัตราดังนี้ (๑) ในกรณีเดินทางไปราชการในเขตกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา ราชการส่วนท้องถิ่นที่เรียกชื่ออย่างอื่น เทศบาล หรือสุขาภิบาลให้เบิกได้ตามอัตราประเภท ก. แห่งบัญชี ๒ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจกำหนดอัตราค่าเช่าที่พักสำหรับการเดินทางไปราชการในเขตกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา ราชการส่วนท้องถิ่นที่เรียกชื่ออย่างอื่น หรือเทศบาล เพิ่มขึ้นจากอัตราประเภท ก. แห่งบัญชี ๒ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ได้ตามความเหมาะสมแก่สภาพท้องที่ แต่อย่างสูงไม่เกินหนึ่งเท่าของอัตราประเภท ก. แห่งบัญชี ๒ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ (๒) ในกรณีเดินทางไปราชการนอกเขตท้องที่ตาม (๑) ให้เบิกได้ตามอัตราประเภท ข. แห่งบัญชี ๒ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ แต่ถ้าผู้เดินทางมีความจำเป็นตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดก็ให้เบิกได้ตามอัตราประเภท ก. แห่งบัญชี ๒ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๘ การเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางสำหรับการเดินทางไปราชการเรื่องหนึ่งเรื่องใดในสถานที่ปฏิบัติราชการแห่งเดียวกัน ให้เบิกได้เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง มาตรา ๑๙ ค่าใช้จ่ายในการศึกษา ฝึก อบรม หรือสัมมนา ซึ่งมิใช่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางตามมาตรา ๑๔ ให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๒๐ การเดินทางไปราชการ ณ สถานที่ปฏิบัติราชการใดที่ไม่สะดวกในการเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่ปฏิบัติราชการนั้นกับสถานที่อยู่ ให้เบิกค่าเช่าที่พักระหว่างที่ไปราชการได้เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง ผู้เดินทางตามวรรคหนึ่งให้เบิกค่าเช่าที่พักตามมาตรา ๑๗ ได้ไม่เกินสามสิบวัน ถ้าเกิน ให้เบิกค่าเช่าที่พักในลักษณะเหมาจ่ายได้ในอัตราประเภท ข. แห่งบัญชี ๒ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๒๑ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการเจ็บป่วยและจำเป็นต้องพักเพื่อรักษาพยาบาล ให้เบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักสำหรับวันที่พักนั้นได้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสิบวัน ภายใต้บังคับวรรคหนึ่ง ได้กรณีที่ผู้เดินทางเจ็บป่วยและต้องเข้าพักรักษาตัวในสถานพยาบาล ให้งดเบิกค่าเช่าที่พัก เว้นแต่กรณีที่จำเป็น การเจ็บป่วยตามวรรคหนึ่งต้องมีใบรับรองแพทย์ที่ทางราชการรับรอง ในกรณีที่ไม่มีแพทย์ที่ทางราชการรับรองอยู่ในท้องที่ที่เกิดการเจ็บป่วย ผู้เดินทางต้องชี้แจงประกอบ มาตรา ๒๒ การเดินทางไปราชการโดยปกติให้ใช้ยานพาหนะประจำทาง และให้เบิกค่าพาหนะได้โดยประหยัด ในกรณีที่ไม่มียานพาหนะประจำทาง หรือมีแต่ต้องการความรวดเร็วเพื่อประโยชน์แก่ราชการ ให้ใช้พาหนะอื่นได้ แต่ผู้เดินทางจะต้องชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นไว้ในรายงานการเดินทางหรือหลักฐานการขอเบิกเงินค่าพาหนะนั้น ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๖ ขึ้นไปหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า ข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป ข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโทขึ้นไป ให้เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้สำหรับกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) การเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก หรือสถานที่ปฏิบัติราชการ กับสถานียานพาหนะประจำทาง หรือกับสถานที่จัดพาหนะที่ต้องใช้ในการเดินทางไปยังสถานที่ปฏิบัติราชการ (๒) การเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก กับสถานที่ปฏิบัติราชการวันละไม่เกินสองเที่ยว (๓) การเดินทางไปราชการในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้ซึ่งไม่มีสิทธิค่าพาหนะตามวรรคสาม ถ้าต้องนำสัมภาระในการเดินทางหรือสิ่งของเครื่องใช้ของทางราชการไปด้วย และเป็นเหตุให้ไม่สะดวกที่จะเดินทางโดยยานพาหนะประจำทาง ให้เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้ การเดินทางไปศึกษา ฝึก อบรม หรือสัมมนา การเดินทางไปสอบคัดเลือกหรือรับการคัดเลือก ผู้เดินทางจะเบิกค่าพาหนะรับจ้างตาม (๒) ไม่ได้ มาตรา ๒๓ การเดินทางไปราชการโดยยานพาหนะประจำทางให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๒๔ ในท้องที่จังหวัดใดที่ไม่มีอัตราค่าพาหนะประเภทใดกำหนดไว้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนดอัตราค่าพาหนะดังกล่าวขึ้นไว้ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาอนุมัติและการตรวจสอบ เมื่อกำหนดแล้วให้แจ้งกระทรวงการคลัง มาตรา ๒๕ การใช้พาหนะส่วนตัวไปราชการ ผู้เดินทางจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาดังต่อไปนี้ จึงจะมีสิทธิเบิกเงินชดเชยเป็นค่าพาหนะในลักษณะเหมาจ่ายให้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเป็นค่าพาหนะส่วนตัวได้ คือ (๑) อธิบดีขึ้นไปหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง (๒) หัวหน้าสำนักงาน สำหรับราชการบริหารส่วนกลางที่มีสำนักงานอยู่ในส่วนภูมิภาค หรือมีสำนักงานแยกต่างหากจากกระทรวง ทบวง กรม (๓) หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดซึ่งเป็นผู้เบิกเงิน หรือนายอำเภอท้องที่ แล้วแต่กรณี สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค มาตรา ๒๖ เงินชดเชยเป็นค่าพาหนะตามมาตรา ๒๕ ให้เบิกจ่ายในประเภทค่าพาหนะตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๒๗ การเดินทางไปราชการโดยเครื่องบินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๖ ขึ้นไปหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป ข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป ข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันโท นาวาโท นาวาอากาศโทขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโทขึ้นไปให้เดินทางได้ (๒) ข้าราชการหรือลูกจ้างนอกจาก (๑) ให้เดินทางได้เฉพาะกรณีที่จำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ (๓) การเดินทางซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม (๑) หรือ (๒) จะเบิกค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินค่าพาหนะในการเดินทางภาคพื้นดินในระยะเดียวกันตามสิทธิซึ่งผู้เดินทางจะพึงเบิกได้ มาตรา ๒๘ ผู้เดินทางไปราชการในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชาที่ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไปหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือกับข้าราชการตุลาการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือกับข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือกับข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษอันดับ ๒ นาวาเอกพิเศษอันดับ ๒ นาวาอากาศเอกพิเศษอันดับ ๒ ขึ้นไป หรือกับข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอกอัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษอันดับ ๒ ขึ้นไป ให้เบิกค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะได้เท่ากับที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิก มาตรา ๒๙ ผู้เดินทางไปราชการเพื่อทำหน้าที่รับรอง หรือปฏิบัติงานร่วมกับชาวต่างประเทศ จะเบิกค่าพาหนะในการเดินทางเท่ากับที่ต้องเบิกสำหรับชาวต่างประเทศนั้นก็ได้ ผู้เดินทางไปราชการตามคำสั่งของทางราชการเพื่อทำหน้าที่เป็นองครักษ์หรือผู้อารักขาอย่างใกล้ชิดให้กับชาวต่างประเทศที่เป็นประมุขแห่งรัฐ หรือบุคคลสำคัญของต่างประเทศ นอกจากจะเบิกค่าพาหนะตามวรรคหนึ่งได้แล้ว จะเบิกค่าเช่าที่พักในลักษณะประหยัดตามความจำเป็นในสถานที่แห่งเดียวกับที่ชาวต่างประเทศพักอยู่นั้นด้วยก็ได้ มาตรา ๓๐ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งต้องนำสิ่งของเครื่องใช้ของทางราชการไปด้วย ให้เบิกค่าพาหนะสำหรับสิ่งของเครื่องใช้นั้นได้โดยประหยัด มาตรา ๓๑ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งต้องจ่ายค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น เนื่องในการเดินทางไปราชการ ให้เบิกค่าใช้จ่ายนั้นได้โดยประหยัด หมวด ๒ การเดินทางไปราชการประจำ มาตรา ๓๒ การเดินทางไปราชการประจำ ได้แก่การเดินทางไปประจำต่างสำนักงาน ไปรักษาการในตำแหน่ง หรือรักษาราชการแทนเพื่อดำรงตำแหน่งใหม่ ณ สำนักงานแห่งใหม่ มาตรา ๓๓ ผู้เดินทางไปราชการประจำให้เบิกค่าใช้จ่ายได้ตามมาตรา ๑๔ และให้เบิกค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวในลักษณะเหมาจ่ายได้ตามอัตราในบัญชี ๓ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๓๔ การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการประจำในกรณีที่มิได้กำหนดไว้ในหมวดนี้ ให้นำหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในลักษณะ ๒ หมวด ๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๓๕ การนับเวลาเดินทางไปราชการเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทางให้นับตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่อยู่จนถึงสถานที่พักที่ไปรับราชการแห่งใหม่ มาตรา ๓๖ ผู้เดินทางไปราชการประจำจะเบิกค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะสำหรับบุคคลในครอบครัวได้โดยประหยัด การเบิกค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะสำหรับผู้ติดตาม ให้เบิกได้ดังนี้ (๑) หนึ่งคนสำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๖ ลงมาหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ลงมา ดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันโท นาวาโท นาวาอากาศโทลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งยศพันตำรวจโทลงมา (๒) ไม่เกินสองคนสำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๗ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอกขึ้นไป มาตรา ๓๗ ค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะสำหรับบุคคลในครอบครัวตามมาตรา ๔ (๑) (๒) และ (๓) ให้เบิกได้ในอัตราเดียวกับผู้เดินทางตามมาตรา ๓๓ สำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้ในอัตราชั้นต่ำสุด ในกรณีที่เดินทางไปถึงท้องที่ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ ถ้าไม่อาจเข้าพักในที่พักอาศัยที่ทางราชการจัดให้ หรือบ้านเช่าได้ และผู้บังคับบัญชาดังต่อไปนี้อนุญาตแล้ว ให้เบิกค่าเช่าที่พักสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวได้ไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันไปถึงท้องที่ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ (๑) อธิบดีขึ้นไปหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง (๒) หัวหน้าสำนักงาน สำหรับราชการบริหารส่วนกลางที่มีสำนักงานอยู่ในส่วนภูมิภาค หรือมีสำนักงานแยกต่างหากจากกระทรวง ทบวง กรม (๓) หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดซึ่งเป็นผู้เบิกเงินหรือนายอำเภอท้องที่ แล้วแต่กรณี สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องเบิกค่าเช่าที่พักเกินเจ็ดวัน ต้องได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง มาตาม ๓๘ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปประจำต่างสำนักงานเดินทางโดยเครื่องบินตามมาตรา ๒๗ ให้บุคคลในครอบครัวเดินทางโดยเครื่องบินได้ด้วย มาตรา ๓๙ ในกรณีจำเป็นซึ่งไม่อาจนำบุคคลในครอบครัวและหรือสิ่งของส่วนตัวไปพร้อมกับผู้เดินทางได้ ให้ผู้เดินทางรายงานชี้แจงเหตุผลความจำเป็นและกำหนดเวลาที่จะเลื่อนการเดินทางหรือการขนย้ายสิ่งของต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดี หรือปลัดกระทรวง หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า แล้วแต่กรณี สำหรับราชการบริหารส่วนกลางหรือผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค แต่ถ้าผู้เดินทางดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ให้เสนอผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง การขอเลื่อนการเดินทางหรือการขนย้ายสิ่งของตามวรรคหนึ่ง ให้ขอก่อนที่ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้นจะเดินทาง ผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่งมีอำนาจอนุญาตให้เลื่อนการเดินทางหรือการขนย้ายสิ่งของได้ภายในเวลาอันสมควร แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ปรากฏในคำสั่งให้เดินทางไปราชการหรือวันที่ได้รับคำสั่งออกจากราชการ แล้วแต่กรณี มาตรา ๔๐ ผู้เดินทางไปราชการประจำซึ่งได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางล่วงหน้าไปแล้ว ถ้าไม่ได้เดินทางภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับให้นำเงินค่าใช้จ่ายที่ได้รับไปแล้วส่งคืนทันที มาตรา ๔๑ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในกรณีไปประจำสำนักงานซึ่งต่างสังกัดให้เบิกจากสังกัดเดิม หมวด ๓ การเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม มาตรา ๔๒ การเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม ให้หมายความถึงการเดินทางเพื่อกลับภูมิลำเนาเดิมของผู้เดินทางไปราชการประจำในกรณีที่ออกจากราชการหรือถูกสั่งพักราชการ มาตรา ๔๓ ข้าราชการซึ่งออกจากราชการหรือลูกจ้างซึ่งทางราชการเลิกจ้าง จะเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัว ได้เฉพาะค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ และค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวเพื่อกลับภูมิลำเนาเดิมของข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้น ตามอัตราสำหรับตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศครั้งสุดท้ายก่อนออกจากราชการหรือเลิกจ้าง ในกรณีที่ข้าราชการหรือลูกจ้างถึงแก่ความตาย ให้สิทธิในการเบิกค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งตกแก่ทายาทผู้ใดผู้หนึ่ง ที่อยู่กับข้าราชการหรือลูกจ้างขณะถึงแก่ความตาย ในกรณีทีไม่มีทายาทที่อยู่กับข้าราชการหรือลูกจ้างขณะถึงแก่ความตายหรือมีทายาทแต่ไม่สามารถจัดการได้ ให้สิทธิในการเบิกค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งตกแก่ทายาทผู้ใดผู้หนึ่งที่มิได้ไปอยู่ด้วย ถ้าทายาทผู้นั้นต้องเดินทางไปจัดการดังกล่าวให้เบิกค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งสำหรับตนเองได้เฉพาะการเดินทางกลับ การเดินทางและการขนย้ายสิ่งของตามมาตรานี้ ให้กระทำภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันออกจากราชการ เลิกจ้าง หรือตาย ถ้าเกินต้องได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง มาตรา ๔๔ ข้าราชการซึ่งถูกสั่งพักราชการหรือลูกจ้างซึ่งถูกสั่งพักการจ้าง จะเบิกค่าใช้จ่ายสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัว เฉพาะค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ และค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวเพื่อกลับภูมิลำเนาเดิมของข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้นโดยจะไม่รอผลการสอบสวนถึงที่สุดก็ได้ มาตรา ๔๕ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมตามมาตรา ๔๓ และมาตรา ๔๔ จะขอเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังท้องที่อื่นซึ่งมิใช่ภูมิลำเนาเดิมโดยเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไม่สูงกว่า ให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีขึ้นไปหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าสำหรับราชการบริหารส่วนกลาง หรือผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค มาตรา ๔๖ การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมในกรณีที่มิได้กำหนดไว้ในหมวดนี้ ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ ๒ หมวด ๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ลักษณะ ๓ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศ หมวด ๑ การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว มาตรา ๔๗ การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ได้แก่ การเดินทางไปราชการนอกราชอาณาจักรของผู้รับราชการประจำในประเทศไทย และให้หมายความรวมถึงการเดินทางของผู้รับราชการประจำในต่างประเทศ ซึ่งไปราชการ ณ ที่ใด ๆ ในต่างประเทศหรือมายังประเทศไทยเฉพาะเวลาที่เดินทางอยู่นอกราชอาณาจักร เวลาที่เดินทางอยู่นอกราชอาณาจักร สำหรับผู้รับราชการประจำในประเทศไทย หมายถึงเวลาตั้งแต่ประทับตราหนังสือเดินทางออกจนถึงเวลาที่ประทับตราหนังสือเดินทางเข้า และสำหรับผู้รับราชการประจำในต่างประเทศ หมายถึงเวลาออกเดินทางจากที่พักประจำในต่างประเทศจนกลับถึงที่พักดังกล่าว แต่ในกรณีที่เดินทางมายังประเทศไทย มิให้รวมเวลาตั้งแต่ประทับตราหนังสือเดินทางเข้าจนถึงเวลาที่ประทับตราหนังสือเดินทางออกจากประเทศไทย ในกรณีการเดินทางของข้าราชการในส่วนราชการที่มีวิธีปฏิบัติในการเดินทางเข้าออกโดยใช้เอกสารอย่างอื่นซึ่งมิใช่หนังสือเดินทาง เวลาที่ถือว่าเป็นเวลาเข้าและออกจากประเทศไทย ให้เป็นไปตามวิธีที่ถือปฏิบัตินั้น มาตรา ๔๘ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ได้แก่ (๑) เบี้ยเลี้ยงเดินทาง (๒) ค่าเช่าที่พัก (๓) ค่าพาหนะรวมทั้งค่าเช่ายานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับ ยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้างคนหาบหาม และอื่น ๆ ทำนองเดียวกัน (๔) ค่ารับรอง (๕) ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นเนื่องในการเดินทางไปราชการ มาตรา ๔๙ เบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวให้เบิกในลักษณะเหมาจ่ายตามอัตราในบัญชี ๔ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ การเดินทางในวันใดที่ไม่จำเป็นต้องพักแรม หรือโดยปกติต้องพักแรมในยานพาหนะ หรือในที่ซึ่งได้จัดให้เป็นทางการ ผู้เดินทางจะนำวันดังกล่าวไปรวมในการคำนวณค่าเช่าที่พักในลักษณะเหมาจ่ายตามวรรคหนึ่งไม่ได้ ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการเจ็บป่วยและจำเป็นต้องพักเพื่อรักษาพยาบาล ให้นำมาตรา ๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม การเดินทางไปปฏิบัติราชการของลูกจ้างที่ส่วนราชการในต่างประเทศเป็นผู้จ้าง ให้เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักได้ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๕๐ การนับเวลาเดินทางไปราชการต่างประเทศเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทางให้นับตั้งแต่เวลาออกเดินทางจากประเทศไทยหรือที่พักประจำในต่างประเทศ จนกลับถึงประเทศไทย หรือที่พักประจำในต่างประเทศ แล้วแต่กรณี เวลาเดินทางไปราชการ ให้นับยี่สิบสี่ชั่วโมงเป็นหนึ่งวัน ถ้าไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมง หรือเกินยี่สิบสี่ชั่วโมง และส่วนที่ไม่ถึงหรือเกินยี่สิบสี่ชั่วโมงนั้นนับได้เกินสิบสองชั่วโมง ให้ถือเป็นหนึ่งวัน มาตรา ๕๑ การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวของบุคคลดังต่อไปนี้ จะเลือกเบิกค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายจริงโดยมีใบสำคัญคู่จ่ายก็ได้คือ (๑) ผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าขึ้นไป (๒) ผู้เดินทางไปราชการในฐานะผู้แทนส่วนราชการเพื่อเข้าร่วมในการประชุมระดับรัฐมนตรี (๓) ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวในกรณีจำเป็นอาจเบิกค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายเงินโดยมีใบสำคัญคู่จ่ายได้ ถ้าได้ระดับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ มาตรา ๕๒ ค่าพาหนะสำหรับผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ส่วนการเดินทางภายในของต่างประเทศจะเบิกค่าพาหนะในลักษณะเหมาจ่ายตามหลักเกณฑ์และวงเงินที่สำนักงบประมาณกำหนดก็ได้ มาตรา ๕๓ การเดินทางไปราชการต่างประเทศโดยเครื่องบินจากประเทศไทยไปต่างประเทศ หรือจากต่างประเทศกลับประเทศไทย หรือการเดินทางในต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ชั้นหนึ่ง สำหรับผู้ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ (ก) หัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาล (ข) ประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานวุฒิสภา และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (ค) รัฐมนตรี (ง) ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย และข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๙ ขึ้นไป (จ) ข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป (ฉ) ข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป (ช) ข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกพิเศษอันดับ ๒ ขึ้นไป (ซ) ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษอันดับ ๒ ขึ้นไป (๒) ชั้นต่ำสุด สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศ นอกจากที่กล่าวใน (๑) มาตรา ๕๔ ค่ารับรองและค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการ ให้เบิกในลักษณะเหมาจ่ายตามหลักเกณฑ์และวงเงินที่สำนักงบประมาณกำหนด มาตรา ๕๕ ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวจะเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับคู่สมรสได้เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อได้รับอนุญาตจากกระทรวงเจ้าสังกัดให้ติดตามไปได้ (๒) เมื่อเจ้าหน้าที่การทูตระดับ ๘ ขึ้นไป เป็นหัวหน้าคณะไปราชการในกรณี (ก) ถวายหรือยื่นพระราชสาส์นตราตั้ง หรือทูลลาหรือลาต่อพระราชาธิบดี หรือประมุขแห่งรัฐที่อยู่ในเขตอาณา (ข) ตามเสด็จพระราชดำเนินเนื่องในการที่พระมหากษัตริย์หรือพระราชินีเสด็จเยือนประเทศที่อยู่ในเขตอาณา (ค) รัฐบาลของประเทศที่อยู่ในเขตอาณาได้เชิญคู่สมรสไปร่วมงานพิธีในประเทศเขตอาณาด้วย มาตรา ๕๖ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับคู่สมรสตามมาตรา ๕๕ ให้เบิกได้ในอัตราเดียวกับผู้เดินทาง เว้นแต่ค่าเช่าที่พักที่เหมาจ่ายให้เบิกได้กึ่งหนึ่งของอัตราที่ผู้เดินทางมีสิทธิแต่ถ้าผู้เดินทางได้เบิกค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายจริงแล้วให้งดจ่าย มาตรา ๕๗ ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว จะเบิกค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับตนเองและคู่สมรสมิได้ เว้นแต่กรณีจำเป็นตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๕๘ ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวซึ่งได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางล่วงหน้าไปแล้ว ถ้าไม่ได้เดินทางภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันได้รับ ให้นำเงินค่าใช้จ่ายที่ได้รับไปแล้วส่งคืนทันที หมวด ๒ การเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ มาตรา ๕๙ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศได้แก่ (๑) เบี้ยเลี้ยงเดินทาง (๒) ค่าเช่าที่พัก (๓) ค่าพาหนะ (๔) ค่าเครื่องแต่งตัว (๕) ค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ มาตรา ๖๐ การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศในกรณีที่มิได้กำหนดไว้ในหมวดนี้ ให้นำลักษณะ ๓ หมวด ๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๖๑ เบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ ให้เบิกได้เฉพาะระยะเวลาระหว่างเดินทาง ในกรณีที่เดินทางไปถึงท้องที่ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ในต่างประเทศถ้าไม่อาจเข้าพักในที่ที่ทางราชการจัดให้หรือบ้านเช่าได้ และผู้บังคับบัญชาซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าขึ้นไปอนุญาตแล้ว ให้เบิกค่าเช่าที่พักสำหรับตนเอง คู่สมรส บุตรอายุไม่เกินยี่สิบห้าปีซึ่งไม่มีคู่สมรสและอยู่ในความอุปการะที่จะต้องเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศด้วยและผู้ติดตามได้ ไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันไปถึงท้องที่ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ ค่าเช่าที่พักสำหรับคู่สมรส บุตรและผู้ติดตามให้เบิกในลักษณะเหมาจ่ายในอัตราเดียวกับผู้เดินทางสำหรับบุคคลดังกล่าวสองคนรวมกัน ถ้าไม่ถึงสองคน หรือเกินสองคนแต่ไม่ครบคู่ ให้เบิกสำหรับผู้ที่ไม่ครบหรือเกินดังกล่าวในอัตราเดียวกับผู้เดินทางได้ ในกรณีมีความจำเป็นต้องเช่าที่พักแรมเกินระยะเวลาและอัตราที่กำหนดไว้ต้องได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง มาตรา ๖๒ ค่าพาหนะเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง โดยจะต้องใช้ยานพาหนะที่เหมาะสมซึ่งต้องคำนึงถึงความรวดเร็วและประหยัด ส่วนคู่สมรสและบุตรอายุไม่เกินยี่สิบห้าปีซึ่งไม่มีคู่สมรสและอยู่ในความอุปการะที่จะต้องเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศด้วย ให้เบิกได้ในอัตราเดียวกับผู้เดินทาง ผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศจะเบิกค่าพาหนะสำหรับผู้ติดตามซึ่งได้รับอนุญาตจากกระทรวงเจ้าสังกัดแล้วได้ดังนี้ (๑) หนึ่งคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๖ ลงมาหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันโท นาวาโท นาวาอากาศโทลงมา หรือข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศพันตำรวจโทลงมา (๒) ไม่เกินสองคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๗ ขึ้นไปหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอกขึ้นไป ค่าพาหนะสำหรับผู้ติดตามให้เบิกได้ในอัตราต่ำสุด ค่าพาหนะสำหรับคู่สมรส บุตร และผู้ติดตามจะเบิกไม่ได้ถ้าบุคคลดังกล่าวมิได้ออกเดินทางภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ข้าราชการหรือลูกจ้างออกเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ มาตรา ๖๓ ให้นำมาตรา ๖๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่กรณีที่ผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ คู่สมรส บุตร หรือผู้ติดตามเดินทางกลับประเทศไทย ในกรณีที่คู่สมรส บุตร หรือผู้ติดตามมีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางกลับประเทศไทยก่อนข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้น ให้กระทรวงเจ้าสังกัดทำความตกลงกับกระทรวงการคลังจึงจะเบิกค่าพาหนะเดินทางกลับได้ ค่าพาหนะสำหรับบุตรซึ่งเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศ หรือบุตรที่เกิดในระหว่างเวลาที่รับราชการประจำในต่างประเทศจะเบิกไม่ได้ถ้ามิได้เดินทางกลับภายในกำหนดสามปีนับแต่วันที่ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้นเดินทางกลับ มาตรา ๖๔ ให้นำมาตรา ๕๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่การเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศและการเดินทางกลับประเทศไทยโดยเครื่องบิน คู่สมรสหรือบุตร ให้มีสิทธิโดยสารชั้นเดียวกับผู้เดินทาง แต่ถ้ามิได้เดินทางพร้อมกับข้าราชการหรือลูกจ้าง ให้เบิกได้ในอัตราต่ำสุดสำหรับผู้ติดตามไม่ว่าจะเดินทางพร้อมกันหรือไม่ ให้เบิกได้ในอัตราต่ำสุด มาตรา ๖๕ ผู้เดินทางไปรับราชการประจำในต่างประเทศ ให้ได้รับค่าเครื่องแต่งตัวตามอัตราในบัญชี ๕ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ผู้ซึ่งเคยได้รับค่าเครื่องแต่งตัวมาแล้ว และในการเดินทางครั้งใหม่เป็นการเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศที่ใช้เครื่องแต่งตัวประเภทเดียวกับที่ใช้ในการเดินทางครั้งก่อน และมีระยะเวลาไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ออกเดินทางครั้งนั้น ในกรณีที่ได้รับค่าเครื่องแต่งตัวแล้ว แต่มิได้เดินทาง ให้ถือวันที่ได้รับเป็นวันออกเดินทาง มาตรา ๖๖ ให้นำมาตรา ๖๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่กรณีที่คู่สมรสและบุตรจะต้องเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศด้วย คู่สมรสและบุตร จะเบิกค่าเครื่องแต่งตัวไม่ได้ถ้ามิได้ออกเดินทางภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ข้าราชการหรือลูกจ้างออกเดินทาง มาตรา ๖๗ ในกรณีที่ทางราชการสั่งงดการเดินทางโดยมิใช่ความผิดของผู้เดินทาง ถ้าผู้เดินทางได้ใช้จ่ายค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับตนเอง คู่สมรส หรือบุตรไปแล้ว หรือมีข้อผูกพันที่จะต้องจ่ายโดยสุจริตโดยมีหลักฐานก็ไม่ต้องส่งคืน มาตรา ๖๘ ให้นำมาตรา ๔๓ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ โดยอนุโลม มาตรา ๖๙ ในกรณีที่ข้าราชการหรือลูกจ้างที่ปฏิบัติราชการประจำในต่างประเทศถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งพักการจ้าง จะเบิกค่าใช้จ่ายสำหรับตนเอง คู่สมรส บุตร หรือผู้ติดตามเฉพาะค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ และค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่กลับประเทศไทยโดยจะไม่รอผลการสอบสวนถึงที่สุดก็ได้ มาตรา ๗๐ ค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ให้เบิกในลักษณะเหมาจ่ายตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางจากประเทศไทยไปราชการประจำในต่างประเทศและคู่สมรสหรือบุตรซึ่งต้องเดินทางจากประเทศไทยไปอยู่ด้วย ให้เบิกได้ในอัตราห้าเท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวจะพึงได้รับจากทางราชการ (๒) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางออกจากต่างประเทศหนึ่งไปราชการประจำในต่างประเทศอื่นและคู่สมรส หรือบุตร ซึ่งติดตามไปอยู่ด้วยจากประเทศเดียวกับผู้เดินทาง ให้เบิกได้ในอัตราสี่เท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ ที่บุคคลดังกล่าวจะพึงได้รับตามอัตราสำหรับประเทศซึ่งจะไปราชการประจำใหม่ (๓) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางจากเมืองหนึ่งไปราชการประจำอีกเมืองหนึ่งในต่างประเทศเดียวกัน และคู่สมรสหรือบุตรซึ่งติดตามไปอยู่ด้วยจากเมืองเดียวกับผู้เดินทาง ให้เบิกได้ในอัตราสามเท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวจะพึงได้รับตามอัตราสำหรับประเทศนั้น (๔) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางจากต่างประเทศที่มีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่กลับประเทศไทยและคู่สมรสหรือบุตรที่ซึ่งกลับมาด้วยจากประเทศเดียวกับผู้เดินทาง ให้เบิกได้ในอัตราสามเท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่บุคคลดังกล่าวได้รับครั้งสุดท้ายก่อนเดินทางกลับประเทศไทย ในกรณีที่คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับก่อนการเบิกค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ให้เป็นไปตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด บทเฉพาะกาล มาตรา ๗๑ การเดินทางไปราชการที่ต่อเนื่องกันในระหว่างการใช้พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ กับพระราชกฤษฎีกานี้ สำหรับสิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหรือที่ก่อหนี้ผูกพันไปแล้วโดยสุจริตก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๗๒ การเดินทางไปราชการระหว่างวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับกับวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้เดินทางยังคงมีสิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ แต่ทั้งนี้ ไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามพระราชกฤษฎีกานี้ สำหรับส่วนที่เกินจำนวนเงินค่าใช้จ่ายที่ได้รับแล้วนั้น ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี บัญชี ๑ อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร ผู้ดำรงตำแหน่งระดับหรือชั้นยศ ประเภท ก. วันละ บาท ประเภท ข. วันละ บาท ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑ ถึงระดับ ๒ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือพลทหาร พลตำรวจ นายทหารชั้นประทวน ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ๕๐ ๓๐ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๓ ถึงระดับ ๕ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ ดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี ถึงพันตรี นาวาตรี นาวาอากาศรี หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศร้อยตำรวจตรีถึงพันตำรวจตรี ๗๐ ๕๐ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๖ ถึงระดับ ๘ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ถึงชั้น ๓ หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ถึงชั้น ๓ หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนตั้งแต่พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ถึงพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกพิเศษ อันดับ ๑ หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโทถึงพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ อันดับ ๑ ๘๐ ๖๐ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไปหรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกพิเศษ อันดับ ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ อันดับ ๒ ขึ้นไป ๙๐ ๗๐ บัญชี ๒ อัตราค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร ผู้ดำรงตำแหน่งระดับหรือชั้นยศ ประเภท ก. วันละ บาท ประเภท ข. วันละ บาท ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑ ถึงระดับ ๒ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือพลทหาร พลตำรวจ นายทหารชั้นประทวน ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ๑๐๐ ๕๐ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๓ ถึงระดับ ๕ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ ดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี ถึงพันตรี นาวาตรี นาวาอากาศรี หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศร้อยตำรวจตรีถึงพันตำรวจตรี ๑๓๐ ๖๕ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๖ ถึงระดับ ๘ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ถึงชั้น ๓ หรือข้าราชการอัยการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ถึงชั้น ๓ หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ถึงพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกพิเศษ อันดับ ๑ หรือข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศพันตำรวจโทถึงพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ อันดับ ๑ ๑๖๐ ๘๐ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไปหรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกพิเศษ อันดับ ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ อันดับ ๒ ขึ้นไป ๒๐๐ ๑๐๐ บัญชี ๓ ค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร ระยะทาง – กม. เงิน - บาท ประเภท ก. ประเภท ข. ประเภท ค. ๑ – ๕๐ ๕๑ – ๑๐๐ ๑๐๑ – ๑๕๐ ๑๕๑ – ๒๐๐ ๒๐๑ – ๒๕๐ ๒๕๑ – ๓๐๐ ๓๐๑ – ๓๕๐ ๓๕๑ – ๔๐๐ ๔๐๑ – ๔๕๐ ๔๕๑ – ๕๐๐ ๕๐๑ – ๕๕๐ ๕๕๑ - ๖๐๐ ๖๐๑ – ๖๕๐ ๖๕๑ – ๗๐๐ ๗๐๑ – ๗๕๐ ๗๕๑ – ๘๐๐ ๘๐๑ – ๘๕๐ ๘๕๑ – ๙๐๐ ๙๐๑ – ๙๕๐ ๙๕๑ – ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๑ – ๑,๐๕๐ ๑,๐๕๑ – ๑,๑๐๐ ๑,๑๐๑ – ๑,๑๕๐ ๑,๑๕๑ – ๑,๒๐๐ ๑,๒๐๑ – ๑,๒๕๐ ๑,๒๕๑ – ๑,๓๐๐ ๑,๓๐๑ – ๑,๓๕๐ ๑,๓๕๑ – ๑,๔๐๐ ๑,๔๐๑ – ๑,๔๕๐ ๑,๔๕๑ – ๑,๕๐๐ ๑,๕๐๑ – ๑,๕๕๐ ๑,๕๕๑ ขึ้นไป ๑,๒๐๐ ๑,๔๐๐ ๑,๗๐๐ ๑,๙๐๐ ๒,๒๐๐ ๒,๔๐๐ ๒,๗๐๐ ๒,๙๐๐ ๓,๒๐๐ ๓,๔๐๐ ๓,๗๐๐ ๓,๙๐๐ ๔,๒๐๐ ๔,๔๐๐ ๔,๗๐๐ ๔,๙๐๐ ๕,๒๐๐ ๕,๔๐๐ ๕,๗๐๐ ๕,๙๐๐ ๖,๒๐๐ ๖,๔๐๐ ๖,๗๐๐ ๖,๙๐๐ ๗,๒๐๐ ๗,๔๐๐ ๗,๗๐๐ ๗,๙๐๐ ๘,๒๐๐ ๘,๔๐๐ ๘,๗๐๐ ๙,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๒๐๐ ๑,๕๐๐ ๑,๗๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๒๐๐ ๒,๕๐๐ ๒,๗๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๒๐๐ ๓,๕๐๐ ๓,๗๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๒๐๐ ๔,๕๐๐ ๔,๗๐๐ ๕,๐๐๐ ๕,๒๐๐ ๕,๕๐๐ ๕,๗๐๐ ๖,๐๐๐ ๖,๒๐๐ ๖,๕๐๐ ๖,๗๐๐ ๗,๐๐๐ ๗,๒๐๐ ๗,๕๐๐ ๗,๗๐๐ ๘,๐๐๐ ๘,๒๐๐ ๘,๕๐๐ ๘,๗๐๐ ๘๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๓๐๐ ๑,๕๐๐ ๑,๘๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๓๐๐ ๒,๕๐๐ ๒,๘๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๓๐๐ ๓,๕๐๐ ๓,๘๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๓๐๐ ๔,๕๐๐ ๔,๘๐๐ ๕,๐๐๐ ๕,๓๐๐ ๕,๕๐๐ ๕,๘๐๐ ๖,๐๐๐ ๖,๓๐๐ ๖,๕๐๐ ๖,๘๐๐ ๗,๐๐๐ ๗,๓๐๐ ๗,๕๐๐ ๗,๘๐๐ ๘,๐๐๐ ๘,๓๐๐ ๘,๔๐๐ หมายเหตุ ๑. ประเภท ก. ได้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกพิเศษ อันดับ ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ อันดับ ๒ ขึ้นไป ๒. ประเภท ข. ได้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๖ ถึงระดับ ๘ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ถึงชั้น ๓ หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ถึงชั้น ๓ หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ถึงพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกพิเศษ อันดับ ๑ หรือข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศพันตำรวจโทถึงพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ อันดับ ๑ ๓. ประเภท ค. ไดแก่ผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๕ ลงมาหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ ดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ หรือข้าราชการทหารซึ่งรับเงินเดือนพันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรีลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจตรีลงมา บัญชี ๔ อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทาง ไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ผู้ดำรงตำแหน่งหรือชั้นยศ ประเภท ก. บาทต่อวัน ประเภท ข. บาทต่อวัน เบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก เบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ตำแหน่งระดับ ๕ ลงมาหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าหรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือน ชั้น ๑ ดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ หรือข้าราชการทหาร ซึ่งรับเงินเดือนพันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรีลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจตรีลงมา ๕๐๐ ๗๐๐ ๔๕๐ ๖๐๐ ตำแหน่งระดับ ๖ ถึงระดับ ๘ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ถึงชั้น ๓ หรือข้าราชการอัยการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ถึงชั้น ๓ หรือข้าราชการทหาร ซึ่งรับเงินเดือนพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ถึงพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกพิเศษอันดับ ๑ หรือข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศพันตำรวจโท ถึงพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ อันดับ ๑ ๖๐๐ ๙๐๐ ๕๐๐ ๗๕๐ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหาร ซึ่งรับเงินเดือนพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกพิเศษอันดับ ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษอันดับ ๒ ขึ้นไป ๘๐๐ ๑,๒๐๐ ๗๐๐ ๙๐๐ ประธานศาลฎีกา ประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรัฐมนตรี ๑,๐๐๐ ๑,๔๐๐ ๘๐๐ ๑,๒๐๐ หมายเหตุ ๑. ประเภท ก. ได้แก่ประเทศในทวีปยุโรป อเมริกาเหนือและใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ คูเวต ซาอุดิอาระเบีย และอิหร่าน ๒. ประเภท ข. ได้แก่ประเทศอื่น ๆ นอกจากที่กำหนดในประเภท ก. ๓. ในกรณีที่เดินทางในวันหนึ่งวันใดคาบเกี่ยวหลายประเทศ ให้ใช้สิทธิเบิกตามประเภทที่สูงกว่าได้ บัญชี ๕ อัตราค่าเครื่องแต่งตัวไปรับราชการประจำในต่างประเทศ ลำดับที่ ตำแหน่ง ประเภท ก. ประเภท ข. ๑ เจ้าหน้าที่การทูตระดับ ๕ ลงมา ภริยา หรือสามี บุตร คนละ ๒๘,๐๐๐ ๑๗,๐๐๐ ๕,๕๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๑๒,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ๒ เจ้าหน้าที่การทูตระดับ ๖ ถึงระดับ ๙ ภริยา หรือสามี บุตร คนละ ๓๒,๐๐๐ ๑๘,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ๒๔,๐๐๐ ๑๕,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๓ เจ้าหน้าที่การทูตระดับ ๑๐ ภริยา หรือสามี บุตร คนละ ๔๕,๐๐๐ ๒๑,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๒๘,๐๐๐ ๑๖,๐๐๐ ๖,๐๐๐ หมายเหตุ ๑. ประเภท ก. ได้แก่ประเทศอื่น ๆ นอกจากที่กำหนดในประเภท ข. ๒. ประเภท ข. ได้แก่ประเทศสาธารณะรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กัมพูชาประชาธิปไตย สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า มาเลเซีย สาธารณรัฐศรีลังกา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐสิงคโปร์ ๓. เจ้าหน้าที่การทูตระดับ ๕ ขึ้นไป ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องแต่งตัวราตรีสโมสร (white tie) หรือเครื่องแต่งตัวมอร์นิ่งโค้ต เพราะมีหน้าที่ต้องเข้างานพิธีต่าง ๆ และตามประเพณีของประเทศนั้น จำต้องแต่งตัวแบบเช่นว่านั้น รัฐมนตรีเจ้าสังกัดจะอนุมัติให้เบิกค่าเครื่องแต่งตัวดังกล่าวอย่างละ ๑ ชุด เพิ่มขึ้นอีกต่างหากก็ได้ เท่าที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกินชุดละ ๘,๐๐๐ บาท หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการยังไม่เหมาะสม และกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเดินทางไปราชการชั่วคราวและประจำ ทั้งในราชอาณาจักรและต่างประเทศยังไม่เป็นระบบ และโดยที่ในปัจจุบันได้มีกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีปรับปรุงตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศ ของข้าราชการบางประเภทแตกต่างไปจากเดิมมาก สมควรปรับปรุงอัตราค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน และกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเดินทางไปราชการชั่วคราวและประจำทั้งในราชอาณาจักรและต่างประเทศขึ้นใหม่ให้เป็นระบบ ตลอดจนกำหนดสิทธิการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้สอดคล้องกับการปรับปรุงตำแหน่งระดับ ชั้นหรือยศของข้าราชการบางประเภท จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๐/ตอนที่ ๗๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๗ พฤษภาคม ๒๕๒๖
301260
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2525
ตราพระบรมราชโองการ ตราพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2525 ---------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2525 เป็นปีที่ 37 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรขยายระยะเวลาการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2518 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า `พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2525' มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2525 เป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 2 แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2524และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน `มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป' ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระ ราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2524 ขยายเวลาการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2522 ออกไปหนึ่งปีนั้น เนื่องจากปรากฏว่าในสภาวะการณ์ปัจจุบัน ทางราชการยังมีภาระหนักเกี่ยวกับเงินงบประมาณแผ่นดินซึ่งจำเป็นต้องนำมาใช้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศในด้านต่าง ๆ สมควรขยายระยะเวลาการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราช การ พ.ศ. 2522 ออกไปอีกระยะหนึ่ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
318487
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2525
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๕[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นปีที่ ๓๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๕” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔ ทวิ ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๓ และยังคงได้รับหรือมีสิทธิได้รับอยู่ในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๕ เดือนละต่ำกว่าอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของข้าราชการแต่ละประเภท ตามกฎหมายว่าด้วยการให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน บัญชีอัตราเงินเดือนทหาร บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม หรือบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ แล้วแต่กรณี ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีก ในอัตราเดือนละร้อยละสามสิบเก้าของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ แต่ทั้งนี้ เมื่อรวม ช.ค.บ. ตามวรรคนี้กับเบี้ยหวัดหรือบำนาญแล้ว ให้ได้รับไม่เกินอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของข้าราชการแต่ละประเภทดังกล่าว ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตั้งแต่วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๒๓ เป็นต้นมา และยังคงได้รับหรือมีสิทธิได้รับอยู่ในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๕ เดือนละต่ำกว่าอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของข้าราชการแต่ละประเภท ตามกฎหมายว่าด้วยการให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน บัญชีอัตราเงินเดือนทหาร บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม หรือบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ แล้วแต่กรณี ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละร้อยละสิบหกของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ แต่ทั้งนี้ เมื่อรวม ช.ค.บ. ตามวรรคนี้กับเบี้ยหวัด หรือบำนาญแล้ว ให้ได้รับไม่เกินอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของข้าราชการแต่ละประเภทดังกล่าว สำหรับผู้มีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ให้ถือบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของผู้ที่ก่อให้เกิดสิทธิในบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดนั้น ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญรายใดไม่อาจนำอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของข้าราชการแต่ละประเภทมาใช้บังคับ ให้ใช้อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนหมายเลข ๓ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการโดยให้ได้รับตามบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๕ ในการนี้สมควรให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มขึ้นในรูปเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญด้วย แต่ปรากฏว่าบุคคลดังกล่าวมีอยู่สองประเภท คือ ประเภทแรกได้แก่ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๓ (วันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓) และได้รับเงินช่วยค่าครองชีพเพิ่มในอัตราร้อยละยี่สิบของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญอยู่แล้วตามพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยคำนวณจากเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๑ กับประเภทที่สอง ได้แก่ผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญตั้งแต่วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๒๓ (หลังวันที่พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ ใช้บังคับ) โดยคำนวณจากเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๒ และยังไม่มีการเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพ จึงจำเป็นต้องปรับให้บุคคลทั้งสองประเภทได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพเพิ่มในอัตราส่วนเท่าเทียมกันและสอดคล้องกับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ดังนั้น ผู้ได้รับเบี้ยหวัดฯ ประเภทแรก จึงควรให้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละสามสิบเก้าและผู้ได้รับเบี้ยหวัดฯ ประเภทหลังจึงควรให้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละสิบหกของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๕ เป็นต้นไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๙/ตอนที่ ๒๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑/๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕
301259
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งถึงแก่ความตายเนื่องในการเดินทางไปปฏิบัติงานของรัฐสภา ณ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2524 พ.ศ.2524
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งถึงแก่ความตาย เนื่องในการเดินทางไปปฏิบัติงานของรัฐสภา ณ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๔ พ.ศ. ๒๕๒๔[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นปีที่ ๓๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่าย การเบิกจ่าย และอัตราการจ่ายเงินสวัสดิการแก่ทายาทโดยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งถึงแก่ความตายเนื่องในการเดินทางไปปฏิบัติงานของรัฐสภา ณ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งถึงแก่ความตายเนื่องในการเดินทางไปปฏิบัติงานของรัฐสภา ณ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๔ พ.ศ. ๒๕๒๔” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นต้นไป มาตรา ๓ การจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายเป็นเงินสวัสดิการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งถึงแก่ความตายเนื่องในการเดินทางไปปฏิบัติงานของรัฐสภา ณ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๔ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามพระราชกฤษฎีกานี้ การเบิกและจ่ายเงินสวัสดิการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง ให้ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งถึงแก่ความตายเนื่องในการเดินทางไปปฏิบัติงานของรัฐสภา ณ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๔ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการตามพระราชกฤษฎีกานี้ การขอรับเงินสวัสดิการ ให้ขอรับภายในสามปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๕ เงินสวัสดิการ ให้มีจำนวนสามสิบเท่าของเงินประจำตำแหน่งที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถึงแก่ความตายเนื่องในการเดินทางไปปฏิบัติงานของรัฐสภา ณ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือกรรมาธิการ หรือในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวได้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองหรือข้าราชการฝ่ายรัฐสภาด้วย สามสิบเท่าของเงินเดือนที่ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ทั้งนี้ สุดแต่จำนวนใดจะสูงกว่า มาตรา ๖ ในกรณีที่มีการจ่ายบำเหน็จบำนาญพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้แก่ผู้มีสิทธิตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว ทายาทโดยธรรมไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการตามพระราชกฤษฎีกานี้อีก ในกรณีที่มีการขอรับบำเหน็จบำนาญพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการไว้ก่อนการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้งดการจ่ายเงินสวัสดิการตามพระราชกฤษฎีกานี้ไว้จนกว่าจะปรากฏว่าไม่มีการจ่ายบำเหน็จบำนาญพิเศษตามกฎหมายดังกล่าว เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ถ้ายังไม่มีการขอรับบำเหน็จบำนาญพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และยังไม่พ้นระยะเวลาการขอรับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายดังกล่าว กระทรวงการคลังอาจกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ขอต้องปฏิบัติเพื่อเป็นหลักประกันก่อนการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการก็ได้ มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเดินทางไปปฏิบัติงานของรัฐสภา ณ จังหวัดเชียงใหม่ ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย เมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๔ และสมควรที่ทางราชการจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเป็นเงินสวัสดิการเพื่อสงเคราะห์แก่ทายาทโดยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเหล่านั้น และพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้บัญญัติให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๘/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔/๒ ตุลาคม ๒๕๒๔
301258
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเบี้ยกันดาร พ.ศ.2524
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับเบี้ยกันดาร พ.ศ.๒๕๒๔ ---------------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๔ เป็นปีที่ ๓๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับ เบี้ยกันดาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตาม งบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับ เบี้ยกันดาร พ.ศ. ๒๕๒๔" มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราช กิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเบี้ยกันดาร พ.ศ. ๒๕๒๐ มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ "เบี้ยกันดาร" หมายความว่า เงินที่จ่ายช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้างประจำ เนื่องจากการปฏิบัติราชการประจำในท้องที่กันดารหรือในโรงเรียนที่กันดาร "ท้องที่กันดาร" หมายความว่า ท้องที่ซึ่งกระทรวงการคลังประกาศกำหนดให้ เป็นท้องที่กันดารตามมาตรา ๖ "โรงเรียนที่กันดาร" หมายความว่า โรงเรียนที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การประถมศึกษาแห่งชาติ และตั้งอยู่นอกท้องที่กันดารซึ่งกระทรวงการคลังประกาศกำหนดให้ เป็นโรงเรียนที่กันดารตามมาตรา ๗ "เงินเดือน" หมายความรวมถึง เงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชาและ เงินเพิ่มการเลื่อนฐานะด้วยด้วย มาตรา ๕ การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายเป็นเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเบี้ย กันดาร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ ส่วนวิธี การเบิกจ่ายนั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๖ ให้กระทรวงการคลังประกาศกำหนดท้องที่ใดเป็นท้องที่กันดาร โดยร่วมพิจารณากับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ตามหลักเกณฑ์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) มีทางคมนาคมไม่สะดวก (๒) ไม่มีรถยนต์หรือเรือยนต์โดยสารไปมาได้ตลอดปี (๓) มีโรคภัยไข้เจ็บชุกชุม มาตรา ๗ ให้กระทรวงการคลังประกาศกำหนดโรงเรียนใดเป็นโรงเรียนที่กันดาร โดยร่วมพิจารณากับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง มาตรา ๘ การประกาศตามมาตรา ๖ และมาตรา ๗ ให้กระทรวงการคลังกระทำ ภายในระยะเวลาทุกสามปี มาตรา ๙ ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างจากเงิน งบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนหรือหมวดค่าจ้างประจำของกระทรวง ทบวง กรม และได้รับ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติราชการประจำอยู่ในท้องที่กันดาร หรือในโรงเรียนที่กันดาร หรือได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติราชการในลักษณะประจำตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดอยู่ ในท้องที่กันดารหรือในโรงเรียนที่กันดาร ให้มีสิทธิได้รับเบี้ยกันดารในอัตราร้อยละสิบของเงิน เดือนหรือค่าจ้างรายเดือนที่ได้รับจริง แต่ไม่น้อยกว่าเดือนละสองร้อยบาท ผู้ได้รับเบี้ยกันดารตามวรรคหนึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามกฎหมาย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในระหว่างที่ปฏิบัติราชการในท้องที่กันดารหรือใน โรงเรียนที่กันดาร เว้นแต่ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางในระหว่างที่เดินทางไปปฏิบัติราชการนอกที่ตั้งปกติ ในระหว่างที่ปฏิบัติราชการอยู่ในท้องที่กันดารหรือในโรงเรียนที่กันดาร มาตรา ๑๐ ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งมีสิทธิได้รับเบี้ยกันดารตามมาตรา ๙ หากได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการหรือไปรักษาราชการแทน หรือได้รับอนุญาตให้ไปศึกษา ฝึกอบรม หรือดูงานนอกท้องที่กันดารหรือนอกโรงเรียนที่กันดารเกินสิบห้าวัน ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ย กันดารสำหรับระยะเวลาที่เกินสิบห้าวันนั้น มาตรา ๑๑ บัญชีรายชื่อท้องที่กันดารที่กระทรวงการคลังได้ประกาศกำหนดไว้ แล้ว และใช้อยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับให้ถือว่าเป็นบัญชีรายชื่อท้องที่กันดารตาม พระราชกฤษฎีกานี้ และให้ใช้ต่อไปจนกว่าจะได้มีการประกาศกำหนดขึ้นใหม่ตามพระราช กฤษฎีกานี้ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่เกินสามปีนับแต่วันที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดไว้เดิม มาตรา ๑๒ โรงเรียนซึ่งตั้งอยู่นอกท้องที่กันดารตามพระราชกฤษฎีกานี้ที่ กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดให้เป็นโรงเรียนที่กันดารในบัญชีรายชื่อโรงเรียนที่กันดารตาม ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเบี้ยกันดารของข้าราชการครูส่วนจังหวัดและลูกจ้างประจำ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งใช้อยู่ในวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๓ ให้ถือว่าเป็นโรงเรียนที่กันดารตามพระราชกฤษฎีกานี้ จนกว่าจะได้มีการประกาศกำหนดขึ้นใหม่ ตามพระราชกฤษฎีกานี้ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่เกินสามปีนับแต่วันที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้เดิม มาตรา ๑๓ ข้าราชการและลูกจ้างประจำของสำนักงานคณะกรรมการประถม ศึกษาแห่งชาติซึ่งปฏิบัติงานในโรงเรียนที่กันดารตามมาตรา ๑๒ อยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ ใช้บังคับ ให้มีสิทธิได้รับเบี้ยกันดารตามพระราชกฤษฎีกานี้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นต้นไป มาตรา ๑๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ส. ณ นคร รองนายกรัฐมนตรี +------------------------------------------------------------------------------------------------------+ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีกฎหมายโอน ข้าราชการและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนประชาบาลและ โรงเรียนประถมศึกษาบางประเภท ไปเป็นข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงานคณะกรรมการ การประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ แต่ข้าราชการ ครูส่วนจังหวัดและลูกจ้างประจำที่ได้โอนไปบางคนซึ่งเคยได้รับเบี้ยกันดารตามระเบียบกระทรวง มหาดไทย ว่าด้วยเบี้ยกันดารของข้าราชการครูส่วนจังหวัดและลูกจ้างประจำสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๒๒ อยู่ในวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๓ ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยกันดารตาม พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเบี้ยกันดาร พ.ศ. ๒๕๒๐ เพราะโรงเรียนประชาบาลและ โรงเรียนประถมศึกษาบางแห่งที่ข้าราชการและลูกจ้างประจำดังกล่าวปฏิบัติราชการอยู่นั้นตั้งอยู่ นอกท้องที่กันดารตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว สมควรกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน วิธีการ เบิกจ่ายและอัตราการจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเบี้ยกันดารขึ้นใหม่ เพื่อให้ข้าราชการและลูกจ้าง ประจำของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติในโรงเรียน ดังกล่าวมีสิทธิได้รับเบี้ย กันดารต่อเนื่องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ [รก. ๒๕๒๔/๑๕๐/๑พ./๑๔ กันยายน ๒๕๒๔]
739797
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2523
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นปีที่ ๓๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔ กรรมการกฤษฎีกาให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมรายครั้ง เฉพาะครั้งที่มาประชุม ดังต่อไปนี้ (๑) กรรมการร่างกฎหมาย ครั้งละ ๒๐๐ บาท (๒) กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ครั้งละ ๒๐๐ บาท มาตรา ๕ กรรมการร่างกฎหมายหรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งมิได้เป็นข้าราชการ ลูกจ้างของทางราชการ หรือพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔ อีกเท่าหนึ่ง” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๗ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการประจำคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์แต่ละองค์คณะ และเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของที่ประชุมใหญ่กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง เฉพาะครั้งที่มาประชุม ครั้งละ ๒๐๐ บาท” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกมาตรา ๘ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากการจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการในลักษณะเหมาจ่ายเป็นรายเดือน ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกานั้น ยังไม่เหมาะสม สมควรกำหนดให้มีการจ่ายเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเท่านั้น เพื่อให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จุฑามาศ/ผู้จัดทำ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๙๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓/๒๗ มิถุนายน ๒๕๒๓
301257
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. 2523
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๓ เป็นปีที่ ๓๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๐ บรรดากฎ ข้อบังคับ และระเบียบอื่นในส่วนที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชกฤษฎีกานี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ใช้พระราชกฤษฎีกานี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “สถานศึกษาของทางราชการ” หมายความว่า (๑) มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่น ในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย (๒) วิทยาลัยในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือสังกัดส่วนราชการอื่นที่ ก.พ. รับรองคุณวุฒิ (๓) โรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย กรุงเทพมหานคร เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด (๔) โรงเรียนในสังกัดส่วนราชการอื่น หรือองค์การของรัฐบาลที่ ก.พ. รับรองคุณวุฒิ “สถานศึกษาของเอกชน” หมายความว่า (๑) วิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ซึ่งจัดหลักสูตรระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าแยกต่างหากจากปริญญาตรี (๒) โรงเรียนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนราษฎร์ แต่ไม่รวมถึงโรงเรียนราษฎร์ประเภทอาชีวศึกษาที่ใช้หลักสูตรของโรงเรียนเอง และโรงเรียนการศึกษาพิเศษ “เงินบำรุงการศึกษา” หมายความว่า เงินประเภทต่าง ๆ ที่สถานศึกษาของทางราชการเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนราชการเจ้าสังกัด มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือองค์การของรัฐบาล “เงินค่าเล่าเรียน” หมายความว่า เงินค่าธรรมเนียมการเรียนหรือค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ซึ่งสถานศึกษาของเอกชนเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการหรือทบวงมหาวิทยาลัย “บุตร” หมายความว่า บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปีในวันที่ ๑ พฤษภาคม ของทุกปี แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมและบุตรซึ่งบิดามารดาได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น “ปีการศึกษา” หมายความว่า ปีการศึกษาที่กำหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย ส่วนราชการเจ้าสังกัด มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือองค์การของรัฐบาล มาตรา ๕ การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายเป็นเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ ส่วนวิธีการเบิกจ่ายนั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๖ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามพระราชกฤษฎีกานี้ ได้แก่ (๑) ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งรับเงินเดือนหรือค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำของกระทรวง ทบวง กรม เว้นแต่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจที่อยู่ในระหว่างเข้ารับการอบรมในสถานศึกษาของกรมตำรวจซึ่งเป็นการศึกษาอบรมก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการประจำ และลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งมีหนังสือสัญญาจ้าง (๒) ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้ได้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด มาตรา ๗ ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามมาตรา ๖ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรได้เพียงคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม ให้นับเรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลัง ทั้งนี้ ไม่ว่าเป็นบุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งใด หรืออยู่ในอำนาจปกครองของตนหรือไม่ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรผู้ใดมีบุตรเกินสามคน และต่อมาบุตรคนหนึ่งคนใดในจำนวนสามคนตามวรรคหนึ่งนั้นตายลงก่อนมีอายุครบยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ก็ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเพิ่มขึ้นอีกเท่าจำนวนบุตรที่ตายนั้นโดยให้นับบุตรคนที่อยู่ในลำดับถัดไปก่อน มาตรา ๘ การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ประเภทและอัตราดังนี้ (๑) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการในหลักสูตรระดับไม่สูงกว่าอนุปริญญาหรือเทียบเท่า และหลักสูตรนั้นแยกต่างหากจากหลักสูตรปริญญาตรี ให้ได้รับเงินบำรุงการศึกษาเต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินประเภทและอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด (๒) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของเอกชนในหลักสูตรระดับไม่สูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินค่าเล่าเรียนเต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินประเภทและอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด (๓) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของเอกชนในหลักสูตรระดับสูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าแต่ไม่สูงกว่าอนุปริญญาหรือเทียบเท่า และหลักสูตรนั้นแยกต่างหากจากหลักสูตรปริญญาตรี ให้ได้รับเงินค่าเล่าเรียนตามประเภทและอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง มาตรา ๙ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรผู้ใดมีบุตรเกินสามคนอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรสำหรับบุตรเหล่านั้นต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๐ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๐ กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรโดยไม่จำกัดจำนวนบุตร ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายเกี่ยวกับการลดอัตราเพิ่มประชากรสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นใหม่ และปรับปรุงรายละเอียดบางประการให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น จุฑามาศ/ปรับปรุง ๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๒๐๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๙ ธันวาคม ๒๕๒๓
301256
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2523
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นปีที่ ๓๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ค่ารักษาพยาบาล” หมายความว่า เงินที่สถานพยาบาลเรียกเก็บในการรักษาพยาบาล ดังนี้ (๑) ค่ายา ค่าเลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทนค่าน้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน และอื่น ๆ ทำนองเดียวกันที่ใช้ในการบำบัดโรค (๒) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม (๓) ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์โรค แต่ไม่รวมถึงค่าจ้าง ผู้พยาบาลพิเศษ ค่าธรรมเนียมพิเศษ และค่าบริการอื่นทำนองเดียวกันที่มีลักษณะเป็นเงินตอบแทนพิเศษ (๔) ค่าห้องและค่าอาหารตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล “สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานพยาบาลของทางราชการและสถานพยาบาลของเอกชน “สถานพยาบาลของทางราชการ” หมายความว่า สถานพยาบาลของทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และให้หมายความรวมถึงสถานพยาบาลของกรุงเทพมหานคร รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ สภากาชาดไทย คุรุสภา สมาคมปราบวัณโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและสถานพยาบาลอื่นที่กระทรวงการคลังกำหนด “สถานพยาบาลของเอกชน” หมายความว่า สถานพยาบาลของเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล “บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า (๑) บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นแล้ว (๒) คู่สมรสของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (๓) บิดาหรือมารดาของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล มาตรา ๕ การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ ส่วนวิธีการเบิกจ่ายนั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๖ ภายใต้บังคับมาตรา ๘ ให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวของตน ตามพระราชกฤษฎีกานี้ (๑) ข้าราชการซึ่งได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนของกระทรวง ทบวง กรม (๒) ลูกจ้างประจำซึ่งได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดค่าจ้างประจำของกระทรวง ทบวง กรม (๓) ลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งมีหนังสือสัญญาจ้างที่ได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย และสัญญาจ้างนั้นมิได้ระบุเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลไว้ (๔) ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้ได้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด มาตรา ๗ ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามมาตรา ๖ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรได้เพียงคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม ให้นับเรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลัง ทั้งนี้ ไม่ว่าเป็นบุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งใด หรืออยู่ในอำนาจปกครองของตนหรือไม่ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้ใดมีบุตรเกินสามคน และต่อมาบุตรคนหนึ่งคนใดในจำนวนสามคนตามวรรคหนึ่งนั้นตายลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะก็ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรเพิ่มขึ้นอีกเท่าจำนวนบุตรที่ตายนั้นโดยให้นับบุตรคนที่อยู่ในลำดับถัดไปก่อน มาตรา ๘ บุคคลดังต่อไปนี้ไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ (๑) ผู้ที่มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือในการรักษาพยาบาลตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ (๒) ข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจที่อยู่ในระหว่างรับการศึกษาอบรมในสถานศึกษาของกรมตำรวจ ซึ่งเป็นการศึกษาอบรมก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการประจำ มาตรา ๙ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น มีสิทธิหรือได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่นแล้ว ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือบุคคลใดในครอบครัวของผู้นั้นได้รับค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลจากผู้อื่นแล้ว ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ไปก่อนแล้ว ภายหลังได้รับค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลจากบุคคลอื่นมีจำนวนเท่าหรือเกินกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้นำเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับไปนั้นส่งคืน แต่ถ้าเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบุคคลอื่นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้ส่งคืนเท่าจำนวนที่ได้รับจากบุคคลอื่นนั้น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๑ การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราดังนี้ (๑) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการทั้งประเภทผู้ป่วยภายนอกหรือผู้ป่วยภายใน ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง เว้นแต่ (ก) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรครวมทั้งค่าซ่อมแซมให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด (ข) ค่าห้องและค่าอาหารให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด (๒) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลของเอกชนประเภทผู้ป่วยภายใน ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ดังนี้ (ก) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรครวมทั้งค่าซ่อมแซม ค่าห้องและค่าอาหาร ให้เบิกได้เช่นเดียวกับผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการ (ข) ค่ารักษาพยาบาลประเภทอื่น ๆ ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่จะต้องไม่เกินสามพันบาทสำหรับระยะเวลาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล และในกรณีที่เข้ารับการรักษาพยาบาลเกินสามสิบวัน ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้จะต้องไม่เกินวันละหนึ่งร้อยบาท ในกรณีที่เข้ารับการรักษาพยาบาลหลายครั้ง แต่ละครั้งในระยะเวลาห่างกันไม่เกินสิบห้าวัน ให้นับระยะเวลาการเข้ารับการรักษาพยาบาลครั้งหลังติดต่อกับการเข้ารับการรักษาพยาบาลครั้งก่อน มาตรา ๑๒ ในกรณีที่สถานพยาบาลไม่มียา เลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน น้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ออกซิเจน อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคจำหน่าย หรือสถานพยาบาลไม่อาจให้การตรวนทางห้องทดลองหรือเอ๊กซเรย์แก่ผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลได้ เมื่อแพทย์ผู้ตรวจรักษาหรือหัวหน้าสถานพยาบาลของสถานพยาบาลแห่งนั้นลงชื่อรับรองตามที่แบบกระทรวงการคลังกำหนดแล้ว ก็ให้ผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลซื้อ หรือรับการตรวจทางห้องทดลองหรือเอ๊กซเรย์จากสถานที่อื่นซึ่งอยู่ในประเทศไทยแล้วนำมาเบิกได้ตามมาตรา ๑๑ มาตรา ๑๓ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น หากได้รับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในของสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคัลและสถานพยาบาลนั้นเรียกค่ารักษาพยาบาลคาบเกี่ยวถึงวันที่ประราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ได้รับค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๔ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตร ผู้ใดมีบุตรเกินสามคนอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรเหล่านั้นต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๑ กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายเกี่ยวกับการลดอัตราเพิ่มประชากร สมควรกำหนดเกณฑ์ขึ้นใหม่ โดยให้มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรได้เพียงสามคนเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร พ.ศ. ๒๕๒๑ นอกจากนี้ได้กำหนดให้ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลที่ซื้ออุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคสถานที่อื่นแล้ว ให้เบิกค่าซื้ออุปกรณ์นั้นจากทางราชการได้เช่นเดียวกับอวัยวะเทียม ทั้งนี้จำกัดเฉพาะกรณีเมื่อสถานพยาบาลแห่งนั้นไม่มีจำหน่าย นอกจากนั้น ได้แก้ไขอัตราค่าห้องและค่าอาหารที่เคยเบิกได้รวมกันไม่เกินวันละหนึ่งร้อยยี่สิบบาทเป็นให้เบิกได้ตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนดเพื่อให้สามารถแก้ไขได้ตามความเหมาะสมกับภาวะค่าครองชีพ จึงจำเป็นต้องตามพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น วัชศักดิ์/พิมพ์ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ นันท์นภัสร์/จัดทำ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนพิเศษ ๑๗๘/หน้า ๑/๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๒๓
301255
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2523
ตราพระบรมราชโองการ ตราพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2523 ---------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2523 เป็นปีที่ 35 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรขยายระยะเวลาการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 3 แห่ง พระราชบัญญัติกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภท ตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2518 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า `พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2523' มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2523 เป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 2 แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2522และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน `มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2524 เป็นต้นไป' ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ---------------------------------------------------------------------------- หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระ ราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 ขยายเวลาการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2522 ออกไปหนึ่งปีนั้น เนื่องจากปรากฏว่าในสภาวะการณ์ปัจจุบัน ทาง ราชการยังมีภาระหนักเกี่ยวกับเงินงบประมาณแผ่นดินซึ่งจำเป็นต้องนำมาใช้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศในด้านต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก สมควรขยายระยะเวลาการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้าน ข้าราชการ พ.ศ. 2522 ออกไปอีกระยะหนึ่ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น
301254
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. 2523
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๓ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นปีที่ ๓๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๓” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๑๙ (๒) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๐ มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “คณะที่ปรึกษา” หมายความว่า คณะที่ปรึกษาหรือคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล แต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน “ที่ปรึกษา” หมายความว่า ที่ปรึกษาในคณะที่ปรึกษา หรือกรรมการในคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล แต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา ๕ ให้ที่ปรึกษาได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม ตามอัตราที่นายกรัฐมนตรีกำหนดแต่ต้องไม่เกินอัตราท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๖ ให้อนุกรรมการซึ่งคณะที่ปรึกษาแต่งตั้ง ได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม ตามอัตราที่นายกรัฐมนตรีกำหนดแต่ต้องไม่เกินอัตราท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๗ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีมิได้กำหนดเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนให้แก่ที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการซึ่งคณะที่ปรึกษาแต่งตั้งตามมาตรา ๕ หรือมาตรา ๖ ให้ที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการซึ่งคณะที่ปรึกษาแต่งตั้งได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนในอัตราสูงสุดที่กำหนดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๘ ที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ หรือพนักงานหรือลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ ให้ได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าของอัตราเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ มาตรา ๙ ประธานคณะที่ปรึกษาและประธานคณะอนุกรรมการให้ได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ มาตรา ๑๐ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการ ให้ได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนเช่นเดียวกับที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการ แล้วแต่กรณี และถ้าที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย ให้เบิกเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนได้เพียงตำแหน่งเดียว เลขานุการในคณะที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการ ให้มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนไม่เกินหนึ่งคน และผู้ช่วยเลขานุการในคณะที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการ ให้มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนไม่เกินสองคน มาตรา ๑๑ ที่ปรึกษาในคณะที่ปรึกษาคณะหนึ่ง หรืออนุกรรมการในคณะอนุกรรมการคณะหนึ่ง ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง มาตรา ๑๒ การเบิกเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนจะเบิกจ่ายจากส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือส่วนราชการผู้เป็นเจ้าของเรื่อง ให้เป็นไปตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๓ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี อัตราเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาและอนุกรรมการ ที่ปรึกษา ครั้งละไม่เกิน ๒๐๐ บาท อนุกรรมการ ครั้งละไม่เกิน ๑๕๐ บาท หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๑๙ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน วิธีการเบิกจ่ายและอัตราการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษายังไม่เหมาะสม สมควรปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๙๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๗/๒๗ มิถุนายน ๒๕๒๓
301253
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2523
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๒๓ ------------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นปีที่ ๓๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภท ตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกา ขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๒๓" มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๑๙ (๒) พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๙ มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกา "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย โดยประกาศพระบรมราชโองการ โดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี "กรรมการ" หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการ แต่ไม่รวมถึงกรรมการ ซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนอย่างอื่นในหน้าที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ "คณะอนุกรรมการ" หมายความว่า คณะอนุกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยประกาศพระบรมราชโองการโดยคณะรัฐมนตรี โดยรัฐมนตรี เจ้าสังกัดซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีหรือโดยคณะกรรมการ แต่ไม่รวมถึง อ.ก.พ. กระทรวง หรือทบวงการเมืองที่มีฐานะเป็นกระทรวง อ.ก.พ. ทบวง อ.ก.พ. กรม หรือทบวงการเมืองที่มี ฐานะเป็นกรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด หรือคณะอนุกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ อื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน "อนุกรรมการ" หมายความว่า อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการ แต่ไม่รวมถึง อนุกรรมการซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนอย่างอื่นในหน้าที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ มาตรา ๕ พระราชกฤษฎีกานี้ไม่ใช่บังคับแก่กรรมการและอนุกรรมการใน รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ มาตรา ๖ กรรมการซึ่งจะได้รับเบี้ยประชุมต้องอยู่ในลักษณะหนึ่งลักษณะใด ดังต่อไปนี้ ลักษณะ ๑ กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือโดย ประกาศพระบรมราชโองการ ลักษณะ ๒ กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยรัฐมนตรี เจ้าสังกัด ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี อนุกรรมการของคณะกรรมการลักษณะใดให้ได้รับเบี้ยประชุมตามลักษณะของ กรรมการในคณะกรรมการนั้น มาตรา ๗ กรรมการและอนุกรรมการลักษณะ ๑ และลักษณะ ๒ ให้ได้รับเบี้ย ประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุมตามอัตราท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๘ กรรมการและอนุกรรมการซึ่งมิได้เป็นข้าราชการ ลูกจ้างของทาง ราชการ หรือพนักงานหรือลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าของอัตราเบี้ย ประชุมกรรมการหรืออนุกรรมการ ซึ่งกำหนดไว้ตามอัตราท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๙ ประธานกรรมการและประธานอนุกรรมการ ให้ได้รับเบี้ยประชุม เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเบี้ยประชุมกรรมการหรืออนุกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ มาตรา ๑๐ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการหรือ คณะอนุกรรมการให้ได้รับเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการหรืออนุกรรมการ แล้วแต่กรณี และ ถ้ากรรมการหรืออนุกรรมการผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย ให้เบิกเบี้ยประชุมได้ เพียงตำแหน่งเดียว เลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ ให้มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม ไม่เกินหนึ่งคน และผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ ให้มีสิทธิได้รับ เบี้ยประชุมไม่เกินสองคน มาตรา ๑๑ กรรมการในคณะกรรมการคณะหนึ่ง หรืออนุกรรมการใน คณะอนุกรรมการคณะหนึ่ง ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง มาตรา ๑๒ การเบิกเบี้ยประชุมให้เบิกจ่ายจากกระทรวงทบวงกรมเจ้าของเรื่อง มาตรา ๑๓ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] +----------------------------------------------------------------------------------------------------+ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๑๙ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน วิธีการเบิกจ่าย และอัตราการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการยังไม่เหมาะสม สมควรปรับปรุงให้เหมาะสมกับ สภาพการณ์ปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ [รก. ๒๕๒๓/๙๘/๑พ./๒๗ มิถุนายน ๒๕๒๓]
301252
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2523
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นปีที่ ๓๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔ ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอด ในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ต่ำกว่าเดือนละสี่พันบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละหนึ่งร้อยบาท ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอด ในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตั้งแต่เดือนละสี่พันบาทขึ้นไป แต่ไม่เกินสี่พันหนึ่งร้อยบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละหนึ่งร้อยบาท แต่เมื่อรวม ช.ค.บ. บำนาญแล้ว ให้ได้รับไม่เกินเดือนละสี่พันหนึ่งร้อยบาท” มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ “มาตรา ๔ ทวิ ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๓ เดือนละต่ำกว่าอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือน หมายเลข ๒ ของข้าราชการแต่ละประเภท ตามกฎหมายว่าด้วยการให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน บัญชีอัตราเงินเดือนทหาร บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม หรือบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ แล้วแต่กรณี ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละร้อยละยี่สิบของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ แต่เมื่อรวม ช.ค.บ. ตามวรรคนี้กับเบี้ยหวัดหรือบำนาญแล้วให้ได้รับไม่เกินอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือน หมายเลข ๒ ของข้าราชการแต่ละประเภทดังกล่าว สำหรับผู้มีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ให้ถือบัญชีอัตราเงินเดือน หมายเลข ๒ ของผู้ที่ก่อให้เกิดสิทธิในบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดนั้น ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญรายใดไม่อาจนำอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือน หมายเลข ๒ ของข้าราชการแต่ละประเภทมาใช้บังคับ ให้ใช้อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน หมายเลข ๒ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของหนึ่งสตางค์ ให้ปัดทิ้ง” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕ ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ไม่มีสิทธิได้รับ ช.ค.บ. ตามมาตรา ๓ หรือมาตรา ๔ ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) เข้ารับราชการหรือกลับเข้ารับราชการหรือเข้าทำงานหรือกลับเข้าทำงานสังกัดราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น (๒) เข้าทำงานหรือกลับเข้าทำงานในรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือองค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะได้รับบำนาญควบกับเงินเดือนหรือค่าจ้างด้วยหรือไม่” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ส. ณ นคร รองนายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๔ บัญญัติให้ทายาทผู้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดเท่านั้นเป็นผู้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ซึ่งไม่สอดคล้องกับการจ่ายเงินบำนาญพิเศษและบำนาญตกทอดในกรณีที่ผู้ตายไม่มีทายาท สมควรให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญด้วย นอกจากนี้เมื่อได้มีการปรับให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน บัญชีอัตราเงินเดือนทหาร ฯลฯ เพื่อให้ข้าราชการทหาร ฯลฯ มีรายได้เหมาะสมกับภาวะการครองชีพในปัจจุบันแล้ว ในการนี้ สมควรให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๓ เดือนละต่ำกว่าอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือน หมายเลข ๒ ของข้าราชการแต่ละประเภท ตามกฎหมายว่าด้วยการให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน บัญชีอัตราเงินเดือนทหาร ฯลฯ แล้วแต่กรณี ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มในอัตราเดือนละร้อยละยี่สิบของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๓ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น จุฑามาศ/ปรับปรุง ๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๓๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖/๑๑ มีนาคม ๒๕๒๓
515027
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นปีที่ ๓๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกาขึ้นโดยเฉพาะ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมของกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกกรรมการและอนุกรรมการ ลักษณะ ๑ ในพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๑๙ มาตรา ๔ กรรมการกฤษฎีกาให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุม ดังต่อไปนี้ (๑) เบี้ยประชุมเหมาจ่ายเป็นรายเดือน (ก) กรรมการร่างกฎหมาย เดือนละ ๑,๕๐๐ บาท (ข) กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ เดือนละ ๑,๕๐๐ บาท (ค) กรรมการร่างกฎหมายที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ด้วย ให้ได้รับเบี้ยประชุมในฐานะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ด้วย (ง) กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ที่ไปทำหน้าที่กรรมการร่างกฎหมายด้วย ให้ได้รับเบี้ยประชุมในฐานะกรรมร่างกฎหมายด้วย (๒) เบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง (ก) ในกรณีที่เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาขอให้กรรมการร่างกฎหมายจากคณะต่าง ๆ มาปฏิบัติหน้าที่เป็นคณะพิเศษ เพื่อพิจารณาร่างกฎหมายหรือให้ความเห็นทางกฎหมายในเรื่องใดเป็นกรณีพิเศษ ให้กรรมการร่างกฎหมายที่เข้าประชุมได้รับเบี้ยประชุมครั้งละ ๒๐๐ บาท (ข) ในการประชุมใหญ่ของกรรมการร่างกฎหมายหรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ให้กรรมการร่างกฎหมายหรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ที่เข้าประชุม ซึ่งไม่ได้เป็นกรรมการในคณะที่ได้พิจารณาเรื่องที่จะนำเข้าที่ประชุมใหญ่นั้นมาก่อน ได้รับเบี้ยประชุมครั้งละ ๒๐๐ บาท มาตรา ๕ กรรมการร่างกฎหมายหรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ หรือมิได้เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔ อีกกึ่งหนึ่ง มาตรา ๖ ประธานกรรมการร่างกฎหมายและหัวหน้าคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นตามเงื่อนไขเดียวกันกับการเพิ่มเบี้ยประชุมของประธานกรรมการตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ มาตรา ๗ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการประจำคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์แต่ละองค์คณะ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเหมาจ่ายเป็นรายเดือน ดังต่อไปนี้ (๑) เลขานุการ เดือนละ ๑,๐๐๐ บาท (๒) ผู้ช่วยเลขานุการ เดือนละ ๗๐๐ บาท มาตรา ๘ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของที่ประชุมใหญ่กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ครั้งละ ๑๕๐ บาท มาตรา ๙ การเบิกเบี้ยประชุม ให้เบิกจ่ายจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มาตรา ๑๐ เงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิได้รับเบี้ยประชุม และวิธีการจ่ายเบี้ยประชุม นอกจากที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๑ ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ส. โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันนี้ เบี้ยประชุมของกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของทางราชการเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๑๙ ซึ่งอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย แต่โดยที่ขณะนี้พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้บัญญัติให้คณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งประกอบด้วยกรรมการร่างกฎหมายและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ มีหน้าที่กว้างขวางยิ่งขึ้นโดยได้กำหนดโดยเฉพาะให้กรรมการกฤษฎีกาได้รับค่าตอบแทนตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษีกาและโดยที่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ปฏิบัติหน้าที่โดยมีการประชุมและมีวิธีพิจารณาที่แน่นอนตามระเบียบที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น จึงสมควรกำหนดค่าตอบแทนของคณะกรรมการกฤษฎีกาให้เป็นเบี้ยประชุมโดยพระราชกฤษฎีกาฉบับหนึ่งเป็นเอกเทศเพื่อให้เหมาะสมกับงานในหน้าที่ของคณะกรรมการกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น ประชุมพร/พิมพ์ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๙ วาทินี/ผู้จัดทำ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๙ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๒๑๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๖/๑๙ ธันวาคม ๒๕๒๒
