sysid
stringlengths 1
6
| title
stringlengths 8
870
| txt
stringlengths 0
257k
|
---|---|---|
770759 | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สท. 6/2560 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
| ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สท. ๖/๒๕๖๐
เรื่อง
การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ[๑]
โดยที่มาตรา
๒๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ กำหนดให้นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จึงประกาศการเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้
ดังต่อไปนี้
๑.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นวนคร
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๓๘๓/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๙
๒. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
บริษัท เซเรบอส (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๔๔/๒๕๓๔
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๙
๓. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
บริษัท ไบโอกรุ๊ป ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๖๓/๒๕๓๘ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม
๒๕๕๙
๔.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พนักงานกลุ่มบริษัทบี.กริม ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑๐๗/๒๕๔๑
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๙
๕.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พนักงานซิงเกอร์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๔๓๒/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน
๒๕๕๙
๖.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท
สยามเคมีคอลอินดัสตรี้ จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๓๔/๒๕๓๙
ตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙
๗. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พนักงานบริษัทเครือโจตันในประเทศไทย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๗๑/๒๕๔๑
ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙
๘.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อยุธยาพันธบัตร
๒ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑๐/๒๕๔๔ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙
๙. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ธนชาติสินไพบูลย์
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๓/๒๕๔๗ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๙
๑๐.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท
ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๖๕/๒๕๓๕ ตั้งแต่วันที่
๑ ตุลาคม ๒๕๕๙
๑๑.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พนักงานองค์การสุรา กรมสรรพสามิต ซึ่งจดทะเบียนแล้วทะเบียนเลขที่ ๓๔/๒๕๔๐
ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๙
๑๒.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท เจ เอส
วิชั่น จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๓๑/๒๕๓๙ ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม
๒๕๕๙
๑๓.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัท
อินโดรามา เวนเจอร์ส ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๔/๒๕๕๔ ตั้งแต่วันที่ ๑
ธันวาคม ๒๕๕๙
ประกาศ ณ วันที่ ๙
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
รพี สุจริตกุล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ปริยานุช/จัดทำ
๘ มีนาคม ๒๕๖๐
พรวิภา/ตรวจ
๘ มีนาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๒/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ |
770757 | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สท. 5/2560 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
| ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สท. ๕/๒๕๖๐
เรื่อง
การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ[๑]
โดยที่มาตรา
๘ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ กำหนดให้นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกาศการรับจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จึงประกาศรายชื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้รับจดทะเบียนไว้
ดังต่อไปนี้
๑.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พนักงานกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑/๒๕๕๙ ตั้งแต่วันที่ ๑
มกราคม ๒๕๕๙
๒. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กลุ่มบริษัท วีระวงค์, ชินวัฒน์ และเพียงพนอ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๒/๒๕๕๙ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙
ประกาศ
ณ วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
รพี
สุจริตกุล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ปริยานุช/จัดทำ
๘ มีนาคม ๒๕๖๐
พรวิภา/ตรวจ
๘ มีนาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๑/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ |
740146 | ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ สท. 1/2558 เรื่อง วิธีการและเงื่อนไขในการโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
| ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ที่ สท. ๑/๒๕๕๘
เรื่อง
วิธีการและเงื่อนไขในการโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๓/๔
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกข้อกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หมายความว่า
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ผู้ชำระบัญชี หมายความว่า
ผู้ชำระบัญชีของกองทุน
เงินกองทุน หมายความว่า
เงินทั้งหมดที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับจากกองทุน
หรือเงินที่เหลือจากการขอรับเงินจากกองทุนเป็นงวด หรือเงินที่ลูกจ้างคงไว้ในกองทุน
ข้อ ๒ ภายใน ๓๐
วันนับแต่วันสิ้นสมาชิกภาพ เมื่อลูกจ้างแสดงเจตนาให้โอนเงินกองทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอันเนื่องจากเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้
ให้ผู้จัดการกองทุนหรือผู้ชำระบัญชีดำเนินการตามข้อ ๓
(๑)
นายจ้างถอนตัวจากกองทุนหลายนายจ้างและยังไม่ได้จัดให้มีกองทุนใหม่
(๒) ลูกจ้างออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด
(๓) กองทุนเลิก
ข้อ ๓ เมื่อผู้จัดการกองทุนหรือผู้ชำระบัญชีได้รับแจ้งให้โอนเงินกองทุนจากกองทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
ให้ผู้จัดการกองทุนหรือผู้ชำระบัญชี แล้วแต่กรณี
โอนเงินดังกล่าวพร้อมจัดส่งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพให้แล้วเสร็จภายใน
๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับเอกสารหลักฐานครบถ้วนจากคณะกรรมการกองทุน
(๑)
เอกสารการแสดงเจตนาของลูกจ้างเพื่อโอนเงินกองทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพซึ่งต้องระบุชื่อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่จะโอนไป
(๒)
เอกสารหลักฐานที่แสดงได้ว่าลูกจ้างได้รับทราบคำเตือนเกี่ยวกับการโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
ดังนี้
(ก)
ในกรณีที่เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของลูกจ้างครบเงื่อนไขเกี่ยวกับกำหนดระยะเวลาซึ่งเป็นผลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีแล้ว
ลูกจ้างจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติมจากการโอนเงินดังกล่าวไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
และการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพดังกล่าวอาจมีต้นทุนที่แตกต่างจากกองทุนรวมทั่วไป
(ข)
ในกรณีที่การโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพจะมีผลให้การถือหน่วยลงทุนของลูกจ้างเกินข้อจำกัดการถือหน่วยลงทุนตามที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจำกัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ
บริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่นับคะแนนเสียงส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมดังกล่าว
(๓) เอกสารแสดงจำนวนเงินกองทุนที่โอนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
ซึ่งได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนเงินสะสม เงินสมทบ
ผลประโยชน์ของเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสมทบไว้ด้วย
(๔) เอกสารหลักฐานอื่นตามที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกำหนด
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘
รพี สุจริตกุล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ปริยานุช/จัดทำ
๒๐ พฤศจิกายน
๒๕๕๘
วิศนี/ตรวจ
๑๗ ธันวาคม
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๐๐ ง/หน้า ๑๘/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ |
683201 | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สท. 7/2556 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สท. ๗/๒๕๕๖
เรื่อง
การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ[๑]
โดยที่มาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
กำหนดให้นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้
ดังต่อไปนี้
๑. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จำกัด
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑๓๒/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕
๒. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท คัสตอม แพค จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๔๖๘/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕
๓. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทในเครือประกิต ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๔๗๐/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕
๔. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท คาสิโอ (ประเทศไทย) จำกัด
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒๕/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
๕. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อัลฟานี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๘๓/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
๖. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาพิส เซมิคอนดัคเตอร์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๕๒/๒๕๔๐ ตั้งแต่วันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
๗. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที เอส ไอ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๑๒/๒๕๓๙ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๕
๘. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานธนาคารนครหลวงไทย จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๔๑๑/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕
๙. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท สแต็ทส์ ชิพแพ็ค (ประเทศไทย) จำกัด
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๕๑๗/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๕
๑๐. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์
(ไทย) จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๗/๒๕๔๑ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕
๑๑. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒/๒๕๔๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕
๑๒. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. (๒)
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๕/๒๕๔๖ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕
๑๓. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท ไม้อัดไทย จำกัด
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๔๖/๒๕๔๐ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๕
๑๔. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ธนสัมพันธ์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๒๔/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕
๑๕. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บลจ. ธนชาต จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๙๗/๒๕๔๐ ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๕
๑๖. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรุงศรี กรุ๊ป ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๔/๒๕๕๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๕
๑๗. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท น้ำมันปิโตรเลียมไทย จำกัด
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑๐๐/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๕
๑๘. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง
เน็ทเวิร์ค จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒๔๘/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑
กันยายน ๒๕๕๕
๑๙. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท ศรีอู่ทอง จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๔๗๙/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
๒๐. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ สินอุตสาหกรรม
จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒๒๑/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๒๗
พฤศจิกายน ๒๕๕๕
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖
วรพล โสคติยานุรักษ์
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๕ มีนาคม ๒๕๕๖
อุษมล/ผู้ตรวจ
๒๐ มีนาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓๓ ง/หน้า ๒๗/๑๒ มีนาคม ๒๕๕๖ |
683199 | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สท. 6/2556 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สท. ๖/๒๕๕๖
เรื่อง
การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ[๑]
โดยที่มาตรา ๘ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.
๒๕๓๐ กำหนดให้นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกาศการรับจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงประกาศรายชื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้รับจดทะเบียนไว้
ดังต่อไปนี้
๑. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย)
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑/๒๕๕๕ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕
๒. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท วีระวงค์, ชินวัฒน์ และเพียงพนอ จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒/๒๕๕๕
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕
๓. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท 3 เอ็ม ประเทศไทย จำกัด
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๓/๒๕๕๕ ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๕
๔. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๔/๒๕๕๕ ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๕
๕. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรุงเทพประกันชีวิต ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๕/๒๕๕๕ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕
๖. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แอล เอช ฟันด์ มาสเตอร์พูล
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๖/๒๕๕๕ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕
๗. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๗/๒๕๕๕ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕
๘. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๘/๒๕๕๕ ตั้งแต่วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๕
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖
วรพล โสคติยานุรักษ์
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๕ มีนาคม ๒๕๕๖
อุษมล/ผู้ตรวจ
๒๐ มีนาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓๓ ง/หน้า ๒๖/๑๒ มีนาคม ๒๕๕๖ |
679156 | ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 | ประกาศกระทรวงการคลัง
ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง
แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบ
ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พ.ศ. ๒๕๓๐
และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
พ.ศ. ๒๕๓๕
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๕๕
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พ.ศ. ๒๕๓๐ และมาตรา ๓๑๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒ (๒)
ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง
แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง
แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่
๒๓ มกราคม ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๒) ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
กระทรวงการคลัง หรือที่ปรึกษา (เศรษฐกรทรงคุณวุฒิ) รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
หรือผู้อำนวยการสำนัก ในสังกัดสำนักงานเศรษฐกิจการคลังที่ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังมอบหมาย
ในกรณีที่ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการได้
ข้อ ๒[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕
กิตติรัตน์
ณ ระนอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
โชติกานต์/ผู้จัดทำ
๑๘ มกราคม ๒๕๕๖
เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ
๑๘ มกราคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๙๔ ง/หน้า ๑๙/๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ |
664292 | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สท. 4/2555 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สท. ๔/๒๕๕๕
เรื่อง
การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ[๑]
โดยที่มาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
กำหนดให้นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ดังต่อไปนี้
๑. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑๖๙/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม
๒๕๕๔
๒. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฮอนด้า อาร์แอนด์ดี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๕๗/๒๕๓๘ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๔
๓. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ไทย)
จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๙๐/๒๕๓๘ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๔
๔. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์ บีฟิท จำกัด (มหาชน)
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๗/๒๕๕๑ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๔
๕. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ธนาคารโอเวอร์ซี-ไชนีสแบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น
จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๗๔/๒๕๔๐ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๔
๖. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรุงเทพ ๒ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๔๕/๒๕๓๘ ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๔
๗. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานทริส ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๑๒๐/๒๕๔๑ ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๔
๘. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ วรรณเอเอ็มบาลานซ์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๖/๒๕๔๗ ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๔
๙. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สันติภาพประกันภัย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๑๙/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔
๑๐. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทหารไทยเพิ่มทรัพย์ทวี ๓ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๖๘/๒๕๓๗ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔
๑๑. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๘๒/๒๕๔๐ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔
๑๒. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฟินันซ่า ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๒/๒๕๔๙ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๔
๑๓. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เกษียณมั่นคง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๘/๒๕๔๓ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔
๑๔. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไทยพาณิชย์ทรัพย์มั่นคง ๑
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒๒๘/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
๑๕. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท ธนากรผลิตภัณฑ์น้ำมันพืช จำกัด
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒๖๖/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
๑๖. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไทยพาณิชย์รวมทรัพย์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๑๑๑/๒๕๔๐ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
๑๗. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพิ่มขวัญมั่นคง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๒๘/๒๕๔๑ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
๑๘. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท เมทเล่อร์ - โทเลโด (ประเทศไทย)
จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๘/๒๕๔๕ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
๑๙. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์ พัฒนสิน จำกัด
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒๗๙/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๔
๒๐. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เครือเอสทีซี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๒๒/๒๕๓๘ ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๔
๒๑. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๘๘/๒๕๔๑ ตั้งแต่วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๔
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕
วรพล โสคติยานุรักษ์
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๕ มีนาคม ๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๕ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๔๓ ง/หน้า ๑๑/๑ มีนาคม ๒๕๕๕ |
664272 | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สท. 3/2555 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สท. ๓/๒๕๕๕
เรื่อง
การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ[๑]
โดยที่มาตรา ๘ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.
๒๕๓๐ กำหนดให้นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกาศการรับจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงประกาศรายชื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้รับจดทะเบียน
ไว้ดังต่อไปนี้
๑. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไอเอ็นจี อินเวสเตอร์ ชอยส์
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑/๒๕๕๔ ตั้งแต่วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
๒. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท โนเกีย ซีเมนส์ เน็ตเวิร์คส
(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒/๒๕๕๔ ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม
๒๕๕๔
๓. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงาน คอร์น โปรดักส์ และ เนชั่นแนล
สตาร์ช ประเทศไทย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๓/๒๕๕๔ ตั้งแต่วันที่ ๓๐
มิถุนายน ๒๕๕๔
๔. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๔/๒๕๕๔ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๔
๕. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์ ซิกโก้ จำกัด (มหาชน)
และบริษัทในเครือ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๕/๒๕๕๔ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม
๒๕๕๔
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕
วรพล โสคติยานุรักษ์
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๕ มีนาคม ๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๕ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๔๓ ง/หน้า ๑๐/๑ มีนาคม ๒๕๕๕ |
655239 | ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ 1/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการโอนทรัพย์สินของลูกจ้างจากกองทุนเดิมที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเข้ากองทุนใหม่ที่ลูกจ้างเป็นสมาชิก | ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ที่ ๑/๒๕๕๔
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการโอนทรัพย์สินของลูกจ้างจากกองทุนเดิม
ที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เข้ากองทุนใหม่ที่ลูกจ้างเป็นสมาชิก[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗/๑ (๖) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๕๐
อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบมาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกข้อกำหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ที่ ๑/๒๕๕๑ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการโอนทรัพย์สินของลูกจ้างจากกองทุนเดิมหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเข้ากองทุน
ลงวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการโอนทรัพย์สินของลูกจ้างเข้ากองทุนใหม่ที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) การโอนทรัพย์สินที่มาจากกองทุนเดิมที่ลูกจ้างเป็นสมาชิก
(๒) การโอนทรัพย์สินที่มาจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ข้อ ๓ ในกรณีที่ลูกจ้างประสงค์จะโอนทรัพย์สินจากกองทุนเดิมที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเข้ากองทุนใหม่ที่ลูกจ้างเป็นสมาชิก
ให้ผู้จัดการกองทุนตรวจสอบเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ ก่อนดำเนินการโอนทรัพย์สินดังกล่าว
(๑)
เอกสารการแสดงเจตนาของลูกจ้างในการขอโอนทรัพย์สินเข้ากองทุนใหม่ที่ลูกจ้างเป็นสมาชิก
(๒)
เอกสารหลักฐานอื่นใดที่เกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินจากกองทุนเดิมที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปยังกองทุนใหม่ที่ลูกจ้างเป็นสมาชิก
ข้อ ๔ ในการรับโอนทรัพย์สินของลูกจ้างที่มาจากกองทุนเดิมที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเข้ากองทุนใหม่ที่ลูกจ้างเป็นสมาชิก
ให้ผู้จัดการกองทุนแบ่งแยกเงินหรือผลประโยชน์ส่วนที่ได้รับยกเว้นภาษีออกจากเงินหรือผลประโยชน์ส่วนที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษี
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในประมวลรัษฎากรและหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าวและนำส่งเข้ากองทุนของนายจ้างรายใหม่ตามแนวทางที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกำหนด
ข้อ ๕ เมื่อมีการโอนทรัพย์สินของลูกจ้างจากกองทุนเดิมที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเข้ากองทุนใหม่ที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกแล้ว
ให้ผู้จัดการกองทุนคำนวณจำนวนหน่วยให้แก่ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกกองทุน
โดยปฏิบัติตามประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ชาลี จันทนยิ่งยง
รองเลขาธิการ
รักษาการเลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๗ กันยายน
๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๓ ง/หน้า ๕๒/๙ กันยายน ๒๕๕๔ |
645901 | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อข. 2/2554 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ อข. ๒/๒๕๕๔
เรื่อง
การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ[๑]
โดยที่มาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
กำหนดให้นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ ดังต่อไปนี้
๑. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กลุ่มบริษัท ไอ.พี. ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒๗๖/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑
มกราคม ๒๕๕๓
๒. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เอไอจี ไฟแนนซ์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๕๐๕/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม
๒๕๕๓
๓. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ภูริลาภ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๕๔/๒๕๔๐ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๓
๔. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
บาคาร์ดี (ประเทศไทย) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๘๗/๒๕๔๐ ตั้งแต่วันที่ ๑
มกราคม ๒๕๕๓
๕. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พนักงานกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๓๕/๒๕๔๑
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๓
๖. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พนักงานบริษัทท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๘๓/๒๕๔๑
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๓
๗. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ทหารไทยธนรัฐ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๗/๒๕๔๙ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๓
๘. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ทหารไทย SET ๕๐ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๘/๒๕๔๙ ตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม ๒๕๕๓
๙. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พนักงาน ปตท.สผ. ๒ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม
๒๕๕๓
๑๐. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทหารไทยธนบดี
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๖/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๓
๑๑. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
JUMBO
๒๕ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๗/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม
๒๕๕๓
๑๒. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ไทยพาณิชย์ทุนก้าวหน้า ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒/๒๕๕๑ ตั้งแต่วันที่ ๑
มกราคม ๒๕๕๓
๑๓. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เอไอเอ - อเบอร์ดีน เอเชีย แปซิฟิค เอคควิตี้ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๑๑/๒๕๕๒ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๓
๑๔. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
บริษัท เวลล่า (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๔๕๙/๒๕๓๓
ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
๑๕ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กรุงเทพ ๑ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑๒/๒๕๓๕ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๓
๑๖. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท เอ็กโคแล็บ
จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๔/๒๕๔๗ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๓
๑๗. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
บริษัท ทีซีแอล ทอมสัน อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๔๖/๒๕๓๕ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๓
๑๘. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เอออน ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๕๑๙/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓
๑๙. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
บริษัท มอลลิเก้ เฮลท์ แคร์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๑๐๓/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓
๒๐. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท
ไทยแอร์พอร์ตส์ กราวด์ เซอร์วิสเซส จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๙/๒๕๓๙
ตั้งแต่วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓
๒๑. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กรุงเทพ ๓ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑๕๕/๒๕๔๐ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มิถุนายน
๒๕๕๓
๒๒. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ทวีทรัพย์พนักงาน บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๕/๒๕๔๗ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
๒๓. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ดอยซ์ แบงก์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒๑๗/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๒ กรกฎาคม
๒๕๕๓
๒๔. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ยูโอบี ทรัพย์มั่นคง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๗/๒๕๔๘ ตั้งแต่วันที่ ๕
กรกฎาคม ๒๕๕๓
๒๕. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ยูโอบี ทวีทรัพย์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๖/๒๕๔๓ ตั้งแต่วันที่ ๕ กรกฎาคม
๒๕๕๓
๒๖. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เอไอเอพัฒนา ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๙๗/๒๕๔๑ ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม
๒๕๕๓
๒๗. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เอไอเอเพิ่มพูน
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒๓/๒๕๔๒ ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๓
๒๘. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เอไอเอตราสารทุน ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑/๒๕๔๙ ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม
๒๕๕๓
๒๙. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เอไอเอเสถียรทรัพย์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๖/๒๕๔๙ ตั้งแต่วันที่ ๑
สิงหาคม ๒๕๕๓
๓๐. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กสิกรไทยทรัพย์ทวีผล ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๕๖/๒๕๓๙ ตั้งแต่วันที่ ๑
กันยายน ๒๕๕๓
๓๑. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พนักงานทิสโก้เพื่อการออม ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒/๒๕๔๕ ตั้งแต่วันที่ ๑
กันยายน ๒๕๕๓
๓๒. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เอวอน ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒๙๘/๒๕๓๓ ตั้งแต่ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓
๓๓. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พนักงาน จี.เปรมจี กรุ๊ป ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๓๓๑/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่
๑ ตุลาคม ๒๕๕๓
๓๔. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กลุ่ม เอ็น เอส ไอ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑๐/๒๕๔๙ ตั้งแต่วันที่ ๑
ตุลาคม ๒๕๕๓
๓๕. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย (กองทุนที่ ๑) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๙/๒๕๕๐
ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓
๓๖. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย (กองทุนที่ ๓) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๑๐/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓
๓๗. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กลุ่มบริษัทไทยโอริกซ์ลีสซิ่ง จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๔๖๕/๒๕๓๓
ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
๓๘. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ธนาคารเอบีเอ็น แอมโร ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒๕/๒๕๔๑ ตั้งแต่วันที่ ๑๕
ธันวาคม ๒๕๕๓
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔
ธีระชัย
ภูวนาถนรานุบาล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๙ มีนาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๙ มีนาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๒๕ ง/หน้า ๓๘/๒ มีนาคม ๒๕๕๔ |
645899 | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อข. 1/2554 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ อข. ๑/๒๕๕๔
เรื่อง
การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ[๑]
โดยที่มาตรา ๘ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.
๒๕๓๐ กำหนดให้นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกาศการรับจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงประกาศรายชื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้รับจดทะเบียนไว้
ดังต่อไปนี้
๑. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ไทยพาณิชย์ มาสเตอร์ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑/๒๕๕๓ ตั้งแต่วันที่ ๑
มกราคม ๒๕๕๓
๒. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กลุ่มบริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๒/๒๕๕๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๓
๓. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
อีเอ็มเอฟ มาสเตอร์ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๓/๒๕๕๓ ตั้งแต่วันที่ ๓๑
พฤษภาคม ๒๕๕๓
๔. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กรุงศรี กรุ๊ป ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๔/๒๕๕๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม
๒๕๕๓
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔
ธีระชัย
ภูวนาถนรานุบาล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๙ มีนาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๙ มีนาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๒๕ ง/หน้า ๓๗/๒ มีนาคม ๒๕๕๔ |
633887 | ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ 1/2553 เรื่อง แบบคำขอนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
| ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ที่ ๑/๒๕๕๓
เรื่อง
แบบคำขอนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๓ และข้อ ๓/๒ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๓๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกข้อกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ การยื่นคำขอนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
คำขอการนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พ.ศ. ๒๕๓๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๓
นันทนภัสร์/ตรวจ
๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๓
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๙ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๘๙/๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ |
630043 | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อข. 2/2553 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
| ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ อข. ๒/๒๕๕๓
เรื่อง
การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ[๑]
โดยที่มาตรา
๒๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
กำหนดให้นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ ดังต่อไปนี้
๑.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทในเครือบางกอกดาต้า ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๔๑/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๒
๒.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท มาลาพลาส จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๑๑๐/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๒
๓.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท บีเอสแอล ลีสซิ่ง จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๑๔๙/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๒
๔.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แปซิฟิค เฮลธ์ แคร์ (ไทยแลนด์) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๔๗๘/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๒
๕.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำนักงานกฎหมายสยามนิติ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๑๔/๒๕๓๔ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๒
๖.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานเนชั่น กรุ๊ป ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๕/๒๕๔๙
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๒
๗.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท เอบีเอ็กซ์ โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๕๙/๒๕๔๑ ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๒
๘.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท ภัทรลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๒๕๔/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒
๙.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไทยทวีทรัพย์ ๑ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑๐๔/๒๕๔๑
ตั้งแต่วันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๒
๑๐.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทหารไทย World Equity Index ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๓/๒๕๕๑ ตั้งแต่วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๒
๑๑.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทหารไทย Emerging Markets Equity Index ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๔/๒๕๕๑
ตั้งแต่วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๒
๑๒.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทหารไทย โกลด์ ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๕/๒๕๕๑
ตั้งแต่วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๒
๑๓.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท เอเชี่ยน ออโตพาร์ท จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๕๒/๒๕๓๔ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๒
๑๔.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บีเอ็มที แปซิฟิค ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๔๘/๒๕๓๓
ตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒
๑๕.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท มอนซานโต้ ไทยแลนด์ จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๕๑๓/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒
๑๖.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เกษียณสุข ๑ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒๐/๒๕๔๒ ตั้งแต่วันที่
๗ ตุลาคม ๒๕๕๒
๑๗.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทร่วมทุน (กองทุน
๒) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒/๒๕๔๘ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
๑๘.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรุงเทพ ๔ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๕๖/๒๕๔๑
ตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
๑๙.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไวเอท (ประเทศไทย) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒๘๓/๒๕๓๓
ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ปริยานุช/จัดทำ
๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๓
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๙ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๒๑/๒ เมษายน ๒๕๕๓ |
630041 | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อข. 1/2553 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
| ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ อข. ๑/๒๕๕๓
เรื่อง
การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ[๑]
โดยที่มาตรา
๘ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
กำหนดให้นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกาศการรับจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงประกาศรายชื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้รับจดทะเบียนไว้
ดังต่อไปนี้
๑.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทิสโก้ร่วมทุน ตราสารหนี้ระยะสั้น ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๑/๒๕๕๒ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๒
๒.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัทเคซีอี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒/๒๕๕๒
ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๒
๓.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อยุธยามาสเตอร์ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๓/๒๕๕๒
ตั้งแต่วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๒
๔.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๔/๒๕๕๒ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
๕.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงาน บลจ.ทิสโก้ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๕/๒๕๕๒
ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๒
๖.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ TMBAM M Choice ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๖/๒๕๕๒ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒
๗.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนตราสารหนี้ ไดกิ้น อินดัสทรีส์ (ประเทศไทย)
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๗/๒๕๕๒ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒
๘.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท โอกิ ดาต้า แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๘/๒๕๕๒ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒
๙.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท ฤทธา จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๙/๒๕๕๒
ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๒
๑๐.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ วอลโว่ คาร์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑๐/๒๕๕๒
ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๒
๑๑.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เอไอเอ - อเบอร์ดีน เอเชีย แปซิฟิค เอคควิตี้
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑๑/๒๕๕๒ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ปริยานุช/จัดทำ
๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๓
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๙ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑๙/๒ เมษายน ๒๕๕๓ |
602940 | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อข. 2/2552 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
| ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ อข. ๒/๒๕๕๒
เรื่อง
การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ[๑]
โดยที่มาตรา
๒๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
กำหนดให้นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ ดังต่อไปนี้
๑.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงาน เชริง (กรุงเทพฯ) และเชริง เคมีภัณฑ์
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒๐๐/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๑
๒.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๑๕/๒๕๓๔ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๑
๓.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท โอลิค (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๗๔/๒๕๓๖ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๑
๔.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เบ็นไลน์ ไทยแลนด์ กรุ๊ป ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๓๐/๒๕๓๕
ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๑
๕.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ วงศ์ไพฑูรย์กรุ๊ป ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๔๑/๒๕๓๖ ตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน ๒๕๕๑
๖.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บีพีอี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๓๔/๒๕๓๘
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๑
๗.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กลุ่มแบริ่งส์ มินิแบ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๗๖/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑
๘.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๙๙/๒๕๔๐ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑
๙.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท ไทยโฮยาเลนซ์ จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๔๔๗/๒๕๓๓
ตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๑
๑๐.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมอร์ริล ลินซ์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๓๐/๒๕๔๒ ตั้งแต่วันที่
๓๐ กันยายน ๒๕๕๑
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ปริยานุช/จัดทำ
๒๗ เมษายน ๒๕๕๒
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๙ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๐ ง/หน้า ๔๘/๗ เมษายน ๒๕๕๒ |
602938 | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อข. 1/2552 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
| ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ อข. ๑/๒๕๕๒
เรื่อง
การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ[๑]
โดยที่มาตรา
๘ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
กำหนดให้นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกาศการรับจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงประกาศรายชื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้รับจดทะเบียนไว้
ดังต่อไปนี้
๑.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เอชเอสบีซีทวีทรัพย์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑/๒๕๕๑
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๑
๒.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไทยพาณิชย์ทุนก้าวหน้า ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๒/๒๕๕๑ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๑
๓.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทหารไทย World Equity Index ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๓/๒๕๕๑ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๑
๔.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทหารไทย Emerging Markets Equity Index ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๔/๒๕๕๑
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๑
๕.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทหารไทย โกลด์ ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๕/๒๕๕๑
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๑
๖.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กลุ่มไทยแอร์เอเชีย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๖/๒๕๕๑ ตั้งแต่วันที่
๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
๗.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท หลักทรัพย์ บีฟิท จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๗/๒๕๕๑ ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
๘.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บัวหลวงทรัพย์มั่งคั่ง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๘/๒๕๕๑ ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๑
๙.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท จีอี แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน)
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๙/๒๕๕๑ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๑
๑๐.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท โฮมโปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๑๐/๒๕๕๑ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑
๑๑.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กลุ่มซีพี ออลล์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑๑/๒๕๕๑ ตั้งแต่วันที่
๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑
๑๒.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฟินันซ่า ไลฟ์ ไซเคิล ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑๒/๒๕๕๑
ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๑
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ปริยานุช/จัดทำ
๒๗ เมษายน ๒๕๕๒
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๙ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๐ ง/หน้า ๔๖/๗ เมษายน ๒๕๕๒ |
598463 | ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ 4/2551 เรื่อง การกำหนดประเภทรายได้หรือค่าใช้จ่ายของกองทุนหลายนายจ้างเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
| ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ที่ ๔/๒๕๕๑
เรื่อง
การกำหนดประเภทรายได้หรือค่าใช้จ่าย
ของกองทุนหลายนายจ้างเพิ่มเติม
(ฉบับที่ ๒)[๑]
อาศัยอำนาจตามความมาตรา
๑๗ (๑) (จ) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งตามมาตรา
๒๙ ประกอบมาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกข้อกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑/๑
แห่งประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ ๒/๒๕๕๑ เรื่อง
การกำหนดประเภทรายได้และค่าใช้จ่ายของกองทุนหลายนายจ้างเพิ่มเติม ลงวันที่ ๔
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๑/๑ ให้รายได้หรือค่าใช้จ่ายใด
ๆ
ที่มีความเกี่ยวข้องหรือที่สามารถระบุได้ว่าเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในบัญชีของลูกจ้างที่มีนายจ้างรายเดียวกันรายใด
เช่น ค่าธรรมเนียมในการจัดทำทะเบียนสมาชิกกองทุนที่คิดเหมาจ่ายตามรายนายจ้าง
ค่าบำเหน็จกรรมการที่มีการจ่ายตามข้อบังคับของกองทุนตามรายนายจ้าง เป็นต้น
เป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายของกองทุนที่ผู้จัดการกองทุนต้องนำมาคำนวณเพื่อบันทึกเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายในบัญชีของลูกจ้างทุกรายที่มีนายจ้างรายเดียวกันนั้น
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม
พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
วัชศักดิ์/จัดทำ
๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๙ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๒ ง/หน้า ๖๘/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
575193 | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อข. 2/2551 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
| ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์
ที่ อข. ๒/๒๕๔๙
เรื่อง
การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ[๑]
โดยที่มาตรา
๘ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
กำหนดให้นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกาศการรับจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงประกาศรายชื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้รับจดทะเบียนไว้
ดังต่อไปนี้
๑.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หุ้นมั่งคั่ง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑/๒๕๔๘
ตั้งแต่วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
๒.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทร่วมทุน (PTT GROUP) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒/๒๕๔๘ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๘
๓.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันภัยไทยวิวัฒน์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๓/๒๕๔๘
ตั้งแต่วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๘
๔.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๔/๒๕๔๘ ตั้งแต่วันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๔๘
๕.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานธนาคารออมสิน ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๕/๒๕๔๘
ตั้งแต่วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๘
๖.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัทโตโยต้า ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๖/๒๕๔๘
ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
๗.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ยูโอบี ทรัพย์มั่นคง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๗/๒๕๔๘
ตั้งแต่วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ฐิติพงษ์/จัดทำ
๑ มิถุนายน ๒๕๔๙
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๘ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๔๓/๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๙ |
575187 | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อข. 1/2551 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
| ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ อข. ๑/๒๕๕๑
เรื่อง
การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ[๑]
โดยที่มาตรา
๘ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ กำหนดให้นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกาศการรับจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงประกาศรายชื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ที่ได้รับจดทะเบียนไว้ ดังต่อไปนี้
๑.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงาน ปตท.สผ.๒ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม ๒๕๕๐
๒.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๒/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๐
๓.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัท เอสซี แอสเสท ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๓/๒๕๕๐
ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
๔.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท โตชิบาคอนซูมเมอร์โปรดัคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๔/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๐
๕.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บีทีเอส ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๕/๒๕๕๐
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๐
๖.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทหารไทยธนบดี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๖/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่
๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๐
๗.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ JUMBO 25 ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๗/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่
๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๐
๘.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฮัพซูน โกลบอลกรุ๊ป ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๘/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่
๑ สิงหาคม ๒๕๕๐
๙.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย (กองทุนที่ ๑)
ซึ่งจดทะเบียนแล้วทะเบียนเลขที่ ๙/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐
๑๐.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย (กองทุนที่ ๓) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๑๐/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
วัชศักดิ์/จัดทำ
๑ เมษายน ๒๕๕๑
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๘ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๔๑/๒๗ มีนาคม ๒๕๕๑ |
575183 | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับระบบงานการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
| ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ว่าด้วยแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับระบบงานการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุน
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
ตามที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยกำหนดให้สมาชิกสามารถโอนย้ายทรัพย์สินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้
และกำหนดให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีหลายนโยบายการลงทุนเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการลงทุนของลูกจ้างแต่ละราย
โดยมีบทบัญญัติรองรับเกี่ยวกับการแบ่งแยกรายได้และค่าใช้จ่ายตามรายนโยบายการลงทุน
ตลอดจนการกำหนดให้ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพเนื่องจากออกจากงานหรือเกษียณอายุมีสิทธิคงเงินหรือขอรับเงินจากกองทุนเป็นงวดได้
ตามลำดับ ด้วยเหตุนี้ทำให้บริษัทจัดการต้องจัดให้มีระบบงานเพื่อรองรับการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังกล่าวด้วย
เพื่อเป็นการวางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับระบบงานการประกอบธุรกิจจัดการกองทุนเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในประเด็นต่าง
ๆ ดังกล่าวข้างต้น สำนักงานจึงออกข้อกำหนดไว้ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ บริษัทจัดการอาจดำเนินการในทางปฏิบัติอื่นที่แตกต่างจากแนวทางปฏิบัติฉบับนี้ได้
หากแสดงต่อสำนักงานได้ว่า
แนวทางอื่นนั้นมีการจัดให้มีระบบงานที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพียงพอ
ตลอดจนอยู่ในมาตรฐานที่ยอมรับได้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแนวทางปฏิบัติตามข้อ ๓.๓.๙
การปฏิบัติการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของข้อ ๓.๓ ระบบปฏิบัติการด้านงานสนับสนุน
แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อข/น. ๕/๒๕๔๙
เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับระบบงานการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุน ลงวันที่ ๘
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
แนวทางปฏิบัติ
๑.
จัดให้มีระบบการปฏิบัติงานทะเบียนสมาชิกกองทุน อันได้แก่
๑.๑
ระบบการควบคุมภายในของงานด้านทะเบียนสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Fund administrator) ที่มีความเพียงพอที่จะให้มั่นใจได้ว่าการปฏิบัติงานจะเป็นไปอย่างถูกต้อง
ครบถ้วนและรัดกุม โดยควรคำนึงถึงเรื่อง ดังต่อไปนี้
๑.๑.๑
การจัดเก็บเอกสารและข้อมูล
(๑) มีระบบการจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับการรับโอนเงิน การขอคงเงินไว้ในกองทุน
และการขอรับเงินเป็นงวด วันคำนวณจำนวนหน่วย (Trade date) และการจ่ายเงินให้แก่สมาชิกที่ง่ายต่อการค้นหา
มีความปลอดภัยจากผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง มีการควบคุมการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเอกสารและอยู่ในสภาพที่ผู้ใช้งาน
และบุคคลที่เกี่ยวข้องสามารถเรียกใช้งานได้ ภายใน ๑๐ วันทำการ
(๒) จัดเก็บเอกสาร/ข้อมูลในรูปแบบอื่นเกี่ยวกับการรับโอนเงิน
การขอคงเงินไว้ในกองทุน และการขอรับเงินเป็นงวด วันคำนวณจำนวนหน่วย (Trade date) และการจ่ายเงินให้แก่สมาชิกไว้ทุกครั้ง
เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๕ ปี ทั้งนี้
ในกรณีการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบอื่นควรสามารถเรียกดูข้อมูลในการจัดเก็บนั้นได้ด้วย
(๓) มีระบบสำรองข้อมูล (Backup) และมีมาตรการรองรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินเพื่อให้สามารถให้บริการได้โดยไม่หยุดชะงักนานเกินสมควร
๑.๑.๒
การรักษาความปลอดภัยของเอกสารและข้อมูล
มีระบบในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและเอกสารที่เพียงพอ
เช่น กำหนดให้การเข้าออกพื้นที่เฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
๑.๑.๓
การดูแลสายการปฏิบัติงาน
(๑) จัดให้มีระบบการสอบยันการปฏิบัติงานระหว่างบุคลากรภายในฝ่ายงานที่เกี่ยวข้อง
(Maker & checker)
(๒) มีการกำหนดหน้าที่ที่ชัดเจนของบุคคลในการปฏิบัติงาน
(๓) มีการทำคู่มือการปฏิบัติงาน (Work procedure) ให้พนักงานใช้อ้างอิงและมีการฝึกอบรมพนักงานใหม่ให้สามารถปฏิบัติงานได้
ในกรณีมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคู่มือ ควรมีการสื่อสารการเปลี่ยนแปลงให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบอย่างทั่วถึง
พร้อมทั้งควบคุมให้มีการปฏิบัติตาม
(๔) มีการปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน เมื่อเกิดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานขึ้น
และบันทึกถึงความผิดพลาดนั้น พร้อมทั้งแนวทางป้องกัน
๑.๒
ระบบการปฏิบัติงานทะเบียนสมาชิกกองทุน ประกอบด้วยงานใน ๓ ด้าน ดังต่อไปนี้
๑.๒.๑
การนำส่งเงินและการรับโอนเงินเข้ากองทุน
(๑) มีการควบคุมการนำส่งเงินเข้ากองทุน
โดยที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างนำส่งเงินเข้ากองทุนภายใน
๓ วันทำการถัดจากวันที่จ่ายค่าจ้าง ดังนั้น
ภายในวันทำการถัดจากวันที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องนำส่งเงินเข้ากองทุน
บริษัทจัดการควรทราบทุกครั้งว่านายจ้างมีการนำเงินเข้ากองทุนหรือไม่
หากนายจ้างไม่ได้ส่งเงินเข้ากองทุนภายในระยะเวลาดังกล่าว
บริษัทจัดการควรติดตามให้นายจ้างนำส่งเงินเข้ากองทุนไม่ช้ากว่าวันทำการถัดไป
รวมทั้งติดตามให้นายจ้างนำเงินเข้ากองทุนตามสมควร
พร้อมทั้งบันทึกการติดตามที่สามารถอ้างอิงตัวบุคคลที่ติดต่อไว้เป็นหลักฐานด้วย
สำหรับเงินที่นายจ้างจะต้องนำส่งเข้ากองทุนประกอบด้วย
(๑.๑) เงินสะสมและสมทบเข้ากองทุน
(๑.๒) เงินเพิ่มของนายจ้างกรณีที่นายจ้างส่งเงินเข้ากองทุนล่าช้า
(๒) การตรวจสอบความถูกต้องของจำนวนเงินนำส่งและเงินที่รับโอน
(ก) ภายในวันทำการถัดจาก Trade date บริษัทจัดการควรทราบและสามารถตรวจสอบความถูกต้องของการบวกจำนวนเงินที่นำส่งรายสมาชิกเพื่อให้ได้ยอดรวมของจำนวนเงินนำส่งเข้ากองทุน
รวมทั้งแยกแยะได้ว่าเงินนำส่งเป็นของสมาชิกรายใด : รายปัจจุบัน
รายใหม่รวมทั้งสมาชิกที่ไม่ได้นำส่งเงินเข้ากองทุน
ในกรณีกองทุนหลายนโยบาย
บริษัทจัดการควรตรวจสอบความถูกต้องของการบวกจำนวนเงินที่นำส่งรายสมาชิกแยกรายนโยบายด้วย
ในกรณีการรับโอนเงิน
บริษัทจัดการควรตรวจสอบความถูกต้องของจำนวนเงินที่รับโอนว่าเป็นการโอนมาทั้งจำนวนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนายจ้างรายเดิมหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
แล้วแต่กรณี
(ข) กรณีที่มีการตรวจพบความผิดปกติของเงินนำส่ง
บริษัทจัดการควรสอบถามนายจ้างทันทีเพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจน
และติดตามจนกว่านายจ้างจะดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง นอกจากนี้
หากเป็นกรณีที่นายจ้างไม่นำส่งเงินของสมาชิกรายใดเนื่องจากสมาชิกสิ้นสมาชิกภาพ บริษัทจัดการควรแจ้งและติดตามนายจ้างจนกว่านายจ้างจะได้แจ้งรายละเอียดการสิ้นสมาชิกภาพของสมาชิกดังกล่าว
เพื่อให้บริษัทจัดการสามารถจ่ายเงินให้สมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพได้ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดต่อไป
และบันทึกการดำเนินการไว้เป็นหลักฐานด้วย
ในกรณีการรับโอนเงิน
หากตรวจพบความผิดปกติ
บริษัทจัดการควรสอบถามคณะกรรมการกองทุนทันทีเพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจน
หากพบว่าไม่ใช่เงินที่สามารถโอนเข้ากองทุนได้
บริษัทจัดการสามารถปฏิเสธไม่รับโอนเงินดังกล่าวเข้ากองทุน
(๓) มีระบบและมาตรการควบคุมความถูกต้องของวันคำนวณจำนวนหน่วย (Trade date) ของสมาชิกแต่ละรายอย่างเพียงพอ เช่น
มีการสอบทานความถูกต้องของ trade date ของแต่ละกองทุนภายในวัน
trade date นั้น ๆ
และมีการระบุวันที่รับเอกสารประกอบการนำส่งเงินเข้ากองทุนของนายจ้าง
หรือการรับโอนเงินเข้ากองทุน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการใช้ trade date เป็นต้น
๑.๒.๒
ทะเบียนสมาชิกกองทุนและการจัดสรรเงินนำส่งและผลประโยชน์ของสมาชิกรายตัว ทั้งนี้ ในกรณีกองทุนหลายนโยบาย
บริษัทจัดการควรดำเนินการดังกล่าวแยกรายนโยบาย
(๑) ฐานข้อมูลสมาชิกรายตัวและการคำนวณเงินในกองทุน
(ก) มีการจัดทำฐานข้อมูลสมาชิกรายตัวที่ครบถ้วนถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน
ซึ่งสามารถแยกได้ถึงจำนวนเงินนำส่งของสมาชิกแต่ละรายอย่างชัดเจน
โดยอย่างน้อยควรมีข้อมูล ดังต่อไปนี้
(ก.๑) ชื่อกองทุน และชื่อนโยบาย (ถ้ามี)
(ก.๒) ชื่อนายจ้าง
(ก.๓) ชื่อหรือรหัสสมาชิก
(ก.๔) วันคำนวณจำนวนหน่วย (Trade date)
(ก.๕) จำนวนเงินนำเข้ากองทุน
(ข) สามารถคำนวณแยกเป็นยอดเงินสะสม เงินสมทบ ผลประโยชน์ของเงินสะสม
และผลประโยชน์ของเงินสมทบดังกล่าวรายสมาชิก ณ
วันที่ตกลงกันได้อย่างถูกต้องครบถ้วนภายในวันทำการถัดไปนับจากวันที่ตกลงกัน
โดยอาจมีค่าใช้จ่ายตามสมควร
(ค) สามารถจัดทำรายงานรายตัวสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ทุก Transaction พร้อมทั้งรายละเอียดการคำนวณจำนวนเงินนำส่ง การจัดสรรจำนวนหน่วย
และมูลค่าต่อหน่วย ตามที่สมาชิกร้องขอเป็นรายกรณี
ภายในวันที่มีการตกลงไว้กับสมาชิก โดยอาจมีค่าใช้จ่ายตามสมควรได้
(๒) การเพิ่มหรือลดจำนวนหน่วยให้แก่สมาชิก
(ก)
มีข้อตกลงที่ชัดเจนระหว่างบริษัทจัดการกับคณะกรรมการกองทุนเกี่ยวกับกำหนดวันคำนวณจำนวนหน่วย
(Trade date) ของแต่ละกองทุน
ซึ่งการกำหนดวัน trade date ควรคำนึงถึงการจัดสรรหน่วยสำหรับรายการเงินเข้าหรือออกจากกองทุนได้อย่างถูกต้อง
และสะท้อนถึงราคาตลาดของทรัพย์สินที่เป็นปัจจุบันมากที่สุด
แต่ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง
(ข) มีการกำหนดเวลาในการปิดรับเอกสารและแจ้งให้คณะกรรมการกองทุนทราบ
เพื่อให้สามารถตรวจสอบเอกสารที่ส่งมาครบถ้วนได้ทันใช้ในการคำนวณ ใน trade date ที่จะถึงเร็วที่สุด
(ค) มีเอกสาร/ข้อมูลที่แสดงได้ว่า
การเพิ่มหรือลดจำนวนหน่วยให้แก่สมาชิกมีความถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานประกาศกำหนด
หรือข้อตกลงใด ๆ ระหว่างบริษัทจัดการกับคณะกรรมการกองทุน
(ง) มีการสอบทานความถูกต้องของการเพิ่มหรือลดจำนวนหน่วยและกรณีพบความผิดพลาดในการเพิ่มหรือลดจำนวนหน่วย
ให้ดำเนินการแก้ไขในทันทีที่พบความผิดพลาดดังกล่าว
และบันทึกสาเหตุความผิดพลาดและการดำเนินการแก้ไขนั้นไว้ด้วย
เพื่อให้เงินในกองทุนของสมาชิกมีความถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานประกาศกำหนดหรือข้อตกลงใด
ๆ ระหว่างคณะกรรมการกองทุนกับบริษัทจัดการ
๑.๒.๓
การจ่ายเงินให้กับสมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพ
(๑) การตรวจสอบข้อมูลเพื่อการจ่ายเงิน
(ก)
มีข้อมูลประกอบการจ่ายเงินตามที่ข้อบังคับกองทุนกำหนดอย่างถูกต้องและเพียงพอ
โดยในรายการที่กำหนดให้คณะกรรมการกองทุนแจ้งการสิ้นสมาชิกภาพ ควรมีรายการอย่างน้อย
ดังต่อไปนี้
(ก.๑) ชื่อและรหัสสมาชิก
(ก.๒) วันที่เข้าทำงานกับนายจ้างปัจจุบัน/วันที่เป็นสมาชิกกองทุน
(ก.๓) วันที่ออกจากงานกับนายจ้างปัจจุบัน/วันที่สิ้นสมาชิกภาพ
(ก.๔) เหตุที่สิ้นสมาชิกภาพ
(ก.๕) อัตราจ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์
(ก.๖) เหตุผลกรณีไม่จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบ
(ก.๗) งวดสุดท้ายที่นำส่งเงิน
(ก.๘) วิธีการจ่ายเงิน ซึ่งควรเป็นไปตามข้อบังคับกองทุน
(ข)
มีการตรวจสอบลายมือชื่อกรรมการกองทุนในหนังสือแจ้งการสิ้นสมาชิกภาพจากคณะกรรมการกองทุนเทียบกับแบบลายมือชื่อที่คณะกรรมการกองทุนได้ให้ไว้กับบริษัทจัดการว่ามีอำนาจลงนามหรือไม่ทุกครั้ง
เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นกรรมการที่แจ้งสิ้นสมาชิกภาพเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
(ค) ปรับปรุงข้อบังคับให้เป็นปัจจุบัน และควรจัดเก็บข้อบังคับ
และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินให้แก่สมาชิก
(๒) การคำนวณจำนวนเงินที่จะจ่ายให้สมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพ
(ก)
ตรวจสอบข้อมูลประกอบการคำนวณจำนวนเงินที่จะจ่ายให้แก่สมาชิกให้ถูกต้องครบถ้วน
ตามหลักเกณฑ์ที่ข้อบังคับกองทุนกำหนด
หากมีข้อสงสัยในข้อมูลหรือหลักเกณฑ์ที่ข้อบังคับกองทุนกำหนดแม้เพียงประเด็นเล็กน้อย
บริษัทจัดการควรสอบถามคณะกรรมการกองทุนทันทีเพื่อให้ได้ความชัดเจน
(ข) กรณีมีการตรวจพบว่าการจ่ายเงินไม่ถูกต้อง
ให้เร่งดำเนินการแก้ไขตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานประกาศกำหนดหรือข้อตกลงใด ๆ
ระหว่างคณะกรรมการกองทุนกับบริษัทจัดการ และบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
(๓) การควบคุมให้มีการจ่ายเงินภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่สมาชิกสิ้นสมาชิกภาพ
โดยบริษัทจัดการบันทึกรายละเอียดการนำส่งเอกสารการจ่ายเงินให้คณะกรรมการกองทุนภายในวันที่มีการนำส่งเอกสารดังกล่าว
ซึ่งอย่างน้อยประกอบด้วย ชื่อและรหัสสมาชิก เลขที่เอกสารการจ่ายเงิน จำนวนเงิน
วันที่ในเอกสารการจ่ายเงิน เพื่อสามารถตรวจสอบว่าได้จ่ายเงินอย่างถูกต้องให้กับสมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพ
รวมทั้งมีหลักฐานที่สามารถยืนยันว่าบริษัทจัดการนำส่งเอกสารการจ่ายเงินให้
คณะกรรมการกองทุนแล้ว
(๔) การควบคุมการรับเงินของสมาชิกหรือผู้รับประโยชน์
(ก) มีการตรวจสอบการรับเงินของสมาชิก/ผู้รับประโยชน์
เพื่อให้แน่ใจว่าสมาชิกได้รับเงินเรียบร้อยแล้ว
กรณีบริษัทจัดการมีการจ่ายเป็นเช็คควรมีการ Reconcile บัญชีเช็คอย่างน้อยเดือนละครั้ง
และให้เสร็จสิ้นภายในเดือนถัดไป
(ข) มีทะเบียนคุมเช็คคงค้าง
เพื่อสามารถตรวจสอบความถูกต้องของเช็คที่ยังไม่ได้ขึ้นเงิน
๑.๓
นอกจากระบบการปฏิบัติงานทะเบียนสมาชิกกองทุนตามข้อ ๑.๒ บริษัทจัดการควรดำเนินการ ดังต่อไปนี้เพิ่มเติมเพื่อรองรับกรณีสมาชิกขอคงเงินไว้ในกองทุนหรือขอรับเงินเป็นงวด
๑.๓.๑
บริษัทจัดการควรคำนวณเงินที่สมาชิกมีสิทธิได้รับจากกองทุนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุน
เพื่อจะได้ทราบจำนวนส่วนได้เสียที่สมาชิกขอคงเงินหรือรับเงินเป็นงวดมีอยู่ในกองทุน
๑.๓.๒
ในกรณีสมาชิกขอรับเงินเป็นงวด
บริษัทจัดการควรมีระบบที่สามารถแยกแยะจำนวนเงินต้นและผลประโยชน์จากการนำเงินต้นไปลงทุน
๑.๓.๓
บริษัทจัดการควรจัดทำรายงานรายตัวสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการคำนวณจำนวนเงินของสมาชิกที่มีอยู่ในกองทุนได้ด้วย
๑.๓.๔
บริษัทจัดการควรตรวจสอบข้อมูลประกอบการจ่ายเงิน
ควบคุมให้มีการจ่ายเงินให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างบริษัทจัดการกับกองทุน
๑.๓.๕
บริษัทจัดการควรตรวจสอบแบบคำขอคงเงินหรือขอรับเงินเป็นงวดที่มีข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์
รวมทั้งเงื่อนไขและวิธีการจ่ายเงินจากกองทุนด้วย
๒.
จัดให้มีระบบบัญชีกองทุน อันได้แก่
๒.๑
ระบบการคำนวณมูลค่าต่อหน่วยและมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และ
๒.๒
ระบบการจัดทำบัญชีทรัพย์สินเพื่อแสดงรายการและจำนวนทรัพย์สินของกองทุน ตลอดจนการบันทึกรายการรับหรือจ่ายทรัพย์สินของกองทุน
และการจัดทำงบการเงิน
ทั้งนี้
ในกรณีกองทุนหลายนโยบาย บริษัทจัดการควรจัดให้มีระบบบัญชีกองทุนแยกรายนโยบาย
และในการจัดทำงบการเงิน ให้จัดทำงบการเงินของกองทุนโดยมีรายละเอียดแยกรายนโยบายด้วย
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๕
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๔
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
วัชศักดิ์/จัดทำ
๑ เมษายน ๒๕๕๑
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๘ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๓๔/๒๗ มีนาคม ๒๕๕๑ |
575109 | ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ 3/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการรับเงินจากกองทุนเป็นงวด
| ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ที่ ๓/๒๕๕๑
เรื่อง
หลักเกณฑ์ในการรับเงินจากกองทุนเป็นงวด[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๓/๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งตามมาตรา ๒๙ ประกอบมาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกข้อกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ผู้จัดการกองทุนจัดให้มีข้อตกลงกับกองทุนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการรับเงินจากกองทุนเป็นงวดของสมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพเนื่องจากการเกษียณอายุ
และเปิดเผยข้อตกลงดังกล่าวให้สมาชิกทราบและปิดประกาศไว้ที่ทำการของกองทุนด้วย ทั้งนี้
ข้อตกลงดังกล่าวต้องมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(๑) ระยะเวลาและจำนวนงวดในการรับเงินจากกองทุน
(๒) วิธีการคำนวณจำนวนเงินที่สมาชิกจะได้รับในแต่ละงวด และ
(๓) ให้สิทธิในการเปลี่ยนแปลงการรับเงินจากกองทุนเป็นงวดได้ตามความเหมาะสม
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๔
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การรับเงินจากกองทุนเป็นงวด โดยกำหนดให้มีรายละเอียดในข้อตกลงระหว่างผู้จัดการกองทุนกับคณะกรรมการกองทุนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่มีมาตรฐานเดียวกัน
จึงมีความจำเป็นต้องออกประกาศฉบับนี้
วัชศักดิ์/จัดทำ
๑ เมษายน ๒๕๕๑
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๘ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๗๑/๒๗ มีนาคม ๒๕๕๑ |
575105 | ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ 2/2551 เรื่อง การกำหนดประเภทรายได้หรือค่าใช้จ่ายของกองทุนหลายนายจ้างเพิ่มเติม
| ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ที่ ๒/๒๕๕๑
เรื่อง
การกำหนดประเภทรายได้หรือค่าใช้จ่าย
ของกองทุนหลายนายจ้างเพิ่มเติม[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๗ (๑) (จ) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งตามมาตรา ๒๙ ประกอบมาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกข้อกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้กับกองทุนหลายนายจ้างซึ่งมีการระบุว่าให้ตกเป็นของลูกจ้างที่มีนายจ้างรายเดียวกัน
เป็นรายได้ของกองทุนที่ผู้จัดการกองทุนต้องนำมาคำนวณเพื่อบันทึกเป็นรายได้ในบัญชีของลูกจ้างทุกรายที่มีนายจ้างรายเดียวกันนั้น
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๔
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
วัชศักดิ์/จัดทำ
๑ เมษายน ๒๕๕๑
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๘ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๗๐/๒๗ มีนาคม ๒๕๕๑ |
575103 | ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ 1/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการโอนทรัพย์สินของลูกจ้างจากกองทุนเดิมหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเข้ากองทุน
| ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ที่
๑/๒๕๕๑
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการโอนทรัพย์สินของลูกจ้างจากกองทุนเดิม
หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเข้ากองทุน[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗/๑ (๖)
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งตามมาตรา ๒๙ ประกอบมาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกข้อกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกรณีที่ลูกจ้างประสงค์จะโอนทรัพย์สินจากกองทุนเดิมหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเข้ากองทุนที่ตนเป็นสมาชิกอยู่
ให้ผู้จัดการกองทุนดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับการแสดงเจตนาของลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของกองทุนในการขอโอนทรัพย์สินเข้ากองทุน
และการโอนทรัพย์สินจากกองทุนเดิมหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปยังกองทุน และ
(๒)
ดำเนินการคำนวณจำนวนหน่วยให้แก่ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกเมื่อมีการโอนทรัพย์สินเข้ากองทุนแล้ว
ทั้งนี้
ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์
เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๕
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
ธีระชัย
ภูวนาถนรานุบาล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หมายเหตุ
:- เหตุผลของการออกประกาศฉบับนี้ คือ
เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับโอนเงินของสมาชิกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
แล้วแต่กรณี เข้าเป็นทรัพย์สินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้เข้าเป็นสมาชิกใหม่
อันทำให้การออมในระบบมีความต่อเนื่องกัน จึงมีความจำเป็นต้องออกประกาศฉบับนี้
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑
เมษายน ๒๕๕๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๖๘/๒๗ มีนาคม ๒๕๕๑ |
528779 | ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 | ประกาศกระทรวงการคลัง
ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบ
ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พ.ศ. ๒๕๓๐
และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
พ.ศ. ๒๕๓๕
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และมาตรา ๓๑๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒ (๒) ของประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๒) ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง หรือรองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ผู้อำนวยการสำนัก หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในสังกัดสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ที่ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังมอบหมายในกรณีที่ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการได้
ข้อ ๒[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ปรีดิยาธร เทวกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
วัชศักดิ์/จัดทำ
๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๘ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๔/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ |
665602 | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อข. 3/2549 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
| ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์
ที่ อข. ๓/๒๕๔๙
เรื่อง
การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ[๑]
โดยที่มาตรา
๒๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
กำหนดให้นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษาเมื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา
๒๕ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้
ดังต่อไปนี้
๑.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อีซูมิ ปิสตันแมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๓๙๙/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๘
๒.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซิกฟิล ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๙๐/๒๕๓๗
ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
๓.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บุญผ่อง กรุ๊ป ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑/๒๕๓๗
ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๘
๔.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัทไทยแลนด์สเมลติ้งแอนด์รีไฟนิ่ง จำกัด
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๘๔/๒๕๔๐ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๘
๕.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๔/๒๕๔๒ ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๘
๖.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท เท็กซ์พลา จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๑๙๕/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๘
๗.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทคอนแนลล์ บราเดอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒๓๕/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๘
๘.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล แมนูแฟคเจอริ่ง
(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๔๔๘/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑
ตุลาคม ๒๕๔๘
๙.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท คิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค ประเทศไทย จำกัด
ซึ่งจดทะเบียนแล้วทะเบียนเลขที่ ๕๓/๒๕๓๙ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
๑๐.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ธนาคารยูโอบี รัตนสิน ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๑๑๗/๒๕๔๐ ตั้งแต่วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
๑๑.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นวลิสซิ่ง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๖๑/๒๕๓๘
ตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
๑๒.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทศูนย์ประมวลผล จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๑๘/๒๕๓๔ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
๑๓.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท มัลคา-อามิท (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๔๔/๒๕๓๗ ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๘
๑๔.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไทย รีฟริเจอเรชั่น คอมโพเน้นท์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๓๖/๒๕๓๔ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
๑๕.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อพนักงานยอร์ค ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒๙/๒๕๓๖
ตั้งแต่วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๘
๑๖.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เฟดเดอรัล เอ็กซ์เพรส คอร์ปอเรชั่น ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๕๐/๒๕๔๑ ตั้งแต่วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๘
๑๗.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อพนักงานคอมพิวเทค ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๑๗/๒๕๓๘ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๘
๑๘.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานคุ้มเกล้าประกันภัย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๘๖/๒๕๔๑ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๘
๑๙.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ วอลโว่ ทรัค แอนด์ บัส (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๑๑๑/๒๕๔๑ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๘
๒๐.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท เยาวราช จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๑๑/๒๕๔๒ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๘
๒๑.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โยโกกาวา (ประเทศไทย) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
๕๕๘/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๘
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ฐิติพงษ์/จัดทำ
๒ มิถุนายน ๒๕๔๙
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๘ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๔๔/๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๙ |
665596 | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อข. 2/2549 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์
ที่ อข. ๒/๒๕๔๙
เรื่อง
การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ[๑]
โดยที่มาตรา
๘ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
กำหนดให้นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกาศการรับจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงประกาศรายชื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้รับจดทะเบียนไว้
ดังต่อไปนี้
๑.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หุ้นมั่งคั่ง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑/๒๕๔๘
ตั้งแต่วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
๒.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทร่วมทุน (PTT GROUP) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒/๒๕๔๘ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๘
๓.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันภัยไทยวิวัฒน์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๓/๒๕๔๘
ตั้งแต่วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๘
๔.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๔/๒๕๔๘ ตั้งแต่วันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๔๘
๕.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานธนาคารออมสิน ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๕/๒๕๔๘
ตั้งแต่วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๘
๖.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัทโตโยต้า ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๖/๒๕๔๘
ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
๗.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ยูโอบี ทรัพย์มั่นคง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๗/๒๕๔๘
ตั้งแต่วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ฐิติพงษ์/จัดทำ
๑ มิถุนายน ๒๕๔๙
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๘ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๔๓/๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๙ |
454778 | ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ 1/2548 เรื่อง แบบคำขอนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
| ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ที่ ๑/๒๕๔๘
เรื่อง แบบคำขอนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๓ และข้อ ๓ ตรี แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พ.ศ. ๒๕๓๐ นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกข้อกำหนดไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยื่นคำขอนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. คำขอนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรินทร์/จัดทำ
๑ มิถุนายน ๒๕๔๘
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๘ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๕ ง/หน้า ๔๔/๑๗ มกราคม ๒๕๔๘ |
429636 | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ นน. 2/2546 เรื่อง แนวทางในการรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
| ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ นน. ๒/๒๕๔๖
เรื่อง
แนวทางในการรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม
ข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ[๑]
โดยที่มาตรา ๙
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ กำหนดให้การแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับกองทุนมีผลใช้บังคับเมื่อนายทะเบียนได้รับจดทะเบียนแล้ว
ซึ่งสำนักงานได้เคยออกแนวทางในการรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ นน. ๑/๒๕๔๔ เรื่อง
แนวทางในการรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลงวันที่
๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔
แต่เนื่องจากสำนักงานได้เปลี่ยนแปลงวิธีการรับจดทะเบียนข้อบังคับกองทุนโดยจัดให้มีระบบเพื่อรองรับการจดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับกองทุนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
(Provident Fund Online Procedure : POP) พร้อมด้วยคู่มือการยื่นจดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับ สำนักงานจึงเห็นควรให้ยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ นน. ๑/๒๕๔๔ ดังกล่าว
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖
ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
มยุรี/พิมพ์
๑๕ มีนาคม ๒๕๔๗
ทรงยศ/ศุภสรณ์/ตรวจ
๕ เมษายน ๒๕๔๗
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๘ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ
๑๓๘ ง/หน้า ๒๒/๓ ธันวาคม ๒๕๔๖ |
315078 | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ นน. 1/2544 เรื่อง แนวทางในการรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์
ที่ นน. ๑/๒๕๔๔
เรื่อง แนวทางในการรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ
ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ[๑]
โดยที่มาตร ๙ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ กำหนดว่าการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของกองทุน
ให้คณะกรรมการกองทุนนำไปจดทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีมติให้แก้ไข
และยังไม่มีผลบังคับใช้จนกว่านายทะเบียนจะได้รับจดทะเบียนแล้ว
แต่เนื่องจากในปัจจุบันนี้การยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของกองทุนมีเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อให้การรับจดทะเบียนดังกล่าวเป็นไปโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นายทะเบียนจึงกำหนดแนวทางในการรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับกองทุนไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
กองทุน หมายความว่า
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พ.ศ.๒๕๓๐
นายจ้าง หมายความว่า
ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
ลูกจ้าง หมายความว่า
ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างโดยได้รับค่าจ้าง
นายทะเบียน หมายความว่า สำนักงานคณะกรรการการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒
การขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของกองทุน ให้คณะกรรมการกองทุนยื่นคำขอต่อนายทะเบียนตามแบบ
๙-๒ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓
ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนยืนคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับกองทุนในเรื่องดังต่อไปนี้
ให้ถือว่านายทะเบียนรับจดทะเบียนและให้การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมีใช้ผลบังคับในวันที่ที่กำหนดในหนังสือแจ้งการรับจะทะเบียนของนายทะเบียน
(๑) ชื่อกองทุน
หรือที่ตั้งสำนักงานกองทุน
(๒)
การเพิ่มรายชื่อของนายจ้าง
(๓) การเลิกกองทุน
ข้อ ๔
ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของกองทุนในเรื่องดังต่อไปนี้
ให้ถือว่านายทะเบียนรับจดทะเบียนและให้การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่นายทะเบียนได้รับแบบคำขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน
เว้นแต่คณะกรรมการกองทุนจะได้ระบุวันที่ให้มีผลใช้บังคับเป็นวันอื่น
แต่วันใช้บังคับดังกล่าวจะต้องไม่ก่อนวันที่นายทะเบียนได้รับแบบคำขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน
(๑)
การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของกองทุนเพื่อให้สอดคล้องกับหนังสือที่นายทะเบียนออกเพื่อซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนข้อบังคับของกองทุน
(๒)
การเพิ่มอัตราเงินสะสมของลูกจ้างหรืออัตราเงินสมทบของนายจ้างที่ต้องจ่ายเข้ากองทุน
(๓)
การลดอัตราค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายของกองทุน
(๔)
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของคณะกรรมการกองทุน หรือรายชื่อกรรมการกองทุน
(๕) การเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่สมาชิกของกองทุนในส่วนของเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบ
เช่น การได้รับเงินสมทบหรือผลประโยชน์ของเงินสมทบเพิ่มขึ้นหรือรวดเร็วขึ้น เป็นต้น
(๖) การแก้ไขชื่อของนายจ้าง
(๗)
การถอนชื่อนายจ้างในกรณีที่นายจ้างบางรายเลิกกิจการหรือถอนตัวออกจากกองทุนซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีนายจ้างมากกว่าหนึ่งราย
(pooled fund)
ข้อ ๕
ในการยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของกองทุนในเรื่องอื่นใดนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ
๓ และข้อ ๔ ให้ถือว่านายทะเบียนรับจดทะเบียนและให้การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมีผลใช้บังคับในวันถัดจากวันครบกำหนดระยะเวลาสิบวันทำการนับแต่วันที่นายทะเบียนได้รับแบบคำขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน
เว้นแต่คณะกรรมการกองทุนจะได้ระบุวันที่ให้มีผลใช้บังคับเป็นวันอื่น
แต่วันใช้บังคับดังกล่าวจะต้องไม่ก่อนวันที่นายทะเบียนได้รับแบบคำขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน
ข้อ ๖
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ เป็นตันไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔
ประสาร
โตรรัตน์วรกุล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ภคินี/แก้ไข
๒๙/๔/๒๕๔๕
อัมภิญา/แก้ไข
๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ
๑๑ ง/หน้า ๒๙/๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ |
665600 | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 2/2544 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์
ที่ อน. ๒/๒๕๔๔
เรื่อง
การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ[๑]
โดยที่มาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.
๒๕๓๐
กำหนดให้นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้
ดังต่อไปนี้
๑. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หวั่งหลี - ชัยทิพย์
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่๙๔/๒๕๔๑ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๓
๒. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท ชลประทานซีเมนต์ จำกัด
(มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑๒๘/๒๕๔๑ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๓
๓. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานกลุ่มบริษัท
ในเครือสยามร่วมมิตร จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑๒๔/๒๕๔๑ ตั้งแต่วันที่
๑ ตุลาคม ๒๕๔๓
๔. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท บี. เอ็ล. ฮั้ว
จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๔๒๖/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๓
๕. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฮุนได เอ็นจิเนียริ่ง
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๙๓/๒๕๓๗ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๓
๖. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท ไซอานามิด ประเทศไทย จำกัด
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๕/๒๕๔๑ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
๗. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนออมทรัพย์ ๑
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๔/๒๕๓๗ ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
๘. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานกลุ่มบริษัท ไอซีไอ
(ประเทศไทย) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๔๒๒/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคม
๒๕๔๓
๙. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท อเล็กซานเดอร์ ฟอร์บส วัฒนา
จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑๒๑/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
๑๐. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท สยามวานิชธุรกิจ จำกัด
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๘๐/๒๕๓๙ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
๑๑. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท ไทย ฟูรูคาวา
ยูนิคอม เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑๖๐/๒๕๔๐ ตั้งแต่วันที่
๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
๑๒. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กลุ่ม เอ อี ซี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๔๐/๒๕๓๗ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
ประกาศ ณ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔
ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ละออง/พิมพ์
๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๔
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๘ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๒๔ ง/หน้า ๑๐/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๔ |
665594 | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 1/2544 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์
ที่ อน. ๑/๒๕๔๔
เรื่อง
การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ[๑]
โดยที่มาตรา ๘ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
กำหนดให้นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกาศการรับจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงประกาศรายชื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้รับจดทะเบียนไว้
ดังต่อไปนี้
๑. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เกษียณมั่งคั่ง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่ ๗/๒๕๔๓ ตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
๒. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เกษียณมั่นคง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
ทะเบียนเลขที่๘/๒๕๔๓ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๓
ประกาศ ณ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔
ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ละออง/พิมพ์
๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๔
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๕ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๒๔ ง/หน้า ๙/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๔ |
665598 | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 25/2543 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์
ที่ อน. ๒๕/๒๕๔๓
เรื่อง
การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ[๑]
โดยที่มาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.
๒๕๓๐
กำหนดให้นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษาเมื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา
๒๕ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้
ดังต่อไปนี้
๑. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงาน พี เอ อี
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๕๖/๒๕๓๘ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๔๓
๒. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เฮอร์มาลิค กรุ๊ป
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒๙/๒๕๓๗ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๓
๓. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท โคราช ไซซัน จำกัด
ซึ่งจดทะเบียนแล้วทะเบียนเลขที่ ๘๓/๒๕๓๘ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๓
๔. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท อินดัสเตรียล มาร์เก็ตติ้ง
จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๓๑๖/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๓
๕. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทในกลุ่ม เอ็ม อี ซี
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๕๓/๒๕๓๔ ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๓
๖. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัทแท็ค กรุ๊ป
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๘๙/๒๕๔๐ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๓
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓
ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๕ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๒๙ ง/หน้า ๑๖/๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๓ |
567587 | ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ 2/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
| ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ที่ ๒/๒๕๔๓
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ออกข้อกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ในประกาศนี้
ผู้จัดการกองทุน หมายความว่า
ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้จัดการกองทุนอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ มีผลใช้บังคับ
กองทุน หมายความว่า
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ มีผลใช้บังคับ
ลูกจ้าง หมายความว่า
ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างโดยได้รับค่าจ้าง
นายจ้าง หมายความว่า
ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
บริษัท หมายความว่า บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด
และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ
บุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
หมายความว่า บุคคลผู้รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตั้งแต่ตำแหน่งผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลขึ้นไปจนถึงตำแหน่งผู้จัดการ
ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล หมายความว่า
กรรมการหรือพนักงานของผู้จัดการกองทุนที่ได้รับมอบหมายจากผู้จัดการกองทุนนั้นให้มีอำนาจตัดสินใจลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ลูกค้า
บริษัทในเครือ หมายความว่า
บริษัทที่ถือหุ้นของผู้จัดการกองทุนหรือของนายจ้างตั้งแต่ร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของผู้จัดการกองทุนหรือของนายจ้าง
และบริษัทที่ผู้จัดการกองทุนหรือนายจ้างถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
แล้วแต่กรณี
หน่วยลงทุน หมายความว่า
ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สินของกองทุนรวมซึ่งอาจแบ่งเป็นหลายชนิด
โดยกำหนดสิทธิหรือประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนแต่ละชนิดเท่าเทียมกัน
กองทุนรวม หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและกองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน
ตัวแทนสนับสนุน หมายความว่า
ตัวแทนเพื่อทำหน้าที่สนับสุนนการจำหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนปิด
ตัวแทนเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนเปิด
หรือตัวแทนเพื่อทำหน้าที่รับคำสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนปิด แล้วแต่กรณี
ธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน หมายความว่า
การขายหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้โดยมีสัญญาที่จะซื้อคืนหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้นั้นตามวันที่กำหนดไว้ในสัญญา
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
นายทะเบียน หมายความว่า
นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ข้อ
๒
นับตั้งแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับจนถึงวันที่ครบกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ ใช้บังคับ ให้ผู้จัดการกองทุนจัดการกองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศนี้
ข้อ
๓ ในการจัดการกองทุน
ห้ามมิให้ผู้จัดการกองทุนลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ดังต่อไปนี้
เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน เว้นแต่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อ
๔
(๑)
หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของบริษัทที่บุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของผู้จัดการกองทุนเป็นกรรมการหรือถือหุ้นเกินร้อยละห้าของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
หรือที่บุคคลดังกล่าวถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
การถือหุ้นของบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงการถือหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าวด้วย
(๒)
หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนอกเหนือจากหุ้น หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ที่ผู้จัดการกองทุนเป็นผู้ออก ผู้รับรอง
ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ำประกัน
(๓)
หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่บริษัทในเครือของผู้จัดการกองทุนเป็นผู้ออก ผู้รับรอง
ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ำประกัน
(๔)
หน่วยลงทุนหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ผู้จัดการกองทุนเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการลงทุน
(๕)
หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของบริษัทเฉพาะในส่วนที่ผู้จัดการกองทุนทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
ผู้จัดเตรียมคำเสนอซื้อ ที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นของกิจการที่ถูกเสนอซื้อ
ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์ หรือตัวแทนสนับสนุน
(๖)
หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่นายจ้างหรือบริษัทในเครือของนายจ้างเป็นผู้ออกผู้รับรอง
ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ำประกัน
(๗)
หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้มาหรือจำหน่ายไประหว่างกองทุนที่ผู้จัดการกองทุนเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการลงทุนกับบัญชีลงทุนของผู้จัดการกองทุนหรือกับกองทุนรวมหรือกับกองทุนส่วนบุคคลที่ผู้จัดการกองทุนเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการลงทุน
ข้อ
๔
ผู้จัดการกองทุนจะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินตามข้อ ๓
ได้ต่อเมื่อปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะกรรมการกองทุนให้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในแต่ละข้อของข้อ
๓ โดยได้อธิบายให้คณะกรรมการกองทุนเข้าใจถึงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ด้วยแล้ว
การได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการกองทุนตามวรรคหนึ่ง
อาจกำหนดไว้ในสัญญาหรือได้รับความยินยอมก่อนการลงทุนดังกล่าวก็ได้
(๒)
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ผู้จัดการกองทุนเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการลงทุนมีมูลค่ารวมกันไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินกองทุน
(๓)
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่นายจ้างหรือบริษัทในเครือของนายจ้างเป็นผู้ออก
ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ำประกัน
มีมูลค่ารวมกันไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินกองทุน โดยคำนวณตามความรับผิดหรือภาระผูกพันของนายจ้างหรือบริษัทในเครือของนายจ้าง
ทั้งนี้ มิให้นับตั๋วเงินคลัง
พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตร
หรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก
ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน
และพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัล
หรือผู้ค้ำประกันรวมในอัตราส่วนดังกล่าว
การคำนวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง
ให้นับรวมการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมด
ไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของนายจ้าง
(๔)
เว้นแต่คณะกรรมการกองทุนจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ให้ผู้จัดการกองทุนรายงานการลงทุนตามข้อ ๓
ให้คณะกรรมการกองทุนทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวต้องระบุวันที่ลงทุน
ชื่อหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ลงทุน จำนวนราคาต่อหน่วย
มูลค่าหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ลงทุนและอัตราส่วนการลงทุนโดยเทียบกับเงินกองทุน
รวมทั้งระบุว่าเป็นการลงทุนตามข้อใดของข้อ ๓
ข้อ
๕ ในการจัดการกองทุน
ห้ามมิให้ผู้จัดการกองทุนกระทำการ ดังต่อไปนี้
(๑)
กู้ยืมเงินในนามของกองทุน
(๒)
ให้สินเชื่อหรือให้กู้ยืมเงินแก่กองทุน ทั้งนี้
รวมถึงการที่ผู้จัดการกองทุนจัดให้บริษัทในเครือของผู้จัดการกองทุนกระทำการดังกล่าวด้วย
(๓)
ทำธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนเพื่อกองทุน
ข้อ
๖ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณอัตราส่วนการลงทุนตามข้อ
๔ ให้ผู้จัดการกองทุนตีราคาหลักทรัพย์และทรัพย์สินตามราคาทุน
โดยให้รวมค่านายหน้าที่จ่ายไปเพื่อให้ได้หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมา (ถ้ามี)
ข้อ
๗
ให้ผู้จัดการกองทุนจัดทำและจัดส่งรายงานการดำรงอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนตามที่กำหนดในข้อ
๓ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘)
ออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว และตามที่กำหนดในข้อ ๔ แห่งประกาศนี้
ตามแบบรายงานที่ ๙ - ๑ ลับ ท้ายประกาศนี้
ข้อ
๘
ในกรณีที่ผู้จัดการกองทุนลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามข้อ
๓ อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ผู้จัดการกองทุนจะคงมีไว้ซึ่งการลงทุนดังกล่าวต่อไปได้โดยผู้จัดการกองทุนต้องปฏิบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำรายงานเกี่ยวกับการลงทุนดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร
และส่งให้คณะกรรมการกองทุนภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ทั้งนี้
รายงานดังกล่าวต้องมีรายการตามข้อ ๔ (๔)
(๒)
ขอความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะกรรมการกองทุนให้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในแต่ละข้อของข้อ
๓
ในกรณีที่ผู้จัดการกองทุนไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนให้ผู้จัดการกองทุนจำหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามข้อ
๓ ทั้งนี้ ภายในระยะเวลาและตามวิธีการตามที่คณะกรรมการกองทุนกำหนด
ข้อ
๙
ให้ผู้จัดการกองทุนจัดทำรายงานการปฏิบัติตามข้อ ๘ ตามแบบรายงานที่ ๑๐ ลับ
ท้ายประกาศนี้
และส่งให้นายทะเบียนทราบภายในหกสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
เว้นแต่มีเหตุจำเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากนายทะเบียน
ข้อ
๑๐[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
ประสาร
ไตรรัตน์วรกุล
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายงานการดำรงอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(แบบรายงานที่ 9 - 1 ลับ)
๒. รายงานความเห็นชอบคณะกรรมการกองทุนให้มีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์และก่อภาระผูกพันใด
ๆ แก่ทรัพย์สินของกองทุน
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
สุกัญญา/พิมพ์
๒๒ กันยายน ๒๕๔๙
สุนันทา/ตรวจ
๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๕ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๘๕ ง/หน้า ๔๑/๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๓ |
567585 | ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ 1/2543 เรื่อง แบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
| ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ที่ ๑/๒๕๔๓
เรื่อง
แบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกข้อกำหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒
รูปถ่ายที่ติดบัตรประจำตัวให้เป็นรูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง
ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ ขนาด ๒.๕ Í ๓ เซนติเมตร
ข้อ ๓[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๓
ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
นายทะเบียน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ท้ายประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
สุกัญญา/พิมพ์
๒๑ กันยายน ๒๕๔๙
สุนันทา/ตรวจ
๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๕ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๕๙ ง/หน้า ๓๗/๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๓ |
567581 | ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
| ประกาศกระทรวงการคลัง
ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง
แต่งตั้งนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พ.ศ. ๒๕๓๐[๑]
เพื่อให้การดำเนินการของนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นไปด้วยความต่อเนื่องเหมาะสม
และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้
๑.
ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง
แต่งตั้งนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ลงวันที่ ๒๒
มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๑
๒.
แต่งตั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
๓.
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๓ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
ธารินทร์ นิมมานเหมินท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๕ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๒๙ ง/หน้า ๙/๒๙ มีนาคม ๒๕๔๓ |
573433 | ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบ ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
| ประกาศกระทรวงการคลัง
ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง
แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบ
ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พ.ศ. ๒๕๓๐
และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และมาตรา ๓๑๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง
แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
ลงวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๓๑
(๒) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง
แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.
๒๕๓๕ ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๓
ข้อ ๒
ให้แต่งตั้งบุคคลต่อไปนี้เป็นคณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามที่ระบุในมาตรา
๔๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และความผิดตามที่ระบุในมาตรา
๓๑๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕
(๑) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
หรือรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมอบหมาย
ในกรณีที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการได้
(๒) ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
หรือรองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
หรือผู้อำนวยการกองในสังกัดสำนักงานเศรษฐกิจการคลังที่ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังมอบหมายในกรณีที่ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการได้
(๓)
ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมาย
หรือผู้อำนวยการฝ่ายที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมายในกรณีที่ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการได้
ข้อ ๓[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
ธารินทร์ นิมมานเหมินท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ปรียนันท์/พิมพ์
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๕ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๗๑ ง/หน้า ๒/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๓ |
302192 | ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดสินทรัพย์อื่นเป็นสินทรัพย์ที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพอาจลงทุนหรือมีไว้ได้ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง กำหนดสินทรัพย์อื่นเป็นสินทรัพย์ที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
อาจลงทุนหรือมีไว้ได้
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๓ (๒) (ฑ) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกประกาศกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด
เป็นผู้ออกเป็นสินทรัพย์ที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสินทรัพย์ดังกล่าวได้
ข้อ ๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๐
อำนวย วีรวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
สุกัญญา/พิมพ์
๒๒ กันยายน ๒๕๔๙
สุนันทา/ตรวจ
๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๔ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๑๖ ง/หน้า ๓๓/๒๕
กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ |
567577 | ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
| ประกาศกระทรวงการคลัง
ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.
๒๕๓๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศแต่งตั้งให้
๑.
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
๒.
รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
๓.
ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป
สังกัดกองนโยบายการเงินและสถาบันการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พ.ศ. ๒๕๓๐
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๑
สุธี สิงห์เสน่ห์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
สุกัญญา/พิมพ์
๒๑ กันยายน ๒๕๔๙
สุนันทา/ตรวจ
๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒๔ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๑๗/หน้า ๕๙๕/๒๘
มกราคม ๒๕๓๑ |
302193 | ระเบียบสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2538 | ระเบียบสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ระเบียบสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักงานเศรษฐกิจการคลังว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน
พ.ศ. ๒๕๓๒ ในส่วนที่เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๖ มาตรา ๘
และมาตรา ๙ ประกอบกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๓๒ ข้อ ๙ จึงวางระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘
ข้อ ๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกความใน หมวด ๑ แห่งระเบียบสำนักงานเศรษฐกิจการคลังว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน
พ.ศ. ๒๕๓๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
หมวด ๑
การกำหนดขั้นตอนและระยะเวลา
การขอจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ข้อ ๔
ตามมาตรา ๖ และมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ กำหนดให้ลูกจ้างและนายจ้างที่ตกลงกันจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว
ต้องมีข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
และยื่นคำขอจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อนายทะเบียน (ซึ่งได้แก่ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง)
ซึ่งขั้นตอนการปฏิบัติงานหลักจากได้รับคำขอจดทะเบียนกองทุนจะเป็นดังนี้
(๑)
ตรวจสอบความครบถ้วนและถูกต้องของคำขอจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ซึ่งมีรายการและเอกสารหลักฐานตามที่ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมาย
(๒
วันทำการ)
(๒)
พิจารณาตรวจสอบความครบถ้วนและถูกต้องขอข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (๓ วันทำการ)
(๓) ทำบันทึกผ่านผู้บังคับบัญชา
ไปตามลำดับชั้นจนถึงนายทะเบียนเพื่อให้นายทะเบียนรับจดทะเบียน (๘ วันทำการ)
(๔) ทำหนังสือแจ้งการรับจดทะเบียนไปยังคณะกรรมการกองทุนผู้ขอจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (๗ วันทำการ)
ขั้นตอนตั้งแต่ (๑) - (๔) ใช้ระยะเวลาประมาณ ๒๐ วันทำการ ซึ่งระยะเวลาดำเนินการตามที่กำหนดนี้
เป็นการดำเนินการต่อ ๑ เรื่อง และไม่มีข้อขัดข้องใด ๆ ทั้งสิ้น
ข้อ ๔
ให้ยกเลิกความในหมวด ๒ แห่งระเบียบสำนักงานเศรษฐกิจการคลังว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน
พ.ศ. ๒๕๓๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
หมวด ๒
การกำหนดขั้นตอนและระยะเวลา
การขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ข้อ ๕
ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ กำหนดให้การแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของกองทุนให้คณะกรรมการกองทุนนำไปจดทะเบียนภายใน
๑๕ วัน นับแต่วันที่มีมติให้แก้ไข
และยังไม่มีผลใช้บังคับจนกว่านายทะเบียนจะได้รับจดทะเบียนแล้ว
ซึ่งขั้นตอนการปฏิบัติงานหลังได้รับคำขอจดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับจะเป็นดังนี้
(๑)
ตรวจสอบความครบถ้วนและถูกต้องของรายการในข้อบังคับของกองทุนที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมซึ่งจะต้องไม่ข้ดต่อพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓
วันทำการ)
(๒) ทำบันทึกผ่านผู้บังคับบัญชา
ไปตามลำดับชั้นจนถึงนายทะเบียนเพื่อให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนการแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับ
(๘
วันทำการ)
(๓)
ทำหนังสือแจ้งการรับจดทะเบียนการแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับไปยังคณะกรรมการกองทุน (๗ วันทำการ)
ขั้นตอนตั้งแต่ (๑) - (๓) ใช้ระยะเวลาประมาณ ๑๘
วันทำการซึ่งระยะเวลาดำเนินกามตามที่กำหนดนี้ เป็นการดำเนินการต่อ ๑ เรื่อง
และไม่มีข้อขัดข้องใด ๆ ทั้งสิ้น
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๘
สุทธิพันธุ์ นิมมานเหมินท์
รองผู้อำนวยการ รักษาราชการแทน
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๓๐ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๕๘ ง/หน้า ๓๕/๒๐ กรกฎาคม ๒๕๓๘ |
449709 | พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๔๗
เป็นปีที่ ๕๙
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา
๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ในพระราชบัญญัตินี้
กองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า
กองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
หมู่บ้าน หมายความว่า
หมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
ชุมชนเมือง หมายความว่า ชุมชนในเขตเทศบาล
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา หรือเขตพื้นที่อื่น ทั้งนี้ โดยมีขอบเขตตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านหรือคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
กรรมการกองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านหรือกรรมการในคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง
แล้วแต่กรณี
สมาชิก หมายความว่า
สมาชิกของกองทุนหมู่บ้านหรือสมาชิกของกองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
กรรมการ หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ผู้อำนวยการ หมายความว่า
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔
ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกประกาศและระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
ประกาศและระเบียบนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
กองทุนหมู่บ้าน
มาตรา ๕
ในแต่ละหมู่บ้านหรือชุมชนเมืองให้จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านขึ้นกองทุนหนึ่ง
เรียกชื่อว่า กองทุนหมู่บ้าน หรือ กองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
โดยให้คณะผู้จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านยื่นขอจัดตั้งและจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้านต่อนายทะเบียนกองทุนหมู่บ้านตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
กองทุนหมู่บ้านที่จดทะเบียนตามวรรคหนึ่งให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล
และมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้
เพิ่มรายได้ และลดรายจ่าย หรือสำหรับการส่งเสริมและพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพ
สวัสดิการ หรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นใดให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง
(๒)
เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเร่งด่วนสำหรับประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง
(๓)
รับฝากเงินจากสมาชิกและจัดหาทุนจากแหล่งเงินทุนอื่น เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์
(๔)
ให้กู้ยืมเงินแก่กองทุนหมู่บ้านอื่น
เพื่อประโยชน์ในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจของหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง
(๕)
กระทำการใด ๆ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ คุณภาพชีวิต สวัสดิภาพ
และสวัสดิการของสมาชิกหรือประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง
รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของกองทุนหมู่บ้านตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
ในกรณีที่มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับใด
กำหนดให้กิจการกองทุนหมู่บ้านต้องดำเนินการหรือต้องเสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียม
อันเป็นภาระที่ไม่เหมาะสมหรือเกินสมควร คณะกรรมการอาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
เพื่อพิจารณาดำเนินการให้มีการลดภาระดังกล่าวแก่กิจการของกองทุนหมู่บ้านได้ตามที่เห็นสมควร
มาตรา ๖
ทุนและทรัพย์สินในการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้านประกอบด้วย
(๑)
เงินที่คณะกรรมการจัดสรรให้
(๒)
เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
(๓)
เงินที่สมาชิกนำมาลงหุ้นหรือฝากไว้กับกองทุนหมู่บ้านตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
(๔)
เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่กองทุนหมู่บ้านได้รับบริจาคโดยปราศจากเงื่อนไขหรือข้อผูกพันใด
ๆ
(๕)
ดอกผล รายได้ หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้าน
มาตรา ๗
สมาชิกและกรรมการกองทุนหมู่บ้านต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
การคัดเลือกกรรมการกองทุนหมู่บ้านตามวรรคหนึ่ง
ให้คำนึงถึงชายและหญิงในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน
มาตรา ๘
การจัดตั้ง การจดทะเบียน
และการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้านให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๙
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
บริหารกองทุนหมู่บ้าน รวมทั้งตรวจสอบ กำกับ ดูแล และจัดสรรดอกผล
รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้าน
(๒)
ออกประกาศ ระเบียบ หรือข้อบังคับ เกี่ยวกับการบริหารกองทุนหมู่บ้าน
(๓)
จัดตั้งสำนักงานกองทุนหมู่บ้าน หรือสำนักงานกองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
(๔)
รับสมาชิกและจัดทำทะเบียนสมาชิก
(๕)
จัดหาทุนจากแหล่งเงินทุนตามประกาศที่คณะกรรมการกำหนด
(๖)
พิจารณาเงินกู้ยืมให้แก่สมาชิกหรือกองทุนหมู่บ้านอื่นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
(๗)
ทำนิติกรรม สัญญา หรือดำเนินการเกี่ยวกับภาระผูกพันของกองทุนหมู่บ้าน
(๘)
จัดทำบัญชีของกองทุนหมู่บ้านตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
(๙)
สำรวจ และจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ อุตสาหกรรมครัวเรือน
และวิสาหกิจชุมชน ในเขตพื้นที่หมู่บ้านหรือชุมชนเมือง
ตลอดจนข้อมูลและการดำเนินการเกี่ยวกับกองทุนอื่น ๆ
ที่มีอยู่แล้วในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง
(๑๐)
พิจารณาดำเนินการใด ๆ เพื่อสวัสดิภาพ สวัสดิการ
หรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นใดของสมาชิกและหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง
(๑๑)
ดำเนินการอื่นใดเพื่อให้สอดรับและเกื้อกูลกับกองทุนอื่น ๆ
ที่มีอยู่แล้วในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง
(๑๒)
ติดตามและประเมินผลการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้าน
(๑๓)
รายงานผลการดำเนินการ ปัญหาและอุปสรรค
รวมทั้งฐานะการเงินของกองทุนหมู่บ้านให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ตลอดจนรายงานเรื่องดังกล่าวให้สมาชิกทราบตามที่คณะกรรมการกำหนด
(๑๔)
ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งตามที่คณะกรรมการกำหนดหรือมอบหมาย
การดำเนินการใด
ๆ ตาม (๑๐) ให้ใช้จ่ายจากเงินรายได้ของกองทุนหมู่บ้าน
ซึ่งมิใช่เงินที่ได้รับจัดสรรจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
มาตรา ๑๐
ในกรณีที่มีการเลิกกองทุนหมู่บ้านใด ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ
และหนี้สินของกองทุนหมู่บ้านนั้น ไปเป็นของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
ในกรณีที่กองทุนหมู่บ้านใดยุบรวมกับกองทุนหมู่บ้านอื่นเพื่อจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านใหม่
หรือยุบรวมกับกองทุนหมู่บ้านอื่น ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ
และหนี้สินของกองทุนหมู่บ้านนั้น ไปเป็นของกองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งใหม่หรือกองทุนหมู่บ้านที่ไปรวม
แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
ในกรณีที่กองทุนหมู่บ้านใดแยกกองทุนหมู่บ้านบางส่วนเพื่อจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านใหม่
หรือแยกกองทุนหมู่บ้านบางส่วนเพื่อรวมกับกองทุนหมู่บ้านอื่น ให้โอนบรรดากิจการ
ทรัพย์สิน สิทธิ และหนี้สินบางส่วนของกองทุนหมู่บ้านนั้น
ไปเป็นของกองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งใหม่หรือกองทุนหมู่บ้านที่ไปรวม แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด ๒
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
มาตรา ๑๑
ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ โดยเป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อจัดสรรให้กองทุนหมู่บ้านสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ
สร้างงาน สร้างรายได้ เพิ่มรายได้ และลดรายจ่าย
หรือสำหรับการส่งเสริมและพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพ สวัสดิการ
หรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นใดให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง
(๒)
เป็นผู้จัดหาแหล่งเงินทุนและประสานงานในการกู้ยืมเงินระหว่างกองทุนหมู่บ้าน
(๓)
ส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านหรือชุมชนเมืองให้มีขีดความสามารถในการจัดระบบและบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านของตนเอง
(๔)
สนับสนุนการเสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านหรือชุมชนเมืองทั้งในด้านการเรียนรู้
การสร้างและพัฒนาความคิดริเริ่มเพื่อการแก้ไขปัญหา
และเสริมสร้างศักยภาพและส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง
(๕)
สนับสนุนการเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง
มาตรา ๑๒
ทุนและทรัพย์สินในการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติประกอบด้วย
(๑)
เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาตามมาตรา ๓๑
(๒)
เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
(๓)
เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้รับบริจาคโดยปราศจากเงื่อนไขหรือข้อผูกพันใด
ๆ
(๔)
ดอกผล
รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
มาตรา ๑๓
กิจการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
กฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน และกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม ทั้งนี้ ผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่
และลูกจ้างของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
มาตรา ๑๔
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
มาตรา ๑๕
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ให้จ่ายจากเงินของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
รายได้ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติให้เป็นของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
โดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน
เงินของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติส่วนที่ยังมิได้จัดสรรให้แก่กองทุนหมู่บ้าน
ให้นำไปหาผลประโยชน์ได้โดยการฝากกับธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจหรือธนาคารพาณิชย์
หรือซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
ทรัพย์สินอื่นของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติให้นำไปหาผลประโยชน์ซึ่งไม่มีลักษณะที่เสี่ยงต่อความเสียหายได้ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๖
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า กทบ. ประกอบด้วย
(๑)
นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ
(๒)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง
(๓)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง
(๔)
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงการคลัง
ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
อธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
(๕)
ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมาจากผู้แทนกรรมการกองทุนหมู่บ้านจำนวนสิบสี่คน
(๖)
ผู้ทรงคุณวุฒิอื่นจำนวนห้าคน
ให้ผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ
ให้ประธานกรรมการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม
(๕) และ (๖) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม
(๕) ให้คำนึงถึงชายและหญิงในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน
ประธานกรรมการอาจแต่งตั้งที่ปรึกษาคณะกรรมการได้
มาตรา ๑๗
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี
และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
ให้ประธานกรรมการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทน
โดยให้มีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่พ้นจากตำแหน่ง
เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง
หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินการต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๑๘
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๗
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
คณะกรรมการมีมติให้ออก
(๔)
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๑๙
คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดนโยบาย และแนวทางการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติและสำนักงาน
(๒)
จัดหาเงินทุนของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
และจัดสรรเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้าน
(๓)
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการรับเงิน การเก็บรักษาเงิน
และการจ่ายเงินของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
(๔)
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการนำทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติไปหาผลประโยชน์
(๕)
ออกระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการจัดตั้งและจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้าน
(๖)
ออกระเบียบเกี่ยวกับการคัดเลือก คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม
วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
รวมทั้งการบริหารงานและการประชุมของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
(๗)
ออกระเบียบเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของสมาชิก
(๘)
ออกระเบียบเกี่ยวกับการเลิก ยุบรวม หรือแยกกองทุนหมู่บ้าน
(๙)
ออกระเบียบเกี่ยวกับการประชุมของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน
(๑๐)
ออกระเบียบเกี่ยวกับคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
การปฏิบัติงานในหน้าที่และการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการ
(๑๑)
ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา วิจัย และพัฒนากองทุนหมู่บ้าน
(๑๒)
ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการสร้างและพัฒนาเครือข่ายกองทุนในทุกระดับ
(๑๓)
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน
เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
(๑๔)
รายงานผลการดำเนินการ ปัญหาและอุปสรรค
รวมทั้งจัดทำงบการเงินของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติให้คณะรัฐมนตรีทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
(๑๕)
ติดตามผลและประเมินผลการดำเนินการของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านแล้วรายงานต่อคณะรัฐมนตรี
(๑๖)
ออกประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง
เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๑๗)
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ในกรณีที่มีการออกระเบียบใหม่เกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการกองทุนหมู่บ้านหรือสมาชิก
ถ้ากรรมการกองทุนหมู่บ้านหรือสมาชิกผู้ใดมีคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามขัดกับระเบียบใหม่ดังกล่าว
ให้ผู้นั้นพ้นจากการเป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้านหรือสมาชิก แล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๐
กรรมการและอนุกรรมการอาจได้รับเบี้ยประชุม ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง
ค่าเช่าที่พักและค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้จ่ายจากเงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
ที่ปรึกษาอาจได้รับค่าตอบแทน
ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด โดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
มาตรา ๒๑
ให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติมีสำนักงานใหญ่ เรียกว่า สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า สทบ. และอาจตั้งสาขาตามความจำเป็นก็ได้
มาตรา ๒๒
สำนักงานมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ดำเนินการต่าง ๆ ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
(๒)
เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ
(๓)
ดำเนินการและประสานงานกับส่วนราชการและองค์การต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๔)
ดำเนินการหรือมอบหมายให้หน่วยงานอื่น ๆ
ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกองทุนหมู่บ้านและรายงานผลต่อคณะกรรมการ
(๕)
ติดตามผลและประเมินผลการดำเนินการของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
(๖)
รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของสำนักงานเสนอต่อคณะกรรมการ
(๗)
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๒๓
ให้คณะกรรมการเป็นผู้คัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ
มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของสำนักงาน
ผู้อำนวยการอาจแต่งตั้งรองผู้อำนวยการและผู้ช่วยผู้อำนวยการ
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเป็นผู้ช่วยปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ผู้อำนวยการหรือบุคคลซึ่งผู้อำนวยการมอบอำนาจ
เป็นนายทะเบียนกองทุนหมู่บ้านโดยให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่คณะกรรมการกำหนด
ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง
และรับผิดชอบการบริหารกิจการของสำนักงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
และตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด
ในกิจการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกให้ผู้อำนวยการเป็นผู้แทนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
นิติกรรมที่ผู้อำนวยการกระทำโดยฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนดย่อมไม่ผูกพันกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ให้ผู้อำนวยการได้รับเงินค่าจ้าง
ค่าตอบแทน และเงินอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
วาระการดำรงตำแหน่ง
การพ้นจากตำแหน่ง การปฏิบัติงานในหน้าที่
และการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการ
ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๔
เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของสำนักงาน
รัฐมนตรีอาจขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมาปฏิบัติงานเป็นพนักงานหรือลูกจ้างในสำนักงานเป็นการชั่วคราวได้
ทั้งนี้
เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างของผู้นั้น แล้วแต่กรณี
เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดได้รับอนุมัติให้มาปฏิบัติงานเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของสำนักงานตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าเป็นการได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการหรือออกจากงานไปปฏิบัติงานใด ๆ
และให้นับเวลาระหว่างที่มาปฏิบัติงานในสำนักงาน
สำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นทำนองเดียวกันเสมือนอยู่ปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานเต็มเวลาดังกล่าว
แล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๕
ในกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๒๔
ขอกลับเข้ารับราชการหรือปฏิบัติงานในสังกัดเดิมภายในกำหนดเวลาที่อนุมัติ
ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนตามข้อตกลงที่ทำไว้ในการอนุมัติตามมาตรา
๒๔
หมวด ๓
การบัญชีและการตรวจสอบ
มาตรา ๒๖
ภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีให้สำนักงานจัดทำงบการเงินแสดงฐานะการเงินและทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๒๗
ให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบ
เพื่อตรวจสอบและประเมินผลการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและการดำเนินการของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านได้ตามที่เห็นสมควร
ในการนี้ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านมีหน้าที่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบ
ให้ผู้ตรวจสอบตามวรรคหนึ่งจัดส่งผลประกอบการและงบการเงินให้สำนักงาน
และแสดงความเห็นภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
มาตรา ๒๘
ให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี
และการพัสดุของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติแล้วรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ให้สำนักงานจัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
การปิดบัญชีให้กระทำปีละหนึ่งครั้งตามรอบปีงบประมาณ
และให้จัดส่งงบการเงินให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบและแสดงความเห็นภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ
เมื่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว
ให้เสนองบการเงินดังกล่าวต่อคณะกรรมการและคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หมวด ๔
การกำกับและควบคุม
มาตรา ๒๙
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติโดยทั่วไปเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
และให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี
ในกรณีที่ผู้อำนวยการเห็นว่ากองทุนหมู่บ้านดำเนินการจัดการกองทุนหมู่บ้านในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุนหมู่บ้าน
หรือกองทุนหมู่บ้านไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของคณะกรรมการ
ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้พิจารณาสั่งระงับการจ่ายเงินของกองทุนหมู่บ้านหรือให้กองทุนหมู่บ้านชดใช้หรือให้ส่งคืนเงินที่เบิกจ่ายไปแล้ว
โดยให้แจ้งคำสั่งเป็นหนังสือไปยังกองทุนหมู่บ้าน
หากกองทุนหมู่บ้านไม่เห็นด้วยกับคำสั่งตามวรรคสอง
ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งของผู้อำนวยการ
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๓๐
ให้กองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นกองทุนหมู่บ้านตามพระราชบัญญัตินี้
และให้ดำเนินการจดทะเบียนตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัตินี้ภายในระยะเวลาสามปี
นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๓๑
เมื่อได้มีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ให้ถือว่าการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
(องค์การมหาชน)
ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
(องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๔ เสร็จสิ้นลงแล้ว
และให้รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวดำเนินการตามมาตรา ๔๔ (๒) แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน
พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยประกาศยุติการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
(องค์การมหาชน) ในราชกิจจานุเบกษา
ให้โอนบรรดากิจการ
ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ เงินงบประมาณ
รายได้และลูกจ้างของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
(องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๔
และของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีในส่วนที่เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๔
ไปเป็นของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้
ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
(องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๔ และคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๔
ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ไปจนกว่าจะมีคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้
ให้กรรมการกองทุนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๔
ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ปฏิบัติหน้าที่กรรมการกองทุนหมู่บ้านตามพระราชบัญญัตินี้จนครบวาระ
ให้สมาชิกตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๔
เป็นสมาชิกต่อไปตามพระราชบัญญัตินี้
ในวาระเริ่มแรก
ให้ผู้อำนวยการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
(องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการตามพระราชบัญญัตินี้ไปจนกว่าสัญญาจ้างผู้อำนวยการตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจะสิ้นสุดลง
และเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลงแล้วให้ดำเนินการคัดเลือกผู้อำนวยการตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป
ในระหว่างยังไม่มีการคัดเลือกผู้อำนวยการตามวรรคหก
ให้ประธานกรรมการแต่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการไปจนกว่าผู้อำนวยการที่ได้รับคัดเลือกตามพระราชบัญญัตินี้จะเข้ารับหน้าที่
ให้นำบรรดาประกาศ
ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๔
มาใช้บังคับกับการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลมจนกว่าจะได้มีประกาศ
ระเบียบ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งของคณะกรรมการที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้กำหนดเป็นอย่างอื่น
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่การเสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านและชุมชนเมืองด้วยการให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคตและจัดการหมู่บ้านหรือชุมชนตามภูมิปัญญาหรือทุนทางสังคมของตนเองในด้านการเรียนรู้
การสร้างและการพัฒนาความคิดริเริ่มเพื่อการแก้ไขปัญหา
การสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง
รวมทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจของหมู่บ้านและชุมชนเมืองอันเป็นเศรษฐกิจระดับฐานรากของประเทศ
ตลอดจนการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะการจัดระบบสวัสดิการในชุมชนมีความสำคัญและเป็นสิ่งจำเป็น
จึงได้จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติขึ้น
เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับจัดสรรเงินทุนหมุนเวียนแก่กองทุนหมู่บ้านเป็นกลไกให้ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมืองนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพ
สร้างงาน สร้างรายได้ หรือเพิ่มรายได้ และลดรายจ่ายในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง
และเพื่อให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
รวมทั้งกองทุนหมู่บ้านและกองทุนชุมชนเมือง
สามารถพัฒนาเป็นสถาบันการเงินชุมชนในอนาคต โดยมีกระบวนทัศน์ด้านการบริหารและการพัฒนาที่มุ่งสร้างกระบวนการเรียนรู้
ที่มีรูปแบบ วิธีการคิด และมุมมองที่เปิดกว้างมีคุณธรรม
และมีการเรียนรู้ร่วมกันโดยอาศัยหลักของการเอื้ออาทรในรูปแบบกัลยาณมิตร ตลอดจนมีการสร้างและพัฒนาความคิดความเข้าใจให้เป็นระบบในลักษณะของการบูรณาการทุกเรื่องเข้าด้วยกันและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายกองทุนในทุกระดับอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ปัทมา/แก้ไข
วศิน/ตรวจ
๕ มีนาคม ๒๕๕๓
ศรตม์/ปรับปรุง
มีนาคม ๒๕๕๖
อุดมลักษณ์/ตรวจ
มิถุนายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๕ ก/หน้า ๑/๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๗ |
765280 | ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ที่ออกตามความแห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ และมาตรา ๑๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๔๗ ประกอบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๙/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)
มีอำนาจสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติแทนนายกรัฐมนตรีในฐานะรัฐมนตรี
ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๒ ให้ดำเนินการคัดเลือกคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๑๖ (๕) และ (๖) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
ดังนี้
(๑) การคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๖ (๕)
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คัดเลือกจากผู้แทนกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ในส่วนที่เกี่ยวกับคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
โดยให้กระจายครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศและให้คำนึงถึงชายและหญิงในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน
(๒)[๑]
การคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่น ตามมาตรา ๑๖ (๖) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
ให้คัดเลือกจากผู้เชี่ยวชาญ ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาชุมชนและสังคม
(๓) ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
แต่งตั้งคณะทำงานสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๖ (๕)
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน (๑) เพื่อสรรหาผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน
ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน
๑๔ คน
(๔) ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ แต่งตั้งคณะทำงานสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่น
ตามมาตรา ๑๖ (๖) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน (๒)
เพื่อสรรหาผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน
ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นจำนวน
๕ คน
ข้อ ๓ ให้คณะทำงานสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๒ (๓) และ (๔) จัดทำประกาศเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เพื่อกำหนดกระบวนการ ขั้นตอน วิธีปฏิบัติ และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
และทำการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะทำงานสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ข้อ ๔ ในกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับแต่งตั้งตามข้อ
๒ พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนโดยให้มีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่พ้นจากตำแหน่ง
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตามวรรคแรก
ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
โดยกำหนดอำนาจหน้าที่และวิธีปฏิบัติของคณะทำงานตามความจำเป็นและเหมาะสมกับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้น
ข้อ ๕
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๖ (๕) และ (๖)
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
ในวาระต่อไปให้เริ่มต้นดำเนินการก่อนครบวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว
ไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน
ข้อ ๖ ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นผู้รักษาการตามประกาศนี้
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้
ให้ผู้รักษาการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดและคำสั่งหรือข้อวินิจฉัยของผู้รักษาการให้ถือเป็นที่สุด
ข้อ ๗[๒] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๙
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
รองนายกรัฐมนตรี
ปฏิบัติราชการแทน
นายกรัฐมนตรี
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง
แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ[๓]
วัชศักดิ์/จัดทำ
๒๘ เมษายน ๒๕๕๑
จุฑามาศ/เพิ่มเติม
๖ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๑] ข้อ ๒ (๒)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง
แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
[๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๑/๒๕ เมษายน ๒๕๕๑
[๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๘ ง/หน้า ๑๓/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ |
662657 | ประกาศสำนักงานศาลปกครอง เรื่อง ศาลปกครองพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนกฎ | ประกาศสำนักงานศาลปกครอง
ประกาศสำนักงานศาลปกครอง
เรื่อง
ศาลปกครองพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนกฎ[๑]
ด้วยศาลปกครองเชียงใหม่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีหมายเลขแดงที่
๓๐๙/๒๕๕๔ ระหว่าง นายสำรวย ยอดสุดา ผู้ฟ้องคดี กับ
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ที่ ๑ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ที่ ๒ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี
โดยพิพากษาเพิกถอนข้อ ๒๔ วรรคสี่
ของระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒
ว่าด้วยการเลิก ยุบรวม หรือแยกบางส่วน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ. ๒๕๔๙ ทั้งนี้ โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ ๘
กันยายน ๒๕๔๙ ซึ่งเป็นวันที่ออกระเบียบดังกล่าว
จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ไกรรัช
เงยวิจิตร
รองเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง
รักษาการในตำแหน่ง
เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๖ กุมภาพันธ์
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๖ กุมภาพันธ์
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๓ ก/หน้า ๑๒/๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ |
623990 | ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
| ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง
แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ[๑]
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ที่ออกตามความแห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ และมาตรา ๑๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๔๗ ประกอบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๓๐/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
มอบหมายและมอบอำนาจให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายวีระชัย วีระเมธีกุล)
มีอำนาจสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติแทนนายกรัฐมนตรีในฐานะรัฐมนตรี
ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ลงวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๑ เฉพาะความใน (๒) ของข้อ ๒ และใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
(๒) การคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่น ตามมาตรา ๑๖ (๖)
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ให้คัดเลือกจากผู้เชี่ยวชาญ
ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาชุมชนและสังคม
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓
วีระชัย วีระเมธีกุล
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ปฏิบัติราชการแทน
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/จัดทำ
๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๘ ง/หน้า ๑๓/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ |
576593 | ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
| ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ที่ออกตามความแห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ และมาตรา ๑๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๔๗ ประกอบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๙/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)
มีอำนาจสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติแทนนายกรัฐมนตรีในฐานะรัฐมนตรี
ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๒ ให้ดำเนินการคัดเลือกคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๑๖ (๕) และ (๖) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
ดังนี้
(๑) การคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๖ (๕)
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คัดเลือกจากผู้แทนกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ในส่วนที่เกี่ยวกับคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
โดยให้กระจายครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศและให้คำนึงถึงชายและหญิงในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน
(๒) การคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่น ตามมาตรา ๑๖ (๖)
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คัดเลือกจากผู้เชี่ยวชาญ
ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
(๓) ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
แต่งตั้งคณะทำงานสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๖ (๕)
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน (๑) เพื่อสรรหาผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน
ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน
๑๔ คน
(๔) ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
แต่งตั้งคณะทำงานสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่น ตามมาตรา ๑๖ (๖)
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน (๒)
เพื่อสรรหาผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน
ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นจำนวน
๕ คน
ข้อ ๓ ให้คณะทำงานสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๒ (๓) และ (๔) จัดทำประกาศเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เพื่อกำหนดกระบวนการ ขั้นตอน วิธีปฏิบัติ และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
และทำการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน
นับแต่วันได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะทำงานสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ข้อ ๔ ในกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับแต่งตั้งตามข้อ
๒ พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนโดยให้มีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่พ้นจากตำแหน่ง
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตามวรรคแรก
ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
โดยกำหนดอำนาจหน้าที่และวิธีปฏิบัติของคณะทำงานตามความจำเป็นและเหมาะสมกับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้น
ข้อ ๕
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๖ (๕) และ (๖)
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
ในวาระต่อไปให้เริ่มต้นดำเนินการก่อนครบวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว
ไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน
ข้อ ๖ ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นผู้รักษาการตามประกาศนี้
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้
ให้ผู้รักษาการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดและคำสั่งหรือข้อวินิจฉัยของผู้รักษาการให้ถือเป็นที่สุด
ข้อ ๗[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๙
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
รองนายกรัฐมนตรี
ปฏิบัติราชการแทน
นายกรัฐมนตรี
วัชศักดิ์/จัดทำ
๒๘ เมษายน ๒๕๕๑
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๑/๒๕ เมษายน ๒๕๕๑ |
569626 | ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
| ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๑๖ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
ประกอบกับคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๔๘/๒๕๕๐ ลงวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม)
มีอำนาจสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติแทนนายกรัฐมนตรีในฐานะรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๒
ให้ดำเนินการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๑๖ (๕) และ (๖) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
ดังนี้
(๑) การคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๖
(๕) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจากผู้แทนกรรมการกองทุนหมู่บ้าน จำนวน ๑๔ คน
ให้กระจายครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยให้คำนึงถึงชายและหญิงในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน
(๒) การคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่น ตามมาตรา
๑๖ (๖) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจำนวน ๕ คน ให้คัดเลือกตามรายสาขาที่เชี่ยวชาญ
ทั้งนี้ ต้องเป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
(๓) ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือผู้แทน
เป็นประธานคณะทำงานพิจารณาคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามมาตรา ๑๖ (๕) และ (๖)
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน (๑) และ (๒) ให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐
วันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
แล้วเสนอชื่อให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต่อไป
ข้อ ๓
ในกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับแต่งตั้งตามข้อ
๒ พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทน โดยให้มีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่พ้นจากตำแหน่ง
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตามวรรคแรก
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการในข้อ ๒ โดยอนุโลม
ข้อ ๔
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๑๖ (๕) และ (๖) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
ในวาระต่อไปให้ดำเนินการก่อนครบวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ ไม่เกิน ๙๐
วันตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศกำหนดเพื่อให้เป็นไปโดยเรียบร้อย
ข้อ ๕
ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นผู้รักษาการตามประกาศนี้
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้
ให้ผู้รักษาการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด และคำสั่งหรือข้อวินิจฉัยของผู้รักษาการให้ถือเป็นที่สุด
ข้อ ๖[๑]
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ไพบูลย์
วัฒนศิริธรรม
รองนายกรัฐมนตรี
ปฏิบัติราชการแทน
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๒
มกราคม ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๔ ง/หน้า ๑/๗ มกราคม ๒๕๕๑ |
470538 | ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยุติการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
| ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง ยุติการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
(องค์การมหาชน)
ตามที่พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๑๑ บัญญัติให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ โดยเป็นหน่วยงานของรัฐ มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมาตรา ๓๑ บัญญัติว่า เมื่อได้มีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ตามพระราชบัญญัตินี้ให้ถือว่า การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
(องค์การมหาชน) ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
(องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๔ เสร็จสิ้นลงแล้ว นั้น
เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๔ มาตรา ๒๑ และมาตรา ๓๑
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ ประกอบกับคำสั่งนายกรัฐมนตรี
เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
(องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๔ ตามบทเฉพาะกาล มาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ ตามบันทึกสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๘ และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่
๔๔๐/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ
จึงรุ่งเรืองกิจ) ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยุติการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
(องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
พ.ศ. ๒๕๔๔
ข้อ
๒ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
โดยเป็นหน่วยงานของรัฐ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
ข้อ
๓ ให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ มีสำนักงานใหญ่
เรียกว่า สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
เรียกโดยย่อว่า สทบ. ตั้งอยู่ ณ กรุงเทพมหานคร
หรือปริมณฑล และอาจตั้งสาขาตามความจำเป็นก็ได้
ข้อ
๔[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
รองนายกรัฐมนตรี
ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
พชร/ผู้จัดทำ
๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๘
สถาพร/ปรับปรุง
๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๔๕ ง/หน้า ๔/๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๘ |
463461 | ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
| ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๑๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ ประกอบกับคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๘๑/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๘
มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ)
มีอำนาจสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ แทนนายกรัฐมนตรีในฐานะรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในวาระแรกให้ดำเนินการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ตามมาตรา ๑๖ (๕) และ (๖) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๔๗ ดังนี้
(๑) การคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๖ (๕)
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจากกรรมการกองทุนหมู่บ้านและกองทุนชุมชนเมือง จำนวน ๑๔ คน
ให้กระจายครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยให้คำนึงถึงชายและหญิงในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน
(๒) การคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่น ตามมาตรา
๑๖ (๖) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจำนวน ๕ คน ให้คัดเลือกตามรายสาขาที่เชี่ยวชาญ ทั้งนี้
ต้องเป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
(๓) ให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะทำงานพิจารณาคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ตามมาตรา ๑๖ (๕) และ (๖) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๔๗ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน (๑) และ (๒) ให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
แล้วเสนอชื่อให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามบทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต่อไป
ข้อ ๒ ในกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับแต่งตั้งตามข้อ
๑ พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทน โดยให้มีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่พ้นจากตำแหน่ง
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตามวรรคแรก ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการในข้อ
๑ โดยอนุโลม
ข้อ ๓ การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๖
(๕) และ (๖) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ในวาระต่อไปให้ดำเนินการก่อนครบวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ ไม่เกิน
๙๐ วัน
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศกำหนดเพื่อให้เป็นไปโดยเรียบร้อย
ข้อ ๔ ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นผู้รักษาการตามประกาศนี้
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้
ให้ผู้รักษาการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด และคำสั่งหรือข้อวินิจฉัยของผู้รักษาการให้ถือเป็นที่สุด
ข้อ ๕[๑]
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘
พินิจ
จารุสมบัติ
รองนายกรัฐมนตรี
ปฏิบัติราชการแทน
นายกรัฐมนตรี
พชร/ผู้จัดทำ
๒๘
ตุลาคม ๒๕๔๘
สถาพร/ปรับปรุง
๒๙
พฤศจิกายน ๒๕๔๙
รัศม์วรรณวลัย/ตรวจ
๔
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๑/๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ |
563677 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ว่าด้วย การรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ. 2549 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๐
ว่าด้วย การรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
พ.ศ. ๒๕๔๙
เพื่อให้การบริหารงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
เป็นไปโดยเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ มาตรา ๘ มาตรา ๑๙ (๕)
และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
จึงได้ออกระเบียบไว้ดังนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ
๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
กองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า กองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนชุมชนเมือง
แล้วแต่กรณี
หมู่บ้าน หมายความว่า หมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
ชุมชนเมือง หมายความว่า ชุมชนในเทศบาล กรุงเทพมหานคร
เมืองพัทยา หรือเขตพื้นที่อื่น
ทั้งนี้ โดยมีขอบเขตตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
หรือคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
กรรมการกองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
หรือกรรมการในคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
สมาชิก หมายความว่า สมาชิกของกองทุนหมู่บ้าน หรือสมาชิกของกองทุนชุมชนเมือง
แล้วแต่กรณี
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
สำนักงาน หมายความว่า สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ผู้อำนวยการ หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
เจ้าหน้าที่ หมายความว่า เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้าน
นายทะเบียน หมายความว่า นายทะเบียนกองทุนหมู่บ้าน หรือบุคคลซึ่งนายทะเบียนกองทุนหมู่บ้านมอบอำนาจให้ทำหน้าที่แทน
หนังสือสำคัญ หมายความว่า หลักฐานที่นายทะเบียนกองทุนหมู่บ้านออกให้กองทุนหมู่บ้านที่ได้รับการจดทะเบียนถูกต้อง
หมวด ๑
นายทะเบียนกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ
๕ ให้ผู้อำนวยการเป็นนายทะเบียนกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ
๖ ให้นายทะเบียน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑)
มอบอำนาจให้บุคคลทำหน้าที่แทนนายทะเบียน และ/หรือผู้ช่วยนายทะเบียนเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ได้ตามที่เห็นสมควร
(๒)
กำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ สถานที่ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการยื่นขอจดทะเบียนนิติบุคคลกองทุนหมู่บ้าน
(๓)
ออกประกาศ คำสั่งต่าง ๆ รวมทั้งแต่งตั้งพนักงานเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้
(๔)
รายงานผลการดำเนินการจดทะเบียนนิติบุคคลกองทุนหมู่บ้านต่อคณะกรรมการ
(๕)
ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
หมวด ๒
การยื่นคำขอจดทะเบียน
ข้อ
๗ ให้นายทะเบียนประกาศให้มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ข้อ
๘ กองทุนหมู่บ้านที่มีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียน
(๑)
กองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗
(๒)
กองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๔ และแก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ
๙ กองทุนหมู่บ้านตามข้อ ๘ (๑) ต้องยื่นขอจัดตั้งและจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้านต่อนายทะเบียนตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
กองทุนหมู่บ้านที่ได้รับการอนุมัติการจัดตั้งจากคณะกรรมการให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล
ข้อ
๑๐ กองทุนหมู่บ้านตามข้อ ๘ (๒) ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลภายในระยะเวลาที่พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ กำหนด
ข้อ
๑๑ กองทุนหมู่บ้านที่จะยื่นคำขอจดทะเบียนต้องมีคุณสมบัติ
หลักเกณฑ์ ตามที่นายทะเบียนประกาศกำหนด
ข้อ
๑๒ ให้ประธานกองทุนหมู่บ้าน หรือประธานกองทุนชุมชนเมือง
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายยื่นคำขอจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ที่นายทะเบียนกำหนด
พร้อมแนบเอกสารหลักฐานประกอบคำขอยื่นจดทะเบียนดังนี้
(๑)
ชื่อกองทุนหมู่บ้านและรหัสกองทุนหมู่บ้านที่ประสงค์จะจดทะเบียน
(๒)
สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารที่รับโอนเงินหนึ่งล้านบาท และบัญชีเงินฝากอื่น
(๓)
สำเนาระเบียบ หรือข้อบังคับของกองทุนหมู่บ้าน
(๔)
บัญชีรายชื่อคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
(๕)
บัญชีรายชื่อสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน
(๖)
สำเนาบันทึกรายงานการประชุมที่มีมติให้ขอจดทะเบียนโดยสมาชิกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้ที่เข้าร่วมประชุม
(๗)
สำเนางบดุล และงบกำไรขาดทุนปีที่ผ่านมาของกองทุนหมู่บ้านพร้อมรายละเอียด
(๘)
แผนการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านเมื่อได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
(๙)
แผนที่แสดงที่ตั้งของสำนักงานกองทุนหมู่บ้าน
นอกจากเอกสารหลักฐานประกอบคำขอจดทะเบียนดังกล่าวแล้ว
กองทุนหมู่บ้านจะต้องแนบเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมตามที่นายทะเบียนกำหนด
ข้อ
๑๓ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอจดทะเบียน ให้พิจารณาในเบื้องต้น
เมื่อเห็นว่าถูกต้องครบถ้วนให้เสนอความเห็นต่อนายทะเบียนเพื่อดำเนินการรับจดทะเบียน
หมวด ๓
การรับจดทะเบียน
ข้อ
๑๔ เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้อง
ครบถ้วนแล้วให้พิจารณาการขอจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอจดทะเบียนและให้ปิดประกาศรายชื่อกองทุนหมู่บ้าน
ที่รับจดทะเบียน ณ สำนักงานรับจดทะเบียนนั้น
กรณีนายทะเบียนตรวจพบว่าเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนไม่ถูกต้อง
ซึ่งนายทะเบียนตรวจสอบแล้วเห็นว่าเป็นการผิดพลาดที่มิใช่ในสาระสำคัญ ให้นายทะเบียนมีอำนาจแก้ไข
ข้อ
๑๕ กองทุนหมู่บ้านใดขาดเอกสารหลักฐานที่เป็นสาระสำคัญอย่างหนึ่งอย่างใดให้นายทะเบียนแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนทราบภายใน
๓๐ วัน นับแต่วันที่ตรวจพบเพื่อแก้ไขให้ครบถ้วน ถูกต้อง
ข้อ
๑๖ ให้นายทะเบียนออกหนังสือสำคัญแสดงการเป็นนิติบุคคลให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่ได้รับจดทะเบียนนั้น
หนังสือสำคัญแสดงการเป็นนิติบุคคลชำรุด
สูญหายด้วยประการใดให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านยื่นคำขอรับใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการเป็นนิติบุคคลนั้นได้[๒]
เมื่อได้ออกใบแทนไปแล้ว
หนังสือสำคัญแสดงการเป็นนิติบุคคลเดิมเป็นอันยกเลิก[๓]
ให้นายทะเบียนออกประกาศกำหนดคุณสมบัติ
หลักเกณฑ์ สถานที่ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการยื่นขอรับใบแทน[๔]
ข้อ
๑๗ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เมื่อได้รับการจดทะเบียนแล้ว
เงินหนึ่งล้านบาทที่คณะกรรมการจัดสรรให้นั้นให้ถือว่าเป็นเงินของรัฐที่มอบให้กองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนชุมชนเมืองเป็นผู้บริหารจัดการ
ภายใต้ระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
บทเฉพาะกาล
ข้อ
๑๘[๕]
ก่อนครบกำหนดระยะเวลาอย่างน้อย ๑ ปี ที่กำหนดให้กองทุนหมู่บ้านตามข้อ
๘ (๑) และ (๒) จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ หากพบว่ามีกองทุนใดไม่ยื่นขอจดทะเบียนและ/หรือไม่สามารถจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ให้นายทะเบียนรายงานต่อคณะกรรมการเพื่อกำหนดแนวทางต่อไป
ข้อ
๑๙ คณะกรรมการสามารถมอบหมายให้สมาคมเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งประเทศไทย
และ/หรือสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ดำเนินการให้คำแนะนำช่วยเหลือ
ส่งเสริมและพัฒนากองทุนหมู่บ้านที่ยังไม่ยื่นขอจดทะเบียนและ/หรือไม่สามารถจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ตามแนวทางที่คณะกรรมการกำหนด
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙
สุวิทย์ คุณกิตติ
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๐ ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ.
๒๕๔๙ (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ ๑)[๖]
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๐ ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ.
๒๕๕๒ (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ ๒)[๗]
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
นันทนา/จัดทำ
๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙
สถาพร/ปรับปรุง
๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
ปฐมพร/เพิ่มเติม
๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๐
จุฑามาศ/เพิ่มเติม
๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๙
\
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๕๙ ง/หน้า ๔๗/๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙
[๒] ข้อ ๑๖ วรรคสอง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่
๑๐ ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ. ๒๕๕๒ (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่
๒)
[๓] ข้อ ๑๖ วรรคสาม
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่
๑๐ ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ. ๒๕๕๒ (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่
๒)
[๔] ข้อ ๑๖ วรรคสี่
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่
๑๐ ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ. ๒๕๕๒ (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่
๒)
[๕] ข้อ ๑๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่
๑๐ ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ. ๒๕๔๙ (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่
๑
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๘๐ ง/หน้า ๔๑/๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๖๓ ง/หน้า ๒๐/๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ |
593002 | ระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุม และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2549 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ระเบียบ
ว่าด้วยเบี้ยประชุม
และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ
และอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดค่าเบี้ยประชุม
ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ
และอนุกรรมการ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งบัญญัติให้กำหนดค่าใช้จ่ายของกรรมการ และอนุกรรมการ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ รองนายกรัฐมนตรี
(นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) ผู้รักษาการและผู้มีอำนาจสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
แทนนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๔๔๐/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
และบันทึกสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๘ โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังจึงกำหนดระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุม
และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ
๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในระเบียบนี้
สำนักงาน หมายความว่า สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ประธานกรรมการ หมายความว่า ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
กรรมการ หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
คณะอนุกรรมการ หมายความว่า คณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ประธานอนุกรรมการ หมายความว่า ประธานอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติแต่งตั้ง
อนุกรรมการ หมายความว่า อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติแต่งตั้ง
ข้อ
๔ ให้ประธานกรรมการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
และมีอำนาจออกประกาศคำสั่งต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานตามระเบียบนี้
ให้ผู้ที่รักษาการตามระเบียบนี้เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดและคำวินิจฉัยนั้นให้เป็นที่สุด
ข้อ
๕ ให้ประธานกรรมการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติ
การเดินทางไปปฏิบัติงานในราชอาณาจักร
ข้อ
๖ ให้ประธานกรรมการเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติการเดินทางไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ
หมวด ๑
ค่าเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการ
ข้อ
๗ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานอนุกรรมการ
อนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ดังต่อไปนี้
(๑)[๒] ประธานกรรมการ
เดือนละ ๖,๐๐๐ บาท
(๒)[๓] กรรมการ
เดือนละ ๔,๘๐๐ บาท
(๓) ประธานอนุกรรมการ
ครั้งละ ๑,๕๐๐ บาท เดือนละไม่เกิน ๖,๐๐๐ บาท
(๔)
อนุกรรมการ ครั้งละ
๑,๐๐๐ บาท เดือนละไม่เกิน ๔,๐๐๐ บาท
ในกรณีที่ประธานกรรมการ
กรรมการ ประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยตำแหน่งมอบหมายให้ผู้ใดมาประชุมแทน
ให้เบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้ผู้มาประชุมแทน ตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง
ข้อ
๘ ให้เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการ
หรือคณะอนุกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการ หรืออนุกรรมการ แล้วแต่กรณี
และถ้ากรรมการ หรืออนุกรรมการ ผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย ให้เบิกเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว
ผู้อำนวยการและผู้ปฏิบัติงานของสำนักงาน
ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมตามระเบียบนี้
ข้อ
๙ ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานอนุกรรมการ
อนุกรรมการในคณะกรรมการคณะหนึ่ง หรืออนุกรรมการคณะหนึ่งให้ได้รับเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง
หมวด ๒
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศ
ข้อ
๑๐ การเดินทางไปปฏิบัติงานภายในจังหวัด
คือ การไปปฏิบัติงานชั่วคราวนอกที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของกรรมการ
และอนุกรรมการ
ข้อ
๑๑ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน ได้แก่
(๑)
ค่าเบี้ยเลี้ยง
(๒)
ค่าเช่าที่พัก
(๓)
ค่าพาหนะ รวมถึงค่าเช่าพาหนะ ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้างคนหามสิ่งของ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและอื่น
ๆ ทำนองเดียวกัน
(๔)
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ข้อ
๑๒ เมื่อมีการประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ
ให้กรรมการ อนุกรรมการได้รับค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พักและค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ
๑๓
ข้อ
๑๓ ในกรณีที่กรรมการ อนุกรรมการ มีความจำเป็นต้องเดินทางไปนอกจังหวัด
อันเป็นที่ตั้งสำนักงาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้ได้รับค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก
ค่าพาหนะ และค่าใช้จ่าย ในการปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้
๑๓.๑
ค่าเบี้ยเลี้ยง
(๑)
ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ ให้เบิกในลักษณะเหมาจ่ายได้วันละ
๕๐๐ บาท
(๒)
ในกรณีที่มีหน่วยงานรับผิดชอบออกค่าใช้จ่าย ค่าที่พัก และค่าอาหารให้ครบถ้วน ให้งดเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง
๑๓.๒
ค่าเช่าที่พัก
(๑)
ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ ประธานอนุกรรมการให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินวันละ
๒,๒๐๐ บาท
(๒)
กรรมการให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินวันละ ๑,๖๐๐
บาท
(๓)
อนุกรรมการให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินวันละ ๑,๐๐๐
บาท
๑๓.๓
ค่าพาหนะ
(๑)[๔]
ประธานกรรมการ กรรมการและประธานอนุกรรมการ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง
หรือหากใช้ยานพาหนะส่วนตัวให้เบิกเป็นค่าชดเชยกิโลเมตรละ ๔ บาท
(๒)[๕]
อนุกรรมการ กรณีโดยสารเครื่องบินให้เบิกในชั้นประหยัด
หรือหากใช้ยานพาหนะส่วนตัวให้เบิกเงินค่าชดเชยในอัตรากิโลเมตรละ ๔ บาท
๑๓.๔
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็น
ต้องจ่ายเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติงาน
เช่น ค่าลงทะเบียน ค่าใช้จ่ายในการสื่อสาร ฯลฯ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง
หมวด ๓
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ
ข้อ
๑๔ การเดินทางไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ
ได้แก่ การเดินทางไปนอกราชอาณาจักรเพื่อดูงาน ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ประสานงาน หรือการประชุมที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
ข้อ
๑๕ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ
ได้แก่
(๑)
ค่าเบี้ยเลี้ยง
(๒)
ค่าเช่าที่พัก
(๓)
ค่าพาหนะ
(๔)
ค่ารับรอง
(๕)
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ข้อ
๑๖ ในกรณีที่ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานอนุกรรมการ
อนุกรรมการ มีความจำเป็นต้องเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในต่างประเทศชั่วคราว ให้ได้รับค่าเบี้ยเลี้ยง
ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ ดังต่อไปนี้
๑๖.๑
ค่าเบี้ยเลี้ยง
(๑)
ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปต่างประเทศ ให้เบิกได้ตามอัตราในบัญชี ๑ ท้ายระเบียบนี้
(๒)
ในกรณีที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศโดยใช้เวลาเกินกว่า ๖๐ วัน สำนักงานจะกำหนดอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางขึ้น
ใช้ตามความเหมาะสมเป็นรายกรณี
๑๖.๒
ค่าเช่าที่พัก
การเดินทางไปปฏิบัติงานที่จำเป็นต้องพักแรม
ให้ผู้เดินทางไปปฏิบัติงาน เบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินอัตราในบัญชี
๒ ท้ายระเบียบนี้
๑๖.๓
ค่าพาหนะ
การเดินทางไปปฏิบัติงานในต่างประเทศโดยเครื่องบิน
จากประเทศไทยไปยังต่างประเทศหรือจากต่างประเทศกลับประเทศไทย หรือการเดินทางในต่างประเทศให้เดินทางโดยชั้นประหยัดยกเว้นกรณีจำเป็นให้ประธานกรรมการพิจารณาเป็นกรณีไป
๑๖.๔
ค่ารับรอง
สำหรับผู้เดินทางไปปฏิบัติงานในต่างประเทศให้เบิกตามที่จ่ายจริง
หรือเหมาจ่ายตามดุลยพินิจของประธานกรรมการเป็นกรณีไป
๑๖.๕
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็น
เพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติงาน
เช่น ค่าลงทะเบียน ค่าธรรมเนียมการใช้สนามบิน ฯลฯ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง
ประกาศ ณ
วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
รองนายกรัฐมนตรี
ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชี ๑ อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงในการเดินทางไปต่างประเทศ
๒.
บัญชี ๒ อัตราค่าที่พักในการเดินทางไปต่างประเทศ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุม
และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๑)[๖]
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุม
และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่
๒ พ.ศ. ๒๕๖๑)[๗]
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ชัชสรัญ/จัดทำ
๑๔ กุมภาพันธ์
๒๕๔๙
สถาพร/ปรับปรุง
๒๙ พฤศจิกายน
๒๕๔๙
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ ตุลาคม ๒๕๕๙
ชญานิศ/เพิ่มเติม
๑๖ มกราคม ๒๕๖๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓๒/๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
[๒]
ข้อ ๗ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุม และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๑)
[๓]
ข้อ ๗ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุม และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๑)
[๔] ข้อ
๑๓.๓ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุม
และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๑)
[๕] ข้อ
๑๓.๓ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุม
และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๑)
[๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๖ ง/หน้า ๖๑/๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๑
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๒๙ ง/หน้า ๓/๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๑ |
663436 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ว่าด้วยการเลิก ยุบรวม หรือแยกบางส่วน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ. 2549 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๒
ว่าด้วยการเลิก ยุบรวม
หรือแยกบางส่วน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
พ.ศ. ๒๕๔๙
เพื่อให้การบริหารงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
เป็นไปโดยเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๙ (๘)
และมาตรา ๒๙ วรรคสอง และวรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จึงได้ออกระเบียบไว้ดังนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการเลิก ยุบรวม หรือแยกบางส่วน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ
๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓
ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
กองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า
กองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
หมู่บ้าน หมายความว่า
หมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗
ชุมชนเมือง หมายความว่า ชุมชนในเทศบาล
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา หรือเขตพื้นที่อื่น ทั้งนี้ โดยมีขอบเขตตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด หรือตามประกาศของคณะกรรมการ
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน หรือคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
กรรมการกองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
หรือกรรมการในคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
สมาชิก หมายความว่า สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน
หรือสมาชิกของกองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ผู้อำนวยการ หมายความว่า
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
นายทะเบียน หมายความว่า
นายทะเบียนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
หรือบุคคลซึ่งนายทะเบียนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง มอบอำนาจให้ทำหน้าที่แทน
การดำเนินคดี หมายความว่า
การฟ้องร้องดำเนินคดีกองทุน หรือคณะกรรมการกองทุนหรือสมาชิก
หมวด ๑
การเลิกกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ
๕
กองทุนหมู่บ้านย่อมเลิกด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้
(๑)
ที่ประชุมใหญ่ของกองทุนหมู่บ้านมีมติให้เลิก
(๒)
ศาลมีคำพิพากษาให้ล้มละลาย
(๓)
นายทะเบียนสั่งให้เลิก
ข้อ
๖ กองทุนหมู่บ้านใดที่เลิกตาม ข้อ ๕
(๑) และ (๒) กองทุนหมู่บ้านนั้นจะต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ประชุมใหญ่ของกองทุนหมู่บ้านมีมติให้เลิกหรือนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาให้ล้มละลาย
แล้วแต่กรณี
กองทุนหมู่บ้านใดที่เลิกตามข้อ
๕ (๓) เมื่อนายทะเบียนได้ทราบว่ากองทุนหมู่บ้านปฏิบัติเข้าข่ายตามข้อ ๗
ข้อ
๗
นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้เลิกได้เมื่อปรากฏว่า
(๑)
กองทุนหมู่บ้านไม่สามารถดำเนินกิจการ หรือหยุดดำเนินกิจการติดต่อกันเป็นเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่หยุดดำเนินกิจการ
(๒)
กองทุนหมู่บ้านไม่ส่งสำเนางบดุลและรายงานประจำปีต่อนายทะเบียนเป็นเวลาสามปีติดต่อกัน
(๓)
กองทุนหมู่บ้านดำเนินการในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ กองทุนหมู่บ้าน
(๔)
กองทุนหมู่บ้านไม่ปฏิบัติตามเจตนารมณ์พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ นโยบาย ปรัชญา วัตถุประสงค์ ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
(๕)
เลิกตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๘ ในกรณีที่มีการเลิกกองทุนหมู่บ้านให้โอนบรรดากิจการ
ทรัพย์สิน สิทธิ
และหนี้สินของกองทุนหมู่บ้านนั้นไปเป็นของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
หมวด ๒
การยุบรวมกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ
๙
กองทุนหมู่บ้านตั้งแต่สองกองทุนอาจยุบรวมได้ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(๑)
ที่ประชุมใหญ่ของกองทุนหมู่บ้านที่เกี่ยวข้องมีมติให้ยุบรวมด้วยความสมัครใจ
และต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน
(๒)
นายทะเบียนสั่งให้ยุบรวม
ข้อ
๑๐
กองทุนหมู่บ้านใดที่มีความประสงค์ยุบรวมตามข้อ ๙ (๑)
กองทุนหมู่บ้านที่เกี่ยวข้องจะต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในสามสิบวัน พร้อมทั้งส่งสำเนารายงานการประชุมใหญ่
นับแต่วันที่ประชุมใหญ่ของกองทุนหมู่บ้านที่เกี่ยวข้องมีมติให้ยุบรวม
ข้อ
๑๑
นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ยุบรวมได้เมื่อปรากฏว่า
(๑)
มีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านใหม่
(๒)
กองทุนหมู่บ้านมีจำนวนสมาชิกน้อยกว่า ๓๐ ครัวเรือน
(๓)
กองทุนหมู่บ้านดำเนินการในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่
กองทุนหมู่บ้าน
(๔)
กองทุนหมู่บ้านไม่ปฏิบัติตามเจตนารมณ์พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ นโยบาย ปรัชญา วัตถุประสงค์ ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ข้อ
๑๒
ในกรณีที่กองทุนหมู่บ้านใดยุบรวมกับกองทุนหมู่บ้านอื่นเพื่อจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านใหม่
หรือยุบรวมกับกองทุนหมู่บ้านอื่น ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ
และหนี้สินของกองทุนหมู่บ้านนั้นไปเป็นของกองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งใหม่หรือกองทุนหมู่บ้านที่ไปรวม
แล้วแต่กรณี
หมวด ๓
การแยกบางส่วนกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ
๑๓ กองทุนหมู่บ้าน
อาจแยกด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑)
นายทะเบียนสั่งแยกบางส่วนได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนด
(๒)
มีการเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองท้องที่
(๓)
ในกรณีที่กองทุนหมู่บ้านใดแยกกองทุนหมู่บ้านบางส่วนเพื่อจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านใหม่
หรือแยกกองทุนหมู่บ้านบางส่วนเพื่อรวมกับกองทุนหมู่บ้านอื่น
(๔)
ที่ประชุมใหญ่ของกองทุนหมู่บ้านที่เกี่ยวข้องมีมติให้แยกบางส่วนด้วยความสมัครใจและต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน
พร้อมทั้งพิจารณาทรัพย์สิน แบ่งแยก ทรัพย์สิน และหนี้สินของกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ
๑๔ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน
สิทธิ และหนี้สินของกองทุนหมู่บ้านที่แยกตามข้อ ๑๓
ให้ไปเป็นของกองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งใหม่หรือกองทุนหมู่บ้านที่ไปรวม แล้วแต่กรณี
หมวด ๔
การชำระบัญชี
ข้อ
๑๕
การชำระบัญชีกองทุนหมู่บ้านที่ล้มละลายนั้น ให้เป็นไปตามกฎหมาย
ว่าด้วยการล้มละลาย
ข้อ
๑๖
การชำระบัญชีของกองทุนหมู่บ้านที่เลิก ยุบรวม แยกบางส่วน ด้วยความสมัครใจ ให้ที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของผู้เข้าร่วมประชุมตั้งผู้ชำระบัญชี
และให้ดำเนินการชำระบัญชีให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน
ข้อ
๑๗ ในกรณีที่เห็นว่ากองทุนหมู่บ้านดำเนินการในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุนหมู่บ้าน
หรือกองทุนหมู่บ้านไม่ปฏิบัติตามเจตนารมณ์พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ นโยบาย ปรัชญา วัตถุประสงค์ ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของคณะกรรมการ
นายทะเบียนสั่งระงับการจ่ายเงินของกองทุนหมู่บ้าน
หรือให้กองทุนหมู่บ้านชดใช้หรือให้ส่งคืนเงินที่เบิกจ่ายไปแล้ว
โดยให้แจ้งคำสั่งเป็นหนังสือไปยังกองทุนหมู่บ้าน
การชำระบัญชีของกองทุนหมู่บ้านที่นายทะเบียนสั่งให้ชดใช้หรือส่งคืนเงินที่เบิกจ่ายไปแล้วตามวรรคหนึ่ง
หรือกองทุนหมู่บ้านที่เลิก ยุบรวม แยกบางส่วน ให้นายทะเบียนตั้งผู้ชำระบัญชี
และให้ดำเนินการชำระบัญชีให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน
ข้อ
๑๘ กรณีการดำเนินงานชำระบัญชีตามข้อ
๑๖ และ ๑๗ ไม่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
ให้ผู้ชำระบัญชีขอขยายระยะเวลาต่อนายทะเบียน
นายทะเบียนสามารถขยายเวลาได้อีกไม่เกิน ๖๐ วัน
ข้อ
๑๙ ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
ดำเนินกิจการของกองทุนหมู่บ้านเท่าที่จำเป็นเพื่อระวังรักษาผลประโยชน์ของกองทุนหมู่บ้านในระหว่างที่ยังชำระบัญชีไม่เสร็จ
(๒)
ดำเนินกิจการของกองทุนหมู่บ้านเท่าที่จำเป็นเพื่อชำระสะสางกิจการให้เสร็จไปด้วยดี
(๓)
เรียกประชุมใหญ่
(๔)
ดำเนินการทั้งปวงเกี่ยวกับคดีแพ่งหรือคดีอาญา และประนีประนอมยอมความในเรื่องใด ๆ
ในนามของกองทุนหมู่บ้าน หรือนายทะเบียน
(๕)
จำหน่ายทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้าน
(๖)
ดำเนินการอย่างอื่นเท่าที่จำเป็นเพื่อให้การชำระบัญชีเสร็จสิ้น
ข้อจำกัดอำนาจของผู้ชำระบัญชีอย่างใด
ๆ ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต
ข้อ
๒๐ ค่าธรรมเนียม ค่าภาระติดพัน
และค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียตามสมควรในการชำระบัญชีนั้น ผู้ชำระบัญชีต้องจัดการชำระก่อนหนี้รายอื่น
เมื่อได้ชำระหนี้ของกองทุนแล้ว
ถ้ามีทรัพย์สินเหลืออยู่เท่าใดให้ผู้ชำระบัญชีไปชำระคืนให้ตามลำดับดังนี้
(๑)
เงินกองทุนหมู่บ้าน
(๒)
เงินสัจจะ หุ้นและเงินอื่น ๆ ของสมาชิก
(๓)
เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
ข้อ
๒๑
ถ้าเจ้าหนี้คนใดมิได้ทวงถามให้ชำระหนี้
ผู้ชำระบัญชีต้องวางเงินสำหรับจำนวนนั้นไว้ต่อนายทะเบียนเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้
และให้ผู้ชำระบัญชีมีหนังสือแจ้งกำหนดวางเงินไปยังเจ้าหนี้โดยไม่ชักช้า
ถ้าเจ้าหนี้ไม่รับเงินจนพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่ผู้ชำระบัญชีวางเงินไว้ต่อนายทะเบียน
เจ้าหนี้ย่อมขาดสิทธิในเงินจำนวนนั้น
และให้นายทะเบียนจัดส่งเป็นรายได้ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติให้เสร็จภายในเวลาอันสมควร
ข้อ
๒๒
ให้ผู้ชำระบัญชีเสนอรายงานต่อนายทะเบียนทุกเดือนแต่ไม่เกินระยะเวลาที่กำหนดไว้
ถ้าปรากฏข้อบกพร่องในการชำระบัญชี
นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ชำระบัญชีแก้ไขข้อบกพร่อง
และรายงานต่อนายทะเบียนภายในเวลาที่กำหนด
ข้อ
๒๓
เมื่อได้ชำระบัญชีของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเสร็จแล้ว
ให้ผู้ชำระบัญชีทำรายงานการชำระบัญชี แสดงว่าได้ดำเนินการปิดบัญชีและจัดการทรัพย์สินของกองทุนไปอย่างใด
รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการชำระบัญชีและจำนวนทรัพย์สินที่จ่ายตามข้อ ๒๐
เสนอต่อผู้สอบบัญชี
เมื่อผู้สอบบัญชีตรวจสอบและรับรองบัญชีที่ชำระแล้ว
ให้ผู้ชำระบัญชีเสนอต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้สอบบัญชีรับรองบัญชีที่ชำระนั้น
นายทะเบียนเห็นชอบด้วยแล้วให้ถือว่าเป็นที่สุดแห่งการชำระบัญชี
และให้นายทะเบียนถอนชื่อกองทุนหมู่บ้านออกจากทะเบียน
ข้อ
๒๔
เมื่อนายทะเบียนให้ความเห็นชอบในการชำระบัญชีตามข้อ ๒๓ แล้ว
ให้ผู้ชำระบัญชีมอบบรรดาสมุดบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่ได้ชำระบัญชีเสร็จแล้วนั้นแก่นายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบ
ให้นายทะเบียนรักษาสมุดบัญชีและเอกสารที่ได้รับไว้เป็นเวลาสองปีนับแต่วันที่ถอนชื่อกองทุนหมู่บ้านนั้นออกจากทะเบียน
สมุดบัญชีและเอกสารตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้มีส่วนได้เสียดูได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
วรรคสี่
(เพิกถอน)[๒]
หมวด ๕
การดำเนินคดี
ข้อ
๒๕
เมื่อกองทุนหมู่บ้านใดนายทะเบียนสั่งให้ชดใช้หรือส่งคืนเงินที่เบิกจ่ายไปแล้วตามข้อ
๑๗ วรรคหนึ่ง หรือ เลิก ยุบรวม แยกบางส่วน
ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านคืนเงินที่ได้รับจัดสรรจากรัฐ หากคืนไม่ได้
นายทะเบียนมีสิทธิเรียกร้องเงินคืน
ข้อ
๒๖
กรณีกองทุนหมู่บ้านใดนายทะเบียนสั่งให้ชดใช้หรือส่งคืนเงินที่เบิกจ่ายไปแล้วตามข้อ
๑๗ วรรคหนึ่ง หรือ เลิก ยุบรวม แยกบางส่วน เมื่อชำระบัญชีเสร็จแล้ว
มีหนี้ค้างอยู่กับกองทุน คณะกรรมการหรือสมาชิก ให้นายทะเบียนมีอำนาจเรียกเงินคืนได้
ทั้งนี้
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ค่าธรรมเนียม
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการและเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนด
หมวด ๖
การอุทธรณ์
ข้อ
๒๗
ในกรณีกองทุนหมู่บ้านที่นายทะเบียนสั่งให้ชดใช้หรือส่งคืนเงินที่เบิกจ่ายไปแล้วตามข้อ
๑๗ วรรคหนึ่ง หรือ กองทุนหมู่บ้านที่ถูกสั่งให้เลิก ยุบรวม แยกบางส่วน
มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง
และให้นายทะเบียนส่งคำอุทธรณ์ต่อไปยังคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
โดยไม่ชักช้า
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติให้ถือเป็นที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ ๘
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
สุวิทย์ คุณกิตติ
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ประกาศสำนักงานศาลปกครอง
เรื่อง ศาลปกครองพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนกฎ[๓]
ปณตภร/จัดทำ
๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๐๕ ง/หน้า ๑๒/๖ ตุลาคม ๒๕๔๙
[๒] ข้อ ๒๔ วรรคสี่ เพิกถอนโดยคำพิพากษาของศาลปกครองเชียงใหม่ คดีหมายเลขแดงที่
๓๐๙/๒๕๕๔
[๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๓ ก/หน้า ๑๒/๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ |
824318 | ระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุม และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและอนุกรรมการ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2549 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2561) | ระเบียบ
ว่าด้วยเบี้ยประชุม และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและอนุกรรมการ
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๙
(ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๑)
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุม
และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ) ผู้มีอำนาจสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
แทนนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๓๒๓/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๔ ธันวาคม
๒๕๖๐ โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ตามหนังสือที่ กค ๐๔๐๖.๕/๔๘๘๙๐ ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ จึงกำหนดระเบียบไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุม
และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๑)
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ (๑) และ (๒) ของระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุม
และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
(๑) ประธานกรรมการ เดือนละ
๖,๐๐๐
บาท
(๒) กรรมการ เดือนละ ๔,๘๐๐ บาท
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑
สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ชญานิศ/จัดทำ
๒๑ มีนาคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๒๙ ง/หน้า ๓/๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๑ |
805342 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติว่าด้วยการบริหารโครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืนโดยศาสตร์พระราชาตามแนวทางประชารัฐ พ.ศ. 2561 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการบริหารโครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืน
โดยศาสตร์พระราชาตามแนวทางประชารัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑
โดยที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนที่จะสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจของประเทศการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง
จึงได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมแก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอันเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
ยกระดับสวัสดิการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพในการสร้างโอกาสและอาชีพการจ้างงานกลุ่มประชาชนผู้มีรายได้น้อยและเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศตามแนวคิด
ประเทศไทย ๔.๐
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน
และแก้ปัญหาจำเป็นเร่งด่วน สนับสนุนการจ้างงาน และต่อยอดโครงการเดิม
ตลอดจนเพื่อดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ
ที่ชุมชนเห็นว่าเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมศักยภาพในการประกอบอาชีพ
ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ (๕) และ ๑๙ (๑๖)
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติคราวประชุม เมื่อวันที่
๒๖ เมษายน ๒๕๖๑ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จึงได้ออกระเบียบ
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติว่าด้วยการบริหารโครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืน
โดยศาสตร์พระราชาตามแนวทางประชารัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารโครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๔
บทบัญญัติของระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งใดที่ขัด
หรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
กองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า
กองทุนหมู่บ้าน หรือกองทุนชุมชนเมืองในพื้นที่จังหวัดแล้วแต่กรณี
ชุมชนเมือง หมายความว่า ชุมชนในเขตเทศบาล
เมืองพัทยา หรือเขตพื้นที่อื่น ทั้งนี้ โดยมีขอบเขตตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
คณะอนุกรรมการ หมายความว่า
คณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติมอบหมายหรือแต่งตั้ง
ให้ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืน
โดยศาสตร์พระราชาตามแนวทางประชารัฐ
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านหรือคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
กรรมการกองทุนหมู่บ้าน
หมายความว่า
กรรมการในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านหรือกรรมการในคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง
แล้วแต่กรณี
คณะผู้รับผิดชอบโครงการ หมายความว่า คณะบุคคล หรือคณะทำงาน แล้วแต่กรณี
ที่ได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมสมาชิก
เพื่อบริหารงานโครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืนโดยศาสตร์พระราชาตามแนวทางประชารัฐ
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
สำนักงาน สาขา หมายความว่า
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขาตามเขตพื้นที่รับผิดชอบในภูมิภาค
ศูนย์ปฏิบัติการ หมายความว่า
ศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัด
ผู้อำนวยการ หมายความว่า
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ธนาคาร หมายความว่า ธนาคารออมสิน
หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรหรือธนาคารอื่นที่คณะกรรมการกำหนด
ที่ประชุมสมาชิก หมายความว่า
ที่ประชุมสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
บัญชีประชารัฐ หมายความว่า
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของกองทุนหมู่บ้าน หรือกองทุนชุมชนเมือง ซึ่งเปิดไว้รองรับเงินจัดสรรงบประมาณโครงการจากรัฐบาล
โครงการ
หมายความว่า โครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืน โดยศาสตร์พระราชาตามแนวทางประชารัฐ
โครงสร้างพื้นฐาน หมายความว่า
โครงสร้างพื้นฐานในชุมชน เช่น ยุ้งฉางชุมชน โรงตากพืชผลทางการเกษตร โรงสีชุมชน
โรงงานผลิตปุ๋ยประจำชุมชน
การจัดทำแหล่งน้ำเก็บน้ำชุมชนและเครื่องจักรสำหรับแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น
ข้อ ๖
ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
รักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
หมวด
๑
วัตถุประสงค์และกรอบหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการ
ข้อ ๗
กองทุนหมู่บ้านสามารถดำเนินโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
(๑)
เพื่อส่งเสริมระบบเศรษฐกิจและการลงทุนตามโมเดล ประเทศไทย ๔.๐ โดยใช้ความหลากหลายทางทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดคุณค่า
และประโยชน์สูงสุดอันนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยนวัตกรรมใหม่
(๒)
เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาของหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืนด้วยศาสตร์พระราชา
(๓)
เพื่อเพิ่มศักยภาพกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในการเป็นกลไกการพัฒนาและสนับสนุนการประกอบอาชีพ
สร้างงาน สร้างรายได้ รวมถึงส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชน
(๔)
เพื่อให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองได้มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้มีรายได้น้อยโดยเฉพาะในส่วนที่เป็นสมาชิกกองทุน
ในการเข้าถึงแหล่งทุน การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ การจัดสวัสดิการและการส่งเสริมการประกอบอาชีพเพื่อยกระดับรายได้ของคนในหมู่บ้านและชุมชน
(๕)
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนต่อยอดการดำเนินงานโครงการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตามโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
และโครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
ให้มีการพัฒนาและกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
(๖)
เพื่อเสริมสร้างและปลูกจิตสำนึกในการบริหารงบประมาณ
ดำเนินการกิจกรรมตามความต้องการของหมู่บ้านและชุมชน
โดยยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้และเตรียมความพร้อมขององค์กรภาคประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชน
(๗)
เพื่อให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมีพลังและมีเครือข่ายสนับสนุนการดำเนินการและสอดคล้องกับแนวทางไทยนิยมยั่งยืน
(๘)
เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(๙) เพื่อซื้อ จัดหา รับ เช่า
เช่าซื้อ ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครอง ปรับปรุง ใช้ และจัดการโดยประการอื่น
ซึ่งทรัพย์สินใด ๆ ตลอดจนดอกผลของทรัพย์สิน รวมทั้งการขาย โอน จำนอง จำนำ
แลกเปลี่ยน และจำหน่ายทรัพย์สิน อันเกิดจากการดำเนินโครงการ
ข้อ ๘
คณะอนุกรรมการอาจกำหนดวัตถุประสงค์ให้กองทุนหมู่บ้านสามารถดำเนินโครงการเพิ่มเติมได้
ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามประกาศคณะอนุกรรมการกำหนด
หมวด
๒
คณะอนุกรรมการ
ข้อ ๙
ให้คณะกรรมการมอบหมาย หรือแต่งตั้งคณะอนุกรรมการคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืน
โดยศาสตร์พระราชาตามแนวทางประชารัฐ
ให้คณะอนุกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑) กำหนดกรอบ
แนวทางในการพิจารณา และอนุมัติโครงการ
(๒) พิจารณาและอนุมัติแผนงาน
โครงการที่เสนอขอใช้งบประมาณโครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืน
โดยศาสตร์พระราชาตามแนวทางประชารัฐ ตามแนวทางการดำเนินงานที่คณะกรรมการกำหนด
(๓) พิจารณาจัดสรรงบประมาณ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และระเบียบที่กำหนด
(๔)
ประมวลและวิเคราะห์ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้วเพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ
(๕) แต่งตั้งคณะทำงาน
หรือบุคคลเพื่อทำหน้าที่ในด้านต่าง ๆ
ในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงาน หรือติดตาม
ประเมินผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืนโดยศาสตร์พระราชาตามแนวทางประชารัฐ
ให้บรรลุวัตถุประสงค์ และมีประสิทธิภาพ
(๖) ออกระเบียบ ประกาศ คำสั่ง
หลักเกณฑ์ วัตถุประสงค์
เงื่อนไขและวิธีการตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง
เพื่อการดำเนินการตามหลักการของโครงการ
(๗) รายงานผลการดำเนินงาน
ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติทราบ
(๘)
กำหนดวัตถุประสงค์ให้กองทุนหมู่บ้านสามารถดำเนินโครงการเพิ่มเติมได้ตามประกาศที่คณะอนุกรรมการกำหนด
(๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ
ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กำกับดูแลกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ข้อ ๑๐
ให้ศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดในแต่ละจังหวัด
ภายใต้การกำกับดูแลของหัวหน้าสำนักงานสาขา
มีอำนาจหน้าที่สนับสนุนการดำเนินงานโครงการ ตลอดจนการดำเนินงานของ สทบ.
ตามแนวทางที่คณะอนุกรรมการกำหนด
หมวด
๓
การขอรับการจัดสรรงบประมาณ
ข้อ ๑๑
กองทุนหมู่บ้านที่มีความประสงค์จะขอรับการจัดสรรเงินงบประมาณตามโครงการสามารถยื่นแบบคำขอรับการสนับสนุนเงินงบประมาณ
โครงการได้ตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
ให้กองทุนหมู่บ้านเปิดบัญชีประชารัฐไว้กับธนาคาร
เพื่อรองรับการโอนเงินงบประมาณเข้าบัญชีประชารัฐเว้นแต่กองทุนหมู่บ้านได้เปิดบัญชีประชารัฐไว้แล้วก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้
ให้กองทุนหมู่บ้านที่เปิดบัญชีประชารัฐจัดทำเอกสารยินยอมการให้ข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีประชารัฐเป็นของสำนักงาน
และให้มีอำนาจให้ธนาคารโอน ถอนคืนสำนักงาน
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
สามารถจัดสรรงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการได้
ไม่เกินร้อยละ ๓ ของเงินงบประมาณโครงการที่ได้รับการจัดสรร
ข้อ ๑๒ กองทุนหมู่บ้านสามารถนำงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรไปร่วมดำเนินงานกับกองทุนหมู่บ้านอื่นได้
หรือต่อยอดโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐและโครงการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐหรือต่อยอดกิจกรรมของกลุ่มองค์กรวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพ ทั้งนี้
ต้องเป็นไปตามมติที่ประชุมสมาชิกและเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมหมู่บ้านหรือชุมชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง
ทั้งนี้
ในการบริหารจัดการให้คัดเลือกคณะกรรมการบริหารจากตัวแทนกองทุนหมู่บ้านแต่ละแห่ง ๑
คณะ สำหรับสัดส่วนคณะกรรมการให้เป็นไปตามระเบียบหรือข้อบังคับที่ได้กำหนดร่วมกันและการจัดทำระบบบัญชี
ให้จัดทำในลักษณะรวมกิจการเป็นกิจการเดียว โดยให้มีรูปแบบตามข้อ ๓๖ กำหนด
หากจำเป็นต้องขอมติจากสมาชิกในการดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบหรือข้อบังคับให้กองทุนหมู่บ้านแต่ละแห่งเรียกประชุมสมาชิกโดยองค์ประชุมให้เป็นไปตามข้อ
๑๔
โดยให้ถือตามมติของที่ประชุมสมาชิกด้วยการเปรียบเทียบสัดส่วนของสมาชิกทั้งหมดของทุกกองทุน
ข้อ ๑๓
การดำเนินงานต้องบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส
และสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนการนำเงินงบประมาณตามโครงการไปใช้เป็นเงินทุนให้สมาชิกกู้ยืม
หรือเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคลจะกระทำมิได้
หากฝ่าฝืนผู้กระทำในฐานะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลจะต้องรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมดและถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
ข้อ ๑๔
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านที่ประสงค์ขอรับการสนับสนุนเงินงบประมาณโครงการให้จัดประชุมสมาชิก
โดยมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
หรือตามที่คณะอนุกรรมการกำหนด เพื่อพิจารณาคัดเลือกโครงการโดยคำนึงถึงหลักการประชารัฐ และคณะผู้รับผิดชอบโครงการ
โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิก ซึ่งจำนวนองค์คณะ
องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ให้เป็นไปตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านดำเนินการเสนอโครงการและเอกสารรายงานการประชุมสมาชิกพร้อมเอกสารประกอบ
ตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
ข้อ ๑๕
คณะอนุกรรมการอาจกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ตลอดจนองค์ประชุมเพื่อให้สามารถจัดประชุมสมาชิกสำหรับการขอรับเงินสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการในกรณีที่กองทุนหมู่บ้านไม่สามารถจัดประชุมสมาชิกได้
โดยให้กองทุนหมู่บ้านรายงานปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการประชุมสมาชิกให้สำนักงานทราบ
เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการพิจารณา
ข้อ ๑๖ การเปลี่ยนแปลง
แก้ไข หรือเพิ่มเติมโครงการ ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจัดประชุมสมาชิก
โดยมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
หรือตามที่คณะอนุกรรมการกำหนด เพื่อมีมติเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมโครงการ
โดยกระบวนการให้เป็นไปตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
เพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบาย
หมวด
๔
การจัดสรรงบประมาณให้กองทุนหมู่บ้าน
ข้อ ๑๗
การจัดสรรงบประมาณตามโครงการให้จัดสรรโดยยึดหลักความเป็นจริง
โดยคำนึงถึงหลักการประชารัฐ และตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยกองทุนหมู่บ้านที่โครงการได้รับการอนุมัติจะได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณ
กองทุนหมู่บ้านละไม่เกินสามแสนบาท
การจัดสรรงบประมาณนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ข้างต้นให้สามารถดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข
และวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
ข้อ ๑๘
เมื่อคณะอนุกรรมการได้อนุมัติโครงการให้กับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแล้วให้สำนักงานแจ้งผลการอนุมัติและจัดสรรงบประมาณให้กองทุนหมู่บ้านทราบ
ข้อ ๑๙
ในกรณีที่กองทุนหมู่บ้านได้เสนอโครงการ แต่ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากเหตุใดก็ตาม
ให้สำนักงานแจ้งให้กองทุนหมู่บ้านทราบผลการพิจารณา พร้อมเหตุผลการไม่ได้รับการอนุมัติ
เพื่อให้กองทุนหมู่บ้านดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือแก้ไขให้ถูกต้องต่อไปภายในระยะเวลาที่กำหนด นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
หมวด
๕
การดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและการบริหารโครงการ
ข้อ ๒๐
กองทุนหมู่บ้านจะเริ่มดำเนินโครงการได้ต่อเมื่อได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณเข้าบัญชีประชารัฐของกองทุนหมู่บ้านแล้ว
ข้อ ๒๑
ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน มีหน้าที่รับผิดชอบโครงการในการจัดซื้อ จัดจ้างการจัดทำบัญชีและการเงิน การติดตามและตรวจสอบ
และการดำเนินการอื่นใด ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามแนวทางที่คณะอนุกรรมการกำหนด
ข้อ ๒๒
ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านกำหนดระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
หรือคำสั่งของกองทุนหมู่บ้านสำหรับการบริหารงานโครงการ
โดยมีสาระสำคัญอย่างน้อยดังนี้
(๑) หน้าที่ของคณะกรรมการในการจัดซื้อจัดจ้าง
(๒) การบริหารงบประมาณ
(๓) การจัดทำบัญชีและการเงิน
(๔) การจัดทำทะเบียนและบริหารทรัพย์สิน
(๕) การประเมิน ตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง
(๖) การจัดสรรกำไรที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
ข้อ ๒๓ การทำนิติกรรม
สัญญา เกี่ยวกับโครงการต้องกระทำภายใต้กรอบวัตถุประสงค์ตามข้อ ๗ ทั้งนี้ ต้องดำเนินการโดยกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ ๒๔
สำนักงานสามารถจัดทำคู่มือ แนวทาง วิธีการดำเนินงานตามโครงการ
เพื่อให้กองทุนหมู่บ้านถือปฏิบัติให้เป็นไปตามแบบมาตรฐานเดียวกันได้
ข้อ ๒๕
กรณีมีการเปลี่ยนแปลงโครงการ แก้ไขหรือเพิ่มเติมโครงการ
ให้กองทุนหมู่บ้านหรือคณะผู้รับผิดชอบโครงการ ชะลอการใช้จ่ายเงินโครงการไว้ก่อนจนกว่าการดำเนินการตามข้อ
๑๖ จะแล้วเสร็จ ทั้งนี้
ในกิจกรรมใดของโครงการที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง
แก้ไขหรือเพิ่มเติมโครงการให้ดำเนินโครงการต่อไปภายใต้งบประมาณนั้น
ข้อ ๒๖
ทรัพย์สินที่เกิดจากการดำเนินงานภายใต้เงินงบประมาณโครงการนี้
ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกองทุนหมู่บ้าน
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์วิธีการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
ข้อ ๒๗
คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการอาจออกประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งเพื่อกำหนดการดำเนินงานบริหารโครงการเพิ่มเติมก็ได้
ข้อ ๒๘
กองทุนหมู่บ้านที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการต้องพิจารณากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ประกอบการดำเนินงานตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ
หมวด
๖
การตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินงาน
ข้อ ๒๙
กรณีมีผู้ร้องเรียน หรือสำนักงาน หรือสำนักงาน สาขา
หรือศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดตรวจสอบพบว่า การบริหารโครงการไม่เป็นไปตามคู่มือ
แนวทาง วิธีการดำเนินงานตามโครงการที่คณะอนุกรรมการ หรือสำนักงานกำหนด
หรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หรือเป็นการกระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวมของกองทุนหมู่บ้าน
หมู่บ้านหรือชุมชน แล้วแต่กรณีในระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริง ผู้อำนวยการ
หรือหัวหน้าสำนักงาน สาขา
มีอำนาจแจ้งระงับการเบิกจ่ายเงินออกจากบัญชีประชารัฐไว้เป็นการชั่วคราว
หรือชะลอการดำเนินโครงการไว้เป็นการชั่วคราวได้โดยมีหนังสือไปยังธนาคารเพื่อระงับการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
หรือคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านหรือคณะผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้เกี่ยวข้อง
แล้วแต่กรณี
กรณีมีการเบิกถอนเงินงบประมาณออกจากบัญชีประชารัฐแล้ว ให้ผู้อำนวยการ
หรือหัวหน้าสำนักงาน สาขา
มีอำนาจแจ้งให้กองทุนหมู่บ้านนำเงินกลับเข้าบัญชีประชารัฐไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเสร็จ
เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเสร็จและเห็นว่าการบริหารโครงการไม่เป็นไปตามหลักประชารัฐหรือไม่เป็นไปตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
หรือไม่เป็นไปตามคู่มือ แนวทางวิธีการดำเนินงานตามโครงการที่สำนักงานกำหนด
หรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นการกระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวมของกองทุนหมู่บ้าน
หมู่บ้านหรือชุมชนจริงผู้อำนวยการมีอำนาจเรียกเงินงบประมาณคืนทั้งหมดหรือบางส่วน
รวมทั้งดอกผล แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
ผู้อำนวยการสามารถมอบอำนาจให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ เพื่อดำเนินการให้ความคุ้มครอง
เรียกค่าเสียหายฟ้องร้องดำเนินคดีทั้งในทางแพ่งและอาญา
เมื่อตรวจสอบแล้วเห็นว่าการบริหารโครงการเป็นไปตามหลักประชารัฐ
แนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด คู่มือ แนวทาง
วิธีการดำเนินงานตามโครงการที่สำนักงานกำหนด
ชอบด้วยกฎหมายและการกระทำนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวมของกองทุนหมู่บ้าน
หมู่บ้านหรือชุมชนให้ผู้อำนวยการ หรือหัวหน้าสำนักงาน สาขา
มีหนังสือแจ้งไปยังกองทุนหมู่บ้านให้ดำเนินการบริหารจัดการเงินงบประมาณต่อไป
ข้อ ๓๐
เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง สำนักงาน หรือสำนักงาน สาขา
หรือศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดสามารถเรียกประชุม บุคคล เอกสาร
หรือประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานในพื้นที่
ให้ตรวจสอบหรือร่วมตรวจสอบเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ชัดเจน
ข้อ ๓๑ กรณีสำนักงาน
หรือกองทุนหมู่บ้านพบว่าเกิดความเสียหายในทางแพ่งเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ
อันเกิดจากบุคคลอื่นที่กองทุนหมู่บ้านไปกระทำนิติกรรม สัญญา ให้กองทุนหมู่บ้านดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย
เพื่อเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทน ค่าเสียหาย ต่อผู้เกี่ยวข้อง
กรณีกองทุนหมู่บ้านไม่ดำเนินการ ให้ผู้อำนวยการ
หรือบุคคลที่ผู้อำนวยการมอบหมายเรียกเงินงบประมาณคืนทั้งหมดหรือบางส่วนรวมดอกผล
ตลอดทั้งค่าเสียหายอันเกิดจากการไม่กระทำการนั้นจากกองทุนหมู่บ้าน
หรือจากกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
หรือจากคณะผู้รับผิดชอบโครงการที่ไม่ดำเนินการจนทำให้เกิดความเสียหายแล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๒
กรณีกองทุนหมู่บ้าน หรือกรรมการกองทุนหมู่บ้านไม่เห็นด้วยกับการเรียกเงินงบประมาณคืนทั้งหมดหรือบางส่วน
รวมดอกผล กองทุนหมู่บ้านสามารถอุทธรณ์เป็นหนังสือมายังผู้อำนวยการได้ภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันที่เรียกเงินคืน
ทั้งนี้
หากเป็นการอุทธรณ์เพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่ง บุคคลใด ซึ่งมิใช่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านโดยพิจารณาจากคำร้อง
สำนักงานจะไม่รับเรื่องในการอุทธรณ์ในคราวนั้นก็ได้
ข้อ ๓๓
ให้กองทุนหมู่บ้าน
รายงานผลการดำเนินโครงการและรายงานการใช้จ่ายเงินต่อสำนักงานตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
ข้อ ๓๔
ผู้อำนวยการอาจแต่งตั้งหรือมอบหมายคณะทำงานหรือบุคคล เพื่อตรวจสอบ สอบทาน ติดตามและประเมินผล
หรือดำเนินการอื่นใดในการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการและรายงานต่อผู้อำนวยการเพื่อพิจารณาดำเนินการตามระเบียบนี้
ข้อ ๓๕
หากตรวจสอบพบว่ากองทุนหมู่บ้านที่ได้รับงบประมาณไปดำเนินการตามโครงการแล้วแต่มีเหตุให้หยุดดำเนินการ
ให้สำนักงาน หรือสำนักงาน สาขา
สรุปผลการตรวจสอบโดยระบุสาเหตุและเสนอแนวทางการแก้ไขให้คณะอนุกรรมการพิจารณา
ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาแต่งตั้งคณะทำงาน หรือเชิญหน่วยงาน
ส่วนราชการ หรือองค์กรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนองค์ความรู้ งบประมาณ
หรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้กองทุนหมู่บ้านสามารถบริหารกิจกรรม
หรือกิจการได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้
หากหยุดดำเนินการเกินกว่า ๑๘๐ วันแต่ไม่แจ้งให้สำนักงาน หรือสำนักงาน สาขา
ทราบจนเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน ต่อกองทุนหมู่บ้านและส่วนรวม
กองทุนหมู่บ้านจะต้องรับผิดชอบความเสียหายเต็มจำนวนตามงบประมาณที่ได้รับ
คืนแก่สำนักงานตามแนวทางที่คณะอนุกรรมการกำหนด
หมวด
๗
การทำบัญชีและการตรวจสอบ
ข้อ ๓๖
ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจัดทำบัญชีของโครงการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
และจัดทำบัญชีรับ - จ่ายอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง รวมทั้งสรุปผลการดำเนินงานประจำปี
รายงานผลให้สมาชิกทราบและรายงานผลให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๓๑
ธันวาคมของทุกปี)
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการบริหารจัดการการเงินการบัญชี
พัสดุ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของสมาชิกเป็นหลัก
ข้อ ๓๗
กำไรสุทธิที่เกิดจากการดำเนินงานของโครงการให้นำเข้าบัญชีประชารัฐ
หรือบัญชีของกลุ่มองค์กรวิสาหกิจชุมชน
เมื่อสิ้นปีบัญชีหากปรากฏว่าปีใดมีกำไรสุทธิคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านสามารถนำกำไรสุทธิมาจัดสรรได้ ทั้งนี้
ให้มีการจัดสรรเป็นเงินสมทบบัญชีประชารัฐ
เพื่อเป็นเงินทุนในการดำเนินโครงการและเงินอื่นตามระเบียบที่กองทุนหมู่บ้านกำหนด
การจัดสรรกำไรสุทธิบัญชีประชารัฐ
ให้คำนึงถึงประโยชน์ สวัสดิภาพ สวัสดิการ ของสมาชิกและประชาชน
การมีส่วนร่วมของกองทุนหมู่บ้านที่ดำเนินโครงการ
ให้สามารถดำเนินโครงการเพื่อสร้างงานสร้างรายได้ สร้างอาชีพ
และกิจกรรมสาธารณประโยชน์ ที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
คณะกรรมการสามารถกำหนดให้มีการจัดสรรกำไรสุทธิของบัญชีประชารัฐเพิ่มเติมได้เพื่อประโยชน์ของการบริหารจัดการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๓๘ การใด ๆ
ที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการ ที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการ
ตลอดจนกองทุนหมู่บ้านที่ได้กระทำหรือดำเนินการภายใต้นโยบาย แนวทาง
ระเบียบประกาศและคำสั่ง ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติว่าด้วยการบริหารโครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้ถือเป็นการดำเนินโครงการตามระเบียบนี้
ข้อ ๓๙
ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะอนุกรรมการหรือมีแต่ไม่สามารถจัดการประชุมคณะอนุกรรมการได้ให้อำนาจของคณะอนุกรรมการตามระเบียบนี้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ
จนกว่าจะมีคณะอนุกรรมการหรือจนกว่าจะประชุมคณะอนุกรรมการได้
ข้อ ๔๐
ให้ทุกกองทุนหมู่บ้านที่เปิดบัญชีประชารัฐจัดทำเอกสารยินยอมการให้ข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีประชารัฐเป็นของสำนักงาน
และให้มีอำนาจให้ธนาคารโอน ถอนคืนสำนักงาน
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พัชรภรณ์/จัดทำ
๒๐
กรกฏาคม ๒๕๖๑
นุสรา/ปรับปรุง
๑๒
ธันวาคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง/หน้า ๑/๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๑ |
782123 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารโครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ พ.ศ. 2560
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการบริหารโครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
ตามแนวทางประชารัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนที่จะสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจของประเทศ
การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง จึงได้จัดงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมสำหรับแผนบูรณาการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง
ให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอันเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานรากเพื่อเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศตามแนวคิด
ประเทศไทย ๔.๐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน
และแก้ปัญหาจำเป็นเร่งด่วน สนับสนุนการจ้างงานและต่อยอดโครงการเดิม
ตลอดจนเพื่อดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ที่ชุมชนเห็นว่าเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมศักยภาพในการประกอบอาชีพ
และความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ (๕) และ ๑๙ (๑๖)
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติคราวประชุม เมื่อวันที่
๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจึงได้ออกระเบียบ
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารโครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการบริหารโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๔ บทบัญญัติของระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่งใดที่ขัด หรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
กองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า
กองทุนหมู่บ้าน หรือกองทุนชุมชนเมืองในพื้นที่จังหวัด แล้วแต่กรณี
ชุมชนเมือง หมายความว่า
ชุมชนในเขตเทศบาล เมืองพัทยา หรือเขตพื้นที่อื่น ทั้งนี้ โดยมีขอบเขตตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
คณะอนุกรรมการ หมายความว่า
คณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งจากคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน หรือคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
กรรมการกองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า
กรรมการในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านหรือกรรมการในคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง
แล้วแต่กรณี
คณะผู้รับผิดชอบโครงการ หมายความว่า คณะบุคคล หรือคณะทำงาน แล้วแต่กรณี ที่ได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมสมาชิก
เพื่อบริหารงานโครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชน เพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
สำนักงาน สาขา หมายความว่า
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขาตามเขตพื้นที่รับผิดชอบในภูมิภาค
ศูนย์ปฏิบัติการ หมายความว่า
ศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัด
ผู้อำนวยการ หมายความว่า
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ธนาคาร หมายความว่า
ธนาคารออมสิน หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือธนาคารอื่นที่คณะกรรมการกำหนด
ที่ประชุมสมาชิก หมายความว่า
ที่ประชุมสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
บัญชีประชารัฐ หมายความว่า
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ภายใต้ชื่อกองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนชุมชนเมือง
(ชื่อหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง)
ซึ่งเปิดไว้รองรับเงินจัดสรรจากรัฐบาลสำหรับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ดำเนินโครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
โครงการ หมายความว่า
โครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
โครงสร้างพื้นฐาน หมายความว่า
โครงสร้างพื้นฐานในชุมชน เช่น ยุ้งฉางชุมชน โรงตากพืชผลทางการเกษตร โรงสีชุมชน
โรงงานผลิตปุ๋ยประจำชุมชน การจัดทำแหล่งน้ำเก็บน้ำชุมชน
และเครื่องจักรสำหรับแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น
ข้อ ๖ ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติรักษาการตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
หมวด ๑
วัตถุประสงค์และกรอบหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการ
ข้อ ๗ กองทุนหมู่บ้านสามารถดำเนินโครงการ
โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
(๑)
เพื่อส่งเสริมระบบเศรษฐกิจและการลงทุนตามโมเดล ประเทศไทย
๔.๐ โดยใช้ความหลากหลายทางทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดคุณค่า
และประโยชน์สูงสุดอันนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยนวัตกรรมใหม่
(๒) เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา
ความต้องการของหมู่บ้านและชุมชน
(๓)
เพื่อเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนผ่านกลไกของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตามโครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
(๔) เพื่อสนับสนุนการจัดทำโครงสร้างพื้นฐาน
การแก้ไขปัญหาความจำเป็นเร่งด่วน
หรือสนับสนุนการจ้างงานในหมู่บ้าน/ชุมชนหรือเพื่อแก้ไขปัญหาความจำเป็นเร่งด่วนของหมู่บ้าน/ชุมชน
เพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพ สร้างงาน
สร้างรายได้และความเป็นอยู่ของคนในหมู่บ้านและชุมชนให้ดีขึ้น
(๕)
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนต่อยอดการดำเนินงานโครงการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตามโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
หรือกิจกรรมของกลุ่มองค์กรวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพ
(๖) เพื่อเสริมสร้างและปลูกจิตสำนึกในการบริหารงบประมาณ
ดำเนินการกิจกรรมร่วมกัน ยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
(๗) เพื่อซื้อ จัดหา รับ เช่า เช่าซื้อ ถือกรรมสิทธิ์
ครอบครอง ปรับปรุง ใช้ และจัดการโดยประการอื่น ซึ่งทรัพย์สินใด ๆ
ตลอดจนดอกผลของทรัพย์สิน รวมทั้งการขาย โอน จำนอง จำนำ แลกเปลี่ยน
และจำหน่ายทรัพย์สิน อันเกิดจากการดำเนินโครงการ
ข้อ ๘ คณะอนุกรรมการอาจกำหนดวัตถุประสงค์ให้กองทุนหมู่บ้านสามารถดำเนินโครงการเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร
ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามประกาศที่คณะอนุกรรมการกำหนด
หมวด ๒
คณะอนุกรรมการบริหาร
โครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
ข้อ ๙ ให้คณะกรรมการมอบหมาย
หรือแต่งตั้งคณะอนุกรรมการคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
ให้คณะอนุกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑)
กำหนดกรอบแนวทางในการพิจารณาและการเสนอโครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
(๒) รวบรวมและพิจารณากลั่นกรองแผนงาน
โครงการที่เสนอขอใช้งบประมาณจากโครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
ตามกรอบการดำเนินงานที่คณะกรรมการกำหนด เพื่อเสนอคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติต่อไป
(๓) พิจารณาจัดสรรงบประมาณ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และระเบียบที่กำหนด
(๔)
ประมวลผลและวิเคราะห์ประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว
เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ
(๕) แต่งตั้งคณะทำงาน
หรือบุคคลเพื่อทำหน้าที่ในด้านต่าง ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงาน หรือติดตาม
ประเมินผลการดำเนินงานโครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
ให้บรรลุวัตถุประสงค์ และมีประสิทธิภาพ
(๖) ออกระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์
เงื่อนไขและวิธีการตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง
เพื่อการดำเนินการตามหลักการของโครงการประชารัฐ
(๗) รายงานผลการดำเนินงาน
ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติทราบ
(๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ
ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กำกับดูแลกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ข้อ ๑๐ ให้มีศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดในแต่ละจังหวัด
ภายใต้การกำกับดูแลของหัวหน้าสำนักงาน สาขา โดยให้ศูนย์ปฏิบัติการจังหวัด
มีอำนาจหน้าที่ ตามที่คณะอนุกรรมการกำหนด
แนวทางการจัดตั้ง การบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัด ให้เป็นไปตามแนวทางที่ผู้อำนวยการกำหนด
หมวด ๓
การขอรับการจัดสรรงบประมาณ
ข้อ ๑๑ กองทุนหมู่บ้านที่มีความประสงค์จะขอรับการจัดสรรเงินงบประมาณตามโครงการสามารถยื่นแบบคำขอรับการสนับสนุนเงินงบประมาณโครงการได้ตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
ให้กองทุนหมู่บ้านเปิดบัญชีประชารัฐไว้กับธนาคาร
เพื่อรองรับการโอนเงินงบประมาณเข้าบัญชีประชารัฐ
เว้นแต่กองทุนหมู่บ้านได้เปิดบัญชีประชารัฐไว้แล้วก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ ให้กองทุนหมู่บ้านที่เปิดบัญชีประชารัฐจัดทำเอกสารยินยอมการให้ข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีประชารัฐเป็นของสำนักงานและให้มีอำนาจให้ธนาคารโอน
ถอนคืนสำนักงาน
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
สามารถจัดสรรงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการฯ
ได้ ไม่เกินร้อยละ ๓ ของเงินงบประมาณโครงการที่ได้รับการจัดสรร
ข้อ ๑๒ กองทุนหมู่บ้านสามารถนำงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรไปร่วมดำเนินงานกับกองทุนหมู่บ้านอื่นได้
หรือต่อยอดโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ หรือต่อยอดกิจกรรมของกลุ่มองค์กรวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพ
ทั้งนี้
ต้องเป็นไปตามมติที่ประชุมสมาชิกและเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมหมู่บ้านหรือชุมชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง
ทั้งนี้
ในการบริหารจัดการให้คัดเลือกคณะกรรมการบริหารจากตัวแทนกองทุนหมู่บ้านแต่ละแห่ง ๑
คณะ สำหรับสัดส่วนคณะกรรมการให้เป็นไปตามระเบียบหรือข้อบังคับที่ได้กำหนดร่วมกัน และการจัดทำระบบบัญชีให้จัดทำในลักษณะรวมกิจการเป็นกิจการเดียว
โดยให้มีรูปแบบตามข้อ ๓๖ กำหนด หากจำเป็นต้องขอมติจากสมาชิกในการดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบหรือข้อบังคับ
ให้กองทุนหมู่บ้านแต่ละแห่งเรียกประชุมสมาชิกโดยองค์ประชุมให้เป็นไปตามข้อ ๑๔
โดยให้ถือตามมติของที่ประชุมสมาชิกด้วยการเปรียบเทียบสัดส่วนของสมาชิกทั้งหมดของทุกกองทุน
ข้อ ๑๓ การดำเนินงานต้องบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส
และสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนการนำเงินงบประมาณตามโครงการไปใช้เป็นเงินทุนให้สมาชิกกู้ยืม
หรือเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคลจะกระทำมิได้ หากฝ่าฝืนผู้กระทำในฐานะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลจะต้องรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมด
และถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
ข้อ ๑๔ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านที่ประสงค์ขอรับการสนับสนุนเงินงบประมาณโครงการให้จัดประชุมสมาชิก
โดยมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
หรือตามที่คณะอนุกรรมการกำหนด เพื่อพิจารณาคัดเลือกโครงการโดยคำนึงถึงหลักการประชารัฐ และคณะผู้รับผิดชอบโครงการ
โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิก ซึ่งจำนวนองค์คณะ
องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ให้เป็นไปตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านดำเนินการเสนอโครงการและเอกสารรายงานการประชุมสมาชิกพร้อมเอกสารประกอบ
ตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
ข้อ ๑๕ คณะอนุกรรมการอาจกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข
และวิธีการ ตลอดจนองค์ประชุมเพื่อให้สามารถจัดประชุมสมาชิกสำหรับการขอรับเงินสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการ
ในกรณีที่กองทุนหมู่บ้านไม่สามารถจัดประชุมสมาชิกได้
โดยให้กองทุนหมู่บ้านรายงานปัญหา
อุปสรรคในการดำเนินการประชุมสมาชิกให้สำนักงานทราบ
เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการพิจารณา
ข้อ ๑๖ การเปลี่ยนแปลง
แก้ไข หรือเพิ่มเติมโครงการ ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจัดประชุมสมาชิก
โดยมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
หรือตามที่คณะอนุกรรมการกำหนด เพื่อมีมติเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมโครงการ
โดยกระบวนการให้เป็นไปตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
เพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบาย
หมวด ๔
การจัดสรรงบประมาณให้กองทุนหมู่บ้าน
ข้อ ๑๗ การจัดสรรงบประมาณตามโครงการให้จัดสรรโดยยึดหลักความเป็นจริง
โดยคำนึงถึงหลักการประชารัฐ และตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
โดยกองทุนหมู่บ้านที่โครงการได้รับการอนุมัติจะได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณ
กองทุนหมู่บ้านละไม่เกินสองแสนบาท
การจัดสรรงบประมาณนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ข้างต้นให้สามารถดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์
เงื่อนไข และวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
ข้อ ๑๘ เมื่อคณะอนุกรรมการได้อนุมัติโครงการให้กับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแล้ว
ให้สำนักงานแจ้งผลการอนุมัติและจัดสรรงบประมาณให้กองทุนหมู่บ้านทราบ
สำหรับกองทุนหมู่บ้านที่เปิดบัญชีประชารัฐไว้ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับตามข้อ ๑๑
ในวาระเริ่มแรกที่กองทุนหมู่บ้านเบิกถอนเงินกับธนาคาร
ให้กองทุนหมู่บ้านที่เปิดบัญชีประชารัฐจัดทำเอกสารยินยอมการให้ข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีประชารัฐเป็นของสำนักงาน
และให้มีอำนาจให้ธนาคารโอน ถอนคืนสำนักงาน
ข้อ ๑๙ ในกรณีที่กองทุนหมู่บ้านได้เสนอโครงการ
แต่ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากเหตุใดก็ตาม
ให้สำนักงานแจ้งให้กองทุนหมู่บ้านทราบผลการพิจารณา
พร้อมเหตุผลการไม่ได้รับการอนุมัติ เพื่อให้กองทุนหมู่บ้านดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือแก้ไขให้ถูกต้องต่อไปภายในระยะเวลาที่กำหนด นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
หมวด ๕
การดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและการบริหารโครงการ
ข้อ ๒๐ กองทุนหมู่บ้านจะเริ่มดำเนินโครงการได้ต่อเมื่อได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณเข้าบัญชีประชารัฐของกองทุนหมู่บ้านแล้ว
ข้อ ๒๑ ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
มีหน้าที่รับผิดชอบโครงการในการจัดซื้อจัดจ้าง
การจัดทำบัญชีและการเงิน การติดตามและตรวจสอบ และการดำเนินการอื่นใด ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามแนวทางที่คณะอนุกรรมการกำหนด
ข้อ ๒๒ ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านกำหนดระเบียบ
ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งของกองทุนหมู่บ้านสำหรับการบริหารงานโครงการ
โดยมีสาระสำคัญอย่างน้อยดังนี้
(๑) หน้าที่ของคณะกรรมการในการจัดซื้อจัดจ้าง
(๒) การบริหารงบประมาณ
(๓) การจัดทำบัญชีและการเงิน
(๔) การจัดทำทะเบียนและบริหารทรัพย์สิน
(๕) การประเมิน ตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง
(๖) การจัดสรรกำไรที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
ข้อ ๒๓ การทำนิติกรรม
สัญญา เกี่ยวกับโครงการต้องกระทำภายใต้กรอบวัตถุประสงค์ตามข้อ ๖ หรือข้อ ๗ หรือข้อ
๘ เท่านั้น ทั้งนี้
ต้องดำเนินการโดยกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ ๒๔ สำนักงานสามารถจัดทำคู่มือ
แนวทาง วิธีการดำเนินงานตามโครงการ
เพื่อให้กองทุนหมู่บ้านถือปฏิบัติให้เป็นไปตามแบบมาตรฐานเดียวกันได้
ข้อ ๒๕ กรณีมีการเปลี่ยนแปลงโครงการ
แก้ไขหรือเพิ่มเติมโครงการ ให้กองทุนหมู่บ้านหรือคณะผู้รับผิดชอบโครงการ
ชะลอการใช้จ่ายเงินโครงการไว้ก่อนจนกว่าการดำเนินการตามข้อ ๑๔ จะแล้วเสร็จ ทั้งนี้
ในกิจกรรมใดของโครงการที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง
แก้ไขหรือเพิ่มเติมโครงการให้ดำเนินโครงการต่อไปภายใต้งบประมาณนั้น
ข้อ ๒๖ ทรัพย์สินที่เกิดจากการดำเนินงานภายใต้เงินงบประมาณโครงการนี้
ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกองทุนหมู่บ้าน หรือกลุ่ม องค์กรวิสาหกิจชุมชน ทั้งนี้
หลักเกณฑ์วิธีการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
ข้อ ๒๗ คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการอาจออกประกาศ
ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเพื่อกำหนดการดำเนินงานบริหารโครงการเพิ่มเติมก็ได้
ข้อ ๒๘ กองทุนหมู่บ้านที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่าด้วยการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการนั้น
หากไม่ดำเนินการจนหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายนั้นตรวจพบ
กองทุนหมู่บ้านไม่สามารถนำเงินจากโครงการไปชำระค่าปรับ เงินเพิ่ม ค่าธรรมเนียม
ค่าใช้จ่ายอื่นใด จากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนั้นได้
หมวด ๖
การตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินงาน
ข้อ ๒๙ กรณีมีผู้ร้องเรียน หรือสำนักงาน
หรือสำนักงาน สาขา หรือศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดตรวจสอบพบว่า
การบริหารโครงการไม่เป็นไปตามคู่มือ แนวทาง
วิธีการดำเนินงานตามโครงการที่คณะอนุกรรมการ หรือสำนักงานกำหนด
หรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หรือเป็นการกระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวมของกองทุนหมู่บ้าน
หมู่บ้านหรือชุมชน แล้วแต่กรณี ในระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริง ผู้อำนวยการ
หรือหัวหน้าสำนักงาน สาขา มีอำนาจแจ้งระงับการเบิกจ่ายเงินออกจากบัญชีประชารัฐไว้เป็นการชั่วคราว
หรือชะลอการดำเนินโครงการไว้เป็นการชั่วคราวได้ โดยมีหนังสือไปยังธนาคารเพื่อระงับการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
หรือคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านหรือคณะผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้เกี่ยวข้อง
แล้วแต่กรณี
กรณีมีการเบิกถอนเงินงบประมาณออกจากบัญชีประชารัฐแล้ว ให้ผู้อำนวยการ
หรือหัวหน้าสำนักงานสาขา
มีอำนาจแจ้งให้กองทุนหมู่บ้านนำเงินกลับเข้าบัญชีประชารัฐไว้เป็นการชั่วคราว
จนกว่าจะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเสร็จ
เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเสร็จและเห็นว่าการบริหารโครงการไม่เป็นไปตามหลักประชารัฐ
หรือไม่เป็นไปตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด หรือไม่เป็นไปตามคู่มือ
แนวทาง วิธีการดำเนินงานตามโครงการที่สำนักงานกำหนด หรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หรือเป็นการกระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวมของกองทุนหมู่บ้าน
หมู่บ้านหรือชุมชนจริง ผู้อำนวยการมีอำนาจเรียกเงินงบประมาณคืนทั้งหมดหรือบางส่วน
รวมทั้งดอกผล แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสามารถมอบอำนาจให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้
เพื่อดำเนินการให้ความคุ้มครอง เรียกค่าเสียหาย ฟ้องร้องดำเนินคดีทั้งในทางแพ่งและอาญา
เมื่อตรวจสอบแล้วเห็นว่าการบริหารโครงการเป็นไปตามหลักประชารัฐ
แนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด คู่มือ แนวทาง
วิธีการดำเนินงานตามโครงการที่สำนักงานกำหนด ชอบด้วยกฎหมาย และการกระทำนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวมของกองทุนหมู่บ้าน
หมู่บ้านหรือชุมชน ให้ผู้อำนวยการ หรือหัวหน้าสำนักงาน สาขา
มีหนังสือแจ้งไปยังกองทุนหมู่บ้านให้ดำเนินการบริหารจัดการเงินงบประมาณต่อไป
ข้อ ๓๐ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
สำนักงาน หรือสำนักงาน สาขา หรือศูนย์ปฏิบัติการจังหวัด สามารถเรียกประชุม บุคคล
เอกสาร หรือประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานในพื้นที่
ให้ตรวจสอบหรือร่วมตรวจสอบเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ชัดเจน
ข้อ ๓๑ กรณีสำนักงาน
หรือกองทุนหมู่บ้านพบว่าเกิดความเสียหายในทางแพ่งเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ
อันเกิดจากบุคคลอื่นที่กองทุนหมู่บ้านไปกระทำนิติกรรมสัญญา ให้กองทุนหมู่บ้านดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย
เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนค่าเสียหายต่อผู้เกี่ยวข้อง
กรณีกองทุนหมู่บ้านไม่ดำเนินการ ให้ผู้อำนวยการ
หรือบุคคลที่ผู้อำนวยการมอบหมายเรียกเงินงบประมาณคืนทั้งหมดหรือบางส่วนรวมดอกผล
ตลอดทั้งค่าเสียหายอันเกิดจากการไม่กระทำการนั้นจากกองทุนหมู่บ้าน
หรือจากกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
หรือจากคณะผู้รับผิดชอบโครงการที่ไม่ดำเนินการจนทำให้เกิดความเสียหาย แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๒ กรณีกองทุนหมู่บ้าน
หรือกรรมการกองทุนหมู่บ้านไม่เห็นด้วยกับการเรียกเงินงบประมาณคืนทั้งหมดหรือบางส่วน
รวมดอกผล กองทุนหมู่บ้านสามารถอุทธรณ์เป็นหนังสือมายังผู้อำนวยการได้ภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันที่เรียกเงินคืน
ทั้งนี้ หากเป็นการอุทธรณ์เพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่ง บุคคลใด
ซึ่งมิใช่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน โดยพิจารณาจากคำร้อง
สำนักงานจะไม่รับเรื่องในการอุทธรณ์ในคราวนั้นก็ได้
ข้อ ๓๓ ให้กองทุนหมู่บ้าน
รายงานผลการดำเนินโครงการและรายงานการใช้จ่ายเงินต่อสำนักงานตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
ข้อ ๓๔ ผู้อำนวยการอาจแต่งตั้งคณะทำงานหรือบุคคล
เพื่อตรวจสอบ สอบทาน ติดตาม และประเมินผล
หรือดำเนินการอื่นใดในการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ และรายงานต่อผู้อำนวยการเพื่อพิจารณาดำเนินการตามระเบียบนี้
ข้อ ๓๕ หากตรวจสอบพบว่ากองทุนหมู่บ้านที่ได้รับงบประมาณไปดำเนินการตามโครงการแล้วแต่มีเหตุให้หยุดดำเนินการ
ให้สำนักงาน หรือสำนักงาน สาขา
สรุปผลการตรวจสอบโดยระบุสาเหตุและเสนอแนวทางการแก้ไขให้คณะอนุกรรมการพิจารณา
ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาแต่งตั้งคณะทำงาน หรือเชิญหน่วยงาน
ส่วนราชการ หรือองค์กรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนองค์ความรู้ งบประมาณ
หรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้กองทุนหมู่บ้านสามารถบริหารกิจกรรม
หรือกิจการได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้
หากหยุดดำเนินการเกินกว่า ๑๘๐ วัน แต่ไม่แจ้งให้สำนักงาน หรือสำนักงาน สาขา
ทราบจนเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน ต่อกองทุนหมู่บ้าน และส่วนรวม
กองทุนหมู่บ้านจะต้องรับผิดชอบความเสียหายเต็มจำนวนตามงบประมาณที่ได้รับ
คืนแก่สำนักงาน ตามแนวทางที่คณะอนุกรรมการกำหนด
หมวด ๗
การทำบัญชีและการตรวจสอบ
ข้อ ๓๖ ให้นำความตามหมวด ๗
ในการจัดทำบัญชีและการตรวจสอบของระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑
มาใช้บังคับโดยอนุโลม เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อระเบียบนี้
ข้อ ๓๗ กำไรสุทธิที่เกิดจากการดำเนินงานของโครงการให้นำเข้าบัญชีประชารัฐ
หรือบัญชีของกลุ่มองค์กรวิสาหกิจชุมชน
เมื่อสิ้นปีบัญชีหากปรากฏว่าปีใดมีกำไรสุทธิคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านสามารถนำกำไรสุทธิมาจัดสรรได้
ทั้งนี้
ให้มีการจัดสรรเป็นเงินสมทบบัญชีประชารัฐ
เพื่อเป็นเงินทุนในการดำเนินโครงการและเงินอื่นตามระเบียบที่กองทุนหมู่บ้านกำหนด
การจัดสรรกำไรสุทธิบัญชีประชารัฐ
ให้คำนึงถึงประโยชน์ สวัสดิภาพ สวัสดิการ ของสมาชิก และประชาชน
การมีส่วนร่วมของกองทุนหมู่บ้านที่ดำเนินโครงการ ให้สามารถดำเนินโครงการเพื่อสร้างงาน
สร้างรายได้ สร้างอาชีพ และกิจกรรมสาธารณประโยชน์
ที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
คณะกรรมการสามารถกำหนดให้มีการจัดสรรกำ
ไรสุทธิของบัญชีประชารัฐเพิ่มเติมได้ เพื่อประโยชน์ของการบริหารจัดการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๓๘ การใด ๆ
ที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการ ที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการ
ตลอดจนกองทุนหมู่บ้านที่ได้กระทำหรือดำเนินการภายใต้นโยบาย แนวทาง ระเบียบ ประกาศ และคำสั่ง
ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
พ.ศ. ๒๕๕๙ ให้ถือเป็นการดำเนินโครงการตามระเบียบนี้
ข้อ ๓๙ ในระหว่างไม่มีคณะอนุกรรมการหรือมีแต่ไม่สามารถจัดการประชุมคณะอนุกรรมการได้
ให้อำนาจของคณะอนุกรรมการตามระเบียบนี้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ จนกว่าจะมีคณะอนุกรรมการหรือจนกว่าจะประชุมคณะอนุกรรมการได้
ข้อ ๔๐ ให้ทุกกองทุนหมู่บ้านที่เปิดบัญชีประชารัฐจัดทำเอกสารยินยอมการให้ข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีประชารัฐเป็นของสำนักงาน
และให้มีอำนาจให้ธนาคารโอน ถอนคืนสำนักงาน
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
สุวิทย์
เมษินทรีย์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ปุณิกา/อัญชลี/จัดทำ
๒๗ กรกฎาคม
๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๒๙ กรกฎาคม
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๙๐ ง/หน้า ๑/๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ |
750282 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารโครงการประชารัฐเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2559 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการบริหารโครงการประชารัฐเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๕๙
เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจประเทศไทยประสบปัญหาการชะลอตัว
คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่
๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๘ มีมติเห็นชอบหลักการโครงการประชารัฐเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยได้มีเงินทุนสำหรับดำเนินโครงการเพื่อการสร้างงาน
สร้างรายได้ พัฒนาสินค้าและอาชีพ ที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ (๕) และ ๑๙ (๑๖) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๔๗ ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติคราวประชุม
เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จึงได้ออกระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการบริหารโครงการประชารัฐเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บทบัญญัติของระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่งใดที่ขัด หรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
กองทุน หมายความว่า กองทุนชุมชนเมือง
หรือกองทุนชุมชนทหารในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
คณะอนุกรรมการ หมายความว่า คณะอนุกรรมการดำเนินงานโครงการประชารัฐเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพมหานคร
โดยการแต่งตั้งจากคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
คณะกรรมการกองทุน หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง หรือคณะกรรมการกองทุนชุมชนทหาร ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
กรรมการกองทุน หมายความว่า
กรรมการในคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง หรือกรรมการในคณะกรรมการกองทุนชุมชนทหาร
คณะผู้รับผิดชอบโครงการ หมายความว่า คณะบุคคล หรือคณะทำงาน แล้วแต่กรณี ที่ได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมสมาชิก
เพื่อบริหารงานโครงการประชารัฐเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพมหานคร
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ผู้อำนวยการ หมายความว่า
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ธนาคาร หมายความว่า ธนาคารออมสิน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือธนาคารอื่นที่คณะกรรมการกำหนด
ที่ประชุมสมาชิก หมายความว่า
ที่ประชุมสมาชิกกองทุนชุมชนเมือง หรือกองทุนชุมชนทหาร
บัญชีประชารัฐ
หมายความว่า บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ภายใต้ชื่อกองทุนชุมชนเมือง หรือกองทุนชุมชนทหาร
(ชื่อชุมชน) ซึ่งเปิดไว้รองรับเงินจัดสรรจากรัฐบาลสำหรับกองทุนชุมชนเมือง หรือกองทุนชุมชนทหาร
ดำเนินโครงการประชารัฐเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพมหานคร
โครงการ หมายความว่า
โครงการประชารัฐเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพมหานคร
ข้อ
๕ ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติรักษาการตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
หมวด ๑
วัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการ
ข้อ
๖ กองทุนสามารถดำเนินโครงการ
โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
(๑)
เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ความต้องการของผู้มีรายได้น้อย
(๒)
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
(๓)
เพื่อเสริมสร้างและส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มศักยภาพ
ส่งเสริมอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต
ประโยชน์ในการพัฒนาและแก้ปัญหาผู้มีรายได้น้อย
(๔)
เพื่อเสริมสร้างและปลูกจิตสำนึกในการบริหารงบประมาณ ดำเนินการกิจกรรมร่วมกัน โดยยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม
โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
(๕)
ซื้อ จัดหา รับ เช่า เช่าซื้อ ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครอง ปรับปรุง ใช้
และจัดการโดยประการอื่น ซึ่งทรัพย์สินใด ๆ ตลอดจนดอกผลของทรัพย์สิน
อันเกิดจากการดำเนินโครงการ
(๖)
ขาย โอน จำนอง จำนำ แลกเปลี่ยน และจำหน่ายทรัพย์สิน อันเกิดจากการดำเนินโครงการ
(๗)
กู้ยืมเงิน นิติบุคคล หรือสถาบันการเงินอื่น ที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ
๗ คณะอนุกรรมการอาจกำหนดวัตถุประสงค์ให้กองทุนสามารถดำเนินโครงการเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร
ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามประกาศคณะอนุกรรมการกำหนด
หมวด ๒
คณะอนุกรรมการดำเนินงาน
โครงการประชารัฐเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๘ ให้คณะกรรมการ
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะอนุกรรมการดำเนินงานโครงการประชารัฐเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพมหานคร หรือ อคช ประกอบด้วยบุคคลซึ่งประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
แต่งตั้ง โดยพิจารณาถึงความรู้ ความสามารถ
และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานโครงการ
ให้คณะอนุกรรมการมีอำนาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดกรอบ
แนวทางในการพิจารณาและอนุมัติโครงการประชารัฐเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพมหานคร
(๒)
พิจารณาจัดสรรงบประมาณ ให้แก่กองทุนที่ได้รับการอนุมัติโครงการ
(๓)
ประมวลและวิเคราะห์ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว
เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ
(๔)
แต่งตั้งคณะทำงาน หรือบุคคลเพื่อทำหน้าที่ในด้านต่าง ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลือ
การปฏิบัติงาน หรือติดตาม
ประเมินผลการดำเนินงานโครงการประชารัฐเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย
ให้บรรลุวัตถุประสงค์ และมีประสิทธิภาพ
(๕)
ออกระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์
เงื่อนไขและวิธีการตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง
เพื่อการดำเนินการตามหลักการของโครงการประชารัฐ
(๖)
รายงานผลการดำเนินงาน ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติทราบ
(๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ
ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กำกับดูแลกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
หมวด ๓
การขอรับการจัดสรรงบประมาณ
ข้อ
๙ กองทุนที่มีความประสงค์จะขอรับการจัดสรรเงินงบประมาณตามโครงการสามารถยื่นแบบคำขอรับการสนับสนุนเงินงบประมาณโครงการได้ตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
ข้อ
๑๐ กองทุนสามารถนำงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรไปร่วมดำเนินงานกับกองทุนอื่นได้ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามมติที่ประชุมสมาชิก
และเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้กองทุน หรือชุมชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง
ตลอดทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้มีรายได้น้อย
ข้อ
๑๑ การดำเนินงานต้องบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส
และสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน การนำเงินงบประมาณตามโครงการไปใช้เป็นเงินทุนให้สมาชิกกองทุนกู้ยืม
หรือเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคลจะกระทำมิได้
ข้อ
๑๒ คณะกรรมการกองทุนที่ประสงค์ขอรับการสนับสนุนเงินงบประมาณโครงการให้จัดประชุมสมาชิก
โดยมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด หรือตามที่คณะอนุกรรมการกำหนด
เพื่อพิจารณาคัดเลือกโครงการโดยคำนึงถึงหลักการประชารัฐ
และคัดเลือกคณะผู้รับผิดชอบโครงการ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิก
ซึ่งจำนวนองค์คณะ องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่
ให้เป็นไปตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
การเสนอโครงการ
อย่างน้อยต้องมีแผนในการบริหารจัดการ แผนการใช้จ่ายเงิน
ขั้นตอนและวิธีการในการป้องกันความเสียหายจากการบริหารจัดการ การดูแลรักษา
เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ตลอดทั้งการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เกิดจากเงินงบประมาณโครงการ ตลอดจนการครอบครอง
การกำหนดผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เกิดจากเงินงบประมาณโครงการ
เมื่อคณะกรรมการกองทุนดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้วให้เสนอโครงการและเอกสารรายงานการประชุมสมาชิก
พร้อมเอกสารประกอบ ตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
ข้อ
๑๓ คณะอนุกรรมการอาจกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ตลอดจนองค์ประชุม
เพื่อให้สามารถจัดประชุมสมาชิกสำหรับการขอรับเงินสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการในกรณีที่กองทุนไม่สามารถจัดประชุมสมาชิกได้
โดยให้กองทุนรายงานปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินการประชุมสมาชิกให้สำนักงานทราบ
เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการพิจารณา
ข้อ
๑๔ การเปลี่ยนแปลง แก้ไข
หรือเพิ่มเติมโครงการ
ให้คณะกรรมการกองทุนจัดประชุมสมาชิกโดยมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
หรือตามที่คณะอนุกรรมการกำหนด เพื่อมีมติเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมโครงการ
โดยกระบวนการให้เป็นไปตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
เพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบาย
หมวด ๔
การจัดสรรงบประมาณให้กองทุน
ข้อ
๑๕ การจัดสรรงบประมาณตามโครงการให้จัดสรรโดยยึดหลักความเป็นจริง
โดยคำนึงถึงหลักการประชารัฐ และการส่งเสริมศักยภาพในการประกอบอาชีพ
ความเป็นอยู่ในชุมชนของผู้มีรายได้น้อยให้ดีขึ้น โดยกองทุนที่โครงการได้รับการอนุมัติจะได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณ
กองทุนละไม่เกินหนึ่งล้านบาท
การจัดสรรงบประมาณนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ข้างต้นให้สามารถดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์
เงื่อนไข และวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
ข้อ
๑๖ เมื่อโครงการได้รับการอนุมัติ
ให้สำนักงานแจ้งให้กองทุนทราบผลการดำเนินการ เพื่อให้กองทุนที่เสนอโครงการดำเนินการเปิดบัญชีประชารัฐ
และส่งสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประชารัฐให้สำนักงานทราบตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
เมื่อสำนักงานได้รับข้อมูลการเปิดบัญชีแล้ว
ให้ตรวจสอบว่าเป็นกองทุนที่ได้รับการอนุมัติโครงการแล้ว
จากนั้นให้สำนักงานดำเนินการโอนเงินงบประมาณเข้าบัญชีประชารัฐของกองทุนโดยเร็วและแจ้งให้กองทุนทราบผลการดำเนินการ
และดำเนินโครงการตามที่ได้รับการอนุมัติ
ให้สำนักงานสรุปผลการจัดสรรงบประมาณโครงการเสนอต่อคณะกรรมการ
เพื่อรับทราบผลการดำเนินการ
ข้อ
๑๗ ในกรณีที่กองทุนได้เสนอโครงการ
แต่ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากเหตุใดก็ตาม
ให้สำนักงานแจ้งให้กองทุนทราบผลการพิจารณา พร้อมเหตุผลการไม่ได้รับการอนุมัติ เพื่อให้กองทุนดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือแก้ไขให้ถูกต้องต่อไปภายในระยะเวลาที่กำหนดนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
หมวด ๕
การดำเนินงานกองทุนและการบริหารโครงการ
ข้อ
๑๘ กองทุนจะเริ่มต้นดำเนินโครงการได้ต่อเมื่อได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณเข้าบัญชีประชารัฐของกองทุนแล้ว
ข้อ
๑๙ การดำเนินโครงการให้ดำเนินการโดยคณะผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้รับการคัดเลือกตามระเบียบนี้
กรณีมีความจำเป็นอย่างยิ่งคณะผู้รับผิดชอบโครงการไม่สามารถดำเนินโครงการได้ให้คณะกรรมการกองทุนจัดประชุมสมาชิก
โดยมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
หรือตามที่คณะอนุกรรมการกำหนด
เพื่อคัดเลือกคณะผู้รับผิดชอบโครงการทั้งหมดหรือบางส่วน
ขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่แทนคณะ หรือบุคคลที่ไม่สามารถดำเนินโครงการได้
เพื่อดำเนินงานตามโครงการต่อไป
ข้อ
๒๐ ให้คณะกรรมการกองทุนกำหนดระเบียบ
ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งของกองทุน สำหรับการบริหารงานโครงการ
ข้อ
๒๑ การทำนิติกรรม สัญญา
เกี่ยวกับโครงการต้องกระทำภายใต้กรอบวัตถุประสงค์ตามข้อ ๖ หรือข้อ ๗ เท่านั้น ทั้งนี้ ต้องดำเนินการโดยกองทุน
ข้อ
๒๒ สำนักงานอาจจัดทำคู่มือ แนวทาง
วิธีการดำเนินงานตามโครงการ
เพื่อให้กองทุนถือปฏิบัติให้เป็นไปตามแบบมาตรฐานเดียวกันได้
ข้อ
๒๓ กรณีมีการเปลี่ยนแปลงโครงการ
แก้ไขหรือเพิ่มเติมโครงการ ให้กองทุนหรือคณะผู้รับผิดชอบโครงการ
ชะลอการใช้จ่ายเงินโครงการไว้ก่อนจนกว่าการดำเนินการตามข้อ ๑๔ จะแล้วเสร็จ ทั้งนี้ ในกิจกรรมใดของโครงการที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง
แก้ไขหรือเพิ่มเติมโครงการ ให้ดำเนินโครงการต่อไปภายใต้งบประมาณนั้น
ข้อ
๒๔ ทรัพย์สินที่เกิดจากการดำเนินงานภายใต้เงินงบประมาณโครงการนี้
ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกองทุน ทั้งนี้
หลักเกณฑ์วิธีการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
ข้อ
๒๕ คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการอาจออกประกาศ
ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง เพื่อกำหนดการดำเนินงานบริหารโครงการเพิ่มเติมก็ได้
หมวด ๖
การตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินงาน
ข้อ
๒๖ กรณีมีผู้ร้องเรียน หรือสำนักงาน
ตรวจสอบพบว่า การบริหารโครงการไม่เป็นไปตามหลักประชารัฐ
หรือไม่เป็นไปตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด หรือไม่เป็นไปตามคู่มือ แนวทางวิธีการดำเนินงานตามโครงการที่สำนักงานกำหนด
หรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หรือเป็นการกระทำอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวมของกองทุน
หรือชุมชน แล้วแต่กรณี เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่ามีมูลเพียงพอ
ผู้อำนวยการมีอำนาจแจ้งระงับการเบิกจ่ายเงินออกจากบัญชีประชารัฐไว้เป็นการชั่วคราว
โดยมีหนังสือไปยังธนาคารเพื่อระงับการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
กรณีมีการเบิกถอนเงินงบประมาณออกจากบัญชีประชารัฐแล้ว
ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจแจ้งให้กองทุนนำเงินกลับเข้าบัญชีประชารัฐไว้เป็นการชั่วคราว
จนกว่าจะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเสร็จ
เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเสร็จแล้วเห็นว่าการบริหารโครงการไม่เป็นไปตามหลักประชารัฐ
หรือไม่เป็นไปตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด หรือไม่เป็นไปตามคู่มือ แนวทางวิธีการดำเนินงานตามโครงการที่สำนักงานกำหนด
หรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หรือเป็นการกระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวมของกองทุน
หรือชุมชน จริง ผู้อำนวยการมีอำนาจเรียกเงินงบประมาณคืนทั้งหมดหรือบางส่วน
รวมดอกผล แล้วแต่กรณี
เมื่อตรวจสอบแล้วเห็นว่าการบริหารโครงการเป็นไปตามหลักประชารัฐ
เป็นไปตามแนวทาง และวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด เป็นไปตามคู่มือ แนวทาง
วิธีการดำเนินงานตามโครงการที่สำนักงานกำหนดชอบด้วยกฎหมาย
และการกระทำนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวมของกองทุน หรือชุมชน
ให้ผู้อำนวยการมีหนังสือแจ้งไปยังกองทุนให้ดำเนินการบริหารโครงการภายใต้เงินงบประมาณต่อไป
ข้อ
๒๗ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
สำนักงานสามารถประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานในพื้นที่
ให้ตรวจสอบหรือร่วมตรวจสอบ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ชัดเจน
ข้อ
๒๘ กรณีสำนักงานหรือกองทุนพบว่าเกิดความเสียหายในทางแพ่งเกี่ยวกับการดำเนินโครงการอันเกิดจากบุคคลอื่นที่กองทุนไปกระทำนิติกรรม
สัญญา ให้กองทุนดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายเพื่อเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเสียหาย ต่อผู้เกี่ยวข้อง
กรณีกองทุนไม่ดำเนินการ
ให้ผู้อำนวยการเรียกเงินงบประมาณคืนทั้งหมดหรือบางส่วน รวมดอกผลจากกองทุน
หรือจากกรรมการกองทุน
หรือจากคณะผู้รับผิดชอบโครงการที่ไม่ดำเนินการจนทำให้เกิดความเสียหาย แล้วแต่กรณี
ข้อ
๒๙ กรณีกองทุน
หรือกรรมการกองทุนไม่เห็นด้วยกับการเรียกเงินงบประมาณคืนทั้งหมดหรือบางส่วน
รวมดอกผล
กองทุนสามารถอุทธรณ์เป็นหนังสือมายังผู้อำนวยการได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เรียกเงินคืน
ข้อ
๓๐ ให้กองทุน
รายงานผลการดำเนินโครงการและรายงานการใช้จ่ายเงินต่อสำนักงานตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
ข้อ
๓๑ ผู้อำนวยการอาจแต่งตั้งคณะทำงานหรือบุคคล
เพื่อตรวจสอบ สอบทาน ติดตามและประเมินผล
หรือดำเนินการอื่นใดในการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ
และรายงานต่อผู้อำนวยการเพื่อพิจารณาดำเนินการตามระเบียบนี้
หมวด ๗
การทำบัญชีและการตรวจสอบ
ข้อ
๓๒ ให้นำความตามหมวด ๗
ในการจัดทำบัญชีและการตรวจสอบของระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑
มาใช้บังคับโดยอนุโลม เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
ข้อ
๓๓ กำไรสุทธิที่เกิดจากการดำเนินงานของโครงการให้นำเข้าบัญชีประชารัฐ
เมื่อสิ้นปีบัญชีหากปรากฏว่าปีใดมีกำไรสุทธิคณะกรรมการกองทุนสามารถนำกำไรสุทธิมาจัดสรรได้ ทั้งนี้
ให้มีการจัดสรรเป็นเงินสมทบบัญชีประชารัฐ เพื่อเป็นเงินทุนในการดำเนินโครงการ
และเงินอื่นตามระเบียบที่กองทุนกำหนด
การจัดสรรกำไรสุทธิบัญชีประชารัฐ ให้คำนึงถึงประโยชน์
สวัสดิภาพ สวัสดิการ ของสมาชิกและประชาชนผู้มีรายได้น้อย
การมีส่วนร่วมของกองทุนที่ดำเนินโครงการ ให้สามารถดำเนินโครงการเพื่อสร้างงาน
สร้างรายได้ สร้างอาชีพ และกิจกรรมสาธารณประโยชน์
ที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนได้อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน
คณะกรรมการสามารถกำหนดให้มีการจัดสรรกำไรสุทธิของบัญชีประชารัฐเพิ่มเติมได้
เพื่อประโยชน์ของการบริหารจัดการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
บทเฉพาะกาล
ข้อ
๓๔ การใด ๆ
ที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการ ที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการ
ตลอดจนกองทุนชุมชนเมืองที่ได้กระทำหรือดำเนินการภายใต้นโยบาย แนวทาง ระเบียบ ประกาศ และคำสั่งของคณะกรรมการก่อนที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ
ให้ถือเป็นการดำเนินโครงการตามระเบียบนี้
ข้อ
๓๕ ในระหว่างไม่มีคณะอนุกรรมการหรือมีแต่ไม่สามารถจัดการประชุมคณะอนุกรรมการได้
ให้อำนาจของคณะอนุกรรมการตามระเบียบนี้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ
จนกว่าจะมีคณะอนุกรรมการหรือจนกว่าจะประชุมคณะอนุกรรมการได้
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ
๑๑ พฤษภาคม
๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๑๖ มิถุนายน
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๗/๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ |
747526 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ พ.ศ. 2559 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการบริหารโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
พ.ศ. ๒๕๕๙
เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจประเทศไทยประสบปัญหาการชะลอตัว
คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๙ มีมติเห็นชอบหลักการโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในชุมชนและเพื่อดำเนินกิจกรรมอื่น
ๆ
ที่ชุมชนเห็นว่าเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมศักยภาพในการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ในชุมชนที่ดีขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ (๕) และ ๑๙ (๑๖) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๔๗ ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ คราวประชุม
เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จึงได้ออกระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการบริหารโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ พ.ศ.
