sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
738215
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากนิวซีแลนด์ พ.ศ. 2558
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากนิวซีแลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๘ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลเชอรี่สดนำเข้าเพื่อการค้าจากนิวซีแลนด์เสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดเพื่อการค้าจากนิวซีแลนด์ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากนิวซีแลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืชที่อนุญาต ผลเชอรี่สด (cherry, Prunus avium) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลเชอรี่สดจากนิวซีแลนด์ปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ นิวซีแลนด์ คือ Ministry for Primary Industries ได้รับมอบหมายให้เป็นองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ (National Plant Protection Organization) อย่างเป็นทางการของนิวซีแลนด์ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “NPPO” ข้อ ๖ การอนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลเชอรี่สดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในนิวซีแลนด์ไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๘ แหล่งปลูก ผลเชอรี่สดต้องเป็นผลผลิตจากนิวซีแลนด์และมาจากพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่ง NPPO กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ สวนในแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาตที่จะส่งออกผลเชอรี่สดไปยังราชอาณาจักรไทยต้องเป็นสวนที่ปลูกเพื่อการค้าและจดทะเบียนไว้กับ NPPO หรือภายใต้ระบบที่ NPPO ให้การรับรอง NPPO ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอและต้องดำเนินการจดทะเบียนสวนให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนที่จดทะเบียนต้องมีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในสวนโดยต้องรักษาความสะอาดสวน และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมเกษตรกรเจ้าของสวนต้องมีการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อกำจัดศัตรูพืชอย่างครบถ้วนแล้วภายในสวนต้องเก็บรักษาบันทึกการติดตามประชากรศัตรูพืชและการกำจัดศัตรูพืช และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้เพื่อการตรวจพิสูจน์เมื่อได้รับการร้องขอ ๙.๓ NPPO ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงคัดบรรจุผลไม้ ๑๐.๑ NPPO ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงคัดบรรจุผลไม้ที่จะส่งออกผลเชอรี่สดไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงคัดบรรจุผลไม้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงคัดบรรจุผลไม้ให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ โรงคัดบรรจุผลไม้ที่จดทะเบียนต้องนำผลเชอรี่สดมาจากสวนที่จดทะเบียนในแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการทวนสอบย้อนกลับแหล่งที่มาได้อย่างรวดเร็วต้องเก็บบันทึกรายชื่อของเกษตรกรเจ้าของสวนซึ่งส่งออกผลไม้ไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๐.๓ โรงคัดบรรจุผลไม้ต้องจัดทำเอกสารมาตรฐานการปฏิบัติงานซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุ ๑๐.๔ NPPO ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงคัดบรรจุผลไม้ก่อนจดทะเบียนโรงคัดบรรจุผลไม้นั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงคัดบรรจุผลไม้ต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๐.๕ การตรวจผลเชอรี่สดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงคัดบรรจุผลไม้ที่จดทะเบียนหรือสถานที่สำหรับการตรวจสอบด้านสุขอนามัยพืชซึ่ง NPPO ให้การรับรองเท่านั้น ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ นิวซีแลนด์ได้รับการยอมรับว่าเป็นพื้นที่ปลอดศัตรูพืชสำหรับแมลงวันผลไม้ ซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ๑๑.๑ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช (International Standard for Phytosanitary Measures, ISPMs) ที่เกี่ยวข้อง ๑๑.๒ NPPO ต้องบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อรักษาสถานภาพของพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามอย่างสม่ำเสมอสำหรับแมลงวันผลไม้ศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบเป็นระยะถึงสถานภาพของแมลงวันผลไม้รวมถึงการดำเนินการที่เกี่ยวเนื่องกับการสำรวจเพื่อค้นหาและการกำจัดให้หมดสิ้นไปซึ่งแมลงวันผลไม้ในนิวซีแลนด์ ๑๑.๓ NPPO ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบโดยทันทีถ้ามีการยืนยันพบการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ต้องระงับการให้การรับรองการส่งออกผลเชอรี่สดที่ไม่ผ่านการกำจัดศัตรูพืชจากพื้นที่นั้นมายังราชอาณาจักรไทย และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่ให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ๑๑.๔ กรมวิชาการเกษตรสงวนสิทธิที่จะส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปนิวซีแลนด์เพื่อพิสูจน์ว่าการดำเนินการฟื้นพื้นที่ที่พบการระบาดของแมลงวันผลไม้ให้กลับมาเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ประสบผลสำเร็จแล้ว นิวซีแลนด์ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการเดินทางของพนักงานเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติภารกิจนี้ ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๒.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูก โพลีสไตรีน พลาสติก หรือลังไม้แบบต่าง ๆ โดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้เป็นวัสดุใหม่หรือแปรใช้ใหม่ กรณีที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกล่องกระดาษหรือพลาสติกบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ต้องสะอาดและใหม่เท่านั้น ๑๒.๒ ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ กิ่งก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๒.๓ ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้การทวนสอบย้อนกลับแหล่งที่มาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ - ประเทศแหล่งกำเนิด (เช่น ผลิตผลของนิวซีแลนด์ ผลผลิตของนิวซีแลนด์ เป็นต้น) - ชื่อบริษัทส่งออก - ชื่อผลไม้ (ชื่อสามัญ) - หมายเลขทะเบียนโรงคัดบรรจุสินค้า - หมายเลขทะเบียนสวน ๑๒.๔ ในกรณีส่งออกผลเชอรี่สดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ดี ในกรณีบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวางอนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๒.๕ ผลเชอรี่สดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืชที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๓ การตรวจส่งออก ๑๓.๑ ต้องสุ่มตรวจผลเชอรี่สดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการและต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ๑๓.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ผลเชอรี่สดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ข้อ ๑๔ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๔.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย NPPO กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of cherry fruit has been produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of cherry fruit from New Zealand to Thailand” ๑๔.๒ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลเชอรี่สด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๕ การตรวจนำเข้า ๑๕.๑ เมื่อผลเชอรี่สดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าจะดำเนินการหลังจากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๕.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลเชอรี่สดและตรวจสอบเพื่อยืนยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิดและต้องกักผลไม้ไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๕.๓ ถ้ามีผลเชอรี่สดจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจทั้งหมด ถ้ามีจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๕.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลเชอรี่สด ต้องกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) ส่งกลับ หรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๕.๕ ในกรณีตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) ส่งกลับ หรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราว จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๕.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลเชอรี่สดกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๕.๖.๑ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๕.๖.๒ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๕.๖.๓ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๑๖ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๖.๑ การส่งออกผลเชอรี่สดจากนิวซีแลนด์ไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยนิวซีแลนด์ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๖.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น กรมวิชาการเกษตรอาจส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในนิวซีแลนด์ ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าได้อีกต่อไป โดยนิวซีแลนด์ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ อนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลเชอรี่สดจากนิวซีแลนด์ แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากนิวซีแลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๘ ปริญสินีย์/ตรวจ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๖๗ ง/หน้า ๒๖/๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๘
738213
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลอะโวกาโดสดจากนิวซีแลนด์ พ.ศ. 2558
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลอะโวกาโดสดจากนิวซีแลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๘ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลอะโวกาโดสดนำเข้าเพื่อการค้าจากนิวซีแลนด์เสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลอะโวกาโดสดเพื่อการค้าจากนิวซีแลนด์ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลอะโวกาโดสดจากนิวซีแลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืชที่อนุญาต ผลอะโวกาโดสด (avocado, Persea americana) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลอะโวกาโดสดจากนิวซีแลนด์ปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ นิวซีแลนด์ คือ Ministry for Primary Industries ได้รับมอบหมายให้เป็นองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ (National Plant Protection Organization) อย่างเป็นทางการของนิวซีแลนด์ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “NPPO” ข้อ ๖ การอนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลอะโวกาโดสดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในนิวซีแลนด์ไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๘ แหล่งปลูก ผลอะโวกาโดสดต้องเป็นผลผลิตจากนิวซีแลนด์และมาจากพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่ง NPPO กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ สวนในแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาตที่จะส่งออกผลอะโวกาโดสดไปยังราชอาณาจักรไทยต้องเป็นสวนที่ปลูกเพื่อการค้าและจดทะเบียนไว้กับ NPPO หรือภายใต้ระบบที่ NPPO ให้การรับรอง NPPO ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอและต้องดำเนินการจดทะเบียนสวนให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนที่จดทะเบียนต้องมีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในสวนโดยต้องรักษาความสะอาดสวน และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมเกษตรกรเจ้าของสวนต้องมีการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อกำจัดศัตรูพืชอย่างครบถ้วนแล้วภายในสวนต้องเก็บรักษาบันทึกการติดตามประชากรศัตรูพืชและการกำจัดศัตรูพืช และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้เพื่อการตรวจพิสูจน์เมื่อได้รับการร้องขอ ๙.๓ NPPO ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงคัดบรรจุผลไม้ ๑๐.๑ NPPO ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงคัดบรรจุผลไม้ที่จะส่งออกผลอะโวกาโดสดไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงคัดบรรจุผลไม้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอและต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงคัดบรรจุผลไม้ให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ โรงคัดบรรจุผลไม้ที่จดทะเบียนต้องนำผลอะโวกาโดสดมาจากสวนที่จดทะเบียนในแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการทวนสอบย้อนกลับแหล่งที่มาได้อย่างรวดเร็วต้องเก็บบันทึกรายชื่อของเกษตรกรเจ้าของสวนซึ่งส่งออกผลไม้ไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๐.๓ โรงคัดบรรจุผลไม้ต้องจัดทำเอกสารมาตรฐานการปฏิบัติงานซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุ ๑๐.๔ NPPO ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงคัดบรรจุผลไม้ก่อนจดทะเบียนโรงคัดบรรจุผลไม้นั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงคัดบรรจุผลไม้ต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๐.๕ การตรวจผลอะโวกาโดสดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงคัดบรรจุผลไม้ที่จดทะเบียนหรือสถานที่สำหรับการตรวจสอบด้านสุขอนามัยพืชซึ่ง NPPO ให้การรับรองเท่านั้น ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ นิวซีแลนด์ได้รับการยอมรับว่าเป็นพื้นที่ปลอดศัตรูพืชสำหรับแมลงวันผลไม้ ซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ๑๑.๑ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช (International Standard for Phytosanitary Measures, ISPMs) ที่เกี่ยวข้อง ๑๑.๒ NPPO ต้องบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อรักษาสถานภาพของพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามอย่างสม่ำเสมอสำหรับแมลงวันผลไม้ศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบเป็นระยะถึงสถานภาพของแมลงวันผลไม้รวมถึงการดำเนินการที่เกี่ยวเนื่องกับการสำรวจเพื่อค้นหาและการกำจัดให้หมดสิ้นไปซึ่งแมลงวันผลไม้ในนิวซีแลนด์ ๑๑.๓ NPPO ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบโดยทันทีถ้ามีการยืนยันพบการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ต้องระงับการให้การรับรองการส่งออกผลอะโวกาโดสดที่ไม่ผ่านการกำจัดศัตรูพืชจากพื้นที่นั้นมายังราชอาณาจักรไทย และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่ให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ๑๑.๔ กรมวิชาการเกษตรสงวนสิทธิที่จะส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปนิวซีแลนด์เพื่อพิสูจน์ว่าการดำเนินการฟื้นพื้นที่ที่พบการระบาดของแมลงวันผลไม้ให้กลับมาเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ประสบผลสำเร็จแล้ว นิวซีแลนด์ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการเดินทางของพนักงานเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติภารกิจนี้ ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๒.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูก โพลีสไตรีน พลาสติก หรือลังไม้แบบต่าง ๆ โดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้เป็นวัสดุใหม่หรือแปรใช้ใหม่ กรณีที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกล่องกระดาษหรือพลาสติกบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ต้องสะอาดและใหม่เท่านั้น ๑๒.๒ ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ กิ่งก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๒.๓ ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้การทวนสอบย้อนกลับแหล่งที่มาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ - ประเทศแหล่งกำเนิด (เช่น ผลิตผลของนิวซีแลนด์ ผลผลิตของนิวซีแลนด์ เป็นต้น) - ชื่อบริษัทส่งออก - ชื่อผลไม้ (ชื่อสามัญ) - หมายเลขทะเบียนโรงคัดบรรจุสินค้า - หมายเลขทะเบียนสวน ๑๒.๔ ในกรณีส่งออกผลอะโวกาโดสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ดี ในกรณีบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวางอนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๒.๕ ผลอะโวกาโดสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืชที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๓ การตรวจส่งออก ๑๓.๑ ต้องสุ่มตรวจผลอะโวกาโดสดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการ และต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ๑๓.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ผลอะโวกาโดสดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ข้อ ๑๔ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๔.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย NPPO กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of avocado fruit has been produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of avocado fruit from New Zealand to Thailand” ๑๔.๒ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลอะโวกาโดสด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๕ การตรวจนำเข้า ๑๕.๑ เมื่อผลอะโวกาโดสดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าจะดำเนินการหลังจากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๕.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลอะโวกาโดสดและตรวจสอบเพื่อยืนยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิดและต้องกักผลไม้ไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๕.๓ ถ้ามีผลอะโวกาโดสดจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจทั้งหมด ถ้ามีจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๕.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลอะโวกาโดสด ต้องกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) ส่งกลับ หรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๕.๕ ในกรณีตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) ส่งกลับ หรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายกรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราว จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้น ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๕.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลอะโวกาโดสดกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๕.๖.๑ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๕.๖.๒ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๕.๖.๓ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๑๖ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๖.๑ การส่งออกผลอะโวกาโดสดจากนิวซีแลนด์ไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้นโดยนิวซีแลนด์ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๖.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น กรมวิชาการเกษตรอาจส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในนิวซีแลนด์ ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าได้อีกต่อไปโดยนิวซีแลนด์ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ อนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลอะโวกาโดสดจากนิวซีแลนด์ แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลอะโวกาโดสดจากนิวซีแลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๘ ปริญสินีย์/ตรวจ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๖๗ ง/หน้า ๒๑/๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๘
738211
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลับสดจากนิวซีแลนด์ พ.ศ. 2558
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลับสดจากนิวซีแลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๘ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลพลับสดนำเข้าเพื่อการค้าจากนิวซีแลนด์เสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลพลับสดเพื่อการค้าจากนิวซีแลนด์ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลับสดจากนิวซีแลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืชที่อนุญาต ผลพลับสด (persimmon, Diospyros kaki) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลพลับสดจากนิวซีแลนด์ปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ นิวซีแลนด์ คือ Ministry for Primary Industries ได้รับมอบหมายให้เป็นองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ (National Plant Protection Organization) อย่างเป็นทางการของนิวซีแลนด์ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “NPPO” ข้อ ๖ การอนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลพลับสดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในนิวซีแลนด์ไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๘ แหล่งปลูก ผลพลับสดต้องเป็นผลผลิตจากนิวซีแลนด์และมาจากพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่ง NPPO กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ สวนในแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาตที่จะส่งออกผลพลับสดไปยังราชอาณาจักรไทยต้องเป็นสวนที่ปลูกเพื่อการค้าและจดทะเบียนไว้กับ NPPO หรือภายใต้ระบบที่ NPPO ให้การรับรอง NPPO ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอและต้องดำเนินการจดทะเบียนสวนให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนที่จดทะเบียนต้องมีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในสวนโดยต้องรักษาความสะอาดสวน และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมเกษตรกรเจ้าของสวนต้องมีการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อกำจัดศัตรูพืชอย่างครบถ้วนแล้วภายในสวนต้องเก็บรักษาบันทึก การติดตามประชากรศัตรูพืชและการกำจัดศัตรูพืช และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้เพื่อการตรวจพิสูจน์เมื่อได้รับการร้องขอ ๙.๓ NPPO ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงคัดบรรจุผลไม้ ๑๐.๑ NPPO ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงคัดบรรจุผลไม้ที่จะส่งออกผลพลับสดไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงคัดบรรจุผลไม้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงคัดบรรจุผลไม้ให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ โรงคัดบรรจุผลไม้ที่จดทะเบียนต้องนำผลพลับสดมาจากสวนที่จดทะเบียนในแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการทวนสอบย้อนกลับแหล่งที่มาได้อย่างรวดเร็วต้องเก็บบันทึกรายชื่อของเกษตรกรเจ้าของสวนซึ่งส่งออกผลไม้ไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๐.๓ โรงคัดบรรจุผลไม้ต้องจัดทำเอกสารมาตรฐานการปฏิบัติงานซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุ ๑๐.๔ NPPO ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงคัดบรรจุผลไม้ก่อนจดทะเบียนโรงคัดบรรจุผลไม้นั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงคัดบรรจุผลไม้ต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๐.๕ การตรวจผลพลับสดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงคัดบรรจุผลไม้ที่จดทะเบียนหรือสถานที่สำหรับการตรวจสอบด้านสุขอนามัยพืชซึ่ง NPPO ให้การรับรองเท่านั้น ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ นิวซีแลนด์ได้รับการยอมรับว่าเป็นพื้นที่ปลอดศัตรูพืชสำหรับแมลงวันผลไม้ ซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ๑๑.๑ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช (International Standard for Phytosanitary Measures, ISPMs) ที่เกี่ยวข้อง ๑๑.๒ NPPO ต้องบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อรักษาสถานภาพของพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามอย่างสม่ำเสมอสำหรับแมลงวันผลไม้ศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบเป็นระยะถึงสถานภาพของแมลงวันผลไม้รวมถึงการดำเนินการที่เกี่ยวเนื่องกับการสำรวจเพื่อค้นหาและการกำจัดให้หมดสิ้นไปซึ่งแมลงวันผลไม้ในนิวซีแลนด์ ๑๑.๓ NPPO ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบโดยทันทีถ้ามีการยืนยันพบการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ต้องระงับการให้การรับรองการส่งออกผลพลับสดที่ไม่ผ่านการกำจัดศัตรูพืชจากพื้นที่นั้นมายังราชอาณาจักรไทย และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่ให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ๑๑.๔ กรมวิชาการเกษตรสงวนสิทธิที่จะส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปนิวซีแลนด์เพื่อพิสูจน์ว่าการดำเนินการฟื้นพื้นที่ที่พบการระบาดของแมลงวันผลไม้ให้กลับมาเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ประสบผลสำเร็จแล้ว นิวซีแลนด์ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการเดินทางของพนักงานเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติภารกิจนี้ ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๒.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูก โพลีสไตรีน พลาสติก หรือลังไม้แบบต่าง ๆ โดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้เป็นวัสดุใหม่หรือแปรใช้ใหม่ กรณีที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกล่องกระดาษหรือพลาสติกบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ต้องสะอาดและใหม่เท่านั้น ๑๒.๒ ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ กิ่งก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๒.๓ ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้การทวนสอบย้อนกลับแหล่งที่มาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ - ประเทศแหล่งกำเนิด (เช่น ผลิตผลของนิวซีแลนด์ ผลผลิตของนิวซีแลนด์ เป็นต้น) - ชื่อบริษัทส่งออก - ชื่อผลไม้ (ชื่อสามัญ) - หมายเลขทะเบียนโรงคัดบรรจุสินค้า - หมายเลขทะเบียนสวน ๑๒.๔ ในกรณีส่งออกผลพลับสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ดี ในกรณีบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวางอนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๒.๕ ผลพลับสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืชที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๓ การตรวจส่งออก ๑๓.๑ ต้องสุ่มตรวจผลพลับสดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการและต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ๑๓.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ผลพลับสดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ข้อ ๑๔ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๔.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย NPPO กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of persimmon fruit has been produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of persimmon fruit from New Zealand to Thailand” ๑๔.๒ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลพลับสด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๕ การตรวจนำเข้า ๑๕.๑ เมื่อผลพลับสดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าจะดำเนินการหลังจากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๕.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลพลับสดและตรวจสอบเพื่อยื่นยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิดและต้องกักผลไม้ไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๕.๓ ถ้ามีผลพลับสดจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจทั้งหมด ถ้ามีจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๕.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลพลับสด ต้องกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) ส่งกลับ หรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๕.๕ ในกรณีตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) ส่งกลับ หรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราว จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๕.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลพลับสดกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๕.๖.๑ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๕.๖.๒ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๕.๖.๓ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๑๖ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๖.๑ การส่งออกผลพลับสดจากนิวซีแลนด์ไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยนิวซีแลนด์ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๖.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น กรมวิชาการเกษตรอาจส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในนิวซีแลนด์ ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าได้อีกต่อไปโดยนิวซีแลนด์ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ อนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลพลับสดจากนิวซีแลนด์ แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลับสดจากนิวซีแลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๘ ปริญสินีย์/ตรวจ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๖๗ ง/หน้า ๑๖/๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๘
738209
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากนิวซีแลนด์ พ.ศ. 2558
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากนิวซีแลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๘ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลกีวีสดนำเข้าเพื่อการค้าจากนิวซีแลนด์เสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดเพื่อการค้าจากนิวซีแลนด์ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากนิวซีแลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืชที่อนุญาต ชนิดของผลกีวีสดที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย ได้แก่ ๓.๑ Actinidia arguta ๓.๒ Actinidia chinensis ๓.๓ Actinidia deliciosa ๓.๔ Actinidia deliciosa x chinensis ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลกีวีสดจากนิวซีแลนด์ปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ นิวซีแลนด์ คือ Ministry for Primary Industries ได้รับมอบหมายให้เป็นองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ (National Plant Protection Organization) อย่างเป็นทางการของนิวซีแลนด์ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “NPPO” ข้อ ๖ การอนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลกีวีสดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในนิวซีแลนด์ไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๘ แหล่งปลูก ผลกีวีสดต้องเป็นผลผลิตจากนิวซีแลนด์และมาจากพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่ง NPPO กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ สวนในแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาตที่จะส่งออกผลกีวีสดไปยังราชอาณาจักรไทยต้องเป็นสวนที่ปลูกเพื่อการค้าและจดทะเบียนไว้กับ NPPO หรือภายใต้ระบบที่ NPPO ให้การรับรอง NPPO ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอและต้องดำเนินการจดทะเบียนสวนให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนที่จดทะเบียนต้องมีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในสวนโดยต้องรักษาความสะอาดสวน และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมเกษตรกรเจ้าของสวนต้องมีการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อกำจัดศัตรูพืชอย่างครบถ้วนแล้วภายในสวนต้องเก็บรักษาบันทึกการติดตามประชากรศัตรูพืชและการกำจัดศัตรูพืช และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้เพื่อการตรวจพิสูจน์เมื่อได้รับการร้องขอ ๙.๓ NPPO ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงคัดบรรจุผลไม้ ๑๐.๑ NPPO ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงคัดบรรจุผลไม้ที่จะส่งออกผลกีวีสดไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงคัดบรรจุผลไม้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงคัดบรรจุผลไม้ให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ โรงคัดบรรจุผลไม้ที่จดทะเบียนต้องนำผลกีวีสดมาจากสวนที่จดทะเบียนในแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการทวนสอบย้อนกลับแหล่งที่มาได้อย่างรวดเร็ว ต้องเก็บบันทึกรายชื่อของเกษตรกรเจ้าของสวนซึ่งส่งออกผลไม้ไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๐.๓ โรงคัดบรรจุผลไม้ต้องจัดทำ เอกสารมาตรฐานการปฏิบัติงานซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุ ๑๐.๔ NPPO ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงคัดบรรจุผลไม้ก่อนจดทะเบียนโรงคัดบรรจุผลไม้นั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงคัดบรรจุผลไม้ต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๐.๕ การตรวจผลกีวีสดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงคัดบรรจุผลไม้ที่จดทะเบียนหรือสถานที่สำหรับการตรวจสอบด้านสุขอนามัยพืชซึ่ง NPPO ให้การรับรองเท่านั้น ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ นิวซีแลนด์ได้รับการยอมรับว่าเป็นพื้นที่ปลอดศัตรูพืชสำหรับแมลงวันผลไม้ ซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ๑๑.๑ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช (International Standard for Phytosanitary Measures, ISPMs) ที่เกี่ยวข้อง ๑๑.๒ NPPO ต้องบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อรักษาสถานภาพของพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามอย่างสม่ำเสมอสำหรับแมลงวันผลไม้ศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบเป็นระยะถึงสถานภาพของแมลงวันผลไม้รวมถึงการดำเนินการที่เกี่ยวเนื่องกับการสำรวจเพื่อค้นหาและการกำจัดให้หมดสิ้นไปซึ่งแมลงวันผลไม้ในนิวซีแลนด์ ๑๑.๓ NPPO ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบโดยทันทีถ้ามีการยืนยันพบการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ต้องระงับการให้การรับรองการส่งออกผลกีวีสดที่ไม่ผ่านการกำจัดศัตรูพืชจากพื้นที่นั้นมายังราชอาณาจักรไทย และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบ ถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่ให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ๑๑.๔ กรมวิชาการเกษตรสงวนสิทธิที่จะส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปนิวซีแลนด์เพื่อพิสูจน์ว่าการดำเนินการฟื้นพื้นที่ที่พบการระบาดของแมลงวันผลไม้ให้กลับมาเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ประสบผลสำเร็จแล้ว นิวซีแลนด์ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการเดินทางของพนักงานเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติภารกิจนี้ ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๒.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูก โพลีสไตรีน พลาสติก หรือลังไม้แบบต่าง ๆ โดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้เป็นวัสดุใหม่หรือแปรใช้ใหม่ กรณีที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกล่องกระดาษหรือพลาสติกบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ต้องสะอาดและใหม่เท่านั้น ๑๒.๒ ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ กิ่งก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๒.๓ ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้การทวนสอบย้อนกลับแหล่งที่มาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ - ประเทศแหล่งกำเนิด (เช่น ผลิตผลของนิวซีแลนด์ ผลผลิตของนิวซีแลนด์ เป็นต้น) - ชื่อบริษัทส่งออก - ชื่อผลไม้ (ชื่อสามัญ) - หมายเลขทะเบียนโรงคัดบรรจุสินค้า - หมายเลขทะเบียนสวน ๑๒.๔ ในกรณีส่งออกผลกีวีสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ดี ในกรณีบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวางอนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๒.๕ ผลกีวีสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืชที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๓ การตรวจส่งออก ๑๓.๑ ต้องสุ่มตรวจผลกีวีสดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการและต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ๑๓.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ผลกีวีสดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ข้อ ๑๔ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๔.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย NPPO กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of kiwi fruit has been produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of kiwi fruit from New Zealand to Thailand” ๑๔.๒ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลกีวีสด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๕ การตรวจนำเข้า ๑๕.๑ เมื่อผลกีวีสดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าจะดำเนินการหลังจากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๕.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลกีวีสดและตรวจสอบเพื่อยืนยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักผลไม้ไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๕.๓ ถ้ามีผลกีวีสดจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจทั้งหมด ถ้ามีจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๕.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลกีวีสด ต้องกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) ส่งกลับ หรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๕.๕ ในกรณีตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) ส่งกลับ หรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายกรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้า จากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราว จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๕.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลกีวีสดกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๕.๖.๑ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๕.๖.๒ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๕.๖.๓ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๑๖ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๖.๑ การส่งออกผลกีวีสดจากนิวซีแลนด์ไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำ การประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้นโดยนิวซีแลนด์ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๖.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น กรมวิชาการเกษตรอาจส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในนิวซีแลนด์ ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าได้อีกต่อไปโดยนิวซีแลนด์ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ อนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลกีวีสดจากนิวซีแลนด์ แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากนิวซีแลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๘ ปริญสินีย์/ตรวจ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๖๗ ง/หน้า ๑๑/๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๘
737690
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2558
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลส้มสดนำเข้าเพื่อการค้าจากเครือรัฐออสเตรเลียเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดเพื่อการค้าจากเครือรัฐออสเตรเลียดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๖ ข้อ ๔ ชนิดพืชที่อนุญาต ๔.๑ ผลส้มสดจากแหล่งปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย ได้แก่ ๔.๑.๑ เลมอน (lemon, Citrus limon) ๔.๑.๒ ส้มโอ (pummelo, Citrus maxima) ๔.๑.๓ เกรฟฟรุท (grapefruit, Citrus paradisi) ๔.๑.๔ ส้มเปลือกล่อน (mandarin orange, Citrus reticulata) ๔.๑.๕ ส้มหวาน (sweet orange, Citrus sinensis) ๔.๑.๖ ผลส้มสดลูกผสม (hybrid) ทุกพันธุ์ที่ปลูกเพื่อการค้า ๔.๒ ผลส้มสดจากแหล่งปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย ได้แก่ ๔.๒.๑ เลมอน (lemon, Citrus limon) ๔.๒.๒ ส้มเปลือกล่อน (mandarin orange, Citrus reticulata) ๔.๒.๓ ส้มหวาน (sweet orange, Citrus sinensis) ข้อ ๕ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลส้มสดจากเครือรัฐออสเตรเลียปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๖.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๖.๒ เครือรัฐออสเตรเลีย คือ Department of Agriculture ได้รับมอบหมายให้เป็นองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ (National Plant Protection Organization) อย่างเป็นทางการของเครือรัฐออสเตรเลีย ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “NPPO” ข้อ ๗ การอนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๘ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลส้มสดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๙ แหล่งปลูก ๙.๑ ผลส้มสดต้องเป็นผลผลิตของเครือรัฐออสเตรเลีย และมาจากพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่ง NPPO กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ๙.๒ ผลส้มสดจากแหล่งปลูกเฉพาะในรัฐต่อไปนี้ได้รับอนุญาตให้นำ เข้ามาในราชอาณาจักรไทย ๙.๒.๑ ผลส้มสดจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales) เซาท์ออสเตรเลีย (South Australia) และวิกตอเรีย (Victoria) ๙.๒.๒ ผลส้มสดจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ควีนส์แลนด์ (Queensland) เซาท์ออสเตรเลีย วิกตอเรีย และเวสเทิร์นออสเตรเลีย (Western Australia) ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๑๐.๑ สวนหรือแปลงปลูกย่อยในแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาตที่จะส่งออกผลส้มสดไปยังราชอาณาจักรไทยต้องเป็นสวนที่ปลูกเพื่อการค้าและจดทะเบียนไว้กับ NPPO หรือภายใต้ระบบที่ NPPO ให้การรับรอง NPPO ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอและต้องดำเนินการจดทะเบียนสวนให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนหรือแปลงปลูกย่อยที่จดทะเบียนต้องมีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในสวน โดยต้องรักษาความสะอาดสวน และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๑๐.๓ NPPO ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออก ๑๑.๑ NPPO ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกที่จะส่งออกผลส้มสดไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๑.๒ โรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกต้องนำผลส้มสดมาจากสวนหรือแปลงปลูกย่อยที่จดทะเบียนในแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการทวนสอบย้อนกลับแหล่งที่มาได้อย่างรวดเร็ว ต้องเก็บบันทึกรายชื่อเกษตรกรเจ้าของสวนซึ่งส่งออกผลไม้ไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๑.๓ โรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกต้องจัดทำเอกสารมาตรฐานการปฏิบัติงานซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุ ๑๑.๔ NPPO ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกก่อนจดทะเบียน และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกต้องรับผิดชอบเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๑.๕ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นหรือรมด้วยสารรมก่อนการส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ๑๑.๖ การตรวจผลส้มสดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับแมลงศัตรูพืชกักกัน ๑๒.๑ แมลงวันผลไม้ ผลส้มสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจัดการความเสี่ยงแมลงวันผลไม้ ได้แก่ halfordia fruit fly (Bactrocera halfordiae), Javis fruit fly (Bactrocera jarvisi), Krauss’s fruit fly (Bactrocera kraussi), lesser Queensland fruit fly (Bactrocera neohumeralis), mango fruit fly (Bactrocera frauenfeldi), Northern Territory fruit fly (Bactrocera aquilonis), Queensland fruit fly (Bactrocera tryoni) และ Mediterranean fruit fly (Ceratitis capitata) ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งดังต่อไปนี้ ๑๒.๑.๑ ผลส้มสดต้องมาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือ ๑๒.๑.๒ ผลส้มสดจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ๑๒.๒ แมลง Fuller’s rose beetle (Pantomorus cervinus) ผลส้มสดจากแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาต ยกเว้น รัฐควีนส์แลนด์ ที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจัดการความเสี่ยงแมลง Pantomorus cervinus ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ๑๒.๒.๑ ต้องรมด้วยเมทิลโบรไมด์ (methyl bromide) หรือ ๑๒.๒.๒ ต้องอยู่ภายใต้โครงการควบคุมแมลงภายในสวนซึ่งติดตามตรวจสอบโดย NPPO ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๓.๑ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช (International Standards for Phytosanitary Measures, ISPMs) ที่เกี่ยวข้อง ๑๓.๒ การกำหนดพื้นที่ปลูกบริเวณใดในเครือรัฐออสเตรเลียให้เป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้นั้น NPPO ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กรมวิชาการเกษตรทราบอย่างเป็นทางการต้องบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อรักษาสถานภาพของพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๓.๓ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้สำหรับแมลงวันผลไม้ Bactrocera halfordiae, Bactrocera jarvisi, Bactrocera kraussi, Bactrocera neohumeralis, Bactrocera frauenfeldi, Bactrocera aquilonis, Bactrocera tryoni และ Ceratitis capitata ในเครือรัฐออสเตรเลียปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ ๑๓.๔ การส่งออกผลส้มสดจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ไม่มีความจำเป็นต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้มสดก่อนส่งออก ทั้งนี้ ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามแมลงวันผลไม้ Bactrocera halfordiae, Bactrocera jarvisi, Bactrocera kraussi, Bactrocera neohumeralis, Bactrocera frauenfeldi, Bactrocera aquilonis, Bactrocera tryoni และ Ceratitis capitata อย่างสม่ำเสมอในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๓.๕ NPPO ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันทีที่มีการยืนยันว่าพบการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ Bactrocera halfordiae, Bactrocera jarvisi, Bactrocera kraussi, Bactrocera neohumeralis, Bactrocera frauenfeldi, Bactrocera aquilonis, Bactrocera tryoni และ Ceratitis capitata ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ NPPO ต้องระงับเป็นการชั่วคราว สำหรับการให้การรับรองการส่งออกผลส้มสดที่ไม่ได้กำจัดแมลงวันผลไม้จากพื้นที่ที่พบแมลงวันผลไม้ และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่เหล่านั้นให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ๑๓.๖ NPPO ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันที หากพบแมลงวันผลไม้ชนิดอื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ นอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ Bactrocera halfordiae, Bactrocera jarvisi, Bactrocera kraussi, Bactrocera neohumeralis, Bactrocera frauenfeldi, Bactrocera aquilonis, Bactrocera tryoni และ Ceratitis capitata ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๔ มาตรการจัดการสำหรับแมลงวันผลไม้ ผลส้มสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยซึ่งมาจากนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ควีนส์แลนด์ เซาท์ออสเตรเลีย วิกตอเรีย และเวสเทิร์นออสเตรเลีย หรือมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ซึ่งเกิดการระบาดของแมลงวันผลไม้ จะส่งออกไปได้ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็นที่อุณหภูมิและระยะเวลาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ๑๔.๑ ส้มหวานและส้มเปลือกล่อน อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๒ องศาเซลเซียส (๓๕.๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๓ องศาเซลเซียส (๓๗.๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๐ วัน หรือมากกว่า ๑๔.๒ เลมอน อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๒ องศาเซลเซียส (๓๕.๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๖ วัน หรือมากกว่า ๓ องศาเซลเซียส (๓๗.๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ข้อ ๑๕ มาตรการจัดการสำหรับแมลง Pantomorus cervinus ผลส้มสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยซึ่งมาจากแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาต ยกเว้น รัฐควีนส์แลนด์ จะส่งออกไปได้ต้องจัดการด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งดังต่อไปนี้ ๑๕.๑ การรมด้วยเมทิลโบรไมด์ ต้องผ่านการรมด้วยเมทิลโบรไมด์ที่อัตรากำหนดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิ อัตรา (กรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ระยะเวลา (ชั่วโมง) สูงกว่า ๒๑ องศาเซลเซียส ๓๒ ๒ ๑๖ - ๒๑ องศาเซลเซียส ๔๐ ๒ ๑๑ - ๑๕ องศาเซลเซียส ๔๘ ๒ ๑๐ องศาเซลเซียส ๕๖ ๒ หมายเหตุ ปริมาณของผลส้มสดจะต้องไม่เกินร้อยละ ๘๐ ของปริมาตรห้องรมและต้องไม่ดำเนินการรมผลส้มสดเมื่ออุณหภูมิผลต่ำกว่า ๑๐ องศาเซลเซียส ๑๕.๒ โครงการควบคุมแมลงภายในสวน ๑๕.๒.๑ NPPO ต้องจดทะเบียนสวนหรือแปลงปลูกย่อยทั้งหมดในแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาตที่จะส่งออกผลส้มสดไปยังราชอาณาจักรไทย ยกเว้น รัฐควีนส์แลนด์ และต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชสำหรับ Pantomorus cervinus ๑๕.๒.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนต้องปฏิบัติตามโครงการควบคุมแมลง Pantomorus cervinus ในสวนซึ่งได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตรและ NPPO ๑๕.๒.๓ NPPO ต้องมอบบัญชีหมายเลขทะเบียนสวนหรือแปลงปลูกย่อยทั้งหมด ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ภายใต้โครงการควบคุมแมลง Pantomorus cervinus ในสวน ให้แก่กรมวิชาการเกษตรล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนเริ่มการส่งออกในแต่ละฤดูกาล ข้อ ๑๖ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ๑๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นสามารถดำเนินการได้ทั้งก่อนส่งออกหรือระหว่างขนส่ง สำหรับการดำเนินการระหว่างขนส่งนั้น อาจจะดำเนินการเพียงบางส่วนก่อนส่งออกโดยเริ่มต้นดำเนินการในเครือรัฐออสเตรเลียและเสร็จสิ้นสมบูรณ์ระหว่างขนส่ง ในกรณีที่การดำเนินการระหว่างขนส่งเกิดล้มเหลว อาจจะดำเนินการต่อให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้เมื่อสินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง ๑๖.๒ การประเมินผลสำเร็จของการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นทั้งกรณีก่อนส่งออกและระหว่างขนส่ง จะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เท่านั้น ๑๖.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ๑๖.๓.๑ ต้องดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของ NPPO โดยต้องดำเนินการในห้องเย็นกำจัดศัตรูพืชซึ่งได้รับการรับรองจาก NPPO และกรมวิชาการเกษตร ผลส้มสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยอาจทำการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นควบคู่ไปพร้อมกับผลส้มสดที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นได้ ๑๖.๓.๒ ถ้าผลส้มสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก NPPO ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดตามเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ ๑๖.๔ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๖.๔.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นโดยดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้าระหว่างขนส่งสินค้า ๑๖.๔.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งซึ่งดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้านั้น อาจจะเริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่ตู้ขนส่งสินค้าอยู่บนบกและเสร็จสิ้นในช่วงระหว่างขนส่งหรือเสร็จสิ้นเมื่อตู้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ๑๖.๔.๓ การส่งออกผลส้มสดซึ่งต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น ต้องลดอุณหภูมิผลตรงบริเวณกึ่งกลางผลให้ต่ำลงถึงระดับเดียวกันกับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่กำหนดสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้เป็นการล่วงหน้าก่อนขนถ่ายเข้าตู้ขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอุณหภูมิผลได้ลดต่ำลงถึงระดับที่เหมาะสม ก่อนเริ่มต้นกระบวนการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นและต้องรักษาระดับอุณหภูมิผลให้คงที่ติดต่อกันตลอดไป ๑๖.๔.๔ ถ้าผลส้มสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง NPPO ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ นอกจากนี้ ต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๕ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับสินค้าด้วยทุกครั้ง ข้อ ๑๗ ข้อกำหนดสำหรับผู้ประกอบการรมเมทิลโบรไมด์ ๑๗.๑ NPPO ต้องดำเนินการจดทะเบียนผู้ประกอบการซึ่งได้แสดงให้เห็นแล้วว่ามีความสามารถที่จะดำเนินการรมเมทิลโบรไมด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามข้อกำหนด ต้องมอบรายชื่อผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนแล้วให้กับกรมวิชาการเกษตร และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันทีเมื่อมีการแก้ไข เนื่องจากจดทะเบียนผู้ประกอบการเพิ่มเติม การปรับปรุงแก้ไขผู้ประกอบการในปัจจุบันหรือการยกเลิกหรือการพักใช้ทะเบียนเป็นการชั่วคราว ๑๗.๒ การจดทะเบียนแต่ละผู้ประกอบการรมเมทิลโบรไมด์ต้องมีข้อมูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ชื่อผู้ประกอบการที่จดทะเบียน สถานที่ตั้ง หมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร และอื่น ๆ ชื่อเจ้าของและผู้จัดการ รัฐที่ผู้ประกอบการดำเนินการรมสินค้า หมายเลขการขึ้นทะเบียน ๑๗.๓ กรมวิชาการเกษตรต้องดำเนินการตรวจสอบผู้ประกอบการซึ่งขึ้นทะเบียนทั้งหมดและเฉพาะผู้ประกอบการที่ผ่านการรับรองจากกรมวิชาการเกษตรแล้วเท่านั้นถึงจะสามารถดำเนินการรมเมทิลโบรไมด์กับผลส้มสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย ๑๗.๔ กรมวิชาการเกษตรจะติดตามการดำเนินการของผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองกรณีที่กรมวิชาการเกษตรตรวจพบว่าการรมเมทิลโบรไมด์ไม่มีประสิทธิภาพ กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งให้ NPPO ทราบทันที กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการดำเนินการของผู้ประกอบการนั้นไปจนกว่าจะมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๑๘ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๘.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูก โพลีสไตรีน พลาสติก หรือลังไม้แบบต่าง ๆ โดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้เป็นวัสดุใหม่หรือแปรใช้ใหม่ กรณีที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกล่องกระดาษหรือพลาสติก บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ต้องสะอาดและใหม่เท่านั้น ๑๘.๒ ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ กิ่งก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๘.๓ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ผลส้มสดมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ๑๘.๓.๑ ผลส้มสดส่งออกทางอากาศต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ตามข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ซึ่งไม่มีรูเปิด หรือ (๒) ต้องบรรจุในถุงตาข่ายแล้วจึงบรรจุในบรรจุภัณฑ์ ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร หรือ (๓) ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์เมื่อปิดสนิทแล้วต้องปิดช่องระบายอากาศทั้งหมดบนบรรจุภัณฑ์ด้วยตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร หรือ (๔) ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่มัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นวาง ต้องห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดด้วยตาข่ายหรือพลาสติก ถ้าใช้ตาข่ายขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๘.๓.๒ ผลส้มสดส่งออกทางน้ำจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ตามข้อกำหนดข้อ ๑๘.๓.๑ ถ้าขนถ่ายผลไม้เข้าตู้ขนส่งสินค้าและปิดผนึกตู้เมื่อตู้ขนส่งสินค้าอยู่ภายในบริเวณเขตพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๘.๔ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ผลส้มสดซึ่งผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ๑๘.๔.๑ ผลส้มสดซึ่งผ่านการกำจัดศัตรูด้วยความเย็นก่อนส่งออกและส่งออกทางอากาศหรือทางน้ำต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ตามข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่งตามข้อ ๑๘.๓.๑ ๑๘.๔.๒ ผลส้มสดซึ่งผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ตามข้อกำหนดข้อ ๑๘.๓.๑ ๑๘.๕ ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้การทวนสอบย้อนกลับแหล่งที่มาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ - ประเทศแหล่งกำเนิด (เช่น ผลิตผลของออสเตรเลีย ผลผลิตของออสเตรเลีย เป็นต้น) - ชื่อบริษัทส่งออก - ชื่อผลไม้ (ชื่อสามัญ) - หมายเลขทะเบียนโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออก - หมายเลขทะเบียนสวน ๑๘.๖ ในกรณีส่งออกผลส้มสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องไม่ได้มัดรวมกันต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีส่งออกโดยบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวางอนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๘.๗ ผลส้มสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืชที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๙ การตรวจส่งออก NPPO ต้องมั่นใจว่าได้ดำเนินการตามข้อกำหนดต่าง ๆ ของกรมวิชาการเกษตร ครบสมบูรณ์แล้ว ก่อนให้การรับรองผลส้มสดส่งออกไปราชอาณาจักรไทยดังต่อไปนี้ ๑๙.๑ ได้ดำเนินการสุ่มตรวจผลส้มสดตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการและพบว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ๑๙.๒ ผลส้มสดได้ผ่านมาตรการจัดการศัตรูพืชกักกันดังต่อไปนี้ ๑๙.๒.๑ ผลส้มสดซึ่งมาจากนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ควีนส์แลนด์ เซาท์ออสเตรเลีย วิกตอเรีย และเวสเทิร์นออสเตรเลีย หรือมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ซึ่งเกิดการระบาดของแมลงวันผลไม้ต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นตามข้อกำหนดข้อ ๑๔ เพื่อกำจัดแมลงวันผลไม้ ๑๙.๒.๒ ผลส้มสดจากแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาต ยกเว้น รัฐควีนส์แลนด์ ได้ผ่านการจัดการแมลง Pantomorus cervinus ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ได้ผ่านการรมด้วยเมทิลโบรไมด์ที่อัตรากำหนดตามข้อ ๑๕.๑ หรือ (๒) ได้ปฏิบัติตามโครงการควบคุมแมลง Pantomorus cervinus ในสวนตามข้อ ๑๕.๒ ข้อ ๒๐ การรับรองสุขอนามัยพืช ๒๐.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย NPPO กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ “The consignment of citrus fruit has been produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of citrus fruit from Australia to Thailand.” ๒๐.๒ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ถ้าผลส้มสดมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of citrus fruit has been produced in ( name of defined area ) which is a pest free area for fruit flies.” ๒๐.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ๒๐.๓.๑ ถ้าผลส้มสดได้รับการกำ จัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกต้องระบุรายละเอียดของโรงงานกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น อุณหภูมิ และระยะเวลาที่ใช้ (จำนวนวันที่ต่อเนื่องกัน) ในใบรับรองสุขอนามัยพืชบนส่วนที่เหมาะสม ๒๐.๓.๒ ถ้าผลส้มสดได้รับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งต้องมีต้นฉบับใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๕ ท้ายประกาศนี้แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๒๐.๔ การรมด้วยสารเมทิลโบรไมด์ ถ้าผลส้มสดได้รับการรมด้วยสารเมทิลโบรไมด์ต้องระบุรายละเอียดการรมเมทิลโบรไมด์ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสมและต้องมีต้นฉบับใบรับรองการรมเมทิลโบรไมด์แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๒๐.๕ โครงการควบคุมแมลงภายในสวน ๒๐.๕.๑ ถ้าผลส้มสดอยู่ภายใต้โครงการควบคุมแมลง Pantomorus cervinus ภายในสวนต้องระบุข้อความเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ “The consignment of citrus fruit has been subjected to in - field control programs for Pantomorus cervinus” ๒๐.๕.๒ ต้องระบุหมายเลขทะเบียนสวนหรือแปลงปลูกย่อยในใบรับรองสุขอนามัยพืชบนส่วนที่เหมาะสม ๒๐.๖ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลส้มสด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๒๑ การตรวจนำเข้า ๒๑.๑ เมื่อผลส้มสดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าจะดำเนินการหลังจากได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๒๑.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลส้มสดและตรวจสอบเพื่อยื่นยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิดและต้องกักผลไม้ไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๒๑.๓ ถ้ามีผลส้มสดจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจทั้งหมด ถ้ามีจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจจำนวน ๖๐๐ ผล ๒๑.๓.๑ กระบวนการสุ่มตรวจสินค้าซึ่งประกอบด้วยผลส้มสดสองชนิดหรือมากกว่าสองชนิดจากสวนหรือแปลงปลูกย่อยหนึ่ง พนักงานเจ้าหน้าที่จะแยกสุ่มตัวอย่างผลส้มสดแต่ละชนิด โดยจำนวนตัวอย่างที่สุ่มให้เป็นไปตามข้อ ๒๑.๓ ถ้าตรวจพบผลส้มสดชนิดหนึ่งชนิดใดไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในกรณีนี้ให้ถือว่าสินค้าทั้งหมดไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการนำเข้า กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งให้ NPPO ทราบหมายเลขทะเบียนสวนหรือแปลงปลูกย่อยซึ่งตรวจพบว่าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการนำเข้า ๒๑.๓.๒ กระบวนการสุ่มตรวจสินค้าซึ่งประกอบด้วยผลส้มสดจากสองสวนหรือแปลงปลูกย่อยหรือมากกว่าสองสวนหรือแปลงปลูกย่อย พนักงานเจ้าหน้าที่จะแยกสุ่มตัวอย่างผลส้มสดจากแต่ละสวนหรือแปลงปลูกย่อยโดยจำนวนตัวอย่างที่สุ่มให้เป็นไปตามข้อ ๒๑.๓ ถ้าตรวจพบผลส้มสดจากสวนหรือแปลงปลูกย่อยใดไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ในกรณีนี้ให้ถือว่าสินค้าทั้งหมดไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการนำเข้ากรมวิชาการเกษตรจะแจ้งให้ NPPO ทราบเฉพาะหมายเลขทะเบียนสวนหรือแปลงปลูกย่อยซึ่งตรวจพบว่าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการนำเข้า ๒๑.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลส้มสด ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๒๑.๔.๑ แมลงวันผลไม้ (๑) ถ้าตรวจพบแมลงวันผลไม้ที่มีชีวิต ต้องส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ NPPO ทราบและระงับการนำเข้าโดยทันที (๒) NPPO ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้า เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๒๑.๔.๒ แมลง Pantomorus cervinus (๑) ถ้าตรวจพบแมลง Pantomorus cervinus ที่มีชีวิตต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย (๒) กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ NPPO ทราบโดยทันทีหลังจากนั้น NPPO ต้องระงับการให้การรับรองผลส้มสดจากสวนหรือแปลงปลูกย่อยที่พบแมลง Pantomorus cervinus เพื่อส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยตลอดฤดูกาลส่งออกนั้น (๓) ผลส้มสดจากสวนหรือแปลงปลูกย่อยที่ตรวจพบแมลง Pantomorus cervinus ซึ่งอยู่ระหว่างขนส่ง จะไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย ๒๑.๔.๓ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้และแมลง Pantomorus cervinus ต้องกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) ส่งกลับ หรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๒๑.๕ ในกรณีตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) ส่งกลับ หรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราว จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๒๑.๖ ถ้าการนำเข้าผลส้มสดจากสวนหรือแปลงปลูกย่อยจากที่หนึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการนำเข้าสามครั้ง NPPO ต้องไม่ให้การรับรองผลส้มสดจากสวนหรือแปลงปลูกย่อยนั้นเพื่อส่งออกไปราชอาณาจักรไทยตลอดฤดูกาลส่งออกนั้น ๒๑.๗ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลส้มสดกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๒๑.๗.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นไม่สมบูรณ์ ๒๑.๗.๒ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๒๑.๗.๓ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๒๑.๗.๔ หมายเลขทะเบียนสวนหรือแปลงปลูกย่อยบนบรรจุภัณฑ์ไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๒๑.๗.๕ เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผล หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนด หรือผลที่เสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตกหรือเกิดรอยเปิด ๒๑.๗.๖ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๒๒ การประเมินกระบวนการส่งออก ๒๒.๑ การส่งออกผลส้มสดจากแหล่งปลูกตามข้อ ๙ ในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๒๒.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้ว เห็นว่ามีความจำเป็น อาจส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในเครือรัฐออสเตรเลีย ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าได้อีกต่อไป โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ อนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. เอกสารหมายเลข ๑ รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลพลับสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘ ๒. เอกสารหมายเลข ๒ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในเครือรัฐออสเตรเลีย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘ ๓. เอกสารหมายเลข ๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘ ๔. เอกสารหมายเลข ๔ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘ ๕. เอกสารหมายเลข ๕ ใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า สำหรับราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ วริญา/ตรวจ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๖๐ ง/หน้า ๓๑/๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๘
737688
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2558
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลองุ่นสดนำเข้าเพื่อการค้าจากเครือรัฐออสเตรเลียเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดเพื่อการค้าจากเครือรัฐออสเตรเลีย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๔ ข้อ ๔ ชนิดพืชที่อนุญาต ผลองุ่นสด (table grape, Vitis vinifera) ข้อ ๕ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลองุ่นสดจากเครือรัฐออสเตรเลียปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๖.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๖.๒ เครือรัฐออสเตรเลีย คือ Department of Agriculture ได้รับมอบหมายให้เป็นองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ (National Plant Protection Organization) อย่างเป็นทางการของเครือรัฐออสเตรเลีย ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “NPPO” ข้อ ๗ การอนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๘ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลองุ่นสดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๙ แหล่งปลูก ๙.๑ ผลองุ่นสดต้องเป็นผลผลิตของเครือรัฐออสเตรเลียและมาจากพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่ง NPPO กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ๙.๒ ผลองุ่นสดจากแหล่งปลูกเฉพาะในรัฐต่อไปนี้ได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ๙.๒.๑ ผลองุ่นสดจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales) เซาท์ออสเตรเลีย (South Australia) แทสเมเนีย (Tasmania) และวิกตอเรีย (Victoria) ๙.๒.๒ ผลองุ่นสดจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ควีนส์แลนด์ (Queensland) เซาท์ออสเตรเลีย วิกตอเรีย และเวสเทิร์นออสเตรเลีย (Western Australia) ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๑๐.๑ สวนในแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาตที่จะส่งออกผลองุ่นสดไปยังราชอาณาจักรไทยต้องเป็นสวนที่ปลูกเพื่อการค้าและจดทะเบียนไว้กับ NPPO หรือภายใต้ระบบที่ NPPO ให้การรับรอง NPPO ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอและต้องดำเนินการจดทะเบียนสวนให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนที่จดทะเบียนต้องมีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในสวน โดยต้องรักษาความสะอาดสวน และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๑๐.๓ NPPO ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออก ๑๑.๑ NPPO ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกที่จะส่งออกผลองุ่นสดไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๑.๒ โรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกต้องนำผลองุ่นสดมาจากสวนที่จดทะเบียนในแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการทวนสอบย้อนกลับแหล่งที่มาได้อย่างรวดเร็ว ต้องเก็บบันทึกรายชื่อเกษตรกรเจ้าของสวนซึ่งส่งออกผลไม้ไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๑.๓ โรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐานกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุ ๑๑.๔ NPPO ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกก่อนจดทะเบียน และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกต้องรับผิดชอบเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๑.๕ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ๑๑.๖ การตรวจผลองุ่นสดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับแมลงศัตรูพืชกักกัน ผลองุ่นสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจัดการความเสี่ยงแมลงวันผลไม้ ได้แก่ Queensland fruit fly (Bactrocera tryoni) และ Mediterranean fruit fly (Ceratitis capitata) ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งดังต่อไปนี้ ๑๒.๑ ผลองุ่นสดต้องมาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือ ๑๒.๒ ผลองุ่นสดจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๓.๑ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช (International Standard for Phytosanitary Measures, ISPMs) ที่เกี่ยวข้อง ๑๓.๒ การกำหนดพื้นที่ปลูกบริเวณใดในเครือรัฐออสเตรเลียให้เป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้นั้น NPPO ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กรมวิชาการเกษตรทราบอย่างเป็นทางการ ต้องบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อรักษาสถานภาพของพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๓.๓ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้สำหรับแมลงวันผลไม้ Bactrocera tryoni และ Ceratitis capitata ในเครือรัฐออสเตรเลียปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ ๑๓.๔ การส่งออกผลองุ่นสดจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ไม่มีความจำเป็นต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลองุ่นสดก่อนส่งออก ทั้งนี้ ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามแมลงวันผลไม้ Bactrocera tryoni และ Ceratitis capitata อย่างสม่ำเสมอในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๓.๕ NPPO ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันทีที่มีการยืนยันว่าพบการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ Bactrocera tryoni และ Ceratitis capitata ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ NPPO ต้องระงับเป็นการชั่วคราวสำหรับการให้การรับรองการส่งออกผลองุ่นสดที่ไม่ได้กำจัดแมลงวันผลไม้จากพื้นที่ที่พบแมลงวันผลไม้ และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่เหล่านั้นให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ๑๓.๖ NPPO ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันที หากพบแมลงวันผลไม้ชนิดอื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ นอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ Bactrocera tryon และ Ceratitis capitataในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๔ มาตรการจัดการสำหรับแมลงวันผลไม้ ๑๔.๑ ผลองุ่นสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยซึ่งมาจากนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ควีนส์แลนด์ เซาท์ออสเตรเลีย และวิกตอเรีย หรือมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ซึ่งเกิดการระบาดของแมลงวันผลไม้ จะส่งออกไปได้ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ Bactrocera tryoni ด้วยความเย็นที่อุณหภูมิและระยะเวลาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๑ องศาเซลเซียส (๓๓.๘ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๒ วัน หรือมากกว่า ๒ องศาเซลเซียส (๓๕.๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๓ องศาเซลเซียส (๓๗.๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๑๔.๒ ผลองุ่นสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยซึ่งมาจากรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียจะส่งออกไปได้ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ Ceratitis capitata ด้วยความเย็นที่อุณหภูมิและระยะเวลาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๑ องศาเซลเซียส (๓๓.๘ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๖ วัน หรือมากกว่า ๒ องศาเซลเซียส (๓๕.๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๓ องศาเซลเซียส (๓๗.๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๐ วัน หรือมากกว่า ข้อ ๑๕ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ๑๕.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นสามารถดำเนินการได้ทั้งก่อนส่งออกหรือระหว่างขนส่ง สำหรับการดำเนินการระหว่างขนส่งนั้น อาจจะดำเนินการเพียงบางส่วนก่อนส่งออกโดยเริ่มต้นดำเนินการในเครือรัฐออสเตรเลียและเสร็จสิ้นสมบูรณ์ระหว่างขนส่ง ในกรณีที่การดำเนินการระหว่างขนส่งเกิดล้มเหลว อาจจะดำเนินการต่อให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้เมื่อสินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง ๑๕.๒ การประเมินผลสำเร็จของการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นทั้งกรณีก่อนส่งออกและระหว่างขนส่ง จะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เท่านั้น ๑๕.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ๑๕.๓.๑ ต้องดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของ NPPO โดยต้องดำเนินการในห้องเย็นกำจัดศัตรูพืชซึ่งได้รับการรับรองจาก NPPO และกรมวิชาการเกษตร ผลองุ่นสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยอาจทำการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นควบคู่ไปพร้อมกับผลองุ่นสดที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นได้ ๑๕.๓.๒ ถ้าผลองุ่นสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก NPPO ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดตามเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ ๑๕.๔ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๕.๔.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นโดยดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้าระหว่างขนส่งสินค้า ๑๕.๔.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งซึ่งดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้านั้น อาจจะเริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่ตู้ขนส่งสินค้าอยู่บนบกและเสร็จสิ้นในช่วงระหว่างขนส่ง หรือเสร็จสิ้นเมื่อตู้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ๑๕.๔.๓ การส่งออกผลองุ่นสดซึ่งต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น ต้องลดอุณหภูมิผลตรงบริเวณกึ่งกลางผลให้ต่ำลงถึงระดับเดียวกันกับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่กำหนดสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้เป็นการล่วงหน้าก่อนขนถ่ายเข้าตู้ขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอุณหภูมิผลได้ลดต่ำลงถึงระดับที่เหมาะสม ก่อนเริ่มต้นกระบวนการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นและต้องรักษาระดับอุณหภูมิผลให้คงที่ติดต่อกันตลอดไป ๑๕.๔.๔ ถ้าผลองุ่นสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง NPPO ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ นอกจากนี้ ต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๕ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับสินค้าด้วยทุกครั้ง ข้อ ๑๖ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๖.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูก โพลีสไตรีน พลาสติก หรือลังไม้แบบต่าง ๆ โดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้เป็นวัสดุใหม่หรือแปรใช้ใหม่ กรณีที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกล่องกระดาษหรือพลาสติกบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ต้องสะอาดและใหม่เท่านั้น ๑๖.๒ ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ กิ่งก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๖.๓ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ผลองุ่นสดมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ๑๖.๓.๑ ผลองุ่นสดส่งออกทางอากาศต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ตามข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ซึ่งไม่มีรูเปิด หรือ (๒) ต้องบรรจุในถุงตาข่ายแล้วจึงบรรจุในบรรจุภัณฑ์ ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร หรือ (๓) ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์เมื่อปิดสนิทแล้วต้องปิดช่องระบายอากาศทั้งหมดบนบรรจุภัณฑ์ด้วยตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร หรือ (๔) ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่มัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นวาง ต้องห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดด้วยตาข่ายหรือพลาสติก ถ้าใช้ตาข่ายขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๓.๒ ผลองุ่นสดส่งออกทางน้ำจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ตามข้อกำหนดข้อ ๑๖.๓.๑ ถ้าขนถ่ายผลไม้เข้าตู้ขนส่งสินค้าและปิดผนึกตู้เมื่อตู้ขนส่งสินค้าอยู่ภายในบริเวณเขตพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๖.๔ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ผลองุ่นสดซึ่งผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ๑๖.๔.๑ ผลองุ่นสดซึ่งผ่านการกำจัดศัตรูด้วยความเย็นก่อนส่งออกและส่งออกทางอากาศหรือทางน้ำต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ตามข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่งตามข้อ ๑๖.๓.๑ ๑๖.๔.๒ ผลองุ่นสดซึ่งผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ตามข้อกำหนดข้อ ๑๖.๓.๑ ๑๖.๕ ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้การทวนสอบย้อนกลับแหล่งที่มาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ - ประเทศแหล่งกำเนิด (เช่น ผลิตผลของออสเตรเลีย ผลผลิตของออสเตรเลียเป็นต้น) - ชื่อบริษัทส่งออก - ชื่อผลไม้ (ชื่อสามัญ) - หมายเลขทะเบียนโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออก - หมายเลขทะเบียนสวน ๑๖.๖ ในกรณีส่งออกผลองุ่นสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องไม่ได้มัดรวมกันต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีส่งออกโดยบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวางอนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๖.๗ ผลองุ่นสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืชที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๗ การตรวจส่งออก NPPO ต้องมั่นใจว่าได้ดำเนินการตามข้อกำหนดต่าง ๆ ของกรมวิชาการเกษตรครบสมบูรณ์แล้ว ก่อนให้การรับรองผลองุ่นสดส่งออกไปราชอาณาจักรไทย ดังต่อไปนี้ ๑๗.๑ ได้ดำเนินการสุ่มตรวจผลองุ่นสดตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการและพบว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ๑๗.๒ ผลองุ่นสดได้ผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นกรรมวิธีใดกรรมวิธีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ๑๗.๒.๑ ผลองุ่นสดซึ่งมาจากนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ควีนส์แลนด์ เซาท์ออสเตรเลีย และวิกตอเรีย หรือมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ซึ่งเกิดการระบาดของแมลงวันผลไม้ Bactrocera tryoni ได้ผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นตามข้อกำหนดข้อ ๑๔.๑ เพื่อกำจัดแมลงวันผลไม้ Bactrocera tryoni แล้ว หรือ ๑๗.๒.๒ ผลองุ่นสดซึ่งมาจากรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียได้ผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นตามข้อกำหนดข้อ ๑๔.๒ เพื่อกำจัดแมลงวันผลไม้ Ceratitis capitata แล้ว ข้อ ๑๘ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๘.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย NPPO กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of table grape fruit has been produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of table grape fruit from Australia to Thailand” ๑๘.๒ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ถ้าผลองุ่นสดมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of table grape fruit has been produced in ( name of defined area ) which is a pest free area for fruit flies.” ๑๘.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ๑๘.๓.๑ ถ้าผลองุ่นสดได้รับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกต้องระบุรายละเอียดของโรงงานกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น อุณหภูมิ และระยะเวลาที่ใช้ (จำนวนวันที่ต่อเนื่องกัน) ในใบรับรองสุขอนามัยพืชบนส่วนที่เหมาะสม ๑๘.๓.๒ ถ้าผลองุ่นสดได้รับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งต้องมีต้นฉบับใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๕ ท้ายประกาศนี้แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๘.๔ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลองุ่นสด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๙ การตรวจนำเข้า ๑๙.๑ เมื่อผลองุ่นสดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าจะดำเนินการหลังจากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๙.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลองุ่นสดและตรวจสอบเพื่อยื่นยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิดและต้องกักผลไม้ไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๙.๓ ถ้ามีผลองุ่นสดจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ หน่วย (พวงองุ่น) ต้องสุ่มตรวจจำนวน ๔๕๐ หน่วย (พวงองุ่น) หรือสุ่มตรวจทั้งหมด ถ้ามีจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ หน่วย (พวงองุ่น) ต้องสุ่มตรวจจำนวน ๖๐๐ หน่วย (พวงองุ่น) ๑๙.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ระหว่างการสุ่มตรวจผลองุ่นสดต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๙.๔.๑ แมลงวันผลไม้ (๑) ถ้าตรวจพบแมลงวันผลไม้ที่มีชีวิต ต้องส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ NPPO ทราบและระงับการนำเข้าโดยทันที (๒) NPPO ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้า เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๙.๔.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ต้องกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) ส่งกลับ หรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๙.๕ ในกรณีตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) ส่งกลับ หรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราว จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๙.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลองุ่นสดกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๙.๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นไม่สมบูรณ์ ๑๙.๖.๒ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๙.๖.๓ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๙.๖.๔ เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผล หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนด หรือผลที่เสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตกหรือเกิดรอยเปิด ๑๙.๖.๕ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๒๐ การประเมินกระบวนการส่งออก ๒๐.๑ การส่งออกผลองุ่นสดจากแหล่งปลูกตามข้อ ๙ ในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๒๐.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้ว เห็นว่ามีความจำเป็นอาจส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในเครือรัฐออสเตรเลีย ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าได้อีกต่อไป โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ อนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. เอกสารหมายเลข ๑ รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลพลับสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘ ๒. เอกสารหมายเลข ๒ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในเครือรัฐออสเตรเลีย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘ ๓. เอกสารหมายเลข ๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘ ๔. เอกสารหมายเลข ๔ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘ ๕. เอกสารหมายเลข ๕ ใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า สำหรับราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ วริญา/ตรวจ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๖๐ ง/หน้า ๒๒/๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๘
737684
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลับสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2558
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลับสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลพลับสดนำเข้าเพื่อการค้าจากเครือรัฐออสเตรเลียเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลพลับสดเพื่อการค้าจากเครือรัฐออสเตรเลีย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลับสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลับสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ข้อ ๔ ชนิดพืชที่อนุญาต ผลพลับสด (persimmon, Diospyros kaki) ข้อ ๕ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลพลับสดจากเครือรัฐออสเตรเลียปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๖.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๖.๒ เครือรัฐออสเตรเลีย คือ Department of Agriculture ได้รับมอบหมายให้เป็นองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ (National Plant Protection Organization) อย่างเป็นทางการของเครือรัฐออสเตรเลีย ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “NPPO” ข้อ ๗ การอนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๘ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลพลับสดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๙ แหล่งปลูก ๙.๑ ผลพลับสดต้องเป็นผลผลิตของเครือรัฐออสเตรเลีย และมาจากพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่ง NPPO กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ๙.๒ ผลพลับสดจากแหล่งปลูกเฉพาะในรัฐควีนส์แลนด์ (Queensland) ได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๑๐.๑ สวนในแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาตที่จะส่งออกผลพลับสดไปยังราชอาณาจักรไทยต้องเป็นสวนที่ปลูกเพื่อการค้าและจดทะเบียนไว้กับ NPPO หรือภายใต้ระบบที่ NPPO ให้การรับรอง NPPO ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอและต้องดำเนินการจดทะเบียนสวนให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนที่จดทะเบียนต้องมีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในสวนโดยต้องรักษาความสะอาดสวน และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๑๐.๓ NPPO ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออก ๑๑.๑ NPPO ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกที่จะส่งออกผลพลับสดไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๑.๒ โรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกต้องนำผลพลับสดมาจากสวนที่จดทะเบียนในแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการทวนสอบย้อนกลับแหล่งที่มาได้อย่างรวดเร็ว ต้องเก็บบันทึกรายชื่อเกษตรกรเจ้าของสวนซึ่งส่งออกผลไม้ไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๑.๓ โรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกต้องจัดทำเอกสารมาตรฐานการปฏิบัติงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุ ๑๑.๔ NPPO ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกก่อนจดทะเบียน และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกต้องรับผิดชอบเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๑.๕ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ๑๑.๖ การตรวจผลพลับสดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับแมลงศัตรูพืชกักกัน ผลพลับสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจัดการความเสี่ยงแมลงวันผลไม้ ได้แก่ Jarvis’ fruit fly (Bactrocera jarvisi), lesser Queensland fruit fly (Bactrocera neohumeralis), Queensland fruit fly (Bactrocera tryoni) และ Mediterranean fruit fly (Ceratitis capitata) ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งดังต่อไปนี้ ๑๒.๑ ผลพลับสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น หรือ ๑๒.๒ ผลพลับสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยรังสี ข้อ ๑๓ มาตรการจัดการสำหรับแมลงวันผลไม้ ผลพลับสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยจากรัฐควีนส์แลนด์ จะส่งออกไปได้ต้องผ่านการกำจัดแมลงวันผลไม้ Bactrocera jarvisi, Bactrocera neohumeralis และ Bactrocera tryoni ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งดังต่อไปนี้ ๑๓.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ผลพลับสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นที่อุณหภูมิและระยะเวลาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๐ องศาเซลเซียส (๓๒ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๓ วัน หรือมากกว่า ๐.๕๖ องศาเซลเซียส (๓๓ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๐ วัน หรือมากกว่า ๒.๒๒ องศาเซลเซียส (๓๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๒ วัน หรือมากกว่า ๑๓.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยรังสี ผลพลับสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยรังสีที่ขนาดหรือปริมาณดูดซึมต่ำสุด ๑๕๐ เกรย์ ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ๑๔.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นสามารถดำเนินการได้ทั้งก่อนส่งออกหรือระหว่างขนส่ง สำหรับการดำเนินการระหว่างขนส่งนั้น อาจจะดำเนินการเพียงบางส่วนก่อนส่งออกโดยเริ่มต้นดำเนินการในเครือรัฐออสเตรเลียและเสร็จสิ้นสมบูรณ์ระหว่างขนส่ง ในกรณีที่การดำเนินการระหว่างขนส่งเกิดล้มเหลว อาจจะดำเนินการต่อให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้เมื่อสินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง ๑๔.๒ การประเมินผลสำเร็จของการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นทั้งกรณีก่อนส่งออกและระหว่างขนส่งจะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เท่านั้น ๑๔.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ๑๔.๓.๑ ต้องดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของ NPPO โดยต้องดำเนินการในห้องเย็นกำจัดศัตรูพืชซึ่งได้รับการรับรองจาก NPPO และกรมวิชาการเกษตร ผลพลับสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยอาจทำการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นควบคู่ไปพร้อมกับผลพลับสดที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นได้ ๑๔.๓.๒ ถ้าผลพลับสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก NPPO ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดตามเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ ๑๔.๔ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๔.๔.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นโดยดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้าระหว่างขนส่งสินค้า ๑๔.๔.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งซึ่งดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้านั้น อาจจะเริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่ตู้ขนส่งสินค้าอยู่บนบกและเสร็จสิ้นในช่วงระหว่างขนส่งหรือเสร็จสิ้นเมื่อตู้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ๑๔.๔.๓ การส่งออกผลพลับสดซึ่งต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น ต้องลดอุณหภูมิผลตรงบริเวณกึ่งกลางผลให้ต่ำลงถึงระดับเดียวกันกับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่กำหนดสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้เป็นการล่วงหน้าก่อนขนถ่ายเข้าตู้ขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอุณหภูมิผลได้ลดต่ำลงถึงระดับที่เหมาะสม ก่อนเริ่มต้นกระบวนการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นและต้องรักษาระดับอุณหภูมิผลให้คงที่ติดต่อกันตลอดไป ๑๔.๔.๔ ถ้าผลพลับสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง NPPO ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดตามเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ นอกจากนี้ ต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับสินค้าด้วยทุกครั้ง ข้อ ๑๕ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยรังสี ๑๕.๑ การฉายรังสีต้องดำเนินการในโรงงานฉายรังสีซึ่งได้รับการรับรองจาก NPPOและกรมวิชาการเกษตร ๑๕.๒ การดำเนินการกำจัดศัตรูพืชด้วยรังสีต้องเป็นไปตามมาตรฐานระหว่างประเทศ ว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช (International Standards for Phytosanitary Measures, ISPMs) ที่เกี่ยวข้อง กรมวิชาการเกษตรให้การยอมรับการฉายรังสีที่อัตราดังกล่าวนี้กับแมลง ดังต่อไปนี้ ๑๕.๒.๑ รังสีที่ขนาดหรือปริมาณดูดซึมต่ำสุด ๑๕๐ เกรย์ สำหรับแมลงวันผลไม้ ในวงศ์ (Family) เทฟริทติดี้ (Tephritidae) ๑๕.๒.๒ รังสีที่ขนาดหรือปริมาณดูดซึมต่ำสุด ๔๐๐ เกรย์ สำหรับแมลงทุกชนิดในชั้น (Class) อินเซกต้า (Insecta) ยกเว้น ดักแด้และตัวเต็มวัยของแมลงในอันดับ (Order) เลปปิดอบเทอร่า (Lepidoptera) ๑๕.๓ ถ้าผลพลับสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยรังสี NPPO ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดตามเอกสารหมายเลข ๕ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๖ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๖.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูก โพลีสไตรีน พลาสติก หรือลังไม้แบบต่าง ๆ โดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้เป็นวัสดุใหม่หรือแปรใช้ใหม่ กรณีที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกล่องกระดาษหรือพลาสติก บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ต้องสะอาดและใหม่เท่านั้น ๑๖.๒ ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ กิ่งก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๖.๓ ผลพลับสดซึ่งผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยรังสี ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ซึ่งออกแบบเพื่อป้องกันศัตรูพืชไม่ให้กลับเข้าไปทำลายผลไม้ในบรรจุภัณฑ์ โดยบรรจุภัณฑ์ต้องไม่มีรูเปิด ถ้ามีความจำเป็นต้องมีรูเปิดเพื่อระบายอากาศ ต้องปิดรูด้วยตาข่ายโดยตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ก่อนนำบรรจุภัณฑ์ไปบรรจุผลไม้เพื่อฉายรังสี บรรจุภัณฑ์ดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมวิชาการเกษตรก่อนว่าได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสมและมั่นใจได้ว่าผลไม้ในบรรจุภัณฑ์ได้รับรังสีที่ขนาดหรือปริมาณดูดซึมที่กำหนด ๑๖.๔ ผลพลับสดซึ่งผ่านการกำจัดศัตรูด้วยความเย็นก่อนส่งออกและส่งออกทางอากาศหรือทางน้ำต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ตามข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ๑๖.๔.๑ ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ซึ่งไม่มีรูเปิด หรือ ๑๖.๔.๒ ต้องบรรจุในถุงตาข่ายแล้วจึงนำบรรจุในบรรจุภัณฑ์ ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร หรือ ๑๖.๔.๓ ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์เมื่อปิดสนิทแล้วต้องปิดช่องระบายอากาศทั้งหมดบนบรรจุภัณฑ์ด้วยตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร หรือ ๑๖.๔.๔ ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่มัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นวางต้องห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดด้วยตาข่ายหรือพลาสติก ถ้าใช้ตาข่ายขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๕ ผลพลับสดซึ่งผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้าจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ตามข้อกำหนดข้อ ๑๖.๔ ๑๖.๖ ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้การทวนสอบย้อนกลับแหล่งที่มาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละบรรจุภัณฑ์ได้แก่ ๑๖.๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น - ประเทศแหล่งกำเนิด (เช่น ผลิตผลของออสเตรเลีย ผลผลิตของออสเตรเลีย เป็นต้น) - ชื่อบริษัทส่งออก - ชื่อผลไม้ (ชื่อสามัญ) - หมายเลขทะเบียนโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออก - หมายเลขทะเบียนสวน ๑๖.๖.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยรังสี - ประเทศแหล่งกำเนิด (เช่น ผลิตผลของออสเตรเลีย ผลผลิตของออสเตรเลีย เป็นต้น) - ชื่อบริษัทส่งออก - ชื่อผลไม้ (ชื่อสามัญ) - หมายเลขทะเบียนโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออก - หมายเลขทะเบียนสวน - ชื่อผู้ให้บริการฉายรังสี - ข้อความระบุว่าผลไม้ได้ผ่านการฉายรังสี - ข้อความระบุวัตถุประสงค์ของการฉายรังสี - วันที่ฉายรังสี - สัญลักษณ์อาหารฉายรังสี ๑๖.๗ ในกรณีส่งออกผลพลับสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุในบรรจุภัณฑ์ แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีส่งออกโดยบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวางอนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๖.๘ ผลพลับสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืชที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๗ การตรวจส่งออก NPPO ต้องมั่นใจว่าได้ดำเนินการตามข้อกำหนดต่าง ๆ ของกรมวิชาการเกษตรครบสมบูรณ์แล้ว ก่อนให้การรับรองผลพลับสดส่งออกไปราชอาณาจักรไทยดังต่อไปนี้ ๑๗.๑ ได้ดำเนินการสุ่มตรวจผลพลับสดตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการและพบว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ อนึ่ง ในกรณีที่ผลพลับสดผ่านการฉายรังสีที่ขนาดหรือปริมาณดูดซึมที่เหมาะสมตามข้อ ๑๕.๒ แล้วอาจไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามวรรคหนึ่ง ผลพลับสดอาจจะมีศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิตแต่เป็นหมันหรือไม่สามารถออกจากดักแด้เป็นตัวเต็มวัยที่สมบูรณ์ได้ ๑๗.๒ ผลพลับสดซึ่งมาจากรัฐควีนส์แลนด์ได้ผ่านมาตรการจัดการศัตรูพืชกักกันด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งดังต่อไปนี้ ๑๗.๒.๑ ผลพลับสดได้ผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นตามข้อกำหนดข้อ ๑๓.๑ เพื่อกำจัดแมลงวันผลไม้ Bactrocera jarvisi, Bactrocera neohumeralis และ Bactrocera tryoni แล้ว หรือ ๑๗.๒.๒ ผลพลับสดได้ผ่านการฉายรังสีที่ขนาดหรือปริมาณดูดซึมต่ำสุด ดังต่อไปนี้ (๑) รังสีที่ขนาดหรือปริมาณดูดซึมต่ำสุด ๑๕๐ เกรย์ สำหรับแมลงวันผลไม้ในวงศ์เทฟริทติดี้ หรือ (๒) รังสีที่ขนาดหรือปริมาณดูดซึมต่ำสุด ๔๐๐ เกรย์ สำหรับแมลงทุกชนิดในชั้นอินเซกต้า ยกเว้น ดักแด้และตัวเต็มวัยของแมลงในอันดับเลปปิดอบเทอร่า ข้อ ๑๘ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๘.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย NPPO กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ “The consignment of persimmon fruit has been produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of persimmon fruit from Australia to Thailand” ๑๘.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ๑๘.๒.๑ ถ้าผลพลับสดได้รับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกต้องระบุรายละเอียดของโรงงานกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น อุณหภูมิ และระยะเวลาที่ใช้ (จำนวนวันที่ต่อเนื่องกัน) ในใบรับรองสุขอนามัยพืชบนส่วนที่เหมาะสม ๑๘.๒.๒ ถ้าผลพลับสดได้รับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งต้องมีต้นฉบับใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๘.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยรังสี ถ้าผลพลับสดได้รับการกำจัดศัตรูพืชด้วยรังสีต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of persimmon fruit has been treated by irradiation at a minimum absorbed dose of ๑๕๐ Gy.” หรือ “The consignment of persimmon fruit has been treated by irradiation at a minimum absorbed dose of ๔๐๐ Gy.” ๑๘.๔ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลพลับสด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๙ การตรวจนำเข้า ๑๙.๑ เมื่อผลพลับสดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าจะดำเนินการหลังจากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๙.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลพลับสดและตรวจสอบเพื่อยื่นยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิดและต้องกักผลไม้ไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๙.๓ ถ้ามีผลพลับสดจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจทั้งหมด ถ้ามีจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๙.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ระหว่างการสุ่มตรวจผลพลับสดต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๙.๔.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น (๑) แมลงวันผลไม้ (๑.๑) ถ้าตรวจพบแมลงวันผลไม้ที่มีชีวิต ต้องส่งกลับ หรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ NPPO ทราบและระงับการนำเข้าโดยทันที (๑.๒) NPPO ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้า เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร (๒) ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ต้องกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) ส่งกลับ หรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๙.๔.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยรังสี (๑) ถ้าตรวจพบแมลงวันผลไม้ที่มีชีวิต จะได้รับอนุญาตให้นำเข้ากรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ NPPO ทราบโดยทันที (๒) ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ยกเว้นแมลงระยะดักแด้หรือตัวเต็มวัยของแมลงในอันดับเลปปิดอบเทอร่าในผลไม้ที่ผ่านการฉายรังสีที่ขนาดหรือปริมาณดูดซึมต่ำสุด ๔๐๐ เกรย์ จะได้รับอนุญาตให้นำเข้ากรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ NPPO ทราบโดยทันที (๓) ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ต้องกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) ส่งกลับ หรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๙.๕ ในกรณีตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) ส่งกลับ หรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรณีดังกล่าวนี้ไม่รวมถึงผลไม้ที่ผ่านการฉายรังสีซึ่งเพียงพอที่จะลดความเสี่ยงของสิ่งมีชีวิตที่ตรวจพบ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราว จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๙.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลพลับสดกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๙.๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นไม่สมบูรณ์ ๑๙.๖.๒ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๙.๖.๓ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๙.๖.๔ เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผล หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนด หรือผลที่เสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตกหรือเกิดรอยเปิด ๑๙.๖.๕ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๒๐ การประเมินกระบวนการส่งออก ๒๐.๑ การส่งออกผลพลับสดจากแหล่งปลูกตามข้อ ๙ ในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๒๐.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นอาจส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในเครือรัฐออสเตรเลีย ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าได้อีกต่อไป โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ อนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. เอกสารหมายเลข ๑ รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลพลับสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลับสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘ ๒. เอกสารหมายเลข ๒ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลับสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘ ๓. เอกสารหมายเลข ๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลับสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘ ๔. เอกสารหมายเลข ๔ ใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า สำหรับราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลับสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘ ๕. เอกสารหมายเลข ๕ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยรังสี แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลับสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ วริญา/ตรวจ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๖๐ ง/หน้า ๑๒/๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๘
737681
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2558
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลเชอรี่สดนำเข้าเพื่อการค้าจากเครือรัฐออสเตรเลียเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดเพื่อการค้าจากเครือรัฐออสเตรเลีย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๖ ข้อ ๔ ชนิดพืชที่อนุญาต ผลเชอรี่สด (cherry, Prunus avium) ข้อ ๕ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลเชอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลียปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๖.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๖.๒ เครือรัฐออสเตรเลีย คือ Department of Agriculture ได้รับมอบหมายให้เป็นองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ (National Plant Protection Organization) อย่างเป็นทางการของเครือรัฐออสเตรเลีย ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “NPPO” ข้อ ๗ การอนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๘ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลเชอรี่สดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๙ แหล่งปลูก ๙.๑ ผลเชอรี่สดต้องเป็นผลผลิตของเครือรัฐออสเตรเลียและมาจากพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่ง NPPO กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย และกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ๙.๒ ผลเชอรี่สดจากแหล่งปลูกเฉพาะในรัฐต่อไปนี้ ได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ๙.๒.๑ ผลเชอรี่สดจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales) เซาท์ออสเตรเลีย (South Australia) แทสเมเนีย (Tasmania) และวิกตอเรีย (Victoria) ๙.๒.๒ ผลเชอรี่สดจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ควีนส์แลนด์ (Queensland) เซาท์ออสเตรเลีย วิกตอเรีย และเวสเทิร์นออสเตรเลีย (Western Australia) ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๑๐.๑ สวนในแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาตที่จะส่งออกผลเชอรี่สดไปยังราชอาณาจักรไทยต้องเป็นสวนที่ปลูกเพื่อการค้าและจดทะเบียนไว้กับ NPPO หรือภายใต้ระบบที่ NPPO ให้การรับรอง NPPO ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอและต้องดำเนินการจดทะเบียนสวนให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนที่จดทะเบียนต้องมีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในสวน โดยต้องรักษาความสะอาดสวน และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๑๐.๓ NPPO ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออก ๑๑.๑ NPPO ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกที่จะส่งออกผลเชอรี่สดไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๑.๒ โรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกต้องนำผลเชอรี่สดมาจากสวนที่จดทะเบียนในแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการทวนสอบย้อนกลับแหล่งที่มาได้อย่างรวดเร็ว ต้องเก็บบันทึกรายชื่อเกษตรกรเจ้าของสวนซึ่งส่งออกผลไม้ไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๑.๓ โรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกต้องจัดทำเอกสารมาตรฐานการปฏิบัติงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุ ๑๑.๔ NPPO ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกก่อนจดทะเบียน และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกต้องรับผิดชอบเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๑.๕ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ๑๑.๖ การตรวจผลเชอรี่สดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับแมลงศัตรูพืชกักกัน ผลเชอรี่สดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจัดการความเสี่ยงแมลงวันผลไม้ ได้แก่ Queensland fruit fly (Bactrocera tryoni) และ Mediterranean fruit fly (Ceratitis capitata) ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ๑๒.๑ ผลเชอรี่สดต้องมาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือ ๑๒.๒ ผลเชอรี่สดจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๓.๑ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช (International Standard for Phytosanitary Measures, ISPMs) ที่เกี่ยวข้อง ๑๓.๒ การกำหนดพื้นที่ปลูกบริเวณใดในเครือรัฐออสเตรเลียให้เป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้นั้น NPPO ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กรมวิชาการเกษตรทราบอย่างเป็นทางการต้องบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อรักษาสถานภาพของพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๓.๓ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้สำหรับแมลง Bactrocera tryoni และ Ceratitis capitata ในเครือรัฐออสเตรเลียปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ ๑๓.๔ การส่งออกผลเชอรี่สดจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ไม่มีความจำเป็นต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลเชอรี่สดก่อนส่งออก ทั้งนี้ ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามแมลงวันผลไม้ Bactrocera tryoni และ Ceratitis capitata อย่างสม่ำเสมอในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๓.๕ NPPO ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันทีที่มีการยืนยันว่าพบการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ Bactrocera tryoni และ Ceratitis capitata ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ NPPO ต้องระงับเป็นการชั่วคราวสำหรับการให้การรับรองการส่งออกผลเชอรี่สดที่ไม่ได้กำจัดแมลงวันผลไม้จากพื้นที่ที่พบแมลงวันผลไม้ และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่เหล่านั้นให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ๑๓.๖ NPPO ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันที หากพบแมลงวันผลไม้ชนิดอื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ นอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ Bactrocera tryoni และ Ceratitis capitata ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๔ มาตรการจัดการสำหรับแมลงวันผลไม้ ๑๔.๑ ผลเชอรี่สดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยซึ่งมาจากนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ควีนส์แลนด์ เซาท์ออสเตรเลีย และวิกตอเรีย หรือมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ซึ่งเกิดการระบาดของแมลงวันผลไม้ จะส่งออกไปได้ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ Bactrocera tryoni ด้วยความเย็นที่อุณหภูมิและระยะเวลาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๑ องศาเซลเซียส (๓๓.๘ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๓ องศาเซลเซียส (๓๗.๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๕ วัน หรือมากกว่า ๑๔.๒ ผลเชอรี่สดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยซึ่งมาจากรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียจะส่งออกไปได้ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ Ceratitis capitata ด้วยความเย็นที่อุณหภูมิและระยะเวลาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๖ วัน หรือมากกว่า ๒.๒๒ องศาเซลเซียส (๓๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ข้อ ๑๕ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ๑๕.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นสามารถดำเนินการได้ทั้งก่อนส่งออกหรือระหว่างขนส่ง สำหรับการดำเนินการระหว่างขนส่งนั้น อาจจะดำเนินการเพียงบางส่วนก่อนส่งออกโดยเริ่มต้นดำเนินการในเครือรัฐออสเตรเลียและเสร็จสิ้นสมบูรณ์ระหว่างขนส่ง ในกรณีที่การดำเนินการระหว่างขนส่งเกิดล้มเหลว อาจจะดำเนินการต่อให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้เมื่อสินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง ๑๕.๒ การประเมินผลสำเร็จของการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นทั้งกรณีก่อนส่งออกและระหว่างขนส่งจะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เท่านั้น ๑๕.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ๑๕.๓.๑ ต้องดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของ NPPO โดยต้องดำเนินการในห้องเย็นกำจัดศัตรูพืชซึ่งได้รับการรับรองจาก NPPO และกรมวิชาการเกษตร ผลเชอรี่สดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยอาจทำการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นควบคู่ไปพร้อมกับผลเชอรี่สดที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นได้ ๑๕.๓.๒ ถ้าผลเชอรี่สดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก NPPO ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดตามเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ ๑๕.๔ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๕.๔.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นโดยดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้าระหว่างขนส่งสินค้า ๑๕.๔.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งซึ่งดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้านั้น อาจจะเริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่ตู้ขนส่งสินค้าอยู่บนบกและเสร็จสิ้นในช่วงระหว่างขนส่งหรือเสร็จสิ้นเมื่อตู้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ๑๕.๔.๓ การส่งออกผลเชอรี่สดซึ่งต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น ต้องลดอุณหภูมิผลตรงบริเวณกึ่งกลางผลให้ต่ำลงถึงระดับเดียวกันกับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่กำหนดสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้เป็นการล่วงหน้าก่อนขนถ่ายเข้าตู้ขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอุณหภูมิผลได้ลดต่ำลงถึงระดับที่เหมาะสม ก่อนเริ่มต้นกระบวนการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น และต้องรักษาระดับอุณหภูมิผลให้คงที่ติดต่อกันตลอดไป ๑๕.๔.๔ ถ้าผลเชอรี่สดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง NPPO ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ นอกจากนี้ ต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๕ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับสินค้าด้วยทุกครั้ง ข้อ ๑๖ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๖.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูก โพลีสไตรีน พลาสติก หรือลังไม้แบบต่าง ๆ โดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้เป็นวัสดุใหม่หรือแปรใช้ใหม่ กรณีที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกล่องกระดาษหรือพลาสติก บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ต้องสะอาดและใหม่เท่านั้น ๑๖.๒ ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ กิ่งก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๖.๓ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ผลเชอรี่สดมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ๑๖.๓.๑ ผลเชอรี่สดส่งออกทางอากาศต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ตามข้อกำหนด ข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ซึ่งไม่มีรูเปิด หรือ (๒) ต้องบรรจุในถุงตาข่ายแล้วจึงบรรจุในบรรจุภัณฑ์ ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร หรือ (๓) ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์เมื่อปิดสนิทแล้วต้องปิดช่องระบายอากาศทั้งหมดบนบรรจุภัณฑ์ด้วยตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร หรือ (๔) ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่มัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นวาง ต้องห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดด้วยตาข่ายหรือพลาสติก ถ้าใช้ตาข่ายขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๓.๒ ผลเชอรี่สดส่งออกทางน้ำจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ตามข้อกำหนดข้อ ๑๖.๓.๑ ถ้าขนถ่ายผลไม้เข้าตู้ขนส่งสินค้าและปิดผนึกตู้เมื่อตู้ขนส่งสินค้าอยู่ภายในบริเวณเขตพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๖.๔ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ผลเชอรี่สดซึ่งผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ๑๖.๔.๑ ผลเชอรี่สดซึ่งผ่านการกำ จัดศัตรูด้วยความเย็นก่อนส่งออกและส่งออกทางอากาศหรือทางน้ำต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ตามข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่งตามข้อ ๑๖.๓.๑ ๑๖.๔.๒ ผลเชอรี่สดซึ่งผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้าจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ตามข้อกำหนดข้อ ๑๖.๓.๑ ๑๖.๕ ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้การทวนสอบย้อนกลับแหล่งที่มาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ - ประเทศแหล่งกำเนิด (เช่น ผลิตผลของออสเตรเลีย ผลผลิตของออสเตรเลียเป็นต้น) - ชื่อบริษัทส่งออก - ชื่อผลไม้ (ชื่อสามัญ) - หมายเลขทะเบียนโรงคัดบรรจุผลไม้หรือสถานที่จัดการผลไม้ส่งออก - หมายเลขทะเบียนสวน ๑๖.๖ ในกรณีส่งออกผลเชอรี่สดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องไม่ได้มัดรวมกันต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีส่งออกโดยบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๖.๗ ผลเชอรี่สดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืชที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๗ การตรวจส่งออก NPPO ต้องมั่นใจว่าได้ดำเนินการตามข้อกำหนดต่าง ๆ ของกรมวิชาการเกษตรครบสมบูรณ์แล้ว ก่อนให้การรับรองผลเชอรี่สดส่งออกไปราชอาณาจักรไทยดังต่อไปนี้ ๑๗.๑ ได้ดำเนินการสุ่มตรวจผลเชอรี่สดตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการ และพบว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ๑๗.๒ ผลเชอรี่สดได้ผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นโดยกรรมวิธีใดกรรมวิธีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ๑๗.๒.๑ ผลเชอรี่สดซึ่งมาจากนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ควีนส์แลนด์ เซาท์ออสเตรเลีย และวิกตอเรีย หรือมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ซึ่งเกิดการระบาดของแมลงวันผลไม้ Bactrocera tryoni ได้ผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นตามข้อกำหนดข้อ ๑๔.๑ เพื่อกำจัดแมลงวันผลไม้ Bactrocera tryoni แล้ว หรือ ๑๗.๒.๒ ผลเชอรี่สดซึ่งมาจากรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียได้ผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นตามข้อกำหนดข้อ ๑๔.๒ เพื่อกำจัดแมลงวันผลไม้ Ceratitis capitata แล้ว ข้อ ๑๘ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๘.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย NPPO กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of cherry fruit has been produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of cherry fruit from Australia to Thailand” ๑๘.๒ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ถ้าผลเชอรี่สดมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of cherry fruit has been produced in ( name of defined area ) which is a pest free area for fruit flies” ๑๘.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ๑๘.๓.๑ ถ้าผลเชอรี่สดได้รับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกต้องระบุรายละเอียดของโรงงานกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น อุณหภูมิ และระยะเวลาที่ใช้ (จำนวนวันที่ต่อเนื่องกัน) ในใบรับรองสุขอนามัยพืชบนส่วนที่เหมาะสม ๑๘.๓.๒ ถ้าผลเชอรี่สดได้รับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งต้องมีต้นฉบับใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๕ ท้ายประกาศนี้แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๘.๔ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลเชอรี่สด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๙ การตรวจนำเข้า ๑๙.๑ เมื่อผลเชอรี่สดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าจะดำเนินการหลังจากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๙.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลเชอรี่สดและตรวจสอบเพื่อยืนยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิดและต้องกักผลไม้ไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๙.๓ ถ้ามีผลเชอรี่สดจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจทั้งหมด ถ้ามีจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๙.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ระหว่างการสุ่มตรวจผลเชอรี่สดต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๙.๔.๑ แมลงวันผลไม้ (๑) ถ้าตรวจพบแมลงวันผลไม้ที่มีชีวิต ต้องส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ NPPO ทราบและระงับการนำเข้าโดยทันที (๒) NPPO ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้า เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๙.๔.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ต้องกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) ส่งกลับ หรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๙.๕ ในกรณีตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) ส่งกลับ หรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราว จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืช ที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๙.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลเชอรี่สดกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๙.๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นไม่สมบูรณ์ ๑๙.๖.๒ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๙.๖.๓ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๙.๖.๔ เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผล หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนด หรือผลที่เสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตกหรือเกิดรอยเปิด ๑๙.๖.๕ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๒๐ การประเมินกระบวนการส่งออก ๒๐.๑ การส่งออกผลเชอรี่สดจากแหล่งปลูกตามข้อ ๙ ในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๒๐.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้ว เห็นว่ามีความจำเป็นอาจส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในเครือรัฐออสเตรเลีย ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าได้อีกต่อไป โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ อนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. เอกสารหมายเลข ๑ รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลเชอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘ ๒. เอกสารหมายเลข ๒ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในเครือรัฐออสเตรเลีย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘ ๓. เอกสารหมายเลข ๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘ ๔. เอกสารหมายเลข ๔ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘ ๕. เอกสารหมายเลข ๕ ใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า สำหรับราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ วริญา/ตรวจ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๖๐ ง/หน้า ๓/๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๘
737041
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ายาสูบจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ายาสูบจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ายาสูบจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล พ.ศ. ๒๕๕๖ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้ายาสูบจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิลเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ายาสูบจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗.๒.๒ แห่งประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ายาสูบจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “๗.๒.๒ ต้องคลุกด้วยสารกำจัดโรคพืช ได้แก่ ไทแรม (thiram) อัตรา ๐.๒ เปอร์เซ็นต์ (สารออกฤทธิ์) หรือสารอื่นที่ทดแทนหรือเทียบเท่า โดยได้รับอนุญาตจากกรมวิชาการเกษตรก่อน” ประกาศ ณ วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ อนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๘ วิศนี/ผู้ตรวจ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๔๖ ง/หน้า ๓/๘ ตุลาคม ๒๕๕๘
736952
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง อัตราค่าวิเคราะห์ตัวอย่างและออกใบรับรองสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก พ.ศ. 2558
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง อัตราค่าวิเคราะห์ตัวอย่างและออกใบรับรองสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก พ.ศ. ๒๕๕๘[๑] โดยที่เป็นการปรับปรุงประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง อัตราค่าวิเคราะห์ตัวอย่าง และออกใบรับรองสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกให้เหมาะสมยิ่งขึ้นเนื่องจากสารเคมี วัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการวิเคราะห์และทดสอบวัตถุตัวอย่างที่ราคาสูงขึ้น อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจึงออกประกาศกำหนดอัตราค่าวิเคราะห์ตัวอย่างและออกใบรับรองสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง อัตราค่าวิเคราะห์ตัวอย่าง และออกใบรับรองสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศกรมวิชาการเกษตร “เรื่อง อัตราค่าวิเคราะห์ตัวอย่างและออกใบรับรองสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก พ.ศ. ๒๕๔๘” ข้อ ๓ ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๔ อัตราค่าวิเคราะห์ตัวอย่างและออกใบรับรองสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก ให้เป็นไปตามอัตราค่าวิเคราะห์ตัวอย่างและออกใบรับรองสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ให้ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้อนุญาตให้การยกเว้นค่าบริการวิเคราะห์และการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิต การออกใบรับรองสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก ตามความเหมาะสม ดังต่อไปนี้ (๑) ตัวอย่างจากผู้ประกอบการที่นำไปร่วมงานแสดงสินค้า ณ ต่างประเทศที่มีหนังสือรับรอง จากกระทรวงพาณิชย์ หรือหนังสือเชิญให้เข้าร่วมงานแสดงสินค้าจากส่วนราชการอื่น (๒) ตัวอย่างจากส่วนราชการ (๓) ตัวอย่างงานวิจัยที่มีชื่อข้าราชการของกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ร่วมดำเนินการ (๔) การตรวจรับรองและการออกใบรับรองสถานประกอบการของส่วนราชการ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ อนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. อัตราค่าวิเคราะห์ตัวอย่างและออกใบรับรองสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง อัตราค่าวิเคราะห์ตัวอย่างและออกใบรับรองสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก พ.ศ. ๒๕๕๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๘ วิศนี/ผู้ตรวจ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๑๐๗ ง/หน้า ๙/๘ ตุลาคม ๒๕๕๘
736833
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ามะพร้าวจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ พ.ศ. 2558
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ามะพร้าวจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ พ.ศ. ๒๕๕๘ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของมะพร้าวนำเข้าเพื่อการค้าจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์เสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้ามะพร้าวจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ามะพร้าวจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืชที่อนุญาต มะพร้าว (coconut, Cocos nucifera) ตามประกาศนี้ ได้แก่ ๓.๑ ผลมะพร้าวแก่ปอกเปลือก (mature dehusked coconut) ๓.๒ เนื้อมะพร้าวสด (fresh coconut meat) ๓.๓ เนื้อมะพร้าวแห้ง (copra) ๓.๔ กะลามะพร้าว (coconut shell) ๓.๕ กาบมะพร้าว (coconut husk) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง ศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับมะพร้าวจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ได้แก่ ด้วงอิฐ (khapra beetle, Trogoderma granarium) ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ คือ Plant Protection Division ได้รับมอบหมายให้เป็นองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ (National Plant Protection Organization) อย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “NPPO” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ๖.๑ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ๖.๒ ผู้มีสิทธิ์ยื่นขอใบอนุญาตนำเข้ามะพร้าวต้องแสดงเอกสารดังต่อไปนี้ ๖.๒.๑ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ๖.๒.๒ ทะเบียนพาณิชย์ที่แสดงว่าเป็นผู้ประกอบการแปรรูปมะพร้าว ๖.๒.๓ หนังสือบริคณห์สนธิ ในกรณีที่ผู้ขอใบอนุญาตเป็นนิติบุคคล ๖.๒.๔ เอกสารที่สำแดงชนิดของสินค้า กำลังการผลิต ปริมาณมะพร้าวที่ต้องใช้ต่อหน่วยสินค้าที่ต้องการผลิต ระยะเวลาการผลิตสินค้าที่ต้องการแปรรูป ๖.๓ ก่อนออกใบอนุญาต กรมวิชาการเกษตรจะส่งพนักงานเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบสถานที่ตั้งของโรงงาน สถานที่เก็บ ระยะเวลาของการเก็บในแต่ละครั้ง ปริมาณการใช้ วิธีการผลิตและข้อมูลอื่น ๆ ที่จะนำมาพิจารณาการออกใบอนุญาต ๖.๔ ผู้รับใบอนุญาตนำเข้ามะพร้าวต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ ๖.๔.๑ มะพร้าวที่นำเข้าต้องนำไปใช้เพื่อการแปรรูปของผู้รับอนุญาตที่ขออนุญาตนำเข้ามะพร้าวเท่านั้น ๖.๔.๒ ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดทำบันทึกปริมาณการนำเข้าและปริมาณการผลิตสินค้าที่ใช้มะพร้าวมาแปรรูปมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการขออนุญาตนำเข้าในแต่ละครั้งต่อไป ๖.๔.๓ ปริมาณการนำ เข้าต้องสอดคล้องกับปริมาณการผลิตสินค้าที่ใช้มะพร้าวในการแปรรูป ๖.๕ ภายหลังการนำเข้า ๖.๕.๑ ผู้รับใบอนุญาตต้องอำ นวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรในการเข้าไปตรวจสอบโรงงานแปรรูปมะพร้าว ๖.๕.๒ กรณีที่ผู้นำเข้าฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ จะถูกถอนใบอนุญาตนำเข้าทันที ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งมะพร้าวมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทย ในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางบกหรือทางน้ำ ข้อ ๘ ข้อกำหนดสำหรับการนำเข้า ๘.๑ ผลมะพร้าวแก่ปอกเปลือก ๘.๑.๑ ต้องปอกเปลือกหรือกาบมะพร้าวออกคงเหลือเฉพาะผนังชั้นกลาง (mesocarp or fibrous husk) ของผลมะพร้าวบางส่วน รูปภาพแสดงลักษณะผลมะพร้าวแก่ปอกเปลือกปรากฏตามเอกสารแนบ ๑ ท้ายประกาศนี้ ๘.๑.๒ ต้องไม่ปรากฏส่วนของก้านใบ หน่อ หรือยอดอ่อน ๘.๑.๓ ต้องรมด้วยสารรมเมทธิลโบรไมด์ (Methyl bromide) เพื่อทำลายความงอก ที่อัตรา ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิ อัตรา (กรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ระยะเวลา (ชั่วโมง) ๒๑ องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า ๓๒ ๒๔ ๑๖ - ๒๐ องศาเซลเซียส ๔๐ ๒๔ ๑๑ - ๑๕ องศาเซลเซียส ๔๘ ๒๔ ๑๐ องศาเซลเซียส ๕๖ ๒๔ ๘.๑.๔ ต้องมีใบรับรองการรมเมทธิลโบรไมด์ของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนไว้กับ NPPO แนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่มีการนำเข้า ๘.๒ เนื้อมะพร้าวสดและเนื้อมะพร้าวแห้ง ๘.๒.๑ เนื้อมะพร้าวสดและเนื้อมะพร้าวแห้งที่จะส่งออกต้องทำการบรรจุเฉพาะในโรงบรรจุสินค้าซึ่งได้จดทะเบียนไว้กับ NPPO โดย NPPO ได้ให้การรับรองการปฏิบัติทางโรงงานที่ดีและเหมาะสม (Good Manufacturing Practice, GMP) ๘.๒.๒ สำหรับเนื้อมะพร้าวแห้ง ต้องปลอดจากศัตรูพืชกักกัน ได้แก่ Trogoderma granarium ๘.๓ กะลามะพร้าว ต้องไม่ปรากฏส่วนของเนื้อมะพร้าว ๘.๔ กาบมะพร้าว ต้องปลอดจากศัตรูพืชหรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์ ๙.๑ ต้องมัดหรือบรรจุหีบห่อมะพร้าวในบรรจุภัณฑ์ที่ใหม่ สะอาด และปิดมิดชิด ๙.๒ ต้องบรรจุมะพร้าวในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ข้อ ๑๐ การตรวจส่งออก ๑๐.๑ ต้องสุ่มตรวจมะพร้าวก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการและต้องปลอดจากศัตรูพืช ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชหรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย มะพร้าวทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ๑๐.๒ กรณีของมะพร้าวแก่ปอกเปลือก ต้องดำเนินการรมเมทธิลโบรไมด์ตามอัตราที่กำหนดในข้อ ๘.๑.๓ ๑๐.๓ กรณีของเนื้อมะพร้าวแห้ง หากตรวจพบศัตรูพืชกักกัน ได้แก่ Trogoderma granarium เนื้อมะพร้าวแห้งทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัด Trogoderma granarium ให้หมดสิ้นแล้ว ข้อ ๑๑ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๑.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย NPPO กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทย ๑๑.๒ สำหรับมะพร้าวแก่ปอกเปลือก ต้องระบุรายละเอียดการรมเมทธิลโบรไมด์ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม และต้องมีต้นฉบับใบรับรองการรมเมทธิลโบรไมด์แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๑.๓ สำหรับเนื้อมะพร้าวแห้ง ต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of copra was produced and prepared for export in accordance with conditions for import of coconut from Myanmar to Thailand and have been inspected and found to be free of khapra beetle, Trogoderma granarium” ๑๑.๔ ต้องระบุชื่อวิทยาศาสตร์และชื่อสามัญของมะพร้าวลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๒ การตรวจนำเข้า ๑๒.๑ เมื่อมะพร้าวถูกขนส่งมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้ามะพร้าวจะดำเนินการหลังจากได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๒.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างมะพร้าวและตรวจสอบเพื่อยืนยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิดและต้องกักมะพร้าวไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๒.๓ สำหรับมะพร้าวแก่ปอกเปลือก ถ้ามีการนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจมะพร้าวจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจมะพร้าวทั้งหมด ถ้ามีมะพร้าวจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจมะพร้าวจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๒.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชหรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนมะพร้าวด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีกำจัด) ๑๒.๕ สำหรับมะพร้าวแก่ปอกเปลือก ในกรณีที่ตรวจพบว่ามีการงอกของหน่อหรือยอดอ่อน มะพร้าวทั้งหมดจะถูกส่งกลับหรือทำลาย ๑๒.๖ สำหรับเนื้อมะพร้าวแห้ง ในกรณีที่ตรวจพบว่ามีศัตรูพืชกักกัน ได้แก่ Trogoderma granarium เนื้อมะพร้าวแห้งทั้งหมดจะถูกส่งกลับหรือทำลาย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งให้ NPPO ทราบถึงการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด และขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ กรมวิชาการเกษตรอาจจะระงับการนำเข้ามะพร้าว ค่าใช้จ่ายในการส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ อนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รูปภาพแสดงลักษณะผลมะพร้าวแก่ปอกเปลือก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ามะพร้าวจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ พ.ศ. ๒๕๕๘ (เอกสารแนบ ๑) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๘ วิศนี/ผู้ตรวจ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๔๓ ง/หน้า ๑๐/๗ ตุลาคม ๒๕๕๘
727527
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การรับรองพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การรับรองพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแบบคำขอหนังสือรับรองท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การรับรองพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม พ.ศ. ๒๕๔๔ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๔ และแบบหนังสือรับรองท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การรับรองพืชหรือสินค้าที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙ ให้เหมาะสมกับภาวการณ์ปัจจุบัน กรมวิชาการเกษตร จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การรับรองพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การรับรองพืชหรือสินค้าที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๔ ให้ยกเลิกแบบคำขอหนังสือรับรองท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การรับรองพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม พ.ศ. ๒๕๔๔ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๔ และให้ใช้แบบคำขอหนังสือรับรองท้ายประกาศฉบับนี้แทน ข้อ ๕ แบบหนังสือรับรองพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม ให้ใช้แบบหนังสือรับรองท้ายประกาศฉบับนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ อนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอหนังสือรับรองพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม (แบบ สทช. ๑-๑) ๒. หนังสือรับรองพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม (Certificate for non-genetically modified organism) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ปุณิกา/ผู้ตรวจ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๕๘/๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘
724857
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืช พ.ศ. 2558
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืช พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยเป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยด่านตรวจพืชให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืช พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗ (๒) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๔ ข้อ ๔ กำหนดท่าเรือ ท่าอากาศยานหรือสถานที่ใด ดังต่อไปนี้ เป็นด่านตรวจพืช (๑) ด่านตรวจพืชท่าเรือกรุงเทพ มีอาณาเขตตามเขตสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพเขตส่วนตรวจสินค้าท่าเรือเอกชน เขตส่วนตรวจสินค้านอกเขตท่าที่ ๒ (๒) ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานดอนเมือง มีอาณาเขตตามเขตบริเวณสนามบินดอนเมือง (๓) ด่านตรวจพืชไปรษณีย์ มีอาณาเขตตามเขตส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์และอากาศยาน (๔) ด่านตรวจพืชลาดกระบัง มีอาณาเขตตามเขตสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าลาดกระบัง (๕) ด่านตรวจพืชสังขละบุรี มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรสังขละบุรี รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรสังขละบุรี (๖) ด่านตรวจพืชท่าเรือระนอง มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรระนอง รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรระนองและด่านศุลกากรชุมพร (๗) ด่านตรวจพืชประจวบคีรีขันธ์ มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรประจวบคีรีขันธ์ (๘) ด่านตรวจพืชเกาะสมุย มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรเกาะสมุย เขตด่านศุลกากรบ้านดอนและบริเวณท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี (๙) ด่านตรวจพืชอรัญประเทศ มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรอรัญประเทศ รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรอรัญประเทศ (๑๐) ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานอู่ตะเภา มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรมาบตาพุดและท่าอากาศยานอู่ตะเภา (๑๑) ด่านตรวจพืชท่าเรือแหลมฉบัง มีอาณาเขตตามเขตสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง (๑๒) ด่านตรวจพืชท่าเรือคลองใหญ่ มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรคลองใหญ่ รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรคลองใหญ่ (๑๓) ด่านตรวจพืชจันทบุรี มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรจันทบุรี รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรจันทบุรี (๑๔) ด่านตรวจพืชหนองคาย มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรหนองคาย รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรหนองคาย (๑๕) ด่านตรวจพืชบึงกาฬ มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรบึงกาฬ รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรบึงกาฬ (๑๖) ด่านตรวจพืชท่าลี่ มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรท่าลี่ รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติและด่านพรมแดนของด่านศุลกากรท่าลี่ (๑๗) ด่านตรวจพืชเชียงคาน มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรเชียงคาน รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรเชียงคาน (๑๘) ด่านตรวจพืชนครพนม มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรนครพนม รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรนครพนม (๑๙) ด่านตรวจพืชมุกดาหาร มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรมุกดาหาร รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรมุกดาหาร (๒๐) ด่านตรวจพืชช่องเม็ก มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรช่องเม็ก และเขตด่านศุลกากรเขมราฐ รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรช่องเม็ก และเขตด่านศุลกากรเขมราฐ (๒๑) ด่านตรวจพืชช่องจอม มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรช่องจอม รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรช่องจอม (๒๒) ด่านตรวจพืชช่องสะงำ มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรช่องสะงำ รวมทั้งทางอนุมัติและด่านพรมแดนศุลกากรช่องสะงำ (๒๓) ด่านตรวจพืชแม่สาย มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรแม่สาย รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรแม่สาย (๒๔) ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย (๒๕) ด่านตรวจพืชเชียงแสน มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรเชียงแสน รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรเชียงแสน (๒๖) ด่านตรวจพืชเชียงของ มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรเชียงของ รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรเชียงของ (๒๗) ด่านตรวจพืชแม่ฮ่องสอน มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรแม่ฮ่องสอน รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรแม่ฮ่องสอน (๒๘) ด่านตรวจพืชแม่สะเรียง มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรแม่สะเรียง รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรแม่สะเรียง (๒๙) ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่และเขตด่านศุลกากรเชียงดาวรวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรเชียงดาว (๓๐) ด่านตรวจพืชทุ่งช้าง มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรทุ่งช้าง รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรทุ่งช้าง (๓๑) ด่านตรวจพืชแม่สอด มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรแม่สอด รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรแม่สอด และบริเวณสนามบินสุโขทัย (๓๒) ด่านตรวจพืชกระบี่ มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรกระบี่ (๓๓) ด่านตรวจพืชท่าเรือภูเก็ต มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรภูเก็ต (๓๔) ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานภูเก็ต มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรท่าอากาศยานภูเก็ต (๓๕) ด่านตรวจพืชท่าเรือกันตัง มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรกันตัง เขตด่านศุลกากรนครศรีธรรมราช และด่านศุลกากรสิชล (๓๖) ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานหาดใหญ่ มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรท่าอากาศยานหาดใหญ่ (๓๗) ด่านตรวจพืชท่าเรือสงขลา มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรสงขลา (๓๘) ด่านตรวจพืชปาดังเบซาร์ มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรปาดังเบซาร์ รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรปาดังเบซาร์ (๓๙) ด่านตรวจพืชสะเดา มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรสะเดา รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรสะเดา (๔๐) ด่านตรวจพืชบ้านประกอบ มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรบ้านประกอบ รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรบ้านประกอบ (๔๑) ด่านตรวจพืชท่าเรือสตูล มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรสตูลและบริเวณเกาะหลีเป๊ะ (๔๒) ด่านตรวจพืชวังประจัน มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรวังประจัน รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรวังประจัน (๔๓) ด่านตรวจพืชท่าเรือปัตตานี มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรปัตตานี รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรปัตตานี (๔๔) ด่านตรวจพืชท่าเรือตากใบ มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรตากใบ รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรตากใบ (๔๕) ด่านตรวจพืชสุไหงโก - ลก มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรสุไหงโก - ลก รวมทั้งจุดผ่อนปรน ทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรสุไหงโก - ลก และด่านศุลกากรบูเก๊ะตา (๔๖) ด่านตรวจพืชเบตง มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรเบตง รวมทั้งจุดผ่อนปรนทางอนุมัติ และด่านพรมแดนของด่านศุลกากรเบตง (๔๗) ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีอาณาเขตตามเขตสำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (๔๘) ด่านตรวจพืชแม่กลอง มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรแม่กลอง ประกาศ ณ วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ อำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๘ วันฑิตา/ผู้ตรวจ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๕๙ ง/หน้า ๓๑/๑๗ มีนาคม ๒๕๕๘
