sysid
stringlengths 1
6
| title
stringlengths 8
870
| txt
stringlengths 0
257k
|
---|---|---|
612104 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2552
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากเครือรัฐออสเตรเลีย
พ.ศ. ๒๕๕๒[๑]
ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปที่นำเข้าเป็นการค้าจากเครือรัฐออสเตรเลียเสร็จสิ้นแล้ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช
ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากเครือรัฐออสเตรเลียเข้ามาในราชอาณาจักร
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ชนิดพืช
หัวมันฝรั่ง
(potato tuber) Solanum tuberosum
ข้อ ๒
ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง
รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปและดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่งจากเครือรัฐออสเตรเลียปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
๓.๑
ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร
๓.๒
เครือรัฐออสเตรเลีย คือ Department of Agriculture, Fisheries and Forestry, Australian Quarantine and Inspection Service (หลังจากนี้ต่อไปจะอ้างถึงว่าเป็น
DAFF-AQIS)
ข้อ ๔
การขออนุญาตนำเข้า
๔.๑
ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร
๔.๒
ผู้ที่มีสิทธิยื่นคำขอใบอนุญาตนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปต้องดำเนินธุรกิจโรงงานแปรรูปมันฝรั่ง
๔.๓
ผู้ยื่นคำขอจะได้รับใบอนุญาตนำเข้าถ้าโรงงานแปรรูปมันฝรั่งมีอุปกรณ์พร้อมสำหรับจัดการกับดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่ง
ส่วนของหัวมันฝรั่งที่คัดทิ้ง และน้ำล้างหัวมันฝรั่งตามที่ระบุไว้ในข้อ ๖
ได้อย่างปลอดภัย
ข้อ ๕
วิธีการขนส่ง
หัวมันฝรั่งต้องส่งมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางเรือหรือทางอากาศ
ข้อ ๖
การจดทะเบียนโรงงานแปรรูปมันฝรั่ง
๖.๑
หัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปต้องถูกแปรรูปในโรงงานแปรรูปมันฝรั่งที่จดทะเบียนและรับรองโดยกรมวิชาการเกษตร
เจ้าหน้าที่กักกันพืชต้องตรวจสอบโรงงานแปรรูปมันฝรั่งว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามข้อกำหนด
การรับรองโรงงานแปรรูปมันฝรั่งขึ้นอยู่กับการดำเนินการของบริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนด
ดังนี้
๖.๑.๑
โรงงานแปรรูปมันฝรั่งต้องมีอุปกรณ์ซึ่งเหมาะสมสำหรับการทำความสะอาดและการกำจัดเชื้อ
๖.๑.๒
ต้องนำน้ำจากเครื่องล้างและเครื่องปอกหัวมันฝรั่งไปจัดการโดยระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้รับการยอมรับหรือระบบกำจัดของเสียอื่น
ๆ ที่ได้รับการยอมรับ
๖.๑.๓
ต้องกำจัดดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่งและเศษเหลือต่าง ๆ ของมันฝรั่งด้วยวิธีการที่เหมาะสม
๖.๑.๔
บริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปต้องเก็บรักษาข้อมูลจำนวนหัวมันฝรั่งที่นำเข้าและแปรรูป
และต้องไม่นำหัวมันฝรั่งไปทำการแปรรูปที่โรงงานอื่นโดยไม่ผ่านความเห็นชอบก่อนจากกรมวิชาการเกษตร
๖.๒
ต้องตรวจสอบโรงงานแปรรูปหัวมันฝรั่งเป็นประจำทุกปีว่าได้ปฏิบัติตามข้อกำหนด
โดยบริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
๖.๓
โรงงานแปรรูปหัวมันฝรั่งต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดโดยเคร่งครัด
ใบอนุญาตนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจะถูกเพิกถอนถ้าไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด
ข้อ ๗
แหล่งผลิต
๗.๑
บางพื้นที่ในรัฐวิกตอเรีย (Victoria)
และรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย (Western Australia)
ในเครือรัฐออสเตรเลียพบว่ามีการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง golden nematode, Globodera rostochiensis
๗.๒
หัวมันฝรั่งจากทุกรัฐในเครือรัฐออสเตรเลียได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย
ยกเว้นหัวมันฝรั่งจากพื้นที่ดังต่อไปนี้ห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทย
๗.๒.๑
หัวมันฝรั่งจากพื้นที่ซึ่งประกาศเป็นเขตควบคุมไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง
๗.๒.๒
หัวมันฝรั่งจากแปลงปลูกซึ่งผลการตรวจสอบดินพบไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง
ข้อ ๘
ข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืช
๘.๑
หัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปต้องปลอดจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้
๘.๒
เพื่อลดความเสี่ยงของไส้เดือนฝอยและโรคพืชที่ทำลายบนหัวมันฝรั่ง ต้องดำเนินมาตรการสุขอนามัยพืชกับหัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง
ดังนี้
๘.๒.๑
ต้องล้างหัวมันฝรั่งด้วยน้ำให้สะอาดจนกระทั่งหัวมันฝรั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
หรือ
๘.๒.๒
กรณีการนำเข้าหัวมันฝรั่งที่ไม่ล้างน้ำ
ต้องดำเนินการปัดดินบนหัวมันฝรั่งจนกระทั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
ดินที่มีลักษณะเป็นผงติดมากับหัวมันฝรั่งต้องมีน้ำหนักไม่เกิน ๑๐๐ กรัม
ต่อหัวมันฝรั่งน้ำหนัก ๕๐ กิโลกรัม (เท่ากับร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก)
สำหรับดินที่มีลักษณะเป็นก้อนเกาะติดบนหัวมันฝรั่ง
หัวมันฝรั่งซึ่งมีดินลักษณะเป็นก้อนเกาะติดมาครอบคลุมพื้นที่ผิวเกินกว่าร้อยละ ๒๐
ต้องมีไม่เกินจำนวน ๓๐ หัว จากตัวอย่างหัวมันฝรั่งจำนวน ๖๐๐ หัว (เท่ากับร้อยละ ๕)
นอกจากนี้แล้ว ต้องควบคุมการแตกหน่อบนหัวมันฝรั่งด้วยสารยับยั้งความงอก
ข้อ ๙
การรับรองสุขอนามัยพืช
๙.๑
ต้องแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชมาพร้อมกับสินค้าหัวมันฝรั่งจากเครือรัฐออสเตรเลียทุกครั้งที่มีการนำเข้า
และต้องระบุรัฐที่เป็นแหล่งกำเนิดของหัวมันฝรั่ง
๙.๒
ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
The potatoes in this consignment were produced in Australia in accordance with the conditions governing entry of potatoes for processing to Thailand and inspected and found to be free of quarantine pests.
และ
The potatoes in this consignment have been washed.
หรือ
The potatoes in this consignment were treated with a sprout inhibitor.
๙.๓
ต้องบันทึกหมายเลขตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางเรือเท่านั้น)
บนใบรับรองสุขอนามัยพืช
ข้อ ๑๐
การประเมินกระบวนการส่งออก
๑๐.๑
การส่งออกหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากเครือรัฐออสเตรเลียมายังราชอาณาจักรไทย
จะเริ่มได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น
โดยเครือรัฐออสเตรเลียเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
๑๐.๒
ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า
กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในเครือรัฐออสเตรเลีย
ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปได้อีกต่อไป
ถ้ากรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการส่งออกมีความจำเป็น
โดยเครือรัฐออสเตรเลียเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สมชาย ชาญณรงค์กุล
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
รายชื่อศัตรูพืชกักกันของหัวมันฝรั่ง Solanum tuberosum เพื่อการแปรรูปและดินจากเครือรัฐออสเตรเลียแนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ.
๒๕๕๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒
พิมลกร/ปรับปรุง
๘ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๘ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง/หน้า ๕๖/๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ |
612101 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2552
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากเครือรัฐออสเตรเลีย
พ.ศ. ๒๕๕๒[๑]
ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของหัวพันธุ์มันฝรั่งที่นำเข้าเพื่อการค้าจากเครือรัฐออสเตรเลียเสร็จสิ้นแล้ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช
ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำหัวพันธุ์มันฝรั่งจากเครือรัฐออสเตรเลียเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการเพาะปลูก
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ชนิดพืช
หัวพันธุ์มันฝรั่ง
(seed potato) Solanum tuberosum
ข้อ ๒
ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง
๒.๑
รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งและดินที่ติดมากับหัวพันธุ์มันฝรั่งจากเครือรัฐออสเตรเลีย
ปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
๒.๒
ศัตรูพืชกักกันของหัวพันธุ์มันฝรั่งที่ต้องมีการจัดการความเสี่ยง คือ
๒.๒.๑
golden nematode, Globodera rostochiensis
ข้อ ๓
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
๓.๑
ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร
๓.๒
เครือรัฐออสเตรเลีย คือ Department of Agriculture, Fisheries and Forestry, Australian Quarantine and Inspection Service (หลังจากนี้ต่อไปจะอ้างถึงว่าเป็น
DAFF-AQIS)
ข้อ ๔
ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง
การตรวจสอบสำหรับการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งและการรับรองสุขอนามัยพืชต้องดำเนินการโดยห้องปฏิบัติการของหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหรือห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรอง
ข้อ ๕ การขออนุญาตนำเข้า
ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร
ข้อ ๖
วิธีการขนส่ง
หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องส่งมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางเรือหรือทางอากาศ
ข้อ ๗
แหล่งผลิต
๗.๑
หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องมาจากแหล่งผลิตในเครือรัฐออสเตรเลียซึ่ง DAFF-AQIS
กำหนดว่าเป็นแหล่งผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย
และกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแหล่งผลิตนั้นก่อนการส่งออก และ
๗.๒
หัวพันธุ์มันฝรั่งเฉพาะจากแหล่งผลิตในรัฐต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย
๗.๒.๑
รัฐวิกตอเรีย (Victoria)
๗.๒.๒
รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย (Western Australia)
๗.๒.๓
รัฐเซาท์ออสเตรเลีย (South Australia)
ข้อ ๘
การผลิตและการรับรอง
๘.๑
หัวพันธุ์มันฝรั่งจากเครือรัฐออสเตรเลียต้องผ่านการตรวจรับรองตามข้อกำหนดของหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองและระบบการตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเป็นที่ยอมรับ
หน่วยงานเหล่านี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งเพื่อพิสูจน์และรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย
ภายใต้ระบบการตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเป็นที่ยอมรับ
เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดสุขอนามัยพืชซึ่งระบุไว้ในประกาศฉบับนี้ ได้แก่
๘.๑.๑
หน่วยงาน Victorian Certified Seed Potato Authority Inc. ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐวิกตอเรียและรัฐเซาท์ออสเตรเลีย
๘.๑.๒
หน่วยงาน AGWEST Plant Laboratories
ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย
๘.๒
ยกเว้นกรณีที่ได้ระบุไว้
การผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องผ่านการตรวจรับรองให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในมาตรฐานแห่งชาติว่าด้วยการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่ง
(National Standard for Certification of Seed Potatoes) ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวนี้ผ่านการเห็นชอบแล้วจาก AUSVEG
๘.๓
หน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองจะออกบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งต่อเมื่อหัวพันธุ์มันฝรั่งเป็นไปตามข้อกำหนดสุขอนามัยพืชซึ่งระบุไว้ในประกาศฉบับนี้เท่านั้น
หมายเลขการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องระบุไว้บนบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งและใบรับรองสุขอนามัยพืช
ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างรวดเร็วกรณีที่พบว่าหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้ามีปัญหา
ข้อ ๙
ข้อกำหนดสำหรับดิน
๙.๑
ต้องจัดการกับดินให้หัวพันธุ์มันฝรั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
๙.๒
ดินที่มีลักษณะเป็นผงติดมากับหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องมีน้ำหนักไม่เกิน ๑๐๐ กรัม
ต่อหัวพันธุ์มันฝรั่งน้ำหนัก ๕๐ กิโลกรัม (เท่ากับร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก)
สำหรับดินที่มีลักษณะเป็นก้อนเกาะติดบนหัวพันธุ์มันฝรั่ง
หัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งมีดินลักษณะเป็นก้อนเกาะติดมาครอบคลุมพื้นที่ผิวเกินกว่าร้อยละ
๒๐ ต้องมีไม่เกินจำนวน ๓๐ หัว จากตัวอย่างหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวน ๖๐๐ หัว
(เท่ากับร้อยละ ๕)
ข้อ ๑๐
ข้อกำหนดสำหรับไส้เดือนฝอยศัตรูพืชกักกัน
๑๐.๑
บางพื้นที่ในรัฐวิกตอเรียและรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียในเครือรัฐออสเตรเลียพบว่ามีการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง
ได้แก่ golden nematode, Globodera rostochiensis
๑๐.๒
ห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งที่มาจากพื้นที่ซึ่งประกาศเป็นเขตควบคุมไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในเครือรัฐออสเตรเลีย
และห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งผลการตรวจสอบดินพบไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง
๑๐.๓
รัฐซึ่งพบการระบาดของไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งต้องมีการบังคับใช้กฎระเบียบด้านสุขอนามัยพืช
เพื่อห้ามหรือจำกัดการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายพืชหรือสิ่งอื่นใดซึ่งอาจทำให้ไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งเกิดการแพร่กระจายออกไปจากพื้นที่ที่มีการระบาด
๑๐.๔
ต้องดำเนินการตรวจไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในดินอย่างเป็นทางการในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งก่อนเริ่มปลูกหรือก่อนเก็บเกี่ยวมันฝรั่ง
เฉพาะหัวพันธุ์มันฝรั่งปลูกในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งปลอดจากไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งเท่านั้นจะได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย
การรับรองไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องเป็นไปตามวิธีการซึ่งเห็นพ้องร่วมกัน
นอกจากนี้
ต้องตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างดินในห้องปฏิบัติการของหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหรือห้องปฏิบัติการซึ่งได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรอง
๑๐.๕
นอกจากไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งแล้ว
หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องมาจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งปลอดจากไส้เดือนฝอยศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้
โดยอาศัยข้อมูลจากการเฝ้าระวังอย่างเป็นทางการ
ข้อ ๑๑
ข้อกำหนดสำหรับโรคพืชกักกันซึ่งมีสาเหตุมาจากรา
ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรค
powdery scab ซึ่งมีสาเหตุจากรา Spongospora subterranea
ต้องมีหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวนไม่เกินร้อยละ ๒
ซึ่งแสดงอาการของโรคที่สามารถตรวจพบได้ ระดับของโรค powdery scab ซึ่งแสดงอาการที่สามารถตรวจพบได้คือ จำนวน ๕ รอยแผลหรือมากกว่าต่อหัว
ข้อ ๑๒
ข้อกำหนดสำหรับโรคพืชกักกันซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัส
๑๒.๑
หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องปลูกในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองได้ตรวจอาการของโรคที่เกิดจากไวรัสบนต้นมันฝรั่งด้วยสายตาในระหว่างช่วงฤดูปลูกตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานแห่งชาติว่าด้วยการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่ง
และต้องปลอดจากโรคมันฝรั่งซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัสศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
นอกจากนี้
ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรคซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัสทุกชนิดนอกเหนือจากไวรัสศัตรูพืชกักกันในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องไม่เกินร้อยละ
๐.๑
๑๒.๒
นอกเหนือจากการตรวจอาการของโรคที่เกิดจากไวรัสบนต้นมันฝรั่งด้วยสายตาแล้ว
ต้องตรวจวิเคราะห์การทำลายของโรค Potato virus Y (PVY) และ Potato leaf roll virus (PLRV) บนหัวพันธุ์มันฝรั่งในห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองตามวิธีการซึ่งเห็นพ้องร่วมกัน
ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรค PVY และ PLRV บนหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงปลูกที่กำหนดต้องไม่เกินร้อยละ ๔ ปัจจุบันวิธีการซึ่งเห็นพ้องร่วมกันสำหรับตรวจหาการทำลายของโรค
PVY และ PLRV จากใบและหน่อมีรายละเอียด
ดังนี้
๑๒.๒.๑
ตรวจจากใบ :
เก็บรวบรวมใบมันฝรั่งจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งก่อนการฉีดพ่นสารเคมีทำลายต้นมันฝรั่ง
และตรวจวิเคราะห์ใบด้วยเทคนิค ELISA ตามกระบวนการ ดังต่อไปนี้
(ก)
วิธีการตรวจไวรัสประกอบด้วยการเก็บใบมันฝรั่งจำนวน ๓๐๐ ใบ
จากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่กำหนด (ต่อพื้นที่แปลงผลิตหัวพันธุ์ ๑๐ เฮกแท)
มัดรวมกัน ๑๕ มัด มัดละ ๒๐ ใบ
(ข)
สำหรับการตรวจหาระดับการทำลายของไวรัสที่น้อยกว่าร้อยละ
๔ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ ๙๕ นั้น
หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องถูกปฏิเสธการส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยหากจำนวน ๖
การทดสอบจากจำนวน ๑๕ การทดสอบแสดงผลบวก
๑๒.๒.๒
ตรวจจากหน่อ : ตรวจวิเคราะห์หน่อด้วยเทคนิค ELISA ตามกระบวนการ ดังต่อไปนี้
(ก)
สุ่มหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวน ๓๐๐ หัว จากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่กำหนด
(ต่อพื้นที่แปลงผลิตหัวพันธุ์ ๑๐ เฮกแท)
ในระหว่างการเก็บเกี่ยวหรือจากสินค้าส่งออก เฉือนตามันฝรั่งและนำไปเพาะไว้ในโรงเรือน
(ข)
สุ่มหน่อจากหัวพันธุ์มันฝรั่งแยกรวมกันเป็น ๑๕ กลุ่ม แต่ละกลุ่มมี ๒๐ หน่อ
สำหรับการตรวจหาระดับการทำลายของไวรัสที่น้อยกว่าร้อยละ ๔
ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ ๙๕ นั้น
หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องถูกปฏิเสธการส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยหากจำนวน ๖
การทดสอบจากจำนวน ๑๕ การทดสอบแสดงผลบวก
๑๒.๓
ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองต้องเก็บรักษาใบรายงานผลการตรวจการทำลายของโรค PVY และ PLRV
บนหัวพันธุ์มันฝรั่งในห้องปฏิบัติการและต้องส่งมอบให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ
ใบรายงานผลการตรวจควรมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการตรวจสอบย้อนกลับ เช่น เกษตรกร
ผู้ส่งออก หมายเลขการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่ง จำนวนตัวอย่างที่ตรวจ และผลการตรวจ
เป็นต้น
ข้อ ๑๓
ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก
๑๓.๑
ต้องบรรจุหัวพันธุ์มันฝรั่งน้ำหนัก ๒๕ - ๕๐ กิโลกรัม ในกระสอบ ซึ่งต้องเป็นกระสอบใหม่และปิดปากกระสอบเมื่อบรรจุหัวพันธุ์มันฝรั่งแล้ว
๑๓.๒
ต้องติดบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งบนกระสอบบรรจุหัวพันธุ์มันฝรั่ง รายละเอียดของฉลากบนบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของ
DAFF-AQIS
ข้อ ๑๔
การตรวจส่งออก
๑๔.๑
หัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเป็นสินค้าที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องผ่านการตรวจของเจ้าหน้าที่ก่อนหรือระหว่างการขนถ่ายช่วงสุดท้ายของการขนส่ง
เมื่อดำเนินการตรวจเสร็จสิ้นแล้วต้องปิดตู้และปิดผนึกตู้ขนส่งสินค้าโดยทันที
๑๔.๒
เจ้าหน้าที่ต้องออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับหัวพันธุ์มันฝรั่ง
ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้เท่านั้น
ข้อ ๑๕
การรับรองสุขอนามัยพืช
๑๕.๑
ต้องแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชมาพร้อมกับสินค้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากเครือรัฐออสเตรเลียทุกครั้งที่มีการนำเข้า
และต้องระบุรัฐที่เป็นแหล่งกำเนิดของหัวพันธุ์มันฝรั่ง
๑๕.๒
ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
The seed potatoes in this consignment were produced in Australia in accordance with the conditions governing entry of seed potatoes to Thailand.
๑๕.๓
ต้องบันทึกหมายเลขตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางเรือเท่านั้น)
และหมายเลขการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งของหัวพันธุ์มันฝรั่งในแต่ละตู้ขนส่งสินค้าบนใบรับรองสุขอนามัยพืช
ข้อ ๑๖
การตรวจนำเข้า
๑๖.๑
เมื่อหัวพันธุ์มันฝรั่งมาถึงยังด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย
การตรวจหัวพันธุ์มันฝรั่งจะดำเนินการหลังจากที่มีการตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้าแล้ว
๑๖.๒
กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งกลับหรือสั่งให้ทำลายซึ่งหัวพันธุ์มันฝรั่ง โดยผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
ในกรณีที่การรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งไม่เป็นไปตามข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืชหรือผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าชำรุดหรือเสียหาย
๑๖.๓
ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
หรือตรวจพบว่าเกินกว่าระดับที่ยอมรับได้ในระหว่างการตรวจนำเข้า หัวพันธุ์มันฝรั่งดังกล่าวต้องถูกส่งกลับหรือถูกทำลายโดยผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งให้ DAFF-AQIS ทราบถึงการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด และขึ้นอยู่กับสภาวการณ์
กรมวิชาการเกษตรอาจระงับการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากกองนั้น แปลงผลิต รัฐ หรือทั้งประเทศ
๑๖.๔
DAFF-AQIS ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข
กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้าเมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุของการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดและได้มีการดำเนินการแก้ไขแล้วจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร
๑๖.๕
ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ยังคงมีชีวิตและไม่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ซึ่งมีศักยภาพสำคัญด้านกักกันพืชต่อราชอาณาจักรไทย
ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนหัวพันธุ์มันฝรั่งด้วยวิธีการที่เหมาะสม
(ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้หยุดการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราว
จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ
๑๖.๖
ถึงแม้ว่าหัวพันธุ์มันฝรั่งจะได้รับการตรวจปล่อยให้นำออกไปจากด่านนำเข้าแล้ว ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อจากหลักฐานว่าหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้าจากบางแหล่งผลิตซึ่งอาจมีศัตรูพืชกักกันติดมาด้วย
หัวพันธุ์มันฝรั่งจะถูกสั่งระงับไม่ให้นำไปปลูกและต้องถูกดำเนินมาตรการทางสุขอนามัยพืชที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูพืชกักกันแพร่กระจายออกไปภายใต้คำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร
ผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินมาตรการดังกล่าวนั้น
๑๖.๗
ผู้นำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องส่งรายละเอียดผู้ปลูกและพื้นที่ที่ปลูกหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้าแก่กรมวิชาการเกษตรทันทีเมื่อได้รับการร้องขอ
นอกจากนี้ ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจมีศัตรูพืชกักกันของมันฝรั่งในแปลงปลูกมันฝรั่ง
เจ้าหน้าที่กักกันพืชต้องดำเนินการสำรวจแปลงปลูกมันฝรั่งโดยทันที
ผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการสำรวจดังกล่าวนั้น
ข้อ ๑๗
การประเมินกระบวนการส่งออก
๑๗.๑
หัวพันธุ์มันฝรั่งจากแหล่งผลิตตามที่ระบุไว้ในข้อ ๗.๒ ในเครือรัฐออสเตรเลียได้ผ่านการรับรองแล้วจากกรมวิชาการเกษตรให้ส่งออกหัวพันธุ์มันฝรั่งมายังราชอาณาจักรไทยการส่งออกหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแหล่งผลิตอื่นซึ่งยังไม่ได้รับการรับรองนั้นจะเริ่มได้หลังจากกรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกหัวพันธุ์มันฝรั่งแล้วเท่านั้น
โดยเครือรัฐออสเตรเลียเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
๑๗.๒
ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า
กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในเครือรัฐออสเตรเลียก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งได้อีกต่อไป
ถ้ากรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น
โดยเครือรัฐออสเตรเลียเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สมชาย ชาญณรงค์กุล
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
รายชื่อศัตรูพืชกักกันของหัวพันธุ์มันฝรั่งและดินจากเครือรัฐออสเตรเลีย
แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง
เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒
พิมลกร/ปรับปรุง
๘ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๘ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง/หน้า ๔๘/๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ |
612098 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคจากสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2552
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
เงื่อนไขการนำหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคจากสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. ๒๕๕๒[๑]
ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคที่นำเข้าเพื่อการค้าจากสหรัฐอเมริกาเสร็จสิ้นแล้ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช
ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคจากสหรัฐอเมริกาเข้ามาในราชอาณาจักร
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ชนิดพืช
หัวมันฝรั่ง
(potato tuber) Solanum tuberosum
ข้อ ๒
ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง
รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคและดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกา
ปรากฎตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
๓.๑
ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร
๓.๒
สหรัฐอเมริกา คือ United States Department of Agriculture, Animal and Plant Health Inspection Service (หลังจากนี้ต่อไปจะอ้างถึงว่าเป็น
USDA-APHIS)
ข้อ ๔
การขออนุญาตนำเข้า
ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร
ข้อ ๕
วิธีการขนส่ง
หัวมันฝรั่งต้องส่งมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางเรือหรือทางอากาศ
ข้อ ๖
แหล่งผลิต
๖.๑
บางพื้นที่ในรัฐนิวยอร์ก (New York) และ ไอดาโฮ (Idaho) ในสหรัฐอเมริกาพบว่ามีการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง
pale cyst nematode, Globodera pallidae และ
golden nematode, Globodera rostochiensis
๖.๒
หัวมันฝรั่งจากทุกรัฐในสหรัฐอเมริกาได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย
ยกเว้นหัวมันฝรั่งจากพื้นที่ดังต่อไปนี้ ห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทย
๖.๒.๑
หัวมันฝรั่งจากพื้นที่ซึ่งประกาศเป็นเขตควบคุมไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง
๖.๒.๒
หัวมันฝรั่งจากแปลงปลูกซึ่งผลการตรวจสอบดินพบไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง
ข้อ ๗
ข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืช
๗.๑
หัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการบริโภคต้องปลอดจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้
๗.๒
เพื่อลดความเสี่ยงของไส้เดือนฝอยและโรคพืชที่ทำลายบนหัวมันฝรั่ง
ต้องล้างหัวมันฝรั่งด้วยน้ำให้สะอาดจนกระทั่งหัวมันฝรั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
ข้อ ๘
การรับรองสุขอนามัยพืช
๘.๑
ต้องแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชมาพร้อมกับสินค้าหัวมันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกาทุกครั้งที่มีการนำเข้า
และต้องระบุรัฐที่เป็นแหล่งกำเนิดของหัวมันฝรั่ง
๘.๒
ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
The potatoes in this consignment were produced in the United States in accordance with the conditions governing entry of potatoes for consumption to Thailand and inspected and found to be free of quarantine pests. และ The potatoes in this consignment have been washed.
๘.๓
ต้องบันทึกหมายเลขตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางเรือเท่านั้น)
บนใบรับรองสุขอนามัยพืช
ข้อ ๙
การประเมินกระบวนการส่งออก
๙.๑
การส่งออกหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคจากสหรัฐอเมริกามายังราชอาณาจักรไทยจะเริ่มได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น
โดยสหรัฐอเมริกาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
๙.๒
ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า
กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในสหรัฐอเมริกา
ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคได้อีกต่อไป
ถ้ากรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น
โดยสหรัฐอเมริกาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สมชาย ชาญณรงค์กุล
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคและดินจากสหรัฐอเมริกา
แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง
เงื่อนไขนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคจากสหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๕๕๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒
พิมลกร/ปรับปรุง
๘ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๘ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง/หน้า ๔๕/๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ |
612096 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2552
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. ๒๕๕๒[๑]
ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปที่นำเข้าเพื่อการค้าจากสหรัฐอเมริกาเสร็จสิ้นแล้ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา
๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช
ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากสหรัฐอเมริกาเข้ามาในราชอาณาจักร
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ชนิดพืช
หัวมันฝรั่ง
(potato tuber) Solanum tuberosum
ข้อ ๒ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง
รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งและดินที่ติดมากับหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกา
ปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ หน่วยงานที่รับผิดชอบ
๓.๑
ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร
๓.๒
สหรัฐอเมริกา คือ United States Department of Agriculture, Animal and Plant Health Inspection Service (หลังจากนี้ต่อไปจะอ้างถึงว่าเป็น
USDA-APHIS)
ข้อ ๔ การขออนุญาตนำเข้า
๔.๑
ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร
๔.๒
ผู้ที่มีสิทธิยื่นคำขอใบอนุญาตนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปต้องดำเนินธุรกิจโรงงานแปรรูปมันฝรั่ง
๔.๓
ผู้ยื่นคำขอจะได้รับใบอนุญาตนำเข้า
ถ้าโรงงานแปรรูปมันฝรั่งมีอุปกรณ์พร้อมสำหรับจัดการกับดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่ง
ส่วนของหัวมันฝรั่งที่คัดทิ้ง และน้ำล้างหัวมันฝรั่ง ตามที่ระบุไว้ในข้อ ๖
ได้อย่างปลอดภัย
ข้อ ๕ วิธีการขนส่ง
หัวมันฝรั่งต้องส่งมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทย
ในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางเรือหรือทางอากาศ
ข้อ ๖ การจดทะเบียนโรงงานแปรรูปมันฝรั่ง
๖.๑
หัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปต้องถูกแปรรูปในโรงงานแปรรูปมันฝรั่งที่จดทะเบียนและรับรองโดยกรมวิชาการเกษตร
เจ้าหน้าที่กักกันพืชต้องตรวจสอบโรงงานแปรรูปมันฝรั่งว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามข้อกำหนด
การรับรองโรงงานแปรรูปมันฝรั่งขึ้นอยู่กับการดำเนินการของบริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนด
ดังนี้
๖.๑.๑
โรงงานแปรรูปมันฝรั่งต้องมีอุปกรณ์ซึ่งเหมาะสมสำหรับการทำความสะอาดและการกำจัดเชื้อ
๖.๑.๒
ต้องนำน้ำจากเครื่องล้างและเครื่องปอกหัวมันฝรั่งไปจัดการโดยระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้รับการยอมรับ
หรือระบบกำจัดของเสียอื่น ๆ ที่ได้รับการยอมรับ
๖.๑.๓
ต้องกำจัดดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่งและเศษเหลือต่าง ๆ
ของมันฝรั่งด้วยวิธีการที่เหมาะสม
๖.๑.๔
บริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปต้องเก็บรักษาข้อมูลจำนวนหัวมันฝรั่งที่นำเข้าและแปรรูป
และต้องไม่นำหัวมันฝรั่งไปทำการแปรรูปที่โรงงานอื่น
โดยไม่ผ่านความเห็นชอบก่อนจากกรมวิชาการเกษตร
๖.๒
ต้องตรวจสอบโรงงานแปรรูปหัวมันฝรั่งเป็นประจำทุกปีว่าได้ปฏิบัติตามข้อกำหนด
โดยบริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
๖.๓
โรงงานแปรรูปหัวมันฝรั่งต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดโดยเคร่งครัด
ใบอนุญาตนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจะถูกเพิกถอน
ถ้าไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด
ข้อ ๗ แหล่งผลิต
๗.๑
บางพื้นที่ในรัฐนิวยอร์ก (New York) และไอดาโฮ
(Idaho) ในสหรัฐอเมริกาพบว่ามีการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง pale cyst nematode, Globodera pallidae และ golden nematode, Globodera rostochiensis
๗.๒
หัวมันฝรั่งจากทุกรัฐในสหรัฐอเมริกาได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย
ยกเว้นหัวมันฝรั่งจากพื้นที่ดังต่อไปนี้ ห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทย
๗.๒.๑
หัวมันฝรั่งจากพื้นที่ซึ่งประกาศเป็นเขตควบคุมไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง
๗.๒.๒
หัวมันฝรั่งจากแปลงปลูกซึ่งผลการตรวจสอบดินพบไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง
ข้อ ๘ ข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืช
๘.๑
หัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูป
ต้องปลอดจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้
๘.๒
เพื่อลดความเสี่ยงของไส้เดือนฝอยและโรคพืชที่ทำลายบนหัวมันฝรั่ง ต้องดำเนินมาตรการสุขอนามัยพืชกับหัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง
ดังนี้
๘.๒.๑
ต้องล้างหัวมันฝรั่งด้วยน้ำให้สะอาดจนกระทั่งหัวมันฝรั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
หรือ
๘.๒.๒
กรณีการนำเข้าหัวมันฝรั่งที่ไม่ล้างน้ำ
ต้องดำเนินการปัดดินบนหัวมันฝรั่งจนกระทั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
ดินที่มีลักษณะเป็นผงติดมากับหัวมันฝรั่งต้องมีน้ำหนักไม่เกิน ๑๐๐ กรัม
ต่อหัวมันฝรั่งน้ำหนัก ๕๐ กิโลกรัม (เท่ากับร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก) สำหรับดินที่มีลักษณะเป็นก้อนเกาะติดบนหัวมันฝรั่ง
หัวมันฝรั่งซึ่งมีดินลักษณะเป็นก้อนเกาะติดมาครอบคลุมพื้นที่ผิวเกินกว่าร้อยละ ๒๐
ต้องมีไม่เกินจำนวน ๓๐ หัว จากตัวอย่างหัวมันฝรั่งจำนวน ๖๐๐ หัว (เท่ากับร้อยละ ๕)
นอกจากนี้แล้วต้องควบคุมการแตกหน่อบนหัวมันฝรั่งด้วยสารยับยั้งความงอก
ข้อ ๙ การรับรองสุขอนามัยพืช
๙.๑
ต้องแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชมาพร้อมกับสินค้าหัวมันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกาทุกครั้งที่มีการนำเข้า
และต้องระบุรัฐที่เป็นแหล่งกำเนิดของหัวมันฝรั่ง
๙.๒
ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
The potatoes in this consignment were produced in the United States
in accordance with the conditions governing entry of potatoes for processing to Thailand and inspected and found to be free of quarantine pests. และ The potatoes in this consignment have been washed. หรือ The potatoes in this consignment were treated with a sprout inhibitor.
๙.๓
ต้องบันทึกหมายเลขตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางเรือเท่านั้น) บนใบรับรองสุขอนามัยพืช
ข้อ ๑๐ การประเมินกระบวนการส่งออก
๑๐.๑
การส่งออกหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากสหรัฐอเมริกามายังราชอาณาจักรไทยจะเริ่มได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น
โดยสหรัฐอเมริกาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
๑๐.๒
ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในสหรัฐอเมริกา
ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปได้อีกต่อไป
ถ้ากรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น
โดยสหรัฐอเมริกาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สมชาย ชาญณรงค์กุล
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปและดินจากสหรัฐอเมริกา
แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. ๒๕๕๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒
พิมลกร/ปรับปรุง
๘ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๘ ตุลามคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง/หน้า ๔๑/๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ |
612094 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง กำหนดเขตควบคุมศัตรูพืช
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
กำหนดเขตควบคุมศัตรูพืช[๑]
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศให้จอกหูหนูยักษ์
เป็นสิ่งต้องห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืช
และพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น
และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ ไว้แล้วนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจึงออกประกาศเขตควบคุมศัตรูพืชที่มีชื่อว่าจอกหูหนูยักษ์ Salvinia molesta D.S.Mitchell ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หนองน้ำพื้นที่ประมาณ ๑๔ ไร่ อำเภอสะเดา
จังหวัดสงขลา ภายในอาณาเขตดังต่อไปนี้เป็นเขตควบคุมศัตรูพืช
๑.๑
ทิศเหนือ ติดถนนสะเดา - ปาดังเบซาร์ โรงพยาบาลสะเดา
๑.๒
ทิศใต้ ติดสวนยาง
๑.๓
ทิศตะวันออก ติดสระว่ายน้ำ และบริษัทไทยประกันชีวิต
๑.๔
ทิศตะวันตก ติดซอยนาลี และร้านอาหารครัวอาจารย์จ้อง
ข้อ ๒ ให้เส้นทางบกและทางน้ำที่ผ่านบริเวณพื้นที่ตามข้อ
๑ เป็นสถานที่ตรวจพืชเฉพาะกิจด้วย
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สมชาย ชาญณรงค์กุล
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒
พิมลกร/ปรับปรุง
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง/หน้า ๔๐/๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ |
612092 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัย พ.ศ. 2552
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัย
พ.ศ. ๒๕๕๒
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๕ ฉ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ บุคคลใดประสงค์จะขอใบรับรองสุขอนามัย
ให้ยื่นคำขอตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนี้
(๑)
ใบรับรองสุขอนามัยสำหรับสารตกค้าง ให้ยื่นคำขอ ณ สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช
หรือสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ก่อนการส่งออกอย่างน้อยเจ็ดวัน
(๒)
ใบรับรองสุขอนามัยสำหรับจุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ให้ยื่นคำขอ
ณ สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร ก่อนการส่งออกอย่างน้อยเจ็ดวัน
ข้อ ๒ คุณสมบัติของผู้ขอใบรับรองสุขอนามัย
๒.๑
ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกับกรมวิชาการเกษตร
๒.๒
ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช
(GAP) จากกรมวิชาการเกษตร หรือมาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรยอมรับ โดยที่
(๑)
มีแปลง GAP ของตนเอง หรือเกษตรกรเครือข่าย หรือ
(๒)
ไม่มีแปลง GAP ของตนเอง แต่พืชส่งออกรวบรวมจากแปลง GAP ของเกษตรกร
๒.๓
ต้องมีโรงคัดบรรจุสินค้าที่ได้รับการรับรองคุณภาพและมาตรฐานตามหลักปฏิบัติที่ดีในการผลิตโดยกรมวิชาการเกษตรหรือมาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรยอมรับ
ในกรณีไม่มีโรงคัดบรรจุสินค้า
จะต้องแจ้งว่าสินค้าที่ส่งออกมาจากโรงคัดบรรจุสินค้าที่ได้รับการรับรองคุณภาพและมาตรฐานตามหลักปฏิบัติที่ดีในการผลิตโดยกรมวิชาการเกษตรหรือมาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรยอมรับ
ข้อ ๓ ผู้ขอรับใบรับรองสุขอนามัยที่มีคุณสมบัติตามข้อ
๒.๒ (๑) ต้องจัดทำระบบตรวจสอบย้อนกลับแผนการผลิต
แผนการควบคุมระบบความปลอดภัยของพืช และการส่งออกแนบมาพร้อมกับคำขอ
ข้อ ๔ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอตามข้อ ๑
และตรวจหลักฐานหรือเอกสารตามข้อ ๒ และข้อ ๓ แล้วเห็นว่าถูกต้องและครบถ้วน
และหลักฐานตามข้อ ๓
เห็นว่ามีระบบการควบคุมสุขอนามัยที่มีประสิทธิภาพให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการ
ดังนี้
๔.๑
กรณีผู้ขอได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช
(GAP) ตามข้อ ๒.๒ (๑) พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกใบรับรองสุขอนามัยให้กับผู้ขอ ตามแบบใบรับรองสุขอนามัยท้ายประกาศนี้
โดยไม่ต้องไปดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างพืชควบคุมเฉพาะ
เพื่อตรวจสารตกค้างหรือเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์
๔.๒
กรณีผู้ขอได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช
(GAP) ตามข้อ ๒.๒ (๒)
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างพืชควบคุมเฉพาะ
เพื่อตรวจสารตกค้างหรือเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์
ข้อ ๕ ผู้ขอรับใบรับรองสุขอนามัย ตามข้อ ๒.๒ (๒)
ต้องปฏิบัติ ดังนี้
๕.๑
จัดเตรียมพืชควบคุมเฉพาะที่จะส่งออก
๕.๒
อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๖ ชนิดของสารตกค้างหรือเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ที่จะตรวจสอบ
ให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยการกำหนดพืชเป็นพืชควบคุมเฉพาะ
ข้อ ๗ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายสุ่มเก็บตัวอย่างพืชควบคุมเฉพาะแล้ว
ให้ดำเนินการตรวจสอบสารตกค้างหรือเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์เพื่อประกอบการขอใบรับรองสุขอนามัย
ข้อ ๘ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วเห็นว่าสารตกค้างหรือเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์
เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานแนบท้ายประกาศนี้ ให้ออกใบรับรองสุขอนามัยให้กับผู้ขอ
ตามแบบใบรับรองสุขอนามัยท้ายประกาศนี้
ข้อ ๙ ใบรับรองสุขอนามัยให้มีอายุตามที่กำหนดไว้ในใบรับรองสุขอนามัย
แต่ทั้งนี้ไม่เกินสามสิบวัน
ข้อ ๑๐ มาตรการตรวจสอบติดตามภายหลังได้รับใบรับรองสุขอนามัย
พนักงานเจ้าหน้าที่สุ่มเก็บตัวอย่างที่แปลง โรงคัดบรรจุสินค้า
หรือด่านตรวจพืชที่ส่งออก โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า
๑๐.๑
กรณีผู้ขอได้รับใบรับรองสุขอนามัย ตามข้อ ๔.๑
หากพบสารตกค้างหรือเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
โดยพบจากการสุ่มที่แปลง โรงคัดบรรจุสินค้า หรือด่านตรวจพืชที่ส่งออก
หรือได้รับการแจ้งเตือนจากประเทศปลายทาง ครั้งที่ ๑
กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งเตือนผู้ส่งออกเป็นลายลักษณ์อักษร
และให้ผู้ส่งออกชี้แจงสาเหตุและการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการผลิตภายในระยะเวลาที่กำหนด
ถ้าพบครั้งที่ ๒ ในพืชชนิดเดิมภายในระยะเวลา ๑ เดือน นับแต่วันที่พบครั้งที่ ๑
กรมวิชาการเกษตรจะระงับระยะเวลาที่เหลือของใบรับรองสุขอนามัย
การส่งออกครั้งต่อไปต้องทำการตรวจวิเคราะห์เช่นเดียวกับผู้มีคุณสมบัติตามข้อ ๒.๒
(๒) เป็นระยะเวลา ๓ ครั้งติดต่อกัน
ก่อนอนุญาตให้ดำเนินการเช่นผู้มีคุณสมบัติตามข้อ ๒.๒ (๑) ได้อีก
๑๐.๒
กรณีผู้ขอได้รับใบรับรองสุขอนามัย ตามข้อ ๘
หากพบสารตกค้างหรือเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
โดยพบจากการสุ่มที่แปลง โรงคัดบรรจุสินค้า หรือด่านตรวจพืชที่ส่งออก
หรือได้รับการแจ้งเตือนจากประเทศปลายทาง ครั้งที่ ๑
กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งเตือนผู้ส่งออกเป็นลายลักษณ์อักษร
ระงับระยะเวลาที่เหลือของใบรับรองสุขอนามัย
และให้ผู้ส่งออกชี้แจงสาเหตุและการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการผลิตภายในระยะเวลาที่กำหนด
ถ้าพบครั้งที่ ๒ ในพืชชนิดเดิมภายในระยะเวลา ๑ เดือน นับแต่วันที่พบครั้งที่ ๑
กรมวิชาการเกษตรจะระงับระยะเวลาที่เหลือของใบรับรองสุขอนามัย การส่งออกครั้งต่อไปต้องทำการตรวจวิเคราะห์สินค้าก่อนส่งออกทุกครั้งเป็นระยะเวลา
๓ ครั้ง ติดต่อกัน ก่อนอนุญาตให้ดำเนินการเช่นผู้มีคุณสมบัติตามข้อ ๒.๒ (๒) ได้อีก
ข้อ ๑๑ เหตุแห่งการระงับการใช้ใบรับรองสุขอนามัย
๑๑.๑
ผู้ยื่นคำขอแสดงข้อมูลอันเป็นเท็จ
หรือไม่ถูกต้องที่เกี่ยวข้องกับผลผลิตจากแปลงที่ได้รับการรับรองการผลิตอาหารปลอดภัยจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพตามมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช
๑๑.๒
ผลการตรวจติดตามพืชส่งออกพบการปนเปื้อนสารตกค้างหรือเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์เกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
๑๑.๓
จงใจแจ้งข้อมูลเท็จหรือปกปิดข้อมูลที่มีผลต่อความปลอดภัยอาหาร
ข้อ ๑๒ ความในข้อ ๒.๒ ข้อ ๒.๓ ข้อ ๓ ข้อ ๔
มิให้นำมาใช้บังคับกับการขอใบรับรองสุขอนามัย เพื่อส่งพืชควบคุมเฉพาะไปประเทศสิงคโปร์
ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐประชาชนจีน
ข้อ ๑๓ ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์
ให้เป็นไปตามอัตราแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๑๔ ก่อนส่งใบรับรองสุขอนามัยให้กับผู้ขอ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบรับรองสุขอนามัยตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด
๓๐ วัน นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๙
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สมชาย ชาญณรงค์กุล
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. อัตราค่าตรวจสารตกค้างหรือเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์
แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัย พ.ศ. ๒๕๕๒
๒.
เกณฑ์มาตรฐานแนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช
พ.ศ. ๒๕๕๒
๓.
คำขอใบรับรองสุขอนามัย (แบบ พ.ก. ๑๑)
๔.
ใบรับรองสุขอนามัย (แบบ พ.ก. ๑๑ - ๑)
๔.
ใบแนบท้ายแบบคำขอใบรับรองสุขอนามัย (แบบ พ.ก. ๑๑.๑)
๕.
คำขอให้แก้ไขใบแนบใบรับรองสุขอนามัย (แบบ พ.ก. ๑๒)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒
พิมลกร/ปรับปรุง
๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง/หน้า ๓๖/๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ |
611052 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากรัฐอิสราเอล พ.ศ. 2552
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากรัฐอิสราเอล
พ.ศ. ๒๕๕๒[๑]
ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของหัวพันธุ์มันฝรั่งที่นำเข้าเพื่อการค้าจากรัฐอิสราเอลเสร็จสิ้นแล้ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช
ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำหัวพันธุ์มันฝรั่งจากรัฐอิสราเอลเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการเพาะปลูก
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ชนิดพืช
หัวพันธุ์มันฝรั่ง
(seed potato) Solanum tuberosum
ข้อ ๒ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง
รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งและดินที่ติดมากับหัวพันธุ์มันฝรั่งจากรัฐอิสราเอล
ปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ หน่วยงานที่รับผิดชอบ
๓.๑
ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร
๓.๒
รัฐอิสราเอล คือ Ministry of Agriculture and Rural Development, Plant Protection and Inspection Services (หลังจากนี้ต่อไปจะอ้างถึงว่าเป็น
MARD-PPIS)
ข้อ ๔ ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง
การตรวจสอบสำหรับการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งและการรับรองสุขอนามัยพืชต้องดำเนินการโดยห้องปฏิบัติการของ
MARD-PPIS
ข้อ ๕
การขออนุญาตนำเข้า
ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร
ข้อ ๖ วิธีการขนส่ง
หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องส่งมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในรัฐอิสราเอลไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทย
ในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางเรือหรือทางอากาศ
ข้อ ๗ แหล่งผลิต
หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องมาจากแหล่งผลิตในรัฐอิสราเอลซึ่ง
MARD-PPIS กำหนดว่าเป็นแหล่งผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย และกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแหล่งผลิตนั้นก่อนการส่งออก
ข้อ ๘ การผลิตและการรับรอง
๘.๑
หัวพันธุ์มันฝรั่งจากรัฐอิสราเอลต้องผ่านการตรวจรับรองตามข้อกำหนดของหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองและระบบการตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเป็นที่ยอมรับ
หน่วยงาน MARD-PPIS ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐอิสราเอลเพื่อพิสูจน์และรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยภายใต้ระบบการตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่ง
เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดสุขอนามัยพืชซึ่งระบุไว้ในประกาศฉบับนี้
๘.๒
ยกเว้นกรณีที่ได้ระบุไว้ การผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องผ่านการตรวจรับรองให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในระเบียบว่าด้วยการปลูกหัวพันธุ์มันฝรั่ง
ภายใต้ Seed Act ๑๙๕๖ (พ.ศ. ๒๔๙๙)
๘.๓
หน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองจะออกบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งต่อเมื่อหัวพันธุ์มันฝรั่งเป็นไปตามข้อกำหนดสุขอนามัยพืชซึ่งระบุไว้ในประกาศฉบับนี้เท่านั้น
หมายเลขการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องระบุไว้บนบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งและใบรับรองสุขอนามัยพืช
ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างรวดเร็วกรณีที่พบว่าหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้ามีปัญหา
ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับดิน
๙.๑
ต้องจัดการกับดินให้หัวพันธุ์มันฝรั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
๙.๒
ดินที่มีลักษณะเป็นผงติดมากับหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องมีน้ำหนักไม่เกิน ๑๐๐
กรัมต่อหัวพันธุ์มันฝรั่งน้ำหนัก ๕๐ กิโลกรัม (เท่ากับร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก)
สำหรับดินที่มีลักษณะเป็นก้อนเกาะติดบนหัวพันธุ์มันฝรั่ง หัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งมีดินลักษณะเป็นก้อนเกาะติดมาครอบคลุมพื้นที่ผิวเกินกว่าร้อยละ
๒๐ ต้องมีไม่เกินจำนวน ๓๐ หัว จากตัวอย่างหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวน ๖๐๐ หัว (เท่ากับร้อยละ
๕)
ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับไส้เดือนฝอยศัตรูพืชกักกัน
หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องมาจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งปลอดจากไส้เดือนฝอยศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้
โดยอาศัยข้อมูลจากการเฝ้าระวังอย่างเป็นทางการ
ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับโรคพืชกักกันซึ่งมีสาเหตุมาจากรา
ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรค
powdery scab ซึ่งมีสาเหตุจากรา Spongospora subterranea ต้องมีหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวนไม่เกินร้อยละ
๒ ซึ่งแสดงอาการของโรคที่สามารถตรวจพบได้ ระดับของโรค powdery scab ซึ่งแสดงอาการที่สามารถตรวจพบได้คือ จำนวน ๕
รอยแผลหรือมากกว่าต่อหัว
ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับโรคพืชกักกันซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัส
๑๒.๑
หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องปลูกในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองได้ตรวจอาการของโรคที่เกิดจากไวรัสบนต้นมันฝรั่งด้วยสายตาในระหว่างช่วงฤดูปลูก
และต้องปลอดจากโรคมันฝรั่งซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัสศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
ยกเว้นไวรัสที่ระบุไว้ในข้อ ๑๒.๔ นอกจากนี้
ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรคซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัสทุกชนิด
นอกเหนือจากไวรัสศัตรูพืชกักกันในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องไม่เกินร้อยละ ๐.๑
๑๒.๒
นอกเหนือจากการตรวจอาการของโรคที่เกิดจากไวรัสบนต้นมันฝรั่งด้วยสายตาแล้ว
ต้องตรวจวิเคราะห์การทำลายของโรค Potato virus Y (PVY) และ Potato leaf roll virus (PLRV)
บนหัวพันธุ์มันฝรั่งในห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองตามวิธีการซึ่งเห็นพ้องร่วมกัน
ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรค PVY และ PLRV บนหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงปลูกที่กำหนดต้องไม่เกินร้อยละ ๔
ปัจจุบันวิธีการซึ่งเห็นพ้องร่วมกันสำหรับตรวจหาการทำลายของโรค PVY และ PLRV จากใบและหน่อ มีรายละเอียดดังนี้
๑๒.๒.๑
ตรวจจากใบ :
เก็บรวบรวมใบมันฝรั่งจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งก่อนการฉีดพ่นสารเคมีทำลายต้นมันฝรั่ง
และตรวจวิเคราะห์ใบด้วยเทคนิค ELISA ตามกระบวนการ ดังต่อไปนี้
(ก)
วิธีการตรวจไวรัสประกอบด้วยการเก็บใบมันฝรั่งจำนวน ๓๐๐ ใบ
จากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่กำหนด (ต่อพื้นที่แปลงผลิตหัวพันธุ์ ๑๐ เฮกแท)
มัดรวมกัน ๑๕ มัด มัดละ ๒๐ ใบ
(ข)
สำหรับการตรวจหาระดับการทำลายของไวรัสที่น้อยกว่าร้อยละ ๔
ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ ๙๕ นั้น
หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องถูกปฏิเสธการส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยหากจำนวน ๖
การทดสอบจากจำนวน ๑๕ การทดสอบแสดงผลบวก
๑๒.๒.๒
ตรวจจากหน่อ : ตรวจวิเคราะห์หน่อด้วยเทคนิค ELISA ตามกระบวนการดังต่อไปนี้
(ก)
สุ่มหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวน ๓๐๐ หัว จากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่กำหนด
(ต่อพื้นที่แปลงผลิตหัวพันธุ์ ๑๐ เฮกแท)
ในระหว่างการเก็บเกี่ยวหรือจากสินค้าส่งออก
เฉือนตามันฝรั่งและนำไปเพาะไว้ในโรงเรือน
(ข)
สุ่มหน่อจากหัวพันธุ์มันฝรั่งแยกรวมกันเป็น ๑๕ กลุ่ม แต่ละกลุ่มมี ๒๐ หน่อ
สำหรับการตรวจหาระดับการทำลายของไวรัสที่น้อยกว่าร้อยละ ๔ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ
๙๕ นั้น หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องถูกปฏิเสธการส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยหากจำนวน ๖
การทดสอบจากจำนวน ๑๕ การทดสอบแสดงผลบวก
๑๒.๓
ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองต้องเก็บรักษาใบรายงานผลการตรวจการทำลายของโรค PVY และ PLRV บนหัวพันธุ์มันฝรั่งในห้องปฏิบัติการ และต้องส่งมอบให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ
ใบรายงานผลการตรวจควรมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการตรวจสอบย้อนกลับ เช่น เกษตรกร
ผู้ส่งออก หมายเลขการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่ง จำนวนตัวอย่างที่ตรวจ และผลการตรวจ
เป็นต้น
๑๒.๔
กรณีของโรค Potato mop top virus (PMTV)
ระดับที่ยอมรับสำหรับการตรวจด้วยสายตากับหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่กำหนดนั้นต้องไม่ปรากฏอาการของโรค
ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก
๑๓.๑
ต้องบรรจุหัวพันธุ์มันฝรั่งน้ำหนัก ๒๕ - ๕๐ กิโลกรัม
ในกระสอบซึ่งต้องเป็นกระสอบใหม่และปิดปากกระสอบเมื่อบรรจุหัวพันธุ์มันฝรั่งแล้ว
๑๓.๒
ต้องติดบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งบนกระสอบบรรจุหัวพันธุ์มันฝรั่ง รายละเอียดของฉลากบนบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของ
MARD-PPIS
ข้อ ๑๔ การตรวจส่งออก
๑๔.๑
หัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเป็นสินค้าที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องผ่านการตรวจของเจ้าหน้าที่ก่อนหรือระหว่างการขนถ่ายช่วงสุดท้ายของการขนส่ง
เมื่อดำเนินการตรวจเสร็จสิ้นแล้วต้องปิดตู้และปิดผนึกตู้ขนส่งสินค้าโดยทันที
๑๔.๒
เจ้าหน้าที่ต้องออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้เท่านั้น
ข้อ ๑๕ การรับรองสุขอนามัยพืช
๑๕.๑
ต้องแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชมาพร้อมกับสินค้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากรัฐอิสราเอลทุกครั้งที่มีการนำเข้า
๑๕.๒
ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
The seed potatoes in this consignment were produced in Israel in accordance with the conditions governing entry of seed potatoes to Thailand.