๒๕๕๙
ข้อ
๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บทบัญญัติของระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่งใดที่ขัด หรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
กองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า กองทุนหมู่บ้าน
หรือกองทุนชุมชนเมืองในพื้นที่จังหวัด แล้วแต่กรณี
ชุมชนเมือง หมายความว่า ชุมชนในเขตเทศบาล เมืองพัทยา
หรือเขตพื้นที่อื่น ทั้งนี้ โดยมีขอบเขตตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
คณะอนุกรรมการ หมายความว่า
คณะอนุกรรมการดำเนินงานโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
โดยการแต่งตั้งจากคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน หรือคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
กรรมการกองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า
กรรมการในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านหรือกรรมการในคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง
แล้วแต่กรณี
คณะผู้รับผิดชอบโครงการ หมายความว่า คณะบุคคล
หรือคณะทำงาน แล้วแต่กรณีที่ได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมสมาชิก
เพื่อบริหารงานโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
สำนักงาน สาขา หมายความว่า
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขาตามเขตพื้นที่รับผิดชอบในภูมิภาค
ผู้อำนวยการ หมายความว่า
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ธนาคาร หมายความว่า ธนาคารออมสิน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรหรือธนาคารอื่นที่คณะกรรมการกำหนด
ประชุมสมาชิก หมายความว่า
ที่ประชุมสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
บัญชีประชารัฐ หมายความว่า
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ภายใต้ชื่อกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (ชื่อหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง)
ซึ่งเปิดไว้รองรับเงินจัดสรรจากรัฐบาลสำหรับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองดำเนินโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
โครงการ หมายความว่า
โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
ข้อ
๕ ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติรักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
หมวด ๑
วัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการ
ข้อ
๖ กองทุนหมู่บ้านสามารถดำเนินโครงการ
โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
(๑)
เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ความต้องการของหมู่บ้านและชุมชน
(๒)
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
(๓)
เพื่อเสริมสร้างและส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างอาชีพ
สร้างงาน สร้างรายได้ ในหมู่บ้าน/ชุมชน ที่มุ่งเน้นทั้งภาคการผลิต
การแปรรูปและการตลาดอย่างครบวงจร
และการเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ของคนในหมู่บ้านและชุมชนให้ดีขึ้น
(๔)
เพื่อเสริมสร้างและปลูกจิตสำนึกในการบริหารงบประมาณ
ดำเนินการกิจกรรมร่วมกันยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
(๕)
ซื้อ จัดหา รับ เช่า เช่าซื้อ ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครอง ปรับปรุง ใช้
และจัดการโดยประการอื่นซึ่งทรัพย์สินใด ๆ ตลอดจนดอกผลของทรัพย์สิน
อันเกิดจากการดำเนินโครงการ
(๖)
ขาย โอน จำนอง จำนำ แลกเปลี่ยน และจำหน่ายทรัพย์สิน อันเกิดจากการดำเนินโครงการ
(๗)
กู้ยืมเงิน นิติบุคคล หรือสถาบันการเงินอื่น ที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ
๗ คณะอนุกรรมการอาจกำหนดวัตถุประสงค์ให้กองทุนหมู่บ้านสามารถดำเนินโครงการเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร
ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามประกาศคณะอนุกรรมการกำหนด
หมวด ๒
คณะอนุกรรมการดำเนินงาน
โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
ข้อ
๘ ให้คณะกรรมการ
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะอนุกรรมการดำเนินงานโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ หรือ อคป. ประกอบด้วยบุคคล
ซึ่งประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ แต่งตั้ง
โดยพิจารณาถึงความรู้ ความสามารถ
และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานโครงการ
ให้คณะอนุกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑)
กำหนดกรอบ
แนวทางในการพิจารณาและอนุมัติโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
(๒)
พิจาณาจัดสรรงบประมาณ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และระเบียบที่กำหนด
(๓)
ประมวลและวิเคราะห์ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้วเพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ
(๔)
แต่งตั้งคณะทำงาน หรือบุคคลเพื่อทำหน้าที่ในด้านต่าง ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงาน หรือติดตาม
ประเมินผลการดำเนินงานโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
ให้บรรลุวัตถุประสงค์ และมีประสิทธิภาพ
(๕)
ออกระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์
เงื่อนไขและวิธีการตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง
เพื่อการดำเนินการตามหลักการของโครงการประชารัฐ
(๖)
รายงานผลการดำเนินงาน
ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติทราบ
(๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กำกับดูแลกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
หมวด ๓
การขอรับการจัดสรรงบประมาณ
ข้อ
๙ กองทุนหมู่บ้านที่มีความประสงค์จะขอรับการจัดสรรเงินงบประมาณตามโครงการสามารถยื่นแบบคำขอรับการสนับสนุนเงินงบประมาณโครงการได้ตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
ข้อ
๑๐ กองทุนหมู่บ้านสามารถนำงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรไปร่วมดำเนินงานกับกองทุนหมู่บ้านอื่นได้
ทั้งนี้
ต้องเป็นไปตามมติที่ประชุมสมาชิก และเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกองทุนหมู่บ้านหมู่บ้านหรือชุมชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง
ข้อ
๑๑ การดำเนินงานต้องบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส
และสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนการนำเงินงบประมาณตามโครงการไปใช้เป็นเงินทุนให้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านกู้ยืม
หรือเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคลจะกระทำมิได้
ข้อ
๑๒ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านที่ประสงค์ขอรับการสนับสนุนเงินงบประมาณโครงการให้จัดประชุมสมาชิก
โดยมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
หรือตามที่คณะอนุกรรมการกำหนด
เพื่อพิจารณาคัดเลือกโครงการโดยคำนึงถึงหลักการประชารัฐ และคณะผู้รับผิดชอบโครงการ
โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งจำนวนองค์คณะ องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่
ให้เป็นไปตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
การเสนอโครงการ
อย่างน้อยต้องมีแผนในการบริหารจัดการ แผนการใช้จ่ายเงิน
ขั้นตอนและวิธีการในการป้องกันความเสียหายจากการบริหารจัดการ การดูแลรักษา
เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ตลอดทั้งการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เกิดจากเงินงบประมาณโครงการตลอดจนการครอบครอง
การกำหนดผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เกิดจากเงินงบประมาณโครงการ
เมื่อคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้วให้เสนอโครงการและเอกสารรายงานการประชุมสมาชิก
พร้อมเอกสารประกอบ ตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
ข้อ
๑๓ คณะอนุกรรมการอาจกำหนดหลักเกณฑ์
เงื่อนไข และวิธีการ ตลอดจนองค์ประชุมเพื่อให้สามารถจัดประชุมสมาชิกสำหรับการขอรับเงินสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการในกรณีที่กองทุนหมู่บ้านไม่สามารถจัดประชุมสมาชิกได้
โดยให้กองทุนหมู่บ้านรายงานปัญหา
อุปสรรคในการดำเนินการประชุมสมาชิกให้สำนักงานทราบ
เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการพิจารณา
ข้อ
๑๔ การเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมโครงการ
ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจัดประชุมสมาชิก
โดยมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
หรือตามที่คณะอนุกรรมการกำหนด เพื่อมีมติเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมโครงการ
โดยกระบวนการให้เป็นไปตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด เพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบาย
หมวด ๔
การจัดสรรงบประมาณให้กองทุนหมู่บ้าน
ข้อ
๑๕ การจัดสรรงบประมาณตามโครงการให้จัดสรรโดยยึดหลักความเป็นจริง
โดยคำนึงถึงหลักการประชารัฐ และการส่งเสริมศักยภาพในการประกอบอาชีพ
ความเป็นอยู่ในชุมชนที่ดีขึ้นโดยกองทุนหมู่บ้านที่โครงการได้รับการอนุมัติจะได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณ
กองทุนหมู่บ้านละไม่เกินห้าแสนบาท
การจัดสรรงบประมาณนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ข้างต้นให้สามารถดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์
เงื่อนไข และวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
ข้อ
๑๖ เมื่อโครงการได้รับการอนุมัติ
ให้สำนักงานแจ้งให้กองทุนหมู่บ้านทราบผลการดำเนินการเพื่อให้กองทุนหมู่บ้านที่เสนอโครงการดำเนินการเปิดบัญชีประชารัฐ
และส่งสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประชารัฐให้สำนักงานทราบตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
เมื่อสำนักงานได้รับข้อมูลการเปิดบัญชีแล้ว
ให้ตรวจสอบว่าเป็นกองทุนหมู่บ้านที่ได้รับการอนุมัติโครงการแล้ว
จากนั้นให้สำนักงานดำเนินการโอนเงินงบประมาณเข้าบัญชีประชารัฐของกองทุนหมู่บ้านโดยเร็วและแจ้งให้กองทุนหมู่บ้านทราบผลการดำเนินการ
และดำเนินโครงการตามที่ได้รับการอนุมัติ
ให้สำนักงานสรุปผลการจัดสรรงบประมาณโครงการเสนอต่อคณะกรรมการ
เพื่อรับทราบผลการดำเนินการ
ข้อ
๑๗ ในกรณีที่กองทุนหมู่บ้านได้เสนอโครงการ
แต่ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากเหตุใดก็ตาม
ให้สำนักงานแจ้งให้กองทุนหมู่บ้านทราบผลการพิจารณา
พร้อมเหตุผลการไม่ได้รับการอนุมัติ เพื่อให้กองทุนหมู่บ้านดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือแก้ไขให้ถูกต้องต่อไปภายในระยะเวลาที่กำหนด นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
หมวด ๕
การดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและการบริหารโครงการ
ข้อ
๑๘ กองทุนหมู่บ้านจะเริ่มต้นดำเนินโครงการได้ต่อเมื่อได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณเข้าบัญชีประชารัฐของกองทุนหมู่บ้านแล้ว
ข้อ
๑๙ การดำเนินโครงการให้ดำเนินการโดยคณะผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้รับการคัดเลือกตามระเบียบนี้
กรณีมีความจำเป็นอย่างยิ่งคณะผู้รับผิดชอบโครงการไม่สามารถดำเนินโครงการได้ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจัดประชุมสมาชิก
โดยมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดหรือตามที่คณะอนุกรรมการกำหนด
เพื่อคัดเลือกคณะผู้รับผิดชอบโครงการทั้งหมด
หรือบางส่วนขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่แทนคณะหรือบุคคลที่ไม่สามารถดำเนินโครงการได้เพื่อดำเนินงานตามโครงการต่อไป
ข้อ
๒๐ ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านกำหนดระเบียบ
ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งของกองทุนหมู่บ้านสำหรับการบริหารงานโครงการ
ข้อ
๒๑ การทำนิติกรรม สัญญา
เกี่ยวกับโครงการต้องกระทำภายใต้กรอบวัตถุประสงค์ตามข้อ ๖ หรือข้อ ๗ เท่านั้น ทั้งนี้ ต้องดำเนินการโดยกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ
๒๒ สำนักงานอาจจัดทำคู่มือ แนวทาง
วิธีการดำเนินงานตามโครงการ
เพื่อให้กองทุนหมู่บ้านถือปฏิบัติให้เป็นไปตามแบบมาตรฐานเดียวกันได้
ข้อ
๒๓ กรณีมีการเปลี่ยนแปลงโครงการ
แก้ไขหรือเพิ่มเติมโครงการ ให้กองทุนหมู่บ้านหรือคณะผู้รับผิดชอบโครงการ
ชะลอการใช้จ่ายเงินโครงการไว้ก่อนจนกว่าการดำเนินการตามข้อ ๑๔ จะแล้วเสร็จ ทั้งนี้
ในกิจกรรมใดของโครงการที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง
แก้ไขหรือเพิ่มเติมโครงการให้ดำเนินโครงการต่อไปภายใต้งบประมาณนั้น
ข้อ
๒๔ ทรัพย์สินที่เกิดจากการดำเนินงานภายใต้เงินงบประมาณโครงการนี้
ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกองทุนหมู่บ้าน ทั้งนี้
หลักเกณฑ์วิธีการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
ข้อ
๒๕ คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการอาจออกประกาศ
ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเพื่อกำหนดการดำเนินงานบริหารโครงการเพิ่มเติมก็ได้
หมวด ๖
การตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินงาน
ข้อ
๒๖ กรณีมีผู้ร้องเรียน
หรือสำนักงานหรือสำนักงาน สาขา ตรวจสอบพบว่า
การบริหารโครงการไม่เป็นไปตามหลักประชารัฐ
หรือไม่เป็นไปตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนดหรือไม่เป็นไปตามคู่มือ
แนวทาง วิธีการดำเนินงานตามโครงการที่สำนักงานกำหนด
หรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นการกระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวมของกองทุนหมู่บ้านหมู่บ้านหรือชุมชน
แล้วแต่กรณี เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่ามีมูลเพียงพอ
ผู้อำนวยการมีอำนาจแจ้งระงับการเบิกจ่ายเงินออกจากบัญชีประชารัฐไว้เป็นการชั่วคราวโดยมีหนังสือไปยังธนาคารเพื่อระงับการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
กรณีมีการเบิกถอนเงินงบประมาณออกจากบัญชีประชารัฐแล้ว
ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจแจ้งให้กองทุนหมู่บ้านนำเงินกลับเข้าบัญชีประชารัฐไว้เป็นการชั่วคราว
จนกว่าจะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเสร็จ
เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเสร็จแล้วเห็นว่าการบริหารโครงการไม่เป็นไปตามหลักประชารัฐหรือไม่เป็นไปตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
หรือไม่เป็นไปตามคู่มือ แนวทางวิธีการดำเนินงานตามโครงการที่สำนักงานกำหนด
หรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นการกระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวมของกองทุนหมู่บ้าน
หมู่บ้านหรือชุมชน จริงผู้อำนวยการมีอำนาจเรียกเงินงบประมาณคืนทั้งหมดหรือบางส่วน
รวมดอกผล แล้วแต่กรณี
เมื่อตรวจสอบแล้วเห็นว่าการบริหารโครงการเป็นไปตามหลักประชารัฐ
เป็นไปตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด เป็นไปตามคู่มือ แนวทาง
วิธีการดำเนินงานตามโครงการที่สำนักงานกำหนด ชอบด้วยกฎหมาย
และการกระทำนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวมของกองทุนหมู่บ้าน
หมู่บ้านหรือชุมชน
ให้ผู้อำนวยการมีหนังสือแจ้งไปยังกองทุนหมู่บ้านให้ดำเนินการบริหารจัดการเงินงบประมาณต่อไป
ข้อ
๒๗ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
สำนักงานสามารถประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานในพื้นที่
ให้ตรวจสอบหรือร่วมตรวจสอบ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ชัดเจน
ข้อ
๒๘ กรณีสำนักงานหรือกองทุนหมู่บ้านพบว่าเกิดความเสียหายในทางแพ่งเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ
อันเกิดจากบุคคลอื่นที่กองทุนหมู่บ้านไปกระทำนิติกรรม สัญญา
ให้กองทุนหมู่บ้านดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย เพื่อเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเสียหาย ต่อผู้เกี่ยวข้อง
กรณีกองทุนหมู่บ้านไม่ดำเนินการ
ให้ผู้อำนวยการเรียกเงินงบประมาณคืนทั้งหมดหรือบางส่วนรวมดอกผล จากกองทุนหมู่บ้าน
หรือจากกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
หรือจากคณะผู้รับผิดชอบโครงการที่ไม่ดำเนินการจนทำให้เกิดความเสียหายแล้วแต่กรณี
ข้อ
๒๙ กรณีกองทุนหมู่บ้าน
หรือกรรมการกองทุนหมู่บ้านไม่เห็นด้วยกับการเรียกเงินงบประมาณคืนทั้งหมดหรือบางส่วน
รวมดอกผล
กองทุนหมู่บ้านสามารถอุทธรณ์เป็นหนังสือมายังผู้อำนวยการได้ภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่เรียกเงินคืน
ข้อ
๓๐ ให้กองทุนหมู่บ้าน
รายงานผลการดำเนินโครงการและรายงานการใช้จ่ายเงินต่อสำนักงานตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
ข้อ
๓๑ ผู้อำนวยการอาจแต่งตั้งคณะทำงานหรือบุคคล
เพื่อตรวจสอบ สอบทาน ติดตามและประเมินผล
หรือดำเนินการอื่นใดในการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ
และรายงานต่อผู้อำนวยการเพื่อพิจารณาดำเนินการตามระเบียบนี้
หมวด ๗
การทำบัญชีและการตรวจสอบ
ข้อ
๓๒ ให้นำความตามหมวด ๗
ในการจัดทำบัญชีและการตรวจสอบของระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑
มาใช้บังคับโดยอนุโลม เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อระเบียบนี้
ข้อ
๓๓ กำไรสุทธิที่เกิดจากการดำเนินงานของโครงการให้นำเข้าบัญชีประชารัฐ
เมื่อสิ้นปีบัญชีหากปรากฏว่าปีใดมีกำไรสุทธิคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านสามารถนำกำไรสุทธิมาจัดสรรได้
ทั้งนี้
ให้มีการจัดสรรเป็นเงินสมทบบัญชีประชารัฐ
เพื่อเป็นเงินทุนในการดำเนินโครงการและเงินอื่นตามระเบียบที่กองทุนหมู่บ้านกำหนด
การจัดสรรกำไรสุทธิบัญชีประชารัฐ
ให้คำนึงถึงประโยชน์ สวัสดิภาพ สวัสดิการ ของสมาชิกและประชาชน
การมีส่วนร่วมของกองทุนหมู่บ้านที่ดำเนินโครงการ
ให้สามารถดำเนินโครงการเพื่อสร้างงานสร้างรายได้ สร้างอาชีพ
และกิจกรรมสาธารณประโยชน์ ที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
คณะกรรมการสามารถกำหนดให้มีการจัดสรรกำไรสุทธิของบัญชีประชารัฐเพิ่มเติมได้เพื่อประโยชน์ของการบริหารจัดการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
บทเฉพาะกาล
ข้อ
๓๔ การใด ๆ
ที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการ ที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการ
ตลอดจนกองทุนหมู่บ้านที่ได้กระทำหรือดำเนินการภายใต้นโยบาย แนวทาง ระเบียบ ประกาศและคำสั่งของคณะกรรมการก่อนที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ
ให้ถือเป็นการดำเนินโครงการตามระเบียบนี้
ข้อ
๓๕ ในระหว่างไม่มีคณะอนุกรรมการหรือมีแต่ไม่สามารถจัดการประชุมคณะอนุกรรมการได้
ให้อำนาจของคณะอนุกรรมการตามระเบียบนี้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ
จนกว่าจะมีคณะอนุกรรมการหรือจนกว่าจะประชุมคณะอนุกรรมการได้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙
สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ปริยานุช/จัดทำ
๒๘ มีนาคม ๒๕๕๙
วิศนี/ตรวจ
๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๖๔ ง/หน้า ๑/๑๖ มีนาคม ๒๕๕๙ |
679048 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยแนวทางการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) พ.ศ. 2555
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยแนวทางการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML)
พ.ศ. ๒๕๕๕
ตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินในการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย
โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อดูแลสังคมในชุมชน
จัดหาแหล่งทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดยการจัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง
โดยในการประชุมกำหนดนโยบายที่เกี่ยวกับกองทุนและค่าใช้จ่ายสำคัญตามนโยบายรัฐบาล
เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๔
โดยนายกรัฐมนตรีได้มีดำริให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.)
เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) นั้น
เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
เป็นพลังในการสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้านและชุมชนในการต่อสู้แก้ไขปัญหาความยากจน
พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพิ่มศักยภาพการหารายได้
ลดรายจ่ายและสร้างโอกาสในอาชีพอย่างยั่งยืนแก่ประชาชน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๙ (๑) และมาตรา ๑๙ (๑๖)
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้
เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยแนวทางการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยแนวทางการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
หมู่บ้าน หมายความว่า
หมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗
และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ชุมชน หมายความว่า
ชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบล
(เฉพาะเทศบาลตำบลที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกเลิกตำแหน่งกำนัน
ผู้ใหญ่บ้าน ตามมาตรา ๔ วรรค ๒ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๔๖)
รวมถึงชุมชนที่หน่วยงานของรัฐรับรองและได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการ
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
คณะกรรมการโครงการหมู่บ้านและชุมชน หมายความว่า
คณะกรรมการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชนซึ่งที่ประชุมประชาคมของหมู่บ้านหรือชุมชนได้มีฉันทามติให้คัดเลือกเป็นคณะกรรมการเพื่อบริหารกิจการ
คณะอนุกรรมการ หมายความว่า
คณะอนุกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน เรียกโดยย่อว่า อคบ.
โครงการ หมายความว่า
งานหรือกิจกรรมที่มีการกำหนดกรอบแผนงาน วัตถุประสงค์วงเงินงบประมาณ และอื่น ๆ
ตามที่ประชุมประชาคมของหมู่บ้านหรือชุมชนมีมติกำหนดขึ้น
ผู้อำนวยการ หมายความว่า
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ธนาคาร หมายความว่า
ธนาคารออมสินหรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรหรือธนาคารกรุงไทย
ซึ่งสำนักงานได้เปิดบัญชีเงินฝากธนาคารไว้เพื่อโอนเงินงบประมาณตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML)
ให้กับหมู่บ้านหรือชุมชนที่ได้รับจัดสรรตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML)
ข้อ ๕ ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
หมวด ๑
คณะอนุกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
ข้อ ๖ ให้มีคณะอนุกรรมการคณะหนึ่ง
เรียกว่า คณะอนุกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
หรือ อคบ. ประกอบด้วย
บุคคลซึ่งประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ แต่งตั้ง
โดยพิจารณาถึงความรู้ ความสามารถ
และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML)
ข้อ ๗ ให้คณะอนุกรรมการมีอำนาจหน้าที่ตามที่คณะกรรมการกำหนด
เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามระเบียบนี้
หมวด ๒
การขอรับการจัดสรรงบประมาณ
ข้อ ๘ หมู่บ้านหรือชุมชนที่มีความประสงค์จะขอรับการจัดสรรงบประมาณตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML) ต้องเป็นหมู่บ้านหรือชุมชนที่หน่วยงานของรัฐรับรองและให้ได้รับความเห็นชอบจาก
อคบ.
ข้อ ๙ หมู่บ้านหรือชุมชนสามารถนำงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรไปร่วมดำเนินงานกับหมู่บ้านหรือชุมชนใกล้เคียง
หรือองค์กรภาครัฐและเอกชนในพื้นที่หรือนอกพื้นที่ได้
เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้หมู่บ้านหรือชุมชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง
หมวด ๓
ขั้นตอนการดำเนินการเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณ
ข้อ ๑๐ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจะต้องจัดให้มีการประชุมประชาคมเพื่อคัดเลือกกรรมการโครงการหมู่บ้านและชุมชน
โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนตามแนวทางที่กำหนดในคู่มือ/คำแนะนำการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML)
เมื่อได้ดำเนินการเสร็จแล้วให้ประธานกรรมการโครงการหมู่บ้านและชุมชนเสนอชื่อหมู่บ้านหรือชุมชน
พร้อมเอกสารรายงานการประชุมประชาคม และรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมต่อนายอำเภอ
หรือนายกเทศมนตรี หรือบุคคลที่ อคบ. กำหนด ภายใน ๕
วันทำการนับแต่วันได้ประชุมประชาคมเสร็จ
หากคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านไม่สามารถจัดประชุมประชาคมได้
ให้ผู้ใหญ่บ้าน หรือประธานชุมชนเป็นผู้จัดประชุมประชาคมและดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
ในการประชุมประชาคม ให้มีผู้แทนของอำเภอ หรือเทศบาล หรือหน่วยงานที่
อคบ. กำหนด เข้าร่วมประชุมเป็นผู้สังเกตการณ์
ข้อ ๑๑ เมื่อนายอำเภอ หรือนายกเทศมนตรี
หรือบุคคลที่ อคบ. กำหนด ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการโครงการหมู่บ้านและชุมชน พร้อมด้วยเอกสารแล้ว
ให้นายอำเภอ หรือนายกเทศมนตรี หรือบุคคลที่ อคบ. กำหนด ดำเนินการดังนี้
(๑) ลงนามรับรองเอกสารรายงานการประชุมประชาคม
และรับรองการแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการหมู่บ้านและชุมชนให้แล้วเสร็จภายใน ๓
วันทำการ
(๒) จัดส่งรายชื่อหมู่บ้านหรือชุมชน รายชื่อคณะกรรมการ และสรุปการขอรับการจัดสรรงบประมาณ
พร้อมเอกสารไปยังสำนักงานภายใน ๕ วันทำการ พร้อมแจ้งจังหวัดหรือหน่วยงานที่ อคบ.
กำหนดและกระทรวงมหาดไทยเพื่อบันทึกลงฐานข้อมูล
(๓) เมื่อสำนักงานได้รับแจ้งรายชื่อหมู่บ้านหรือชุมชน
พร้อมเอกสารแล้วให้จัดประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้โดยไม่ชักช้า
และให้ประธานอนุกรรมการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามรับรองการจัดสรรงบประมาณ เพื่อพิจารณาโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของหมู่บ้านหรือชุมชน
เมื่อดำเนินการตาม (๓) แล้ว ให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ดำเนินการโอนเงินงบประมาณเข้าบัญชีเงินฝากของหมู่บ้านหรือชุมชนต่อไป
หมวด ๔
การจัดสรรงบประมาณให้แก่หมู่บ้านหรือชุมชน
ข้อ ๑๒ เมื่อสำนักงานได้รับเอกสารตามข้อ ๑๑ (๓)
แล้วให้ดำเนินการโอนเงินงบประมาณให้แก่หมู่บ้านหรือชุมชนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และให้แจ้งอำเภอ
หรือเทศบาล หรือหน่วยงานที่ อคบ. กำหนด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบผลการดำเนินการ
เพื่อจะได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง พร้อมกันนี้ให้สรุปเสนอคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
เพื่อรับทราบผลการดำเนินการในภาพรวม
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่หมู่บ้านหรือชุมชนไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ
อันเนื่องมาจากเหตุใดก็ตาม ให้คณะอนุกรรมการชี้แจงให้หมู่บ้านหรือชุมชนทราบ
เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป
ข้อ ๑๔ การจัดสรรงบประมาณตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML)
จะจัดสรรโดยยึดหลักความเป็นจริงตามจำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร์ของหมู่บ้านหรือชุมชนที่ได้รับแจ้งจากกรมการปกครอง
กระทรวงมหาดไทย เทศบาลและหน่วยงานที่ อคบ. กำหนด ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑) หมู่บ้านหรือชุมชนที่มีประชากรไม่เกิน ๕๐๐ คน
ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน)
(๒) หมู่บ้านหรือชุมชนที่มีจำนวนประชากรตั้งแต่ ๕๐๑ คน ขึ้นไป
แต่ไม่เกิน ๑,๐๐๐ คน ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน ๔๐๐,๐๐๐ บาท (สี่แสนบาทถ้วน)
(๓) หมู่บ้านหรือชุมชนที่มีประชากรตั้งแต่ ๑,๐๐๑ คน ขึ้นไป ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ บาท
(ห้าแสนบาทถ้วน)
การจัดสรรงบประมาณนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ข้างต้นให้สามารถดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์
เงื่อนไข และวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
ข้อ ๑๕ การจัดสรรงบประมาณตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML) จะจัดสรรตามความพร้อมของหมู่บ้านและชุมชน
ข้อ ๑๖ หมู่บ้านหรือชุมชนสามารถเริ่มต้นดำเนินงานได้เมื่อได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของหมู่บ้านหรือชุมชนแล้ว
กรณีมีการจัดสรรเงินงบประมาณเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของหมู่บ้านหรือชุมชนไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ในข้อ
๑๔ ให้ประธานกรรมการโครงการหมู่บ้านและชุมชนมีหน้าที่แจ้งนายอำเภอ หรือนายกเทศมนตรี
หรือบุคคลที่ อคบ. กำหนด ทราบ เพื่อประสานงานอำเภอ หรือเทศบาล หรือหน่วยงานที่
อคบ. กำหนด หากอำเภอ หรือเทศบาล หรือหน่วยงานที่ อคบ. กำหนด ตรวจพบเองในภายหลัง ให้ดำเนินการตามข้อเท็จจริง
พร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานทราบ
สำหรับเงินงบประมาณที่หมู่บ้านหรือชุมชนได้รับการจัดสรร
และดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในบัญชีเงินฝากธนาคารของหมู่บ้านหรือชุมชน
ตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML)
รายได้ที่เป็นส่วนเพิ่มจากการนำเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรตามเกณฑ์ไปลงทุน
ลิขสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์
และทรัพย์สินสืบเนื่องที่เกิดจากการนำเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML) ไปดำเนินการ
ให้ขึ้นทะเบียนเป็นกรรมสิทธิ์ของหมู่บ้านหรือชุมชน
เพื่อนำไปบริหารจัดการเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
หมวด ๕
การดำเนินงานของหมู่บ้านหรือชุมชน
ข้อ ๑๗ ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจัดประชุมประชาคมเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการโครงการหมู่บ้านและชุมชน
จำนวน ๙ ถึง ๑๕ คน ประกอบด้วย ประธาน รองประธาน เลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ
เหรัญญิก ผู้ช่วยเหรัญญิก ปฏิคม ผู้ตรวจสอบ และประชาสัมพันธ์
โดยมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในคู่มือ/คำแนะนำการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML)
การประชุมประชาคมต้องมีผู้แทนครัวเรือนที่อาศัยอยู่จริง
และมีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไปอย่างน้อยครัวเรือนละ ๑ คน
เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐
ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดของหมู่บ้านหรือชุมชนนั้น
จึงถือว่าครบองค์ประชุมและให้ถือมติตามเสียงข้างมาก
หากไม่สามารถจัดประชุมประชาคมได้ตามหลักเกณฑ์ในวรรคสอง
ให้คณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข
และวิธีการเพื่อให้สามารถจัดประชุมประชาคมได้
ข้อ ๑๘ การนำเงินงบประมาณตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML) ไปใช้เป็นเงินทุนให้ประชาชนกู้ยืม หรือเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคลจะกระทำมิได้
โดยการดำเนินงานต้องบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน
ข้อ ๑๙ การประชุมคณะกรรมการโครงการหมู่บ้านและชุมชนต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมเกินกึ่งหนึ่งจึงถือว่าครบองค์ประชุม
และให้ถือมติตามเสียงข้างมาก โดยให้กรรมการหนึ่งคนมีหนึ่งเสียง หากจำนวนเสียงที่ลงมติเท่ากัน
ให้ประธานกรรมการโครงการหมู่บ้านและชุมชนมีสิทธิลงคะแนนเสียงเพิ่มอีกหนึ่งเสียง
ในการดำเนินการตามข้อ ๑๙
ให้คณะกรรมการโครงการหมู่บ้านและชุมชนแต่งตั้งคณะผู้รับผิดชอบจำนวน ๔ คณะ
และกำกับดูแลให้คณะผู้รับผิดชอบดำเนินการตามคู่มือ/คำแนะนำการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML)
คณะผู้รับผิดชอบ มีดังนี้
(๑) ผู้รับผิดชอบการเบิกจ่ายเงินและจัดทำบัญชี จำนวน ๓ คน
(๒) ผู้รับผิดชอบการดำเนินโครงการ จำนวน ๓ คน
(๓) ผู้รับผิดชอบการจัดซื้อจัดจ้าง จำนวน ๓ คน
(๔) ผู้รับผิดชอบการตรวจสอบและประเมินโครงการจำนวน ๓ คน
หมวด ๖
การบริหารจัดการโครงการ
ข้อ ๒๐ ให้สำนักงานจัดทำคู่มือ/คำแนะนำการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หมู่บ้านหรือชุมชนถือปฏิบัติให้เป็นไปตามแบบมาตรฐานเดียวกัน
ข้อ ๒๑ กรณีมีผู้ร้องเรียนหรือตรวจสอบพบว่า
หมู่บ้านหรือชุมชนมีการบริหารจัดการไม่โปร่งใส
โดยดำเนินโครงการขัดต่อแนวทางการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML) หรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือกระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชน
ให้อำเภอ หรือเทศบาล หรือหน่วยงานที่ อคบ. กำหนด แล้วแต่กรณี
ส่งเรื่องหรือรายงานต่อสำนักงาน เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่ามีมูลเพียงพอ
ให้มีหนังสือแจ้งธนาคารระงับการเบิกจ่ายเงินงบประมาณในบัญชีเงินฝากธนาคารหรือระงับการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่เบิกจ่ายออกจากบัญชีเงินฝากของหมู่บ้านและชุมชนไว้เป็นการชั่วคราว
จนกว่าจะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเสร็จ จึงจะให้ดำเนินการบริหารจัดการเงินงบประมาณ
หรือเรียกเงินงบประมาณคืนทั้งหมดหรือบางส่วนรวมดอกผล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๒ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
ให้สำนักงานประสานหรือขอความร่วมมือจากนายอำเภอ หรือนายกเทศมนตรี หรือบุคคลที่
อคบ. กำหนด แล้วแต่กรณี
ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
เมื่อสำนักงานพิจารณาผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าเป็นการกระทำผิดทางอาญา
ให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พิจารณามอบอำนาจให้นายอำเภอ หรือนายกเทศมนตรี
หรือบุคคลที่ อคบ. กำหนด เป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษกับผู้กระทำความผิดต่อไปก็ได้
ข้อ ๒๓ เมื่อเกิดกรณีตามข้อ
๒๑ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติในฐานะหน่วยงานหลักรับผิดชอบการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML) มีอำนาจในการสั่งให้หมู่บ้านหรือชุมชน
หรือคณะกรรมการโครงการหมู่บ้านและชุมชนที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณคืนเงินทั้งหมดหรือบางส่วนให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
หมวด ๗
การแจ้งผู้มีสิทธิในการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของหมู่บ้านหรือชุมชน
ข้อ ๒๔ ให้คณะผู้รับผิดชอบในการเบิกจ่ายเงินและจัดทำบัญชี
ไปติดต่อกับธนาคารสำนักงานสาขาในพื้นที่
เพื่อดำเนินการเปิดบัญชีและให้ตัวอย่างลายมือชื่อของคณะผู้รับผิดชอบในการเบิกจ่ายเงินและจัดทำบัญชีและกำหนดเงื่อนไขในการถอน
ให้ ๓ คนลงลายมือชื่อร่วมกันจึงมีอำนาจเบิกถอนเงินได้ จากบัญชีเงินฝากธนาคารของหมู่บ้านหรือชุมชน ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในคู่มือ/คำแนะนำในการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML) เท่านั้น
ข้อ ๒๕ การเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารหมู่บ้านหรือชุมชน
ให้คณะผู้รับผิดชอบมีข้อตกลงกับธนาคาร
ในการสละสิทธิเรียกร้องและให้สิทธิกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
มีอำนาจในการแจ้งระงับการเบิกจ่ายเงินบัญชีเงินฝากดังกล่าวได้
ข้อ ๒๖ การเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของหมู่บ้านหรือชุมชน
ให้คณะผู้รับผิดชอบในการเบิกจ่ายเงินและจัดทำบัญชี ๓ คน
เป็นผู้ดำเนินการเบิกจ่ายเงิน โดยหลักฐานการเบิกจ่ายเงิน ประกอบด้วย
(๑) บัตรประจำตัวประชาชนของคณะผู้รับผิดชอบ และใบเบิกเงินของธนาคาร
(๒)
สำเนาใบสำคัญรับเงินพร้อมทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จำหน่าย หรือสำเนาใบส่งของ
หรือสำเนาใบเสร็จรับเงิน
โดยนำหลักฐานตามข้อนี้เสนอต่อธนาคารสำนักงานสาขาในพื้นที่และเบิกจ่ายเงินให้เสร็จสิ้นภายใน
๑ วัน
และให้ธนาคารสำนักงานใหญ่รายงานผลการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของหมู่บ้านหรือชุมชนให้สำนักงานทราบเป็นประจำทุกเดือน
หรือทุกครั้งที่ได้รับการประสานจากสำนักงาน
ข้อ ๒๗ การเปลี่ยนแปลงผู้รับผิดชอบในการเบิกจ่ายเงินและจัดทำบัญชีของหมู่บ้านหรือชุมชนคนใหม่ตามข้อ
๑๙ วรรคสาม (๑) ไม่ว่ากรณีใด ๆ
ต้องได้รับฉันทามติจากที่ประชุมประชาคมของหมู่บ้านหรือชุมชน
และเมื่อได้รับฉันทามติแล้วให้นำหลักฐานไปแสดง
และเปลี่ยนลายมือชื่อกับธนาคารพร้อมกับผู้รับผิดชอบในการเบิกจ่ายเงินและจัดทำบัญชีของหมู่บ้านหรือชุมชนคนเดิมหรือหลักฐานที่แสดงการเปลี่ยนแปลงจากคนเดิม
และแจ้งจังหวัดหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
หมวด ๘
การใช้จ่ายเงินโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML)
ข้อ ๒๘ เงินงบประมาณสำหรับใช้เพื่อการบริหารจัดการโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML) ให้เบิกจ่ายจากเงินที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลเพื่อดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML)
ข้อ ๒๙ ค่าใช้จ่ายที่สามารถใช้จ่ายได้ตามระเบียบนี้
หมายรวมถึง
ค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ค่าใช้จ่ายสำหรับสนับสนุนให้กับหมู่บ้านหรือชุมชน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ค่าใช้จ่ายสำหรับสนับสนุนให้กับหมู่บ้านและชุมชน
ให้เบิกจ่ายตามมติของคณะอนุกรรมการ ส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML) และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ตามวัตถุประสงค์ของโครงการให้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการในการอนุมัติและสั่งจ่ายตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการเงิน การบัญชี และงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ และแก้ไขเพิ่มเติม โดยอนุโลม
ข้อ ๓๐ เมื่อหมู่บ้านหรือชุมชนได้รับการจัดสรรงบประมาณตามหลักเกณฑ์แล้ว
ให้คณะทำงานของหมู่บ้านหรือชุมชน
บริหารจัดการเงินงบประมาณตามที่ได้รับจัดสรรโดยโปร่งใส ประหยัด และมีประสิทธิภาพ
ตามหลักเกณฑ์ที่ที่ประชุมประชาคมของหมู่บ้านหรือชุมชนได้มีฉันทามติ โดยต้องไม่ขัดต่อกฎหมายและหลักเกณฑ์ตามที่คณะอนุกรรมการกำหนด
ข้อ ๓๑ ให้ใช้หนังสือขออนุมัติเบิกจ่ายเงินเป็นหลักฐานในการจ่ายเงินและลงบัญชี
โดยให้ถือปฏิบัติตามระเบียบฯ ข้อ ๒๙ วรรคสอง และดำเนินการเบิกจ่ายตามแนวทางที่กำหนดไว้ในคู่มือ/คำแนะนำในการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML)
หมวด ๙
การลงทะเบียนทรัพย์สิน
ข้อ ๓๒ เมื่อหมู่บ้านหรือชุมชนได้ดำเนินงานแล้วเสร็จ
ให้ขึ้นทะเบียนทรัพย์สินเป็นบัญชีของหมู่บ้านหรือชุมชน และแจ้งให้อำเภอ หรือเทศบาล
หรือหน่วยงานที่ อคบ. กำหนด ทราบ เพื่อออกหนังสือรับรองสิทธิ และให้แจ้งให้คณะกรรมการ
และคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านทราบ
หมวด ๑๐
การรายงานผลการดำเนินงาน
ข้อ ๓๓ เมื่อหมู่บ้านหรือชุมชนดำเนินงานครบ ๖
เดือน หรือ ๑ ปีนับถัดจากวันที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ คณะกรรมการโครงการหมู่บ้านและชุมชนจะต้องจัดทำสรุปผลการดำเนินงานเพื่อแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงาน
และปิดประกาศให้ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนทราบโดยทั่วกัน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕
วัน และแจ้งให้นายอำเภอ หรือนายกเทศมนตรี หรือบุคคลที่ อคบ. กำหนด ทราบภายใน ๕
วันทำการ นับแต่วันที่ปิดประกาศ
ข้อ ๓๔ ให้มีคณะทำงานตรวจสอบ
ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานของหมู่บ้านหรือชุมชนให้คณะกรรมการทราบและพิจารณาตามแนวทางที่คณะกรรมการกำหนด
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๓๕ ให้บรรดาการประชุมประชาคม
การคัดเลือกคณะกรรมการโครงการหมู่บ้านและชุมชน การทำโครงการและการเสนอโครงการที่กระทำขึ้นภายใต้ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยแนวทางการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นการประชุมประชาคม การคัดเลือกคณะกรรมการโครงการหมู่บ้านและชุมชน
การทำโครงการและการเสนอโครงการตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕
กิตติรัตน์
ณ ระนอง
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๑๙ ธันวาคม
๒๕๕๔ |
668274 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๕๕
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑
ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ และมาตรา ๓๑ วรรคแปด
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ได้มีมติคราวการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๕
เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๕ ให้วางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้
เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๕๕
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓๗
แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓๗ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านมีอำนาจในการอนุมัติเงินกู้รายหนึ่งไม่เกินจำนวนสามหมื่นบาท
ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านมีมติเห็นควรอนุมัติเงินกู้รายใดเกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง
ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านเรียกประชุมสมาชิกเพื่อให้สมาชิกพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดต่อไปแต่ทั้งนี้การอนุมัติเงินกู้รายหนึ่งต้องไม่เกินจำนวนเจ็ดหมื่นห้าพันบาท
การอนุมัติเงินกู้ฉุกเฉิน
หรือเงินยืมฉุกเฉินให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านอนุมัติได้รายหนึ่งจำนวนไม่เกินหนึ่งหมื่นห้าพันบาทจากเงินที่ได้รับจัดสรรจากรัฐบาล
หรือบัญชีกองทุนหมู่บ้าน (บัญชีที่ ๑) ไปใช้จ่ายเพื่อการฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วน
โดยกองทุนหมู่บ้านสามารถเบิกเงินฉุกเฉินจากบัญชีกองทุนหมู่บ้าน (บัญชีที่ ๑)
มาเก็บรักษาไว้เป็นเงินสด
ตามระเบียบข้อบังคับหรือข้อกำหนดของกองทุนหมู่บ้านโดยวงเงินสดที่เก็บรักษาประจำวันจะต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม
ซึ่งมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕
กิตติรัตน์
ณ ระนอง
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๗ มิถุนายน
๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๑๑ มิถุนายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๘๘ ง/หน้า ๓/๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ |
658160 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยแนวทางการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) พ.ศ. 2554 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยแนวทางการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML)
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
ตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินในการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย
โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อดูแลสังคมในชุมชน
จัดหาแหล่งทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดยการจัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง
โดยในการประชุมกำหนดนโยบาย ที่เกี่ยวกับกองทุนและค่าใช้จ่ายสำคัญตามนโยบายรัฐบาล
เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ โดยนายกรัฐมนตรีได้มีดำริให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
(สทบ.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการดำเนินงาน
ตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) นั้น
เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
เป็นพลังในการสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้านและชุมชนในการต่อสู้แก้ไขปัญหาความยากจน
พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพิ่มศักยภาพการหารายได้
ลดรายจ่ายและสร้างโอกาสในอาชีพอย่างยั่งยืนแก่ประชาชน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๙ (๑) และมาตรา ๑๙ (๑๖) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้
เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยแนวทางการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
หมู่บ้าน หมายความว่า
หมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ชุมชน หมายความว่า
ชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบล (เฉพาะเทศบาลตำบลที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกเลิกตำแหน่งกำนัน
ผู้ใหญ่บ้าน ตามมาตรา ๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๔๖)
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
คณะกรรมการโครงการหมู่บ้านและชุมชน หมายความว่า
คณะกรรมการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชนซึ่งที่ประชุมประชาคมของหมู่บ้านหรือชุมชนได้มีฉันทามติให้คัดเลือกเป็นคณะกรรมการ
เพื่อบริหารกิจการ โดยนายอำเภอ
หรือผู้อำนวยการเขตหรือนายกเทศมนตรีรับรองตามฉันทามติที่ประชุมประชาคมของหมู่บ้านและชุมชน
คณะอนุกรรมการ หมายความว่า
คณะอนุกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน เรียกโดยย่อว่า อคบ.
โครงการ หมายความว่า
งานหรือกิจกรรมที่มีการกำหนดกรอบแผนงาน วัตถุประสงค์วงเงินงบประมาณ และอื่น ๆ
ตามที่ประชุมประชาคมของหมู่บ้านหรือชุมชนมีมติกำหนดขึ้น
ผู้อำนวยการ หมายความว่า
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
สำนักงาน หมายความว่า สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ธนาคาร หมายความว่า
ธนาคารออมสินหรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรหรือธนาคารกรุงไทย
ซึ่งสำนักงานได้เปิดบัญชีเงินฝากธนาคารไว้เพื่อโอนเงินงบประมาณตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML) ให้กับหมู่บ้านหรือชุมชนที่ได้รับจัดสรรตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML)
ข้อ ๔ ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
หมวด ๑
คณะอนุกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
ข้อ ๕ ให้มีคณะอนุกรรมการคณะหนึ่ง
เรียกว่า คณะอนุกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
หรือ อคบ. ประกอบด้วย
บุคคลซึ่งประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ แต่งตั้ง
โดยพิจารณาถึงความรู้ ความสามารถ
และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML)
ข้อ ๖ ให้คณะอนุกรรมการมีอำนาจพิจารณากลั่นกรองอนุมัติโครงการและงบประมาณให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
กับทั้งมีอำนาจออกประกาศหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ เพื่อการดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
หมวด ๒
การขอรับการจัดสรรงบประมาณ
ข้อ ๗ หมู่บ้านหรือชุมชนที่มีความประสงค์จะขอรับการจัดสรรงบประมาณตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML) ต้องเป็นชุมชนที่จัดตั้งขึ้นก่อน วันที่ ๑ มกราคม ของปีงบประมาณที่มีการจัดสรรงบประมาณตามประกาศของจังหวัดกรุงเทพมหานครและเทศบาล
และตามการรับรองของกรมการปกครอง
ข้อ ๘ โครงการต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้ของหมู่บ้านและชุมชน
มีความยั่งยืน มีผลวัดได้และผลลัพธ์ควรมีต่อเนื่องไม่สิ้นสุดในครั้งเดียว
และต้องเข้าหลักเกณฑ์ข้อหนึ่งข้อใดดังนี้
(๑) เป็นโครงการที่แก้ไขปัญหาความยากจนที่มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
(๒) เป็นโครงการที่เพิ่มศักยภาพการหารายได้ ลดรายจ่าย
สร้างโอกาสในอาชีพอย่างยั่งยืน
(๓) เป็นโครงการที่มุ่งแก้ไขปัญหาของหมู่บ้านและชุมชนด้วยตนเอง
(๔) เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน
(๕) เป็นโครงการเพื่อพัฒนาสินทรัพย์ของหมู่บ้านและชุมชน
(๖)
เป็นโครงการเพื่อการอนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านและชุมชน
(๗) เป็นโครงการเพื่อการเชื่อมโยงทรัพยากรของรัฐ ท้องถิ่น และจังหวัด
ทั้งนี้ให้เด็กที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป
มีสิทธิออกเสียงเสนอโครงการ
ข้อ ๙ โครงการที่เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณ
หมู่บ้านหรือชุมชนสามารถร่วมลงทุนกับหมู่บ้านหรือชุมชนใกล้เคียง
หรือองค์กรภาครัฐและเอกชนในพื้นที่หรือนอกพื้นที่ได้
เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้หมู่บ้านหรือชุมชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง
ข้อ ๑๐ โครงการอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อหมู่บ้านหรือชุมชน
(๒) รายชื่อคณะผู้รับผิดชอบการดำเนินโครงการ
(๓) วัตถุประสงค์และเป้าหมายโครงการ
(๔) วงเงินงบประมาณการดำเนินโครงการ
(๕) วิธีการและขั้นตอนการดำเนินการตามโครงการ
(๖) ระยะเวลาการดำเนินการตามโครงการ
(๗) ผลที่คาดว่าจะได้รับ
หมวด ๓
ขั้นตอนการดำเนินการเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณ
ข้อ ๑๑ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจะต้องจัดให้มีการประชุมประชาคมเพื่อคัดเลือกกรรมการโครงการหมู่บ้านและชุมชน
และคัดเลือกโครงการ รวมทั้งพิจารณาหลักเกณฑ์ตามหมวด ๒ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนตามแนวทาง
ที่กำหนดในคู่มือการบริหารจัดการโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) เมื่อได้ดำเนินการเสร็จแล้วให้ประธานกรรมการโครงการหมู่บ้านและชุมชนเสนอชื่อหมู่บ้านหรือชุมชน
พร้อมด้วยเอกสารรายงานการประชุมประชาคม รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม
และโครงการต่อนายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขตหรือนายกเทศมนตรี ภายใน ๕
วันทำการนับแต่วันได้ประชุมประชาคมเสร็จ ทั้งนี้ หมู่บ้านหรือชุมชนจะเสนอโครงการได้ไม่เกิน
๒ โครงการ โดยอยู่ภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณไม่เกินเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณ ตามข้อ
๑๖
หากคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านไม่สามารถจัดประชุมประชาคมได้
ให้ผู้ใหญ่บ้านหรือประธานชุมชนเป็นผู้จัดประชุมประชาคมและดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
ในการประชุมประชาคม ให้มีผู้แทนของอำเภอ
หรือเขตหรือเทศบาลเข้าร่วมประชุมเป็นผู้สังเกตการณ์
และให้คำแนะนำความเป็นไปได้ของโครงการในเบื้องต้น
ข้อ ๑๒ เมื่อนายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขตหรือนายกเทศมนตรีได้รับแจ้งรายชื่อหมู่บ้านหรือชุมชนพร้อมด้วยเอกสารแล้ว
ให้นายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขตหรือนายกเทศมนตรี ดำเนินการดังนี้
(๑) ลงนามรับรองเอกสารรายงานการประชุมประชาคม
การจัดทำโครงการโดยประชาคม และรับรองการแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการหมู่บ้านและชุมชนให้แล้วเสร็จภายใน
๓ วันทำการ
(๒)
จัดส่งรายชื่อหมู่บ้านหรือชุมชนและสรุปโครงการที่เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามโครงการอย่างย่อ
พร้อมเอกสารไปยังสำนักงานภายใน ๕ วันทำการ พร้อมแจ้งจังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร
และกระทรวงมหาดไทยเพื่อบันทึกลงฐานข้อมูล
(๓) เมื่อสำนักงานได้รับแจ้งรายชื่อหมู่บ้านหรือชุมชน
พร้อมเอกสารแล้วให้จัดประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณากลั่นกรองอนุมัติโครงการและงบประมาณให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้โดยไม่ชักช้า
และให้ประธานอนุกรรมการหรือผู้ที่ประธานอนุกรรมการมอบหมาย
ลงนามรับรองสรุปโครงการที่ได้รับพร้อมรายละเอียด
บัญชีเงินฝากของชุมชนเพื่อให้สำนักงานดำเนินการโอนเงินงบประมาณเข้าบัญชีหมู่บ้านหรือชุมชนต่อไป
เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ให้เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านทุกระดับ
และสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติสาขา
เป็นผู้ติดตามและประสานการดำเนินงานตามระเบียบนี้
ข้อ ๑๓ การเปลี่ยนแปลงโครงการ
หรือการเพิ่มเติมโครงการให้เป็นอำนาจพิจารณาของคณะอนุกรรมการ โดยคำนึงถึงเหตุผล
ความจำเป็น วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย
หมวด ๔
การจัดสรรงบประมาณให้แก่หมู่บ้านหรือชุมชน
ข้อ ๑๔ เมื่อสำนักงานได้รับเอกสารตามข้อ ๑๒ (๓)
แล้วให้ดำเนินการโอนเงินงบประมาณให้แก่หมู่บ้านหรือชุมชนให้แล้วเสร็จภายใน ๑๕
วันทำการนับแต่วันที่ได้รับเรื่องและให้แจ้งอำเภอหรือเขตหรือเทศบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบผลการดำเนินการ
เพื่อจะได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง พร้อมกันนี้ให้สรุปเสนอคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
เพื่อรับทราบผลการดำเนินการในภาพรวม
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่หมู่บ้านหรือชุมชนไม่ได้รับการอนุมัติโครงการและงบประมาณอันเนื่องมาจากเหตุใดก็ตาม
ให้คณะอนุกรรมการชี้แจงให้หมู่บ้านหรือชุมชนทราบ เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป
ข้อ ๑๖ การจัดสรรงบประมาณตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML) จะจัดสรรโดยยึดหลักความเป็นจริงตามจำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร์ของหมู่บ้านหรือชุมชนที่ได้รับแจ้งจากกรมการปกครอง
กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานครและเทศบาลตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑) หมู่บ้านหรือชุมชนที่มีประชากรไม่เกิน ๕๐๐ คน
ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน)
(๒) หมู่บ้านหรือชุมชนที่มีจำนวนประชากรตั้งแต่ ๕๐๑ คน ขึ้นไป
แต่ไม่เกิน ๑,๐๐๐ คน ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน ๔๐๐,๐๐๐ บาท (สี่แสนบาทถ้วน)
(๓) หมู่บ้านหรือชุมชนที่มีประชากรตั้งแต่ ๑,๐๐๑ คน ขึ้นไป ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ บาท
(ห้าแสนบาทถ้วน)
การจัดสรรงบประมาณตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ข้างต้นให้สามารถดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์
เงื่อนไข และวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด
ข้อ ๑๗ การอนุมัติโครงการและจัดสรรงบประมาณตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML) จะจัดสรรตามลำดับก่อนหลังตามที่คณะอนุกรรมการได้รับเอกสารจากนายอำเภอ หรือผู้อำนวยการเขต
หรือนายกเทศมนตรี ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ข้อ ๑๘ หมู่บ้านหรือชุมชนสามารถเริ่มต้นดำเนินโครงการได้เมื่อได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณ
เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของหมู่บ้านหรือชุมชนแล้วเท่านั้น
กรณีมีการจัดสรรเงินงบประมาณเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของหมู่บ้านหรือชุมชนไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ในข้อ
๑๖
ให้ประธานกรรมการโครงการหมู่บ้านและชุมชนมีหน้าที่แจ้งนายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขตหรือนายกเทศมนตรีทราบ
เพื่อประสานงานอำเภอหรือเขตหรือเทศบาล หากอำเภอหรือเขตหรือเทศบาล
ตรวจพบเองในภายหลังให้ดำเนินการตามข้อเท็จจริง พร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานทราบ
สำหรับเงินงบประมาณที่หมู่บ้านหรือชุมชนได้รับการจัดสรร
และดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในบัญชีเงินฝากธนาคารของหมู่บ้านหรือชุมชน
ตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) รายได้ที่เป็นส่วนเพิ่มจากการนำเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรตามเกณฑ์ไปลงทุน
ลิขสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์
และทรัพย์สินสืบเนื่องที่เกิดจากการนำเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML) ไปดำเนินการ
ให้ขึ้นทะเบียนเป็นกรรมสิทธิ์ของหมู่บ้านหรือชุมชน
เพื่อนำไปบริหารจัดการเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
หมวด ๕
การดำเนินงานของหมู่บ้านหรือชุมชน
ข้อ ๑๙ ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจัดประชุมประชาคมเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการโครงการหมู่บ้านและชุมชน
จำนวน ๙ ถึง ๑๕ คน ประกอบด้วย ประธาน รองประธาน เลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ
เหรัญญิก ผู้ช่วยเหรัญญิก ปฏิคม ผู้ตรวจสอบ และประชาสัมพันธ์
โดยมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในคู่มือการบริหารจัดการโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML)
การประชุมประชาคมต้องมีผู้แทนครัวเรือนที่อาศัยอยู่จริง
และมีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป ครัวเรือนละ ๑ คน เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ
๕๐ ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดของหมู่บ้านหรือชุมชนนั้น
จึงถือว่าครบองค์ประชุมและให้ถือมติตามเสียงข้างมาก
หากไม่สามารถจัดประชุมประชาคมได้ตามหลักเกณฑ์ในวรรคสอง
ให้คณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข
และวิธีการเพื่อให้สามารถจัดประชุมประชาคมได้
ให้ประธานกรรมการโครงการหมู่บ้านและชุมชนทำหน้าที่ประธานการประชุมประชาคมเพื่อคัดเลือกโครงการเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML)
ข้อ ๒๐ การนำเงินงบประมาณตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML) ไปใช้เป็นเงินทุนให้ประชาชนกู้ยืม
หรือเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคลจะกระทำมิได้
โดยโครงการต้องบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน
ข้อ ๒๑ การประชุมคณะกรรมการโครงการหมู่บ้านและชุมชนต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมเกินกึ่งหนึ่งจึงถือว่าครบองค์ประชุม
และให้ถือมติตามเสียงข้างมาก โดยให้กรรมการหนึ่งคนมีหนึ่งเสียง หากจำนวนเสียงที่ลงมติเท่ากัน
ให้ประธานกรรมการโครงการหมู่บ้านและชุมชนมีสิทธิลงคะแนนเสียงเพิ่มอีกหนึ่งเสียง
ในการดำเนินการตามข้อ ๑๙
ให้คณะกรรมการโครงการหมู่บ้านและชุมชนแต่งตั้งคณะผู้รับผิดชอบจำนวน ๔ คณะ
และกำกับดูแลให้คณะผู้รับผิดชอบดำเนินการตามคู่มือการบริหารจัดการโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML)
คณะผู้รับผิดชอบ มีดังนี้
(๑) ผู้รับผิดชอบการเบิกจ่ายเงินและจัดทำบัญชี จำนวน ๓ คน
(๒) ผู้รับผิดชอบการดำเนินโครงการ จำนวน ๓ คน
(๓) ผู้รับผิดชอบการจัดซื้อจัดจ้าง จำนวน ๓ คน
(๔) ผู้รับผิดชอบการตรวจสอบและประเมินโครงการจำนวน ๓ คน
หมวด ๖
การบริหารจัดการโครงการ
ข้อ ๒๒ ให้สำนักงานจัดทำคู่มือการบริหารจัดการโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หมู่บ้านหรือชุมชนถือปฏิบัติให้เป็นไปตามแบบมาตรฐานเดียวกัน
ข้อ ๒๓ กรณีมีผู้ร้องเรียนหรือตรวจสอบพบว่า
หมู่บ้านหรือชุมชนมีการบริหารจัดการไม่โปร่งใส
โดยดำเนินโครงการขัดต่อแนวทางการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML) หรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือกระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชน
ให้อำเภอหรือเขตหรือเทศบาล แล้วแต่กรณี ส่งเรื่องหรือรายงานต่อสำนักงาน
เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่ามีมูลเพียงพอ
ให้มีหนังสือแจ้งธนาคารระงับการเบิกจ่ายเงินงบประมาณในบัญชี เงินฝากธนาคารหรือระงับการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่เบิกจ่ายออกจากบัญชีเงินฝากของหมู่บ้านและชุมชนไว้เป็นการชั่วคราว
จนกว่าจะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเสร็จ จึงจะให้ดำเนินการบริหารจัดการเงินงบประมาณตามโครงการที่ได้รับอนุมัติได้ตามปกติ
หรือเรียกเงินงบประมาณคืนทั้งหมดหรือบางส่วนรวมดอกผล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๔ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
ให้สำนักงานประสานหรือขอความร่วมมือจากนายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขต
หรือนายกเทศมนตรี แล้วแต่กรณี
ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
เมื่อสำนักงานพิจารณาผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าเป็นการกระทำผิดทางอาญา
ให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พิจารณามอบอำนาจให้นายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขตหรือนายกเทศมนตรี
เป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษกับผู้กระทำความผิดต่อไปก็ได้
ข้อ ๒๕ เมื่อเกิดกรณีตามข้อ
๒๓ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติในฐานะหน่วยงานหลักรับผิดชอบการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML) มีอำนาจในการสั่งให้หมู่บ้านหรือชุมชน
หรือคณะกรรมการโครงการหมู่บ้านและชุมชนที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ คืนเงินทั้งหมดหรือบางส่วนให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
หมวด ๗
การแจ้งผู้มีสิทธิในการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของหมู่บ้านหรือชุมชน
ข้อ ๒๖ ให้คณะผู้รับผิดชอบในการเบิกจ่ายเงินและจัดทำบัญชี
ไปติดต่อกับธนาคารสำนักงานสาขาในพื้นที่
เพื่อดำเนินการเปิดบัญชีและให้ตัวอย่างลายมือชื่อของคณะผู้รับผิดชอบในการเบิกจ่ายเงินและจัดทำบัญชีและกำหนดเงื่อนไขในการถอน
ให้ ๓ คนลงลายมือชื่อร่วมกันจึงมีอำนาจเบิกถอนเงินได้ จากบัญชีเงินฝากธนาคารของหมู่บ้านหรือชุมชน ทั้งนี้
ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้การบริหารจัดการโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) เท่านั้น
ข้อ ๒๗ การเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารหมู่บ้านหรือชุมชน
ให้คณะผู้รับผิดชอบมีข้อตกลงกับธนาคาร
ในการสละสิทธิเรียกร้องและให้สิทธิกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
มีอำนาจในการแจ้งระงับ การเบิกจ่ายเงินบัญชีเงินฝากดังกล่าวได้
ข้อ ๒๘ การเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของหมู่บ้านหรือชุมชน
ให้คณะผู้รับผิดชอบในการเบิกจ่ายเงินและจัดทำบัญชี ๓ คน
เป็นผู้ดำเนินการเบิกจ่ายเงิน เมื่อดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว โดยหลักฐานการเบิกจ่ายเงิน
ประกอบด้วย
(๑) สำเนาโครงการที่ได้รับการอนุมัติ
บัตรประจำตัวประชาชนของคณะผู้รับผิดชอบ และใบเบิกเงินของธนาคาร
(๒)
สำเนาใบสำคัญรับเงินพร้อมทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จำหน่าย
หรือสำเนาใบส่งของ หรือสำเนาใบเสร็จรับเงิน
โดยนำหลักฐานตามข้อนี้เสนอต่อธนาคารสำนักงานสาขาในพื้นที่และเบิกจ่ายเงินให้เสร็จสิ้นภายใน
๑ วัน และให้ธนาคารสำนักงานใหญ่รายงานผลการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของหมู่บ้านหรือชุมชนให้สำนักงานทราบเป็นประจำทุกเดือน
หรือทุกครั้งที่ได้รับการประสานจากสำนักงาน
ข้อ ๒๙ การเปลี่ยนแปลงผู้รับผิดชอบในการเบิกจ่ายเงินและจัดทำบัญชีของหมู่บ้านหรือชุมชนคนใหม่ตามข้อ
๒๑ วรรคสาม (๑) ไม่ว่ากรณีใด ๆ ต้องได้รับฉันทามติจากที่ประชุมประชาคมของหมู่บ้านหรือชุมชน
และเมื่อได้รับฉันทามติแล้วให้นำหลักฐานที่ได้รับการรับรองจากนายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขตหรือนายกเทศมนตรีไปแสดง
และเปลี่ยนลายมือชื่อกับธนาคารพร้อมกับผู้รับผิดชอบในการเบิกจ่ายเงินและจัดทำบัญชีของหมู่บ้านหรือชุมชนคนเดิมหรือหลักฐานที่แสดงการเปลี่ยนแปลงจากคนเดิมและแจ้งจังหวัดหรือกรุงเทพมหานครทราบ
หมวด ๘
การใช้จ่ายเงินโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML)
ข้อ ๓๐ เงินงบประมาณสำหรับใช้เพื่อการบริหารจัดการโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML) ให้เบิกจ่ายจากเงินที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลเพื่อดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML)
ข้อ ๓๑ ค่าใช้จ่ายที่สามารถใช้จ่ายได้ตามระเบียบนี้
หมายรวมถึง ค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML) ค่าใช้จ่ายสำหรับสนับสนุนให้กับหมู่บ้านหรือชุมชน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ค่าใช้จ่ายสำหรับสนับสนุนให้กับหมู่บ้านและชุมชน
ให้เบิกจ่ายตามมติของคณะอนุกรรมการ ส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML) และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ตามวัตถุประสงค์ของโครงการให้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการในการอนุมัติและสั่งจ่ายตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการเงิน การบัญชี และงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ และแก้ไขเพิ่มเติม โดยอนุโลม
ข้อ ๓๒ เมื่อหมู่บ้านหรือชุมชนได้รับการจัดสรรงบประมาณตามหลักเกณฑ์แล้ว
ให้คณะทำงานของหมู่บ้านหรือชุมชน
บริหารจัดการเงินงบประมาณตามที่ได้รับจัดสรรโดยโปร่งใส ประหยัด และมีประสิทธิภาพ
ตามหลักเกณฑ์ที่ที่ประชุมประชาคมของหมู่บ้านหรือชุมชนได้มีฉันทามติ โดยต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย
และหลักเกณฑ์ตามที่คณะอนุกรรมการกำหนด
ข้อ ๓๓ ให้ใช้หนังสือขออนุมัติเบิกจ่ายเงินเป็นหลักฐานในการจ่ายเงินและลงบัญชี
โดยให้ถือปฏิบัติตามระเบียบฯ ข้อ ๓๑ วรรคสอง
หมวด ๙
การลงทะเบียนทรัพย์สิน
ข้อ ๓๔ เมื่อหมู่บ้านหรือชุมชนได้ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
ให้ขึ้นทะเบียนทรัพย์สินเป็นบัญชีของหมู่บ้านหรือชุมชน
และแจ้งให้อำเภอหรือเขตหรือเทศบาลทราบ เพื่อออกหนังสือรับรองสิทธิ และให้แจ้งให้คณะกรรมการหมู่บ้าน
และคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านทราบ
หมวด ๑๐
การรายงานผลการดำเนินงาน
ข้อ ๓๕ เมื่อหมู่บ้านหรือชุมชนดำเนินโครงการครบ ๖
เดือน หรือ ๑ ปีนับถัดจากวันที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ
คณะกรรมการโครงการหมู่บ้านหรือชุมชนจะต้องจัดทำสรุปผลการดำเนินโครงการเพื่อแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงาน
และปิดประกาศให้ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนทราบโดยทั่วกัน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕
วัน และแจ้งให้นายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขตหรือนายกเทศมนตรีทราบภายใน ๕ วันทำการ
นับแต่วันที่ปิดประกาศ
ข้อ ๓๖ ให้นายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขตหรือนายกเทศมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบติดตามประเมินผลระดับอำเภอหรือเขตหรือเทศบาล
ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนอำเภอหรือเขตหรือเทศบาล ผู้แทน สทบ. สาขา ผู้แทนธนาคาร
ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ผู้แทนภาคเอกชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้านหรือประธานชุมชน
และบุคคลที่นายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขตหรือนายกเทศมนตรีเห็นสมควร
ทำหน้าที่ตรวจสอบติดตามและประเมินโครงการ ตามแบบที่กำหนดหรือรายงานให้นายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขตหรือนายกเทศมนตรีทราบเพื่อเสนอประธานอนุกรรมการต่อไป
รวมทั้งรายงานให้สำนักงานทราบ ทั้งนี้ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วันทำการ
นับแต่วันครบกำหนดตามข้อ ๓๕
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔
กิตติรัตน์
ณ ระนอง
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๑ ธันวาคม
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๔๕ ง/หน้า ๒๙/๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ |
618793 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ. 2552 (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2)
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๐
ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
พ.ศ. ๒๕๕๒
(แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ ๒)
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๐ ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ.