724841
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าปาล์มน้ำมันจากมาเลเซีย พ.ศ. 2558
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าปาล์มน้ำมันจากมาเลเซีย พ.ศ. ๒๕๕๘ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของปาล์มน้ำมันนำเข้าเพื่อการค้าจากมาเลเซียเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าปาล์มน้ำมันจากมาเลเซีย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าปาล์มน้ำมันจากมาเลเซีย พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ปาล์มน้ำมัน (oil palm, Elaeis guineensis) ตามประกาศนี้ ได้แก่ ๓.๑ เมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน (oil palm seeds) ๓.๒ เมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่งอก (germinated oil palm seeds) ๓.๓ ปาล์มน้ำมันเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (oil palm tissue culture) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับปาล์มน้ำมันปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ มาเลเซีย คือ Department of Agriculture, Plant Biosecurity Division ได้รับมอบหมายให้เป็นองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ (National Plant Protection Organization) อย่างเป็นทางการของมาเลเซีย ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “NPPO” ข้อ ๖ การอนุญาตนำเข้า ๖.๑ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ๖.๒ ผู้มีสิทธิขอใบอนุญาตนำเข้าต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วยพันธุ์พืช ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องขนส่งปาล์มน้ำมันมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในมาเลเซียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางอากาศหรือทางบก ข้อ ๘ แหล่งปลูก ปาล์มน้ำมันต้องผลิตและได้มาจากแหล่งปลูกในมาเลเซียซึ่ง NPPO กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย และกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ สวนปาล์มน้ำมันทุกสวนในแหล่งปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจดทะเบียนไว้กับ NPPO หรือภายใต้ระบบที่ NPPO ให้การรับรอง NPPO ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่าปาล์มน้ำมันที่ได้เป็นไปตามข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืชของราชอาณาจักรไทย NPPO ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนปาล์มน้ำมันเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์สำหรับส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ NPPO ต้องดำเนินการจดทะเบียนสวนปาล์มน้ำมันเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์สำหรับส่งออกมายังราชอาณาจักรไทยให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ ผู้ผลิตปาล์มน้ำมันที่จดทะเบียนต้องมีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในสวนปาล์มน้ำมันเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์สำหรับส่งออก โดยต้องรักษาความสะอาดของสวน และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๙.๓ NPPO ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนปาล์มน้ำมันตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ การผลิตและการรับรอง ปาล์มน้ำมันที่ส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองว่าเป็นไปตามมาตรฐาน Standards and Industrial Research Institute of Malaysia 157 (SIRIM 157) ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับการนำเข้า ๑๑.๑ ต้องไม่มีการปะปนของดิน ทราย แมลงที่มีชีวิต ชิ้นส่วนของพืช เมล็ดพืชอื่นหรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๑.๒ ปาล์มน้ำมันเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้องมาจากต้นแม่ที่ปราศจากจากเชื้อโรคพืชและต้องอยู่ในภาชนะที่แข็งแรง ปลอดเชื้อและโปร่งใส ๑๑.๓ ต้องมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานราชการหรือเอกชนของประเทศต้นทางว่าปาล์มน้ำมันที่อนุญาตนำเข้ามิใช่พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม ข้อ ๑๒ การกำจัดศัตรูพืช ต้องกำจัดเชื้อโรคพืชที่อาจติดมากับปาล์มน้ำมันที่ส่งออกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ เบโนมิล ๐.๒ เปอร์เซ็นต์ (สารออกฤทธิ์) ไทแรม ๐.๒ เปอร์เซ็นต์ (สารออกฤทธิ์) หรือคาร์เบนดาซิม ๐.๒ เปอร์เซ็นต์ (สารออกฤทธิ์) ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๓.๑ ต้องบรรจุปาล์มน้ำมันในบรรจุภัณฑ์ที่ใหม่ สะอาด แข็งแรงและปิดมิดชิดและแสดงข้อมูลพันธุ์ของเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันบนบรรจุภัณฑ์ ๑๓.๒ ต้องบรรจุปาล์มน้ำมันในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของดิน ทรายและชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๓.๓ กรณีขนส่งปาล์มน้ำมันมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ดี กรณีขนส่งปาล์มน้ำมันมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุปาล์มน้ำมันในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๓.๔ ปาล์มน้ำมันที่ส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืชที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๔ การตรวจส่งออก ๑๔.๑ ต้องสุ่มตรวจปาล์มน้ำมันก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการและต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ๑๔.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิตบนปาล์มน้ำมันตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ต้องปฏิเสธการส่งออกปาล์มน้ำมันทั้งหมดไปยังราชอาณาจักรไทย ข้อ ๑๕ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๕.๑ การส่งออกปาล์มน้ำมันไปยังราชอาณาจักรไทยต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืช ซึ่งออกให้โดย NPPO กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The (oil palm seeds/germinated oil palm seeds/oil palm tissue culture in this consignment were produced in Malaysia in accordance with the conditions governing entry of oil palm seeds to Thailand and inspected and found to be free of ( รายชื่อศัตรูพืชกักกันตามเอกสารแนบท้าย )” และ/หรือ “( รายชื่อศัตรูพืชกักกันตามเอกสารแนบท้าย ) are absent from Malaysia” ๑๕.๒ ต้องระบุรายละเอียดการกำจัดศัตรูพืชลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม ๑๕.๓ ต้องระบุชื่อวิทยาศาสตร์และชื่อพันธุ์ของปาล์มน้ำมันในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๖ การตรวจนำเข้า ๑๖.๑ เมื่อปาล์มน้ำมันถูกขนส่งมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าปาล์มน้ำมันจะดำเนินการหลังจากได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๖.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างปาล์มน้ำมันและตรวจสอบเพื่อยืนยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิดและต้องกักปาล์มน้ำมันไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๖.๓ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจปาล์มน้ำมันทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายกรมวิชาการเกษตรจะระงับการนำเข้าปาล์มน้ำมันไปจนกว่า NPPO จะมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุของการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดและได้มีการดำเนินการแก้ไขแล้วจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๖.๔ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนปาล์มน้ำมันด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายกรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าปาล์มน้ำมันจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราว จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ข้อ ๑๗ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๗.๑ การส่งออกปาล์มน้ำ มันจากมาเลเซียไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้นโดยมาเลเซียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๗.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น กรมวิชาการเกษตรอาจส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในมาเลเซีย ก่อนอนุญาตให้นำเข้าปาล์มน้ำมันได้อีกต่อไป โดยมาเลเซียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘ อนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับปาล์มน้ำมัน แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าปาล์มน้ำมันจากมาเลเซีย พ.ศ. ๒๕๕๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๘ วันทิตา/ผู้ตรวจ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๕๘ ง/หน้า ๑๕/๑๖ มีนาคม ๒๕๕๘
712219
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างไปทดสอบ ณ ห้องปฏิบัติการทดสอบที่สถานประกอบการตั้งอยู่นอกราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2557
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตัวอย่างไปทดสอบ ณ ห้องปฏิบัติการทดสอบที่สถานประกอบการตั้งอยู่นอกราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๗[๑] เพื่อให้การดำเนินการควบคุม กำกับ การสุ่มเก็บตัวอย่างพืชควบคุมเฉพาะเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ ฉ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเตมิ โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓ ประกอบ ข้อ ๔.๒ แห่งประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัย พ.ศ. ๒๕๕๒ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจึงออกประกาศ กำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตัวอย่างไปทดสอบ ณ ห้องปฏิบัติการทดสอบที่สถานประกอบการตั้งอยู่นอกราชอาณาจักรไทย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตัวอย่างไปทดสอบ ณ ห้องปฏิบัติการทดสอบที่สถานประกอบการตั้งอยู่นอกราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๗” ข้อ ๒ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างฯ ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน ตามแบบ สมพ. ๑๗ ท้ายประกาศนี้ ต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืชกรมวิชาการเกษตร พร้อมเอกสารแสดงหลักฐาน ดังนี้ ๓.๑ สำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท (กรณีบริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชนจำกัด) หรือของหุ้นส่วนผู้จัดการ (กรณีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล) แล้วแต่กรณี จำนวน ๑ ฉบับ ๓.๒ สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท แสดงรายการจดทะเบียนตลอดทั้งชื่อกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี ซึ่งออกมาแล้วไม่เกิน ๖ เดือน จำนวน ๑ ฉบับ ๓.๓ แบบ สมพ.๑๗.๑ ๓.๔ แบบ สมพ. ๑๗.๒ พร้อมแนบหลักฐาน ๓.๕ แบบ สมพ.๑๗.๓ ข้อ ๔ คุณสมบัติของขอผู้ขึ้นทะเบียน ๔.๑ เป็นนิติบุคคล ๔.๒ ต้องไม่เป็นนิติบุคคลที่มีกรรมการหรือผู้จัดการเป็นบุคคลเดียวกันกับนิติบุคคล ที่เคยถูกเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตัวอย่างไปทดสอบ ณ ห้องปฏิบัติการทดสอบ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่นอกราชอาณาจักรไทยมาก่อนเว้นแต่นิติบุคคลนั้นได้พ้นจากการถูกเพิกถอนการขึ้นทะเบียนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี ๔.๓ มีสำนักงานที่แน่นอนและเหมาะสมสำหรับใช้เป็นสำนักงาน ๔.๔ มีเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการสุ่มเก็บและการเก็บรักษาตัวอย่างอย่างเหมาะสม โดยแสดงรายการเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการสุ่มเก็บตัวอย่าง ตามแบบ สมพ.๑๗.๑ ท้ายประกาศนี้ ๔.๕ มีผู้สุ่มเก็บตัวอย่างประเภทเงินเดือนประจำ โดยแสดงรายชื่อผู้สุ่มเก็บตัวอย่าง ตามแบบ สมพ.๑๗.๒ ๔.๖ มีพนักงานธุรการประเภทรับเงินเดือนประจำทำงานอยู่ที่สำนักงานในเวลาทำงานปกติเป็นประจำโดยแสดงรายชื่อ ตามแบบ สมพ.๑๗.๓ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ คุณสมบัติของผู้สุ่มเก็บตัวอย่าง ๕.๑ จบการศึกษาไม่น้อยกว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ๕.๒ ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการสุ่มเก็บตัวอย่างตามที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด หรือหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการสุ่มเก็บตัวอย่างตามมาตรฐานสากล โดยกรอกชื่อ-นามสกุล ประวัติการศึกษา ประวัติการฝึกอบรม ตามแบบ สมพ.๑๗.๒ ท้ายประกาศนี้ ๕.๓ มีความรู้ความสามารถในการสุ่มเก็บตัวอย่างตามวิธีการสุ่มเก็บตัวอย่าง ที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด ข้อ ๖ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขอ และเอกสารตามข้อ ๓ ถึง ข้อ ๕ หากเห็นว่าครบถ้วนถูกต้อง เจ้าหน้าที่สรุปรายงานเสนอคณะกรรมการควบคุม กำกับ ดูแลห้องปฏิบัติการทดสอบสินค้าเกษตร และอาหารด้านพืช พิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อขึ้นทะเบียน และเสนออธิบดีกรมวิชาการเกษตรหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเพื่อออกหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างฯ ข้อ ๗ หนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างฯ มีอายุ ๒ ปี นับแต่วันที่ออกหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างฯ หากประสงค์ต่ออายุหนังสือสำคัญ แสดงการขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างฯ ให้ยื่นคำขอต่ออายุตามแบบ สมพ.๑๘ ท้ายประกาศนี้ พร้อมเอกสาร ตามข้อ ๔ ณ สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร ก่อนวันที่หนังสือสำคัญ แสดงการขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างฯ หมดอายุไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน ข้อ ๘ ผู้ได้รับหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างฯ ต้องปฏิบัติดังนี้ ๘.๑ ผู้สุ่มเก็บตัวอย่างดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างตามวิธีการสุ่มเก็บตัวอย่างที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด ณ โรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด ๘.๒ การจัดการตัวอย่าง ๘.๒.๑ ภาชนะบรรจุตัวอย่าง ต้องสะอาดมีป้ายชี้บ่งตัวอย่าง และลงลายมือชื่อผู้สุ่มเก็บตัวอย่าง และวันที่สุ่มเก็บตัวอย่าง ๘.๒.๒ ต้องมีการเก็บรักษาตัวอย่างโดยตัวอย่างต้องอยู่ในภาชนะบรรจุ และมีการรักษาอุณหภูมิระหว่างการขนส่งจนถึงห้องปฏิบัติการทดสอบอย่างเหมาะสมตามประเภทของตัวอย่าง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าตัวอย่างจะไม่เสื่อมสภาพ ไม่เกิดการปนเปื้อน หรือการสับเปลี่ยนตัวอย่าง ข้อ ๙ เมื่อผู้สุ่มตัวอย่างฯ ได้ทำการสุ่มตัวอย่างฯ แล้วให้ผู้ได้รับหนังสือสำคัญการขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มตัวอย่างส่งมอบตัวอย่างดังกล่าวให้ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด ส่งตัวอย่างไปยังห้องปฏิบัติการทดสอบที่สถานประกอบการตั้งอยู่นอกราชอาณาจักรไทย โดยห้องปฏิบัติการดังกล่าว ต้องได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025 และต้องได้รับการรับรองครอบคลุมชนิดตัวอย่างและรายการทดสอบ ไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชเป็นพืชควบคุมเฉพาะ พ.ศ. ๒๕๕๖ และตัวอย่างสินค้าพืชที่กำหนดเป็นพืชควบคุมเฉพาะให้ปฏิบัติตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและออกใบรับรองสุขอนามัย พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างฯ ต้องแจ้งข้อมูลต่อกรมวิชาการเกษตร เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลรายชื่อเจ้าหน้าที่ผู้สุ่มเก็บตัวอย่าง หรือข้อมูลที่มีผลกระทบต่อความถูกต้องของการสุ่มเก็บตัวอย่าง ภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่เปลี่ยนแปลงข้อมูล ข้อ ๑๑ กรมวิชาการเกษตรจะตรวจติดตามการสุ่มเก็บตัวอย่างของผู้สุ่มเก็บตัวอย่างภายหลังการได้ขึ้นทะเบียนอย่างน้อย ๑ ครั้งต่อปี หรือกรณีพบปัญหาการได้รับการแจ้งเตือน หรือข้อร้องเรียน ข้อ ๑๒ บทกำหนดโทษ ในกรณีที่กรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้ว เห็นว่า มีการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศกรมวิชาการเกษตรจะสั่งพักใช้หรือเพิกถอนหนังสือแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างฯ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังนี้ ๑๒.๑ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ หรือกรณีพบปัญหาการได้รับการแจ้งเตือน หรือกรณีได้รับข้อร้องเรียน ครั้งที่ ๑ ให้เจ้าหน้าที่แจ้งเตือนผู้ได้รับหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างฯ เป็นหนังสือ ๑๒.๒ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ หรือกรณีพบปัญหาการได้รับการแจ้งเตือน หรือกรณีได้รับข้อร้องเรียน ครั้งที่ ๒ โดยเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ หรือกรณีพบปัญหาการได้รับการแจ้งเตือน หรือข้อร้องเรียนภายในระยะเวลา ๓ เดือน นับแต่วันที่ได้รับการแจ้งเตือน ตามข้อ ๑๒.๑ ให้พักใช้หนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างฯ มีกำหนด ๓๐ วัน ๑๒.๓ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ หรือกรณีพบปัญหาการได้รับการแจ้งเตือน หรือข้อร้องเรียน ตั้งแต่ ๓ ครั้งขึ้นไป โดยเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ หรือกรณีพบปัญหาการได้รับการแจ้งเตือน หรือข้อร้องเรียนภายในระยะเวลา ๖ เดือน นับแต่วันที่ได้รับการแจ้งเตือนตามข้อ ๑๒.๑ ให้เพิกถอนหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างฯ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างฯไม่สามารถยื่นขอเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างฯ เป็นระยะเวลา ๖ เดือนนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างฯ ประกาศ ณ วันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตัวอย่างไปทดสอบ ณ ห้องปฏิบัติการทดสอบที่สถานประกอบการตั้งอยู่นอกราชอาณาจักรไทย (แบบ สมพ.๑๗) ๒. แบบคำขอต่ออายุหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตัวอย่างไปทดสอบ ณ ห้องปฏิบัติการทดสอบที่สถานประกอบการตั้งอยู่นอกราชอาณาจักรไทย (แบบ สมพ.๑๘) ๓. แบบแสดงรายการเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการสุ่มเก็บตัวอย่าง (แบบ สมพ.๑๗.๑) ๔. แบบแสดงรายชื่อผู้สุ่มเก็บตัวอย่าง (แบบ สมพ.๑๗.๒) ๕. แบบแสดงรายชื่อพนักงานธุรการ (แบบ สมพ.๑๗.๓) ๖. หนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตัวอย่างไปทดสอบ ณ ห้องปฏิบัติการทดสอบที่สถานประกอบการตั้งอยู่นอกราชอาณาจักรไทย (แบบ สมพ.๑๙) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๙๕ ง/หน้า ๑๔/๑๑ กันยายน ๒๕๕๗
702791
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ามะเขือเทศจากมาเลเซีย พ.ศ. 2557
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ามะเขือเทศจากมาเลเซีย พ.ศ. ๒๕๕๗ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของมะเขือเทศนำเข้าเพื่อการค้า จากมาเลเซียเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลมะเขือเทศสดจากมาเลเซีย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ามะเขือเทศจากมาเลเซีย พ.ศ. ๒๕๕๗” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช มะเขือเทศ (tomato, Lycopersicon esculentum) ตามประกาศนี้ ได้แก่ ผลมะเขือเทศสด ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับมะเขือเทศจากมาเลเซียปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ มาเลเซีย คือ Department of Agriculture, Malaysia ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “DOA-Malaysia” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งมะเขือเทศมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในมาเลเซียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางบกหรือทางอากาศ ข้อ ๘ ข้อกำหนดสำหรับการนำเข้า มะเขือเทศต้องไม่ปรากฏกลีบเลี้ยง (sepal or calyx) และก้าน (pedicel) ข้อ ๙ แหล่งปลูก มะเขือเทศต้องเป็นผลผลิตจากมาเลเซียและมาจากสวนมะเขือเทศที่ปลูกเพื่อการค้า ซึ่งได้จดทะเบียนไว้กับ DOA-Malaysia หรือภายใต้ระบบที่ DOA-Malaysia ให้การรับรอง โดยที่ DOA-Malaysia กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกมะเขือเทศสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๑๐.๑ สวนมะเขือเทศทุกสวนในแหล่งปลูกมะเขือเทศที่กำหนดไว้สำหรับส่งออก ไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจดทะเบียนไว้กับ DOA-Malaysia หรือภายใต้ระบบที่ DOA-Malaysia ให้การรับรอง DOA-Malaysia ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่ามะเขือเทศปราศจากศัตรูพืชกักกัน ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนมะเขือเทศส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนสวนมะเขือเทศส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนมะเขือเทศที่จดทะเบียน ต้องปฏิบัติตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสมในสวนมะเขือเทศ โดยต้องรักษาความสะอาดสวนมะเขือเทศ และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่นๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๑๐.๓ DOA-Malaysia ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนมะเขือเทศตลอดฤดูกาลปลูกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้า ๑๑.๑ DOA-Malaysia ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าที่จะส่งออกมะเขือเทศไปยังราชอาณาจักรไทยต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าให้เสร็จสิ้น ก่อนเริ่มการส่งออก ๑๑.๒ โรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียนต้องนำมะเขือเทศมาจากสวนมะเขือเทศที่จดทะเบียนซึ่งปลูกเพื่อการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของมะเขือเทศที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็ว โรงบรรจุสินค้าต้องเก็บบันทึกรายชื่อของเกษตรกรเจ้าของสวนมะเขือเทศซึ่งส่งมะเขือเทศ ออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๑.๓ โรงบรรจุสินค้าต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐานกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุมะเขือเทศ ๑๑.๔ DOA-Malaysia ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงบรรจุสินค้า ก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้านั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงบรรจุสินค้าต้องรับผิดชอบ ในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๑.๕ การตรวจผลมะเขือเทศสดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกัน ต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๒.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูก โพลีสไตรีน พลาสติก หรือลังแบบต่าง ๆ ที่ทำจากไม้ โดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ผลิตจากวัสดุแปรรูปใช้ใหม่หรือเป็นวัสดุใหม่ กรณีที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกล่องกระดาษหรือพลาสติก บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ต้องสะอาดและใหม่เท่านั้น ๑๒.๒ ต้องบรรจุผลมะเขือเทศสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๒.๓ ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้การตรวจสอบย้อนกลับเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ Produce of Malaysia, Name of exporting company, Name of fruit (common name) ๑๒.๔ ผลมะเขือเทศสดที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กฎข้อบังคับว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในทางการค้าระหว่างประเทศ ข้อ ๑๓ การตรวจส่งออก ๑๓.๑ ต้องสุ่มตรวจผลมะเขือเทศสดด้วยสายตาก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการ และต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ๑๓.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ผลมะเขือเทศสดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ข้อ ๑๔ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๔.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย DOA-Malaysia กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of tomato fruit was produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of fresh tomato fruit from Malaysia to Thailand” ๑๔.๒ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลมะเขือเทศสดในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๕ การตรวจนำเข้า ๑๕.๑ เมื่อผลมะเขือเทศสดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าผลมะเขือเทศสดจะดำเนินการหลังจากเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๕.๒ เจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลมะเขือเทศสดและตรวจสอบเพื่อยืนยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักผลมะเขือเทศสดไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๕.๓ ถ้ามีผลมะเขือเทศสดนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลมะเขือเทศสดจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจผลมะเขือเทศสดทั้งหมด ถ้ามีผลมะเขือเทศสดจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลมะเขือเทศสดจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๕.๔ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลมะเขือเทศสด ผลมะเขือเทศสดทั้งหมดจะถูกส่งกลับหรือทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนผลมะเขือเทศสดด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๕.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนผลมะเขือเทศสด ด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้ได้รับอนุญาตนำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตร มีสิทธิระงับการนำเข้าผลมะเขือเทศสดจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราวจนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ข้อ ๑๖ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๖.๑ กรมวิชาการเกษตรสงวนสิทธิที่จะส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเทศมาเลเซียเป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินการต่าง ๆ ในกระบวนการตรวจรับรองศัตรูพืชก่อนส่งออกของ DOA-Malaysia ยังคงมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพื่อให้ความมั่นใจว่าผลมะเขือเทศสดที่ส่งออกไปราชอาณาจักรไทยยังคงมีการจัดการศัตรูพืชกักกันอย่างเหมาะสม โดยมาเลเซียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๖.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้ว เห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น กรมวิชาการเกษตรอาจส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในมาเลเซีย ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้ามะเขือเทศได้อีกต่อไป โดยมาเลเซียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูกักกันของมะเขือเทศของราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ามะเขือเทศจากมาเลเซีย พ.ศ. ๒๕๕๗ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ อุษมล/ผู้ตรวจ ๓ มีนาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๑๐/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
701209
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลัมสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลัมสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลพลัมสดนำเข้าเพื่อการค้าจากเครือรัฐออสเตรเลียเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลพลัมสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลัมสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ผลพลัมสด (plum, Prunus domestica) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลพลัมสดจากเครือรัฐออสเตรเลียปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ เครือรัฐออสเตรเลีย คือ Department of Agriculture, Fisheries and Forestry ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “DAFF” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลพลัมสดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๘ แหล่งปลูก ๘.๑ ผลพลัมสดต้องเป็นผลผลิตจากเครือรัฐออสเตรเลีย และมาจากสวนที่ปลูกเพื่อการค้าซึ่งได้จดทะเบียนภายใต้ระบบที่ DAFF ให้การรับรอง โดยที่ DAFF กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกผลพลัมสดสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ๘.๒ ผลพลัมสดเฉพาะจากแหล่งปลูกในรัฐต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ๘.๒.๑ ผลพลัมสดจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales) เซาท์ออสเตรเลีย (South Australia) ทัสมาเนีย (Tasmania) และวิกตอเรีย (Victoria) ๘.๒.๒ ผลพลัมสดจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ควีนส์แลนด์ (Queensland) เซาท์ออสเตรเลีย วิกตอเรีย และเวสเทิร์นออสเตรเลีย (Western Australia) ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ สวนที่ปลูกพลัมทุกสวนในแหล่งปลูกที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจดทะเบียน DAFF ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่าผลพลัมสดปราศจากศัตรูพืชกักกัน ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอและต้องดำเนินการพิสูจน์การจดทะเบียนสวนให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนพลัมที่จดทะเบียนต้องมีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในสวนพลัม โดยต้องรักษาความสะอาดสวน และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๙.๓ DAFF ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนที่ปลูกพลัมตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออก ๑๐.๑ DAFF ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จะส่งออกผลพลัมสดไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องนำผลพลัมสดมาจากสวนที่จดทะเบียนซึ่งปลูกเพื่อการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของผลพลัมสดที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็วโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องเก็บบันทึกรายชื่อเกษตรกรเจ้าของสวนซึ่งส่งผลพลัมสดออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๐.๓ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐานกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุผลพลัมสด ๑๐.๔ DAFF ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกนั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๐.๕ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ๑๐.๖ การตรวจผลพลัมสดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับแมลงซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกัน ๑๑.๑ ผลพลัมสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจัดการความเสี่ยงแมลงวันผลไม้ ได้แก่ Jarvis’fruit fly (Bactrocera jarvisi), lesser Queensland fruit fly (Bactrocera eohumeralis), Queensland fruit fly (Bactrocera tryoni) และ Mediterranean fruit fly (Ceratitis capitata) ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้ ๑๑.๑.๑ ผลพลัมสดต้องมาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือ ๑๑.๑.๒ ผลพลัมสดจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลพลัมสดด้วยวิธีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกหรือระหว่างขนส่ง ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๒.๑ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศ ว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๒๖ เรื่อง การสถาปนาพื้นที่ปลอดศัตรูพืชสำหรับแมลงวันผลไม้ชนิดต่าง ๆ ในวงศ์เทฟริติดี้ (Tephritidae) ๑๒.๒ การกำหนดพื้นที่ปลูกของพลัมบริเวณใดในเครือรัฐออสเตรเลียให้เป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้นั้น DAFF ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กรมวิชาการเกษตรทราบอย่างเป็นทางการ ต้องบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อรักษาสถานภาพของพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกพลัมส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย พื้นที่ดังต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้สำหรับแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ได้แก่ ๑๒.๒.๑ รัฐทัสมาเนีย ๑๒.๒.๒ เขตริเวอร์รินา (Riverina district) ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เมือง (city) กิฟฟิท (Griffith), เขตพื้นที่ (shire) คาเรทโฮล (Carrathool), ลีตัน (Leeton), นาเรนเดอร์รา (Narrandera) และเมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee) พื้นที่นี้ยังแบ่งย่อยออกเป็น ๒ ส่วน คือ พื้นที่เขตชลประทานเมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee Irrigation Area, MIA) และคาเรทโฮล (Carrathool) ๑๒.๒.๓ เขตริเวอร์แลนด์ (Riverland district) ของรัฐเซาท์ออสเตรเลียประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (county) เฮมเล (Hamley), เขตพื้นที่ (hundred) บุคเพอร์มังค์ (Bookpurmong), คาแดล (Cadell), กอร์เดน (Gorden), โฮลเดอร์ (Holder), คาทาเรพโค (Katarapko), โลวีเดย์ (Loveday), มาร์คาเรนคา (Markaranka), มอรูค (Moorook), เมอร์โท (Murtho), พาร์โคลา (Parcoola), พาริงจา (Paringa), โพจิโนค (Pooginook), ไพท (Pyap), สเตาร์ (Stuart), ไวเคอร์รี (Waikerie), อีบา (Eba), ฟิสเซอร์ (Fisher), ฟอสเตอร์ (Forster), เฮ (Hay), เมอร์โค (Murbko), นิดอททิ (Nildottie), เพรเล (Paisley), ริดเล (Ridley), เซอร์เร (Skurray) และออนเล (Onley) ในเขตพื้นที่ (shire) มิลดูรา (Mildura) ของรัฐวิกตอเรีย ๑๒.๒.๔ เขตชัลเรเซีย (Sunraysia district) ของรัฐวิกตอเรียและรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (shire) เวนเวอดท์ (Wentworth) และบาเรนดอล (Balranald) ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ และมิลดูรา (Mildura), สวอนฮิล (Swan Hill), วาโคล (Wakool) และคีเรง (Kerang) และเมือง (city) สวอนฮิล (Swan Hill), มิลดูรา (Mildura) และเขตพื้นที่ (borough) คีเรง (Kerang) ในรัฐวิกตอเรีย ๑๒.๓ การส่งออกผลพลัมสดจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ไม่มีความจำเป็นต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลพลัมสดก่อนส่งออก ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly อย่างสม่ำเสมอในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๒.๔ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันทีที่มีการยืนยันว่าพบการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ DAFF ต้องระงับการให้การรับรองการส่งออกผลพลัมสดที่ไม่ได้กำจัดแมลงวันผลไม้จากพื้นที่ที่พบแมลงวันผลไม้เป็นการชั่วคราว และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่เหล่านั้นให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ๑๒.๕ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันที หากพบแมลงวันผลไม้ชนิดอื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ นอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืช ๑๓.๑ กรณีผลพลัมสดที่จะส่งออกมาจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้หรือกรณี DAFF ไม่สามารถให้การรับรองพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้เพราะว่าพื้นที่ที่นำผลพลัมสดมาส่งออกนั้นขาดคุณสมบัติที่จะคงสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของพื้นที่นั้นถูกระงับเป็นการชั่วคราว กรณีดังกล่าวเหล่านี้ ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลพลัมสดด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืช วิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นดังต่อไปนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืชสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลพลัมสด ๑๓.๑.๑ ผลพลัมสดจากรัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐควีนส์แลนด์ รัฐเซาท์ออสเตรเลีย และรัฐวิกตอเรีย ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly และ Queensland fruit fly ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๐ องศาเซลเซียส (๓๒ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๓ วัน หรือมากกว่า ๐.๕๖ องศาเซลเซียส (๓๓ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๐ วัน หรือมากกว่า ๒.๒๒ องศาเซลเซียส (๓๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๒ วัน หรือมากกว่า ๑๓.๑.๒ ผลพลัมสดจากรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ Mediterranean fruit fly ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๖ วัน หรือมากกว่า ๒.๒๒ องศาเซลเซียส (๓๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๑๓.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นสามารถดำเนินการได้ทั้งก่อนส่งออกหรือระหว่างขนส่ง สำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น อาจจะดำเนินการเพียงบางส่วน ซึ่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกโดยเริ่มต้นดำเนินการในเครือรัฐออสเตรเลียและการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ระหว่างขนส่ง ในกรณีที่การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นเกิดล้มเหลวระหว่างขนส่งการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นอาจจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้เมื่อสินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง ๑๓.๓ การส่งออกผลพลัมสดซึ่งต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น ต้องลดอุณหภูมิผลพลัมสดตรงบริเวณกึ่งกลางผลให้ต่ำลงถึงระดับเดียวกันกับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่กำหนดสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้เป็นการล่วงหน้าก่อนขนถ่ายผลพลัมสดเข้าตู้ขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอุณหภูมิผลพลัมสดได้ลดต่ำลงถึงระดับที่เหมาะสม ก่อนเริ่มต้นกระบวนการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น และต้องรักษาระดับอุณหภูมิของผลพลัมสดให้คงที่ติดต่อกันตลอดไป ๑๓.๔ การประเมินผลการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นทั้งกรณีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก และการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง จะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เท่านั้น โดยไม่นำอุณหภูมิจากแท่งวัดอุณหภูมิอากาศมาประกอบการประเมินผลประสิทธิภาพของการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ๑๔.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ DAFF โดยต้องดำเนินการในห้องเย็นสำหรับกำจัดศัตรูพืชซึ่งได้รับการรับรองจาก DAFF และกรมวิชาการเกษตร ผลพลัมสดสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยอาจจะทำการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นควบคู่ไปพร้อมกับผลพลัมสดที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นได้ ๑๔.๒ ถ้าผลพลัมสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๕ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๕.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นโดยดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้าระหว่างขนส่งสินค้า ๑๕.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งซึ่งดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้านั้นอาจจะเริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่ตู้ขนส่งสินค้าอยู่บนบกและเสร็จสิ้นในช่วงระหว่างขนส่ง หรือเสร็จสิ้นเมื่อตู้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ๑๕.๓ ถ้าผลพลัมสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ นอกจากนี้ ต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้แนบมาพร้อมกับสินค้าด้วยทุกครั้ง ข้อ ๑๖ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๖.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูก โพลีสไตรีน พลาสติก หรือลังแบบต่าง ๆ ที่ทำจากไม้ โดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ผลิตจากวัสดุแปรใช้ใหม่หรือเป็นวัสดุใหม่ กรณีที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกล่องกระดาษหรือพลาสติก บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ต้องสะอาดและใหม่เท่านั้น ๑๖.๒ ต้องบรรจุผลพลัมสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของดิน ทรายและชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๖.๓ สำหรับผลพลัมสดส่งออกทางอากาศ ต้องบรรจุผลพลัมสดให้เป็นไปตามเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใด ดังต่อไปนี้ ๑๖.๓.๑ ต้องบรรจุผลพลัมสดในถุงตาข่ายแล้วถึงนำผลพลัมสดบรรจุในบรรจุภัณฑ์ ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๓.๒ ต้องบรรจุผลพลัมสดในบรรจุภัณฑ์เมื่อปิดสนิทแล้วต้องปิดช่องระบายอากาศทั้งหมดบนบรรจุภัณฑ์ด้วยตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๓.๓ ต้องบรรจุผลพลัมสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งเมื่อมัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นวาง ต้องห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดด้วยตาข่ายหรือพลาสติก ถ้าใช้ตาข่ายขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๔ สำหรับผลพลัมสดส่งออกทางน้ำ ผลพลัมสดซึ่งบรรจุในบรรจุภันฑ์ขนส่งโดยตู้ขนส่งสินค้า ไม่ว่าบรรจุภัณท์จะมัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นว่างจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในข้อ ๑๖.๓ ๑๖.๕ ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้การตรวจสอบย้อนกลับเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ Produce of Australia, Name of exporting company, Name of fruit (common name), Packinghouse registration number หรือ Export establishment registration number และ Orchard registration number ๑๖.๖ กรณีขนส่งผลพลัมสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลพลัมสดในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ดี กรณีขนส่งผลพลัมสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลพลัมสดในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๖.๗ ผลพลัมสดที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กฎข้อบังคับว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในทางการค้าระหว่างประเทศ ข้อ ๑๗ การตรวจส่งออก ๑๗.๑ ต้องสุ่มตรวจผลพลัมสดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการ และต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ๑๗.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๗.๒.๑ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิตบนผลพลัมสด ได้แก่ แมลงวันผลไม้ ต้องปฏิเสธการส่งออกผลพลัมสดทั้งหมดไปยังราชอาณาจักรไทย ๑๗.๒.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลพลัมสดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ๑๗.๓ ต้องดำเนินการกำจัดศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๓ ถ้าผลพลัมสดที่จะส่งออกไปราชอาณาจักรไทยไม่ได้มาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๘ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๘.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย DAFF กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of plum fruit was produced and prepared for exportin accordance with the conditions for import of plum fruit from Australia to Thailand” ๑๘.๒ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ถ้าผลพลัมสดมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องระบุข้อความเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ “The consignment of plum fruit was produced in (name of defined area) which is a pest free area for Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly and Mediterranean fruit fly in Australia.” ๑๘.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ถ้าผลพลัมสดผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ต้องระบุรายละเอียดของโรงงานกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น อุณหภูมิ และระยะเวลาที่ใช้ (จำนวนวันที่ต่อเนื่องกัน) ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม ๑๘.๔ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๘.๔.๑ ถ้าผลพลัมสดได้รับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองสุขอนามัยพืช ดังต่อไปนี้ “DAFF has supervised the calibration and the placement of fruit sensors into the fruit within the container(s) in accordance with the conditions for import of plum fruit from Australia to Thailand and cold disinfestation treatment has been initiated” ๑๘.๔.๒ ต้องมีต้นฉบับใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๘.๕ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลพลัมสด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๙ การตรวจนำเข้า ๑๙.๑ เมื่อผลพลัมสดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าผลพลัมสดจะดำเนินการหลังจากเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๙.๒ เจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลพลัมสดและตรวจสอบเพื่อยื่นยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักผลพลัมสดไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๙.๓ ถ้ามีผลพลัมสดนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลพลัมสดจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจผลพลัมสดทั้งหมด ถ้ามีผลพลัมสดจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลพลัมสดจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๙.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลพลัมสด ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๙.๔.๑ แมลงวันผลไม้ (๑) ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิต ได้แก่ แมลงวันผลไม้ผลพลัมสดทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ DAFF ทราบและระงับการนำเข้าโดยทันที (๒) DAFF ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไขกรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้า เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๙.๔.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลพลัมสดทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๙.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลายหรือกำจัดศัตรูพืชบนผลพลัมสดด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าผลพลัมสดจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราวจนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๙.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลพลัมสดกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๙.๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นไม่สมบูรณ์ ๑๙.๖.๒ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๙.๖.๓ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๙.๖.๔ เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผลพลัมสด หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนด หรือผลพลัมสดที่เสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตกหรือเกิดรอยเปิด ๑๙.๖.๕ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๒๐ การประเมินกระบวนการส่งออก ๒๐.๑ การส่งออกผลพลัมสดจากแหล่งปลูกที่ระบุไว้ในข้อ ๘ ในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๒๐.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในเครือรัฐออสเตรเลีย ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าผลพลัมสดได้อีกต่อไป โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. เอกสารหมายเลข ๑ รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลพลัมสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลัมสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ ๒. เอกสารหมายเลข ๒ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลัมสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ ๓. เอกสารหมายเลข ๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลัมสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ ๔. เอกสารหมายเลข ๔ ใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า สำหรับราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลัมสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๗ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๖ มีนาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๙ ง/หน้า ๗๕/๑๕ มกราคม ๒๕๕๗
701207
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลท้อสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลท้อสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลท้อสดนำเข้าเพื่อการค้าจากเครือรัฐออสเตรเลียเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลท้อสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลท้อสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ผลท้อสด (peach, Prunus persica) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลท้อสดจากเครือรัฐออสเตรเลียปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ เครือรัฐออสเตรเลีย คือ Department of Agriculture, Fisheries and Forestry ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “DAFF” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลท้อสดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๘ แหล่งปลูก ๘.๑ ผลท้อสดต้องเป็นผลผลิตจากเครือรัฐออสเตรเลีย และมาจากสวนที่ปลูก เพื่อการค้า ซึ่งได้จดทะเบียนภายใต้ระบบที่ DAFF ให้การรับรอง โดยที่ DAFF กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกผลท้อสดสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ๘.๒ ผลท้อสดเฉพาะจากแหล่งปลูกในรัฐต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียได้รับอนุญาต ให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ๘.๒.๑ ผลท้อสดจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales) เซาท์ออสเตรเลีย (South Australia) ทัสมาเนีย (Tasmania) และวิกตอเรีย (Victoria) ๘.๒.๒ ผลท้อสดจากแปลงปลูกซึ่งนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ควีนส์แลนด์ (Queensland) เซาท์ออสเตรเลีย วิกตอเรีย และเวสเทิร์นออสเตรเลีย (Western Australia) ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ สวนที่ปลูกท้อทุกสวนในแหล่งปลูกที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องจดทะเบียน DAFF ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่าผลท้อสดปราศจากศัตรูพืชกักกัน ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอและต้องดำเนินการพิสูจน์การจดทะเบียนสวนให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนท้อที่จดทะเบียนต้องมีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในสวนท้อ โดยต้องรักษาความสะอาดสวน และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๙.๓ DAFF ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนที่ปลูกท้อ ตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออก ๑๐.๑ DAFF ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จะส่งออกผลท้อสดไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องนำผลท้อสดมาจากสวนที่จดทะเบียนซึ่งปลูกเพื่อการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของผลท้อสดที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็วโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องเก็บบันทึกรายชื่อเกษตรกรเจ้าของสวนซึ่งส่งผลท้อสดออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๐.๓ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐานกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุผลท้อสด ๑๐.๔ DAFF ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกนั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๐.๕ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกัน ต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ๑๐.๖ การตรวจผลท้อสดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับแมลงซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกัน ๑๑.๑ ผลท้อสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจัดการความเสี่ยงแมลงวันผลไม้ ได้แก่ Jarvis’ fruit fly (Bactrocera jarvisi), lesser Queensland fruit fly (Bactrocera neohumeralis), Queensland fruit fly (Bactrocera tryoni) และ Mediterranean fruit fly (Ceratitis capitata) ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้ ๑๑.๑.๑ ผลท้อสดต้องมาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือ ๑๑.๑.๒ ผลท้อสดจากแปลงปลูกซึ่งอยู่นอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลท้อสดด้วยวิธีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกหรือระหว่างขนส่ง ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๒.๑ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศ ว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๒๖ เรื่อง การสถาปนาพื้นที่ปลอดศัตรูพืชสำหรับแมลงวันผลไม้ชนิดต่าง ๆ ในวงศ์เทฟริติดี้ (Tephritidae) ๑๒.๒ การกำหนดพื้นที่ปลูกของท้อบริเวณใดในเครือรัฐออสเตรเลียให้เป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้นั้น DAFF ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กรมวิชาการเกษตรทราบอย่างเป็นทางการ ต้องบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อรักษาสถานภาพของพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกท้อส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย พื้นที่ดังต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้สำหรับแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ได้แก่ ๑๒.๒.๑ รัฐทัสมาเนีย ๑๒.๒.๒ เขตริเวอร์รินา (Riverina district) ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ประกอบด้วย เขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เมือง (city) กิฟฟิท (Griffith), เขตพื้นที่ (shire) คาเรทโฮล (Carrathool), ลีตัน (Leeton), นาเรนเดอร์รา (Narrandera) และเมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee) พื้นที่นี้ยังแบ่งย่อย ออกเป็น ๒ ส่วน คือ พื้นที่เขตชลประทานเมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee Irrigation Area, MIA) และคาเรทโฮล (Carrathool) ๑๒.๒.๓ เขตริเวอร์แลนด์ (Riverland-district) ของรัฐเซาท์ออสเตรเลียประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (county) เฮมเล (Hamley), เขตพื้นที่ (hundred) บุคเพอร์มังค์ (Bookpurmong), คาแดล (Cadell), กอร์เดน (Gorden), โฮลเดอร์ (Holder), คาทาเรพโค (Katarapko), โลวีเดย์ (Loveday), มาร์คาเรนคา (Markaranka), มอรูค (Moorook), เมอร์โท (Murtho), พาร์โคลา (Parcoola), พาริงจา (Paringa), โพจิโนค (Pooginook), ไพท (Pyap), สเตาร์ (Stuart), ไวเคอร์รี (Waikerie), อีบา (Eba), ฟิสเซอร์ (Fisher), ฟอสเตอร์ (Forster), เฮ (Hay), เมอร์โค (Murbko), นิดอททิ (Nildottie), เพรเล (Paisley), ริดเล (Ridley), เซอร์เร (Skurray) และออนเล (Onley) ในเขตพื้นที่ (shire) มิลดูรา (Mildura) ของรัฐวิกตอเรีย ๑๒.๒.๔ เขตชัลเรเซีย (Sunraysia district) ของรัฐวิกตอเรียและรัฐนิวเซาท์เวลส์ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (shire) เวนเวอดท์ (Wentworth) และบาเรนดอล (Balranald) ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ และมิลดูรา (Mildura), สวอนฮิล (Swan Hill), วาโคล (Wakool) และคีเรง (Kerang) และเมือง (city) สวอนฮิล (Swan Hill), มิลดูรา (Mildura) และเขตพื้นที่ (borough) คีเรง (Kerang) ในรัฐวิกตอเรีย ๑๒.๓ การส่งออกผลท้อสดจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ไม่มีความจำเป็นต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลท้อสดก่อนส่งออก ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly อย่างสม่ำเสมอในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๒.๔ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันทีที่มีการยืนยันว่าพบการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ DAFF ต้องระงับการให้การรับรองการส่งออกผลท้อสดที่ไม่ได้กำจัดแมลงวันผลไม้จากพื้นที่ที่พบแมลงวันผลไม้เป็นการชั่วคราว และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่เหล่านั้นให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ๑๒.๕ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันที หากพบแมลงวันผลไม้ชนิดอื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ นอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืช ๑๓.๑ กรณีผลท้อสดที่จะส่งออกมาจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้หรือกรณี DAFF ไม่สามารถให้การรับรองพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้เพราะว่าพื้นที่ที่นำผลท้อสดมาส่งออกนั้นขาดคุณสมบัติที่จะคงสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของพื้นที่นั้นถูกระงับเป็นการชั่วคราว กรณีดังกล่าวเหล่านี้ ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลท้อสดด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืช วิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นดังต่อไปนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืชสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลท้อสด ๑๓.๑.๑ ผลท้อสดจากรัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐควีนส์แลนด์ รัฐเซาท์ออสเตรเลียและรัฐวิกตอเรีย ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ Jarvis’fruit fly, lesser Queensland fruit fly และ Queensland fruit fly ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๐ องศาเซลเซียส (๓๒ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๓ วัน หรือมากกว่า ๐.๕๖ องศาเซลเซียส (๓๓ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๐ วัน หรือมากกว่า ๒.๒๒ องศาเซลเซียส (๓๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๒ วัน หรือมากกว่า ๑๓.๑.๒ ผลท้อสดจากรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียต้องกำ จัดแมลงวันผลไม้ Mediterranean fruit fly ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๖ วัน หรือมากกว่า ๒.๒๒ องศาเซลเซียส (๓๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๑๓.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นสามารถดำเนินการได้ทั้งก่อนส่งออกหรือระหว่างขนส่ง สำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น อาจจะดำเนินการเพียงบางส่วนซึ่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกโดยเริ่มต้นดำเนินการในเครือรัฐออสเตรเลียและการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ระหว่างขนส่ง ในกรณีที่การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นเกิดล้มเหลวระหว่างขนส่ง การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นอาจจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้เมื่อสินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง ๑๓.๓ การส่งออกผลท้อสดซึ่งต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้นต้องลดอุณหภูมิผลท้อสดตรงบริเวณกึ่งกลางผลให้ต่ำลงถึงระดับเดียวกันกับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่กำหนดสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้เป็นการล่วงหน้าก่อนขนถ่ายผลท้อสดเข้าตู้ขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอุณหภูมิผลท้อสดได้ลดต่ำลงถึงระดับที่เหมาะสม ก่อนเริ่มต้นกระบวนการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นและต้องรักษาระดับอุณหภูมิของผลท้อสดให้คงที่ติดต่อกันตลอดไป ๑๓.๔ การประเมินผลการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นทั้งกรณีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก และการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง จะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เท่านั้น โดยไม่นำอุณหภูมิจากแท่งวัดอุณหภูมิอากาศมาประกอบการประเมินผลประสิทธิภาพของการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ๑๔.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ DAFF โดยต้องดำเนินการในห้องเย็นสำหรับกำจัดศัตรูพืชซึ่งได้รับการรับรองจาก DAFF และกรมวิชาการเกษตรผลท้อสดสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยอาจจะทำการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นควบคู่ไปพร้อมกับผลท้อสดที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นได้ ๑๔.๒ ถ้าผลท้อสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๕ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๕.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นโดยดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้าระหว่างขนส่งสินค้า ๑๕.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งซึ่งดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้านั้นอาจจะเริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่ตู้ขนส่งสินค้าอยู่บนบกและเสร็จสิ้นในช่วงระหว่างขนส่ง หรือเสร็จสิ้นเมื่อตู้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ๑๕.๓ ถ้าผลท้อสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ นอกจากนี้ต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับสินค้าด้วยทุกครั้ง ข้อ ๑๖ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๖.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูก โพลีสไตรีน พลาสติก หรือลังแบบต่าง ๆ ที่ทำจากไม้ โดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ผลิตจากวัสดุแปรใช้ใหม่หรือเป็นวัสดุใหม่ กรณีที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกล่องกระดาษหรือพลาสติก บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ต้องสะอาดและใหม่เท่านั้น ๑๖.๒ ต้องบรรจุผลท้อสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๖.๓ สำหรับผลท้อสดส่งออกทางอากาศ ต้องบรรจุผลท้อสดให้เป็นไปตามเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใด ดังต่อไปนี้ ๑๖.๓.๑ ต้องบรรจุผลท้อสดในถุงตาข่ายแล้วถึงนำผลท้อสดบรรจุในบรรจุภัณฑ์ ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๓.๒ ต้องบรรจุผลท้อสดในบรรจุภัณฑ์เมื่อปิดสนิทแล้วต้องปิดช่องระบายอากาศทั้งหมดบนบรรจุภัณฑ์ด้วยตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๓.๓ ต้องบรรจุผลท้อสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งเมื่อมัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นวาง ต้องห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดด้วยตาข่ายหรือพลาสติก ถ้าใช้ตาข่ายขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๔ สำหรับผลท้อสดส่งออกทางน้ำ ผลท้อสดซึ่งบรรจุในบรรจุภัณฑ์ขนส่งโดยตู้ขนส่งสินค้า ไม่ว่าบรรจุภัณฑ์จะมัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นว่างจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในข้อ ๑๖.๓ ๑๖.๕ ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้การตรวจสอบย้อนกลับเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ Produce of Australia, Name of exporting company, Name of fruit (common name), Packinghouse registration number หรือ Export establishment registration number และ Orchard registration number ๑๖.๖ กรณีขนส่งผลท้อสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลท้อสดในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ดี กรณีขนส่งผลท้อสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลท้อสดในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๖.๗ ผลท้อสดที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กฎข้อบังคับว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในทางการค้าระหว่างประเทศ ข้อ ๑๗ การตรวจส่งออก ๑๗.๑ ต้องสุ่มตรวจผลท้อสดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการและต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ๑๗.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๗.๒.๑ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิตบนผลท้อสด ได้แก่ แมลงวันผลไม้ต้องปฏิเสธการส่งออกผลท้อสดทั้งหมดไปยังราชอาณาจักรไทย ๑๗.๒.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลท้อสดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ๑๗.๓ ต้องดำเนินการกำจัดศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๓ ถ้าผลท้อสดที่จะส่งออกไปราชอาณาจักรไทยไม่ได้มาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๘ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๘.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย DAFF กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of peach fruit was produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of peach fruit from Australia to Thailand” ๑๘.๒ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ถ้าผลท้อสดมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of peach fruit was produced in (name of defined area) which is a pest free area for Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly and Mediterranean fruit fly in Australia.” ๑๘.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ถ้าผลท้อสดผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ต้องระบุรายละเอียดของโรงงานกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น อุณหภูมิ และระยะเวลาที่ใช้ (จำนวนวันที่ต่อเนื่องกัน) ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม ๑๘.๔ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๘.๔.๑ ถ้าผลท้อสดได้รับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองสุขอนามัยพืช ดังต่อไปนี้ “DAFF has supervised the calibration and the placement of fruit sensors into the fruit within the container(s) in accordance with the conditions for import of peach fruit from Australia to Thailand and cold disinfestation treatment has been initiated” ๑๘.๔.๒ ต้องมีต้นฉบับใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๘.๕ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลท้อสด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๙ การตรวจนำเข้า ๑๙.๑ เมื่อผลท้อสดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าผลท้อสดจะดำเนินการหลังจากเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๙.๒ เจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลท้อสดและตรวจสอบเพื่อยื่นยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักผลท้อสดไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๙.๓ ถ้ามีผลท้อสดนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลท้อสดจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจผลท้อสดทั้งหมด ถ้ามีผลท้อสดจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลท้อสดจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๙.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลท้อสด ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๙.๔.๑ แมลงวันผลไม้ (๑) ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิต ได้แก่ แมลงวันผลไม้ ผลท้อสดทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายกรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ DAFF ทราบและระงับการนำเข้าโดยทันที (๒) DAFF ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไขกรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้า เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๙.๔.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ผลท้อสดทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๙.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนผลท้อสดด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายกรมวิชาการเกษตร มีสิทธิระงับการนำเข้าผลท้อสดจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราว จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๙.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลท้อสดกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๙.๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นไม่สมบูรณ์ ๑๙.๖.๒ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๙.๖.๓ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๙.๖.๔ เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผลท้อสด หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนด หรือผลท้อสดที่เสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตกหรือเกิดรอยเปิด ๑๙.๖.๕ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๒๐ การประเมินกระบวนการส่งออก ๒๐.๑ การส่งออกผลท้อสดจากแหล่งปลูกที่ระบุไว้ในข้อ ๘ ในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๒๐.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในเครือรัฐออสเตรเลีย ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าผลท้อสดได้อีกต่อไป โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรง จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๗ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๖ มีนาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๙ ง/หน้า ๖๔/๑๕ มกราคม ๒๕๕๗
701203
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเนคทารีนสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเนคทารีนสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลเนคทารีนสดนำเข้าเพื่อการค้าจากเครือรัฐออสเตรเลียเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลเนคทารีนสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเนคทารีนสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ผลเนคทารีนสด (nectarine, Prunus persica var. nucipersica) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลเนคทารีนสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย ปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ เครือรัฐออสเตรเลีย คือ Department of Agriculture, Fisheries and Forestry ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “DAFF” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลเนคทารีนสดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๘ แหล่งปลูก ๘.๑ ผลเนคทารีนสดต้องเป็นผลผลิตจากเครือรัฐออสเตรเลีย และมาจากสวนที่ปลูกเพื่อการค้าซึ่งได้จดทะเบียนภายใต้ระบบที่ DAFF ให้การรับรอง โดยที่ DAFF กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกผลเนคทารีนสดสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ๘.๒ ผลเนคทารีนสดเฉพาะจากแหล่งปลูกในรัฐต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ๘.๒.๑ ผลเนคทารีนสดจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales) เซาท์ออสเตรเลีย (South Australia) ทัสมาเนีย (Tasmania) และวิกตอเรีย (Victoria) ๘.๒.๒ ผลเนคทารีนสดจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ควีนส์แลนด์ (Queensland) เซาท์ออสเตรเลีย วิกตอเรีย และเวสเทิร์นออสเตรเลีย (Western Australia) ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ สวนที่ปลูกเนคทารีนทุกสวนในแหล่งปลูกที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจดทะเบียน DAFF ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่าผลเนคทารีนสดปราศจากศัตรูพืชกักกัน ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการพิสูจน์การจดทะเบียนสวนให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนเนคทารีนที่จดทะเบียนต้องมีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในสวนเนคทารีน โดยต้องรักษาความสะอาดสวน และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานหรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๙.๓ DAFF ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนที่ปลูกเนคทารีนตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออก ๑๐.๑ DAFF ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จะส่งออกผลเนคทารีนสดไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องนำผลเนคทารีนสดมาจากสวนที่จดทะเบียนซึ่งปลูกเพื่อการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของผลเนคทารีนสดที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็วโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องเก็บบันทึกรายชื่อเกษตรกรเจ้าของสวนซึ่งส่งผลเนคทารีนสดออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๐.๓ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐานกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุผลเนคทารีนสด ๑๐.๔ DAFF ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกนั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๐.๕ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ๑๐.๖ การตรวจผลเนคทารีนสดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับแมลงซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกัน ๑๑.๑ ผลเนคทารีนสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจัดการความเสี่ยงแมลงวันผลไม้ ได้แก่ Jarvis’ fruit fly (Bactrocera jarvisi), lesser Queensland fruit fly (Bactrocera neohumeralis), Queensland fruit fly (Bactrocera tryoni) และ Mediterranean fruit fly (Ceratitis capitata) ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้ ๑๑.๑.๑ ผลเนคทารีนสดต้องมาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือ ๑๑.๑.๒ ผลเนคทารีนสดจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลเนคทารีนสดด้วยวิธีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกหรือระหว่างขนส่ง ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๒.๑ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศ ว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๒๖ เรื่อง การสถาปนาพื้นที่ปลอดศัตรูพืชสำหรับแมลงวันผลไม้ชนิดต่าง ๆ ในวงศ์เทฟริติดี้ (Tephritidae) ๑๒.๒ การกำหนดพื้นที่ปลูกของเนคทารีนบริเวณใดในเครือรัฐออสเตรเลียให้เป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้นั้น DAFF ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กรมวิชาการเกษตรทราบอย่างเป็นทางการ ต้องบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อรักษาสถานภาพของพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกเนคทารีนส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย พื้นที่ดังต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้สำหรับแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ได้แก่ ๑๒.๒.๑ รัฐทัสมาเนีย ๑๒.๒.๒ เขตริเวอร์รินา (Riverina district) ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เมือง (city) กิฟฟิท (Griffith), เขตพื้นที่ (shire) คาเรทโฮล (Carrathool), ลีตัน (Leeton), นาเรนเดอร์รา (Narrandera) และเมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee) พื้นที่นี้ยังแบ่งย่อยออกเป็น ๒ ส่วน คือ พื้นที่เขตชลประทานเมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee Irrigation Area, MIA) และคาเรทโฮล (Carrathool) ๑๒.๒.๓ เขตริเวอร์แลนด์ (Riverland district) ของรัฐเซาท์ออสเตรเลียประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (county) เฮมเล (Hamley), เขตพื้นที่ (hundred) บุคเพอร์มังค์ (Bookpurmong), คาแดล (Cadell), กอร์เดน (Gorden), โฮลเดอร์ (Holder), คาทาเรพโค (Katarapko), โลวีเดย์ (Loveday), มาร์คาเรนคา (Markaranka), มอรูค (Moorook), เมอร์โท (Murtho), พาร์โคลา (Parcoola), พาริงจา (Paringa), โพจิโนค (Pooginook), ไพท (Pyap), สเตาร์ (Stuart), ไวเคอร์รี (Waikerie), อีบา (Eba), ฟิสเซอร์ (Fisher), ฟอสเตอร์ (Forster), เฮ (Hay), เมอร์โค (Murbko), นิดอททิ (Nildottie), เพรเล (Paisley), ริดเล (Ridley), เซอร์เร (Skurray) และออนเล (Onley) ในเขตพื้นที่ (shire) มิลดูรา (Mildura) ของรัฐวิกตอเรีย ๑๒.๒.๔ เขตชัลเรเซีย (Sunraysia district) ของรัฐวิกตอเรียและรัฐนิวเซาท์เวลส์ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (shire) เวนเวอดท์ (Wentworth) และบาเรนดอล (Balranald) ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ และมิลดูรา (Mildura), สวอนฮิล (Swan Hill), วาโคล (Wakool) และคีเรง (Kerang) และเมือง (city) สวอนฮิล (Swan Hill), มิลดูรา (Mildura) และเขตพื้นที่ (borough) คีเรง (Kerang) ในรัฐวิกตอเรีย ๑๒.๓ การส่งออกผลเนคทารีนสดจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ไม่มีความจำเป็นต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลเนคทารีนสดก่อนส่งออก ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly อย่างสม่ำเสมอในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๒.๔ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันทีที่มีการยืนยันว่าพบการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ DAFF ต้องระงับการให้การรับรองการส่งออกผลเนคทารีนสดที่ไม่ได้กำจัดแมลงวันผลไม้จากพื้นที่ที่พบแมลงวันผลไม้เป็นการชั่วคราว และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่เหล่านั้นให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ๑๒.๕ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันที หากพบแมลงวันผลไม้ชนิดอื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ นอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืช ๑๓.๑ กรณีผลเนคทารีนสดที่จะส่งออกมาจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้หรือกรณี DAFF ไม่สามารถให้การรับรองพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้เพราะว่าพื้นที่ที่นำผลเนคทารีนสดมาส่งออกนั้นขาดคุณสมบัติที่จะคงสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของพื้นที่นั้นถูกระงับเป็นการชั่วคราว กรณีดังกล่าวเหล่านี้ ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลเนคทารีนสดด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืช วิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นดังต่อไปนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืชสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลเนคทารีนสด ๑๓.๑.๑ ผลเนคทารีนสดจากรัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐควีนส์แลนด์ รัฐเซาท์ออสเตรเลีย และรัฐวิกตอเรีย ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly และ Queensland fruit fly ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๐ องศาเซลเซียส (๓๒ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๓ วัน หรือมากกว่า ๐.๕๖ องศาเซลเซียส (๓๓ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๐ วัน หรือมากกว่า ๒.๒๒ องศาเซลเซียส (๓๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๒ วัน หรือมากกว่า ๑๓.๑.๒ ผลเนคทารีนสดจากรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียต้องกำจัดแมลงวันผลไม้Mediterranean fruit fly ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๖ วัน หรือมากกว่า ๒.๒๒ องศาเซลเซียส (๓๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๑๓.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นสามารถดำเนินการได้ทั้งก่อนส่งออกหรือระหว่างขนส่งสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น อาจจะดำเนินการเพียงบางส่วนซึ่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกโดยเริ่มต้นดำเนินการในเครือรัฐออสเตรเลียและการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ระหว่างขนส่ง ในกรณีที่การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นเกิดล้มเหลวระหว่างขนส่ง การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นอาจจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้เมื่อสินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง ๑๓.๓ การส่งออกผลเนคทารีนสดซึ่งต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้นต้องลดอุณหภูมิผลเนคทารีนสดตรงบริเวณกึ่งกลางผลให้ต่ำลงถึงระดับเดียวกันกับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่กำหนดสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้เป็นการล่วงหน้าก่อนขนถ่ายผลเนคทารีนสดเข้าตู้ขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอุณหภูมิผลเนคทารีนสดได้ลดต่ำลงถึงระดับที่เหมาะสม ก่อนเริ่มต้นกระบวนการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น และต้องรักษาระดับอุณหภูมิของผลเนคทารีนสดให้คงที่ติดต่อกันตลอดไป ๑๓.๔ การประเมินผลการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นทั้งกรณีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก และการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง จะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เท่านั้น โดยไม่นำอุณหภูมิจากแท่งวัดอุณหภูมิอากาศมาประกอบการประเมินผลประสิทธิภาพของการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ๑๔.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ DAFF โดยต้องดำเนินการในห้องเย็นสำหรับกำจัดศัตรูพืชซึ่งได้รับการรับรองจาก DAFF และกรมวิชาการเกษตรผลเนคทารีนสดสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยอาจจะทำการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นควบคู่ไปพร้อมกับผลเนคทารีนสดที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นได้ ๑๔.๒ ถ้าผลเนคทารีนสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๕ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๕.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นโดยดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้าระหว่างขนส่งสินค้า ๑๕.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งซึ่งดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้านั้นอาจจะเริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่ตู้ขนส่งสินค้าอยู่บนบกและเสร็จสิ้นในช่วงระหว่างขนส่ง หรือเสร็จสิ้นเมื่อตู้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ๑๕.๓ ถ้าผลเนคทารีนสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ นอกจากนี้ ต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับสินค้าด้วยทุกครั้ง ข้อ ๑๖ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๖.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูก โพลีสไตรีน พลาสติก หรือลังแบบต่าง ๆ ที่ทำจากไม้ โดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ผลิตจากวัสดุแปรใช้ใหม่หรือเป็นวัสดุใหม่ กรณีที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกล่องกระดาษหรือพลาสติก บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ต้องสะอาดและใหม่เท่านั้น ๑๖.๒ ต้องบรรจุผลเนคทารีนสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๖.๓ สำหรับผลเนคทารีนสดส่งออกทางอากาศ ต้องบรรจุผลเนคทารีนสดให้เป็นไปตามเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใด ดังต่อไปนี้ ๑๖.๓.๑ ต้องบรรจุผลเนคทารีนสดในถุงตาข่ายแล้วถึงนำผลเนคทารีนสดบรรจุในบรรจุภัณฑ์ ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๓.๒ ต้องบรรจุผลเนคทารีนสดในบรรจุภัณฑ์เมื่อปิดสนิทแล้วต้องปิดช่องระบายอากาศทั้งหมดบนบรรจุภัณฑ์ด้วยตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๓.๓ ต้องบรรจุผลเนคทารีนสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งเมื่อมัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นวาง ต้องห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดด้วยตาข่ายหรือพลาสติก ถ้าใช้ตาข่ายขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๔ สำหรับผลเนคทารีนสดส่งออกทางน้ำ ผลเนคทารีนสดซึ่งบรรจุในบรรจุภัณฑ์ขนส่งโดยตู้ขนส่งสินค้า ไม่ว่าบรรจุภัณฑ์จะมัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นว่างจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในข้อ ๑๖.๓ ๑๖.๕ ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้การตรวจสอบย้อนกลับเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ Produce of Australia, Name of exporting company, Name of fruit (common name), Packinghouse registration number หรือ Export establishment registration number และ Orchard registration number ๑๖.๖ กรณีขนส่งผลเนคทารีนสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลเนคทารีนสดในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ดี กรณีขนส่งผลเนคทารีนสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลเนคทารีนสดในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๖.๗ ผลเนคทารีนสดที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กฎข้อบังคับว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในทางการค้าระหว่างประเทศ ข้อ ๑๗ การตรวจส่งออก ๑๗.๑ ต้องสุ่มตรวจผลเนคทารีนสดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการและต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ๑๗.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๗.๒.๑ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิตบนผลเนคทารีนสด ได้แก่ แมลงวันผลไม้ต้องปฏิเสธการส่งออกผลเนคทารีนสดทั้งหมดไปยังราชอาณาจักรไทย ๑๗.๒.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลเนคทารีนสดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ๑๗.๓ ต้องดำเนินการกำจัดศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๓ ถ้าผลเนคทารีนสดที่จะส่งออกไปราชอาณาจักรไทยไม่ได้มาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๘ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๘.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย DAFF กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of nectarine fruit was produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of nectarine fruit from Australia to Thailand” ๑๘.๒ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ถ้าผลเนคทารีนสดมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องระบุข้อความเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ “The consignment of nectarine fruit was produced in (name of defined area) which is a pest free area for Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly and Mediterranean fruit fly in Australia.” ๑๘.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ถ้าผลเนคทารีนสดผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ต้องระบุรายละเอียดของโรงงานกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น อุณหภูมิ และระยะเวลาที่ใช้ (จำนวนวันที่ต่อเนื่องกัน) ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม ๑๘.๔ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๘.๔.๑ ถ้าผลเนคทารีนสดได้รับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองสุขอนามัยพืช ดังต่อไปนี้ “DAFF has supervised the calibration and the placement of fruit sensors into the fruit within the container(s) in accordance with the conditions for import of nectarine fruit from Australia to Thailand and cold disinfestation treatment has been initiated” ๑๘.๔.๒ ต้องมีต้นฉบับใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๘.๕ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลเนคทารีนสด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๙ การตรวจนำเข้า ๑๙.๑ เมื่อผลเนคทารีนสดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าผลเนคทารีนสดจะดำเนินการหลังจากเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๙.๒ เจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลเนคทารีนสดและตรวจสอบเพื่อยื่นยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักผลเนคทารีนสดไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๙.๓ ถ้ามีผลเนคทารีนสดนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลเนคทารีนสดจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจผลเนคทารีนสดทั้งหมด ถ้ามีผลเนคทารีนสดจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลเนคทารีนสดจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๙.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ใน เอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลเนคทารีนสด ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๙.๔.๑ แมลงวันผลไม้ (๑) ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิต ได้แก่ แมลงวันผลไม้ผลเนคทารีนสดทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ DAFF ทราบและระงับการนำเข้าโดยทันที (๒) DAFF ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้า เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๙.๔.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลเนคทารีนสดทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๙.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนผลเนคทารีนสดด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าผลเนคทารีนสดจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราวจนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๙.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลเนคทารีนสดกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๙.๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นไม่สมบูรณ์ ๑๙.๖.๒ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๙.๖.๓ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๙.๖.๔ เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผลเนคทารีนสด หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนด หรือผลเนคทารีนสดที่เสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตกหรือเกิดรอยเปิด ๑๙.๖.๕ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๒๐ การประเมินกระบวนการส่งออก ๒๐.๑ การส่งออกผลเนคทารีนสดจากแหล่งปลูกที่ระบุไว้ในข้อ ๘ ในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๒๐.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในเครือรัฐออสเตรเลีย ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าผลเนคทารีนสดได้อีกต่อไป โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. เอกสารหมายเลข ๑ รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลเนคทารีนสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเนคทารีนสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ ๒. เอกสารหมายเลข ๒ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเนคทารีนสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ ๓. เอกสารหมายเลข ๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเนคทารีนสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ ๔. เอกสารหมายเลข ๔ ใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า สำหรับราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเนคทารีนสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๗ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๖ มีนาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๙ ง/หน้า ๕๓/๑๕ มกราคม ๒๕๕๗
701199
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปริคอทสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปริคอทสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลแอปริคอทสดนำเข้าเพื่อการค้าจากเครือรัฐออสเตรเลียเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลแอปริคอทสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปริคอทสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ผลแอปริคอทสด (apricot, Prunus armeniaca) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลแอปริคอทสดจากเครือรัฐออสเตรเลียปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ เครือรัฐออสเตรเลีย คือ Department of Agriculture, Fisheries and Forestry ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “DAFF” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลแอปริคอทสดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๘ แหล่งปลูก ๘.๑ ผลแอปริคอทสดต้องเป็นผลผลิตจากเครือรัฐออสเตรเลีย และมาจากสวนที่ปลูกเพื่อการค้าซึ่งได้จดทะเบียนภายใต้ระบบที่ DAFF ให้การรับรอง โดยที่ DAFF กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกผลแอปริคอทสดสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ๘.๒ ผลแอปริคอทสดเฉพาะจากแหล่งปลูกในรัฐต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ๘.๒.๑ ผลแอปริคอทสดจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales) เซาท์ออสเตรเลีย (South Australia) ทัสมาเนีย (Tasmania) และวิกตอเรีย (Victoria) ๘.๒.๒ ผลแอปริคอทสดจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ควีนส์แลนด์ (Queensland) เซาท์ออสเตรเลีย วิกตอเรีย และเวสเทิร์นออสเตรเลีย (Western Australia) ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ สวนที่ปลูกแอปริคอททุกสวนในแหล่งปลูกที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจดทะเบียน DAFF ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่าผลแอปริคอทสดปราศจากศัตรูพืชกักกัน ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการพิสูจน์การจดทะเบียนสวนให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนแอปริคอทที่จดทะเบียนต้องมีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในสวนแอปริคอท โดยต้องรักษาความสะอาดสวน และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานหรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๙.๓ DAFF ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนที่ปลูกแอปริคอทตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออก ๑๐.๑ DAFF ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จะส่งออกผลแอปริคอทสดไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องนำผลแอปริคอทสดมาจากสวนที่จดทะเบียนซึ่งปลูกเพื่อการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของผลแอปริคอทสดที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็วโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องเก็บบันทึกรายชื่อเกษตรกรเจ้าของสวนซึ่งส่งผลแอปริคอทสดออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๐.๓ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐานกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุผลแอปริคอทสด ๑๐.๔ DAFF ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกนั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๐.๕ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกัน ต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ๑๐.๖ การตรวจผลแอปริคอทสดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับแมลงซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกัน ๑๑.๑ ผลแอปริคอทสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจัดการความเสี่ยงแมลงวันผลไม้ ได้แก่ Jarvis’ fruit fly (Bactrocera jarvisi), lesser Queensland fruit fly (Bactrocera neohumeralis), Queensland fruit fly (Bactrocera tryoni) และ Mediterranean fruit fly (Ceratitis capitata) ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้ ๑๑.๑.๑ ผลแอปริคอทสดต้องมาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือ ๑๑.๑.๒ ผลแอปริคอทสดจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลแอปริคอทสดด้วยวิธีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกหรือระหว่างขนส่ง ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๒.๑ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศ ว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๒๖ เรื่อง การสถาปนาพื้นที่ปลอดศัตรูพืชสำหรับแมลงวันผลไม้ชนิดต่าง ๆ ในวงศ์เทฟริติดี้ (Tephritidae) ๑๒.๒ การกำหนดพื้นที่ปลูกของแอปริคอทบริเวณใดในเครือรัฐออสเตรเลียให้เป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้นั้น DAFF ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กรมวิชาการเกษตรทราบอย่างเป็นทางการ ต้องบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อรักษาสถานภาพของพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกแอปริคอทส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย พื้นที่ดังต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้สำหรับแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ได้แก่ ๑๒.๒.๑ รัฐทัสมาเนีย ๑๒.๒.๒ เขตริเวอร์รินา (Riverina district) ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เมือง (city) กิฟฟิท (Griffith), เขตพื้นที่ (shire) คาเรทโฮล (Carrathool), ลีตัน (Leeton), นาเรนเดอร์รา (Narrandera) และ เมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee) พื้นที่นี้ยังแบ่งย่อยออกเป็น ๒ ส่วน คือ พื้นที่เขตชลประทานเมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee Irrigation Area, MIA) และคาเรทโฮล (Carrathool) ๑๒.๒.๓ เขตริเวอร์แลนด์ (Riverland district) ของรัฐเซาท์ออสเตรเลียประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (county) เฮมเล (Hamley), เขตพื้นที่ (hundred) บุคเพอร์มังค์ (Bookpurmong), คาแดล (Cadell), กอร์เดน (Gorden), โฮลเดอร์ (Holder), คาทาเรพโค Katarapko), โลวีเดย์ (Loveday), มาร์คาเรนคา (Markaranka), มอรูค (Moorook), เมอร์โท (Murtho), พาร์โคลา (Parcoola), พาริงจา (Paringa), โพจิโนค (Pooginook), ไพท (Pyap), สเตาร์ (Stuart), ไวเคอร์รี (Waikerie), อีบา (Eba), ฟิสเซอร์ (Fisher), ฟอสเตอร์ (Forster), เฮ (Hay), เมอร์โค (Murbko), นิดอททิ (Nildottie), เพรเล (Paisley), ริดเล (Ridley), เซอร์เร (Skurray) และออนเล (Onley) ในเขตพื้นที่ (shire) มิลดูรา (Mildura) ของรัฐวิกตอเรีย ๑๒.๒.๔ เขตชัลเรเซีย (Sunraysia district) ของรัฐวิกตอเรียและรัฐนิวเซาท์เวลส์ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (shire) เวนเวอดท์ (Wentworth) และบาเรนดอล (Balranald) ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ และมิลดูรา (Mildura), สวอนฮิล (Swan Hill), วาโคล (Wakool) และคีเรง (Kerang) และเมือง (city) สวอนฮิล (Swan Hill), มิลดูรา (Mildura) และเขตพื้นที่ (borough) คีเรง (Kerang) ในรัฐวิกตอเรีย ๑๒.๓ การส่งออกผลแอปริคอทสดจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ไม่มีความจำเป็นต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลแอปริคอทสดก่อนส่งออก ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly อย่างสม่ำเสมอในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๒.๔ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันทีที่มีการยืนยันว่าพบการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ DAFF ต้องระงับการให้การรับรองการส่งออกผลแอปริคอทสดที่ไม่ได้กำจัดแมลงวันผลไม้จากพื้นที่ที่พบแมลงวันผลไม้เป็นการชั่วคราว และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่เหล่านั้นให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ๑๒.๕ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันที หากพบแมลงวันผลไม้ชนิดอื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ นอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืช ๑๓.๑ กรณีผลแอปริคอทสดที่จะส่งออกมาจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือกรณี DAFF ไม่สามารถให้การรับรองพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้เพราะว่าพื้นที่ที่นำผลแอปริคอทสดมาส่งออกนั้นขาดคุณสมบัติที่จะคงสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของพื้นที่นั้นถูกระงับเป็นการชั่วคราว กรณีดังกล่าวเหล่านี้ ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลแอปริคอทสดด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืช วิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นดังต่อไปนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืชสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลแอปริคอทสด ๑๓.๑.๑ ผลแอปริคอทสดจากรัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐควีนส์แลนด์ รัฐเซาท์ออสเตรเลียและรัฐวิกตอเรีย ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly และ Queensland fruit fly ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๐ องศาเซลเซียส (๓๒ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๓ วัน หรือมากกว่า ๐.๕๖ องศาเซลเซียส (๓๓ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๐ วัน หรือมากกว่า ๒.๒๒ องศาเซลเซียส (๓๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๒ วัน หรือมากกว่า ๑๓.๑.๒ ผลแอปริคอทสดจากรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ Mediterranean fruit fly ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๖ วัน หรือมากกว่า ๒.๒๒ องศาเซลเซียส (๓๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๑๓.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นสามารถดำเนินการได้ทั้งก่อนส่งออกหรือระหว่างขนส่งสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น อาจจะดำเนินการเพียงบางส่วนซึ่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกโดยเริ่มต้นดำเนินการในเครือรัฐออสเตรเลียและการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ระหว่างขนส่ง ในกรณีที่การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นเกิดล้มเหลวระหว่างขนส่งการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นอาจจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้เมื่อสินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง ๑๓.๓ การส่งออกผลแอปริคอทสดซึ่งต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น ต้องลดอุณหภูมิผลแอปริคอทสดตรงบริเวณกึ่งกลางผลให้ต่ำลงถึงระดับเดียวกันกับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่กำหนดสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้เป็นการล่วงหน้าก่อนขนถ่ายผลแอปริคอทสดเข้าตู้ขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอุณหภูมิผลแอปริคอทสดได้ลดต่ำลงถึงระดับที่เหมาะสมก่อนเริ่มต้นกระบวนการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น และต้องรักษาระดับอุณหภูมิของผลแอปริคอทสดให้คงที่ติดต่อกันตลอดไป ๑๓.๔ การประเมินผลการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นทั้งกรณีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก และการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง จะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เท่านั้น โดยไม่นำอุณหภูมิจากแท่งวัดอุณหภูมิอากาศมาประกอบการประเมินผลประสิทธิภาพของการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ๑๔.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ DAFF โดยต้องดำเนินการในห้องเย็นสำหรับกำจัดศัตรูพืชซึ่งได้รับการรับรองจาก DAFF และกรมวิชาการเกษตร ผลแอปริคอทสดสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยอาจจะทำการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นควบคู่ไปพร้อมกับผลแอปริคอทสดที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นได้ ๑๔.๒ ถ้าผลแอปริคอทสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๕ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๕.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นโดยดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้าระหว่างขนส่งสินค้า ๑๕.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งซึ่งดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้านั้นอาจจะเริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่ตู้ขนส่งสินค้าอยู่บนบกและเสร็จสิ้นในช่วงระหว่างขนส่ง หรือเสร็จสิ้นเมื่อตู้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ๑๕.๓ ถ้าผลแอปริคอทสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ นอกจากนี้ต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้แนบมาพร้อมกับสินค้าด้วยทุกครั้ง ข้อ ๑๖ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๖.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูก โพลีสไตรีน พลาสติก หรือลังแบบต่าง ๆ ที่ทำจากไม้ โดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ผลิตจากวัสดุแปรใช้ใหม่หรือเป็นวัสดุใหม่ กรณีที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกล่องกระดาษหรือพลาสติก บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ต้องสะอาดและใหม่เท่านั้น ๑๖.๒ ต้องบรรจุผลแอปริคอทสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของดิน ทรายและชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๖.๓ สำหรับผลแอปริคอทสดส่งออกทางอากาศ ต้องบรรจุผลแอปริคอทสดให้เป็นไปตามเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใด ดังต่อไปนี้ ๑๖.๓.๑ ต้องบรรจุผลแอปริคอทสดในถุงตาข่ายแล้วถึงนำผลแอปริคอทสดบรรจุในบรรจุภัณฑ์ ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๓.๒ ต้องบรรจุผลแอปริคอทสดในบรรจุภัณฑ์เมื่อปิดสนิทแล้วต้องปิดช่องระบายอากาศทั้งหมดบนบรรจุภัณฑ์ด้วยตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๓.๓ ต้องบรรจุผลแอปริคอทสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งเมื่อมัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นวาง ต้องห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดด้วยตาข่ายหรือพลาสติก ถ้าใช้ตาข่ายขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๔ สำหรับผลแอปริคอทสดส่งออกทางน้ำ ผลแอปริคอทสดซึ่งบรรจุในบรรจุภัณฑ์ขนส่งโดยตู้ขนส่งสินค้า ไม่ว่าบรรจุภัณฑ์จะมัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นว่างจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในข้อ ๑๖.๓ ๑๖.๕ ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้การตรวจสอบย้อนกลับเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ Produce of Australia, Name of exporting company, Name of fruit (common name), Packinghouse registration number หรือ Export establishment registration number และOrchard registration number ๑๖.๖ กรณีขนส่งผลแอปริคอทสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลแอปริคอทสดในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ดี กรณีขนส่งผลแอปริคอทสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลแอปริคอทสดในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๖.๗ ผลแอปริคอทสดที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กฎข้อบังคับว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในทางการค้าระหว่างประเทศ ข้อ ๑๗ การตรวจส่งออก ๑๗.๑ ต้องสุ่มตรวจผลแอปริคอทสดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการ และต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ๑๗.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๗.๒.๑ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิตบนผลแอปริคอทสด ได้แก่ แมลงวันผลไม้ ต้องปฏิเสธการส่งออกผลแอปริคอทสดทั้งหมดไปยังราชอาณาจักรไทย ๑๗.๒.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลแอปริคอทสดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ๑๗.๓ ต้องดำเนินการกำจัดศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๓ ถ้าผลแอปริคอทสดที่จะส่งออกไปราชอาณาจักรไทยไม่ได้มาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๘ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๘.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย DAFF กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of apricot fruit was produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of apricot fruit from Australia to Thailand” ๑๘.๒ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ถ้าผลแอปริคอทสดมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องระบุข้อความเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ “The consignment of apricot fruit was produced in (name of defined area) which is a pest free area for Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly and Mediterranean fruit fly in Australia.” ๑๘.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ถ้าผลแอปริคอทสดผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ต้องระบุรายละเอียดของโรงงานกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น อุณหภูมิ และระยะเวลาที่ใช้ (จำนวนวันที่ต่อเนื่องกัน) ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม ๑๘.๔ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๘.๔.๑ ถ้าผลแอปริคอทสดได้รับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองสุขอนามัยพืช ดังต่อไปนี้ “DAFF has supervised the calibration and the placement of fruit sensors into the fruit within the container(s) in accordance with the conditions for import of apricot fruit from Australia to Thailand and cold disinfestation treatment has been initiated” ๑๘.๔.๒ ต้องมีต้นฉบับใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๘.๕ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลแอปริคอทสด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๙ การตรวจนำเข้า ๑๙.๑ เมื่อผลแอปริคอทสดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าผลแอปริคอทสดจะดำเนินการหลังจากเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๙.๒ เจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลแอปริคอทสดและตรวจสอบเพื่อยื่นยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักผลแอปริคอทสดไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๙.๓ ถ้ามีผลแอปริคอทสดนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลแอปริคอทสดจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจผลแอปริคอทสดทั้งหมด ถ้ามีผลแอปริคอทสดจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลแอปริคอทสดจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๙.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลแอปริคอทสด ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๙.๔.๑ แมลงวันผลไม้ (๑) ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิต ได้แก่ แมลงวันผลไม้ผลแอปริคอทสดทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายกรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ DAFF ทราบและระงับการนำเข้าโดยทันที (๒) DAFF ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไขกรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้า เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๙.๔.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลแอปริคอทสดทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๙.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนผลแอปริคอทสดด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าผลแอปริคอทสดจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราวจนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๙.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลแอปริคอทสดกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๙.๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นไม่สมบูรณ์ ๑๙.๖.๒ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๙.๖.๓ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๙.๖.๔ เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผลแอปริคอทสด หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนด หรือผลแอปริคอทสดที่เสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตก หรือเกิดรอยเปิด ๑๙.๖.๕ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๒๐ การประเมินกระบวนการส่งออก ๒๐.๑ การส่งออกผลแอปริคอทสดจากแหล่งปลูกที่ระบุไว้ในข้อ ๘ ในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๒๐.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในเครือรัฐออสเตรเลีย ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าผลแอปริคอทสดได้อีกต่อไป โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. เอกสารหมายเลข ๑ รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลแอปริคอทสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปริคอทสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ ๒. เอกสารหมายเลข ๒ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปริคอทสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ ๓. เอกสารหมายเลข ๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปริคอทสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ ๔. เอกสารหมายเลข ๔ ใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า สำหรับราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปริคอทสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๗ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๖ มีนาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๙ ง/หน้า ๔๓/๑๕ มกราคม ๒๕๕๗
701195
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลเชอรี่สดนำเข้าเพื่อการค้าจากเครือรัฐออสเตรเลียเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ผลเชอรี่สด (cherry, Prunus avium) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลเชอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลียปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ เครือรัฐออสเตรเลีย คือ Department of Agriculture, Fisheries and Forestry ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “DAFF” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลเชอรี่สดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๘ แหล่งปลูก ๘.๑ ผลเชอรี่สดต้องเป็นผลผลิตจากเครือรัฐออสเตรเลีย และมาจากสวนเชอรี่ที่ปลูกเพื่อการค้าซึ่งได้จดทะเบียนภายใต้ระบบที่ DAFF ให้การรับรอง โดยที่ DAFF กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกเชอรี่สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ๘.๒ ผลเชอรี่สดเฉพาะจากแหล่งปลูกในรัฐต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ๘.๒.๑ ผลเชอรี่สดจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales) เซาท์ออสเตรเลีย (South Australia) ทัสมาเนีย (Tasmania) และวิกตอเรีย (Victoria) ๘.๒.๒ ผลเชอรี่สดจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ควีนส์แลนด์ (Queensland) เซาท์ออสเตรเลีย วิกตอเรีย และเวสเทิร์นออสเตรเลีย (Western Australia) ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ สวนเชอรี่ทุกสวนในแหล่งปลูกเชอรี่ที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องจดทะเบียน DAFF ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่าผลเชอรี่สดปราศจากศัตรูพืชกักกัน ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนเชอรี่ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการพิสูจน์การจดทะเบียนสวนเชอรี่ให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนเชอรี่ที่จดทะเบียนต้องมีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในสวนเชอรี่ โดยต้องรักษาความสะอาดสวนเชอรี่ และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานหรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๙.๓ DAFF ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนเชอรี่ตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออก ๑๐.๑ DAFF ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จะส่งออกผลเชอรี่สดไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องนำผลเชอรี่สดมาจากสวนเชอรี่ที่จดทะเบียนซึ่งปลูกเพื่อการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของผลเชอรี่สดที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็ว โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องเก็บบันทึกรายชื่อเกษตรกรเจ้าของสวนเชอรี่ซึ่งส่งผลเชอรี่สดออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๐.๓ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐานกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาดการจัดการ และการบรรจุผลเชอรี่สด ๑๐.๔ DAFF ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกนั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๐.๕ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกัน ต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ๑๐.๖ การตรวจผลเชอรี่สดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับแมลงซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกัน ๑๑.๑ ผลเชอรี่สดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจัดการความเสี่ยงแมลงวันผลไม้ ได้แก่ Queensland fruit fly (Bactrocera tryoni) และ Mediterranean fruit fly (Ceratitis capitata) ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้ ๑๑.๑.๑ ผลเชอรี่สดต้องมาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือ ๑๑.๑.๒ ผลเชอรี่สดจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลเชอรี่สดด้วยวิธีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกหรือระหว่างขนส่ง ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๒.๑ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศ ว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๒๖ เรื่อง การสถาปนาพื้นที่ปลอดศัตรูพืชสำหรับแมลงวันผลไม้ชนิดต่าง ๆ ในวงศ์เทฟริติดี้ (Tephritidae) ๑๒.๒ การกำหนดพื้นที่ปลูกเชอรี่บริเวณใดในเครือรัฐออสเตรเลียให้เป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้นั้น DAFF ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กรมวิชาการเกษตรทราบอย่างเป็นทางการ ต้องบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อรักษาสถานภาพของพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกเชอรี่ส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย พื้นที่ดังต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้สำหรับแมลงวันผลไม้ Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ได้แก่ ๑๒.๒.๑ รัฐทัสมาเนีย ๑๒.๒.๒ เขตริเวอร์รินา (Riverina district) ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เมือง (city) กิฟฟิท (Griffith), เขตพื้นที่ (shire) คาเรทโฮล (Carrathool), ลีตัน (Leeton), นาเรนเดอร์รา (Narrandera) และเมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee) พื้นที่นี้ยังแบ่งย่อยออกเป็น ๒ ส่วน คือ พื้นที่เขตชลประทานเมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee Irrigation Area, MIA) และคาเรทโฮล (Carrathool) ๑๒.๒.๓ เขตริเวอร์แลนด์ (Riverland district) ของรัฐเซาท์ออสเตรเลียประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (county) เฮมเล (Hamley), เขตพื้นที่ (hundred) บุคเพอร์มังค์ (Bookpurmong), คาแดล (Cadell), กอร์เดน (Gorden), โฮลเดอร์ (Holder), คาทาเรพโค (Katarapko), โลวีเดย์ (Loveday), มาร์คาเรนคา (Markaranka), มอรูค (Moorook), เมอร์โท (Murtho), พาร์โคลา (Parcoola), พาริงจา (Paringa), โพจิโนค (Pooginook), ไพท (Pyap), สเตาร์ (Stuart), ไวเคอร์รี (Waikerie), อีบา (Eba), ฟิสเซอร์ (Fisher), ฟอสเตอร์ (Forster), เฮ (Hay), เมอร์โค (Murbko), นิดอททิ (Nildottie), เพรเล (Paisley), ริดเล (Ridley), เซอร์เร (Skurray) และออนเล (Onley) ในเขตพื้นที่ (shire) มิลดูรา (Mildura) ของรัฐวิกตอเรีย ๑๒.๒.๔ เขตชัลเรเซีย (Sunraysia district) ของรัฐวิกตอเรียและรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (shire) เวนเวอดท์ (Wentworth) และบาเรนดอล (Balranald) ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ และมิลดูรา (Mildura), สวอนฮิล (Swan Hill), วาโคล (Wakool) และคีเรง (Kerang) และเมือง (city) สวอนฮิล (Swan Hill), มิลดูรา (Mildura) และเขตพื้นที่ (borough) คีเรง (Kerang) ในรัฐวิกตอเรีย ๑๒.๓ การส่งออกผลเชอรี่สดจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ไม่มีความจำเป็นต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในเชอรี่ก่อนส่งออก ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามแมลงวันผลไม้ Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly อย่างสม่ำเสมอในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๒.๔ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันทีที่มีการยืนยันว่าพบการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ DAFF ต้องระงับการให้การรับรองการส่งออกผลเชอรี่สดที่ไม่ได้กำจัดแมลงวันผลไม้จากพื้นที่ที่พบแมลงวันผลไม้เป็นการชั่วคราว และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่เหล่านั้นให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ๑๒.๕ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันที หากพบแมลงวันผลไม้ชนิดอื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ นอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืช ๑๓.๑ กรณีผลเชอรี่สดที่จะส่งออกมาจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือกรณี DAFF ไม่สามารถให้การรับรองพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้เพราะว่าพื้นที่ที่นำผลเชอรี่สดมาส่งออกนั้นขาดคุณสมบัติที่จะคงสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของพื้นที่นั้นถูกระงับเป็นการชั่วคราว กรณีดังกล่าวเหล่านี้ ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลเชอรี่สดด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืช วิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นดังต่อไปนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืชสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลเชอรี่สด ๑๓.๑.๑ ผลเชอรี่สดจากรัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐควีนส์แลนด์ รัฐเซาท์ออสเตรเลียและรัฐวิกตอเรีย ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ Queensland fruit fly ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๐ องศาเซลเซียส (๓๒ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๓ วัน หรือมากกว่า ๐.๕๖ องศาเซลเซียส (๓๓ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๐ วัน หรือมากกว่า ๒.๒๒ องศาเซลเซียส (๓๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๒ วัน หรือมากกว่า ๑๓.๑.๒ ผลเชอรี่สดจากรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ Mediterranean fruit fly ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๖ วัน หรือมากกว่า ๒.๒๒ องศาเซลเซียส (๓๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๑๓.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นสามารถดำเนินการได้ทั้งก่อนส่งออก หรือระหว่างขนส่ง สำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น อาจจะดำเนินการเพียงบางส่วนซึ่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกโดยเริ่มต้นดำเนินการในเครือรัฐออสเตรเลียและการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ระหว่างขนส่ง ในกรณีที่การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นเกิดล้มเหลวระหว่างขนส่งการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นอาจจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้เมื่อสินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง ๑๓.๓ การส่งออกผลเชอรี่สดซึ่งต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น ต้องลดอุณหภูมิผลเชอรี่สดตรงบริเวณกึ่งกลางผลให้ต่ำลงถึงระดับเดียวกันกับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่กำหนดสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้เป็นการล่วงหน้าก่อนขนถ่ายผลเชอรี่สดเข้าตู้ขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอุณหภูมิผลเชอรี่สดได้ลดต่ำลงถึงระดับที่เหมาะสม ก่อนเริ่มต้นกระบวนการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น และต้องรักษาระดับอุณหภูมิของผลเชอรี่สดให้คงที่ติดต่อกันตลอดไป ๑๓.๔ การประเมินผลการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นทั้งกรณีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก และการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง จะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เท่านั้น โดยไม่นำอุณหภูมิจากแท่งวัดอุณหภูมิอากาศมาประกอบการประเมินผลประสิทธิภาพของการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ๑๔.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออกต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ DAFF โดยต้องดำเนินการในห้องเย็นสำหรับกำจัดศัตรูพืชซึ่งได้รับการรับรองจาก DAFF และกรมวิชาการเกษตร ผลเชอรี่สดสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยอาจจะทำการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นควบคู่ไปพร้อมกับผลเชอรี่สดที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นได้ ๑๔.๒ ถ้าผลเชอรี่สดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๕ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๕.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นโดยดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้าระหว่างขนส่งสินค้า ๑๕.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งซึ่งดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้านั้นอาจจะเริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่ตู้ขนส่งสินค้าอยู่บนบกและเสร็จสิ้นในช่วงระหว่างขนส่ง หรือเสร็จสิ้นเมื่อตู้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ๑๕.๓ ถ้าผลเชอรี่สดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ นอกจากนี้ ต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับสินค้าด้วยทุกครั้ง ข้อ ๑๖ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๖.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูก โพลีสไตรีน พลาสติก หรือลังแบบต่าง ๆ ที่ทำจากไม้ โดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ผลิตจากวัสดุแปรใช้ใหม่หรือเป็นวัสดุใหม่ กรณีที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกล่องกระดาษหรือพลาสติก บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ต้องสะอาดและใหม่เท่านั้น ๑๖.๒ ต้องบรรจุผลเชอรี่สดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของดิน ทรายและชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๖.๓ สำหรับผลเชอรี่สดส่งออกทางอากาศ ต้องบรรจุผลเชอรี่สดให้เป็นไปตามเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใด ดังต่อไปนี้ ๑๖.๓.๑ ต้องบรรจุผลเชอรี่สดในถุงตาข่ายแล้วถึงนำผลเชอรี่สดบรรจุในบรรจุภัณฑ์ ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๓.๒ ต้องบรรจุผลเชอรี่สดในบรรจุภัณฑ์เมื่อปิดสนิทแล้วต้องปิดช่องระบายอากาศทั้งหมดบนบรรจุภัณฑ์ด้วยตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๓.๓ ต้องบรรจุผลเชอรี่สดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งเมื่อมัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นวาง ต้องห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดด้วยตาข่ายหรือพลาสติก ถ้าใช้ตาข่ายขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๔ สำหรับผลเชอรี่สดส่งออกทางน้ำ ผลเชอรี่สดซึ่งบรรจุในบรรจุภัณฑ์ขนส่งโดยตู้ขนส่งสินค้า ไม่ว่าบรรจุภัณฑ์จะมัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นว่างจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในข้อ ๑๖.๓ ๑๖.๕ ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้การตรวจสอบย้อนกลับเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ Produce of Australia, Name of exporting company, Name of fruit (common name), Packinghouse registration number หรือ Export establishment registration number และ Orchard registration number ๑๖.๖ กรณีขนส่งผลเชอรี่สดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลเชอรี่สดในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ดี กรณีขนส่งผลเชอรี่สดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลเชอรี่สดในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๖.๗ ผลเชอรี่สดที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กฎข้อบังคับว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในทางการค้าระหว่างประเทศ ข้อ ๑๗ การตรวจส่งออก ๑๗.๑ ต้องสุ่มตรวจผลเชอรี่สดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการและต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ๑๗.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๗.๒.๑ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิตบนผลเชอรี่สด ได้แก่ แมลงวันผลไม้ ต้องปฏิเสธการส่งออกผลเชอรี่สดทั้งหมดไปยังราชอาณาจักรไทย ๑๗.๒.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลเชอรี่สดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ๑๗.๓ ต้องดำเนินการกำจัดศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๓ ถ้าผลเชอรี่สดที่จะส่งออกไปราชอาณาจักรไทยไม่ได้มาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๘ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๘.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย DAFF กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of cherry fruit was produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of cherry fruit from Australia to Thailand” ๑๘.๒ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ถ้าผลเชอรี่สดมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of cherry fruit was produced in (name of defined area) which is a pest free area for Queensland fruit fly and Mediterranean fruit fly in Australia.” ๑๘.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ถ้าผลเชอรี่สดผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ต้องระบุรายละเอียดของโรงงานกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น อุณหภูมิ และระยะเวลาที่ใช้ (จำนวนวันที่ต่อเนื่องกัน) ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม ๑๘.๔ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๘.๔.๑ ถ้าผลเชอรี่สดได้รับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองสุขอนามัยพืช ดังต่อไปนี้ “DAFF has supervised the calibration and the placement of fruit sensors into the fruit within the container(s) in accordance with the conditions for import of cherry fruit from Australia to Thailand and cold disinfestation treatment has been initiated” ๑๘.๔.๒ ต้องมีต้นฉบับใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๘.๕ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลเชอรี่สด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๙ การตรวจนำเข้า ๑๙.๑ เมื่อผลเชอรี่สดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าผลเชอรี่สดจะดำเนินการหลังจากเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๙.๒ เจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลเชอรี่สดและตรวจสอบเพื่อยื่นยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักผลเชอรี่สดไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๙.๓ ถ้ามีผลเชอรี่สดนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลเชอรี่สดจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจผลเชอรี่สดทั้งหมด ถ้ามีผลเชอรี่สดจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลเชอรี่สดจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๙.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสาร หมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลเชอรี่สด ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๙.๔.๑ แมลงวันผลไม้ (๑) ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิต ได้แก่ แมลงวันผลไม้ผลเชอรี่สดทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ DAFF ทราบและระงับการนำเข้าโดยทันที (๒) DAFF ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไขกรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้า เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๙.๔.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลเชอรี่สดทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๙.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนผลเชอรี่สดด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายกรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าผลเชอรี่สดจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราว จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๙.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลเชอรี่สดกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๙.๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นไม่สมบูรณ์ ๑๙.๖.๒ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๙.๖.๓ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๙.๖.๔ เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผลเชอรี่สด หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนด หรือผลเชอรี่สดที่เสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตกหรือเกิดรอยเปิด ๑๙.๖.๕ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๒๐ การประเมินกระบวนการส่งออก ๒๐.๑ การส่งออกผลเชอรี่สดจากแหล่งปลูกที่ระบุไว้ในข้อ ๘ ในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๒๐.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในเครือรัฐออสเตรเลีย ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าผลเชอรี่สดได้อีกต่อไป โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. เอกสารหมายเลข ๑ รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลเชอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ ๒. เอกสารหมายเลข ๒ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ ๓. เอกสารหมายเลข ๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ ๔. เอกสารหมายเลข ๔ ใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า สำหรับราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๗ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๖ มีนาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๙ ง/หน้า ๓๓/๑๕ มกราคม ๒๕๕๗
701115
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าปาล์มน้ำมันจากสาธารณรัฐอินโดนีเซีย พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าปาล์มน้ำมันจากสาธารณรัฐอินโดนีเซีย พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของปาล์มน้ำมันนำเข้าเพื่อการค้าจากสาธารณรัฐอินโดนีเซียเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าปาล์มน้ำมันจากสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าปาล์มน้ำมันจากสาธารณรัฐอินโดนีเซีย พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ปาล์มน้ำมัน (oil palm, Elaeis guineensis) ตามประกาศนี้ ได้แก่ กะลาปาล์มน้ำมัน (oil palm shell) ข้อ ๔ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๔.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๔.๒ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย คือ Agency for Agricultural Quarantine ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “AAQ” ข้อ ๕ การขออนุญาตนำเข้า ๕.๑ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ๕.๒ ต้องนำเข้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยแสดงเอกสารหลักฐานการประกอบกิจการแนบมาด้วย ข้อ ๖ วิธีการขนส่ง ต้องส่งกะลาปาล์มน้ำมันมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสาธารณรัฐอินโดนีเซียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางบกหรือทางน้ำ ข้อ ๗ ข้อกำหนดสำหรับการนำเข้า ๗.๑ ต้องปลอดจากแมลงที่มีชีวิตหรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย และไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น เมล็ด ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๗.๒ ต้องเป็นกะลาปาล์มน้ำมันที่ได้มาจากกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม และต้องเป็นกะลาปาล์มน้ำมันที่ได้จากการกะเทาะและแยกเมล็ดในปาล์มน้ำมันออกแล้ว ๗.๓ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย AAQ กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทย ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๗ อุษมล/ผู้ตรวจ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๕ ง/หน้า ๓๔/๑๐ มกราคม ๒๕๕๗
701113
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ายาสูบจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ายาสูบจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของยาสูบนำเข้าเพื่อการค้าจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิลเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้ายาสูบจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ายาสูบจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ยาสูบ (tobacco, Nicotiana tabacum) ตามประกาศนี้ ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ยาสูบ (tobacco seed) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับยาสูบจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิลปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล คือ Departamento de Sanidade Vegetal (Plant Health Department) ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “DSV” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ ข้อกำหนดสำหรับการนำเข้า ๗.๑ ต้องมาจากต้นยาสูบในแปลงปลูกซึ่งผ่านการตรวจสอบในช่วงระหว่างการเจริญเติบโต โดยมีการเก็บตัวอย่างพืชเพื่อตรวจสอบยืนยันในห้องปฏิบัติการว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ หรือต้องได้รับการตรวจสอบในห้องปฏิบัติการว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ๗.๒ ต้องกำจัดศัตรูพืชด้วยกรรมวิธีดังต่อไปนี้ ๗.๒.๑ แช่ในน้ำร้อนที่อุณหภูมิ ๕๒ องศาเซลเซียส นาน ๓๐ นาที หรือแช่ในสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ (sodium hypochlorite) ที่ความเข้มข้นร้อยละ ๑ นาน ๑๐ นาที และ ๗.๒.๒ ต้องคลุกด้วยสารกำจัดโรคพืช ได้แก่ ไทแรม (thiram) อัตรา ๐.๒ เปอร์เซ็นต์ (สารออกฤทธิ์) ๗.๓ ต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย แมลงมีชีวิตและชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช วัชพืช หรือเมล็ดพืชอื่น เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๗.๔ ต้องมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานราชการหรือเอกชนว่าเมล็ดพันธุ์ยาสูบ ที่อนุญาตนำเข้ามิใช่พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม ๗.๕ ต้องระบุพันธุ์และสายพันธุ์ลงบนบรรจุภัณฑ์และใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๘ การรับรองสุขอนามัยพืช ๘.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย - DSV กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทย ๘.๒ ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “Tobacco seeds were derived from the plants those were inspected during growing season and verified by laboratory test that are found free from Ascochyta gossypii, Colletotrichum tabacum, Fusarium oxysporum f.sp. batatas, Peronospora yoscyami f.sp. tabacina, Verticillium albo - atrum, Pseudomonas cichorii, Pseudomonas syringae pv. tabaci, Alfalfa mosaic virus, Pelargonium zonate spot virus, Raspberry ringspot virus, Tobacco rattle virus, Tobacco ringspot virus, Tobacco streak virus, Tomato black ring virus, Tomato ringspot virus, Chrysanthemum stunt viroid and Potato spindle tuber viroid” หรือ “Tobacco seeds were laboratory tested and found free from Ascochyta gossypii, Colletotrichum tabacum, Fusarium oxysporum f.sp. batatas, Peronospora hyoscyami f.sp. tabacina, Verticillium albo - atrum, Pseudomonas cichorii, Pseudomonas syringae pv. tabaci, Alfalfa mosaic virus, Pelargonium zonate spot virus, Raspberry ringspot virus, Tobacco rattle virus, Tobacco ringspot virus, Tobacco streak virus, Tomato black ring virus, Tomato ringspot virus, Chrysanthemum stunt viroid and Potato spindle tuber viroid” ๘.๓ ต้องระบุรายละเอียดการกำจัดศัตรูพืชลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๙ การตรวจนำเข้า ๙.๑ เมื่อเมล็ดพันธุ์ยาสูบถูกขนส่งมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าเมล็ดพันธุ์ยาสูบจะดำเนินการหลังจากได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมด ที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๙.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ยาสูบและตรวจสอบ ในห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันว่ามีศัตรูพืชกักกันติดมากับเมล็ดพันธุ์ยาสูบหรือไม่ และต้องกักเมล็ดพันธุ์ยาสูบ ไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๙.๓ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ในระหว่างการตรวจนำเข้า เมล็ดพันธุ์ยาสูบทั้งหมดจะถูกส่งกลับ หรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๙.๔ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย เมล็ดพันธุ์ยาสูบทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตร มีสิทธิระงับการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ยาสูบเป็นการชั่วคราว จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของยาสูบจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ายาสูบจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล พ.ศ. .... (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๗ อุษมล/ผู้ตรวจ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๕ ง/หน้า ๓๑/๑๐ มกราคม ๒๕๕๗
701111
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าปาล์มน้ำมันจากมาเลเซีย พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าปาล์มน้ำมันจากมาเลเซีย พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของปาล์มน้ำมันนำเข้าเพื่อการค้าจากมาเลเซียเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าปาล์มน้ำมันจากมาเลเซีย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าปาล์มน้ำมันจากมาเลเซีย พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ปาล์มน้ำมัน (oil palm, Elaeis guineensis) ตามประกาศนี้ ได้แก่ กะลาปาล์มน้ำมัน (oil palm shell) ข้อ ๔ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๔.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๔.๒ มาเลเซีย คือ Department of Agriculture, Malaysia ซึ่งต่อไปในประกาศนี้ จะเรียกว่า “DOA-Malaysia” ข้อ ๕ การขออนุญาตนำเข้า ๕.๑ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ๕.๒ ต้องนำเข้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยแสดงเอกสารหลักฐานการประกอบกิจการแนบมาด้วย ข้อ ๖ วิธีการขนส่ง ต้องส่งกะลาปาล์มน้ำมันมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในมาเลเซียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางบกหรือทางน้ำ ข้อ ๗ ข้อกำหนดสำหรับการนำเข้า ๗.๑ ต้องปลอดจากแมลงที่มีชีวิตหรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย และไม่มีการปะปนของดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น เมล็ด ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๗.๒ ต้องเป็นกะลาปาล์มน้ำมันที่ได้มาจากกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม และต้องเป็นกะลาปาล์มน้ำมันที่ได้จากการกะเทาะและแยกเมล็ดในปาล์มน้ำมันออกแล้ว ๗.๓ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย DOA-Malaysia กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทย ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๗ อุษมล/ผู้ตรวจ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๕ ง/หน้า ๒๙/๑๐ มกราคม ๒๕๕๗
700818
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าจุลินทรีย์ทางการเกษตรชนิดเชื้อเห็ดกระดุมจากสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2556
เน„เธกเนˆเธžเธšเน€เธญเธเธชเธฒเธฃเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธฃ The document that you would like to see is not found.