๑๕.๓
ต้องบันทึกหมายเลขตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางเรือเท่านั้น) และหมายเลขการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งของหัวพันธุ์มันฝรั่งในแต่ละตู้ขนส่งสินค้าบนใบรับรองสุขอนามัยพืช
ข้อ ๑๖ การตรวจนำเข้า
๑๖.๑
เมื่อหัวพันธุ์มันฝรั่งมาถึงยังด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย
การตรวจหัวพันธุ์มันฝรั่งจะดำเนินการหลังจากที่มีการตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้าแล้ว
๑๖.๒
กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งกลับหรือสั่งให้ทำลายซึ่งหัวพันธุ์มันฝรั่งโดยผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในกรณีที่การรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งไม่เป็นไปตามข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืช
หรือผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าชำรุดหรือเสียหาย
๑๖.๓
ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
หรือตรวจพบว่าเกินกว่าระดับที่ยอมรับได้ในระหว่างการตรวจนำเข้า หัวพันธุ์มันฝรั่งดังกล่าวต้องถูกส่งกลับหรือถูกทำลายโดยผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งให้ MARD-PPIS ทราบถึงการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด และขึ้นอยู่กับสภาวการณ์
กรมวิชาการเกษตรอาจระงับการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากกองนั้น แปลงผลิต รัฐ
หรือทั้งประเทศ
๑๖.๔
MARD-PPIS ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข
กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้าเมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุของการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดและได้มีการดำเนินการแก้ไขแล้วจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร
๑๖.๕
ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ยังคงมีชีวิตและไม่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
ซึ่งมีศักยภาพสำคัญด้านกักกันพืชต่อราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับทำลาย
หรือกำจัดศัตรูพืชบนหัวพันธุ์มันฝรั่งด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด)
โดยผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้หยุดการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราวได้
จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ
๑๖.๖
ถึงแม้ว่าหัวพันธุ์มันฝรั่งจะได้รับการตรวจปล่อยให้นำออกไปจากด่านนำเข้าแล้ว
ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อจากหลักฐานว่าหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้าจากบางแหล่งผลิตซึ่งอาจมีศัตรูพืชกักกันติดมาด้วย
หัวพันธุ์มันฝรั่งจะถูกสั่งระงับไม่ให้นำไปปลูกและต้องถูกดำเนินมาตรการทางสุขอนามัยพืชที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูพืชกักกันแพร่กระจายออกไปภายใต้คำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร
ผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินมาตรการดังกล่าวนั้น
๑๖.๗
ผู้นำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องส่งรายละเอียดผู้ปลูกและพื้นที่ที่ปลูกหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้าแก่กรมวิชาการเกษตรทันทีเมื่อได้รับการร้องขอ
นอกจากนี้
ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจมีศัตรูพืชกักกันของมันฝรั่งในแปลงปลูกมันฝรั่ง เจ้าหน้าที่กักกันพืชต้องดำเนินการสำรวจแปลงปลูกมันฝรั่งโดยทันที
ผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการสำรวจดังกล่าวนั้น
ข้อ ๑๗ การประเมินกระบวนการส่งออก
๑๗.๑
การส่งออกหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแหล่งผลิตตามที่ระบุไว้ในข้อ ๗
ในรัฐอิสราเอลมายังราชอาณาจักรไทยจะเริ่มได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกหัวพันธุ์มันฝรั่งแล้วเท่านั้น
โดยรัฐอิสราเอลเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
๑๗.๒
ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า
กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในรัฐอิสราเอลก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งได้อีกต่อไป
ถ้ากรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น
โดยรัฐอิสราเอลเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๙
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สมชาย ชาญณรงค์กุล
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
รายชื่อศัตรูพืชกักกันของหัวพันธุ์มันฝรั่งและดินจากรัฐอิสราเอล
แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง
เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากรัฐอิสราเอล พ.ศ. ๒๕๕๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๒
พิมลกร/ปรับปรุง
๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๓๗/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ |
611047 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากสกอตแลนด์ พ.ศ. 2552
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากสกอตแลนด์
พ.ศ. ๒๕๕๒[๑]
ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปที่นำเข้าเพื่อการค้าจากสกอตแลนด์เสร็จสิ้นแล้ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา
๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช
ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากสกอตแลนด์เข้ามาในราชอาณาจักร
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ชนิดพืช
หัวมันฝรั่ง
(potato tuber) Solanum tuberosum
ข้อ ๒ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง
รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปและดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่งจากสกอตแลนด์
ปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ หน่วยงานที่รับผิดชอบ
๓.๑
ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร
๓.๒
สกอตแลนด์ คือ Scottish Government Rural Payments and Inspections Directorate (หลังจากนี้ต่อไปจะอ้างถึงว่าเป็น SGRPID)
ข้อ ๔ การขออนุญาตนำเข้า
๔.๑
ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร
๔.๒
ผู้ที่มีสิทธิยื่นคำขอใบอนุญาตนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปต้องดำเนินธุรกิจโรงงานแปรรูปมันฝรั่ง
๔.๓
ผู้ยื่นคำขอจะได้รับใบอนุญาตนำเข้าถ้าโรงงานแปรรูปมันฝรั่งมีอุปกรณ์พร้อมสำหรับจัดการกับดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่ง
ส่วนของหัวมันฝรั่งที่คัดทิ้งและน้ำล้างหัวมันฝรั่งตามที่ระบุไว้ในข้อ ๖
ได้อย่างปลอดภัย
ข้อ ๕ วิธีการขนส่ง
หัวมันฝรั่งต้องส่งมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสกอตแลนด์ไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางเรือหรือทางอากาศ
ข้อ ๖ การจดทะเบียนโรงงานแปรรูปมันฝรั่ง
๖.๑
หัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปต้องถูกแปรรูปในโรงงานแปรรูปมันฝรั่งที่จดทะเบียนและรับรองโดยกรมวิชาการเกษตร
เจ้าหน้าที่กักกันพืชต้องตรวจสอบโรงงานแปรรูปมันฝรั่งว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามข้อกำหนด
การรับรองโรงงานแปรรูปมันฝรั่งขึ้นอยู่กับการดำเนินการของบริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนด
ดังนี้
๖.๑.๑
โรงงานแปรรูปมันฝรั่งต้องมีอุปกรณ์ซึ่งเหมาะสมสำหรับการทำความสะอาดและการกำจัดเชื้อ
๖.๑.๒
ต้องนำน้ำจากเครื่องล้างและเครื่องปอกหัวมันฝรั่งไปจัดการ
โดยระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้รับการยอมรับ หรือระบบกำจัดของเสียอื่น ๆ
ที่ได้รับการยอมรับ
๖.๑.๓
ต้องกำจัดดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่งและเศษเหลือต่าง ๆ
ของมันฝรั่งด้วยวิธีการที่เหมาะสม
๖.๑.๔
บริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปต้องเก็บรักษาข้อมูลจำนวนหัวมันฝรั่งที่นำเข้าและแปรรูป
และต้องไม่นำหัวมันฝรั่งไปทำการแปรรูปที่โรงงานอื่นโดยไม่ผ่านความเห็นชอบก่อนจากกรมวิชาการเกษตร
๖.๒
ต้องตรวจสอบโรงงานแปรรูปหัวมันฝรั่งเป็นประจำทุกปีว่าได้ปฏิบัติตามข้อกำหนด
โดยบริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
๖.๓
โรงงานแปรรูปหัวมันฝรั่งต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดโดยเคร่งครัด
ใบอนุญาตนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจะถูกเพิกถอนถ้าไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด
ข้อ ๗ แหล่งผลิต
๗.๑
บางพื้นที่ในสกอตแลนด์พบว่ามีการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง pale cyst nematode, Globodera pallida และ golden nematode, Globodera rostochiensis
๗.๒
หัวมันฝรั่งจากทุกแหล่งในสกอตแลนด์ได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นหัวมันฝรั่งจากพื้นที่ดังต่อไปนี้ห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทย
๗.๒.๑
หัวมันฝรั่งจากพื้นที่ซึ่งประกาศเป็นเขตควบคุมไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง
๗.๒.๒
หัวมันฝรั่งจากแปลงปลูกซึ่งผลการตรวจสอบดินพบไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง
ข้อ ๘ ข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืช
๘.๑
หัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปต้องปลอดจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้
๘.๒
ต้องดำเนินการตรวจไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในดินอย่างเป็นทางการในแปลงปลูกก่อนเริ่มปลูกมันฝรั่งหรือก่อนเก็บเกี่ยวมันฝรั่ง
เฉพาะมันฝรั่งปลูกในแปลงปลูกซึ่งปลอดจากไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งเท่านั้นจะได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย
การรับรองไส้เดือนฝอย ซีสต์มันฝรั่งในแปลงปลูกมันฝรั่งต้องเป็นไปตามวิธีการซึ่งเห็นพ้องร่วมกัน
นอกจากนี้ ต้องตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างดินในห้องปฏิบัติการของ Science and Advice for Scottish Agriculture
๘.๓
เพื่อลดความเสี่ยงของไส้เดือนฝอยและโรคพืชที่ทำลายบนหัวมันฝรั่ง
ต้องดำเนินมาตรการสุขอนามัยพืชกับหัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง
ดังนี้
๘.๓.๑
ต้องล้างหัวมันฝรั่งด้วยน้ำให้สะอาดจนกระทั่งหัวมันฝรั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
หรือ
๘.๓.๒
กรณีการนำเข้าหัวมันฝรั่งที่ไม่ล้างน้ำ
ต้องดำเนินการปัดดินบนหัวมันฝรั่งจนกระทั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
ดินที่มีลักษณะเป็นผงติดมากับหัวมันฝรั่งต้องมีน้ำหนักไม่เกิน ๑๐๐ กรัม
ต่อหัวมันฝรั่งน้ำหนัก ๕๐ กิโลกรัม (เท่ากับร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก) สำหรับดินที่มีลักษณะเป็นก้อนเกาะติดบนหัวมันฝรั่ง
หัวมันฝรั่งซึ่งมีดินลักษณะเป็นก้อนเกาะติดมาครอบคลุมพื้นที่ผิวเกินกว่าร้อยละ ๒๐
ต้องมีไม่เกินจำนวน ๓๐ หัว จากตัวอย่างหัวมันฝรั่งจำนวน ๖๐๐ หัว (เท่ากับร้อยละ ๕)
นอกจากนี้แล้วต้องควบคุมการแตกหน่อบนหัวมันฝรั่งด้วยสารยับยั้งความงอก
ข้อ ๙ การรับรองสุขอนามัยพืช
๙.๑
ต้องแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชมาพร้อมกับสินค้าหัวมันฝรั่งจากสกอตแลนด์ทุกครั้งที่มีการนำเข้า
๙.๒
ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
The potatoes in this consignment were produced in Scotland in accordance with the conditions governing entry of potatoes for processing to Thailand and inspected and found to be free of quarantine pests. และ The potatoes in this consignment have been washed. หรือ The potatoes in this consignment were treated with a sprout inhibitor.
๙.๓
ต้องบันทึกหมายเลขตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางเรือเท่านั้น) บนใบรับรองสุขอนามัยพืช
ข้อ ๑๐ การประเมินกระบวนการส่งออก
๑๐.๑
การส่งออกหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากสกอตแลนด์มายังราชอาณาจักรไทยจะเริ่มได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น
โดยสกอตแลนด์เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
๑๐.๒
ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในสกอตแลนด์
ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปได้อีกต่อไป
ถ้ากรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น
โดยสกอตแลนด์เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๙
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สมชาย ชาญณรงค์กุล
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปและดินจากสกอตแลนด์
แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากสกอตแลนด์
พ.ศ. ๒๕๕๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๒
พิมลกร/ปรับปรุง
๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๓๓/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ |
611041 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสกอตแลนด์ พ.ศ. 2552
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสกอตแลนด์
พ.ศ. ๒๕๕๒[๑]
ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของหัวพันธุ์มันฝรั่งที่นำเข้าเพื่อการค้าจากสกอตแลนด์เสร็จสิ้นแล้ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช
ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสกอตแลนด์เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการเพาะปลูก
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ชนิดพืช
หัวพันธุ์มันฝรั่ง
(seed potato) Solanum tuberosum
ข้อ ๒ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง
๒.๑
รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งและดินที่ติดมากับหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสกอตแลนด์
ปรากฏตามเอกสารแนบ ๑ ท้ายประกาศนี้
๒.๒
ศัตรูพืชกักกันของหัวพันธุ์มันฝรั่งที่ต้องมีการจัดการความเสี่ยง คือ
๒.๒.๑
pale cyst nematode, Globodera pallida
๒.๒.๒
golden nematode, Globodera rostochiensis
๒.๒.๓
potato wart, Synchytrium endobioticum
ข้อ ๓ หน่วยงานที่รับผิดชอบ
๓.๑
ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร
๓.๒
สกอตแลนด์ คือ Scottish Government Rural Payments and Inspections Directorate (หลังจากนี้ต่อไปจะอ้างถึงว่าเป็น SGRPID)
ข้อ ๔ ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง
การตรวจสอบสำหรับการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งและการรับรองสุขอนามัยพืชต้องดำเนินการโดยห้องปฏิบัติการของ
Science and Advice for Scottish Agriculture (หลังจากนี้ต่อไปจะอ้างถึงว่าเป็น SASA)
ข้อ ๕ การขออนุญาตนำเข้า
ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร
ข้อ ๖ วิธีการขนส่ง
หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องส่งมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสกอตแลนด์ไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทย
ในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางเรือหรือทางอากาศ
ข้อ ๗ แหล่งผลิต
หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องมาจากแหล่งผลิตในสกอตแลนด์
ซึ่ง SGRPID กำหนดว่าเป็นแหล่งผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย และกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแหล่งผลิตนั้นก่อนการส่งออก
ข้อ ๘ การผลิตและการรับรอง
๘.๑
หัวพันธุ์มันฝรั่งจากสกอตแลนด์ต้องผ่านการตรวจรับรองเป็นไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองและระบบการตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเป็นที่ยอมรับหน่วยงาน
SASA
ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในสกอตแลนด์เพื่อพิสูจน์และรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยภายใต้ระบบการจำแนกหัวพันธุ์มันฝรั่งแห่งสกอตแลนด์
(Scottish Seed Potato Classification Scheme)
เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดสุขอนามัยพืชซึ่งระบุไว้ในประกาศฉบับนี้
๘.๒
ยกเว้นกรณีที่ได้ระบุไว้ การผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องผ่านการตรวจรับรองให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ
Seed Potato (Scotland) Regulations ๒๐๐๐ (พ.ศ. ๒๕๔๓) และ Seed Potato (Scotland) Amendment Regulations ๒๐๐๕ (พ.ศ. ๒๕๔๘) และ ๒๐๐๗ (พ.ศ. ๒๕๕๐)
และข้อกำหนดของ Council Directive
๒๐๐๒/๕๖/EC on Marketing of seed potatoes
๘.๓
หน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองจะออกบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งต่อเมื่อหัวพันธุ์มันฝรั่งเป็นไปตามข้อกำหนดสุขอนามัยพืชซึ่งระบุไว้ในประกาศฉบับนี้เท่านั้น
หมายเลขการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องระบุไว้บนบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งและใบรับรองสุขอนามัยพืช
ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างรวดเร็วกรณีที่พบว่าหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้ามีปัญหา
ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับดิน
๙.๑
ต้องจัดการกับดินให้หัวพันธุ์มันฝรั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
๙.๒
ดินที่มีลักษณะเป็นผงติดมากับหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องมีน้ำหนักไม่เกิน ๑๐๐ กรัม ต่อหัวพันธุ์มันฝรั่งน้ำหนัก
๕๐ กิโลกรัม (เท่ากับร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก)
สำหรับดินที่มีลักษณะเป็นก้อนเกาะติดบนหัวพันธุ์มันฝรั่ง
หัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งมีดินลักษณะเป็นก้อนเกาะติดมาครอบคลุมพื้นที่ผิวเกินกว่าร้อยละ
๒๐ ต้องมีไม่เกินจำนวน ๓๐ หัว จากตัวอย่างหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวน ๖๐๐ หัว (เท่ากับร้อยละ
๕)
ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับไส้เดือนฝอยศัตรูพืชกักกัน
๑๐.๑
บางพื้นที่ในสกอตแลนด์พบว่ามีการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง pale cyst nematode, Globodera pallida และ golden nematode, Globodera rostochiensis
๑๐.๒
ห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งที่มาจากพื้นที่ซึ่งประกาศเป็นเขตควบคุมไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในสกอตแลนด์
และห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งผลการตรวจสอบดินพบไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง
๑๐.๓
ต้องมีการบังคับใช้กฎระเบียบด้านสุขอนามัยพืชเพื่อห้ามหรือจำกัดการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายพืชหรือสิ่งอื่นใดซึ่งอาจทำให้ไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งเกิดการแพร่กระจายออกไปจากพื้นที่ที่มีการระบาด
๑๐.๔
ต้องดำเนินการตรวจไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในดินอย่างเป็นทางการในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งก่อนเริ่มปลูกหรือก่อนเก็บเกี่ยวมันฝรั่ง
เฉพาะหัวพันธุ์มันฝรั่งปลูกในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งปลอดจากไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งเท่านั้นจะได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย
การรับรองไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องเป็นไปตามวิธีการซึ่งเห็นพ้องร่วมกัน
นอกจากนี้ ต้องตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างดินในห้องปฏิบัติการของ SASA
๑๐.๕
นอกจากไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งแล้ว
หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องมาจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งปราศจากไส้เดือนฝอยศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้
โดยอาศัยข้อมูลจากการเฝ้าระวังอย่างเป็นทางการ
ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับโรคพืชกักกันซึ่งมีสาเหตุมาจากรา
๑๑.๑
โรค potato wart, Synchytrium endobioticum
๑๑.๑.๑
ห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งมาจากแปลงผลิตหัวพันธุ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรค
potato wart
๑๑.๑.๒
หัวพันธุ์มันฝรั่งที่จะส่งออกมายังราชอาณาจักรไทยต้องผลิตจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งไม่เคยมีรายงานการตรวจพบโรค
potato wart อย่างน้อยเป็นระยะทาง ๕ กิโลเมตร
จากแปลงปลูกมันฝรั่งที่พบโรค potato wart
๑๑.๑.๓
ต้องมีการบังคับใช้กฎระเบียบด้านสุขอนามัยพืชเพื่อห้ามหรือจำกัดการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายพืชหรือสิ่งอื่นใดซึ่งอาจทำให้โรค
potato wart
เกิดการแพร่กระจายออกไปจากพื้นที่ที่มีการระบาด
๑๑.๒
ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรค powdery scab
ซึ่งมีสาเหตุจากรา Spongospora subterranean ต้องมีหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวนไม่เกินร้อยละ ๑.๕
โดยน้ำหนักของหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งแสดงอาการของโรคครอบคลุมพื้นที่ผิวร้อยละ ๕
ของหัวมันฝรั่ง รูปภาพแสดงร้อยละการทำลายของโรค powdery scab ครอบคลุมพื้นที่ที่กำหนด (ร้อยละ ๑ - ๕) ของหัวมันฝรั่งปรากฏตามเอกสารแนบ
๒ ท้ายประกาศนี้
๑๑.๓
ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรค skin spot ซึ่งมีสาเหตุจากรา
Polyscytalum pustulans
ต้องมีหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวนไม่เกินร้อยละ ๑.๕
โดยน้ำหนักของหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งแสดงอาการของโรคครอบคลุมพื้นที่ผิวร้อยละ ๕
ของหัวมันฝรั่ง
ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับโรคพืชกักกันซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัส
๑๒.๑
หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องปลูกในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองได้ตรวจอาการของโรคที่เกิดจากไวรัสบนต้นมันฝรั่งด้วยสายตาในระหว่างช่วงฤดูปลูกตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระบบการจำแนกหัวพันธุ์มันฝรั่ง
และต้องปลอดจากโรคมันฝรั่งซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัสศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบ
๑ ท้ายประกาศนี้ ยกเว้นไวรัสที่ระบุไว้ในข้อ ๑๒.๓ นอกจากนี้
ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรคซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัสทุกชนิดนอกเหนือจากไวรัสศัตรูพืชกักกันในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องไม่เกิน
ร้อยละ ๐.๑
๑๒.๒
หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องมีระดับการทำลายของโรค Potato virus Y (PVY) และ Potato leaf roll virus (PLRV)
ไม่เกินร้อยละ ๔
๑๒.๓
กรณีของโรค Potato mop top virus (PMTV)
ระดับที่ยอมรับสำหรับการตรวจด้วยสายตากับหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่กำหนดนั้นต้องไม่ปรากฏอาการของโรค
ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก
๑๓.๑
ต้องบรรจุหัวพันธุ์มันฝรั่งน้ำหนัก ๒๕ - ๕๐ กิโลกรัม
ในกระสอบซึ่งต้องเป็นกระสอบใหม่และปิดปากกระสอบเมื่อบรรจุหัวพันธุ์มันฝรั่งแล้ว
๑๓.๒
ต้องติดบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งบนกระสอบบรรจุหัวพันธุ์มันฝรั่ง รายละเอียดของฉลากบนบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของ
SASA
ข้อ ๑๔ การตรวจส่งออก
๑๔.๑
หัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเป็นสินค้าที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องผ่านการตรวจของเจ้าหน้าที่ก่อนหรือระหว่างการขนถ่ายช่วงสุดท้ายของการขนส่ง
เมื่อดำเนินการตรวจเสร็จสิ้นแล้วต้องปิดตู้และปิดผนึกตู้ขนส่งสินค้าโดยทันที
๑๔.๒
เจ้าหน้าที่ต้องออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้เท่านั้น
ข้อ ๑๕ การรับรองสุขอนามัยพืช
๑๕.๑
ต้องแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชมาพร้อมกับสินค้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสกอตแลนด์ทุกครั้งที่มีการนำเข้า
๑๕.๒
ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
The seed potatoes in this consignment were produced in Scotland in accordance with the conditions governing entry of seed potatoes to Thailand.
๑๖.๓
ต้องบันทึกหมายเลขตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางเรือเท่านั้น) และหมายเลขการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งของหัวพันธุ์มันฝรั่งในแต่ละตู้ขนส่งสินค้าบนใบรับรองสุขอนามัยพืชหรือใบแนบใบรับรองสุขอนามัยพืช
ข้อ ๑๖ การตรวจนำเข้า
๑๖.๑
เมื่อหัวพันธุ์มันฝรั่งมาถึงยังด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย
การตรวจหัวพันธุ์มันฝรั่งจะดำเนินการหลังจากที่มีการตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้าแล้ว
๑๖.๒
กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งกลับหรือสั่งให้ทำลายซึ่งหัวพันธุ์มันฝรั่งโดยผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
ในกรณีที่การรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งไม่เป็นไปตามข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืช
หรือผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าชำรุดหรือเสียหาย
๑๖.๓
ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบ ๑ ท้ายประกาศนี้
หรือตรวจพบว่าเกินกว่าระดับที่ยอมรับได้ในระหว่างการตรวจนำเข้า หัวพันธุ์มันฝรั่งดังกล่าวต้องถูกส่งกลับหรือถูกทำลายโดยผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งให้
SGRPID ทราบถึงการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด และขึ้นอยู่กับสภาวการณ์
กรมวิชาการเกษตรอาจระงับการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากกองนั้น แปลงผลิต รัฐ
หรือทั้งประเทศ
๑๖.๔
SGRPID ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข
กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้า เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุของการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดและได้มีการดำเนินการแก้ไขแล้วจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร
๑๖.๕
ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ยังคงมีชีวิตและไม่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในเอกสารแนบ
๑ ท้ายประกาศนี้ ซึ่งมีศักยภาพสำคัญด้านกักกันพืชต่อราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับทำลายหรือกำจัดศัตรูพืชบนหัวพันธุ์มันฝรั่งด้วยวิธีการที่เหมาะสม
(ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้หยุดการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราวได้จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ
๑๖.๖
ถึงแม้ว่าหัวพันธุ์มันฝรั่งจะได้รับการตรวจปล่อยให้นำออกไปจากด่านนำเข้าแล้ว ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อจากหลักฐานว่าหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้าจากบางแหล่งผลิตซึ่งอาจมีศัตรูพืชกักกันติดมาด้วย
หัวพันธุ์มันฝรั่งจะถูกสั่งระงับไม่ให้นำไปปลูกและต้องถูกดำเนินมาตรการทางสุขอนามัยพืชที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูพืชกักกันแพร่กระจายออกไปภายใต้คำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร
ผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินมาตรการดังกล่าวนั้น
๑๖.๗
ผู้นำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องส่งรายละเอียดผู้ปลูกและพื้นที่ที่ปลูกหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้าแก่กรมวิชาการเกษตรทันทีเมื่อได้รับการร้องขอ
นอกจากนี้
ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจมีศัตรูพืชกักกันของมันฝรั่งในแปลงปลูกมันฝรั่ง
เจ้าหน้าที่กักกันพืชต้องดำเนินการสำรวจแปลงปลูกมันฝรั่งโดยทันที
ผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการสำรวจดังกล่าวนั้น
ข้อ ๑๗ การประเมินกระบวนการส่งออก
๑๗.๑
การส่งออกหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแหล่งผลิตตามที่ระบุไว้ในข้อ ๗ ในสกอตแลนด์มายังราชอาณาจักรไทย
จะเริ่มได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกหัวพันธุ์มันฝรั่งแล้วเท่านั้น
โดยสกอตแลนด์เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
๑๗.๒
ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า
กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในสกอตแลนด์
ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งได้อีกต่อไป ถ้ากรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น
โดยสกอตแลนด์เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๙
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สมชาย ชาญณรงค์กุล
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของหัวพันธุ์มันฝรั่งและดินจากสกอตแลนด์
แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง
เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสกอตแลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๒
(เอกสารแนบ ๑)
๒. ภาพวาดแสดงร้อยละการทำลายโรค powder scab ครอบคลุมพื้นที่ผิวที่กำหนด
(ร้อยละ ๑ - ๕) แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง
เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสกอตแลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๒ (เอกสารแนบ ๒)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๒
พิมลกร/ปรับปรุง
๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๒๖/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ |
611037 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคจากนิวซีแลนด์ พ.ศ. 2552
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคจากนิวซีแลนด์
พ.ศ. ๒๕๕๒[๑]
ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคที่นำเข้าเพื่อการค้าจากนิวซีแลนด์เสร็จสิ้นแล้ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา
๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช
ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคจากนิวซีแลนด์เข้ามาในราชอาณาจักร
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ชนิดพืช
หัวมันฝรั่ง
(potato tuber) Solanum tuberosum
ข้อ ๒ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง
รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคและดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่งจากนิวซีแลนด์
ปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ หน่วยงานที่รับผิดชอบ
๓.๑
ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร
๓.๒
นิวซีแลนด์ คือ Ministry of Agriculture and Forestry, Biosecurity New Zealand (หลังจากนี้ต่อไปจะอ้างถึงว่าเป็น
MAF-BNZ)
ข้อ ๔ การขออนุญาตนำเข้า
ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร
ข้อ ๕ วิธีการขนส่ง
หัวมันฝรั่งต้องส่งมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในนิวซีแลนด์ไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางเรือหรือทางอากาศ
ข้อ ๖ แหล่งผลิต
๖.๑
บางพื้นที่ในนิวซีแลนด์พบว่ามีการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง pale cyst nematode, Globodera pallida และ golden nematode, Globodera rostochiensis
๖.๒
หัวมันฝรั่งจากทุกแหล่งในนิวซีแลนด์ได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นหัวมันฝรั่งจากพื้นที่ดังต่อไปนี้ห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทย
๖.๒.๑
หัวพันธุ์มันฝรั่งปลูกในแปลงผลิตซึ่งไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับ MAF-BNZ ภายใต้โครงการ
Export Compliance Program for the Provision of Potato Cyst Nematode and Potato Wart Additional Declarations
๖.๒.๒
หัวมันฝรั่งจากแปลงปลูกซึ่งผลการตรวจสอบดินพบไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง
ข้อ ๗ ข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืช
๗.๑
หัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการบริโภคต้องปลอดจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้
๗.๒
ต้องดำเนินการตรวจไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในดินอย่างเป็นทางการในแปลงปลูกมันฝรั่งก่อนเริ่มปลูกมันฝรั่งหรือก่อนเก็บเกี่ยว
เฉพาะมันฝรั่งปลูกในแปลงปลูกซึ่งปลอดจากไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งเท่านั้นจะได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย
การรับรองไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในแปลงปลูกมันฝรั่งต้องเป็นไปตามวิธีการซึ่งเห็นพ้องร่วมกัน
นอกจากนี้ ตัวอย่างดินต้องตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจาก MAF-BNZ
๗.๓
เพื่อลดความเสี่ยงของไส้เดือนฝอยและโรคพืชที่ทำลายบนหัวมันฝรั่ง
ต้องล้างหัวมันฝรั่งด้วยน้ำให้สะอาดจนกระทั่งหัวมันฝรั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
ข้อ ๘ การรับรองสุขอนามัยพืช
๘.๑
ต้องแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชมาพร้อมกับสินค้าหัวมันฝรั่งจากนิวซีแลนด์ทุกครั้งที่มีการนำเข้า
๘.๒
ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
The potatoes in this consignment were produced in New Zealand in accordance with the conditions governing entry of potatoes for consumption to Thailand and inspected and found to be free of quarantine pests. และ The potatoes in this consignment have been washed.
๘.๓
ต้องบันทึกหมายเลขตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางเรือเท่านั้น)
บนใบรับรองสุขอนามัยพืช
ข้อ ๙ การประเมินกระบวนการส่งออก
๙.๑
การส่งออกหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคจากนิวซีแลนด์มายังราชอาณาจักรไทยจะเริ่มได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น
โดยนิวซีแลนด์เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
๙.๒
ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า
กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในนิวซีแลนด์
ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคได้อีกต่อไป
ถ้ากรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น
โดยนิวซีแลนด์เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๙
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สมชาย ชาญณรงค์กุล
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคและดินจากนิวซีแลนด์
แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง
เงื่อนไขการนำเข้ามันฝรั่งเพื่อการบริโภคจากนิวซีแลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๒
พิมลกร/ปรับปรุง
๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๒๓/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ |
611007 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากนิวซีแลนด์ พ.ศ. 2552
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากนิวซีแลนด์
พ.ศ. ๒๕๕๒[๑]
ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปที่นำเข้าเพื่อการค้าจากนิวซีแลนด์เสร็จสิ้นแล้ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา
๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช
ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากนิวซีแลนด์เข้ามาในราชอาณาจักร
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ชนิดพืช
หัวมันฝรั่ง
(potato tuber) Solanum tuberosum
ข้อ ๒ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง
รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปและดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่งจากนิวซีแลนด์
ปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ หน่วยงานที่รับผิดชอบ
๓.๑
ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร
๓.๒
นิวซีแลนด์ คือ Ministry of Agriculture and Forestry, Biosecurity New Zealand (หลังจากนี้ต่อไปจะอ้างถึงว่าเป็น
MAF-BNZ)
ข้อ ๔ การขออนุญาตนำเข้า
๔.๑
ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร
๔.๒
ผู้ที่มีสิทธิยื่นคำขอใบอนุญาตนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปต้องดำเนินธุรกิจโรงงานแปรรูปมันฝรั่ง
๔.๓
ผู้ยื่นคำขอจะได้รับใบอนุญาตนำเข้า ถ้าโรงงานแปรรูปมันฝรั่งมีอุปกรณ์พร้อมสำหรับจัดการกับดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่ง
ส่วนของหัวมันฝรั่งที่คัดทิ้ง และน้ำล้างหัวมันฝรั่งตามที่ระบุไว้ในข้อ ๖ ได้อย่างปลอดภัย
ข้อ ๕ วิธีการขนส่ง
หัวมันฝรั่งต้องส่งมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในนิวซีแลนด์ไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางเรือหรือทางอากาศ
ข้อ ๖ การจดทะเบียนโรงงานแปรรูปมันฝรั่ง
๖.๑
หัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปต้องถูกแปรรูปในโรงงานแปรรูปมันฝรั่งที่จดทะเบียนและรับรองโดยกรมวิชาการเกษตร
เจ้าหน้าที่กักกันพืชต้องตรวจสอบโรงงานแปรรูปมันฝรั่งว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามข้อกำหนด
การรับรองโรงงานแปรรูปมันฝรั่งขึ้นอยู่กับการดำเนินการของบริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนด
ดังนี้
๖.๑.๑
โรงงานแปรรูปมันฝรั่งต้องมีอุปกรณ์ซึ่งเหมาะสมสำหรับการทำความสะอาดและการกำจัดเชื้อ
๖.๑.๒
ต้องนำน้ำจากเครื่องล้างและเครื่องปอกหัวมันฝรั่งไปจัดการ โดยระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้รับการยอมรับหรือระบบกำจัดของเสียอื่น
ๆ ที่ได้รับการยอมรับ
๖.๑.๓
ต้องกำจัดดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่งและเศษเหลือต่าง ๆ
ของมันฝรั่งด้วยวิธีการที่เหมาะสม
๖.๑.๔
บริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปต้องเก็บรักษาข้อมูลจำนวนหัวมันฝรั่งที่นำเข้าและแปรรูป
และต้องไม่นำหัวมันฝรั่งไปทำการแปรรูปที่โรงงานอื่นโดยไม่ผ่านความเห็นชอบก่อนจากกรมวิชาการเกษตร
๖.๒
ต้องตรวจสอบโรงงานแปรรูปหัวมันฝรั่งเป็นประจำทุกปีว่าได้ปฏิบัติตามข้อกำหนด
โดยบริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
๖.๓
โรงงานแปรรูปหัวมันฝรั่งต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดโดยเคร่งครัด
ใบอนุญาตนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจะถูกเพิกถอนถ้าไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด
ข้อ ๗ แหล่งผลิต
๗.๑
บางพื้นที่ในนิวซีแลนด์พบว่ามีการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง pale cyst nematode, Globodera pallida และ golden nematode, Globodera rostochiensis
๗.๒
หัวมันฝรั่งจากทุกแหล่งในนิวซีแลนด์ได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นหัวมันฝรั่งจากพื้นที่ดังต่อไปนี้ห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทย
๗.๒.๑
หัวพันธุ์มันฝรั่งปลูกในแปลงผลิตซึ่งไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับ MAF-BNZ ภายใต้โครงการ
Export Compliance Program for the Provision of Potato Cyst Nematode and Potato Wart Additional Declarations
๗.๒.๒
หัวมันฝรั่งจากแปลงปลูกซึ่งผลการตรวจสอบดินพบไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง
ข้อ ๘ ข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืช
๘.๑
หัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปต้องปลอดจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้
๘.๒
ต้องดำเนินการตรวจไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในดินอย่างเป็นทางการในแปลงปลูกมันฝรั่งก่อนเริ่มปลูกมันฝรั่งหรือก่อนเก็บเกี่ยว
เฉพาะมันฝรั่งปลูกในแปลงปลูกซึ่งปลอดจากไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งเท่านั้นจะได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย
การรับรองไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในแปลงปลูกมันฝรั่งต้องเป็นไปตามวิธีการซึ่งเห็นพ้องร่วมกัน
นอกจากนี้ ต้องตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างดินในห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจาก MAF-BNZ
๘.๓
เพื่อลดความเสี่ยงของไส้เดือนฝอยและโรคพืชที่ทำลายบนหัวมันฝรั่ง ต้องดำเนินมาตรการสุขอนามัยพืชกับหัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง
ดังนี้
๘.๓.๑
ต้องล้างหัวมันฝรั่งด้วยน้ำให้สะอาดจนกระทั่งหัวมันฝรั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
หรือ
๘.๓.๒
กรณีการนำเข้าหัวมันฝรั่งที่ไม่ล้างน้ำ ต้องดำเนินการปัดดินบนหัวมันฝรั่งจนกระทั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
ดินที่มีลักษณะเป็นผงติดมากับหัวมันฝรั่งต้องมีน้ำหนักไม่เกิน ๑๐๐ กรัม
ต่อหัวมันฝรั่งน้ำหนัก ๕๐ กิโลกรัม (เท่ากับร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก) สำหรับดินที่มีลักษณะเป็นก้อนเกาะติดบนหัวมันฝรั่ง
หัวมันฝรั่งซึ่งมีดินลักษณะเป็นก้อนเกาะติดมาครอบคลุมพื้นที่ผิวเกินกว่าร้อยละ ๒๐
ต้องมีไม่เกินจำนวน ๓๐ หัว จากตัวอย่างหัวมันฝรั่งจำนวน ๖๐๐ หัว (เท่ากับร้อยละ ๕)
นอกจากนี้แล้ว ต้องควบคุมการแตกหน่อบนหัวมันฝรั่งด้วยสารยับยั้งความงอก
ข้อ ๙ การรับรองสุขอนามัยพืช
๙.๑
ต้องแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชมาพร้อมกับสินค้าหัวมันฝรั่งจากนิวซีแลนด์ทุกครั้งที่มีการนำเข้า
๙.๒
ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
The potatoes in this consignment were produced in New Zealand in accordance with the conditions governing entry of potatoes for processing to Thailand and inspected and found to be free of quarantine pests. และ The potatoes in this consignment have been washed. หรือ The potatoes in this consignment were treated with a sprout inhibitor.
๙.๓
ต้องบันทึกหมายเลขตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางเรือเท่านั้น) บนใบรับรองสุขอนามัยพืช
ข้อ ๑๐ การประเมินกระบวนการส่งออก
๑๐.๑
การส่งออกหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากนิวซีแลนด์มายังราชอาณาจักรไทยจะเริ่มได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น
โดยนิวซีแลนด์เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
๑๐.๒
ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า
กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในนิวซีแลนด์
ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปได้อีกต่อไป
ถ้ากรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น
โดยนิวซีแลนด์เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๙
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สมชาย ชาญณรงค์กุล
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
รายชื่อศัตรูพืชกักกันของหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปและดินจากนิวซีแลนด์
แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง
เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากนิวซีแลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๒
พิมลกร/ปรับปรุง
๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๑๙/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ |
611003 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากนิวซีแลนด์ พ.ศ. 2552
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากนิวซีแลนด์
พ.ศ. ๒๕๕๒[๑]
ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของหัวพันธุ์มันฝรั่งที่นำเข้าเพื่อการค้าจากนิวซีแลนด์เสร็จสิ้นแล้ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช
ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำหัวพันธุ์มันฝรั่งจากนิวซีแลนด์เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการเพาะปลูก
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ชนิดพืช
หัวพันธุ์มันฝรั่ง
(seed potato) Solanum tuberosum
ข้อ ๒ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง
๒.๑
รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งและดินที่ติดมากับหัวพันธุ์มันฝรั่งจากนิวซีแลนด์
ปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
๒.๒
ศัตรูพืชกักกันของหัวพันธุ์มันฝรั่งที่ต้องมีการจัดการความเสี่ยง คือ
๒.๒.๑
pale nematode, Globodera pallida
๒.๒.๒
golden nematode, Globodera rostochiensis
๒.๒.๓
potato wart, Synchytrium endobioticum
ข้อ ๓ หน่วยงานที่รับผิดชอบ
๓.๑
ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร
๓.๒
นิวซีแลนด์ คือ Ministry of Agriculture and Forestry, Biosecurity New Zealand (หลังจากนี้ต่อไปจะอ้างถึงว่าเป็น
MAF-BNZ)
ข้อ ๔ ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง
การตรวจสอบสำหรับการรับรองสุขอนามัยพืชต้องดำเนินการโดยห้องปฏิบัติการของ
MAF-BNZ หรือห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจาก MAF-BNZ
ข้อ ๕ การขออนุญาตนำเข้า
ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร
ข้อ ๖ วิธีการขนส่ง
หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องส่งมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในนิวซีแลนด์ไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางเรือหรือทางอากาศ
ข้อ ๗ แหล่งผลิต
หัวพันธุ์มันฝรั่งที่ส่งออกมาราชอาณาจักรไทยจะมาจากแหล่งผลิตในนิวซีแลนด์ซึ่งขึ้นทะเบียนไว้กับ
MAF-BNZ เท่านั้น โดย MAF-BNZ
จะให้ข้อมูลแหล่งผลิตที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วทั้งหมดแก่กรมวิชาการเกษตรผ่านทางเว็บไซต์ของ
MAF-BNZ
ข้อ ๘ การผลิตและการรับรอง
๘.๑
การรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่ง
๘.๑.๑
หัวพันธุ์มันฝรั่งจากนิวซีแลนด์ต้องผ่านการตรวจรับรองตามข้อกำหนดของหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองและระบบการตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งที่เป็นที่ยอมรับ
หน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งแห่งนิวซีแลนด์ (New Zealand Seed Potato Certification Authority)
ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในนิวซีแลนด์
๘.๑.๒
เฉพาะหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งได้รับการตรวจรับรองจากหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งแห่งนิวซีแลนด์ว่าเป็นหัวพันธุ์มันฝรั่งที่ผลิตมาจากระบบ
Pathogen Tested (PT) และ Open เท่านั้น ถึงจะได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย
๘.๑.๓
ยกเว้นกรณีที่ได้ระบุไว้
การผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องผ่านการตรวจรับรองให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในระบบการตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งแห่งนิวซีแลนด์
(New Zealand Seed Potato Certification Scheme)
ซึ่งระบบดังกล่าวนี้ผ่านการเห็นชอบแล้วจากหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งแห่งนิวซีแลนด์
๘.๑.๔
หน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองจะออกบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งต่อเมื่อหัวพันธุ์มันฝรั่งเป็นไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองเท่านั้น
หมายเลขการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องระบุไว้บนบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งและใบรับรองสุขอนามัยพืช
ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างรวดเร็วกรณีที่พบว่าหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้ามีปัญหา
๘.๒
การรับรองด้านสุขอนามัยพืช
หน่วยงาน
MAF-BNZ
มีหน้าที่รับผิดชอบสำหรับการรับรองอย่างเป็นทางการว่าหัวพันธุ์มันฝรั่งเป็นไปตามข้อกำหนดด้านสุขอนามัยพืชทุกประการตามประกาศฉบับนี้
ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับดิน
๙.๑
ต้องจัดการกับดินให้หัวพันธุ์มันฝรั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
๙.๒
ดินที่มีลักษณะเป็นผงติดมากับหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องมีน้ำหนักไม่เกิน ๑๐๐
กรัมต่อหัวพันธุ์มันฝรั่งน้ำหนัก ๕๐ กิโลกรัม (เท่ากับร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก)
สำหรับดินที่มีลักษณะเป็นก้อนเกาะติดบนหัวพันธุ์มันฝรั่ง
หัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งมีดินลักษณะเป็นก้อนเกาะติดมาครอบคลุมพื้นที่ผิวเกินกว่าร้อยละ
๒๐ ต้องมีไม่เกินจำนวน ๓๐ หัว จากตัวอย่างหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวน ๖๐๐ หัว (เท่ากับร้อยละ
๕)
ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับไส้เดือนฝอยศัตรูพืชกักกัน
๑๐.๑
บางพื้นที่ในนิวซีแลนด์พบว่ามีการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง pale cyst nematode, Globodera pallida และ golden nematode, Globodera rostochiensis
๑๐.๒
หัวพันธุ์มันฝรั่งปลูกในแปลงผลิตซึ่งไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับ MAF-BNZ ภายใต้โครงการ
Export Compliance Program for the Provision of Potato Cyst Nematode and Potato Wart Additional Declarations ไม่มีสิทธิที่ MAF-BNZ
จะให้การรับรองด้านสุขอนามัยพืชโดยการรับรองพิเศษว่าเป็นหัวพันธุ์มันฝรั่งมาจากแหล่งผลิตปลอดศัตรูพืชที่กำหนด
นอกจากนี้
ยังห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งผลการตรวจสอบดินพบไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง
๑๐.๓
ต้องมีการบังคับใช้โครงการ Export Compliance Program for the Provision of Potato Cyst Nematode and Potato Wart Additional Declarations ซึ่งกำหนดโดย MAF-BNZ
เพื่อจำกัดการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายพืชหรือสิ่งอื่นใดซึ่งอาจทำให้ไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งเกิดการแพร่กระจายออกไปจากพื้นที่ที่มีการระบาด
๑๐.๔
หัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งผลิตเพื่อส่งออกมายังราชอาณาจักรไทยต้องอยู่ภายใต้โครงการ Export Compliance Program for the Provision of Potato Cyst Nematode and Potato Wart Additional Declarations ซึ่งกำหนดโดย MAF-BNZ
๑๐.๕
ต้องดำเนินการตรวจไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในดินอย่างเป็นทางการในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งก่อนเริ่มปลูกมันฝรั่งหรือก่อนเก็บเกี่ยว
เฉพาะหัวพันธุ์มันฝรั่งปลูกในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งปลอดจากไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งเท่านั้นจะได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย
การรับรองไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องเป็นไปตามวิธีการซึ่งเห็นพ้องร่วมกัน
นอกจากนี้ ต้องตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างดินในห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจาก MAF-BNZ
๑๐.๖
นอกจากไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งแล้ว หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องมาจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งปราศจากไส้เดือนฝอยศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้
โดยอาศัยข้อมูลจากการเฝ้าระวังอย่างเป็นทางการ
ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับโรคพืชกักกันซึ่งมีสาเหตุมาจากรา
๑๑.๑
โรค potato wart, Synchytrium endobioticum
๑๑.๑.๑
ห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งมาจากแปลงผลิตหัวพันธุ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรค
potato wart
๑๑.๑.๒
หัวพันธุ์มันฝรั่งที่จะส่งออกมายังราชอาณาจักรไทยต้องผลิตจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งไม่เคยมีรายงานการตรวจพบโรค
potato wart อย่างน้อยเป็นระยะทาง ๑๕ กิโลเมตรจากแปลงปลูกมันฝรั่งที่พบโรค
potato wart
๑๑.๑.๓
ต้องมีการบังคับใช้โครงการ Export Compliance Program for the Provision of Potato Cyst Nematode and Potato Wart Additional Declarations ซึ่งกำหนดโดย MAF-BNZ เพื่อจำกัดการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายพืชหรือสิ่งอื่นใดซึ่งอาจทำให้โรค
potato wart
ของมันฝรั่งเกิดการแพร่กระจายออกไปจากพื้นที่ที่มีการระบาด
๑๑.๑.๔
หัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งผลิตเพื่อส่งออกมายังราชอาณาจักรไทยต้องอยู่ภายใต้โครงการ Export Compliance Program for the Provision of Potato Cyst Nematode and Potato Wart Additional Declarations ซึ่งกำหนดโดย MAF-BNZ
๑๑.๒
ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรค powdery scab
ซึ่งมีสาเหตุจากรา Spongospora subterranea ต้องมีหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวนไม่เกินร้อยละ ๒
ซึ่งแสดงอาการของโรคที่สามารถตรวจพบได้ ระดับของโรค powdery scab ซึ่งแสดงอาการที่สามารถตรวจพบได้คือ จำนวน ๕ รอยแผลหรือมากกว่าต่อหัว
๑๑.๓
ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรค skin spot ซึ่งมีสาเหตุจากรา
Polyscytalum pustulans ต้องมีหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวนไม่เกินร้อยละ ๒
ซึ่งแสดงอาการของโรคที่สามารถตรวจพบได้ ระดับของโรค skin spot ซึ่งแสดงอาการที่สามารถตรวจพบได้คือ จำนวน ๕ รอยแผลหรือมากกว่าต่อหัว
ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับโรคพืชกักกันซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัส
๑๒.๑
หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องปลูกในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองได้ตรวจอาการของโรคที่เกิดจากไวรัสบนต้นมันฝรั่งด้วยสายตาในระหว่างช่วงฤดูปลูกตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระบบการตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งแห่งนิวซีแลนด์
และต้องปลอดจากโรคมันฝรั่งซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัสศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
นอกจากนี้ ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรคซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัสทุกชนิดนอกเหนือจากไวรัสศัตรูพืชกักกันในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องไม่เกินร้อยละ
๐.๑
๑๒.๒
นอกเหนือจากการตรวจอาการของโรคที่เกิดจากไวรัสบนต้นมันฝรั่งด้วยสายตาแล้ว
ต้องตรวจวิเคราะห์การทำลายของโรค Potato virus Y (PVY) และ Potato leaf roll virus (PLRV) บนหัวพันธุ์มันฝรั่งในห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองตามวิธีการซึ่งเห็นพ้องร่วมกัน
ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรค PVY และ PLRV บนหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงปลูกที่กำหนดต้องไม่เกินร้อยละ ๔
ปัจจุบันวิธีการซึ่งเห็นพ้องร่วมกันสำหรับตรวจหาการทำลายของโรค PVY และ PLRV จากใบและหน่อ มีรายละเอียด ดังนี้
๑๒.๒.๑
ตรวจจากใบ :
เก็บรวบรวมใบมันฝรั่งจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งก่อนการฉีดพ่นสารเคมีทำลายต้นมันฝรั่ง
และตรวจวิเคราะห์ใบด้วยเทคนิค ELISA ตามกระบวนการ ดังต่อไปนี้
(ก)
วิธีการตรวจไวรัสประกอบด้วยการเก็บใบมันฝรั่งจำนวน ๓๐๐ ใบ จากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่กำหนด
(ต่อพื้นที่แปลงผลิตหัวพันธุ์ ๑๐ เฮกแท) มัดรวมกัน ๑๕ มัด มัดละ ๒๐ ใบ
(ข)
สำหรับการตรวจหาระดับการทำลายของไวรัสที่น้อยกว่าร้อยละ ๔
ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ ๙๕ นั้น
หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องถูกปฏิเสธการส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยหากจำนวน ๖
การทดสอบจากจำนวน ๑๕ การทดสอบแสดงผลบวก
๑๒.๒.๒
ตรวจจากหน่อ : ตรวจวิเคราะห์หน่อด้วยเทคนิค ELISA ตามกระบวนการ ดังต่อไปนี้
(ก)
สุ่มหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวน ๓๐๐ หัว จากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่กำหนด
(ต่อพื้นที่แปลงผลิตหัวพันธุ์ ๑๐ เฮกแท) ในระหว่างการเก็บเกี่ยวหรือจากสินค้าส่งออกเฉือนตามันฝรั่งและนำไปเพาะไว้ในโรงเรือน
(ข)
สุ่มหน่อจากหัวพันธุ์มันฝรั่งแยกรวมกันเป็น ๑๕ กลุ่ม แต่ละกลุ่มมี ๒๐ หน่อ
สำหรับการตรวจหาระดับการทำลายของไวรัสที่น้อยกว่าร้อยละ ๔ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ
๙๕ นั้น หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องถูกปฏิเสธการส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยหากจำนวน ๖
การทดสอบจากจำนวน ๑๕ การทดสอบแสดงผลบวก
๑๒.๓
ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองต้องเก็บรักษาใบรายงานผลการตรวจการทำลายของโรค PVY และ PLRV บนหัวพันธุ์มันฝรั่งในห้องปฏิบัติการและต้องส่งมอบให้แก่กรมวิชาการเกษตร
เมื่อได้รับการร้องขอใบรายงานผลการตรวจควรมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการตรวจสอบย้อนกลับ
เช่น เกษตรกร ผู้ส่งออก หมายเลขการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่ง จำนวนตัวอย่างที่ตรวจ
และผลการตรวจ เป็นต้น
ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก
๑๓.๑
ต้องบรรจุหัวพันธุ์มันฝรั่งน้ำหนัก ๒๕ - ๕๐ กิโลกรัม
ในกระสอบซึ่งต้องเป็นกระสอบใหม่และปิดปากกระสอบเมื่อบรรจุหัวพันธุ์มันฝรั่งแล้ว
๑๓.๒
ต้องติดบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งบนกระสอบบรรจุหัวพันธุ์มันฝรั่งรายละเอียดของฉลากบนบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งแห่งนิวซีแลนด์
ข้อ ๑๔ การตรวจก่อนส่งออก
๑๔.๑
หัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเป็นสินค้าที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องผ่านการตรวจของเจ้าหน้าที่ก่อนหรือระหว่างการขนถ่ายช่วงสุดท้ายของการขนส่ง
เมื่อดำเนินการตรวจเสร็จสิ้นแล้วต้องปิดตู้และปิดผนึกตู้ขนส่งสินค้าโดยทันที
๑๔.๒
เจ้าหน้าที่ต้องออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้เท่านั้น
ข้อ ๑๕ การรับรองสุขอนามัยพืช
๑๕.๑
ต้องแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชมาพร้อมกับสินค้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากนิวซีแลนด์ทุกครั้งที่มีการนำเข้า
๑๕.๒
ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
The seed potatoes in this consignment were produced in New Zealand in accordance with the conditions governing entry of seed potatoes to Thailand.