๒๕๔๙ ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ มาตรา ๘ มาตรา ๑๙ (๕) และมาตรา ๓๐
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จึงออกระเบียบไว้ ดังนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๐ ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
พ.ศ. ๒๕๕๒ (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ ๒)
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสอง
วรรคสามและวรรคสี่ของข้อ ๑๖
แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐
ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ. ๒๕๔๙
หนังสือสำคัญแสดงการเป็นนิติบุคคลชำรุด
สูญหายด้วยประการใดให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านยื่นคำขอรับใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการเป็นนิติบุคคลนั้นได้
เมื่อได้ออกใบแทนไปแล้ว
หนังสือสำคัญแสดงการเป็นนิติบุคคลเดิมเป็นอันยกเลิก
ให้นายทะเบียนออกประกาศกำหนดคุณสมบัติ
หลักเกณฑ์ สถานที่ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการยื่นขอรับใบแทน
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ปริยานุช/จัดทำ
๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๖๓ ง/หน้า ๒๐/๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ |
851547 | ระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุม และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2549 (ฉบับ Update ณ วันที่ 24/06/2551) | ระเบียบ
ว่าด้วยเบี้ยประชุม
และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ
และอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดค่าเบี้ยประชุม
ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ
และอนุกรรมการ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งบัญญัติให้กำหนดค่าใช้จ่ายของกรรมการ และอนุกรรมการ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ รองนายกรัฐมนตรี
(นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) ผู้รักษาการและผู้มีอำนาจสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
แทนนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๔๔๐/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
และบันทึกสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๘ โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังจึงกำหนดระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุม
และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ
๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในระเบียบนี้
สำนักงาน หมายความว่า สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ประธานกรรมการ หมายความว่า ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
กรรมการ หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
คณะอนุกรรมการ หมายความว่า คณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ประธานอนุกรรมการ หมายความว่า ประธานอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติแต่งตั้ง
อนุกรรมการ หมายความว่า อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติแต่งตั้ง
ข้อ
๔ ให้ประธานกรรมการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
และมีอำนาจออกประกาศคำสั่งต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานตามระเบียบนี้
ให้ผู้ที่รักษาการตามระเบียบนี้เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดและคำวินิจฉัยนั้นให้เป็นที่สุด
ข้อ
๕ ให้ประธานกรรมการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติ
การเดินทางไปปฏิบัติงานในราชอาณาจักร
ข้อ
๖ ให้ประธานกรรมการเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติการเดินทางไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ
หมวด ๑
ค่าเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการ
ข้อ
๗ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานอนุกรรมการ
อนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ดังต่อไปนี้
(๑) ประธานกรรมการ ครั้งละ
๓,๐๐๐ บาท เดือนละไม่เกิน ๑๒,๐๐๐ บาท
(๒) กรรมการ ครั้งละ
๒,๐๐๐ บาท เดือนละไม่เกิน ๘,๐๐๐ บาท
(๓) ประธานอนุกรรมการ ครั้งละ
๑,๕๐๐ บาท เดือนละไม่เกิน ๖,๐๐๐ บาท
(๔) อนุกรรมการ ครั้งละ
๑,๐๐๐ บาท เดือนละไม่เกิน ๔,๐๐๐ บาท
ในกรณีที่ประธานกรรมการ
กรรมการ ประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยตำแหน่งมอบหมายให้ผู้ใดมาประชุมแทน
ให้เบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้ผู้มาประชุมแทน ตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง
ข้อ
๘ ให้เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการ
หรือคณะอนุกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการ หรืออนุกรรมการ แล้วแต่กรณี
และถ้ากรรมการ หรืออนุกรรมการ ผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย ให้เบิกเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว
ผู้อำนวยการและผู้ปฏิบัติงานของสำนักงาน
ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมตามระเบียบนี้
ข้อ
๙ ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานอนุกรรมการ
อนุกรรมการในคณะกรรมการคณะหนึ่ง หรืออนุกรรมการคณะหนึ่งให้ได้รับเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง
หมวด ๒
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศ
ข้อ
๑๐ การเดินทางไปปฏิบัติงานภายในจังหวัด
คือ การไปปฏิบัติงานชั่วคราวนอกที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของกรรมการ
และอนุกรรมการ
ข้อ
๑๑ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน ได้แก่
(๑)
ค่าเบี้ยเลี้ยง
(๒)
ค่าเช่าที่พัก
(๓)
ค่าพาหนะ รวมถึงค่าเช่าพาหนะ ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้างคนหามสิ่งของ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและอื่น
ๆ ทำนองเดียวกัน
(๔)
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ข้อ
๑๒ เมื่อมีการประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ
ให้กรรมการ อนุกรรมการได้รับค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พักและค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ
๑๓
ข้อ
๑๓ ในกรณีที่กรรมการ อนุกรรมการ มีความจำเป็นต้องเดินทางไปนอกจังหวัด
อันเป็นที่ตั้งสำนักงาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้ได้รับค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก
ค่าพาหนะ และค่าใช้จ่าย ในการปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้
๑๓.๑
ค่าเบี้ยเลี้ยง
(๑)
ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ ให้เบิกในลักษณะเหมาจ่ายได้วันละ
๕๐๐ บาท
(๒)
ในกรณีที่มีหน่วยงานรับผิดชอบออกค่าใช้จ่าย ค่าที่พัก และค่าอาหารให้ครบถ้วน ให้งดเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง
๑๓.๒
ค่าเช่าที่พัก
(๑)
ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ ประธานอนุกรรมการให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินวันละ
๒,๒๐๐ บาท
(๒)
กรรมการให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินวันละ ๑,๖๐๐
บาท
(๓)
อนุกรรมการให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินวันละ ๑,๐๐๐
บาท
๑๓.๓
ค่าพาหนะ
(๑)[๒]
ประธานกรรมการ กรรมการและประธานอนุกรรมการ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง
หรือหากใช้ยานพาหนะส่วนตัวให้เบิกเป็นค่าชดเชยกิโลเมตรละ ๔ บาท
(๒)[๓]
อนุกรรมการ กรณีโดยสารเครื่องบินให้เบิกในชั้นประหยัด
หรือหากใช้ยานพาหนะส่วนตัวให้เบิกเงินค่าชดเชยในอัตรากิโลเมตรละ ๔ บาท
๑๓.๔
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็น
ต้องจ่ายเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติงาน
เช่น ค่าลงทะเบียน ค่าใช้จ่ายในการสื่อสาร ฯลฯ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง
หมวด ๓
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ
ข้อ
๑๔ การเดินทางไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ
ได้แก่ การเดินทางไปนอกราชอาณาจักรเพื่อดูงาน ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ประสานงาน หรือการประชุมที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
ข้อ
๑๕ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ
ได้แก่
(๑)
ค่าเบี้ยเลี้ยง
(๒)
ค่าเช่าที่พัก
(๓)
ค่าพาหนะ
(๔)
ค่ารับรอง
(๕)
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ข้อ
๑๖ ในกรณีที่ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานอนุกรรมการ
อนุกรรมการ มีความจำเป็นต้องเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในต่างประเทศชั่วคราว ให้ได้รับค่าเบี้ยเลี้ยง
ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ ดังต่อไปนี้
๑๖.๑
ค่าเบี้ยเลี้ยง
(๑)
ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปต่างประเทศ ให้เบิกได้ตามอัตราในบัญชี ๑ ท้ายระเบียบนี้
(๒)
ในกรณีที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศโดยใช้เวลาเกินกว่า ๖๐ วัน
สำนักงานจะกำหนดอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางขึ้น ใช้ตามความเหมาะสมเป็นรายกรณี
๑๖.๒
ค่าเช่าที่พัก
การเดินทางไปปฏิบัติงานที่จำเป็นต้องพักแรม
ให้ผู้เดินทางไปปฏิบัติงาน เบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินอัตราในบัญชี
๒ ท้ายระเบียบนี้
๑๖.๓
ค่าพาหนะ
การเดินทางไปปฏิบัติงานในต่างประเทศโดยเครื่องบิน
จากประเทศไทยไปยังต่างประเทศหรือจากต่างประเทศกลับประเทศไทย หรือการเดินทางในต่างประเทศให้เดินทางโดยชั้นประหยัดยกเว้นกรณีจำเป็นให้ประธานกรรมการพิจารณาเป็นกรณีไป
๑๖.๔
ค่ารับรอง
สำหรับผู้เดินทางไปปฏิบัติงานในต่างประเทศให้เบิกตามที่จ่ายจริง
หรือเหมาจ่ายตามดุลยพินิจของประธานกรรมการเป็นกรณีไป
๑๖.๕
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็น
เพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติงาน
เช่น ค่าลงทะเบียน ค่าธรรมเนียมการใช้สนามบิน ฯลฯ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง
ประกาศ ณ
วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
รองนายกรัฐมนตรี
ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชี ๑ อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงในการเดินทางไปต่างประเทศ
๒.
บัญชี ๒ อัตราค่าที่พักในการเดินทางไปต่างประเทศ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุม
และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙
(ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๑)[๔]
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ชัชสรัญ/จัดทำ
๑๔ กุมภาพันธ์
๒๕๔๙
สถาพร/ปรับปรุง
๒๙ พฤศจิกายน
๒๕๔๙
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓๒/๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
[๒] ข้อ
๑๓.๓ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุม
และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๑)
[๓] ข้อ
๑๓.๓ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุม และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๑)
[๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๖ ง/หน้า ๖๑/๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ |
589209 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ว่าด้วยคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วาระดำรงตำแหน่ง การคัดเลือก การพ้นจากตำแหน่ง การปฏิบัติงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2549 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551)
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับที่ ๙
ว่าด้วยคุณสมบัติ
ลักษณะต้องห้าม วาระดำรงตำแหน่ง การคัดเลือก การพ้นจากตำแหน่ง
การปฏิบัติงาน
และการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้าน
และชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๔๙
(ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๑)
โดยที่เห็นเป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับที่ ๙ ว่าด้วยคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วาระดำรงตำแหน่ง การคัดเลือก
การพ้นจากตำแหน่ง การปฏิบัติงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙ ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๙ (๑๐) มาตรา ๒๓
วรรคแรกและวรรคท้ายแห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๔๗ รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) ผู้มีอำนาจสั่งการตามกฎหมาย
ว่าด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติแทนนายกรัฐมนตรี
ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๙/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ตามมติที่ประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๑ จึงออกระเบียบ ไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับที่ ๙ ว่าด้วยคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วาระดำรงตำแหน่ง การคัดเลือก
การพ้นจากตำแหน่ง การปฏิบัติงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๑)
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ (๙)
ของระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ ๙
ว่าด้วยคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วาระดำรงตำแหน่ง การคัดเลือก การพ้นจากตำแหน่ง
การปฏิบัติงาน
และการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
(๙) เป็นผู้ที่ไปใช้สิทธิหรือไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยแจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิได้ตามมาตรา
๗๒ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ปริยานุช/จัดทำ
๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๑
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๖ ง/หน้า ๑๔/๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ |
589207 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ว่าด้วยคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วาระดำรงตำแหน่ง การคัดเลือก การพ้นจากตำแหน่ง การปฏิบัติงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2549 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551)
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับที่ ๙
ว่าด้วยคุณสมบัติ
ลักษณะต้องห้าม วาระดำรงตำแหน่ง การคัดเลือก การพ้นจากตำแหน่ง
การปฏิบัติงาน
และการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้าน
และชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๔๙
(ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.
๒๕๕๑)
โดยที่เห็นเป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับที่ ๙ ว่าด้วยคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วาระดำรงตำแหน่ง การคัดเลือก
การพ้นจากตำแหน่ง การปฏิบัติงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙ ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๙ (๑๐) มาตรา ๒๓ วรรคแรก
และวรรคท้ายแห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) ผู้มีอำนาจสั่งการตามกฎหมาย
ว่าด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติแทนนายกรัฐมนตรี
ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๙/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุนชนเมืองแห่งชาติ
ตามมติที่ประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๑ จึงออกระเบียบ ไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับที่ ๙ ว่าด้วยคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วาระดำรงตำแหน่ง การคัดเลือก
การพ้นจากตำแหน่ง การปฏิบัติงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๑)
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕
ของระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ ๙
ว่าด้วยคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วาระดำรงตำแหน่ง การคัดเลือก การพ้นจากตำแหน่ง
การปฏิบัติงาน
และการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๕ ผู้อำนวยการมีวาระการดำรงตำแหน่ง
คราวละสี่ปี ผู้อำนวยการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับการคัดเลือกอีกได้
แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
ประกาศ ณ วันที่ ๘
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ปริยานุช/จัดทำ
๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๑
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๖ ง/หน้า ๑๒/๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ |
589203 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ว่าด้วยคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วาระดำรงตำแหน่ง การคัดเลือก การพ้นจากตำแหน่ง การปฏิบัติงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2549
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับที่ ๙
ว่าด้วยคุณสมบัติ
ลักษณะต้องห้าม วาระดำรงตำแหน่ง การคัดเลือก การพ้นจากตำแหน่ง
การปฏิบัติงาน
และการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้าน
และชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙[๑]
อาศัยอำนาจตามมาตรา
๑๙ (๑๐) มาตรา ๒๓ วรรคแรก และวรรคท้าย
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จึงออกระเบียบไว้ ดังนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับที่ ๙ ว่าด้วยคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วาระดำรงตำแหน่ง การคัดเลือก
การพ้นจากตำแหน่งการปฏิบัติงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในระเบียบนี้
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ประธานกรรมการ หมายความว่า
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ผู้อำนวยการ หมายความว่า
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ข้อ
๔ ผู้อำนวยการ
มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแล โดยทั่วไปและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของสำนักงาน
ข้อ
๕ ผู้อำนวยการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี
ผู้อำนวยการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับคัดเลือกอีกได้
ข้อ
๖ ผู้อำนวยการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่า ๓๕ ปีบริบูรณ์และไม่เกิน ๖๐ ปีบริบูรณ์
ในวันยื่นใบสมัคร
(๓) สามารถทำงานให้กับสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้เต็มเวลา
(๔) ไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
(๖) ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิดแต่รอการกำหนดโทษ
หรือรอลงโทษในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
(๗) ไม่เคยถูกให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ
(๘) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น
หรือผู้บริหารส่วนท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่ง
ซึ่งรับผิดชอบการบริหารพรรคการเมือง
ที่ปรึกษาพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
(๙) ไม่เป็นผู้ที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา ๖๘ วรรคสอง
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
ข้อ
๗ ผู้อำนวยการจะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้าม ตามข้อ ๖
(๔) สัญญาจ้างสิ้นสุดลง
(๕) ถูกเลิกสัญญาจ้าง
ข้อ
๘ ให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง
มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการคัดเลือกสรรหาผู้อำนวยการ
และนำเสนอคณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นชอบ
ข้อ
๙ ให้มีคณะอนุกรรมการคัดเลือกสรรหา
มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดวุฒิการศึกษาคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง หลักเกณฑ์ วิธีการ
เงื่อนไข ออกประกาศและดำเนินการในการคัดเลือกสรรหาการทำสัญญาจ้างผู้อำนวยการ
ข้อ
๑๐ ให้ประธานกรรมการแต่งตั้งผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
ข้อ
๑๑ อัตราเงินเดือน และผลประโยชน์ตอบแทนของผู้อำนวยการขึ้นอยู่กับคุณสมบัติและประสบการณ์
โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
ข้อ
๑๒ ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง
และรับผิดชอบการบริหารกิจการของสำนักงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติตามกฎหมายระเบียบ
ข้อบังคับ และนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ
๑๓ ให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง
มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการ
ข้อ
๑๔ ให้มีการประเมินผลงานของผู้อำนวยการใน
๖ เดือนแรก ตามแผนการดำเนินงานที่ผู้อำนวยการเสนอต่อคณะกรรมการ และหลังจากนั้น
ให้ประเมินผลการดำเนินงานทุก ๑ ปี
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
สุวิทย์ คุณกิตติ
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ปริยานุช/จัดทำ
๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๑
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๖ ง/หน้า ๙/๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ |
583121 | ระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุม และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2549 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551)
| ระเบียบ
ระเบียบ
ว่าด้วยเบี้ยประชุม
และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ
และอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙
(ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
พ.ศ. ๒๕๕๑)
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบว่าด้วยค่าเบี้ยประชุม
และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙ ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) ผู้มีอำนาจสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
แทนนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๙/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์
๒๕๕๑ โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ตามหนังสือ ที่ กค ๐๔๒๗/๐๙๒๗๒ ลงวันที่ ๑๘
เมษายน ๒๕๕๑ จึงกำหนดระเบียบไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุม
และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๑)
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๓.๓ (๑) และ (๒)
ของระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุม
และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
(๑) ประธานกรรมการ กรรมการและประธานอนุกรรมการ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง
หรือหากใช้ยานพาหนะส่วนตัวให้เบิกเป็นค่าชดเชยกิโลเมตรละ ๔ บาท
(๒) อนุกรรมการ กรณีโดยสารเครื่องบินให้เบิกในชั้นประหยัด
หรือหากใช้ยานพาหนะส่วนตัวให้เบิกเงินค่าชดเชยในอัตรากิโลเมตรละ ๔ บาท
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
รองนายกรัฐมนตรี
ปฏิบัติราชการแทน
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/จัดทำ
๒ กรกฎาคม ๒๕๕๑
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๖ ง/หน้า ๖๑/๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ |
583079 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ 14 ว่าด้วยการจัดตั้งและจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้าน พ.ศ. 2551
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๔
ว่าด้วยการจัดตั้งและจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้าน
พ.ศ. ๒๕๕๑
เพื่อให้การจัดตั้งและจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นไปอย่างเหมาะสม
มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๐ ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๘ (๑) ข้อ ๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ มาตรา ๘ มาตรา ๑๙ (๕)
และมาตรา ๒๓ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๔๗ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจึงได้ออกระเบียบไว้ดังนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติว่าด้วยการจัดตั้งและจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้าน
พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ
๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
กองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า กองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนชุมชนเมือง
แล้วแต่กรณี
หมู่บ้าน หมายความว่า
หมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
ชุมชนเมือง หมายความว่า ชุมชนในเทศบาล
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา หรือเขตพื้นที่อื่น ทั้งนี้ โดยมีขอบเขตตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน หรือคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
กรรมการกองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า
กรรมการในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน หรือกรรมการในคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง
แล้วแต่กรณี
สมาชิก หมายความว่า สมาชิกของกองทุนหมู่บ้าน
หรือสมาชิกของกองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ผู้อำนวยการ หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
นายทะเบียนกองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า ผู้อำนวยการ
หรือบุคคลซึ่งผู้อำนวยการมอบอำนาจ
หนังสือสำคัญ หมายความว่า
หลักฐานที่นายทะเบียนกองทุนหมู่บ้านออกให้กองทุนหมู่บ้านที่ได้รับการจดทะเบียนถูกต้อง
คณะกรรมการเครือข่าย หมายความว่า
คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน ระดับจังหวัด
คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับอำเภอ
คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตำบล
คณะอนุกรรมการ หมายความว่า
คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด และคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอ
หมวด ๑
นายทะเบียนกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ
๕ ให้ผู้อำนวยการเป็นนายทะเบียนกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ
๖ ให้นายทะเบียน
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑)
มอบอำนาจให้บุคคลทำหน้าที่แทนนายทะเบียน
และ/หรือผู้ช่วยนายทะเบียนเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ได้ตามที่เห็นสมควร
(๒)
กำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ สถานที่
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งและจดทะเบียนนิติบุคคลกองทุนหมู่บ้าน
(๓)
ออกประกาศ คำสั่งต่าง ๆ รวมทั้งแต่งตั้งพนักงานเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้
(๔)
รายงานผลการดำ เนินการจัดตั้งและจดทะเบียนนิติบุคคลกองทุนหมู่บ้านต่อคณะกรรมการ
(๕)
ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
หมวด ๒
การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ
๗ ให้คณะอนุกรรมการและคณะกรรมการเครือข่ายให้การสนับสนุนสร้างความเข้าใจและสร้างการเรียนรู้ในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน
ให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๑ และระเบียบอื่น ๆ
ข้อ
๘ ในการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน
ให้ผู้ใหญ่บ้านเรียกประชุมหัวหน้าครัวเรือนในหมู่บ้านครัวเรือนละหนึ่งคน
เพื่อเปิดเวทีชาวบ้านในการชี้แจง ทำความเข้าใจเตรียมความพร้อมและดำเนินการเลือกคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
โดยมีอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอเป็นผู้ให้คำแนะนำตลอดจนสนับสนุนให้การเลือกสรรดำเนินไปด้วยความโปร่งใส
บริสุทธิ์ ยุติธรรม
การประชุมตามวรรคหนึ่ง
ผู้เข้ามาประชุมจะต้องมีหัวหน้าครัวเรือนจำนวนไม่น้อยกว่าสามในสี่ของครัวเรือนทั้งหมดในหมู่บ้าน
ทั้งนี้
หัวหน้าครัวเรือนอาจมอบอำนาจให้ผู้แทนครัวเรือนเข้าประชุมแทนได้
เมื่อที่ประชุมกำหนดวิธีการเลือกแล้วเสร็จ
ให้ผู้ใหญ่บ้านและคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอสนับสนุนให้การเลือกคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านเป็นไปตามมติของเวทีชาวบ้าน
ในส่วนของชุมชนเมือง
ให้ประธานคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอ
หรือระดับเขตเป็นผู้ทำหน้าที่แทนผู้ใหญ่บ้านตามวรรคแรก
ข้อ
๙ คุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่ง
และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านให้นำบทบัญญัติตามข้อ ๑๙ ข้อ ๒๐ ข้อ ๒๑
แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจัดทำระเบียบ
ข้อบังคับกองทุนหมู่บ้าน เสนอต่อเวทีประชาคมรับรอง
ข้อ
๑๐ ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
รับสมัครสมาชิก และเปิดบัญชีกองทุนหมู่บ้าน (บัญชีที่ ๑) ภายใต้ชื่อบัญชี กองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนชุมชนเมือง
แล้วแต่กรณี
(ชื่อบ้านหรือชื่อชุมชน.............................................หมู่ที่.........ตำบล/แขวง............................................อำเภอ/เขต...................
จังหวัด.....................) ไว้กับธนาคาร
เพื่อรับโอนเงินที่ได้รับจัดสรรจากคณะกรรมการ และเปิดบัญชีเงินสะสม (บัญชีที่ ๒)
เพื่อรองรับเงินฝากของสมาชิก
หมวด ๓
การจัดการความรู้และการพิจารณาความพร้อม
ข้อ
๑๑ ให้คณะอนุกรรมการและคณะกรรมการเครือข่าย
ให้การสนับสนุนคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ในการเรียนรู้ด้านปรัชญา วัตถุประสงค์
และการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ
และทักษะอันเป็นพื้นฐานความพร้อมของการบริหารจัดการกองทุนและการจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้านต่อนายทะเบียน
ข้อ
๑๒ ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาความพร้อมของกองทุนหมู่บ้าน
ให้คำนึงถึงหลักการ ดังนี้
(๑)
ความพร้อม ความเข้าใจ
และการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้านรวมทั้งการแสดงออกอย่างชัดเจนซึ่งความพร้อมในการเข้าร่วมบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและการควบคุมดูแลกันเองในการใช้ประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้านของประชาชนในกองทุนหมู่บ้าน
(๒)
ความพร้อมของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านที่เป็นความพร้อมของบุคคลด้านความรู้และประสบการณ์ในการบริหารกองทุนทางสังคมของหมู่บ้าน
เช่น กลุ่มออมทรัพย์ธนาคารหมู่บ้าน กองทุนอาชีพและกองทุนสวัสดิการ
และความพร้อมในการเข้าบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน
(๓)
การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านที่สอดรับและเกื้อกูลกันในส่วนเงินอุดหนุนจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติและกองทุนทางสังคมหรือกองทุนที่หน่วยงานราชการจัดตั้งขึ้น
(๔)
การมีระบบการตรวจสอบระบบบัญชีและการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านโดยสมาชิก
และมีตัวชี้วัดประสิทธิภาพการดำเนินกิจกรรมของกองทุนหมู่บ้าน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ
สังคม และการพึ่งพาตนเอง เพื่อความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพสูงสุด
(๕)
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการและสมาชิกในการกู้เงินเกี่ยวกับระเบียบของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑
และระเบียบของกองทุนหมู่บ้าน
เพื่อให้ทราบถึงหลักการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านที่ถูกต้อง
(๖)
กองทุนหมู่บ้านมีการเรียนรู้ด้านการออมเงิน สวัสดิการ สวัสดิภาพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกและประชาชนในหมู่บ้าน
ข้อ
๑๓ กองทุนหมู่บ้านที่ผ่านการเตรียมความพร้อม
ตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการของนายทะเบียนที่กำหนด
ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายยื่นขอจัดตั้งและจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้านต่อนายทะเบียน
ณ สถานที่ที่นายทะเบียนกำหนด พร้อมแนบเอกสารหลักฐานประกอบคำขอยื่นจดทะเบียน ดังนี้
(๑)
ชื่อกองทุนหมู่บ้านและรหัสกองทุนหมู่บ้าน
(๒)
สำเนาสมุดบัญชีกองทุนหมู่บ้าน (บัญชีที่ ๑) และบัญชีเงินสะสม (บัญชีที่ ๒)
(๓)
สำเนาระเบียบ หรือข้อบังคับของกองทุนหมู่บ้าน
(๔)
บัญชีรายชื่อคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
(๕)
บัญชีรายชื่อสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน
(๖)
สำเนารายงานการประชุมเวทีประชาคม
(๗)
แผนการดำเนินการเกี่ยวกับกิจกรรมของกองทุนหมู่บ้าน
(๘)
แผนที่แสดงที่ตั้งของที่ทำการกองทุนหมู่บ้าน
นอกจากเอกสารหลักฐานประกอบคำขอทะเบียนดังกล่าวแล้ว
กองทุนหมู่บ้านจะต้องแนบเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมตามที่นายทะเบียนกำหนด
ข้อ
๑๔ เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้อง
ครบถ้วนแล้วให้พิจารณาการขอจัดตั้งและจดทะเบียนให้เสร็จภายใน ๓๐ วัน
นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำขอและให้ปิดประกาศรายชื่อกองทุนหมู่บ้านที่ได้รับการจัดตั้งและจดทะเบียน
ณ สำนักงานรับจัดตั้งและจดทะเบียนนั้น
กรณีนายทะเบียนตรวจพบว่าเอกสารหลักฐานการจัดตั้งและจดทะเบียนไม่ถูกต้อง
ซึ่งนายทะเบียนตรวจสอบแล้วเห็นว่าเป็นการผิดพลาดที่มิใช่ในสาระสำคัญ
ให้นายทะเบียนมีอำนาจแก้ไข
ข้อ
๑๕ กองทุนหมู่บ้านใดขาดเอกสารหลักฐานที่เป็นสาระสำคัญอย่างหนึ่งอย่างใดให้นายทะเบียนแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนทราบภายใน
๓๐ วัน นับแต่วันที่ตรวจพบเพื่อแก้ไขให้ครบถ้วนถูกต้อง
ข้อ
๑๖ ให้นายทะเบียนออกหนังสือสำคัญแสดงการเป็นนิติบุคคลให้แก่กองทุนหมู่บ้านที่ได้รับการจัดตั้งและจดทะเบียนแล้ว
หมวด ๔
การจัดสรรเงินกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ
๑๗ เมื่อกองทุนหมู่บ้านที่ได้รับการจัดตั้งและจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้านแล้ว
ให้คณะกรรมการจัดสรรเงินจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ไปยังบัญชีกองทุนหมู่บ้านแห่งระเบียบนี้ บัญชีละหนึ่งล้านบาทภายในระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด
ในกรณีคณะกรรมการไม่สามารถจัดสรรเงินให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่งให้ขยายระยะเวลาต่อได้อีกไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ
๑๘ กองทุนหมู่บ้านเมื่อได้รับจัดสรรเงินแล้ว
เงินหนึ่งล้านบาทที่คณะกรรมการจัดสรรให้นั้นให้ถือว่าเป็นเงินของรัฐที่มอบหมายให้กองทุนหมู่บ้านเป็นผู้บริหารจัดการ
ภายใต้ระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
วัชศักดิ์/จัดทำ
๗ กรกฎาคม ๒๕๕๑
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๗ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๓๗/๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ |
572099 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2551
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๑
เพื่อให้การดำเนินการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
สอดคล้อง ตามหลักการ เหตุผล และสาระสำคัญของพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยความตามมาตรา
๑๙ และมาตรา ๓๑ วรรคท้ายแห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
จึงออกระเบียบว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๕๑ ไว้แทนดังนี้
หมวด ๑
ข้อความทั่วไป
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๔
และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒ - ๗) ที่ออกตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๔
และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒ - ๕)
ข้อ ๔ ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติรักษาการตามระเบียบนี้
ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
กองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า กองทุนหมู่บ้าน หรือกองทุนชุมชนเมือง
แล้วแต่กรณี
หมู่บ้าน หมายความว่า
หมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
ชุมชนเมือง หมายความว่า ชุมชนในเขตเทศบาล
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา หรือเขตพื้นที่อื่น ทั้งนี้ โดยมีขอบเขตตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด หมายความว่า
คณะอนุกรรมการสนับสนุน และติดตามการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด
หรือกรุงเทพมหานคร
คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอ หมายความว่า
คณะอนุกรรมการสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านระดับอำเภอ หรือเขต
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านหรือคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
กรรมการกองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า
กรรมการในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านหรือกรรมการในคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง
แล้วแต่กรณี
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ธนาคาร หมายความว่า
ธนาคารที่คณะกรรมการกำหนดให้ใช้บริการในการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน
ครัวเรือน หมายความว่า ครอบครัวตามทะเบียนบ้าน อันประกอบด้วยบิดา
มารดา สามี ภรรยา บุตร ญาติพี่น้อง เป็นต้น อยู่รวมกัน
หัวหน้าครัวเรือน หมายความว่า
ผู้มีชื่อเป็นเจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน
หุ้น หมายความว่า การออมทรัพย์ในรูปแบบหนึ่ง
โดยมูลค่าของหุ้นให้เป็นไป ตามระเบียบหรือข้อบังคับที่กองทุนหมู่บ้านกำหนด
เงินฝากสัจจะ หมายความว่า
เงินที่สมาชิกตกลงที่จะฝากหรือออมไว้กับกองทุนหมู่บ้านโดยให้ถือว่าเงินออมเป็นเงินสะสม
ให้เป็นไปตามระเบียบหรือข้อบังคับที่กองทุนหมู่บ้านกำหนด
เงินรับฝาก หมายความว่า เงินรับฝากประเภทต่าง ๆ
นอกเหนือจากเงินออมตามที่กองทุนหมู่บ้านกำหนด
สมาชิก หมายความว่า สมาชิกของกองทุนหมู่บ้าน
หรือสมาชิกของกองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
ที่ประชุมสมาชิก หมายความว่า
ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีหรือที่ประชุมใหญ่วิสามัญ
บัญชีกองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ภายใต้ชื่อกองทุนหมู่บ้าน (ชื่อหมู่บ้านหรือชื่อชุมชนเมือง)
หรือบัญชีที่ ๑ ซึ่งกองทุนหมู่บ้านเปิดไว้รองรับเงินจัดสรรจากรัฐบาล
บัญชีเงินสะสม หมายความว่า
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ภายใต้ชื่อกองทุนหมู่บ้าน (ชื่อหมู่บ้านหรือชื่อชุมชนเมือง)
หรือบัญชีที่ ๒ ซึ่งกองทุนหมู่บ้านเปิดไว้รองรับเงินฝากประเภทอื่นนอกเหนือจากเงินที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาล
บัญชีเงินกู้ยืม หมายความว่า
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ภายใต้ชื่อกองทุนหมู่บ้าน (ชื่อหมู่บ้านหรือชื่อชุมชนเมือง)
หรือบัญชีที่ ๓ ซึ่งกองทุนหมู่บ้านเปิดไว้รองรับการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน
บัญชีเงินอุดหนุน หมายความว่า
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ภายใต้ชื่อกองทุนหมู่บ้าน (ชื่อหมู่บ้านหรือชื่อชุมชนเมือง)
หรือบัญชีที่ ๔ ซึ่งกองทุนหมู่บ้านเปิดไว้รองรับเงินอุดหนุน หรือเงินบริจาค
ข้อ ๖ ในกรณีกองทุนหมู่บ้านใดไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
เนื่องจากโดยสภาพข้อเท็จจริงสุดวิสัยที่ดำเนินการได้
ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านรายงานปัญหา และเสนอระเบียบปฏิบัติ
เพื่อแก้ไขปัญหาต่อคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอพิจารณา
และนำเสนอคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด
เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและประกาศใช้เป็นรายกรณี ต่อไป
หมวด ๒
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ข้อ ๗ ปรัชญาหรือหลักการสำคัญของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
คือ
(๑)
เสริมสร้างสำนึกความเป็นชุมชนและท้องถิ่น
(๒)
ชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคต และจัดการหมู่บ้านและชุมชนด้วยคุณค่า และภูมิปัญญาของตนเอง
(๓)
เกื้อกูลประโยชน์ต่อผู้ด้อยโอกาสในหมู่บ้านและชุมชน
(๔)
เชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชน ราชการ เอกชน และประชาสังคม
(๕)
กระจายอำนาจให้ท้องถิ่น และพัฒนาประชาธิปไตยพื้นฐาน
ข้อ ๘ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นแหล่งเงินทุน เพื่อจัดสรรให้กองทุนหมู่บ้านสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ
สร้างงาน สร้างรายได้ เพิ่มรายได้ และลดรายจ่าย หรือสำหรับการส่งเสริม
และพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพ สวัสดิการ
หรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นใดให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง
(๒)
เป็นผู้จัดหาแหล่งเงินทุน และประสานงานในการกู้ยืมเงินระหว่างกองทุนหมู่บ้าน
(๓)
ส่งเสริม และพัฒนาหมู่บ้าน
หรือชุมชนเมืองให้มีขีดความสามารถในการจัดระบบและบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านของตนเอง
(๔)
สนับสนุนการเสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านหรือชุมชนเมืองทั้งในด้านการเรียนรู้
การสร้างและพัฒนาความคิดริเริ่ม เพื่อการแก้ไขปัญหา และเสริมสร้างศักยภาพ
และส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้าน หรือชุมชนเมือง
(๕)
สนับสนุนการเสริมสร้างศักยภาพ
และความเข้มแข็งทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน หรือชุมชนเมือง
ข้อ ๙ ทุนและทรัพย์สินในการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติประกอบด้วย
(๑)
เงิน หรือทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาตามมาตรา ๓๑
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
(๒)
เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
(๓)
เงิน หรือทรัพย์สินอื่นที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้รับบริจาคโดยปราศจากเงื่อนไขหรือข้อผูกพันใด
ๆ
(๔)
ดอกผล
รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ข้อ ๑๐ ให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ กับธนาคาร
เพื่อสำรองจ่ายและเตรียมจัดสรรให้แก่กองทุนหมู่บ้าน
ให้ธนาคารโอนเงินจาก
บัญชีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เข้าบัญชีกองทุนหมู่บ้านตามคำสั่งจ่ายของคณะกรรมการ
ข้อ ๑๑ ให้คณะกรรมการจัดสรรเงินจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติไปยังบัญชีกองทุนหมู่บ้านและบัญชีกองทุนชุมชนเมืองตามข้อ
๑๒ แห่งระเบียบนี้ บัญชีละหนึ่งล้านบาทภายในระยะเวลาสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด
ในกรณีคณะกรรมการไม่สามารถจัดสรรเงินให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่งให้ขยายระยะเวลาต่อได้อีกไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๑๒ ในการอนุมัติให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านเริ่มเข้าบริหารจัดการและเบิกจ่ายเงินจากบัญชีกองทุนหมู่บ้าน
หรือบัญชีกองทุนชุมชนเมืองให้คณะกรรมการพิจารณาในหลักการ ดังนี้
(๑)
ความพร้อม ความสนใจ
และการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมืองรวมทั้งการแสดงออกอย่างชัดเจนซึ่งความพร้อมในการเข้าร่วมบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน
และการควบคุมดูแลกันเองในการใช้ประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้านของประชาชนในหมู่บ้าน
หรือชุมชนเมือง
(๒)
ความพร้อมของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านที่เป็นความพร้อมของบุคคลด้านความรู้และประสบการณ์ในการบริหารจัดการกองทุนทางสังคมของหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง
เช่น กลุ่มออมทรัพย์ ธนาคารหมู่บ้าน กองทุนอาชีพ และกองทุนสวัสดิการ
และความพร้อมในการเข้าบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน
(๓)
การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านที่สอดรับและเกื้อกูลกันในส่วนเงินอุดหนุนจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
และกองทุนทางสังคมหรือกองทุนที่หน่วยงานราชการ จัดตั้งขึ้น
(๔)
การมีระบบการตรวจสอบ
และประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านโดยสมาชิก
และมีตัวชี้วัดประสิทธิภาพการดำเนินกิจกรรมของกองทุนหมู่บ้าน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ
สังคม และการพึ่งพาตนเอง เพื่อความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพสูงสุด
ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในหมวด
๕ แห่งระเบียบนี้
เมื่อคณะกรรมการจัดสรรเงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติไปยังบัญชีกองทุนหมู่บ้านและบัญชีกองทุนชุมชนเมืองให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านดำเนินการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านตามระเบียบข้อบังคับกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ผู้อำนวยการเห็นว่ากองทุนหมู่บ้านดำเนินการกองทุนหมู่บ้านในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุนหมู่บ้าน
หรือกองทุนหมู่บ้านไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของคณะกรรมการ
ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้พิจารณาสั่งระงับการจ่ายเงินของกองทุนหมู่บ้านหรือให้กองทุนหมู่บ้านชดใช้หรือให้ส่งคืนเงินที่เบิกจ่ายไปแล้ว
โดยให้แจ้งคำสั่งเป็นหนังสือไปยังกองทุนหมู่บ้าน หากกองทุนหมู่บ้านไม่เห็นด้วยกับคำสั่งตามวรรคหนึ่ง
ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งของผู้อำนวยการ
หมวด ๓
คณะอนุกรรมการสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ ๑๔ ให้มีคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด
ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ปลัดจังหวัด เป็นรองประธาน
ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนธนาคารออมสิน ผู้แทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ผู้แทนธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) คลังจังหวัด
ผู้แทนสถาบันการศึกษาหรือศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ประชาสัมพันธ์จังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด
เกษตรจังหวัด พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรประชาชนและอื่น ๆ จำนวนห้าคน
ผู้แทนคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัดจำนวนห้าคน เป็นอนุกรรมการ
พัฒนาการจังหวัด เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
หัวหน้ากลุ่มแผนงานและข้อมูลสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด
เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคนที่หนึ่ง พนักงานสำนักงาน
เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคนที่สอง
ให้ประธานคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด
ออกคำสั่งแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรประชาชนและอื่น ๆ จำนวนห้าคน
สำหรับผู้แทนคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัดจำนวนห้าคน
ให้เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านเลือกกันเอง
แล้วเสนอชื่อต่อประธานคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด
เพื่อออกคำสั่งแต่งตั้งต่อไป
ให้คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด
มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑)
รับขึ้นทะเบียนกองทุนหมู่บ้านตามระเบียบและวิธีปฏิบัติที่คณะกรรมการกำหนด
(๒)
สนับสนุนให้เกิดการเตรียมความพร้อมของหมู่บ้านและชุมชนเมือง
และให้ความเห็นผลการประเมินความพร้อมของกองทุนหมู่บ้าน
ซึ่งผ่านการประเมินของคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอร่วมกับชุมชนตามระเบียบ
หรือวิธีปฏิบัติที่คณะกรรมการกำหนด
(๓)
จัดทำยุทธศาสตร์ แผนงาน และงบประมาณการพัฒนา
และบูรณาการการขับเคลื่อนงานกองทุนหมู่บ้าน
(๔)
เป็นหน่วยสนับสนุนการจัดการความรู้ให้กับกองทุนหมู่บ้าน
ตลอดจนเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านทุกระดับ
(๕)
ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านในจังหวัด
ให้เป็นไปตามระเบียบหรือวิธีปฏิบัติที่คณะกรรมการกำหนด เพื่อให้เกิดความโปร่งใส
และบรรลุตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์
(๖)
ประสานความร่วมมือ เพื่อสนับสนุนด้านวิชาการ และการจัดการให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา
และความต้องการของกองทุนหมู่บ้านในจังหวัด
(๗)
จัดทำระบบข้อมูลเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านต่าง ๆ
ในจังหวัดเพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนและส่วนที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ทราบ
(๘)
รายงานผลการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านในจังหวัดให้คณะกรรมการทราบตามระเบียบหรือวิธีปฏิบัติที่คณะกรรมการกำหนด
(๙)
แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด
(๑๐)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
ข้อ ๑๕ ให้มีคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับกรุงเทพมหานคร
ประกอบด้วยปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธาน ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นรองประธาน
ผู้แทนการเคหะแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๒
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้แทนธนาคารออมสิน
ผู้แทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ผู้แทนธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน)
ผู้อำนวยการสำนักการคลังกรุงเทพมหานคร ผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรประชาชนและอื่น ๆ จำนวนห้าคน
ผู้แทนคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนชุมชนเมืองกรุงเทพมหานครจำนวนห้าคน เป็นอนุกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคมกรุงเทพมหานคร เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการกองพัฒนาชุมชน
สำนักพัฒนาสังคมกรุงเทพมหานคร เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคนที่หนึ่ง
พนักงานสำนักงาน เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคนที่สอง
ให้ประธานคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับกรุงเทพมหานคร
ออกคำสั่งแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรประชาชนและอื่น ๆ จำนวนห้าคน
สำหรับผู้แทนคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนชุมชนเมืองกรุงเทพมหานครจำนวนห้าคน
ให้เครือข่ายกองทุนชุมชนเมืองเลือกกันเอง
แล้วเสนอชื่อต่อประธานคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับกรุงเทพมหานคร
เพื่อออกคำสั่งแต่งตั้งต่อไป
ให้คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑)
รับขึ้นทะเบียนกองทุนหมู่บ้านตามระเบียบและวิธีปฏิบัติที่คณะกรรมการกำหนด
(๒)
สนับสนุนให้เกิดการเตรียมความพร้อมของชุมชนเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร
และให้ความเห็นผลการประเมินความพร้อมของกองทุนหมู่บ้าน
ซึ่งผ่านการประเมินของคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับเขตร่วมกับชุมชนตามระเบียบ
หรือวิธีปฏิบัติที่คณะกรรมการกำหนด
(๓)
จัดทำยุทธศาสตร์ แผนงาน และงบประมาณการพัฒนา และบูรณาการ
การขับเคลื่อนงานกองทุนหมู่บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร
(๔)
เป็นหน่วยสนับสนุนการจัดการความรู้ให้กับกองทุนหมู่บ้านในเขตกรุงเทพมหานครตลอดจนเครือข่ายกองทุนชุมชนเมืองทุกระดับ
(๕)
ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติที่คณะกรรมการกำหนดเพื่อให้เกิดความโปร่งใส
และบรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์
(๖)
ประสานความร่วมมือ เพื่อสนับสนุนด้านวิชาการ และการจัดการให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา
และความต้องการของกองทุนหมู่บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร
(๗)
จัดทำระบบข้อมูลเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านต่าง ๆ
ในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนและส่วนที่เกี่ยวข้องต่าง
ๆ ทราบ
(๘)
รายงานผลการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้คณะกรรมการทราบตามระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติที่คณะกรรมการกำหนด
(๙)
แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับกรุงเทพมหานคร
(๑๐)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
ข้อ ๑๖ ให้มีคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอ
ประกอบด้วย นายอำเภอ เป็นประธาน ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มหรือฝ่ายบริหารงานปกครอง
เป็นรองประธาน ปลัดเทศบาลหรือ ปลัดเมืองพัทยา ท้องถิ่นอำเภอ เกษตรอำเภอ
ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ ผู้แทนสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง
ผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรประชาชนและอื่น ๆ จำนวนห้าคน
ผู้แทนคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับอำเภอจำนวนห้าคน เป็นอนุกรรมการ
พัฒนาการอำเภอเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอจำนวนหนึ่งคน
เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ให้ประธานคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอ
ออกคำสั่งแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรประชาชนและอื่น ๆ จำนวนห้าคน
สำหรับผู้แทนคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับอำเภอจำนวนห้าคน
ให้เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านเลือกกันเอง
แล้วเสนอชื่อต่อประธานคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอ เพื่อออกคำสั่งแต่งตั้งต่อไป
ให้คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอ
มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑)
สนับสนุนการเตรียมความพร้อมของกองทุนหมู่บ้านในอำเภอด้วย กระบวนการเรียนรู้การมีส่วนร่วม
และการพึ่งพาตนเอง
(๒)
จัดทำแผนปฏิบัติการรองรับแผนยุทธศาสตร์ แผนงานงบประมาณกองทุนหมู่บ้านของจังหวัด
(๓)
จัดทำแผนงานและโครงการเพื่อบูรณาการการพัฒนากองทุนหมู่บ้าน
(๔)
เป็นหน่วยจัดการความรู้เพื่อบูรณาการการพัฒนากองทุนหมู่บ้าน
(๕)
ติดตาม ตรวจสอบ ให้คำแนะนำการแก้ไขปัญหา ข้อร้องเรียน ข้อขัดแย้งของกองทุนหมู่บ้าน
(๖)
รายงานผลการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านในอำเภอให้คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัดตามระเบียบหรือวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
(๗)
ปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัดมอบหมาย
ข้อ ๑๗ ให้มีคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับเขตกรุงเทพมหานคร
ประกอบด้วยผู้อำนวยการเขต เป็นประธาน ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นรองประธาน
ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต หัวหน้าฝ่ายการคลังเขต
ผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรประชาชนและอื่น ๆ จำนวนห้าคน
ผู้แทนคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนชุมชนเมืองระดับเขตจำนวนห้าคน เป็นอนุกรรมการ
หัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมเขต เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
นักพัฒนาชุมชนระดับ ๖ ตามที่ผู้อำนวยการเขตมอบหมายจำนวนหนึ่งคน
เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ให้ประธานคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับเขต
ออกคำสั่งแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรประชาชนและอื่น ๆ จำนวนห้าคน
สำหรับผู้แทนคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนชุมชนเมืองระดับเขตจำนวนห้าคน
ให้เครือข่ายกองทุนชุมชนเมืองเลือกกันเอง
แล้วเสนอชื่อต่อประธานคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับเขต เพื่อออกคำสั่งแต่งตั้งต่อไป
ให้คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับเขตกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑)
สนับสนุนการเตรียมความพร้อมของกองทุนหมู่บ้านในระดับเขตด้วยกระบวนการเรียนรู้ การมีส่วนร่วม
และการพึ่งพาตนเอง
(๒)
จัดทำแผนปฏิบัติการรองรับแผนยุทธศาสตร์
แผนงานงบประมาณกองทุนหมู่บ้านในระดับเขตกรุงเทพมหานคร
(๓)
จัดทำแผนงานและโครงการ
เพื่อบูรณาการการพัฒนากองทุนหมู่บ้านในระดับเขตกรุงเทพมหานคร
(๔)
เป็นหน่วยจัดการความรู้
เพื่อบูรณาการการพัฒนากองทุนหมู่บ้านในระดับเขตกรุงเทพมหานคร
(๕)
ติดตาม ตรวจสอบ ให้คำแนะนำการแก้ไขปัญหา ข้อร้องเรียน
ข้อขัดแย้งของกองทุนหมู่บ้านในระดับเขตกรุงเทพมหานคร
(๖)
รายงานผลการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านในเขตให้คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับกรุงเทพมหานครตามระเบียบ
หรือวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
(๗)
ปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับกรุงเทพมหานครมอบหมาย
ข้อ ๑๘ ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสนับสนุน และติดตามการดำเนินงานกองทุนชุมชนอื่นที่จะดำเนินการจัดตั้งเป็นกองทุนหมู่บ้านตามแต่กรณี
โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในลักษณะเดียวกัน
หรือเสมือนกับคณะอนุกรรมการสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านระดับอำเภอ
และคณะอนุกรรมการสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด
ในระยะเริ่มแรก
หากประธานคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด กรุงเทพมหานคร อำเภอ และเขต
ที่ยังมิได้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรประชาชนและอื่น ๆ
ผู้แทนคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านเป็นอนุกรรมการตามข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖
และข้อ ๑๗ ให้คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับต่าง ๆ สามารถดำเนินการประชุมได้โดยให้ถือว่าครบองค์ประชุมตลอดจนมีอำนาจหน้าที่ตามวรรคสามของข้อ
๑๔ ข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ และข้อ ๑๗ ได้
เพื่อส่งเสริม
และสนับสนุนกลไกของท้องถิ่นในการดำเนินการพัฒนา
การเรียนรู้ร่วมกันในการบริหารการจัดการกองทุนด้วยความสมัครใจ
ให้คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด และกรุงเทพมหานครแต่งตั้งคณะทำงาน
โดยคำนึงถึงผู้แทนเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านผู้แทนกลุ่มหรือองค์กรประชาชน
เครือข่ายชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำธรรมชาติ
ในท้องถิ่นที่มีความรู้หรือมีประสบการณ์ ด้านการพัฒนากองทุน
หรือพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในจำนวนตามความเหมาะสมของพื้นที่โดยให้มีบทบาทในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด
และกรุงเทพมหานคร
หมวด ๔
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ ๑๙ ให้กองทุนหมู่บ้านแต่ละกองทุน
มีคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจำนวนไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสิบห้าคน
ซึ่งมาจากสมาชิกโดยการคัดเลือกกันเองจากบุคคลที่มีความรู้
ความสามารถและมีความรับผิดชอบที่จะบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน
เป็นที่ยอมรับของประชาชนในหมู่บ้าน และชุมชนเมือง และต้องมีคุณสมบัติ
และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๒๐
การคัดเลือกคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านนั้นควรคำนึงถึงจำนวนกรรมการชายและหญิงในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน
หลักเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือกกรรมการกองทุนหมู่บ้านนั้น
ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ออกระเบียบข้อบังคับกองทุนหมู่บ้าน
ตามมติของที่ประชุมสมาชิก โดยให้คำนึงถึงหลักศาสนา วัฒนธรรม
และจารีตประเพณีของแต่ละหมู่บ้าน หรือชุมชนเมือง
ข้อ ๒๐ กรรมการกองทุนหมู่บ้าน ต้องมีคุณสมบัติ
และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้
(๑)
เป็นผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและอาศัยอยู่ในหมู่บ้านหรือชุมชนเมืองติดต่อกันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสองปี
ก่อนวันที่ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
(๒)
เป็นผู้บรรลุนิติภาวะโดยมีอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์
หรือบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(๓)
เป็นผู้ที่ไม่มีความประพฤติบกพร่องในศีลธรรมอันดีมีความรับผิดชอบ เสียสละ
มีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน ไม่ติดการพนัน ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด
และไม่มีประวัติเสียหายทางด้านการเงินตลอดจนยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
(๔)
ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
หรือคนเสมือนไร้ความสามารถหรือบุคคลล้มละลาย
(๕)
ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
หรือความผิดลหุโทษ
(๖)
ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
หรือความผิดต่อทรัพย์สิน เว้นแต่ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ หรือบุกรุก
(๗)
ไม่เคยถูกให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
หรือหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เพราะกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานทุจริตต่อหน้าที่
หรือสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ทางราชการ องค์กร หรือหน่วยงานที่สังกัด
(๘)
ไม่เป็นผู้ที่เคยพ้นจากตำแหน่งคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ตามข้อ ๒๓ (๓) และ (๔)
ข้อ ๒๑ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน มีอำนาจหน้าที่
ดังนี้
(๑)
บริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน รวมทั้งตรวจสอบ กำกับ ดูแล และจัดสรรดอกผล
รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้าน
(๒)
ออกประกาศ ระเบียบ หรือข้อบังคับ เกี่ยวกับการบริหารกองทุนหมู่บ้าน
(๓)
จัดตั้งสำนักงานกองทุนหมู่บ้าน หรือสำนักงานกองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
(๔)
รับสมาชิกและจัดทำทะเบียนสมาชิก
(๕)
จัดหาทุนจากแหล่งเงินทุนตามประกาศที่คณะกรรมการกำหนด
(๖)
พิจารณาเงินกู้ยืมให้แก่สมาชิก หรือกองทุนหมู่บ้านอื่นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
(๗)
ทำนิติกรรม สัญญา หรือดำเนินการเกี่ยวกับภาระผูกพันของกองทุนหมู่บ้าน
(๘)
จัดทำบัญชีของกองทุนหมู่บ้านตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
(๙)
สำรวจ และจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพอุตสาหกรรมครัวเรือน และวิสาหกิจชุมชน
ในเขตพื้นที่หมู่บ้านหรือชุมชนเมือง
ตลอดจนข้อมูลและการดำเนินการเกี่ยวกับกองทุนอื่น ๆ
ที่มีอยู่แล้วในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง
(๑๐)
พิจารณาดำเนินการใด ๆ เพื่อสวัสดิภาพ สวัสดิการ
หรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นใดของสมาชิกและหมู่บ้าน หรือชุมชนเมือง
(๑๑)
ดำเนินการอื่นใดเพื่อให้สอดรับและเกื้อกูลกับกองทุนอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วในหมู่บ้าน
หรือชุมชนเมือง
(๑๒)
ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้าน
(๑๓)
รายงานผลการดำเนินการปัญหา และอุปสรรค
รวมทั้งฐานะการเงินของกองทุนหมู่บ้านให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ตลอดจนรายงานเรื่องดังกล่าวให้สมาชิกทราบตามที่คณะกรรมการกำหนด
(๑๔)
ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งตามที่คณะกรรมการกำหนดหรือมอบหมาย
ดำเนินการใด
ๆ ตาม (๑๐) ให้ใช้จ่ายจากเงินรายได้ของกองทุนหมู่บ้าน
ซึ่งมิใช่เงินที่ได้รับจัดสรรจากกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองแห่งชาติ
ข้อ ๒๒ กรรมการกองทุนหมู่บ้าน
มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี
เมื่อครบกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่กรรมการกองทุนหมู่บ้าน
ตามข้อ ๒๘ เข้าดำรงตำแหน่ง
ให้กรรมการกองทุนหมู่บ้านจับสลากออกจำนวนกึ่งหนึ่งของจำนวนคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านทั้งหมด
กรรมการกองทุนหมู่บ้านที่ถูกจับสลากออกไม่ถือว่าพ้นตำแหน่งตามวาระ
กรรมการกองทุนหมู่บ้านที่พ้นตำแหน่งอาจได้รับคัดเลือกอีกได้
ในกรณีที่กรรมการกองทุนหมู่บ้านพ้นจากตำแหน่งตามวรรคสอง
และพ้นจากตำแหน่งตามวาระให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านประกอบด้วยกรรมการกองทุนหมู่บ้านทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
จัดให้มีการคัดเลือกบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งแทนกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๙
ภายในระยะเวลาสามสิบวัน
กรรมการกองทุนหมู่บ้านซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับคัดเลือกอีกได้
แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้ เว้นแต่ในกรณีที่กรรมการกองทุนหมู่บ้าน
ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระได้รับมติจากที่ประชุมสมาชิกโดยมีคะแนนเสียงสามในสี่รับรองให้เป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้านต่อและมีความประสงค์ที่จะปฏิบัติงานต่อไปให้มีสิทธิเป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้านต่อไปตามวาระ
ให้กองทุนหมู่บ้าน
จัดทำรายงานการประชุมและรายชื่อคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกเสนอให้คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอ
หรือระดับเขตทราบ
ข้อ ๒๓ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระแล้ว
กรรมการกองทุนหมู่บ้าน พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
มีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงเกินกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการกองทุนหมู่บ้านทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
(๔)
ที่ประชุมสมาชิกมีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงเกินกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
(๕)
ลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๒๐ (๔) (๕) (๖) และ (๗)
(๖)
คณะกรรมการให้ออก เนื่องจากมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าขาดคุณสมบัติ
และมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๒๐
ในกรณีที่กรรมการกองทุนหมู่บ้านพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านอาจแต่งตั้งบุคคลจากสมาชิกเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการกองทุนหมู่บ้านแทนก็ได้
และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ให้นำบทบัญญัติในข้อ
๒๒ วรรคสี่ มาใช้บังคับกับกรรมการกองทุนหมู่บ้านซึ่งพ้นจากตำแหน่งตาม (๒) และ (๓)
ข้อ ๒๔ ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านเลือกกรรมการด้วยกันเป็นประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
รองประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้าน เหรัญญิกกองทุนหมู่บ้าน
และเลขานุการกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ ๒๕ การประชุมคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
ต้องมีกรรมการมาประชุมเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการกองทุนหมู่บ้านทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้น
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ถ้าประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านไม่มาประชุม
หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้รองประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม
ถ้าประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและรองประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านไม่มาประชุม
หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการกองทุนหมู่บ้านที่มาประชุมเลือกกรรมการกองทุนหมู่บ้านคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการกองทุนหมู่บ้านคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
ถ้าคะแนนเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
กรรมการกองทุนหมู่บ้านผู้ใดมีส่วนได้ส่วนเสียเป็นส่วนตัวในเรื่องใด
ห้ามมิให้เข้าร่วมประชุมเรื่องนั้น
หมวด ๕
กองทุนหมู่บ้านและสมาชิก
ข้อ ๒๖ กองทุนหมู่บ้าน มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ เพิ่มรายได้
และลดรายจ่าย หรือสำหรับการส่งเสริมและพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพ
สวัสดิการหรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นใดให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน หรือชุมชนเมือง
(๒)
เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียน
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเร่งด่วนสำหรับประชาชนในหมู่บ้าน หรือชุมชนเมือง
(๓)
รับฝากเงินจากสมาชิกและจัดหาทุนจากแหล่งเงินทุนอื่น เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์
(๔)
ให้กู้ยืมเงินแก่กองทุนหมู่บ้านอื่น
เพื่อประโยชน์ในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจของหมู่บ้าน หรือชุมชนเมือง
(๕)
กระทำการใด ๆ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ คุณภาพชีวิต สวัสดิภาพ และสวัสดิการของสมาชิก
หรือประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง
รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจของกองทุนหมู่บ้านตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ ๒๗ กองทุนหมู่บ้าน ประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน
ดังนี้
(๑)
เงินที่คณะกรรมการจัดสรรให้
(๒)
เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
(๓)
เงินที่สมาชิกนำมาลงหุ้น หรือฝากไว้กับกองทุนหมู่บ้านตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
(๔)
เงิน หรือทรัพย์สินอื่นที่กองทุนหมู่บ้านได้รับบริจาคโดยปราศจากเงื่อนไข
หรือข้อผูกพันใด ๆ
(๕)
ดอกผล รายได้ หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงิน หรือทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ ๒๘ ในวาระเริ่มแรกในส่วนของหมู่บ้าน
ให้ผู้ใหญ่บ้านเรียกประชุมหัวหน้าครัวเรือนในหมู่บ้าน ครัวเรือนละหนึ่งคน
เพื่อเปิดเวทีชาวบ้านในการชี้แจง ทำความเข้าใจ เตรียมความพร้อม
และดำเนินการเลือกคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจากผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ ๒๐
โดยมีคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ
ตลอดจนสนับสนุนให้การเลือกสรรดำเนินไปด้วยความโปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรม
การประชุมตามวรรคหนึ่ง
ผู้มาประชุมจะต้องมีหัวหน้าครัวเรือนจำนวนไม่น้อยกว่าสามในสี่ของครัวเรือนทั้งหมดในหมู่บ้าน
ทั้งนี้
หัวหน้าครัวเรือนอาจมอบหมายให้ผู้แทนครัวเรือนเข้าประชุมแทนได้
เมื่อที่ประชุมกำหนดวิธีการเลือกแล้วเสร็จ
ให้ผู้ใหญ่บ้าน
และคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอสนับสนุนให้การเลือกคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านเป็นไปตามมติของเวทีชาวบ้าน
ในส่วนของชุมชนเมืองให้ประธานคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอ
หรือระดับเขตเป็นผู้ทำหน้าที่แทนผู้ใหญ่บ้านตามวรรคแรก
ข้อ ๒๙ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ตามข้อ ๒๘
ต้องดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านต่อคณะกรรมการ
หรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ
และเปิดบัญชีเงินฝากของกองทุนหมู่บ้านให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันหลังจากได้รับเลือก
ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านตามข้อ
๒๘ เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์บัญชีที่ ๑ ภายใต้ชื่อบัญชี กองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนชุมชนเมือง
แล้วแต่กรณี (ชื่อบ้านหรือชื่อชุมชน.............................................................
หมู่ที่................ ตำบล/แขวง.....................................................
อำเภอ/เขต............................................ จังหวัด...................................) ไว้กับธนาคาร เพื่อรับโอนเงินที่ได้รับจัดสรรจากคณะกรรมการ
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านตามข้อ
๒๘ สามารถเปิดบัญชีสะสมหรือบัญชีที่ ๒ บัญชีเงินกู้ยืมหรือบัญชีที่ ๓
บัญชีเงินอุดหนุนหรือบัญชีที่ ๔ ได้ตามระเบียบ หลักเกณฑ์
เงื่อนไขและวิธีการตามที่กองทุนหมู่บ้านกำหนด
ข้อ ๓๐ สมาชิก
ประกอบด้วยบุคคลธรรมดาที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านหรือชุมชนเมืองนั้น และมีคุณสมบัติ
และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อบังคับของกองทุนหมู่บ้าน
การรับสมัครสมาชิกและการขาดจากสมาชิกภาพของสมาชิก
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กองทุนหมู่บ้านกำหนด ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความต้องการ
และการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้าน หรือชุมชนเมืองเป็นหลัก
ข้อ ๓๑ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านสามารถกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกถือหุ้นของกองทุนหมู่บ้าน
หรือมีเงินฝากสัจจะไว้ที่กองทุนหมู่บ้าน
ในการชำระค่าหุ้น
สมาชิกอาจชำระเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กองทุนหมู่บ้านกำหนดไว้ในระเบียบ
หรือข้อบังคับของกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ ๓๒ ให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีสมาชิก
อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งภายในกำหนดระยะเวลาสิบห้าวัน
นับจากวันที่กรรมการกองทุนหมู่บ้านพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
เพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
และรับรองกรรมการกองทุนหมู่บ้านที่ได้รับเลือกใหม่
วิธีการในการเรียกประชุมให้เป็นไปตามที่กองทุนหมู่บ้านกำหนด
โดยคำนึงถึงจารีตประเพณีของแต่ละหมู่บ้าน หรือชุมชนเมือง
ข้อ ๓๓ นอกจากการประชุมใหญ่สามัญประจำปีแล้ว
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านอาจเรียกประชุมวิสามัญเมื่อใดก็ได้
เมื่อมีเหตุที่ต้องขอมติ หรือขอความเห็นชอบจากที่ประชุมสมาชิกตามระเบียบนี้
หรือเมื่อคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจะเห็นสมควร
จากกรณีตามวรรคหนึ่ง
ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านเรียกประชุมใหญ่วิสามัญภายในระยะเวลาสิบห้าวัน
นับแต่วันที่ได้รับการร้องขอเป็นหนังสือจากสมาชิกซึ่งเข้าชื่อกันมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
ข้อ ๓๔ ในการประชุมสมาชิกต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
สมาชิกจะมอบอำนาจเป็นหนังสือให้บุคคลอื่นมาประชุมแทนตนก็ได้
แต่ผู้รับมอบอำนาจนั้นจะรับมอบอำนาจจากสมาชิกเกินกว่าหนึ่งรายมิได้
การประชุมคราวใดมีสมาชิกมาประชุมไม่ครบองค์ประชุม
ให้นัดประชุมอีกครั้งหนึ่งภายในสิบห้าวันนับแต่วันนัดประชุมครั้งแรก
ในการประชุมครั้งหลังถ้ามิใช่เป็นการประชุมใหญ่สามัญประจำปี
เมื่อมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดให้ถือเป็นองค์ประชุม
ข้อ ๓๕ สมาชิกคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
หมวด ๖
การกู้ยืมเงินกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ ๓๖ สมาชิกที่ประสงค์จะขอกู้เงินจากกองทุนหมู่บ้านต้องจัดทำคำขอกู้โดยระบุวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงินอย่างชัดเจน
โดยให้ยื่นคำขอกู้ดังกล่าวต่อคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านพิจารณาเงินกู้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กองทุนหมู่บ้านกำหนด
ข้อ ๓๗ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านมีอำนาจในการอนุมัติเงินกู้รายหนึ่งไม่เกินจำนวนสองหมื่นบาท
ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านมีมติเห็นควรอนุมัติเงินกู้รายใดเกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง
ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านเรียกประชุมสมาชิกเพื่อให้สมาชิกพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดต่อไป
แต่ทั้งนี้ การอนุมัติเงินกู้รายหนึ่งต้องไม่เกินจำนวนห้าหมื่นบาท
การอนุมัติเงินกู้ฉุกเฉิน
หรือเงินยืมฉุกเฉินให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านอนุมัติได้รายหนึ่งจำนวนไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทจากเงินที่ได้รับจัดสรรจากรัฐบาล
หรือบัญชีกองทุนหมู่บ้าน (บัญชีที่ ๑) ไปใช้จ่าย
เพื่อการฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วน
โดยกองทุนหมู่บ้านสามารถเบิกเงินฉุกเฉินจากบัญชีกองทุนหมู่บ้าน (บัญชีที่ ๑)
มาเก็บรักษาไว้เป็นเงินสด ตามระเบียบข้อบังคับหรือข้อกำหนดของกองทุนหมู่บ้าน
โดยวงเงินสดที่เก็บรักษาประจำวันจะต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม
ซึ่งมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
ข้อ ๓๘ ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านมีมติอนุมัติเงินกู้ยืมตามคำขอทั้งหมด
หรือบางส่วน ให้บันทึกความเห็นในแบบคำขอกู้ยืมเงิน
พร้อมทั้งส่งสำเนาแบบคำขอกู้ยืมเงิน
ตลอดจนเงื่อนไขและรายละเอียดในการอนุมัติเงินกู้
แจ้งให้ผู้ขอกู้และธนาคารรับทราบโดยเร็ว
ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านแต่งตั้งผู้แทนกรรมการกองทุนหมู่บ้านอย่างน้อยสองคนเป็นผู้แทนคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านในการทำสัญญากู้ยืมเงินกับผู้ขอกู้ที่ได้รับอนุมัติเงินกู้
ให้ผู้ขอกู้ที่ได้รับอนุมัติเงินกู้
เปิดบัญชีออมทรัพย์กับธนาคาร
และแจ้งหมายเลขบัญชีออมทรัพย์ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านรับทราบโดยเร็ว
การโอนเงินเข้าบัญชีผู้กู้ตามวรรคสอง
ธนาคารจะเป็นผู้ทำหน้าที่โอนเงินเข้าในบัญชี
ผู้กู้ที่ผ่านการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ตามคำสั่ง
และเงื่อนไขของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ ๓๙ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านอาจเรียกหลักประกันเงินกู้
ไม่ว่าจะเป็นบุคคล หรือทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบ
หรือข้อบังคับกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ ๔๐ ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านกำหนดอัตราดอกเบี้ย
หรือค่าตอบแทนเงินฝากและเงินกู้เป็นอัตราที่แน่นอนตามความเห็นชอบจากที่ประชุมสมาชิก
โดยคำนึงถึงจารีตประเพณี และสภาพเศรษฐกิจและสังคมในหมู่บ้าน และชุมชนเมืองเป็นหลัก
และปิดประกาศอัตราดอกเบี้ย หรือค่าตอบแทนดังกล่าวอย่างเปิดเผย
ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านเก็บรักษา
หรือเบิกจ่ายดอกเบี้ย หรือเงินตอบแทนจากผลกำไรตามเงื่อนไขและวิธีการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ดอกเบี้ย และเงินตอบแทนจากผลกำไร ที่เกิดขึ้นจากการนำเงินจากบัญชีกองทุนหมู่บ้าน (บัญชีที่
๑) ไปให้สมาชิกกู้ หรือยืมไปลงทุน หรือเพื่อการฉุกเฉินจะต้องนำเข้าบัญชีกองทุนหมู่บ้าน
(บัญชีที่ ๑)
(๒)
ให้กองทุนหมู่บ้าน จัดทำงบการเงิน ทุกหกเดือน
เพื่อจะได้รับทราบผลประกอบการของกองทุนหมู่บ้านโดยรวม
(๓)
ให้เบิกจ่ายดอกเบี้ย หรือเงินตอบแทนจากผลกำไรสะสมที่เกิดขึ้นมาใช้จ่าย หรือนำไปจ่ายและจัดสรร
ตามเงื่อนไข หรือระเบียบที่แต่ละกองทุนหมู่บ้านได้กำหนดขึ้น
(๔)
ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านทำหลักฐานการเบิกถอนดอกเบี้ย
หรือเงินตอบแทนจากผลกำไรจากบัญชีกองทุนหมู่บ้าน (บัญชีที่ ๑)
รวมทั้งวัตถุประสงค์ในการเบิกถอนพร้อมหลักฐาน
แล้วปิดประกาศให้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านได้รับทราบ และตรวจสอบ ณ ที่ทำการกองทุนหมู่บ้าน
(๕)
การเบิกจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินตอบแทนจากผลกำไรให้กองทุนหมู่บ้านจัดทำงบ
การเงินตามแบบที่สำนักงานกำหนด เพื่อให้ธนาคารเบิกจ่ายตามระเบียบกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ ๔๑ การกำหนดระยะเวลาชำระคืนเงินกู้
หรือเงินยืมให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านพิจารณาตามความเหมาะสมแห่งสัญญาเงินกู้แต่ละราย
การชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย หรือเงินยืมพร้อมเงินตอบแทนจากผลกำไร
ให้ผู้กู้ชำระให้แล้วเสร็จ ตามวิธีการดังต่อไปนี้
(๑)
เงินกู้ หรือเงินลงทุนทุกประเภท ซึ่งให้กู้หรือยืมจากเงินและดอกเบี้ย
หรือผลอันเกิดจากเงินที่ได้รับจากการจัดสรร หรือสมทบจากสำนักงาน ให้ผู้กู้
หรือผู้ยืมชำระให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ทำสัญญา
ยกเว้นเงินบัญชีอื่น
(๒)
เงินกู้ หรือเงินลงทุนทุกประเภท ซึ่งให้กู้ หรือยืมเงิน หรือดอก
หรือผลอันเกิดจากเงินกู้หรือยืมจากสถาบันการเงิน ให้ผู้กู้
หรือผู้ยืมชำระคืนตามที่กำหนดไว้ในสัญญา
สมาชิกที่ประสงค์จะชำระคืนเงินกู้
หรือเงินยืมทุกประเภทต้องไปติดต่อขอชำระคืนเงินกู้
หรือเงินยืมทุกประเภทกับคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน เพื่อตรวจสอบเงินงวด
(เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยหรือเงินยืม และเงินตอบแทนจากผลกำไร) ที่จะต้องส่งชำระคืน
ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจัดทำหนังสือแจ้งความประสงค์ในการชำระคืนเงินกู้
หรือเงินยืมทุกประเภทของสมาชิกให้กับสมาชิกจำนวนสามฉบับ
ให้สมาชิกนำเงิน
(เงินต้นพร้อมดอกเบี้ย หรือเงินยืม และเงินตอบแทนจากผลกำไร)
ไปฝากเข้าบัญชีออมทรัพย์ของสมาชิก พร้อมทั้งทำหลักฐานการถอนเงิน (ใบถอนเงิน)
มอบไว้กับธนาคารเพื่อให้ธนาคารถอนเงินจำนวนดังกล่าว
ให้ธนาคารถอนเงินตามยอดเงิน
ซึ่งระบุไว้ในหลักฐานการถอนเงิน (ใบถอนเงิน) แล้วนำฝากเข้าบัญชีกองทุนหมู่บ้าน
(บัญชีที่ ๑)
เมื่อธนาคารรับเงิน
และหลักฐานการถอนเงิน (ใบถอนเงิน) จากสมาชิกกองทุนแล้วให้มอบหนังสือแจ้งความประสงค์ในการชำระคืนเงินกู้
หรือเงินยืม (ฉบับที่ ๑ และฉบับที่ ๒)
ให้กับสมาชิกเพื่อให้สมาชิกนำไปเก็บไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ
และนำไปมอบให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านตามระเบียบ
หรือข้อบังคับของกองทุนหมู่บ้านหนึ่งฉบับ เพื่อเป็นหลักฐานในการจัดทำบัญชี
หรือดำเนินการในส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้อง ส่วนอีกหนึ่งฉบับ (ฉบับที่ ๓)
ให้ธนาคารจัดเก็บไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๔๒ กองทุนหมู่บ้านสามารถดำเนินการตามข้อ ๔๑
หรืออาจสามารถกำหนดวิธีการชำระคืนเงินกู้ หรือเงินยืม
โดยการชำระคืนต่อคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
หรือชำระคืนโดยใช้บริการของธนาคารในการให้บริการในหมู่บ้านหรือชุมชน ทั้งนี้ จะต้องกำหนดขั้นตอน วิธีการ
ตลอดจนการบริการที่โปร่งใสเป็นธรรมแก่สมาชิก ทั้งนี้ โดยให้กำหนดไว้ในระเบียบ
ข้อบังคับของกองทุนหมู่บ้าน
กองทุนหมู่บ้านใดมีวิธีการชำระคืนนอกเหนือจากข้อ
๔๑ และข้อ ๔๒ วรรคแรก สามารถขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการได้
ข้อ ๔๓ กองทุนหมู่บ้านสามารถกู้ยืมเงินกับกองทุนอื่นได้
เพื่อนำไปให้สมาชิกกู้ต่อไปลงทุนในการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ลดรายจ่าย
และบรรเทาเหตุจำเป็นเร่งด่วน หรือฉุกเฉินได้ตามวิธีการ ดังต่อไปนี้
(๑)
กองทุนหมู่บ้านที่ให้กู้
และกองทุนหมู่บ้านที่ขอกู้ต้องเรียกประชุมสมาชิกเปิดเวทีประชาคม
พร้อมทั้งขอความเห็นชอบจากสมาชิก โดยชี้แจงรายละเอียด วัตถุประสงค์ วงเงินขอกู้ เงื่อนไขของสัญญา
ตลอดจนประเด็นสำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยต้องมีผู้มาประชุมไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
และให้มีผู้แทนคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอ
หรือระดับเขตมาเป็นผู้สังเกตการณ์ด้วย
(๒)
จัดทำสัญญากู้เงิน และมีหนังสือถึงธนาคารที่เกี่ยวข้อง
เพื่อขอความร่วมมือให้โอนเงินจากบัญชีกองทุนหมู่บ้านที่ให้กู้ (บัญชีที่ ๑)
ไปยังบัญชีกองทุนหมู่บ้านที่ขอกู้ (บัญชีที่ ๑)
(๓)
มีหนังสือแจ้งคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอ หรือระดับเขตอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้
เพื่อคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอ
หรือระดับเขตจะได้แจ้งให้คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด หรือกรุงเทพมหานคร
และคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด
หรือกรุงเทพมหานครแจ้งให้สำนักงานได้ทราบเป็นลำดับ
ข้อ ๔๔ ในกรณีที่ผู้กู้ผิดสัญญาไม่ชำระคืนต้นเงินกู้พร้อมดอกเบี้ย
หรือค่าตอบแทนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญากู้ยืมเงิน
ให้ผู้กู้เสียเบี้ยปรับตามจำนวนที่ระเบียบ หรือข้อบังคับที่กองทุนหมู่บ้าน กำหนดไว้อย่างแน่นอนสำหรับจำนวนที่ขาด
หรือค้างชำระเว้นแต่ผู้กู้ได้รับอนุญาตให้ผ่อนผันการชำระหนี้
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
อาจพิจารณายกเลิกหรือปรับลดเบี้ยปรับให้แก่ผู้กู้รายหนึ่งรายใดก็ได้เมื่อมีเหตุผลอันสมควร
และด้วยความเห็นชอบจากที่ประชุมสมาชิกด้วยเสียงเกินกึ่งหนึ่ง หรือดำเนินการอื่น ๆ
ตามระเบียบที่กองทุนหมู่บ้านกำหนด
ข้อ ๔๕ ในกรณีที่ผู้กู้มิได้เริ่มดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในการขอกู้ยืมเงิน
หรือเมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้กู้นำเงินไปใช้นอกกรอบวัตถุประสงค์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร
ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านมีอำนาจยกเลิกสัญญาและเรียกคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ย
หรือค่าตอบแทนที่ค้างชำระคืนเต็มจำนวนได้โดยทันที
กรณีที่บทบัญญัติตามความในหมวดนี้ขัด
หรือแย้งกับหลักศาสนาของสมาชิกของกองทุนหมู่บ้าน
ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ และรูปแบบในการใช้ประโยชน์จากเงินกองทุนหมู่บ้าน
และการกำหนดผลตอบแทนใช้คืนกองทุนหมู่บ้าน ให้สอดคล้องกับหลักศาสนาของสมาชิกนั้นได้
หมวด ๗
การทำบัญชีและการตรวจสอบ
ข้อ ๔๖ ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจัดทำบัญชีของกองทุนหมู่บ้านตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
และจัดทำรายการรับ -
จ่ายเงินกองทุนหมู่บ้านอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งและแจ้งให้สมาชิกทราบ
รวมทั้งให้จัดทำสรุปผลการดำเนินงานประจำปีรายงานต่อคณะกรรมการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการบริหารจัดการการเงิน
การบัญชี และการพัสดุโดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบของสมาชิกเป็นหลัก
ให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบ
เพื่อตรวจสอบ
และประเมินผลการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและการดำเนินการของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านได้ตามที่เห็นสมควร
ในการนี้ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านมีหน้าที่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบ
ให้ผู้ตรวจสอบตามวรรคสาม
จัดส่งผลประกอบการและงบการเงินให้สำนักงาน
และแสดงความเห็นภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี (วันที่ ๓๑ ธันวาคมของทุกปี)
ข้อ ๔๗ ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
จัดทำงบการเงินพร้อมทั้งรายละเอียดประกอบตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
และส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชีที่คณะกรรมการกำหนดภายในระยะเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีของทุกปี
ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
สรรหาผู้ตรวจสอบบัญชีของกองทุนหมู่บ้านเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี
เพื่อขอความเห็นชอบในการทำหน้าที่ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้จ่ายเงิน
และทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้าน
โดยให้แสดงความคิดเห็นเป็นข้อวิเคราะห์ว่าการใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์
ประหยัด และได้ผลตามเป้าหมายเพียงใด
และให้ทำบันทึกรายงานผลการสอบบัญชีต่อคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน พร้อมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่ต่อสมาชิก
และสาธารณชน
ข้อ ๔๘ การจัดสรรกำไรสุทธิ
เมื่อสิ้นปีบัญชีหากปรากฏว่าปีใดมีกำไรสุทธิคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านสามารถนำกำไรสุทธิมาจัดสรรตามระเบียบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กองทุนหมู่บ้านกำหนด
การจัดสรรกำไรสุทธิบัญชีที่
๑ ให้คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชน หมู่บ้าน และชุมชนโดยให้จัดสรรเป็นเงินสมทบกองทุน
เงินประกันความเสี่ยง และเงินอื่นตามระเบียบกองทุนหมู่บ้าน ทั้งนี้
ห้ามมิให้จัดสรรกำไรสุทธิตามส่วนการถือหุ้นของสมาชิก
สำหรับเงินสมทบกองทุนและเงินประกันความเสี่ยงให้คงไว้ในบัญชีที่ ๑
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านอาจกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ
ในการจัดสรรกำไรสุทธิของบัญชีที่ ๑ เพิ่มเติม
เพื่อประโยชน์ของการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
รองนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
วัชศักดิ์/จัดทำ
๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๗ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๑/๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ |
558894 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ. 2549 (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1)
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๐
ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
พ.ศ. ๒๕๔๙
(แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่
๑)
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๐ ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ.
๒๕๔๙ ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ มาตรา ๘ มาตรา ๑๙ (๕) และมาตรา ๓๐
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
จึงออกระเบียบไว้ ดังนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๐ ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ.
๒๕๔๙ (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ ๑)
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๘ ของระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๐ ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ.
๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ก่อนครบกำหนดระยะเวลาอย่างน้อย ๑ ปี ที่กำหนดให้กองทุนหมู่บ้านตามข้อ ๘ (๑)
และ (๒) จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ หากพบว่ามีกองทุนใดไม่ยื่นขอจดทะเบียนและ/หรือไม่สามารถจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ให้นายทะเบียนรายงานต่อคณะกรรมการเพื่อกำหนดแนวทางต่อไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
วัชศักดิ์/จัดทำ
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๐
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๗ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๘๐ ง/หน้า ๔๑/๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐ |
511048 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ว่าด้วยการเลิก ยุบรวม หรือแยกบางส่วน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ. 2549
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๒
ว่าด้วยการเลิก ยุบรวม
หรือแยกบางส่วน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
พ.ศ. ๒๕๔๙
เพื่อให้การบริหารงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
เป็นไปโดยเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๙ (๘)
และมาตรา ๒๙ วรรคสอง และวรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จึงได้ออกระเบียบไว้ดังนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการเลิก ยุบรวม หรือแยกบางส่วน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ
๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓
ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
กองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า
กองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
หมู่บ้าน หมายความว่า
หมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗
ชุมชนเมือง หมายความว่า ชุมชนในเทศบาล
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา หรือเขตพื้นที่อื่น ทั้งนี้ โดยมีขอบเขตตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด หรือตามประกาศของคณะกรรมการ
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน หรือคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
กรรมการกองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
หรือกรรมการในคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
สมาชิก หมายความว่า สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน
หรือสมาชิกของกองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ผู้อำนวยการ หมายความว่า
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
นายทะเบียน หมายความว่า
นายทะเบียนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
หรือบุคคลซึ่งนายทะเบียนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง มอบอำนาจให้ทำหน้าที่แทน
การดำเนินคดี หมายความว่า
การฟ้องร้องดำเนินคดีกองทุน หรือคณะกรรมการกองทุนหรือสมาชิก
หมวด ๑
การเลิกกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ
๕
กองทุนหมู่บ้านย่อมเลิกด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้
(๑)
ที่ประชุมใหญ่ของกองทุนหมู่บ้านมีมติให้เลิก
(๒)
ศาลมีคำพิพากษาให้ล้มละลาย
(๓)
นายทะเบียนสั่งให้เลิก
ข้อ
๖ กองทุนหมู่บ้านใดที่เลิกตาม ข้อ ๕
(๑) และ (๒) กองทุนหมู่บ้านนั้นจะต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ประชุมใหญ่ของกองทุนหมู่บ้านมีมติให้เลิกหรือนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาให้ล้มละลาย
แล้วแต่กรณี
กองทุนหมู่บ้านใดที่เลิกตามข้อ
๕ (๓) เมื่อนายทะเบียนได้ทราบว่ากองทุนหมู่บ้านปฏิบัติเข้าข่ายตามข้อ ๗
ข้อ
๗
นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้เลิกได้เมื่อปรากฏว่า
(๑)
กองทุนหมู่บ้านไม่สามารถดำเนินกิจการ หรือหยุดดำเนินกิจการติดต่อกันเป็นเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่หยุดดำเนินกิจการ
(๒)
กองทุนหมู่บ้านไม่ส่งสำเนางบดุลและรายงานประจำปีต่อนายทะเบียนเป็นเวลาสามปีติดต่อกัน
(๓)
กองทุนหมู่บ้านดำเนินการในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ กองทุนหมู่บ้าน
(๔)
กองทุนหมู่บ้านไม่ปฏิบัติตามเจตนารมณ์พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ นโยบาย ปรัชญา วัตถุประสงค์ ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
(๕)
เลิกตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๘ ในกรณีที่มีการเลิกกองทุนหมู่บ้านให้โอนบรรดากิจการ
ทรัพย์สิน สิทธิ
และหนี้สินของกองทุนหมู่บ้านนั้นไปเป็นของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
หมวด ๒
การยุบรวมกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ
๙
กองทุนหมู่บ้านตั้งแต่สองกองทุนอาจยุบรวมได้ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(๑)
ที่ประชุมใหญ่ของกองทุนหมู่บ้านที่เกี่ยวข้องมีมติให้ยุบรวมด้วยความสมัครใจ
และต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน
(๒)
นายทะเบียนสั่งให้ยุบรวม
ข้อ
๑๐
กองทุนหมู่บ้านใดที่มีความประสงค์ยุบรวมตามข้อ ๙ (๑)
กองทุนหมู่บ้านที่เกี่ยวข้องจะต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในสามสิบวัน พร้อมทั้งส่งสำเนารายงานการประชุมใหญ่
นับแต่วันที่ประชุมใหญ่ของกองทุนหมู่บ้านที่เกี่ยวข้องมีมติให้ยุบรวม
ข้อ
๑๑
นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ยุบรวมได้เมื่อปรากฏว่า
(๑)
มีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านใหม่
(๒)
กองทุนหมู่บ้านมีจำนวนสมาชิกน้อยกว่า ๓๐ ครัวเรือน
(๓)
กองทุนหมู่บ้านดำเนินการในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่
กองทุนหมู่บ้าน
(๔)
กองทุนหมู่บ้านไม่ปฏิบัติตามเจตนารมณ์พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ นโยบาย ปรัชญา วัตถุประสงค์ ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ข้อ
๑๒
ในกรณีที่กองทุนหมู่บ้านใดยุบรวมกับกองทุนหมู่บ้านอื่นเพื่อจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านใหม่
หรือยุบรวมกับกองทุนหมู่บ้านอื่น ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ
และหนี้สินของกองทุนหมู่บ้านนั้นไปเป็นของกองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งใหม่หรือกองทุนหมู่บ้านที่ไปรวม
แล้วแต่กรณี
หมวด ๓
การแยกบางส่วนกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ
๑๓ กองทุนหมู่บ้าน
อาจแยกด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑)
นายทะเบียนสั่งแยกบางส่วนได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนด
(๒)
มีการเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองท้องที่
(๓)
ในกรณีที่กองทุนหมู่บ้านใดแยกกองทุนหมู่บ้านบางส่วนเพื่อจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านใหม่
หรือแยกกองทุนหมู่บ้านบางส่วนเพื่อรวมกับกองทุนหมู่บ้านอื่น
(๔)
ที่ประชุมใหญ่ของกองทุนหมู่บ้านที่เกี่ยวข้องมีมติให้แยกบางส่วนด้วยความสมัครใจและต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน
พร้อมทั้งพิจารณาทรัพย์สิน แบ่งแยก ทรัพย์สิน และหนี้สินของกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ
๑๔ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน
สิทธิ และหนี้สินของกองทุนหมู่บ้านที่แยกตามข้อ ๑๓
ให้ไปเป็นของกองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งใหม่หรือกองทุนหมู่บ้านที่ไปรวม แล้วแต่กรณี
หมวด ๔
การชำระบัญชี
ข้อ
๑๕
การชำระบัญชีกองทุนหมู่บ้านที่ล้มละลายนั้น ให้เป็นไปตามกฎหมาย
ว่าด้วยการล้มละลาย
ข้อ
๑๖
การชำระบัญชีของกองทุนหมู่บ้านที่เลิก ยุบรวม แยกบางส่วน ด้วยความสมัครใจ ให้ที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของผู้เข้าร่วมประชุมตั้งผู้ชำระบัญชี
และให้ดำเนินการชำระบัญชีให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน
ข้อ
๑๗ ในกรณีที่เห็นว่ากองทุนหมู่บ้านดำเนินการในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุนหมู่บ้าน
หรือกองทุนหมู่บ้านไม่ปฏิบัติตามเจตนารมณ์พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ นโยบาย ปรัชญา วัตถุประสงค์ ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของคณะกรรมการ
นายทะเบียนสั่งระงับการจ่ายเงินของกองทุนหมู่บ้าน
หรือให้กองทุนหมู่บ้านชดใช้หรือให้ส่งคืนเงินที่เบิกจ่ายไปแล้ว
โดยให้แจ้งคำสั่งเป็นหนังสือไปยังกองทุนหมู่บ้าน
การชำระบัญชีของกองทุนหมู่บ้านที่นายทะเบียนสั่งให้ชดใช้หรือส่งคืนเงินที่เบิกจ่ายไปแล้วตามวรรคหนึ่ง
หรือกองทุนหมู่บ้านที่เลิก ยุบรวม แยกบางส่วน ให้นายทะเบียนตั้งผู้ชำระบัญชี
และให้ดำเนินการชำระบัญชีให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน
ข้อ
๑๘ กรณีการดำเนินงานชำระบัญชีตามข้อ
๑๖ และ ๑๗ ไม่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
ให้ผู้ชำระบัญชีขอขยายระยะเวลาต่อนายทะเบียน
นายทะเบียนสามารถขยายเวลาได้อีกไม่เกิน ๖๐ วัน
ข้อ
๑๙ ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
ดำเนินกิจการของกองทุนหมู่บ้านเท่าที่จำเป็นเพื่อระวังรักษาผลประโยชน์ของกองทุนหมู่บ้านในระหว่างที่ยังชำระบัญชีไม่เสร็จ
(๒)
ดำเนินกิจการของกองทุนหมู่บ้านเท่าที่จำเป็นเพื่อชำระสะสางกิจการให้เสร็จไปด้วยดี
(๓)
เรียกประชุมใหญ่
(๔)
ดำเนินการทั้งปวงเกี่ยวกับคดีแพ่งหรือคดีอาญา และประนีประนอมยอมความในเรื่องใด ๆ
ในนามของกองทุนหมู่บ้าน หรือนายทะเบียน
(๕)
จำหน่ายทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้าน
(๖)
ดำเนินการอย่างอื่นเท่าที่จำเป็นเพื่อให้การชำระบัญชีเสร็จสิ้น
ข้อจำกัดอำนาจของผู้ชำระบัญชีอย่างใด
ๆ ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต
ข้อ
๒๐ ค่าธรรมเนียม ค่าภาระติดพัน
และค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียตามสมควรในการชำระบัญชีนั้น ผู้ชำระบัญชีต้องจัดการชำระก่อนหนี้รายอื่น
เมื่อได้ชำระหนี้ของกองทุนแล้ว
ถ้ามีทรัพย์สินเหลืออยู่เท่าใดให้ผู้ชำระบัญชีไปชำระคืนให้ตามลำดับดังนี้
(๑)
เงินกองทุนหมู่บ้าน
(๒)
เงินสัจจะ หุ้นและเงินอื่น ๆ ของสมาชิก
(๓)
เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
ข้อ
๒๑
ถ้าเจ้าหนี้คนใดมิได้ทวงถามให้ชำระหนี้
ผู้ชำระบัญชีต้องวางเงินสำหรับจำนวนนั้นไว้ต่อนายทะเบียนเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้
และให้ผู้ชำระบัญชีมีหนังสือแจ้งกำหนดวางเงินไปยังเจ้าหนี้โดยไม่ชักช้า
ถ้าเจ้าหนี้ไม่รับเงินจนพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่ผู้ชำระบัญชีวางเงินไว้ต่อนายทะเบียน
เจ้าหนี้ย่อมขาดสิทธิในเงินจำนวนนั้น
และให้นายทะเบียนจัดส่งเป็นรายได้ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติให้เสร็จภายในเวลาอันสมควร
ข้อ
๒๒
ให้ผู้ชำระบัญชีเสนอรายงานต่อนายทะเบียนทุกเดือนแต่ไม่เกินระยะเวลาที่กำหนดไว้
ถ้าปรากฏข้อบกพร่องในการชำระบัญชี
นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ชำระบัญชีแก้ไขข้อบกพร่อง
และรายงานต่อนายทะเบียนภายในเวลาที่กำหนด
ข้อ
๒๓
เมื่อได้ชำระบัญชีของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเสร็จแล้ว
ให้ผู้ชำระบัญชีทำรายงานการชำระบัญชี แสดงว่าได้ดำเนินการปิดบัญชีและจัดการทรัพย์สินของกองทุนไปอย่างใด
รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการชำระบัญชีและจำนวนทรัพย์สินที่จ่ายตามข้อ ๒๐
เสนอต่อผู้สอบบัญชี
เมื่อผู้สอบบัญชีตรวจสอบและรับรองบัญชีที่ชำระแล้ว
ให้ผู้ชำระบัญชีเสนอต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้สอบบัญชีรับรองบัญชีที่ชำระนั้น
นายทะเบียนเห็นชอบด้วยแล้วให้ถือว่าเป็นที่สุดแห่งการชำระบัญชี
และให้นายทะเบียนถอนชื่อกองทุนหมู่บ้านออกจากทะเบียน
ข้อ
๒๔
เมื่อนายทะเบียนให้ความเห็นชอบในการชำระบัญชีตามข้อ ๒๓ แล้ว
ให้ผู้ชำระบัญชีมอบบรรดาสมุดบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่ได้ชำระบัญชีเสร็จแล้วนั้นแก่นายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบ
ให้นายทะเบียนรักษาสมุดบัญชีและเอกสารที่ได้รับไว้เป็นเวลาสองปีนับแต่วันที่ถอนชื่อกองทุนหมู่บ้านนั้นออกจากทะเบียน
สมุดบัญชีและเอกสารตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้มีส่วนได้เสียดูได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
ในคดีฟ้องเรียกหนี้สินที่กองทุนหมู่บ้านเป็นลูกหนี้อยู่ให้ถือว่าผู้ชำระบัญชีเป็นลูกหนี้อยู่ในฐานเช่นนั้น
ทั้งนี้ ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี
หมวด ๕
การดำเนินคดี
ข้อ
๒๕
เมื่อกองทุนหมู่บ้านใดนายทะเบียนสั่งให้ชดใช้หรือส่งคืนเงินที่เบิกจ่ายไปแล้วตามข้อ
๑๗ วรรคหนึ่ง หรือ เลิก ยุบรวม แยกบางส่วน
ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านคืนเงินที่ได้รับจัดสรรจากรัฐ หากคืนไม่ได้
นายทะเบียนมีสิทธิเรียกร้องเงินคืน
ข้อ
๒๖ กรณีกองทุนหมู่บ้านใดนายทะเบียนสั่งให้ชดใช้หรือส่งคืนเงินที่เบิกจ่ายไปแล้วตามข้อ
๑๗ วรรคหนึ่ง หรือ เลิก ยุบรวม แยกบางส่วน เมื่อชำระบัญชีเสร็จแล้ว
มีหนี้ค้างอยู่กับกองทุน คณะกรรมการหรือสมาชิก
ให้นายทะเบียนมีอำนาจเรียกเงินคืนได้
ทั้งนี้
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ค่าธรรมเนียม
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการและเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนด
หมวด ๖
การอุทธรณ์
ข้อ
๒๗
ในกรณีกองทุนหมู่บ้านที่นายทะเบียนสั่งให้ชดใช้หรือส่งคืนเงินที่เบิกจ่ายไปแล้วตามข้อ
๑๗ วรรคหนึ่ง หรือ กองทุนหมู่บ้านที่ถูกสั่งให้เลิก ยุบรวม แยกบางส่วน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง
และให้นายทะเบียนส่งคำอุทธรณ์ต่อไปยังคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
โดยไม่ชักช้า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติให้ถือเป็นที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ ๘
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
สุวิทย์ คุณกิตติ
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
นันทนา/ผู้จัดทำ
๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙
สถาพร/ปรับปรุง
๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
รัศม์วรรณวลัย/ตรวจ
๔ มีนาคม ๒๕๕๒
ปณตภร/ปรับปรุง
๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๐๕ ง/หน้า ๑๒/๖ ตุลาคม ๒๕๔๙ |
490199 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ว่าด้วย เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ. 2549
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๑
ว่าด้วย เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
พ.ศ. ๒๕๔๙
จากเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ เพื่อให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ รวมทั้งกองทุนหมู่บ้านและกองทุนชุมชนเมืองสามารถพัฒนาเป็นสถาบันการเงินชุมชนในอนาคต
โดยมีกระบวนทัศน์ด้านการบริหารและการพัฒนาที่มุ่งสร้างกระบวนการเรียนรู้ ที่มีรูปแบบ
วิธีการคิด และมุมมองที่เปิดกว้างมีคุณธรรม และมีการเรียนรู้ร่วมกันโดยอาศัยหลักของการเอื้ออาทรในรูปแบบกัลยาณมิตร
ตลอดจนมีการสร้างและพัฒนาความคิด ความเข้าใจให้เป็นระบบในลักษณะของการบูรณาการทุกเรื่องเข้าด้วยกันและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายกองทุนในทุกระดับอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง
อีกทั้งในมาตรา ๑๙ (๑๒) แห่งพระราชบัญญัติฯ ได้กำหนดให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการสร้างพัฒนาเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านในทุกระดับ
เพื่อให้เป็นตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติจึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๙ (๑๒) และ (๑๖) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จึงออกระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ. ๒๕๔๙ ไว้ดังต่อไปนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติว่าด้วยเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ
๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
รักษาการตามระเบียบนี้
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
กองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
แล้วแต่กรณี
หมู่บ้าน หมายความว่า หมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
ชุมชนเมือง หมายความว่า ชุมชนในเทศบาล กรุงเทพมหานคร
เมืองพัทยา หรือเขตพื้นที่อื่น ทั้งนี้
โดยมีขอบเขตตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านหรือคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง
แล้วแต่กรณี
กรรมการกองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
หรือกรรมการในคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
เครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า องค์กรที่เกิดจากการรวมตัวของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจากระดับตำบล เป็นระดับอำเภอ เป็นระดับจังหวัดและเป็นระดับภาค
คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า คณะกรรมการ
เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทุกระดับ แล้วแต่กรณี
ประธานกรรมการ หมายความว่า ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
หรือประธานกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทุกระดับ แล้วแต่กรณี
ศูนย์ประสานงานเครือข่าย หมายความว่า ศูนย์ประสานงานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทุกระดับ
แล้วแต่กรณี
องค์กรการเงินรายย่อย หมายความว่า กลุ่มหรือองค์กรการเงินอื่น
ๆ ในหมู่บ้านและชุมชนเมือง
หมวด ๒
เครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ
๕ เครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน เป็นองค์กรความร่วมมือและเชื่อมโยงกันของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในระดับต่าง
ๆ โดยมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเดียวกันด้วยการช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างเอื้ออาทร
สู่การเป็นสถาบันการเงินชุมชนโดยประชาชน เพื่อประชาชน ที่มิได้มุ่งหวังหรือแสวงหากำไรในเชิงธุรกิจ
ข้อ
๖ วัตถุประสงค์ของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน
มีดังนี้
(๑) เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ประสบการณ์และเผยแพร่ข้อมูล
ข่าวสารของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านทุกระดับ กองทุนหมู่บ้าน และสถาบันการเงินชุมชนที่เป็นสมาชิกตลอดจนองค์กรการเงินรายย่อยอื่น
ๆ
(๒) ให้การส่งเสริม พัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของกองทุนหมู่บ้าน และสถาบันการเงินชุมชนที่เป็นสมาชิก
(๓) เชื่อมโยงกิจการการบริหารจัดการเงินทุน ระบบสวัสดิภาพ สวัสดิการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
และสถาบันการเงินชุมชนที่เป็นสมาชิก ตลอดจนองค์กรการเงินรายย่อยอื่น ๆ
(๔) ร่วมมือกับทางราชการ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรเอกชน และองค์กรการเงินรายย่อยอื่น
ๆ รวมทั้งภาคีต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรม
(๕) ดำเนินการและประสานกับสถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา องค์กรอื่น ๆ เพื่อศึกษา
ค้นคว้า วิจัย และประเมินผลการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านที่เป็นสมาชิก และสนับสนุน
ส่งเสริมให้มีเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน และกองทุนหมู่บ้านเกิดการวิจัย วิเคราะห์ และพัฒนาตนเอง
(๖) ประสานประโยชน์และความร่วมมือระหว่างองค์กรต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศในการพัฒนากองทุนหมู่บ้าน
และสถาบันการเงินชุมชนที่เป็นสมาชิก ตลอดจนองค์กรการเงินรายย่อยอื่น ๆ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ
ข้อ
๗ เครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน ประกอบด้วยโครงข่าย
ดังต่อไปนี้
(๑) เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตำบล
(๒) เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับอำเภอ
(๓) เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด
(๔) เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับภาค
ข้อ
๘ สนับสนุนให้มีการจัดตั้งเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับชาติในรูปแบบสมาคมที่มีฐานะนิติบุคคลตามกฎหมายเพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงโครงข่าย
และรองรับสถานภาพทางกฎหมายตลอดจนการดำเนินงานของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านในระดับต่าง
ๆ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตลอดจนนโยบายและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ
๙ บทบาทหน้าที่ของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน
มีดังนี้
(๑) เชื่อมประสานนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติสู่การปฏิบัติในการพัฒนากองทุนหมู่บ้าน
บนพื้นฐานเศรษฐกิจชุมชน และหลักการพึ่งพาตนเอง
(๒) ถักทอเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านเป็นโครงข่าย ด้วยกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม
(๓) ส่งเสริม พัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของกองทุนหมู่บ้าน เครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน
และสถาบันการเงินชุมชน ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์
(๔) ดำเนินงานจัดทำระบบฐานข้อมูล ประชาสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่ผลความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้าน
(๕) ส่งเสริม พัฒนา และเชื่อมโยงการบริหารจัดการด้านเงินทุน สวัสดิการฌาปนกิจสงเคราะห์
ระบบสวัสดิภาพ สวัสดิการของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและประชาชนในชุมชน
(๖) ดำเนินการและประสานกับสถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา องค์กรอื่น ๆ เพื่อการศึกษาค้นคว้า
วิจัย และประเมินผลการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน
หมวด ๓
คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ
๑๐ คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน
ประกอบด้วย
(๑) คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตำบล ประกอบด้วยประธานกรรมการหรือผู้แทนในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
(๒) คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับอำเภอ ประกอบด้วยประธานกรรมการหรือผู้แทนในคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตำบล
(๓) คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด ประกอบด้วยประธานกรรมการหรือผู้แทนในคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับอำเภอ
(๔) คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับภาค ประกอบด้วยประธานกรรมการ หรือผู้แทนในคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด
ข้อ
๑๑ องค์ประกอบของคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านแต่ละระดับตามข้อ
๑๐ ควรมีจำนวนที่เหมาะสมตามตำแหน่งหน้าที่ เพื่อเข้าดำรงตำแหน่งสำคัญในการบริหารเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน
อันได้แก่ ประธาน เลขานุการ เหรัญญิก นายทะเบียน และกรรมการในตำแหน่งอื่น ๆ โดยวิธีการตกลงร่วมกันของคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ
๑๒ การพ้นตำแหน่งของคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านด้วยเหตุต่อไปนี้
คือ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) พ้นจากวาระการเป็นประธานกรรมการ หรือเป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
(๔) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลายหรือถูกจำคุก ยกเว้นความผิดโดยประมาท
(๕) วิกลจริต หรือเป็นบุคคลไร้ความสามารถ
(๖) คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านจำนวนสามในสี่ มีมติให้พ้นจากตำแหน่ง
ข้อ
๑๓ บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน
ดังนี้
(๑) กำหนดนโยบาย แนวทาง แผนงานและยุทธศาสตร์ การส่งเสริม พัฒนาศักยภาพขีดความสามารถของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
และการบริหารจัดการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน
(๒) จัดหาและจัดสรรเงินทุน ทรัพยากร รวมถึงการบริหารจัดการเงินทุนและทรัพยากรของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน
(๓) ดำเนินการและประสานการวิจัย นิเทศ ติดตาม ประเมินผลและรายงานการพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
รวมถึงการดำเนินงานของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน
(๔) ดำเนินการจัดประชุม การอบรม สัมมนา และเสริมสร้างการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมอื่น
ๆ แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
(๕) จัดทำระบบข้อมูล และประชาสัมพันธ์ผลสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
(๖) จัดตั้งศูนย์ประสานงานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน
(๗) ออกระเบียบ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกและการรับสมาชิก การประชุม
การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน
(๘) ออกระเบียบหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการฌาปนกิจสงเคราะห์ของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน
(๙) การออกระเบียบหรือข้อบังคับที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและสวัสดิการอื่น
ๆ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
หมวด ๔
การเงินและทรัพย์สิน
ข้อ
๑๔ เครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน ประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน
ดังนี้
(๑) เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้
(๒) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้โดยปราศจากเงื่อนไข
(๓) เงินกู้ยืม
(๔) ดอก ผล หรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดจากกิจกรรมเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน
(๕) เงินสมทบ เงินอุทิศจากกลุ่มหรือองค์กรสมาชิก
(๖) เงินและทรัพย์สินอื่น ๆ ตามระเบียบที่เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านกำหนด
ข้อ
๑๕ เหรัญญิกเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมดของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านเป็นผู้จัดทำบัญชี
รายรับ รายจ่าย บัญชีงบดุลของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน และเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านไว้เพื่อตรวจสอบ
อีกทั้งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน หรือผู้ทำการแทนร่วมกับเหรัญญิกหรือผู้ทำการแทนพร้อมทั้งประทับตราของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านทุกครั้ง
ข้อ
๑๖ ผู้สอบบัญชี จะต้องไม่ใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านมีอำนาจหน้าที่เรียกเอกสารที่เกี่ยวกับการเงินและทรัพย์สินจากคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและสามารถเชิญกรรมการหรือบุคลากรของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านเพื่อสอบถามเกี่ยวกับบัญชีและทรัพย์สินของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านได้
ข้อ
๑๗ กำหนดให้เดือนธันวาคมของทุกปี เป็นเดือนสิ้นปีทางบัญชีของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน
หมวด ๕
การสนับสนุนเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ
๑๘ กำหนดให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
สนับสนุน และส่งเสริมเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน ดังนี้
(๑) สนับสนุน ส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถของศูนย์ประสานงานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านทุกระดับ
(๒) สนับสนุน และส่งเสริมองค์ความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนากองทุนหมู่บ้าน
(๓) สนับสนุนวัสดุ ครุภัณฑ์ เพื่อการบริหารจัดการ และการดำเนินงานของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน
(๔) สนับสนุนงบประมาณ เพื่อการดำเนินกิจกรรมการส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน
และกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ
๑๙ สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการบูรณาการของหน่วยงานภาคีทั้งภาครัฐ
องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรเอกชน สนับสนุน ส่งเสริม พัฒนาศักยภาพ และขีดความสามารถของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านในทุกระดับ
บทเฉพาะกาล
ข้อ
๒๐ ในวาระเริ่มแรกให้เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านทุกระดับที่ได้จัดตั้งแล้วก่อนมีระเบียบนี้ให้ดำเนินการเลือกคณะกรรมการตามระเบียบนี้
ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา ๔๕ วัน นับตั้งแต่ระเบียบนี้ใช้บังคับ
ข้อ
๒๑ บรรดาทรัพย์สินของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านที่เกิดขึ้นก่อนใช้ระเบียบนี้ให้ถือว่าเป็นทรัพย์สินของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตามระเบียบนี้
ข้อ
๒๒ ภายในหนึ่งปีนับแต่ระเบียบนี้ใช้บังคับ
ให้คณะกรรมการประเมินผลการดำเนินการตามระเบียบนี้ เพื่อนำมาปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙
สุวิทย์ คุณกิตติ
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
นันทนา/จัดทำ
๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙
สถาพร/ปรับปรุง
๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
รัศม์วรรณวลัย/ตรวจ
๔ มีนาคม ๒๕๕๒
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๗ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๕๙ ง/หน้า ๕๒/๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ |
490195 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ว่าด้วย การรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ. 2549
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๐
ว่าด้วย การรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
พ.ศ. ๒๕๔๙
เพื่อให้การบริหารงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
เป็นไปโดยเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ มาตรา ๘ มาตรา ๑๙ (๕)
และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
จึงได้ออกระเบียบไว้ดังนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ
๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
กองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า กองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนชุมชนเมือง
แล้วแต่กรณี
หมู่บ้าน หมายความว่า หมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
ชุมชนเมือง หมายความว่า ชุมชนในเทศบาล กรุงเทพมหานคร
เมืองพัทยา หรือเขตพื้นที่อื่น ทั้งนี้
โดยมีขอบเขตตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
หรือคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
กรรมการกองทุนหมู่บ้าน หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
หรือกรรมการในคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง แล้วแต่กรณี
สมาชิก หมายความว่า สมาชิกของกองทุนหมู่บ้าน หรือสมาชิกของกองทุนชุมชนเมือง
แล้วแต่กรณี
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
สำนักงาน หมายความว่า สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ผู้อำนวยการ หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
เจ้าหน้าที่ หมายความว่า เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้าน
นายทะเบียน หมายความว่า นายทะเบียนกองทุนหมู่บ้าน หรือบุคคลซึ่งนายทะเบียนกองทุนหมู่บ้านมอบอำนาจให้ทำหน้าที่แทน
หนังสือสำคัญ หมายความว่า หลักฐานที่นายทะเบียนกองทุนหมู่บ้านออกให้กองทุนหมู่บ้านที่ได้รับการจดทะเบียนถูกต้อง
หมวด ๑
นายทะเบียนกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ
๕ ให้ผู้อำนวยการเป็นนายทะเบียนกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ
๖ ให้นายทะเบียน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑)
มอบอำนาจให้บุคคลทำหน้าที่แทนนายทะเบียน และ/หรือผู้ช่วยนายทะเบียนเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ได้ตามที่เห็นสมควร
(๒)
กำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ สถานที่ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการยื่นขอจดทะเบียนนิติบุคคลกองทุนหมู่บ้าน
(๓)
ออกประกาศ คำสั่งต่าง ๆ รวมทั้งแต่งตั้งพนักงานเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้
(๔)
รายงานผลการดำเนินการจดทะเบียนนิติบุคคลกองทุนหมู่บ้านต่อคณะกรรมการ
(๕)
ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
หมวด ๒
การยื่นคำขอจดทะเบียน
ข้อ
๗ ให้นายทะเบียนประกาศให้มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ข้อ
๘ กองทุนหมู่บ้านที่มีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียน
(๑)
กองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗
(๒)
กองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๔ และแก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ
๙ กองทุนหมู่บ้านตามข้อ ๘ (๑) ต้องยื่นขอจัดตั้งและจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้านต่อนายทะเบียนตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
กองทุนหมู่บ้านที่ได้รับการอนุมัติการจัดตั้งจากคณะกรรมการให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล
ข้อ
๑๐ กองทุนหมู่บ้านตามข้อ ๘ (๒) ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลภายในระยะเวลาที่พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ กำหนด
ข้อ
๑๑ กองทุนหมู่บ้านที่จะยื่นคำขอจดทะเบียนต้องมีคุณสมบัติ
หลักเกณฑ์ ตามที่นายทะเบียนประกาศกำหนด
ข้อ
๑๒ ให้ประธานกองทุนหมู่บ้าน หรือประธานกองทุนชุมชนเมือง
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายยื่นคำขอจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ที่นายทะเบียนกำหนด
พร้อมแนบเอกสารหลักฐานประกอบคำขอยื่นจดทะเบียนดังนี้
(๑)
ชื่อกองทุนหมู่บ้านและรหัสกองทุนหมู่บ้านที่ประสงค์จะจดทะเบียน
(๒)
สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารที่รับโอนเงินหนึ่งล้านบาท และบัญชีเงินฝากอื่น
(๓)
สำเนาระเบียบ หรือข้อบังคับของกองทุนหมู่บ้าน
(๔)
บัญชีรายชื่อคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
(๕)
บัญชีรายชื่อสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน
(๖)
สำเนาบันทึกรายงานการประชุมที่มีมติให้ขอจดทะเบียนโดยสมาชิกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้ที่เข้าร่วมประชุม
(๗)
สำเนางบดุล และงบกำไรขาดทุนปีที่ผ่านมาของกองทุนหมู่บ้านพร้อมรายละเอียด
(๘)
แผนการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านเมื่อได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
(๙)
แผนที่แสดงที่ตั้งของสำนักงานกองทุนหมู่บ้าน
นอกจากเอกสารหลักฐานประกอบคำขอจดทะเบียนดังกล่าวแล้ว
กองทุนหมู่บ้านจะต้องแนบเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมตามที่นายทะเบียนกำหนด
ข้อ
๑๓ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอจดทะเบียน ให้พิจารณาในเบื้องต้น
เมื่อเห็นว่าถูกต้องครบถ้วนให้เสนอความเห็นต่อนายทะเบียนเพื่อดำเนินการรับจดทะเบียน
หมวด ๓
การรับจดทะเบียน
ข้อ
๑๔ เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้อง
ครบถ้วนแล้วให้พิจารณาการขอจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอจดทะเบียนและให้ปิดประกาศรายชื่อกองทุนหมู่บ้าน
ที่รับจดทะเบียน ณ สำนักงานรับจดทะเบียนนั้น
กรณีนายทะเบียนตรวจพบว่าเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนไม่ถูกต้อง
ซึ่งนายทะเบียนตรวจสอบแล้วเห็นว่าเป็นการผิดพลาดที่มิใช่ในสาระสำคัญ ให้นายทะเบียนมีอำนาจแก้ไข
ข้อ
๑๕ กองทุนหมู่บ้านใดขาดเอกสารหลักฐานที่เป็นสาระสำคัญอย่างหนึ่งอย่างใดให้นายทะเบียนแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนทราบภายใน
๓๐ วัน นับแต่วันที่ตรวจพบเพื่อแก้ไขให้ครบถ้วน ถูกต้อง
ข้อ
๑๖ ให้นายทะเบียนออกหนังสือสำคัญแสดงการเป็นนิติบุคคลให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่ได้รับจดทะเบียนนั้น
ข้อ
๑๗ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เมื่อได้รับการจดทะเบียนแล้ว
เงินหนึ่งล้านบาทที่คณะกรรมการจัดสรรให้นั้นให้ถือว่าเป็นเงินของรัฐที่มอบให้กองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนชุมชนเมืองเป็นผู้บริหารจัดการ
ภายใต้ระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
บทเฉพาะกาล
ข้อ
๑๘ ก่อนครบกำหนดระยะเวลาอย่างน้อย ๑ ปี
ที่กำหนดให้กองทุนหมู่บ้านตามข้อ ๘ (๑) จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ หากพบว่ามีกองทุนหมู่บ้านใดยังไม่ยื่นขอจดทะเบียนและ/หรือไม่สามารถจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้
ให้นายทะเบียนรายงานต่อคณะกรรมการ เพื่อกำหนดแนวทางต่อไป
ข้อ
๑๙ คณะกรรมการสามารถมอบหมายให้สมาคมเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งประเทศไทย
และ/หรือสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ดำเนินการให้คำแนะนำช่วยเหลือ
ส่งเสริมและพัฒนากองทุนหมู่บ้านที่ยังไม่ยื่นขอจดทะเบียนและ/หรือไม่สามารถจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ตามแนวทางที่คณะกรรมการกำหนด
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙
สุวิทย์ คุณกิตติ
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
นันทนา/จัดทำ
๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙
สถาพร/ปรับปรุง
๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๕๙ ง/หน้า ๔๗/๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ |
477491 | ระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุม และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ และอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2549
| ระเบียบ
ระเบียบ
ว่าด้วยเบี้ยประชุม และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ
และอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดค่าเบี้ยประชุม
ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ
และอนุกรรมการ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งบัญญัติให้กำหนดค่าใช้จ่ายของกรรมการ และอนุกรรมการ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ รองนายกรัฐมนตรี
(นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) ผู้รักษาการและผู้มีอำนาจสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
แทนนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๔๔๐/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
และบันทึกสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๘ โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังจึงกำหนดระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุม
และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและอนุกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ
๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในระเบียบนี้
สำนักงาน หมายความว่า สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ประธานกรรมการ หมายความว่า ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
กรรมการ หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
คณะอนุกรรมการ หมายความว่า คณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ประธานอนุกรรมการ หมายความว่า ประธานอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติแต่งตั้ง
อนุกรรมการ หมายความว่า อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติแต่งตั้ง
ข้อ
๔ ให้ประธานกรรมการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
และมีอำนาจออกประกาศคำสั่งต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานตามระเบียบนี้
ให้ผู้ที่รักษาการตามระเบียบนี้เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดและคำวินิจฉัยนั้นให้เป็นที่สุด
ข้อ
๕ ให้ประธานกรรมการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติ
การเดินทางไปปฏิบัติงานในราชอาณาจักร
ข้อ
๖ ให้ประธานกรรมการเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติการเดินทางไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ
หมวด ๑
ค่าเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการ
ข้อ
๗ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานอนุกรรมการ
อนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ดังต่อไปนี้
(๑) ประธานกรรมการ
ครั้งละ
๓,๐๐๐ บาท เดือนละไม่เกิน ๑๒,๐๐๐ บาท
(๒) กรรมการ
ครั้งละ
๒,๐๐๐ บาท เดือนละไม่เกิน ๘,๐๐๐ บาท
(๓) ประธานอนุกรรมการ
ครั้งละ
๑,๕๐๐ บาท เดือนละไม่เกิน ๖,๐๐๐ บาท
(๔)
อนุกรรมการ ครั้งละ
๑,๐๐๐ บาท เดือนละไม่เกิน ๔,๐๐๐ บาท
ในกรณีที่ประธานกรรมการ
กรรมการ ประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยตำแหน่งมอบหมายให้ผู้ใดมาประชุมแทน
ให้เบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้ผู้มาประชุมแทน ตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง
ข้อ
๘ ให้เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการ
หรือคณะอนุกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการ หรืออนุกรรมการ แล้วแต่กรณี
และถ้ากรรมการ หรืออนุกรรมการ ผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย ให้เบิกเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว
ผู้อำนวยการและผู้ปฏิบัติงานของสำนักงาน
ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมตามระเบียบนี้
ข้อ
๙ ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานอนุกรรมการ
อนุกรรมการในคณะกรรมการคณะหนึ่ง หรืออนุกรรมการคณะหนึ่งให้ได้รับเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง
หมวด ๒
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศ
ข้อ
๑๐ การเดินทางไปปฏิบัติงานภายในจังหวัด
คือ การไปปฏิบัติงานชั่วคราวนอกที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของกรรมการ
และอนุกรรมการ
ข้อ
๑๑ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน ได้แก่
(๑)
ค่าเบี้ยเลี้ยง
(๒)
ค่าเช่าที่พัก
(๓)
ค่าพาหนะ รวมถึงค่าเช่าพาหนะ ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้างคนหามสิ่งของ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและอื่น
ๆ ทำนองเดียวกัน
(๔)
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ข้อ
๑๒ เมื่อมีการประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ
ให้กรรมการ อนุกรรมการได้รับค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พักและค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ
๑๓
ข้อ
๑๓ ในกรณีที่กรรมการ อนุกรรมการ มีความจำเป็นต้องเดินทางไปนอกจังหวัด
อันเป็นที่ตั้งสำนักงาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้ได้รับค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก
ค่าพาหนะ และค่าใช้จ่าย ในการปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้
๑๓.๑
ค่าเบี้ยเลี้ยง
(๑)
ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ ให้เบิกในลักษณะเหมาจ่ายได้วันละ
๕๐๐ บาท
(๒)
ในกรณีที่มีหน่วยงานรับผิดชอบออกค่าใช้จ่าย ค่าที่พัก และค่าอาหารให้ครบถ้วน ให้งดเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง
๑๓.๒
ค่าเช่าที่พัก
(๑)
ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ ประธานอนุกรรมการให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินวันละ
๒,๒๐๐ บาท
(๒)
กรรมการให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินวันละ ๑,๖๐๐ บาท
(๓)
อนุกรรมการให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินวันละ ๑,๐๐๐ บาท
๑๓.๓
ค่าพาหนะ
(๑)
ประธานกรรมการ กรรมการ และประธานอนุกรรมการ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง หรือหากใช้ยานพาหนะส่วนตัวให้เบิกเป็นค่าชดเชยกิโลเมตรละ
๒ บาท
(๒)
อนุกรรมการ กรณีโดยสารเครื่องบินให้เบิกในชั้นประหยัด หรือหากใช้ยานพาหนะส่วนตัวให้เบิกเป็นค่าชดเชยในอัตรากิโลเมตรละ
๒ บาท
๑๓.๔
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็น
ต้องจ่ายเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติงาน
เช่น ค่าลงทะเบียน ค่าใช้จ่ายในการสื่อสาร ฯลฯ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง
หมวด ๓
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ
ข้อ
๑๔ การเดินทางไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ
ได้แก่ การเดินทางไปนอกราชอาณาจักรเพื่อดูงาน ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ประสานงาน หรือการประชุมที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
ข้อ
๑๕ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ
ได้แก่
(๑)
ค่าเบี้ยเลี้ยง
(๒)
ค่าเช่าที่พัก
(๓)
ค่าพาหนะ
(๔)
ค่ารับรอง
(๕)
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ข้อ
๑๖ ในกรณีที่ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานอนุกรรมการ
อนุกรรมการ มีความจำเป็นต้องเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในต่างประเทศชั่วคราว ให้ได้รับค่าเบี้ยเลี้ยง
ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ ดังต่อไปนี้
๑๖.๑
ค่าเบี้ยเลี้ยง
(๑)
ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปต่างประเทศ ให้เบิกได้ตามอัตราในบัญชี ๑ ท้ายระเบียบนี้
(๒)
ในกรณีที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศโดยใช้เวลาเกินกว่า ๖๐ วัน
สำนักงานจะกำหนดอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางขึ้น ใช้ตามความเหมาะสมเป็นรายกรณี
๑๖.๒
ค่าเช่าที่พัก
การเดินทางไปปฏิบัติงานที่จำเป็นต้องพักแรม
ให้ผู้เดินทางไปปฏิบัติงาน เบิกค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินอัตราในบัญชี
๒ ท้ายระเบียบนี้
๑๖.๓
ค่าพาหนะ
การเดินทางไปปฏิบัติงานในต่างประเทศโดยเครื่องบิน
จากประเทศไทยไปยังต่างประเทศหรือจากต่างประเทศกลับประเทศไทย หรือการเดินทางในต่างประเทศให้เดินทางโดยชั้นประหยัดยกเว้นกรณีจำเป็นให้ประธานกรรมการพิจารณาเป็นกรณีไป
๑๖.๔
ค่ารับรอง
สำหรับผู้เดินทางไปปฏิบัติงานในต่างประเทศให้เบิกตามที่จ่ายจริง
หรือเหมาจ่ายตามดุลยพินิจของประธานกรรมการเป็นกรณีไป
๑๖.๕
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็น
เพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติงาน
เช่น ค่าลงทะเบียน ค่าธรรมเนียมการใช้สนามบิน ฯลฯ ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง
ประกาศ ณ วันที่ ๙ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๙
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
รองนายกรัฐมนตรี
ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชี ๑ อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงในการเดินทางไปต่างประเทศ
๒.
บัญชี ๒ อัตราค่าที่พักในการเดินทางไปต่างประเทศ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ชัชสรัญ/จัดทำ
๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
สถาพร/ปรับปรุง
๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓๒/๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ |
464600 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการคัดเลือกและแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2548
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการคัดเลือกและแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๘[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบว่าด้วยการคัดเลือกและแต่งตั้งผู้อำนวยการ
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๙ (๑๖) มาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ มาตรา ๒๓ และมาตรา ๓๑ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจึงให้ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการคัดเลือกและแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ให้ผู้รักษาการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด และคำสั่งหรือข้อวินิจฉัยของผู้รักษาการให้ถือเป็นที่สุด
ข้อ ๔ ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการคัดเลือกผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ตามมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ ขึ้นคณะหนึ่ง
เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือก คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้าม รวมทั้งการดำเนินการอื่นใดให้เป็นไปตามมาตรา
๒๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ ด้วยความเรียบร้อย
เปิดเผยและโปร่งใส
ข้อ ๕ ในการประชุมของคณะอนุกรรมการ ถ้าประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้อนุกรรมการที่มาประชุมเลือกอนุกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
อนุกรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ ๖ ให้คณะอนุกรรมการเสนอรายชื่อ พร้อมคุณสมบัติผู้เหมาะสม
และไม่มีลักษณะต้องห้ามต่อประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติพิจารณาแต่งตั้งตามมาตรา
๒๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการ
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติงาน หรือมีเหตุประการอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติแต่งตั้งบุคคลผู้เหมาะสมทำการแทนผู้อำนวยการ
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติชั่วคราว และให้ผู้ทำการแทนได้รับสิทธิและประโยชน์อื่นใดเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
พินิจ จารุสมบัติ
รองนายกรัฐมนตรี
ทำหน้าที่ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฐิติพงษ์/จัดทำ
๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
สถาพร/ปรับปรุง
๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
นฤดล/แก้ไข
๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๑
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๒๕ ง/หน้า ๑๙/๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
464598 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการประชุม และการดำเนินงานของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการและคณะทำงาน พ.ศ. 2548
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการประชุม และการดำเนินงานของคณะกรรมการ
คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน
พ.ศ. ๒๕๔๘[๑]
โดยที่เป็นการสมควรออกระเบียบว่าด้วยการประชุม
และการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ รวมทั้งคณะอนุกรรมการ
และคณะทำงาน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๙) และมาตรา ๓๑ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๗ และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจึงให้ออกระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการประชุม และการดำเนินงานของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
สำนักงาน หมายความว่า สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ประธานกรรมการ หมายความว่า ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
กรรมการ หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
คณะอนุกรรมการ หมายความว่า คณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ประธานอนุกรรมการ หมายความว่า ประธานอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติแต่งตั้ง
อนุกรรมการ หมายความว่า อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติแต่งตั้ง
คณะทำงาน หมายความว่า คณะทำงานที่แต่งตั้งโดยคณะอนุกรรมการ
ขอมติโดยวิธีเวียน หมายความว่า วิธีเสนอญัตติเพื่อขอคำวินิจฉัยชี้ขาดจากกรรมการ
อนุกรรมการหรือคณะทำงานเป็นรายบุคคลโดยไม่ต้องประชุม
ข้อ ๔ การประชุมของคณะกรรมการ อนุกรรมการ และคณะทำงานต้องมีผู้เข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคณะกรรมการ
คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานทั้งหมด นับรวมทั้งประธานด้วยจึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุม
ถ้าประธานไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือเมื่อตำแหน่งประธานว่างลง ให้รองประธานผู้มีอาวุโสตามลำดับเป็นประธานในที่ประชุม
ถ้าไม่มีรองประธานมาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการ อนุกรรมการ
หรือคณะทำงานคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุม
ให้ถือตามคะแนนเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานที่ประชุมออกเสียงเพิ่มอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ ๕ ถ้ากรณีจำเป็นเร่งด่วนอันจะต้องเสนอเพื่อการพิจารณาวินิจฉัย
และเป็นเรื่องที่ไม่มีปัญหา แต่ไม่อาจเรียกประชุมได้ทันการ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่สำนักงานฯ
ให้ผู้อำนวยการ กรณีคณะกรรมการและเลขานุการ คณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเสนอญัตติเป็นหนังสือขอมติโดยวิธีเวียน
การเสนอญัตติเพื่อขอมติโดยวิธีเวียนจะกระทำได้เมื่อได้รับอนุมัติจากประธานกรรมการ
ประธานอนุกรรมการ ประธานคณะทำงาน แล้วแต่กรณี ก่อนทุกเรื่อง ถ้าประธานไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้ขออนุมัติต่อกรรมการ อนุกรรมการ หรือคณะทำงานซึ่งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน
มีมติแต่งตั้งให้ทำการแทนประธาน
การขอมติโดยวิธีเวียนจะต้องมีเสียงพิจารณามากกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการ
คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานทั้งหมด การวินิจฉัยชี้ขาดญัตติดังกล่าวให้เป็นไปตามข้อ
๔ วรรค ๓ โดยอนุโลม
วิธีดำเนินการขอมติโดยวิธีเวียน
ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ ๖ ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นนอกเหนือจากระเบียบนี้
ให้เสนอคณะกรรมการพิจารณาเป็นคราว ๆ ไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
พินิจ จารุสมบัติ
รองนายกรัฐมนตรี
ทำหน้าที่ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ฐิติพงษ์/จัดทำ
๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
สถาพร/ปรับปรุง
๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
นฤดล/แก้ไข
๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๑
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๒๕ ง/หน้า ๑๗/๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
464596 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วย การจัดแบ่งส่วนงาน และขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนงาน พ.ศ. 2548
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วย การจัดแบ่งส่วนงาน และขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนงาน
พ.ศ. ๒๕๔๘[๑]
เพื่อให้การบริหารงานของสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๑๖) มาตรา ๒๑ มาตรา ๒๓ วรรคสี่ และมาตรา ๓๑ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจึงให้ออกระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการจัดแบ่งส่วนงาน และขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนงาน พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ประธานกรรมการ หมายความว่า ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
สำนักงาน หมายความว่า สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ข้อ ๔ ให้ประธานกรรมการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจออกคำสั่งและประกาศต่างๆ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานตามระเบียบนี้
ให้ผู้ที่รักษาการตามระเบียบนี้เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด และคำวินิจฉัยนั้นให้เป็นที่สุด
ข้อ ๕ ให้จัดส่วนงานของสำนักงาน ดังนี้
๕.๑
ฝ่ายอำนวยการ
๕.๒
ฝ่ายยุทธศาสตร์และสารสนเทศ
๕.๓
ฝ่ายสื่อสารสาธารณะ
๕.๔
ฝ่ายปฏิบัติการ
ข้อ ๖ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ภารกิจ กลยุทธ์ โครงสร้างการจัดแบ่งส่วนงานของสำนักงาน
ลักษณะโครงสร้างตำแหน่ง ลักษณะงานที่ปฏิบัติ และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง โครงสร้างอัตรากำลัง
และโครงสร้างเงินเดือน เป็นไปตามบัญชีท้ายระเบียบนี้ และเพื่อให้การดำเนินงานของสำนักงานบรรลุวัตถุประสงค์
ตามนโยบาย ให้ประธานกรรมการสามารถออกประกาศปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจัดส่วนงานได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์ในการบริหารของสำนักงาน ให้ประธานกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะที่ปรึกษา
ที่ปรึกษา และคณะทำงาน คณะหนึ่งหรือหลายคณะ เพื่อปฏิบัติงานในเรื่องใดเรื่องหนึ่งของสำนักงาน
โดยได้รับค่าตอบแทนการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
พินิจ จารุสมบัติ
รองนายกรัฐมนตรี
ทำหน้าที่ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
๒.
คำบรรยายลักษณะงาน สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
๓.
ลักษณะงานที่ปฏิบัติและคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ฐิติพงษ์/จัดทำ
๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
สถาพร/ปรับปรุง
๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
นฤดล/แก้ไข
๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๑
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๒๕ ง/หน้า ๑๕/๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
833456 | พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ล่าสุด) | พระราชบัญญัติ
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๐
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐
เป็นปีที่ ๒
ในรัชกาลปัจจุบัน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๐
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
กองทุน หมายความว่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ผู้กู้ยืมเงิน หมายความว่า
นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ได้รับเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาจากกองทุน
เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา หมายความว่า
เงินที่กองทุนจัดสรรให้ผู้กู้ยืมเงิน เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าครองชีพ
นักเรียนหรือนักศึกษา หมายความว่า
ผู้ซึ่งศึกษาอยู่ในสถานศึกษา
และให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการตอบรับให้เข้าศึกษาในสถานศึกษาด้วย
สถานศึกษา
หมายความว่า โรงเรียน สถาบันอุดมศึกษา หรือสถานศึกษาอื่นของรัฐ
โรงเรียนของเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนและสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ค่าเล่าเรียน
หมายความว่า เงินค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่สถานศึกษาเรียกเก็บจากนักเรียนหรือนักศึกษา
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา หมายความว่า
ค่าใช้จ่ายอื่นที่มิใช่ค่าเล่าเรียนที่สถานศึกษาเรียกเก็บจากนักเรียนหรือนักศึกษาตามระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่งของสถานศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
ค่าครองชีพ หมายความว่า ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีพระหว่างศึกษา
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ผู้จัดการ หมายความว่า
ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงและระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
การจัดตั้งกองทุน
มาตรา ๖ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ให้กองทุนเป็นหน่วยงานของรัฐอยู่ในกำกับดูแลของรัฐมนตรี
และมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น
กองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาด้วยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาในลักษณะต่าง
ๆ ดังต่อไปนี้
(๑)
เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
(๒)
เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลัก
ซึ่งมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
(๓)
เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือสาขาวิชาที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ
(๔) เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่เรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ
มาตรา ๗ กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน
ดังต่อไปนี้
(๑)
เงินและทรัพย์สินที่ได้รับและโอนมาตามมาตรา ๕๖
(๒)
เงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐบาลหรือเงินที่ได้รับจากการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามมาตรา
๑๐ วรรคหนึ่ง
(๓)
เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของกองทุน
(๔)
เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้แก่กองทุน
(๕)
ดอกผล รายได้ หรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
(๖)
เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดนอกจาก (๑) ถึง (๕) ที่กองทุนได้รับ
มาตรา ๘ กิจการของกองทุนไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
มาตรา ๙ กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบวัตถุประสงค์ตามมาตรา
๖ และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑)
ซื้อ จัดหา เช่า ให้เช่า ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครอง จำหน่าย ทำนิติกรรม
หรือดำเนินงานใด ๆ เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์
(๒) จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ
เก็บรักษาหลักฐานและเอกสารเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
(๓)
จัดหาผลประโยชน์จากเงินและทรัพย์สินของกองทุน
(๔)
กระทำการอื่นใดบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
มาตรา ๑๐ ให้รัฐมนตรีดำเนินการขอรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อสมทบเข้ากองทุนในแต่ละปีงบประมาณตามความจำเป็น
เงินที่กองทุนได้รับไม่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง
กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือกฎหมายอื่น
มาตรา ๑๑ เงินของกองทุนให้ใช้จ่ายได้เพื่อกิจการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
(๒)
เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของกองทุน
(๓)
เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับการจัดกิจการของกองทุน
(๔)
เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาผลประโยชน์ตามมาตรา ๑๒
มาตรา ๑๒ เงินของกองทุนให้นำไปหาผลประโยชน์ได้
โดยการฝากกับธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจหรือธนาคารพาณิชย์ หรือซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล
รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
ทรัพย์สินประเภทอื่นของกองทุนให้นำไปหาผลประโยชน์ได้ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๓ ทรัพย์สินของกองทุนที่ใช้หรือได้มาเพื่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
รวมทั้งการบังคับทางปกครองและบุคคลใดจะยกอายุความหรือระยะเวลาในการครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับกองทุนในเรื่องทรัพย์สินของกองทุนไม่ได้
หมวด ๒
คณะกรรมการ
มาตรา ๑๔[๒] ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ประกอบด้วย
(๑)
ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ
(๒)
กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวนหกคน ได้แก่ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
อธิบดีกรมบัญชีกลาง และอธิบดีกรมสรรพากร
(๓)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกินห้าคน
ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์
โดยในจำนวนนี้อย่างน้อยต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ด้านการเงินหรือการบัญชี และด้านกฎหมาย ด้านละหนึ่งคน
ให้ผู้จัดการเป็นกรรมการและเลขานุการ
และให้ผู้จัดการแต่งตั้งพนักงานของกองทุนจำนวนหนึ่งคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา ๑๕ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
(๑)
มีสัญชาติไทย
(๒)
มีอายุไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
(๓)
ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๔)
ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๕)
ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖)
ไม่เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
(๗)
ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งบริหารในพรรคการเมือง
ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(๘)
ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน
เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
(๙)
ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการดำเนินงานของกองทุนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
มาตรา ๑๖
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี
และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง
หากยังไม่ได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๑๗ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๖
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
รัฐมนตรีให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย
หรือหย่อนความสามารถ
(๔)
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๕
มาตรา ๑๘ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่าง หรือในกรณีที่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง
ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่างหรือเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
เว้นแต่วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเหลือไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนหรือเพิ่มขึ้นก็ได้
และให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่
มาตรา ๑๙ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และควบคุมดูแลกิจการของกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
(๒)
ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
(๓)
เสนอแนะต่อรัฐมนตรีในการดำเนินการขอรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อสมทบกองทุน
(๔)
พิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีสำหรับการดำเนินการและการบริหารงานของกองทุน
(๕)
กำหนดขอบเขตการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามมาตรา ๓๗
และพิจารณาอนุมัติให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาแก่นักเรียนหรือนักศึกษาเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา
(๖)
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการที่สถานศึกษาจะร่วมดำเนินงานกับกองทุนและแบบบันทึกข้อตกลงการเข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุนตามมาตรา
๓๘
(๗) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาแก่นักเรียนหรือนักศึกษา
และการชำระเงินคืนกองทุน
(๘)
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการนำเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนไปหาผลประโยชน์ตามมาตรา ๑๒
(๙)
พิจารณาเสนอแนะต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขอข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ในครอบครองของบุคคลอื่น
และเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการรับเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและการชำระเงินคืนกองทุนของผู้กู้ยืมเงิน
(๑๐) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการจ้างสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลให้ทำหน้าที่บริหารและจัดการการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ติดตามและเร่งรัดให้มีการชำระคืนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
(๑๑)
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการผ่อนผันให้ผู้กู้ยืมเงินชำระเงินคืนกองทุนลดหย่อนหนี้
หรือระงับการชำระเงินคืนกองทุนตามมาตรา ๔๔ วรรคสาม
(๑๒)
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามมาตรา ๔๙
วรรคสาม
(๑๓)
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกผู้จัดการและการทำสัญญาจ้างผู้จัดการ รวมทั้งกำหนดค่าตอบแทนหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้จัดการตามมาตรา
๓๑
(๑๔)
กำหนดมาตรการใด ๆ
ตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารกองทุนและการติดตามการชำระเงินคืนกองทุน
(๑๕)
กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การเงิน การพัสดุ การบัญชี
การตรวจสอบบัญชีและข้อบังคับอื่นที่จำเป็นในการดำเนินการและการบริหารงานของกองทุน
(๑๖)
พิจารณาผลการศึกษา วิเคราะห์
และประเมินความต้องการเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาของนักเรียนหรือนักศึกษาทั้งในปัจจุบันและอนาคตที่ผู้จัดการเสนอ
(๑๗)
ออกข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศเพื่อปฏิบัติการอื่นใดให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๑๘)
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
คณะกรรมการอาจมอบอำนาจของคณะกรรมการตาม
(๒) (๕) (๑๔) และ (๑๘) เฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขให้ผู้จัดการหรือบุคคลอื่นใดกระทำการแทนคณะกรรมการก็ได้
มาตรา ๒๐ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมของคณะกรรมการ
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน
ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๒๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใด
หรือมอบหมายให้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เห็นสมควร
มาตรา ๒๒[๓] ให้มีคณะอนุกรรมการกำกับและประเมินสถานศึกษาที่เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุน
ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานอนุกรรมการ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ผู้แทนสำนักงบประมาณ
ผู้แทนกรมบัญชีกลาง และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสามคน ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีผลงานหรือมีความรู้และความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ด้านการเงินหรือการบัญชี
ด้านกฎหมาย ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือด้านอื่น ๆ
อันเป็นประโยชน์ต่อการกำกับดูแลการดำเนินงานของสถานศึกษา เป็นอนุกรรมการ
ให้ผู้จัดการเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
และให้ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการจำนวนหนึ่งคนและพนักงานกองทุนซึ่งผู้จัดการแต่งตั้งจำนวนหนึ่งคน
เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา ๒๓ คณะอนุกรรมการกำกับและประเมินสถานศึกษาที่เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุนมีอำนาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการ
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๙ (๖)
(๒)
ติดตาม ตรวจสอบ และกำกับดูแลสถานศึกษาที่เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุน
ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา ๑๙ (๖)
และรายงานผลให้คณะกรรมการทราบ
(๓)
วิเคราะห์ปัญหาและข้อจำกัดในการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษา
พร้อมทั้งเสนอแนะมาตรการแก้ไขปัญหาต่อคณะกรรมการ
(๔)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๒๔ ให้มีคณะอนุกรรมการกำกับการชำระเงินคืนกองทุน
ประกอบด้วย อธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสามคนซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความรู้และความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ด้านการเงินหรือการบัญชี
ด้านกฎหมาย ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านแรงงาน หรือด้านอื่น ๆ
อันเป็นประโยชน์ต่อการกำกับดูแลการชำระเงินคืนกองทุน เป็นอนุกรรมการ
ให้ผู้จัดการเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
และให้ผู้จัดการแต่งตั้งพนักงานของกองทุนจำนวนหนึ่งคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา ๒๕ คณะอนุกรรมการกำกับการชำระเงินคืนกองทุน
มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการ ในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้ผู้กู้ยืมเงินชำระเงินคืนกองทุนตามมาตรา ๑๙ (๗)
(๒)
ติดตาม ตรวจสอบ และกำกับดูแลให้การชำระเงินคืนกองทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา
๑๙ (๗) และรายงานผลให้คณะกรรมการทราบ
(๓)
เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๙ (๑๑) และ
(๑๔)
(๔)
เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่ผู้จัดการในการปฏิบัติหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับการติดตามการชำระเงินคืนกองทุน
(๕)
วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุที่ผู้กู้ยืมเงินไม่ชำระเงินคืนกองทุน
พร้อมทั้งเสนอแนะมาตรการแก้ไขปัญหาต่อคณะกรรมการ
(๖)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๒๖ ให้นำคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๑๕ รวมทั้งการประชุมและการวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมตามมาตรา ๒๐
มาใช้บังคับแก่คณะอนุกรรมการตามมาตรา ๒๑
คณะอนุกรรมการกำกับและประเมินสถานศึกษาที่เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุนและคณะอนุกรรมการกำกับการชำระเงินคืนกองทุน
โดยอนุโลม
มาตรา ๒๗ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ
เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ
เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะอนุกรรมการ ซึ่งแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้
ได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
หมวด ๓
สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
มาตรา ๒๘ ให้กองทุนมีสำนักงานใหญ่เรียกว่า สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร และอาจตั้งสาขา ณ ที่อื่นใดตามความจำเป็นก็ได้
มาตรา ๒๙ สำนักงานมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ดำเนินงานต่าง ๆ
ของกองทุนและประสานงานกับส่วนราชการและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๒)
เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ
(๓)
จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของกองทุนเพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
(๔)
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๓๐ ให้กองทุนจ้างผู้จัดการคนหนึ่ง
ซึ่งมีความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารและการจัดการ รวมทั้งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
(๑)
มีสัญชาติไทย
(๒)
มีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์
(๓)
สามารถปฏิบัติงานให้แก่กองทุนได้เต็มเวลา
(๔)
ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(๕)
ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖)
ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
(๗)
ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน
เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
(๘) ไม่เป็นข้าราชการ พนักงาน
หรือลูกจ้างของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(๙)
ไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งบริหารในพรรคการเมือง
ที่ปรึกษาพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
(๑๐)
ไม่เป็นผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
หรือองค์กรอื่นใด
(๑๑)
ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับกองทุน
หรือในกิจการที่กระทำให้แก่กองทุนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
(๑๒)
ไม่เป็นผู้ถือหุ้นในสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่ได้รับการจ้างตามมาตรา ๓๓
วรรคสอง หรือในบริษัทอื่นใดที่เป็นผู้ถือหุ้นในสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลดังกล่าว
มาตรา ๓๑ การคัดเลือกผู้จัดการและการทำสัญญาจ้างผู้จัดการ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
สัญญาจ้างผู้จัดการ ให้กำหนดคราวละไม่เกินสี่ปี
และเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาจ้างแล้วคณะกรรมการจะต่ออายุสัญญาจ้างอีกครั้งหนึ่งก็ได้แต่ต้องไม่เกินสี่ปี
ในสัญญาจ้าง
ให้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
และเงื่อนไขในการทดลองปฏิบัติงานของผู้จัดการไว้ด้วย
ให้ผู้จัดการได้รับค่าจ้าง
ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๓๒ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามสัญญาจ้าง
ผู้จัดการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๐
(๔) คณะกรรมการมีมติให้เลิกจ้าง เพราะบกพร่องต่อหน้าที่
มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ
มาตรา ๓๓ ให้ผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
บริหารกิจการของกองทุนให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ รวมทั้งคำสั่ง
นโยบาย และมติของคณะกรรมการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุน
(๒) ศึกษา วิเคราะห์
และประเมินผลการดำเนินงานและการเงินของกองทุน เพื่อจัดทำแผนงาน
โครงการ แผนการดำเนินงานประจำปีของกองทุน
และแผนการเงินและงบประมาณประจำปีเสนอต่อคณะกรรมการ
(๓)
จัดทำรายงานการบัญชีและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการ
(๔)
ศึกษา วิเคราะห์
และประเมินความต้องการเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาของนักเรียนหรือนักศึกษาทั้งในปัจจุบันและอนาคตเสนอต่อคณะกรรมการ
(๕)
บริหารและจัดการการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาแก่นักเรียนหรือนักศึกษา
(๖)
ดำเนินการติดตามและเร่งรัดให้มีการชำระคืนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามสัญญาที่ผู้กู้ยืมเงินทำไว้
(๗)
ประสานงาน กำกับดูแล และติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุน
(๘)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
ตามที่คณะกรรมการหรือประธานกรรมการมอบหมาย หรือตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง
ในการดำเนินการตาม
(๕) และ (๖)
ผู้จัดการอาจจ้างสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลเพื่อให้ทำหน้าที่แทนเป็นการทั่วไป
หรือเป็นการเฉพาะเรื่องก็ได้ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๓๔ ในกิจการของกองทุนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก
ให้ผู้จัดการเป็นผู้แทนของกองทุน เพื่อการนี้
ผู้จัดการอาจมอบอำนาจให้บุคคลใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๓๕
ให้ผู้จัดการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของกองทุน
และรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการบริหารกิจการของกองทุน
เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ รวมทั้งคำสั่ง
นโยบาย และมติของคณะกรรมการ
มาตรา ๓๖ เมื่อตำแหน่งผู้จัดการว่างลงและยังไม่มีการจ้างผู้จัดการคนใหม่
หรือในกรณีที่ผู้จัดการไม่อยู่หรืออยู่แต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้รองผู้จัดการเป็นผู้รักษาการแทนผู้จัดการ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้จัดการ
ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการหรือพนักงานของกองทุนคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการแทนผู้จัดการ
ให้ผู้รักษาการแทนผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้จัดการ
หมวด ๔
การให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
มาตรา ๓๗ ก่อนเริ่มปีการศึกษาแต่ละปี
ให้คณะกรรมการประกาศกำหนดลักษณะของเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ขอบเขตการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
รวมตลอดทั้งประเภทวิชา สถานศึกษาหรือระดับชั้นการศึกษา
และหลักสูตรที่จะให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ประกาศตามวรรคหนึ่งให้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบทั่วไปโดย
(๑)
ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สำนักงาน และเผยแพร่ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน
(๒)
ส่งให้สถานศึกษา และให้สถานศึกษาที่ได้รับประกาศดังกล่าวเผยแพร่ให้ประชาชนทราบโดยทั่วไป
โดยอย่างน้อยต้องปิดประกาศไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ บริเวณสถานศึกษา
มาตรา ๓๘ สถานศึกษาที่ประสงค์จะเข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ให้ยื่นคำขอเข้าร่วมดำเนินงานต่อกองทุนตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
สถานศึกษาที่ได้รับความเห็นชอบให้เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุนตามวรรคหนึ่ง
ให้ทำบันทึกข้อตกลงกับกองทุนตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
และต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในบันทึกข้อตกลงโดยเคร่งครัด หากสถานศึกษาใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องครบถ้วน
กองทุนอาจเพิกถอนการเข้าร่วมดำเนินงานของสถานศึกษาแห่งนั้นก็ได้
มาตรา ๓๙ นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ใดจะขอกู้ยืมเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ต้องศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่ร่วมดำเนินงานกับกองทุนตามมาตรา ๓๘
และต้องมีสัญชาติไทย มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๐ นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ใดจะขอกู้ยืมเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาลักษณะใด
ให้ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการ ทั้งนี้
ตามแบบและวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๑ นักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ต้องทำสัญญากู้ยืมเงินตามแบบ
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
ในการทำสัญญากู้ยืมเงินตามวรรคหนึ่ง
คณะกรรมการจะกำหนดให้มีผู้ค้ำประกันการชำระเงินคืนกองทุนด้วยก็ได้
มาตรา ๔๒ ผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญากู้ยืมเงินโดยเคร่งครัด
เพื่อประโยชน์ในการบริหารกองทุนและการติดตามการชำระเงินคืนกองทุน
ผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้ความยินยอมในขณะทำสัญญากู้ยืมเงิน
เพื่อให้ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร
หักเงินได้พึงประเมินของตนตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบเพื่อชำระเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาคืนกองทุน
(๒)
แจ้งสถานะการเป็นผู้กู้ยืมเงินต่อหัวหน้าหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่ตนทำงานด้วยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เริ่มปฏิบัติงาน
และยินยอมให้หักเงินได้พึงประเมินของตนเพื่อดำเนินการตามมาตรา ๕๑
(๓) ยินยอมให้กองทุนเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของตนที่อยู่ในครอบครองของบุคคลอื่น
รวมทั้งยินยอมให้กองทุนเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน
และการชำระเงินคืนกองทุน
มาตรา ๔๓ ในแต่ละภาคการศึกษา
ให้ผู้กู้ยืมเงินแจ้งขอเบิกเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาต่อกองทุนโดยการลงทะเบียนเรียน จำนวนเงินค่าเล่าเรียน
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าครองชีพต้องได้รับการรับรองจากสถานศึกษา
ทั้งนี้ ตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
ให้กองทุนจ่ายค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาตามจำนวนที่ได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ให้แก่สถานศึกษาที่ผู้กู้ยืมเงินศึกษาอยู่ สำหรับค่าครองชีพให้กองทุนจ่ายเข้าบัญชีของผู้กู้ยืมเงินโดยตรง
และให้ถือว่าเงินที่จ่ายให้แก่สถานศึกษาหรือผู้กู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผู้กู้ยืมเงินต้องชำระคืนกองทุน
ให้ถือว่าจำนวนค่าเล่าเรียน
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าครองชีพตามที่ได้รับแจ้งและกองทุนได้โอนให้แก่สถานศึกษาและผู้กู้ยืมเงิน
เป็นจำนวนอันถูกต้องที่ผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่และความรับผิดต้องชดใช้เงินคืนให้แก่กองทุน
ทั้งนี้
หากมียอดเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผู้กู้ยืมเงินได้รับไปแล้ว ให้กองทุนแจ้งให้ผู้กู้ยืมเงินทราบด้วย
หมวด ๕
การชำระเงินคืนกองทุน
มาตรา ๔๔ เมื่อผู้กู้ยืมเงินสำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาแล้ว
มีหน้าที่ต้องชำระเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ได้รับไปตามสัญญากู้ยืมเงินคืนให้กองทุน
ตามจำนวน ระยะเวลา และวิธีการที่กองทุนแจ้งให้ทราบ
คณะกรรมการจะกำหนดให้เริ่มคิดดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้กู้ยืมเงินนับแต่เวลาใดภายหลังที่สำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาแล้วก็ได้
แต่อัตราดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดที่คิด ณ วันทำสัญญา
ต้องไม่เกินอัตราร้อยละเจ็ดจุดห้าต่อปี และห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยทบต้น
ในกรณีจำเป็น
ผู้จัดการอาจผ่อนผันให้ผู้กู้ยืมเงินชำระเงินคืนกองทุนแตกต่างไปจากจำนวนระยะเวลา
หรือวิธีการที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง หรือลดหย่อนหนี้ หรือระงับการชำระเงินคืนกองทุนตามที่ผู้กู้ยืมเงินร้องขอเป็นรายบุคคลหรือเป็นการทั่วไปก็ได้
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา
๑๙ (๑๑)
ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินผู้ใดผิดนัดการชำระเงินคืนกองทุน
และไม่ได้รับอนุญาตให้ผ่อนผันตามวรรคสามคณะกรรมการจะกำหนดให้ผู้กู้ยืมเงินต้องเสียเงินเพิ่มอีกไม่เกินร้อยละหนึ่งจุดห้าต่อเดือนก็ได้
มาตรา ๔๕ เพื่อประโยชน์ในการบริหารกองทุนและการติดตามการชำระเงินคืนกองทุนให้กองทุนมีอำนาจดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ขอข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ยืมเงินจากหน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนหรือบุคคลใดซึ่งเป็นผู้ครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว
(๒)
เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน และการชำระเงินคืนกองทุนของผู้กู้ยืมเงินให้แก่หน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
หรือบุคคลใดตามที่ร้องขอ
(๓)
ดำเนินการตามมาตรการต่าง ๆ ที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา ๑๙ (๑๔)
การดำเนินการตาม
(๑) และ (๒) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๔๖ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการของกองทุนตามมาตรา
๔๕ (๑) ให้หน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
หรือบุคคลใดซึ่งเป็นผู้ครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ยืมเงิน
จัดส่งข้อมูลให้กองทุนตามที่กองทุนร้องขอภายในเวลาอันสมควร
มาตรา ๔๗ ผู้กู้ยืมเงินจะชำระเงินคืนกองทุนก่อนกำหนดเวลาตามมาตรา
๔๔ หรือบอกเลิกการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือเมื่อใดก็ได้
ให้ผู้กู้ยืมเงินที่มีหนังสือแจ้งบอกเลิกการกู้ยืมเงินตามวรรคหนึ่ง
มีหน้าที่ต้องชำระคืนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ได้รับไปทั้งหมดคืนให้แก่กองทุนภายในสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันที่ได้แจ้งบอกเลิกการกู้ยืมเงิน
มาตรา ๔๘ เมื่อมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
กองทุนอาจบอกเลิกสัญญากู้ยืมเงินของผู้กู้ยืมเงินก็ได้
(๑) เมื่อปรากฏในภายหลังว่า
ผู้กู้ยืมเงินไม่มีสิทธิขอกู้ยืมเงิน ปกปิดข้อเท็จจริงอันควรแจ้งให้ทราบหรือแจ้งข้อความอันเป็นเท็จในสาระสำคัญ
(๒)
ผู้กู้ยืมเงินไม่ปฏิบัติตามสัญญากู้ยืมเงิน หรือข้อตกลงที่ให้ไว้แก่กองทุน
ให้ผู้กู้ยืมเงินที่ถูกบอกเลิกสัญญากู้ยืมเงินตามวรรคหนึ่ง
มีหน้าที่ต้องชำระคืนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ได้รับไปทั้งหมดคืนให้แก่กองทุนภายในสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการบอกเลิกสัญญา
มาตรา ๔๙ ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินถึงแก่ความตาย
ให้สัญญากู้ยืมเงิน หน้าที่
และความรับผิดที่ผู้กู้ยืมเงินมีต่อกองทุนเป็นอันระงับไป
ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินพิการหรือทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบการงานได้
ให้ผู้จัดการมีอำนาจพิจารณาสั่งระงับการเรียกให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินก็ได้
ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
ในกรณีที่ผู้ค้ำประกันถึงแก่ความตาย
การดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ค้ำประกันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๕๐ หนี้ที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้
ให้กองทุนมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของผู้กู้ยืมเงินในลำดับแรกถัดจากค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นประจำวันตามมาตรา
๒๕๓ (๔) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๕๑ ให้บุคคล คณะบุคคล
หรือนิติบุคคลทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๑)
แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักเงินได้พึงประเมินของผู้กู้ยืมเงินซึ่งเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินดังกล่าว
เพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบโดยให้นำส่งกรมสรรพากรภายในกำหนดระยะเวลานำส่งภาษีเงินได้หัก
ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
การหักเงินตามวรรคหนึ่งต้องหักให้กองทุนเป็นลำดับแรกถัดจากการหักภาษี
ณ ที่จ่ายและการหักเงินเข้ากองทุนที่ผู้กู้ยืมเงินต้องถูกหักตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
กฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
และกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม
เมื่อกรมสรรพากรได้รับเงินจากผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้นำส่งกองทุนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด
โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
ถ้าผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามวรรคหนึ่งไม่ได้หักเงินได้พึงประเมิน
หักและไม่ได้นำส่งหรือนำส่งแต่ไม่ครบตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบ
หรือหักและนำส่งเกินกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินรับผิดชดใช้เงินที่ต้องนำส่งในส่วนของผู้กู้ยืมเงินตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบและต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินยังไม่ได้นำส่งหรือตามจำนวนที่ยังขาดไป
แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
นับแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดต้องนำส่งตามวรรคหนึ่ง
ในกรณีที่ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินได้หักเงินได้พึงประเมินของผู้กู้ยืมเงินไว้แล้ว
ให้ถือว่าผู้กู้ยืมเงินได้ชำระเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามจำนวนที่ได้หักไว้แล้ว
หมวด ๖
การเงินและการบัญชี
มาตรา ๕๒ ให้คณะกรรมการจัดให้มีระบบบัญชีที่เหมาะสมเพื่อสามารถควบคุมและบริหารจัดการลูกหนี้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและจัดทำรายงานการเงินแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกองทุนได้อย่างถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
มาตรา ๕๓ การรับเงิน การจ่ายเงิน
และการเก็บรักษาเงินของกองทุน ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๕๔ กองทุนต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการเงิน
การบัญชี และการพัสดุของกองทุน ตลอดจนรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
คณะกรรมการอาจตั้งผู้สอบบัญชีรับอนุญาตซึ่งมิใช่พนักงานหรือลูกจ้างของกองทุนทำหน้าที่ตรวจสอบภายในเฉพาะเรื่อง
และให้รับผิดชอบขึ้นตรงต่อคณะกรรมการได้ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๕๕ ให้กองทุนจัดทำงบการเงินส่งผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี
ปีบัญชีของกองทุน
ให้ถือตามปีงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
ในทุกรอบปี
ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุน
แล้วทำรายงานผลการสอบบัญชีเสนอต่อรัฐมนตรีภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
ให้กองทุนโฆษณารายงานประจำปีโดยแสดงงบการเงินพร้อมกับรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี
รวมทั้งรายงานสรุปผลงานในปีที่ล่วงมาในราชกิจจานุเบกษา
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๕๖ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่
หนี้ ภาระผูกพัน พนักงาน และลูกจ้าง
และเงินงบประมาณของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑ และของกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคตตามระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่ออกตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง
พ.ศ. ๒๔๙๑
ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับไปเป็นของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕๗ ให้ผู้จัดการตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑
ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นผู้จัดการตามพระราชบัญญัตินี้
และอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งตามสัญญาจ้างเดิมหรือเพราะเหตุอื่น
มาตรา ๕๘ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาประกอบด้วยกรรมการตามมาตรา
๑๔ (๑) และ (๒) และให้ผู้จัดการตามมาตรา ๕๗ เป็นกรรมการ และเลขานุการเพื่อปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน
และให้รัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๑๔ (๓) ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ผู้จัดการตามวรรคหนึ่งแต่งตั้งพนักงานของกองทุนซึ่งโอนมาตามมาตรา
๕๖ จำนวนหนึ่งคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา ๕๙ ในวาระเริ่มแรก
ให้คณะอนุกรรมการกำกับและประเมินสถานศึกษาที่เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุนตามมาตรา
๒๒ และคณะอนุกรรมการกำกับการชำระเงินคืนกองทุนตามมาตรา ๒๔
ประกอบด้วยอนุกรรมการโดยตำแหน่ง
และให้ปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าคณะกรรมการจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้มีองค์ประกอบครบถ้วนตามมาตรา
๒๒ และมาตรา ๒๔
มาตรา ๖๐ ให้พนักงานและลูกจ้างของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑ ที่โอนมาเป็นพนักงานและลูกจ้างของกองทุนตามมาตรา
๕๖ ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้าง รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ
เท่ากับที่เคยได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อน จนกว่าจะได้บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
แต่จะให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เดิมไม่ได้
มาตรา ๖๑ ให้ถือว่าหนี้ของผู้กู้ยืมเงินตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑ และหนี้ของผู้รับทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙
ที่ออกตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. ๒๔๙๑ ที่ค้างชำระหรือยังไม่ถึงกำหนดชำระเป็นหนี้ที่ผู้กู้ยืมเงินหรือผู้รับทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนนั้น
จะต้องชดใช้คืนให้กองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๖๒ ให้ถือว่าบรรดาคำขอที่นักเรียนหรือนักศึกษาได้ยื่นขอกู้ยืมจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑ และกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคตตามระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่ออกตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง
พ.ศ. ๒๔๙๑ ที่ค้างพิจารณาอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
เป็นคำขอกู้ยืมเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๓ บรรดาคดีที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑ และกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคตตามระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่ออกตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง
พ.ศ. ๒๔๙๑ ได้ฟ้องเป็นคดีต่อศาล
ให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน
ในการนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้อาจคัดค้านเอกสารที่ได้ยื่นไว้แล้ว
ถามค้านหรือคัดค้านพยานที่สืบไปแล้วได้
ในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับคดีตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น
มาตรา ๖๔ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑ และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ.
๒๕๔๙ ที่ออกตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. ๒๔๙๑
ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
จนกว่าจะได้มีการออกกฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑ และกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคตตามระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙
ที่ออกตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. ๒๔๙๑ มีการบริหารจัดการและการดำเนินการที่มีข้อจำกัด
และไม่สอดคล้องกับนโยบายการผลิตกำลังคนและการพัฒนาประเทศ สมควรบูรณาการการบริหารจัดการและการดำเนินการของทั้งสองกองทุนดังกล่าวให้เป็นเอกภาพอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน
และเพิ่มมาตรการในการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๒[๔]
มาตรา ๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๑๖ บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
ประกาศ คำสั่ง และมติของคณะรัฐมนตรีใดที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
อ้างถึง กระทรวงศึกษาธิการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือผู้ดำรงตำแหน่ง
หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในกระทรวงศึกษาธิการ หากเกี่ยวกับการอุดมศึกษาหรือการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา
ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ให้ถือว่าบทบัญญัตินั้นอ้างถึง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
หรือผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี
ให้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของสภาหรือคณะกรรมการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโอนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นส่วนราชการตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง เพื่อให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่และการเปลี่ยนแปลงผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในบัญชี ๔ ท้ายพระราชบัญญัตินี้
ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองไม่ใช้บังคับแก่สถาบันการอาชีวศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา
มาตรา ๑๗ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญเติบโตอย่างมั่นคง
มั่งคั่ง และยั่งยืน เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของโลกที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สมควรจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมขึ้น เพื่อให้มีการบูรณาการ การเรียนการสอน การวิจัย และการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี และศาสตร์อื่นเข้าด้วยกัน และให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยในทิศทางที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
แผน และนโยบายในการพัฒนาประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พรวิภา/ปริยานุช/จัดทำ
๓๐
มกราคม ๒๕๖๐
ปริญสินีย์/ตรวจ
๓๑
มกราคม ๒๕๖๐
ชญานิศ/เพิ่มเติม
๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒
วิชพงษ์/ตรวจ
๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๒ ก/หน้า ๑/๒๗ มกราคม ๒๕๖๐
[๒] มาตรา ๑๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๓] มาตรา ๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๕๗ ก/หน้า ๑/๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒ |
767396 | พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 | พระราชบัญญัติ
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๐
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐
เป็นปีที่ ๒
ในรัชกาลปัจจุบัน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๐
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
กองทุน หมายความว่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ผู้กู้ยืมเงิน หมายความว่า
นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ได้รับเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาจากกองทุน
เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา หมายความว่า
เงินที่กองทุนจัดสรรให้ผู้กู้ยืมเงิน เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าครองชีพ
นักเรียนหรือนักศึกษา หมายความว่า
ผู้ซึ่งศึกษาอยู่ในสถานศึกษา
และให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการตอบรับให้เข้าศึกษาในสถานศึกษาด้วย
สถานศึกษา
หมายความว่า โรงเรียน สถาบันอุดมศึกษา หรือสถานศึกษาอื่นของรัฐ
โรงเรียนของเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนและสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ค่าเล่าเรียน
หมายความว่า เงินค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่สถานศึกษาเรียกเก็บจากนักเรียนหรือนักศึกษา
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา หมายความว่า
ค่าใช้จ่ายอื่นที่มิใช่ค่าเล่าเรียนที่สถานศึกษาเรียกเก็บจากนักเรียนหรือนักศึกษาตามระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่งของสถานศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
ค่าครองชีพ หมายความว่า ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีพระหว่างศึกษา
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ผู้จัดการ หมายความว่า
ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงและระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
การจัดตั้งกองทุน
มาตรา ๖ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ให้กองทุนเป็นหน่วยงานของรัฐอยู่ในกำกับดูแลของรัฐมนตรี
และมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น
กองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาด้วยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาในลักษณะต่าง
ๆ ดังต่อไปนี้
(๑)
เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
(๒)
เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลัก
ซึ่งมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
(๓)
เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือสาขาวิชาที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ
(๔) เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่เรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ
มาตรา ๗ กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน
ดังต่อไปนี้
(๑)
เงินและทรัพย์สินที่ได้รับและโอนมาตามมาตรา ๕๖
(๒)
เงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐบาลหรือเงินที่ได้รับจากการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามมาตรา
๑๐ วรรคหนึ่ง
(๓)
เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของกองทุน
(๔)
เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้แก่กองทุน
(๕)
ดอกผล รายได้ หรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
(๖)
เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดนอกจาก (๑) ถึง (๕) ที่กองทุนได้รับ
มาตรา ๘ กิจการของกองทุนไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
มาตรา ๙ กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบวัตถุประสงค์ตามมาตรา
๖ และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑)
ซื้อ จัดหา เช่า ให้เช่า ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครอง จำหน่าย ทำนิติกรรม
หรือดำเนินงานใด ๆ เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์
(๒) จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ
เก็บรักษาหลักฐานและเอกสารเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
(๓)
จัดหาผลประโยชน์จากเงินและทรัพย์สินของกองทุน
(๔)
กระทำการอื่นใดบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
มาตรา ๑๐ ให้รัฐมนตรีดำเนินการขอรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อสมทบเข้ากองทุนในแต่ละปีงบประมาณตามความจำเป็น
เงินที่กองทุนได้รับไม่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง
กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือกฎหมายอื่น
มาตรา ๑๑ เงินของกองทุนให้ใช้จ่ายได้เพื่อกิจการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
(๒)
เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของกองทุน
(๓)
เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับการจัดกิจการของกองทุน
(๔)
เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาผลประโยชน์ตามมาตรา ๑๒
มาตรา ๑๒ เงินของกองทุนให้นำไปหาผลประโยชน์ได้
โดยการฝากกับธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจหรือธนาคารพาณิชย์ หรือซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล
รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
ทรัพย์สินประเภทอื่นของกองทุนให้นำไปหาผลประโยชน์ได้ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๓ ทรัพย์สินของกองทุนที่ใช้หรือได้มาเพื่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
รวมทั้งการบังคับทางปกครองและบุคคลใดจะยกอายุความหรือระยะเวลาในการครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับกองทุนในเรื่องทรัพย์สินของกองทุนไม่ได้
หมวด ๒
คณะกรรมการ
มาตรา ๑๔ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ประกอบด้วย
(๑)
ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ
(๒)
กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวนห้าคน ได้แก่ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
อธิบดีกรมบัญชีกลาง และอธิบดีกรมสรรพากร
(๓)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกินห้าคน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์
โดยในจำนวนนี้อย่างน้อยต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการเงินหรือการบัญชี
และด้านกฎหมาย ด้านละหนึ่งคน
ให้ผู้จัดการเป็นกรรมการและเลขานุการ
และให้ผู้จัดการแต่งตั้งพนักงานของกองทุนจำนวนหนึ่งคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา ๑๕ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
(๑)
มีสัญชาติไทย
(๒)
มีอายุไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
(๓)
ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๔)
ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๕)
ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖)
ไม่เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
(๗)
ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งบริหารในพรรคการเมือง
ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(๘)
ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน
เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
(๙)
ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการดำเนินงานของกองทุนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
มาตรา ๑๖ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี
และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง
หากยังไม่ได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๑๗ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๖
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
รัฐมนตรีให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ
(๔)
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๕
มาตรา ๑๘ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่าง
หรือในกรณีที่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง
ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่างหรือเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
เว้นแต่วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเหลือไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนหรือเพิ่มขึ้นก็ได้
และให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่
มาตรา ๑๙ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และควบคุมดูแลกิจการของกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
(๒)
ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
(๓)
เสนอแนะต่อรัฐมนตรีในการดำเนินการขอรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อสมทบกองทุน
(๔)
พิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีสำหรับการดำเนินการและการบริหารงานของกองทุน
(๕)
กำหนดขอบเขตการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามมาตรา ๓๗
และพิจารณาอนุมัติให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาแก่นักเรียนหรือนักศึกษาเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา
(๖)
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการที่สถานศึกษาจะร่วมดำเนินงานกับกองทุนและแบบบันทึกข้อตกลงการเข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุนตามมาตรา
๓๘
(๗) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาแก่นักเรียนหรือนักศึกษา
และการชำระเงินคืนกองทุน
(๘)
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการนำเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนไปหาผลประโยชน์ตามมาตรา ๑๒
(๙)
พิจารณาเสนอแนะต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขอข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ในครอบครองของบุคคลอื่น
และเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการรับเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและการชำระเงินคืนกองทุนของผู้กู้ยืมเงิน
(๑๐) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ้างสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลให้ทำหน้าที่บริหารและจัดการการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ติดตามและเร่งรัดให้มีการชำระคืนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
(๑๑)
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการผ่อนผันให้ผู้กู้ยืมเงินชำระเงินคืนกองทุนลดหย่อนหนี้
หรือระงับการชำระเงินคืนกองทุนตามมาตรา ๔๔ วรรคสาม
(๑๒)
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามมาตรา ๔๙
วรรคสาม
(๑๓)
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกผู้จัดการและการทำสัญญาจ้างผู้จัดการ
รวมทั้งกำหนดค่าตอบแทนหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้จัดการตามมาตรา ๓๑
(๑๔)
กำหนดมาตรการใด ๆ
ตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารกองทุนและการติดตามการชำระเงินคืนกองทุน
(๑๕)
กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การเงิน การพัสดุ การบัญชี
การตรวจสอบบัญชีและข้อบังคับอื่นที่จำเป็นในการดำเนินการและการบริหารงานของกองทุน
(๑๖)
พิจารณาผลการศึกษา วิเคราะห์
และประเมินความต้องการเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาของนักเรียนหรือนักศึกษาทั้งในปัจจุบันและอนาคตที่ผู้จัดการเสนอ
(๑๗)
ออกข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศเพื่อปฏิบัติการอื่นใดให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๑๘)
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
คณะกรรมการอาจมอบอำนาจของคณะกรรมการตาม
(๒) (๕) (๑๔) และ (๑๘) เฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขให้ผู้จัดการหรือบุคคลอื่นใดกระทำการแทนคณะกรรมการก็ได้
มาตรา ๒๐ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมของคณะกรรมการ
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน
ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๒๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใด
หรือมอบหมายให้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เห็นสมควร
มาตรา ๒๒ ให้มีคณะอนุกรรมการกำกับและประเมินสถานศึกษาที่เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุน
ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานอนุกรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ผู้แทนสำนักงบประมาณ
ผู้แทนกรมบัญชีกลาง และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสามคน
ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีผลงานหรือมีความรู้และความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ด้านการเงินหรือการบัญชี
ด้านกฎหมาย ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือด้านอื่น ๆ
อันเป็นประโยชน์ต่อการกำกับดูแลการดำเนินงานของสถานศึกษาเป็นอนุกรรมการ
ให้ผู้จัดการเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
และให้ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการจำนวนหนึ่งคนและพนักงานกองทุนซึ่งผู้จัดการแต่งตั้งจำนวนหนึ่งคน
เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา ๒๓ คณะอนุกรรมการกำกับและประเมินสถานศึกษาที่เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุนมีอำนาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๑๙ (๖)
(๒)
ติดตาม ตรวจสอบ และกำกับดูแลสถานศึกษาที่เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุน
ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา ๑๙ (๖)
และรายงานผลให้คณะกรรมการทราบ
(๓)
วิเคราะห์ปัญหาและข้อจำกัดในการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษา พร้อมทั้งเสนอแนะมาตรการแก้ไขปัญหาต่อคณะกรรมการ
(๔)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๒๔ ให้มีคณะอนุกรรมการกำกับการชำระเงินคืนกองทุน
ประกอบด้วย อธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสามคนซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความรู้และความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ด้านการเงินหรือการบัญชี
ด้านกฎหมาย ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านแรงงาน หรือด้านอื่น ๆ
อันเป็นประโยชน์ต่อการกำกับดูแลการชำระเงินคืนกองทุน เป็นอนุกรรมการ
ให้ผู้จัดการเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
และให้ผู้จัดการแต่งตั้งพนักงานของกองทุนจำนวนหนึ่งคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา ๒๕ คณะอนุกรรมการกำกับการชำระเงินคืนกองทุน
มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการ ในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้ผู้กู้ยืมเงินชำระเงินคืนกองทุนตามมาตรา ๑๙ (๗)
(๒)
ติดตาม ตรวจสอบ และกำกับดูแลให้การชำระเงินคืนกองทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา ๑๙ (๗) และรายงานผลให้คณะกรรมการทราบ
(๓) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๑๙ (๑๑)
และ (๑๔)
(๔)
เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่ผู้จัดการในการปฏิบัติหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับการติดตามการชำระเงินคืนกองทุน
(๕)
วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุที่ผู้กู้ยืมเงินไม่ชำระเงินคืนกองทุน พร้อมทั้งเสนอแนะมาตรการแก้ไขปัญหาต่อคณะกรรมการ
(๖)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๒๖ ให้นำคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๑๕ รวมทั้งการประชุมและการวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมตามมาตรา ๒๐
มาใช้บังคับแก่คณะอนุกรรมการตามมาตรา ๒๑
คณะอนุกรรมการกำกับและประเมินสถานศึกษาที่เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุนและคณะอนุกรรมการกำกับการชำระเงินคืนกองทุน
โดยอนุโลม
มาตรา ๒๗ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ
เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ
เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะอนุกรรมการ ซึ่งแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้
ได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
หมวด ๓
สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
มาตรา ๒๘ ให้กองทุนมีสำนักงานใหญ่เรียกว่า สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร และอาจตั้งสาขา ณ ที่อื่นใดตามความจำเป็นก็ได้
มาตรา ๒๙ สำนักงานมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ดำเนินงานต่าง ๆ
ของกองทุนและประสานงานกับส่วนราชการและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๒)
เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ
(๓) จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของกองทุนเพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
(๔)
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๓๐ ให้กองทุนจ้างผู้จัดการคนหนึ่ง
ซึ่งมีความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารและการจัดการ
รวมทั้งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑)
มีสัญชาติไทย
(๒)
มีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์
(๓)
สามารถปฏิบัติงานให้แก่กองทุนได้เต็มเวลา
(๔)
ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(๕)
ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖)
ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
(๗)
ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน
เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
(๘) ไม่เป็นข้าราชการ พนักงาน
หรือลูกจ้างของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(๙)
ไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งบริหารในพรรคการเมือง
ที่ปรึกษาพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
(๑๐)
ไม่เป็นผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
หรือองค์กรอื่นใด
(๑๑)
ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับกองทุน
หรือในกิจการที่กระทำให้แก่กองทุนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
(๑๒)
ไม่เป็นผู้ถือหุ้นในสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่ได้รับการจ้างตามมาตรา ๓๓
วรรคสอง หรือในบริษัทอื่นใดที่เป็นผู้ถือหุ้นในสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลดังกล่าว
มาตรา ๓๑ การคัดเลือกผู้จัดการและการทำสัญญาจ้างผู้จัดการ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
สัญญาจ้างผู้จัดการ ให้กำหนดคราวละไม่เกินสี่ปี และเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาจ้างแล้วคณะกรรมการจะต่ออายุสัญญาจ้างอีกครั้งหนึ่งก็ได้แต่ต้องไม่เกินสี่ปี
ในสัญญาจ้าง
ให้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
และเงื่อนไขในการทดลองปฏิบัติงานของผู้จัดการไว้ด้วย
ให้ผู้จัดการได้รับค่าจ้าง
ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๓๒ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามสัญญาจ้าง
ผู้จัดการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๐
(๔) คณะกรรมการมีมติให้เลิกจ้าง เพราะบกพร่องต่อหน้าที่
มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ
มาตรา ๓๓ ให้ผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
บริหารกิจการของกองทุนให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ รวมทั้งคำสั่ง
นโยบาย และมติของคณะกรรมการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุน
(๒) ศึกษา วิเคราะห์ และประเมินผลการดำเนินงานและการเงินของกองทุน
เพื่อจัดทำแผนงาน
โครงการ แผนการดำเนินงานประจำปีของกองทุน
และแผนการเงินและงบประมาณประจำปีเสนอต่อคณะกรรมการ
(๓)
จัดทำรายงานการบัญชีและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการ
(๔)
ศึกษา วิเคราะห์ และประเมินความต้องการเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาของนักเรียนหรือนักศึกษาทั้งในปัจจุบันและอนาคตเสนอต่อคณะกรรมการ
(๕)
บริหารและจัดการการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาแก่นักเรียนหรือนักศึกษา
(๖)
ดำเนินการติดตามและเร่งรัดให้มีการชำระคืนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามสัญญาที่ผู้กู้ยืมเงินทำไว้
(๗)
ประสานงาน กำกับดูแล
และติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุน
(๘)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
ตามที่คณะกรรมการหรือประธานกรรมการมอบหมาย หรือตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง
ในการดำเนินการตาม
(๕) และ (๖) ผู้จัดการอาจจ้างสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลเพื่อให้ทำหน้าที่แทนเป็นการทั่วไป
หรือเป็นการเฉพาะเรื่องก็ได้ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๓๔ ในกิจการของกองทุนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก
ให้ผู้จัดการเป็นผู้แทนของกองทุน เพื่อการนี้
ผู้จัดการอาจมอบอำนาจให้บุคคลใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๓๕
ให้ผู้จัดการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของกองทุน
และรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการบริหารกิจการของกองทุน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ รวมทั้งคำสั่ง นโยบาย และมติของคณะกรรมการ
มาตรา ๓๖ เมื่อตำแหน่งผู้จัดการว่างลงและยังไม่มีการจ้างผู้จัดการคนใหม่
หรือในกรณีที่ผู้จัดการไม่อยู่หรืออยู่แต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้รองผู้จัดการเป็นผู้รักษาการแทนผู้จัดการ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้จัดการ
ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการหรือพนักงานของกองทุนคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการแทนผู้จัดการ
ให้ผู้รักษาการแทนผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้จัดการ
หมวด ๔
การให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
มาตรา ๓๗ ก่อนเริ่มปีการศึกษาแต่ละปี
ให้คณะกรรมการประกาศกำหนดลักษณะของเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ขอบเขตการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา รวมตลอดทั้งประเภทวิชา
สถานศึกษาหรือระดับชั้นการศึกษา และหลักสูตรที่จะให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ประกาศตามวรรคหนึ่งให้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบทั่วไปโดย
(๑)
ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สำนักงาน และเผยแพร่ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน
(๒)
ส่งให้สถานศึกษา
และให้สถานศึกษาที่ได้รับประกาศดังกล่าวเผยแพร่ให้ประชาชนทราบโดยทั่วไป
โดยอย่างน้อยต้องปิดประกาศไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ บริเวณสถานศึกษา
มาตรา ๓๘ สถานศึกษาที่ประสงค์จะเข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ให้ยื่นคำขอเข้าร่วมดำเนินงานต่อกองทุนตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
สถานศึกษาที่ได้รับความเห็นชอบให้เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุนตามวรรคหนึ่ง
ให้ทำบันทึกข้อตกลงกับกองทุนตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
และต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในบันทึกข้อตกลงโดยเคร่งครัด
หากสถานศึกษาใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องครบถ้วน
กองทุนอาจเพิกถอนการเข้าร่วมดำเนินงานของสถานศึกษาแห่งนั้นก็ได้
มาตรา ๓๙ นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ใดจะขอกู้ยืมเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ต้องศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่ร่วมดำเนินงานกับกองทุนตามมาตรา ๓๘
และต้องมีสัญชาติไทย มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๐ นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ใดจะขอกู้ยืมเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาลักษณะใด
ให้ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการ ทั้งนี้
ตามแบบและวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๑ นักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ต้องทำสัญญากู้ยืมเงินตามแบบ
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
ในการทำสัญญากู้ยืมเงินตามวรรคหนึ่ง
คณะกรรมการจะกำหนดให้มีผู้ค้ำประกันการชำระเงินคืนกองทุนด้วยก็ได้
มาตรา ๔๒ ผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญากู้ยืมเงินโดยเคร่งครัด
เพื่อประโยชน์ในการบริหารกองทุนและการติดตามการชำระเงินคืนกองทุน
ผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้ความยินยอมในขณะทำสัญญากู้ยืมเงิน
เพื่อให้ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร
หักเงินได้พึงประเมินของตนตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบเพื่อชำระเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาคืนกองทุน
(๒)
แจ้งสถานะการเป็นผู้กู้ยืมเงินต่อหัวหน้าหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่ตนทำงานด้วยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เริ่มปฏิบัติงาน
และยินยอมให้หักเงินได้พึงประเมินของตนเพื่อดำเนินการตามมาตรา ๕๑
(๓)
ยินยอมให้กองทุนเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของตนที่อยู่ในครอบครองของบุคคลอื่น
รวมทั้งยินยอมให้กองทุนเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน และการชำระเงินคืนกองทุน
มาตรา ๔๓ ในแต่ละภาคการศึกษา
ให้ผู้กู้ยืมเงินแจ้งขอเบิกเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาต่อกองทุนโดยการลงทะเบียนเรียน จำนวนเงินค่าเล่าเรียน
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าครองชีพต้องได้รับการรับรองจากสถานศึกษา
ทั้งนี้ ตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
ให้กองทุนจ่ายค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาตามจำนวนที่ได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ให้แก่สถานศึกษาที่ผู้กู้ยืมเงินศึกษาอยู่
สำหรับค่าครองชีพให้กองทุนจ่ายเข้าบัญชีของผู้กู้ยืมเงินโดยตรง
และให้ถือว่าเงินที่จ่ายให้แก่สถานศึกษาหรือผู้กู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผู้กู้ยืมเงินต้องชำระคืนกองทุน
ให้ถือว่าจำนวนค่าเล่าเรียน
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
และค่าครองชีพตามที่ได้รับแจ้งและกองทุนได้โอนให้แก่สถานศึกษาและผู้กู้ยืมเงิน
เป็นจำนวนอันถูกต้องที่ผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่และความรับผิดต้องชดใช้เงินคืนให้แก่กองทุน
ทั้งนี้
หากมียอดเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผู้กู้ยืมเงินได้รับไปแล้ว
ให้กองทุนแจ้งให้ผู้กู้ยืมเงินทราบด้วย
หมวด ๕
การชำระเงินคืนกองทุน
มาตรา ๔๔ เมื่อผู้กู้ยืมเงินสำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาแล้ว
มีหน้าที่ต้องชำระเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ได้รับไปตามสัญญากู้ยืมเงินคืนให้กองทุน
ตามจำนวน ระยะเวลา และวิธีการที่กองทุนแจ้งให้ทราบ
คณะกรรมการจะกำหนดให้เริ่มคิดดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้กู้ยืมเงินนับแต่เวลาใดภายหลังที่สำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาแล้วก็ได้
แต่อัตราดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดที่คิด ณ วันทำสัญญา
ต้องไม่เกินอัตราร้อยละเจ็ดจุดห้าต่อปี และห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยทบต้น
ในกรณีจำเป็น
ผู้จัดการอาจผ่อนผันให้ผู้กู้ยืมเงินชำระเงินคืนกองทุนแตกต่างไปจากจำนวนระยะเวลา
หรือวิธีการที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง หรือลดหย่อนหนี้ หรือระงับการชำระเงินคืนกองทุนตามที่ผู้กู้ยืมเงินร้องขอเป็นรายบุคคลหรือเป็นการทั่วไปก็ได้
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา
๑๙ (๑๑)
ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินผู้ใดผิดนัดการชำระเงินคืนกองทุน
และไม่ได้รับอนุญาตให้ผ่อนผันตามวรรคสามคณะกรรมการจะกำหนดให้ผู้กู้ยืมเงินต้องเสียเงินเพิ่มอีกไม่เกินร้อยละหนึ่งจุดห้าต่อเดือนก็ได้
มาตรา ๔๕ เพื่อประโยชน์ในการบริหารกองทุนและการติดตามการชำระเงินคืนกองทุนให้กองทุนมีอำนาจดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ขอข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ยืมเงินจากหน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนหรือบุคคลใดซึ่งเป็นผู้ครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว
(๒)
เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน
และการชำระเงินคืนกองทุนของผู้กู้ยืมเงินให้แก่หน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
หรือบุคคลใดตามที่ร้องขอ
(๓)
ดำเนินการตามมาตรการต่าง ๆ ที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา ๑๙ (๑๔)
การดำเนินการตาม
(๑) และ (๒) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๔๖ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการของกองทุนตามมาตรา
๔๕ (๑) ให้หน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน หรือบุคคลใดซึ่งเป็นผู้ครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ยืมเงิน
จัดส่งข้อมูลให้กองทุนตามที่กองทุนร้องขอภายในเวลาอันสมควร
มาตรา ๔๗ ผู้กู้ยืมเงินจะชำระเงินคืนกองทุนก่อนกำหนดเวลาตามมาตรา
๔๔ หรือบอกเลิกการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือเมื่อใดก็ได้
ให้ผู้กู้ยืมเงินที่มีหนังสือแจ้งบอกเลิกการกู้ยืมเงินตามวรรคหนึ่ง
มีหน้าที่ต้องชำระคืนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ได้รับไปทั้งหมดคืนให้แก่กองทุนภายในสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันที่ได้แจ้งบอกเลิกการกู้ยืมเงิน
มาตรา ๔๘ เมื่อมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
กองทุนอาจบอกเลิกสัญญากู้ยืมเงินของผู้กู้ยืมเงินก็ได้
(๑) เมื่อปรากฏในภายหลังว่า
ผู้กู้ยืมเงินไม่มีสิทธิขอกู้ยืมเงิน ปกปิดข้อเท็จจริงอันควรแจ้งให้ทราบหรือแจ้งข้อความอันเป็นเท็จในสาระสำคัญ
(๒)
ผู้กู้ยืมเงินไม่ปฏิบัติตามสัญญากู้ยืมเงิน หรือข้อตกลงที่ให้ไว้แก่กองทุน
ให้ผู้กู้ยืมเงินที่ถูกบอกเลิกสัญญากู้ยืมเงินตามวรรคหนึ่ง
มีหน้าที่ต้องชำระคืนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ได้รับไปทั้งหมดคืนให้แก่กองทุนภายในสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการบอกเลิกสัญญา
มาตรา ๔๙ ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินถึงแก่ความตาย
ให้สัญญากู้ยืมเงิน หน้าที่ และความรับผิดที่ผู้กู้ยืมเงินมีต่อกองทุนเป็นอันระงับไป
ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินพิการหรือทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบการงานได้
ให้ผู้จัดการมีอำนาจพิจารณาสั่งระงับการเรียกให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินก็ได้
ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
ในกรณีที่ผู้ค้ำประกันถึงแก่ความตาย
การดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ค้ำประกันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๕๐ หนี้ที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้
ให้กองทุนมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของผู้กู้ยืมเงินในลำดับแรกถัดจากค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นประจำวันตามมาตรา
๒๕๓ (๔) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๕๑ ให้บุคคล คณะบุคคล
หรือนิติบุคคลทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๑)
แห่งประมวลรัษฎากร
มีหน้าที่หักเงินได้พึงประเมินของผู้กู้ยืมเงินซึ่งเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินดังกล่าว
เพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบโดยให้นำส่งกรมสรรพากรภายในกำหนดระยะเวลานำส่งภาษีเงินได้หัก
ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
การหักเงินตามวรรคหนึ่งต้องหักให้กองทุนเป็นลำดับแรกถัดจากการหักภาษี
ณ ที่จ่ายและการหักเงินเข้ากองทุนที่ผู้กู้ยืมเงินต้องถูกหักตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
กฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
และกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม
เมื่อกรมสรรพากรได้รับเงินจากผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้นำส่งกองทุนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด
โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
ถ้าผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามวรรคหนึ่งไม่ได้หักเงินได้พึงประเมิน
หักและไม่ได้นำส่งหรือนำส่งแต่ไม่ครบตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบ หรือหักและนำส่งเกินกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินรับผิดชดใช้เงินที่ต้องนำส่งในส่วนของผู้กู้ยืมเงินตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบและต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินยังไม่ได้นำส่งหรือตามจำนวนที่ยังขาดไป
แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
นับแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดต้องนำส่งตามวรรคหนึ่ง
ในกรณีที่ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินได้หักเงินได้พึงประเมินของผู้กู้ยืมเงินไว้แล้ว
ให้ถือว่าผู้กู้ยืมเงินได้ชำระเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามจำนวนที่ได้หักไว้แล้ว
หมวด ๖
การเงินและการบัญชี
มาตรา ๕๒ ให้คณะกรรมการจัดให้มีระบบบัญชีที่เหมาะสมเพื่อสามารถควบคุมและบริหารจัดการลูกหนี้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและจัดทำรายงานการเงินแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกองทุนได้อย่างถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
มาตรา ๕๓ การรับเงิน การจ่ายเงิน
และการเก็บรักษาเงินของกองทุน ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๕๔ กองทุนต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการเงิน
การบัญชี และการพัสดุของกองทุน
ตลอดจนรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
คณะกรรมการอาจตั้งผู้สอบบัญชีรับอนุญาตซึ่งมิใช่พนักงานหรือลูกจ้างของกองทุนทำหน้าที่ตรวจสอบภายในเฉพาะเรื่อง
และให้รับผิดชอบขึ้นตรงต่อคณะกรรมการได้ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๕๕ ให้กองทุนจัดทำงบการเงินส่งผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี
ปีบัญชีของกองทุน
ให้ถือตามปีงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
ในทุกรอบปี
ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุน
แล้วทำรายงานผลการสอบบัญชีเสนอต่อรัฐมนตรีภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
ให้กองทุนโฆษณารายงานประจำปีโดยแสดงงบการเงินพร้อมกับรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี
รวมทั้งรายงานสรุปผลงานในปีที่ล่วงมาในราชกิจจานุเบกษา
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๕๖ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่
หนี้ ภาระผูกพัน พนักงาน และลูกจ้าง และเงินงบประมาณของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑
และของกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคตตามระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่ออกตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง
พ.ศ. ๒๔๙๑
ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับไปเป็นของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕๗ ให้ผู้จัดการตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑
ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นผู้จัดการตามพระราชบัญญัตินี้
และอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งตามสัญญาจ้างเดิมหรือเพราะเหตุอื่น
มาตรา ๕๘ ในวาระเริ่มแรก
ให้คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาประกอบด้วยกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๑)
และ (๒) และให้ผู้จัดการตามมาตรา ๕๗ เป็นกรรมการ และเลขานุการเพื่อปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน
และให้รัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๑๔ (๓) ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ผู้จัดการตามวรรคหนึ่งแต่งตั้งพนักงานของกองทุนซึ่งโอนมาตามมาตรา
๕๖ จำนวนหนึ่งคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา ๕๙ ในวาระเริ่มแรก
ให้คณะอนุกรรมการกำกับและประเมินสถานศึกษาที่เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุนตามมาตรา
๒๒ และคณะอนุกรรมการกำกับการชำระเงินคืนกองทุนตามมาตรา ๒๔
ประกอบด้วยอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และให้ปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าคณะกรรมการจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้มีองค์ประกอบครบถ้วนตามมาตรา
๒๒ และมาตรา ๒๔
มาตรา ๖๐ ให้พนักงานและลูกจ้างของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑ ที่โอนมาเป็นพนักงานและลูกจ้างของกองทุนตามมาตรา
๕๖ ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้าง รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ
เท่ากับที่เคยได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อน
จนกว่าจะได้บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
แต่จะให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เดิมไม่ได้
มาตรา ๖๑ ให้ถือว่าหนี้ของผู้กู้ยืมเงินตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑ และหนี้ของผู้รับทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙
ที่ออกตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. ๒๔๙๑ ที่ค้างชำระหรือยังไม่ถึงกำหนดชำระเป็นหนี้ที่ผู้กู้ยืมเงินหรือผู้รับทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนนั้น
จะต้องชดใช้คืนให้กองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๖๒ ให้ถือว่าบรรดาคำขอที่นักเรียนหรือนักศึกษาได้ยื่นขอกู้ยืมจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑
และกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคตตามระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่ออกตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง
พ.ศ. ๒๔๙๑ ที่ค้างพิจารณาอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
เป็นคำขอกู้ยืมเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้
และให้ดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๓ บรรดาคดีที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑
และกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคตตามระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่ออกตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง
พ.ศ. ๒๔๙๑ ได้ฟ้องเป็นคดีต่อศาล ให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน
ในการนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้อาจคัดค้านเอกสารที่ได้ยื่นไว้แล้ว
ถามค้านหรือคัดค้านพยานที่สืบไปแล้วได้
ในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับคดีตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น
มาตรา ๖๔ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ
และประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑
และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙
ที่ออกตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. ๒๔๙๑
ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
จนกว่าจะได้มีการออกกฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑ และกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคตตามระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙
ที่ออกตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. ๒๔๙๑
มีการบริหารจัดการและการดำเนินการที่มีข้อจำกัด
และไม่สอดคล้องกับนโยบายการผลิตกำลังคนและการพัฒนาประเทศ สมควรบูรณาการการบริหารจัดการและการดำเนินการของทั้งสองกองทุนดังกล่าวให้เป็นเอกภาพอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน
และเพิ่มมาตรการในการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พรวิภา/ปริยานุช/จัดทำ
๓๐
มกราคม ๒๕๖๐
ปริญสินีย์/ตรวจ
๓๑
มกราคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๒ ก/หน้า ๑/๒๗ มกราคม ๒๕๖๐ |
775414 | พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.