700020
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ายาสูบจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ายาสูบจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของยาสูบนำเข้าเพื่อการค้าจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้ายาสูบจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ายาสูบจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืชยาสูบ (tobacco, Nicotiana tabacum) ตามประกาศนี้ ได้แก่ ใบยาสูบแห้ง (dried tobacco leaf) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับยาสูบจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือ Ministry of Agriculture and Forestry, Department of Agriculture ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “MAF-DOA” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งยาสูบมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทย ในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางบก ข้อ ๘ ข้อกำหนดสำหรับการนำเข้า ๘.๑ ต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามรายชื่อแนบท้ายประกาศนี้ ๘.๒ ต้องปราศจากแมลงที่มีชีวิตหรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย และไม่มีการปะปนของดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืชอื่น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๘.๓ ต้องมัดหรือบรรจุหีบห่อยาสูบในบรรจุภัณฑ์ที่ใหม่ และสะอาด ๘.๔ ต้องจัดการกระบะบรรทุกให้สะอาดปราศจากดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ก่อนดำเนินการขนย้ายยาสูบขึ้นบรรจุในยานพาหนะขนส่ง นอกจากนี้ ต้องคลุมกระบะบรรทุกให้มิดชิดที่มั่นใจได้ว่าสามารถป้องกันมิให้ยาสูบร่วงหล่นในระหว่างการขนส่ง ๘.๕ ต้องมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานราชการหรือเอกชนว่าใบยาสูบแห้งนำเข้ามิใช่พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม ข้อ ๙ การรับรองสุขอนามัยพืช ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย MAF-DOA กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังนี้ “The consignment of dried tobacco leaves was inspected and found free from Ascochyta gossypii and Verticillium albo-atrum” ข้อ ๑๐ การตรวจนำเข้า ๑๐.๑ เมื่อยาสูบมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้ายาสูบจะดำเนินการหลังจากได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๐.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างยาสูบ และตรวจสอบศัตรูพืช ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักยาสูบไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๐.๓ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันตามรายชื่อแนบท้ายประกาศนี้ หรือสิ่งมีชีวิตอื่นที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ยาสูบทั้งหมดต้องถูกกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) หรือส่งกลับ หรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้ายาสูบจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นการชั่วคราว จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของยาสูบจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ายาสูบจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. ๒๕๕๖ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๖ อังศุมาลี/ผู้ตรวจ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๘๔ ง/หน้า ๑๒/๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๖
698053
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชเป็นพืชควบคุมเฉพาะ พ.ศ. 2556
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชเป็นพืชควบคุมเฉพาะ พ.ศ. ๒๕๕๖ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ เบญจ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศกำหนดพืชเป็นพืชควบคุมเฉพาะ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชเป็นพืชควบคุมเฉพาะ พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชเป็นพืชควบคุมเฉพาะ พ.ศ. ๒๕๕๒ (๒) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชเป็นพืชควบคุมเฉพาะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๔ ให้พืชตามท้ายประกาศนี้เป็นพืชควบคุมเฉพาะ ข้อ ๕ การส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งพืชควบคุมเฉพาะตามข้อ ๔ ไปยังประเทศตามท้ายประกาศนี้ ต้องผ่านการตรวจสอบเชื้อจุลินทรีย์ หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ข้อ ๖ ชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ที่จะตรวจสอบให้เป็นไปตามท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ยุคล ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อชนิดพืช ประเทศ และเชื้อจุลินทรีย์ หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ แนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชเป็นพืชควบคุมเฉพาะ พ.ศ. ๒๕๕๖ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๒/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
690555
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการส่งออกสำหรับสินค้าฝรั่งและชมพู่ ไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์ และสมาพันธรัฐสวิส พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการส่งออกสำหรับสินค้าฝรั่งและชมพู่ ไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์ และสมาพันธรัฐสวิส พ.ศ. ๒๕๕๖[๑] เนื่องจากสหภาพยุโรปได้แจ้งการตรวจพบศัตรูพืชในสินค้าที่ส่งออกจากประเทศไทย จึงได้กำหนดมาตรการเข้มงวดเรื่องศัตรูพืชกับการนำเข้าผลไม้จากประเทศไทย ดังนั้น เพื่อให้การส่งออกฝรั่งและชมพู่ได้มาตรฐานและปลอดศัตรูพืช อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการส่งออกสำหรับสินค้าฝรั่งและชมพู่ไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์ และสมาพันธรัฐสวิส พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ได้แก่ ฝรั่ง (Psidium guajava L.) ชมพู่ (Syzygium samarangense var. samarangense (Blume) Merr. & L.M.Perry) ข้อ ๔ คุณสมบัติของผู้ส่งออก ๔.๑ ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) จากกรมวิชาการเกษตร หรือมาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรยอมรับ โดยที่ (๑) มีแปลง GAP ของตนเอง หรือเกษตรกรเครือข่ายและได้ปฏิบัติตามคำแนะนำการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ของกรมวิชาการเกษตร หรือ (๒) ไม่มีแปลง GAP ของตนเอง แต่พืชส่งออกรวบรวมจากแปลง GAP ของเกษตรกรและได้ปฏิบัติตามคำแนะนำการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ของกรมวิชาการเกษตร ๔.๒ สินค้ามาจากโรงคัดบรรจุที่ได้รับการรับรองคุณภาพและมาตรฐานตามหลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุ (GMP) โดยกรมวิชาการเกษตร และได้ปฏิบัติตามหลักการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรวบรวมสินค้าเกษตร (สำหรับผลไม้ที่ต้องระวังศัตรูพืชแมลงวันผลไม้) ข้อ ๕ การขอใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องปฏิบัติตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับสินค้าผักผลไม้สดส่งออกไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์ และสมาพันธรัฐสวิส พ.ศ. ๒๕๕๖ พร้อมแนบหนังสือรับรองการคัดบรรจุสินค้าจากโรงคัดบรรจุข้อ ๔.๒ โดยมีรายละเอียดตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ หากตรวจพบว่าผู้ส่งออกไม่ปฏิบัติตามข้อ ๔ หรือข้อ ๕ พนักงานเจ้าหน้าที่จะปฏิเสธการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. หนังสือรับรองการคัดบรรจุสินค้าจากโรงคัดบรรจุ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙๗ ง/หน้า ๖/๘ สิงหาคม ๒๕๕๖
688532
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าข้าวโพดจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าข้าวโพดจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของข้าวโพดนำเข้าเพื่อการค้าจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าข้าวโพดจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าข้าวโพดจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ข้าวโพด (corn, Zea mays) ตามประกาศนี้ ได้แก่ ๓.๑ เมล็ดข้าวโพด (corn grain) หมายถึง เมล็ดของข้าวโพดที่กะเทาะออกจากฝักแล้วไม่รวมถึงเมล็ดที่ใช้ทำพันธุ์ ๓.๒ ฝักข้าวโพด (corn ear) หมายถึง ฝักข้าวโพดที่เก็บจากต้นเมื่อมีอายุแก่จัดและปอกเปลือกแล้วแต่ยังไม่ได้กะเทาะเมล็ด ๓.๓ ซังข้าวโพด (corn cob) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง Khapra beetle, Trogoderma granarium ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือ Ministry of Agriculture and Forestry Department of Agriculture ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “MAF-DOA” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ๖.๑ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ๖.๒ ต้องนำเข้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยแสดงเอกสารหลักฐานการประกอบกิจการแนบมาด้วย ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ๗.๑ ต้องส่งข้าวโพดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทย ในลักษณะเป็นสินค้าทางบกหรือทางน้ำ ๗.๒ ต้องขนส่งโดยพาหนะที่ปิดมิดชิด ข้อ ๘ ข้อกำหนดสำหรับการนำเข้า ๘.๑ ต้องปลอดจากแมลงที่มีชีวิตหรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย และไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนอื่น ๆ ของข้าวโพดนอกเหนือจากที่ขอนำเข้าหรือของพืชชนิดอื่น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๘.๒ การกำจัดศัตรูพืช ๘.๒.๑ ต้องรมด้วยสารรมเมธิลโบรไมด์ (Methyl bromide) ที่อัตราดังต่อไปนี้ อุณหภูมิ อัตรา (กรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ระยะเวลา (ชั่วโมง) ๒๑ องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า ๘๐ ๔๘ ๑๖ - ๒๐ องศาเซลเซียส ๘๘ ๔๘ ๑๑ - ๑๕ องศาเซลเซียส ๙๖ ๔๘ ๑๐ องศาเซลเซียส ๑๐๔ ๔๘ หรือ สารรมฟอสฟีน (Phosphine) อัตรา ๘ กรัมต่อลูกบาศก์เมตร ระยะเวลา ๑๒๐ ชั่วโมงที่อุณหภูมิมากกว่า ๒๐ องศาเซลเซียส ๘.๒.๒ ผู้ประกอบการรมยาต้องได้รับการขึ้นทะเบียนกับ MAF-DOA หรือกรมวิชาการเกษตร ๘.๓ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย MAF-DOA กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทย ๘.๔ ต้องระบุรายละเอียดการใช้สารรมลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๙ การรับรองสุขอนามัยพืช ๙.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย MAF-DOA กำกับมาด้วยโดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทย ๙.๒ ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignments were produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of ( imported plant parts ) from Lao PDR to Thailand.” และ “This consignments were inspected and found free from Trogoderma granarium.” ข้อ ๑๐ การตรวจนำเข้า ๑๐.๑ เมื่อข้าวโพดถูกขนส่งมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าข้าวโพดจะดำเนินการหลังจากได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๐.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างข้าวโพดและตรวจสอบเพื่อยืนยันว่ามีแมลงที่มีชีวิตหรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันหรือไม่ และมีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนอื่น ๆ ของข้าวโพดนอกเหนือจากที่ขอนำเข้าหรือของพืชชนิดอื่นหรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันหรือไม่ ๑๐.๓ ในกรณีการนำเข้าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๔๐/๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๖
688530
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าข้าวโพดจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าข้าวโพดจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของข้าวโพดนำเข้าเพื่อการค้าจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์เสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าข้าวโพดจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าข้าวโพดจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ข้าวโพด (corn, Zea mays) ตามประกาศนี้ ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ข้าวโพด (corn seed) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ คือ Plant Protection Division ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “PPD” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งข้าวโพดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าทางบกหรือทางน้ำ ข้อ ๘ ข้อกำหนดสำหรับการนำเข้า ๘.๑ ต้องสุ่มตรวจข้าวโพดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการ และต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ๘.๒ ต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย แมลงมีชีวิต ชิ้นส่วนของพืช เมล็ดพืชอื่นหรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๘.๓ ต้องมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานราชการหรือเอกชนว่าข้าวโพดที่อนุญาตนำเข้ามิใช่พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม ๘.๔ การกำจัดศัตรูพืช ๘.๔.๑ ต้องรมด้วยสารรมฟอสฟีน (Phosphine) อัตรา ๘ กรัมต่อลูกบาศก์เมตร ระยะเวลา ๑๒๐ ชั่วโมง ที่อุณหภูมิมากกว่า ๒๐ องศาเซลเซียส ๘.๔.๒ ผู้ประกอบการรมยาต้องได้รับการขึ้นทะเบียนไว้กับ PPD ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๙.๑ ต้องบรรจุข้าวโพดในบรรจุภัณฑ์ที่ใหม่ สะอาด แข็งแรงและปิดมิดชิด ๙.๒ ต้องแสดงข้อมูลพันธุ์ของข้าวโพดบนบรรจุภัณฑ์ ข้อ ๑๐ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๐.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย PPD กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทย ๑๐.๒ ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of corn seeds was produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of corn seeds from Myanmar to Thailand.” และ “The corn seeds were inspected and found free from Sphacelotheca reiliana, Pyrenophora teres, Pantoea agglomerans, Trogoderma granarium, Acanthoscelides argillaceus and Striga angustifolia” ๑๐.๓ ต้องระบุพันธุ์ของข้าวโพดในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๑ การตรวจนำเข้า ๑๑.๑ เมื่อข้าวโพดถูกขนส่งมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าข้าวโพดจะดำเนินการหลังจากได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๑.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างข้าวโพดและตรวจสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันว่ามีศัตรูพืชกักกันติดมากับข้าวโพดหรือไม่ และต้องกักข้าวโพดไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๑.๓ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ในระหว่างการตรวจนำเข้า ข้าวโพดทั้งหมดต้องถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๑.๔ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ข้าวโพดทั้งหมดต้องถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชกักกันบนเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเป็นการชั่วคราว จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ข้อ ๑๒ การตรวจสอบสถานภาพศัตรูพืชในแปลงปลูก กรมวิชาการเกษตรอาจส่งพนักงานเจ้าหน้าที่ไปประเมินสถานภาพศัตรูพืชในแปลงปลูกข้าวโพดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยเพื่อยืนยันสถานภาพศัตรูพืช โดย PPD หรือผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. เอกสารแนบรายชื่อศัตรูกักกันของข้าวโพดจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าข้าวโพดจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ พ.ศ. ๒๕๕๖ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๓๗/๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๖
688218
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลสตรอเบอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลสตรอเบอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลสตรอเบอรี่สดนำเข้าเพื่อการค้าจากเครือรัฐออสเตรเลียเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลสตรอเบอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลสตรอเบอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ผลสตรอเบอรี่สด (strawberry, Fragaria ananassa) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลสตรอเบอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลียปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ เครือรัฐออสเตรเลีย คือ Department of Agriculture, Fisheries and Forestry ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “DAFF” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลสตรอเบอรี่สดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๘ แหล่งปลูก ๘.๑ ผลสตรอเบอรี่สดต้องเป็นผลผลิตจากเครือรัฐออสเตรเลีย และมาจากสวนสตรอเบอรี่ที่ปลูกเพื่อการค้าซึ่งได้จดทะเบียนภายใต้ระบบที่ DAFF ให้การรับรอง โดยที่ DAFF กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกสตรอเบอรี่สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ๘.๒ ผลสตรอเบอรี่สดเฉพาะจากแหล่งปลูกในรัฐต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ๘.๒.๑ ผลสตรอเบอรี่สดจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐทัสมาเนีย (Tasmania) ๘.๒.๒ ผลสตรอเบอรี่สดจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย (Western Australia) ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ สวนสตรอเบอรี่ทุกสวนในแหล่งปลูกสตรอเบอรี่ที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจดทะเบียน DAFF ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่าผลสตรอเบอรี่สดปราศจากศัตรูพืชกักกัน ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนสตรอเบอรี่ให้แก่ กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการพิสูจน์การจดทะเบียนสวนสตรอเบอรี่ให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนสตรอเบอรี่ที่จดทะเบียนต้องปฏิบัติตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสมในสวนสตรอเบอรี่ โดยต้องรักษาความสะอาดสวนสตรอเบอรี่ และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๙.๓ DAFF ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนสตรอเบอรี่ตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออก ๑๐.๑ DAFF ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จะส่งออกผลสตรอเบอรี่สดไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องนำผลสตรอเบอรี่สดมาจากสวนสตรอเบอรี่ที่จดทะเบียนซึ่งปลูกเพื่อการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของผลสตรอเบอรี่สดที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็ว โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องเก็บบันทึกรายชื่อเกษตรกรเจ้าของสวนสตรอเบอรี่ซึ่งส่งผลสตรอเบอรี่สดออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๐.๓ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐาน กระบวนการดำเนินงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุผลสตรอเบอรี่สด ๑๐.๔ DAFF ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกนั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๐.๕ การกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีรมด้วยสารรมก่อนส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ๑๐.๖ การตรวจผลสตรอเบอรี่สดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับแมลงซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกัน ๑๑.๑ ผลสตรอเบอรี่สดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจัดการความเสี่ยงแมลงวันผลไม้ ได้แก่ Mediterranean fruit fly (Ceratitis capitata) ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้ ๑๑.๑.๑ ผลสตรอเบอรี่สดต้องมาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือ ๑๑.๑.๒ ผลสตรอเบอรี่สดจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลสตรอเบอรี่สดด้วยวิธีรมด้วยสารรมเมทธิลโบรไมด์ (Methyl bromide) ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๒.๑ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๒๖ เรื่อง การสถาปนาพื้นที่ปลอดศัตรูพืชสำหรับแมลงวันผลไม้ชนิดต่าง ๆ ในวงศ์เทฟริติดี้ (Tephritidae) ๑๒.๒ การกำหนดพื้นที่ปลูกสตรอเบอรี่บริเวณใดในเครือรัฐออสเตรเลียให้เป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้นั้น DAFF ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กรมวิชาการเกษตรทราบอย่างเป็นทางการต้องบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อรักษาสถานภาพของพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกสตรอเบอรี่ส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย พื้นที่ดังต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้สำหรับแมลงวันผลไม้ lesser Queensland fruit fly (Bactrocera neohumeralis), Queensland fruit fly (Bactrocera tryoni) และ Mediterranean fruit fly ได้แก่ ๑๒.๒.๑ รัฐทัสมาเนีย ๑๒.๒.๒ เขตริเวอร์รินา (Riverina district) ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เมือง (city) กิฟฟิท (Griffith), เขตพื้นที่ (shire) คาเรทโฮล (Carrathool), ลีตัน (Leeton), นาเรนเดอร์รา (Narrandera) และเมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee) พื้นที่นี้ยังแบ่งย่อยออกเป็น ๒ ส่วน คือ พื้นที่เขตชลประทานเมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee Irrigation Area, MIA) และ คาเรทโฮล (Carrathool) ๑๒.๒.๓ เขตริเวอร์แลนด์ (Riverland district) ของรัฐเซาท์ออสเตรเลียประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (county) เฮมเล (Hamley), เขตพื้นที่ (hundred) บุคเพอร์มังค์ (Bookpurmong), คาแดล (Cadell), กอร์เดน (Gorden), โฮลเดอร์ (Holder), คาทาเรพโค (Katarapko), โลวีเดย์ (Loveday), มาร์คาเรนคา (Markaranka), มอรูค (Moorook), เมอร์โท (Murtho), พาร์โคลา (Parcoola), พาริงจา (Paringa), โพจิโนค (Pooginook), ไพท (Pyap), สเตาร์ (Stuart), ไวเคอร์รี (Waikerie), อีบา (Eba), ฟิสเซอร์ (Fisher), ฟอสเตอร์ (Forster), เฮ (Hay), เมอร์โค (Murbko), นิดอททิ (Nildottie), เพรเล (Paisley), ริดเล (Ridley), เซอร์เร (Skurray) และ ออนเล (Onley) ในเขตพื้นที่ (shire) มิลดูรา (Mildura) ของรัฐวิกตอเรีย ๑๒.๒.๔ เขตชัลเรเซีย (Sunraysia district) ของรัฐวิกตอเรียและรัฐนิวเซาท์เวลส์ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (shire) เวนเวอดท์ (Wentworth) และบาเรนดอล (Balranald) ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ และมิลดูรา (Mildura), สวอนฮิล (Swan Hill), วาโคล (Wakool) และคีเรง (Kerang) และเมือง (city) สวอนฮิล (Swan Hill), มิลดูรา (Mildura) และเขตพื้นที่ (borough) คีเรง (Kerang) ในรัฐวิกตอเรีย ๑๒.๓ การส่งออกผลสตรอเบอรี่สดจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ไม่มีความจำเป็นต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลสตรอเบอรี่สดก่อนส่งออก ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามแมลงวันผลไม้ lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly อย่างสม่ำเสมอในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๒.๔ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันทีที่มีการยืนยันว่าพบการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ DAFF ต้องระงับการให้การรับรองการส่งออกผลสตรอเบอรี่สดที่ไม่ได้กำจัดแมลงวันผลไม้จากพื้นที่ที่พบแมลงวันผลไม้เป็นการชั่วคราว และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่เหล่านั้นให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ๑๒.๕ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันที หากพบแมลงวันผลไม้ชนิดอื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืช ๑๓.๑ กรณีผลสตรอเบอรี่สดที่จะส่งออกมาจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้หรือกรณี DAFF ไม่สามารถให้การรับรองพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้เพราะว่าพื้นที่ที่นำผลสตรอเบอรี่สดมาส่งออกนั้นขาดคุณสมบัติที่จะคงสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของพื้นที่นั้นถูกระงับเป็นการชั่วคราว กรณีดังกล่าวเหล่านี้ ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลสตรอเบอรี่สดด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืช วิธีรมด้วยสารรมเมทธิลโบรไมด์ที่อัตรากำหนดดังต่อไปนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืชสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ Mediterranean fruit fly ในผลสตรอเบอรี่สด ผลสตรอเบอรี่สดจากรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ Mediterranean fruit fly โดยวิธีรมด้วยสารรมเมทธิลโบรไมด์ที่อัตรากำหนด ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิ อัตรา (กรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ระยะเวลา (ชั่วโมง) สูงกว่า ๑๕ องศาเซลเซียส ๔๘ ๓ ๑๓.๒ ปริมาณของผลสตรอเบอรี่สดจะต้องไม่เกินร้อยละ ๕๐ ของปริมาตรตู้ ๑๓.๓ ต้องมีใบรับรองการรมเมทธิลโบรไมด์ของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่มีการนำเข้า ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับผู้ประกอบการรมเมทธิลโบรไมด์ ๑๔.๑ DAFF ต้องดำเนินการจดทะเบียนผู้ประกอบการซึ่งได้แสดงให้ DAFF เห็นแล้วว่ามีความสามารถที่จะดำเนินการรมเมทธิลโบรไมด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามข้อกำหนดของ DAFF DAFF ต้องมอบรายชื่อผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนแล้วให้กับกรมวิชาการเกษตร และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันทีเมื่อมีการแก้ไขเนื่องจากจดทะเบียนผู้ประกอบการเพิ่มเติม การปรับปรุงแก้ไขผู้ประกอบการในปัจจุบัน หรือการยกเลิกหรือการพักใช้ทะเบียนเป็นการชั่วคราว ๑๔.๒ การจดทะเบียนแต่ละผู้ประกอบการรมเมทธิลโบรไมด์ต้องมีข้อมูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ได้แก่ ชื่อผู้ประกอบการที่จดทะเบียน สถานที่ตั้ง หมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร และอื่น ๆ ชื่อเจ้าของและผู้จัดการ รัฐที่ผู้ประกอบการดำเนินการรมสินค้า และหมายเลขการขึ้นทะเบียน ๑๔.๓ กรมวิชาการเกษตรต้องดำเนินการตรวจสอบผู้ประกอบการซึ่งขึ้นทะเบียนทั้งหมดและเฉพาะผู้ประกอบการที่ผ่านการรับรองจากกรมวิชาการเกษตรแล้วเท่านั้นถึงจะสามารถดำเนินการรมเมทธิลโบรไมด์กับผลสตรอเบอรี่สดที่จะส่งออกมายังราชอาณาจักรไทย ๑๔.๔ กรมวิชาการเกษตรจะติดตามการดำเนินการของผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองกรณีที่กรมวิชาการเกษตรตรวจพบว่าการรมเมทธิลโบรไมด์ไม่มีประสิทธิภาพ กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งให้ DAFF ทราบทันที กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการการดำเนินการของผู้ประกอบการนั้นไปจนกว่าจะมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๑๕ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๕.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูก โพลีสไตรีน พลาสติก หรือลังแบบต่าง ๆ ที่ทำจากไม้ โดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่หรือเป็นวัสดุใหม่ กรณีที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกล่องกระดาษหรือพลาสติก บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ต้องสะอาดและใหม่เท่านั้น ๑๕.๒ ต้องบรรจุผลสตรอเบอรี่สดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๕.๓ สำหรับผลสตรอเบอรี่สดส่งออกทางอากาศ ต้องบรรจุผลสตรอเบอรี่สดให้เป็นไปตามเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใด ดังต่อไปนี้ ๑๕.๓.๑ ต้องบรรจุผลสตรอเบอรี่สดในถุงตาข่ายแล้วถึงนำผลสตรอเบอรี่สดบรรจุในบรรจุภัณฑ์ ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๕.๓.๒ ต้องบรรจุผลสตรอเบอรี่สดในบรรจุภัณฑ์เมื่อปิดสนิทแล้วต้องปิดช่องระบายอากาศทั้งหมดบนบรรจุภัณฑ์ด้วยตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๕.๓.๓ ต้องบรรจุผลสตรอเบอรี่สดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งเมื่อมัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นวาง ต้องห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดด้วยตาข่ายหรือพลาสติก ถ้าใช้ตาข่ายขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๕.๔ สำหรับผลสตรอเบอรี่สดส่งออกทางน้ำ ผลสตรอเบอรี่สดซึ่งบรรจุในบรรจุภัณฑ์ขนส่งโดยตู้ขนส่งสินค้า ไม่ว่าบรรจุภัณฑ์จะมัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นวางจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในข้อ ๑๕.๓ ๑๕.๕ ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้การตรวจสอบย้อนกลับเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ Produce of Australia, Name of exporting company, Name of fruit (common name), Packinghouse registration number หรือ Export establishment registration number และ Orchard registration number ๑๕.๖ กรณีขนส่งผลสตรอเบอรี่สดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลสตรอเบอรี่สดในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ดี กรณีขนส่งผลสตรอเบอรี่สดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลสตรอเบอรี่สดในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๕.๗ ผลสตรอเบอรี่สดที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กฎข้อบังคับว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในทางการค้าระหว่างประเทศ ข้อ ๑๖ การตรวจส่งออก ๑๖.๑ ต้องสุ่มตรวจผลสตรอเบอรี่สดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการ และต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ๑๖.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๖.๒.๑ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิตบนผลสตรอเบอรี่สด ได้แก่ แมลงวันผลไม้ ต้องปฏิเสธการส่งออกผลสตรอเบอรี่สดทั้งหมดไปยังราชอาณาจักรไทย ๑๖.๒.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลสตรอเบอรี่สดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ๑๖.๓ ต้องดำเนินการกำจัดศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๓ ถ้าผลสตรอเบอรี่สดที่จะส่งออกไปราชอาณาจักรไทยไม่ได้มาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๗ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๗.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย DAFF กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of strawberry fruit was produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of strawberry fruit from Australia to Thailand” ๑๗.๒ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ถ้าผลสตรอเบอรี่สดมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of strawberry fruit was produced in (name of defined area) which is a pest free area for lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly and Mediterranean fruit fly in Australia.” ๑๗.๓ ต้องระบุรายละเอียดการรมเมทธิลโบรไมด์ ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม และต้องมีต้นฉบับใบรับรองการรมเมทธิลโบรไมด์แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๗.๔ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลสตรอเบอรี่สด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๘ การตรวจนำเข้า ๑๘.๑ เมื่อผลสตรอเบอรี่สดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าผลสตรอเบอรี่สดจะดำเนินการหลังจากได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๘.๒ เจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลสตรอเบอรี่สดและตรวจสอบเพื่อยืนยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักผลสตรอเบอรี่สดไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๘.๓ ถ้ามีผลสตรอเบอรี่สดนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลสตรอเบอรี่สดจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจผลสตรอเบอรี่สดทั้งหมด ถ้ามีผลสตรอเบอรี่สดจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลสตรอเบอรี่สดจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๘.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลสตรอเบอรี่สด ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๘.๔.๑ แมลงวันผลไม้ (๑) ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิต ได้แก่ แมลงวันผลไม้ ผลสตรอเบอรี่สดทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายกรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ DAFF ทราบและระงับการนำเข้าโดยทันที (๒) DAFF ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้า เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๘.๔.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลสตรอเบอรี่สดทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๘.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนผลสตรอเบอรี่สดด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าผลสตรอเบอรี่สดจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราว จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ข้อ ๑๙ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๙.๑ การส่งออกผลสตรอเบอรี่สดจากแหล่งปลูกที่ระบุไว้ในข้อ ๘ ในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๙.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในเครือรัฐออสเตรเลียก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าผลสตรอเบอรี่สดได้อีกต่อไป โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. เอกสารแนบท้ายรายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลสตรอเบอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลสตรอเบอรี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๖ อุษมล/ผู้ตรวจ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๗๓ ง/หน้า ๔๕/๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๖
688216
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลับสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลับสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลพลับสดนำเข้าเพื่อการค้าจากเครือรัฐออสเตรเลียเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลพลับสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลับสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ผลพลับสด (persimmon, Dispyros khaki) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลพลับสดจากเครือรัฐออสเตรเลียปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ เครือรัฐออสเตรเลีย คือ Department of Agriculture, Fisheries and Forestry ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “DAFF” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลพลับสดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๘ แหล่งปลูก ๘.๑ ผลพลับสดต้องเป็นผลผลิตจากเครือรัฐออสเตรเลีย และมาจากสวนพลับที่ปลูกเพื่อการค้าซึ่งได้จดทะเบียนภายใต้ระบบที่ DAFF ให้การรับรอง โดยที่ DAFF กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกพลับสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ๘.๒ ผลพลับสดเฉพาะจากแหล่งปลูกในรัฐต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ๘.๒.๑ ควีนส์แลนด์ (Queensland) ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ สวนพลับทุกสวนในแหล่งปลูกพลับที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจดทะเบียน DAFF ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่าผลพลับสดปราศจากศัตรูพืชกักกัน ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนพลับให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการพิสูจน์การจดทะเบียนสวนพลับให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนพลับที่จดทะเบียนต้องปฏิบัติหลักเกษตรดีที่เหมาะสมในสวนพลับ โดยต้องรักษาความสะอาดสวนพลับ และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานหรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๙.๓ DAFF ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนพลับตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออก ๑๐.๑ DAFF ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จะส่งออกผลพลับสดไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องนำผลพลับสดมาจากสวนพลับที่จดทะเบียนซึ่งปลูกเพื่อการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของผลพลับสดที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็ว โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องเก็บบันทึกรายชื่อเกษตรกรเจ้าของสวนพลับซึ่งส่งผลพลับสดออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๐.๓ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐาน กระบวนการดำเนินงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุผลพลับสด ๑๐.๔ DAFF ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกนั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๐.๕ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ๑๐.๖ การตรวจผลพลับสดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืช ๑๑.๑ ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลพลับสดด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืช วิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นดังต่อไปนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืชสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly (Bactrocera jarvisi), lesser Queensland fruit fly (Bactrocera neohumeralis) และ Queensland fruit fly (Bactrocera tryoni) ในผลพลับสด อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๐ องศาเซลเซียส (๓๒ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๓ วัน หรือมากกว่า ๐.๕๖ องศาเซลเซียส (๓๓ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๐ วัน หรือมากกว่า ๒.๒๒ องศาเซลเซียส (๓๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๒ วัน หรือมากกว่า ๑๑.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นสามารถดำเนินการได้ทั้งก่อนส่งออก หรือระหว่างขนส่ง สำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น อาจจะดำเนินการเพียงบางส่วน ซึ่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกโดยเริ่มต้นดำเนินการในเครือรัฐออสเตรเลียและการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ระหว่างขนส่ง ในกรณีที่การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นเกิดล้มเหลวระหว่างขนส่ง การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นอาจจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้เมื่อสินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง ๑๑.๓ การส่งออกผลพลับสดซึ่งต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้นต้องลดอุณหภูมิผลพลับสดตรงบริเวณกึ่งกลางผลให้ต่ำลงถึงระดับเดียวกันกับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่กำหนดสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้เป็นการล่วงหน้าก่อนขนถ่ายผลพลับสดเข้าตู้ขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอุณหภูมิผลพลับสดได้ลดต่ำลงถึงระดับที่เหมาะสม ก่อนเริ่มต้นกระบวนการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น และต้องรักษาระดับอุณหภูมิของผลพลับสดให้คงที่ติดต่อกันตลอดไป ๑๑.๔ การประเมินผลการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นทั้งกรณีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก และการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง จะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เท่านั้น โดยไม่นำอุณหภูมิจากแท่งวัดอุณหภูมิอากาศมาประกอบการประเมินผลประสิทธิภาพของการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ๑๒.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ DAFF โดยต้องดำเนินการในห้องเย็นสำหรับกำจัดศัตรูพืชซึ่งได้รับการรับรองจาก DAFF และกรมวิชาการเกษตร ผลพลับสดสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยอาจจะทำการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นควบคู่ไปพร้อมกับผลพลับสดที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นได้ ๑๒.๒ ถ้าผลพลับสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๓.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นโดยดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้าระหว่างขนส่งสินค้า ๑๓.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งซึ่งดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้านั้น อาจจะเริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่ตู้ขนส่งสินค้าอยู่บนบกและเสร็จสิ้นในช่วงระหว่างขนส่ง หรือเสร็จสิ้นเมื่อตู้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ๑๓.๓ ถ้าผลพลับสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ นอกจากนี้ ต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับสินค้าด้วยทุกครั้ง ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๔.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูก โพลีสไตรีน พลาสติก หรือลังแบบต่าง ๆ ที่ทำจากไม้ โดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่หรือเป็นวัสดุใหม่ กรณีที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกล่องกระดาษหรือพลาสติก บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ต้องสะอาดและใหม่เท่านั้น ๑๔.๒ ต้องบรรจุผลพลับสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๔.๓ สำหรับผลพลับสดส่งออกทางอากาศ ต้องบรรจุผลพลับสดให้เป็นไปตามเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใด ดังต่อไปนี้ ๑๔.๓.๑ ต้องบรรจุผลพลับสดในถุงตาข่ายแล้วถึงนำผลพลับสดบรรจุในบรรจุภัณฑ์ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๔.๓.๒ ต้องบรรจุผลพลับสดในบรรจุภัณฑ์เมื่อปิดสนิทแล้วต้องปิดช่องระบายอากาศทั้งหมดบนบรรจุภัณฑ์ด้วยตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๔.๓.๓ ต้องบรรจุผลพลับสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งเมื่อมัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นวาง ต้องห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดด้วยตาข่ายหรือพลาสติก ถ้าใช้ตาข่ายขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๔.๔ สำหรับผลพลับสดส่งออกทางน้ำ ผลพลับสดซึ่งบรรจุในบรรจุภัณฑ์ขนส่งโดยตู้ขนส่งสินค้า ไม่ว่าบรรจุภัณฑ์จะมัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นวางจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในข้อ ๑๔.๓ ๑๔.๕ ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้การตรวจสอบย้อนกลับเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ Produce of Australia, Name of exporting company, Name of fruit (common name), Packinghouse registration number หรือ Export establishment registration number และ Orchard registration number ๑๔.๖ กรณีขนส่งผลพลับสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลพลับสดในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ดี กรณีขนส่งผลพลับสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลพลับสดในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๔.๗ ผลพลับสดที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กฎข้อบังคับว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในทางการค้าระหว่างประเทศ ข้อ ๑๕ การตรวจส่งออก ๑๕.๑ ต้องสุ่มตรวจผลพลับสดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการและต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ๑๕.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๕.๒.๑ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิตบนผลพลับสด ได้แก่ แมลงวันผลไม้ ต้องปฏิเสธการส่งออกผลพลับสดทั้งหมดไปยังราชอาณาจักรไทย ๑๕.๒.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลพลับสดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ๑๕.๓ ต้องดำเนินการกำจัดศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๑ ข้อ ๑๖ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๖.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย DAFF กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of persimmon fruit was produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of persimmon fruit from Australia to Thailand” ๑๖.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ถ้าผลพลับสดผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ต้องระบุรายละเอียดของโรงงานกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น อุณหภูมิ และระยะเวลาที่ใช้ (จำนวนวันที่ต่อเนื่องกัน) ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม ๑๖.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๖.๓.๑ ถ้าผลพลับสดได้รับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองสุขอนามัยพืช ดังต่อไปนี้ “DAFF has supervised the calibration and the placement of fruit sensors into the fruit within the container (s) in accordance with the conditions for import of persimmon fruit from Australia to Thailand and cold disinfestation treatment has been initiated” ๑๖.๓.๒ ต้องมีต้นฉบับใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๖.๔ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลพลับสด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๗ การตรวจนำเข้า ๑๗.๑ เมื่อผลพลับสดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าผลพลับสดจะดำเนินการหลังจากเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๗.๒ เจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลพลับสดและตรวจสอบเพื่อยืนยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักผลพลับสดไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๗.๓ ถ้ามีผลพลับสดนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลพลับสดจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจผลพลับสดทั้งหมด ถ้ามีผลพลับสดจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลพลับสด จำนวน ๖๐๐ ผล ๑๗.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลพลับสด ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๗.๔.๑ แมลงวันผลไม้ (๑) ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิต ได้แก่ แมลงวันผลไม้ ผลพลับสดทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ DAFF ทราบและระงับการนำเข้าโดยทันที (๒) DAFF ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้า เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๗.๔.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลพลับสดทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๗.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนผลพลับสดด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าผลพลับสดจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราวจนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๗.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลพลับสดกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๗.๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นไม่สมบูรณ์ ๑๗.๖.๒ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๗.๖.๓ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๗.๖.๔ เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผลพลับสด หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนด หรือผลพลับสดที่เสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตกหรือเกิดรอยเปิด ๑๗.๖.๕ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๑๘ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๘.๑ การส่งออกผลพลับสดจากแหล่งปลูกที่ระบุไว้ในข้อ ๘ ในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๘.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในเครือรัฐออสเตรเลียก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าผลพลับสดได้อีกต่อไป โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลพลับสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลับสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๑) ๒. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลับสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๒) ๓. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลับสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๓) ๔. ใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า สำหรับราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลพลับสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๖ อุษมล/ผู้ตรวจ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๗๓ ง/หน้า ๓๘/๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๖
688214
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลกีวีสดนำเข้าเพื่อการค้าจากเครือรัฐออสเตรเลียเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ผลกีวีสด (kiwi, Actinidia deliciosa) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลกีวีสดจากเครือรัฐออสเตรเลียปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ เครือรัฐออสเตรเลีย คือ Department of Agriculture, Fisheries and Forestry ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “DAFF” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลกีวีสดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๘ แหล่งปลูก ๘.๑ ผลกีวีสดต้องเป็นผลผลิตจากเครือรัฐออสเตรเลีย และมาจากสวนกีวีที่ปลูกเพื่อการค้า ซึ่งได้จดทะเบียนภายใต้ระบบที่ DAFF ให้การรับรอง โดยที่ DAFF กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกกีวีสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ๘.๒ ผลกีวีสดเฉพาะจากแหล่งปลูกในรัฐต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ๘.๒.๑ ผลกีวีสดจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐวิกตอเรีย (Victoria) ๘.๒.๒ ผลกีวีสดจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐวิกตอเรียและควีนส์แลนด์ (Queensland) ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ สวนกีวีทุกสวนในแหล่งปลูกกีวีที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจดทะเบียน DAFF ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่าผลกีวีสดปราศจากศัตรูพืชกักกัน ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนกีวีให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอและต้องดำเนินการพิสูจน์การจดทะเบียนสวนกีวีให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนกีวีที่จดทะเบียนต้องปฏิบัติตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสมในสวนกีวี โดยต้องรักษาความสะอาดสวนกีวี และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๙.๓ DAFF ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนกีวีตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออก ๑๐.๑ DAFF ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จะส่งออกผลกีวีสดไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องนำผลกีวีสดมาจากสวนกีวีที่จดทะเบียนซึ่งปลูกเพื่อการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของผลกีวีสดที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็ว โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องเก็บบันทึกรายชื่อเกษตรกรเจ้าของสวนกีวีซึ่งส่งผลกีวีสดออกไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๐.๓ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐาน กระบวนการดำเนินงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุผลกีวีสด ๑๐.๔ DAFF ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกนั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๐.๕ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ๑๐.๖ การตรวจผลกีวีสดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับแมลงซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกัน ๑๑.๑ ผลกีวีสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจัดการความเสี่ยงแมลงวันผลไม้ ได้แก่ Queensland fruit fly (Bactrocera tryoni) และ Mediterranean fruit fly (Ceratitis capitata) ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้ ๑๑.๑.๑ ผลกีวีสดต้องมาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือ ๑๑.๑.๒ ผลกีวีสดจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลกีวีสดด้วยวิธีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกหรือระหว่างขนส่ง ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๒.๑ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๒๖ เรื่อง การสถาปนาพื้นที่ปลอดศัตรูพืชสำหรับแมลงวันผลไม้ชนิดต่าง ๆ ในวงศ์เทฟริติดี้ (Tephritidae) ๑๒.๒ การกำหนดพื้นที่ปลูกกีวีบริเวณใดในเครือรัฐออสเตรเลียให้เป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้นั้น DAFF ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กรมวิชาการเกษตรทราบอย่างเป็นทางการ ต้องบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อรักษาสถานภาพของพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกกีวีส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย พื้นที่ดังต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้สำหรับแมลงวันผลไม้ Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ๑๒.๒.๑ รัฐทัสมาเนีย ๑๒.๒.๒ เขตริเวอร์รินา (Riverina district) ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เมือง (city) กิฟฟิท (Griffith), เขตพื้นที่ (shire) คาเรทโฮล (Carrathool), ลีตัน (Leeton), นาเรนเดอร์รา (Narrandera) และเมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee) พื้นที่นี้ยังแบ่งย่อยออกเป็น ๒ ส่วน คือ พื้นที่เขตชลประทานเมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee Irrigation Area, MIA) และ คาเรทโฮล (Carrathool) ๑๒.๒.๓ เขตริเวอร์แลนด์ (Riverland district) ของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (county) เฮมเล (Hamley), เขตพื้นที่ (hundred) บุคเพอร์มังค์ (Bookpurmong), คาแดล (Cadell), กอร์เดน (Gorden), โฮลเดอร์ (Holder), คาทาเรพโค (Katarapko), โลวีเดย์ (Loveday), มาร์คาเรนคา (Markaranka), มอรูค (Moorook), เมอร์โท (Murtho), พาร์โคลา (Parcoola), พาริงจา (Paringa), โพจิโนค (Pooginook), ไพท (Pyap), สเตาร์ (Stuart), ไวเคอร์รี (Waikerie), อีบา (Eba), ฟิสเซอร์ (Fisher), ฟอสเตอร์ (Forster), เฮ (Hay), เมอร์โค (Murbko), นิดอททิ (Nildottie), เพรเล (Paisley), ริดเล (Ridley), เซอร์เร (Skurray) และออนเล (Onley) ในเขตพื้นที่ (shire) มิลดูรา (Mildura) ของรัฐวิกตอเรีย ๑๒.๒.๔ เขตชัลเรเซีย (Sunraysia district) ของรัฐวิกตอเรียและรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (shire) เวนเวอดท์ (Wentworth) และบาเรนดอล (Balranald) ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ และมิลดูรา (Mildura), สวอนฮิล (Swan Hill), วาโคล (Wakool) และคีเรง (Kerang) และเมือง (city) สวอนฮิล (Swan Hill), มิลดูรา (Mildura) และเขตพื้นที่ (borough) คีเรง (Kerang) ในรัฐวิกตอเรีย ๑๒.๓ การส่งออกผลกีวีสดจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ไม่มีความจำเป็นต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลกีวีสดก่อนส่งออก ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามแมลงวันผลไม้ Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly อย่างสม่ำเสมอในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๒.๔ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันทีที่มีการยืนยันว่าพบการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ DAFF ต้องระงับการให้การรับรองการส่งออกผลกีวีสดที่ไม่ได้กำจัดแมลงวันผลไม้จากพื้นที่ที่พบแมลงวันผลไม้เป็นการชั่วคราว และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่เหล่านั้นให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ๑๒.๕ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันที หากพบแมลงวันผลไม้ชนิดอื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ นอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืช ๑๓.๑ กรณีผลกีวีสดที่จะส่งออกมาจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้หรือกรณี DAFF ไม่สามารถให้การรับรองพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้เพราะว่าพื้นที่ที่นำผลกีวีสดมาส่งออกนั้นขาดคุณสมบัติที่จะคงสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของพื้นที่นั้นถูกระงับเป็นการชั่วคราว กรณีดังกล่าวเหล่านี้ ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลกีวีสดด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืช วิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นดังต่อไปนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืชสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลกีวีสด ผลกีวีสดจากแปลงปลูกซึ่งสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของพื้นที่นั้นถูกระงับเป็นการชั่วคราวหรืออยู่นอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐวิกตอเรีย และควีนส์แลนด์ ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ Queensland fruit fly ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๐ องศาเซลเซียส (๓๒ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๓ วัน หรือมากกว่า ๐.๕๖ องศาเซลเซียส (๓๓ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๐ วัน หรือมากกว่า ๒.๒๒ องศาเซลเซียส (๓๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๒ วัน หรือมากกว่า ๑๓.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นสามารถดำเนินการได้ทั้งก่อนส่งออก หรือระหว่างขนส่ง สำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น อาจจะดำเนินการเพียงบางส่วนซึ่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกโดยเริ่มต้นดำเนินการในเครือรัฐออสเตรเลียและการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ระหว่างขนส่ง ในกรณีที่การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นเกิดล้มเหลวระหว่างขนส่ง การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นอาจจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้เมื่อสินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง ๑๓.๓ การส่งออกผลกีวีสดซึ่งต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น ต้องลดอุณหภูมิผลกีวีสดตรงบริเวณกึ่งกลางผลให้ต่ำลงถึงระดับเดียวกันกับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่กำหนดสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้เป็นการล่วงหน้าก่อนขนถ่ายผลกีวีสดเข้าตู้ขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอุณหภูมิผลกีวีสดได้ลดต่ำลงถึงระดับที่เหมาะสม ก่อนเริ่มต้นกระบวนการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น และต้องรักษาระดับอุณหภูมิของผลกีวีสดให้คงที่ติดต่อกันตลอดไป ๑๓.๔ การประเมินผลการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นทั้งกรณีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก และการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง จะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เท่านั้น โดยไม่นำอุณหภูมิจากแท่งวัดอุณหภูมิอากาศมาประกอบการประเมินผลประสิทธิภาพของการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ๑๔.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ DAFF โดยต้องดำเนินการในห้องเย็นสำหรับกำจัดศัตรูพืชซึ่งได้รับการรับรองจาก DAFF และกรมวิชาการเกษตร ผลกีวีสดสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยอาจจะทำการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นควบคู่ไปพร้อมกับผลกีวีสดที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นได้ ๑๔.๒ ถ้าผลกีวีสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๕ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๕.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นโดยดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้าระหว่างขนส่งสินค้า ๑๕.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งซึ่งดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้านั้น อาจจะเริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่ตู้ขนส่งสินค้าอยู่บนบกและเสร็จสิ้นในช่วงระหว่างขนส่ง หรือเสร็จสิ้นเมื่อตู้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ๑๕.๓ ถ้าผลกีวีสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ นอกจากนี้ต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้แนบมาพร้อมกับสินค้าด้วยทุกครั้ง ข้อ ๑๖ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๖.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูก โพลีสไตรีน พลาสติก หรือลังแบบต่าง ๆ ที่ทำจากไม้ โดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่หรือเป็นวัสดุใหม่ กรณีที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกล่องกระดาษหรือพลาสติก บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ต้องสะอาดและใหม่เท่านั้น ๑๖.๒ ต้องบรรจุผลกีวีสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๖.๓ สำหรับผลกีวีสดส่งออกทางอากาศ ต้องบรรจุผลกีวีสดให้เป็นไปตามเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใด ดังต่อไปนี้ ๑๖.๓.๑ ต้องบรรจุผลกีวีสดในถุงตาข่ายแล้วถึงนำผลกีวีสดบรรจุในบรรจุภัณฑ์ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๓.๒ ต้องบรรจุผลกีวีสดในบรรจุภัณฑ์เมื่อปิดสนิทแล้วต้องปิดช่องระบายอากาศทั้งหมดบนบรรจุภัณฑ์ด้วยตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๓.๓ ต้องบรรจุผลกีวีสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งเมื่อมัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นวาง ต้องห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดด้วยตาข่ายหรือพลาสติก ถ้าใช้ตาข่ายขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๔ สำหรับผลกีวีสดส่งออกทางน้ำ ผลกีวีสดซึ่งบรรจุในบรรจุภัณฑ์ขนส่งโดยตู้ขนส่งสินค้า ไม่ว่าบรรจุภัณฑ์จะมัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นวางจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในข้อ ๑๖.๓ ๑๖.๕ ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้การตรวจสอบย้อนกลับเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ Produce of Australia, Name of exporting company, Name of fruit (common name), Packinghouse registration number หรือ Export establishment registration number และ Orchard registration number ๑๖.๖ กรณีขนส่งผลกีวีสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลกีวีสดในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ดี กรณีขนส่งผลกีวีสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลกีวีสดในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๖.๗ ผลกีวีสดที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กฎข้อบังคับว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในทางการค้าระหว่างประเทศ ข้อ ๑๗ การตรวจส่งออก ๑๗.๑ ต้องสุ่มตรวจผลกีวีสดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการและต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ๑๗.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๗.๒.๑ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิตบนผลกีวีสด ได้แก่ แมลงวันผลไม้ ต้องปฏิเสธการส่งออกผลกีวีสดทั้งหมดไปยังราชอาณาจักรไทย ๑๗.๒.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลกีวีสดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ๑๗.๓ ต้องดำเนินการกำจัดศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๓ ถ้าผลกีวีสดที่จะส่งออกไปราชอาณาจักรไทยไม่ได้มาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๘ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๘.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย DAFF กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of kiwi fruit was produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of kiwi fruit from Australia to Thailand” ๑๘.๒ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ถ้าผลกีวีสดมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องระบุข้อความเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ “The consignment of kiwi fruit was produced in ( name of defined area ) which is a pest free area for Queensland fruit fly and Mediterranean fruit fly in Australia.” ๑๘.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ถ้าผลกีวีสดผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ต้องระบุรายละเอียดของโรงงานกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น อุณหภูมิ และระยะเวลาที่ใช้ (จำนวนวันที่ต่อเนื่องกัน) ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม ๑๘.๔ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๘.๔.๑ ถ้าผลกีวีสดได้รับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองสุขอนามัยพืช ดังต่อไปนี้ “DAFF has supervised the calibration and the placement of fruit sensors into the fruit within the container(s) in accordance with the conditions for import of kiwi fruit from Australia to Thailand and cold disinfestation treatment has been initiated” ๑๘.๔.๒ ต้องมีต้นฉบับใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๘.๕ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลกีวีสด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๙ การตรวจนำเข้า ๑๙.๑ เมื่อผลกีวีสดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าผลกีวีสดจะดำเนินการหลังจากเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๙.๒ เจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลกีวีสดและตรวจสอบเพื่อยืนยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักผลกีวีสดไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๙.๓ ถ้ามีผลกีวีสดนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลกีวีสด จำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจผลกีวีสดทั้งหมด ถ้ามีผลกีวีสดจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลกีวีสดจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๙.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลกีวีสด ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๙.๔.๑ แมลงวันผลไม้ (๑) ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิต ได้แก่ แมลงวันผลไม้ ผลกีวีสดทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ DAFF ทราบและระงับการนำเข้าโดยทันที (๒) DAFF ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้า เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๙.๔.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลกีวีสดทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๙.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนผลกีวีสดด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าผลกีวีสดจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราว จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๙.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลกีวีสดกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๙.๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นไม่สมบูรณ์ ๑๙.๖.๒ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๙.๖.๓ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๙.๖.๔ เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผลกีวีสด หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนด หรือผลกีวีสดที่เสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตกหรือเกิดรอยเปิด ๑๙.๖.๕ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๒๐ การประเมินกระบวนการส่งออก ๒๐.๑ การส่งออกผลกีวีสดจากแหล่งปลูกที่ระบุไว้ในข้อ ๘ ในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๒๐.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในเครือรัฐออสเตรเลียก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าผลกีวีสดได้อีกต่อไป โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลกีวีสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๑) ๒. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๒) ๓. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๓) ๔. ใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า สำหรับราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๖ อุษมล/ผู้ตรวจ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๗๓ ง/หน้า ๒๙/๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๖
688212
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลอะโวกาโดสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลอะโวกาโดสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลอะโวกาโดสดนำเข้าเพื่อการค้าจากเครือรัฐออสเตรเลียเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลอะโวกาโดสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลอะโวกาโดสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ผลอะโวกาโดสด (avocado, Persea americana) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลอะโวกาโดสดจากเครือรัฐออสเตรเลียปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ เครือรัฐออสเตรเลีย คือ Department of Agriculture, Fisheries and Forestry ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “DAFF” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลอะโวกาโดสดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๘ แหล่งปลูก ๘.๑ ผลอะโวกาโดสดต้องเป็นผลผลิตจากเครือรัฐออสเตรเลีย และมาจากสวนอะโวกาโดที่ปลูกเพื่อการค้าซึ่งได้จดทะเบียนภายใต้ระบบที่ DAFF ให้การรับรอง โดยที่ DAFF กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกอะโวกาโดสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ๘.๒ ผลอะโวกาโดสดเฉพาะจากแหล่งปลูกในรัฐต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ๘.๒.๑ ผลอะโวกาโดสดจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales) เซาท์ออสเตรเลีย (South Australia) และวิกตอเรีย (Victoria) ๘.๒.๒ ผลอะโวกาโดสดจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐนิวเซาท์เวลส์เซาท์ออสเตรเลีย วิกตอเรีย ควีนส์แลนด์ (Queensland) และเวสเทิร์นออสเตรเลีย (Western Australia) ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ สวนอะโวกาโดทุกสวนในแหล่งปลูกอะโวกาโดที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจดทะเบียน DAFF ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่าผลอะโวกาโดสดปราศจากศัตรูพืชกักกัน ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนอะโวกาโด ให้แก่ กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการพิสูจน์การจดทะเบียนสวนอะโวกาโดให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนอะโวกาโดที่จดทะเบียนต้องปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสมในสวนอะโวกาโด โดยต้องรักษาความสะอาดสวนอะโวกาโด และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๙.๓ DAFF ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนอะโวกาโดตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออก ๑๐.๑ DAFF ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จะส่งออกผลอะโวกาโดสดไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องนำผลอะโวกาโดสดมาจากสวนอะโวกาโดที่จดทะเบียนซึ่งปลูกเพื่อการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของผลอะโวกาโดสดที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็ว โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องเก็บบันทึกรายชื่อเกษตรกรเจ้าของสวนอะโวกาโดซึ่งส่งผลอะโวกาโดสดออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๐.๓ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐาน กระบวนการดำเนินงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุผลอะโวกาโดสด ๑๐.๔ DAFF ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกนั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๐.๕ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ๑๐.๖ การตรวจผลอะโวกาโดสดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับแมลงซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกัน ๑๑.๑ ผลอะโวกาโดสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจัดการความเสี่ยงแมลงวันผลไม้ ได้แก่ Northern Territory fruit fly (Bactrocera aquilonis), Jarvis’ fruit fly (Bactrocera jarvisi), lesser Queensland fruit fly (Bactrocera neohumeralis), Queensland fruit fly (Bactrocera tryoni) และ Mediterranean fruit fly (Ceratitis capitata) ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้ ๑๑.๑.๑ ผลอะโวกาโดสดต้องมาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือ ๑๑.๑.๒ ผลอะโวกาโดสดจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลอะโวกาโดสดด้วยวิธีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกหรือระหว่างขนส่ง ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๒.๑ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๒๖ เรื่อง การสถาปนาพื้นที่ปลอดศัตรูพืชสำหรับแมลงวันผลไม้ชนิดต่าง ๆ ในวงศ์เทฟริติดี้ (Tephritidae) ๑๒.๒ การกำหนดพื้นที่ปลูกอะโวกาโดบริเวณใดในเครือรัฐออสเตรเลียให้เป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้นั้น DAFF ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กรมวิชาการเกษตรทราบอย่างเป็นทางการ ต้องบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อรักษาสถานภาพของพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกอะโวกาโดส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย พื้นที่ดังต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้สำหรับแมลงวันผลไม้ Northern Territory fruit fly. Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ได้แก่ ๑๒.๒.๑ รัฐทัสมาเนีย ๑๒.๒.๒ เขตริเวอร์รินา (Riverina district) ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ประกอบด้วย เขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เมือง (city) กิฟฟิท (Griffith), เขตพื้นที่ (shire) คาเรทโฮล (Carrathool), ลีตัน (Leeton), นาเรนเดอร์รา (Narrandera) และเมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee) พื้นที่นี้ยังแบ่งย่อยออกเป็น ๒ ส่วน คือ พื้นที่เขตชลประทานเมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee Irrigation Area, MIA) และคาเรทโฮล (Carrathool) ๑๒.๒.๓ เขตริเวอร์แลนด์ (Riverland district) ของรัฐเซาท์ออสเตรเลียประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (county) เฮมเล (Hamley), เขตพื้นที่ (hundred) บุคเพอร์มังค์ (Bookpurmong), คาแดล (Cadell), กอร์เดน (Gorden), โฮลเดอร์ (Holder), คาทาเรพโค (Katarapko), โลวีเดย์ (Loveday), มาร์คาเรนคา (Markaranka), มอรูค (Moorook), เมอร์โท (Murtho), พาร์โคลา (Parcoola), พาริงจา (Paringa), โพจิโนค (Pooginook), ไพท (Pyap), สเตาร์ (Stuart), ไวเคอร์รี (Waikerie), อีบา (Eba), ฟิสเซอร์ (Fisher), ฟอสเตอร์ (Forster), เฮ (Hay), เมอร์โค (Murbko), นิดอททิ (Nildottie), เพรเล (Paisley), ริดเล (Ridley), เซอร์เร (Skurray) และออนเล (Onley) ในเขตพื้นที่ (shire) มิลดูรา (Mildura) ของรัฐวิกตอเรีย ๑๒.๒.๔ เขตชัลเรเซีย (Sunraysia district) ของรัฐวิกตอเรียและรัฐนิวเซาท์เวลส์ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (shire) เวนเวอดท์ (Wentworth) และบาเรนดอล (Balranald) ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ และมิลดูรา (Mildura), สวอนฮิล (Swan Hill), วาโคล (Wakool) และคีเรง (Kerang) และเมือง (city) สวอนฮิล (Swan Hill), มิลดูรา (Mildura) และเขตพื้นที่ (borough) คีเรง (Kerang) ในรัฐวิกตอเรีย ๑๒.๓ การส่งออกผลอะโวกาโดสดจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ไม่มีความจำเป็นต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลอะโวกาโดสดก่อนส่งออก ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามแมลงวันผลไม้ Northern Territory fruit fly. Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly อย่างสม่ำเสมอในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๒.๔ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันทีที่มีการยืนยันว่าพบการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ Northern Territory fruit fly. Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly และ Mediterranean fruit fly ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ DAFF ต้องระงับการให้การรับรองการส่งออกผลอะโวกาโดสดที่ไม่ได้กำจัดแมลงวันผลไม้จากพื้นที่ที่พบแมลงวันผลไม้เป็นการชั่วคราว และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่เหล่านั้นให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ๑๒.๕ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันที หากพบแมลงวันผลไม้ชนิดอื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ นอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ Northern Territory fruit fly. Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืช ๑๓.๑ กรณีผลอะโวกาโดสดที่จะส่งออกมาจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้หรือกรณี DAFF ไม่สามารถให้การรับรองพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้เพราะว่าพื้นที่ที่นำผลอะโวกาโดสดมาส่งออกนั้นขาดคุณสมบัติที่จะคงสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของพื้นที่นั้นถูกระงับเป็นการชั่วคราว กรณีดังกล่าวเหล่านี้ ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลอะโวกาโดสดด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืช วิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นดังต่อไปนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืชสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลอะโวกาโดสด ๑๓.๑.๑ ผลอะโวกาโดสดจากแปลงปลูกซึ่งสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของพื้นที่นั้นถูกระงับเป็นการชั่วคราวหรืออยู่นอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ เซาท์ออสเตรเลีย วิกตอเรีย และควีนส์แลนด์ ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ Northern Territory fruit fly. Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly และ Queensland fruit fly ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๐ องศาเซลเซียส (๓๒ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๓ วัน หรือมากกว่า ๐.๕๖ องศาเซลเซียส (๓๓ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๐ วัน หรือมากกว่า ๒.๒๒ องศาเซลเซียส (๓๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๒ วัน หรือมากกว่า ๑๓.๑.๒ ผลอะโวกาโดสดจากแปลงปลูกซึ่งอยู่นอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ Mediterranean fruit fly ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๖ วัน หรือมากกว่า ๒.๒๒ องศาเซลเซียส (๓๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๑๓.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นสามารถดำเนินการได้ทั้งก่อนส่งออก หรือระหว่างขนส่ง สำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น อาจจะดำเนินการเพียงบางส่วน ซึ่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกโดยเริ่มต้นดำเนินการในเครือรัฐออสเตรเลียและการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ระหว่างขนส่ง ในกรณีที่การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นเกิดล้มเหลวระหว่างขนส่ง การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นอาจจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้เมื่อสินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง ๑๓.๓ การส่งออกผลอะโวกาโดสดซึ่งต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น ต้องลดอุณหภูมิผลอะโวกาโดสดตรงบริเวณกึ่งกลางผลให้ต่ำลงถึงระดับเดียวกันกับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่กำหนดสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้เป็นการล่วงหน้าก่อนขนถ่ายผลอะโวกาโดสดเข้าตู้ขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอุณหภูมิผลอะโวกาโดสดได้ลดต่ำลงถึงระดับที่เหมาะสม ก่อนเริ่มต้นกระบวนการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น และต้องรักษาระดับอุณหภูมิของผลอะโวกาโดสดให้คงที่ติดต่อกันตลอดไป ๑๓.๔ การประเมินผลการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นทั้งกรณีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก และการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง จะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เท่านั้น โดยไม่นำอุณหภูมิจากแท่งวัดอุณหภูมิอากาศมาประกอบการประเมินผลประสิทธิภาพของการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ๑๔.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ DAFF โดยต้องดำเนินการในห้องเย็นสำหรับกำจัดศัตรูพืชซึ่งได้รับการรับรองจาก DAFF และกรมวิชาการเกษตรผลอะโวกาโดสดสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยอาจจะทำการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นควบคู่ไปพร้อมกับผลอะโวกาโดสดที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นได้ ๑๔.๒ ถ้าผลอะโวกาโดสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๕ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๕.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นโดยดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้าระหว่างขนส่งสินค้า ๑๕.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งซึ่งดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้านั้นอาจจะเริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่ตู้ขนส่งสินค้าอยู่บนบกและเสร็จสิ้นในช่วงระหว่างขนส่ง หรือเสร็จสิ้นเมื่อตู้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ๑๕.๓ ถ้าผลอะโวกาโดสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ นอกจากนี้ ต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้แนบมาพร้อมกับสินค้าด้วยทุกครั้ง ข้อ ๑๖ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๖.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูก โพลีสไตรีน พลาสติก หรือลังแบบต่าง ๆ ที่ทำจากไม้ โดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่หรือเป็นวัสดุใหม่ กรณีที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกล่องกระดาษหรือพลาสติก บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ต้องสะอาดและใหม่เท่านั้น ๑๖.๒ ต้องบรรจุผลอะโวกาโดสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๖.๓ สำหรับผลอะโวกาโดสดส่งออกทางอากาศ ต้องบรรจุผลอะโวกาโดสดให้เป็นไปตามเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใด ดังต่อไปนี้ ๑๖.๓.๑ ต้องบรรจุผลอะโวกาโดสดในถุงตาข่ายแล้วถึงนำผลอะโวกาโดสดบรรจุในบรรจุภัณฑ์ ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๓.๒ ต้องบรรจุผลอะโวกาโดสดในบรรจุภัณฑ์เมื่อปิดสนิทแล้วต้องปิดช่องระบายอากาศทั้งหมดบนบรรจุภัณฑ์ด้วยตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๓.๓ ต้องบรรจุผลอะโวกาโดสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งเมื่อมัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นวาง ต้องห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดด้วยตาข่ายหรือพลาสติก ถ้าใช้ตาข่ายขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๔ สำหรับผลอะโวกาโดสดส่งออกทางน้ำ ผลอะโวกาโดสดซึ่งบรรจุในบรรจุภัณฑ์ขนส่งโดยตู้ขนส่งสินค้า ไม่ว่าบรรจุภัณฑ์จะมัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นวางจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในข้อ ๑๖.๓ ๑๖.๕ ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้การตรวจสอบย้อนกลับเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ Produce of Australia, Name of exporting company, Name of fruit (common name), Packinghouse registration number หรือ Export establishment registration number และ Orchard registration number ๑๖.๖ กรณีขนส่งผลอะโวกาโดสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลอะโวกาโดสดในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ดี กรณีขนส่งผลอะโวกาโดสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลอะโวกาโดสดในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๖.๗ ผลอะโวกาโดสดที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กฎข้อบังคับว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในทางการค้าระหว่างประเทศ ข้อ ๑๗ การตรวจส่งออก ๑๗.๑ ต้องสุ่มตรวจผลอะโวกาโดสดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการ และต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ๑๗.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๗.๒.๑ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิตบนผลอะโวกาโดสด ได้แก่ แมลงวันผลไม้ ต้องปฏิเสธการส่งออกผลอะโวกาโดสดทั้งหมดไปยังราชอาณาจักรไทย ๑๗.๒.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลอะโวกาโดสดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ๑๗.๓ ต้องดำเนินการกำจัดศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๓ ถ้าผลอะโวกาโดสดที่จะส่งออกไปราชอาณาจักรไทยไม่ได้มาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๘ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๘.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย DAFF กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of avocado fruit was produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of avocado fruit from Australia to Thailand” ๑๘.๒ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ถ้าผลอะโวกาโดสดมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องระบุข้อความเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ “The consignment of avocado fruit was produced in ( name of defined area ) which is a pest free area for Northern Territory fruit fly, Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly and Mediterranean fruit fly in Australia.” ๑๘.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ถ้าผลอะโวกาโดสดผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ต้องระบุรายละเอียดของโรงงานกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น อุณหภูมิ และระยะเวลาที่ใช้ (จำนวนวันที่ต่อเนื่องกัน) ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม ๑๘.๔ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๘.๔.๑ ถ้าผลอะโวกาโดสดได้รับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองสุขอนามัยพืช ดังต่อไปนี้ “DAFF has supervised the calibration and the placement of fruit sensors into the fruit within the container (s) in accordance with the conditions for import of avocado fruit from Australia to Thailand and cold disinfestation treatment has been initiated” ๑๘.๔.๒ ต้องมีต้นฉบับใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๘.๕ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลอะโวกาโดสด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๙ การตรวจนำเข้า ๑๙.๑ เมื่อผลอะโวกาโดสดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าผลอะโวกาโดสดจะดำเนินการหลังจากเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๙.๒ เจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลอะโวกาโดสดและตรวจสอบเพื่อยืนยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักผลอะโวกาโดสดไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๙.๓ ถ้ามีผลอะโวกาโดสดนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลอะโวกาโดสดจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจผลอะโวกาโดสดทั้งหมด ถ้ามีผลอะโวกาโดสดจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลอะโวกาโดสดจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๙.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลอะโวกาโดสด ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๙.๔.๑ แมลงวันผลไม้ (๑) ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิต ได้แก่ แมลงวันผลไม้ ผลอะโวกาโดสดทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ DAFF ทราบและระงับการนำเข้าโดยทันที (๒) DAFF ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้า เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๙.๔.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลอะโวกาโดสดทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๙.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนผลอะโวกาโดสดด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าผลอะโวกาโดสดจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราวจนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๙.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลอะโวกาโดสดกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๙.๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นไม่สมบูรณ์ ๑๙.๖.๒ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๙.๖.๓ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๙.๖.๔ เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผลอะโวกาโดสด หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนด หรือผลอะโวกาโดสดที่เสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตกหรือเกิดรอยเปิด ๑๙.๖.๕ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๒๐ การประเมินกระบวนการส่งออก ๒๐.๑ การส่งออกผลอะโวกาโดสดจากแหล่งปลูกที่ระบุไว้ในข้อ ๘ ในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๒๐.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในเครือรัฐออสเตรเลียก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าผลอะโวกาโดสดได้อีกต่อไป โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลอะโวกาโดสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลอะโวกาโดสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๑) ๒. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลอะโวกาโดสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๒) ๓. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลอะโวกาโดสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๓) ๔. ใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า สำหรับราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลอะโวกาโดสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๖ อุษมล/ผู้ตรวจ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๗๓ ง/หน้า ๑๙/๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๖
687639
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำผ่านมันสำปะหลังจากราชอาณาจักรกัมพูชา พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำผ่านมันสำปะหลังจากราชอาณาจักรกัมพูชา พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของมันสำปะหลังนำผ่านเพื่อการค้าจากราชอาณาจักรกัมพูชาเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำผ่านมันสำปะหลังจากราชอาณาจักรกัมพูชา ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำผ่านมันสำปะหลังจากราชอาณาจักรกัมพูชา พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช มันสำปะหลัง (cassava, Manihot esculenta) ตามประกาศนี้ ได้แก่ มันเส้น (tapioca chip) ข้อ ๔ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๔.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๔.๒ ราชอาณาจักรกัมพูชา คือ Ministry of Agriculture and Forestry and Fisheries ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “MAFF” ข้อ ๕ การขออนุญาตนำผ่าน ต้องมีใบอนุญาตนำผ่านซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๖ วิธีการขนส่ง ต้องส่งมันสำปะหลังมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในราชอาณาจักรกัมพูชาไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางบก ข้อ ๗ ข้อกำหนดสำหรับการนำผ่าน ๗.๑ ต้องบรรจุมันสำปะหลังในบรรจุภัณฑ์ที่ใหม่ และสะอาด ๗.๒ ต้องบรรจุมันสำปะหลังในตู้ขนส่งสินค้าที่ปิดมิดชิด ๗.๓ ต้องติดบัตรกำกับการนำผ่าน แบบ พ.ก. ๔ - ๒ ที่ตู้ขนส่งสินค้า ๗.๔ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกโดย MAFF กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่นำผ่านราชอาณาจักรไทย ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๒๘/๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๖
687637
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำผ่านกล้วยจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำผ่านกล้วยจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของกล้วยนำผ่านเพื่อการค้าจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำผ่านกล้วยจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำผ่านกล้วยจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช กล้วย (banana, Musa spp.) ตามประกาศนี้ ได้แก่ ผลกล้วยสด (fresh banana fruit) ข้อ ๔ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๔.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๔.๒ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือ Ministry of Agriculture and Forestry, Department of Agriculture ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “MAF - DOA” ข้อ ๕ การขออนุญาตนำผ่าน ต้องมีใบอนุญาตนำผ่านซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๖ วิธีการขนส่ง ต้องส่งกล้วยมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางบก ข้อ ๗ ข้อกำหนดสำหรับการนำผ่าน ๗.๑ ต้องบรรจุกล้วยในบรรจุภัณฑ์ที่ใหม่ และสะอาด ๗.๒ ต้องบรรจุกล้วยในตู้ขนส่งสินค้าที่ปิดมิดชิด ๗.๓ ต้องติดบัตรกำกับการนำผ่าน แบบ พ.ก. ๔ - ๒ ที่ตู้ขนส่งสินค้า ๗.๔ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกโดย MAF - DOA กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่นำผ่านราชอาณาจักรไทย ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๒๖/๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๖
687209
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ายางพาราจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ายางพาราจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของยางพารานำเข้าเพื่อการค้าจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้ายางพาราจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ายางพาราจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ยางพารา (para rubber, Hevea brasiliensis) ตามประกาศนี้ ได้แก่ ไม้ยางพารา (para rubber wood) เพื่อการแปรรูป ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับยางพาราจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า คือ Plant Protection Division ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “PPD” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ๖.๑ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ๖.๒ ผู้มีสิทธิ์ยื่นขอใบอนุญาตนำเข้าไม้ยางพารา ต้องมีเอกสารหลักฐานแสดงการดำเนินธุรกิจแปรรูปไม้ยางพาราในกระบวนการผลิต หรือหนังสือรับรองห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือหนังสือบริคณห์สนธิโดยแสดงวัตถุประสงค์การประกอบกิจการแนบมาด้วย ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องขนส่งไม้ยางพารามาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทย ในลักษณะเป็นสินค้าทางบกหรือทางน้ำ ข้อ ๘ ข้อกำหนดสำหรับการนำเข้า ๘.๑ ไม้ยางพาราต้องปราศจากกิ่ง ก้าน ใบ และราก ๘.๒ ต้องปลอดจากแมลงที่มีชีวิตหรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย และไม่มีการปะปนของดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืชอื่น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๘.๓ ต้องขนส่งโดยพาหนะที่สะอาด ปราศจากดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ และพาหนะขนส่งต้องปิดมิดชิด ข้อ ๙ การรับรองสุขอนามัยพืช ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย PPD กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืช ต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทย ข้อ ๑๐ การตรวจนำเข้า ๑๐.๑ เมื่อไม้ยางพารามาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าไม้ยางพาราจะดำเนินการหลังจากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๐.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตรวจไม้ยางพาราและตรวจสอบเพื่อยืนยันว่ามีศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิตหรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันหรือไม่ และมีการปะปนของดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันหรือไม่ ๑๐.๓ ในกรณีการนำเข้าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของยางพาราจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ายางพาราจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า พ.ศ. ๒๕๕๖ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๖ อุษมล/ผู้ตรวจ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๖๗ ง/หน้า ๑๖/๔ มิถุนายน ๒๕๕๖
684966
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช สำหรับการส่งออกผลส้มโอไปสหภาพยุโรป พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช สำหรับการส่งออกผลส้มโอไปสหภาพยุโรป พ.ศ. ๒๕๕๖ ตามระเบียบ EC Plant Health Directive 2000/29/EC ได้กำหนดเงื่อนไขการอนุญาตนำเข้าผลของพืชสกุลส้มจากประเทศไทย ต้องได้รับการตรวจรับรองแหล่งผลิตว่าปลอดจากโรคแคงเคอร์และโรคจุดดำ ที่ผลต้องไม่ปรากฏอาการของโรคข้างต้นและทำการจุ่มผลในสารละลายกำจัดเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนที่ผิว ดังนั้น เพื่อให้การส่งออกส้มโอเป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งออกผลส้มโอไปสหภาพยุโรป พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ส้มโอ” (pomelo) Citrus maxima หมายความว่า ส้มโอที่ส่งออกในลักษณะที่มีเปลือกห่อหุ้มทั้งผล “โรคแคงเคอร์” หมายความว่า โรคพืชซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris “โรคจุดดำ” หมายความว่า โรคพืชซึ่งเกิดจากเชื้อรา Guignardia citricarpa หมวด ๑ การขอใบสำคัญแสดงการรับรองแหล่งผลิตส้มโอเพื่อการส่งออก ข้อ ๔ บุคคลใดประสงค์จะขอใบสำคัญแสดงการรับรองแหล่งผลิตส้มโอปลอดโรคแคงเคอร์และโรคจุดดำสำหรับการส่งออกไปสหภาพยุโรป ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) ยื่นคำขอตามแบบ พ.ก. ๑๖ แนบท้ายประกาศนี้ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ภายในเดือนธันวาคมของทุกปี (๒) ต้องมีหนังสือรับรองมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (Good Agricultural Practice : GAP) จากกรมวิชาการเกษตร (๓) ต้องมีหนังสือรับรองคุณภาพมาตรฐานโรงคัดบรรจุที่ผ่านการรับรองคุณภาพและมาตรฐานตามระบบการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice : GMP) จากกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๕ การดำเนินงานเพื่อรับรองแหล่งผลิตส้มโอเพื่อการส่งออก ให้ปฏิบัติตามคู่มือการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองแหล่งผลิตส้มโอปลอดโรคแคงเคอร์และโรคจุดดำ ของกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๖ กรมวิชาการเกษตรจะออกใบสำคัญแสดงการรับรองแหล่งผลิตส้มโอเพื่อการส่งออก ตามแบบ พ.ก.๑๖ - ๑ แนบท้ายประกาศนี้ ให้กับแหล่งผลิตส้มโอที่ผ่านการตรวจรับรอง ตามข้อ ๕ แล้วเท่านั้น หมวด ๒ การขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๗ บุคคลใดประสงค์จะขอใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งออกส้มโอไปสหภาพยุโรปต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ยื่นคำขอ พ.ก. ๗ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านตรวจพืช หรือกลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร พร้อมแนบเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (ก) สำเนาหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกผักผลไม้สดไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์ และสมาพันธรัฐสวิส (ข) สำเนาใบสำคัญแสดงการรับรองแหล่งผลิตส้มโอเพื่อการส่งออก (แบบ พ.ก. ๑๖ - ๑) รับรองแหล่งผลิตส้มโอปลอดโรคแคงเคอร์และโรคจุดดำ (ค) ใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) รับรองการปลอดสารตกค้างฉบับจริง หรือสำเนาที่มีการรับรองโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ (๒) ผู้ส่งออกยื่นคำขอ พ.ก. ๗ พร้อมแนบเอกสารหลักฐานตามข้อ ๗ (๑) (ก) (ข) และ (ค) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนวันทำการตรวจพืชไม่น้อยกว่าหนึ่งวันทำการ ข้อ ๘ ผู้ขอใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งออกส้มโอไปสหภาพยุโรปต้องจัดเตรียมสินค้าในภาชนะบรรจุที่ใหม่ สะอาด ป้องกันการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชได้ดี ข้อ ๙ พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของคำขอ พ.ก. ๗ และเอกสารประกอบหากพบว่าถูกต้องครบถ้วน และผู้ขอใบรับรองสุขอนามัยพืชปฏิบัติถูกต้องตามข้อ ๘ ให้สุ่มตัวอย่างพืชเพื่อตรวจสอบศัตรูพืช ข้อ ๑๐ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพืชเสร็จสิ้นแล้วให้ผู้ขอใบรับรองสุขอนามัยพืชมารับใบรับรองสุขอนามัยพืชพร้อมแนบเอกสาร Bill of Lading และเอกสารอื่นถ้ามีมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อประกอบการขอรับใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๑ พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร เมื่อพบว่าทุกอย่างถูกต้องออกใบรับรองสุขอนามัยพืชระบุข้อความรับรองพิเศษตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป หมวด ๓ ค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบ และออกใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๒ ค่าป่วยการ ค่ายานพาหนะเดินทางของพนักงานเจ้าหน้าที่ และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ และพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกาศ ณ วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอใบรับรองแหล่งผลิตส้มโอเพื่อการส่งออก (แบบ พ.ก. ๑๖) ๒. ใบสำคัญแสดงการรับรองแหล่งผลิตส้มโอเพื่อการส่งออก (แบบ พ.ก. ๑๖-๑) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๕๒/๑๙ เมษายน ๒๕๕๖
684964