๑๕.๓
ต้องบันทึกหมายเลขตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางเรือเท่านั้น)
และหมายเลขการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งของหัวพันธุ์มันฝรั่งในแต่ละตู้ขนส่งสินค้าบนใบรับรองสุขอนามัยพืช
ข้อ ๑๖ การตรวจเมื่อนำเข้า
๑๖.๑
เมื่อหัวพันธุ์มันฝรั่งมาถึงยังด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย
การตรวจหัวพันธุ์มันฝรั่งจะดำเนินการหลังจากที่มีการตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้าแล้ว
๑๖.๒
กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งกลับหรือสั่งให้ทำลายซึ่งหัวพันธุ์มันฝรั่งโดยผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
ในกรณีที่การรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งไม่เป็นไปตามข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืช
หรือผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าชำรุดหรือเสียหาย
๑๖.๓ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
หรือตรวจพบว่าเกินกว่าระดับที่ยอมรับได้ในระหว่างการตรวจนำเข้า หัวพันธุ์มันฝรั่งดังกล่าวต้องถูกส่งกลับหรือถูกทำลายโดยผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งให้
MAF-BNZ ทราบถึงการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด และขึ้นอยู่กับสภาวการณ์กรมวิชาการเกษตรอาจระงับการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากกองนั้น
แปลงผลิต รัฐ หรือทั้งประเทศ
๑๖.๔
MAF-BNZ ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข
กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้า
เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุของการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดและได้มีการดำเนินการแก้ไขแล้วจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร
๑๖.๕
ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ยังคงมีชีวิตและไม่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
ซึ่งมีศักยภาพสำคัญด้านกักกันพืชต่อราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับทำลาย
หรือกำจัดศัตรูพืชบนหัวพันธุ์มันฝรั่งด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด)
โดยผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้หยุดการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราวได้
จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ
๑๖.๖
ถึงแม้ว่าหัวพันธุ์มันฝรั่งจะได้รับการตรวจปล่อยให้นำออกไปจากด่านนำเข้าแล้วถ้ามีเหตุอันควรเชื่อจากหลักฐานว่าหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้าจากบางแหล่งผลิตซึ่งอาจมีศัตรูพืชกักกันติดมาด้วย
หัวพันธุ์มันฝรั่งจะถูกสั่งระงับไม่ให้นำไปปลูกและต้องถูกดำเนินมาตรการทางสุขอนามัยพืชที่เหมาะสม
เพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูพืชกักกันแพร่กระจายออกไปภายใต้คำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร
ผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินมาตรการดังกล่าวนั้น
๑๖.๗
ผู้นำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องส่งรายละเอียดผู้ปลูกและพื้นที่ที่ปลูกหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้าแก่กรมวิชาการเกษตรทันทีเมื่อได้รับการร้องขอ
นอกจากนี้
ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจมีศัตรูพืชกักกันของมันฝรั่งในแปลงปลูกมันฝรั่ง
เจ้าหน้าที่กักกันพืชต้องดำเนินการสำรวจแปลงปลูกมันฝรั่งโดยทันที
ผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการสำรวจดังกล่าวนั้น
ข้อ ๑๗ การประเมินกระบวนการส่งออก
๑๗.๑
การส่งออกหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแหล่งผลิตตามที่ระบุไว้ในข้อ ๗ ในนิวซีแลนด์มายังราชอาณาจักรไทย
จะเริ่มได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกหัวพันธุ์มันฝรั่งแล้วเท่านั้น
โดยนิวซีแลนด์เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
๑๗.๒
ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า
กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในนิวซีแลนด์ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งได้อีกต่อไปถ้ากรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น
โดยนิวซีแลนด์เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๙
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สมชาย ชาญณรงค์กุล
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
รายชื่อศัตรูพืชกักกันของหัวพันธุ์มันฝรั่งและดินจากนิวซีแลนด์
แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง
เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากนิวซีแลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๒
พิมลกร/ปรับปรุง
๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๑๑/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ |
610695 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง สิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช (ฉบับที่ 6)
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
สิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
(ฉบับที่ ๖)[๑]
ตามมาตรา
๘ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดให้การนำเข้าหรือนำผ่านสิ่งต้องห้ามเพื่อการค้า จะต้องผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจึงประกาศชนิดของสิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เส้นใยมะพร้าวจากสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา
ข้อ ๒ การนำเข้าพืชตามข้อ ๑
ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการนำเข้าหรือนำผ่านซึ่งสิ่งต้องห้าม สิ่งกำกัด และสิ่งไม่ต้องห้าม
พ.ศ. ๒๕๕๑
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒
สมชาย ชาญณรงค์กุล
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒
พิมลกร/ปรับปรุง
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๕ ง/หน้า ๔๐/๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ |
607118 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง สิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช (ฉบับที่ 5)
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
สิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช (ฉบับที่ ๕)[๑]
ตามมาตรา
๘ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดให้การนำเข้าหรือนำผ่านสิ่งต้องห้ามเพื่อการค้าจะต้องผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจึงประกาศชนิดของสิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ มันสำปะหลัง Manihot esculenta Crantz
ได้แก่ หัวมันสด จากสหภาพพม่า
ข้อ ๒ ไข่ไหม จากสาธารณรัฐประชาชนจีน
ข้อ ๓ การนำเข้าพืชตามข้อ ๑ และข้อ ๒
ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการนำเข้าหรือนำผ่านซึ่งสิ่งต้องห้าม สิ่งกำกัด และสิ่งไม่ต้องห้าม
พ.ศ. ๒๕๕๑
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สมชาย ชาญณรงค์กุล
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๒
พิมลกร/ปรับปรุง
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๘๖ ง/หน้า ๕๔/๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๒ |
605425 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง สิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช (ฉบับที่ 4)
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
สิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช (ฉบับที่ ๔)[๑]
ตามมาตรา
๘ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดให้การนำเข้าหรือนำผ่านสิ่งต้องห้ามเพื่อการค้าจะต้องผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจึงประกาศชนิดของสิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ มันสำปะหลัง Manihot esculenta Crantz ได้แก่
หัวมันสด จากราชอาณาจักรกัมพูชาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ข้อ ๒ การนำเข้าพืชตามข้อ ๑
ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการนำเข้าหรือนำผ่านซึ่งสิ่งต้องห้าม สิ่งกำกัด และสิ่งไม่ต้องห้าม
พ.ศ. ๒๕๕๑
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สมชาย ชาญณรงค์กุล
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒ มิถุนายน ๒๕๕๒
พิมลกร/ปรับปรุง
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๒๙/๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒ |
605323 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง สิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช (ฉบับที่ 3)
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
สิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
(ฉบับที่ ๓)[๑]
ตามมาตรา
๘ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดให้การนำเข้าหรือนำผ่านสิ่งต้องห้ามเพื่อการค้าจะต้องผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจึงประกาศชนิดของสิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ตัวไหม ได้แก่
ดักแด้แช่แข็งจากสาธารณรัฐประชาชนจีน
ข้อ ๒ การนำเข้าพืชตามข้อ ๑
ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการนำเข้าหรือนำผ่านซึ่งสิ่งต้องห้าม สิ่งกำกัด และสิ่งไม่ต้องห้าม พ.ศ.
๒๕๕๑
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒
สมชาย ชาญณรงค์กุล
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๔ มิถุนายน ๒๕๕๒
พิมลกร/ปรับปรุง
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๒๐/๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ |
604011 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชเป็นพืชควบคุมเฉพาะ พ.ศ. 2552
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดพืชเป็นพืชควบคุมเฉพาะ
พ.ศ. ๒๕๕๒
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๕ เบญจ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้พืชตามท้ายประกาศนี้เป็นพืชควบคุมเฉพาะ
ข้อ ๒ การส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งพืชควบคุมเฉพาะตามข้อ
๑ ไปยังประเทศตามท้ายประกาศนี้ ต้องผ่านการตรวจสอบเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
ข้อ ๓ ชนิดของเชื้อจุลินทรีย์
หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ที่จะตรวจสอบ
ให้เป็นไปตามท้ายประกาศนี้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒
ธีระ วงศ์สมุทร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
รายชื่อชนิดพืช ประเทศ และเชื้อจุลินทรีย์
หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์
แนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชเป็นพืชควบคุมเฉพาะ พ.ศ. ๒๕๕๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒
พิมลกร/ปรับปรุง
๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๕๔/๒๙ เมษายน ๒๕๕๒ |
603438 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง สิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช (ฉบับที่ 2)
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
สิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
(ฉบับที่ ๒)[๑]
ตามมาตรา
๘ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดให้การนำเข้าหรือนำผ่านสิ่งต้องห้ามเพื่อการค้าจะต้องผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจึงประกาศชนิดของสิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ มันสำปะหลัง Manihot esculenta Crantz
ได้แก่ มันเส้น จากราชอาณาจักรกัมพูชา
ข้อ ๒ การนำเข้าพืชตามข้อ ๑
ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการนำเข้าหรือนำผ่านซึ่งสิ่งต้องห้าม สิ่งกำกัด และสิ่งไม่ต้องห้าม พ.ศ.
๒๕๕๑
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒
สมชาย ชาญณรงค์กุล
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๘ เมษายน ๒๕๕๒
พิมลกร/ปรับปรุง
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๑ ง/หน้า ๕๖/๘ เมษายน ๒๕๕๒ |
599467 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง สิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
สิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช[๑]
ตามมาตรา
๘ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
กำหนดให้การนำเข้าหรือนำผ่านสิ่งต้องห้ามเพื่อการค้าจะต้องผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจึงประกาศชนิดของสิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ พืชตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้ได้ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชแล้ว
ข้อ ๒ การนำเข้าพืชตามข้อ ๑
ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการนำเข้าหรือนำผ่านซึ่งสิ่งต้องห้าม สิ่งกำกัด และสิ่งไม่ต้องห้าม
พ.ศ. ๒๕๕๑
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒
สมชาย ชาญณรงค์กุล
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายชื่อพืชแนบท้าย
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง สิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๕ มีนาคม ๒๕๕๒
พิมลกร/ปรับปรุง
๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๓๑ ง/หน้า ๓๕/๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
695933 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจดทะเบียนผู้ส่งออกผักชีไปประเทศสิงคโปร์และไต้หวัน พ.ศ. 2551 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการจดทะเบียนผู้ส่งออกผักชีไปประเทศสิงคโปร์และไต้หวัน
พ.ศ.
๒๕๕๑[๑]
ด้วยปรากฏว่าสินค้าผักชีที่ส่งออกจากประเทศไทยไปยังประเทศสิงคโปร์และไต้หวันมีการตรวจพบสารตกค้างอย่างต่อเนื่อง
ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศไทย ดังนั้น
เพื่อให้การกำกับดูแลและควบคุมการส่งออกผักชีไปประเทศสิงคโปร์และไต้หวัน
ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นการประกันคุณภาพผักชีส่งออก
ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนการผลิตและการส่งออก
อันจะเป็นผลดีกับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ กรมวิชาการเกษตรจึงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกผักชีไปประเทศสิงคโปร์และไต้หวัน ดังต่อไปนี้
๑. ในประกาศนี้
ผักชี หมายความว่า ส่วนหนึ่งส่วนใด
หรือทุกส่วนของผักชีที่ส่งออกในสภาพสด
โรงคัดบรรจุ
หมายความว่า สถานประกอบการที่มีการรวบรวม ล้าง ตัดแต่ง
บรรจุสินค้าผักชีในบรรจุภัณฑ์ที่พร้อมจำหน่ายเพื่อการส่งออก
ผู้ส่งออก
หมายความว่า บุคคล
หรือนิติบุคคลที่มีการส่งออกสินค้าผักชีไปประเทศสิงคโปร์และไต้หวัน
๒.
การยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออก
ให้ผู้ประสงค์จะส่งออกสินค้าผักชีไปประเทศสิงคโปร์และไต้หวัน
ยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกตามแบบ ศบส. ๐๐๙ ท้ายประกาศนี้ ต่อเจ้าหน้าที่ ณ
ศูนย์บริการทางวิชาการแบบเบ็ดเสร็จ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พร้อมเอกสารหลักฐาน ดังนี้
(๑) ในกรณีผู้ขอเป็นบุคคลธรรมดา
(ก)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน ๑ ฉบับ
(ข)
สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ที่ระบุชนิดแห่งพาณิชย์ถือว่าเป็นผู้ส่งออกผักสดหรือสินค้าเกษตรกรรม
จำนวน ๑ ฉบับ
(ค)
สำเนาหนังสือรับรอง GAP
แหล่งผลิตทั้งหมดที่ส่งออก และ
(ง)
สำเนาหนังสือรับรอง GMP
ของโรงคัดบรรจุทั้งหมด
(๒) ในกรณีผู้ขอเป็นนิติบุคคล
(ก)
สำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท (กรณีบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด)
หรือของหุ้นส่วนผู้จัดการ (กรณีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล)
แล้วแต่กรณี จำนวน ๑ ฉบับ
(ข)
สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท แสดงรายการทะเบียนที่มีวัตถุประสงค์การดำเนินการเกี่ยวกับผักและผลไม้สดหรือสินค้าเกษตรกรรม
ตลอดทั้งชื่อกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ซึ่งออกให้ไม่เกินหกเดือน จำนวน ๑ ฉบับ
(ค)
สำเนาหนังสือรับรอง GAP
แหล่งผลิตทั้งหมดที่ส่งออก และ
(ง)
สำเนาหนังสือรับรอง GMP
ของโรงคัดบรรจุทั้งหมด
๓.
ขั้นตอนการขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสินค้าผักชีไปประเทศสิงคโปร์และไต้หวัน
(๑)
การรับจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสินค้าผักชีไปประเทศสิงคโปร์และไต้หวัน
เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอแล้ว
ให้ตรวจสอบหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ ถ้าเอกสารหลักฐานครบถ้วนให้เสนออธิบดีกรมวิชาการเกษตรเพื่อพิจารณารับจดทะเบียน
และออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสินค้าผักชีไปประเทศสิงคโปร์และไต้หวัน
ตามแบบ ศบส.
010
แนบท้ายประกาศนี้
(๒) อายุของหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสินค้าผักชีไปประเทศสิงคโปร์และไต้หวัน
หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสินค้าผักชีไปประเทศสิงคโปร์และไต้หวันมีอายุสองปี
นับแต่วันออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน
๔.
เงื่อนไขที่ผู้ได้รับหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสินค้าผักชีไปประเทศสิงคโปร์และไต้หวันต้องปฏิบัติ
(๑) จัดให้มีการติดป้าย หรือฉลาก
หรือประทับข้อความเป็นภาษาอังกฤษที่ภาชนะบรรจุโดยต้องแสดง ดังนี้
(ก)
หมายเลขทะเบียนผู้ส่งออก
(ข)
ชื่อผู้ประกอบการ/ผู้ส่งออก
(ค)
ชื่อสามัญของพืช
(ง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ของพืช
(จ)
รหัสรุ่นที่ผลิต (Lot
No.
หรือ Batch
No.
หรือ Code
No.)
(ฉ)
ประเทศผู้ผลิต
(๒)
ต้องแจ้งข้อมูลแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมแหล่งผลิต (GAP)
และโรงคัดบรรจุ (GMP)
หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยด้านอาหารภายใน ๗ วัน นับแต่วันเปลี่ยนแปลงข้อมูล
๕. บทกำหนดโทษ
ผู้ได้รับหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสินค้าผักชีไปประเทศสิงคโปร์และไต้หวันไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศนี้หรือประกาศใด
ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งออกโดยกรมวิชาการเกษตร กรมวิชาการเกษตรจะพิจารณาสั่งให้แก้ไข
หรือสั่งพักใช้ หรือเพิกถอนหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกได้
๖. บทยกเว้น
การนำติดตัวออกไปซึ่งผักชีไปประเทศสิงคโปร์และไต้หวันเพื่อใช้เฉพาะตัวหรือเป็นตัวอย่าง
ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ.
๒๕๕๑
เมทนี
สุคนธรักษ์
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. คำร้องขอหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสินค้าผักชีไปประเทศสิงคโปร์และไต้หวัน
ภายใต้การกำกับดูแลของกรมวิชาการเกษตร (แบบ ศบส. ๐๐๙)
๒. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสินค้าผักชีไปประเทศสิงคโปร์และไต้หวัน
(แบบ ศบส. ๐๑๐)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๔
ตุลาคม ๒๕๕๕
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔
ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๓๖ ง/หน้า ๑๒/๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ |
695931 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชสำหรับการส่งออกสินค้าผักและผลไม้สดไปประเทศนอร์เวย์ พ.ศ. 2551
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง หลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืช
สำหรับการส่งออกสินค้าผักและผลไม้สดไปประเทศนอร์เวย์
พ.ศ. ๒๕๕๑
ด้วยปรากฏว่า
สินค้าเกษตรที่ส่งออกจากประเทศไทย โดยเฉพาะสินค้าผัก ผลไม้ ไปประเทศนอร์เวย์
มีการตรวจพบสารพิษตกค้าง การปนเปื้อนจุลินทรีย์ และศัตรูพืชอย่างต่อเนื่อง
ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศไทย ดังนั้น
เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาดังกล่าว และส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตร
ทำให้เกิดความมั่นใจในความปลอดภัยของสินค้าเกษตรที่ส่งออก
อาศัยอำนาจตามความในกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืช พ.ศ.
๒๕๕๐ กรมวิชาการเกษตรจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ผู้ประสงค์จะขอใบรับรองปลอดศัตรูพืชสำหรับส่งออกสินค้าผักและผลไม้สดไปยังประเทศนอร์เวย์
ต้องจดทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร
ข้อ ๒
สินค้าผักและผลไม้สดที่ส่งออกต้องผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม (Good
Agricultural
Practice
:
GAP)
และมาจากโรงคัดบรรจุที่ผ่านการรับรองคุณภาพและมาตรฐานตามระบบการผลิตที่ดี (Good
Manufacturing
Practice
:
GMP)
จากกรมวิชาการเกษตร
ข้อ ๓ หากตรวจพบว่าผู้ส่งออกไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑
หรือสินค้าผักและผลไม้สดไม่เป็นไปตามข้อ ๒ ณ จุดส่งออก
พนักงานเจ้าหน้าที่จะปฏิเสธการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชแก่ผู้ส่งออก
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
พฤษภาคม พ.ศ.
๒๕๕๑
เมทนี สุคนธรักษ์
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
ศรตม์/ผู้จัดทำ
๒๒
พฤศจิกายน ๒๕๕๕
พิมลกร/ปรับปรุง
๔
ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๔ ง/หน้า ๑๑/๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ |
695927 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจดทะเบียนผู้ส่งออกผักและผลไม้สดไปสหภาพยุโรป | ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจดทะเบียนผู้ส่งออกผักและผลไม้สด ไปสหภาพยุโรป[๑]
ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชสำหรับการส่งออกผักและผลไม้สดไปสหภาพยุโรป
พ.ศ.
๒๕๕๐ กำหนดให้ผู้ส่งออกสินค้าผักและผลไม้สดไปสหภาพยุโรป
ต้องจดทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร นั้น
เพื่อให้การควบคุมระบบการตรวจสอบรับรองสินค้าผักและผลไม้สดส่งออกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และเป็นไปตามประกาศดังกล่าว กรมวิชาการเกษตรจึงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกผักและผลไม้สดไปสหภาพยุโรป
ดังต่อไปนี้
๑.
ในประกาศนี้
ผักและผลไม้สด
หมายความว่า ส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมดของพืชประเภทผักและผลไม้ที่ส่งออกในสภาพสด
โรงคัดบรรจุ
หมายความว่า สถานประกอบการที่มีการรวบรวม ล้าง ตัดแต่ง บรรจุสินค้าในบรรจุภัณฑ์ที่พร้อมจำหน่ายเพื่อการส่งออก
ผู้ส่งออก
หมายความว่า บุคคล หรือนิติบุคคลที่มีการส่งออกสินค้าผักและผลไม้สดไปสหภาพยุโรป
๒.
การยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออก
ให้ผู้ประสงค์จะส่งออกผักและผลไม้สดไปสหภาพยุโรป
ยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกตามแบบ ศบส. ๐๐๕ ท้ายประกาศนี้ ต่อเจ้าหน้าที่ ณ
ศูนย์บริการทางวิชาการแบบเบ็ดเสร็จกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พร้อมเอกสารหลักฐาน ดังนี้
๒.๑
ในกรณีผู้ขอเป็นบุคคลธรรมดา
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน ๑ ฉบับ
(๒)
สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ที่ระบุชนิดแห่งพาณิชย์ถือว่าเป็นผู้ส่งออกผักและผลไม้สด
หรือสินค้าเกษตรกรรม จำนวน ๑ ฉบับ
(๓)
สำเนาหนังสือรับรอง GAP
แหล่งผลิตทั้งหมดที่ส่งออก และ
(๔)
สำเนาหนังสือรับรอง GMP
ของโรงคัดบรรจุทั้งหมด
๒.๒
ในกรณีผู้ขอเป็นนิติบุคคล
(๑)
สำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท (กรณีบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด)
หรือของหุ้นส่วนผู้จัดการ (กรณีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล)
แล้วแต่กรณี จำนวน ๑ ฉบับ
(๒)
สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
แสดงรายการจดทะเบียนที่มีวัตถุประสงค์การดำเนินการเกี่ยวกับผักและผลไม้สด
หรือสินค้าเกษตรกรรม ตลอดทั้งชื่อกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท
หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งออกให้ไม่เกินหกเดือน จำนวน ๑ ฉบับ
(๓)
สำเนาหนังสือรับรอง GAP
แหล่งผลิตทั้งหมดที่ส่งออก และ
(๔)
สำเนาหนังสือรับรอง GMP
ของโรงคัดบรรจุทั้งหมด
๓.
ขั้นตอนการขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออก
๓.๑
การรับจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออก
เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอแล้ว
ให้ตรวจสอบหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ ถ้าเอกสารหลักฐานครบถ้วนให้เสนออธิบดีกรมวิชาการเกษตรเพื่อพิจารณารับจดทะเบียน
และออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออก ตามแบบ ศบส.
๐๐๖ แนบท้ายประกาศนี้
๓.๒
อายุของหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออก
หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกมีอายุสองปี
นับแต่วันออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออก
๔.
เงื่อนไขที่ผู้ได้รับหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออก
ต้องปฏิบัติ
๔.๑
จัดให้มีการติดป้าย หรือฉลาก
หรือประทับข้อความเป็นภาษาอังกฤษที่ภาชนะบรรจุโดยต้องแสดง ดังนี้
-
หมายเลขทะเบียนผู้ส่งออก
-
ชื่อผู้ประกอบการ /ผู้ส่งออก
-
ชื่อสามัญของพืช
-
ชื่อวิทยาศาสตร์ของพืช
-
รหัสรุ่นที่ผลิต (Lot
No.
หรือ Batch
No.
หรือ Code
No.)
-
ประเทศผู้ผลิต
๔.๒
ต้องแจ้งข้อมูลแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแหล่งผลิตผักและผลไม้สด
และโรงคัดบรรจุ หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยด้านอาหาร ภายใน ๗
วันนับแต่วันเปลี่ยนแปลงข้อมูล
๕. บทกำหนดโทษ
ผู้ได้รับหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
หรือประกาศใด ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งออกโดยกรมวิชาการเกษตร
กรมวิชาการเกษตรจะพิจารณาสั่งให้แก้ไข หรือสั่งพักใช้
หรือเพิกถอนหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกได้
๖.
บทยกเว้น
การนำติดตัวออกไปซึ่งผักและผลไม้สดไปสหภาพยุโรป
เพื่อใช้เฉพาะตัวหรือเป็นตัวอย่าง ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม พ.ศ.
๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ.
๒๕๕๐
เมทนี
สุคนธรักษ์
ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. คำร้องขอหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกผักและผลไม้สดไปสหภาพยุโรป
ภายใต้การกำกับดูแลของกรมวิชาการเกษตร (แบบ คบส. ๐๐๕)
๒.
หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งผักและผลไม้สดไปสหภาพยุโรป (แบบ คบส. ๐๐๖)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ศรตม์/ผู้จัดทำ
๒๑
พฤศจิกายน ๒๕๕๕
พลัฐวัษ/ตรวจ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๒๖/๒๘ มกราคม ๒๕๕๑ |
589704 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำเข้า สิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช พ.ศ. 2551
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการนำเข้า สิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
พ.ศ. ๒๕๕๑
ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง เพิกถอนสิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช พ.ศ. ๒๕๕๑
ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เพิกถอนพืชที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชออกจากการเป็นสิ่งต้องห้าม
การนำเข้าพืชดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดังกล่าว อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ใดประสงค์จะนำสิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชจากแหล่งที่กำหนดตามท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง เพิกถอนสิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช พ.ศ. ๒๕๕๑
ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เข้ามาในราชอาณาจักรต้องแจ้งการนำเข้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ณ ด่านตรวจพืชที่นำเข้า พร้อมแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชกำกับมาด้วย
ข้อ ๒ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งตามข้อ ๑
แล้ว หากเห็นว่าเอกสารและรายละเอียดถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้สุ่มเก็บตัวอย่างพืช
เพื่อตรวจสอบศัตรูพืชประกอบการตรวจปล่อย
ข้อ ๓ ในกรณีตรวจไม่พบศัตรูพืชกักกันให้ทำการตรวจปล่อย
ข้อ ๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่กักสิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
ณ ด่านตรวจพืช หรือสถานกักพืช หรือสถานที่อื่นใด ในระหว่างการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืช
ซึ่งอาจเป็นหรือมีศัตรูพืชที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงมาก
ประกาศฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑
เมทนี สุคนธรักษ์
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๑
พิมลกร/ปรับปรุง
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๗ ง/หน้า ๘/๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๑ |
589145 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ พ.ศ. 2551
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช
และใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ
พ.ศ. ๒๕๕๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
คำขอรับใบรับรองสุขอนามัยพืช
คำขอรับใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อใบรับรองสุขอนามัยพืช
หรือใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ ตามความในหมวด ๑ และ ๒
ให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศนี้
หมวด ๑
การขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช
ข้อ ๒
บุคคลใดประสงค์จะขอใบรับรองสุขอนามัยพืช ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ณ กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร หรือด่านตรวจพืช สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
กรมวิชาการเกษตร ภายในระยะเวลาที่กำหนด ดังต่อไปนี้
(๑) กรณีทำการตรวจพืชในสถานที่ทำการ
ให้ยื่นคำขอก่อนเวลาส่งออกไม่น้อยกว่าสามชั่วโมง
(๒) กรณีทำการตรวจพืชนอกสถานที่ทำการ
ให้ยื่นคำขอก่อนวันทำการตรวจพืชไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน
ข้อ ๓
ผู้ขอใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องจัดเตรียมพืชที่จะส่งออกเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
ดังต่อไปนี้
(๑) จัดเตรียมพืชที่จะส่งออกให้ถูกสุขอนามัยพืช
ตามหลักเกณฑ์ของประเทศผู้นำเข้า
(๒) แสดงบัญชีรายชื่อพืชในแต่ละภาชนะบรรจุ
ให้ตรงตามชนิดและปริมาณที่แจ้งในคำขอและในแบบบัญชีแสดงรายชื่อพืชที่แนบมากับคำขอ
(๓) บรรจุพืชในภาชนะบรรจุที่แข็งแรงและเหมาะสม
(๔)
ไม่บรรจุสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากพืชตามที่ได้แจ้งไว้ในคำขอและในบัญชีแสดงรายชื่อพืชที่แนบมากับคำขอ
ข้อ ๔
การตรวจพืชที่ส่งออกและการกำจัดศัตรูพืชให้กระทำ ดังต่อไปนี้
(๑) พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารคำขอ
และสุ่มตัวอย่างพืชเพื่อตรวจสอบศัตรูพืช ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า
(๒) กรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของประเทศผู้นำเข้า
หรือมีเหตุอันควรเชื่อว่ามีศัตรูพืชกักกัน
พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้ขอใบรับรองสุขอนามัยพืชทำการกำจัดศัตรูพืชภายใต้การกำกับดูแลของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๓) กรณีที่ประเทศผู้นำเข้ามีข้อกำหนดเกี่ยวกับการกำจัดศัตรูพืช
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชตามข้อกำหนดได้
ข้อ ๕
ผู้ขอใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องชำระค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบศัตรูพืชตามอัตราแนบท้ายประกาศนี้
และค่าป่วยการตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการดำเนินการตามข้อ ๔
ข้อ ๖
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจพืช หรือกำจัดศัตรูพืชเสร็จสิ้นแล้ว
ให้ผู้ขอใบรับรองสุขอนามัยพืชหรือเจ้าของนำเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการส่งออกพืชนั้น
มาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อประกอบการขอใบรับรองสุขอนามัยพืช
และให้อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายตรวจพิจารณาเอกสารหลักฐานดังกล่าว
หากเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการส่งออกระบุวันส่งออกพืชภายในสิบสี่วัน
หลังจากการตรวจพืชหรือกำจัดศัตรูพืชเสร็จสิ้นแล้วให้ออกใบรับรองสุขอนามัยพืชได้
ข้อ ๗
ก่อนส่งมอบใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับผู้ขอ
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบรับรองสุขอนามัยพืช
ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ ๘
การปฏิเสธการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชสามารถกระทำได้ในกรณี
(๑) กรณีตรวจพบการซุกซ่อนพืชซึ่งไม่แสดงในใบคำขอใบรับรองสุขอนามัยพืช
(ก) ตรวจพบ ณ สถานที่ให้บริการส่งออก
- ครั้งที่ ๑
คัดพืชนั้นออกทั้งหมดและออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับพืชที่เหลือ
- ครั้งที่ ๒ เมื่อกระทำความผิดซ้ำภายในระยะเวลาสามสิบวันนับจากครั้งที่ ๑
ปฏิเสธการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับสินค้าทั้งหมด และการส่งออกในครั้งต่อไปให้เปิดตรวจสินค้าทั้งหมดต่อเนื่องกันไปสามสิบครั้ง
หรือภายในระยะเวลาหกเดือน
- ครั้งที่ ๓ เมื่อกระทำความผิดซ้ำในระหว่างการตรวจสินค้าต่อเนื่องสามสิบครั้งหรือภายในระยะเวลาหกเดือน
ปฏิเสธการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับสินค้าทั้งหมดและงดการให้บริการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชเป็นเวลาสามสิบวันนับจากวันที่ตรวจพบ
(ข) ได้รับแจ้งจากประเทศผู้นำเข้า
- งดการให้บริการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับผู้ส่งออกรายนั้น
สำหรับการส่งออกไปประเทศผู้นำเข้าเป็นเวลาสามสิบวัน
(๒) กรณีตรวจพบการแจ้งปริมาณหรือน้ำหนักของพืชไม่ตรงกับที่ส่งออกจริง
(ก) ตรวจพบ ณ สถานที่ให้บริการส่งออก
- ครั้งที่ ๑
คัดพืชที่แจ้งปริมาณหรือน้ำหนักไม่ตรงนั้นออกทั้งหมดและออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับพืชที่เหลือ
- ครั้งที่ ๒ เมื่อกระทำความผิดซ้ำภายในระยะเวลาสามสิบวันนับจากครั้งที่ ๑
ปฏิเสธการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับสินค้าทั้งหมด
และการส่งออกในครั้งต่อไปให้เปิดตรวจสินค้าทั้งหมดต่อเนื่องกันไปสามสิบครั้ง
หรือภายในระยะเวลาหกเดือน
- ครั้งที่ ๓
เมื่อกระทำความผิดซ้ำในระหว่างการตรวจสินค้าต่อเนื่องสามสิบครั้งหรือภายในระยะเวลาหกเดือน
ปฏิเสธการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับสินค้าทั้งหมดและงดการให้บริการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชเป็นเวลาสามสิบวันนับจากวันที่ตรวจพบ
(ข) ได้รับแจ้งจากประเทศผู้นำเข้า
- ครั้งที่ ๑ มีหนังสือแจ้งเตือนผู้ส่งออกรายนั้น
- ครั้งที่ ๒ และครั้งต่อไปเมื่อเกิดซ้ำภายในระยะเวลาสามสิบวัน
นับจากวันที่ที่มีหนังสือแจ้งเตือนในครั้งที่ ๑
งดการให้บริการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับผู้ส่งออกรายนั้นสำหรับการส่งออกไปประเทศผู้นำเข้าเป็นเวลาสามสิบวัน
(๓) กรณีตรวจพบศัตรูพืช
(ก) ตรวจพบ ณ สถานที่ให้บริการส่งออก
- กรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของประเทศผู้นำเข้า
ให้คัดพืชที่พบศัตรูพืชออกทั้งหมด และออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับพืชที่เหลือ
(ข) ได้รับแจ้งจากประเทศผู้นำเข้า
- ครั้งที่ ๑ มีหนังสือแจ้งเตือนผู้ส่งออกรายนั้น
- ครั้งที่ ๒ เมื่อเกิดซ้ำภายในระยะเวลาสามสิบวัน
นับจากวันที่ที่มีหนังสือแจ้งเตือนในครั้งที่ ๑
ส่งเจ้าหน้าที่ไปให้คำแนะนำในการคัดสินค้าและตรวจศัตรูพืช ณ
โรงคัดบรรจุของผู้ส่งออก
- ครั้งที่ ๓ และครั้งต่อไปเมื่อเกิดซ้ำภายในระยะเวลาสามสิบวัน
นับจากวันที่ที่มีหนังสือแจ้งเตือนในครั้งที่ ๒
ปฏิเสธการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับพืชที่ถูกตรวจพบศัตรูพืชกักกันเพื่อส่งออกไปประเทศผู้นำเข้าที่แจ้งเป็นเวลาสิบห้าวัน
หมวด ๒
การขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ
ข้อ ๙
บุคคลใดประสงค์จะขอใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ ให้ยื่นคำขอ ณ
ด่านตรวจพืช หรือกลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
กรมวิชาการเกษตร พร้อมแนบเอกสาร ดังต่อไปนี้
(๑) ต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืช
(๒) หนังสืออนุญาตให้นำสิ่งต้องห้าม สิ่งกำกัด
หรือสิ่งไม่ต้องห้ามออกไปจากด่านตรวจพืช สถานกักพืช ยานพาหนะ หรือสถานที่ใด ๆ
ข้อ ๑๐
ผู้ขอใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อต้องจัดเตรียมพืชที่จะส่งต่อเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
ดังต่อไปนี้
(๑)
จัดเตรียมพืชที่จะส่งต่อให้ถูกสุขอนามัยพืชตามหลักเกณฑ์ของประเทศผู้นำเข้า
(๒) แสดงบัญชีรายชื่อพืชในแต่ละภาชนะบรรจุ
ให้ตรงตามชนิดและปริมาณที่แจ้งในคำขอและในแบบบัญชีแสดงรายชื่อพืชที่แนบมากับคำขอ
(๓) บรรจุพืชในภาชนะบรรจุที่แข็งแรงและเหมาะสม
(๔) ไม่บรรจุสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากพืชตามที่ได้แจ้งไว้ในคำขอ
และในบัญชีแสดงรายชื่อพืชที่แนบมากับคำขอ
ข้อ ๑๑
ในการตรวจพืชเพื่อออกใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ
พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการได้ใน ๓ กรณี ดังต่อไปนี้
(๑)
กรณีประเทศผู้นำเข้ากำหนดเงื่อนไขการนำเข้าเข้มงวดน้อยกว่าหรือเท่ากับเงื่อนไขการนำเข้าที่ประเทศไทยกำหนด
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบศัตรูพืชตามข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า
(๒) กรณีประเทศผู้นำเข้ากำหนดเงื่อนไขการนำเข้าเข้มงวดมากกว่าเงื่อนไขการนำเข้าที่ประเทศไทยกำหนด
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบศัตรูพืชเพิ่มเติมตามข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า
(๓) กรณีประเทศผู้นำเข้ากำหนดเงื่อนไขการนำเข้าพิเศษซึ่งไม่สามารถดำเนินการในประเทศไทยได้
เช่น การตรวจรับรองในแปลงปลูก ให้ปฏิเสธการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ
ข้อ ๑๒
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามข้อ ๑๑ (๑) หรือ (๒) แล้ว
ให้อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายออกใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อให้กับผู้ขอ
ข้อ ๑๓
ให้นำความในข้อ ๔ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ และข้อ ๘ มาใช้บังคับแก่การขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อโดยอนุโลม
ประกาศฉบับนี้
ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑
เมทนี สุคนธรักษ์
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
คำขอใบรับรองสุขอนามัยพืช (แบบ พ.ก. ๗)
๒.
บัญชีแสดงรายชื่อพืชแนบท้ายคำขอใบรับรองสุขอานามัยพืช (แบบ พ.ก. ๗.๑)
๓.
ใบแนบแนบท้ายแบบคำขอใบรับรองสุขอนามัยพืช (แบบ พ.ก. ๗.๒)
๔.
ใบรับรองสุขอนามัยพืช (แบบ พ.ก. ๗ - ๑)
๕.
ใบแนบสำหรับใบรับรองสุขอนามัยพืช (แบบ พ.ก. ๗ - ๒)
๖.
คำขอใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ (แบบ พ.ก. ๘)
๗.
บัญชีแสดงรายชื่อพืชแนบท้ายแบบคำขอใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ (แบบ พ.ก.
๘.๑)
๘.
ใบแนบแนบท้ายแบบคำขอใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ (แบบ พ.ก. ๘.๒)
๙.
ใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ (แบบ พ.ก. ๘ - ๑)
๑๐.
ใบแนบสำหรับใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ (แบบ พ.ก. ๘ - ๒)
๑๑.
คำขอรับใบแทนใบรับรองสุขอนามัยพืช (แบบ พ.ก. ๙)
๑๒.
คำขอรับใบแทนใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ (แบบ พ.ก. ๑๐)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๑
พิมลกร/ปรับปรุง
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๕ ง/หน้า ๓๐/๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๑ |
589143 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำเข้าหรือนำผ่านซึ่งสิ่งต้องห้าม สิ่งกำกัด และสิ่งไม่ต้องห้าม พ.ศ. 2551
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการนำเข้าหรือนำผ่าน
ซึ่งสิ่งต้องห้าม สิ่งกำกัด
และสิ่งไม่ต้องห้าม
พ.ศ. ๒๕๕๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ ฉ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต
ใบแจ้งการนำเข้าหรือนำผ่าน บัตรกำกับบนภาชนะบรรจุสิ่งต้องห้าม สิ่งกำกัด หรือสิ่งไม่ต้องห้ามตามความในหมวด
๑ ถึง ๕ ให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศนี้
หมวด ๑
การนำเข้าซึ่งสิ่งต้องห้ามเพื่อการทดลองหรือวิจัย
ข้อ ๒ ผู้ใดประสงค์จะนำเข้าเพื่อการทดลองหรือวิจัย
ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตนำเข้าซึ่งสิ่งต้องห้ามนั้นต่ออธิบดี ณ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตรหรือด่านตรวจพืช
หรือยื่นทางไปรษณีย์ถึงสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เลขที่ ๕๐
ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ ๑๐๙๐๐
ข้อ ๓ การนำเข้าซึ่งสิ่งต้องห้ามให้ปฏิบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องนำเข้าทางด่านตรวจพืช
และต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งสิ่งต้องห้ามพร้อมด้วยใบรับรองสุขอนามัยพืช
หรือหนังสือรับรองสิ่งต้องห้ามในกรณีการนำเข้าสิ่งต้องห้ามซึ่งเป็นศัตรูพืชหรือพาหะที่ไม่ใช่พืชของหน่วยงานผู้มีอำนาจของประเทศที่ส่งออกกำกับมาด้วย
โดยใบรับรองสุขอนามัยพืชหรือหนังสือรับรองดังกล่าวต้องระบุรายละเอียด ดังนี้
(ก) การนำเข้าซึ่งสิ่งต้องห้ามที่เป็นพืชหรือพาหะ ต้องระบุการปลอดศัตรูพืช
การกำจัดศัตรูพืช หรือระบุร้อยละของศัตรูพืชที่จะพึงมีได้ตามชนิดของศัตรูพืชให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
(ข) การนำเข้าซึ่งสิ่งต้องห้ามที่เป็นศัตรูพืช
ต้องระบุว่าเป็นศัตรูพืชชนิดเดียวกันกับที่ขออนุญาตนำเข้า
(๒)
ภาชนะบรรจุสิ่งต้องห้ามต้องแข็งแรงและสามารถป้องกันการปนเปื้อนของสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากภายนอกได้ในระหว่างการส่งสิ่งต้องห้าม
(๓)
ต้องติดบัตรกำกับบนภาชนะบรรจุสิ่งต้องห้ามส่งถึงอธิบดีหรือหัวหน้าด่านตรวจพืชที่มีการนำเข้าซึ่งสิ่งต้องห้ามนั้น
และห้ามเขียนข้อความอื่นใดบนภาชนะบรรจุสิ่งต้องห้าม
(๔) ต้องนำเข้าซึ่งสิ่งต้องห้ามทางด่านตรวจพืช ดังต่อไปนี้
(ก) ด่านตรวจพืชท่าเรือกรุงเทพ
(ข) ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
(ค) ด่านตรวจพืชไปรษณีย์กรุงเทพ
(๕) เมื่อสิ่งต้องห้ามมาถึงด่านตรวจพืชตาม (๔) แล้ว
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือตัวแทนแจ้งการนำเข้าและส่งมอบสิ่งต้องห้ามนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ทั้งนี้
ไม่ว่าผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าซึ่งสิ่งต้องห้ามจะนำเข้ามาด้วยตนเองหรือโดยวิธีอื่น
(๖) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งและตรวจสอบความถูกต้องของการนำเข้าซึ่งสิ่งต้องห้ามตาม
(๑) ถึง (๕) แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ณ
ด่านตรวจพืชที่นำเข้าส่งสิ่งต้องห้ามไปกักไว้ ณ สถานกักพืช
เพื่อตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชขั้นละเอียด
โดยผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบในค่าใช้จ่ายดังกล่าว
การนำเข้าซึ่งสิ่งต้องห้ามที่เป็นพืชตัดต่อสารพันธุกรรม
ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
ข้อ ๔ กรณีที่ผู้นำเข้ารายใดได้รับใบอนุญาตให้นำเข้าซึ่งสิ่งต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว
หากปรากฏว่าในขณะนั้นมีศัตรูพืชร้ายแรงระบาดหรือมีเหตุอันควรเชื่อว่ามีศัตรูพืชร้ายแรงระบาดในประเทศต้นทางที่จะมีการนำสิ่งต้องห้ามนั้นเข้ามา
หรือในระหว่างการทดลองหรือวิจัย
หากปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด
ให้อธิบดีพิจารณายกเลิกใบอนุญาตหรือกำหนดเงื่อนไขอื่นตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแจ้งให้อธิบดีทราบ
เมื่อดำเนินการทดลองหรือวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว
ข้อ ๖ สิ่งต้องห้ามหรือผลิตผลที่ได้จากสิ่งต้องห้ามนั้น
ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) ทำลายภายใต้การควบคุมของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ
(๒) จัดการตามที่เห็นสมควรตามที่อธิบดีเห็นชอบ
ข้อ ๗ ค่าใช้จ่ายพนักงานเจ้าหน้าที่ในการกำกับดูแลระหว่างการทดลองหรือวิจัย
ให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
หมวด ๒
การนำเข้าสิ่งต้องห้ามเพื่อการค้า
ข้อ ๘ สิ่งต้องห้ามที่นำเข้าเพื่อการค้าต้องผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชแล้วตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
ข้อ ๙ ผู้ใดประสงค์จะนำเข้าสิ่งต้องห้ามเพื่อการค้า
ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตนำเข้าซึ่งสิ่งต้องห้ามนั้นต่ออธิบดี ณ
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตรหรือด่านตรวจพืช
หรือยื่นทางไปรษณีย์ถึงสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เลขที่ ๕๐
ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ ๑๐๙๐๐
ข้อ ๑๐ การนำเข้าซึ่งสิ่งต้องห้ามเพื่อการค้าให้ปฏิบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องนำเข้าทางด่านตรวจพืช และต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งสิ่งต้องห้าม
พร้อมด้วยใบรับรองสุขอนามัยพืชของหน่วยงานผู้มีอำนาจของประเทศที่ส่งออกกำกับมาด้วย
โดยใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุรายละเอียดตามเงื่อนไขการอนุญาตนำเข้าสิ่งต้องห้ามเพื่อการค้านั้น
ๆ
(๒) เมื่อสิ่งต้องห้ามมาถึงด่านตรวจพืช
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือตัวแทนแจ้งการนำเข้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ในกรณีผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะส่งสิ่งต้องห้ามนั้นต่อไปยังประเทศอื่น
ให้แจ้งการส่งต่อสิ่งต้องห้ามนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
(๓) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งตาม (๑) และ (๒) แล้ว
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านตรวจพืชที่นำเข้า
ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและสิ่งต้องห้าม ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในการอนุญาตนำเข้า
(๔) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบตาม (๓) ถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ให้อนุญาตให้นำเข้าได้
(๕) ในระหว่างการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชเพื่อประกอบการอนุญาตให้นำเข้า
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดหรือกักสิ่งต้องห้ามไว้ ณ
ด่านตรวจพืชหรือสถานกักพืชหรือสถานที่อื่นใดตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด
หากตรวจพบศัตรูพืช
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้เจ้าของทำการกำจัดศัตรูพืช
ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการกำจัดศัตรูพืชได้
ให้ทำลายหรือสั่งให้ส่งสิ่งต้องห้ามนั้นออกไปนอกราชอาณาจักร
หมวด ๓
การนำเข้าสิ่งต้องห้ามเพื่อกิจการอื่น
ข้อ ๑๑ สิ่งต้องห้ามที่นำเข้าเพื่อกิจการอื่นต้องผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชแล้ว
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
ข้อ ๑๒ ผู้ใดประสงค์จะนำเข้าสิ่งต้องห้ามเพื่อกิจการอื่น
เช่น เพื่อการวิเคราะห์คุณภาพ คุณสมบัติในห้องปฏิบัติการ
ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตนำเข้าซึ่งสิ่งต้องห้ามนั้นต่ออธิบดี ณ
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตรหรือด่านตรวจพืช
หรือยื่นทางไปรษณีย์ถึงสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เลขที่ ๕๐
ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ ๑๐๙๐๐
ข้อ ๑๓ การนำเข้าซึ่งสิ่งต้องห้ามเพื่อกิจการอื่น
ต้องนำเข้าทางด่านตรวจพืช และต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งสิ่งต้องห้าม
พร้อมด้วยใบรับรองสุขอนามัยพืช
ให้นำความในข้อ
๑๐ (๒) (๓) (๔) และ (๕)
มาใช้บังคับแก่การพิจารณาอนุญาตให้นำเข้าสิ่งต้องห้ามเพื่อกิจการอื่นโดยอนุโลม
หมวด ๔
การนำผ่านซึ่งสิ่งต้องห้าม
ข้อ ๑๔ ผู้ใดประสงค์จะนำผ่านสิ่งต้องห้าม
ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตนำผ่านซึ่งสิ่งต้องห้ามนั้นต่ออธิบดี ณ
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตรหรือด่านตรวจพืช
หรือยื่นทางไปรษณีย์ถึงสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เลขที่ ๕๐
ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ ๑๐๙๐๐
ข้อ ๑๕ การนำผ่านซึ่งสิ่งต้องห้ามให้ปฏิบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชแล้ว ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
(๒) ต้องนำผ่านทางด่านตรวจพืช และต้องมีใบอนุญาตนำผ่านซึ่งสิ่งต้องห้าม
พร้อมด้วยใบรับรองสุขอนามัยพืช
(๓) ต้องติดบัตรกำกับบนหีบห่อบรรจุสิ่งต้องห้าม
(๔) การนำผ่านซึ่งสิ่งต้องห้ามไม่ว่าจะเป็นพืช พาหะ
หรือศัตรูพืชต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
(๕) เมื่อสิ่งต้องห้ามที่จะนำผ่านราชอาณาจักรมาถึงด่านตรวจพืชต้นทาง
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือตัวแทนแจ้งการนำผ่านต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ
ด่านตรวจพืชดังกล่าว และหลังจากตรวจสอบความถูกต้องแล้ว
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกการสั่งปล่อยท้ายใบแจ้งนั้น
เพื่อให้ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือตัวแทนนำไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ
ด่านตรวจพืชปลายทางเพื่อผ่านออกไปนอกราชอาณาจักร
ข้อ ๑๖ ใบอนุญาตนำเข้าสิ่งต้องห้ามเพื่อการทดลองหรือวิจัย
เพื่อการค้า และเพื่อกิจการอื่น และใบอนุญาตนำผ่านสิ่งต้องห้ามหนึ่งฉบับ
ให้ใช้ได้กับสิ่งต้องห้ามหนึ่งชนิดพืชจากหนึ่งแหล่งกำเนิด
หมวด ๕
การนำเข้าหรือนำผ่านซึ่งสิ่งกำกัดและสิ่งไม่ต้องห้าม
ข้อ ๑๗ การนำเข้าหรือนำผ่านซึ่งสิ่งกำกัดให้ปฏิบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องนำเข้าหรือนำผ่านทางด่านตรวจพืช
และต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชของหน่วยงานผู้มีอำนาจของประเทศที่ส่งออกกำกับมาด้วย
โดยใบรับรองสุขอนามัยพืชดังกล่าวต้องระบุการปลอดศัตรูพืช การกำจัดศัตรูพืช
หรือระบุร้อยละของศัตรูพืชที่จะพึงมีได้ตามชนิดของศัตรูพืชให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
(๒) เมื่อสิ่งกำกัดเข้ามาถึงด่านตรวจพืช
ให้ผู้นำเข้าหรือเจ้าของแจ้งการนำเข้าหรือนำผ่านต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้
ไม่ว่าผู้นำเข้าหรือเจ้าของจะนำเข้าซึ่งสิ่งกำกัดนั้นด้วยตนเองหรือโดยวิธีอื่น
ในกรณีผู้นำเข้าประสงค์จะส่งสิ่งกำกัดนั้นต่อไปยังประเทศอื่น
ให้แจ้งการส่งต่อสิ่งกำกัดนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
(๓) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งตาม (๑) และ (๒) แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่
ณ ด่านตรวจพืชที่นำเข้า ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและสิ่งกำกัด
ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด
(๔) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบตาม (๓) ถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ให้อนุญาตให้นำเข้าได้
(๕) ในระหว่างการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชเพื่อประกอบการอนุญาตให้นำเข้า
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดหรือกักสิ่งกำกัดไว้ ณ
ด่านตรวจพืชหรือสถานกักพืชหรือสถานที่อื่นใด ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด
หากตรวจพบศัตรูพืชให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้เจ้าของทำการกำจัดศัตรูพืช
ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการกำจัดศัตรูพืชได้ ให้ทำลายหรือสั่งให้ส่งสิ่งกำกัดนั้นออกไปนอกราชอาณาจักร
ข้อ ๑๘ การนำผ่านซึ่งสิ่งกำกัด
เมื่อสิ่งกำกัดที่จะนำผ่านราชอาณาจักรมาถึงด่านตรวจพืชต้นทาง
ให้เจ้าของหรือตัวแทนแจ้งการนำผ่านต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านตรวจพืชดังกล่าว
และหลังจากตรวจสอบความถูกต้องแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกการสั่งปล่อยท้ายใบแจ้งนั้น
เพื่อให้เจ้าของหรือตัวแทนนำไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ
ด่านตรวจพืชปลายทางเพื่อผ่านออกไปนอกราชอาณาจักร
ข้อ ๑๙ ผู้นำเข้าหรือนำผ่านซึ่งสิ่งไม่ต้องห้าม
ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชกำกับมาด้วยและแจ้งการนำเข้าหรือนำผ่านต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้นำความในข้อ
๑๗ มาใช้บังคับแก่การนำเข้าหรือนำผ่านซึ่งสิ่งไม่ต้องห้ามโดยอนุโลม
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๒๐ ใบอนุญาต บัตรอนุญาตการนำเข้าหรือนำผ่าน
หนังสืออนุญาตให้นำออกจากด่านตรวจพืช สถานกักพืช หรือยานพาหนะ หรือการใด ๆ
ที่ออกหรือได้ดำเนินการไว้แล้วตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๐๗)
ออกตามความในพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ก่อนหรือในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้ยังคงมีผลบังคับต่อไป โดยถือว่าเป็นใบอนุญาต บัตรกำกับ การนำเข้าหรือนำผ่าน
หนังสืออนุญาตให้นำออกจากด่านตรวจพืช สถานกักพืช หรือยานพาหนะหรือการดำเนินการใด ๆ
ที่ออกหรือดำเนินการตามประกาศนี้
ข้อ ๒๑ คำขอรับใบอนุญาต
หรือการแจ้งที่ได้ยื่นหรือดำเนินการใด ๆ ไว้แล้วตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ.
๒๕๐๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ก่อนหรือในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้ถือว่าเป็นคำขอรับใบอนุญาต หรือการแจ้งที่ยื่นหรือดำเนินการใด ๆ ตามประกาศนี้
ประกาศฉบับนี้
ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑
เมทนี สุคนธรักษ์
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. คำขออนุญาตนำสิ่งต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทดลองหรือวิจัย
(แบบ พ.ก. ๑)
๒.
คำขออนุญาตนำสิ่งต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการค้า (แบบ พ.ก. ๒)
๓.
คำขออนุญาตนำสิ่งต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อกิจการอื่นที่ไม่ใช่การทดลองหรือวิจัยและการค้า
(แบบ พ.ก. ๓)
๔. คำขออนุญาตนำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสิ่งต้องห้าม
(แบบ พ.ก. ๔)
๕.
ใบอนุญาตนำสิ่งต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทดลองหรือวิจัย (แบบ พ.ก. ๑ -
๑)
๖.
ใบอนุญาตนำสิ่งต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการค้า (แบบ พ.ก. ๒ - ๑)
๗.
ใบอนุญาตนำสิ่งต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อกิจการอื่นที่ไม่ใช่การทดลองหรือวิจัยและการค้า
(แบบ พ.ก. ๓ - ๑)
๘.
ใบอนุญาตนำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสิ่งต้องห้าม (แบบ พ.ก. ๔ - ๑)
๙. หนังสืออนุญาตให้นำสิ่งต้องห้าม
สิ่งกำกัด หรือสิ่งไม่ต้องห้ามออกไปจากด่านตรวจพืช สถานกักพืช ยานพาหนะ
หรือสถานที่ใด ๆ (แบบ พ.ก. ๖)
๑๐.
บัตรกำกับบนภาชนะบรรจุสำหรับการนำเข้าสิ่งต้องห้ามเพื่อการทดลองหรือวิจัย (แบบ
พ.ก.๑ - ๒)
๑๑.
บัตรกำกับบนภาชนะบรรจุสำหรับการนำผ่านสิ่งต้องห้าม (แบบ พ.ก.๔ - ๒)
๑๒. ใบแจ้งการนำเข้าสิ่งต้องห้าม
สิ่งกำกัด และสิ่งไม่ต้องห้าม (แบบ พ.ก. ๕)
๑๓. ใบแจ้งการนำผ่านสิ่งต้องห้าม
สิ่งกำกัด และสิ่งไม่ต้องห้าม (แบบ พ.ก. ๕ - ๑)
๑๔.
ใบแจ้งการนำเข้าและการส่งต่อสิ่งต้องห้าม สิ่งกำกัด และสิ่งไม่ต้องห้าม (แบบ พ.ก.