301251
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522
ตราพระบรมราชโองการ ตราพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 ---------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2522 เป็นปีที่ 34 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศ ว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่ว คราว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 3 แห่ง พระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ.2518 มาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ. 2521 มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2521 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า `พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครองชีพ ชั่วคราว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522' มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2523 เป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครอง ชีพชั่วคราว พ.ศ. 2521และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน `มาตรา 5 ภายใต้บังคับมาตรา 6 และมาตรา 6 ทวิ (1) ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่เกินเดือนละสี่พันแปดร้อยบาท ทั้งนี้ เมื่อหักเงินเบิกลดเนื่องจากการปรับชั้นเงินเดือน (ถ้ามี) ออกแล้ว ให้ได้รับ พ.ช.ค. ในอัตราเดือนละ สองร้อยบาท (2) ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมกับ พ.ช.ค. ตาม (1) แล้ว ถ้ายัง ไม่เกินเดือนละหนึ่งพันเก้าร้อยสามสิบบาทให้ได้รับ พ.ช.ค. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละเจ็ดสิบบาท การคำนวณอัตราค่าจ้างรายวันหรือรายชั่วโมงเป็นรายเดือนเพื่อประโยชน์ตาม (1) และ (2) ให้ เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด' มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครอง ชีพชั่วคราว พ.ศ. 2521และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน `มาตรา 6 ข้าราชการหรือลูกจ้างดังต่อไปนี้ ไม่มีสิทธิได้รับ พ.ช.ค. (1) ข้าราชการซึ่งได้รับเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ (2) ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างเกินเดือนละสี่พันแปดร้อยบาท โดยหักเงิน เบิกลดเนื่องจากการปรับชั้นเงินเดือน (ถ้ามี) ออกแล้ว หากถูกลงโทษตัดเงินเดือนหรือค่าจ้างจนเป็น เหตุให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่เกินเดือนละสี่พันแปดร้อยบาท' มาตรา 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 6 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงิน เพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว พ.ศ. 2521 `มาตรา 6 ทวิ ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมกับ พ.ช.ค. ตามมาตรา 5 (1) เกินเดือนละหนึ่งพันเก้าร้อยสามสิบบาท หากถูกลงโทษตัดเงินเดือนหรือค่าจ้างจนเป็นเหตุให้ได้ รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมกับ พ.ช.ค. ดังกล่าวไม่เกินเดือนละหนึ่งพันเก้าร้อยสามสิบบาท ไม่มีสิทธิได้ รับ พ.ช.ค. ตามมาตรา 5 (2)' ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ส. โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการจ่าย เงินช่วยเหลือเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะค่าครองชีพในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตรา พระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น
301250
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522
พระบรมราชโองการ พระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 --------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2522 เป็นปีที่ 34 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรขยายระยะเวลาการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2518 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า `พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522' มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2522 เป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 2 แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2522และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน `มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 เป็นต้นไป' ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้า ราชการ พ.ศ.2522 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2522 ได้มีบทบัญญัติบางประการที่อาจก่อให้ เกิดผลที่ไม่ตรงตามเจตนารมย์ของทางราชการซึ่งประสงค์จะจูงใจให้ข้าราชการพยายามจัดหาบ้านไว้เป็น กรรมสิทธิ์ของตนเองประกอบกับในสภาวะการณ์ปัจจุบัน ทางราชการมีภาระหนักเกี่ยวกับเงินงบประมาณ แผ่นดิน ซึ่งจะต้องเจียดจ่ายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและปรับปรุงเงินเดือนของข้าราชการ ซึ่ง สมควรขยายระยะเวลาการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2522 ออกไประยะ หนึ่ง เพื่อจะได้มีเวลาแก้ไขปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการให้เหมาะสมและสอดคล้อง กับการจัดหาเงินงบประมาณเพื่อการนี้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น
301249
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ.2522
ตราพระบรมราชโองการ ตราพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2522 ---------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2522 เป็นปีที่ 34 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศ ว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2518 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า `พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2522' มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2522 เป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิก (1) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช 2483 (2) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2490 (3) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491 (4) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2496 (5) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2502 (6) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2511 (7) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2516 (8) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2517 บรรดากฎ ข้อบังคับ และระเบียบอื่นใดในส่วนที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชกฤษฎีกานี้ หรือซึ่งขัด หรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้พระราชกฤษฎีกานี้แทน มาตรา 4 ในพระราชกฤษฎีกานี้ `ข้าราชการ' หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วนระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการตาม กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ารัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้า ราชการฝ่ารัฐสภา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ และข้าราชการ ทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร `เงินเดือน' หมายความว่า เงินเดือนสุทธิที่ข้าราชการได้รับ ทั้งนี้เมื่อหักเงินเบิกลดเนื่องจาก การปรับชั้นเงินเดือนออกแล้ว และรวมกับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชาหรือเงินเพิ่มการเลื่อน ฐานะ ถ้ามี `ท้องที่' หมายความว่า กรุงเทพมหานคร อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือบริเวณที่กระทรวงการ คลังประกาศกำหนดให้เป็นท้องที่เดียวกันตามมาตรา 7 มาตรา 5 การจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายเป็นเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ ให้เป็นไปตามหลัก เกณฑ์และอัตราตามพระราชกฤษฎีกานี้ การเบิกจ่ายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา 6 ให้ข้าราชการมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการในลักษณะเหมาจ่ายตามบัญชีอัตราค่า เช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ผู้นั้น (1) เป็นผู้ซึ่งทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้อยู่แล้ว (2) เป็นผู้ซึ่งเริ่มเข้ารับราชการครั้งแรกหรือกลับเข้ารับราชการใหม่ในท้องที่ใด และยังคงรับ ราชการประจำอยู่ในท้องที่นั้น (3) เป็นผู้ซึ่งทางราชการแต่งตั้งให้กลับไปรับราชการประจำในท้องที่ที่ผู้นั้นเริ่มเข้ารับราชการ ครั้งแรกหรือท้องที่ที่ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่ หลังจากได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการประจำในท้องที่ อื่นเป็นระยะเวลาไม่ถึงห้าปีติดต่อกัน (4) เป็นผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน (5) เป็นข้าราชการวิสามัญ ข้าราชการผู้ใดได้รับเงินเดือนไม่ตรงกับอัตราเงินเดือนในบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระ ราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้ได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามส่วนของเงินเดือน โดยคำนวนตามวิธีการที่กระทรวง การคลังกำหนด มาตรา 7 เพื่อความเป็นธรรมในการได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการให้กระทรวงการคลังมีอำนาจ ประกาศกำหนดให้อำเภอหรือกิ่งอำเภอใดเป็นท้องที่เดียวกันได้ มาตรา 8 ข้าราชการผู้ใดซึ่งมิสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ มีสามีหรือภริยาเป็นข้าราชการซึ่ง มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ หรือเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร พนัก งานท้องถิ่นหรือพนักงานลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ซึ่งมิสิทธิได้รับค่า เช่าบ้านตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น ถ้าสามีหรือภริยาของผู้นั้นได้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านหรือ ทางการได้จัดที่พักอาศัยให้อยู่แล้วในท้องที่เดียวกัน ผู้นั้นไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราช กฤษฎีกานี้ มาตรา 9 การงดหรือลดเบิกจ่ายเงินเดือนแก่ข้าราชการผู้ใดเนื่องจากการถูกตัดเงินเดือน หรือ การลาโดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน ไม่กระทบต่อสิทธิของผู้นั้นที่จะได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระ ราชกฤษฎีกานี้ และให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเสมือนหนึ่งไม่มีการงดหรือลดเบิกจ่ายเงิน เดือนเช่นว่านั้น เว้นแต่เป็นการลาติดตามสามีหรือภริยาซึ่งย้ายไปรับราชการในต่างประเทศ มาตรา 10 ข้าราชการผู้ใดซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการถูกสังพักราชการหรือสั่งให้ออก จากราชการไว้ก่อน หรือโดยกรณีอื่นใดอันเป็นเหตุให้ถูกงดเบิกจ่ายเงินเดือนเมื่อคดีหรือกรณีถึงที่สุด ถ้า ปรากฏว่าผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างกรณีเช่นว่านั้นสำหรับเดือนใด ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเช่า บ้านข้าราชการสำหรับเดือนนั้นตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา 11 ให้ข้าราชการมิสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตั้งแต่วันรายงานตัวเพื่อเข้ารับหน้าที่ และให้สิ้นสุดลงในวันที่ขาดจากอัตราเงินเดือนหรือวันที่อยู่ในข่ายหมดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตาม พระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นถ้าไม่สามารถออกเดินทางไปได้ ในวันส่งมอบหน้าที่ ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการต่อไปอีกไม่เกินสิบวันนับแต่วันส่งมอบหน้าที่ มาตรา 12 ข้าราชการซึ่งรับราชการประจำในต่างประเทศ ถ้าจำเป็นต้องเช่าที่พักอาศัย ให้ กระทรวงเจ้าสังกัดขอตกลงกับกระทรวงการคลังกำหนดอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการให้เป็นราย ๆ ไป มาตรา 13 ข้าราชการผู้ใดได้รับค่าเช่าบ้านอยู่ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้าน ข้าราชการ พุทธศักราช 2483 ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ แม้ผู้นั้นจะไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่า บ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้คงได้รับค่าเช่าบ้านต่อไปตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินอัตราค่า เช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้จนกว่าจะได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่น มาตรา 14 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ส. โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่า ด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช 2483 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว บทบัญญัติ บางประการจึงไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันการแบ่งเขตในกรุงเทพมหานครเป็นเขตอำเภอชั้นในและ ชั้นนอกตามพระราชกฤษฎีกานั้นไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ขณะนี้การคมนาคมสะดวกขึ้นมากแล้วไม่สม ควรให้ข่าราชการซึ่งย้ายไปรับราชการประจำต่างเขตกันในกรุงเทพมหานครได้รับค่าเช่าบ้านด้วย อนึ่งตามหลักการเดิมนั้นข้าราชการเบิกค่าเช่าบ้านได้เฉพาะเมื่อมีการเช่าบ้านจริงและจ่ายให้ตามที่ จ่ายจริงเท่านั้น หลักการดังกล่าวไม่เป็นผลในทางจูงในให้ข้าราชการพยายามจัดหาบ้านไว้เป็นกรรม สิทธิ์ของตนเอง ข้าราชการซึ่งพยายามเก็บหอมรอมริบจนเช่าซื้อบ้านเป็นของตนเองได้กลับหมดสิทธิได้ รับค่าเช่าบ้าน สมควรยกเลิกหลักการนี้เพื่อช่วยเหลือและจูงใจให้ข่าราชการสามารถจัดหาที่อยู่อาศัย ของตนเองได้ โดยการจ่ายค่าเช่าบ้านให้ในลักษณะเหมาจ่ายตามสิทธิของผู้นั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการ เช่าบ้านจริงหรือไม่ นอกจากนี้อัตราค่าเช่าบ้านที่เป็นมานั้นเมื่อคำนวณเป็นอัตราส่วนกับเงินเดือนแล้ว ปรากฏว่าข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้รับค่าเช่าบ้านมากกว่าข้าราชการชั้นผู้น้อย กล่าวคือ ข้าราชการชั้นผู้ ใหญ่ได้รับค่าเช่าบ้านประมาณร้อยละ 18 - 26 ของเงินเดือน ในขณะที่ข้าราชการชั้นผู้น้อยได้รับประมาณ ร้อยละ 15 - 18 ของเงินเดือน เพื่อความเป็นธรรมในระหว่างข้าราชการ สมควรแก้ไขเสียใหม่ให้ได้ รับใกล้เคียงกันในอัตราประมาณร้อยละ 20 ของเงินเดือน จึงจำเป็นต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น
590789
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2521
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นปีที่ ๓๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงิน วิธีการเบิกจ่ายและอัตราการจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๒๐ และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๑” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ค่ารักษาพยาบาล” หมายความว่า เงินที่สถานพยาบาลเรียกเก็บในการรักษาพยาบาล ดังนี้ (๑) ค่ายา ค่าเลือกและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน ค่าน้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน และอื่น ๆ ทำนองเดียวกันที่ใช้ในการบำบัดรักษาโรค (๒) ค่าอวัยวะเทียมรวมทั้งค่าซ่อมแซมอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ทั้งนี้ ตามประเภทและอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด (๓) ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์โรคแต่ไม่รวมถึงค่าจ้างผู้พยาบาลพิเศษ ค่าธรรมเนียมพิเศษ และค่าบริการอื่นทำนองเดียวกันที่มีลักษณะเป็นเงินตอบแทนพิเศษ (๔) ค่าห้อง ค่าอาหาร ตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล “สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานพยาบาลของทางราชการและสถานพยาบาลของเอกชน “สถานพยาบาลของทางราชการ” หมายความว่า สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลของราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และให้หมายความรวมถึงสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลของกรุงเทพมหานคร รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ สภากาชาดไทย คุรุสภา สมาคมปราบวัณโรค และสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลอื่นที่กระทรวงการคลังกำหนด “สถานพยาบาลของเอกชน” หมายความว่า สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลของเอกชนซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและมีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน “บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า (๑) บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือบุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งบรรลุนิติภาวะแต่เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ และจำต้องอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดามารดาซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่นแล้ว (๒) คู่สมรส (๓) บิดามารดาของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล มาตรา ๔ การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามพระราชกฤษฎีกานี้ ส่วนวิธีการเบิกจ่ายนั้นให้ปฏิบัติตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลังซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ มาตรา ๕ ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวของตนตามพระราชกฤษฎีกานี้ ได้แก่ (๑) ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งรับเงินเดือนหรือค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย และลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งมีหนังสือสัญญาจ้างและสัญญาจ้างนั้นมิได้ระบุเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลไว้ (๒) ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้ได้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด มาตรา ๖ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตามมาตรา ๕ หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นมีสิทธิหรือได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่นแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลดังกล่าวตามมาตรา ๕ ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่จำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลนั้นต่ำกว่าที่จะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้ได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้เฉพาะส่วนที่ยังขาดอยู่ มาตรา ๗ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตามมาตรา ๕ หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลจากบุคคลอื่นแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลดังกล่าวตามมาตรา ๕ ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่จำนวนค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้นต่ำกว่าที่จะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้ได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้เฉพาะส่วนที่ยังขาดอยู่ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ได้รับค่ารักษาพยาบาลไปก่อนแล้ว ภายหลังได้รับค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลจากบุคคลอื่น มีจำนวนเท่าหรือเกินกว่าที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้นำเงินค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับไปนั้นส่งคืน แต่ถ้าเงินที่ได้รับจากบุคคลอื่นต่ำกว่าที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้ส่งคืนเท่าจำนวนที่ได้รับจากบุคคลอื่นนั้น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘ การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราดังนี้ (๑) ผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ ทั้งประเภทผู้ป่วยภายในและผู้ป่วยนอก ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง เว้นแต่ค่าห้องและค่าอาหาร ให้เบิกรวมกันได้ไม่เกินวันละหนึ่งร้อยยี่สิบบาท (๒) ผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชนประเภทผู้ป่วยภายใน ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลดังนี้ (ก) ค่าอวัยวะเทียมรวมทั้งค่าซ่อมแซมอวัยวะเทียม และอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ให้เบิกได้ตามประเภทและอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด (ข) ค่าห้องและค่าอาหาร ให้เบิกรวมกันได้ไม่เกินวันละหนึ่งร้อยยี่สิบบาท (ค) ค่ารักษาพยาบาลประเภทอื่น ๆ ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่เกินสามพันบาทสำหรับระยะเวลาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล ในกรณีที่เข้ารับการรักษาพยาบาลเกินสามสิบวันให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่เกินวันละหนึ่งร้อยบาท ในกรณีที่เข้ารับการรักษาพยาบาลหลายครั้ง แต่ละครั้งในระยะเวลาห่างกันไม่เกินสิบห้าวัน ให้นับระยะเวลาการเข้ารับการรักษาพยาบาลครั้งหลังติดต่อกับการเข้ารับการรักษาพยาบาลในครั้งก่อน มาตรา ๙ ในกรณีที่สถานพยาบาลไม่มียา เลือดและส่วนประกอบของเลือด หรือสารทดแทน น้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ออกซิเจน หรืออวัยวะเทียมจำหน่วย หรือสถานพยาบาลไม่อาจให้การตรวจทางห้องทดลองหรือเอ๊กซเรย์แก่ผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลได้ และเมื่อนายแพทย์ผู้ตรวจรักษาหรือสถานพยาบาลแห่งนั้นลงชื่อรับรองตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนดแล้ว ก็ให้เบิกได้ตามมาตรา ๘ มาตรา ๑๐ ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตามมาตรา ๕ และมาตรา ๖ ซึ่งเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นผู้ป่วยภายในอยู่ในสถานพยาบาลก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ และสถานพยาบาลนั้นเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลคาบเกี่ยวถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ได้รับค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๑ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ และอำนวยประโยชน์แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำตลอดจนผู้ได้รับบำนาญให้ได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น จุฑามาศ/ผู้จัดทำ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๓๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔/๑๖ มีนาคม ๒๕๒๑
301248
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว พ.ศ.2521
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว พ.ศ. 2521 --------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2521 เป็นปีที่ 33 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงิน วิธีการเบิกจ่าย และอัตราการจ่าย เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณ รายจ่าย พ.ศ.2518 มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ. 2518 มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2521 และ มาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า `พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่า ครองชีพชั่วคราว พ.ศ. 2521' มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2521 เป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2520 มาตรา 4 ในพระราชกฤษฎีกานี้ `ข้าราชการ' หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ และ ข้าราชการทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร `ลูกจ้าง' หมายความว่า ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย เว้นแต่ลูกจ้าง ชาวต่างประเทศที่มีสัญญาจ้างและลูกจ้างสำนักราชการในต่างประเทศ `พ.ช.ค.' หมายความว่า เงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวที่จ่ายช่วยเหลือ ข้าราชการหรือลูกจ้างตามภาวะเศรษฐกิจ มาตรา 5 ภายใต้บังคับมาตรา 6 ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่า อัตราเดือนละสี่พันเก้าร้อยหกสิบบาท ทั้งนี้เมื่อหักเงินเบิกลดเนื่องจากการปรับชั้นเงินเดือน (ถ้ามี) ออกแล้ว ให้ได้รับ พ.ช.ค. ในอัตราเดือนละสองร้อยบาท การคำนวณอัตราค่าจ้างรายวันหรือรายชั่วโมงเป็นรายเดือนเพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็น ไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา 6 ข้าราชการหรือลูกจ้างดังต่อไปนี้ ไม่มีสิทธิได้รับ พ.ช.ค. (1) ข้าราชการซึ่งได้รับเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ (2) ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ต่ำกว่าอัตราเดือนละสี่พันเก้าร้อยหกสิบ บาท แต่ได้ถูกลงโทษตัดเงินเดือนหรือค่าจ้างจนเป็นเหตุให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างจริงต่ำกว่าอัตรา เดือนละสี่พันเก้าร้อยหกสิบบาท มาตรา 7 การจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายเป็น พ.ช.ค. ให้นำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่าย เงินเดือน เงินปี บำเหน็จบำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน หรือระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าจ้าง ลูกจ้างของส่วนราชการ แล้วแต่กรณีมาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับ พ.ช.ค. ถึง แก่กรรม ให้จ่าย พ.ช.ค. เพียงวันที่ถึงแก่กรรม การเบิกจ่าย พ.ช.ค. ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา 8 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ส. โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี --------------------------------------------------------------------- หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการ จ่ายเงินช่วยเหลือเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะค่าครองชีพในปัจจุบันและสอดคล้อง กับอัตราเงินเดือนของข้าราชการและลูกจ้างที่ปรับปรุงใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น
301247
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.2521
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นปีที่ ๓๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๒๐ และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. ๒๕๒๑” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ผู้ได้รับเบี้ยหวัดหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ หรือบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ต่ำกว่าเดือนละสี่พันบาท ให้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ เรียกโดยย่อว่า “ช.ค.บ.” ในอัตราเดือนละสองร้อยบาท ผู้ได้รับเบี้ยหวัดหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ หรือบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการตั้งแต่เดือนละสี่พันบาทขึ้นไปแต่ไม่เกินสี่พันสองร้อยบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละสองร้อยบาท แต่เมื่อรวม ช.ค.บ. กับเบี้ยหวัดบำนาญแล้ว ให้ได้รับไม่เกินเดือนละสี่พันสองร้อยบาท มาตรา ๔ ทายาทผู้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดต่ำกว่าเดือนละสี่พันบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละหนึ่งร้อยบาท ทายาทผู้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดตั้งแต่เดือนละสี่พันบาทขึ้นไป แต่ไม่เกินสี่พันหนึ่งร้อยบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละหนึ่งร้อยบาท แต่เมื่อรวม ช.ค.บ. กับบำนาญแล้ว ให้ได้รับไม่เกินเดือนละสี่พันหนึ่งร้อยบาท มาตรา ๕ ผู้ได้รับเบี้ยหวัดหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัด ผู้ได้รับบำนาญปกติ หรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ หรือบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ หรือทายาทผู้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดไม่มีสิทธิได้รับ ช.ค.บ. ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) เข้ารับราชการหรือกลับเข้ารับราชการ หรือเข้าทำงานหรือกลับเข้าทำงาน สังกัดราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น (๒) เข้าทำงานหรือกลับเข้าทำงานในรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือองค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะได้รับบำนาญควบกับเงินเดือนหรือค่าจ้างด้วยหรือไม่ มาตรา ๖ การจ่าย ช.ค.บ. ให้นำกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่ในกรณีผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญถึงแก่ความตาย ให้จ่าย ช.ค.บ. เพียงวันที่ถึงแก่ความตาย มาตรา ๗ การเบิกจ่าย ช.ค.บ. ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ส. โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากภาวะการครองชีพโดยทั่วไปในปัจจุบันได้สูงขึ้นมาก สมควรให้เงินช่วยเหลือจำนวนหนึ่งเป็นเงินช่วยค่าครองชีพแก่ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ โดยให้ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพแล้วไม่เกินเดือนละสี่พันสองร้อยบาท จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น จุฑามาศ/ปรับปรุง ๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๑๑๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐/๑๙ ตุลาคม ๒๕๒๑
308235
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. 2519
พระบรมราชโองการ พระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษา ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ.2519 ---------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2519 เป็นปีที่ 31 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา`ภูมิพลอดุลยเดช' มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า `พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่ง นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ.2519' มาตรา2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา3 ในพระราชกฤษฎีกานี้ `คณะที่ปรึกษา' หมายความว่า คณะที่ปรึกษาหรือคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล แต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน `ที่ปรึกษา' หมายความว่า ที่ปรึกษาในคณะที่ปรึกษาหรือกรรมการในคณะกรรมการที่นายก รัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล แต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา4 ให้ที่ปรึกษาได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนเหมาจ่ายเป็นรายเดือน ตามที่นายกรัฐมนตรี กำหนดไม่เกินอัตราท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ที่ปรึกษาซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการให้ได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนเป็น สองเท่าของอัตราที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามวรรคหนึ่ง เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะที่ปรึกษา ให้ได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนเช่น เดียวกับที่ปรึกษา และถ้าที่ปรึกษาผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย ให้เบิกเบี้ยประชุมและค่า ตอบแทนได้เพียงตำแหน่งเดียว มาตรา5 ให้อนุกรรมการซึ่งคณะที่ปรึกษาแต่งตั้ง ได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนเหมาจ่ายเป็น รายเดือน ตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนดไม่เกินอัตราท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ อนุกรรมการซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ ให้ได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบ แทนเป็นสองเท่าของอัตราที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามวรรคหนึ่ง เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะอนุกรรมการ ให้ได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนเช่น เดียวกับอนุกรรมการ และถ้ามีอนุกรรมการผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย ให้เบิกเบี้ย ประชุมและค่าตอบแทนได้เพียงตำแหน่งเดียว มาตรา6 ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งช่วยราชการในคณะที่ปรึกษาตามคำสั่งของประธานคณะที่ปรึกษา คณะหนึ่ง มีจำนวนไม่เกินห้าคน ได้รับค่าตอบแทนเหมาจ่ายเป็นรายเดือนตามที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา7 ที่ปรึกษา อนุกรรมการ และเจ้าหน้าที่ซึ่งมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนหรือค่า ตอบแทนตามพระราชกฤษฎีกานี้ ถ้าเดือนใดไม่มีการประชุมหรือการทำงาน หรือที่ปรึกษา อนุกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ใดไม่ได้เข้าประชุมหรือทำงานในเดือนใด ให้งดเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนหรือค่าตอบ แทนในเดือนนั้น มาตรา8 ที่ปรึกษา อนุกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ใดได้รับแต่งตั้งในระหว่างเดือนหรือพ้นจาก ตำแหน่งก่อนสิ้นเดือน ให้ได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนหรือค่าตอบแทนตามอัตราส่วนของจำนวนวันที่ดำรง ตำแหน่งในเดือนนั้น มาตรา9 การเบิกเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนหรือค่าตอบแทน ให้เบิกจ่ายจากสำนักนายกรัฐมนตรี มาตรา10 ที่ปรึกษา อนุกรรมการ และเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้ บังคับ ให้ได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนหรือค่าตอบแทนตามพระราชกฤษฎีกานี้ตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง มาตรา11 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี อัตราเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนเหมาจ่ายรายเดือนของที่ปรึกษา และอนุกรรมการ ประธานคณะที่ปรึกษา เดือนละไม่เกิน 2,400 บาท ที่ปรึกษา เดือนละไม่เกิน 1,900 บาท ประธานคณะอนุกรรมการ เดือนละไม่เกิน 1,200 บาท อนุกรรมการ เดือนละไม่เกิน 800 บาท หมายเหตุ:-เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีใน ฐานะหัวหน้ารัฐบาลแต่งตั้งให้เป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีหรือเป็น คณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใดๆ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินนั้น มีลักษณะ พิเศษในการดำเนินงานแตกต่างไปจากกรรมการหรือคณะกรรมการประเภทอื่น สมควรกำหนดเบี้ย ประชุมและค่าตอบแทนให้ไว้เป็นพิเศษ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น
301246
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2519
พระบรมราชโองการ พระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2519 ---------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2519 เป็นปีที่ 31 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ.2518 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า `พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2519' มาตรา2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ.2519 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน `มาตรา 4 ในพระราชกฤษฎีกานี้ `คณะกรรมการ' หมายความว่า คณะกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยประกาศพระบรมราชโองการ โดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะ รัฐมนตรี `กรรมการ' หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการแต่ไม่รวมถึงกรรมการซึ่งได้รับเงินเดือน หรือค่าตอบแทนอย่างอื่นในหน้าที่นั้นๆ โดยเฉพาะ `คณะอนุกรรมการ' หมายความว่า คณะอนุกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยประกาศพระบรมราชโองการ โดยคณะรัฐมนตรี โดยรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐ มนตรีหรือโดยคณะกรรมการ แต่ไม่รวมถึง อ.ก.พ.กระทรวง หรือทบวงการเมืองที่มีฐานะเป็นกระทรวง อ.ก.พ.ทบวง อ.ก.พ.กรม หรือทบวงการเมืองที่มีฐานะเป็นกรม หรือ อ.ก.พ.จังหวัด หรือคณะ อนุกรรมการ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน `อนุกรรมการ' หมายความว่า อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการ แต่ไม่รวมถึงอนุกรรมการ ซึ่งได้ รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนอย่างอื่นในหน้าที่นั้นๆ โดยเฉพาะ' มาตรา4 ให้ยกเลิกความในวรรคสี่ของมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ.2519 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน `ลักษณะ 3 กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีหรือโดยรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ซึ่งได้รับอนุมัติ จากคณะรัฐมนตรี' ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ:-เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมและ ค่าตอบแทนที่ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ.2519 ได้กำหนดเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนของที่ ปรึกษาซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งไว้เป็นกรณีเฉพาะแล้ว สมควรแก้ไขพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ.2519 ให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น
318486
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2519
ตราพระบรมราชโองการ ตราพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2519 ---------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2519 เป็นปีที่ 31 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 192 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 3 แห่ง พระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภท ตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2518 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า `พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2519' มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2504 มาตรา 4 ในพระราชกฤษฎีกานี้ `คณะกรรมการ' หมายความว่า คณะกรรมการหรือคณะที่ปรึกษาซึ่งได้รับแต่งตั้งตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย โดยประกาศพระบรมราชโองการ โดยคณะรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีเจ้าสังกัดซึ่งได้รับ อนุมัติจากคณะรัฐมนตรี `กรรมการ' หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการหรือที่ปรึกษาในคณะที่ปรึกษา แต่ไม่รวมถึง กรรมการหรือที่ปรึกษาได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนอย่างอื่นในหน้าที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ `คณะอนุกรรมการ' หมายความว่า คณะอนุกรรมการหรือคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาซึ่งได้รับแต่งตั้ง ตามบทบัญญัติรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล โดยรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ซึ่งได้รับอนุมัติจาก คณะรัฐมนตรีหรือโดยกรรมการหรือคณะที่ปรึกษา แต่ไม่รวมถึง อ.ก.พ.กระทรวงหรือทบวงการเมืองที่มี ฐานะเป็นกระทรวง อ.ก.พ.ทบวง อ.ก.พ.กรม หรือเป็นทบวงการเมืองที่มีฐานะเป็นกรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัดหรือคณะกรรมการ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน `อนุกรรมการ' หมายความว่า อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการหรืออนุกรรมการที่ปรึกษาคณะใน คณะกรรมการที่ปรึกษา แต่ไม่รวมถึงอนุกรรมการหรืออนุกรรมการที่ปรึกษาซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่า ตอบแทนอย่างอื่นในหน้าที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ มาตรา 5 พระราชกฤษฎีกานี้ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการและอนุกรรมการในรัฐวิสาหกิจตามกฎหมาย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ มาตรา 6 กรรมการซึ่งจะได้รับเบี้ยประชุมต้องอยู่ในลักษณะหนึ่งลักษณะใด ดังต่อไปนี้ ลักษณะ 1 กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา และตามกฎหมาย ว่าด้วยเรื่องราวร้องทุกข์ ลักษณะ 2 กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น หรือโดยประกาศพระบรม ราชโองการ ลักษณะ 3 กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีโดยนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล หรือโดยรัฐมนตรีเจ้าสังกัดซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี อนุกรรมการของคณะกรรมการลักษณะใดให้ได้รับเบี้ยประชุมตามลักษณะของกรรมการในคณะ กรรมการนั้น มาตรา 7 ให้กรรมการและอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมเหมาจ่ายเป็นรายเดือนหรือเป็นรายครั้ง ตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา 8 กรรมการและอนุกรรมการลักษณะ 1 ให้ได้รับเบี้ยประชุมเหมาจ่ายเป็นรายเดือนตาม มาตรา 9 กรรมการและอนุกรรมการลักษณะ 2 และลักษณะ 3 ให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นราย ครั้งตามอัตราในบัญชี 2 ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ แต่ถ้าจะรับเบี้ยประชุมเหมาจ่ายเป็นรายเดือน ให้ ดำเนินการตามมาตรา 10 มาตรา 10 กรรมการและอนุกรรมการลักษณะ 2 และลักษณะ 3 ซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานที่มี ปริมาณและคุณภาพของงานสูงเป็นพิเศษซึ่งไม่อาจดำเนินการลุล่วงได้ในระยะเวลาอันสั้น กระทรวงทบวง กรมเจ้าของเรื่องจะขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังให้กำหนดเบี้ยประชุมเหมาจ่ายเป็นรายเดือน ก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชี 3 ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ กรรมการและอนุกรรมการลักษณะ 2 ตามวรรคหนึ่ง ซึ่งต้องมีการประชุมในเดือนหนึ่ง ๆ ตั้งแต่ สี่ครั้งขึ้นไป กระทรวงทบวงกรมเจ้าของเรื่องจะขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเป็นกรณีพิเศษให้ กำหนดเบี้ยประชุมเหมาจ่ายเป็นรายเดือนไม่เกินอัตราที่กำหนดในบัญชี 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ก็ได้ มาตรา 11 กรรมการและอนุกรรมการซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ ให้ได้ รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกกึ่งหนึ่งของอัตราดอกเบี้ยประชุมกรรมการหรืออนุกรรมการซึ่งกำหนดไว้ตามอัตรา ในบัญชี 1 บัญชี 2 หรือบัญชี 3 ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ แล้วแต่กรณี มาตรา 12 ประธานกรรมการและประธานอนุกรรมการให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ ของอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการหรืออนุกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ มาตรา 13 เลขานุการแลผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ ให้ได้รับ เบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการหรืออนุกรรมการ แล้วแต่กรณี และถ้ากรรมการหรืออนุกรรมการให้มี สิทธิได้รับเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน มาตรา 14 กรรมการในคณะกรรมการคณะหนึ่ง หรืออนุกรรมการในคณะอนุกรรมการคณะหนึ่ง ให้ได้รับเบี้ยประชุมรายครั้งเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง มาตรา 15 กรรมการหรืออนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเหมาจ่ายเป็นรายเดือนตามพระ ราชกฤษฎีกานี้ถ้าเดือนใดไม่มีการประชุม หรือกรรมการหรืออนุกรรมการผู้ใดไม่ได้เข้าประชุมในเดือนใด ให้งดเบี้ยประชุมในเดือนนั้น มาตรา 16 กรรมการหรืออนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเหมาจ่ายเป็นรายเดือนตามพระ ราชกฤษฎีกานี้ ถ้าได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการหรืออนุกรรมการระหว่างเดือน หรือพ้นจากตำแหน่งกรรมการ หรืออนุกรรมการก่อนสิ้นเดือน ให้ได้รับเบี้ยประชุมตามอัตราส่วนของจำนวนวันที่ดำรงตำแหน่งในเดือนนั้น มาตรา 17 การเบิกเบี้ยประชุมให้เบิกจ่ายจากกระทรวงทบวงกรมเจ้าของเรื่อง มาตรา 18 กรรมการหรืออนุกรรมการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการซึ่งจะต้องได้รับเบี้ย ประชุมกรรมการเป็นรายครั้งตาม พระราชกฤษฎีกานี้ หากได้รับเบี้ยประชุมเหมาจ่ายเป็นรายเดือนอยู่แล้ว ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ จะรับเบี้ยประชุมเหมาจ่ายเป็นรายเดือนต่อไปจนกว่าคณะกรรมการหรือ คณะอนุกรรมการนั้นสิ้นสุดลง หรือจะรับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งตามพระราชกฤษฎีกานี้ ทางใดทางหนึ่งแล้ว แต่กรณีแต่จะเลือกก็ได้ แต่ถ้ากรรมการหรืออนุกรรมการผู้ใดได้ใช้สิทธิเลือกรับเบี้ยประชุมทางใดทางหนึ่ง แล้ว จะต้องใช้สิทธิรับเบี้ยประชุมในทางที่เลือกนั้นเพียงทางเดียวจนกว่าคณะกรรมการหรือคณะ อนุกรรมการนั้นสิ้นสุดลง มาตรา 19 กรรมการหรือคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการซึ่งมีสิทธิได้รับ เบี้ยประชุมกรรมการตามพระราชกฤษฎีกานี้ หากได้รับเบี้ยประชุมสูงกว่าที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา อยู่แล้วในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับให้ได้รับเบี้ยประชุมตามอัตราที่ได้รับอยู่แล้วนั้นต่อไปจนกว่าคณะ กรรมการหรือคณะอนุกรรมการนั้นสิ้นสุดลง มาตรา 20 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกางคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย เบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2504 ได้ใช้บังคับมานานแล้ว สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงิน วิธีการเบิกจ่ายและอัตราการจ่ายเสียใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันและโดยที่ปัจจุบันได้มีพระ ราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2518 บัญญัติให้การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายในประเภทเบี้ยประชุมกรรมการให้ทำโดยตราเป็นพระ ราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น
301245
พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมสมาชิกสภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2519
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เบี้ยประชุมสมาชิกสภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๑๙[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นปีที่ ๓๑ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเบี้ยประชุมสมาชิกสภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมสมาชิกสภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๑๙” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ประธานสภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีให้ได้รับเบี้ยประชุมเหมาจ่ายเป็นรายเดือน ๆ ละหนึ่งหมื่นบาท รองประธานสภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีให้ได้รับเบี้ยประชุมเหมาจ่ายเป็นรายเดือน ๆ ละแปดพันบาท สมาชิกสภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีให้ได้รับเบี้ยประชุมเหมาจ่ายเป็นรายเดือน ๆ ละหกพันบาท มาตรา ๔ ในระหว่างที่สภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นประธานสภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและรองประธานสภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ได้รับเบี้ยประชุมตามมาตรา ๓ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เช่นเดียวกับประธานสภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีหรือรองประธานสภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้มีสภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีคณะหนึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่ยังมิได้มีกฎหมายกำหนดเบี้ยประชุมของสมาชิกสภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๓/ตอนที่ ๑๔๓/หน้า ๕๒๑/๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๑๙
301244
พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.2518