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลส้มสดนำเข้าเพื่อการค้าจากเครือรัฐออสเตรเลียเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ข้อ ๔ ชนิดพืช ๔.๑ ผลส้มสดจากแหล่งปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย ได้แก่ ๔.๑.๑ ส้มหวาน (sweet orange) (Citrus sinensis) ได้แก่ พันธุ์นาเวล (Navel) และ วาเลนเซีย (Valencia) ๔.๑.๒ ส้มเปลือกล่อน (mandarin) (Citrus reticulata) ได้แก่ พันธุ์เอลเลนเดล (Ellendale) และ เมอคอท (Murcott) ๔.๑.๓ เลมอน (lemon) (Citrus limon) ได้แก่ พันธุ์ลิสบอน (Lisbon) ๔.๒ ผลส้มสดจากแหล่งปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย ได้แก่ ๔.๒.๑ ส้มหวาน (sweet orange) (Citrus sinensis) ๔.๒.๒ ส้มเปลือกล่อน (mandarin) (Citrus reticulata) ๔.๒.๓ เลมอน (lemon) (Citrus limon) ๔.๒.๔ เกรฟฟรุท (grapefruit) (Citrus paradisi) ๔.๒.๕ ส้มโอ (pummelo) (Citrus maxima) ๔.๒.๖ ผลส้มสดลูกผสม (hybrid) ทุกพันธุ์ที่ปลูกเพื่อการค้า ข้อ ๕ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลส้มสดจากเครือรัฐออสเตรเลียปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๖.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๖.๒ เครือรัฐออสเตรเลีย คือ Department of Agriculture, Fisheries and Forestry ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “DAFF” ข้อ ๗ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๘ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลส้มสดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๙ แหล่งปลูก ๙.๑ ผลส้มสดต้องเป็นผลผลิตจากเครือรัฐออสเตรเลีย และมาจากสวนส้มที่ปลูกเพื่อการค้าซึ่งได้จดทะเบียนไว้กับ DAFF โดยที่ DAFF กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกส้มสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ๙.๒ ผลส้มสดเฉพาะจากแหล่งปลูกในรัฐต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ๙.๒.๑ ผลส้มสดจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales) เซาท์ออสเตรเลีย (South Australia) และวิกตอเรีย (Victoria) ๙.๒.๒ ผลส้มสดจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐนิวเซาท์เวลส์เซาท์ออสเตรเลีย วิกตอเรีย ควีนส์แลนด์ (Queensland) และ เวสเทิร์นออสเตรเลีย (Western Australia) ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๑๐.๑ DAFF ต้องจดทะเบียนสวนส้มหรือแปลงปลูกย่อยในแหล่งปลูกส้มที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืช เพื่อให้แน่ใจว่าผลส้มสดปราศจากศัตรูพืชกักกัน และต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนส้มหรือแปลงปลูกย่อยให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนสวนส้มหรือแปลงปลูกย่อยให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนส้มหรือแปลงปลูกย่อยที่จดทะเบียนต้องปฏิบัติตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสมในสวนส้ม โดยต้องรักษาความสะอาดสวนส้ม และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๑๐.๓ DAFF ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนส้มตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออก ๑๑.๑ DAFF ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จะส่งออกผลส้มสดไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๑.๒ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องนำผลส้มสดมาจากสวนส้มหรือแปลงปลูกย่อยที่จดทะเบียนซึ่งปลูกเพื่อการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของส้มที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็ว ต้องเก็บบันทึกรายชื่อเกษตรกรเจ้าของสวนส้มหรือแปลงปลูกย่อยซึ่งส่งผลส้มสดออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๑.๓ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐาน กระบวนการดำเนินงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุผลส้มสด ๑๑.๔ DAFF ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกนั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๑.๕ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นหรือรมด้วยสารรมก่อนการส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ๑๑.๖ การตรวจผลส้มสดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้า หรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับแมลงซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกัน ๑๒.๑ แมลงวันผลไม้ ผลส้มสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจัดการความเสี่ยงแมลงวันผลไม้ต่อไปนี้ ได้แก่ halfordia fruit fly (Bactrocera halfordiae), Javis fruit fly (Bactrocera jarvisi) Krauss’s fruit fly (Bactrocera kraussi), lesser Queensland fruit fly (Bactrocera neohumeralis) mango fruit fly (Bactrocera frauenfeldi), Northern Territory fruit fly (Bactrocera aquilonis) Queensland fruit fly (Bactrocera tryoni) และ Mediterranean fruit fly (Ceratitis capitata) ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้ ๑๒.๑.๑ ผลส้มสดต้องมาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือ ๑๒.๑.๒ ผลส้มสดจากแปลงปลูกซึ่งอยู่นอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในส้มด้วยวิธีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกหรือระหว่างขนส่ง ๑๒.๒ แมลง Fuller’s rose beetle (Pantomorus cervinus) ผลส้มสดที่จะส่งออกจากแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาต ยกเว้น ผลส้มสดในรัฐควีนส์แลนด์ไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจัดการความเสี่ยงแมลง Fuller’s rose beetle ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้ ๑๒.๒.๑ ต้องรมด้วยสารเมทิลโบรไมด์ (methyl bromide) หรือ ๑๒.๒.๒ ต้องอยู่ภายใต้โครงการควบคุมแมลงภายในสวนส้มซึ่งติดตามตรวจสอบโดย DAFF ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๓.๑ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๒๖ เรื่อง การสถาปนาพื้นที่ปลอดศัตรูพืชสำหรับแมลงวันผลไม้ชนิดต่าง ๆ ในวงศ์เทฟริติดี้ (Tephritidae) ๑๓.๒ การกำหนดพื้นที่ปลูกส้มบริเวณใดในเครือรัฐออสเตรเลียให้เป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้นั้น DAFF ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กรมวิชาการเกษตรทราบอย่างเป็นทางการ ต้องบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อรักษาสถานภาพของพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกส้มส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย พื้นที่ดังต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้สำหรับแมลงวันผลไม้ halfordia fruit fly, Javis fruit fly, Krauss’s fruit fly, lesser Queensland fruit fly, mango fruit fly, Northern Territory fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ได้แก่ ๑๓.๒.๑ รัฐทัสมาเนีย (Tasmania) ๑๓.๒.๒ เขตริเวอร์รินา (Riverina district) ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เมือง (city) กิฟฟิท (Griffith), เขตพื้นที่ (shire) คาเรทโฮล (Carrathool), ลีตัน (Leeton), นาเรนเดอร์รา (Narrandera) และเมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee) พื้นที่นี้ยังแบ่งย่อยออกเป็น ๒ ส่วน คือ พื้นที่เขตชลประทานเมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee Irrigation Area, MIA) และคาเรทโฮล (Carrathool) ๑๓.๒.๓ เขตริเวอร์แลนด์ (Riverland district) ของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (county) เฮมเล (Hamley), เขตพื้นที่ (hundred) บุคเพอร์มังค์ (Bookpurmong), คาแดล (Cadell), กอร์เดน (Gorden), โฮลเดอร์ (Holder), คาทาเรพโค (Katarapko), โลวีเดย์ (Loveday), มาร์คาเรนคา (Markaranka), มอรูค (Moorook), เมอร์โท (Murtho), พาร์โคลา (Parcoola), พาริงจา (Paringa), โพจิโนค (Pooginook) ไพท (Pyap), สเตาร์ (Stuart), ไวเคอร์รี (Waikerie), อีบา (Eba), ฟิสเซอร์ (Fisher), ฟอสเตอร์ (Forster), เฮ (Hay), เมอร์โค (Murbko), นิดอททิ (Nildottie), เพรเล (Paisley), ริดเล (Ridley) เซอร์เร (Skurray) และ ออนเล (Onley) ในเขตพื้นที่ (shire) มิลดูรา (Mildura) ของรัฐวิกตอเรีย ๑๓.๒.๔ เขตชัลเรเซีย (Sunraysia district) ของรัฐวิกตอเรียและรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (shire) เวนเวอดท์ (Wentworth) และบาเรนดอล (Balranald) ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ และ มิลดูรา (Mildura), สวอนฮิล (Swan Hill) วาโคล (Wakool) และคีเรง (Kerang) และเมือง (city) สวอนฮิล (Swan Hill), มิลดูรา (Mildura) และเขตพื้นที่ (borough) คีเรง (Kerang) ในรัฐวิกตอเรีย ๑๓.๓ การส่งออกผลส้มสดจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ไม่มีความจำเป็นต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้มสดก่อนส่งออก ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามแมลงวันผลไม้ halfordia fruit fly, Javis fruit fly, Krauss’s fruit fly, lesser Queensland fruit fly, mango fruit fly, Northern Territory fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly อย่างสม่ำเสมอในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๓.๔ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันทีที่มีการยืนยันว่าพบการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ halfordia fruit fly, Javis fruit fly, Krauss’s fruit fly, lesser Queensland fruit fly, mango fruit fly, Northern Territory fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ DAFF ต้องระงับการให้การรับรองการส่งออกผลส้มสดจากพื้นที่ที่พบแมลงวันผลไม้เป็นการชั่วคราว และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่เหล่านั้นให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ๑๓.๕ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันที หากพบแมลงวันผลไม้ชนิดอื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ นอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ halfordia fruit fly, Javis fruit fly Krauss’s fruit fly, lesser Queensland fruit fly, mango fruit fly, Northern Territory fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly DAFF ต้องระงับการให้การรับรองการส่งออกผลส้มสดจากพื้นที่ที่พบแมลงวันผลไม้เป็นการชั่วคราว และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่เหล่านั้นให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับการจัดการความเสี่ยงแมลงวันผลไม้ ๑๔.๑ กรณีผลส้มสดที่จะส่งออกมาจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือกรณี DAFF ไม่สามารถให้การรับรองพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้เพราะว่าพื้นที่ที่นำผลส้มสดมาส่งออกนั้นขาดคุณสมบัติที่จะคงสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของพื้นที่นั้นถูกระงับเป็นการชั่วคราว กรณีดังกล่าวเหล่านี้ ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้มสดด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืช วิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นดังต่อไปนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืชสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้มสด ๑๔.๑.๑ ส้มหวาน ได้แก่ พันธุ์นาเวล และ วาเลนเซีย อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๒ องศาเซลเซียส (๓๕.๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๓ องศาเซลเซียส (๓๗.๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๐ วัน หรือมากกว่า ๑๔.๑.๒ ส้มเปลือกล่อน ได้แก่ พันธุ์เอลเลนเดล และ เมอคอท อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๒ องศาเซลเซียส (๓๕.๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๓ องศาเซลเซียส (๓๗.๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๐ วัน หรือมากกว่า ๑๔.๑.๓ เลมอน ได้แก่ พันธุ์ลิสบอน อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๒ องศาเซลเซียส (๓๕.๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๖ วัน หรือมากกว่า ๓ องศาเซลเซียส (๓๗.๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๑๔.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นสามารถดำเนินการได้ทั้งก่อนส่งออกหรือระหว่างขนส่ง สำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น อาจจะดำเนินการเพียงบางส่วนซึ่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกโดยเริ่มต้นดำเนินการในเครือรัฐออสเตรเลียและการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ระหว่างขนส่ง ในกรณีที่การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นเกิดล้มเหลวระหว่างขนส่ง การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นอาจจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้เมื่อสินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง ๑๔.๓ การส่งออกผลส้มสดซึ่งต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น ต้องลดอุณหภูมิผลส้มสดตรงบริเวณกึ่งกลางผลให้ต่ำลงถึงระดับเดียวกันกับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่กำหนดสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้เป็นการล่วงหน้าก่อนขนถ่ายผลส้มสดเข้าตู้ขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอุณหภูมิผลส้มสดได้ลดต่ำลงถึงระดับที่เหมาะสม ก่อนเริ่มต้นกระบวนการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น และต้องรักษาระดับอุณหภูมิของผลส้มสดให้คงที่ติดต่อกันตลอดไป ๑๔.๔ การประเมินผลการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นทั้งกรณีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก และการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง จะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เท่านั้น โดยไม่นำอุณหภูมิจากแท่งวัดอุณหภูมิอากาศมาประกอบการประเมินผลประสิทธิภาพของการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ข้อ ๑๕ ข้อกำหนดสำหรับการจัดการความเสี่ยงแมลง Fuller’s rose beetle (Pantomorus cervinus) ผลส้มสดจากแหล่งปลูกที่ได้รับการรับรองต้องจัดการความเสี่ยงแมลง Fuller’s rose beetle ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งก่อนส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย ดังต่อไปนี้ ๑๕.๑ รมด้วยสารเมทิลโบรไมด์ ๑๕.๑.๑ การรมเมทิลโบรไมด์ที่อัตรากำหนดดังต่อไปนี้ได้รับการยอมรับสำหรับกำจัดแมลง Fuller’s rose beetle อุณหภูมิ อัตรา (กรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ระยะเวลา (ชั่วโมง) สูงกว่า ๒๑ องศาเซลเซียส ๓๒ ๒ ๑๖-๒๑ องศาเซลเซียส ๔๐ ๒ ๑๑-๑๕ องศาเซลเซียส ๔๘ ๒ ๑๐ องศาเซลเซียส ๕๖ ๒ ๑๕.๑.๒ ปริมาณของผลส้มสดจะต้องไม่เกินร้อยละ ๘๐ ของปริมาตรตู้ และต้องไม่ดำเนินการรมผลส้มสดเมื่ออุณหภูมิของผลส้มสดต่ำกว่า ๑๐ องศาเซลเซียส ๑๕.๑.๓ ต้องมีใบรับรองการรมเมทิลโบรไมด์ของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่มีการนำเข้า ๑๕.๒ โครงการควบคุมแมลงภายในสวนส้ม ๑๕.๒.๑ DAFF ต้องจดทะเบียนสวนส้มหรือแปลงปลูกย่อยทั้งหมดในแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาตสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย ยกเว้นสวนส้มในรัฐควีนส์แลนด์ และต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชสำหรับ Fuller’s rose beetle ๑๕.๒.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนส้มต้องปฏิบัติตามโครงการควบคุมแมลง Fuller’s rose beetle ในสวนส้มซึ่งได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตรและ DAFF ๑๕.๒.๓ DAFF ต้องมอบบัญชีหมายเลขทะเบียนสวนส้มหรือแปลงปลูกย่อยทั้งหมดซึ่งได้จดทะเบียนไว้ภายใต้โครงการควบคุมแมลง Fuller’s rose beetle ในสวนส้มให้แก่กรมวิชาการเกษตรล่วงหน้าสามสิบวันก่อนเริ่มการส่งออกในแต่ละฤดูกาล ๑๕.๒.๔ ต้องระบุหมายเลขทะเบียนสวนส้มหรือแปลงปลูกย่อยลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม ข้อ ๑๖ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ๑๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ DAFF โดยต้องดำเนินการในห้องเย็นสำหรับกำจัดศัตรูพืชซึ่งได้รับการรับรองจาก DAFF และกรมวิชาการเกษตรผลส้มสดสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยอาจจะทำการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นควบคู่ไปพร้อมกับผลส้มสดที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นได้ ๑๖.๒ ถ้าผลส้มสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๗ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๗.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น โดยดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้าระหว่างขนส่งสินค้า ๑๗.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งซึ่งดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้านั้น อาจจะเริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่ตู้ขนส่งสินค้าอยู่บนบกและเสร็จสิ้นในช่วงระหว่างการขนส่ง หรือเสร็จสิ้นเมื่อตู้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ๑๗.๓ ถ้าผลส้มสดต้องผ่านการกำ จัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ นอกจากนี้แล้วต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับสินค้าด้วยทุกครั้ง ข้อ ๑๘ ข้อกำหนดสำหรับผู้ประกอบการรมเมทิลโบรไมด์ ๑๘.๑ DAFF ต้องดำเนินการจดทะเบียนผู้ประกอบการซึ่งได้แสดงให้ DAFF เห็นแล้วว่ามีความสามารถที่จะดำเนินการรมเมทิลโบรไมด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามข้อกำหนดของ DAFF DAFF ต้องมอบรายชื่อผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนแล้วให้กับกรมวิชาการเกษตร และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันทีเมื่อมีการแก้ไขเนื่องจากจดทะเบียนผู้ประกอบการเพิ่มเติม การปรับปรุงแก้ไขผู้ประกอบการในปัจจุบัน หรือการยกเลิกหรือการพักใช้ทะเบียนเป็นการชั่วคราว ๑๘.๒ การจดทะเบียนแต่ละผู้ประกอบการรมเมทิลโบรไมด์ต้องมีข้อมูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ชื่อผู้ประกอบการที่จดทะเบียน สถานที่ตั้ง หมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร และอื่น ๆ ชื่อเจ้าของและผู้จัดการ รัฐที่ผู้ประกอบการดำเนินการรมสินค้า หมายเลขการขึ้นทะเบียน ๑๘.๓ กรมวิชาการเกษตรต้องดำเนินการตรวจสอบผู้ประกอบการซึ่งขึ้นทะเบียนทั้งหมด และเฉพาะผู้ประกอบการที่ผ่านการรับรองจากกรมวิชาการเกษตรแล้วเท่านั้นถึงจะสามารถดำเนินการรมเมทิลโบรไมด์กับส้มที่จะส่งออกมายังราชอาณาจักรไทย ๑๘.๔ กรมวิชาการเกษตรจะติดตามการดำเนินการของผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรอง กรณีที่กรมวิชาการเกษตรตรวจพบว่าการรมเมทิลโบรไมด์ไม่มีประสิทธิภาพ กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งให้ DAFF ทราบทันที กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการการดำเนินการของผู้ประกอบการนั้นไปจนกว่าจะมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๑๙ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๙.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูก โพลีสไตรีน พลาสติก หรือลังแบบต่าง ๆ ที่ทำจากไม้ โดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่หรือเป็นวัสดุใหม่ กรณีที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกล่องกระดาษหรือพลาสติก บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ต้องสะอาดและใหม่เท่านั้น ๑๙.๒ ต้องบรรจุผลส้มสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๙.๓ สำหรับผลส้มสดส่งออกทางอากาศ ต้องบรรจุผลส้มสดให้เป็นไปตามเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใด ดังต่อไปนี้ ๑๙.๓.๑ ต้องบรรจุผลส้มสดในถุงตาข่ายแล้วถึงนำผลส้มสดบรรจุในบรรจุภัณฑ์ ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๙.๓.๒ ต้องบรรจุผลส้มสดในบรรจุภัณฑ์เมื่อปิดสนิทแล้วต้องปิดช่องระบายอากาศทั้งหมดบนบรรจุภัณฑ์ด้วยตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๙.๓.๓ ต้องบรรจุผลส้มสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งเมื่อมัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นวาง ต้องห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดด้วยตาข่ายหรือพลาสติก ถ้าใช้ตาข่ายขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๙.๔ สำหรับผลส้มสดส่งออกทางน้ำ ผลส้มสดซึ่งบรรจุในบรรจุภัณฑ์ขนส่งโดยตู้ขนส่งสินค้า ไม่ว่าบรรจุภัณฑ์จะมัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นวางจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในข้อ ๑๙.๓ ๑๙.๕ ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้การตรวจสอบย้อนกลับเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ Produce of Australia, Name of exporting company, Name of fruit (common name and cultivar name), Packinghouse registration number หรือ Export establishment registration number และ Orchard or block registration number ๑๙.๖ กรณีขนส่งผลส้มสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลส้มสดในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ดี กรณีขนส่งผลส้มสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลส้มสดในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๙.๗ ผลส้มสดที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กฎข้อบังคับว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในทางการค้าระหว่างประเทศ ข้อ ๒๐ การตรวจส่งออก ๒๐.๑ ต้องสุ่มตรวจผลส้มสดด้วยสายตาก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการ และต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ๒๐.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๒๐.๒.๑ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิตบนผลส้มสด ได้แก่ แมลงวันผลไม้และแมลง Fuller’s rose beetle ต้องปฏิเสธการส่งออกผลส้มสดทั้งหมดไปยังราชอาณาจักรไทย ๒๐.๒.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ และแมลง Fuller’s rose beetle ผลส้มสดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ๒๐.๓ ต้องดำเนินการกำจัดหรือจัดการความเสี่ยงแมลงวันผลไม้และแมลง Fuller’s rose beetle ในผลส้มสดตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๕ และ ข้อ ๑๖ ข้อ ๒๑ การรับรองสุขอนามัยพืช ๒๑.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย DAFF กำกับมาด้วยโดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of citrus fruit was produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of fresh citrus fruit from Australia to Thailand” ๒๑.๒ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ถ้าผลส้มสดมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of citrus fruit was produced in (name of defined area) which is a pest free area for halfordia fruit fly, Javis fruit fly, Krauss’s fruit fly lesser Queensland fruit fly, mango fruit fly, Northern Territory fruit fly Queensland fruit fly and Mediterranean fruit fly in Australia.” ๒๑.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ถ้าผลส้มสดผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออก ต้องระบุรายละเอียดของโรงงานกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น อุณหภูมิ และระยะเวลาที่ใช้ (จำนวนวันที่ต่อเนื่องกัน) ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม ๒๑.๔ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๒๑.๔.๑ ถ้าผลส้มสดได้รับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองสุขอนามัยพืช ดังต่อไปนี้ “DAFF has supervised the calibration and the placement of fruit sensors into the fruit within the container(s) in accordance with the conditions for import of fresh citrus fruit from Australia into Thailand and cold disinfestation treatment has been initiated” ๒๑.๔.๒ ต้องมีต้นฉบับใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๒๑.๕ การรมด้วยสารเมทิลโบรไมด์ ถ้าผลส้มสดได้รับการรมด้วยสารเมทิลโบรไมด์เพื่อกำจัดแมลง Fuller’s rose beetle ต้องระบุรายละเอียดการรมเมทิลโบรไมด์ ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม และต้องมีต้นฉบับใบรับรองการรมเมทิลโบรไมด์แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๒๑.๖ โครงการควบคุมแมลงภายในสวนส้ม ๒๑.๖.๑ ถ้าผลส้มสดอยู่ภายใต้โครงการควบคุมแมลง Fuller’s rose beetle ภายในสวนส้ม ต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of citrus fruit was subjected to in - field control programs agreed by DOA and DAFF to control Fuller’s rose beetle.” ๒๑.๖.๒ ต้องระบุหมายเลขทะเบียนสวนส้มหรือแปลงปลูกย่อยลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม ๒๑.๗ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อพันธุ์ของผลส้มสด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๒๒ การตรวจนำเข้า ๒๒.๑ เมื่อผลส้มสดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าผลส้มสดจะดำเนินการหลังจากได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๒๒.๒ เจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลส้มสดและตรวจสอบเพื่อยื่นยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักผลส้มสดไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๒๒.๓ ถ้ามีผลส้มสดนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลส้มสดจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจผลส้มสดทั้งหมด ถ้ามีผลส้มสดจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจ ผลส้มสดจำนวน ๖๐๐ ผล ๒๒.๓.๑ กระบวนการสุ่มตรวจสินค้าซึ่งประกอบด้วยผลส้มสดสองพันธุ์ หรือมากกว่าสองพันธุ์จากสวนส้มหรือแปลงปลูกย่อยหนึ่ง พนักงานเจ้าหน้าที่จะแยกสุ่มตัวอย่างผลส้มสดแต่ละพันธุ์โดยจำนวนตัวอย่างที่สุ่มให้เป็นไปตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในข้อ ๒๒.๓ ถ้าตรวจพบผลส้มสดพันธุ์หนึ่งพันธุ์ใดไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการนำเข้า ในกรณีนี้ให้ถือว่าสินค้าทั้งหมดไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการนำเข้ากรมวิชาการเกษตรจะแจ้งให้ DAFF ทราบหมายเลขทะเบียนสวนส้มหรือแปลงปลูกย่อยซึ่งตรวจพบว่าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการนำเข้า ๒๒.๓.๒ กระบวนการสุ่มตรวจสินค้าซึ่งประกอบด้วยผลส้มสดจากสองสวนส้ม หรือแปลงปลูกย่อยหรือมากกว่าสองสวนส้มหรือแปลงปลูกย่อย พนักงานเจ้าหน้าที่จะแยกสุ่มตัวอย่างผลส้มสดจากแต่ละสวนส้มหรือแปลงปลูกย่อยโดยจำนวนตัวอย่างที่สุ่มให้เป็นไปตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในข้อ ๒๒.๓ ถ้าตรวจพบผลส้มสดจากสวนส้มหรือแปลงปลูกย่อยใดไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการนำเข้า ในกรณีนี้ให้ถือว่าสินค้าทั้งหมดไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการนำเข้า กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งให้ DAFF ทราบเฉพาะหมายเลขทะเบียนสวนส้มหรือแปลงปลูกย่อยซึ่งตรวจพบว่าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการนำเข้า ๒๒.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ใน เอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลส้มสด ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๒๒.๔.๑ แมลงวันผลไม้ (๑) ถ้าตรวจพบแมลงวันผลไม้ที่มีชีวิต ผลส้มสดทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ DAFF ทราบและระงับการนำเข้าโดยทันที (๒) DAFF ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันที และเสนอมาตรการแก้ไขกรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้า เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๒๒.๔.๒ แมลง Fuller’s rose beetle (๑) ถ้าตรวจพบแมลง Fuller’s rose beetle ที่มีชีวิต ผลส้มสดทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย (๒) กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ DAFF ทราบโดยทันที หลังจากนั้น DAFF ต้องระงับการให้การรับรองผลส้มสดจากสวนส้มหรือแปลงปลูกย่อยที่พบแมลง Fuller’s rose beetle เพื่อส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยตลอดฤดูกาลส่งออกนั้น (๓) ผลส้มสดจากสวนส้มหรือแปลงปลูกย่อยที่ตรวจพบแมลง Fuller’s rose beetle ซึ่งอยู่ระหว่างขนส่ง ผลส้มสดทั้งหมดจะไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย ๒๒.๔.๓ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ และแมลง Fuller’s rose beetle ผลส้มสดทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๒๒.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนผลส้มสดด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าผลส้มสดจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราว จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๒๒.๖ ถ้าการนำเข้าผลส้มสดจากสวนส้มหรือแปลงปลูกย่อยหนึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการนำเข้าสามครั้ง DAFF ต้องไม่ให้การรับรองผลส้มสดจากสวนส้มหรือแปลงปลูกย่อยนั้นเพื่อส่งออกไปราชอาณาจักรไทยตลอดฤดูกาลส่งออกนั้น ๒๒.๗ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลส้มสดกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งกรณีดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๒๒.๗.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นไม่สมบูรณ์ ๒๒.๗.๒ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๒๒.๗.๓ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๒๒.๗.๔ หมายเลขทะเบียนสวนส้มหรือแปลงปลูกย่อยบนบรรจุภัณฑ์ไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๒๒.๗.๕ เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผลส้ม หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนด หรือส้มที่เสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตกหรือเกิดรอยเปิด ๒๒.๗.๖ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๒๓ การประเมินกระบวนการส่งออก ๒๓.๑ การส่งออกผลส้มสดจากเครือรัฐออสเตรเลียไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๒๓.๒ หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็นในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในเครือรัฐออสเตรเลีย ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าส้มได้อีกต่อไป โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลส้มสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๑) ๒. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๒) ๓. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๓) ๔. ใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า สำหรับราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๓๘/๑๙ เมษายน ๒๕๕๖
684962
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากสาธารณรัฐชิลี พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากสาธารณรัฐชิลี พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลเชอรี่สดนำเข้าเพื่อการค้าจากสาธารณรัฐชิลีเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากสาธารณรัฐชิลี ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากสาธารณรัฐชิลี พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ผลเชอรี่สด (cherry, Prunus avium) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลเชอรี่สดจากสาธารณรัฐชิลีปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ สาธารณรัฐชิลี คือ Servicio Agricolay Genadero (Agriculture and Livestock Service) ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “SAG” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลเชอรี่สดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสาธารณรัฐชิลีไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๘ แหล่งปลูก ผลเชอรี่สดต้องเป็นผลผลิตจากสาธารณรัฐชิลีและมาจากสวนเชอรี่ที่ปลูกเพื่อการค้า ซึ่งได้จดทะเบียนไว้กับ SAG หรือภายใต้ระบบที่ SAG ให้การรับรอง โดยที่ SAG กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกเชอรี่สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ สวนเชอรี่ทุกสวนในแหล่งปลูกเชอรี่ที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจดทะเบียนไว้กับ SAG หรือภายใต้ระบบที่ SAG ให้การรับรอง SAG ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่าผลเชอรี่สดที่ได้เป็นไปตามข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืชของราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนเชอรี่ส่งออกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนสวนเชอรี่ส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนเชอรี่ที่จดทะเบียนต้องปฏิบัติตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสมในสวนเชอรี่ โดยต้องรักษาความสะอาดสวนเชอรี่ และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานหรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๙.๓ SAG ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนเชอรี่ตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้า ๑๐.๑ SAG ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าที่จะส่งออกผลเชอรี่สดไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ โรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียนต้องนำผลเชอรี่สดมาจากสวนเชอรี่ที่จดทะเบียน ซึ่งปลูกเพื่อการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของผลเชอรี่สดที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็ว โรงบรรจุสินค้าต้องเก็บบันทึกรายชื่อของเกษตรกรเจ้าของสวนเชอรี่ ซึ่งส่งผลเชอรี่สดออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๐.๓ โรงบรรจุสินค้าต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐานกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุผลเชอรี่สด ๑๐.๔ SAG ต้องดำเนินการตรวจสอบด้านสุขอนามัยพืชของโรงบรรจุสินค้าทั้งหมดเป็นประจำทุกปีก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้า โรงบรรจุสินค้าต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๐.๕ การรมผลเชอรี่สดด้วยสารรมก่อนส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียน หรือศูนย์รมยาที่ได้รับการรับรองเท่านั้น ๑๐.๖ การตรวจผลเชอรี่สดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ สาธารณรัฐชิลีเคยมีรายงานในอดีตว่าเป็นแหล่งแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ Mediterranean fruit fly (Ceratitis capitata) แต่อย่างไรก็ตาม แมลงวันผลไม้ชนิดนี้ได้ถูกกำจัดให้หมดสิ้นไปแล้ว ปัจจุบันสาธารณรัฐชิลีได้รับการยอมรับว่าเป็นพื้นที่ปลอดศัตรูพืชสำหรับแมลงวันผลไม้ ซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ๑๑.๑ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๒๖ เรื่อง การสถาปนาพื้นที่ปลอดศัตรูพืชสำหรับแมลงวันผลไม้ชนิดต่าง ๆ (เทฟริติดี้) (Tephritidae) ๑๑.๒ SAG ต้องบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อรักษาสถานภาพของพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามอย่างสม่ำเสมอสำหรับแมลงวันผลไม้ศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบเป็นระยะถึงสถานภาพของแมลงวันผลไม้ รวมถึงการดำเนินการที่เกี่ยวเนื่องกับการสำรวจเพื่อค้นหาและการกำจัดให้หมดสิ้นไปซึ่งแมลงวันผลไม้ในสาธารณรัฐชิลี ๑๑.๓ SAG ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบโดยทันทีถ้ามีการยืนยันพบการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ Mediterranean fruit fly หรือแมลงวันผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ต้องระงับการให้การรับรองการส่งออกผลเชอรี่สดที่ไม่ผ่านการกำจัดศัตรูพืชจากพื้นที่นั้นมายังราชอาณาจักรไทย และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่ให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ๑๑.๔ กรมวิชาการเกษตรสงวนสิทธิ์ที่จะส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปสาธารณรัฐชิลี เพื่อพิสูจน์ว่าการดำเนินการฟื้นพื้นที่ที่พบการระบาดของแมลงวันผลไม้ให้กลับมาเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ประสบผลสำเร็จแล้ว สาธารณรัฐชิลีต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการเดินทางของพนักงานเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติภารกิจนี้ ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืช ๑๒.๑ การส่งออกผลเชอรี่สดจากสาธารณรัฐชิลีไปราชอาณาจักรไทยจะเป็นไปโดยการให้การรับรองพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ซึ่งจะทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลเชอรี่สด แต่อย่างไรก็ตาม กรณีที่ SAG ไม่สามารถให้การรับรองพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้เพราะว่าพื้นที่ที่นำผลเชอรี่สดมาส่งออกนั้นขาดคุณสมบัติที่จะคงสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้หรือสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของพื้นที่นั้นถูกระงับเป็นการชั่วคราว กรณีดังกล่าวเหล่านี้ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลเชอรี่สดด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืช วิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นดังต่อไปนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืชสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลเชอรี่สด อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๕ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๗ วัน หรือมากกว่า ๑๒.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นสามารถดำเนินการได้ระหว่างขนส่ง อาจจะดำเนินการเพียงบางส่วนซึ่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกโดยเริ่มต้นดำเนินการในสาธารณรัฐชิลีและการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ระหว่างขนส่ง ในกรณีที่การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นเกิดล้มเหลวระหว่างขนส่ง การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นอาจจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้เมื่อสินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง ๑๒.๓ การส่งออกผลเชอรี่สดซึ่งต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น ต้องลดอุณหภูมิผลเชอรี่สดตรงบริเวณกึ่งกลางผลให้ต่ำลงถึงระดับเดียวกันกับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่กำหนดสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้เป็นการล่วงหน้าก่อนขนถ่ายผลเชอรี่สดเข้าตู้ขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอุณหภูมิผลเชอรี่สดได้ลดต่ำลงถึงระดับที่เหมาะสม ก่อนเริ่มต้นกระบวนการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น และต้องรักษาระดับอุณหภูมิของผลเชอรี่สดให้คงที่ติดต่อกันตลอดไป ๑๒.๔ การประเมินผลการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง จะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เท่านั้น โดยไม่นำอุณหภูมิจากแท่งวัดอุณหภูมิอากาศมาประกอบการประเมินผลประสิทธิภาพของการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๓.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นโดยดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้าระหว่างขนส่งสินค้า ๑๓.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งซึ่งดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้านั้น อาจจะเริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่ตู้ขนส่งสินค้าอยู่บนบกและเสร็จสิ้นในช่วงระหว่างขนส่ง หรือเสร็จสิ้นเมื่อตู้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ๑๓.๓ ถ้าผลเชอรี่สดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง SAG ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ นอกจากนี้ต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับสินค้าด้วยทุกครั้ง ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๔.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูกซึ่งผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่หรือวัสดุใหม่ อนุญาตให้ใช้เฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่สะอาดและใหม่เท่านั้นสำหรับการบรรจุผลเชอรี่สด ๑๔.๒ ต้องบรรจุผลเชอรี่สดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๔.๓ ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้การตรวจสอบย้อนกลับเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ Produce of Chile, Name of exporter, Name of fruit (common name), Orchard registration number และ Packinghouse registration number ๑๔.๔ กรณีขนส่งผลเชอรี่สดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลเชอรี่สดในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ตาม กรณีขนส่งผลเชอรี่สดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลเชอรี่สดในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๔.๕ ผลเชอรี่สดที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กฎข้อบังคับว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในทางการค้าระหว่างประเทศ ข้อ ๑๕ การตรวจส่งออก ๑๕.๑ ต้องสุ่มตรวจผลเชอรี่สดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการ และต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ๑๕.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ต้องดำเนินการตามมาตรการดังต่อไปนี้ ๑๕.๒.๑ ถ้าตรวจพบแมลงวันผลไม้ที่มีชีวิตหรือตาย SAG ต้องปฏิเสธการส่งออกผลเชอรี่สดทั้งหมดไปยังราชอาณาจักรไทย หลังจากนั้น SAG ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบโดยทันทีถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต้องระงับการส่งออกผลเชอรี่สดยังราชอาณาจักรไทยโดยทันที และต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งเสนอมาตรการแก้ไข ๑๕.๒.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ SAG ต้องปฏิเสธการให้การรับรองผลเชอรี่สดเพื่อส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย ผลเชอรี่สดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว (๑) ต้องรมผลเชอรี่สดด้วยสารรมเมทิลโบรไมด์ที่อัตราความเข้มข้นดังต่อไปนี้เพื่อกำจัดแมลงและไรซึ่งทำลายบริเวณภายนอกผล อุณหภูมิ อัตรา (กรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ระยะเวลา (ชั่วโมง) สูงกว่า ๒๖.๕ องศาเซลเซียส ๒๔ ๒ ๒๑-๒๖.๔ องศาเซลเซียส ๓๒ ๒ ๑๕.๕-๒๐.๙ องศาเซลเซียส ๔๐ ๒ ๑๐-๑๕.๔ องศาเซลเซียส ๔๘ ๒ ๔.๕-๙.๙ องศาเซลเซียส ๖๔ ๒ (๒) การรมเมทิลโบรไมด์ผลเชอรี่สดที่ส่งออกไปราชอาณาจักรไทย ซึ่งดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการรับรองของโรงบรรจุสินค้าต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ SAG กรณีการรมเมทิลโบรไมด์โดยผู้ประกอบการที่จดทะเบียนต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ SAG และต้องมีใบรับรองการรมเมทิลโบรไมด์ของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่มีการนำเข้า ๑๕.๓ ต้องดำเนินการกำจัดศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๒ ถ้าผลเชอรี่สดที่จะส่งออกไปราชอาณาจักรไทยไม่ได้มาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๖ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๖.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย SAG กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of cherry fruit was produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of cherry fruit from Chile to Thailand” ๑๖.๒ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ถ้าผลเชอรี่สดมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of cherry fruit was produced in a fruit fly pest free area” ๑๖.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๖.๓.๑ ถ้าผลเชอรี่สดได้รับการกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองสุขอนามัยพืช ดังต่อไปนี้ “SAG has supervised the calibration and the placement of fruit sensors into the fruit within the container(s) in accordance with the conditions for import of apple fruit from Chile into Thailand and cold disinfestation treatment has been initiated” ๑๖.๓.๒ ต้องมีต้นฉบับใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๖.๔ การรมด้วยสารเมทิลโบรไมด์ ถ้าผลเชอรี่สดได้รับการจัดการแมลงและไรศัตรูพืชกักกันนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้โดยรมด้วยสารเมทิลโบรไมด์ ต้องระบุรายละเอียดการรมเมทิลโบรไมด์ ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม กรณีการรมเมทิลโบรไมด์โดยผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภายใต้การกำกับดูแลของ SAG ต้องมีต้นฉบับใบรับรองการรมเมทิลโบรไมด์ของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนแนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืชทุกครั้งที่มีการนำเข้า ๑๖.๕ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลเชอรี่สด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าของ SAG (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๗ การตรวจนำเข้า ๑๗.๑ เมื่อผลเชอรี่สดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าผลเชอรี่สดจะดำเนินการหลังจากเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๗.๒ เจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลเชอรี่สดและตรวจสอบเพื่อยื่นยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักผลเชอรี่สดไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๗.๓ ถ้ามีผลเชอรี่สดนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลเชอรี่สดจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจผลเชอรี่สดทั้งหมด ถ้ามีผลเชอรี่สดจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลเชอรี่สดจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๗.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลเชอรี่สด ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๗.๔.๑ แมลงวันผลไม้ (๑) ถ้าตรวจพบแมลงวันผลไม้ที่มีชีวิตหรือตาย ผลเชอรี่สดทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย (๒) กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ SAG ทราบ และระงับการนำเข้าโดยทันที SAG ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเสนอมาตรการแก้ไขกรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้า เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๗.๔.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลเชอรี่สดทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๗.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนผลเชอรี่สดด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าผลเชอรี่สดจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราวจนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๗.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลเชอรี่สดกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๗.๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นไม่สมบูรณ์ ๑๗.๖.๒ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๗.๖.๓ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๗.๖.๔ เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผลเชอรี่สด หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนด หรือผลเชอรี่สดที่เสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตกหรือเกิดรอยเปิด ๑๗.๖.๕ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๑๘ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๘.๑ การส่งออกผลเชอรี่สดจากสาธารณรัฐชิลีไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยสาธารณรัฐชิลีต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๘.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น กรมวิชาการเกษตรอาจส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในสาธารณรัฐชิลี ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าผลเชอรี่สดได้อีกต่อไป โดยสาธารณรัฐชิลีต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๘.๓ กรมวิชาการเกษตรสงวนสิทธิ์ที่จะส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปสาธารณรัฐชิลีเป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินการต่าง ๆ ในกระบวนการตรวจรับรองศัตรูพืชก่อนส่งออกของ SAG ยังคงมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพื่อให้ความมั่นใจว่าผลเชอรี่สดที่ส่งออกไปราชอาณาจักรไทยยังคงมีการจัดการศัตรูพืชกักกันอย่างเหมาะสม โดยสาธารณรัฐชิลีต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลเชอรี่สดจากสาธารณรัฐชิลี แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากสาธารณรัฐชิลี พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๑) ๒. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากสาธารณรัฐชิลี พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๒) ๓. ใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า สำหรับราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากสาธารณรัฐชิลี พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๓) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๓๐/๑๙ เมษายน ๒๕๕๖
684960
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากสาธารณรัฐชิลี พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากสาธารณรัฐชิลี พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลแอปเปิลสดนำเข้าเพื่อการค้าจากสาธารณรัฐชิลีเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากสาธารณรัฐชิลี ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากสาธารณรัฐชิลี พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ผลแอปเปิลสด (apple, Malus domestica) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลแอปเปิลสดจากสาธารณรัฐชิลี ปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ สาธารณรัฐชิลี คือ Servicio Agricolay Genadero (Agriculture and Livestock Service) ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “SAG” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลแอปเปิลสดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสาธารณรัฐชิลีไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๘ แหล่งปลูก ผลแอปเปิลสดต้องเป็นผลผลิตจากสาธารณรัฐชิลีและมาจากสวนแอปเปิลที่ปลูกเพื่อการค้าซึ่งได้จดทะเบียนไว้กับ SAG หรือภายใต้ระบบที่ SAG ให้การรับรอง โดยที่ SAG กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกแอปเปิลสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ สวนแอปเปิลทุกสวนในแหล่งปลูกแอปเปิลที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจดทะเบียนไว้กับ SAG หรือภายใต้ระบบที่ SAG ให้การรับรอง SAG ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่าผลแอปเปิลสดที่ได้เป็นไปตามข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืชของราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนแอปเปิลส่งออกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนสวนแอปเปิลส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนแอปเปิลที่จดทะเบียนต้องปฏิบัติตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสมในสวนแอปเปิล โดยต้องรักษาความสะอาดสวนแอปเปิล และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานหรือมีมาตรการอื่นๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๙.๓ SAG ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนแอปเปิลตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้า ๑๐.๑ SAG ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าที่จะส่งออกผลแอปเปิลสดไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ โรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียนต้องนำผลแอปเปิลสดมาจากสวนแอปเปิลที่จดทะเบียนซึ่งปลูกเพื่อการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของผลแอปเปิลสดที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็ว โรงบรรจุสินค้าต้องเก็บบันทึกรายชื่อของเกษตรกรเจ้าของสวนแอปเปิลซึ่งส่งผลแอปเปิลสดออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๐.๓ โรงบรรจุสินค้าต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐานกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุผลแอปเปิลสด ๑๐.๔ SAG ต้องดำเนินการตรวจสอบด้านสุขอนามัยพืชของโรงบรรจุสินค้าทั้งหมดเป็นประจำทุกปีก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้า โรงบรรจุสินค้าต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๐.๕ การรมผลแอปเปิลสดด้วยสารรมก่อนส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกัน ต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียน หรือศูนย์รมยาที่ได้รับการรับรองเท่านั้น ๑๐.๖ การตรวจผลแอปเปิลสดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ สาธารณรัฐชิลีเคยมีรายงานในอดีตว่าเป็นแหล่งแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้Mediterranean fruit fly (Ceratitis capitata) แต่อย่างไรก็ตาม แมลงวันผลไม้ชนิดนี้ได้ถูกกำจัดให้หมดสิ้นไปแล้ว ปัจจุบันสาธารณรัฐชิลีได้รับการยอมรับว่าเป็นพื้นที่ปลอดศัตรูพืช สำหรับแมลงวันผลไม้ซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ๑๑.๑ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๒๖ เรื่อง การสถาปนาพื้นที่ปลอดศัตรูพืชสำหรับแมลงวันผลไม้ชนิดต่าง ๆ (เทฟริติดี้) (Tephritidae) ๑๑.๒ SAG ต้องบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อรักษาสถานภาพของพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามอย่างสม่ำเสมอสำหรับแมลงวันผลไม้ศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบเป็นระยะถึงสถานภาพของแมลงวันผลไม้รวมถึงการดำเนินการที่เกี่ยวเนื่องกับการสำรวจเพื่อค้นหาและการกำจัดให้หมดสิ้นไปซึ่งแมลงวันผลไม้ในสาธารณรัฐชิลี ๑๑.๓ SAG ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบโดยทันทีถ้ามีการยืนยันพบการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ Mediterranean fruit fly หรือแมลงวันผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ต้องระงับการให้การรับรองการส่งออกผลแอปเปิลสดที่ไม่ผ่านการกำจัดศัตรูพืชจากพื้นที่นั้นมายังราชอาณาจักรไทย และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่ให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ๑๑.๔ กรมวิชาการเกษตรสงวนสิทธิ์ที่จะส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปสาธารณรัฐชิลีเพื่อพิสูจน์ว่าการดำเนินการฟื้นพื้นที่ที่พบการระบาดของแมลงวันผลไม้ให้กลับมาเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ประสบผลสำเร็จแล้ว สาธารณรัฐชิลีต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการเดินทางของพนักงานเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติภารกิจนี้ ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืช ๑๒.๑ การส่งออกผลแอปเปิลสดจากสาธารณรัฐชิลีไปราชอาณาจักรไทยจะเป็นไปโดยการให้การรับรองพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ซึ่งจะทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลแอปเปิลสด แต่อย่างไรก็ตาม กรณีที่ SAG ไม่สามารถให้การรับรองพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ เพราะว่าพื้นที่ที่นำผลแอปเปิลสดมาส่งออกนั้นขาดคุณสมบัติที่จะคงสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของพื้นที่นั้นถูกระงับเป็นการชั่วคราว กรณีดังกล่าวเหล่านี้ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลแอปเปิลสดด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืช วิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นดังต่อไปนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืชสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลแอปเปิลสด อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๕ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๗ วัน หรือมากกว่า ๑๒.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นสามารถดำเนินการได้ระหว่างขนส่ง อาจจะดำเนินการเพียงบางส่วนซึ่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกโดยเริ่มต้นดำเนินการในสาธารณรัฐซิลี และการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ระหว่างขนส่ง ในกรณีที่การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นเกิดล้มเหลวระหว่างขนส่ง การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นอาจจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้เมื่อสินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง ๑๒.๓ การส่งออกผลแอปเปิลสดซึ่งต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น ต้องลดอุณหภูมิผลแอปเปิลสดตรงบริเวณกึ่งกลางผลให้ต่ำลงถึงระดับเดียวกันกับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่กำหนดสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้เป็นการล่วงหน้าก่อนขนถ่ายผลแอปเปิลสดเข้าตู้ขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอุณหภูมิผลแอปเปิลสดได้ลดต่ำลงถึงระดับที่เหมาะสม ก่อนเริ่มต้นกระบวนการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น และต้องรักษาระดับอุณหภูมิของผลแอปเปิลสดให้คงที่ติดต่อกันตลอดไป ๑๒.๔ การประเมินผลการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง จะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เท่านั้น โดยไม่นำอุณหภูมิจากแท่งวัดอุณหภูมิอากาศมาประกอบการประเมินผลประสิทธิภาพของการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๓.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น โดยดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้าระหว่างขนส่งสินค้า ๑๓.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งซึ่งดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้านั้น อาจจะเริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่ตู้ขนส่งสินค้าอยู่บนบกและเสร็จสิ้นในช่วงระหว่างขนส่ง หรือเสร็จสิ้นเมื่อตู้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ๑๓.๓ ถ้าผลแอปเปิลสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง SAG ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้นอกจากนี้ต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับสินค้าด้วยทุกครั้ง ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๔.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูกซึ่งผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่หรือวัสดุใหม่ อนุญาตให้ใช้เฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่สะอาดและใหม่เท่านั้นสำหรับการบรรจุผลแอปเปิลสด ๑๔.๒ ต้องบรรจุผลแอปเปิลสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๔.๓ ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้การตรวจสอบย้อนกลับเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ Produce of Chile, Name of exporter, Name of fruit (common name), Orchard registration number และ Packinghouse registration number ๑๔.๔ กรณีขนส่งผลแอปเปิลสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลแอปเปิลสดในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ตาม กรณีขนส่งผลแอปเปิลสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลแอปเปิลสดในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๔.๕ ผลแอปเปิลสดที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กฎข้อบังคับว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในทางการค้าระหว่างประเทศ ข้อ ๑๕ การตรวจส่งออก ๑๕.๑ ต้องสุ่มตรวจผลแอปเปิลสดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการ และต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ๑๕.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ต้องดำเนินการตามมาตรการดังต่อไปนี้ ๑๕.๒.๑ ถ้าตรวจพบแมลงวันผลไม้ที่มีชีวิตหรือตาย SAG ต้องปฏิเสธการส่งออกผลแอปเปิลสดทั้งหมดไปยังราชอาณาจักรไทย หลังจากนั้น SAG ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบโดยทันทีถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต้องระงับการส่งออกผลแอปเปิลสดยังราชอาณาจักรไทยโดยทันทีและต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งเสนอมาตรการแก้ไข ๑๕.๒.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ SAG ต้องปฏิเสธการให้การรับรองผลแอปเปิลสดเพื่อส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย ผลแอปเปิลสดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว (๑) ต้องรมผลแอปเปิลสดด้วยสารรมเมทิลโบรไมด์ที่อัตราความเข้มข้นดังต่อไปนี้เพื่อกำจัดแมลงและไรซึ่งทำลายบริเวณภายนอกผล อุณหภูมิ อัตรา (กรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ระยะเวลา (ชั่วโมง) สูงกว่า ๒๖.๕ องศาเซลเซียส ๒๔ ๒ ๒๑-๒๖.๔ องศาเซลเซียส ๓๒ ๒ ๑๕.๕-๒๐.๙ องศาเซลเซียส ๔๐ ๒ ๑๐-๑๕.๔ องศาเซลเซียส ๔๘ ๒ ๔.๕-๙.๙ องศาเซลเซียส ๖๔ ๒ (๒) การรมเมทิลโบรไมด์ผลแอปเปิลสดที่ส่งออกไปราชอาณาจักรไทย ซึ่งดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการรับรองของโรงบรรจุสินค้าต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ SAG กรณีการรมเมทิลโบรไมด์โดยผู้ประกอบการที่จดทะเบียนต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ SAG และต้องมีใบรับรองการรมเมทิลโบรไมด์ของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่มีการนำเข้า ๑๕.๓ ต้องดำเนินการกำจัดศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๒ ถ้าผลแอปเปิลสดที่จะส่งออกไปราชอาณาจักรไทยไม่ได้มาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๖ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๖.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย SAG กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of apple fruit was produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of apple fruit from Chile to Thailand” ๑๖.๒ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ถ้าผลแอปเปิลสดมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องระบุข้อความเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ “The consignment of apple fruit was produced in a fruit fly pest free area” ๑๖.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๖.๓.๑ ถ้าผลแอปเปิลสดได้รับการกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองสุขอนามัยพืช ดังต่อไปนี้ “SAG has supervised the calibration and the placement of fruit sensors into the fruit within the container(s) in accordance with the conditions for import of apple fruit from Chile into Thailand and cold disinfestation treatment has been initiated” ๑๖.๓.๒ ต้องมีต้นฉบับใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๖.๔ การรมด้วยสารเมททิลโบรไมด์ ถ้าผลแอปเปิลสดได้รับการจัดการแมลงและไรศัตรูพืชกักกันนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้โดยรมด้วยสารเมทิลโบรไมด์ ต้องระบุรายละเอียดการรมเมทิลโบรไมด์ ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม กรณีการรมเมทิลโบรไมด์โดยผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภายใต้การกำกับดูแลของ SAG ต้องมีต้นฉบับใบรับรองการรมเมทิลโบรไมด์ของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนแนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืชทุกครั้งที่มีการนำเข้า ๑๖.๕ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลแอปเปิลสด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าของ SAG (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๗ การตรวจนำเข้า ๑๗.๑ เมื่อผลแอปเปิลสดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าผลแอปเปิลสดจะดำเนินการหลังจากเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๗.๒ เจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลแอปเปิลสดและตรวจสอบเพื่อยื่นยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักผลแอปเปิลสดไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๗.๓ ถ้ามีผลแอปเปิลสดนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลแอปเปิลสดจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจผลแอปเปิลสดทั้งหมด ถ้ามีผลแอปเปิลสดจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลแอปเปิลสดจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๗.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลแอปเปิลสด ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๗.๔.๑ แมลงวันผลไม้ (๑) ถ้าตรวจพบแมลงวันผลไม้ที่มีชีวิตหรือตาย ผลแอปเปิลสดทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย (๒) กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ SAG ทราบและระงับการนำเข้าโดยทันที SAG ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้า เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๗.๔.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่นๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลแอปเปิลสดทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๗.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนผลแอปเปิลสดด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราวจนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๗.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลแอปเปิลสดกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๗.๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นไม่สมบูรณ์ ๑๗.๖.๒ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๗.๖.๓ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๗.๖.๔ เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผลแอปเปิลสด หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนด หรือผลแอปเปิลสดที่เสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตกหรือเกิดรอยเปิด ๑๗.๖.๕ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๑๘ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๘.๑ การส่งออกผลแอปเปิลสดจากสาธารณรัฐชิลีไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยสาธารณรัฐชิลีต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๘.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น กรมวิชาการเกษตรอาจส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในสาธารณรัฐชิลี ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าผลแอปเปิลสดได้อีกต่อไป โดยสาธารณรัฐชิลีต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๘.๓ กรมวิชาการเกษตรสงวนสิทธิ์ที่จะส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปสาธารณรัฐชิลีเป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินการต่าง ๆ ในกระบวนการตรวจรับรองศัตรูพืชก่อนส่งออกของ SAG ยังคงมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพื่อให้ความมั่นใจว่าผลแอปเปิลสดที่ส่งออกไปราชอาณาจักรไทยยังคงมีการจัดการศัตรูพืชกักกันอย่างเหมาะสม โดยสาธารณรัฐชิลีต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลแอปเปิลสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๑) ๒. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๒) ๓. ใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า สำหรับราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๓) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๒๒/๑๙ เมษายน ๒๕๕๖
684958
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากสาธารณรัฐชิลี พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากสาธารณรัฐชิลี พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลกีวีสดนำเข้าเพื่อการค้าจากสาธารณรัฐชิลีเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากสาธารณรัฐชิลี ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากสาธารณรัฐชิลี พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ผลกีวีสด (kiwi, Actinidia deliciosa) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลกีวีสดจากสาธารณรัฐชิลีปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ สาธารณรัฐชิลี คือ Servicio Agricolay Genadero (Agriculture and Livestock Service) ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “SAG” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลกีวีสดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสาธารณรัฐชิลีไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๘ แหล่งปลูก ผลกีวีสดต้องเป็นผลผลิตจากสาธารณรัฐชิลีและมาจากสวนกีวีที่ปลูกเพื่อการค้าซึ่งได้จดทะเบียนไว้กับ SAG หรือภายใต้ระบบที่ SAG ให้การรับรอง โดยที่ SAG กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกกีวีสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ สวนกีวีทุกสวนในแหล่งปลูกกีวีที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องจดทะเบียนไว้กับ SAG หรือภายใต้ระบบที่ SAG ให้การรับรอง SAG ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่าผลกีวีสดที่ได้เป็นไปตามข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืชของราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนกีวีส่งออกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนสวนกีวีส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนกีวีที่จดทะเบียนต้องปฏิบัติตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสมในสวนกีวี โดยต้องรักษาความสะอาดสวนกีวี และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๙.๓ SAG ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนกีวีตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้า ๑๐.๑ SAG ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าที่จะส่งออกผลกีวีสดไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ โรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียนต้องนำผลกีวีสดมาจากสวนกีวีที่จดทะเบียนซึ่งปลูกเพื่อการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของผลกีวีสดที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็ว โรงบรรจุสินค้าต้องเก็บบันทึกรายชื่อของเกษตรกรเจ้าของสวนกีวีซึ่งส่งผลกีวีสดออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๐.๓ โรงบรรจุสินค้าต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐานกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุผลกีวีสด ๑๐.๔ SAG ต้องดำเนินการตรวจสอบด้านสุขอนามัยพืชของโรงบรรจุสินค้าทั้งหมดเป็นประจำทุกปีก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้า โรงบรรจุสินค้าต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๐.๕ การรมผลกีวีสดด้วยสารรมก่อนส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียน หรือศูนย์รมยาที่ได้รับการรับรองเท่านั้น ๑๐.๖ การตรวจผลกีวีสดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ สาธารณรัฐชิลีเคยมีรายงานในอดีตว่าเป็นแหล่งแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ Mediterranean fruit fly (Ceratitis capitata) แต่อย่างไรก็ตาม แมลงวันผลไม้ชนิดนี้ได้ถูกกำจัดให้หมดสิ้นไปแล้ว ปัจจุบันสาธารณรัฐชิลีได้รับการยอมรับว่าเป็นพื้นที่ปลอดศัตรูพืชสำหรับแมลงวันผลไม้ซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ๑๑.๑ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๒๖ เรื่อง การสถาปนาพื้นที่ปลอดศัตรูพืชสำหรับแมลงวันผลไม้ชนิดต่าง ๆ (เทฟริติดี้) (Tephritidae) ๑๑.๒ SAG ต้องบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อรักษาสถานภาพของพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามอย่างสม่ำเสมอสำหรับแมลงวันผลไม้ ศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบเป็นระยะถึงสถานภาพของแมลงวันผลไม้ รวมถึงการดำเนินการที่เกี่ยวเนื่องกับการสำรวจเพื่อค้นหาและการกำจัดให้หมดสิ้นไปซึ่งแมลงวันผลไม้ในสาธารณรัฐชิลี ๑๑.๓ SAG ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบโดยทันทีถ้ามีการยืนยันพบการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ Mediterranean fruit fly หรือแมลงวันผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ต้องระงับการให้การรับรองการส่งออกผลกีวีสดที่ไม่ผ่านการกำจัดศัตรูพืชจากพื้นที่นั้นมายังราชอาณาจักรไทย และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่ให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ๑๑.๔ กรมวิชาการเกษตรสงวนสิทธิ์ที่จะส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปสาธารณรัฐชิลี เพื่อพิสูจน์ว่าการดำเนินการฟื้นพื้นที่ที่พบการระบาดของแมลงวันผลไม้ให้กลับมาเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ประสบผลสำเร็จแล้ว สาธารณรัฐชิลีต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการเดินทางของพนักงานเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติภารกิจนี้ ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืช ๑๒.๑ การส่งออกผลกีวีสดจากสาธารณรัฐชิลีไปราชอาณาจักรไทยจะเป็นไปโดยการให้การรับรองพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ซึ่งจะทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลกีวีสดแต่อย่างไรก็ตาม กรณีที่ SAG ไม่สามารถให้การรับรองพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้เพราะว่าพื้นที่ที่นำผลกีวีสดมาส่งออกนั้นขาดคุณสมบัติที่จะคงสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของพื้นที่นั้นถูกระงับเป็นการชั่วคราว กรณีดังกล่าวเหล่านี้ ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลกีวีสดด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืช วิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นดังต่อไปนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืชสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลกีวีสด อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๕ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๗ วัน หรือมากกว่า ๑๒.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นสามารถดำเนินการได้ระหว่างขนส่ง อาจจะดำเนินการเพียงบางส่วนซึ่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกโดยเริ่มต้นดำเนินการในสาธารณรัฐชิลี และการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ระหว่างขนส่ง ในกรณีที่การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นเกิดล้มเหลวระหว่างขนส่ง การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นอาจจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้เมื่อสินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง ๑๒.๓ การส่งออกผลกีวีสดซึ่งต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น ต้องลดอุณหภูมิผลกีวีสดตรงบริเวณกึ่งกลางผลให้ต่ำลงถึงระดับเดียวกันกับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่กำหนดสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้เป็นการล่วงหน้าก่อนขนถ่ายผลกีวีสดเข้าตู้ขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอุณหภูมิผลกีวีสดได้ลดต่ำลงถึงระดับที่เหมาะสม ก่อนเริ่มต้นกระบวนการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นและต้องรักษาระดับอุณหภูมิของผลกีวีสดให้คงที่ติดต่อกันตลอดไป ๑๒.๔ การประเมินผลการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง จะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เท่านั้น โดยไม่นำอุณหภูมิจากแท่งวัดอุณหภูมิอากาศมาประกอบการประเมินผลประสิทธิภาพของการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๓.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น โดยดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้าระหว่างขนส่งสินค้า ๑๓.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งซึ่งดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้านั้น อาจจะเริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่ตู้ขนส่งสินค้าอยู่บนบกและเสร็จสิ้นในช่วงระหว่างขนส่ง หรือเสร็จสิ้นเมื่อตู้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ๑๓.๓ ถ้าผลกีวีสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง SAG ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ นอกจากนี้ต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้แนบมาพร้อมกับสินค้าด้วยทุกครั้ง ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๔.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูกซึ่งผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่หรือวัสดุใหม่ อนุญาตให้ใช้เฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่สะอาดและใหม่เท่านั้นสำหรับการบรรจุผลกีวีสด ๑๔.๒ ต้องบรรจุผลกีวีสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๔.๓ ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้การตรวจสอบย้อนกลับเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ Produce of Chile, Name of exporter, Name of fruit (common name) Orchard registration number และ Packinghouse registration number ๑๔.๔ กรณีขนส่งผลกีวีสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลกีวีสดในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ตาม กรณีขนส่งผลกีวีสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลกีวีสดในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๔.๕ ผลกีวีสดที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กฎข้อบังคับว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในทางการค้าระหว่างประเทศ ข้อ ๕ การตรวจส่งออก ๑๕.๑ ต้องสุ่มตรวจผลกีวีสดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการ และต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ๑๕.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ต้องดำเนินการตามมาตรการดังต่อไปนี้ ๑๕.๒.๑ ถ้าตรวจพบแมลงวันผลไม้ที่มีชีวิตหรือตาย SAG ต้องปฏิเสธการส่งออกผลกีวีสดทั้งหมดไปยังราชอาณาจักรไทย หลังจากนั้น SAG ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบโดยทันทีถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต้องระงับการส่งออกผลกีวีสดยังราชอาณาจักรไทยโดยทันที และต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งเสนอมาตรการแก้ไข ๑๕.๒.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ SAG ต้องปฏิเสธการให้การรับรองผลกีวีสดเพื่อส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย ผลกีวีสดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว (๑) ต้องรมผลกีวีสดด้วยสารรมเมทิลโบรไมด์ที่อัตราความเข้มข้นดังต่อไปนี้ เพื่อกำจัดแมลงและไรซึ่งทำลายบริเวณภายนอกผล อุณหภูมิ อัตรา (กรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ระยะเวลา (ชั่วโมง) สูงกว่า ๒๖.๕ องศาเซลเซียส ๒๔ ๒ ๒๑-๒๖.๔ องศาเซลเซียส ๓๒ ๒ ๑๕.๕-๒๐.๙ องศาเซลเซียส ๔๐ ๒ ๑๐-๑๕.๔ องศาเซลเซียส ๔๘ ๒ ๔.๕-๙.๙ องศาเซลเซียส ๖๔ ๒ (๒) การรมเมทิลโบรไมด์ผลกีวีสดที่ส่งออกไปราชอาณาจักรไทย ซึ่งดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการรับรองของโรงบรรจุสินค้าต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ SAG กรณีการรมเมทิลโบรไมด์โดยผู้ประกอบการที่จดทะเบียนต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ SAG และต้องมีใบรับรองการรมเมทิลโบรไมด์ของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่มีการนำเข้า ๑๕.๓ ต้องดำเนินการกำจัดศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๒ ถ้าผลกีวีสดที่จะส่งออกไปราชอาณาจักรไทยไม่ได้มาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๖ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๖.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย SAG กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of kiwi fruit was produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of kiwi fruit from Chile to Thailand” ๑๖.๒ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ถ้าผลกีวีสดมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องระบุข้อความเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ “The consignment of kiwi fruit was produced in a fruit fly pest free area” ๑๖.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๖.๓.๑ ถ้าผลกีวีสดได้รับการกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองสุขอนามัยพืช ดังต่อไปนี้ “SAG has supervised the calibration and the placement of fruit sensors into the fruit within the container(s) in accordance with the conditions for import of kiwi fruit from Chile into Thailand and cold disinfestation treatment has been initiated” ๑๖.๓.๒ ต้องมีต้นฉบับใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๖.๔ การรมด้วยสารเมทิลโบรไมด์ ถ้าผลกีวีสดได้รับการจัดการแมลงและไรศัตรูพืชกักกันนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้โดยรมด้วยสารเมทิลโบรไมด์ ต้องระบุรายละเอียดการรมเมทิลโบรไมด์ ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม กรณีการรมเมทธิลโบไมด์โดยผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภายใต้การกำกับดูแลของ SAG ต้องมีต้นฉบับใบรับรองการรมเมทิลโบรไมด์ของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนแนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืชทุกครั้งที่มีการนำเข้า ๑๖.๕ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลกีวีสด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าของ SAG (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๗ การตรวจนำเข้า ๑๗.๑ เมื่อผลกีวีสดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าผลกีวีสดจะดำเนินการหลังจากเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๗.๒ เจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลกีวีสดและตรวจสอบเพื่อยื่นยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักผลกีวีสดไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๗.๓ ถ้ามีผลกีวีสดนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลกีวีสดจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจผลกีวีสดทั้งหมด ถ้ามีผลกีวีสดจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลกีวีสดจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๗.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลกีวีสด ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๗.๔.๑ แมลงวันผลไม้ (๑) ถ้าตรวจพบแมลงวันผลไม้ที่มีชีวิตหรือตาย ผลกีวีสดทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย (๒) กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ SAG ทราบและระงับการนำเข้าโดยทันที SAG ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเสนอมาตรการแก้ไขกรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้า เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๗.๔.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลกีวีสดทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๗.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนผลกีวีสดด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าผลกีวีสดจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราว จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๗.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลกีวีสดกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๗.๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นไม่สมบูรณ์ ๑๗.๖.๒ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๗.๖.๓ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๗.๖.๔ เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผลกีวีสด หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนด หรือผลกีวีสดที่เสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตกหรือเกิดรอยเปิด ๑๗.๖.๕ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๑๘ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๘.๑ การส่งออกผลกีวีสดจากสาธารณรัฐชิลีไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยสาธารณรัฐชิลีต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๘.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น กรมวิชาการเกษตรอาจส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในสาธารณรัฐชิลี ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าผลกีวีสดได้อีกต่อไป โดยสาธารณรัฐชิลีต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๘.๓ กรมวิชาการเกษตรสงวนสิทธิ์ที่จะส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปสาธารณรัฐชิลีเป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินการต่าง ๆ ในกระบวนการตรวจรับรองศัตรูพืชก่อนส่งออกของ SAG ยังคงมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพื่อให้ความมั่นใจว่าผลกีวีสดที่ส่งออกไปราชอาณาจักรไทยยังคงมีการจัดการศัตรูพืชกักกันอย่างเหมาะสม โดยสาธารณรัฐชิลีต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลกีวีสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๑) ๒. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๒) ๓. ใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า สำหรับราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๓) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๑๔/๑๙ เมษายน ๒๕๕๖
684956
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากสาธารณรัฐชิลี พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากสาธารณรัฐชิลี พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลองุ่นสดนำเข้าเพื่อการค้าจากสาธารณรัฐชิลีเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากสาธารณรัฐชิลี ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากสาธารณรัฐชิลี พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ผลองุ่นสด (grape, Vitis vinifera) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลองุ่นสดจากสาธารณรัฐชิลี ปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ สาธารณรัฐชิลี คือ Servicio Agricolay Genadero (Agriculture and Livestock Service) ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “SAG” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลองุ่นสดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสาธารณรัฐชิลีไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทย ในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๘ แหล่งปลูก ผลองุ่นสดต้องเป็นผลผลิตจากสาธารณรัฐชิลีและมาจากสวนองุ่นที่ปลูกเพื่อการค้า ซึ่งได้จดทะเบียนไว้กับ SAG หรือภายใต้ระบบที่ SAG ให้การรับรอง โดยที่ SAG กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกองุ่นสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ สวนองุ่นทุกสวนในแหล่งปลูกองุ่นที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจดทะเบียนไว้กับ SAG หรือภายใต้ระบบที่ SAG ให้การรับรอง SAG ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่าผลองุ่นสดที่ได้เป็นไปตามข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืชของราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนองุ่นส่งออกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนสวนองุ่นส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนองุ่นที่จดทะเบียนต้องปฏิบัติตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสมในสวนองุ่น โดยต้องรักษาความสะอาดสวนองุ่น และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานหรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๙.๓ SAG ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนองุ่นตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้า ๑๐.๑ SAG ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าที่จะส่งออกผลองุ่นสดไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ โรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียนต้องนำผลองุ่นสดมาจากสวนองุ่นที่จดทะเบียน ซึ่งปลูกเพื่อการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของผลองุ่นสดที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็ว โรงบรรจุสินค้าต้องเก็บบันทึกรายชื่อของเกษตรกรเจ้าของสวนองุ่น ซึ่งส่งผลองุ่นสดออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๐.๓ โรงบรรจุสินค้าต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐานกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุผลองุ่นสด ๑๐.๔ SAG ต้องดำเนินการตรวจสอบด้านสุขอนามัยพืชของโรงบรรจุสินค้าทั้งหมดเป็นประจำทุกปีก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้า โรงบรรจุสินค้าต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๐.๕ การรมผลองุ่นสดด้วยสารรมก่อนส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียน หรือศูนย์รมยาที่ได้รับการรับรองเท่านั้น ๑๐.๖ การตรวจผลองุ่นสดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ สาธารณรัฐชิลีเคยมีรายงานในอดีตว่าเป็นแหล่งแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ Mediterranean fruit fly (Ceratitis capitata) แต่อย่างไรก็ตาม แมลงวันผลไม้ชนิดนี้ได้ถูกกำจัดให้หมดสิ้นไปแล้ว ปัจจุบันสาธารณรัฐชิลีได้รับการยอมรับว่าเป็นพื้นที่ปลอดศัตรูพืชสำหรับแมลงวันผลไม้ ซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ๑๑.๑ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๒๖ เรื่อง การสถาปนาพื้นที่ปลอดศัตรูพืชสำหรับแมลงวันผลไม้ชนิดต่าง ๆ (เทฟริติดี้) (Tephritidae) ๑๑.๒ SAG ต้องบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อรักษาสถานภาพของพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามอย่างสม่ำเสมอสำหรับแมลงวันผลไม้ ศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบเป็นระยะถึงสถานภาพของแมลงวันผลไม้ รวมถึงการดำเนินการที่เกี่ยวเนื่องกับการสำรวจเพื่อค้นหาและการกำจัดให้หมดสิ้นไปซึ่งแมลงวันผลไม้ในสาธารณรัฐชิลี ๑๑.๓ SAG ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบโดยทันทีถ้ามีการยืนยันพบการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ Mediterranean fruit fly หรือแมลงวันผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ต้องระงับการให้การรับรองการส่งออกผลองุ่นสดที่ไม่ผ่านการกำจัดศัตรูพืชจากพื้นที่นั้นมายังราชอาณาจักรไทย และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่ให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ๑๑.๔ กรมวิชาการเกษตรสงวนสิทธิ์ที่จะส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปสาธารณรัฐชิลี เพื่อพิสูจน์ว่าการดำเนินการฟื้นพื้นที่ที่พบการระบาดของแมลงวันผลไม้ให้กลับมาเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ประสบผลสำเร็จแล้ว สาธารณรัฐชิลีต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการเดินทางของพนักงานเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติภารกิจนี้ ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืช ๑๒.๑ การส่งออกผลองุ่นสดจากสาธารณรัฐชิลีไปราชอาณาจักรไทยจะเป็นไปโดยการให้การรับรองพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ซึ่งจะทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลองุ่นสดแต่อย่างไรก็ตาม กรณีที่ SAG ไม่สามารถให้การรับรองพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้เพราะว่าพื้นที่ที่นำผลองุ่นสดมาส่งออกนั้นขาดคุณสมบัติที่จะคงสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของพื้นที่นั้นถูกระงับเป็นการชั่วคราว กรณีดังกล่าวเหล่านี้ ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลองุ่นสดด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืช วิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นดังต่อไปนี้ ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืชสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลองุ่นสด อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๕ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๗ วัน หรือมากกว่า ๑๒.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นสามารถดำเนินการได้ระหว่างขนส่ง อาจจะดำเนินการเพียงบางส่วนซึ่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกโดยเริ่มต้นดำเนินการในสาธารณรัฐชิลี และการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ระหว่างขนส่ง ในกรณีที่การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นเกิดล้มเหลวระหว่างขนส่ง การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นอาจจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้เมื่อสินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง ๑๒.๓ การส่งออกผลองุ่นสดซึ่งต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น ต้องลดอุณหภูมิผลองุ่นสดตรงบริเวณกึ่งกลางผลให้ต่ำลงถึงระดับเดียวกันกับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่กำหนดสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้เป็นการล่วงหน้าก่อนขนถ่ายผลองุ่นสดเข้าตู้ขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอุณหภูมิผลองุ่นสดได้ลดต่ำลงถึงระดับที่เหมาะสม ก่อนเริ่มต้นกระบวนการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นและต้องรักษาระดับอุณหภูมิของผลองุ่นสดให้คงที่ติดต่อกันตลอดไป ๑๒.๔ การประเมินผลการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง จะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เท่านั้น โดยไม่นำอุณหภูมิจากแท่งวัดอุณหภูมิอากาศมาประกอบการประเมินผลประสิทธิภาพของการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๓.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น โดยดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้าระหว่างขนส่งสินค้า ๑๓.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งซึ่งดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้านั้น อาจจะเริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่ตู้ขนส่งสินค้าอยู่บนบกและเสร็จสิ้นในช่วงระหว่างขนส่ง หรือเสร็จสิ้นเมื่อตู้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ๑๓.๓ ถ้าผลองุ่นสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง SAG ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ นอกจากนี้ ต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับสินค้าด้วยทุกครั้ง ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๔.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูกซึ่งผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่หรือวัสดุใหม่ อนุญาตให้ใช้เฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่สะอาดและใหม่เท่านั้นสำหรับการบรรจุผลองุ่นสด ๑๔.๒ ต้องบรรจุผลองุ่นสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๔.๓ ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้การตรวจสอบย้อนกลับเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ Produce of Chile, Name of exporter, Name of fruit (common name), Orchard registration number และ Packinghouse registration number ๑๔.๔ กรณีขนส่งผลองุ่นสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลองุ่นสดในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ตาม กรณีขนส่งผลองุ่นสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลองุ่นสดในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๔.๕ ผลองุ่นสดที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กฎข้อบังคับว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในทางการค้าระหว่างประเทศ ข้อ ๑๕ การตรวจส่งออก ๑๕.๑ ต้องสุ่มตรวจผลองุ่นสดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการและต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ๑๕.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ต้องดำเนินการตามมาตรการดังต่อไปนี้ ๑๕.๒.๑ ถ้าตรวจพบแมลงวันผลไม้ที่มีชีวิตหรือตาย SAG ต้องปฏิเสธการส่งออกผลองุ่นสดทั้งหมดไปยังราชอาณาจักรไทย หลังจากนั้น SAG ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบโดยทันทีถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต้องระงับการส่งออกผลองุ่นสดยังราชอาณาจักรไทยโดยทันที และต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งเสนอมาตรการแก้ไข ๑๕.๒.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ SAG ต้องปฏิเสธการให้การรับรองผลองุ่นสดเพื่อส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย ผลองุ่นสดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว (๑) ต้องรมผลองุ่นสดด้วยสารรมเมทิลโบรไมด์ที่อัตราความเข้มข้นดังต่อไปนี้เพื่อกำจัดแมลงและไรซึ่งทำลายบริเวณภายนอกผล อุณหภูมิ อัตรา (กรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ระยะเวลา (ชั่วโมง) สูงกว่า ๒๖.๕ องศาเซลเซียส ๒๔ ๒ ๒๑ - ๒๖.๔ องศาเซลเซียส ๓๒ ๒ ๑๕.๕ - ๒๐.๙ องศาเซลเซียส ๔๐ ๒ ๑๐ - ๑๕.๔ องศาเซลเซียส ๔๘ ๒ ๔.๕ - ๙.๙ องศาเซลเซียส ๖๔ ๒ (๒) การรมเมทิลโบรไมด์ผลองุ่นสดที่ส่งออกไปราชอาณาจักรไทย ซึ่งดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการรับรองของโรงบรรจุสินค้าต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ SAG กรณีการรมเมทิลโบรไมด์โดยผู้ประกอบการที่จดทะเบียนต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ SAG และต้องมีใบรับรองการรมเมทิลโบรไมด์ของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่มีการนำเข้า ๑๕.๓ ต้องดำเนินการกำจัดศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๒ ถ้าผลองุ่นสดที่จะส่งออกไปราชอาณาจักรไทยไม่ได้มาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๖ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๖.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย SAG กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of table grapes was produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of table grapes from Chile to Thailand” ๑๖.๒ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ถ้าผลองุ่นสดมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of table grapes was produced in a fruit fly pest free area” ๑๖.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๖.๓.๑ ถ้าผลองุ่นสดได้รับการกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองสุขอนามัยพืช ดังต่อไปนี้ “SAG has supervised the calibration and the placement of fruit sensors into the fruit within the container(s) in accordance with the conditions for import of table grapes from Chile into Thailand and cold disinfestation treatment has been initiated” ๑๖.๓.๒ ต้องมีต้นฉบับใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิ ตามเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๖.๔ การรมด้วยสารเมทิลโบรไมด์ ถ้าผลองุ่นสดได้รับการจัดการแมลงและไรศัตรูพืชกักกันนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้โดยรมด้วยสารเมทิลโบรไมด์ ต้องระบุรายละเอียดการรมเมทิลโบรไมด์ ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม กรณีการรมเมทิลโบรไมด์โดยผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภายใต้การกำกับดูแลของ SAG ต้องมีต้นฉบับใบรับรองการรมเมทิลโบรไมด์ของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนแนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืชทุกครั้งที่มีการนำเข้า ๑๖.๕ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลองุ่นสด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าของ SAG (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๗ การตรวจนำเข้า ๑๗.๑ เมื่อผลองุ่นสดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าผลองุ่นสดจะดำเนินการหลังจากเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๗.๒ เจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลองุ่นสดและตรวจสอบเพื่อยืนยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักผลองุ่นสดไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๗.๓ ถ้ามีผลองุ่นสดนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ หน่วย (พวงองุ่น) ต้องสุ่มตรวจผลองุ่นสดจำนวน ๔๕๐ หน่วย (พวงองุ่น) หรือสุ่มตรวจผลองุ่นสดทั้งหมด ถ้ามีผลองุ่นสดจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ หน่วย (พวงองุ่น) ต้องสุ่มตรวจผลองุ่นสดจำนวน ๖๐๐ หน่วย (พวงองุ่น) ๑๗.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลองุ่นสด ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๗.๔.๑ แมลงวันผลไม้ (๑) ถ้าตรวจพบแมลงวันผลไม้ที่มีชีวิตหรือตาย ผลองุ่นสดทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย (๒) กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ SAG ทราบและระงับการนำเข้าโดยทันที SAG ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้า เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๗.๔.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลองุ่นสดทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๗.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนผลองุ่นสดด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าผลองุ่นสดจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราว จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๗.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลองุ่นสดกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๗.๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นไม่สมบูรณ์ ๑๗.๖.๒ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๗.๖.๓ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๗.๖.๔ เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผลองุ่นสด หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนด หรือผลองุ่นสดที่เสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตกหรือเกิดรอยเปิด ๑๗.๖.๕ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๑๘ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๘.๑ การส่งออกผลองุ่นสดจากสาธารณรัฐชิลีไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยสาธารณรัฐชิลีต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๘.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น กรมวิชาการเกษตรอาจส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในสาธารณรัฐชิลี ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าผลองุ่นสดได้อีกต่อไป โดยสาธารณรัฐชิลีต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๘.๓ กรมวิชาการเกษตรสงวนสิทธิ์ที่จะส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปสาธารณรัฐชิลีเป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินการต่าง ๆ ในกระบวนการตรวจรับรองศัตรูพืชก่อนส่งออกของ SAG ยังคงมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพื่อให้ความมั่นใจว่าผลองุ่นสดที่ส่งออกไปราชอาณาจักรไทยยังคงมีการจัดการศัตรูพืชกักกันอย่างเหมาะสม โดยสาธารณรัฐชิลีต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรง จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลองุ่นสดจากสาธารณรัฐชิลี แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากสาธารณรัฐชิลี พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๑) ๒. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากสาธารณรัฐชิลี พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๒) ๓. ใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า สำหรับราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากสาธารณรัฐชิลี พ.ศ. .... (เอกสารหมายเลข ๓) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๖/๑๙ เมษายน ๒๕๕๖
684883
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลสาลี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลสาลี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลสาลี่สดนำเข้าเพื่อการค้าจากเครือรัฐออสเตรเลียเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลสาลี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลสาลี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ผลสาลี่สดที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย ได้แก่ ๓.๑ ยาแพร์ (Ya pear, Pyrus bretschneideri) ๓.๒ ยูโรเปียนแพร์ (European pear, Pyrus communis) ๓.๓ นาซิแพร์ (Nashi pear, Pyrus pyrifolia) ๓.๔ ไซบีเรียนแพร์ (Siberian pear, Pyrus ussuriensis) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลสาลี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย ปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ เครือรัฐออสเตรเลีย คือ Department of Agriculture, Fisheries and Forestry ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “DAFF” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลสาลี่สดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๘ แหล่งปลูก ๘.๑ ผลสาลี่สดต้องเป็นผลผลิตจากเครือรัฐออสเตรเลีย และมาจากสวนที่ปลูกเพื่อการค้าซึ่งได้จดทะเบียนภายใต้ระบบที่ DAFF ให้การรับรอง โดยที่ DAFF กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกผลสาลี่สดสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ๘.๒ ผลสาลี่สดเฉพาะจากแหล่งปลูกในรัฐต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ๘.๒.๑ ผลสาลี่สดจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales) เซาท์ออสเตรเลีย (South Australia) วิกตอเรีย (Victoria) และทัสมาเนีย (Tasmania) ๘.๒.๒ ผลสาลี่สดจากแปลงปลูกซึ่งอยู่นอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ เซาท์ออสเตรเลีย วิกตอเรีย ควีนส์แลนด์ (Queensland) และเวสเทิร์นออสเตรเลีย (Western Australia) ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ สวนสาลี่ทุกสวนในแหล่งปลูกที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจดทะเบียน DAFF ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่าผลสาลี่สดปราศจากศัตรูพืชกักกัน ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการพิสูจน์การจดทะเบียนสวนให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนสาลี่ที่จดทะเบียนต้องปฏิบัติตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสมในสวน โดยต้องรักษาความสะอาดสวนและต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๙.๓ DAFF ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนสาลี่ตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออก ๑๐.๑ DAFF ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จะส่งออกผลสาลี่สดไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องนำผลสาลี่สดมาจากสวนที่จดทะเบียนซึ่งปลูกเพื่อการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของผลสาลี่สดที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็วโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออก ต้องเก็บบันทึกรายชื่อเกษตรกรเจ้าของสวนซึ่งส่งผลสาลี่สดออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๐.๓ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐานกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุผลสาลี่สด ๑๐.๔ DAFF ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกนั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๐.๕ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ๑๐.๖ การตรวจผลสาลี่สดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับแมลงซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกัน ๑๑.๑ ผลสาลี่สดที่จะส่งออกมายังราชอาณาจักรไทยต้องจัดการความเสี่ยงแมลงวันผลไม้ ได้แก่ Jarvis’ fruit fly (Bactrocera jarvisi), lesser Queensland fruit fly (Bactrocera neohumeralis) Queensland fruit fly (Bactrocera tryoni) และ Mediterranean fruit fly (Ceratitis capitata) ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้ ๑๑.๑.๑ ผลสาลี่สดต้องมาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือ ๑๑.๑.๒ ผลสาลี่สดจากแปลงปลูกซึ่งอยู่นอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลสาลี่สดด้วยวิธีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกหรือระหว่างขนส่ง ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๒.๑ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๒๖ เรื่อง การสถาปนาพื้นที่ปลอดศัตรูพืชสำหรับแมลงวันผลไม้ชนิดต่าง ๆ ในวงศ์เทฟริติดี้ (Tephritidae) ๑๒.๒ การกำหนดพื้นที่ปลูกสาลี่บริเวณใดในเครือรัฐออสเตรเลียให้เป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้นั้น DAFF ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กรมวิชาการเกษตรทราบอย่างเป็นทางการ ต้องบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อรักษาสถานภาพของพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกสาลี่ส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย พื้นที่ดังต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้สำหรับแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ได้แก่ ๑๒.๒.๑ รัฐทัสมาเนีย ๑๒.๒.๒ เขตริเวอร์รินา (Riverina district) ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เมือง (city) กิฟฟิท (Griffith), เขตพื้นที่ (shire) คาเรทโฮล (Carrathool), ลีตัน (Leeton), นาเรนเดอร์รา (Narrandera) และ เมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee) พื้นที่นี้ยังแบ่งย่อยออกเป็น ๒ ส่วน คือ พื้นที่เขตชลประทานเมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee Irrigation Area, MIA) และ คาเรทโฮล (Carrathool) ๑๒.๒.๓ เขตริเวอร์แลนด์ (Riverland district) ของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (county) เฮมเล (Hamley), เขตพื้นที่ (hundred) บุคเพอร์มังค์ (Bookpurmong), คาแดล (Cadell), กอร์เดน (Gorden), โฮลเดอร์ (Holder), คาทาเรพโค (Katarapko), โลวีเดย์ (Loveday), มาร์คาเรนคา (Markaranka), มอรูค (Moorook), เมอร์โท (Murtho), พาร์โคลา (Parcoola), พาริงจา (Paringa), โพจิโนค (Pooginook) ไพท (Pyap), สเตาร์ (Stuart), ไวเคอร์รี (Waikerie), อีบา (Eba), ฟิสเซอร์ (Fisher), ฟอสเตอร์ (Forster), เฮ (Hay), เมอร์โค (Murbko), นิดอททิ (Nildottie), เพรเล (Paisley), ริดเล (Ridley) เซอร์เร (Skurray) และ ออนเล (Onley) ในเขตพื้นที่ (shire) มิลดูรา (Mildura) ของรัฐวิกตอเรีย ๑๒.๒.๔ เขตชัลเรเซีย (Sunraysia district) ของรัฐวิกตอเรียและรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (shire) เวนเวอดท์ (Wentworth) และบาเรนดอล (Balranald) ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ และ มิลดูรา (Mildura), สวอนฮิล (Swan Hill) วาโคล (Wakool) และคีเรง (Kerang) และเมือง (city) สวอนฮิล (Swan Hill), มิลดูรา (Mildura) และเขตพื้นที่ (borough) คีเรง (Kerang) ในรัฐวิกตอเรีย ๑๒.๓ การส่งออกผลสาลี่สดจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ไม่มีความจำเป็นต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลสาลี่สดก่อนส่งออก ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly อย่างสม่ำเสมอในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๒.๔ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันทีที่มีการยืนยันว่าพบการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ DAFF ต้องระงับการให้การรับรองการส่งออกผลสาลี่สดที่ไม่ได้กำจัดแมลงวันผลไม้จากพื้นที่ที่พบแมลงวันผลไม้เป็นการชั่วคราว และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่เหล่านั้นให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ๑๒.๕ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันที หากพบแมลงวันผลไม้ชนิดอื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ นอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืช ๑๓.๑ กรณีผลสาลี่สดที่จะส่งออกมาจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือกรณี DAFF ไม่สามารถให้การรับรองพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้เพราะว่าพื้นที่ที่นำผลสาลี่สดมาส่งออกนั้นขาดคุณสมบัติที่จะคงสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของพื้นที่นั้นถูกระงับเป็นการชั่วคราว กรณีดังกล่าวเหล่านี้ ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลสาลี่สดด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืช วิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นดังต่อไปนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืชสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลสาลี่สด ๑๓.๑.๑ ผลสาลี่สดจากแปลงปลูกซึ่งอยู่นอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ เซาท์ออสเตรเลีย วิกตอเรีย และควีนส์แลนด์ ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly และ Queensland fruit fly ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๐ องศาเซลเซียส (๓๒ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๓ วัน หรือมากกว่า ๐.๕๖ องศาเซลเซียส (๓๓ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๐ วัน หรือมากกว่า ๒.๒๒ องศาเซลเซียส (๓๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๒ วัน หรือมากกว่า ๑๓.๑.๒ ผลสาลี่สดจากแปลงปลูกซึ่งอยู่นอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ Mediterranean fruit fly ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๖ วัน หรือมากกว่า ๒.๒๒ องศาเซลเซียส (๓๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๑๓.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นสามารถดำเนินการได้ทั้งก่อนส่งออก หรือระหว่างขนส่ง สำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น อาจจะดำเนินการเพียงบางส่วน ซึ่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกโดยเริ่มต้นดำเนินการในเครือรัฐออสเตรเลียและการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ระหว่างขนส่ง ในกรณีที่การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นเกิดล้มเหลวระหว่างการขนส่ง การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นอาจจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้เมื่อสินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง ๑๓.๓ การส่งออกผลสาลี่สดซึ่งต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้นต้องลดอุณหภูมิผลสาลี่สดตรงบริเวณกึ่งกลางผลให้ต่ำลงถึงระดับเดียวกันกับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่กำหนดสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้เป็นการล่วงหน้าก่อนขนถ่ายผลสาลี่สดเข้าตู้ขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอุณหภูมิผลสาลี่สดได้ลดต่ำลงถึงระดับที่เหมาะสม ก่อนเริ่มต้นกระบวนการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น และต้องรักษาระดับอุณหภูมิของผลสาลี่สดให้คงที่ติดต่อกันตลอดไป ๑๓.๔ การประเมินผลการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นทั้งกรณีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออก และการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างการขนส่ง จะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เท่านั้น โดยไม่นำอุณหภูมิจากแท่งวัดอุณหภูมิอากาศมาประกอบการประเมินผลประสิทธิภาพของการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ๑๔.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ DAFF โดยต้องดำเนินการในห้องเย็นสำหรับกำจัดศัตรูพืชซึ่งได้รับการรับรองจาก DAFF และกรมวิชาการเกษตร ผลสาลี่สดสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยอาจจะทำการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นควบคู่ไปพร้อมกับผลสาลี่สดที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นได้ ๑๔.๒ ถ้าผลสาลี่สดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๕ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๕.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นโดยดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้าระหว่างการขนส่งสินค้า ๑๕.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งซึ่งดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้านั้นอาจจะเริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่ตู้ขนส่งสินค้าอยู่บนบกและเสร็จสิ้นในช่วงระหว่างขนส่ง หรือเสร็จสิ้นเมื่อตู้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ๑๕.๓ ถ้าผลสาลี่สดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ นอกจากนี้ ต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับสินค้าด้วยทุกครั้ง ข้อ ๑๖ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๖.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูก โพลีสไตรีน พลาสติก หรือลังแบบต่าง ๆ ที่ทำจากไม้ โดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่หรือเป็นวัสดุใหม่ กรณีที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกล่องกระดาษหรือพลาสติก บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ต้องสะอาดและใหม่เท่านั้น ๑๖.๒ ต้องบรรจุผลสาลี่สดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๖.๓ สำหรับผลสาลี่สดส่งออกทางอากาศ ต้องบรรจุผลสาลี่สดให้เป็นไปตามเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใด ดังต่อไปนี้ ๑๖.๓.๑ ต้องบรรจุผลสาลี่สดในถุงตาข่ายแล้วถึงนำผลสาลี่สดบรรจุในบรรจุภัณฑ์ ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๓.๒ ต้องบรรจุผลสาลี่สดในบรรจุภัณฑ์เมื่อปิดสนิทแล้วต้องปิดช่องระบายอากาศทั้งหมดบนบรรจุภัณฑ์ด้วยตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๓.๓ ต้องบรรจุผลสาลี่สดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งเมื่อมัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นวาง ต้องห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดด้วยตาข่ายหรือพลาสติก ถ้าใช้ตาข่ายขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๔ สำหรับผลสาลี่สดส่งออกทางน้ำ ผลสาลี่สดซึ่งบรรจุในบรรจุภัณฑ์ขนส่งโดยตู้ขนส่งสินค้า ไม่ว่าบรรจุภัณฑ์จะมัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นวางจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในข้อ ๑๖.๓ ๑๖.๕ ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้การตรวจสอบย้อนกลับเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ Produce of Australia, Name of exporting company, Name of fruit (common name), Packinghouse registration number หรือ Export establishment registration number และ Orchard registration number ๑๖.๖ กรณีขนส่งผลสาลี่สดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลสาลี่สดในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ดี กรณีขนส่งผลสาลี่สดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลสาลี่สดในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๖.๗ ผลสาลี่สดที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กฎข้อบังคับว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในทางการค้าระหว่างประเทศ ข้อ ๑๗ การตรวจส่งออก ๑๗.๑ ต้องสุ่มตรวจผลสาลี่สดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการ และต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ๑๗.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๗.๒.๑ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิตบนผลสาลี่สด ได้แก่ แมลงวันผลไม้ ต้องปฏิเสธการส่งออกผลสาลี่สดทั้งหมดไปยังราชอาณาจักรไทย ๑๗.๒.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลสาลี่สดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืช หรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ๑๗.๓ ต้องดำเนินการกำจัดศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๓ ถ้าผลสาลี่สดที่จะส่งออกไปราชอาณาจักรไทยไม่ได้มาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๘ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๘.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย DAFF กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of ( name of permitted fruit ) was produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of pear fruit from Australia to Thailand” ๑๘.๒ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ถ้าผลสาลี่สดมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of ( name of permitted fruit ) was produced in ( name of defined area ) which is a pest free area for Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly and Mediterranean fruit fly in Australia.” ๑๘.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ถ้าผลสาลี่สดผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ต้องระบุรายละเอียดของโรงงานกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น อุณหภูมิ และระยะเวลาที่ใช้ (จำนวนวันที่ต่อเนื่องกัน) ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม ๑๘.๔ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๘.๔.๑ ถ้าผลสาลี่สดได้รับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองสุขอนามัยพืช ดังต่อไปนี้ “DAFF has supervised the calibration and the placement of fruit sensors into the fruit within the container (s) in accordance with the conditions for import of pear fruit from Australia to Thailand and cold disinfestation treatment has been initiated” ๑๘.๔.๒ ต้องมีต้นฉบับใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิ ตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๘.๕ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลสาลี่สด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๙ การตรวจนำเข้า ๑๙.๑ เมื่อผลสาลี่สดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าผลสาลี่สด จะดำเนินการหลังจากเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๙.๒ เจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลสาลี่สดและตรวจสอบเพื่อยื่นยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักผลสาลี่สดไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๙.๓ ถ้ามีผลสาลี่สดนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลสาลี่สด จำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจผลสาลี่สดทั้งหมด ถ้ามีผลสาลี่สดจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลสาลี่สดจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๙.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลสาลี่สด ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๙.๔.๑ แมลงวันผลไม้ (๑) ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิต ได้แก่ แมลงวันผลไม้ ผลสาลี่สดทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ DAFF ทราบและระงับการนำเข้าโดยทันที (๒) DAFF ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้า เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๙.๔.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ผลสาลี่สดทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๙.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนผลสาลี่สดด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าผลสาลี่สดจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราวจนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๙.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลสาลี่สดกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๙.๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นไม่สมบูรณ์ ๑๙.๖.๒ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๙.๖.๓ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๙.๖.๔ เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผลสาลี่สด หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนด หรือผลสาลี่สดที่เสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตกหรือเกิดรอยเปิด ๑๙.๖.๕ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๒๐ การประเมินกระบวนการส่งออก ๒๐.๑ การส่งออกผลสาลี่สดจากแหล่งปลูกที่ระบุไว้ในข้อ ๘ ในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๒๐.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในเครือรัฐออสเตรเลียก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าผลสาลี่สดได้อีกต่อไป โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลสาลี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลสาลี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๑) ๒. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลสาลี่สด (Pyrus spp.) จากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๒) ๓. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลสาลี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๓) ๔. ใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า สำหรับราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลสาลี่สดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. .... (เอกสารหมายเลข ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๔๑/๑๗ เมษายน ๒๕๕๖