๕ - ๒)
๑๕. ใบแจ้งการกักสิ่งต้องห้าม สิ่งกำกัด
และสิ่งไม่ต้องห้าม (แบบ พ.ก. ๕ - ๓)
๑๖. ใบแจ้งการยึดสิ่งต้องห้าม สิ่งกำกัด
และสิ่งไม่ต้องห้าม (แบบ พ.ก. ๕ - ๔)
๑๗. ใบแจ้งให้จัดการกับสิ่งต้องห้าม
สิ่งกำกัด และสิ่งไม่ต้องห้าม (แบบ พ.ก. ๕ - ๕)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๑
พิมลกร/ปรับปรุง
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๕ ง/หน้า ๒๓/๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๑ |
583766 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำเข้ามูลค้างคาว พ.ศ. 2551 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการนำเข้ามูลค้างคาว
พ.ศ. ๒๕๕๑
ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดพืชและพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไข ตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๔.๕.๑ ของข้อ
๔.๕
กำหนดให้ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลค้างคาวที่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนดก่อนการนำเข้าได้รับยกเว้นจากการเป็นสิ่งต้องห้าม
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔.๕ แห่งประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดังกล่าว กรมวิชาการเกษตรจึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลค้างคาวที่จะนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้จะต้องเป็นมูลค้างคาวที่มาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือสหภาพพม่า เท่านั้น
ข้อ
๒ ผู้ใดประสงค์จะนำมูลค้างคาวตามข้อ
๑ เข้ามาในราชอาณาจักร ต้องแจ้งปริมาณการนำเข้าพร้อมรายละเอียดในใบแจ้งการนำเข้า
ตามแบบ พ.ก. ๙ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านตรวจพืชที่นำเข้า
ข้อ
๓ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งตามข้อ
๒ แล้ว หากเห็นว่าเอกสารและรายละเอียดถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ให้สุ่มเก็บตัวอย่างมูลค้างคาวเพื่อตรวจสอบศัตรูพืช เพื่อทำการตรวจปล่อย
ข้อ
๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกัน
ภายหลังจากอนุญาตให้นำเข้าแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งระงับการนำเข้า
และพิจารณาทบทวนเงื่อนไขการนำเข้ามูลค้างคาวจากประเทศนั้น
ประกาศฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๙
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
เมทนี สุคนธรักษ์
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๑
พิมลกร/ปรับปรุง
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๑๙/๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑ |
583182 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง เพิกถอนสิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช พ.ศ. 2551
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
เพิกถอนสิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง การกำหนดพืชและพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไข
ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๐
กำหนดข้อยกเว้นการนำเข้าสิ่งต้องห้ามที่ได้ดำเนินการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนด
โดยให้ออกประกาศเพิกถอนจากการเป็นสิ่งต้องห้าม ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนด อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔.๔
แห่งประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิกถอนพืชจากแหล่งที่กำหนดตามท้ายประกาศนี้ออกจากการเป็นสิ่งต้องห้าม
ข้อ ๒ การนำเข้าพืชตามข้อ ๑
ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนด
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายชื่อพืชแนบท้าย ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
เพิกถอนสิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช พ.ศ. ๒๕๕๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๒ กรกฎาคม ๒๕๕๑
พิมลกร/ปรับปรุง
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๒๗/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๑ |
582741 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืช และพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2551
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดพืช
และพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไข
ตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๙)
พ.ศ. ๒๕๕๑
ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดพืช และพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น
และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๒๖
เมษายน ๒๕๕๐
ในบทเฉพาะกาลกำหนดให้สิ่งต้องห้ามตามท้ายประกาศที่เคยมีการนำเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วในลักษณะทางการค้าก่อนที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
จะได้รับการผ่อนผันให้นำเข้าได้ต่อไปจนกว่าการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของสิ่งต้องห้ามนั้นเสร็จสิ้น
โดยองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติของประเทศผู้ส่งออกต้องแจ้งความประสงค์ขออนุญาตนำเข้าเป็นลายลักษณ์อักษรและแสดงเอกสารหลักฐานที่เคยมีการนำเข้าภายในระยะเวลา
๕ ปี ที่ผ่านมาต่ออธิบดีกรมวิชาการเกษตร และต้องส่งข้อมูลทางวิชาการของสิ่งต้องห้ามที่ขออนุญาตนำเข้า
เพื่อประกอบการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชภายในระยะเวลาที่กำหนดนั้น
บัดนี้
ได้สิ้นสุดระยะเวลาการยื่นคำขอผ่อนผันแล้ว
แต่เนื่องจากมีสิ่งต้องห้ามบางชนิดไม่ได้ขอผ่อนผันการนำเข้า
และจำเป็นต้องนำเข้าเป็นวัตถุดิบในการผลิตภาคอุตสาหกรรม
ประกอบกับส่วนที่นำเข้ามีความเสี่ยงศัตรูพืชต่ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช
จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ สิ่งต้องห้ามตามท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดพืช และพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น
และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๒๖
เมษายน ๒๕๕๐ ที่เคยมีการนำเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วในลักษณะทางการค้าก่อนที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
จะได้รับการผ่อนผันให้นำเข้าได้ต่อไป
โดยผู้นำเข้าต้องแจ้งความประสงค์ขออนุญาตนำเข้าเป็นลายลักษณ์อักษรและแสดงข้อมูลเอกสารหลักฐานที่เคยมีการนำเข้าในระยะเวลา
๓ ปี พร้อมทั้งแนบใบรับรองปลอดศัตรูพืชหรือเอกสารใบส่งของต่ออธิบดีกรมวิชาการเกษตรภายในระยะเวลา
๙๐ วัน นับถัดจากวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้
ข้อ
๒ สิ่งต้องห้ามที่จะได้รับการผ่อนผันให้นำเข้าต้องอยู่ในสภาพที่มีความเสี่ยงศัตรูพืชต่ำและมีวัตถุประสงค์การนำเข้าเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตภาคอุตสาหกรรม
ข้อ
๓ การนำเข้าสิ่งต้องห้ามที่ได้รับการผ่อนผันต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนด
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๒
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๑
พิมลกร/ปรับปรุง
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๑๕/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑ |
573792 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การรับรองระบบการผลิตของโรงงานผู้ผลิตผัก ผลไม้แช่เยือกแข็ง และโรงงานแปรรูป สินค้าเกษตร เพื่อประกอบการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช พ.ศ. 2551
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
การรับรองระบบการผลิตของโรงงานผู้ผลิตผัก ผลไม้แช่เยือกแข็ง และโรงงานแปรรูป
สินค้าเกษตร
เพื่อประกอบการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช
พ.ศ. ๒๕๕๑
โดยที่ประเทศไทยได้ลงนามในพิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนซึ่งเมทิลโบรไมด์เป็นสารหนึ่งที่จะต้องมีการควบคุมการใช้ตามพิธีสารดังกล่าว
ประกอบกับสินค้าทางการเกษตรบางชนิดมีโอกาสเสี่ยงน้อยมากในการที่จะมีศัตรูพืชติดไปกับสินค้านั้น
ๆ ดังนั้น
เพื่อให้เป็นไปตามพันธะของประเทศที่มีต่อพิธีสาร
และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับโรงงานผู้ผลิตผักผลไม้แช่เยือกแข็ง
หรือโรงงานผู้แปรรูปสินค้าเกษตร
ดังนั้น
เพื่อให้การดำเนินการรับรองระบบบังเกิดผลในการควบคุมและสามารถตรวจสอบได้อย่างเป็นระบบ
กรมวิชาการเกษตรจึงกำหนดมาตรการสมัครใจให้กับผู้ประสงค์ที่จะขอเข้าร่วมขึ้นทะเบียนรับรองระบบการผลิตของโรงงานผู้ผลิตผัก
ผลไม้แช่เยือกแข็ง
หรือโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อประกอบการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช พ.ศ. ๒๕๕๑
ไว้ดังนี้
ข้อ
๑ ในประกาศนี้
การรับรองระบบการผลิต หมายความว่า
การรับรองว่าระบบการผลิตนั้นเชื่อได้ว่าอาจสามารถกำจัดศัตรูพืชได้โดยกรมวิชาการเกษตรจะออกหนังสือสำคัญการรับรองระบบการผลิตและขึ้นทะเบียนรับรองไว้ให้
ผัก ผลไม้แช่เยือกแข็ง (frozen vegetables and fruits) หมายความว่า ผัก
ผลไม้แช่เยือกแข็งอุณหภูมิที่ต่ำกว่า - ๑๘oC
ผู้ผลิตสินค้าเกษตรประเภทผัก ผลไม้แช่เยือกแข็ง หรือการแปรรูปสินค้าเกษตร
(processed commodities) หมายความว่า
สินค้าประเภท
ก.
ผัก ผลไม้ แช่เยือกแข็ง (frozen vegetables and fruits) หมายรวมถึง อาหารแช่เยือกแข็ง
ข.
แป้ง (flour, starch) และสาคู เช่น แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว
แป้งมันสำปะหลังชนิดต่างๆ (native, modified starch) แป้งข้าวโพด เป็นต้น
ค.
ผลไม้อบแห้ง (dehydrated fruits)
ง.
อาหารสำเร็จรูป/อาหารกึ่งสำเร็จรูป รวมทั้งวัสดุปรุงแต่งอาหาร เช่น
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โกโก้ผง, เครื่องปรุงแต่งรสอาหาร, เครื่องแกง
เป็นต้น
จ.
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น ยางธรรมชาติและผลิตภัณฑ์, ยางสังเคราะห์, พลาสติก, ไม้แปรรูป, วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากชิ้นไม้
(wood base), ไม้อัด, ไม้ปาร์ติเกิ้ลบอร์ด, ไม้เอ็มดีเอฟ เป็นต้น
ทั้งนี้
ไม่ครอบคลุมถึงวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้
ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของการเป็นผู้ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้เพื่อการส่งออก
อธิบดี หมายความว่า อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขแล้ว
ข้อ
๒ คุณสมบัติของผู้ขอให้รับรองระบบการผลิตและเอกสารประกอบคำขอ
๒.๑
เป็นนิติบุคคลและมีโรงงานผลิตผัก ผลไม้แช่เยือกแข็ง หรือโรงงานแปรรูปสินค้าเป็นของตนเอง
๒.๒
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท
หรือของหุ้นส่วนผู้จัดการแล้วแต่กรณี จำนวน ๑ ฉบับ
๒.๓
หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงรายการจดทะเบียนตลอดจน
ทั้งชื่อกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท
หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งออกมาแล้วไม่เกิน ๖ เดือน จำนวน ๑ ฉบับ
๒.๔
รายละเอียดขั้นตอนกระบวนการผลิต, การควบคุมคุณภาพ และสุขอนามัยโรงงาน
๒.๕
สำเนาเอกสารอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาการรับรองระบบการผลิตของโรงงาน เช่น
หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดี (Good Manufacturing Practice, GMP), การวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม
(Hazard Analysis Critical Control Point, HACCP), มาตรฐานจากองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization, ISO) ที่เป็นของหน่วยงานราชการ หรือของเอกชน
เป็นต้น
๒.๖
สำเนาแผนที่ตั้งของโรงงานผลิต
ข้อ
๓ ขั้นตอนการขอรับให้รับรองระบบการผลิตและการรับขึ้นทะเบียนรับรอง
๓.๑
ติดต่อขอแบบคำขอขึ้นทะเบียนโดยตรงได้ที่ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
กรมวิชาการเกษตร แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร หรือ วิธีค้นหาแบบคำขอ (download) ของกรมวิชาการเกษตร
หมายเลข URL ://www.doa.go.th/ard โดยเปิดหัวข้อ
เรื่อง การรับรองระบบการผลิตของโรงงานผู้ผลิตผัก ผลไม้แช่เยือกแข็ง และ
โรงงานแปรรูปสินค้าเกษตร เพื่อประกอบการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช พ.ศ. ๒๕๕๑
ของสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตรตามแบบแนบท้ายประกาศ หรือ
๓.๒
ยื่นคำขอตามแบบ กวก. ๑/ ............ ด้วยตนเองต่ออธิบดี หรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย
ณ กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตามแบบแนบท้ายประกาศนี้
๓.๓
ให้สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อทำการตรวจสอบระบบการผลิต
และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบการพิจารณาการขึ้นทะเบียนรับรอง
๓.๔
เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอแล้ว ให้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒
และถ้าเอกสารครบถ้วนให้เสนอเรื่องต่อคณะทำงานเพื่อทำการตรวจสอบประเมินระบบการผลิต
และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบการพิจารณาการขึ้นทะเบียนรับรอง
หากการตรวจสอบผ่านหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้เสนอเรื่องต่ออธิบดี หรือ
ผู้ที่อธิบดีมอบหมายพิจารณารับขึ้นทะเบียน
กรณีเอกสารไม่ครบถ้วน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งเป็นเอกสารให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายใน ๑๕ วัน
นับแต่วันที่ยื่น
ข้อ
๔ อายุของหนังสือสำคัญแสดงการรับขึ้นทะเบียนรับรองระบบการผลิต
๔.๑
โรงงานที่ผ่านการตรวจสอบ
และได้รับการขึ้นทะเบียนการรับรองการผลิตจะได้รับหนังสือสำคัญการขึ้นทะเบียนการรับรองระบบการผลิตของโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อประกอบการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชปรากฏตามแบบ
กวก. ๒-๑ หรือ ๒-๒ แล้วแต่กรณี ตามแบบแนบท้ายประกาศนี้
ให้อายุหนังสือสำคัญการรับรองระบบการผลิตมีอายุ
๒ ปี นับแต่วันออกหนังสือสำคัญการรับรองระบบการผลิต
ผู้ได้รับหนังสือสำคัญการรับรองระบบการผลิตถ้าประสงค์จะขอต่ออายุหนังสือสำคัญจะต้องยื่นคำขอเสียก่อนหนังสือสำคัญสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอแล้วให้ถือเสมือนว่ามีฐานะเสมือนผู้ได้รับการรับรองระบบ ทั้งนี้
จนกว่าอธิบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจะไม่ต่ออายุหนังสือสำคัญให้
การขอต่ออายุหนังสือสำคัญแสดงการรับขึ้นทะเบียนรับรองสามารถนำมาต่ออายุได้
ครั้งละ ๒ ปี
๔.๒
กรมวิชาการเกษตร
สงวนสิทธิที่จะไปตรวจสอบโรงงานของผู้ที่ได้รับหนังสือสำคัญการรับรองระบบการผลิตแล้วเป็นครั้งคราว
ซึ่งจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓ วันทำการ และโรงงานต้องอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ตามสมควรในการเข้าไปตรวจสอบ
ข้อ
๕ การยื่นคำขอออกใบรับรองสุขอนามัยพืช
๕.๑
กรณีเป็นผู้ประกอบกิจการโรงงาน
ให้ยื่นคำขอตามแบบ
พก. ๙ ณ ด่านตรวจพืช หรือ กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร โดยให้ระบุหมายเลขหนังสือสำคัญการขึ้นทะเบียนพร้อมสำเนาใบสั่งซื้อสินค้าหรือเอกสารอื่น
ๆ ซึ่งเป็นที่เชื่อได้ว่ามีการส่งออกจริง ณ ด่านตรวจพืช หรือ
กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร
เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบก่อนออกใบรับรองสุขอนามัยพืช
๕.๒
กรณีที่ผู้ส่งออกมิใช่เป็นผู้ประกอบกิจการโรงงาน
ให้ยื่นคำขอตามแบบ
พก. ๙
พร้อมแนบสำเนาใบซื้อขายจากโรงงานที่มีหมายเลขหนังสือสำคัญการขึ้นทะเบียนโดยการรับรองสำเนาความถูกต้องของผู้ประกอบกิจการโรงงานผู้ผลิตผัก
ผลไม้แช่เยือกแข็ง หรือโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตร ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้
หรือสำเนาหนังสือสัญญาที่มอบหมายให้ผู้ส่งออกเป็นตัวแทนในการส่งออกสินค้านั้น
พร้อมสำเนาใบสั่งซื้อสินค้าหรือเอกสารอื่น ๆ
ซึ่งเป็นที่เชื่อได้ว่ามีการส่งออกจริง เพื่อประกอบการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช ณ
ด่านตรวจพืช หรือ กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร
เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบก่อนออกใบรับรองสุขอนามัยพืช
ข้อ
๖ เงื่อนไขในการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับสินค้าเกษตรที่ผ่านการรับขึ้นทะเบียนรับรองระบบการผลิตของพนักงานเจ้าหน้าที่
พนักงานเจ้าหน้าที่จะทำการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้โดยมีเงื่อนไขดังนี้
๖.๑
การออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับผัก ผลไม้แช่เยือกแข็งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ระบุคำว่า
FROZEN AT - ๑๘oC (อุณหภูมิที่ต่ำกว่า - ๑๘oC) ในช่อง
ADDITIONAL DECLARATION
๖.๒
การออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับสินค้าเกษตรแปรรูป พนักงาน เจ้าหน้าที่จะไม่ระบุการกำจัดศัตรูพืชในช่อง
TREATMENT ของใบรับรองสุขอนามัยพืช
๖.๓
กรณีผู้ส่งออกประสงค์ให้มีการระบุวิธีการกำจัดศัตรูพืช
ต้องแนบหลักฐานจากหน่วยงานอารักขาพืชของประเทศผู้ซื้อเพื่อเป็นหลักฐานพร้อมกับการยื่นคำขอใบรับรองสุขอนามัยพืช
(พก. ๙)
การระบุให้มีการกำจัดศัตรูพืชในตราสารทางการค้า
(letter of credit) หรือเอกสารการซื้อขายอื่น
ๆ นั้น ไม่ถือว่าเป็นหนังสือของทางราชการ
ข้อ
๗ การรับขึ้นทะเบียนรับรองระบบการผลิตของโรงงานผู้ผลิตผัก
ผลไม้แช่เยือกแข็งและโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตร
เพื่อประกอบการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช พ.ศ. ๒๕๕๑
เป็นการรับรองแต่เพียงว่าระบบการผลิตนั้นเชื่อได้ว่า อาจสามารถกำจัดศัตรูพืชได้ตามมาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดเท่านั้น
ข้อ
๘ การพักใช้ การเพิกถอน และการยกเลิก
๘.๑
การพักใช้
เมื่อคณะทำงานเพื่อทำการตรวจสอบประเมินระบบการผลิต
ตรวจสอบพบว่าโรงงานใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข หรือมาตรการที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด
หรือพบข้อบกพร่องรุนแรงที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข
หรือได้รับแจ้งจากประเทศปลายทางหรือผู้ซื้อจากประเทศปลายทางว่ามีการตรวจพบศัตรูพืชกักกัน
ให้หัวหน้าคณะทำงานผู้ตรวจประเมินจัดทำรายงานแจ้งให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานทราบและหากผู้ประกอบกิจการโรงงานไม่ปฏิบัติและแก้ไขตามที่ระบุไว้ในรายงานให้หัวหน้าคณะทำงานผู้ตรวจประเมินเสนอเรื่องต่ออธิบดี
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายพิจารณาสั่งพักใช้ทะเบียนการรับรองระบบการผลิตเป็นระยะเวลา
๓๐ ถึง ๙๐ วัน
๘.๒
การเพิกถอนการขึ้นทะเบียน
๘.๒.๑
กรมวิชาการเกษตรจะสั่งเพิกถอนทะเบียนการรับรองระบบการผลิตกรณีผู้ประกอบกิจการโรงงานไม่แก้ไขข้อบกพร่องสำคัญหลังจากถูกสั่งพักใช้ทะเบียนการรับรองระบบการผลิตภายในระยะเวลา
๓๐ วัน
๘.๒.๒
เมื่อพบว่าผู้ประกอบการจงใจใช้หนังสือสำคัญทะเบียนการรับรองระบบการผลิตนอกเหนือจากขอบเขตที่กรมวิชาการเกษตรรับรองระบบการผลิตให้
หรือเพื่อการโฆษณา การประชาสัมพันธ์
หรือการใช้หรืออนุญาตให้บุคคลอื่นใช้หนังสือสำคัญรับรองระบบการผลิตระหว่างถูกพักใช้
กรมวิชาการเกษตรจะสั่งเพิกถอนการรับรองระบบการขึ้นทะเบียน
และผู้ถูกเพิกถอนจะต้องส่งคืนหนังสือสำคัญรับรองระบบการผลิตที่กรมวิชาการเกษตรออกให้
การเพิกถอนหนังสือสำคัญการขึ้นทะเบียนรับรองดังกล่าว
หากผู้ประกอบกิจการโรงงานประสงค์ที่จะขอให้กรมวิชาการเกษตรขึ้นทะเบียนรับรองระบบการผลิตให้ใหม่ผู้ประกอบกิจการจะต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
แล้วจึงสามารถขอขึ้นทะเบียนการรับรองระบบการผลิตใหม่
๘.๓
คำสั่งพักใช้ หรือเพิกถอนหนังสือสำคัญให้ทำเป็นหนังสือแจ้ง
ให้ผู้รับหนังสือสำคัญรับทราบ ในกรณีไม่พบผู้รับหนังสือรับรอง
หรือไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ปิดคำสั่งไว้ในที่เปิดเผยหรือเห็นได้ง่าย ณ
สถานที่ระบุไว้ในหนังสือรับรอง
และให้ถือว่าผู้รับหนังสือรับรองทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ได้ปิดคำสั่ง
๘.๔
การยกเลิก
ผู้ประกอบกิจการใดที่ไม่มีการขอใบรับรองสุขอนามัยพืชภายในระยะเวลา
๑ รอบปีปฏิทิน กรมวิชาการเกษตรจะทำการยกเลิกหนังสือสำคัญการขึ้นทะเบียนดังกล่าว
ข้อ
๙ อัตราค่าธรรมเนียมและค่าพาหนะ
อัตราค่าธรรมเนียมในการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้เป็นไปตามกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ประกาศ ณ วันที่
๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๖
ค่าพาหนะและค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการรับรองระบบการผลิตตามประกาศนี้ให้ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้รับผิดชอบ
ทั้งนี้ เป็นไปตามที่จ่ายจริง
ข้อ
๑๐ ให้อธิบดีกรมวิชาการเกษตรรักษาการตามประกาศนี้
ประกาศฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๕
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
เมทนี สุคนธรักษ์
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
กรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
หนังสือสำคัญรับรองระบบการผลิตของโรงงานผู้ผลิตผัก ผลไม้แช่เยือกแข็ง เพื่อประกอบการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช
๒.
หนังสือสำคัญรับรองระบบการผลิตของโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตร เพื่อประกอบการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๕ มีนาคม ๒๕๕๑
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๔/๒๐ มีนาคม ๒๕๕๑ |
696039 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชสำหรับการส่งออกสินค้าผักและผลไม้สดไปสหภาพยุโรป พ.ศ. 2550
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง หลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืช
สำหรับการส่งออกสินค้าผักและผลไม้สดไปสหภาพยุโรป
พ.ศ. ๒๕๕๐[๑]
ด้วยปรากฏว่าสินค้าเกษตรที่ส่งออกจากประเทศไทย
โดยเฉพาะสินค้าผัก ผลไม้ ไปยังสหภาพยุโรปมีการตรวจพบสารพิษตกค้าง
การปนเปื้อนจุลินทรีย์ และศัตรูพืช อย่างต่อเนื่อง
ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศไทย ดังนั้น
เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาดังกล่าว และส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตร
ทำให้เกิดความมั่นใจในความปลอดภัยของสินค้าเกษตรที่ส่งออก อาศัยอำนาจตามความในกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืช พ.ศ. ๒๕๕๐ กรมวิชาการเกษตรจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ผู้ประสงค์จะขอใบรับรองปลอดศัตรูพืชสำหรับส่งออกสินค้าผักและผลไม้สดไปยังสหภาพยุโรป
ต้องจดทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร
ข้อ ๒ สินค้าผักและผลไม้สดที่ส่งออก
ต้องผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม (Good Agricultural Practice : GAP) และมาจากโรงคัดบรรจุที่ผ่านการรับรองคุณภาพและมาตรฐานตามระบบการผลิตที่ดี
(Good Manufacturing Practice : GMP) จากกรมวิชาการเกษตร
ข้อ ๓ หากตรวจพบว่าผู้ส่งออกไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑
หรือสินค้าผักและผลไม้สด ไม่เป็นไปตามข้อ ๒ ณ จุดส่งออก
พนักงานเจ้าหน้าที่จะปฏิเสธการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชแก่ผู้ส่งออก
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐
สุปราณี อิ่มพิทักษ์
รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทน
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
ศรตม์/ผู้จัดทำ
๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
พิมลกร/ปรับปรุง
๒ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒ ตุลาคม ๒๕๕๖
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๕๒ ง/หน้า ๘/๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ |
695925 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกักพืช
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกักพืช[๑]
ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ลงวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๗
ได้แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกักพืชไว้แล้วนั้น
เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวได้ดำรงตำแหน่งครบกำหนดวาระตามที่กำหนดไว้ในมาตรา
๕ ตรี แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ.
๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ.
๒๕๔๒
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ ทวิ
แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ.
๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ.
๒๕๔๒
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงแต่งตั้งบุคคลต่อไปนี้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกักพืช
๑. นายประเทือง ศรีสุข เป็นกรรมการ
๒.
นายวิชัย โฆสิตรัตน
เป็นกรรมการ
๓.
นางอังศุมาลย์ จันทราปัตย์
เป็นกรรมการ
๔.
นายพิศาล ศิริธร เป็นกรรมการ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
ธันวาคม พ.ศ.
๒๕๔๙
ธีระ สูตะบุตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๓
ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๓
ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๓/๑๑ มกราคม ๒๕๕๐ |
569111 | ประกาศกรมวิชาการเกษตรว่าด้วยหลักเกณฑ์การรับรองห้องปฏิบัติการตรวจศัตรูพืช พ.ศ. 2550
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การรับรองห้องปฏิบัติการตรวจศัตรูพืช
พ.ศ. ๒๕๕๐[๑]
ด้วยในปัจจุบันได้มีภาคเอกชนจัดตั้งห้องปฏิบัติการสำหรับให้บริการตรวจศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้นและมีการร้องขอให้กรมวิชาการเกษตรตรวจรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ
ดังนั้น เพื่อให้งานบริการวิชาการตรวจศัตรูพืชของห้องปฏิบัติการได้มาตรฐาน
กรมวิชาการเกษตรจึงออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การรับรองห้องปฏิบัติการตรวจศัตรูพืชไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
ห้องปฏิบัติการตรวจศัตรูพืช หมายความว่า
ห้องปฏิบัติการของเอกชนที่ให้บริการตรวจศัตรูพืชที่ได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร
ศัตรูพืช หมายความว่า พืช แมลง ไร สัตว์ จุลินทรีย์
หรือสิ่งที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อพืชและผลิตผลพืช
การตรวจศัตรูพืช หมายความว่า การตรวจ วินิจฉัย
และจำแนกชนิดของศัตรูพืช
คณะผู้ตรวจรับรอง หมายความว่า ผู้ที่อธิบดีแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ตรวจรับรองห้องปฏิบัติการ
อธิบดี หมายความว่า อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
เจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามนี้
ข้อ ๒ ผู้ใดประสงค์จะให้กรมวิชาการเกษตรออกหนังสือรับรองห้องปฏิบัติการตรวจศัตรูพืชให้ยื่นคำขอต่ออธิบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ณ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช พร้อมเอกสารตามแบบแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ ห้องปฏิบัติการที่จะขอให้กรมวิชาการเกษตรตรวจรับรองมาตรฐานการเป็นห้องปฏิบัติการตรวจศัตรูพืชจะต้องมีคุณสมบัติ
ดังต่อไปนี้
๓.๑
ต้องเป็นห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐานตามระดับความปลอดภัยทางชีวภาพ ระดับ ๑ (Biosafety Level 1, BL1) ตามที่กำหนดในขั้นต่ำตามมาตรฐานแนบท้ายประกาศนี้
๓.๒
มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ตามความเหมาะสมกับการตรวจศัตรูพืช
๓.๓
มีบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ทำหน้าที่หัวหน้าห้องปฏิบัติการอย่างน้อย ๑ คน ซึ่งมีวุฒิการศึกษาขั้นต่ำระดับปริญญาตรีสาขาด้านการเกษตรหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
๓.๔
ต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานการตรวจศัตรูพืชจากกรมวิชาการเกษตร
ข้อ ๔ ผู้ขอให้รับรองห้องปฏิบัติการต้องยินยอม
และอำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจห้องปฏิบัติการ
ข้อ ๕ ผู้ได้รับการรับรองห้องปฏิบัติการตรวจศัตรูพืช
จะต้องปฏิบัติดังนี้
๕.๑
ควบคุมดูแลเอาใจใส่ตรวจสอบห้องปฏิบัติการของตนให้อยู่ในมาตรฐานตามที่กำหนดแนบท้ายประกาศนี้
๕.๒
กรณีจะทำการเปลี่ยนแปลงใด ๆ นอกเหนือหรือแตกต่างจากที่ได้รับการรับรอง ให้แจ้งคณะผู้ตรวจรับรองทราบเพื่อพิจารณาอนุญาต
๕.๓
ให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกแก่คณะผู้ตรวจรับรองในการปฏิบัติภารกิจตรวจรับรองตามมาตรฐานการตรวจรับรองห้องปฏิบัติการตรวจศัตรูพืช
ข้อ ๖ หนังสือรับรองซึ่งออกตามระเบียบนี้ให้มีอายุตามที่กำหนดไว้ในหนังสือรับรองแต่ไม่เกิน
๓ ปี นับแต่วันออกหนังสือรับรอง และสามารถต่ออายุได้ไม่เกินคราวละ ๒ ปี
ผู้ได้รับหนังสือรับรองถ้าประสงค์จะขอต่ออายุหนังสือรับรอง
ให้ยื่นขอต่ออายุหนังสือรับรองภายใน ๓๐ วัน พร้อมเอกสารก่อนหนังสือรับรองฉบับเดิมหมดอายุต่ออธิบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ตามแบบแนบท้ายประกาศนี้
เมื่อได้ยื่นคำขอต่ออายุดังกล่าวแล้ว
ให้ถือว่ามีฐานะเสมือนผู้ได้รับหนังสือรับรองจนกว่าอธิบดีจะสั่งไม่ต่ออายุหนังสือรับรอง
ข้อ ๗ ผู้ได้รับหนังสือรับรองห้องปฏิบัติการตรวจศัตรูพืชผู้ใด
หากมีการฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือข้อกำหนดใด ๆ ตามประกาศนี้
หรือที่กรมวิชาการเกษตรจะกำหนดในภายหน้า อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายสามารถสั่งพักใช้หรือเพิกถอนหนังสือรับรองห้องปฏิบัติการได้
ผู้ได้รับหนังสือรับรองซึ่งถูกพักใช้หนังสือรับรองห้องปฏิบัติการตรวจศัตรูพืชต้องหยุดการปฏิบัติการให้การรับรองตรวจศัตรูพืชจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาการพักใช้
คำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนหนังสือรับรองให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับหนังสือรับรอง
ในกรณีไม่พบผู้รับหนังสือรับรองหรือไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว
ให้ปิดคำสั่งไว้ในที่เปิดเผยหรือเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ระบุไว้ในหนังสือรับรอง
และให้ถือว่าผู้รับหนังสือรับรองทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ได้ปิดคำสั่ง
ข้อ ๘ การรับรองห้องปฏิบัติการตรวจศัตรูพืชตามประกาศฉบับนี้เป็นการรับรองแต่เพียงว่าห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมีความสามารถตรวจสอบศัตรูพืชตามมาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดเท่านั้น
ข้อ ๙ ให้อธิบดีกรมวิชาการเกษตรรักษาการตามประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๗
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐
อดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๖ มกราคม ๒๕๕๑
พิมลกร/ปรับปรุง
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๙๖ ง/หน้า ๕/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๐ |
563425 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การขอใบรับรองปลอดศัตรูพืชสำหรับการส่งออกสินค้าพืชผักผลไม้สดไปสหภาพยุโรป
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
การขอใบรับรองปลอดศัตรูพืชสำหรับการส่งออกสินค้าพืชผักผลไม้สดไปสหภาพยุโรป[๑]
ด้วยสหภาพยุโรปได้มีความเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้าพืชผักผลไม้สด
และได้แจ้งเตือน เรื่อง การตรวจพบศัตรูพืชติดไปกับสินค้า
ชนิดและปริมาณของสินค้าที่ส่งออกไม่ตรงกับที่ระบุในใบรับรองปลอดศัตรูพืช
ทำให้สินค้าต้องถูกกักและถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวด ส่งผลให้สหภาพยุโรปขาดความเชื่อมั่นในระบบการตรวจและออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชของประเทศไทย
ดังนั้น
เพื่อไม่ให้ปัญหาดังกล่าวทำให้การส่งออกสินค้าพืชผักผลไม้สดของไทยได้รับผลกระทบ อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๒ ข้อ ๔ และข้อ ๕ แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืช พ.ศ. ๒๕๕๐ กรมวิชาการเกษตร
จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
๑.
ผู้ประสงค์จะขอใบรับรองปลอดศัตรูพืชสำหรับส่งออกสินค้าพืชผักผลไม้สดไปสหภาพยุโรปให้ยื่นคำขอ
พ.ก. ๙ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร
หรือด่านตรวจพืชสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
พร้อมนำสินค้าให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจไม่น้อยกว่า ๓ ช.ม. ก่อนเวลาเครื่องบินออก
๒.
ภาชนะบรรจุหีบห่อจะต้องระบุชนิดพืช
(ภาษาไทย) ปริมาณและหรือน้ำหนักไว้ในที่ ๆ สามารถมองเห็นได้เพื่อสะดวกในการตรวจสอบและสุ่มตัวอย่างพืช
๓.
กรณีตรวจพบมีการซุกซ่อนสิ่งต้องห้ามหรือชนิดพืชอื่นที่ไม่แสดงในคำขอ
พ.ก. ๙
๓.๑
ตรวจพบ ณ จุดส่งออก
-
ครั้งที่ ๑ คัดชนิดพืชนั้นออกทั้งหมดและออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชให้กับชนิดพืชที่เหลือ
-
ครั้งที่ ๒ ปฏิเสธการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชให้กับสินค้าทั้ง shipment และการส่งออกครั้งต่อไปจะถูกเปิดตรวจ
๑๐๐% ต่อเนื่อง ๓๐ shipments
-
ครั้งที่ ๓ และครั้งต่อไปปฏิเสธการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชให้กับสินค้าทั้ง Shipment และงดการให้บริการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชเป็นเวลา
๓๐ วันนับจากวันที่ตรวจพบ
๓.๒
ได้รับแจ้งจากประเทศปลายทาง
-
ครั้งที่ ๑
และครั้งต่อไปงดการให้บริการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชให้กับผู้ส่งออกรายนั้นสำหรับการส่งออกไปประเทศที่แจ้ง
เป็นเวลา ๓๐ วันนับจากวันที่กรมวิชาการเกษตรมีหนังสือแจ้งให้ทราบ
๔.
กรณีตรวจพบมีการแจ้งปริมาณหรือน้ำหนักไม่ตรงกับที่ส่งออกจริง
๔.๑
ตรวจพบ ณ จุดส่งออก
-
ครั้งที่ ๑ คัดชนิดพืชนั้นออกทั้งหมดและออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชให้กับพืชที่เหลือ
-
ครั้งที่ ๒ ปฏิเสธการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชให้กับสินค้าทั้ง shipment และการส่งออกครั้งต่อไปจะถูกเปิดตรวจ
๑๐๐% ต่อเนื่อง ๓๐ shipments
-
ครั้งที่ ๓ และครั้งต่อไปปฏิเสธการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชให้กับสินค้าทั้ง Shipment และ
งดการให้บริการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชเป็นเวลา ๓๐ วันนับจากวันที่ตรวจพบ
๔.๒
ได้รับแจ้งจากประเทศปลายทาง
-
ครั้งที่ ๑ แจ้งเตือน
-
ครั้งที่ ๒ และครั้งต่อไปงดการให้บริการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชให้กับผู้ส่งออกรายนั้นสำหรับการส่งออกไปประเทศที่แจ้ง
เป็นเวลา ๓๐ วันนับจากวันที่กรมวิชาการเกษตรมีหนังสือแจ้งให้ทราบ
๕.
กรณีตรวจพบศัตรูพืช
๕.๑
ตรวจพบ ณ จุดส่งออก
-
กรณีเป็นศัตรูพืชกักกัน (Quarantine pest) ของประเทศปลายทาง
ให้คัดชนิดพืชที่พบศัตรูพืชออกทั้งหมด
และออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชให้กับชนิดพืชที่เหลือ
-
กรณีที่เป็นศัตรูพืชอื่น ให้ทำการสุ่มตัวอย่างตรวจครั้งที่ ๒
หากไม่พบศัตรูพืชให้ออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชได้
๕.๒
ได้รับแจ้งการตรวจพบศัตรูพืชกักกันจากประเทศปลายทาง
-
ครั้งที่ ๑ แจ้งเตือน
-
ครั้งที่ ๒ ส่งเจ้าหน้าที่ไปให้คำแนะนำในการคัดสินค้าและตรวจศัตรูพืช ณ
โรงคัดบรรจุของผู้ส่งออก
-
ครั้งที่ ๓
และครั้งต่อไปงดการให้บริการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชให้กับชนิดพืชที่ถูกตรวจพบศัตรูพืชส่งออกไปประเทศที่แจ้งเป็นเวลา
๑๕ วันนับจากวันที่กรมวิชาการเกษตรมีหนังสือแจ้งให้ทราบ
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
สุปราณี อิ่มพิทักษ์
รองอธิบดี
ปฏิบัติราชการแทน
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๐
พิมลกร/ปรับปรุง
๓ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๓ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๔๗ ง/หน้า ๑๔/๓ ตุลาคม ๒๕๕๐ |
563417 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๕๐
ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๙ มีนาคม
๒๕๔๖, ลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๖ และลงวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๗ ได้แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ ไว้แล้ว นั้น
บัดนี้
เห็นเป็นการสมควรแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเพิ่มเติม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงแต่งตั้งให้ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์
และนักสัตววิทยา ตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป สังกัดกรมวิชาการเกษตร เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ธีระ สูตะบุตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๙ ตุลาคม ๒๕๕๐
พิมลกร/ปรับปรุง
๓ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๓ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๔๑ ง/หน้า ๑๑/๒๗ กันยายน ๒๕๕๐ |
561618 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืช จากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2550
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดพืชจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม
ข้อยกเว้น
และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๘)
พ.ศ. ๒๕๕๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ตัวไหม ไข่ไหม และรังไหมจากทุกแหล่งเป็นสิ่งต้องห้าม
ข้อ
๒ ข้อยกเว้นหรือเงื่อนไข
สิ่งต้องห้ามตามข้อ
๑ ที่ได้ดำเนินการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนด
และได้มีประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพิกถอนจากการเป็นสิ่งต้องห้าม ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนด
ข้อ
๓ สิ่งต้องห้ามตามข้อ ๑ ที่เคยมีการนำเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วในลักษณะทางการค้าก่อนที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
จะได้รับการผ่อนผันให้นำเข้าได้ต่อไปจนกว่าการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของสิ่งต้องห้ามนั้นเสร็จสิ้น
โดยองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติของประเทศผู้ส่งออกต้องแจ้งความประสงค์ขออนุญาตนำเข้าเป็นลายลักษณ์อักษรและแสดงเอกสารหลักฐานที่เคยมีการนำเข้าภายในระยะเวลา
๓ ปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งแนบข้อมูลทางวิชาการเพื่อประกอบการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชต่ออธิบดีกรมวิชาการเกษตรภายในระยะเวลา
๖๐ วัน นับถัดจากวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้
เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่งแล้ว
ในกรณีมีเหตุจำเป็น อธิบดีกรมวิชาการเกษตรมีอำนาจอนุญาตให้แจ้งความประสงค์ขออนุญาตนำเข้าเป็นกรณี
ๆ ไป ทั้งนี้ ต้องดำเนินการภายใน ๖๐ วัน
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด
๖๐ วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ธีระ สูตะบุตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๑ กันยายน ๒๕๕๐
พิมลกร/ปรับปรุง
๓ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๓ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๗/๕ กันยายน ๒๕๕๐ |
561614 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดศัตรูพืชเป็นสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดศัตรูพืชเป็นสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ.
๒๕๕๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ให้ศัตรูพืชจากทุกแหล่งตามท้ายประกาศนี้เป็นสิ่งต้องห้าม
เนื่องจากเป็นศัตรูพืชกักกัน
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด
๖๐ วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ธีระ สูตะบุตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายชื่อศัตรูพืชแนบท้ายประกาศประทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดศัตรูพืชเป็นสิ่งต้องห้าม ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่
๗) พ.ศ. ๒๕๕๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๑ กันยายน ๒๕๕๐
พิมลกร/ปรับปรุง
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๖/๕ กันยายน ๒๕๕๐ |
561263 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช ซึ่งการนำเข้าสิ่งต้องห้าม
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
การวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
ซึ่งการนำเข้าสิ่งต้องห้าม[๑]
ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดพืช และพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ กำหนดข้อยกเว้นหรือเงื่อนไขการอนุญาตให้นำเข้าสิ่งต้องห้ามได้
โดยต้องทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนดนั้น อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ องค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ (National Plant Protection Organization, NPPO) ของประเทศผู้ส่งออก ต้องยื่นคำขออนุญาตนำเข้าสิ่งต้องห้ามเป็นลายลักษณ์อักษรต่ออธิบดีกรมวิชาการเกษตร
ตามที่อยู่ดังต่อไปนี้
อธิบดี
กรมวิชาการเกษตร
เลขที่
๕๐ ถนนพหลโยธิน จตุจักร
กรุงเทพฯ
๑๐๙๐๐, ประเทศไทย
โทรศัพท์
+ ๖๖ ๒ ๙๔๐ ๕๔๑๒
โทรสาร
+ ๖๖ ๒ ๙๔๐ ๕๕๒๘
ข้อ ๒ องค์กรอารักขาพืชแห่งชาติของประเทศผู้ส่งออก
ต้องส่งข้อมูลทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อประกอบการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช ดังต่อไปนี้
๒.๑
ที่อยู่ที่สมบูรณ์ขององค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ รวมทั้งหมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร และข้อมูลติดต่อทางจดหมายอิเล็คทรอนิกส์
๒.๒
ข้อมูลเกี่ยวกับพืชที่ประสงค์จะส่งออกมายังประเทศไทย
๒.๒.๑
ชื่อวิทยาศาสตร์ รวมถึงผู้ตั้งชื่อ
๒.๒.๒
อนุกรมวิธานของพืช
๒.๒.๓
ชื่อพ้อง
๒.๒.๔
ชื่อสามัญ
๒.๒.๕
พันธุ์หรือสายพันธุ์
๒.๒.๖
ส่วนของพืชที่จะส่งออก เช่น ผล เมล็ด เป็นต้น
๒.๒.๗
การใช้ประโยชน์ของพืช เช่น บริโภค อุปโภค ขยายพันธุ์ เป็นต้น
๒.๒.๘
ประเทศปลายทางที่จะส่งพืชไป (ประเทศอื่น)
๒.๒.๙
ภาพถ่ายของพืช
๒.๓
ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งปลูกพืช
๒.๓.๑
มลรัฐ ภูมิภาค จังหวัด ตำบล และอื่น ๆ
๒.๓.๒
แผนที่แสดงแหล่งปลูกพืช
๒.๓.๓
สภาพภูมิอากาศของแหล่งปลูกพืช
๒.๓.๔
ปริมาณที่คาดว่าจะส่งออก
๒.๔
ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตและการเพาะปลูกพืช
๒.๔.๑
แผนการที่เฉพาะสำหรับการบริหารจัดการศัตรูพืช แผนการเฝ้าระวังศัตรูพืช และระบบการตรวจรับรองการปลอดศัตรูพืช
เช่น ข้อมูลการสำรวจ หรือวิธีการสุ่มตัวอย่าง เป็นต้น
๒.๔.๒
ผลผลิตจากพื้นที่ที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการว่าปลอดศัตรูพืช โดยองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ
๒.๔.๓
กฎระเบียบควบคุมศัตรูพืชภายในประเทศ เช่น พื้นที่ปลอดศัตรูพืช มาตรการควบคุมการนำเข้า
หรือข้อกำหนดสำหรับการนำเข้า เป็นต้น
๒.๔.๔
การผลิต วิธีการเก็บเกี่ยว ช่วงเวลาเก็บเกี่ยว
๒.๕
ข้อมูลเกี่ยวกับศัตรูพืชที่พบบนส่วนของพืชที่ส่งออก และพาหะของเชื้อโรคพืชที่ทำลายพืช
(ดูตาราง)
๒.๕.๑
ชื่อวิทยาศาสตร์ รวมถึงผู้ตั้งชื่อ
๒.๕.๒
อนุกรมวิธานของศัตรูพืช
๒.๕.๓
ชื่อพ้อง
๒.๕.๔
ชื่อสามัญ
๒.๕.๕
ชื่อพืชอาศัย (ชื่อวิทยาศาสตร์และสายพันธุ์ถ้าเกี่ยวข้อง)
๒.๕.๖
ส่วนของพืชที่ศัตรูพืชเข้าทำลาย
๒.๕.๗
อาการหรือลักษณะการทำลาย
๒.๕.๘
การแพร่กระจาย
๒.๕.๙
การทำลายของประชากรศัตรูพืชในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (พบได้ทั่วไป บางครั้งบางคราว หรือนานๆ
ครั้ง)
๒.๕.๑๐
วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืช
๒.๕.๑๑
เอกสารอ้างอิงทางวิชาการที่เกี่ยวกับศัตรูพืช
ชื่อวิทยา
ศาสตร์และ
ชื่อพ้อง
ประเภท
(แมลง ไร รา
แบคทีเรีย ฯลฯ )
ลำดับ
วงศ์
ชื่อสามัญ
ส่วนของ
พืชที่ถูก
ทำลาย
เอกสารอ้างอิง
๒.๖
ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
๒.๖.๑
วิธีการบรรจุ
๒.๖.๒
กระบวนการตรวจก่อนส่งออก
๒.๖.๓
การกำจัดศัตรูพืชหลังการเก็บเกี่ยว
๒.๖.๔
การเก็บรักษาสินค้าและมาตรการป้องกันศัตรูพืช
๒.๖.๕
การขนส่ง (ภายในประเทศและระหว่างประเทศ)
๒.๗
กระบวนการที่ใช้ในปัจจุบันสำหรับการให้การรับรองสุขอนามัยพืช เช่นการตรวจสอบในแปลงปลูก
การสุ่มตัวอย่าง การระบุข้อความพิเศษ เป็นต้น
๒.๘
ผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชที่เคยดำเนินการไปแล้วกับประเทศอื่น
๒.๙
ข้อมูลที่นำเสนอเพื่อประกอบการพิจารณา ควรเป็นข้อมูลล่าสุดหรือมีอายุน้อยกว่า ๑๐ ปี
และผ่านการพิสูจน์ความถูกต้อง หรือรับรองจากองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติของประเทศผู้ส่งออก
ข้อ ๓ การวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชจะดำเนินการโดยอาศัยแนวทางของมาตรฐานระหว่างประเทศสำหรับมาตรการสุขอนามัยพืช
ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับการจำแนกศัตรูพืชซึ่งติดมากับพืชเป็นศัตรูพืชกักกัน
การประเมินศักยภาพที่ศัตรูพืชกักกันจะเข้ามาในประเทศ การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการเข้ามาของศัตรูพืชกักกัน
และการกำหนดมาตรการลดความเสี่ยงสำหรับศัตรูพืชกักกัน
การดำเนินการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชให้เสร็จสมบูรณ์ในทุกขั้นตอนอาจจะเกี่ยวพันถึงการส่งเจ้าหน้าที่กักกันพืชเดินทางไปยังประเทศผู้ส่งออกเพื่อประเมิน
การบริหารจัดการศัตรูพืชในแหล่งผลิต ระบบการตรวจรับรองการปลอดศัตรูพืชก่อนส่งออก วิธีกำจัดศัตรูพืชกักกันบนพืชหลังการเก็บเกี่ยว
ข้อ ๔ การนำเข้าสิ่งต้องห้ามอาจจำเป็นต้องกำหนดให้มีเจ้าหน้าที่กักกันพืชเดินทางไปปฏิบัติงานเพื่อตรวจสอบสิ่งต้องห้ามก่อนส่งออกในประเทศผู้ส่งออกเป็นครั้งคราวหรือตลอดฤดูกาลส่งออก
ข้อ ๕ ให้ประเทศผู้ส่งออกเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของเจ้าหน้าที่กักกันพืชที่เดินทางไปปฏิบัติงานตามข้อ
๓ และข้อ ๔ ตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
อดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ค่าใช้จ่ายสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่
แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
การวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชซึ่งการนำเข้าสิ่งต้องห้าม
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๐
พิมลกร/ปรับปรุง
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๙/๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๐ |
560155 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำผลส้มจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาในราชอาณาจักร
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
เงื่อนไขการนำผลส้มจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาในราชอาณาจักร[๑]
ตามประกาศกระทรวงเกษตร (ฉบับที่ ๖) เรื่อง
กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้นและเงื่อนไข
ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชศัตรูพืช
หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้นและเงื่อนไข
ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๙ ลงวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ.
๒๕๓๙ ผลส้มจากแหล่งที่กำหนด ซึ่งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขซึ่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนดและมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชสามารถนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจึงออกประกาศเงื่อนไขการนำผลส้มเพื่อการบริโภคจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาในราชอาณาจักร
ดังต่อไปนี้
๑. ชนิดผลไม้
ผลส้มตามเอกสารแนบ ๑
ท้ายประกาศนี้
๒. ศัตรูพืชและสิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
๒.๑
รายชื่อศัตรูพืชบนผลส้มและสถานภาพของศัตรูพืชตามเอกสารแนบ ๒ ท้ายประกาศนี้
๒.๒
ศัตรูพืชกักกันที่ต้องมีการจัดการความเสี่ยง คือ แมลงวันผลไม้ส้ม (citrus
fruit fly)
Bactrocera tsuneonis
๓. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
๓.๑
ประเทศไทย คือ กรมวิชาการเกษตร
๓.๒
ประเทศญี่ปุ่น คือ กองอารักขาพืช สำนักงานความปลอดภัยทางอาหารและผู้บริโภค
กระทรวงเกษตรป่าไม้และประมง
๔. การขออนุญาตนำเข้า
ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร
๕. วิธีการขนส่ง
ส้มต้องส่งตรงมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งหรือเมืองในประเทศญี่ปุ่นไปยังเมืองท่าปลายทางหรือเมืองในประเทศไทย
ในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางเรือหรือทางอากาศ
๖. แหล่งปลูก
๖.๑
ส้มต้องมาจากแหล่งปลูกที่จดทะเบียนตามเอกสารแนบ ๑ ท้ายประกาศนี้
๖.๒
กรณีที่กระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงจดทะเบียนแหล่งปลูกแห่งใหม่เพื่อส่งส้มออกไปยังประเทศไทย
กระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบพร้อมทั้งข้อมูลของแหล่งปลูกใหม่
กรมวิชาการเกษตรต้องดำเนินการตรวจรับรองแหล่งปลูกแห่งใหม่และระบบการบริหารจัดการแมลงวันผลไม้
ก่อนที่จะส่งออกส้มไปยังประเทศไทย
๗. การจดทะเบียนสวนส้มส่งออก
๗.๑
สวนส้มในแหล่งปลูกส้มที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังประเทศไทยต้องจดทะเบียนเป็นสวนส้มจดทะเบียนเพื่อการส่งออก
และมีการสำรวจแบบติดตามโดยกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมง
เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าเป็นส้มที่ปลอดจากศัตรูพืชกักกัน
๗.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนส้มจดทะเบียนเพื่อการส่งออกต้องปฏิบัติตามแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนส้มอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ
รวมทั้งบันทึกตารางการฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม
๗.๓
กระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงต้องให้ข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชของส้มตลอดฤดูกาลปลูกเมื่อได้รับการร้องขอจากกรมวิชาการเกษตร
๗.๔
กระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงต้องแจ้งบัญชีรายชื่อสวนส้มจดทะเบียนเพื่อการส่งออก ได้แก่
ชื่อเกษตรกร ที่อยู่ และข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ปลูก ต่อกรมวิชาการเกษตรเป็นเวลาอย่างน้อย
๒ เดือน ก่อนเริ่มการส่งออกเป็นประจำทุกปี
๘. การจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้า
๘.๑
โรงบรรจุสินค้าต้องจดทะเบียนไว้กับกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมง
และต้องตั้งอยู่ภายในขอบเขตรัศมีการดักจับแมลงของกับดักแกลลอนเท่านั้น
๘.๒
โรงบรรจุสินค้าต้องนำส้มมาจากสวนส้มจดทะเบียนเพื่อการส่งออกที่จดทะเบียนไว้กับกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงเท่านั้น
ทั้งนี้ เพื่อสามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของส้มที่ส่งออกได้
๘.๓ กระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงมีหน้าที่รับผิดชอบเก็บข้อมูลรายละเอียด
สวนส้มจดทะเบียนเพื่อการส่งออกซึ่งส่งส้มมายังโรงบรรจุสินค้าเพื่อส่งออกไปยังประเทศไทย
โดยข้อมูลเหล่านี้ต้องส่งให้กับกรมวิชาการเกษตรทันทีเมื่อได้รับการร้องขอ
๘.๔
กระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงต้องแจ้งรายชื่อโรงบรรจุสินค้าที่ได้รับการจดทะเบียน ได้แก่
ชื่อโรงบรรจุสินค้า รหัส ที่อยู่ และชื่อผู้จัดการ ต่อกรมวิชาการเกษตร อย่างน้อย ๒
เดือนก่อนเริ่มฤดูกาลส่งออกเป็นประจำทุกปี
๘.๕
กรณีที่กระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าแห่งใหม่ กระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงต้องแจ้งรายชื่อโรงบรรจุสินค้านั้นต่อกรมวิชาการเกษตรทันที
กรมวิชาการเกษตรจะดำเนินการตรวจสอบโรงบรรจุสินค้า
และตรวจสอบระบบปฏิบัติงานในการคัดเลือกหรือการบรรจุส้มตามความเหมาะสม
ในขั้นตอนของการตรวจสอบก่อนการส่งออกตามที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อที่ ๑๓.๑
๙. ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้า
๙.๑ โรงบรรจุสินค้า
๙.๑.๑.
ส้มต้องเก็บในสภาพที่เหมาะสมตั้งแต่หลังการเก็บเกี่ยวจนถึงขั้นตอนการบรรจุ
ซึ่งสามารถป้องกันมิให้ศัตรูพืชต่างๆ เข้าทำลายส้มได้ใหม่อีกครั้ง
๙.๑.๒.
โรงบรรจุสินค้าแต่ละแห่ง ต้องมีผู้ปฏิบัติงานด้านวิชาการอย่างน้อย ๑ คน ซึ่งได้รับการอบรมจากกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมง
โดยเป็นผู้ที่มีความรู้และสามารถทราบลักษณะการทำลายของศัตรูพืชบนส้ม
ผู้ปฏิบัติงานด้านวิชาการนี้ต้องดูแลเอาใจใส่ในขั้นตอนการคัดเลือกส้มและการคัดออกส้มซึ่งสงสัยว่ามีการทำลายของศัตรูพืชที่กำหนดไว้ในข้อ
๒
โรงบรรจุสินค้าต้องเก็บเอกสารการฝึกอบรมหรือบันทึกการฝึกอบรมของผู้ปฏิบัติงานด้านวิชาการด้วย
๙.๒ ระบบควบคุมการปฏิบัติงานในโรงบรรจุสินค้า
๙.๒.๑
ส้มซึ่งผลิตจากสวนส้มจดทะเบียนเพื่อการส่งออก
ต้องจัดเก็บและบรรจุในโรงบรรจุสินค้าที่ได้รับการจดทะเบียน นอกจากนี้แล้ว
การดำเนินการบรรจุส้มเพื่อส่งออกไปยังประเทศไทยจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ ๑
พฤศจิกายนของทุกปี
๙.๒.๒
กรณีที่ส้มผลิตมาจากสวนส้มซึ่งไม่ได้จดทะเบียนเพื่อการส่งออกแต่มาจากแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาต
เมื่อมีการเก็บส้มเหล่านี้ไว้ในโรงบรรจุสินค้าเดียวกันกับส้มที่มาจากสวนส้มจดทะเบียนเพื่อการส่งออก
ต้องแยกส้มทั้งสองแหล่งออกจากกันและเก็บแยกไว้ต่างหากไม่ให้ปะปนกัน ส้มสำหรับส่งออกไปยังประเทศไทยซึ่งผลิตจากสวนส้มจดทะเบียนเพื่อการส่งออกและส้มอื่นๆ
ต้องไม่ทำการคัดและบรรจุในช่วงเวลาเดียวกัน
๙.๒.๓
ต้องทำความสะอาดโรงบรรจุสินค้าก่อนดำเนินการคัดและบรรจุส้มทุกวัน
๙.๒.๔
ส้มที่มีโรคหรือศัตรูพืชทำลายต้องคัดทิ้งและนำไปทำลายนอกโรงบรรจุสินค้าทันที
๙.๒.๕
เจ้าหน้าที่กักกันพืชของกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงต้องยืนยันมาตรการป้องกันศัตรูพืชปนเปื้อนในโรงบรรจุสินค้า
ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่ามาตรการป้องกันศัตรูพืชปนเปื้อนไม่เหมาะสม
กระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงควรสั่งการให้ผู้จัดการโรงบรรจุสินค้ารีบดำเนินการป้องกันศัตรูพืชปนเปื้อน
๑๐. ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก
๑๐.๑
บรรจุภัณฑ์ทำด้วยกระดาษลูกฟูกซึ่งอาจผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่หรือวัสดุใหม่
บรรจุภัณฑ์ต้องสะอาดและใหม่จึงจะอนุญาตให้ใช้สำหรับการบรรจุส้ม
๑๐.๒
ภาชนะบรรจุส้มต้องไม่มีรู ถ้ามีรูหรือช่องเปิดต้องปิดด้วยผ้าตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน
๑.๖ มม. หรือต้องคลุมภาชนะที่บรรจุส้มด้วยผ้าตาข่าย (ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน
๑.๖ มม.)