๒๕๔๑
เป็นปีที่ ๕๓ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า
พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
กองทุน
หมายความว่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
คณะกรรมการ
หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
กรรมการ
หมายความว่า กรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ผู้จัดการ
หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
หมายความว่า บุคคลซึ่งคณะกรรมการทำสัญญาจ้างให้ทำหน้าที่บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมตามมาตรา
๓๗
นักเรียนหรือนักศึกษา
หมายความว่า ผู้ซึ่งศึกษาอยู่ในโรงเรียน สถานศึกษา หรือสถาบันการศึกษาของทางราชการ
หรือโรงเรียนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
หรือโรงเรียน สถานศึกษา หรือสถาบันการศึกษาที่กฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ หรือโรงเรียน
สถานศึกษา หรือสถาบันการศึกษาอื่นที่กำหนดโดยกฎกระทรวง และให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการตอบรับให้เข้าศึกษาในโรงเรียน
สถานศึกษา หรือสถาบันการศึกษาดังกล่าวด้วย
ผู้กู้ยืมเงิน
หมายความว่า นักเรียนหรือนักศึกษาผู้กู้ยืมเงินจากกองทุน
รัฐมนตรี
หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
การจัดตั้งกองทุน
มาตรา ๕ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง
เรียกว่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ให้กองทุนมีฐานะเป็นนิติบุคคล
และมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียน หรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างศึกษา
มาตรา ๖ ให้กองทุนอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง
ให้รัฐมนตรีดำเนินการจัดตั้งงบประมาณเพื่อสมทบกองทุนเป็นรายปีตามความจำเป็น
มาตรา ๗ กองทุนมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการใด
ๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕ วรรคสอง อำนาจดังกล่าวให้รวมถึง
(๑)
ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ
(๒)
ก่อตั้งสิทธิหรือทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน
(๓)
ให้นักเรียนหรือนักศึกษากู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา
(๔)
จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ เก็บรักษาหลักฐานและเอกสารเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงิน
(๕)
กระทำการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
มาตรา ๘ กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน
ดังต่อไปนี้
(๑)
เงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐบาลหรือเงินที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามมาตรา
๖ วรรคสอง
(๒)
เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการดำเนินการของกองทุน
(๓)
เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้แก่กองทุน
(๔)
ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
(๕)
เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดนอกจาก (๑) ถึง (๔) ที่กองทุนได้รับไม่ว่าในกรณีใด
มาตรา ๙ กิจการของกองทุนไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยประกันสังคมและกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
มาตรา ๑๐
ให้กองทุนมีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร หรือในจังหวัดอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
และจะตั้งสำนักงานสาขา ณ ที่อื่นใดก็ได้
มาตรา ๑๑
เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้นักเรียนหรือนักศึกษากู้ยืมตามพระราชบัญญัตินี้
(๒)
เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของกองทุน
(๓)
เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับการจัดกิจการของกองทุน
มาตรา ๑๒
เงินของกองทุนอาจนำไปหาดอกผลโดยนำไปฝากไว้กับธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินอื่นที่เป็นของรัฐ
มาตรา ๑๓
กองทุนไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
รายรับของกองทุนให้นำเข้าสมทบกองทุนโดยไม่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง
กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือกฎหมายอื่น
หมวด ๒
คณะกรรมการและการบริหารกองทุน
มาตรา ๑๔
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ประกอบด้วยปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และปลัดทบวงมหาวิทยาลัย
เป็นรองประธานกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ อธิบดีกรมสรรพากร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยและนายกสมาคมสมาพันธ์การศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย
เป็นกรรมการ และกรรมการอื่นอีกไม่เกินห้าคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง โดยในจำนวนนี้อย่างน้อยต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
การเงินหรือการบัญชี หรือกฎหมาย ด้านละหนึ่งคน
ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นกรรมการและเลขานุการ
และผู้จัดการเป็นกรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการ
ในกรณีจำเป็น
ประธานกรรมการจะแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการเพิ่มขึ้นอีกคนหนึ่งก็ได้
มาตรา ๑๕
กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
ในกรณีที่กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระหรือในกรณีที่รัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง
ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนหรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้น อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
เมื่อครบกำหนดตามวาระดังกล่าวในวรรคหนึ่ง
หากยังไม่ได้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๑๖
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๕ กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง
เมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔)
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
มาตรา ๑๗
การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมคราวใด
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกรองประธานกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
ถ้ารองประธานกรรมการทั้งสองไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๑๘
คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดนโยบาย และควบคุมดูแลกิจการของกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
(๒)
ติดตามประเมินผลการดำเนินกิจการของกองทุน และจัดทำรายงานประจำปีเพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
(๓)
ศึกษาวิเคราะห์และประเมินความต้องการการกู้ยืมเงินของนักเรียน หรือนักศึกษาทั้งในปัจจุบันและอนาคต
และเสนอแนะต่อรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการจัดตั้งงบประมาณเพื่อสมทบกองทุนตามมาตรา ๖ วรรคสอง
(๔)
พิจารณาจัดสรรเงินเพื่อโอนเข้าบัญชีจ่ายที่หนึ่ง บัญชีจ่ายที่สอง และบัญชีจ่ายตามมาตรา
๓๔
(๕)
พิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีสำหรับการดำเนินการและการบริหารงานของกองทุน
(๖)
กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การเงิน การพัสดุ การบัญชี การตรวจสอบและสอบบัญชีภายใน
และข้อบังคับอื่นที่จำเป็นในการดำเนินการและบริหารงานของกองทุน
(๗)
กำหนดระเบียบ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข เกี่ยวกับการให้นักเรียนหรือนักศึกษากู้ยืมเงิน
และการชำระคืนเงินกู้ยืม
(๘)
ให้นักเรียนหรือนักศึกษากู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาจากกองทุน
(๙)
ประชาสัมพันธ์ให้บุคคลทั่วไปได้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของกองทุน และคุณค่าของกองทุน
(๑๐)
ดำเนินการคัดเลือกและทำสัญญาจ้างหรือมีมติเลิกจ้างผู้จัดการและผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
(๑๑)
ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
คณะกรรมการอาจมอบอำนาจของคณะกรรมการตาม
(๒) (๓) (๘) (๙) และ (๑๑) เฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขให้ผู้จัดการหรือผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมหรือบุคคลอื่นใดเพื่อกระทำการแทนคณะกรรมการก็ได้
มาตรา ๑๙
ในกิจการเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ประธานกรรมการเป็นผู้แทนของกองทุน แต่ประธานกรรมการจะมอบอำนาจเป็นหนังสือให้บุคคลใดทำนิติกรรมรวมตลอดทั้งการดำเนินคดีหรือการบังคับคดีแทนก็ได้
มาตรา ๒๐
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือมอบหมายให้ปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควร
ในการประชุมของคณะอนุกรรมการ
ถ้าประธานอนุกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้อนุกรรมการที่มาประชุมเลือกอนุกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
ให้นำมาตรา
๑๗ วรรคหนึ่งและวรรคสาม มาใช้บังคับกับการประชุมและการวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมโดยอนุโลม
มาตรา ๒๑
ให้กองทุนจ้างผู้จัดการคนหนึ่ง ทำหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
รับผิดชอบงานธุรการของกองทุน
(๒)
ติดต่อประสานงานระหว่างคณะกรรมการและผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
(๓)
ติดตามดูแลการปฏิบัติงานของผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมเพื่อรายงานให้คณะกรรมการทราบตามที่คณะกรรมการกำหนด
(๔)
ควบคุมและกำกับดูแลการปฏิบัติงานของพนักงานและลูกจ้างของกองทุนให้เป็นไปตามข้อบังคับ
(๕)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการหรือประธานกรรมการมอบหมาย หรือตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง
มาตรา ๒๒
ผู้จัดการต้องเป็นผู้ซึ่งมีความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารและการจัดการ
ทั้งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑)
มีสัญชาติไทย
(๒)
มีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์
(๓)
สามารถปฏิบัติงานให้แก่กองทุนได้เต็มเวลา
(๔)
ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(๕)
ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖)
ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
(๗)
ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(๘)
ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษา
กรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
(๙)
ไม่เป็นผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันในห้างหุ้นส่วนหรือหรือบริษัท
หรือองค์กรอื่นใด
(๑๐)
ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับกองทุน หรือในกิจการที่กระทำให้แก่กองทุนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
(๑๑)
ไม่เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่ได้รับการจ้างเป็นผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมตามมาตรา
๓๗ หรือในบริษัทอื่นใดที่เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าว
สัญญาจ้างผู้จัดการให้กำหนดคราวละสี่ปี
แต่คณะกรรมการจะต่ออายุสัญญาจ้างอีกก็ได้
ให้ผู้จัดการได้รับค่าจ้าง
ค่าตอบแทนหรือเงินอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๓
วิธีการคัดเลือกผู้จัดการ และสัญญาจ้างผู้จัดการให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด
ในสัญญาจ้างให้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่ง
การพ้นจากตำแหน่ง และเงื่อนไขในการทดลองปฏิบัติงานหรือการทำงานของผู้จัดการไว้ด้วย
มาตรา ๒๔
นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามสัญญาจ้าง ผู้จัดการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๒
(๔)
คณะกรรมการมีมติให้เลิกจ้าง
มาตรา ๒๕
ในการดำเนินการตามมาตรา ๒๑ ผู้จัดการจะมอบอำนาจให้ตัวแทน หรือบุคคลใดกระทำกิจการเฉพาะอย่างแทนก็ได้
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๖
เมื่อตำแหน่งผู้จัดการว่างลงและยังไม่มีการจ้างผู้จัดการคนใหม่ หรือในกรณีที่ผู้จัดการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นการชั่วคราว
ให้คณะกรรมการแต่งตั้งพนักงานของกองทุนคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการแทนผู้จัดการ
ให้ผู้รักษาการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้จัดการ
มาตรา ๒๗
เพื่อจัดระบบควบคุมเงินของกองทุน ให้กองทุนจัดให้มีบัญชี ดังต่อไปนี้
(๑)
บัญชีรับ เพื่อรับเงินทั้งปวงของกองทุน
(๒)
บัญชีจ่ายที่หนึ่ง เพื่อจ่ายเงินกู้ยืมแก่นักเรียนหรือนักศึกษาในโรงเรียน สถานศึกษา
หรือสถาบันการศึกษาที่อยู่ในสังกัด ควบคุม หรือกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ หรือโรงเรียน
สถานศึกษา หรือสถาบันการศึกษาที่อยู่ในสังกัด ควบคุม หรือกำกับดูแลของกระทรวงหรือส่วนราชการอื่นที่ไม่ใช่ทบวงมหาวิทยาลัย
(๓)
บัญชีจ่ายที่สอง เพื่อจ่ายเงินกู้ยืมแก่นักเรียนหรือนักศึกษาในโรงเรียน สถานศึกษา หรือสถาบันการศึกษาที่อยู่ในสังกัด
ควบคุม หรือกำกับดูแลของทบวงมหาวิทยาลัย
(๔)
บัญชีจ่ายบริหารกองทุน เพื่อจ่ายเงินที่ใช้ในการดำเนินการของกองทุน
มาตรา ๒๘
บรรดาเงินทั้งปวงที่กองทุนได้รับ ให้ส่งเข้าบัญชีรับตามกำหนดเวลา และตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
โดยไม่หักไว้เพื่อการใด ๆ ทั้งสิ้น
มาตรา ๒๙
การสั่งจ่ายเงินจากบัญชีรับให้เป็นอำนาจของประธานกรรมการ หรือรองประธานกรรมการซึ่งประธานกรรมการมอบหมาย
และให้กระทำได้แต่เฉพาะเพื่อโอนเข้าบัญชีจ่ายที่หนึ่ง บัญชีจ่ายที่สอง บัญชีจ่ายบริหารกองทุน
และบัญชีจ่ายตามมาตรา ๓๔
มาตรา ๓๐
ให้มีคณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่หนึ่ง ประกอบด้วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานอนุกรรมการ
อธิบดีกรมสามัญศึกษา อธิบดีกรมอาชีวศึกษา เลขาธิการสภาสถาบันราชภัฏ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
เลขาธิการคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ผู้แทนกรมบัญชีกลาง
ผู้จัดการเลขานุการคณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่สอง และบุคคลอื่นซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งอีกไม่เกินห้าคน
เป็นอนุกรรมการ
ให้ผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการซึ่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการมอบหมายคนหนึ่ง
เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ในกรณีจำเป็น
ประธานอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่หนึ่งจะแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการเพิ่มขึ้นอีกคนหนึ่งก็ได้
มาตรา ๓๑
ให้คณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่หนึ่งมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๘
(๒)
กำกับดูแลการให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียนหรือนักศึกษาในโรงเรียน สถานศึกษา หรือสถาบันการศึกษาที่อยู่ในสังกัด
ควบคุม หรือกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ หรือโรงเรียน สถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาในสังกัด
ควบคุม หรือกำกับดูแลของกระทรวง หรือส่วนราชการอื่นที่ไม่ใช่ทบวงมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตามนโยบาย
ระเบียบ และข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด
(๓)
กำกับดูแลและติดตามการปฏิบัติงานของผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับบัญชีจ่ายที่หนึ่ง
(๔)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๓๒
ให้มีคณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่สอง ประกอบด้วยปลัดทบวงมหาวิทยาลัยเป็นประธานอนุกรรมการ
ผู้แทนจากโรงเรียน สถานศึกษา หรือสถาบันการศึกษาที่ทบวงมหาวิทยาลัยแต่งตั้งจำนวนสี่คน
ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้จัดการ เลขานุการคณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่หนึ่ง และบุคคลอื่นซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งอีกไม่เกินห้าคน
เป็นอนุกรรมการ
ให้ผู้ช่วยปลัดทบวงมหาวิทยาลัยซึ่งปลัดทบวงมหาวิทยาลัยมอบหมายคนหนึ่ง
เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และผู้อำนวยการกองบริการการศึกษา สำนักงานปลัดทบวง ทบวงมหาวิทยาลัย
เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ในกรณีจำเป็น
ประธานอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่สองจะแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการเพิ่มขึ้นอีกคนหนึ่งก็ได้
มาตรา ๓๓
ให้คณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่สองมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๘
(๒)
กำกับดูแลการให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียนหรือนักศึกษาในโรงเรียน สถานศึกษา หรือสถาบันการศึกษาที่อยู่ในสังกัด
ควบคุม หรือกำกับดูแลของทบวงมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการ
(๓)
กำกับดูแลและติดตามการปฏิบัติงานของผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับบัญชีจ่ายที่สอง
(๔)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๓๔
ในกรณีที่เห็นสมควร คณะกรรมการอาจกำหนดให้มีบัญชีจ่าย เพื่อจ่ายเงินกู้ยืมแก่นักเรียนหรือนักศึกษาเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในมาตรา
๒๗ ได้
เมื่อคณะกรรมการกำหนดให้มีบัญชีจ่ายตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการคณะหนึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับบัญชีจ่ายดังกล่าวโดยให้นำมาตรา
๓๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามวรรคสอง
ให้คำนึงถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องทำนองเดียวกับที่กำหนดไว้ในมาตรา ๓๐
มาตรา ๓๕
การประชุมคณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่หนึ่ง คณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่สอง หรือคณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายตามมาตรา
๓๔ ให้นำมาตรา ๒๐ วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้นำมาตรา
๑๕ และมาตรา ๑๖ มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของอนุกรรมการที่คณะกรรมการแต่งตั้งตามมาตรา
๓๐ มาตรา ๓๒ และอนุกรรมการซึ่งมิใช่อนุกรรมการโดยตำแหน่งหรือผู้แทนโดยตำแหน่งตามมาตรา
๓๔ โดยอนุโลม
มาตรา ๓๖
ให้ประธานกรรมการ กรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการ ประธานอนุกรรมการ
อนุกรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการของคณะอนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
หมวด ๓
การจัดการเงินให้กู้ยืม
มาตรา ๓๗
ให้คณะกรรมการจ้างบุคคลเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบเป็นผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
หลักเกณฑ์
เงื่อนไข และวิธีการในการคัดเลือก รวมตลอดทั้งคุณสมบัติของผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๓๘
นอกจากหน้าที่และความรับผิดชอบที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างแล้ว ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมมีหน้าที่และความรับผิดชอบ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบถึงนโยบาย ระเบียบ วิธีการในการกู้ยืมเงิน
(๒)
แนะนำ และอำนวยความสะดวกแก่นักเรียนหรือนักศึกษาและสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการกู้ยืมเงิน
(๓)
เบิกจ่ายเงินกู้และดำเนินการจัดส่งเงินให้แก่ผู้กู้ยืม รวมตลอดทั้งเก็บรักษาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(๔)
แจ้งจำนวนหนี้และสถานะของหนี้ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
(๕)
รับชำระหนี้เงินกู้ ติดตามทวงถาม และดำเนินคดีเพื่อบังคับชำระหนี้เงินกู้
(๖)
จัดทำรายงานการดำเนินการให้กู้ยืมเงินเสนอต่อคณะกรรมการ
(๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๓๙
สัญญาจ้างผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม ให้มีอายุการจ้างตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง
แต่ต้องไม่เกินคราวละสิบปี
ในกรณีที่ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมประสงค์จะต่ออายุสัญญาจ้างต้องแจ้งล่วงหน้า
และทำความตกลงกับคณะกรรมการไม่น้อยกว่าสามปีก่อนสัญญาสิ้นอายุ เว้นแต่คณะกรรมการจะผ่อนผันให้แจ้งหลังจากนั้น
การต่ออายุสัญญาจ้างอาจทำได้ตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง
มาตรา ๔๐
ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมต้องปฏิบัติหน้าที่และตรวจสอบดูแลการให้กู้ยืมเงินให้ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ
ข้อบังคับ มติและคำแนะนำของคณะกรรมการ
มาตรา ๔๑
ในกรณีที่ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมบริหารหรือจัดการกองทุนหรือปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่กองทุน
คณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการ ตามมาตรา ๓๐ มาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๔ แล้วแต่กรณี มีอำนาจสั่งให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมชี้แจงข้อเท็จจริง
หรือแก้ไข หรือระงับการกระทำที่อาจเป็นการเสียหายนั้นได้ และผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมต้องดำเนินการตามคำสั่งภายในระยะเวลาที่กำหนด
ในกรณีที่ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมไม่ได้ดำเนินการแก้ไขหรือดำเนินการตามคำสั่งภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
คณะกรรมการมีอำนาจบอกเลิกสัญญาจ้างได้ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ไม่ว่าสัญญาจ้างจะกำหนดไว้เป็นประการอื่นหรือไม่ก็ตาม
มาตรา ๔๒
ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมอาจบอกเลิกสัญญาจ้างก่อนครบกำหนดอายุสัญญาจ้างได้
แต่ไม่ว่ากรณีใดต้องแจ้งเป็นหนังสือล่วงหน้าต่อประธานกรรมการไม่น้อยกว่าสามปี เว้นแต่คณะกรรมการจะผ่อนผันให้แจ้งหลังจากนั้น
มาตรา ๔๓
ในกรณีที่คณะกรรมการไม่ต่อสัญญาจ้างหรือมีการบอกเลิกสัญญาจ้าง ตามมาตรา ๔๑ หรือมาตรา
๔๒ หรือมีกรณีจำเป็นอื่นใด คณะกรรมการอาจคัดเลือกและทำสัญญาจ้างบุคคลใดเป็นการชั่วคราวเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมได้
หมวด ๔
การให้กู้ยืมเงินและการชำระหนี้
มาตรา ๔๔
ก่อนสิ้นปีการศึกษาของแต่ละปี ให้คณะกรรมการโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีประกาศกำหนดขอบเขตการให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา
รวมตลอดทั้งประเภทวิชา และโรงเรียน สถานศึกษา หรือสถาบันการศึกษา ระดับชั้น การศึกษาและหลักสูตรที่จะให้นักเรียนหรือนักศึกษากู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา
ประกาศตามวรรคหนึ่งให้เผยแพร่ให้ประชาชนได้ทราบโดยทั่วไปและให้ส่งให้โรงเรียน
สถานศึกษา และสถาบันการศึกษาที่นักเรียนหรือนักศึกษามีสิทธิขอกู้ยืมเงิน พร้อมทั้งระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องด้วย
ให้เป็นหน้าที่ของโรงเรียน
สถานศึกษา และสถาบันการศึกษาที่ได้รับประกาศตามวรรคสองปิดประกาศและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องไว้ในที่ที่เห็นได้ทั่วไปในโรงเรียน
สถานศึกษา หรือสถาบันการศึกษาดังกล่าว
มาตรา ๔๕
นักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งมีสิทธิขอกู้ยืมเงินจากกองทุนต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นผู้มีสัญชาติไทย
(๒)
เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
(๓)
มีคุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
การกำหนดตาม
(๒) และ (๓) ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีก่อนจึงจะมีผลใช้บังคับ
มาตรา ๔๖
นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ใดประสงค์จะกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ให้ยื่นคำขอตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดต่อผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ
ณ โรงเรียน สถานศึกษา หรือสถาบันการศึกษาที่ตนกำลังศึกษาอยู่หรือที่ประสงค์จะเข้าศึกษา
แล้วแต่กรณี
การยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งให้ยื่นได้ทุกวันในเวลาทำการของโรงเรียน
สถานศึกษา หรือสถาบันการศึกษานั้น ๆ
มาตรา ๔๗
คณะกรรมการจะมอบอำนาจให้บุคคลซึ่งรับผิดชอบหรือเป็นผู้แทนโรงเรียน สถานศึกษา
หรือสถาบันการศึกษาเป็นผู้อนุมัติการให้กู้ยืมเงินและลงนามในสัญญากู้ยืมเงินแทนคณะกรรมการก็ได้
การมอบอำนาจดังกล่าวจะทำเป็นประกาศเป็นการทั่วไปหรือทำใบมอบอำนาจเป็นการเฉพาะรายก็ได้
และคณะกรรมการจะเพิกถอนการมอบอำนาจนั้นเมื่อใดก็ได้ แต่การเพิกถอนดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อคำอนุมัติหรือสัญญาที่ผู้รับมอบอำนาจได้ทำไปแล้ว
เว้นแต่เป็นกรณีที่กระทำโดยฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับของคณะกรรมการ
มาตรา ๔๘
สัญญากู้ยืมเงินให้ทำเป็นรายปีหรือระยะเวลาที่สั้นหรือยาวกว่านั้นตามที่คณะกรรมการกำหนด
ในการทำสัญญากู้ยืมเงิน
คณะกรรมการจะกำหนดให้มีผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ด้วยก็ได้ แต่จะกำหนดจนเป็นอุปสรรคต่อผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ในอันที่จะกู้ยืมเงินไม่ได้
มาตรา ๔๙
บรรดาเงินที่กู้ยืมเพื่อจ่ายให้แก่โรงเรียน สถานศึกษา หรือสถาบันการศึกษา ให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมเบิกจ่ายให้แก่โรงเรียน
สถานศึกษา หรือสถาบันการศึกษานั้นโดยตรง และให้ถือว่าเงินที่จ่ายดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเงินกู้ยืมที่ผู้กู้ยืมเงินต้องชำระคืน
มาตรา ๕๐
ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดจากเงินที่กู้ยืมในระหว่างที่ผู้กู้ยืมเงินยังศึกษาอยู่
มาตรา ๕๑
ให้เป็นหน้าที่ของโรงเรียน สถานศึกษา และสถาบันการศึกษาที่ผู้กู้ยืมเงินศึกษาอยู่แจ้งผลการศึกษาให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมทราบทุกสิ้นปีการศึกษา
และเมื่อผู้กู้ยืมเงินพ้นสภาพการเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาไปแล้วไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้แจ้งให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พ้นสภาพดังกล่าว
ผู้กู้ยืมเงินต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงที่อยู่หรือการย้ายโรงเรียน
สถานศึกษา หรือสถาบันการศึกษา และการจบการศึกษาให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เปลี่ยนแปลงหรือจบการศึกษา
ในกรณีที่การย้ายโรงเรียน
สถานศึกษา หรือสถาบันการศึกษามีผลให้ค่าใช้จ่ายในการศึกษาเพิ่มขึ้นหรือลดลง คณะกรรมการจะอนุมัติหรือสั่งให้เพิ่มหรือลดเงินกู้ยืมตามที่เห็นสมควรก็ได้
หมวด ๕
การนำเงินส่งกองทุน
มาตรา ๕๒
เมื่อผู้กู้ยืมเงินสำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาแล้วเป็นเวลาสองปี ผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่ต้องชำระเงินกู้ยืมคืนให้กับกองทุนตามจำนวนระยะเวลาและวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบของคณะกรรมการ
คณะกรรมการจะกำหนดไว้ในระเบียบให้เริ่มคิดดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดนับแต่เวลาใดภายหลังที่จบการศึกษาหรือเลิกการศึกษาแล้วก็ได้
แต่อัตราดอกเบี้ย หรือประโยชน์อื่นใดที่คิดต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำหนึ่งปีของธนาคารออมสิน
และห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยทบต้น
ในกรณีจำเป็นที่เห็นสมควร
คณะกรรมการจะผ่อนผันให้ผู้กู้ยืมเงินชำระหนี้ตามระยะเวลาที่แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง
หรือชะลอการชำระหนี้เป็นการชั่วคราวหรือลดหย่อนหนี้ให้ตามที่ผู้กู้ยืมเงินร้องขอเป็นราย
ๆ หรือเป็นการทั่วไปก็ได้
ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้คืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่งและไม่ได้รับอนุญาตให้ผ่อนผันตามวรรคสาม
คณะกรรมการจะกำหนดให้ผู้กู้ยืมเงินต้องเสียเงินเพิ่มอีกไม่เกินร้อยละ ๑.๕ ต่อเดือนก็ได้
มาตรา ๕๓
เมื่อผู้กู้ยืมเงินสำเร็จการศึกษาและเข้าทำงานในสถานที่ใด ผู้กู้ยืมเงินต้องแจ้งที่อยู่และสถานที่ทำงานนั้นพร้อมทั้งจำนวนเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันเริ่มทำงาน
ให้เป็นหน้าที่ของผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมที่จะติดตามและประสานกับผู้กู้ยืมเงินเพื่อการชำระเงินที่กู้ยืมคืน
ในการนี้จะขอความร่วมมือจากนายจ้างให้ช่วยหักเงินเดือนหรือค่าจ้างและนำส่งผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมด้วยก็ได้
ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินย้ายที่อยู่หรือเปลี่ยนงานหรือสถานที่ทำงาน
หรือมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเงินเดือนหรือค่าจ้าง ผู้กู้ยืมเงินต้องแจ้งให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมทราบภายในสามสิบวัน
มาตรา ๕๔
ผู้กู้ยืมเงินจะชำระเงินที่กู้ยืมคืนก่อนกำหนดเวลาตามมาตรา ๕๒ หรือบอกเลิกสัญญากู้ยืมเงินเมื่อใดก็ได้
โดยแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมทราบ และในกรณีบอกเลิกสัญญากู้ยืมเงินให้ส่งเงินกู้ยืมที่ได้รับไปแล้วคืนภายในสามสิบวัน
หรือภายในกำหนดเวลาที่ทำความตกลงกับผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๕๕
ในกรณีดังต่อไปนี้ กองทุนอาจบอกเลิกสัญญากู้ยืมเงินและเรียกเงินกู้ยืมที่ผู้กู้ยืมเงินได้รับไปแล้วคืนทั้งหมดได้
(๑)
เมื่อปรากฏในภายหลังว่าผู้กู้ยืมเงินไม่มีสิทธิกู้ยืมเงิน หรือได้มีการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จในสาระสำคัญ
(๒)
ผู้กู้ยืมเงินไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงที่ให้ไว้กับกองทุน
มาตรา ๕๖
ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินถึงแก่ความตาย ให้หนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นอันระงับไป
ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินพิการหรือทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบการงานได้
ให้คณะกรรมการมีอำนาจพิจารณาระงับการเรียกให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินได้
หมวด ๖
การเงินและการบัญชี
มาตรา ๕๗
ให้กองทุนยื่นรายงานแสดงผลการดำเนินการต่อรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาสภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสิ้นสุดแต่ละไตรมาส
มาตรา ๕๘
ให้กองทุนจัดทำงบการเงิน ส่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี
ปีบัญชีของกองทุนให้ถือตามปีงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุน
แล้วทำรายงานผลการสอบบัญชีเสนอต่อรัฐมนตรี
ให้กองทุนโฆษณารายงานประจำปีที่สิ้นไป
โดยแสดงงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีรับรองว่าถูกต้องแล้วรวมทั้งรายงานสรุปผลงานในปีที่ล่วงมาในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๕๙
ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชี ทำการตรวจสอบรับรองบัญชีและการเงินทุกประเภทของกองทุน
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๖๐
เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว ให้โอนเงินงบประมาณ ทรัพย์สิน สิทธิ
หนี้ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง ตามระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการบริหารกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๙ ไปเป็นของกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้
คือ เนื่องจากในปัจจุบันมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
เพื่อสนองตอบความจำเป็นดังกล่าว จึงสมควรเร่งรัดพัฒนาทางการศึกษา โดยการหาทางแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาในสังคมด้วยการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น
ให้แก่นักเรียน นักศึกษา ที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย อันจะมีส่วนสำคัญในการช่วยยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น
และด้วยการสนับสนุนการพัฒนาระบบการศึกษาทางด้านอุปสงค์ โดยการเพิ่มขีดความสามารถในการรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของประชาชน
เพื่อดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว จำเป็นต้องจัดตั้งกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
วศิน/แก้ไข
๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
สุทธนา/ปรับปรุง
๗ มกราคม ๒๕๕๖
กุลชาติ/ตรวจ
๗ มกราคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๑๕/ตอนที่ ๑๕ ก/หน้า ๑๖/๒๔ มีนาคม ๒๕๔๑ |
816548 | กฎกระทรวงการขอข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ยืมเงิน และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินและการชำระเงินคืนกองทุนของผู้กู้ยืมเงิน พ.ศ. 2561 | กฎกระทรวง
การขอข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ยืมเงิน
และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ
การกู้ยืมเงินและการชำระเงินคืนกองทุนของผู้กู้ยืมเงิน
พ.ศ. ๒๕๖๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๔๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้
ข้อมูลส่วนบุคคล
หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวผู้กู้ยืมเงินได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
และหมายความรวมถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้กู้ยืมเงิน เช่น ชื่อ ชื่อสกุล อาชีพ สถานที่ทำงาน
เลขที่บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทาง เลขที่บัญชีเงินฝากและจำนวนเงินคงเหลือในบัญชีเงินฝาก
หมายเลขโทรศัพท์ ภูมิลำเนา ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ซึ่งรวมถึงที่อยู่ทางธุรกิจ
ที่อยู่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่อยู่อื่นใดที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลเกี่ยวกับการถือครองทรัพย์สิน
หรือกรรมสิทธิ์ของผู้กู้ยืมเงิน และข้อมูลอื่นใดของผู้กู้ยืมเงินที่มีความสำคัญ
เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารกองทุนและการติดตามการชำระเงินคืนกองทุน
ข้อมูลการกู้ยืมเงิน
หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินและการชำระเงินคืนกองทุนของผู้กู้ยืมเงิน
หมวด ๑
การขอข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ยืมเงิน
ข้อ ๒ เพื่อประโยชน์ในการบริหารกองทุนและการติดตามการชำระเงินคืนกองทุน
ให้กองทุนขอข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ยืมเงินจากหน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
หรือบุคคลใดซึ่งเป็นผู้ครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ยืมเงินได้เท่าที่จำเป็น
โดยทำเป็นหนังสือถึงหน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
หรือบุคคลใดซึ่งครอบครองข้อมูลดังกล่าว
ข้อ ๓ หนังสือขอข้อมูลส่วนบุคคลตามข้อ ๒
อย่างน้อยต้องระบุรายละเอียด ดังต่อไปนี้
(๑) วัน
เดือน ปี ที่ทำหนังสือขอข้อมูลส่วนบุคคล
(๒)
ชื่อ ชื่อสกุล และเลขที่บัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้ยืมเงิน
(๓)
วัตถุประสงค์ของการขอและการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้
(๔)
รายการของข้อมูลส่วนบุคคลที่ประสงค์จะขอ
(๕)
กำหนดระยะเวลาที่ขอให้จัดส่งข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อ ๔ เมื่อหน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
หรือบุคคลใดซึ่งเป็นผู้ครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ยืมเงิน
ได้รับหนังสือขอข้อมูลส่วนบุคคลจากกองทุนตามข้อ ๒ แล้ว ให้ดำเนินการจัดส่งข้อมูลดังกล่าวที่เป็นปัจจุบันในรูปแบบเอกสารหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบที่มีอยู่หรือตามรูปแบบที่กองทุนกำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
หรือภายในระยะเวลาที่กองทุนกำหนดโดยขึ้นอยู่กับความเร่งด่วนหรือความจำเป็นในการที่กองทุนจะนำข้อมูลส่วนบุคคลนั้นไปใช้
ในการจัดส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง
ให้คำนึงถึงการรักษาความลับและป้องกันการรั่วไหล การเข้าถึงหรือการใช้ข้อมูลนั้นโดยบุคคลใดโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ
ในกรณีที่หน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
หรือบุคคลใดตามวรรคหนึ่ง ไม่สามารถจัดส่งข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ยืมเงินตามที่กองทุนร้องขอภายในกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่งได้
ให้แจ้งเหตุผลและความจำเป็น รวมทั้งกำหนดระยะเวลาที่จะจัดส่งข้อมูลดังกล่าวให้กองทุนทราบโดยเร็ว ทั้งนี้
กำหนดระยะเวลาในการจัดส่งข้อมูลดังกล่าวจะต้องไม่เกินระยะเวลาอันสมควร
ข้อ ๕ เมื่อกองทุนได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ยืมเงินจากหน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
หรือบุคคลใดตามข้อ ๔ หรือตามบันทึกข้อตกลงตามข้อ ๑๒ แล้ว ต้องนำข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวไปใช้เพื่อประโยชน์ในการบริหารกองทุนหรือการติดตามการชำระเงินคืนกองทุนเท่านั้น
และต้องไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนต่อไปยังบุคคลภายนอกหรือบุคคลอื่นซึ่งไม่มีอำนาจในการเข้าถึงหรือใช้ข้อมูลนั้น
ข้อ ๖ ให้กองทุนจัดให้มีการทำบัญชีแสดงการขอข้อมูลส่วนบุคคลและมาตรการหรือระบบการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ยืมเงินที่ได้รับจากหน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนหรือบุคคลใด
แล้วแต่กรณี ให้เหมาะสมและปลอดภัย เพื่อป้องกันการสูญหาย รวมทั้งป้องกันการเข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข
หรือเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ
หมวด ๒
การเปิดเผยข้อมูลการกู้ยืมเงิน
ข้อ ๗ หน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
หรือบุคคลใดประสงค์ที่จะขอให้กองทุนเปิดเผยข้อมูลการกู้ยืมเงินของผู้กู้ยืมเงินรายใดเพื่อนำข้อมูลไปใช้เพื่อประโยชน์ในการบริหารกองทุนหรือการติดตามการชำระเงินคืนกองทุนโดยตรงหรือโดยอ้อม
ให้มีหนังสือขอข้อมูลดังกล่าวต่อกองทุน
ข้อ ๘ หนังสือขอให้เปิดเผยข้อมูลการกู้ยืมเงินตามข้อ
๗ อย่างน้อยต้องระบุรายละเอียด ดังต่อไปนี้
(๑)
วัน เดือน ปี ที่ทำหนังสือขอข้อมูลการกู้ยืมเงิน
(๒)
ชื่อ ชื่อสกุล และเลขที่บัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้ยืมเงิน
(๓)
วัตถุประสงค์ของการขอและการนำข้อมูลการกู้ยืมเงินไปใช้
(๔)
รายการของข้อมูลการกู้ยืมเงินที่ประสงค์จะขอ
(๕)
กำหนดระยะเวลาที่ขอให้จัดส่งข้อมูลการกู้ยืมเงิน
ข้อ ๙ เมื่อกองทุนได้รับหนังสือขอให้เปิดเผยข้อมูลการกู้ยืมเงินตามข้อ
๗ และพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ร้องขอมีวัตถุประสงค์ที่จะนำข้อมูลการกู้ยืมเงินไปใช้เพื่อประโยชน์ในการบริหารกองทุนหรือการติดตามการชำระเงินคืนกองทุน
ให้กองทุนเปิดเผยข้อมูลตามหนังสือดังกล่าวในรูปแบบเอกสารหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารกองทุนหรือการติดตามการชำระเงินคืนกองทุนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือหรือภายในกำหนดระยะเวลาที่หน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
หรือบุคคลใดร้องขอ ทั้งนี้ กองทุนอาจกำหนดข้อจำกัดหรือเงื่อนไขในการนำข้อมูลนั้นไปใช้ด้วยก็ได้
การเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่ง
ให้กองทุนดำเนินการใด ๆ ให้ข้อมูลนั้นเป็นความลับและป้องกันการรั่วไหล การเข้าถึง
หรือการใช้ข้อมูลโดยบุคคลอื่นโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ
ในกรณีที่กองทุนไม่สามารถจัดส่งข้อมูลให้แก่ผู้ร้องขอภายในกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่งได้
ให้กองทุนแจ้งเหตุผลและความจำเป็น รวมทั้งกำหนดระยะเวลาที่สามารถจะจัดส่งข้อมูลให้ผู้ร้องขอทราบ
ข้อ ๑๐ เมื่อหน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
หรือบุคคลใดได้รับข้อมูลการกู้ยืมเงินจากกองทุนตามข้อ ๙ หรือตามบันทึกข้อตกลงตามข้อ
๑๒ แล้ว จะต้องไม่นำข้อมูลดังกล่าวไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากที่ได้แจ้งไว้กับกองทุน
และจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนต่อไปยังบุคคลภายนอกหรือบุคคลอื่นซึ่งไม่มีอำนาจในการเข้าถึงหรือใช้ข้อมูลนั้น
และต้องจัดให้มีมาตรการหรือระบบการเก็บรักษาข้อมูลการกู้ยืมเงินให้เหมาะสมและปลอดภัย
เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข
หรือเปิดเผยข้อมูลการกู้ยืมเงิน โดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ
รวมทั้งลบหรือทำลายเมื่อหมดความจำเป็นหรือไม่ต้องใช้ประโยชน์จากข้อมูลการกู้ยืมเงินดังกล่าวแล้ว
ข้อ ๑๑ ให้กองทุนจัดให้มีการทำบัญชีแสดงการเปิดเผยข้อมูลการกู้ยืมเงินในรูปแบบเอกสารหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
เพื่อเก็บรวบรวมไว้เป็นหลักฐานและเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานกองทุน
หมวด ๓
ข้อตกลงเกี่ยวกับการขอข้อมูลส่วนบุคคลและการเปิดเผยข้อมูลการกู้ยืมเงิน
ข้อ ๑๒ เพื่อประโยชน์ในการบริหารกองทุนและการติดตามการชำระเงินคืนกองทุน
การขอข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ยืมเงินและการขอให้กองทุนเปิดเผยข้อมูลการกู้ยืมเงิน
นอกจากการดำเนินการตามข้อ ๒ และข้อ ๗ แล้วแต่กรณี
กองทุนอาจทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการขอข้อมูลส่วนบุคคลหรือการเปิดเผยข้อมูลการกู้ยืมเงินกับหน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนก็ได้
ข้อ ๑๓ บันทึกข้อตกลงตามข้อ ๑๒
อย่างน้อยต้องระบุรายละเอียด ดังต่อไปนี้
(๑)
วัตถุประสงค์ของการขอและการนำข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลการกู้ยืมเงินไปใช้
(๒)
รูปแบบและวิธีการในการขอข้อมูลหรือการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลการกู้ยืมเงินตามที่ตกลงกัน
(๓)
รูปแบบ วิธีการ และระยะเวลาในการส่งข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลการกู้ยืมเงิน
(๔)
มาตรการในการรักษาความลับและป้องกันการรั่วไหล การเข้าถึง หรือการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลการกู้ยืมเงินโดยบุคคลอื่นโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.
๒๕๖๑
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา
๔๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๐
บัญญัติให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามีอำนาจดำเนินการขอข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ยืมเงินจากหน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
หรือบุคคลใดซึ่งเป็นผู้ครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว และมีอำนาจเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินและการชำระเงินคืนกองทุนของผู้กู้ยืมเงินให้แก่หน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
หรือบุคคลใดตามที่ร้องขอ ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ดังนั้น
เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวและเพื่อประโยชน์ในการบริหารกองทุนและการติดตามการชำระเงินคืนกองทุน
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ปวันวิทย์/จัดทำ
๓ มกราคม
๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๘๑ ก/หน้า ๑/๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๑ |
820385 | ประกาศคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เรื่อง กำหนดลักษณะของเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาขอบเขตการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาประเภทวิชา สถานศึกษาหรือระดับชั้นการศึกษาและหลักสูตรที่จะให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2562 | ประกาศคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
เรื่อง กำหนดลักษณะของเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ขอบเขตการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ประเภทวิชา
สถานศึกษาหรือระดับชั้นการศึกษา
และหลักสูตรที่จะให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ประจำปีการศึกษา
๒๕๖๒[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๙ (๕) และมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๐ คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในการประชุมครั้งที่
๘/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้มีมติให้ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ในประกาศนี้
กองทุน
หมายความว่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
หมายความว่า เงินที่กองทุนจัดสรรให้ผู้กู้ยืมเงิน เพื่อเป็นค่าเล่าเรียนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
และค่าครองชีพ
นักเรียนหรือนักศึกษา
หมายความว่า ผู้ซึ่งศึกษาอยู่ในสถานศึกษา และให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการตอบรับให้เข้าศึกษาในสถานศึกษาด้วย
สถานศึกษา
หมายความว่า โรงเรียน สถาบันอุดมศึกษา หรือสถานศึกษาอื่นของรัฐโรงเรียนของเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนและสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ค่าเล่าเรียน
หมายความว่า เงินค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่สถานศึกษาเรียกเก็บจากนักเรียนหรือนักศึกษา
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
หมายความว่า ค่าใช้จ่ายอื่นที่มิใช่ค่าเล่าเรียนที่สถานศึกษาเรียกเก็บจากนักเรียนหรือนักศึกษาตามระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่งของสถานศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
ค่าครองชีพ
หมายความว่า ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีพระหว่างศึกษา
คณะกรรมการ
หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ผู้จัดการ
หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ข้อ
๒ ในปีการศึกษา ๒๕๖๒
กองทุนจะสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา ด้วยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาใน ๒
ลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑)
เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
(๒)
เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักซึ่งมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
ข้อ
๓ นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
กองทุนจะให้กู้ยืมเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาไม่เกินขอบเขตการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ประเภทวิชา สถานศึกษาหรือระดับชั้นการศึกษา และหลักสูตรที่จะให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ตามที่กำหนดไว้ในแต่ละรายการดังนี้
ระดับการศึกษา/สาขาวิชา
ค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่าย
ที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
บาท/ราย/ปี
ค่าครองชีพ
บาท/ราย/ปี
รวม
บาท/ราย/ปี
๑.
มัธยมศึกษาตอนปลาย
๑๔,๐๐๐
๑๔,๔๐๐
๒๘,๔๐๐
๒.
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
๒๑,๐๐๐
๒๘,๘๐๐
๔๙,๘๐๐
๓.
ปวท./ปวส.หรือเทียบเท่า กองทุนจะให้กู้ยืมไม่เกินขอบเขตการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาประเภทวิชาและสาขาวิชาดังนี้
๓.๑
ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ ศิลปกรรม คหกรรม และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
๓.๒
ประเภทวิชาอุตสาหกรรม เกษตรกรรมประมงอุตสาหกรรมสิ่งทอ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
๓.๒.๑
สาขาวิชาช่างอากาศยานช่างเทคนิคระบบขนส่งทางราง การตรวจสอบโดยไม่ทำลาย และการเดินเรือ
๓.๒.๒
สาขาอื่น ๆ นอกจาก ๓.๒.๑
๒๕,๐๐๐
๖๐,๐๐๐
๓๐,๐๐๐
๒๘,๘๐๐
๒๘,๘๐๐
๒๘,๘๐๐
๕๓,๘๐๐
๘,๘๐๐
๕๘,๘๐๐
๔.
อนุปริญญา/ปริญญาตรี
๔.๑
สังคมศาสตร์ศิลปศาสตร์มนุษยศาสตร์ศึกษาศาสตร์
๔.๑.๑ สาขาที่ขาดแคลนและ/หรือเป็นความต้องการของตลาดแรงงาน
ได้แก่ บัญชี เศรษฐศาสตร์
สารสนเทศ นิติศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ วิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม โลจิสติกส์
อุตสาหกรรมบริการ ธุรกิจอุตสาหกรรมและธุรกิจการบิน
๔.๑.๒ สาขาอื่น ๆ นอกจาก ๔.๑.๑
๔.๒ ศิลปกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์
๔.๓ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๔.๔ เกษตรศาสตร์
๔.๕ สาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์เภสัชศาสตร์
๔.๖ แพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ทันตแพทยศาสตร์
๖๐,๐๐๐
๕๐,๐๐๐
๗๐,๐๐๐
๗๐,๐๐๐
๗๐,๐๐๐
๙๐,๐๐๐
๒๐๐,๐๐๐
๒๘,๘๐๐
๒๘,๘๐๐
๒๘,๘๐๐
๒๘,๘๐๐
๒๘,๘๐๐
๒๘,๘๐๐
๒๘,๘๐๐
๘๘,๘๐๐
๗๘,๘๐๐
๙๘,๘๐๐
๙๘,๘๐๐
๙๘,๘๐๐
๑๑๘,๘๐๐
๒๒๘,๘๐๐
ข้อ
๔ นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และศึกษาอยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กู้ยืมเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑)
นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสถาบันการศึกษาของรัฐ ไม่อนุมัติให้กู้ยืมเงินค่าเล่าเรียนเว้นแต่เป็นเงินค่าเล่าเรียนที่ได้รับอนุมัติจากต้นสังกัดให้เรียกเก็บ
(๒)
นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสถาบันการศึกษาของเอกชน ให้กู้ยืมเงินค่าเล่าเรียนเฉพาะในส่วนที่รัฐไม่ได้อุดหนุน
ทั้งนี้ ต้องไม่เกินอัตราที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนกำหนด
(๓)
นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาเฉพาะทางของหน่วยงานอื่นที่ไม่ได้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
หากไม่ได้ขอรับเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายบุคคลจากรัฐ อนุมัติให้กู้ยืมเงินค่าเล่าเรียนได้
ตามความเป็นจริง โดยเมื่อรวมกับเงินค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาแล้วต้องไม่เกินขอบเขตที่กาหนด
ข้อ
๕ นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักซึ่งมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
กองทุนจะให้กู้ยืมค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
ไม่เกินขอบเขตการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ประเภทวิชาสถานศึกษาหรือระดับชั้นการศึกษา
และหลักสูตรที่จะให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในแต่ละรายการดังนี้
ระดับการศึกษา/ประเภทวิชา
สาขาวิชา
ค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่าย
ที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
บาท/ราย/ปี
๑.
ปวท./ปวส. หรือเทียบเท่า
๑.๑ ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ ศิลปกรรมคหกรรมและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ทุกสาขาวิชา
๒๕,๐๐๐
๑.๒
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมเกษตรกรรม ประมง อุตสาหกรรมสิ่งทอเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
๑.๒.๑
สาขาวิชาช่างอากาศยานช่างเทคนิคระบบขนส่งทางรางการตรวจสอบโดยไม่ทาลายและการเดินเรือ
๑.๒.๒
สาขาอื่น ๆ นอกจาก ๑.๒.๑
๖๐,๐๐๐
๓๐,๐๐๐
๒.
อนุปริญญา/ปริญญาตรี
๒.๑ สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์
มนุษยศาสตร์
ศึกษาศาสตร์
รายละเอียดสาขาวิชาให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายประกาศ
๖๐,๐๐๐
๒.๒
ศิลปกรรมศาสตร์สถาปัตยกรรมศาสตร์
รายละเอียดสาขาวิชาให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายประกาศ
๗๐,๐๐๐
๒.๓
วิศวกรรมศาสตร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รายละเอียดสาขาวิชาให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายประกาศ
๗๐,๐๐๐
๒.๔
เกษตรศาสตร์
รายละเอียดสาขาวิชาให้เป็นไป
ตามบัญชีแนบท้ายประกาศ
๗๐,๐๐๐
๒.๕
สาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์
รายละเอียดสาขาวิชาให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายประกาศ
๙๐,๐๐๐
๒.๖ แพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์
รายละเอียดสาขาวิชาให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายประกาศ
๒๐๐,๐๐๐
ข้อ
๖ นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักซึ่งมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
ที่มีรายได้ครอบครัวไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาทต่อปีนอกจากจะกู้ยืมค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาตามข้อ
๕ แล้ว
อาจกู้ยืมเงินค่าครองชีพได้ในอัตรา ๒,๔๐๐ บาทต่อเดือน หรือ ๒๘,๘๐๐ บาทต่อปี
ข้อ
๗ นักเรียนหรือนักศึกษาจะกู้ยืมเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ได้เพียงหนึ่งหลักสูตรในแต่ละปีการศึกษา
ไม่เกินอัตราค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาที่สถานศึกษาเรียกเก็บตามจำนวนปีที่กาหนดไว้ในแต่ละหลักสูตร
กรณีที่นักเรียนหรือนักศึกษาได้รับทุนค่าเล่าเรียนหรือมีสิทธิเบิกค่าเล่าเรียนหรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
ให้นักเรียนหรือนักศึกษากู้ยืมค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาได้เฉพาะส่วนต่างเท่านั้น
ข้อ
๘ ให้ผู้จัดการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาในการปฏิบัติตามประกาศนี้ แล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบ
ข้อ
๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการดำเนินงานกองทุนปีการศึกษา
๒๕๖๒
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑
ประสงค์
พูนธเนศ
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เรื่อง กำหนดลักษณะของเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ขอบเขตการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ประเภทวิชา สถานศึกษาหรือระดับชั้นการศึกษาและหลักสูตรที่จะให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๑๓ มีนาคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๙๓ ง/หน้า ๑๖/๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ |
811278 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำส่งเงินให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560
| ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการนำส่งเงินให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ตามพระราชบัญญัติกองทนุ
เงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
อาศัยอำนาจตามความในวรรคสามของมาตรา
๕๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๐ อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข
เพื่อให้เจ้าพนักงานนำส่งเงินให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ในประกาศนี้
กองทุน
หมายความว่า
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๐
เงินกู้ยืม
หมายความว่า เงินกู้ยืมตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาพ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒ ให้เจ้าพนักงานสรรพากรดำเนินการโอนเงินกู้ยืมที่ได้รับจากกรมบัญชีกลางเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย
จำกัด (มหาชน) ชื่อบัญชี บัญชีรับชำระหนี้จากกรมสรรพากร เลขที่บัญชี
๙๘๙-๘-๕๗๐๙๑๑-๐
ข้อ
๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
เอกนิติ
นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร
พรวิภา/จัดทำ
๑๗ มกราคม ๒๕๖๒
นุสรา/ตรวจ
๑๘ มกราคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๖๔ ง/หน้า ๑๖๒/๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๑ |
810527 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักเงินได้พึงประเมินเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการหักเงินได้พึงประเมินเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืน
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
อาศัยอำนาจตามความในวรรคหนึ่งของมาตรา
๕๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๐
อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร
ให้พนักงานหรือลูกจ้างซึ่งเป็นผู้กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาหักเงินได้พึงประเมินเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนให้กองทุน
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ในประกาศนี้
กองทุน หมายความว่า
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๐
เงินกู้ยืม หมายความว่า
เงินกู้ยืมตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒ ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
๔๐ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นกระทรวง ทบวง
กรม สำนักงานหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
หักเงินได้พึงประเมินของข้าราชการและลูกจ้างประจำในสังกัดซึ่งเป็นผู้กู้ยืมเงิน
ตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบแล้วนำส่งผ่านระบบของกรมบัญชีกลางตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย
เพื่อให้กรมบัญชีกลางโอนเงินดังกล่าวให้กรมสรรพากร ผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย จำกัด
(มหาชน) ชื่อบัญชี กรมสรรพากร ๑ เพื่อรับชำระเงินคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ข้อ
๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
เอกนิติ
นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร
ปุณิกา/จัดทำ
๗
มกราคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๘๘ ง/หน้า ๑๖/๗ สิงหาคม ๒๕๖๑ |
607156 | ประกาศคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เรื่อง กำหนดขอบเขตการให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2552
| ประกาศคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ประกาศคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
เรื่อง
กำหนดขอบเขตการให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา
ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๒[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๘ (๗) และมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑ คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
จึงขอประกาศกำหนดขอบเขตการให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ประเภทวิชา โรงเรียน
สถานศึกษา หรือสถาบันการศึกษา
ระดับชั้นการศึกษาและหลักสูตรที่จะให้นักเรียนหรือนักศึกษากู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ นักเรียน นักศึกษา
ที่มีสิทธิกู้ยืมเงินตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑
ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามประกาศคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และคุณสมบัติของผู้กู้ยืมเงิน
และเป็นผู้ที่ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายสามัญและสายอาชีพ)
และนักศึกษาระดับอุดมศึกษา (อนุปริญญา ปริญญาตรี) ทั้งภาคปกติ ภาคพิเศษ
รวมทั้งการศึกษาประเภทอาชีวศึกษา (ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง อนุปริญญา
ปริญญาตรี)
ข้อ ๒ การให้กู้ยืมเงินในปีการศึกษา ๒๕๕๒
ให้กู้ยืมได้ ไม่เกินขอบเขตของแต่ละรายการที่กำหนดไว้ ดังนี้
ระดับการศึกษา/สาขาวิชา
ค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่าย
ที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
บาท/ราย/ปี
ค่าครองชีพ
บาท/ราย/ปี
รวม
บาท/ราย/ปี
๑.
มัธยมศึกษาตอนปลาย
๑๔,๐๐๐
๑๒,๐๐๐
๒๖,๐๐๐
๒. ประกาศนียบัตรวิชาชีพ
(ปวช.)
๒๑,๐๐๐
๑๕,๐๐๐
๓๖,๐๐๐
๓. ปวท./ปวส.
๓.๑
พาณิชยกรรมหรือบริหารธุรกิจ
ศิลปหัตถกรรมหรือ ศิลปกรรม
เกษตรกรรมหรือเกษตรศาสตร์
คหกรรมหรือคหกรรมศาสตร์
และ
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ส
๒๕,๐๐๐
ส
๒๔,๐๐๐
ส
๔๙,๐๐๐
๓.๒ ช่างอุตสาหกรรมหรืออุตสาหกรรม
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ทัศนศาสตร์
๓๐,๐๐๐
๒๔,๐๐๐
๕๔,๐๐๐
๔.
อนุปริญญา/ปริญญาตรี
๔.๑ สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์
ศึกษาศาสตร์
๔.๒ ศิลปกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์
๔.๓
วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี
๔.๔
เกษตรศาสตร์
๔.๕
สาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์
เภสัชศาสตร์
๔.๖
แพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์
ทันตแพทยศาสตร์
๖๐,๐๐๐
ส
๖๐,๐๐๐
๗๐,๐๐๐
ส
๗๐,๐๐๐
๘๐,๐๐๐
ส
๑๕๐,๐๐๐
๒๔,๐๐๐
ส
๒๔,๐๐๐
๒๔,๐๐๐
ส
๒๔,๐๐๐
๒๔,๐๐๐
ส
๒๔,๐๐๐
๘๔,๐๐๐
ส
๘๔,๐๐๐
๙๔,๐๐๐
ส
๙๔,๐๐๐
๑๐๔,๐๐๐
ส
๑๗๔,๐๐๐
ข้อ ๓ เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาให้จ่ายตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ดังต่อไปนี้
๓.๑
เงินกู้ยืมที่จ่ายเข้าบัญชีของสถานศึกษา ได้แก่
ค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา ซึ่งหมายถึง
๓.๑.๑
ค่าเล่าเรียน ค่าบำรุงการศึกษา ค่าหน่วยกิจ และค่าธรรมเนียมการศึกษา ที่จ่ายตามภาค
หรือปีการศึกษาที่สถานศึกษาเรียกเก็บ
๓.๑.๒
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สถานศึกษาเรียกเก็บนอกเหนือจาก ข้อ ๓.๑.๑
๓.๒
เงินกู้ยืมที่จ่ายเข้าบัญชีของนักเรียน นักศึกษา ผู้กู้ยืม ได้แก่ ค่าครองชีพ ซึ่งหมายถึง
ค่าที่พักและค่าใช้จ่ายส่วนตัวของนักเรียน นักศึกษา
โดยเป็นการให้กู้ยืมเต็มตามวงเงินที่กำหนดไว้ให้ในแต่ละรายและในแต่ละระดับชั้นการศึกษา
ข้อ ๔ การพิจารณาคัดเลือกนักเรียน
นักศึกษาผู้มีสิทธิกู้ยืมเงิน
ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วย
การดำเนินงาน หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๖ และระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วย
การดำเนินงาน หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๕ นักเรียน
นักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กู้ยืมในส่วนของค่าเล่าเรียน
ดังนี้
๕.๑
นักเรียน นักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาของรัฐ ไม่อนุมัติ ให้กู้ยืม เว้นแต่ค่าบำรุงการศึกษา
หรือค่าธรรมเนียมการศึกษาอื่นเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สถานศึกษาเรียกเก็บ
๕.๒
นักเรียน นักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาของเอกชน ไม่อนุมัติให้กู้ยืมตามอัตราที่รัฐอุดหนุน
แต่อนุมัติให้กู้ยืมได้ในส่วนของค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา แต่ต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดตามประกาศของสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
๕.๓
นักเรียน นักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาเฉพาะทางของหน่วยงานอื่นที่ไม่ได้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
หากไม่ได้ขอรับเงินอุดหนุนค่าใช้จ่าย รายบุคคลจากรัฐ
อนุมัติให้กู้ยืมค่าเล่าเรียนได้ตามความเป็นจริงโดยเมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาแล้วต้องไม่เกินขอบเขตที่กำหนด
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
คุณากร/ผู้จัดทำ
๒๗ เมษายน ๒๕๕๔
วิชชุตา/ผู้ตรวจ
๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๘๖ ง/หน้า ๗๘/๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๒ |
517445 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน พ.ศ. 2542 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืม
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืม
เพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
พ.ศ. ๒๕๔๒[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับจำนวนเงิน
เงื่อนไขและระยะเวลาชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ (๗) มาตรา ๕๒ และมาตรา ๕๔
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑ คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจึงวางระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อ
๒
ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ
๓
ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน พ.ศ. ๒๕๓๙
ข้อ ๔[๒] ในระเบียบนี้
กองทุน หมายความว่า
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ผู้กู้ยืม หมายความว่า
นักเรียน หรือนักศึกษา ผู้กู้ยืมเงินจากกองทุน
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ธนาคาร หมายความว่า
ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม ตามความในมาตรา ๓๗
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑
ประโยชน์อื่นใด หมายความว่า
ค่าบริการ เช่น ค่าธรรมเนียมการจัดการเงินกู้
ข้อ ๕[๓] ผู้กู้ยืมมีหน้าที่ต้องชำระเงินกู้ยืมพร้อมทั้งดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดร้อยละ
๑ ต่อปี
คืนให้กองทุนภายหลังวันที่ได้รับอนุมัติให้สำเร็จการศึกษาหรือมีคำสั่งให้พ้นสภาพการเป็นนักเรียน
นักศึกษาแล้ว ๒ ปี
การชำระดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดตามวรรคหนึ่ง
หากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำหนึ่งปีของธนาคารออมสินต่ำกว่าร้อยละ ๑ ต่อปี
ให้ผู้กู้ยืมชำระดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดตามอัตรานั้น
ให้ผู้กู้ยืมชำระหนี้งวดแรกหลักจากครบระยะเวลาปลอดหนี้ตามวรรคหนึ่งและชำระหนี้งวดต่อ
ๆ ไป ภายในวันที่ ๕ กรกฎาคม โดยให้ถือว่า วันที่ ๕ กรกฎาคม
เป็นวันที่ครบกำหนดชำระหนี้
หากวันดังกล่าวตรงกับวันหยุดทำการของธนาคารให้นับวันเปิดทำการถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระหนี้
ในการชำระหนี้คืนงวดแรก ให้ผู้กู้ยืมชำระคืนเฉพาะเงินต้น
สำหรับงวดต่อ ๆ ไป ให้ชำระเงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด
การคิดดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดให้เริ่มคิดตั้งแต่วันที่ครบกำหนดชำระหนี้ของเงินต้นที่เหลือหลังจากชำระงวดแรกแล้ว
ข้อ ๖[๔] ผู้กู้ยืมต้องชำระหนี้เงินกู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดคืนให้แก่กองทุนให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา
๑๕ ปี นับแต่วันที่ต้องเริ่มชำระหนี้
กรณีผู้กู้ยืมพ้นสภาพการเป็นนักเรียน นักศึกษากลางคัน
ก่อนที่จะจบภาคการศึกษาให้นับระยะเวลาปลอดหนี้โดยอนุโลมเหมือนจบภาคการศึกษาของปีนั้นและให้ผู้กู้ยืมเริ่มชำระหนี้งวดแรกในวันที่
๕ กรกฎาคม หลังจากครบระยะเวลาปลอดหนี้ ๒ ปีเช่นกัน
ข้อ
๗
ให้ผู้กู้ยืมเลือกผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือน
หรือผ่อนชำระเป็นรายปีได้จำนวนเงินต้นที่ต้องชำระเป็นรายเดือนรวมตลอดปี
หรือจำนวนเงินต้นที่ชำระเป็นรายปีต้องไม่ต่ำกว่าอัตราดังนี้
ปีที่ชำระ
ร้อยละของเงินต้นที่ต้องชำระ
ปีที่ชำระ
ร้อยละของเงินต้นที่ต้องชำระ
ปีที่ชำระ
ร้อยละของเงินต้นที่ต้องชำระ
๑
๑.๕
๖
๔.๕
๑๑
๙.๐
๒
๒.๕
๗
๕.๐
๑๒
๑๐.๐
๓
๓.๐
๘
๖.๐
๑๓
๑๑.๐
๔
๓.๕
๙
๗.๐
๑๔
๑๒.๐
๕
๔.๐
๑๐
๘.๐
๑๕
๑๓.๐
ในกรณีจำเป็นที่เห็นสมควรธนาคารอาจผ่อนผันให้ผู้กู้ยืมชำระหนี้ตามระยะเวลาที่แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในวรรคแรก
หรือชะลอการชำระหนี้เป็นการชั่วคราว ตามที่ผู้กู้ยืมร้องขอเป็นราย ๆ
หรือเป็นการทั่วไปก็ได้
ข้อ
๘[๕] (ยกเลิก)
ข้อ
๙[๖] ในการชำระหนี้
ให้ผู้กู้ยืมนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของตนที่มีอยู่กับธนาคาร
เป็นเลขที่บัญชีเดียวกันกับผู้กู้ยืมได้รับเงินกู้ เมื่อครั้งกู้ยืมเงิน
หรือบัญชีออมทรัพย์ของผู้กู้บัญชีอื่นที่ผู้กู้ยืมแจ้งความประสงค์ให้หักบัญชีเพื่อชำระหนี้
หรือชำระโดยวิธีอื่นตามที่ธนาคารกำหนด
ข้อ ๑๐[๗] หากผู้กู้ยืมผิดนัดชำระหนี้
ผู้กู้ยืมจะต้องเสียค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ตามอัตราดังนี้
(๑) กรณีผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือน หากค้างชำระตั้งแต่ ๑
เดือนขึ้นไปแต่ไม่เกิน ๑๒ เดือน ชำระค่าปรับ
หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ ร้อยละ ๑
ต่อเดือนของเงินต้นงวดที่ค้างชำระหากค้างชำระเกิน ๑๒ เดือน ชำระค่าปรับ
หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ร้อยละ ๑.๕ ต่อเดือน
ของเงินต้นงวดที่ค้างชำระทั้งหมด
(๒) กรณีผ่อนชำระหนี้เป็นรายปี หากค้างชำระตั้งแต่ ๑ งวดขึ้นไป ชำระค่าปรับ
หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ร้อยละ ๑.๕ ต่อเดือน
ของเงินต้นงวดที่ค้างชำระทั้งหมด
ข้อ ๑๑[๘] ผู้กู้ยืมที่มีความประสงค์จะขอชำระหนี้คืนก่อนครบกำหนดระยะเวลาชำระหนี้
หรือก่อนครบระยะเวลาปลอดหนี้ ๒ ปี สามารถชำระคืนได้โดยไม่เสียดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด
ข้อ
๑๒ ผู้กู้ยืมที่บอกเลิกสัญญา
จะต้องชำระหนี้คืนตามระเบียบภายใน ๓๐ วัน โดยไม่เสียดอกเบี้ย หากเกินระยะเวลาดังกล่าว
ให้คิดดอกเบี้ยร้อยละ ๑ ต่อเดือน ของเงินต้นที่ค้างชำระกรณีค้างชำระไม่เกิน ๑๒
เดือน และร้อยละ ๑.๕ ต่อเดือนของเงินต้นที่ค้างชำระกรณีค้างชำระเกิน ๑๒ เดือน
ข้อ
๑๓ การผ่อนชำระหนี้แต่ละครั้ง
ธนาคารจะคิดค่าใช้จ่ายในการโอนเงินรายการละ ๑๐ บาท โดยหักบัญชีจากผู้กู้ยืม
ข้อ
๑๔ หลักฐานการชำระหนี้คืน
ผู้กู้ยืมสามารถตรวจสอบดังนี้
(๑) จากสำเนาใบนำฝากเงิน
(๒) จากการบันทึกบัญชีในสมุดเงินฝากของผู้กู้ยืม
(๓) จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ของธนาคาร
(๔) จากรายการบันทึกบัญชี (Statement) ของธนาคาร
ข้อ ๑๕[๙] ก่อนวันครบกำหนดชำระหนี้ครั้งแรก
ธนาคารจะส่งจดหมายที่สามารถตรวจสอบการนำจ่ายไปยังผู้รับได้
แจ้งให้ผู้กู้ยืมทราบเป็นการล่วงหน้า
ข้อ
๑๖
ให้ประธานกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๒
ศุภชัย พิศิษฐวานิช
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖[๑๐]
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐[๑๑]
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วย การชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๒[๑๒]
คุณากร/ผู้จัดทำ
๒๗ เมษายน ๒๕๕๔
วิชชุตา/ผู้ตรวจ
๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๔๒ ง/หน้า ๗๖/๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๖
[๒] ข้อ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วย การชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๒
[๓] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วย การชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๒
[๔] ข้อ ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วย การชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๒
[๕] ข้อ ๘ ยกเลิกโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๖] ข้อ ๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๗] ข้อ ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วย การชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๒
[๘] ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วย การชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๒
[๙] ข้อ ๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๔๓ ง/หน้า ๓๖/๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๖
[๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม -/-/-/-
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม -/-/-/- |
790740 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยการดำเนินงาน หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2546 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการดำเนินงาน
หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงิน
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๖[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยการดำเนินงาน
หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ (๗)
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑ คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจึงวางระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยการดำเนินงาน
หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ ให้ใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๑
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
กองทุน หมายความว่า
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ผู้กู้ยืมเงิน หมายความว่า นักเรียน นักศึกษา
ที่กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษา หมายความว่า
ผู้บริหารของสถานศึกษาที่ได้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ในการดำเนินงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
สำนักงานกองทุน หมายความว่า
สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
สถานศึกษา หมายความว่า โรงเรียน สถานศึกษา
หรือสถาบันการศึกษาของทางราชการ หรือโรงเรียนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือโรงเรียน สถานศึกษา
หรือสถาบันการศึกษาที่มีกฎหมายตั้งขึ้นโดยเฉพาะ หรือโรงเรียน สถานศึกษา
หรือสถาบันการศึกษาอื่นที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม หมายความว่า
บุคคลที่คณะกรรมการทำสัญญาจ้างให้ทำหน้าที่บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมตามมาตรา
๓๗ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑
ข้อ
๕ ให้ประธานกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
การจัดสรรวงเงินให้กู้ยืม
ข้อ ๖ ให้คณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่หนึ่ง
และคณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่สอง
พิจารณาจัดสรรวงเงินให้กู้ยืมที่ได้รับให้นักเรียน นักศึกษา แต่ละสถานศึกษาตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ
๗ ให้คณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่หนึ่ง
และคณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่สอง
แจ้งรายละเอียดการจัดสรรวงเงินกู้ยืมให้สำนักงานกองทุนทราบ
ตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด ๒
ผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ข้อ
๘ ผู้กู้ยืมเงินกองทุน มี ๒ ประเภท
ได้แก่
(๑) ผู้กู้ยืมเงินรายใหม่ หมายถึง นักเรียน
นักศึกษาผู้ที่ไม่เคยกู้ยืมเงินกองทุนมาก่อน
หรือเป็นผู้ที่เคยกู้ยืมเงินมาก่อนและได้ชำระหนี้คืนเสร็จสิ้นแล้ว
(๒) ผู้กู้ยืมเงินรายเก่า หมายถึง นักเรียน
นักศึกษาที่อยู่ในระหว่างการศึกษาและเคยกู้ยืมเงินกองทุนมาก่อนไม่ว่าจะเคยกู้ยืมเงินจากสถานศึกษาอื่นหรือสถานศึกษาปัจจุบันก็ตาม
ข้อ
๙
ผู้กู้ยืมเงินต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา ๔๕
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑ ดังนี้
(๑) เป็นผู้มีสัญชาติไทย
(๒)
เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
(๓) มีคุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ ๑๐[๒] นักเรียน
นักศึกษาที่ประสงค์จะขอกู้ยืมเงิน หรือผู้กู้ยืมเงินรับรองว่าจะปฏิบัติ ดังนี้
๑. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมตรงกับความเป็นจริง
๒. ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.
๒๕๔๑ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หลักเกณฑ์
และวิธีการของคณะกรรมการตลอดระยะเวลาการกู้ยืม
๓. ดำเนินการเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเอง
และต้องเก็บรักษารหัสผ่านที่ได้รับจากกองทุนไว้เป็นความลับ หากผู้ใดยินยอมให้บุคคลอื่นดำเนินการเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แทน
ให้ถือว่าเป็นการดำเนินการด้วยตนเอง
๔. แจ้งการเปลี่ยนชื่อ ย้ายที่อยู่หรือย้ายสถานศึกษา และจบการศึกษา
หรือพ้นสภาพการเป็นนักเรียน นักศึกษาภายในสิบห้าวันนับแต่วันเปลี่ยนชื่อ ย้ายที่อยู่
ย้ายสถานศึกษา จบการศึกษาหรือพ้นสภาพการเป็นนักเรียน นักศึกษา
ต่อผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
๕. แสดงตนต่ออาจารย์ที่ปรึกษาที่ได้รับมอบหมายตามข้อ ๓๖ (๓)
อย่างน้อยภาคละหนึ่งครั้ง
๖. ให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมที่สถานศึกษากำหนดในหมวด ๘
หรือกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับกองทุน
๗. แจ้งสภาพการเป็นนักเรียน นักศึกษา
ทุกปีที่ผู้กู้ยืมเงินไม่ได้กู้ยืมเงินแต่ยังศึกษาอยู่ต่อผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
๘. หน้าที่อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ
๑๑ นักเรียน
นักศึกษาที่ขอกู้ยืมเงินกองทุนต้องศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่มีสถานภาพตามข้อ ๑๕
และข้อ ๑๖ แล้ว เท่านั้น
ข้อ ๑๒[๓] นักเรียน
นักศึกษาผู้ใดประสงค์จะกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาให้ยื่นคำขอตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
โดยจัดทำคำขอกู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่คณะกรรมการจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
การยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งให้ยื่นได้ทุกวันในเวลาทำการของสถานศึกษานั้น
ๆ ทั้งนี้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด
ข้อ
๑๓ นักเรียน นักศึกษา
ที่ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินต้องเปิดบัญชีเงินฝากกับผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
พร้อมทั้งหนังสือแจ้งผลการอนุมัติจากสถานศึกษาเพื่อประกอบการขอเปิดบัญชีด้วย
ข้อ
๑๔
เมื่อผู้กู้ยืมเงินสำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาแล้วเป็นเวลาสองปี
ผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่ต้องชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนตามจำนวนระยะเวลาและวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบของคณะกรรมการ
ก่อนถึงกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ตามวรรคหนึ่ง
ผู้กู้ยืมเงินต้องรายงานข้อมูลพร้อมเอกสารของตนเองตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
ต่อผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
สาขาใดสาขาหนึ่งก่อนสิ้นเดือนพฤษภาคมของปีถัดจากปีที่สำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษา
หมวด ๓
สถานภาพสถานศึกษา
ข้อ ๑๕
สถานศึกษาที่ดำเนินงานกองทุนต้องเป็นสถานศึกษาที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและได้รับความเห็นชอบให้เปิดดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร
ในแต่ละสาขาวิชาจากกระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย
หรือหน่วยงานอื่นที่สถานศึกษานั้นสังกัด
ข้อ
๑๖ สถานศึกษาตามข้อ ๑๕
ก่อนดำเนินงานกองทุนต้องได้รับความเห็นชอบ จากคณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่หนึ่ง
หรือคณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่สอง แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด ๔
คณะกรรมการพิจารณาการให้กู้ยืมเงินประจำสถานศึกษา
ข้อ ๑๗[๔]
ให้ผู้บริหารสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเงินให้กู้ยืมประจำสถานศึกษาจำนวนห้าคน
ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นประธาน ผู้แทนองค์กรชุมชน
จำนวนหนึ่งคนเป็นกรรมการ อาจารย์ หรือครูของสถานศึกษานั้น
จำนวนสองคนเป็นกรรมการและให้ประธานแต่งตั้งบุคลากรของสถานศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ
จำนวนหนึ่งคน
ผู้แทนองค์กรชุมชนตามวรรคหนึ่งให้หมายถึงบุคคลที่อยู่ในองค์กรชุมชนตามความหมายที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ
๑๘
คณะกรรมการพิจารณาให้กู้ยืมเงินประจำสถานศึกษา
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาคัดเลือกนักเรียนนักศึกษาที่ขอกู้ยืมเงินเพื่อเสนอให้ผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณาอนุมัติ
โดยดำเนินการดังนี้
(๑) ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสาร
(๒) สัมภาษณ์ผู้ขอกู้ยืมเงิน
รวมทั้งถ้ามีความจำเป็นอาจสัมภาษณ์บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
(๓)
ตรวจสอบโดยเยี่ยมเยียนครอบครัวของผู้ขอกู้ยืมเงินในกรณีที่เห็นว่ามีความจำเป็น
(๔) สรุปข้อมูลการกู้ยืมเงินของผู้ขอกู้ยืมเงิน
(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกผู้ขอกู้ยืมเงินตามที่คณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่หนึ่ง
หรือคณะอนุกรรมการบัญชีที่สองมอบหมาย
ข้อ
๑๙ ในการดำเนินการตามข้อ ๑๘
คณะกรรมการพิจารณาการให้กู้ยืมเงินประจำสถานศึกษาอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อทำหน้าที่แทนก็ได้
ข้อ ๒๐[๕] การประชุมคณะกรรมการพิจารณาการให้กู้ยืมเงินประจำสถานศึกษา
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
จึงถือว่าเป็นองค์ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุม ให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด
หมวด ๕
การเตรียมการและการคัดเลือกผู้กู้ยืมเงิน
ข้อ ๒๑
ผู้บริหารสถานศึกษาและเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินงานกองทุนต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หลักเกณฑ์
และวิธีการของคณะกรรมการอย่างเคร่งครัดและต้องจัดให้มีสถานที่บุคลากรให้เหมาะสมและเพียงพอในการดำเนินงานกองทุน
ผู้บริหารสถานศึกษานอกจากมีหน้าที่ตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้มีหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมอบหมายด้วย
ข้อ
๒๒ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องปิดประกาศ
ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หลักเกณฑ์
และวิธีการการดำเนินงานกองทุนไว้ในที่ที่เห็นได้ทั่วไปให้นักเรียน
นักศึกษาทราบโดยเปิดเผย ณ สถานศึกษา
ข้อ
๒๓
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องจัดให้มีการดำเนินการเพื่อเตรียมการและคัดเลือกผู้กู้ยืมเงินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่หนึ่งและคณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่สองกำหนด
ซึ่งอย่างน้อยต้องดำเนินการดังนี้
(๑) ประชาสัมพันธ์เรื่องกองทุน
(๒) แนะนำให้คำปรึกษาแก่นักเรียน นักศึกษา
(๓) รับแบบคำขอ
ตรวจสอบคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ของผู้กู้ยืมเงิน
(๔) เตรียมเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียน นักศึกษา
(๕)
จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการพิจารณาการให้กู้ยืมเงินประจำสถานศึกษา
(๖)
จัดทำรายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาการให้กู้ยืมเงินประจำสถานศึกษา
(๗) จัดทำประกาศผู้ได้รับการคัดเลือกให้กู้ยืมเงิน
(๘) จัดเก็บเอกสารต่าง ๆ ไว้เพื่อการตรวจสอบ
ข้อ
๒๔ การคัดเลือกผู้กู้ยืมเงินจะกระทำได้ต่อเมื่อมีคุณสมบัติตามข้อ
๙ และเป็นผู้มีสถานภาพเป็นนักเรียน นักศึกษา โดยได้ขึ้นทะเบียนเป็นนักเรียน
นักศึกษาของสถานศึกษาที่คัดเลือกนั้นแล้ว
ข้อ
๒๕
การพิจารณาคัดเลือกผู้กู้ยืมเงินรายใหม่
กรณีเงินที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอที่จะให้กู้ยืมเงิน
ให้พิจารณาจากความขาดแคลนทุนทรัพย์ของผู้ขอกู้ยืมเงินและเป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาที่อยู่ในเขตของสถานศึกษาโดยให้คำนึงถึงผู้ที่มีคุณสมบัติและเคยขอกู้ยืมเงินกองทุนในปีการศึกษาที่ผ่านมาของสถานศึกษานั้น
แต่ไม่ได้รับการอนุมัติให้กู้ยืมเงิน
ข้อ
๒๖ การพิจารณาการคัดเลือกผู้กู้ยืมเงินรายเก่า
สถานศึกษาต้องดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติและสัมภาษณ์ผู้กู้ยืมเงินทุกครั้ง
เมื่อได้ผู้กู้ยืมเงินมีคุณสมบัติครบถ้วนแล้วให้พิจารณาจากความขาดแคลนทุนทรัพย์
สาขาวิชาที่ศึกษา ผลการเรียน และความประพฤติของผู้กู้ยืม
ข้อ
๒๗ เมื่อผู้บริหารสถานศึกษาได้อนุมัติการกู้ยืมเงินแก่นักเรียน
นักศึกษาแล้ว ให้ผู้บริหารสถานศึกษาดำเนินการดังนี้
(๑)
ประกาศรายชื่อผู้ขอกู้ยืมเงินที่ได้รับอนุมัติโดยเปิดเผย ณ สถานศึกษา
(๒) รายงานผลการคัดเลือกให้สำนักงานกองทุน
และผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม สาขาที่เปิดบัญชีทราบตามแบบที่สำนักงานกองทุนกำหนด
หมวด ๖
การทำสัญญากู้ยืมและการนำส่งสัญญากู้ยืม
ข้อ ๒๘
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องจัดทำสัญญากู้ยืมเงินกับผู้ขอกู้ยืมเงินที่ได้รับอนุมัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการ
เรื่อง กำหนดขอบเขตการให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
หลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
ให้สถานศึกษาใช้แบบสัญญากู้ยืมตามที่คณะกรรมการกำหนด
ซึ่งสำนักงานกองทุนจะจัดส่งให้ในแต่ละปีเท่านั้น
ข้อ
๒๙
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องดำเนินการจัดให้มีการพิมพ์หรือเขียนข้อความในสัญญากู้ยืมก่อนผู้ให้กู้ยืม
ผู้กู้ยืมเงิน ผู้ค้ำประกันและผู้รับรองลายมือชื่อผู้ค้ำประกันลงลายมือชื่อ
การลงลายมือชื่อของบุคคลตามวรรคหนึ่ง
ต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเอง
ข้อ
๓๐
กรณีผู้ค้ำประกันไม่สามารถมาลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมต่อหน้าเจ้าหน้าที่หรือผู้บริหารสถานศึกษา
ต้องมีลายมือชื่อของนายทะเบียนท้องที่ หรือท้องถิ่น ณ ภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน
หรือภูมิลำเนาที่ประกอบอาชีพของผู้ค้ำประกันรับรองด้วย
ข้อ
๓๑ ผู้บริหารสถานศึกษา
ต้องจัดให้มีการตรวจสอบสัญญากู้ยืมและเอกสารประกอบให้ถูกต้องครบถ้วนก่อนนำส่งให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
และต้องลงลายมือชื่อในใบนำส่งสัญญากู้ยืมด้วยทุกครั้ง
ข้อ
๓๒
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องส่งสัญญากู้ยืมให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
สาขาที่สถานศึกษาเปิดบัญชีไว้จำนวนหนึ่งฉบับและให้ผู้ขอกู้ยืมเงินหนึ่งฉบับ
พร้อมทั้งสำเนาสัญญากู้ยืมโดยรับรองสำเนาส่งให้ผู้ค้ำประกันหนึ่งฉบับ
เอกสารที่ต้องนำส่งพร้อมสัญญา
ประกอบด้วย
(๑) สำเนาสมุดคู่ฝากของผู้กู้ยืมเงิน
(๒)
สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้ยืมเงิน
(๓)
สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ค้ำประกัน
(๔) สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี)
(๕) สำเนาบัตรประกันสังคมของผู้ปกครองและผู้ค้ำประกัน
ถ้ามี)
(๖) สำเนาประกาศการอนุมัติให้กู้ยืมเงิน
ข้อ
๓๓
ให้สถานศึกษาโดยผู้บริหารสถานศึกษาเปิดบัญชีประเภทออมทรัพย์ของผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
โดยใช้ชื่อว่า บัญชีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของ (ระบุชื่อสถานศึกษา
) และแจ้งเลขที่บัญชีให้กองทุนทราบ
หมวด ๗
การจัดทำทะเบียนผู้กู้ยืมเงิน
และการเก็บเอกสาร
ข้อ ๓๔
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเก็บแบบคำขอกู้พร้อมหลักฐานของผู้ขอกู้ยืมเงินไว้เพื่อการตรวจสอบ
ดังนี้
(๑) กรณีผู้ขอกู้ยืมเงินไม่ได้รับการอนุมัติให้กู้ยืม
ให้จัดเก็บไว้หกสิบวันนับตั้งแต่วันที่ไม่ได้รับการอนุมัติ
(๒) กรณีผู้ขอกู้ยืมเงินที่ได้รับการอนุมัติให้กู้ยืม
ให้จัดเก็บไว้จนกว่าผู้กู้ยืมเงินได้ทำข้อตกลงการชำระหนี้กับผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
หรือเมื่อได้มีการชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว
ข้อ
๓๕
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องจัดทำทะเบียนผู้กู้ยืมเงินในแต่ละปีตามแบบที่สำนักงานกองทุนกำหนด
และเก็บสำเนาหลักฐานการส่งสัญญากู้ยืมเงินในแต่ละครั้งไว้ที่สถานศึกษา
เพื่อการตรวจสอบ
หมวด ๘
การกำกับและส่งเสริมผู้กู้ยืมเงินระหว่างศึกษา
ข้อ ๓๖
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องจัดให้มีการกำกับและส่งเสริมผู้กู้ยืมเงินในระหว่างกำลังศึกษา
ดังนี้
(๑) กำหนดมาตรการตรวจสอบคุณสมบัติผู้กู้ยืมเงิน
(๒) ติดตามผลการศึกษาของผู้กู้ยืมเงินอย่างต่อเนื่อง
(๓) มอบหมายให้อาจารย์ที่ปรึกษาทำหน้าที่ให้คำแนะนำด้านการกู้ยืมเงินกองทุน
(๔)
จัดให้มีกิจกรรมเพื่อปลูกจิตสำนึกผู้กู้ยืมเงินในการชำระหนี้คืนกองทุน
(๕) จัดประชุมผู้กู้ยืมเงินและ/หรือผู้ปกครอง
และ/หรือผู้ค้ำประกันเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และกฎหมายที่เกี่ยวกับกองทุนในโอกาสต่าง
ๆ
ข้อ
๓๗
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องรายงานผลการศึกษาของผู้กู้ยืมเงินที่กำลังศึกษาอยู่
ให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม ทราบตามแบบที่สำนักงานกองทุนกำหนด
ข้อ ๓๘[๖]
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องตรวจสอบว่าผู้กู้ยืมเงินลงทะเบียนหรือไม่
หากผู้กู้ยืมเงินไม่ลงทะเบียนเรียน ต้องแจ้งให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
(บมจ.ธนาคารกรุงไทย) ทราบภายในสิบห้าวัน
นับแต่วันสิ้นสุดการลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษา
และให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
ระงับการโอนเงินให้ผู้กู้ยืมเงินดังกล่าวไว้ก่อน
ข้อ
๓๙ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องแจ้งการพ้นสภาพการเป็นนักเรียน
นักศึกษา ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ของผู้กู้ยืมเงินให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พ้นสภาพตามแบบที่สำนักงานกองทุนกำหนด
การแจ้งการพ้นสภาพตามวรรคหนึ่งให้นับจากกำหนดระยะเวลา
แล้วแต่กรณี ดังนี้
(๑) ตาย นับแต่ที่ได้ดำเนินตามข้อ ๔๐
(๒) ลาออก นับแต่วันที่ผู้กู้ยืมเงินลาออก
(๓) ผลการศึกษาไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์
นับแต่วันทราบผลการศึกษา
(๔) มีความประพฤติเสียหาย
นับตั้งแต่วันที่สถานศึกษามีคำสั่งให้พ้นสภาพ
ข้อ
๔๐
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องแจ้งการเสียชีวิตของผู้กู้ยืมเงินทันทีที่ทราบ
ให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
และให้ส่งหลักฐานประกอบให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่แจ้ง
หมวด ๙
การติดตามผู้กู้ยืมเงินเมื่อสำเร็จการศึกษาหรือเลิกศึกษา
ข้อ ๔๑ ให้ผู้บริหารสถานศึกษาทำทะเบียน
และสำรวจข้อมูลที่อยู่ของผู้กู้ยืมเงินที่สำเร็จการศึกษา เลิกศึกษา
และพ้นสภาพการเป็นนักเรียน นักศึกษาในแต่ละปีการศึกษาตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
และสำเนาส่งให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม ทราบ
ข้อ
๔๒
ให้ผู้บริหารสถานศึกษาให้ความร่วมมือในการสำรวจ ติดตาม
และให้ข้อมูลของผู้กู้ยืมเงินตามที่สำนักงานกองทุนร้องขอ
หมวด ๑๐
มาตรการกำกับผู้กู้ยืมเงินและผู้บริหารสถานศึกษา
ข้อ ๔๓ ห้ามมิให้ผู้บริหารสถานศึกษาหรือบุคคลใด
กระทำการใด ๆ
ในลักษณะนำกองทุนไปโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้บุคคลอื่นเข้ามาศึกษาในสถานศึกษาของตน
นอกจากข้อความที่สำนักงานกองทุนกำหนด
ข้อ ๔๓/๑[๗] ผู้บริหารสถานศึกษา
และ/หรือเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาที่รับผิดชอบการดำเนินงานกองทุนมีหน้าที่กวดขันและกำกับตรวจสอบให้นักเรียน
นักศึกษาที่ประสงค์จะขอกู้ยืมเงิน หรือผู้กู้ยืมเงินปฏิบัติตามหน้าที่ในข้อ ๑๐
โดยเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องไม่ยินยอม
หรือรู้เห็นเป็นใจหรือกระทำการโดยประการใดเพื่อให้มีผู้หนึ่งผู้ใดดำเนินการเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนนักเรียน
นักศึกษาที่ประสงค์จะขอกู้ยืมเงิน หรือผู้กู้ยืมเงินรายหนึ่งรายใด
ผู้บริหารสถานศึกษา
และ/หรือเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาที่รับผิดชอบการดำเนินงานกองทุนมีหน้าที่ตรวจสอบว่า
เงินกู้ยืมของผู้กู้ยืมเงินที่ระบุไว้ในแบบยืนยันจำนวนเงินค่าเล่าเรียน
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และ/หรือค่าครองชีพ
ตรงกับจำนวนเงินที่ผู้กู้ยืมเงินยืนยันหรือไม่ หากจำนวนเงินไม่ตรงกัน
กองทุนจะโอนเงินค่าเล่าเรียนและ/หรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาให้แก่สถานศึกษาตามจำนวนที่น้อยกว่า
ข้อ ๔๓/๒[๘] ก่อนสิ้นภาคการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา
และ/หรือเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาที่รับผิดชอบการดำเนินงานกองทุนมีหน้าที่ต้องส่งข้อมูลเกี่ยวกับยอดเงินค่าเล่าเรียนและ/หรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาที่สถานศึกษาได้รับจริงจากผู้กู้ยืมเงินแต่ละรายซึ่งเป็นข้อมูลหลังเสร็จสิ้นการเพิ่ม
- ถอน รายวิชาแล้ว ผ่านระบบ e-audit ของกองทุนเพื่อตรวจสอบ
หากไม่สามารถปฏิบัติได้โดยไม่มีเหตุอันสมควร
กองทุนอาจพิจารณาระงับการโอนเงินให้แก่สถานศึกษาสำหรับภาคการศึกษาถัดไปก็ได้
ผู้บริหารสถานศึกษา
และ/หรือเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาที่รับผิดชอบการดำเนินงานกองทุนต้องส่งคืนเงินกู้ยืมของผู้กู้ยืมเงินที่มิได้ใช้ตามที่กำหนดไว้ในสัญญากู้ยืมให้แก่กองทุนก่อนสิ้นภาคการศึกษาแต่ละภาคของสถานศึกษานั้น
หากมิได้ส่งคืนเงินภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
กองทุนมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราไม่เกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี นับแต่วันผิดนัด
ข้อ
๔๔ ผู้บริหารสถานศึกษา และ/หรือเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาที่รับผิดชอบการดำเนินงานกองทุนต้องให้ความร่วมมือในการชี้แจงและจัดเตรียมเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนหรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องเมื่อได้รับการร้องขอจากกรรมการ
อนุกรรมการหรือผู้จัดการกองทุน แล้วแต่กรณี
ข้อ
๔๕
ในกรณีผู้กู้ยืมเงินไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หลักเกณฑ์
และวิธีการของคณะกรรมการ สำนักงานกองทุนจะดำเนินการตักเตือนและให้ผู้กู้ยืมเงิน
ปรับปรุงแก้ไข หากไม่ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข
จะมีผลต่อการพิจารณาให้กู้ยืมเงินของผู้กู้ยืมรายนั้นในปีต่อไปตามควรแก่กรณี
หรือเพิกถอนการให้กู้ยืมเงิน
ข้อ
๔๖ ในกรณีผู้บริหารสถานศึกษา และ/หรือเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาไม่ดำเนินงานกองทุนให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
หลักเกณฑ์ และวิธีการของคณะกรรมการ
ให้สำนักงานกองทุนดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังนี้
๑.
กรณีเป็นสถาบันการศึกษาของรัฐ
๑.๑
เตือนเป็นหนังสือให้ปรับปรุงแก้ไข
๑.๒
แจ้งต้นสังกัดให้ดำเนินการลงโทษทางวินัยของข้าราชการ
๑.๓
คำเนินคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๒.
กรณีเป็นสถานศึกษาของเอกชน
๒.๑
เตือนเป็นหนังสือให้ปรับปรุงแก้ไข
๒.๒
กำกับและควบคุมการดำเนินงานกองทุนของสถานศึกษานั้น
๒.๓ ระงับการดำเนินการให้กู้ยืมในคณะ/สาขาวิชาที่มีการจัดการเรียน
การสอนไม่เป็นไปตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย
๒.๔
เพิกถอนการมอบอำนาจการดำเนินการตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑
๒.๕
เพิกถอนการให้ความเห็นชอบการดำเนินงานกองทุน ตามข้อ ๑๖
๒.๖
ดำเนินคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๔๗
ให้คณะกรรมการพิจารณาให้กู้ยืมเงินประจำสถานศึกษา
ซึ่งได้มีการแต่งตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการเดิมก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ
ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้กู้ยืมเงินประจำสถานศึกษาตามข้อ
๑๗ ของระเบียบนี้แล้ว
ข้อ
๔๘ บรรดาข้อกำหนด
หลักเกณฑ์และวิธีการใดที่เกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินกองทุน
ที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับต่อไป
จนกว่าจะได้มีการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ทั้งนี้
ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖
สมใจนึก เองตระกูล
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยการดำเนินงาน
หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๔๗[๙]
ข้อ ๒
ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๗
สถานศึกษาใดที่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการให้กู้ยืมเงินประจำสถานศึกษาไปแล้วก่อนที่ระเบียบนี้จะมีผลบังคับใช้ให้สามารถดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการให้กู้ยืมเงินประจำสถานศึกษาตามระเบียบนี้
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยการดำเนินงาน
หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๕๕[๑๐]
ข้อ ๒
ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ตัดคำว่า (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)) ที่ต่อท้าย คำว่า ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
ที่ได้ระบุไว้ในข้อต่าง ๆ ทุกข้อแห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วย การดำเนินงาน หลักเกณฑ์
และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วย การดำเนินงาน หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
ปริญสินีย์/จัดทำ
๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๒๙ ง/หน้า ๔๖/๗ มีนาคม ๒๕๔๖
[๒] ข้อ ๑๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการดำเนินงาน หลักเกณฑ์
และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๓] ข้อ ๑๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการดำเนินงาน หลักเกณฑ์
และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๔] ข้อ ๑๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการดำเนินงาน หลักเกณฑ์
และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
[๕] ข้อ ๒๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการดำเนินงาน หลักเกณฑ์
และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
[๖] ข้อ ๓๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการดำเนินงาน หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
[๗] ข้อ ๔๓/๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการดำเนินงาน หลักเกณฑ์
และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๘] ข้อ ๔๓/๒ เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยการดำเนินงาน
หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๕๕
[๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๒๐ ง/หน้า ๕/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๒๐ ง/หน้า ๗/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ |
865086 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ้างสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลให้ทำหน้าที่บริหารและจัดการการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ติดตามและเร่งรัดให้มีการชำระคืนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2563 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการจ้างสถาบันการเงินหรือนิติบุคคล
ให้ทำหน้าที่บริหารและจัดการการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ติดตามและเร่งรัดให้มีการชำระคืนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๓[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ้างสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลให้ทำหน้าที่บริหารและจัดการการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ติดตามและเร่งรัดให้มีการชำระคืนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๙ (๑๐) และมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๐
คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๒ เมื่อวันที่
๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ได้มีมติให้ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ้างสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลให้ทำหน้าที่บริหารและจัดการการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ติดตามและเร่งรัดให้มีการชำระคืนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๓
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในระเบียบนี้
กองทุน
หมายความว่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
คณะกรรมการ
หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
กรรมการ
หมายความว่า กรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ผู้จัดการ
หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
สถาบันการเงิน
หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ หรือธนาคารที่เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ธนาคารพาณิชย์
หมายความว่า บริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ แต่ไม่รวมถึงธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศและสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์
สถาบันการเงินเฉพาะกิจ
หมายความว่า
(๑)
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(๒)
ธนาคารออมสินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารออมสิน
(๓)
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารอาคารสงเคราะห์
(๔)
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
(๕) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด
นิติบุคคล
หมายความว่า นิติบุคคลไทยที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย
ผู้กู้ยืมเงิน
หมายความว่า นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ได้รับเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้หมายความรวมถึงนักเรียนหรือนักศึกษาผู้ได้รับเงินกู้ยืมตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑ และนิสิตหรือนักศึกษาผู้รับทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนจากกองทุนเพื่อการศึกษาตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติมที่ออกตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. ๒๔๙๑
ด้วย
เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา หมายความว่า เงินที่กองทุนจัดสรรให้ผู้กู้ยืมเงินเพื่อเป็นค่าเล่าเรียน
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าครองชีพ
นักเรียนหรือนักศึกษา หมายความว่า ผู้ซึ่งศึกษาอยู่ในสถานศึกษา
และให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการตอบรับให้เข้าศึกษาในสถานศึกษาด้วย
สถานศึกษา หมายความว่า โรงเรียน สถาบันอุดมศึกษา หรือสถานศึกษาอื่นของรัฐ โรงเรียนของเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
และสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
การบริหารและจัดการการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาแก่นักเรียนหรือนักศึกษา
หมายความว่า การดำเนินการเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาแก่นักเรียน หรือนักศึกษา
และชำระเงินคืนกองทุน รวมทั้งการดำเนินการทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง
การดำเนินการติดตามและเร่งรัดให้มีการชำระคืนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามสัญญาที่ผู้กู้ยืมเงินทำไว้
หมายความว่า การเตรียมและตรวจสอบข้อมูลพร้อมเอกสารที่ต้องใช้ในการติดตามและเร่งรัดให้มีการชำระเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามสัญญาที่ผู้กู้ยืมเงินทำไว้
การดำเนินคดี การบังคับคดี และการไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความ รวมทั้งการดำเนินการทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง
ทำหน้าที่แทนเป็นการทั่วไป หมายความว่า การจ้างให้ทำหน้าที่แทนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กองทุนกำหนด ดังต่อไปนี้
๑.