ตราพระบรมราชโองการ ตราพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.2518 ---------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2518 เป็นปีที่ 30 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 192 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2518 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า `พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.2518' มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิก (1) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.2504 (2) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2506 (3) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2508 (4) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2511 (5) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2516 (6) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2516 บรรดากฎ ข้อบังคับและระเบียบอื่นในส่วนที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชกฤษฎีกานี้ หรือซึ่งขัดหรือ แย้งกับบทแห่งพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ใช้พระราชกฤษฎีกานี้แทน มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ หมวด 1 บททั่วไป มาตรา 5 การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามพระราชกฤษฎีกานี้ ส่วนวิธีการเบิกจ่ายนั้นให้ปฏิบัติตาม ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลังซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ มาตรา 6 ผู้เดินทางไปราชการซึ่งเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งรับเงินเดือนหรือค่าจ้าง จากงบประมาณรายจ่าย ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ได้ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้เดินทางไปราชการซึ่งเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างหรือมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้าง และที่มี สัญญากับรัฐบาลกำหนดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเป็นอย่างอื่น ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดิน ทางไปราชการได้ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ผู้เดินทางซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองและไม่มีกฎหมายกำหนดแต่งตั้งของผู้นั้นเทียบตำแหน่งไว้ กับตำแหน่งข้าราชการพลเรือน ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกำหนดเทียบตำแหน่งข้าราชการการเมืองกับ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนเพื่อให้ข้าราชการการเมืองเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการได้เท่า กับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้เดินทางไปราชการตามคำสั่งของทางราชการซึ่งเป็นลูกจ้างหรือมิได้เป็นข้าราชการหรือ ลูกจ้าง ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกำหนดเทียบกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนเพื่อให้ผู้นั้นเบิกค่าใช้ จ่ายในการเดินทางไปราชการได้เท่ากับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา 7 การเดินทางไปราชการ ถ้าผู้เดินทางไปราชการหยุดอยู่ที่ใดโดยไม่มีความจำเป็นใน ทางราชการ จะเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการสำหรับวันที่หยุดโดยไม่จำเป็นนั้นไม่ได้ หมวด 2 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร มาตรา 8 การเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร ได้แก่ (1) การเดินทางไปปฏิบัติราชการชั่วคราวนอกที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติตามคำสั่ง ผู้บังคับบัญชา หรือตามหน้าที่ที่ปฏิบัติราชการโดยปกติ (2) การเดินทางไปช่วยราชการหรือการเดินทางไปรักษาราชการแทน (3) การเดินทางไปประจำต่างสำนักงาน เพื่อไปดำรงตำแหน่งใหม่หรือรักษาการในตำแหน่ง ใหม่ ณ สำนักงานแห่งใหม่ในราชอาณาจักร (4) การเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมเนื่องจากข้าราชการหรือลูกจ้างออกจากราชการ ถูกสั่ง พักราชการ หรือถึงแก่ความตาย (5) การเดินทางของผู้ซึ่งรับราชการประจำในต่างประเทศเดินทางมาราชการชั่วคราวใน ราชอาณาจักรเฉพาะระหว่างเวลาอยู่ในราชอาณาจักร (6) การเดินทางข้ามแดนชั่วคราวเพื่อไปปฏิบัติราชการในดินแดนต่างประเทศตามข้อ ตกลงระหว่างประเทศ มาตรา 9 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร ได้แก่ (1) ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง (2) ค่าเช่าที่พัก (3) ค่าพาหนะ ซึ่งรวมถึงค่าเช่ายานพาหนะ ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้างคนหาบหาม ค่าน้ำมัน สำหรับรถยนต์เพื่อเดินทางและอื่น ๆ ทำนองเดียวกันด้วย (4) ค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัว (5) ค่าใช้จ่ายอื่นที่ซึ่งจำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการ มาตรา 10 ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ให้เบิกได้ตามอัตราในบัญชี 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา 11 การนับเวลาเดินทางไปราชการเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทางให้นับตั้งแต่ เวลาออกจากสถานที่อยู่ หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติ จนกลับถึงสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติ ราชการตามปกติ หรือจนถึงสถานที่ที่ไปรับราชการใหม่แล้วแต่กรณี เวลาเดินทางไปราชการให้นับยี่สิบสี่ชั่วโมงเป็นหนึ่งวัน เศษของวันถ้าเกินกว่าสิบสองชั่วโมงให้ นับเป็นหนึ่งวัน มาตรา 12 ผู้เดินทางไปราชการซึ่งเป็นผู้ได้รับเบี้ยเลี้ยงประจำอยู่แล้ว จะเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดิน ทางตามพระราชกฤษฎีกานี้ได้เมื่องดเบิกเบี้ยเลี้ยงประจำ มาตรา 13 การเดินทางไปราชการวันใดที่จำเป็นต้องพักแรม ยกเว้นการพักแรมในยานพาหนะ ที่เสียค่าโดยสารหรือในที่พักซึ่งทางราชการได้จัดให้ ให้เบิกค่าเช่าที่พักเหมาจ่ายได้ตามอัตราดังนี้ (1) ในกรณีเดินทางไปราชการในเขตเทศบาลหรือเขตสุขาภิบาล ให้เบิกได้ตามอัตราประเภท ก. แห่งบัญชี 2 ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจกำหนดอัตราค่าเช่าที่พักสำหรับการเดินทาง ไปราชการในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นจากอัตราประเภท ก.แห่งบัญชี 2 ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ได้ ตามความเหมาะสมแก่สภาพท้องที่ แต่อย่างสูงจะต้องไม่เกินกึ่งหนึ่งของอัตราประเภท ก. แห่งบัญชี 2 ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ (2) ในกรณีเดินทางไปราชการนอกเขตเทศบาลหรือเขตสุขาภิบาล ให้เบิกได้ตามอัตรา ประเภท ข.แห่งบัญชี 2 ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ การเดินทางไปราชการนอกเขตเทศบาลหรือเขตสุขาภิบาลหากผู้เดินทางมีความจำเป็นตามหลัก เกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด ให้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าที่พักตามอัตราประเภท ก. แห่งบัญชี 2 ท้าย พระราชกฤษฎีกานี้ได้ มาตรา 14 การเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและหรือค่าเช่าที่พักสำหรับการเดินทางไปราชการ เรื่องหนึ่งเรื่องใดในสถานที่ไปปฏิบัติราชการแห่งเดียวกัน ให้เบิกได้เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีนับ แต่วันที่ออกเดินทาง เว้นแต่ผู้เดินทางไปราชการตามคำสั่งของทางราชการซึ่งสั่งให้ไปปฏิบัติราชการ เพื่อป้องกันและปราบปรามนอกที่ตั้งปกติและจำเป็นต้องเบิกเกินกำหนดดังกล่าวจะต้องได้รับ ความตกลงจากกระทรวงการคลังก่อน มาตรา 15 ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการเจ็บป่วยในระหว่างการเดินทาง และจำเป็นต้องหยุด พักเพื่อรักษาพยาบาลให้เบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักสำหรับวันหยุดพักนั้นได้ไม่เกินสิบวัน การเจ็บป่วยตามวรรคหนึ่งต้องมีใบรับรองแพทย์ ในกรณีที่ไม่มีแพทย์ที่ทางราชการรับรองอยู่ใน ท้องที่ที่เกิดการเจ็บป่วย ผู้เดินทางไปราชการต้องชี้แจงประกอบ มาตรา 16 ผู้เดินทางไปช่วยราชการหรือรักษาราชการแทน ณ สถานที่ปฏิบัติราชการใด ซึ่งอยู่ ในลักษณะที่ไม่อาจเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่ปฏิบัติราชการนั้นกับสถานที่อยู่ได้ ให้เบิกค่าเบี้ยเลี้ยง เดินทางระหว่างที่ไปช่วยราชการหรือรักษาราชการแทนได้เพียงระยะเวลาไม่เกินสี่เดือนนับแต่วันที่ ออกเดินทางหากมีความจำเป็นต้องเบิกเกินกำหนดดังกล่าว จะต้องได้รับความตกลงจากกระทรวง การคลังก่อน แต่ทั้งนี้ระยะเวลาทั้งสิ้นต้องไม่เกินหนึ่งปี ผู้เดินทางตามวรรคหนึ่ง ให้เบิกค่าเช่าที่พักตามมาตรา 13 ได้ไม่เกินหนึ่งเดือน ส่วนที่เกินให้ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกินอัตราค่าเช่าบ้านที่ผู้นั้นจะพึงได้รับตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย ระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ ในกรณีเบิกจ่ายไม่เต็มเดือนให้ได้รับตามส่วนจำนวนวันของเดือนนั้น หากมีความจำเป็นต้องเบิกค่าเช่าที่พักเกินอัตราค่าเช่าบ้าน จะต้องได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง ก่อน มาตรา 17 การเดินทางไปราชการโดยปกติ ให้ใช้ยานพาหนะประจำทางและให้เบิกค่าพาหนะ ได้เท่าที่จ่ายจริงและโดยประหยัด ในกรณีที่ไม่มียานพาหนะประจำทาง หรือมีแต่ต้องการความรวดเร็วเพื่อประโยชน์แก่ทาง ราชการ ก็ให้ใช้ยานพาหนะอื่นได้ แต่ผู้เดินทางจะต้องชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นไว้ในรายงานการเดิน ทางหรือหลักฐานการขอเบิกเงินค่าพาหนะนั้น ผู้ที่ดำรงตำแหน่งระดับ 3 ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่าข้าราชการตุลาการ ดะโต๊ะยุติธรรม ข้าราชการอัยการ หรือผู้มียศพันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี หรือพันตำรวจตรี ขึ้นไป หรือผู้ที่มี ตำแหน่งต่ำกว่าแต่มีสัมภาระในการเดินทาง หรือต้องนำสิ่งของเครื่องใช้ของทางราชการไปด้วย ให้เบิกค่ารถนั่งรับจ้างได้ สำหรับกรณีดังต่อไปนี้ (1) การเดินทางไปกลับจากสถานีจอดยานพาหนะประจำทางที่อยู่ ที่พัก หรือสถานที่ไป ปฏิบัติราชการ แล้วแต่กรณี (2) การเดินทางไปกลับระหว่างที่อยู่ ที่พัก กับสถานที่ไปปฏิบัติราชการ แล้วแต่กรณี วันละ ไม่เกินสองเที่ยว มาตรา 18 ในกรณีที่ยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางมีอัตราหลายชั้น ให้เบิกค่าพาหนะได้ดังต่อไปนี้ (1) ชั้นหนึ่ง สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 3 ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า ข้าราชการตุลาการ ดะโต๊ะยุติธรรม ข้าราชการอัยการ หรือผู้มียศพันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี หรือ พันตำรวจตรี ขึ้นไป (2) ชั้นสอง สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 2 หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือผู้มียศร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี หรือร้อยตำรวจตรี ขึ้นไป แต่ถ้ายานพาหนะในเที่ยวเดินทางนั้นมีชั้นสองเป็นชั้น ต่ำสุด ก็ให้โดยสารชั้นหนึ่งได้ (3) ชั้นสาม หรือชั้นต่ำสุด สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 1 หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือผู้ มียศนายทหารชั้นประทวน หรือนายตำรวจชั้นประทวน พลทหาร พลตำรวจ การเบิกค่าพาหนะในชั้นที่สูงกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ข้างต้น จะต้องได้รับความตกลงจาก กระทรวงการคลังก่อน มาตรา 19 การเดินทางไปราชการโดยรถไฟ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ผู้เดินทางไปราชการจะเดินทางโดยรถธรรมดาหรือรถเร็วได้ทุกกรณี (2) ผู้เดินทางไปราชการจะเดินทางโดยรถด่วนได้ในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (ก) ต้องเดินทางไปปฏิบัติราชการโดยเร่งด่วน (ข) เป็นผู้ซึ่งมีสิทธิใช้ยานพาหนะชั้นหนึ่งตาม มาตรา 18 (ค) ผู้เดินทางไปราชการนอกจาก (ข) ซึ่งต้องอยู่ในรถไฟเวลาหนึ่งเวลาใดระหว่าง 21.00 นาฬิกา ถึง 7.00 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้นหรือร่วมเดินทางไปกับผู้เดินทางไปราชการตาม (ข) (ง) เดินทางโดยรถไฟสายแม่กลอง (3) ผู้เดินทางไปราชการโดยรถเร็ว ถ้าในขบวนรถที่เดินทางนั้นไม่มีรถชั้นหนึ่งธรรมดา แต่มีรถนั่งชั้นหนึ่งปรับอากาศ ให้ผู้มีสิทธิใช้ยานพาหนะชั้นหนึ่งตามมาตรา 18 (1) เดินทางในรถนั่งชั้น หนึ่งปรับอากาศได้ (4) ผู้เดินทางไปราชการโดยรถด่วน จะเดินทางโดยรถนั่งชั้นหนึ่งปรับอากาศ หรือรถนั่ง นอน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ก็ได้ (ก) รถนั่งนอนชั้นสอง สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 2 หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือผู้ มียศร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี หรือร้อยตำรวจตรี ขึ้นไป (ข) รถนั่งนอนชั้นหนึ่ง สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 3 ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการ ดะโต๊ะยุติธรรม ข้าราชการอัยการ หรือผู้มียศพันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี หรือพันตำรวจตรี ขึ้นไป (ค) รถนั่งนอนชั้นหนึ่งปรับอากาศ สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 7 ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่ เทียบเท่าผู้พิพากษาศาลแพ่ง ผู้พิพากษาศาลอาญา ผู้พิพากษาศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง ผู้พิพากษา หัวหน้าศาลขึ้นไป หรืออัยการประจำกรม อัยการจังหวัดขึ้นไป หรือผู้มียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศ เอก พันตำรวจเอก ซึ่งได้รับเงินเดือนอัตราพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ หรือ พันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป มาตรา 20 ในท้องที่จังหวัดใดไม่มีอัตราค่าพาหนะประเภทใดกำหนดไว้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด กำหนดอัตราค่าพาหนะประเภทนั้นขึ้นไว้เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาอนุมัติและการตรวจสอบ เมื่อ กำหนดอัตราค่าพาหนะดังกล่าวแล้ว ให้แจ้งกระทรวงการคลังทราบ มาตรา 21 การเดินทางไปราชการภายในเขตกรุงเทพมหานครสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 3 ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า ข้าราชการตุลาการ ดะโต๊ะยุติธรรม ข้าราชการอัยการ หรือผู้มียศ พันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี หรือพันตำรวจตรีขึ้นไป ให้เบิกค่ารถนั่งรับจ้างได้ มาตรา 22 การใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ ผู้เดินทางไปราชการจะต้องได้รับ อนุญาตจากผู้บังคับบัญชาซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่าสำหรับราชการบริหารส่วน กลาง หรือผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค จึงจะมีสิทธิเบิกเงินชดเชยเป็นค่า พาหนะที่เหมาจ่ายให้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการนั้นได้ ในกรณีราชการบริหารส่วนกลางที่มีสำนักงานอยู่ในส่วนภูมิภาคหรือมีสำนักงานแยกต่างหาก จากกระทรวงทบวงกรม ผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่งจะมอบอำนาจให้ข้าราชการ ซึ่งดำรงตำแหน่ง ระดับ 3 ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า เป็นผู้พิจารณาอนุญาตก็ได้ เงินชดเชยนี้ ให้เบิกจ่ายในประเภทค่าพาหนะ มาตรา 23 เงินชดเชยตามมาตรา 22 ให้เบิกได้ในอัตราต่อหนึ่งคัน ดังต่อไปนี้ (1) รถยนต์ส่วนบุคคล กิโลเมตรละ 50 สตางค์ (2) รถจักรยานยนต์ กิโลเมตรละ 30 สตางค์ การคำนวณระยะทางให้คำนวณตามระยะทางของกรมทางหลวงในทางสั้นและตรง ซึ่งสามารถ เดินทางได้สะดวก มาตรา 24 การเดินทางไปราชการโดยเครื่องบิน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 5 ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการ ดะโต๊ะยุติธรรม ข้าราชการอัยการ หรือผู้มียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท หรือพันตำรวจโท ขึ้นไป ให้เดินทางโดยเครื่องบินได้ทุกกรณี (2) ข้าราชการ หรือลูกจ้าง นอกจาก (1) จะโดยสารเครื่องบินได้เฉพาะกรณีที่จำเป็น รีบด่วนเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ (3) การเดินทางโดยเครื่องบินซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม (1) หรือ (2) จะเบิกค่าใช้จ่าย ได้ไม่เกินค่าใช้จ่ายในการเดินทางภาคพื้นดินในระยะเดียวกัน ตามสิทธิซึ่งผู้เดินทางจะพึงเบิกได้ ตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา 25 ผู้เดินทางไปราชการในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชาซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ 9 ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ขึ้นไป หรือผู้มียศพันตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี หรือพลตำรวจตรีขึ้นไป ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่ากับที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิกใน การเดินทาง ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชามีหลายคน ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่า กับที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิกในการเดินทางเพียงหนึ่งคน ส่วนผู้เดินทางไปราชการในหน้าที่ เลขานุการคนอื่น ๆ ให้เบิกค่าพาหนะได้ตามสิทธิของตน มาตรา 26 ผู้เดินทางไปราชการร่วมกับชาวต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่รับรองชาวต่างประเทศ หรือปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ต่างประเทศ จะเบิกค่าพาหนะในการเดินทางเท่ากับที่ต้องเบิกสำหรับ ชาวต่างประเทศหรือเจ้าหน้าที่ต่างประเทศนั้นก็ได้ มาตรา 27 ผู้เดินทางไปราชการซึ่งต้องนำสิ่งของเครื่องใช้ของทางราชการไปด้วย ให้เบิกค่า ระวางบรรทุกสิ่งของเครื่องใช้ของทางราชการได้เท่าทีจำเป็นและโดยประหยัด มาตรา 28 ผู้เดินทางไปราชการซึ่งต้องจ่ายค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่าย เนื่องในการเดิน ทางไปราชการก็ให้เบิกได้เท่าที่จำเป็นและโดยประหยัด มาตรา 29 การเดินทางไปประจำต่างสำนักงานหรือการเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมตามมาตรา 8 (3) หรือ (4) นั้น ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งเดินทางไปประจำต่างสำนักงานหรือเดินทางกลับ ภูมิลำเนาจะเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้ตามมาตรา 9 มาตรา 30 ผู้เดินทางตามมาตรา 29 จะเบิกค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะสำหรับบุคคลในครอบครัว ซึ่งอยู่ในอุปการะได้ดังต่อไปนี้ (1) คู่สมรส (2) บุตร (3) บิดามารดาของผู้เดินทาง (4) บิดามารดาของคู่สมรส (5) คนใช้ส่วนตัว ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในบัญชี 3 ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา 31 ค่าเช่าที่พักในระหว่างการเดินทางสำหรับบุคคลในครอบครัวตามมาตรา 30 (1) ถึง (4) ให้เบิกได้เท่ากับจำนวนที่ผู้เดินทางตามมาตรา 29 มีสิทธิเบิกสำหรับคนใช้ส่วนตัวให้เบิกใน อัตราชั้นต่ำสุดของประเภท ก. หรือประเภท ข. แล้วแต่กรณีแห่งบัญชี 2 ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เมื่อเดินทางไปถึงท้องที่ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ ถ้าไม่อาจหาที่พักได้ และผู้บังคับบัญชาดังต่อไปนี้ อนุญาตแล้ว ให้เบิกค่าเช่าที่พักสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวต่อไปได้อีกไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันไป ถึงท้องที่ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ (1) ผู้บังคับบัญชาซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่าสำหรับราชการ บริหารส่วนกลาง (2) ผู้บังคับบัญชาชั้นหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดซึ่งเป็นผู้เบิกเงินหรือนายอำเภอท้องที่ แล้วแต่กรณี สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องเบิกค่าเช่าที่พักต่อไปอีก จะต้องได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง ก่อน มาตรา 32 ค่าพาหนะสำหรับบุคคลในครอบครัวตามมาตรา 30 (1) ถึง (4) ให้เบิกได้เท่า กับจำนวนที่ผู้เดินทางตามมาตรา 29 มีสิทธิเบิก สำหรับคนใช้ส่วนตัวให้เบิกในอัตราชั้นต่ำสุดของ อัตราตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 18 (3) มาตรา 33 ค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินอัตราน้ำหนักและปริมาตร ตามเกณฑ์คำนวณที่กำหนดไว้ในบัญชี 4 ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ การใช้รถยนต์เป็นพาหนะบรรทุก ถ้านำหนักและปริมาตรบรรทุกต่ำกว่าหนึ่งคัน หรือเกินหนึ่งคัน โดยมีเศษ ก็ให้มีสิทธิเบิกได้เต็มคัน ถ้าเศษเกินหนึ่งคัน ให้เบิกได้อีกหนึ่งคัน มาตรา 34 การขนย้ายสิ่งของส่วนตัว ให้ขนย้ายโดยทางรถไฟ หรือจ้างบริการของรัฐวิสาหกิจ แต่ถ้าการขนย้ายโดยทางรถไฟหรือการจ้างบริการของรัฐวิสาหกิจไม่สะดวกหรือไม่อาจทำได้ ให้ใช้ ยานพาหนะอื่นได้ การใช้ยานพาหนะอื่นที่ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าค่าใช้จ่ายสำหรับการขนย้ายโดยทางรถไฟ หรือ การจ้างบริการของรัฐวิสาหกิจ ให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุมัติก่อนใช้ การใช้ยานพาหนะอื่นที่ค่าใช้จ่ายสูงกว่าค่าใช้จ่ายสำหรับการขนย้ายโดยทางรถไฟ หรือ การจ้างบริการของรัฐวิสาหกิจ จะทำได้เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง หรือเมื่อได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค มาตรา 35 ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการต่างสำนักงานซึ่งเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างต้องเดิน ทางโดยเครื่องบินตามมาตรา 24 ให้บุคคลในครอบครัวตามมาตรา 30 เดินทางโดยเครื่องบินได้ด้วย มาตรา 36 ในกรณีจำเป็นซึ่งไม่อาจนำบุคคลในครอบครัวหรือสิ่งของส่วนตัวไปพร้อมกับผู้เดิน ทางได้ ให้ผู้เดินทางรายงานชี้แจงเหตุผลความจำเป็น และกำหนดเวลาที่จะเลื่อนการเดินทาง ต่อ ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น จนถึงผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือปลัดกระทรวงหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า แล้ว แต่กรณี สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง หรือผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค แต่ถ้าผู้เดินทางดำรงตำแหน่งอธิบดี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดให้เสนอผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง การเลื่อนเดินทางตามวรรคหนึ่ง ให้ทำก่อนที่จะเดินทาง ให้ผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่ง มีอำนาจอนุญาตให้เลื่อนการเดินทางต่อไปได้ภายในเวลาอันสมควร แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ปรากฏในคำสั่ง หรือวันที่ได้รับคำสั่งให้ออกจากราชการ แล้วแต่กรณี มาตรา 37 ผู้ต้องเดินทางตามมาตรา 29 ซึ่งได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางล่วงหน้าไปแล้ว ต้องออกเดินทางภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเงินค่าใช้จ่าย ถ้าไม่ได้เดินทางภายในกำหนดดังกล่าว ให้นำเงินค่าใช้จ่ายที่ได้รับแล้วส่งคืนทันที มาตรา 38 ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งออกจากราชการจะเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับ ตนเองและบุคคลในครอบครัวตามมาตรา 30 ได้ เฉพาะค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะและค่าขนย้ายสิ่งของ ส่วนตัวเพื่อกลับภูมิลำเนาเดิมในตำบล อำเภอ หรือจังหวัดที่เป็นที่อยู่ของข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่ง ทางราชการรับบรรจุ ผู้นั้นเข้าเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างครั้งแรก หรือกลับเข้ารับราชการใหม่ ตาม ตำแหน่งหรือชั้นยศซึ่งได้รับครั้งสุดท้ายก่อนออกจากราชการ เว้นแต่กรณีที่ข้าราชการหรือลูกจ้างต้องออก จากราชการเพราะถูกลงโทษทางวินัย ให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก หรือกรณีถูกสั่งให้ออกจาก ราชการก่อนพิจารณาหรือสอบสวน ให้ผู้นั้นเบิกได้ในอัตราชั้นต่ำสุดของค่าใช้จ่ายดังกล่าวข้างต้น มาตรา 39 ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งถูกสั่งพักราชการ จะเบิกค่าใช้จ่ายในอัตราชั้นต่ำสุดสำหรับ ตนเองและบุคคลในครอบครัวตามมาตรา 30 ได้ เฉพาะค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะและค่าขนย้ายสิ่งของ ส่วนตัวเพื่อกลับภูมิลำเนาเดิมในตำบล อำเภอ หรือจังหวัดที่เป็นที่อยู่ของข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่ง ทางราชการรับบรรจุผู้นั้นเข้าเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างครั้งแรก หรือกลับเข้ารับราชการใหม่ โดยจะ ไม่รอผลการสอบสวนถึงที่สุดก็ได้ แต่ถ้าหากผลการสอบสวนปรากฏว่า ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้นไม่มี ความผิด จะขอเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวดังกล่าวเพิ่มขึ้นหรือจะ ขอเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวดังกล่าว เพื่อมายังท้องที่ซึ่งข้า ราชการหรือลูกจ้างผู้นั้นรับราชการอยู่เดิมไม่ได้ มาตรา 40 ในกรณีที่ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งประจำต่างสำนักงาน หรือรักษาราชการใน ตำแหน่งที่ประจำอยู่ต่างสำนักงานถึงแก่ความตาย ให้ทายาทใช้สิทธิของผู้ถึงแก่ความตายเบิกค่าใช้จ่ายใน การเดินทางได้ตามสิทธิของผู้ถึงแก่ความตาย เฉพาะค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ และค่าขนย้ายสิ่งของส่วน ตัวเพื่อกลับภูมิลำเนาเดิมในตำบล อำเภอ หรือจังหวัดที่เป็นที่อยู่ของข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งทาง ราชการรับบรรจุผู้นั้นเข้าเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างครั้งแรกหรือกลับเข้ารับราชการใหม่ แต่ถ้าความ ตายนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงให้เบิกได้ในอัตราชั้นต่ำสุด การใช้สิทธิตามมาตรานี้ ให้กระทำภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้าราชการหรือลูกจ้างถึงแก่ความตาย มาตรา 41 ในกรณีจำเป็นผู้มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม ตามมาตรา 38 มาตรา 39 และมาตรา 40 จะของเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังท้องที่อื่นซึ่งมิใช่ภูมิลำเนาดัง กล่าว โดยเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไม่สูงกว่าการเดินทางกลับภูมิลำเนานั้น ก็ให้กระทำได้เมื่อได้ รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า สำหรับราชการ บริหารส่วนกลาง หรือผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค หมวด 3 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศ มาตรา 42 การเดินทางไปราชการต่างประเทศ แบ่งเป็น (1) การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว (2) การเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ให้หมายความรวมถึงการเดินทางของ ผู้รับราชการประจำในต่างประเทศไปราชการชั่วคราว ณ ที่ใด ๆ ในต่างประเทศ และการเดินทางมา ราชการชั่วคราวในราชอาณาจักร เฉพาะเวลาที่เดินทางอยู่นอกราชอาณาจักร มาตรา 43 การเดินทางไปราชการต่างประเทศ เมื่อผู้เดินทางได้รับเงินค่าใช้จ่ายในการเดิน ทางไปแล้ว ถ้าไม่ได้เดินทางภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันรับเงิน ให้นำเงินส่งคืนผู้จ่ายเงินทันที สำหรับค่าเครื่องแต่งตัว ในกรณีที่ทางราชการสั่งงดการเดินทางโดยมิใช่ความผิดของผู้เดินทาง ถ้าผู้เดินทางได้จ่ายไปแล้วหรือมีข้อผูกพันที่จะต้องจ่ายโดยสุจริต โดยมีหลักฐานก็ไม่ต้องส่งคืน มาตรา 44 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ได้แก่ (1) ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง และค่าเช่าที่พัก (2) ค่าเครื่องแต่งตัว (3) ค่าพาหนะ (4) ค่ารับรอง (5) ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด มาตรา 45 ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พัก ให้เบิกในลักษณะเหมาจ่ายตามอัตราในบัญชี 5 ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ การเดินทางในวันใดไม่จำเป็นต้องเช่าที่พักแรม หรือโดยปกติต้องพักแรมในยานพาหนะ ให้เบิก ได้เฉพาะค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ภายใต้บังคับวรรคหนึ่ง ลูกจ้างซึ่งส่วนราชการในต่างประเทศจ้างให้ปฏิบัติราชการใน ต่างประเทศ เดินทางไปราชการ ให้เบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักได้ตามอัตราประเพณีและสภาพ แห่งท้องถิ่นที่หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศ สังกัดกระทรวงต่างประเทศกำหนด ตามสมควรแก่ ฐานะของลูกจ้าง แต่ต้องไม่เกินอัตราต่ำสุดของบัญชี 5 ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ หรืออัตราที่สูงกว่านั้น ตามที่ได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง มาตรา 46 การนับเวลาเดินทางไปราชการเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทางให้นับตั้งแต่วันที่ออก เดินทางจากประเทศไทยหรือที่พักประจำในต่างประเทศ จนกลับถึงประเทศไทยหรือที่พักประจำในต่าง ประเทศ แล้วแต่กรณี เวลาไปราชการ ให้นับยี่สิบสี่ชั่วโมงเป็นหนึ่งวัน เศษของวัน ถ้าเกินสิบสอง ชั่วโมงให้นับเป็นหนึ่งวัน ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการเจ็บป่วยในระหว่างเดินทางและมีความจำเป็นต้องหยุดพัก ให้นำ ความในมาตรา 15 มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา 47 ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งอธิบดีขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการหรือ ลูกจ้างซึ่งเดินทางไปราชการในฐานะผู้แทนส่วนราชการเพื่อเข้าร่วมการประชุมในระดับรัฐมนตรีขึ้นไป จะเลือกเบิกค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายจริงโดยมีใบสำคัญคู่จ่ายก็ได้ มาตรา 48 ภายใต้บังคับมาตรา 49 ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งเดินทางไปราชการในต่าง ประเทศชั่วคราว ให้เบิกค่าเครื่องแต่งตัวได้ตามอัตราในบัญชี 6 ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้เว้นแต่การ เดินทางออกจากประเทศไทยไปราชการในประเทศสหภาพพม่า ราชอาณาจักรลาว กัมพูชา สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยเวียดนาม สาธารณรัฐเวียดนามใต้ สหพันธ์มาเลเซีย และสิงคโปร์ เป็นเวลาไม่เกินเจ็ดวัน ผู้ซึ่งกำลังรับราชการประจำอยู่ในต่างประเทศเดินทางไปราชการชั่วคราวที่ใดก็ตาม จะเบิกค่า เครื่องแต่งตัวไม่ได้ มาตรา 49 ผู้ซึ่งเคยได้รับค่าเครื่องแต่งตัวในการเดินทางไปราชการต่างประเทศมาแล้ว ถ้า ต้องเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวอีก ให้เบิกค่าเครื่องแต่งตัวได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวครั้งใหม่ ต้องใช้เครื่องแต่งตัวต่าง ประเภทกับเครื่องแต่งตัวที่ใช้ในการเดินทางครั้งก่อน (2) การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวครั้งใหม่มีระยะเวลาห่างจากการเดิน ทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวครั้งสุดท้ายเกินสองปี นับแต่วันที่เดินทางออกจากประเทศไทยหรือ มีระยะเวลาห่างจากการเดินทางไปรับราชการประจำในต่างประเทศครั้งสุดท้ายเกินสองปีนับแต่วันที่ เดินทางกลับถึงประเทศไทย (3) การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวครั้งใหม่ของนายทหารประทวนในกองทัพ เรือซึ่งมียศเป็นจ่าเอกและได้รับเลื่อนยศเป็นพันจ่าที่ระยะเวลาไม่เข้าลักษณะตาม (2) มาตรา 50 ค่าพาหนะสำหรับทุกกรณีให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงแต่จะเบิกค่าพาหนะในลักษณะ เหมาจ่ายตามหลักเกณฑ์และจำนวนที่สำนักงบประมาณกำหนดสำหรับการเดินทางภายในประเทศของต่าง ประเทศ ก็ได้ มาตรา 51 การเดินทางไปราชการโดยเครื่องบินจากประเทศไทยไปต่างประเทศ หรือจากต่าง ประเทศกลับประเทศไทย หรือการเดินทางระหว่างต่างประเทศด้วยกัน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ชั้นหนึ่ง สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 9 ขึ้นไปหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าผู้พิพากษาหัวหน้า คณะในศาลอุทธรณ์ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือผู้มียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี พลตำรวจตรี ขึ้นไป หรือหัวหน้าสำนักงานในต่างประเทศ (2) ชั้นสอง สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งหรือมียศ นอกจากที่กล่าวใน (1) มาตรา 52 ผู้เดินทางไปราชการในต่างประเทศในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชาซึ่งดำรง ตำแหน่งระดับ 9 ขึ้นไปหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ขึ้นไป หรือผู้ มียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี หรือพลตำรวจตรี ขึ้นไป ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่ากับที่ผู้บังคับ บัญชามีสิทธิเบิกในการเดินทาง ในกรณีที่ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศในหน้าที่เลขานุการกับผู้บังคับบัญชามีหลายคน ให้เบิก ค่าพาหนะได้เท่ากับที่ผู้บังคับบัญชามีสิทธิเบิกในการเดินทางเพียงหนึ่งคน ส่วนผู้เดินทางไปราชการใน หน้าที่เลขานุการคนอื่น ๆ ให้เบิกค่าพาหนะได้ตามสิทธิของตน มาตรา 53 ค่ารับรองและค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ให้เบิกในลักษณะเหมาจ่ายตามหลักเกณฑ์และ จำนวนที่สำนักงบประมาณกำหนด มาตรา 54 ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว จะเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับ คู่สมรสได้เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้ (1) เมื่อได้รับอนุญาตจากกระทรวงเจ้าสังกัดให้คู่สมรสติดตามไปได้ (2) เมื่อเจ้าหน้าที่การทูตระดับ 8 ขึ้นไปซึ่งเป็นหัวหน้าคณะต้องไปราชการเฉพาะกรณี (ก) ไปถวายหรือยื่นพระราชสาส์นตราตั้งหรือทูลลาหรือลาต่อพระเจ้าแผ่นดิน หรือ ประมุขของประเทศที่อยู่ในเขตอาณา (ข) การตามเสด็จพระราชดำเนินเนื่องในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือสมเด็จ พระบรมราชินีนาถเสด็จเยือนประเทศที่อยู่ในเขตอาณา (ค) รัฐบาลของประเทศที่อยู่ในเขตอาณาได้เชิญคู่สมรสไปร่วมงานพิธีภายในประเทศ เขตอาณาด้วย มาตรา 55 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับคู่สมรสตามมาตรา 54 ให้เบิกได้ในอัตราเดียว กับข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทาง เว้นแต่ค่าเช่าที่พักเหมาจ่ายตามอัตราในบัญชี 5 ท้าย พระราชกฤษฎีกานี้ ให้เบิกค่าเช่าที่พักสำหรับคู่สมรสได้ในอัตรากึ่งหนึ่งของอัตราของผู้เดินทาง แต่ถ้าผู้เดินทาง ได้เบิกค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายจริงแล้วให้งดจ่ายค่าเช่าที่พักสำหรับคู่สมรส ค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับคู่สมรส ให้เบิกได้เฉพาะคู่สมรสซึ่งติดตามผู้เดินทางจากประเทศไทย ไปราชการต่างประเทศชั่วคราว มาตรา 56 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรับราชการประจำในต่างประเทศ ได้แก่ (1) ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง และค่าเช่าที่พัก (2) ค่าเครื่องแต่งตัว (3) ค่าพาหนะ (4) ค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ มาตรา 57 ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พัก ในระหว่างการเดินทางไปรับราชการประจำ อยู่ในต่างประเทศ ให้เบิกได้เช่นเดียวกับการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว มาตรา 58 ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 59 ข้าราชการผู้เดินทางไปรับราชการประจำในต่างประเทศ ให้เบิกค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับตนเอง คู่สมรส และบุตรซึ่งไม่มีคู่สมรสและอยู่ในความอุปการะที่จะต้อง เดินทางไปอยู่ในต่างประเทศ ได้ตามอัตราบัญชี 7 ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ คู่สมรสและบุตรของข้าราชการตามวรรคหนึ่ง จะเบิกค่าเครื่องแต่งตัวไม่ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ถ้ามิได้ออกเดินทางภายในกำหนดเวลาหนึ่งปี นับแต่วันที่ข้าราชการผู้นั้นออกเดินทาง ไปรับราชการประจำในต่างประเทศ (2) ถ้าออกเดินทางจากประเทศต่างประเทศที่ต้องใช้เครื่องแต่งตัวประเภทเดียวกันกับ ประเทศที่ข้าราชการผู้นั้นเดินทางไปรับราชการประจำ มาตรา 59 ผู้ซึ่งเคยได้รับค่าเครื่องแต่งตัวในการเดินทางไปราชการต่างประเทศแล้ว ถ้าต้อง เดินทางไปรับราชการประจำในต่างประเทศอีก ให้เบิกค่าเครื่องแต่งตัวได้ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) การเดินทางไปรับราชการประจำในต่างประเทศครั้งใหม่ ต้องใช้เครื่องแต่งตัวต่าง ประเภทกับเครื่องแต่งตัวต่างกับประเภทเครื่องแต่งตัวที่ใช้ในการเดินทางครั้งก่อน (2) การเดินทางไปรับราชการประจำในต่างประเทศครั้งใหม่ ใช้เครื่องแต่งตัวประเภท เดียวกับการเดินทางไปรับราชการประจำในต่างประเทศครั้งก่อน แต่มีระยะเวลาห่างจากการเดิน ทางไปรับราชการประจำในต่างประเทศครั้งสุดท้ายเกินสองปี นับแต่วันที่ออกเดินทางจากประเทศไทย ในกรณีที่ได้รับค่าเครื่องแต่งตัว แต่มิได้เดินทาง ให้ถือว่าวันที่ได้รับค่าเครื่องแต่งตัวนั้นเป็นวันที่ ออกเดินทางจากประเทศไทย (3) ผู้ซึ่งได้รับค่าเครื่องแต่งตัวในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ครั้งสุดท้ายมา แล้วไม่เกินสองปี นับแต่วันที่ออกเดินทางจากประเทศไทย ถ้าต้องเดินทางไปราชการประจำในต่าง ประเทศ ซึ่งต้องใช้เครื่องแต่งตัวประเภทเดียวกับเครื่องแต่งตัวที่ใช้ในการเดินทางครั้งก่อน ให้เบิกค่าเครื่อง แต่งตัวได้ตามมาตรา 58 หักด้วยจำนวนค่าเครื่องแต่งตัวที่ได้รับสำหรับการเดินทางไปราชการต่าง ประเทศชั่วคราวครั้งสุดท้าย หลักเกณฑ์การเบิกค่าเครื่องแต่งตัวตามมาตรานี้ ให้ใช้กับคู่สมรสและบุตรผู้เดินทางด้วย มาตรา 60 ค่าพาหนะเดินทางไปรับราชการประจำในต่างประเทศสำหรับตนเอง คู่สมรสในขณะ เดินทาง และบุตรซึ่งยังไม่มีคู่สมรสและอยู่ในความอุปการะซึ่งจะต้องเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศด้วย ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง โดยจะต้องใช้ยานพาหนะที่เหมาะสม ซึ่งต้องคำนึงถึงความรวดเร็วและประหยัด นอกจากกระทรวงเจ้าสังกัดจะอนุญาตให้เบิกค่าพาหนะสำหรับผู้ติดตามผู้เดินทางไปรับ ราชการประจำในต่างประเทศได้ ดังนี้ (1) หนึ่งคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ 2 ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือ ผู้มียศร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี หรือร้อยตำรวจตรี ขึ้นไป (2) ไม่เกินสองคน สำหรับข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ 7 ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่ เทียบเท่า หรือผู้มียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก หรือพันตำรวจเอก ซึ่งได้รับเงินเดือน อัตราพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ หรือพันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป คู่สมรส บุตรและผู้ติดตามของผู้เดินทางจะเบิกค่าพาหนะไม่ได้ ถ้ามิได้ออกเดินทางภายใน กำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ข้าราชการผู้นั้นออกเดินทางไปรับราชการประจำในต่างประเทศ มาตรา 61 ให้นำความในมาตรา 60 มาใช้บังคับในกรณีผู้เดินทางไปรับราชการประจำในต่าง ประเทศ คู่สมรส หรือผู้ติดตาม คนหนึ่งคนใด ได้รับอนุญาตจากกระทรวงเจ้าสังกัดให้เดินทางกลับ ประเทศไทยด้วย โดยอนุโลม บุตรซึ่งได้รับค่าพาหนะเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศ หรือบุตรที่เกิดในระหว่างเวลาที่รับ ราชการประจำในต่างประเทศ ถ้ามิได้เดินทางกลับภายในกำหนดเวลาสามปีนับแต่วันที่ข้าราชการเดินทาง ไปรับราชการประจำในต่างประเทศเดินทางกลับ จะเบิกค่าพาหนะมิได้ มาตรา 62 ค่าโดยสารเครื่องบินไปรับราชการประจำในต่างประเทศ ให้นำความในมาตรา 51 มาใช้บังคับโดยอนุโลม คู่สมรสหรือบุตร ให้มีสิทธิโดยสารเครื่องบินชั้นเดียวกับผู้เดินทาง แต่ถ้าบุตรมิได้เดินทางพร้อม กับข้าราชการผู้เดินทาง หรือคู่สมรสของข้าราชการผู้เดินทาง ให้เบิกในอัตราชั้นสอง ผู้ติดตามให้เบิกได้ในอัตราชั้นต่ำสุด มาตรา 63 ค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ ให้เบิกในลักษณะเหมาจ่ายตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางจากประเทศไทยไปรับราชการประจำในต่างประเทศ พร้อมทั้งคู่สมรสและบุตร ซึ่งต้องเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศด้วย ให้เบิกได้ในอัตราห้าเท่าของจำนวน เงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่ข้าราชการหรือ ลูกจ้างผู้เดินทาง คู่สมรส และบุตร ซึ่งต้องเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศด้วยจะพึงได้รับจากทางราชการ (2) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางออกจากประเทศต่างประเทศหนึ่ง ไปรับราชการประจำ ในต่างประเทศอื่น พร้อมทั้งคู่สมรสและบุตรซึ่งต้องเดินทางไปด้วย ให้เบิกได้ในอัตราสามเท่าของจำนวน เงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่ข้าราชการหรือ ลูกจ้างผู้เดินทาง คู่สมรส และบุตรซึ่งต้องเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศด้วย จะพึงได้รับตามอัตราสำหรับ ประเทศซึ่งจะไปรับราชการประจำใหม่ (3) ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทางจากประเทศต่างประเทศที่ดำรงตำแหน่งประจำอยู่กลับ ประเทศไทย พร้อมทั้งคู่สมรสและบุตร ให้เบิกได้ในอัตราสามเท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้เดินทาง คู่สมรส และบุตร ได้รับครั้งสุดท้ายก่อนเดินทางกลับประเทศไทย ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี บัญชี 1 อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร บัญชี 2 อัตราค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร บัญชี 3 จำนวนคนใช้ส่วนตัวในการเดินทางไปประจำต่างสำนักงาน ตามมาตรา 30 (5) บัญชี 4 อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร บัญชี 5 อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว หมายเหตุ (1) ประเภท ก. หมายความถึงประเทศในทวีปยุโรป อเมริกาเหนือและใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประเภท ข. หมายความถึงประเทศนอกจากที่กล่าวไว้ในประเภท ก. และ ค. ประเภท ค. หมายถึงราชอาณาจักรลาว กัมพูชา สหภาพพม่า (2) ในกรณีที่มีเหตุพิเศษ หรือเพื่อความสะดวกแก่ผู้เดินทาง กระทรวงการคลัง จะกำหนดให้จ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักเป็นตราสกุลอื่นที่มีมูลค่า เท่ากับอัตราในบัญชีนี้ก็ได้ (3) ในกรณีที่เดินทางในวันหนึ่งวันใดคาบเกี่ยวหลายประเทศ ให้ใช้สิทธิ เบิกประเภทที่สูงกว่า บัญชี 6 อัตราเครื่องแต่งตัวไปรับราชการประจำในต่างประเทศชั่วคราว หมายเหตุ (1) ประเภท ก. หมายความถึงประเทศอื่น ๆ นอกจากที่กำหนดในประเภท ข. (2) ประเภท ข. หมายถึงประเทศสาธารณเวียดนามใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตย เวียดนาม ราชอาณาจักรลาว กัมพูชา สหภาพพม่า สหพันธ์มาเลเซีย ศรีลังกา สาธารณรัฐ อินโดนีเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐสิงคโปร์ (3) สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องแต่งเครื่องแบบ ให้ได้รับเพิ่มอีกร้อยละ 25 ของ อัตรา ถ้าต้องไปในฐานะผู้แทนของรัฐบาลซึ่งเป็นแขกของรัฐบาลต่างประเทศ ให้ได้รับ เพิ่มอีกร้อยละ 50 ของอัตรา (4) ผู้เดินทางไปราชการในประเทศที่อยู่ในประเภท ก. และประเภท ข. ในคราวเดียว กัน ให้เบิกค่าเครื่องแต่งตัวประเภท ก. ได้อย่างเดียว บัญชี 7 อัตราเครื่องแต่งตัวไปรับราชการประจำในต่างประเทศ หมายเหตุ (1) ประเภท ก. หมายความถึงประเทศอื่น ๆ นอกจากที่กำหนดในประเภท ข. (2) ประเภท ข. หมายถึงประเทศสาธารณเวียดนามใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตย เวียดนาม ราชอาณาจักรลาว กัมพูชา สหภาพพม่า สหพันธ์มาเลเซีย ศรีลังกา สาธารณรัฐ อินโดนีเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐสิงคโปร์ (3) อัตราบัญชีนี้เป็นอัตราเหมาเว้นแต่กรณีดังกล่าวในวรรคสองของอันดับ 3 หมายเหตุ:-เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการกำหนดหลัก เกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่ายได้กำหนดให้การจ่ายเงินตามงบ ประมาณรายจ่ายในประเภทค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ประกอบ กับอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนเครื่องแต่งตัวในการเดินทางไปราชการต่างประเทศที่ใช้อยู่ยังต่ำเกินไปสมควรปรับปรุงใหม่ให้ เหมาะสมกับสภาวะทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น
301243
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช 2483
ตราพระบรมราชโองการ ตราพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช 2483 -------------------------- ในพระปรมาภิธัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2480) อาทิตย์ทิพอาภา พล.อ. พิชเยนทรโยธิน ตราไว้ ณ วันที่ 22 ตุลาคม พุทธศักราช 2483 เป็นปีที่ 7 ในรัชกาลปัจจุบัน โดยที่เห็นสมควรวางระเบียบและกำหนดอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการให้ เหมาะสมยิ่งขึ้น คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิธัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึ่งให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ดั่งต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้ให้เรียกว่า `พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบ ค่าเช่าบ้านข้าราชการพุทธศักราช 2483' มาตรา 2 ให้ใช้พระราชกฤษฎีกานี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกบรรดากฎ ข้อบังคับ และระเบียบการใด ๆ ในส่วนที่ บัญญัติไว้แล้วในพระราชกฤษฎีกานี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราช กฤษฎีกานี้ มาตรา 4 ข้าราชการประจำการนอกจากข้าราชการชาวต่างประเทศที่มีสัญญา จ้าง มีสิทธิได้ค่าเช่าบ้านตามความในพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา 5 ข้าราชการดังต่อไปนี้ไม่มีสิทธิได้ค่าเช่าบ้าน (1) ข้าราชการซึ่งรับราชการประจำในเขตต์อำเภอหรือกิ่งอำเภอชั้นใน (2) ข้าราชการซึ่งทางราชการได้จัดที่พักให้อยู่แล้ว (3) ข้าราชการซึ่งเริ่มเข้ารับราชการในท้องที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอใด และยังคงรับราชการอยู่ในท้องที่นั้น (4) ข้าราชการซึ่งทางราชการสั่งให้ไปรับราชการประจำในเขตต์อำเภอหรือ กิ่งอำเภอที่ข้าราชการผู้นั้นเริ่มเข้ารับราชการหรือกลับเข้ารับราชการ ใหม่ (5) ข้าราชการซึ่งมีเคหสถานของตนเอง หรือของบิดาหรือมารดาหรือบุตร หรือสามีหรือภริยาที่พออาศัยอยู่ร่วมกันได้ (6) ข้าราชการวิสามัญซึ่งทางราชการแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นการชั่ว คราว เว้นแต่ในกรณีที่การแต่งตั้งนั้นต้องการบุคคลที่มีคุณวุฒิเป็นพิเศษ และกระทรวงการคลังเห็นสมควรให้ได้รับค่าเช่าบ้าน มาตรา 6 ข้าราชการซึ่งรับราชการหรือได้รับคำสั่งให้ไปรับราชการใน ท้องที่ใด และไม่มีสิทธิได้ค่าเช่าบ้าน เพราะเหตุที่มีเคหสถานของตนเอง แม้ข้าราชการผู้นั้นได้โอนกรรมสิทธิ์ในเคหสถานนั้นไป ก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิ ที่จะได้รับค่าเช่าบ้านในระหว่างที่รับราชการในท้องที่นั้น มาตรา 7 สามีกับภริยาก็ดี บิดาหรือมารดากับบุตรซึ่งพออาศัยอยู่ร่วม กันได้ก็ดี ถ้ารับราชการในท้องที่เดียวกันและต่างมีสิทธิจะได้รับค่าเช่า บ้าน ให้เบิกจ่ายให้เฉพาะคนใดคนหนึ่งซึ่งมีสิทธิได้ค่าเช่าบ้านสูงกว่า หรือถ้ามีสิทธิได้ค่าเช่าบ้านเท่ากันก็ให้เบิกจ่ายให้แก่สามีหรือบิดาหรือ มารดาแล้วแต่กรณี มาตรา 8 ข้าราชการซึ่งได้รับค่าเช่าบ้านอยู่แล้ว ภายหลังได้รับเงิน เดือนเพิ่มขึ้น จะขอรับค่าเช่าบ้านเพิ่มขึ้นไม่ได้ เว้นแต่จะปรากฏเหตุผล ความจำเป็น เป็นต้นว่า บ้านที่เช่าอยู่ชำรุดมาก หรือมีครอบครัวเพิ่มขึ้น จนไม่สามารถอาศัยให้เป็นสุขตามสมควร จะต้องย้ายไปเช่าบ้านใหม่ หรือต้อง ให้เจ้าของบ้านก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้น หรือได้เสียค่าเช่าบ้านอยู่แล้วเกิน กว่าที่ได้เบิกจ่าย มาตรา 9 ข้าราชการซึ่งได้รับค่าเช่าบ้านอยู่แล้ว ภายหลังได้มี เคหสถานของตนเองซึ่งสมควรจะอาศัยอยู่ได้ หรือได้ไปอาศัยผู้อื่นอยู่โดยมิต้อง เสียค่าเช่า ให้งดการเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านสำหรับข้าราชการผู้นั้นเสียตั้ง แต่วันนั้นเป็นต้นไป มาตรา 10 ค่าเช่าบ้านให้เบิกจ่ายได้เท่าที่ต้องจ่ายจริงตามราคาที่สม ควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างมากไม่เกินอัตราคำนวณตามเงินเดือนของข้า ราชการดั่งต่อไปนี้ (1) ตั้งแต่เดือนละร้อยบาทขึ้นไป ให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านได้ร้อยละ สิบของเงินเดือน (2) ต่ำกว่าเดือนละร้อยบาท ให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านได้ร้อยละสิบห้า ของเงินเดือน แต่รายหนึ่งเบิกจ่ายได้อย่างมากเพียงสิบบาท มาตรา 11 ค่าเช่าบ้านจะเบิกจ่ายได้ตั้งแต่วันที่ข้าราชการผู้นั้นได้ เช่าอยู่จริง แต่ไม่ก่อนวันรายงานตัวเพื่อเข้ารับหน้าที่ ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่น ถ้าไม่ สามารถออกเดินทางไปได้ในวันมอบหน้าที่ ให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านตามจำนวน วันที่ต้องเช่าอยู่ต่อไปได้อีกไม่เกินสิบวัน เว้นแต่ในกรณีจำเป็นที่จะ ต้องอยู่ต่อไปอีก และได้รับอนุมัติให้เบิกได้จากผู้มีอำนาจอนุมัติตามความ ในมาตรา13 มาตรา 12 การเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านให้สิ้นสุดในวันที่ข้าราชการขาดจาก อัตราเงินเดือน เว้นแต่ในกรณี (1) ข้าราชการออกจากราชการโดยไม่มีความผิด ถ้ามีความจำเป็นที่ ข้าราชการผู้นั้นจะออกจากบ้านเช่าไม่ได้ในวันขาดจากอัตราเงินเดือน ก็ให้เบิก จ่ายค่าเช่าบ้านต่อไปได้อีกเท่าที่มีความจำเป็น แต่ไม่เกินสิบวัน (2) ข้าราชการถึงแก่ความตาย ถ้ามีความจำเป็นที่ครอบครัวของข้าราชการ ผู้นั้นจะออกจากบ้านเช่าไม่ได้ ก็ให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านต่อไปได้อีกเท่า ที่มีความจำเป็น แต่ไม่เกินสามสิบวัน นับแต่วันที่ข้าราชการผู้นั้นตาย มาตรา 13 ในราชการบริหารส่วนกลาง ให้อธิบดีและในราชการบริหารส่วน ภูมิภาค ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นผู้พิจารณาอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่า บ้าน ตามความในพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา 14 ข้าราชการซึ่งผู้บังคับบัญชาอนุญาติให้ลาป่วยหรือลาประเภท ใดๆ ก็ดี และจะได้รับเงินเดือนในระหว่างลานั้นหรือไม่ก็ดี ให้เบิกจ่ายค่า เช่าบ้านให้เท่าที่เคยได้รับอยู่ตลอดเวลาที่อนุญาตให้ลานั้น มาตรา 15 ข้าราชการซึ่งรับราชการในต่างประเทศ ถ้าจำเป็นต้องเช่าที่ พักอาศัย ให้กระทรวงเจ้าสังกัดทำความตกลงกับกระทรวงการคลังกำหนดอัตราและ สั่งจ่ายให้เป็นรายๆ ไป มาตรา 16 ในกรณีที่ข้าราชการได้รับค่าเช่าบ้านอยู่ก่อนวันใช้พระราช กฤษฎีกานี้นั้น ให้คงปฏิบัติจ่ายไปตามเดิมตลอดเวลาที่ข้าราชการผู้นั้นเช่า บ้านนั้นอยู่ มาตรา 17 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการให้เป็นไปตามพระ ราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี
604637
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลชานุการและผู้ช่วยเลขานุการ พ.ศ. 2551
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ตามที่กระทรวงการคลังได้ประกาศกำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ รวม ๗ ฉบับ นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นชอบให้ประกาศกำหนดดังต่อไปนี้ ๑. ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ ดังนี้ (๑) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ (๒) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ ประกาศ ณ วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ (๓) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘ ประกาศ ณ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ (๔) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ ประกาศ ณ วันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ (๕) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๙ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ (๖) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๗) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ๒. กำหนดรายชื่อคณะกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและอัตราเบี้ยประชุม ตามบัญชีหมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศนี้ ๓. กำหนดรายชื่อคณะกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและอัตราเบี้ยประชุม ตามบัญชีหมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้ ๔. กำหนดอัตราเบี้ยประชุมรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ ตามบัญชีหมายเลข ๓ แนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บัญชีหมายเลข ๑ รายชื่อคณะกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและอัตราเบี้ยประชุม อัตราไม่เกิน (บาท : คน : เดือน) ลำดับที่ รายชื่อคณะอนุกรรมการ ประธาน รองประธาน กรรมการ ๑. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ๑๐,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๒. คณะกรรมการอัยการ ๑๐,๐๐๐ ๙,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๓. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ๑๐,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๔. คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ๑๐,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๕. คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ๑๐,๐๐๐ ๙,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๖. คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ๑๐,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๗. คณะกรรมการข้าราชการทหาร ๑๐,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๘. คณะกรรมการสภากลาโหม ๑๐,๐๐๐ ๙,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๙. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ๑๐,๐๐๐ ๙,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๑๐. คณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ ๑๐,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๑๑. คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ๑๐,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๑๒. คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๐) ๑๐,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๑๓. คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ๗,๕๐๐ ๖,๐๐๐ ๑๔. คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ๗,๕๐๐ ๖,๗๕๐ ๖,๐๐๐ ๑๕. คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ๗,๕๐๐ ๖,๗๕๐ ๖,๐๐๐ ๑๖. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ๗,๕๐๐ ๖,๐๐๐ ๑๗. คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ๗,๕๐๐ ๖,๐๐๐ ๑๘. คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๗,๕๐๐ ๖,๐๐๐ ๑๙. คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ๗,๕๐๐ ๖,๗๕๐ ๖,๐๐๐ ๒๐. คณะกรรมการสภาการศึกษา ๗,๕๐๐ ๖,๐๐๐ ๒๑. คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ ๗,๕๐๐ ๖,๗๕๐ ๖,๐๐๐ ๒๒. คณะกรรมการที่ราชพัสดุ ๗,๕๐๐ ๖,๗๕๐ ๖,๐๐๐ ๒๓. คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ๗,๕๐๐ ๖,๐๐๐ ๒๔. คณะกรรมแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ๗,๕๐๐ ๖,๐๐๐ ๒๕. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ๗,๕๐๐ ๖,๗๕๐ ๖,๐๐๐ ๒๖. คณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี ๗,๕๐๐ ๖,๗๕๐ ๖,๐๐๐ ๒๗. คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ ๗,๕๐๐ ๖,๗๕๐ ๖,๐๐๐ ๒๘. คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ๗,๕๐๐ ๖,๗๕๐ ๖,๐๐๐ ๒๙. คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ๗,๕๐๐ ๖,๗๕๐ ๖,๐๐๐ ๓๐. คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ ๗,๕๐๐ ๖,๗๕๐ ๖,๐๐๐ ๓๑. คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ๗,๕๐๐ ๖,๗๕๐ ๖,๐๐๐ ๓๒. คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ ๗,๕๐๐ ๖,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ๓๓. คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ๗,๕๐๐ ๖,๐๐๐ ๓๔. คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ๖,๒๕๐ ๕,๐๐๐ ๓๕. คณะกรรมการผังเมือง ๖,๒๕๐ ๕,๐๐๐ ๓๖. คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ๖,๒๕๐ ๕,๐๐๐ ๓๗. คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของสำนักงาน ป.ป.ส. ๖,๒๕๐ ๕,๖๒๕ ๕,๐๐๐ ๓๘. คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา ๖,๒๕๐ ๕,๐๐๐ ๓๙. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๖,๒๕๐ ๕,๐๐๐ ๔๐. คณะกรรมการการอุดมศึกษา ๖,๒๕๐ ๕,๐๐๐ ๔๑. คณะกรรมการการอาชีวศึกษา ๖,๒๕๐ ๕,๐๐๐ ๔๒. คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ๖,๒๕๐ ๕,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๔๓. คณะกรรมการการวางแผนถวายความปลอดภัย ๖,๒๕๐ ๕,๐๐๐ ๔๔. คณะกรรมการการถวายความปลอดภัย ณ พระราชฐานและที่ประทับ ๖,๒๕๐ ๕,๐๐๐ ๔๕. คณะกรรมการถวายความปลอดภัยเมื่อเสด็จพระราชดำเนินออกนอกพระราชฐานหรือที่ประทับ ๖,๒๕๐ ๕,๐๐๐ ๔๖. คณะกรรมการถวายความปลอดภัยเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปประทับในที่ชุมนุมสาธารณะ ๖,๒๕๐ ๕,๐๐๐ ๔๗. คณะกรรมการวางแผนและอำนวยการถวายความปลอดภัยเมื่อเสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศ ๖,๒๕๐ ๕,๐๐๐ ๔๘. คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ๖,๒๕๐ ๕,๐๐๐ บัญชีหมายเลข ๒ รายชื่อคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและอัตราเบี้ยประชุม อัตราไม่เกิน : (บาท : คน : เดือน) ลำดับที่ รายชื่อคณะอนุกรรมการ ประธาน กรรมการ คณะอนุกรรมการในคณะกรรมการ ก.พ.ร. จำนวน ๓๑ คณะ ๕,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๑. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการทบทวนและปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการด้านเศรษฐกิจ ๒. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการทบทวนและปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการด้านสังคม ๓. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการทบทวนและปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการด้านสังคมเฉพาะกิจเกี่ยวกับบทบาทของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับกระทรวงยุติธรรม ๔. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการทบทวนและปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการด้านสังคมเฉพาะกิจเกี่ยวกับการกำหนดชื่อส่วนราชการ ๕. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการทบทวนและปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการด้านการข่าว ๖. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาระบบการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น ๗. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ๘. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการปรับปรุงระบบบุคคลและค่าตอบแทน ๙. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์วัฒนธรรมและค่านิยมของระบบราชการ ๑๐. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการตีความและวินิจฉัยปัญหากฎหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน ๑๑. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการพัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ๑๒. อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการวิเคราะห์และติดตามประเมินผลโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ๑๓. อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการวางระเบียบปฏิบัติงานของสำนักงาน ก.พ.ร. ๑๔. อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาองค์การมหาชนและองค์กรรูปแบบอื่นในกำกับของราชการฝ่ายบริหารที่มิใช่ส่วนราชการ ๑๕. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการปรับปรุงระบบการเงินและงบประมาณ ๑๖. อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารงานของกลุ่มภารกิจ ๑๗. อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการติดตามการดำเนินงานตามมาตรา ๕๓-มาตรา ๕๘ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ๑๘. อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพมาตรฐานและลดขั้นตอนระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่ออำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน ๑๙. อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. .... ๒๐. อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ ๒๑. อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับมาตรการสร้างความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต ๒๒. อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการพิจารณาระบบคณะกรรมการตรวจสอบภาคราชการประจำกระทรวง ๒๓. อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการปรับปรุงค่าตอบแทนของข้าราชการ ๒๔. อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการจัดหลักสูตรพัฒนาผู้บริหาร ๒๕. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ๒๖. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ๒๗. อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการกำหนดหลักการจัดและพัฒนาโครงสร้างระบบราชการ ๒๘. อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการขยายผลโครงการศูนย์บริหารร่วมอำเภอ...ยิ้ม ๒๙. อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการกำหนดกระบวนการและขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและงบประมาณจังหวัด ๓๐. อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการเตรียมการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๗๙ และมาตรา ๒๘๐ (ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ เป็นต้นไป) ๓๑. อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารราชการในต่างประเทศ (ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ เป็นต้นไป) คณะอนุกรรมการในคณะกรรมการ ก.พ. จำนวน ๑๖ คณะ ๕,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๑. อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับวินัยและการออกจากราชการ ๒. อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ๓. อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบข้าราชการ ๔. อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ (ตำแหน่งประเภททั่วไป) ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะและตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ ๕. อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการสร้างระบบและมาตรฐานการสรรหาทรัพยากรบุคคล ๖. อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาคุณภาพกำลังคนภาครัฐ ๗. อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทน ๘. อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการสร้างประสิทธิภาพด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ๙. อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการรักษาระบบคุณธรรม ๑๐. อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคล ๑๑. อ.ก.พ. วิสามัญเฉพาะกิจเกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่งระดับสูง ๑๒. อ.ก.พ. วิสามัญเฉพาะกิจเพื่อวางระบบการพัฒนานักบริหารระดับสูง ๑๓. อ.ก.พ. วิสามัญเฉพาะกิจเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเลือกสรรบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามระบบเปิด ๑๔. อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการส่งเสริมจริยธรรมเพื่อราชการใสสะอาด ๑๕. อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการรักษาระบบมาตรฐานหลักสูตรการฝึกอบรมนักบริหารระดับสูง ๑๖. อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการเตรียมกำลังคนภาครัฐ (ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ เป็นต้นไป) คณะอนุกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา จำนวน ๕ คณะ ๕,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๑. อ.ก.ร. กฎหมายและระเบียบ ๒. อ.ก.ร. สรรหาพัฒนาและส่งเสริมสมรรถภาพข้าราชการ ๓. อ.ก.ร. ระบบงานและอัตรากำลัง ๔. อ.ก.ร. ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานราชการของรัฐสภา ๕. อ.ก.ร. เฉพาะกิจ คณะอนุกรรมการในคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ จำนวน ๖ คณะ ๕,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๑. อนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย ๒. อนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการอุทธรณ์ ๓. อนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการร้องทุกข์ ๔. อนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบ ๕. อนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ๖. อนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการส่งเสริมจริยธรรมและการพัฒนาคุณธรรม คณะอนุกรรมการในคณะกรรมการ ก.พ.อ. จำนวน ๗ คณะ ๕,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๑. คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา ๒. คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป) ๓. คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับคุณวุฒิ ๔. คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับกฎหมาย และระเบียบ ๕. คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับอุทธรณ์ ร้องทุกข์และจรรยาบรรณ ๖. คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย ๗. คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระบบอุดมศึกษา คณะอนุกรรมการในคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน ๑๐ คณะ ๕,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๑. อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ๒. อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ๓. อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับวินัยและการออกจากราชการ ๔. อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับการพัฒนานโยบายและระบบบริหารงานบุคคล ๕. อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ๖. อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับตำแหน่งและวิทยฐานะ ๗. อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับการกำกับ ติดตามและประเมินผลการบริหารงานบุคคล ๘. อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ๙. อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๑๐. อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับการกำหนดแนวปฏิบัติการบริหารงานบุคคลดูแลและประสานการดำเนินงานด้านบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา บัญชีหมายเลข ๓ อัตราเบี้ยประชุมรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ ประเภท อัตราไม่เกิน (บาท:คน:ครั้ง) กรรมการในคณะกรรมการตามมาตรา ๖ (๒) เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการตามมาตรา ๖ อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๗ (๒) เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๗ ๑,๒๐๐ ๑,๒๐๐ ๘๐๐ ๘๐๐ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘
503509
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2549
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๙ ตามที่กระทรวงการคลังได้ประกาศกำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ ตามประกาศกระทรวงการคลัง ฉบับลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๘ และวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๔๙ นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นสมควรกำหนดรายชื่อคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนเพิ่มเติม ตามบัญชีหมายเลข ๑ และบัญชีหมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้ใช้บัญชีรายชื่อนี้ตั้งแต่วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บัญชีหมายเลข ๑ รายชื่อคณะกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและอัตราเบี้ยประชุม (เพิ่มเติม) อัตรา : (ไม่เกินบาท : เดือน) ลำดับที่ รายชื่อคณะกรรมการ ประธาน รองประธาน กรรมการ ๑ คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ๗,๕๐๐ - ๖,๐๐๐ บัญชีหมายเลข ๒ รายชื่อคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและอัตราเบี้ยประชุม (เพิ่มเติม) อัตรา : (ไม่เกินบาท : เดือน) ลำดับที่ รายชื่อคณะอนุกรรมการ ประธาน อนุกรรมการ คณะอนุกรรมการในคณะกรรมการ ก.พ.จำนวน ๑ คณะ ๕,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๑ อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการรักษาระบบมาตรฐานหลักสูตรการฝึกอบรมนักบริหารระดับสูง คณะอนุกรรมการในคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน ๘ คณะ ๕,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๑ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ๒ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ๓ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับวินัยและการออกจากราชการ ๔ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับการพัฒนานโยบายและระบบบริหารงานบุคคล ๕ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ๖ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับตำแหน่งและวิทยฐานะ ๗ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับการกำกับ ติดตามและประเมินผลการบริหารงานบุคคล ๘ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่งและ วิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ปาจรีย์/เชิงชาย/ผู้จัดทำ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙
489618
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2549
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ ตามที่กระทรวงการคลังได้ประกาศกำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ ตามประกาศกระทรวงการคลัง ฉบับลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ และวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๘ นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นสมควร ๑. แก้ไขชื่อ “คณะกรรมการข้าราชการครู” ลำดับที่ ๕ ในบัญชีหมายเลข ๑ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๘ เป็น “คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” ๒. กำหนดรายชื่อคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนเพิ่มเติม ตามบัญชีหมายเลข ๑ และ บัญชีหมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้ใช้บัญชีรายชื่อนี้ตั้งแต่วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๔๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บัญชีหมายเลข ๑ รายชื่อคณะกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและอัตราเบี้ยประชุม (เพิ่มเติม) อัตรา : (ไม่เกินบาท : เดือน) ลำดับที่ รายชื่อคณะกรรมการ ประธาน รองประธาน กรรมการ ๑ คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ ๗,๕๐๐ ๖,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ๒ คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ๖,๒๕๐ ๕,๐๐๐ ๕,๐๐๐ บัญชีหมายเลข ๒ รายชื่อคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและอัตราเบี้ยประชุม (เพิ่มเติม) อัตรา : (ไม่เกินบาท : เดือน) ลำดับที่ รายชื่อคณะอนุกรรมการ ประธาน อนุกรรมการ คณะอนุกรรมการในคณะกรรมการ ก.พ.อ. จำนวน ๗ คณะ ๕,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๑ คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา ๒ คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการ ๓ คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับคุณวุฒิ ๔ คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับกฎหมาย และระเบียบ ๕ คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับอุทธรณ์ ร้องทุกข์และจรรยาบรรณ ๖ คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย ๗ คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระบบอุดมศึกษา ปาจรีย์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙
489616
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามที่กระทรวงการคลังได้ประกาศกำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ ตามประกาศกระทรวงการคลัง ฉบับลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ และวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นสมควรกำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนเพิ่มเติม ตามบัญชีหมายเลข ๑ และบัญชีหมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้ใช้บัญชีรายชื่อนี้ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๘ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บัญชีหมายเลข ๑ รายชื่อคณะกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและอัตราเบี้ยประชุม (เพิ่มเติม) อัตรา : (ไม่เกินบาท : เดือน) ลำดับที่ รายชื่อคณะกรรมการ ประธาน รองประธาน กรรมการ ๑ คณะกรรมการนโยบายและกำกับ การบริหารหนี้สาธารณะ ๗,๕๐๐ ๖,๗๕๐ ๖,๐๐๐ ๒ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ๗,๕๐๐ ๖,๗๕๐ ๖,๐๐๐ บัญชีหมายเลข ๒ รายชื่อคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและอัตราเบี้ยประชุม (เพิ่มเติม) อัตรา : (ไม่เกินบาท : เดือน) ลำดับที่ รายชื่อคณะอนุกรรมการ ประธาน อนุกรรมการ คณะอนุกรรมการในคณะกรรมการ ก.พ.ร. จำนวน ๖ คณะ ๕,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๑ อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจ เกี่ยวกับมาตรการสร้างความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต ๒ อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจ เกี่ยวกับการพิจารณาระบบคณะกรรมการตรวจสอบภาคราชการประจำกระทรวง ๓ อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจ เกี่ยวกับการปรับปรุงค่าตอบแทนของข้าราชการ ๔ อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจ เกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานด้านการจัดการและสัมฤทธิ์ผลของงานภาครัฐ ๕ อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจ เกี่ยวกับการศึกษาแนวทางให้รองนายกรัฐมนตรีดูแลพื้นที่ในระดับจังหวัด ๖ อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจ เกี่ยวกับการจัดหลักสูตรพัฒนาผู้บริหาร คณะอนุกรรมการในคณะกรรมการ ก.พ. จำนวน ๔ คณะ ๕,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๑ อ.ก.พ. วิสามัญเฉพาะกิจเกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่งระดับสูง ๒ อ.ก.พ. วิสามัญเฉพาะกิจเพื่อวางระบบการพัฒนานักบริหารระดับสูง ๓ อ.ก.พ. วิสามัญเฉพาะกิจเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเลือกสรรบุคคล เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามระบบเปิด ๔ อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการส่งเสริมจริยธรรมเพื่อราชการใสสะอาด คณะอนุกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา จำนวน ๕ คณะ ๕,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๑ อ.ก.ร. กฎหมายและระเบียบ ๒ อ.ก.ร. สรรหาพัฒนาและส่งเสริมสมรรถภาพข้าราชการ ๓ อ.ก.ร. ระบบงานและอัตรากำลัง ๔ อ.ก.ร. ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานราชการของรัฐสภา ๕ อ.ก.ร. เฉพาะกิจ คณะอนุกรรมการในคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ จำนวน ๕ คณะ ๕,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๑ อนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย ๒ อนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการอุทธรณ์ ๓ อนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการร้องทุกข์ ๔ อนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบ ๕ อนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล สุกัญญา/ปาจรีย์/ผู้จัดทำ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๙
489612
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามที่กระทรวงการคลังได้ประกาศกำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ ตามประกาศ ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๗ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๘ เป็นต้นไป นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว เห็นสมควรแก้ไขปรับปรุงรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ใช้บัญชีรายชื่อนี้ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิกบัญชีรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนตามบัญชีหมายเลข ๑ และบัญชีหมายเลข ๒ ตามข้อ ๑ และข้อ ๒ แนบท้ายประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๗ และให้ใช้บัญชีหมายเลข ๑ และบัญชีหมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บัญชีหมายเลข ๑ รายชื่อคณะกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและอัตราเบี้ยประชุม อัตรา :(ไม่เกินบาท : เดือน) ลำดับที่ รายชื่อคณะกรรมการ ประธาน รองประธาน กรรมการ ๑ คณะกรรมการตรวจสอบภาคราชการ ๒๐,๐๐๐ ๑๖,๐๐๐ ๒ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ๑๐,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๓ คณะกรรมการอัยการ ๑๐,๐๐๐ ๙,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๔ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ๑๐,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๕ คณะกรรมการข้าราชการครู ๑๐,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๖ คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ๑๐,๐๐๐ ๙,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๗ คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ๑๐,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๘ คณะกรรมการข้าราชการทหาร ๑๐,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๙ คณะกรรมการสภากลาโหม ๑๐,๐๐๐ ๙,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๑๐ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) ๑๐,๐๐๐ ๙,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๑๑ คณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ ๑๐,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๑๒ คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ๑๐,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๑๓ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ๗,๕๐๐ ๖,๐๐๐ ๑๔ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ๗,๕๐๐ ๖,๗๕๐ ๖,๐๐๐ ๑๕ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ๗,๕๐๐ ๖,๗๕๐ ๖,๐๐๐ ๑๖ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ๗,๕๐๐ ๖,๐๐๐ ๑๗ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ๗,๕๐๐ ๖,๐๐๐ ๑๘ คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๗,๕๐๐ ๖,๐๐๐ ๑๙ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ๗,๕๐๐ ๖,๗๕๐ ๖,๐๐๐ ๒๐ คณะกรรมการสภาการศึกษา ๗,๕๐๐ ๖,๐๐๐ ๒๑ คณะกรรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ ๗,๕๐๐ ๖,๗๕๐ ๖,๐๐๐ ๒๒ คณะกรรมการที่ราชพัสดุ ๗,๕๐๐ ๖,๗๕๐ ๖,๐๐๐ ๒๓ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ๗,๕๐๐ ๖,๐๐๐ ๒๔ คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ๗,๕๐๐ ๖,๐๐๐ ๒๕ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ๗,๕๐๐ ๖,๗๕๐ ๖,๐๐๐ ๒๖ คณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี ๗,๕๐๐ ๖,๗๕๐ ๖,๐๐๐ ๒๗ คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ ๗,๕๐๐ ๖,๗๕๐ ๖,๐๐๐ ๒๘ คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ๗,๕๐๐ ๖,๗๕๐ ๖,๐๐๐ ๒๙ คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ๗,๕๐๐ ๖,๗๕๐ ๖,๐๐๐ ๓๐ คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ๖,๒๕๐ ๕,๐๐๐ ๓๑ คณะกรรมการผังเมือง ๖,๒๕๐ ๕,๐๐๐ ๓๒ คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ๖,๒๕๐ ๕,๐๐๐ ๓๓ คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของสำนักงาน ป.ป.ส. ๖,๒๕๐ ๕,๖๒๕ ๕,๐๐๐ ๓๔ คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา ๖,๒๕๐ ๕,๐๐๐ ๓๕ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๖,๒๕๐ ๕,๐๐๐ ๓๖ คณะกรรมการการอุดมศึกษา ๖,๒๕๐ ๕,๐๐๐ ๓๗ คณะกรรมการการอาชีวศึกษา ๖,๒๕๐ ๕,๐๐๐ บัญชีหมายเลข ๒ รายชื่อคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและอัตราเบี้ยประชุม อัตรา : (ไม่เกินบาท : เดือน) ลำดับที่ รายชื่อคณะอนุกรรมการ ประธาน อนุกรรมการ คณะอนุกรรมการในคณะกรรมการ ก.พ.ร. จำนวน ๒๓ คณะ ๕,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๑ อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการทบทวนและปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการด้านเศรษฐกิจ ๒ อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการทบทวนและปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการด้านสังคม ๓ อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการทบทวนและปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการด้านสังคม เฉพาะกิจเกี่ยวกับบทบาทของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับกระทรวงยุติธรรม ๔ อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการทบทวนและปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการด้านสังคม เฉพาะกิจเกี่ยวกับกำหนดชื่อส่วนราชการ ๕ อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการทบทวนและปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการด้านการข่าว ๖ อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาระบบการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น ๗ อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ๘ อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการปรับปรุงระบบบุคคลและค่าตอบแทน ๙ อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการเผยแพร่และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบราชการ ๑๐ อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์วัฒนธรรมและค่านิยมของระบบราชการ ๑๑ อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการตีความและวินิจฉัยปัญหากฎหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน ๑๒ อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการพัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ๑๓ อ.ก.พ.ร.เฉพาะกิจเกี่ยวกับการวิเคราะห์และติดตามประเมินผลโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ๑๔ อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการวางระเบียบปฏิบัติของสำนักงาน ก.พ.ร. ๑๕ อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาองค์การมหาชนและองค์กรรูปแบบอื่นในกำกับของราชการฝ่ายบริหารที่มิใช่ส่วนราชการ ๑๖ อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการปรับปรุงระบบการเงินและงบประมาณ ๑๗ อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารงานของกลุ่มภารกิจ ๑๘ อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการติดตามการดำเนินงานตามมาตรา ๕๓-มาตรา ๕๘ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ๑๙ อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพมาตรฐานและลดขั้นตอนระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่ออำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน ๒๐ อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการดำเนินการตามมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ ๒๑ อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. .... ๒๒ อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจ เกี่ยวกับโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ ๒๓ อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจ เกี่ยวกับการพิจารณาความเหมาะสมในการจัดตั้งสำนักงานทะเบียนกลางของประเทศ คณะอนุกรรมการในคณะกรรมการ ก.พ. จำนวน ๑๐ คณะ ๕,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๑ อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับวินัยและการออกจากราชการ ๒ อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ๓ อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบข้าราชการ ๔ อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์๕(ตำแหน่งประเภททั่วไป) ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะและตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ ๕ อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาคุณภาพกำลังคนภาครัฐ คณะที่ ๑ ด้านการสรรหาและการเตรียมกำลังคนในภาคราชการพลเรือน ๖ อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาคุณภาพกำลังคนภาครัฐ คณะที่ ๒ ด้านการพัฒนาคุณภาพกำลังคน ๗ อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการบริหารกำลังคนภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ ๘ อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารบุคคลแก่หน่วยงานภาครัฐ ๙ อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการรักษาระบบคุณธรรม ๑๐ อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลระบบเปิด ศิริยา/ปาจรีย์/ผู้จัดทำ ๒๒ ธันวาคม.๒๕๔๙
489609
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การคงสิทธิตามโครงการสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำที่ต้องลาออกจากราชการ หรือโอนไปรับราชการ หรือต้องเปลี่ยนสถานภาพตามที่กฎหมายกำหนดไปเป็นข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างซึ่งปฏิบัติราชการประจำ ในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การคงสิทธิตามโครงการสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำที่ต้องลาออกจากราชการ หรือโอนไปรับราชการ หรือต้องเปลี่ยนสถานภาพตามที่กฎหมายกำหนดไปเป็นข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างซึ่งปฏิบัติราชการประจำ ในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ[๑] สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๔๕ อนุมัติในหลักการให้ข้าราชการที่ใช้สิทธิกู้เงินตามโครงการสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของข้าราชการ ตามพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ และต่อมาได้ลาออกจากราชการเพื่อมาดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปกครองได้รับการยกเว้นการชดใช้เงินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และให้ชำระดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราเดิมนับตั้งแต่วันที่ลาออกจากราชการในส่วนราชการเดิมเพื่อมาดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปกครอง ตามที่สำนักงานศาลปกครองเสนอ โดยให้รวมถึงข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่ต้องลาออกจากราชการหรือโอนไปรับราชการหรือต้องเปลี่ยนสถานภาพตามที่กฎหมายกำหนดไปเป็นข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างซึ่งปฏิบัติราชการประจำในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญได้รับสิทธิประโยชน์ ยกเว้นการชดใช้เงินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และให้ชำระดอกเบี้ยในอัตราเดิมตามโครงการฯ เช่นเดียวกันตามความเห็นของกระทรวงการคลัง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงกำหนดหลักเกณฑ์การคงสิทธิตามโครงการสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่ต้องลาออกจากราชการ หรือโอนไปรับราชการหรือต้องเปลี่ยนสถานภาพตามที่กฎหมายกำหนดไปเป็นข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างซึ่งปฏิบัติราชการประจำในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญไว้ ดังนี้ ๑. ให้ผู้กู้เงินตามโครงการฯ ที่ต้องลาออกจากราชการ หรือโอนไปรับราชการหรือต้องเปลี่ยนสถานภาพตามที่กฎหมายกำหนดไปเป็นข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างซึ่งปฏิบัติราชการประจำในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญได้รับยกเว้นการชดใช้เงินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ได้รับ ตามพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ กับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติคืนให้แก่ทางราชการ ๒. ให้ผู้กู้เงินตามโครงการฯ ที่ต้องลาออกจากราชการ หรือโอนไปรับราชการหรือต้องเปลี่ยนสถานภาพตามที่กฎหมายกำหนดในข้อ ๑ มีสิทธิผ่อนชำระเงินกู้ต่อไปโดยเสียดอกเบี้ยในอัตราเดิมตามที่กำหนดไว้ในสัญญากู้เงินตามโครงการฯ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ผู้กู้เงินตามโครงการฯ ลาออกจากราชการหรือโอนไปรับราชการหรือต้องเปลี่ยนสถานภาพตามที่กฎหมายกำหนดจากส่วนราชการเดิม ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ วราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ธิดาวรรณ / พิมพ์ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ปาจรีย์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๑๓/๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๕
446248
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงกำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คณะกรรมการตามมาตรา ๖ (๑) และคณะกรรมการตามมาตรา ๑๖ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนตามรายชื่อคณะกรรมการและอัตราเบี้ยประชุมตามบัญชีหมายเลข ๑ ท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๒ คณะอนุกรรมการตามมาตรา ๗ (๑) ให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนตามรายชื่อคณะอนุกรรมการและอัตราเบี้ยประชุมตามบัญชีหมายเลข ๒ ท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๓ คณะกรรมการตามมาตรา ๖ (๒) คณะอนุกรรมการตามมาตรา ๗ (๒)เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งตามบัญชีหมายเลข ๓ ท้ายระเบียบนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๘ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ (ลงชื่อ) สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (สมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มยุรี/พิมพ์ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๘ วชิระ/ยงยุทธ/ตรวจ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๘
339994
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การชดใช้เงินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2535 กับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติคืนให้แก่ทางราชการของเจ้าหน้าที่องค์การมหาชน องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระไม่เป็นส่วนราชการ
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การชดใช้เงินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกา สวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ กับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติคืน ให้แก่ทางราชการของเจ้าหน้าที่องค์การมหาชน องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ ไม่เป็นส่วนราชการแต่อยู่ในกำกับดูแลของรัฐ พนักงานมหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่ยังคงมีสถานะเป็นส่วนราชการ[๑] เพื่อให้การดำเนินการตามแผนแม่บทแห่งการปฏิรูประบบราชการ เรื่อง การปรับปรุงบทบาทภารกิจและขนาดของหน่วยงานของรัฐ และการจัดตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงกำหนดหลักเกณฑ์การชดใช้เงินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ กับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติคืนให้แก่ทางราชการ กรณีข้าราชการและลูกจ้างประจำที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นเจ้าหน้าที่ องค์การมหาชน องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระไม่เป็นส่วนราชการแต่อยู่ในกำกับดูแลของรัฐ พนักงานมหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่ยังคงมีสถานะเป็นส่วนราชการ ไว้ดังนี้ ๑. ให้ผู้กู้เงินซึ่งออกจากราชการและเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นเจ้าหน้าที่องค์การมหาชน องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระไม่เป็นส่วนราชการแต่อยู่ในกำกับดูแลของรัฐ พนักงานมหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่ยังคงมีสถานะเป็นส่วนราชการได้รับยกเว้นการชดใช้เงินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ กับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติคืนให้แก่ทางราชการและให้มีสิทธิชำระดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราเดิมที่กำหนดไว้ในสัญญากู้เงินต่อไป ๒. หลักเกณฑ์ตามข้อ ๑ ให้มีผลใช้บังคับเฉพาะกับข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ที่ได้ใช้สิทธิกู้เงินตามโครงการสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย อยู่เดิมก่อนเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นเจ้าหน้าที่องค์การมหาชน องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระไม่เป็นส่วนราชการแต่อยู่ในกำกับดูแลของรัฐ พนักงานมหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่ยังคงมีสถานะเป็นส่วนราชการเท่านั้น ๓. ข้าราชการ ลูกจ้างประจำจะได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวตั้งแต่วันที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นเจ้าหน้าที่องค์การมหาชน องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระไม่เป็นส่วนราชการแต่อยู่ในกำกับดูแลของรัฐ พนักงานมหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่ยังคงมีสถานะเป็นส่วนราชการ แล้วแต่กรณี ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ธิดาวรรณ/แก้ไข ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๑๑/๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๕
326693
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การชดใช้เงินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2535 กับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติคืนให้แก่ทางราชการกรณีผู้กู้เข้าร่วมโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การชดใช้เงินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ได้รับ ตามพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ กับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติคืนให้แก่ทางราชการกรณีผู้กู้เข้าร่วม โครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด[๑] สืบเนื่องจากรัฐบาลได้มีโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะปรับลดสัดส่วนและขนาดกำลังคนภาครัฐให้เล็กลงแต่มีประสิทธิภาพเพื่อให้เป็นไปตามแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการ ดังนั้น เพื่อเป็นการสานต่อนโยบายดังกล่าวโดยจูงใจให้ข้าราชการออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงกำหนดหลักเกณฑ์การชดใช้เงินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ กับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติคืนให้แก่ทางราชการในกรณีผู้กู้เงินลาออกจากราชการตามโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด ไว้ดังนี้ ๑. ให้ผู้กู้เงินตามโครงการฯ ซึ่งออกจากราชการตามโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด ได้รับยกเว้นการชดใช้เงินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ กับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติคืนให้แก่ทางราชการยกเว้นผู้กู้เงินที่ออกจากราชการตามโครงการดังกล่าวก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๓ (รุ่นที่ ๑) ๒. ให้ผู้กู้เงินตามโครงการฯ ที่ออกจากทางราชการตามโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด มีสิทธิผ่อนชำระเงินกู้ต่อไป โดยเสียดอกเบี้ยในอัตราเดิมตามที่กำหนดไว้ในสัญญากู้เงินตามโครงการฯ ๓. ให้ใช้หลักเกณฑ์นี้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๓ ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พุทธชาด/แก้ไข ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๗/๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๕
