sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
566231
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดให้ไม้ดอกและไม้ประดับเป็นผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดให้ไม้ดอกและไม้ประดับเป็นผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศกำหนดให้ไม้ดอกและไม้ประดับเป็นผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑] ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๖/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
549551
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศกำหนดให้สิ่งต่อไปนี้เป็นผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น ๑. ถั่วลิสง ๒. ถั่วเขียว ๓. ยางพารา ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๒๗ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๗ ณรงค์ วงศ์วรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๖๕ ง/หน้า ๑๖/๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐
567701
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอประกาศรายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ สิ้นสุด ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๘ ดังรายละเอียดตามรายงานแนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำเดือนสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๘ ๒. เงินกองทุนหมุนเวียนสำหรับอุดหนุนเกษตรกรในการหาปัจจัยการผลิตตามโครงการความช่วยเหลือเพื่อเพิ่มผลผลิตทางอาหารจากรัฐบาลญี่ปุ่น รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำเดือนสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๕ ง/หน้า ๑/๑๒ มกราคม ๒๕๔๙
521262
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอประกาศรายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ ดังรายละเอียดตามรายงานแนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ปรีดิยาธร เทวกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ ๒. เงินกองทุนหมุนเวียนสำหรับอุดหนุนเกษตรกรในการหาปัจจัยการผลิตตามโครงการความช่วยเหลือเพื่อเพิ่มผลผลิตทางอาหารจากรัฐบาลญี่ปุ่น รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๓๑ ง/หน้า ๒๐/๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๙
453976
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอประกาศรายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๗ ดังรายละเอียดตามรายงานแนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำเดือนสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๗ ๒. เงินกองทุนพิเศษเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่ปอ รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำเดือนสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๗ ๓. เงินกองทุนหมุนเวียนสำหรับอุดหนุนเกษตรกรในการหาปัจจัยการผลิตตามโครงการความช่วยเหลือเพื่อเพิ่มผลผลิตทางอาหารจากรัฐบาลญี่ปุ่น รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำเดือนสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๗ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง/หน้า ๑/๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
567699
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2546
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๖[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอประกาศรายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๖ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๖ ดังรายละเอียดตามรายงานแนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร งบรายรับ-รายจ่าย ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๖ (๑ ตุลาคม ๒๕๔๕ - ๓๐ กันยายน ๒๕๔๖) ๒. เงินกองทุนพิเศษเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่ปอ งบรายรับ-รายจ่าย ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๖ (๑ ตุลาคม ๒๕๔๕ - ๓๐ กันยายน ๒๕๔๖) ๓. เงินกองทุนหมุนเวียนสำหรับอุดหนุนเกษตรกรในการหาปัจจัยการผลิตตามโครงการความช่วยเหลือเพื่อเพิ่มผลผลิตทางอาหารจากรัฐบาลญี่ปุ่น งบรายรับ-รายจ่าย ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๖ (๑ ตุลาคม ๒๕๔๕ - ๓๐ กันยายน ๒๕๔๖) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๔๑ ง/หน้า ๓/๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
567697
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอประกาศรายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๕ ดังรายละเอียดตามรายงานแนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๕ ๒. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เงินกองทุนพิเศษเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่ปอ รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๕ ๓. เงินกองทุนหมุนเวียนสำหรับอุดหนุนเกษตรกรในการหาปัจจัยการผลิตตามโครงการความช่วยเหลือเพื่อเพิ่มผลผลิตทางอาหารจากรัฐบาลญี่ปุ่น รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง/หน้า ๑๐/๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๕
677523
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๔[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอประกาศรายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๔ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๔ ดังรายละเอียดตามรายงานแนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔ วราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๔ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๔ ๒. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เงินกองทุนพิเศษเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่ปอ รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๔ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๔ ๓. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เงินกองทุนหมุนเวียนสำหรับอุดหนุนเกษตรกรในการหาปัจจัยการผลิตตามโครงการความช่วยเหลือเพื่อเพิ่มผลผลิตทางอาหารจากรัฐบาลญี่ปุ่น รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๔ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๔ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง/หน้า ๕/๖ ธันวาคม ๒๕๔๔
567695
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2543
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๓[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอประกาศรายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๓ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๓ ดังรายละเอียดตามรายงานแนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๓ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๓ ๒. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เงินกองทุนพิเศษเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่ปอ รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๓ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๓ ๓. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เงินกองทุนหมุนเวียนสำหรับอุดหนุนเกษตรกรในการหาปัจจัยการผลิตตามโครงการความช่วยเหลือเพื่อเพิ่มผลผลิตทางอาหารจากรัฐบาลญี่ปุ่น รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๓ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๓/๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๓
567693
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2542
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอประกาศรายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๒ ดังรายละเอียดตามรายงานแนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๒ ๒. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เงินกองทุนพิเศษเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่ปอ รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๒ ๓. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เงินกองทุนหมุนเวียนสำหรับอุดหนุนเกษตรกรในการหาปัจจัยการผลิตตามโครงการความช่วยเหลือเพื่อเพิ่มผลผลิตทางอาหารจากรัฐบาลญี่ปุ่น รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๒ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๕ ง/หน้า ๑/๑๗ มกราคม ๒๕๔๓
312917
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการรับ - จ่าย เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2541
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๑[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอประกาศรายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๑ สิ้นสุด ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๑ ดังรายละเอียดตามรายงานแนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๑ สิ้นสุด ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๑ ๒. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เงินกองทุนพิเศษเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่ปอ รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๑ สิ้นสุด ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๑ ๓. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เงินกองทุนหมุนเวียนสำหรับอุดหนุนเกษตรกรในการหาปัจจัยการผลิตตามโครงการความช่วยเหลือเพื่อเพิ่มผลผลิตทางอาหารจากรัฐบาลญี่ปุ่น รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๑ สิ้นสุด ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๑ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๖ ง/หน้า ๑/๒๑ มกราคม ๒๕๔๒
312863
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการรับจ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2540
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๐[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอประกาศรายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๐ สิ้นสุด ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๐ ดังรายละเอียดตามรายงานแนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๐ สิ้นสุด ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๐ ๒. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เงินกองทุนพิเศษเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่ปอ รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๐ สิ้นสุด ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๐ ๓. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เงินกองทุนหมุนเวียนสำหรับอุดหนุนเกษตรกรในการหาปัจจัยการผลิตตามโครงการความช่วยเหลือเพื่อเพิ่มผลผลิตทางอาหารจากรัฐบาลญี่ปุ่น รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๐ สิ้นสุด ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๕ ง/หน้า ๑/๑๙ มกราคม ๒๕๔๑
301222
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ผลิตผลเกษตรกรรมที่ใช้เป็นอาหารหรือส่วนประกอบของอาหารสำหรับคนหรือสัตว์ที่เกิดจากธัญญพืช พืชไร่ พืชหัว พืชน้ำมัน ถั่วต่าง ๆ ผัก ผลไม้ ปศุสัตว์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ผลิตผลเกษตรกรรมที่ใช้เป็นอาหารหรือส่วนประกอบของอาหารสำหรับ คนหรือสัตว์ที่เกิดจากธัญพืช พืชไร่ พืชหัว พืชน้ำมัน ถั่วต่าง ๆ ผัก ผลไม้ ปศุสัตว์ และสัตว์น้ำ ไม่ว่าจะแปรรูปแล้วหรือไม่ เป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗[๑] โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๓๒ อนุมัติจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการตามโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมในครัวเรือนและในชนบท ซึ่งโครงการดังกล่าวจะส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตรในเรื่องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารในระดับครัวเรือนและในชนบท อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จึงออกประกาศไว้ ดังนี้ ให้ผลิตผลเกษตรกรรมที่ใช้เป็นอาหารหรือส่วนประกอบของอาหารสำหรับคนหรือสัตว์ที่เกิดจากธัญพืช พืชไร่ พืชหัว พืชน้ำมัน ถั่วต่าง ๆ ผัก ผลไม้ ปศุสัตว์ และสัตว์น้ำไม่ว่าจะแปรรูปแล้วหรือไม่เป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ สุบิน ปิ่นขยัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๔๒/หน้า ๒๑๓๗/๑๕ มีนาคม ๒๕๓๓
301221
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศกำหนดให้ผักและผลไม้ เป็นผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๒ เจริญ คันธวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๕๗/ หน้า ๒๖๔๗/๑๓ เมษายน ๒๕๓๒
301220
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศกำหนดให้มะพร้าวแห้งเป็นผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๒๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๒๙ พลเอก หาญ ลีนานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๑๘๓/ หน้า ๔๗๑๔/๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๙
301219
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517 เรื่อง การกำหนดสินค้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออก พ.ศ. 2527
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ เรื่อง การกำหนดสินค้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออก พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยที่ปรากฏว่า ราคาซื้อขายผลิตภัณฑ์ปอในต่างประเทศมีแนวโน้มสูงกว่าปกติเป็นอันมาก สมควรที่จะได้มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการส่งออกสินค้าดังกล่าว เพื่อนำมาใช้ในการช่วยเหลือหรือส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกปอในประเทศ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีออกประกาศไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ เรื่องการกำหนดสินค้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออก พ.ศ. ๒๕๒๗” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป จนถึงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๒๘ เว้นแต่จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ข้อ ๓ กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ปอ ได้แก่ กระสอบ ผ้าผืน ด้ายและเชือกที่ทอหรือทำด้วยปอแก้วหรือปอกระเจา แต่ไม่รวมถึงด้ายหรือเชือกถักที่ทำเป็นสิ่งประดิษฐ์สำเร็จรูป (Jute Macrame) เป็นผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมขั้นต้นที่ผู้ส่งออกต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออก ข้อ ๔ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับแก่กรณีที่สินค้าดังกล่าวได้ผ่านการตรวจปล่อยจากเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรแล้ว หรือในกรณีส่งออกไปในสภาพเป็นสิ่งบรรจุ ห่อหุ้ม หรือผูกมัดสินค้า หรือในกรณีที่นำติดตัวออกไปเพื่อใช้เฉพาะตัว หรือในกรณีที่ยานพาหนะนำออกไปเพื่อใช้ในยานพาหนะนั้น ๆ หรือในกรณีที่นำออกไปเพื่อเป็นตัวอย่างเท่าที่จำเป็น ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๒๗ ณรงค์ วงศ์วรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โกศล ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๑๘๙/ ฉบับพิเศษ หน้า ๒/๒๐ ธันวาคม ๒๕๒๗
301218
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศกำหนดให้ปอ และผลิตภัณฑ์ปอ ได้แก่ กระสอบ ผ้าผืน ด้ายและเชือกที่ทอหรือทำจากปอแก้ว หรือปอกระเจาเป็นผลิตผลเกษตรกรรมชั้นต้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๒๗ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๒๗ ณรงค์ วงศ์วรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๑๘๙/ ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๐ ธันวาคม ๒๕๒๗
301217
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517 เรื่อง ยกเลิกระเบียบการเก็บ วิธีการชำระ และอัตราค่าธรรมเนียม การส่งน้ำตาลทรายออกนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2527
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ เรื่อง ยกเลิกระเบียบการเก็บ วิธีการชำระ และอัตราค่าธรรมเนียม การส่งน้ำตาลทรายออกนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๒๗ ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ ลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗ กำหนดให้น้ำตาลได้แก่น้ำตาลทรายทุกชนิดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ผู้ส่งออกต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออก และประกาศกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ เรื่อง กำหนดระเบียบการเก็บ วิธีการชำระ และอัตราค่าธรรมเนียมการส่งน้ำตาลทรายออกนอกราชอาณาจักร ลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗ กำหนดระเบียบ วิธีการชำระ และกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการส่งน้ำตาลทรายออกไปนอกราชอาณาจักรไว้ และได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมการส่งออกน้ำตาลทรายมาตามลำดับจนถึงอัตราที่ใช้อยู่ในขณะนี้ซึ่งเป็นไปตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการส่งน้ำตาลทรายออกนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๒๗ ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗ นั้น เนื่องจากขณะนี้ได้มีพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗ บังคับใช้แล้ว ฉะนั้น เพื่อให้เป็นไปตามความในวรรคท้ายแห่งมาตรา ๔๘ ของพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗ ที่กำหนดว่าการส่งออกน้ำตาลทรายไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร อาศัยอำนาจตามความในวรรคท้ายของมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ออกประกาศไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศฉบับนี้ให้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ เรื่อง ยกเลิกระเบียบการเก็บ วิธีการชำระ และอัตราค่าธรรมเนียมการส่งน้ำตาลทรายออกนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๒๗” ข้อ ๒[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ เรื่อง ระเบียบการเก็บ วิธีการชำระและอัตราค่าธรรมเนียมการส่งน้ำตาลทรายออกนอกราชอาณาจักร ลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗ ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบการเก็บ วิธีการชำระ และอัตราค่าธรรมเนียมการส่งน้ำตาลทรายออกนอกราชอาณาจักร ลงวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๒๒ ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการส่งน้ำตาลออกนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๒๗ ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗ และประกาศกระทรวงพาณิชย์ที่เกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการส่งน้ำตาลทรายออกนอกราชอาณาจักรที่ได้ออกบังคับใช้อยู่ก่อนหน้านี้เสียทั้งหมด ข้อ ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รักษาการตามประกาศฉบับนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๒๗ โกศล ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๑๘๓/ หน้า ๔๙๖๗/๑๑ ธันวาคม ๒๕๒๗
318476
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517 เรื่อง ยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมการส่งออกน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ เรื่อง ยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมการส่งออกน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗ ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ ลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗ รวม ๒ ฉบับ กำหนดให้ข้าวและผลิตภัณฑ์อันเกิดจากข้าวทุกชนิด และน้ำตาลทุกชนิดเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร และกำหนดให้ข้าว ได้แก่ ข้าวสารทุกชนิด ผลิตภัณฑ์ข้าว ได้แก่ แป้งข้าวทุกชนิด เส้นหมี่ เส้นก๋วยเตี๋ยว และเส้นก๋วยจั้บ และน้ำตาล ได้แก่ น้ำตาลทรายทุกชนิด เป็นผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ผู้ส่งออกต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออก ตามความในมาตรา ๓ และ ๗ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ นั้น เนื่องจาก ขณะนี้ได้มีพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗ บังคับใช้แล้ว ฉะนั้น เพื่อให้เป็นไปตามความในวรรคท้ายแห่งมาตรา ๔๘ ของพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งกำหนดว่าการส่งออกน้ำตาลทราย ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร อาศัยอำนาจตามความในวรรคท้ายแห่งมาตรา ๗ ของพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีออกประกาศไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ เรื่องยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมการส่งออกน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗” ข้อ ๒[๑] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒ ของประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ ลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗ ที่กำหนดให้น้ำตาลทุกชนิดเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ ของประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ ลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗ ที่กำหนดให้น้ำตาล ได้แก่ น้ำตาลทรายทุกชนิดเป็นผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ผู้ส่งออกต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออก ข้อ ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รักษาการตามประกาศฉบับนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๒๗ ณรงค์ วงศ์วรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โกศล ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๑๘๓/หน้า ๔๙๖๓/๑๑ ธันวาคม ๒๕๒๗
301216
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศกำหนดให้สินค้าสัตว์น้ำส่งออกทุกประเภทเป็นผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๗ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๗ ณรงค์ วงศ์วรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๑๗๖/ หน้า ๔๖๕๑/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๗
301215
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศกำหนดให้สิ่งต่อไปนี้เป็นผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น ๑. ข้าวฟ่าง ๒. ถั่วฮามาต้า ๓. ไม้ยูคาลิปตัส ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๒๗ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๒๗ ณรงค์ วงศ์วรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๑๑๘/ หน้า ๒๙๕๑/๔ กันยายน ๒๕๒๗
318475
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517 เรื่อง การกำหนดสินค้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออก พ.ศ. 2527
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ เรื่อง การกำหนดสินค้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออก พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยที่ปรากฏว่าราคาซื้อขายกากน้ำตาล (MOLASSES) ในต่างประเทศมีแนวโน้มสูงกว่าปกติเป็นอันมาก สมควรที่จะได้มีการเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการส่งออกสินค้าดังกล่าวเพื่อนำมาใช้ในการส่งเสริมการเกษตรภายในประเทศ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ และมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีออกประกาศไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ เรื่อง การกำหนดสินค้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออก พ.ศ. ๒๕๒๗” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ กำหนดให้กากน้ำตาล (MOLASSES) เป็นผลิตภัณฑ์อาหารตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ ข้อ ๔ กำหนดให้กากน้ำตาล (MOLASSES) เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ผู้ส่งออกต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออกตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ ข้อ ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รักษาการตามประกาศฉบับนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗ ณรงค์ วงศ์วรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โกศล ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๒๖/ หน้า ๕๙๔/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗
301214
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศกำหนดให้สิ่งต่อไปนี้เป็นผลิตผลเกษตรกรรมชั้นต้น ๑. แพะ ๒. กระต่าย ๓. ไก่ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๒๖ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๗ ณรงค์ วงศ์วรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๑๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๗/๒๖ มกราคม ๒๕๒๗
318474
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ให้ผึ้งเป็นผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๒๖ ณรงค์ วงศ์วรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๐/ตอนที่ ๑๑๙/หน้า ๒๓๒๐/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๒๖
301212
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ให้สัตว์น้ำชายฝั่งเป็นผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น ประกาศฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับสำหรับโครงการดำเนินการผลิตสินค้าสัตว์น้ำส่งต่างประเทศด้วย ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๒๕ ชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๐/ตอนที่ ๗/หน้า ๒๐๓/๑๘ มกราคม ๒๕๒๖
318473
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗[๑] ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ฉบับลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗ กำหนดให้น้ำตาลทรายทุกชนิดเป็นผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ผู้ส่งออกต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออกนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมสินค้าพื้นเมืองให้มีการส่งออกมากขึ้น และเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยระบายอ้อยสำหรับชาวไร่ในปีที่มีผลผลิตดีและราคาตกต่ำ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมการส่งออกสำหรับน้ำตาลทรายแดง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๒๕ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๒๕ ชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นาวาอากาศตรี ปุณมี ปุณศรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๙/ตอนที่ ๗๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๓ มิถุนายน ๒๕๒๕
301211
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดให้กาแฟเป็นผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๒๔ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๒๔ อาณัติ อาภาภิรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๘/ตอนที่ ๖๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๓/๔ พฤษภาคม ๒๕๒๔
301210
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดให้ปลาน้ำจืดเป็นผลิตผลเกษตรกรรมชั้นต้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๒๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๒๓ บรรหาร ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๖๘/หน้า ๑๓๒๓/๒๙ เมษายน ๒๕๒๓
318472
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การกำหนดผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การกำหนดผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดให้กระเทียมเป็นผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๒๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๒๒ วงศ์ พลนิกร รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๑๔๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๔ สิงหาคม ๒๕๒๒
301209
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดให้หม่อนและไหมเป็นผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๒๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๒ อาภรณ์ ศรีพิพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๕๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๗/๑๕ เมษายน ๒๕๒๒
301208
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดให้เกลือเป็นผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๒๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๒๑ ป. กรรณสูตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๗๔/หน้า ๒๓๓๗/๒๕ กรกฎาคม ๒๕๒๑
301207
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดให้มันสำปะหลังเป็นผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๒๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๒๑ ทำนอง สิงคาลวณิช รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๖๖/หน้า ๑๙๖๘/๒๗ มิถุนายน ๒๕๒๑
318471
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ยกเลิกการยกเว้นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการส่งปลายข้าวขาวทุกชนิดที่ออกไปจำหน่ายยังแอฟริกา
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ยกเลิกการยกเว้นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการส่งปลายข้าวขาว ทุกชนิดที่ออกไปจำหน่ายยังแอฟริกา[๑] ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๑๙ ให้ยกเว้นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการส่งปลายข้าวขาวทุกชนิดออกไปจำหน่ายยังแอฟริกา เพื่อช่วยเร่งรัดการส่งปลายข้าวขาวออกไปจำหน่ายในต่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น นั้น โดยที่ปรากฏว่าในขณะนี้สถานการณ์เกี่ยวกับปลายข้าวขาวได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยได้มีการส่งปลายข้าวขาวชนิดต่าง ๆ ออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้เป็นจำนวนมาก และคาดว่าความต้องการปลายข้าวขาวของตลาดต่างประเทศในระยะต่อไปจะมีมากขึ้น จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องยกเว้นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการส่งปลายข้าวขาวชนิดต่าง ๆ ออกไปจำหน่ายยังแอฟริกาอีกต่อไป ฉะนั้น กระทรวงพาณิชย์โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ และโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงให้ยกเลิกการยกเว้นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการส่งปลายข้าวขาวทุกชนิดออกไปจำหน่ายยังแอฟริกาตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับดังกล่าวเสีย และให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการส่งออกตามอัตราที่ปรากฏในประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับลงวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๑๙ เช่นเดียวกับปลายข้าวขาวชนิดต่าง ๆ ที่ส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศอื่น ๆ ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๒๐ สุธี นาทวรทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๔/ตอนที่ ๕๐/หน้า ๒๓๑๕/๗ มิถุนายน ๒๕๒๐
301206
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดให้สัตว์น้ำเพาะเลี้ยงชายฝั่งเป็นผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๑๘ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๑๘ ทวิช กลิ่นประทุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒/ตอนที่ ๘๙/หน้า ๑๑๓๖/๖ พฤษภาคม ๒๕๑๘
301205
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดให้สิ่งต่อไปนี้เป็นผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น ๑. ข้าวเปลือก ๒. อ้อย ๓. ข้าวโพด ๔. มะพร้าว ๕. ฝ้าย ๖. ถั่วเหลือง ๗. โค ๘. กระบือ ๙ กุ้งทะเล ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๑๘ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ จักรพันธุ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒/ตอนที่ ๔๖/หน้า ๕๖๖/๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘
567675
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี กำหนดให้สิ่งต่อไปนี้ เป็นผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ผู้ส่งออกต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออก ๑. ข้าว ได้แก่ข้าวสารทุกชนิดที่สีแปรสภาพจากข้าวเปลือก ทั้งต้นข้าวและปลายข้าว ๒. ผลิตภัณฑ์ข้าว ได้แก่แป้งข้าวทุกชนิด เส้นหมี่ เส้นก๋วยเตี๋ยว และเส้นก๋วยจั๊บ ๓. น้ำตาล ได้แก่น้ำตาลทรายทุกชนิด ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗ หม่อมเจ้าจักรพันธุ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วิจารณ์ นิวาตวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๑/ตอนที่ ๑๗๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘/๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗
301204
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุน สงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กำหนดให้สิ่งต่อไปนี้ เป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ๑. ข้าว และผลิตภัณฑ์อันเกิดจากข้าวทุกชนิด ๒. น้ำตาลทุกชนิด ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗ หม่อมเจ้าจักรพันธุ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วิจารณ์ นิวาตวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๑/ตอนที่ ๑๗๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙/๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗
301203
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดให้สิ่งต่อไปนี้ เป็นผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น ๑. ข้าวเปลือก ๒. อ้อย ๓. ตาล ๔. มะพร้าว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗ หม่อมเจ้าจักรพันธุ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อุดมการณ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๑/ตอนที่ ๑๗๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗/๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗
729991
ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2554 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เพื่อให้การพิจารณาจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ (๓) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร จึงออกระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ดังนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ข้อ ๔ กิจการตามโครงการที่จะใช้จ่ายเงินจากกองทุน ได้แก่กิจการดังนี้ (๑) การส่งเสริมการผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร ดังนี้ ก.[๒] การจัดหาปัจจัยการผลิตจะต้องเป็นปัจจัยการผลิต เพื่อการผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความจำเป็นต่อการผลิตและมีคุณภาพ เพื่อจำหน่ายให้แก่เกษตรกรในราคาที่เป็นธรรม ข. ให้องค์กรเกษตรกรกู้ยืมเพื่อการผลิต การเก็บรักษาหรือจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โดยจะต้องเสนอรายละเอียดของโครงการ ประโยชน์ที่จะได้รับ และแผนการชำระเงินกู้ยืมคืน ค. ดำเนินการจัดหาแหล่งน้ำ หรือที่ดินให้เกษตรกรเข้าทำกิน การจัดหากรรมสิทธิ์หรือสิทธิในที่ดินให้แก่เกษตรกร การปฏิรูปที่ดิน และจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยจะต้องพิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นของการดำเนินการดังกล่าวและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น รวมถึงประโยชน์สาธารณะ โดยเทียบกับการใช้จ่ายเงินกองทุน ง. ดำเนินการอื่นใดอันจะก่อประโยชน์ในการผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร รวมถึงการส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมการเกษตร โดยจะต้องเสนอโครงการเป็นรายกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับ เมื่อเทียบกับการใช้จ่ายเงินกองทุน (๒) การส่งเสริมการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานคุณภาพของผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โดยจะต้องเสนอแผนการดำเนินการในการส่งเสริมผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารเป็นรายแผนงาน ประโยชน์ที่จะได้รับหรือประโยชน์สาธารณะโดยเทียบกับการใช้จ่ายเงินกองทุน (๓) โครงการเพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาและการจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร ดังนี้ ก. ซื้อหรือรับจำนำผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารไม่เกินในราคาที่คณะกรรมการกำหนด โดยจะต้องเสนอแผนการดำเนินงานและราคาซื้อหรือรับจำนำที่เหมาะสมพร้อมเหตุผลเพื่อประกอบการพิจารณา ข. จำหน่ายซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารภายในหรือนอกราชอาณาจักร จะต้องเสนอแผนการดำเนินงานและราคาจำหน่ายที่เหมาะสม พร้อมเหตุผลเพื่อประกอบการพิจารณา ค. ดำเนินการอื่นใดอันจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาเสถียรภาพของราคา และจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร จะต้องเสนอแผนการดำเนินงานหรือโครงการพร้อมเหตุผลเพื่อประกอบการพิจารณา (๔) โครงการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อป้องกันและขจัดภัยอันจะเป็นผลเสียหายแก่เกษตรกร โดยโครงการที่เสนอจะต้องแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนและประโยชน์ในการป้องกันและขจัดภัยอันจะเป็นผลเสียหายแก่เกษตรกร ทั้งนี้ ต้องไม่ซ้ำซ้อนหรือไม่ขัดกับกฎหมายหรือระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง (๕) การศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาการผลิต การแปรรูป หรือการตลาด ซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โดยให้เสนอรายละเอียดการศึกษาดังกล่าวรวมทั้งประโยชน์ที่จะได้รับหรือประโยชน์สาธารณะ กรณีที่ไม่มีกองทุนอื่นใดรับผิดชอบในกิจการตาม (๑) ถึง (๕) ให้คณะกรรมการพิจารณาให้การสนับสนุนได้ องค์กรเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคล สามารถขอยื่นคำขอรับจัดสรรเงินได้โดยตรงเฉพาะกรณีตาม (๑) ก และ ข และ (๕) ซึ่งดำเนินกิจการมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี มีการตรวจสอบบัญชี และงบการเงินโดยจะต้องมีมติที่ประชุมใหญ่ของแต่ละองค์กรให้ความเห็นชอบและในกรณีองค์กรเกษตรกรขอรับการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อเป็นสินเชื่อแก่สมาชิกขององค์กรเกษตรกรจะต้องเสนอผ่านหน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้กำกับดูแล[๓] องค์กรเกษตรกรที่ไม่เป็นนิติบุคคล หรือที่เป็นนิติบุคคลน้อยกว่า ๒ ปี ให้หน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแลยื่นคำขอรับจัดสรรเงิน เพื่อนำไปจัดสรรเงินให้แก่องค์กรเกษตรกร หรือกรณีจะขอยื่นคำขอรับจัดสรรเงินโดยตรง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด[๔] ข้อ ๕[๕] ในกรณีที่องค์กรเกษตรกรขอกู้ยืมเงินให้มีหลักประกันดังนี้ (๑) องค์กรเกษตรกรที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ให้คณะกรรมการบริหารองค์กร และผู้จัดการหรือผู้ที่ทำหน้าที่ในลักษณะดังกล่าว ค้ำประกันการกู้ยืมในฐานะส่วนตัว ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารองค์กร ต้องจัดให้คณะกรรมการชุดใหม่ค้ำประกันเพิ่มเติม และอาจให้มีหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืมตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ (๒) องค์กรเกษตรกรที่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ให้ค้ำประกันด้วยสมาชิกทุกคนในกลุ่มและอาจให้มีหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืมตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ ข้อ ๖ ให้คณะกรรมการมีอำนาจพิจารณาอนุมัติเงินกองทุน สำหรับค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานและค่าบริหารโครงการตามความจำเป็นและเหมาะสม ข้อ ๗ โครงการส่งเสริมหรือสงเคราะห์การผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาล หากหน่วยงานของรัฐที่เสนอโครงการมีกองทุนที่ให้การส่งเสริมหรือสงเคราะห์โดยเฉพาะอยู่แล้ว แต่จำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติม ให้จัดสรรเงินให้หน่วยงานของรัฐนั้นได้ ข้อ ๘ ให้นำประวัติการใช้จ่ายเงินกองทุนของส่วนราชการย้อนหลัง ๓ ปี มาเป็นข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาจัดสรรเงินกองทุน ข้อ ๙[๖] (ยกเลิก) ข้อ ๑๐ การพิจารณาจัดสรรเงินกองทุนเพื่อดำเนินธุรกิจขององค์กรเกษตรกรให้พิจารณาอนุมัติวงเงินได้ไม่เกิน ๕ เท่าของทุนเรือนหุ้นรวมกับทุนสำรองขององค์กรเกษตรกร เว้นแต่กรณีที่มติที่ประชุมใหญ่ขององค์กรเกษตรกรเห็นชอบให้กู้เกินกว่า ๕ เท่าของทุนเรือนหุ้นรวมกับทุนสำรองขององค์กรเกษตรกร ในกรณีองค์กรเกษตรกรไม่มีทุนเรือนหุ้น หรือทุนสำรองและวงเงินที่ได้รับจัดสรรไม่เหมาะสมสำหรับกิจกรรมหรือโครงการที่เสนอขอให้คณะกรรมการพิจารณาตามความเหมาะสมและความจำเป็น ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงวงเงินที่กำหนดในวรรคแรกเพื่อประกอบการพิจารณา ข้อ ๑๑ การพิจารณาโครงการที่เสนอต้องไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการที่สถาบันการเงินหรือกองทุนอื่นได้อนุมัติแล้ว ข้อ ๑๒ โครงการเพื่อสนับสนุนงานวิจัยของส่วนราชการหรือองค์กรเกษตรกร ต้องกำหนดให้ผลงานหรือสิทธิในผลงานหรือทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยเป็นกรรมสิทธิ์หรือสิทธิของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพร พิรุณสาร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘[๗] ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙[๘] ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒[๙] ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป วิศนี/ผู้จัดทำ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๘ วริญา/เพิ่มเติม ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙ อัมพิกา/เพิ่มเติม ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๓ ปริญสินีย์/ตรวจ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง/หน้า ๓/๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๒] ข้อ ๔ (๑) ก. แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๓] ข้อ ๔ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๔] ข้อ ๔ วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ [๕] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๖] ข้อ ๙ ยกเลิกโดยระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๓/๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๖๑ ง/หน้า ๔/๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙ [๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๑๔/๒๐ มกราคม ๒๕๖๓
757650
ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยการรับจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การใช้จ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน การจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน และการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีของกองทุนเป็นสูญ พ.ศ. 2556 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยการรับจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การใช้จ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน การจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน และการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีของกองทุนเป็นสูญ พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การพัสดุ และการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ (๔) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกรโดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยการรับจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การใช้จ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน การจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนและการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีของกองทุนเป็นสูญ พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “โครงการที่ได้รับอนุมัติ” หมายความว่า โครงการส่งเสริมการผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โครงการส่งเสริมการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานคุณภาพของผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โครงการรักษาเสถียรภาพของราคาและการจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โครงการดำเนินการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อป้องกันและขจัดภัยอันจะเป็นผลเสียหายแก่เกษตรกร โครงการศึกษาวิจัย เพื่อการพัฒนาการผลิต การแปรรูป หรือการตลาด ซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการดำเนินการ โครงการติดตามผลการดำเนินการตามโครงการที่ได้รับการช่วยเหลือหรือส่งเสริมจากกองทุน ที่คณะกรรมการหรือคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้จัดสรรเงินจากกองทุนเพื่อดำเนินการ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจัดสรรสำหรับเป็นเงินหมุนเวียนหรือเงินจ่ายขาด “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ข้อ ๔ ให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ การรับเงินและทรัพย์สิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุน ข้อ ๕ กองทุน ประกอบด้วย (๑) เงิน ทรัพย์สิน สิทธิ และหนี้สินที่โอนมาจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรตามมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัตินี้ (๒) เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี (๓) ค่าธรรมเนียมการส่งออกและค่าธรรมเนียมการนำเข้าที่เรียกเก็บได้ตามพระราชบัญญัตินี้ (๔) เงินกู้โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี (๕) ดอกผลของเงินกองทุน (๖) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้ ข้อ ๖ ให้สำนักงานเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุนและดำเนินการเบิกจ่ายเงินกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ข้อ ๗ ให้สำนักงานเปิดบัญชีเงินฝากของกองทุนไว้ที่กระทรวงการคลัง ชื่อบัญชี “กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร” สำหรับการรับจ่ายเงินกองทุน เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงานกองทุน ให้สำนักงานเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจหรือธนาคารเฉพาะกิจของรัฐชื่อบัญชีเดียวกันกับวรรคหนึ่ง ภายในวงเงิน เงื่อนไขและวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ข้อ ๘ ให้สำนักงานมีอำนาจนำเงินกองทุนไปหาดอกผลโดยการฝากออมทรัพย์หรือฝากประจำกับธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ หรือการซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาลได้ โดยพิจารณาจากกระแสเงินสดหรือสภาพคล่องของกองทุน ภายใต้หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ ข้อ ๙ ในแต่ละปีงบประมาณให้สำนักงานจัดทำประมาณการรายรับ - รายจ่ายประจำปีของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนนำเสนอขออนุมัติจากกระทรวงการคลังภายในระยะเวลาที่กำหนด ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและประมาณการรายรับ - รายจ่าย ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังให้ใช้ประมาณการรายรับ - รายจ่ายประจำปีที่ได้รับความเห็นชอบในปีที่ล่วงมาแล้วไปพลางก่อนโดยอนุมัติของคณะกรรมการ ข้อ ๑๐ การขอรับจัดสรรเงินกองทุน (๑) หน่วยงานของรัฐและองค์กรเกษตรกรสามารถขอรับจัดสรรเงินกองทุนเพื่อดำเนินการโครงการได้ โดยเสนอแผนการดำเนินงานโครงการต่อสำนักงานหรือสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด (๒) องค์กรเกษตรกรสามารถขอรับจัดสรรเงินกองทุนเพื่อเป็นสินเชื่อแก่สมาชิกได้ โดยเสนอแผนการดำเนินงานโครงการต่อหน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแล ข้อ ๑๑ ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจเป็นรายโครงการ ชื่อบัญชี “เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร โครงการ....” และแจ้งเลขที่บัญชีเงินฝากให้สำนักงานทราบเพื่อโอนเงินเข้าบัญชี ข้อ ๑๒ กำหนดระยะเวลาการส่งเงินคืนกองทุนและอัตราดอกเบี้ย ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด อัตราดอกเบี้ยตามวรรคหนึ่ง ให้คิดในอัตราไม่เกินร้อยละ ๓ ต่อปี[๒] ข้อ ๑๓ ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุน ขอเบิกเงินโดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อสำนักงาน โดยมีเอกสารประกอบ ดังนี้ (๑) มติคณะรัฐมนตรี (ถ้ามี) (๒) มติคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร (๓) แผนการดำเนินงานโครงการ ประกอบด้วย แผนปฏิบัติงาน แผนการใช้จ่ายเงิน แผนการส่งเงินคืนกองทุน ซึ่งคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกรมีมติเห็นชอบ (๔) ชื่อบัญชีและเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร ตามข้อ ๑๑ (๕) บันทึกคำรับรองผู้เบิก (๖) อื่น ๆ ตามที่สำนักงานกำหนดหรือขอเพิ่มเติม ข้อ ๑๔ ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนปฏิบัติ ดังนี้ (๑) การใช้จ่ายเงินกองทุนต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่ได้รับอนุมัติ และใช้จ่ายเงินตามรายการหรือกิจกรรมที่ขอเบิกเท่านั้น จะนำไปใช้จ่ายเพื่อการอื่นมิได้ (๒) การจ่ายเงินกองทุน ให้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในแผนการดำเนินงานโครงการ กรณีเงินหมุนเวียน ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในแผนการดำเนินงานโครงการ อย่างช้าไม่เกินสิบห้าวันนับจากวันที่เงินโอนเข้าบัญชี และให้นำส่งเงินคืนสำนักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันครบกำหนดให้ใช้เงิน โดยระบุชื่อโครงการ ประเภทของเงินที่นำส่ง และปีที่เบิกเงินไปจากกองทุน กรณีเงินจ่ายขาด ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรสามารถจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการติดตามงานตามความจำเป็น และให้นำส่งเงินคืนสำนักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดโครงการ (๓) หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรใดไม่นำส่งเงินคืนกองทุนภายในกำหนด ให้สำนักงานเสนอรายงานต่อคณะกรรมการ เพื่อพิจารณามีมติไม่อนุมัติโครงการอื่นใดของหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรนั้นอีก กรณีโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้แล้วและยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ และมีเงินที่สำนักงานจะต้องเบิกจ่ายให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรตามแผนการดำเนินงานโครงการอยู่อีก ให้สำนักงานหักกลบลบกับจำนวนเงินที่หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรจะต้องส่งคืนออกจากจำนวนเงินที่จะเบิกจ่าย แล้วจึงโอนเงินส่วนที่เหลือให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรนั้น ข้อ ๑๕ ให้หน่วยงานของรัฐที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนตามโครงการที่ได้รับอนุมัติและประสงค์จะนำไปให้เกษตรกรกู้ยืม ถือปฏิบัติดังนี้ (๑) จัดทำรายละเอียดจำนวนเงินที่จะจัดสรรให้เกษตรกรกู้ยืม รวมทั้งมาตรการกำกับดูแลการใช้เงินกองทุนที่ได้รับจัดสรร โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ ระยะเวลาที่จำเป็นต้องใช้เงิน ความสามารถในการส่งเงินคืนกองทุน และแผนการชำระเงินคืนกองทุนของเกษตรกร เพื่อนำเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาอนุมัติ (๒) กรณีที่จะจัดสรรเงินกองทุนให้เกษตรกรที่มีหนี้ค้างชำระกองทุน หน่วยงานของรัฐจะจัดสรรเงินให้ได้ต่อเมื่อเกษตรกรรายนั้นชำระหนี้คืนกองทุนเสร็จสิ้นแล้ว เว้นแต่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่ามิใช่ความผิดของเกษตรกรที่ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ (๓) ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทำสัญญาการจัดสรรเงินกองทุนกับเกษตรกร ตามวัตถุประสงค์และเงื่อนไขของโครงการที่ได้รับอนุมัติ รวมทั้งสอดคล้องกับสัญญาการใช้เงินระหว่างกองทุนกับหน่วยงานของรัฐ ตลอดจนระเบียบและหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนด (๔) รายงานผลการจัดสรรเงินกองทุนให้เกษตรกรกู้ยืมตามแบบที่สำนักงานกำหนดภายในสิบวันทำการนับแต่วันที่ได้จัดสรร หากหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรใดไม่ปฏิบัติตามบันทึกคำรับรองผู้เบิก ให้สำนักงานระงับการจ่ายเงินและรายงานคณะกรรมการเพื่อทราบ ข้อ ๑๖[๓] ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนตามโครงการที่ได้รับอนุมัติติดตามและควบคุมการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ หากมีดอกผลเกิดขึ้นให้ดำเนินการตามที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๑๗ ให้หน่วยงานของรัฐและองค์กรเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุน จัดทำรายงานการรับ - จ่ายเงิน และรายงานผลการปฏิบัติงาน ตามรายโครงการที่ได้รับอนุมัติ ให้สำนักงานทราบเป็นรายไตรมาส ข้อ ๑๘ ให้หน่วยงานของรัฐที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนเพื่อดำเนินการโครงการ จัดทำงบการเงินของโครงการที่ได้รับอนุมัติ ส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ จนกว่าจะเสร็จสิ้นโครงการ ให้องค์กรเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนเพื่อดำเนินการโครงการ จัดทำงบการเงินของโครงการที่ได้รับอนุมัติ พร้อมทั้งรวบรวมใบสำคัญจ่ายและเอกสารอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ส่งให้สำนักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ จนกว่าจะเสร็จสิ้นโครงการ และให้สำนักงานนำส่งงบการเงินนั้นให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับงบการเงิน ให้องค์กรเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนเพื่อเป็นสินเชื่อแก่สมาชิก จัดทำงบการเงินของโครงการที่ได้รับอนุมัติ พร้อมทั้งรวบรวมใบสำคัญจ่ายและเอกสารอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ส่งให้หน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแลภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ จนกว่าจะเสร็จสิ้นโครงการ และให้หน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแลนำส่งงบการเงินนั้นให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับงบการเงิน ข้อ ๑๙ ให้สำนักงานระงับการเบิกจ่ายเงินส่วนที่เหลือ กรณีหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรมิได้นำเงินกองทุนไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์และแผนการดำเนินงานโครงการ และเสนอข้อเท็จจริงพร้อมหลักฐานต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาระงับโครงการได้ตามที่เห็นสมควร สำหรับโครงการที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนจากคณะรัฐมนตรีให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ ให้สำนักงานแจ้งเป็นหนังสือลงทะเบียนตอบรับให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรที่ถูกระงับโครงการ นำเงินส่งคืนกองทุนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งหนังสือดังกล่าว ข้อ ๒๐ ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกร ติดตามรวบรวมเงินที่ได้รับจัดสรร รวมทั้งดอกผลที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) นำส่งเงินคืนกองทุนตามกำหนดเวลาในบันทึกคำรับรองผู้เบิก กรณีไม่สามารถดำเนินการได้ ให้รายงานคณะกรรมการเพื่อพิจารณาภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันสิ้นสุดโครงการ ข้อ ๒๑ ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรนำดอกผลที่เกิดขึ้นจากการนำเงินฝากธนาคารตามข้อ ๑๑ ส่งเข้ากองทุนอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หรือเมื่อสิ้นสุดโครงการที่ได้รับอนุมัติ แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ให้หน่วยงานของรัฐที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ได้รับเงินชดเชยค่าใช้จ่ายหรือผลขาดทุนจากการดำเนินงานในโครงการที่ได้รับอนุมัติ นำส่งเงินชดเชยที่ได้รับคืนกองทุนภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับจัดสรร และให้สำนักงานรายงานคณะกรรมการเพื่อทราบ ข้อ ๒๓ ให้สำนักงานคิดเบี้ยปรับกับหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนแล้วไม่สามารถส่งเงินคืนกองทุนได้ตามกำหนดเวลาในอัตราร้อยละสามต่อปี นับแต่วันผิดนัดชำระหนี้จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น กรณีหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรไม่สามารถส่งเงินคืนกองทุนได้ภายในกำหนดเวลาตามแผนการส่งเงินคืนกองทุนหรือตามข้อตกลง อาจขอลดหรืองดการคิดเบี้ยปรับต่อคณะกรรมการในเหตุต่อไปนี้ (๑) ภัยธรรมชาติ (๒) โครงการที่ได้รับอนุมัติ เป็นการดำเนินการตามโครงการของรัฐบาล (๓) ยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณชดเชย (๔) เหตุอื่น ๆ ที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นชอบ หมวด ๒ การบัญชี ข้อ ๒๔ ให้สำนักงานจัดทำบัญชีกองทุนให้เป็นไปตามมาตรฐานการจัดทำบัญชีสำหรับหน่วยงานภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด การปิดบัญชีให้กระทำปีละครั้งโดยถือปีงบประมาณเป็นรอบปีบัญชี และให้จัดทำงบการเงินของกองทุนส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นงวดบัญชี ให้รายงานงบการเงินของกองทุนและผลการตรวจสอบตามวรรคสองต่อคณะกรรมการและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบ ข้อ ๒๕ เพื่อประโยชน์ในการจัดทำงบการเงินในภาพรวมของหน่วยงานภาครัฐ ให้สำนักงานจัดส่งข้อมูลทางบัญชีของกองทุนเข้าสู่ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Government Fiscal Management Information System หรือ GFMIS) ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด ข้อ ๒๖ ให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการดำเนินงาน การเงิน การบัญชี และการพัสดุของกองทุนแล้วรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละสองครั้ง หมวด ๓ การตัดหนี้เป็นสูญ ข้อ ๒๗ การตัดหนี้เป็นสูญของลูกหนี้เงินกองทุนให้สำนักงานนำเสนอคณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการตามกฎระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๘ วิธีปฏิบัติอื่นใดที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการโดยอนุโลม ข้อ ๒๙ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ประกาศ ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ โอฬาร พิทักษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยการรับจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การใช้จ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน การจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนและการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีกองทุนเป็นสูญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙[๔] ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๖ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๖ วริญา/เพิ่มเติม ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๗/๙ เมษายน ๒๕๕๖ [๒] ข้อ ๑๒ วรรคสอง เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยการรับจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การใช้จ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน การจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนและการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีกองทุนเป็นสูญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๓] ข้อ ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยการรับจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การใช้จ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน การจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนและการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีกองทุนเป็นสูญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๖๑ ง/หน้า ๖/๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙
851464
ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562
ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ เพื่อให้การพิจารณาจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ (๓) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคสี่ของข้อ ๔ ของระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “องค์กรเกษตรกรที่ไม่เป็นนิติบุคคล หรือที่เป็นนิติบุคคลน้อยกว่า ๒ ปี ให้หน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแลยื่นคำขอรับจัดสรรเงิน เพื่อนำไปจัดสรรเงินให้แก่องค์กรเกษตรกร หรือกรณีจะขอยื่นคำขอรับจัดสรรเงินโดยตรง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด” ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ อภัย สุทธิสังข์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร อัมพิกา/จัดทำ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๓ ปริญสินีย์/ตรวจ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๑๔/๒๐ มกราคม ๒๕๖๓
875031
ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2554 (ฉบับ Update ณ วันที่ 21/07/2559)
ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เพื่อให้การพิจารณาจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ (๓) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร จึงออกระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ดังนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ข้อ ๔ กิจการตามโครงการที่จะใช้จ่ายเงินจากกองทุน ได้แก่กิจการดังนี้ (๑) การส่งเสริมการผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร ดังนี้ ก.[๒] การจัดหาปัจจัยการผลิตจะต้องเป็นปัจจัยการผลิต เพื่อการผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความจำเป็นต่อการผลิตและมีคุณภาพ เพื่อจำหน่ายให้แก่เกษตรกรในราคาที่เป็นธรรม ข. ให้องค์กรเกษตรกรกู้ยืมเพื่อการผลิต การเก็บรักษาหรือจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โดยจะต้องเสนอรายละเอียดของโครงการ ประโยชน์ที่จะได้รับ และแผนการชำระเงินกู้ยืมคืน ค. ดำเนินการจัดหาแหล่งน้ำ หรือที่ดินให้เกษตรกรเข้าทำกิน การจัดหากรรมสิทธิ์หรือสิทธิในที่ดินให้แก่เกษตรกร การปฏิรูปที่ดิน และจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยจะต้องพิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นของการดำเนินการดังกล่าวและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น รวมถึงประโยชน์สาธารณะ โดยเทียบกับการใช้จ่ายเงินกองทุน ง. ดำเนินการอื่นใดอันจะก่อประโยชน์ในการผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร รวมถึงการส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมการเกษตร โดยจะต้องเสนอโครงการเป็นรายกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับ เมื่อเทียบกับการใช้จ่ายเงินกองทุน (๒) การส่งเสริมการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานคุณภาพของผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โดยจะต้องเสนอแผนการดำเนินการในการส่งเสริมผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารเป็นรายแผนงาน ประโยชน์ที่จะได้รับหรือประโยชน์สาธารณะโดยเทียบกับการใช้จ่ายเงินกองทุน (๓) โครงการเพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาและการจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร ดังนี้ ก. ซื้อหรือรับจำนำผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารไม่เกินในราคาที่คณะกรรมการกำหนด โดยจะต้องเสนอแผนการดำเนินงานและราคาซื้อหรือรับจำนำที่เหมาะสมพร้อมเหตุผลเพื่อประกอบการพิจารณา ข. จำหน่ายซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารภายในหรือนอกราชอาณาจักร จะต้องเสนอแผนการดำเนินงานและราคาจำหน่ายที่เหมาะสม พร้อมเหตุผลเพื่อประกอบการพิจารณา ค. ดำเนินการอื่นใดอันจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาเสถียรภาพของราคา และจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร จะต้องเสนอแผนการดำเนินงานหรือโครงการพร้อมเหตุผลเพื่อประกอบการพิจารณา (๔) โครงการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อป้องกันและขจัดภัยอันจะเป็นผลเสียหายแก่เกษตรกร โดยโครงการที่เสนอจะต้องแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนและประโยชน์ในการป้องกันและขจัดภัยอันจะเป็นผลเสียหายแก่เกษตรกร ทั้งนี้ ต้องไม่ซ้ำซ้อนหรือไม่ขัดกับกฎหมายหรือระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง (๕) การศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาการผลิต การแปรรูป หรือการตลาด ซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โดยให้เสนอรายละเอียดการศึกษาดังกล่าวรวมทั้งประโยชน์ที่จะได้รับหรือประโยชน์สาธารณะ กรณีที่ไม่มีกองทุนอื่นใดรับผิดชอบในกิจการตาม (๑) ถึง (๕) ให้คณะกรรมการพิจารณาให้การสนับสนุนได้ องค์กรเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคล สามารถขอยื่นคำขอรับจัดสรรเงินได้โดยตรงเฉพาะกรณีตาม (๑) ก และ ข และ (๕) ซึ่งดำเนินกิจการมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี มีการตรวจสอบบัญชี และงบการเงินโดยจะต้องมีมติที่ประชุมใหญ่ของแต่ละองค์กรให้ความเห็นชอบและในกรณีองค์กรเกษตรกรขอรับการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อเป็นสินเชื่อแก่สมาชิกขององค์กรเกษตรกรจะต้องเสนอผ่านหน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้กำกับดูแล[๓] องค์กรเกษตรกรที่ไม่เป็นนิติบุคคล หรือที่เป็นนิติบุคคลน้อยกว่า ๒ ปี ให้หน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแลยื่นคำขอรับจัดสรรเงิน เพื่อนำไปจัดสรรเงินให้แก่องค์กรเกษตรกร[๔] ข้อ ๕[๕] ในกรณีที่องค์กรเกษตรกรขอกู้ยืมเงินให้มีหลักประกันดังนี้ (๑) องค์กรเกษตรกรที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ให้คณะกรรมการบริหารองค์กร และผู้จัดการหรือผู้ที่ทำหน้าที่ในลักษณะดังกล่าว ค้ำประกันการกู้ยืมในฐานะส่วนตัว ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารองค์กร ต้องจัดให้คณะกรรมการชุดใหม่ค้ำประกันเพิ่มเติม และอาจให้มีหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืมตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ (๒) องค์กรเกษตรกรที่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ให้ค้ำประกันด้วยสมาชิกทุกคนในกลุ่มและอาจให้มีหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืมตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ ข้อ ๖ ให้คณะกรรมการมีอำนาจพิจารณาอนุมัติเงินกองทุน สำหรับค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานและค่าบริหารโครงการตามความจำเป็นและเหมาะสม ข้อ ๗ โครงการส่งเสริมหรือสงเคราะห์การผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาล หากหน่วยงานของรัฐที่เสนอโครงการมีกองทุนที่ให้การส่งเสริมหรือสงเคราะห์โดยเฉพาะอยู่แล้ว แต่จำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติม ให้จัดสรรเงินให้หน่วยงานของรัฐนั้นได้ ข้อ ๘ ให้นำประวัติการใช้จ่ายเงินกองทุนของส่วนราชการย้อนหลัง ๓ ปี มาเป็นข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาจัดสรรเงินกองทุน ข้อ ๙[๖] (ยกเลิก) ข้อ ๑๐ การพิจารณาจัดสรรเงินกองทุนเพื่อดำเนินธุรกิจขององค์กรเกษตรกรให้พิจารณาอนุมัติวงเงินได้ไม่เกิน ๕ เท่าของทุนเรือนหุ้นรวมกับทุนสำรองขององค์กรเกษตรกร เว้นแต่กรณีที่มติที่ประชุมใหญ่ขององค์กรเกษตรกรเห็นชอบให้กู้เกินกว่า ๕ เท่าของทุนเรือนหุ้นรวมกับทุนสำรองขององค์กรเกษตรกร ในกรณีองค์กรเกษตรกรไม่มีทุนเรือนหุ้น หรือทุนสำรองและวงเงินที่ได้รับจัดสรรไม่เหมาะสมสำหรับกิจกรรมหรือโครงการที่เสนอขอให้คณะกรรมการพิจารณาตามความเหมาะสมและความจำเป็น ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงวงเงินที่กำหนดในวรรคแรกเพื่อประกอบการพิจารณา ข้อ ๑๑ การพิจารณาโครงการที่เสนอต้องไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการที่สถาบันการเงินหรือกองทุนอื่นได้อนุมัติแล้ว ข้อ ๑๒ โครงการเพื่อสนับสนุนงานวิจัยของส่วนราชการหรือองค์กรเกษตรกร ต้องกำหนดให้ผลงานหรือสิทธิในผลงานหรือทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยเป็นกรรมสิทธิ์หรือสิทธิของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพร พิรุณสาร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘[๗] ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙[๘] ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป วิศนี/ผู้จัดทำ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๘ วริญา/เพิ่มเติม ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง/หน้า ๓/๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๒] ข้อ ๔ (๑) ก. แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๓] ข้อ ๔ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๔] ข้อ ๔ วรรคสี่ เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๕] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๖] ข้อ ๙ ยกเลิกโดยระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๓/๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๖๑ ง/หน้า ๔/๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙
754947
ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยการรับจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การใช้จ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุนการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนและการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีกองทุนเป็นสูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559
ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยการรับจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การใช้จ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน การจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนและการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีกองทุนเป็นสูญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยการรับจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การใช้จ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน การจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนและการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีกองทุนเป็นสูญ พ.ศ. ๒๕๕๖ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้การใช้จ่ายเงินเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ (๔) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกรโดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยการรับจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การใช้จ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน การจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนและการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีกองทุนเป็นสูญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ ๑๒ แห่งระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยการรับจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การใช้จ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน การจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนและการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีกองทุนเป็นสูญ พ.ศ. ๒๕๕๖ “อัตราดอกเบี้ยตามวรรคหนึ่ง ให้คิดในอัตราไม่เกินร้อยละ ๓ ต่อปี” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๖ แห่งระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยการรับจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การใช้จ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน การจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนและการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีกองทุนเป็นสูญ พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนตามโครงการที่ได้รับอนุมัติติดตามและควบคุมการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ หากมีดอกผลเกิดขึ้นให้ดำเนินการตามที่คณะกรรมการกำหนด” ประกาศ ณ วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ โอภาส กลั่นบุศย์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ปริยานุช/จัดทำ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙ วริญา/ตรวจ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๖๑ ง/หน้า ๖/๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙
754945
ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559
ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นเพื่อให้การพิจารณาจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ (๓) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน ก. ของ (๑) ของข้อ ๔ แห่งระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ก. การจัดหาปัจจัยการผลิตจะต้องเป็นปัจจัยการผลิต เพื่อการผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความจำเป็นต่อการผลิตและมีคุณภาพ เพื่อจำหน่ายให้แก่เกษตรกรในราคาที่เป็นธรรม” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ ๔ แห่งระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “องค์กรเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคล สามารถขอยื่นคำขอรับจัดสรรเงินได้โดยตรงเฉพาะกรณีตาม (๑) ก และ ข และ (๕) ซึ่งดำเนินกิจการมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี มีการตรวจสอบบัญชี และงบการเงินโดยจะต้องมีมติที่ประชุมใหญ่ของแต่ละองค์กรให้ความเห็นชอบและในกรณีองค์กรเกษตรกรขอรับการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อเป็นสินเชื่อแก่สมาชิกขององค์กรเกษตรกรจะต้องเสนอผ่านหน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้กำกับดูแล” ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของข้อ ๔ แห่งระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ “องค์กรเกษตรกรที่ไม่เป็นนิติบุคคล หรือที่เป็นนิติบุคคลน้อยกว่า ๒ ปี ให้หน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแลยื่นคำขอรับจัดสรรเงิน เพื่อนำไปจัดสรรเงินให้แก่องค์กรเกษตรกร” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ แห่งระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๕ ในกรณีที่องค์กรเกษตรกรขอกู้ยืมเงินให้มีหลักประกันดังนี้ (๑) องค์กรเกษตรกรที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ให้คณะกรรมการบริหารองค์กร และผู้จัดการหรือผู้ที่ทำหน้าที่ในลักษณะดังกล่าว ค้ำประกันการกู้ยืมในฐานะส่วนตัว ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารองค์กร ต้องจัดให้คณะกรรมการชุดใหม่ค้ำประกันเพิ่มเติม และอาจให้มีหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืมตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ (๒) องค์กรเกษตรกรที่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ให้ค้ำประกันด้วยสมาชิกทุกคนในกลุ่มและอาจให้มีหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืมตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ” ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ โอภาส กลั่นบุศย์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ปริยานุช/จัดทำ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙ วริญา/ตรวจ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๖๑ ง/หน้า ๔/๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙
757652
ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2554 (ฉบับ Update ณ วันที่ 04/06/2558)
ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เพื่อให้การพิจารณาจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ (๓) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร จึงออกระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ดังนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ข้อ ๔ กิจการตามโครงการที่จะใช้จ่ายเงินจากกองทุน ได้แก่กิจการดังนี้ (๑) การส่งเสริมการผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร ดังนี้ ก. การจัดหาปัจจัยการผลิตจะต้องเป็นปัจจัยการผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความจำเป็นต่อการผลิตและมีคุณภาพ เพื่อจำหน่ายให้แก่เกษตรกรในราคาที่เป็นธรรม ข. ให้องค์กรเกษตรกรกู้ยืมเพื่อการผลิต การเก็บรักษาหรือจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โดยจะต้องเสนอรายละเอียดของโครงการ ประโยชน์ที่จะได้รับ และแผนการชำระเงินกู้ยืมคืน ค. ดำเนินการจัดหาแหล่งน้ำ หรือที่ดินให้เกษตรกรเข้าทำกิน การจัดหากรรมสิทธิ์หรือสิทธิในที่ดินให้แก่เกษตรกร การปฏิรูปที่ดิน และจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยจะต้องพิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นของการดำเนินการดังกล่าวและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น รวมถึงประโยชน์สาธารณะ โดยเทียบกับการใช้จ่ายเงินกองทุน ง. ดำเนินการอื่นใดอันจะก่อประโยชน์ในการผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร รวมถึงการส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมการเกษตร โดยจะต้องเสนอโครงการเป็นรายกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับ เมื่อเทียบกับการใช้จ่ายเงินกองทุน (๒) การส่งเสริมการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานคุณภาพของผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โดยจะต้องเสนอแผนการดำเนินการในการส่งเสริมผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารเป็นรายแผนงาน ประโยชน์ที่จะได้รับหรือประโยชน์สาธารณะโดยเทียบกับการใช้จ่ายเงินกองทุน (๓) โครงการเพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาและการจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร ดังนี้ ก. ซื้อหรือรับจำนำผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารไม่เกินในราคาที่คณะกรรมการกำหนด โดยจะต้องเสนอแผนการดำเนินงานและราคาซื้อหรือรับจำนำที่เหมาะสมพร้อมเหตุผลเพื่อประกอบการพิจารณา ข. จำหน่ายซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารภายในหรือนอกราชอาณาจักร จะต้องเสนอแผนการดำเนินงานและราคาจำหน่ายที่เหมาะสม พร้อมเหตุผลเพื่อประกอบการพิจารณา ค. ดำเนินการอื่นใดอันจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาเสถียรภาพของราคา และจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร จะต้องเสนอแผนการดำเนินงานหรือโครงการพร้อมเหตุผลเพื่อประกอบการพิจารณา (๔) โครงการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อป้องกันและขจัดภัยอันจะเป็นผลเสียหายแก่เกษตรกร โดยโครงการที่เสนอจะต้องแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนและประโยชน์ในการป้องกันและขจัดภัยอันจะเป็นผลเสียหายแก่เกษตรกร ทั้งนี้ ต้องไม่ซ้ำซ้อนหรือไม่ขัดกับกฎหมายหรือระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง (๕) การศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาการผลิต การแปรรูป หรือการตลาด ซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โดยให้เสนอรายละเอียดการศึกษาดังกล่าวรวมทั้งประโยชน์ที่จะได้รับหรือประโยชน์สาธารณะ กรณีที่ไม่มีกองทุนอื่นใดรับผิดชอบในกิจการตาม (๑) ถึง (๕) ให้คณะกรรมการพิจารณาให้การสนับสนุนได้ องค์กรเกษตรกรสามารถขอยื่นคำขอรับจัดสรรเงินได้โดยตรงเฉพาะกรณีตาม (๑) ก และ ข และ (๕) โดยจะต้องมีมติที่ประชุมใหญ่ของแต่ละองค์กรให้ความเห็นชอบและในกรณีองค์กรเกษตรกรขอรับการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อเป็นสินเชื่อแก่สมาชิกขององค์กรเกษตรกรจะต้องเสนอผ่านหน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้กำกับดูแล ข้อ ๕ ภายในระยะเวลา ๓ ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ ใช้บังคับ ให้องค์กรเกษตรกรขอรับการจัดสรรเงินจากกองทุนผ่านหน่วยงานของรัฐ ดังต่อไปนี้ (๑) สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ประมง สหกรณ์นิคม ชุมนุมสหกรณ์ดังกล่าวและกลุ่มเกษตรกร ให้ยื่นต่อกรมส่งเสริมสหกรณ์ (๒) วิสาหกิจชุมชนให้ยื่นต่อกรมส่งเสริมการเกษตร (๓) องค์กรเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรให้ยื่นต่อสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (๔) องค์กรเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยสภาเกษตรกรแห่งชาติ ให้ยื่นต่อสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ในกรณีองค์กรเกษตรกรขอกู้ยืมเงิน ให้หาหลักทรัพย์หรือคณะกรรมการบริหารองค์กรและผู้จัดการหรือผู้ที่ทำหน้าที่ในลักษณะดังกล่าวมาค้ำประกันการกู้ยืม ข้อ ๖ ให้คณะกรรมการมีอำนาจพิจารณาอนุมัติเงินกองทุน สำหรับค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานและค่าบริหารโครงการตามความจำเป็นและเหมาะสม ข้อ ๗ โครงการส่งเสริมหรือสงเคราะห์การผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาล หากหน่วยงานของรัฐที่เสนอโครงการมีกองทุนที่ให้การส่งเสริมหรือสงเคราะห์โดยเฉพาะอยู่แล้ว แต่จำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติม ให้จัดสรรเงินให้หน่วยงานของรัฐนั้นได้ ข้อ ๘ ให้นำประวัติการใช้จ่ายเงินกองทุนของส่วนราชการย้อนหลัง ๓ ปี มาเป็นข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาจัดสรรเงินกองทุน ข้อ ๙[๒] (ยกเลิก) ข้อ ๑๐ การพิจารณาจัดสรรเงินกองทุนเพื่อดำเนินธุรกิจขององค์กรเกษตรกรให้พิจารณาอนุมัติวงเงินได้ไม่เกิน ๕ เท่าของทุนเรือนหุ้นรวมกับทุนสำรองขององค์กรเกษตรกร เว้นแต่กรณีที่มติที่ประชุมใหญ่ขององค์กรเกษตรกรเห็นชอบให้กู้เกินกว่า ๕ เท่าของทุนเรือนหุ้นรวมกับทุนสำรองขององค์กรเกษตรกร ในกรณีองค์กรเกษตรกรไม่มีทุนเรือนหุ้น หรือทุนสำรองและวงเงินที่ได้รับจัดสรรไม่เหมาะสมสำหรับกิจกรรมหรือโครงการที่เสนอขอให้คณะกรรมการพิจารณาตามความเหมาะสมและความจำเป็น ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงวงเงินที่กำหนดในวรรคแรกเพื่อประกอบการพิจารณา ข้อ ๑๑ การพิจารณาโครงการที่เสนอต้องไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการที่สถาบันการเงินหรือกองทุนอื่นได้อนุมัติแล้ว ข้อ ๑๒ โครงการเพื่อสนับสนุนงานวิจัยของส่วนราชการหรือองค์กรเกษตรกร ต้องกำหนดให้ผลงานหรือสิทธิในผลงานหรือทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยเป็นกรรมสิทธิ์หรือสิทธิของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพร พิรุณสาร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘[๓] ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป วิศนี/ผู้จัดทำ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง/หน้า ๓/๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๒] ข้อ ๙ ยกเลิกโดยระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๓/๔ มิถุนายน ๒๕๕๘
730011
ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกรว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้เหมาะสม เพื่อให้การพิจารณาจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ (๓) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกรจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ แห่งระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ อภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ วิศนี/ผู้ตรวจ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๓/๔ มิถุนายน ๒๕๕๘
696988
ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ และวิธีการในการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2556
ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ และวิธีการในการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ และวิธีการในการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ เพื่อให้มีประสิทธิภาพและความเหมาะสมในการดำเนินการมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ และวิธีการในการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ คุณสมบัติและวิธีการในการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ” หมายความว่า กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร “คณะกรรมการคัดเลือก” หมายความว่า คณะกรรมการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามระเบียบนี้ ข้อ ๕ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ (๓) เป็นเกษตรกร หรือเป็นผู้แทนองค์กรเกษตรกรที่ตนเป็นสมาชิก (๔) มีความรู้หรือประสบการณ์ด้านเกษตรกรรม (๕) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๖) ไม่เป็นผู้บริหารหรือพนักงานของรัฐวิสาหกิจ (๗) ไม่เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำของราชการส่วนกลางราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๘) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง (๙) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่ ข้อ ๖ เมื่อมีกรณีที่ต้องสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำประกาศรับสมัครเกษตรกรและผู้แทนองค์กรเกษตรกรเพื่อเข้ารับการคัดสรรและคัดเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมทั้งทำการประชาสัมพันธ์ให้ทราบเป็นการทั่วไปและประสานงานกับผู้มีหน้าที่คัดสรรและคณะกรรมการคัดเลือกทราบเพื่อดำเนินการต่อไป ประกาศรับสมัครตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ วันและเวลาทำการรับสมัคร และสถานที่รับสมัคร ใบสมัครเข้ารับการคัดสรรและคัดเลือก และการรับรองคุณสมบัติของผู้สมัคร ให้เป็นไปตามแบบที่สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด ข้อ ๗ ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ดำเนินการรับสมัครเกษตรกรและผู้แทนองค์กรเกษตรกรตามที่กำหนดไว้ในประกาศตามข้อ ๖ ในกรณีที่ประกาศตามข้อ ๖ กำหนดให้ดำเนินการรับสมัครในระดับจังหวัด ให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดส่งประกาศและใบสมัครให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานในสังกัดระดับจังหวัดดำเนินการรับสมัครเกษตรกรและผู้แทนองค์กรเกษตรกรตามที่กำหนดไว้ในประกาศและให้ส่งใบสมัครและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้หน่วยงานต้นสังกัดดำเนินการต่อไป ข้อ ๘ ในการคัดสรรให้ดำเนินการ ดังนี้ (๑) ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นผู้มีหน้าที่คัดสรร ก. ผู้แทนสหกรณ์การเกษตร จำนวน ๔ คน ข. ผู้แทนสหกรณ์ประมง จำนวน ๔ คน ค. ผู้แทนสหกรณ์นิคม จำนวน ๔ คน ง. ผู้แทนชุมนุมสหกรณ์ด้านการเกษตร จำนวน ๔ คน จ. ผู้แทนกลุ่มเกษตรกร จำนวน ๔ คน (๒) ให้กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้มีหน้าที่คัดสรร ก. เกษตรกรด้านพืช จำนวน ๔ คน ข. ผู้แทนวิสาหกิจชุมชนด้านการเกษตร จำนวน ๔ คน (๓) ให้กรมปศุสัตว์เป็นผู้มีหน้าที่คัดสรรเกษตรกรด้านสัตว์ จำนวน ๔ คน (๔) ให้กรมประมงเป็นผู้มีหน้าที่คัดสรรเกษตรกรด้านการประมง จำนวน ๔ คน (๕) ให้สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเป็นผู้มีหน้าที่คัดสรรผู้แทนองค์กรเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จำนวน ๔ คน (๖) ให้สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นผู้มีหน้าที่คัดสรรผู้แทนสภาเกษตรกรแห่งชาติ จำนวน ๔ คน ให้ผู้มีหน้าที่คัดสรรตามวรรคหนึ่ง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดสรรได้ตามที่เห็นสมควร แต่ทั้งนี้ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ เมื่อได้ดำเนินการคัดสรรเสร็จแล้วให้ส่งรายชื่อผู้ได้รับการคัดสรรพร้อมใบสมัครและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ข้อ ๙ เมื่อสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับรายชื่อผู้ได้รับการคัดสรรพร้อมใบสมัครและเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้ว ให้นำเสนอคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อพิจารณาคัดเลือกต่อไป ข้อ ๑๐ ให้มีคณะกรรมการคัดเลือกคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนกรมประมง ผู้แทนกรมปศุสัตว์ ผู้แทนกรมส่งเสริมการเกษตร ผู้แทนกรมส่งเสริมสหกรณ์ ผู้แทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นกรรมการ เจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมาย เป็นเลขานุการ และเจ้าหน้าที่สำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ข้อ ๑๑ ให้คณะกรรมการคัดเลือกมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณาคัดเลือกผู้ที่ได้รับการคัดสรรตามข้อ ๘ เพื่อนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาตามข้อ ๑๒ ดังนี้ ก. เกษตรกรด้านพืช เกษตรกรด้านสัตว์ และเกษตรกรด้านการประมง ด้านละ ๒ คน รวม ๖ คน ข. ผู้แทนสหกรณ์การเกษตร ผู้แทนสหกรณ์ประมง ผู้แทนสหกรณ์นิคม ผู้แทนชุมนุมสหกรณ์ด้านการเกษตร ผู้แทนกลุ่มเกษตรกร ผู้แทนวิสาหกิจชุมชนด้านการเกษตร ผู้แทนองค์กรเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร หรือผู้แทนสภาเกษตรกรแห่งชาติ รวม ๑๔ คน (๒) ติดต่อประสานงานกับส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเชิญเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเพื่อให้ข้อมูล หรือเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการคัดเลือกได้ตามสมควร ข้อ ๑๒ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกแล้ว ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาเลือกเกษตรกรและผู้แทนองค์กรเกษตรกรจากรายชื่อดังกล่าว แล้วดำเนินการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต่อไป ดังนี้ (๑) เกษตรกรด้านพืช เกษตรกรด้านสัตว์ และเกษตรกรด้านการประมง ด้านละ ๑ คน รวม ๓ คน (๒) ผู้แทนสหกรณ์การเกษตร ผู้แทนสหกรณ์ประมง ผู้แทนสหกรณ์นิคม ผู้แทนชุมนุมสหกรณ์ด้านการเกษตร ผู้แทนกลุ่มเกษตรกร ผู้แทนวิสาหกิจชุมชนด้านการเกษตร ผู้แทนองค์กรเกษตรกร ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร หรือผู้แทนสภาเกษตรกรแห่งชาติ รวม ๗ คน ข้อ ๑๓ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ และจะต้องแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาเลือกและแต่งตั้งเกษตรกรหรือผู้แทนองค์กรเกษตรกรที่คณะกรรมการคัดเลือกได้คัดเลือกไว้แล้วตามข้อ ๑๑ แทนตำแหน่งที่ว่าง ในกรณีที่ไม่มีรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเหลืออยู่ ให้คณะกรรมการคัดเลือกดำเนินการคัดเลือกเกษตรกรหรือผู้แทนองค์กรเกษตรกรจากผู้ได้รับการคัดสรรตามข้อ ๘ เพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาเลือกและแต่งตั้งต่อไป ข้อ ๑๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามระเบียบนี้ ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เป็นที่สุด ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ยุคล ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๖ จุฑามาศ/ผู้ตรวจ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๔๔ ง/หน้า ๑/๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๖
684599
ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยการรับจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การใช้จ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุนการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน และการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีของกองทุนเป็นสูญ พ.ศ. 2556
ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยการรับจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การใช้จ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน การจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน และการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีของกองทุนเป็นสูญ พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การพัสดุ และการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ (๔) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกรโดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยการรับจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การใช้จ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน การจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนและการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีของกองทุนเป็นสูญ พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “โครงการที่ได้รับอนุมัติ” หมายความว่า โครงการส่งเสริมการผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โครงการส่งเสริมการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานคุณภาพของผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โครงการรักษาเสถียรภาพของราคาและการจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โครงการดำเนินการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อป้องกันและขจัดภัยอันจะเป็นผลเสียหายแก่เกษตรกร โครงการศึกษาวิจัย เพื่อการพัฒนาการผลิต การแปรรูป หรือการตลาด ซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการดำเนินการ โครงการติดตามผลการดำเนินการตามโครงการที่ได้รับการช่วยเหลือหรือส่งเสริมจากกองทุน ที่คณะกรรมการหรือคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้จัดสรรเงินจากกองทุนเพื่อดำเนินการ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจัดสรรสำหรับเป็นเงินหมุนเวียนหรือเงินจ่ายขาด “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ข้อ ๔ ให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ การรับเงินและทรัพย์สิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุน ข้อ ๕ กองทุน ประกอบด้วย (๑) เงิน ทรัพย์สิน สิทธิ และหนี้สินที่โอนมาจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรตามมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัตินี้ (๒) เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี (๓) ค่าธรรมเนียมการส่งออกและค่าธรรมเนียมการนำเข้าที่เรียกเก็บได้ตามพระราชบัญญัตินี้ (๔) เงินกู้โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี (๕) ดอกผลของเงินกองทุน (๖) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้ ข้อ ๖ ให้สำนักงานเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุนและดำเนินการเบิกจ่ายเงินกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ข้อ ๗ ให้สำนักงานเปิดบัญชีเงินฝากของกองทุนไว้ที่กระทรวงการคลัง ชื่อบัญชี “กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร” สำหรับการรับจ่ายเงินกองทุน เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงานกองทุน ให้สำนักงานเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจหรือธนาคารเฉพาะกิจของรัฐชื่อบัญชีเดียวกันกับวรรคหนึ่ง ภายในวงเงิน เงื่อนไขและวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ข้อ ๘ ให้สำนักงานมีอำนาจนำเงินกองทุนไปหาดอกผลโดยการฝากออมทรัพย์หรือฝากประจำกับธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ หรือการซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาลได้ โดยพิจารณาจากกระแสเงินสดหรือสภาพคล่องของกองทุน ภายใต้หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ ข้อ ๙ ในแต่ละปีงบประมาณให้สำนักงานจัดทำประมาณการรายรับ - รายจ่ายประจำปีของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนนำเสนอขออนุมัติจากกระทรวงการคลังภายในระยะเวลาที่กำหนด ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและประมาณการรายรับ - รายจ่าย ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังให้ใช้ประมาณการรายรับ - รายจ่ายประจำปีที่ได้รับความเห็นชอบในปีที่ล่วงมาแล้วไปพลางก่อนโดยอนุมัติของคณะกรรมการ ข้อ ๑๐ การขอรับจัดสรรเงินกองทุน (๑) หน่วยงานของรัฐและองค์กรเกษตรกรสามารถขอรับจัดสรรเงินกองทุนเพื่อดำเนินการโครงการได้ โดยเสนอแผนการดำเนินงานโครงการต่อสำนักงานหรือสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด (๒) องค์กรเกษตรกรสามารถขอรับจัดสรรเงินกองทุนเพื่อเป็นสินเชื่อแก่สมาชิกได้ โดยเสนอแผนการดำเนินงานโครงการต่อหน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแล ข้อ ๑๑ ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจเป็นรายโครงการ ชื่อบัญชี “เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร โครงการ....” และแจ้งเลขที่บัญชีเงินฝากให้สำนักงานทราบเพื่อโอนเงินเข้าบัญชี ข้อ ๑๒ กำหนดระยะเวลาการส่งเงินคืนกองทุนและอัตราดอกเบี้ย ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๑๓ ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุน ขอเบิกเงินโดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อสำนักงาน โดยมีเอกสารประกอบ ดังนี้ (๑) มติคณะรัฐมนตรี (ถ้ามี) (๒) มติคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร (๓) แผนการดำเนินงานโครงการ ประกอบด้วย แผนปฏิบัติงาน แผนการใช้จ่ายเงิน แผนการส่งเงินคืนกองทุน ซึ่งคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกรมีมติเห็นชอบ (๔) ชื่อบัญชีและเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร ตามข้อ ๑๑ (๕) บันทึกคำรับรองผู้เบิก (๖) อื่น ๆ ตามที่สำนักงานกำหนดหรือขอเพิ่มเติม ข้อ ๑๔ ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนปฏิบัติ ดังนี้ (๑) การใช้จ่ายเงินกองทุนต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่ได้รับอนุมัติ และใช้จ่ายเงินตามรายการหรือกิจกรรมที่ขอเบิกเท่านั้น จะนำไปใช้จ่ายเพื่อการอื่นมิได้ (๒) การจ่ายเงินกองทุน ให้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในแผนการดำเนินงานโครงการ กรณีเงินหมุนเวียน ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในแผนการดำเนินงานโครงการ อย่างช้าไม่เกินสิบห้าวันนับจากวันที่เงินโอนเข้าบัญชี และให้นำส่งเงินคืนสำนักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันครบกำหนดให้ใช้เงิน โดยระบุชื่อโครงการ ประเภทของเงินที่นำส่ง และปีที่เบิกเงินไปจากกองทุน กรณีเงินจ่ายขาด ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรสามารถจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการติดตามงานตามความจำเป็น และให้นำส่งเงินคืนสำนักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดโครงการ (๓) หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรใดไม่นำส่งเงินคืนกองทุนภายในกำหนด ให้สำนักงานเสนอรายงานต่อคณะกรรมการ เพื่อพิจารณามีมติไม่อนุมัติโครงการอื่นใดของหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรนั้นอีก กรณีโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้แล้วและยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ และมีเงินที่สำนักงานจะต้องเบิกจ่ายให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรตามแผนการดำเนินงานโครงการอยู่อีก ให้สำนักงานหักกลบลบกับจำนวนเงินที่หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรจะต้องส่งคืนออกจากจำนวนเงินที่จะเบิกจ่าย แล้วจึงโอนเงินส่วนที่เหลือให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรนั้น ข้อ ๑๕ ให้หน่วยงานของรัฐที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนตามโครงการที่ได้รับอนุมัติและประสงค์จะนำไปให้เกษตรกรกู้ยืม ถือปฏิบัติดังนี้ (๑) จัดทำรายละเอียดจำนวนเงินที่จะจัดสรรให้เกษตรกรกู้ยืม รวมทั้งมาตรการกำกับดูแลการใช้เงินกองทุนที่ได้รับจัดสรร โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ ระยะเวลาที่จำเป็นต้องใช้เงิน ความสามารถในการส่งเงินคืนกองทุน และแผนการชำระเงินคืนกองทุนของเกษตรกร เพื่อนำเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาอนุมัติ (๒) กรณีที่จะจัดสรรเงินกองทุนให้เกษตรกรที่มีหนี้ค้างชำระกองทุน หน่วยงานของรัฐจะจัดสรรเงินให้ได้ต่อเมื่อเกษตรกรรายนั้นชำระหนี้คืนกองทุนเสร็จสิ้นแล้ว เว้นแต่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่ามิใช่ความผิดของเกษตรกรที่ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ (๓) ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทำสัญญาการจัดสรรเงินกองทุนกับเกษตรกร ตามวัตถุประสงค์และเงื่อนไขของโครงการที่ได้รับอนุมัติ รวมทั้งสอดคล้องกับสัญญาการใช้เงินระหว่างกองทุนกับหน่วยงานของรัฐ ตลอดจนระเบียบและหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนด (๔) รายงานผลการจัดสรรเงินกองทุนให้เกษตรกรกู้ยืมตามแบบที่สำนักงานกำหนดภายในสิบวันทำการนับแต่วันที่ได้จัดสรร หากหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรใดไม่ปฏิบัติตามบันทึกคำรับรองผู้เบิก ให้สำนักงานระงับการจ่ายเงินและรายงานคณะกรรมการเพื่อทราบ ข้อ ๑๖ ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนตามโครงการที่ได้รับอนุมัติติดตามและควบคุมการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และหากมีดอกผลเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการให้นำส่งดอกผลเข้ากองทุนด้วย ข้อ ๑๗ ให้หน่วยงานของรัฐและองค์กรเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุน จัดทำรายงานการรับ - จ่ายเงิน และรายงานผลการปฏิบัติงาน ตามรายโครงการที่ได้รับอนุมัติ ให้สำนักงานทราบเป็นรายไตรมาส ข้อ ๑๘ ให้หน่วยงานของรัฐที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนเพื่อดำเนินการโครงการ จัดทำงบการเงินของโครงการที่ได้รับอนุมัติ ส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ จนกว่าจะเสร็จสิ้นโครงการ ให้องค์กรเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนเพื่อดำเนินการโครงการ จัดทำงบการเงินของโครงการที่ได้รับอนุมัติ พร้อมทั้งรวบรวมใบสำคัญจ่ายและเอกสารอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ส่งให้สำนักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ จนกว่าจะเสร็จสิ้นโครงการ และให้สำนักงานนำส่งงบการเงินนั้นให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับงบการเงิน ให้องค์กรเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนเพื่อเป็นสินเชื่อแก่สมาชิก จัดทำงบการเงินของโครงการที่ได้รับอนุมัติ พร้อมทั้งรวบรวมใบสำคัญจ่ายและเอกสารอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ส่งให้หน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแลภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ จนกว่าจะเสร็จสิ้นโครงการ และให้หน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแลนำส่งงบการเงินนั้นให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับงบการเงิน ข้อ ๑๙ ให้สำนักงานระงับการเบิกจ่ายเงินส่วนที่เหลือ กรณีหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรมิได้นำเงินกองทุนไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์และแผนการดำเนินงานโครงการ และเสนอข้อเท็จจริงพร้อมหลักฐานต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาระงับโครงการได้ตามที่เห็นสมควร สำหรับโครงการที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนจากคณะรัฐมนตรีให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ ให้สำนักงานแจ้งเป็นหนังสือลงทะเบียนตอบรับให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรที่ถูกระงับโครงการ นำเงินส่งคืนกองทุนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งหนังสือดังกล่าว ข้อ ๒๐ ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกร ติดตามรวบรวมเงินที่ได้รับจัดสรร รวมทั้งดอกผลที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) นำส่งเงินคืนกองทุนตามกำหนดเวลาในบันทึกคำรับรองผู้เบิก กรณีไม่สามารถดำเนินการได้ ให้รายงานคณะกรรมการเพื่อพิจารณาภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันสิ้นสุดโครงการ ข้อ ๒๑ ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรนำดอกผลที่เกิดขึ้นจากการนำเงินฝากธนาคารตามข้อ ๑๑ ส่งเข้ากองทุนอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หรือเมื่อสิ้นสุดโครงการที่ได้รับอนุมัติ แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ให้หน่วยงานของรัฐที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ได้รับเงินชดเชยค่าใช้จ่ายหรือผลขาดทุนจากการดำเนินงานในโครงการที่ได้รับอนุมัติ นำส่งเงินชดเชยที่ได้รับคืนกองทุนภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับจัดสรร และให้สำนักงานรายงานคณะกรรมการเพื่อทราบ ข้อ ๒๓ ให้สำนักงานคิดเบี้ยปรับกับหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนแล้วไม่สามารถส่งเงินคืนกองทุนได้ตามกำหนดเวลาในอัตราร้อยละสามต่อปี นับแต่วันผิดนัดชำระหนี้จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น กรณีหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรไม่สามารถส่งเงินคืนกองทุนได้ภายในกำหนดเวลาตามแผนการส่งเงินคืนกองทุนหรือตามข้อตกลง อาจขอลดหรืองดการคิดเบี้ยปรับต่อคณะกรรมการในเหตุต่อไปนี้ (๑) ภัยธรรมชาติ (๒) โครงการที่ได้รับอนุมัติ เป็นการดำเนินการตามโครงการของรัฐบาล (๓) ยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณชดเชย (๔) เหตุอื่น ๆ ที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นชอบ หมวด ๒ การบัญชี ข้อ ๒๔ ให้สำนักงานจัดทำบัญชีกองทุนให้เป็นไปตามมาตรฐานการจัดทำบัญชีสำหรับหน่วยงานภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด การปิดบัญชีให้กระทำปีละครั้งโดยถือปีงบประมาณเป็นรอบปีบัญชี และให้จัดทำงบการเงินของกองทุนส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นงวดบัญชี ให้รายงานงบการเงินของกองทุนและผลการตรวจสอบตามวรรคสองต่อคณะกรรมการและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบ ข้อ ๒๕ เพื่อประโยชน์ในการจัดทำงบการเงินในภาพรวมของหน่วยงานภาครัฐ ให้สำนักงานจัดส่งข้อมูลทางบัญชีของกองทุนเข้าสู่ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Government Fiscal Management Information System หรือ GFMIS) ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด ข้อ ๒๖ ให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการดำเนินงาน การเงิน การบัญชี และการพัสดุของกองทุนแล้วรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละสองครั้ง หมวด ๓ การตัดหนี้เป็นสูญ ข้อ ๒๗ การตัดหนี้เป็นสูญของลูกหนี้เงินกองทุนให้สำนักงานนำเสนอคณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการตามกฎระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๘ วิธีปฏิบัติอื่นใดที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการโดยอนุโลม ข้อ ๒๙ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ประกาศ ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ โอฬาร พิทักษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๖ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๗/๙ เมษายน ๒๕๕๖
656389
ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2554
ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เพื่อให้การพิจารณาจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ (๓) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร จึงออกระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ดังนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ข้อ ๔ กิจการตามโครงการที่จะใช้จ่ายเงินจากกองทุน ได้แก่กิจการดังนี้ (๑) การส่งเสริมการผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร ดังนี้ ก. การจัดหาปัจจัยการผลิตจะต้องเป็นปัจจัยการผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความจำเป็นต่อการผลิตและมีคุณภาพ เพื่อจำหน่ายให้แก่เกษตรกรในราคาที่เป็นธรรม ข. ให้องค์กรเกษตรกรกู้ยืมเพื่อการผลิต การเก็บรักษาหรือจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โดยจะต้องเสนอรายละเอียดของโครงการ ประโยชน์ที่จะได้รับ และแผนการชำระเงินกู้ยืมคืน ค. ดำเนินการจัดหาแหล่งน้ำ หรือที่ดินให้เกษตรกรเข้าทำกิน การจัดหากรรมสิทธิ์หรือสิทธิในที่ดินให้แก่เกษตรกร การปฏิรูปที่ดิน และจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยจะต้องพิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นของการดำเนินการดังกล่าวและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น รวมถึงประโยชน์สาธารณะ โดยเทียบกับการใช้จ่ายเงินกองทุน ง. ดำเนินการอื่นใดอันจะก่อประโยชน์ในการผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร รวมถึงการส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมการเกษตร โดยจะต้องเสนอโครงการเป็นรายกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับ เมื่อเทียบกับการใช้จ่ายเงินกองทุน (๒) การส่งเสริมการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานคุณภาพของผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โดยจะต้องเสนอแผนการดำเนินการในการส่งเสริมผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารเป็นรายแผนงาน ประโยชน์ที่จะได้รับหรือประโยชน์สาธารณะโดยเทียบกับการใช้จ่ายเงินกองทุน (๓) โครงการเพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาและการจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร ดังนี้ ก. ซื้อหรือรับจำนำผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารไม่เกินในราคาที่คณะกรรมการกำหนด โดยจะต้องเสนอแผนการดำเนินงานและราคาซื้อหรือรับจำนำที่เหมาะสมพร้อมเหตุผลเพื่อประกอบการพิจารณา ข. จำหน่ายซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารภายในหรือนอกราชอาณาจักร จะต้องเสนอแผนการดำเนินงานและราคาจำหน่ายที่เหมาะสม พร้อมเหตุผลเพื่อประกอบการพิจารณา ค. ดำเนินการอื่นใดอันจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาเสถียรภาพของราคา และจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร จะต้องเสนอแผนการดำเนินงานหรือโครงการพร้อมเหตุผลเพื่อประกอบการพิจารณา (๔) โครงการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อป้องกันและขจัดภัยอันจะเป็นผลเสียหายแก่เกษตรกร โดยโครงการที่เสนอจะต้องแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนและประโยชน์ในการป้องกันและขจัดภัยอันจะเป็นผลเสียหายแก่เกษตรกร ทั้งนี้ ต้องไม่ซ้ำซ้อนหรือไม่ขัดกับกฎหมายหรือระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง (๕) การศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาการผลิต การแปรรูป หรือการตลาด ซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โดยให้เสนอรายละเอียดการศึกษาดังกล่าวรวมทั้งประโยชน์ที่จะได้รับหรือประโยชน์สาธารณะ กรณีที่ไม่มีกองทุนอื่นใดรับผิดชอบในกิจการตาม (๑) ถึง (๕) ให้คณะกรรมการพิจารณาให้การสนับสนุนได้ องค์กรเกษตรกรสามารถขอยื่นคำขอรับจัดสรรเงินได้โดยตรงเฉพาะกรณีตาม (๑) ก และ ข และ (๕) โดยจะต้องมีมติที่ประชุมใหญ่ของแต่ละองค์กรให้ความเห็นชอบและในกรณีองค์กรเกษตรกรขอรับการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อเป็นสินเชื่อแก่สมาชิกขององค์กรเกษตรกรจะต้องเสนอผ่านหน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้กำกับดูแล ข้อ ๕ ภายในระยะเวลา ๓ ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ ใช้บังคับ ให้องค์กรเกษตรกรขอรับการจัดสรรเงินจากกองทุนผ่านหน่วยงานของรัฐ ดังต่อไปนี้ (๑) สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ประมง สหกรณ์นิคม ชุมนุมสหกรณ์ดังกล่าวและกลุ่มเกษตรกร ให้ยื่นต่อกรมส่งเสริมสหกรณ์ (๒) วิสาหกิจชุมชนให้ยื่นต่อกรมส่งเสริมการเกษตร (๓) องค์กรเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรให้ยื่นต่อสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (๔) องค์กรเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยสภาเกษตรกรแห่งชาติ ให้ยื่นต่อสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ในกรณีองค์กรเกษตรกรขอกู้ยืมเงิน ให้หาหลักทรัพย์หรือคณะกรรมการบริหารองค์กรและผู้จัดการหรือผู้ที่ทำหน้าที่ในลักษณะดังกล่าวมาค้ำประกันการกู้ยืม ข้อ ๖ ให้คณะกรรมการมีอำนาจพิจารณาอนุมัติเงินกองทุน สำหรับค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานและค่าบริหารโครงการตามความจำเป็นและเหมาะสม ข้อ ๗ โครงการส่งเสริมหรือสงเคราะห์การผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาล หากหน่วยงานของรัฐที่เสนอโครงการมีกองทุนที่ให้การส่งเสริมหรือสงเคราะห์โดยเฉพาะอยู่แล้ว แต่จำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติม ให้จัดสรรเงินให้หน่วยงานของรัฐนั้นได้ ข้อ ๘ ให้นำประวัติการใช้จ่ายเงินกองทุนของส่วนราชการย้อนหลัง ๓ ปี มาเป็นข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาจัดสรรเงินกองทุน ข้อ ๙ การพิจารณาโครงการเพื่อส่งเสริมการผลิต ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรได้รับจัดสรรไม่เกินร้อยละแปดสิบของแผนการใช้เงินของโครงการ ข้อ ๑๐ การพิจารณาจัดสรรเงินกองทุนเพื่อดำเนินธุรกิจขององค์กรเกษตรกรให้พิจารณาอนุมัติวงเงินได้ไม่เกิน ๕ เท่าของทุนเรือนหุ้นรวมกับทุนสำรองขององค์กรเกษตรกร เว้นแต่กรณีที่มติที่ประชุมใหญ่ขององค์กรเกษตรกรเห็นชอบให้กู้เกินกว่า ๕ เท่าของทุนเรือนหุ้นรวมกับทุนสำรองขององค์กรเกษตรกร ในกรณีองค์กรเกษตรกรไม่มีทุนเรือนหุ้น หรือทุนสำรองและวงเงินที่ได้รับจัดสรรไม่เหมาะสมสำหรับกิจกรรมหรือโครงการที่เสนอขอให้คณะกรรมการพิจารณาตามความเหมาะสมและความจำเป็น ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงวงเงินที่กำหนดในวรรคแรกเพื่อประกอบการพิจารณา ข้อ ๑๑ การพิจารณาโครงการที่เสนอต้องไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการที่สถาบันการเงินหรือกองทุนอื่นได้อนุมัติแล้ว ข้อ ๑๒ โครงการเพื่อสนับสนุนงานวิจัยของส่วนราชการหรือองค์กรเกษตรกร ต้องกำหนดให้ผลงานหรือสิทธิในผลงานหรือทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยเป็นกรรมสิทธิ์หรือสิทธิของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพร พิรุณสาร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง/หน้า ๓/๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๔
654159
ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ และวิธีการในการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2554
ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ และวิธีการในการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ และวิธีการในการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ วรรคสอง และมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ และวิธีการในการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ” หมายความว่า กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร “คณะกรรมการคัดเลือก” หมายความว่า คณะกรรมการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามระเบียบนี้ “สาขาอาชีพ” หมายความว่า ประเภทหรือด้านของการประกอบเกษตรกรรมตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ “ผู้มีหน้าที่คัดสรร” หมายความว่า หน่วยงานหรือคณะกรรมการที่ทำหน้าที่คัดสรรตามระเบียบนี้ ข้อ ๔ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ (๓) เป็นเกษตรกร หรือเป็นผู้แทนองค์กรเกษตรกรที่ตนเป็นสมาชิก (๔) มีความรู้หรือประสบการณ์ด้านเกษตรกรรม (๕) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๖) ไม่เป็นผู้บริหารหรือพนักงานของรัฐวิสาหกิจ (๗) ไม่เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๘) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง (๙) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่ ข้อ ๕ ในการคัดสรรและคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้คำนึงถึงการกระจายตามภูมิภาค สาขาอาชีพ และการมีส่วนร่วมของชายและหญิง โดยให้แต่งตั้งจากผู้แทนสหกรณ์การเกษตร ผู้แทนสหกรณ์นิคม ผู้แทนสหกรณ์ประมง ผู้แทนชุมนุมสหกรณ์ ผู้แทนกลุ่มเกษตรกร ผู้แทนวิสาหกิจชุมชนในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ผู้แทนเกษตรกรในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เกษตรกรด้านพืช เกษตรกรด้านสัตว์ และเกษตรกรด้านการประมง จำนวนประเภทละหนึ่งคน ข้อ ๖ ให้มีคณะกรรมการคัดเลือกคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ อธิบดีกรมการค้าภายใน อธิบดีกรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นกรรมการ และผู้อำนวยการสำนักบริหารกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและรับเรื่องร้องเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นเลขานุการ ข้อ ๗ ให้คณะกรรมการคัดเลือกมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณาคัดเลือกผู้ที่ได้รับการคัดสรรให้เหลือจำนวนประเภทละสองคนแล้วนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อพิจารณาตามข้อ ๑๒ ต่อไป (๒) ติดต่อประสานงานกับส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเชิญเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเพื่อให้ข้อมูล หรือเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการคัดเลือกได้ตามสมควร ข้อ ๘ เมื่อมีกรณีที่ต้องสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำประกาศรับสมัครเกษตรกรและผู้แทนองค์กรเกษตรกรเพื่อเข้ารับการคัดสรรและคัดเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมทั้งทำการประชาสัมพันธ์ให้ทราบเป็นการทั่วไป และประสานให้ผู้มีหน้าที่คัดสรรและคณะกรรมการคัดเลือกทราบเพื่อดำเนินการต่อไป ประกาศรับสมัครตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ วันและเวลาทำการรับสมัคร และสถานที่รับสมัคร ใบสมัครเข้ารับการคัดสรรและคัดเลือก และการรับรองคุณสมบัติของผู้สมัครให้เป็นไปตามแบบที่สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด ข้อ ๙ ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแห่งประเทศไทย สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ และกรมประมง ดำเนินการรับสมัครผู้แทนองค์กรเกษตรกรและเกษตรกร ตามที่กำหนดไว้ในประกาศตามข้อ ๘ ในกรณีที่ประกาศตามข้อ ๘ กำหนดให้ดำเนินการรับสมัครในระดับจังหวัด ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดส่งประกาศและใบสมัครให้หน่วยงานในสังกัดระดับจังหวัดทราบและดำเนินการรับสมัครผู้แทนองค์กรเกษตรกรและเกษตรกร ตามที่กำหนดไว้ในประกาศตามข้อ ๘ แล้วส่งใบสมัครและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้หน่วยงานต้นสังกัดดำเนินการต่อไป ข้อ ๑๐ ในการคัดสรรให้ดำเนินการดังนี้ (๑) ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นผู้มีหน้าที่คัดสรรผู้สมัครจากผู้แทนสหกรณ์การเกษตร ผู้แทนสหกรณ์ประมง และผู้แทนสหกรณ์นิคม จำนวนประเภทละห้าคน และคัดสรรจากผู้แทนชุมนุมสหกรณ์การเกษตร ผู้แทนชุมนุมสหกรณ์ประมง หรือผู้แทนชุมนุมสหกรณ์นิคม จำนวนห้าคน (๒) ให้คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแห่งประเทศไทยเป็นผู้มีหน้าที่คัดสรรผู้สมัครจากผู้แทนกลุ่มเกษตรกร จำนวนห้าคน (๓) ให้สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเป็นผู้มีหน้าที่คัดสรรผู้สมัครจากผู้แทนเกษตรกรในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จำนวนห้าคน (๔) ให้กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้มีหน้าที่คัดสรรผู้สมัครจากกรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชนในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน จำนวนห้าคน และคัดสรรผู้สมัครจากเกษตรกรด้านพืช จำนวนห้าคน (๕) ให้กรมปศุสัตว์เป็นผู้มีหน้าที่คัดสรรผู้สมัครจากเกษตรกรด้านสัตว์ จำนวนห้าคน (๖) ให้กรมประมงเป็นผู้มีหน้าที่คัดสรรผู้สมัครจากเกษตรกรด้านการประมง จำนวนห้าคน ให้ผู้มีหน้าที่คัดสรรตามวรรคหนึ่งกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดสรรผู้สมัครได้ตามที่เห็นสมควร แต่ทั้งนี้ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ เมื่อได้ดำเนินการคัดสรรเสร็จแล้ว ให้ส่งรายชื่อผู้ได้รับการคัดสรร พร้อมใบสมัครและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ข้อ ๑๑ เมื่อสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับรายชื่อผู้ได้รับการคัดสรรพร้อมใบสมัครและเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้ว ให้นำเสนอคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อพิจารณาคัดเลือกต่อไป ข้อ ๑๒ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับรายชื่อผู้ที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะกรรมการคัดเลือกแล้ว ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาเลือกผู้ที่เห็นว่าเหมาะสมจำนวนประเภทละหนึ่งคนและแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ข้อ ๑๓ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ และจะต้องแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้นำวิธีการคัดสรรและคัดเลือกที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้มาใช้บังคับกับการคัดสรรและคัดเลือกแทนตำแหน่งที่ว่างนั้นโดยอนุโลม ข้อ ๑๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามระเบียบนี้ ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้วินิจฉัยคำวินิจฉัยนั้น ให้เป็นที่สุด ประกาศ ณ วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑/๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔
395074
พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการวิจัย พ.ศ. 2535 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชบัญญัติ กองทุนสนับสนุนการวิจัย พ.ศ. ๒๕๓๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยกองทุนสนับสนุนการวิจัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการวิจัย พ.ศ. ๒๕๓๕” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “การวิจัย” หมายความว่า การค้นคว้าโดยการทดลอง สำรวจหรือการศึกษาตามหลักวิชาการเพื่อให้ได้ข้อมูล ความรู้ รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการต่าง ๆ อันจะสามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม วิชาการ หรือเป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ต่อไป “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสนับสนุนการวิจัย “คณะกรรมการนโยบาย” หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย “คณะกรรมการประเมินผล” หมายความว่า คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนการวิจัย “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย “ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มาตรา ๔ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า “กองทุนสนับสนุนการวิจัย” ประกอบด้วยเงินและทรัพย์สินตามมาตรา ๕ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายในการสนับสนุนการวิจัยอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การวิจัยเชิงนโยบายและการวิจัยประยุกต์ต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวิชาการของประเทศ ให้กองทุนเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการสนับสนุนการดำเนินงานวิจัยตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจกระทำการใด ๆ ที่จำเป็นหรือต่อเนื่องเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้นได้ แต่จะต้องไม่ดำเนินการวิจัยเอง ให้กองทุนมีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานครเรียกว่า “สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย” โดยให้เป็นหน่วยงานในกำกับของสำนักนายกรัฐมนตรี มีระบบการบริหารงานที่แตกต่างจากระบบราชการเพื่อให้เกิดความคล่องตัวภายใต้นโยบายของคณะกรรมการนโยบาย มาตรา ๕ เงินและทรัพย์สินของกองทุนประกอบด้วย (๑) เงินที่รัฐบาลจัดสรรให้ (๒) เงินอุดหนุนจากต่างประเทศรวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศ (๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้เพื่อสมทบกองทุน (๔) ดอกผลหรือรายได้ของกองทุน รวมทั้งผลประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาและผลประโยชน์อื่น ๆ ที่เกิดจากการวิจัย ให้โอนเงินงบประมาณกองทุนสนับสนุนการวิจัยตามมาตรา ๒๖ (๒) แห่งพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๕ จำนวนหนึ่งพันสองร้อยล้านบาทมาเป็นเงินของกองทุนสนับสนุนการวิจัย มาตรา ๖ การใช้จ่ายเงินกองทุนให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการนโยบายกำหนดโดยให้ใช้เพื่อกิจการ ดังต่อไปนี้ (๑) การสนับสนุนการดำเนินงานวิจัย การติดตามประเมินผล การเผยแพร่ผลงานวิจัย และการส่งเสริมการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ (๒) การบริหารกองทุน (๓) การดำเนินงานของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มาตรา ๗ เงินกองทุนให้นำไปฝากไว้ที่ธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด เงินกองทุนส่วนหนึ่งอาจนำไปซื้อพันธบัตรของรัฐบาล ขององค์การของรัฐหรือของรัฐวิสาหกิจได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด มาตรา ๘ รายได้ของกองทุนให้นำเข้าสมทบกองทุนโดยไม่ต้องส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง หรือกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือกฎหมายอื่น มาตรา ๙ ให้มีคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์สูงด้านการวิจัยซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี* ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นที่มีความรู้และประสบการณ์สูงด้านการวิจัยซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งไม่น้อยกว่าสี่คนและไม่เกินเจ็ดคน เป็นกรรมการ และผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ ประธานกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้อำนวยการต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง ที่ปรึกษา เจ้าหน้าที่หรือกรรมการของพรรคการเมือง มาตรา ๑๐ ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่รวมแล้วต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน ในกรณีที่กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระหรือ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนหรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว เมื่อครบกำหนดตามวาระดังกล่าวในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ มาตรา ๑๑ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๐ ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะรัฐมนตรีให้ออก (๔) เป็นบุคคลล้มละลาย (๕) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ มาตรา ๑๒ การประชุมคณะกรรมการนโยบายต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุมคณะกรรมการนโยบาย ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการและรองประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๓ ให้ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการและกรรมการได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๔ คณะกรรมการนโยบายมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดนโยบายและแผนการให้ทุนสนับสนุนการวิจัย (๒) กำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการการสนับสนุนการวิจัยของนักวิจัยและหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน (๓) กำหนดนโยบาย วางระเบียบ ข้อบังคับการบริหาร และควบคุมดูแลการดำเนินงานของสำนักงานในการบริหารกองทุน รวมทั้งแต่งตั้งและถอดถอนผู้อำนวยการ (๔) กำหนดมาตรการการเผยแพร่และถ่ายทอดผลงานวิจัยไปยังผู้ใช้และกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งปันผลประโยชน์ของงานวิจัยที่เกิดขึ้น (๕) ระดมเงินทุนจากแหล่งต่าง ๆ เข้าสู่กองทุน (๖) วางระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินกองทุน (๗) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุน (๘) อนุมัติงบประมาณประจำปีสำหรับการดำเนินงานของกองทุนและสำนักงาน (๙) ควบคุมดูแลการรับและการใช้จ่ายเงินกองทุน (๑๐) ดำเนินงานอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการวิจัย (๑๑) เสนอรายงานประจำปีต่อนายกรัฐมนตรี มาตรา ๑๕ ให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนการวิจัย ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์สูงด้านการวิจัยซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกรมวิชาการเกษตร ผู้แทนกองบัญชาการทหารสูงสุด ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นที่มีความรู้และประสบการณ์สูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ หรือมนุษยศาสตร์ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งไม่น้อยกว่าสี่คนและไม่เกินเก้าคน เป็นกรรมการ และผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ ให้นำมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๖ คณะกรรมการประเมินผลมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุน (๒) รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการนโยบาย มาตรา ๑๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการประเมินผล อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใด หรือมอบหมายให้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ตามที่เห็นสมควร ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม มาตรา ๑๘ ให้สำนักงานมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) บริหารกองทุนตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติของคณะกรรมการนโยบาย (๒) ศึกษา วิเคราะห์ และประเมินความต้องการการวิจัยในด้านต่าง ๆ ของประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต และความเหมาะสมในการดำเนินการวิจัยในด้านต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการนั้น เพื่อเสนอให้คณะกรรมการนโยบายพิจารณา (๓) ประสานงานและสนับสนุนการวิจัย เผยแพร่ผลงานวิจัย และนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ตลอดจนประเมินผลของการดำเนินการดังกล่าว (๔) จัดทำรายงานและการบัญชีของกองทุน (๕) ปฏิบัติงานธุรการของคณะกรรมการนโยบาย และคณะกรรมการประเมินผล (๖) กระทำการอื่นใดเกี่ยวกับการสนับสนุนการวิจัยตามที่คณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการประเมินผลมอบหมาย ทั้งนี้ สำนักงานจะไม่ดำเนินการวิจัยเอง มาตรา ๑๙ สำนักงานมีผู้อำนวยการเป็นผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแลงานโดยทั่วไปของสำนักงาน เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานของสำนักงาน และมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแผนรวมทั้งเป้าหมายของการสนับสนุนการวิจัยตามที่ได้รับมอบหมายต่อคณะกรรมการนโยบายเพื่อพิจารณา (๒) รายงานผลการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนรวมทั้งผลการดำเนินงานเผยแพร่และการนำไปใช้ประโยชน์ต่อคณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการประเมินผล (๓) เสนอรายงานการเงินและการบัญชี และแผนการเงินและงบประมาณของปีต่อไปต่อคณะกรรมการนโยบายเพื่อพิจารณา (๔) เสนอการแต่งตั้งผู้ประเมินโครงการและผู้ประเมินผลงานวิจัยและรายงานผลการติดตามประเมินผลต่อคณะกรรมการประเมินผลเพื่อพิจารณา (๕) บริหารงานของสำนักงานตามนโยบายและมติของคณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการประเมินผล (๖) ดำเนินงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการประเมินผล มาตรา ๒๐ ในกิจการเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้กระทำแทนกองทุนและสำนักงาน ในการนี้ ผู้อำนวยการจะมอบให้บุคคลใด ๆ ปฏิบัติการแทนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายก็ได้ มาตรา ๒๑ การบัญชีของกองทุน ให้จัดทำบัญชีตามหลักสากล โดยให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี และการพัสดุของกองทุน และรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการนโยบายทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง มาตรา ๒๒ ให้สำนักงานจัดทำงบดุล งบการเงิน และบัญชีทำการส่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของสำนักงานทุกรอบปี แล้วทำรายงานผลการสอบบัญชีเสนอต่อคณะกรรมการนโยบาย มาตรา ๒๓ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การวิจัยที่มีประสิทธิภาพในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ และการนำผลของการวิจัยดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ เป็นการจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวิชาการของประเทศ แต่ในปัจจุบันการวิจัย และการใช้ประโยชน์จากผลของการวิจัยดังกล่าว ยังไม่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนในด้านงบประมาณจากรัฐบาลอย่างเพียงพอ สมควรจัดตั้งกองทุนสนับสนุนการวิจัยขึ้นเป็นอิสระจากระบบราชการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและการใช้ประโยชน์จากผลของการวิจัยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่องและเอื้อต่อการวิจัยเพื่อประโยชน์สูงสุด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ *พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕[๒] มาตรา ๕ ในพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการวิจัย พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้แก้ไขคำว่า “ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม” เป็น “ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่ ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม นั้นแล้ว และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่ โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่ และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่ รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปณตภร/ผู้จัดทำ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ กุลชาติ/ตรวจ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๓๓/หน้า ๒๑/๒ เมษายน ๒๕๓๕ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๖๖/๘ ตุลาคม ๒๕๔๕
302205
พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการวิจัย พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ กองทุนสนับสนุนการวิจัย พ.ศ. ๒๕๓๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยกองทุนสนับสนุนการวิจัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการวิจัย พ.ศ. ๒๕๓๕” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “การวิจัย” หมายความว่า การค้นคว้าโดยการทดลอง สำรวจหรือการศึกษาตามหลักวิชาการเพื่อให้ได้ข้อมูล ความรู้ รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการต่าง ๆ อันจะสามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม วิชาการ หรือเป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ต่อไป “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสนับสนุนการวิจัย “คณะกรรมการนโยบาย” หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย “คณะกรรมการประเมินผล” หมายความว่า คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนการวิจัย “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย “ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มาตรา ๔ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า “กองทุนสนับสนุนการวิจัย” ประกอบด้วยเงินและทรัพย์สินตามมาตรา ๕ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายในการสนับสนุนการวิจัยอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การวิจัยเชิงนโยบายและการวิจัยประยุกต์ต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวิชาการของประเทศ ให้กองทุนเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการสนับสนุนการดำเนินงานวิจัยตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจกระทำการใด ๆ ที่จำเป็นหรือต่อเนื่องเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้นได้ แต่จะต้องไม่ดำเนินการวิจัยเอง ให้กองทุนมีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานครเรียกว่า “สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย” โดยให้เป็นหน่วยงานในกำกับของสำนักนายกรัฐมนตรี มีระบบการบริหารงานที่แตกต่างจากระบบราชการเพื่อให้เกิดความคล่องตัวภายใต้นโยบายของคณะกรรมการนโยบาย มาตรา ๕ เงินและทรัพย์สินของกองทุนประกอบด้วย (๑) เงินที่รัฐบาลจัดสรรให้ (๒) เงินอุดหนุนจากต่างประเทศรวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศ (๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้เพื่อสมทบกองทุน (๔) ดอกผลหรือรายได้ของกองทุน รวมทั้งผลประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาและผลประโยชน์อื่น ๆ ที่เกิดจากการวิจัย ให้โอนเงินงบประมาณกองทุนสนับสนุนการวิจัยตามมาตรา ๒๖ (๒) แห่งพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๕ จำนวนหนึ่งพันสองร้อยล้านบาทมาเป็นเงินของกองทุนสนับสนุนการวิจัย มาตรา ๖ การใช้จ่ายเงินกองทุนให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการนโยบายกำหนดโดยให้ใช้เพื่อกิจการดังต่อไปนี้ (๑) การสนับสนุนการดำเนินงานวิจัย การติดตามประเมินผล การเผยแพร่ผลงานวิจัย และการส่งเสริมการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ (๒) การบริหารกองทุน (๓) การดำเนินงานของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มาตรา ๗ เงินกองทุนให้นำไปฝากไว้ที่ธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด เงินกองทุนส่วนหนึ่งอาจนำไปซื้อพันธบัตรของรัฐบาล ขององค์การของรัฐหรือของรัฐวิสาหกิจได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด มาตรา ๘ รายได้ของกองทุนให้นำเข้าสมทบกองทุนโดยไม่ต้องส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง หรือกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือกฎหมายอื่น มาตรา ๙ ให้มีคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์สูงด้านการวิจัยซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นที่มีความรู้และประสบการณ์สูงด้านการวิจัยซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งไม่น้อยกว่าสี่คนและไม่เกินเจ็ดคน เป็นกรรมการ และผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ ประธานกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้อำนวยการต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง ที่ปรึกษา เจ้าหน้าที่หรือกรรมการของพรรคการเมือง มาตรา ๑๐ ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่รวมแล้วต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน ในกรณีที่กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระหรือ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนหรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว เมื่อครบกำหนดตามวาระดังกล่าวในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ มาตรา ๑๑ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๐ ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะรัฐมนตรีให้ออก (๔) เป็นบุคคลล้มละลาย (๕) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ มาตรา ๑๒ การประชุมคณะกรรมการนโยบายต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุมคณะกรรมการนโยบาย ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการและรองประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๓ ให้ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการและกรรมการได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๔ คณะกรรมการนโยบายมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดนโยบายและแผนการให้ทุนสนับสนุนการวิจัย (๒) กำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการการสนับสนุนการวิจัยของนักวิจัยและหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน (๓) กำหนดนโยบาย วางระเบียบ ข้อบังคับการบริหาร และควบคุมดูแลการดำเนินงานของสำนักงานในการบริหารกองทุน รวมทั้งแต่งตั้งและถอดถอนผู้อำนวยการ (๔) กำหนดมาตรการการเผยแพร่และถ่ายทอดผลงานวิจัยไปยังผู้ใช้และกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งปันผลประโยชน์ของงานวิจัยที่เกิดขึ้น (๕) ระดมเงินทุนจากแหล่งต่าง ๆ เข้าสู่กองทุน (๖) วางระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินกองทุน (๗) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุน (๘) อนุมัติงบประมาณประจำปีสำหรับการดำเนินงานของกองทุนและสำนักงาน (๙) ควบคุมดูแลการรับและการใช้จ่ายเงินกองทุน (๑๐) ดำเนินงานอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการวิจัย (๑๑) เสนอรายงานประจำปีต่อนายกรัฐมนตรี มาตรา ๑๕ ให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนการวิจัย ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์สูงด้านการวิจัยซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกรมวิชาการเกษตร ผู้แทนกองบัญชาการทหารสูงสุด ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นที่มีความรู้และประสบการณ์สูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ หรือมนุษยศาสตร์ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งไม่น้อยกว่าสี่คนและไม่เกินเก้าคน เป็นกรรมการ และผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ ให้นำมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๖ คณะกรรมการประเมินผลมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุน (๒) รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการนโยบาย มาตรา ๑๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการประเมินผล อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใด หรือมอบหมายให้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ตามที่เห็นสมควร ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม มาตรา ๑๘ ให้สำนักงานมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) บริหารกองทุนตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติของคณะกรรมการนโยบาย (๒) ศึกษา วิเคราะห์ และประเมินความต้องการการวิจัยในด้านต่าง ๆ ของประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต และความเหมาะสมในการดำเนินการวิจัยในด้านต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการนั้น เพื่อเสนอให้คณะกรรมการนโยบายพิจารณา (๓) ประสานงานและสนับสนุนการวิจัย เผยแพร่ผลงานวิจัย และนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ตลอดจนประเมินผลของการดำเนินการดังกล่าว (๔) จัดทำรายงานและการบัญชีของกองทุน (๕) ปฏิบัติงานธุรการของคณะกรรมการนโยบาย และคณะกรรมการประเมินผล (๖) กระทำการอื่นใดเกี่ยวกับการสนับสนุนการวิจัยตามที่คณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการประเมินผลมอบหมาย ทั้งนี้ สำนักงานจะไม่ดำเนินการวิจัยเอง มาตรา ๑๙ สำนักงานมีผู้อำนวยการเป็นผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแลงานโดยทั่วไปของสำนักงาน เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานของสำนักงาน และมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแผนรวมทั้งเป้าหมายของการสนับสนุนการวิจัยตามที่ได้รับมอบหมายต่อคณะกรรมการนโยบายเพื่อพิจารณา (๒) รายงานผลการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนรวมทั้งผลการดำเนินงานเผยแพร่และการนำไปใช้ประโยชน์ต่อคณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการประเมินผล (๓) เสนอรายงานการเงินและการบัญชี และแผนการเงินและงบประมาณของปีต่อไปต่อคณะกรรมการนโยบายเพื่อพิจารณา (๔) เสนอการแต่งตั้งผู้ประเมินโครงการและผู้ประเมินผลงานวิจัยและรายงานผลการติดตามประเมินผลต่อคณะกรรมการประเมินผลเพื่อพิจารณา (๕) บริหารงานของสำนักงานตามนโยบายและมติของคณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการประเมินผล (๖) ดำเนินงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการประเมินผล มาตรา ๒๐ ในกิจการเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้กระทำแทนกองทุนและสำนักงาน ในการนี้ ผู้อำนวยการจะมอบให้บุคคลใด ๆ ปฏิบัติการแทนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายก็ได้ มาตรา ๒๑ การบัญชีของกองทุน ให้จัดทำบัญชีตามหลักสากล โดยให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี และการพัสดุของกองทุน และรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการนโยบายทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง มาตรา ๒๒ ให้สำนักงานจัดทำงบดุล งบการเงิน และบัญชีทำการส่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของสำนักงานทุกรอบปี แล้วทำรายงานผลการสอบบัญชีเสนอต่อคณะกรรมการนโยบาย มาตรา ๒๓ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การวิจัยที่มีประสิทธิภาพในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ และการนำผลของการวิจัยดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ เป็นการจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวิชาการของประเทศ แต่ในปัจจุบันการวิจัย และการใช้ประโยชน์จากผลของการวิจัยดังกล่าว ยังไม่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนในด้านงบประมาณจากรัฐบาลอย่างเพียงพอ สมควรจัดตั้งกองทุนสนับสนุนการวิจัยขึ้นเป็นอิสระจากระบบราชการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและการใช้ประโยชน์จากผลของการวิจัยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่องและเอื้อต่อการวิจัยเพื่อประโยชน์สูงสุด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ เนติมา/จัดทำ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๖ วศิน/แก้ไข ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๒ ปณตภร/ปรับปรุง ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ กุลชาติ/ตรวจ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๓๓/หน้า ๒๑/๒ เมษายน ๒๕๓๕
395078
พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นปีที่ ๕๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ และมาตรา ๔๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “สุรา” หมายความว่า สุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา “ยาสูบ” หมายความว่า ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ “ภาษี” หมายความว่า ภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและค่าแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ “สร้างเสริมสุขภาพ” หมายความว่า การใด ๆ ที่มุ่งกระทำเพื่อสร้างเสริมให้บุคคลมีสุขภาวะทางกาย จิต และสังคม โดยสนับสนุนพฤติกรรมของบุคคล สภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมที่จะนำไปสู่การมีร่างกายที่แข็งแรง สภาพจิตที่สมบูรณ์ อายุยืนยาว และคุณภาพชีวิตที่ดี “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “คณะกรรมการประเมินผล” หมายความว่า คณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน “ผู้จัดการ” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมวด ๑ การจัดตั้งกองทุน มาตรา ๕ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า “กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ” ให้กองทุนเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพในประชากรทุกวัยตามนโยบายสุขภาพแห่งชาติ (๒) สร้างความตระหนักเรื่องพฤติกรรมการเสี่ยงจากการบริโภคสุรา ยาสูบ หรือสารหรือสิ่งอื่นที่ทำลายสุขภาพ และสร้างความเชื่อในการสร้างเสริมสุขภาพแก่ประชาชนทุกระดับ (๓) สนับสนุนการรณรงค์ให้ลดบริโภคสุรา ยาสูบ หรือสารหรือสิ่งอื่นที่ทำลายสุขภาพ ตลอดจนให้ประชาชนได้รับรู้ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๔) ศึกษาวิจัยหรือสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัย ฝึกอบรม หรือดำเนินการให้มีการประชุมเกี่ยวกับการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (๕) พัฒนาความสามารถของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพโดยชุมชน หรือองค์กรเอกชน องค์กรสาธารณประโยชน์ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๖) สนับสนุนการรณรงค์สร้างเสริมสุขภาพผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ในลักษณะที่เป็นสื่อเพื่อให้ประชาชนสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และลดบริโภคสุรา ยาสูบ หรือสารหรือสิ่งอื่นที่ทำลายสุขภาพ มาตรา ๖ กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (๑) เงินบำรุงกองทุนที่จัดเก็บตามมาตรา ๑๑ (๒) เงินและทรัพย์สินที่ได้รับและโอนมาตามมาตรา ๔๓ (๓) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (๔) เงินอุดหนุนจากภาคเอกชนหรือองค์กรอื่น รวมทั้งจากต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ และเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๕) ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือรายได้จากการดำเนินการ (๖) ดอกผลของเงินหรือรายได้จากทรัพย์สินของกองทุน มาตรา ๗ กิจการของกองทุนไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ทั้งนี้ ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างของกองทุนต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน มาตรา ๘ ให้กองทุนมีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร หรือในจังหวัดอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๙ ให้กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕ และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ (๒) ก่อตั้งสิทธิ หรือกระทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งในและนอกราชอาณาจักร (๓) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน (๔) เผยแพร่ข้อมูลและประชาสัมพันธ์เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนทราบถึงโทษภัยของการบริโภคสุรา ยาสูบ หรือสารหรือสิ่งอื่นที่ทำลายสุขภาพ และสร้างเสริมสุขภาพ ตลอดจนเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๕) กระทำการอื่นใดบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุน มาตรา ๑๐ กองทุนมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และรายได้ของกองทุนไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน มาตรา ๑๑ ให้กองทุนมีอำนาจจัดเก็บเงินบำรุงกองทุนจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละสองของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในการคำนวณเงินบำรุงกองทุนตามอัตราที่กำหนดในวรรคหนึ่ง หากมีเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง มาตรา ๑๒ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บและส่งเงินบำรุงกองทุน (๑) ให้กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรเป็นผู้ดำเนินการเรียกเก็บเงินบำรุงกองทุน เพื่อนำส่งเป็นรายได้ของกองทุน โดยไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด (๒) เงินบำรุงกองทุนให้ถือเป็นภาษี แต่ไม่ให้นำไปรวมคำนวณเป็นมูลค่าของภาษี มาตรา ๑๓ ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนตามอัตราที่กำหนดตามมาตรา ๑๑ พร้อมกับการชำระภาษีตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๔ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบได้รับการยกเว้นหรือคืนภาษี ให้ได้รับการยกเว้นหรือคืนเงินบำรุงกองทุนด้วย ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ส่งเงินบำรุงกองทุนหรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนด หรือส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง นอกจากจะมีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้เสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่ไม่ส่งหรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนดหรือจำนวนเงินที่ส่งขาดไป แล้วแต่กรณี นับแต่วันครบกำหนดส่งจนถึงวันที่ส่งเงินบำรุงกองทุน แต่เงินเพิ่มที่คำนวณได้มิให้เกินจำนวนเงินบำรุงกองทุนและให้ถือว่าเงินเพิ่มนี้เป็นเงินบำรุงกองทุนด้วย ในการคำนวณระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน มาตรา ๑๖ ให้กองทุนมีอำนาจจ่ายเงินจากกองทุน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด เป็นค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน (๒) ค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมตามมาตรา ๕ และมาตรา ๙ (๓) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด หมวด ๒ การบริหารกิจการของกองทุน มาตรา ๑๗ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ” ประกอบด้วย (๑) นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ (๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง (๓) ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีคุณวุฒิตาม (๕) เป็นรองประธานกรรมการ คนที่สอง (๔) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงคมนาคม ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงแรงงาน* ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข และผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย (๕) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ซึ่งได้รับการสรรหาจากผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การพัฒนาชุมชน การสื่อสารมวลชน การศึกษา การกีฬา ศิลปวัฒนธรรม กฎหมาย หรือการบริหาร จำนวนแปดคน ซึ่งในจำนวนนี้จะต้องเป็นผู้ปฏิบัติงานในภาคเอกชนจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ให้ผู้จัดการเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้จัดการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของกองทุนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ การสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๑๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ (๓) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๕) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งในทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง (๖) ไม่เป็นผู้มีพฤติกรรมที่ขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์ของกองทุนตามมาตรา ๕ (๗) ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทำกับกองทุน หรือในกิจการที่ขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์ของกองทุน หรือได้รับประโยชน์ในกิจการที่ขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์ของกองทุน ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เว้นแต่เป็นผู้ดำเนินกิจการอันเป็นสาธารณประโยชน์และมิได้แสวงหากำไร มาตรา ๑๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินการต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ มาตรา ๒๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะรัฐมนตรีให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ (๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๑๘ มาตรา ๒๑ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลกองทุนให้ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕ อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) กำหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของกองทุน (๒) ให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานประจำปี แผนการเงินและงบประมาณประจำปีของสำนักงาน (๓) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินที่จะให้การสนับสนุนกิจกรรมในด้านต่าง ๆ (๔) ระดมการจัดหาทุน (๕) ควบคุมดูแลการดำเนินงานและการบริหารงานทั่วไป ตลอดจนออกระเบียบหรือข้อบังคับของกองทุนในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) การจัดแบ่งส่วนงานภายในของสำนักงานกองทุน และขอบเขตหน้าที่ของส่วนงานดังกล่าว (ข) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้จัดการ และหลักเกณฑ์การสรรหาผู้จัดการ (ค) การกำหนดตำแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของกองทุน (ง) กำหนดอัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และเงินอื่นของเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของกองทุน (จ) การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน วินัยและการลงโทษทางวินัย การออกจากตำแหน่ง การร้องทุกข์และการอุทธรณ์การลงโทษของเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของกองทุน รวมทั้งวิธีการและเงื่อนไขในการจ้างลูกจ้าง (ฉ) การบริหารและจัดการการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน รวมทั้งการบัญชี และการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีเป็นสูญ (ช) การจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นแก่เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของกองทุน (ซ) ขอบเขตอำนาจหน้าที่และระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายใน (๖) เสนอรายงานประจำปีและความเห็นต่อรัฐมนตรีเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน (๗) กระทำการอื่นใดที่จำเป็นหรือต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุน มาตรา ๒๒ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการคนที่หนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม ถ้ารองประธานกรรมการคนที่หนึ่งไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการคนที่สองเป็นประธานในที่ประชุม ถ้ารองประธานกรรมการทั้งสองคนไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม ในการปฏิบัติหน้าที่ กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียโดยตรงหรือโดยอ้อมในเรื่องที่คณะกรรมการพิจารณา ให้กรรมการผู้นั้นแจ้งให้ที่ประชุมทราบและให้ที่ประชุมพิจารณาว่ากรรมการผู้นั้นสมควรจะอยู่ในที่ประชุมและมีมติในการประชุมเรื่องนั้นได้หรือไม่ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๒๓ คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความเชี่ยวชาญให้เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการ และมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้ การประชุมคณะอนุกรรมการ ให้นำมาตรา ๒๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๒๔ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ที่ปรึกษา และอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๒๕ ให้กองทุนมีผู้จัดการคนหนึ่ง ซึ่งคณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้ง ผู้จัดการต้องเป็นผู้สามารถทำงานให้แก่กองทุนได้เต็มเวลา และต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์ในวันที่ได้รับการแต่งตั้ง (๓) เป็นผู้ซึ่งมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์เหมาะสมกับกิจการของกองทุน (๔) ไม่มีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๑๘ (๓) (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) มาตรา ๒๖ ผู้จัดการมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๕ ในวันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ด้วย แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ มาตรา ๒๗ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ผู้จัดการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ออกตามกรณีที่กำหนดไว้ในข้อตกลงระหว่างคณะกรรมการกับผู้จัดการ (๔) คณะกรรมการให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ (๕) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับการเป็นผู้จัดการตามมาตรา ๒๕ มติของคณะกรรมการให้ผู้จัดการออกจากตำแหน่งตาม (๔) ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการเท่าที่มีอยู่ ไม่นับรวมผู้จัดการ มาตรา ๒๘ ผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) บริหารกิจการของกองทุนให้เป็นไปตามกฎหมายและวัตถุประสงค์ของกองทุน (๒) ศึกษา วิเคราะห์ และประเมินผลการดำเนินการของกองทุน รวมทั้งเสนอเป้าหมาย แผนงาน โครงการ แผนการดำเนินงานประจำปีของกองทุน และแผนการเงินและงบประมาณประจำปีต่อคณะกรรมการ (๓) จัดทำรายงานและการบัญชีของกองทุน และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี (๔) ควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ (๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย มาตรา ๒๙ ผู้จัดการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการบริหารกิจการของกองทุน ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้จัดการเป็นผู้แทนของกองทุน เพื่อการนี้ ผู้จัดการจะมอบอำนาจให้บุคคลใดปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๐ ให้คณะกรรมการเป็นผู้กำหนดอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้จัดการ มาตรา ๓๑ เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของกองทุนต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์ (๓) สามารถทำงานให้แก่กองทุนได้เต็มเวลา (๔) มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของกองทุน (๕) ไม่เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือพนักงานหรือลูกจ้างของราชการส่วนท้องถิ่น (๖) ไม่ดำรงตำแหน่งใด ๆ ในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจที่ขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์ของกองทุน (๗) ไม่มีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๑๘ (๓) (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) มาตรา ๓๒ เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของกองทุนพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๓๑ (๔) ถูกให้ออกเพราะไม่ผ่านการประเมินผลงาน (๕) ถูกให้ออกหรือปลดออกเพราะผิดวินัย กรณีตาม (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๓ การบัญชีของกองทุนให้จัดทำตามหลักสากลตามแบบและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๔ กองทุนต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี และการพัสดุของกองทุน ตลอดจนรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละครั้ง ในการตรวจสอบภายใน ให้มีเจ้าหน้าที่ของกองทุนทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายในและให้รับผิดชอบขึ้นตรงต่อคณะกรรมการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๕ ให้กองทุนจัดทำงบการเงินซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย งบดุล และบัญชีทำการส่งผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี ในทุกรอบปี ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลภายนอกตามที่คณะกรรมการแต่งตั้งด้วยความเห็นชอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีและประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของกองทุน โดยให้แสดงความคิดเห็นเป็นข้อวิเคราะห์ว่าการใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ประหยัด และได้ผลตามเป้าหมายเพียงใด แล้วทำบันทึกรายงานผลการสอบบัญชีเสนอต่อคณะกรรมการ เพื่อการนี้ ให้ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพสมุดบัญชีและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของกองทุน สอบถามผู้จัดการ ผู้ตรวจสอบภายใน เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของกองทุน และเรียกให้ส่งสรรพสมุดบัญชีและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของกองทุนเป็นการเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น มาตรา ๓๖ ให้กองทุนทำรายงานประจำปีเสนอคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อพิจารณาภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานของกองทุนในปีที่ล่วงมาแล้ว พร้อมทั้งงบการเงิน และรายงานของผู้สอบบัญชี หมวด ๓ การประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน มาตรา ๓๗ ให้มีคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนจำนวนเจ็ดคน ประกอบด้วยประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหกคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีโดยการเสนอแนะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านการเงิน การสร้างเสริมสุขภาพและการประเมินผล ซึ่งในจำนวนนี้จะต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการประเมินผลจำนวนไม่น้อยกว่าสองคน ให้คณะกรรมการประเมินผลแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรเป็นเลขานุการ ให้นำมาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๔ มาใช้บังคับกับกรรมการประเมินผลและการประชุมของคณะกรรมการประเมินผลด้วยโดยอนุโลม มาตรา ๓๘ คณะกรรมการประเมินผลมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ประเมินผลด้านนโยบายและการกำหนดกิจกรรมของกองทุน (๒) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน (๓) รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการในทุกรอบปี ให้คณะกรรมการประเมินผลมีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกองทุนจากบุคคลใดหรือเรียกบุคคลใดมาชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาประเมินผลได้ มาตรา ๓๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการประเมินผลอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใดหรือมอบหมายให้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ตามที่เห็นสมควร ให้นำมาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๔ มาใช้บังคับกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม หมวด ๔ บทกำหนดโทษ มาตรา ๔๐ ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนผู้ใดไม่ส่งเงินบำรุงกองทุน หรือส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าเท่าถึงยี่สิบเท่าของเงินบำรุงกองทุนที่จะต้องนำส่ง หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๔๑[๒] ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๔๒ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อธิบดีกรมสรรพสามิตหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิตมีอำนาจเปรียบเทียบได้ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการเปรียบเทียบคดีตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และกฎหมายว่าด้วยยาสูบ มาใช้บังคับการเปรียบเทียบคดีตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม บทเฉพาะกาล มาตรา ๔๓ เมื่อได้มีการจัดตั้งกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๓ เสร็จสิ้นลงแล้ว และให้รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวดำเนินการตามมาตรา ๔๔ (๒) แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยประกาศยุติการดำเนินการของสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพในราชกิจจานุเบกษา ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน เงินงบประมาณ รายได้ และผู้ปฏิบัติงานของสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๓ ไปเป็นของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔๔ ให้ผู้จัดการสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้จัดการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้จัดการตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๔๕ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการตามมาตรา ๑๗ (๑) (๒) และ (๔) และให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการตามมาตรา ๔๔ เป็นกรรมการและเลขานุการ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๗ (๓) และ (๕) ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในการดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง ให้กรรมการตามมาตรา ๑๗ (๑) (๒) และ (๔) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันนี้ การบริการด้านสาธารณสุขได้มุ่งที่จะโน้มนำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเสียตั้งแต่ในเบื้องต้น และส่งเสริมให้มีการสร้างเสริมสุขภาพกายและใจให้แข็งแรง อยู่ในภาวะสมดุล และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายจากการบริโภคสุราและยาสูบ หรือสารอื่นที่ทำลายสุขภาพ หรือจากพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น เพื่อที่จะให้มีเงินทุนมาดำเนินการดังกล่าว สมควรจัดตั้งกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพขึ้น โดยเก็บเงินบำรุงจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ เพื่อใช้ในการสนับสนุน รณรงค์ และชี้ชวนให้ประชาชนสร้างเสริมสุขภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ *พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕[๓] มาตรา ๖ ในพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้แก้ไขคำว่า “ผู้แทนกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “ผู้แทนกระทรวงแรงงาน” หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่ ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม นั้นแล้ว และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่ โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่ และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐[๔] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๕๔ เฉพาะในส่วนที่สันนิษฐานให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษทางอาญาร่วมกับการกระทำความผิดของนิติบุคคล โดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำหรือเจตนาประการใดอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวทำนองเดียวกัน คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๔ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗๘ พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๒๘/๔ และพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๗๒/๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ ดังนั้น เพื่อแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พิมพ์มาดา/เพิ่มเติม ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/ตรวจ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๖/๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ [๒] มาตรา ๔๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๖๖/๘ ตุลาคม ๒๕๔๕ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
769017
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตราแห่งประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติและพระราชกำหนด จำนวนเจ็ดสิบหกฉบับ ดังต่อไปนี้ และให้ใช้ความตามที่ปรากฏในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้แทนตามลำดับ (๑) มาตรา ๑๒ จัตวา แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช ๒๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒) มาตรา ๓๕ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๒๕ และมาตรา ๙๐/๕ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔ (๓) มาตรา ๖๒ ตรี แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ (๔) มาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๕) มาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๖) มาตรา ๒๘/๔ แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๖ (๗) มาตรา ๓๙ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔ (๘) มาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. ๒๕๑๐ (๙) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ (๑๐) มาตรา ๗๒/๕ แห่งพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ (๑๑) มาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๒) มาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๓) มาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๔) มาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๑๕) มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๖) มาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๗) มาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๒๔ (๑๘) มาตรา ๒๓ แห่งพระราชกำหนดควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ. ๒๕๒๔ (๑๙) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗ (๒๐) มาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ (๒๑) มาตรา ๙๒ แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘ (๒๒) มาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ (๒๓) มาตรา ๑๐๑ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ (๒๔) มาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ (๒๕) มาตรา ๔๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ (๒๖) มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒๗) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒๘) มาตรา ๑๑๑ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒๙) มาตรา ๘๗/๒ แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๓๐) มาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓๑) มาตรา ๑๑๔ แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๓๒) มาตรา ๑๐๘ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๓๓) มาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๓๗ (๓๔) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ (๓๕) มาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ (๓๖) มาตรา ๑๓ แห่งพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๕๐ (๓๗) มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒ (๓๘) มาตรา ๖๑ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ (๓๙) มาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๐) มาตรา ๖๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๑) มาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๒) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๓) มาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๔) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๕) มาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๖) มาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๗) มาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๘) มาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๙) มาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๓ (๕๐) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ (๕๑) มาตรา ๘๖ แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๓ (๕๒) มาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ (๕๓) มาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ (๕๔) มาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ (๕๕) มาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๔๕ (๕๖) มาตรา ๑๓๕ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ (๕๗) มาตรา ๑๑๕ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ (๕๘) มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๖ (๕๙) มาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ (๖๐) มาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. ๒๕๔๘ (๖๑) มาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ (๖๒) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๖๓) มาตรา ๑๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๖๔) มาตรา ๑๕๓ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๖๕) มาตรา ๘๐ แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๖๖) มาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ (๖๗) มาตรา ๑๓๒ และมาตรา ๑๓๙ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ (๖๘) มาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๖๙) มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๐) มาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๑) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๒) มาตรา ๕๘ แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๓) มาตรา ๘๕ แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๔) มาตรา ๑๒๒ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๕) มาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๓ (๗๖) มาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี บัญชีท้ายพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑. พระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช ๒๔๗๔ “มาตรา ๑๒ จัตวา ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒. ประมวลรัษฎากร “มาตรา ๓๕ ทวิ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๒ ทวิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย” “มาตรา ๙๐/๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามหมวดนี้เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓. พระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑ “มาตรา ๖๒ ตรี ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๖๒ ทวิ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๒ ทวิ ด้วย” ๔. พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ “มาตรา ๑๑๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕. พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙ “มาตรา ๒๕ ในกรณีที่บริษัทจำกัดใดกระทำความผิดตามมาตรา ๗ ถึงมาตรา ๒๔ ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทจำกัดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทจำกัดนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทจำกัดนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท” ๖. พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ “มาตรา ๒๘/๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗. พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ “มาตรา ๓๙ ทวิ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๘. พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. ๒๕๑๐ “มาตรา ๓๓ ผู้ใดมิใช่ในกิจการของ อผศ. หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก อผศ. ใช้ชื่อหรือถ้อยคำในประการที่น่าจะทำให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นกิจการของ อผศ. หรือเกี่ยวเนื่องกับกิจการของ อผศ. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ นิติบุคคลใดมิใช่กระทรวง ทบวง กรม หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก อผศ. ใช้คำว่า “อผศ.” “ทหารผ่านศึก” “ผ่านศึก” “นอกประจำการ” หรือคำว่า“ทหาร” เป็นชื่อหรือประกอบชื่อของนิติบุคคลนั้น ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิดผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย” ๙. พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ “มาตรา ๗๖ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิด ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๐. พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ “มาตรา ๗๒/๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๗๒/๒ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๑. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๘๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๒. พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๘๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๓. พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๓๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๔ . พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๗๑ นิติบุคคลอาคารชุดใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๘/๑ มาตรา ๓๘/๒ และมาตรา ๓๘/๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ในกรณีที่นิติบุคคลอาคารชุดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้น หรือในกรณีที่ผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลอาคารชุดนั้นกระทำความผิด ผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ตามวรรคหนึ่งด้วย” ๑๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๕๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๖. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๗. พระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๒๔ “มาตรา ๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๓๑ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๘. พระราชกำหนดควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ. ๒๕๒๔ “มาตรา ๒๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๙. พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗ “มาตรา ๗๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๐. พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ “มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลซึ่งปรากฏพยานหลักฐานว่ามีพฤติกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลด้วย” ๒๑. พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘ “มาตรา ๙๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๒. พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ “มาตรา ๔๑ ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนกระทำความผิดตามมาตรา ๓๔ ถ้าการกระทำความผิดของคณะกรรมการกองทุนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด หรือในกรณีที่กรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้คณะกรรมการกองทุนนั้นกระทำความผิด กรรมการผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๓. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ “มาตรา ๑๐๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลและถูกลงโทษ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๔. พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ “มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๕ หรือมาตรา ๘ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๒๕. พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ “มาตรา ๔๘/๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๕ วรรคสี่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ในกรณีที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐกระทำผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของหัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นกระทำความผิด หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๖. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๕๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๗. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๘. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๑๑๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๙. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๘๗/๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรเฉพาะ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓๐. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๖๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓๑. พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๑๑๔ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิดตามมาตรา ๒๓ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๖ หรือมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งหรือให้ทำคำชี้แจงตามมาตรา ๔๕ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิดผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๒. พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๑๐๘ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิดตามมาตรา ๒๓ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งหรือให้ทำคำชี้แจงตามมาตรา ๔๙ หรือไม่หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๕๒ วรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๓. พระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๓๗ “มาตรา ๓๙ ในกรณีที่สภากระทำความผิดและถูกลงโทษ ถ้าการกระทำความผิดของสภานั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด หรือในกรณีที่กรรมการผู้ใดมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สภานั้นกระทำความผิด กรรมการผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท” ๓๔. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ “มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓๕. พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ “มาตรา ๘๙ ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๖. พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ “มาตรา ๑๓ บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔/๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ หรือมาตรา ๑๑/๑ วรรคสอง หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือคำสั่งหรือเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๔/๑ วรรคสอง มาตรา ๕ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๑/๑ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๑๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ในกรณีที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๗. พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓๘. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๖๑ นิติบุคคลใดกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๗ มาตรา ๘ หรือมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งของนิติบุคคลเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีหรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๙. พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๘๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๐. พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๖๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๑. พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๘๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๒. พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น และสำหรับนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบเท่าของอัตราโทษปรับสำหรับความผิดนั้นด้วย” ๔๓. พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๗๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๔. พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น และสำหรับนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบเท่าของอัตราโทษปรับสำหรับความผิดนั้นด้วย” ๔๕. พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๖. พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๗. พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๕๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๘. พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๖๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๙. พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๑๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๐. พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๑. พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๘๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๒. พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ “มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๓. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ “มาตรา ๗๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๔. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ “มาตรา ๔๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๕. พระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๔๕ “มาตรา ๖๔ ในกรณีที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๐ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ หรือมาตรา ๓๙ หรือฝ่าฝืนมาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๓๑ ถ้าการกระทำความผิดของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด หรือในกรณีที่กรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์นั้นกระทำความผิด กรรมการผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท” ๕๖. พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ “มาตรา ๑๓๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๖ มาตรา ๑๒๗ มาตรา ๑๒๘ มาตรา ๑๒๙ มาตรา ๑๓๐ มาตรา ๑๓๑ มาตรา ๑๓๓ หรือมาตรา ๑๓๘ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๕๗. พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ “มาตรา ๑๑๕ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๔ หรือมาตรา ๗๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดกระทำความผิดตามมาตรา ๗๔ หรือมาตรา ๗๕ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการสภาสถาบัน อธิการบดี หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๘. พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๖ “มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๙. พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ “มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๐. พระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. ๒๕๔๘ “มาตรา ๓๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๑. พระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ “มาตรา ๗๗ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๗๑ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๒. พระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ “มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับอนุญาตตามมาตรา ๓๓ ซึ่งเป็นนิติบุคคลกระทำความผิด ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๓. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐ “มาตรา ๑๔๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๔. พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ “มาตรา ๑๕๓ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคลกระทำความผิดและถูกลงโทษ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๕. พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. ๒๕๕๐ “มาตรา ๘๐ ผู้ใดให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในการตรวจสอบหรือการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งเป็นทรัสตี ถ้าการกระทำความผิดของทรัสตีนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของทรัสตีนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ทรัสตีนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๖๖. พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๕๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๗. พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๑๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๑ หรือมาตรา ๑๒๓ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของนิติบุคคล หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย ภายใต้บังคับมาตรา ๑๓๙ ในกรณีที่สถาบันการเงินกระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๔ มาตรา ๑๒๕ หรือมาตรา ๑๒๘ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันการเงินนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” “มาตรา ๑๓๙ ในกรณีที่สถาบันการเงินใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๖๖ มาตรา ๘๐ มาตรา ๙๓ มาตรา ๙๔ หรือมาตรา ๙๕ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ข้อกำหนด หลักเกณฑ์ หรือคำสั่งที่กำหนดตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๖๖ มาตรา ๗๑ มาตรา ๘๐ มาตรา ๙๐ หรือมาตรา ๙๕ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันการเงินนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๖๘. พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๖๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลและถูกลงโทษ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๙. พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๖๕ ผู้ใดนอกจากสถาบันการเงิน ใช้ข้อความ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ เพื่อแสดงว่าธุรกิจของตนเป็นสถาบันการเงินที่เงินฝากได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๖๖ สถาบันการเงินใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย” ๗๐. พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๕๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดในส่วนที่ ๒ นี้ ยกเว้นมาตรา ๔๘ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๑. พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๗๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๒. พระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๕๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๓. พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๘๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษอาญาตามส่วนนี้เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๔. พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๑๒๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๓ “มาตรา ๔๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๖. พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔ “มาตรา ๖๒ ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๗ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๕๔ เฉพาะในส่วนที่สันนิษฐานให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษทางอาญาร่วมกับการกระทำความผิดของนิติบุคคล โดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำหรือเจตนาประการใดอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวทำนองเดียวกัน คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๔ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗๘ พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๒๘/๔ และพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๗๒/๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ ดังนั้น เพื่อแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
769669
พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 (ฉบับ Update ณ วันที่ 08/10/2545)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นปีที่ ๕๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ และมาตรา ๔๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “สุรา” หมายความว่า สุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา “ยาสูบ” หมายความว่า ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ “ภาษี” หมายความว่า ภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและค่าแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ “สร้างเสริมสุขภาพ” หมายความว่า การใด ๆ ที่มุ่งกระทำเพื่อสร้างเสริมให้บุคคลมีสุขภาวะทางกาย จิต และสังคม โดยสนับสนุนพฤติกรรมของบุคคล สภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมที่จะนำไปสู่การมีร่างกายที่แข็งแรง สภาพจิตที่สมบูรณ์ อายุยืนยาว และคุณภาพชีวิตที่ดี “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “คณะกรรมการประเมินผล” หมายความว่า คณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน “ผู้จัดการ” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมวด ๑ การจัดตั้งกองทุน มาตรา ๕ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า “กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ” ให้กองทุนเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพในประชากรทุกวัยตามนโยบายสุขภาพแห่งชาติ (๒) สร้างความตระหนักเรื่องพฤติกรรมการเสี่ยงจากการบริโภคสุรา ยาสูบ หรือสารหรือสิ่งอื่นที่ทำลายสุขภาพ และสร้างความเชื่อในการสร้างเสริมสุขภาพแก่ประชาชนทุกระดับ (๓) สนับสนุนการรณรงค์ให้ลดบริโภคสุรา ยาสูบ หรือสารหรือสิ่งอื่นที่ทำลายสุขภาพ ตลอดจนให้ประชาชนได้รับรู้ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๔) ศึกษาวิจัยหรือสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัย ฝึกอบรม หรือดำเนินการให้มีการประชุมเกี่ยวกับการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (๕) พัฒนาความสามารถของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพโดยชุมชน หรือองค์กรเอกชน องค์กรสาธารณประโยชน์ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๖) สนับสนุนการรณรงค์สร้างเสริมสุขภาพผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ในลักษณะที่เป็นสื่อเพื่อให้ประชาชนสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และลดบริโภคสุรา ยาสูบ หรือสารหรือสิ่งอื่นที่ทำลายสุขภาพ มาตรา ๖ กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (๑) เงินบำรุงกองทุนที่จัดเก็บตามมาตรา ๑๑ (๒) เงินและทรัพย์สินที่ได้รับและโอนมาตามมาตรา ๔๓ (๓) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (๔) เงินอุดหนุนจากภาคเอกชนหรือองค์กรอื่น รวมทั้งจากต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ และเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๕) ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือรายได้จากการดำเนินการ (๖) ดอกผลของเงินหรือรายได้จากทรัพย์สินของกองทุน มาตรา ๗ กิจการของกองทุนไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ทั้งนี้ ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างของกองทุนต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน มาตรา ๘ ให้กองทุนมีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร หรือในจังหวัดอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๙ ให้กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕ และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ (๒) ก่อตั้งสิทธิ หรือกระทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งในและนอกราชอาณาจักร (๓) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน (๔) เผยแพร่ข้อมูลและประชาสัมพันธ์เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนทราบถึงโทษภัยของการบริโภคสุรา ยาสูบ หรือสารหรือสิ่งอื่นที่ทำลายสุขภาพ และสร้างเสริมสุขภาพ ตลอดจนเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๕) กระทำการอื่นใดบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุน มาตรา ๑๐ กองทุนมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และรายได้ของกองทุนไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน มาตรา ๑๑ ให้กองทุนมีอำนาจจัดเก็บเงินบำรุงกองทุนจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละสองของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในการคำนวณเงินบำรุงกองทุนตามอัตราที่กำหนดในวรรคหนึ่ง หากมีเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง มาตรา ๑๒ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บและส่งเงินบำรุงกองทุน (๑) ให้กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรเป็นผู้ดำเนินการเรียกเก็บเงินบำรุงกองทุน เพื่อนำส่งเป็นรายได้ของกองทุน โดยไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด (๒) เงินบำรุงกองทุนให้ถือเป็นภาษี แต่ไม่ให้นำไปรวมคำนวณเป็นมูลค่าของภาษี มาตรา ๑๓ ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนตามอัตราที่กำหนดตามมาตรา ๑๑ พร้อมกับการชำระภาษีตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๔ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบได้รับการยกเว้นหรือคืนภาษี ให้ได้รับการยกเว้นหรือคืนเงินบำรุงกองทุนด้วย ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ส่งเงินบำรุงกองทุนหรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนด หรือส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง นอกจากจะมีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้เสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่ไม่ส่งหรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนดหรือจำนวนเงินที่ส่งขาดไป แล้วแต่กรณี นับแต่วันครบกำหนดส่งจนถึงวันที่ส่งเงินบำรุงกองทุน แต่เงินเพิ่มที่คำนวณได้มิให้เกินจำนวนเงินบำรุงกองทุนและให้ถือว่าเงินเพิ่มนี้เป็นเงินบำรุงกองทุนด้วย ในการคำนวณระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน มาตรา ๑๖ ให้กองทุนมีอำนาจจ่ายเงินจากกองทุน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด เป็นค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน (๒) ค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมตามมาตรา ๕ และมาตรา ๙ (๓) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด หมวด ๒ การบริหารกิจการของกองทุน มาตรา ๑๗ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ” ประกอบด้วย (๑) นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ (๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง (๓) ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีคุณวุฒิตาม (๕) เป็นรองประธานกรรมการ คนที่สอง (๔) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงคมนาคม ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงแรงงาน* ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข และผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย (๕) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ซึ่งได้รับการสรรหาจากผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การพัฒนาชุมชน การสื่อสารมวลชน การศึกษา การกีฬา ศิลปวัฒนธรรม กฎหมาย หรือการบริหาร จำนวนแปดคน ซึ่งในจำนวนนี้จะต้องเป็นผู้ปฏิบัติงานในภาคเอกชนจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ให้ผู้จัดการเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้จัดการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของกองทุนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ การสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๑๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ (๓) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๕) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งในทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง (๖) ไม่เป็นผู้มีพฤติกรรมที่ขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์ของกองทุนตามมาตรา ๕ (๗) ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทำกับกองทุน หรือในกิจการที่ขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์ของกองทุน หรือได้รับประโยชน์ในกิจการที่ขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์ของกองทุน ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เว้นแต่เป็นผู้ดำเนินกิจการอันเป็นสาธารณประโยชน์และมิได้แสวงหากำไร มาตรา ๑๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินการต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ มาตรา ๒๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะรัฐมนตรีให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ (๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๑๘ มาตรา ๒๑ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลกองทุนให้ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕ อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) กำหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของกองทุน (๒) ให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานประจำปี แผนการเงินและงบประมาณประจำปีของสำนักงาน (๓) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินที่จะให้การสนับสนุนกิจกรรมในด้านต่าง ๆ (๔) ระดมการจัดหาทุน (๕) ควบคุมดูแลการดำเนินงานและการบริหารงานทั่วไป ตลอดจนออกระเบียบหรือข้อบังคับของกองทุนในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) การจัดแบ่งส่วนงานภายในของสำนักงานกองทุน และขอบเขตหน้าที่ของส่วนงานดังกล่าว (ข) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้จัดการ และหลักเกณฑ์การสรรหาผู้จัดการ (ค) การกำหนดตำแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของกองทุน (ง) กำหนดอัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และเงินอื่นของเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของกองทุน (จ) การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน วินัยและการลงโทษทางวินัย การออกจากตำแหน่ง การร้องทุกข์และการอุทธรณ์การลงโทษของเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของกองทุน รวมทั้งวิธีการและเงื่อนไขในการจ้างลูกจ้าง (ฉ) การบริหารและจัดการการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน รวมทั้งการบัญชี และการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีเป็นสูญ (ช) การจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นแก่เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของกองทุน (ซ) ขอบเขตอำนาจหน้าที่และระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ ผู้ตรวจสอบภายใน (๖) เสนอรายงานประจำปีและความเห็นต่อรัฐมนตรีเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน (๗) กระทำการอื่นใดที่จำเป็นหรือต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุน มาตรา ๒๒ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการคนที่หนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม ถ้ารองประธานกรรมการคนที่หนึ่งไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการคนที่สองเป็นประธานในที่ประชุม ถ้ารองประธานกรรมการทั้งสองคนไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม ในการปฏิบัติหน้าที่ กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียโดยตรงหรือโดยอ้อมในเรื่องที่คณะกรรมการพิจารณา ให้กรรมการผู้นั้นแจ้งให้ที่ประชุมทราบและให้ที่ประชุมพิจารณาว่ากรรมการผู้นั้นสมควรจะอยู่ในที่ประชุมและมีมติในการประชุมเรื่องนั้นได้หรือไม่ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๒๓ คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความเชี่ยวชาญให้เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการ และมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้ การประชุมคณะอนุกรรมการ ให้นำมาตรา ๒๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๒๔ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ที่ปรึกษา และอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๒๕ ให้กองทุนมีผู้จัดการคนหนึ่ง ซึ่งคณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้ง ผู้จัดการต้องเป็นผู้สามารถทำงานให้แก่กองทุนได้เต็มเวลา และต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์ในวันที่ได้รับการแต่งตั้ง (๓) เป็นผู้ซึ่งมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์เหมาะสมกับกิจการของกองทุน (๔) ไม่มีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๑๘ (๓) (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) มาตรา ๒๖ ผู้จัดการมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๕ ในวันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ด้วย แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ มาตรา ๒๗ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ผู้จัดการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ออกตามกรณีที่กำหนดไว้ในข้อตกลงระหว่างคณะกรรมการกับผู้จัดการ (๔) คณะกรรมการให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ (๕) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับการเป็นผู้จัดการตามมาตรา ๒๕ มติของคณะกรรมการให้ผู้จัดการออกจากตำแหน่งตาม (๔) ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการเท่าที่มีอยู่ ไม่นับรวมผู้จัดการ มาตรา ๒๘ ผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) บริหารกิจการของกองทุนให้เป็นไปตามกฎหมายและวัตถุประสงค์ของกองทุน (๒) ศึกษา วิเคราะห์ และประเมินผลการดำเนินการของกองทุน รวมทั้งเสนอเป้าหมาย แผนงาน โครงการ แผนการดำเนินงานประจำปีของกองทุน และแผนการเงินและงบประมาณประจำปีต่อคณะกรรมการ (๓) จัดทำรายงานและการบัญชีของกองทุน และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี (๔) ควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ (๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย มาตรา ๒๙ ผู้จัดการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการบริหารกิจการของกองทุน ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้จัดการเป็นผู้แทนของกองทุน เพื่อการนี้ผู้จัดการจะมอบอำนาจให้บุคคลใดปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๐ ให้คณะกรรมการเป็นผู้กำหนดอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้จัดการ มาตรา ๓๑ เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของกองทุนต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์ (๓) สามารถทำงานให้แก่กองทุนได้เต็มเวลา (๔) มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของกองทุน (๕) ไม่เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือพนักงานหรือลูกจ้างของราชการส่วนท้องถิ่น (๖) ไม่ดำรงตำแหน่งใด ๆ ในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจที่ขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์ของกองทุน (๗) ไม่มีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๑๘ (๓) (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) มาตรา ๓๒ เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของกองทุนพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๓๑ (๔) ถูกให้ออกเพราะไม่ผ่านการประเมินผลงาน (๕) ถูกให้ออกหรือปลดออกเพราะผิดวินัย กรณีตาม (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๓ การบัญชีของกองทุนให้จัดทำตามหลักสากลตามแบบและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๔ กองทุนต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี และการพัสดุของกองทุน ตลอดจนรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละครั้ง ในการตรวจสอบภายใน ให้มีเจ้าหน้าที่ของกองทุนทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายในและให้รับผิดชอบขึ้นตรงต่อคณะกรรมการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๕ ให้กองทุนจัดทำงบการเงินซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย งบดุล และบัญชีทำการส่งผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี ในทุกรอบปี ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลภายนอกตามที่คณะกรรมการแต่งตั้งด้วยความเห็นชอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีและประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของกองทุน โดยให้แสดงความคิดเห็นเป็นข้อวิเคราะห์ว่าการใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ประหยัด และได้ผลตามเป้าหมายเพียงใด แล้วทำบันทึกรายงานผลการสอบบัญชีเสนอต่อคณะกรรมการ เพื่อการนี้ ให้ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพสมุดบัญชีและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของกองทุน สอบถามผู้จัดการ ผู้ตรวจสอบภายใน เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของกองทุน และเรียกให้ส่งสรรพสมุดบัญชีและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของกองทุนเป็นการเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น มาตรา ๓๖ ให้กองทุนทำรายงานประจำปีเสนอคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อพิจารณาภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานของกองทุนในปีที่ล่วงมาแล้ว พร้อมทั้งงบการเงิน และรายงานของผู้สอบบัญชี หมวด ๓ การประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน มาตรา ๓๗ ให้มีคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนจำนวนเจ็ดคน ประกอบด้วยประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหกคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีโดยการเสนอแนะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านการเงิน การสร้างเสริมสุขภาพและการประเมินผล ซึ่งในจำนวนนี้จะต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการประเมินผลจำนวนไม่น้อยกว่าสองคน ให้คณะกรรมการประเมินผลแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรเป็นเลขานุการ ให้นำมาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๔ มาใช้บังคับกับกรรมการประเมินผลและการประชุมของคณะกรรมการประเมินผลด้วยโดยอนุโลม มาตรา ๓๘ คณะกรรมการประเมินผลมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ประเมินผลด้านนโยบายและการกำหนดกิจกรรมของกองทุน (๒) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน (๓) รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการในทุกรอบปี ให้คณะกรรมการประเมินผลมีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกองทุนจากบุคคลใดหรือเรียกบุคคลใดมาชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาประเมินผลได้ มาตรา ๓๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการประเมินผลอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใดหรือมอบหมายให้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ตามที่เห็นสมควร ให้นำมาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๔ มาใช้บังคับกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม หมวด ๔ บทกำหนดโทษ มาตรา ๔๐ ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนผู้ใดไม่ส่งเงินบำรุงกองทุน หรือส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าเท่าถึงยี่สิบเท่าของเงินบำรุงกองทุนที่จะต้องนำส่ง หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคลให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย มาตรา ๔๒ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อธิบดีกรมสรรพสามิตหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิตมีอำนาจเปรียบเทียบได้ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการเปรียบเทียบคดีตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และกฎหมายว่าด้วยยาสูบ มาใช้บังคับการเปรียบเทียบคดีตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม บทเฉพาะกาล มาตรา ๔๓ เมื่อได้มีการจัดตั้งกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๓ เสร็จสิ้นลงแล้ว และให้รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวดำเนินการตามมาตรา ๔๔ (๒) แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยประกาศยุติการดำเนินการของสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพในราชกิจจานุเบกษา ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน เงินงบประมาณ รายได้ และผู้ปฏิบัติงานของสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๓ ไปเป็นของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔๔ ให้ผู้จัดการสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้จัดการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้จัดการตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๔๕ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการตามมาตรา ๑๗ (๑) (๒) และ (๔) และให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการตามมาตรา ๔๔ เป็นกรรมการและเลขานุการ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๗ (๓) และ (๕) ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในการดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง ให้กรรมการตามมาตรา ๑๗ (๑) (๒) และ (๔) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันนี้ การบริการด้านสาธารณสุขได้มุ่งที่จะโน้มนำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเสียตั้งแต่ในเบื้องต้น และส่งเสริมให้มีการสร้างเสริมสุขภาพกายและใจให้แข็งแรง อยู่ในภาวะสมดุล และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายจากการบริโภคสุราและยาสูบ หรือสารอื่นที่ทำลายสุขภาพ หรือจากพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น เพื่อที่จะให้มีเงินทุนมาดำเนินการดังกล่าว สมควรจัดตั้งกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพขึ้น โดยเก็บเงินบำรุงจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ เพื่อใช้ในการสนับสนุน รณรงค์ และชี้ชวนให้ประชาชนสร้างเสริมสุขภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ *พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕[๒] มาตรา ๖ ในพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้แก้ไขคำว่า “ผู้แทนกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็น “ผู้แทนกระทรวงแรงงาน” หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่ ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม นั้นแล้ว และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่ โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่ และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ วศิน/แก้ไข ๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๖/๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๖๖/๘ ตุลาคม ๒๕๔๕
324933
พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นปีที่ ๕๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ และมาตรา ๔๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “สุรา” หมายความว่า สุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา “ยาสูบ” หมายความว่า ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ “ภาษี” หมายความว่า ภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและค่าแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ “สร้างเสริมสุขภาพ” หมายความว่า การใด ๆ ที่มุ่งกระทำเพื่อสร้างเสริมให้บุคคลมีสุขภาวะทางกาย จิต และสังคม โดยสนับสนุนพฤติกรรมของบุคคล สภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมที่จะนำไปสู่การมีร่างกายที่แข็งแรง สภาพจิตที่สมบูรณ์ อายุยืนยาว และคุณภาพชีวิตที่ดี “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “คณะกรรมการประเมินผล” หมายความว่า คณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน “ผู้จัดการ” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมวด ๑ การจัดตั้งกองทุน มาตรา ๕ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า “กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ” ให้กองทุนเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพในประชากรทุกวัยตามนโยบายสุขภาพแห่งชาติ (๒) สร้างความตระหนักเรื่องพฤติกรรมการเสี่ยงจากการบริโภคสุรา ยาสูบ หรือสารหรือสิ่งอื่นที่ทำลายสุขภาพ และสร้างความเชื่อในการสร้างเสริมสุขภาพแก่ประชาชนทุกระดับ (๓) สนับสนุนการรณรงค์ให้ลดบริโภคสุรา ยาสูบ หรือสารหรือสิ่งอื่นที่ทำลายสุขภาพ ตลอดจนให้ประชาชนได้รับรู้ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๔) ศึกษาวิจัยหรือสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัย ฝึกอบรม หรือดำเนินการให้มีการประชุมเกี่ยวกับการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (๕) พัฒนาความสามารถของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพโดยชุมชน หรือองค์กรเอกชน องค์กรสาธารณประโยชน์ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๖) สนับสนุนการรณรงค์สร้างเสริมสุขภาพผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ในลักษณะที่เป็นสื่อเพื่อให้ประชาชนสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และลดบริโภคสุรา ยาสูบ หรือสารหรือสิ่งอื่นที่ทำลายสุขภาพ มาตรา ๖ กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (๑) เงินบำรุงกองทุนที่จัดเก็บตามมาตรา ๑๑ (๒) เงินและทรัพย์สินที่ได้รับและโอนมาตามมาตรา ๔๓ (๓) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (๔) เงินอุดหนุนจากภาคเอกชนหรือองค์กรอื่น รวมทั้งจากต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ และเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๕) ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือรายได้จากการดำเนินการ (๖) ดอกผลของเงินหรือรายได้จากทรัพย์สินของกองทุน มาตรา ๗ กิจการของกองทุนไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ทั้งนี้ ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างของกองทุนต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน มาตรา ๘ ให้กองทุนมีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร หรือในจังหวัดอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๙ ให้กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕ และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ (๒) ก่อตั้งสิทธิ หรือกระทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งในและนอกราชอาณาจักร (๓) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน (๔) เผยแพร่ข้อมูลและประชาสัมพันธ์เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนทราบถึงโทษภัยของการบริโภคสุรา ยาสูบ หรือสารหรือสิ่งอื่นที่ทำลายสุขภาพ และสร้างเสริมสุขภาพ ตลอดจนเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๕) กระทำการอื่นใดบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุน มาตรา ๑๐ กองทุนมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และรายได้ของกองทุนไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน มาตรา ๑๑ ให้กองทุนมีอำนาจจัดเก็บเงินบำรุงกองทุนจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละสองของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในการคำนวณเงินบำรุงกองทุนตามอัตราที่กำหนดในวรรคหนึ่ง หากมีเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง มาตรา ๑๒ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บและส่งเงินบำรุงกองทุน (๑) ให้กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรเป็นผู้ดำเนินการเรียกเก็บเงินบำรุงกองทุน เพื่อนำส่งเป็นรายได้ของกองทุน โดยไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด (๒) เงินบำรุงกองทุนให้ถือเป็นภาษี แต่ไม่ให้นำไปรวมคำนวณเป็นมูลค่าของภาษี มาตรา ๑๓ ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนตามอัตราที่กำหนดตามมาตรา ๑๑ พร้อมกับการชำระภาษีตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๔ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบได้รับการยกเว้นหรือคืนภาษี ให้ได้รับการยกเว้นหรือคืนเงินบำรุงกองทุนด้วย ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ส่งเงินบำรุงกองทุนหรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนด หรือส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง นอกจากจะมีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้เสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่ไม่ส่งหรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนดหรือจำนวนเงินที่ส่งขาดไป แล้วแต่กรณี นับแต่วันครบกำหนดส่งจนถึงวันที่ส่งเงินบำรุงกองทุน แต่เงินเพิ่มที่คำนวณได้มิให้เกินจำนวนเงินบำรุงกองทุนและให้ถือว่าเงินเพิ่มนี้เป็นเงินบำรุงกองทุนด้วย ในการคำนวณระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน มาตรา ๑๖ ให้กองทุนมีอำนาจจ่ายเงินจากกองทุน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด เป็นค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน (๒) ค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมตามมาตรา ๕ และมาตรา ๙ (๓) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด หมวด ๒ การบริหารกิจการของกองทุน มาตรา ๑๗ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ” ประกอบด้วย (๑) นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ (๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง (๓) ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีคุณวุฒิตาม (๕) เป็นรองประธานกรรมการ คนที่สอง (๔) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงคมนาคม ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข และผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย (๕) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ซึ่งได้รับการสรรหาจากผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การพัฒนาชุมชน การสื่อสารมวลชน การศึกษา การกีฬา ศิลปวัฒนธรรม กฎหมาย หรือการบริหาร จำนวนแปดคน ซึ่งในจำนวนนี้จะต้องเป็นผู้ปฏิบัติงานในภาคเอกชนจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ให้ผู้จัดการเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้จัดการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของกองทุนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ การสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๑๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ (๓) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๕) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งในทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง (๖) ไม่เป็นผู้มีพฤติกรรมที่ขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์ของกองทุนตามมาตรา ๕ (๗) ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทำกับกองทุน หรือในกิจการที่ขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์ของกองทุน หรือได้รับประโยชน์ในกิจการที่ขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์ของกองทุน ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เว้นแต่เป็นผู้ดำเนินกิจการอันเป็นสาธารณประโยชน์และมิได้แสวงหากำไร มาตรา ๑๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินการต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ มาตรา ๒๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะรัฐมนตรีให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ (๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๑๘ มาตรา ๒๑ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลกองทุนให้ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕ อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) กำหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของกองทุน (๒) ให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานประจำปี แผนการเงินและงบประมาณประจำปีของสำนักงาน (๓) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินที่จะให้การสนับสนุนกิจกรรมในด้านต่าง ๆ (๔) ระดมการจัดหาทุน (๕) ควบคุมดูแลการดำเนินงานและการบริหารงานทั่วไป ตลอดจนออกระเบียบหรือข้อบังคับของกองทุนในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) การจัดแบ่งส่วนงานภายในของสำนักงานกองทุน และขอบเขตหน้าที่ของส่วนงานดังกล่าว (ข) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้จัดการและหลักเกณฑ์การสรรหาผู้จัดการ (ค) การกำหนดตำแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของกองทุน (ง) กำหนดอัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และเงินอื่นของเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของกองทุน (จ) การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน วินัยและการลงโทษทางวินัย การออกจากตำแหน่ง การร้องทุกข์และการอุทธรณ์การลงโทษของเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของกองทุน รวมทั้งวิธีการและเงื่อนไขในการจ้างลูกจ้าง (ฉ) การบริหารและจัดการการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน รวมทั้งการบัญชี และการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีเป็นสูญ (ช) การจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นแก่เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของกองทุน (ซ) ขอบเขตอำนาจหน้าที่และระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายใน (๖) เสนอรายงานประจำปีและความเห็นต่อรัฐมนตรีเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน (๗) กระทำการอื่นใดที่จำเป็นหรือต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุน มาตรา ๒๒ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง เป็นประธานในที่ประชุม ถ้ารองประธานกรรมการคนที่หนึ่งไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการคนที่สองเป็นประธานในที่ประชุม ถ้ารองประธานกรรมการทั้งสองคนไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม ในการปฏิบัติหน้าที่ กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียโดยตรงหรือโดยอ้อมในเรื่องที่คณะกรรมการพิจารณา ให้กรรมการผู้นั้นแจ้งให้ที่ประชุมทราบและให้ที่ประชุมพิจารณาว่ากรรมการผู้นั้นสมควรจะอยู่ในที่ประชุมและมีมติในการประชุมเรื่องนั้นได้หรือไม่ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๒๓ คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความเชี่ยวชาญให้เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการ และมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้ การประชุมคณะอนุกรรมการ ให้นำมาตรา ๒๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๒๔ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ที่ปรึกษา และอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๒๕ ให้กองทุนมีผู้จัดการคนหนึ่ง ซึ่งคณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้ง ผู้จัดการต้องเป็นผู้สามารถทำงานให้แก่กองทุนได้เต็มเวลา และต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์ในวันที่ได้รับการแต่งตั้ง (๓) เป็นผู้ซึ่งมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์เหมาะสมกับกิจการของกองทุน (๔) ไม่มีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๑๘ (๓) (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) มาตรา ๒๖ ผู้จัดการมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๕ ในวันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ด้วย แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ มาตรา ๒๗ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ผู้จัดการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ออกตามกรณีที่กำหนดไว้ในข้อตกลงระหว่างคณะกรรมการกับผู้จัดการ (๔) คณะกรรมการให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ (๕) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับการเป็นผู้จัดการตามมาตรา ๒๕ มติของคณะกรรมการให้ผู้จัดการออกจากตำแหน่งตาม (๔) ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการเท่าที่มีอยู่ ไม่นับรวมผู้จัดการ มาตรา ๒๘ ผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) บริหารกิจการของกองทุนให้เป็นไปตามกฎหมายและวัตถุประสงค์ของกองทุน (๒) ศึกษา วิเคราะห์ และประเมินผลการดำเนินการของกองทุน รวมทั้งเสนอเป้าหมาย แผนงาน โครงการ แผนการดำเนินงานประจำปีของกองทุน และแผนการเงินและงบประมาณประจำปีต่อคณะกรรมการ (๓) จัดทำรายงานและการบัญชีของกองทุน และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี (๔) ควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ (๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย มาตรา ๒๙ ผู้จัดการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการบริหารกิจการของกองทุน ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้จัดการเป็นผู้แทนของกองทุน เพื่อการนี้ผู้จัดการจะมอบอำนาจให้บุคคลใดปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๐ ให้คณะกรรมการเป็นผู้กำหนดอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้จัดการ มาตรา ๓๑ เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของกองทุนต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์ (๓) สามารถทำงานให้แก่กองทุนได้เต็มเวลา (๔) มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของกองทุน (๕) ไม่เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือพนักงานหรือลูกจ้างของราชการส่วนท้องถิ่น (๖) ไม่ดำรงตำแหน่งใด ๆ ในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจที่ขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์ของกองทุน (๗) ไม่มีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๑๘ (๓) (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) มาตรา ๓๒ เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของกองทุนพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๓๑ (๔) ถูกให้ออกเพราะไม่ผ่านการประเมินผลงาน (๕) ถูกให้ออกหรือปลดออกเพราะผิดวินัย กรณีตาม (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๓ การบัญชีของกองทุนให้จัดทำตามหลักสากลตามแบบและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๔ กองทุนต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี และการพัสดุของกองทุน ตลอดจนรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละครั้ง ในการตรวจสอบภายใน ให้มีเจ้าหน้าที่ของกองทุนทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายในและให้รับผิดชอบขึ้นตรงต่อคณะกรรมการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๕ ให้กองทุนจัดทำงบการเงินซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย งบดุล และบัญชีทำการส่งผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี ในทุกรอบปี ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลภายนอกตามที่คณะกรรมการแต่งตั้งด้วยความเห็นชอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีและประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของกองทุน โดยให้แสดงความคิดเห็นเป็นข้อวิเคราะห์ว่าการใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ประหยัด และได้ผลตามเป้าหมายเพียงใด แล้วทำบันทึกรายงานผลการสอบบัญชีเสนอต่อคณะกรรมการ เพื่อการนี้ ให้ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพสมุดบัญชีและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของกองทุน สอบถามผู้จัดการ ผู้ตรวจสอบภายใน เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของกองทุน และเรียกให้ส่งสรรพสมุดบัญชีและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของกองทุนเป็นการเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น มาตรา ๓๖ ให้กองทุนทำรายงานประจำปีเสนอคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อพิจารณาภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานของกองทุนในปีที่ล่วงมาแล้ว พร้อมทั้งงบการเงิน และรายงานของผู้สอบบัญชี หมวด ๓ การประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน มาตรา ๓๗ ให้มีคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนจำนวนเจ็ดคน ประกอบด้วยประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหกคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีโดยการเสนอแนะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านการเงิน การสร้างเสริมสุขภาพและการประเมินผล ซึ่งในจำนวนนี้จะต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการประเมินผลจำนวนไม่น้อยกว่าสองคน ให้คณะกรรมการประเมินผลแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรเป็นเลขานุการ ให้นำมาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๔ มาใช้บังคับกับกรรมการประเมินผลและการประชุมของคณะกรรมการประเมินผลด้วยโดยอนุโลม มาตรา ๓๘ คณะกรรมการประเมินผลมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ประเมินผลด้านนโยบายและการกำหนดกิจกรรมของกองทุน (๒) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน (๓) รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการในทุกรอบปี ให้คณะกรรมการประเมินผลมีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกองทุนจากบุคคลใดหรือเรียกบุคคลใดมาชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาประเมินผลได้ มาตรา ๓๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการประเมินผลอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใดหรือมอบหมายให้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ตามที่เห็นสมควร ให้นำมาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๔ มาใช้บังคับกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม หมวด ๔ บทกำหนดโทษ มาตรา ๔๐ ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนผู้ใดไม่ส่งเงินบำรุงกองทุน หรือส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าเท่าถึงยี่สิบเท่าของเงินบำรุงกองทุนที่จะต้องนำส่ง หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล ให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย มาตรา ๔๒ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อธิบดีกรมสรรพสามิตหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิตมีอำนาจเปรียบเทียบได้ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการเปรียบเทียบคดีตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และกฎหมายว่าด้วยยาสูบ มาใช้บังคับการเปรียบเทียบคดีตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม บทเฉพาะกาล มาตรา ๔๓ เมื่อได้มีการจัดตั้งกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๓ เสร็จสิ้นลงแล้ว และให้รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวดำเนินการตามมาตรา ๔๔ (๒) แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยประกาศยุติการดำเนินการของสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพในราชกิจจานุเบกษา ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน เงินงบประมาณ รายได้ และผู้ปฏิบัติงานของสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้เป็นของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔๔ ให้ผู้จัดการสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้จัดการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้จัดการตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๔๕ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการตามมาตรา ๑๗ (๑) (๒) และ (๔) และให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการตามมาตรา ๔๔ เป็นกรรมการและเลขานุการ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๗ (๓) และ (๕) ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในการดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง ให้กรรมการตามมาตรา ๑๗ (๑) (๒) และ (๔) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันนี้ การบริการด้านสาธารณสุขได้มุ่งที่จะโน้มนำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเสียตั้งแต่ในเบื้องต้น และส่งเสริมให้มีการสร้างเสริมสุขภาพกายและใจให้แข็งแรง อยู่ในภาวะสมดุล และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายจากการบริโภคสุราและยาสูบหรือสารอื่นที่ทำลายสุขภาพ หรือจากพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น เพื่อที่จะให้มีเงินทุนมาดำเนินการดังกล่าว สมควรจัดตั้งกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพขึ้น โดยเก็บเงินบำรุงจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ เพื่อใช้ในการสนับสนุน รณรงค์ และชี้ชวนให้ประชาชนสร้างเสริมสุขภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ภคินี/แก้ไข ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๕ สุนันทา/นวพร/จัดทำ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖ วศิน/แก้ไข ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๖ กันยายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๖/๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๔