684879
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลแอปเปิลสดนำเข้าเพื่อการค้าจากเครือรัฐออสเตรเลียเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ผลแอปเปิลสด (apple, Malus domestica) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลแอปเปิลสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย ปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ เครือรัฐออสเตรเลีย คือ Department of Agriculture, Fisheries and Forestry ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “DAFF” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลแอปเปิลสดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๘ แหล่งปลูก ๘.๑ ผลแอปเปิลสดต้องเป็นผลผลิตจากเครือรัฐออสเตรเลีย และมาจากสวนแอปเปิลที่ปลูกเพื่อการค้าซึ่งได้จดทะเบียนภายใต้ระบบที่ DAFF ให้การรับรอง โดยที่ DAFF กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกแอปเปิลสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ๘.๒ ผลแอปเปิลสดเฉพาะจากแหล่งปลูกในรัฐต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ๘.๒.๑ ผลแอปเปิลสดจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales) เซาท์ออสเตรเลีย (South Australia) วิกตอเรีย (Victoria) และทัสมาเนีย (Tasmania) ๘.๒.๒ ผลแอปเปิลสดจากแปลงปลูกซึ่งอยู่นอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ เซาท์ออสเตรเลีย วิกตอเรีย ควีนส์แลนด์ (Queensland) และเวสเทิร์นออสเตรเลีย (Western Australia) ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ สวนแอปเปิลทุกสวนในแหล่งปลูกแอปเปิลที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจดทะเบียน DAFF ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่าผลแอปเปิลสดปราศจากศัตรูพืชกักกัน ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนแอปเปิลให้แก่กรมวิชาการเกษตร เมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการพิสูจน์การจดทะเบียนสวนแอปเปิลให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนแอปเปิลที่จดทะเบียนต้องปฏิบัติตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสมในสวนแอปเปิล โดยต้องรักษาความสะอาดสวนแอปเปิล และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๙.๓ DAFF ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนแอปเปิลตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออก ๑๐.๑ DAFF ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จะส่งออกผลแอปเปิลสดไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องนำผลแอปเปิลสดมาจากสวนแอปเปิลที่จดทะเบียนซึ่งปลูกเพื่อการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของผลแอปเปิลสดที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็ว โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องเก็บบันทึกรายชื่อเกษตรกรเจ้าของสวนแอปเปิลซึ่งส่งผลแอปเปิลสดออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๐.๓ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐาน กระบวนการดำเนินงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุผลแอปเปิลสด ๑๐.๔ DAFF ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกนั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๐.๕ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกัน ต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ๑๐.๖ การตรวจผลแอปเปิลสดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับแมลงซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกัน ๑๑.๑ ผลแอปเปิลสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจัดการความเสี่ยงแมลงวันผลไม้ ได้แก่ Jarvis’ fruit fly (Bactrocera jarvisi), lesser Queensland fruit fly (Bactrocera neohumeralis), Queensland fruit fly (Bactrocera tryoni) และ Mediterranean fruit fly (Ceratitis capitata) ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้ ๑๑.๑.๑ ผลแอปเปิลสดต้องมาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือ ๑๑.๑.๒ ผลแอปเปิลสดจากแปลงปลูกซึ่งอยู่นอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลแอปเปิลสดด้วยวิธีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกหรือระหว่างขนส่ง ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๒.๑ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๒๖ เรื่อง การสถาปนาพื้นที่ปลอดศัตรูพืชสำหรับแมลงวันผลไม้ชนิดต่าง ๆ ในวงศ์เทฟริติดี้ (Tephritidae) ๑๒.๒ การกำหนดพื้นที่ปลูกแอปเปิลบริเวณใดในเครือรัฐออสเตรเลียให้เป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้นั้น DAFF ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กรมวิชาการเกษตรทราบอย่างเป็นทางการ ต้องบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อรักษาสถานภาพของพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกแอปเปิลส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย พื้นที่ดังต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้สำหรับแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ๑๒.๒.๑ รัฐทัสมาเนีย ๑๒.๒.๒ เขตริเวอร์รินา (Riverina district) ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เมือง (city) กิฟฟิท (Griffith), เขตพื้นที่ (shire) คาเรทโฮล (Carrathool), ลีตัน (Leeton), นาเรนเดอร์รา (Narrandera) และ เมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee) พื้นที่นี้ยังแบ่งย่อยออกเป็น ๒ ส่วน คือ พื้นที่เขตชลประทานเมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee Irrigation Area, MIA) และ คาเรทโฮล (Carrathool) ๑๒.๒.๓ เขตริเวอร์แลนด์ (Riverland district) ของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (county) เฮมเล (Hamley), เขตพื้นที่ (hundred) บุคเพอร์มังค์ (Bookpurmong), คาแดล (Cadell), กอร์เดน (Gorden), โฮลเดอร์ (Holder), คาทาเรพโค (Katarapko), โลวีเดย์ (Loveday), มาร์คาเรนคา (Markaranka), มอรูค (Moorook) เมอร์โท (Murtho), พาร์โคลา (Parcoola), พาริงจา (Paringa), โพจิโนค (Pooginook), ไพท (Pyap) สเตาร์ (Stuart), ไวเคอร์รี (Waikerie), อีบา (Eba), ฟิสเซอร์ (Fisher), ฟอสเตอร์ (Forster), เฮ (Hay) เมอร์โค (Murbko), นิดอททิ (Nildottie), เพรเล (Paisley), ริดเล (Ridley), เซอร์เร (Skurray) และออนเล (Onley) ในเขตพื้นที่ (shire) มิลดูรา (Mildura) ของรัฐวิกตอเรีย ๑๒.๒.๔ เขตชัลเรเซีย (Sunraysia district) ของรัฐวิกตอเรียและรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (shire) เวนเวอดท์ (Wentworth) และบาเรนดอล (Balranald) ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ และ มิลดูรา (Mildura), สวอนฮิล (Swan Hill), วาโคล (Wakool) และคีเรง (Kerang) และเมือง (city) สวอนฮิล (Swan Hill), มิลดูรา (Mildura) และเขตพื้นที่ (borough) คีเรง (Kerang) ในรัฐวิกตอเรีย ๑๒.๓ การส่งออกผลแอปเปิลสดจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ไม่มีความจำเป็นต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลแอปเปิลสดก่อนส่งออก ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly อย่างสม่ำเสมอในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๒.๔ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันทีที่มีการยืนยันว่าพบการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ DAFF ต้องระงับการให้การรับรองการส่งออกผลแอปเปิลสดที่ไม่ได้กำจัดแมลงวันผลไม้จากพื้นที่ที่พบแมลงวันผลไม้เป็นการชั่วคราว และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่เหล่านั้นให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ๑๒.๕ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันที หากพบแมลงวันผลไม้ชนิดอื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ นอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืช ๑๓.๑ กรณีผลแอปเปิลสดที่จะส่งออกมาจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือกรณี DAFF ไม่สามารถให้การรับรองพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้เพราะว่าพื้นที่ที่นำผลแอปเปิลสดมาส่งออกนั้นขาดคุณสมบัติที่จะคงสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของพื้นที่นั้นถูกระงับเป็นการชั่วคราว กรณีดังกล่าวเหล่านี้ ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลแอปเปิลสดด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืช วิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นดังต่อไปนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืชสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลแอปเปิลสด ๑๓.๑.๑ ผลแอปเปิลสดจากแปลงปลูกซึ่งอยู่นอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ เซาท์ออสเตรเลีย วิกตอเรีย และควีนส์แลนด์ ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly และ Queensland fruit fly ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๐ องศาเซลเซียส (๓๒ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๓ วัน หรือมากกว่า ๐.๕๖ องศาเซลเซียส (๓๓ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๐ วัน หรือมากกว่า ๒.๒๒ องศาเซลเซียส (๓๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๒ วัน หรือมากกว่า ๑๓.๑.๒ ผลแอปเปิลสดจากแปลงปลูกซึ่งอยู่นอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ Mediterranean fruit fly ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๖ วัน หรือมากกว่า ๒.๒๒ องศาเซลเซียส (๓๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๑๓.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นสามารถดำเนินการได้ทั้งก่อนส่งออก หรือระหว่างขนส่ง สำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น อาจจะดำเนินการเพียงบางส่วน ซึ่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกโดยเริ่มต้นดำเนินการในเครือรัฐออสเตรเลียและการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ระหว่างขนส่ง ในกรณีที่การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นเกิดล้มเหลวระหว่างขนส่ง การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นอาจจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้เมื่อสินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง ๑๓.๓ การส่งออกผลแอปเปิลสดซึ่งต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น ต้องลดอุณหภูมิผลแอปเปิลสดตรงบริเวณกึ่งกลางผลให้ต่ำลงถึงระดับเดียวกันกับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่กำหนดสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้เป็นการล่วงหน้าก่อนขนถ่ายผลแอปเปิลสดเข้าตู้ขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอุณหภูมิผลแอปเปิลสดได้ลดต่ำลงถึงระดับที่เหมาะสม ก่อนเริ่มต้นกระบวนการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น และต้องรักษาระดับอุณหภูมิของผลแอปเปิลสดให้คงที่ติดต่อกันตลอดไป ๑๓.๔ การประเมินผลการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นทั้งกรณีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก และการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง จะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เท่านั้น โดยไม่นำอุณหภูมิจากแท่งวัดอุณหภูมิอากาศมาประกอบการประเมินผลประสิทธิภาพของการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ๑๔.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ DAFF โดยต้องดำเนินการในห้องเย็นสำหรับกำจัดศัตรูพืชซึ่งได้รับการรับรองจาก DAFF และกรมวิชาการเกษตรผลแอปเปิลสดสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยอาจจะทำการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นควบคู่ไปพร้อมกับผลแอปเปิลสดที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นได้ ๑๔.๒ ถ้าผลแอปเปิลสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๕ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๕.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นโดยดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้าระหว่างขนส่งสินค้า ๑๕.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งซึ่งดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้านั้น อาจจะเริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่ตู้ขนส่งสินค้าอยู่บนบกและเสร็จสิ้นในช่วงระหว่างขนส่ง หรือเสร็จสิ้นเมื่อตู้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ๑๕.๓ ถ้าผลแอปเปิลสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ นอกจากนี้ ต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับสินค้าด้วยทุกครั้ง ข้อ ๑๖ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๖.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูก โพลีสไตรีน พลาสติก หรือลังแบบต่าง ๆ ที่ทำจากไม้ โดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่หรือเป็นวัสดุใหม่ กรณีที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกล่องกระดาษหรือพลาสติก บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ต้องสะอาดและใหม่เท่านั้น ๑๖.๒ ต้องบรรจุผลแอปเปิลสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๖.๓ สำหรับผลแอปเปิลสดส่งออกทางอากาศ ต้องบรรจุผลแอปเปิลสดให้เป็นไปตามเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใด ดังต่อไปนี้ ๑๖.๓.๑ ต้องบรรจุผลแอปเปิลสดในถุงตาข่ายแล้วถึงนำผลแอปเปิลสดบรรจุในบรรจุภัณฑ์ ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๓.๒ ต้องบรรจุผลแอปเปิลสดในบรรจุภัณฑ์เมื่อปิดสนิทแล้วต้องปิดช่องระบายอากาศทั้งหมดบนบรรจุภัณฑ์ด้วยตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๓.๓ ต้องบรรจุผลแอปเปิลสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งเมื่อมัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นวาง ต้องห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดด้วยตาข่ายหรือพลาสติก ถ้าใช้ตาข่ายขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๖.๔ สำหรับผลแอปเปิลสดส่งออกทางน้ำ ผลแอปเปิลสดซึ่งบรรจุในบรรจุภัณฑ์ขนส่งโดยตู้ขนส่งสินค้า ไม่ว่าบรรจุภัณฑ์จะมัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นวางจะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในข้อ ๑๖.๓ ๑๖.๕ ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้การตรวจสอบย้อนกลับเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ Produce of Australia, Name of exporting company, Name of fruit (common name) Packinghouse registration number หรือ Export establishment registration number และ Orchard registration number ๑๖.๖ กรณีขนส่งผลแอปเปิลสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลแอปเปิลสดในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ดี กรณีขนส่งผลแอปเปิลสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลแอปเปิลสดในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๖.๗ ผลแอปเปิลสดที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กฎข้อบังคับว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในทางการค้าระหว่างประเทศ ข้อ ๑๗ การตรวจส่งออก ๑๗.๑ ต้องสุ่มตรวจผลแอปเปิลสดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการ และต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ๑๗.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๗.๒.๑ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิตบนผลแอปเปิลสด ได้แก่ แมลงวันผลไม้ ต้องปฏิเสธการส่งออกผลแอปเปิลสดทั้งหมดไปยังราชอาณาจักรไทย ๑๗.๒.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลแอปเปิลสดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ๑๗.๓ ต้องดำเนินการกำจัดศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๓ ถ้าผลแอปเปิลสดที่จะส่งออกไปราชอาณาจักรไทยไม่ได้มาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๘ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๘.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย DAFF กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of apple fruit was produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of apple fruit from Australia to Thailand” ๑๘.๒ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ถ้าผลแอปเปิลสดมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of apple fruit was produced in ( name of defined area ) which is a pest free area for Jarvis’ fruit fly, lesser Queensland fruit fly Queensland fruit fly and Mediterranean fruit fly in Australia.” ๑๘.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ถ้าผลแอปเปิลสดผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ต้องระบุรายละเอียดของโรงงานกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น อุณหภูมิ และระยะเวลาที่ใช้ (จำนวนวันที่ต่อเนื่องกัน) ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม ๑๘.๔ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๘.๔.๑ ถ้าผลแอปเปิลสดได้รับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองสุขอนามัยพืช ดังต่อไปนี้ “DAFF has supervised the calibration and the placement of fruit sensors into the fruit within the container (s) in accordance with the conditions for import of apple fruit from Australia to Thailand and cold disinfestation treatment has been initiated” ๑๘.๔.๒ ต้องมีต้นฉบับใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิ ตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๘.๕ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลแอปเปิลสด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๙ การตรวจนำเข้า ๑๙.๑ เมื่อผลแอปเปิลสดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าผลแอปเปิลสดจะดำเนินการหลังจากเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๙.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลแอปเปิลสดและตรวจสอบเพื่อยื่นยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิดและต้องกักผลแอปเปิลสดไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๙.๓ ถ้ามีผลแอปเปิลสดนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลแอปเปิลสดจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจผลแอปเปิลสดทั้งหมด ถ้ามีผลแอปเปิลสดจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลแอปเปิลสดจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๙.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลแอปเปิลสด ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๙.๔.๑ แมลงวันผลไม้ (๑) ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิต ได้แก่ แมลงวันผลไม้ ผลแอปเปิลสดทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ DAFF ทราบและระงับการนำเข้าโดยทันที (๒) DAFF ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้า เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๙.๔.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลแอปเปิลสดทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๙.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนผลแอปเปิลสดด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราว จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๙.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลแอปเปิลสดกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๙.๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นไม่สมบูรณ์ ๑๙.๖.๒ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๙.๖.๓ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๙.๖.๔ เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผลแอปเปิลสด หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนด หรือผลแอปเปิลสดที่เสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตกหรือเกิดรอยเปิด ๑๙.๖.๕ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๒๐ การประเมินกระบวนการส่งออก ๒๐.๑ การส่งออกผลแอปเปิลสดจากแหล่งปลูกที่ระบุไว้ในข้อ ๘ ในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๒๐.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในเครือรัฐออสเตรเลีย ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าผลแอปเปิลสดได้อีกต่อไป โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลแอปเปิลสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๑) ๒. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๒) ๓. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๓) ๔. ใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า สำหรับราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๖ (เอกสารหมายเลข ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๓๑/๑๗ เมษายน ๒๕๕๖
684877
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและออกใบรับรองสุขอนามัยพืช สำหรับสินค้าผักผลไม้สดส่งออกไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์และสมาพันธรัฐสวิส พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและออกใบรับรองสุขอนามัยพืช สำหรับสินค้าผักผลไม้สดส่งออกไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์และสมาพันธรัฐสวิส พ.ศ. ๒๕๕๖ ด้วยประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการอารักขาพืชระหว่างประเทศ (International Plant Protection Convention : IPPC) ซึ่งตามอนุสัญญาดังกล่าวกำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันมิให้โรคและศัตรูพืชแพร่ระบาดเข้าไปในประเทศสมาชิก และประเทศไทย ได้รับการแจ้งเตือนจากสหภาพยุโรป นอร์เวย์ และสมาพันธรัฐสวิสเกี่ยวกับการตรวจพบศัตรูพืชปนเปื้อนไปกับสินค้าพืชของประเทศไทยที่ส่งไปสหภาพยุโรป เป็นระยะ ๆ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ จนกระทั่งปัจจุบันส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของประเทศ จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรการและแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนั้น เพื่อเป็นการปฏิบัติตามอนุสัญญาดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและออกใบรับรองสุขอนามัยพืช สำหรับสินค้าผักผลไม้สดส่งออกไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์ และสมาพันธรัฐสวิส พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บุคคลใดประสงค์จะขอใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับสินค้าผักผลไม้สดส่งออกไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์ และสมาพันธรัฐสวิสให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร หรือด่านตรวจพืช สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ดังต่อไปนี้ (๑) คำขอตามแบบ พ.ก. ๗ (๒) บัญชีแสดงรายชื่อพืชตามแบบ พ.ก. ๗.๑ (๓) ใบแนบท้ายแบบคำขอตามแบบ พ.ก. ๗.๒ (๔) รายชื่อสินค้าแต่ละบรรจุภัณฑ์ (packing list) (๕) เอกสารอื่นตามประกาศกรมวิชาการเกษตรที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบรับรองสุขอนามัย ข้อ ๔ ผู้ขอใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับสินค้าผักผลไม้สดส่งออกไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์ และสมาพันธรัฐสวิส ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) จัดเตรียมสินค้าทั้งหมดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจก่อนเวลาส่งออกไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง (๒) แสดงรายชื่อพืช ปริมาณหรือน้ำหนักไว้ที่กล่องภาชนะบรรจุในที่ ๆ สามารถเห็นได้ชัดเจน (๓) ไม่บรรจุสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากพืชตามที่ได้แจ้งไว้ในคำขอและในบัญชีรายชื่อพืชที่แนบมากับคำขอ (๔) แยกบรรจุพืชแต่ละชนิด โดยในแต่ละกล่องต้องไม่ปะปนพืชต่างชนิดกัน เพื่อความสะดวกในการสุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจสอบ เว้นแต่ในลักษณะพร้อมประกอบอาหาร หรือบรรจุรวมอยู่ในบรรจุภัณฑ์ย่อยเดียวกันน้ำหนักรวมไม่เกิน ๕๐๐ กรัม ข้อ ๕ ในกรณีที่เป็นการขอใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับสินค้าผักผลไม้สดที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนด นอกจากต้องปฏิบัติตามข้อ ๓ และข้อ ๔ แล้ว ผู้ขอใบรับรองสุขอนามัยพืชดังกล่าวต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมพิเศษแนบท้ายประกาศนี้ด้วย ข้อ ๖ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารคำขอ หากพบว่าถูกต้องครบถ้วนและผู้ขอใบรับรองสุขอนามัยพืชปฏิบัติถูกต้องตามข้อ ๔ ให้สุ่มตัวอย่างพืชเพื่อตรวจสอบศัตรูพืช ข้อ ๗ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพืชเสร็จสิ้นแล้ว ให้ผู้ขอใบรับรองสุขอนามัยพืชนำเอกสารมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อประกอบการขอรับใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๘ ก่อนส่งมอบใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับผู้ยื่นคำขอ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบรับรองสุขอนามัยพืช ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ข้อ ๙ การปฏิเสธการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช สามารถกระทำได้ในกรณี (๑) กรณีไม่ปฏิบัติตามข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ (๒) กรณีตรวจพบการซุกซ่อนพืชซึ่งไม่แสดงในใบคำขอใบรับรองสุขอนามัยพืช (ก) ตรวจพบ ณ สถานที่ให้บริการส่งออก - ครั้งที่ ๑ ปฏิเสธการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับสินค้าทั้งหมด และแจ้งเตือนผู้ส่งออกเป็นหนังสือ - ครั้งที่ ๒ เมื่อกระทำความผิดซ้ำภายในระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งเตือนเป็นหนังสือครั้งที่ ๑ ปฏิเสธการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับสินค้าทั้งหมด และงดการให้บริการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชเป็นเวลาสามสิบวันนับจากวันถัดจากวันที่ถูกตรวจพบ (ข) ได้รับแจ้งจากประเทศผู้นำเข้า - แจ้งเตือนผู้ส่งออกเป็นหนังสือและงดการให้บริการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชเป็นเวลาสามสิบวันนับจากวันที่แจ้งไว้ในหนังสือแจ้งเตือน (๓) กรณีตรวจพบแจ้งปริมาณหรือน้ำหนักของพืชไม่ตรงกับที่ส่งออกไป (ก) ตรวจพบ ณ สถานที่ให้บริการส่งออก - ครั้งที่ ๑ คัดชนิดพืชนั้นออกทั้งหมดและออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับพืชที่เหลือ และทำการแจ้งเตือนผู้ส่งออกเป็นหนังสือ - ครั้งที่ ๒ เมื่อกระทำความผิดซ้ำภายในระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งเตือนเป็นหนังสือครั้งที่ ๑ ปฏิเสธการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับสินค้าทั้งหมด และการส่งออกในครั้งต่อไปให้เปิดตรวจสินค้าทั้งหมดต่อเนื่องสามสิบครั้ง หรือภายในระยะเวลาหกเดือน - ครั้งที่ ๓ เมื่อกระทำความผิดซ้ำในช่วงเวลาระหว่างการเปิดตรวจสินค้าต่อเนื่องสามสิบครั้งหรือภายในระยะเวลาหกเดือน ปฏิเสธการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชกับสินค้าทั้งหมดและงดการให้บริการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชเป็นเวลาสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันที่ถูกตรวจพบ (ข) ได้รับแจ้งจากประเทศผู้นำเข้า - ครั้งที่ ๑ แจ้งเตือนผู้ส่งออกเป็นหนังสือ - ครั้งที่ ๒ เมื่อเกิดซ้ำภายในระยะเวลาสามสิบวันนับจากวันที่ได้รับการแจ้งเตือนเป็นหนังสือครั้งที่ ๑ งดการให้บริการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับผู้ส่งออกรายนั้นเป็นเวลาสามสิบวันนับจากวันที่แจ้งไว้ในหนังสือแจ้งเตือน (๔) กรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันหรือศัตรูพืชชนิดที่ได้รับการแจ้งเตือนจากประเทศผู้นำเข้า (ก) ตรวจพบ ณ สถานที่ให้บริการส่งออก - ครั้งที่ ๑ ตรวจพบศัตรูพืชให้คัดพืชชนิดที่พบศัตรูพืชออกทั้งหมดจากสินค้าที่มาขอใบรับรองสุขอนามัยพืช และออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับพืชชนิดอื่นที่เหลือ แจ้งเตือนผู้ส่งออกเป็นหนังสือและให้คำแนะนำแก่ผู้ส่งออกในการคัดสินค้าและตรวจศัตรูพืช ในกรณีมีเหตุจำเป็นให้พนักงานเจ้าหน้าที่ไปให้คำแนะนำแก่ผู้ส่งออกในการคัดสินค้าและตรวจศัตรูพืช ณ แปลงเกษตรกร หรือโรงคัดบรรจุ - ครั้งที่ ๒ ตรวจพบศัตรูพืชในพืชชนิดเดิมภายในระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือครั้งที่ ๑ ให้คัดพืชชนิดที่พบศัตรูพืชออกทั้งหมดจากสินค้าที่มาขอใบรับรองสุขอนามัยพืชและออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับพืชชนิดอื่นที่เหลือ และงดการให้บริการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับพืชชนิดนั้นเป็นเวลาสิบห้าวันนับแต่วันถัดจากวันที่ถูกตรวจพบ - ครั้งที่ ๓ เมื่อพบศัตรูพืชในพืชชนิดเดิมภายในระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ตรวจพบครั้งที่ ๒ ให้คัดพืชชนิดที่พบศัตรูพืชออกทั้งหมดจากสินค้าที่มาขอใบรับรองสุขอนามัยพืช และออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับพืชชนิดอื่นที่เหลือ และงดการให้บริการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับพืชชนิดนั้นเป็นเวลาสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันที่ถูกตรวจพบ (ข) ได้รับแจ้งจากประเทศผู้นำเข้า - ครั้งที่ ๑ แจ้งเตือนผู้ส่งออกเป็นหนังสือและให้คำแนะนำแก่ผู้ส่งออกในการคัดสินค้าและตรวจศัตรูพืช - ครั้งที่ ๒ ภายในระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือครั้งที่ ๑ ให้แจ้งเตือนผู้ส่งออกเป็นหนังสือและงดการให้บริการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับพืชชนิดที่ถูกตรวจพบศัตรูพืชเป็นเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่แจ้งไว้ในหนังสือแจ้งเตือน - ครั้งที่ ๓ ภายในระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาการงดการให้บริการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือครั้งที่ ๒ ให้แจ้งเตือนผู้ส่งออกเป็นหนังสือและงดการให้บริการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับพืชชนิดที่พบศัตรูพืชเป็นเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่แจ้งไว้ในหนังสือแจ้งเตือน ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. มาตรการควบคุมพิเศษการส่งออกผักและผลไม้สด ไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์ และสมาพันธรัฐสวิสแนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและออกใบรับรองสุขอนามัยพืช สำหรับสินค้าผักผลไม้สดส่งออกไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์ และสมาพันธรัฐสวิส พ.ศ. ๒๕๕๖ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๒๗/๑๗ เมษายน ๒๕๕๖
684284
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าปาล์มน้ำมันจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าเมล็ดปาล์มน้ำมันจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า พ.ศ. ๒๕๕๖ ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของปาล์มน้ำมันนำเข้าเพื่อการค้าจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า เสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำเข้าปาล์มน้ำมันจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าปาล์มน้ำมันจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ปาล์มน้ำมัน (oil palm, Elaeis guineensis) ตามประกาศนี้ ได้แก่ ๓.๑ เมล็ดปาล์มน้ำมัน (oil palm nut) หมายถึง เมล็ดปาล์มน้ำมันที่ได้มาจากกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม ๓.๒ เนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมัน (oil palm kernel) หมายถึง เนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันที่ได้มาจากกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม ข้อ ๔ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๔.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๔.๒ สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า คือ Plant Protection Division ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “PPD” ข้อ ๕ การขออนุญาตนำเข้า ๕.๑ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ๕.๒ ต้องนำเข้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยแสดงเอกสารหลักฐานการประกอบกิจการแนบมาด้วย ข้อ ๖ วิธีการขนส่ง ต้องส่งเมล็ดปาล์มน้ำมันหรือเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทย ในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางบกหรือทางน้ำ ข้อ ๗ ข้อกำหนดสำหรับการนำเข้า ๗.๑ ต้องปลอดจากแมลงที่มีชีวิตหรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย และไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๗.๒ ต้องบรรจุเมล็ดปาล์มน้ำมันหรือเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันในบรรจุภัณฑ์ที่ใหม่ สะอาด และปิดมิดชิด ๗.๓ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย PPD กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทย ข้อ ๘ การตรวจนำเข้า ๘.๑ เมื่อเมล็ดปาล์มน้ำมันหรือเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันถูกขนส่งมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าเมล็ดปาล์มน้ำมันหรือเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันจะดำเนินการหลังจากได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๘.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างเมล็ดปาล์มน้ำมันหรือเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันและตรวจสอบเพื่อยืนยันว่ามีแมลงที่มีชีวิตหรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันหรือไม่ และมีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันหรือไม่ ๘.๓ ในกรณีการนำเข้าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ข้อ ๙ กรมวิชาการเกษตรสงวนสิทธิที่จะส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าเพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินการในกระบวนการตรวจรับรองศัตรูพืชก่อนส่งออกของ PPD ยังคงมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพื่อให้ความมั่นใจว่าเมล็ดปาล์มน้ำมันหรือเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันปลอดจากแมลงที่มีชีวิตหรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย โดยสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ เมษายน ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๑๓/๑ เมษายน ๒๕๕๖
684280
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าปาล์มน้ำมันจากราชอาณาจักรกัมพูชา พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าปาล์มน้ำมันจากราชอาณาจักรกัมพูชา พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของปาล์มน้ำมันนำเข้าเพื่อการค้าจากราชอาณาจักรกัมพูชาเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำเข้าปาล์มน้ำมันจากราชอาณาจักรกัมพูชา ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าปาล์มน้ำมันจากราชอาณาจักรกัมพูชา พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ปาล์มน้ำมัน (oil palm, Elaeis guineensis) ตามประกาศนี้ ได้แก่ ๓.๑ เมล็ดปาล์มน้ำมัน (oil palm nut) หมายถึง เมล็ดปาล์มน้ำมันที่ได้มาจากกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม ๓.๒ เนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมัน (oil palm kernel) หมายถึง เนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันที่ได้มาจากกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม ข้อ ๔ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๔.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๔.๒ ราชอาณาจักรกัมพูชา คือ Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “MAFF” ข้อ ๕ การขออนุญาตนำเข้า ๕.๑ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ๕.๒ ต้องนำเข้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยแสดงเอกสารหลักฐานการประกอบกิจการแนบมาด้วย ข้อ ๖ วิธีการขนส่ง ต้องส่งเมล็ดปาล์มน้ำมันหรือเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในราชอาณาจักรกัมพูชาไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทย ในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางบกหรือทางน้ำ ข้อ ๗ ข้อกำหนดสำหรับการนำเข้า ๗.๑ ต้องปลอดจากแมลงที่มีชีวิตหรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย และไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๗.๒ ต้องบรรจุเมล็ดปาล์มน้ำมันหรือเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันในบรรจุภัณฑ์ที่ใหม่ สะอาด และปิดมิดชิด ๗.๓ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย MAFF กำกับมาด้วยโดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทย ข้อ ๘ การตรวจนำเข้า ๘.๑ เมื่อเมล็ดปาล์มน้ำมันหรือเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันถูกขนส่งมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าเมล็ดปาล์มน้ำมันหรือเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันจะดำเนินการหลังจากได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๘.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างเมล็ดปาล์มน้ำมันหรือเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันและตรวจสอบเพื่อยืนยันว่ามีแมลงที่มีชีวิตหรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันหรือไม่และมีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันหรือไม่ ๘.๓ ในกรณีการนำเข้าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ข้อ ๙ กรมวิชาการเกษตรสงวนสิทธิที่จะส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินการในกระบวนการตรวจรับรองศัตรูพืชก่อนส่งออกของ MAFF ยังคงมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพื่อให้ความมั่นใจว่าเมล็ดปาล์มน้ำมันหรือเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันปลอดจากแมลงที่มีชีวิตหรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย โดยราชอาณาจักรกัมพูชาต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ เมษายน ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๑๑/๑ เมษายน ๒๕๕๖
677822
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งผลิตพืชควบคุมเพื่อส่งออกไปยังสหภาพยุโรป พ.ศ. 2552
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งผลิตพืชควบคุม เพื่อส่งออกไปยังสหภาพยุโรป พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและออกใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งออกพืชควบคุมไปยังสหภาพยุโรป พ.ศ.๒๕๕๒ กำหนดให้พืชควบคุมที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปต้องมาจากแหล่งผลิตพืชที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตร อาศัยอำนาจตามความในประกาศดังกล่าว อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจึงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งผลิตพืชควบคุมเพื่อส่งออกไปยังสหภาพยุโรปไว้ดังนี้ ข้อ ๑ บุคคลใดประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งผลิตพืชควบคุมให้ยื่นคำขอตามแบบ พ.ก. ๑๔ แนบท้ายประกาศนี้ ต่ออธิบดีกรมวิชาการเกษตร ณ สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร เลขที่ ๕๐ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ ๑๐๙๐๐ หรือยื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ พร้อมเอกสารหลักฐาน ดังนี้ (๑) กรณีผู้ขอเป็นบุคคลธรรมดา (ก) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง (ข) แผนที่แสดงที่ตั้งของแหล่งผลิตพืชควบคุม (ค) บัญชีรายชื่อพืชควบคุมที่ผลิตเพื่อการส่งออก (๒) กรณีผู้ขอเป็นนิติบุคคล (ก) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลหรือหนังสือเดินทาง (ข) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลผู้ขออนุญาตนี้ ออกให้ไม่เกินหกเดือน (ค) หนังสือมอบอำนาจในกรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน (ง) แผนที่แสดงที่ตั้งของแหล่งผลิตพืชควบคุม (จ) บัญชีรายชื่อพืชควบคุมผลิตเพื่อการส่งออก ข้อ ๒ ผู้ขอต้องจัดเตรียมแหล่งผลิตเพื่อขอรับการขึ้นทะเบียน ดังนี้ (๑) จัดทำบัญชีรายชื่อพืชและรายละเอียดของแหล่งผลิต เช่น แผนผัง ขนาดพื้นที่ เป็นต้น (๒) ต้นพันธุ์และวัสดุปลูกต้องปราศจากศัตรูพืชตามเงื่อนไขของสหภาพยุโรป หรือดำเนินการกำจัดศัตรูพืชก่อนนำเข้ามาปลูกในแหล่งผลิต (๓) มีการจัดการเรื่อง ความสะอาดของพื้นที่ปลูก บ่อปลูก และวัสดุปลูก เพื่อลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของศัตรูพืช น้ำใช้ต้องมาจากแหล่งที่สะอาด (๔) มีการจดบันทึกการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ข้อ ๓ การตรวจสอบและขึ้นทะเบียน (๑) กรมวิชาการเกษตรจัดส่งพนักงานเจ้าหน้าที่ไปทำการตรวจสอบสภาพแหล่งผลิต บ่อปลูกและระบบการปลูกเลี้ยง ตลอดจนบันทึกข้อมูลตามคู่มือที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด เพื่อขึ้นทะเบียนแหล่งผลิตพืชควบคุม (๒) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นว่าผู้ยื่นคำขอได้ดำ เนินการเป็นไปตามคู่มือที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด พนักงานเจ้าหน้าที่จะสรุปผลการพิจารณาเสนอต่ออธิบดีกรมวิชาการเกษตรหรือผู้ที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรมอบหมาย เพื่อรับขึ้นทะเบียนและออกใบสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งผลิตพืชควบคุม ตามแบบ พ.ก. ๑๔-๑ แนบท้ายประกาศนี้ (๓) ใบสำคัญมีอายุห้าปี นับแต่วันออกใบสำคัญ (๔) ผู้ได้รับใบสำคัญถ้าประสงค์จะขอต่ออายุใบสำคัญ ต้องยื่นคำขอก่อนใบสำคัญสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอดังกล่าวแล้วให้ถือว่ามีฐานะเสมือนผู้ได้รับใบสำคัญ และให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งไม่ต่ออายุใบสำคัญนั้น ข้อ ๔ ผู้ได้รับใบสำคัญต้องปฏิบัติ ดังนี้ (๑) จัดการแหล่งผลิต และระบบการปลูกเลี้ยงให้เป็นไปตามคู่มือที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด (๒) กรณีมีการนำพืชควบคุมชนิดใหม่เข้ามาปลูกเพิ่มเติมภายหลังได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายในสิบห้าวัน เพื่อไปดำเนินการตรวจสอบ ข้อ ๕ ค่าป่วยการ ค่ายานพาหนะเดินทางของพนักงานเจ้าหน้าที่ และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ และพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ และค่าตรวจสอบวิเคราะห์ศัตรูพืช ให้เป็นไปตามประกาศกรมวิชาการเกษตรว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าตรวจสอบเชื้อโรคและศัตรูพืช ข้อ ๖ การพักใช้หรือเพิกถอนใบสำคัญ (๑) พนักงานเจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบแหล่งผลิตพืชควบคุมเป็นระยะ กรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่าแหล่งผลิตพืชควบคุมใดที่ผ่านการรับรองและขึ้นทะเบียนแล้วไม่เป็นไปตามคู่มือที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด พนักงานเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้อง หากมิได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนด กรมวิชาการเกษตรอาจตักเตือน พักใช้ หรือเพิกถอนใบสำคัญ แล้วแต่กรณี (๒) เมื่อได้รับการแจ้งเตือนจากประเทศปลายทาง (ก) ครั้งที่ ๑ มีหนังสือแจ้งเตือนผู้ได้รับใบสำคัญ และจัดส่งพนักงานเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบระบบการผลิตและให้คำแนะนำในการกำจัดศัตรูพืช ณ แหล่งผลิตพืชควบคุม (ข) ครั้งที่ ๒ ภายในระยะเวลาสามสิบวัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเตือนในครั้งที่ ๑ จะดำเนินการพักใช้ใบสำคัญเป็นระยะเวลาสามสิบวัน หรือจนกว่าผู้ได้รับใบสำคัญจะดำเนินการปรับปรุงแก้ไขและผ่านการตรวจสอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่ (ค) เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามข้อ (๒) (ข) หากพบว่าผู้ได้รับใบสำคัญไม่ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของพนักงานเจ้าหน้าที่ กรมวิชาการเกษตรมีอำนาจสั่งพักใช้เพิ่มเติมหรือเพิกถอนใบสำคัญได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบแนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งผลิตพืชควบคุมเพื่อส่งออกไปยังสหภาพยุโรป พ.ศ. ๒๕๕๒ ๒. คำขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งผลิตพืชควบคุม ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (แบบ พ.ก. ๑๔) ๓. ใบสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งผลิตพืชควบคุมตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (แบบ พ.ก. ๑๔-๑) ๔. ใบแนบใบสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งผลิตพืชควบคุม (แบบ พ.ก. ๑๔-๒) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๘๐ ง/หน้า ๑๖/๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
668859
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากแคนาดา พ.ศ. 2555
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากแคนาดา พ.ศ. ๒๕๕๕ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลเชอรี่สดนำเข้าเพื่อการค้าจากแคนาดาเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากแคนาดา ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากแคนาดา พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ผลเชอรี่สด (cherry, Prunus avium) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลเชอรี่สดจากแคนาดาปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ แคนาดา คือ Canadian Food Inspection Agency ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “CFIA” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลเชอรี่สดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในแคนาดาไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๘ แหล่งปลูก ๘.๑ ผลเชอรี่สดต้องเป็นผลผลิตจากแคนาดาและมาจากสวนเชอรี่ที่ปลูกเพื่อการค้า ซึ่งได้จดทะเบียนไว้กับ CFIA หรือภายใต้ระบบที่ CFIA ให้การรับรอง โดยที่ CFIA กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกเชอรี่สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ๘.๒ ผลเชอรี่สดเฉพาะจากแหล่งปลูกในรัฐต่อไปนี้ในแคนาดาได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ๘.๒.๑ รัฐบริติชโคลัมเบีย (British Columbia) ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ สวนเชอรี่ทุกสวนในแหล่งปลูกเชอรี่ที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจดทะเบียนไว้กับ CFIA หรือภายใต้ระบบที่ CFIA ให้การรับรอง CFIA ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่าผลเชอรี่สดปราศจากศัตรูพืชกักกัน CFIA ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนเชอรี่ส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ CFIA ต้องดำเนินการจดทะเบียนสวนเชอรี่ส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนเชอรี่ที่จดทะเบียนต้องปฏิบัติตามหลักปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสมในสวนเชอรี่ โดยต้องรักษาความสะอาดสวนเชอรี่ และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๙.๓ CFIA ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนเชอรี่ตลอดฤดูกาลปลูกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้า ๑๐.๑ CFIA ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าที่จะส่งออกผลเชอรี่สดไปยังราชอาณาจักรไทย CFIA ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ CFIA ต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ โรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียนต้องนำผลเชอรี่สดมาจากสวนเชอรี่ที่จดทะเบียน ซึ่งปลูกเพื่อการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของผลเชอรี่สดที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็ว โรงบรรจุสินค้าต้องเก็บบันทึกรายชื่อของเกษตรกรเจ้าของสวนเชอรี่ ซึ่งส่งผลเชอรี่สดออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๐.๓ โรงบรรจุสินค้าต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐานกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุผลเชอรี่สด ๑๐.๔ CFIA ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงบรรจุสินค้าก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้านั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงบรรจุสินค้าต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๐.๕ การตรวจผลเชอรี่สดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๑.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูกซึ่งผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่หรือวัสดุใหม่ อนุญาตให้ใช้เฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่สะอาดและใหม่เท่านั้นสำหรับการบรรจุผลเชอรี่สด ๑๑.๒ ต้องบรรจุผลเชอรี่สดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทรายและชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๑.๓ กรณีขนส่งผลเชอรี่สดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลเชอรี่สดในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ดี กรณีขนส่งผลเชอรี่สดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลเชอรี่สดในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๑.๔ ผลเชอรี่สดที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กฎข้อบังคับว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในทางการค้าระหว่างประเทศ (International Standards for Phytosanitary Measures No. 15 : Regulation of wood packaging material in international trade) ข้อ ๑๒ การตรวจส่งออก ๑๒.๑ ต้องสุ่มตรวจผลเชอรี่สดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการและต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ๑๒.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ผลเชอรี่สดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ข้อ ๑๓ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๓.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย CFIA กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทย ๑๓.๒ ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of cherry fruit was produced and prepared in accordance with conditions for import of cherry fruit from Canada to Thailand” ๑๓.๓ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลเชอรี่สด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้า และหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๔ การตรวจนำเข้า ๑๔.๑ เมื่อผลเชอรี่สดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าผลเชอรี่สดจะดำเนินการหลังจากได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๔.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลเชอรี่สดและตรวจสอบเพื่อยื่นยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิดและต้องกักผลเชอรี่สดไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๔.๓ ถ้ามีผลเชอรี่สดนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลเชอรี่สดจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจผลเชอรี่สดทั้งหมด ถ้ามีผลเชอรี่สดจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลเชอรี่สดจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๔.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ระหว่างการสุ่มตรวจผลเชอรี่สดต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ผลเชอรี่สดทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๔.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนผลเชอรี่สดด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าผลเชอรี่สดจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราวจนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ข้อ ๑๕ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๕.๑ การส่งออกผลเชอรี่สดจากแหล่งปลูกที่ระบุไว้ในข้อ ๘ ในแคนาดาไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยแคนาดาต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๕.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็น อาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในแคนาดาก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าผลเชอรี่สดได้อีกต่อไป โดยแคนาดาต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ จิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลเชอรี่สดจากแคนาดา แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลเชอรี่สดจากแคนาดา พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๕ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๙๕ ง/หน้า ๑๔/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๕
668857
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลสาลี่สดจากแคนาดา พ.ศ. 2555
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลสาลี่สดจากแคนาดา พ.ศ. ๒๕๕๕ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลสาลี่สดนำเข้าเพื่อการค้าจากแคนาดาเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลสาลี่สดจากแคนาดา ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลสาลี่สดจากแคนาดา พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ผลสาลี่สด (pear, Pyrus pyrifolia) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลสาลี่สดจากแคนาดาปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ แคนาดา คือ Canadian Food Inspection Agency ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “CFIA” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลสาลี่สดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในแคนาดาไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๘ แหล่งปลูก ๘.๑ ผลสาลี่สดต้องเป็นผลผลิตจากแคนาดาและมาจากสวนสาลี่ที่ปลูกเพื่อการค้า ซึ่งได้จดทะเบียนไว้กับ CFIA หรือภายใต้ระบบที่ CFIA ให้การรับรอง โดยที่ CFIA กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกสาลี่สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ๘.๒ ผลสาลี่สดเฉพาะจากแหล่งปลูกในรัฐต่อไปนี้ในแคนาดาได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ๘.๒.๑ รัฐบริติชโคลัมเบีย (British Columbia) ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ สวนสาลี่ทุกสวนในแหล่งปลูกสาลี่ที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจดทะเบียนไว้กับ CFIA หรือภายใต้ระบบที่ CFIA ให้การรับรอง CFIA ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่าผลสาลี่สดปราศจากศัตรูพืชกักกัน CFIA ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนสาลี่ส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ CFIA ต้องดำเนินการจดทะเบียนสวนสาลี่ส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนสาลี่ที่จดทะเบียนต้องปฏิบัติตามหลักปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสมในสวนสาลี่ โดยต้องรักษาความสะอาดสวนสาลี่ และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๙.๓ CFIA ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนสาลี่ตลอดฤดูกาลปลูกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้า ๑๐.๑ CFIA ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าที่จะส่งออกผลสาลี่สดไปยังราชอาณาจักรไทย CFIA ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ CFIA ต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ โรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียนต้องนำผลสาลี่สดมาจากสวนสาลี่ที่จดทะเบียน ซึ่งปลูกเพื่อการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของผลสาลี่สดที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็ว โรงบรรจุสินค้าต้องเก็บบันทึกรายชื่อของเกษตรกรเจ้าของสวนสาลี่ซึ่งส่งผลสาลี่สดออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๐.๓ โรงบรรจุสินค้าต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐานกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุผลสาลี่สด ๑๐.๔ CFIA ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงบรรจุสินค้าก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้านั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงบรรจุสินค้าต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๐.๕ การตรวจผลสาลี่สดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๑.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูกซึ่งผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่หรือวัสดุใหม่ อนุญาตให้ใช้เฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่สะอาดและใหม่เท่านั้นสำหรับการบรรจุผลสาลี่สด ๑๑.๒ ต้องบรรจุผลสาลี่สดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๑.๓ กรณีขนส่งผลสาลี่สดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลสาลี่สดในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ดี กรณีขนส่งผลสาลี่สดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลสาลี่สดในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๑.๔ ผลสาลี่สดที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กฎข้อบังคับว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในทางการค้าระหว่างประเทศ (International Standards for Phytosanitary Measures No. 15 : Regulation of wood packaging material in international trade) ข้อ ๑๒ การตรวจส่งออก ๑๒.๑ ต้องสุ่มตรวจผลสาลี่สดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการและต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ๑๒.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ผลสาลี่สดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ข้อ ๑๓ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๓.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย CFIA กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทย ๑๓.๒ ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of pear fruit was produced and prepared in accordance with conditions for import of pear fruit from Canada to Thailand” ๑๓.๓ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลสาลี่สด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้า และหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๔ การตรวจนำเข้า ๑๔.๑ เมื่อผลสาลี่สดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าผลสาลี่สดจะดำเนินการหลังจากได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๔.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลสาลี่สดและตรวจสอบเพื่อยื่นยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักผลสาลี่สดไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๔.๓ ถ้ามีผลสาลี่สดนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลสาลี่สดจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจผลสาลี่สดทั้งหมด ถ้ามีผลสาลี่สดจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลสาลี่สดจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๔.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ระหว่างการสุ่มตรวจผลสาลี่สดต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ผลสาลี่สดทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๔.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนผลสาลี่สดด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าผลสาลี่สดจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราวจนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ข้อ ๑๕ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๕.๑ การส่งออกผลสาลี่สดจากแหล่งปลูกที่ระบุไว้ในข้อ ๘ ในแคนาดาไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยแคนาดาต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๕.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็น อาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในแคนาดาก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าผลสาลี่สดได้อีกต่อไป โดยแคนาดาต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ จิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลสาลี่สดจากแคนาดา แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลสาลี่สดจากแคนาดา พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๕ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๙๕ ง/หน้า ๑๐/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๕
668855
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากแคนาดา พ.ศ. 2555
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากแคนาดา พ.ศ. ๒๕๕๕ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลแอปเปิลสดนำเข้าเพื่อการค้าจากแคนาดาเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากแคนาดา ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากแคนาดา พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ผลแอปเปิลสด (apple, Malus domestica) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลแอปเปิลสดจากแคนาดาปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ แคนาดา คือ Canadian Food Inspection Agency ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “CFIA” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลแอปเปิลสดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในแคนาดาไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๘ แหล่งปลูก ๘.๑ ผลแอปเปิลสดต้องเป็นผลผลิตจากแคนาดาและมาจากสวนแอปเปิลที่ปลูกเพื่อการค้าซึ่งได้จดทะเบียนไว้กับ CFIA หรือภายใต้ระบบที่ CFIA ให้การรับรอง โดยที่ CFIA กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกแอปเปิลสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ๘.๒ ผลแอปเปิลสดเฉพาะจากแหล่งปลูกในรัฐต่อไปนี้ในแคนาดาได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ๘.๒.๑ รัฐบริติชโคลัมเบีย (British Columbia) ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ สวนแอปเปิลทุกสวนในแหล่งปลูกแอปเปิลที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจดทะเบียนไว้กับ CFIA หรือภายใต้ระบบที่ CFIA ให้การรับรอง CFIA ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่าผลแอปเปิลสดปราศจากศัตรูพืชกักกัน CFIA ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนแอปเปิลส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ CFIA ต้องดำเนินการจดทะเบียนสวนแอปเปิลส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนแอปเปิลที่จดทะเบียนต้องปฏิบัติตามหลักปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสมในสวนแอปเปิล โดยต้องรักษาความสะอาดสวนแอปเปิล และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๙.๓ CFIA ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนแอปเปิลตลอดฤดูกาลปลูกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้า ๑๐.๑ CFIA ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าที่จะส่งออกผลแอปเปิลสดไปยังราชอาณาจักรไทย CFIA ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ CFIA ต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ โรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียนต้องนำผลแอปเปิลสดมาจากสวนแอปเปิลที่จดทะเบียนซึ่งปลูกเพื่อการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของผลแอปเปิลสดที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็ว โรงบรรจุสินค้าต้องเก็บบันทึกรายชื่อของเกษตรกรเจ้าของสวนแอปเปิลซึ่งส่งผลแอปเปิลสดออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๐.๓ โรงบรรจุสินค้าต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐานกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุผลแอปเปิลสด ๑๐.๔ CFIA ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงบรรจุสินค้าก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้านั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงบรรจุสินค้าต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๐.๕ การตรวจผลแอปเปิลสดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๑.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูกซึ่งผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่หรือวัสดุใหม่ อนุญาตให้ใช้เฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่สะอาดและใหม่เท่านั้นสำหรับการบรรจุผลแอปเปิลสด ๑๑.๒ ต้องบรรจุผลแอปเปิลสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทรายและชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๑.๓ กรณีขนส่งผลแอปเปิลสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลแอปเปิลสดในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ดี กรณีขนส่งผลแอปเปิลสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลแอปเปิลสดในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๑.๔ ผลแอปเปิลสดที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กฎข้อบังคับว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในทางการค้าระหว่างประเทศ (International Standards for Phytosanitary Measures No. 15 : Regulation of wood packaging material in international trade) ข้อ ๑๒ การตรวจส่งออก ๑๒.๑ ต้องสุ่มตรวจผลแอปเปิลสดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการ และต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ๑๒.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ผลแอปเปิลสดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ข้อ ๑๓ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๓.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย CFIA กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทย ๑๓.๒ ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of apple fruit was produced and prepared in accordance with conditions for import of apple fruit from Canada to Thailand” ๑๓.๓ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลแอปเปิลสด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้า และหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๔ การตรวจนำเข้า ๑๔.๑ เมื่อผลแอปเปิลสดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าผลแอปเปิลสดจะดำเนินการหลังจากได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๔.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลแอปเปิลสดและตรวจสอบเพื่อยื่นยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิดและต้องกักผลแอปเปิลสดไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๔.๓ ถ้ามีผลแอปเปิลสดนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลแอปเปิลสดจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจผลแอปเปิลสดทั้งหมด ถ้ามีผลแอปเปิลสดจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลแอปเปิลสดจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๔.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ระหว่างการสุ่มตรวจผลแอปเปิลสดต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ผลแอปเปิลสดทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้ได้รับอนุญาตนำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๔.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนผลแอปเปิลสดด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้ได้รับอนุญาตนำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราวจนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ข้อ ๑๕ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๕.๑ การส่งออกผลแอปเปิลสดจากแหล่งปลูกที่ระบุไว้ในข้อ ๘ ในแคนาดาไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยแคนาดาต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๕.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในแคนาดาก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าผลแอปเปิลสดได้อีกต่อไป โดยแคนาดาต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ จิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลแอปเปิลสดจากแคนาดา แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากแคนาดา พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๕ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๙๕ ง/หน้า ๖/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๕
668494
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำผ่านยาสูบจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. 2555
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำผ่านยาสูบจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. ๒๕๕๕ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของยาสูบนำผ่านจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำผ่านยาสูบจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำผ่านยาสูบจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ยาสูบ (tobacco, Nicotiana spp.) ตามประกาศนี้ ได้แก่ ใบยาสูบอบแห้ง (dried tobacco left) ข้อ ๔ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๔.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๔.๒ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือ Ministry of Agriculture and Forestry ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “MAF” ข้อ ๕ การขออนุญาตนำผ่าน ต้องมีใบอนุญาตนำผ่านซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๖ วิธีการขนส่ง ต้องส่งยาสูบมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทย ในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางบก ข้อ ๗ ข้อกำหนดสำหรับการนำเข้า ๗.๑ ต้องบรรจุยาสูบในบรรจุภัณฑ์ที่ใหม่ สะอาด ๗.๒ ต้องบรรจุยาสูบในตู้ขนส่งสินค้าที่ปิดมิดชิด ๗.๓ ต้องติดบัตรกำกับการผ่าน แบบ พ.ก. ๔ - ๒ ที่ตู้บรรจุสินค้า ๗.๔ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกโดย MAF กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่นำผ่านราชอาณาจักรไทย ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ จิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๕ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๑๐/๗ มิถุนายน ๒๕๕๕
668464
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากสาธารณรัฐฝรั่งเศส พ.ศ. 2555
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากสาธารณรัฐฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๕๕๕ ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลกีวีสดนำเข้าเพื่อการค้าจากสาธารณรัฐฝรั่งเศสเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากสาธารณรัฐฝรั่งเศส ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากสาธารณรัฐฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ผลกีวีสด (kiwi, Actinidia deliciosa) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลกีวีสดจากสาธารณรัฐฝรั่งเศสปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ สาธารณรัฐฝรั่งเศส คือ Direction générale de l'alimentation (General Directorate for Food) ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “DGAL” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลกีวีสดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสาธารณรัฐฝรั่งเศสหรือรัฐสมาชิกสหภาพยุโรปไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๘ แหล่งปลูก ผลกีวีสดต้องเป็นผลผลิตจากสาธารณรัฐฝรั่งเศส และมาจากสวนกีวีที่ปลูกเพื่อการค้าซึ่งได้จดทะเบียนไว้กับ DGAL หรือภายใต้ระบบที่ DGAL ให้การรับรอง โดยที่ DGAL กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกกีวีสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ สวนกีวีทุกสวนในแหล่งปลูกกีวีที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจดทะเบียนไว้กับ DGAL หรือภายใต้ระบบที่ DGAL ให้การรับรอง DGAL ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่าผลกีวีสดที่ได้เป็นไปตามข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืชของราชอาณาจักรไทย DGAL ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนกีวีส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ DGAL ต้องดำเนินการจดทะเบียนสวนกีวีส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนกีวีที่จดทะเบียนต้องปฏิบัติตามหลักปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสมในสวนกีวี โดยต้องรักษาความสะอาดสวนกีวี และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๙.๓ DGAL ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนกีวีตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้า ๑๐.๑ DGAL ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าที่จะส่งออกผลกีวีสดไปยังราชอาณาจักรไทย DGAL ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ DGAL ต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ โรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียนต้องนำผลกีวีสดมาจากสวนกีวีที่จดทะเบียนซึ่งปลูกเพื่อการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของกีวีที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็ว โรงบรรจุสินค้าต้องเก็บบันทึกรายชื่อเกษตรกรเจ้าของสวนกีวีซึ่งส่งผลกีวีสดออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๐.๓ โรงบรรจุสินค้าต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐานกระบวนการดำเนินงานซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุผลกีวีสด ๑๐.๔ DGAL ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงบรรจุสินค้าก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้านั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงบรรจุสินค้าต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๐.๕ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียนเท่านั้น ๑๐.๖ การตรวจผลกีวีสดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืช ๑๑.๑ ผลกีวีสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องกำจัดแมลงวันผลไม้Mediterranean fruit fly (Ceratitis capitata) ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืช วิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นดังต่อไปนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืชสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ Mediterranean fruit fly ในผลกีวีสด อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๖ วัน หรือมากกว่า ๒.๒๒ องศาเซลเซียส (๓๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๑๑.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นสามารถดำเนินการได้ทั้งก่อนส่งออกหรือระหว่างขนส่ง สำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น อาจจะดำเนินการเพียงบางส่วนซึ่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกโดยเริ่มต้นดำเนินการในสาธารณรัฐฝรั่งเศสและการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ระหว่างขนส่ง ในกรณีที่การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นเกิดล้มเหลวระหว่างขนส่ง การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นอาจจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้เมื่อสินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง ๑๑.๓ การส่งออกผลกีวีสดซึ่งต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น ต้องลดอุณหภูมิผลกีวีสดตรงบริเวณกึ่งกลางผลให้ต่ำลงถึงระดับเดียวกันกับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่กำหนดสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้เป็นการล่วงหน้าก่อนขนถ่ายผลกีวีสดเข้าตู้ขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอุณหภูมิผลกีวีสดได้ลดต่ำลงถึงระดับที่เหมาะสมก่อนเริ่มต้นกระบวนการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น และต้องรักษาระดับอุณหภูมิของผลกีวีสดให้คงที่ติดต่อกันตลอดไป ๑๑.๔ การประเมินผลการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นทั้งกรณีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก และการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง จะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เท่านั้น โดยไม่นำอุณหภูมิจากแท่งวัดอุณหภูมิอากาศมาประกอบการประเมินผลประสิทธิภาพของการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ๑๒.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ DGAL โดยต้องดำเนินการในห้องเย็นสำหรับกำจัดศัตรูพืชซึ่งได้รับการรับรองจาก DGAL และกรมวิชาการเกษตร ผลกีวีสดสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยอาจจะทำการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นควบคู่ไปพร้อมกับผลกีวีสดที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นได้ ๑๒.๒ ถ้าผลกีวีสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก DGAL ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๓.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นโดยดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้าระหว่างขนส่งสินค้า ๑๓.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งซึ่งดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้านั้น อาจจะเริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่ตู้ขนส่งสินค้าอยู่บนบกและเสร็จสิ้นในช่วงระหว่างขนส่ง หรือเสร็จสิ้นเมื่อตู้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ๑๓.๓ ถ้าผลกีวีสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง DGAL ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ นอกจากนี้ ต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับสินค้าด้วยทุกครั้ง ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๔.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูกซึ่งผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่หรือวัสดุใหม่ อนุญาตให้ใช้เฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่สะอาดและใหม่เท่านั้นสำหรับการบรรจุกีวี ๑๔.๒ ต้องบรรจุผลกีวีสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๔.๓ สำหรับผลกีวีสดส่งออกซึ่งขนส่งทางอากาศ บรรจุภัณฑ์ต้องไม่มีรู ถ้ามีรูหรือช่องเปิดต้องปิดด้วยผ้าตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๔.๔ กรณีขนส่งผลกีวีสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลกีวีสดในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ดี กรณีขนส่งผลกีวีสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลกีวีสดในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๔.๕ ผลกีวีสดที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กฎข้อบังคับว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในทางการค้าระหว่างประเทศ (International Standards for Phytosanitary Measures No. 15 : Regulation of wood packaging material in international trade) ข้อ ๑๕ การตรวจส่งออก ๑๕.๑ ต้องสุ่มตรวจผลกีวีสดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการ และต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ๑๕.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๕.๒.๑ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิตบนผลกีวีสด ได้แก่ แมลงวันผลไม้ ต้องปฏิเสธการส่งออกผลกีวีสดทั้งหมดไปยังราชอาณาจักรไทย ๑๕.๒.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลกีวีสดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ๑๕.๓ ต้องดำเนินการกำจัดศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๑ ข้อ ๑๖ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๖.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย DGAL กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of kiwi fruit was produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of kiwi fruit from France to Thailand” ๑๖.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ถ้าผลกีวีสดผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ต้องระบุรายละเอียดของโรงงานกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น อุณหภูมิ และระยะเวลาที่ใช้ (จำนวนวันที่ต่อเนื่องกัน) ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม ๑๖.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๖.๓.๑ ถ้าผลกีวีสดได้รับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองสุขอนามัยพืช ดังต่อไปนี้ “DGAL has supervised the calibration and the placement of fruit sensors into the fruit within the container(s) in accordance with the conditions for import of kiwi fruit from France to Thailand and cold disinfestation treatment has been initiated” ๑๖.๓.๒ ต้องมีต้นฉบับใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๖.๔ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลกีวีสด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้า และหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๗ การตรวจนำเข้า ๑๗.๑ เมื่อผลกีวีสดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าผลกีวีสดจะดำเนินการหลังจากเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๗.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลกีวีสดและตรวจสอบเพื่อยื่นยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักผลกีวีสดไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๗.๓ ถ้ามีผลกีวีสดนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลกีวีสด จำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจผลกีวีสดทั้งหมด ถ้ามีผลกีวีสดจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลกีวีสดจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๗.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลกีวีสด ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๗.๔.๑ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิต ได้แก่ แมลงวันผลไม้ ผลกีวีสดทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ DGAL ทราบและระงับการนำเข้าโดยทันที ๑๗.๔.๒ DGAL ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้าเมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๗.๔.๓ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลกีวีสดทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๗.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนผลกีวีสดด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าผลกีวีสดจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราวจนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๗.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลกีวีสดกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๗.๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นไม่สมบูรณ์ ๑๗.๖.๒ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๗.๖.๓ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๗.๖.๔ เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผลกีวีสด หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนด หรือผลกีวีสดที่เสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตกหรือเกิดรอยเปิด ๑๗.๖.๕ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๑๘ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๘.๑ การส่งออกผลกีวีสดจากสาธารณรัฐฝรั่งเศสไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยสาธารณรัฐฝรั่งเศสต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๘.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในสาธารณรัฐฝรั่งเศสก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าผลกีวีสดได้อีกต่อไป โดยสาธารณรัฐฝรั่งเศสต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ จิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลกีวีสดจากสาธารณรัฐฝรั่งเศส แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากสาธารณรัฐฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๕๕๕ (เอกสารหมายเลข ๑) ๒. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากสาธารณรัฐฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๕๕๕ (เอกสารหมายเลข ๒) ๓. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากสาธารณรัฐฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๕๕๕ (เอกสารหมายเลข ๓) ๔. ใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า สำหรับราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลกีวีสดจากสาธารณรัฐฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๕๕๕ (เอกสารหมายเลข ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๘๙ ง/หน้า ๓๕/๖ มิถุนายน ๒๕๕๕
668462
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากสาธารณรัฐฝรั่งเศส พ.ศ. 2555
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากสาธารณรัฐฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๕๕๕ ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลแอปเปิลสดนำเข้าเพื่อการค้าจากสาธารณรัฐฝรั่งเศสเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากสาธารณรัฐฝรั่งเศส ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากสาธารณรัฐฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ผลแอปเปิลสด (apple, Malus domestica) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลแอปเปิลสดจากสาธารณรัฐฝรั่งเศสปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ สาธารณรัฐฝรั่งเศส คือ Direction générale de l'alimentation (General Directorate for Food) ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “DGAL” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลแอปเปิลสดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสาธารณรัฐฝรั่งเศสหรือรัฐสมาชิกสหภาพยุโรปไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๘ แหล่งปลูก ผลแอปเปิลสดต้องเป็นผลผลิตจากสาธารณรัฐฝรั่งเศส และมาจากสวนแอปเปิลที่ปลูกเพื่อการค้าซึ่งได้จดทะเบียนไว้กับ DGAL หรือภายใต้ระบบที่ DGAL ให้การรับรอง โดยที่ DGAL กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกแอปเปิลสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ สวนแอปเปิลทุกสวนในแหล่งปลูกแอปเปิลที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจดทะเบียนไว้กับ DGAL หรือภายใต้ระบบที่ DGAL ให้การรับรอง DGAL ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่าผลแอปเปิลสดที่ได้เป็นไปตามข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืชของราชอาณาจักรไทย DGAL ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนแอปเปิลส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ DGAL ต้องดำเนินการจดทะเบียนสวนแอปเปิลส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนแอปเปิลที่จดทะเบียนต้องปฏิบัติตามหลักปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสมในสวนแอปเปิล โดยต้องรักษาความสะอาดสวนแอปเปิล และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๙.๓ DGAL ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนแอปเปิลตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้า ๑๐.๑ DGAL ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าที่จะส่งออกผลแอปเปิลสดไปยังราชอาณาจักรไทย DGAL ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ DGAL ต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ โรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียนต้องนำผลแอปเปิลสดมาจากสวนแอปเปิลที่จดทะเบียนซึ่งปลูกเพื่อการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของแอปเปิลที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็ว โรงบรรจุสินค้าต้องเก็บบันทึกรายชื่อเกษตรกรเจ้าของสวนแอปเปิลซึ่งส่งผลแอปเปิลสดออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๐.๓ โรงบรรจุสินค้าต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐานกระบวนการดำเนินงานซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุผลแอปเปิลสด ๑๐.๔ DGAL ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงบรรจุสินค้าก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้านั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงบรรจุสินค้าต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๐.๕ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียนเท่านั้น ๑๐.๖ การตรวจผลแอปเปิลสดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืช ๑๑.๑ ผลแอปเปิลสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ Mediterranean fruit fly (Ceratitis capitata) ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืช วิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นดังต่อไปนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืชสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลแอปเปิลสด อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๖ วัน หรือมากกว่า ๒.๒๒ องศาเซลเซียส (๓๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๑๑.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นสามารถดำเนินการได้ทั้งก่อนส่งออกหรือระหว่างขนส่ง สำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้นอาจจะดำเนินการเพียงบางส่วนซึ่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก โดยเริ่มต้นดำเนินการในสาธารณรัฐฝรั่งเศสและการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ระหว่างขนส่ง ในกรณีที่การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นเกิดล้มเหลวระหว่างขนส่ง การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นอาจจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้เมื่อสินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง ๑๑.๓ การส่งออกผลแอปเปิลสดซึ่งต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น ต้องลดอุณหภูมิผลแอปเปิลสดตรงบริเวณกึ่งกลางผลให้ต่ำลงถึงระดับเดียวกันกับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่กำหนดสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้เป็นการล่วงหน้าก่อนขนถ่ายผลแอปเปิลสดเข้าตู้ขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอุณหภูมิผลแอปเปิลสดได้ลดต่ำลงถึงระดับที่เหมาะสมก่อนเริ่มต้นกระบวนการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น และต้องรักษาระดับอุณหภูมิของผลแอปเปิลสดให้คงที่ติดต่อกันตลอดไป ๑๑.๔ การประเมินผลการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นทั้งกรณีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกและการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง จะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เท่านั้น โดยไม่นำอุณหภูมิจากแท่งวัดอุณหภูมิอากาศมาประกอบการประเมินผลประสิทธิภาพของการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ๑๒.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ DGAL โดยต้องดำเนินการในห้องเย็นสำหรับกำจัดศัตรูพืชซึ่งได้รับการรับรองจาก DGAL และกรมวิชาการเกษตร ผลแอปเปิลสดสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยอาจจะทำการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นควบคู่ไปพร้อมกับผลแอปเปิลสดที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นได้ ๑๒.๒ ถ้าผลแอปเปิลสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก DGAL ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๓.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นโดยดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้าระหว่างขนส่งสินค้า ๑๓.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งซึ่งดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้านั้น อาจจะเริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่ตู้ขนส่งสินค้าอยู่บนบกและเสร็จสิ้นในช่วงระหว่างขนส่ง หรือเสร็จสิ้นเมื่อตู้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ๑๓.๓ ถ้าผลแอปเปิลสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง DGAL ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ นอกจากนี้ ต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับสินค้าด้วยทุกครั้ง ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๔.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูกซึ่งผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่หรือวัสดุใหม่ อนุญาตให้ใช้เฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่สะอาดและใหม่เท่านั้นสำหรับการบรรจุแอปเปิล ๑๔.๒ ต้องบรรจุผลแอปเปิลสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๔.๓ สำหรับผลแอปเปิลสดส่งออกซึ่งขนส่งทางอากาศ บรรจุภัณฑ์ต้องไม่มีรู ถ้ามีรูหรือช่องเปิดต้องปิดด้วยผ้าตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๔.๔ กรณีขนส่งผลแอปเปิลสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลแอปเปิลสดในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ดี กรณีขนส่งผลแอปเปิลสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลแอปเปิลสดในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๔.๕ ผลแอปเปิลสดที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กฎข้อบังคับว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในทางการค้าระหว่างประเทศ (International Standards for Phytosanitary Measures No. 15: Regulation of wood packaging material in international trade) ข้อ ๑๕ การตรวจส่งออก ๑๕.๑ ต้องสุ่มตรวจผลแอปเปิลสดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการ และต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ๑๕.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๕.๒.๑ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิตบนผลแอปเปิลสด ได้แก่ แมลงวันผลไม้ ต้องปฏิเสธการส่งออกผลแอปเปิลสดทั้งหมดไปยังราชอาณาจักรไทย ๑๕.๒.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลแอปเปิลสดทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ๑๕.๓ ต้องดำเนินการกำจัดศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๑ ข้อ ๑๖ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๖.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย DGAL กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of apple fruit was produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of apple fruit from France to Thailand” ๑๖.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ถ้าผลแอปเปิลสดผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกต้องระบุรายละเอียดของโรงงานกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น อุณหภูมิ และระยะเวลาที่ใช้ (จำนวนวันที่ต่อเนื่องกัน) ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม ๑๖.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๖.๓.๑ ถ้าผลแอปเปิลสดได้รับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองสุขอนามัยพืช ดังต่อไปนี้ “DGAL has supervised the calibration and the placement of fruit sensors into the fruit within the container(s) in accordance with the conditions for import of apple fruit from France to Thailand and cold disinfestation treatment has been initiated” ๑๖.๓.๒ ต้องมีต้นฉบับใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๖.๔ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ของผลแอปเปิลสด หมายเลขตู้ขนส่งสินค้า และหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๗ การตรวจนำเข้า ๑๗.๑ เมื่อผลแอปเปิลสดมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าผลแอปเปิลสดจะดำเนินการหลังจากเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๗.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลแอปเปิลสดและตรวจสอบเพื่อยื่นยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักผลแอปเปิลสดไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๗.๓ ถ้ามีผลแอปเปิลสดนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลแอปเปิลสด จำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจผลแอปเปิลสดทั้งหมด ถ้ามีผลแอปเปิลสดจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลแอปเปิลสดจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๗.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลแอปเปิลสด ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๗.๔.๑ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิต ได้แก่ แมลงวันผลไม้ ผลแอปเปิลสดทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ DGAL ทราบและระงับการนำเข้าโดยทันที ๑๗.๔.๒ DGAL ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้าเมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๗.๔.๓ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ ผลแอปเปิลสดทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๗.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนผลแอปเปิลสดด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราว จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๗.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลแอปเปิลสดกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๗.๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นไม่สมบูรณ์ ๑๗.๖.๒ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๗.๖.๓ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๗.๖.๔ เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผลแอปเปิลสด หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนด หรือผลแอปเปิลสดที่เสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตกหรือเกิดรอยเปิด ๑๗.๖.๕ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๑๘ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๘.๑ การส่งออกผลแอปเปิลสดจากสาธารณรัฐฝรั่งเศสไปยังราชอาณาจักรไทยจะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยสาธารณรัฐฝรั่งเศสต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๘.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในสาธารณรัฐฝรั่งเศสก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าผลแอปเปิลสดได้อีกต่อไป โดยสาธารณรัฐฝรั่งเศสต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ จิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลแอปเปิลสดจากสาธารณรัฐฝรั่งเศส แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากสาธารณรัฐฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๕๕๕ (เอกสารหมายเลข ๑) ๒. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากสาธารณรัฐฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๕๕๕ (เอกสารหมายเลข ๒) ๓. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากสาธารณรัฐฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๕๕๕ (เอกสารหมายเลข ๓) ๔. ใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า สำหรับราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลแอปเปิลสดจากสาธารณรัฐฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๕๕๕ (เอกสารหมายเลข ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๘๙ ง/หน้า ๒๘/๖ มิถุนายน ๒๕๕๕
668120
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ พ.ศ. 2555
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕ ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลส้มสดนำเข้าเพื่อการค้าจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ผลส้มสดที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย ได้แก่ ๓.๑ ส้มหวาน (sweet orange) (Citrus sinensis) ได้แก่ พันธุ์นาเวล (Navel) และวาเลนเซีย (Valencia) ๓.๒ ส้มเปลือกล่อน (mandarin) (Citrus reticulata) ได้แก่ พันธุ์คลีเมนไท (Clementine) และซัทซูมา (Satsuma) ๓.๓ เลมอน (lemon) (Citrus limon) ได้แก่ พันธุ์ยูเรก้า (Eureka) ๓.๔ เกรฟฟรุท (grapefruit) (Citrus paradisi) ได้แก่ พันธุ์มาซ (Marsh) โรส (Rose) และสตาร์รูบี้ (Star Ruby) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลส้มสดจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ คือ Department of Agriculture, Forestry and Fisheries ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “DAFF” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลส้มสดจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๘ แหล่งปลูก ผลส้มสดต้องเป็นผลผลิตจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และมาจากสวนส้มที่ปลูก เพื่อการค้าซึ่งได้จดทะเบียนไว้กับ DAFF โดยที่ DAFF กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกส้มสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๙.๑ DAFF ต้องจดทะเบียนสวนส้มในแหล่งปลูกส้มที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืช เพื่อให้แน่ใจว่าผลส้มสดปราศจากศัตรูพืชกักกัน DAFF ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนส้มให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ DAFF ต้องดำเนินการจดทะเบียนสวนส้มให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๙.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนส้มที่จดทะเบียนต้องปฏิบัติตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสมในสวนส้ม โดยต้องรักษาความสะอาดสวนส้ม และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานหรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๙.๓ DAFF ต้องส่งมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนส้มตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออก ๑๐.๑ DAFF ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จะส่งออกผลส้มสดไปยังราชอาณาจักรไทย DAFF ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ DAFF ต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนต้องนำผลส้มสดมาจากสวนส้มที่จดทะเบียนซึ่งปลูกเพื่อการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของผลส้มสดที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็ว โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องเก็บบันทึกรายชื่อเกษตรกรเจ้าของสวนส้มซึ่งส่งผลส้มสดออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๐.๓ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องจัดทำเอกสารมาตรฐานกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุผลส้มสด ๑๐.๔ DAFF ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกนั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๐.๕ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ๑๐.๖ การตรวจผลส้มสดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืช ๑๑.๑ ผลส้มสดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องกำจัดแมลง false codling moth (Thaumatotibia leucotreta), Mediterranean fruit fly (Ceratitis capitata) และ Natal fruit fly (Ceratitis rosa) ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืช วิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นต่อไปนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืชสำหรับกำจัดแมลง false codling moth, Mediterranean fruit fly และ Natal fruit fly ในผลส้มสด อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) - ๐.๕๕ องศาเซลเซียส (๓๑ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๔ วัน หรือมากกว่า ๑๑.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นยังไม่เริ่มต้นจนกว่าแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ทั้งหมดแสดงอุณหภูมิลบ ๐.๕๕ องศาเซลเซียส (๓๑ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ถ้าอุณหภูมิผลส้มเพิ่มขึ้นสูงเกินลบ ๐.๒๗ องศาเซลเซียส (๓๑.๕ องศาฟาเรนไฮต์) ต้องขยายระยะเวลาออกไปอีกไม่น้อยกว่า ๘ ชั่วโมง สำหรับแต่ละวันหรือส่วนของหนึ่งวันซึ่งอุณหภูมิสูงกว่าลบ ๐.๒๗ องศาเซลเซียส (๓๑.๕ องศาฟาเรนไฮต์) ถ้ามีการขยายระยะเวลาการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นออกไป อุณหภูมิของผลไม้ในช่วงที่ขยายระยะเวลาออกไปนั้นต้องมีอุณหภูมิ ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ถ้าอุณหภูมิผลเพิ่มขึ้นสูงเกิน ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ให้ถือว่าการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นประสบความล้มเหลว ๑๑.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ต้องลดอุณหภูมิผลส้มสดตรงบริเวณกึ่งกลางผลให้ต่ำลงถึงระดับเดียวกันกับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่อุณหภูมิลบ ๐.๕๕ องศาเซลเซียส (๓๑ องศาฟาเรนไฮต์) เป็นการล่วงหน้านาน ๗๒ ชั่วโมง ก่อนขนถ่ายผลส้มสดเข้าตู้ขนส่งสินค้า ๑๑.๔ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นสามารถดำเนินการได้ทั้งก่อนส่งออกหรือระหว่างขนส่ง สำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น อาจจะดำเนินการเพียงบางส่วนซึ่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก โดยเริ่มต้นดำเนินการในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้และการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ระหว่างขนส่ง ในกรณีที่การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นเกิดล้มเหลวระหว่างขนส่ง การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นอาจจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้เมื่อสินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง ๑๑.๕ การประเมินผลการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นทั้งกรณีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก และการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง จะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เท่านั้น โดยไม่นำอุณหภูมิจากแท่งวัดอุณหภูมิอากาศมาประกอบการประเมินผลประสิทธิภาพของการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ข้อ ๑๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ๑๒.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ DAFF โดยต้องดำเนินการในห้องเย็นสำหรับกำจัดศัตรูพืชซึ่งได้รับการรับรองจาก DAFF และกรมวิชาการเกษตร ผลส้มสดสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยอาจจะทำการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นควบคู่ไปพร้อมกับผลส้มสดที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นได้ ๑๒.๒ ถ้าผลส้มสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๓.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นโดยดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้าระหว่างขนส่งสินค้า ๑๓.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งซึ่งดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้านั้นอาจจะเริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่ตู้ขนส่งสินค้าอยู่บนบกและเสร็จสิ้นในช่วงระหว่างขนส่ง หรือเสร็จสิ้นเมื่อตู้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ๑๓.๓ ถ้าผลส้มสดต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ นอกจากนี้แล้ว ต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับสินค้าด้วยทุกครั้ง ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๔.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูกซึ่งผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่หรือวัสดุใหม่ อนุญาตให้ใช้เฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่สะอาดและใหม่เท่านั้นสำหรับการบรรจุผลส้มสด ๑๔.๒ ต้องบรรจุผลส้มสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๔.๓ สำหรับผลส้มสดส่งออกซึ่งขนส่งทางอากาศ บรรจุภัณฑ์ต้องไม่มีรู ถ้ามีรูหรือช่องเปิดต้องปิดด้วยผ้าตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร เพื่อป้องกันการเข้าไปของแมลงซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกัน ๑๔.๔ บรรจุภัณฑ์ต้องปรากฏข้อความดังต่อไปนี้ เช่น Product of South Africa, Name of exporting company, Name of fruit (common name and cultivar), Production unit code (PUC), Packinghouse code (PHC) และ Packing date เป็นต้น ๑๔.๕ กรณีขนส่งผลส้มสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลส้มสดในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง แต่อย่างไรก็ดี กรณีขนส่งผลส้มสดมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลส้มสดในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มีข้อความต่อไปนี้ “EXPORT TO THAILAND” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ ๑๔.๖ ผลส้มสดที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กฎข้อบังคับว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในทางการค้าระหว่างประเทศ ข้อ ๑๕ การตรวจส่งออก ๑๕.๑ ต้องสุ่มตรวจผลส้มสดก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการและต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ๑๕.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๕.๒.๑ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิตบนผลส้มสด ได้แก่ แมลง false codling moth, Mediterranean fruit fly และ Natal fruit fly ต้องปฏิเสธการส่งออกผลส้มสดทั้งหมดไปยังราชอาณาจักรไทย ๑๕.๒.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลง false codling moth, Mediterranean fruit fly และ Natal fruit fly ผลส้มสดทั้งหมดจะส่งออก ไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ๑๕.๓ ต้องดำเนินการกำจัดแมลง false codling moth, Mediterranean fruit fly และ Natal fruit fly ในผลส้มสดตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๑ ข้อ ๑๖ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๖.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย DAFF กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of citrus fruit was produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of citrus fruit from South Africa to Thailand” ๑๖.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ถ้าผลส้มสดผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกต้องระบุรายละเอียดของโรงงานกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น อุณหภูมิ และระยะเวลาที่ใช้ (จำนวนวันที่ต่อเนื่องกัน) ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม ๑๖.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๖.๓.๑ ถ้าผลส้มสดได้รับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองสุขอนามัยพืช ดังต่อไปนี้ “DAFF has supervised the calibration and the placement of fruit sensors into the fruit within the container(s) in accordance with the conditions for import of citrus fruit from South Africa to Thailand and cold disinfestation treatment has been initiated” ๑๖.๓.๒ ต้องมีต้นฉบับใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๖.๔ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อพันธุ์ของผลส้มสด รวมทั้งหมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๗ การตรวจนำเข้า ๑๗.๑ เมื่อผลส้มสดถูกขนส่งมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าผลส้มสดจะดำเนินการหลังจากได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๗.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างผลส้มสดและตรวจสอบเพื่อยืนยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิดและต้องกักผลส้มสดไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๗.๓ ถ้ามีผลส้มสดนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลส้มสด จำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจผลส้มสดทั้งหมด ถ้ามีผลส้มสดจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลส้มสดจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๗.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลส้มสด ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๗.๔.๑ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิต ได้แก่ แมลง false codling moth, Mediterranean fruit fly และ Natal fruit fly ผลส้มสดทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ DAFF ทราบและระงับการนำเข้าโดยทันที ๑๗.๔.๒ DAFF ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้าเมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๗.๔.๓ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลง false codling moth, Mediterranean fruit fly และ Natal fruit fly ผลส้มสดทั้งหมดจะถูกส่งกลับ หรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๗.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนผลส้มสดด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าผลส้มสดจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราวจนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๗.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลส้มสดกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งกรณีดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๗.๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นไม่สมบูรณ์ ๑๗.๖.๒ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๗.๖.๓ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๗.๖.๔ เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผลส้มสด หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนด หรือผลส้มสดที่เสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตกหรือเกิดรอยเปิด ๑๗.๖.๕ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๑๘ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๘.๑ การส่งออกผลส้มสดจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ไปยังราชอาณาจักรไทยจะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๘.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็น อาจส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าผลส้มสดได้อีกต่อไป โดยสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๘.๓ กรมวิชาการเกษตรสงวนสิทธิที่จะส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เดินทางไปสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินการต่าง ๆ ในกระบวนการตรวจรับรองศัตรูพืชก่อนส่งออกของ DAFF ยังคงมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพื่อให้ความมั่นใจว่าผลส้มสดที่ส่งออกไปราชอาณาจักรไทยยังคงมีการจัดการศัตรูพืชกักกันอย่างเหมาะสม โดยสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ จิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลส้มสดจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕ (เอกสารหมายเลข ๑) ๒. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕ (เอกสารหมายเลข ๒) ๓. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕ (เอกสารหมายเลข ๓) ๔. ใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า สำหรับราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕ (เอกสารหมายเลข ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๕ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๑๗/๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕
668118
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าอ้อยจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า พ.ศ. 2555
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าอ้อยจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า พ.ศ. ๒๕๕๕ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของอ้อยที่นำเข้าเพื่อการค้าจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า เสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำเข้าอ้อยจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าอ้อยจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช อ้อย (sugarcane, Saccharum officinarum) ตามประกาศนี้ ได้แก่ ๓.๑ อ้อยสด (fresh sugarcane) ข้อ ๔ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๔.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๔.๒ สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า คือ Plant Protection Division ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “PPD” ข้อ ๕ การขออนุญาตนำเข้า ๕.๑ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ๕.๒ ต้องนำเข้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลโดยแสดงเอกสารหลักฐานการประกอบกิจการแนบมาด้วย ข้อ ๖ วิธีการขนส่ง ต้องส่งอ้อยมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทย ในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางบก ข้อ ๗ ข้อกำหนดสำหรับโรงงาน ๗.๑ ต้องผ่านการตรวจสอบโดยกรมวิชาการเกษตร พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องตรวจสอบโรงงานเป็นประจำทุกปีหรือเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าโรงงานไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยผู้นำเข้าอ้อยเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๗.๒ โรงงานที่ผ่านการตรวจสอบต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด ดังนี้ ๗.๒.๑ ต้องเก็บข้อมูลจำนวนอ้อยที่นำเข้าและแปรรูป เพื่อการตรวจสอบและต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๗.๒.๒ ต้องไม่นำอ้อยไปทำการแปรรูปที่โรงงานอื่นโดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากกรมวิชาการเกษตรก่อน ๗.๒.๓ ต้องนำกากอ้อยหรือชานอ้อยไปทำลายให้หมดสิ้นภายในโรงงานด้วยวิธีการที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมวิชาการเกษตร ๗.๒.๔ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดโดยเคร่งครัด ข้อ ๘ ข้อกำหนดสำหรับการนำเข้า ๘.๑ อ้อยต้องไม่มีราก ยอด ใบ และกาบใบ ๘.๒ ต้องปลอดจากแมลงที่มีชีวิตหรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย และไม่มีการปะปนของดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืชอื่น เช่น เมล็ด ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๘.๓ ต้องจัดการกระบะบรรทุกให้สะอาดปราศจากดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืชหรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ก่อนดำเนินการขนย้ายอ้อยขึ้นบรรจุในกระบะบรรทุกของยานพาหนะ นอกจากนี้ ต้องคลุมผ้าปิดส่วนของกระบะบรรทุกให้มิดชิดซึ่งมั่นใจได้ว่าสามารถป้องกันมิให้อ้อยร่วงหล่นในระหว่างการขนส่ง ๘.๔ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย PPD กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทย ประกาศ ณ วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ จิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๕ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๑๕/๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕
665056
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองสุขอนามัยสำหรับสินค้าพืชผักสดไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์และสมาพันธรัฐสวิส (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองสุขอนามัยสำหรับสินค้าพืชผักสดไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์และสมาพันธรัฐสวิส (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑] ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองสุขอนามัยสำหรับสินค้าพืชผักสดไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์และสมาพันธรัฐสวิส ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๔ กำหนดให้พืช จำนวน ๕ กลุ่ม ๑๖ ชนิด ตามรายชื่อแนบท้ายประกาศดังกล่าวที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป นอร์เวย์และสมาพันธรัฐสวิส ต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมพิเศษการส่งออกผักและผลไม้สดไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์และสมาพันธรัฐสวิส นั้น เนื่องจากกรมวิชาการเกษตรได้รับการแจ้งเตือนจากสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการตรวจพบศัตรูพืชปัญหาสารตกค้าง และเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนไปกับสินค้าพืชของประเทศไทยที่ส่งไปสหภาพยุโรปเพิ่มเติม กรมวิชาการเกษตรในฐานะหน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแลการส่งออกสินค้าพืชผัก ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองสุขอนามัยสำหรับสินค้าพืชผักสดไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์ และสมาพันธรัฐสวิส (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒ ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ข้อ ๓ กำหนดให้พืช จำนวน ๖ ชนิด ตามรายชื่อแนบท้ายประกาศนี้ ที่จะส่งไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์ และสมาพันธรัฐสวิสต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมพิเศษการส่งออกผักและผลไม้สดไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์ และสมาพันธรัฐสวิส แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองสุขอนามัยสำหรับสินค้าพืชผักสดไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์ และสมาพันธรัฐสวิส ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๔ ข้อ ๔ กรมวิชาการเกษตร จะออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองสุขอนามัยสำหรับพืช ตามข้อ ๓ ต่อเมื่อผู้ส่งออกได้ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมพิเศษในข้อ ๓ ประกาศ ณ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ จิรากร โกศัยเสวิ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อพืช ๖ ชนิด แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองสุขอนามัยสำหรับสินค้าพืชผักสดไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์และสมาพันธรัฐสวิส (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๕ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๕๓ ง/หน้า ๒๒/๒๑ มีนาคม ๒๕๕๕
664515
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองสุขอนามัยสำหรับสินค้าพืชผักสดไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์และสมาพันธรัฐสวิส
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองสุขอนามัยสำหรับสินค้าพืชผักสดไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์และสมาพันธรัฐสวิส[๑] ด้วยประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการอารักขาพืชระหว่างประเทศ (International Plant Protection Convention : IPPC) ซึ่งตามอนุสัญญาดังกล่าวกำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันมิให้โรคและศัตรูพืชแพร่ระบาดเข้าไปในประเทศสมาชิก และประเทศไทยได้รับการแจ้งเตือนจากสหภาพยุโรป นอร์เวย์ และสมาพันธรัฐสวิสเกี่ยวกับการตรวจพบศัตรูพืชและสารตกค้างปนเปื้อนไปกับสินค้าพืชของประเทศไทยที่ส่งไปสหภาพยุโรปเป็นระยะ ๆ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ จนกระทั่งปัจจุบัน เป็นจำนวน ๗๑๕ ครั้ง ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของประเทศจึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรการและแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนั้น เพื่อเป็นการปฏิบัติตามอนุสัญญาดังกล่าว และป้องกันมิให้สหภาพยุโรประงับการนำเข้าสินค้าพืชจากประเทศไทย กรมวิชาการเกษตรในฐานะหน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแลการส่งออกสินค้าพืชผัก ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กรมวิชาการเกษตรจะออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองสุขอนามัยสำหรับสินค้าพืชผักสด จำนวน ๕ กลุ่ม ๑๖ ชนิด ตามรายชื่อแนบท้ายประกาศนี้ ที่จะส่งไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์และสมาพันธรัฐสวิส ต่อเมื่อผู้ส่งออกได้ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมพิเศษการส่งออกผักและผลไม้สดไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์และสมาพันธรัฐสวิส แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ ประกาศฉบับนี้ ให้มีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อพืช ๕ กลุ่ม ๑๖ ชนิด แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง ชะลอการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองสุขอนามัยสำหรับสินค้าพืชผักสดไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์และสมาพันธรัฐสวิส ๒. มาตรการควบคุมพิเศษการส่งออกผักและผลไม้สดไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์และสมาพันธรัฐสวิส แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง ชะลอการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองสุขอนามัยสำหรับสินค้าพืชผักสดไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์และสมาพันธรัฐสวิส (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๕ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๔๗ ง/หน้า ๒๔/๙ มีนาคม ๒๕๕๕
696855
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2552 (ฉบับ Update ณ วันที่ 03/02/2554)
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของหัวพันธุ์มันฝรั่งที่นำเข้าเพื่อการค้าจากสหรัฐอเมริกาเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกาเข้ามาในราชอาณาจักร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ชนิดพืช หัวพันธุ์มันฝรั่ง (seed potato) Solanum tuberosum ข้อ ๒ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง ๒.๑ รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งและดินที่ติดมากับหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกาปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ๒.๒ ศัตรูพืชกักกันของหัวพันธุ์มันฝรั่งที่ต้องมีการจัดการความเสี่ยง คือ ๒.๒.๑ pale cyst nematode, Globodera pallid ๒.๒.๒ golden nematode, Globodera rostochiensis ๒.๒.๓ bacterial ring rot, Clavibacter michiganensis subsp. Sepedonicus ข้อ ๓ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๓.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๓.๒ สหรัฐอเมริกา คือ United States Department of Agriculture, Animal and Plant Health Inspection Service (หลังจากนี้ต่อไปจะอ้างถึงว่าเป็น USDA-APHIS) ข้อ ๔ ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง การตรวจสอบสำหรับการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งและการรับรองสุขอนามัยพืชต้องดำเนินการโดยห้องปฏิบัติการของ USDA-APHIS หรือห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจาก USDA-APHIS ข้อ ๕ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๖ วิธีการขนส่ง หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องส่งมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทย ในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางเรือหรือทางอากาศ กรณีเป็นสินค้าขนส่งทางเรือหัวพันธุ์มันฝรั่งจะส่งมาจากเมืองท่าในคานาดาก็ได้ ข้อ ๗ แหล่งผลิต ๗.๑ หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องมาจากแหล่งผลิตในสหรัฐอเมริกา ซึ่ง USDA-APHIS กำหนดว่าเป็นแหล่งผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแหล่งผลิตนั้นก่อนการส่งออก และ ๗.๒[๒] หัวพันธุ์มันฝรั่งเฉพาะจากแหล่งผลิตในรัฐต่อไปนี้ในสหรัฐอเมริกาได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ๗.๒.๑ รัฐแคลิฟอร์เนีย (California) ๗.๒.๒ รัฐไอดาโฮ (Idaho) ๗.๒.๓ รัฐออริกอน (Oregon) ๗.๒.๔ รัฐวอชิงตัน (Washington) ๗.๒.๕ รัฐโคโลราโด (Colorado) ๗.๒.๖ รัฐเมน (Maine) ๗.๒.๗ รัฐมิชิแกน (Michigan) ๗.๒.๘ รัฐมินนิโซตา (Minnesota) ๗.๒.๙ รัฐมอนแทนา (Montana) ๗.๒.๑๐ รัฐเนแบรสกา (Nebraska) ๗.๒.๑๑ รัฐนิวยอร์ก (New York) ๗.๒.๑๒ รัฐนอร์ทดาโคตา (North Dakota) ๗.๒.๑๓ รัฐวิสคอนซิน (Wisconsin) ๗.๒.๑๔ รัฐไวโอมิง (Wyoming) ข้อ ๘ การผลิตและการรับรอง ๘.๑[๓] หัวพันธุ์มันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกาต้องผ่านการตรวจรับรองเป็นไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองและระบบการตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเป็นที่ยอมรับหน่วยงานเหล่านี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งเพื่อพิสูจน์และรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยภายใต้ระบบการตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดสุขอนามัยพืชซึ่งระบุไว้ในประกาศฉบับนี้ ๘.๑.๑ หน่วยงาน California Crop Improvement Association ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย ๘.๑.๒ หน่วยงาน Idaho Crop Improvement Association ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐไอดาโฮ ๘.๑.๓ หน่วยงาน Oregon Seed Certification Service ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐออริกอน ๘.๑.๔ หน่วยงาน Washington State Department of Agriculture ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐวอชิงตัน ๘.๑.๕ หน่วยงาน Colorado state University ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐโคโลราโด ๘.๑.๖ หน่วยงาน Maine Department of Agriculture, Food and Rural Resources ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐเมน ๘.๑.๗ หน่วยงาน Michigan Department of Agriculture, Pesticide and Plant Pest Management Division ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐมิชิแกน ๘.๑.๘ หน่วยงาน Minnesota Department of Agriculture, Plant Protection Division ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐมินนิโซตา ๘.๑.๙ หน่วยงาน Montana State University ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐมอนแทนา ๘.๑.๑๐ หน่วยงาน Potato Certification Association of Nebraska ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐเนแบรสกาและรัฐไวโอมิง ๘.๑.๑๑ หน่วยงาน New York State College of Agriculture & Life Sciences at Cornell University ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐนิวยอร์ก ๘.๑.๑๒ หน่วยงาน North Dakota State Seed Department ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐนอร์ทดาโคตา ๘.๑.๑๓ หน่วยงาน University of Wisconsin College of Agriculture and Life Sciences ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐวิสคอนซิน ๘.๒ ยกเว้นกรณีที่ได้ระบุไว้ หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องผลิตและรับรองให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในมาตรฐานการรับรองการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งของรัฐที่ผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งนั้น ๘.๓ เป็นที่ยอมรับว่าในระบบการตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งของสหรัฐอเมริกานั้นได้กำหนดระดับที่ยอมรับได้เท่ากับศูนย์สำหรับโรค bacterial ring rot, Clavibacter michiganensis subsp. sepedonicus และ Potato spindle tuber viroid (PSTVd) ๘.๔ หน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองจะออกบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งต่อเมื่อหัวพันธุ์มันฝรั่งเป็นไปตามข้อกำหนดสุขอนามัยพืชซึ่งระบุไว้ในประกาศฉบับนี้เท่านั้นหมายเลขการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องระบุไว้บนบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งและใบรับรองสุขอนามัยพืช ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างรวดเร็วกรณีที่พบว่าหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้ามีปัญหา ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับดิน ๙.๑ ต้องจัดการกับดินให้หัวพันธุ์มันฝรั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ๙.๒ ดินที่มีลักษณะเป็นผงติดมากับหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องมีน้ำหนักไม่เกิน ๑๐๐ กรัมต่อหัวพันธุ์มันฝรั่งน้ำหนัก ๕๐ กิโลกรัม (เท่ากับร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก) สำหรับดินที่มีลักษณะเป็นก้อนเกาะติดบนหัวพันธุ์มันฝรั่ง หัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งมีดินลักษณะเป็นก้อนเกาะติดมาครอบคลุมพื้นที่ผิวเกินกว่าร้อยละ ๒๐ ต้องมีไม่เกินจำนวน ๓๐ หัว จากตัวอย่างหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวน ๖๐๐ หัว (เท่ากับร้อยละ ๕) ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับไส้เดือนฝอยศัตรูพืชกักกัน ๑๐.๑ บางพื้นที่ในรัฐนิวยอร์ก (New York) และไอดาโฮ ในสหรัฐอเมริกาพบว่ามีการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง pale cyst nematode, Globodera pallidae และ golden nematode, Globodera rostochiensis ๑๐.๒ ห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งที่มาจากพื้นที่ซึ่งประกาศเป็นเขตควบคุมไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในสหรัฐอเมริกา และห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทย สำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งผลการตรวจสอบดินพบไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง ๑๐.๓ ต้องมีการบังคับใช้กฎระเบียบด้านสุขอนามัยพืชเพื่อห้ามหรือจำกัดการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายพืชหรือสิ่งอื่นใดซึ่งอาจทำให้ไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งเกิดการแพร่กระจายออกไปจากพื้นที่ที่มีการระบาด ๑๐.๔ ต้องดำเนินการตรวจไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในดินอย่างเป็นทางการในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่ง ก่อนเริ่มปลูกมันฝรั่ง หรือก่อนเก็บเกี่ยว เฉพาะหัวพันธุ์มันฝรั่งปลูกในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งปลอดจากไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งเท่านั้นจะได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย การรับรองไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องเป็นไปตามวิธีการซึ่งเห็นพ้องร่วมกัน นอกจากนี้ ต้องตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างดินในห้องปฏิบัติการของ USDA-APHIS หรือห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจาก USDA-APHIS ๑๐.๕ นอกจากไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งแล้ว หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องมาจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งปราศจากไส้เดือนฝอยศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้ โดยอาศัยข้อมูลจากการเฝ้าระวังอย่างเป็นทางการ ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับโรคพืชกักกันซึ่งมีสาเหตุมาจากรา ๑๑.๑ ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรค powdery scab ซึ่งมีสาเหตุจากรา Spongospora subterranea ต้องมีหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวนไม่เกินร้อยละ ๒ ซึ่งแสดงอาการของโรคที่สามารถตรวจพบได้ ระดับของโรค powdery scab ซึ่งแสดงอาการที่สามารถตรวจพบได้ คือ จำนวน ๕ รอยแผลหรือมากกว่าต่อหัว ๑๑.๒ ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรค skin spot ซึ่งมีสาเหตุจากรา Polyscytalum pustulans ต้องมีหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวนไม่เกินร้อยละ ๒ ซึ่งแสดงอาการของโรคที่สามารถตรวจพบได้ระดับของโรค skin spot ซึ่งแสดงอาการที่สามารถตรวจพบได้ คือ จำนวน ๕ รอยแผลหรือมากกว่าต่อหัว ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับโรคพืชกักกันซึ่งมีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย ๑๒.๑ ห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งมาจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่มีการแพร่ระบาดของโรค bacterial ring rot, Clavibacter michiganensis subsp. sepedonicus และแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งใช้เครื่องจักรกล สถานที่ และ หรือ พนักงานร่วมกัน ๑๒.๒ ต้องตรวจวิเคราะห์หัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงผลิตที่จะส่งออกมายังราชอาณาจักรไทยในห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาโรค bacterial ring rot โดยห้องปฏิบัติการของ USDA-APHIS หรือห้องปฏิบัติการที่ได้รับการยอมรับจาก USDA-APHIS เฉพาะหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงผลิต ซึ่งผลการตรวจวิเคราะห์ไม่พบโรค bacterial ring rot เท่านั้นจะได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย การตรวจโรค bacterial ring rot ในหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องเป็นไปตามวิธีการซึ่งเห็นพ้องร่วมกัน ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับโรคพืชกักกันซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัส ๑๓.๑ หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องปลูกในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ที่มีอำนาจตรวจรับรองได้ตรวจอาการของโรคที่เกิดจากไวรัสบนต้นมันฝรั่งด้วยสายตาในระหว่าง ช่วงฤดูปลูกตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการรับรองการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งของรัฐที่ผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งนั้น และต้องปลอดจากโรคมันฝรั่งซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัสศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ยกเว้นไวรัสที่ระบุไว้ในข้อ ๑๓.๔ นอกจากนี้ ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรคซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัสทุกชนิด นอกเหนือจากไวรัสศัตรูพืชกักกันในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ๑๓.๒ นอกเหนือจากการตรวจอาการของโรคที่เกิดจากไวรัสบนต้นมันฝรั่งด้วยสายตาแล้ว ต้องตรวจวิเคราะห์การทำลายของโรค Potato virus Y (PVY) และ Potato leaf roll virus (PLRV) บนหัวพันธุ์มันฝรั่งในห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองตามวิธีการซึ่งเห็นพ้องร่วมกันระดับที่ที่ยอมรับได้สำหรับโรค PVY และ PLRV บนหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงปลูกที่กำหนดต้องไม่เกินร้อยละ ๔ การตรวจ เพื่อกำหนดระดับการทำลายของโรค PVY และ PLRV บนหัวพันธุ์มันฝรั่งอาจเลือกใช้วิธีการหนึ่งวิธีการใดดังนี้ คือ ตรวจจากใบก่อนเก็บเกี่ยว ตรวจจากหน่อหลังเก็บเกี่ยว หรือตรวจจากใบหลังจากเพาะหัวให้งอก ๑๓.๒.๑ ตรวจจากใบก่อนเก็บเกี่ยว : เก็บรวบรวมใบมันฝรั่งจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งก่อนการฉีดพ่นสารเคมีทำลายต้นมันฝรั่ง และตรวจวิเคราะห์ใบด้วยเทคนิค ELISA ตามกระบวนการ ดังต่อไปนี้ (ก) วิธีการตรวจไวรัสประกอบด้วยการเก็บใบมันฝรั่งจำนวน ๔๖๐ ใบ จากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่กำหนด มัดรวมกันเป็น ๙๒ มัด มัดละ ๕ ใบ (ข) สำหรับการตรวจหาระดับการทำลายของไวรัสที่น้อยกว่า ร้อยละ ๔ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ ๙๕ นั้น หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องถูกปฏิเสธการส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยหากจำนวน ๑๗ การทดสอบแสดงผลบวก ๑๓.๒.๒ ตรวจจากหน่อหลังเก็บเกี่ยว : ตรวจวิเคราะห์หน่อด้วยเทคนิค ELISA ตามกระบวนการ ดังต่อไปนี้ (ก) สุ่มตัวอย่างหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวน ๔๐๐ หัว จากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่กำหนด (ข) สำหรับการตรวจหาการทำลายของไวรัสจำนวน ๔๐๐ การทดสอบหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องถูกปฏิเสธการส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยหากจำนวน ๑๖ การทดสอบแสดงผลบวก ๑๓.๒.๓ ตรวจจากใบหลังจากเพาะหัวให้งอก : ตรวจวิเคราะห์ใบด้วยเทคนิค ELISA ตามกระบวนการ ดังต่อไปนี้ (ก) สุ่มตัวอย่างหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวน ๔๐๐ หัว จากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่กำหนด เพาะหัวมันฝรั่งจนกระทั่งงอกเป็นต้นอ่อน จากนั้นนำใบไปตรวจวิเคราะห์หาไวรัส (ข) สำหรับการตรวจหาการทำลายของไวรัสจำนวน ๔๐๐ การทดสอบหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องถูกปฏิเสธการส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยหากจำนวน ๑๖ การทดสอบแสดงผลบวก ๑๓.๓ ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองต้องเก็บรักษาใบรายงานผลการตรวจการทำลายของโรค PVY และ PLRV บนหัวพันธุ์มันฝรั่งในห้องปฏิบัติการและต้องส่งมอบให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ใบรายงานผลการตรวจควรมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการตรวจสอบย้อนกลับ เช่น เกษตรกร ผู้ส่งออก หมายเลขการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่ง จำนวนตัวอย่างที่ตรวจและผลการตรวจ เป็นต้น ๑๓.๔ กรณีของโรค Potato mop top virus (PMTV) ระดับที่ยอมรับสำหรับการตรวจด้วยสายตากับหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่กำหนดนั้นต้องไม่ปรากฏอาการของโรค ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๔.๑ ต้องบรรจุหัวพันธุ์มันฝรั่งน้ำหนัก ๒๕ - ๕๐ กิโลกรัม ในกระสอบซึ่งต้องเป็นกระสอบใหม่และปิดปากกระสอบเมื่อบรรจุหัวพันธุ์มันฝรั่งแล้ว ๑๔.๒ ต้องติดบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งบนกระสอบบรรจุหัวพันธุ์มันฝรั่งรายละเอียดของฉลากบนบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของ USDA-APHIS ข้อ ๑๕ การตรวจส่งออก ๑๕.๑ หัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเป็นสินค้าที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องผ่านการตรวจของเจ้าหน้าที่ก่อนหรือระหว่างการขนถ่ายช่วงสุดท้ายของการขนส่ง เมื่อดำเนินการตรวจเสร็จสิ้นแล้วต้องปิดประตูและปิดผนึกประตูตู้ขนส่งสินค้าหรือรถบรรทุกสินค้าโดยทันที ๑๕.๒ เจ้าหน้าที่ต้องออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้เท่านั้น ข้อ ๑๖ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๖.๑ ต้องแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชมาพร้อมกับสินค้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกาทุกครั้งที่มีการนำเข้า และต้องระบุรัฐที่เป็นแหล่งกำเนิดของหัวพันธุ์มันฝรั่ง ๑๖.๒ ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The seed potatoes in this consignment were produced in the United Stats of America in accordance with the conditions governing entry of seed potatoes to Thailand.” ๑๖.๓ ต้องบันทึกหมายเลขตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางเรือเท่านั้น) และหมายเลขการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งของหัวพันธุ์มันฝรั่งในแต่ละตู้ขนส่งสินค้าบนใบรับรองสุขอนามัยพืช กรณีที่มีการขนย้ายหัวพันธุ์มันฝรั่งไปบรรจุในตู้ขนส่งสินค้ายังสถานที่นอกโรงงานบรรจุสินค้าหน่วยงานตรวจรับรองของรัฐจะส่งหนังสือถึงกรมวิชาการเกษตรเพื่อแจ้งหมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งของหัวพันธุ์มันฝรั่งในแต่ละตู้ขนส่งสินค้า ข้อ ๑๗ การตรวจนำเข้า ๑๗.๑ เมื่อหัวพันธุ์มันฝรั่งมาถึงยังด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจหัวพันธุ์มันฝรั่งจะดำเนินการหลังจากที่มีการตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้าแล้ว ๑๗.๒ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งกลับหรือสั่งให้ทำลายซึ่งหัวพันธุ์มันฝรั่งโดยผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ในกรณีที่การรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งไม่เป็นไปตามข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืช หรือผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าชำรุดหรือเสียหาย ๑๗.๓ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ หรือตรวจพบว่าเกินกว่าระดับที่ยอมรับได้ในระหว่างการตรวจนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งดังกล่าวต้องถูกส่งกลับหรือถูกทำลายโดยผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งให้ USDA-APHIS ทราบถึงการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดและขึ้นอยู่กับสภาวการณ์ กรมวิชาการเกษตรอาจระงับการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากกองนั้น แปลงผลิต รัฐ หรือทั้งประเทศ ๑๗.๔ USDA-APHIS ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้า เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุของการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดและได้มีการดำเนินการแก้ไขแล้วจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๗.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ยังคงมีชีวิตและไม่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ซึ่งมีศักยภาพสำคัญด้านกักกันพืชต่อราชอาณาจักรไทยต้องส่งกลับ ทำลายหรือกำจัดศัตรูพืชบนหัวพันธุ์มันฝรั่งด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้หยุดการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราวได้จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๗.๖ ถึงแม้ว่าหัวพันธุ์มันฝรั่งจะได้รับการตรวจปล่อยให้นำออกไปจากด่านนำเข้าแล้ว ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อจากหลักฐานว่าหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้าจากบางแหล่งผลิตซึ่งอาจมีศัตรูพืชกักกันติดมาด้วย หัวพันธุ์มันฝรั่งจะถูกสั่งระงับไม่ให้นำไปปลูกและต้องถูกดำเนินมาตรการทางสุขอนามัยพืชที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูพืชกักกันแพร่กระจายออกไปภายใต้คำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินมาตรการดังกล่าวนั้น ๑๗.๗ ผู้นำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องส่งรายละเอียดผู้ปลูกและพื้นที่ที่ปลูกหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้าแก่กรมวิชาการเกษตรทันทีเมื่อได้รับการร้องขอ นอกจากนี้ ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจมีศัตรูพืชกักกันของมันฝรั่งในแปลงปลูกมันฝรั่ง เจ้าหน้าที่กักกันพืชต้องดำเนินการสำรวจแปลงปลูกมันฝรั่งโดยทันที ผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการสำรวจดังกล่าวนั้น ข้อ ๑๘ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๘.๑ หัวพันธุ์มันฝรั่งจากแหล่งผลิตตามที่ระบุไว้ในข้อ ๗.๒ ในสหรัฐอเมริกาได้ผ่านการรับรองแล้วจากกรมวิชาการเกษตรให้ส่งออกหัวพันธุ์มันฝรั่งมายังราชอาณาจักรไทย การส่งออกหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแหล่งผลิตอื่นซึ่งยังไม่ได้รับการรับรองนั้น จะเริ่มได้หลังจากกรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกหัวพันธุ์มันฝรั่งแล้วเท่านั้น โดยสหรัฐอเมริกาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๘.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในสหรัฐอเมริกา ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งได้อีกต่อไป ถ้ากรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น โดยสหรัฐอเมริกาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของหัวพันธุ์มันฝรั่งและดินจากสหรัฐอเมริกา แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๕๕๒ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๗๐ ง/หน้า ๔๖/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๒] ข้อ ๗.๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๓] ข้อ ๘.๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔
696037
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกักพืช
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกักพืช[๑] ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๒ ได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกักพืชไว้แล้ว นั้น เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวได้ดำรงตำแหน่งครบกำหนดวาระตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕ ตรี แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ และพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ แล้ว ดังนั้น อาศัยตามความในมาตรา ๕ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงแต่งตั้งบุคคลต่อไปนี้ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกักพืช ๑. นายวิชา ธิติประเสริฐ ๒. นายสัญชัย ตันตยาภรณ์ ๓. นายชัยฤกษ์ สงวนทรัพยากร ๔. นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศรตม์/ผู้จัดทำ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๖๑ ง/หน้า ๓๖/๑ มิถุนายน ๒๕๕๔
656457
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าเชื้อแบคทีเรีย Pantoea ananatis สายพันธุ์ PIASA จากญี่ปุ่น พ.ศ. 2554
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าเชื้อแบคทีเรีย Pantoea ananatis สายพันธุ์ PIASA จากญี่ปุ่น พ.ศ. ๒๕๕๔ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของเชื้อแบคทีเรีย Pantoea ananatis สายพันธุ์ PIASA ที่นำเข้าเพื่อการค้าจากญี่ปุ่นเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติ ให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำเข้าเชื้อแบคทีเรีย Pantoea ananatis สายพันธุ์ PIASA จากญี่ปุ่น ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าเชื้อแบคทีเรีย Pantoea ananatis สายพันธุ์ PIASA จากญี่ปุ่น พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดเชื้อแบคทีเรีย Pantoea ananatis สายพันธุ์ PIASA ข้อ ๔ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๔.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๔.๒ ญี่ปุ่น คือ Plant Protection Division, Food Safety and Consumer Affairs Bureau, Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “MAFF” ข้อ ๕ การขออนุญาตนำเข้า ๕.๑ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ๕.๒ ต้องเป็นผู้ประกอบกิจการที่จำเป็นต้องนำเข้าเชื้อแบคทีเรีย Pantoea ananatis สายพันธุ์ PIASA เพื่อการผลิตกรดอะมิโนทางอุตสาหกรรม ๕.๓ ต้องเสนอรายละเอียด ขั้นตอนการขนส่ง ขั้นตอนกระบวนการตรวจพิสูจน์เชื้อแบคทีเรีย Pantoea ananatis สายพันธุ์ PIASA ขั้นตอนการเก็บรักษา และมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพเสนอต่อกรมวิชาการเกษตรเพื่อพิจารณาและเห็นชอบ ข้อ ๖ วิธีการขนส่ง ต้องส่งเชื้อแบคทีเรียมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในญี่ปุ่นไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทย ในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางอากาศเท่านั้น ข้อ ๗ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์ระหว่างการขนส่ง ๗.๑ ต้องบรรจุเชื้อแบคทีเรียในหลอดอาหารซึ่งผลิตจากพลาสติกและปิดสนิทเมื่อบรรจุเชื้อแบคทีเรียแล้ว โดยหลอดอาหารต้องไม่มีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๗.๒ ต้องบรรจุหลอดอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียในบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากโลหะซึ่งออกแบบเฉพาะสำหรับการขนส่งเชื้อแบคทีเรีย บรรจุภัณฑ์ต้องมีความแข็งแรง และคงทนต่อแรงกระแทก มีฝาปิดสนิทมั่นใจได้ว่าสามารถป้องกันการเล็ดลอดของเชื้อแบคทีเรียออกสู่สภาพแวดล้อมระหว่างการขนส่ง ข้อ ๘ การรับรองส่งออก ต้องตรวจเชื้อแบคทีเรีย Pantoea ananatis โดยห้องปฏิบัติการของ MAFF หรือห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจาก MAFF และให้การรับรองว่าเป็นเชื้อแบคทีเรีย Pantoea ananatis จริง บริสุทธิ์ และปลอดจากจุลินทรีย์ชนิดอื่น โดยระบุข้อความดังกล่าวในใบรับรองสุขอนามัยพืชหรือหนังสือสำคัญอย่างอื่นอันเป็นที่เชื่อถือได้ แนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่นำเข้า ข้อ ๙ การตรวจนำเข้า ๙.๑ เมื่อเชื้อแบคทีเรียถูกขนส่งมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าเชื้อแบคทีเรียจะดำเนินการหลังจากได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้าและความสมบูรณ์ของบรรจุภัณฑ์ ๙.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะกักเชื้อแบคทีเรียไว้ ณ สถานที่ ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้ให้ความเห็นชอบไว้จนกว่าจะดำเนินการตรวจพิสูจน์ได้ว่าเชื้อแบคทีเรียที่นำเข้าเป็นเชื้อแบคทีเรีย Pantoea ananatis สายพันธุ์ PIASA จริง และปลอดจากจุลินทรีย์ชนิดอื่นโดยผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าต้องดำเนินการตรวจพิสูจน์ภายใต้การกำกับดูแลของพนักงานเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร ๙.๓ ในกรณีที่การนำเข้าไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๙.๓.๑ กรณีที่บรรจุภัณฑ์หรือหลอดบรรจุเชื้อแบคทีเรียเกิดความเสียหายและมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจเกิดการเล็ดลอดของเชื้อแบคทีเรียในระหว่างการขนส่ง พนักงานเจ้าหน้าที่จะยึดและทำลายของที่นำเข้าทั้งหมดโดยทันที โดยผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย และจะระงับการนำเข้าโดยทันที ผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้าเมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๙.๓.๒ กรณีมีการตรวจพบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ชนิดอื่น พนักงานเจ้าหน้าที่จะยึดและทำลายของที่นำเข้าทั้งหมดโดยทันที โดยผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย และจะระงับการนำเข้าโดยทันที ผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้าเมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๙.๓.๓ กรณีผลการตรวจยืนยันชนิดเชื้อแบคทีเรียนำเข้าไม่ตรงกับชนิดที่ได้รับอนุญาต พนักงานเจ้าหน้าที่จะยึดและทำลายของที่นำเข้าทั้งหมดโดยทันที โดยผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย และจะระงับการนำเข้าโดยทันที ผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้าเมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับสถานที่เก็บ ๑๐.๑ สถานที่เก็บต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากลว่าเป็นห้องปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยทางชีวภาพในระดับ ๒ หรือเทียบเท่า จากหน่วยงานที่มีอำนาจหรือองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญและได้รับการตรวจสอบและเห็นชอบจากกรมวิชาการเกษตร ๑๐.๒ กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่เก็บหรือระบบการปฏิบัติงานในสถานที่เก็บ ผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าต้องแจ้งและได้รับความเห็นชอบจากกรมวิชาการเกษตรเสียก่อน หรือในระหว่างการเก็บมีเหตุการณ์ที่อาจจะมีผลต่อการเล็ดลอดของเชื้อแบคทีเรียออกไปสู่สภาพแวดล้อม ผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบโดยทันที ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับการขนส่งจากสถานที่เก็บไปยังสถานที่ใช้เพื่อการอุตสาหกรรม ผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าต้องดำเนินการตามขั้นตอนวิธีการจัดส่งเชื้อแบคทีเรียจากสถานที่เก็บเชื้อแบคทีเรียไปยังสถานที่ซึ่งนำเชื้อแบคทีเรียไปใช้ในการผลิตกรดอะมิโนทางอุตสาหกรรมตามระบบมาตรฐานสากลของความปลอดภัยทางชีวภาพที่เสนอต่อกรมวิชาการเกษตรเพื่อตรวจสอบและเห็นชอบ และต้องแจ้งต่อกรมวิชาการเกษตรโดยทันทีในกรณีที่ระหว่างการขนส่งเกิดเหตุการณ์อันทำให้เกิดการเล็ดลอดของเชื้อแบคทีเรียออกไปสู่สภาพแวดล้อม ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับโรงงานที่นำเชื้อแบคทีเรียไปใช้เพื่อการอุตสาหกรรม ๑๒.๑ โรงงานต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากลว่ามีห้องปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยทางชีวภาพในระดับ ๒ หรือเทียบเท่า จากหน่วยงานที่มีอำนาจหรือองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญ และได้รับการตรวจสอบและเห็นชอบจากกรมวิชาการเกษตร ๑๒.๒ โรงงานซึ่งนำเชื้อแบคทีเรียไปใช้ในการผลิตกรดอะมิโนทางอุตสาหกรรมต้องเป็นโรงงานที่เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล เช่น ระบบประกันคุณภาพ (ISO 9001) ระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) มาตรฐานการผลิต HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในกระบวนการผลิต (GMP) ๑๒.๓ กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งโรงงานหรือระบบการปฏิบัติงานในโรงงาน ผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าต้องแจ้งและได้รับความเห็นชอบจากกรมวิชาการเกษตรเสียก่อน หรือในระหว่างการดำเนินการมีเหตุการณ์ที่อาจจะมีผลต่อการเล็ดลอดของเชื้อแบคทีเรียออกไปสู่สภาพแวดล้อม ผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบโดยทันที ข้อ ๑๓ การตรวจติดตาม กรมวิชาการเกษตรจะตรวจติดตามการดำเนินการของผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าว่าได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดหรือไม่ หากพบว่าผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดหรือไม่แสดงเอกสารหลักฐานให้กรมวิชาการเกษตรตรวจสอบเมื่อได้รับการร้องขอ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิเพิกถอนใบอนุญาตนำเข้าดังกล่าวได้ ประกาศ ณ วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ จิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ชาญ/ผู้ตรวจ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๒๕ ง/หน้า ๗๓/๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๔
656455
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าดินอุตสาหกรรม พ.ศ. 2554
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าดินอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๕๔ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของดินอุตสาหกรรมที่นำเข้าเพื่อการค้าเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำเข้าดินอุตสาหกรรม ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าดินอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ดินอุตสาหกรรม” หมายถึง ดินที่ใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรมเซรามิคที่ผลิตกระเบื้องและเครื่องสุขภัณฑ์ มีคุณสมบัติที่สำคัญคือมีความเหนียวพอปั้นขึ้นรูปได้ ข้อ ๔ ชนิดสินค้า ดินอุตสาหกรรม ข้อ ๕ ประเทศที่ได้รับอนุญาต ทุกประเทศ ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ๖.๑ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ๖.๒ ผู้มีสิทธิยื่นคำขออนุญาตนำเข้าดินอุตสาหกรรมต้องมีเอกสารหลักฐานแสดงการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องใช้ดินดังกล่าวในกระบวนการผลิตแนบมาด้วย ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งดินอุตสาหกรรมมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทย ในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำ ทางบก หรือทางอากาศ ข้อ ๘ ข้อกำหนดสำหรับการนำเข้า ๘.๑ ต้องบรรจุดินอุตสาหกรรมในบรรจุภัณฑ์ที่สะอาดและปิดมิดชิด ไม่มีการปะปนของแมลงที่มีชีวิต เมล็ดวัชพืช หรือชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๘.๒ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชหรือหนังสือรับรองอื่นที่ออกโดยองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติหรือหน่วยงานราชการที่มีอำนาจของประเทศผู้ส่งออกแนบมาด้วย และให้การรับรองว่าเป็นดินอุตสาหกรรม โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชหรือหนังสือรับรองต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่นำเข้า ประกาศ ณ วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ จิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ชาญ/ผู้ตรวจ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๒๕ ง/หน้า ๗๑/๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๔
656453
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าไข่ไหมจากสาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ. 2554
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าไข่ไหมจากสาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ. ๒๕๕๔ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของไข่ไหมที่นำเข้าเพื่อการค้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช ออกประกาศกำหนดเงื่อนไข การนำเข้าไข่ไหมจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าไข่ไหมจากสาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ชนิดพืช ไข่ไหม (silkworm egg, Bombyx mori) ข้อ ๔ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับไข่ไหมจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้แก่ Nosema bombycis สาเหตุโรคเพบริน ข้อ ๕ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๕.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๕.๒ สาธารณรัฐประชาชนจีน คือ General Administration of Quality Supervision, Inspection and Quarantine of the People's Republic of China ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “AQSIQ” ข้อ ๖ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ วิธีการขนส่ง ต้องส่งไข่ไหมมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสาธารณรัฐประชาชนจีนไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทย ในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางอากาศ ข้อ ๘ ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง การตรวจสอบสำหรับการรับรองไข่ไหมปลอดจากศัตรูพืชกักกัน Nosema bombycis สาเหตุโรคเพบรินต้องดำเนินการโดยห้องปฏิบัติการของ AQSIQ หรือห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจาก AQSIQ ข้อ ๙ แหล่งผลิต ไข่ไหมเฉพาะจากมณฑลกว่างตง (Guangdong) ในสาธารณรัฐประชาชนชนจีน ได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับการนำเข้า ต้องปลอดจากศัตรูพืชกักกัน Nosema bombycis สาเหตุโรคเพบริน ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์ ๑๑.๑ ต้องวางไข่ไหมบนแผ่นไข่ที่ใหม่ สะอาด และบรรจุไข่ไหมในบรรจุภัณฑ์ที่ใหม่และปิดสนิทเมื่อบรรจุไขไหมแล้ว ๑๑.๒ ต้องบรรจุไข่ไหมในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ข้อ ๑๒ การตรวจส่งออก ไข่ไหมที่ส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องมีการรับรองว่าปลอดจากศัตรูพืชกักกัน Nosema bombycis สาเหตุโรคเพบรินจากห้องปฏิบัติการก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการ ข้อ ๑๓ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๓.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย AQSIQ กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of silkworm eggs was produced and prepared for export in accordance with conditions for import of silkworm eggs from China to Thailand” ๑๓.๒ ต้องระบุชื่อวิทยาศาสตร์ของไหมในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๔ การตรวจนำเข้า ๑๔.๑ เมื่อไข่ไหมถูกขนส่งมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าไข่ไหมจะดำเนินการหลังจากได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๔.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างไข่ไหมและตรวจสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันว่ามีศัตรูพืชกักกัน Nosema bombycis สาเหตุโรคเพบรินติดมากับไข่ไหมหรือไม่ และต้องกักไข่ไหมไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๔.๓ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกัน Nosema bombycis สาเหตุโรคเพบรินยังมีชีวิต ไข่ไหมทั้งหมดต้องถูกทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งให้ AQSIQ ทราบถึงการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด และขึ้นอยู่กับสภาวการณ์ กรมวิชาการเกษตรอาจจะระงับการนำเข้าไข่ไหม ๑๔.๔ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นนอกเหนือจากศัตรูพืชกักกัน Nosema bombycis สาเหตุโรคเพบริน ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชกักกันบนไข่ไหมด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าไข่ไหมเป็นการชั่วคราวจนกว่าการประเมินความเสี่ยงได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ จิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ชาญ/ผู้ตรวจ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๒๕ ง/หน้า ๖๘/๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๔
655877
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดค่าตรวจพืช (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔[๑] โดยเป็นการเห็นสมควรกำหนดด่านตรวจพืชเพิ่มเติมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒ ให้ยกเลิก “ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดด่านตรวจพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๓ ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีอาณาเขตตามเขตด่านศุลกากรท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๔ กำหนดให้คลังสินค้าทัณฑ์บนราชพฤกษ์ ๒๕๕๔ เป็นด่านตรวจพืชราชพฤกษ์ ๒๕๕๔ มีอาณาเขตตามเขตคลังสินค้าทัณฑ์บนราชพฤกษ์ ๒๕๕๔ โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และสิ้นสุดลงในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ตรวจ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๔ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง/หน้า ๑๐/๓๐ กันยายน ๒๕๕๔
651168
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2554
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๔ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลส้มนำเข้าเป็นการค้าจากเครือรัฐออสเตรเลียเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลส้มจากเครือรัฐออสเตรเลีย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก ๓.๑ ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำผลส้มจากประเทศออสเตรเลียเข้ามาในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗ ๓.๒ ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำผลส้มจากประเทศออสเตรเลียเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ข้อ ๔ ชนิดพืช ๔.๑ ผลส้มจากแหล่งปลูกส้มนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย ได้แก่ ๔.๑.๑ ส้มหวาน (sweet orange) Citrus sinensis ได้แก่ พันธุ์นาเวล (Navel) และวาเลนเซีย (Valencia) ๔.๑.๒ ส้มเปลือกล่อน (mandarin) Citrus reticulata ได้แก่ พันธุ์เอลเลนเดล (Ellendale) และเมอคอท (Murcott) ๔.๑.๓ เลมอน (lemon) Citrus limon ได้แก่ พันธุ์ลิสบอน (Lisbon) ๔.๒ ผลส้มจากแหล่งปลูกส้มในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย ได้แก่ ๔.๒.๑ ส้มหวาน (sweet orange) Citrus sinensis ได้แก่ พันธุ์นาเวล (Navel) และวาเลนเซีย (Valencia) ๔.๒.๒ ส้มเปลือกล่อน (mandarin) Citrus reticulata ได้แก่ พันธุ์เอลเลนเดล (Ellendale) และเมอคอท (Murcott) ๔.๒.๓ เลมอน (lemon) Citrus limon ได้แก่ พันธุ์ลิสบอน (Lisbon) ๔.๒.๔ เทนเกอร์ (tangor) Citrus reticulata x sinensis ๔.๒.๕ เกรฟฟรุท (grapefruit) Citrus paradise ๔.๒.๖ ส้มโอ (pummelo) Citrus maxima ข้อ ๕ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลส้มจากเครือรัฐออสเตรเลีย ปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๖.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๖.๒ เครือรัฐออสเตรเลีย คือ Department of Agriculture, Fisheries and Forestry ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “DAFF” ข้อ ๗ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๘ วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลส้มมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๙ แหล่งปลูก ๙.๑ ผลส้มต้องเป็นผลผลิตจากเครือรัฐออสเตรเลีย และมาจากสวนส้มที่ปลูกเป็นการค้าซึ่งได้จดทะเบียนไว้กับ DAFF โดยที่ DAFF กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกส้มสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ๙.๒ ผลส้มเฉพาะจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ และรัฐต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย ๙.๒.๑ นิวเซาท์เวลส์ (New South Wales) ๙.๒.๒ ควีนส์แลนด์ (Queensland) ๙.๒.๓ เซาท์ออสเตรเลีย (South Australia) ๙.๒.๔ วิกตอเรีย (Victoria) ๙.๒.๕ เวสเทิร์นออสเตรเลีย (Western Australia) ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๑๐.๑ DAFF ต้องจดทะเบียนสวนส้มในแหล่งปลูกผลส้มที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่าผลส้มปราศจากศัตรูพืชกักกัน และต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนส้มให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนสวนส้มให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๐.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนส้มที่จดทะเบียนต้องปฏิบัติตามมาตรฐานหลักปฏิบัติทางเกษตรดีที่เหมาะสมในสวนส้ม โดยต้องรักษาความสะอาดสวนส้ม และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๑๐.๓ DAFF ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนส้มตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออก ๑๑.๑ DAFF ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จะส่งออกผลส้มไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๑๑.๒ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องนำส้มมาจากสวนส้มที่จดทะเบียนซึ่งปลูกเป็นการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของส้มที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็ว ต้องเก็บบันทึกรายชื่อเกษตรกรเจ้าของสวนส้มซึ่งส่งผลส้มออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๑๑.๓ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องจัดทำเอกสารมาตรฐานกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุผลส้ม ๑๑.๔ DAFF ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกนั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๑๑.๕ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นหรือรมด้วยสารรมก่อนการส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกัน ต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ๑๑.๖ การตรวจส้มว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับแมลงซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกัน ๑๒.๑ แมลงวันผลไม้ ผลส้มที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจัดการความเสี่ยงแมลงวันผลไม้ต่อไปนี้ได้แก่ halfordia fruit fly (Bactrocera halfordiae), Javis fruit fly (Bactrocera jarvisi) , Krauss’s fruit fly (Bactrocera kraussi) , lesser Queensland fruit fly (Bactrocera neohumeralis) , mango fruit fly (Bactrocera frauenfeldi) , Northern Territory fruit fly (Bactrocera aquilonis) , Queensland fruit fly (Bactrocera tryoni) และ Mediterranean fruit fly (Ceratitis capitata) ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้ ๑๒.๑.๑ ผลส้มต้องมาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือ ๑๒.๑.๒ ผลส้มจากแปลงปลูกซึ่งอยู่นอกพื้นที่ปลอดแมลงผลไม้ ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในส้มด้วยวิธีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกหรือระหว่างขนส่ง ๑๒.๒ แมลง Fuller’s rose weevil, Asynonychus cervinus ผลส้มที่จะส่งออกจากแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาตยกเว้นผลส้มในรัฐควีนส์แลนด์ไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องจัดการความเสี่ยงแมลง Fuller’s rose weevil ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้ ๑๒.๒.๑ ต้องรมด้วยสารเมทธิลโบรไมด์ (methyl bromide) หรือ ๑๒.๒.๒ ต้องอยู่ภายใต้โครงการควบคุมแมลงภายในสวนส้มซึ่งติดตามตรวจสอบโดย DAFF ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๓.๑ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๒๖ เรื่อง การสถาปนาพื้นที่ปลอดศัตรูพืชสำหรับแมลงวันผลไม้ชนิดต่าง ๆ (Tephritdae) ๑๓.๒ การกำหนดพื้นที่ปลูกส้มบริเวณใดในเครือรัฐออสเตรเลียให้เป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้นั้น DAFF ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กรมวิชาการเกษตรทราบอย่างเป็นทางการ ต้องบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อรักษาสถานภาพของพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกส้มส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย พื้นที่ดังต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้สำหรับแมลงวันผลไม้ halfordia fruit fly, Javis fruit fly, Krauss’s fruit fly, lesser Queensland fruit fly, mango fruit fly, Northern Territory fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ได้แก่ ๑๓.๒.๑ รัฐทัสมาเนีย (Tasmania) ๑๓.๒.๒ เขตริเวอร์รินา (Riverina district) ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เมือง (city) กิฟฟิท (Griffith), เขตพื้นที่ (shire) คาเรทโฮล (Carrathool), ลีตัน (Leeton), นาเรนเดอร์รา (Narrandera) และเมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee) พื้นที่นี้ยังแบ่งย่อยออกเป็น ๒ ส่วน คือ พื้นที่เขตชลประทานเมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee Irrigation Area, MIA) และ คาเรทโฮล (Carrathool) ๑๓.๒.๓ เขตริเวอร์แลนด์ (Riverland district) ของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (county) เฮมเล (Hamley), เขตพื้นที่ (hundred) บุคเพอร์มังค์ (Bookpurmong), คาแดล (Cadell), กอร์เดน (Gorden), โฮลเดอร์ (Holder), คาทาเรพโค (Katarapko), โลวีเดย์ (Loveday), มาร์คาเรนคา (Markaranka), มอรูค (Moorook), เมอร์โท (Murtho), พาร์โคลา (Parcoola), พาริงจา (Paringa), โพจิโนค (Pooginook), ไพท (Pyap), สเตาร์ (Stuart), ไวเคอร์รี (Waikerie), อีบา (Eba), ฟิสเซอร์ (Fisher), ฟอสเตอร์ (Forster), เฮ (Hay), เมอร์โค (Murbko), นิดอททิ (Nildottie), เพรเล (Paisley), ริดเล (Ridley), เซอร์เร (Skurray) และ ออนเล (Onley) ในเขตพื้นที่ (shire) มิลดูรา (Mildura) ของรัฐวิกตอเรีย ๑๓.๒.๔ เขตชัลเรเซีย (Sunraysia district) ของรัฐวิกตอเรียและรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (shire) เวนเวอดท์ (Wentworth) และบาเรนดอล (Balranald) ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ และ มิลดูรา (Mildura), สวอนฮิล (Swan Hill), วาโคล (Wakool) และคีเรง (Kerang) และเมือง (city) สวอนฮิล (Swan Hill), มิลดูรา (Mildura) และเขตพื้นที่ (borough) คีเรง (Kerang) ในรัฐวิกตอเรีย ๑๓.๓ การส่งออกผลส้มจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ไม่มีความจำเป็นต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้มก่อนส่งออก ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามแมลงวันผลไม้ halfordia fruit fly, Javis fruit fly, Krauss’s fruit fly, lesser Queensland fruit fly, mango fruit fly, Northern Territory fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly อย่างสม่ำเสมอในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๓.๔ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันทีที่มีการยืนยันว่าพบการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ halfordia fruit fly, Javis fruit fly, Krauss’s fruit fly,lesser Queensland fruit fly, mango fruit fly, Northern Territory fruit fly,Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ DAFF ต้องระงับการให้การรับรองการส่งออกผลส้มจากพื้นที่ที่พบแมลงวันผลไม้เป็นการชั่วคราว และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่เหล่านั้นให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ๑๓.๕ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันที หากพบแมลงวันผลไม้ชนิดอื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ นอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ halfordia fruit fly, Javis fruit fly, Krauss’s fruit fly, lesser Queensland fruit fly, mango fruit fly, Northern Territory fruit fly, Queensland fruit fly และ Mediterranean fruit fly DAFF ต้องระงับการให้การรับรองการส่งออกผลส้มจากพื้นที่ที่พบแมลงวันผลไม้เป็นการชั่วคราว และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่เหล่านั้นให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับการจัดการความเสี่ยงแมลงวันผลไม้ ๑๔.๑ กรณีผลส้มที่จะส่งออกมาจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงผลไม้หรือกรณี DAFF ไม่สามารถให้การรับรองพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้เพราะว่าพื้นที่ที่นำส้มมาส่งออกนั้นขาดคุณสมบัติที่จะคงสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของพื้นที่นั้นถูกระงับเป็นการชั่วคราว กรณีดังกล่าวเหล่านี้ ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในส้มด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืช วิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นดังต่อไปนี้ ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืชสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลส้ม ๑๔.๑.๑ ส้มหวาน ได้แก่ พันธุ์นาเวล และวาเลนเซีย อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๒ องศาเซลเซียส (๓๕.๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๓ องศาเซลเซียส (๓๗.๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๐ วัน หรือมากกว่า ๑๔.๑.๒ ส้มเปลือกล่อน ได้แก่ พันธุ์เอลเลนเดล และเมอคอท อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๒ องศาเซลเซียส (๓๕.๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๓ องศาเซลเซียส (๓๗.๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๐ วัน หรือมากกว่า ๑๔.๑.๓ เลมอน ได้แก่ พันธุ์ลิสบอน อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๒ องศาเซลเซียส (๓๕.๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๖ วัน หรือมากกว่า ๓ องศาเซลเซียส (๓๗.๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๑๔.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นสามารถดำเนินการได้ทั้งก่อนส่งออกหรือระหว่างขนส่ง สำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้นอาจจะดำเนินการเพียงบางส่วนซึ่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกโดยเริ่มต้นดำเนินการในเครือรัฐออสเตรเลียและการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ระหว่างขนส่ง ในกรณีที่การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นเกิดล้มเหลวระหว่างขนส่ง การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นอาจจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้เมื่อสินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง ๑๔.๓ การส่งออกผลส้มซึ่งต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งนั้น ต้องลดอุณหภูมิส้มตรงบริเวณกึ่งกลางผลให้ต่ำลงถึงระดับเดียวกันกับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่กำหนด สำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้เป็นการล่วงหน้าก่อนขนถ่ายส้มเข้าตู้ขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอุณหภูมิส้มได้ลดต่ำลงถึงระดับที่เหมาะสม ก่อนเริ่มต้นกระบวนการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นและต้องรักษาระดับอุณหภูมิของผลส้มให้คงที่ติดต่อกันตลอดไป ๑๔.๔ การประเมินผลการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นทั้งกรณีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก และการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง จะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เท่านั้น โดยไม่นำอุณหภูมิจากแท่งวัดอุณหภูมิอากาศมาประกอบการประเมินผลประสิทธิภาพของการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ข้อ ๑๕ ข้อกำหนดสำหรับการจัดการความเสี่ยงแมลง Fuller’s rose weevil, Asynonychus cervinus ผลส้มจากแหล่งปลูกที่ได้รับการรับรองยกเว้นผลส้มในรัฐควีนแลนด์ต้องจัดการความเสี่ยงแมลง Fuller’s rose weevil ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งก่อนส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย ดังต่อไปนี้ ๑๕.๑ รมด้วยสารเมทธิลโบรไมด์ ๑๕.๑.๑ การรมเมทธิลโบรไมด์ที่อัตรากำหนดดังต่อไปนี้ได้รับการยอมรับสำหรับกำจัดแมลง Fuller’s rose weevil อุณหภูมิ อัตรา (กรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ระยะเวลา (ชั่วโมง) สูงกว่า ๒๑ องศาเซลเซียส ๓๒ ๒ ๑๖ - ๒๑ องศาเซลเซียส ๔๐ ๒ ๑๑ - ๑๕ องศาเซลเซียส ๔๘ ๒ ๑๐ องศาเซลเซียส ๕๖ ๒ ๑๕.๑.๒ ปริมาณของผลส้มจะต้องไม่เกินร้อยละ ๘๐ ของปริมาตรตู้และต้องไม่ดำเนินการรมผลส้มเมื่ออุณหภูมิของผลส้มต่ำกว่า ๑๐ องศาเซลเซียส ๑๕.๑.๓ ต้องมีใบรับรองการรมเมทธิลโบรไมด์ของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่มีการนำเข้า ๑๕.๒ โครงการควบคุมแมลงภายในสวนส้ม ๑๕.๒.๑ DAFF ต้องจดทะเบียนสวนส้มของเกษตรกรในแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาตสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชสำหรับ Fuller’s rose weevil ๑๕.๒.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนส้มต้องปฏิบัติตามโครงการควบคุมแมลง Fuller’s rose weevil ในสวนส้มซึ่งได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตรและ DAFF ข้อ ๑๖ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ๑๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออกต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ DAFF โดยต้องดำเนินการในห้องเย็นสำหรับกำจัดศัตรูพืชซึ่งได้รับการรับรองจาก DAFF และกรมวิชาการเกษตร ส้มสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยอาจจะทำการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นควบคู่ไปพร้อมกับผลส้มที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นได้ ๑๖.๒ ถ้าผลส้มต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ใน เอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๗ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๑๗.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น โดยดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้าระหว่างขนส่งสินค้า ๑๗.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งซึ่งดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้านั้น อาจจะเริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่ตู้ขนส่งสินค้าอยู่บนบก และเสร็จสิ้นในช่วงระหว่างการขนส่งหรือเสร็จสิ้นเมื่อตู้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ๑๗.๓ ถ้าส้มต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ใน เอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ นอกจากนี้แล้ว ต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตาม เอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับสินค้าด้วยทุกครั้ง ข้อ ๑๘ ข้อกำหนดสำหรับผู้ประกอบการรมเมทธิลโบรไมด์ ๑๘.๑ DAFF ต้องดำเนินการจดทะเบียนผู้ประกอบการซึ่งได้แสดงให้ DAFF เห็นแล้วว่ามีความสามารถที่จะดำเนินการรมเมทธิลโบรไมด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามข้อกำหนดของ DAFF DAFF ต้องมอบรายชื่อผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนแล้วให้กับกรมวิชาการเกษตร และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันทีเมื่อมีการแก้ไขเนื่องจาก การจดทะเบียนผู้ประกอบการเพิ่มเติม การปรับปรุงแก้ไขผู้ประกอบการในปัจจุบัน หรือการยกเลิกหรือการพักใช้ทะเบียนเป็นการชั่วคราว ๑๘.๒ การจดทะเบียนแต่ละผู้ประกอบการรมเมทธิลโบรไมด์ต้องมีข้อมูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ชื่อผู้ประกอบการที่จดทะเบียน สถานที่ตั้ง หมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร และอื่น ๆ ชื่อเจ้าของและผู้จัดการ รัฐที่ผู้ประกอบการดำเนินการรมสินค้า หมายเลขการขึ้นทะเบียน ๑๘.๓ กรมวิชาการเกษตรต้องดำเนินการตรวจสอบผู้ประกอบการซึ่งขึ้นทะเบียนทั้งหมด และเฉพาะผู้ประกอบการที่ผ่านการรับรองจากกรมวิชาการเกษตรแล้วเท่านั้นถึงจะสามารถดำเนินการรมเมทธิลโบรไมด์กับผลส้มที่จะส่งออกมายังราชอาณาจักรไทย ๑๘.๔ กรมวิชาการเกษตรจะติดตามการดำเนินการของผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรอง กรณีที่กรมวิชาการเกษตรตรวจพบว่าการรมเมทธิลโบรไมด์ไม่มีประสิทธิภาพ กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งให้ DAFF ทราบทันที กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการดำเนินการของผู้ประกอบการนั้นไปจนกว่าจะมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๑๙ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๙.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูก โพลีสไตรีน พลาสติก หรือลังแบบต่าง ๆ ที่ทำจากไม้ โดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่หรือเป็นวัสดุใหม่ กรณีที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกล่องกระดาษหรือพลาสติก บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ต้องสะอาดและใหม่เท่านั้น ๑๙.๒ สำหรับผลส้มที่ส่งออกทางอากาศ ต้องบรรจุผลส้มให้เป็นไปตามเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใด ดังต่อไปนี้ ๑๙.๒.๑ ต้องบรรจุผลส้มในบรรจุภัณฑ์ โดยต้องห่อหุ้มผลส้มแต่ละผลด้วยตาข่าย หรือห่อหุ้มผลส้มทั้งหมดด้วยตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๙.๒.๒ ต้องบรรจุผลส้มในบรรจุภัณฑ์ เมื่อปิดสนิทแล้วต้องปิดช่องระบายอากาศทั้งหมดบนบรรจุภัณฑ์ด้วยตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๙.๒.๓ ต้องบรรจุผลส้มในบรรจุภัณฑ์ซึ่งเมื่อมัดรวมกันหรือมัดรวมกันแล้ววางบนแท่นวาง ต้องห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดด้วยตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร ๑๙.๓ ต้องบรรจุผลส้มในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๙.๔ ถ้าขนส่งผลส้มมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลส้มในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้ปรากฏบนแต่ละกล่อง Product of Australia Name of exporting company : Name of fruit (common name and cultivar) : Grower registration number : Packinghouse or export establishment registration number : Packing date : Export destination : Thailand ๑๙.๕ ถ้าขนส่งผลส้มไปยังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุผลส้มในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง ต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้ปรากฏบนแต่ละด้าน Product of Australia Name of exporting company : Name of fruit (common name and cultivar) : Grower registration number : Packinghouse or export establishment registration number : Pallet identification number: Export destination : Thailand ๑๙.๖ ผลส้มที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กฎข้อบังคับว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในทางการค้าระหว่างประเทศ ข้อ ๒๐ การตรวจส่งออก ๒๐.๑ ต้องสุ่มตรวจผลส้มด้วยสายตาก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการ และต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ใน เอกสารหมายเลข ๑ ๒๐.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ใน เอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๒๐.๒.๑ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิตบนผลส้ม ได้แก่ แมลงวันผลไม้ และแมลง Fuller’s rose weevil ต้องปฏิเสธการส่งออกส้มทั้งหมดไปยังราชอาณาจักรไทย ๒๐.๒.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ และแมลง Fuller’s rose weevil ส้มทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ๒๐.๓ ต้องดำเนินการกำจัดหรือจัดการความเสี่ยงแมลงวันผลไม้และแมลง Fuller’s rose weevil ในส้มตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๔ และ ข้อ ๑๕ ข้อ ๒๑ การรับรองสุขอนามัยพืช ๒๑.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย DAFF กำกับมาด้วยโดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of citrus fruit was produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of fresh citrus fruit from Australia to Thailand” ๒๑.๒ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ถ้าส้มมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องระบุข้อความเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ “The consignment of citrus fruit was produced in ( name of defined area ) which is a pest free area for halfordia fruit fly, Javis fruit fly, Krauss’s fruit fly, lesser Queensland fruit fly, mango fruit fly, Northern Territory fruit fly,Queensland fruit fly and Mediterranean fruit fly in Australia.” ๒๑.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก ถ้าส้มผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออก ต้องระบุรายละเอียดของโรงงานกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น อุณหภูมิ และระยะเวลาที่ใช้ (จำนวนวันที่ต่อเนื่องกัน) ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม ๒๑.๔ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ๒๑.๔.๑ ถ้าผลส้มได้รับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองสุขอนามัยพืช ดังต่อไปนี้ “DAFF has supervised the calibration and the placement of fruit sensors into the fruit within the container(s) in accordance with the conditions for import of fresh citrus fruit from Australia to Thailand and cold disinfestation treatment has been initiated” ๒๑.๔.๒ ต้องมีต้นฉบับใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๒๑.๕ การรมด้วยสารเมทธิลโบรไมด์ ถ้าผลส้มได้รับการรมด้วยสารเมทธิลโบรไมด์ ต้องระบุรายละเอียดการรมเมทธิลโบรไมด์ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม และต้องมีต้นฉบับใบรับรองการรมเมทธิลโบรไมด์แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๒๑.๖ โครงการควบคุมแมลงภายในสวนส้ม ถ้าผลส้มอยู่ภายใต้โครงการควบคุมแมลงภายในสวนส้ม ต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of citrus fruit was subjected to in-field control programs agreed by DOA and DAFF to control Fuller’s rose weevil.” ๒๑.๗ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อพันธุ์ของผลส้ม หมายเลขตู้ขนส่งสินค้า และหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๒๒ การตรวจนำเข้า ๒๒.๑ เมื่อผลส้มมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าผลส้มจะดำเนินการหลังจากได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๒๒.๒ เจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างส้มและตรวจสอบเพื่อยื่นยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักผลส้มไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๒๒.๓ ถ้ามีผลส้มนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลส้ม จำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจผลส้มทั้งหมด ถ้ามีผลส้มจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจผลส้มจำนวน ๖๐๐ ผล ๒๒.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจผลส้ม ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๒๒.๔.๑ แมลงวันผลไม้ (๑) ถ้าตรวจพบแมลงวันผลไม้ที่มีชีวิต ผลส้มทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ DAFF ทราบและระงับการนำเข้าโดยทันที (๒) DAFF ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้าเมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๒๒.๔.๒ แมลง Fuller’s rose weevil (๑) ถ้าตรวจพบแมลง Fuller’s rose weevil ที่มีชีวิต ผลส้มทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย (๒) กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ DAFF ทราบโดยทันทีหลังจากนั้น DAFF ต้องระงับการให้การรับรองผลส้มจากสวนส้มที่พบการทำลายของแมลง Fuller’s rose weevil เพื่อส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยตลอดฤดูกาลส่งออกนั้น ๒๒.๔.๓ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ และแมลง Fuller’s rose weevil ส้มทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๒๒.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนผลส้มด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าผลส้มจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราว จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๒๒.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งผลส้มกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งกรณีดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๒๒.๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นไม่สมบูรณ์ ๒๒.๖.๒ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๒๒.๖.๓ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๒๒.๖.๔ เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผลส้ม หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนด หรือส้มที่เสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตกหรือเกิดรอยเปิด ๒๒.๖.๕ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๒๓ การประเมินกระบวนการส่งออก ๒๓.๑ การส่งออกผลส้มจากเครือรัฐออสเตรเลียไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๒๓.๒ หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็นในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในเครือรัฐออสเตรเลียก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าผลส้มได้อีกต่อไป โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ จิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลส้มจากเครือรัฐออสเตรเลีย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๔ (เอกสารหมายเลข ๑) ๒. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนส่งออก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๔ (เอกสารหมายเลข ๒) ๓. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๔ (เอกสารหมายเลข ๓) ๔. ใบรับรองเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้าสำหรับราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๔ (เอกสารหมายเลข ๓) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี ดำรง/ตรวจ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๓ ง/หน้า ๓๙/๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๔
650528
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการนำเข้าและส่งออกผลไม้ระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนผ่านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. 2554
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการนำเข้าและส่งออกผลไม้ระหว่างราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐประชาชนจีนผ่านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. ๒๕๕๔ ตามพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สาม ระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ลงวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (Protocol on the Inspection and Quarantine Requirements for Exportation and Importation of Fruits between Thailand and China through Territories of the Third Countries between the Ministry of Agriculture and Cooperatives of the Kingdom of Thailand the General Administration of Quality Supervision, Inspection and Quarantine of the People’s Republic of China) กำหนดให้ผลไม้ที่นำเข้าและส่งออกระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนผ่านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวต้องนำเข้าและส่งออกจากด่านและใช้เส้นทางที่กำหนดในพิธีสารดังกล่าว และต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืช อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำเข้าและส่งออกผลไม้ระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนผ่านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ผู้ส่งออก” หมายความว่า ผู้ส่งออกผลไม้ไปสาธารณรัฐประชาชนจีน “ผู้นำเข้า” หมายความว่า ผู้นำเข้าผลไม้จากสาธารณรัฐประชาชนจีน “ผลไม้” หมายความว่า ผลไม้ที่ส่งออกจากราชอาณาจักรไทย จำนวน ๒๓ ชนิด หรือผลไม้ที่นำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน ๑๙ ชนิด ตามรายชื่อผลไม้แนบท้ายประกาศนี้ หมวด ๑ การส่งออกผลไม้ ข้อ ๔ ผู้ประสงค์จะขอรับใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับผลไม้ที่จะส่งไปสาธารณรัฐประชาชนจีน ผ่านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ให้ปฏิบัติตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ พ.ศ. ๒๕๕๑ และประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๕ ผู้ขอใบรับรองสุขอนามัยพืชที่ส่งออกผลไม้ต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกับกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๖ ผู้ขอใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องจัดเตรียมผลไม้ที่จะส่งออกเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ดังต่อไปนี้ ๖.๑ ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ใหม่ โดยบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุผลไม้ต้องระบุรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ ๖.๑.๑ ชื่อบริษัทที่ส่งออก ๖.๑.๒ ชนิดผลไม้ ๖.๑.๓ หมายเลขทะเบียนสวน ๖.๑.๔ หมายเลขทะเบียนโรงคัดบรรจุ ๖.๑.๕ วันที่บรรจุ ๖.๑.๖ ระบุข้อความเป็นภาษาอังกฤษหรือจีนให้มีข้อความหรือความหมาย ดังนี้ “Export to the People’s Republic of China” ๖.๒ ผลไม้ต้องอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์หรือตู้ควบคุมอุณหภูมิระหว่างการขนส่งซึ่งจะไม่มีการเปิดตู้ระหว่างการขนส่ง โดยตู้คอนเทนเนอร์จะต้องปิดผนึกด้วยตราปิดผนึกของกรมวิชาการเกษตรที่มีหมายเลขกำกับ โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ ๖.๒.๑ มีรูปตราสัญลักษณ์กรมวิชาการเกษตร ๖.๒.๒ มี XX หมายถึงรหัสผู้ส่งออกที่จดทะเบียน ๖.๒.๓ มี 000 หมายถึง หมายเลขตราปิดผนึก ๖.๓ ต้องบรรจุในโรงคัดบรรจุที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมวิชาการเกษตร ๖.๔ ต้องส่งออกผลไม้จากสวนที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๗ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วพบว่าผู้ขอมีคุณสมบัติและปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๓ ถึงข้อ ๖ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับผู้ขอ โดยใบรับรองสุขอนามัยพืชจะระบุข้อความ “This fruit is in compliance with the protocol on Inspection and quarantine Conditions of Tropical Fruits to be exported from Thailand to China and the Protocol on the Inspection and Quarantine Requirements for Exportation and Importation of Fruits between Thailand and China through Territories of the Third Country” และระบุหมายเลขตู้คอนเทนเนอร์และหมายเลขตราปิดผนึกในช่อง additional declaration ใบรับรองสุขอนามัยพืชดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ๗ วัน นับแต่วันออกใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๘ การส่งออกผลไม้ให้กระทำ ดังต่อไปนี้ ๘.๑ กรมวิชาการเกษตรโดยด่านตรวจพืชเชียงของจะส่งสำเนาใบรับรองสุขอนามัยพืชให้ด่านโม่หาน (Mohan) ของสาธารณรัฐประชาชนจีนทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือโทรสารก่อนการนำเข้าผลไม้ ๘.๒ ในกรณีที่ผู้ส่งออกได้รับใบรับรองสุขอนามัยพืชจากกลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตรหรือด่านตรวจพืชอื่น ผู้ส่งออกจะต้องส่งสำเนาใบรับรองสุขอนามัยพืชให้ด่านตรวจพืชเชียงของเพื่อส่งให้ด่านโม่หาน (Mohan) ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ๘.๓ ต้องขนส่งผ่านเส้นทางขนส่งทางบกตามรายละเอียดดังนี้ เชียงของ ราชอาณาจักรไทย - ห้วยทราย (Huai-Sai) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว - บ่อเต็น (Borten) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว - โม่หาน (Mohan) สาธารณรัฐประชาชนจีน หมวด ๒ การนำเข้าผลไม้ ข้อ ๙ ผู้ประสงค์จะนำผลไม้จากสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้ามาในราชอาณาจักรไทยผ่านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ให้ปฏิบัติตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการนำเข้าหรือนำผ่านซึ่งสิ่งต้องห้าม สิ่งกำกัดและสิ่งไม่ต้องห้าม พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๑๐ พนักงานเจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชเชียงของจะต้องได้รับสำเนาใบรับรองสุขอนามัยพืชจากด่านโม่หาน (Mohan) ของสาธารณรัฐประชาชนจีนทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือโทรสารก่อนการนำเข้าผลไม้ ข้อ ๑๑ ผู้นำเข้าต้องปฏิบัติเกี่ยวกับผลไม้ที่นำเข้า ดังต่อไปนี้ ๑๑.๑ ต้องบรรจุผลไม้ในบรรจุภัณฑ์ใหม่ โดยบรรจุภัณฑ์ต้องระบุรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ ๑๑.๑.๑ ชื่อบริษัทที่ส่งออก ๑๑.๑.๒ ชนิดผลไม้ ๑๑.๑.๓ หมายเลขทะเบียนสวน ๑๑.๑.๔ หมายเลขทะเบียนโรงคัดบรรจุ ๑๑.๑.๕ วันที่บรรจุ ๑๑.๑.๖ ระบุข้อความเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยให้มีข้อความหรือความหมาย ดังนี้ “Export to the Kingdom of Thailand” ๑๑.๒ ผลไม้ต้องอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์หรือตู้ควบคุมอุณหภูมิระหว่างการขนส่งซึ่งจะไม่มีการเปิดตู้ระหว่างการขนส่ง โดยตู้คอนเทนเนอร์จะต้องปิดผนึกด้วยตราปิดผนึกของกระทรวงควบคุมและตรวจสอบกักกันโรคแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีหมายเลขกำกับ โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ ๑๑.๒.๑ มีรูปตราสัญลักษณ์กระทรวงควบคุมและตรวจสอบกักกันโรคแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ๑๑.๒.๒ มี XX หมายถึงรหัสผู้ส่งออกที่จดทะเบียน ๑๑.๒.๓ มี 000 หมายถึง หมายเลขตราปิดผนึก ๑๑.๓ ต้องบรรจุในโรงคัดบรรจุที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงควบคุมและตรวจสอบกักกันโรคแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ๑๑.๔ ต้องส่งออกผลไม้จากสวนที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงควบคุมและตรวจสอบกักกันโรคแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ๑๑.๕ ต้องขนส่งผ่านเส้นทางขนส่งทางบกตามรายละเอียดดังนี้ โม่หาน (Mohan) สาธารณรัฐประชาชนจีน บ่อเต็น (Borten) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว - ห้วยทราย (Huai Sai) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว - เชียงของราชอาณาจักรไทย ข้อ ๑๒ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วพบว่าผู้นำเข้ามีคุณสมบัติและปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๗ ถึงข้อ ๙ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจใบรับรองสุขอนามัยพืชโดยในช่อง additional declaration จะต้องระบุข้อความ ดังต่อไปนี้ “This fruits is in compliance with the Protocol on Inspection and Quarantine Conditions of Tropical Fruit to be exported from China to Thailand and the Protocol on the Inspection and Quarantine Requirements for Exportation and Importation of Fruits between China and Thailand through Territories of the Third Country” ใบรับรองสุขอนามัยพืชดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ๗ วัน นับแต่วันออกใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพืชจะสุ่มตรวจผลไม้ ถ้าไม่พบศัตรูพืชกักกันและเป็นไปตามพิธีสารฯ จะอนุญาตให้นำเข้าผลไม้ได้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ จิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อผลไม้แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการนำเข้าและส่งออกผลไม้ระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนผ่านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. ๒๕๕๔ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๔ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๐ ง/หน้า ๑๕/๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๔
649789
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ามะพร้าวจากสาธารณรัฐอินโดนีเซีย พ.ศ. 2554
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ามะพร้าวจากสาธารณรัฐอินโดนีเซีย พ.ศ. ๒๕๕๔ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของมะพร้าวที่นำเข้าเป็นการค้าจากสาธารณรัฐอินโดนีเซียเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำเข้ามะพร้าวจากสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ชนิดพืช มะพร้าว (coconut, Cocos nucifera) ตามประกาศนี้ ได้แก่ ๑.๑ ผลมะพร้าวแก่ปอกเปลือก (mature dehusked coconut) ๑.๒ เนื้อมะพร้าวแห้ง (copra) ข้อ ๒ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๒.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๒.๒ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย คือ Agency for Agricultural Quarantine ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “AAQ” ข้อ ๓ การขออนุญาตนำเข้า ๓.๑ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ๓.๒ ผู้ที่มีสิทธิยื่นคำขอใบอนุญาตนำเข้ามะพร้าวต้องดำเนินธุรกิจโรงงานแปรรูปมะพร้าว ข้อ ๔ วิธีการขนส่ง ต้องส่งมะพร้าวมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสาธารณรัฐอินโดนีเซียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางบกและทางน้ำ ข้อ ๕ ข้อกำหนดสำหรับการนำเข้า ๕.๑ ผลมะพร้าวแก่ปอกเปลือก ๕.๑.๑ ต้องปอกเปลือกหรือกาบมะพร้าวออกคงเหลือเฉพาะผนังชั้นกลาง (mesocarp or fibrous husk) ของผลมะพร้าวบางส่วน รูปภาพแสดงลักษณะผลมะพร้าวแก่ปอกเปลือกปรากฏตามเอกสารแนบ ๑ ท้ายประกาศนี้ ๕.๑.๒ ต้องไม่ปรากฏส่วนของก้านใบ หน่อ หรือยอดอ่อน ๕.๑.๓ ต้องรมด้วยสารรมเมทธิลโบรไมด์ (Methyl bromide) เพื่อทำลายความงอกที่อัตรา ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิ อัตรา (กรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ระยะเวลา (ชั่วโมง) ๒๑ องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า ๓๒ ๒๔ ๑๖ - ๒๐ องศาเซลเซียส ๔๐ ๒๔ ๑๑ - ๑๕ องศาเซลเซียส ๔๘ ๒๔ ๑๐ องศาเซลเซียส ๕๖ ๒๔ ๕.๑.๔ ต้องมีใบรับรองการรมเมทธิลโบรไมด์ของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนไว้กับ AAQ แนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่มีการนำเข้า ๕.๒ เนื้อมะพร้าวแห้ง เนื้อมะพร้าวแห้งที่จะส่งออกต้องทำการบรรจุเฉพาะในโรงบรรจุสินค้าซึ่งได้จดทะเบียนไว้กับ AAQ โดย AAQ ได้ให้การรับรองการปฏิบัติทางโรงงานที่ดีและเหมาะสม (Good Manufacturing Practice, GMP) โรงบรรจุสินค้าต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐานกระบวนการดำเนินงานซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุเนื้อมะพร้าวแห้ง ข้อ ๖ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์ ๖.๑ ต้องบรรจุมะพร้าวในบรรจุภัณฑ์ที่ใหม่ สะอาด และปิดสนิทเมื่อบรรจุมะพร้าวแล้ว ๖.๒ ต้องบรรจุมะพร้าวในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ข้อ ๗ การตรวจส่งออก ๗.๑ ต้องสุ่มตรวจมะพร้าวก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการและต้องปลอดจากศัตรูพืช ๗.๒ กรณีของมะพร้าวแก่ปอกเปลือก ต้องดำเนินการรมเมทธิลโบรไมด์ตามอัตราที่กำหนดในข้อ ๕.๑.๓ ข้อ ๘ การรับรองสุขอนามัยพืช ๘.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย AAQ กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทย ๘.๒ สำหรับมะพร้าวแก่ปอกเปลือกต้องระบุรายละเอียดการรมเมทธิลโบรไมด์ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม และต้องมีต้นฉบับใบรับรองการรมเมทธิลโบรไมด์แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๘.๓ ต้องระบุชื่อสามัญของมะพร้าว หมายเลขตู้ขนส่งสินค้า และหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๙ การตรวจนำเข้า ๙.๑ เมื่อมะพร้าวถูกขนส่งมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้ามะพร้าวจะดำเนินการหลังจากได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๙.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างมะพร้าวและตรวจสอบเพื่อยืนยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักมะพร้าวไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๙.๓ สำหรับมะพร้าวแก่ปอกเปลือก ถ้ามีการนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจมะพร้าวจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจมะพร้าวทั้งหมด ถ้ามีมะพร้าวจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจมะพร้าวจำนวน ๖๐๐ ผล ๙.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชหรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนมะพร้าวด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งให้ AAQ ทราบถึงการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด และขึ้นอยู่กับสภาวการณ์ กรมวิชาการเกษตรอาจจะระงับการนำเข้ามะพร้าว ๙.๕ สำหรับมะพร้าวแก่ปอกเปลือก ในกรณีที่ตรวจพบว่ามีการงอกของหน่อหรือยอดอ่อน มะพร้าวทั้งหมดจะถูกส่งกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ข้อ ๑๐[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ จิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รูปภาพแสดงลักษณะผลมะพร้าวแก่ปอกเปลือก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ามะพร้าวจากสาธารณรัฐอินโดนิเซีย พ.ศ. ๒๕๕๔ (เอกสารแนบ ๑) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๕๖/๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔
649787
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ามะพร้าวจากมาเลเซีย พ.ศ. 2554
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ามะพร้าวจากมาเลเซีย พ.ศ. ๒๕๕๔ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของมะพร้าวที่นำเข้าเป็นการค้าจากมาเลเซียเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำเข้ามะพร้าวจากมาเลเซีย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ชนิดพืช มะพร้าว (coconut, Cocos nucifera) ตามประกาศนี้ ได้แก่ ผลมะพร้าวแก่ปอกเปลือก (mature dehusked coconut) ข้อ ๒ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๒.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๒.๒ มาเลเซีย คือ Department of Agriculture, Malaysia ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “DOA, Malaysia” ข้อ ๓ การขออนุญาตนำเข้า ๓.๑ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ๓.๒ ผู้ที่มีสิทธิยื่นคำขอใบอนุญาตนำเข้ามะพร้าวต้องดำเนินธุรกิจโรงงานแปรรูปมะพร้าว ข้อ ๔ วิธีการขนส่ง ต้องส่งมะพร้าวมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในมาเลเซียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางบกและทางน้ำ ข้อ ๕ ข้อกำหนดสำหรับการนำเข้า ๕.๑ ต้องปอกเปลือกหรือกาบมะพร้าวออกคงเหลือเฉพาะผนังชั้นกลาง (mesocarp or fibrous husk) ของผลมะพร้าวบางส่วน รูปภาพแสดงลักษณะผลมะพร้าวแก่ปอกเปลือกปรากฏตามเอกสารแนบ ๑ ท้ายประกาศนี้ ๕.๒ ต้องไม่ปรากฏส่วนของก้านใบ หน่อ หรือยอดอ่อน ๕.๓ ต้องรมด้วยสารรมเมทธิลโบรไมด์ (Methyl bromide) เพื่อทำลายความงอกที่อัตรา ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิ อัตรา (กรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ระยะเวลา (ชั่วโมง) ๒๑ องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า ๓๒ ๒๔ ๑๖ - ๒๐ องศาเซลเซียส ๔๐ ๒๔ ๑๑ - ๑๕ องศาเซลเซียส ๔๘ ๒๔ ๑๐ องศาเซลเซียส ๕๖ ๒๔ ๕.๔ ต้องมีใบรับรองการรมเมทธิลโบรไมด์ของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนไว้กับ DOA, Malaysia แนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่มีการนำเข้า ข้อ ๖ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์ ๖.๑ ต้องบรรจุมะพร้าวในบรรจุภัณฑ์ที่ใหม่ สะอาด และปิดสนิทเมื่อบรรจุมะพร้าวแล้ว ๖.๒ ต้องบรรจุมะพร้าวในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ข้อ ๗ การตรวจส่งออก ๗.๑ ต้องสุ่มตรวจมะพร้าวก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการและต้องปลอดจากศัตรูพืช ๗.๒ ต้องดำเนินการรมเมทธิลโบรไมด์ตามอัตราที่กำหนดในข้อ ๕.๓ ข้อ ๘ การรับรองสุขอนามัยพืช ๘.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย DOA, Malaysia กำกับมาด้วยโดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทย ๘.๒ ต้องระบุรายละเอียดการรมเมทธิลโบรไมด์ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม และต้องมีต้นฉบับใบรับรองการรมเมทธิลโบรไมด์แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๘.๓ ต้องระบุชื่อสามัญของมะพร้าว หมายเลขตู้ขนส่งสินค้า และหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๙ การตรวจนำเข้า ๙.๑ เมื่อมะพร้าวถูกขนส่งมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้ามะพร้าวจะดำเนินการหลังจากได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๙.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างมะพร้าวและตรวจสอบเพื่อยืนยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิดและต้องกักมะพร้าวไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๙.๓ ถ้ามีมะพร้าวนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจมะพร้าวจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจมะพร้าวทั้งหมด ถ้ามีมะพร้าวจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจมะพร้าวจำนวน ๖๐๐ ผล ๙.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชหรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนมะพร้าวด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งให้ DOA, Malaysia ทราบถึงการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด และขึ้นอยู่กับสภาวการณ์ กรมวิชาการเกษตรอาจจะระงับการนำเข้ามะพร้าว ๙.๕ ในกรณีที่ตรวจพบว่ามีการงอกของหน่อหรือยอดอ่อน มะพร้าวทั้งหมดจะถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ข้อ ๑๐[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ จิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รูปภาพแสดงลักษณะผลมะพร้าวแก่ปอกเปลือก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ามะพร้าวจากมาเลเซีย พ.ศ. ๒๕๕๔ (เอกสารแนบ ๑) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๕๓/๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔
649783
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ามะพร้าวจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พ.ศ. 2554
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ามะพร้าวจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พ.ศ. ๒๕๕๔ กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของมะพร้าวที่นำเข้าเป็นการค้าจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำเข้ามะพร้าวจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ชนิดพืช มะพร้าว (coconut, Cocos nucifera) ตามประกาศนี้ ได้แก่ ๑.๑ ผลมะพร้าวแก่ปอกเปลือก (mature dehusked coconut) ๑.๒ เนื้อมะพร้าวสด (fresh coconut meat) ๑.๓ เนื้อมะพร้าวแห้ง (copra) ข้อ ๒ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๒.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๒.๒ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม คือ Plant Protection Department ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “PPD” ข้อ ๓ การขออนุญาตนำเข้า ๓.๑ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ๓.๒ ผู้ที่มีสิทธิยื่นคำขอใบอนุญาตนำเข้ามะพร้าวต้องดำเนินธุรกิจโรงงานแปรรูปมะพร้าว ข้อ ๔ วิธีการขนส่ง ต้องส่งมะพร้าวมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทย ในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางบกและทางน้ำ ข้อ ๕ ข้อกำหนดสำหรับการนำเข้า ๕.๑ ผลมะพร้าวแก่ปอกเปลือก ๕.๑.๑ ต้องปอกเปลือกหรือกาบมะพร้าวออกคงเหลือเฉพาะผนังชั้นกลาง (mesocarp or fibrous husk) ของผลมะพร้าวบางส่วน รูปภาพแสดงลักษณะผลมะพร้าวแก่ปอกเปลือกปรากฏตามเอกสารแนบ ๑ ท้ายประกาศนี้ ๕.๑.๒ ต้องไม่ปรากฏส่วนของก้านใบ หน่อ หรือยอดอ่อน ๕.๑.๓ ต้องรมด้วยสารรมเมทธิลโบรไมด์ (Methyl bromide) เพื่อทำลายความงอกที่อัตรา ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิ อัตรา (กรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ระยะเวลา (ชั่วโมง) ๒๑ องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า ๓๒ ๒๔ ๑๖ - ๒๐ องศาเซลเซียส ๔๐ ๒๔ ๑๑ - ๑๕ องศาเซลเซียส ๔๘ ๒๔ ๑๐ องศาเซลเซียส ๕๖ ๒๔ ๕.๑.๔ ต้องมีใบรับรองการรมเมทธิลโบรไมด์ของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนไว้กับ PPD แนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่มีการนำเข้า ๕.๒ เนื้อมะพร้าวสดและเนื้อมะพร้าวแห้ง เนื้อมะพร้าวสดและเนื้อมะพร้าวแห้งที่จะส่งออกต้องทำการบรรจุเฉพาะในโรงบรรจุสินค้าซึ่งได้จดทะเบียนไว้กับ PPD โดย PPD ได้ให้การรับรองการปฏิบัติทางโรงงานที่ดีและเหมาะสม (Good Manufacturing Practice, GMP) โรงบรรจุสินค้าต้องจัดทำเอกสารมาตรฐานกระบวนการดำเนินงานซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุเนื้อมะพร้าวสดและเนื้อมะพร้าวแห้ง ข้อ ๖ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์ ๖.๑ ต้องบรรจุมะพร้าวในบรรจุภัณฑ์ที่ใหม่ สะอาด และปิดสนิทเมื่อบรรจุมะพร้าวแล้ว ๖.๒ ต้องบรรจุมะพร้าวในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ข้อ ๗ การตรวจส่งออก ๗.๑ ต้องสุ่มตรวจมะพร้าวก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการและต้องปลอดจากศัตรูพืช ๗.๒ กรณีของมะพร้าวแก่ปอกเปลือกต้องดำเนินการรมเมทธิลโบรไมด์ตามอัตราที่กำหนดในข้อ ๕.๑.๓ ข้อ ๘ การรับรองสุขอนามัยพืช ๘.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย PPD กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทย ๘.๒ สำหรับมะพร้าวแก่ปอกเปลือก ต้องระบุรายละเอียดการรมเมทธิลโบรไมด์ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม และต้องมีต้นฉบับใบรับรองการรมเมทธิลโบรไมด์แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๘.๓ ต้องระบุชื่อสามัญของมะพร้าว หมายเลขตู้ขนส่งสินค้า และหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๙ การตรวจนำเข้า ๙.๑ เมื่อมะพร้าวถูกขนส่งมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้ามะพร้าวจะดำเนินการหลังจากได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๙.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างมะพร้าวและตรวจสอบเพื่อยืนยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักมะพร้าวไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๙.๓ สำหรับมะพร้าวแก่ปอกเปลือก ถ้ามีการนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจมะพร้าวจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจมะพร้าวทั้งหมด ถ้ามีมะพร้าวจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจมะพร้าวจำนวน ๖๐๐ ผล ๙.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชหรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนมะพร้าวด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งให้ PPD ทราบถึงการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด และขึ้นอยู่กับสภาวการณ์ กรมวิชาการเกษตรอาจจะระงับการนำเข้ามะพร้าว ๙.๕ สำหรับมะพร้าวแก่ปอกเปลือก ในกรณีที่ตรวจพบว่ามีการงอกของหน่อหรือยอดอ่อน มะพร้าวทั้งหมดจะถูกส่งกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ข้อ ๑๐[๑] ประกาศฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ จิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รูปภาพแสดงลักษณะผลมะพร้าวแก่ปอกเปลือก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ามะพร้าวจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พ.ศ. ๒๕๕๔ (เอกสารแนบ ๑) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๕๐/๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔
649176
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2554