๑๐.๓
ภาชนะบรรจุส้มต้องไม่มีชิ้นส่วนของพืชปะปน เช่น ดิน ใบ ลำต้น หรือสิ่งอื่นๆ ที่สามารถนำพาศัตรูพืชกักกันได้
๑๐.๔
ส้มที่จะส่งออกแต่ยังไม่ได้มีการขนย้ายเข้าตู้ขนส่งสินค้าในทันที
ส้มเหล่านี้ต้องมีการจัดการและควบคุมความปลอดภัยจากศัตรูพืช
และต้องเก็บส้มดังกล่าวแยกจากส้มอื่นๆ ภายในห้องเย็น
จนกว่าจะมีการขนย้ายเข้าสู่ตู้บรรทุกสินค้า
โดยต้องดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมง
๑๐.๕
ข้อความต่อไปนี้ต้องพิมพ์ติดไว้บนบรรจุภัณฑ์
สินค้าของประเทศญี่ปุ่น
ชื่อบริษัทผู้ส่งออก
ชื่อส้ม ได้แก่ สกุล ชนิด
และสายพันธุ์
หมายเลขทะเบียนสวน
หมายเลขทะเบียนโรงบรรจุสินค้า
วันที่บรรจุ
จุดหมายปลายทางส่งออก
๑๑. แหล่งผลิตส้มปลอดแมลงวันผลไม้
๑๑.๑
การกำหนดทำเลที่ตั้งสวนส้มปลอดแมลงวันผลไม้ส้ม Bactrocera
tsuneonis จากแหล่งปลูกที่จดทะเบียนตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๖ นั้น กระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กรมวิชาการเกษตรทราบอย่างเป็นทางการ
๑๑.๒
กระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันทีหากการสำรวจตรวจหาพบแมลงวันผลไม้ชนิดอื่น
ๆ นอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ส้ม
๑๒. ข้อกำหนดสำหรับการสำรวจแบบติดตามแมลงวันผลไม้ส้ม
๑๒.๑
สวนส้มจดทะเบียนเพื่อการส่งออกซึ่งเป็นแหล่งของส้มที่จะส่งออกไปยังประเทศไทยต้องมีระบบการสำรวจแบบติดตามแมลงวันผลไม้ส้ม
ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสวนส้มดังกล่าวปลอดจากแมลงวันผลไม้ส้ม
๑๒.๒
การสำรวจแบบติดตามควรดำเนินการโดยใช้กับดักแกลลอน (Gallon
Trap) และการสำรวจผลส้ม
๑๒.๒.๑
การสำรวจโดยใช้กับดักแกลลอน
(ก)
ระยะเวลาการสำรวจคือจากวันที่ ๑ เมษายน ถึง ๓๑ ตุลาคม ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวนี้จะคลอบคลุมช่วงเวลาของระยะตัวเต็มวัยของแมลงวันผลไม้ส้มซึ่งจะอยู่ประมาณเดือนมิถุนายนถึงกันยายน
(ข)
กับดักแกลลอนควรวางให้คลุมพื้นที่ทุกๆ ๑ ตารางกิโลเมตร ในแหล่งที่ปลูกส้มและพื้นที่ใกล้เคียง
(ค)
กับดักแกลลอนจะใช้โปรตีนไฮโดรไลเซท (protein
hydolyzate) (๑.๕
- ๒.๐ % โปรตีนในรูปของแข็ง) และสารฆ่าแมลงวาโพนา (Vapona
®) (๑๘.๖%
DDVP)
(ง)
เจ้าหน้าที่กักกันพืชของกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงต้องตรวจกับดักแกลลอนทุกๆ ๒
สัปดาห์ และต้องเปลี่ยนโปรตีนไฮโดรไลเซททุกๆ ๒
สัปดาห์ และวาโพนา ทุกๆ ๔ สัปดาห์
๑๒.๒.๒ การสำรวจผลส้ม
เจ้าหน้าที่กักกันพืชของกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงต้องทำการสำรวจผลส้มในช่วงเวลาตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๑๒.๒.๑ (ก) และผ่าตรวจดูผลส้มที่ร่วงหล่น และหรือผลส้มที่เปลี่ยนสีว่ามีสาเหตุมาจากการทำลายของแมลงวันผลไม้ส้มหรือไม่
๑๒.๓ ข้อมูลการสำรวจแบบติดตามแมลงวันผลไม้ส้ม
รวมถึงจำนวนและสถานที่ที่ติดตั้งกับดัก ข้อมูลแมลงที่ติดในกับดัก
และชนิดของแมลงวันผลไม้ที่ได้จากกับดักทั้งหมด (กับดักแกลลอนและวาโพนา)
และข้อมูลการสำรวจผลส้มต้องจัดเตรียมไว้ให้กับเจ้าหน้าที่กักกันพืชของกรมวิชาการเกษตรตรวจสอบ
๑๒.๔
วิธีดำเนินการเมื่อตรวจไม่พบแมลงวันผลไม้ส้ม
๑๒.๔.๑
สวนส้มซึ่งตรวจไม่พบแมลงวันผลไม้ส้มในช่วงระยะเวลาที่สำรวจจะได้รับการจดทะเบียนโดยกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงให้เป็นสวนส้มจดทะเบียนเพื่อการส่งออกสำหรับส่งออกส้มไปยังประเทศไทย
๑๒.๔.๒
สวนส้มที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นสวนส้มจดทะเบียนเพื่อการส่งออกมีสิทธิที่จะส่งออกส้มไปยังประเทศไทยจาก
วันที่ ๑ พฤศจิกายน ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม
ของปีถัดไปตามปีปฏิทินซึ่งได้พิจารณาแล้วถือว่าเป็นปีส่งออก
๑๒.๔.๓ ส้มซึ่งเก็บเกี่ยวตั้งแต่วันที่ ๑
พฤศจิกายนและหลังจากวันนี้ไปจากสวนส้มจดทะเบียนเพื่อการส่งออกสำหรับส่งออกไปยังประเทศไทย
ช่วงเวลาของการเก็บเกี่ยวดังกล่าวนี้ได้พิจารณาแล้ว
ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่มีแต่แมลงวันผลไม้ส้มระยะตัวเต็มวัย
๑๒.๕
วิธีดำเนินการเมื่อตรวจพบแมลงวันผลไม้ส้ม
กรณีตรวจพบแมลงวันผลไม้ส้มในระหว่างช่วงของการสำรวจแบบติดตามสวนส้มซึ่งอยู่ในแหล่งผลิตส้มตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๒ จะถูกห้ามส่งออกส้มไปยังประเทศไทย ในปีส่งออกตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๒.๔.๒
๑๓. การตรวจส้มก่อนส่งออก
๑๓.๑
ส้มที่ส่งออกไปยังประเทศไทยต้องมีการตรวจสอบร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่กักกันพืชของกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงและเจ้าหน้าที่กักกันพืชของกรมวิชาการเกษตร
นอกจากนี้แล้ว ในช่วงก่อนเริ่มฤดูกาลส่งออกของทุกปี
เจ้าหน้าที่กักกันพืชของกรมวิชาการเกษตรต้องตรวจสอบโรงบรรจุสินค้า
สำรวจแบบติดตามแมลงวันผลไม้ส้มในพื้นที่ที่ปลูกส้ม ตรวจสอบข้อมูลแมลงที่ติดกับดัก
และตรวจสอบรายงานการดำเนินการของเจ้าหน้าที่กักกันพืชของกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมง
๑๓.๒
กระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงต้องส่งหนังสืออย่างเป็นทางการถึงกรมวิชาการเกษตร เพื่อขอให้กรมวิชาการเกษตรจัดส่งเจ้าหน้าที่กักกันพืชเพื่อตรวจรับรองส้มก่อนการส่งออกไปยังประเทศไทย
โดยต้องส่งหนังสือดังกล่าวล่วงหน้าเป็นระยะเวลาอย่างน้อย ๒
เดือนก่อนเริ่มฤดูกาลส่งออกเป็นประจำทุกปี (วันที่ ๑ พฤศจิกายนของทุกปี)
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กักกันพืชของกรมวิชาการเกษตร
ฝ่ายญี่ปุ่นต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
๑๓.๓
เจ้าหน้าที่กักกันพืชของกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงและเจ้าหน้าที่กักกันพืชของกรมวิชาการเกษตรต้องร่วมกันสุ่มตรวจส้มจำนวน
๖๐๐ ผล จากจำนวนส้มทั้งหมดที่ส่งออกในแต่ละครั้ง
๑๓.๔
ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ในข้อ ๒ ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้
๑๓.๔.๑
ถ้าตรวจพบแมลงวันผลไม้ส้มในระหว่างการสุ่มตรวจส้มก่อนส่งออก ส้มทั้งหมดจะถูกห้ามส่งออกไปยังประเทศไทยและต้องปฏิบัติ
ดังต่อไปนี้
(ก)
เจ้าหน้าที่กักกันพืชของกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงและเจ้าหน้าที่กักกันพืชของกรมวิชาการเกษตร
ต้องร่วมกันตรวจสอบหาสาเหตุที่มีการทำลายของแมลงวันผลไม้ส้มในผลส้ม
(ข)
โรงบรรจุสินค้าที่เป็นผู้บรรจุส้มที่มีแมลงวันผลไม้ส้มทำลายต้องหยุดดำเนินการบรรจุส้มส่งออกไปยังประเทศไทยโดยทันที
ส้มที่ได้ผ่านการคัดและบรรจุไว้แล้วต้องถูกระงับการส่งออกไปยังประเทศไทย
ส่วนสวนส้มที่ผลิตส้มซึ่งพบว่ามีแมลงวันผลไม้ส้มทำลายจะถูกห้ามส่งออกส้มไปยังประเทศไทยโดยทันทีหลังจากนั้น
แต่อย่างไรก็ตาม ส้มที่ได้ผ่านการตรวจสอบและมีการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary
Certificate) แล้ว
ยังสามารถส่งออกไปประเทศไทยได้
(ค)
กระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบโดยทันทีเกี่ยวกับสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเสนอมาตรการแก้ไข
กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการส่งออกเมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร
๑๓.๔.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่นๆ
ที่มีชีวิตซึ่งไม่ใช่แมลงวันผลไม้ส้มในระหว่างการสุ่มตรวจส้มก่อนส่งออก
ส้มทั้งหมดจะส่งไปยังประเทศไทยได้ต่อเมื่อได้ทำการกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว
๑๓.๕
กรณีตรวจไม่พบศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในข้อ ๒ เจ้าหน้าที่กักกันพืชของกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงจะออกใบรับรองสุขอนามัยพืช
และเจ้าหน้าที่กักกันพืชของกรมวิชาการเกษตรจะลงนามบนพื้นที่ว่างของใบรับรองสุขอนามัยพืช
๑๔. ใบรับรองสุขอนามัยพืช
๑๔.๑
กระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงจะออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับส้มที่ส่งออกไปประเทศไทย
และต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
The citrus
fruit of
this consignment
was produced
in (name
of production
area) and
inspected in
accordance with
appropriate official
procedures are
found to
be free
from quarantine
pests specified
by the
DOA
๑๔.๒ ในใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุ
ชื่อวิทยาศาสตร์และชื่อพันธุ์ของส้ม หมายเลขสวนที่ได้รับการจดทะเบียน
หมายเลขโรงคัดบรรจุที่ได้รับการจดทะเบียน และหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า
(สำหรับการขนส่งทางเรือ)
๑๕. การตรวจส้มเมื่อมีการนำเข้า
เมื่อส้มถูกขนส่งมาถึงยังจุดที่นำเข้า
การตรวจส้มจะดำเนินการหลังจากได้มีการตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาด้วย
๑๕.๑ ในกรณีที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด
บรรจุภัณฑ์หรือผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าชำรุดหรือเสียหาย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งส้มกลับหรือทำลายส้ม
โดยเจ้าของเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
๑๕.๒ สุ่มตรวจส้มจำนวน ๖๐๐ ผล
จากจำนวนส้มทั้งหมดที่นำเข้าแต่ละครั้ง
๑๕.๓
กรณีพบศัตรูพืชกักกันของประเทศไทยตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒
ระหว่างการสุ่มตรวจส้มเมื่อมีการนำเข้า ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้
๑๕.๓.๑ ถ้าพบแมลงวันผลไม้ส้มที่มีชีวิต
ส้มทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายเท่านั้น กรมวิชาการเกษตรจะสั่งระงับการนำเข้า
และแจ้งให้กระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงทราบโดยทันที
๑๕.๓.๒
กระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข
กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการส่งออกเมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร
๑๕.๓.๓ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่นๆ
ที่มีชีวิตซึ่งไม่ใช่แมลงวันผลไม้ส้ม ส้มทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย
หรือทำการกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามี)
โดยเจ้าของเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
๑๕.๓.๔ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชชนิดอื่น ๆ
ที่มีชีวิตซึ่งไม่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในหัวข้อที่ ๒
กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิที่จะระงับการนำเข้าได้
จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการจนเสร็จสิ้นแล้ว
๑๖. การประเมินระบบการส่งออก
๑๖.๑ การส่งออกผลส้มจากประเทศญี่ปุ่นไปยังประเทศไทยจะเริ่มได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินระบบการส่งออกในประเทศญี่ปุ่นแล้วเท่านั้น
๑๖.๒
ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้าหรือการนำเข้าไม่ถูกต้องตามประกาศนี้ กรมวิชาการเกษตรต้องส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินระบบการส่งออกในประเทศญี่ปุ่นก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าส้มจากญี่ปุ่นได้อีกต่อไป
กระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐
อดิศักดิ์
ศรีสรรพกิจ
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายชื่อชนิดส้มและสายพันธุ์ และแหล่งปลูก ที่ได้รับอนุญาต (เอกสารแนบ ๑)
๒. รายชื่อศัตรูพืชของผลส้ม (Citrus spp.)
จากประเทศญี่ปุ่น (เอกสารแนบ ๒)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
โสรศ/ผู้จัดทำ
๘
สิงหาคม ๒๕๕๐
พิมลกร/ปรับปรุง
๔
ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔
ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๙/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๐ |
552629 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชจากแหล่งที่กำหนด เป็นสิ่งกำกัด ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 พ.ศ. 2550
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดพืชจากแหล่งที่กำหนด
เป็นสิ่งกำกัด ข้อยกเว้น
และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗
พ.ศ. ๒๕๕๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิก
๑.๑
ประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดพืช หรือพาหะเป็นสิ่งกำกัด ข้อยกเว้นและเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๐๗
๑.๒
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืช หรือพาหะเป็นสิ่งกำกัด ข้อยกเว้น
และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ฉบับที่ ๒ (สิ่งกำกัด) พ.ศ. ๒๕๒๙
ลงวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๒๙
ข้อ
๒ ในประกาศนี้
อาหารสำเร็จรูป หมายความว่า อาหารที่ได้มาจากส่วนของพืชที่ยังคงลักษณะเป็นพืชและได้ผ่านกระบวนการที่สามารถทำลายเชื้อโรคและศัตรูพืช
ข้อ
๓ ให้พืชจากทุกแหล่งตามท้ายประกาศนี้เป็นสิ่งกำกัด
ข้อ
๔ ข้อยกเว้นหรือเงื่อนไข
๔.๑
อาหารสำเร็จรูป
๔.๒
สิ่งกำกัดตามข้อ ๓ บางชนิด ที่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนดก่อนการนำเข้า
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด
๖๐ วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐
ธีระ สูตะบุตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
รายชื่อพืช แนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดพืช
จากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งกำกัด ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ.
๒๕๐๗ พ.ศ. ๒๕๕๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๐
พิมลกร/ปรับปรุง
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๕/๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ |
552627 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดศัตรูพืชเป็นสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดศัตรูพืชเป็นสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
(ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๕๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิก
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดศัตรูพืชเป็นสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ข้อ
๒ ให้ศัตรูพืชจากทุกแหล่งตามท้ายประกาศนี้
เป็นสิ่งต้องห้าม เนื่องจากเป็นศัตรูพืชกักกัน
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด
๖๐ วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐
ธีระ สูตะบุตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
รายชื่อศัตรูพืชแนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดศัตรูพืชเป็นสิ่งต้องห้าม ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.
๒๕๕๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๐
พิมลกร/ปรับปรุง
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๔/๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ |
552621 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืช และพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดพืช และพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม
ข้อยกเว้น
และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๕๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิก
๑.๑
ประกาศกระทรวงเกษตร (ฉบับที่ ๖) เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม
ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๗
๑.๒
ประกาศกระทรวงเกษตร (ฉบับที่ ๑๑) เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม
ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๑๔
๑.๓
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฉบับที่ ๑๔) เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะเป็นสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๒๑
๑.๔
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม
ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๑) พ.ศ.
๒๕๓๓ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๓
๑.๕
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม
ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๓๘ ลงวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
๑.๖
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม
ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๙ ลงวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๓๙
๑.๗
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม
ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๕ )
พ.ศ. ๒๕๓๙ ลงวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๓๙
ข้อ
๒ ในประกาศนี้
๒.๑
อาหารสำเร็จรูป หมายความว่า อาหารที่ได้มาจากส่วนของพืช
ซึ่งยังคงลักษณะเป็นพืช และได้ผ่านกระบวนการที่สามารถทำลายเชื้อโรคและศัตรูพืช
๒.๒
ปุ๋ยอินทรีย์ หมายความว่า ปุ๋ยที่ได้หรือทำมาจากวัสดุอินทรีย์
ซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธีทำให้ชื้น สับ หมัก บด ร่อน สกัด หรือด้วยวิธีการอื่น แต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพ
ข้อ
๓ ให้พืช และพาหะ จากทุกแหล่งตามท้ายประกาศนี้เป็น
สิ่งต้องห้าม
ข้อ
๔ ข้อยกเว้นหรือเงื่อนไข
๔.๑
อาหารสำเร็จรูป
๔.๒
ปุ๋ยอินทรีย์จากซากสัตว์ กระดูกสัตว์ และเลือดสัตว์
๔.๓
ผลสดของพืชที่เป็นสิ่งต้องห้ามตามข้อ ๓ ซึ่งแช่แข็งที่อุณหภูมิต่ำกว่า -๑๗.๘ องศาเซนติเกรด
(๐ องศาฟาเรนไฮด์) โดยระบุอุณหภูมิที่กำหนดขณะที่ส่งออกลงในใบรับรองปลอดศัตรูพืช และยืนยันอุณหภูมิอีกครั้งโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ขณะที่ผ่านพิธีการกักกันพืช
๔.๔
สิ่งต้องห้ามตามข้อ ๓ ที่ได้ดำเนินการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนด และได้มีประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพิกถอนจากการเป็นสิ่งต้องห้าม
ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนด
๔.๕
พืชหรือพาหะที่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนดก่อนการนำเข้า
๔.๕.๑
ปุ๋ยอินทรีย์จากพืช หรือจากมูลค้างคาว
๔.๕.๒
ดินสำหรับใช้ในการอุตสาหกรรม
บทเฉพาะกาล
๑.
สิ่งต้องห้ามตามท้ายประกาศนี้ ที่เคยมีการนำเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วในลักษณะทางการค้าก่อนที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
จะได้รับการผ่อนผันให้นำเข้าได้ต่อไปจนกว่าการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของสิ่งต้องห้ามนั้นเสร็จสิ้น
โดยองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติของประเทศผู้ส่งออกต้องแจ้งความประสงค์ขออนุญาตนำเข้าเป็นลายลักษณ์อักษรและแสดงเอกสารหลักฐานที่เคยมีการนำเข้าภายในระยะเวลา
๕ ปีที่ผ่านมา ต่ออธิบดีกรมวิชาการเกษตรภายในระยะเวลา ๖๐ วัน นับถัดจากวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้
องค์กรอารักขาพืชแห่งชาติของประเทศผู้ส่งออก
ต้องส่งข้อมูลทางวิชาการของสิ่งต้องห้ามที่ขออนุญาตนำเข้า เพื่อประกอบการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชภายในระยะเวลา
๑๒๐ วัน นับจากวันครบกำหนดแจ้งความประสงค์ขออนุญาตนำเข้า
เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่งแล้ว
ในกรณีมีเหตุจำเป็น อธิบดีกรมวิชาการเกษตรอาจอนุญาตให้แจ้งความประสงค์ขออนุญาตนำเข้าตามวรรคหนึ่งเป็นกรณี
ๆ ไป ทั้งนี้ ต้องดำเนินการภายใน ๖๐ วัน
๒.
ประกาศนี้ไม่รวมถึงสิ่งต้องห้ามที่ได้อนุญาตให้นำเข้าตามข้อผูกพันทางการค้าซึ่งทำโดยภาครัฐที่เกิดขึ้นก่อนประกาศฉบับนี้มีผลบังคับ
เว้นแต่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ว่า มีการระบาดของศัตรูพืชชนิดใหม่หรือตรวจพบศัตรูพืชชนิดใหม่กับสิ่งต้องห้ามที่ได้อนุญาตให้นำเข้าซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อการเกษตรของประเทศ
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด
๖๐ วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐
ธีระ สูตะบุตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
รายชื่อพืช และพาหะ แนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืช
และพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น
และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๐
พิมลกร/ปรับปรุง
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๑/๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ |
695921 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง กำหนดแบบคำขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช และบบใบรับรองปลอดศัตรูพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 พ.ศ. 2549 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
กำหนดแบบคำขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช และแบบใบรับรองปลอดศัตรูพืช
ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
พ.ศ. ๒๕๔๙[๑]
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง กำหนดแบบคำขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช และแบบใบรับรองปลอดศัตรูพืช
ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
๑.
ให้ยกเลิกประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง กำหนดแบบคำขอใบรับรองปลอดศัตรูพืชและแบบใบรับรองปลอดศัตรูพืช
ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
ลงวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๒๖
๒.
แบบคำขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช พ.ก. ๙, พ.ก. ๙.๑ , พ.ก. ๙.๒
และแบบใบรับรองปลอดศัตรูพืช พ.ก. ๑๐
ซึ่งมีตราดุน รูปร่าง ขนาด และข้อความ ให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
อดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. คำขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช
(APPLICATION FOR PHYTOSANITARY CERTIFICATE) (แบบ พ.ก. ๙)
๒.
บัญชีแสดงรายชื่อพืชส่งออก (แบบ พ.ก. ๙.๑)
๓.
ใบแนบคำขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช (แบบ พ.ก. ๙.๒)
๔. แบบใบรับรองปลอดศัตรูพืช (แบบ พ.ก. ๑๐)
๕. ตราดุนใช้ประทับบนใบรับรองปลอดศัตรูพืช
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ศรตม์/ผู้จัดทำ
๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
พลัฐวัษ/ตรวจ
๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๓๖ ง/หน้า ๑๐/๓๐ มีนาคม ๒๕๔๙ |
522331 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การรับรองพืชหรือสินค้าที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2549
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
การรับรองพืชหรือสินค้าที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม (ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๔๙[๑]
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแบบหนังสือรับรองท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง การรับรองพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้เหมาะสมกับภาวการณ์ปัจจุบัน
กรมวิชาการเกษตรจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง การรับรองพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๒ แบบหนังสือการรับรองพืชหรือสินค้าพืช
ที่มิได้รับการรับรองการตัดต่อสารพันธุกรรม
ให้ใช้แบบหนังสือรับรองท้ายประกาศฉบับนี้
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
อดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แบบหนังสือการรับรองพืชหรือสินค้าพืช
ที่มิได้รับการรับรองการตัดต่อสารพันธุกรรม
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
โสรศ/ผู้จัดทำ
๘ มกราคม ๒๕๕๐
พิมลกร/ปรับปรุง
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง/หน้า ๔/๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๙ |
495083 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๔๙
โดยเป็นการเห็นสมควรกำหนดด่านตรวจพืชเพิ่มเติมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช ออกประกาศให้สถานที่อันมีเขตกำหนดดังต่อไปนี้เป็นด่านตรวจพืช
๑.
ด่านตรวจพืชราชพฤกษ์ มีอาณาเขตตามเขตคลังสินค้าทัณฑ์บนราชพฤกษ์
โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และสิ้นสุดลงในวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๐
๒.
ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นันทนา/ผู้จัดทำ
๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๙
พิมลกร/ปรับปรุง
๒ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๖๗ ง/หน้า ๑๐/๕ มิถุนายน ๒๕๔๙ |
695917 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำผลส้มจากประเทศออสเตรเลียเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
เงื่อนไขการนำผลส้มจากประเทศออสเตรเลียเข้ามาในราชอาณาจักร
(ฉบับที่
๒)
พ.ศ.
๒๕๔๘[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง เงื่อนไขการนำผลส้มจากประเทศออสเตรเลียเข้ามาในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๑๕
มิถุนายน พ.ศ.
๒๕๔๗ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖.
แห่งประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง
เงื่อนไขการนำผลส้มจากประเทศออสเตรเลียเข้ามาในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน
๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
๖.
แผนการควบคุมศัตรูพืชในสวนส้ม
๖.๑ กรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียหรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียต้องให้การรับรองว่าผลส้มมาจากสวนส้มที่ปลูกเป็นการค้าซึ่งได้รับการจดทะเบียนแล้วสำหรับส่งออกมายังประเทศไทย
๖.๒ กรมเกษตรประมงและป่าไม้ออสเตรเลียต้องให้ข้อมูลแผนการบริหารจัดการส้มตลอดทั้งฤดูกาลปลูกเมื่อได้รับการร้องขอจากกรมวิชาการเกษตร
๖.๓
เกษตรกรผู้ปลูกส้มจะปฏิบัติตามแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนส้มอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ
รวมทั้งบันทึกตารางการฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช ทั้งนี้
เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม
๖.๔ สำหรับด้วงงวงฟูลเลอร์โรส (Fullers
rose
weevil)
จะมีการบริหารจัดการโดยกระบวนการควบคุมในแหล่งปลูก
ซึ่งแนะนำโดยผู้ตรวจสอบการปลูกพืช การสุ่มตรวจผลส้ม ณ
โรงบรรจุสินค้าต้องมั่นใจว่าผลส้มปราศจากด้วงงวงฟูลเลอร์โรส
และในขั้นตอนสุดท้ายก่อนส่งออก ผลส้มจะถูกตรวจอีกครั้งโดยเจ้าหน้าที่ของกรมเกษตร ประมง
และป่าไม้ ออสเตรเลีย หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกรมเกษตร ประมง และป่าไม้
ออสเตรเลีย
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘.๓
แห่งประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง
เงื่อนไขการนำผลส้มจากประเทศออสเตรเลียเข้ามาในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน
๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
๘.๓
ภาชนะที่บรรจุผลส้มต้องไม่มีรู ถ้าหากมีรูหรือช่องเปิด
ต้องปิดทับด้วยผ้าตาข่ายขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของตาข่ายแต่ละรูต้องไม่เกิน ๑.๖
ม.ม.
เฉพาะผลส้มที่ส่งออกทางอากาศซึ่งบรรจุในภาชนะที่มีรู
ต้องมีผ้าตาข่ายปิดรูเพื่อป้องกันการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๐
แห่งประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง
เงื่อนไขการนำผลส้มจากประเทศออสเตรเลียเข้ามาในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน
๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
๑๐.
การกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็น
๑๐.๑
ความเย็นที่อุณหภูมิและระยะเวลาดังต่อไปนี้
ได้รับการยอมรับให้ใช้สำหรับการกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้ม
อุณหภูมิภายในสุดเนื้อผลส้ม ( ซ.)
กรรมวิธีที่ ๑
ระยะเวลา (จำนวนวันในการกำจัดแมลงที่ใช้ติดต่อกัน)
สำหรับแมลงวันผลไม้ควีนส์แลนด์
กรรมวิธีที่ ๒
ระยะเวลา
(จำนวนวันในการกำจัดแมลงที่ใช้ติดต่อกัน) สำหรับแมลงวันผลไม้เมดิเตอร์เรเนียน
๑ + ๐.๕ ซ. หรือต่ำกว่า
๑๖
๑๖
๒ + ๐.๕ ซ. หรือต่ำกว่า
๑๖
๑๘
๓ + ๐.๕ ซ. หรือต่ำกว่า
๑๖
๒๐
การกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็นทั้งกรรมวิธีที่
๑ และ ๒ สามารถดำเนินการได้ก่อนการส่งออก (Pre-shipment) หรือระหว่างการขนส่ง
(In-transit)
สำหรับการดำเนินการในระหว่างการขนส่งนั้น
สามารถดำเนินการส่วนหนึ่งได้ก่อนการส่งออกและเสร็จสิ้นในระหว่างการขนส่ง ในกรณีที่การกำจัดแมลงวันผลไม้เกิดล้มเหลวในระหว่างการขนส่ง
การกำจัดแมลงวันผลไม้สามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้ในขณะที่สินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง
การตรวจวัดอุณหภูมิในการใช้ความเย็นกำจัดแมลงวันผลไม้ก่อนการส่งออกและในระหว่างการขนส่ง
(๑-๓
±
๐.๕ ซ.) นั้น จะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิในผลไม้เท่านั้น
อุณหภูมิของแท่งวัดที่ใช้วัดอุณหภูมิของอากาศภายในตู้จะไม่ถูกนำประเมินเพื่อการพิจารณาประสิทธิภาพของการกำจัดแมลงวันผลไม้
๑๐.๒
ผลส้มจากทุกรัฐนอกเหนือจากรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ให้ใช้กรรมวิธีที่ ๑ สำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ควีนส์แลนด์ในผลส้มก่อนการส่งออกหรือระหว่างการขนส่ง
๑๐.๓ ผลส้มจากรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย
หรือในกรณีที่เกิดการระบาดของแมลงวันผลไม้เมดิเตอร์เรเนียนไม่ว่าที่ใดก็ตามในออสเตรเลีย
ให้ใช้กรรมวิธีที่ ๒
สำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้เมดิเตอร์เรเนียนในผลส้มก่อนการส่งออกหรือระหว่างการขนส่ง
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑
แห่งประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง
เงื่อนไขการนำผลส้มจากประเทศออสเตรเลียเข้ามาในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน
๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
๑๑.
การกำจัดแมลงวันผลไม้ก่อนส่งออก
การกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้มด้วยความเย็นก่อนส่งออกต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่จากกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกรมเกษตร ประมง และป่าไม้
ออสเตรเลีย ในห้องเย็นที่ได้รับการรับรองแล้วจากกรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย
ผลส้มที่ส่งออกมายังประเทศไทยอาจทำการกำจัดแมลงวันผลไม้ควบคู่ไปพร้อมกับผลส้มที่ส่งออกไปยังประเทศอื่น
ๆ ได้
ถ้าผลส้มต้องผ่านการกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็นก่อนส่งออก
กรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ดังต่อไปนี้
๑๑.๑ สภาพของห้องเย็น
๑๑.๑.๑
การกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้มก่อนการส่งออกอนุญาตให้ทำได้เฉพาะในห้องเย็นที่ได้รับการรับรองจากกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียเท่านั้น
๑๑.๑.๒
กรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบทำการตรวจสอบว่าห้องเย็นที่ผู้ส่งออกใช้เหมาะสมตามมาตรฐานและมีอุปกรณ์เครื่องมือการทำความเย็นที่สามารถปรับอุณหภูมิและรักษาสภาพอุณหภูมิในผลส้มให้คงที่อยู่ได้ตามที่กำหนด
๑๑.๑.๓
กรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียจะเก็บข้อมูลการจดทะเบียนห้องเย็นซึ่งผ่านการยอมรับ
เพื่อใช้สำหรับการกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้มก่อนส่งออกไปยังประเทศไทย การจดทะเบียนห้องเย็นต้องมีรายละเอียดครอบคลุมเรื่องต่าง
ๆ ดังต่อไปนี้
(ก)
สถานที่ตั้งและแผนผังโรงงาน
รวมทั้งรายละเอียดสถานที่อยู่ของเจ้าของหรือผู้ดำเนินการ
(ข)
ขนาดและความจุของห้องเย็น
(ค)
ชนิดของวัสดุที่ใช้เป็นฉนวนในการทำฝาผนัง เพดาน และพื้น
(ง)
ผู้ผลิต รุ่น ชนิด ขนาดของเครื่องทำความเย็นและระบบการหมุนเวียนของอากาศ
(จ)
ช่วงการควบคุมอุณหภูมิของอุปกรณ์เครื่องมือ ระบบควบคุมการละลายน้ำแข็ง และข้อมูลจำเพาะและรายละเอียดของอุปกรณ์สำคัญอื่น
ๆ ของเครื่องบันทึกอุณหภูมิ
(ฉ)
กรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียต้องส่งข้อมูลให้กับกรมวิชาการเกษตร (ก่อนเริ่มฤดูกาลการส่งออกในแต่ละปี)
ได้แก่
ชื่อและที่อยู่ของโรงงานที่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับทำการกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้มด้วยความเย็น
๑๑.๒ ชนิดของเครื่องบันทึกอุณหภูมิ
กรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย
หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียต้องรับรองว่าแท่งวัดอุณหภูมิและเครื่องบันทึกอุณหภูมิมีคุณสมบัติ
ดังต่อไปนี้
๑๑.๒.๑
เหมาะสมสำหรับใช้ในการกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็น
และแท่งวัดอุณหภูมิต้องได้ตามมาตรฐานที่กำหนดโดยกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (United
State
Department
of
Agriculture,
USDA)
แท่งวัดอุณหภูมิต้องมีความเที่ยงตรงที่ ± ๐.๑๕ ซ. ในช่วงอุณหภูมิระหว่าง +
๓ ซ. ถึง - ๓ ซ.
๑๑.๒.๒
สามารถรองรับจำนวนแท่งวัดอุณหภูมิที่ใช้ในการดำเนินงานได้ตามที่กำหนด
๑๑.๒.๓
สามารถบันทึกและเก็บรวบรวมข้อมูลได้ตลอดระยะเวลาของการดำเนินการกำจัดแมลงวันผลไม้
และข้อมูลดังกล่าวสามารถตรวจสอบได้โดยเจ้าหน้าที่ของกรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย
หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย
๑๑.๒.๔
สามารถบันทึกอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิทั้งหมดตลอดการทำงานอย่างน้อยทุกชั่วโมง
มีความถูกต้องเที่ยงตรงตามข้อกำหนดของแท่งวัดอุณหภูมิ
๑๑.๒.๕
สามารถพิมพ์ผลการบันทึกข้อมูลซึ่งจะแยกแสดงข้อมูล เวลา
และอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิแต่ละแท่ง
๑๑.๓
การปรับค่าการวัดอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิให้เที่ยงตรงภายใต้การกำกับดูแลของกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกรมเกษตร ประมง และป่าไม้
ออสเตรเลีย
๑๑.๓.๑
การปรับค่าการวัดอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิให้เที่ยงตรงจะใช้น้ำแข็งบดละเอียดคลุกในน้ำกลั่น
เปรียบเทียบค่าการวัดอุณหภูมิกับแท่งวัดอุณหภูมิมาตรฐานซึ่งได้รับการรับรองจากกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย
๑๑.๓.๒
แท่งวัดอุณหภูมิแท่งหนึ่งแท่งใดซึ่งวัดอุณหภูมิได้มากกว่า ±
๐.๖ ซ.จากอุณหภูมิ ๐ ซ.
ต้องเปลี่ยนแท่งวัดอุณหภูมิแท่งใหม่ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดแทน
๑๑.๓.๓
เมื่อกระบวนการกำจัดแมลงวันผลไม้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ กรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียหรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียต้องทำการตรวจสอบการปรับค่าการวัดอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ให้เที่ยงตรงโดยทำตามวิธีการในข้อ
๑๑.๓.๑
๑๑.๓.๔
อาจจะดำเนินการตรวจสอบการปรับค่าการวัดอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิเป็นประจำและสม่ำเสมอ
๑๑.๔
ตำแหน่งการวางแท่งวัดอุณหภูมิภายใต้การกำกับดูแลของกรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย
หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย
๑๑.๔.๑
ต้องวางแท่งวัดอุณหภูมิอย่างน้อยที่สุดจำนวน ๒ แท่ง (ตรงตำแหน่งช่องเปิดที่อากาศหมุนเวียนเข้าและออกภายในห้องเย็น)
เพื่อวัดอุณหภูมิอากาศภายในห้องเย็น และต้องมีแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้อย่างน้อยจำนวน
๔ แท่ง เพื่อวัดอุณหภูมิภายในผลส้มตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
(ก)
หนึ่งแท่งที่กึ่งกลางของกองที่อยู่ตรงกลางของห้องเย็น
(ข)
หนึ่งแท่งที่มุมบนสุดของกองที่อยู่ตรงกลางของห้องเย็น
(ค)
หนึ่งแท่งที่ตรงกลางของกองที่อยู่ใกล้ทางออกของอากาศ และ
(ง)
หนึ่งแท่งที่มุมบนสุดของกองใกล้ทางออกของอากาศ
๑๑.๔.๒
ตำแหน่งการวางแท่งวัดอุณหภูมิและการเชื่อมต่อแท่งวัดอุณหภูมิเข้ากับเครื่องบันทึกอุณหภูมิ
ต้องอยู่ภายใต้การชี้แนะและการกำกับดูแลของกรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียเท่านั้น
๑๑.๔.๓
การบันทึกอุณหภูมิอาจจะเริ่มต้นได้ตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตามเวลาที่เริ่มต้นดำเนินการกำจัดแมลงวันผลไม้นั้นจะต้องเริ่มต้นนับหลังจากที่แท่งวัดอุณหภูมิทุกแท่งอยู่ที่ระดับอุณหภูมิที่กำหนดแล้วเท่านั้น
๑๑.๔.๔
กรณีที่ใช้แท่งวัดอุณหภูมิจำนวนต่ำสุดตามที่กำหนด
หากพบว่ามีแท่งวัดอุณหภูมิแท่งหนึ่งแท่งใดไม่สามารถบันทึกค่าอุณหภูมิในช่วงเวลาที่กำหนดเป็นระยะเวลานานมากกว่า
๔ ชั่วโมงติดต่อกัน
ให้ถือว่าการกำจัดแมลงวันผลไม้ในครั้งนั้นล้มเหลวและต้องเริ่มต้นใหม่
๑๑.๕ การพิจารณาผลการกำจัดแมลงวันผลไม้
๑๑.๕.๑
ถ้าผลการบันทึกข้อมูลการกำจัดแมลงวันผลไม้บ่งชี้ว่าการกำจัดแมลงวันผลไม้ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว
กรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกรมเกษตร ประมง
และป่าไม้ ออสเตรเลียอาจจะสั่งการให้หยุดการกำจัดแมลงวันผลไม้
และถ้าแท่งวัดอุณหภูมิได้ผ่านการตรวจสอบการปรับค่าการวัดอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิให้เที่ยงตรงตามข้อ
๑๑.๓
แล้ว ให้ถือว่ากระบวนการกำจัดแมลงวันผลไม้ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว
๑๑.๕.๒
แท่งวัดอุณหภูมิควรต้องผ่านการตรวจสอบการปรับค่าการวัดอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิให้เที่ยงตรง
ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายผลส้มออกจากห้องเย็น
๑๑.๖ การตรวจสอบยืนยันผลการกำจัดแมลงวันผลไม้
๑๑.๖.๑
หลังจากผ่านช่วงระยะเวลาที่กำหนดในกระบวนการกำจัดแมลงวันผลไม้เรียบร้อยแล้ว
แท่งวัดอุณหภูมิจะต้องถูกตรวจสอบการปรับค่าการวัดอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิให้เที่ยงตรงซ้ำอีกครั้งโดยใช้วิธีการตามข้อ
๑๑.๓
ข้อมูลทั้งหมดจะต้องเก็บไว้สำหรับให้กรมวิชาการเกษตรตรวจสอบ
๑๑.๖.๒
หากมีการพิสูจน์พบว่าผลการตรวจสอบการปรับค่าการวัดอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิให้เที่ยงตรง
ภายหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการกำจัดแมลงวันผลไม้แสดงค่าสูงกว่าในตอนเริ่มต้น
ค่าการบันทึกอุณหภูมิจากแท่งวัดอุณหภูมิจะต้องถูกปรับให้เป็นไปตามนั้นด้วย
ถ้าผลของการปรับค่าปรากฏว่าอุณหภูมิและเวลาที่ใช้กำจัดแมลงวันผลไม้ไม่เป็นไปตามที่กำหนด
ให้ถือว่าการดำเนินการกำจัดแมลงวันผลไม้ในครั้งนั้นล้มเหลว
มีทางเลือกให้ทำการกำจัดแมลงวันผลไม้ใหม่อีกครั้งได้
โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียและผู้ส่งออก
๑๑.๖.๓
ข้อมูลผลการบันทึกอุณหภูมิจะต้องส่งมาพร้อมกันกับสรุปย่อ
ซึ่งจะบ่งชี้ให้เห็นว่ากระบวนการกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้มด้วยความเย็นประสบผลสำเร็จ
๑๑.๖.๔
กรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกรมเกษตร ประมง
และป่าไม้ ออสเตรเลีย
ต้องลงนามรับรองผลการบันทึกอุณหภูมิและสรุปย่อก่อนยืนยันว่าการกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้มประสบผลสำเร็จแล้ว
ข้อมูลเหล่านี้กรมวิชาการเกษตรสามารถเรียกดูเพื่อตรวจสอบได้เมื่อต้องการ
๑๑.๖.๕
ถ้าการกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้มด้วยความเย็นไม่ประสบผลสำเร็จ เครื่องบันทึกอุณหภูมิอาจเริ่มต้นบันทึกอุณหภูมิใหม่
และการกำจัดแมลงวันผลไม้ที่ดำเนินการต่อเนื่องไปจะต้องให้ผล ดังต่อไปนี้
(ก)
กรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียต้องตรวจสอบยืนยันว่าได้ดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนดในข้อ
๑๑.๖.๓
หรือ
(ข)
ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่หยุดการกำจัดแมลงวันผลไม้
และกลับมาเริ่มต้นดำเนินการใหม่ต้องน้อยกว่า ๒๔ ชั่วโมง
ทั้ง
๒ กรณีดังกล่าวข้างต้น
ข้อมูลจะถูกบันทึกอย่างต่อเนื่องติดต่อกันไปตลอดเวลาจากจุดที่เครื่องบันทึกอุณหภูมิเริ่มกลับมาบันทึกอุณหภูมิใหม่
๑๑.๗ การขนถ่ายสินค้าเข้าตู้ขนส่งสินค้า
๑๑.๗.๑
ตู้ขนส่งสินค้าต้องได้รับการตรวจสอบโดยกรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย ก่อนขนย้ายผลส้มเข้าตู้ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าตู้ขนส่งสินค้าปลอดจากศัตรูพืช
และช่องระบายอากาศต่าง ๆ ถูกปิดเพื่อป้องกันศัตรูพืชเล็ดลอดเข้าไปในตู้ขนส่งสินค้า
๑๑.๗.๒
การขนถ่ายผลส้มเข้าตู้ขนส่งสินค้าต้องดำเนินการภายในอาคารที่สามารถป้องกันแมลงได้
หรือใช้วัสดุกันแมลงกั้นระหว่างทางเข้าห้องเย็นและตู้ขนส่งสินค้า
๑๑.๘ การปิดผนึกตู้ขนส่งสินค้า
เจ้าหน้าที่กรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย
หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียจะเป็นผู้ปิดผนึกบนประตูของตู้ขนส่งสินค้า
และเขียนหมายเลขผนึกในใบรับรองปลอดศัตรูพืช
๑๑.๙ การเก็บรักษาผลส้มกรณีที่ไม่ได้มีการขนย้ายทันที
ผลส้มซึ่งผ่านการกำจัดแมลงวันผลไม้แล้วแต่ยังไม่ประสงค์ที่จะขนย้ายเข้าตู้ขนส่งสินค้าในทันที
ผลส้มเหล่านั้นอาจจะเก็บรักษาไว้เพื่อทำการขนถ่ายในภายหลังได้
โดยต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขการจัดการรักษาความปลอดภัยจากศัตรูพืชซึ่งกำหนดโดยกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียหรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกรมเกษตร ประมง และป่าไม้
ออสเตรเลีย ดังต่อไปนี้
๑๑.๙.๑
ถ้าเก็บผลส้มไว้ในห้องที่ทำการกำจัดแมลงวันผลไม้ ประตูห้องต้องปิดสนิท
๑๑.๙.๒
ถ้ามีการเคลื่อนย้ายผลส้มไปเก็บไว้ในห้องเก็บอื่น การเคลื่อนย้ายผลส้มต้องมีการจัดการและการควบคุมความปลอดภัยจากศัตรูพืชซึ่งกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียให้การยอมรับ
และต้องไม่มีผลไม้ชนิดอื่นเก็บอยู่ในห้องนั้น และ
๑๑.๙.๓
เมื่อมีการขนย้ายผลส้มต่อมาในภายหลัง ต้องดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของกรมเกษตร ประมง
และป่าไม้ ออสเตรเลีย ตามรายละเอียดในข้อ ๑๑.๗
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๒
แห่งประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง
เงื่อนไขการนำผลส้มจากประเทศออสเตรเลียเข้ามาในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน
๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
๑๒.
การกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็นในระหว่างการขนส่ง
การกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็นในระหว่างการขนส่งเป็นการกำจัดแมลงวันผลไม้ซึ่งดำเนินการในระหว่างการขนส่งสินค้าในห้องบนเรือหรือในตู้ขนส่งสินค้า
การกำจัดแมลงวันผลไม้ในตู้ขนส่งสินค้าในระหว่างการขนส่งนั้นอาจเริ่มต้นตั้งแต่บนบกและเสร็จสิ้นกระบวนการในระหว่างการขนส่ง
หรือเสร็จสิ้นเมื่อขนส่งสินค้าถึงปลายทาง
ถ้าสินค้านั้นได้รับการกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็นในระหว่างการขนส่ง
กรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกรมเกษตร ประมง
และป่าไม้ ออสเตรเลียต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
๑๒.๑ ชนิดของตู้ขนส่งสินค้า
ตู้ขนส่งสินค้าต้องมีระบบการทำความเย็นภายในตัวตู้
โดยกรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบตรวจสอบตู้ขนส่งสินค้าว่า
ตู้ขนส่งสินค้าที่ผู้ส่งออกใช้นั้นเป็นชนิดที่เหมาะสมและมีอุปกรณ์ทำความเย็นที่มีประสิทธิภาพและสามารถทำการรักษาระดับอุณหภูมิในผลส้มให้คงที่ตามที่กำหนดได้
๑๒.๒ ชนิดของเครื่องบันทึกอุณหภูมิ
กรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย
หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียต้องรับรองว่าแท่งวัดอุณหภูมิและเครื่องบันทึกอุณหภูมิมีคุณสมบัติ
ดังต่อไปนี้
๑๒.๒.๑
เหมาะสมสำหรับใช้ในวัตถุประสงค์การกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็นและต้องได้ตามมาตรฐานที่กำหนดโดยกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา
แท่งวัดอุณหภูมิต้องมีความเที่ยงตรงที่ ± ๐.๑๕ ซ. ในช่วงระหว่าง +
๓ ซ. ถึง - ๓ ซ.
๑๒.๒.๒
สามารถรองรับจำนวนแท่งวัดอุณหภูมิที่ใช้ในการดำเนินงานได้ตามที่กำหนด
๑๒.๒.๓
สามารถบันทึกและเก็บรวบรวมข้อมูลได้ตลอดระยะเวลาของการดำเนินการกำจัดแมลงวันผลไม้
และข้อมูลดังกล่าวสามารถตรวจสอบได้โดยเจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร
๑๒.๒.๔
สามารถบันทึกอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิทั้งหมดตลอดการทำงานอย่างน้อยทุกชั่วโมง
มีความถูกต้องเที่ยงตรงตามข้อกำหนดของแท่งวัดอุณหภูมิ และ
๑๒.๒.๕
สามารถพิมพ์ผลการบันทึกข้อมูลซึ่งจะแยกแสดงข้อมูล เวลา
และอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิแต่ละแท่ง นอกจากนี้
ยังสามารถพิมพ์เลขหมายของเครื่องบันทึกอุณหภูมิและตู้ขนส่งสินค้า
๑๒.๓
การปรับค่าการวัดอุณหภูมิของเครื่องบันทึกอุณหภูมิและแท่งวัดอุณหภูมิให้เที่ยงตรงภายใต้การกำกับดูแลของกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียหรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกรมเกษตร ประมง และป่าไม้
ออสเตรเลีย
๑๒.๓.๑
การปรับค่าการวัดอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิให้เที่ยงตรงจะใช้น้ำแข็งบดละเอียดคลุกในน้ำกลั่น
เปรียบเทียบค่าการวัดอุณหภูมิกับแท่งวัดอุณหภูมิมาตรฐานซึ่งได้รับการรับรองจากกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย
๑๒.๓.๒
แท่งวัดอุณหภูมิแท่งหนึ่งแท่งใดซึ่งวัดอุณหภูมิได้มากกว่า ±
๐.๖ ซ. จากอุณหภูมิ ๐ ซ.
ต้องเปลี่ยนแท่งวัดอุณหภูมิแท่งใหม่ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดแทน
๑๒.๓.๓
ต้องจัดเตรียมเอกสาร บันทึกการปรับค่าการวัดอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้
สำหรับตู้ขนส่งสินค้าแต่ละตู้
และมีการลงนามพร้อมตราประทับโดยเจ้าหน้าที่ของกรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย
หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย ต้นฉบับของเอกสารดังกล่าวต้องแนบมาพร้อมกับใบรับรองปลอดศัตรูพืช
ซึ่งจะมาพร้อมกับสินค้า
๑๒.๓.๔
เมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทย
กรมวิชาการเกษตรต้องทำการตรวจสอบการปรับค่าการวัดอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ให้เที่ยงตรง
โดยทำตามวิธีการในข้อ ๑๑.๓
๑๒.๔
ตำแหน่งการวางแท่งวัดอุณหภูมิภายใต้การกำกับดูแลของกรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย
หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย
๑๒.๔.๑
กล่องบรรจุผลส้มจะต้องขนย้ายเข้าไปในตู้ขนส่งสินค้าภายใต้การกำกับดูแลของกรมเกษตร ประมง
และป่าไม้ ออสเตรเลีย หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกรมเกษตร ประมง และป่าไม้
ออสเตรเลีย
ควรมีการจัดเรียงกล่องบรรจุผลส้มในตู้ขนส่งสินค้าให้อากาศมีการหมุนเวียนได้อย่างสม่ำเสมอทั้งภายใต้และรอบ
ๆ แผ่นรองรับกล่องบรรจุสินค้าทั้งหมด และระหว่างกล่องที่วางซ้อนทับกัน
๑๒.๔.๒
ต้องมีการบันทึกอุณหภูมิตามจุดต่าง ๆ ภายในตู้อย่างน้อยจำนวน ๓ จุด
๑๒.๔.๓
ตู้ขนส่งสินค้าแต่ละตู้อย่างน้อยที่สุดต้องมีแท่งวัดอุณหภูมิ ๓ แท่ง
๑๒.๔.๔
แท่งวัดอุณหภูมิภายในผลไม้จำนวน ๒ แท่ง ต้องวางเป็นเส้นทะแยงมุมกัน
โดยต้องเสียบไว้ในผลส้มวางห่างประมาณ ๑.๕ เมตร
จากท้ายสุดของกล่องบรรจุสินค้าในตู้ขนส่งสินค้าขนาด ๑๒ เมตร และห่างประมาณ ๑ เมตร
จากท้ายสุดของกล่องบรรจุสินค้าในตู้ขนส่งสินค้าขนาด ๖ เมตร
๑๒.๔.๕
ต้องมีแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้อย่างน้อย ๑ แท่ง เสียบไว้ในผลส้มในกล่องที่วางอยู่ตำแหน่งกึ่งกลางของตู้ขนส่งสินค้า
๑๒.๔.๖
ตำแหน่งการวางแท่งอุณหภูมิทั้ง ๓
จุดต้องวางในกล่องเท่ากับครึ่งหนึ่งของความสูงของกองสินค้า
๑๒.๔.๗
ตำแหน่งการวางแท่งวัดอุณหภูมิต้องอยู่ภายใต้การชี้แนะและกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบอำนาจจากกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย
๑๒.๔.๘
เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนกำจัดแมลงวันผลไม้แล้ว
รายงานผลการบันทึกข้อมูลของแท่งวัดอุณหภูมิทั้งหมด
ต้องส่งให้เจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร ณ ด่านตรวจพืชที่นำเข้าสินค้า
เพื่อการตรวจปล่อยสินค้าในขั้นตอนสุดท้ายโดยหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรที่กรุงเทพฯ
๑๒.๕ การปิดผนึกตู้ขนส่งสินค้า
เจ้าหน้าที่กรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียหรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียจะเป็นผู้ปิดผนึกบนประตูของตู้ขนส่งสินค้า
และเขียนหมายเลขผนึกในใบรับรองปลอดศัตรูพืช
๑๒.๖ การบันทึกอุณหภูมิ
๑๒.๖.๑
การจัดการเกี่ยวกับการกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็นในระหว่างการขนส่งนั้น
เป็นการกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็นซึ่งจะเสร็จสมบูรณ์ในช่วงการเดินทางระหว่างประเทศออสเตรเลียและด่านตรวจพืชด่านแรกที่สินค้าถึงประเทศไทย
บริษัทขนส่งสินค้าต้องนำบันทึกข้อมูลการกำจัดแมลงวันผลไม้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ส่งให้หน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรที่กรุงเทพฯ
๑๒.๖.๒
หน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรที่กรุงเทพฯ
จะพิสูจน์ความถูกต้องว่าผลการบันทึกอุณหภูมิในการกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้มเป็นไปตามข้อกำหนด
และสั่งการให้เจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรซึ่งประจำที่ด่านตรวจพืชทำการตรวจสอบความถูกต้องของการปรับค่าการวัดอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้แล้ว
จึงจะถือว่าการกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้มเสร็จสิ้นสมบูรณ์
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๔.๔
แห่งประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำผลส้มจากประเทศออสเตรเลียเข้ามาในราชอาณาจักร
ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ
๑๔.๔
ถ้าสินค้าที่นำเข้าได้รับการกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็นในระหว่างการขนส่งใบรับรองปลอดศัตรูพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม
ดังต่อไปนี้
DAFF
or
an
officer
authorized
by
DAFF
have
supervised
the
calibration
and
the
placement
of
fruit
sensors
into
the
fruit
within
the
container/s
in
accordance
with
the
agreement
between
DAFF
and
DOA
and
cold
disinfestation
treatment
has
been
initiated
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔
พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๕๔๘
อดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ
เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
รักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิชาการเกษตร
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๒
ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒
ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๔๔ ง/หน้า ๑๐/๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๘ |
695915 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกักพืช
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกักพืช[๑]
ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ลงวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๕ ได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกักพืช
ไว้แล้วนั้น
เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวได้ดำรงตำแหน่งครบกำหนดวาระตามที่กำหนดไว้ในมาตรา
๕ ตรี แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แล้ว ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ ทวิ
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงแต่งตั้งบุคคลต่อไปนี้ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกักพืช
๑.
นายประเทือง ศรีสุข เป็นกรรมการ
๒.
นายหิรัญ หิรัญประดิษฐ์ เป็นกรรมการ
๓.
นายเกรียงศักดิ์ สุวรรณธราดล เป็นกรรมการ
๔.
นายวิชัย โฆษิตรัตน เป็นกรรมการ
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
สมศักดิ์ เทพสุทิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๒ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒ ตุลาคม ๒๕๕๖
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๑/๗ กันยายน ๒๕๔๗ |
695913 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำผลส้มจากประเทศออสเตรเลียเข้ามาในราชอาณาจักร
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
เงื่อนไขการนำผลส้มจากประเทศออสเตรเลียเข้ามาในราชอาณาจักร[๑]
ตามประกาศกระทรวงเกษตร
(ฉบับที่ ๖) เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม
ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน
๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช
หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น
และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๙
ผลส้มจากแหล่งที่กำหนดซึ่งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขซึ่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนดและมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชสามารถนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจึงออกประกาศเงื่อนไขการนำผลส้มจากประเทศออสเตรเลียเข้ามาในราชอาณาจักร
ดังต่อไปนี้
๑. ชนิดผลไม้
ผลส้มที่อนุญาตให้นำเข้าจากประเทศออสเตรเลียได้แก่พันธุ์ต่าง
ๆ ดังต่อไปนี้
๑.๑ Citrus
sinensis
(L.)
Osbeck
(oranges
e.g.
Navels
and
Valencias)
๑.๒ Citrus
reticulata
Blanco
(mandarins)
๑.๓. Citrus
reticulate
x
sinensis
(tangors)
๑.๔. Citrus
limon
(L.)
Burm.
f.