327769
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การชดใช้เงินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2535 กับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติคืนให้แก่ทางราชการกรณีผู้กู้เข้าร่วมโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การชดใช้เงินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ได้รับ ตามพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ กับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติคืนให้แก่ทางราชการกรณีผู้กู้เข้าร่วมโครงการ เปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด รุ่นที่ ๑ (ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๓)[๑] สืบเนื่องจากกระทรวงการคลัง ได้กำหนดหลักเกณฑ์การให้สิทธิพิเศษแก่ผู้เข้าร่วมโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด รุ่นที่ ๒ (ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๔) ไม่ต้องชดใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ กับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติคืนให้แก่ทางราชการเพื่อเป็นการจูงใจให้ข้าราชการออกจากราชการก่อนเกษียณอายุไปแล้วนั้น แต่โดยที่ผู้กู้เงินที่ออกจากราชการตามโครงการดังกล่าวก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๓ (รุ่นที่ ๑) จะไม่ได้รับสิทธิประโยชนดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เข้าร่วมโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนดรุ่นที่ ๑ (ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๓) และให้เกิดความเท่าเทียมกันในด้านสิทธิประโยชน์ระหว่างผู้เข้าร่วมโครงการฯ รุ่นที่ ๑ และรุ่นที่ ๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงกำหนดหลักเกณฑ์การชดใช้เงินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ กับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติคืนให้แก่ทางราชการ ในกรณีผู้กู้เงินลาออกจากราชการตามโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด ไว้ดังนี้ ๑. ให้ผู้กู้เงินตามโครงการฯ ซึ่งออกจากราชการตามโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด รุ่นที่ ๑ (ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๓) ได้รับยกเว้นการชดใช้เงินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ กับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติคืนให้แก่ทางราชการ ๒. ให้ผู้กู้เงินตามโครงการฯ ซึ่งออกจากทางราชการตามโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด รุ่นที่ ๑ (ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๓) ได้สิทธิผ่อนชำระเงินกู้โดยเสียดอกเบี้ยในอัตราเดิมตามที่กำหนดไว้ในสัญญากู้เงินตามโครงการฯ ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ ถึงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๓ ด้วย ประกาศ ณ วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พุทธชาด/แก้ไข ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๙/๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๕
700878
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ มาตรา ๘/๑ มาตรา ๑๕ มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๒ มาตรา ๒๓ มาตรา ๒๖ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๗ มาตรา ๔๙ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๖ มาตรา ๕๗ มาตรา ๖๕ และมาตรา ๗๐ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม กระทรวงการคลังจึงกำหนดระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๕๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๓๔ (๒) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๔) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๖ (๕) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๘ (๖) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙ (๗) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๑ (๘) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ (๙) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๔ (๑๐) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเดินทางไปราชการโดยยานพาหนะประจำทาง พ.ศ. ๒๕๓๓ (๑๑) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ (๑๒) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐ (๑๓) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗ (๑๔) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าเครื่องแต่งตัวข้าราชการที่เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว พ.ศ. ๒๕๒๖ (๑๕) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าเครื่องแต่งตัวข้าราชการที่เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘ (๑๖) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ของข้าราชการหรือลูกจ้างในกรณีคู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับประเทศไทยก่อน พ.ศ. ๒๕๒๖ ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ค่าเช่าที่พัก” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายในการเช่าห้องพักในโรงแรมหรือที่พักแรม “ยานพาหนะประจำทาง” หมายความว่า รถไฟ รถโดยสารประจำทางตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและเรือกลเดินประจำทางตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย และให้หมายความรวมถึงยานพาหนะอื่นใดที่ให้บริการขนส่งแก่บุคคลทั่วไปเป็นประจำโดยมีเส้นทาง อัตราค่าโดยสารและค่าระวางที่แน่นอน “พาหนะส่วนตัว” หมายความว่า รถยนต์ส่วนบุคคล หรือรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งมิใช่ของทางราชการ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เดินทางไปราชการหรือไม่ก็ตาม “พ.ข.ต.” หมายความว่า เงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ ข้อ ๕ การอนุมัติระยะเวลาเดินทางไปราชการ ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุมัติให้เดินทางไปราชการและการจัดการประชุมของทางราชการ อนุมัติระยะเวลาเดินทางล่วงหน้าหรือระยะเวลาหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม กรณีผู้เดินทางไปราชการได้รับอนุมัติให้ลากิจหรือลาพักผ่อนตามระเบียบว่าด้วยการนั้นแล้ว ให้ขออนุมัติระยะเวลาดังกล่าวจากผู้มีอำนาจตามวรรคหนึ่งด้วย การอนุมัติระยะเวลาในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ให้อนุมัติระยะเวลาออกเดินทางล่วงหน้าก่อนเริ่มปฏิบัติราชการ และอนุมัติระยะเวลาเดินทางกลับหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการภายในกำหนดเวลาตามบัญชีหมายเลข ๑ ท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๕/๑[๒] กรณีผู้เดินทางไปราชการถึงแก่ความตายระหว่างไปราชการโดยเหตุแห่งความตายมิได้เกิดจากการประทุษร้ายด้วยเหตุส่วนตัวหรือการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตน ให้บุคคลในครอบครัวของผู้ถึงแก่ความตายหรือผู้จัดการศพมีสิทธิเบิกค่าพาหนะในการเดินทางเพื่อไปปลงศพ หรือค่าพาหนะและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับการส่งศพกลับภายในวงเงินและเงื่อนไขดังนี้ (๑) กรณีเดินทางเพื่อไปปลงศพ ให้บุคคลในครอบครัวเบิกค่าพาหนะได้ไม่เกินสามคน และให้เบิกได้เฉพาะค่าพาหนะไปกลับเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินอัตราตามเส้นทางจากท้องที่ที่ผู้ถึงแก่ความตายรับราชการไปยังท้องที่ที่ถึงแก่ความตายตามสิทธิของผู้ถึงแก่ความตาย เว้นแต่บุคคลในครอบครัวของผู้ถึงแก่ความตายมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการสูงกว่าสิทธิของผู้ถึงแก่ความตาย ให้เบิกค่าพาหนะไปกลับตามสิทธิของผู้นั้น แต่ถ้าผู้ถึงแก่ความตายไม่มีบุคคลในครอบครัว หรือมีแต่บุคคลในครอบครัวมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้จัดการศพ ให้ผู้จัดการศพเบิกค่าพาหนะได้เพียงคนเดียว (๒) กรณีการส่งศพกลับ ให้เบิกค่าพาหนะในการส่งศพกลับได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินอัตราค่าพาหนะในเส้นทางจากท้องที่ที่ถึงแก่ความตายไปยังท้องที่ที่ผู้ถึงแก่ความตายรับราชการ และให้เบิกค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นที่เกี่ยวกับการส่งศพกลับได้เท่าที่จ่ายจริง ข้อ ๖ ในกรณีที่ส่วนราชการใดไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบนี้ได้ ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง ข้อ ๗ ให้ปลัดกระทรวงการคลังรักษาการตามระเบียบนี้ หมวดที่ ๑ การเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร ข้อ ๘ ให้ผู้เดินทางไปราชการในราชอาณาจักรเบิกค่าใช้จ่ายได้ตามบัญชีท้ายระเบียบ ดังต่อไปนี้ (๑) เบี้ยเลี้ยงเดินทาง ให้เบิกตามบัญชีหมายเลข ๒ (๒)[๓] ค่าเช่าที่พัก ให้เบิกตามบัญชีหมายเลข ๓ โดยจะเบิกค่าเช่าที่พักในลักษณะจ่ายจริงหรือในลักษณะเหมาจ่ายก็ได้ แต่ถ้าเป็นการเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะต้องเลือกเบิกค่าเช่าที่พักในลักษณะเดียวกันทั้งคณะ (๓) ค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวในการเดินทางไปราชการประจำ ให้เบิกตามบัญชีหมายเลข ๔ การเดินทางไปราชการในท้องที่ที่มีค่าครองชีพสูงหรือเป็นแหล่งท่องเที่ยว ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณใช้ดุลพินิจพิจารณาอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าที่พักสูงกว่าอัตราที่กำหนดเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละยี่สิบห้า ผู้ดำรงตำแหน่งตามบัญชีหมายเลข ๕ ท้ายระเบียบนี้ ให้เบิกค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น เหมาะสมและประหยัด ข้อ ๙ การเดินทางไปราชการให้ใช้ยานพาหนะประจำทาง และให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงโดยประหยัด ไม่เกินสิทธิที่ผู้เดินทางจะพึงได้รับตามประเภทของพาหนะที่ใช้เดินทาง การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง ให้เบิกค่าพาหนะเดินทางได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด เว้นแต่กรณีจำเป็นที่ผู้เดินทางถูกเรียกเก็บเงินค่าพาหนะเกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด ก็ให้เบิกค่าพาหนะเดินทางได้เท่าที่จ่ายจริง การเดินทางโดยรถไฟ ให้เบิกค่าพาหนะเดินทางได้เท่าที่จ่ายจริง สำหรับการเดินทางโดยรถด่วนหรือรถด่วนพิเศษ ชั้นที่ ๑ นั่งนอนปรับอากาศ (บนอ.ป.) ให้เบิกได้เฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ขึ้นไป ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ขึ้นไป ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ตำแหน่งประเภทบริหาร หรือตำแหน่งระดับ ๖ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ขึ้นไป[๔] ข้อ ๑๐ การเดินทางไปราชการโดยพาหนะรับจ้างข้ามเขตจังหวัด ระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก หรือสถานที่ปฏิบัติราชการกับสถานียานพาหนะประจำทางหรือสถานที่จัดพาหนะที่ต้องใช้ในการเดินทางไปยังสถานที่ปฏิบัติราชการ ให้เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด ข้อ ๑๑ การใช้พาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ ให้เบิกเงินชดเชยเป็นค่าพาหนะในลักษณะเหมาจ่ายให้แก่ผู้เดินทางไปราชการ ซึ่งเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครอง แล้วแต่กรณี ในอัตราต่อ ๑ คัน ตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยให้คำนวณระยะทางเพื่อเบิกเงินชดเชยตามเส้นทางของกรมทางหลวงในทางสั้นและตรง ซึ่งสามารถเดินทางได้โดยสะดวกและปลอดภัย ในกรณีที่ไม่มีเส้นทางของกรมทางหลวง ให้ใช้ระยะทางตามเส้นทางของหน่วยงานอื่นที่ตัดผ่าน เช่น เส้นทางของเทศบาล เป็นต้น และในกรณีที่ไม่มีเส้นทางกรมทางหลวงและของหน่วยงานอื่น ให้ผู้เดินทางเป็นผู้รับรองระยะทางในการเดินทาง หมวดที่ ๒ การเดินทางไปราชการต่างประเทศ ข้อ ๑๒ ให้ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวเบิกค่าใช้จ่ายได้ตามบัญชีท้ายระเบียบนี้ ดังต่อไปนี้ (๑) เบี้ยเลี้ยงเดินทาง หรือค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าภาษีและค่าบริการที่โรงแรม ภัตตาคาร หรือร้านค้าเรียกเก็บ ค่าใช้สอยเบ็ดเตล็ดและค่าทำความสะอาดเสื้อผ้า ให้เบิกตามบัญชีหมายเลข ๖ (๒) ค่าเช่าที่พัก ให้เบิกเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินอัตราตามบัญชีหมายเลข ๗ ผู้ดำรงตำแหน่งตามบัญชีหมายเลข ๕ ท้ายระเบียบนี้ ให้เบิกค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น เหมาะสมโดยประหยัด ข้อ ๑๓ ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวซึ่งจะเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับคู่สมรสตามมาตรา ๕๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ให้เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าพาหนะเดินทางของคู่สมรสได้ในอัตราเดียวกับผู้เดินทาง ค่าเช่าที่พักของผู้เดินทางและคู่สมรสให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคู่ ไม่เกินคนละร้อยละเจ็ดสิบของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวที่ผู้เดินทางมีสิทธิจะพึงได้รับ ในกรณีที่ผู้เดินทางมีตำแหน่งตามที่กำหนดในบัญชีหมายเลข ๕ ให้งดเบิกค่าเช่าที่พักของคู่สมรสของบุคคลดังกล่าว ข้อ ๑๔ ให้ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวเบิกค่ารับรองในการเดินทางไปราชการตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้เดินทางซึ่งดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ ให้เบิกเงินค่ารับรองได้เท่าที่จ่ายจริง (ก) ประธานองคมนตรี หรือองคมนตรี (ข) นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี (ค) ประธาน หรือรองประธานของสภาซึ่งเป็นองค์กรนิติบัญญัติ (ง) ประธาน ศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา หรือประธานศาลอุทธรณ์ (๒) ผู้เดินทางนอกจากที่กล่าวใน (๑) ให้เบิกค่ารับรองได้เท่าที่จ่ายจริง ทั้งในกรณีเดินทางไปราชการเป็นคณะหรือเดินทางไปราชการคนเดียว ไม่เกินอัตรา ดังต่อไปนี้ (ก) กรณีเดินทางไม่เกิน ๑๕ วัน ไม่เกิน ๖๗,๐๐๐ บาท (ข) กรณีเดินทางเกิน ๑๕ วัน ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๓) การเดินทางไปราชการที่จะเบิกค่ารับรองตาม (๒) ได้ ต้องเป็นการเดินทางกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) เป็นผู้เดินทางไปเข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศในฐานะผู้แทนรัฐบาล ผู้แทนรัฐสภา หรือผู้แทนส่วนราชการ แต่ไม่รวมถึงการประชุมหรือการสัมมนาทางวิชาการ (ข) เป็นผู้เดินทางไปเจรจาธุรกิจ เจรจากู้เงินหรือขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย (ค) เป็นผู้เดินทางไปปรึกษาหารือหรือเข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐบาลไทยกับหน่วยงานต่างประเทศ (ง) เป็นผู้เดินทางไปเยือนต่างประเทศในฐานะทูตสันถวไมตรีหรือในฐานะแขกของรัฐบาลต่างประเทศ (จ) เป็นผู้เดินทางไปร่วมในงานรัฐพิธีตามคำเชิญของรัฐบาลต่างประเทศ (ฉ) เป็นผู้เดินทางไปจัดงานแสดงสินค้าไทย หรือส่งเสริมสินค้าไทยในต่างประเทศ หรือส่งเสริมการลงทุนของต่างประเทศในประเทศไทย หรือส่งเสริมการลงทุนของไทยในต่างประเทศ (ช) เป็นผู้เดินทางไปเผยแพร่ศิลปะหรือวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ ข้อ ๑๕ ให้ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวเบิกค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการตามเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนดได้เท่าที่จ่ายจริง ข้อ ๑๖ ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว โดยได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศหรือจากหน่วยงานใด ๆ น้อยกว่าสิทธิที่พึงได้รับตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้เบิกค่าใช้จ่ายสมทบได้ ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าโดยสารเครื่องบิน กรณีผู้ให้ความช่วยเหลือไม่ออกค่าโดยสารเครื่องบินให้เบิกค่าโดยสารเครื่องบินไป - กลับ ได้ตามสิทธิของผู้เดินทาง กรณีได้รับความช่วยเหลือค่าโดยสารเครื่องบินไป - กลับแล้ว ให้งดเบิกเงินสมทบค่าโดยสารเครื่องบิน แม้ความช่วยเหลือนั้นชั้นที่นั่งจะต่ำกว่าสิทธิที่พึงได้รับ และกรณีได้รับความช่วยเหลือค่าโดยสารเครื่องบินเพียงเที่ยวเดียว ให้เบิกค่าโดยสารเครื่องบินอีกหนึ่งเที่ยวในชั้นเดียวกับที่ได้รับความช่วยเหลือ แต่ต้องไม่สูงกว่าสิทธิที่พึงได้รับ (๒) เบี้ยเลี้ยงเดินทาง กรณีที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางให้เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้ตามสิทธิของผู้เดินทาง กรณีที่ได้รับความช่วยเหลือค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง หรือผู้ให้ความช่วยเหลือจัดเลี้ยงอาหารให้ ให้เบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางสมทบได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ (ก) ถ้าได้รับความช่วยเหลือต่ำกว่าสิทธิที่พึงได้รับ ให้เบิกสมทบเฉพาะส่วนที่ขาด ซึ่งเมื่อรวมกับค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางที่ได้รับความช่วยเหลือแล้ว จะต้องไม่เกินสิทธิที่พึงได้รับ (ข) ถ้าผู้ให้ความช่วยเหลือจัดเลี้ยงอาหารทุกมื้อ ให้งดเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ในกรณีที่จัดเลี้ยงอาหาร ๒ มื้อ ให้เบิกได้ไม่เกิน ๑ ใน ๓ ของอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางเหมาจ่าย และกรณีจัดเลี้ยงอาหาร ๑ มื้อ ให้เบิกได้ไม่เกิน ๒ ใน ๓ ของอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางเหมาจ่าย (๓) ค่าเช่าที่พัก กรณีผู้ให้ความช่วยเหลือไม่ออกค่าเช่าที่พักให้ ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้ตามสิทธิของผู้เดินทาง กรณีได้รับความช่วยเหลือค่าเช่าที่พักต่ำกว่าสิทธิที่พึงได้รับ ให้เบิกสมทบเฉพาะส่วนที่ขาดตามจำนวนที่ได้จ่ายจริง ซึ่งเมื่อรวมกับค่าเช่าที่พักที่ได้รับความช่วยเหลือแล้วจะต้องไม่เกินสิทธิที่พึงได้รับ และกรณีที่ผู้ให้ความช่วยเหลือจัดที่พักให้ ให้งดเบิกค่าเช่าที่พัก (๔) ค่าเครื่องแต่งตัว กรณีไม่ได้รับความช่วยเหลือค่าเครื่องแต่งตัว ให้เบิกค่าเครื่องแต่งตัวได้ตามสิทธิของผู้เดินทาง กรณีได้รับความช่วยเหลือค่าเครื่องแต่งตัวต่ำกว่าสิทธิที่พึงได้รับ ให้เบิกค่าเครื่องแต่งตัวสมทบเฉพาะส่วนที่ขาด ซึ่งเมื่อรวมกับค่าเครื่องแต่งตัวที่ได้รับความช่วยเหลือแล้วจะต้องไม่เกินสิทธิที่พึงได้รับ (๕) ค่ารับรอง ให้ผู้เดินทางมีสิทธิได้รับเงินค่ารับรองตาม ข้อ ๑๔ (๖) ค่าพาหนะเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก หรือสถานที่ปฏิบัติราชการกับสถานียานพาหนะ และค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นเนื่องในการเดินทางไปราชการ กรณีที่มิได้รับความช่วยเหลือ ให้เบิกได้ตามสิทธิ กรณีได้รับความช่วยเหลือต่ำกว่าสิทธิที่พึงได้รับ ให้เบิกสมทบเฉพาะส่วนที่ขาดตามจำนวนที่ได้จ่ายจริง รวมแล้วต้องไม่เกินกว่าสิทธิที่พึงได้รับ การเดินทางเพื่อดูงาน ให้เบิกค่าใช้จ่ายสมทบตามวรรคหนึ่งได้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินวงเงินที่ได้รับความช่วยเหลือ ข้อ ๑๗ ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณพิจารณาให้ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวเบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น เหมาะสม และประหยัด หรือจะเบิกตามสิทธิของตนก็ได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) การตามเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ หรือการเดินทางไปปฏิบัติภารกิจร่วมกับหัวหน้าคณะที่ดำรงตำแหน่งตามบัญชีหมายเลข ๕ ซึ่งมีสิทธิเบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริง (๒)[๕] การเดินทางไปปฏิบัติภารกิจร่วมกับหัวหน้าคณะผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ขึ้นไป ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทบริหาร หรือตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสิทธิของหัวหน้าคณะนั้น (๓) การเดินทางไปประชุมระหว่างประเทศ การเจรจาธุรกิจ หรือปฏิบัติหน้าที่อย่างอื่น ซึ่งหน่วยงานที่เชิญหรือประเทศเจ้าภาพกำหนดให้ผู้เดินทางพักแรมในสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ให้ หรือสำรองที่พักให้ซึ่งมิใช่กรณีที่ส่วนราชการหรือผู้เดินทางร้องขอหรือกระทำการใดๆ เพื่อให้หน่วยงานที่เชิญหรือประเทศเจ้าภาพกำหนดที่พัก หรือจัดเตรียมที่พักตามความต้องการของส่วนราชการหรือผู้เดินทาง (๔) การเดินทางไปประเทศที่มีสถานการณ์ไม่ปลอดภัย ยากจน ทุรกันดาร หรืออยู่ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวหรือสถานที่พักแรมที่มีอัตราค่าเช่าตามสิทธิถูกสำรองหมด ข้อ ๑๘ ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวที่จะเบิกค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับตนเองและคู่สมรสตามอัตราในบัญชีหมายเลข ๘ ได้ ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นกรณีที่จำเป็นต้องใช้เครื่องแต่งตัวพิเศษ หรือกรณีจำเป็นอื่นโดยได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ (๒) เป็นการเดินทางไปราชการต่างประเทศซึ่งมิใช่ประเทศตามรายชื่อที่กำหนดไว้ในบัญชีหมายเลข ๙ ท้ายระเบียบนี้ หรือที่กระทรวงการคลังจะกำหนดเพิ่มเติม (๓)[๖] ผู้ซึ่งเคยได้รับค่าเครื่องแต่งตัวในการเดินทางไปราชการต่างประเทศตามระเบียบนี้มาแล้ว หรือเคยได้รับค่าเครื่องแต่งตัวจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐตามกฎหมายหรือระเบียบอื่นใด ไม่ว่าจะเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ หรือเคยได้รับความช่วยเหลือค่าเครื่องแต่งตัวจากหน่วยงานใด ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีสิทธิเบิกค่าเครื่องแต่งตัวได้ เมื่อการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวครั้งใหม่มีระยะห่างจากการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวครั้งสุดท้ายที่ได้รับค่าเครื่องแต่งตัวเกินกว่าสองปีนับแต่วันที่เดินทางออกจากประเทศไทย หรือเมื่อการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวครั้งใหม่มีระยะเวลาเกินกว่าสองปีนับแต่วันที่เดินทางกลับถึงประเทศไทยสำหรับผู้ที่รับราชการประจำในต่างประเทศ กรณีที่ทางราชการสั่งงดการเดินทางโดยมิใช่ความผิดของผู้เดินทาง และผู้เดินทางได้จ่ายเงินค่าเครื่องแต่งตัวไปแล้ว หรือมีข้อผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าเครื่องแต่งตัวโดยสุจริต โดยมีหลักฐานก็ให้เบิกค่าเครื่องแต่งตัวได้ และให้ถือว่าวันที่ได้รับค่าเครื่องแต่งตัวนั้นเป็นวันเดินทางออกจากประเทศไทย ข้อ ๑๙ ให้ผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ เบิกค่าเครื่องแต่งตัวตามบัญชีหมายเลข ๑๐ ท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๒๐ การเดินทางไปราชการของลูกจ้างที่ส่วนราชการในต่างประเทศเป็นผู้จ้าง ให้หัวหน้าส่วนราชการในต่างประเทศสังกัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้กำหนดอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักของลูกจ้าง ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราต่ำสุดของกลุ่มระดับตำแหน่งที่กำหนดตามบัญชีหมายเลข ๖ และบัญชีหมายเลข ๗ ท้ายระเบียบนี้ กรณีที่มีความจำเป็นต้องสั่งให้ลูกจ้างที่ประจำสำนักงานในต่างประเทศมาปฏิบัติงานชั่วคราวในประเทศไทย เพราะไม่อาจหาเจ้าหน้าที่อื่นในประเทศที่จะปฏิบัติงานดังกล่าวได้ การเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในประเทศไทยให้เบิกจ่ายเช่นเดียวกับกรณีลูกจ้างของส่วนราชการในประเทศไทยซึ่งเดินทางไปราชการชั่วคราวในราชอาณาจักร ข้อ ๒๑ ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างที่มีตำแหน่งหน้าที่ประจำในต่างประเทศ เบิกค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ สำหรับคู่สมรสหรือบุตรที่เดินทางกลับประเทศไทยก่อนผู้เดินทางในลักษณะเหมาจ่ายตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดให้คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับประเทศไทยก่อนผู้เดินทาง สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ (๒) ในกรณีที่คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับภายหลังจากได้ไปอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปีขึ้นไป ให้เบิกสำหรับคู่สมรสในอัตราร้อยละสามสิบ และสำหรับบุตรต่อคนในอัตราร้อยละห้าของอัตรา พ.ข.ต. ในขณะที่ได้รับอนุมัติให้คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับก่อน (๓) ในกรณีที่คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับภายหลังจากได้ไปอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลาเกินกว่าสองปีขึ้นไป ให้เบิกสำหรับคู่สมรสในอัตราร้อยละหกสิบ และสำหรับบุตรต่อคนในอัตราร้อยละสิบของอัตรา พ.ข.ต. ในขณะที่ได้รับอนุมัติให้คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับก่อน (๔) ในกรณีที่คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับภายหลังจากได้ไปอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลาเกินกว่าสามปีขึ้นไป ให้เบิกสำหรับคู่สมรสในอัตราร้อยละเก้าสิบ และสำหรับบุตรต่อคนในอัตราร้อยละสิบห้าของอัตรา พ.ข.ต. ในขณะที่ได้รับอนุมัติให้คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับก่อน (๕) การนับเวลาที่ได้ไปอยู่ต่างประเทศตาม (๒) - (๔) ให้ถือจำนวนเดือนที่ได้รับ พ.ข.ต. เพิ่มสำหรับคู่สมรสและบุตรเป็นเกณฑ์คำนวณ ดังต่อไปนี้ (ก) ในเดือนหนึ่งถ้ามีสิทธิได้รับ พ.ข.ต. เกินกว่าสิบห้าวันให้นับเป็นหนึ่งเดือน (ข) ให้นับเวลาที่ได้รับ พ.ข.ต. สิบสองเดือนเป็นหนึ่งปี การเบิกค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้นำมาใช้บังคับในกรณีที่คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับประเทศไทยภายหลังจากได้ไปอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลาไม่เกินหนึ่งปี หมวด ๓ การเบิกจ่ายเงิน ข้อ ๒๒ แบบรายงานการเดินทางเพื่อขอเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ และเอกสารประกอบที่ใช้ในการเบิกจ่ายเงิน ให้เป็นไปตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด ข้อ ๒๓ การเบิกค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายจริง ผู้เดินทางไปราชการจะใช้ใบเสร็จรับเงินหรือใบแจ้งรายการของโรงแรม หรือที่พักแรมที่มีข้อความแสดงว่าได้รับชำระเงินค่าเช่าที่พักเรียบร้อยแล้ว โดยเจ้าหน้าที่รับเงินของโรงแรมหรือที่พักแรมลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปี และจำนวนเงินที่ได้รับ เพื่อเป็นหลักฐานในการขอเบิกค่าเช่าที่พักก็ได้ การเบิกค่าเช่าที่พักในต่างประเทศ ผู้เดินทางจะใช้ใบแจ้งรายการค่าเช่าที่พักที่บันทึกด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่แสดงว่าได้รับชำระเงินจากผู้เดินทางแล้ว เป็นหลักฐานในการขอเบิกค่าเช่าที่พัก โดยไม่ต้องมีลายมือชื่อเจ้าหน้าที่รับเงินของโรงแรมหรือที่พักแรมก็ได้ แต่ทั้งนี้ผู้เดินทางจะต้องลงลายมือชื่อรับรองว่าผู้เดินทางได้ชำระค่าเช่าที่พักตามจำนวนที่เรียกเก็บนั้น ข้อ ๒๔ การเบิกค่าเช่าที่พักในอัตราห้องพักคู่ที่ผู้เดินทางไปราชการใช้สิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางอยู่ต่างสังกัดกัน แต่ต้องใช้ใบเสร็จรับเงินหรือใบแจ้งรายการของโรงแรม หรือที่พักแรมชุดเดียวกัน ให้ผู้เดินทางฝ่ายหนึ่งใช้ต้นฉบับ อีกฝ่ายหนึ่งใช้สำเนาภาพถ่ายที่ผู้นั้นรับรองสำเนาถูกต้อง โดยให้มีบันทึกแนบท้ายระบุว่ารายการใดที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะเป็นผู้เบิกฝ่ายเดียว และรายการใดทั้งคู่จะเป็นผู้เบิกฝ่ายละเป็นจำนวนเท่าใด ทั้งต้นฉบับและฉบับสำเนาภาพถ่ายและลงลายมือชื่อของผู้เดินทางทั้งคู่ในแต่ละฉบับ ข้อ ๒๕ การเบิกค่าเช่าที่พักกรณีที่เจ้าภาพผู้จัดประชุมเป็นผู้เรียกเก็บค่าเช่าที่พักจากผู้เดินทางไปราชการโดยตรง ให้ผู้เดินทางใช้ใบเสร็จรับเงินหรือใบแจ้งรายการที่เจ้าภาพผู้จัดประชุมได้เรียกเก็บค่าเช่าที่พักเป็นหลักฐานเพื่อขอเบิกค่าเช่าที่พักก็ได้ ข้อ ๒๖ การเบิกจ่ายเงินและหลักฐานการจ่ายซึ่งมิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ถือปฏิบัติตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ประกาศ ณ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บัญชีหมายเลข ๑ ระยะเวลาอนุมัติการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ประเทศที่เดินทางไปราชการ ก่อนเริ่มปฏิบัติราชการ หลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ (ก) ประเทศในทวีปเอเชีย (ข) ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ประเทศในทวีปยุโรป หรือประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ (ค) ประเทศในทวีปอเมริกาใต้ หรือประเทศในทวีปแอฟริกา ไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง ไม่เกิน ๔๘ ชั่วโมง ไม่เกิน ๗๒ ชั่วโมง ไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง ไม่เกิน ๔๘ ชั่วโมง ไม่เกิน ๗๒ ชั่วโมง บัญชีหมายเลข ๒ อัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร ในลักษณะเหมาจ่าย[๗] ข้าราชการ อัตรา (บาท : วัน : คน) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ลงมา ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ลงมา ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น หรือตำแหน่งระดับ ๘ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ลงมา หรือผู้ช่วยผู้พิพากษา หรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก ลงมา ๒๔๐ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ขึ้นไป ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทบริหาร หรือตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือน ชั้น ๔ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป ๒๗๐ บัญชีหมายเลข ๓ อัตราค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร[๘] (๑) กรณีเลือกเบิกในลักษณะจ่ายจริง ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินอัตรา ดังนี้ ข้าราชการ ห้องพักคนเดียว (บาท : วัน : คน) ห้องพักคู่ (บาท : วัน : คน) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ลงมา ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ลงมา ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น หรือตำแหน่งระดับ ๘ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ลงมา หรือผู้ช่วยผู้พิพากษา หรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ลงมา หรือข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศพันตำรวจเอก ลงมา ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว ในกรณีเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะ ให้พักรวมกันสองคนขึ้นไปต่อหนึ่งห้อง โดยให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินอัตราค่าเช่าห้องพักคู่ เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่เหมาะสมจะพักรวมกันหรือ มีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว ๑,๕๐๐ ๘๕๐ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น หรือตำแหน่งระดับ ๙ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ จะเบิกในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวหรือห้องพักคู่ก็ได้ ๒,๒๐๐ ๑,๒๐๐ - ๒ - ข้าราชการ ห้องพักคนเดียว (บาท : วัน : คน) ห้องพักคู่ (บาท : วัน : คน) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง หรือตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นสูง ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๕ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรี ขึ้นไป จะเบิกในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวหรือห้องพักคู่ก็ได้ ในกรณีเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะและ ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวข้างต้นเป็นหัวหน้าคณะ และมีความจำเป็นต้องใช้สถานที่เดียวกันกับที่พักเพื่อเป็นที่ประสานงานของคณะหรือบุคคลอื่น ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เพิ่มขึ้น สำหรับห้องพัก อีกห้องหนึ่งในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวหรือ จะเบิกค่าเช่าห้องชุดแทนในอัตราไม่เกินสองเท่าของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวก็ได้ ๒,๕๐๐ ๑,๔๐๐ (๒) กรณีเลือกเบิกในลักษณะเหมาจ่าย ให้เบิกได้ไม่เกินอัตรา ดังนี้ ข้าราชการ อัตรา (บาท : วัน : คน) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ลงมา ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ลงมา ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น หรือตำแหน่งระดับ ๘ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ลงมา หรือผู้ช่วยผู้พิพากษา หรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศ พันตำรวจเอก ลงมา ๘๐๐ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ขึ้นไป ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทบริหาร หรือตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือน พันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป ๑,๒๐๐ บัญชีหมายเลข ๔ อัตราค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวในการเดินทางไปราชการประจำในราชอาณาจักร ระยะทาง (กม.) อัตรา (บาท) ๑ – ๕๐ ๕๑ – ๑๐๐ ๑๐๑ – ๑๕๐ ๑๕๑ – ๒๐๐ ๒๐๑ – ๒๕๐ ๒๕๑ – ๓๐๐ ๓๐๑ – ๓๕๐ ๓๕๑ – ๔๐๐ ๔๐๑ – ๔๕๐ ๔๕๑ – ๕๐๐ ๕๐๑ – ๕๕๐ ๕๕๑ – ๖๐๐ ๖๐๑ – ๖๕๐ ๖๕๑ – ๗๐๐ ๗๐๑ – ๗๕๐ ๗๕๑ – ๘๐๐ ๘๐๑ – ๘๕๐ ๘๕๑ – ๙๐๐ ๙๐๑ – ๙๕๐ ๙๕๑ – ๑๐๐๐ ๑๐๐๑ – ๑๐๕๐ ๑๐๕๑ – ๑๑๐๐ ๑๑๐๑ – ๑๑๕๐ ๑๑๕๑ – ๑๒๐๐ ๑๒๐๑ – ๑๒๕๐ ๑๒๕๑ – ๑๓๐๐ ๑๓๐๑ – ๑๓๕๐ ๑๓๕๑ – ๑๔๐๐ ๑๔๐๑ – ๑๔๕๐ ๑๔๕๑ – ๑๕๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๕๐๐ ๓,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๕๐๐ ๕,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ๖,๕๐๐ ๗,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๘,๕๐๐ ๙,๐๐๐ ๙,๕๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๑,๐๐๐ ๑๑,๕๐๐ ๑๒,๐๐๐ ๑๓,๐๐๐ ๑๓,๕๐๐ ๑๔,๐๐๐ ๑๕,๐๐๐ ๑๕,๕๐๐ ๑๖,๐๐๐ ๑๗,๐๐๐ ๑๗,๕๐๐ ๑๘,๕๐๐ ๑๙,๐๐๐ ๑๙,๕๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๒๐,๕๐๐ สำหรับระยะทางที่เกิน ๑๕๐๐ กิโลเมตรขึ้นไปให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดที่จะพิจารณาอนุมัติให้เบิกจ่ายในลักษณะเหมาจ่ายได้ตามความจำเป็นเหมาะสม บัญชีหมายเลข ๕ ผู้มีสิทธิเบิกค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นและความเหมาะสม ตำแหน่ง ๑. องคมนตรี ๒๔. ผู้บัญชาการทหารบก ๒. รัฐบุรุษ ๒๕. ผู้บัญชาการทหารเรือ ๓. นายกรัฐมนตรี ๒๖. ผู้บัญชาการทหารอากาศ ๔. รองนายกรัฐมนตรี ๒๗. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ๕. รัฐมนตรี ๒๘. อัยการสูงสุด ๖. ประธานศาลฎีกา ๒๙. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ๗. รองประธานศาลฎีกา ๓๐. เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๘. ประธานศาลอุทธรณ์ ๓๑. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ๙. ประธานศาลปกครองสูงสุด ๓๒. เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ๑๐. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ๓๓. เลขาธิการสำนักพระราชวัง ๑๑. ประธานวุฒิสภา ๓๔. ราชเลขาธิการ ๑๒. ประธานสภาผู้แทนราษฎร ๓๕. นายกราชบัณฑิตยสถาน ๑๓. เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๓๖. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ๑๔. เลขาธิการวุฒิสภา ๓๗. ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ๑๕. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ๓๘. ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ๑๖. ปลัดกระทรวง ๓๙. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ๑๗. ปลัดทบวง ๔๐. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ ๑๘. รองปลัดกระทรวงกลาโหม และสังคมแห่งชาติ ๑๙. สมุหราชองครักษ์ ๔๑. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๐. จเรทหารทั่วไป ๔๒. เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ๒๑. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ๔๓. เลขาธิการสภาการศึกษา ๒๒. รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ๔๔. เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ๒๓. เสนาธิการทหาร ๔๕. เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บัญชีหมายเลข ๖ อัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวและค่าใช้จ่ายอื่น[๙] (๑) กรณีเลือกเบิกในลักษณะเหมาจ่าย ให้เบิกได้ไม่เกินอัตรา ดังนี้ ข้าราชการ อัตรา (บาท : วัน : คน) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ลงมา ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ลงมา ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น หรือตำแหน่งระดับ ๘ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ลงมา หรือผู้ช่วยผู้พิพากษา หรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศ พันตำรวจเอก ลงมา ๒,๑๐๐ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ขึ้นไป ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทบริหาร หรือตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือน พันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป ๓,๑๐๐ (๒) กรณีมิได้เลือกเบิกในลักษณะเหมาจ่าย ให้เบิกค่าใช้จ่ายได้ ดังนี้ (๒.๑) ค่าอาหารและค่าเครื่องดื่มรวมทั้งค่าภาษี และค่าบริการที่โรงแรม ภัตตาคาร หรือร้านค้าเรียกเก็บจากผู้เดินทางไปราชการ ทั้งนี้ ให้เบิกเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินวันละ ๔,๕๐๐ บาทต่อคน (๒.๒) ค่าทำความสะอาดเสื้อผ้า สำหรับระยะเวลาที่เกิน ๗ วัน ให้เบิกเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินวันละ ๕๐๐ บาทต่อคน (๒.๓) ค่าใช้สอยเบ็ดเตล็ด ให้เบิกในลักษณะเหมาจ่ายไม่เกินวันละ ๕๐๐ บาทต่อคน ค่าใช้จ่ายตาม (๒.๑) – (๒.๒) ให้คิดคำนวณเบิกจ่ายในแต่ละวัน จำนวนเงินส่วนที่เหลือจ่ายในวันใดจะนำมาสมทบเบิกในวันถัดไปไม่ได้ บัญชีหมายเลข ๗ ค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว[๑๐] (๑) อัตราค่าเช่าที่พัก ข้าราชการ อัตราสำหรับประเทศ รัฐ เมือง (บาท : วัน : คน) ประเภท ก. ประเภท ข. ประเภท ค. ประเภท ง. ประเภท จ. ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ลงมา ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ลงมา ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น หรือตำแหน่งระดับ ๘ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ลงมา หรือผู้ช่วยผู้พิพากษา หรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศ พันตำรวจเอก ลงมา ไม่เกิน ๗,๕๐๐ ไม่เกิน ๕,๐๐๐ ไม่เกิน ๓,๑๐๐ เพิ่มขึ้นจากประเภท ก. อีกไม่เกินร้อยละ ๔๐ เพิ่มขึ้นจากประเภท ก. อีกไม่เกินร้อยละ ๒๕ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ขึ้นไป ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทบริหาร หรือตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหาร ซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศ พันตำรวจเอก อัตราเงินเดือน พันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ไม่เกิน ๗,๐๐๐ ไม่เกิน ๔,๕๐๐ เพิ่มขึ้นจากประเภท ก. อีกไม่เกินร้อยละ ๔๐ เพิ่มขึ้นจากประเภท ก. อีกไม่เกินร้อยละ ๒๕ /(๒) . . . - ๒ - (๒) ประเภท ก. ได้แก่ ประเทศ รัฐ เมือง ดังต่อไปนี้ ๑. แคนาดา ๒. เครือรัฐออสเตรเลีย ๓. ไต้หวัน ๔. เติร์กเมนิสถาน ๕. นิวซีแลนด์ ๖. บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ๗. ปาปัวนิวกีนี ๘. มาเลเซีย ๙. ราชรัฐโมนาโก ๑๐. ราชรัฐลักเซมเบิร์ก ๑๑. ราชรัฐอันดอร์รา ๑๒. ราชอาณาจักรกัมพูชา ๑๓. ราชอาณาจักรเดนมาร์ก ๑๔. ราชอาณาจักรนอร์เวย์ ๑๕. ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ๑๖. ราชอาณาจักรโมร็อกโก ๑๗. ราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ ๑๘. ราชอาณาจักรสวีเดน ๑๙. รัฐสุลต่านโอมาน ๒๐. โรมาเนีย ๒๑. สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ๒๒. สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย ๒๓. สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ ๒๔. สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ๒๕. สาธารณรัฐโครเอเชีย ๒๖. สาธารณรัฐชิลี ๒๗. สาธารณรัฐเช็ก ๒๘. สาธารณรัฐตุรกี ๒๙. สาธารณรัฐบัลแกเรีย ๓๐. สาธารณรัฐประชาชนจีน ๓๑. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย ๓๒. สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์ – เลสเต ๓๓. สาธารณรัฐเปรู ๓๔. สาธารณรัฐโปแลนด์ ๓๕. สาธารณรัฐฟินแลนด์ /๓๖. . . . - ๓ - ๓๖. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ๓๗. สาธารณรัฐมอริเซียส ๓๘. สาธารณรัฐมอลตา ๓๙. สาธารณรัฐโมซัมบิก ๔๐. สาธารณรัฐเยเมน ๔๑. สาธารณรัฐลิทัวเนีย ๔๒. สาธารณรัฐสโลวัก ๔๓. สาธารณรัฐสโลวีเนีย ๔๔. สาธารณรัฐออสเตรีย ๔๕. สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน ๔๖. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ๔๗. สาธารณรัฐอินเดีย ๔๘. สาธารณรัฐเอสโตเนีย ๔๙. สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ๕๐. สาธารณรัฐไอซ์แลนด์ ๕๑. สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ๕๒. สาธารณรัฐฮังการี ๕๓. สาธารณรัฐเฮลเลนิก (กรีซ) ๕๔. ฮ่องกง (๓) ประเภท ข. ได้แก่ ประเทศ รัฐ เมือง ดังต่อไปนี้ ๑. เครือรัฐบาฮามาส ๒. จอร์เจีย ๓. จาเมกา ๔. เนการาบรูไนดารุสซาลาม ๕. มาซิโดเนีย ๖. ยูเครน ๗. รัฐกาตาร์ ๘. รัฐคูเวต ๙. รัฐบาห์เรน ๑๐. รัฐอิสราเอล ๑๑. ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย ๑๒. ราชอาณาจักรตองกา ๑๓. ราชอาณาจักรฮัซไมต์จอร์แดน ๑๔. สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย ๑๕. สหภาพพม่า /๑๖. . . . - ๔ - ๑๖. สหรัฐเม็กซิโก ๑๗. สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย ๑๘. สาธารณรัฐกานา ๑๙. สาธารณรัฐแกมเบีย ๒๐. สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ (ไอเวอรี่โคส) ๒๑. สาธารณรัฐคอสตาริกา ๒๒. สาธารณรัฐคีร์กิซ ๒๓. สาธารณรัฐเคนยา ๒๔. สาธารณรัฐแคเมอรูน ๒๕. สาธารณรัฐคาซัคสถาน ๒๖. สาธารณรัฐจิบูตี ๒๗. สาธารณรัฐชาด ๒๘. สาธารณรัฐซิมบับเว ๒๙. สาธารณรัฐเซเนกัล ๓๐. สาธารณรัฐแซมเบีย ๓๑. สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน ๓๒. สาธารณรัฐไซปรัส ๓๓. สาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก ๓๔. สาธารณรัฐตูนิเซีย ๓๕. สาธารณรัฐทาจิกิสถาน ๓๖. สาธารณรัฐเนปาล ๓๗. สาธารณรัฐไนเจอร์ ๓๘. สาธารณรัฐบุรุนดี ๓๙. สาธารณรัฐเบนิน ๔๐. สาธารณรัฐเบลารุส ๔๑. สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ๔๒. สาธารณรัฐปานามา ๔๓. สาธารณรัฐมอลโดวา ๔๔. สาธารณรัฐมาลี ๔๕. สาธารณรัฐยูกันดา ๔๖. สาธารณรัฐลัตเวีย ๔๗. สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ๔๘. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ๔๙. สาธารณรัฐอาร์เจนตินา ๕๐. สาธารณรัฐอาร์เมเนีย ๕๑. สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย ๕๒. สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ /๕๓. . . . - ๕ - ๕๓. สาธารณรัฐอิรัก ๕๔. สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ๕๕. สาธารณรัฐอิสลามมอริเตเนีย ๕๖. สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ๕๗. สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน ๕๘. สาธารณรัฐแอฟริกากลาง (๔) ประเภท ค. ได้แก่ ประเทศ รัฐ เมืองอื่น ๆ นอกจากที่กำหนดในประเภท ก. ประเภท ข. ประเภท ง. และประเภท จ. (๕) ประเภท ง. ได้แก่ ประเทศ รัฐ เมือง ดังต่อไปนี้ ๑. ญี่ปุ่น ๒. สาธารณรัฐฝรั่งเศส ๓. สหพันธรัฐรัสเซีย ๔. สมาพันธรัฐสวิส ๕. สาธารณรัฐอิตาลี (๖) ประเภท จ. ได้แก่ ประเทศ รัฐ เมือง ดังต่อไปนี้ ๑. ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม ๒. ราชอาณาจักรสเปน ๓. สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ๔. สหรัฐอเมริกา ๕. สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ๖. สาธารณรัฐโปรตุเกส ๗. สาธารณรัฐสิงคโปร์ บัญชีหมายเลข ๘ ค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว[๑๑] (๑) อัตราค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับข้าราชการ ในลักษณะเหมาจ่าย ข้าราชการ อัตรา (บาท : คน) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ หรือตำแหน่งระดับ ๕ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือผู้ช่วยผู้พิพากษา หรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจตรี ลงมา ๗,๕๐๐ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ขึ้นไป ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ขึ้นไป ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ตำแหน่งประเภทบริหาร หรือตำแหน่งระดับ ๖ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ขึ้นไป ๙,๐๐๐ (๒) อัตราค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับคู่สมรส ให้เบิกได้ในอัตราเดียวกับข้าราชการตาม (๑) บัญชีหมายเลข ๙ ประเทศที่ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวไม่สามารถเบิกค่าเครื่องแต่งตัวได้ ๑. สหภาพพม่า ๘. สาธารณรัฐสิงคโปร์ ๒. เนการาบรูไนดารุซาลาม ๙. สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ๓. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ๑๐. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ๔. ราชอาณาจักรกัมพูชา ๑๑. สาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ ๕. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ๑๒. ปาปัวนิวกีนี ๖. มาเลเซีย ๑๓. รัฐเอกราชซามัว ๗. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ๑๔. สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์ – เลสเต บัญชีหมายเลข ๑๐ ค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ[๑๒] (๑) อัตราค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ ในลักษณะเหมาจ่าย ผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ อัตราสำหรับประเทศ (บาท : คน) ประเภท ก. ประเภท ข. ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ หรือตำแหน่งระดับ ๕ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือผู้ช่วย ผู้พิพากษา หรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี ลงมา หรือข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศพันตำรวจตรีลงมา คู่สมรส บุตร ๔๐,๐๐๐ ๒๕,๐๐๐ ๑๔,๐๐๐ ๓๐,๐๐๐ ๑๘,๐๐๐ ๙,๐๐๐ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ขึ้นไป ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น หรือตำแหน่งระดับ ๖ ถึงระดับ ๙ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการ ตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ ถึงชั้น ๓ ขั้นต่ำ หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ถึงชั้น ๔ หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ถึงยศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ หรือนาวาอากาศเอกพิเศษ หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ถึงพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ คู่สมรส บุตร ๔๕,๐๐๐ ๓๐,๐๐๐ ๑๕,๐๐๐ ๓๒,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ - ๒ - ผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ อัตราสำหรับประเทศ (บาท : คน) ประเภท ก. ประเภท ข. ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง หรือตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นสูง ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๕ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรีขึ้นไป คู่สมรส บุตร ๖๐,๐๐๐ ๔๐,๐๐๐ ๑๘,๐๐๐ ๔๐,๐๐๐ ๓๐,๐๐๐ ๑๕,๐๐๐ (๒) ประเภท ก. ได้แก่ ประเทศอื่น ๆ นอกจากที่กำหนดไว้ในประเภท ข. (๓) ประเภท ข. ได้แก่ ประเทศดังต่อไปนี้ ๑. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ๒. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ๓. ราชอาณาจักรกัมพูชา ๔. สหภาพพม่า ๕. มาเลเซีย ๖. สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ๗. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ๘. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ๙. สาธารณรัฐสิงคโปร์ ๑๐. เนการาบรูไนดารุซาลาม (๔) ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งตาม (๑) ยกเว้นคู่สมรส และบุตร ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้เครื่องแต่งตัวราตรีสโมสร (White tie) หรือเครื่องแต่งตัวมอร์นิ่งโค้ต เพราะมีหน้าที่ต้องเข้างานพิธีต่าง ๆ ตามประเพณีของประเทศนั้น ให้ปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดเป็นผู้ใช้ดุลพินิจพิจารณาอนุมัติให้เบิกค่าเครื่องแต่งตัวดังกล่าวอย่างละ ๑ ชุด เพิ่มขึ้นอีกได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินชุดละ ๑๕,๐๐๐ บาท สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวงให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔[๑๓] ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ ๔ และข้อ ๕ แห่งระเบียบนี้ บัญชีหมายเลข ๒ และบัญชีหมายเลข ๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๙ แห่งระเบียบนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่มาตรา ๓ มาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ มีผลใช้บังคับเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับศพข้าราชการและลูกจ้างประจำของทางราชการซึ่งถึงแก่ความตายในระหว่างเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๐๙ ปณตภร/ผู้จัดทำ ๘ มกราคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๑/๒ สิงหาคม ๒๕๕๐ [๒] ข้อ ๕/๑ เพิ่มโดยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๓] ข้อ ๘ วรรคหนึ่ง (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๔] ข้อ ๙ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๕] ข้อ ๑๗ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๖] ข้อ ๑๘ วรรคหนึ่ง (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๗] บัญชีหมายเลข ๒ อัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักรในลักษณะเหมาจ่าย แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๘] บัญชีหมายเลข ๓ อัตราค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๙] บัญชีหมายเลข ๖ อัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวและค่าใช้จ่ายอื่น แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๑๐] บัญชีหมายเลข ๗ ค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๑๑] บัญชีหมายเลข ๘ ค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๑๒] บัญชีหมายเลข ๑๐ ค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑/๑๑ เมษายน ๒๕๕๔