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๔ ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลองุ่นสดที่นำเข้าเป็นการค้าจากเครือรัฐออสเตรเลียเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ชนิดพืช ผลองุ่น (grape, Vitis vinifera) ข้อ ๒ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับองุ่นจากเครือรัฐออสเตรเลียปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๓.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๓.๒ เครือรัฐออสเตรเลีย คือ Department of Agriculture, Fisheries ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “DAFF” ข้อ ๔ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๕ วิธีการขนส่ง ต้องส่งองุ่นมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๖ แหล่งปลูก ๖.๑ องุ่นต้องเป็นผลผลิตจากเครือรัฐออสเตรเลีย และมาจากสวนองุ่นที่ปลูกเป็นการค้าซึ่งได้รับการจดทะเบียนภายใต้ระบบที่ DAFF ให้การรับรอง โดยกำหนดให้เป็นแหล่งปลูกองุ่นสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ๖.๒ องุ่นเฉพาะจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้และรัฐต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ๖.๒.๑ นิวเซาท์เวลส์ (New South Wales) ๖.๒.๒ ควีนส์แลนด์ (Queensland) ๖.๒.๓ เซาท์ออสเตรเลีย (South Australia) ๖.๒.๔ วิกตอเรีย (Victoria) ๖.๒.๕ เวสเทิร์นออสเตรเลีย (Western Australia) ข้อ ๗ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๗.๑ สวนองุ่นทุกสวนในแหล่งปลูกองุ่นที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องจดทะเบียน โดย DAFF ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืช เพื่อให้แน่ใจว่าองุ่นปราศจากศัตรูพืชกักกัน ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนองุ่นให้แก่กรมวิชาการเกษตร เมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการพิสูจน์การจดทะเบียนสวนองุ่นให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๗.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนองุ่นที่จดทะเบียนต้องปฏิบัติตามมาตรฐานหลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีเหมาะสมในสวนองุ่น โดยต้องรักษาความสะอาดสวนองุ่น และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๗.๓ DAFF ต้องมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนองุ่นตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๘ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออก ๘.๑ DAFF ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จะส่งออกองุ่นไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๘.๒ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องนำองุ่นมาจากสวนองุ่นที่จดทะเบียนซึ่งปลูกเป็นการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาขององุ่นที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็ว ต้องเก็บบันทึกรายชื่อเกษตรกรเจ้าของสวนองุ่นซึ่งส่งองุ่นออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๘.๓ โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออก ต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐานกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุองุ่น ๘.๔ DAFF ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกนั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๘.๕ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกัน ต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ๘.๖ การตรวจองุ่นว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าหรือสถานที่จัดการสินค้าส่งออกที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับแมลงซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกัน องุ่นที่จะส่งออกมายังราชอาณาจักรไทยต้องจัดการความเสี่ยงแมลงวันผลไม้ ๒ ชนิด ได้แก่ Mediterranean fruit fly, Ceratitis capitata และ Queensland fruit fly, Bactrocera tryoni ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้ ๙.๑ องุ่นต้องมาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือ ๙.๒ องุ่นจากแปลงปลูกซึ่งอยู่นอกพื้นที่ปลอดแมลงผลไม้ ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในองุ่นด้วยวิธีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออกหรือระหว่างการขนส่ง ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๐.๑ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๒๖ เรื่อง การสถาปนาพื้นที่ปลอดศัตรูพืชสำหรับแมลงวันผลไม้ชนิดต่าง ๆ (เทฟริติดี้) ๑๐.๒ การกำหนดพื้นที่ปลูกองุ่นบริเวณใดในเครือรัฐออสเตรเลียให้เป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้นั้น DAFF ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กรมวิชาการเกษตรทราบอย่างเป็นทางการ ต้องบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อรักษาสถานภาพของพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกองุ่นส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย โดยพื้นที่ดังต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้สำหรับแมลง Mediterranean fruit fly และ Queensland fruit fly ได้แก่ ๑๐.๒.๑ รัฐทัสมาเนีย (Tasmania) ๑๐.๒.๒ เขตริเวอร์รินา (Riverina district) ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wale) ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เมือง (city) กิฟฟิท (Griffith), เขตพื้นที่ (shire) คาเรทโฮล (Carrathool), ลีตัน (Leeton), นาเรนเดอร์รา (Narrandera) และ เมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee) พื้นที่นี้ยังแบ่งย่อยออกเป็น ๒ ส่วน คือ พื้นที่เขตชลประทานเมอร์มัมบิดส์ (Murrmbidgee Irrigation Area, MIA) และ คาเรทโฮล (Carrathool) ๑๐.๒.๓ เขตริเวอร์แลนด์ (Riverland district) ของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย (South Australia) ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (county) เฮมเล (Hamley), เขตพื้นที่ (hundred) บุคเพอร์มังค์ (Bookpurmong), คาแดล (Cadell), กอร์เดน (Gorden), โฮลเดอร์ (Holder), คาทาเรพโค (Katarapko), โลวีเดย์ (Loveday), มาร์คาเรนคา (Markaranka), มอรูค (Moorook), เมอร์โท (Murtho), พาร์โคลา (Parcoola), พาริงจา (Paringa), โพจิโนค (Pooginook), ไพท (Pyap), สเตาร์ (Stuart), ไวเคอร์รี (Waikerie), อีบา (Eba), ฟิสเซอร์ (Fisher), ฟอสเตอร์ (Forster), เฮ (Hay), เมอร์โค (Murbko), นิดอททิ (Nildottie), เพรเล (Paisley), ริดเล (Ridley), เซอร์เร (Skurray) และ ออนเล (Onley) ในเขตพื้นที่ (shire) มิลดูรา (Mildura) ของรัฐวิกตอเรีย ๑๐.๒.๔ เขตซัลเรเซีย (Sunraysia district) ของรัฐวิกตอเรีย (Victoria) และรัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wale) ประกอบด้วยเขตพื้นที่เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (shire) เวนเวอดท์ (Wentworth) และบาเรนดอล (Balranald) ในรัฐนิวเซาร์เวลส์ และ มิลดูรา (Mildura), สวอนฮิล (Swan Hill), วาโคล (Wakool) และคีเรง (Kerang) และเมือง (city) สวอนฮิล (Swan Hill), มิลดูรา (Mildura) และเขตพื้นที่ (borough) คีเรง (Kerang) ในรัฐวิกตอเรีย ๑๐.๓ การส่งออกองุ่นจากพื้นปลอดแมลงวันผลไม้ จึงไม่มีความจำเป็นต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในองุ่นก่อนส่งออก แต่ต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามแมลง Mediterranean fruit fly และ Queensland fruit fly อย่างสม่ำเสมอในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๐.๔ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันทีที่มีการยืนยันว่าพบการแพร่ระบาดของแมลง Mediterranean fruit fly และ Queensland fruit fly ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ DAFF ต้องระงับการให้การรับรองการส่งออกองุ่นที่ไม่ได้กำจัดแมลงวันผลไม้จากพื้นที่ที่พบแมลงวันผลไม้เป็นการชั่วคราว และต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่เหล่านั้นให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง ๑๐.๕ DAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันที หากพบแมลงวันผลไม้ชนิดอื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ นอกเหนือจากแมลง Mediterranean fruit fly และ Queensland fruit fly ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืช ๑๑.๑ กรณีองุ่นที่จะส่งออกมาจากแปลงปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงผลไม้ หรือกรณี DAFF ไม่สามารถให้การรับรองพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้เพราะว่าพื้นที่ที่นำองุ่นมาส่งออกนั้นขาดคุณสมบัติที่จะคงสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือสถานภาพการเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ของพื้นที่นั้นถูกระงับเป็นการชั่วคราว กรณีดังกล่าวเหล่านี้ ต้องกำจัดแมลง Mediterranean fruit fly และ Queensland fruit fly ในองุ่นด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืชตามชนิดของแมลง วิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นดังต่อไปนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืชสำหรับกำจัดแมลง Mediterranean fruit fly และ Queensland fruit fly ในองุ่น ๑๑.๑.๑ องุ่นจากรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียต้องกำจัดแมลง Mediterranean fruit fly ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๖ วัน หรือมากกว่า ๒.๒๒ องศาเซลเซียส (๓๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๑๑.๑.๒ องุ่นจาก รัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐควีนส์แลนด์ รัฐเซาท์ออสเตรเลีย และรัฐวิกตอเรีย ต้องกำจัดแมลง Queensland fruit fly ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๐ องศาเซลเซียส (๓๒ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๓ วัน หรือมากกว่า ๐.๕๖ องศาเซลเซียส (๓๓ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๘ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๐ วัน หรือมากกว่า ๒.๒๒ องศาเซลเซียส (๓๖ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๒๒ วัน หรือมากกว่า ๑๑.๑.๓ วิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นดังต่อไปนี้สามารถใช้กำจัดได้ทั้งแมลง Mediterranean fruit fly และ Queensland fruit fly อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๑ องศาเซลเซียส (๓๓.๘ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๖ วัน หรือมากกว่า ๑๑.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นสามารถดำเนินการได้ทั้งก่อนการส่งออกหรือระหว่างการขนส่ง สำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างการขนส่งนั้น อาจจะดำเนินการเพียงบางส่วนซึ่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออกโดยเริ่มต้นดำเนินการในเครือรัฐออสเตรเลียและการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ระหว่างการขนส่ง ในกรณีที่การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นเกิดล้มเหลวระหว่างการขนส่ง การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นอาจจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้เมื่อสินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง ๑๑.๓ การส่งออกองุ่นซึ่งต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างการขนส่งนั้น ต้องลดอุณหภูมิองุ่นตรงบริเวณกึ่งกลางผลให้ต่ำลงถึงระดับเดียวกันกับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่กำหนดสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้เป็นการล่วงหน้าก่อนขนถ่ายองุ่นเข้าตู้ขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอุณหภูมิองุ่นได้ลดต่ำลงถึงระดับที่เหมาะสม ก่อนเริ่มต้นกระบวนการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น และต้องรักษาระดับอุณหภูมิขององุ่นให้คงที่ติดต่อกันตลอดไป ๑๑.๔ การประเมินผลการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นทั้งกรณีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออกและการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างการขนส่ง จะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เท่านั้น โดยไม่นำอุณหภูมิจากแท่งวัดอุณหภูมิอากาศมาประกอบการประเมินผลประสิทธิภาพของการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออก ๑๒.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออกต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ DAFF โดยต้องดำเนินการในห้องเย็นสำหรับกำจัดศัตรูพืชซึ่งได้รับการรับรองจาก DAFF และกรมวิชาการเกษตร องุ่นสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยอาจจะทำการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นควบคู่ไปพร้อมกับองุ่นที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นได้ ๑๒.๒ ถ้าองุ่นต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออก DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ใน เอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างการขนส่ง ๑๓.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างการขนส่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นโดยดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้าระหว่างการขนส่งสินค้า ๑๓.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างการขนส่งซึ่งดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้านั้น อาจจะเริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่ตู้ขนส่งสินค้าอยู่บนบกและเสร็จสิ้นในช่วงระหว่างการขนส่งหรือเสร็จสิ้นเมื่อตู้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ๑๓.๓ ถ้าองุ่นต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างการขนส่ง DAFF ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ใน เอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ นอกจากนี้ ต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตาม เอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับสินค้าด้วยทุกครั้ง ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๔.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูก โพลีสไตรีน พลาสติก หรือลังแบบต่าง ๆ ที่ทำจากไม้ โดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่หรือเป็นวัสดุใหม่ กรณีที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกล่องกระดาษหรือพลาสติก บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ต้องสะอาดและใหม่เท่านั้น ๑๔.๒ สำหรับองุ่นส่งออกทางอากาศซึ่งมาจากแหล่งปลูกนอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องบรรจุองุ่นในถุงพลาสติกที่ไม่มีรูซึ่งสามารถปิดถุงพลาสติกให้สนิทได้โดยการพับปากถุงทับซ้อนกันหลายชั้นและบรรจุองุ่นไว้ในบรรจุภัณฑ์ กรณีที่บรรจุภัณฑ์มีฝาปิดอาจจะปิดฝาให้สนิทด้วยเทปกาวหรือวิธีการอื่นใดที่สามารถป้องกันมิให้ฝาของบรรจุภัณฑ์นั้นเปิดในระหว่างการขนส่งภายในเครือรัฐออสเตรเลีย โดยบรรจุภัณฑ์นั้นอาจมีรูสำหรับระบายอากาศ บรรจุภัณฑ์ซึ่งถูกจัดเรียงกันไว้บนแท่นวางหรือถูกมัดรวมกันไว้ต้องคลุมด้วยผ้าตาข่าย (ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร) หรือปิดด้วยพลาสติก ข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้นจะไม่บังคับใช้สำหรับบรรจุภัณฑ์ที่ขนส่งในตู้บรรจุสินค้า ๑๔.๓ ต้องบรรจุองุ่นในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๔.๔ ถ้าขนส่งองุ่นมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุองุ่นในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นกล่องโดยไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้ปรากฏบนแต่ละกล่อง Product of Australia Name of exporting company : Name of fruit (common name and cultivar): Packinghouse or export establishment registration number : Packing date : Export destination : Thailand ๑๔.๕ ถ้าขนส่งองุ่นมายังราชอาณาจักรไทยโดยบรรจุองุ่นในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง ต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้ปรากฏบนแต่ละด้าน Product of Australia Name of exporting company : Name of fruit (common name and cultivar) : Packinghouse or export establishment registration number : Pallet identification number : Export destination : Thailand ๑๔.๖ องุ่นที่ส่งมายังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง กฎข้อบังคับว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในทางการค้าระหว่างประเทศ ข้อ ๑๕ การตรวจส่งออก ๑๕.๑ ต้องสุ่มตรวจองุ่นด้วยสายตาก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการ และต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ใน เอกสารหมายเลข ๑ ๑๕.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ใน เอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๕.๒.๑ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิตบนองุ่น ได้แก่ แมลงวันผลไม้ ต้องปฏิเสธการส่งออกองุ่นทั้งหมดไปยังราชอาณาจักรไทย ๑๕.๒.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ องุ่นทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชหรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ๑๕.๓ ต้องดำเนินการกำจัดศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในข้อ ๙ ถ้าองุ่นที่จะส่งออกไปราชอาณาจักรไทยไม่ได้มาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ ๑๖ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๖.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย DAFF กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of table grapes was produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of fresh table grapes from Australia to Thailand” ๑๖.๒ พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ถ้าองุ่นมาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องระบุข้อความเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ “The consignment of table grapes was produced in (name of defined area) which is a pest free area for Mediterranean fruit fly and Queensland fruit fly in Australia.” ๑๖.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออก ถ้าองุ่นผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออก ต้องระบุรายละเอียดของโรงงานกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น อุณหภูมิ และระยะเวลาที่ใช้ (จำนวนวันที่ต่อเนื่องกัน) ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม ๑๖.๔ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างการขนส่ง ๑๖.๔.๑ ถ้าองุ่นได้รับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างการขนส่งต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองสุขอนามัยพืช ดังต่อไปนี้ “DAFF has supervised the calibration and the placement of fruit sensors into the fruit within the container (s) in accordance with the conditions for import of fresh table grapes from Australia into Thailand and cold disinfestation treatment has been initiated” ๑๖.๔.๒ ต้องมีต้นฉบับใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๖.๕ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อพันธุ์ขององุ่น หมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๗ การตรวจนำเข้า ๑๗.๑ เมื่อองุ่นมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าองุ่นจะดำเนินการหลังจากเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๗.๒ เจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างองุ่นและตรวจสอบเพื่อยื่นยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักองุ่นไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๗.๓ ถ้ามีองุ่นนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ หน่วย (พวงองุ่น) ต้องสุ่มตรวจองุ่นจำนวน ๔๕๐ หน่วย (พวงองุ่น) หรือสุ่มตรวจองุ่นทั้งหมด ถ้ามีองุ่นจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ หน่วย (พวงองุ่น) ต้องสุ่มตรวจองุ่นจำนวน ๖๐๐ หน่วย (พวงองุ่น) ๑๗.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ใน เอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจองุ่น ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๗.๔.๑ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิต ได้แก่ แมลงวันผลไม้ องุ่นทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ DAFF ทราบและระงับการนำเข้าโดยทันที ๑๗.๔.๒ DAFF ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้าเมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๗.๔.๓ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ องุ่นทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๗.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏใน เอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนองุ่นด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าองุ่นจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราวจนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๗.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งองุ่นกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งกรณีดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๗.๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นไม่สมบูรณ์ ๑๗.๖.๒ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๗.๖.๓ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๗.๖.๔ เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผลองุ่น หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนด หรือองุ่นที่เสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตกหรือเกิดรอยเปิด ๑๗.๖.๕ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๑๘ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๘.๑ การส่งออกองุ่นจากเครือรัฐออสเตรเลียไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๘.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในเครือรัฐออสเตรเลียก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าองุ่นได้อีกต่อไป โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑] ประกาศ ณ วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ จิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลองุ่นจากเครือรัฐออสเตรเลีย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๔ (เอกสารหมายเลข ๑) ๒. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจาดเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๔ (เอกสารหมายเลข ๒) ๓. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างการขนส่ง แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๔ (เอกสารหมายเลข ๓) ๔. ใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างการขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า สำหรับราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๔ (เอกสารหมายเลข ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๕๓ ง/หน้า ๑๒/๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔
643674
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๒ กำหนดเงื่อนไขการนำหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกาเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการเพาะปลูกไว้แล้ว นั้น เนื่องจากกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแหล่งผลิตและหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในสหรัฐอเมริกา เพิ่มเติม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกาเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการเพาะปลูกเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗.๒ แห่งประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๕๕๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “๗.๒ หัวพันธุ์มันฝรั่งเฉพาะจากแหล่งผลิตในรัฐต่อไปนี้ในสหรัฐอเมริกาได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ๗.๒.๑ รัฐแคลิฟอร์เนีย (California) ๗.๒.๒ รัฐไอดาโฮ (Idaho) ๗.๒.๓ รัฐออริกอน (Oregon) ๗.๒.๔ รัฐวอชิงตัน (Washington) ๗.๒.๕ รัฐโคโลราโด (Colorado) ๗.๒.๖ รัฐเมน (Maine) ๗.๒.๗ รัฐมิชิแกน (Michigan) ๗.๒.๘ รัฐมินนิโซตา (Minnesota) ๗.๒.๙ รัฐมอนแทนา (Montana) ๗.๒.๑๐ รัฐเนแบรสกา (Nebraska) ๗.๒.๑๑ รัฐนิวยอร์ก (New York) ๗.๒.๑๒ รัฐนอร์ทดาโคตา (North Dakota) ๗.๒.๑๓ รัฐวิสคอนซิน (Wisconsin) ๗.๒.๑๔ รัฐไวโอมิง (Wyoming)” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘.๑ แห่งประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๕๕๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “๘.๑ หัวพันธุ์มันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกาต้องผ่านการตรวจรับรองเป็นไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองและระบบการตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเป็นที่ยอมรับ หน่วยงานเหล่านี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งเพื่อพิสูจน์และรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยภายใต้ระบบการตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดสุขอนามัยพืชซึ่งระบุไว้ในประกาศฉบับนี้ ๘.๑.๑ หน่วยงาน California Crop Improvement Association ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย ๘.๑.๒ หน่วยงาน Idaho Crop Improvement Association ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐไอดาโฮ ๘.๑.๓ หน่วยงาน Oregon Seed Certification Service ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐออริกอน ๘.๑.๔ หน่วยงาน Washington State Department of Agriculture ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐวอชิงตัน ๘.๑.๕ หน่วยงาน Colorado state University ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐโคโลราโด ๘.๑.๖ หน่วยงาน Maine Department of Agriculture, Food and Rural Resources ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐเมน ๘.๑.๗ หน่วยงาน Michigan Department of Agriculture, Pesticide and Plant Pest Management Division ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐมิชิแกน ๘.๑.๘ หน่วยงาน Minnesota Department of Agriculture, Plant Protection Division ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐมินนิโซตา ๘.๑.๙ หน่วยงาน Montana State University ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐมอนแทนา ๘.๑.๑๐ หน่วยงาน Potato Certification Association of Nebraska ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐเนแบรสกาและรัฐไวโอมิง ๘.๑.๑๑ หน่วยงาน New York State College of Agriculture & Life Sciences at Cornell University ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐนิวยอร์ก ๘.๑.๑๒ หน่วยงาน North Dakota State Seed Department ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐนอร์ทดาโคตา ๘.๑.๑๓ หน่วยงาน University of Wisconsin College of Agriculture and Life Sciences ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐวิสคอนซิน” ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑] ประกาศ ณ วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๕๕/๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
642678
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากสาธารณรัฐเปรู พ.ศ. 2553
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากสาธารณรัฐเปรู พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลองุ่นสดนำเข้าเพื่อการค้าจากสาธารณรัฐเปรูเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากสาธารณรัฐเปรู ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ชนิดพืช ผลองุ่น ข้อ ๒ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับองุ่นจากสาธารณรัฐเปรูปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๓.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๓.๒ สาธารณรัฐเปรู คือ Ministerio de Agricultura, Servicio National de Sanidad Agraria ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “SENASA-Peru” ข้อ ๔ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๕ วิธีการขนส่ง ต้องส่งองุ่นมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสาธารณรัฐเปรูไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางทะเลหรือทางอากาศ ข้อ ๖ แหล่งปลูก องุ่นต้องเป็นผลผลิตจากสาธารณรัฐเปรู และมาจากสวนองุ่นที่ปลูกเป็นการค้าซึ่งได้จดทะเบียนไว้กับ SENASA-Peru โดยที่ SENASA-Peru กำหนดให้เป็นแหล่งปลูกองุ่นสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแล้วก่อนที่จะส่งออก ข้อ ๗ ข้อกำหนดสำหรับสวน ๗.๑ SENASA-Peru ต้องจดทะเบียนสวนองุ่นในแหล่งปลูกองุ่นที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องดำเนินการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืช เพื่อให้แน่ใจว่าองุ่นปราศจากศัตรูพืชกักกัน SENASA-Peru ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนสวนองุ่นให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ SENASA-Peru ต้องดำเนินการจดทะเบียนสวนองุ่นให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๗.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนองุ่นที่จดทะเบียนต้องปฏิบัติตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสมในสวนองุ่น โดยต้องรักษาความสะอาดสวนองุ่น และต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๗.๓ SENASA-Peru ต้องส่งมอบข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนองุ่นตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๘ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้า ๘.๑ SENASA-Peru ต้องจดทะเบียนและติดตามตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าที่จะส่งออกองุ่นไปยังราชอาณาจักรไทย SENASA-Peru ต้องมอบบันทึกรายละเอียดการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ SENASA-Peru ต้องดำเนินการจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการส่งออก ๘.๒ โรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียนต้องนำองุ่นมาจากสวนองุ่นที่จดทะเบียนซึ่งปลูกเป็นการค้าจากแหล่งปลูกที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาขององุ่นที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็ว โรงบรรจุสินค้าต้องเก็บบันทึกรายชื่อเกษตรกรเจ้าของสวนองุ่นซึ่งส่งองุ่นออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมอบข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ๘.๓ โรงบรรจุสินค้าต้องจัดทำเอกสาร มาตรฐานกระบวนการดำเนินงานซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการ และการบรรจุองุ่น ๘.๔ SENASA-Peru ต้องดำเนินการตรวจสอบระบบของโรงบรรจุสินค้าก่อนจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้านั้น และต้องตรวจสอบระบบเป็นประจำทุกปี โรงบรรจุสินค้าต้องรับผิดชอบในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมด ๘.๕ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออกเพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียนเท่านั้น ๘.๖ การตรวจองุ่นว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการภายในโรงบรรจุสินค้าที่จดทะเบียนเท่านั้น ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืช ๙.๑ องุ่นที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องกำจัดแมลง South American fruit fly, Anastrepha fraterculus และ Mediterranean fruit fly, Ceratitis capitata ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืช วิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นดังต่อไปนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืชสำหรับกำจัดแมลง South American fruit fly และ Mediterranean fruit fly ในองุ่น อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ๑.๑๑ องศาเซลเซียส (๓๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๕ วัน หรือมากกว่า ๑.๖๗ องศาเซลเซียส (๓๕ องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า ๑๗ วัน หรือมากกว่า ๙.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นสามารถดำเนินการได้ทั้งก่อนการส่งออก หรือระหว่างการขนส่ง สำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างการขนส่งนั้น อาจจะดำเนินการเพียงบางส่วนซึ่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออกโดยเริ่มต้นดำเนินการในสาธารณรัฐเปรูและการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ระหว่างการขนส่ง ในกรณีที่การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นเกิดล้มเหลวระหว่างการขนส่ง การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นอาจจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้เมื่อสินค้านั้นถึงจุดหมายปลายทาง ๙.๓ การส่งออกองุ่นซึ่งต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างการขนส่งนั้นต้องลดอุณหภูมิองุ่นตรงบริเวณกึ่งกลางผลให้ต่ำลงถึงระดับเดียวกันกับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่กำหนดสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้เป็นการล่วงหน้าก่อนขนถ่ายองุ่นเข้าตู้ขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอุณหภูมิองุ่นได้ลดต่ำลงถึงระดับที่เหมาะสม ก่อนเริ่มต้นกระบวนการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นและต้องรักษาระดับอุณหภูมิขององุ่นให้คงที่ติดต่อกันตลอดไป ๙.๔ การประเมินผลการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นทั้งกรณีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออก และการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างการขนส่ง จะประเมินจากอุณหภูมิของแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เท่านั้น โดยไม่นำอุณหภูมิจากแท่งวัดอุณหภูมิอากาศมาประกอบการประเมินผลประสิทธิภาพของการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออก ๑๐.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออกต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแล ของ SENASA-Peru โดยต้องดำเนินการในห้องเย็นสำหรับกำจัดศัตรูพืชซึ่งได้รับการรับรองจาก SENASA-Peru และกรมวิชาการเกษตร องุ่นสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยอาจจะทำการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นควบคู่ไปพร้อมกับองุ่นที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นได้ ๑๐.๒ ถ้าองุ่นต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออก SENASA-Peru ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ใน เอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างการขนส่ง ๑๑.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างการขนส่งเป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นโดยดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้าระหว่างการขนส่งสินค้า ๑๑.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างการขนส่งซึ่งดำเนินการในตู้ขนส่งสินค้านั้น อาจจะเริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่ตู้ขนส่งสินค้าอยู่บนบกและเสร็จสิ้นในช่วงระหว่างการขนส่งหรือเสร็จสิ้นเมื่อตู้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ๑๑.๓ ถ้าองุ่นต้องผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างการขนส่ง SENASA-Peru ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งระบุไว้ใน เอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ นอกจากนี้ ต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตาม เอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับสินค้าด้วยทุกครั้ง ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๒.๑ บรรจุภัณฑ์อาจทำด้วยกระดาษลูกฟูกซึ่งผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่หรือวัสดุใหม่ อนุญาตให้ใช้เฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่สะอาดและใหม่เท่านั้นสำหรับการบรรจุองุ่น ๑๒.๒ สำหรับองุ่นส่งออกซึ่งขนส่งทางอากาศ บรรจุภัณฑ์ต้องไม่มีรู ถ้ามีรูหรือช่องเปิดต้องปิดด้วยผ้าตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร เพื่อป้องกันการเข้าไปของแมลงซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกัน ๑๒.๓ ต้องบรรจุองุ่นในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๒.๔ ต้องพิมพ์ข้อความต่อไปนี้ติดไว้บนบรรจุภัณฑ์ Product of Peru Name of exporting company : Name of fruit (common name and cultivar): Orchard registration number : Packinghouse registration number: Packing date : Export destination : Thailand ข้อ ๑๓ การตรวจส่งออก ๑๓.๑ ต้องสุ่มตรวจองุ่นด้วยสายตาก่อนส่งออกตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการ และต้องปราศจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ใน เอกสารหมายเลข ๑ ๑๓.๒ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ใน เอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๓.๒.๑ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิตบนองุ่น ได้แก่ แมลงวันผลไม้ต้องปฏิเสธการส่งออกองุ่นทั้งหมดไปยังราชอาณาจักรไทย ๑๓.๒.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ องุ่นทั้งหมดจะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการกำจัดศัตรูพืช หรือขจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ๑๓.๓ ต้องดำเนินการกำจัดศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในข้อ ๙ ข้อ ๑๔ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๔.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย SENASA-Peru กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The consignment of table grapes was produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of fresh table grapes from Peru to Thailand” ๑๔.๒ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออก ถ้าองุ่นผ่านการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออก ต้องระบุรายละเอียดของโรงงานกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น อุณหภูมิ และระยะเวลาที่ใช้ (จำนวนวันที่ต่อเนื่องกัน) ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชในส่วนที่เหมาะสม ๑๔.๓ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างการขนส่ง ๑๔.๓.๑ ถ้าองุ่นได้รับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างการขนส่งต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองสุขอนามัยพืช ดังต่อไปนี้ “SENASA-Peru has supervised the calibration and the placement of fruit sensors into the fruit within the container(s) in accordance with the conditions for import of fresh table grapes from Peru to Thailand and cold disinfestation treatment has been initiated” ๑๔.๓.๒ ต้องมีใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิตามเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายประกาศนี้ แนบมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๔.๔ ต้องระบุชื่อสามัญและชื่อพันธุ์ขององุ่น หมายเลขตู้ขนส่งสินค้า และหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางทะเล) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๕ การตรวจนำเข้า ๑๕.๑ เมื่อองุ่นมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าองุ่นจะดำเนินการหลังจากได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๕.๒ เจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างองุ่นและตรวจสอบเพื่อยื่นยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักองุ่นไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๕.๓ ถ้ามีองุ่นนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ หน่วย (พวงองุ่น) ต้องสุ่มตรวจองุ่นจำนวน ๔๕๐ หน่วย (พวงองุ่น) หรือสุ่มตรวจองุ่นทั้งหมด ถ้ามีองุ่นจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ หน่วย (พวงองุ่น) ต้องสุ่มตรวจองุ่นจำนวน ๖๐๐ หน่วย (พวงองุ่น) ๑๕.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ระหว่างการสุ่มตรวจองุ่นต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๕.๔.๑ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิต ได้แก่ แมลงวันผลไม้ องุ่นทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งผลการตรวจให้ SENASA-Peru ทราบและระงับการนำเข้าโดยทันที ๑๕.๔.๒ SENASA-Peru ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้าเมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๕.๔.๓ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ องุ่นทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๕.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนองุ่นด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าองุ่นจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราว จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๕.๖ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งองุ่นกลับหรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าพบหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งกรณีดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ๑๕.๖.๑ การกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นไม่สมบูรณ์ ๑๕.๖.๒ ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท ๑๕.๖.๓ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลายหรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลขไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๕.๖.๔ เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผลองุ่น หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนด หรือผลองุ่นที่เสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตก หรือเกิดรอยเปิด ๑๕.๖.๕ ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ข้อ ๑๖ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๖.๑ การส่งออกองุ่นจากสาธารณรัฐเปรูไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยสาธารณรัฐเปรูต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๖.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในสาธารณรัฐเปรูก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าองุ่นได้อีกต่อไป โดยสาธารณรัฐเปรูต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันขององุ่นจากสาธารณรัฐเปรู แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากสาธารณรัฐเปรู พ.ศ. ๒๕๕๓ (เอกสารหมายเลข ๑) ๒. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากสาธารณรัฐเปรู พ.ศ. ๒๕๕๓ (เอกสารหมายเลข ๒) ๓. ข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างการขนส่ง แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากสาธารณรัฐเปรู พ.ศ. ๒๕๕๓ ๔. ใบรับรองการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นระหว่างการขนส่งในตู้ขนสินค้า สำหรับราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากสาธารณรัฐเปรู พ.ศ. ๒๕๕๓ (เอกสารหมายเลข ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๔ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑ ง/หน้า ๕/๗ มกราคม ๒๕๕๔
696857
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ณ วันที่ 23/06/2553)
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช และใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ พ.ศ. ๒๕๕๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] คำขอรับใบรับรองสุขอนามัยพืช คำขอรับใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อใบรับรองสุขอนามัยพืช หรือใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ ให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ หมวด ๑ การขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๒ บุคคลใดประสงค์จะขอใบรับรองสุขอนามัยพืช ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร หรือด่านตรวจพืช สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ภายในระยะเวลาที่กำหนด ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีทำการตรวจพืชในสถานที่ทำการ ให้ยื่นคำขอก่อนเวลาส่งออกไม่น้อยกว่าสามชั่วโมง (๒) กรณีทำการตรวจพืชนอกสถานที่ทำการ ให้ยื่นคำขอก่อนวันทำการตรวจพืชไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน ข้อ ๓ ผู้ขอใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องจัดเตรียมพืชที่จะส่งออกเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดเตรียมพืชที่จะส่งออกให้ถูกสุขอนามัยพืช ตามหลักเกณฑ์ของประเทศผู้นำเข้า (๒) แสดงบัญชีรายชื่อพืชในแต่ละภาชนะบรรจุ ให้ตรงตามชนิดและปริมาณที่แจ้งในคำขอและในแบบบัญชีแสดงรายชื่อพืชที่แนบมากับคำขอ (๓) บรรจุพืชในภาชนะบรรจุที่แข็งแรงและเหมาะสม (๔) ไม่บรรจุสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากพืชตามที่ได้แจ้งไว้ในคำขอและในบัญชีแสดงรายชื่อพืชที่แนบมากับคำขอ ข้อ ๔ การตรวจพืชที่ส่งออกและการกำจัดศัตรูพืชให้กระทำ ดังต่อไปนี้ (๑) พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารคำขอ และสุ่มตัวอย่างพืชเพื่อตรวจสอบศัตรูพืช ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า (๒) กรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของประเทศผู้นำเข้า หรือมีเหตุอันควรเชื่อว่ามีศัตรูพืชกักกัน พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้ขอใบรับรองสุขอนามัยพืชทำการกำจัดศัตรูพืชภายใต้การกำกับดูแลของพนักงานเจ้าหน้าที่ (๓) กรณีที่ประเทศผู้นำเข้ามีข้อกำหนดเกี่ยวกับการกำจัดศัตรูพืช ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการกำจัดศัตรูพืชตามข้อกำหนดได้ ข้อ ๕ ผู้ขอใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องชำระค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบศัตรูพืชตามอัตราแนบท้ายประกาศนี้ และค่าป่วยการตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการดำเนินการตามข้อ ๔ ข้อ ๖ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจพืช หรือกำจัดศัตรูพืชเสร็จสิ้นแล้ว ให้ผู้ขอใบรับรองสุขอนามัยพืชหรือเจ้าของนำเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการส่งออกพืชนั้น มาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อประกอบการขอใบรับรองสุขอนามัยพืช และให้อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายตรวจพิจารณาเอกสารหลักฐานดังกล่าว หากเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการส่งออกระบุวันส่งออกพืชภายในสิบสี่วัน หลังจากการตรวจพืชหรือกำจัดศัตรูพืชเสร็จสิ้นแล้วให้ออกใบรับรองสุขอนามัยพืชได้ ข้อ ๗ ก่อนส่งมอบใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับผู้ขอ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบรับรองสุขอนามัยพืช ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ข้อ ๘ การปฏิเสธการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชสามารถกระทำได้ในกรณี (๑) กรณีตรวจพบการซุกซ่อนพืชซึ่งไม่แสดงในใบคำขอใบรับรองสุขอนามัยพืช (ก) ตรวจพบ ณ สถานที่ให้บริการส่งออก - ครั้งที่ ๑ คัดพืชนั้นออกทั้งหมดและออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับพืชที่เหลือ - ครั้งที่ ๒ เมื่อกระทำความผิดซ้ำภายในระยะเวลาสามสิบวัน นับจากครั้งที่ ๑ ปฏิเสธการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับสินค้าทั้งหมด และการส่งออกในครั้งต่อไป ให้เปิดตรวจสินค้าทั้งหมดต่อเนื่องกันไปสามสิบครั้ง หรือภายในระยะเวลาหกเดือน - ครั้งที่ ๓ เมื่อกระทำความผิดซ้ำในระหว่างการตรวจสินค้าต่อเนื่อง สามสิบครั้งหรือภายในระยะเวลาหกเดือน ปฏิเสธการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับสินค้าทั้งหมดและงดการให้บริการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชเป็นเวลาสามสิบวันนับ จากวันที่ตรวจพบ (ข) ได้รับแจ้งจากประเทศผู้นำเข้า - งดการให้บริการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับผู้ส่งออกรายนั้น สำหรับการส่งออกไปประเทศผู้นำเข้าเป็นเวลาสามสิบวัน (๒) กรณีตรวจพบการแจ้งปริมาณหรือน้ำหนักของพืชไม่ตรงกับที่ส่งออกจริง (ก) ตรวจพบ ณ สถานที่ให้บริการส่งออก - ครั้งที่ ๑ คัดพืชที่แจ้งปริมาณหรือน้ำหนักไม่ตรงนั้นออกทั้งหมดและออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับพืชที่เหลือ - ครั้งที่ ๒ เมื่อกระทำความผิดซ้ำภายในระยะเวลาสามสิบวัน นับจากครั้งที่ ๑ ปฏิเสธการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับสินค้าทั้งหมด และการส่งออกในครั้งต่อไปให้เปิดตรวจสินค้าทั้งหมดต่อเนื่องกันไปสามสิบครั้ง หรือภายในระยะเวลาหกเดือน - ครั้งที่ ๓ เมื่อกระทำความผิดซ้ำในระหว่างการตรวจสินค้าต่อเนื่องสามสิบครั้งหรือภายในระยะเวลาหกเดือน ปฏิเสธการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับสินค้าทั้งหมดและงดการให้บริการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชเป็นเวลาสามสิบวันนับจากวันที่ตรวจพบ (ข) ได้รับแจ้งจากประเทศผู้นำเข้า - ครั้งที่ ๑ มีหนังสือแจ้งเตือนผู้ส่งออกรายนั้น - ครั้งที่ ๒ และครั้งต่อไปเมื่อเกิดซ้ำภายในระยะเวลาสามสิบวัน นับจากวันที่ที่มีหนังสือแจ้งเตือนในครั้งที่ ๑ งดการให้บริการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับผู้ส่งออกรายนั้นสำหรับการส่งออกไปประเทศผู้นำเข้าเป็นเวลาสามสิบวัน (๓) กรณีตรวจพบศัตรูพืช (ก) ตรวจพบ ณ สถานที่ให้บริการส่งออก - กรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของประเทศผู้นำเข้า ให้คัดพืชที่พบศัตรูพืชออกทั้งหมด และออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับพืชที่เหลือ (ข) ได้รับแจ้งจากประเทศผู้นำเข้า - ครั้งที่ ๑ มีหนังสือแจ้งเตือนผู้ส่งออกรายนั้น - ครั้งที่ ๒ เมื่อเกิดซ้ำภายในระยะเวลาสามสิบวัน นับจากวันที่ที่มีหนังสือแจ้งเตือนในครั้งที่ ๑ ส่งเจ้าหน้าที่ไปให้คำแนะนำในการคัดสินค้าและตรวจศัตรูพืช ณ โรงคัดบรรจุของผู้ส่งออก - ครั้งที่ ๓ และครั้งต่อไปเมื่อเกิดซ้ำภายในระยะเวลาสามสิบวัน นับจากวันที่ที่มีหนังสือแจ้งเตือนในครั้งที่ ๒ ปฏิเสธการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับพืชที่ถูกตรวจพบศัตรูพืชกักกันเพื่อส่งออกไปประเทศผู้นำเข้าที่แจ้งเป็นเวลาสิบห้าวัน หมวด ๒ การขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ ข้อ ๙ บุคคลใดประสงค์จะขอใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ ให้ยื่นคำขอ ณ ด่านตรวจพืช หรือกลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร พร้อมแนบเอกสาร ดังต่อไปนี้ (๑) ต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืช (๒) หนังสืออนุญาตให้นำสิ่งต้องห้าม สิ่งกำกัด หรือสิ่งไม่ต้องห้ามออกไปจากด่านตรวจพืชสถานกักพืช ยานพาหนะ หรือสถานที่ใด ๆ ข้อ ๑๐ ผู้ขอใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อต้องจัดเตรียมพืชที่จะส่งต่อเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดเตรียมพืชที่จะส่งต่อให้ถูกสุขอนามัยพืชตามหลักเกณฑ์ของประเทศผู้นำเข้า (๒) แสดงบัญชีรายชื่อพืชในแต่ละภาชนะบรรจุ ให้ตรงตามชนิดและปริมาณที่แจ้งในคำขอและในแบบบัญชีแสดงรายชื่อพืชที่แนบมากับคำขอ (๓) บรรจุพืชในภาชนะบรรจุที่แข็งแรงและเหมาะสม (๔) ไม่บรรจุสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากพืชตามที่ได้แจ้งไว้ในคำขอ และในบัญชีแสดงรายชื่อพืชที่แนบมากับคำขอ ข้อ ๑๑ ในการตรวจพืชเพื่อออกใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการได้ใน ๓ กรณี ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีประเทศผู้นำเข้ากำหนดเงื่อนไขการนำเข้าเข้มงวดน้อยกว่า หรือเท่ากับเงื่อนไขการนำเข้าที่ประเทศไทยกำหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบศัตรูพืช ตามข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า (๒) กรณีประเทศผู้นำเข้ากำหนดเงื่อนไขการนำเข้าเข้มงวดมากกว่าเงื่อนไขการนำเข้าที่ประเทศไทยกำหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบศัตรูพืชเพิ่มเติมตามข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า (๓) กรณีประเทศผู้นำเข้ากำหนดเงื่อนไขการนำเข้าพิเศษ ซึ่งไม่สามารถดำเนินการในประเทศไทยได้ เช่น การตรวจรับรองในแปลงปลูก ให้ปฏิเสธการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ ข้อ ๑๒ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามข้อ ๑๑ (๑) หรือ (๒) แล้ว ให้อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายออกใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อให้กับผู้ขอ ข้อ ๑๓ ให้นำความในข้อ ๔ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ และข้อ ๘ มาใช้บังคับแก่การขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อโดยอนุโลม ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๒] ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ เมทนี สุคนธรักษ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอใบรับรองสุขอนามัยพืช (แบบ พ.ก. ๗) ๒. บัญชีแสดงรายชื่อพืชแนบท้ายคำขอใบรับรองสุขอานามัยพืช (แบบ พ.ก. ๗.๑) ๓. ใบแนบแนบท้ายแบบคำขอใบรับรองสุขอนามัยพืช (แบบ พ.ก. ๗.๒) ๔. ใบรับรองสุขอนามัยพืช (แบบ พ.ก. ๗ - ๑) ๕. ใบแนบสำหรับใบรับรองสุขอนามัยพืช (แบบ พ.ก. ๗ - ๒) ๖. คำขอใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ (แบบ พ.ก. ๘) ๗. บัญชีแสดงรายชื่อพืชแนบท้ายแบบคำขอใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ (แบบ พ.ก. ๘.๑) ๘. ใบแนบแนบท้ายแบบคำขอใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ (แบบ พ.ก. ๘.๒) ๙. ใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ (แบบ พ.ก. ๘ - ๑) ๑๐. ใบแนบสำหรับใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ (แบบ พ.ก. ๘ - ๒) ๑๑. คำขอรับใบแทนใบรับรองสุขอนามัยพืช (แบบ พ.ก. ๙) ๑๒. คำขอรับใบแทนใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ (แบบ พ.ก. ๑๐) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๑ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ข้อ ๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๕ ง/หน้า ๓๐/๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๑
647561
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจดทะเบียนผู้ส่งออกผักและผลไม้ พ.ศ. 2553
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจดทะเบียนผู้ส่งออกผักและผลไม้ พ.ศ. ๒๕๕๓ ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอ และการออกใบรับรองสุขอนามัย พ.ศ. ๒๕๕๒ กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอใบรับรองสุขอนามัย ให้ต้องจดทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร นั้น เพื่อให้การควบคุมระบบการตรวจสอบรับรองสินค้าผักและผลไม้สดส่งออกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามประกาศดังกล่าว กรมวิชาการเกษตรจึงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกผักและผลไม้ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้ยกเลิก ๑.๑ ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจดทะเบียนผู้ส่งออกผักและผลไม้สดไปนอร์เวย์ พ.ศ. ๒๕๔๘ ๑.๒ ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจดทะเบียนผู้ส่งออกผักและผลไม้สดไปสหภาพยุโรป ๑.๓ ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจดทะเบียนผู้ส่งออกผักชีไปประเทศสิงคโปร์และไต้หวัน พ.ศ. ๒๕๕๑ ๒. ในประกาศนี้ “ผักและผลไม้” หมายความว่า ส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมดของพืชประเภทผักและผลไม้ที่ส่งออก “โรงงาน” หมายความว่า สถานที่ที่ทำการผลิตหรือสถานที่เก็บรักษาสินค้าเกษตรด้านพืชและผลิตภัณฑ์พืช และให้หมายความรวมถึงการรวบรวม การคัดเลือก การบรรจุ การแปรรูป และการเก็บรักษา “ผู้ส่งออก” หมายความว่า บุคคล หรือนิติบุคคลที่มีการส่งออกสินค้าผักและผลไม้ ๓. การยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออก ให้ผู้ประสงค์จะส่งออกผักและผลไม้ ยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกตามแบบ สมพ. ๔ และ สมพ. ๕ ท้ายประกาศนี้ ต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมเอกสารหลักฐานดังนี้ ๓.๑ ในกรณีผู้ขอเป็นบุคคลธรรมดา (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน ๑ ฉบับ (๒) สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ที่ระบุชนิดแห่งพาณิชย์ ถือว่าเป็นผู้ส่งออกผักผลไม้หรือสินค้าเกษตรกรรม จำนวน ๑ ฉบับ (๓) สำเนาหนังสือรับรอง GAP แหล่งผลิตทั้งหมดที่ส่งออก และ (๔) สำเนาหนังสือรับรอง GMP ของโรงงานทั้งหมด ๓.๒ ในกรณีผู้ขอเป็นนิติบุคคล ต้องเป็นนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการเกี่ยวกับผักผลไม้หรือสินค้าเกษตรกรรม (๑) สำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท (กรณีบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด) หรือของหุ้นส่วนผู้จัดการ (กรณีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล) แล้วแต่กรณี จำนวน ๑ ฉบับ (๒) สำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท แสดงรายการจดทะเบียนตลอดทั้งชื่อกรรมการ กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งออกมาแล้วไม่เกินหกเดือน จำนวน ๑ ฉบับ (๓) สำเนาหนังสือรับรอง GAP แหล่งผลิตทั้งหมดที่ส่งออก (๔) สำเนาหนังสือรับรอง GMP ของโรงงานทั้งหมด ๔. ขั้นตอนการขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออก ๔.๑ การรับจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออก เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอแล้ว ให้ตรวจสอบหลักฐานตามที่กำหนดไว้ใน ข้อ ๓ ถ้าเอกสารหลักฐานครบถ้วนให้เสนออธิบดีกรมวิชาการเกษตร เพื่อพิจารณารับจดทะเบียนและออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออก แนบท้ายประกาศนี้ ๔.๒ อายุของหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออก หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกมีอายุสองปี นับแต่วันออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออก ๕. เงื่อนไขที่ผู้ได้รับหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกต้องปฏิบัติ ๕.๑ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการส่งออกพืชควบคุมเฉพาะ ๕.๒ จัดให้มีการติดป้าย หรือฉลาก หรือประทับข้อความเป็นภาษาอังกฤษที่ภาชนะบรรจุเฉพาะกรณีการส่งออกไปสหภาพยุโรปและนอร์เวย์ โดยต้องแสดงข้อมูลดังนี้ - หมายเลขทะเบียนผู้ส่งออก - ชื่อผู้ประกอบการ/ผู้ส่งออก - ชื่อสามัญของพืช - ชื่อวิทยาศาสตร์ของพืช - รหัสรุ่นที่ผลิต (Lot No. หรือ Batch No. หรือ Code No.) - ประเทศผู้ผลิต ๕.๓ ต้องแจ้งข้อมูลต่อแก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแหล่งผลิตผักและผลไม้ และโรงงาน หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยด้านอาหาร ภายใน ๗ วัน นับแต่วันเปลี่ยนแปลงข้อมูล ๖. บทกำหนดโทษ ผู้ได้รับหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ กรมวิชาการเกษตรจะพิจารณาสั่งให้แก้ไขหรือสั่งพักใช้ หรือเพิกถอนหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้ ๖.๑ ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบ หรือได้รับการแจ้งเตือนจากประเทศผู้นำเข้าเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหาร ครั้งที่ ๑ ให้เจ้าหน้าที่แจ้งเตือนผู้ได้รับหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกเป็นหนังสือ ๖.๒ ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบ หรือได้รับการแจ้งเตือนจากประเทศผู้นำเข้าเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหาร ครั้งที่ ๒ โดยเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบ หรือได้รับการแจ้งเตือนจากประเทศผู้นำเข้าเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหารภายในระยะเวลา ๓ เดือน นับแต่วันที่ได้กระทำการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบ หรือได้รับแจ้งเตือนตาม ๖.๑ ให้พักใช้หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออก มีกำหนด ๓๐ วัน ๖.๓ ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบ หรือได้รับการแจ้งเตือนจากประเทศผู้นำเข้าเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหาร ตั้งแต่ ๓ ครั้งขึ้นไป โดยเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบ หรือได้รับการแจ้งเตือนจากประเทศผู้นำเข้าเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหารภายในระยะเวลา ๖ เดือน นับแต่วันที่ได้กระทำการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบ หรือได้รับแจ้งเตือนตาม ๖.๑ ให้เพิกถอนหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออก ๗. บทยกเว้น การนำติดตัวออกไปซึ่งผักและผลไม้เพื่อใช้เฉพาะตัว ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ ๘. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกที่ออกไปก่อนประกาศนี้ใช้บังคับให้สามารถใช้ได้ต่อไปจนกว่าหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนผู้ส่งออกสิ้นอายุ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑] ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำร้องขอหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกผักและผลไม้ (แบบ สมพ. ๔) ๒. คำร้องขอหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกผักและผลไม้ (แบบ สมพ. ๕) ๓. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกผักและผลไม้ (แบบ สมพ. ๑๒) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๓ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง/หน้า ๓๕/๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๓
641296
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากญี่ปุ่น พ.ศ. 2553
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากญี่ปุ่น พ.ศ. ๒๕๕๓ ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลส้มสดที่นำเข้าเพื่อการค้าจากญี่ปุ่นเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากญี่ปุ่น ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำผลส้มจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๐ ข้อ ๒ ชนิดพืช ผลส้ม ตามที่ปรากฏในเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง ๓.๑ รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับส้มจากญี่ปุ่นปรากฏตามเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ ๓.๒ ศัตรูพืชกักกันที่ต้องมีการจัดการความเสี่ยง คือ citrus fruit fly, Bactrocera tsuneonis ข้อ ๔ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๔.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๔.๒ ญี่ปุ่น คือ Plant Protection Division, Food Safety and Consumer Affairs Bureau, Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “MAFF” ข้อ ๕ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๖ วิธีการขนส่ง ต้องส่งส้มมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในญี่ปุ่นไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำหรือทางอากาศ ข้อ ๗ แหล่งปลูก ๗.๑ ส้มต้องมาจากแหล่งปลูกซึ่งจดทะเบียนตามเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายประกาศนี้ ๗.๒ ถ้า MAFF จดทะเบียนแหล่งปลูกใหม่เพื่อส่งส้มออกไปยังราชอาณาจักรไทย MAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบพร้อมทั้งให้ข้อมูลของแหล่งปลูกใหม่ กรมวิชาการเกษตรต้องดำเนินการตรวจรับรองแหล่งปลูกแห่งใหม่และระบบการบริหารจัดการแมลงวันผลไม้ก่อนที่จะมีการส่งส้มออกไปยังราชอาณาจักรไทย ข้อ ๘ การจดทะเบียนสวนส้มส่งออก ๘.๑ สวนส้มในแหล่งปลูกส้มที่กำหนดไว้สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องจดทะเบียนเป็นสวนส้มจดทะเบียนเพื่อการส่งออก และต้องมีการสำรวจแบบติดตามศัตรูพืชโดย MAFF เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าเป็นส้มที่ปลอดจากศัตรูพืชกักกัน ๘.๒ เกษตรกรเจ้าของสวนส้มจดทะเบียนเพื่อการส่งออกต้องปฏิบัติตามแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชในสวนส้มอย่างสมํ่าเสมอเป็นประจำ รวมทั้งบันทึกตารางการฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ๘.๓ MAFF ต้องให้ข้อมูลแผนการบริหารจัดการศัตรูพืชของส้มตลอดฤดูกาลปลูก เมื่อได้รับการร้องขอจากกรมวิชาการเกษตร ๘.๔ MAFF ต้องแจ้งบัญชีรายชื่อสวนส้มจดทะเบียนเพื่อการส่งออก ได้แก่ ชื่อเกษตรกร ที่อยู่ และข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ปลูก ต่อกรมวิชาการเกษตรเป็นเวลาอย่างน้อย ๒ เดือน ก่อนเริ่มการส่งออกเป็นประจำทุกปี ข้อ ๙ การจดทะเบียนโรงบรรจุสินค้า ๙.๑ โรงบรรจุสินค้าต้องจดทะเบียนไว้กับ MAFF และต้องตั้งอยู่ภายในขอบเขตรัศมีการดักจับแมลงของกับดักแกลลอนเท่านั้น ๙.๒ โรงบรรจุสินค้าต้องนำส้มมาจากสวนส้มจดทะเบียนเพื่อการส่งออกที่ได้จดทะเบียนไว้กับ MAFF เท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของส้มที่ส่งออกได้อย่างรวดเร็ว ๙.๓ MAFF มีหน้าที่รับผิดชอบเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียดสวนส้มจดทะเบียนเพื่อการส่งออก ซึ่งส่งส้มมายังโรงบรรจุสินค้าเพื่อส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย โดยข้อมูลเหล่านี้ต้องส่งให้กับกรมวิชาการเกษตรทันทีเมื่อได้รับการร้องขอ ๙.๔ MAFF ต้องแจ้งรายชื่อโรงบรรจุสินค้าที่ได้รับการจดทะเบียน ได้แก่ ชื่อโรงบรรจุสินค้า รหัส ที่อยู่ และชื่อผู้จัดการ ต่อกรมวิชาการเกษตรอย่างน้อย ๒ เดือนก่อนเริ่มฤดูกาลส่งออกเป็นประจำทุกปี ๙.๕ ถ้า MAFF จดทะเบียนโรงบรรจุสินค้าแห่งใหม่ MAFF ต้องแจ้งรายชื่อโรงบรรจุสินค้านั้นต่อกรมวิชาการเกษตรทันที กรมวิชาการเกษตรจะดำเนินการตรวจสอบโรงบรรจุสินค้าและตรวจสอบระบบปฏิบัติงานในการคัดเลือกหรือการบรรจุส้มตามความเหมาะสมในขั้นตอนของการตรวจสอบก่อนการส่งออกตามที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อที่ ๑๔.๑ ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับโรงบรรจุสินค้า ๑๐.๑ โรงบรรจุสินค้า ๑๐.๑.๑ ต้องเก็บรักษาส้มในสภาพที่เหมาะสมตั้งแต่หลังการเก็บเกี่ยวจนถึงขั้นตอนการบรรจุ ซึ่งสามารถป้องกันมิให้ศัตรูพืชต่าง ๆ เข้าทำลายส้มได้ใหม่อีกครั้ง ๑๐.๑.๒ โรงบรรจุสินค้าแต่ละแห่ง ต้องมีผู้ปฏิบัติงานด้านวิชาการอย่างน้อย ๑ คน ซึ่งได้รับการอบรมจาก MAFF โดยเป็นผู้ที่มีความรู้และสามารถทราบลักษณะการทำลายของศัตรูพืชบนส้ม ผู้ปฏิบัติงานด้านวิชาการนี้ต้องดูแลเอาใจใส่ในขั้นตอนการคัดเลือกส้มและการคัดออกส้ม ซึ่งสงสัยว่ามีการทำลายของศัตรูพืชที่กำหนดไว้ในเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ โรงบรรจุสินค้าต้องเก็บเอกสารการฝึกอบรมหรือบันทึกการฝึกอบรมของผู้ปฏิบัติงานด้านวิชาการด้วย ๑๐.๒ ระบบควบคุมการปฏิบัติงานในโรงบรรจุสินค้า ๑๐.๒.๑ ส้มซึ่งผลิตจากสวนส้มจดทะเบียนเพื่อการส่งออก ต้องเก็บรักษาและบรรจุในโรงบรรจุสินค้าที่ได้รับการจดทะเบียน นอกจากนี้แล้ว การดำเนินการบรรจุส้มเพื่อส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายนของทุกปี ๑๐.๒.๒ กรณีที่ส้มผลิตมาจากสวนส้มซึ่งไม่ได้จดทะเบียนเพื่อการส่งออกแต่มาจากแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาต เมื่อมีการเก็บส้มเหล่านี้ไว้ในโรงบรรจุสินค้าเดียวกันกับส้มที่มาจากสวนส้มจดทะเบียนเพื่อการส่งออก ต้องแยกส้มทั้งสองแหล่งออกจากกันและแยกเก็บรักษาไม่ให้ปะปนกัน ต้องไม่ทำการคัดและบรรจุส้มสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยซึ่งผลิตจากสวนส้มจดทะเบียนเพื่อการส่งออกและส้มอื่น ๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน ๑๐.๒.๓ ต้องทำความสะอาดโรงบรรจุสินค้าก่อนดำเนินการคัดและบรรจุส้มทุกวัน ๑๐.๒.๔ ต้องคัดทิ้งส้มที่มีโรคหรือศัตรูพืชทำลายและนำไปทำลายนอกโรงบรรจุสินค้าทันที ๑๐.๒.๕ เจ้าหน้าที่กักกันพืชของ MAFF ต้องยืนยันมาตรการป้องกันศัตรูพืชปนเปื้อนในโรงบรรจุสินค้า ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่ามาตรการป้องกันศัตรูพืชปนเปื้อนไม่เหมาะสม MAFF ควรสั่งการให้ผู้จัดการโรงบรรจุสินค้ารีบดำเนินการป้องกันศัตรูพืชปนเปื้อน ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๑.๑ บรรจุภัณฑ์ทำด้วยกระดาษลูกฟูกซึ่งอาจผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่หรือวัสดุใหม่ อนุญาตให้ใช้เฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่สะอาดและใหม่เท่านั้นสำหรับการบรรจุส้ม ๑๑.๒ ภาชนะบรรจุส้มต้องไม่มีรู ถ้ามีรูหรือช่องเปิดต้องปิดด้วยผ้าตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร หรือต้องคลุมภาชนะที่บรรจุผลส้มด้วยผ้าตาข่าย (ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่เกิน ๑.๖ มิลลิเมตร) ๑๑.๓ ภาชนะบรรจุส้มต้องไม่มีชิ้นส่วนของพืชปะปน เช่น ดิน ใบ ลำต้น หรือสิ่งอื่น ๆ ที่สามารถนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ๑๑.๔ ส้มที่จะส่งออกแต่ยังไม่ได้มีการขนย้ายเข้าตู้ขนส่งสินค้าในทันที ต้องมีการจัดการและควบคุมความปลอดภัยจากศัตรูพืชกับส้มเหล่านี้ และต้องเก็บรักษาส้มดังกล่าวแยกจากส้มอื่น ๆ ภายในห้องเย็น จนกว่าจะมีการขนย้ายเข้าสู่ตู้บรรทุกสินค้า โดยต้องดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของ MAFF ๑๑.๕ ต้องพิมพ์ข้อความต่อไปนี้ติดไว้บนบรรจุภัณฑ์ สินค้าของญี่ปุ่น ชื่อบริษัทผู้ส่งออก ชื่อส้ม ได้แก่ สกุล ชนิด และพันธุ์ หมายเลขทะเบียนสวน หมายเลขทะเบียนโรงบรรจุสินค้า วันที่บรรจุ จุดหมายปลายทางส่งออก ราชอาณาจักรไทย ข้อ ๑๒ แหล่งผลิตส้มปลอดแมลงวันผลไม้ ๑๒.๑ การกำหนดทำเลที่ตั้งสวนส้มปลอดแมลง citrus fruit fly จากแหล่งปลูกที่จดทะเบียนตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๖ นั้น MAFF ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กรมวิชาการเกษตรทราบอย่างเป็นทางการ ๑๒.๒ MAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบทันที หากการสำรวจตรวจหาพบแมลงวันผลไม้ชนิดอื่น ๆ นอกเหนือจาก citrus fruit fly ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับการสำรวจแบบติดตามแมลง citrus fruit fly ๑๓.๑ สวนส้มจดทะเบียนเพื่อการส่งออกซึ่งเป็นแหล่งของส้มที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย ต้องมีระบบการสำรวจแบบติดตามแมลง citrus fruit fly ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสวนส้มดังกล่าวปลอดจากแมลง citrus fruit fly ๑๓.๒ การสำรวจแบบติดตามควรดำเนินการโดยใช้กับดักแกลลอน (Gallon Trap) และการสำรวจส้ม ๑๓.๒.๑ การสำรวจโดยใช้กับดักแกลลอน (ก) ระยะเวลาการสำรวจคือจากวันที่ ๑ เมษายน ถึง ๓๑ ตุลาคม ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวนี้จะคลอบคลุมช่วงเวลาของระยะตัวเต็มวัยของแมลง citrus fruit fly ซึ่งจะอยู่ประมาณเดือนมิถุนายนถึงกันยายน (ข) กับดักแกลลอนควรวางให้คลุมพื้นที่ทุก ๆ ๑ ตารางกิโลเมตร ในแหล่งที่ปลูกส้มและพื้นที่ใกล้เคียง (ค) กับดักแกลลอนจะใช้โปรตีนไฮโดรไลเซท (protein - hydrolyzate) (๑.๕ - ๒.๐ เปอร์เซ็นต์ โปรตีนในรูปของแข็ง) และสารฆ่าแมลงที่มีดีดีวีพีเป็นสารออกฤทธิ์ เช่น วาโพนา® ๑๘.๖ เปอร์เซ็นต์ (ง) เจ้าหน้าที่กักกันพืชของ MAFF ต้องตรวจกับดักแกลลอนทุก ๆ ๒ สัปดาห์ และต้องเปลี่ยนโปรตีนไฮโดรไลเซททุก ๆ ๒ สัปดาห์ และสารฆ่าแมลง ทุก ๆ ๔ สัปดาห์ ๑๓.๒.๒ การสำรวจส้ม เจ้าหน้าที่กักกันพืชของ MAFF ต้องสำรวจส้มในช่วงเวลาตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๓.๒.๑ (ก) และผ่าตรวจดูผลส้มที่ร่วงหล่นและหรือผลส้มที่เปลี่ยนสีว่ามีสาเหตุมาจากการทำลายของแมลง citrus fruit fly หรือไม่ ๑๓.๓ ต้องจัดเตรียมข้อมูลการสำรวจแบบติดตามแมลง citrus fruit fly รวมถึงจำนวนและสถานที่ที่ติดตั้งกับดัก ข้อมูลแมลงที่ติดในกับดัก และชนิดของแมลงวันผลไม้ที่ได้จากกับดักทั้งหมด (กับดักแกลลอนและวาโพนา) และข้อมูลการสำรวจส้มไว้ให้กับเจ้าหน้าที่กักกันพืชของกรมวิชาการเกษตรตรวจสอบ ๑๓.๔ วิธีดำเนินการเมื่อตรวจไม่พบแมลง citrus fruit fly ๑๓.๔.๑ สวนส้มซึ่งตรวจไม่พบแมลง citrus fruit fly ในช่วงระยะเวลาที่สำรวจจะได้รับการจดทะเบียนโดย MAFF ให้เป็นสวนส้มจดทะเบียนเพื่อการส่งออก สำหรับส่งออกส้มไปยังราชอาณาจักรไทย ๑๓.๔.๒ สวนส้มที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นสวนส้มจดทะเบียนเพื่อการส่งออกมีสิทธิที่จะส่งออกส้มไปยังราชอาณาจักรไทยตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ของปีถัดไป ตามปีปฏิทิน ซึ่งได้พิจารณาแล้วถือว่าเป็นปีส่งออก ๑๓.๔.๓ ส้มซึ่งเก็บเกี่ยวตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายนและหลังจากวันนี้ไปจากสวนส้มจดทะเบียนเพื่อการส่งออก ได้รับอนุญาตให้ส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย ๑๓.๕ วิธีดำเนินการเมื่อตรวจพบแมลง citrus fruit fly ถ้าตรวจพบแมลง citrus fruit fly ในระหว่างช่วงของการสำรวจแบบติดตาม สวนส้มซึ่งอยู่ในแหล่งผลิตส้มตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๗ ต้องห้ามส่งออกส้มไปยังราชอาณาจักรไทยในปีส่งออกตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๓.๔.๒ ข้อ ๑๔ การตรวจส่งออก ๑๔.๑ ส้มที่ส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องมีการตรวจสอบร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่กักกันพืชของ MAFF และเจ้าหน้าที่กักกันพืชของกรมวิชาการเกษตร นอกจากนี้แล้วในช่วงก่อนเริ่มฤดูกาลส่งออกของทุกปี เจ้าหน้าที่กักกันพืชของกรมวิชาการเกษตรต้องตรวจสอบโรงบรรจุสินค้า ตรวจสอบข้อมูลการสำรวจแบบติดตามแมลง citrus fruit fly ในพื้นที่ที่ปลูกส้ม ตรวจสอบข้อมูลแมลงที่ติดกับดัก และตรวจสอบรายงานการดำเนินการของเจ้าหน้าที่กักกันพืชของ MAFF ๑๔.๒ MAFF ต้องส่งหนังสืออย่างเป็นทางการถึงกรมวิชาการเกษตร เพื่อขอให้กรมวิชาการเกษตรจัดส่งเจ้าหน้าที่กักกันพืชเพื่อตรวจรับรองส้มก่อนการส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย โดยต้องส่งหนังสือดังกล่าวล่วงหน้าเป็นระยะเวลาอย่างน้อย ๒ เดือน ก่อนเริ่มฤดูกาลส่งออกเป็นประจำทุกปี (วันที่ ๑ พฤศจิกายนของทุกปี) และญี่ปุ่นเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กักกันพืชของกรมวิชาการเกษตร ๑๔.๓ เจ้าหน้าที่กักกันพืชของ MAFF และเจ้าหน้าที่กักกันพืชของกรมวิชาการเกษตรต้องร่วมกันสุ่มตรวจส้ม ถ้ามีส้มจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจส้มจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจส้มทั้งหมด ถ้ามีส้มจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจส้มจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๔.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๔.๔.๑ ถ้าตรวจพบแมลง citrus fruit fly ในระหว่างการสุ่มตรวจส้มก่อนส่งออก ต้องห้ามส่งส้มทั้งหมดออกไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (ก) เจ้าหน้าที่กักกันพืชของ MAFF และเจ้าหน้าที่กักกันพืชของกรมวิชาการเกษตร ต้องร่วมกันตรวจสอบหาสาเหตุที่มีการทำลายของแมลง citrus fruit fly ในส้ม (ข) โรงบรรจุสินค้าที่เป็นผู้บรรจุส้มที่มีแมลง citrus fruit fly ทำลายต้องหยุดดำเนินการบรรจุส้มส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยโดยทันที ต้องระงับการส่งส้มที่ได้ผ่านการคัดและบรรจุไว้แล้วออกไปยังราชอาณาจักรไทย ส่วนสวนส้มที่ผลิตส้มซึ่งพบว่ามีแมลง citrus fruit fly ต้องห้ามส่งส้มออกไปยังราชอาณาจักรไทยโดยทันทีหลังจากนั้น แต่อย่างไรก็ตาม ส้มที่ได้ผ่านการตรวจสอบและมีการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชแล้ว ยังสามารถส่งออกไปราชอาณาจักรไทยได้ (ค) MAFF ต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบโดยทันทีเกี่ยวกับสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการส่งออกเมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๔.๔.๒ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตซึ่งไม่ใช่แมลง citrus fruit fly ในระหว่างการสุ่มตรวจส้มก่อนส่งออก ส้มทั้งหมดจะส่งไปยังราชอาณาจักรไทยได้ต่อเมื่อได้ทำการกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดสิ้นแล้ว ๑๔.๕ ในกรณีตรวจไม่พบศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ เจ้าหน้าที่กักกันพืชของ MAFF จะออกใบรับรองสุขอนามัยพืช และเจ้าหน้าที่กักกันพืชของกรมวิชาการเกษตรจะลงนามบนพื้นที่ว่างของใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๕ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๕.๑ MAFF จะออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับส้มที่ส่งออกไปราชอาณาจักรไทย และต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “This consignment was produced in (designated production area) and prepared for export in accordance with conditions for import of citrus fruit from Japan to Thailand” ๑๕.๒ ต้องระบุชื่อวิทยาศาสตร์และชื่อพันธุ์ของส้ม หมายเลขสวนที่ได้รับการจดทะเบียน หมายเลขโรงคัดบรรจุที่ได้รับการจดทะเบียน หมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า และหมายเลขตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้ำ) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๖ การตรวจนำเข้า ๑๖.๑ เมื่อส้มถูกขนส่งมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้าส้มจะดำเนินการหลังจากได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๖.๒ เจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างส้มและตรวจสอบเพื่อยื่นยันว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักส้มไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ ๑๖.๓ ถ้ามีส้มนำเข้าจำนวนน้อยกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจส้มจำนวน ๔๕๐ ผล หรือสุ่มตรวจส้มทั้งหมด ถ้ามีส้มจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า ๑,๐๐๐ ผล ต้องสุ่มตรวจส้มจำนวน ๖๐๐ ผล ๑๖.๔ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ระหว่างการสุ่มตรวจส้ม ต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๖.๔.๑ ถ้าพบแมลง citrus fruit fly ที่มีชีวิต ส้มทั้งหมดต้องถูกส่งกลับหรือทำลายเท่านั้นโดยผู้นำเข้าสินค้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะสั่งระงับการนำเข้าและแจ้งให้ MAFF ทราบโดยทันที ๑๖.๔.๒ MAFF ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้า เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุและมีการดำเนินมาตรการแก้ไขจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๖.๔.๓ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น ๆ ที่มีชีวิตซึ่งไม่ใช่แมลง citrus fruit fly ส้มทั้งหมดจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรือทำการกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าสินค้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๖.๔.๔ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายประกาศนี้ ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนส้มด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้าส้มจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราวจนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ข้อ ๑๗ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๗.๑ การส่งออกส้มจากญี่ปุ่นไปยังราชอาณาจักรไทยจะเริ่มได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในญี่ปุ่นแล้วเท่านั้น โดยญี่ปุ่นเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๗.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในญี่ปุ่นก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าส้มจากญี่ปุ่นได้อีกต่อไป ถ้ากรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น โดยญี่ปุ่นเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑] ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ จิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อชนิดส้ม แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากญี่ปุ่น พ.ศ. ๒๕๕๓ (เอกสารหมายเลข ๑) ๒. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลส้มจากญี่ปุ่น แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากญี่ปุ่น พ.ศ. ๒๕๕๓ (เอกสารหมายเลข ๒) ๓. แหล่งปลูกส้มที่ได้รับอนุญาต แนบท้ายประกาศกรมวิชาเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากญี่ปุ่น พ.ศ. ๒๕๕๓ (เอกสารหมายเลข ๓) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔๓ ง/หน้า ๓/๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
640953
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและออกใบรับรองสุขอนามัยพืช สำหรับการส่งออกพืชควบคุมไปยังสหภาพยุโรป พ.ศ. 2552
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและออกใบรับรองสุขอนามัยพืช สำหรับการส่งออกพืชควบคุมไปยังสหภาพยุโรป พ.ศ. ๒๕๕๒ ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชเป็นพืชควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๒ กำหนดให้พืชที่จะส่งออกไปยังสหภาพยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการปลูกเลี้ยงต้องขอใบรับรองสุขอนามัยพืชตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ และพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ประสงค์จะขอรับใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งออกพืชควบคุมตามรายชื่อแนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชเป็นพืชควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๒ ไปยังสหภาพยุโรป ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกพืชควบคุมกับกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๒ พืชควบคุมต้องมาจากแหล่งผลิตพืชที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๓ การขอใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องปฏิบัติตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ พ.ศ. ๒๕๕๑ พร้อมแนบเอกสาร ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนผู้ส่งออกพืชควบคุม ยกเว้นการนำติดตัวออกไปเพื่อใช้เฉพาะตัวหรือเป็นตัวอย่าง (๒) สำเนาใบสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนแหล่งผลิตพืชควบคุม หรือหลักฐานแสดงการได้มาซึ่งพืชควบคุมจากแหล่งผลิตพืชที่ได้รับการขึ้นทะเบียน (๓) ผลการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชจากห้องปฏิบัติการของกรมวิชาการเกษตร ตามเงื่อนไขของสหภาพยุโรป (๔) ใบรายงานการกำจัดศัตรูพืช ข้อ ๔ หากตรวจพบว่าผู้ส่งออกไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑ หรือข้อ ๒ หรือข้อ ๓ พนักงานเจ้าหน้าที่จะปฏิเสธการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๕[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๓ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔๐ ง/หน้า ๕๕/๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
640939
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชเป็นพืชควบคุม พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชเป็นพืชควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ และพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้พืชตามท้ายประกาศนี้ที่จะส่งออกไปยังสหภาพยุโรปโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการปลูกเลี้ยงเป็นพืชควบคุม ข้อ ๒ การส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งพืชควบคุมตามข้อ ๑ ต้องขอใบรับรองสุขอนามัยพืชตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ข้อ ๓[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด ๖๐ วัน นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อพืชควบคุมแนบท้าย ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชเป็นพืชควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๒ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๓ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔๐ ง/หน้า ๓๗/๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
630878
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช และใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเกี่ยวกับแบบใบรับรองสุขอนามัยพืช และใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับส่งต่อ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑ แห่งประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับส่งต่อ พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑ คำขอรับใบรับรองสุขอนามัยพืช คำขอรับใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อใบรับรองสุขอนามัยพืช หรือใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ ให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศนี้” ข้อ ๒[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด ๖๐ วัน นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอใบรับรองสุขอนามัยพืช (แบบ พ.ก. ๗) ๒. บัญชีแสดงรายชื่อพืชแนบท้ายแบบคำขอใบรับรองสุขอนามัยพืช (แบบ พ.ก. ๗.๑) ๓. ใบแนบแนบท้ายแบบคำขอใบรับรองสุขอนามัยพืช (แบบ พ.ก. ๗.๒) ๔. ใบรับรองสุขอนามัยพืช (แบบ พ.ก. ๗ - ๑) ๕. ใบแนบสำหรับใบรับรองสุขอนามัยพืช (แบบ พ.ก. ๗ - ๒) ๖. คำขอใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ (แบบ พ.ก. ๘) ๗. บัญชีแสดงรายชื่อพืชแนบท้ายแบบคำขอใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ (แบบ พ.ก. ๘.๑) ๘. ใบแนบแนบท้ายแบบคำขอใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ (แบบ พ.ก. ๘.๒) ๙. ใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ (แบบ พ.ก. ๘ - ๑) ๑๐. ใบแนบสำหรับใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ (แบบ พ.ก. ๘ - ๒) ๑๑. คำขอรับใบแทนใบรับรองสุขอนามัยพืช (แบบ พ.ก. ๙) ๑๒. คำขอรับใบแทนใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ (แบบ พ.ก. ๑๐) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๑๒๘/๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓
629477
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไข ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไข ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๓ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก ๑.๑ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๓ ๑.๒ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๖ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “อาหารสำเร็จรูป” หมายความว่า อาหารที่ได้มาจากส่วนของพืช ซึ่งยังคงลักษณะเป็นพืชและได้ผ่านกระบวนการที่สามารถทำลายเชื้อโรคและศัตรูพืช ข้อ ๓ ให้พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม จากทุกแหล่ง ตามท้ายประกาศนี้ เป็นสิ่งต้องห้าม ข้อ ๔ ในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้นำสิ่งต้องห้ามตามข้อ ๓ เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทดลองหรือวิจัย ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนดทั้งก่อนนำเข้าและระหว่างการทดลองวิจัย ข้อ ๕ ข้อยกเว้นและเงื่อนไข ๕.๑ อาหารสำเร็จรูป ๕.๒ ข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ หรืออาหารสำหรับมนุษย์ หรือใช้เพื่อการอุตสาหกรรม ต้องมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากประเทศผู้ส่งออกกำกับมาด้วย ๕.๓ ถั่วเหลืองที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ หรืออาหารสำหรับมนุษย์ หรือใช้เพื่อการอุตสาหกรรม ต้องมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากประเทศผู้ส่งออกกำกับมาด้วย ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด ๖๐ วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑] ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อพืชแนบท้าย ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๖๒/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓
629418
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ารังไหมเพื่อการแปรรูปจากสาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ. 2553
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ารังไหมเพื่อการแปรรูปจากสาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของรังไหมเพื่อการแปรรูปที่นำเข้าเป็นการค้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำเข้ารังไหมเพื่อการแปรรูปจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้ามาในราชอาณาจักร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ชนิดสินค้า รังไหมชนิดสีขาว Bombyx mori ข้อ ๒ ศัตรูกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับรังไหมเพื่อการแปรรูปจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้แก่ Nosema bombycis สาเหตุโรค pebrine ข้อ ๓ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๓.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๓.๒ สาธารณรัฐประชาชนจีน คือ General Administration of Quality Supervision Inspection and Quarantine of the People's Republic of China ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “AQSIQ” ข้อ ๔ การขออนุญาตนำเข้า ๔.๑ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ๔.๒ ผู้ที่มีสิทธิยื่นคำขอใบอนุญาตนำเข้ารังไหมเพื่อการแปรรูปต้องดำเนินธุรกิจโรงงานสาวไหม ข้อ ๕ วิธีการขนส่ง รังไหมต้องส่งมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสาธารณรัฐประชาชนจีนไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทย ในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางเรือหรือทางอากาศ ข้อ ๖ ข้อกำหนดสำหรับโรงงานสาวไหม ๖.๑ รังไหมนำเข้าเพื่อการแปรรูปต้องถูกแปรรูปในโรงงานสาวไหมที่ผ่านการตรวจสอบโดยกรมวิชาการเกษตร โรงงานสาวไหมต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด ดังนี้ ๖.๑.๑ ต้องมีสถานที่เก็บรังไหม ๖.๑.๒ ต้องมีเครื่องอบแห้งรังไหม ๖.๑.๓ ต้องเก็บข้อมูลจำนวนที่นำเข้าและแปรรูปเพื่อการตรวจสอบ ๖.๑.๔ ต้องไม่นำรังไหมไปทำการแปรรูปที่โรงงานสาวไหมอื่นโดยไม่ผ่านความเห็นชอบก่อนจากกรมวิชาการเกษตร ๖.๒ ต้องตรวจสอบโรงงานสาวไหมเป็นประจำทุกปี หรือเมื่อมีเหตุจำเป็นว่าได้ปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยผู้นำเข้ารังไหมเพื่อการแปรรูปเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๖.๓ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดโดยเคร่งครัด ใบอนุญาตนำเข้ารังไหมเพื่อการแปรรูปจะถูกเพิกถอนถ้าไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด ข้อ ๗ ข้อกำหนดนำเข้า ๗.๑ ต้องปลอดจากโรค pebrine ๗.๒ ต้องอบรังไหมด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ ๙๐ องศาเซลเซียส (๑๙๔ องศาฟาเรนไฮต์) หรือสูงกว่า เป็นเวลานาน ๘ ชั่วโมง หรือมากกว่า ติดต่อกัน หรืออบรังไหมด้วยวิธีการอื่นใดที่เป็นการอบแห้งสมบูรณ์ ๗.๓ รังไหมต้องมีความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๐ ข้อ ๘ ข้อกำหนดของบรรจุภัณฑ์ ๘.๑ ต้องบรรจุรังไหมในบรรจุภัณฑ์ที่ใหม่ และปิดสนิทเมื่อบรรจุรังไหมแล้ว ๘.๒ ต้องบรรจุรังไหมในบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องไม่มีการปะปนของ ดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูกักกันได้ ข้อ ๙ การรับรอง ๙.๑ การส่งออกรังไหมมายังราชอาณาจักรไทยต้องมีใบรับรองการปลอดโรค ซึ่งออกให้โดย AQSIQ กำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่ส่งมายังราชอาณาจักรไทย ๙.๒ ใบรับรองต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The silkworm cocoon of this consignment was produced in China and inspected and found to be free of pebrine” ๙.๓ ต้องระบุรายละเอียดของการอบรังไหมด้วยความร้อนหรือวิธีการอื่นใดบนใบรับรองในส่วนที่เหมาะสมด้วย ๙.๔ ต้องระบุชื่อวิทยาศาสตร์ของไหม หมายเลขตู้ขนส่งสินค้า และหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางเรือ) ในใบรับรอง ข้อ ๑๐ การตรวจนำเข้า ๑๐.๑ เมื่อรังไหมถูกขนส่งมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจนำเข้ารังไหมจะดำเนินการหลังจากได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า ๑๐.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างรังไหมและตรวจสอบเพื่อยืนยันว่ามีศัตรูของรังไหมหรือไม่ ๑๐.๓ ในกรณีตรวจพบโรค pebrine หรือการนำเข้าไม่เป็นไปตามข้อกำหนดต้องดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ ๑๐.๓.๑ ถ้าตรวจพบว่ารังไหมมีความชื้นเกินกว่าร้อยละ ๑๐ ต้องอบรังไหมอีกครั้งให้รังไหมมีความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๐ โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๐.๓.๒ ถ้าตรวจพบว่าเชื้อสาเหตุโรค pebrine ยังมีชีวิต รังไหมทั้งหมดต้องถูกทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๐.๔ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นนอกเหนือจาก Nosema bombycis ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูกักกันบนรังไหมด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิระงับการนำเข้ารังไหมเป็นการชั่วคราวจนกว่าการประเมินความเสี่ยงได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๕๙ ง/หน้า ๔๓/๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓
629148
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำผ่านท่อนพันธุ์อ้อยจากราชอาณาจักรกัมพูชาผ่านราชอาณาจักรไทยไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. 2553
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำผ่านท่อนพันธุ์อ้อยจากราชอาณาจักรกัมพูชาผ่านราชอาณาจักรไทย ไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชสำหรับการนำผ่านท่อนพันธุ์อ้อยจากราชอาณาจักรกัมพูชาผ่านราชอาณาจักรไทยไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติ ให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำผ่านท่อนพันธุ์อ้อยจากราชอาณาจักรกัมพูชาไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ชนิดพืช ท่อนพันธุ์อ้อย Saccharum officinarum ข้อ ๒ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๒.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๒.๒ ราชอาณาจักรกัมพูชา คือ Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า MAFF ข้อ ๓ การขออนุญาตนำผ่าน ต้องมีใบอนุญาตนำผ่านซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๔ วิธีการขนส่ง ท่อนพันธุ์อ้อยต้องส่งจากราชอาณาจักรกัมพูชาผ่านราชอาณาจักรไทยไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งผ่านพรมแดน ข้อ ๕ ข้อกำหนดการนำผ่านด้านสุขอนามัยพืช ๕.๑ ท่อนพันธุ์อ้อยต้องไม่มีรากและใบ ๕.๒ ต้องตัดท่อนพันธุ์อ้อยเป็นท่อน โดยแต่ละท่อนต้องมีขนาดความยาวไม่เกิน ๕๐ เซนติเมตร ๕.๓ ภาชนะบรรจุท่อนพันธุ์อ้อยต้องสะอาด แข็งแรง และปิดมิดชิด สามารถมั่นใจได้ว่าภาชนะบรรจุไม่แตกและป้องกันท่อนพันธุ์อ้อยไม่ให้ร่วงหล่นในระหว่างนำผ่านราชอาณาจักรไทย ต้องไม่มีการปะปนของดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ กรณีนำท่อนพันธุ์อ้อยบรรจุในกระบะบรรทุกของยานพาหนะ ต้องจัดการกระบะบรรทุกให้สะอาดปราศจากดิน ทราย และชิ้นส่วนของพืชหรือสิ่งอื่นใดที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ก่อนดำเนินการขนย้ายท่อนพันธุ์อ้อยขึ้นบรรจุในกระบะบรรทุกของยานพาหนะ นอกจากนี้ ต้องคลุมผ้าปิดส่วนของกระบะบรรทุกให้มิดชิด ซึ่งมั่นใจได้ว่าสามารถป้องกันไม่ให้ท่อนพันธุ์อ้อยร่วงหล่นในระหว่างนำผ่านราชอาณาจักรไทย ๕.๔ ต้องติดบัตรกำกับบนภาชนะบรรจุท่อนพันธุ์อ้อย ข้อ ๖ การรับรองสุขอนามัยพืช การนำท่อนพันธุ์อ้อยจากราชอาณาจักรกัมพูชาผ่านราชอาณาจักรไทยไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชกำกับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้ง ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๑๓/๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓
623289
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พ.ศ. 2552
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปที่นำเข้าเพื่อการค้าจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ดังต่อไปนี้ ๑. ชนิดพืช หัวมันฝรั่ง (potato tuber) Solanum tuberosum ๒. ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปและดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่งจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ๓. หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๓.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๓.๒ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี คือ Federal Ministry of Food, Agriculture and Consumer Protection ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “BMELV” ๔. การขออนุญาตนำเข้า ๔.๑ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ๔.๒ ผู้ที่มีสิทธิยื่นคำขอใบอนุญาตนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปต้องดำเนินธุรกิจโรงงานแปรรูปมันฝรั่ง ๔.๓ ผู้ยื่นคำขอจะได้รับใบอนุญาตนำเข้าถ้าโรงงานแปรรูปมันฝรั่งมีอุปกรณ์พร้อมสำหรับจัดการกับดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่ง ส่วนของหัวมันฝรั่งที่คัดทิ้ง และน้ำล้างหัวมันฝรั่งตามที่ระบุไว้ในข้อ ๖ ได้อย่างปลอดภัย ๕. วิธีการขนส่ง หัวมันฝรั่งต้องส่งมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางเรือหรือทางอากาศ ๖. การจดทะเบียนโรงงานแปรรูปมันฝรั่ง ๖.๑ หัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปต้องได้รับการแปรรูปในโรงงานแปรรูปมันฝรั่งที่จดทะเบียน และรับรองโดยกรมวิชาการเกษตร เจ้าหน้าที่กักกันพืชต้องตรวจสอบโรงงานแปรรูปมันฝรั่งว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามข้อกำหนด โดยโรงงานแปรรูปมันฝรั่งที่ได้รับการรับรองต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนด ดังนี้ ๖.๑.๑ ต้องมีอุปกรณ์ซึ่งเหมาะสมสำหรับการทำความสะอาดและการกำจัดเชื้อ ๖.๑.๒ ต้องนำน้ำจากเครื่องล้างและเครื่องปอกหัวมันฝรั่งไปจัดการโดยระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้รับการยอมรับ หรือระบบกำจัดของเสียอื่น ๆ ที่ได้รับการยอมรับ ๖.๑.๓ ต้องกำจัดดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่งและเศษเหลือต่าง ๆ ของมันฝรั่งด้วยวิธีการที่เหมาะสม ๖.๑.๔ บริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปต้องเก็บรักษาข้อมูลจำนวนหัวมันฝรั่งที่นำเข้าและแปรรูป และต้องไม่นำหัวมันฝรั่งไปทำการแปรรูปที่โรงงานอื่นโดยไม่ผ่านความเห็นชอบก่อนจากกรมวิชาการเกษตร ๖.๒ ต้องตรวจสอบโรงงานแปรรูปหัวมันฝรั่งเป็นประจำทุกปีว่าได้ปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยบริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๖.๓ โรงงานแปรรูปหัวมันฝรั่งต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดโดยเคร่งครัด ในกรณีผู้ได้รับใบอนุญาตไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด กรมวิชาการเกษตรจะเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าว ๗. แหล่งผลิต ๗.๑ บางพื้นที่ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีพบว่ามีการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง pale cyst nematode, Globodera pallida และ golden nematode, Globodera rostochiensis ๗.๒ หัวมันฝรั่งจากทุกแหล่งในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นหัวมันฝรั่งจากพื้นที่ดังต่อไปนี้ห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทย ๗.๒.๑ หัวมันฝรั่งจากพื้นที่ซึ่งประกาศเป็นเขตควบคุมไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง ๗.๒.๒ หัวมันฝรั่งจากแปลงปลูกซึ่งผลการตรวจสอบดินพบไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง ๘. ข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืช ๘.๑ หัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปต้องปลอดจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้ ๘.๒ ต้องดำเนินการตรวจไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในดินอย่างเป็นทางการในแปลงปลูกก่อนเริ่มปลูกมันฝรั่งหรือก่อนเก็บเกี่ยวมันฝรั่ง การรับรองไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในแปลงปลูกมันฝรั่งต้องเป็นไปตามวิธีการซึ่งเห็นชอบร่วมกัน ๘.๓ การตรวจวิเคราะห์ดินเพื่อหาไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งต้องเป็นไปตาม Council Directive ๒๐๐๗/๓๓/EC on the control of potato cyst nematodes and repealing Directive ๖๙/๔๖๕/EEC ลงวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๘.๔ เพื่อลดความเสี่ยงของไส้เดือนฝอยและโรคพืชที่ทำลายบนหัวมันฝรั่ง ต้องดำเนินมาตรการสุขอนามัยพืชกับหัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้ ๘.๔.๑ ต้องล้างหัวมันฝรั่งด้วยน้ำให้สะอาดจนกระทั่งหัวมันฝรั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ หรือ ๘.๔.๒ กรณีการนำเข้าหัวมันฝรั่งที่ไม่ล้างน้ำ ต้องดำเนินการปัดดินบนหัวมันฝรั่งจนกระทั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ โดยดินที่มีลักษณะเป็นผงติดมากับหัวมันฝรั่งต้องมีน้ำหนักไม่เกิน ๑๐๐ กรัม ต่อหัวมันฝรั่งน้ำหนัก ๕๐ กิโลกรัม (เท่ากับร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก) สำหรับดินที่มีลักษณะเป็นก้อนเกาะติดบนหัวมันฝรั่ง หัวมันฝรั่งซึ่งมีดินลักษณะเป็นก้อนเกาะติดมาครอบคลุมพื้นที่ผิวเกินกว่าร้อยละ ๒๐ ต้องมีไม่เกินจำนวน ๓๐ หัว จากตัวอย่างหัวมันฝรั่งจำนวน ๖๐๐ หัว (เท่ากับร้อยละ ๕) นอกจากนี้แล้ว ต้องควบคุมการแตกหน่อบนหัวมันฝรั่งด้วยสารยับยั้งความงอก ๙. การรับรองสุขอนามัยพืช ๙.๑ ต้องแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชมาพร้อมกับสินค้าหัวมันฝรั่งจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีทุกครั้งที่มีการนำเข้า ๙.๒ ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The potatoes in this consignment were produced in Germany in accordance with the conditions governing entry of potatoes for processing to Thailand and inspected and found to be free of quarantine pests.” และ “The potatoes in this consignment have been washed.” หรือ “The potatoes in this consignment were treated with a sprout inhibitor.” ๙.๓ ต้องบันทึกหมายเลขตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางเรือเท่านั้น) บนใบรับรองสุขอนามัยพืช ๑๐. การประเมินวิธีการส่งออก ๑๐.๑ การส่งออกหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมายังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้ต่อเมื่อกรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๐.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปได้อีกต่อไป โดยสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปและดินจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พ.ศ. ๒๕๕๒ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๗๕/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
622157
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออกพืชควบคุม พ.ศ. 2552
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออกพืชควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] เพื่อให้การควบคุมระบบการตรวจสอบรับรองการส่งออกพืชควบคุมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจึงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออกพืชควบคุม ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ส่งออก” หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีการส่งออกพืชควบคุม “ใบสำคัญ” หมายความว่า ใบสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออกพืชควบคุม ข้อ ๒ การยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออก บุคคลใดประสงค์จะส่งออกพืชควบคุมให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออกตามแบบ พ.ก. ๑๓ แนบท้ายประกาศนี้ต่ออธิบดีกรมวิชาการเกษตร ณ สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร เลขที่ ๕๐ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ ๑๐๙๐๐ หรือยื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ พร้อมเอกสารหลักฐาน ดังนี้ (๑) กรณีผู้ขอเป็นบุคคลธรรมดา สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง (๒) กรณีผู้ขอเป็นนิติบุคคล (ก) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลหรือหนังสือเดินทาง (ข) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล ออกให้ไม่เกินหกเดือน (ค) หนังสือมอบอำนาจในกรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน ข้อ ๓ การรับขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออก (๑) เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอแล้ว ให้ตรวจสอบหลักฐานที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ ถ้าเอกสารหลักฐานครบถ้วนให้เสนออธิบดีกรมวิชาการเกษตรหรือผู้ที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรมอบหมาย เพื่อพิจารณารับขึ้นทะเบียนและออกใบสำคัญตามแบบ พ.ก. ๑๓ - ๑ แนบท้ายประกาศนี้ (๒) ใบสำคัญมีอายุสามปี นับแต่วันออกใบสำคัญ (๓) ผู้ได้รับใบสำคัญถ้าประสงค์จะต่ออายุใบสำคัญต้องยื่นคำขอก่อนใบสำคัญสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอดังกล่าวแล้วให้ถือว่ามีฐานะเสมือนผู้ได้รับใบสำคัญและให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าหน้าที่จะสั่งไม่ต่ออายุใบสำคัญนั้น ข้อ ๔ ในการส่งออกผู้ได้รับใบสำคัญต้องจัดให้มีการติดป้าย หรือฉลาก หรือประทับข้อความเป็นภาษาอังกฤษที่ภาชนะบรรจุ โดยแสดงชื่อวิทยาศาสตร์ของพืช ปริมาณการส่งออก หมายเลขทะเบียนผู้ส่งออก และหมายเลขทะเบียนแหล่งผลิต ข้อ ๕ การพักใช้หรือเพิกถอนใบสำคัญ (๑) ผู้ได้รับใบสำคัญไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ กรมวิชาการเกษตรจะพิจารณาสั่งให้แก้ไข หากไม่ปฏิบัติตามภายในระยะเวลาที่กำหนดจะดำเนินการสั่งพักใช้ใบสำคัญเป็นระยะเวลาสามสิบวัน หรือในกรณีกระทำผิดสามครั้งติดต่อกัน จะสั่งเพิกถอนใบสำคัญก็ได้ (๒) ผู้ได้รับใบสำคัญซึ่งถูกเพิกถอนใบสำคัญต้องหยุดประกอบกิจการตามใบสำคัญนั้นและจะขอใบสำคัญอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบสำคัญ ข้อ ๖ ข้อยกเว้น การนำติดตัวออกไปซึ่งพืชควบคุมเพื่อใช้เฉพาะตัวหรือเป็นตัวอย่าง ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออกพืชควบคุม (แบบ พ.ก. ๑๓) ๒. ใบสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออกพืชควบคุม (แบบ พ.ก. ๑๓ - ๑) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๓ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑ ง/หน้า ๗๘/๖ มกราคม ๒๕๕๓
696087
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดสถานกักพืช ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับ Update ณ วันที่ 27/11/2552)
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดสถานกักพืช ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ มาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศกระทรวงกำหนดให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานกักพืช สิ่งต้องห้าม สิ่งกำกัด และเชื้อพันธุ์พืช เพื่อสังเกตตรวจสอบและวิจัย ดังนี้ ข้อ ๑ สถานกักพืชกรุงเทพ บริเวณเกษตรกลางบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๒ แห่ง ดังนี้ สถานกักพืชกรุงเทพ แห่งที่ ๑ ในบริเวณกองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร มีเนื้อที่ประมาณ หนึ่งไร่ หกสิบตารางวา (๑-๐-๖๐ ไร่) และมีอาณาเขต ดังนี้ (๑) ทิศเหนือติดซอยถนนหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ (๒) ทิศใต้ติดกับอาณาเขตตึกที่ทำการสำนักคุ้มครองพันธุ์พืช (๓) ทิศตะวันออกติดอาณาเขตตึกที่ทำการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (๔) ทิศตะวันตกติดกับคูข้างถนนหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ วรรคสาม[๒] (ยกเลิก) ข้อ ๒ สถานกักพืชเชียงใหม่ ในบริเวณไร่นาสาธิตแม่เหียะ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ ห้าไร่ ยี่สิบตารางวา (๕-๐-๒๐ ไร่) และมีอาณาเขต ดังนี้ (๑) ทิศเหนือติดศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (๒) ทิศใต้ติดสวนพฤกษศาสตร์และวรรณคดี กรมป่าไม้ (๓) ทิศตะวันออกติดศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (๔) ทิศตะวันตกติดสวนพฤกษศาสตร์และวรรณคดี กรมป่าไม้ ข้อ ๓ สถานกักพืชเชียงราย ในบริเวณศูนย์ราชการรอง ตำบลริมกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่ประมาณ สี่ไร่ ยี่สิบตารางวา (๔-๐-๒๐ ไร่) และมีอาณาเขต ดังนี้ (๑) ทิศเหนือติดถนนฝั่งหมิ่น - บ้านฟาร์ม (๒) ทิศใต้ติดที่ดินศูนย์ราชการรอง จังหวัดเชียงราย (๓) ทิศตะวันออกติดที่ดินศูนย์ราชการรอง จังหวัดเชียงราย (๔) ทิศตะวันตกติดถนนเลี่ยงเมือง ข้อ ๔ สถานกักพืชหนองคาย บริเวณตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย มีเนื้อที่ประมาณ สิบไร่ ยี่สิบสองตารางวา (๑๐-๐-๒๒ ไร่) และมีอาณาเขต ดังนี้ (๑) ทิศเหนือติดที่ดินประชาชน (๒) ทิศใต้ติดด่านป่าไม้ระหว่างประเทศ (๓) ทิศตะวันออกติดถนนเชื่อมสะพานมิตรภาพไทย - ลาว (๔) ทิศตะวันตกติดด่านกักสัตว์ระหว่างประเทศ ข้อ ๕ สถานกักพืชอุบลราชธานี ในบริเวณส่วนราชการชายแดน อำเภอช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี มีเนื้อที่ประมาณ หกไร่ สองงาน สิบตารางวา (๖-๒-๑๐ ไร่) และมีอาณาเขต ดังนี้ (๑) ทิศเหนือติดด่านกักสัตว์ระหว่างประเทศ (๒) ทิศใต้ติดที่สาธารณะ (๓) ทิศตะวันออกติดทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๒๑๗ (๔) ทิศตะวันตกติดที่สาธารณะ ข้อ ๖ สถานกักพืชสงขลา ในบริเวณที่ราชพัสดุ สนามบินหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีเนื้อที่ประมาณ สี่ไร่ (๔-๐-๐ ไร่) และมีอาณาเขต ดังนี้ (๑) ทิศเหนือติดที่ดินประชาชน (๒) ทิศใต้ติดที่ถนนเลียบสนามบินของท่าอากาศยานหาดใหญ่ (๓) ทิศตะวันออกติดที่ดินกรมควบคุมโรคติดต่อ (๔) ทิศตะวันตกติดด่านกักสัตว์ระหว่างประเทศ ข้อ ๗ สถานกักพืชภูเก็ต ในบริเวณที่ราชพัสดุ สนามบินภูเก็ต อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต มีเนื้อที่ประมาณ สองไร่ สามงาน หกสิบเก้าตารางวา (๒-๓-๖๙ ไร่) และมีอาณาเขต ดังนี้ (๑) ทิศเหนือติดที่ราชพัสดุ ภก. ๑๓๔ (๒) ทิศใต้ติดที่ราชพัสดุ (๓) ทิศตะวันออกติดที่ราชพัสดุ (๔) ทิศตะวันตกติดทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๔๐๓๑ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖ สรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บรรณพต/พิมพ์ ๙ มกราคม ๒๕๔๗ สุมลรัตน์/พัชรินทร์/ตรวจ ๑๖ มกราคม ๒๕๔๗ สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๘ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๓/๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๖ [๒] ยกเลิกโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง ยกเลิกสถานกักพืชกรุงเทพ แห่งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๒
621853
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2552
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคที่นำเข้าเพื่อการค้าจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์เสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ชนิดพืช หัวมันฝรั่ง (potato tuber) Solanum tuberosum ข้อ ๒ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคและดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่งจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๓.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๓.๒ ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ คือ Ministry of Agriculture, Nature and Food Quality, Plant Protection Service ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “MANFQ-PPS” ข้อ ๔ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๕ วิธีการขนส่ง หัวมันฝรั่งต้องส่งมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางเรือหรือทางอากาศ กรณีของสินค้าขนส่งทางเรือสามารถส่งมาจากเมืองท่าในราชอาณาจักรเบลเยียมและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีก็ได้ ข้อ ๖ แหล่งผลิต ๖.๑ บางพื้นที่ในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์พบว่ามีการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง pale cyst nematode, Globodera pallida และ golden nematode, Globodera rostochiensis ๖.๒ หัวมันฝรั่งจากทุกแหล่งในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นหัวมันฝรั่งจากพื้นที่ดังต่อไปนี้ห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทย ๖.๒.๑ หัวมันฝรั่งจากพื้นที่ซึ่งประกาศเป็นเขตควบคุมไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง ๖.๒.๒ หัวมันฝรั่งจากแปลงปลูกซึ่งผลการตรวจสอบดินพบไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง ข้อ ๗ ข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืช ๗.๑ หัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการบริโภคต้องปลอดจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้ ๗.๒ ต้องดำเนินการตรวจไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในดินอย่างเป็นทางการในแปลงปลูกมันฝรั่งก่อนเริ่มปลูกมันฝรั่งหรือก่อนเก็บเกี่ยว การรับรองไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในแปลงปลูกมันฝรั่งต้องเป็นไปตามวิธีการซึ่งเห็นชอบร่วมกัน นอกจากนี้ ตัวอย่างดินต้องตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการของ Netherlands General Inspection Service for Agricultural Seeds and Seed Potatoes ๗.๓ การตรวจวิเคราะห์ดินเพื่อหาไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งต้องเป็นไปตาม Council Directive ๒๐๐๗/๓๓/EC on the control of potato cyst nematodes and repealing Directive ๖๙/๔๖๕/EEC ลงวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๗.๔ เพื่อลดความเสี่ยงของไส้เดือนฝอยและโรคพืชที่ทำลายบนหัวมันฝรั่งต้องล้างหัวมันฝรั่งด้วยน้ำให้สะอาดจนกระทั่งหัวมันฝรั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ข้อ ๘ การรับรองสุขอนามัยพืช ๘.๑ ต้องแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชมาพร้อมกับสินค้าหัวมันฝรั่งจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ทุกครั้งที่มีการนำเข้า ๘.๒ ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The potatoes in this consignment were produced in the Netherlands in accordance with the conditions governing entry of potatoes for consumption to Thailand and inspected and found to be free of quarantine pests.” และ “The potatoes in this consignment have been washed.” ๘.๓ ต้องบันทึกหมายเลขตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางเรือเท่านั้น) บนใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๙ การประเมินกระบวนการส่งออก ๙.๑ การส่งออกหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์มายังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้ต่อเมื่อกรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๙.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการส่งออกมีความจำเป็น กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคได้อีกต่อไป โดยราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคและดินจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการบริโภคจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๗ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๗ มกราคม ๒๕๕๓ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๘๒ ง/หน้า ๗๒/๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๒
621851
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2552