(lemons)
๑.๕ Citrus
paradisi
Macfad.
(grapefruit)
๑.๖ Citrus
maxima
(Burman)
Merr.
(pummelo)
๒. แหล่งปลูก
ผลส้มต้องมาจากแหล่งปลูกในประเทศออสเตรเลียซึ่งกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย (The
Australia
Department
of
Agriculture,
Fisheries
and
Forestry,
DAFF)
เป็นผู้รับรองว่าเป็นแหล่งปลูกส้มสำหรับส่งออกไปยังประเทศไทย
๓. วิธีการขนส่ง
อนุญาตให้นำเข้าผลส้มได้ในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางเรือหรือทางอากาศ
๔. การขออนุญาตนำเข้า
การนำเข้าสินค้าแต่ละครั้งต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร
๕. ศัตรูพืชกักกัน
๕.๑
การประกาศแจ้งสถานภาพของศัตรูพืชกักกัน
กรมเกษตร ประมง
และป่าไม้
ออสเตรเลียต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบโดยทันทีกรณีที่มีการระบาดหรือมีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของศัตรูพืชกักกันในแหล่งปลูกส้มของประเทศออสเตรเลีย
๕.๒
รายชื่อแมลงที่เป็นศัตรูพืชกักกัน
๕.๒.๑
Asynonychus
cervinus
(Boheman)
(Fullers
rose
weevil)
๕.๒.๒
Bactrocera
aquilonis
(May)
(Northern Territory
fruit
fly)
๕.๒.๓
Bactrocera
frauenfeldi
(Schiner)
(mango
fruit
fly)
๕.๒.๔
Bactrocera
halfordiae
(Tryon)
(halfordia
fruit
fly)
๕.๒.๕
Bactrocera
jarvisi
(Tryon)
(Jarviss
fruit
fly)
๕.๒.๖
Bactrocera
neohumeralis
(Hardy)
(lesser
Queensland
fruit
fly)
๕.๒.๗
Bactrocera
tryoni
(Froggatt)
(Queensland
fruit
fly)
๕.๒.๘
Ceratitis
capitata
(Wiedemann)
(Mediterranean
fruit
fly)
๕.๓
รายชื่อโรคพืชที่เป็นศัตรูพืชกักกัน
เชื้อแบคทีเรีย :
๕.๓.๑
Pseudomonas
viridiflara
(Burkholder)
Dowson
เชื้อรา :
๕.๓.๒
Guignardia
citricarpa
Kiely
๕.๓.๓.
Mycosphaerella
citri
Whiteside
๕.๓.๔
Phoma
glomerata
(Corda)
Wollenw.
&
Hochapfel
๕.๓.๕
Phytophthora
citricola
Saw.
๕.๓.๖
Phytophthora
hiberanalis
Carne
๖. แผนการควบคุมศัตรูพืชในสวนส้ม
๖.๑ กรมเกษตร ประมง
และป่าไม้
ออสเตรเลียต้องให้การรับรองว่าผลส้มมาจากสวนส้มที่ปลูกเป็นการค้าซึ่งได้รับการจดทะเบียนแล้วสำหรับส่งออกมายังประเทศไทย
๖.๒ กรมเกษตร ประมง
และป่าไม้ ออสเตรเลียต้องให้ข้อมูลแผนการบริหารจัดการส้มตลอดทั้งฤดูกาลปลูก
๖.๓
เกษตรกรผู้ปลูกส้มจะปฏิบัติตามแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนส้มอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ
รวมทั้งบันทึกตารางการฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช ทั้งนี้
เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม
๖.๔
สำหรับด้วงงวงฟูลเลอร์โรส (Fullers
rose
weevil)
จะมีการบริหารจัดการโดยกระบวนการควบคุมในแหล่งปลูกซึ่งแนะนำโดยผู้ตรวจสอบการปลูกพืช
การสุ่มตรวจผลส้ม ณ โรงบรรจุสินค้าต้องมั่นใจว่าผลส้มปราศจากด้วงงวงฟูลเลอร์โรส
และในขั้นตอนสุดท้ายก่อนส่งออก ผลส้มจะถูกตรวจอีกครั้งโดยเจ้าหน้าที่ของกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย
๗. การจดทะเบียน
การจดทะเบียนและการตรวจสอบโรงบรรจุสินค้า
๗.๑
โรงบรรจุสินค้าซึ่งส่งส้มออกไปยังประเทศไทยต้องคัดเลือกผลส้มเฉพาะที่มาจากสวนส้มที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วกับกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย และโรงบรรจุสินค้าต้องจดทะเบียนไว้กับกรมเกษตร ประมง
และป่าไม้ ออสเตรเลียด้วยเช่นเดียวกัน
เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของผลส้มที่ส่งออกได้
โรงบรรจุสินค้าต้องเก็บรายละเอียดข้อมูลประวัติของผู้ปลูกที่ส่งออกผลส้มมายังประเทศไทย
โดยข้อมูลเหล่านี้ต้องส่งให้กับกรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ
๗.๒
โรงบรรจุสินค้าจะต้องมีการรักษาระบบสุขอนามัยที่ยอมรับจากกรมเกษตร ประมง และป่าไม้
ออสเตรเลีย
๗.๓
โรงบรรจุสินค้าหรือผู้ส่งออกจะเป็นผู้รับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลทั้งหมด
โดยกรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียจะมีการตรวจสอบข้อมูลเป็นประจำทุกปี
๘. บรรจุภัณฑ์และฉลาก
๘.๑
บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษแข็ง ซึ่งอาจผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่
หรือกระดาษคาฟ์ (Kaft)
นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์ต้องสะอาดและใหม่เท่านั้นจึงจะอนุญาตให้ใช้สำหรับบรรจุผลส้ม
๘.๓
ภาชนะที่บรรจุผลส้มต้องไม่มีรู ถ้าหากมีรูหรือช่องเปิดต้องปิดทับด้วยผ้าตาข่าย
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของตาข่ายแต่ละรูต้องไม่เกิน ๑.๖ ม.ม.
๙. พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้
๙.๑
การกำหนดพื้นที่ปลูกส้มบริเวณใดในประเทศออสเตรเลียให้เป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้นั้น
กรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กรมวิชาการเกษตรทราบอย่างเป็นทางการ
และในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องได้ดำเนินมาตรการทางกักกันพืชที่เป็นทางการเรียบร้อยแล้ว
เพื่อป้องกันมิให้มีการเคลื่อนย้ายพืชอาศัยของแมลงวันผลไม้ที่ยังไม่ผ่านการกำจัดแมลงวันผลไม้เข้าไปในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกส้มส่งออกผลส้มมายังประเทศไทย
๙.๒
กำหนดให้พื้นที่ดังต่อไปนี้เท่านั้นเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ได้แก่
รัฐทัสมาเนีย (Tasmania) เขตริเวอร์รินา (Riverina
district)
ของรัฐนิวเซาร์เวลส์ (New
South
Wale)
เขตริเวอร์แลนด์ (Riverland
district)
ของรัฐเซาร์ออสเตรเลีย (South Australia)
และเขตซัลเรเซีย (Sunraysia
district)
ของรัฐวิคทอเรีย (Victoria)
และรัฐนิวเซาร์เวลส์
๙.๒.๑
เขตริเวอร์รินาของรัฐนิวเซาร์เวลส์ ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่
เมือง (city)
กิฟฟิท (Griffith), เขตพื้นที่ (shire)
คาเรทโฮล (Carrathool),
ลีตัน (Leeton),
นาเรนเดอร์รา (Narrandera)
และเมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee) พื้นที่นี้ยังแบ่งออกเป็น
๒ ส่วน คือ พื้นที่เขตชลประทานเมอร์มัมบิด (Murrmbidgee Irrigation
Area,
MIA)
และ คาเรทโฮล (Carrathool)
๙.๒.๒
เขตริเวอร์แลนด์ของรัฐเซาร์ออสเตรเลีย ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่
เขตพื้นที่ (county)
เฮมเล (Hamley),
เชตพื้นที่ (hundred)
บุคเพอร์มังค์ (Bookpurmong),
คาแดล (Cadell),
กอร์เดน (Gorden),
โฮลเดอร์ (Holder),
คาทาเรพโค (Katarapko),
โลวีเดย์ (Loveday),
มาร์คาเรนคา (Markaranka),
มอรูค (Moorook),
เมอร์โท (Murtho),
พาร์โคลา (Parcoola),
พาริงจา (Paringa),
โพจิโนค (Pooginook),
ไพท (Pyap),
สเตาร์ (Stuart),
ไวเคอร์รี (Waikerie),
อีบา (Eba),
ฟิสเซอร์ (Fisher),
ฟอสเตอร์ (Forster),
เฮ (Hay),
เมอร์โค (Murbko),
นิดอททิ (Nildottie),
เพรเล (Paisley),
ริดเล (Ridley),
เซอร์เร (Skurray)
และออนเล (Onley)
ในเขตพื้นที่ (shire)
มิลดูรา (Mildura)
ของรัฐวิคตอเรีย
๙.๒.๓
เขตซัลเรเซีย ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (shire)
เวนเวอดท์ (Wentworth)
และบาเรนดอล (Balranald)
ในรัฐนิวเซาร์เวลส์ และมิลดูรา (Mildura),
สวอนฮิล (Swan
Hill),
วาโคล (Wakool)
และคีเรง (Kerang)
และเมือง (city)
สวอนฮิล (Swan
Hill),
มิลดูรา (Mildura)
และเขตพื้นที่ (borough)
คีเรง (Kerang)
ในรัฐวิคตอเรีย
๙.๓
การส่งออกผลส้มจากพื้นที่ที่กำหนดเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้เป็นการส่งออกในลักษณะของการรับรองว่าเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้
ซึ่งทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องทำการกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้มก่อนส่งออก
พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องมีการสำรวจตรวจตราอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำว่าปลอดจากแมลงวันผลไม้ควีนส์แลนด์
(Queensland
fruit
fly)
และแมลงวันผลไม้เมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean
fruit
fly)
และต้องมีหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรยืนยันการคงสถานภาพเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้จากกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบเป็นการล่วงหน้า ๓๐ วัน
ก่อนเริ่มฤดูกาลการส่งออกในแต่ละปี
๙.๔. กรมเกษตร ประมง
และป่าไม้
ออสเตรเลียต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันทีที่มีการยืนยันว่าพบการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้
และต้องระงับการตรวจรับรองผลส้มที่ไม่ได้กำจัดแมลงผลไม้ในพื้นที่ดังกล่าวเหล่านั้นเป็นการชั่วคราว
และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่เหล่านั้นให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง
๙.๕
กรมเกษตรประมงและป่าไม้ออสเตรเลียต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันที
หากพบแมลงวันผลไม้ชนิดอื่น ๆ นอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ควีนส์แลนด์และแมลงวันผลไม้เมดิเตอร์เรเนียน
ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้
๑๐. การกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็น
๑๐.๑ ถ้ากรมเกษตร
ประมง และป่าไม้
ออสเตรเลียไม่สามารถให้การรับรองได้ว่าผลส้มที่ส่งออกมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ปลอดจากแมลงวันผลไม้เนื่องจากพื้นที่ปลูกส้มนั้นไม่มีคุณสมบัติเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้
หรือสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ถูกยกเลิกเป็นการชั่วคราว
ผลส้มที่ส่งออกต้องมีการกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็นก่อนส่งออก (pre
shipment)
หรือระหว่างการขนส่ง (in-transit)
๑๐.๒
ความเย็นที่อุณหภูมิและระยะเวลาดังต่อไปนี้
ได้รับการยอมรับให้ใช้สำหรับการกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้ม
อุณหภูมิภายในสุดเนื้อผลส้ม
( ซ.)
ระยะเวลาการกำจัดแมลงที่ใช้ติดต่อกัน
(วัน)
๑
+
๐.๕ ซ.
๑๖
๒
+
๐.๕ ซ.
๑๘
๓
+
๐.๕ ซ.
๒๐
การกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็นทั้ง
๓ รายการดังกล่าวข้างต้น สามารถดำเนินการได้ก่อนการส่งออกหรือระหว่างการขนส่ง
สำหรับการดำเนินการในระหว่างการขนส่งนั้น
สามารถดำเนินการส่วนหนึ่งได้ก่อนการส่งออกและเสร็จสิ้นในระหว่างการขนส่ง
ในกรณีที่การกำจัดแมลงวันผลไม้เกิดล้มเหลวในระหว่างการขนส่ง การกำจัดแมลงวันผลไม้สามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้ในขณะที่สินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง
๑๑. การกำจัดแมลงวันผลไม้ก่อนส่งออก
การกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้มก่อนส่งออกต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่จากกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียในห้องเย็นที่ได้รับการรับรองแล้วจากกรมเกษตร ประมง
และป่าไม้ ออสเตรเลีย
ผลส้มที่ส่งออกมายังประเทศไทยอาจทำการกำจัดแมลงวันผลไม้ควบคู่ไปพร้อมกับผลส้มที่ส่งออกไปยังประเทศอื่น
ๆ ได้
ถ้าผลส้มต้องผ่านการกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็นก่อนส่งออก
กรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ดังต่อไปนี้
๑๑.๑
สภาพห้องเย็น
๑๑.๑.๑
การกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้มก่อนการส่งออกอนุญาตให้ทำได้เฉพาะในห้องเย็นที่ได้รับการรับรองจากกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียเท่านั้น
๑๑.๑.๒
กรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบทำการตรวจสอบว่าห้องเย็นที่ผู้ส่งออกใช้เหมาะสมตามมาตรฐานและมีอุปกรณ์เครื่องมือการทำความเย็นที่สามารถปรับอุณหภูมิและรักษาสภาพอุณหภูมิในผลส้มให้คงที่อยู่ได้ตามที่กำหนด
๑๑.๑.๓
กรมเกษตร ประมง และป่าไม้
ออสเตรเลียจะเก็บข้อมูลการจดทะเบียนห้องเย็นซึ่งผ่านการยอมรับ เพื่อใช้สำหรับการกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้มก่อนส่งออกไปยังประเทศไทย
การจดทะเบียนห้องเย็นต้องมีรายละเอียดครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(ก)
สถานที่ตั้งและแผนผังโรงงาน
รวมทั้งรายละเอียดสถานที่อยู่ของเจ้าของหรือผู้ดำเนินการ
(ข)
ขนาดและความจุของห้องเย็น
(ค)
ชนิดของวัสดุที่ใช้เป็นฉนวนในการทำฝาผนัง เพดาน และพื้น
(ง)
ผู้ผลิต รุ่น ชนิด ขนาดของเครื่องทำความเย็น และระบบการหมุนเวียนของอากาศ
(จ)
ช่วงการควบคุมอุณหภูมิของอุปกรณ์เครื่องมือ ระบบควบคุมการละลายน้ำแข็ง
และข้อมูลจำเพาะและรายละเอียดของอุปกรณ์สำคัญอื่น ๆ ของเครื่องบันทึกอุณหภูมิ
(ฉ)
กรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียต้องส่งข้อมูลให้กับกรมวิชาการเกษตร
(ก่อนเริ่มฤดูกาลส่งออกในแต่ละปี) ได้แก่
ชื่อและที่อยู่ของโรงงานที่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับการกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้มด้วยความเย็น
๑๑.๒
ชนิดของเครื่องบันทึกอุณหภูมิ
กรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียต้องรับรองว่า
แท่งวัดอุณหภูมิและเครื่องบันทึกอุณหภูมิมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
๑๑.๒.๑
เหมาะสมสำหรับใช้ในการกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็น
และแท่งวัดอุณหภูมิต้องได้ตามมาตรฐานที่กำหนดโดยกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (United
State
Department
of
Agriculture,
USDA)
แท่งวัดอุณหภูมิต้องมีความเที่ยงตรงที่ + ๐.๑๕ ซ. ในช่วงอุณหภูมิระหว่าง +
๓ ซ. ถึง ๓ ซ.
๑๑.๒.๒
สามารถรองรับจำนวนแท่งวัดอุณหภูมิที่ใช้ในการดำเนินงานได้ตามที่กำหนด
๑๑.๒.๓
สามารถบันทึกและเก็บรวบรวมข้อมูลได้ตลอดระยะเวลาของการดำเนินการกำจัดแมลงวันผลไม้
และข้อมูลดังกล่าวสามารถตรวจสอบได้โดยเจ้าหน้าที่ของกรมเกษตร ประมง และป่าไม้
ออสเตรเลีย
๑๑.๒.๔
สามารถบันทึกอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิทั้งหมดตลอดการทำงานอย่างน้อยทุกชั่วโมง
มีความถูกต้องเที่ยงตรงตามข้อกำหนดของแท่งวัดอุณหภูมิ
๑๑.๒.๕
สามารถพิมพ์ผลการบันทึกข้อมูลซึ่งจะแยกแสดงข้อมูล เวลา
และอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิแต่ละแท่ง
๑๑.๓
การปรับค่าการวัดอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิให้เที่ยงตรง
๑๑.๓.๑
การปรับค่าการวัดอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิให้เที่ยงตรงจะใช้น้ำแข็งบดละเอียดคลุกในน้ำกลั่น
เปรียบเทียบค่าการวัดอุณหภูมิกับแท่งวัดอุณหภูมิมาตรฐานซึ่งได้รับการรับรองจากกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย
๑๑.๓.๒
แท่งวัดอุณหภูมิแท่งหนึ่งแท่งใดซึ่งวัดอุณหภูมิได้มากกว่า +
๐.๖ ซ. จากอุณหภูมิ ๐ ซ.
ต้องเปลี่ยนแท่งวัดอุณหภูมิแท่งใหม่ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดแทน
๑๑.๓.๓
เมื่อกระบวนการกำจัดแมลงวันผลไม้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ กรมเกษตร ประมง และป่าไม้
ออสเตรเลียต้องทำการตรวจสอบการปรับค่าการวัดอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ให้เที่ยงตรงโดยทำตามวิธีการในข้อ
๑๑.๓.๑
๑๑.๓.๔
อาจจะดำเนินการตรวจสอบการปรับค่าการวัดอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิเป็นประจำและสม่ำเสมอ
๑๑.๔
ตำแหน่งการวางแท่งวัดอุณหภูมิภายใต้การกำกับดูแลของกรมเกษตร ประมง และป่าไม้
ออสเตรเลีย
๑๑.๔.๑
ต้องวางแท่งวัดอุณหภูมิอย่างน้อยที่สุด จำนวน ๒ แท่ง
(ตรงตำแหน่งช่องเปิดที่อากาศหมุนเวียนเข้าและออกภายในห้องเย็น) เพื่อวัดอุณหภูมิอากาศภายในห้องเย็น
และต้องมีแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้อย่างน้อย จำนวน ๔ แท่ง
เพื่อวัดอุณหภูมิภายในผลส้มตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
(ก)
หนึ่งแท่งที่กึ่งกลางของกองที่อยู่ตรงกลางของห้องเย็น
(ข)
หนึ่งแท่งที่มุมบนสุดของกองที่อยู่ตรงกลางของห้องเย็น
(ค)
หนึ่งแท่งตรงกลางของกองที่อยู่ใกล้ทางออกของอากาศ และ
(ง)
หนึ่งแท่งที่มุมบนสุดของกองใกล้ทางออกของอากาศ
๑๑.๔.๒
ตำแหน่งการวางแท่งวัดอุณหภูมิและการเชื่อมต่อแท่งวัดอุณหภูมิเข้ากับเครื่องบันทึกอุณหภูมิ
ต้องอยู่ภายใต้การชี้แนะและการกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบอำนาจจากกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียเท่านั้น
๑๑.๔.๓
การบันทึกอุณหภูมิอาจจะเริ่มต้นได้ตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตาม
เวลาที่เริ่มต้นดำเนินการกำจัดแมลงวันผลไม้นั้นจะต้องเริ่มต้นนับหลังจากที่แท่งวัดอุณหภูมิทุกแท่งอยู่ที่ระดับอุณหภูมิที่กำหนดแล้วเท่านั้น
๑๑.๔.๔
กรณีที่ใช้แท่งวัดอุณหภูมิจำนวนต่ำสุดตามที่กำหนด
หากพบว่ามีแท่งวัดอุณหภูมิแท่งหนึ่งแท่งใดไม่สามารถบันทึกค่าอุณหภูมิในช่วงเวลาที่กำหนดเป็นระยะเวลานานมากกว่า
๔ ชั่วโมงติดต่อกัน
ให้ถือว่าการกำจัดแมลงวันผลไม้ในครั้งนั้นล้มเหลวและต้องเริ่มต้นใหม่
๑๑.๕
การพิจารณาผลการกำจัดแมลงวันผลไม้
๑๑.๕.๑
ถ้าผลการบันทึกข้อมูลการกำจัดแมลงวันผลไม้บ่งชี้ว่าการกำจัดแมลงวันผลไม้ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว
กรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียอาจจะสั่งการให้หยุดการกำจัดแมลงวันผลไม้
และถ้าแท่งวัดอุณหภูมิได้อ่านการตรวจสอบการปรับค่าการวัดอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิให้เที่ยงตรงตามข้อ
๑๑.๓ แล้ว ให้ถือว่ากระบวนการกำจัดแมลงวันผลไม้ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว
๑๑.๕.๒
แท่งวัดอุณหภูมิควรต้องผ่านการตรวจสอบการปรับค่าการวัดอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิให้เที่ยงตรง
ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายผลส้มออกจากห้องเย็น
๑๑.๖
การตรวจสอบยืนยันผลการกำจัดแมลงวันผลไม้
๑๑.๖.๑
หลังจากผ่านช่วงระยะเวลาที่กำหนดในกระบวนการกำจัดแมลงวันผลไม้เรียบร้อยแล้ว
แท่งวัดอุณหภูมิจะต้องถูกตรวจสอบการปรับค่าการวัดอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิให้เที่ยงตรงซ้ำอีกครั้งโดยใช้วิธีการตามข้อ
๑๑.๓ ข้อมูลทั้งหมดจะต้องเก็บไว้สำหรับให้กรมวิชาการเกษตรตรวจสอบ
๑๑.๖.๒
หากมีการพิสูจน์พบว่าผลการตรวจสอบการปรับค่าการวัดอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิให้เที่ยงตรงภายหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการกำจัดแมลงวันผลไม้แสดงค่าสูงกว่าในตอนเริ่มต้น
ค่าการบันทึกอุณหภูมิจากแท่งวัดอุณหภูมิจะต้องถูกปรับให้เป็นไปตามนั้นด้วย
ถ้าผลของการปรับค่าปรากฏว่าอุณหภูมิและเวลาที่ใช้กำจัดแมลงวันผลไม้ไม่เป็นไปตามที่กำหนด
ให้ถือว่าการดำเนินการกำจัดแมลงวันผลไม้ในครั้งนั้นล้มเหลว
มีทางเลือกให้ทำการกำจัดแมลงวันผลไม้ใหม่อีกครั้งได้
โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียและผู้ส่งออก
๑๑.๖.๓
ข้อมูลผลการบันทึกอุณหภูมิจะต้องส่งมามาพร้อมกันกับสรุปย่อ
ซึ่งจะบ่งชี้ให้เห็นว่ากระบวนการกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้มด้วยความเย็นประสบผลสำเร็จ
๑๑.๖.๔
กรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียต้องลงนามรับรองผลการบันทึกอุณหภูมิและสรุปย่อ
ก่อนยืนยันว่าการกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้มประสบผลสำเร็จแล้ว
ข้อมูลเหล่านี้กรมวิชาการเกษตรสามารถเรียกดูเพื่อตรวจสอบได้เมื่อต้องการ
๑๑.๖.๕
ถ้าการกำจัดเมลงวันผลไม้ในผลส้มด้วยความเย็นไม่ประสบผลสำเร็จ เครื่องบันทึกอุณหภูมิอาจเริ่มต้นบันทึกอุณหภูมิใหม่
และการกำจัดแมลงวันผลไม้ที่ดำเนินการต่อเนื่องไปจะต้องให้ผล ดังต่อไปนี้
(ก)
กรมเกษตร ประมง และป่าไม้
ออสเตรเลียต้องตรวจสอบยืนยันว่าได้ดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนดในข้อ ๑๑.๖.๓ หรือ
(ข)
ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่หยุดการกำจัดแมลงวันผลไม้
และกลับมาเริ่มต้นดำเนินการใหม่ต้องน้อยกว่า ๒๔ ชั่วโมง
ทั้ง ๒
กรณีดังกล่าวข้างต้น
ข้อมูลจะถูกบันทึกอย่างต่อเนื่องติดต่อกันไปตลอดเวลาจากจุดที่เครื่องบันทึกอุณหภูมิเริ่มกลับมาบันทึกอุณหภูมิใหม่
๑๑.๗
การขนถ่ายสินค้าเข้าตู้ขนส่งสินค้า
๑๑.๗.๑
ตู้ขนส่งสินค้าต้องได้รับการตรวจสอบโดยกรมเกษตร ประมง และป่าไม้
ออสเตรเลียก่อนขนย้ายผลส้มเข้าตู้
ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าตู้ขนส่งสินค้าปลอดศัตรูพืช
และช่องระบายอากาศต่าง ๆ ถูกปิดเพื่อป้องกันศัตรูพืชเล็ดลอดเข้าไปในตู้ขนส่งสินค้า
๑๑.๗.๒
การขนถ่ายผลส้มเข้าตู้ขนส่งสินค้าต้องดำเนินการภายในอาคารที่สามารถป้องกันกันแมลงได้
หรือใช้วัสดุกันแมลงกั้นระหว่างทางเข้าห้องเย็นและตู้ขนส่งสินค้า
๑๑.๘
การปิดผนึกตู้ขนส่งสินค้า
เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบอำนาจจากกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียจะเป็นผู้ปิดผนึกบนประตูของตู้ขนส่งสินค้า
และเขียนหมายเลขผนึกในใบรับรองปลอดศัตรูพืช
๑๑.๙
การเก็บรักษาผลส้มกรณีที่ไม่ได้มีการขนย้ายทันที
ผลส้มซึ่งผ่านการกำจัดแมลงวันผลไม้แล้วแต่ยังไม่ประสงค์ที่จะขนย้ายเข้าตู้ขนส่งสินค้าในทันที
ผลส้มเหล่านั้นอาจจะเก็บรักษาไว้เพื่อทำการขนถ่ายในภายหลังได้
โดยต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขการจัดการรักษาความปลอดภัยจากศัตรูพืช
ซึ่งกำหนดโดยกรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย ดังต่อไปนี้
๑๑.๙.๑
ถ้าเก็บผลส้มไว้ในห้องที่ทำการกำจัดแมลงวันผลไม้ ประตูห้องต้องปิดสนิท
๑๑.๙.๒
ถ้ามีการเคลื่อนย้ายผลส้มไปเก็บไว้ในห้องเก็บอื่น การเคลื่อนย้ายผลส้มต้องมีการจัดการและการควบคุมความปลอดภัยจากศัตรูพืชซึ่งกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียให้การยอมรับ
และต้องไม่มีผลไม้ชนิดอื่นเก็บอยู่ในห้องนั้น และ
๑๑.๙.๓
เมื่อมีการขนย้ายผลส้มต่อมาในภายหลัง
ต้องดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของกรมเกษตรประมงและป่าไม้ออสเตรเลีย
ตามรายละเอียดในข้อ ๑๑.๗
๑๒.
การกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็นในระหว่างการขนส่ง
การกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็นในระหว่างการขนส่ง
เป็นการกำจัดแมลงวันผลไม้ซึ่งดำเนินการในระหว่างการขนส่งสินค้าในห้องบนเรือหรือในตู้ขนส่งสินค้า
การกำจัดแมลงวันผลไม้ในตู้ขนส่งสินค้าในระหว่างการขนส่งนั้นอาจเริ่มต้นตั้งแต่บนบกและเสร็จสิ้นกระบวนการในระหว่างการขนส่ง
หรือเสร็จสิ้นเมื่อขนส่งสินค้าถึงปลายทาง
ถ้าสินค้านั้นได้รับการกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็นในระหว่างการขนส่ง
กรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
๑๒.๑
ชนิดของตู้ขนส่งสินค้า
ตู้ขนส่งสินค้าต้องมีระบบการทำความเย็นภายในตัวตู้
โดยกรมเกษตร ประมง และป่าไม้
ออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบตรวจสอบตู้ขนส่งสินค้าว่าตู้ขนส่งสินค้าที่ผู้ส่งออกใช้นั้นเป็นชนิดที่เหมาะสมและมีอุปกรณ์ทำความเย็นที่มีประสิทธิภาพและสามารถทำการรักษาระดับอุณหภูมิในผลส้มให้คงที่ตามที่กำหนดได้
๑๒.๒
ชนิดของเครื่องบันทึกอุณหภูมิ
กรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียต้องรับรองว่า
แท่งวัดอุณหภูมิและเครื่องบันทึกอุณหภูมิมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
๑๒.๒.๑
เหมาะสมสำหรับใช้ในวัตถุประสงค์การกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็น
และต้องได้ตามมาตรฐานที่กำหนดโดยกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา
แท่งวัดอุณหภูมิต้องมีความเที่ยงตรงที่ + ๐.๑๕ ซ. ในช่วงระหว่าง ๓ ซ. ถึง ๓ ซ.
๑๒.๒.๒
สามารถรองรับจำนวนแท่งวัดอุณหภูมิที่ใช้ในการดำเนินงานได้ตามที่กำหนด
๑๒.๒.๓
สามารถบันทึกและเก็บรวบรวมข้อมูลได้ตลอดระยะเวลาของการดำเนินการกำจัดแมลงวันผลไม้
และข้อมูลดังกล่าวสามารถตรวจสอบได้โดยเจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร
๑๒.๒.๔
สามารถบันทึกอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิทั้งหมดตลอดการทำงานอย่างน้อยทุกชั่วโมง
มีความถูกต้องเที่ยงตรงตามข้อกำหนดของแท่งวัดอุณหภูมิ และ
๑๒.๒.๕
สามารถพิมพ์ผลการบันทึกข้อมูลซึ่งจะแยกแสดงข้อมูล เวลา
และอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิแต่ละแท่ง นอกจากนี้
ยังสามารถพิมพ์เลขหมายของเครื่องบันทึกอุณหภูมิและตู้ขนส่งสินค้า
๑๒.๓
การปรับค่าการวัดอุณหภูมิของเครื่องบันทึกอุณหภูมิและแท่งวัดอุณหภูมิให้เที่ยงตรงภายใต้การกำกับดูแลของกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย
๑๒.๓.๑
การปรับค่าการวัดอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิให้เที่ยงตรงจะใช้น้ำแข็งบดละเอียดคลุกในน้ำกลั่น
เปรียบเทียบค่าการวัดอุณหภูมิกับแท่งวัดอุณหภูมิมาตรฐานซึ่งได้รับการรับรองจากรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย
๑๒.๓.๒
แท่งวัดอุณหภูมิแท่งหนึ่งแท่งใดซึ่งวัดอุณหภูมิได้มากกว่า +
๐.๖ ซ. จากอุณหภูมิ ๐ ซ.
ต้องเปลี่ยนแท่งวัดอุณหภูมิแท่งใหม่ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดแทน
๑๒.๓.๓
ต้องจัดเตรียมเอกสาร บันทึกการปรับค่าการวัดอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้
สำหรับตู้ขนส่งสินค้าแต่ละตู้
และมีการลงนามพร้อมตราประทับโดยเจ้าหน้าที่ของกรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย
ต้นฉบับของเอกสารดังกล่าวต้องแนบมาพร้อมกับใบรับรองปลอดศัตรูพืชซึ่งจะมาพร้อมกับสินค้า
๑๒.๓.๔
เมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทย
กรมวิชาการเกษตรต้องทำการตรวจสอบการปรับค่าการวัดอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ให้เที่ยงตรงโดยทำตามวิธีการในข้อ
๑๑.๓
๑๒.๔
ตำแหน่งการวางแท่งวัดอุณหภูมิภายใต้การกำกับดูแลของกรมเกษตร ประมง และป่าไม้
ออสเตรเลีย
๑๒.๔.๑
กล่องบรรจุผลส้มจะต้องขนส่งในตู้ขนส่งสินค้าภายใต้การกำกับดูแลของกรมเกษตร ประมง
และป่าไม้ ออสเตรเลีย
ควรมีการจัดเรียงกล่องบรรจุผลส้มในตู้ขนส่งสินค้าให้อากาศมีการหมุนเวียนอย่างอย่างสม่ำเสมอทั้งภายใต้และรอบ
ๆ แผ่นรองรับกล่องบรรจุสินค้าทั้งหมด และระหว่างกล่องที่วางซ้อนทับกัน
๑๒.๔.๒ ต้องมีการบันทึกอุณหภูมิตามจุดต่าง
ๆ ภายในตู้อย่างน้อย จำนวน ๓ ชุด
๑๒.๔.๓
ต้องมีแท่งวัดอุณหภูมิอย่างน้อย จำนวน ๒ แท่ง เสียงไว้ในผลส้มวางห่างประมาณ ๑.๕
เมตร จากท้ายสุดของกล่องบรรจุสินค้าในตู้ขนส่งสินค้าขนาด ๑๒ เมตร และห่างประมาณ ๑
เมตร จากท้ายสุดของกล่องบรรจุสินค้าในตู้ขนส่งสินค้าขนาด ๖ เมตร
๑๒.๔.๔
ต้องมีแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้อย่างน้อย ๑ แท่ง
เสียบไว้ในผลส้มในกล่องที่วางอยู่ตำแหน่งกึ่งกลาง และอีก ๑ แท่ง
ที่บริเวณด้านข้างของผนัง โดยแท่งวัดอุณหภูมิทั้ง ๒
แท่งจะอยู่สูงประมาณครึ่งหนึ่งของกองสินค้า
๑๒.๔.๕
ตำแหน่งการวางแท่งวัดอุณหภูมิต้องอยู่ภายใต้การชี้แนะและกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบอำนาจจากกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย
๑๒.๔.๖
เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการกำจัดแมลงวันผลไม้แล้ว
รายงานผลการบันทึกข้อมูลของแท่งวัดอุณหภูมิทั้งหมดต้องส่งให้เจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร
ณ ด่านตรวจพืชที่นำเข้าสินค้า
เพื่อการตรวจปล่อยสินค้าในขั้นตอนสุดท้ายโดยหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรที่กรุงเทพฯ
๑๒.๕
การปิดผนึกตู้ขนส่งสินค้า
เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบอำนาจจากกรมเกษตร
ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียจะเป็นผู้ปิดผนึกบนประตูของตู้ขนส่งสินค้า และเขียนหมายเลขผนึกในใบรับรองปลอดศัตรูพืช
๑๒.๖
การบันทึกอุณหภูมิ
๑๒.๖.๑
การจัดการเกี่ยวกับการกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็นในระหว่างการขนส่งนั้น
เป็นการกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็นซึ่งจะเสร็จสมบูรณ์ในช่วงการเดินทางระหว่างประเทศออสเตรเลียและด่านตรวจพืชด่านแรกที่สินค้าถึงประเทศไทย
บริษัทขนส่งสินค้าต้องนำบันทึกข้อมูลการกำจัดแมลงวันผลไม้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ส่งให้หน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรที่กรุงเทพฯ
๑๒.๖.๒
หน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรที่กรุงเทพฯ จะพิสูจน์ความถูกต้องว่า
ผลการบันทึกอุณหภูมิในการกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้มเป็นไปตามข้อกำหนด
และสั่งการให้เจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรซึ่งประจำที่ด่านตรวจพืชทำการตรวจสอบความถูกต้องของการปรับค่าการวัดอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้แล้ว
จึงจะถือว่าการกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้มเสร็จสิ้นสมบูรณ์
๑๓. การสุ่มตรวจสินค้าก่อนการส่งออก
๑๓.๑
ต้องทำการสุ่มตรวจผลส้มจำนวน ๖๐๐ ผล ก่อนส่งออกตามกระบวนการของกรมเกษตร ประมง
และป่าไม้ ออสเตรเลีย
๑๓.๒
ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันจะต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้
๑๓.๒.๑
ถ้าพบแมลงวันผลไม้ที่มีชีวิต สินค้าทั้งหมดจะถูกปฏิเสธการส่งออกมายังประเทศไทย
๑๓.๒.๒
ถ้าพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่นที่มิใช่แมลงวันผลไม้
สินค้าจะส่งออกมายังประเทศไทยได้ต่อเมื่อได้ทำการกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นจากสินค้า
๑๔. ใบรับรองปลอดศัตรูพืช
๑๔.๑
กรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลียจะออกใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary
Certificate)
ให้กับสินค้า เมื่อเจ้าหน้าที่ของกรมเกษตร ประมง และป่าไม้ ออสเตรเลีย
ได้เห็นหนังสืออนุญาตนำเข้าแล้วเท่านั้น
๑๔.๒
ใบรับรองปลอดศัตรูพืชซึ่งออกให้โดยเจ้าหน้าที่ของกรมเกษตร ประมง และป่าไม้
ออสเตรเลียต้องแนบมาพร้อมกับผลส้มที่นำเข้าจากประเทศออสเตรเลียทุกครั้ง
และต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
The
citrus
fruit
of
this
consignment
was
produced
in
(name
of
production
area)
and
inspected
in
accordance
with
appropriate
official
procedures
are
found
to
be
free
from
quarantine
pests
specified
by
the
DOA
๑๔.๓
ถ้าสินค้าที่นำเข้าได้รับการกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็นก่อนการส่งออก
ในกรณีนี้ต้องระบุรายละเอียดของโรงงานกำจัดแมลงด้วยความเย็น อุณหภูมิ
และระยะเวลาที่ใช้ (จำนวนวันที่ต่อเนื่องกัน)
ลงบนใบรับรองปลอดศัตรูพืชในส่วนที่เหมาะสมด้วย
๑๔.๔
ถ้าสินค้าที่นำเข้าได้รับการกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็นในระหว่างการขนส่ง
ใบรับรองปลอดศัตรูพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
DAFF
have
supervised
the
calibration
and
the
placement
of
fruit
sensors
into
the
fruit
within
the
container/s
in
accordance
with
the
agreement
between
DAFF
and
DOA
and
cold
disinfestations
treatment
has
been
initiated
๑๔.๕
ต้องระบุหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขตู้ขนส่งสินค้าในใบรับรองปลอดศัตรูพืช
๑๕. การสุ่มตรวจสินค้าเมื่อมีการนำเข้า
๑๕.๑
เมื่อสินค้าขนส่งมาถึงยังจุดที่นำเข้า
การสุ่มตรวจสินค้าจะดำเนินการหลังจากได้มีการตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดซึ่งแนบมาพร้อมกับสินค้าแล้ว
๑๕.๒
สุ่มตรวจผลส้มจำนวน ๖๐๐ ผล
๑๕.๓
ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกัน ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้
๑๕.๓.๑
ถ้าพบแมลงวันผลไม้ที่มีชีวิต
สินค้าจะต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยเจ้าของเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
กรมวิชาการเกษตรจะสั่งระงับการนำเข้าผลส้มจากประเทศออสเตรเลียจนกว่าจะมีคำอธิบายถึงสาเหตุที่มีการทำลายของศัตรูพืชปะปนมากับสินค้า
๑๕.๓.๒
ถ้าพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่นที่มิใช่แมลงวันผลไม้ สินค้าดังกล่าวอาจถูกทำลาย
หรือส่งกลับ หรือกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีการที่เหมาะสม
โดยเจ้าของเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
๑๖. การตรวจสอบระบบ
ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้าผลส้มจากประเทศออสเตรเลียตามข้อ
๑๕ หรือในกรณีอื่น ๆ กรมวิชาการเกษตรอาจจะส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปตรวจสอบระบบการส่งออกผลส้มที่ประเทศออสเตรเลียก่อนที่จะมีการตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าผลส้มจากประเทศออสเตรเลียได้อีกต่อไป
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปตรวจสอบระบบดังกล่าวข้างต้น
ผู้ส่งออกผลส้มของประเทศออสเตรเลียจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗
ฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๒ ตุลาคาม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๗๑ ง/หน้า ๑๙/๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๗ |
695905 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การรับรองพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
การรับรองพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
(ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๔๗[๑]
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแบบหนังสือรับรองท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตรเรื่อง
การรับรองพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม พ.ศ. ๒๕๔๔ ลงวันที่ ๒๑
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้เหมาะสมกับภาวการณ์ปัจจุบัน กรมวิชาการเกษตรจึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกแบบหนังสือรับรองท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง การรับรองพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม พ.ศ. ๒๕๔๔
ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ และให้ใช้แบบหนังสือรับรองท้ายประกาศฉบับนี้แทน
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. หนังสือรับรองท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง การรับรองพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม (CERTIFICATE FOR NON - GENETICALLY
MODIFIED ORGANISM)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๔
ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔
ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๒๔/๑๖ เมษายน ๒๕๔๗ |
442152 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 พ.ศ. 2547
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
พ.ศ. ๒๕๔๗[๑]
โดยเป็นการสมควรปรับปรุงการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เหมาะสม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกระทรวงเกษตร (ฉบับที่
๕) เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๗
(๒) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๖ ลงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๓๖
ข้อ
๒
แต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
(๑) นายด่านศุลกากรสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
(๒) นายด่านศุลกากรชุมพร จังหวัดชุมพร
(๓) นายด่านศุลกากรแม่กลอง จังหวัดสุมทรสงคราม
(๔) นายด่านศุลกากรประจวบคีรีขันธ์
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
(๕) นายด่านศุลกากรบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
(๖) นายด่านศุลกากรจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
(๗) นายด่านศุลกากรบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย
(๘) นายด่านศุลกากรท่าลี่ จังหวัดเลย
(๙) นายด่านศุลกากรเชียงคาน จังหวัดเลย
(๑๐) นายด่านศุลกากรนครพนม จังหวัดนครพนม
(๑๑) นายด่านศุลกากรช่องจอม จังหวัดสุรินทร์
(๑๒) นายด่านศุลกากรแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
(๑๓) นายด่านศุลกากรแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
(๑๔) นายด่านศุลกากรเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
(๑๕) นายด่านศุลกากรเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
(๑๖) นายด่านศุลกากรทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
(๑๗) นายด่านศุลกากรบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(๑๘) นายด่านศุลกากรเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(๑๙) นายด่านศุลกากรสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
(๒๐) นายด่านศุลกากรนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
(๒๑) นายด่านศุลกากรพังงา จังหวัดพังงา
(๒๒) นายด่านศุลกากรกระบี่ จังหวัดกระบี่
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีอำนาจรับแจ้งการนำเข้าหรือนำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสิ่งไม่ต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในมาตรา
๑๑ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๒
และปฏิบัติการตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
ภายในเขตท้องที่ที่ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นมีอำนาจ
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
สมศักดิ์ เทพสุทิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
มัตติกา/พิมพ์
๒๗ กันยายน ๒๕๔๗
นวพร/สุนันทา/ตรวจ
๖ ตุลาคม ๒๕๔๗
สุกัญญา/ผู้จัดทำ
๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
พิมลกร/ปรับปรุง
๒ กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒ กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ
๘๐ ง/หน้า ๘/๒๑ กรกฎาคม ๒๕๔๗ |
442150 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 พ.ศ. 2547
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
พ.ศ. ๒๕๔๗
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑
ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
ลงวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
ข้อ
๒ กำหนดท่าเรือ ท่าอากาศยาน
หรือสถานที่ใด ดังต่อไปนี้เป็นด่านตรวจพืช
(๑) ด่านตรวจพืชท่าเรือกรุงเทพ
มีอาณาเขตตามเขตสำนักงานศุลกากร ท่าเรือกรุงเทพ เขตส่วนตรวจสินค้าท่าเรือเอกชน
เขตส่วนตรวจสินค้านอกเขตท่าที่ ๒
(๒) ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานกรุงเทพ
มีอาณาเขตตามสำนักงานศุลกากร ท่าอากาศยานกรุงเทพ
(๓) ด่านตรวจพืชไปรษณีย์
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรไปรษณีย์
(๔) ด่านตรวจพืชลาดกระบัง
มีอาณาเขตตามเขตส่วนตรวจสินค้านอกเขตท่าที่ ๑, เขตด่านศุลกากรรถไฟกรุงเทพ
สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ
(๕) ด่านตรวจพืชสังขละบุรี
มีอาณาเขตด่านศุลกากรสังขละบุรี
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรสังขละบุรี
(๖) ด่านตรวจพืชท่าเรือระนอง มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรระนอง
เขตด่านศุลกากรชุมพร และเขตด่านศุลกากรประจวบคีรีขันธ์
(๗) ด่านตรวจพืชเกาะสมุย
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรเกาะสมุย เขตด่านศุลกากรบ้านดอน
และเขตด่านศุลกากรสุราษฎร์ธานี
(๘) ด่านตรวจพืชอรัญประเทศ
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรอรัญประเทศ
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรอรัญประเทศ
(๙) ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานอู่ตะเภา
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรมาบตาพุด และศุลกากรภาคที่ ๑
(๑๐) ด่านตรวจพืชท่าเรือแหลมฉบัง
มีอาณาเขตตามเขตสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง
(๑๑) ด่านตรวจพืชคลองใหญ่ มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรคลองใหญ่
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรคลองใหญ่ และเขตด่านศุลกากรจันทบุรี
(๑๒) ด่านตรวจพืชหนองคาย
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรหนองคาย
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรหนองคาย และเขตด่านศุลกากรบึงกาฬ
(๑๓) ด่านตรวจพืชท่าลี่
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรท่าลี่
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรท่าลี่
(๑๔) ด่านตรวจพืชเชียงคาน
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรเชียงคาน
(๑๕) ด่านตรวจพืชนครพนม
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรนครพนม
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรนครพนม
(๑๖) ด่านตรวจพืชมุกดาหาร
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรมุกดาหาร
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรมุกดาหาร
(๑๗) ด่านตรวจพืชพิบูลมังสาหาร
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรพิบูลมังสาหาร
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรพิบูลมังสาหาร และเขตด่านศุลกากรเขมราฐ
(๑๘) ด่านตรวจพืชช่องจอม
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรช่องจอม
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรช่องจอม
(๑๙) ด่านตรวจพืชแม่สาย
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรแม่สาย
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรแม่สาย
(๒๐) ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานเชียงราย
มีอาณาเขตตามเขตศุลกากรสนามบินเชียงราย
(๒๑) ด่านตรวจพืชเชียงแสน
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรเชียงแสน
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรเชียงแสน
(๒๒) ด่านตรวจพืชเชียงของ
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรเชียงของ รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรเชียงของ
(๒๓) ด่านตรวจพืชแม่ฮ่องสอน
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรแม่ฮ่องสอน รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรแม่ฮ่องสอน
(๒๔) ด่านตรวจพืชแม่สะเรียง
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรแม่สะเรียง
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรแม่สะเรียง
(๒๕) ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานเชียงใหม่
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ และเขตด่านศุลกากรเชียงดาว
(๒๖) ด่านตรวจพืชทุ่งช้าง
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรทุ่งช้าง
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรทุ่งช้าง
(๒๗) ด่านตรวจพืชแม่สอด มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรแม่สอด
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรแม่สอด และเขตศุลกากรสนามบินสุโขทัย
(๒๘) ด่านตรวจพืชกระบี่
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรกระบี่
(๒๙) ด่านตรวจพืชท่าเรือภูเก็ต
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรภูเก็ต
(๓๐) ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานภูเก็ต มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรท่าอากาศยานภูเก็ต
(๓๑) ด่านตรวจพืชท่าเรือกันตัง
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรกันตัง เขตด่านศุลกากรนครศรีธรรมราช
และเขตด่านศุลกากรสิชล
(๓๒) ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานหาดใหญ่
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรท่าอากาศยานหาดใหญ่
(๓๓) ด่านตรวจพืชท่าเรือสงขลา
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรสงขลา
(๓๔) ด่านตรวจพืชปาดังเบซาร์
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรปาดังเบซาร์
รวมทั้งทางอนุมัติของด่านศุลกากรปาดังเบซาร์
(๓๕) ด่านตรวจพืชสะเดา
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรสะเดา
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรสะเดา
(๓๖) ด่านตรวจพืชท่าเรือสตูล
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรสตูล
(๓๗) ด่านตรวจพืชวังประจัน
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรวังประจัน รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนวังประจัน
(๓๘) ด่านตรวจพืชท่าเรือปัตตานี
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรปัตตานี
(๓๙) ด่านตรวจพืชท่าเรือตากใบ
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรตากใบ
(๔๐) ด่านตรวจพืชสุไหงโก-ลก
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก
(๔๑) ด่านตรวจพืชเบตง มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรเบตง
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรเบตง
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
สมศักดิ์ เทพสุทิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
มัตติกา/พิมพ์
๒๗ กันยายน ๒๕๔๗
นวพร/สุนันทา/ตรวจ
๖ ตุลาคม ๒๕๔๗
สุกัญญา/ผู้จัดทำ
๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
พิมลกร/ปรับปรุง
๒ กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒ กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๐ ง/หน้า ๓/๒๑ กรกฎาคม ๒๕๔๗ |
438692 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2547
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗
ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๖ และวันที่ ๑๗ กรกฎาคม
๒๕๔๖ ได้แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ ไว้แล้วนั้น บัดนี้
เห็นเป็นการสมควรแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเพิ่มเติม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังนี้
ให้ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
๑. ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
ผู้อำนวยสำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยข้าว ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชไร่
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยหม่อนไหม
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่
ผู้อำนวยการกองคลัง ผู้อำนวยการกองแผนงานและวิชาการ ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศ
เลขานุการกรม สังกัดกรมวิชาการเกษตร
๒. นักกีฏวิทยา นักวิชาการโรคพืช
และนักวิชาการเกษตรตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป สังกัดสถาบันวิจัยพืชไร่
สถาบันวิจัยพืชสวน และสถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร
๓. เจ้าหน้าที่บริหารงานการเกษตร
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ตั้งแต่ระดับ ๗ ขึ้นไป สังกัดกรมวิชาการเกษตร
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
สมศักดิ์ เทพสุทิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
มัตติกา/พิมพ์
๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
ศุภสรณ์/ทรงยศ/ตรวจ
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
สุกัญญา/ผู้จัดทำ
๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
พิมลกร/ปรับปรุง
๑ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๑ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๕/๒ เมษายน ๒๕๔๗ |
695903 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดพืชจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น
และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ.
๒๕๔๖
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศกำหนดพืชเป็นสิ่งต้องห้ามเพิ่มเติม
ดังนี้
ข้อ ๑
อาหารสำเร็จรูปที่ทำจากพืชตามประกาศนี้ให้ได้รับการยกเว้นไม่เป็นสิ่งต้องห้าม
อาหารสำเร็จรูป
หมายความถึง อาหารที่ได้มาจากส่วนของพืช ซึ่งยังคงลักษณะเป็นพืช
และได้ผ่านกระบวนการที่สามารถทำลายเชื้อโรคและศัตรูพืช
ข้อ ๒
ให้พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมดังต่อไปนี้จากทุกแหล่งเป็นสิ่งต้องห้าม
๑. พืชในสกุลอกรอสทิส
Agrostis
spp.
๒. หอมหัวใหญ่ Allium
cepa
L.
๓. สับปะรด Ananas
comosus
(L.)
Merr.
๔. เธลเครส Arabidopsis
thaliana
L.
๕. พืชในสกุลอราคิส Arachis
spp.
๖. เบลลาดอนนา Atropa
belladonna
L.
๗. ข้าวโอ๊ต Avena
sativa
L.
๘.
พืชในสกุลคาเมลเลีย Camellia
spp.
๙. พืชในสกุลแคบซิกัม
Capsicum
spp.
๑๐. ชิโครี่ Cichorium
intybus
L.
๑๑. แตงโม Citrullus
lanatus
(Thumb)
Matsun
&
Nakai.
๑๒. พืชในสกุลซิตรัส Citrus
spp.
๑๓. มะพร้าว Cocos
nucifera
L.
๑๔. พืชในสกุลคอฟเฟีย
Coffea
spp.
๑๕. พืชในสกุลคูคูมิส
Cucumis
spp.
๑๖.
พืชในสกุลเดนแดรนทีมา Dendranthema
spp.
๑๗. ปาล์มน้ำมัน Elaeis
guineensis
Jacq.
๑๘.
พืชในสกุลยูคาลิปตัส Eucalyptus
spp.
๑๙.
พืชในสกุลฟอร์จูเนลลา Fortunella
spp.
๒๐.
พืชในสกุลแกลดิโอลัส Gladiolus
spp.
๒๑. พืชในสกุลฮีเวีย Hevea
spp.
๒๒.
พืชในสกุลฮอร์เดียม Hordeum
spp.
๒๓. เลนทิล Lens
culinaris
Medik.
๒๔. สวีทกัม Liquidambar
styraciflua
L.
๒๕. พืชในสกุลลูพินัส
lupinus
spp.
๒๖. พืชในสกุลมาลัส Malus
spp.
๒๗. มันสำปะหลัง Manihot
esculenta
Crantz.
๒๘. พืชในสกุลมูซา Musa
spp.
๒๙.
พืชในวงศ์กล้วยไม้ Orchidaceae
๓๐. พืชในสกุลโอไรซา Oryza
spp.
๓๑.
พืชในสกุลปาปาเวอร์ Papaver
spp.
๓๒.
พืชในสกุลพีลาโกเนียม Pelargonium
spp.
๓๓.
พืชในสกุลฟาซิโอลัส Phaseolus
spp.
๓๔. พืชในสกุลพีเซีย Picea
spp.
๓๕.
พืชในสกุลพอนซิรัส Poncirus
spp.
๓๖. พืชในสกุลพรูนัส Prunus
spp.
๓๗. พืชในสกุลไพรัส Pyrus
spp.
๓๘. พืชในสกุลริซินัส
Ricinus
spp.
๓๙. พืชในสกุลโรซา Rosa
spp.
๔๐.
พืชในสกุลซัคคารัม.
Saccharum
spp.
๔๑. พืชในสกุลโซลานัม
Solanum
spp.
๔๒. พืชในสกุลซอกัม Sorghum
spp.
๔๓. โกโก้ Theobroma
cacao
L.
๔๔. ทอร์เนีย Torenia
fournieri
Lind.
๔๕.
พืชในสกุลไตรโฟเลียม Trifolium
spp.
๔๖.
พืชในสกุลตริติกัม Triticum
spp.
๔๗.
พืชในสกุลวัคซิเนียม Vaccinium
spp.
L.
๔๘. พืชในสกุลวิกนา Vigna
spp.
๔๙. พืชในสกุลซอยเซีย
Zoysia
spp.
ข้อ ๓
ในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้นำสิ่งต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทดลองหรือวิจัย
ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนด
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
สรอรรถ กลิ่นประทุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๓๐
กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๓๐
กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๑๔/๒๘ ตุลาคม ๒๕๔๖ |
695901 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดศัตรูพืชเป็นสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดศัตรูพืชเป็นสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ.
๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
โดยที่เป็นการสมควรควบคุมการนำเข้าและนำผ่านสิ่งต้องห้ามในส่วนที่เป็นศัตรูพืชซึ่งสามารถทำความเสียหายแก่พืชเศรษฐกิจของประเทศได้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
ศัตรูพืชกักกัน (Quarantine
pest)
หมายความว่า ศัตรูพืชซึ่งมีศักยภาพสำคัญทางเศรษฐกิจต่อพื้นที่ซึ่งมีปัจจัยสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเจริญและแพร่ขยายพันธุ์
โดยศัตรูพืชอาจยังไม่เคยปรากฏในพื้นที่นั้น
หรือปรากฏแล้วแต่ยังไม่แพร่กระจายอย่างกว้างขวาง
และอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเป็นทางการ
ข้อ ๒ ให้ศัตรูพืชต่อไปนี้จากทุกแหล่งเป็นสิ่งต้องห้ามเนื่องจากเป็นศัตรูพืชกักกัน
เชื้อรา (Fungi)
๑. Ascochyta
gossypii
(Woronichin)
Syd.