739468
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2549 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยที่ได้มีการประกาศใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งมีผลเป็นการยกเลิกพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม สมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการขึ้นใหม่ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๖ วรรคสอง มาตรา ๗ วรรคสอง มาตรา ๘ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๗ (๓) และ (๕) แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ กระทรวงการคลังจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ประกาศ คำสั่ง และหลักเกณฑ์อื่นใดที่เกี่ยวกับค่าเช่าบ้านข้าราชการในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในกรณีที่ส่วนราชการไม่สามารถปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๗ หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากข้อกำหนดดังกล่าว ให้ปลัดกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี หรือหัวหน้าส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง แล้วแต่กรณี เป็นผู้วินิจฉัย ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความประหยัดและประโยชน์ของราชการเป็นสำคัญ แล้วแจ้งให้ปลัดกระทรวงการคลังทราบด้วย นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการหารือหรือขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง ข้อ ๕ บรรดาแบบพิมพ์ที่ใช้เกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้าน ให้เป็นไปตามแบบท้ายระเบียบนี้ หรือตามที่กรมบัญชีกลางกำหนดในกรณีที่ไม่ได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ข้อ ๖ ให้ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านยื่นคำขอรับค่าเช่าบ้านตามแบบขอรับค่าเช่าบ้าน (แบบ ๖๐๐๕) ท้ายระเบียบนี้ ณ สำนักงานที่ข้าราชการผู้นั้นปฏิบัติราชการ เว้นแต่ระเบียบนี้จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ ๗ การยื่นแบบ ๖๐๐๕ ให้ยื่นต่อผู้รับรองการมีสิทธิตามข้อ ๘ พร้อมด้วยสัญญาเช่าบ้าน สัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง ในกรณีการยื่นหลักฐานที่เป็นสัญญาเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้าน ต้องแนบสัญญาซื้อขายบ้าน สัญญาซื้อขายบ้านพร้อมที่ดิน หรือสัญญาจ้างปลูกสร้างบ้าน แล้วแต่กรณี เป็นหลักฐานประกอบด้วย และหากวงเงินในสัญญาดังกล่าวต่ำกว่าสัญญาเงินกู้ ข้าราชการผู้ใช้สิทธิต้องยื่นหลักฐานที่สถาบันการเงินรับรองว่า หากมีการกู้เงินตามวงเงินในสัญญาดังกล่าว จะต้องมีการผ่อนชำระรายเดือนเป็นจำนวนเท่าใด ให้ข้าราชการผู้ใช้สิทธิจัดส่งรายงานข้อมูลของข้าราชการในการขอรับค่าเช่าบ้านพร้อมการยื่นแบบ ๖๐๐๕ และให้ผู้มีอำนาจรับรองการมีสิทธิตามข้อ ๘ มีอำนาจพิจารณารับรายงานข้อมูลข้าราชการในการขอรับค่าเช่าบ้านที่ยื่น โดยให้แจ้งรายละเอียดประกอบอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (๑) ข้อมูลประวัติการรับราชการตั้งแต่เริ่มรับราชการ และการโอน ย้าย ในกรณีเป็นการย้ายให้ชี้แจงข้อมูลว่าเกิดจากคำร้องขอของตนเองหรือไม่ (๒) ข้อมูลการมีเคหสถานของข้าราชการและคู่สมรสทุกแห่งในท้องที่ที่รับราชการ (๓) ข้อมูลด้านอาชีพและสถานที่ทำงานของคู่สมรสของข้าราชการ และให้แจ้งว่าหน่วยงานแห่งนั้นได้ให้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน หรือจัดบ้านพักให้กับคู่สมรสในท้องที่ที่รับราชการของข้าราชการหรือไม่ (๔) ข้อมูลการมีเคหสถานของบิดา มารดา ของคู่สมรสและของข้าราชการ รวมทั้งบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะทุกแห่งในท้องที่ที่รับราชการ (๕) ข้อมูลสถานะการมีชีวิตอยู่ของบิดา มารดา ของคู่สมรสและของข้าราชการ หากในภายหลังมีกรณีที่บุคคลดังกล่าวเสียชีวิตหรือสาบสูญ ให้แจ้งรายละเอียด วัน เดือน ปี ที่เสียชีวิตหรือสาบสูญ[๒] ข้อ ๘[๓] ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นผู้รับรองการมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านของข้าราชการในสังกัดในแบบ ๖๐๐๕ (๑) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ให้เลขานุการรัฐมนตรี เลขานุการกรมหรือหัวหน้าส่วนราชการตั้งแต่ระดับกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป เป็นผู้รับรอง ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางที่มีสำนักงานอยู่ในภูมิภาคหรือแยกต่างหากจากกระทรวง ทบวง กรม ให้หัวหน้าสำนักงานซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานขึ้นไป ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการขึ้นไป หรือดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๖ หรือเทียบเท่าเป็นผู้รับรอง (๒) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดหรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ แล้วแต่กรณี เป็นผู้รับรอง (๓) ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหมหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บังคับบัญชาที่มียศตั้งแต่พันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี หรือพันตำรวจตรีขึ้นไป เป็นผู้รับรอง ให้ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปอย่างน้อยหนึ่งระดับหรือหนึ่งชั้นยศ เป็นผู้รับรองการมีสิทธิของบุคคลตาม (๑) (๒) และ (๓) ซึ่งมิได้ดำรงตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ในวรรคสาม ให้ข้าราชการประเภททั่วไป ระดับอาวุโสขึ้นไป ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไป ประเภทอำนวยการ ประเภทบริหาร หรือดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๘ ขึ้นไป หรือเทียบเท่าหรือข้าราชการทหารที่มียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก หรือข้าราชการตำรวจที่มียศพันตำรวจเอกขึ้นไป เป็นผู้รับรองการมีสิทธิของตนเอง ข้อ ๙ เมื่อมีการรับรองสิทธิขอรับค่าเช่าบ้านแล้ว ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติการเบิก ค่าเช่าบ้านตามข้อ ๑๐ แต่งตั้งข้าราชการจำนวนไม่น้อยกว่าสามคนเป็นคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายละเอียด ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีเช่าบ้าน ให้ตรวจสอบว่าได้เช่าบ้านและพักอาศัยอยู่จริง ระยะเวลาเริ่มต้นของการเช่าบ้านและการเข้าพักอาศัย ตลอดจนความเหมาะสมของอัตราค่าเช่าบ้านเมื่อเปรียบเทียบกับสภาพแห่งบ้าน (๒) กรณีเช่าซื้อบ้านหรือกู้เงินเพื่อชำระราคาบ้าน ให้ตรวจสอบสัญญาเช่าซื้อบ้านหรือสัญญาเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้าน วงเงินเช่าซื้อหรือวงเงินกู้ เอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง และวันเริ่มต้นการเข้าพักอาศัยอยู่จริงในบ้าน เมื่อคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายละเอียดครบถ้วนแล้ว ให้จัดทำรายงานการตรวจสอบการขอรับค่าเช่าบ้านตามแบบท้ายระเบียบนี้ เสนอต่อผู้มีอำนาจอนุมัติการเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามข้อ ๑๐ เพื่อพิจารณาอนุมัติการเบิกจ่ายต่อไป ข้อ ๑๐ การอนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านในแบบ ๖๐๐๕ ให้เป็นอำนาจของบุคคล ดังต่อไปนี้ (๑)[๔] ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมมอบหมายซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าประเภททั่วไป ระดับอาวุโสขึ้นไป ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการขึ้นไป ประเภทอำนวยการ ประเภทบริหาร หรือดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๗ หรือเทียบเท่า หรือข้าราชการทหารที่มียศตั้งแต่พันโท นาวาโท นาวาอากาศโทหรือข้าราชการตำรวจที่มียศพันตำรวจโทขึ้นไป (๒) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ให้หัวหน้าส่วนราชการซึ่งเป็นผู้เบิกเงินจากคลังเป็นผู้อนุมัติ เว้นแต่เป็นการเบิกค่าเช่าบ้านของหัวหน้าส่วนราชการนั้น ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อนุมัติ สำหรับค่าเช่าบ้านของหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ที่เบิกเงินจากสำนักงานคลังจังหวัด ณ อำเภอ ให้นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเป็นผู้อนุมัติ ข้อ ๑๑ ข้าราชการซึ่งได้รับอนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านตามสิทธิแล้ว ให้ยื่นขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านประจำเดือนตามแบบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้าน (แบบ ๖๐๐๖) ท้ายระเบียบนี้ พร้อมหลักฐานการชำระเงิน ณ สำนักงานที่ข้าราชการผู้นั้นปฏิบัติราชการ ให้บุคคลตามข้อ ๑๐ เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๑๒ ค่าเช่าบ้านถือเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อส่วนราชการได้รับแบบ ๖๐๐๖ และให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ได้รับแบบดังกล่าว ข้อ ๑๓ สัญญาเช่าบ้าน สัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้าน ตามข้อ ๗ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ หรืออย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ (๑) สัญญาเช่าบ้าน ต้องระบุวัน เดือน ปี ที่ทำสัญญา ชื่อคู่สัญญา สถานที่เช่า วันเริ่มต้นแห่งสัญญาเช่า ระยะเวลาการเช่า วันสิ้นสุดสัญญาเช่า และอัตราค่าเช่าต่อเดือน (๒) สัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้าน ให้ใช้ตามแบบสัญญาของสถาบันการเงินได้ โดยต้องระบุชื่อคู่สัญญา สถานที่เช่าซื้อหรือสถานที่กู้เงิน วันเริ่มต้นแห่งสัญญาระยะเวลาการชำระค่าเช่าซื้อหรือการผ่อนชำระเงินกู้ วันสิ้นสุดสัญญา จำนวนวงเงินที่เช่าซื้อหรือวงเงินกู้และจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระรายเดือน ข้อ ๑๔ การทำสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านของข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน ต้องทำกับสถาบันการเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์ (๒) รัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับการเคหะ หรือดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อเช่าซื้อบ้านหรือผ่อนชำระราคาบ้าน (๓) สหกรณ์ที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์และมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับการเคหะ (๔) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๕) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (๖) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งดำเนินกิจการรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตาม (๑) (๗) นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์และดำเนินกิจการเกี่ยวกับการเคหะ หรือการให้เช่าซื้อบ้านหรือให้กู้ยืมเพื่อชำระราคาบ้าน ข้อ ๑๕ ให้ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านยื่นแบบ ๖๐๐๕ ฉบับใหม่ ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) โอนย้ายโดยเปลี่ยนสังกัดหรือเปลี่ยนสำนักเบิกเงินเดือน (๒) ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่โดยไม่เปลี่ยนสำนักเบิกเงินเดือน (๓) เปลี่ยนแปลงสัญญาเช่าบ้าน สัญญาเช่าซื้อบ้าน หรือสัญญาเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้าน ในกรณีนำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านในท้องที่เดิมมาเบิกต่อเนื่องในท้องที่ใหม่ ให้คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งตามข้อ ๙ วรรคหนึ่งตรวจสอบหลักฐานที่นำมาเบิกค่าเช่าบ้านในช่วงเวลาที่รับราชการในท้องที่เดิมและระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้าน แล้วดำเนินการต่อไปตามข้อ ๙ วรรคสอง ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑ ข้อ ๑๖[๕] การรับรองสิทธิ การอนุมัติเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านและการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการตามข้อ ๑๕ (๒) ให้ถือปฏิบัติ ดังนี้ (๑) ให้บุคคลตามข้อ ๘ ประจำสำนักงานที่ผู้ใช้สิทธิไปปฏิบัติราชการเป็นผู้รับรองสิทธิในแบบ ๖๐๐๕ (๒) ให้บุคคลตามข้อ ๑๐ ประจำสำนักงานที่เบิกเงินเดือนของผู้ใช้สิทธิเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติในแบบ ๖๐๐๕ และแบบ ๖๐๐๖ (๓) ให้บุคคลตามข้อ ๑๐ ประจำสำนักงานที่ผู้ใช้สิทธิไปปฏิบัติราชการเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามข้อ ๙ ข้อ ๑๗ ข้าราชการผู้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านในอัตราที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับเงินเดือนหรือเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ให้ยื่นหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการเบิกจ่ายโดยไม่ต้องยื่นแบบ ๖๐๐๕ ใหม่ ข้อ ๑๘ ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านซึ่งได้ยื่นแบบ ๖๐๐๕ ไว้แล้ว แต่ยังไม่ได้รับอนุมัติ ต่อมาได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในสังกัดเดิม ไม่ว่าอยู่ในท้องที่เดียวกันหรือต่างท้องที่ หรือได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่โดยไม่เปลี่ยนสำนักเบิกเงินเดือนให้ยื่นแบบ ๖๐๐๕ และแบบ ๖๐๐๖ พร้อมทั้งหลักฐานการชำระค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าซื้อ หรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ในช่วงเวลาที่ตนมีสิทธิ ณ สำนักงานเดิม ที่สำนักงานใหม่ ในกรณีที่ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านได้รับคำสั่งตามวรรคหนึ่ง หากได้รับอนุมัติในแบบ ๖๐๐๕ ไว้แล้ว แต่ยังไม่ได้ยื่นแบบ ๖๐๐๖ หรือยื่นไว้แล้วแต่ยังไม่ได้รับอนุมัติ ให้ยื่นแบบ ๖๐๐๖ ใหม่ พร้อมทั้งหลักฐานตามวรรคหนึ่งที่สำนักงานใหม่ สำหรับแบบ ๖๐๐๕ ที่ได้รับอนุมัติแล้ว ให้สำนักงานเดิมจัดส่งให้สำนักงานใหม่โดยเร็ว ข้อ ๑๙ ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านได้รับคำสั่งให้โอนไปรับราชการประจำสำนักงานใหม่โดยเปลี่ยนสังกัด แต่ยังไม่ได้ยื่นขอรับค่าเช่าบ้านหรือยังไม่ได้ยื่นขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านในช่วงเวลาที่ตนมีสิทธิ ณ สำนักงานเดิม ให้ยื่นแบบ ๖๐๐๕ และแบบ ๖๐๐๖ ที่สำนักงานเดิม ข้อ ๒๐ การยื่นขอรับค่าเช่าบ้านหรือขอเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านซึ่งถึงแก่กรรม หรือเกษียณอายุราชการ หรือลาออกจากราชการไปก่อนยื่นคำขอ ให้ดำเนินการ ดังนี้ (๑) กรณีถึงแก่กรรม ให้ทายาทของข้าราชการผู้นั้นยื่นคำขอ ณ สำนักงานที่รับราชการครั้งสุดท้าย (๒) กรณีเกษียณอายุราชการหรือลาออกจากราชการ ให้ข้าราชการผู้นั้น ยื่นคำขอ ณ หน่วยงานผู้เบิกบำนาญ หรือสำนักงานที่รับราชการครั้งสุดท้าย แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๑ ภายใต้บังคับข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔ ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน แต่คู่สมรสได้เช่าบ้าน เช่าซื้อบ้าน หรือกู้เงินเพื่อชำระราคาบ้านในระหว่างสมรสและปรากฏชื่อคู่สมรสแต่เพียงผู้เดียวในสัญญาเช่าบ้าน สัญญาเช่าซื้อ สัญญาเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้าน สัญญาซื้อขายที่ดินหรือบ้านพร้อมที่ดิน สัญญาจ้างปลูกสร้างบ้าน โฉนดที่ดิน หรือหลักฐานการชำระเงิน ให้ข้าราชการผู้นั้นนำหลักฐานดังกล่าวมาประกอบการเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านจากทางราชการได้ นับแต่วันที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ข้าราชการผู้ใดมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านให้ข้าราชการผู้นั้นนำหลักฐานการชำระเงินและสำเนาคำพิพากษาดังกล่าวมาเป็นหลักฐานประกอบการยื่นแบบ ๖๐๐๕ และแบบ ๖๐๐๖ โดยไม่ต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงตามข้อ ๙ ข้อ ๒๓[๖] ในกรณีที่มีการขยายวงเงินกู้หรือขยายระยะเวลาการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านให้นำหลักฐานการผ่อนชำระมาเบิกค่าเช่าบ้านได้ตามจำนวนเงินกู้และระยะเวลาการผ่อนชำระที่เหลืออยู่ของสัญญาเงินกู้ฉบับแรกเท่านั้น ข้อ ๒๔ การย้ายสถานที่ทำการของสำนักงานไปตั้งในท้องที่ใหม่ตามมาตรา ๘ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้ท้องที่ใหม่ที่อยู่ใกล้เคียงกับท้องที่ตั้งสำนักงานเดิมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) การย้ายที่ตั้งสำนักงานจากกรุงเทพมหานครไปจังหวัดใกล้เคียง ต้องเป็นเขตท้องที่ใกล้เคียงหรือติดต่อกับกรุงเทพมหานครและมีรถยนต์โดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพให้บริการ ตามบัญชีรายชื่อท้องที่ใกล้เคียงท้ายระเบียบนี้ (๒) การย้ายที่ตั้งสำนักงานภายในจังหวัดเดียวกันหรือระหว่างจังหวัด ต้องเป็นเขตท้องที่ติดต่อกันและมีขนส่งสาธารณะประจำทางให้บริการ ข้อ ๒๕ ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน ให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านได้ตามอัตราเงินเดือนสุทธิแต่ถ้าอัตราเงินเดือนสุทธิขั้นใดไม่ตรงกับอัตราเงินเดือนในบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้เบิกในอัตราที่ใกล้เคียงแต่ไม่เกินอัตราเงินเดือนสุทธิที่ได้รับ ข้อ ๒๖ ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านซึ่งมีเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชาหรือเงินเพิ่มการเลื่อนฐานะหรือสำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติหรือสำหรับการสู้รบ ให้นำเงินเพิ่มดังกล่าวมารวมกับเงินเดือนสุทธิที่ได้รับ แล้วเทียบกับอัตราเงินเดือนตามขั้นเงินเดือนในระดับหรือชั้นยศที่ได้รับในปัจจุบันหรือขั้นเงินเดือนใกล้เคียงในระดับหรือชั้นยศเดียวกันหรือระดับหรือชั้นยศถัดไปตามลำดับ แล้วให้ได้รับค่าเช่าบ้านตามขั้นเงินเดือนนั้น กรณีที่ต้องเบิกลดเนื่องจากการปรับชั้นเงินเดือน ให้นำเงินเดือนสุทธิที่หักเบิกลดเนื่องจากการปรับชั้นเงินเดือนแล้วเทียบกับอัตราเงินเดือนตามขั้นเงินเดือนในระดับหรือชั้นยศที่ได้รับในปัจจุบันหรือขั้นเงินเดือนใกล้เคียงในระดับหรือชั้นยศเดียวกันหรือระดับหรือชั้นยศต่ำลงมาตามลำดับ แล้วให้ได้รับค่าเช่าบ้านตามขั้นเงินเดือนนั้น กรณีที่หักเบิกลดแล้ว เงินเดือนสุทธิต่ำกว่าอัตราเงินเดือนขั้นต่ำสุดตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านแต่ละประเภท ให้ได้รับค่าเช่าบ้านเท่าที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกินเดือนละ ๘๐๐ บาท ข้อ ๒๗ บรรดาประกาศและคำสั่งกระทรวงการคลังเกี่ยวกับค่าเช่าบ้านที่ใช้อยู่ก่อนระเบียบนี้ มีผลใช้บังคับ ให้ใช้ต่อไปได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ข้อ ๒๘ ให้ปลัดกระทรวงการคลังรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีรายชื่อท้องที่ใกล้เคียง กรณีกรุงเทพมหานครกับจังหวัดใกล้เคียง ๒. แบบขอรับค่าเช่าบ้าน (แบบ ๖๐๐๕) ๓. แบบขอรับค่าเช่าบ้าน (แบบ ๖๐๐๖) ๔. แบบรายงานการตรวจสอบการขอรับค่าเช่าบ้าน (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒[๗] ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๘ การเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านข้าราชการที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับแต่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ให้ดำเนินการต่อไปตามระเบียบเดิมจนกว่าจะแล้วเสร็จ ข้อ ๙ ให้ปลัดกระทรวงการคลังรักษาการตามระเบียบนี้ จุฑามาศ/ผู้จัดทำ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๑๕ ง/หน้า ๑๓/๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ [๒] ข้อ ๗ วรรคสาม เพิ่มโดยระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ [๓] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ [๔] ข้อ ๑๐ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ [๕] ข้อ ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ [๖] ข้อ ๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๘๐ ง/หน้า ๑/๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๒
739474
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรพ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้สอดคล้องกับระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐและสถานการณ์ในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ กระทรวงการคลังจึงกำหนดระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๔๗ บรรดาระเบียบ คำสั่ง หรือหลักเกณฑ์อื่นใดที่เกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ส่วนราชการผู้เบิก”[๒] หมายความว่า ส่วนราชการซึ่งเบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด “ส่วนราชการเจ้าสังกัด” หมายความว่า ส่วนราชการที่ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ มีอัตราเงินเดือนค่าจ้างและเลขที่ประจำตำแหน่งอยู่ “เงินสวัสดิการ” หมายความว่า เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร “ผู้มีสิทธิ” หมายความว่า ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการ ข้อ ๕ ในกรณีที่ส่วนราชการใดไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในระเบียบนี้ หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดในระเบียบนี้ ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง ข้อ ๖ กรณีคู่สมรสเป็นผู้มีสิทธิทั้งสองฝ่าย ให้คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการสำหรับบุตรทุกคนแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยต้องรับรองในใบเบิกเงินสวัสดิการที่ยื่นตามข้อ ๗ ว่าตนเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการแต่เพียงฝ่ายเดียว ถ้าคู่สมรสตามวรรคหนึ่งอยู่ต่างส่วนราชการผู้เบิก หรือมีการเปลี่ยนส่วนราชการผู้เบิกหลังจากที่มีการใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการไปแล้ว คู่สมรสฝ่ายที่เป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการต้องแจ้งขอให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือส่วนราชการผู้เบิกบำนาญหรือเบี้ยหวัดแจ้งการใช้สิทธินั้นให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือส่วนราชการผู้เบิกบำนาญหรือเบี้ยหวัดของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง แล้วแต่กรณี ทราบ และให้ส่วนราชการที่ได้รับแจ้งดำเนินการตอบรับตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับแก่กรณีการหย่าโดยอนุโลม ทั้งนี้ ไม่ว่าการหย่าจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังจากที่มีการใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการไปแล้ว ข้อ ๗[๓] ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิในการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการได้ โดยยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานการรับเงินของสถานศึกษา ต่อผู้มีอำนาจอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินสวัสดิการตามข้อ ๑๔ หรือข้อ๑๖ ณ ส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือส่วนราชการผู้เบิกบำนาญ หรือเบี้ยหวัด แล้วแต่กรณี เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ ข้อ ๘ ก่อนการใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการ ผู้มีสิทธิตามข้อ ๗ วรรคหนึ่ง (๑) ต้องมีหนังสือแสดงเจตนาขอรับเงินสวัสดิการตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนดแจ้งต่อส่วนราชการที่ไปช่วยปฏิบัติราชการและเมื่อส่วนราชการที่ไปช่วยปฏิบัติราชการได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว ให้ส่งคู่ฉบับหรือภาพถ่ายหนังสือซึ่งมีการรับรองความถูกต้องให้ส่วนราชการผู้เบิกของผู้มีสิทธิทราบด้วย ข้อ ๙ หลักฐานการรับเงินของสถานศึกษา อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อ สถานที่อยู่ หรือที่ทำการของสถานศึกษาผู้รับเงิน (๒) วัน เดือน ปี ที่รับเงิน (๓) รายการแสดงการรับเงินระบุว่าเป็นค่าอะไร (๔) จำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวอักษร (๕) ลายมือชื่อของผู้รับเงิน ในกรณีที่สถานศึกษามีข้อตกลงกับธนาคารในการรับชำระเงินบำรุงการศึกษาหรือเงินค่าเล่าเรียนของสถานศึกษา ให้ใช้ใบแจ้งการชำระเงินและหรือใบเสร็จรับเงินของสถานศึกษาซึ่งมีรายการในสาระสำคัญที่ส่วนราชการสามารถควบคุมและตรวจสอบการใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการได้เป็นหลักฐานการรับเงินของสถานศึกษา ข้อ ๑๐[๔] ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเป็นผู้รับรองการมีสิทธิของตนเอง ข้อ ๑๑ การยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการ ให้กระทำภายในกำหนดเวลาดังนี้ (๑) ภายในหนึ่งปีนับแต่วันเปิดภาคเรียนแต่ละภาค ในกรณีที่สถานศึกษาเรียกเก็บเงินค่าการศึกษาเป็นรายภาคเรียน (๒) ภายในหนึ่งปีนับแต่วันเปิดเรียนภาคต้นของปีการศึกษา ในกรณีที่สถานศึกษาเรียกเก็บเงินค่าการศึกษาครั้งเดียวตลอดปี หากพ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าหมดสิทธิในการยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการสำหรับภาคการศึกษาหรือปีการศึกษานั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ กำหนดเวลาการยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการตามข้อ ๑๑ ไม่ใช้บังคับแก่กรณีดังต่อไปนี้ (๑) ผู้มีสิทธิถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และปรากฏในภายหลังว่าได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือในระหว่างถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ผู้มีสิทธิยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่กรณีถึงที่สุด (๒) ผู้มีสิทธิมีความจำเป็นต้องขอผ่อนผันต่อสถานศึกษาในการชำระเงินล่าช้าในกรณีเช่นว่านี้ให้ผู้มีสิทธิยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ออกหลักฐานการรับเงินของสถานศึกษา ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิไม่สามารถลงลายมือชื่อในใบเบิกเงินสวัสดิการหรือไม่สามารถยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการด้วยตนเอง ให้ดำเนินการดังนี้ (๑) ถ้าผู้มีสิทธิถึงแก่กรรม ให้ทายาทตามกฎหมายหรือผู้จัดการมรดกเป็นผู้ยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการ (๒) ถ้าผู้มีสิทธิมีสติสัมปชัญญะ แต่ไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้พิมพ์ลายนิ้วมือแทนการลงลายมือชื่อพร้อมกับมีพยานสองคนลงลายมือชื่อรับรอง และให้บุคคลในครอบครัวเป็นผู้ยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการ (๓) ถ้าผู้มีสิทธิไม่รู้สึกตัวหรือไม่มีสติสัมปชัญญะ แต่ยังไม่มีคำสั่งศาลให้เป็นผู้ไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ ให้บุคคลในครอบครัวเป็นผู้ยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการพร้อมกับหนังสือรับรองของแพทย์ผู้ทำการรักษาว่าไม่รู้สึกตัวหรือไม่มีสติสัมปชัญญะเพียงพอที่จะดำเนินการได้ หากไม่มีบุคคลดังกล่าว ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณาเห็นสมควรให้ผู้ใดเป็นผู้ดำเนินการแทน ข้อ ๑๔ เมื่อมีการรับรองการมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการในใบเบิกเงินสวัสดิการแล้วให้เสนอใบเบิกเงินสวัสดิการนั้นต่อผู้มีอำนาจอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินสวัสดิการตามวรรคสองเพื่อพิจารณาอนุมัติการเบิกจ่ายต่อไป การอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินสวัสดิการของข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในสังกัดให้เป็นอำนาจของบุคคลดังต่อไปนี้ (๑)[๕] ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หรือผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมมอบหมาย ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน หรือตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๖ หรือเทียบเท่า หรือผู้ที่มียศตั้งแต่พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท หรือพันตำรวจโทขึ้นไป (๒) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ให้หัวหน้าส่วนราชการผู้เบิกเป็นผู้อนุมัติ ข้อ ๑๕[๖] การอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินสวัสดิการของผู้มีสิทธิตามข้อ ๗ (๑) ให้บุคคลตามข้อ ๑๔ ณ สถานที่ที่ไปช่วยปฏิบัติราชการเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการดังกล่าว ข้อ ๑๖[๗] ให้หัวหน้าส่วนราชการผู้เบิกบำนาญหรือเบี้ยหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินสวัสดิการของผู้ได้รับบำนาญหรือเบี้ยหวัด ข้อ ๑๗[๘] เมื่อมีการอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินสวัสดิการแล้ว ให้ส่วนราชการผู้เบิกจัดทำคำขอเบิกเงินสวัสดิการจากเงินงบประมาณงบกลางในระบบการบริหารการเงินการคลังด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) จากกรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๘ ให้ส่วนราชการผู้เบิกจัดทำหน้างบใบสำคัญการจ่ายเงินสวัสดิการตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด โดยแสดงรายชื่อผู้ใช้สิทธิและจำนวนเงินสวัสดิการที่เบิกจ่ายเป็นรายบุคคลและให้ส่วนราชการผู้เบิกเก็บไว้เป็นหลักฐานในการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการและเพื่อการตรวจสอบ ข้อ ๑๙ เมื่อส่วนราชการผู้เบิกได้ดำเนินการตามข้อ ๑๘ และได้จ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิแล้วให้เจ้าหน้าที่ผู้จ่ายเงินประทับตราข้อความว่า “จ่ายเงินแล้ว” โดยลงลายมือชื่อรับรองการจ่ายและระบุชื่อผู้จ่ายเงินด้วยตัวบรรจง พร้อมทั้งวัน เดือน ปี ที่จ่ายกำกับไว้ในหลักฐานการรับเงินของสถานศึกษาทุกฉบับ ข้อ ๒๐ การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับแต่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ให้ดำเนินการต่อไปตามระเบียบนี้ ข้อ ๒๑ ให้ปลัดกระทรวงการคลังรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓[๙] ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๑๐ การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับแต่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จให้ดำเนินการต่อไปตามระเบียบเดิมจนกว่าจะแล้วเสร็จ ข้อ ๑๑ ให้ปลัดกระทรวงการคลังรักษาการตามระเบียบนี้ จุฑามาศ/ผู้จัดทำ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๒๓ ง/หน้า ๗/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ [๒] ข้อ ๔ นิยามคำว่า “ส่วนราชการผู้เบิก” แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๓] ข้อ ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๔] ข้อ ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๕] ข้อ ๑๔ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๖] ข้อ ๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๗] ข้อ ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๘] ข้อ ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๓๔ ง/หน้า ๑/๑๗ มีนาคม ๒๕๕๓
793254
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. 2560
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน และคล่องตัวในทางปฏิบัติยิ่งขึ้น รวมทั้งสอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ กระทรวงการคลังจึงกำหนดระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๕๑ (๒) ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ บรรดาระเบียบ คำสั่ง หรือหลักเกณฑ์อื่นใดที่เกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ส่วนราชการผู้เบิก” หมายความว่า ส่วนราชการซึ่งเบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด “ส่วนราชการเจ้าสังกัด” หมายความว่า ส่วนราชการที่ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ มีอัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และเลขที่ประจำตำแหน่งอยู่ “เงินสวัสดิการ” หมายความว่า เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร “ผู้มีสิทธิ” หมายความว่า ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการ ข้อ ๕ กรณีคู่สมรสเป็นผู้มีสิทธิทั้งสองฝ่าย ให้คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการสำหรับบุตรทุกคนแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยต้องรับรองในใบเบิกเงินสวัสดิการที่ยื่นตาม ข้อ ๖ ว่าตนเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการแต่เพียงฝ่ายเดียว ถ้าคู่สมรสตามวรรคหนึ่งอยู่ต่างส่วนราชการผู้เบิก หรือมีการเปลี่ยนส่วนราชการผู้เบิกหลังจากที่มีการใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการไปแล้ว คู่สมรสฝ่ายที่เป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการต้องแจ้งขอให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือส่วนราชการผู้เบิกบำนาญหรือเบี้ยหวัดแจ้งการใช้สิทธินั้นให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือส่วนราชการผู้เบิกบำนาญหรือเบี้ยหวัดของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง แล้วแต่กรณี ทราบ และให้ส่วนราชการที่ได้รับแจ้งดำเนินการตอบรับตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด กรณีที่คู่สมรสประสงค์จะเปลี่ยนแปลงผู้ใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการ ตามที่เคยได้ดำเนินการตามวรรคสองแล้ว เป็นอีกฝ่ายหนึ่ง ให้ผู้ประสงค์จะใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการอีกฝ่ายหนึ่งนั้นแจ้งขอให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือส่วนราชการผู้เบิกบำนาญหรือเบี้ยหวัดของผู้นั้นพร้อมทั้งหลักฐานแสดงความยินยอมของคู่สมรส เพื่อให้ส่วนราชการนั้นแจ้งการใช้สิทธิดังกล่าวให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือส่วนราชการผู้เบิกบำนาญหรือเบี้ยหวัดของผู้ใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการเดิม แล้วแต่กรณี ทราบ และให้ส่วนราชการที่ได้รับแจ้งดำเนินการตอบรับตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด ให้นำความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสามมาใช้บังคับแก่กรณีการหย่าโดยอนุโลม ทั้งนี้ ไม่ว่าการหย่าจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังจากที่มีการใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการไปแล้ว ข้อ ๖ การใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการ ให้ยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานการรับเงินของสถานศึกษา ต่อผู้มีอำนาจอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินสวัสดิการตามข้อ ๑๓ หรือข้อ ๑๕ ณ ส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือส่วนราชการผู้เบิกบำนาญหรือเบี้ยหวัด แล้วแต่กรณี เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีผู้มีสิทธิได้รับคำสั่งให้ไปช่วยปฏิบัติราชการซึ่งอยู่ต่างส่วนราชการผู้เบิก ให้ยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการ ณ ส่วนราชการที่ไปช่วยปฏิบัติราชการ (๒) กรณีผู้มีสิทธิพ้นจากราชการหรือถึงแก่กรรมก่อนที่จะใช้สิทธิ ให้ยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการ ณ ส่วนราชการผู้เบิกบำนาญหรือเบี้ยหวัด หรือสำนักงานที่รับราชการครั้งสุดท้าย แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ ก่อนการใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการ ผู้มีสิทธิตามข้อ ๖ (๑) ต้องมีหนังสือแสดงเจตนาขอรับเงินสวัสดิการตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด แจ้งต่อส่วนราชการที่ไปช่วยปฏิบัติราชการและเมื่อส่วนราชการที่ไปช่วยปฏิบัติราชการได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว ให้ส่งคู่ฉบับหรือภาพถ่ายหนังสือซึ่งมีการรับรองความถูกต้องให้ส่วนราชการผู้เบิกของผู้มีสิทธิทราบด้วย ข้อ ๘ หลักฐานการรับเงินของสถานศึกษา อย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อ สถานที่อยู่ หรือที่ทำการของสถานศึกษาผู้รับเงิน (๒) วัน เดือน ปี ที่รับเงิน (๓) รายการแสดงการรับเงินระบุรายละเอียดแต่ละรายการ (๔) จำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวอักษร (๕) ลายมือชื่อของผู้รับเงิน กรณีที่สถานศึกษามีข้อตกลงกับธนาคารในการรับชำระเงินบำรุงการศึกษาหรือเงินค่าเล่าเรียนของสถานศึกษา ให้ใช้ใบแจ้งการชำระเงินและหรือใบเสร็จรับเงินของสถานศึกษา ซึ่งมีรายการตามวรรคหนึ่ง (๑) ถึง (๕) เป็นหลักฐานการรับเงินของสถานศึกษา กรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับหลักฐานการรับเงินของสถานศึกษาแล้ว แต่เกิดสูญหาย ให้ใช้สำเนาหลักฐานการรับเงินของสถานศึกษา ซึ่งผู้รับเงินของสถานศึกษารับรองเป็นเอกสารประกอบการขอเบิกเงินแทนได้ กรณีที่หลักฐานการรับเงินเป็นภาษาต่างประเทศให้มีคำแปลเป็นภาษาไทยซึ่งมีรายการตามวรรคหนึ่ง (๑) ถึง (๕) ไว้ด้วย และให้ผู้ใช้สิทธิขอเบิกเงินลงลายมือชื่อรับรองคำแปลด้วย กรณีที่หลักฐานการรับเงินของสถานศึกษาที่ลงลายมือชื่อผู้รับเงินของสถานศึกษาด้วยลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีรายการตามวรรคหนึ่ง (๑) ถึง (๔) ในหลักฐานการรับเงินด้วย กรณีที่สถานศึกษาในต่างประเทศเป็นผู้ออกหลักฐานการรับเงินตามหลักสูตรการศึกษาที่เป็นความร่วมมือ ข้อตกลง โครงการพิเศษของสถานศึกษาในประเทศที่ได้กำหนดให้ผู้ศึกษาต้องไปศึกษาหรือสมัครไปศึกษาในสถานศึกษาในต่างประเทศ ให้สถานศึกษาในประเทศต้องรับรองรายการที่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายตามหลักสูตรที่กำหนด ระบุภาคการศึกษา ปีการศึกษา และให้มีคำแปลเป็นภาษาไทยด้วย ข้อ ๙ ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเป็นผู้รับรองการมีสิทธิของตนเอง ข้อ ๑๐ การยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการ ให้กระทำภายในกำหนดเวลาดังนี้ (๑) ภายในหนึ่งปีการศึกษานับแต่วันเปิดภาคเรียนแต่ละภาค ในกรณีที่สถานศึกษาเรียกเก็บเงินค่าการศึกษาเป็นรายภาคเรียน (๒) ภายในหนึ่งปีการศึกษานับแต่วันเปิดภาคเรียนภาคที่หนึ่งของปีการศึกษา ในกรณีที่สถานศึกษาเรียกเก็บเงินค่าการศึกษาครั้งเดียวตลอดปี หากพ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าหมดสิทธิในการยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการสำหรับภาคการศึกษาหรือปีการศึกษานั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ กำหนดเวลาการยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการตามข้อ ๑๐ ไม่ใช้บังคับแก่กรณี ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้มีสิทธิถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และปรากฏในภายหลังว่าได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือในระหว่างถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ในกรณีเช่นว่านี้ให้ผู้มีสิทธิยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่กรณีถึงที่สุด (๒) ผู้มีสิทธิมีความจำเป็นต้องขอผ่อนผันต่อสถานศึกษาในการชำระเงินล่าช้าในกรณีเช่นว่านี้ให้ผู้มีสิทธิยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ออกหลักฐานการรับเงินของสถานศึกษา (๓) ผู้มีสิทธิมีบุตรกู้ยืมเงินเรียนจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาให้ผู้มีสิทธิยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ออกหลักฐานการรับเงินของสถานศึกษา ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิไม่สามารถลงลายมือชื่อในใบเบิกเงินสวัสดิการหรือไม่สามารถยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการด้วยตนเอง ให้ดำเนินการดังนี้ (๑) ถ้าผู้มีสิทธิถึงแก่กรรม ให้ทายาทตามกฎหมายหรือผู้จัดการมรดกเป็นผู้ยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการ (๒) ถ้าผู้มีสิทธิมีสติสัมปชัญญะ แต่ไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้พิมพ์ลายนิ้วมือแทนการลงลายมือชื่อพร้อมกับมีพยานสองคนลงลายมือชื่อรับรอง และให้บุคคลในครอบครัวเป็นผู้ยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการ (๓) ถ้าผู้มีสิทธิไม่รู้สึกตัวหรือไม่มีสติสัมปชัญญะ แต่ยังไม่มีคำสั่งศาลให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ให้บุคคลในครอบครัวเป็นผู้ยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการพร้อมกับหนังสือรับรองของแพทย์ผู้ทำการรักษาว่าไม่รู้สึกตัวหรือไม่มีสติสัมปชัญญะเพียงพอที่จะดำเนินการได้ หากไม่มีบุคคลดังกล่าว ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณาเห็นสมควรให้ผู้ใดเป็นผู้ดำเนินการแทน ข้อ ๑๓ เมื่อมีการรับรองการมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการในใบเบิกเงินสวัสดิการแล้วให้เสนอใบเบิกเงินสวัสดิการนั้นต่อผู้มีอำนาจอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินสวัสดิการตามวรรคสองเพื่อพิจารณาอนุมัติการเบิกจ่ายต่อไป การอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินสวัสดิการของข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในสังกัดให้เป็นอำนาจของบุคคล ดังต่อไปนี้ (๑) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หรือผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมมอบหมาย ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน หรือประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ หรือเทียบเท่า หรือผู้ที่มียศตั้งแต่พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท หรือพันตำรวจโทขึ้นไป (๒) การเบิกเงินสวัสดิการของผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมมอบหมายตาม (๑) ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หรือผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมมอบหมาย เป็นผู้อนุมัติ ทั้งนี้ การมอบหมายต้องมิใช่ผู้ใช้สิทธิ (๓) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางที่มีสำนักงานอยู่ในภูมิภาคหรือแยกต่างหากจากกระทรวง กรม หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมจะมอบหมายให้หัวหน้าสำนักงานเป็นผู้อนุมัติสำหรับหน่วยงานนั้นก็ได้ (๔) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ให้หัวหน้าส่วนราชการผู้เบิกเป็นผู้อนุมัติ (๕) การอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินสวัสดิการของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หัวหน้าสำนักงานสำหรับส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางที่มีสำนักงานอยู่ในภูมิภาคหรือแยกต่างหากจากกระทรวงกรม ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือหัวหน้าส่วนราชการสำหรับส่วนราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาคให้ตนเองเป็นผู้อนุมัติ ข้อ ๑๔ การอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินสวัสดิการของผู้มีสิทธิตามข้อ ๖ (๑) ให้บุคคลตาม ข้อ ๑๓ ณ สถานที่ที่ไปช่วยปฏิบัติราชการเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ ข้อ ๑๕ ให้หัวหน้าส่วนราชการผู้เบิกบำนาญหรือเบี้ยหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินสวัสดิการของผู้รับบำนาญหรือเบี้ยหวัด ข้อ ๑๖ เมื่อมีการอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินสวัสดิการแล้ว ให้ส่วนราชการผู้เบิกจัดทำคำขอเบิกเงินสวัสดิการจากเงินงบประมาณงบกลางในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) จากกรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๗ ให้ส่วนราชการผู้เบิกจัดทำหน้างบใบสำคัญการจ่ายเงินสวัสดิการตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด โดยแสดงรายชื่อผู้ใช้สิทธิและจำนวนเงินสวัสดิการที่เบิกจ่ายเป็นรายบุคคล และให้ส่วนราชการผู้เบิกเก็บไว้เป็นหลักฐานในการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการและเพื่อการตรวจสอบ ข้อ ๑๘ เมื่อส่วนราชการผู้เบิกได้ดำเนินการตามข้อ ๑๗ และได้จ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิแล้วให้เจ้าหน้าที่ผู้จ่ายเงินประทับตราข้อความว่า “จ่ายเงินแล้ว” โดยลงลายมือชื่อรับรองการจ่ายและระบุชื่อผู้จ่ายเงินด้วยตัวบรรจง พร้อมทั้งวัน เดือน ปี ที่จ่ายกำกับไว้ในหลักฐานการรับเงินของสถานศึกษาทุกฉบับ ข้อ ๑๙ การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับแต่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ให้ดำเนินการต่อไปตามระเบียบเดิมจนกว่าจะแล้วเสร็จ ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ส่วนราชการใดไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในระเบียบนี้ หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดในระเบียบนี้ ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง ข้อ ๒๑ ให้ปลัดกระทรวงการคลังรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๑ ง/หน้า ๑/๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๐
782739
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรของข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ พ.ศ. 2560
ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร ของข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ ประเภท หลักสูตร อัตราและวิธีการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๘ ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรของข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ [๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรของข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์การได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร กรณีข้าราชการมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในประเทศที่ไม่มีสถานศึกษาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสถาบันรับรองมาตรฐานสากล หรือประเทศหรือเมืองที่มีภาวะความเป็นอยู่ไม่ปกติ และมีบุตรศึกษาในสถานศึกษานอกประเทศที่ข้าราชการผู้นั้นมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ ลงวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ บรรดาระเบียบ ประกาศและคำสั่งอื่นใดที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ผู้มีสิทธิ” หมายความว่า ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ และได้ไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าว “เงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร” หมายความว่า เงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรของข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ “สำนักงาน” หมายความว่า สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล สถานรองกงสุลส่วนราชการของกระทรวงการต่างประเทศที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นและปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ สำนักงานของคณะผู้แทนถาวรหรือคณะผู้แทนไทย หรือหน่วยงานประจำในต่างประเทศของส่วนราชการอื่น แล้วแต่กรณี “หัวหน้าสำนักงาน” ได้แก่บุคคล ดังต่อไปนี้ (ก) หัวหน้าคณะผู้แทน กรณีสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล สถานรองกงสุลส่วนราชการของกระทรวงการต่างประเทศที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นและปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ หรือสำนักงานของคณะผู้แทนถาวรหรือคณะผู้แทนไทย แล้วแต่กรณี (ข) หัวหน้าหน่วยงาน กรณีหน่วยงานประจำในต่างประเทศของส่วนราชการอื่นซึ่งมิใช่หน่วยงานตาม (ก) “หัวหน้าคณะผู้แทน” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้แทนตามระเบียบพิธีการทูต หรือระเบียบพิธีการกงสุล ในกรณีของคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การระหว่างประเทศ ให้หมายความว่า ข้าราชการสังกัดส่วนราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การระหว่างประเทศ “สถานศึกษา” หมายความว่า (๑) โรงเรียนในสังกัดหรืออยู่ในกำกับของส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลในประเทศนั้น (๒) โรงเรียนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนของประเทศนั้น (๓) โรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นโดยสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลอื่นที่ประจำในประเทศนั้น “บุตร” หมายความว่า บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีอายุครบสามปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกินยี่สิบปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมและบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น “ปีการศึกษา” หมายความว่า ปีการศึกษาที่กำหนดโดยสถานศึกษาของประเทศนั้น ข้อ ๕ บรรดาแบบพิมพ์ที่ใช้เกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร ให้เป็นไปตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด ข้อ ๖ ในกรณีที่ส่วนราชการไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในระเบียบนี้หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดในระเบียบนี้ ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง ข้อ ๗ ให้ปลัดกระทรวงการคลังรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ หลักเกณฑ์การได้รับเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร ข้อ ๘ ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรได้เพียงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม ผู้มีสิทธิผู้ใดมีบุตรเกินสามคน และต่อมาบุตรคนหนึ่งคนใดในจำนวนสามคนตามวรรคหนึ่งตายกายพิการจนไม่สามารถเล่าเรียนได้ หรือเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถที่มิได้ศึกษาในสถานศึกษาที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะ ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรสำหรับบุตรเพิ่มขึ้นอีกเท่าจำนวนบุตรที่ตาย กายพิการ หรือเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบนั้น โดยให้นับจำนวนบุตรที่อยู่ลำดับถัดไปก่อน การนับลำดับบุตร ให้นับเรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลัง ทั้งนี้ ไม่ว่าเป็นบุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งใด หรืออยู่ในอำนาจปกครองของตนหรือไม่ ข้อ ๙ ผู้มีสิทธิผู้ใดยังไม่มีบุตรหรือมีบุตรที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรตามข้อ ๘ ยังไม่ถึงสามคน ถ้าต่อมามีบุตรแฝดซึ่งทำให้มีจำนวนบุตรเกินสามคน ให้ผู้มีสิทธิผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรตามข้อ ๘ สำหรับบุตรแฝดดังกล่าวทุกคน เมื่อบุตรแฝดดังกล่าวเป็นบุตรที่เกิดจากคู่สมรสในกรณีที่ผู้มีสิทธิเป็นชาย หรือเป็นบุตรของตนเองในกรณีที่ผู้มีสิทธิเป็นหญิง ในกรณีที่บุตรคนใดคนหนึ่งของผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่งตาย กายพิการจนไม่สามารถเล่าเรียนได้หรือเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถที่มิได้ศึกษาในสถานศึกษาที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะ ให้ลดจำนวนบุตรที่ได้รับเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรลงจนกว่าจำนวนบุตรที่ได้รับเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรเหลือไม่เกินสามคน และหลังจากนั้น ผู้มีสิทธิจึงจะมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรเพิ่มขึ้นได้ตามข้อ ๘ วรรคสอง ข้อ ๑๐ ให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร สำหรับบุตรที่ศึกษา ณ สถานศึกษาในประเทศที่ผู้นั้นมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ได้ตามระเบียบนี้ ให้ผู้มีสิทธิซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติราชการประจำในประเทศที่ไม่มีสถานศึกษาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสถาบันรับรองมาตรฐานสากล หรือประเทศหรือเมืองที่มีภาวะความเป็นอยู่ไม่ปกติ มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร สำหรับบุตรที่ศึกษาในต่างประเทศ ณ สถานศึกษานอกประเทศที่ผู้มีสิทธิมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ได้ตามระเบียบนี้ หลักเกณฑ์ในการกำหนดรายชื่อประเทศหรือเมืองตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ในกรณีที่ผู้มีสิทธิมีบุตรศึกษาอยู่ในสถานศึกษาในประเทศไทย สิทธิในการได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ข้อ ๑๑ ให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร สำหรับบุตรที่ศึกษาในระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรณีที่บุตรศึกษาในระบบการศึกษาพิเศษซึ่งไม่สามารถเทียบระดับชั้นการศึกษาได้ ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง หมวด ๒ อัตราเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร ข้อ ๑๒ ให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร ตามรายการที่กำหนดดังต่อไปนี้ในอัตราร้อยละห้าสิบของจำนวนที่จ่ายจริงตามที่สถานศึกษาเรียกเก็บ (๑) ค่าธรรมเนียมการเรียน หรือค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยตรง (๒) ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายตามที่สถานศึกษาเรียกเก็บ ยกเว้น ค่าเรียนพิเศษ ค่าทัศนศึกษา ค่าเครื่องแบบ ค่าอาหาร ค่ายานพาหนะ ค่าหอพัก ค่าประกันชีวิต ค่าประกันของเสียหาย ค่าประกันอุบัติเหตุ และค่าใช้จ่ายอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน หมวด ๓ การเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร ข้อ ๑๓ การใช้สิทธิเบิกเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร ในกรณีผู้มีสิทธิมีคู่สมรสเป็นผู้มีสิทธิเช่นเดียวกัน ให้คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยผู้ใช้สิทธิต้องรับรองตนเองในใบเบิกเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรว่าตนเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรแต่เพียงฝ่ายเดียว ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่กรณีการหย่า โดยอนุโลม ทั้งนี้ ไม่ว่าการหย่าจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังจากที่มีการใช้สิทธิเบิกเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรไปแล้ว ข้อ ๑๔ การใช้สิทธิเบิกเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร ให้ผู้มีสิทธิยื่นใบเบิกเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานการรับเงินของสถานศึกษา ณ สำนักงานที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งประจำ ข้อ ๑๕ ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรเป็นผู้รับรองการมีสิทธิของตนเอง ข้อ ๑๖ การอนุมัติการเบิกเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณอาจมอบอำนาจการดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้แก่หัวหน้าสำนักงานก็ได้ ข้อ ๑๗ การยื่นใบเบิกเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร ให้กระทำภายในกำหนดเวลาดังนี้ (๑) ภายในหนึ่งปีนับแต่วันเปิดภาคเรียนของแต่ละภาค ในกรณีที่สถานศึกษาที่เรียกเก็บค่าการศึกษาเป็นรายภาคเรียน (๒) ภายในหนึ่งปีนับแต่วันเปิดภาคเรียนภาคต้นของปีการศึกษา ในกรณีที่สถานศึกษาที่เรียกเก็บค่าการศึกษาครั้งเดียวตลอดปี หากพ้นกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าหมดสิทธิในการยื่นเบิกเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรสำหรับภาคการศึกษาหรือปีการศึกษานั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๘ การเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร ให้ส่วนราชการเบิกจ่ายจากงบดำเนินงาน ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้เบิกจ่ายเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตรไปแล้ว ต่อมาผู้มีสิทธิได้รับคำสั่งให้เดินทางกลับประเทศไทย หรือไปประจำการในเมืองอื่นหรือประเทศอื่นก่อนสิ้นปีการศึกษาหากสถานศึกษาคืนเงินบางส่วน ให้ผู้มีสิทธินำเงินส่วนที่ได้เบิกจ่ายไปแล้วและได้รับคืนมานั้นส่งคืนให้แก่สำนักงานโดยเร็ว ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเบิกเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตรไม่เป็นไปตามระเบียบนี้ หรือเกินสิทธิที่จะได้รับตามระเบียบนี้ ให้ผู้มีสิทธินำเงินส่วนที่ได้รับเกินไปหรือไม่ถูกต้องนั้นส่งคืนให้แก่สำนักงานโดยเร็ว เงินที่ส่งคืนให้แก่สำนักงานตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง หากเป็นเงินของปีงบประมาณปัจจุบันให้สำนักงานนำเข้าไว้ในงบดำเนินงานของสำนักงาน แต่ถ้าเป็นเงินของปีงบประมาณที่ผ่านมา ให้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ข้อ ๒๐ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ให้ส่วนราชการเจ้าของงบประมาณส่งรายงานการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร ตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด ให้กรมบัญชีกลางทราบภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายนของทุกปี บทเฉพาะกาล ข้อ ๒๑ การเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร สำหรับภาคการศึกษาที่เปิดเรียนก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบ ประกาศกระทรวงการคลัง หรือหนังสือสั่งการที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เปิดภาคการศึกษานั้น ข้อ ๒๒ ในระหว่างที่ยังมิได้กำหนดแบบและแบบพิมพ์ที่ใช้เกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรตามข้อ ๕ และข้อ ๑๔ ให้ใช้แบบและแบบพิมพ์ที่กำหนดตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรของข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๙๖ ง/หน้า ๑/๑ สิงหาคม ๒๕๖๐
765138
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ พ.ศ. 2559
ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล สำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ อัตราและวิธีการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๓ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๔ บรรดาระเบียบและคำสั่งอื่นใดที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ผู้มีสิทธิ” หมายความว่า ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศและได้ไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าว “สำนักงาน” หมายความว่า สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล สถานรองกงสุล ส่วนราชการของกระทรวงการต่างประเทศที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นและปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ สำนักงานของคณะผู้แทนถาวรหรือคณะผู้แทนไทย หรือหน่วยงานประจำในต่างประเทศของส่วนราชการอื่น แล้วแต่กรณี “หัวหน้าสำนักงาน” ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้ (ก) หัวหน้าคณะผู้แทน กรณีสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล สถานรองกงสุล ส่วนราชการของกระทรวงการต่างประเทศที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นและปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ หรือสำนักงานของคณะผู้แทนถาวรหรือคณะผู้แทนไทย แล้วแต่กรณี (ข) หัวหน้าหน่วยงาน กรณีหน่วยงานประจำในต่างประเทศของส่วนราชการอื่นซึ่งมิใช่หน่วยงานตาม (ก) “หัวหน้าคณะผู้แทน” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้แทนตามระเบียบพิธีการทูต หรือระเบียบพิธีการกงสุล ในกรณีของคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การระหว่างประเทศ ให้หมายความว่า ข้าราชการสังกัดส่วนราชการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การระหว่างประเทศ “ค่ารักษาพยาบาล” หมายความว่า เงินที่สถานพยาบาลในต่างประเทศเรียกเก็บในการรักษาพยาบาลดังนี้ (๑) ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าเลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน ค่าน้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน และอื่น ๆ ทำนองเดียวกันที่ใช้ในการบำบัดรักษาโรค (๒) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม (๓) ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการทางการพยาบาล ค่าตรวจวินิจฉัยโรค ค่าวิเคราะห์โรค แต่ไม่รวมถึงค่าธรรมเนียมแพทย์พิเศษ ค่าจ้างผู้พยาบาลพิเศษ ค่าธรรมเนียมพิเศษ และค่าบริการอื่นทำนองเดียวกันที่มีลักษณะเป็นเงินตอบแทนพิเศษ (๔) ค่าตรวจครรภ์ ค่าคลอดบุตรและการดูแลหลังคลอดบุตร (๕) ค่าห้องและค่าอาหารตลอดระยะเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล “สถานพยาบาล” หมายความว่า (๑) สถานบริการตรวจและรักษาโรคอันเนื่องจากการเจ็บป่วย ซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการและดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของประเทศที่สถานพยาบาลนั้นตั้งอยู่ (๒) สถานที่จำหน่ายยาที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของประเทศนั้นซึ่งจำหน่ายให้แก่ผู้ป่วยตามใบสั่งแพทย์ที่รักษา “บุตร” หมายความว่า บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีสิทธิซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีสิทธิ แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น “บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า (๑) บุตร (๒) คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้มีสิทธิ (๓) มารดาหรือบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้มีสิทธิ ข้อ ๕ บรรดาแบบพิมพ์ที่ใช้เกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล ให้เป็นไปตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด ข้อ ๖ ในกรณีที่ส่วนราชการไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในระเบียบนี้หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดในระเบียบนี้ ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง ข้อ ๗ ให้ปลัดกระทรวงการคลังรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ หลักเกณฑ์การได้รับเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล ข้อ ๘ ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเอง คู่สมรสและบุตรซึ่งได้อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นการประจำกับผู้มีสิทธิ ขณะที่อยู่ในประเทศที่ผู้มีสิทธิประจำการ ตามระเบียบนี้ กรณีผู้มีสิทธิได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการ ไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงานในต่างประเทศ ซึ่งมิใช่ประเทศที่ประจำการ เกิดเจ็บป่วยและเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของประเทศนั้น ให้มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล ตามระเบียบนี้ เว้นแต่ ได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ หรือจากหน่วยงานใด ๆ ในเรื่องสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลตามระเบียบนี้ แต่หากได้รับต่ำกว่าสิทธิที่พึงจะได้รับตามหลักเกณฑ์นี้ ให้มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลเฉพาะในส่วนที่ขาดอยู่ กรณีผู้มีสิทธิ คู่สมรสและบุตรซึ่งได้อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นการประจำกับผู้มีสิทธิ ณ ประเทศที่ประจำการ เดินทางมาเข้ารับการรักษาพยาบาลในประเทศไทย และกรณีบุคคลในครอบครัวของผู้มีสิทธิ ซึ่งอยู่ในประเทศไทยเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลในประเทศ สิทธิการได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลของบุคคลดังกล่าวให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ข้อ ๙ ให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรได้เพียงคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม ผู้มีสิทธิผู้ใดมีบุตรเกินสามคน และต่อมาบุตรคนหนึ่งคนใดในจำนวนสามคนตามวรรคหนึ่งตายลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะ ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรเพิ่มขึ้นอีกเท่าจำนวนบุตรที่ตาย โดยให้นับจำนวนบุตรที่อยู่ลำดับถัดไปก่อน การนับลำดับบุตร ให้นับเรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลัง ทั้งนี้ ไม่ว่าเป็นบุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งใด หรืออยู่ในอำนาจปกครองของตนหรือไม่ ข้อ ๑๐ ผู้มีสิทธิผู้ใดยังไม่มีบุตรหรือมีบุตรที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลตามข้อ ๙ ยังไม่ถึงสามคน ถ้าต่อมามีบุตรแฝดซึ่งทำให้มีจำนวนบุตรเกินสามคน ให้ผู้มีสิทธิผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลตามข้อ ๙ สำหรับบุตรแฝดดังกล่าวทุกคน เมื่อบุตรแฝดดังกล่าวเป็นบุตรที่เกิดจากคู่สมรสในกรณีที่ผู้มีสิทธิเป็นชาย หรือเป็นบุตรของตนเองในกรณีที่ผู้มีสิทธิเป็นหญิง ในกรณีที่บุตรคนใดคนหนึ่งของผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่งตายลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะ ให้ลดจำนวนบุตรที่ได้รับเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลลงจนกว่าจำนวนบุตรที่ได้รับเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลเหลือไม่เกินสามคน หลังจากนั้นผู้มีสิทธิจึงจะมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นได้ตามข้อ ๙ วรรคสอง ข้อ ๑๑ กรณีการเจ็บป่วยนอกเหนือจากโรคทางทันตกรรม ซึ่งผู้มีสิทธิ คู่สมรสและบุตรไม่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลในประเทศที่ข้าราชการประจำการ และมีความจำเป็นต้องเดินทางไปเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลในประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศที่ข้าราชการประจำการ หรือเดินทางมาเข้ารับการรักษาพยาบาลในประเทศไทย ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิ คู่สมรสและบุตรได้รับอนุมัติให้เดินทางไปเข้ารับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศซึ่งมิใช่ประเทศที่ข้าราชการประจำการ ให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองคู่สมรสและบุตร ตามระเบียบนี้ การเดินทางไปและกลับระหว่างประเทศที่ข้าราชการประจำการกับประเทศที่เข้ารับการรักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่ง ให้เบิกค่าพาหนะโดยอนุโลมตามสิทธิของผู้มีสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ หมวด ๒ อัตราเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล ข้อ ๑๒ อัตราเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล ให้เบิกได้ตามรายการที่กำหนด ดังต่อไปนี้ (๑) ค่ารักษาพยาบาล ยกเว้นค่ารักษาทางทันตกรรม ในเดือนหนึ่ง ให้เบิกได้เฉพาะในส่วนที่เกินร้อยละห้าของอัตราเงินเพิ่มสำหรับข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่ผู้มีสิทธิได้รับสำหรับตนเอง คู่สมรสและบุตร ในแต่ละเดือน (๒) ค่ารักษาทางทันตกรรม ให้เบิกในอัตราร้อยละห้าสิบของที่จ่ายจริงตามที่สถานพยาบาลเรียกเก็บ (๓) ค่าห้องและค่าอาหาร ยกเว้นกรณีตามข้อ ๑๓ ให้นำไปรวมเป็นค่ารักษาพยาบาล ตาม (๑) การคำนวณค่ารักษาพยาบาลตาม (๑) ให้คิดจากวันเข้ารับการรักษาพยาบาล โดยคำนวณเป็นรายเดือนตามปฏิทิน สำหรับค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นแก่การรักษาพยาบาล ให้เบิกได้ตามรายการและอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด ข้อ ๑๓ ในกรณีผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน ซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต หรือคู่สมรส หากพักห้องพิเศษเตียงเดี่ยว ให้หักร้อยละยี่สิบของค่าห้องและค่าอาหารที่จ่ายจริงก่อนนำไปรวมเป็นค่ารักษาพยาบาล ตามข้อ ๑๒ (๑) เว้นแต่ ในกรณีเห็นว่ามีเหตุผลความจำเป็นต้องพักห้องพิเศษเตียงเดี่ยว ให้เป็นดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณที่จะพิจารณาให้นำค่าห้องและค่าอาหารไปรวมเป็นค่ารักษาพยาบาลโดยไม่ต้องหักร้อยละยี่สิบ ข้อ ๑๔ ค่ายาที่จะนำมาเบิกเป็นค่ารักษาพยาบาล ต้องเป็นยารักษาโรคโดยแท้ ไม่ใช่ยาประเภทประเทืองผิว ยาบำรุงทุกชนิด ยาสระผม ครีม ยาสีฟัน เครื่องสำอาง เครื่องอาหารกระป๋อง อาหารเสริม ทั้งนี้ ไม่ว่าจะต้องใช้ตามคำสั่งแพทย์หรือไม่ก็ตาม เครื่องใช้ในการรักษาพยาบาล เช่น แก้วล้างตา แก้วตวงยา หม้อสวน หม้อนึ่ง และเครื่องมือแพทย์ต่าง ๆ แม้จะต้องใช้ตามคำแนะนำของแพทย์ก็ตาม ไม่อยู่ในข่ายที่จะนำมาเบิกเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการตรวจตาเพื่อทำแว่นตาหรือเลนส์สัมผัส ค่าแว่นตาหรือค่าเลนส์สัมผัส ไม่อยู่ในข่ายที่จะนำมาเบิกเป็นค่ารักษาพยาบาล หมวด ๓ การเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล ข้อ ๑๕ การใช้สิทธิเบิกเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตร ในกรณีผู้มีสิทธิมีคู่สมรสเป็นผู้มีสิทธิเช่นเดียวกัน ให้คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยผู้ใช้สิทธิต้องรับรองตนเองในใบเบิกเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลว่าตนเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลบุตรแต่เพียงฝ่ายเดียว ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่กรณีการหย่าโดยอนุโลม ทั้งนี้ ไม่ว่าการหย่าจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังจากที่มีการใช้สิทธิเบิกเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลไปแล้ว ข้อ ๑๖ ให้ผู้มีสิทธิเป็นผู้รับรองการมีสิทธิของตนเอง ของคู่สมรส หรือของบุตรที่อาศัยสิทธิของตน ข้อ ๑๗ การอนุมัติเบิกเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ การอนุมัติเบิกเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลของผู้มีสิทธิแต่ละคนในแต่ละครั้ง ถ้าเป็นเงินจำนวนไม่เกินห้าหมื่นบาท หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณอาจมอบอำนาจให้แก่หัวหน้าสำนักงานก็ได้ ข้อ ๑๘ การขอเบิกเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล ให้ผู้มีสิทธิยื่นใบเบิกเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานการรับเงินของสถานพยาบาล ณ สำนักงานที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งประจำ ภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับถัดจากวันที่ปรากฏในหลักฐานการรับเงิน หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้มีสิทธิไม่ประสงค์เบิกเงินช่วยเหลือรักษาพยาบาลในครั้งนั้น ข้อ ๑๙ การเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล ให้ส่วนราชการเบิกจ่ายจากงบดำเนินงานตามงบประมาณรายจ่ายของปีงบประมาณนั้น ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเบิกเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล โดยไม่เป็นไปตามระเบียบนี้หรือเกินสิทธิที่จะได้รับตามระเบียบนี้ ให้ผู้มีสิทธินำเงินส่วนที่ได้รับเกินไปหรือไม่ถูกต้องนั้นส่งคืนให้แก่สำนักงานโดยเร็ว เงินที่ส่งคืนให้แก่สำนักงานตามวรรคหนึ่ง หากเป็นเงินของปีงบประมาณปัจจุบัน ให้สำนักงานนำเข้าไว้ในงบดำเนินงานของสำนักงาน แต่ถ้าเป็นเงินของปีงบประมาณที่ผ่านมา ให้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ข้อ ๒๑ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ให้ส่วนราชการส่งรายงานการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล ตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด ให้กรมบัญชีกลางทราบภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายนของทุกปี บทเฉพาะกาล ข้อ ๒๒ ค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นก่อนที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๔ ข้อ ๒๓ ในระหว่างที่ยังมิได้กำหนดแบบและแบบพิมพ์ที่ใช้เกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลตามข้อ ๕ และข้อ ๑๘ ให้ใช้แบบและแบบพิมพ์ที่กำหนดตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๔ ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชนิกา/ปริยานุช/จัดทำ ๙ มกราคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๓๑๔ ง/หน้า ๑/๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๙
647955
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้เหมาะสมและสอดคล้องกับประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน และพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ ประกอบกับมาตรา ๑๒ ตรี มาตรา ๑๕ มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๓ มาตรา ๔๙ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๗ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงกำหนดระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ ๔ และข้อ ๕ แห่งระเบียบนี้ บัญชีหมายเลข ๒ และบัญชีหมายเลข ๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๙ แห่งระเบียบนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่มาตรา ๓ มาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓ มีผลใช้บังคับเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับศพข้าราชการและลูกจ้างประจำของทางราชการซึ่งถึงแก่ความตายในระหว่างเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๐๙ ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๕/๑ แห่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๕๐ “ข้อ ๕/๑ กรณีผู้เดินทางไปราชการถึงแก่ความตายระหว่างไปราชการโดยเหตุแห่งความตายมิได้เกิดจากการประทุษร้ายด้วยเหตุส่วนตัวหรือการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตน ให้บุคคลในครอบครัวของผู้ถึงแก่ความตายหรือผู้จัดการศพมีสิทธิเบิกค่าพาหนะในการเดินทางเพื่อไปปลงศพ หรือค่าพาหนะและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับการส่งศพกลับภายในวงเงินและเงื่อนไขดังนี้ (๑) กรณีเดินทางเพื่อไปปลงศพ ให้บุคคลในครอบครัวเบิกค่าพาหนะได้ไม่เกินสามคน และให้เบิกได้เฉพาะค่าพาหนะไปกลับเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินอัตราตามเส้นทางจากท้องที่ที่ผู้ถึงแก่ความตายรับราชการไปยังท้องที่ที่ถึงแก่ความตายตามสิทธิของผู้ถึงแก่ความตาย เว้นแต่บุคคลในครอบครัวของผู้ถึงแก่ความตายมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการสูงกว่าสิทธิของผู้ถึงแก่ความตาย ให้เบิกค่าพาหนะไปกลับตามสิทธิของผู้นั้น แต่ถ้าผู้ถึงแก่ความตายไม่มีบุคคลในครอบครัว หรือมีแต่บุคคลในครอบครัวมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้จัดการศพ ให้ผู้จัดการศพเบิกค่าพาหนะได้เพียงคนเดียว (๒) กรณีการส่งศพกลับ ให้เบิกค่าพาหนะในการส่งศพกลับได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินอัตราค่าพาหนะในเส้นทางจากท้องที่ที่ถึงแก่ความตายไปยังท้องที่ที่ผู้ถึงแก่ความตายรับราชการ และให้เบิกค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นที่เกี่ยวกับการส่งศพกลับได้เท่าที่จ่ายจริง” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความใน (๒) ของข้อ ๘ แห่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๒) ค่าเช่าที่พัก ให้เบิกตามบัญชีหมายเลข ๓ โดยจะเบิกค่าเช่าที่พักในลักษณะจ่ายจริงหรือในลักษณะเหมาจ่ายก็ได้ แต่ถ้าเป็นการเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะต้องเลือกเบิกค่าเช่าที่พักในลักษณะเดียวกันทั้งคณะ” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ ๙ แห่งระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การเดินทางโดยรถไฟ ให้เบิกค่าพาหนะเดินทางได้เท่าที่จ่ายจริง สำหรับการเดินทางโดยรถด่วนหรือรถด่วนพิเศษ ชั้นที่ ๑ นั่งนอนปรับอากาศ (บนอ.ป.) ให้เบิกได้เฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ขึ้นไป ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ขึ้นไป ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ตำแหน่งประเภทบริหาร หรือตำแหน่งระดับ ๖ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ขึ้นไป” ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความใน (๒) ของข้อ ๑๗ แห่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๒) การเดินทางไปปฏิบัติภารกิจร่วมกับหัวหน้าคณะผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ขึ้นไป ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทบริหาร หรือตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสิทธิของหัวหน้าคณะนั้น” ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของข้อ ๑๘ แห่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๓) ผู้ซึ่งเคยได้รับค่าเครื่องแต่งตัวในการเดินทางไปราชการต่างประเทศตามระเบียบนี้มาแล้ว หรือเคยได้รับค่าเครื่องแต่งตัวจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐตามกฎหมายหรือระเบียบอื่นใด ไม่ว่าจะเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ หรือเคยได้รับความช่วยเหลือค่าเครื่องแต่งตัวจากหน่วยงานใด ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีสิทธิเบิกค่าเครื่องแต่งตัวได้ เมื่อการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวครั้งใหม่มีระยะห่างจากการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวครั้งสุดท้ายที่ได้รับค่าเครื่องแต่งตัวเกินกว่าสองปีนับแต่วันที่เดินทางออกจากประเทศไทย หรือเมื่อการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวครั้งใหม่มีระยะเวลาเกินกว่าสองปีนับแต่วันที่เดินทางกลับถึงประเทศไทยสำหรับผู้ที่รับราชการประจำในต่างประเทศ” ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความในบัญชีหมายเลข ๒ บัญชีหมายเลข ๓ บัญชีหมายเลข ๖ บัญชีหมายเลข ๗ บัญชีหมายเลข ๘ และบัญชีหมายเลข ๑๐ ท้ายระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความตามบัญชีหมายเลข ๒ บัญชีหมายเลข ๓ บัญชีหมายเลข ๖ บัญชีหมายเลข ๗ บัญชีหมายเลข ๘ และบัญชีหมายเลข ๑๐ ท้ายระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บัญชีหมายเลข ๒ อัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร ในลักษณะเหมาจ่าย ข้าราชการ อัตรา (บาท : วัน : คน) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ลงมา ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ลงมา ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น หรือตำแหน่งระดับ ๘ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ลงมา หรือผู้ช่วยผู้พิพากษา หรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก ลงมา ๒๔๐ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ขึ้นไป ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทบริหาร หรือตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือน ชั้น ๔ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป ๒๗๐ บัญชีหมายเลข ๓ อัตราค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร (๑) กรณีเลือกเบิกในลักษณะจ่ายจริง ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินอัตรา ดังนี้ ข้าราชการ ห้องพักคนเดียว (บาท : วัน : คน) ห้องพักคู่ (บาท : วัน : คน) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ลงมา ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ลงมา ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น หรือตำแหน่งระดับ ๘ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ลงมา หรือผู้ช่วยผู้พิพากษา หรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ลงมา หรือข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศพันตำรวจเอก ลงมา ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว ในกรณีเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะ ให้พักรวมกันสองคนขึ้นไปต่อหนึ่งห้อง โดยให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินอัตราค่าเช่าห้องพักคู่ เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่เหมาะสมจะพักรวมกันหรือ มีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว ๑,๕๐๐ ๘๕๐ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น หรือตำแหน่งระดับ ๙ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ จะเบิกในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวหรือห้องพักคู่ก็ได้ ๒,๒๐๐ ๑,๒๐๐ - ๒ - ข้าราชการ ห้องพักคนเดียว (บาท : วัน : คน) ห้องพักคู่ (บาท : วัน : คน) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง หรือตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นสูง ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๕ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรี ขึ้นไป จะเบิกในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวหรือห้องพักคู่ก็ได้ ในกรณีเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะและ ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวข้างต้นเป็นหัวหน้าคณะ และมีความจำเป็นต้องใช้สถานที่เดียวกันกับที่พักเพื่อเป็นที่ประสานงานของคณะหรือบุคคลอื่น ให้เบิกค่าเช่าที่พักได้เพิ่มขึ้น สำหรับห้องพัก อีกห้องหนึ่งในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวหรือ จะเบิกค่าเช่าห้องชุดแทนในอัตราไม่เกินสองเท่าของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวก็ได้ ๒,๕๐๐ ๑,๔๐๐ (๒) กรณีเลือกเบิกในลักษณะเหมาจ่าย ให้เบิกได้ไม่เกินอัตรา ดังนี้ ข้าราชการ อัตรา (บาท : วัน : คน) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ลงมา ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ลงมา ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น หรือตำแหน่งระดับ ๘ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ลงมา หรือผู้ช่วยผู้พิพากษา หรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศ พันตำรวจเอก ลงมา ๘๐๐ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ขึ้นไป ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทบริหาร หรือตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือน พันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป ๑,๒๐๐ บัญชีหมายเลข ๖ อัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวและค่าใช้จ่ายอื่น (๑) กรณีเลือกเบิกในลักษณะเหมาจ่าย ให้เบิกได้ไม่เกินอัตรา ดังนี้ ข้าราชการ อัตรา (บาท : วัน : คน) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ลงมา ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ลงมา ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น หรือตำแหน่งระดับ ๘ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ลงมา หรือผู้ช่วยผู้พิพากษา หรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศ พันตำรวจเอก ลงมา ๒,๑๐๐ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ขึ้นไป ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทบริหาร หรือตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือน พันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป ๓,๑๐๐ (๒) กรณีมิได้เลือกเบิกในลักษณะเหมาจ่าย ให้เบิกค่าใช้จ่ายได้ ดังนี้ (๒.๑) ค่าอาหารและค่าเครื่องดื่มรวมทั้งค่าภาษี และค่าบริการที่โรงแรม ภัตตาคาร หรือร้านค้าเรียกเก็บจากผู้เดินทางไปราชการ ทั้งนี้ ให้เบิกเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินวันละ ๔,๕๐๐ บาทต่อคน (๒.๒) ค่าทำความสะอาดเสื้อผ้า สำหรับระยะเวลาที่เกิน ๗ วัน ให้เบิกเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินวันละ ๕๐๐ บาทต่อคน (๒.๓) ค่าใช้สอยเบ็ดเตล็ด ให้เบิกในลักษณะเหมาจ่ายไม่เกินวันละ ๕๐๐ บาทต่อคน ค่าใช้จ่ายตาม (๒.๑) – (๒.๒) ให้คิดคำนวณเบิกจ่ายในแต่ละวัน จำนวนเงินส่วนที่เหลือจ่ายในวันใดจะนำมาสมทบเบิกในวันถัดไปไม่ได้ บัญชีหมายเลข ๗ ค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว (๑) อัตราค่าเช่าที่พัก ข้าราชการ อัตราสำหรับประเทศ รัฐ เมือง (บาท : วัน : คน) ประเภท ก. ประเภท ข. ประเภท ค. ประเภท ง. ประเภท จ. ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ลงมา ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ลงมา ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น หรือตำแหน่งระดับ ๘ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ลงมา หรือผู้ช่วยผู้พิพากษา หรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศ พันตำรวจเอก ลงมา ไม่เกิน ๗,๕๐๐ ไม่เกิน ๕,๐๐๐ ไม่เกิน ๓,๑๐๐ เพิ่มขึ้นจากประเภท ก. อีกไม่เกินร้อยละ ๔๐ เพิ่มขึ้นจากประเภท ก. อีกไม่เกินร้อยละ ๒๕ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ขึ้นไป ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทบริหาร หรือตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นต่ำ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๔ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหาร ซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศ พันตำรวจเอก อัตราเงินเดือน พันตำรวจเอกพิเศษ ขึ้นไป ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ไม่เกิน ๗,๐๐๐ ไม่เกิน ๔,๕๐๐ เพิ่มขึ้นจากประเภท ก. อีกไม่เกินร้อยละ ๔๐ เพิ่มขึ้นจากประเภท ก. อีกไม่เกินร้อยละ ๒๕ /(๒) . . . - ๒ - (๒) ประเภท ก. ได้แก่ ประเทศ รัฐ เมือง ดังต่อไปนี้ ๑. แคนาดา ๒. เครือรัฐออสเตรเลีย ๓. ไต้หวัน ๔. เติร์กเมนิสถาน ๕. นิวซีแลนด์ ๖. บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ๗. ปาปัวนิวกีนี ๘. มาเลเซีย ๙. ราชรัฐโมนาโก ๑๐. ราชรัฐลักเซมเบิร์ก ๑๑. ราชรัฐอันดอร์รา ๑๒. ราชอาณาจักรกัมพูชา ๑๓. ราชอาณาจักรเดนมาร์ก ๑๔. ราชอาณาจักรนอร์เวย์ ๑๕. ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ๑๖. ราชอาณาจักรโมร็อกโก ๑๗. ราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ ๑๘. ราชอาณาจักรสวีเดน ๑๙. รัฐสุลต่านโอมาน ๒๐. โรมาเนีย ๒๑. สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ๒๒. สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย ๒๓. สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ ๒๔. สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ๒๕. สาธารณรัฐโครเอเชีย ๒๖. สาธารณรัฐชิลี ๒๗. สาธารณรัฐเช็ก ๒๘. สาธารณรัฐตุรกี ๒๙. สาธารณรัฐบัลแกเรีย ๓๐. สาธารณรัฐประชาชนจีน ๓๑. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย ๓๒. สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์ – เลสเต ๓๓. สาธารณรัฐเปรู ๓๔. สาธารณรัฐโปแลนด์ ๓๕. สาธารณรัฐฟินแลนด์ /๓๖. . . . - ๓ - ๓๖. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ๓๗. สาธารณรัฐมอริเซียส ๓๘. สาธารณรัฐมอลตา ๓๙. สาธารณรัฐโมซัมบิก ๔๐. สาธารณรัฐเยเมน ๔๑. สาธารณรัฐลิทัวเนีย ๔๒. สาธารณรัฐสโลวัก ๔๓. สาธารณรัฐสโลวีเนีย ๔๔. สาธารณรัฐออสเตรีย ๔๕. สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน ๔๖. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ๔๗. สาธารณรัฐอินเดีย ๔๘. สาธารณรัฐเอสโตเนีย ๔๙. สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ๕๐. สาธารณรัฐไอซ์แลนด์ ๕๑. สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ๕๒. สาธารณรัฐฮังการี ๕๓. สาธารณรัฐเฮลเลนิก (กรีซ) ๕๔. ฮ่องกง (๓) ประเภท ข. ได้แก่ ประเทศ รัฐ เมือง ดังต่อไปนี้ ๑. เครือรัฐบาฮามาส ๒. จอร์เจีย ๓. จาเมกา ๔. เนการาบรูไนดารุสซาลาม ๕. มาซิโดเนีย ๖. ยูเครน ๗. รัฐกาตาร์ ๘. รัฐคูเวต ๙. รัฐบาห์เรน ๑๐. รัฐอิสราเอล ๑๑. ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย ๑๒. ราชอาณาจักรตองกา ๑๓. ราชอาณาจักรฮัซไมต์จอร์แดน ๑๔. สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย ๑๕. สหภาพพม่า /๑๖. . . . - ๔ - ๑๖. สหรัฐเม็กซิโก ๑๗. สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย ๑๘. สาธารณรัฐกานา ๑๙. สาธารณรัฐแกมเบีย ๒๐. สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ (ไอเวอรี่โคส) ๒๑. สาธารณรัฐคอสตาริกา ๒๒. สาธารณรัฐคีร์กิซ ๒๓. สาธารณรัฐเคนยา ๒๔. สาธารณรัฐแคเมอรูน ๒๕. สาธารณรัฐคาซัคสถาน ๒๖. สาธารณรัฐจิบูตี ๒๗. สาธารณรัฐชาด ๒๘. สาธารณรัฐซิมบับเว ๒๙. สาธารณรัฐเซเนกัล ๓๐. สาธารณรัฐแซมเบีย ๓๑. สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน ๓๒. สาธารณรัฐไซปรัส ๓๓. สาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก ๓๔. สาธารณรัฐตูนิเซีย ๓๕. สาธารณรัฐทาจิกิสถาน ๓๖. สาธารณรัฐเนปาล ๓๗. สาธารณรัฐไนเจอร์ ๓๘. สาธารณรัฐบุรุนดี ๓๙. สาธารณรัฐเบนิน ๔๐. สาธารณรัฐเบลารุส ๔๑. สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ๔๒. สาธารณรัฐปานามา ๔๓. สาธารณรัฐมอลโดวา ๔๔. สาธารณรัฐมาลี ๔๕. สาธารณรัฐยูกันดา ๔๖. สาธารณรัฐลัตเวีย ๔๗. สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ๔๘. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ๔๙. สาธารณรัฐอาร์เจนตินา ๕๐. สาธารณรัฐอาร์เมเนีย ๕๑. สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย ๕๒. สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ /๕๓. . . . - ๕ - ๕๓. สาธารณรัฐอิรัก ๕๔. สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ๕๕. สาธารณรัฐอิสลามมอริเตเนีย ๕๖. สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ๕๗. สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน ๕๘. สาธารณรัฐแอฟริกากลาง (๔) ประเภท ค. ได้แก่ ประเทศ รัฐ เมืองอื่น ๆ นอกจากที่กำหนดในประเภท ก. ประเภท ข. ประเภท ง. และประเภท จ. (๕) ประเภท ง. ได้แก่ ประเทศ รัฐ เมือง ดังต่อไปนี้ ๑. ญี่ปุ่น ๒. สาธารณรัฐฝรั่งเศส ๓. สหพันธรัฐรัสเซีย ๔. สมาพันธรัฐสวิส ๕. สาธารณรัฐอิตาลี (๖) ประเภท จ. ได้แก่ ประเทศ รัฐ เมือง ดังต่อไปนี้ ๑. ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม ๒. ราชอาณาจักรสเปน ๓. สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ๔. สหรัฐอเมริกา ๕. สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ๖. สาธารณรัฐโปรตุเกส ๗. สาธารณรัฐสิงคโปร์ บัญชีหมายเลข ๘ ค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว (๑) อัตราค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับข้าราชการ ในลักษณะเหมาจ่าย ข้าราชการ อัตรา (บาท : คน) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ หรือตำแหน่งระดับ ๕ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือผู้ช่วยผู้พิพากษา หรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี ลงมา หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจตรี ลงมา ๗,๕๐๐ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ขึ้นไป ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ขึ้นไป ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ตำแหน่งประเภทบริหาร หรือตำแหน่งระดับ ๖ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ขึ้นไป ๙,๐๐๐ (๒) อัตราค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับคู่สมรส ให้เบิกได้ในอัตราเดียวกับข้าราชการตาม (๑) บัญชีหมายเลข ๑๐ ค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ (๑) อัตราค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ ในลักษณะเหมาจ่าย ผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ อัตราสำหรับประเทศ (บาท : คน) ประเภท ก. ประเภท ข. ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ หรือตำแหน่งระดับ ๕ ลงมา หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือผู้ช่วย ผู้พิพากษา หรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี ลงมา หรือข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศพันตำรวจตรีลงมา คู่สมรส บุตร ๔๐,๐๐๐ ๒๕,๐๐๐ ๑๔,๐๐๐ ๓๐,๐๐๐ ๑๘,๐๐๐ ๙,๐๐๐ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ขึ้นไป ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น หรือตำแหน่งระดับ ๖ ถึงระดับ ๙ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการ ตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ ถึงชั้น ๓ ขั้นต่ำ หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ถึงชั้น ๔ หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ถึงยศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ หรือนาวาอากาศเอกพิเศษ หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโท ถึงพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ คู่สมรส บุตร ๔๕,๐๐๐ ๓๐,๐๐๐ ๑๕,๐๐๐ ๓๒,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ - ๒ - ผู้เดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ อัตราสำหรับประเทศ (บาท : คน) ประเภท ก. ประเภท ข. ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง หรือตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการ ซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ขั้นสูง ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๕ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพลตำรวจตรีขึ้นไป คู่สมรส บุตร ๖๐,๐๐๐ ๔๐,๐๐๐ ๑๘,๐๐๐ ๔๐,๐๐๐ ๓๐,๐๐๐ ๑๕,๐๐๐ (๒) ประเภท ก. ได้แก่ ประเทศอื่น ๆ นอกจากที่กำหนดไว้ในประเภท ข. (๓) ประเภท ข. ได้แก่ ประเทศดังต่อไปนี้ ๑. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ๒. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ๓. ราชอาณาจักรกัมพูชา ๔. สหภาพพม่า ๕. มาเลเซีย ๖. สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ๗. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ๘. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ๙. สาธารณรัฐสิงคโปร์ ๑๐. เนการาบรูไนดารุซาลาม (๔) ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งตาม (๑) ยกเว้นคู่สมรส และบุตร ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้เครื่องแต่งตัวราตรีสโมสร (White tie) หรือเครื่องแต่งตัวมอร์นิ่งโค้ต เพราะมีหน้าที่ต้องเข้างานพิธีต่าง ๆ ตามประเพณีของประเทศนั้น ให้ปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดเป็นผู้ใช้ดุลพินิจพิจารณาอนุมัติให้เบิกค่าเครื่องแต่งตัวดังกล่าวอย่างละ ๑ ชุด เพิ่มขึ้นอีกได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินชุดละ ๑๕,๐๐๐ บาท สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวงให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ปณตภร/ผู้จัดทำ ๘ มกราคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑/๑๑ เมษายน ๒๕๕๔