การจ้างให้บริหารและจัดการการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาแก่นักเรียนหรือนักศึกษา ได้แก่
(๑)
การดำเนินการเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาแก่นักเรียน หรือนักศึกษา และชำระเงินคืนกองทุน
(๒)
การจัดทำรายงานต่าง ๆ
(๓)
การจัดเก็บข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการ
(๔)
การเตรียมการที่จำเป็นเพื่อเป็นข้อมูลที่ต้องใช้ในการจ้างให้ดำเนินการติดตามและเร่งรัดให้มีการชำระเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามสัญญาที่ผู้กู้ยืมเงินทำไว้ต่อไป
(๕)
การดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
๒.
การจ้างให้ดำเนินการติดตามและเร่งรัดให้มีการชำระคืนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามสัญญาที่ผู้กู้ยืมเงินทำไว้
ได้แก่
(๑)
การเตรียมและตรวจสอบข้อมูลพร้อมเอกสารที่ต้องใช้ในการติดตามและเร่งรัดให้มีการชำระเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามสัญญาที่ผู้กู้ยืมเงินทำไว้
(๒)
การไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความ
(๓)
การดำเนินคดีชั้นศาล
(๔)
การบังคับคดี
(๕)
การดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทำหน้าที่แทนเป็นการเฉพาะเรื่อง
หมายความว่า การจ้างให้ดำเนินการตามกิจกรรมอย่างใดอย่างหนี่ง ที่กำหนดไว้ในการทำหน้าที่แทนเป็นการทั่วไปของการบริหารและจัดการการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาแก่นักเรียน
หรือนักศึกษา หรือการดำเนินการติดตามและเร่งรัดให้มีการชำระคืนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามสัญญาที่ผู้กู้ยืมเงินทำไว้
เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัสดุ
หมายความว่า ผู้อำนวยการฝ่ายอำนวยการและพัสดุ หัวหน้ากลุ่มงานพัสดุ เจ้าหน้าที่พัสดุ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้จัดการให้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการพัสดุ
ข้อ
๔ ให้ผู้จัดการรักษาการตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ แล้วรายงานผลให้คณะกรรมการทราบ
และให้มีอำนาจกำหนดแนวทางปฏิบัติและวิธีการดำเนินการเพิ่มเติมได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
หมวดที่ ๑
บททั่วไป
ข้อ
๕ กองทุนสามารถจ้างสถาบันการเงินให้ทำหน้าที่แทนเป็นการทั่วไป
ทั้งกรณีการบริหารและจัดการการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาแก่นักเรียนหรือนักศึกษา หรือการดำเนินการติดตามและเร่งรัดให้มีการชำระคืนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามสัญญาที่ผู้กู้ยืมเงินทำไว้
หรือทั้งสองกรณี
ในกรณีที่เห็นสมควร
กองทุนสามารถจ้างสถาบันการเงินให้ทำหน้าที่แทนเป็นการเฉพาะเรื่อง กรณีการบริหารและจัดการการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาแก่นักเรียนหรือนักศึกษา
หรือกรณีการดำเนินการติดตามและเร่งรัดให้มีการชำระคืนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามสัญญาที่ผู้กู้ยืมเงินทำไว้ก็ได้
ข้อ
๖ สถาบันการเงินที่รับจ้างตามข้อ ๕ ต้องมีคุณสมบัติ
ดังนี้
(๑)
มีนโยบายการเงินที่สอดคล้องกับการดำเนินงานของกองทุน มีระบบงานการเงิน การรับชำระเงิน
การให้บริการแก่ลูกค้า ซึ่งเป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย มีความพร้อมรองรับการประมวลผลงานสำหรับทุกระบบงานให้สามารถทำงานเชื่อมโยงหรือร่วมกับระบบงานของกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๒)
มีช่องทางที่เพียงพอในการให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่นักเรียน หรือนักศึกษา หรือสถานศึกษา
(๓)
มีคุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ ๗ กองทุนสามารถจ้างนิติบุคคลให้ทำหน้าที่แทนเป็นการทั่วไป
หรือทำหน้าที่แทนเป็นการเฉพาะเรื่อง
ในการดำเนินการติดตามและเร่งรัดให้มีการชำระคืนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามสัญญาที่ผู้กู้ยืมเงินทำไว้ก็ได้
ข้อ
๘ นิติบุคคลที่รับจ้างตามข้อ ๗ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังนี้
(๑)
เป็นผู้มีอาชีพรับจ้างงานดำเนินการติดตามและเร่งรัดให้มีการชำระหนี้ ในกรณีงานติดตามทวงถามหนี้
นิติบุคคลนั้นต้องได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ตามกฎหมาย
(๒)
ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย อยู่ระหว่างพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด อยู่ระหว่างคำสั่งฟื้นฟูกิจการ
และไม่อยู่ระหว่างเลิกกิจการ
(๓) มีบุคลากรเฉพาะทาง เช่น ทนายความประจำ พนักงานติดตามทวงถามหนี้
ในจำนวนที่เหมาะสมกับปริมาณงานจ้างแต่ละคราวของกองทุน
(๔) เคยมีผลงานประเภทเดียวกับงานที่จ้าง ตามที่กองทุนกำหนดสำหรับการจ้างแต่ละคราว
(๕) ต้องไม่เป็นผู้ซึ่งถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงาน
ซึ่งได้แจ้งเวียนชื่อให้เป็นผู้ทิ้งงานของหน่วยงานของรัฐ ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง
และต้องไม่เป็นผู้เคยมีการกระทำการอันมีลักษณะเป็นการทิ้งงานในสัญญาใด
ๆ กับกองทุนมาก่อน และให้หมายความรวมถึงหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ
ผู้บริหาร ผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้น ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทิ้งงานดังกล่าว
(๖)
ไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับนิติบุคคลรายอื่นผู้ยื่นข้อเสนอ หรือไม่เป็นผู้กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรม
ในการจ้างคราวเดียวกัน
(๗)
มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
การพิจารณาว่าเป็นผู้เคยมีการกระทำการอันมีลักษณะเป็นการทิ้งงานในสัญญาใด
ๆ กับกองทุนมาก่อนตาม (๕) ให้เป็นอำนาจของผู้จัดการ
โดยให้นำหลักเกณฑ์การพิจารณาการกระทำการอันมีลักษณะเป็นการทิ้งงานตามกฎหมายและระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการพัสดุมาใช้โดยอนุโลม
ข้อ
๙ ในการจ้างสถาบันการเงินให้ทำหน้าที่แทนเป็นการทั่วไปหรือทำหน้าที่แทนเป็นการเฉพาะเรื่องตามข้อ ๕ และในการจ้างนิติบุคคลให้ทำหน้าที่แทนเป็นการทั่วไปตามข้อ
๗ ให้ผู้จัดการเสนอคณะกรรมการให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการ
ในการจ้างนิติบุคคลให้ทำหน้าที่แทนเป็นการเฉพาะเรื่องตามข้อ
๗ ให้เป็นอำนาจของผู้จัดการเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
แล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบ
ข้อ ๑๐ การดำเนินการให้มีการจ้างตามข้อ
๙ ด้วยวิธีใดตามระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการหรือผู้จัดการเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
แล้วแต่กรณี
การดำเนินการจ้างทำหน้าที่แทนเป็นการเฉพาะเรื่อง จะจ้างสถาบันการเงิน
หรือนิติบุคคลหลายราย
สำหรับการดำเนินการจ้างคราวเดียวกันก็ได้
หมวดที่ ๒
การกำหนดขอบเขตงาน
ข้อ ๑๑ การกำหนดขอบเขตงานและหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกผู้รับจ้าง
ในการดำเนินการจ้างทำหน้าที่แทนเป็นการทั่วไปแต่ละครั้ง
ให้ผู้จัดการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดขอบเขตงาน โดยให้ประกอบด้วยประธานกรรมการ และกรรมการอย่างน้อยสองคน
โดยให้แต่งตั้งจากพนักงานของกองทุน ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ
ในกรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ของกองทุนจะแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกเป็นประธานกรรมการ
หรือร่วมเป็นกรรมการกำหนดขอบเขตงานด้วยก็ได้
เมื่อจัดทำร่างกำหนดขอบเขตงานเสร็จแล้วให้เสนอต่อผู้จัดการเพื่ออนุมัติและแจ้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัสดุดำเนินการต่อไป
ข้อ ๑๒ ในการดำเนินการจ้างทำหน้าที่แทนเป็นการเฉพาะเรื่อง
ผู้จัดการอาจแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดขอบเขตงานได้ตามที่เห็นสมควร หรือจะมอบหมายให้ฝ่ายหรือหน่วยงานภายในกองทุนที่เกี่ยวข้องดำเนินการกำหนดขอบเขตงานก็ได้
ในกรณีมีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดขอบเขตงาน ให้นำความตามข้อ ๑๑ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ
๑๓ การกำหนดขอบเขตงานจ้างสถาบันการเงินหรือนิติบุคคล
อย่างน้อยต้องประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้
(๑) เหตุผลและความจำเป็น
(๒) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ยื่นข้อเสนอ
(๓) รายละเอียดของงานจ้าง
(๔) ระยะเวลาดำเนินการ
(๕) ระยะเวลาส่งมอบของงาน
(๖) หลักเกณฑ์ในการพิจารณาข้อเสนอ
(๗) เงื่อนไขการชำระเงิน / อัตราค่าจ้างขั้นต่ำในแต่ละรายการ
(๘) หลักประกัน (ถ้ามี)
(๙) ค่าปรับ
(๑๐) ข้อสงวนสิทธิของกองทุน
(๑๑) วงเงินในการจ้าง (ถ้ามี)
(๑๒) วิธีการจ้างและเหตุผลที่ต้องจ้างโดยวิธีนั้น
หมวดที่ ๓
วิธีการจ้างและการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือก
ข้อ
๑๔ การจ้างสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลให้ทำหน้าที่แทนเป็นการทั่วไป
หรือทำหน้าที่แทนเป็นการเฉพาะเรื่อง ตามข้อ ๕ และข้อ ๗ อาจกระทำได้ โดยวิธีดังต่อไปนี้
(๑)
วิธีประกาศเป็นการทั่วไป ได้แก่ การที่กองทุนประกาศเชิญชวนสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตรงตามเงื่อนไขที่กองทุนกำหนดให้ยื่นข้อเสนอ
(๒)
วิธีพิเศษ ได้แก่ การที่กองทุนเชิญชวนสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามรายใดรายหนึ่งโดยตรง
ให้เข้ายื่นข้อเสนอ หรือให้เข้ามาเจรจา
วิธีประกาศเป็นการทั่วไป
ข้อ ๑๕ การจ้างสถาบันการเงินหรือนิติบุคคล
โดยวิธีประกาศเป็นการทั่วไป ให้กระทำโดยการประกาศเชิญชวนให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๖ หรือข้อ
๘ แล้วแต่กรณี เพื่อให้เสนอการดำเนินงานต่อคณะกรรมการคัดเลือก และให้คณะกรรมการคัดเลือกทำการคัดเลือกสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลนั้นตามหลักเกณฑ์การพิจารณาที่กำหนดในขอบเขตงาน
ข้อ ๑๖ การจ้างตามข้อ
๑๕ ภายหลังจากผู้จัดการอนุมัติขอบเขตงานตามข้อ ๑๓ แล้ว ให้ผู้จัดการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกขึ้นเพื่อปฏิบัติตามระเบียบนี้พร้อมกับกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือก
โดยให้คณะกรรมการคัดเลือกมีจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ประกอบด้วย ประธานกรรมการคัดเลือก
กรรมการคัดเลือกอย่างน้อยสองคน
ประธานกรรมการคัดเลือก
จะแต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก หรือพนักงานของกองทุนซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองผู้จัดการหรือเทียบเท่าก็ได้
กรรมการคัดเลือก
ให้แต่งตั้งจากพนักงานของกองทุน โดยให้คำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ
ในกรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ของกองทุนจะแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกร่วมเป็นกรรมการคัดเลือกด้วยก็ได้
ให้ผู้จัดการแต่งตั้งพนักงานกองทุนจำนวนหนึ่งคนทำหน้าที่เป็นเลขานุการ
และให้พนักงานกองทุนซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่พัสดุ
จำนวนอย่างน้อยหนึ่งคนทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ประธานกรรมการและกรรมการคัดเลือก
ต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ยื่นข้อเสนอในการจ้างครั้งนั้น ทั้งนี้ การมีส่วนได้เสียในเรื่องที่ประชุมพิจารณาของประธานกรรมการคัดเลือก
และกรรมการคัดเลือกให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ข้อ
๑๗ การประชุมของคณะกรรมการคัดเลือก ต้องมีกรรมการคัดเลือกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
ให้ประธานกรรมการคัดเลือกและกรรมการคัดเลือกแต่ละคนมีเสียงหนึ่งในการลงมติ
โดยประธานกรรมการคัดเลือกต้องอยู่ด้วยทุกครั้งในการประชุม หากประธานกรรมการคัดเลือกไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้ผู้จัดการแต่งตั้งประธานกรรมการคัดเลือกคนใหม่เป็นประธานกรรมการคัดเลือกแทน
มติของคณะกรรมการคัดเลือกให้ถือเสียงข้างมาก
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการคัดเลือกออกเสียงเพิ่มอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ
๑๘ คณะกรรมการคัดเลือกโดยวิธีประกาศเป็นการทั่วไป
มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
พิจารณาจัดทำประกาศเชิญชวน และกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการและรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เช่น วิธีการเผยแพร่ประกาศเชิญชวน วัน เวลา และสถานที่รับและเปิดซองข้อเสนอราคา เป็นต้น
(๒) ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ยื่นข้อเสนอและเอกสารต่าง
ๆ ที่ระบุไว้ในข้อเสนอ
และวินิจฉัยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม คำวินิจฉัยของคณะกรรมการคัดเลือกให้ถือว่าเป็นที่สุด
(๓)
พิจารณาข้อเสนอ และสรุปผลการคัดเลือก
(๔)
เจรจาต่อรองราคาค่าจ้างหรือค่าใช้จ่ายในรายการต่าง ๆ
ให้คณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาผู้ยื่นข้อเสนอทุกรายที่ผ่านการคัดเลือก
แล้วคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่ดีที่สุดพร้อมเหตุผลรายงานผลต่อผู้จัดการเพื่ออนุมัติหรือให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอคณะกรรมการอนุมัติจ้างต่อไป
แล้วแต่กรณี
ในกรณีการจ้างตามข้อ ๑๐ วรรคสอง การคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่ดีที่สุด
จะมีจำนวนเท่าใดก็ได้
ในกรณีที่มีเหตุที่ทำให้การจัดทำรายงานล่าช้า
ให้เสนอผู้จัดการพิจารณาขยายระยะเวลาตามความจำเป็น
ข้อ
๑๙ ในกรณีที่ปรากฏว่า ไม่มีผู้ใดยื่นข้อเสนอภายในกำหนดเวลาตามประกาศเชิญชวน
คณะกรรมการคัดเลือกอาจเสนอผู้จัดการให้อนุมัติขยายระยะเวลาการยื่นข้อเสนอออกไปอีกภายในกำหนดเวลาที่เหมาะสมก็ได้
ในกรณีที่ไม่มีการขยายระยะเวลา หรือเมื่อขยายระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ยังไม่มีผู้ใดยื่นข้อเสนอภายในกำหนดเวลาที่ขยายแล้วอีก
ให้จัดทำรายงานเสนอผู้จัดการเพื่อให้พิจารณายกเลิกประกาศการจ้างในครั้งนั้น แล้วดำเนินการจ้างใหม่โดยวิธีพิเศษก็ได้
ทั้งนี้ ต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่กำหนดไว้เดิมในประกาศเชิญชวน
ในกรณีที่ปรากฏว่า
มีผู้ยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียว หรือมีผู้ยื่นข้อเสนอหลายราย แต่มีผู้ยื่นข้อเสนอที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามเงื่อนไขเพียงรายเดียว
ให้คณะกรรมการคัดเลือกจัดทำรายงานเสนอผู้จัดการเพื่อพิจารณายกเลิกการคัดเลือกครั้งนั้น
แล้วดำเนินการจ้างใหม่โดยวิธีประกาศเป็นการทั่วไปหรือวิธีพิเศษก็ได้
ในกรณีที่ใช้วิธีพิเศษ ต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่กำหนดไว้เดิมในประกาศเชิญชวน
เว้นแต่ คณะกรรมการคัดเลือกเห็นว่า ข้อเสนอนั้นมีความเหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อกองทุน
และมีเหตุผลสมควรที่จะดำเนินการต่อไป โดยไม่ต้องยกเลิกการคัดเลือกให้คณะกรรมการคัดเลือกจัดทำรายงานเสนอผู้จัดการเพื่อดำเนินการต่อไป
โดยอาจพิจารณาคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอราคารายนั้นได้
วิธีพิเศษ
ข้อ
๒๐ การจ้างสถาบันการเงินหรือนิติบุคคล
โดยวิธีพิเศษ ให้กระทำได้ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นกรณีจำเป็นต้องจ้างผู้รับจ้างที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ หรือมีทักษะสูง
(๒)
เป็นกรณีที่ต้องกระทำโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่กองทุน หรือเพื่อประโยชน์ของกองทุน
(๓)
เป็นกรณีต้องจ้างผู้รับจ้างรายเดิมเพิ่มในสถานการณ์ที่จำเป็น หรือเพื่อประโยชน์ของกองทุน
(๔)
เป็นกรณีที่ได้ดำเนินการโดยวิธีประกาศเป็นการทั่วไปมาแล้วแต่ไม่ได้ผลดี
การจ้างตามวรรคหนึ่งให้ตั้งคณะกรรมการคัดเลือกโดยวิธีพิเศษ
เพื่อติดต่อโดยตรงให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ตามข้อ ๖ หรือข้อ ๘ แล้วแต่กรณี เข้าดำเนินงานตามขอบเขตงานที่กำหนดตามหมวดที่
๒ กับกองทุน
ข้อ ๒๑ คณะกรรมการคัดเลือกโดยวิธีพิเศษ มีหน้าที่ ดังนี้
(๑)
แจ้งเป็นหนังสือให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคล ทำการยื่นข้อเสนอให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในขอบเขตของงาน
(๒) พิจารณาข้อเสนอ
(๓) เจรจาต่อรองราคาค่าจ้างหรือค่าใช้จ่ายในรายการต่าง
ๆ
เมื่อคณะกรรมการคัดเลือกโดยวิธีพิเศษได้ผลการพิจารณาคัดเลือกแล้ว
ให้รายงานผลต่อผู้จัดการเพื่ออนุมัติ
หรือให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอคณะกรรมการอนุมัติจ้างต่อไป แล้วแต่กรณี
การแต่งตั้งและการประชุมของคณะกรรมการคัดเลือกโดยวิธีพิเศษ ให้นำความในข้อ ๑๖ และข้อ
๑๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวดที่ ๔
การทำสัญญา
ข้อ
๒๒ สัญญาจ้างสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลตามระเบียบนี้ต้องทำตามแบบที่กองทุนกำหนดโดยความเห็นชอบของสำนักงานอัยการสูงสุด
การทำสัญญารายใดถ้าจำเป็นต้องมีข้อความหรือรายการแตกต่างไปจากแบบสัญญาตามวรรคหนึ่ง
โดยมีสาระสำคัญตามที่กำหนดไว้ในแบบสัญญาและไม่ทำให้กองทุนเสียเปรียบก็ให้กระทำได้ เว้นแต่ กองทุนเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอ
ก็ให้ส่งร่างสัญญานั้นไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน
ในกรณีที่ไม่อาจทำสัญญาตามแบบสัญญาตามวรรคหนึ่งได้ และจำเป็นต้องร่างสัญญาขึ้นใหม่
ให้ส่งร่างสัญญานั้นไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน เว้นแต่ การทำสัญญาตามแบบที่สำนักงานอัยการสูงสุดได้เคยให้ความเห็นชอบมาแล้ว
ก็ให้กระทำได้
ข้อ
๒๓ การลงนามในสัญญาและการลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นอำนาจของผู้จัดการ
หากผู้ได้รับการคัดเลือกไม่มาทำสัญญาภายในระยะเวลาที่กำหนด
คณะกรรมการคัดเลือกสามารถดำเนินการคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่ดีที่สุดรายถัดไปได้ (หากมี)
โดยจัดทำรายงานเสนอผู้จัดการเพื่อขอความเห็นชอบก่อนดำเนินการต่อไป
ข้อ ๒๔ ในกรณีที่สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่เป็นหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ยื่นข้อเสนอหรือเป็นคู่สัญญา
ไม่ต้องวางหลักประกัน
กรณีนอกเหนือจากวรรคหนึ่ง
ให้กำหนดให้มีหลักประกันการเสนอราคาและหลักประกันสัญญา เว้นแต่การจ้างที่ผู้จัดการเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีการวางหลักประกันการเสนอราคาหรือหลักประกันสัญญา
การกำหนดมูลค่าหลักประกัน
ให้กำหนดมูลค่าหลักประกันในอัตราร้อยละห้าของวงเงินงบประมาณหรือราคาที่จ้างในครั้งนั้น
ในกรณีจำเป็น ให้ผู้จัดการสามารถกำหนดมูลค่าหลักประกันให้เหมาะสมกับการจ้างในครั้งนั้นได้
ข้อ ๒๕ การทำสัญญาจ้างให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวันในอัตราตายตัวระหว่างร้อยละ ๐.๐๑ -
๐.๑๐ ของวงเงินตามสัญญา
การกำหนดค่าปรับตามวรรคหนึ่งในอัตราหรือเป็นจำนวนเงินเท่าใด
ให้ผู้จัดการคำนึงถึงราคา กำหนดระยะเวลาของงาน และลักษณะของงาน หรือผลกระทบต่อความเสียหายแก่กองทุนแล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ ให้กำหนดเรื่องค่าปรับไว้ในเอกสารเชิญชวนหรือขอบเขตงานให้ชัดเจนด้วย
ข้อ ๒๖ สัญญาที่ได้ลงนามแล้วจะแก้ไขไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจตามข้อ
๙ ที่จะพิจารณาอนุมัติให้แก้ไขได้
(๑) ในกรณีที่มีความจำเป็น หากการแก้ไขนั้นไม่ทำให้กองทุนเสียประโยชน์
หรือเพื่อประโยชน์ของกองทุน หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ
(๒)
เป็นการแก้ไขตามที่กำหนดไว้ในกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ของกองทุน กฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ในกรณีการแก้ไขสัญญาที่กองทุนเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียประโยชน์หรือไม่รัดกุมพอ ก็ให้ส่งร่างสัญญาที่แก้ไขนั้นไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนลงนาม
การแก้ไขสัญญาตามวรรคหนึ่ง
ต้องอยู่ภายในขอบข่ายแห่งวัตถุประสงค์เดิมของสัญญา
หากมีความจำเป็นต้องเพิ่มหรือลดวงเงิน หรือเพิ่มหรือลดระยะเวลาส่งมอบหรือระยะเวลาในการทำงาน
หรือเพิ่มลดเนื้องาน ให้ตกลงไปพร้อมกัน
ข้อ
๒๗ สัญญาที่กองทุนทำตามระเบียบนี้ ต้องมีข้อตกลงในการห้ามสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลไปจ้างช่วงให้ผู้อื่นทำอีกทอดหนึ่ง ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
เว้นแต่ การจ้างช่วงงานบางส่วนที่ได้รับอนุญาตจากผู้จัดการแล้ว ผู้รับจ้างช่วงที่ได้รับอนุญาตไม่สามารถไปจ้างช่วงให้ผู้อื่นทำได้อีก
เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากผู้จัดการก่อน ซึ่งสามารถให้จ้างช่วงได้อีกทอดเดียวเท่านั้น
การจ้างช่วงทั้งหมดหรือแต่บางส่วนที่ฝ่าฝืนข้อตกลงตามที่กล่าวในวรรคหนึ่ง
ต้องกำหนดให้มีค่าปรับสำหรับการฝ่าฝืนข้อตกลงนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐ ของวงเงินของงานที่จ้างช่วงตามสัญญาหรือตามที่ผู้จัดการกำหนดอัตราค่าปรับให้เหมาะสมกับการฝ่าฝืนข้อตกลงนั้น
หมวดที่ ๕
การตรวจการจ้าง
ข้อ ๒๘ ในการตรวจการจ้างตามสัญญาที่ทำตามระเบียบนี้
ให้ผู้จัดการตั้งคณะกรรมการตรวจการจ้างพร้อมกับกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาของคณะกรรมการตรวจการจ้าง แล้วรายงานผลการพิจารณาภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้ามีเหตุที่ทำให้การรายงานล่าช้า
ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างเสนอผู้จัดการพิจารณาขยายเวลาให้ตามความจำเป็น
ข้อ
๒๙ คณะกรรมการตรวจการจ้างให้มีจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน
ประกอบด้วย ประธานกรรมการตรวจการจ้าง และกรรมการตรวจการจ้างอย่างน้อยสองคน ซึ่งแต่งตั้งจากพนักงานของกองทุน
โดยให้คำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ
ในกรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ของกองทุนจะแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกร่วมเป็นกรรมการตรวจการจ้างด้วยก็ได้ แต่จำนวนกรรมการที่เป็นบุคคลจากภายนอกจะต้องไม่มากกว่าจำนวนกรรมการตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้จัดการแต่งตั้งพนักงานของกองทุนจำนวนหนึ่งคนทำหน้าที่เป็นเลขานุการ
และในกรณีจำเป็นหรือเห็นสมควร จะแต่งตั้งพนักงานของกองทุนซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่พัสดุ
จำนวนอย่างน้อยหนึ่งคนทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้
ประธานกรรมการและกรรมการตรวจการจ้าง
ต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับคู่สัญญาในการจ้างครั้งนั้น ทั้งนี้ การมีส่วนได้เสียในเรื่องที่ประชุมพิจารณาของประธานกรรมการ
และกรรมการตรวจการจ้างให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ข้อ
๓๐ คณะกรรมการตรวจการจ้างมีหน้าที่ ดังนี้
(๑)
ตรวจรับงานจ้าง ณ ที่ทำการของกองทุน หรือสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง
การตรวจรับงานจ้าง
ณ สถานที่อื่น ในกรณีที่ไม่มีสัญญาหรือข้อตกลง จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้จัดการก่อน
(๒) ตรวจรับงานจ้างให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้
(๓)
ให้เริ่มตรวจรับงานจ้างในวันที่ผู้รับจ้างนํางานมาส่ง และดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด
(๔) เมื่อตรวจถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้รับงานจ้างไว้และถือว่าผู้รับจ้างได้ส่งมอบงานจ้างถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้รับจ้างนํางานจ้างนั้นมาส่ง
แล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่การเงินพร้อมกับทำหลักฐานการตรวจรับ โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน
เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบของกองทุนและรายงานให้ผู้จัดการทราบ
(๕) ในกรณีที่ผู้รับจ้างส่งมอบงานจ้างถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวน
หรือส่งมอบครบจำนวนแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ถูกต้อง โดยถือปฏิบัติตาม (๔)
และให้รีบรายงานผู้จัดการ เพื่อแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบภายในเจ็ดวันทำการนับถัดจากวันที่ตรวจพบ
แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิ์กองทุนที่จะปรับผู้รับจ้างในจำนวนที่ส่งมอบไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องนั้น
(๖) ถ้ากรรมการตรวจการจ้างบางคนไม่ยอมรับงานจ้างโดยทำความเห็นแย้งไว้
ให้เสนอผู้จัดการเพื่อพิจารณาสั่งการ
ถ้าผู้จัดการสั่งการให้รับงานจ้างไว้ จึงดำเนินการตาม (๔) หรือ (๕) แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๑ ในการตรวจการจ้างตามสัญญาที่ทำตามระเบียบนี้
หากผู้จัดการเห็นสมควรจะตั้งพนักงานของกองทุนคนใดทำการตรวจการจ้างให้ถูกต้องครบถ้วนตามรายละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา
แทนการตั้งคณะกรรมการตรวจการจ้างก็ได้ โดยให้ถือปฏิบัติตามข้อ ๓๐ โดยอนุโลม
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๓๒ การดำเนินการเกี่ยวกับการจ้างสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลให้ทำหน้าที่แทนเป็นการทั่วไปหรือเป็นการเฉพาะเรื่อง
ทั้งการบริหารและจัดการการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาแก่นักเรียนหรือนักศึกษา หรือการดำเนินการติดตามและเร่งรัดให้มีการชำระคืนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามสัญญาที่ผู้กู้ยืมเงินทำไว้ ที่ได้ดำเนินการก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับและยังไม่แล้วเสร็จ
ให้ดำเนินการตามกฎหมายข้อบังคับ ระเบียบ
หลักเกณฑ์ คำสั่ง หรือมติคณะกรรมการที่ใช้อยู่เดิมจนกว่าจะแล้วเสร็จหรือจนกว่าจะปฏิบัติตามระเบียบนี้ได้
ประกาศ ณ
วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓
ประสงค์
พูนธเนศ
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
อัมพิกา/จัดทำ
๑ กันยายน ๒๕๖๓
สุภาทิพย์/ตรวจ
๑๕
กันยายน ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๘๙ ง/หน้า ๓/๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๓ |
820374 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุน ลดหย่อนหนี้ หรือระงับการเรียกให้ชำระหนี้ พ.ศ. 2561 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข
ในการผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุน
ลดหย่อนหนี้ หรือระงับการเรียกให้ชำระหนี้
พ.ศ. ๒๕๖๑[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุนลดหย่อนหนี้
หรือระงับการเรียกให้ชำระหนี้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๑๑) (๑๗) มาตรา ๔๔ วรรคสาม
และมาตรา ๔๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๐ คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๖๑
เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ได้มีมติให้ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุน ลดหย่อนหนี้หรือระงับการเรียกให้ชำระหนี้
พ.ศ. ๒๕๖๑
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในระเบียบนี้
กองทุน
หมายความว่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ผู้กู้ยืมเงิน
หมายความว่า นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ได้รับเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้หมายความรวมถึงนักเรียนหรือนักศึกษาผู้ได้รับเงินกู้ยืมตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑ และนิสิตหรือนักศึกษาผู้รับทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนจากกองทุนเพื่อการศึกษาตามระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติมที่ออกตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง
พ.ศ. ๒๔๙๑ ด้วย
คณะกรรมการ
หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
คณะอนุกรรมการ
หมายความว่า คณะอนุกรรมการกำกับการชำระเงินคืนกองทุน
ผู้จัดการ
หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
การผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุน
หมายความว่า การให้ผู้กู้ยืมเงินชำระเงินคืนกองทุนแตกต่างไปจากจำนวน ระยะเวลา
หรือวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและการชำระเงินคืนกองทุน
การลดหย่อนหนี้
หมายความว่า การลดจำนวนเงินที่ผู้กู้ยืมเงินต้องชำระคืนกองทุนอันได้แก่เงินต้น
ดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมจัดการเงินกู้ หรือเบี้ยปรับหรือค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระหนี้ให้แก่ผู้กู้ยืมเงิน
การระงับการเรียกให้ชำระหนี้
หมายความว่า การที่กองทุนไม่ใช้สิทธิเรียกร้องให้ผู้กู้ยืมเงินชำระเงินคืนกองทุนในช่วงระยะเวลาหนึ่งตามที่กำหนด
เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้กู้ยืมเงินต้องเริ่มชำระเงินคืนกองทุนโดยระยะเวลาที่ระงับการเรียกให้ชำระหนี้ไม่นับรวมเข้าในระยะเวลาการชำระหนี้ของผู้กู้ยืมเงินรายนั้น
ข้อ
๔ ผู้กู้ยืมเงินที่จะขอผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุน
ลดหย่อนหนี้ หรือระงับการเรียกให้ชำระหนี้ให้ยื่นคำขอพร้อมเอกสารตามแบบที่กองทุนกำหนด
โดยยื่นคำขอต่อกองทุนหรือยื่นผ่านช่องทางอื่นที่กองทุนกำหนด
ให้ผู้จัดการหรือผู้ที่ผู้จัดการมอบหมายมีอำนาจพิจารณาอนุมัติตามวรรคหนึ่ง
เมื่อได้มีการพิจารณาอนุมัติให้ผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุน
ลดหย่อนหนี้ หรือระงับการเรียกให้ชำระหนี้แล้ว
ให้ผู้จัดการรายงานคณะอนุกรรมการทราบ
ข้อ
๕ ในกรณีจำเป็นอื่น นอกจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
หากคณะอนุกรรมการเห็นสมควรคณะอนุกรรมการอาจพิจารณาอนุมัติให้ยกเว้นหลักเกณฑ์
หรือเงื่อนไขบางประการในการให้ผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุน ลดหย่อนหนี้
หรือระงับการเรียกให้ชำระหนี้ที่แตกต่างจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้แก่ผู้กู้ยืมเงินเป็นการเฉพาะรายก็ได้
แล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบ ทั้งนี้การพิจารณาอนุมัติดังกล่าวให้คำนึงถึงหลักความเสมอภาคและหลักการไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมด้วย
ข้อ
๖ ในกรณีที่มีสถานการณ์หรือเหตุอื่นใดซึ่งมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อการบริหารจัดการกองทุนหากคณะกรรมการเห็นว่าจำเป็นและสมควรใช้มาตรการการผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุน
ลดหย่อนหนี้หรือระงับการเรียกให้ชำระหนี้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
เพื่อแก้ไขหรือลดผลกระทบนั้น คณะกรรมการอาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข
และเงื่อนเวลาสำหรับการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวก็ได้
ข้อ
๗ ให้ผู้จัดการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ แล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบ
หมวด ๑
การผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุน
ข้อ
๘ ในกรณีจำเป็น ผู้กู้ยืมเงินที่ครบกำหนดชำระหนี้และไม่เป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้อาจขอผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุนได้
เมื่อมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นผู้ไม่มีรายได้
(๒)
เป็นผู้มีรายได้ไม่เกินแปดพันแปดบาทต่อเดือน
(๓)
เป็นผู้ประสบภัยพิบัติจากอัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น ๆ รวมถึงภัยจากสงคราม
หรือจลาจล ซึ่งทรัพย์สินได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง
(๔) เป็นผู้มีรายได้ถดถอย หรือมีความจำเป็นต้องดูแลบุคคลในครอบครัว
ซึ่งชราภาพ ป่วยหรือพิการ
(๕)
เหตุอื่นใดที่คณะอนุกรรมการกำหนดให้เป็นรายบุคคลตามความเหมาะสมหลักเกณฑ์การพิจารณาความเสียหายของทรัพย์สินอย่างรุนแรง
ตาม (๓) และการเป็นผู้มีรายได้ถดถอย หรือมีความจำเป็นต้องดูแลบุคคลในครอบครัว
ซึ่งชราภาพ ป่วย หรือพิการตาม (๔) ให้เป็นไปตามที่กองทุนประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการ
ข้อ ๙ การขอผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุนด้วยเหตุตามข้อ
๘ (๑) (๒) และ (๓) ผู้กู้ยืมเงินคนหนึ่งอาจได้รับการพิจารณาให้ผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุนไม่เกินสองคราว
ๆ ละไม่เกินหนึ่งปีนับจากวันที่ได้รับอนุมัติ
การที่ผู้กู้ยืมเงินได้รับอนุมัติให้ผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุน
มีผลให้ในระหว่างช่วงระยะเวลาที่ผู้กู้ยืมเงินได้รับการผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุนนั้น
ผู้กู้ยืมเงินไม่ต้องชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ทั้งนี้
กองทุนจะยกเว้นเบี้ยปรับหรือค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ได้รับการผ่อนผันนั้น
เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุน
ผู้กู้ยืมเงินต้องชำระเงินคืนกองทุนให้เสร็จสิ้นโดยกองทุนจะนำยอดหนี้ที่คงเหลือนับแต่วันที่สิ้นสุดการผ่อนผันมาคำนวณใหม่
และให้ชำระตามระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามสัญญากู้ยืมเงินเดิม
ข้อ
๑๐ ในกรณีผู้กู้ยืมเงินได้รับอนุมัติให้ผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุนด้วยเหตุตามข้อ
๘ (๔) ให้ผู้กู้ยืมเงินทำบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญากู้ยืมเงินกับกองทุนและถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้ยืมเงินซึ่งในบันทึกข้อตกลงนั้นต้องมีลายมือชื่อผู้ค้าประกันให้ความยินยอมให้ผ่อนผันด้วย
โดยผู้กู้ยืมเงินยอมรับเงื่อนไขใหม่ในการชำระเงินคืนกองทุนดังนี้
(๑)
ได้รับการผ่อนผันขยายระยะเวลาในการชำระเงินคืนกองทุนดังนี้
(๑.๑)
หากมีมูลหนี้รวมคงเหลือไม่เกินหนึ่งแสนบาท ให้ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้ไม่เกินหนึ่งจุดห้าเท่าของระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามสัญญากู้ยืมเงินเดิม
และเมื่อขยายระยะเวลาการชำระหนี้แล้ว ในการชำระเงินงวดสุดท้าย
ผู้กู้ยืมเงินต้องมีอายุไม่เกินหกสิบปี
(๑.๒)
หากมีมูลหนี้รวมคงเหลือเกินหนึ่งแสนบาทแต่ไม่เกินสองแสนบาท ให้ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้ไม่เกินสองเท่าของระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามสัญญากู้ยืมเงินเดิม
และเมื่อขยายระยะเวลาการชำระหนี้แล้ว ในการชำระเงินงวดสุดท้าย
ผู้กู้ยืมเงินต้องมีอายุไม่เกินหกสิบปี
(๑.๓)
หากมีมูลหนี้รวมคงเหลือเกินสองแสนบาท ให้ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้ไม่เกินสองจุดห้าเท่าของระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามสัญญากู้ยืมเงินเดิม
และเมื่อขยายระยะเวลาการชำระหนี้แล้ว ในการชำระเงินงวดสุดท้าย
ผู้กู้ยืมเงินต้องมีอายุไม่เกินหกสิบปี
(๒)
ให้ผู้กู้ยืมเงินชำระหนี้เป็นรายเดือน โดยกองทุนจะนำยอดหนี้ที่คงเหลืออันได้แก่เงินต้นและดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมจัดการเงินกู้
นับแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้ผ่อนผันมาคำนวณใหม่เฉลี่ยให้ชำระในแต่ละเดือนเท่า ๆ
กัน และให้ผู้กู้ยืมเงินชำระตามจำนวนที่กำหนดภายในระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผัน
(๓)
หากผู้กู้ยืมเงินผิดนัดชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงในเดือนใดเดือนหนึ่ง ให้การขยายระยะเวลานั้นเป็นอันสิ้นผล
ผู้กู้ยืมเงินต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาตามสัญญากู้ยืมเงินเดิมและต้องเสียเบี้ยปรับหรือค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระหนี้ในอัตราร้อยละหนึ่งจุดห้าต่อเดือนของจำนวนเงินที่ค้างชำระตลอดระยะเวลาที่ผิดนัดในการทำบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญากู้ยืมเงินกับกองทุนตามวรรคหนึ่ง
ให้นำเอาวิธีการทำสัญญากู้ยืมเงิน กองทุนที่กำหนดไว้ในระเบียบของกองทุนเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษามาใช้โดยอนุโลม
หมวด ๒
การลดหย่อนหนี้
ข้อ
๑๑ ในวันครบกำหนดชำระหนี้หรือก่อนวันครบกำหนดชำระหนี้
หากผู้กู้ยืมเงินรายใดชำระเงินคืนกองทุนครบถ้วนทั้งจำนวนในคราวเดียวเป็นเหตุให้หนี้เงินกู้ยืมระงับ
ผู้กู้ยืมเงินรายนั้นจะได้รับการลดหย่อนจำนวนเงินที่จะต้องชำระในอัตราร้อยละสามของเงินต้นที่ต้องชำระนั้น
ข้อ
๑๒ ผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ระหว่างการชำระเงินคืนกองทุนและมิได้เป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้หรือเคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้
หากชำระเงินคืนกองทุนครบถ้วนทั้งจำนวนเงินที่คงเหลือเป็นเหตุให้หนี้เงินกู้ยืมระงับ
ผู้กู้ยืมเงินรายนั้นจะได้รับการลดหย่อนจำนวนเงินที่จะต้องชำระในอัตราร้อยละสามของเงินต้นคงเหลือที่ต้องชำระนั้น
หมวด ๓
การระงับการเรียกให้ชำระหนี้
ข้อ
๑๓ ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินพิการหรือทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบการงานได้
หรือในกรณีผู้กู้ยืมเงินมีเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กำหนดต่อไปนี้ ผู้กู้ยืมเงินหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทน
ผู้กู้ยืมเงินอาจยื่นคำขอพร้อมเอกสารตามแบบที่กองทุนกำหนดเพื่อขอให้กองทุนพิจารณาระงับการเรียกให้ชำระหนี้ก็ได้
(๑)
เป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัด หรือรุนแรงจนไม่สามารถประกอบการงานได้
(๒)
เป็นผู้ที่ได้รับโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกตลอดชีวิต
(๓)
ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและกองทุนได้ดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายแล้ว
หลักเกณฑ์การพิจารณาความเป็นผู้พิการหรือทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบการงานได้เป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัด
หรือรุนแรงจนไม่สามารถประกอบการงานได้ให้เป็นไปตามที่กองทุนประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการ
ข้อ
๑๔ เมื่อผู้กู้ยืมเงินที่ได้รับอนุมัติการระงับการเรียกให้ชำระหนี้ตามข้อ
๑๓ แล้ว กองทุนจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องให้ผู้กู้ยืมเงินชำระเงินคืนกองทุนในช่วงระยะเวลาที่เหตุอันเป็นเงื่อนไขในการระงับการเรียกให้ชำระหนี้นั้น
ๆ ยังอยู่ และเมื่อเหตุอันเป็นเงื่อนไขนั้นสิ้นสุดลงแล้ว ผู้กู้ยืมเงินต้องเริ่มชำระเงินคืนกองทุนตามความรับผิดในสัญญากู้ยืมเงินเดิม
โดยระยะเวลาที่ระงับการเรียกให้ชำระหนี้จะไม่ถูกนับรวมเข้าในระยะเวลาการชำระหนี้ของผู้กู้ยืมเงินรายนั้น
ข้อ
๑๕ ผู้กู้ยืมเงินที่เป็นผู้พิการหรือทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบการงานได้
ซึ่งได้รับอนุมัติการระงับการเรียกให้ชำระหนี้ ต้องส่งสำเนาบัตรประจำตัวผู้พิการให้แก่กองทุนและต้องรายงานสถานภาพต่อกองทุนภายในหกเดือนนับแต่วันที่บัตรประจำตัวผู้พิการหมดอายุ
เมื่อผู้กู้ยืมเงินได้รับอนุมัติการระงับการเรียกให้ชำระหนี้ตามข้อ
๑๓ (๑) แล้ว กองทุนจะมีหนังสือแจ้งผลการอนุมัติให้ผู้กู้ยืมเงินทราบ
ผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่รายงานสถานภาพต่อกองทุนเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้ ให้รายงานภายในสามสิบวันก่อนครบระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติและภายในสามสิบวันก่อนครบระยะเวลาหนึ่งปีในปีถัด
ๆ ไป
เมื่อผู้กู้ยืมเงินได้รับอนุมัติการระงับการเรียกให้ชำระหนี้ตามข้อ
๑๓ (๒) แล้ว กองทุนจะมีหนังสือแจ้งผลการอนุมัติให้ผู้กู้ยืมเงินทราบ
ผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่รายงานสถานภาพต่อกองทุนเป็นประจำทุกห้าปี ทั้งนี้
ให้รายงานภายในสามสิบวันก่อนครบระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติและภายในสามสิบวันก่อนครบระยะเวลาห้าปีในคราวถัด
ๆ ไป
ข้อ
๑๖ หากผู้กู้ยืมเงินที่ได้รับอนุมัติการระงับการเรียกให้ชำระหนี้
ไม่รายงานสถานภาพตามข้อ ๑๕ หรือปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้กู้ยืมเงินเป็นผู้ที่สามารถชำระเงินคืนกองทุนได้
ให้การระงับการเรียกให้ชำระหนี้เป็นอันสิ้นผล และให้ผู้กู้ยืมเงินชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินเดิม
โดยกองทุนจะนำยอดหนี้คงเหลือนับแต่วันที่สิ้นสุดการระงับการเรียกให้ชำระหนี้มาคำนวณใหม่
และให้ชำระตามจำนวนที่กำหนดภายในระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามสัญญากู้ยืมเงินเดิม
โดยระยะเวลาที่ระงับการเรียกให้ชำระหนี้ที่เกิดก่อนวันที่การระงับการเรียกให้ชำระหนี้สิ้นผลจะไม่ถูกนับรวมเข้าในระยะเวลาการชำระหนี้ของผู้กู้ยืมเงินรายนั้น
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑
ประสงค์
พูนธเนศ
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ปวันวิทย์/จัดทำ
๑๓ มีนาคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๙๗ ง/หน้า ๙/๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ |
820359 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและการชำระเงินคืนกองทุน พ.ศ. 2561 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับ
การให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและการชำระเงินคืนกองทุน
พ.ศ. ๒๕๖๑[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและการชำระเงินคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๗) และ (๑๗) มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๐
มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๔ และมาตรา ๖๑
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๐ คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในการประชุมครั้งที่
๘/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้มีมติให้ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและการชำระเงินคืนกองทุน พ.ศ. ๒๕๖๑
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
เว้นแต่ หมวด ๑ ว่าด้วยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ให้ใช้บังคับกับการดำเนินการให้กู้ยืมเงิน ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๒ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในระเบียบนี้
กองทุน
หมายความว่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ผู้กู้ยืมเงิน
หมายความว่า นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ได้รับเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้หมายความรวมถึงนักเรียนหรือนักศึกษาผู้ได้รับเงินกู้ยืมตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑ และนิสิตหรือนักศึกษาผู้รับทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนจากกองทุนเพื่อการศึกษาตามระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติมที่ออกตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง
พ.ศ. ๒๔๙๑ ด้วย
เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
หมายความว่า เงินที่กองทุนจัดสรรให้ผู้กู้ยืมเงินเพื่อเป็นค่าเล่าเรียนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
และค่าครองชีพ
นักเรียนหรือนักศึกษา
หมายความว่า ผู้ซึ่งศึกษาอยู่ในสถานศึกษา และให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการตอบรับให้เข้าศึกษาในสถานศึกษาด้วย
สถานศึกษา
หมายความว่า โรงเรียน สถาบันอุดมศึกษา หรือสถานศึกษาอื่นของรัฐโรงเรียนของเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนและสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ค่าเล่าเรียน
หมายความว่า เงินค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่สถานศึกษาเรียกเก็บจากนักเรียนหรือนักศึกษา
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
หมายความว่า ค่าใช้จ่ายอื่นที่มิใช่ค่าเล่าเรียนที่สถานศึกษาเรียกเก็บจากนักเรียนหรือนักศึกษาตามระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่งของสถานศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
ค่าครองชีพ
หมายความว่า ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีพระหว่างศึกษา
คณะกรรมการ
หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ผู้จัดการ
หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ข้อ
๔ ในการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและการชาระเงินคืนกองทุน
ให้กองทุน สถานศึกษาผู้บริหารสถานศึกษา นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืมเงิน
ผู้กู้ยืมเงิน และผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๐ และตามระเบียบนี้ รวมทั้ง กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือข้อกำหนดต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องของกองทุน ทั้งที่ออกใช้บังคับอยู่แล้วและที่จะออกใช้บังคับต่อไปในภายหน้าโดยเคร่งครัด
ข้อ
๕ ให้ผู้จัดการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ แล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบ
รวมทั้งการออกประกาศกำหนดแนวปฏิบัติเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมแนวทางและวิธีดำเนินการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
การให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ข้อ
๖ กองทุนจะสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาด้วยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาใน
๔ ลักษณะดังต่อไปนี้
(๑)
เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
(๒)
เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักซึ่งมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
(๓)
เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่ขาดแคลนหรือสาขาวิชาที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ
(๔) เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่เรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ
ข้อ
๗ นักเรียนหรือนักศึกษาที่จะขอกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา
จะต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
ก.
คุณสมบัติทั่วไปดังนี้
(๑)
มีสัญชาติไทย
(๒)
ศึกษาหรือได้รับการตอบรับให้เข้าศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่ร่วมดำเนินงานกับกองทุน
(๓)
เป็นผู้ขอกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาในการเข้าศึกษาที่สถานศึกษาเพียงแห่งเดียวในคราวภาคการศึกษาเดียวกัน
(๔)
มีผลการเรียนดีหรือผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลของสถานศึกษา
(๕)
มีความประพฤติดี ไม่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษาขั้นร้ายแรงหรือไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสีย
เช่น หมกมุ่นในการพนัน เสพยาเสพติดให้โทษ ดื่มสุราเป็นอาจิณหรือเที่ยวเตร่ในสถานบันเทิงเริงรมย์เป็นอาจิณ
เป็นต้น
ข.
ลักษณะต้องห้ามดังนี้
(๑)
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาใดสาขาหนึ่งมาก่อน เว้นแต่จะได้กำหนดเป็นอย่างอื่นในคุณสมบัติเฉพาะสำหรับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาลักษณะหนึ่งลักษณะใด
(๒)
เป็นผู้ปฏิบัติงานและรับเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนในลักษณะเต็มเวลา
เว้นแต่จะได้กำหนดเป็นอย่างอื่นในคุณสมบัติเฉพาะสำหรับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาลักษณะหนึ่งลักษณะใด
(๓)
เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔)
เป็นหรือเคยเป็นผู้ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๕)
เป็นหรือเคยเป็นผู้ที่ผิดนัดชำระหนี้กับกองทุน เว้นแต่ได้ชำระหนี้ดังกล่าวครบถ้วนแล้ว
นอกจากที่กำหนดในวรรคหนึ่ง
นักเรียนหรือนักศึกษาผู้จะขอกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ตามข้อ ๖
(๑) ถึง (๔) ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะและไม่มีลักษณะต้องห้ามเฉพาะอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดสำหรับการให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาในลักษณะนั้น
ๆ ด้วย
ข้อ
๘ นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ใดประสงค์จะกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาให้ยื่นคำขอตามแบบที่กองทุนกำหนด
โดยจัดทำคำขอกู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่กองทุนจะกำหนดเป็นอย่างอื่นและให้จัดส่งแบบคำขอกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาแก่สถานศึกษาที่นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืมเงินศึกษาอยู่หรือดำเนินการตามที่กองทุนกาหนด
การยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งให้ยื่นได้ทุกวันในเวลาทำการของสถานศึกษาที่นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืมเงินศึกษาอยู่
ทั้งนี้
ภายในระยะเวลาที่กองทุนประกาศกำหนด
ข้อ
๙ นักเรียนหรือนักศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินต้องเปิดบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่กองทุนกำหนด
เพื่อประโยชน์ในการรับและคืนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา แล้วแต่กรณี
ข้อ
๑๐ นักเรียนหรือนักศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินต้องทำสัญญากู้ยืมเงินตามแบบที่กองทุนกำหนด
ที่สถานศึกษาที่นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืมเงินศึกษาอยู่ ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีผู้ค้าประกันการชำระเงินคืนกองทุนด้วย
การทำสัญญากู้ยืมเงินตามวรรคหนึ่ง
ผู้กู้ยืมเงินและผู้ค้าประกันต้องลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินในฐานะผู้กู้ยืมเงินหรือผู้ค้าประกัน
แล้วแต่กรณี ด้วยตนเอง
ในกรณีผู้ค้าประกันไม่สามารถลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินต่อหน้าเจ้าหน้าที่หรือผู้บริหารสถานศึกษา
สัญญากู้ยืมเงินนั้นต้องมีลายมือชื่อของนายทะเบียนในท้องที่ หรือท้องถิ่น ณ ภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านหรือภูมิลำเนาที่ประกอบอาชีพของผู้ค้าประกันเพื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ค้าประกันด้วย
ข้อ ๑๑ เมื่อกองทุนอนุมัติให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาแก่นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ยื่นคำขอ และนักเรียนหรือนักศึกษาได้ทำสัญญากู้ยืมเงินถูกต้องครบถ้วนแล้ว
กองทุนจะโอนเงินกู้ยืมส่วนที่เป็นค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาให้แก่สถานศึกษา
ส่วนค่าครองชีพ (ถ้ามี) กองทุนจะจ่ายให้เป็นรายเดือนโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากของผู้กู้ยืมเงินโดยตรงตามที่ได้แจ้งไว้แก่กองทุน
ทั้งนี้ กองทุนจะดำเนินการโอนเงินดังกล่าวภายหลังจากที่ผู้กู้ยืมเงินได้ลงลายมือชื่อในแบบลงทะเบียนเรียน/แบบยืนยันจำนวนเงินค่าเล่าเรียนหรือเอกสารที่เรียกชื่ออย่างอื่นทำนองเดียวกันที่กองทุนกำหนด
และสถานศึกษาได้จัดส่งเอกสารดังกล่าวมายังกองทุนหรือสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่ทำหน้าที่แทนกองทุนโดยกองทุนหรือสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่ทำหน้าที่แทนกองทุนได้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว
เว้นแต่คณะกรรมการจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ให้ถือว่าจำนวนค่าเล่าเรียน
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าครองชีพตามที่ได้รับแจ้งและกองทุนได้โอนให้แก่สถานศึกษาและผู้กู้ยืมเงิน
เป็นจำนวนอันถูกต้องที่ผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่และความรับผิดต้องชดใช้เงินคืนให้แก่กองทุน
ทั้งนี้
กองทุนจะแจ้งยอดเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผู้กู้ยืมเงินได้รับไปแล้วทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกองทุนหรือสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่ทำหน้าที่แทนกองทุนเพื่อให้ผู้กู้ยืมเงินทราบและตรวจสอบยอดเงินที่ได้รับไปแล้วดังกล่าว
โดยผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่นำชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านที่ได้รับจากกองทุนหรือสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่ทำหน้าที่แทนกองทุนเข้าสู่ระบบด้วยตนเอง
ข้อ
๑๒ ผู้กู้ยืมเงิน รับรองว่าจะปฏิบัติดังนี้
(๑)
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมตรงกับความเป็นจริง
(๒)
ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๐ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
ประกาศ ข้อกาหนด สัญญากู้ยืมเงิน ตลอดจนคาสั่งโดยชอบต่าง ๆ ของคณะกรรมการหรือกองทุนทั้งที่ออกใช้บังคับอยู่แล้วและที่จะออกใช้บังคับต่อไปในภายหน้าโดยเคร่งครัด
(๓)
ดำเนินการเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเอง และเก็บรักษารหัสผ่านที่ได้รับจากกองทุนไว้เป็นความลับ
หากผู้กู้ยืมเงินคนใดยินยอมหรือประมาทเลินเล่อให้บุคคลอื่นดำเนินการเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
ให้ถือว่าเป็นการดำเนินการกู้ยืมเงินด้วยตนเองของผู้กู้ยืมเงินคนนั้น
(๔)
แจ้งต่อกองทุนหรือต่อสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่ทำหน้าที่แทนกองทุนดังนี้
(๔.๑)
แจ้งสภาพการเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาทุกปีที่ผู้กู้ยืมเงินยังศึกษาอยู่ ไม่ว่าในปีนั้น
ๆ จะได้กู้ยืมเงินหรือไม่ก็ตาม
(๔.๒)
แจ้งการเปลี่ยนชื่อ ย้ายที่อยู่หรือย้ายสถานศึกษา รวมทั้งแจ้งเมื่อสำเร็จการศึกษาหรือพ้นสภาพการเป็นนักเรียนหรือนักศึกษา
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเปลี่ยนชื่อ ย้ายที่อยู่ย้ายสถานศึกษา สำเร็จการศึกษาหรือพ้นสภาพการเป็นนักเรียนหรือนักศึกษา
แล้วแต่กรณี
(๕)
แจ้งสถานการณ์เป็นผู้กู้ยืมเงินต่อหัวหน้าหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่ตนทำงานด้วยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เริ่มปฏิบัติงาน
(๖)
ให้ความยินยอมในขณะทำสัญญากู้ยืมเงิน เพื่อให้ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
๔๐ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร หักเงินได้พึงประเมินของตนตามจานวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
(๗)
ยินยอมให้กองทุนเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของตนที่อยู่ในครอบครองของบุคคลอื่นรวมทั้งยินยอมให้กองทุนเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินและการชำระเงินคืนกองทุน
(๘)
แสดงตนต่ออาจารย์ที่ปรึกษาที่สถานศึกษามอบหมายให้ทำหน้าที่ให้คำแนะนำด้านการกู้ยืมเงินอย่างน้อยภาคละหนึ่งครั้ง
(๙)
ให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมที่สถานศึกษากำหนด หรือเข้าร่วมกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับกองทุน
ข้อ
๑๓ ในกรณีผู้กู้ยืมเงินไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๐ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ข้อกำหนด สัญญากู้ยืมเงิน ตลอดจนคำสั่งโดยชอบต่าง
ๆ ของคณะกรรมการหรือกองทุน กองทุนจะดำเนินการตักเตือนและให้ผู้กู้ยืมเงินปรับปรุงแก้ไขหากไม่ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรจะมีผลต่อการพิจารณาให้กู้ยืมเงินของผู้กู้ยืมเงินรายนั้นในปีต่อไป
หรือถูกเพิกถอนการให้กู้ยืมเงิน ตามควรแต่กรณี
หมวด ๒
การชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
ข้อ
๑๔ ผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่ต้องชำระเงินกู้ยืมทั้งจำนวนคืนกองทุนภายหลังวันที่ได้รับอนุมัติให้สำเร็จการศึกษาหรือมีคำสั่งให้พ้นสภาพการเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาแล้วเป็นเวลาสองปี
ในการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าวันที่ ๕ กรกฎาคมแรก ภายหลังวันที่ได้รับอนุมัติให้สำเร็จการศึกษาหรือมีคำสั่งให้พ้นสภาพการเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาแล้วเป็นเวลาสองปีดังกล่าวเป็นวันที่ครบกำหนดชาระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
หากวันดังกล่าวตรงกับวันหยุดทำการของกองทุนให้ชาระเงินคืนในวันเปิดทำการถัดไป
ข้อ
๑๕ ก่อนวันครบกำหนดชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
กองทุนจะแจ้งให้ผู้กู้ยืมเงินทราบเป็นการล่วงหน้าถึงวันกำหนดชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
ผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ เช่น จดหมายหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
เพื่อประโยชน์ในการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
ให้ผู้กู้ยืมเงินรายงานข้อมูลของผู้กู้ยืมเงิน เช่น การศึกษา
การประกอบอาชีพ การเปลี่ยนชื่อ สกุล ที่อยู่ เป็นต้น
ต่อกองทุนหรือต่อสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่ทำหน้าที่แทนกองทุน
ก่อนสิ้นเดือนพฤษภาคมของปีถัดจากปีที่สำเร็จการศึกษาหรือพ้นสภาพการเป็นนักเรียนหรือนักศึกษา
ตามแบบรายงานข้อมูลของผู้กู้ยืมเงินที่กองทุนกำหนด
ข้อ
๑๖ หากในวันครบกำหนดชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนตามข้อ
๑๔ ผู้กู้ยืมเงินไม่สามารถชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนได้ทั้งจำนวน
ผู้กู้ยืมเงินอาจขอผ่อนชำระเงินคืนกองทุนเป็นงวด ๆ รายปีโดยต้องชำระให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาสิบห้าปีนับแต่วันที่ครบกำหนดชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
ข้อ
๑๗ การผ่อนชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนตามข้อ
๑๖ ให้ผู้กู้ยืมเงินชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนงวดแรกเต็มจำนวนซึ่งเป็นการชำระคืนเฉพาะเงินต้นไม่มีดอกเบี้ยในวันที่ครบกำหนดชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนตามที่กำหนดในข้อ
๑๔ วรรคสอง
สำหรับการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนในงวดต่อ
ๆ ไป ให้ผู้กู้ยืมเงินชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนตามจำนวนที่กำหนดซึ่งเป็นการชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมจัดการเงินกู้ในอัตราร้อยละหนึ่งต่อปี
โดยให้ชำระภายในวันที่ ๕ กรกฎาคมของแต่ละปี โดยวิธีการชำระให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ
๑๘
การคิดดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมจัดการเงินกู้
ให้เริ่มคิดตั้งแต่วันครบกำหนดชำระเงินกู้ยืมของเงินต้นที่เหลือหลังจากชำระงวดแรกแล้ว
ข้อ
๑๘ ให้ผู้กู้ยืมเงินผ่อนชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
โดยจำนวนเงินต้นที่ต้องชำระในแต่ละงวดต้องไม่ต่ำกว่าอัตราดังนี้
งวดที่ชำระ
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
๘
๙
๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
๑๕
ร้อยละของเงินต้นที่ต้องชำระ
๑.๕
๒.๕
๓.๐
๓.๕
๔.๐
๔.๕
๕.๐
๖.๐
๗.๐
๘.๐
๙.๐
๑๐.๐
๑๑.๐
๑๒.๐
๑๓.๐
นอกจากการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนงวดแรกซึ่งต้องชำระเต็มจำนวนตามข้อ
๑๗ วรรคหนึ่ง การชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนในงวดต่อ ๆ ไป ตามข้อ ๑๗ วรรคสอง
ให้ผู้กู้ยืมเงินแบ่งชำระเงินในแต่ละงวดนั้นเป็นรายเดือน
ผู้กู้ยืมเงินคนใดไม่ชำระหนี้ให้ครบจำนวนในงวดหนึ่งงวดใด
ผู้กู้ยืมเงินคนนั้นจะตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้และต้องชำระเงินเพิ่มตามที่กำหนดในข้อ
๑๙ ทั้งนี้ ในการแบ่งชำระเป็นรายเดือนในแต่ละงวดหากผู้กู้ยืมเงินคนใดไม่สามารถชำระเงินคืนได้ตามจำนวนที่กำหนดให้ต้องชำระในแต่ละเดือนแต่ผู้กู้ยืมเงินคนนั้นได้ชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนครบทั้งจำนวนสำหรับงวดนั้น
ผู้กู้ยืมเงินจะไม่เป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ในงวดนั้น
ข้อ
๑๙ ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินผิดนัดชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนงวดหนึ่งงวดใด
ผู้กู้ยืมเงินต้องชำระเงินเพิ่มอันได้แก่เบี้ยปรับหรือค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระเงินคืนในอัตราร้อยละสิบสองต่อปีของเงินต้นในงวดที่ค้างชำระ
และหากค้างชำระในงวดใดเกินกว่า ๑ ปี ต้องชำระเงินเพิ่มร้อยละสิบแปดต่อปีของเงินต้นในงวดที่ค้างชำระนั้น
ข้อ
๒๐ เว้นแต่ผู้กู้ยืมเงินจะได้ชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนด้วยการให้ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
๔๐ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร หักเงินได้พึงประเมินของตนตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนและได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการหักเงินได้พึงประเมินเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนถูกต้องครบถ้วน
ในการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน ให้ผู้กู้ยืมเงินนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของตนที่มีอยู่กับสถาบันการเงินเป็นเลขที่บัญชีเดียวกันกับที่ผู้กู้ยืมเงินได้รับเงินกู้ยืมเมื่อครั้งกู้ยืมเงิน
หรือบัญชีออมทรัพย์ของผู้กู้ยืมเงินบัญชีอื่นที่ผู้กู้ยืมเงินแจ้งความประสงค์ให้หักบัญชีเพื่อชำระเงินคืนกองทุน
หรือชาระ ณ ช่องทางอื่นตามที่กองทุนกำหนด
ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมในการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนแต่ละครั้ง
ให้เป็นไปตามที่สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่รับชำระเงินเรียกเก็บ
ข้อ
๒๑ เมื่อผู้กู้ยืมเงินได้ชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนแล้ว
ให้ผู้กู้ยืมเงินเก็บหลักฐานการชำระเงินคืนกองทุนทุกคราว เช่น สำเนาใบนำฝากเงินซึ่งปรากฏรายการชำระ
การบันทึกบัญชีในสมุดเงินฝากของผู้กู้ยืมเงิน รายการบันทึกบัญชี (Statement) ของสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่รับชำระเงินไว้เป็นหลักฐานการชำระหนี้เพื่อแสดงต่อกองทุนด้วย
ข้อ
๒๒ ผู้กู้ยืมเงินที่บอกเลิกการกู้ยืมเงิน
จะต้องชำระเงินกู้ยืมที่ได้รับไปทั้งหมดคืนให้แก่กองทุนภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่กองทุนได้รับแจ้งบอกเลิกการกู้ยืมเงินโดยไม่เสียดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมจัดการเงินกู้
หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้กู้ยืมเงินต้องเสียดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมจัดการเงินกู้ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นับแต่วันผิดนัดชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนดังกล่าว
ข้อ
๒๓ ให้ผู้กู้ยืมเงินที่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือถูกฟ้องร้องดำเนินคดีจนได้มีคาพิพากษาถึงที่สุดให้ชำระเงินคืนกองทุน
ชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษานั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๒๔ ในกรณีจำเป็นที่เห็นสมควร
คณะกรรมการอาจผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุนลดหย่อนหนี้ หรือระงับการเรียกให้ชำระเงินคืนกองทุน
ได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ
๒๕ ให้ผู้กู้ยืมเงินกองทุนที่เป็นผู้กู้ยืมเงินอยู่ในวันก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับทุกรายชำระเงินคืนกองทุนตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
เว้นแต่การชำระเงินคืนกองทุนของผู้กู้ยืมเงินในกลุ่มต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในตารางท้ายระเบียบนี้
ได้แก่
(๑) ผู้กู้ยืมเงินตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑ (กยศ. เดิม)
(๒)
ผู้รับทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (กรอ.) ซึ่งแบ่งตามเงื่อนไขการครบกำหนดชำระหนี้ดังนี้
ก.
ผู้รับทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนที่ได้รับอนุมัติให้สำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาในปีการศึกษา
๒๕๔๙ และปีการศึกษา ๒๕๕๐ และกำหนดให้ชำระหนี้งวดแรกภายในวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๔
ข.
ผู้รับทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนที่ได้รับอนุมัติให้สำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา
๒๕๕๑ เป็นต้นไป ภายหลังวันที่ได้รับอนุมัติให้สำเร็จการศึกษาหรือเลิกศึกษาแล้วสองปีให้ชำระหนี้งวดแรกภายในวันที่
๕ กรกฎาคม ในปีถัดไป
ค.
ผู้รับทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๕ เป็นต้นไป และกำหนดให้ชำระหนี้งวดแรกเมื่อมีรายได้ถึงหนึ่งหมื่นหกพันบาทต่อเดือน
หรือหนึ่งแสนเก้าหมื่นสองพันบาทต่อปี
(๓)
ผู้กู้ยืมเงินตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑ (กยศ.เดิม)
และรับทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม (กรอ.) ที่มีเงื่อนไขชำระหนี้ซึ่งแบ่งตามเงื่อนไขการครบกำหนดชาระหนี้ในแต่ละกลุ่มย่อยตาม
(๒) การปฏิบัติการชำระหนี้ของผู้กู้ยืมเงินกลุ่มต่าง ๆ ตามวรรคหนึ่ง ไม่กระทบความรับผิดของผู้กู้ยืมเงินที่มีอยู่แล้วก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑
ประสงค์
พูนธเนศ
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
ตารางแนบท้าย ข้อ ๒๕ ของระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและการชำระเงินคืนกองทุน
พ.ศ. ๒๕๖๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๑๓ มีนาคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๙๓ ง/หน้า ๑ /๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ |
671607 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วย การดำเนินงาน หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วย
การดำเนินงาน หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงิน
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วย การดำเนินงาน หลักเกณฑ์
และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วย การดำเนินงาน หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน
และเพื่อให้เกิดมาตรการในการตรวจสอบการกู้ยืมเงินและการคืนเงินเพื่อลดยอดหนี้ของผู้กู้ยืมเงิน
โดยให้ผู้กู้ยืมเงินและสถานศึกษาดำเนินการตรวจสอบและยืนยันจำนวนเงินที่กู้ยืมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการและเงื่อนไขที่กองทุนกำหนด
จึงเห็นสมควรกำหนดการดำเนินงานหลักเกณฑ์
และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
เพื่อรองรับการดำเนินการดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ (๗)
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑
คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้
เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วย การดำเนินงาน หลักเกณฑ์
และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ตัดคำว่า (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)) ที่ต่อท้าย คำว่า ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม ที่ได้ระบุไว้ในข้อต่าง
ๆ ทุกข้อแห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วย
การดำเนินงาน หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.
๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วย การดำเนินงาน หลักเกณฑ์
และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ
๑๐ แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วย การดำเนินงาน
หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๐ นักเรียน
นักศึกษาที่ประสงค์จะขอกู้ยืมเงิน หรือผู้กู้ยืมเงินรับรองว่าจะปฏิบัติ ดังนี้
๑. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมตรงกับความเป็นจริง
๒. ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.
๒๕๔๑ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หลักเกณฑ์
และวิธีการของคณะกรรมการตลอดระยะเวลาการกู้ยืม
๓. ดำเนินการเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเอง
และต้องเก็บรักษารหัสผ่านที่ได้รับจากกองทุนไว้เป็นความลับ
หากผู้ใดยินยอมให้บุคคลอื่นดำเนินการเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แทน
ให้ถือว่าเป็นการดำเนินการด้วยตนเอง
๔. แจ้งการเปลี่ยนชื่อ ย้ายที่อยู่หรือย้ายสถานศึกษา และจบการศึกษา
หรือพ้นสภาพการเป็นนักเรียน นักศึกษาภายในสิบห้าวันนับแต่วันเปลี่ยนชื่อ
ย้ายที่อยู่ ย้ายสถานศึกษา จบการศึกษาหรือพ้นสภาพการเป็นนักเรียน นักศึกษา
ต่อผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
๕. แสดงตนต่ออาจารย์ที่ปรึกษาที่ได้รับมอบหมายตามข้อ ๓๖ (๓)
อย่างน้อยภาคละหนึ่งครั้ง
๖. ให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมที่สถานศึกษากำหนดในหมวด ๘ หรือกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับกองทุน
๗. แจ้งสภาพการเป็นนักเรียน นักศึกษา
ทุกปีที่ผู้กู้ยืมเงินไม่ได้กู้ยืมเงินแต่ยังศึกษาอยู่ต่อผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
๘. หน้าที่อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๒
แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วย การดำเนินงาน
หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๒ นักเรียน
นักศึกษาผู้ใดประสงค์จะกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาให้ยื่นคำขอตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
โดยจัดทำคำขอกู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่คณะกรรมการจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
การยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งให้ยื่นได้ทุกวันในเวลาทำการของสถานศึกษานั้น
ๆ ทั้งนี้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ
๔๓/๑ แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วย การดำเนินงาน
หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วย การดำเนินงาน
หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๔๓/๑ ผู้บริหารสถานศึกษา
และ/หรือเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาที่รับผิดชอบการดำเนินงานกองทุนมีหน้าที่กวดขันและกำกับตรวจสอบให้นักเรียน
นักศึกษาที่ประสงค์จะขอกู้ยืมเงิน หรือผู้กู้ยืมเงินปฏิบัติตามหน้าที่ในข้อ ๑๐
โดยเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องไม่ยินยอม
หรือรู้เห็นเป็นใจหรือกระทำการโดยประการใดเพื่อให้มีผู้หนึ่งผู้ใดดำเนินการเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนนักเรียน
นักศึกษาที่ประสงค์จะขอกู้ยืมเงิน หรือผู้กู้ยืมเงินรายหนึ่งรายใด
ผู้บริหารสถานศึกษา
และ/หรือเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาที่รับผิดชอบการดำเนินงานกองทุนมีหน้าที่ตรวจสอบว่า
เงินกู้ยืมของผู้กู้ยืมเงินที่ระบุไว้ในแบบยืนยันจำนวนเงินค่าเล่าเรียน
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และ/หรือค่าครองชีพ
ตรงกับจำนวนเงินที่ผู้กู้ยืมเงินยืนยันหรือไม่ หากจำนวนเงินไม่ตรงกัน
กองทุนจะโอนเงินค่าเล่าเรียนและ/หรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาให้แก่สถานศึกษาตามจำนวนที่น้อยกว่า
ข้อ ๗ ให้เพิ่มเติมความต่อไปนี้เป็นข้อ ๔๓/๒
แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วย การดำเนินงาน
หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
ข้อ ๔๓/๒ ก่อนสิ้นภาคการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา
และ/หรือเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาที่รับผิดชอบการดำเนินงานกองทุนมีหน้าที่ต้องส่งข้อมูลเกี่ยวกับยอดเงินค่าเล่าเรียนและ/หรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาที่สถานศึกษาได้รับจริงจากผู้กู้ยืมเงินแต่ละรายซึ่งเป็นข้อมูลหลังเสร็จสิ้นการเพิ่ม
- ถอน รายวิชาแล้ว ผ่านระบบ e-audit ของกองทุนเพื่อตรวจสอบ
หากไม่สามารถปฏิบัติได้โดยไม่มีเหตุอันสมควร
กองทุนอาจพิจารณาระงับการโอนเงินให้แก่สถานศึกษาสำหรับภาคการศึกษาถัดไปก็ได้
ผู้บริหารสถานศึกษา
และ/หรือเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาที่รับผิดชอบการดำเนินงานกองทุนต้องส่งคืนเงินกู้ยืมของผู้กู้ยืมเงินที่มิได้ใช้ตามที่กำหนดไว้ในสัญญากู้ยืมให้แก่กองทุนก่อนสิ้นภาคการศึกษาแต่ละภาคของสถานศึกษานั้น
หากมิได้ส่งคืนเงินภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
กองทุนมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราไม่เกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี นับแต่วันผิดนัด
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕
อารีพงศ์
ภู่ชอุ่ม
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๗ สิงหาคม ๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๑๔ สิงหาคม
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๒๐ ง/หน้า ๗/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ |
671605 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วย การดำเนินงาน หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วย
การดำเนินงาน หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงิน
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๗[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วย การดำเนินงาน หลักเกณฑ์
และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ (๗)
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑
คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา จึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้
เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วย การดำเนินงาน หลักเกณฑ์
และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อความในข้อ
๑๗ แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วย การดำเนินงาน
หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๗
ให้ผู้บริหารสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเงินให้กู้ยืมประจำสถานศึกษาจำนวนห้าคน
ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นประธาน ผู้แทนองค์กรชุมชน
จำนวนหนึ่งคนเป็นกรรมการ อาจารย์ หรือครูของสถานศึกษานั้น
จำนวนสองคนเป็นกรรมการและให้ประธานแต่งตั้งบุคลากรของสถานศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ
จำนวนหนึ่งคน ผู้แทนองค์กรชุมชนตามวรรคหนึ่งให้หมายถึงบุคคลที่อยู่ในองค์กรชุมชนตามความหมายที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกข้อความในข้อ
๒๐ แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วย การดำเนินงาน
หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๒๐ การประชุมคณะกรรมการพิจารณาการให้กู้ยืมเงินประจำสถานศึกษา
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
จึงถือว่าเป็นองค์ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุม ให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกข้อความในข้อ
๓๘ แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วย การดำเนินงาน
หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓๘ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องตรวจสอบว่าผู้กู้ยืมเงินลงทะเบียนหรือไม่
หากผู้กู้ยืมเงินไม่ลงทะเบียนเรียน ต้องแจ้งให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
(บมจ.ธนาคารกรุงไทย) ทราบภายในสิบห้าวัน นับแต่วันสิ้นสุดการลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษา
และให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
ระงับการโอนเงินให้ผู้กู้ยืมเงินดังกล่าวไว้ก่อน
ข้อ ๖ ให้เพิ่มเติมข้อความเป็นข้อ ๔๓/๑
แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วย การดำเนินงาน
หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ดังนี้
ข้อ ๔๓/๑
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องส่งคืนเงินกู้ยืมของผู้กู้ยืมเงินที่มิได้ใช้ตามที่กำหนดไว้ในสัญญากู้ยืมให้แก่กองทุน
ก่อนสิ้นแต่ละภาคการศึกษาของสถานศึกษา
ข้อ ๗ สถานศึกษาใดที่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการให้กู้ยืมเงินประจำสถานศึกษาไปแล้วก่อนที่ระเบียบนี้จะมีผลบังคับใช้ให้สามารถดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการให้กู้ยืมเงินประจำสถานศึกษาตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
สมใจนึก
เองตระกูล
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๗ สิงหาคม ๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๑๔ สิงหาคม
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๒๐ ง/หน้า ๕/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ |
661048 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วย การชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2552
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วย
การชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
(ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๕๒
เนื่องจากระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วย
การชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๒ และฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้กำหนดหน้าที่การชำระเงินคืน
โดยให้ผู้กู้ยืมต้องชำระเงินกู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยคืนให้แก่กองทุนเท่านั้น
ซึ่งตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑
ได้กำหนดการชำระคืนเงินกู้ยืมอาจชำระในรูปดอกเบี้ยหรือประโยชน์อย่างอื่นด้วย
จึงเห็นสมควรปรับปรุงถ้อยคำให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๘ (๗) มาตรา ๕๒ และมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑ คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
"ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วย
การชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๒"
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ
๔ แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
"กองทุน" หมายความว่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
"ผู้กู้ยืม" หมายความว่า นักเรียน หรือนักศึกษา
ผู้กู้ยืมเงินจากกองทุน
"คณะกรรมการ" หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
"ธนาคาร" หมายความว่า ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
ตามความในมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑
ประโยชน์อื่นใด หมายความว่า
ค่าบริการ เช่น ค่าธรรมเนียมการจัดการเงินกู้
ข้อ ๔
ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๕ ผู้กู้ยืมมีหน้าที่ต้องชำระเงินกู้ยืมพร้อมทั้งดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดร้อยละ
๑ ต่อปี คืนให้กองทุนภายหลังวันที่ได้รับอนุมัติให้สำเร็จการศึกษา
หรือมีคำสั่งให้พ้นสภาพการเป็นนักเรียน นักศึกษาแล้ว ๒ ปี
การชำระดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดตามวรรคหนึ่ง
หากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำหนึ่งปีของธนาคารออมสินต่ำกว่าร้อยละ ๑ ต่อปี
ให้ผู้กู้ยืมชำระดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดตามอัตรานั้น
ให้ผู้กู้ยืมชำระหนี้งวดแรกหลักจากครบระยะเวลาปลอดหนี้ตามวรรคหนึ่งและชำระหนี้งวดต่อ
ๆ ไป ภายในวันที่ ๕ กรกฎาคม โดยให้ถือว่า วันที่ ๕ กรกฎาคม เป็นวันที่ครบกำหนดชำระหนี้
หากวันดังกล่าวตรงกับวันหยุดทำการของธนาคารให้นับวันเปิดทำการถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระหนี้
ในการชำระหนี้คืนงวดแรก ให้ผู้กู้ยืมชำระคืนเฉพาะเงินต้น
สำหรับงวดต่อ ๆ ไปให้ชำระเงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด
การคิดดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดให้เริ่มคิดตั้งแต่วันที่ครบกำหนดชำระหนี้เงินต้นที่เหลือหลังจากชำระงวดแรกแล้ว
ข้อ ๕
ให้ยกเลิกความในข้อ ๖
แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๖ ผู้กู้ยืมต้องชำระหนี้เงินกู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดคืนให้แก่กองทุนให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา
๑๕ ปี นับแต่วันที่ต้องเริ่มชำระหนี้
กรณีผู้กู้ยืมพ้นสภาพการเป็นนักเรียน นักศึกษากลางคัน
ก่อนที่จะจบภาคการศึกษาให้นับระยะเวลาปลอดหนี้โดยอนุโลมเหมือนจบภาคการศึกษาของปีนั้น
และให้ผู้กู้ยืมเริ่มชำระหนี้งวดแรกในวันที่ ๕ กรกฎาคม หลังจากครบระยะเวลาปลอดหนี้
๒ ปีเช่นกัน
ข้อ ๖
ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๐ แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๐ หากผู้กู้ยืมผิดนัดชำระหนี้
ผู้กู้ยืมจะต้องเสียค่าปรับ
หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ตามอัตราดังนี้
(๑)กรณีผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือน หากค้างชำระตั้งแต่ ๑
เดือนขึ้นไปแต่ไม่เกิน ๑๒ เดือน ชำระค่าปรับหรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้
ร้อยละ ๑ ต่อเดือนของเงินต้นงวดที่ค้างชำระ หากค้างชำระเกิน ๑๒ เดือน ชำระค่าปรับ
หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ร้อยละ ๑.๕ ต่อเดือน ของเงินต้นงวดที่ค้างชำระทั้งหมด
(๒) กรณีผ่อนชำระหนี้เป็นรายปี หากค้างชำระตั้งแต่ ๑ งวดขึ้นไป ชำระค่าปรับ
หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ร้อยละ ๑.๕ ต่อเดือน
ของเงินต้นงวดที่ค้างชำระทั้งหมด
ข้อ ๗
ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑ แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๑ ผู้กู้ยืมที่มีความประสงค์จะขอชำระหนี้คืนก่อนครบกำหนดระยะเวลาชำระหนี้
หรือก่อนครบระยะเวลาปลอดหนี้ ๒ ปี สามารถชำระคืนได้โดยไม่เสียดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
นายสถิต ลิ่มพงศ์พันธุ์
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา |
661053 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน พ.ศ. 2542 (ฉบับ Update ณ วันที่ 27/06/2550)
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
พ.ศ. ๒๕๔๒
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับจำนวนเงิน
เงื่อนไขและระยะเวลาชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ (๗) มาตรา ๕๒ และมาตรา ๕๔
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑
คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อ
๒[๑]
ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ
๓
ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
พ.ศ.
๒๕๓๙
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
กองทุน หมายความว่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ผู้กู้ยืม หมายความว่า นักเรียน หรือนักศึกษา
ผู้กู้ยืมเงินจากกองทุน
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ธนาคาร หมายความว่า ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม ตามความในมาตรา ๓๗
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑
ข้อ
๕[๒]
ผู้กู้ยืมมีหน้าที่ต้องชำระเงินกู้ยืมพร้อมทั้งดอกเบี้ยร้อยละ ๑ ต่อปี
คืนให้กองทุนภายหลังวันที่ได้รับอนุมัติให้สำเร็จการศึกษาหรือมีคำสั่งให้พ้นสภาพการเป็นนักเรียน
นักศึกษา แล้ว ๒ ปี
ให้ผู้กู้ยืมชำระหนี้งวดแรกหลังจากครบระยะเวลาปลอดหนี้ตามวรรคหนึ่งและชำระหนี้งวดต่อ
ๆ ไป ภายในวันที่ ๕ กรกฎาคม โดยให้ถือว่า วันที่ ๕ กรกฎาคม
เป็นวันที่ครบกำหนดชำระหนี้
หากวันดังกล่าวตรงกับวันหยุดทำการของธนาคารให้นับวันเปิดทำการถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระหนี้
ในการชำระหนี้คืนงวดแรก
ให้ผู้กู้ยืมชำระคืนเฉพาะเงินต้น สำหรับงวดต่อ ๆ ไป
ให้ชำระเงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ย
การคิดดอกเบี้ยให้เริ่มคิดตั้งแต่วันที่ครบกำหนดชำระหนี้ของเงินต้นที่เหลือหลังจากชำระงวดแรกแล้ว
ข้อ
๖
ผู้กู้ยืมต้องชำระหนี้เงินกู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยคืนให้กับกองทุน
ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา ๑๕ ปี นับแต่วันที่ต้องเริ่มชำระหนี้
วรรคสอง[๓]
(ยกเลิก)
กรณีผู้กู้ยืมพ้นสภาพการเป็นนักเรียน
นักศึกษากลางคัน
ก่อนที่จะจบภาคการศึกษาให้นับระยะเวลาปลอดหนี้โดยอนุโลมเหมือนจบภาคการศึกษาของปีนั้นและให้ผู้กู้ยืมเริ่มชำระหนี้งวดแรกในวันที่
๕ กรกฎาคม หลังจากครบระยะเวลาปลอดหนี้ ๒ ปีเช่นกัน
ข้อ
๗
ให้ผู้กู้ยืมเลือกผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือน
หรือผ่อนชำระเป็นรายปีได้จำนวนเงินต้นที่ต้องชำระเป็นรายเดือนรวมตลอดปี
หรือจำนวนเงินต้นที่ชำระเป็นรายปีต้องไม่ต่ำกว่าอัตราดังนี้
ปีที่ชำระ
ร้อยละของเงินต้นที่ต้องชำระ
ปีที่ชำระ
ร้อยละของเงินต้นที่ต้องชำระ
ปีที่ชำระ
ร้อยละของเงินต้นที่ต้องชำระ
๑
๑.๕
๖
๔.๕
๑๑
๙.๐
๒
๒.๕
๗
๕.๐
๑๒
๑๐.๐
๓
๓.๐
๘
๖.๐
๑๓
๑๑.๐
๔
๓.๕
๙
๗.๐
๑๔
๑๒.๐
๕
๔.๐
๑๐
๘.๐
๑๕
๑๓.๐
ในกรณีจำเป็นที่เห็นสมควรธนาคารอาจผ่อนผันให้ผู้กู้ยืมชำระหนี้ตามระยะเวลาที่แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในวรรคแรก
หรือชะลอการชำระหนี้เป็นการชั่วคราว ตามที่ผู้กู้ยืมร้องขอเป็นราย ๆ
หรือเป็นการทั่วไปก็ได้
ข้อ
๘[๔] (ยกเลิก)
ข้อ
๙[๕] ในการชำระหนี้
ให้ผู้กู้ยืมนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของตนที่มีอยู่กับธนาคาร
เป็นเลขที่บัญชีเดียวกันกับผู้กู้ยืมได้รับเงินกู้ เมื่อครั้งกู้ยืมเงิน หรือบัญชีออมทรัพย์ของผู้กู้บัญชีอื่นที่ผู้กู้ยืมแจ้งความประสงค์ให้หักบัญชีเพื่อชำระหนี้
หรือชำระโดยวิธีอื่นตามที่ธนาคารกำหนด
ข้อ
๑๐ หากผู้กู้ยืมผิดนัดชำระหนี้
ผู้กู้ยืมจะต้องเสียค่าปรับตามอัตราดังนี้
(๑) กรณีผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือน หากค้างชำระตั้งแต่ ๑ เดือนขึ้นไปแต่ไม่เกิน
๑๒ เดือน เสียค่าปรับร้อยละ ๑ ต่อเดือนของเงินต้นงวดที่ค้างชำระหากค้างชำระเกิน ๑๒
เดือน เสียค่าปรับร้อยละ ๑.๕ ต่อเดือน ของเงินต้นงวดที่ค้างชำระทั้งหมด
(๒) กรณีผ่อนชำระหนี้เป็นรายปี หากค้างชำระตั้งแต่ ๑ งวดขึ้นไป
เสียค่าปรับร้อยละ ๑.๕ ต่อเดือน ของเงินต้นงวดที่ค้างชำระทั้งหมด
ข้อ
๑๑
ผู้กู้ยืมที่มีความประสงค์จะขอชำระหนี้คืนก่อนครบกำหนดระยะเวลาชำระหนี้
หรือก่อนครบระยะเวลาปลอดหนี้ ๒ ปี สามารถชำระคืนได้โดยไม่เสียดอกเบี้ย
ข้อ
๑๒ ผู้กู้ยืมที่บอกเลิกสัญญา
จะต้องชำระหนี้คืนตามระเบียบภายใน ๓๐ วัน โดยไม่เสียดอกเบี้ย
หากเกินระยะเวลาดังกล่าว ให้คิดดอกเบี้ยร้อยละ ๑ ต่อเดือน
ของเงินต้นที่ค้างชำระกรณีค้างชำระไม่เกิน ๑๒ เดือน และร้อยละ ๑.๕
ต่อเดือนของเงินต้นที่ค้างชำระกรณีค้างชำระเกิน ๑๒ เดือน
ข้อ
๑๓ การผ่อนชำระหนี้แต่ละครั้ง
ธนาคารจะคิดค่าใช้จ่ายในการโอนเงินรายการละ ๑๐ บาท โดยหักบัญชีจากผู้กู้ยืม
ข้อ
๑๔ หลักฐานการชำระหนี้คืน
ผู้กู้ยืมสามารถตรวจสอบดังนี้
(๑) จากสำเนาใบนำฝากเงิน
(๒) จากการบันทึกบัญชีในสมุดเงินฝากของผู้กู้ยืม
(๓) จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ของธนาคาร
(๔) จากรายการบันทึกบัญชี (Statement) ของธนาคาร
ข้อ ๑๕[๖] ก่อนวันครบกำหนดชำระหนี้ครั้งแรก
ธนาคารจะส่งจดหมายที่สามารถตรวจสอบการนำจ่ายไปยังผู้รับได้
แจ้งให้ผู้กู้ยืมทราบเป็นการล่วงหน้า
ข้อ
๑๖
ให้ประธานกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๒
ศุภชัย พิศิษฐวานิช
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖[๗]
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
คุณากร/ผู้จัดทำ
๒๗ เมษายน ๒๕๕๔
วิชชุตา/ผู้ตรวจ
๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔
[๑]ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๔๒ ง/หน้า ๗๖/๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๖
[๒][ข้อ ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๓]
ข้อ ๖ วรรคสอง ยกเลิกโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๔]
ข้อ ๘ ยกเลิกโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๕]
ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๖] ข้อ ๑๕
แก้ไขเพิ้มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๔๓ ง/หน้า ๓๖/๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๖ |
661036 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๕๐
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้มีความเหมาะสม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ (๗) และมาตรา ๕๒
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑
คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
"ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐"
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ
๑๕ แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๕ ก่อนวันครบกำหนดชำระหนี้ครั้งแรก
ธนาคารจะส่งจดหมายที่สามารถตรวจสอบการนำจ่ายไปยังผู้รับได้
แจ้งให้ผู้กู้ยืมทราบเป็นการล่วงหน้า
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐
นายศุภรัตน์ ศวัฒน์กุล
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา |
661051 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน พ.ศ. 2542 (ฉบับ Update ณ วันที่ 16/12/2546)
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืม
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืม
เพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
พ.ศ. ๒๕๔๒[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับจำนวนเงิน
เงื่อนไขและระยะเวลาชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ (๗) มาตรา ๕๒ และมาตรา ๕๔
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑ คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจึงวางระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อ
๒
ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ
๓
ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน พ.ศ. ๒๕๓๙
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
กองทุน หมายความว่า
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ผู้กู้ยืม หมายความว่า นักเรียน หรือนักศึกษา
ผู้กู้ยืมเงินจากกองทุน
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ธนาคาร หมายความว่า
ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม ตามความในมาตรา ๓๗
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑
ข้อ
๕[๒]
ผู้กู้ยืมมีหน้าที่ต้องชำระเงินกู้ยืมพร้อมทั้งดอกเบี้ยร้อยละ ๑ ต่อปี
คืนให้กองทุนภายหลังวันที่ได้รับอนุมัติให้สำเร็จการศึกษาหรือมีคำสั่งให้พ้นสภาพการเป็นนักเรียน
นักศึกษา แล้ว ๒ ปี
ให้ผู้กู้ยืมชำระหนี้งวดแรกหลังจากครบระยะเวลาปลอดหนี้ตามวรรคหนึ่งและชำระหนี้งวดต่อ
ๆ ไป ภายในวันที่ ๕ กรกฎาคม โดยให้ถือว่า วันที่ ๕ กรกฎาคม
เป็นวันที่ครบกำหนดชำระหนี้ หากวันดังกล่าวตรงกับวันหยุดทำการของธนาคาร
ให้นับวันเปิดทำการถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระหนี้
ในการชำระหนี้คืนงวดแรก
ให้ผู้กู้ยืมชำระคืนเฉพาะเงินต้น สำหรับงวดต่อ ๆ ไป
ให้ชำระเงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ย
การคิดดอกเบี้ยให้เริ่มคิดตั้งแต่วันที่ครบกำหนดชำระหนี้ของเงินต้นที่เหลือหลังจากชำระงวดแรกแล้ว
ข้อ
๖
ผู้กู้ยืมต้องชำระหนี้เงินกู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยคืนให้กับกองทุน
ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา ๑๕ ปี นับแต่วันที่ต้องเริ่มชำระหนี้
วรรคสอง[๓] (ยกเลิก)
กรณีผู้กู้ยืมพ้นสภาพการเป็นนักเรียน
นักศึกษากลางคัน
ก่อนที่จะจบภาคการศึกษาให้นับระยะเวลาปลอดหนี้โดยอนุโลมเหมือนจบภาคการศึกษาของปีนั้นและให้ผู้กู้ยืมเริ่มชำระหนี้งวดแรกในวันที่
๕ กรกฎาคม หลังจากครบระยะเวลาปลอดหนี้ ๒ ปีเช่นกัน
ข้อ
๗
ให้ผู้กู้ยืมเลือกผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือน
หรือผ่อนชำระเป็นรายปีได้จำนวนเงินต้นที่ต้องชำระเป็นรายเดือนรวมตลอดปี
หรือจำนวนเงินต้นที่ชำระเป็นรายปีต้องไม่ต่ำกว่าอัตราดังนี้
ปีที่ชำระ
ร้อยละของเงินต้นที่ต้องชำระ
ปีที่ชำระ
ร้อยละของเงินต้นที่ต้องชำระ
ปีที่ชำระ
ร้อยละของเงินต้นที่ต้องชำระ
๑
๑.๕
๖
๔.๕
๑๑
๙.๐
๒
๒.๕
๗
๕.๐
๑๒
๑๐.๐
๓
๓.๐
๘
๖.๐
๑๓
๑๑.๐
๔
๓.๕
๙
๗.๐
๑๔
๑๒.๐
๕
๔.๐
๑๐
๘.๐
๑๕
๑๓.๐
ในกรณีจำเป็นที่เห็นสมควรธนาคารอาจผ่อนผันให้ผู้กู้ยืมชำระหนี้ตามระยะเวลาที่แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในวรรคแรก
หรือชะลอการชำระหนี้เป็นการชั่วคราว ตามที่ผู้กู้ยืมร้องขอเป็นราย ๆ
หรือเป็นการทั่วไปก็ได้
ข้อ
๘[๔] (ยกเลิก)
ข้อ
๙[๕] ในการชำระหนี้
ให้ผู้กู้ยืมนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของตนที่มีอยู่กับธนาคาร
เป็นเลขที่บัญชีเดียวกันกับผู้กู้ยืมได้รับเงินกู้ เมื่อครั้งกู้ยืมเงิน หรือบัญชีออมทรัพย์ของผู้กู้บัญชีอื่นที่ผู้กู้ยืมแจ้งความประสงค์ให้หักบัญชีเพื่อชำระหนี้
หรือชำระโดยวิธีอื่นตามที่ธนาคารกำหนด
ข้อ
๑๐ หากผู้กู้ยืมผิดนัดชำระหนี้
ผู้กู้ยืมจะต้องเสียค่าปรับตามอัตราดังนี้
(๑) กรณีผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือน หากค้างชำระตั้งแต่
๑ เดือนขึ้นไปแต่ไม่เกิน ๑๒ เดือน เสียค่าปรับร้อยละ ๑
ต่อเดือนของเงินต้นงวดที่ค้างชำระหากค้างชำระเกิน ๑๒ เดือน เสียค่าปรับร้อยละ ๑.๕ ต่อเดือน ของเงินต้นงวดที่ค้างชำระทั้งหมด
(๒) กรณีผ่อนชำระหนี้เป็นรายปี หากค้างชำระตั้งแต่ ๑
งวดขึ้นไป เสียค่าปรับร้อยละ ๑.๕ ต่อเดือน
ของเงินต้นงวดที่ค้างชำระทั้งหมด
ข้อ
๑๑
ผู้กู้ยืมที่มีความประสงค์จะขอชำระหนี้คืนก่อนครบกำหนดระยะเวลาชำระหนี้
หรือก่อนครบระยะเวลาปลอดหนี้ ๒ ปี สามารถชำระคืนได้โดยไม่เสียดอกเบี้ย
ข้อ
๑๒ ผู้กู้ยืมที่บอกเลิกสัญญา
จะต้องชำระหนี้คืนตามระเบียบภายใน ๓๐ วัน โดยไม่เสียดอกเบี้ย
หากเกินระยะเวลาดังกล่าว ให้คิดดอกเบี้ยร้อยละ ๑ ต่อเดือน
ของเงินต้นที่ค้างชำระกรณีค้างชำระไม่เกิน ๑๒ เดือน และร้อยละ ๑.๕
ต่อเดือนของเงินต้นที่ค้างชำระกรณีค้างชำระเกิน ๑๒ เดือน
ข้อ
๑๓ การผ่อนชำระหนี้แต่ละครั้ง
ธนาคารจะคิดค่าใช้จ่ายในการโอนเงินรายการละ ๑๐ บาท โดยหักบัญชีจากผู้กู้ยืม
ข้อ
๑๔ หลักฐานการชำระหนี้คืน
ผู้กู้ยืมสามารถตรวจสอบดังนี้
(๑) จากสำเนาใบนำฝากเงิน
(๒) จากการบันทึกบัญชีในสมุดเงินฝากของผู้กู้ยืม
(๓) จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ของธนาคาร
(๔) จากรายการบันทึกบัญชี (Statement) ของธนาคาร
ข้อ ๑๕[๖] ก่อนวันครบกำหนดชำระหนี้ครั้งแรก
ธนาคารจะส่งจดหมายที่สามารถตรวจสอบการนำจ่ายไปยังผู้รับได้
แจ้งให้ผู้กู้ยืมทราบเป็นการล่วงหน้า
ข้อ
๑๖
ให้ประธานกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๒
ศุภชัย พิศิษฐวานิช
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖[๗]
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐[๘]
คุณากร/ผู้จัดทำ
๒๗ เมษายน ๒๕๕๔
วิชชุตา/ผู้ตรวจ
๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๔๒ ง/หน้า ๗๖/๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๖
[๒] ข้อ ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๓] ข้อ ๖ วรรคสอง ยกเลิกโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๔] ข้อ ๘
ยกเลิกโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๕] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๖] ข้อ ๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๔๓ ง/หน้า ๓๖/๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๖
[๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม -/-/-/- |
431501 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วย การชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วย
การชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๖[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้มีความเหมาะสม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๘ (๗) และมาตรา ๕๒
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.