๒. Asperisporium
caricae
(Speg.)
Maubl
๓. Calonectria
rigidiuscula
Berk.
&
Broome
๔. Ceratocystis
fimbriata
Ellis
&
Halsted
๕. Crinipellis
perniciosa
(Stahel)
Singer
๖. Deuterophoma
tracheiphila
(Petri)
Kantachveli
&
Gikachvili
๗. Elsinoe
australis
Bitanc.
&
Jenkins
๘. Ephelis
oryzae
Hashioka
๙. Haplobasidion
musae
Ellis
๑๐. Microcyclus
ulei
(Henn.)
Arx
๑๑. Moniliophthora
roreri
H.C.
Evans,
Stalpers,
Samson
&
Benny
๑๒. Mycosphaerella
fijiensis
M.
Morelet
๑๓. Phaeoramularia
angolensis
(Carvalho
&
Mendes)
Kirk
๑๔. Phellinus
noxius
(Corner)
G.
Cunn
๑๕. Phymatotrichum
omnivorum
(Duggar)
Hennebert
๑๖. Phytophthora
citricola
Saw
๑๗. Phytophthora
hibernalis
Carne
๑๘. Phytophthora
Katsurae
Chang
๑๙. Rosellinia
bunodes
(Berk.
&
Broome)
Sacc
๒๐. Rosellinia
pepo
Pat
๒๑. Septoria
limonum
Pass
๒๒. Sphaceloma
manihoticola
Bitanc.
&
Jenkins
๒๓. Uromyces
musae
Henn.
เชื้อแบคทีเรีย (Bacteria)
๑. Clavibacter
michiganensis
subsp.
michiganensis
(Smith)
Davis
et
al.
๒. Clavibacter
michiganensis
subsp.
nebraskensis
(Vidaver
&
Mandel)
Davis
et
al.
๓. Clavibacter
michiganensis
subsp.
sepedonicus
(Spieckermann
&
Kotthoff)
Davis
et
al.
๔. Liberobacter
africanum
Monique
Garnier
๕. Pseudomonas
rubrisubalbicans
(Christopher
&
Edgerton)
Krasilnikov
๖. Pseudomonas
corrugata
Roberts
&
Scarlett
๗. Xanthomonas
axonopodis
pv.
citrumelo
(Gabriel
et
al.)
Vauterin
et
al.
๘. Xanthomonas
campestris
pv.
cassava
(Wiehe
&
Dowsans.)
Maraite
and
Weyns
๙. Xanthomonas
campestris
pv.
celebensis
(Gaumann)
Dye.
๑๐. Xylella
fastidiosa
Wells
et
al.
โปรโตซัว (Protozoa)
๑. Nosema
bombycis
Negali
๒. Phytomonas
staheli
McGhee
&
McGhee
เชื้อไวรัส (Virus)
๑. African
cassava
mosaic
virus
๒. Banana
streak
virus
๓. Cassava
brown
streak
virus
๔. Cassava
common
mosaic
virus
๕. Cassava
frog
skin
virus
๖. Cassava
Ivorian
virus
๗. Cassava
vein
mosaic
virus
๘. Citrus
leaf
rugose
virus
๙. Citrus
leprosis
virus
๑๐. Citrus
psorosis
virus
๑๑. Citrus
ringspot
virus
๑๒. Citrus
rubbery
wood
virus
๑๓. Citrus
tatter
leaf
virus
๑๔. Citrus
variegation
virus
๑๕. Citrus
vein
enation
virus
๑๖. Cocao
necrosis
virus
๑๗. Cocao
red
mottle
virus
๑๘. Cocao
swollen
shoot
virus
๑๙. Cocao
yellow
mosaic
virus
๒๐. Cocao
yellow
vein
banding
virus
๒๑. Coconut
foliar
decay
virus
๒๒. Cotton
anthocyanosis
virus
๒๓. Cotton
leaf
crumple
virus
๒๔. Cotton
leaf
mosaic
virus
๒๕. Cotton
leaf
mottle
virus
๒๖. Cotton
stenosis
virus
๒๗. Cotton
terminal
stunt
virus
๒๘. East
African
cassava
mosaic
virus
๒๙. Indian
cassava
mosaic
virus
๓๐. Maize
Rayado
fino
virus
๓๑. Papaya
bunchy
top
virus
๓๒. Papaya
leaf
curl
virus
๓๓. Papaya
mosaic
virus
๓๔. Papaya
waialua
virus
๓๕. Rice
dwarf
virus
๓๖. Rice
hoja
blanca
virus
๓๗. Rice
yellow
mottle
virus
๓๘. Satsuma
dwarf
virus
๓๙. Sugarcane
ramu
stunt
virus
๔๐. Tomato
black
ring
virus
๔๑. Tomato
bushy
stunt
virus
๔๒. Tomato
ring
spot
virus
๔๓. Tomato
spotted
wilt
virus
เชื้อไวรอยด์ (Viroid)
๑. Citrus
cachexia
viroid
๒. Citrus
exocortis
viroid
๓. Coconut
cadang-cadang
viroid
๔. Potato
spindle
tuber
viroid
๕. Tinangaja
viroid
เชื้อมายโคพลาสมา (Mycoplasma)
๑. Banana
marbling
disease
MLO
๒. Citrus
witches
broom
MLO
๓. Coconut
lethal
yellowing
MLO
๔. Sugarcane
grassy
shoot
MLO
แมลง (Insect)
๑. Anastrepha
fraterculus
Wiedemann
๒. Anastrepha
ludens
(Loew)
๓. Anastrepha
obliqua
(Macquart)
๔. Anastrepha
suspensa
Loew
๕. Anthonomus
grandis
Boheman
๖. Anthonomus
vestitus
Boheman
๗. Artona
catoxantha
(Hampson)
๘. Bactrocera
musae
(Tryon)
๙. Bactrocera
tryoni
(Froggatt)
๑๐. Caliothrips
masculinus
Hood
๑๑. Ceratitis
capitata
Wiedemann
๑๒. Ceratitis
cosyra
Walker
๑๓. Ceratitis
quinaria
Bezzi
๑๔. Ceratitis
rosa
Karsch
๑๕. Diatraea
saccharalis
Fabricius
๑๖. Erinnyis
ello
(Linnaeus)
๑๗. Leptopharsa
heveae
Drake
&
Poor
๑๘. Lissorhoptrus
oryzophilus
Kuschel
๑๙. Opogona
sacchari
Bojer
๒๐. Oryctes
boas
Fabricius
๒๑. Oryctes
monoceros
(Olivier)
๒๒. Pachymerus
nucleorum
(Fabricius)
๒๓. Pantomorus
cervinus
(Boheman)
๒๔. Phenacoccus
manihoti
Matile-Ferrero
๒๕. Prostephanus
truncatus
(Horn)
๒๖. Pseudotheraptus
devastans
Distant
๒๗. Pseudotheraptus
wayi
Brown
๒๘. Rhynchophorus
palmarum
Linnaeus
๒๙. Sacadodes
pyralis
Dyar
๓๐. Scirtothrips
aurantii
Faure
๓๑. Sesamia
calamistis
Hampson
๓๒. Sesamia
cretica
Lederer
๓๓. Trioza
erytreae
(Del
Guercio)
๓๔. Trogoderma
granarium
Everts
ไร (Mite)
๑. Aceria
guerreronis
Keifer
๒. Aceria
sheldoni
Ewing.
๓. Mononychellus
tanajoa
Bondar
๔. Oligonychus
peruvianus
McGregor
ไส้เดือนฝอย (Nematode)
๑. Anguina
agrostis
Steinbuch
&
Filipjev
๒. Anguina
graminis
(Hardy)
Filipjev
๓. Anguina
tritici
Steinbuch
Chitwood
๔. Aphelenchoides
arachidis
Bos.
๕. Belonolaimus
longicaudatus
Rau.
๖. Bursaphelenchus
xylophilus
(Steiner
&
Buhrer)
Nickle
๗. Cactodera
cacti
Filipjev
&
Schuurmans
Stekhoven
๘. Ditylenchus
destructor
Thorne
๙. Ditylenchus
dipsaci
(Khn)
Filip'ev
๑๐. Dolichodorus
heterocephalus
Cobb
๑๑. Globodera
pallida
(Stone)
Behrens
๑๒. Globodera
rostochiensis
(Wollenweber)
Behrens
๑๓. Heterodera
avenae
wollenweber
๑๔. Heterodera
glycines
Ichinohe
๑๕. Heterodera
graminis
Stynes
๑๖. Heterodera
oryzae
Luc
&
Berdon
Brizuela
๑๗. Heterodera
oryzicola
Rao
&
Jayaprakash
๑๘. Heterodera
punctata
(Thorne)
Mulvey
&
Stone
๑๙. Heterodera
sacchari
Luc
&
Merny
๒๐. Heterodera
schachtii
A.
Schmidt
๒๑. Heterodera
sorghi
Jain,
Sethi,
Swarup,
&
Srivastava
๒๒. Heterodera
trifolii
Goffart
๒๓. Hirschmanniella
miticausa
Bridge,
Martimer
&
Jackson
๒๔. Hoplolaimus
columbus
Sher.
๒๕. Hoplolaimus
indicus
Sher.
๒๖. Longidorus
sylphus
Thorne
๒๗. Meloidogyne
camelliae
Golden
๒๘. Meloidogyne
chitwoodi
Golden,
O'Bannon,
Santo
&
Finley
๒๙. Meloidogyne
coffeicola
Lardello
&
Zamith
๓๐. Meloidogyne
graminis
(Sledge
&
Golden)
Whitehead
๓๑. Nacobbus
aberrans
(Thorne)
Thorne
&
Allen
๓๒. Pratylenchus
coffeae
Zimmermann
๓๓. Rhadinaphelenchus
cocophilus
(Cobb)
Goodey
๓๔. Rotylenchulus
macrodoratus
Dasgupta,
Raski
&
Sher.
๓๕. Scutellonema
bradys
(Steiner
&
Le
Hew)
Andrssy
๓๖. Trichodorus
viruliferus
Hooper
๓๗. Xiphinema
americanum
Cobb
๓๘. Xiphinema
diversicaudatum
(Micoletzky)
Thorne
วัชพืช (Weed)
๑. Avena
fatua
L.
๒. Chenopodium
album
L.
๓. Cirsium
arvense
(L.)
Scop
๔. Cirsium
vulgare
(L.)
Scop
๕. Galium
aparine
L.
๖. Polygonum
convolvulus
L.
๗. Rumex
acetosella
L.
๘. Rumex
obtusifolius
L.
๙. Salvinia
molesta
D.S.
Mitchell
๑๐. Thlaspi
arvense
L.
ไม่ทราบสาเหตุ (Unknown
Ethiology)
๑. Bract
mosaic
diseases
๒. Bristle
top
๓. Citrus
blight
๔. Cotton
blue
disease
๕. Dryout
rot
๖. Head
drop
๗. Little
leaf
๘. Little
mottle
๙. Natuna
wilt
๑๐. Sacorro
wilt
๑๑. Tatipaka
wilt
ข้อ ๓.
ในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้นำสิ่งต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทดลองหรือวิจัย
ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนด
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
สรอรรถ กลิ่นประทุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๓๐
กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๓๐
กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๓/๒๘ ตุลาคม ๒๕๔๖ |
419587 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดสถานกักพืช ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดสถานกักพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ มาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศกระทรวงกำหนดให้สถานที่ดังต่อไปนี้
เป็นสถานกักพืช สิ่งต้องห้าม สิ่งกำกัด และเชื้อพันธุ์พืช
เพื่อสังเกตตรวจสอบและวิจัย ดังนี้
ข้อ
๑ สถานกักพืชกรุงเทพ
บริเวณเกษตรกลางบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๒ แห่ง ดังนี้
สถานกักพืชกรุงเทพ แห่งที่ ๑
ในบริเวณกองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร มีเนื้อที่ประมาณ หนึ่งไร่ หกสิบตารางวา (๑-๐-๖๐ ไร่) และมีอาณาเขต ดังนี้
(๑) ทิศเหนือติดซอยถนนหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ
(๒) ทิศใต้ติดกับอาณาเขตตึกที่ทำการสำนักคุ้มครองพันธุ์พืช
(๓) ทิศตะวันออกติดอาณาเขตตึกที่ทำการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
(๔) ทิศตะวันตกติดกับคูข้างถนนหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ
สถานกักพืชกรุงเทพ แห่งที่ ๒ ในบริเวณแปลงนาทดลอง
มีเนื้อที่ประมาณ หกไร่ (๖-๐-๐ ไร่) และมีอาณาเขต ดังนี้
(๑) ทิศเหนือติดถนนเลียบคลองบางเขน
(๒) ทิศใต้ติดแปลงนาทดลอง
(๓) ทิศตะวันออกติดแปลงนาทดลอง
(๔) ทิศตะวันตกติดแปลงนาทดลอง
ข้อ ๒
สถานกักพืชเชียงใหม่ ในบริเวณไร่นาสาธิตแม่เหียะ อำเภอหางดง
จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ ห้าไร่ ยี่สิบตารางวา (๕-๐-๒๐ ไร่) และมีอาณาเขต ดังนี้
(๑) ทิศเหนือติดศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่
(๒) ทิศใต้ติดสวนพฤกษศาสตร์และวรรณคดี
กรมป่าไม้
(๓) ทิศตะวันออกติดศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่
(๔) ทิศตะวันตกติดสวนพฤกษศาสตร์และวรรณคดี
กรมป่าไม้
ข้อ ๓
สถานกักพืชเชียงราย ในบริเวณศูนย์ราชการรอง ตำบลริมกก อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่ประมาณ สี่ไร่ ยี่สิบตารางวา (๔-๐-๒๐ ไร่) และมีอาณาเขต ดังนี้
(๑) ทิศเหนือติดถนนฝั่งหมิ่น
- บ้านฟาร์ม
(๒) ทิศใต้ติดที่ดินศูนย์ราชการรอง
จังหวัดเชียงราย
(๓) ทิศตะวันออกติดที่ดินศูนย์ราชการรอง
จังหวัดเชียงราย
(๔) ทิศตะวันตกติดถนนเลี่ยงเมือง
ข้อ ๔
สถานกักพืชหนองคาย บริเวณตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
มีเนื้อที่ประมาณ สิบไร่ ยี่สิบสองตารางวา (๑๐-๐-๒๒ ไร่) และมีอาณาเขต ดังนี้
(๑) ทิศเหนือติดที่ดินประชาชน
(๒) ทิศใต้ติดด่านป่าไม้ระหว่างประเทศ
(๓) ทิศตะวันออกติดถนนเชื่อมสะพานมิตรภาพไทย
- ลาว
(๔) ทิศตะวันตกติดด่านกักสัตว์ระหว่างประเทศ
ข้อ ๕
สถานกักพืชอุบลราชธานี ในบริเวณส่วนราชการชายแดน อำเภอช่องเม็ก
จังหวัดอุบลราชธานี มีเนื้อที่ประมาณ หกไร่ สองงาน สิบตารางวา (๖-๒-๑๐ ไร่) และมีอาณาเขต ดังนี้
(๑) ทิศเหนือติดด่านกักสัตว์ระหว่างประเทศ
(๒) ทิศใต้ติดที่สาธารณะ
(๓) ทิศตะวันออกติดทางหลวงแผ่นดิน
หมายเลข ๒๑๗
(๔) ทิศตะวันตกติดที่สาธารณะ
ข้อ ๖
สถานกักพืชสงขลา ในบริเวณที่ราชพัสดุ สนามบินหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่
จังหวัดสงขลา มีเนื้อที่ประมาณ สี่ไร่ (๔-๐-๐ ไร่) และมีอาณาเขต ดังนี้
(๑) ทิศเหนือติดที่ดินประชาชน
(๒) ทิศใต้ติดที่ถนนเลียบสนามบินของท่าอากาศยานหาดใหญ่
(๓) ทิศตะวันออกติดที่ดินกรมควบคุมโรคติดต่อ
(๔) ทิศตะวันตกติดด่านกักสัตว์ระหว่างประเทศ
ข้อ ๗
สถานกักพืชภูเก็ต ในบริเวณที่ราชพัสดุ สนามบินภูเก็ต อำเภอถลาง
จังหวัดภูเก็ต มีเนื้อที่ประมาณ สองไร่ สามงาน หกสิบเก้าตารางวา (๒-๓-๖๙ ไร่) และมีอาณาเขต ดังนี้
(๑) ทิศเหนือติดที่ราชพัสดุ
ภก. ๑๓๔
(๒) ทิศใต้ติดที่ราชพัสดุ
(๓) ทิศตะวันออกติดที่ราชพัสดุ
(๔) ทิศตะวันตกติดทางหลวงแผ่นดิน
หมายเลข ๔๐๓๑
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖
สรอรรถ กลิ่นประทุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
บรรณพต/พิมพ์
๙
มกราคม ๒๕๔๗
สุมลรัตน์/พัชรินทร์/ตรวจ
๑๖
มกราคม ๒๕๔๗
สุกัญญา/ผู้จัดทำ
๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
พิมลกร/ปรับปรุง
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๓/๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๖ |
413206 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
ลงวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๖ ได้แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ แล้วนั้น บัดนี้ เห็นเป็นการสมควรแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเพิ่มเติม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้
เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
๑. ผู้อำนวยการกองคุ้มครองพันธุ์พืช
กรมวิชาการเกษตร
๒. นักวิชาการเกษตรและเจ้าพนักงานการเกษตร
ตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไปสังกัดกองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร
๓. นักสัตววิทยา
ตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป สังกัดสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
๔. นักวิชาการเกษตรและเจ้าพนักงานการเกษตร
ตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป สังกัดสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร
ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
สรอรรถ กลิ่นประทุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ญาณี/พิมพ์
๑๖
ตุลาคม ๒๕๔๖
ญาณี/แก้ไข
๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๖
ต่อศักดิ์/พัลลภ/ตรวจ
๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๖
สุกัญญา/ผู้จัดทำ
๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
พิมลกร/ปรับปรุง
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๗๙ ง/หน้า ๑๑/๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๖ |
383612 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เหมาะสมกับการแบ่งส่วนราชการกรมวิชาการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๕
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๔
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
(๒) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.
๒๕๔๒
ข้อ
๒ แต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้
เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
(๑) อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
(๒) รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร
(๓) ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกักกันพืช
(๔) ผู้อำนวยการสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
และผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
(๕) นักวิชาการเกษตร ตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป
เจ้าหน้าที่บริหารงานการเกษตรตั้งแต่ระดับ ๕ ขึ้นไป เจ้าพนักงานการเกษตร
ตั้งแต่ระดับ ๒ ขึ้นไป เจ้าหน้าที่การเกษตรตั้งแต่ระดับ ๑ ขึ้นไป สังกัดสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
กรมวิชาการเกษตร
(๖) เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ตั้งแต่ระดับ ๕
ขึ้นไป เจ้าหน้าที่บริหารงานธุรการ ๕ เจ้าพนักงานธุรการตั้งแต่ระดับ ๒ ขึ้นไป
เจ้าหน้าที่ธุรการตั้งแต่ระดับ ๑ ขึ้นไป เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลตั้งแต่ระดับ ๑
ขึ้นไป สังกัดสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
(๗) เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี ๕
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีตั้งแต่ระดับ ๒ ขึ้นไป
เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีตั้งแต่ระดับ ๑ ขึ้นไป
สังกัดสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
(๘) นิติกร ตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป
สังกัดสำนักงานเลขานุการกรม กรมวิชาการเกษตร
(๙) นักกีฏวิทยา นักวิชาการโรคพืช และนักวิชาการเกษตร
ตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป สังกัดสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
(๑๐) เจ้าพนักงานการเกษตร ตั้งแต่ระดับ ๒ ขึ้นไป
และเจ้าหน้าที่การเกษตรตั้งแต่ระดับ ๑ ขึ้นไป สังกัดกลุ่มวิจัยการกักกันพืช
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
(๑๑) นักวิชาการเกษตร ตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป
เจ้าพนักงานการเกษตรตั้งแต่ระดับ ๕ ขึ้นไป และเจ้าหน้าที่การเกษตรระดับ ๕
สังกัดสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
สรอรรถ
กลิ่นประทุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
มณฑาทิพย์ พิมพ์
๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๖
สุมลรัตน์/อรรถชัย
แก้ไข
๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๖
สุกัญญา/ผู้จัดทำ
๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
พิมลกร/ปรับปรุง
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๓๒ ง/หน้า ๑/๑๗ มีนาคม ๒๕๔๖ |
325451 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การขอรับใบแทนใบรับรองปลอดศัตรูพืชและการออกใบแทนใบรับรองปลอดศัตรูพืช ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
การขอรับใบแทนใบรับรองปลอดศัตรูพืชและ
การออกใบแทนใบรับรองปลอดศัตรูพืช
ตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ ตรี แห่งพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
ในกรณีที่ใบรับรองปลอดศัตรูพืชสูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญ
และผู้รับใบรับรองดังกล่าวต้องการใบแทน อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจึงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ในการขอรับใบแทนใบรับรองปลอดศัตรูพืช
และการออกใบแทนใบรับรองปลอดศัตรูพืชไว้ ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ผู้ที่ได้รับใบรับรองปลอดศัตรูพืชหรือตัวแทนยื่นคำขอตามแบบ
พ.ก. ๙/๑ ท้ายประกาศนี้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ
ที่ทำการกองหรือสำนักที่รับผิดชอบหน่วยงานกักกันพืช หรือ ณ ที่ด่านตรวจพืช
ที่ซึ่งเป็นสถานที่ออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชฉบับนั้น พร้อมเอกสารหรือหลักฐาน
เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา ดังนี้
(๑) กรณีใบรับรองปลอดศัตรูพืชสูญหาย
ให้แนบรายงานประจำวันรับแจ้งเอกสารหายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เอกสาร
หรือหลักฐานอื่นที่เชื่อถือได้ซึ่งแสดงว่าใบรับรองปลอดศัตรูพืชฉบับดังกล่าวสูญหาย
หรือเอกสารจากผู้รับปลายทางแจ้งว่าไม่ได้รับใบรับรองปลอดศัตรูพืชฉบับดังกล่าว
(๒) กรณีใบรับรองปลอดศัตรูพืชถูกทำลายในสาระสำคัญ เช่น
ชื่อผู้รับ ผู้ส่ง ชนิดพืช หรือปริมาณ เป็นต้น
ให้แนบใบรับรองปลอดศัตรูพืชฉบับดังกล่าวพร้อมสำเนาทั้งหมด
ข้อ ๒
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอตามข้อ ๑ และตรวจเอกสารหรือหลักฐานประกอบคำขอถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอผู้มีอำนาจลงนามใบรับรองเพื่อพิจารณาออกใบแทนใบรับรองปลอดศัตรูพืช
ตามแบบ พ.ก. ๑๐ หรือ แบบ พ.ก. ๑๐ ที่แนบ พ.ก. ๑๐/๑ ท้ายกฎกระทรวง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓
การระบุข้อความในใบแทนใบรับรองปลอดศัตรูพืช ต้องระบุข้อความและรายละเอียดสาระสำคัญทั้งหมดเหมือนใบรับรองปลอดศัตรูพืชฉบับเดิม
และวันที่ที่ออกใบแทนใบรับรองปลอดศัตรูพืชให้ใช้วันที่วันเดียวกับวันที่ยื่นคำขอตามข้อ
๑ และในใบแทนใบรับรองปลอดศัตรูพืช
ต้องมีข้อความเพื่อแสดงว่าเป็นใบแทนใบรับรองปลอดศัตรูพืช โดยระบุในช่องข้อความพิเศษ
(Additional declaration) ดังนี้
THIS PHYTOSANITARY CERTIFICATE SUPERSEDES THE PHYTOSANITARY CERTIFICATE NO........... DATED ..............
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
สมศักดิ์ สิงหลกะ
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
พุทธชาด/พิมพ์/แก้ไข
๒๒/๐๘/๔๕
สุกัญญา/ผู้จัดทำ
๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
พิมลกร/ปรับปรุง
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๔๗ ง/หน้า ๒๒/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕ |
696035 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง มาตรการว่าด้วยการตรวจศัตรูพืชเพื่อออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชสำหรับผลลำไยสดส่งออกไปยังประเทศไต้หวัน พ.ศ. 2545
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
มาตรการว่าด้วยการตรวจศัตรูพืชเพื่อออกใบรับรองปลอดศัตรูพืช
สำหรับผลลำไยสดส่งออกไปยังประเทศไต้หวัน
พ.ศ. ๒๕๔๕[๑]
เนื่องจากปัจจุบันนี้ประเทศผู้นำเข้าได้ใช้มาตรฐานสุขอนามัย
และสุขภาพพืชมาเป็นข้อกีดกันทางการค้า ทำให้ผู้ส่งออกของประเทศไทยประสบปัญหาในการส่งออกไปยังบางประเทศ
และมีแนวโน้มว่าอาจจะมีปัญหามากขึ้น
ดังนั้น
เพื่อให้การตรวจสอบศัตรูพืชบังเกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพก่อนที่จะออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชแก่ผลลำไยสดที่จะส่งออกไปนอกราชอาณาจักรไปยังประเทศไต้หวัน
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจึงออกประกาศไว้ ดังนี้
ข้อ
๑
บุคคลใดประสงค์จะขอใบรับรองเพื่อแสดงว่าลำไยสดที่จะส่งออกไปประเทศไต้หวันนั้นปลอดศัตรูพืช
ให้ยื่นคำขอใบรับรองปลอดศัตรูพืชต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ
ด่านตรวจพืชที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกับที่ตั้งโรงงานบรรจุหีบห่อ
ข้อ
๒ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจศัตรูพืชก่อนออกใบรับรองปลอดศัตรูพืช
โดยสุ่มตรวจที่โรงบรรจุหีบห่อลำไย (Packing house)
จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐
ของจำนวนหีบห่อสินค้าก่อนขนถ่ายสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์
ข้อ
๓ กรณีการส่งออกในปริมาณที่น้อยกว่า
๒๕๐ กิโลกรัม ให้สุ่มตรวจ ณ จุดส่งออกได้ โดยจำนวนสุ่มตรวจไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐
ของจำนวนหีบห่อสินค้า
ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕
สมศักดิ์ สิงหลกะ
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๔๔/๔ เมษายน ๒๕๔๕ |
695897 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ.
๒๕๐๗
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๘
มกราคม ๒๕๔๐
ข้อ ๒ แต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
(๑)
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
(๒)
รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร
(๓)
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกักกันพืช
(๔)
ผู้อำนวยการกองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
(๕)
นักวิชาการเกษตรตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป เจ้าหน้าที่บริหารงานการเกษตรตั้งแต่ระดับ ๕
ขึ้นไป เจ้าพนักงานการเกษตรตั้งแต่ระดับ ๒ ขึ้นไป เจ้าหน้าที่การเกษตรตั้งแต่ระดับ
๑ ขึ้นไป ในสังกัดกองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
(๖)
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปตั้งแต่ระดับ ๕ ขึ้นไป เจ้าหน้าที่บริหารงานธุรการ ๕
เจ้าพนักงานธุรการตั้งแต่ระดับ ๒ ขึ้นไป เจ้าหน้าที่ธุรการตั้งแต่ระดับ ๑ ขึ้นไป
เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลตั้งแต่ระดับ ๑ ขึ้นไป
ในสังกัดกองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
(๗)
เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี ๕ เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีตั้งแต่ระดับ ๒
ขึ้นไป เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีตั้งแต่ระดับ ๑ ขึ้นไป
ในสังกัดกองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
(๘)
นิติกรตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป ในสังกัดสำนักงานเลขานุการกรม กรมวิชาการเกษตร
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
ชูชีพ หาญสวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๓๐
กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๓๐
กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๑/๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕ |
695895 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง อัตราค่าตรวจสอบวิเคราะห์พืชที่ไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม พ.ศ. 2545
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
อัตราค่าตรวจสอบวิเคราะห์พืชที่ไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
พ.ศ. ๒๕๔๕[๑]
ตามที่คณะกรรมการพิจารณาอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจวิเคราะห์ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๔๕ ได้มีมติให้กำหนดค่าบริการตรวจสอบวิเคราะห์พืชที่ไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริการดังกล่าว
กรมวิชาการเกษตรจึงออกประกาศกำหนดอัตราค่าตรวจสอบวิเคราะห์พืชที่ไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ดังต่อไปนี้
๑.
การตรวจสอบวิเคราะห์ตัวอย่างสินค้าพืชหรือผลิตภัณฑ์พืช
พร้อมใบรายงานผลตามรายการ ดังนี้
๑.๑
การวิเคราะห์ตัวอย่างสินค้าพืชคงรูปเชิงคุณภาพแบบ
Screening Test
ตัวอย่างละ
๑,๖๐๐
บาท
๑.๒
การวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารสำเร็จรูปเชิงคุณภาพแบบ
Screening Test
ตัวอย่างละ
๑,๘๐๐
บาท
๑.๓
การวิเคราะห์ตัวอย่างสินค้าพืชคงรูปเชิงปริมาณ
ตัวอย่างละ
๒,๒๐๐
บาท
๑.๔
การวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารสำเร็จรูปเชิงปริมาณ
ตัวอย่างละ
๒,๔๐๐
บาท
๒.
การออกหนังสือรับรองพืชที่ปลูกในประเทศไทยเป็นพืชที่ไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ฉบับละ
๒๐๐
บาท
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๔
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
สมศักดิ์ สิงหลกะ
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๓๖ ง/หน้า ๑๘/๒๔ เมษายน ๒๕๔๕ |
695891 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกักพืช
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกักพืช[๑]
ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ลงวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๔๒ ได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกักพืช
ไปแล้ว นั้น
เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวได้ดำรงตำแหน่งครบกำหนดวาระตามที่กำหนดไว้ในมาตรา
๕ ตรี แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ แล้ว ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ ทวิ
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการประทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงแต่งตั้งบุคคลต่อไปนี้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกักพืช
๑. นายหิรัญ หิรัญประดิษฐ์ เป็นกรรมการ
๒. นายประเทือง ศรีสุข เป็นกรรมการ
๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิชัย โฆสิตรัตน เป็นกรรมการ
๔. นายเกรียงศักดิ์ สุวรรณธราดล เป็นกรรมการ
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕
ชูชีพ หาญสวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๓/๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ |
695885 | ประกาศกรมวิชาการเกตร เรื่อง การรับรองพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม พ.ศ. 2544 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
การรับรองพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
พ.ศ. ๒๕๔๔[๑]
ด้วยในปัจจุบันการส่งออกสินค้าพืชสู่ตลาดต่างประเทศกำลังประสบปัญหาเนื่องจากประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญบางประเทศได้นำเรื่องพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
กำหนดเป็นเงื่อนไขการนำเข้า ดังเช่นตลาดในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป
ผู้ส่งออกไม่สามารถส่งสินค้าพืชไปจำหน่ายได้
หากไม่ได้มีการรับรองว่าสินค้าพืชนั้นมิใช่พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าวมีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าพืชของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ดังนั้น
เพื่อแก้ปัญหาการส่งออกสินค้าพืชและเพื่อเป็นการสนับสนุนการส่งออกตามนโยบายของรัฐบาล
ตลอดทั้งเป็นการให้บริการแก่ภาคเอกชนผู้ส่งออก รวมถึงบุคคลทั่วไป
กรมวิชาการเกษตรจึงออกประกาศเรื่อง
การรับรองพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมไว้ดังนี้
ข้อ
๑ ผู้ใดประสงค์จะให้กรมวิชาการเกษตร
รับรองว่าพืชหรือสินค้าพืชนั้นมิใช่พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ให้ยื่นคำขอตามแบบ สทช. ๑ - ๑ ท้ายประกาศ พร้อมแจ้งชื่อบริษัทฯ
หรือหน่วยงานที่กรมวิชาการเกษตรประกาศรายชื่อเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าพืช ณ
สำนักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร
ข้อ
๒
ให้บริษัทหรือหน่วยงานที่กรมวิชาการเกษตรประกาศรายชื่อเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าพืช
ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าพืชโดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการเกษตร
ตามมาตรฐานสากลที่กำหนด ดังนี้
๒.๑
สินค้าพืชลักษณะเป็นเมล็ดพันธุ์ (Seed) สุ่มเก็บตัวอย่างโดยใช้มาตรฐานสากล ISTA
๒.๒
สินค้าพืชลักษณะเป็นเมล็ด (Grain) สุ่มเก็บตัวอย่างโดยใช้มาตรฐานสากล Gafta หรือ ISO R 950
๒.๓
สินค้าพืชลักษณะเป็นผลิตภัณฑ์ (product) คงรูปในรูปแบบต่าง ๆ
สุ่มเก็บตัวอย่างโดยใช้มาตรฐานสากล FAO/WHO Codex ซึ่งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้นำมาปรับใช้เป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในการสุ่มตัวอย่าง
มอก. ๔๖๕ - ๒๐๒๗ ทั้งนี้
จะใช้วิธีการสุ่มเก็บตัวอย่างมาตรฐาน Codex โดยวิธีปลีกย่อยใด
กรมวิชาการเกษตรจะพิจารณาจากแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ผลิตอาหารสำเร็จรูป
ข้อ
๓
บริษัทหรือหน่วยงานผู้สุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าพืช
ต้องออกหนังสือรับรองการสุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าพืช ตามแบบ สทช. ๑ - ๒ ท้ายประกาศ
ข้อ
๔ ตัวอย่างสินค้าพืชให้แบ่งเป็น ๓
ส่วน โดยให้จัดการแต่ละส่วน ดังนี้
ส่วนที่
๑ เก็บไว้ที่ผู้ประกอบการ
ส่วนที่
๒ ใช้ตรวจวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
ส่วนที่
๓
เก็บไว้ที่ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ตรวจวิเคราะห์ซ้ำในกรณีเกิดปัญหาเกี่ยวกับผลการวิเคราะห์
ข้อ
๕
การตรวจวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ใช้เวลาในการตรวจวิเคราะห์ไม่เกิน ๑๕
วันทำการ นับจากวันที่ห้องปฏิบัติการได้รับตัวอย่างพืชหรือสินค้าพืช นั้น
ข้อ
๖
กรมวิชาการเกษตรจะออกหนังสือรับรองพืชหรือสินค้าพืช
ตามแบบหนังสือรับรองท้ายประกาศ
โดยจะรับรองให้เฉพาะกรณีว่าเป็นพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
เท่านั้น
ข้อ
๗ ตัวอย่างสินค้าพืชส่วนที่ ๓
ผู้ประกอบการสามารถจะขอรับคืนได้โดยแสดงความประสงค์ต่อเจ้าหน้าที่พร้อมกับรับรองเป็นเอกสารว่า
ประเทศคู่ค้าปลายทางได้ยอมรับสินค้าพืชนั้นไว้โดยไม่มีปัญหา
กรณีที่ผู้ประกอบการไม่ขอรับคืนหรือขอรับคืนแล้วไม่มารับคืนซึ่งตัวอย่างสินค้าส่วนที่
๓ ภายในเวลา ๖ เดือนนับจากวันที่ออกหนังสือรับรอง
ให้กรมวิชาการเกษตรดำเนินการกับตัวอย่างสินค้าดังกล่าว ตามที่เห็นสมควร
ข้อ
๘
ค่าตรวจวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ของพืชหรือตัวอย่างสินค้าพืช
ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้รับผิดชอบตามอัตราที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด
ข้อ
๙ ค่าพาหนะและค่าล่วงเวลาในการกำกับดูแลการสุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าพืชของเจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการเกษตร
ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้รับผิดชอบ ทั้งนี้
ตามอัตราที่ระเบียบของทางราชการกำหนด
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔
อนันต์ ดาโลดม
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
คำขอหนังสือรับรองพืชหรือสินค้าที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม (แบบ สทช. ๑ ๑)
๒. หนังสือรับรองการสุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าพืช (แบบ สทช. ๑ ๒)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๑๔/๓ พฤษภาคม ๒๕๔๔ |
312794 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง กำหนดแนวทางปฏิบัติในการขออนุญาตนำเข้าหรือนำผ่านซึ่งสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 ที่แก้ไขแล้ว (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
กำหนดแนวทางปฏิบัติในการขออนุญาต
นำเข้าหรือนำผ่านซึ่งสิ่งต้องห้าม
ตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ ที่แก้ไขแล้ว
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๔[๑]
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงแนวทางปฏิบัติ
ในการขออนุญาตนำเข้าหรือนำผ่านพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ที่เป็นสิ่งต้องห้าม ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง กำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับขออนุญาตนำเข้าหรือนำผ่านซึ่งสิ่งต้องห้าม
ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๓๗
ข้อ ๒
ผู้ใดประสงค์จะนำเข้าพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ที่เป็นสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ มาศึกษา ทดลอง
ในราชอาณาจักรจะต้องยื่นคำขออนุญาตนำสิ่งต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร ตามแบบ พ.ก.
๑ ต่อกรมวิชาการเกษตร ที่กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
พร้อมเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณา ดังนี้
๒.๑ วัตถุประสงค์ และเหตุผลในการนำเข้า
๒.๒ รายงานวิธีการและผลการทดลอง
ตลอดจนระดับความปลอดภัยทางชีวภาพที่เคยดำเนินการมาก่อนและที่มีอยู่เดิม
๒.๓ ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับ
(๑)
ชนิดพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมรวมทั้งชื่อทางพฤกษศาสตร์และสายพันธุ์
(๒) แหล่งหรือที่มาของสารพันธุกรรมที่ใช้ตัดต่อ
(๓) พาหะที่ใช้ในการถ่ายทอดสารพันธุกรรม
(๔) ขนาดและการเรียงลำดับเบส (sequence)
หรือการปรับเปลี่ยนที่ใส่เข้าไป (modification introduced) และบทบาทเฉพาะของสารพันธุกรรมที่ใช้ตัดต่อ
(๕)
ขั้นตอนหรือวิธีการที่ได้มาซึ่งพืชตัดต่อสารพันธุกรรม
(๖) วิธีการตรวจสอบพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
๒.๔ เอกสารวิธีการศึกษาทดลอง
ตามแนวทางการปฏิบัติในการศึกษาทดลองทางด้านความปลอดภัยทางชีวภาพด้านการเกษตรสาขาพืช
ตามที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด และ/หรือรายละเอียดของการศึกษาทดลองเฉพาะพืชเพิ่มเติมตามที่กรมวิชาการเกษตรเห็นสมควร
๒.๕ รายละเอียดอื่น ๆ ตามที่กรมวิชาการเกษตรเห็นสมควร
ข้อ ๓
เงื่อนไขในการศึกษาทดลอง
๓.๑ การศึกษาทดลองพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ต้องปฏิบัติตามแนวทางการทดลองเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพของพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมแนบท้ายประกาศนี้
และเมื่อกรมวิชาการเกษตรเห็นว่ามีความปลอดภัยทางชีวภาพเพียงพอ จึงจะดำเนินการทดลองตามวัตถุประสงค์อื่นได้
ข้อความในวรรคแรก ไม่รวมถึงการศึกษาทดลองทางด้านประสิทธิภาพ
ที่ทำการศึกษาทดลองควบคู่กับการศึกษาทดลองทางด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ
ภายใต้มาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด
๓.๒ ผู้รับผิดชอบในโครงการศึกษาทดลองจะต้องเป็นบุคคลที่เหมาะสมและกรมวิชาการเกษตรเชื่อถือ
ข้อ ๔
ขั้นตอนการอนุญาตให้นำเข้า
๔.๑ ผ่านการตรวจสอบหลักฐาน ตามข้อ ๒ และเงื่อนไขตามข้อ ๓
๔.๒
ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพด้านการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
ข้อ ๕ ผู้รับใบอนุญาตให้นำเข้าจะต้องปฏิบัติ
ดังนี้
๕.๑ ในการนำเข้าพืชซึ่งได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ต้องมีใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary Certificate) จากประเทศต้นทางกำกับมาด้วย
ในกรณีที่พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ใช้จุลินทรีย์ในกระบวนการตัดต่อสารพันธุกรรม
ใบรับรองปลอดศัตรูพืชต้องระบุในช่องคำอธิบายเพิ่มเติม (Additional Declaration) ด้วยว่า
จุลินทรีย์ที่ใช้ในการตัดต่อสารพันธุกรรมได้หมดสภาพการเป็นเชื้อสาเหตุโรคพืชแล้ว หากหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบในการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชไม่สามารถให้การรับรองโดยระบุข้อความดังกล่าว
ลงในใบรับรองปลอดศัตรูพืชได้ ให้สถาบันที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับพืชตัดต่อสารพันธุกรรมนั้น
ๆ เป็นผู้ออกหนังสือรับรอง
๕.๒ ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง
ว่าด้วยการนำเข้าสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
๕.๓
ต้องแจ้งกำหนดการนำเข้าพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมต่อกรมวิชาการเกษตรก่อนการนำเข้า
๖๐ วัน
๕.๔ ต้องแจ้งชื่อด่านตรวจพืชที่นำเข้า ซึ่งสามารถนำเข้าได้
๓ ด่าน เท่านั้น คือ ด่านตรวจพืชท่าเรือกรุงเทพฯ ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานกรุงเทพฯ
และด่านตรวจพืชไปรษณีย์กลางกรุงเทพฯ
๕.๕
ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขทางวิชาการที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดอย่างเคร่งครัด
ข้อ ๖
ในการศึกษาทดลอง ต้องดำเนินการ ดังนี้
๖.๑
ต้องดำเนินการภายใต้การดูแลของคณะทำงานตรวจสอบความปลอดภัยทางชีวภาพภาคสนาม
ของกรมวิชาการเกษตร และต้องรายงานความก้าวหน้าให้คณะทำงานดังกล่าวทราบในระยะเวลาที่กำหนด
๖.๒ ต้องดำเนินการในสถานที่ที่ได้รับอนุญาต
ซึ่งสถานที่ดังกล่าวจะต้องผ่านการตรวจสอบจากคณะทำงานตรวจสอบความปลอดภัยทางชีวภาพภาคสนามตามมาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดในเอกสารแนบท้ายประกาศ
๖.๓ เมื่อสิ้นสุดการทดลอง จะต้องเสนอรายงานผลการศึกษาทดลองให้กรมวิชาการเกษตรทราบ
และดำเนินการทำลายพืช รวมทั้งซากของพืชดังกล่าวตามวิธีการที่คณะทำงานตรวจสอบความปลอดภัยทางชีวภาพภาคสนามกำหนด
ข้อ ๗
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจะอนุญาตให้นำเข้าเฉพาะเพื่อการศึกษาทดลองและวิจัยเท่านั้น
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔
ณรงค์ศักดิ์ เสนาณรงค์
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แนวทางการทดลองเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพของพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
อัมพิกา/แก้ไข
๓/๙/๔๔
สุกัญญา/ผู้จัดทำ
๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
พิมลกร/ปรับปรุง
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๔๓ ง/หน้า ๑๑/๑๗
พฤษภาคม ๒๕๔๔ |
323612 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การรับรองพืชที่ปลูกในประเทศไทย เป็นพืขที่ไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม พ.ศ. 2543 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
การรับรองพืชที่ปลูกในประเทศไทยเป็นพืชที่ไม่ได้รับ
การตัดต่อสารพันธุกรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓[๑]
ด้วยในปัจจุบันมีการนำเทคนิคพันธุวิศวกรรมมาใช้ในการตัดต่อสารพันธุกรรมของพืช
เพื่อประโยชน์ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร จนถึงขณะนี้ได้มีการผลิตพืชตัดต่อสารพันธุกรรมและมีผลิตภัณฑ์ของพืชตัดต่อสารพันธุกรรมในเชิงการค้า
ประกอบกับพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรของพืชดังกล่าวได้มีการเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย
แต่ในขณะเดียวกันปัญหาทางด้านความปลอดภัยต่อสุขอนามัยของผู้บริโภค
ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ก็กำลังเป็นที่สนใจอย่างกว้างขวางควบคู่กันไป นอกจากนี้
การใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรมในการตัดต่อสารพันธุกรรมของพืชยังเป็นที่ถกเถียงทางการค้า
โดยหลายประเทศ เช่น ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปและประเทศญี่ปุ่นได้ออก กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับ การติดฉลากในผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมหรือได้จากวัตถุดิบที่เป็นพืชตัดต่อสารพันธุกรรม ดังนั้น สินค้าเกษตรและอาหารต่าง ๆ
ที่ส่งออกไปประเทศเหล่านี้จะต้องได้รับการตรวจและรับรองว่าเป็นหรือมีส่วนประกอบจากพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมหรือไม่
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ทำการเกษตรเป็นหลัก
และมีอุตสาหกรรมการเกษตร โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารที่ใช้วัตถุดิบที่ผลิตภายในประเทศ
ถึงแม้แหล่งผลิตวัตถุดิบในประเทศไทยจะเป็นพืชที่ไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมก็ตาม
และมีกฎหมายห้ามนำพืชตัดต่อสารพันธุกรรมเข้ามาในราชอาณาจักร
ยกเว้นเพื่อการศึกษาและวิจัย ผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอาหารภายในประเทศก็ยังได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาดังกล่าวข้างต้น
เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและความเข้าใจแก่สาธารณะชนทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักรว่า
พันธุ์พืชที่ปลูกในประเทศไทยเป็นพืชที่ไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
กรมวิชาการเกษตรซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการศึกษา วิจัย
และการอนุรักษ์พันธุ์พืช รวมทั้งการกำกับดูแลการนำเข้าพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
ขอประกาศว่า พืชตามรายชื่อพืชแนบท้ายประกาศนี้ กรมวิชาการเกษตรได้ตรวจพิจารณาแล้วรับรองว่าเป็นพืชที่ไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
ณรงค์ศักดิ์ เสนาณรงค์
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายชื่อพืชแนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง
การรับรองพืชที่ปลูกในประเทศเป็นพืชที่ไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม พ.ศ. 2543
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
อัมพิกา/แก้ไข
๒๒/๔/๒๕๔๕
สุกัญญา/ผู้จัดทำ
๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
ศรตม์/ปรับปรุง
๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๑๗/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๑๓/๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๓ |
313032 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การนำส่วนขยายพันธุ์พืข รวมทั้งเมล็ดพันธุ์เข้ามาในราชอาณาจักรโดยขอให้แนบหนังสือรับรองจากประเทศผู้ส่งออกว่าเป็นส่วนขยายพันธุ์พืชที่มิใช่พืชที่ได้รับการตัดต่อสายพันธุกรรม | ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
การนำส่วนขยายพันธุ์พืชรวมทั้งเมล็ดพันธุ์เข้ามา
ในราชอาณาจักร
โดยขอให้แนบหนังสือรับรองจากประเทศผู้ส่งออก
ว่าเป็นส่วนขยายพันธุ์พืชที่มิใช่พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม[๑]
เนื่องด้วยปัจจุบันได้มีการนำส่วนขยายพันธุ์พืชรวมทั้งเมล็ดพันธุ์เข้ามาในประเทศเพื่อใช้ทำพันธุ์ปลูก
ปีละเป็นจำนวนมาก
และด้วยเหตุที่ขณะนี้ในต่างประเทศได้มีการนำเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืชให้ต้านทานโรค
แมลงและสารกำจัดวัชพืช ยืดอายุการเก็บรักษา ทนทานต่อสภาพแห้งแล้ง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม
พันธุ์พืชที่ผลิตได้โดยใช้เทคนิคดังกล่าว
สาธารณชนยังมีความวิตกกังวลในเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพต่อมนุษย์ สัตว์ พืชและสิ่งแวดล้อม ฉะนั้น เพื่อป้องกันภัยอันตรายอันอาจเกิดขึ้นและเพื่อป้องกันศัตรูพืชซึ่งอาจติดมากับพืชที่นำเข้า
กรมวิชาการเกษตรในฐานะผู้รับผิดชอบการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
ได้กำหนดพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม ๔๐
รายการเป็นสิ่งต้องห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช
หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น
และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจะอนุญาตให้นำเข้าได้เฉพาะเพื่อการทดลองวิจัยเท่านั้น
โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดในกฎกระทรวง
ฉะนั้น
เพื่อให้การควบคุมการนำเข้าพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
และเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการนำเข้าส่วนขยายพันธุ์พืชรวมทั้งเมล็ดพันธุ์ที่มิใช่พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
กรมวิชาการเกษตร จึงขอให้ผู้นำเข้าส่วนขยายพันธุ์พืชรวมทั้งเมล็ดพันธุ์ขอหนังสือรับรองจากหน่วยราชการหรือเอกชนผู้ผลิตจากประเทศผู้ส่งออกว่าส่วนขยายพันธุ์พืชรวมทั้งเมล็ดพันธุ์ที่นำเข้ามิใช่พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม มิฉะนั้น
หากพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบในภายหลังพบว่าเป็นพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ท่านอาจจะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย
ประกาศ ณ วันที่ ๘
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
อนันต์ ดาโลดม
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
Name and
Address of institutions
.
.
.
.
.
.
.
.
Date
To Whom It May Concern.
We hereby certify that the
.
(seeds, plants, cuttings etc.) were produced by conventional method and are genetically modified organisms (GMOs).
These (seeds, plants, cuttings etc.)
.are consigned to :
.
.
.
.
.
.
.
.
Signature
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๕/๔ สิงหาคม ๒๕๔๓ |
323611 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การนำเมล็ดพืชเข้ามาในราชอาณาจักรโดยขอให้แนบหนังสือรับรองจากประเทศผู้ส่งออก ว่าเป็นเมล็ดพันธุ์พืชที่มิใช่พืชที่ได้รับการตัดต่อสายพันธุกรรม | ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
การนำเมล็ดพันธุ์พืชเข้ามาในราชอาณาจักร
โดยขอให้แนบหนังสือรับรองจากประเทศผู้ส่งออกว่าเป็นเมล็ดพันธุ์พืช
ที่มิใช่พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม[๑]
เนื่องด้วยปัจจุบันได้มีการนำเมล็ดพันธุ์พืชเข้ามาในประเทศเพื่อใช้ทำพันธุ์ปลูก
ปีละเป็นจำนวนมาก
และด้วยเหตุที่ขณะนี้ในต่างประเทศได้มีการนำเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืชให้ต้านทานโรค
แมลงและสารกำจัดวัชพืช ยืดอายุการเก็บรักษา ทนทานต่อสภาพแห้งแล้ง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พันธุ์พืชที่ผลิตได้โดยใช้เทคนิคดังกล่าว
สาธารณชนยังมีความวิตกกังวลในเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพต่อมนุษย์ สัตว์
พืชและสิ่งแวดล้อม ฉะนั้น เพื่อป้องกันภัยอันตรายอันอาจเกิดขึ้นและเพื่อป้องกันศัตรูพืชซึ่งอาจติดมากับพืชที่นำเข้า
กรมวิชาการเกษตรในฐานะผู้รับผิดชอบการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
ได้กำหนดพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม ๔๐ รายการ
เป็นสิ่งต้องห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืช
ศัตรูพืชจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจะอนุญาตให้นำเข้าเฉพาะเพื่อการทดลองวิจัยเท่านั้น
โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดในกฎกระทรวง
ฉะนั้น
เพื่อให้การควบคุมการนำเข้าพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการนำเข้าเมล็ดพันธุ์พืชที่มิใช่พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
กรมวิชาการเกษตร จึงขอให้ผู้นำเข้าเมล็ดพันธุ์พืช ขอหนังสือรับรองจากประเทศต้นทางว่าเมล็ดพันธุ์ที่นำเข้ามิใช่พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
มิฉะนั้น หากพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบในภายหลังพบว่าเป็นพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ท่านอาจจะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย
ประกาศ ณ วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๓
อนันต์ ดาโลดม
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
อัมพิกา/แก้ไข
๒๒/๔/๒๕๔๕
พิมลกร/ปรับปรุง
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๑ ง/หน้า ๑๑/๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ |
313029 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การปลูกฝ้ายที่ได้รับการตัดต่อสายพันธุกรรม | ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
การปลูกฝ้ายที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม[๑]
ด้วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศกำหนดให้ฝ้ายที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมเป็นสิ่งต้องห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ ออกตามความในพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ เรื่อง กำหนดพืช
ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้นและเงื่อนไข ประกาศ ณ
วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๓๗
ผู้ใดจะนำเข้าหรือนำผ่านซึ่งสิ่งต้องห้ามจะต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมวิชาการเกษตร
และอธิบดีจะอนุญาตได้เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทดลองหรือวิจัยเท่านั้น
กรมวิชาการเกษตรจึงขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า
ฝ้ายที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมยังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบความปลอดภัยทางชีวภาพ
ยังไม่อนุญาตให้นำเข้ามาปลูกในเชิงพาณิชย์
ดังนั้น ผู้ใดปลูกฝ้ายที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมจึงมีความผิดตามกฎหมาย
ประกาศ ณ วันที่ ๖
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
อนันต์ ดาโลดม
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๒๗ ง/หน้า ๑๐/๒๔ มีนาคม ๒๕๔๓ |
695883 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดพืชจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น
และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น
และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ ลงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม
๒๕๓๗
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
อาหารสำเร็จรูป
หมายความว่า
อาหารที่ได้มาจากส่วนของพืชซึ่งยังคงลักษณะเป็นพืชและได้ผ่านกระบวนการที่สามารถทำลายเชื้อโรคและศัตรูพืช
ข้อ ๓ ให้พืชต่อไปนี้เป็นสิ่งต้องห้าม
ลำดับที่
พืช
แหล่งที่กำหนด
ข้อยกเว้น
๑
ข้าว Oryza sativa
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๒
ข้าวโพด Zea
mays
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
๑. อาหารสำเร็จรูป
๒.
ข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์หรืออาหารสำหรับมนุษย์หรือใช้เพื่อการอุตสาหกรรม
๓
พืชในสกุลกอซซิเปียม Gossypium
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๔
พืชในสกุลลินั่ม Linum
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๕
ถั่วเหลือง Glycine
max
(L.)
Merr.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
๑. อาหารสำเร็จรูป
๒.
ถั่วเหลืองที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์หรืออาหารสำหรับมนุษย์หรือใช้เพื่อการอุตสาหกรรม
๖
พืชในสกุลฮีแลนธัส Helianthus
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๗
ผักกาดก้านขาว Brassica
napus
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๘
มันฝรั่ง Solanum
tuberosum
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๙
หน่อไม้ฝรั่ง Asparagus
officinalis
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๑๐
แบลคเคอเร้น Ribes
nigrum
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๑๑
พืชในสกุลบราสสิค่า Brassica
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๑๒
แครอท Daucus carota
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๑๓
กะหล่ำดอก Brassica
oleracea
var.
botrylis
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๑๔
ขึ้นฉ่าย Apium
graveolens
var.
dulce
(Mill.)
Pers.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๑๕
แตงกวา Cucumis
sativus
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๑๖
มะเขือยาว Solanum
melongena
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๑๗
พืชในสกุลวิตีส Vitis
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๑๘
กีวี Actinidia chinensis
Planchon
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๑๙
ผักกาดหอม Lactuca
sativa
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๒๐
แตงเทศ Cucumis
melo
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๒๑
ถั่วลันเตา Pisum
sativum
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๒๒
พืชในสกุลรูบัส Rubus
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๒๓
พืชในสกุลแฟรกกาเรีย Fragaria
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๒๔
พืชในสกุลคูเคอบิต้า Cucurbita
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๒๕
ชูการ์บีท Beta
vulgaris
L.
subsp.
vulgaris
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๒๖
ยาสูบ Nicotiana tabacum
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๒๗
มะเขือเทศ Lycopersicon
esculentum
Mill.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๒๘
คาร์เนชั่น Dianthus
caryophyllus
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
-
๒๙
พืชในสกุลคริสแซนธิมั่ม Chrysanthemum
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๓๐
พืชในสกุลอิโปเมีย Ipomoea
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๓๑
พืชในสกุลพิทูเนีย Petunia
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
-
๓๒
ฮอส แรดิส Armoracia
rusticana
P.