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปที่นำเข้าเพื่อการค้าจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์เสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ชนิดพืช หัวมันฝรั่ง (potato tuber) Solanum tuberosum ข้อ ๒ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปและดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่งจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๓.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๓.๒ ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ คือ Ministry of Agriculture, Nature and Food Quality, Plant Protection Service ซึ่งต่อไปนี้ในประกาศนี้จะเรียกว่า “MANFQ-PPS” ข้อ ๔ การขออนุญาตนำเข้า ๔.๑ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ๔.๒ ผู้ที่มีสิทธิยื่นคำขอใบอนุญาตนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปต้องประกอบธุรกิจโรงงานแปรรูปมันฝรั่ง ๔.๓ กรมวิชาการเกษตร จะออกใบอนุญาตนำเข้าต่อเมื่อผู้ยื่นคำขอมีโรงงานแปรรูปมันฝรั่งซึ่งมีอุปกรณ์พร้อมสำหรับจัดการกับดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่ง ส่วนของหัวมันฝรั่งที่คัดทิ้ง และน้ำล้างหัวมันฝรั่งตามที่ระบุไว้ในข้อ ๖ ได้อย่างปลอดภัย ข้อ ๕ วิธีการขนส่ง หัวมันฝรั่งต้องส่งมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางเรือหรือทางอากาศ กรณีของสินค้าขนส่งทางเรือสามารถส่งมาจากเมืองท่าในราชอาณาจักรเบลเยียมและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีก็ได้ ข้อ ๖ การจดทะเบียนโรงงานแปรรูปมันฝรั่ง ๖.๑ หัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปต้องได้รับการแปรรูปในโรงงานแปรรูปมันฝรั่งที่จดทะเบียนและรับรองโดยกรมวิชาการเกษตร เจ้าหน้าที่กักกันพืชต้องตรวจสอบโรงงานแปรรูปมันฝรั่งว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามข้อกำหนด โดยโรงงานแปรรูปมันที่ได้รับการรับรองต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนด ดังนี้ ๖.๑.๑ ต้องมีอุปกรณ์ซึ่งเหมาะสมสำหรับการทำความสะอาดและการกำจัดเชื้อ ๖.๑.๒ ต้องนำน้ำจากเครื่องล้างและเครื่องปอกหัวมันฝรั่งไปจัดการโดยระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้รับการยอมรับ หรือระบบกำจัดของเสียอื่น ๆ ที่ได้รับการยอมรับ ๖.๑.๓ ต้องกำจัดดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่งและเศษเหลือต่าง ๆ ของมันฝรั่งด้วยวิธีการที่เหมาะสม ๖.๑.๔ บริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปต้องเก็บรักษาข้อมูลจำนวนหัวมันฝรั่งที่นำเข้าและแปรรูป และต้องไม่นำหัวมันฝรั่งไปทำการแปรรูปที่โรงงานอื่นโดยไม่ผ่านความเห็นชอบก่อนจากกรมวิชาการเกษตร ๖.๒ ต้องตรวจสอบโรงงานแปรรูปมันฝรั่งเป็นประจำทุกปีว่าได้ปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยบริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๖.๓ โรงงานแปรรูปหัวมันฝรั่งต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดโดยเคร่งครัด ในกรณีผู้ได้รับอนุญาตไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด กรมวิชาการเกษตรจะเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าว ข้อ ๗ แหล่งผลิต ๗.๑ บางพื้นที่ในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์พบว่ามีการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง pale cyst nematode, Globodera pallida และ golden nematode, Globodera rostochiensis ๗.๒ หัวมันฝรั่งจากทุกแหล่งในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ยกเว้น หัวมันฝรั่งจากพื้นที่ดังต่อไปนี้ห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทย ๗.๒.๑ หัวมันฝรั่งจากพื้นที่ซึ่งประกาศเป็นเขตควบคุมไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง ๗.๒.๒ หัวมันฝรั่งจากแปลงปลูกซึ่งผลการตรวจสอบดินพบไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง ข้อ ๘ ข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืช ๘.๑ หัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปต้องปลอดจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้ ๘.๒ ต้องดำเนินการตรวจไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในดินอย่างเป็นทางการในแปลงปลูกมันฝรั่งก่อนเริ่มปลูกมันฝรั่งหรือก่อนเก็บเกี่ยว การรับรองไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในแปลงปลูกมันฝรั่งต้องเป็นไปตามวิธีการซึ่งเห็นชอบร่วมกัน นอกจากนี้ ต้องตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างดินในห้องปฏิบัติการของ Netherlands General Inspection Service for Agricultural Seeds and Seed Potatoes ๘.๓ การตรวจวิเคราะห์ดินเพื่อหาไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งต้องเป็นไปตาม Council- Directive ๒๐๐๗/๓๓/EC on the control of potato cyst nematodes and repealing Directive ๖๙/๔๖๕/EEC ลงวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๘.๔ เพื่อลดความเสี่ยงของไส้เดือนฝอยและโรคพืชที่ทำลายบนหัวมันฝรั่ง ต้องดำเนินมาตรการสุขอนามัยพืชกับหัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้ ๘.๔.๑ ต้องล้างหัวมันฝรั่งด้วยน้ำให้สะอาดจนกระทั่งหัวมันฝรั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ หรือ ๘.๔.๒ กรณีการนำเข้าหัวมันฝรั่งที่ไม่ล้างน้ำ ต้องดำเนินการปัดดินบนหัวมันฝรั่งจนกระทั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ โดยดินที่มีลักษณะเป็นผงติดมากับหัวมันฝรั่งต้องมีน้ำหนักไม่เกิน ๑๐๐ กรัม ต่อหัวมันฝรั่งน้ำหนัก ๕๐ กิโลกรัม (เท่ากับร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก) สำหรับดินที่มีลักษณะเป็นก้อนเกาะติดบนหัวมันฝรั่ง หัวมันฝรั่งซึ่งมีดินลักษณะเป็นก้อนเกาะติดมาครอบคลุมพื้นที่ผิวเกินกว่าร้อยละ ๒๐ ต้องมีไม่เกินจำนวน ๓๐ หัว จากตัวอย่างหัวมันฝรั่งจำนวน ๖๐๐ หัว (เท่ากับร้อยละ ๕) นอกจากนี้แล้ว ต้องควบคุมการแตกหน่อบนหัวมันฝรั่งด้วยสารยับยั้งความงอก ข้อ ๙ การรับรองสุขอนามัยพืช ๙.๑ ต้องแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชมาพร้อมกับสินค้าหัวมันฝรั่งจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ทุกครั้งที่มีการนำเข้า ๙.๒ ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The potatoes in this consignment were produced in the Netherlands in accordance with the conditions governing entry of potatoes for processing to Thailand and inspected and found to be free of quarantine pests.” และ “The potatoes in this consignment have been washed.” หรือ “The potatoes in this consignment were treated with a sprout inhibitor.” ๙.๓ ต้องบันทึกหมายเลขตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางเรือเท่านั้น) บนใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๐ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๐.๑ การส่งออกหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์มายังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้ต่อเมื่อกรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๐.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า หากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการส่งออกมีความจำเป็น กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปได้อีกต่อไป โดยราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปและดินจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๗ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๗ มกราคม ๒๕๕๓ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๘๒ ง/หน้า ๖๘/๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๒
621849
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2552
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของหัวพันธุ์มันฝรั่งที่นำเข้าเพื่อการค้าจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์เสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ชนิดพืช หัวพันธุ์มันฝรั่ง (seed potato) Solanum tuberosum ข้อ ๒ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง ๒.๑ รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งและดินที่ติดมากับหัวพันธุ์มันฝรั่งจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ปรากฏตามเอกสารแนบ ๑ ท้ายประกาศนี้ ๒.๒ ศัตรูพืชกักกันของหัวพันธุ์มันฝรั่งที่ต้องมีการจัดการความเสี่ยง คือ ๒.๒.๑ pale cyst nematode, Globodera pallida ๒.๒.๒ golden nematode, Globodera rostochiensis ๒.๒.๓ potato wart, Synchytrium endobioticum ๒.๒.๔ bacterial ring rot, Clavibacter michiganensis subsp. sepedonicus ๒.๒.๕ potato brown rot, Ralstonia solanacearum race ๓ ข้อ ๓ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๓.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๓.๒ ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ คือ Ministry of Agriculture, Nature and Food Quality, Plant Protection Service ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “MANFQ-PPS” ข้อ ๔ ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง MANFQ-PPS ได้ให้การรับรองห้องปฏิบัติการของ Netherlands General Inspection Service for Agricultural Seeds and Seed Potatoes ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “NAK” เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบศัตรูพืชร้ายแรงด้านสุขอนามัยพืชของราชอาณาจักรไทยด้วยวิธีการต่าง ๆ บนหัวพันธุ์มันฝรั่ง ตามที่ได้ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้ ข้อ ๕ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๖ วิธีการขนส่ง หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องส่งมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทย ในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางเรือหรือทางอากาศ กรณีของสินค้าขนส่งทางเรือสามารถส่งมาจากเมืองท่าในราชอาณาจักรเบลเยียมและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีก็ได้ ข้อ ๗ แหล่งผลิต หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องมาจากแหล่งผลิตในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ซึ่ง MANFQ-PPS กำหนดว่าเป็นแหล่งผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแหล่งผลิตนั้นก่อนการส่งออก ข้อ ๘ การผลิตและการรับรอง ๘.๑ หัวพันธุ์มันฝรั่งจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ต้องผ่านการตรวจรับรองตามข้อกำหนดของหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองและระบบการตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเป็นที่ยอมรับ โดยหน่วยงาน NAK ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เพื่อพิสูจน์และรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยภายใต้มาตรฐานหัวพันธุ์มันฝรั่งแห่งเนเธอร์แลนด์ (Netherlands Seed Potato Standards) เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดสุขอนามัยพืชซึ่งระบุไว้ในประกาศฉบับนี้ การดำเนินการของ NAK อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ MANFQ-PPS ๘.๒ การผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องผ่านการตรวจรับรองให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในมาตรฐานหัวพันธุ์มันฝรั่งแห่งเนเธอร์แลนด์ เว้นแต่กรณีที่ได้ระบุไว้ในประกาศนี้ ๘.๓ หน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองจะออกบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งต่อเมื่อหัวพันธุ์เป็นไปตามข้อกำหนดสุขอนามัยพืชซึ่งระบุไว้ในประกาศฉบับนี้เท่านั้น หมายเลขผู้ปลูกและแปลงปลูกหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องระบุไว้บนบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งและใบรับรองสุขอนามัยพืช ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างรวดเร็วกรณีที่พบว่าหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้ามีปัญหา ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับดิน ๙.๑ ต้องจัดการกับดินให้หัวพันธุ์มันฝรั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ๙.๒ ดินที่มีลักษณะเป็นผงติดมากับหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องมีน้ำหนักไม่เกิน ๑๐๐ กรัม ต่อหัวพันธุ์มันฝรั่งน้ำหนัก ๕๐ กิโลกรัม (เท่ากับร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก) สำหรับดินที่มีลักษณะเป็นก้อนเกาะติดบนหัวพันธุ์มันฝรั่ง หัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งมีดินลักษณะเป็นก้อนเกาะติดมาครอบคลุมพื้นที่ผิวเกินกว่าร้อยละ ๒๐ ต้องมีไม่เกินจำนวน ๓๐ หัว จากตัวอย่างหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวน ๖๐๐ หัว (เท่ากับร้อยละ ๕) ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับไส้เดือนฝอยศัตรูพืชกักกัน ๑๐.๑ บางพื้นที่ในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์พบว่ามีการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง pale cyst nematode, Globodera pallida และ golden nematode, Globodera rostochiensis ๑๐.๒ ห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งที่มาจากพื้นที่ซึ่งประกาศเป็นเขตควบคุมไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ และห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งผลการตรวจสอบดินพบไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง ๑๐.๓ ต้องมีการบังคับใช้กฎระเบียบด้านสุขอนามัยพืชเพื่อควบคุมไส้เดือนฝอยซีสต์ในพื้นที่แพร่ระบาด การบริหารจัดการด้านสุขอนามัยพืชสำหรับไส้เดือนฝอยซีสต์ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการควบคุมไส้เดือนฝอย ได้แก่ Council Directive ๖๙/๔๕๖/EEC on control of potato cyst eelworm และ Decision on control of potato cyst nematode ๑๙๙๑ (Globodera rostrochiensis and Globoder pallida) Staatsblad ๑๙๙๒, ๑๓๓ ๑๐.๔ ต้องดำเนินการตรวจไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในดินอย่างเป็นทางการในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งก่อนเริ่มปลูกมันฝรั่งหรือก่อนเก็บเกี่ยว การรับรองไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องเป็นไปตามวิธีการซึ่งเห็นพ้องร่วมกัน นอกจากนี้ต้องตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างดินในห้องปฏิบัติการของ NAK ๑๐.๕ วิธีการที่เห็นพ้องร่วมกันสำหรับการตรวจวิเคราะห์ดินเพื่อหาไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งต้องเป็นไปตาม Council Directive ๒๐๐๗/๓๓/EC on the control of potato cyst nematodes and repealing Directive ๖๙/๔๖๕/EEC ลงวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๑๐.๖ นอกจากไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งแล้ว หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องมาจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งปราศจากไส้เดือนฝอยศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้ โดยอาศัยข้อมูลจากการเฝ้าระวังอย่างเป็นทางการ ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับโรคพืชกักกันซึ่งมีสาเหตุมาจากรา ๑๑.๑ โรค potato wart, Synchytrium endobioticum ๑๑.๑.๑ ห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งมาจากแปลงผลิตหัวพันธุ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรค potato wart ๑๑.๑.๒ หัวพันธุ์มันฝรั่งที่จะส่งออกมายังราชอาณาจักรไทยต้องผลิตจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งไม่เคยมีรายงานการตรวจพบโรค potato wart อย่างน้อยเป็นระยะทาง ๕ กิโลเมตรจากแปลงปลูกมันฝรั่งที่พบโรค potato wart ๑๑.๑.๓ ต้องมีการบังคับใช้กฎระเบียบด้านสุขอนามัยพืชเพื่อควบคุมโรค potato wart ในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่พบการระบาด การบริหารจัดการด้านสุขอนามัยพืชสำหรับโรค potato wart ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการควบคุมโรค potato wart ได้แก่ Council Directive ๖๙/๔๖๔/EEC on the control of potato wart disease ลงวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๓๙ และ Decision on control of potato wart disease (Synchytrium endobioticum) Staatsblad ๕๙๑ ๑๑.๒ ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรค powdery scab ซึ่งมีสาเหตุจากรา Spongospora subterranea ต้องมีหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวนไม่เกินร้อยละ ๑.๕ โดยน้ำหนักของหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งแสดงอาการของโรคครอบคลุมพื้นที่ผิวร้อยละ ๕ ของหัวมันฝรั่ง รูปภาพแสดงร้อยละการทำลายของโรค powdery scab ครอบคลุมพื้นที่ที่กำหนด (ร้อยละ ๑ - ๕) ของหัวมันฝรั่ง ปรากฏตามเอกสารแนบ ๒ ท้ายประกาศนี้ ๑๑.๓ ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรค skin spot ซึ่งมีสาเหตุจากรา Polyscytalum pustulans ต้องมีหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวนไม่เกินร้อยละ ๑.๕ โดยน้ำหนักของหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งแสดงอาการของโรคครอบคลุมพื้นที่ผิวร้อยละ ๕ ของหัวมันฝรั่ง ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับโรคพืชกักกันซึ่งมีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย ๑๒.๑ โรค bacterial ring rot, Clavibacter michiganensis subsp. sepedonicus ๑๒.๑.๑ ห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งมาจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่มีการแพร่ระบาดของโรค bacterial ring rot, Clavibacter michiganensis subsp. sepedonicus และแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งใช้เครื่องจักรกล สถานที่ และ หรือพนักงานร่วมกัน ๑๒.๑.๒ ต้องมีการบังคับใช้กฎระเบียบด้านสุขอนามัยพืชเพื่อควบคุมโรค bacterial ring rot ในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่พบการระบาด การบริหารจัดการด้านสุขอนามัยพืชสำหรับโรค bacterial ring rot ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการควบคุมโรค bacterial ring rot ได้แก่ Council Directive ๙๓/๘๕/EC on the control of bacterial ring rot ลงวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๓๖ ๑๒.๑.๓ ต้องดำเนินการตรวจวิเคราะห์หัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงผลิตที่จะส่งออกมายังราชอาณาจักรไทยในห้องปฏิบัติการของ NAK เพื่อตรวจหาโรค bacterial ring rot เฉพาะหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงผลิตซึ่งผลการตรวจวิเคราะห์ไม่พบโรค bacterial ring rot เท่านั้นจะได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย ๑๒.๑.๔ วิธีการตรวจวินิจฉัยโรค bacterial ring rot ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรปที่ได้ระบุไว้ใน Council Directive ๙๓/๘๕/EC on the control of bacterial ring rot ลงวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๓๖ ๑๒.๒ โรค potato brown rot, Ralstonia solanacearum race ๓ ๑๒.๒.๑ ห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งมาจากแปลงผลิตหัวพันธุ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรค potato brown rot ๑๒.๒.๒ หัวพันธุ์มันฝรั่งที่จะส่งออกมายังราชอาณาจักรไทยต้องผลิตจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งไม่เคยมีรายงานการตรวจพบโรค potato brown rot อย่างน้อยเป็นระยะทาง ๑๐ กิโลเมตรจากแปลงปลูกมันฝรั่งที่พบโรค potato brown rot ๑๒.๒.๓ ต้องมีการบังคับใช้กฎระเบียบด้านสุขอนามัยพืชเพื่อควบคุมโรค potato brown rot ในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่พบการระบาด การบริหารจัดการด้านสุขอนามัยพืชสำหรับโรค potato brown rot ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการควบคุมโรค potato brown rot ได้แก่ Council Directive ๙๘/๕๗/EC on the control of Ralstonia solanacearum (Smith) Yabuuchi et al. ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๑ ๑๒.๒.๔ ต้องดำเนินการตรวจวิเคราะห์หัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงผลิตที่จะส่งออกมายังราชอาณาจักรไทยในห้องปฏิบัติการของ NAK เพื่อตรวจหาโรค potato brown rot เฉพาะหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงผลิตซึ่งผลการตรวจวิเคราะห์ไม่พบโรค potato brown rot เท่านั้น จะได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย ๑๒.๒.๕ วิธีการตรวจวินิจฉัยโรค potato brown rot ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรปที่ได้ระบุไว้ใน Council Directive ๙๘/๕๗/EC on the control of Ralstonia solanacearum (Smith) Yabuuchi et al. ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๑ ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับโรคพืชกักกันซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัส ๑๓.๑ หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องปลูกในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองได้ตรวจอาการของโรคที่เกิดจากไวรัสบนต้นมันฝรั่งด้วยสายตาในระหว่างช่วงฤดูปลูกตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานหัวพันธุ์มันฝรั่งแห่งเนเธอร์แลนด์ และต้องปลอดจากโรคมันฝรั่งซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัสศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบ ๑ ท้ายประกาศนี้ ยกเว้นไวรัสที่ระบุไว้ในข้อ ๑๓.๔ นอกจากนี้ ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรคซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัสทุกชนิดนอกเหนือจากไวรัสศัตรูพืชกักกันในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ๑๓.๒ นอกเหนือจากการตรวจอาการของโรคที่เกิดจากไวรัสบนต้นมันฝรั่งด้วยสายตาแล้ว ต้องตรวจวิเคราะห์การทำลายของโรค Potato virus Y (PVY) และ Potato leaf roll virus (PLRV) บนหัวพันธุ์มันฝรั่งในห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองตามวิธีการซึ่งเห็นชอบร่วมกัน ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรค PVY และ PLRV บนหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงปลูกที่กำหนดต้องไม่เกินร้อยละ ๔ ซึ่งวิธีการที่เห็นชอบร่วมกันสำหรับตรวจหาการทำลายของโรค PVY และ PLRV จากหน่อมีรายละเอียด ดังนี้ ๑๓.๒.๑ ตรวจวิเคราะห์หน่อด้วยเทคนิค ELISA ตามกระบวนการ ดังต่อไปนี้ (ก) สุ่มหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวน ๒๐๐ หัว จากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่กำหนด (ต่อพื้นที่แปลงผลิตหัวพันธุ์ ๑๐ เฮกแท) ในระหว่างการเก็บเกี่ยวหรือจากสินค้าส่งออก เฉือนตามันฝรั่งและนำไปเพาะไว้ในโรงเรือน (ข) สุ่มหน่อจากหัวพันธุ์มันฝรั่งแยกรวมกันเป็น ๕๐ กลุ่ม แต่ละกลุ่มมี ๔ หน่อ สำหรับการตรวจหาระดับการทำลายของไวรัสที่น้อยกว่าร้อยละ ๔ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ ๙๕ นั้น หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องถูกปฏิเสธการส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยหากจำนวน ๙ การทดสอบจากจำนวน ๕๐ การทดสอบแสดงผลบวก ๑๓.๓ ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองต้องเก็บรักษาใบรายงานผลการตรวจการทำลายของโรค PVY และ PLRV บนหัวพันธุ์มันฝรั่งในห้องปฏิบัติการและต้องส่งมอบให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ใบรายงานผลการตรวจควรมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการตรวจสอบย้อนกลับ เช่น เกษตรกร ผู้ส่งออก หมายเลขการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่ง จำนวนตัวอย่างที่ตรวจ และผลการตรวจ เป็นต้น ๑๓.๔ กรณีของโรค Potato mop top virus (PMTV) ระดับที่ยอมรับสำหรับการตรวจด้วยสายตากับหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่กำหนดนั้นต้องไม่ปรากฏอาการของโรค ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๔.๑ ต้องบรรจุหัวพันธุ์มันฝรั่งน้ำหนัก ๒๕ - ๕๐ กิโลกรัม ในกระสอบซึ่งต้องเป็นกระสอบใหม่และปิดปากกระสอบเมื่อบรรจุหัวพันธุ์มันฝรั่งแล้ว ๑๔.๒ ต้องติดบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งบนกระสอบบรรจุหัวพันธุ์มันฝรั่ง รายละเอียดของฉลากบนบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของ NAK ข้อ ๑๕ การตรวจส่งออก ๑๕.๑ หัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเป็นสินค้าที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องผ่านการตรวจของเจ้าหน้าที่ก่อนหรือระหว่างการขนถ่ายช่วงสุดท้ายของการขนส่ง เมื่อดำเนินการตรวจเสร็จสิ้นแล้วต้องปิดตู้และปิดผนึกตู้ขนส่งสินค้าโดยทันที ๑๕.๒ เจ้าหน้าที่ต้องออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้เท่านั้น ข้อ ๑๖ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๖.๑ ต้องแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชมาพร้อมกับสินค้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ทุกครั้งที่มีการนำเข้า ๑๖.๒ ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The seed potatoes in this consignment were produced in the Netherlands in accordance with the conditions governing entry of seed potatoes to Thailand.” ๑๖.๓ ต้องบันทึกหมายเลขตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางเรือเท่านั้น) หมายเลขผู้ปลูกและแปลงปลูกหัวพันธุ์มันฝรั่งในแต่ละตู้ขนส่งสินค้าบนใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๗ การตรวจนำเข้า ๑๗.๑ เมื่อหัวพันธุ์มันฝรั่งมาถึงด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจหัวพันธุ์มันฝรั่งจะดำเนินการหลังจากที่มีการตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้าแล้ว ๑๗.๒ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งกลับหรือสั่งให้ทำลายซึ่งหัวพันธุ์มันฝรั่งในกรณีที่การรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งไม่เป็นไปตามข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืช หรือผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าชำรุดหรือเสียหาย โดยผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ๑๗.๓ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบ ๑ ท้ายประกาศนี้ หรือตรวจพบว่าเกินกว่าระดับที่ยอมรับได้ในระหว่างการตรวจนำเข้า กรมวิชาการเกษตรจะสั่งให้ส่งกลับหรือทำลายหัวพันธุ์มันฝรั่งดังกล่าว และแจ้งให้ MANFQ-PPS ทราบถึงการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด ค่าใช้จ่ายในการส่งกลับหรือทำลาย ผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบ และในกรณีจำเป็นเพื่อป้องกันศัตรูพืช กรมวิชาการเกษตรอาจระงับการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากกองนั้นแปลงผลิตรัฐ หรือ ทั้งประเทศ ๑๗.๔ MANFQ-PPS ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้าต่อเมื่อได้รับการอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุของการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดและได้มีการดำเนินการแก้ไขแล้วจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๗.๕ กรณีตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ยังคงมีชีวิตและไม่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในเอกสารแนบ ๑ ท้ายประกาศนี้ ซึ่งมีศักยภาพสำคัญด้านกักกันพืชต่อราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนหัวพันธุ์มันฝรั่งด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้หยุดการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราวได้จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๗.๖ ถึงแม้ว่าหัวพันธุ์มันฝรั่งจะได้รับการตรวจปล่อยให้นำออกไปจากด่านนำเข้าแล้ว ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อจากหลักฐานว่าหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้าจากบางแหล่งผลิตซึ่งอาจมีศัตรูพืชกักกันติดมาด้วย หัวพันธุ์มันฝรั่งจะถูกสั่งระงับไม่ให้นำไปปลูกและต้องถูกดำเนินมาตรการทางสุขอนามัยพืชที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูพืชกักกันแพร่กระจายออกไปภายใต้คำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินมาตรการดังกล่าวนั้น ๑๗.๗ ผู้นำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องส่งรายละเอียดผู้ปลูกและพื้นที่ที่ปลูกหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้าแก่กรมวิชาการเกษตรทันทีเมื่อได้รับการร้องขอ นอกจากนี้ ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจมีศัตรูพืชกักกันของมันฝรั่งในแปลงปลูกมันฝรั่ง เจ้าหน้าที่กักกันพืชต้องดำเนินการสำรวจแปลงปลูกมันฝรั่งโดยทันที ผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการสำรวจดังกล่าวนั้น ข้อ ๑๘ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๘.๑ การส่งออกหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแหล่งผลิตตามที่ระบุไว้ในข้อ ๗ ในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์มายังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มดำเนินการได้ต่อเมื่อกรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกหัวพันธุ์มันฝรั่งแล้วเท่านั้น โดยราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๘.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้าหากกรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น อาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งได้อีกต่อไป โดยราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของหัวพันธุ์มันฝรั่งและราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ๒. ภาพวาดแสดงร้อยละการทำลายของโรค powdery scab ครอบคลุมพื้นที่ผิวที่กำหนด (ร้อยละ ๑ - ๕) แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๗ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๗ มกราคม ๒๕๕๓ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๘๒ ง/หน้า ๕๙/๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๒
620465
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง ยกเลิกสถานกักพืชกรุงเทพ แห่งที่ 2 พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง ยกเลิกสถานกักพืชกรุงเทพ แห่งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดสถานกักพืช ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๔๖ กำหนดสถานกักพืชไว้แล้ว นั้น เนื่องจากสถานกักพืชบางแห่งหมดความจำเป็นในการเป็นสถานกักพืชแล้ว อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกสถานกักพืชกรุงเทพ แห่งที่ ๒ ตามความในข้อ ๑ ของประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดสถานกักพืช ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖ ในบริเวณแปลงนาทดลอง เกษตรกลางบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ประมาณ หกไร่ (๖-๐-๐ ไร่) มีอาณาเขต ดังนี้ (๑) ทิศเหนือติดถนนเลียบคลองบางเขน (๒) ทิศใต้ติดแปลงนาทดลอง (๓) ทิศตะวันออกติดแปลงนาทดลอง (๔) ทิศตะวันตกติดแปลงนาทดลอง ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๗๓ ง/หน้า ๔๘/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
620369
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2552
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของหัวพันธุ์มันฝรั่งที่นำเข้าเพื่อการค้าจากสหรัฐอเมริกาเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกาเข้ามาในราชอาณาจักร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ชนิดพืช หัวพันธุ์มันฝรั่ง (seed potato) Solanum tuberosum ข้อ ๒ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง ๒.๑ รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งและดินที่ติดมากับหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกาปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ๒.๒ ศัตรูพืชกักกันของหัวพันธุ์มันฝรั่งที่ต้องมีการจัดการความเสี่ยง คือ ๒.๒.๑ pale cyst nematode, Globodera pallid ๒.๒.๒ golden nematode, Globodera rostochiensis ๒.๒.๓ bacterial ring rot, Clavibacter michiganensis subsp. Sepedonicus ข้อ ๓ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๓.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๓.๒ สหรัฐอเมริกา คือ United States Department of Agriculture, Animal and Plant Health Inspection Service (หลังจากนี้ต่อไปจะอ้างถึงว่าเป็น USDA-APHIS) ข้อ ๔ ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง การตรวจสอบสำหรับการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งและการรับรองสุขอนามัยพืชต้องดำเนินการโดยห้องปฏิบัติการของ USDA-APHIS หรือห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจาก USDA-APHIS ข้อ ๕ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๖ วิธีการขนส่ง หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องส่งมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทย ในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางเรือหรือทางอากาศ กรณีเป็นสินค้าขนส่งทางเรือหัวพันธุ์มันฝรั่งจะส่งมาจากเมืองท่าในคานาดาก็ได้ ข้อ ๗ แหล่งผลิต ๗.๑ หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องมาจากแหล่งผลิตในสหรัฐอเมริกา ซึ่ง USDA-APHIS กำหนดว่าเป็นแหล่งผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแหล่งผลิตนั้นก่อนการส่งออก และ ๗.๒ หัวพันธุ์มันฝรั่งเฉพาะจากแหล่งผลิตในรัฐต่อไปนี้ในสหรัฐอเมริกาได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ๗.๒.๑ รัฐแคลิฟอร์เนีย (California) ๗.๒.๒ รัฐไอดาโฮ (Idaho) ๗.๒.๓ รัฐโอเรกอน (Oregon) ๗.๒.๔ รัฐวอชิงตัน (Washington) ข้อ ๘ การผลิตและการรับรอง ๘.๑ หัวพันธุ์มันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกาต้องผ่านการตรวจรับรองเป็นไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองและระบบการตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเป็นที่ยอมรับ หน่วยงานเหล่านี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งเพื่อพิสูจน์และรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยภายใต้ระบบการตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดสุขอนามัยพืชซึ่งระบุไว้ในประกาศฉบับนี้ ๘.๑.๑ หน่วยงาน California Crop Improvement Association ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย ๘.๑.๒ หน่วยงาน Idaho Crop Improvement Association ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐไอดาโฮ ๘.๑.๓ หน่วยงาน Oregon Seed Certification Service ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐโอเรกอน ๘.๑.๔ หน่วยงาน Washington State Department of Agriculture, Plant Protection Division ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในรัฐวอชิงตัน ๘.๒ ยกเว้นกรณีที่ได้ระบุไว้ หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องผลิตและรับรองให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในมาตรฐานการรับรองการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งของรัฐที่ผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งนั้น ๘.๓ เป็นที่ยอมรับว่าในระบบการตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งของสหรัฐอเมริกานั้นได้กำหนดระดับที่ยอมรับได้เท่ากับศูนย์สำหรับโรค bacterial ring rot, Clavibacter michiganensis subsp. sepedonicus และ Potato spindle tuber viroid (PSTVd) ๘.๔ หน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองจะออกบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งต่อเมื่อหัวพันธุ์มันฝรั่งเป็นไปตามข้อกำหนดสุขอนามัยพืชซึ่งระบุไว้ในประกาศฉบับนี้เท่านั้น หมายเลขการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องระบุไว้บนบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งและใบรับรองสุขอนามัยพืช ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างรวดเร็วกรณีที่พบว่าหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้ามีปัญหา ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับดิน ๙.๑ ต้องจัดการกับดินให้หัวพันธุ์มันฝรั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ๙.๒ ดินที่มีลักษณะเป็นผงติดมากับหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องมีน้ำหนักไม่เกิน ๑๐๐ กรัม ต่อหัวพันธุ์มันฝรั่งน้ำหนัก ๕๐ กิโลกรัม (เท่ากับร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก) สำหรับดินที่มีลักษณะเป็นก้อนเกาะติดบนหัวพันธุ์มันฝรั่ง หัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งมีดินลักษณะเป็นก้อนเกาะติดมาครอบคลุมพื้นที่ผิวเกินกว่าร้อยละ ๒๐ ต้องมีไม่เกินจำนวน ๓๐ หัว จากตัวอย่างหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวน ๖๐๐ หัว (เท่ากับร้อยละ ๕) ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับไส้เดือนฝอยศัตรูพืชกักกัน ๑๐.๑ บางพื้นที่ในรัฐนิวยอร์ก (New York) และไอดาโฮ ในสหรัฐอเมริกา พบว่ามีการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง pale cyst nematode, Globodera pallidae และ golden nematode, Globodera rostochiensis ๑๐.๒ ห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งที่มาจากพื้นที่ซึ่งประกาศเป็นเขตควบคุมไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในสหรัฐอเมริกา และห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทย สำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งผลการตรวจสอบดินพบไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง ๑๐.๓ ต้องมีการบังคับใช้กฎระเบียบด้านสุขอนามัยพืชเพื่อห้ามหรือจำกัดการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายพืชหรือสิ่งอื่นใดซึ่งอาจทำให้ไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งเกิดการแพร่กระจายออกไปจากพื้นที่ที่มีการระบาด ๑๐.๔ ต้องดำเนินการตรวจไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในดินอย่างเป็นทางการในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งก่อนเริ่มปลูกมันฝรั่งหรือก่อนเก็บเกี่ยว เฉพาะหัวพันธุ์มันฝรั่งปลูกในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งปลอดจากไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งเท่านั้นจะได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย การรับรองไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องเป็นไปตามวิธีการซึ่งเห็นพ้องร่วมกัน นอกจากนี้ ต้องตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างดินในห้องปฏิบัติการของ USDA-APHIS หรือห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจาก USDA-APHIS ๑๐.๕ นอกจากไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งแล้ว หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องมาจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งปราศจากไส้เดือนฝอยศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้ โดยอาศัยข้อมูลจากการเฝ้าระวังอย่างเป็นทางการ ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับโรคพืชกักกันซึ่งมีสาเหตุมาจากรา ๑๑.๑ ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรค powdery scab ซึ่งมีสาเหตุจากรา Spongospora subterranea ต้องมีหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวนไม่เกินร้อยละ ๒ ซึ่งแสดงอาการของโรคที่สามารถตรวจพบได้ ระดับของโรค powdery scab ซึ่งแสดงอาการที่สามารถตรวจพบได้ คือ จำนวน ๕ รอยแผลหรือมากกว่าต่อหัว ๑๑.๒ ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรค skin spot ซึ่งมีสาเหตุจากรา Polyscytalum pustulans ต้องมีหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวนไม่เกินร้อยละ ๒ ซึ่งแสดงอาการของโรคที่สามารถตรวจพบได้ ระดับของโรค skin spot ซึ่งแสดงอาการที่สามารถตรวจพบได้ คือ จำนวน ๕ รอยแผลหรือมากกว่าต่อหัว ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับโรคพืชกักกันซึ่งมีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย ๑๒.๑ ห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งมาจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่มีการแพร่ระบาดของโรค bacterial ring rot, Clavibacter michiganensis subsp. sepedonicus และแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งใช้เครื่องจักรกล สถานที่ และ หรือ พนักงานร่วมกัน ๑๒.๒ ต้องตรวจวิเคราะห์หัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงผลิตที่จะส่งออกมายังราชอาณาจักรไทยในห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาโรค bacterial ring rot โดยห้องปฏิบัติการของ USDA-APHIS หรือห้องปฏิบัติการที่ได้รับการยอมรับจาก USDA-APHIS เฉพาะหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงผลิต ซึ่งผลการตรวจวิเคราะห์ไม่พบโรค bacterial ring rot เท่านั้นจะได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย การตรวจโรค bacterial ring rot ในหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องเป็นไปตามวิธีการซึ่งเห็นพ้องร่วมกัน ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับโรคพืชกักกันซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัส ๑๓.๑ หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องปลูกในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองได้ตรวจอาการของโรคที่เกิดจากไวรัสบนต้นมันฝรั่งด้วยสายตาในระหว่างช่วงฤดูปลูกตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการรับรองการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งของรัฐที่ผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งนั้น และต้องปลอดจากโรคมันฝรั่งซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัสศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ยกเว้นไวรัสที่ระบุไว้ในข้อ ๑๓.๔ นอกจากนี้ ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรคซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัสทุกชนิด นอกเหนือจากไวรัสศัตรูพืชกักกันในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ๑๓.๒ นอกเหนือจากการตรวจอาการของโรคที่เกิดจากไวรัสบนต้นมันฝรั่งด้วยสายตาแล้ว ต้องตรวจวิเคราะห์การทำลายของโรค Potato virus Y (PVY) และ Potato leaf roll virus (PLRV) บนหัวพันธุ์มันฝรั่งในห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองตามวิธีการซึ่งเห็นพ้องร่วมกันระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรค PVY และ PLRV บนหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงปลูกที่กำหนดต้องไม่เกินร้อยละ ๔ การตรวจเพื่อกำหนดระดับการทำลายของโรค PVY และ PLRV บนหัวพันธุ์มันฝรั่งอาจเลือกใช้วิธีการหนึ่งวิธีการใดดังนี้ คือ ตรวจจากใบก่อนเก็บเกี่ยว ตรวจจากหน่อหลังเก็บเกี่ยว หรือตรวจจากใบหลังจากเพาะหัวให้งอก ๑๓.๒.๑ ตรวจจากใบก่อนเก็บเกี่ยว : เก็บรวบรวมใบมันฝรั่งจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งก่อนการฉีดพ่นสารเคมีทำลายต้นมันฝรั่ง และตรวจวิเคราะห์ใบด้วยเทคนิค ELISA ตามกระบวนการ ดังต่อไปนี้ (ก) วิธีการตรวจไวรัสประกอบด้วยการเก็บใบมันฝรั่งจำนวน ๔๖๐ ใบ จากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่กำหนด มัดรวมกันเป็น ๙๒ มัด มัดละ ๕ ใบ (ข) สำหรับการตรวจหาระดับการทำลายของไวรัสที่น้อยกว่า ร้อยละ ๔ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ ๙๕ นั้น หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องถูกปฏิเสธการส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยหากจำนวน ๑๗ การทดสอบแสดงผลบวก ๑๓.๒.๒ ตรวจจากหน่อหลังเก็บเกี่ยว : ตรวจวิเคราะห์หน่อด้วยเทคนิค ELISA ตามกระบวนการ ดังต่อไปนี้ (ก) สุ่มตัวอย่างหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวน ๔๐๐ หัว จากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่กำหนด (ข) สำหรับการตรวจหาการทำลายของไวรัสจำนวน ๔๐๐ การทดสอบ หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องถูกปฏิเสธการส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยหากจำนวน ๑๖ การทดสอบแสดงผลบวก ๑๓.๒.๓ ตรวจจากใบหลังจากเพาะหัวให้งอก : ตรวจวิเคราะห์ใบด้วยเทคนิค ELISA ตามกระบวนการ ดังต่อไปนี้ (ก) สุ่มตัวอย่างหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวน ๔๐๐ หัว จากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่กำหนด เพาะหัวมันฝรั่งจนกระทั่งงอกเป็นต้นอ่อน จากนั้นนำใบไปตรวจวิเคราะห์หาไวรัส (ข) สำหรับการตรวจหาการทำลายของไวรัสจำนวน ๔๐๐ การทดสอบ หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องถูกปฏิเสธการส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยหากจำนวน ๑๖ การทดสอบแสดงผลบวก ๑๓.๓ ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองต้องเก็บรักษาใบรายงานผลการตรวจการทำลายของโรค PVY และ PLRV บนหัวพันธุ์มันฝรั่งในห้องปฏิบัติการและต้องส่งมอบให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ใบรายงานผลการตรวจควรมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการตรวจสอบย้อนกลับ เช่น เกษตรกร ผู้ส่งออก หมายเลขการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่ง จำนวนตัวอย่างที่ตรวจและผลการตรวจ เป็นต้น ๑๓.๔ กรณีของโรค Potato mop top virus (PMTV) ระดับที่ยอมรับสำหรับการตรวจด้วยสายตากับหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่กำหนดนั้นต้องไม่ปรากฏอาการของโรค ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๔.๑ ต้องบรรจุหัวพันธุ์มันฝรั่งน้ำหนัก ๒๕ - ๕๐ กิโลกรัม ในกระสอบซึ่งต้องเป็นกระสอบใหม่และปิดปากกระสอบเมื่อบรรจุหัวพันธุ์มันฝรั่งแล้ว ๑๔.๒ ต้องติดบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งบนกระสอบบรรจุหัวพันธุ์มันฝรั่ง รายละเอียดของฉลากบนบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของ USDA-APHIS ข้อ ๑๕ การตรวจส่งออก ๑๕.๑ หัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเป็นสินค้าที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องผ่านการตรวจของเจ้าหน้าที่ก่อนหรือระหว่างการขนถ่ายช่วงสุดท้ายของการขนส่ง เมื่อดำเนินการตรวจเสร็จสิ้นแล้วต้องปิดประตูและปิดผนึกประตูตู้ขนส่งสินค้าหรือรถบรรทุกสินค้าโดยทันที ๑๕.๒ เจ้าหน้าที่ต้องออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้เท่านั้น ข้อ ๑๖ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๖.๑ ต้องแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชมาพร้อมกับสินค้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกาทุกครั้งที่มีการนำเข้า และต้องระบุรัฐที่เป็นแหล่งกำเนิดของหัวพันธุ์มันฝรั่ง ๑๖.๒ ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The seed potatoes in this consignment were produced in the United Stats of America in accordance with the conditions governing entry of seed potatoes to Thailand.” ๑๖.๓ ต้องบันทึกหมายเลขตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางเรือเท่านั้น) และหมายเลขการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งของหัวพันธุ์มันฝรั่งในแต่ละตู้ขนส่งสินค้าบนใบรับรองสุขอนามัยพืช กรณีที่มีการขนย้ายหัวพันธุ์มันฝรั่งไปบรรจุในตู้ขนส่งสินค้ายังสถานที่นอกโรงงานบรรจุสินค้า หน่วยงานตรวจรับรองของรัฐจะส่งหนังสือถึงกรมวิชาการเกษตรเพื่อแจ้งหมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งของหัวพันธุ์มันฝรั่งในแต่ละตู้ขนส่งสินค้า ข้อ ๑๗ การตรวจนำเข้า ๑๗.๑ เมื่อหัวพันธุ์มันฝรั่งมาถึงยังด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจหัวพันธุ์มันฝรั่งจะดำเนินการหลังจากที่มีการตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้าแล้ว ๑๗.๒ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งกลับหรือสั่งให้ทำลายซึ่งหัวพันธุ์มันฝรั่งโดยผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ในกรณีที่การรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งไม่เป็นไปตามข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืช หรือผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าชำรุดหรือเสียหาย ๑๗.๓ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ หรือตรวจพบว่าเกินกว่าระดับที่ยอมรับได้ในระหว่างการตรวจนำเข้า หัวพันธุ์มันฝรั่งดังกล่าวต้องถูกส่งกลับหรือถูกทำลายโดยผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งให้ USDA-APHIS ทราบถึงการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด และขึ้นอยู่กับสภาวการณ์ กรมวิชาการเกษตรอาจระงับการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากกองนั้น แปลงผลิต รัฐ หรือทั้งประเทศ ๑๗.๔ USDA-APHIS ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้าเมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุของการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดและได้มีการดำเนินการแก้ไขแล้วจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๗.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ยังคงมีชีวิตและไม่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ซึ่งมีศักยภาพสำคัญด้านกักกันพืชต่อราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับ ทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนหัวพันธุ์มันฝรั่งด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้หยุดการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราวได้จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๗.๖ ถึงแม้ว่าหัวพันธุ์มันฝรั่งจะได้รับการตรวจปล่อยให้นำออกไปจากด่านนำเข้าแล้ว ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อจากหลักฐานว่าหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้าจากบางแหล่งผลิตซึ่งอาจมีศัตรูพืชกักกันติดมาด้วย หัวพันธุ์มันฝรั่งจะถูกสั่งระงับไม่ให้นำไปปลูกและต้องถูกดำเนินมาตรการทางสุขอนามัยพืชที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูพืชกักกันแพร่กระจายออกไปภายใต้คำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินมาตรการดังกล่าวนั้น ๑๗.๗ ผู้นำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องส่งรายละเอียดผู้ปลูกและพื้นที่ที่ปลูกหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้าแก่กรมวิชาการเกษตรทันทีเมื่อได้รับการร้องขอ นอกจากนี้ ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจมีศัตรูพืชกักกันของมันฝรั่งในแปลงปลูกมันฝรั่ง เจ้าหน้าที่กักกันพืชต้องดำเนินการสำรวจแปลงปลูกมันฝรั่งโดยทันที ผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการสำรวจดังกล่าวนั้น ข้อ ๑๘ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๘.๑ หัวพันธุ์มันฝรั่งจากแหล่งผลิตตามที่ระบุไว้ในข้อ ๗.๒ ในสหรัฐอเมริกาได้ผ่านการรับรองแล้วจากกรมวิชาการเกษตรให้ส่งออกหัวพันธุ์มันฝรั่งมายังราชอาณาจักรไทย การส่งออกหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแหล่งผลิตอื่นซึ่งยังไม่ได้รับการรับรองนั้น จะเริ่มได้หลังจากกรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกหัวพันธุ์มันฝรั่งแล้วเท่านั้น โดยสหรัฐอเมริกาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๘.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในสหรัฐอเมริกา ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งได้อีกต่อไป ถ้ากรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น โดยสหรัฐอเมริกาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของหัวพันธุ์มันฝรั่งและดินจากสหรัฐอเมริกา แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากสหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๕๕๒ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๗๐ ง/หน้า ๔๖/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
619557
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับผลไม้ที่ส่งออกผ่านประเทศที่สาม เข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ. 2552
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับผลไม้ ที่ส่งออกผ่านประเทศที่สาม เข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ. ๒๕๕๒ ตามพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการขนส่งผลไม้ไทยที่ส่งออกผ่านประเทศที่สาม เข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ กำหนดให้การส่งออกผลไม้ไทยที่ส่งออกผ่านประเทศที่สาม เข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ส่งออก” หมายความว่า ผู้ส่งออกผลไม้ที่ส่งออกผ่านประเทศที่สาม เข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน “ผลไม้” หมายถึง ผลไม้ที่ส่งออกจากราชอาณาจักรไทย จำนวน ๒๓ ชนิด ตามรายชื่อแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ ผู้ประสงค์จะขอรับใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับผลไม้ที่ส่งออกผ่านประเทศที่สามเข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน ให้ปฏิบัติตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งต่อ พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๓ ผู้ขอใบรับรองสุขอนามัยพืชที่ส่งออกผลไม้ ต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกับกรมวิชาการเกษตร ตามหลักเกณฑ์ที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด ข้อ ๔ ผู้ขอใบรับรองสุขอนามัยพืช ต้องจัดเตรียมผลไม้ที่จะส่งออกเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ดังต่อไปนี้ ๔.๑ ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ใหม่ โดยบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุผลไม้ ต้องระบุรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ ๔.๑.๑ หมายเลขสวน ๔.๑.๒ หมายเลขสถานที่บรรจุหีบห่อ ๔.๑.๓ หมายเลขผู้ส่งออก ๔.๑.๔ ระบุข้อความเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีน ให้มีข้อความหรือมีความหมาย ดังนี้ “Export to the People’s Republic of China” ๔.๒ ผลไม้ต้องอยู่ในตู้ควบคุมอุณหภูมิระหว่างการขนส่ง ซึ่งจะไม่มีการเปิดตู้ระหว่างการขนส่ง โดยที่ตู้ควบคุมอุณหภูมิจะต้องปิดผนึกด้วยตราปิดผนึกของกรมวิชาการเกษตรที่มีหมายเลขกำกับ โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ ๔.๒.๑ มีรูปตราสัญลักษณ์ กรมวิชาการเกษตร ๔.๒.๒ มี XX หมายถึง รหัสผู้ส่งออกที่จดทะเบียน ๔.๒.๓ มี 000 หมายถึง รหัสหมายเลขสินค้าของผู้ส่งออก ๔.๓ ต้องบรรจุในโรงคัดบรรจุหีบห่อที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมวิชาการเกษตร ๔.๔ ต้องส่งออกผลไม้จากสวนที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๕ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้ว พบว่าผู้ส่งออกมีคุณสมบัติและปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑ ถึงข้อ ๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับผู้ขอ โดยใบรับรองสุขอนามัยพืชจะระบุข้อความ “This fruit is in compliance with the Protocol on Inspection and Quarantine Conditions of Tropical Fruit to be exported from Thailand to China and the Protocol on the Inspection and Quarantine Requirement for Thai Fruit Export from Thailand to China through Territories of Third Countries” และระบุหมายเลขตู้คอนเทนเนอร์และหมายเลขตราปิดผนึกในช่อง additional declaration . ใบรับรองสุขอนามัยพืชดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ๗ วัน นับแต่วันออกใบรับรองสุขอนามัย ข้อ ๖ การส่งออกผลไม้ให้กระทำ ดังต่อไปนี้ ๖.๑ กรมวิชาการเกษตรโดยด่านตรวจพืชมุกดาหารจะส่งสำเนาใบรับรองสุขอนามัยพืชให้ด่านนำเข้าของสาธารณรัฐประชาชนจีนทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือโทรสารก่อนการนำเข้าผลไม้ดังกล่าวจะเข้าด่านโหย่วอี้กว่าน ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ๖.๒ ในกรณีที่ผู้ส่งออกได้รับใบรับรองสุขอนามัยพืชจากกลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตรหรือด่านตรวจพืชอื่น ผู้ส่งออกจะต้องส่งสำเนาใบรับรองสุขอนามัยพืชให้เจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชมุกดาหาร เพื่อส่งให้ด่านนำเข้าของสาธารณรัฐประชาชนจีน ๖.๓ ต้องขนส่งผ่านเส้นทางการขนส่งทางบกตามรายละเอียด ดังนี้ จังหวัดมุกดาหาร (ไทย) - สะหวันนะเขต/สะหวัน - เซโน (ลาว) - ดาซา เบ/แดนสะหวัน - ลาวบ๋าว (เวียดนาม) - ฮาติน - เถื่อนฮวา - กรุงฮานอย - หลั่งเซิน - ด่านโหย่วอี้กว่าน (จีน) ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑] ประกาศ ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อพืชแนบท้าย ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับผลไม้ไทยที่ส่งออกผ่านประเทศที่สาม เข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๖๔ ง/หน้า ๕๕/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
618751
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การรับรองการปลอดวัชพืชในรถยนต์ที่ส่งออกไปประเทศออสเตรเลีย พ.ศ. 2552
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การรับรองการปลอดวัชพืชในรถยนต์ที่ส่งออกไปประเทศออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๕๒ ตามข้อตกลงโปรแกรมการตรวจสอบรถยนต์ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการบริหารจัดการระหว่างกรมวิชาการเกษตรกับหน่วยงานกักกันและตรวจสอบของประเทศออสเตรเลีย กำหนดให้การส่งออกรถยนต์จากประเทศไทยไปประเทศออสเตรเลียต้องปลอดจากวัชพืชกักกันของประเทศออสเตรเลีย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ หมวดที่ ๑ การขอเป็นผู้ตรวจสอบรถยนต์ปลอดวัชพืชก่อนส่งออกไปประเทศออสเตรเลีย ข้อ ๑ การยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบรถยนต์ ให้ผู้ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบรถยนต์ไปประเทศออสเตรเลีย ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบรถยนต์ตามแบบคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบรถยนต์ไปประเทศออสเตรเลีย (แบบ พ.ก. ๑๕) ต่อเจ้าหน้าที่ ณ กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมเอกสารหลักฐาน ดังนี้ ๑.๑ ในกรณีผู้ขอเป็นบุคคลธรรมดา ๑.๑.๑ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน ๑ ฉบับ ๑.๑.๒ สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ที่ระบุชนิดแห่งพาณิชย์ จำนวน ๑ ฉบับ ๑.๒ ในกรณีผู้ขอเป็นนิติบุคคล ๑.๒.๑ สำเนาทะเบียนบ้านหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท (กรณีบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด) หรือของหุ้นส่วนผู้จัดการ (กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล) จำนวน ๑ ฉบับ ๑.๒.๒ สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงรายการทะเบียนที่มีวัตถุประสงค์การดำเนินการ ตลอดทั้งชื่อกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน จำนวน ๑ ฉบับ ๑.๒.๓ รายชื่อผู้เข้ารับการอบรม พร้อมหลักฐานตามข้อ ๑.๑.๑ ข้อ ๒ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอแล้ว ให้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑ ถ้าเอกสารหลักฐานครบถ้วนให้เสนอผู้อำนวยการสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เพื่ออนุมัติให้บุคคลดังกล่าวเข้ารับการอบรมการตรวจสอบรถยนต์ตามข้อกำหนดของหน่วยงานกักกันและตรวจสอบของประเทศออสเตรเลีย ข้อ ๓ กรมวิชาการเกษตรร่วมกับหน่วยงานกักกันและตรวจสอบของประเทศออสเตรเลียให้การอบรมการตรวจสอบรถยนต์ ผู้ผ่านการอบรมจะได้รับใบประกาศนียบัตรจากเจ้าหน้าที่หน่วยงานกักกันและตรวจสอบของประเทศออสเตรเลีย หรือกรมวิชาการเกษตร หรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ให้เป็นไปตามอัตราและเงื่อนไขที่กรมวิชาการเกษตรประกาศกำหนด ข้อ ๔ เมื่อผ่านการอบรมตามข้อ ๓ แล้ว อธิบดีกรมวิชาการเกษตร จะพิจารณารับขึ้นทะเบียนและออกหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบรถยนต์ก่อนส่งออกไปประเทศออสเตรเลียตามแบบ พ.ก. ๑๕-๑ แนบท้ายประกาศนี้ให้กับผู้ขอ ข้อ ๕ หนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบรถยนต์ก่อนส่งออกไปประเทศออสเตรเลีย ให้มีอายุ ๕ ปีนับแต่วันออกหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียน ข้อ ๖ การตรวจสอบรถยนต์จะต้องทำการตรวจสอบรถยนต์ที่จะส่งออกให้เป็นตามข้อกำหนดของหน่วยงานกักกันและตรวจสอบของประเทศออสเตรเลีย แล้วจึงออกใบรายงานการตรวจสอบรถยนต์ส่งออกไปประเทศออสเตรเลียตามแบบ พ.ก. ๑๕-๒ แนบท้ายประกาศนี้ให้กับผู้มาตรวจสอบ ข้อ ๗ การเพิกถอนหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียน (๑) หากตรวจพบเมล็ดวัชพืชติดไปกับรถยนต์ที่ส่งออกไปประเทศออสเตรเลียไม่ว่าโดยเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรหรือได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่หน่วยงานกักกันและตรวจสอบของประเทศออสเตรเลีย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งเตือนให้ผู้ได้รับหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบรถยนต์ทราบ และให้เข้มงวดในการตรวจสอบ (๒) หากตรวจพบเมล็ดวัชพืชติดไปกับรถยนต์ที่ส่งออกไปประเทศออสเตรเลียโดยเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรตั้งแต่ ๓ ครั้งขึ้นไปภายใน ๑ เดือน หรือได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่หน่วยงานกักกันและตรวจสอบของประเทศออสเตรเลีย พร้อมทั้งให้ข้อคิดเห็นว่าการตรวจพบดังกล่าวเป็นกรณีร้ายแรง กรมวิชาการเกษตรจะเพิกถอนหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบรถยนต์ ผู้ที่ถูกเพิกถอนหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบรถยนต์ ให้ถือว่าถูกเพิกถอนประกาศนียบัตรด้วย ข้อ ๘ ผู้ที่ถูกเพิกถอนหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียน สามารถกลับเป็นผู้ตรวจสอบรถยนต์ได้อีก แต่ต้องมาเข้ารับการฝึกอบรมและได้รับใบประกาศนียบัตรใหม่จากเจ้าหน้าที่หน่วยงานกักกันและตรวจสอบของประเทศออสเตรเลีย หรือกรมวิชาการเกษตร หมวดที่ ๒ การขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๙ ผู้ประสงค์จะขอรับใบรับรองสุขอนามัยพืชปลอดเมล็ดวัชพืชสำหรับรถยนต์ที่ส่งออกไปประเทศออสเตรเลียให้ยื่นคำขอตามแบบ พ.ก.๗ พร้อมทั้งแนบใบรายงานการตรวจของผู้ได้รับหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบรถยนต์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านตรวจพืชสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร ข้อ ๑๐ พนักงานเจ้าหน้าที่จะตรวจเอกสารและหลักฐานตามข้อ ๙ หากเห็นว่าเอกสารถูกต้องครบถ้วนจะออกใบรับรองสุขอนามัยพืชแสดงการปลอดเมล็ดวัชพืชสำหรับรถยนต์ที่จะส่งออกให้กับผู้ขอ ข้อ ๑๑ ก่อนส่งมอบใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับผู้ขอ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบรับรองสุขอนามัยพืช ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑] ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบรถยนต์ไปประเทศออสเตรเลีย ตามรพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (แบบ พ.ก. ๑๕) ๒. ใบสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบรถยนต์ไปประเทศออสเตรเลีย ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (แบบ พ.ก. ๑๕ - ๑) ๓. รายงานการตรวจสอบรถยนต์ส่งออกไปประเทศออสเตรเลีย ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (แบบ พ.ก. ๑๕ - ๒) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๖๒ ง/หน้า ๕๕/๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
614784
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง สิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช (ฉบับที่ 7)
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง สิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช (ฉบับที่ ๗)[๑] ตามมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดให้การนำเข้าหรือนำผ่านสิ่งต้องห้ามเพื่อการค้าจะต้องผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจึงประกาศชนิดของสิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ พืชตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้ ได้ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชแล้ว ข้อ ๒ การนำเข้าหรือนำผ่านพืชตามข้อ ๑ ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำเข้าหรือนำผ่านซึ่งสิ่งต้องห้าม สิ่งกำกัด และสิ่งไม่ต้องห้าม พ.ศ. ๒๕๕๑ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อพืชแนบท้าย ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง สิ่งต้องห้ามที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๔๒/๒๑ กันยายน ๒๕๕๒
614780
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชเป็นพืชควบคุมเฉพาะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชเป็นพืชควบคุมเฉพาะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ เบญจ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศกำหนดพืชเป็นพืชควบคุมเฉพาะเพิ่มเติมไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้พืชตามท้ายประกาศนี้เป็นพืชควบคุมเฉพาะ ข้อ ๒ การส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งพืชควบคุมเฉพาะตามข้อ ๑ ไปยังประเทศตามท้ายประกาศนี้ ต้องผ่านการตรวจสอบเชื้อจุลินทรีย์ หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ข้อ ๓ ชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ที่จะตรวจสอบให้เป็นไปตามท้ายประกาศนี้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑] ประกาศ ณ วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อชนิดพืช ประเทศ และเชื้อจุลินทรีย์ หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ แนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชเป็นพืชควบคุมเฉพาะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๔๐/๒๑ กันยายน ๒๕๕๒
612118
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากแคนาดา พ.ศ. 2552
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากแคนาดา พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปที่นำเข้าเพื่อการค้าจากแคนาดาเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากแคนาดาเข้ามาในราชอาณาจักร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ชนิดพืช หัวมันฝรั่ง (potato tuber) Solanum tuberosum ข้อ ๒ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปและดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่งจากแคนาดาปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๓.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๓.๒ แคนาดา คือ Canadian Food Inspection Agency (หลังจากนี้ต่อไปจะอ้างถึงว่าเป็น CFIA) ข้อ ๔ การขออนุญาตนำเข้า ๔.๑ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ๔.๒ ผู้ที่มีสิทธิยื่นคำขอใบอนุญาตนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปต้องดำเนินธุรกิจโรงงานแปรรูปมันฝรั่ง ๔.๓ ผู้ยื่นคำขอจะได้รับใบอนุญาตนำเข้าถ้าโรงงานแปรรูปมันฝรั่งมีอุปกรณ์พร้อมสำหรับจัดการกับดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่ง ส่วนของหัวมันฝรั่งที่คัดทิ้ง และน้ำล้างหัวมันฝรั่งตามที่ระบุไว้ในข้อ ๖ ได้อย่างปลอดภัย ข้อ ๕ วิธีการขนส่ง หัวมันฝรั่งต้องส่งมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในแคนาดาไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางเรือหรือทางอากาศ ข้อ ๖ การจดทะเบียนโรงงานแปรรูปมันฝรั่ง ๖.๑ หัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปต้องถูกแปรรูปในโรงงานแปรรูปมันฝรั่งที่จดทะเบียนและรับรองโดยกรมวิชาการเกษตร เจ้าหน้าที่กักกันพืชต้องตรวจสอบโรงงานแปรรูปมันฝรั่งว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามข้อกำหนดการรับรองโรงงานแปรรูปมันฝรั่งขึ้นอยู่กับการดำเนินการของบริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนด ดังนี้ ๖.๑.๑ โรงงานแปรรูปมันฝรั่งต้องมีอุปกรณ์ซึ่งเหมาะสมสำหรับการทำความสะอาดและการกำจัดเชื้อ ๖.๑.๒ ต้องนำน้ำจากเครื่องล้างและเครื่องปอกหัวมันฝรั่งไปจัดการโดยระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้รับการยอมรับ หรือระบบกำจัดของเสียอื่น ๆ ที่ได้รับการยอมรับ ๖.๑.๓ ต้องกำจัดดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่งและเศษเหลือต่าง ๆ ของมันฝรั่งด้วยวิธีการที่เหมาะสม ๖.๑.๔ บริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปต้องเก็บรักษาข้อมูลจำนวนหัวมันฝรั่งที่นำเข้าและแปรรูป และต้องไม่นำหัวมันฝรั่งไปทำการแปรรูปที่โรงงานอื่นโดยไม่ผ่านความเห็นชอบก่อนจากกรมวิชาการเกษตร ๖.๒ ต้องตรวจสอบโรงงานแปรรูปหัวมันฝรั่งเป็นประจำทุกปีว่าได้ปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยบริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๖.๓ โรงงานแปรรูปหัวมันฝรั่งต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดโดยเคร่งครัด ใบอนุญาตนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจะถูกเพิกถอนถ้าไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด ข้อ ๗ แหล่งผลิต ๗.๑ บางพื้นที่ในรัฐแอลเบอร์ตา (Alberta) รัฐบริติชโคลัมเบีย (British Columbia) รัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ (Newfoundland and Labrador) และ รัฐควิเบก (Quebec) ในแคนาดาพบว่ามีการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง pale cyst nematode, Globodera pallida และ golden nematode, Globodera rostochiensis ๗.๒ หัวมันฝรั่งจากทุกรัฐในแคนาดาได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นหัวมันฝรั่งจากพื้นที่ดังต่อไปนี้ห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทย ๗.๒.๑ หัวมันฝรั่งจากพื้นที่ซึ่งประกาศเป็นเขตควบคุมไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง ๗.๒.๒ หัวมันฝรั่งจากแปลงปลูกซึ่งผลการตรวจสอบดินพบไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง ข้อ ๘ ข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืช ๘.๑ หัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปต้องปลอดจากศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้ ๘.๒ เพื่อลดความเสี่ยงของไส้เดือนฝอยและโรคพืชที่ทำลายบนหัวมันฝรั่ง ต้องดำเนินมาตรการสุขอนามัยพืชกับหัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้ ๘.๒.๑ ต้องล้างหัวมันฝรั่งด้วยน้ำให้สะอาดจนกระทั่งหัวมันฝรั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ หรือ ๘.๒.๒ กรณีการนำเข้าหัวมันฝรั่งที่ไม่ล้างน้ำ ต้องดำเนินการปัดดินบนหัวมันฝรั่งจนกระทั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ดินที่มีลักษณะเป็นผงติดมากับหัวมันฝรั่งต้องมีน้ำหนักไม่เกิน ๑๐๐ กรัม ต่อหัวมันฝรั่งน้ำหนัก ๕๐ กิโลกรัม (เท่ากับร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก) สำหรับดินที่มีลักษณะเป็นก้อนเกาะติดบนหัวมันฝรั่ง หัวมันฝรั่งซึ่งมีดินลักษณะเป็นก้อนเกาะติดมาครอบคลุมพื้นที่ผิวเกินกว่าร้อยละ ๒๐ ต้องมีไม่เกินจำนวน ๓๐ หัว จากตัวอย่างหัวมันฝรั่งจำนวน ๖๐๐ หัว (เท่ากับร้อยละ ๕) นอกจากนี้แล้ว ต้องควบคุมการแตกหน่อบนหัวมันฝรั่งด้วยสารยับยั้งความงอก ข้อ ๙ การรับรองสุขอนามัยพืช ๙.๑ ต้องแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชมาพร้อมกับสินค้าหัวมันฝรั่งจากแคนาดาทุกครั้งที่มีการนำเข้า และต้องระบุรัฐที่เป็นแหล่งกำเนิดของหัวมันฝรั่ง ๙.๒ ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The potatoes in this consignment were produced in Canada in accordance with the conditions governing entry of potatoes for processing to Thailand and inspected and found to be free of quarantine pests.” และ “The potatoes in this consignment have been washed.” หรือ “The potatoes in this consignment were treated with a sprout inhibitor.” ๙.๓ ต้องบันทึกหมายเลขตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางเรือเท่านั้น) บนใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๐ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๐.๑ การส่งออกหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากแคนาดามายังราชอาณาจักรไทยจะเริ่มได้หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยแคนาดาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๐.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในแคนาดาก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปได้อีกต่อไป ถ้ากรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกมีความจำเป็น โดยแคนาดาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปและดินจากแคนาดา แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้ามันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากแคนาดา พ.ศ. ๒๕๕๒ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง/หน้า ๘๑/๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒
612116
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแคนาดา พ.ศ. 2552
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแคนาดา พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของหัวพันธุ์มันฝรั่งที่นำเข้าเพื่อการค้าจากแคนาดาเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแคนาดาเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการเพาะปลูก ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ชนิดพืช หัวพันธุ์มันฝรั่ง (seed potato) Solanum tuberosum ข้อ ๒ ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง ๒.๑ รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งและดินที่ติดมากับหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแคนาดาปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ๒.๒ ศัตรูพืชกักกันของหัวพันธุ์มันฝรั่งที่ต้องมีการจัดการความเสี่ยง คือ ๒.๒.๑ pale cyst nematode, Globodera pallida ๒.๒.๒ golden nematode, Globodera rostochiensis ๒.๒.๓ potato wart, Synchytrium endobioticum ๒.๒.๔ bacterial ring rot, Clavibacter michiganensis subsp. sepedonicus ข้อ ๓ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๓.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๓.๒ แคนาดา คือ Canadian Food Inspection Agency (หลังจากนี้ต่อไปจะอ้างถึงว่าเป็น CFIA) ข้อ ๔ ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง การตรวจสอบสำหรับการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งและการรับรองสุขอนามัยพืชต้องดำเนินการโดยห้องปฏิบัติการของ CFIA หรือห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจาก CFIA ข้อ ๕ การขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ ๖ วิธีการขนส่ง หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องส่งมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในแคนาดาไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทย ในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางเรือหรือทางอากาศ ข้อ ๗ แหล่งผลิต ๗.๑ หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องมาจากแหล่งผลิตในแคนาดาซึ่ง CFIA กำหนดว่าเป็นแหล่งผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ให้การรับรองแหล่งผลิตนั้นก่อนการส่งออก และ ๗.๒ หัวพันธุ์มันฝรั่งเฉพาะจากแหล่งผลิตในรัฐต่อไปนี้ในแคนาดาได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ๗.๒.๑ รัฐนิวบรันสวิก (New Brunswick) ๗.๒.๒ รัฐปรินซ์เอ็ดเวิร์ดไอแลนด์ (Prince Edward Island) ข้อ ๘ การผลิตและการรับรอง ๘.๑ หัวพันธุ์มันฝรั่งจากแคนาดาต้องผ่านการตรวจรับรองตามข้อกำหนดของหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองและระบบการตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเป็นที่ยอมรับ หน่วยงาน CFIA ได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งในแคนาดาเพื่อพิสูจน์และรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยภายใต้ระบบการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งแห่งแคนาดา (Canadian Seed Potato Certification Program) เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดสุขอนามัยพืชซึ่งระบุไว้ในประกาศฉบับนี้ ๘.๒ ยกเว้นกรณีที่ได้ระบุไว้ การผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องผ่านการตรวจรับรองให้เป็นไปตามมาตรฐานซึ่งบัญญัติไว้ใน Seed Act (R.S., ๑๙๘๕, c. S-๘) และ Seed Regulations (C.R.C., c. ๑๔๐๐) Part II Seed Potatoes (sections ๔๕-๖๓) ๘.๓ เป็นที่ยอมรับว่าระบบการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งแห่งแคนาดานั้น ได้กำหนดระดับที่ยอมรับได้เท่ากับศูนย์สำหรับโรค bacterial ring rot, Clavibacter michiganensis subsp. sepedonicus และ Potato spindle tuber viroid (PSTVd) ๘.๔ หน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองจะออกบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งต่อเมื่อหัวพันธุ์มันฝรั่งเป็นไปตามข้อกำหนดสุขอนามัยพืชซึ่งระบุไว้ในประกาศฉบับนี้เท่านั้น หมายเลขการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องระบุไว้บนบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งและใบรับรองสุขอนามัยพืช ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างรวดเร็วกรณีที่พบว่าหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้ามีปัญหา ข้อ ๙ ข้อกำหนดสำหรับดิน ๙.๑ ต้องจัดการกับดินให้หัวพันธุ์มันฝรั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ๙.๒ ดินที่มีลักษณะเป็นผงติดมากับหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องมีน้ำหนักไม่เกิน ๑๐๐ กรัม ต่อหัวพันธุ์มันฝรั่งน้ำหนัก ๕๐ กิโลกรัม (เท่ากับร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก) สำหรับดินที่มีลักษณะเป็นก้อนเกาะติดบนหัวพันธุ์มันฝรั่ง หัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งมีดินลักษณะเป็นก้อนเกาะติดมาครอบคลุมพื้นที่ผิวเกินกว่าร้อยละ ๒๐ ต้องมีไม่เกินจำนวน ๓๐ หัว จากตัวอย่างหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวน ๖๐๐ หัว (เท่ากับร้อยละ ๕) ข้อ ๑๐ ข้อกำหนดสำหรับไส้เดือนฝอยศัตรูพืชกักกัน ๑๐.๑ บางพื้นที่ในรัฐแอลเบอร์ตา (Alberta) รัฐบริติชโคลัมเบีย (British Columbia) รัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ (Newfoundland and Labrador) และ รัฐควิเบก (Quebec) ในแคนาดาพบว่ามีการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง ได้แก่ pale cyst nematode, Globodera pallida และ golden nematode, Globodera rostochiensis ๑๐.๒ ห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งที่มาจากพื้นที่ซึ่งประกาศเป็นเขตควบคุมไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในแคนาดา และห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งผลการตรวจสอบดินพบไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่ง ๑๐.๓ ต้องมีการบังคับใช้กฎระเบียบด้านสุขอนามัยพืชเพื่อห้ามหรือจำกัดการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายพืชหรือสิ่งอื่นใดซึ่งอาจทำให้ไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งเกิดการแพร่กระจายออกไปจากพื้นที่ที่มีการระบาด ๑๐.๔ ต้องดำเนินการตรวจไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในดินอย่างเป็นทางการในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งก่อนเริ่มปลูกหรือก่อนเก็บเกี่ยวมันฝรั่ง เฉพาะหัวพันธุ์มันฝรั่งปลูกในแปลงผลิตหัวพันธุมันฝรั่งซึ่งปลอดจากไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งเท่านั้นจะได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย การรับรองไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องเป็นไปตามวิธีการซึ่งเห็นพ้องร่วมกัน นอกจากนี้ ต้องตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างดินในห้องปฏิบัติการของ CFIA เท่านั้น ๑๐.๕ นอกจากไส้เดือนฝอยซีสต์มันฝรั่งแล้ว หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องมาจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งปราศจากไส้เดือนฝอยศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้ โดยอาศัยข้อมูลจากการเฝ้าระวังอย่างเป็นทางการ ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดสำหรับโรคพืชกักกันซึ่งมีสาเหตุมาจากรา ๑๑.๑ โรค potato wart, Synchytrium endobioticum ๑๑.๑.๑ ห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งมาจากแปลงผลิตหัวพันธุ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรค potato wart ๑๑.๑.๒ หัวพันธุ์มันฝรั่งที่จะส่งออกมายังราชอาณาจักรไทยต้องผลิตจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งไม่เคยมีรายงานการตรวจพบโรค potato wart อย่างน้อยเป็นระยะทาง ๕ กิโลเมตรจากแปลงปลูกมันฝรั่งที่พบโรค potato wart ๑๑.๑.๓ ต้องมีการบังคับใช้กฎระเบียบด้านสุขอนามัยพืชเพื่อห้ามหรือจำกัดการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายพืชหรือสิ่งอื่นใดซึ่งอาจทำให้โรค potato wart เกิดการแพร่กระจายออกไปจากพื้นที่ที่มีการระบาด ๑๑.๒ ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรค powdery scab ซึ่งมีสาเหตุจากรา Spongospora subterranea ต้องมีหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวนไม่เกินร้อยละ ๒ ซึ่งแสดงอาการของโรคที่สามารถตรวจพบได้ ระดับของโรค powdery scab ซึ่งแสดงอาการที่สามารถตรวจพบได้คือ จำนวน ๕ รอยแผลหรือมากกว่าต่อหัว ๑๑.๓ ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรค skin spot ซึ่งมีสาเหตุจากรา Polyscytalum pustulans ต้องมีหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวนไม่เกินร้อยละ ๒ ซึ่งแสดงอาการของโรคที่สามารถตรวจพบได้ ระดับของโรค skin spot ซึ่งแสดงอาการที่สามารถตรวจพบได้คือ จำนวน ๕ รอยแผลหรือมากกว่าต่อหัว ข้อ ๑๒ ข้อกำหนดสำหรับโรคพืชกักกันซึ่งมีสาเหตุมาจากเบคทีเรีย ๑๒.๑ ห้ามนำเข้าราชอาณาจักรไทยสำหรับหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งมาจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่มีการแพร่ระบาดของโรค bacterial ring rot, Clavibacter michiganensis subsp. sepedonicus และแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งใช้เครื่องจักรกล สถานที่ และหรือ พนักงานร่วมกัน ๑๒.๒ ต้องมีการบังคับใช้กฎระเบียบด้านสุขอนามัยพืชเพื่อห้ามหรือจำกัดการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายพืชหรือสิ่งอื่นใดซึ่งอาจทำให้โรค bacterial ring rot เกิดการแพร่กระจายออกไปจากพื้นที่ที่มีการระบาด ๑๒.๓ ต้องตรวจวิเคราะห์หัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงผลิตที่จะส่งออกมายังราชอาณาจักรไทยในห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาโรค bacterial ring rot โดยห้องปฏิบัติการของ CFIA หรือห้องปฏิบัติการที่ได้รับการยอมรับจาก CFIA เฉพาะหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงผลิตซึ่งผลการตรวจวิเคราะห์ไม่พบโรค bacterial ring rot เท่านั้นจะได้รับอนุญาตให้นำเข้าราชอาณาจักรไทย ๑๒.๔ วิธีการตรวจสำหรับโรค bacterial ring rot ต้องเป็นไปตามรายละเอียดที่ระบุไว้ใน Directive D-97-12 เรื่อง Seed potato certification program - Bacterial ring rot testing program for field grown seed potatoes ข้อ ๑๓ ข้อกำหนดสำหรับโรคพืชกักกันซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัส ๑๓.๑ หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องปลูกในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจรับรองได้ตรวจอาการของโรคที่เกิดจากไวรัสบนต้นมันฝรั่งด้วยสายตาในระหว่างช่วงฤดูปลูกตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน Seed Regulations (C.R.C., c. 1400) Part II Seed Potatoes (sections 45-63) และต้องปลอดจากโรคมันฝรั่งซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัสศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ยกเว้นไวรัสที่ระบุไว้ในข้อ ๑๓.๔ นอกจากนี้ ระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรคซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัสทุกชนิดนอกเหนือจากไวรัสศัตรูพืชกักกันในแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ๑๓.๒ นอกเหนือจากการตรวจอาการของโรคที่เกิดจากไวรัสบนต้นมันฝรั่งด้วยสายตาแล้ว ต้องตรวจวิเคราะห์การทำลายของโรค Potato virus Y (PVY) และ Potato leaf roll virus (PLRV) บนหัวพันธุ์มันฝรั่งในห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองตามวิธีการซึ่งเห็นพ้องร่วมกันระดับที่ยอมรับได้สำหรับโรค PVY และ PLRV บนหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงปลูกที่กำหนดต้องไม่เกินร้อยละ ๔ ปัจจุบันวิธีการซึ่งเห็นพ้องร่วมกันสำหรับตรวจหาการทำลายของโรค PVY และ PLRV จากใบและหน่อมีรายละเอียด ดังนี้ ๑๓.๒.๑ ตรวจจากใบ : เก็บรวบรวมใบมันฝรั่งจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งก่อนการฉีดพ่นสารเคมีทำลายต้นมันฝรั่ง และตรวจวิเคราะห์ใบด้วยเทคนิค ELISA ตามกระบวนการ ดังต่อไปนี้ (ก) วิธีการตรวจไวรัสประกอบด้วยการเก็บใบมันฝรั่งจำนวน ๓๐๐ ใบ จากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่กำหนด (ต่อพื้นที่แปลงผลิตหัวพันธุ์ ๑๐ เฮกแท) มัดรวมกัน ๑๕ มัด มัดละ ๒๐ ใบ (ข) สำหรับการตรวจหาระดับการทำลายของไวรัสที่น้อยกว่าร้อยละ ๔ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ ๙๕ นั้น หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องถูกปฏิเสธการส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยหากจำนวน ๖ การทดสอบจากจำนวน ๑๕ การทดสอบแสดงผลบวก ๑๓.๒.๒ ตรวจจากหน่อ : ตรวจวิเคราะห์หน่อด้วยเทคนิค ELISA ตามกระบวนการ ดังต่อไปนี้ (ก) สุ่มหัวพันธุ์มันฝรั่งจำนวน ๓๐๐ หัว จากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่กำหนด (ต่อพื้นที่แปลงผลิตหัวพันธุ์ ๑๐ เฮกแท) ในระหว่างการเก็บเกี่ยวหรือจากสินค้าส่งออก เฉือนตามันฝรั่งและนำไปเพาะไว้ในโรงเรือน (ข) สุ่มหน่อจากหัวพันธุ์มันฝรั่งแยกรวมกันเป็น ๑๕ กลุ่ม แต่ละกลุ่มมี ๒๐ หน่อ สำหรับการตรวจหาระดับการทำลายของไวรัสที่น้อยกว่าร้อยละ ๔ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ ๙๕ นั้น หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องถูกปฏิเสธการส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยหากจำนวน ๖ การทดสอบจากจำนวน ๑๕ การทดสอบแสดงผลบวก ๑๓.๓ ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองต้องเก็บรักษาใบรายงานผลการตรวจการทำลายของโรค PVY และ PLRV บนหัวพันธุ์มันฝรั่งในห้องปฏิบัติการและต้องส่งมอบให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ใบรายงานผลการตรวจควรมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการตรวจสอบย้อนกลับ เช่น เกษตรกร ผู้ส่งออก หมายเลขการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่ง จำนวนตัวอย่างที่ตรวจ และผลการตรวจ เป็นต้น ๑๓.๔ กรณีของโรค Potato mop top virus (PMTV) ระดับที่ยอมรับสำหรับการตรวจด้วยสายตากับหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแปลงผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งที่กำหนดนั้นต้องไม่ปรากฏอาการของโรค ข้อ ๑๔ ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก ๑๔.๑ ต้องบรรจุหัวพันธุ์มันฝรั่งน้ำหนัก ๒๕ - ๕๐ กิโลกรัม ในกระสอบซึ่งต้องเป็นกระสอบใหม่และปิดปากกระสอบเมื่อบรรจุหัวพันธุ์มันฝรั่งแล้ว ๑๔.๒ ต้องติดบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งบนกระสอบบรรจุหัวพันธุ์มันฝรั่ง รายละเอียดของฉลากบนบัตรรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของ CFIA ข้อ ๑๕ การตรวจส่งออก ๑๕.๑ หัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเป็นสินค้าที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องผ่านการตรวจของเจ้าหน้าที่ก่อนหรือระหว่างการขนถ่ายช่วงสุดท้ายของการขนส่ง เมื่อดำเนินการตรวจเสร็จสิ้นแล้วต้องปิดตู้และปิดผนึกตู้ขนส่งสินค้าโดยทันที ๑๕.๒ เจ้าหน้าที่ต้องออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับหัวพันธุ์มันฝรั่งซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้เท่านั้น ข้อ ๑๖ การรับรองสุขอนามัยพืช ๑๖.๑ ต้องแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชมาพร้อมกับสินค้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแคนาดาทุกครั้งที่มีการนำเข้า และต้องระบุรัฐที่เป็นแหล่งกำเนิดของหัวพันธุ์มันฝรั่ง ๑๖.๒ ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The seed potatoes in this consignment were produced in Canada in accordance with the conditions governing entry of seed potatoes to Thailand.” ๑๖.๓ ต้องบันทึกหมายเลขตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางเรือเท่านั้น) และหมายเลขการรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งของหัวพันธุ์มันฝรั่งในแต่ละตู้ขนส่งสินค้า บนใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ ๑๗ การตรวจนำเข้า ๑๗.๑ เมื่อหัวพันธุ์มันฝรั่งมาถึงยังด่านนำเข้าในราชอาณาจักรไทย การตรวจหัวพันธุ์มันฝรั่งจะดำเนินการหลังจากที่มีการตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้าแล้ว ๑๗.๒ กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งกลับหรือสั่งให้ทำลายซึ่งหัวพันธุ์มันฝรั่งโดยผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ในกรณีที่การรับรองหัวพันธุ์มันฝรั่งไม่เป็นไปตามข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืช หรือผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าชำรุดหรือเสียหาย ๑๗.๓ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ หรือตรวจพบว่าเกินกว่าระดับที่ยอมรับได้ในระหว่างการตรวจนำเข้า หัวพันธุ์มันฝรั่งดังกล่าวต้องถูกส่งกลับหรือถูกทำลายโดยผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งให้ CFIA ทราบถึงการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด และขึ้นอยู่กับสภาวการณ์ กรมวิชาการเกษตรอาจระงับการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากกองนั้น แปลงผลิต รัฐ หรือ ทั้งประเทศ ๑๗.๔ CFIA ต้องตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีและเสนอมาตรการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้า เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุของการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดและได้มีการดำเนินการแก้ไขแล้วจนเป็นที่ยอมรับของกรมวิชาการเกษตร ๑๗.๕ ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ยังคงมีชีวิตและไม่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ซึ่งมีศักยภาพสำคัญด้านกักกันพืชต่อราชอาณาจักรไทย ต้องส่งกลับทำลาย หรือกำจัดศัตรูพืชบนหัวพันธุ์มันฝรั่งด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามีวิธีการกำจัด) โดยผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้หยุดการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากช่องทางการนำเข้านั้นเป็นการชั่วคราวได้ จนกว่าการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ตรวจพบนั้นได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๗.๖ ถึงแม้ว่าหัวพันธุ์มันฝรั่งจะได้รับการตรวจปล่อยให้นำออกไปจากด่านนำเข้าแล้ว ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อจากหลักฐานว่าหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้าจากบางแหล่งผลิตซึ่งอาจมีศัตรูพืชกักกันติดมาด้วย หัวพันธุ์มันฝรั่งจะถูกสั่งระงับไม่ให้นำไปปลูกและต้องถูกดำเนินมาตรการทางสุขอนามัยพืชที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูพืชกักกันแพร่กระจายออกไปภายใต้คำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินมาตรการดังกล่าวนั้น ๑๗.๗ ผู้นำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องส่งรายละเอียดผู้ปลูกและพื้นที่ที่ปลูกหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้าแก่กรมวิชาการเกษตรทันทีเมื่อได้รับการร้องขอ นอกจากนี้ ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจมีศัตรูพืชกักกันของมันฝรั่งในแปลงปลูกมันฝรั่ง เจ้าหน้าที่กักกันพืชต้องดำเนินการสำรวจแปลงปลูกมันฝรั่งโดยทันที ผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการสำรวจดังกล่าวนั้น ข้อ ๑๘ การประเมินกระบวนการส่งออก ๑๘.๑ หัวพันธุ์มันฝรั่งจากแหล่งผลิตตามที่ระบุไว้ในข้อ ๗.๒ ในแคนาดาได้ผ่านการรับรองแล้วจากกรมวิชาการเกษตรให้ส่งออกหัวพันธุ์มันฝรั่งมายังราชอาณาจักรไทย การส่งออกหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแหล่งผลิตอื่นซึ่งยังไม่ได้รับการรับรองนั้น จะเริ่มได้หลังจากกรมวิชาการเกษตรได้ทำการประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกหัวพันธุ์มันฝรั่งแล้วเท่านั้น โดยแคนาดาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๘.๒ ในกรณีที่มีการระงับการนำเข้า กรมวิชาการเกษตรอาจส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปประเมินกระบวนการตรวจรับรองส่งออกในแคนาดา ก่อนจะตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งได้อีกต่อไป ถ้ากรมวิชาการเกษตรพิจารณาแล้วเห็นว่าการประเมินวิธีการส่งออกมีความจำเป็น โดยแคนาดาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อศัตรูพืชกักกันของหัวพันธุ์มันฝรั่งและดินจากแคนาดา แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากแคนาดา พ.ศ. ๒๕๕๒ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง/หน้า ๗๒/๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒
612114
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พ.ศ. 2552
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปที่นำเข้าเพื่อการค้าจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเข้ามาในราชอาณาจักร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ชนิดพืช หัวมันฝรั่ง (potato tuber) Solanum tuberosum ข้อ ๒ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๒.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๒.๒ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม คือ Ministry of Agriculture and Rural Development, Plant Protection Department (หลังจากนี้ต่อไปจะอ้างถึงว่าเป็น MARD-PPD) ข้อ ๓ การขออนุญาตนำเข้า ๓.๑ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ๓.๒ ผู้ที่มีสิทธิยื่นคำขอใบอนุญาตนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปต้องดำเนินธุรกิจโรงงานแปรรูปมันฝรั่ง ๓.๓ ผู้ยื่นคำขอจะได้รับใบอนุญาตนำเข้าถ้าโรงงานแปรรูปมันฝรั่งมีอุปกรณ์พร้อมสำหรับจัดการกับดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่ง ส่วนของหัวมันฝรั่งที่คัดทิ้ง และน้ำล้างหัวมันฝรั่งตามที่ระบุไว้ในข้อ ๕ ได้อย่างปลอดภัย ข้อ ๔ วิธีการขนส่ง หัวมันฝรั่งต้องส่งมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางเรือหรือทางอากาศ ข้อ ๕ การจดทะเบียนโรงงานแปรรูปมันฝรั่ง ๕.๑ หัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปต้องถูกแปรรูปในโรงงานแปรรูปมันฝรั่งที่จดทะเบียนและรับรองโดยกรมวิชาการเกษตร เจ้าหน้าที่กักกันพืชต้องตรวจสอบโรงงานแปรรูปมันฝรั่งว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามข้อกำหนด การรับรองโรงงานแปรรูปมันฝรั่งขึ้นอยู่กับการดำเนินการของบริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนด ดังนี้ ๕.๑.๑ โรงงานแปรรูปมันฝรั่งต้องมีอุปกรณ์ซึ่งเหมาะสมสำหรับการทำความสะอาดและการกำจัดเชื้อ ๕.๑.๒ ต้องนำน้ำจากเครื่องล้างและเครื่องปอกหัวมันฝรั่งไปจัดการโดยระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้รับการยอมรับหรือระบบกำจัดของเสียอื่น ๆ ที่ได้รับการยอมรับ ๕.๑.๓ ต้องกำจัดดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่งและเศษเหลือต่าง ๆ ของมันฝรั่งด้วยวิธีการที่เหมาะสม ๕.๑.๔ บริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปต้องเก็บรักษาข้อมูลจำนวนหัวมันฝรั่งที่นำเข้าและแปรรูป และต้องไม่นำหัวมันฝรั่งไปทำการแปรรูปที่โรงงานอื่นโดยไม่ผ่านความเห็นชอบก่อนจากกรมวิชาการเกษตร ๕.๒ ต้องตรวจสอบโรงงานแปรรูปหัวมันฝรั่งเป็นประจำทุกปีว่าได้ปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยบริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๕.๓ โรงงานแปรรูปหัวมันฝรั่งต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดโดยเคร่งครัด ใบอนุญาตนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจะถูกเพิกถอนถ้าไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด ข้อ ๖ ข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืช เพื่อลดความเสี่ยงของไส้เดือนฝอยและโรคพืชที่ทำลายบนหัวมันฝรั่ง ต้องดำเนินมาตรการสุขอนามัยพืชกับหัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้ ๖.๑ ต้องล้างหัวมันฝรั่งด้วยน้ำให้สะอาดจนกระทั่งหัวมันฝรั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ หรือ ๖.๒ กรณีการนำเข้าหัวมันฝรั่งที่ไม่ล้างน้ำ ต้องดำเนินการปัดดินบนหัวมันฝรั่งจนกระทั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ดินที่มีลักษณะเป็นผงติดมากับหัวมันฝรั่งต้องมีน้ำหนักไม่เกิน ๑๐๐ กรัม ต่อหัวมันฝรั่งน้ำหนัก ๕๐ กิโลกรัม (เท่ากับร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก) สำหรับดินที่มีลักษณะเป็นก้อนเกาะติดบนหัวมันฝรั่ง หัวมันฝรั่งซึ่งมีดินลักษณะเป็นก้อนเกาะติดมาครอบคลุมพื้นที่ผิวเกินกว่าร้อยละ ๒๐ ต้องมีไม่เกินจำนวน ๓๐ หัว จากตัวอย่างหัวมันฝรั่งจำนวน ๖๐๐ หัว (เท่ากับร้อยละ ๕) นอกจากนี้แล้ว ต้องควบคุมการแตกหน่อบนหัวมันฝรั่งด้วยสารยับยั้งความงอก หรือ ๖.๓ ต้องดำเนินการปัดดินบนหัวมันฝรั่งจนกระทั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ บรรจุมันฝรั่งในภาชนะบรรจุ และส่งออกภายในหนึ่งเดือนหลังจากเก็บเกี่ยว ข้อ ๗ การรับรองสุขอนามัยพืช ๗.๑ ต้องแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชมาพร้อมกับสินค้าหัวมันฝรั่งจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามทุกครั้งที่มีการนำเข้า ๗.๒ ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The potatoes in this consignment were produced in Vietnam in accordance with the conditions governing entry of potatoes for processing to Thailand.” และ “The potatoes in this consignment have been washed.” หรือ “The potatoes in this consignment were treated with a sprout inhibitor.” หรือ “The potatoes in this consignment were packed and shipped within month of harvest.” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง/หน้า ๖๙/๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒
612112
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากสหภาพพม่า พ.ศ. 2552
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากสหภาพพม่า พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปที่นำเข้าเพื่อการค้าจากสหภาพพม่าเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากสหภาพพม่าเข้ามาในราชอาณาจักร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ชนิดพืช หัวมันฝรั่ง (potato tuber) Solanum tuberosum ข้อ ๒ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๓.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๓.๒ สหภาพพม่า คือ Ministry of Agriculture and Irrigation, Myanmar Agricultural Service (หลังจากนี้ต่อไปจะอ้างถึงว่าเป็น MAI-MAS) ข้อ ๓ การขออนุญาตนำเข้า ๓.๑ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ๓.๒ ผู้ที่มีสิทธิยื่นคำขอใบอนุญาตนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปต้องดำเนินธุรกิจโรงงานแปรรูปมันฝรั่ง ๓.๓ ผู้ยื่นคำขอจะได้รับใบอนุญาตนำเข้าถ้าโรงงานแปรรูปมันฝรั่งมีอุปกรณ์พร้อมสำหรับจัดการกับดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่ง ส่วนของหัวมันฝรั่งที่คัดทิ้ง และน้ำล้างหัวมันฝรั่งตามที่ระบุไว้ในข้อ ๕ ได้อย่างปลอดภัย ข้อ ๔ วิธีการขนส่ง หัวมันฝรั่งต้องส่งตรงจากสหภาพพม่าไปยังในราชอาณาจักรไทย ในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งผ่านพรมแดน ข้อ ๕ การจดทะเบียนโรงงานแปรรูปมันฝรั่ง ๕.๑ หัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปต้องถูกแปรรูปในโรงงานแปรรูปมันฝรั่งที่จดทะเบียนและรับรองโดยกรมวิชาการเกษตร เจ้าหน้าที่กักกันพืชต้องตรวจสอบโรงงานแปรรูปมันฝรั่งว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามข้อกำหนด การรับรองโรงงานแปรรูปมันฝรั่งขึ้นอยู่กับการดำเนินการของบริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนด ดังนี้ ๕.๑.๑ โรงงานแปรรูปมันฝรั่งต้องมีอุปกรณ์ซึ่งเหมาะสมสำหรับการทำความสะอาดและการกำจัดเชื้อ ๕.๑.๒ ต้องนำน้ำจากเครื่องล้างและเครื่องปอกหัวมันฝรั่งไปจัดการโดยระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้รับการยอมรับ หรือระบบกำจัดของเสียอื่น ๆ ที่ได้รับการยอมรับ ๕.๑.๓ ต้องกำจัดดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่งและเศษเหลือต่าง ๆ ของมันฝรั่งด้วยวิธีการที่เหมาะสม ๕.๑.๔ บริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปต้องเก็บรักษาข้อมูลจำนวนหัวมันฝรั่งที่นำเข้าและแปรรูป และต้องไม่นำหัวมันฝรั่งไปทำการแปรรูปที่โรงงานอื่นโดยไม่ผ่านความเห็นชอบก่อนจากกรมวิชาการเกษตร ๕.๒ ต้องตรวจสอบโรงงานแปรรูปหัวมันฝรั่งเป็นประจำทุกปีว่าได้ปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยบริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๕.๓ โรงงานแปรรูปหัวมันฝรั่งต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดโดยเคร่งครัด ใบอนุญาตนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจะถูกเพิกถอนถ้าไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด ข้อ ๖ ข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืช เพื่อลดความเสี่ยงของไส้เดือนฝอยและโรคพืชที่ทำลายบนหัวมันฝรั่ง ต้องดำเนินมาตรการสุขอนามัยพืชกับหัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้ ๖.๑ ต้องล้างหัวมันฝรั่งด้วยน้ำให้สะอาดจนกระทั่งหัวมันฝรั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ หรือ ๖.๒ กรณีการนำเข้าหัวมันฝรั่งที่ไม่ล้างน้ำ ต้องดำเนินการปัดดินบนหัวมันฝรั่งจนกระทั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ดินที่มีลักษณะเป็นผงติดมากับหัวมันฝรั่งต้องมีน้ำหนักไม่เกิน ๑๐๐ กรัม ต่อหัวมันฝรั่งน้ำหนัก ๕๐ กิโลกรัม (เท่ากับร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก) สำหรับดินที่มีลักษณะเป็นก้อนเกาะติดบนหัวมันฝรั่ง หัวมันฝรั่งซึ่งมีดินลักษณะเป็นก้อนเกาะติดมาครอบคลุมพื้นที่ผิวเกินกว่าร้อยละ ๒๐ ต้องมีไม่เกินจำนวน ๓๐ หัว จากตัวอย่างหัวมันฝรั่งจำนวน ๖๐๐ หัว (เท่ากับร้อยละ ๕) นอกจากนี้แล้วต้องควบคุมการแตกหน่อบนหัวมันฝรั่งด้วยสารยับยั้งความงอก หรือ ๖.๓ ต้องดำเนินการปัดดินบนหัวมันฝรั่งจนกระทั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ บรรจุมันฝรั่งในภาชนะบรรจุ และส่งออกภายในหนึ่งเดือนหลังจากเก็บเกี่ยว ข้อ ๗ การรับรองสุขอนามัยพืช ๗.๑ ต้องแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชมาพร้อมกับสินค้าหัวมันฝรั่งจากสหภาพพม่าทุกครั้งที่มีการนำเข้า ๗.๒ ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The potatoes in this consignment were produced in Myanmar in accordance with the conditions governing entry of potatoes for processing to Thailand.” และ “The potatoes in this consignment have been washed.” หรือ “The potatoes in this consignment were treated with a sprout inhibitor.” หรือ “The potatoes in this consignment were packed and shipped within month of harvest.” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง/หน้า ๖๖/๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒
612109
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. 2552
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจาก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปที่นำเข้าเพื่อการค้าจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเข้ามาในราชอาณาจักร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ชนิดพืช หัวมันฝรั่ง (potato tuber) Solanum tuberosum ข้อ ๒ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๒.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๒.๒ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือ Ministry of Agriculture and Forestry, Department of Agriculture (หลังจากนี้ต่อไปจะอ้างถึงว่าเป็น MAF-DOA) ข้อ ๓ การขออนุญาตนำเข้า ๓.๑ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ๓.๒ ผู้ที่มีสิทธิยื่นคำขอใบอนุญาตนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปต้องดำเนินธุรกิจโรงงานแปรรูปมันฝรั่ง ๓.๓ ผู้ยื่นคำขอจะได้รับใบอนุญาตนำเข้าถ้าโรงงานแปรรูปมันฝรั่งมีอุปกรณ์พร้อมสำหรับจัดการกับดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่ง ส่วนของหัวมันฝรั่งที่คัดทิ้ง และน้ำล้างหัวมันฝรั่งตามที่ระบุไว้ในข้อ ๕ ได้อย่างปลอดภัย ข้อ ๔ วิธีการขนส่ง หัวมันฝรั่งต้องส่งตรงจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวไปยังในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งผ่านพรมแดน ข้อ ๕ การจดทะเบียนโรงงานแปรรูปมันฝรั่ง ๕.๑ หัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปต้องถูกแปรรูปในโรงงานแปรรูปมันฝรั่งที่จดทะเบียนและรับรองโดยกรมวิชาการเกษตร เจ้าหน้าที่กักกันพืชต้องตรวจสอบโรงงานแปรรูปมันฝรั่งว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามข้อกำหนด การรับรองโรงงานแปรรูปมันฝรั่งขึ้นอยู่กับการดำเนินการของบริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนด ดังนี้ ๕.๑.๑ โรงงานแปรรูปมันฝรั่งต้องมีอุปกรณ์ซึ่งเหมาะสมสำหรับการทำความสะอาดและการกำจัดเชื้อ ๕.๑.๒ ต้องนำน้ำจากเครื่องล้างและเครื่องปอกหัวมันฝรั่งไปจัดการโดยระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้รับการยอมรับ หรือระบบกำจัดของเสียอื่น ๆ ที่ได้รับการยอมรับ ๕.๑.๓ ต้องกำจัดดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่งและเศษเหลือต่าง ๆ ของมันฝรั่งด้วยวิธีการที่เหมาะสม ๕.๑.๔ บริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปต้องเก็บรักษาข้อมูลจำนวนหัวมันฝรั่งที่นำเข้าและแปรรูป และต้องไม่นำหัวมันฝรั่งไปทำการแปรรูปที่โรงงานอื่นโดยไม่ผ่านความเห็นชอบก่อนจากกรมวิชาการเกษตร ๕.๒ ต้องตรวจสอบโรงงานแปรรูปหัวมันฝรั่งเป็นประจำทุกปีว่าได้ปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยบริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๕.๓ โรงงานแปรรูปหัวมันฝรั่งต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดโดยเคร่งครัด ใบอนุญาตนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจะถูกเพิกถอนถ้าไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด ข้อ ๖ ข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืช เพื่อลดความเสี่ยงของไส้เดือนฝอยและโรคพืชที่ทำลายบนหัวมันฝรั่ง ต้องดำเนินมาตรการสุขอนามัยพืชกับหัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้ ๖.๑ ต้องล้างหัวมันฝรั่งด้วยน้ำให้สะอาดจนกระทั่งหัวมันฝรั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ หรือ ๖.๒ กรณีการนำเข้าหัวมันฝรั่งที่ไม่ล้างน้ำ ต้องดำเนินการปัดดินบนหัวมันฝรั่งจนกระทั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ดินที่มีลักษณะเป็นผงติดมากับหัวมันฝรั่งต้องมีน้ำหนักไม่เกิน ๑๐๐ กรัม ต่อหัวมันฝรั่งน้ำหนัก ๕๐ กิโลกรัม (เท่ากับร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก) สำหรับดินที่มีลักษณะเป็นก้อนเกาะติดบนหัวมันฝรั่ง หัวมันฝรั่งซึ่งมีดินลักษณะเป็นก้อนเกาะติดมาครอบคลุมพื้นที่ผิวเกินกว่าร้อยละ ๒๐ ต้องมีไม่เกินจำนวน ๓๐ หัว จากตัวอย่างหัวมันฝรั่งจำนวน ๖๐๐ หัว (เท่ากับร้อยละ ๕) นอกจากนี้แล้ว ต้องควบคุมการแตกหน่อบนหัวมันฝรั่งด้วยสารยับยั้งความงอก หรือ ๖.๓ ต้องดำเนินการปัดดินบนหัวมันฝรั่งจนกระทั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ บรรจุมันฝรั่งในภาชนะบรรจุ และส่งออกภายในหนึ่งเดือนหลังจากเก็บเกี่ยว ข้อ ๗ การรับรองสุขอนามัยพืช ๗.๑ ต้องแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชมาพร้อมกับสินค้าหัวมันฝรั่งจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวทุกครั้งที่มีการนำเข้า ๗.๒ ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The potatoes in this consignment were produced in Laos in accordance with the conditions governing entry of potatoes for processing to Thailand.” และ “The potatoes in this consignment have been washed.” หรือ “The potatoes in this consignment were treated with a sprout inhibitor.” หรือ “The potatoes in this consignment were packed and shipped within month of harvest.” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ พิมลกร/ปรับปรุง ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง/หน้า ๖๓/๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒
612107
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากราชอาณาจักรกัมพูชา พ.ศ. 2552
ประกาศกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากราชอาณาจักรกัมพูชา พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] ด้วยกรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปที่นำเข้าเพื่อการค้าจากราชอาณาจักรกัมพูชาเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการนำหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจากราชอาณาจักรกัมพูชาเข้ามาในราชอาณาจักร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ชนิดพืช หัวมันฝรั่ง (potato tuber) Solanum tuberosum ข้อ ๒ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ๒.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร ๒.๒ ราชอาณาจักรกัมพูชา คือ Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries (หลังจากนี้ต่อไปจะอ้างถึงว่าเป็น MAFF) ข้อ ๓ การขออนุญาตนำเข้า ๓.๑ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ๓.๒ ผู้ที่มีสิทธิยื่นคำขอใบอนุญาตนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปต้องดำเนินธุรกิจโรงงานแปรรูปมันฝรั่ง ๓.๓ ผู้ยื่นคำขอจะได้รับใบอนุญาตนำเข้าถ้าโรงงานแปรรูปมันฝรั่งมีอุปกรณ์พร้อมสำหรับจัดการกับดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่ง ส่วนของหัวมันฝรั่งที่คัดทิ้ง และน้ำล้างหัวมันฝรั่งตามที่ระบุไว้ในข้อ ๕ ได้อย่างปลอดภัย ข้อ ๔ วิธีการขนส่ง หัวมันฝรั่งต้องส่งตรงจากราชอาณาจักรกัมพูชาไปยังในราชอาณาจักรไทย ในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งผ่านพรมแดน ข้อ ๕ การจดทะเบียนโรงงานแปรรูปมันฝรั่ง ๕.๑ หัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปต้องถูกแปรรูปในโรงงานแปรรูปมันฝรั่งที่จดทะเบียนและรับรองโดยกรมวิชาการเกษตร เจ้าหน้าที่กักกันพืชต้องตรวจสอบโรงงานแปรรูปมันฝรั่งว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามข้อกำหนด การรับรองโรงงานแปรรูปมันฝรั่งขึ้นอยู่กับการดำเนินการของบริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนด ดังนี้ ๕.๑.๑ โรงงานแปรรูปมันฝรั่งต้องมีอุปกรณ์ซึ่งเหมาะสมสำหรับการทำความสะอาดและการกำจัดเชื้อ ๕.๑.๒ ต้องนำน้ำจากเครื่องล้างและเครื่องปอกหัวมันฝรั่งไปจัดการโดยระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้รับการยอมรับหรือระบบกำจัดของเสียอื่น ๆ ที่ได้รับการยอมรับ ๕.๑.๓ ต้องกำจัดดินที่ติดมากับหัวมันฝรั่งและเศษเหลือต่าง ๆ ของมันฝรั่งด้วยวิธีการที่เหมาะสม ๕.๑.๔ บริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปต้องเก็บรักษาข้อมูลจำนวนหัวมันฝรั่งที่นำเข้าและแปรรูป และต้องไม่นำหัวมันฝรั่งไปทำการแปรรูปที่โรงงานอื่นโดยไม่ผ่านความเห็นชอบก่อนจากกรมวิชาการเกษตร ๕.๒ ต้องตรวจสอบโรงงานแปรรูปหัวมันฝรั่งเป็นประจำทุกปีว่าได้ปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยบริษัทนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๕.๓ โรงงานแปรรูปหัวมันฝรั่งต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดโดยเคร่งครัด ใบอนุญาตนำเข้าหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปจะถูกเพิกถอนถ้าไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด ข้อ ๖ ข้อกำหนดนำเข้าด้านสุขอนามัยพืช เพื่อลดความเสี่ยงของไส้เดือนฝอยและโรคพืชที่ทำลายบนหัวมันฝรั่ง ต้องดำเนินมาตรการสุขอนามัยพืชกับหัวมันฝรั่งนำเข้าเพื่อการแปรรูปด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้ ๖.๑ ต้องล้างหัวมันฝรั่งด้วยน้ำให้สะอาดจนกระทั่งหัวมันฝรั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ หรือ ๖.๒ กรณีการนำเข้าหัวมันฝรั่งที่ไม่ล้างน้ำ ต้องดำเนินการปัดดินบนหัวมันฝรั่งจนกระทั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ดินที่มีลักษณะเป็นผงติดมากับหัวมันฝรั่งต้องมีน้ำหนักไม่เกิน ๑๐๐ กรัม ต่อหัวมันฝรั่งน้ำหนัก ๕๐ กิโลกรัม (เท่ากับร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก) สำหรับดินที่มีลักษณะเป็นก้อนเกาะติดบนหัวมันฝรั่ง หัวมันฝรั่งซึ่งมีดินลักษณะเป็นก้อนเกาะติดมาครอบคลุมพื้นที่ผิวเกินกว่าร้อยละ ๒๐ ต้องมีไม่เกินจำนวน ๓๐ หัว จากตัวอย่างหัวมันฝรั่งจำนวน ๖๐๐ หัว (เท่ากับร้อยละ ๕) นอกจากนี้แล้ว ต้องควบคุมการแตกหน่อบนหัวมันฝรั่งด้วยสารยับยั้งความงอก หรือ ๖.๓ ต้องดำเนินการปัดดินบนหัวมันฝรั่งจนกระทั่งปราศจากดินเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ บรรจุมันฝรั่งในภาชนะบรรจุ และส่งออกภายในหนึ่งเดือนหลังจากเก็บเกี่ยว ข้อ ๗ การรับรองสุขอนามัยพืช ๗.๑ ต้องแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชมาพร้อมกับสินค้าหัวมันฝรั่งจากราชอาณาจักรกัมพูชาทุกครั้งที่มีการนำเข้า ๗.๒ ใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “The potatoes in this consignment were produced in Cambodia in accordance with the conditions governing entry of potatoes for processing to Thailand. และ “The potatoes in this consignment have been washed.” หรือ “The potatoes in this consignment were treated with a sprout inhibitor.” หรือ “The potatoes in this consignment were packed and shipped within month of harvest.” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ พิมลกร/ปรับปรุ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พลัฐวัษ/ตรวจ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง/หน้า ๖๐/๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