๒๕๔๑ คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจึงวางระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วย การชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกความในข้อ ๕
แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วย
การชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๒
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๕ ผู้กู้ยืมมีหน้าที่ต้องชำระเงินกู้ยืมพร้อมทั้งดอกเบี้ยร้อยละ
๑ ต่อปี
คืนให้กองทุนภายหลังวันที่ได้รับอนุมัติให้สำเร็จการศึกษาหรือมีคำสั่งให้พ้นสภาพการเป็นนักเรียน
นักศึกษา แล้ว ๒ ปี
ให้ผู้กู้ยืมชำระหนี้งวดแรกหลังจากครบระยะเวลาปลอดหนี้ตามวรรคหนึ่งและชำระหนี้งวดต่อ
ๆ ไป ภายในวันที่ ๕ กรกฎาคม โดยให้ถือว่า วันที่ ๕ กรกฏาคม
เป็นวันที่ครบกำหนดชำระหนี้
หากวันดังกล่าวตรงกับวันหยุดทำการของธนาคารให้นับวันเปิดทำการถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระหนี้
ในการชำระหนี้คืนงวดแรก
ให้ผู้กู้ยืมชำระคืนเฉพาะเงินต้น สำหรับงวดต่อ ๆ ไป ให้ชำระเงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ย
การคิดดอกเบี้ยให้เริ่มคิดตั้งแต่วันที่ครบกำหนดชำระหนี้ของเงินต้นที่เหลือหลังจากชำระงวดแรกแล้ว
ข้อ ๔
ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ ๖
แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วย
การชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อ ๕
ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อ ๖
ให้เพิ่มความต่อไปนี้ ต่อท้ายความในข้อ ๙
แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วย การชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
พ.ศ. ๒๕๔๒
หรือชำระโดยวิธีอื่นตามที่ธนาคารกำหนด
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
สมใจนึก เองตระกูล
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
คุณากร/ผู้จัดทำ
๒๗ เมษายน ๒๕๕๔
วิชชุตา/ผู้ตรวจ
๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๔๓ ง/หน้า ๓๖/๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๖ |
429779 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน พ.ศ. 2542
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
พ.ศ. ๒๕๔๒[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับจำนวนเงิน
เงื่อนไขและระยะเวลาชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ (๗) มาตรา ๕๒ และมาตรา ๕๔
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑ คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจึงวางระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
พ.ศ. ๒๕๓๙
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
กองทุน หมายความว่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ผู้กู้ยืม หมายความว่า นักเรียน หรือนักศึกษา ผู้กู้ยืมเงินจากกองทุน
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ธนาคาร หมายความว่า
ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม ตามความในมาตรา ๓๗
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.
๒๕๔๑
ข้อ
๕ ผู้กู้ยืมมีหน้าที่ต้องชำระเงินกู้ยืมพร้อมทั้งดอกเบี้ยร้อยละ
๑ ต่อปีคืนให้กองทุนภายหลังวันที่ได้รับอนุมัติให้สำเร็จการศึกษา หรือมีคำสั่งให้พ้นสภาพการเป็นนักเรียน
นักศึกษาแล้ว ๒ ปี และให้ถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่ต้องเริ่มชำระหนี้
การคิดดอกเบี้ยให้คิดตั้งแต่วันที่ต้องเริ่มชำระหนี้
ข้อ
๖ ผู้กู้ยืมต้องชำระหนี้เงินกู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยคืนให้กับกองทุน
ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา ๑๕ ปี นับแต่วันที่ต้องเริ่มชำระหนี้
ให้ผู้กู้ยืมชำระหนี้งวดแรกวันที่
๕ กรกฎาคม หลังจากครบระยะปลอดหนี้ ๒ ปี หากวันดังกล่าวตรงกับวันหยุดทำการของธนาคาร
ให้ชำระในวันเปิดทำการถัดไป
กรณีผู้กู้ยืมพ้นสภาพการเป็นนักเรียน
นักศึกษากลางคัน ก่อนที่จะจบภาคการศึกษาให้นับระยะเวลาปลอดหนี้โดยอนุโลมเหมือนจบภาคการศึกษาของปีนั้นและให้ผู้กู้ยืมเริ่มชำระหนี้งวดแรกในวันที่
๕ กรกฎาคม หลังจากครบระยะเวลาปลอดหนี้ ๒ ปีเช่นกัน
ข้อ
๗ ให้ผู้กู้ยืมเลือกผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือน
หรือผ่อนชำระเป็นรายปีได้จำนวนเงินต้นที่ต้องชำระเป็นรายเดือนรวมตลอดปี หรือจำนวนเงินต้นที่ชำระเป็นรายปีต้องไม่ต่ำกว่าอัตราดังนี้
ปีที่ชำระ
ร้อยละของเงินต้นที่ต้องชำระ
ปีที่ชำระ
ร้อยละของเงินต้นที่ต้องชำระ
ปีที่ชำระ
ร้อยละของเงินต้นที่ต้องชำระ
๑
๑.๕
๖
๔.๕
๑๑
๙.๐
๒
๒.๕
๗
๕.๐
๑๒
๑๐.๐
๓
๓.๐
๘
๖.๐
๑๓
๑๑.๐
๔
๓.๕
๙
๗.๐
๑๔
๑๒.๐
๕
๔.๐
๑๐
๘.๐
๑๕
๑๓.๐
ในกรณีจำเป็นที่เห็นสมควรธนาคารอาจผ่อนผันให้ผู้กู้ยืมชำระหนี้ตามระยะเวลาที่แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในวรรคแรก
หรือชะลอการชำระหนี้เป็นการชั่วคราว ตามที่ผู้กู้ยืมร้องขอเป็นราย ๆ หรือเป็นการทั่วไปก็ได้
ข้อ
๘ กรณีผู้กู้ยืมตกลงผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือน
ให้ติดต่อธนาคารเพื่อทำข้อตกลงเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญากู้ยืมเงิน
ข้อ
๙ ในการชำระหนี้ ให้ผู้กู้ยืมนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของตนที่มีอยู่กับธนาคาร
เป็นเลขที่บัญชีเดียวกันกับผู้กู้ยืมได้รับเงินกู้ เมื่อครั้งกู้ยืมเงิน หรือบัญชีออมทรัพย์ของผู้กู้บัญชีอื่นที่ผู้กู้ยืมแจ้งความประสงค์ให้หักบัญชีเพื่อชำระหนี้
ข้อ
๑๐ หากผู้กู้ยืมผิดนัดชำระหนี้
ผู้กู้ยืมจะต้องเสียค่าปรับตามอัตราดังนี้
(๑) กรณีผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือน หากค้างชำระตั้งแต่
๑ เดือนขึ้นไปแต่ไม่เกิน ๑๒ เดือน เสียค่าปรับร้อยละ ๑ ต่อเดือนของเงินต้นงวดที่ค้างชำระหากค้างชำระเกิน
๑๒ เดือน เสียค่าปรับร้อยละ ๑.๕ ต่อเดือน ของเงินต้นงวดที่ค้างชำระทั้งหมด
(๒) กรณีผ่อนชำระหนี้เป็นรายปี หากค้างชำระตั้งแต่ ๑ งวดขึ้นไป
เสียค่าปรับร้อยละ ๑.๕ ต่อเดือน ของเงินต้นงวดที่ค้างชำระทั้งหมด
ข้อ
๑๑ ผู้กู้ยืมที่มีความประสงค์จะขอชำระหนี้คืนก่อนครบกำหนดระยะเวลาชำระหนี้
หรือก่อนครบระยะเวลาปลอดหนี้ ๒ ปี สามารถชำระคืนได้โดยไม่เสียดอกเบี้ย
ข้อ
๑๒ ผู้กู้ยืมที่บอกเลิกสัญญา จะต้องชำระหนี้คืนตามระเบียบภายใน
๓๐ วัน โดยไม่เสียดอกเบี้ย หากเกินระยะเวลาดังกล่าว ให้คิดดอกเบี้ยร้อยละ ๑ ต่อเดือน
ของเงินต้นที่ค้างชำระกรณีค้างชำระไม่เกิน ๑๒ เดือน และร้อยละ ๑.๕ ต่อเดือนของเงินต้นที่ค้างชำระกรณีค้างชำระเกิน ๑๒ เดือน
ข้อ
๑๓ การผ่อนชำระหนี้แต่ละครั้ง ธนาคารจะคิดค่าใช้จ่ายในการโอนเงินรายการละ
๑๐ บาท โดยหักบัญชีจากผู้กู้ยืม
ข้อ
๑๔ หลักฐานการชำระหนี้คืน ผู้กู้ยืมสามารถตรวจสอบดังนี้
(๑) จากสำเนาใบนำฝากเงิน
(๒) จากการบันทึกบัญชีในสมุดเงินฝากของผู้กู้ยืม
(๓) จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ของธนาคาร
(๔) จากรายการบันทึกบัญชี (Statement) ของธนาคาร
ข้อ
๑๕ ก่อนวันครบกำหนดชำระหนี้ครั้งแรก
ธนาคารจะส่งจดหมายธุรกิจตอบรับ แจ้งให้ผู้กู้ยืมทราบเป็นการล่วงหน้า
ข้อ
๑๖ ให้ประธานกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษารักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๒
ศุภชัย พิศิษฐวานิช
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
คุณากร/ผู้จัดทำ
๒๗ เมษายน ๒๕๕๔
วิชชุตา/ผู้ตรวจ
๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๔๒
ง/หน้า ๗๖/๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๖ |
383679 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยการดำเนินงาน หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2546
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ว่าด้วยการดำเนินงาน
หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงิน
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๖[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยการดำเนินงาน
หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ (๗) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑
คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยการดำเนินงาน
หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ ให้ใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๑
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
กองทุน หมายความว่า
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ผู้กู้ยืมเงิน หมายความว่า นักเรียน นักศึกษา
ที่กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษา หมายความว่า
ผู้บริหารของสถานศึกษาที่ได้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ในการดำเนินงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
สำนักงานกองทุน หมายความว่า
สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
สถานศึกษา หมายความว่า โรงเรียน สถานศึกษา
หรือสถาบันการศึกษาของทางราชการ หรือโรงเรียนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือโรงเรียน สถานศึกษา
หรือสถาบันการศึกษาที่มีกฎหมายตั้งขึ้นโดยเฉพาะ หรือโรงเรียน สถานศึกษา
หรือสถาบันการศึกษาอื่นที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม หมายความว่า
บุคคลที่คณะกรรมการทำสัญญาจ้างให้ทำหน้าที่บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมตามมาตรา
๓๗ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑
ข้อ
๕ ให้ประธานกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
การจัดสรรวงเงินให้กู้ยืม
ข้อ ๖ ให้คณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่หนึ่ง
และคณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่สอง
พิจารณาจัดสรรวงเงินให้กู้ยืมที่ได้รับให้นักเรียน นักศึกษา แต่ละสถานศึกษาตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ
๗ ให้คณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่หนึ่ง
และคณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่สอง
แจ้งรายละเอียดการจัดสรรวงเงินกู้ยืมให้สำนักงานกองทุนทราบ
ตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด ๒
ผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ข้อ
๘ ผู้กู้ยืมเงินกองทุน มี ๒ ประเภท
ได้แก่
(๑) ผู้กู้ยืมเงินรายใหม่ หมายถึง นักเรียน
นักศึกษาผู้ที่ไม่เคยกู้ยืมเงินกองทุนมาก่อน
หรือเป็นผู้ที่เคยกู้ยืมเงินมาก่อนและได้ชำระหนี้คืนเสร็จสิ้นแล้ว
(๒) ผู้กู้ยืมเงินรายเก่า หมายถึง นักเรียน
นักศึกษาที่อยู่ในระหว่างการศึกษาและเคยกู้ยืมเงินกองทุนมาก่อนไม่ว่าจะเคยกู้ยืมเงินจากสถานศึกษาอื่นหรือสถานศึกษาปัจจุบันก็ตาม
ข้อ
๙
ผู้กู้ยืมเงินต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา ๔๕
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑ ดังนี้
(๑) เป็นผู้มีสัญชาติไทย
(๒) เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
(๓) มีคุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ
๑๐ ผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่ดังนี้
(๑) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมตรงกับความเป็นจริง
(๒) ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
หลักเกณฑ์ และวิธีการของคณะกรรมการตลอดระยะเวลาการกู้ยืม
(๓) แจ้งการเปลี่ยนชื่อ ย้ายที่อยู่
หรือย้ายสถานศึกษา และจบการศึกษาหรือพ้นสภาพการเป็นนักเรียน นักศึกษา
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเปลี่ยนชื่อ ย้ายที่อยู่ ย้ายสถานศึกษา จบการศึกษา หรือพ้นสภาพการเป็นนักเรียน
นักศึกษา ต่อผู้บริหาร และจัดการเงินให้กู้ยืม (ธนาคารกรุงไทย
จำกัด (มหาชน))
(๔) แสดงตนต่ออาจารย์ที่ปรึกษา ตามข้อ ๓๖ (๓) อย่างน้อยภาคละหนึ่งครั้ง
(๕) ให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมที่สถานศึกษากำหนดในหมวด
๘
(๖) หน้าที่อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ
๑๑ นักเรียน
นักศึกษาที่ขอกู้ยืมเงินกองทุนต้องศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่มีสถานภาพตามข้อ ๑๕
และข้อ ๑๖ แล้ว เท่านั้น
ข้อ
๑๒ นักเรียน
นักศึกษาผู้ใดประสงค์จะกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด ต่อผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการ ณ
สถานศึกษาที่ตนกำลังศึกษาอยู่หรือที่ประสงค์จะเข้าศึกษา แล้วแต่กรณี
การยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งให้ยื่นได้ทุกวัน
ในเวลาทำการของสถานศึกษานั้น ๆ
ข้อ
๑๓ นักเรียน นักศึกษา
ที่ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินต้องเปิดบัญชีเงินฝากกับผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
(ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)) พร้อมทั้งหนังสือแจ้งผลการอนุมัติจากสถานศึกษาเพื่อประกอบการขอเปิดบัญชีด้วย
ข้อ
๑๔
เมื่อผู้กู้ยืมเงินสำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาแล้วเป็นเวลาสองปี
ผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่ต้องชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนตามจำนวนระยะเวลาและวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบของคณะกรรมการ
ก่อนถึงกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ตามวรรคหนึ่ง
ผู้กู้ยืมเงินต้องรายงานข้อมูลพร้อมเอกสารของตนเองตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
ต่อผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)) สาขาใดสาขาหนึ่งก่อนสิ้นเดือนพฤษภาคมของปีถัดจากปีที่สำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษา
หมวด ๓
สถานภาพสถานศึกษา
ข้อ ๑๕
สถานศึกษาที่ดำเนินงานกองทุนต้องเป็นสถานศึกษาที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและได้รับความเห็นชอบให้เปิดดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร
ในแต่ละสาขาวิชาจากกระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย
หรือหน่วยงานอื่นที่สถานศึกษานั้นสังกัด
ข้อ
๑๖ สถานศึกษาตามข้อ ๑๕
ก่อนดำเนินงานกองทุนต้องได้รับความเห็นชอบ จากคณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่หนึ่ง
หรือคณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่สอง แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด ๔
คณะกรรมการพิจารณาการให้กู้ยืมเงินประจำสถานศึกษา
ข้อ ๑๗
ให้ผู้บริหารสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการให้กู้ยืมเงินประจำสถานศึกษา
จำนวนเจ็ดคน ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา เป็นประธาน ผู้แทนองค์กรชุมชน
จำนวนสามคน เป็นกรรมการ อาจารย์หรือครูของสถานศึกษานั้น จำนวนสามคน เป็นกรรมการ
และในจำนวนนี้ให้ประธานแต่งตั้งอาจารย์หรือครูเป็นกรรมการและเลขานุการ
จำนวนหนึ่งคน
ผู้แทนองค์กรชุมชนตามวรรคหนึ่งให้หมายถึงบุคคลที่อยู่ในองค์กรชุมชนตามความหมายที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ
๑๘
คณะกรรมการพิจารณาให้กู้ยืมเงินประจำสถานศึกษา มีอำนาจหน้าที่พิจารณาคัดเลือกนักเรียนนักศึกษาที่ขอกู้ยืมเงินเพื่อเสนอให้ผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณาอนุมัติ
โดยดำเนินการดังนี้
(๑) ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสาร
(๒) สัมภาษณ์ผู้ขอกู้ยืมเงิน
รวมทั้งถ้ามีความจำเป็นอาจสัมภาษณ์บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
(๓) ตรวจสอบโดยเยี่ยมเยียนครอบครัวของผู้ขอกู้ยืมเงินในกรณีที่เห็นว่ามีความจำเป็น
(๔) สรุปข้อมูลการกู้ยืมเงินของผู้ขอกู้ยืมเงิน
(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกผู้ขอกู้ยืมเงินตามที่คณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่หนึ่ง
หรือคณะอนุกรรมการบัญชีที่สองมอบหมาย
ข้อ
๑๙ ในการดำเนินการตามข้อ ๑๘
คณะกรรมการพิจารณาการให้กู้ยืมเงินประจำสถานศึกษาอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อทำหน้าที่แทนก็ได้
ข้อ
๒๐
การประชุมคณะกรรมการพิจารณาการให้กู้ยืมเงินประจำสถานศึกษา
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด และกรรมการที่มาประชุมต้องมีผู้แทนองค์กรชุมชนอย่างน้อยหนึ่งคนเข้าร่วมประชุมด้วย
จึงถือว่าเป็นองค์ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งเสียงในการลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
หมวด ๕
การเตรียมการและการคัดเลือกผู้กู้ยืมเงิน
ข้อ ๒๑
ผู้บริหารสถานศึกษาและเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินงานกองทุนต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หลักเกณฑ์ และวิธีการของคณะกรรมการอย่างเคร่งครัดและต้องจัดให้มีสถานที่บุคลากรให้เหมาะสมและเพียงพอในการดำเนินงานกองทุน
ผู้บริหารสถานศึกษานอกจากมีหน้าที่ตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้มีหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมอบหมายด้วย
ข้อ
๒๒ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องปิดประกาศ
ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หลักเกณฑ์ และวิธีการการดำเนินงานกองทุนไว้ในที่ที่เห็นได้ทั่วไปให้นักเรียน
นักศึกษาทราบโดยเปิดเผย ณ สถานศึกษา
ข้อ
๒๓
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องจัดให้มีการดำเนินการเพื่อเตรียมการและคัดเลือกผู้กู้ยืมเงินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่หนึ่งและคณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่สองกำหนด
ซึ่งอย่างน้อยต้องดำเนินการดังนี้
(๑) ประชาสัมพันธ์เรื่องกองทุน
(๒) แนะนำให้คำปรึกษาแก่นักเรียน นักศึกษา
(๓) รับแบบคำขอ
ตรวจสอบคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ของผู้กู้ยืมเงิน
(๔) เตรียมเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียน นักศึกษา
(๕) จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการพิจารณาการให้กู้ยืมเงินประจำสถานศึกษา
(๖) จัดทำรายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาการให้กู้ยืมเงินประจำสถานศึกษา
(๗) จัดทำประกาศผู้ได้รับการคัดเลือกให้กู้ยืมเงิน
(๘) จัดเก็บเอกสารต่าง ๆ ไว้เพื่อการตรวจสอบ
ข้อ
๒๔
การคัดเลือกผู้กู้ยืมเงินจะกระทำได้ต่อเมื่อมีคุณสมบัติตามข้อ ๙
และเป็นผู้มีสถานภาพเป็นนักเรียน นักศึกษา โดยได้ขึ้นทะเบียนเป็นนักเรียน
นักศึกษาของสถานศึกษาที่คัดเลือกนั้นแล้ว
ข้อ
๒๕
การพิจารณาคัดเลือกผู้กู้ยืมเงินรายใหม่
กรณีเงินที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอที่จะให้กู้ยืมเงิน ให้พิจารณาจากความขาดแคลนทุนทรัพย์ของผู้ขอกู้ยืมเงินและเป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาที่อยู่ในเขตของสถานศึกษาโดยให้คำนึงถึงผู้ที่มีคุณสมบัติและเคยขอกู้ยืมเงินกองทุนในปีการศึกษาที่ผ่านมาของสถานศึกษานั้น
แต่ไม่ได้รับการอนุมัติให้กู้ยืมเงิน
ข้อ
๒๖
การพิจารณาการคัดเลือกผู้กู้ยืมเงินรายเก่า
สถานศึกษาต้องดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติและสัมภาษณ์ผู้กู้ยืมเงินทุกครั้ง
เมื่อได้ผู้กู้ยืมเงินมีคุณสมบัติครบถ้วนแล้วให้พิจารณาจากความขาดแคลนทุนทรัพย์
สาขาวิชาที่ศึกษา ผลการเรียน และความประพฤติของผู้กู้ยืม
ข้อ
๒๗
เมื่อผู้บริหารสถานศึกษาได้อนุมัติการกู้ยืมเงินแก่นักเรียน นักศึกษาแล้ว
ให้ผู้บริหารสถานศึกษาดำเนินการดังนี้
(๑) ประกาศรายชื่อผู้ขอกู้ยืมเงินที่ได้รับอนุมัติโดยเปิดเผย
ณ สถานศึกษา
(๒) รายงานผลการคัดเลือกให้สำนักงานกองทุน
และผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)) สาขาที่เปิดบัญชีทราบตามแบบที่สำนักงานกองทุนกำหนด
หมวด ๖
การทำสัญญากู้ยืมและการนำส่งสัญญากู้ยืม
ข้อ ๒๘
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องจัดทำสัญญากู้ยืมเงินกับผู้ขอกู้ยืมเงินที่ได้รับอนุมัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการ
เรื่อง กำหนดขอบเขตการให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
หลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
ให้สถานศึกษาใช้แบบสัญญากู้ยืมตามที่คณะกรรมการกำหนด
ซึ่งสำนักงานกองทุนจะจัดส่งให้ในแต่ละปีเท่านั้น
ข้อ
๒๙
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องดำเนินการจัดให้มีการพิมพ์หรือเขียนข้อความในสัญญากู้ยืมก่อนผู้ให้กู้ยืม
ผู้กู้ยืมเงิน ผู้ค้ำประกันและผู้รับรองลายมือชื่อผู้ค้ำประกันลงลายมือชื่อ
การลงลายมือชื่อของบุคคลตามวรรคหนึ่ง
ต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเอง
ข้อ
๓๐
กรณีผู้ค้ำประกันไม่สามารถมาลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมต่อหน้าเจ้าหน้าที่หรือผู้บริหารสถานศึกษา
ต้องมีลายมือชื่อของนายทะเบียนท้องที่ หรือท้องถิ่น ณ ภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน
หรือภูมิลำเนาที่ประกอบอาชีพของผู้ค้ำประกันรับรองด้วย
ข้อ
๓๑ ผู้บริหารสถานศึกษา
ต้องจัดให้มีการตรวจสอบสัญญากู้ยืมและเอกสารประกอบให้ถูกต้องครบถ้วนก่อนนำส่งให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
(ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)) และต้องลงลายมือชื่อในใบนำส่งสัญญากู้ยืมด้วยทุกครั้ง
ข้อ
๓๒
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องส่งสัญญากู้ยืมให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม (ธนาคารกรุงไทย
จำกัด (มหาชน)) สาขาที่สถานศึกษาเปิดบัญชีไว้จำนวนหนึ่งฉบับและให้ผู้ขอกู้ยืมเงินหนึ่งฉบับ
พร้อมทั้งสำเนาสัญญากู้ยืมโดยรับรองสำเนาส่งให้ผู้ค้ำประกันหนึ่งฉบับ
เอกสารที่ต้องนำส่งพร้อมสัญญา
ประกอบด้วย
(๑) สำเนาสมุดคู่ฝากของผู้กู้ยืมเงิน
(๒) สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้ยืมเงิน
(๓) สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ค้ำประกัน
(๔) สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี)
(๕) สำเนาบัตรประกันสังคมของผู้ปกครองและผู้ค้ำประกัน
ถ้ามี)
(๖) สำเนาประกาศการอนุมัติให้กู้ยืมเงิน
ข้อ
๓๓ ให้สถานศึกษาโดยผู้บริหารสถานศึกษาเปิดบัญชีประเภทออมทรัพย์ของผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
(ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)) โดยใช้ชื่อว่า
บัญชีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของ (ระบุชื่อสถานศึกษา
) และแจ้งเลขที่บัญชีให้กองทุนทราบ
หมวด ๗
การจัดทำทะเบียนผู้กู้ยืมเงิน
และการเก็บเอกสาร
ข้อ ๓๔
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเก็บแบบคำขอกู้พร้อมหลักฐานของผู้ขอกู้ยืมเงินไว้เพื่อการตรวจสอบ
ดังนี้
(๑) กรณีผู้ขอกู้ยืมเงินไม่ได้รับการอนุมัติให้กู้ยืม
ให้จัดเก็บไว้หกสิบวันนับตั้งแต่วันที่ไม่ได้รับการอนุมัติ
(๒) กรณีผู้ขอกู้ยืมเงินที่ได้รับการอนุมัติให้กู้ยืม
ให้จัดเก็บไว้จนกว่าผู้กู้ยืมเงินได้ทำข้อตกลงการชำระหนี้กับผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
(ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)) หรือเมื่อได้มีการชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว
ข้อ
๓๕
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องจัดทำทะเบียนผู้กู้ยืมเงินในแต่ละปีตามแบบที่สำนักงานกองทุนกำหนด
และเก็บสำเนาหลักฐานการส่งสัญญากู้ยืมเงินในแต่ละครั้งไว้ที่สถานศึกษา
เพื่อการตรวจสอบ
หมวด ๘
การกำกับและส่งเสริมผู้กู้ยืมเงินระหว่างศึกษา
ข้อ ๓๖
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องจัดให้มีการกำกับและส่งเสริมผู้กู้ยืมเงินในระหว่างกำลังศึกษา
ดังนี้
(๑) กำหนดมาตรการตรวจสอบคุณสมบัติผู้กู้ยืมเงิน
(๒) ติดตามผลการศึกษาของผู้กู้ยืมเงินอย่างต่อเนื่อง
(๓) มอบหมายให้อาจารย์ที่ปรึกษาทำหน้าที่ให้คำแนะนำด้านการกู้ยืมเงินกองทุน
(๔) จัดให้มีกิจกรรมเพื่อปลูกจิตสำนึกผู้กู้ยืมเงินในการชำระหนี้คืนกองทุน
(๕) จัดประชุมผู้กู้ยืมเงินและ/หรือผู้ปกครอง
และ/หรือผู้ค้ำประกันเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และกฎหมายที่เกี่ยวกับกองทุนในโอกาสต่าง
ๆ
ข้อ
๓๗
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องรายงานผลการศึกษาของผู้กู้ยืมเงินที่กำลังศึกษาอยู่
ให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)) ทราบตามแบบที่สำนักงานกองทุนกำหนด
ข้อ
๓๘
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องตรวจสอบว่าผู้กู้ยืมเงินลงทะเบียนหรือไม่
หากผู้กู้ยืมเงินไม่ลงทะเบียนเรียนต้องแจ้งให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม (ธนาคารกรุงไทย
จำกัด (มหาชน)) ทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นสุดการลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษา
และให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
ระงับการโอนเงินให้ผู้กู้ยืมดังกล่าวไว้ก่อน
ข้อ
๓๙
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องแจ้งการพ้นสภาพการเป็นนักเรียน นักศึกษา
ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ของผู้กู้ยืมเงินให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม (ธนาคารกรุงไทย
จำกัด (มหาชน)) ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พ้นสภาพตามแบบที่สำนักงานกองทุนกำหนด
การแจ้งการพ้นสภาพตามวรรคหนึ่งให้นับจากกำหนดระยะเวลา
แล้วแต่กรณี ดังนี้
(๑) ตาย นับแต่ที่ได้ดำเนินตามข้อ ๔๐
(๒) ลาออก นับแต่วันที่ผู้กู้ยืมเงินลาออก
(๓) ผลการศึกษาไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์
นับแต่วันทราบผลการศึกษา
(๔) มีความประพฤติเสียหาย
นับตั้งแต่วันที่สถานศึกษามีคำสั่งให้พ้นสภาพ
ข้อ
๔๐
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องแจ้งการเสียชีวิตของผู้กู้ยืมเงินทันทีที่ทราบ
ให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)) และให้ส่งหลักฐานประกอบให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่แจ้ง
หมวด ๙
การติดตามผู้กู้ยืมเงินเมื่อสำเร็จการศึกษาหรือเลิกศึกษา
ข้อ ๔๑ ให้ผู้บริหารสถานศึกษาทำทะเบียน
และสำรวจข้อมูลที่อยู่ของผู้กู้ยืมเงินที่สำเร็จการศึกษา เลิกศึกษา
และพ้นสภาพการเป็นนักเรียน นักศึกษาในแต่ละปีการศึกษาตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
และสำเนาส่งให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)) ทราบ
ข้อ
๔๒
ให้ผู้บริหารสถานศึกษาให้ความร่วมมือในการสำรวจ ติดตาม และให้ข้อมูลของผู้กู้ยืมเงินตามที่สำนักงานกองทุนร้องขอ
หมวด ๑๐
มาตรการกำกับผู้กู้ยืมเงินและผู้บริหารสถานศึกษา
ข้อ ๔๓ ห้ามมิให้ผู้บริหารสถานศึกษาหรือบุคคลใด
กระทำการใด ๆ
ในลักษณะนำกองทุนไปโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้บุคคลอื่นเข้ามาศึกษาในสถานศึกษาของตน
นอกจากข้อความที่สำนักงานกองทุนกำหนด
ข้อ
๔๔ ผู้บริหารสถานศึกษา และ/หรือเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาที่รับผิดชอบการดำเนินงานกองทุนต้องให้ความร่วมมือในการชี้แจงและจัดเตรียมเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนหรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องเมื่อได้รับการร้องขอจากกรรมการ
อนุกรรมการหรือผู้จัดการกองทุน แล้วแต่กรณี
ข้อ
๔๕
ในกรณีผู้กู้ยืมเงินไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หลักเกณฑ์
และวิธีการของคณะกรรมการ สำนักงานกองทุนจะดำเนินการตักเตือนและให้ผู้กู้ยืมเงิน ปรับปรุงแก้ไข
หากไม่ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข จะมีผลต่อการพิจารณาให้กู้ยืมเงินของผู้กู้ยืมรายนั้นในปีต่อไปตามควรแก่กรณี
หรือเพิกถอนการให้กู้ยืมเงิน
ข้อ
๔๖ ในกรณีผู้บริหารสถานศึกษา และ/หรือเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาไม่ดำเนินงานกองทุนให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
หลักเกณฑ์ และวิธีการของคณะกรรมการ
ให้สำนักงานกองทุนดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังนี้
๑. กรณีเป็นสถาบันการศึกษาของรัฐ
๑.๑
เตือนเป็นหนังสือให้ปรับปรุงแก้ไข
๑.๒
แจ้งต้นสังกัดให้ดำเนินการลงโทษทางวินัยของข้าราชการ
๑.๓
คำเนินคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๒. กรณีเป็นสถานศึกษาของเอกชน
๒.๑
เตือนเป็นหนังสือให้ปรับปรุงแก้ไข
๒.๒
กำกับและควบคุมการดำเนินงานกองทุนของสถานศึกษานั้น
๒.๓
ระงับการดำเนินการให้กู้ยืมในคณะ/สาขาวิชาที่มีการจัดการเรียน
การสอนไม่เป็นไปตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย
๒.๔
เพิกถอนการมอบอำนาจการดำเนินการตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๑
๒.๕
เพิกถอนการให้ความเห็นชอบการดำเนินงานกองทุน ตามข้อ ๑๖
๒.๖
ดำเนินคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๔๗ ให้คณะกรรมการพิจารณาให้กู้ยืมเงินประจำสถานศึกษา
ซึ่งได้มีการแต่งตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการเดิมก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ
ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้กู้ยืมเงินประจำสถานศึกษาตามข้อ
๑๗ ของระเบียบนี้แล้ว
ข้อ
๔๘ บรรดาข้อกำหนด
หลักเกณฑ์และวิธีการใดที่เกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินกองทุน ที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ
ยังคงใช้บังคับต่อไป จนกว่าจะได้มีการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ทั้งนี้
ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖
สมใจนึก เองตระกูล
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
คุณากร/ผู้จัดทำ
๒๗ เมษายน ๒๕๕๔
วิชชุตา/ผู้ตรวจ
๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ปริญสินีย์/ปรับปรุง
๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๒๙ ง/หน้า ๔๖/๗ มีนาคม ๒๕๔๖ |
803507 | พระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 | พระราชบัญญัติ
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๑
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร
ให้ไว้ ณ
วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
เป็นปีที่ ๓
ในรัชกาลปัจจุบัน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์
จำเป็นต้องใช้ข้อมูลส่วนบุคคลบางประการ
เพื่อประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา
และเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้ สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา
๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาค ทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑
มาตรา
๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา
๓ ในพระราชบัญญัตินี้
ความเสมอภาคทางการศึกษา หมายความว่า
การที่ประชาชนมีสิทธิที่จะได้รับและเข้าถึงการศึกษาและพัฒนาอย่างเสมอภาคและทั่วถึง
โดยให้ความช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา
รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู
ความเหลื่อมล้ำในการศึกษา หมายความว่า
ความไม่เท่าเทียมกันทางการศึกษาอันเนื่องมาจากคุณภาพหรือมาตรฐานของสถานศึกษา
คุณภาพหรือประสิทธิภาพของครู หรือฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม
ครู หมายความว่า ผู้ทำหน้าที่สอนในทุกระดับ
บุคลากรทางการศึกษา หมายความว่า
บุคลากรทางการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
ค่าเล่าเรียน หมายความว่า เงินค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง
และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่สถานศึกษาเรียกเก็บจากผู้เรียนในทุกระดับ
สถานศึกษา หมายความว่า
สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
และให้หมายความรวมถึงศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยด้วย
การฝึกอบรม หมายความว่า
การจัดหรือการรับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษา หรือผู้เรียนในทุกระดับ
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา หมายความว่า
ค่าใช้จ่ายอื่นที่มิใช่ค่าเล่าเรียนที่สถานศึกษาเรียกเก็บจากผู้เรียนในทุกระดับตามระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่งของสถานศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
ค่าครองชีพ หมายความว่า ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีพระหว่างศึกษา
เด็กปฐมวัย หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าหกปีซึ่งรวมถึงเด็กเล็กด้วย
กองทุน หมายความว่า
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
สำนักงาน หมายความว่า สำนักงานกองทุน
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการบริหารกองทุน
คณะกรรมการประเมินผล หมายความว่า
คณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน
ผู้จัดการ หมายความว่า ผู้จัดการกองทุน
พนักงาน หมายความว่า พนักงานของสำนักงาน
ลูกจ้าง หมายความว่า ลูกจ้างของสำนักงาน
มาตรา
๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๑
การจัดตั้งกองทุน
มาตรา
๕ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง
เรียกว่า กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา
รวมทั้งมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(๑) ส่งเสริม สนับสนุน
และให้ความช่วยเหลือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน
หรือภาคประชาสังคม เพื่อให้เด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กปฐมวัย
ได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม
และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย
(๒) ให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริม พัฒนา
และสนับสนุนเงินและค่าใช้จ่ายให้แก่เด็กและเยาวชน ซึ่งขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส
และผู้ด้อยโอกาส จนสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๓)
เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูให้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน สามารถพัฒนาเด็กและเยาวชนตามพื้นฐานและศักยภาพที่แตกต่างกัน
(๔) ส่งเสริม สนับสนุน
และให้ความช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และผู้ด้อยโอกาส ให้ได้รับการศึกษาหรือพัฒนา
เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพตามความถนัดและ มีศักยภาพที่จะพึ่งพาตนเองในการดำรงชีวิตได้
(๕) ส่งเสริม สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือสถานศึกษา
เพื่อให้มีการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนสามารถรู้และพัฒนาได้ตามความถนัดและศักยภาพของตน
(๖) ดำเนินการหรือจัดให้มีการศึกษา วิจัย หรือค้นคว้าแนวทางในการพัฒนาครู
ให้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีคุณธรรม มีจริยธรรม มีความรู้
และมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาผู้เรียนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษาโดยมีแรงจูงใจที่เหมาะสม
รวมทั้งส่งเสริมหรือสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสถาบันต้นแบบในการผลิตและพัฒนาครู
(๗) ดำเนินการหรือจัดให้มีการศึกษา วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา
สนองความต้องการทางด้านกำลังแรงงาน และการยกระดับความสามารถของคนไทย
การขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสตาม
(๒) และ (๔) ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด ในการนี้
ให้คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบการพิจารณาด้วย
ในการดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามวรรคหนึ่ง
กองทุนจะดำเนินการเองหรือร่วมกับหน่วยงานอื่นของรัฐหรือภาคเอกชนในการดำเนินการก็ได้
มาตรา
๖ กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน
ดังต่อไปนี้
(๑) เงินและทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาตามมาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘
(๒) เงินที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นทุนประเดิมจำนวนหนึ่งพันล้านบาท
(๓)
เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปีตามแผนการใช้เงินที่คณะกรรมการและคณะรัฐมนตรี
ให้ความเห็นชอบแล้ว
(๔) เงินรายได้ที่ได้รับจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
(๕) รายได้จากการดำเนินงานและการลงทุนของกองทุน
(๖) เงินและทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
(๗) รายได้หรือผลประโยชน์อื่นที่กองทุนได้รับไม่ว่าโดยทางใด
(๘) ดอกผลของเงินและทรัพย์สินของกองทุน
เงินอุดหนุนตาม
(๓) ให้รัฐบาลจัดสรรให้เพียงพอตามแผนการใช้เงินตาม (๓)
และต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศด้วย
มาตรา
๗ ผู้บริจาคเงินให้แก่กองทุนมีสิทธินำจำนวนเงินที่บริจาคไปหักเป็นค่าลดหย่อนหรือรายจ่ายเช่นเดียวกับการบริจาคเพื่อการศึกษาตามประมวลรัษฎากร
ทั้งนี้ ในการดำเนินการของกรมสรรพากรเกี่ยวกับการหักค่าลดหย่อนหรือรายจ่ายดังกล่าว
ให้กรมสรรพากรรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการประกอบด้วย
มาตรา
๘ ให้กองทุนเป็นหน่วยงานของรัฐและมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และกฎหมายอื่น
เงินและทรัพย์สินของกองทุนไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
มาตรา
๙ กิจการของกองทุนไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
มาตรา
๑๐ กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ
ตามวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕ และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑) ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ
(๒) ก่อตั้งสิทธิหรือกระทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งในและนอกราชอาณาจักร
(๓) ลงทุนหาผลประโยชน์จากเงินและทรัพย์สินของกองทุน
(๔) กระทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
การลงทุนตาม
(๓) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
มาตรา
๑๑ เงินของกองทุนให้นำไปใช้จ่ายเพื่อการดังต่อไปนี้
(๑) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามมาตรา ๕ และมาตรา ๑๐
(๒) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน
(๓) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ที่เกี่ยวเนื่องหรือเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา
๑๒ ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์
ถ้าเป็นกรณีที่จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส
กองทุนจะให้ความช่วยเหลือโดยวิธีให้เปล่า ให้ยืม หรือให้กู้ยืมก็ได้ ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา
๑๓ เพื่อประโยชน์ในการลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา
กองทุนจะดำเนินการเอง หรือจะร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สถานศึกษา หรือหน่วยงานอื่นก็ได้ ในการนี้
ให้กองทุนมีอำนาจสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยงานดังกล่าวได้ ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และ เงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา
๑๔ ในการดำเนินการหรือจัดให้มีการศึกษา
วิจัย หรือค้นคว้าแนวทางในการพัฒนาครู กองทุนจะดำเนินการเองหรือจะร่วมกับหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นหรือสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการให้ก็ได้
และในกรณีที่สมควรจัดตั้งสถาบันต้นแบบในการผลิตและพัฒนาครู
กองทุนจะส่งเสริม สนับสนุน หรือร่วมกับหน่วยงานอื่นของรัฐหรือภาคเอกชนที่ดำเนินการผลิตหรือพัฒนาครูอยู่แล้วเพื่อดำเนินการก็ได้
การจัดตั้งและการดำเนินกิจการของสถาบันต้นแบบตามวรรคหนึ่ง
มิให้นำกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนและกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมาใช้บังคับ
และเพื่อประโยชน์แห่งการนี้ ให้ผู้ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากสถาบันต้นแบบตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการและคุรุสภาร่วมกันกำหนดประกอบวิชาชีพควบคุมได้ตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา
๑๕ เงินที่ผู้รับทุนได้รับมาจากกองทุนเป็นค่าเล่าเรียน
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา ค่าครองชีพ และทุนเพื่อการฝึกอบรม
ให้ถือว่าเป็นเงินรางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการตามประมวลรัษฎากร
มาตรา
๑๖ การใช้จ่ายเงินของกองทุนต้องเป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
เพื่อประโยชน์สูงสุดในการดำเนินการ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา และมีมาตรการป้องกันการทุจริตที่เหมาะสม
กองทุนต้องเผยแพร่เป้าหมาย
ตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงาน ข้อมูลการดำเนินงานและการบริหารกองทุน รายรับ
รายจ่าย รวมทั้งผลผลิต ผลลัพธ์
และความคุ้มค่าที่เกิดขึ้นจากการใช้จ่ายเงินของกองทุนให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไปเป็นระยะตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
และต้องดำเนินการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้โดยสะดวก
โดยอย่างน้อยต้องเผยแพร่ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกองทุน
มาตรา
๑๗ ทรัพย์สินของกองทุนที่ใช้หรือได้มาเพื่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี รวมทั้งการบังคับทางปกครอง และบุคคลใดจะยกอายุความหรือระยะเวลาในการครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับกองทุนในเรื่องทรัพย์สินของกองทุนมิได้
หมวด ๒
การบริหารกิจการกองทุน
มาตรา
๑๘ ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ประกอบด้วย
(๑) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง เป็นประธานกรรมการ
(๒)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนหนึ่งคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามคำแนะนำของคณะกรรมการร่วมสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย
(๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนหกคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากภาควิชาการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ภาคละสองคน
ซึ่งอย่างน้อยต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายหนึ่งคน
(๔) กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวนแปดคน ได้แก่ ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ จำนวนสองคน
ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนกรมกิจการเด็กและเยาวชน
ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
และผู้แทนกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
ให้ผู้จัดการเป็นกรรมการและเลขานุการ
และให้ผู้จัดการแต่งตั้งพนักงานจำนวนไม่เกินสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา ๑๙ ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีสัญชาติไทย
มีความรู้ ความสามารถ
หรือประสบการณ์ด้านกฎหมาย การพัฒนาการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การบริหารการเงินการคลัง
หรือการอื่นอันจะเป็นประโยชน์แก่การดำเนินกิจการของกองทุน มีผลงานเป็นที่ประจักษ์
และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๒) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๓) เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น
ผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งบริหารในพรรคการเมือง
ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง เว้นแต่ได้พ้นจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันที่ได้รับแต่งตั้ง
(๔) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ
หรือหน่วยงานของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ
(๕) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอันถึงที่สุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ
หรือเคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกเพราะกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(๖) เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
หรือกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา
ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า
กฎหมายว่าด้วยการพนันในความผิดฐานเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนัก
หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในความผิดฐานฟอกเงิน
(๗) เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง
มาตรา ๒๐ ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๑๘ (๒) และ (๓) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
ในวาระเริ่มแรกเมื่อครบกำหนดสองปี
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๓) ที่แต่งตั้งจากภาคต่าง ๆ
ภาคละหนึ่งคนพ้นจากตำแหน่งโดยวิธีการจับสลาก และให้ถือว่าการพ้นจากตำแหน่งโดยการจับสลากดังกล่าวเป็นการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
เมื่อประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะพ้นจากตำแหน่งเพราะครบวาระตามวรรคหนึ่ง
ให้ดำเนินการเพื่อแต่งตั้งประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้แล้วเสร็จก่อนครบวาระไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
ในกรณีที่ยังไม่ได้มีการแต่งตั้งประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าประธานกรรมการ
หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา
๒๑ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๙
(๔) คณะกรรมการมีมติให้ออกจากตำแหน่งด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการเท่าที่มีอยู่
เพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย
(๕) คณะกรรมการมีมติให้พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุมีส่วนได้เสียในกิจการของกองทุนตามมาตรา
๓๗
(๖) ขาดการประชุมคณะกรรมการสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
(๗) คณะรัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่
มาตรา
๒๒ ในกรณีที่ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
ให้ดำเนินการแต่งตั้งประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง
ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้คณะกรรมการดำเนินการต่อไปได้โดยให้ถือว่าคณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่
ให้ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ในวาระเท่าที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา
๒๓ ให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจ
ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดนโยบาย เป้าหมาย และแนวทางการดำเนินงานของกองทุนเพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์
ซึ่งต้องสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศด้วย
(๒) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับมาตรการและผลการศึกษา วิจัย
หรือค้นคว้าที่เป็นประโยชน์ต่อการลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา
เพื่อให้กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ
(๓) พิจารณาอนุมัติแผนการดำเนินงาน แผนการพัฒนานวัตกรรม
แผนบริหารความเสี่ยง และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของกองทุน
(๔) ควบคุมดูแลและจัดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
นโยบาย เป้าหมาย และแนวทางตาม (๑) และแผนและงบประมาณตาม (๓) โดยต้องสอดคล้องกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(๕) ออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การเงิน การจัดซื้อจัดจ้าง
การพัสดุ การบัญชี การตรวจสอบภายใน การบริหารความเสี่ยง การติดตาม การประเมินผล
และการเปิดเผยผลการทำงาน และระเบียบอื่นใดที่จำเป็นต่อการดำเนินงานของกองทุน
(๖) ออกระเบียบเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบข้อมูลและการช่วยเหลือเด็กปฐมวัย
เด็กและเยาวชนซึ่งขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ผู้ด้อยโอกาส
ครอบครัวที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และครู
(๗) ออกระเบียบเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และลำดับความสำคัญในการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในมาตรา
๕
(๘) ออกระเบียบเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสรรหาผู้จัดการ
(๙) ออกระเบียบและประกาศเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๑๐) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นหน้าที่หรืออำนาจของคณะกรรมการ
ในการกำหนดนโยบาย
เป้าหมาย และแนวทางการดำเนินงานตาม (๑)
ให้คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบการพิจารณาด้วย
นโยบาย
เป้าหมาย และแนวทางการดำเนินงานตาม (๑) และแผนและงบประมาณที่ได้รับอนุมัติตาม (๓)
ให้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไปด้วย
ระเบียบตาม
(๕) (๖) (๗) และ (๘) เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ และให้คณะกรรมการจัดให้มีการทบทวนความเหมาะสมของระเบียบดังกล่าวอย่างน้อยทุกรอบห้าปีนับแต่วันที่ระเบียบนั้นมีผลใช้บังคับโดยรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบการพิจารณาด้วย
ความในวรรคสี่ให้ใช้บังคับแก่การออกระเบียบและประกาศตาม
(๙) ที่มีผลใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไปด้วยโดยอนุโลม
การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานตาม
(๑๐) ให้กระทำเพียงเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายเงินของกองทุน
และให้กำหนดภารกิจและกรอบเวลาดำเนินงานของคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานให้ชัดเจน
มาตรา
๒๔ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
ให้คณะกรรมการมีอำนาจขอข้อมูลส่วนบุคคลที่จำเป็นต่อการดำเนินงานของกองทุนอันมิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ
หรือเป็นความลับของทางราชการที่อยู่ในความครอบครองของส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นได้
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
การเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่งให้แก่คณะกรรมการ
ให้ถือว่าเป็นการเปิดเผยเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการตามที่กฎหมายบัญญัติ
การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในความครอบครองของกองทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
แต่ต้องไม่กระทบต่อสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคล และให้เปิดเผยได้เพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของกองทุนตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
มาตรา
๒๕ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมคณะกรรมการ
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุม
ถ้าพระราชบัญญัตินี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา
๒๖ ในการพิจารณาเรื่องใด ๆ
โดยคณะกรรมการ เมื่อคณะกรรมการมีมติเป็นประการใดแล้ว
ให้มติของคณะกรรมการผูกพันส่วนราชการซึ่งมีผู้แทนร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย แม้ว่าในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องนั้น
ผู้แทนส่วนราชการที่เป็นกรรมการจะมิได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยก็ตาม ถ้ามีความเห็นแตกต่างกัน
ให้บันทึกความเห็นของกรรมการทุกฝ่ายไว้ให้ปรากฏในเรื่องนั้นด้วย
มาตรา
๒๗ ให้ประธานกรรมการและกรรมการได้รับค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
มาตรา
๒๘ ให้อนุกรรมการและคณะทำงานได้รับค่าตอบแทนตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา
๒๙ ให้มีสำนักงานมีหน้าที่และอำนาจ
ดังต่อไปนี้
(๑) ดำเนินงานต่าง ๆ
ของกองทุนและประสานความร่วมมือกับส่วนราชการและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๒) ทำหน้าที่ธุรการและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ
(๓) ศึกษา วิจัย ค้นคว้า
และพัฒนาองค์ความรู้เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
(๔) สนับสนุนและเผยแพร่ผลการศึกษา วิจัย ค้นคว้า และพัฒนาองค์ความรู้ตาม
(๓) และการนำผลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ ตลอดจนประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการดังกล่าว
(๕) ส่งเสริมและรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการบริจาคหรือให้การสนับสนุนกิจการของสถานศึกษาหรือของกองทุน
(๖)
จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของกองทุนเพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
(๗) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๓๐ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้จัดการจากบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทยมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีแต่ไม่เกินหกสิบห้าปี
รวมทั้งสามารถปฏิบัติงานให้แก่กองทุนได้เต็มเวลา และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๙
(๒) เป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
(๓) เป็นกรรมการผู้จัดการหรือลูกจ้างของบุคคลใด เว้นแต่เป็นกิจการของกองทุน
(๔) เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับกองทุน
หรือในกิจการที่กระทำให้แก่กองทุน ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
เว้นแต่คณะกรรมการมอบหมายให้เป็นกรรมการในบริษัทที่กองทุนเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นคู่สัญญา
มาตรา
๓๑ คุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ วิธีการสรรหา การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง ค่าจ้าง ค่าตอบแทน
สิทธิประโยชน์ สวัสดิการ
และการทดลองปฏิบัติงานหรือการปฏิบัติงานในหน้าที่ผู้จัดการ
ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
ในการจ้างผู้จัดการให้ทำเป็นสัญญาจ้าง
ซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อความระบุให้ผู้จัดการต้องผูกพันและปฏิบัติตามระเบียบตามวรรคหนึ่ง
โดยให้มีอายุสัญญาจ้างคราวละไม่เกินสี่ปี และเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาจ้างแล้ว
คณะกรรมการจะต่ออายุสัญญาจ้างอีกก็ได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
การทำสัญญาจ้างผู้จัดการ
ให้ประธานกรรมการเป็นผู้มีอำนาจทำสัญญาในนามของกองทุน
มาตรา ๓๒ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามสัญญาจ้าง
ผู้จัดการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๐
(๔) คณะกรรมการมีมติให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย
หรือหย่อนความสามารถ
ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการเท่าที่มีอยู่ โดยไม่นับรวมผู้จัดการ
(๕) ไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานสองปีติดต่อกัน
มาตรา
๓๓ ให้ผู้จัดการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง
และรับผิดชอบการบริหารกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน กฎหมาย ระเบียบ
ประกาศ นโยบาย และมติของคณะกรรมการ
มาตรา
๓๔ การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน
และการจ้างพนักงานและลูกจ้าง ให้คำนึงถึงหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายเงินของกองทุน
มาตรา
๓๕ ในการปฏิบัติหน้าที่
ผู้จัดการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการ
ในกิจการของกองทุนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก
ให้ผู้จัดการเป็นผู้แทนของกองทุน เพื่อการนี้
ผู้จัดการจะมอบอำนาจให้บุคคลใดปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้ ทั้งนี้
นิติกรรมใดที่ผู้จัดการหรือผู้ได้รับมอบอำนาจกระทำต่อบุคคลภายนอกที่จะต้องรายงานหรือขออนุมัติต่อคณะกรรมการก่อนกระทำการให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
นิติกรรมที่กระทำโดยฝ่าฝืนระเบียบตามวรรคสอง
ย่อมไม่ผูกพันกองทุน เว้นแต่คณะกรรมการจะให้สัตยาบัน
มาตรา
๓๖ การรักษาการแทนและการปฏิบัติการแทนผู้จัดการ
ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
ให้ผู้รักษาการแทนผู้จัดการมีหน้าที่และอำนาจเช่นเดียวกับผู้จัดการ
ในกรณีที่ผู้รักษาการแทนมอบหมายหรือมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติการแทน
ให้ผู้ปฏิบัติการแทนมีหน้าที่และอำนาจเช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบหมายหรือมอบอำนาจ
ในกรณีที่มีกฎหมายอื่นแต่งตั้งให้ผู้จัดการเป็นกรรมการหรือให้มีหน้าที่หรืออำนาจอย่างใด
ให้ผู้รักษาการแทนหรือผู้ปฏิบัติการแทนเป็นกรรมการหรือมีหน้าที่และอำนาจเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งนั้น
ในการรักษาการแทนหรือปฏิบัติการแทนด้วย แล้วแต่กรณี
มาตรา
๓๗ ประธานกรรมการ กรรมการ ผู้จัดการ
พนักงาน และลูกจ้างที่มีหน้าที่และอำนาจในการบริหารงานในสำนักงานตามที่คณะกรรมการกำหนด
ต้องไม่มีส่วนได้เสียในกิจการของกองทุนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
ให้คณะกรรมการมีอำนาจวินิจฉัยว่าการกระทำใดของบุคคลตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำที่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการของกองทุน
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่กรณีบุคคลในครอบครัวของบุคคลตามวรรคหนึ่งตามที่คณะกรรมการกำหนดซึ่งได้รับการช่วยเหลือหรือรับทุนจากกองทุนตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไป
ให้ประธานกรรมการ
กรรมการ ผู้จัดการ พนักงาน
และลูกจ้างตามวรรคหนึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๓
การบัญชีและการตรวจสอบ
มาตรา
๓๘ กองทุนต้องจัดให้มีระบบบัญชีที่เหมาะสมเพื่อบันทึกรายการทางบัญชีและแสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกองทุนโดยถูกต้อง
การบันทึกรายการในสมุดบัญชีตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป
มาตรา
๓๙ ให้กองทุนจัดทำรายงานการเงินเพื่อแสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกองทุนเสนอผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
ปีบัญชีของกองทุนให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา
๔๐ การรับเงิน การจ่ายเงิน
และการเก็บรักษาเงินของกองทุน ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา
๔๑ ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้สอบบัญชีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุน
ให้ผู้สอบบัญชีทำรายงานการสอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
และให้คณะกรรมการประกาศรายงานการเงินที่ผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบแล้วและรายงานการสอบบัญชีในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา
๔๒ ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบภายในคณะหนึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบภายในเพื่อรายงานผลการตรวจสอบโดยตรงต่อคณะกรรมการ
คณะกรรมการตรวจสอบภายในประกอบด้วย
ผู้แทนกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสำนักงบประมาณคนหนึ่ง
และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งคนหนึ่ง เป็นกรรมการ
ในการตรวจสอบภายใน
ให้สำนักงานจัดให้มีผู้ทำหน้าที่ช่วยเหลือคณะกรรมการตรวจสอบภายในในการปฏิบัติหน้าที่ตามสมควร
ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบภายในและค่าตอบแทนคณะกรรมการตรวจสอบภายใน
ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๓ ให้กองทุนจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเพื่อทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานการสอบบัญชีจากผู้สอบบัญชี
และเปิดเผยให้ประชาชนทราบในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกองทุนด้วย
หมวด ๔
การประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน
มาตรา
๔๔ ทุกสามปีอันถือว่าเป็นรอบการประเมิน
ให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานของกองทุน โดยก่อนครบกำหนดสามปีไม่น้อยกว่าหกเดือนให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอต่อคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน
จากผู้ซึ่งมีความรู้ มีความสามารถ และมีประสบการณ์ด้านการเงิน การศึกษา
และการประเมินผล จำนวนไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินห้าคน เพื่อทำหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ประเมินผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกองทุน
(๒) รายงานข้อจำกัดหรืออุปสรรคของการดำเนินกิจการของกองทุน
(๓) ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน
(๔) รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการในทุกรอบการประเมิน
ให้คณะกรรมการประเมินผลรายงานผลการประเมินให้คณะรัฐมนตรีทราบภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบการประเมิน
และเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ
ให้แจ้งให้กองทุนทราบและให้กองทุนเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปทราบในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกองทุนด้วย
เมื่อคณะกรรมการประเมินผลได้ดำเนินการตามวรรคสองเสร็จแล้ว
ให้คณะกรรมการประเมินผลพ้นจากหน้าที่
มาตรา
๔๕ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้คณะกรรมการประเมินผลมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทำแผนและประมาณการค่าใช้จ่ายซึ่งรวมถึงค่าตอบแทนในการประเมินผลการดำเนินงาน
(๒) มอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดแทน
(๓)
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นในเรื่องใดหรือให้ปฏิบัติการในเรื่องใดได้ตามที่เห็นสมควร
แผนและประมาณการค่าใช้จ่ายตาม
(๑)
ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยเบิกจ่ายงบประมาณจากกองทุน
หมวด ๕
การกำกับและดูแล
มาตรา
๔๖ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้กองทุนชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทำรายงาน
หรือยับยั้งการกระทำที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕
หรือไม่สอดคล้องกับหน้าที่ของรัฐตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ยุทธศาสตร์ชาติ
แผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ นโยบายของรัฐบาล และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับกองทุน
ตลอดจนสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนได้
ในกรณีที่กองทุนต้องเสนอเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรี
ให้กองทุนนำเรื่องเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อไปยังคณะรัฐมนตรี
บทเฉพาะกาล
มาตรา
๔๗ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน
สิทธิ หน้าที่ หนี้ ภาระผูกพัน เจ้าหน้าที่และลูกจ้าง และเงินงบประมาณของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชนตามระเบียบกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน
พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ไปเป็นของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้
หนี้ตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึงหนี้ของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพตามสัญญาเงินยืมเพื่อสนับสนุนภารกิจของสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน
ระหว่างกระทรวงการคลังกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
เลขที่ ๑/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๔ และสัญญาเงินยืมเพื่อสนับสนุนภารกิจของสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน
ระหว่างกระทรวงการคลังกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เลขที่ ๒/๒๕๕๔
ลงวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๔ สำหรับหนี้ดังกล่าวที่เป็นภาระของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณา
และให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจมีมติให้หนี้นั้นตกเป็นพับได้
มาตรา
๔๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๔๗
ให้กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพโอนเงินงบประมาณประจำปี ๒๕๖๑
ที่ตั้งไว้ตามแผนงานและโครงการของสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณภาพเยาวชนที่คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพให้ความเห็นชอบแล้วทั้งหมดให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
มาตรา
๔๙ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
ให้เจ้าหน้าที่และลูกจ้างซึ่งโอนมาตามมาตรา ๔๗ ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้าง
รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เท่ากับที่เคยได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อน
โดยให้เบิกจ่ายจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพจนกว่าจะได้บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
และเมื่อได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาแล้ว
ให้กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษานำส่งเงินที่ได้เบิกจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายดังกล่าวคืนให้แก่กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
การบรรจุและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่และลูกจ้างตามวรรคหนึ่งให้ดำรงตำแหน่งในสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
จะกำหนดให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้าง
รวมทั้งสิทธิประโยชน์น้อยกว่าที่เคยได้รับอยู่เดิมไม่ได้
มาตรา
๕๐ เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
นายกรัฐมนตรีอาจมีคำสั่งให้ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมาปฏิบัติงานให้แก่สำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเป็นการชั่วคราวได้คราวละไม่เกินสี่ปี
ให้นับระยะเวลาที่ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้รับคำสั่งให้มาปฏิบัติงานให้แก่สำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาตามวรรคหนึ่ง
เป็นระยะเวลาปฏิบัติราชการให้แก่ต้นสังกัด เพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นให้แก่ผู้นั้น
ในระหว่างที่ปฏิบัติงานให้แก่สำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
ให้ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตามวรรคหนึ่งมีสิทธิได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษากำหนด
มาตรา
๕๑ ในวาระเริ่มแรก ให้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ทั้งนี้ ในการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๑๘ (๒) และ (๓) ให้คณะรัฐมนตรีรับฟังข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ลงวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ.
๒๕๖๐ ประกอบด้วย และในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าว
ให้คณะกรรมการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน พ.ศ. ๒๕๕๓ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน
และเมื่อได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว
ให้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน
พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นอันสิ้นผลบังคับ
มาตรา
๕๒ ในวาระเริ่มแรก ให้ผู้จัดการสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชนของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ตามระเบียบกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน
พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
เป็นผู้จัดการตามพระราชบัญญัตินี้
จนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา
๕๓ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาจัดทำหลักเกณฑ์ตามมาตรา
๑๖ วรรคสอง และออกระเบียบตามมาตรา ๒๓ (๖) และ (๗) และมาตรา ๓๕ วรรคสอง ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา
๕๑
มาตรา
๕๔ เพื่อประโยชน์ในการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา รอบการประเมินตามมาตรา ๔๔
ให้เริ่มนับปีถัดจากปีที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นปีที่หนึ่ง
มาตรา
๕๕ ในระหว่างที่ยังไม่มีระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินและการบริหารงานบุคคลที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้
ให้นำระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ
เกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินและการบริหารงานบุคคลที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพมาใช้บังคับแก่การใช้จ่ายเงินและการบริหารงานบุคคลของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ด้วยโดยอนุโลม
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๔ วรรคหก ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้จัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์
ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา และเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู
โดยให้รัฐจัดสรรงบประมาณให้แก่กองทุน หรือใช้มาตรการหรือกลไกทางภาษี
รวมทั้งการให้ผู้บริจาคทรัพย์สินเข้ากองทุนได้รับประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี
โดยให้กองทุนมีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ปุณิกา/จัดทำ
๑๕ พฤษภาคม
๒๕๖๑
ปริญสินีย์/ตรวจ
๒๑
พฤษภาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๓๓ ก/หน้า ๑/๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑ |
848222 | ระเบียบกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ว่าด้วยการแบ่งส่วนงาน หน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ระเบียบกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
ว่าด้วยการแบ่งส่วนงาน หน้าที่และความรับผิดชอบ
ของสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ.
๒๕๖๑
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการแบ่งส่วนงาน หน้าที่และความรับผิดชอบของส่วนงาน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๓ (๕) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๑ ประกอบกับมติคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาในการประชุมครั้งที่
๗/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๑ คณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาว่าด้วยการแบ่งส่วนงาน หน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๑
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
กองทุน
หมายความว่า กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
สำนักงาน
หมายความว่า สำนักงานกองทุน
คณะกรรมการ
หมายความว่า คณะกรรมการบริหารกองทุน
ผู้จัดการ
หมายความว่า ผู้จัดการกองทุน
พนักงาน
หมายความว่า พนักงานของสำนักงาน แต่ไม่หมายความรวมถึงผู้จัดการ
ลูกจ้าง
หมายความว่า ลูกจ้างของสำนักงาน
เจ้าหน้าที่ของรัฐ
หมายความว่า ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มาปฏิบัติงานให้แก่สำนักงานเป็นการชั่วคราวตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี
หรือตามข้อตกลงระหว่างหน่วยงานต้นสังกัดของผู้นั้นกับสำนักงาน
บุคลากร
หมายความว่า พนักงาน ลูกจ้าง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ข้อ ๔ ให้แบ่งส่วนงานของสำนักงานดังนี้
(๑)
ฝ่ายตรวจสอบภายใน
(๒)
สำนักบริหารกลาง แบ่งเป็น ๔ ฝ่าย คือ ฝ่ายอำนวยการ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล
ฝ่ายบัญชีและการเงิน และฝ่ายสื่อสารองค์กร
(๓)
สำนักพัฒนานโยบาย กลยุทธ์ และงบประมาณ
(๔)
สำนักบริหารเงินอุดหนุนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์
(๕)
สำนักพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เชิงพื้นที่
(๖)
สำนักพัฒนาคุณภาพครู นักศึกษาครูและสถานศึกษา
(๗)[๒] สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
(๘)
สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วม นวัตกรรมและทุนการศึกษา
โดยมีภารกิจตามบัญชีแนบท้ายระเบียบนี้
ข้อ
๕ ให้ผู้จัดการสามารถตั้งกลุ่มงานที่เน้นการประสานและเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมายโดยนำบุคลากรจากสำนัก/สถาบันมารวมกันในรูปแบบโครงการ
แผนงาน หรือ คณะทำงาน เช่น กลุ่มงานเด็กปฐมวัย กลุ่มงานเด็กในระบบ กลุ่มงานเด็กนอกระบบ
กลุ่มประชากรวัยแรงงาน เป็นต้น
ข้อ ๖ ให้ผู้จัดการมีอำนาจออกคำสั่งเพื่อกำหนดหน่วยงานและภารกิจภายในส่วนงานต่าง
ๆ เป็นการเพิ่มเติมได้ และให้มีอำนาจกำหนดหน้าที่ในรายละเอียดย่อยออกไปได้ตามความเหมาะสมเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของสำนักงาน
ข้อ ๗ ให้ผู้จัดการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
หากมีกรณีใดไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ผู้จัดการเสนอคณะกรรมการพิจารณาเป็นกรณี
ๆ ไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ.
๒๕๖๑
ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
ประธานกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
ระเบียบกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาว่าด้วยการแบ่งส่วนงานหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒[๓]
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความว่า สถาบันวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตามบัญชีแนบท้ายแห่งระเบียบกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ว่าด้วยการแบ่งส่วนงานหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้ใช้ความว่า สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา แทน
พัชรภรณ์/ธนบดี/จัดทำ
๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๑
พิไลภรณ์/เพิ่มเติม
๒๑ พฤศจิกายน
๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๘๒ ง/หน้า ๕/๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
[๒] ข้อ ๔
(๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาว่าด้วยการแบ่งส่วนงานหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๑๒๖ ง/หน้า ๓/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒ |
833819 | ระเบียบกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ว่าด้วยการแบ่งส่วนงาน หน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 | ระเบียบกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
ว่าด้วยการแบ่งส่วนงาน หน้าที่และความรับผิดชอบ
ของสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๓ (๕) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ ประกอบกับมติคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ คณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาว่าด้วยการแบ่งส่วนงานหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความใน (๗) ของข้อ ๔ แห่งระเบียบกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาว่าด้วยการแบ่งส่วนงาน หน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๗)
สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
ข้อ
๔ ให้ยกเลิกความว่า สถาบันวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามบัญชีแนบท้ายแห่งระเบียบกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
ว่าด้วยการแบ่งส่วนงานหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้ใช้ความว่า สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา แทน
ประกาศ
ณ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
ประสาร
ไตรรัตน์วรกุล
ประธานกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
พิไลภรณ์/ธนบดี/จัดทำ
๒๘
ตุลาคม ๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๑๒๖ ง/หน้า ๓/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒ |
823595 | ระเบียบกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ว่าด้วยการเงิน การบัญชี และงบประมาณ พ.ศ. 2561 | ระเบียบกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
ว่าด้วยการเงิน
การบัญชี และงบประมาณ
พ.ศ.
๒๕๖๑
เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โปร่งใส คล่องตัว และมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๓ (๕) และมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๑ คณะกรรมการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ในการประชุมครั้งที่
๘/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๑
จึงมีมติให้ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาว่าด้วยการเงิน การบัญชี
และงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
กองทุน หมายความว่า
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักงานกองทุน
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการบริหารกองทุน
ผู้จัดการ หมายความว่า
ผู้จัดการกองทุน
บุคลากร หมายความว่า
พนักงาน ลูกจ้างของสำนักงาน
หรือข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มาปฏิบัติงานให้แก่สำนักงานเป็นการชั่วคราว
ปีบัญชี หมายความว่า
ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคมของปีหนึ่งถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ของปีถัดไป
และให้ใช้ ปี พ.ศ. ของปีถัดไปเป็นชื่อของปีบัญชีนั้น
งบประมาณรายจ่าย หมายความว่า
จำนวนเงินอย่างสูงที่อนุญาตให้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนและในระยะเวลาที่กำหนดในแต่ละปีบัญชี
เงินสดย่อย หมายความว่า
เงินสดจำนวนหนึ่งที่สำนักงานกำหนดเพื่อไว้ใช้จ่ายภายในสำนักงานสำหรับรายการที่มีวงเงินไม่สูงนัก
หลักฐานการจ่าย หมายความว่า
หลักฐานซึ่งแสดงว่าได้มีการจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้รับตามข้อผูกพันแล้ว
ใบสำคัญคู่จ่าย หมายความว่า
หลักฐานการจ่ายที่เป็นใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานจากธนาคารที่แสดงการจ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้
หรือหลักฐานการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้รับที่ธนาคาร
ข้อ ๔ ให้ผู้จัดการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจในการดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ออกหลักเกณฑ์ คำสั่ง ประกาศ
หรือวิธีปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้
(๒) ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง
หลักเกณฑ์ คำสั่ง ประกาศ หรือวิธีปฏิบัติ เกี่ยวกับการบริหารการเงินและงบประมาณของสำนักงานในกรณีที่เห็นสมควร
การดำเนินการตาม (๑) และ (๒) ให้กระทำได้โดยไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ให้คณะกรรมการเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดและถือเป็นที่สุด
ข้อ ๕ ให้ผู้จัดการเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารกองทุน
ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด
๑
กองทุนและรายได้
ข้อ ๖ ให้กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน
ดังต่อไปนี้
(๑) เงินและทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาตามมาตรา
๔๗ และมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑
(๒)
เงินที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นทุนประเดิมจำนวนหนึ่งพันล้านบาท
(๓)
เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปีตามแผนการใช้เงินที่
คณะกรรมการและคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว
(๔) เงินรายได้ที่ได้รับจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
(๕) รายได้จากการดำเนินงานและการลงทุนของกองทุน
(๖)
เงินและทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
(๗)
รายได้หรือผลประโยชน์อื่นที่กองทุนได้รับไม่ว่าโดยทางใด
(๘)
ดอกผลของเงินและทรัพย์สินของกองทุน
ข้อ ๗ สำนักงานอาจลงทุนหาผลประโยชน์จากเงินและทรัพย์สินของกองทุนดังนี้
(๑) ซื้อพันธบัตรรัฐบาล
หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
(๒)
ซื้อพันธบัตรหรือหุ้นกู้ของรัฐวิสาหกิจ
(๓) ซื้อตั๋วเงินคลัง
(๔) นำฝากธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ
หรือธนาคารพาณิชย์
(๕) ซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินของสถาบันการเงินของรัฐ
หรือของธนาคารพาณิชย์ หรือของเอกชนที่มีฐานะมั่นคง โดยมีธนาคารเป็นอาวัล
(๖)
ซื้อตั๋วแลกเงินของสถาบันการเงินของรัฐ หรือของธนาคารพาณิชย์
หรือของเอกชนที่มีฐานะมั่นคง โดยมีธนาคารเป็นอาวัล
(๗) ลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารทุน
กองทุนรวม
ตามสัดส่วนที่คณะกรรมการอนุมัติโดยมอบหมายให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน
เป็นผู้บริหารจัดการ
(๘) วิธีการอื่น ๆ นอกเหนือจาก
(๑) - (๗) ตามที่คณะกรรมการอนุมัติ
ทั้งนี้
การลงทุนตามวรรคแรกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
ข้อ ๘ ให้สำนักงานนำเงินรายได้
หรือผลประโยชน์ที่ได้มาทุกประเภทเข้ากองทุนและจะหักไว้ใช้จ่ายเพื่อการใดก่อนนำเข้ากองทุนไม่ได้
หมวด
๒
การรับเงินและการออกใบเสร็จรับเงิน
ข้อ ๙ การรับเงินทุกประเภท จะต้องออกใบเสร็จรับเงินไว้เป็นหลักฐาน
ยกเว้นเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้ รวมถึงดอกผลของเงินและทรัพย์สินของกองทุน
แบบของใบเสร็จรับเงินให้เป็นไปตามที่ผู้จัดการกำหนด
โดยมีเลขที่ใบเสร็จรับเงินเรียงตามลำดับไว้ทุกฉบับ
และมีทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงินและหลักฐานการเบิกใบเสร็จรับเงินที่สามารถตรวจสอบได้
ข้อ ๑๐ ห้ามขูดลบ แก้ไข เพิ่มเติมรายการ หมายเลขกำกับใบเสร็จรับเงิน
จำนวนเงินหรือชื่อผู้ชำระเงินในใบเสร็จรับเงิน
หากใบเสร็จรับเงินฉบับใดมีการผิดพลาด ให้ยกเลิก
และออกใบเสร็จรับเงินฉบับใหม่แทนทันที
ใบเสร็จรับเงินที่ยกเลิกให้นำไปแนบติดสำเนา
แล้วขีดฆ่ายกเลิก หรือประทับตรายกเลิกให้เป็นที่สังเกตชัดเจน เพื่อมิให้นำมาใช้ได้อีกต่อไป
กรณีที่ใบเสร็จรับเงินที่ยังไม่ได้รับชำระเงินสูญหาย
ให้ผู้ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบแจ้งความและทำบันทึกพร้อมแนบใบแจ้งความเสนอต่อผู้จัดการ
เพื่อดำเนินการต่อไป และประกาศยกเลิกใบเสร็จรับเงินที่สูญหาย
ข้อ ๑๑ ให้สำนักงานเป็นผู้จัดเก็บเงินทุกประเภท
และนำเงินที่ได้รับนำฝากธนาคารในวันเดียวกัน หรืออย่างช้าภายในวันทำการถัดจากวันที่ได้รับ
หากเป็นเช็คที่ได้รับล่วงหน้า ให้นำฝากตามกำหนดเวลาของธนาคาร
หรือให้เก็บไว้ในตู้นิรภัย ของสำนักงาน
หมวด
๓
การเปิดบัญชีเงินฝาก
และการเก็บรักษาเงิน
ข้อ ๑๒ เงินกองทุนที่นำไปฝากธนาคารให้ฝากไว้กับธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ
หรือธนาคารพาณิชย์ โดยแยกบัญชีตามมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ.
๒๕๖๑ ดังนี้
(๑) บัญชี กสศ.-
มาตรา ๖ (๑) สำหรับเงินที่ได้รับโอนมา
ตามมาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามมาตรา ๖ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๑
(๒) บัญชี กสศ.-
มาตรา ๖ (๒) สำหรับเงินที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นทุนประเดิมตามมาตรา
๖ (๒) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๑
(๓) บัญชี กสศ.-
มาตรา ๖ (๓) สำหรับเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปีตามมาตรา
๖ (๓) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๑
(๔) บัญชี กสศ.-
มาตรา ๖ (๔) สำหรับเงินรายได้ที่ได้รับจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ตามมาตรา
๖ (๔) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑
(๕) บัญชี กสศ.-
มาตรา ๖ (๕) สำหรับเงินรายได้จากการดำเนินงานและการลงทุนของกองทุนตามมาตรา
๖ (๕) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑
(๖) บัญชี กสศ.- มาตรา ๖ (๖) สำหรับเงินที่มีผู้บริจาคให้ ตามมาตรา ๖ (๖) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๑
(๗) บัญชี กสศ.-
มาตรา ๖ (๗) สำหรับรายได้หรือผลประโยชน์อื่นที่กองทุนได้รับไม่ว่าโดยทางใด
ตามมาตรา ๖ (๗) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ.
๒๕๖๑
(๘) บัญชีอื่น ๆ
ตามที่ผู้จัดการประกาศกำหนด ตามความจำเป็น
ข้อ ๑๓ ให้สำนักงานจัดทำรายละเอียดของดอกผลหรือผลประโยชน์อื่น
ตามข้อ ๑๒ (๕) ไว้ด้วย
ข้อ ๑๔ ผลประโยชน์อื่นใดที่เกิดจากการฝากเงินไว้กับธนาคาร
หรือจากการจัดหาประโยชน์จากกองทุน เช่น ดอกเบี้ย ส่วนลด ฯลฯ
จะต้องเป็นของกองทุนเท่านั้น บุคลากรคนใดจะรับผลประโยชน์ดังกล่าวเหล่านั้นมิได้
ข้อ ๑๕ ให้สำนักงานจัดให้มีตู้นิรภัยสำหรับเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินซึ่งเป็นเอกสารหรือสิ่งของสำคัญ
ตั้งไว้ในที่ปลอดภัย กำหนดให้มีผู้ถือรหัสตู้นิรภัยและลูกกุญแจแยกจากกันและให้การจัดการ
การใช้ตู้นิรภัยเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยที่ถือปฏิบัติทั่วไปตามที่ผู้จัดการประกาศกำหนด
ข้อ ๑๖ ให้สำนักงานจัดทำบัญชีรายการของเงินและทรัพย์สินซึ่งเป็นเอกสารหรือสิ่งของสำคัญของสำนักงาน
ตามข้อ ๑๕ พร้อมทั้งให้มีการตรวจสอบบัญชีรายการดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ
หมวด
๔
เงินสดย่อย
ข้อ ๑๗ ให้ผู้จัดการแต่งตั้งบุคลากรการเงินคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องเงินสดย่อย
ในกรณีที่ผู้รับผิดชอบเงินสดย่อยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้ผู้จัดการแต่งตั้งบุคลากรการเงินคนอื่นเป็นผู้ปฏิบัติงานแทนเป็นการชั่วคราวไปก่อนจนกว่าผู้รับผิดชอบเงินสดย่อยจะกลับมาปฏิบัติงานตามปกติ
โดยให้มีการตรวจสอบยอดเงินคงเหลือและรายการใบสำคัญที่ยังไม่เบิกชดเชย
และให้ส่งมอบเป็นลายลักษณ์อักษร
หากสุดวิสัยที่จะส่งมอบเป็นลายลักษณ์อักษร
ให้ผู้จัดการหรือผู้ที่ผู้จัดการมอบหมายตรวจสอบยอดเงินดังกล่าวร่วมกับพยานผู้ใดผู้หนึ่งและทำรายงานไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
ข้อ ๑๘ ให้สำนักงานเก็บเงินสดย่อยสารองจ่ายได้ไม่เกิน
๕๐,๐๐๐
บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)การเบิกจ่ายต้องมีหลักฐานและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ผู้จัดการประกาศกำหนด
ข้อ ๑๙ การจ่ายเงินจากเงินสดย่อยสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายต่าง
ๆ ในแต่ละครั้งมีจำนวนไม่เกิน
๕,๐๐๐
บาท และเป็นกรณีดังต่อไปนี้
(๑) เป็นการยืมเงินเพื่อซื้อ/จ้าง
ที่ไม่สามารถจัดหาจากผู้ขายรายอื่นได้ หรือจัดซื้อ/จ้างจากผู้ขายรายอื่นไม่สะดวก
(๒) เป็นหนี้ที่ต้องชำระด้วยเงินสด
หรือยืมไปเป็นเงินทดรองจ่ายในการปฏิบัติงาน
ข้อ ๒๐ เมื่อผู้รับผิดชอบเงินสดย่อยเห็นว่า
เงินสดย่อยมีไม่เพียงพอจ่าย ให้จัดทำรายการขอเบิกชดเชยเงินสดย่อยจำนวนเท่ากับผลรวมของใบสำคัญจ่ายเงินสดย่อยที่ได้เบิกจ่ายแล้ว
เพื่อสมทบให้จำนวนเงินสดย่อยคงเหลือมีอยู่ในวงเงินที่กำหนดเพื่อไว้ใช้จ่ายต่อไป
ข้อ ๒๑ จำนวนเงินสดย่อยในระยะเวลาใดเวลาหนึ่งจะต้องมีจำนวนที่สามารถตรวจสอบได้แน่นอน
โดยมีหลักฐานประกอบการตรวจสอบ คือ
(๑) รายงานจำนวนเงินสดย่อยคงเหลือ
(๒) ใบสำคัญจ่ายเงินสดย่อย สำหรับรายการที่ได้เบิกจ่ายไปแล้ว
(๓)
เอกสารหรือสัญญายืมเงินของบุคลากร
หมวด
๕
การจ่ายเงินและหลักฐานการจ่ายเงิน
ข้อ ๒๒ การจ่ายเงินจะจ่ายได้เฉพาะตามที่มีระเบียบ
ประกาศ คำสั่งหรือมติคณะกรรมการกำหนดและผู้จัดการอนุมัติให้จ่ายได้
ข้อ ๒๓ หลักฐานการจ่ายเงินต้องมีความครบถ้วน
สมบูรณ์ดังนี้
ใบสำคัญคู่จ่ายที่เป็นใบเสร็จรับเงิน
ซึ่งผู้รับเงินออกให้ อย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อ เลขประจำตัวประชาชน
หรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีหรือเลขทะเบียนนิติบุคคล สถานที่อยู่
หรือที่ทำการของผู้รับเงิน
(๒) วัน เดือน ปีที่รับเงิน
(๓)
รายการแสดงการรับเงินว่าเป็นค่าอะไร
(๔) จำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวอักษร
(๕) ลายมือชื่อของผู้รับเงิน
หลักฐานการจ่ายเงินนอกจากใบสำคัญคู่จ่ายให้เป็นไปตามที่ผู้จัดการกำหนด
ข้อ ๒๔ ในกรณีผู้มีสิทธิรับเงินไม่สามารถรับเงินด้วยตนเองได้
และจะมอบฉันทะให้ผู้อื่นเป็นผู้รับเงินแทน จะต้องมีใบมอบฉันทะการรับเงินและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบฉันทะ
ข้อ ๒๕ การจ่ายเงินซึ่งตามลักษณะไม่อาจเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้รับเงินได้
ให้ผู้จ่ายเงินใช้ใบรับรองการจ่ายเงินเป็นหลักฐานแทน
ข้อ ๒๖ ในกรณีใบสำคัญคู่จ่ายสูญหาย
(๑) ถ้าใบสำคัญคู่จ่ายที่เป็นใบเสร็จรับเงินสูญหายให้ใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินซึ่งผู้รับเงินรับรองแล้วแทนได้
(๒) ถ้าใบสำคัญคู่จ่ายที่เป็นใบสำคัญรับเงินสูญหาย
หรือในกรณีที่ใบสำคัญคู่จ่ายที่เป็นใบเสร็จรับเงินสูญหาย และไม่อาจขอสำเนาใบเสร็จรับเงินตามข้อ
๒๓ ได้ ให้ผู้จ่ายเงินทำใบรับรองการจ่ายเงิน โดยชี้แจงเหตุผล พฤติการณ์ที่ใบสำคัญคู่จ่ายสูญหาย
และไม่อาจขอสำเนาใบเสร็จรับเงินนั้นได้ พร้อมทั้งคำรับรองว่า
ยังไม่เคยนำใบสำคัญคู่จ่ายมาเบิก เสนอต่อผู้จัดการเพื่อพิจารณาอนุมัติ
เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ก็ให้ใช้ใบรับรองนั้นเป็นใบสำคัญคู่จ่าย
และหากค้นพบภายหลังก็จะไม่นำมาเบิกอีก
ข้อ ๒๗ หลักฐานการจ่ายเงินต้องพิมพ์หรือเขียนด้วยหมึก
การแก้ไขหลักฐานการจ่ายเงิน ให้ใช้วิธีขีดฆ่า
แล้วพิมพ์หรือเขียนใหม่ และให้ผู้รับเงินลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกแห่ง
หมวด
๖
เงินยืมทดรองจ่าย
ข้อ ๒๘ การยืมเงินทดรองจ่ายต้องได้รับอนุมัติโดยถูกต้องจากผู้จัดการ
การยืมเงินทดรองจ่ายจากสำนักงานให้นำไปใช้ได้ในวัตถุประสงค์
ดังต่อไปนี้
(๑)
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน
(๒)
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงาน โครงการ แผนงาน กิจกรรม หรือการพัฒนานวัตกรรม
(๓)
เพื่อจัดซื้อหรือจัดจ้างพัสดุที่จำเป็นต้องชำระเป็นเงินสด
(๔)
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายอื่นตามภาระหน้าที่ในการปฏิบัติงาน
ข้อ ๒๙ บุคลากรจะต้องทำสัญญาการยืมเงินทดรองจ่ายตามแบบที่สำนักงานกำหนด และจะต้องนำส่งเอกสารหลักฐานในการใช้จ่ายเงิน
พร้อมทั้งส่งใช้เงินที่เหลือ (ถ้ามี) เพื่อหักล้างเงินยืมทดรองจ่ายภายในกำหนดเวลาดังนี้
กรณียืมเงินตามข้อ ๒๘ (๑) (๒)
ให้ผู้ยืมเงินส่งใช้เงินยืมให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวันนับจากวันที่กลับจากการปฏิบัติงานถึงสำนักงาน
กรณียืมเงินตามข้อ ๒๘ (๓) ให้ผู้ยืมเงินส่งใช้เงินยืมให้เสร็จภายในเจ็ดวัน
นับจากวันที่ได้รับเงินยืม
กรณียืมเงินตามข้อ ๒๘ (๔)
ให้ผู้ยืมเงินส่งใช้เงินยืมให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวัน
นับจากวันที่ปฏิบัติงานเสร็จสิ้น
กรณีผู้ยืมเงินมิได้ดำเนินการหรือมิได้ปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ในการยืมเงินตามข้อ
๒๘ ให้ส่งคืนเงินยืมทั้งสิ้นทันที
ข้อ ๓๐ การยืมเงินทดรองจ่ายในวัตถุประสงค์เดียวกันจะดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อได้คืนเงินยืมทดรองจ่ายและนำส่งเอกสารหักล้างเงินยืมทดรองจ่ายเรียบร้อยแล้วเท่านั้น
การยืมเงินทดรองจ่ายที่มียอดคงเหลือตั้งแต่ร้อยละสามสิบขึ้นไปให้ผู้ยืมเงินทดรองจ่ายชี้แจงเหตุผลในการใช้จ่ายด้วย
ข้อ ๓๑ ในกรณีที่ผู้ยืมเงินทดรองจ่ายไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อใดในหมวดนี้
หรือในกรณีที่บุคลากรไม่อาจปฏิบัติตามระเบียบข้อใดข้อหนึ่งในหมวดนี้ได้
ให้บุคลากรการเงินที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้จัดการรายงานให้ผู้จัดการทราบเพื่อพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป
หมวด
๗
อำนาจอนุมัติการสั่งซื้อ
สั่งจ้างและก่อหนี้ผูกพันและอำนาจการสั่งจ่ายเงิน
ข้อ ๓๒ ให้ผู้จัดการมีอำนาจอนุมัติการสั่งซื้อ
สั่งจ้าง และก่อหนี้ผูกพัน ในวงเงินไม่เกิน ๕๐ ล้านบาท
(ห้าสิบล้านบาทถ้วน) และระยะเวลาการก่อหนี้ผูกพันไม่เกินกว่า ๑ ปี หากวงเงิน หรือระยะเวลาผูกพันเกินกว่านี้
ให้ผู้จัดการอนุมัติโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
ข้อ ๓๓ การสั่งจ่ายเงินตามมาตรา ๑๑
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ ให้ผู้จัดการมีอำนาจสั่งจ่ายได้
ข้อ ๓๔ การจ่ายเงินทุกกรณี
ต้องจ่ายเป็นเช็คของธนาคาร
หรือโอนเข้าบัญชีผู้รับเงินยกเว้นกรณีการจ่ายจากเงินสดย่อย
ข้อ ๓๕ การจัดทำเช็คสั่งจ่ายเงิน ให้แก่เจ้าหนี้
หรือกรณีซื้อหรือเช่าทรัพย์สิน หรือจ้างทำของหรือการจ่ายเพื่อการดำเนินโครงการ
แผนงาน ของกองทุน ให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามของเจ้าหนี้ ขีดฆ่าคำว่า
หรือตามคำสั่ง หรือ
หรือผู้ถือ ออก
และระบุ A/C Payee
Only
ข้อ ๓๖ ผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่ายเงินจากธนาคาร
และเงื่อนไขในการสั่งจ่าย ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด
๘
วิธีการจ่ายเงินเดือน
ค่าจ้างและประโยชน์ตอบแทนอื่น
ข้อ ๓๗ ให้สำนักงานจ่ายเงินเดือน
ค่าจ้างและประโยชน์ตอบแทนอื่นแก่บุคลากรเป็นเงินสกุลบาท และจ่ายผ่านธนาคาร
ให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจัดทำรายการเงินเดือน
ค่าจ้าง ผลประโยชน์ตอบแทนอื่น รายการหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย
และเงินที่ได้รับอนุมัติให้จ่ายสุทธิ แจ้งแก่ฝ่ายการเงินก่อนวันถึงกำหนดจ่ายเงินเดือนอย่างน้อยสามวันทำการ
หมวด
๙
งบประมาณ
ข้อ ๓๘ เงินงบประมาณรายจ่ายของกองทุนประกอบด้วย
(๑) ค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินงานตามแผนงาน
งาน โครงการที่เป็นภารกิจของกองทุนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕ และเพื่อให้กองทุนกระทำกิจการต่าง
ๆ ตามมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑
(๒)
ค่าใช้จ่ายเพื่อบริหารจัดการและการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานตามมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๑
(๓) ค่าใช่จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องหรือเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่คณะกรรมการกำหนด
ค่าใช้จ่ายตามวรรคแรก
แบ่งเป็นงบรายจ่ายดังนี้
(ก) งบบุคลากร เช่น เงินเดือน
ค่าจ้าง ประโยชน์ตอบแทนอื่นของบุคลากร
(ข) งบดำเนินงาน เช่น ค่าตอบแทน
ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ค่าสาธารณูปโภคและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน
(ค) งบลงทุน เช่น
ค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่ง ครุภัณฑ์ เครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็นรวมถึงที่ดิน
สิ่งก่อสร้าง
(ง) งบอุดหนุน เช่น
เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียน เงินส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา
(จ) งบรายจ่ายอื่น หมายถึง
รายจ่ายที่ไม่เข้าลักษณะประเภทงบรายจ่ายใด งบรายจ่ายหรือรายจ่ายที่คณะกรรมการกำหนดให้ใช้จ่ายในงบรายจ่ายนี้
การจำแนกรายจ่ายตามประเภทงบรายจ่ายให้ใช้ตามหลักการจำแนกประเภทรายจ่ายของสำนักงบประมาณ
สำนักนายกรัฐมนตรีโดยอนุโลม
ข้อ ๓๙ ให้สำนักงานจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้เงินประจำปี
หรือแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้เงินเพิ่มเติมระหว่างปี
เสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติ
และเสนอแผนการใช้เงินต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ
ให้สำนักงานจัดทำคำขอตั้งงบประมาณเพื่อขอรับเงินอุดหนุนรายปีให้สอดคล้องกับกระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาล
ข้อ ๔๐ เมื่อได้ทราบจำนวนเงินอุดหนุนที่ได้รับจัดสรรประจำปี
หรือที่ได้รับเพิ่มเติมระหว่างปีแล้วให้สำนักงานจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้เงินรวมทุกแหล่งเงิน
เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อให้ความเห็นชอบโดยเร็ว
ข้อ ๔๑ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการใช้งบประมาณ
ตามข้อ ๓๘ (๑) หากแผนงานใดมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงรายการหรือจำนวนเงินภายในแผนงาน
ให้ผู้จัดการสามารถเปลี่ยนแปลงได้ไม่เกินร้อยละสิบ
ทั้งนี้
การเปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่ง
ไม่นับรวมงบประมาณที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนแก่เด็ก เยาวชนซึ่งขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสและผู้ด้อยโอกาส
ตามมาตรา ๕ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๑
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานหรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการภายในสำนักงานให้ผู้จัดการมีอำนาจอนุมัติการโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายการ
ตามข้อ ๓๘ (๒) โดยไม่เพิ่มวงเงินงบประมาณได้ ทั้งนี้ การใช้จ่ายเงินให้เป็นไปโดยประหยัด
คุ้มค่า โปร่งใส
การโอนหรือเปลี่ยนแปลงงบประมาณตามวรรคหนึ่งและวรรคสามให้สำนักงานรายงานคณะกรรมการทราบ
ข้อ ๔๒ ในกรณีจำเป็นต้องจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันเกินกว่าที่กำหนดไว้ตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงิน
ตามข้อ ๔๐ ให้ผู้จัดการเสนอรายการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินที่เพิ่มนั้นต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติ
โดยระบุแหล่งที่มาของเงินที่เพิ่มด้วย
ข้อ ๔๓ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณใด
ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณภายในปีงบประมาณนั้น เว้นแต่มีเหตุผลหรือความจำเป็นจะต้องเบิกจ่ายข้ามปี
ให้ผู้จัดการเสนอต่อคณะกรรมการอนุมัติการกันเงินไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปีก่อนสิ้นปีงบประมาณ
หมวด
๑๐
การเงิน
การบัญชีและการจัดทำรายงานทางการเงิน
ข้อ ๔๔ ให้สำนักงานจัดให้มีระบบบัญชีที่เหมาะสม
เพื่อบันทึกรายการทางบัญชีและแสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกองทุนโดยถูกต้อง
การบันทึกรายการบัญชีตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป
หลักฐานที่ใช้ประกอบการบันทึกรายการบัญชีจะต้องเก็บรักษาไว้ให้เป็นระเบียบเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ
และเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่าสิบปี แล้วจึงจำหน่ายออกตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อ ๔๕ ให้สำนักงานจัดทำ รายงานการรับ - จ่าย
และเงินคงเหลือประจำเดือน เสนอต่อผู้จัดการภายในเดือนถัดไป
ข้อ ๔๖ ให้สำนักงานจัดทำรายงานทางการเงินเพื่อแสดงผลการดำเนินงานและแสดงฐานะการเงินของกองทุนเป็นรายไตรมาส
เสนอคณะกรรมการ
เมื่อสิ้นสุดปีบัญชี ให้จัดทำรายงานทางการเงินเสนอผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการภายใน ๑๘๐ วันนับจากวันสิ้นปีบัญชี
ข้อ ๔๗ ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้สอบบัญชีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุน
จัดทำรายงานการสอบบัญชีทุกรอบปีบัญชีเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อประกาศรายงานทางการเงินที่ผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบแล้ว
และรายงานการสอบบัญชีในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๔๘ ให้กองทุนจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานการสอบบัญชีจากผู้สอบบัญชี
และเปิดเผยให้ประชาชนทราบในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกองทุนด้วย
หมวด
๑๑
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๔๙ การปฏิบัติการใดที่มีลักษณะตามระเบียบฯ นี้
ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ และยังไม่แล้วเสร็จในวันที่ระเบียบนี้มีผลบังคับใช้ ให้ดำเนินการตามข้อบังคับ
ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ หรือคำสั่งที่ใช้อยู่เดิมไปพลางก่อนจนกว่าจะแล้วเสร็จ
หรือจนกว่าจะสามารถดำเนินการตามระเบียบนี้ได้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑
ประสาร
ไตรรัตน์วรกุล
ประธานกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
พัชรภรณ์/จัดทำ
๒๒ กันยายน ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๒๘ ง/หน้า ๒๔/๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๑ |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.