Gaertner,
Meyer
&
Scherb.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๓๓
อัลฟัลฟ่า Medicago
sativa
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๓๔
พืชในสกุลอะเมลแลนเซียร์ Amelanchier
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๓๕
พืชในสกุลสไตโลแซนเธส Stylosanthes
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๓๖
แอปเปิ้ล Malus
pumila
P.
Mill.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๓๗
มะละกอ Carica
papaya
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๓๘
พืชในสกุลพอปพูลัส Populus
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
-
๓๙
แพร์ Pyrus communis
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๔๐
พืชในสกุลจักแกลนส์ Juglans
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
ข้อ ๔ ในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้นำสิ่งต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทดลองหรือวิจัย
ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนด
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
ปองพล อดิเรกสาร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๓๐
กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๓๐
กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๒๙ ง/หน้า ๑๒/๒๙ มีนาคม ๒๕๔๓ |
311713 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๒๗
แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดด่านตรวจพืชและสถานกักพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๑) พ.ศ.
๒๕๒๙ ลงวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๙
(๒) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๙ ลงวันที่
๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๙
(๓) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๑ ลงวันที่
๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๑
(๔) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔ ลงวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔
(๕) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่
๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
(๖) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่
๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๕
(๗) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๙ ลงวันที่
๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๐
(๘) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๐ ลงวันที่
๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
(๙) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ ลงวันที่
๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อ ๒ กำหนดท่าเรือ
ท่าอากาศยาน หรือสถานที่ใดดังต่อไปนี้ เป็นด่านตรวจพืช
(๑) ด่านตรวจพืชท่าเรือกรุงเทพ
มีอาณาเขตตามเขตศุลกากรท่ากรุงเทพฯ
(๒) ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานกรุงเทพ มีอาณาเขตตามเขตศุลกากรสนามบินดอนเมือง
(๓) ด่านตรวจพืชไปรษณีย์
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรไปรษณีย์
(๔) ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานหาดใหญ่ มีอาณาเขตตามเขตศุลกากรสนามบินหาดใหญ่
(๕) ด่านตรวจพืชท่าเรือสงขลา
มีอาณาเขตตามเขตศุลกากรท่าสงขลา
(๖) ด่านตรวจพืชสะเดา มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรสะเดา
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรสะเดา
(๗) ด่านตรวจพืชปาดังเบซาร์
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรปาดังเบซาร์
รวมทั้งทางอนุมัติของด่านศุลกากรปาดังเบซาร์
(๘) ด่านตรวจพืชท่าเรือภูเก็ต
มีอาณาเขตตามเขตศุลกากรท่าภูเก็ต
(๙) ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานภูเก็ต
มีอาณาเขตตามเขตศุลกากรสนามบินจังหวัดภูเก็ต
(๑๐) ด่านตรวจพืชเบตง มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรเบตง
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรเบตง
(๑๑) ด่านตรวจพืชท่าเรือปัตตานี
มีอาณาเขตตามเขตศุลกากรท่าปัตตานี
(๑๒) ด่านตรวจพืชท่าเรือนราธิวาส
มีอาณาเขตตามเขตศุลกากรท่านราธิวาส
(๑๓) ด่านตรวจพืชสุไหงโก-ลก
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก
(๑๔) ด่านตรวจพืชท่าเรือตากใบ
มีอาณาเขตตามเขตศุลกากรท่าตากใบ
(๑๕) ด่านตรวจพืชท่าเรือกันตัง
มีอาณาเขตตามเขตศุลกากรท่ากันตัง
(๑๖) ด่านตรวจพืชท่าเรือระนอง มีอาณาเขตตามเขตศุลกากรท่าระนอง
(๑๗) ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานอู่ตะเภา
มีอาณาเขตตามเขตศุลกากรสนามบินอู่ตะเภา
(๑๘) ด่านตรวจพืชอรัญประเทศ มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรอรัญประเทศ
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรอรัญประเทศ
(๑๙) ด่านตรวจพืชพิบูลมังสาหาร มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรพิบูลมังสาหาร
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรพิบูลมังสาหาร
(๒๐) ด่านตรวจพืชมุกดาหาร
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรมุกดาหาร รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรมุกดาหาร
(๒๑) ด่านตรวจพืชหนองคาย มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรหนองคาย
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรหนองคาย
(๒๒) ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานเชียงใหม่
มีอาณาเขตตามเขตศุลกากรสนามบินเชียงใหม่
(๒๓) ด่านตรวจพืชแม่สาย มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรแม่สาย
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรแม่สาย
(๒๔) ด่านตรวจพืชวังประจัน
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรวังประจัน รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรวังประจัน
(๒๕) ด่านตรวจพืชท่าเรือสตูล มีอาณาเขตตามเขตศุลกากรท่าสตูล
(๒๖) ด่านตรวจพืชแม่สอด มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรแม่สอด
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรแม่สอด
(๒๗) ด่านตรวจพืชแม่สะเรียง
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรแม่สะเรียง รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรแม่สะเรียง
(๒๘) ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี
มีอาณาเขตตามเขตศุลกากรสนามบินสุราษฎร์ธานี
(๒๙) ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานเชียงราย มีอาณาเขตตามเขตศุลกากรสนามบินเชียงราย
(๓๐) ด่านตรวจพืชเชียงแสน
มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรเชียงแสน รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรเชียงแสน
(๓๑) ด่านตรวจพืชเชียงของ มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรเชียงของ
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรเชียงของ
(๓๒) ด่านตรวจพืชลาดกระบัง
มีอาณาเขตตามที่ตั้งของสถานีบรรจุและแยกกล่อง (รพท.) ลาดกระบัง
ของการรถไฟแห่งประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ ๖๔๕ ไร่ โดยมีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ ห่างจากถนนเจ้าคุณทหาร
ประมาณ ๑,๒๐๐ เมตร
ทิศใต้ จรดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๖
ทิศตะวันออก ห่างจากคลองสี่ประมาณ
๑๕๐ เมตร
ทิศตะวันตก ห่างจากถนนร่มเกล้าประมาณ
๑,๖๐๐ เมตร
(๓๓) ด่านตรวจพืชท่าเรือสัตหีบ
มีอาณาเขตตามเขตศุลกากรท่าสัตหีบ
(๓๔) ด่านตรวจพืชท่าเรือแหลมฉบัง มีอาณาเขตตามเขตศุลกากรท่าแหลมฉบัง
(๓๕) ด่านตรวจพืชคลองใหญ่ มีอาณาเขตตามเขตศุลกากรท่าคลองใหญ่
รวมทั้งเขตด่านศุลกากรทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรคลองใหญ่
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
ปองพล อดิเรกสาร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สุกัญญา/ผู้จัดทำ
๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
พิมลกร/ปรับปรุง
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๑๗/ตอนที่ ๑๗ ง/หน้า ๑/๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ |
695879 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกักพืช
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกักพืช[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงแต่งตั้งบุคคลต่อไปนี้
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกักพืช
๑. นายวิชัย นพอมรบดี เป็น
กรรมการ
๒. นายประเทือง ศรีสุข เป็น
กรรมการ
๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชัย โฆสิตรัตน เป็น
กรรมการ
๔. นายเกรียงศักดิ์ สุวรรณธราดล เป็น
กรรมการ
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
ปองพล อดิเรกสาร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๗๗ ง/หน้า ๓/๒๘ กันยายน ๒๕๔๒ |
311714 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2542 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
(ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒
โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งด่านตรวจพืช
เพื่อควบคุมและตรวจสอบการนำเข้าหรือนำผ่านซึ่งสิ่งต้องห้าม
สิ่งจำกัด หรือสิ่งไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๒๗
แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ออกประกาศให้สถานที่อันมีเขตกำหนดเป็นด่านตรวจพืช ดังนี้
ด่านตรวจพืชคลองใหญ่ มีอาณาเขตศุลกากรท่าคลองใหญ่ รวมทั้งเขตด่านศุลกากร
ทางอนุมัติ และด่านพรมแดน ของด่านศุลกากรคลองใหญ่
ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๒
ปองพล อดิเรกสาร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สุกัญญา/ผู้จัดทำ
๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
พิมลกร/ปรับปรุง
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๑๖/ตอนที่ ๑๔ ง/หน้า ๑๔/๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ |
695875 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำผลส้มเข้ามาในราชอาณาจักร | ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการนำผลส้มเข้ามาในราชอาณาจักรไทย
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงเกษตร
(ฉบับที่ ๖) เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม
ข้อยกเว้น และเงื่อนไข ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน
๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช
หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไข
ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๙ ลงวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๓๙
กำหนดให้ผลส้มจากแหล่งที่กำหนดที่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขซึ่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนดและมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชกำกับมาด้วยสามารถนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรเห็นสมควรออกประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการนำผลส้มเข้ามาในราชอาณาจักรไว้ ดังนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง เงื่อนไขการปฏิบัติในการนำผลส้มเข้ามาในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์
๒๕๓๔
ข้อ
๒
ผลส้มที่จะนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้จะต้องเป็นผลส้มที่นำเข้าจากประเทศที่มีข้อตกลงกับประเทศไทยเท่านั้น
โดยเนื้อหาสาระและเงื่อนไขในการจัดทำข้อตกลงให้เป็นไปตามผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
ข้อ
๓ ผู้ใดประสงค์จะนำผลส้มตามข้อ ๒
เข้ามาในราชอาณาจักร
ให้ยื่นคำขออนุญาตนำผลส้มเข้ามาในราชอาณาจักรพร้อมด้วยหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบ
พ.ก. ๑๒ ท้ายประกาศนี้ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
กรมวิชาการเกษตร
ข้อ
๔
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจแบบคำขอและหลักฐานแล้วเห็นว่าถูกต้องครบถ้วน
ให้นำเสนออธิบดีเพื่อพิจารณาอนุญาตต่อไป
หนังสืออนุญาตนำผลส้มเข้ามาในราชอาณาจักร
ให้ใช้ตามแบบ พ.ก. ๑๓ ท้ายประกาศนี้
หนังสืออนุญาตนำผลส้มเข้ามาในราชอาณาจักรมีอายุ
๖ เดือน นับตั้งแต่วันที่อนุญาตและใช้ได้ต่อการนำเข้า ๑ ครั้ง
ข้อ
๕
ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตนำผลส้มเข้ามาในราชอาณาจักร
จะต้องนำผลส้มเข้ามาทางด่านตรวจพืชที่กำหนดตามข้อตกลง และแจ้งการนำเข้าตามแบบ พ.ก.
๗ โดยอนุโลม พร้อมแนบหนังสืออนุญาตนำผลส้มเข้ามาในราชอาณาจักร (แบบ พ.ก. ๑๓)
และใบรับรองปลอดศัตรูพืช ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านตรวจพืชที่นำเข้า
ข้อ
๖
ใบอนุญาตนำเข้าสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (แบบ พ.ก. ๒)
ที่ออกให้แก่ผู้ได้รับอนุญาตนำผลส้มเข้ามาในราชอาณาจักร
ก่อนประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
ให้ใช้ได้อีกหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
อนันต์ ดาโลดม
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. คำขออนุญาตนำผลส้มเข้ามาในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. 2507 (แบบ พ.ก. 12)
๒.
หนังสืออนุญาตนำผลส้มเข้ามาในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (แบบ
พ.ก. 13)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๑๒๖ ง/หน้า ๑๐/๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๑ |
323608 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
(ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๔๑
ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๘
มกราคม ๒๕๔๐ ได้แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ ไว้แล้วนั้น บัดนี้
ได้พิจารณาเห็นสมควรแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายดังกล่าวเพิ่มเติม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
แต่งตั้งให้
นักวิชาการเกษตร ในสังกัดสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ ๑
ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย และนักวิชาการโรคพืช กลุ่มงานบักเตรีวิทยา
กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร
เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
เนวิน ชิดชอบ
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๒๕
กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๓๐
กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๔/๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ |
323607 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๑)
พ.ศ. ๒๕๒๙ ลงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๒๙
ข้อ ๒ แต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้
เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
(๑)
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
(๒)
รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร
(๓)
ผู้อำนวยการกองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
(๔)
หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
(๕)
นักวิชาการเกษตรตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป เจ้าหน้าที่บริหารงานการเกษตรตั้งแต่ระดับ ๕
ขึ้นไป เจ้าพนักงานการเกษตรตั้งแต่ระดับ ๒ ขึ้นไป เจ้าหน้าที่การเกษตรตั้งแต่ระดับ
๑ ขึ้นไป ในสังกัดกองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
(๖)
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ๖ เจ้าหน้าที่บริหารงานธุรการ ๕
เจ้าพนักงานธุรการตั้งแต่ระดับ ๒ ขึ้นไป เจ้าหน้าที่ธุรการตั้งแต่ระดับ ๑ ขึ้นไป
เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลตั้งแต่ระดับ ๑ ขึ้นไป
ในสังกัดกองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
(๗)
เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี ๕ เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีตั้งแต่ระดับ ๒
ขึ้นไป เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีตั้งแต่ระดับ ๑ ขึ้นไป
ในสังกัดกองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
(๘)
นิติกรตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป ในสังกัดสำนักงานเลขานุการกรม กรมวิชาการเกษตร
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๐
กริช กงเพชร
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ศรตม์/ผู้จัดทำ
๒๕
กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒๙
กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๕ ง/หน้า ๗/๑๖ มกราคม ๒๕๔๐ |
695873 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง ยกเลิกการระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองปลอดศัตรูพืช
| ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
ยกเลิกการระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองปลอดศัตรูพืช[๑]
ตามที่ได้มีประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง การระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองปลอดศัตรูพืช ลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๓๙
ไว้แล้ว นั้น
โดยที่ในสภาพการณ์ปัจจุบันยังไม่มีความจำเป็นทางวิชาการที่จะกำหนดข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองปลอดศัตรูพืชสำหรับการนำเข้าข้าวสาร
ปลายข้าว และข้าวนึ่ง มาในราชอาณาจักร อาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น
และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๙
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรออกประกาศไว้ ดังนี้
ให้ยกเลิกประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง การระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองปลอดศัตรูพืช ลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๓๙
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
วิจิตร เบญจศีล
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๒๕ กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๒ ง/หน้า ๓๕/๕ สิงหาคม ๒๕๔๐ |
313012 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2540 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
(ฉบับที่
๘) พ.ศ. ๒๕๔๐
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดอาณาเขตของด่านตรวจพืชให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืช ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕
ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๓๕
ข้อ ๒ ให้สถานที่อันมีเขตกำหนดเป็นด่านตรวจพืช
ดังนี้
(๑)
ด่านตรวจพืชสัตหีบ มีอาณาเขตตามเขตศุลกากรท่าสัตหีบ
(๒)
ด่านตรวจพืชแหลมฉบัง มีอาณาเขตตามเขตศุลกากรท่าแหลมฉบัง
ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
กริช กงเพชร
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ศรตม์/ผู้จัดทำ
๒๕
กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๓๐
กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๕๙ ง/หน้า ๑๕/๘ กรกฎาคม ๒๕๔๐ |
301237 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2539 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๙
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดด่านตรวจพืชเพิ่มเติมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้สถานที่อันมีเขตกำหนดเป็นด่านตรวจพืช ดังนี้
(๑) ด่านตรวจพืชเชียงแสน มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรเชียงแสน
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรเชียงแสน
(๒) ด่านตรวจพืชเชียงของ มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรเชียงของ
รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรเชียงของ
ข้อ ๒
ให้สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (รพท.) ลาดกระบังของการรถไฟแห่งประเทศไทย
เป็นด่านตรวจพืชลาดกระบัง มีเนื้อที่ประมาณ ๖๔๕ ไร่ โดยมีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ ห่างจากถนนเจ้าคุณทหารประมาณ
๑,๒๐๐ เมตร
ทิศใต้ จรดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๖
ทิศตะวันออก ห่างจากคลองสี่ประมาณ
๑๕๐ เมตร
ทิศตะวันตก ห่างจากถนนร่มเกล้าประมาณ
๑,๖๐๐ เมตร
ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๐
กริช กงเพชร
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สุกัญญา/ผู้จัดทำ
๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
พิมลกร/ปรับปรุง
๒๕
กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒๕
กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๑๔/ตอนที่ ๓ ง/หน้า ๑๓/๙ มกราคม ๒๕๔๐ |
313031 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองปลอดศัตรูพืช | ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
การระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองปลอดศัตรูพืช[๑]
ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น
และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๙ ลงวันที่ ๑๑
ตุลาคม ๒๕๓๙ กำหนดให้ข้าวสาร ปลายข้าว และข้าวนึ่ง ที่มีใบรับรองปลอดศัตรูพืช
โดยระบุข้อความเพิ่มเติมทางวิชาการตามที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนดเป็นข้อยกเว้นของพืชในสกุลโอไรซา
(Oryza
spp.)
เช่น ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวป่า ฯลฯ ที่เป็นสิ่งต้องห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตร
(ฉบับที่ ๖) เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม
ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน
๒๕๐๗ ดังนั้น เพื่อให้ข้าวสาร ปลายข้าว
และข้าวนึ่ง นำเข้าโดยถูกต้องและปราศจากความเสี่ยงต่อการนำศัตรูพืชเข้ามาในประเทศ
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจึงกำหนดข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองปลอดศัตรูพืชไว้
ดังต่อไปนี้
Free
from
Ephelis
oryzae,
Pyricularia
oryzae,
Fusarium
graminearum,
Xanthomonas
oryzae
pv.
oryzae,
X.
oryzae
pv.
oryzicola,
Trogoderma
granarium,
Lissorhoptrus
oryzophilus,
Prostephanus
truncatus,
Plodia
interpunctella,
Echinochloa
spp.
and
Leptochloa
filiformis
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๙
วิจิตร เบญจศีล
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๒๕
กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒๙
กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๘๙ ง/หน้า ๖๒/๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ |
323606 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้นและเงื่อนไข ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2539 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม
ข้อยกเว้น
และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
(ฉบับที่
๕) พ.ศ. ๒๕๓๙
เพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลกในการเปิดตลาดการนำเข้าสินค้าเกษตร
สมควรกำหนดข้อยกเว้นให้ข้าวสาร ปลายข้าว และข้าวนึ่ง
ออกจากสภาพการเป็นสิ่งต้องห้าม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ให้เพิ่มความต่อไปนี้ในช่องข้อยกเว้นของพืชในสกุลโอไรซา
(Oryza
spp.)
เช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวป่า ฯลฯ แห่งประกาศกระทรวงเกษตร (ฉบับที่
๖) เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น
และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๗
ข้าวสาร ปลายข้าว
และข้าวนึ่ง
ที่มีใบรับรองปลอดศัตรูพืชโดยระบุข้อความเพิ่มเติมทางวิชาการตามที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนด
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๙
สุวิทย์ คุณกิตติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๒๕
กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒๙
กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๘๓ ง/หน้า ๒๐/๑๕ ตุลาคม ๒๕๓๙ |
313020 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้นและเงื่อนไข ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2539 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม
ข้อยกเว้น
และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
(ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๙
ด้วยในปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการนำเข้าเมล็ดส้มที่มีความต้านทานโรคโคนเน่า
รากเน่า เพื่อมาปลูกเป็นต้นตอผลิตส้มปลอดโรค
อีกทั้งศัตรูพืชที่อาจติดมากับเมล็ดส้มนั้นสามารถควบคุมและป้องกันมิให้ระบาดเข้ามาในราชอาณาจักรได้
สมควรกำหนดข้อยกเว้นเมล็ดส้มออกจากสภาพการเป็นสิ่งต้องห้ามเมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมวิชาการกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความในช่องข้อยกเว้นของพืชในสกุลซิตรัส
(Citrus
spp.)
เช่น มะนาว มะกรูด และส้มต่าง ๆ ฯลฯ และพืชในสกุลฟอจูเนลล่า (Fortunella
spp.)
เช่น ส้มจิ๊ด แห่งประกาศกระทรวงเกษตร (ฉบับที่ ๖) เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช
หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น
และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช
หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น
และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๑) พ.ศ. ๒๕๓๓ ลงวันที่ ๑๑
ธันวาคม ๒๕๓๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
อาหารสำเร็จรูป
ผลส้มจากทุกแหล่งและเมล็ดของพืชสกุลซิตรัส (Citrus spp.)
จากสหรัฐอเมริกา (เฉพาะรัฐแคลิฟอร์เนีย) สาธารณรัฐฝรั่งเศส ราชอาณาจักรสเปน
รัฐอิสราเอล สาธารณรัฐแอฟริกาใต้
และเครือรัฐออสเตรเลียที่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขซึ่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนดและมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชกำกับมาด้วย
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๙
ชาญชัย ปทุมารักษ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๒๕
กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒๕
กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๖๙ ง/หน้า ๗/๒๗ สิงหาคม ๒๕๓๙ |
313018 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้นและเงื่อนไข ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2538 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม
ข้อยกเว้น
และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
(ฉบับที่
๓) พ.ศ. ๒๕๓๘
ด้วยในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ผลิตปุ๋ยมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์
โดยเฉพาะปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตโดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่นั้นมีความปลอดภัยจากโรคและศัตรูพืชได้
สมควรกำหนดข้อยกเว้นปุ๋ยอินทรีย์เหล่านั้นออกจากสภาพการเป็นสิ่งต้องห้ามได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความในช่องข้อยกเว้นของปุ๋ยอินทรีย์
แห่งประกาศกระทรวงเกษตร (ฉบับที่ ๖) เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช
หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น
และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๗
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ปุ๋ยอินทรีย์จากสัตว์นอกจากมูลสัตว์
และปุ๋ยอินทรีย์จากพืชที่ผ่านกรรมวิธีซึ่งเจ้าของได้แจ้งให้อธิบดีกรมวิชาการเกษตรทราบก่อนนำเข้า
และอธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นการปลอดศัตรูพืช
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘
ชาญชัย ปทุมารักษ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๒๕
กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒๘
กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๓๐ ง/หน้า ๒๙/๑๑ เมษายน ๒๕๓๙ |
313016 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้นและเงื่อนไข ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม
ข้อยกเว้น
และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
(ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๓๗
ด้วยในปัจจุบันความก้าวหน้าในงานวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
โดยเฉพาะเทคโนโลยีการตัดต่อสารพันธุกรรมได้รุดหน้าไปอย่างมาก ทั้งด้านเกษตร
อุตสาหกรรม และการแพทย์ ผลงานวิจัยในการตัดต่อสารพันธุกรรมในพืช สัตว์
และจุลินทรีย์บางชนิดได้ถูกนำมาใช้บ้างแล้วหลังจากมีการทดสอบความปลอดภัยทางชีวภาพเป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพนี้ก่อให้เกิดความกังวลในหมู่สาธารณชนและนักวิจัยในเรื่องความปลอดภัยในการควบคุมภยันตรายซึ่งอาจเกิดขึ้น
เช่น
พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมโดยมีจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชเข้าเกี่ยวข้อง
หรือการตัดต่อสารพันธุกรรมจากจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการผลิตสารทำลายแมลงชนิดใดชนิดหนึ่งเข้าไปในพืช
หากไม่มีการตรวจสอบและวิจัยที่แน่นอน
พืชดังกล่าวอาจจะผลิตสารขึ้นมาทำลายแมลงชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นศัตรูพืช
หรืออาจจะมีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพในสภาพแวดล้อมปัจจุบันเหล่านี้ เป็นต้น
เพื่อป้องกันภยันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
จึงจำเป็นต้องวางมาตรการเพื่อควบคุมการนำเข้าพืชซึ่งได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะเป็นสิ่งต้องห้ามเพิ่มเติม ดังนี้
ลำดับที่
พืช
ศัตรูพืช หรือพาหะ
แหล่งที่กำหนด
ข้อยกเว้น
๑.
ข้าว Oryza sativa
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๒.
ข้าวโพด Zea
mays
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๓.
พืชในสกุลกอซซิปเปี่ยม Gossypium
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๔.
พืชในสกุลลินั่ม Linum
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๕.
ถั่วเหลือง Glycine
max
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๖.
พืชในสกุลฮีแลนธัส Helianthus
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๗.
ผัดกาดก้านขาว Brassica
napus
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๘.
มันฝรั่ง Solanum
tuberosum
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๙.
หน่อไม้ฝรั่ง Asparagus
officinalis
Linn.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๑๐.
แบลคเคอเร้น Ribes
nigrum
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๑๑.
พืชในสกุลบราสสิค่า Brassica
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๑๒.
แครอท Daucus corato
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๑๓.
กะหล่ำดอก Brassica
oleracea
var.
botrytis
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๑๔.
คื่นช่าย Apium
graveolens
var.
dulce
(Mlll.)
D.C.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๑๕.
แตงกวา Cucumis
sativus
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๑๖.
มะเชือยาว Solanum
melongena
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๑๗.
พืชในสกุลวิตีส Vitis
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๑๘.
กีวี Actinidia chinensis
Plandon
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๑๙.
ผักกาดหอม Lactuca
sativa
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๒๐.
แตงไทย Cucumis
melo
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๒๑.
ถั่วลันเตา Pisum
sativum
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๒๒.
พืชในสกุลรูบัส Rubus
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๒๓.
พืชในสกุลแฟรกกาเรีย Fragaria
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๒๔.
พืชในสกุลคูเคอบิต้า Cucurbita
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๒๕.
ชูก้า บีท Beta
vulgaris
L.
sub
sp.
vulgaris
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๒๖.
ยาสูบ Nicotiana tabacum
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๒๗.
มะเขือเทศ Lycopersicon
esculentum
Miller
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๒๘.
คาเนชั่น Dianthus
caryophyllus
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๒๙.
พืชในสกุลคริสแซนธิมั่ม Chrysanthemum
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๓๐.
พืชในสกุลอิโปเมีย Ipomoea
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๓๑.
พืชในสกุลพิทูเนีย Petunia
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๓๒.
ฮอส แรดิส Armoracia
rusticana
P.
Gaertner,
Meyer
&
Scherb.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๓๓.
อัลฟัลฟ่า Medicago
sativa
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๓๔.
พืชในสกุลอะเมลแลนเซียร์ Amelanchier
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๓๕.
สไตโลแซนเธส Stylosanthes
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๓๖.
แอปเปิ้ล Pyrus
malus
Linn.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๓๗.
มะละกอ Carica
papaya
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๓๘.
พืชในสกุลพอปพูลัส Populus
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๓๙.
แพร์ Pyrus communis
L.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
๔๐.
พืชในสกุลจักแกลนส์ Juglans
spp.
ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ทุกแหล่ง
อาหารสำเร็จรูป
เงื่อนไข
ในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้นำสิ่งต้องห้ามเข้ามาเพื่อการทดลองหรือการวิจัย
ต้องกระทำตามวิธีปฏิบัติทางวิชาการตามที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรเห็นสมควร
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๓๗
ถวิล จันทร์ประสงค์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ศรตม์/ผู้จัดทำ
๑๙
พฤศจิกายน ๒๕๕๕
พิมลกร/ปรับปรุง
๒๕
กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒๘
กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๔๕ ง/หน้า ๙/๗ มิถุนายน ๒๕๓๗ |
318483 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง กำหนดแนวทางปฎิบัติสำหรับขออนุญาตนำเข้าหรือนำผ่าน ซึ่งสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ.2507 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
กำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับขออนุญาตนำเข้าหรือนำผ่านซึ่งสิ่งต้องห้าม
ตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗
(ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๓๗[๑]
ตามมาตรา ๘
แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
กำหนดว่าห้ามมิให้บุคคลใดนำเข้าหรือนำผ่านซึ่งสิ่งต้องห้าม เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี
และมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชของเจ้าหน้าที่ของประเทศที่ส่งสิ่งต้องห้ามนั้น
หรือหนังสือสำคัญอย่างอื่นอันเป็นที่เชื่อถือได้สำหรับประเทศที่ไม่มีการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชกำกับมาด้วย
และกรณีนำเข้านี้ อธิบดีจะอนุญาตได้เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทดลองหรือวิจัยเท่านั้น
และได้กำหนดเงื่อนไขและข้อกำหนดให้ปฏิบัติไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๐๗)
ออกตามความในพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แล้วนั้น
กรมวิชาการเกษตรเห็นสมควรกำหนดวิธีการปฏิบัติสำหรับผู้ที่ประสงค์จะนำเข้าพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยื่นคำขออนุญาตนำสิ่งต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรตามแบบ พ.ก. ๑
ต่ออธิบดีกรมวิชาการเกษตร
พร้อมแนบเอกสารและข้อมูลทางวิชาการเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตให้นำเข้าเกี่ยวกับรายละเอียด
ดังต่อไปนี้
๑.๑
เหตุผลและวัตถุประสงค์ในการนำเข้า
๑.๒
ผลการทดลองที่ผ่านมา
๑.๓
ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับเรื่อง ดังนี้
(๑)
ชนิดพืชซึ่งนำสารพันธุกรรมมาตัดต่อ
(๒)
ขั้นตอนหรือวิธีการตัดต่อสารพันธุกรรม
(๓)
แหล่งหรือที่มา ขนาด และการเรียงลำดับเบส (Sequence) ของสารพันธุกรรมที่ใช้ตัดต่อ
(๔)
พาหะที่ใช้ในการถ่ายทอดสารพันธุกรรม
(๕)
วิธีการตรวจสอบพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
๑.๔
รายละเอียดของโครงการทดลองพร้อมชื่อผู้รับผิดชอบ
๑.๕
รายละเอียดอื่น ๆ ตามที่กรมวิชาการเกษตรเห็นสมควรเพื่อประกอบการพิจารณา
ข้อ
๒ การอนุญาตให้นำเข้า
๒.๑
อธิบดีจะอนุญาตให้นำเข้าเพื่อการทดลองและวิจัยเท่านั้น
ตามใบอนุญาตนำเข้าซึ่งสิ่งต้องห้าม ตามแบบ พ.ก. ๒
๒.๒
การนำเข้าพืชซึ่งได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมต้องมีใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary
Certificate)
จากประเทศต้นทางกำกับมาด้วย ในกรณีที่พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมใช้จุลินทรีย์ในขบวนการตัดต่อสารพันธุกรรม
ใบรับรองปลอดศัตรูพืชต้องระบุในช่องคำอธิบายเพิ่มเติม (Additional
Declaration)
ด้วยว่าจุลินทรีย์ที่ใช้ในการตัดต่อสารพันธุกรรมได้หมดสภาพการเป็นเชื้อสาเหตุโรคพืชแล้ว
หากหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบในการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชไม่สามารถให้การรับรองโดยระบุข้อความดังกล่าวลงในใบรับรองปลอดศัตรูพืชได้
ให้สถาบันที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับพืชตัดต่อสารพันธุกรรมนั้น ๆ
เป็นผู้ออกหนังสือรับรอง
ข้อ
๓
วิธีการนำเข้าให้ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗
ข้อ
๔ เมื่อได้รับอนุญาตให้นำเข้า
ผู้นำเข้าต้องแจ้งกำหนดการนำเข้าพืชตัดต่อสารพันธุกรรมต่อกรมวิชาการเกษตรก่อนการนำเข้า
๖๐ วัน
ข้อ
๕
ผู้นำเข้าต้องแจ้งชื่อต่อด่านตรวจพืชที่นำเข้าซึ่งสามารถนำเข้าได้ ๓
ด่านเท่านั้น คือ ด่านตรวจพืชท่าเรือกรุงเทพฯ ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานกรุงเทพฯ
และด่านตรวจพืชไปรษณีย์กลางกรุงเทพมหานคร
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๗
อำนวย ทองดี
ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านพืชไร
รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๒๕ กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒๘ กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๓๑ ง/หน้า ๓๑/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๗ |
695871 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2536
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
(ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๓๖
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้
นายด่านศุลกากรปัตตานี
จังหวัดปัตตานี เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจปฏิบัติการตามมาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๓๖
ถวิล จันทร์ประสงค์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ศรตม์/ผู้จัดทำ
๑๙
พฤศจิกายน ๒๕๕๕
พิมลกร/ปรับปรุง
๒๕
กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒๘
กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๐๗/หน้า ๓/๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๖ |
313009 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืช ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2535 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
(ฉบับที่
๖) พ.ศ. ๒๕๓๕
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดด่านตรวจพืชเพิ่มเติมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ออกประกาศให้สถานที่แห่งใดอันมีเขตกำหนดเป็นด่านตรวจพืช ดังนี้
เขตศุลกากรท่าอากาศยานเชียงราย
เป็นด่านตรวจพืชท่าอากาศยานเชียงราย
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๓๕
อำพล เสนาณรงค์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ศรตม์/ผู้จัดทำ
๑๙
พฤศจิกายน ๒๕๕๕
พิมลกร/ปรับปรุง
๒๕
กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒๘
กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘๘/หน้า ๗๕๑๗/๙ กรกฎาคม ๒๕๓๕ |
327161 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืช ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2535 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
(ฉบับที่
๕) พ.ศ. ๒๕๓๕
โดยที่เป็นการสมควรขยายเขตด่านตรวจพืชสัตหีบ
ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศให้ยกเลิกความในข้อ
๒ (๑๗) แห่งประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชและสถานกักพืช
ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๑) พ.ศ. ๒๕๒๙ ลงวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๒๙
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑๗)
เขตศุลกากรสัตหีบ และเขตศุลกากรแหลมฉบัง เป็นด่านตรวจพืชสัตหีบ
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๓๕
วโรทัย ภิญญสาสน์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ศรตม์/ผู้จัดทำ
๑๙
พฤศจิกายน ๒๕๕๕
พิมลกร/ปรับปรุง
๒๕
กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒๘
กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๗๗/หน้า ๖๔๓๐/๑๑ มิถุนายน ๒๕๓๕ |
323598 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืช ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
(ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๔
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศกำหนดให้สถานที่ต่อไปนี้ เป็นด่านตรวจพืช
เขตศุลกากรท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี
เป็นด่านตรวจพืชท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี
ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๓๔
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ศรตม์/ผู้จัดทำ
๑๙
พฤศจิกายน ๒๕๕๕
พิมลกร/ปรับปรุง
๒๕
กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒๘
กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๘๙/หน้า ๑๐๗๓๘/๒๙ ตุลาคม ๒๕๓๔ |
313004 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดสถานกักพืช ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดสถานกักพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๔
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดสถานกักพืชเพิ่มเติม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศกำหนดสถานที่ในบริเวณที่ดินของสำนักงานเกษตรภาคเหนือ
ในส่วนที่มอบให้กรมวิชาการเกษตรใช้ประโยชน์ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ ๒๐ ไร่ เป็นสถานกักพืช
สำหรับกักพืชและสิ่งต้องห้าม เพื่อสังเกตและวิจัย โดยมีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ
จากหลักเขต
สพ.ชม. ๑ ถึงหลักเขต สพ.ชม. ๒ ความยาว ๑๒๐ เมตร ติดกับที่ดินของกองเกษตรวิศวกรรม
ทิศตะวันออก
จากหลักเขต
สพ.ชม. ๒ ถึงหลักเขต สพ.ชม. ๓ ความยาว ๒๑๕ เมตร
ติดกับที่ดินของสำนักงานเกษตรที่สูง
ทิศใต้
จากหลักเขต
สพ.ชม. ๓ ถึงหลักเขต สพ.ชม. ๔ ความยาว ๑๕๐ เมตร ติดกับที่ดินของสำนักงานเกษตรที่สูง
ทิศตะวันตก
จากหลักเขต
สพ.ชม. ๔ ถึงหลักเขต สพ.ชม. ๑ ความยาว ๒๕๐ เมตร
จดแนวถนนตรงข้ามกับที่ดินของกรมป่าไม้
ประกาศฉบับนี้
ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๓
มิถุนายน ๒๕๓๔
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๒๕ กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒๘ กันยายน ๒๕๕๖
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๑๐๖/หน้า ๕๖๘๔/๑๘ มิถุนายน ๒๕๓๔ |
313002 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไข ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2533 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนด
เป็นสิ่งต้องห้าม
ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติ
กักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๑) พ.ศ. ๒๕๓๓[๑]
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกระทรวงเกษตร
(ฉบับที่ ๖) เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม
ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน
๒๕๐๗ เสียใหม่ให้เป็นการเหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศ
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑. ให้ยกเลิกข้อความ อธิบดีกรมกสิกรรม
ในประกาศกระทรวงเกษตร (ฉบับที่ ๖) เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช
หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งที่ต้องห้าม ข้อยกเว้น
และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๗ และให้ใช้ข้อความ
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร แทน
ข้อ ๒. ให้เพิ่มเติมข้อความ
ผลส้มที่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขซึ่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนด
และมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชกำกับมาด้วย ในส่วนของข้อยกเว้นของพืชในสกุลซิตรัส (Citrus
spp.)
และพืชในสกุลฟอจูเนลลา (Fortunella
spp.)
ตามประกาศกระทรวงเกษตร (ฉบับที่ ๖) เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืช
หรือพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น
และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๗
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๓
ชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๒๕
กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒๘
กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๒/หน้า ๑๕๐/๓ มกราคม ๒๕๓๔ |
323594 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มอบหมายการลงนามในใบรับรองปลอดศัตรูพืช ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2533 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
มอบหมายการลงนามในใบรับรองปลอดศัตรูพืช
ตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗
(ฉบับที่
๑) พ.ศ. ๒๕๓๓[๑]
เพื่อให้การออกใบรับรองซึ่งแสดงว่าพืชหรือผลิตผลของพืชที่จะส่งออกนอกราชอาณาจักรนั้นปลอดศัตรูพืช
ตามมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ เป็นไปโดยถูกต้องและรัดกุม ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๗
แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งและมีชื่อดังต่อไปนี้
เป็นผู้มีอำนาจลงชื่อในใบรับรองปลอดศัตรูพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
๑. ผู้อำนวยการกองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
๒. หัวหน้าฝ่ายวิชาการกักกันพืช
๓. หัวหน้าฝ่ายด่านตรวจพืช
๔. นายทวี สิทธิชัย นักวิชาการโรคพืช ๗
๕. นายจำลอง เจตนะจิตร นักวิชาการเกษตร ๗
๖. นางพวงผกา คมสัน นักวิชาการเกษตร ๖
๗. นายวิชา ธิติประเสริฐ นักวิชาการเกษตร ๖
๘. หัวหน้าด่านตรวจพืชทุกด่าน
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๓๓
ชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ศรตม์/ผู้จัดทำ
๑๙
พฤศจิกายน ๒๕๕๕
พิมลกร/ปรับปรุง
๒๕
กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒๘
กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๒๒๙/หน้า ๙๖๒๓/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๓ |
323592 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืช ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2531 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
(ฉบับที่
๓) พ.ศ. ๒๕๓๑
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดด่านตรวจพืชเพิ่มเติมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ออกประกาศกำหนดท่าหรือสถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นด่านตรวจพืช
๑. เขตศุลกากรรถไฟ สถานีรถไฟกรุงเทพฯ
สถานีรถไฟธนบุรี และสถานรับ - ส่งสินค้าย่านสินค้าพหลโยธิน
เป็นด่านตรวจพืชรถไฟกรุงเทพฯ - ธนบุรี
ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๓๑
อุดร ตันติสุนทร
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ศรตม์/ผู้จัดทำ
๑๙
พฤศจิกายน ๒๕๕๕
พิมลกร/ปรับปรุง
๒๕
กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒๘
กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๗๘/หน้า ๗๙๓๖/๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๑ |
312994 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืช ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2529 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
(ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๒๙
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดด่านตรวจพืชเพิ่มเติมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศกำหนดท่าเรือหรือสถานที่ดังต่อไปนี้
เป็นด่านตรวจพืช
๑. เขตศุลกากรสตูล เป็นด่านตรวจพืชสตูล
๒. เขตศุลกากรแม่สอด
รวมทั้งเส้นทางอนุมัติของด่านศุลกากรแม่สอด เป็นด่านตรวจพืชแม่สอด
๓. เขตศุลกากรแม่สะเรียง
รวมทั้งเส้นทางอนุมัติของด่านศุลกากรแม่สะเรียง เป็นด่านตรวจพืชแม่สะเรียง
ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๒๙
ประยุทธ์ ศิริพานิชย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๒๕
กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒๘
กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๑๗๒/หน้า ๔๕๓๔/๗ ตุลาคม ๒๕๒๙ |
312986 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชและสถานกักพืช ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2529 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดด่านตรวจพืชและสถานกักพืช ตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ.
๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๑) พ.ศ. ๒๕๒๙
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงเขตด่านตรวจพืชและสถานกักพืชให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
รัฐมนตรีว่ากากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(๑)
ประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชและสถานกักพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๔) ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๐๗
(๒)
ประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
(ฉบับที่ ๗) ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๐๘
(๓)
ประกาศกระทรวงเกษตร (ฉบับที่ ๙) เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๑
(๔)
ประกาศกระทรวงเกษตร (ฉบับที่ ๑๐) เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๑๑
(๕)
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฉบับที่ ๑๒) เรื่อง
กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๖
(๖)
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฉบับที่ ๑๓) เรื่อง กำหนด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๒๑
(๗)
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดด่านตรวจพืชวังประจันตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน
๒๕๒๖
(๘)
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ.
๒๕๐๗ ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๘
ข้อ ๒ กำหนดท่าเรือท่าอากาศยาน
หรือสถานที่ดังต่อไปนี้เป็นด่านตรวจพืช และสถานกักพืช
(๑)
เขตศุลกากรท่าเรือกรุงเทพฯ เป็นด่านตรวจพืชท่าเรือกรุงเทพฯ
(๒)
เขตศุลกากรสนามบินดอนเมือง เป็นด่านตรวจพืชท่าอากาศยานกรุงเทพฯ
(๓) เขตศุลกากรไปรษณีย์
เป็นด่านตรวจพืชไปรษณีย์
(๔)
เขตศุลกากรสนามบินหาดใหญ่ เป็นด่านตรวจพืชท่าอากาศยานหาดใหญ่
(๕) เขตศุลกากรสงขลา
เป็นด่านตรวจพืชสงขลา
(๖)
เขตศุลกากรสะเดารวมทั้งด่านพรมแดนและเส้นทางอนุมัติของด่านศุลกากรสะเดา
เป็นด่านตรวจพืชสะเดา
(๗) เขตศุลกากรปาดังเบซาร์
รวมทั้งเส้นทางอนุมัติของด่านศุลกากรปาดังเบซาร์ เป็นด่านตรวจพืชปาดังเบซาร์
(๘) เขตศุลกากรภูเก็ต
เป็นด่านตรวจพืชภูเก็ต
(๙)
เขตศุลกากรสนามบินจังหวัดภูเก็ต เป็นด่านตรวจพืชท่าอากาศยานภูเก็ต
(๑๐) เขตศุลกากรเบตง
รวมทั้งด่านพรมแดนและเส้นทางอนุมัติของด่านศุลกากรเบตง เป็นด่านตรวจพืชเบตง
(๑๑)
เขตศุลกากรปัตตานี เป็นด่านตรวจพืชปัตตานี
(๑๒)
เขตศุลกากรนราธิวาส เป็นด่านตรวจพืชนราธิวาส
(๑๓)
เขตศุลกากรสุไหงโก-ลก รวมทั้งด่านพรมแดนและเส้นทางอนุมัติของด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก
เป็นด่านตรวจพืชสุไหงโก-ลก
(๑๔) เขตศุลกากรตากใบ
เป็นด่านตรวจพืชตากใบ
(๑๕)
เขตศุลกากรกันตัง เป็นด่านตรวจพืชกันตัง
(๑๖) เขตศุลกากรระนอง
เป็นด่านตรวจพืชระนอง
(๑๗)
เขตศุลกากรสัตหีบ เป็นด่านตรวจพืชสัตหีบ
(๑๘)
เขตศุลกากรสนามบินอู่ตะเภา เป็นด่านตรวจพืชท่าอากาศยานอู่ตะเภา
(๑๙)
เขตศุลกากรอรัญประเทศ รวมทั้งด่านพรมแดนและเส้นทางอนุมัติของด่านศุลกากรอรัญประเทศ
เป็นด่านตรวจพืชอรัญประเทศ
(๒๐)
เขตศุลกากรพิบูลมังสาหาร
รวมทั้งด่านพรมแดนและเส้นทางอนุมัติของด่านศุลกากรพิบูลมังสาหาร
เป็นด่านตรวจพืชพิบูลมังสาหาร
(๒๑)
เขตศุลกากรมุกดาหาร เป็นด่านตรวจพืชมุกดาหาร
(๒๒) เขตศุลกากรหนองคาย
เป็นด่านตรวจพืชหนองคาย
(๒๓)
เขตศุลกากรสนามบินเชียงใหม่ เป็นด่านตรวจพืชท่าอากาศยานเชียงใหม่
(๒๔)
เขตศุลกากรแม่สาย เป็นด่านตรวจพืชแม่สาย
(๒๕)
เขตศุลกากรวังประจัน เป็นด่านตรวจพืชวังประจัน
ข้อ ๓
ให้อาคารสถานกักพืชในบริเวณเกษตรกลางบางเขน เป็นสถานกักพืชและสถานกักสิ่งต้องห้าม
เพื่อสังเกตและวิจัย โดยมีเนื้อที่ประมาณ ๔๖๐ ตารางวา และมีอาณาเขต ดังนี้
(๑)
ทิศเหนือติดกับซอยถนนหลวงสุวรรณฯ
(๒)
ทิศตะวันออกติดกับอาณาเขตของตึกที่ทำการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
(๓)
ทิศตะวันตกติดกับคูข้างถนนหลวงสุวรรณฯ
(๔) ทิศใต้ติดกับอาณาเขตเตาเผาพืช
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๒๙
บรม ตันเถียร
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๒๕
กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒๘
กันยายน ๒๕๕๖
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๔๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗/๒๗ มีนาคม ๒๕๒๙ |
323586 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืช ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศให้สถานที่ต่อไปนี้
ท่าอากาศยานอู่ตะเภา
จังหวัดระยอง เป็นด่านตรวจพืช ถือเขตศุลกากรบริเวณสนามบินอู่ตะเภา
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๘
บรม ตันเถียร
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๒๕
กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒๘
กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๘๗/หน้า ๕๙๘๖/๑๐ ธันวาคม ๒๕๒๘ |
312981 | ประกาศกรมวิชาการ เรื่อง กำหนดแบบคำขอใบรับรองปลอดศัตรูพืชและแบบใบรับรองปลอดศัตรูพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 | ประกาศกรมวิชาการ
ประกาศกรมวิชาการ
เรื่อง
กำหนดแบบคำขอใบรับรองปลอดศัตรูพืชและแบบใบรับรอง
ปลอดศัตรูพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗[๑]
ตามข้อ ๑
แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
กำหนดว่า บุคคลใดประสงค์จะขอใบรับรองเพื่อแสดงว่าพืชหรือผลิตผลพืชที่จะส่งออกนอกราชอาณาจักรนั้นปลอดศัตรูพืช
ให้ยื่นคำขอใบรับรองแสดงการปลอดศัตรูพืชตามแบบของกรมกสิกรรมนั้น
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
๑. ให้ยกเลิกประกาศกรมกสิกรรม
เรื่องกำหนดแบบคำขอใบรับรองปลอดศัตรูพืชและแบบใบรับรองปลอดศัตรูพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๐๘
๒. ให้ใช้ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่องกำหนดแบบคำขอใบรับรองปลอดศัตรูพืชและแบบใบรับรองปลอดศัตรูพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ แทน ดังต่อไปนี้
กรมวิชาการเกษตรกำหนดแบบ
พ.ก. ๙ และ พ.ก. ๑๐ ซึ่งมีตราดุน รูปร่าง ขนาด และข้อความตามแบบแนบท้ายประกาศนี้
เป็นแบบคำขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช และแบบใบรับรองปลอดศัตรูพืช
ประกาศ
ณ วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๒๖
ยุกติ สาริกะภูติ
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. คำขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช
(แบบ พ.ก. ๙)
๒. PHYTOSANITARY
CERTIFICATE
(แบบ พ.ก. ๑๐)
๓.
ตราดุนใช้ประทับบนใบรับรองปลอดศัตรูพืช
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ศรตม์/ผู้จัดทำ
๑๖
พฤศจิกายน ๒๕๕๕
พิมลกร/ปรับปรุง
๔
ตุลาคม ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒๘
มกราคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๐/ตอนที่ ๑๙๓/หน้า ๔๕๙๘/๑๓ ธันวาคม ๒๕๒๖ |
323583 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืช วังประจันตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดด่านตรวจพืชวังประจันตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ.
๒๕๐๗[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศให้สถานที่ต่อไปนี้
ด่านวังประจัน
จังหวัดสตูล เป็นด่านตรวจพืช ถือเขตด่านศุลกากรวังประจัน
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๖
ณรงค์ วงศ์วรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๒๕
กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒๘
กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๐/ตอนที่ ๑๙๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๙ ธันวาคม ๒๕๒๖ |
323582 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2525 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๒๕
เรื่อง
แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้
๑.
อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร
๒.
รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร
๓.
ผู้อำนวยการกองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
๔.
หัวหน้าฝ่ายและหัวหน้าศูนย์ในกองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
๕.
หัวหน้าฝ่ายป้องกันและกำจัดศัตรูพืชทุกภาค
๖.
หัวหน้าหน่วยป้องกันและกำจัดศัตรูพืชทุกหน่วย
๗.
เกษตรจังหวัดทุกจังหวัด
๘.
เกษตรอำเภอทุกอำเภอและทุกกิ่งอำเภอ
เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗ เพิ่มเติม
ประกาศ ณ วันที่ ๔
สิงหาคม ๒๕๒๕
ชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๒๕ กันยายน ๒๕๕๕
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒๕ กันยายน ๒๕๕๖
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๙/ตอนที่ ๑๓๘/หน้า ๓๙๒๓/๒๘ กันยายน ๒๕๒๕ |
312972 | ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การเติมข้อความในใบรับรองปลอดศัตรูพืช | ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง
การเติมข้อความในใบรับรองปลอดศัตรูพืช[๑]
ตามมาตรา ๑๕
แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ กำหนดว่า บุคคลใดประสงค์จะขอใบรับรอง
ซึ่งแสดงว่าพืชหรือผลิตผลของพืชที่จะส่งออกนอกราชอาณาจักรนั้นปลอดศัตรูพืช
ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจ
โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขและเสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
และจ่ายค่าพาหนะเดินทางให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
ค่าใช้จ่ายในการกำจัดศัตรูพืชและค่าบรรจุหีบห่อเท่าที่จำเป็นและใช้จ่ายไปจริง
ซึ่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
และประกาศกรมกสิกรรม เรื่อง
กำหนดแบบคำขอใบรับรองปลอดศัตรูพืชและแบบใบรับรองปลอดศัตรูพืช
ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ได้กำหนดเงื่อนไขและข้อกำหนดให้ปฏิบัติไว้แล้ว
นั้น
กรมวิชาการเกษตรจึงกำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับข้อความในใบรับรองปลอดศัตรูพืชไว้
ดังนี้
๑.
ห้ามเติมข้อความอื่นใดที่ไม่เกี่ยวกับการปลอดโรคและศัตรูพืชลงในใบรับรองปลอดศัตรูพืช
๒.
ในใบรับรองปลอดศัตรูพืชจะรับรองแต่เพียงว่า
พืชหรือผลิตผลพืชปลอดจากโรคและศัตรูพืชหรือจะระบุชนิดของยาปราบศัตรูพืช
อัตราส่วนและเวลาที่ใช้ไว้ด้วยก็ได้
๓.
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๒๔
เผดิม ฐิตะฐาน
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
พิมลกร/ผู้จัดทำ
๒๕
กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒๕
กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๘/ตอนที่ ๑๒๕/หน้า ๒๖๓๖/๔ สิงหาคม ๒๕๒๔ |
323580 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2523) เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๒๓)
เรื่อง
แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงเกษตร
เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
(ฉบับที่ ๘) ลงวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๑๑
ข้อ
๒ แต่งตั้งให้ผู้มีตำแหน่งต่อไปนี้
เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ คือ
๑.
รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร
๒.
ผู้อำนายการกอง กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
๓.
หัวหน้าฝ่ายด่านตรวจพืช กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
๔.
หัวหน้าฝ่ายวิชาการกักกันพืช กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
๕.
เจ้าหน้าที่บริหารงานการเกษตร ๖, เจ้าหน้าที่บริหารงานการเกษตร ๕,
เจ้าหน้าที่บริหารงานการเกษตร ๔ ในฝ่ายด่านตรวจพืช กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
กรมวิชาการเกษตร
๖.
นักวิชาการเกษตร ๖, นักวิชาการเกษตร ๕, นักวิชาการเกษตร ๔ และนักวิชาการเกษตร ๓
ในฝ่ายด่านตรวจพืชและฝ่ายวิชาการกักกันพืช กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
กรมวิชาการเกษตร
๗.
นักโรคพืชวิทยา ๖, นักโรคพืชวิทยา ๕, นักโรคพืชวิทยา ๔ และนักโรคพืชวิทยา ๓
ในฝ่ายวิชาการกักกันพืช กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
๘.
นักสัตววิทยา ๖, นักสัตววิทยา ๕, นักสัตววิทยา ๔ และนักสัตววิทยา ๓
ในฝ่ายวิชาการกักกันพืช กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
๙.
เจ้าพนักงานการเกษตร ๕, เจ้าพนักงานการเกษตร ๔, เจ้าพนักงานการเกษตร ๓
และเจ้าพนักงานการเกษตร ๒ ในฝ่ายด่านตรวจพืชและฝ่ายวิชาการกักกันพืช
กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
๑๐.
เจ้าหน้าที่การเกษตร ๔, เจ้าหน้าที่การเกษตร ๓, เจ้าหน้าที่การเกษตร ๒
และเจ้าหน้าที่การเกษตร ๑ ในฝ่ายด่านตรวจพืชและฝ่ายวิชาการกักกันพืช
กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
มีนาคม ๒๕๒๓
ระพี สาคริก
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ศรตม์/ผู้จัดทำ
๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
พิมลกร/ปรับปรุง
๒๕ กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒๘ กันยายน ๒๕๕๖
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๕๑/หน้า ๙๔๖/๑ เมษายน ๒๕๒๓ |
323579 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฉบับที่ 14) เรื่อง กำหนดพืช ศัตรูพืชหรือพาหะเป็นสิ่งต้องห้าม ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(ฉบับที่ ๑๔)
เรื่อง กำหนดพืช
ศัตรูพืชหรือพาหะเป็นสิ่งต้องห้าม
ตามพระราชบัญญัติกักพืช
พ.ศ. ๒๕๐๗[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะเป็นสิ่งต้องห้ามเพิ่มเติม ดังนี้
ลำดับที่
พืช ศัตรูพืชหรือพาหะ
แหล่งที่กำหนด
ข้อยกเว้น
๑
เฟินน้ำซาลวิเนีย
(Salvinia molesta Match)
ทุกแหล่ง
-
๒
สเปนิช มอส์ส (Spanish Moss; Tillandsia usneoides Linn.)
ทุกแหล่ง
-
เงื่อนไข
ในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้นำสิ่งต้องห้ามเข้ามาเพื่อการทดลองหรือการวิจัย ต้องกระทำตามวิธีปฏิบัติทางวิชาการตามที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรเห็นสมควร
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
ธันวาคม ๒๕๒๑
ป. กรรณสูต
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ศรตม์/ผู้จัดทำ
๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
พิมลกร/ปรับปรุง
๒๕ กันยายน ๒๕๕๖
พลัฐวัษ/ตรวจ
๒๕ กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม๙๖/ตอนที่ ๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๙/๑ มกราคม ๒๕๒๒ |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.