591162
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินเพื่อการสนับสนุนโครงการและกิจกรรม พ.ศ. 2550 กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงิน หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงิน เพื่อการสนับสนุนโครงการและกิจกรรม พ.ศ. ๒๕๕๐ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ[๑] ๑. วัตถุประสงค์ เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ และสอดคล้องกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ (๓) และมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพจึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินเพื่อการสนับสนุนโครงการและกิจกรรมขึ้นไว้ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (๑) เพื่อสนับสนุนการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ (๒) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน (๓) เพื่อสร้างกระบวนการดำเนินงานที่โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ (๔) เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนฯ กับสำนักงาน และภาคีสร้างเสริมสุขภาพให้ชัดเจน ๒. นิยาม ๒.๑ หลักเกณฑ์นี้เรียกว่า “หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินเพื่อการสนับสนุนโครงการและกิจกรรม พ.ศ. ๒๕๕๐” เรียกย่อว่า “หลักเกณฑ์” ๒.๒ ในหลักเกณฑ์นี้ (๑) “พระราชบัญญัติ” หมายความว่า พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ (๒) “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (๓) “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (๔) “ประธานกรรมการ” หมายความว่า ประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (๕) “ผู้จัดการ” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (๖) “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพหรือบุคคลที่ผู้จัดการมอบหมายให้ทำหน้าที่ในฐานะเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน (๗) “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (๘) “ภาคี” หมายความว่า ภาคีสร้างเสริมสุขภาพ อันอาจเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาแผนงานหรือโครงการ หรือมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานหรือโครงการ (๙) “แผนหลัก” (master plan) หมายความว่า แผนการดำเนินงานของกองทุนตามมาตรา ๒๑ (๑) ซึ่งประกอบด้วยแผน/แผนงานทั้งหมดของกองทุน โดยแสดงถึงกรอบการดำเนินงานในระยะสามปี ระบุถึงเป้าประสงค์ (goals) วัตถุประสงค์ (objectives) มาตรการหลัก (key measures) ตัวชี้วัดหลัก (key indicators) และเป้าหมาย (targets) โดยมีการระบุการจัดสรรงบประมาณในระดับแผนด้วย (๑๐) “แผน” (plan) หมายความว่า กลุ่มของแผนงาน (program) ที่มีความเกี่ยวเนื่องสอดคล้องกัน อันจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่สำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพ (๑๑) “แผนงาน” (program) หมายความว่า กลุ่มของชุดโครงการ/โครงการ ซึ่งมีกิจกรรมที่สัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแผนงาน (๑๒) “ชุดโครงการ” (project package) หมายความว่า กลุ่มของโครงการซึ่งมีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของชุดโครงการ (๑๓) “โครงการ” (project) หมายความว่า กลุ่มของกิจกรรมซึ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ (๑๔) “คณะกรรมการบริหารแผน” (steering committee) หมายความว่า คณะบุคคลที่คณะกรมการแต่งตั้งขึ้นเพื่อบริหาร กำกับดูแลการพัฒนา และการดำเนินการตามแผน ภายใต้แผนหลักที่คณะกรรมการเห็นชอบไว้แล้ว คณะกรรมการบริหารแผนคณะหนึ่งอาจได้รับมอบหมายให้บริหารแผนมากกว่าหนึ่งแผนก็ได้ (๑๕) “ผู้จัดการแผนงาน” (program manager) หมายความว่า บุคคลที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการแผนงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ (๑๖) “การทบทวนผลการดำเนินงาน” (program review) หมายความว่า การประเมินผลการดำเนินงานของแผนหรือแผนงาน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงแผนหรือแผนงาน ๓. แผนหลัก (master plan) แผนหลักต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนตามมาตรา ๕ และกิจการของกองทุนตามมาตรา ๙ (๔) แห่งพระราชบัญญัติ ๓.๑ ให้ผู้จัดการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารแผนและภาคีเพื่อกำหนดแผนหลัก เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อขอความเห็นชอบก่อนสิ้นเดือนสิงหาคมของทุกปี ๓.๒ ในการพัฒนาแผนหลัก ให้จัดทำเป็นระยะเวลาสามปี โดยให้ปรับปรุงทุกปีเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการตามข้อ ๓.๑ ๓.๓ ให้ผู้จัดการจัดให้คณะกรรมการบริหารแผนและภาคีต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาแผนหลักให้มากที่สุด ๓.๔ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณ หากแผนใดมีความจำเป็นในระหว่างปีที่จะต้องปรับปรุงวงเงินงบประมาณตามแผนที่คณะกรรมการเห็นชอบไว้ไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินงบประมาณแต่ละปี ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการที่จะดำเนินการได้ และให้แจ้งให้คณะกรรมการทราบ ในกรณีที่จำเป็นต้องปรับปรุงวงเงินงบประมาณเกินกว่าร้อยละสิบ ให้ผู้จัดการเสนอแนวทางการปรับปรุงต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติ ๓.๕ ในระหว่างปี หากผู้จัดการพิจารณาเห็นความจำเป็นต้องกำหนดแผนใหม่ภายใต้แผนหลัก ให้ผู้จัดการเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการ ๔. คณะกรรมการบริหารแผน ๔.๑ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วยกรรมการกองทุนและผู้ทรงคุณวุฒิอื่น ๆ รวมแล้วไม่เกินสิบคน โดยมีผู้จัดการเป็นกรรมการและเลขานุการ ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองรายชื่อบุคคลที่ผู้จัดการเสนอตามที่ได้ปรึกษาหารือกับภาคีที่เกี่ยวข้องกับแผนนั้น ๆ เพื่อเป็นคณะกรรมการบริหารแผนคณะต่าง ๆ จำนวนคณะละเจ็ดถึงสิบห้าคน แล้วให้ผู้จัดการเสนอรายชื่อที่ผ่านการกลั่นกรองแล้วต่อคณะกรรมการเพื่อให้ความเห็นชอบและให้ประธานกรรมการลงนามในประกาศแต่งตั้ง ๔.๒ คณะกรรมการบริหารแผนคณะหนึ่ง ๆ ประกอบด้วยกรรมการกองทุนไม่น้อยกว่า ๒ คน และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ มีผลงานดีเด่น และมีประสบการณ์จากหลายสาขาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามแผน โดยควรเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากภาคีที่เกี่ยวข้องกับแผนนั้น ๆ ให้ผู้จัดการหรือผู้ที่ผู้จัดการมอบหมายทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการบริหารแผน ๔.๓ ให้คณะกรรมการบริหารแผนมีวาระปฏิบัติงานคราวละสามปีหรือตามที่คณะกรรมการกำหนด โดยเมื่อครบวาระแล้วหากยังไม่มีการแต่งตั้งขึ้นใหม่ก็ให้คณะกรรมการบริหารแผน ชุดเดิมนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปก่อน นอกจากการครบตามวาระแล้ว ประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการบริหารแผนจะพ้นจากหน้าที่เมื่อตาย ลาออก หรือเมื่อพ้นสภาพตามมติของคณะกรรมการ คณะกรรมการบริหารแผนจะสิ้นสภาพไปด้วยเมื่อแผนที่ดูแลเสร็จสิ้นหรือยุติลง ๔.๔ ในการประชุมของคณะกรรมการบริหารแผนให้อนุโลมใช้ความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติ เว้นแต่คณะกรรมการบริหารแผนจะมีมติกำหนดแนวปฏิบัติไว้เป็นอื่น โดยไม่ขัดแย้งกับหลักการของมาตรา ๒๒ ๔.๕ ให้นำจรรยาบรรณของคณะกรรมการมาใช้เป็นหลักการและแนวปฏิบัติสำหรับประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการบริหารแผนด้วยโดยอนุโลม ให้สำนักงานแจ้งถึงจรรยาบรรณแก่ประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการบริหารแผนเป็นลายลักษณ์อักษรให้ทราบตั้งแต่แรกเริ่มปฏิบัติหน้าที่ ๔.๖ ให้คณะกรรมการบริหารแผนมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ (๑) กำหนดแนวทางและกำกับดูแลการดำเนินงานตามแผนให้บรรลุผล รวมถึงพัฒนาแผนในระยะต่อไปข้างหน้า โดยสามารถปรับปรุงรายละเอียดของแผนนั้น ๆ ได้ ภายในกรอบงบประมาณของแผนที่คณะกรรมการเห็นชอบไว้ (๒) พิจารณาให้ทุนหรือพิจารณาเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติตามวงเงินที่กำหนดไว้ในข้อ ๗.๖ (๒) และ ๗.๖ (๓) (๓) แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาและในกรณีที่สมควรอาจมอบหมายอำนาจหน้าที่เพื่อกำกับทิศทางของแผนงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผน (๔) เสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิทดแทนกรรมการบริหารแผนที่พ้นหน้าที่ไปด้วยสาเหตุใด ๆ หรือเสนอเพื่อพิจารณาแต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติม (๕) รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามแผนต่อคณะกรรมการ ตลอดจนจัดให้มีการประเมินผลตามข้อ ๘.๓ ถึงข้อ ๘.๗ (๖) พิจารณาปรับปรุงจัดสรรเงินภายในวงเงินที่กำหนดไว้ในแผนนั้น ๆ ตามความเหมาะสม (๗) ดำเนินงานอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินงานตามแผนบรรลุผลสำเร็จ ๔.๗ ให้ผู้จัดการจัดให้มีการประชุมร่วมกันของคณะกรรมการและคณะกรรมการบริหารแผนคณะต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ร่วมกันและต่อการบูรณาการของแผนหลักของกองทุนในภาพรวม โดยให้จัดประชุมอย่างน้อยปีละครั้ง ๕. การพัฒนาและบริหารแผนงาน ๕.๑ ให้คณะกรรมการบริหารแผนเป็นผู้กำหนดโครงสร้างแผนงาน (program) ภายในแผน รวมถึงกำหนดวงเงินงบประมาณสำหรับแต่ละแผนงาน หรือกลุ่มแผนงาน ๕.๒ ให้ผู้จัดการพัฒนารายละเอียดของแต่ละแผนงานโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีที่เกี่ยวข้องกับแผนงานนั้น ในกระบวนการพัฒนารายละเอียดของแต่ละแผนงาน ผู้จัดการอาจมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบไปดำเนินการก็ได้ ๕.๓ ผู้จัดการอาจจัดให้มีการพัฒนานวัตกรรมในแต่ละแผนได้ โดยใช้งบประมาณไม่เกินร้อยละสองของแต่ละแผน ๕.๔ ให้ผู้จัดการแต่งตั้งผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมทำหน้าที่ผู้จัดการแผนงานโดยมีกระบวนการปรึกษากับภาคีที่เกี่ยวข้อง ๕.๕ ผู้จัดการแผนงานควรมีคุณสมบัติ ดังนี้ (๑) เป็นผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาแผนงาน โดยได้แสดงถึงความรู้ ความเข้าใจ ความเอาใจใส่ และการเป็นที่ยอมรับของภาคีที่เกี่ยวข้อง (๒) เป็นผู้มีความสามารถและประสบการณ์ในการบริหาร (๓) สามารถอุทิศเวลาปฏิบัติงานได้จริงตามข้อตกลง (๔) ไม่เป็นผู้มีประวัติด่างพร้อยในทางการเงินหรือการรับทุน ทั้งนี้ ให้พึงพิจารณาข้อมูลจากแหล่งทุนอื่นด้วย ๕.๖ ให้ผู้จัดการแผนงานทำหน้าที่บริหารจัดการแผนงานภายใต้กรอบการปฏิบัติงานและโครงการ ตามที่คณะกรรมการบริหารแผนนั้น ๆ กำหนด ๕.๗ ผู้จัดการแผนงานจะพ้นจากหน้าที่เมื่อแผนที่ดูแลเสร็จสิ้นหรือยุติลง ผู้จัดการแผนงานอาจพ้นจากหน้าที่เมื่อลาออก หรือ ผู้จัดการเห็นสมควรให้พ้นจากหน้าที่ เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามข้อ ๕.๕ และให้ผู้จัดการแต่งตั้งผู้จัดการแผนงานคนใหม่แทน ๖. แผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ที่กองทุนให้การสนับสนุน ๖.๑ แผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ที่อยู่ในข่ายที่กองทุนจะสนับสนุนต้องเป็นแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนตามมาตรา ๕ กิจการของกองทุนตามมาตรา ๙ (๔) หรือ แผนการดำเนินงานของกองทุนแผนใดแผนหนึ่งที่คณะกรรมการเห็นชอบไว้ ๖.๒ กองทุนสามารถสนับสนุนแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ๓ ประเภท ดังนี้ (๑) แผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ด้านการพัฒนาและปฏิบัติการ หมายถึง แผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ที่มีลักษณะเป็นการฝึกอบรม การรณรงค์ การจัดกิจกรรม หรือพัฒนารูปแบบที่เป็นนวัตกรรม หรือการพัฒนาเครือข่ายภาคี หรือปฏิบัติการในด้านการสร้างเสริมสุขภาวะ ทั้งนี้ ต้องไม่ใช่งานประจำที่ดำเนินการอยู่แล้ว (๒) แผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ด้านการศึกษาวิจัย หมายถึง แผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ที่มีลักษณะการศึกษาวิจัย การทบทวนองค์ความรู้ การวิจัยและพัฒนา การประเมินผล รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพด้วย (๓) แผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ด้านการอุปถัมภ์กิจกรรม หมายถึง แผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ที่มีลักษณะการให้ทุนแก่กิจกรรมด้านกีฬาศิลปวัฒนธรรมหรือกิจกรรมสาธารณะอื่นเพื่อเป็นสื่อกลางในการสร้างความรู้และค่านิยมในการสร้างเสริมสุขภาพ ๖.๓ ลักษณะแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ที่กองทุนให้การสนับสนุนให้เป็นไปตามประกาศแนบท้ายหลักเกณฑ์นี้ ๖.๔ รายละเอียดสำหรับแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ แต่ละประเภท ให้ผู้จัดการจัดทำเป็นประกาศของสำนักงานเผยแพร่ให้สาธารณชนได้ทราบทางสื่อมวลชนตามเวลาและโอกาสที่เหมาะสม ๖.๕ แผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ที่กองทุนจะรับพิจารณา อาจจะมาจากการทำงานร่วมกันของภาคี หรือจากผู้สนใจที่เสนอเข้ามาตามประกาศของสำนักงาน ๖.๖ แผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ไม่ว่าประเภทใด ต้องมีรายละเอียดเพียงพอแก่การพิจารณาของกองทุน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามแบบเสนอแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการที่สำนักงานกำหนด ๗. การพิจารณาแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ๗.๑ การพิจารณาแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ให้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังนี้ (๑) ขั้นการกลั่นกรองทางวิชาการ (๒) ขั้นพิจารณาตัดสิน ๗.๒ การกลั่นกรองทางวิชาการให้กระทำโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่ต้องไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้เสนอแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ เงื่อนไขและจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นไปตามขนาดแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ดังนี้ ขนาดแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ (งบประมาณที่ขอ) จำนวนผู้ทรงคุณวุฒิ · ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๑ คน · ๒๐๐,๐๐๑ – ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๓ คน · ๑,๐๐๐,๐๐๑ – ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๕ คน · ๕,๐๐๐,๐๐๑ – ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๗ คน · ๑๐,๐๐๐,๐๐๑ – ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๗ คน และจะต้องมีการประชุมพิจารณา · เกินกว่า ๒๐ ล้านบาท อย่างน้อย ๗ คน โดยมีกรรมการบริหารแผนรวมอยู่ด้วยอย่างน้อย ๓ คน และจะต้องมี การประชุมพิจารณา ผู้ทรงคุณวุฒิให้เลือกจากบัญชีรายชื่อตามข้อ ๗.๕ ๗.๓ ให้ผู้จัดการแผนงานหรือผู้ที่ผู้จัดการมอบหมาย รับผิดชอบดำเนินการตามข้อ ๗.๒ และประมวลผลการกลั่นกรองทางวิชาการ รวมทั้งพิจารณาให้มีการปรับปรุงรายละเอียดของแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ถ้าจำเป็น เพื่อเสนอเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของผู้มีอำนาจตามข้อ ๗.๖ ๗.๔ หลังจากได้รับการอนุมัติแล้วให้ผู้จัดการหรือผู้ที่ผู้จัดการมอบหมายจัดทำสัญญากับผู้รับทุน ซึ่งในกระบวนการดังกล่าวหากมีความจำเป็นและสมควรเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการ ผู้จัดการอาจให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในรายละเอียดได้ ๗.๕ ให้ผู้จัดการร่วมกับผู้จัดการแผนงาน จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิประจำแต่ละแผน แล้วเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารแผนปีละครั้ง ๗.๖ อำนาจในการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณให้เป็นไปตามวงเงินดังนี้ (๑) วงเงินไม่เกิน ๒๐ ล้านบาท ให้ผู้จัดการพิจารณาอนุมัติแล้วรายงานให้คณะกรรมการ และคณะกรรมการบริหารแผนทราบ (๒) วงเงินเกิน ๒๐ ล้านบาทแต่ไม่เกิน ๕๐ ล้านบาท ให้คณะกรรมการบริหารแผนพิจารณาอนุมัติและเสนอคณะกรรมการเพื่อทราบ (๓) วงเงินเกินกว่า ๕๐ ล้านบาท ให้คณะกรรมการบริหารแผนพิจารณาเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติ ๘. การกำกับติดตามและประเมินผลเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานตามแผน ๘.๑ ให้สำนักงานกำหนดงวดงานและงวดเงินในสัญญา เพื่อกำกับผลงานและวงเงินที่จะจ่ายในแต่ละงวด ๘.๒ ให้ผู้จัดการแผนงานกำหนดกลไกการกำกับติดตามและประเมินผลภายในของแผนงาน และจัดทำรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานของแผนงานเสนอต่อคณะกรรมการบริหารแผนอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หรือตามที่คณะกรรมการบริหารแผนกำหนด ๘.๓ ให้ผู้จัดการแผนงานจัดให้มีการทบทวนผลการดำเนินงาน เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานของแผนงานปีละหนึ่งครั้ง และรายงานผลให้คณะกรรมการบริหารแผนทราบโดยผ่านคณะกรรมการกำกับทิศทางที่คณะกรรมการบริหารแผนแต่งตั้ง ๘.๔ ให้คณะกรรมการบริหารแผน จัดทำรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานของแผน เสนอต่อคณะกรรมการ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หรือตามที่คณะกรรมการกำหนด ๘.๕ ให้คณะกรรมการบริหารแผน จัดให้มีการทบทวนผลการดำเนินงาน เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานของแผนปีละหนึ่งครั้ง และรายงานผลให้คณะกรรมการทราบ ๘.๖ รายงานตามข้อ ๘.๒ ถึง ๘.๕ ให้นำเสนอ คณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน ตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติ เพื่อทราบด้วย ๘.๗ ให้คณะกรรมการบริหารแผนพิจารณา จัดให้มีการประเมินผลเชิงลึกสำหรับชุดแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ขนาดใหญ่ที่มีวงเงินงบประมาณเกินกว่า ๒๐ ล้านบาท ๘.๘ คณะกรรมการ หรือคณะกรรมการบริหารแผน อาจจัดให้มีการติดตามและประเมินผล นอกเหนือจากการรายงานและทบทวนในข้อ ๘.๒ ถึง ๘.๗ ก็ได้ ๙. การสิ้นสุดแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ๙.๑ แผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการนั้น ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่ได้วางแผนและบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการแล้ว และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการต่อ หรือ ๙.๒ แผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการนั้น หมดสภาพไปเนื่องจากผลจากการติดตามตรวจสอบและการประเมินผลระบุให้เห็นถึงความล้มเหลวและเห็นควรให้เลิก หรือ ๙.๓ เป็นไปตามเงื่อนไขอื่น ตามที่ระบุไว้ในสัญญาระหว่างกองทุนกับผู้รับทุนของแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการนั้น ๑๐. การรักษาการและปฏิบัติการตามหลักเกณฑ์ ๑๐.๑ ให้ผู้จัดการเป็นผู้รักษาการตามหลักเกณฑ์นี้ และสามารถออกระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หรือดำเนินการอื่นใด เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามหลักเกณฑ์นี้ได้ ๑๐.๒ ในกรณีที่มีปัญหาทางข้อกฎหมายหรือข้อที่เกี่ยวกับนโยบายของคณะกรรมการในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์นี้ ให้ผู้จัดการรายงานข้อเท็จจริงและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด ๑๑. บทเฉพาะกาล ๑๑.๑ ให้คณะกรรมการอำนวยการแผนงานคณะต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานอยู่ก่อนที่หลักเกณฑ์นี้จะมีผลบังคับใช้คงปฏิบัติงานต่อไปจนสิ้นสุดแผนงานหรือโครงการตามกำหนดเดิมและยังคงอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่เดิม โดยให้ถือเป็นระดับคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการบริหารแผนชุดที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ยกเว้นคณะกรรมการบริหารแผนจะเห็นเป็นอย่างอื่น ให้สำนักงานจัดทำบัญชีรายชื่อคณะกรรมการอำนวยการแผนงานในวรรคแรกแจ้งต่อคณะกรรมการบริหารแผนที่ดูแลแผนที่เกี่ยวข้องในการประชุมนัดแรก ๑๑.๒ ให้แผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการที่ได้รับการอนุมัติสนับสนุนงบประมาณไปแล้วก่อนที่หลักเกณฑ์นี้จะมีผลบังคับใช้ ดำเนินการต่อไปจนสิ้นสุดแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ๑๑.๓ ให้บรรดาระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หรือกฎ ไม่ว่าจะเรียกชื่อใด ๆ ที่ออกตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินการสนับสนุนโครงการและกิจกรรม พ.ศ. ๒๕๔๘ มีผลบังคับใช้ต่อไปเสมือนได้ออกตามหลักเกณฑ์นี้จนกว่าจะมีการออกระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หรือกฎนั้น ๆ ขึ้นมาใหม่ หลักเกณฑ์นี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป และให้ยกเลิกหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินการสนับสนุนโครงการและกิจกรรม พ.ศ. ๒๕๔๘ และบรรดาระเบียบ คำสั่ง หรือประกาศต่าง ๆ ที่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์นี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ดวงเพ็ญ/พิมพ์ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๖ กันยายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๘๕/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐
461461
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงิน เพื่อการสนับสนุนโครงการและกิจกรรม พ.ศ. 2548 กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงิน หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงิน เพื่อการสนับสนุนโครงการและกิจกรรม พ.ศ. ๒๕๔๘ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ[๑] ๑. วัตถุประสงค์ เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ละสอดคล้องกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ (๓) และมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพจึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินเพื่อการสนับสนุนโครงการและกิจกรรมขึ้นไว้ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (๑) เพื่อสนับสนุนการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ (๒) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน (๓) เพื่อสร้างกระบวนการดำเนินงานที่โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ (๔) เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนฯ กับสำนักงาน และภาคีสร้างเสริมสุขภาพให้ชัดเจน ๒. นิยาม ๒.๑ หลักเกณฑ์นี้เรียกว่า “หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินเพื่อการสนับสนุนโครงการและกิจกรรม พ.ศ. ๒๕๔๘” เรียกย่อว่า “หลักเกณฑ์” ๒.๒ ในหลักเกณฑ์นี้ (๑) “พระราชบัญญัติ” หมายความว่า พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ (๒) “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (๓) “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (๔) “ประธานกรรมการ” หมายความว่า ประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (๕) “ผู้จัดการ” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (๖) “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพหรือบุคคลที่ผู้จัดการมอบหมายให้ทำหน้าที่ในฐานะเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน (๗) “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (๘) “ภาคี” หมายความว่า ภาคีสร้างเสริมสุขภาพ อันอาจเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาแผนงานหรือโครงการ หรือมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานหรือโครงการ (๙) “แผนหลัก” (master plan) หมายความว่า แผนการดำเนินงานของกองทุนตามมาตรา ๒๑ (๑) ซึ่งประกอบด้วยแผน/แผนงานทั้งหมดของกองทุน โดยแสดงถึงกรอบการดำเนินงานในระยะสามปี ระบุถึงเป้าประสงค์ (goals) วัตถุประสงค์ (objectives) มาตรการหลัก (key measures) ตัวชี้วัดหลัก (key indicators) และเป้าหมาย (targets) โดยมีการระบุการจัดสรรงบประมาณในระดับแผนด้วย (๑๐) “แผน” (plan) หมายความว่า กลุ่มของแผนงาน (program) ที่มีความเกี่ยวเนื่องสอดคล้องกัน อันจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่สำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพ (๑๑) “แผนงาน” (program) หมายความว่า กลุ่มของชุดโครงการ/โครงการซึ่งมีกิจกรรมที่สัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแผนงาน (๑๒) “ชุดโครงการ” (project package) หมายความว่า กลุ่มของโครงการซึ่งมีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของชุดโครงการ (๑๓) “โครงการ” (project) หมายความว่า กลุ่มของกิจกรรมซึ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ (๑๔) “คณะกรรมการบริหารแผน” (steering committee) หมายความว่า คณะบุคคลที่คณะกรรมการแต่งตั้งขึ้นเพื่อบริหาร กำกับดูแลการพัฒนา และการดำเนินการตามแผนภายใต้แผนหลักที่คณะกรรมการเห็นชอบไว้แล้ว คณะกรรมการบริหารแผนคณะหนึ่งอาจได้รับมอบหมายให้บริหารแผนมากกว่าหนึ่งแผนก็ได้ (๑๕) “ผู้จัดการแผนงาน” (program manager) หมายความว่า บุคคลที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการแผนงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ (๑๖) “การทบทวนผลการดำเนินงาน” (program review) หมายความว่า การประเมินผลการดำเนินงานของแผนหรือแผนงาน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงแผนหรือแผนงาน ๓. แผนหลัก (master plan) แผนหลักต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนตามมาตรา ๕ และกิจการของกองทุนตามมาตรา ๙ (๔) แห่งพระราชบัญญัติ ๓.๑ ให้ผู้จัดการเสนอแผนหลักต่อคณะกรรมการเพื่อขอความเห็นชอบก่อนสิ้นเดือนสิงหาคมของทุกปี ๓.๒ ในการพัฒนาแผนหลัก ให้จัดทำเป็นระยะเวลาสามปี โดยให้ปรับปรุงทุกปีเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการตามข้อ ๓.๑ ๓.๓ ให้ผู้จัดการจัดให้คณะกรรมการบริหารแผนและภาคีต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาแผนหลักให้มากที่สุด ๓.๔ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณ หากแผนใดมีความจำเป็นในระหว่างปีที่จะต้องปรับปรุงวงเงินงบประมาณตามแผนที่คณะกรรมการเห็นชอบไว้ไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินงบประมาณแต่ละปี ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการที่จะดำเนินการได้ ในกรณีที่จำเป็นต้องปรับปรุงวงเงินงบประมาณเกินกว่าร้อยละสิบ ให้ผู้จัดการเสนอแนวทางการปรับปรุงต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติ ๓.๕ ในระหว่างปี หากผู้จัดการพิจารณาเห็นความจำเป็นต้องกำหนดแผนใหม่ภายใต้แผนหลัก ให้ผู้จัดการเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการ ๔. คณะกรรมการบริหารแผน ๔.๑ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วยกรรมการกองทุนและผู้ทรงคุณวุฒิอื่น ๆ รวมแล้วไม่เกินสิบคน โดยมีผู้จัดการเป็นกรรมการและเลขานุการ ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองรายชื่อบุคคลที่ผู้จัดการเสนอตามที่ได้ปรึกษาหารือกับภาคีที่เกี่ยวข้องกับแผนนั้น ๆ เพื่อเป็นคณะกรรมการบริหารแผนคณะต่าง ๆ จำนวนคณะละเจ็ดถึงสิบห้าคน แล้วให้ผู้จัดการเสนอรายชื่อที่ผ่านการกลั่นกรองแล้วต่อคณะกรรมการเพื่อให้ความเห็นชอบและให้ประธานกรรมการลงนามในประกาศแต่งตั้ง ๔.๒ คณะกรรมการบริหารแผนคณะหนึ่ง ๆ ประกอบด้วยกรรมการกองทุนไม่น้อยกว่า ๒ คน และบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีผลงานดีเด่น และมีประสบการณ์จากหลายสาขาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามแผน โดยควรเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากภาคีที่เกี่ยวข้องกับแผนนั้น ๆ ให้ผู้จัดการหรือผู้ที่ผู้จัดการมอบหมายทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการบริหารแผน ๔.๓ ให้คณะกรรมการบริหารแผนมีวาระปฏิบัติงานคราวละสามปีหรือตามที่คณะกรรมการกำหนด โดยเมื่อครบวาระแล้วหากยังไม่มีการแต่งตั้งขึ้นใหม่ก็ให้คณะกรรมการบริหารแผน ชุดเดิมนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปก่อน นอกจากการครบตามวาระแล้ว ประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการบริหารแผนจะพ้นจากหน้าที่เมื่อตาย ลาออก หรือเมื่อพ้นสภาพตามมติของคณะกรรมการ คณะกรรมการบริหารแผนจะสิ้นสภาพไปด้วยเมื่อแผนที่ดูแลเสร็จสิ้นหรือยุติลง ๔.๔ ในการประชุมของคณะกรรมการบริหารแผนให้อนุโลมใช้ความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติ เว้นแต่คณะกรรมการบริหารแผนจะมีมติกำหนดแนวปฏิบัติไว้เป็นอื่นโดยไม่ขัดแย้งกับหลักการของมาตรา ๒๒ ๔.๕ ให้นำข้อตกลงว่าด้วยจริยธรรมของคณะกรรมการมาใช้เป็นหลักการและแนวปฏิบัติสำหรับประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการบริหารแผนด้วยโดยอนุโลม ให้สำนักงานแจ้งถึงข้อตกลงว่าด้วยจริยธรรมแก่ประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการบริหารแผนเป็นลายลักษณ์อักษรให้ทราบตั้งแต่แรกเริ่มปฏิบัติหน้าที่ ๔.๖ ให้คณะกรรมการบริหารแผนมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) กำหนดแนวทางและกำกับดูแลการดำเนินงานตามแผนให้บรรลุผล รวมถึงพัฒนาแผนในระยะต่อไปข้างหน้า โดยสามารถปรับปรุงรายละเอียดของแผนนั้น ๆ ได้ ภายในกรอบงบประมาณของแผนที่คณะกรรมการเห็นชอบไว้ (๒) พิจารณาให้ทุนหรือพิจารณาเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติตามวงเงินที่กำหนดไว้ในข้อ ๗.๖ (๒) และ ๗.๖ (๓) (๓) แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาและในกรณีที่สมควรอาจมอบหมายอำนาจหน้าที่เพื่อกำกับทิศทางของแผนงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผน แต่ไม่รวมถึงการพิจารณางบประมาณแก่ชุดโครงการ/โครงการ (๔) เสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิทดแทนกรรมการบริหารแผนที่พ้นหน้าที่ไปด้วยสาเหตุใด ๆ หรือเสนอเพื่อพิจารณาแต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติม (๕) รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามแผนต่อคณะกรรมการ ตลอดจนจัดให้มีการประเมินผลตามข้อ ๘.๓ ถึงข้อ ๘.๗ (๖) พิจารณาปรับปรุงจัดสรรเงินภายในวงเงินที่กำหนดไว้ในแผนนั้น ๆ ตามความเหมาะสม (๗) ดำเนินงานอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินงานตามแผน บรรลุผลสำเร็จ ๔.๗ ให้ผู้จัดการจัดให้มีการประชุมร่วมกันของคณะกรรมการและคณะกรรมการบริหารแผนคณะต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ร่วมกันและต่อการบูรณาการของแผนหลักของกองทุนในภาพรวม โดยให้จัดประชุมอย่างน้อยปีละครั้ง ๕. การพัฒนาและบริหารแผนงาน ๕.๑ ให้คณะกรรมการบริหารแผนเป็นผู้กำหนดโครงสร้างแผนงาน (program) ภายในแผน รวมถึงกำหนดวงเงินงบประมาณสำหรับแต่ละแผนงาน ๕.๒ ให้ผู้จัดการพัฒนารายละเอียดของแต่ละแผนงานโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีที่เกี่ยวข้องกับแผนงานนั้น ในกระบวนการพัฒนารายละเอียดของแต่ละแผนงาน ผู้จัดการอาจมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบไปดำเนินการก็ได้ ๕.๓ ผู้จัดการอาจจัดให้มีการพัฒนานวัตกรรมในแต่ละแผนได้ โดยใช้งบประมาณไม่เกินร้อยละสองของแต่ละแผน ๕.๔ ให้ผู้จัดการแต่งตั้งผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมทำหน้าที่ผู้จัดการแผนงานโดยมีกระบวนการปรึกษากับภาคีที่เกี่ยวข้อง ๕.๕ ผู้จัดการแผนงานควรมีคุณสมบัติ ดังนี้ (๑) เป็นผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาแผนงาน โดยได้แสดงถึงความรู้ ความเข้าใจ ความเอาใจใส่ และการเป็นที่ยอมรับของภาคีที่เกี่ยวข้อง (๒) เป็นผู้มีความสามารถและประสบการณ์ในการบริหาร (๓) สามารถอุทิศเวลาปฏิบัติงานได้จริงตามข้อตกลง (๔) ไม่เป็นผู้มีประวัติด่างพร้อยในทางการเงินหรือการรับทุน ทั้งนี้ ให้พึงพิจารณาข้อมูลจากแหล่งทุนอื่นด้วย ๕.๖ ให้ผู้จัดการแผนงานทำหน้าที่บริหารจัดการแผนงานภายใต้กรอบการปฏิบัติงานและโครงการ ตามที่คณะกรรมการบริหารแผนนั้น ๆ กำหนด ๕.๗ ผู้จัดการแผนงานจะพ้นจากหน้าที่เมื่อแผนที่ดูแลเสร็จสิ้นหรือยุติลง ผู้จัดการแผนงานอาจพ้นจากหน้าที่เมื่อลาออก หรือผู้จัดการเห็นสมควรให้พ้นจากหน้าที่ เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามข้อ ๕.๕ และให้ผู้จัดการแต่งตั้งผู้จัดการแผนงานคนใหม่แทน ๖. โครงการที่กองทุนให้การสนับสนุน ๖.๑ โครงการที่อยู่ในข่ายที่กองทุนจะสนับสนุนต้องเป็นโครงการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนตามมาตรา ๕ กิจการของกองทุนตามมาตรา ๙ (๔) หรือแผนการดำเนินงานของกองทุนแผนใดแผนหนึ่งที่คณะกรรมการเห็นชอบไว้ ๖.๒ กองทุนสามารถสนับสนุนโครงการ ๓ ประเภท ดังนี้ (๑) โครงการด้านการพัฒนาและปฏิบัติการ หมายถึง โครงการที่มีลักษณะเป็นการฝึกอบรม การรณรงค์ การจัดกิจกรรม หรือพัฒนารูปแบบที่เป็นนวัตกรรม หรือการพัฒนาเครือข่ายภาคี หรือปฏิบัติการในด้านการสร้างเสริมสุขภาวะ ทั้งนี้ ต้องไม่ใช่งานประจำที่ดำเนินการอยู่แล้ว (๒) โครงการด้านการศึกษาวิจัย หมายถึง โครงการที่มีลักษณะการศึกษาวิจัย การทบทวนองค์ความรู้ การวิจัยและพัฒนา การประเมินผล รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพด้วย (๓) โครงการด้านการอุปถัมภ์กิจกรรม หมายถึง โครงการที่มีลักษณะการให้ทุนแก่กิจกรรมด้านกีฬา ศิลปวัฒนธรรม หรือกิจกรรมสาธารณะอื่นเพื่อเป็นสื่อกลางในการสร้างวามรู้และค่านิยมในการสร้างเสริมสุขภาพ ๖.๓ ลักษณะโครงการที่กองทุนให้การสนับสนุนให้เป็นไปตามประกาศแนบท้ายหลักเกณฑ์นี้ ๖.๔ รายละเอียดสำหรับโครงการแต่ละประเภทให้ผู้จัดการจัดทำเป็นประกาศของสำนักงานเผยแพร่ให้สาธารณชนได้ทราบทางสื่อมวลชนตามเวลาและโอกาสที่เหมาะสม ๖.๕ โครงการที่กองทุนจะรับพิจารณา อาจจะมาจากการทำงานร่วมกันของภาคีหรือจากผู้สนใจที่เสนอเข้ามาตามประกาศของสำนักงาน ๗. การพิจารณาโครงการ ๗.๑ การพิจารณาโครงการให้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังนี้ (๑) ขั้นการกลั่นกรองทางวิชาการ (๒) ขั้นพิจารณาตัดสิน ๗.๒ การกลั่นกรองทางวิชาการให้กระทำโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่ต้องไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้เสนอโครงการ เงื่อนไขและจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นไปตามขนาดโครงการ ดังนี้ ขนาดโครงการ (งบประมาณที่ขอ) จำนวนผู้ทรงคุณวุฒิ • ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๑ คน • ๒๐๐,๐๐๑ – ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๓ คน • ๑,๐๐๐,๐๐๑ – ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๕ คน • ๕,๐๐๐,๐๐๑ – ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๗ คน • ๑๐,๐๐๐,๐๐๑ – ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๗ คน และจะต้อง มีการประชุมพิจารณา • เกินกว่า ๒๐ ล้านบาท อย่างน้อย ๗ คน โดยมี กรรมการบริหารแผนรวมอยู่ ด้วยอย่างน้อย ๓ คน และ จะต้องมีการประชุมพิจารณา ผู้ทรงคุณวุฒิให้เลือกจากบัญชีรายชื่อตามข้อ ๗.๕ ๗.๓ ให้ผู้จัดการแผนงานหรือผู้ที่ผู้จัดการมอบหมาย รับผิดชอบดำเนินการตามข้อ ๗.๒ และประมวลผลการกลั่นกรองทางวิชาการ รวมทั้งพิจารณาให้มีการปรับปรุงรายละเอียดของโครงการถ้าจำเป็น เพื่อเสนอเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของผู้มีอำนาจตามข้อ ๗.๖ ๗.๔ หลังจากได้รับการอนุมัติแล้วให้ผู้จัดการหรือผู้ที่ผู้จัดการมอบหมายจัดทำสัญญากับผู้รับทุน ซึ่งในกระบวนการดังกล่าวหากมีความจำเป็นและสมควรเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการ ผู้จัดการอาจให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในรายละเอียดได้ ๗.๕ ให้ผู้จัดการร่วมกับผู้จัดการแผนงาน จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิประจำแต่ละแผนแล้วเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารแผนปีละครั้ง ๗.๖ อำนาจในการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณให้เป็นไปตามวงเงินดังนี้ (๑) วงเงินไม่เกิน ๒๐ ล้านบาท ให้ผู้จัดการพิจารณาอนุมัติ แล้วรายงานให้คณะกรรมการ และคณะกรรมการบริหารแผนทราบ (๒) วงเงินเกิน ๒๐ ล้านบาทแต่ไม่เกิน ๕๐ ล้านบาท ให้คณะกรรมการบริหารแผนพิจารณาอนุมัติและเสนอคณะกรรมการเพื่อทราบ (๓) วงเงินเกินกว่า ๕๐ ล้านบาท ให้คณะกรรมการบริหารแผนพิจารณาเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติ ๘. การรายงานและการทบทวนเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานตามแผน ๘.๑ ให้ผู้จัดการแผนงาน จัดทำรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานของแผนงานเสนอต่อคณะกรรมการบริหารแผนอย่างน้อยปีละสองครั้ง หรือตามที่คณะกรรมการบริหารแผนกำหนด ๘.๒ ให้ผู้จัดการแผนงานจัดให้มีการทบทวนผลการดำเนินงาน เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานของแผนงานปีละหนึ่งครั้ง และรายงานผลให้คณะกรรมการบริหารแผนทราบ ๘.๓ ให้คณะกรรมการบริหารแผน จัดทำรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานของแผน เสนอต่อคณะกรรมการ อย่างน้อยปีละครั้ง หรือตามที่คณะกรรมการกำหนด ๘.๔ ให้คณะกรรมการบริหารแผน จัดให้มีการทบทวนผลการดำเนินงาน เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานของแผนปีละหนึ่งครั้ง และรายงานผลให้คณะกรรมการทราบ ๘.๕ รายงานตามข้อ ๘.๑ ถึง ๘.๔ ให้นำเสนอคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน ตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติ เพื่อทราบด้วย ๘.๖ ให้คณะกรรมการบริหารแผนพิจารณา จัดให้มีการประเมินผลเชิงลึกสำหรับชุดโครงการ/โครงการขนาดใหญ่ที่มีวงเงินงบประมาณเกินกว่า ๒๐ ล้านบาท ๘.๗ คณะกรรมการ หรือคณะกรรมการบริหารแผน อาจจัดให้มีการติดตามและประเมินผล นอกเหนือจากการรายงานและทบทวนในข้อ ๘.๑ ถึง ๘.๖ ก็ได้ ๙. การรักษาการและปฏิบัติการตามหลักเกณฑ์ ๙.๑ ให้ผู้จัดการเป็นผู้รักษาการตามหลักเกณฑ์นี้ และสามารถออกระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หรือดำเนินการอื่นใด เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามหลักเกณฑ์นี้ได้ ๙.๒ ในกรณีที่มีปัญหาทางข้อกฎหมายหรือข้อที่เกี่ยวกับนโยบายของคณะกรรมการในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์นี้ ให้ผู้จัดการรายงานข้อเท็จจริงและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด ๑๐ บทเฉพาะกาล ๑๐.๑ ให้คณะกรรมการอำนวยการแผนงานคณะต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานอยู่ก่อนที่หลักเกณฑ์ฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้คงปฏิบัติงานต่อไปจนสิ้นสุดแผนงานหรือโครงการตามกำหนดเดิมและยังคงอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่เดิม โดยให้ถือเป็นระดับคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการบริหารแผนชุดที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ยกเว้นคณะกรรมการบริหารแผนจะเห็นเป็นอย่างอื่น ให้สำนักงานจัดทำบัญชีรายชื่อคณะกรรมการอำนวยการแผนงานในวรรคแรกแจ้งต่อคณะกรรมการบริหารแผนที่ดูแลแผนที่เกี่ยวข้องในการประชุมนัดแรก ๑๐.๒ ให้โครงการที่ได้รับการอนุมัติสนับสนุนงบประมาณไปแล้วก่อนที่หลักเกณฑ์ฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ ดำเนินการต่อไปจนสิ้นสุดโครงการ หลักเกณฑ์นี้ ให้มีผลบังคับใช้เมื่อครบหกสิบวันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป และให้ยกเลิกบรรดาระเบียบ คำสั่ง หรือประกาศต่างๆ ที่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์นี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ จาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ [เอกสารแนบท้าย] ๑. ประกาศสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เรื่อง ลักษณะโครงการที่เข้าข่ายให้การสนับสนุน (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชัชสรัญ/จัดทำ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๘ สถาพร/ปรับปรุง ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ โชติกานต์/ปรับปรุง ๖ กันยายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๘๖ ง/หน้า ๒๗/๑๕ กันยายน ๒๕๔๘
559387
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยุติการดำเนินการของสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยุติการดำเนินการของสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ[๑] โดยที่ได้มีการจัดตั้งกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ และมาตรา ๔๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นอันเสร็จสิ้นลง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ (๒) แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ และมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ นายกรัฐมนตรีจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ให้ยุติการดำเนินการของสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๓ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ได้มีการจัดตั้งกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ณัฐดนัย/พิมพ์ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๐ ปฐมพร/จัดทำ ๗ มกราคม ๒๕๕๑ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒ กันยายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๐ ง /หน้า ๑/๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
592992
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วย การจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ พ.ศ. 2544 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วย การจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุง กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ พ.ศ. ๒๕๔๔[๑] เพื่ออนุวัตตามความในมาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ กระทรวงการคลังจึงวางระเบียบปฏิบัติในการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้ เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วย การจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ พ.ศ. ๒๕๔๔” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันออกประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “สุรา” หมายความว่า สุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา “ยาสูบ” หมายความว่า ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ “ภาษี” หมายความว่า ภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และค่าแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ “ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุน” หมายความว่า (๑) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุรา (๒) ผู้มีหน้าที่เสียค่าแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ “ผู้ส่งออก” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตทำสุรา หรือยาสูบที่ได้รับอนุญาตให้ส่งสุราหรือยาสูบออกนอกราชอาณาจักร ตามกฎหมายว่าด้วยสุราหรือกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ข้อ ๔ ให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุน ส่งเงินกองทุนในอัตราร้อยละสองของภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในการคำนวณเงินบำรุงกองทุน ตามอัตราที่กำหนดในวรรคหนึ่ง หากมีเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ข้อ ๕[๒] ให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุน ส่งเงินบำรุงกองทุน ตามแบบ สสส. ๑/๐๑ ท้ายระเบียบนี้พร้อมกับการชำระภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบ ตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ณ สถานที่ยื่นแบบชำระภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบ ตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และกฎหมายว่าด้วยยาสูบ กรณีการยื่นแบบชำระภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http : //www.excise.go.th ให้ถือว่าเป็นการยื่นแบบชำระภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบ ณ กรมสรรพสามิต ข้อ ๖ กรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุน ไม่ส่งเงินบำรุงกองทุน หรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนด หรือส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่งผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุน จะต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่ไม่ส่ง หรือจำนวนเงินที่ขาดไป หรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนดแล้วแต่กรณี นับแต่วันครบกำหนดส่งจนถึงวันที่ส่งเงินบำรุงกองทุนครบถ้วน ทั้งนี้ เงินเพิ่มจะต้องไม่เกินจำนวนเงินบำรุงกองทุน และให้ถือว่าเงินเพิ่มนี้เป็นเงินบำรุงกองทุนด้วย โดยยื่นแบบ สสส. ๑/๐๑ ตามข้อ ๕ การคำนวณระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน ข้อ ๗[๓] การส่งเงินบำรุงกองทุนให้ส่งเป็นเงินสด หรือเช็ค กรณีเป็นเช็คให้สั่งจ่ายในนาม “กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ” ในกรณีผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนยื่นแบบชำระภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http : //www.excise.go.thเมื่อกรมสรรพสามิตตรวจสอบว่ามีการชำระเงินเข้าบัญชีของกรมสรรพสามิตแล้ว ให้กรมสรรพสามิตส่งเงินบำรุงกองทุนเป็นเช็คต่อไป ข้อ ๘ การนำส่งเงินบำรุงกองทุนให้ส่งเงินบำรุงกองทุนให้แก่กองทุนอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง เข้าบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ ที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บัญชีเลขที่ ๐๐๗-๑-๒๕๘๓๑-๐ หรือธนาคารอื่นตามที่กองทุนกำหนด โดยให้ดำเนินการ ดังนี้ (๑) ในเขตกรุงเทพมหานคร สำหรับกรมสรรพสามิต ให้กองรายได้เป็นผู้นำส่ง สำหรับกรมศุลกากร ให้สำนักงานศุลกากรผู้จัดเก็บเป็นผู้นำส่ง (๒) ในจังหวัดอื่นนอกจากเขตกรุงเทพมหานคร สำหรับกรมสรรพาสามิตให้สำนักงานสรรพสามิตจังหวัดเป็นผู้นำส่ง สำหรับกรมศุลกากรให้ด่านศุลกากรเป็นผู้นำส่ง ในการส่งเงินตามวรรคหนึ่ง ให้จัดทำใบส่งเงินบำรุงกองทุนตามแบบ สสส. ๑/๐๒ และบัญชีสรุปรายละเอียดการรับ - ส่งเงินบำรุงกองทุนตามแบบ สสส. ๑/๐๓ พร้อมแนบสำเนาใบนำฝากเงิน (Pay - In - Slip) รายงานให้กองทุนทราบภายใน ๓ วันทำการ นับแต่วันนำส่งเงิน ให้หน่วยงานที่นำส่งเงินจัดทำรายงานการจัดเก็บเงินบำรุงกองทุนประจำเดือนแบบ สสส. ๑/๐๔ พร้อมทั้งส่งสำเนาบัญชีสรุปรายละเอียดการรับ - ส่งเงินบำรุงกองทุนประจำเดือนให้กรมสรรพสามิตหรือกรมศุลกากร แล้วแต่กรณี ภายในวันที่ ๑๐ ของเดือนถัดไป การเก็บรักษาและการนำเงินส่งกองทุน ให้ใช้ระเบียบการรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการโดยอนุโลม เท่าที่ไม่ขัดต่อระเบียบนี้ ข้อ ๙[๔] ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบได้รับการยกเว้นหรือคืนภาษี ให้ได้รับการยกเว้นหรือคืนเงินบำรุงกองทุนด้วย การคืนเงินบำรุงกองทุนให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ให้กองทุนเป็นผู้ดำเนินการ ส่วนการคืนเงินบำรุงกองทุนให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราให้กรมสรรพสามิตเป็นผู้ดำเนินการ ข้อ ๑๐ ให้ผู้ส่งออกแจ้งความประสงค์ขอคืนเงินบำรุงกองทุนพร้อมกับการขอคืนค่าภาษีสุรา ข้อ ๑๑ การขอรับเงินบำรุงคืนจากกองทุน ให้อธิบดีกรมสรรพสามิต หรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งคืนเงินบำรุงกองทุน โดยใช้วิธีปฏิบัติเช่นเดียวกับวิธีการขอคืนภาษีสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา ข้อ ๑๒ สำหรับสุราหรือยาสูบที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร ให้ได้รับการยกเว้นการส่งเงินบำรุงเข้ากองทุน โดยให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนแจ้งความประสงค์ขอยกเว้นภาษี พร้อมกับการขออนุญาตส่งออกสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ตามแบบ สสส . ๑/๐๕ ข้อ ๑๓ การดำเนินการอื่นใดที่ไม่ได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบราชการโดยอนุโลม ข้อ ๑๔ ให้ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔ ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบรายการเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ๒. ใบส่งเงินบำรุงกองทุน ๓. บัญชีสรุปรายละเอียดการรับ - ส่งเงินบำรุงกองทุน ๔. รายงานการจัดเก็บเงินบำรุงกองทุนประจำเดือน ๕. แบบรายการขอยกเว้นเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้นและการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘[๕] ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันออกประกาศเป็นต้นไป ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดเก็บ การส่งเงินการยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐[๖] ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันออกประกาศเป็นต้นไป ปาจรีย์/ผู้จัดทำ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐ พรวิภา/เพิ่มเติม ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๑๑๕ ง/หน้า ๖/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ [๒] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้นและการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓] ข้อ ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้นและการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๔] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดเก็บ การส่งเงินการยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๒๒/๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๘ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๖ ง/หน้า ๑/๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐
780815
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุง กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ และเพื่อให้มีวิธีปฏิบัติในการยกเว้นหรือคืนเงินบำรุงกองทุนในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบได้รับการยกเว้นหรือคืนภาษี กระทรวงการคลัง จึงวางระเบียบปฏิบัติ เพิ่มเติมไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดเก็บ การส่งเงินการยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันออกประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ แห่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ พ.ศ. ๒๕๔๔ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบได้รับการยกเว้นหรือคืนภาษี ให้ได้รับการยกเว้นหรือคืนเงินบำรุงกองทุนด้วย การคืนเงินบำรุงกองทุนให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ให้กองทุนเป็นผู้ดำเนินการ ส่วนการคืนเงินบำรุงกองทุนให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราให้กรมสรรพสามิตเป็นผู้ดำเนินการ” ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๖ ง/หน้า ๑/๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐
777199
ระเบียบกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการบริหารข้อมูลข่าวสารของกองทุน พ.ศ. 2560
ระเบียบกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ระเบียบกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการบริหารข้อมูลข่าวสารของกองทุน พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] เพื่อให้การบริการข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตาม และตรวจสอบการดำเนินงานของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพให้เป็นไปอย่างโปร่งใสและสอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ (๕) และ (๗) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ประกอบกับข้อ ๔ ของประกาศคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู ลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑ และมติคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๐ จึงออกระเบียบไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการบริหารข้อมูลข่าวสารของกองทุน พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดากฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือประกาศอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือที่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ข้อมูลข่าวสาร” หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง ข้อมูลหรือสิ่งใด ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร” หมายความว่า ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “บริการข้อมูลข่าวสาร” หมายความว่า การให้ตรวจดู ศึกษาค้นคว้า ขอรับ หรือขอสำเนาข้อมูลข่าวสารของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับแต่งตั้งให้รับผิดชอบบริการข้อมูลข่าวสาร ณ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารข้อมูลข่าวสารของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “คณะกรรมการกองทุน” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “สำนักงานกองทุน” หมายความว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “ผู้จัดการ” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “ส่วนงาน” หมายความว่า ส่วนงานต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการจัดแบ่งส่วนงานและการบริหารงานภายในสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และส่วนงานอื่นใดที่ระเบียบหรือข้อบังคับกำหนดให้เป็นส่วนงานภายในของกองทุน “ฝ่ายสื่อสารองค์กร” หมายความว่า ส่วนงานหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการจัดแบ่งส่วนงานและการบริหารงานภายในสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๕ ให้ผู้จัดการรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ คณะกรรมการบริหารข้อมูลข่าวสาร ข้อ ๖ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการบริหารข้อมูลข่าวสารของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ” ประกอบด้วยประธานกรรมการ และกรรมการอีกไม่เกินเจ็ดคนซึ่งผู้จัดการแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารข้อมูลข่าวสาร หรือผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร และอย่างน้อยหนึ่งคนต้องเป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารมวลชน โดยให้ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรเป็นเลขานุการ ข้อ ๗ ให้คณะกรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี ในกรณีกรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ และยังมิได้แต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างลง ให้กรรมการที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ และให้มีการแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน โดยให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ ให้คณะกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าคณะกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ ข้อ ๘ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการอาจพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ผู้จัดการให้พ้นจากตำแหน่งเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ (๔) เป็นบุคคลล้มละลาย (๕) เป็นผู้ไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ (๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ข้อ ๙ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดหลักเกณฑ์หรือมาตรการเกี่ยวกับการบริหาร การจัดประเภท การจัดระบบ การขอ การอนุญาต และการบริการข้อมูลข่าวสารตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ (๒) พิจารณาวินิจฉัยประเภทข้อมูลข่าวสารที่อาจไม่ต้องเปิดเผย หรือข้อมูลข่าวสารที่มีการกำหนดชั้นความลับไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ (๓) พิจารณาวินิจฉัยประเภทข้อมูลข่าวสารที่ควรเก็บไว้ที่สำนักงานกองทุน หรือส่งไปยังหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ (๔) ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นเกี่ยวกับการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์หรือมาตรการเกี่ยวกับการเชื่อมโยงหรือการเข้าถึงระบบฐานข้อมูลของกองทุน (๕) พิจารณาวินิจฉัยกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการตามระเบียบนี้ (๖) เรียกเจ้าหน้าที่มาสอบถามหรือให้ชี้แจงแสดงความเห็นเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารหรือให้จัดส่งข้อมูลข่าวสาร (๗) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการกองทุนมอบหมาย (๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้หรือตามที่ผู้จัดการมอบหมาย ข้อ ๑๐ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด จึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในการประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ข้อ ๑๑ ให้นำความในข้อ ๑๐ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะทำงานที่แต่งตั้งตามข้อ ๙ (๗) โดยอนุโลม หมวด ๒ การจัดประเภทข้อมูลข่าวสาร ข้อ ๑๒ ประเภทของข้อมูลข่าวสาร แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ได้แก่ (๑) ข้อมูลข่าวสารที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา (๒) ข้อมูลข่าวสารที่จัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ (๓) ข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยได้เมื่อร้องขอ (๔) ข้อมูลข่าวสารที่ไม่เปิดเผย ให้คณะกรรมการประกาศกำหนดรายละเอียดของข้อมูลข่าวสารแต่ละประเภทตามวรรคหนึ่ง โดยให้คำนึงถึงลักษณะของข้อมูลข่าวสารตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ ให้หัวหน้าส่วนงานจัดส่งประเภทข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่ง (๒) ไปยังฝ่ายสื่อสารองค์กร เพื่อรวบรวมและจัดระบบข้อมูลข่าวสารนั้นไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู ณ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ หมวด ๓ การขอข้อมูลข่าวสารและการอนุญาต ข้อ ๑๓ ผู้ใดมีความประสงค์ขอใช้บริการข้อมูลข่าวสาร ให้แสดงความจำนงโดยการยื่นคำขอใช้บริการข้อมูลข่าวสารตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด เมื่อมีผู้ยื่นคำขอใช้บริการข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ตรวจสอบคำขอและความถูกต้องของเอกสารว่ามีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศกำหนดให้ต้องยื่นมาพร้อมกับคำขอนั้น หากคำขอไม่ถูกต้อง ให้เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์แนะนำให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้อง และหากมีเอกสารใดไม่ครบถ้วนให้เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์แจ้งผู้ยื่นคำขอทราบทันที หรือภายในเวลาไม่เกินห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ โดยทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ที่รับคำขอและระบุรายการเอกสาร ที่ไม่ถูกต้องหรือยังไม่ครบถ้วนให้ผู้ยื่นคำขอทราบ พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาพอสมควรเพื่อให้ผู้ยื่นคำขอแก้ไขคำขอหรือจัดส่งเอกสารให้ครบถ้วน และบันทึกเหตุผลการแจ้งดังกล่าวไว้ในคำขอนั้น ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่ดำเนินการแก้ไขหรือส่งเอกสารเพิ่มเติมภายในเวลาที่เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์กำหนดหรือภายในเวลาที่เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์อนุญาตให้ขยายเวลาออกไป ให้ถือว่าผู้ยื่นคำขอไม่ประสงค์ที่จะให้เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ดำเนินการตามคำขอนั้น ในกรณีเช่นนี้ให้เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์คืนคำขอพร้อมด้วยเอกสารให้ผู้ยื่นคำขอ เมื่อผู้ยื่นคำขอได้แก้ไขคำขอหรือจัดส่งเอกสารเพิ่มเติมตามที่ได้ระบุในการแจ้งตามวรรคสองแล้ว เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์จะปฏิเสธไม่ดำเนินการตามคำขอเพราะเหตุยังขาดเอกสารอีกมิได้ เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ และได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่ง ข้อ ๑๔ เมื่อได้พิจารณาแล้วเห็นว่าคำขอนั้นถูกต้องและมีเอกสารครบถ้วน ให้เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ตรวจสอบว่าข้อมูลข่าวสารตามคำขอเป็นข้อมูลข่าวสารประเภทใดและให้ดำเนินการดังนี้ (๑) ข้อมูลข่าวสารตามข้อ ๑๒ (๑) และ (๒) ให้เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์เป็นผู้พิจารณาอนุญาตโดยไม่ชักช้าแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน เว้นแต่ผู้นั้นขอจำนวนมากหรือบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือมีเหตุจำเป็นอื่นใด ให้เสนอผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่ง เพื่อพิจารณาขยายเวลาออกไปครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน และแจ้งเหตุผลนั้นให้ผู้ยื่นคำขอทราบโดยไม่ชักช้า (๒) ข้อมูลข่าวสารตามข้อ ๑๒ (๓) ให้เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ประสานไปยังหัวหน้าส่วนงานที่รับผิดชอบเพื่อให้หัวหน้าส่วนงานนั้นเป็นผู้พิจารณาอนุญาตโดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน เว้นแต่ผู้นั้นขอจำนวนมากหรือบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือมีเหตุจำเป็นอื่นใด ให้เสนอผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งเพื่อพิจารณาขยายเวลาออกไปครั้งละไม่เกินสามสิบวัน และแจ้งเหตุผลนั้นให้ผู้ยื่นคำขอทราบโดยไม่ชักช้า ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าข้อมูลข่าวสารใดจะเปิดเผยได้หรือไม่ ให้เสนอคณะกรรมการเพื่อวินิจฉัยตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ข้อ ๑๕ เมื่อผู้มีอำนาจตามข้อ ๑๔ พิจารณาอนุญาตตามคำขอแล้ว ให้ผู้ยื่นคำขอสามารถรับบริการข้อมูลข่าวสาร ณ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ในกรณีที่เป็นข้อมูลข่าวสารตามข้อ ๑๒ (๓) เมื่อผู้มีอำนาจพิจารณาอนุญาตแล้ว ให้จัดส่งข้อมูลข่าวสารให้ศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ผู้ยื่นคำขอสามารถเข้าใช้บริการข้อมูลข่าวสารนั้น ข้อ ๑๖ ในกรณีผู้มีอำนาจตามข้อ ๑๔ เห็นว่าข้อมูลข่าวสารตามคำขอนั้นเป็นข้อมูลข่าวสารตามข้อ ๑๒ (๔) ทั้งหมดหรือบางส่วน ให้เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์เสนอผลการพิจารณาพร้อมเหตุผลต่อผู้จัดการ เพื่อพิจารณาแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นต้องระบุด้วยว่าที่เปิดเผยไม่ได้เพราะเป็นข้อมูลข่าวสารประเภทใดและเพราะเหตุใด และแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้น ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ หมวด ๔ การคุ้มครองข้อมูลข่าวสาร ข้อ ๑๗ ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลหรือข้อมูลข่าวสารใด ซึ่งมีกฎหมาย ระเบียบ หรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารนั้นไว้เป็นพิเศษ การขอข้อมูลข่าวสาร และการอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หรือมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวนั้นด้วย ข้อ ๑๘ การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารนอกจากจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการแล้ว ให้ปฏิบัติตามระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งของสำนักงานกองทุนที่เกี่ยวข้อง โดยเคร่งครัดด้วย ในกรณีข้อมูลข่าวสารที่ยื่นคำขอเป็นข้อมูลข่าวสารลับ การอนุญาตและการเปิดเผยให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ หมวด ๕ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ข้อ ๑๙ ให้ฝ่ายสื่อสารองค์กรมีหน้าที่รับผิดชอบจัดสถานที่ตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสาร เพื่อเป็นศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารและประสานงานกับส่วนงาน โดยจัดระบบข้อมูลข่าวสารและจัดบริการข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู ศึกษาค้นคว้า ตลอดจนเผยแพร่และจัดทำสำเนาข้อมูลข่าวสารนั้น การบริการข้อมูลข่าวสารนอกจากที่กำหนดในวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ข้อ ๒๐ การเรียกค่าธรรมเนียมการขอสำเนาหรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องของข้อมูลข่าวสาร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ข้อ ๒๑ การบริการส่งข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยทางโทรสารหรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นใด ให้ดำเนินการได้เฉพาะกรณีเร่งด่วน โดยให้คำนึงถึงความสิ้นเปลือง เช่น จำนวนข้อมูลข่าวสาร ระยะเวลา และค่าใช้จ่ายในการส่ง ข้อ ๒๒ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารตั้งอยู่เลขที่ ๙๙/๘ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๓๔๓-๑๕๐๐ หรือ www.thaihealth.or.th ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พิมพ์มาดา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๓๗ ง/หน้า ๘/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐
784416
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วย การจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ พ.ศ. 2544 (ฉบับ Update ณ วันที่ 18/08/2548)
ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วย การจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุง กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ พ.ศ. ๒๕๔๔[๑] เพื่ออนุวัตตามความในมาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ กระทรวงการคลังจึงวางระเบียบปฏิบัติในการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้ เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วย การจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ พ.ศ. ๒๕๔๔” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันออกประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “สุรา” หมายความว่า สุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา “ยาสูบ” หมายความว่า ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ “ภาษี” หมายความว่า ภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และค่าแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ “ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุน” หมายความว่า (๑) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุรา (๒) ผู้มีหน้าที่เสียค่าแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ “ผู้ส่งออก” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตทำสุรา หรือยาสูบที่ได้รับอนุญาตให้ส่งสุราหรือยาสูบออกนอกราชอาณาจักร ตามกฎหมายว่าด้วยสุราหรือกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ข้อ ๔ ให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุน ส่งเงินกองทุนในอัตราร้อยละสองของภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในการคำนวณเงินบำรุงกองทุน ตามอัตราที่กำหนดในวรรคหนึ่ง หากมีเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ข้อ ๕[๒] ให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุน ส่งเงินบำรุงกองทุน ตามแบบ สสส. ๑/๐๑ ท้ายระเบียบนี้พร้อมกับการชำระภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบ ตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ณ สถานที่ยื่นแบบชำระภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบ ตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และกฎหมายว่าด้วยยาสูบ กรณีการยื่นแบบชำระภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http : //www.excise.go.th ให้ถือว่าเป็นการยื่นแบบชำระภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบ ณ กรมสรรพสามิต ข้อ ๖ กรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุน ไม่ส่งเงินบำรุงกองทุน หรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนด หรือส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่งผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุน จะต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่ไม่ส่ง หรือจำนวนเงินที่ขาดไป หรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนดแล้วแต่กรณี นับแต่วันครบกำหนดส่งจนถึงวันที่ส่งเงินบำรุงกองทุนครบถ้วน ทั้งนี้ เงินเพิ่มจะต้องไม่เกินจำนวนเงินบำรุงกองทุน และให้ถือว่าเงินเพิ่มนี้เป็นเงินบำรุงกองทุนด้วย โดยยื่นแบบ สสส. ๑/๐๑ ตามข้อ ๕ การคำนวณระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน ข้อ ๗[๓] การส่งเงินบำรุงกองทุนให้ส่งเป็นเงินสด หรือเช็ค กรณีเป็นเช็คให้สั่งจ่ายในนาม “กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ” ในกรณีผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนยื่นแบบชำระภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http : //www.excise.go.thเมื่อกรมสรรพสามิตตรวจสอบว่ามีการชำระเงินเข้าบัญชีของกรมสรรพสามิตแล้ว ให้กรมสรรพสามิตส่งเงินบำรุงกองทุนเป็นเช็คต่อไป ข้อ ๘ การนำส่งเงินบำรุงกองทุนให้ส่งเงินบำรุงกองทุนให้แก่กองทุนอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง เข้าบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ ที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บัญชีเลขที่ ๐๐๗-๑-๒๕๘๓๑-๐ หรือธนาคารอื่นตามที่กองทุนกำหนด โดยให้ดำเนินการ ดังนี้ (๑) ในเขตกรุงเทพมหานคร สำหรับกรมสรรพสามิต ให้กองรายได้เป็นผู้นำส่ง สำหรับกรมศุลกากร ให้สำนักงานศุลกากรผู้จัดเก็บเป็นผู้นำส่ง (๒) ในจังหวัดอื่นนอกจากเขตกรุงเทพมหานคร สำหรับกรมสรรพาสามิตให้สำนักงานสรรพสามิตจังหวัดเป็นผู้นำส่ง สำหรับกรมศุลกากรให้ด่านศุลกากรเป็นผู้นำส่ง ในการส่งเงินตามวรรคหนึ่ง ให้จัดทำใบส่งเงินบำรุงกองทุนตามแบบ สสส. ๑/๐๒ และบัญชีสรุปรายละเอียดการรับ - ส่งเงินบำรุงกองทุนตามแบบ สสส. ๑/๐๓ พร้อมแนบสำเนาใบนำฝากเงิน (Pay - In - Slip) รายงานให้กองทุนทราบภายใน ๓ วันทำการ นับแต่วันนำส่งเงิน ให้หน่วยงานที่นำส่งเงินจัดทำรายงานการจัดเก็บเงินบำรุงกองทุนประจำเดือนแบบ สสส. ๑/๐๔ พร้อมทั้งส่งสำเนาบัญชีสรุปรายละเอียดการรับ - ส่งเงินบำรุงกองทุนประจำเดือนให้กรมสรรพสามิตหรือกรมศุลกากร แล้วแต่กรณี ภายในวันที่ ๑๐ ของเดือนถัดไป การเก็บรักษาและการนำเงินส่งกองทุน ให้ใช้ระเบียบการรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการโดยอนุโลม เท่าที่ไม่ขัดต่อระเบียบนี้ ข้อ ๙ กรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุน ได้รับคืนภาษีสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา ให้ได้รับคืนเงินบำรุงกองทุนด้วย ข้อ ๑๐ ให้ผู้ส่งออกแจ้งความประสงค์ขอคืนเงินบำรุงกองทุนพร้อมกับการขอคืนค่าภาษีสุรา ข้อ ๑๑ การขอรับเงินบำรุงคืนจากกองทุน ให้อธิบดีกรมสรรพสามิต หรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งคืนเงินบำรุงกองทุน โดยใช้วิธีปฏิบัติเช่นเดียวกับวิธีการขอคืนภาษีสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา ข้อ ๑๒ สำหรับสุราหรือยาสูบที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร ให้ได้รับการยกเว้นการส่งเงินบำรุงเข้ากองทุน โดยให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนแจ้งความประสงค์ขอยกเว้นภาษี พร้อมกับการขออนุญาตส่งออกสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ตามแบบ สสส . ๑/๐๕ ข้อ ๑๓ การดำเนินการอื่นใดที่ไม่ได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบราชการโดยอนุโลม ข้อ ๑๔ ให้ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔ ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบรายการเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ๒. ใบส่งเงินบำรุงกองทุน ๓. บัญชีสรุปรายละเอียดการรับ - ส่งเงินบำรุงกองทุน ๔. รายงานการจัดเก็บเงินบำรุงกองทุนประจำเดือน ๕. แบบรายการขอยกเว้นเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้นและการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘[๔] ปาจรีย์/ผู้จัดทำ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๑๑๕ ง/หน้า ๖/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ [๒] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้นและการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓] ข้อ ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้นและการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๒๒/๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๘
460381
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุง กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548
ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุง กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ และเพื่อให้การปฏิบัติในการจัดเก็บและการส่งเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ เป็นไปด้วยความถูกต้องและสอดคล้องกับระเบียบที่เกี่ยวข้อง กระทรวงการคลังจึงวางระเบียบปฏิบัติในการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับสุราและยาสูบ เพิ่มเติมไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันออกประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ แห่งระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ พ.ศ. ๒๕๔๔ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๕ ให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุน ส่งเงินบำรุงกองทุน ตามแบบ สสส. ๑/๐๑ ท้ายระเบียบนี้ พร้อมกับการชำระภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบ ตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ณ สถานที่ยื่นแบบชำระภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบ ตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และกฎหมายว่าด้วยยาสูบ กรณีการยื่นแบบชำระภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http : //www.excise.go.th ให้ถือว่าเป็นการยื่นแบบชำระภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบ ณ กรมสรรพสามิต” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ แห่งระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ พ.ศ. ๒๕๔๔ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๗ การส่งเงินบำรุงกองทุนให้ส่งเป็นเงินสด หรือเช็ค กรณีเป็นเช็คให้สั่งจ่ายในนาม “กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ” ในกรณีผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนยื่นแบบชำระภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http : //www.excise.go.th เมื่อกรมสรรพสามิตตรวจสอบว่ามีการชำระเงินเข้าบัญชีของกรมสรรพสามิตแล้ว ให้กรมสรรพสามิตส่งเงินบำรุงกองทุนเป็นเช็คต่อไป” ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชัชสรัญ/จัดทำ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๘ สถาพร/ปรับปรุง ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ โชติกานต์/ปรับปรุง ๗ กันยายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๒๒/๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๘
325225
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วย การจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ พ.ศ. 2544
ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วย การจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุง กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ พ.ศ. ๒๕๔๔[๑] เพื่ออนุวัตตามความในมาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ กระทรวงการคลังจึงวางระเบียบปฏิบัติในการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้ เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วย การจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ พ.ศ. ๒๕๔๔” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันออกประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “สุรา” หมายความว่า สุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา “ยาสูบ” หมายความว่า ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ “ภาษี” หมายความว่า ภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และค่าแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ “ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุน” หมายความว่า (๑) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุรา (๒) ผู้มีหน้าที่เสียค่าแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ “ผู้ส่งออก” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตทำสุรา หรือยาสูบที่ได้รับอนุญาตให้ส่งสุราหรือยาสูบออกนอกราชอาณาจักร ตามกฎหมายว่าด้วยสุราหรือกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ข้อ ๔ ให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุน ส่งเงินกองทุนในอัตราร้อยละสองของภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในการคำนวณเงินบำรุงกองทุน ตามอัตราที่กำหนดในวรรคหนึ่ง หากมีเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ข้อ ๕ ให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุน ส่งเงินบำรุงกองทุนตามแบบ สสส. ๑/๐๑ ท้ายระเบียบนี้ พร้อมกับการชำระภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบ ตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ณ สถานที่ยื่นแบบชำระภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบ ตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ข้อ ๖ กรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุน ไม่ส่งเงินบำรุงกองทุน หรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนด หรือส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุน จะต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่ไม่ส่ง หรือจำนวนเงินที่ขาดไป หรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนด แล้วแต่กรณี นับแต่วันครบกำหนดส่งจนถึงวันที่ส่งเงินบำรุงกองทุนครบถ้วน ทั้งนี้ เงินเพิ่มจะต้องไม่เกินจำนวนเงินบำรุงกองทุน และให้ถือว่าเงินเพิ่มนี้เป็นเงินบำรุงกองทุนด้วย โดยยื่นแบบ สสส. ๑/๐๑ ตามข้อ ๕ การคำนวณระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน ข้อ ๗ การส่งเงินเข้ากองทุนให้ส่งเป็นเงินสดหรือเช็ค กรณีเป็นเช็คให้สั่งจ่ายในนาม “กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ” ข้อ ๘ การนำส่งเงินบำรุงกองทุนให้ส่งเงินบำรุงกองทุนให้แก่กองทุนอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง เข้าบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ ที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บัญชีเลขที่ ๐๐๗-๑-๒๕๘๓๑-๐ หรือธนาคารอื่นตามที่กองทุนกำหนด โดยให้ดำเนินการ ดังนี้ (๑) ในเขตกรุงเทพมหานคร สำหรับกรมสรรพสามิต ให้กองรายได้เป็นผู้นำส่ง สำหรับกรมศุลกากร ให้สำนักงานศุลกากรผู้จัดเก็บเป็นผู้นำส่ง (๒) ในจังหวัดอื่นนอกจากเขตกรุงเทพมหานคร สำหรับกรมสรรพาสามิตให้สำนักงานสรรพสามิตจังหวัดเป็นผู้นำส่ง สำหรับกรมศุลกากรให้ด่านศุลกากรเป็นผู้นำส่ง ในการส่งเงินตามวรรคหนึ่ง ให้จัดทำใบส่งเงินบำรุงกองทุนตามแบบ สสส. ๑/๐๒ และบัญชีสรุปรายละเอียดการรับ - ส่งเงินบำรุงกองทุนตามแบบ สสส. ๑/๐๓ พร้อมแนบสำเนาใบนำฝากเงิน (Pay - In - Slip) รายงานให้กองทุนทราบภายใน ๓ วันทำการ นับแต่วันนำส่งเงิน ให้หน่วยงานที่นำส่งเงินจัดทำรายงานการจัดเก็บเงินบำรุงกองทุนประจำเดือนแบบ สสส. ๑/๐๔ พร้อมทั้งส่งสำเนาบัญชีสรุปรายละเอียดการรับ - ส่งเงินบำรุงกองทุนประจำเดือนให้กรมสรรพสามิตหรือกรมศุลกากร แล้วแต่กรณี ภายในวันที่ ๑๐ ของเดือนถัดไป การเก็บรักษาและการนำเงินส่งกองทุน ให้ใช้ระเบียบการรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการโดยอนุโลม เท่าที่ไม่ขัดต่อระเบียบนี้ ข้อ ๙ กรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุน ได้รับคืนภาษีสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา ให้ได้รับคืนเงินบำรุงกองทุนด้วย ข้อ ๑๐ ให้ผู้ส่งออกแจ้งความประสงค์ขอคืนเงินบำรุงกองทุนพร้อมกับการขอคืนค่าภาษีสุรา ข้อ ๑๑ การขอรับเงินบำรุงคืนจากกองทุน ให้อธิบดีกรมสรรพสามิต หรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งคืนเงินบำรุงกองทุน โดยใช้วิธีปฏิบัติเช่นเดียวกับวิธีการขอคืนภาษีสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา ข้อ ๑๒ สำหรับสุราหรือยาสูบที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร ให้ได้รับการยกเว้นการส่งเงินบำรุงเข้ากองทุน โดยให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนแจ้งความประสงค์ขอยกเว้นภาษี พร้อมกับการขออนุญาตส่งออกสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ตามแบบ สสส. ๑/๐๕ ข้อ ๑๓ การดำเนินการอื่นใดที่ไม่ได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบราชการโดยอนุโลม ข้อ ๑๔ ให้ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔ ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบรายการเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ (แบบ สสส.๑/๐๑) ๒. ใบส่งเงินบำรุงกองทุน (แบบ สสส.๑/๐๒) ๓. บัญชีสรุปรายละเอียดการรับ – ส่งเงินบำรุงกองทุน (แบบ สสส.๑/๐๓) ๔. รายงานการจัดเก็บเงินบำรุงกองทุนประจำเดือน (แบบ สสส.๑/๐๔) ๕. แบบรายการขอยกเว้นเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ (แบบ สสส.๑/๐๕) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปรียนันท์/พิมพ์ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๕ สถาพร/ปรับปรุง ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ โชติกานต์/ปรับปรุง ๗ กันยายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๑๑๕ ง/หน้า ๖/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๔
781525
ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพว่าด้วยการเงิน การบัญชี และทรัพย์สินของกองทุน พ.ศ. 2559 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๗[๑] โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุและทรัพย์สินของกองทุน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ และ ๒๑ (๕) (ฉ) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้มีมติให้ออกข้อบังคับไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงินการบัญชี การพัสดุและทรัพย์สินของกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๗” ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป และให้ยกเลิกข้อบังคับสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงินและทรัพย์สิน พ.ศ. ๒๕๔๔ และข้อบังคับสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๔ และบรรดาระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์หรือวิธีการที่ออกตามข้อบังคับดังกล่าวข้างต้น ซึ่งอนุโลมใช้ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อบังคับนี้แทน ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้ “พระราชบัญญัติ” หมายความว่า พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “ประธานกรรมการ” หมายความว่า ประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “ผู้จัดการ” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “ผู้ปฏิบัติงาน” หมายความว่า เจ้าหน้าที่และลูกจ้างผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “ปีบัญชี” หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคมของปีหนึ่ง ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ของปีถัดไป และให้ใช้ พ.ศ. ของปีถัดไปเป็นชื่อของปีบัญชีนั้น “งบประมาณรายจ่าย” หมายความว่า จำนวนเงินอย่างสูงที่อนุญาตให้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้ตามวัตถุประสงค์และในระยะเวลาที่กำหนดในแต่ละปีบัญชี “พัสดุ” หมายความว่า วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และการจ้าง เว้นแต่ข้อบังคับนี้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น “การพัสดุ” หมายถึง การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การเช่า การจำหน่าย และการประกันภัย ข้อ ๔ ให้ผู้จัดการเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้ และมีอำนาจดำเนินการดังนี้ (๑) ออกระเบียบ คำสั่ง หลักเกณฑ์ และวิธีการ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการตามข้อบังคับนี้ (๒) มอบอำนาจที่เป็นของผู้จัดการตามข้อบังคับนี้ให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทน (๓) ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงระเบียบ คำสั่ง หลักเกณฑ์ และวิธีการที่ออกตามข้อบังคับนี้ในกรณีที่เห็นสมควร ข้อ ๕ ในกรณีที่สำนักงานมีปัญหาในการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ ให้ประธานกรรมการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด หมวด ๑ กองทุนและรายได้ ข้อ ๖ ให้กองทุนตามพระราชบัญญัติ มาตรา ๕ เป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ในมาตรา ๕ โดยกองทุนประกอบด้วย (๑) เงินบำรุงกองทุนที่จัดเก็บตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติ (๒) เงินและทรัพย์สินที่ได้รับและโอนตามมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติ (๓) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (๔) เงินอุดหนุนจากภาคเอกชนหรือองค์กรอื่น รวมทั้งจากต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ และเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๕) ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือรายได้จากการดำเนินการ (๖) ดอกผลของเงินหรือรายได้จากทรัพย์สินของสำนักงาน ข้อ ๗ ให้สำนักงานเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารกองทุนให้เป็นไปตามแผน ข้อบังคับระเบียบ และมติของคณะกรรมการ ข้อ ๘ สำนักงานอาจจัดหาผลประโยชน์จากกองทุน ดังนี้ (๑) ซื้อพันธบัตรรัฐบาล (๒) ซื้อพันธบัตร หรือหุ้นกู้ของรัฐวิสาหกิจ (๓) ซื้อตั๋วเงินคลัง (๔) นำฝากธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจหรือธนาคารพาณิชย์ (๕) ซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินจากสถาบันการเงินของรัฐ หรือของเอกชนที่มีฐานะมั่นคง โดยมีธนาคารอาวัล (๖) วิธีการอื่น ๆ ที่คณะกรรมการอนุมัติ ข้อ ๙ ให้สำนักงานนำหลักทรัพย์ รายได้ที่ได้มาทุกประเภทเข้ากองทุน และจะหักไว้ใช้จ่ายเพื่อการใดก่อนนำเข้ากองทุนไม่ได้ ข้อ ๑๐ การรับเงินทุกประเภท ยกเว้นเงินงบประมาณแผ่นดิน จะต้องออกใบเสร็จรับเงินไว้เป็นหลักฐาน แบบของใบเสร็จรับเงินต้องเป็นไปตามที่สำนักงานกำหนด โดยมีเลขที่ใบเสร็จรับเงินเรียงตามลำดับไว้ทุกฉบับ และมีทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงิน และหลักฐานการเบิกใบเสร็จรับเงินที่สามารถตรวจสอบได้ ข้อ ๑๑ ให้สำนักผู้จัดการเป็นผู้จัดเก็บเงินทุกประเภท และให้นำเงินที่ได้มาฝากธนาคารในวันนั้นหรืออย่างช้าภายใน ๒ วันทำการถัดจากวันที่ได้รับ ข้อ ๑๒ ให้สำนักผู้จัดการเก็บเงินสดในมือสำรองจ่ายได้ไม่เกินห้าหมื่นบาทถ้วนต่อวัน เว้นแต่เงินสดซึ่งเบิกมาเพื่อจ่ายเฉพาะกิจเป็นคราว ๆ ไป ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเก็บเงินสำรองจ่ายสูงกว่าวงเงินดังกล่าวให้กระทำได้โดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ หมวด ๒ รายจ่าย ข้อ ๑๓ รายจ่ายของกองทุนแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้ (๑) รายจ่ายเพื่อการบริหารจัดการสำนักงาน ได้แก่ ก. ค่าใช้จ่ายดำเนินการ ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน ค่าใช้สอยและวัสดุค่าสาธารณูปโภค ค่าสวัสดิการ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ข. รายจ่ายลงทุนเพื่อดำเนินการปกติ ได้แก่ รายจ่ายลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดิน สิ่งก่อสร้าง หรือครุภัณฑ์ ค. ค่าใช้จ่ายอื่นในกิจกรรมต่าง ๆ ของสำนักงาน (๒) รายจ่ายสนับสนุนโครงการที่เป็นภารกิจของสำนักงาน ได้แก่ ก. ทุนสนับสนุนโครงการ ข. ทุนอุดหนุนและค่าจ้างเหมาดำเนินการศึกษา วิจัย พัฒนา สำรวจ และดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการทำงาน ค. ค่าใช้จ่ายในการพัฒนา การบริหาร หรือกำกับ โครงการ ง. รายจ่ายอื่น ๆ ที่ผู้จัดการเห็นสมควร (๓) รายจ่ายเพื่อการบริหารกองทุน (๔) รายจ่ายลงทุนเพื่อจัดหาประโยชน์ตามข้อ ๘ รายจ่ายเพื่อการบริหารจัดการสำนักงานตาม (๑) จะต้องไม่เกินร้อยละสิบของงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสำนักงาน เว้นแต่ในกรณีที่มีความจำเป็น หรือมีเหตุอันสมควร ก็ให้ขออนุมัติคณะกรรมการ ก่อน ข้อ ๑๔ ประเภทรายจ่ายเพื่อการบริหารจัดการสำนักงานแบ่งเป็นหมวด ได้แก่ (๑) หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ (๒) หมวดค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ (๓) หมวดค่าสาธารณูปโภค (๔) หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง (๕) หมวดรายจ่ายอื่น ๆ ข้อ ๑๕ ให้ผู้จัดการมีอำนาจอนุมัติการสั่งจ่ายเงินเพื่อให้มีการดำเนินโครงการ หรือกิจกรรมหรือการจัดซื้อจัดจ้าง โดยให้เป็นไปตามผลการอนุมัติในแต่ละลำดับชั้นของหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดสรรงบประมาณที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงการจ่ายเงินเพื่อให้มีการดำเนินงานตลอดจนการติดตามควบคุมผลงานอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๑๖ การเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามระเบียบที่ผู้จัดการกำหนด หมวด ๓ ทรัพย์สิน ข้อ ๑๗ สำนักงานมีทรัพย์สินประเภทต่าง ๆ ดังนี้ (๑) ทรัพย์สินหมุนเวียน ได้แก่ เงินสด หรือทรัพย์สินอื่นที่มีเหตุผลคาดหมายได้ว่าจะเปลี่ยนเป็นเงินสด หรือขาย หรือใช้หมดไป ระหว่างรอบระยะเวลาดำเนินงานปกติของสำนักงาน เช่น เงินฝากธนาคาร และหนี้สิน เป็นต้น (๒) ทรัพย์สินถาวร ได้แก่ ทรัพย์สินอันมีลักษณะคงทนที่ใช้ในการดำเนินกิจการและใช้ได้นานเกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาดำเนินงานตามปกติ แต่มิได้มีไว้เพื่อขาย เช่น ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และครุภัณฑ์ เป็นต้น (๓) ทรัพย์สินอื่น ๆ ได้แก่ ทรัพย์สินที่ไม่อาจจัดเข้าเป็นทรัพย์สินหมุนเวียน หรือทรัพย์สินถาวรได้ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ เงินประกัน เงินมัดจำ และเงินลงทุนระยะยาวเป็นต้น ข้อ ๑๘ ให้สำนักงานจัดเก็บเอกสารทางการเงินและบัญชี และทะเบียนทรัพย์สินไว้เป็นหลักฐานให้อยู่ในสภาพที่สามารถตรวจสอบได้ หมวด ๔ การงบประมาณ ข้อ ๑๙ ให้สำนักงานจัดทำแผนงบประมาณเป็นประจำทุกปีตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินเพื่อการสนับสนุนโครงการและกิจกรรม ที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๒๐ เงินกองทุนที่จะนำมาใช้จ่ายในแต่ละปีบัญชี ให้สำนักงานจัดทำงบประมาณรายรับรายจ่ายประจำปี เสนอคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติใช้เป็นงบประมาณในปีบัญชีนั้น ๆ ข้อ ๒๑ การโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายการ ประเภทรายจ่ายเพื่อการบริหารจัดการสำนักงานภายในหมวดรายจ่าย หรือการเปลี่ยนแปลงหมวดรายจ่ายโดยไม่เพิ่มวงเงินงบประมาณ ให้ผู้จัดการเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ การโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายจ่ายสนับสนุนโครงการ และรายจ่ายเพื่อการบริหารกองทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินเพื่อการสนับสนุนโครงการและกิจกรรม ที่คณะกรรมการกำหนด ในกรณีที่การโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายการ เกินกว่าวงเงินที่คณะกรรมการได้อนุมัติไว้ให้ขออนุมัติจากคณะกรรมการ ข้อ ๒๒ ในกรณีตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพิ่มเติมระหว่างปี ให้ผู้จัดการนำเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติ ข้อ ๒๓ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปีบัญชีใด ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณภายในปีบัญชีนั้น แต่หากมีเหตุผลและความจำเป็นจะต้องเบิกจ่ายข้ามปี ให้ถือเป็นรายจ่ายของงบประมาณปีถัดไป ข้อ ๒๔ การเริ่มโครงการใหม่ที่มีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับภารกิจของสำนักงานระหว่างปีบัญชีใด โดยได้รับเงินสนับสนุนจากองค์การระหว่างประเทศหรือองค์การอื่น ๆ ให้ผู้จัดการดำเนินการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีนั้นเพิ่มเติมได้เท่ากับจำนวนเงินที่ได้รับการสนับสนุนนั้น และรายงานให้คณะกรรมการทราบ หมวด ๕ การเงินและการบัญชี ข้อ ๒๕ ให้สำนักผู้จัดการจัดทำบัญชีตามหลักสากล หลักฐานที่ใช้ในการลงบัญชีจะต้องเก็บรักษาไว้ให้เป็นระเบียบเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ และเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่าห้าปี ในกรณีที่เป็นหนังสือหรือเอกสารเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน หรือการก่อหนี้ผูกพันทางการเงิน ที่ไม่มีหลักฐานแห่งการก่อหนี้ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิทางการเงิน รวมถึงหนังสือหรือเอกสารเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน หรือการก่อหนี้ผูกพันทางการเงิน ที่หมดความจำเป็นในการใช้เป็นหลักฐานแห่งการก่อหนี้ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิในทางการเงิน เพราะได้มีหนังสือหรือเอกสารอื่นที่สามารถนำใช้อ้างอิงหรือทดแทนหนังสือหรือเอกสารดังกล่าวแล้ว และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลภายนอกที่ทำหน้าที่ตรวจสอบแทนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบแล้วไม่มีปัญหา หรือเป็นเอกสารที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ประกอบการตรวจสอบหรือการใด ๆ อีก ให้เก็บรักษาไว้อย่างน้อยหนึ่งปี แล้วจึงจำหน่าย ข้อ ๒๖ การบันทึกบัญชีให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่ยอมรับกันทั่วไป ข้อ ๒๗ ให้สำนักงานรับผิดชอบจัดทำรายงานการเงิน ดังนี้ (๑) ให้สำนักผู้จัดการจัดทำรายงาน รับ - จ่าย และเงินคงเหลือประจำเดือนของสำนักงานเสนอต่อผู้จัดการภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไปแล้วแจ้งให้คณะกรรมการทราบ นอกจากนี้ให้จัดทำวิเคราะห์รายงานการเงินรายไตรมาสแจ้งให้คณะกรรมการทราบด้วย (๒) เมื่อสิ้นสุดปีบัญชี ให้สำนักผู้จัดการจัดทำงบการเงินเสนอคณะกรรมการภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันปิดบัญชีประจำปีบัญชี หมวด ๖ การพัสดุ ข้อ ๒๘ ให้ผู้จัดการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การบริหารงานพัสดุซึ่งรวมถึงการจัดหาพัสดุ การตรวจรับพัสดุ และการควบคุมพัสดุ ข้อ ๒๙ ให้ผู้จัดการมีอำนาจอนุมัติการจัดหาพัสดุ ในวงเงินครั้งละไม่เกินยี่สิบล้านบาท หากเกินวงเงินกำหนดให้ผู้จัดการอนุมัติโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ หรือตามผลการอนุมัติในการจัดซื้อจัดจ้าง แล้วแต่กรณี อำนาจในการอนุมัติการจัดหาพัสดุตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงการอนุมัติ ยกเลิก แก้ไข เปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัสดุด้วย ข้อ ๓๐ ผู้จัดการอาจมอบอำนาจในการดำเนินการตามข้อ ๒๙ ให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ใดผู้หนึ่งปฏิบัติแทนก็ได้ โดยคำนึงถึงตำแหน่ง หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเป็นสำคัญ ประกาศ ณ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ จาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ชัชสรัญ/จัดทำ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๘ โชติกานต์/ปรับปรุง ๗ กันยายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๘๖ง/หน้า ๒/ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๘
777075
ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี และทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี และทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมรายการค่าใช้จ่ายในส่วนของรายจ่ายเพื่อการบริหารจัดการสำนักงานกองทุน ให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันและเหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ และมาตรา ๒๑ (๕) (ฉ) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๐ จึงออกข้อบังคับไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี และทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๖ แห่งข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี และทรัพย์สินของกองทุน พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๖ ให้ผู้จัดการมีอำนาจอนุมัติการเบิกจ่ายค่าตอบแทน ค่าใช้สอย และค่าพัสดุในส่วนของรายจ่ายเพื่อการบริหารจัดการสำนักงานกองทุน ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าเบี้ยประชุม (๒) ค่าตอบแทนการเข้าร่วมประชุมหรือร่วมกิจกรรม (๓) ค่าตอบแทนการกลั่นกรองทางวิชาการโครงการ (๔) ค่าตอบแทนวิทยากร (๕) ค่าตอบแทนอื่น ๆ (๖) ค่าเบี้ยเลี้ยงกรณีปฏิบัติงานต่างจังหวัด (๗) ค่าเบี้ยเลี้ยงกรณีปฏิบัติงานต่างประเทศ (๘) ค่าเช่าที่พักกรณีปฏิบัติงานต่างจังหวัด (๙) ค่าเช่าที่พักกรณีปฏิบัติงานต่างประเทศ (๑๐) ค่าพาหนะเดินทาง (๑๑) ค่ารับรอง (๑๒) ค่าอาหารรับรองการประชุมหรือดำเนินกิจกรรม (๑๓) ค่าปฏิบัติงานนอกสภาพการณ์ปกติ (๑๔) ค่าเช่ารถ (๑๕) ค่าน้ำมัน (๑๖) ค่าผ่านทางพิเศษ (๑๗) ค่าลงทะเบียนประชุม (๑๘) ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมหรือการประชุมหรือกิจกรรมระหว่างประเทศ (๑๙) ค่าใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (๒๐) ค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าใช้สอยในการบริหารงานของสำนักงานกองทุน (๒๑) ค่าใช้จ่ายอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด การเบิกจ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามเงื่อนไขและอัตราการเบิกจ่ายตามบัญชีแนบท้ายข้อบังคับนี้ การเทียบตำแหน่งของบุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์ในการเบิกจ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่สำนักงานกองทุนประกาศกำหนด” ข้อ ๔ ให้ใช้บัญชีแนบท้ายข้อบังคับนี้เป็นบัญชีแนบท้ายข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี และทรัพย์สินของกองทุน พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ [เอกสารแนบท้าย] ๑. ค่าเบี้ยประชุม (บัญชีหมายเลข ๑) ๒. ค่าตอบแทนการเข้าร่วมประชุมหรือร่วมกิจกรรม (บัญชีหมายเลข ๒) ๓. ค่าตอบแทนการกลั่นกรองทางวิชาการโครงการ (บัญชีหมายเลข ๓) ๔. ค่าตอบแทนวิทยากร (บัญชีหมายเลข ๔) ๕. ค่าตอบแทนอื่น ๆ (บัญชีหมายเลข ๕) ๖. ค่าเบี้ยเลี้ยงกรณีปฏิบัติงานต่างจังหวัด (บัญชีหมายเลข ๖) ๗. ค่าเบี้ยเลี้ยงกรณีปฏิบัติงานต่างประเทศ (บัญชีหมายเลข ๗) ๘. ค่าเช่าที่พักกรณีปฏิบัติงานต่างจังหวัด (บัญชีหมายเลข ๘) ๙. ค่าเช่าที่พักกรณีปฏิบัติงานต่างประเทศ (บัญชีหมายเลข ๙) ๑๐. ค่าพาหนะเดินทาง (บัญชีหมายเลข ๑๐) ๑๑. ค่ารับรอง (บัญชีหมายเลข ๑๑) ๑๒. ค่าอาหารรับรองการประชุมหรือดำเนินกิจกรรม (บัญชีหมายเลข ๑๒) ๑๓. ค่าปฏิบัติงานนอกสภาพการณ์ปกติ (บัญชีหมายเลข ๑๓) ๑๔. ค่าเช่ารถ (บัญชีหมายเลข ๑๔) ๑๕. ค่าน้ำมัน (บัญชีหมายเลข ๑๕) ๑๖. ค่าผ่านทางพิเศษ (บัญชีหมายเลข ๑๖) ๑๗. ค่าลงทะเบียนประชุม (บัญชีหมายเลข ๑๗) ๑๘. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมหรือการประชุมหรือกิจกรรมระหว่างประเทศ (บัญชีหมายเลข ๑๘) ๑๙. ค่าใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (บัญชีหมายเลข ๑๙) ๒๐. ค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าใช้สอยในการบริหารงานของสำนักงานกองทุน (บัญชีหมายเลข ๒๐) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พิมพ์มาดา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง/หน้า ๔๑/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐
751499
ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินเพื่อการสนับสนุนโครงการและกิจกรรม พ.ศ. 2559
ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินเพื่อการสนับสนุนโครงการและกิจกรรม พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินเพื่อการสนับสนุนโครงการและกิจกรรมให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามมาตรา ๒๑ (๓) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในการประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๘ คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินเพื่อการสนับสนุนโครงการและกิจกรรม พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินเพื่อการสนับสนุนโครงการและกิจกรรม พ.ศ. ๒๕๕๔ ข้อ ๔ ในข้อบังคับนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “สำนักงานกองทุน” หมายความว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “ผู้จัดการ” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “ผู้ปฏิบัติงาน” หมายความว่า เจ้าหน้าที่และลูกจ้างผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานกองทุน “ภาคี” หมายความว่า ภาคีสร้างเสริมสุขภาพ อันอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ หรือมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ “ทิศทางและเป้าหมายกองทุนระยะ ๑๐ ปี” หมายความว่า เอกสารที่ชี้ทิศทางและเป้าหมายของกองทุน ซึ่งจะแสดงรายละเอียดของวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ ในระยะเวลา ๑๐ ปี โดยเป็นเอกสารหลักสำหรับจัดทำแผนหลักและแผนการดำเนินงานประจำปี “แผนหลัก” (master plan) หมายความว่า แผนการดำเนินงานของกองทุนตามมาตรา ๒๑ (๑) ซึ่งจะแสดงรายละเอียดของเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด แผน และกรอบงบประมาณในระยะเวลา ๓ ปี โดยเป็นเอกสารหลักสำหรับจัดทำแผนการดำเนินงานประจำปี “แผนการดำเนินงานประจำปี” หมายความว่า แผนการดำเนินงานของกองทุนตามมาตรา ๒๑ (๒) ซึ่งจะแสดงรายละเอียดของเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด แผน กลุ่มแผนงาน และงบประมาณ ในระยะเวลา ๑ ปี “แผน” (plan) หมายความว่า กลุ่มของแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ที่มีความเกี่ยวเนื่องสอดคล้องกัน อันจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่สำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพ “แผนงาน” (program) หมายความว่า กลุ่มของชุดโครงการ หรือโครงการ ซึ่งมีกิจกรรมที่สัมพันธ์กันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนงาน “ชุดโครงการ” (project package) หมายความว่า กลุ่มของโครงการ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของชุดโครงการ “โครงการ” (project) หมายความว่า กลุ่มของกิจกรรมซึ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการและส่งผลสัมฤทธิ์ให้เกิดต่อประชาชนในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพตามวัตถุประสงค์ของกองทุน “คณะกรรมการบริหารแผน” (plan executive committee) หมายความว่า คณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการตามมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ เพื่อบริหารและกำกับดูแลการพัฒนาและการดำเนินการตามแผน ภายใต้แผนหลักที่คณะกรรมการเห็นชอบไว้แล้ว โดยคณะกรรมการบริหารแผนคณะหนึ่งอาจได้รับมอบหมายให้บริหารแผนมากกว่าหนึ่งแผนก็ได้ “ที่ปรึกษาของคณะกรรมการ” หมายความว่า ผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการตามมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ “กรรมการประเมินผล” หมายความว่า กรรมการประเมินผลการดำเนินงานกองทุนตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ “ผู้รับทุน” หมายความว่า บุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือนิติบุคคล ซึ่งเป็นคู่สัญญารับทุนกับกองทุนและไม่มีกรรมการ ที่ปรึกษาของคณะกรรมการ กรรมการบริหารแผน กรรมการประเมินผลผู้จัดการ หรือผู้ปฏิบัติงานมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในกิจการของบุคคลธรรมดาคณะบุคคล หรือนิติบุคคลนั้น เว้นแต่เป็นการดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐ การมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ การที่กรรมการที่ปรึกษาของคณะกรรมการ กรรมการบริหารแผน กรรมการประเมินผล ผู้จัดการ หรือผู้ปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์ในกิจการของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญารับทุนในลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) มีความสัมพันธ์ในเชิงบริหาร โดยดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการกิจการของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือนิติบุคคลที่เสนอแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการเพื่อขอรับทุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และให้หมายความรวมถึงการเป็นกรรมการหรือผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการกิจการของมูลนิธิ สมาคม หรือองค์กรสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ด้วย (๒) มีความสัมพันธ์ในเชิงทุน โดยเป็นผู้มีหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่เสนอแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการเพื่อขอรับทุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (๓) มีความสัมพันธ์โดยเครือญาติ โดยมีคู่สมรสหรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะดำรงตำแหน่งหรือเป็นหุ้นส่วน หรือเข้าถือหุ้นตาม (๑) หรือ (๒) ให้ถือว่าเป็นการดำรงตำแหน่งการเป็นหุ้นส่วนหรือการถือหุ้นของบุคคลนั้นด้วย การที่กรรมการบริหารแผนมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมตามวรรคสอง หมายถึงกรณีที่กรรมการบริหารแผนมีความสัมพันธ์ในกิจการของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือนิติบุคคลที่เสนอขอรับทุนจากแผนที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรรมการบริหารแผนผู้นั้น “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกา และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐที่จัดตั้งตามกฎหมาย ข้อ ๕ ทิศทางและเป้าหมายกองทุนระยะ ๑๐ ปี แผนหลัก และแผนการดำเนินงานประจำปี การกำหนดทิศทางและเป้าหมายกองทุนระยะ ๑๐ ปี แผนหลัก และแผนการดำเนินงานประจำปี จะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนและกิจการของกองทุนตามมาตรา ๕ และมาตรา ๙ (๔) ๕.๑ การจัดทำทิศทางและเป้าหมายกองทุนระยะ ๑๐ ปี (๑) ให้คณะกรรมการกำหนดให้มีการจัดทำทิศทางและเป้าหมายกองทุนระยะ ๑๐ ปี ที่มีรายละเอียดสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนและกิจการของกองทุนตามมาตรา ๕ และมาตรา ๙ (๔) โดยต้องปรับปรุงอย่างน้อยทุก ๕ ปี (๒) ในการจัดทำทิศทางและเป้าหมายกองทุนระยะ ๑๐ ปี ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำทิศทางและเป้าหมายกองทุนระยะ ๑๐ ปี เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการ (๓) ในการจัดทำทิศทางและเป้าหมายกองทุนระยะ ๑๐ ปี คณะอนุกรรมการต้องจัดกระบวนการให้คณะกรรมการบริหารแผน ภาคี และบุคคลที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง ๕.๒ การจัดทำแผนหลัก (๑) ให้ผู้จัดการจัดทำแผนหลักที่ประกอบด้วยแผนต่าง ๆ ที่มีรายละเอียดสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนและกิจการของกองทุนตามมาตรา ๕ และมาตรา ๙ (๔) ไม่เกิน ๑๕ แผน และแนวทางของทิศทางและเป้าหมายกองทุนระยะ ๑๐ ปี เพื่อขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการ โดยให้จัดทำเป็นระยะเวลา ๓ ปี และต้องปรับปรุงเมื่อครบกำหนด ๓ ปี ทั้งนี้ ให้มีการดำเนินการเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเห็นชอบแผนหลักภายในเดือนสิงหาคมของปีที่พิจารณา (๒) ให้ผู้จัดการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารแผนและภาคีเพื่อจัดทำแผนหลักโดยต้องจัดให้คณะกรรมการบริหารแผนและภาคีต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาแผนหลักอย่างกว้างขวาง (๓) ให้คณะอนุกรรมการนโยบายทางการเงินวิเคราะห์และเสนอกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีของกองทุน โดยจัดทำเป็นระยะเวลา ๓ ปี แล้วให้เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเห็นชอบภายในเดือนพฤษภาคมของทุกปี (๔) ในระหว่างปี หากผู้จัดการพิจารณาเห็นความจำเป็นต้องกำหนดแผนใหม่หรือบูรณาการกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องกับหลายแผนหรืองานที่จำเป็นต้องดำเนินการเป็นกรณีเฉพาะภายใต้แผนหลักให้ผู้จัดการเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและอาจมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารแผนหรือคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจหรือแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นใหม่เพื่อบริหารและกำกับดูแลการพัฒนาและการดำเนินการดังกล่าว ๕.๓ การจัดทำแผนการดำเนินงานประจำปี (๑) ให้ผู้จัดการร่วมกับคณะกรรมการบริหารแผนจัดทำแผนการดำเนินงานประจำปีที่มีเป้าหมายและตัวชี้วัดหลักที่สอดคล้องกับเป้าหมายและตัวชี้วัดหลักตามแผนหลักไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕ ภายใต้วงเงินงบประมาณตามกรอบการทบทวนงบประมาณรายปีโดยคณะอนุกรรมการนโยบายทางการเงิน เพื่อเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาเห็นชอบภายในเดือนสิงหาคมของทุกปี ในการจัดทำแผนการดำเนินงานประจำปีตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดรายละเอียดและกรอบวงเงินงบประมาณของแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการภายใต้แผนต่าง ๆ ให้ชัดเจน (๒) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณ หากแผนใดมีความจำเป็นในระหว่างปีที่จะต้องปรับปรุงวงเงินงบประมาณตามแผนที่คณะกรรมการเห็นชอบไว้ไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินงบประมาณแต่ละปี ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการที่จะดำเนินการได้ และให้แจ้งให้คณะกรรมการทราบ ในกรณีที่จำเป็นต้องปรับปรุงวงเงินงบประมาณเกินกว่าร้อยละสิบ ให้ผู้จัดการเสนอแนวทางการปรับปรุงต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติ ข้อ ๖ คณะกรรมการบริหารแผน ๖.๑ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วยกรรมการกองทุนและผู้ทรงคุณวุฒิอื่น ๆ รวมแล้วไม่เกินสิบคน โดยมีผู้จัดการเป็นกรรมการและเลขานุการเพื่อทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองรายชื่อบุคคลที่ผู้จัดการเสนอตามที่ได้ปรึกษาหารือกับภาคีที่เกี่ยวข้องกับแผนนั้น ๆ เป็นคณะกรรมการบริหารแผนคณะต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ โดยมีจำนวนอย่างน้อยคณะละเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบห้าคน และให้ผู้จัดการเสนอรายชื่อบุคคลที่ผ่านการกลั่นกรองแล้วต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเห็นชอบและลงนามในประกาศแต่งตั้งต่อไป ๖.๒ คณะกรรมการบริหารแผนคณะหนึ่ง ๆ ประกอบด้วยกรรมการกองทุนจำนวนไม่น้อยกว่า ๒ คน และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ มีผลงานดีเด่น และมีประสบการณ์จากหลายสาขา ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามแผน และเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากภาคีที่เกี่ยวข้องกับแผนนั้น ๆ แต่ต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทำกับกองทุนในแผนที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรรมการบริหารแผนผู้นั้นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ให้ผู้จัดการหรือผู้ที่ผู้จัดการมอบหมายทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการบริหารแผน ๖.๓ ให้คณะกรรมการบริหารแผนมีวาระการปฏิบัติหน้าที่คราวละสามปีหรือตามที่คณะกรรมการกำหนด โดยจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ เว้นแต่ตำแหน่งประธานกรรมการบริหารแผนให้ดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่เกินสามวาระ ทั้งนี้ เมื่อครบวาระแล้วหากยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารแผนขึ้นใหม่ให้คณะกรรมการบริหารแผนซึ่งพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ตามวาระนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะกรรมการบริหารแผนซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ นอกจากการครบวาระการปฏิบัติหน้าที่แล้ว คณะกรรมการบริหารแผนจะพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่เมื่อตาย ลาออก คณะกรรมการให้พ้นจากหน้าที่ หรือเมื่อแผนที่ดูแลเสร็จสิ้นหรือยุติลง ๖.๔ การประชุมของคณะกรรมการบริหารแผนให้นำมาตรา ๒๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่คณะกรรมการบริหารแผนจะมีมติกำหนดแนวปฏิบัติไว้เป็นอื่นโดยไม่ขัดแย้งกับหลักการของมาตรา ๒๒ ๖.๕ ให้นำจรรยาบรรณของคณะกรรมการมาใช้เป็นหลักการและแนวปฏิบัติสำหรับประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการบริหารแผนด้วยโดยอนุโลม ให้กองทุนแจ้งถึงจรรยาบรรณแก่ประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการบริหารแผนเป็นลายลักษณ์อักษรให้ทราบตั้งแต่แรกเริ่มปฏิบัติหน้าที่ ๖.๖ ให้คณะกรรมการบริหารแผนมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ (๑) กำหนดแนวทางและกำกับดูแลการดำเนินงานตามแผนให้บรรลุผล รวมถึงพัฒนาแผนในระยะต่อไปข้างหน้า โดยสามารถปรับปรุงรายละเอียดของแผนนั้น ๆ ได้ ภายในกรอบงบประมาณของแผนที่คณะกรรมการเห็นชอบไว้ (๒) พิจารณาให้ทุนหรือพิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติตามข้อ ๙.๕ (๒) (๓) แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาและในกรณีที่เห็นสมควรอาจมอบหมายอำนาจหน้าที่เพื่อกำกับทิศทางของแผนงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผน (๔) เสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิทดแทนกรรมการบริหารแผนที่พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือแต่งตั้งกรรมการบริหารแผนเพิ่มเติม (๕) รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามแผนต่อคณะกรรมการ ตลอดจนจัดให้มีการประเมินผลตามข้อ ๑๐.๒ ข้อ ๑๐.๓ ข้อ ๑๐.๔ และข้อ ๑๐.๕ (๖) พิจารณาปรับปรุงการจัดสรรเงินภายในวงเงินที่กำหนดไว้ในแผนนั้น ๆ ตามความเหมาะสม (๗) ดำเนินงานอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินงานตามแผนบรรลุผลสำเร็จ ๖.๗ ให้ผู้จัดการจัดให้มีการประชุมร่วมกันของคณะกรรมการและคณะกรรมการบริหารแผนคณะต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ร่วมกันและต่อการบูรณาการของแผนหลักของกองทุนในภาพรวม โดยให้จัดให้มีการประชุมอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ข้อ ๗ การพัฒนาและบริหารแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ๗.๑ ให้ผู้จัดการพัฒนารายละเอียดของแต่ละแผนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดให้เกิดการสนับสนุนเป็นแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ โดยให้มีผู้จัดการแผนงานชุดโครงการ หรือโครงการ ตามที่ผู้จัดการเห็นชอบเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการแผนงานชุดโครงการ หรือโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์ ๗.๒ ผู้จัดการอาจจัดให้มีการพัฒนานวัตกรรมในแต่ละแผนได้ โดยใช้งบประมาณไม่เกินร้อยละสองของแต่ละแผน ๗.๓ ผู้จัดการแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้ (๑) เป็นผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาแผนงาน โดยได้แสดงถึงความรู้ ความเข้าใจ ความเอาใจใส่ และการเป็นที่ยอมรับของภาคีที่เกี่ยวข้อง (๒) เป็นผู้มีความสามารถและประสบการณ์ในการบริหาร (๓) สามารถอุทิศเวลาปฏิบัติงานได้จริงตามข้อตกลง (๔) ไม่เป็นผู้มีประวัติเสื่อมเสียในทางการเงินหรือการรับทุน ทั้งนี้ ให้พิจารณาโดยคำนึงถึงข้อมูลจากแหล่งทุนอื่นด้วย ๗.๔ ผู้จัดการแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ จะพ้นจากหน้าที่ในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) ตาย (๒) ได้รับความเห็นชอบจากผู้จัดการให้ลาออก (๓) ผู้จัดการให้พ้นจากหน้าที่เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามข้อ ๗.๓ (๔) แผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการที่ดูแลเสร็จสิ้นหรือยุติลง ในกรณีตาม (๑) (๒) และ (๓) ให้ผู้จัดการแต่งตั้งผู้จัดการแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการคนใหม่เพื่อทำหน้าที่ต่อไป ข้อ ๘ แผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ที่กองทุนให้การสนับสนุน ๘.๑ แผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ที่อยู่ในข่ายที่กองทุนจะให้การสนับสนุนต้องเป็นแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนและกิจการของกองทุนตามมาตรา ๕ และมาตรา ๙ (๔) และแผนหลักของกองทุนแผนใดแผนหนึ่งที่คณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นชอบไว้แล้ว ๘.๒ กองทุนอาจให้การสนับสนุนแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ที่มีลักษณะกิจกรรม ๓ ประเภท ดังนี้ (๑) กิจกรรมด้านการพัฒนาและปฏิบัติการ หมายถึง กิจกรรมที่มีลักษณะเป็นการฝึกอบรม การรณรงค์ การจัดกิจกรรม หรือพัฒนารูปแบบที่เป็นนวัตกรรม หรือการพัฒนาเครือข่ายภาคี หรือปฏิบัติการในด้านการสร้างเสริมสุขภาวะ ทั้งนี้ ต้องไม่ใช่งานประจำที่ดำเนินการอยู่แล้ว (๒) กิจกรรมด้านการศึกษาวิจัย หมายถึง กิจกรรมที่มีลักษณะการศึกษาวิจัย การทบทวนองค์ความรู้ การวิจัยและพัฒนา การประเมินผล รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพด้วย (๓) กิจกรรมด้านการอุปถัมภ์กิจกรรม หมายถึง กิจกรรมที่มีลักษณะการให้ทุนแก่กิจกรรมด้านกีฬา ศิลปวัฒนธรรม หรือกิจกรรมสาธารณะอื่น เพื่อเป็นสื่อกลางในการสร้างความรู้และค่านิยมในการสร้างเสริมสุขภาพ ๘.๓ ลักษณะแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ที่กองทุนให้การสนับสนุนให้เป็นไปตามประกาศแนบท้ายข้อบังคับนี้ ๘.๔ รายละเอียดสำหรับแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ แต่ละประเภทให้ผู้จัดการจัดทำเป็นประกาศของกองทุนเผยแพร่ให้สาธารณชนได้ทราบทางสื่อมวลชนตามเวลาและโอกาสที่เหมาะสม ๘.๕ แผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ที่กองทุนจะรับพิจารณา อาจจะมาจากการทำงานร่วมกันของภาคี หรือจากผู้สนใจที่เสนอเข้ามาตามประกาศของกองทุน ให้สำนักงานกองทุนประกาศเผยแพร่ข้อมูลแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการที่กองทุนจะให้การสนับสนุนให้สาธารณชนทราบ เพื่อให้องค์กร มูลนิธิ หรือผู้รับทุนรายใหม่ได้มีโอกาสเข้ามาเสนอแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการตามวรรคหนึ่ง ๘.๖ แผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ จะต้องมีรายละเอียดเพียงพอแก่การพิจารณาของกองทุน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามแบบเสนอแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ที่กองทุนประกาศกำหนด ข้อ ๙ การพิจารณาแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ๙.๑ การพิจารณาแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ให้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้ (๑) ขั้นการกลั่นกรองทางวิชาการ (๒) ขั้นพิจารณาตัดสิน ๙.๒ การกลั่นกรองทางวิชาการให้กระทำโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่ต้องไม่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียโดยตรงกับผู้เสนอแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิในการกลั่นกรองทางวิชาการให้เป็นไปตามขนาดแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ดังนี้ ขนาดแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ (งบประมาณที่ขอ) จำนวนผู้ทรงคุณวุฒิ • ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๑ คน • ๒๐๐,๐๐๑ - ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๓ คน • ๑,๐๐๐,๐๐๑ - ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๕ คน • ๕,๐๐๐,๐๐๑ - ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๗ คน • ๑๐,๐๐๐,๐๐๑ - ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๗ คน และต้องมีการประชุมพิจารณา • เกินกว่า ๒๐ ล้านบาท อย่างน้อย ๗ คนโดยมีกรรมการบริหารแผนหรือ อนุกรรมการเฉพาะกิจรวมอยู่ด้วยอย่างน้อย ๓ คน และจะต้องมีการประชุมพิจารณา ผู้ทรงคุณวุฒิให้เลือกจากบัญชีรายชื่อตามข้อ ๙.๕ ๙.๓ ให้ผู้จัดการรับผิดชอบดำเนินการตามข้อ ๙.๒ และประมวลผลการกลั่นกรองทางวิชาการ รวมทั้งพิจารณาให้มีการปรับปรุงรายละเอียดของแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการถ้าจำเป็นเพื่อเสนอเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของผู้มีอำนาจตามข้อ ๙.๕ ๙.๔ ให้กองทุนจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อกลั่นกรองทางวิชาการจำนวน ๓ บัญชี ดังนี้ (๑) บัญชีกลาง หมายถึง บัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งประกอบด้วย กรรมการกองทุน กรรมการบริหารแผน อนุกรรมการเฉพาะกิจ ผู้บริหารกองทุน และผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญอื่น ๆ ที่เหมาะสม จะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิร่วมของทุกแผนได้ โดยให้ผู้จัดการรับผิดชอบในการจัดทำปีละครั้ง และให้ใช้ผู้ทรงคุณวุฒิตามบัญชีนี้ในการกลั่นกรองทางวิชาการแผนงานชุดโครงการ หรือโครงการได้ในทุกแผน (๒) บัญชีเฉพาะของคณะกรรมการบริหารแผนแต่ละคณะ หมายถึง บัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งประกอบด้วยผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญที่คณะกรรมการบริหารแผนแต่ละคณะเห็นชอบซึ่งไม่มีรายชื่อซ้ำกับบัญชีกลาง โดยให้ผู้จัดการร่วมกับผู้จัดการแผนงานจัดทำบัญชีรายชื่อแล้วเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารแผนแต่ละคณะปีละครั้ง และให้ใช้ผู้ทรงคุณวุฒิตามบัญชีนี้ได้เฉพาะการกลั่นกรองทางวิชาการแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหารแผนแต่ละคณะ (๓) บัญชีเฉพาะของแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ หมายถึง บัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการบริหารแผนแต่ละคณะเห็นชอบให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะสำหรับการกลั่นกรองทางวิชาการแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการนั้น ๆ รวมถึงการกลั่นกรองทางวิชาการสำหรับโครงการย่อยที่มิได้ทำสัญญารับทุนกับกองทุนโดยตรงด้วย ทั้งนี้ ให้กรรมการกำกับทิศทางเป็นผู้ทรงคุณวุฒิตามบัญชีนี้โดยอัตโนมัติและให้สามารถกลั่นกรองทางวิชาการได้เช่นเดียวกับผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการบริหารแผนเห็นชอบ ๙.๕ อำนาจในการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณให้เป็นไปตามกรอบวงเงิน ดังนี้ (๑) วงเงินไม่เกิน ๒๐ ล้านบาท ให้ผู้จัดการพิจารณาอนุมัติแล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบ (๒) วงเงินเกิน ๒๐ ล้านบาท ให้คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นต้องให้องค์กร มูลนิธิ หรือผู้รับทุนรายใดดำเนินแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการที่มีความต่อเนื่อง ให้ระบุเหตุผลหรือความจำเป็นนั้นประกอบการขออนุมัติตามวรรคหนึ่งให้ชัดเจน ๙.๖ หลังจากผู้มีอำนาจตามข้อ ๙.๕ พิจารณาอนุมัติแล้ว ให้ผู้จัดการจัดทำสัญญากับผู้รับทุนตามระเบียบกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยสัญญาสนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ก่อนการจัดทำสัญญาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้รับทุนแต่ละรายว่าเป็นผู้รับทุนที่กรรมการ ที่ปรึกษาของคณะกรรมการ กรรมการบริหารแผน กรรมการประเมินผล ผู้จัดการ หรือผู้ปฏิบัติงาน มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ หากปรากฏว่าบุคคลดังกล่าว มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในกิจการของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือนิติบุคคลนั้นที่เป็นผู้รับทุน ห้ามผู้ปฏิบัติงานจัดทำสัญญากับผู้รับทุนดังกล่าวทุกรายพร้อมทั้งให้แจ้งให้ผู้รับทุนทราบโดยเร็ว ผู้รับทุนที่ต้องห้ามมิให้ทำสัญญากับกองทุนตามวรรคสอง อาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้จัดการภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง พร้อมทั้งต้องแสดงเหตุผลของการอุทธรณ์และเอกสารที่เกี่ยวข้องมาด้วย และให้ผู้จัดการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์พร้อมทั้งแจ้งผลให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ทั้งนี้ การวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้จัดการให้ถือเป็นที่สุด และให้รายงานคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นให้คณะกรรมการทราบด้วย ข้อ ๑๐ การกำกับติดตามและประเมินผลเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานตามแผน ๑๐.๑ ให้สำนักงานกองทุนจัดให้มีการประเมินผลภายในของแผนงานที่มีวงเงินสูงกว่าปีละ ๑๐ ล้านบาท โดยบุคคลที่ต้องไม่มีส่วนได้เสียในแผนงานที่ทำการประเมินผลนั้น และให้จัดทำรายงานความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานของแผนงานเสนอต่อคณะกรรมการบริหารแผนโดยตรงหรือโดยเสนอผ่านคณะกรรมการกำกับทิศทางที่คณะกรรมการบริหารแผนแต่งตั้งอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งหรือตามที่คณะกรรมการบริหารแผนกำหนด ๑๐.๒ ให้คณะกรรมการบริหารแผนจัดทำรายงานความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานของแผนเสนอต่อคณะกรรมการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หรือตามที่คณะกรรมการกำหนด ๑๐.๓ รายงานตามข้อ ๑๐.๒ ให้นำเสนอต่อคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนตามมาตรา ๓๗ เพื่อทราบด้วย ๑๐.๔ ให้คณะกรรมการบริหารแผนพิจารณาจัดให้มีการประเมินผลเชิงลึกสำหรับแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ขนาดใหญ่ที่มีวงเงินงบประมาณเกินกว่า ๒๐ ล้านบาท โดยเริ่มดำเนินการอย่างช้าภายในกึ่งหนึ่งของระยะเวลาของแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการนั้น ๑๐.๕ ให้คณะกรรมการบริหารแผนจัดให้มีการประเมินผลลัพธ์ของแผนอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อสามปี และรายงานให้คณะกรรมการทราบ ๑๐.๖ คณะกรรมการหรือคณะกรรมการบริหารแผน อาจจัดให้มีการติดตามและประเมินผล นอกเหนือจากการรายงานและทบทวนในข้อ ๑๐.๑ ข้อ ๑๐.๒ ข้อ ๑๐.๓ ข้อ ๑๐.๔ และข้อ ๑๐.๕ ก็ได้ ข้อ ๑๑ การสิ้นสุดแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ แผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการจะสิ้นสุดในกรณีดังนี้ (๑) แผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการนั้น ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่ได้วางแผนและบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการแล้ว และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการต่อ (๒) แผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการนั้น หมดสภาพไปเนื่องจากผลจากการติดตามตรวจสอบและการประเมินผลระบุให้เห็นถึงความล้มเหลวหรือจะล้มเหลว และผู้จัดการเห็นควรให้ยุติ (๓) เป็นไปตามเงื่อนไขอื่นตามที่ระบุไว้ในสัญญาระหว่างกองทุนกับผู้รับทุนของแผนงานชุดโครงการ หรือโครงการนั้น ข้อ ๑๒ ให้แผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการที่ได้รับการอนุมัติสนับสนุนงบประมาณไปแล้วอยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ดำเนินการต่อไปจนสิ้นสุดแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการ ข้อ ๑๓ ให้คณะกรรมการบริหารแผน และผู้จัดการแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนครบวาระ โดยถือเป็นคณะกรรมการบริหารแผน และผู้จัดการแผนงาน ชุดโครงการ หรือโครงการตามข้อบังคับนี้ ข้อ ๑๔ ในวาระเริ่มแรก หากปรากฏข้อเท็จจริงว่ากรรมการ ที่ปรึกษาของคณะกรรมการกรรมการบริหารแผน กรรมการประเมินผล ผู้จัดการ หรือผู้ปฏิบัติงานมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในกิจการของผู้รับทุนรายใด ให้คณะกรรมการระงับการให้ทุนแก่ผู้รับทุนรายนั้นในทันทีและให้สำนักงานกองทุนดำเนินการจัดหาผู้รับทุนรายใหม่เข้าดำเนินการแทนผู้รับทุนรายเดิม ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ข้อบังคับนี้ประกาศใช้บังคับ ข้อ ๑๕ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการออกระเบียบหรือประกาศตามข้อบังคับนี้ ให้นำระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หรือกฎที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับมาใช้บังคับโดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ ข้อ ๑๖ ให้ประธานกรรมการรักษาการตามข้อบังคับนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๒๕ ง/หน้า ๒๒/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙
751497
ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี และทรัพย์สินของกองทุน พ.ศ. 2559
ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี และทรัพย์สินของกองทุน พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ มาตรา ๒๑ (๕) (ฉ) และมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในการประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๘ คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี และทรัพย์สินของกองทุน พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๗ (๒) ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ (๓) ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒ (๔) ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๓ (๕) ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔ (๖) ระเบียบสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าพัสดุ และค่าใช้จ่ายสนับสนุนโครงการ พ.ศ. ๒๕๕๗ ข้อ ๔ ในข้อบังคับนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “สำนักงานกองทุน” หมายความว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “ประธานกรรมการ” หมายความว่า ประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “ผู้จัดการ” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “ผู้ปฏิบัติงาน” หมายความว่า เจ้าหน้าที่และลูกจ้างผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานกองทุน “ปีบัญชี” หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคมของปีหนึ่ง ถึงวันที่ ๓๐ กันยายนของปีถัดไป และให้ใช้ พ.ศ. ของปีถัดไปเป็นชื่อของปีบัญชีนั้น “งบประมาณรายจ่าย” หมายความว่า จำนวนเงินอย่างสูงที่อนุญาตให้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้ตามวัตถุประสงค์และในระยะเวลาที่กำหนดในแต่ละปีบัญชี ข้อ ๕ ให้ประธานกรรมการรักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่ง ประกาศ หรือดำเนินการอื่นใดเพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ รวมถึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ หมวด ๑ กองทุนและรายได้ ข้อ ๖ ให้กองทุนตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๕ เป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ในมาตรา ๕ โดยกองทุน ประกอบด้วย (๑) เงินบำรุงกองทุนที่จัดเก็บตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ (๒) เงินและทรัพย์สินที่ได้รับและโอนตามมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ (๓) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (๔) เงินอุดหนุนจากภาคเอกชนหรือองค์กรอื่น รวมทั้งจากต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศและเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๕) ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือรายได้จากการดำเนินการ (๖) ดอกผลของเงินหรือรายได้จากทรัพย์สินของกองทุน ข้อ ๗ ให้ผู้จัดการเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารกองทุนให้เป็นไปตามแผน ข้อบังคับ ระเบียบ และมติของคณะกรรมการ ข้อ ๘ สำนักงานกองทุนอาจจัดหาผลประโยชน์จากกองทุน ดังนี้ (๑) ซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) ซื้อพันธบัตรหรือหุ้นกู้ของรัฐวิสาหกิจ (๓) ซื้อตั๋วเงินคลัง (๔) นำฝากธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจหรือธนาคารพาณิชย์ (๕) ซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินของสถาบันการเงินของรัฐ หรือของธนาคารพาณิชย์ หรือของเอกชนที่มีฐานะมั่นคง โดยมีธนาคารเป็นอาวัล (๖) ซื้อตั๋วแลกเงินของสถาบันการเงินของรัฐ หรือของธนาคารพาณิชย์ หรือของเอกชนที่มีฐานะมั่นคง โดยมีธนาคารเป็นอาวัล (๗) ลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ตามสัดส่วนที่คณะกรรมการอนุมัติโดยมอบหมายให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เป็นผู้บริหารจัดการ (๘) วิธีการอื่น ๆ นอกเหนือจาก (๑) - (๗) ตามที่คณะกรรมการอนุมัติ ข้อ ๙ ให้สำนักงานกองทุนนำหลักทรัพย์ รายได้ที่ได้มาทุกประเภทเข้ากองทุน และจะหักไว้ใช้จ่ายเพื่อการใดก่อนนำเข้ากองทุนไม่ได้ ข้อ ๑๐ การรับเงินทุกประเภท ยกเว้นเงินงบประมาณแผ่นดิน จะต้องออกใบเสร็จรับเงินไว้เป็นหลักฐาน แบบของใบเสร็จรับเงินต้องเป็นไปตามที่กองทุนกำหนด โดยมีเลขที่ใบเสร็จรับเงินเรียงตามลำดับไว้ทุกฉบับ และมีทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงิน และหลักฐานการเบิกใบเสร็จรับเงินที่สามารถตรวจสอบได้ ข้อ ๑๑ ให้สำนักงานกองทุนเป็นผู้จัดเก็บเงินทุกประเภท และให้นำเงินที่ได้มาฝากธนาคารในวันนั้นหรืออย่างช้าภายใน ๒ วันทำการถัดจากวันที่ได้รับ ข้อ ๑๒ ให้สำนักงานกองทุนเก็บเงินสดในมือสำรองจ่ายได้ไม่เกินห้าหมื่นบาทถ้วนต่อวัน เว้นแต่เงินสดซึ่งเบิกมาเพื่อจ่ายเฉพาะกิจเป็นคราว ๆ ไป ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเก็บเงินสำรองจ่ายสูงกว่าวงเงินดังกล่าวให้กระทำได้โดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ หมวด ๒ รายจ่าย ข้อ ๑๓ รายจ่ายของกองทุนแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้ (๑) รายจ่ายสนับสนุนโครงการที่เป็นภารกิจของกองทุน ได้แก่ ก. ทุนสนับสนุนโครงการ ข. ทุนอุดหนุนและค่าจ้างเหมาดำเนินการศึกษา วิจัย พัฒนา สำรวจ และดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการทำงาน ค. ค่าใช้จ่ายในการพัฒนา การบริหาร หรือกำกับโครงการ ง. รายจ่ายอื่น ๆ ที่คณะกรรมการเห็นสมควร (๒) รายจ่ายเพื่อการบริหารจัดการสำนักงานกองทุน ได้แก่ ก. ค่าใช้จ่ายดำเนินการ ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน ค่าใช้สอยและวัสดุ ค่าสาธารณูปโภค ค่าสวัสดิการ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ข. รายจ่ายลงทุนเพื่อดำเนินการปกติ ได้แก่ รายจ่ายลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินสิ่งก่อสร้าง หรือครุภัณฑ์ ค. ค่าใช้จ่ายอื่นในกิจกรรมต่าง ๆ ของสำนักงานกองทุน (๓) รายจ่ายลงทุนเพื่อจัดหาผลประโยชน์ตามข้อ ๘ รายจ่ายเพื่อการบริหารจัดการสำนักงานกองทุนตาม (๒) จะต้องไม่เกินร้อยละสิบของงบประมาณรายจ่ายประจำปีของกองทุน เว้นแต่ในกรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุอันสมควร ให้ขออนุมัติคณะกรรมการก่อน ข้อ ๑๔ ประเภทรายจ่ายเพื่อการบริหารจัดการสำนักงานกองทุนแบ่งเป็นหมวด ได้แก่ (๑) หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ (๒) หมวดค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ (๓) หมวดค่าสาธารณูปโภค (๔) หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง (๕) หมวดรายจ่ายอื่น ๆ ข้อ ๑๕ ให้ผู้จัดการมีอำนาจอนุมัติการสั่งจ่ายเงินเพื่อให้มีการดำเนินโครงการ หรือกิจกรรม หรือการจัดซื้อจัดจ้าง โดยให้เป็นไปตามผลการอนุมัติในแต่ละลำดับชั้นของหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดสรรงบประมาณตามข้อบังคับนี้ ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินเพื่อการสนับสนุนโครงการและกิจกรรม พ.ศ. ๒๕๕๙ และระเบียบกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๕๙ ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงการจ่ายเงินเพื่อให้มีการดำเนินงาน ตลอดจนการติดตามควบคุมผลงานอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๑๖ ให้ผู้จัดการมีอำนาจอนุมัติการเบิกจ่ายค่าตอบแทน ค่าใช้สอย และค่าพัสดุในส่วนของรายจ่ายเพื่อการบริหารจัดการสำนักงานกองทุน ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าเบี้ยประชุมของคณะกรรมการ (๒) ค่าตอบแทนการเข้าร่วมประชุมหรือร่วมกิจกรรม (๓) ค่าตอบแทนการกลั่นกรองทางวิชาการโครงการ (๔) ค่าตอบแทนวิทยากร (๕) ค่าตอบแทนอื่น ๆ (๖) ค่าเบี้ยเลี้ยงกรณีปฏิบัติงานต่างจังหวัด (๗) ค่าเบี้ยเลี้ยงกรณีปฏิบัติงานต่างประเทศ (๘) ค่าปฏิบัติงานนอกสภาพการณ์ปกติ (๙) ค่าอาหารรับรองการประชุมหรือดำเนินกิจกรรม (๑๐) ค่ารับรอง (๑๑) ค่าเช่าที่พักกรณีปฏิบัติงานต่างจังหวัด (๑๒) ค่าเช่าที่พักกรณีปฏิบัติงานต่างประเทศ (๑๓) ค่าพาหนะเดินทาง (๑๔) ค่าเช่ารถ (๑๕) ค่าน้ำมัน (๑๖) ค่าผ่านทางพิเศษ (๑๗) ค่าลงทะเบียนประชุม (๑๘) ค่าใช้จ่ายอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด โดยมีเงื่อนไขและอัตราการเบิกจ่ายตามบัญชีแนบท้ายข้อบังคับนี้ หมวด ๓ ทรัพย์สิน ข้อ ๑๗ กองทุนมีทรัพย์สินประเภทต่าง ๆ ดังนี้ (๑) ทรัพย์สินหมุนเวียน ได้แก่ เงินสด หรือทรัพย์สินอื่นที่มีเหตุผลคาดหมายได้ว่าจะเปลี่ยนเป็นเงินสด หรือขาย หรือใช้หมดไป ระหว่างรอบระยะเวลาดำเนินงานปกติของสำนักงานกองทุน เช่น เงินฝากธนาคาร และหนี้สิน เป็นต้น (๒) ทรัพย์สินถาวร ได้แก่ ทรัพย์สินอันมีลักษณะคงทนที่ใช้ในการดำเนินกิจการและใช้ได้นานเกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาดำเนินงานตามปกติ แต่มิได้มีไว้เพื่อขาย เช่น ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และครุภัณฑ์ เป็นต้น (๓) ทรัพย์สินอื่น ๆ ได้แก่ ทรัพย์สินที่ไม่อาจจัดเข้าเป็นทรัพย์สินหมุนเวียน หรือทรัพย์สินถาวรได้ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ เงินประกัน เงินมัดจำ และเงินทุนระยะยาว เป็นต้น ข้อ ๑๘ ให้สำนักงานกองทุนจัดเก็บเอกสารทางการเงินและบัญชี และทะเบียนทรัพย์สินไว้เป็นหลักฐานให้อยู่ในสภาพที่สามารถตรวจสอบได้ หมวด ๔ การงบประมาณ ส่วนที่ ๑ ลักษณะของงบประมาณ ข้อ ๑๙ ให้สำนักงานกองทุนจัดทำแผนการดำเนินงานเป็นประจำทุกปีตามข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินเพื่อการสนับสนุนโครงการและกิจกรรม พ.ศ. ๒๕๕๙ แผนการดำเนินงานประจำปีตามวรรคหนึ่ง ให้ประกอบด้วยเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด แผน กลุ่มแผนงาน และงบประมาณประจำปี ข้อ ๒๐ เงินกองทุนที่จะนำมาใช้จ่ายในแต่ละปีบัญชี ให้สำนักงานกองทุนจัดทำงบประมาณประจำปีเสนอคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติใช้เป็นงบประมาณในปีบัญชีนั้น ๆ การจัดทำงบประมาณประจำปีตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด โดยอย่างน้อยต้องประกอบด้วย ดังนี้ (๑) คำแถลงประกอบงบประมาณแสดงฐานะและนโยบายการเงิน สาระสำคัญของงบประมาณและความสัมพันธ์ระหว่างรายรับและงบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้ง (๒) รายรับรายจ่ายเปรียบเทียบระหว่างปีที่ล่วงมาแล้ว ปีปัจจุบัน และปีที่ขอตั้งงบประมาณรายจ่าย (๓) คำอธิบายเกี่ยวกับประมาณการรายรับ (๔) คำชี้แจงเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้ง (๕) รายงานการรับจ่ายเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้เพื่อช่วยสำนักงานกองทุน (ถ้ามี) การจัดทำงบประมาณประจำปีตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานกองทุนกำหนดวงเงินงบประมาณ สำหรับโครงการต่อเนื่องที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จและถึงกำหนดจ่ายเงินในปีงบประมาณนั้นไว้ด้วย ในการขออนุมัติงบประมาณประจำปีตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานกองทุนกำหนดงบประมาณรายจ่ายไม่เกินกว่าประมาณการรายรับประเภทรายได้ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและเงินคงเหลือของกองทุนที่ยังไม่ถึงกำหนดเบิกจ่าย โดยให้คำนึงถึงนโยบายทางการเงินของคณะกรรมการแต่ถ้าประมาณการรายรับประเภทรายได้ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเป็นจำนวนสูงกว่างบประมาณรายจ่ายทั้งสิ้นที่ขอตั้ง ให้แถลงวิธีที่จะจัดการแก่ส่วนที่เกินดุลนั้นในทางที่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ส่วนที่ ๒ การจัดทำงบประมาณ ข้อ ๒๑ ให้สำนักพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ทำหน้าที่จัดทำงบประมาณกับปฏิบัติการอย่างอื่นตามข้อบังคับนี้ และให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงบประมาณดังต่อไปนี้ (๑) จัดทำประมาณการรายรับประเภทรายได้ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (๒) เรียกให้ส่วนงานต่าง ๆ ภายในสำนักงานกองทุนเสนอประมาณการรายจ่ายตามแบบและหลักเกณฑ์ พร้อมด้วยรายละเอียดตามที่สำนักพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์กำหนด (๓) วิเคราะห์งบประมาณและการจ่ายเงินของสำนักงานกองทุน (๔) กำหนด เพิ่ม หรือลดเงินประจำงวดตามความจำเป็นของการปฏิบัติงานและตามกำลังเงินของกองทุน ข้อ ๒๒ ให้หัวหน้าส่วนงานต่าง ๆ มีหน้าที่รับผิดชอบในการยื่นงบประมาณประจำปีของส่วนงานนั้นต่อสำนักพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ภายในเวลาที่สำนักพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์กำหนด งบประมาณประจำปีนั้น ถ้ามิได้ยื่นภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง สำนักพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์อาจพิจารณาการตั้งงบประมาณประจำปีตามที่เห็นสมควร ข้อ ๒๓ ให้สำนักพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์เสนองบประมาณต่อผู้จัดการเพื่อเสนอคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติภายในเดือนสิงหาคมก่อนวันเริ่มปีงบประมาณนั้น ข้อ ๒๔ ในกรณีจำเป็นจะต้องจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันเกินกว่างบประมาณประจำปี ให้ผู้จัดการนำเสนองบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติ โดยให้แสดงถึงเงินที่พึงได้มาสำหรับจ่ายตามงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่ขอตั้งนั้นด้วย การจัดทำงบประมาณเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด ส่วนที่ ๓ การโอนงบประมาณรายจ่าย ข้อ ๒๕ รายจ่ายที่กำหนดไว้สำหรับส่วนงานใดภายในสำนักงานกองทุนตามงบประมาณประจำปีหรืองบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมจะโอนหรือนำไปใช้สำหรับส่วนงานอื่นไม่ได้ เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (๑) กรณีที่มีการอนุมัติให้โอนหรือนำไปใช้ได้ตามข้อ ๒๖ (๒) กรณีที่มีการรวมหรือโอนภารกิจตามอำนาจหน้าที่ของส่วนงานเข้าด้วยกันไม่ว่าจะมีผลเป็นการจัดตั้งส่วนงานขึ้นใหม่หรือไม่ก็ตาม ให้โอนงบประมาณรายจ่ายของส่วนงานที่ถูกโอนหรือรวมเข้าด้วยกันนั้นไปเป็นของส่วนงานที่รับโอนหรือที่รวมเข้าด้วยกันหรือส่วนงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๖ เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาการดำเนินการหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานหรือสนับสนุนการบริหารงานตามแผนการดำเนินงานประจำปี ให้ผู้จัดการมีอำนาจอนุมัติการโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายการประเภทรายจ่ายเพื่อการบริหารจัดการสำนักงานกองทุนตามข้อ ๑๓ (๒) ภายในหมวดรายจ่ายหรือการเปลี่ยนแปลงหมวดรายจ่ายโดยไม่เพิ่มวงเงินงบประมาณได้ ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงการใช้จ่ายเงินให้เกิดประโยชน์ ความประหยัด ความคุ้มค่า ความโปร่งใส และความสอดคล้องกับเป้าหมาย ในกรณีจำเป็นจะต้องโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายการตามวรรคหนึ่งเกินกว่าวงเงินที่คณะกรรมการได้อนุมัติไว้ ให้ขออนุมัติต่อคณะกรรมการ การโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายจ่ายสนับสนุนโครงการที่เป็นภารกิจของกองทุนตามข้อ ๑๓ (๑) ให้เป็นไปตามข้อ ๕.๓ (๒) ของข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินเพื่อการสนับสนุนโครงการและกิจกรรม พ.ศ. ๒๕๕๙ ส่วนที่ ๔ การควบคุมงบประมาณ ข้อ ๒๗ ให้ผู้จัดการเป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมงบประมาณเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย (๑) จัดให้มีการประมวลบัญชีการเงินของสำนักงานกองทุน (๒) จัดให้มีการตรวจสอบเอกสารการขอเบิกเงิน การจ่ายเงิน และการก่อหนี้ผูกพัน ตลอดจนเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการรับเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งกองทุน (๓) กำหนดและควบคุมระบบบัญชี แบบรายงาน และเอกสารเกี่ยวกับการรับจ่ายเงินและหนี้ ข้อ ๒๘ สำนักงานกองทุนจะจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันได้แต่เฉพาะตามที่กำหนดไว้ในงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรืองบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมเท่านั้น และห้ามมิให้จ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรืองบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม จนกว่าจะได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ ข้อ ๒๙ ในกรณีที่กองทุนได้รับเงินที่มีผู้มอบให้หรือได้รับเงินสนับสนุนหรือเงินช่วยเหลือหรือความร่วมมือกับรัฐบาลต่างประเทศ องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศหรือองค์การอื่นใด หรือบุคคลใด รวมทั้งเงินที่กองทุนได้รับสืบเนื่องจากเงินเช่นว่านั้น ให้ผู้จัดการดำเนินการตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมสำหรับโครงการใหม่ที่มีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับภารกิจของกองทุนได้เท่ากับจำนวนเงินที่มีผู้มอบให้หรือได้รับเงินสนับสนุนหรือเงินช่วยเหลือหรือความร่วมมือนั้นและนำเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป หมวด ๕ การเงินและการบัญชี ข้อ ๓๐ การจ่ายเงินสนับสนุนโครงการที่เป็นภารกิจของกองทุนตามข้อ ๑๓ (๑) ให้สำนักงานกองทุนกำหนดจำนวนเงินให้เหมาะสมและสอดคล้องกับปริมาณงานที่ดำเนินการได้จริงในแต่ละงวด การจ่ายเงินสนับสนุนโครงการตามวรรคหนึ่งให้แก่องค์กร มูลนิธิ หรือส่วนราชการที่รับทุน ให้สำนักงานกองทุนเรียกเก็บใบเสร็จรับเงินจากผู้รับทุนเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการจ่ายเงินและตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของเอกสารทางการเงิน รวมถึงเพื่อรองรับการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ข้อ ๓๑ ให้กองทุนจัดทำบัญชีตามหลักสากล หลักฐานที่ใช้ในการลงบัญชีจะต้องเก็บรักษาไว้ให้เป็นระเบียบเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ และเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่าห้าปี ในกรณีที่เป็นหนังสือหรือเอกสารเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน หรือการก่อหนี้ผูกพันทางการเงินที่ไม่มีหลักฐานแห่งการก่อหนี้ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิทางการเงิน รวมถึงหนังสือหรือเอกสารเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน หรือการก่อหนี้ผูกพันทางการเงิน ที่หมดความจำเป็นในการใช้เป็นหลักฐานแห่งการก่อหนี้ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิในทางการเงินเพราะได้มีหนังสือหรือเอกสารอื่นที่สามารถนำมาใช้อ้างอิงหรือทดแทนหนังสือหรือเอกสารดังกล่าวแล้ว และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลภายนอกที่ทำหน้าที่ตรวจสอบแทนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบแล้วไม่มีปัญหา หรือเป็นเอกสารที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ประกอบการตรวจสอบหรือการใด ๆ อีกให้เก็บรักษาไว้อย่างน้อยหนึ่งปี แล้วจึงจำหน่าย ข้อ ๓๒ การบันทึกบัญชีให้จัดทำตามหลักสากลที่ยอมรับทั่วไปตามกฎหมายกองทุนหมุนเวียน ข้อ ๓๓ ให้สำนักงานกองทุนรับผิดชอบจัดทำรายงานการเงิน ดังนี้ (๑) ให้สำนักงานกองทุนจัดทำรายงานรับ - จ่าย และเงินคงเหลือประจำเดือนของกองทุนเสนอต่อผู้จัดการภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไปแล้วแจ้งให้คณะกรรมการทราบ นอกจากนี้ให้จัดทำวิเคราะห์รายงานการเงินรายไตรมาสแจ้งให้คณะกรรมการทราบด้วย (๒) เมื่อสิ้นสุดปีบัญชี ให้สำนักงานกองทุนจัดทำงบการเงินเสนอคณะกรรมการภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันปิดบัญชีประจำปีบัญชี ข้อ ๓๔ เมื่อปรากฏว่ามีบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นลูกหนี้ของกองทุน และสำนักงานกองทุนได้ดำเนินคดีและบังคับคดีจนครบกำหนดระยะเวลา ๑๐ ปี และได้ดำเนินคดีล้มละลายจนถึงที่สุดในกรณีที่มีทุนทรัพย์ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดแล้ว ให้ผู้จัดการขออนุมัติจากคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเห็นชอบให้จำหน่ายหนี้นั้นออกจากบัญชีเป็นสูญ เมื่อคณะกรรมการอนุมัติแล้ว ให้จำหน่ายหนี้นั้นออกจากบัญชีเป็นสูญได้ บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๕ บรรดาแบบเอกสาร คำสั่ง การอนุมัติ หรือการดำเนินการอื่นใดที่ออกตามข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ให้ใช้บังคับต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้จนกว่าจะมีกฎ ประกาศ คำสั่ง หรือหลักเกณฑ์ในเรื่องนั้นตามข้อบังคับนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๒๕ ง/หน้า ๑๓/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙
751495
ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2554
ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ (๕) (ฉ) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ จึงได้มีมติให้ออกข้อบังคับไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๙ แห่งข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๒๙ ให้ผู้จัดการมีอำนาจอนุมัติการจัดหาพัสดุ ในวงเงินไม่เกินยี่สิบล้านบาท หากเกินวงเงินดังกล่าวให้ผู้จัดการอนุมัติโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ หรือตามผลการอนุมัติในการจัดซื้อจัดจ้าง แล้วแต่กรณี ในกรณีการจัดซื้อจัดจ้างสื่อรณรงค์หรือประชาสัมพันธ์ ให้ผู้จัดการมีอำนาจอนุมัติภายใต้วงเงินและเงื่อนไข ดังนี้ (๑) วงเงินไม่เกินยี่สิบล้านบาท ให้ผู้จัดการมีอำนาจอนุมัติ (๒) วงเงินเกินกว่ายี่สิบล้านบาทแต่ไม่เกินห้าสิบล้านบาท ให้ผู้จัดการมีอำนาจอนุมัติ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารแผนที่เกี่ยวข้อง หรือตามผลการอนุมัติในการจัดซื้อจัดจ้าง แล้วแต่กรณี (๓) วงเงินเกินกว่าห้าสิบล้านบาท ให้ผู้จัดการมีอำนาจอนุมัติโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ หรือตามผลการอนุมัติในการจัดซื้อจัดจ้าง แล้วแต่กรณี อำนาจในการอนุมัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้รวมถึงการอนุมัติ ยกเลิก แก้ไข เปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัสดุด้วย” ข้อ ๔ ให้ผู้จัดการเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ วิชัย โชควิวัฒน รองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพคนที่สอง กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๒๕ ง/หน้า ๑๒/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙
751493
ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2553
ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ (๕) (ฉ) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ จึงออกข้อบังคับไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ แห่งข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๘ สำนักงานอาจจัดหาผลประโยชน์จากกองทุน ดังนี้ (๑) ซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) ซื้อพันธบัตร หรือหุ้นกู้ของรัฐวิสาหกิจ (๓) ซื้อตั๋วเงินคลัง (๔) นำฝากธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจหรือธนาคารพาณิชย์ (๕) ซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินของสถาบันการเงินของรัฐ หรือของธนาคารพาณิชย์ หรือของเอกชนที่มีฐานะมั่นคง โดยมีธนาคารอาวัล (๖) ซื้อตั๋วแลกเงินของสถาบันการเงินของรัฐ หรือของธนาคารพาณิชย์ หรือของเอกชนที่มีฐานะมั่นคง โดยมีธนาคารอาวัล (๗) ลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ตามสัดส่วนที่คณะกรรมการอนุมัติ โดยมอบหมายให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เป็นผู้บริหารจัดการ (๘) วิธีการอื่น ๆ นอกเหนือจาก (๑) - (๗) ที่คณะกรรมการอนุมัติ” ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๒๕ ง/หน้า ๑๑/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙
751491
ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552
ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ (ฉ) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในการประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ จึงได้มีมติให้ออกข้อบังคับไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ (๖) แห่งข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๖) ลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ตามสัดส่วนที่คณะกรรมการอนุมัติ โดยมอบหมายให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เป็นผู้บริหารจัดการ (๗) วิธีการอื่น ๆ นอกเหนือจาก (๑) - (๖) ที่คณะกรรมการอนุมัติ” ข้อ ๔ ให้ผู้จัดการเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๒๕ ง/หน้า ๑๐/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙
751489
ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ (๕) (ฉ) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ได้มีมติให้ออกข้อบังคับไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๒๖/๑ แห่งข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๗ “ข้อ ๒๖/๑ เมื่อปรากฏว่ามีบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นลูกหนี้ของกองทุน และสำนักงานได้ดำเนินการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้อย่างเพียงพอแล้ว แต่ (๑) ไม่สามารถติดตามตัวผู้รับผิดได้ หรือ (๒) จำนวนหนี้ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี หรือ (๓) มีการดำเนินคดีแล้ว แต่ผู้ต้องรับผิดไม่สามารถชำระหนี้ได้ หรือ (๔) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายและศาลได้มีคำสั่งรับฟ้องนั้นแล้ว หรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย และศาลได้มีคำสั่งรับคำขอรับชำระหนี้ นั้นแล้ว ให้ผู้จัดการขออนุมัติจากคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเห็นชอบให้จำหน่ายหนี้นั้นออกจากบัญชีเป็นสูญ เมื่อคณะกรรมการอนุมัติแล้ว ให้จำหน่ายหนี้นั้นออกจากบัญชีเป็นสูญได้” ข้อ ๔ ให้ผู้จัดการเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๒๕ ง/หน้า ๙/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙
461437
ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน พ.ศ. 2547
ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๗[๑] โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี การพัสดุและทรัพย์สินของกองทุน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ และ ๒๑ (๕) (ฉ) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้มีมติให้ออกข้อบังคับไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงินการบัญชี การพัสดุและทรัพย์สินของกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๗” ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป และให้ยกเลิกข้อบังคับสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการเงินและทรัพย์สิน พ.ศ. ๒๕๔๔ และข้อบังคับสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๔ และบรรดาระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์หรือวิธีการที่ออกตามข้อบังคับดังกล่าวข้างต้น ซึ่งอนุโลมใช้ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อบังคับนี้แทน ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้ “พระราชบัญญัติ” หมายความว่า พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “ประธานกรรมการ” หมายความว่า ประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “ผู้จัดการ” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “ผู้ปฏิบัติงาน” หมายความว่า เจ้าหน้าที่และลูกจ้างผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “ปีบัญชี” หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคมของปีหนึ่ง ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ของปีถัดไป และให้ใช้ พ.ศ. ของปีถัดไปเป็นชื่อของปีบัญชีนั้น “งบประมาณรายจ่าย” หมายความว่า จำนวนเงินอย่างสูงที่อนุญาตให้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้ตามวัตถุประสงค์และในระยะเวลาที่กำหนดในแต่ละปีบัญชี “พัสดุ” หมายความว่า วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และการจ้าง เว้นแต่ข้อบังคับนี้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น “การพัสดุ” หมายถึง การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การเช่า การจำหน่าย และการประกันภัย ข้อ ๔ ให้ผู้จัดการเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้ และมีอำนาจดำเนินการดังนี้ (๑) ออกระเบียบ คำสั่ง หลักเกณฑ์ และวิธีการ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการตามข้อบังคับนี้ (๒) มอบอำนาจที่เป็นของผู้จัดการตามข้อบังคับนี้ให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทน (๓) ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงระเบียบ คำสั่ง หลักเกณฑ์ และวิธีการที่ออกตามข้อบังคับนี้ในกรณีที่เห็นสมควร ข้อ ๕ ในกรณีที่สำนักงานมีปัญหาในการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ ให้ประธานกรรมการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด หมวด ๑ กองทุนและรายได้ ข้อ ๖ ให้กองทุนตามพระราชบัญญัติ มาตรา ๕ เป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ในมาตรา ๕ โดยกองทุนประกอบด้วย (๑) เงินบำรุงกองทุนที่จัดเก็บตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติ (๒) เงินและทรัพย์สินที่ได้รับและโอนตามมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติ (๓) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (๔) เงินอุดหนุนจากภาคเอกชนหรือองค์กรอื่น รวมทั้งจากต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ และเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๕) ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือรายได้จากการดำเนินการ (๖) ดอกผลของเงินหรือรายได้จากทรัพย์สินของสำนักงาน ข้อ ๗ ให้สำนักงานเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารกองทุนให้เป็นไปตามแผน ข้อบังคับระเบียบ และมติของคณะกรรมการ ข้อ ๘ สำนักงานอาจจัดหาผลประโยชน์จากกองทุน ดังนี้ (๑) ซื้อพันธบัตรรัฐบาล (๒) ซื้อพันธบัตร หรือหุ้นกู้ของรัฐวิสาหกิจ (๓) ซื้อตั๋วเงินคลัง (๔) นำฝากธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจหรือธนาคารพาณิชย์ (๕) ซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินจากสถาบันการเงินของรัฐ หรือของเอกชนที่มีฐานะมั่นคง โดยมีธนาคารอาวัล (๖) วิธีการอื่น ๆ ที่คณะกรรมการอนุมัติ ข้อ ๙ ให้สำนักงานนำหลักทรัพย์ รายได้ที่ได้มาทุกประเภทเข้ากองทุน และจะหักไว้ใช้จ่ายเพื่อการใดก่อนนำเข้ากองทุนไม่ได้ ข้อ ๑๐ การรับเงินทุกประเภท ยกเว้นเงินงบประมาณแผ่นดิน จะต้องออกใบเสร็จรับเงินไว้เป็นหลักฐาน แบบของใบเสร็จรับเงินต้องเป็นไปตามที่สำนักงานกำหนด โดยมีเลขที่ใบเสร็จรับเงินเรียงตามลำดับไว้ทุกฉบับ และมีทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงิน และหลักฐานการเบิกใบเสร็จรับเงินที่สามารถตรวจสอบได้ ข้อ ๑๑ ให้สำนักผู้จัดการเป็นผู้จัดเก็บเงินทุกประเภท และให้นำเงินที่ได้มาฝากธนาคารในวันนั้นหรืออย่างช้าภายใน ๒ วันทำการถัดจากวันที่ได้รับ ข้อ ๑๒ ให้สำนักผู้จัดการเก็บเงินสดในมือสำรองจ่ายได้ไม่เกินห้าหมื่นบาทถ้วนต่อวัน เว้นแต่เงินสดซึ่งเบิกมาเพื่อจ่ายเฉพาะกิจเป็นคราว ๆ ไป ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเก็บเงินสำรองจ่ายสูงกว่าวงเงินดังกล่าวให้กระทำได้โดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ หมวด ๒ รายจ่าย ข้อ ๑๓ รายจ่ายของกองทุนแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้ (๑) รายจ่ายเพื่อการบริหารจัดการสำนักงาน ได้แก่ ก. ค่าใช้จ่ายดำเนินการ ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน ค่าใช้สอยและวัสดุค่าสาธารณูปโภค ค่าสวัสดิการ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ข. รายจ่ายลงทุนเพื่อดำเนินการปกติ ได้แก่ รายจ่ายลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดิน สิ่งก่อสร้าง หรือครุภัณฑ์ ค. ค่าใช้จ่ายอื่นในกิจกรรมต่าง ๆ ของสำนักงาน (๒) รายจ่ายสนับสนุนโครงการที่เป็นภารกิจของสำนักงาน ได้แก่ ก. ทุนสนับสนุนโครงการ ข. ทุนอุดหนุนและค่าจ้างเหมาดำเนินการศึกษา วิจัย พัฒนา สำรวจ และดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการทำงาน ค. ค่าใช้จ่ายในการพัฒนา การบริหาร หรือกำกับ โครงการ ง. รายจ่ายอื่น ๆ ที่ผู้จัดการเห็นสมควร (๓) รายจ่ายเพื่อการบริหารกองทุน (๔) รายจ่ายลงทุนเพื่อจัดหาประโยชน์ตามข้อ ๘ รายจ่ายเพื่อการบริหารจัดการสำนักงานตาม (๑) จะต้องไม่เกินร้อยละสิบของงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสำนักงาน เว้นแต่ในกรณีที่มีความจำเป็น หรือมีเหตุอันสมควร ก็ให้ขออนุมัติคณะกรรมการ ก่อน ข้อ ๑๔ ประเภทรายจ่ายเพื่อการบริหารจัดการสำนักงานแบ่งเป็นหมวด ได้แก่ (๑) หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ (๒) หมวดค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ (๓) หมวดค่าสาธารณูปโภค (๔) หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง (๕) หมวดรายจ่ายอื่น ๆ ข้อ ๑๕ ให้ผู้จัดการมีอำนาจอนุมัติการสั่งจ่ายเงินเพื่อให้มีการดำเนินโครงการ หรือกิจกรรมหรือการจัดซื้อจัดจ้าง โดยให้เป็นไปตามผลการอนุมัติในแต่ละลำดับชั้นของหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดสรรงบประมาณที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงการจ่ายเงินเพื่อให้มีการดำเนินงานตลอดจนการติดตามควบคุมผลงานอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๑๖ การเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามระเบียบที่ผู้จัดการกำหนด หมวด ๓ ทรัพย์สิน ข้อ ๑๗ สำนักงานมีทรัพย์สินประเภทต่าง ๆ ดังนี้ (๑) ทรัพย์สินหมุนเวียน ได้แก่ เงินสด หรือทรัพย์สินอื่นที่มีเหตุผลคาดหมายได้ว่าจะเปลี่ยนเป็นเงินสด หรือขาย หรือใช้หมดไป ระหว่างรอบระยะเวลาดำเนินงานปกติของสำนักงาน เช่น เงินฝากธนาคาร และหนี้สิน เป็นต้น (๒) ทรัพย์สินถาวร ได้แก่ ทรัพย์สินอันมีลักษณะคงทนที่ใช้ในการดำเนินกิจการและใช้ได้นานเกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาดำเนินงานตามปกติ แต่มิได้มีไว้เพื่อขาย เช่น ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และครุภัณฑ์ เป็นต้น (๓) ทรัพย์สินอื่น ๆ ได้แก่ ทรัพย์สินที่ไม่อาจจัดเข้าเป็นทรัพย์สินหมุนเวียน หรือทรัพย์สินถาวรได้ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ เงินประกัน เงินมัดจำ และเงินลงทุนระยะยาวเป็นต้น ข้อ ๑๘ ให้สำนักงานจัดเก็บเอกสารทางการเงินและบัญชี และทะเบียนทรัพย์สินไว้เป็นหลักฐานให้อยู่ในสภาพที่สามารถตรวจสอบได้ หมวด ๔ การงบประมาณ ข้อ ๑๙ ให้สำนักงานจัดทำแผนงบประมาณเป็นประจำทุกปีตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินเพื่อการสนับสนุนโครงการและกิจกรรม ที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๒๐ เงินกองทุนที่จะนำมาใช้จ่ายในแต่ละปีบัญชี ให้สำนักงานจัดทำงบประมาณรายรับรายจ่ายประจำปี เสนอคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติใช้เป็นงบประมาณในปีบัญชีนั้น ๆ ข้อ ๒๑ การโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายการ ประเภทรายจ่ายเพื่อการบริหารจัดการสำนักงานภายในหมวดรายจ่าย หรือการเปลี่ยนแปลงหมวดรายจ่ายโดยไม่เพิ่มวงเงินงบประมาณ ให้ผู้จัดการเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ การโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายจ่ายสนับสนุนโครงการ และรายจ่ายเพื่อการบริหารกองทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินเพื่อการสนับสนุนโครงการและกิจกรรม ที่คณะกรรมการกำหนด ในกรณีที่การโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายการ เกินกว่าวงเงินที่คณะกรรมการได้อนุมัติไว้ให้ขออนุมัติจากคณะกรรมการ ข้อ ๒๒ ในกรณีตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพิ่มเติมระหว่างปี ให้ผู้จัดการนำเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติ ข้อ ๒๓ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปีบัญชีใด ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณภายในปีบัญชีนั้น แต่หากมีเหตุผลและความจำเป็นจะต้องเบิกจ่ายข้ามปี ให้ถือเป็นรายจ่ายของงบประมาณปีถัดไป ข้อ ๒๔ การเริ่มโครงการใหม่ที่มีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับภารกิจของสำนักงานระหว่างปีบัญชีใด โดยได้รับเงินสนับสนุนจากองค์การระหว่างประเทศหรือองค์การอื่น ๆ ให้ผู้จัดการดำเนินการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีนั้นเพิ่มเติมได้เท่ากับจำนวนเงินที่ได้รับการสนับสนุนนั้น และรายงานให้คณะกรรมการทราบ หมวด ๕ การเงินและการบัญชี ข้อ ๒๕ ให้สำนักผู้จัดการจัดทำบัญชีตามหลักสากล หลักฐานที่ใช้ในการลงบัญชีจะต้องเก็บรักษาไว้ให้เป็นระเบียบเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ และเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่าห้าปี ในกรณีที่เป็นหนังสือหรือเอกสารเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน หรือการก่อหนี้ผูกพันทางการเงิน ที่ไม่มีหลักฐานแห่งการก่อหนี้ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิทางการเงิน รวมถึงหนังสือหรือเอกสารเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน หรือการก่อหนี้ผูกพันทางการเงิน ที่หมดความจำเป็นในการใช้เป็นหลักฐานแห่งการก่อหนี้ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิในทางการเงิน เพราะได้มีหนังสือหรือเอกสารอื่นที่สามารถนำใช้อ้างอิงหรือทดแทนหนังสือหรือเอกสารดังกล่าวแล้ว และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลภายนอกที่ทำหน้าที่ตรวจสอบแทนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบแล้วไม่มีปัญหา หรือเป็นเอกสารที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ประกอบการตรวจสอบหรือการใด ๆ อีก ให้เก็บรักษาไว้อย่างน้อยหนึ่งปี แล้วจึงจำหน่าย ข้อ ๒๖ การบันทึกบัญชีให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่ยอมรับกันทั่วไป ข้อ ๒๗ ให้สำนักงานรับผิดชอบจัดทำรายงานการเงิน ดังนี้ (๑) ให้สำนักผู้จัดการจัดทำรายงาน รับ - จ่าย และเงินคงเหลือประจำเดือนของสำนักงานเสนอต่อผู้จัดการภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไปแล้วแจ้งให้คณะกรรมการทราบ นอกจากนี้ให้จัดทำวิเคราะห์รายงานการเงินรายไตรมาสแจ้งให้คณะกรรมการทราบด้วย (๒) เมื่อสิ้นสุดปีบัญชี ให้สำนักผู้จัดการจัดทำงบการเงินเสนอคณะกรรมการภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันปิดบัญชีประจำปีบัญชี หมวด ๖ การพัสดุ ข้อ ๒๘ ให้ผู้จัดการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การบริหารงานพัสดุซึ่งรวมถึงการจัดหาพัสดุ การตรวจรับพัสดุ และการควบคุมพัสดุ ข้อ ๒๙ ให้ผู้จัดการมีอำนาจอนุมัติการจัดหาพัสดุ ในวงเงินครั้งละไม่เกินยี่สิบล้านบาท หากเกินวงเงินกำหนดให้ผู้จัดการอนุมัติโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ หรือตามผลการอนุมัติในการจัดซื้อจัดจ้าง แล้วแต่กรณี อำนาจในการอนุมัติการจัดหาพัสดุตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงการอนุมัติ ยกเลิก แก้ไข เปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัสดุด้วย ข้อ ๓๐ ผู้จัดการอาจมอบอำนาจในการดำเนินการตามข้อ ๒๙ ให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ใดผู้หนึ่งปฏิบัติแทนก็ได้ โดยคำนึงถึงตำแหน่ง หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเป็นสำคัญ ประกาศ ณ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ จาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ชัชสรัญ/จัดทำ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๘ โชติกานต์/ปรับปรุง ๗ กันยายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๘๖ง/หน้า ๒/ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๘
568554
พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 (ฉบับ Update ล่าสุด )
พระราชบัญญัติ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นปีที่ ๔๒ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “กองทุน”[๒] หมายความว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ “กองทุนนายจ้างเดียว”[๓] หมายความว่า กองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างเพียงรายเดียว “กองทุนหลายนายจ้าง”[๔] หมายความว่า กองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างหลายราย “ค่าจ้าง” หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงาน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายเป็นการตอบแทนโดยวิธีใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใด แต่ไม่รวมถึงค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นที่นายจ้างหักไว้ หรือจ่ายเพิ่มเติมให้แก่ลูกจ้างเพื่อประโยชน์ในการทำงาน “นายจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล และไม่ว่าการตกลงนั้นจะมีสัญญาเป็นหนังสือหรือไม่ “ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างโดยได้รับค่าจ้าง ไม่ว่าจะมีสัญญาเป็นหนังสือหรือไม่ “นายทะเบียน”[๕] หมายความว่า บุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งนายทะเบียน และพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงและกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ การจัดตั้ง มาตรา ๕[๖] กองทุนจะมีขึ้นได้ต่อเมื่อลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้นและได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างตาย ออกจากงาน หรือลาออกจากกองทุน โดยลูกจ้างจ่ายเงินสะสมและนายจ้างจ่ายเงินสมทบตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุนนั้น ทั้งนี้ จะจัดตั้งเป็นกองทุนนายจ้างเดียวหรือกองทุนหลายนายจ้าง ซึ่งอาจมีนโยบายการลงทุนนโยบายเดียวหรือหลายนโยบายก็ได้ มาตรา ๖ เมื่อลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันจัดตั้งกองทุนขึ้นตามมาตรา ๕ แล้ว ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างที่ได้จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้าประสงค์จะให้เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๗ กองทุนที่ได้จดทะเบียนแล้วให้เป็นนิติบุคคล มาตรา ๗/๑[๗] กองทุนประกอบด้วยทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (๑) เงินสะสมและเงินสมทบ (๒) เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างตามมาตรา ๖ วรรคสอง (๓) เงินเพิ่มตามมาตรา ๑๐ วรรคสาม (๔) ทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๕) ทรัพย์สินที่เกิดจากการลงทุนหรือดอกผลของทรัพย์สินในกองทุน (๖) ทรัพย์สินของลูกจ้างที่โอนย้ายมาทั้งจำนวนจากกองทุนเดิมหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั้งนี้ การโอนทรัพย์สินดังกล่าวเข้ากองทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่นายทะเบียนประกาศกำหนด (๗) ทรัพย์สินอื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกำหนด มาตรา ๘ ในการขอจดทะเบียนกองทุน ถ้าได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖ และมีข้อบังคับถูกต้องตามมาตรา ๙ และข้อบังคับนั้นไม่ขัดต่อกฎหมายหรือวัตถุประสงค์ของกองทุน ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนได้ และให้ออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้แก่กองทุนนั้น ให้นายทะเบียนประกาศการจดทะเบียนกองทุนในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๙ ข้อบังคับของกองทุนอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อ ซึ่งต้องมีคำว่า “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” นำหน้า และมีคำว่า “ซึ่งจดทะเบียนแล้ว” ต่อท้าย (๒) ที่ตั้งสำนักงาน (๓) วัตถุประสงค์ (๔) วิธีรับสมาชิกและการสิ้นสมาชิกภาพ (๕) ข้อกำหนดเกี่ยวกับจำนวนกรรมการ วิธีการเลือกตั้งและแต่งตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมของคณะกรรมการกองทุน (๖) ข้อกำหนดเกี่ยวกับเงินสะสมของลูกจ้างและเงินสมทบของนายจ้างที่จะต้องจ่ายเข้ากองทุน (๗) ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณผลประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับ (๘)[๘] ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการจ่ายเงินเมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพหรือเมื่อกองทุนเลิกตามมาตรา ๒๕ ทั้งนี้ ข้อกำหนดนั้นจะต้องไม่ตัดสิทธิของลูกจ้าง โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร (๙) ข้อกำหนดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการของกองทุน (๑๐)[๙] ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมสมาชิกแยกตามนโยบายการลงทุนหรือตามรายนายจ้างในกรณีที่เป็นการจัดตั้งกองทุนที่กำหนดให้มีนโยบายการลงทุนหลายนโยบาย หรือกองทุนหลายนายจ้าง (๑๑) รายการอื่น ๆ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง การแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของกองทุนให้คณะกรรมการกองทุนนำไปจดทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีมติให้แก้ไข และยังไม่มีผลใช้บังคับจนกว่านายทะเบียนจะได้รับจดทะเบียนแล้ว มาตรา ๑๐ ทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง ให้ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนโดยให้นายจ้างหักจากค่าจ้าง และให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน ซึ่งการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละสองแต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าของค่าจ้าง[๑๐] ลูกจ้างและนายจ้างอาจตกลงกันให้จ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่กำหนดในวรรคหนึ่งโดยอนุมัติรัฐมนตรีก็ได้ ให้นายจ้างส่งเงินตามวรรคหนึ่งเข้ากองทุนภายในสามวันทำการนับแต่วันที่มีการจ่ายค่าจ้าง ในกรณีที่นายจ้างส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบเข้ากองทุนล่าช้ากว่าสามวันทำการ ให้นายจ้างจ่ายเงินเพิ่มให้แก่กองทุนในระหว่างเวลาที่ส่งล่าช้าในอัตราร้อยละห้าต่อเดือน ของจำนวนเงินสะสมหรือเงินสมทบที่ส่งล่าช้านั้น มาตรา ๑๐/๑[๑๑] ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นว่าท้องที่หนึ่งท้องที่ใดเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ สาธารณภัย หรือเหตุการณ์ใดที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดประเภทธุรกิจ ระยะเวลา หรือเงื่อนไขใด เพื่อให้ลูกจ้างหรือนายจ้างหยุดหรือเลื่อนการส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบเข้ากองทุนได้คราวละไม่เกินหนึ่งปี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด มาตรา ๑๑ ให้กองทุนมีคณะกรรมการกองทุน ประกอบด้วยผู้แทนซึ่งลูกจ้างเลือกตั้งและผู้แทนซึ่งนายจ้างแต่งตั้ง มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของกองทุน และให้มีอำนาจแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนและเป็นผู้แทนของกองทุนในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการกองทุนจะมอบหมายเป็นหนังสือให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนทำการแทนก็ได้ การแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนหรือการเปลี่ยนกรรมการ ให้คณะกรรมการกองทุนนำไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนหรือเปลี่ยนกรรมการ หมวด ๒ การจัดการกองทุน มาตรา ๑๒[๑๒] ให้รัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่กำกับและควบคุมโดยทั่วไปเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีอาจมอบหมายให้หน่วยงานใดในสังกัดปฏิบัติหน้าที่แทน และจะมอบหมายให้แต่งตั้งพนักงานของหน่วยงานนั้นเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ มาตรา ๑๒ ทวิ[๑๓] ให้นายทะเบียนมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการจัดการกองทุนและมีอำนาจสั่งให้ผู้จัดการกองทุนชี้แจงข้อเท็จจริงและทำรายงานเกี่ยวกับการจัดการกองทุนได้ ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าผู้จัดการกองทุนใดจัดการกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่กองทุน นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้จัดการกองทุนแก้ไขหรือระงับการกระทำนั้นหรือสั่งถอดถอนผู้จัดการกองทุนได้ มาตรา ๑๒ ตรี[๑๔] ให้นายทะเบียนจัดทำรายงานเกี่ยวกับการกำกับดูแลการจัดการกองทุนเสนอต่อรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละสองครั้ง เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลและควบคุมให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ รัฐมนตรีอาจสั่งให้นายทะเบียนรายงานผลการดำเนินงานหรือชี้แจงข้อเท็จจริงในเรื่องหนึ่งเรื่องใดเพิ่มเติมก็ได้ มาตรา ๑๓[๑๕] การจัดการกองทุนจะต้องดำเนินการโดยบุคคลซึ่งมิใช่นายจ้างและได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มาตรา ๑๔[๑๖] ในการจัดการกองทุน ให้ผู้จัดการกองทุนมีหน้าที่และอยู่ในบังคับบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ด้วย มาตรา ๑๕ ให้นายจ้างแยกบัญชีและเอกสารเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินอื่นของตนออกจากบัญชีและเอกสารเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินอื่นของกองทุนโดยเด็ดขาด มาตรา ๑๖[๑๗] ในการลงทุนหรือหาผลประโยชน์ของกองทุน ให้ผู้จัดการกองทุนนำเงินสะสมและเงินสมทบไปลงทุนหรือหาผลประโยชน์ตามนโยบายการลงทุนที่ลูกจ้างได้แสดงเจตนาไว้ ในกรณีที่ลูกจ้างไม่แสดงเจตนาเลือกนโยบายการลงทุน ให้ลงทุนหรือหาผลประโยชน์ตามนโยบายเดิมที่ลูกจ้างเคยลงทุนไว้ หากไม่มีนโยบายเดิม ให้ลงทุนหรือหาผลประโยชน์ตามนโยบายที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุน หากข้อบังคับของกองทุนไม่ได้กำหนดไว้ ให้ลงทุนหรือหาผลประโยชน์ตามนโยบายที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด มาตรา ๑๗[๑๘] ให้ผู้จัดการกองทุนจัดทำบัญชีเพื่อแบ่งแยกทรัพย์สินของกองทุนทุกกองทุน โดยให้บันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายของกองทุนตามประเภทของกองทุน ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีกองทุนหลายนายจ้าง ให้บันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายของกองทุนตามส่วนได้เสียของลูกจ้างแยกตามรายนายจ้าง ทั้งนี้ รายได้และค่าใช้จ่ายของกองทุนดังต่อไปนี้ ให้นำมาคำนวณเพื่อบันทึกเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายในบัญชีของลูกจ้างที่มีนายจ้างรายเดียวกัน (ก) เงินเพิ่มที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุน (ข) เงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบที่ลูกจ้างซึ่งสิ้นสมาชิกภาพไม่มีสิทธิได้รับและข้อบังคับของกองทุนกำหนดให้เป็นของกองทุน (ค) ค่าเสียหายหรือดอกเบี้ยที่กองทุนต้องชำระตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล (ง) เงินที่ตกเป็นของกองทุนตามมาตรา ๒๓ วรรคสี่ (จ) รายได้หรือค่าใช้จ่ายอื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกำหนด รายได้ของกองทุนตามวรรคหนึ่ง (ก) (ข) (ง) และ (จ) อาจกำหนดในข้อบังคับของกองทุนให้บันทึกตามส่วนได้เสียของลูกจ้างหรือบันทึกเฉลี่ยตามจำนวนลูกจ้างของนายจ้างรายใดรายหนึ่งหรือหลายรายก็ได้[๑๙] (๒) กรณีกองทุนที่มีหลายนโยบายการลงทุน ให้จัดทำบัญชีแยกทรัพย์สินของแต่ละนโยบายการลงทุนออกจากกัน ทั้งนี้ รายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหากเป็นผลมาจากการจัดการลงทุนตามนโยบายการลงทุนใด ให้บันทึกเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายในบัญชีของนโยบายการลงทุนนั้น ส่วนรายได้และค่าใช้จ่ายอื่น ให้กระจายรายได้และค่าใช้จ่ายนั้นตามสัดส่วนของมูลค่าทรัพย์สินของแต่ละนโยบายการลงทุนและบันทึกเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายในบัญชีของนโยบายการลงทุนนั้น มาตรา ๑๘[๒๐] (ยกเลิก) มาตรา ๑๙[๒๑] (ยกเลิก) มาตรา ๒๐[๒๒] ผู้จัดการกองทุนพ้นจากการเป็นผู้จัดการกองทุนก่อนครบกำหนดสัญญา เมื่อ (๑) นายทะเบียนสั่งถอดถอนตามมาตรา ๑๒ ทวิ วรรคสอง (๒) ขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้จัดการกองทุน (๓) กองทุนหรือผู้จัดการกองทุนบอกเลิกสัญญา หรือ (๔) กองทุนเลิกตามมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๑[๒๓] ในกรณีที่ผู้จัดการกองทุนพ้นจากการเป็นผู้จัดการกองทุนตามมาตรา ๒๐ (๑) (๒) หรือ (๓) ให้คณะกรรมการกองทุนแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้จัดการกองทุนเดิมพ้นตำแหน่ง และให้แจ้งการแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนใหม่แก่นายทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่แต่งตั้ง มาตรา ๒๒ ลูกจ้างและนายจ้างจะขอตรวจดูบัญชีและเอกสารของกองทุน ณ สำนักงานกองทุนได้ในเวลาเปิดทำการ หมวด ๓ การจ่ายเงินจากกองทุนและการเลิกกองทุน มาตรา ๒๓[๒๔] ภายใต้บังคับมาตรา ๒๓/๒ มาตรา ๒๓/๓ และมาตรา ๒๓/๔ เมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพเพราะเหตุอื่นซึ่งมิใช่กองทุนเลิก ผู้จัดการกองทุนต้องจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ลูกจ้างตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุนและตามที่กำหนดในมาตรา ๒๓/๑ โดยให้จ่ายรวมทั้งหมดคราวเดียวภายในเวลาไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันสิ้นสมาชิกภาพ[๒๕] ในกรณีสิ้นสมาชิกภาพเพราะถึงแก่ความตาย ถ้าลูกจ้างมิได้กำหนดบุคคลผู้จะพึงได้รับเงินจากกองทุนไว้โดยพินัยกรรมหรือทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่ผู้จัดการกองทุนหรือได้กำหนดไว้แต่บุคคลผู้นั้นตายก่อน ให้จ่ายเงินจากกองทุนตามวรรคหนึ่งให้แก่บุคคลตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) บุตรให้ได้รับสองส่วน แต่ถ้าผู้ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน (๒) สามีหรือภริยาให้ได้รับหนึ่งส่วน (๓) บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน ถ้าผู้ตายไม่มีบุคคลดังกล่าวใน (๑) (๒) หรือ (๓) หรือมีแต่ได้ตายก่อน ให้แบ่งเงินที่บุคคลนั้นมีสิทธิจะได้รับให้แก่บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ตามส่วนที่กำหนดในวรรคสอง ถ้าผู้ตายไม่มีบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนตามวรรคสองหรือไม่มีทายาทตามกฎหมายแล้วให้เงินดังกล่าวตกเป็นของกองทุน มาตรา ๒๓/๑[๒๖] ในกรณีที่เป็นกองทุนหลายนายจ้าง การคำนวณเงินผลประโยชน์เมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพ ให้ผู้จัดการกองทุนคำนวณเงินผลประโยชน์ของลูกจ้างดังกล่าวจากบัญชีส่วนได้เสียของบรรดาลูกจ้างที่มีนายจ้างรายเดียวกัน ในกรณีที่เป็นกองทุนที่มีหลายนโยบายการลงทุน การคำนวณเงินผลประโยชน์ของลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพ ให้ผู้จัดการกองทุนคำนวณจากทรัพย์สินในบัญชีของนโยบายการลงทุนที่ลูกจ้างรายนั้นมีส่วนได้เสีย มาตรา ๒๓/๒[๒๗] เมื่อลูกจ้างรายใดสิ้นสมาชิกภาพตามข้อบังคับของกองทุนด้วยเหตุเกษียณอายุหรือออกจากงานเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ หากลูกจ้างรายนั้นแสดงเจตนาขอรับเงินจากกองทุนเป็นงวด ให้ผู้จัดการกองทุนจ่ายเงินจากกองทุนตามเจตนาของลูกจ้าง โดยลูกจ้างรายนั้นยังคงเป็นสมาชิกของกองทุนต่อไปได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน แต่ลูกจ้างรายนั้นและนายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินสะสมหรือเงินสมทบสำหรับลูกจ้างรายนั้นอีก ทั้งนี้ การรับเงินจากกองทุนเป็นงวดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่นายทะเบียนประกาศกำหนด มาตรา ๒๓/๓[๒๘] เมื่อลูกจ้างรายใดสิ้นสมาชิกภาพเพราะออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด ลูกจ้างรายนั้นมีสิทธิคงเงินทั้งหมดที่มีสิทธิจะได้รับไว้ในกองทุน และคงการเป็นสมาชิกต่อไป โดยลูกจ้างและนายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุน ทั้งนี้ ตามระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุนโดยระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ออกจากงาน มาตรา ๒๓/๔[๒๙] ในกรณีที่นายจ้างถอนตัวจากกองทุนหลายนายจ้างและยังมิได้จัดให้มีกองทุนใหม่ หรือลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพเพราะออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด หรือกองทุนเลิก หากลูกจ้างได้แสดงเจตนาให้ผู้จัดการกองทุนหรือผู้ชำระบัญชีโอนเงินทั้งหมดที่ตนมีสิทธิได้รับจากกองทุนหรือเงินที่เหลือจากการขอรับเงินเป็นงวดตามมาตรา ๒๓/๒ หรือขอให้โอนเงินที่คงไว้ในกองทุนตามมาตรา ๒๓/๓ ไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงานหรือการชราภาพ ให้ผู้จัดการกองทุนหรือผู้ชำระบัญชีดำเนินการตามที่ลูกจ้างได้แสดงเจตนาไว้ ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจประกาศกำหนดวิธีการและเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ มาตรา ๒๔[๓๐] สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนตามมาตรา ๒๓ มาตรา ๒๓/๒ และมาตรา ๒๓/๓ ไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี มาตรา ๒๕ กองทุนย่อมเลิก เมื่อ (๑) นายจ้างเลิกกิจการ (๒) ที่ประชุมใหญ่มีมติให้เลิก (๓) มีกรณีที่ข้อบังคับของกองทุนกำหนดให้เลิก หรือ (๔)[๓๑] นายทะเบียนสั่งให้เลิกกองทุนตามมาตรา ๒๗ ในกรณีที่กองทุนจัดตั้งขึ้นโดยมีนายจ้างมากกว่าหนึ่งราย การที่นายจ้างบางรายเลิกกิจการหรือถอนตัวจากกองทุนไม่เป็นเหตุให้กองทุนต้องเลิก เว้นแต่ข้อบังคับของกองทุนกำหนดให้เลิก เมื่อมีกรณีตามวรรคสองเกิดขึ้น ให้คณะกรรมการกองทุนแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่นายจ้างบางรายเลิกกิจการหรือถอนตัว และจัดให้มีการชำระบัญชีกองทุนเฉพาะส่วนทรัพย์สินของนายจ้างและลูกจ้างของนายจ้างนั้นตามวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน เมื่อได้ชำระบัญชีแล้วให้แจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันเสร็จการชำระบัญชี มาตรา ๒๖[๓๒] เมื่อกองทุนเลิกตามมาตรา ๒๕ (๑) (๒) หรือ (๓) ให้คณะกรรมการกองทุนแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่กองทุนเลิกและให้คณะกรรมการกองทุนจัดให้มีการชำระบัญชีภายในสามสิบวัน และให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันที่กองทุนเลิก เว้นแต่กรณีจำเป็นนายทะเบียนจะอนุมัติให้ขยายเวลาออกไปได้ตามที่เห็นสมควร มาตรา ๒๗[๓๓] นายทะเบียน โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้เลิกกองทุนได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) มีพฤติการณ์ที่ทำให้เห็นว่าการดำเนินงานของกองทุนขัดต่อวัตถุประสงค์ หรือขัดต่อกฎหมาย (๒) มีพฤติการณ์ที่ทำให้เห็นว่ากิจการของกองทุนไม่อาจดำเนินต่อไปได้ ไม่ว่าเพราะเหตุใด เมื่อนายทะเบียนสั่งให้เลิกกองทุนตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้มีการชำระบัญชีและให้นายทะเบียนแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี มาตรา ๒๘ เมื่อกองทุนเลิกตามมาตรา ๒๕ ให้นายทะเบียนประกาศการเลิกกองทุนในราชกิจจานุเบกษาและปิดประกาศไว้ที่สำนักงานของกองทุนหรือที่ทำการของนายทะเบียน มาตรา ๒๙ การชำระบัญชีกองทุนให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัดมาใช้บังคับโดยอนุโลม ในระหว่างการชำระบัญชี ถ้าผู้ชำระบัญชีเห็นสมควรจะจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างบางส่วนก่อนก็ได้ และเมื่อได้ชำระบัญชีแล้ว ให้จ่ายเงินทั้งหมดที่ค้างชำระแก่ลูกจ้างให้เสร็จภายในเวลาไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันเสร็จการชำระบัญชี ถ้ามีเงินเหลืออยู่ให้จัดการตามที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน ค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนในการชำระบัญชี ให้จ่ายจากทรัพย์สินของกองทุน หมวด ๔ พนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา ๓๐ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบการจัดการกองทุน ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) เข้าไปในสำนักงานของกองทุนหรือของผู้จัดการกองทุนเพื่อตรวจสอบกิจการสินทรัพย์และหนี้สินของกองทุนในเวลาทำงานปกติ (๒) สั่งให้กรรมการ ผู้จัดการกองทุน หรือเจ้าหน้าที่ของกองทุนซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนส่งหรือแสดงบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นของกองทุน (๓) เรียกบุคคลดังกล่าวใน (๒) มาเพื่อสอบถามหรือแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุน มาตรา ๓๑[๓๔] ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่นายทะเบียนประกาศกำหนด หมวด ๕ บทกำหนดโทษ มาตรา ๓๒ กองทุนใดไม่ใช้ชื่อซึ่งมีอักษรไทยว่า “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” นำหน้า และ “ซึ่งจดทะเบียนแล้ว” ต่อท้าย หรือใช้ชื่อเป็นอักษรต่างประเทศ แต่ไม่ใช้คำซึ่งมีความหมายดังกล่าวในดวงตรา ป้ายชื่อ จดหมาย ใบแจ้งความหรือเอกสารอย่างอื่นเกี่ยวกับธุรกิจของกองทุน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๓๓ ผู้ใดใช้ชื่อซึ่งมีอักษรไทยประกอบว่า “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” นำหน้า และ “ซึ่งจดทะเบียนแล้ว” ต่อท้าย หรือใช้ชื่อเป็นอักษรต่างประเทศซึ่งมีความหมายดังกล่าว ในดวงตรา ป้ายชื่อ จดหมาย ใบแจ้งความหรือเอกสารอย่างอื่นเกี่ยวกับธุรกิจโดยมิได้เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาท จนกว่าจะได้เลิกใช้ มาตรา ๓๔[๓๕] คณะกรรมการกองทุนใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ วรรคสอง มาตรา ๒๑ มาตรา ๒๕ วรรคสาม หรือมาตรา ๒๖ หรือแต่งตั้งบุคคลซึ่งไม่มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๓ เป็นผู้จัดการกองทุน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๓๕[๓๖] ผู้จัดการกองทุนใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๑๒ ทวิ หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๓ มาตรา ๒๓/๑ มาตรา ๒๓/๒ หรือมาตรา ๒๓/๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๓๖[๓๗] (ยกเลิก) มาตรา ๓๗ นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๓๘[๓๘] (ยกเลิก) มาตรา ๓๙[๓๙] (ยกเลิก) มาตรา ๔๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ขัดขวางหรือไม่ให้ความสะดวกแก่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๔๑[๔๐] ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนกระทำความผิดตามมาตรา ๓๔ ถ้าการกระทำความผิดของคณะกรรมการกองทุนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด หรือในกรณีที่กรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้คณะกรรมการกองทุนนั้นกระทำความผิด กรรมการผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๔๒ ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้ตามมาตรา ๓๘ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้มีจำนวนสามคนซึ่งคนหนึ่งต้องเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เมื่อคณะกรรมการได้ทำการเปรียบเทียบคดีใด และผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดแล้ว ให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน มาตรา ๔๓ ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้ามิได้ฟ้องต่อศาลหรือมิได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการทำการเปรียบเทียบตามมาตรา ๔๒ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบการกระทำความผิด หรือภายในห้าปีนับแต่วันที่กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยความสมัครใจของนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อประสงค์จะให้เป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้างเมื่อออกจากงาน ตลอดจนส่งเสริมการระดมเงินออมภาคเอกชนเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งในการนี้สมควรวางหลักเกณฑ์การดำเนินการและจัดการกองทุนเพื่อให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมั่นคงและเป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒[๔๑] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา ๔ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๑๕ ให้ผู้จัดการกองทุนที่ได้รับแต่งตั้งให้จัดการกองทุนที่ลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจัดการกองทุนดังกล่าวได้ต่อไปอีกไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้นำบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้จัดการกองทุนและการจัดการกองทุน รวมทั้งบทกำหนดโทษในเรื่องดังกล่าวที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับมาใช้บังคับกับผู้จัดการกองทุนในระหว่างเวลาดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลการจัดการกองทุนของผู้จัดการกองทุนตามวรรคหนึ่ง นายทะเบียนอาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขให้ผู้จัดการกองทุนต้องปฏิบัติเพิ่มเติมได้ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทุนตามวรรคหนึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้ว และกองทุนประสงค์ที่จะให้ผู้จัดการกองทุนนั้นจัดการกองทุนตามบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ให้ผู้จัดการกองทุนยื่นคำขอต่อนายทะเบียนและเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วจึงจะดำเนินการตามที่ยื่นขอได้ มาตรา ๑๖ ผู้จัดการกองทุนใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา ๑๕ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๗ ความผิดตามมาตรา ๑๖ ให้คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ มีอำนาจเปรียบเทียบได้ มาตรา ๑๘ บรรดากฎกระทรวงที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดการกองทุน ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง คำสั่ง และหนังสือเวียนเกี่ยวกับการจัดการกองทุน ให้ยังคงใช้บังคับกับผู้จัดการกองทุนตามมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัตินี้ได้ต่อไปอีกไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นการประกอบธุรกิจการจัดการลงทุนประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ดังนั้น เพื่อให้การจัดการกองทุนดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานและหลักการเดียวกันกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล รวมทั้งเพื่อบรรเทาภาระการจ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้างและลูกจ้างให้น้อยลง สมควรปรับปรุงอำนาจของรัฐมนตรีและนายทะเบียนในการกำกับดูแลการจัดการกองทุนให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและกำหนดให้การจัดการกองทุนดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐[๔๒] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสม โดยกำหนดให้โอนย้ายทรัพย์สินของลูกจ้างในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ และกำหนดให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีนโยบายการลงทุนหลากหลายเพื่อให้สมาชิกได้เลือกตามความต้องการ รวมทั้งกำหนดให้ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพเนื่องจากออกจากงานมีสิทธิคงเงินไว้ในกองทุนและลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพเนื่องจากการเกษียณอายุมีสิทธิขอรับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นงวด โดยลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพเพราะเหตุดังกล่าวยังคงเป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อไปได้ แต่ไม่ต้องจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพอีก ทั้งนี้ เพื่อสร้างความต่อเนื่องของการออมเงินโดยผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘[๔๓] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ใช้บังคับในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมโดยแก้ไขให้ลูกจ้างสามารถจ่ายเงินสะสมในอัตราที่สูงกว่านายจ้างจ่ายเงินสมทบได้ อันจะเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกจ้างสามารถออมเงินได้เพิ่มขึ้น ในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ สาธารณภัย หรือเหตุการณ์ใดที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจออกประกาศให้ลูกจ้างหรือนายจ้างหยุดหรือเลื่อนการส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบเข้ากองทุนได้ ปรับปรุงหลักเกณฑ์การนำเงินสะสมและเงินสมทบไปลงทุนหรือหาผลประโยชน์สำหรับลูกจ้างที่ไม่ได้แสดงเจตนาเลือกนโยบายการลงทุน ปรับปรุงวิธีการบันทึกรายได้ของกองทุนประเภทกองทุนหลายนายจ้าง และแก้ไขหลักเกณฑ์การจ่ายเงินจากกองทุนแก่ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพเพราะออกจากงานให้สามารถขอรับเงินจากกองทุนเป็นงวดได้ รวมทั้งเพิ่มกรณีการโอนเงินไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงานหรือการชราภาพได้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและแก้ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของกองทุนและเพื่อให้ลูกจ้างสามารถออมเงินได้อย่างเพียงพอต่อการดำรงชีพเมื่อชราภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐[๔๔] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๕๔ เฉพาะในส่วนที่สันนิษฐานให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษทางอาญาร่วมกับการกระทำความผิดของนิติบุคคล โดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำหรือเจตนาประการใดอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวทำนองเดียวกัน คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๔ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗๘ พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๒๘/๔ และพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๗๒/๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ ดังนั้น เพื่อแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ วริญา/เพิ่มเติม ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ วิชพงษ์/ตรวจ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๕๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓/๗ ธันวาคม ๒๕๓๐ [๒] มาตรา ๓ นิยามคำว่า “กองทุน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๓] มาตรา ๓ นิยามคำว่า “กองทุนนายจ้างเดียว” เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๔] มาตรา ๓ นิยามคำว่า “กองทุนหลายนายจ้าง” เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๕] มาตรา ๓ นิยามคำว่า “นายทะเบียน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๖] มาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๗] มาตรา ๗/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๘] มาตรา ๙ (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๙] มาตรา ๙ (๑๐) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๑๐] มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๑๑] มาตรา ๑๐/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๑๒] มาตรา ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๓] มาตรา ๑๒ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๔] มาตรา ๑๒ ตรี เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๕] มาตรา ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๖] มาตรา ๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๗] มาตรา ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๑๘] มาตรา ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๑๙] มาตรา ๑๗ (๑) วรรคสอง เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๒๐] มาตรา ๑๘ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๑] มาตรา ๑๙ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๒] มาตรา ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๓] มาตรา ๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๔] มาตรา ๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๒๕] มาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๒๖] มาตรา ๒๓/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๒๗] มาตรา ๒๓/๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๒๘] มาตรา ๒๓/๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๒๙] มาตรา ๒๓/๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๓๐] มาตรา ๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๓๑] มาตรา ๒๕ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๒] มาตรา ๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๓] มาตรา ๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๔] มาตรา ๓๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๕] มาตรา ๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๖] มาตรา ๓๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๓๗] มาตรา ๓๖ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๘] มาตรา ๓๘ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๙] มาตรา ๓๙ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๔๐] มาตรา ๔๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐ [๔๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๑๓๗ ก/หน้า ๙/๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๒ [๔๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๐๐ ก/หน้า ๖/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐ [๔๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๗๔ ก/หน้า ๑/๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๔๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
768957
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตราแห่งประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติและพระราชกำหนด จำนวนเจ็ดสิบหกฉบับ ดังต่อไปนี้ และให้ใช้ความตามที่ปรากฏในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้แทนตามลำดับ (๑) มาตรา ๑๒ จัตวา แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช ๒๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒) มาตรา ๓๕ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๒๕ และมาตรา ๙๐/๕ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔ (๓) มาตรา ๖๒ ตรี แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ (๔) มาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๕) มาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๖) มาตรา ๒๘/๔ แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๖ (๗) มาตรา ๓๙ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔ (๘) มาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. ๒๕๑๐ (๙) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ (๑๐) มาตรา ๗๒/๕ แห่งพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ (๑๑) มาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๒) มาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๓) มาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๔) มาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๑๕) มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๖) มาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๗) มาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๒๔ (๑๘) มาตรา ๒๓ แห่งพระราชกำหนดควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ. ๒๕๒๔ (๑๙) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗ (๒๐) มาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ (๒๑) มาตรา ๙๒ แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘ (๒๒) มาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ (๒๓) มาตรา ๑๐๑ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ (๒๔) มาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ (๒๕) มาตรา ๔๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ (๒๖) มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒๗) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒๘) มาตรา ๑๑๑ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒๙) มาตรา ๘๗/๒ แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๓๐) มาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓๑) มาตรา ๑๑๔ แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๓๒) มาตรา ๑๐๘ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๓๓) มาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๓๗ (๓๔) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ (๓๕) มาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ (๓๖) มาตรา ๑๓ แห่งพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๕๐ (๓๗) มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒ (๓๘) มาตรา ๖๑ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ (๓๙) มาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๐) มาตรา ๖๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๑) มาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๒) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๓) มาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๔) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๕) มาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๖) มาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๗) มาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๘) มาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๙) มาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๓ (๕๐) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ (๕๑) มาตรา ๘๖ แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๓ (๕๒) มาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ (๕๓) มาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ (๕๔) มาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ (๕๕) มาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๔๕ (๕๖) มาตรา ๑๓๕ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ (๕๗) มาตรา ๑๑๕ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ (๕๘) มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๖ (๕๙) มาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ (๖๐) มาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. ๒๕๔๘ (๖๑) มาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ (๖๒) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๖๓) มาตรา ๑๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๖๔) มาตรา ๑๕๓ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๖๕) มาตรา ๘๐ แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๖๖) มาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ (๖๗) มาตรา ๑๓๒ และมาตรา ๑๓๙ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ (๖๘) มาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๖๙) มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๐) มาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๑) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๒) มาตรา ๕๘ แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๓) มาตรา ๘๕ แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๔) มาตรา ๑๒๒ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๕) มาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๓ (๗๖) มาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี บัญชีท้ายพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑. พระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช ๒๔๗๔ “มาตรา ๑๒ จัตวา ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒. ประมวลรัษฎากร “มาตรา ๓๕ ทวิ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๒ ทวิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย” “มาตรา ๙๐/๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามหมวดนี้เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓. พระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑ “มาตรา ๖๒ ตรี ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๖๒ ทวิ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๒ ทวิ ด้วย” ๔. พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ “มาตรา ๑๑๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕. พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙ “มาตรา ๒๕ ในกรณีที่บริษัทจำกัดใดกระทำความผิดตามมาตรา ๗ ถึงมาตรา ๒๔ ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทจำกัดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทจำกัดนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทจำกัดนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท” ๖. พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ “มาตรา ๒๘/๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗. พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ “มาตรา ๓๙ ทวิ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๘. พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. ๒๕๑๐ “มาตรา ๓๓ ผู้ใดมิใช่ในกิจการของ อผศ. หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก อผศ. ใช้ชื่อหรือถ้อยคำในประการที่น่าจะทำให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นกิจการของ อผศ. หรือเกี่ยวเนื่องกับกิจการของ อผศ. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ นิติบุคคลใดมิใช่กระทรวง ทบวง กรม หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก อผศ. ใช้คำว่า “อผศ.” “ทหารผ่านศึก” “ผ่านศึก” “นอกประจำการ” หรือคำว่า“ทหาร” เป็นชื่อหรือประกอบชื่อของนิติบุคคลนั้น ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิดผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย” ๙. พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ “มาตรา ๗๖ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิด ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๐. พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ “มาตรา ๗๒/๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๗๒/๒ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๑. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๘๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๒. พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๘๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๓. พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๓๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๔ . พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๗๑ นิติบุคคลอาคารชุดใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๘/๑ มาตรา ๓๘/๒ และมาตรา ๓๘/๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ในกรณีที่นิติบุคคลอาคารชุดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้น หรือในกรณีที่ผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลอาคารชุดนั้นกระทำความผิด ผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ตามวรรคหนึ่งด้วย” ๑๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๕๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๖. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๗. พระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๒๔ “มาตรา ๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๓๑ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๘. พระราชกำหนดควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ. ๒๕๒๔ “มาตรา ๒๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๙. พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗ “มาตรา ๗๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๐. พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ “มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลซึ่งปรากฏพยานหลักฐานว่ามีพฤติกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลด้วย” ๒๑. พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘ “มาตรา ๙๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๒. พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ “มาตรา ๔๑ ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนกระทำความผิดตามมาตรา ๓๔ ถ้าการกระทำความผิดของคณะกรรมการกองทุนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด หรือในกรณีที่กรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้คณะกรรมการกองทุนนั้นกระทำความผิด กรรมการผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๓. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ “มาตรา ๑๐๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลและถูกลงโทษ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๔. พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ “มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๕ หรือมาตรา ๘ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๒๕. พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ “มาตรา ๔๘/๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๕ วรรคสี่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ในกรณีที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐกระทำผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของหัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นกระทำความผิด หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๖. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๕๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๗. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๘. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๑๑๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๙. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๘๗/๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรเฉพาะ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓๐. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๖๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓๑. พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๑๑๔ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิดตามมาตรา ๒๓ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๖ หรือมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งหรือให้ทำคำชี้แจงตามมาตรา ๔๕ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิดผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๒. พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๑๐๘ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิดตามมาตรา ๒๓ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งหรือให้ทำคำชี้แจงตามมาตรา ๔๙ หรือไม่หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๕๒ วรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๓. พระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๓๗ “มาตรา ๓๙ ในกรณีที่สภากระทำความผิดและถูกลงโทษ ถ้าการกระทำความผิดของสภานั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด หรือในกรณีที่กรรมการผู้ใดมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สภานั้นกระทำความผิด กรรมการผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท” ๓๔. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ “มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓๕. พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ “มาตรา ๘๙ ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๖. พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ “มาตรา ๑๓ บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔/๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ หรือมาตรา ๑๑/๑ วรรคสอง หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือคำสั่งหรือเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๔/๑ วรรคสอง มาตรา ๕ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๑/๑ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๑๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ในกรณีที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๗. พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓๘. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๖๑ นิติบุคคลใดกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๗ มาตรา ๘ หรือมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งของนิติบุคคลเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีหรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๙. พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๘๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๐. พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๖๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๑. พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๘๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๒. พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น และสำหรับนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบเท่าของอัตราโทษปรับสำหรับความผิดนั้นด้วย” ๔๓. พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๗๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๔. พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น และสำหรับนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบเท่าของอัตราโทษปรับสำหรับความผิดนั้นด้วย” ๔๕. พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๖. พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๗. พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๕๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๘. พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๖๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๙. พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๑๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๐. พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๑. พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๘๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๒. พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ “มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๓. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ “มาตรา ๗๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๔. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ “มาตรา ๔๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๕. พระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๔๕ “มาตรา ๖๔ ในกรณีที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๐ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ หรือมาตรา ๓๙ หรือฝ่าฝืนมาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๓๑ ถ้าการกระทำความผิดของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด หรือในกรณีที่กรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์นั้นกระทำความผิด กรรมการผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท” ๕๖. พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ “มาตรา ๑๓๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๖ มาตรา ๑๒๗ มาตรา ๑๒๘ มาตรา ๑๒๙ มาตรา ๑๓๐ มาตรา ๑๓๑ มาตรา ๑๓๓ หรือมาตรา ๑๓๘ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๕๗. พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ “มาตรา ๑๑๕ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๔ หรือมาตรา ๗๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดกระทำความผิดตามมาตรา ๗๔ หรือมาตรา ๗๕ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการสภาสถาบัน อธิการบดี หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๘. พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๖ “มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๙. พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ “มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๐. พระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. ๒๕๔๘ “มาตรา ๓๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๑. พระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ “มาตรา ๗๗ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๗๑ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๒. พระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ “มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับอนุญาตตามมาตรา ๓๓ ซึ่งเป็นนิติบุคคลกระทำความผิด ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๓. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐ “มาตรา ๑๔๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๔. พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ “มาตรา ๑๕๓ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคลกระทำความผิดและถูกลงโทษ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๕. พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. ๒๕๕๐ “มาตรา ๘๐ ผู้ใดให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในการตรวจสอบหรือการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งเป็นทรัสตี ถ้าการกระทำความผิดของทรัสตีนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของทรัสตีนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ทรัสตีนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๖๖. พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๕๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๗. พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๑๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๑ หรือมาตรา ๑๒๓ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของนิติบุคคล หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย ภายใต้บังคับมาตรา ๑๓๙ ในกรณีที่สถาบันการเงินกระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๔ มาตรา ๑๒๕ หรือมาตรา ๑๒๘ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันการเงินนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” “มาตรา ๑๓๙ ในกรณีที่สถาบันการเงินใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๖๖ มาตรา ๘๐ มาตรา ๙๓ มาตรา ๙๔ หรือมาตรา ๙๕ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ข้อกำหนด หลักเกณฑ์ หรือคำสั่งที่กำหนดตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๖๖ มาตรา ๗๑ มาตรา ๘๐ มาตรา ๙๐ หรือมาตรา ๙๕ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันการเงินนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๖๘. พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๖๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลและถูกลงโทษ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๙. พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๖๕ ผู้ใดนอกจากสถาบันการเงิน ใช้ข้อความ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ เพื่อแสดงว่าธุรกิจของตนเป็นสถาบันการเงินที่เงินฝากได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๖๖ สถาบันการเงินใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย” ๗๐. พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๕๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดในส่วนที่ ๒ นี้ ยกเว้นมาตรา ๔๘ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๑. พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๗๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๒. พระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๕๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๓. พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๘๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษอาญาตามส่วนนี้เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๔. พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๑๒๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๓ “มาตรา ๔๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๖. พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔ “มาตรา ๖๒ ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๗ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๕๔ เฉพาะในส่วนที่สันนิษฐานให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษทางอาญาร่วมกับการกระทำความผิดของนิติบุคคล โดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำหรือเจตนาประการใดอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวทำนองเดียวกัน คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๔ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗๘ พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๒๘/๔ และพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๗๒/๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ ดังนั้น เพื่อแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
769959
พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 (ฉบับ Update ณ วันที่ 11/08/2558)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นปีที่ ๔๒ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “กองทุน”[๒] หมายความว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ “กองทุนนายจ้างเดียว”[๓] หมายความว่า กองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างเพียงรายเดียว “กองทุนหลายนายจ้าง”[๔] หมายความว่า กองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างหลายราย “ค่าจ้าง” หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงาน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายเป็นการตอบแทนโดยวิธีใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใด แต่ไม่รวมถึงค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นที่นายจ้างหักไว้ หรือจ่ายเพิ่มเติมให้แก่ลูกจ้างเพื่อประโยชน์ในการทำงาน “นายจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล และไม่ว่าการตกลงนั้นจะมีสัญญาเป็นหนังสือหรือไม่ “ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างโดยได้รับค่าจ้าง ไม่ว่าจะมีสัญญาเป็นหนังสือหรือไม่ “นายทะเบียน”[๕] หมายความว่า บุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งนายทะเบียน และพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงและกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ การจัดตั้ง มาตรา ๕[๖] กองทุนจะมีขึ้นได้ต่อเมื่อลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้นและได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างตาย ออกจากงาน หรือลาออกจากกองทุน โดยลูกจ้างจ่ายเงินสะสมและนายจ้างจ่ายเงินสมทบตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุนนั้น ทั้งนี้ จะจัดตั้งเป็นกองทุนนายจ้างเดียวหรือกองทุนหลายนายจ้าง ซึ่งอาจมีนโยบายการลงทุนนโยบายเดียวหรือหลายนโยบายก็ได้ มาตรา ๖ เมื่อลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันจัดตั้งกองทุนขึ้นตามมาตรา ๕ แล้ว ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างที่ได้จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้าประสงค์จะให้เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๗ กองทุนที่ได้จดทะเบียนแล้วให้เป็นนิติบุคคล มาตรา ๗/๑[๗] กองทุนประกอบด้วยทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (๑) เงินสะสมและเงินสมทบ (๒) เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างตามมาตรา ๖ วรรคสอง (๓) เงินเพิ่มตามมาตรา ๑๐ วรรคสาม (๔) ทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๕) ทรัพย์สินที่เกิดจากการลงทุนหรือดอกผลของทรัพย์สินในกองทุน (๖) ทรัพย์สินของลูกจ้างที่โอนย้ายมาทั้งจำนวนจากกองทุนเดิมหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั้งนี้ การโอนทรัพย์สินดังกล่าวเข้ากองทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่นายทะเบียนประกาศกำหนด (๗) ทรัพย์สินอื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกำหนด มาตรา ๘ ในการขอจดทะเบียนกองทุน ถ้าได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖ และมีข้อบังคับถูกต้องตามมาตรา ๙ และข้อบังคับนั้นไม่ขัดต่อกฎหมายหรือวัตถุประสงค์ของกองทุน ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนได้ และให้ออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้แก่กองทุนนั้น ให้นายทะเบียนประกาศการจดทะเบียนกองทุนในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๙ ข้อบังคับของกองทุนอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อ ซึ่งต้องมีคำว่า “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” นำหน้า และมีคำว่า “ซึ่งจดทะเบียนแล้ว” ต่อท้าย (๒) ที่ตั้งสำนักงาน (๓) วัตถุประสงค์ (๔) วิธีรับสมาชิกและการสิ้นสมาชิกภาพ (๕) ข้อกำหนดเกี่ยวกับจำนวนกรรมการ วิธีการเลือกตั้งและแต่งตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมของคณะกรรมการกองทุน (๖) ข้อกำหนดเกี่ยวกับเงินสะสมของลูกจ้างและเงินสมทบของนายจ้างที่จะต้องจ่ายเข้ากองทุน (๗) ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณผลประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับ (๘)[๘] ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการจ่ายเงินเมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพหรือเมื่อกองทุนเลิกตามมาตรา ๒๕ ทั้งนี้ ข้อกำหนดนั้นจะต้องไม่ตัดสิทธิของลูกจ้าง โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร (๙) ข้อกำหนดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการของกองทุน (๑๐)[๙] ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมสมาชิกแยกตามนโยบายการลงทุนหรือตามรายนายจ้างในกรณีที่เป็นการจัดตั้งกองทุนที่กำหนดให้มีนโยบายการลงทุนหลายนโยบาย หรือกองทุนหลายนายจ้าง (๑๑) รายการอื่น ๆ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง การแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของกองทุนให้คณะกรรมการกองทุนนำไปจดทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีมติให้แก้ไข และยังไม่มีผลใช้บังคับจนกว่านายทะเบียนจะได้รับจดทะเบียนแล้ว มาตรา ๑๐ ทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง ให้ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนโดยให้นายจ้างหักจากค่าจ้าง และให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน ซึ่งการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละสองแต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าของค่าจ้าง[๑๐] ลูกจ้างและนายจ้างอาจตกลงกันให้จ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่กำหนดในวรรคหนึ่งโดยอนุมัติรัฐมนตรีก็ได้ ให้นายจ้างส่งเงินตามวรรคหนึ่งเข้ากองทุนภายในสามวันทำการนับแต่วันที่มีการจ่ายค่าจ้าง ในกรณีที่นายจ้างส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบเข้ากองทุนล่าช้ากว่าสามวันทำการ ให้นายจ้างจ่ายเงินเพิ่มให้แก่กองทุนในระหว่างเวลาที่ส่งล่าช้าในอัตราร้อยละห้าต่อเดือน ของจำนวนเงินสะสมหรือเงินสมทบที่ส่งล่าช้านั้น มาตรา ๑๐/๑[๑๑] ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นว่าท้องที่หนึ่งท้องที่ใดเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ สาธารณภัย หรือเหตุการณ์ใดที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดประเภทธุรกิจ ระยะเวลา หรือเงื่อนไขใด เพื่อให้ลูกจ้างหรือนายจ้างหยุดหรือเลื่อนการส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบเข้ากองทุนได้คราวละไม่เกินหนึ่งปี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด มาตรา ๑๑ ให้กองทุนมีคณะกรรมการกองทุน ประกอบด้วยผู้แทนซึ่งลูกจ้างเลือกตั้งและผู้แทนซึ่งนายจ้างแต่งตั้ง มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของกองทุน และให้มีอำนาจแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนและเป็นผู้แทนของกองทุนในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการกองทุนจะมอบหมายเป็นหนังสือให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนทำการแทนก็ได้ การแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนหรือการเปลี่ยนกรรมการ ให้คณะกรรมการกองทุนนำไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนหรือเปลี่ยนกรรมการ หมวด ๒ การจัดการกองทุน มาตรา ๑๒[๑๒] ให้รัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่กำกับและควบคุมโดยทั่วไปเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีอาจมอบหมายให้หน่วยงานใดในสังกัดปฏิบัติหน้าที่แทน และจะมอบหมายให้แต่งตั้งพนักงานของหน่วยงานนั้นเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ มาตรา ๑๒ ทวิ[๑๓] ให้นายทะเบียนมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการจัดการกองทุนและมีอำนาจสั่งให้ผู้จัดการกองทุนชี้แจงข้อเท็จจริงและทำรายงานเกี่ยวกับการจัดการกองทุนได้ ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าผู้จัดการกองทุนใดจัดการกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่กองทุน นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้จัดการกองทุนแก้ไขหรือระงับการกระทำนั้นหรือสั่งถอดถอนผู้จัดการกองทุนได้ มาตรา ๑๒ ตรี[๑๔] ให้นายทะเบียนจัดทำรายงานเกี่ยวกับการกำกับดูแลการจัดการกองทุนเสนอต่อรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละสองครั้ง เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลและควบคุมให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ รัฐมนตรีอาจสั่งให้นายทะเบียนรายงานผลการดำเนินงานหรือชี้แจงข้อเท็จจริงในเรื่องหนึ่งเรื่องใดเพิ่มเติมก็ได้ มาตรา ๑๓[๑๕] การจัดการกองทุนจะต้องดำเนินการโดยบุคคลซึ่งมิใช่นายจ้างและได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มาตรา ๑๔[๑๖] ในการจัดการกองทุน ให้ผู้จัดการกองทุนมีหน้าที่และอยู่ในบังคับบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ด้วย มาตรา ๑๕ ให้นายจ้างแยกบัญชีและเอกสารเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินอื่นของตนออกจากบัญชีและเอกสารเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินอื่นของกองทุนโดยเด็ดขาด มาตรา ๑๖[๑๗] ในการลงทุนหรือหาผลประโยชน์ของกองทุน ให้ผู้จัดการกองทุนนำเงินสะสมและเงินสมทบไปลงทุนหรือหาผลประโยชน์ตามนโยบายการลงทุนที่ลูกจ้างได้แสดงเจตนาไว้ ในกรณีที่ลูกจ้างไม่แสดงเจตนาเลือกนโยบายการลงทุน ให้ลงทุนหรือหาผลประโยชน์ตามนโยบายเดิมที่ลูกจ้างเคยลงทุนไว้ หากไม่มีนโยบายเดิม ให้ลงทุนหรือหาผลประโยชน์ตามนโยบายที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุน หากข้อบังคับของกองทุนไม่ได้กำหนดไว้ ให้ลงทุนหรือหาผลประโยชน์ตามนโยบายที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด มาตรา ๑๗[๑๘] ให้ผู้จัดการกองทุนจัดทำบัญชีเพื่อแบ่งแยกทรัพย์สินของกองทุนทุกกองทุน โดยให้บันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายของกองทุนตามประเภทของกองทุน ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีกองทุนหลายนายจ้าง ให้บันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายของกองทุนตามส่วนได้เสียของลูกจ้างแยกตามรายนายจ้าง ทั้งนี้ รายได้และค่าใช้จ่ายของกองทุนดังต่อไปนี้ ให้นำมาคำนวณเพื่อบันทึกเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายในบัญชีของลูกจ้างที่มีนายจ้างรายเดียวกัน (ก) เงินเพิ่มที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุน (ข) เงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบที่ลูกจ้างซึ่งสิ้นสมาชิกภาพไม่มีสิทธิได้รับและข้อบังคับของกองทุนกำหนดให้เป็นของกองทุน (ค) ค่าเสียหายหรือดอกเบี้ยที่กองทุนต้องชำระตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล (ง) เงินที่ตกเป็นของกองทุนตามมาตรา ๒๓ วรรคสี่ (จ) รายได้หรือค่าใช้จ่ายอื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกำหนด รายได้ของกองทุนตามวรรคหนึ่ง (ก) (ข) (ง) และ (จ) อาจกำหนดในข้อบังคับของกองทุนให้บันทึกตามส่วนได้เสียของลูกจ้างหรือบันทึกเฉลี่ยตามจำนวนลูกจ้างของนายจ้างรายใดรายหนึ่งหรือหลายรายก็ได้[๑๙] (๒) กรณีกองทุนที่มีหลายนโยบายการลงทุน ให้จัดทำบัญชีแยกทรัพย์สินของแต่ละนโยบายการลงทุนออกจากกัน ทั้งนี้ รายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหากเป็นผลมาจากการจัดการลงทุนตามนโยบายการลงทุนใด ให้บันทึกเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายในบัญชีของนโยบายการลงทุนนั้น ส่วนรายได้และค่าใช้จ่ายอื่น ให้กระจายรายได้และค่าใช้จ่ายนั้นตามสัดส่วนของมูลค่าทรัพย์สินของแต่ละนโยบายการลงทุนและบันทึกเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายในบัญชีของนโยบายการลงทุนนั้น มาตรา ๑๘[๒๐] (ยกเลิก) มาตรา ๑๙[๒๑] (ยกเลิก) มาตรา ๒๐[๒๒] ผู้จัดการกองทุนพ้นจากการเป็นผู้จัดการกองทุนก่อนครบกำหนดสัญญา เมื่อ (๑) นายทะเบียนสั่งถอดถอนตามมาตรา ๑๒ ทวิ วรรคสอง (๒) ขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้จัดการกองทุน (๓) กองทุนหรือผู้จัดการกองทุนบอกเลิกสัญญา หรือ (๔) กองทุนเลิกตามมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๑[๒๓] ในกรณีที่ผู้จัดการกองทุนพ้นจากการเป็นผู้จัดการกองทุนตามมาตรา ๒๐ (๑) (๒) หรือ (๓) ให้คณะกรรมการกองทุนแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้จัดการกองทุนเดิมพ้นตำแหน่ง และให้แจ้งการแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนใหม่แก่นายทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่แต่งตั้ง มาตรา ๒๒ ลูกจ้างและนายจ้างจะขอตรวจดูบัญชีและเอกสารของกองทุน ณ สำนักงานกองทุนได้ในเวลาเปิดทำการ หมวด ๓ การจ่ายเงินจากกองทุนและการเลิกกองทุน มาตรา ๒๓[๒๔] ภายใต้บังคับมาตรา ๒๓/๒ มาตรา ๒๓/๓ และมาตรา ๒๓/๔ เมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพเพราะเหตุอื่นซึ่งมิใช่กองทุนเลิก ผู้จัดการกองทุนต้องจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ลูกจ้างตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุนและตามที่กำหนดในมาตรา ๒๓/๑ โดยให้จ่ายรวมทั้งหมดคราวเดียวภายในเวลาไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันสิ้นสมาชิกภาพ[๒๕] ในกรณีสิ้นสมาชิกภาพเพราะถึงแก่ความตาย ถ้าลูกจ้างมิได้กำหนดบุคคลผู้จะพึงได้รับเงินจากกองทุนไว้โดยพินัยกรรมหรือทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่ผู้จัดการกองทุนหรือได้กำหนดไว้แต่บุคคลผู้นั้นตายก่อน ให้จ่ายเงินจากกองทุนตามวรรคหนึ่งให้แก่บุคคลตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) บุตรให้ได้รับสองส่วน แต่ถ้าผู้ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน (๒) สามีหรือภริยาให้ได้รับหนึ่งส่วน (๓) บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน ถ้าผู้ตายไม่มีบุคคลดังกล่าวใน (๑) (๒) หรือ (๓) หรือมีแต่ได้ตายก่อน ให้แบ่งเงินที่บุคคลนั้นมีสิทธิจะได้รับให้แก่บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ตามส่วนที่กำหนดในวรรคสอง ถ้าผู้ตายไม่มีบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนตามวรรคสองหรือไม่มีทายาทตามกฎหมายแล้วให้เงินดังกล่าวตกเป็นของกองทุน มาตรา ๒๓/๑[๒๖] ในกรณีที่เป็นกองทุนหลายนายจ้าง การคำนวณเงินผลประโยชน์เมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพ ให้ผู้จัดการกองทุนคำนวณเงินผลประโยชน์ของลูกจ้างดังกล่าวจากบัญชีส่วนได้เสียของบรรดาลูกจ้างที่มีนายจ้างรายเดียวกัน ในกรณีที่เป็นกองทุนที่มีหลายนโยบายการลงทุน การคำนวณเงินผลประโยชน์ของลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพ ให้ผู้จัดการกองทุนคำนวณจากทรัพย์สินในบัญชีของนโยบายการลงทุนที่ลูกจ้างรายนั้นมีส่วนได้เสีย มาตรา ๒๓/๒[๒๗] เมื่อลูกจ้างรายใดสิ้นสมาชิกภาพตามข้อบังคับของกองทุนด้วยเหตุเกษียณอายุหรือออกจากงานเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ หากลูกจ้างรายนั้นแสดงเจตนาขอรับเงินจากกองทุนเป็นงวด ให้ผู้จัดการกองทุนจ่ายเงินจากกองทุนตามเจตนาของลูกจ้าง โดยลูกจ้างรายนั้นยังคงเป็นสมาชิกของกองทุนต่อไปได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน แต่ลูกจ้างรายนั้นและนายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินสะสมหรือเงินสมทบสำหรับลูกจ้างรายนั้นอีก ทั้งนี้ การรับเงินจากกองทุนเป็นงวดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่นายทะเบียนประกาศกำหนด มาตรา ๒๓/๓[๒๘] เมื่อลูกจ้างรายใดสิ้นสมาชิกภาพเพราะออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด ลูกจ้างรายนั้นมีสิทธิคงเงินทั้งหมดที่มีสิทธิจะได้รับไว้ในกองทุน และคงการเป็นสมาชิกต่อไป โดยลูกจ้างและนายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุน ทั้งนี้ ตามระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุนโดยระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ออกจากงาน มาตรา ๒๓/๔[๒๙] ในกรณีที่นายจ้างถอนตัวจากกองทุนหลายนายจ้างและยังมิได้จัดให้มีกองทุนใหม่ หรือลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพเพราะออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด หรือกองทุนเลิก หากลูกจ้างได้แสดงเจตนาให้ผู้จัดการกองทุนหรือผู้ชำระบัญชีโอนเงินทั้งหมดที่ตนมีสิทธิได้รับจากกองทุนหรือเงินที่เหลือจากการขอรับเงินเป็นงวดตามมาตรา ๒๓/๒ หรือขอให้โอนเงินที่คงไว้ในกองทุนตามมาตรา ๒๓/๓ ไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงานหรือการชราภาพ ให้ผู้จัดการกองทุนหรือผู้ชำระบัญชีดำเนินการตามที่ลูกจ้างได้แสดงเจตนาไว้ ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจประกาศกำหนดวิธีการและเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ มาตรา ๒๔[๓๐] สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนตามมาตรา ๒๓ มาตรา ๒๓/๒ และมาตรา ๒๓/๓ ไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี มาตรา ๒๕ กองทุนย่อมเลิก เมื่อ (๑) นายจ้างเลิกกิจการ (๒) ที่ประชุมใหญ่มีมติให้เลิก (๓) มีกรณีที่ข้อบังคับของกองทุนกำหนดให้เลิก หรือ (๔)[๓๑] นายทะเบียนสั่งให้เลิกกองทุนตามมาตรา ๒๗ ในกรณีที่กองทุนจัดตั้งขึ้นโดยมีนายจ้างมากกว่าหนึ่งราย การที่นายจ้างบางรายเลิกกิจการหรือถอนตัวจากกองทุนไม่เป็นเหตุให้กองทุนต้องเลิก เว้นแต่ข้อบังคับของกองทุนกำหนดให้เลิก เมื่อมีกรณีตามวรรคสองเกิดขึ้น ให้คณะกรรมการกองทุนแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่นายจ้างบางรายเลิกกิจการหรือถอนตัว และจัดให้มีการชำระบัญชีกองทุนเฉพาะส่วนทรัพย์สินของนายจ้างและลูกจ้างของนายจ้างนั้นตามวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน เมื่อได้ชำระบัญชีแล้วให้แจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันเสร็จการชำระบัญชี มาตรา ๒๖[๓๒] เมื่อกองทุนเลิกตามมาตรา ๒๕ (๑) (๒) หรือ (๓) ให้คณะกรรมการกองทุนแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่กองทุนเลิกและให้คณะกรรมการกองทุนจัดให้มีการชำระบัญชีภายในสามสิบวัน และให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันที่กองทุนเลิก เว้นแต่กรณีจำเป็นนายทะเบียนจะอนุมัติให้ขยายเวลาออกไปได้ตามที่เห็นสมควร มาตรา ๒๗[๓๓] นายทะเบียน โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้เลิกกองทุนได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) มีพฤติการณ์ที่ทำให้เห็นว่าการดำเนินงานของกองทุนขัดต่อวัตถุประสงค์ หรือขัดต่อกฎหมาย (๒) มีพฤติการณ์ที่ทำให้เห็นว่ากิจการของกองทุนไม่อาจดำเนินต่อไปได้ ไม่ว่าเพราะเหตุใด เมื่อนายทะเบียนสั่งให้เลิกกองทุนตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้มีการชำระบัญชีและให้นายทะเบียนแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี มาตรา ๒๘ เมื่อกองทุนเลิกตามมาตรา ๒๕ ให้นายทะเบียนประกาศการเลิกกองทุนในราชกิจจานุเบกษาและปิดประกาศไว้ที่สำนักงานของกองทุนหรือที่ทำการของนายทะเบียน มาตรา ๒๙ การชำระบัญชีกองทุนให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัดมาใช้บังคับโดยอนุโลม ในระหว่างการชำระบัญชี ถ้าผู้ชำระบัญชีเห็นสมควรจะจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างบางส่วนก่อนก็ได้ และเมื่อได้ชำระบัญชีแล้ว ให้จ่ายเงินทั้งหมดที่ค้างชำระแก่ลูกจ้างให้เสร็จภายในเวลาไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันเสร็จการชำระบัญชี ถ้ามีเงินเหลืออยู่ให้จัดการตามที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน ค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนในการชำระบัญชี ให้จ่ายจากทรัพย์สินของกองทุน หมวด ๔ พนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา ๓๐ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบการจัดการกองทุน ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) เข้าไปในสำนักงานของกองทุนหรือของผู้จัดการกองทุนเพื่อตรวจสอบกิจการสินทรัพย์และหนี้สินของกองทุนในเวลาทำงานปกติ (๒) สั่งให้กรรมการ ผู้จัดการกองทุน หรือเจ้าหน้าที่ของกองทุนซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนส่งหรือแสดงบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นของกองทุน (๓) เรียกบุคคลดังกล่าวใน (๒) มาเพื่อสอบถามหรือแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุน มาตรา ๓๑[๓๔] ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่นายทะเบียนประกาศกำหนด หมวด ๕ บทกำหนดโทษ มาตรา ๓๒ กองทุนใดไม่ใช้ชื่อซึ่งมีอักษรไทยว่า “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” นำหน้า และ “ซึ่งจดทะเบียนแล้ว” ต่อท้าย หรือใช้ชื่อเป็นอักษรต่างประเทศ แต่ไม่ใช้คำซึ่งมีความหมายดังกล่าวในดวงตรา ป้ายชื่อ จดหมาย ใบแจ้งความหรือเอกสารอย่างอื่นเกี่ยวกับธุรกิจของกองทุน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๓๓ ผู้ใดใช้ชื่อซึ่งมีอักษรไทยประกอบว่า “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” นำหน้า และ “ซึ่งจดทะเบียนแล้ว” ต่อท้าย หรือใช้ชื่อเป็นอักษรต่างประเทศซึ่งมีความหมายดังกล่าว ในดวงตรา ป้ายชื่อ จดหมาย ใบแจ้งความหรือเอกสารอย่างอื่นเกี่ยวกับธุรกิจโดยมิได้เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาท จนกว่าจะได้เลิกใช้ มาตรา ๓๔[๓๕] คณะกรรมการกองทุนใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ วรรคสอง มาตรา ๒๑ มาตรา ๒๕ วรรคสาม หรือมาตรา ๒๖ หรือแต่งตั้งบุคคลซึ่งไม่มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๓ เป็นผู้จัดการกองทุน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๓๕[๓๖] ผู้จัดการกองทุนใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๑๒ ทวิ หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๓ มาตรา ๒๓/๑ มาตรา ๒๓/๒ หรือมาตรา ๒๓/๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๓๖[๓๗] (ยกเลิก) มาตรา ๓๗ นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๓๘ [๓๘] (ยกเลิก) มาตรา ๓๙[๓๙] (ยกเลิก) มาตรา ๔๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ขัดขวางหรือไม่ให้ความสะดวกแก่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๔๑ ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนกระทำความผิดตามมาตรา ๓๔ ให้ถือว่ากรรมการทุกคนเป็นผู้กระทำความผิด เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้เห็นเป็นใจกับกรรมการอื่น หรือได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดความผิดนั้นแล้ว มาตรา ๔๒ ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้ตามมาตรา ๓๘ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้มีจำนวนสามคนซึ่งคนหนึ่งต้องเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เมื่อคณะกรรมการได้ทำการเปรียบเทียบคดีใด และผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดแล้ว ให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน มาตรา ๔๓ ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้ามิได้ฟ้องต่อศาลหรือมิได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการทำการเปรียบเทียบตามมาตรา ๔๒ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบการกระทำความผิด หรือภายในห้าปีนับแต่วันที่กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยความสมัครใจของนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อประสงค์จะให้เป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้างเมื่อออกจากงาน ตลอดจนส่งเสริมการระดมเงินออมภาคเอกชนเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งในการนี้สมควรวางหลักเกณฑ์การดำเนินการและจัดการกองทุนเพื่อให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมั่นคงและเป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒[๔๐] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา ๔ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๑๕ ให้ผู้จัดการกองทุนที่ได้รับแต่งตั้งให้จัดการกองทุนที่ลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจัดการกองทุนดังกล่าวได้ต่อไปอีกไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้นำบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้จัดการกองทุนและการจัดการกองทุน รวมทั้งบทกำหนดโทษในเรื่องดังกล่าวที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับมาใช้บังคับกับผู้จัดการกองทุนในระหว่างเวลาดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลการจัดการกองทุนของผู้จัดการกองทุนตามวรรคหนึ่ง นายทะเบียนอาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขให้ผู้จัดการกองทุนต้องปฏิบัติเพิ่มเติมได้ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทุนตามวรรคหนึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้ว และกองทุนประสงค์ที่จะให้ผู้จัดการกองทุนนั้นจัดการกองทุนตามบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ให้ผู้จัดการกองทุนยื่นคำขอต่อนายทะเบียนและเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วจึงจะดำเนินการตามที่ยื่นขอได้ มาตรา ๑๖ ผู้จัดการกองทุนใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา ๑๕ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๗ ความผิดตามมาตรา ๑๖ ให้คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ มีอำนาจเปรียบเทียบได้ มาตรา ๑๘ บรรดากฎกระทรวงที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดการกองทุน ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง คำสั่ง และหนังสือเวียนเกี่ยวกับการจัดการกองทุน ให้ยังคงใช้บังคับกับผู้จัดการกองทุนตามมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัตินี้ได้ต่อไปอีกไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นการประกอบธุรกิจการจัดการลงทุนประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ดังนั้น เพื่อให้การจัดการกองทุนดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานและหลักการเดียวกันกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล รวมทั้งเพื่อบรรเทาภาระการจ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้างและลูกจ้างให้น้อยลง สมควรปรับปรุงอำนาจของรัฐมนตรีและนายทะเบียนในการกำกับดูแลการจัดการกองทุนให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและกำหนดให้การจัดการกองทุนดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐[๔๑] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสม โดยกำหนดให้โอนย้ายทรัพย์สินของลูกจ้างในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ และกำหนดให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีนโยบายการลงทุนหลากหลายเพื่อให้สมาชิกได้เลือกตามความต้องการ รวมทั้งกำหนดให้ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพเนื่องจากออกจากงานมีสิทธิคงเงินไว้ในกองทุนและลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพเนื่องจากการเกษียณอายุมีสิทธิขอรับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นงวด โดยลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพเพราะเหตุดังกล่าวยังคงเป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อไปได้ แต่ไม่ต้องจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพอีก ทั้งนี้ เพื่อสร้างความต่อเนื่องของการออมเงินโดยผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘[๔๒] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ใช้บังคับในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมโดยแก้ไขให้ลูกจ้างสามารถจ่ายเงินสะสมในอัตราที่สูงกว่านายจ้างจ่ายเงินสมทบได้ อันจะเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกจ้างสามารถออมเงินได้เพิ่มขึ้น ในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ สาธารณภัย หรือเหตุการณ์ใดที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจออกประกาศให้ลูกจ้างหรือนายจ้างหยุดหรือเลื่อนการส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบเข้ากองทุนได้ ปรับปรุงหลักเกณฑ์การนำเงินสะสมและเงินสมทบไปลงทุนหรือหาผลประโยชน์สำหรับลูกจ้างที่ไม่ได้แสดงเจตนาเลือกนโยบายการลงทุน ปรับปรุงวิธีการบันทึกรายได้ของกองทุนประเภทกองทุนหลายนายจ้าง และแก้ไขหลักเกณฑ์การจ่ายเงินจากกองทุนแก่ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพเพราะออกจากงานให้สามารถขอรับเงินจากกองทุนเป็นงวดได้ รวมทั้งเพิ่มกรณีการโอนเงินไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงานหรือการชราภาพได้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและแก้ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของกองทุนและเพื่อให้ลูกจ้างสามารถออมเงินได้อย่างเพียงพอต่อการดำรงชีพเมื่อชราภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ธนพันธ์/แก้ไข พลัฐวัษ/ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๖ ปุณิกา/ปรับปรุง ปัญญา/ตรวจ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๕๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓/๗ ธันวาคม ๒๕๓๐ [๒] มาตรา ๓ นิยามคำว่า “กองทุน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๓] มาตรา ๓ นิยามคำว่า “กองทุนนายจ้างเดียว” เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๔] มาตรา ๓ นิยามคำว่า “กองทุนหลายนายจ้าง” เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๕] มาตรา ๓ นิยามคำว่า “นายทะเบียน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๖] มาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๗] มาตรา ๗/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๘] มาตรา ๙ (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๙] มาตรา ๙ (๑๐) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๑๐] มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๑๑] มาตรา ๑๐/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๑๒] มาตรา ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๓] มาตรา ๑๒ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๔] มาตรา ๑๒ ตรี เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๕] มาตรา ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๖] มาตรา ๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๗] มาตรา ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๑๘] มาตรา ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๑๙] มาตรา ๑๗ (๑) วรรคสอง เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๒๐] มาตรา ๑๘ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๑] มาตรา ๑๙ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๒] มาตรา ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๓] มาตรา ๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๔] มาตรา ๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๒๕] มาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๒๖] มาตรา ๒๓/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๒๗] มาตรา ๒๓/๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๒๘] มาตรา ๒๓/๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๒๙] มาตรา ๒๓/๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๓๐] มาตรา ๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๓๑] มาตรา ๒๕ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๒] มาตรา ๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๓] มาตรา ๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๔] มาตรา ๓๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๕] มาตรา ๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๖] มาตรา ๓๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๓๗] มาตรา ๓๖ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๘] มาตรา ๓๘ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๙] มาตรา ๓๙ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๔๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๑๓๗ ก/หน้า ๙/๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๒ [๔๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๐๐ ก/หน้า ๖/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐ [๔๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๗๔ ก/หน้า ๑/๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๘
732929
พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๐ ทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง ให้ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนโดยให้นายจ้างหักจากค่าจ้าง และให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน ซึ่งการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละสองแต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าของค่าจ้าง” มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๐/๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ “มาตรา ๑๐/๑ ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นว่าท้องที่หนึ่งท้องที่ใดเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ สาธารณภัย หรือเหตุการณ์ใดที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดประเภทธุรกิจ ระยะเวลา หรือเงื่อนไขใด เพื่อให้ลูกจ้างหรือนายจ้างหยุดหรือเลื่อนการส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบเข้ากองทุนได้คราวละไม่เกินหนึ่งปี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๖ ในการลงทุนหรือหาผลประโยชน์ของกองทุน ให้ผู้จัดการกองทุนนำเงินสะสมและเงินสมทบไปลงทุนหรือหาผลประโยชน์ตามนโยบายการลงทุนที่ลูกจ้างได้แสดงเจตนาไว้ ในกรณีที่ลูกจ้างไม่แสดงเจตนาเลือกนโยบายการลงทุน ให้ลงทุนหรือหาผลประโยชน์ตามนโยบายเดิมที่ลูกจ้างเคยลงทุนไว้ หากไม่มีนโยบายเดิม ให้ลงทุนหรือหาผลประโยชน์ตามนโยบายที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุน หากข้อบังคับของกองทุนไม่ได้กำหนดไว้ ให้ลงทุนหรือหาผลประโยชน์ตามนโยบายที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด” มาตรา ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของ (๑) ของมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ “รายได้ของกองทุนตามวรรคหนึ่ง (ก) (ข) (ง) และ (จ) อาจกำหนดในข้อบังคับของกองทุนให้บันทึกตามส่วนได้เสียของลูกจ้างหรือบันทึกเฉลี่ยตามจำนวนลูกจ้างของนายจ้างรายใดรายหนึ่งหรือหลายรายก็ได้” มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๓/๒ มาตรา ๒๓/๓ และมาตรา ๒๓/๔ เมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพเพราะเหตุอื่นซึ่งมิใช่กองทุนเลิก ผู้จัดการกองทุนต้องจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ลูกจ้างตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุนและตามที่กำหนดในมาตรา ๒๓/๑ โดยให้จ่ายรวมทั้งหมดคราวเดียวภายในเวลาไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันสิ้นสมาชิกภาพ” มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๓/๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๓/๒ เมื่อลูกจ้างรายใดสิ้นสมาชิกภาพตามข้อบังคับของกองทุนด้วยเหตุเกษียณอายุหรือออกจากงานเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ หากลูกจ้างรายนั้นแสดงเจตนาขอรับเงินจากกองทุนเป็นงวด ให้ผู้จัดการกองทุนจ่ายเงินจากกองทุนตามเจตนาของลูกจ้าง โดยลูกจ้างรายนั้นยังคงเป็นสมาชิกของกองทุนต่อไปได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน แต่ลูกจ้างรายนั้นและนายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินสะสมหรือเงินสมทบสำหรับลูกจ้างรายนั้นอีก ทั้งนี้ การรับเงินจากกองทุนเป็นงวดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่นายทะเบียนประกาศกำหนด” มาตรา ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๓/๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ “มาตรา ๒๓/๔ ในกรณีที่นายจ้างถอนตัวจากกองทุนหลายนายจ้างและยังมิได้จัดให้มีกองทุนใหม่ หรือลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพเพราะออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด หรือกองทุนเลิก หากลูกจ้างได้แสดงเจตนาให้ผู้จัดการกองทุนหรือผู้ชำระบัญชีโอนเงินทั้งหมดที่ตนมีสิทธิได้รับจากกองทุนหรือเงินที่เหลือจากการขอรับเงินเป็นงวดตามมาตรา ๒๓/๒ หรือขอให้โอนเงินที่คงไว้ในกองทุนตามมาตรา ๒๓/๓ ไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงานหรือการชราภาพ ให้ผู้จัดการกองทุนหรือผู้ชำระบัญชีดำเนินการตามที่ลูกจ้างได้แสดงเจตนาไว้ ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจประกาศกำหนดวิธีการและเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้” มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๕ ผู้จัดการกองทุนใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๑๒ ทวิ หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๓ มาตรา ๒๓/๑ มาตรา ๒๓/๒ หรือมาตรา ๒๓/๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ใช้บังคับในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมโดยแก้ไขให้ลูกจ้างสามารถจ่ายเงินสะสมในอัตราที่สูงกว่านายจ้างจ่ายเงินสมทบได้ อันจะเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกจ้างสามารถออมเงินได้เพิ่มขึ้น ในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ สาธารณภัย หรือเหตุการณ์ใดที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจออกประกาศให้ลูกจ้างหรือนายจ้างหยุดหรือเลื่อนการส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบเข้ากองทุนได้ ปรับปรุงหลักเกณฑ์การนำเงินสะสมและเงินสมทบไปลงทุนหรือหาผลประโยชน์สำหรับลูกจ้างที่ไม่ได้แสดงเจตนาเลือกนโยบายการลงทุน ปรับปรุงวิธีการบันทึกรายได้ของกองทุนประเภทกองทุนหลายนายจ้าง และแก้ไขหลักเกณฑ์การจ่ายเงินจากกองทุนแก่ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพเพราะออกจากงานให้สามารถขอรับเงินจากกองทุนเป็นงวดได้ รวมทั้งเพิ่มกรณีการโอนเงินไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงานหรือการชราภาพได้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและแก้ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของกองทุนและเพื่อให้ลูกจ้างสามารถออมเงินได้อย่างเพียงพอต่อการดำรงชีพเมื่อชราภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๘ ปุณิกา/ผู้ตรวจ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๗๔ ก/หน้า ๑/๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๘
732966
พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 (ฉบับ Update ณ วันที่ 28/12/2550)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นปีที่ ๔๒ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “กองทุน”[๒] หมายความว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ “กองทุนนายจ้างเดียว”[๓] หมายความว่า กองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างเพียงรายเดียว “กองทุนหลายนายจ้าง”[๔] หมายความว่า กองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างหลายราย “ค่าจ้าง” หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงาน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายเป็นการตอบแทนโดยวิธีใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใด แต่ไม่รวมถึงค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นที่นายจ้างหักไว้ หรือจ่ายเพิ่มเติมให้แก่ลูกจ้างเพื่อประโยชน์ในการทำงาน “นายจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล และไม่ว่าการตกลงนั้นจะมีสัญญาเป็นหนังสือหรือไม่ “ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างโดยได้รับค่าจ้าง ไม่ว่าจะมีสัญญาเป็นหนังสือหรือไม่ “นายทะเบียน”[๕] หมายความว่า บุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งนายทะเบียน และพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงและกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ การจัดตั้ง มาตรา ๕[๖] กองทุนจะมีขึ้นได้ต่อเมื่อลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้นและได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างตาย ออกจากงาน หรือลาออกจากกองทุน โดยลูกจ้างจ่ายเงินสะสมและนายจ้างจ่ายเงินสมทบตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุนนั้น ทั้งนี้ จะจัดตั้งเป็นกองทุนนายจ้างเดียวหรือกองทุนหลายนายจ้าง ซึ่งอาจมีนโยบายการลงทุนนโยบายเดียวหรือหลายนโยบายก็ได้ มาตรา ๖ เมื่อลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันจัดตั้งกองทุนขึ้นตามมาตรา ๕ แล้ว ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างที่ได้จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้าประสงค์จะให้เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๗ กองทุนที่ได้จดทะเบียนแล้วให้เป็นนิติบุคคล มาตรา ๗/๑[๗] กองทุนประกอบด้วยทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (๑) เงินสะสมและเงินสมทบ (๒) เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างตามมาตรา ๖ วรรคสอง (๓) เงินเพิ่มตามมาตรา ๑๐ วรรคสาม (๔) ทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๕) ทรัพย์สินที่เกิดจากการลงทุนหรือดอกผลของทรัพย์สินในกองทุน (๖) ทรัพย์สินของลูกจ้างที่โอนย้ายมาทั้งจำนวนจากกองทุนเดิมหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั้งนี้ การโอนทรัพย์สินดังกล่าวเข้ากองทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่นายทะเบียนประกาศกำหนด (๗) ทรัพย์สินอื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกำหนด มาตรา ๘ ในการขอจดทะเบียนกองทุน ถ้าได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖ และมีข้อบังคับถูกต้องตามมาตรา ๙ และข้อบังคับนั้นไม่ขัดต่อกฎหมายหรือวัตถุประสงค์ของกองทุน ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนได้ และให้ออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้แก่กองทุนนั้น ให้นายทะเบียนประกาศการจดทะเบียนกองทุนในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๙ ข้อบังคับของกองทุนอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อ ซึ่งต้องมีคำว่า “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” นำหน้า และมีคำว่า “ซึ่งจดทะเบียนแล้ว” ต่อท้าย (๒) ที่ตั้งสำนักงาน (๓) วัตถุประสงค์ (๔) วิธีรับสมาชิกและการสิ้นสมาชิกภาพ (๕) ข้อกำหนดเกี่ยวกับจำนวนกรรมการ วิธีการเลือกตั้งและแต่งตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมของคณะกรรมการกองทุน (๖) ข้อกำหนดเกี่ยวกับเงินสะสมของลูกจ้างและเงินสมทบของนายจ้างที่จะต้องจ่ายเข้ากองทุน (๗) ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณผลประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับ (๘)[๘] ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการจ่ายเงินเมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพหรือเมื่อกองทุนเลิกตามมาตรา ๒๕ ทั้งนี้ ข้อกำหนดนั้นจะต้องไม่ตัดสิทธิของลูกจ้าง โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร (๙) ข้อกำหนดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการของกองทุน (๑๐)[๙] ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมสมาชิกแยกตามนโยบายการลงทุนหรือตามรายนายจ้างในกรณีที่เป็นการจัดตั้งกองทุนที่กำหนดให้มีนโยบายการลงทุนหลายนโยบาย หรือกองทุนหลายนายจ้าง (๑๑) รายการอื่น ๆ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง การแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของกองทุนให้คณะกรรมการกองทุนนำไปจดทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีมติให้แก้ไข และยังไม่มีผลใช้บังคับจนกว่านายทะเบียนจะได้รับจดทะเบียนแล้ว มาตรา ๑๐ ทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง ให้ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนโดยให้นายจ้างหักจากค่าจ้างและให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน แต่ข้อบังคับนั้นจะต้องกำหนดให้หักค่าจ้างเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละสองแต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าของค่าจ้าง และให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามจำนวนลูกจ้างในอัตราไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้าง[๑๐] ลูกจ้างและนายจ้างอาจตกลงกันให้จ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่กำหนดในวรรคหนึ่งโดยอนุมัติรัฐมนตรีก็ได้ ให้นายจ้างส่งเงินตามวรรคหนึ่งเข้ากองทุนภายในสามวันทำการนับแต่วันที่มีการจ่ายค่าจ้าง ในกรณีที่นายจ้างส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบเข้ากองทุนล่าช้ากว่าสามวันทำการ ให้นายจ้างจ่ายเงินเพิ่มให้แก่กองทุนในระหว่างเวลาที่ส่งล่าช้าในอัตราร้อยละห้าต่อเดือน ของจำนวนเงินสะสมหรือเงินสมทบที่ส่งล่าช้านั้น มาตรา ๑๑ ให้กองทุนมีคณะกรรมการกองทุน ประกอบด้วยผู้แทนซึ่งลูกจ้างเลือกตั้งและผู้แทนซึ่งนายจ้างแต่งตั้ง มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของกองทุน และให้มีอำนาจแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนและเป็นผู้แทนของกองทุนในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการกองทุนจะมอบหมายเป็นหนังสือให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนทำการแทนก็ได้ การแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนหรือการเปลี่ยนกรรมการ ให้คณะกรรมการกองทุนนำไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนหรือเปลี่ยนกรรมการ หมวด ๒ การจัดการกองทุน มาตรา ๑๒[๑๑] ให้รัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่กำกับและควบคุมโดยทั่วไปเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีอาจมอบหมายให้หน่วยงานใดในสังกัดปฏิบัติหน้าที่แทน และจะมอบหมายให้แต่งตั้งพนักงานของหน่วยงานนั้นเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ มาตรา ๑๒ ทวิ[๑๒] ให้นายทะเบียนมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการจัดการกองทุนและมีอำนาจสั่งให้ผู้จัดการกองทุนชี้แจงข้อเท็จจริงและทำรายงานเกี่ยวกับการจัดการกองทุนได้ ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าผู้จัดการกองทุนใดจัดการกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่กองทุน นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้จัดการกองทุนแก้ไขหรือระงับการกระทำนั้นหรือสั่งถอดถอนผู้จัดการกองทุนได้ มาตรา ๑๒ ตรี[๑๓] ให้นายทะเบียนจัดทำรายงานเกี่ยวกับการกำกับดูแลการจัดการกองทุนเสนอต่อรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละสองครั้ง เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลและควบคุมให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ รัฐมนตรีอาจสั่งให้นายทะเบียนรายงานผลการดำเนินงานหรือชี้แจงข้อเท็จจริงในเรื่องหนึ่งเรื่องใดเพิ่มเติมก็ได้ มาตรา ๑๓[๑๔] การจัดการกองทุนจะต้องดำเนินการโดยบุคคลซึ่งมิใช่นายจ้างและได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มาตรา ๑๔[๑๕] ในการจัดการกองทุน ให้ผู้จัดการกองทุนมีหน้าที่และอยู่ในบังคับบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ด้วย มาตรา ๑๕ ให้นายจ้างแยกบัญชีและเอกสารเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินอื่นของตนออกจากบัญชีและเอกสารเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินอื่นของกองทุนโดยเด็ดขาด มาตรา ๑๖[๑๖] ในการลงทุนหรือหาผลประโยชน์ของกองทุน ให้ผู้จัดการกองทุนนำเงินสะสมและเงินสมทบไปลงทุนหรือหาผลประโยชน์ตามนโยบายการลงทุนที่ลูกจ้างได้แสดงเจตนาไว้ ในกรณีที่ลูกจ้างไม่แสดงเจตนาเลือกนโยบายการลงทุน ให้ลงทุนหรือหาผลประโยชน์ตามนโยบายเดิมหรือนโยบายที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๗[๑๗] ให้ผู้จัดการกองทุนจัดทำบัญชีเพื่อแบ่งแยกทรัพย์สินของกองทุนทุกกองทุน โดยให้บันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายของกองทุนตามประเภทของกองทุน ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีกองทุนหลายนายจ้าง ให้บันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายของกองทุนตามส่วนได้เสียของลูกจ้างแยกตามรายนายจ้าง ทั้งนี้ รายได้และค่าใช้จ่ายของกองทุนดังต่อไปนี้ ให้นำมาคำนวณเพื่อบันทึกเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายในบัญชีของลูกจ้างที่มีนายจ้างรายเดียวกัน (ก) เงินเพิ่มที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุน (ข) เงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบที่ลูกจ้างซึ่งสิ้นสมาชิกภาพไม่มีสิทธิได้รับและข้อบังคับของกองทุนกำหนดให้เป็นของกองทุน (ค) ค่าเสียหายหรือดอกเบี้ยที่กองทุนต้องชำระตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล (ง) เงินที่ตกเป็นของกองทุนตามมาตรา ๒๓ วรรคสี่ (จ) รายได้หรือค่าใช้จ่ายอื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกำหนด (๒) กรณีกองทุนที่มีหลายนโยบายการลงทุน ให้จัดทำบัญชีแยกทรัพย์สินของแต่ละนโยบายการลงทุนออกจากกัน ทั้งนี้ รายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหากเป็นผลมาจากการจัดการลงทุนตามนโยบายการลงทุนใด ให้บันทึกเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายในบัญชีของนโยบายการลงทุนนั้น ส่วนรายได้และค่าใช้จ่ายอื่น ให้กระจายรายได้และค่าใช้จ่ายนั้นตามสัดส่วนของมูลค่าทรัพย์สินของแต่ละนโยบายการลงทุนและบันทึกเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายในบัญชีของนโยบายการลงทุนนั้น มาตรา ๑๘[๑๘] (ยกเลิก) มาตรา ๑๙[๑๙] (ยกเลิก) มาตรา ๒๐[๒๐] ผู้จัดการกองทุนพ้นจากการเป็นผู้จัดการกองทุนก่อนครบกำหนดสัญญา เมื่อ (๑) นายทะเบียนสั่งถอดถอนตามมาตรา ๑๒ ทวิ วรรคสอง (๒) ขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้จัดการกองทุน (๓) กองทุนหรือผู้จัดการกองทุนบอกเลิกสัญญา หรือ (๔) กองทุนเลิกตามมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๑[๒๑] ในกรณีที่ผู้จัดการกองทุนพ้นจากการเป็นผู้จัดการกองทุนตามมาตรา ๒๐ (๑) (๒) หรือ (๓) ให้คณะกรรมการกองทุนแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้จัดการกองทุนเดิมพ้นตำแหน่ง และให้แจ้งการแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนใหม่แก่นายทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่แต่งตั้ง มาตรา ๒๒ ลูกจ้างและนายจ้างจะขอตรวจดูบัญชีและเอกสารของกองทุน ณ สำนักงานกองทุนได้ในเวลาเปิดทำการ หมวด ๓ การจ่ายเงินจากกองทุนและการเลิกกองทุน มาตรา ๒๓[๒๒] ภายใต้บังคับมาตรา ๒๓/๒ และมาตรา ๒๓/๓ เมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพเพราะเหตุอื่นซึ่งมิใช่กองทุนเลิก ผู้จัดการกองทุนต้องจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ลูกจ้างตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุนและตามที่กำหนดในมาตรา ๒๓/๑ โดยให้จ่ายรวมทั้งหมดคราวเดียวภายในเวลาไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันสิ้นสมาชิกภาพ ในกรณีสิ้นสมาชิกภาพเพราะถึงแก่ความตาย ถ้าลูกจ้างมิได้กำหนดบุคคลผู้จะพึงได้รับเงินจากกองทุนไว้โดยพินัยกรรมหรือทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่ผู้จัดการกองทุนหรือได้กำหนดไว้แต่บุคคลผู้นั้นตายก่อน ให้จ่ายเงินจากกองทุนตามวรรคหนึ่งให้แก่บุคคลตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) บุตรให้ได้รับสองส่วน แต่ถ้าผู้ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน (๒) สามีหรือภริยาให้ได้รับหนึ่งส่วน (๓) บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน ถ้าผู้ตายไม่มีบุคคลดังกล่าวใน (๑) (๒) หรือ (๓) หรือมีแต่ได้ตายก่อน ให้แบ่งเงินที่บุคคลนั้นมีสิทธิจะได้รับให้แก่บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ตามส่วนที่กำหนดในวรรคสอง ถ้าผู้ตายไม่มีบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนตามวรรคสองหรือไม่มีทายาทตามกฎหมายแล้วให้เงินดังกล่าวตกเป็นของกองทุน มาตรา ๒๓/๑[๒๓] ในกรณีที่เป็นกองทุนหลายนายจ้าง การคำนวณเงินผลประโยชน์เมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพ ให้ผู้จัดการกองทุนคำนวณเงินผลประโยชน์ของลูกจ้างดังกล่าวจากบัญชีส่วนได้เสียของบรรดาลูกจ้างที่มีนายจ้างรายเดียวกัน ในกรณีที่เป็นกองทุนที่มีหลายนโยบายการลงทุน การคำนวณเงินผลประโยชน์ของลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพ ให้ผู้จัดการกองทุนคำนวณจากทรัพย์สินในบัญชีของนโยบายการลงทุนที่ลูกจ้างรายนั้นมีส่วนได้เสีย มาตรา ๒๓/๒[๒๔] เมื่อลูกจ้างรายใดสิ้นสมาชิกภาพเพราะการเกษียณอายุตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน หากลูกจ้างรายนั้นแสดงเจตนาขอรับเงินจากกองทุนเป็นงวด ให้ผู้จัดการกองทุนจ่ายเงินจากกองทุนตามเจตนาของลูกจ้าง โดยลูกจ้างรายนั้นยังคงเป็นสมาชิกของกองทุนต่อไปได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน แต่ลูกจ้างรายนั้นและนายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินสะสมหรือเงินสมทบสำหรับลูกจ้างรายนั้นอีก ทั้งนี้ การรับเงินจากกองทุนเป็นงวดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่นายทะเบียนประกาศกำหนด มาตรา ๒๓/๓[๒๕] เมื่อลูกจ้างรายใดสิ้นสมาชิกภาพเพราะออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด ลูกจ้างรายนั้นมีสิทธิคงเงินทั้งหมดที่มีสิทธิจะได้รับไว้ในกองทุน และคงการเป็นสมาชิกต่อไป โดยลูกจ้างและนายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุน ทั้งนี้ ตามระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุนโดยระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ออกจากงาน มาตรา ๒๔[๒๖] สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนตามมาตรา ๒๓ มาตรา ๒๓/๒ และมาตรา ๒๓/๓ ไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี มาตรา ๒๕ กองทุนย่อมเลิก เมื่อ (๑) นายจ้างเลิกกิจการ (๒) ที่ประชุมใหญ่มีมติให้เลิก (๓) มีกรณีที่ข้อบังคับของกองทุนกำหนดให้เลิก หรือ (๔)[๒๗] นายทะเบียนสั่งให้เลิกกองทุนตามมาตรา ๒๗ ในกรณีที่กองทุนจัดตั้งขึ้นโดยมีนายจ้างมากกว่าหนึ่งราย การที่นายจ้างบางรายเลิกกิจการหรือถอนตัวจากกองทุนไม่เป็นเหตุให้กองทุนต้องเลิก เว้นแต่ข้อบังคับของกองทุนกำหนดให้เลิก เมื่อมีกรณีตามวรรคสองเกิดขึ้น ให้คณะกรรมการกองทุนแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่นายจ้างบางรายเลิกกิจการหรือถอนตัว และจัดให้มีการชำระบัญชีกองทุนเฉพาะส่วนทรัพย์สินของนายจ้างและลูกจ้างของนายจ้างนั้นตามวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน เมื่อได้ชำระบัญชีแล้วให้แจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันเสร็จการชำระบัญชี มาตรา ๒๖[๒๘] เมื่อกองทุนเลิกตามมาตรา ๒๕ (๑) (๒) หรือ (๓) ให้คณะกรรมการกองทุนแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่กองทุนเลิกและให้คณะกรรมการกองทุนจัดให้มีการชำระบัญชีภายในสามสิบวัน และให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันที่กองทุนเลิก เว้นแต่กรณีจำเป็นนายทะเบียนจะอนุมัติให้ขยายเวลาออกไปได้ตามที่เห็นสมควร มาตรา ๒๗[๒๙] นายทะเบียน โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้เลิกกองทุนได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) มีพฤติการณ์ที่ทำให้เห็นว่าการดำเนินงานของกองทุนขัดต่อวัตถุประสงค์ หรือขัดต่อกฎหมาย (๒) มีพฤติการณ์ที่ทำให้เห็นว่ากิจการของกองทุนไม่อาจดำเนินต่อไปได้ ไม่ว่าเพราะเหตุใด เมื่อนายทะเบียนสั่งให้เลิกกองทุนตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้มีการชำระบัญชีและให้นายทะเบียนแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี มาตรา ๒๘ เมื่อกองทุนเลิกตามมาตรา ๒๕ ให้นายทะเบียนประกาศการเลิกกองทุนในราชกิจจานุเบกษาและปิดประกาศไว้ที่สำนักงานของกองทุนหรือที่ทำการของนายทะเบียน มาตรา ๒๙ การชำระบัญชีกองทุนให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัดมาใช้บังคับโดยอนุโลม ในระหว่างการชำระบัญชี ถ้าผู้ชำระบัญชีเห็นสมควรจะจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างบางส่วนก่อนก็ได้ และเมื่อได้ชำระบัญชีแล้ว ให้จ่ายเงินทั้งหมดที่ค้างชำระแก่ลูกจ้างให้เสร็จภายในเวลาไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันเสร็จการชำระบัญชี ถ้ามีเงินเหลืออยู่ให้จัดการตามที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน ค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนในการชำระบัญชี ให้จ่ายจากทรัพย์สินของกองทุน หมวด ๔ พนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา ๓๐ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบการจัดการกองทุน ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) เข้าไปในสำนักงานของกองทุนหรือของผู้จัดการกองทุนเพื่อตรวจสอบกิจการสินทรัพย์และหนี้สินของกองทุนในเวลาทำงานปกติ (๒) สั่งให้กรรมการ ผู้จัดการกองทุน หรือเจ้าหน้าที่ของกองทุนซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนส่งหรือแสดงบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นของกองทุน (๓) เรียกบุคคลดังกล่าวใน (๒) มาเพื่อสอบถามหรือแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุน มาตรา ๓๑[๓๐] ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่นายทะเบียนประกาศกำหนด หมวด ๕ บทกำหนดโทษ มาตรา ๓๒ กองทุนใดไม่ใช้ชื่อซึ่งมีอักษรไทยว่า “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” นำหน้า และ “ซึ่งจดทะเบียนแล้ว” ต่อท้าย หรือใช้ชื่อเป็นอักษรต่างประเทศ แต่ไม่ใช้คำซึ่งมีความหมายดังกล่าวในดวงตรา ป้ายชื่อ จดหมาย ใบแจ้งความหรือเอกสารอย่างอื่นเกี่ยวกับธุรกิจของกองทุน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๓๓ ผู้ใดใช้ชื่อซึ่งมีอักษรไทยประกอบว่า “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” นำหน้า และ “ซึ่งจดทะเบียนแล้ว” ต่อท้าย หรือใช้ชื่อเป็นอักษรต่างประเทศซึ่งมีความหมายดังกล่าว ในดวงตรา ป้ายชื่อ จดหมาย ใบแจ้งความหรือเอกสารอย่างอื่นเกี่ยวกับธุรกิจโดยมิได้เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาท จนกว่าจะได้เลิกใช้ มาตรา ๓๔[๓๑] คณะกรรมการกองทุนใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ วรรคสอง มาตรา ๒๑ มาตรา ๒๕ วรรคสาม หรือมาตรา ๒๖ หรือแต่งตั้งบุคคลซึ่งไม่มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๓ เป็นผู้จัดการกองทุน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๓๕[๓๒] ผู้จัดการกองทุนใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๑๒ ทวิ หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๓ มาตรา ๒๓/๑ หรือมาตรา ๒๓/๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๓๖[๓๓] (ยกเลิก) มาตรา ๓๗ นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๓๘ [๓๔] (ยกเลิก) มาตรา ๓๙[๓๕] (ยกเลิก) มาตรา ๔๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ขัดขวางหรือไม่ให้ความสะดวกแก่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๔๑ ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนกระทำความผิดตามมาตรา ๓๔ ให้ถือว่ากรรมการทุกคนเป็นผู้กระทำความผิด เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้เห็นเป็นใจกับกรรมการอื่น หรือได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดความผิดนั้นแล้ว มาตรา ๔๒ ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้ตามมาตรา ๓๘ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้มีจำนวนสามคนซึ่งคนหนึ่งต้องเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เมื่อคณะกรรมการได้ทำการเปรียบเทียบคดีใด และผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดแล้ว ให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน มาตรา ๔๓ ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้ามิได้ฟ้องต่อศาลหรือมิได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการทำการเปรียบเทียบตามมาตรา ๔๒ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบการกระทำความผิด หรือภายในห้าปีนับแต่วันที่กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยความสมัครใจของนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อประสงค์จะให้เป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้างเมื่อออกจากงาน ตลอดจนส่งเสริมการระดมเงินออมภาคเอกชนเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งในการนี้สมควรวางหลักเกณฑ์การดำเนินการและจัดการกองทุนเพื่อให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมั่นคงและเป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒[๓๖] มาตรา ๑๕ ให้ผู้จัดการกองทุนที่ได้รับแต่งตั้งให้จัดการกองทุนที่ลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจัดการกองทุนดังกล่าวได้ต่อไปอีกไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้นำบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้จัดการกองทุนและการจัดการกองทุน รวมทั้งบทกำหนดโทษในเรื่องดังกล่าวที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับมาใช้บังคับกับผู้จัดการกองทุนในระหว่างเวลาดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลการจัดการกองทุนของผู้จัดการกองทุนตามวรรคหนึ่ง นายทะเบียนอาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขให้ผู้จัดการกองทุนต้องปฏิบัติเพิ่มเติมได้ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทุนตามวรรคหนึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้ว และกองทุนประสงค์ที่จะให้ผู้จัดการกองทุนนั้นจัดการกองทุนตามบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ให้ผู้จัดการกองทุนยื่นคำขอต่อนายทะเบียนและเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วจึงจะดำเนินการตามที่ยื่นขอได้ มาตรา ๑๖ ผู้จัดการกองทุนใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา ๑๕ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๗ ความผิดตามมาตรา ๑๖ ให้คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ มีอำนาจเปรียบเทียบได้ มาตรา ๑๘ บรรดากฎกระทรวงที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดการกองทุน ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง คำสั่ง และหนังสือเวียนเกี่ยวกับการจัดการกองทุน ให้ยังคงใช้บังคับกับผู้จัดการกองทุนตามมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัตินี้ได้ต่อไปอีกไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นการประกอบธุรกิจการจัดการลงทุนประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ดังนั้น เพื่อให้การจัดการกองทุนดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานและหลักการเดียวกันกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล รวมทั้งเพื่อบรรเทาภาระการจ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้างและลูกจ้างให้น้อยลง สมควรปรับปรุงอำนาจของรัฐมนตรีและนายทะเบียนในการกำกับดูแลการจัดการกองทุนให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและกำหนดให้การจัดการกองทุนดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐[๓๗] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสม โดยกำหนดให้โอนย้ายทรัพย์สินของลูกจ้างในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ และกำหนดให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีนโยบายการลงทุนหลากหลายเพื่อให้สมาชิกได้เลือกตามความต้องการ รวมทั้งกำหนดให้ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพเนื่องจากออกจากงานมีสิทธิคงเงินไว้ในกองทุนและลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพเนื่องจากการเกษียณอายุมีสิทธิขอรับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นงวด โดยลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพเพราะเหตุดังกล่าวยังคงเป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อไปได้ แต่ไม่ต้องจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพอีก ทั้งนี้ เพื่อสร้างความต่อเนื่องของการออมเงินโดยผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ธนพันธ์/แก้ไข พลัฐวัษ/ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๕๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓/๗ ธันวาคม ๒๕๓๐ [๒] มาตรา ๓ นิยามคำว่า “กองทุน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๓] มาตรา ๓ นิยามคำว่า “กองทุนนายจ้างเดียว” เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๔] มาตรา ๓ นิยามคำว่า “กองทุนหลายนายจ้าง” เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๕] มาตรา ๓ นิยามคำว่า “นายทะเบียน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๖] มาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๗] มาตรา ๗/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๘] มาตรา ๙ (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๙] มาตรา ๙ (๑๐) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๑๐] มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๑] มาตรา ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๒] มาตรา ๑๒ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๓] มาตรา ๑๒ ตรี เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๔] มาตรา ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๕] มาตรา ๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๖] มาตรา ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๑๗] มาตรา ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๑๘] มาตรา ๑๘ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๙] มาตรา ๑๙ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๐] มาตรา ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๑] มาตรา ๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๒] มาตรา ๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๒๓] มาตรา ๒๓/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๒๔] มาตรา ๒๓/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๒๕] มาตรา ๒๓/๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๒๖] มาตรา ๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๒๗] มาตรา ๒๕ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๘] มาตรา ๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๙] มาตรา ๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๐] มาตรา ๓๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๑] มาตรา ๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๒] มาตรา ๓๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๓๓] มาตรา ๓๖ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๔] มาตรา ๓๘ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๕] มาตรา ๓๙ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๑๓๗ ก/หน้า ๙/๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๒ [๓๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๐๐ ก/หน้า ๖/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐
568556
พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “กองทุน” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““กองทุน” หมายความว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” มาตรา ๔ ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า “กองทุนนายจ้างเดียว” และคำว่า “กองทุนหลายนายจ้าง” ระหว่างบทนิยามคำว่า “กองทุน” และคำว่า “ค่าจ้าง” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ““กองทุนนายจ้างเดียว” หมายความว่า กองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างเพียงรายเดียว “กองทุนหลายนายจ้าง” หมายความว่า กองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างหลายราย” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕ กองทุนจะมีขึ้นได้ต่อเมื่อลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้นและได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างตาย ออกจากงาน หรือลาออกจากกองทุน โดยลูกจ้างจ่ายเงินสะสมและนายจ้างจ่ายเงินสมทบตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุนนั้น ทั้งนี้ จะจัดตั้งเป็นกองทุนนายจ้างเดียวหรือกองทุนหลายนายจ้าง ซึ่งอาจมีนโยบายการลงทุนนโยบายเดียวหรือหลายนโยบายก็ได้” มาตรา ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๗/๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ “มาตรา ๗/๑ กองทุนประกอบด้วยทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (๑) เงินสะสมและเงินสมทบ (๒) เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างตามมาตรา ๖ วรรคสอง (๓) เงินเพิ่มตามมาตรา ๑๐ วรรคสาม (๔) ทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๕) ทรัพย์สินที่เกิดจากการลงทุนหรือดอกผลของทรัพย์สินในกองทุน (๖) ทรัพย์สินของลูกจ้างที่โอนย้ายมาทั้งจำนวนจากกองทุนเดิมหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั้งนี้ การโอนทรัพย์สินดังกล่าวเข้ากองทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่นายทะเบียนประกาศกำหนด (๗) ทรัพย์สินอื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกำหนด” มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความใน (๘) ของมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๘) ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการจ่ายเงินเมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพ หรือเมื่อกองทุนเลิกตามมาตรา ๒๕ ทั้งนี้ ข้อกำหนดนั้นจะต้องไม่ตัดสิทธิของลูกจ้าง โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร” มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความใน (๑๐) ของมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๑๐) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมสมาชิกแยกตามนโยบายการลงทุนหรือตามรายนายจ้างในกรณีที่เป็นการจัดตั้งกองทุนที่กำหนดให้มีนโยบายการลงทุนหลายนโยบาย หรือกองทุนหลายนายจ้าง” มาตรา ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๑๖ ในการลงทุนหรือหาผลประโยชน์ของกองทุน ให้ผู้จัดการกองทุนนำเงินสะสมและเงินสมทบไปลงทุนหรือหาผลประโยชน์ตามนโยบายการลงทุนที่ลูกจ้างได้แสดงเจตนาไว้ ในกรณีที่ลูกจ้างไม่แสดงเจตนาเลือกนโยบายการลงทุน ให้ลงทุนหรือหาผลประโยชน์ตามนโยบายเดิมหรือนโยบายที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๗ ให้ผู้จัดการกองทุนจัดทำบัญชีเพื่อแบ่งแยกทรัพย์สินของกองทุนทุกกองทุนโดยให้บันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายของกองทุนตามประเภทของกองทุนดังต่อไปนี้ (๑) กรณีกองทุนหลายนายจ้าง ให้บันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายของกองทุนตามส่วนได้เสียของลูกจ้างแยกตามรายนายจ้าง ทั้งนี้ รายได้และค่าใช้จ่ายของกองทุนดังต่อไปนี้ ให้นำมาคำนวณเพื่อบันทึกเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายในบัญชีของลูกจ้างที่มีนายจ้างรายเดียวกัน (ก) เงินเพิ่มที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุน (ข) เงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบที่ลูกจ้างซึ่งสิ้นสมาชิกภาพไม่มีสิทธิได้รับและข้อบังคับของกองทุนกำหนดให้เป็นของกองทุน (ค) ค่าเสียหายหรือดอกเบี้ยที่กองทุนต้องชำระตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล (ง) เงินที่ตกเป็นของกองทุนตามมาตรา ๒๓ วรรคสี่ (จ) รายได้หรือค่าใช้จ่ายอื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกำหนด (๒) กรณีกองทุนที่มีหลายนโยบายการลงทุน ให้จัดทำบัญชีแยกทรัพย์สินของแต่ละนโยบายการลงทุนออกจากกัน ทั้งนี้ รายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหากเป็นผลมาจากการจัดการลงทุนตามนโยบายการลงทุนใด ให้บันทึกเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายในบัญชีของนโยบายการลงทุนนั้น ส่วนรายได้และค่าใช้จ่ายอื่นให้กระจายรายได้และค่าใช้จ่ายนั้นตามสัดส่วนของมูลค่าทรัพย์สินของแต่ละนโยบายการลงทุนและบันทึกเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายในบัญชีของนโยบายการลงทุนนั้น” มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๓/๒ และมาตรา ๒๓/๓ เมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพเพราะเหตุอื่นซึ่งมิใช่กองทุนเลิก ผู้จัดการกองทุนต้องจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ลูกจ้างตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุนและตามที่กำหนดในมาตรา ๒๓/๑ โดยให้จ่ายรวมทั้งหมดคราวเดียวภายในเวลาไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันสิ้นสมาชิกภาพ ในกรณีสิ้นสมาชิกภาพเพราะถึงแก่ความตาย ถ้าลูกจ้างมิได้กำหนดบุคคลผู้จะพึงได้รับเงินจากกองทุนไว้โดยพินัยกรรมหรือทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่ผู้จัดการกองทุนหรือได้กำหนดไว้แต่บุคคลผู้นั้นตายก่อน ให้จ่ายเงินจากกองทุนตามวรรคหนึ่งให้แก่บุคคลตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) บุตรให้ได้รับสองส่วน แต่ถ้าผู้ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน (๒) สามีหรือภริยาให้ได้รับหนึ่งส่วน (๓) บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน ถ้าผู้ตายไม่มีบุคคลดังกล่าวใน (๑) (๒) หรือ (๓) หรือมีแต่ได้ตายก่อนให้แบ่งเงินที่บุคคลนั้นมีสิทธิจะได้รับให้แก่บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ตามส่วนที่กำหนดในวรรคสอง ถ้าผู้ตายไม่มีบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนตามวรรคสองหรือไม่มีทายาทตามกฎหมายแล้วให้เงินดังกล่าวตกเป็นของกองทุน” มาตรา ๑๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๓/๑ มาตรา ๒๓/๒ และมาตรา ๒๓/๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ “มาตรา ๒๓/๑ ในกรณีที่เป็นกองทุนหลายนายจ้าง การคำนวณเงินผลประโยชน์เมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพ ให้ผู้จัดการกองทุนคำนวณเงินผลประโยชน์ของลูกจ้างดังกล่าวจากบัญชีส่วนได้เสียของบรรดาลูกจ้างที่มีนายจ้างรายเดียวกัน ในกรณีที่เป็นกองทุนที่มีหลายนโยบายการลงทุน การคำนวณเงินผลประโยชน์ของลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพ ให้ผู้จัดการกองทุนคำนวณจากทรัพย์สินในบัญชีของนโยบายการลงทุนที่ลูกจ้างรายนั้นมีส่วนได้เสีย มาตรา ๒๓/๒ เมื่อลูกจ้างรายใดสิ้นสมาชิกภาพเพราะการเกษียณอายุตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน หากลูกจ้างรายนั้นแสดงเจตนาขอรับเงินจากกองทุนเป็นงวด ให้ผู้จัดการกองทุนจ่ายเงินจากกองทุนตามเจตนาของลูกจ้าง โดยลูกจ้างรายนั้นยังคงเป็นสมาชิกของกองทุนต่อไปได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน แต่ลูกจ้างรายนั้นและนายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินสะสมหรือเงินสมทบสำหรับลูกจ้างรายนั้นอีก ทั้งนี้ การรับเงินจากกองทุนเป็นงวดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่นายทะเบียนประกาศกำหนด มาตรา ๒๓/๓ เมื่อลูกจ้างรายใดสิ้นสมาชิกภาพเพราะออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด ลูกจ้างรายนั้นมีสิทธิคงเงินทั้งหมดที่มีสิทธิจะได้รับไว้ในกองทุน และคงการเป็นสมาชิกต่อไป โดยลูกจ้างและนายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุน ทั้งนี้ ตามระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุนโดยระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ออกจากงาน” มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๔ สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนตามมาตรา ๒๓ มาตรา ๒๓/๒ และมาตรา ๒๓/๓ ไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี” มาตรา ๑๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๕ ผู้จัดการกองทุนใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๑๒ ทวิ หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๓ มาตรา ๒๓/๑ หรือมาตรา ๒๓/๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสม โดยกำหนดให้โอนย้ายทรัพย์สินของลูกจ้างในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ และกำหนดให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีนโยบายการลงทุนหลากหลายเพื่อให้สมาชิกได้เลือกตามความต้องการ รวมทั้งกำหนดให้ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพเนื่องจากออกจากงานมีสิทธิคงเงินไว้ในกองทุน และลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพเนื่องจากการเกษียณอายุมีสิทธิขอรับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นงวด โดยลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพเพราะเหตุดังกล่าวยังคงเป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อไปได้ แต่ไม่ต้องจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพอีก ทั้งนี้ เพื่อสร้างความต่อเนื่องของการออมเงินโดยผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปรีดาภรณ์/แก้ไข พลัฐวัษ/ตรวจ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๐๐ ก/หน้า ๖/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐
318849
พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 (Update ณ วันที่ 30/12/2542)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นปีที่ ๔๒ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ ประกอบด้วยเงินที่ลูกจ้างจ่ายสะสม เงินที่นายจ้างจ่ายสมทบรวมทั้งเงินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีผู้อุทิศให้และผลประโยชน์จากเงินหรือทรัพย์สินดังกล่าว เพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างตายหรือออกจากงาน หรือลาออกจากกองทุน “ค่าจ้าง” หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายเป็นการตอบแทนโดยวิธีใดและไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใด แต่ไม่รวมถึงค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นที่นายจ้างหักไว้หรือจ่ายเพิ่มเติมให้แก่ลูกจ้างเพื่อประโยชน์ในการทำงาน “นายจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล และไม่ว่าการตกลงนั้นจะมีสัญญาเป็นหนังสือหรือไม่ “ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างโดยได้รับค่าจ้าง ไม่ว่าจะมีสัญญาเป็นหนังสือหรือไม่ “นายทะเบียน”[๒] หมายความว่า บุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจแต่งตั้งนายทะเบียน และพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงและกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ การจัดตั้ง มาตรา ๕ กองทุนจะมีขึ้นได้ก็แต่โดยที่ลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้น โดยลูกจ้างจ่ายเงินสะสมและนายจ้างจ่ายเงินสมทบตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุนนั้น กองทุนต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างตายหรือออกจากงาน หรือลาออกจากกองทุน มาตรา ๖ เมื่อลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันจัดตั้งกองทุนขึ้นตามมาตรา ๕ แล้ว ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างที่ได้จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้าประสงค์จะให้เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๗ กองทุนที่ได้จดทะเบียนแล้วให้เป็นนิติบุคคล มาตรา ๘ ในการขอจดทะเบียนกองทุน ถ้าได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖ และมีข้อบังคับถูกต้องตามมาตรา ๙ และข้อบังคับนั้นไม่ขัดต่อกฎหมายหรือวัตถุประสงค์ของกองทุน ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนได้ และให้ออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้แก่กองทุนนั้น ให้นายทะเบียนประกาศการจดทะเบียนกองทุนในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๙ ข้อบังคับของกองทุนอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อ ซึ่งต้องมีคำว่า “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” นำหน้า และมีคำว่า “ซึ่งจดทะเบียนแล้ว” ต่อท้าย (๒) ที่ตั้งสำนักงาน (๓) วัตถุประสงค์ (๔) วิธีรับสมาชิกและการสิ้นสมาชิกภาพ (๕) ข้อกำหนดเกี่ยวกับจำนวนกรรมการ วิธีการเลือกตั้งและแต่งตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมของคณะกรรมการกองทุน (๖) ข้อกำหนดเกี่ยวกับเงินสะสมของลูกจ้างและเงินสมทบของนายจ้างที่จะต้องจ่ายเข้ากองทุน (๗) ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณผลประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับ (๘) ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการจ่ายเงินเมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพ หรือเมื่อกองทุนเลิกตามมาตรา ๒๕ (๙) ข้อกำหนดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการของกองทุน (๑๐) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่ (๑๑) รายการอื่น ๆ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง การแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของกองทุน ให้คณะกรรมการกองทุนนำไปจดทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีมติให้แก้ไข และยังไม่มีผลใช้บังคับจนกว่านายทะเบียนจะได้รับจดทะเบียนแล้ว มาตรา ๑๐[๓] ทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง ให้ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนโดยให้นายจ้างหักจากค่าจ้างและให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน แต่ข้อบังคับนั้นจะต้องกำหนดให้หักค่าจ้างเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละสองแต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าของค่าจ้าง และให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามจำนวนลูกจ้างในอัตราไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้าง ลูกจ้างและนายจ้างอาจตกลงกันให้จ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่กำหนดในวรรคหนึ่งโดยอนุมัติรัฐมนตรีก็ได้ ให้นายจ้างส่งเงินตามวรรคหนึ่งเข้ากองทุนภายในสามวันทำการนับแต่วันที่มีการจ่ายค่าจ้าง ในกรณีที่นายจ้างส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบเข้ากองทุนล่าช้ากว่าสามวันทำการ ให้นายจ้างจ่ายเงินเพิ่มให้กองทุนในระหว่างเวลาที่ส่งล่าช้าในอัตราร้อยละห้าต่อเดือน ของจำนวนเงินสะสมหรือเงินสมทบที่ส่งล่าช้านั้น มาตรา ๑๑ ให้กองทุนมีคณะกรรมการกองทุน ประกอบด้วยผู้แทนซึ่งลูกจ้างเลือกตั้งและผู้แทนซึ่งนายจ้างแต่งตั้ง มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของกองทุน และให้มีอำนาจแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนและเป็นผู้แทนของกองทุนในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการกองทุนจะมอบหมายเป็นหนังสือให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนทำการแทนก็ได้ การแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนหรือการเปลี่ยนกรรมการ ให้คณะกรรมการกองทุนนำไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนหรือเปลี่ยนกรรมการ หมวด ๒ การจัดการกองทุน มาตรา ๑๒[๔] ให้รัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่กำกับและควบคุมโดยทั่วไปเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีอาจมอบหมายให้หน่วยงานใดในสังกัดปฏิบัติหน้าที่แทน และจะมอบหมายให้แต่งตั้งพนักงานของหน่วยงานนั้นเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ มาตรา ๑๒ ทวิ[๕] ให้นายทะเบียนมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการจัดการกองทุนและมีอำนาจสั่งให้ผู้จัดการกองทุนชี้แจงข้อเท็จจริงและทำรายงานเกี่ยวกับการจัดการกองทุนได้ ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าผู้จัดการกองทุนใดจัดการกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่กองทุน นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้จัดการกองทุนแก้ไขหรือระงับการกระทำนั้นหรือสั่งถอดถอนผู้จัดการกองทุนได้ มาตรา ๑๒ ตรี[๖] ให้นายทะเบียนจัดทำรายงานเกี่ยวกับการกำกับดูแลการจัดการกองทุนเสนอต่อรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละสองครั้ง เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลและควบคุมให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ รัฐมนตรีอาจสั่งให้นายทะเบียนรายงานผลการดำเนินงานหรือชี้แจงข้อเท็จจริงในเรื่องหนึ่งเรื่องใดเพิ่มเติมก็ได้ มาตรา ๑๓[๗] การจัดการกองทุนจะต้องดำเนินการโดยบุคคลซึ่งมิใช่นายจ้างและได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มาตรา ๑๔[๘] ในการจัดการกองทุน ให้ผู้จัดการกองทุนมีหน้าที่และอยู่ในบังคับบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ด้วย มาตรา ๑๕ ให้นายจ้างแยกบัญชีและเอกสารเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินอื่นของตนออกจากบัญชีและเอกสารเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินอื่นของกองทุนโดยเด็ดขาด มาตรา ๑๖[๙] (ยกเลิก) มาตรา ๑๗[๑๐] (ยกเลิก) มาตรา ๑๘[๑๑] (ยกเลิก) มาตรา ๑๙[๑๒] (ยกเลิก) มาตรา ๒๐[๑๓] ผู้จัดการกองทุนพ้นจากการเป็นผู้จัดการกองทุนก่อนครบกำหนดสัญญา เมื่อ (๑) นายทะเบียนสั่งถอดถอนตามมาตรา ๑๒ ทวิ วรรคสอง (๒) ขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้จัดการกองทุน (๓) กองทุนหรือผู้จัดการกองทุนบอกเลิกสัญญา หรือ (๔) กองทุนเลิกตามมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๑[๑๔] ในกรณีที่ผู้จัดการกองทุนพ้นจากการเป็นผู้จัดการกองทุนตามมาตรา ๒๐ (๑) (๒) หรือ (๓) ให้คณะกรรมการกองทุนแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้จัดการกองทุนเดิมพ้นตำแหน่ง และให้แจ้งการแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนใหม่แก่นายทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่แต่งตั้ง มาตรา ๒๒ ลูกจ้างและนายจ้างจะขอตรวจดูบัญชีและเอกสารของกองทุน ณ สำนักงานกองทุนได้ในเวลาเปิดทำการ หมวด ๓ การจ่ายเงินจากกองทุนและการเลิกกองทุน มาตรา ๒๓ เมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพเพราะเหตุอื่นซึ่งมิใช่กองทุนเลิก ผู้จัดการกองทุนต้องจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ลูกจ้างตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน โดยให้จ่ายรวมทั้งหมดครั้งเดียวภายในเวลาไม่เกินสามสิบวัน นับแต่วันสิ้นสมาชิกภาพ ในกรณีสิ้นสมาชิกภาพเพราะถึงแก่ความตาย ถ้าลูกจ้างมิได้กำหนดบุคคลผู้จะพึงได้รับเงินจากกองทุนไว้โดยพินัยกรรม หรือทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่ผู้จัดการกองทุน หรือได้กำหนดไว้แต่บุคคลผู้นั้นตายก่อน ให้จ่ายเงินจากกองทุนตามวรรคหนึ่งให้แก่บุคคลตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) บุตรให้ได้รับสองส่วน แต่ถ้าผู้ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน (๒) สามีหรือภริยาให้ได้รับหนึ่งส่วน (๓) บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน ถ้าผู้ตายไม่มีบุคคลดังกล่าวใน (๑) (๒) หรือ (๓) หรือมีแต่ได้ตายไปก่อน ให้แบ่งเงินที่บุคคลนั้นมีสิทธิจะได้รับให้แก่บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ตามส่วนที่กำหนดในวรรคสอง ถ้าผู้ตายไม่มีบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนตามวรรคสอง หรือไม่มีทายาทตามกฎหมายแล้ว ให้เงินดังกล่าวตกเป็นของกองทุนเพื่อจัดการตามที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน มาตรา ๒๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๓ สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี มาตรา ๒๕ กองทุนย่อมเลิก เมื่อ (๑) นายจ้างเลิกกิจการ (๒) ที่ประชุมใหญ่มีมติให้เลิก (๓) มีกรณีที่ข้อบังคับของกองทุนกำหนดให้เลิก หรือ (๔)[๑๕] นายทะเบียนสั่งให้เลิกกองทุนตามมาตรา ๒๗ ในกรณีที่กองทุนจัดตั้งขึ้นโดยมีนายจ้างมากกว่าหนึ่งราย การที่นายจ้างบางรายเลิกกิจการหรือถอนตัวจากกองทุนไม่เป็นเหตุให้กองทุนต้องเลิก เว้นแต่ข้อบังคับของกองทุนกำหนดให้เลิก เมื่อมีกรณีตามวรรคสองเกิดขึ้น ให้คณะกรรมการกองทุนแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่นายจ้างบางรายเลิกกิจการหรือถอนตัว และจัดให้มีการชำระบัญชีกองทุนเฉพาะส่วนทรัพย์สินของนายจ้างและลูกจ้างของนายจ้างนั้นตามวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน เมื่อได้ชำระบัญชีแล้วให้แจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันเสร็จการชำระบัญชี มาตรา ๒๖[๑๖] เมื่อกองทุนเลิกตามมาตรา ๒๕ (๑) (๒) หรือ (๓) ให้คณะกรรมการกองทุนแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่กองทุนเลิกและให้คณะกรรมการกองทุนจัดให้มีการชำระบัญชีภายในสามสิบวัน และให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันที่กองทุนเลิก เว้นแต่กรณีจำเป็นนายทะเบียนจะอนุมัติให้ขยายเวลาออกไปได้ตามที่เห็นสมควร มาตรา ๒๗[๑๗] นายทะเบียน โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้เลิกกองทุนได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) มีพฤติการณ์ที่ทำให้เห็นว่าการดำเนินงานของกองทุนขัดต่อวัตถุประสงค์ หรือขัดต่อกฎหมาย (๒) มีพฤติการณ์ที่ทำให้เห็นว่ากิจการของกองทุนไม่อาจดำเนินต่อไปได้ ไม่ว่าเพราะเหตุใด เมื่อนายทะเบียนสั่งให้เลิกกองทุนตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้มีการชำระบัญชีและให้นายทะเบียนแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี มาตรา ๒๘ เมื่อกองทุนเลิกตามมาตรา ๒๕ ให้นายทะเบียนประกาศการเลิกกองทุนในราชกิจจานุเบกษา และปิดประกาศไว้ที่สำนักงานของกองทุนหรือที่ทำการของนายทะเบียน มาตรา ๒๙ การชำระบัญชีกองทุนให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัดมาใช้บังคับโดยอนุโลม ในระหว่างการชำระบัญชี ถ้าผู้ชำระบัญชีเห็นสมควรจะจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างบางส่วนก่อนก็ได้ และเมื่อได้ชำระบัญชีแล้ว ให้จ่ายเงินทั้งหมดที่ค้างชำระแก่ลูกจ้างให้เสร็จภายในเวลาไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันเสร็จการชำระบัญชี ถ้ามีเงินเหลืออยู่ให้จัดการตามที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน ค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนในการชำระบัญชี ให้จ่ายจากทรัพย์สินของกองทุน หมวด ๔ พนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา ๓๐ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบการจัดการกองทุน ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้ (๑) เข้าไปในสำนักงานของกองทุนหรือของผู้จัดการกองทุนเพื่อตรวจสอบกิจการสินทรัพย์และหนี้สินของกองทุนในเวลาทำงานปกติ (๒) สั่งให้กรรมการ ผู้จัดการกองทุน หรือเจ้าหน้าที่ของกองทุนซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนส่งหรือแสดงบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นของกองทุน (๓) เรียกบุคคลดังกล่าวใน (๒) มาเพื่อสอบถามหรือแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุน มาตรา ๓๑[๑๘] ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่นายทะเบียนประกาศกำหนด หมวด ๕ บทกำหนดโทษ มาตรา ๓๒ กองทุนใดไม่ใช้ชื่อซึ่งมีอักษรไทยว่า “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” นำหน้า และ “ซึ่งจดทะเบียนแล้ว” ต่อท้าย หรือใช้ชื่อเป็นอักษรต่างประเทศ แต่ไม่ใช้คำซึ่งมีความหมายดังกล่าวในดวงตรา ป้ายชื่อ จดหมาย ใบแจ้งความหรือเอกสารอย่างอื่นเกี่ยวกับธุรกิจของกองทุน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๓๓ ผู้ใดใช้ชื่อซึ่งมีอักษรไทยประกอบว่า “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” นำหน้า และ “ซึ่งจดทะเบียนแล้ว” ต่อท้าย หรือใช้ชื่อเป็นอักษรต่างประเทศซึ่งมีความหมายดังกล่าวในดวงตรา ป้ายชื่อ จดหมาย ใบแจ้งความหรือเอกสารอย่างอื่นเกี่ยวกับธุรกิจโดยมิได้เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาท จนกว่าจะได้เลิกใช้ มาตรา ๓๔[๑๙] คณะกรรมการกองทุนใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ วรรคสอง มาตรา ๒๑ มาตรา ๒๕ วรรคสาม หรือมาตรา ๒๖ หรือแต่งตั้งบุคคลซึ่งไม่มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๓ เป็นผู้จัดการกองทุน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๓๕[๒๐] ผู้จัดการกองทุนใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๑๒ ทวิ หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๓๖[๒๑] (ยกเลิก) มาตรา ๓๗ นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๓๘ [๒๒] (ยกเลิก) มาตรา ๓๙[๒๓] (ยกเลิก) มาตรา ๔๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ขัดขวางหรือไม่ให้ความสะดวกแก่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๔๑ ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนกระทำความผิดตามมาตรา ๓๔ ให้ถือว่ากรรมการทุกคนเป็นผู้กระทำความผิด เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้เห็นเป็นใจกับกรรมการอื่น หรือได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดความผิดนั้นแล้ว มาตรา ๔๒ ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้ตามมาตรา ๓๘ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้มีจำนวนสามคนซึ่งคนหนึ่งต้องเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เมื่อคณะกรรมการได้ทำการเปรียบเทียบคดีใด และผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดแล้ว ให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน มาตรา ๔๓ ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้ามิได้ฟ้องต่อศาลหรือมิได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการทำการเปรียบเทียบตามมาตรา ๔๒ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบการกระทำความผิด หรือภายในห้าปีนับแต่วันที่กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยความสมัครใจของนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อประสงค์จะให้เป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้างเมื่อออกจากงาน ตลอดจนส่งเสริมการระดมเงินออมภาคเอกชนเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งในการนี้สมควรวางหลักเกณฑ์การดำเนินการและจัดการกองทุนเพื่อให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมั่นคงและเป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒[๒๔] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา ๔ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๐ ทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง ให้ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนโดยให้นายจ้างหักจากค่าจ้างและให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน แต่ข้อบังคับนั้นจะต้องกำหนดให้หักค่าจ้างเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละสองแต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าของค่าจ้าง และให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามจำนวนลูกจ้างในอัตราไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้าง มาตรา ๑๕ ให้ผู้จัดการกองทุนที่ได้รับแต่งตั้งให้จัดการกองทุนที่ลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ จัดการกองทุนดังกล่าวได้ต่อไปอีกไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้นำบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้จัดการกองทุนและการจัดการกองทุน รวมทั้งบทกำหนดโทษในเรื่องดังกล่าวที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับมาใช้บังคับกับผู้จัดการกองทุนในระหว่างเวลาดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลการจัดการกองทุนของผู้จัดการกองทุนตามวรรคหนึ่ง นายทะเบียนอาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขให้ผู้จัดการกองทุนต้องปฏิบัติเพิ่มเติมได้ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทุนตามวรรคหนึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้ว และกองทุนประสงค์ที่จะให้ผู้จัดการกองทุนนั้นจัดการกองทุนตามบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ให้ผู้จัดการกองทุนยื่นคำขอต่อนายทะเบียนและเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วจึงจะดำเนินการตามที่ยื่นขอได้ มาตรา ๑๖ ผู้จัดการกองทุนใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา ๑๕ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๗ ความผิดตามมาตรา ๑๖ ให้คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ มีอำนาจเปรียบเทียบได้ มาตรา ๑๘ บรรดากฎกระทรวงที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดการกองทุน ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง คำสั่ง และหนังสือเวียนเกี่ยวกับการจัดการกองทุน ให้ยังคงใช้บังคับกับผู้จัดการกองทุนตามมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัตินี้ ได้ต่อไปอีกไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นการประกอบธุรกิจการจัดการลงทุนประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ดังนั้น เพื่อให้การจัดการกองทุนดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานและหลักการเดียวกันกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล รวมทั้งเพื่อบรรเทาภาระการจ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้างและลูกจ้างให้น้อยลง สมควรปรับปรุงอำนาจของรัฐมนตรีและนายทะเบียนในการกำกับดูแลการจัดการกองทุนให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและกำหนดให้การจัดการกองทุนดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ วศิน/ผู้จัดทำ ๙ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๕๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓/๗ ธันวาคม ๒๕๓๐ [๒] มาตรา ๓ นิยามคำว่า “นายทะเบียน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓] มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๔] มาตรา ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๕] มาตรา ๑๒ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๖] มาตรา ๑๒ ตรี เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๗] มาตรา ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๘] มาตรา ๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๙] มาตรา ๑๖ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๐] มาตรา ๑๗ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๑] มาตรา ๑๘ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๒] มาตรา ๑๙ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๓] มาตรา ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๔] มาตรา ๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๕] มาตรา ๒๕ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๖] มาตรา ๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๗] มาตรา ๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๘] มาตรา ๓๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๑๙] มาตรา ๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๐] มาตรา ๓๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๑] มาตรา ๓๖ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๒] มาตรา ๓๘ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๓] มาตรา ๓๙ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๑๓๗ ก/หน้า ๙/๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๒
311563
พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นปีที่ ๕๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา ๔ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า “นายทะเบียน” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““นายทะเบียน” หมายความว่า บุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๐ ทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง ให้ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนโดยให้นายจ้างหักจากค่าจ้างและให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน แต่ข้อบังคับนั้นจะต้องกำหนดให้หักค่าจ้างเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละสองแต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าของค่าจ้าง และให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามจำนวนลูกจ้างในอัตราไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้าง” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๒ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่กำกับและควบคุมโดยทั่วไปเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีอาจมอบหมายให้หน่วยงานใดในสังกัดปฏิบัติหน้าที่แทน และจะมอบหมายให้แต่งตั้งพนักงานของหน่วยงานนั้นเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้” มาตรา ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๒ ทวิ และมาตรา ๑๒ ตรี แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ “มาตรา ๑๒ ทวิ ให้นายทะเบียนมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการจัดการกองทุนและมีอำนาจสั่งให้ผู้จัดการกองทุนชี้แจงข้อเท็จจริงและทำรายงานเกี่ยวกับการจัดการกองทุนได้ ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าผู้จัดการกองทุนใดจัดการกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่กองทุน นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้จัดการกองทุนแก้ไขหรือระงับการกระทำนั้นหรือสั่งถอดถอนผู้จัดการกองทุนได้ มาตรา ๑๒ ตรี ให้นายทะเบียนจัดทำรายงานเกี่ยวกับการกำกับดูแลการจัดการกองทุนเสนอต่อรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละสองครั้ง เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลและควบคุมให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ รัฐมนตรีอาจสั่งให้นายทะเบียนรายงานผลการดำเนินงานหรือชี้แจงข้อเท็จจริงในเรื่องหนึ่งเรื่องใดเพิ่มเติมก็ได้” มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๓ การจัดการกองทุนจะต้องดำเนินการโดยบุคคลซึ่งมิใช่นายจ้างและได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มาตรา ๑๔ ในการจัดการกองทุน ให้ผู้จัดการกองทุนมีหน้าที่และอยู่ในบังคับบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ด้วย” มาตรา ๘ ให้ยกเลิกมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๐ ผู้จัดการกองทุนพ้นจากการเป็นผู้จัดการกองทุนก่อนครบกำหนดสัญญา เมื่อ (๑) นายทะเบียนสั่งถอดถอนตามมาตรา ๑๒ ทวิ วรรคสอง (๒) ขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้จัดการกองทุน (๓) กองทุนหรือผู้จัดการกองทุนบอกเลิกสัญญา หรือ (๔) กองทุนเลิกตามมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๑ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทุนพ้นจากการเป็นผู้จัดการกองทุนตามมาตรา ๒๐ (๑) (๒) หรือ (๓) ให้คณะกรรมการกองทุนแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้จัดการกองทุนเดิมพ้นตำแหน่ง และให้แจ้งการแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนใหม่แก่นายทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่แต่งตั้ง” มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความใน (๔) ของมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๔) นายทะเบียนสั่งให้เลิกกองทุนตามมาตรา ๒๗” มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๖ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๖ เมื่อกองทุนเลิกตามมาตรา ๒๕ (๑) (๒) หรือ (๓) ให้คณะกรรมการกองทุนแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่กองทุนเลิกและให้คณะกรรมการกองทุนจัดให้มีการชำระบัญชีภายในสามสิบวัน และให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันที่กองทุนเลิก เว้นแต่กรณีจำเป็นนายทะเบียนจะอนุมัติให้ขยายเวลาออกไปได้ตามที่เห็นสมควร มาตรา ๒๗ นายทะเบียน โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้เลิกกองทุนได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) มีพฤติการณ์ที่ทำให้เห็นว่าการดำเนินงานของกองทุนขัดต่อวัตถุประสงค์ หรือขัดต่อกฎหมาย (๒) มีพฤติการณ์ที่ทำให้เห็นว่ากิจการของกองทุนไม่อาจดำเนินต่อไปได้ ไม่ว่าเพราะเหตุใด เมื่อนายทะเบียนสั่งให้เลิกกองทุนตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้มีการชำระบัญชีและให้นายทะเบียนแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี” มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่นายทะเบียนประกาศกำหนด” มาตรา ๑๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๔ คณะกรรมการกองทุนใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ วรรคสอง มาตรา ๒๑ มาตรา ๒๕ วรรคสาม หรือมาตรา ๒๖ หรือแต่งตั้งบุคคลซึ่งไม่มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๓ เป็นผู้จัดการกองทุน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๓๕ ผู้จัดการกองทุนใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๑๒ ทวิ หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท” มาตรา ๑๔ ให้ยกเลิกมาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ และมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๑๕ ให้ผู้จัดการกองทุนที่ได้รับแต่งตั้งให้จัดการกองทุนที่ลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจัดการกองทุนดังกล่าวได้ต่อไปอีกไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้นำบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้จัดการกองทุนและการจัดการกองทุน รวมทั้งบทกำหนดโทษในเรื่องดังกล่าวที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับมาใช้บังคับกับผู้จัดการกองทุนในระหว่างเวลาดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลการจัดการกองทุนของผู้จัดการกองทุนตามวรรคหนึ่ง นายทะเบียนอาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขให้ผู้จัดการกองทุนต้องปฏิบัติเพิ่มเติมได้ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทุนตามวรรคหนึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้ว และกองทุนประสงค์ที่จะให้ผู้จัดการกองทุนนั้นจัดการกองทุนตามบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ให้ผู้จัดการกองทุนยื่นคำขอต่อนายทะเบียนและเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วจึงจะดำเนินการตามที่ยื่นขอได้ มาตรา ๑๖ ผู้จัดการกองทุนใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา ๑๕ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๗ ความผิดตามมาตรา ๑๖ ให้คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ มีอำนาจเปรียบเทียบได้ มาตรา ๑๘ บรรดากฎกระทรวงที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดการกองทุน ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง คำสั่ง และหนังสือเวียนเกี่ยวกับการจัดการกองทุน ให้ยังคงใช้บังคับกับผู้จัดการกองทุนตามมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัตินี้ ได้ต่อไปอีกไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นการประกอบธุรกิจการจัดการลงทุนประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ดังนั้น เพื่อให้การจัดการกองทุนดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานและหลักการเดียวกันกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล รวมทั้งเพื่อบรรเทาภาระการจ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้างและลูกจ้างให้น้อยลง สมควรปรับปรุงอำนาจของรัฐมนตรีและนายทะเบียนในการกำกับดูแลการจัดการกองทุนให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและกำหนดให้การจัดการกองทุนดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปรีดาภรณ์/แก้ไข พลัฐวัษ/ตรวจ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๑๓๗ ก/หน้า ๙/๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๒
302184
พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นปีที่ ๔๒ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ ประกอบด้วยเงินที่ลูกจ้างจ่ายสะสม เงินที่นายจ้างจ่ายสมทบรวมทั้งเงินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีผู้อุทิศให้และผลประโยชน์จากเงินหรือทรัพย์สินดังกล่าว เพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างตายหรือออกจากงาน หรือลาออกจากกองทุน “ค่าจ้าง” หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงาน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายเป็นการตอบแทนโดยวิธีใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใด แต่ไม่รวมถึงค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นที่นายจ้างหักไว้ หรือจ่ายเพิ่มเติมให้แก่ลูกจ้างเพื่อประโยชน์ในการทำงาน “นายจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล และไม่ว่าการตกลงนั้นจะมีสัญญาเป็นหนังสือหรือไม่ “ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างโดยได้รับค่าจ้าง ไม่ว่าจะมีสัญญาเป็นหนังสือหรือไม่ “นายทะเบียน” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งนายทะเบียน และพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงและกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ การจัดตั้ง มาตรา ๕ กองทุนจะมีขึ้นได้ก็แต่โดยที่ลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้น โดยลูกจ้างจ่ายเงินสะสมและนายจ้างจ่ายเงินสมทบตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุนนั้น กองทุนต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างตาย หรือออกจากงาน หรือลาออกจากกองทุน มาตรา ๖ เมื่อลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันจัดตั้งกองทุนขึ้นตามมาตรา ๕ แล้ว ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างที่ได้จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้าประสงค์จะให้เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๗ กองทุนที่ได้จดทะเบียนแล้วให้เป็นนิติบุคคล มาตรา ๘ ในการขอจดทะเบียนกองทุน ถ้าได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖ และมีข้อบังคับถูกต้องตามมาตรา ๙ และข้อบังคับนั้นไม่ขัดต่อกฎหมายหรือวัตถุประสงค์ของกองทุน ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนได้ และให้ออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้แก่กองทุนนั้น ให้นายทะเบียนประกาศการจดทะเบียนกองทุนในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๙ ข้อบังคับของกองทุนอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อ ซึ่งต้องมีคำว่า “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” นำหน้า และมีคำว่า “ซึ่งจดทะเบียนแล้ว” ต่อท้าย (๒) ที่ตั้งสำนักงาน (๓) วัตถุประสงค์ (๔) วิธีรับสมาชิกและการสิ้นสมาชิกภาพ (๕) ข้อกำหนดเกี่ยวกับจำนวนกรรมการ วิธีการเลือกตั้งและแต่งตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมของคณะกรรมการกองทุน (๖) ข้อกำหนดเกี่ยวกับเงินสะสมของลูกจ้างและเงินสมทบของนายจ้างที่จะต้องจ่ายเข้ากองทุน (๗) ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณผลประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับ (๘) ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการจ่ายเงินเมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพ หรือเมื่อกองทุนเลิกตามมาตรา ๒๕ (๙) ข้อกำหนดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการของกองทุน (๑๐) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่ (๑๑) รายการอื่น ๆ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง การแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของกองทุนให้คณะกรรมการกองทุนนำไปจดทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีมติให้แก้ไข และยังไม่มีผลใช้บังคับจนกว่านายทะเบียนจะได้รับจดทะเบียนแล้ว มาตรา ๑๐ ทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง ให้ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน โดยให้นายจ้างหักจากค่าจ้างและให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน แต่ข้อบังคับนั้นจะต้องกำหนดให้หักค่าจ้างเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละสามแต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าของค่าจ้าง และให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามจำนวนลูกจ้างในอัตราไม่ต่ำกว่าอัตราเงินสะสมของลูกจ้าง แต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าของค่าจ้าง ลูกจ้างและนายจ้างอาจตกลงกันให้จ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่กำหนดในวรรคหนึ่งโดยอนุมัติรัฐมนตรีก็ได้ ให้นายจ้างส่งเงินตามวรรคหนึ่งเข้ากองทุนภายในสามวันทำการนับแต่วันที่มีการจ่ายค่าจ้างในกรณีที่นายจ้างส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบเข้ากองทุนล่าช้ากว่าสามวันทำการ ให้นายจ้างจ่ายเงินเพิ่มให้กองทุนในระหว่างเวลาที่ส่งล่าช้าในอัตราร้อยละห้าต่อเดือน ของจำนวนเงินสะสมหรือเงินสมทบที่ส่งล่าช้านั้น มาตรา ๑๑ ให้กองทุนมีคณะกรรมการกองทุน ประกอบด้วยผู้แทนซึ่งลูกจ้างเลือกตั้งและผู้แทนซึ่งนายจ้างแต่งตั้ง มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของกองทุน และให้มีอำนาจแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนและเป็นผู้แทนของกองทุนในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการกองทุนจะมอบหมายเป็นหนังสือให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนทำการแทนก็ได้ การแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนหรือการเปลี่ยนกรรมการ ให้คณะกรรมการกองทุนนำไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนหรือเปลี่ยนกรรมการ หมวด ๒ การจัดการกองทุน มาตรา ๑๒ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับและดูแลโดยทั่วไปซึ่งการจัดการกองทุน เพื่อประโยชน์ในการนี้จะสั่งให้ผู้จัดการกองทุนชี้แจงข้อเท็จจริง ทำรายงานเกี่ยวกับการจัดการกองทุนและมีอำนาจสั่งให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนได้ ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นว่าผู้จัดการกองทุนใดจัดการกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่กองทุน รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ผู้จัดการกองทุนแก้ไขหรือระงับการกระทำนั้นหรือสั่งถอดถอนผู้จัดการกองทุนได้ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง รัฐมนตรีอาจมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปฏิบัติหน้าที่แทน และจะมอบหมายให้แต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ มาตรา ๑๓ การจัดการกองทุนจะต้องดำเนินการโดยบุคคลอื่นซึ่งมิใช่นายจ้าง และต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี มาตรา ๑๔ การจัดการและค่าใช้จ่ายในการจัดการกองทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๕ ให้นายจ้างแยกบัญชีและเอกสารเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินอื่นของตนออกจากบัญชีและเอกสารเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินอื่นของกองทุนโดยเด็ดขาด มาตรา ๑๖ ให้ผู้จัดการกองทุนจัดทำรายงานแสดงยอดเงินสะสมของลูกจ้าง เงินสมทบของนายจ้างพร้อมทั้งผลประโยชน์ที่ลูกจ้างแต่ละคนจะได้รับ และแจ้งให้ลูกจ้างดังกล่าวทราบอย่างน้อยปีละสองครั้ง มาตรา ๑๗ นายทะเบียนจะกำหนดให้ผู้จัดการกองทุนยื่นรายงานหรือแสดงเอกสารใดตามระยะเวลาหรือเป็นครั้งคราวตามที่กำหนดก็ได้ และจะให้ผู้จัดการกองทุนทำคำชี้แจงเพื่ออธิบายหรือขยายความแห่งรายงานหรือเอกสารนั้นด้วยก็ได้ รายงานและเอกสารที่ยื่นหรือแสดงหรือคำชี้แจงเพื่ออธิบายหรือขยายความตามวรรคหนึ่ง ผู้จัดการกองทุนต้องทำให้ครบถ้วนและตรงต่อความเป็นจริง มาตรา ๑๘ ผู้จัดการกองทุนต้องจัดทำบัญชีแสดงฐานะการเงินของกองทุนตามแบบที่นายทะเบียนกำหนด และต้องเก็บรักษาเอกสารประกอบบัญชีแสดงให้เห็นความถูกต้องแห่งบัญชีนั้นไว้ด้วย ให้ผู้จัดการกองทุนรายงานฐานะการเงินของกองทุนต่อรัฐมนตรีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๙ ผู้จัดการกองทุนต้องจัดให้มีการสอบบัญชีทุกปี และต้องเสนองบดุลพร้อมด้วยรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต่อที่ประชุมใหญ่ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีของกองทุน เมื่อที่ประชุมใหญ่รับรองงบดุลแล้ว ให้ส่งสำเนาหนึ่งชุดให้แก่นายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่รับรอง และต้องแสดงไว้ที่สำนักงานกองทุนเพื่อให้ลูกจ้างตรวจดูได้ด้วย มาตรา ๒๐ ผู้จัดการกองทุนพ้นจากการเป็นผู้จัดการกองทุนก่อนครบกำหนดสัญญา เมื่อ (๑) รัฐมนตรีสั่งถอดถอนตามมาตรา ๑๒ วรรคสอง (๒) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๓ (๓) กองทุนหรือผู้จัดการกองทุนบอกเลิกสัญญา หรือ (๔) กองทุนเลิกตามมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๑ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทุนพ้นจากการเป็นผู้จัดการกองทุน ให้ผู้จัดการกองทุนส่งมอบเงินหรือทรัพย์สินอื่นของกองทุนพร้อมทั้งบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องแก่คณะกรรมการกองทุนภายในเจ็ดวันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่กรณีผู้จัดการกองทุนพ้นจากการเป็นผู้จัดการกองทุนตามมาตรา ๒๐ (๔) ให้คณะกรรมการกองทุนแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนใหม่ภายในสามสิบวัน นับแต่วันผู้จัดการกองทุนเดิมพ้นจากตำแหน่งและให้แจ้งการแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนใหม่แก่นายทะเบียนภายในสิบสี่วัน นับแต่วันแต่งตั้ง มาตรา ๒๒ ลูกจ้างและนายจ้างจะขอตรวจดูบัญชีและเอกสารของกองทุน ณ สำนักงานกองทุนได้ในเวลาเปิดทำการ หมวด ๓ การจ่ายเงินจากกองทุนและการเลิกกองทุน มาตรา ๒๓ เมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพเพราะเหตุอื่นซึ่งมิใช่กองทุนเลิก ผู้จัดการกองทุนต้องจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ลูกจ้างตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน โดยให้จ่ายรวมทั้งหมดครั้งเดียวภายในเวลาไม่เกินสามสิบวัน นับแต่วันสิ้นสมาชิกภาพ ในกรณีสิ้นสมาชิกภาพเพราะถึงแก่ความตาย ถ้าลูกจ้างมิได้กำหนดบุคคลผู้จะพึงได้รับเงินจากกองทุนไว้โดยพินัยกรรม หรือทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่ผู้จัดการกองทุนหรือได้กำหนดไว้แต่บุคคลผู้นั้นตายก่อนให้จ่ายเงินจากกองทุนตามวรรคหนึ่งให้แก่บุคคลตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (๑) บุตรให้ได้รับสองส่วน แต่ถ้าผู้ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน (๒) สามีหรือภริยาให้ได้รับหนึ่งส่วน (๓) บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน ถ้าผู้ตายไม่มีบุคคลดังกล่าวใน (๑) (๒) หรือ (๓) หรือมีแต่ได้ตายไปก่อน ให้แบ่งเงินที่บุคคลนั้นมีสิทธิจะได้รับให้แก่บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ตามส่วนที่กำหนดในวรรคสอง ถ้าผู้ตายไม่มีบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนตามวรรคสองหรือไม่มีทายาทตามกฎหมายแล้ว ให้เงินดังกล่าวตกเป็นของกองทุนเพื่อจัดการตามที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน มาตรา ๒๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๓ สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี มาตรา ๒๕ กองทุนย่อมเลิก เมื่อ (๑) นายจ้างเลิกกิจการ (๒) ที่ประชุมใหญ่มีมติให้เลิก (๓) มีกรณีที่ข้อบังคับของกองทุนกำหนดให้เลิก หรือ (๔) รัฐมนตรีสั่งให้เลิกกองทุนตามมาตรา ๒๗ ในกรณีที่กองทุนจัดตั้งขึ้นโดยมีนายจ้างมากกว่าหนึ่งราย การที่นายจ้างบางรายเลิกกิจการหรือถอนตัวจากกองทุนไม่เป็นเหตุให้กองทุนต้องเลิก เว้นแต่ข้อบังคับของกองทุนกำหนดให้เลิก เมื่อมีกรณีตามวรรคสองเกิดขึ้น ให้คณะกรรมการกองทุนแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่นายจ้างบางรายเลิกกิจการหรือถอนตัว และจัดให้มีการชำระบัญชีกองทุนเฉพาะส่วนทรัพย์สินของนายจ้างและลูกจ้างของนายจ้างนั้นตามวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน เมื่อได้ชำระบัญชีแล้วให้แจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันเสร็จการชำระบัญชี มาตรา ๒๖ เมื่อกองทุนเลิกตามมาตรา ๒๕ (๑) (๒) หรือ (๓) ให้คณะกรรมการกองทุนแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่กองทุนเลิก และให้คณะกรรมการกองทุนจัดให้มีการชำระบัญชีภายในสามสิบวันและให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวัน นับแต่วันที่กองทุนเลิก เว้นแต่กรณีจำเป็นรัฐมนตรีจะอนุมัติให้ขยายเวลาออกไปได้ตามที่เห็นสมควร มาตรา ๒๗ รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้เลิกกองทุนได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) มีพฤติการณ์ที่ทำให้เห็นว่า การดำเนินงานของกองทุนขัดต่อวัตถุประสงค์หรือขัดต่อกฎหมาย (๒) มีพฤติการณ์ที่ทำให้เห็นว่ากิจการของกองทุนไม่อาจดำเนินต่อไปได้ไม่ว่าเพราะเหตุใด คำสั่งของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด และให้นายทะเบียนแจ้งคำสั่งเป็นหนังสือให้กองทุนทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีสั่ง เมื่อรัฐมนตรีสั่งให้เลิกกองทุนตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้มีการชำระบัญชีและให้รัฐมนตรีแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี มาตรา ๒๘ เมื่อกองทุนเลิกตามมาตรา ๒๕ ให้นายทะเบียนประกาศการเลิกกองทุนในราชกิจจานุเบกษาและปิดประกาศไว้ที่สำนักงานของกองทุนหรือที่ทำการของนายทะเบียน มาตรา ๒๙ การชำระบัญชีกองทุนให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัดมาใช้บังคับโดยอนุโลม ในระหว่างการชำระบัญชี ถ้าผู้ชำระบัญชีเห็นสมควรจะจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างบางส่วนก่อนก็ได้ และเมื่อได้ชำระบัญชีแล้ว ให้จ่ายเงินทั้งหมดที่ค้างชำระแก่ลูกจ้างให้เสร็จภายในเวลาไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันเสร็จการชำระบัญชี ถ้ามีเงินเหลืออยู่ให้จัดการตามที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน ค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนในการชำระบัญชี ให้จ่ายจากทรัพย์สินของกองทุน หมวด ๔ พนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา ๓๐ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบการจัดการกองทุน ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้ (๑) เข้าไปในสำนักงานของกองทุนหรือของผู้จัดการกองทุนเพื่อตรวจสอบกิจการสินทรัพย์และหนี้สินของกองทุนในเวลาทำงานปกติ (๒) สั่งให้กรรมการ ผู้จัดการกองทุน หรือเจ้าหน้าที่ของกองทุนซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนส่งหรือแสดงบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นของกองทุน (๓) เรียกบุคคลดังกล่าวใน (๒) มาเพื่อสอบถามหรือแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุน มาตรา ๓๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง หมวด ๕ บทกำหนดโทษ มาตรา ๓๒ กองทุนใดไม่ใช้ชื่อซึ่งมีอักษรไทยว่า “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” นำหน้า และ “ซึ่งจดทะเบียนแล้ว” ต่อท้าย หรือใช้ชื่อเป็นอักษรต่างประเทศแต่ไม่ใช้คำซึ่งมีความหมายดังกล่าวในดวงตรา ป้ายชื่อ จดหมาย ใบแจ้งความหรือเอกสารอย่างอื่นเกี่ยวกับธุรกิจของกองทุน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๓๓ ผู้ใดใช้ชื่อซึ่งมีอักษรไทยประกอบว่า “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” นำหน้า และ “ซึ่งจดทะเบียนแล้ว” ต่อท้าย หรือใช้ชื่อเป็นอักษรต่างประเทศซึ่งมีความหมายดังกล่าวในดวงตรา ป้ายชื่อ จดหมาย ใบแจ้งความหรือเอกสารอย่างอื่นเกี่ยวกับธุรกิจโดยมิได้เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาท จนกว่าจะได้เลิกใช้ มาตรา ๓๔ คณะกรรมการกองทุนใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ วรรคสอง มาตรา ๑๓ มาตรา ๒๑ วรรคสอง มาตรา ๒๕ วรรคสาม หรือมาตรา ๒๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๓๕ ผู้จัดการกองทุนใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๒ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๑๔ หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๓๖ ผู้ใดจัดการกองทุนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาตรา ๓๗ นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๓๘ ผู้จัดการกองทุนใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๑๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๓๙ ผู้จัดการกองทุนใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท และปรับอีกวันละหนึ่งพันบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๔๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ขัดขวางหรือไม่ให้ความสะดวกแก่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๔๑ ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนกระทำความผิดตามมาตรา ๓๔ ให้ถือว่ากรรมการทุกคนเป็นผู้กระทำความผิด เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้เห็นเป็นใจกับกรรมการอื่น หรือได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดความผิดนั้นแล้ว มาตรา ๔๒ ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้ตามมาตรา ๓๘ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้มีจำนวนสามคนซึ่งคนหนึ่งต้องเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เมื่อคณะกรรมการได้ทำการเปรียบเทียบคดีใด และผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดแล้ว ให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน มาตรา ๔๓ ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้ามิได้ฟ้องต่อศาลหรือมิได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการทำการเปรียบเทียบตามมาตรา ๔๒ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบการกระทำความผิด หรือภายในห้าปีนับแต่วันที่กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยความสมัครใจของนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อประสงค์จะให้เป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้างเมื่อออกจากงาน ตลอดจนส่งเสริมการระดมเงินออมภาคเอกชนเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งในการนี้สมควรวางหลักเกณฑ์การดำเนินการและจัดการกองทุนเพื่อให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมั่นคงและเป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ธนพันธ์/แก้ไข พลัฐวัษ/ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๕๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓/๗ ธันวาคม ๒๕๓๐
525309
กฎกระทรวง (พ.ศ. 2532) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 (ฉบับ Update ล่าสุด)
กฎกระทรวง กฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การยื่นคำขอจดทะเบียนกองทุนที่ได้จัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๕ ให้คณะกรรมการกองทุนยื่นคำขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดในข้อ ๔ ต่อนายทะเบียน ข้อ ๒ เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างที่ได้จัดตั้งขึ้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๖๒ (พ.ศ. ๒๕๒๖) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก่อนวันที่พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ใช้บังคับ ถ้าประสงค์จะให้เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนกองทุนพร้อมทั้งยื่นคำขอนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวเข้ากองทุน กับเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดในข้อ ๔ ต่อนายทะเบียนภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และจะต้องจ่ายสมทบเข้ากองทุนทั้งหมดในครั้งเดียว ข้อ ๓[๒] เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างที่นายจ้างได้จัดสรรหรือสำรองไว้หรือที่ลูกจ้างได้สะสมไว้แยกต่างหากจากเงินอื่น ๆ เพื่อใช้จ่ายในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงาน ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ใช้บังคับ ถ้าประสงค์จะให้เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนกองทุน พร้อมทั้งยื่นคำขอนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างดังกล่าวเข้ากองทุน โดยมีรายการและเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดในข้อ ๔ และตามที่นายทะเบียนประกาศกำหนดต่อนายทะเบียนภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ทั้งนี้ ให้นำเงินเข้ากองทุนทั้งหมดในครั้งเดียวหรือภายในสิบครั้ง ตามรอบระยะเวลาบัญชี โดยแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีต้องนำเงินเข้ากองทุนอย่างน้อยเท่ากับจำนวนเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างทั้งหมดหารด้วยจำนวนปี ข้อ ๓ ทวิ[๓] (ยกเลิก) ข้อ ๓/๒[๔] กองทุนสำรองเลี้ยงชีพใดที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ แต่ยังมิได้ยื่นคำขอนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างเข้ากองทุนหรือได้ยื่นคำขอนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างเข้ากองทุนไว้แล้ว แต่ยังมิได้นำเงินทั้งหมดเข้ากองทุนหากประสงค์จะนำเงินดังกล่าวเข้ากองทุน ให้ยื่นคำขอโดยมีรายการและเอกสารหลักฐานตามที่นายทะเบียนประกาศกำหนดต่อนายทะเบียนภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ทั้งนี้ ให้นำเงินเข้ากองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อ ๓ ข้อ ๔[๕] คำขอจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องมีรายการและเอกสารหลักฐานตามที่นายทะเบียนกำหนด โดยอย่างน้อยต้องประกอบด้วยรายการและเอกสาร ดังต่อไปนี้ (๑) วัน เดือน ปี ที่ยื่นคำขอ (๒) จำนวนและข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับลูกจ้างและนายจ้างที่ตกลงกันจัดตั้งกองทุน และรายละเอียดเกี่ยวกับเงินกองทุนเริ่มแรก (๓) ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับผู้สอบบัญชี (๔) ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับผู้จัดการกองทุนและสาระสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างกองทุนกับผู้จัดการกองทุน (๕) ข้อบังคับของกองทุน ข้อ ๕[๖] การยื่นคำขอจดทะเบียนกองทุนตามกฎกระทรวงนี้ ให้ยื่น ณ สำนักงานของนายทะเบียน ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ประมวล สภาวสุ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ บัญญัติให้การยื่นคำขอจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อนายทะเบียนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ กฎกระทรวง ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐[๗] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันยังมีเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างที่นายจ้างได้จัดสรรหรือสำรองไว้และหรือที่ลูกจ้างได้สะสมไว้แยกต่างหากจากเงินอื่น ๆ ที่ยังมิได้จดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มมากขึ้น จึงสมควรกำหนดระยะเวลาให้สามารถนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างที่มีลักษณะตามข้อ ๓ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ มาจดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ รวมทั้งสมควรกำหนดระยะเวลาให้สามารถนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างที่มีลักษณะตามข้อ ๓ ดังกล่าวมาเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามประมวลรัษฎากรได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ กฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐[๘] ข้อ ๒ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๓ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยกำหนดให้การจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องอยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติว่าด้วยการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใหม่ รวมทั้งได้มีการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนให้สามารถกำกับดูแลการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้น เพื่อให้เป็นการสอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าว สมควรกำหนดให้นายทะเบียนเป็นผู้กำหนดรายการในคำขอจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และกำหนดให้ยื่นคำขอดังกล่าว ณ สำนักงานของนายทะเบียน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐[๙] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันยังมีเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างที่นายจ้างจัดสรรหรือสำรองไว้หรือที่ลูกจ้างได้สะสมไว้แยกต่างหากจากเงินอื่น ๆ ที่ยังมิได้จดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือที่ยังมิได้นำเงินดังกล่าวเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จดทะเบียนแล้วเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ระยะเวลาในการจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและการนำเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้สิ้นสุดลงแล้ว และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และการนำเงินดังกล่าวเข้าสู่ระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มมากขึ้น โดยมีกรอบระยะเวลาเร่งรัดการจดทะเบียน และการนำเงินเข้ากองทุน สมควรกำหนดระยะเวลาให้นายจ้างและลูกจ้างนำเงินดังกล่าวมาจดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือนำเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้จดทะเบียนไว้ได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐[๑๐] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันยังมีเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างที่นายจ้างจัดสรรหรือสำรองไว้หรือที่ลูกจ้างได้สะสมไว้แยกต่างหากจากเงินอื่น ๆ เพื่อใช้จ่ายในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงาน ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ใช้บังคับ ที่ยังมิได้จดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือยังมิได้นำเงินดังกล่าวเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จดทะเบียนไว้แล้วเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ระยะเวลาในการยื่นคำขอนำเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้สิ้นสุดลงแล้ว เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและนำเงินเข้าสู่ระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มมากขึ้น สมควรกำหนดระยะเวลาให้นายจ้างและลูกจ้างนำเงินดังกล่าวมาจดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือนำเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ อัมภิญา/แก้ไข ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๐/หน้า ๓๐๗/๒๗ มิถุนายน ๒๕๓๒ [๒] ข้อ ๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ [๓] ข้อ ๓ ทวิ ยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ [๔] ข้อ ๓/๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ [๕] ข้อ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ [๖] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๔๐ ก/หน้า ๑๖/๒๔ กันยายน ๒๕๓๙ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๒๘ ก/หน้า ๓/๒๙ มีนาคม ๒๕๔๓ [๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๗๖ ก/หน้า ๓/๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๗ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๓๙ ก/หน้า ๒๔/๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
525312
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2532) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 (ฉบับ Update ล่าสุด)
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้ “เงินของกองทุน” หมายความว่า เงินที่ลูกจ้างจ่ายสะสม เงินที่นายจ้างจ่ายสมทบ เงินที่มีผู้อุทิศให้ และดอกผลนิตินัยของทรัพย์สินของกองทุน “ธนาคาร” หมายความว่า ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร “บริษัทเงินทุน” หมายความว่า บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ “บริษัทจดทะเบียน”[๒] (ยกเลิก) “หน่วยลงทุน”[๓] หมายความว่า ส่วนของทรัพย์สินของโครงการลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวมตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่แบ่งออกเป็นหน่วย แต่ละหน่วยมีมูลค่าเท่ากัน “รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น”[๔] หมายความว่า รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติหรือประกาศของคณะปฏิวัติ “ตราสารแสดงสิทธิในหนี้”[๕] หมายความว่า พันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ รวมทั้งตราสารอื่น ๆ ที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน “บริษัทประกันชีวิต”[๖] หมายความว่า บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต “บริษัทหลักทรัพย์”[๗] หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒[๘] ผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องเป็นบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ธนาคารหรือบริษัทประกันชีวิต ข้อ ๓[๙] การจัดการเงินของกองทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะนำเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปซื้อหุ้น หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของผู้จัดการกองทุนนั้นมิได้ (๒) กองทุนต้องลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสินทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้ (ก) เงินสด เงินฝากธนาคาร หรือบัตรเงินฝากที่ธนาคารเป็นผู้ออก (ข) พันธบัตรของรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (ค) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก (ง) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย (จ) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้รับรอง รับอาวัล หรือสลักหลังโดยไม่มีกองทุนนั้นเองเป็นผู้สลักหลังในลำดับก่อนมาแล้ว (ฉ) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ธนาคารเป็นผู้ออก (ช) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณนอกจากตราสารตาม (ค) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้ออก (ซ) ตราสารแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน (ฌ) หุ้น หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (ญ) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในระดับตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา (ฎ) บัตรเงินฝากที่บริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก (ฏ) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นผู้รับรอง รับอาวัล หรือสลักหลังโดยไม่มีกองทุนนั้นเองเป็นผู้สลักหลังในลำดับก่อนมาแล้ว (ฐ) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมหรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมเป็นผู้ออก (ฑ) สินทรัพย์อื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา (๓) การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสินทรัพย์ตาม (๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) หรือ (ญ) ไม่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างของกองทุน เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินของกองทุน แต่การลงทุนในสินทรัพย์ตาม (ญ) ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินของกองทุน การลงทุนในสินทรัพย์ตาม (๒) (ข) หรือ (ค) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาจกำหนดให้ต้องลงทุนไม่น้อยกว่าอัตราที่ประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาก็ได้ (๔) กองทุนอาจลงทุนในสินทรัพย์ตาม (๒) (ฌ) ที่ออกโดยบริษัทใดก็ได้แต่ถ้าจะลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันในบริษัทนั้น ต้องไม่เกินร้อยละห้าของเงินของกองทุน และเมื่อรวมกันแล้วทุกบริษัทต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของเงินของกองทุน (๕) การกำหนดสินทรัพย์ตาม (๒) (ฑ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาจกำหนดให้กองทุนถือปฏิบัติตาม (๓) วรรคหนึ่ง หรือ (๔) ด้วยก็ได้ (๖) กองทุนอาจให้ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกกองทุนกู้ยืมเงินในส่วนที่เป็นเงินสะสมและผลประโยชน์ไปใช้ในการจัดหาที่อยู่อาศัยของตนเองหรือใช้ในการศึกษาอบรมของตนเองและครอบครัว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด ข้อ ๔[๑๐] การตีราคาหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อ ๓ ให้ถือราคาทุนรวมทั้งค่านายหน้าที่จ่ายไปเพื่อให้ได้หลักทรัพย์นั้นมา ข้อ ๕[๑๑] การซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน นอกจากหลักทรัพย์จดทะเบียนตามข้อ ๓ (๒) (ข) และ (ค) ให้กระทำในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ ๖ ในกรณีที่ข้อบังคับของกองทุนมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การจัดการทรัพย์สินของกองทุนนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ ๓ ดังต่อไปนี้ ผู้จัดการกองทุนจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกองทุน (๑) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก จำนอง ปลดจำนอง ให้แก่ผู้จำนอง หรือโอนสิทธิจำนองอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ (๒) ก่อตั้งหรือระงับทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น (๓) จำหน่ายหรือทำข้อผูกพันที่จะให้จำหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้อง ที่มุ่งจะก่อตั้งหรือโอนไปซึ่งทรัพยสิทธิในที่ดิน หรือที่จะให้ที่ดินปลอดจากทรัพยสิทธิดังกล่าว (๔) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี หรือให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ (๕) ขายหรือแลกเปลี่ยนสังหาริมทรัพย์ที่มีทะเบียนแสดงกรรมสิทธิ์หรือเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ ข้อ ๗ เมื่อปรากฏว่าการจัดการกองทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราส่วนที่กำหนดไว้ในข้อ ๓ ในขณะใด ให้ผู้จัดการกองทุนจัดการแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ไม่เป็นไปตามนั้น ข้อ ๘ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายในการจัดการกองทุนไว้ ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าตอบแทนผู้จัดการกองทุน ปีละไม่เกินร้อยละสิบของผลประโยชน์ที่กองทุนได้รับจากการลงทุนตามข้อ ๓ (๒) ค่าธรรมเนียม และค่าอากรแสตมป์ (๓) ค่าใช้จ่ายในการจัดการทรัพย์สินตามข้อ ๖ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุน ข้อ ๙[๑๒] (ยกเลิก) ข้อ ๑๐[๑๓] (ยกเลิก) ข้อ ๑๑[๑๔] (ยกเลิก) ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ประมวล สภาวสุ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ บัญญัติให้การจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะต้องดำเนินการโดยบุคคลอื่นซึ่งมิใช่นายจ้าง และต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง การจัดการและค่าใช้จ่ายในการจัดการกองทุนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และการรายงานฐานะการเงินของกองทุนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐[๑๕] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดการเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามที่กำหนดไว้เดิมไม่เหมาะสมกับภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังกล่าว โดยกำหนดให้ผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถเลือกที่จะนำเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ได้มากขึ้นและในอัตราที่สูงขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐[๑๖] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรให้ธนาคารและบริษัทประกันชีวิตเป็นผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ด้วย และเพิ่มประเภทของสินทรัพย์ที่จะให้กองทุนเลือกลงทุนได้มากขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมทั้งให้ลูกจ้างกู้ยืมเงินในส่วนที่เป็นเงินสะสมและผลประโยชน์ไปใช้ในการจัดหาที่อยู่อาศัยของตนเองหรือใช้ในการพัฒนาการศึกษาอบรมของตนเองและครอบครัวได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐[๑๗] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ เพื่อส่งเสริมให้มีผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้กว้างขวางขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ กฎกระทรวง ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐[๑๘] ข้อ ๒ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยกำหนดให้การจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องอยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติว่าด้วยการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วยการจัดทำบัญชีแสดงฐานะการเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดังนั้น เพื่อให้เป็นการสอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าว สมควรยกเลิกการให้ผู้จัดการกองทุนยื่นรายงานแสดงการจัดการกองทุนและรายงานแสดงฐานะการเงินของกองทุน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ อัมภิญา/แก้ไข ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๐/หน้า ๓๑๐/๒๗ มิถุนายน ๒๕๓๒ [๒] ข้อ ๑ นิยามคำว่า “บริษัทจดทะเบียน” ยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ [๓] ข้อ ๑ นิยามคำว่า “หน่วยลงทุน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ [๔] ข้อ ๑ นิยามคำว่า “รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น” เพิ่มโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ [๕] ข้อ ๑ นิยามคำว่า “ตราสารแสดงสิทธิในหนี้” เพิ่มโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ [๖] ข้อ ๑ นิยามคำว่า “บริษัทประกันชีวิต” เพิ่มโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ [๗] ข้อ ๑ นิยามคำว่า “บริษัทหลักทรัพย์” เพิ่มโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ [๘] ข้อ ๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ [๙] ข้อ ๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ [๑๐] ข้อ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ [๑๑] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ [๑๒] ข้อ ๙ ยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ [๑๓] ข้อ ๑๐ ยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ [๑๔] ข้อ ๑๑ ยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ [๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘ /ตอนที่ ๑๗๘/หน้า ๘๕๓/๘ ตุลาคม ๒๕๓๔ [๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๘ ก/หน้า ๑๓/๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ [๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๓๗ ก/หน้า ๔/๓๐ สิงหาคม ๒๕๓๘ [๑๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๒๘ ก/หน้า ๑/๒๙ มีนาคม ๒๕๔๓
630412
กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2553) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ และมาตรา ๔๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๓ เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างที่นายจ้างได้จัดสรรหรือสำรองไว้หรือที่ลูกจ้างได้สะสมไว้แยกต่างหากจากเงินอื่น ๆ เพื่อใช้จ่ายในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงาน ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ใช้บังคับ ถ้าประสงค์จะให้เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนกองทุน พร้อมทั้งยื่นคำขอนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างดังกล่าวเข้ากองทุน โดยมีรายการและเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดในข้อ ๔ และตามที่นายทะเบียนประกาศกำหนดต่อนายทะเบียนภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ทั้งนี้ ให้นำเงินเข้ากองทุนทั้งหมดในครั้งเดียวหรือภายในสิบครั้ง ตามรอบระยะเวลาบัญชี โดยแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีต้องนำเงินเข้ากองทุนอย่างน้อยเท่ากับจำนวนเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างทั้งหมดหารด้วยจำนวนปี” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกข้อ ๓ ทวิ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ ตรี แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๓/๒ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพใดที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ แต่ยังมิได้ยื่นคำขอนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างเข้ากองทุนหรือได้ยื่นคำขอนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างเข้ากองทุนไว้แล้ว แต่ยังมิได้นำเงินทั้งหมดเข้ากองทุนหากประสงค์จะนำเงินดังกล่าวเข้ากองทุน ให้ยื่นคำขอโดยมีรายการและเอกสารหลักฐานตามที่นายทะเบียนประกาศกำหนดต่อนายทะเบียนภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ทั้งนี้ ให้นำเงินเข้ากองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อ ๓” ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันยังมีเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างที่นายจ้างจัดสรรหรือสำรองไว้หรือที่ลูกจ้างได้สะสมไว้แยกต่างหากจากเงินอื่น ๆ เพื่อใช้จ่ายในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงาน ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ใช้บังคับ ที่ยังมิได้จดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือยังมิได้นำเงินดังกล่าวเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จดทะเบียนไว้แล้วเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ระยะเวลาในการยื่นคำขอนำเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้สิ้นสุดลงแล้ว เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและนำเงินเข้าสู่ระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มมากขึ้น สมควรกำหนดระยะเวลาให้นายจ้างและลูกจ้างนำเงินดังกล่าวมาจดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือนำเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ปริยานุช/จัดทำ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๓๙ ก/หน้า ๒๔/๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
452775
กฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ และมาตรา ๔๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๓ เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างที่นายจ้างได้จัดสรรหรือสำรองไว้หรือที่ลูกจ้างได้สะสมไว้แยกต่างหากจากเงินอื่น ๆ เพื่อใช้จ่ายในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงาน ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ใช้บังคับ ถ้าประสงค์จะให้เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนกองทุน พร้อมทั้งยื่นคำขอนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างดังกล่าวเข้ากองทุนโดยมีรายการและเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดในข้อ ๔ และตามที่นายทะเบียนประกาศกำหนดต่อนายทะเบียนภายในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๘ ทั้งนี้ ให้นำเงินเข้ากองทุนทั้งหมดในครั้งเดียวหรือภายในสิบครั้งตามรอบระยะเวลาบัญชี โดยแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีต้องนำเงินเข้ากองทุนอย่างน้อยเท่ากับจำนวนเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างทั้งหมดหารด้วยจำนวนปี” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ ตรี แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๓ ตรี กองทุนสำรองเลี้ยงชีพใดที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ แต่ยังมิได้ยื่นคำขอนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างเข้ากองทุน หรือได้ยื่นคำขอนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างเข้ากองทุนไว้แล้ว แต่ยังมิได้นำเงินทั้งหมดเข้ากองทุน หากประสงค์จะนำเงินดังกล่าวเข้ากองทุน ให้ยื่นคำขอโดยมีรายการและเอกสารหลักฐานตามที่นายทะเบียนประกาศกำหนดต่อนายทะเบียนภายในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๘ ทั้งนี้ ให้นำเงินเข้ากองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อ ๓” ให้ไว้ ณ วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันยังมีเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างที่นายจ้างจัดสรรหรือสำรองไว้หรือที่ลูกจ้างได้สะสมไว้แยกต่างหากจากเงินอื่น ๆ ที่ยังมิได้จดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือที่ยังมิได้นำเงินดังกล่าวเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จดทะเบียนแล้วเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ระยะเวลาในการจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและการนำเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้สิ้นสุดลงแล้ว และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และการนำเงินดังกล่าวเข้าสู่ระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มมากขึ้น โดยมีกรอบระยะเวลาเร่งรัดการจดทะเบียน และการนำเงินเข้ากองทุน สมควรกำหนดระยะเวลาให้นายจ้างและลูกจ้างนำเงินดังกล่าวมาจดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือนำเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้จดทะเบียนไว้ได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ศุภชัย/พิมพ์ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ นวพร/สุนันทา/ตรวจ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๘ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๗๖ ก/หน้า ๓/๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๗
311672
กฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อ ๔ และข้อ ๕ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๔ คำขอจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องมีรายการและเอกสารหลักฐานตามที่นายทะเบียนกำหนด โดยอย่างน้อยต้องประกอบด้วยรายการและเอกสาร ดังต่อไปนี้ (๑) วัน เดือน ปี ที่ยื่นคำขอ (๒) จำนวนและข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับลูกจ้างและนายจ้างที่ตกลงกันจัดตั้งกองทุน และรายละเอียดเกี่ยวกับเงินกองทุนเริ่มแรก (๓) ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับผู้สอบบัญชี (๔) ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับผู้จัดการกองทุนและสาระสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างกองทุนกับผู้จัดการกองทุน (๕) ข้อบังคับของกองทุน ข้อ ๕ การยื่นคำขอจดทะเบียนกองทุนตามกฎกระทรวงนี้ ให้ยื่น ณ สำนักงานของนายทะเบียน” ข้อ ๒ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๓ เป็นต้นไป ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยกำหนดให้การจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องอยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติว่าด้วยการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใหม่ รวมทั้งได้มีการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนให้สามารถกำกับดูแลการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้น เพื่อให้เป็นการสอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าว สมควรกำหนดให้นายทะเบียนเป็นผู้กำหนดรายการในคำขอจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และกำหนดให้ยื่นคำขอดังกล่าว ณ สำนักงานของนายทะเบียน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ อัมภิญา/แก้ไข ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๒๘ ก/หน้า ๓/๒๙ มีนาคม ๒๕๔๓
311666
กฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อ ๙ ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ข้อ ๒ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นต้นไป ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยกำหนดให้การจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องอยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติว่าด้วยการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วยการจัดทำบัญชีแสดงฐานะการเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดังนั้น เพื่อให้เป็นการสอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าว สมควรยกเลิกการให้ผู้จัดการกองทุนยื่นรายงานแสดงการจัดการกองทุนและรายงานแสดงฐานะการเงินของกองทุน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ อัมภิญา/แก้ไข ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๒๘ ก/หน้า ๑/๒๙ มีนาคม ๒๕๔๓
302191
กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.๒๕๓๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๓ ทวิ และข้อ ๓ ตรี แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ “ข้อ ๓ ทวิ เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างที่มีลักษณะตามข้อ ๓ แต่ยังมิได้รับการจดทะเบียน หากประสงค์จะขอรับการจดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนกองทุนพร้อมทั้งยื่นคำขอนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างเข้ากองทุนต่อนายทะเบียน ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๙ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๐ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อ ๓ ข้อ ๓ ตรี กองทุนสำรองเลี้ยงชีพใดที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ แต่ยังมิได้ยื่นคำขอนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างที่มีลักษณะตามข้อ ๓ เข้ากองทุน หากประสงค์จะนำเงินดังกล่าวเข้ากองทุน ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียน ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๙ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๐ โดยจะต้องนำเงินทั้งหมดเข้ากองทุนในครั้งเดียว” ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๙ บดี จุณณานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันยังมีเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างที่นายจ้างได้จัดสรรหรือสำรองไว้และหรือที่ลูกจ้างได้สะสมไว้แยกต่างหากจากเงินอื่น ๆ ที่ยังมิได้จดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มมากขึ้น จึงสมควรกำหนดระยะเวลาให้สามารถนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างที่มีลักษณะตามข้อ ๓ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ มาจดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ รวมทั้งสมควรกำหนดระยะเวลาให้สามารถนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างที่มีลักษณะตามข้อ ๓ ดังกล่าวมาเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามประมวลรัษฎากรได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ อัมภิญา/แก้ไข ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๔๐ ก/หน้า ๑๖/๒๔ กันยายน ๒๕๓๙
302190
กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า “บริษัทหลักทรัพย์” ในข้อ ๑ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ““บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๒ ผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องเป็นบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ธนาคารหรือบริษัทประกันชีวิต” ให้ใช้ ณ วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ เพื่อส่งเสริมให้มีผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้กว้างขวางขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ อัมภิญา/แก้ไข ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๓๗ ก/หน้า ๔/๓๐ สิงหาคม ๒๕๓๘
302189
กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า “หน่วยลงทุน” ในข้อ ๑ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““หน่วยลงทุน” หมายความว่า ส่วนของทรัพย์สินของโครงการลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวมตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่แบ่งออกเป็นหน่วย แต่ละหน่วยมีมูลค่าเท่ากัน” ข้อ ๒ ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า “บริษัทประกันชีวิต” ในข้อ ๑ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ““บริษัทประกันชีวิต” หมายความว่า บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๒ ผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องเป็นบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม ธนาคาร หรือบริษัทประกันชีวิต” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๓ การจัดการเงินของกองทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะนำเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปซื้อหุ้น หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของผู้จัดการกองทุนนั้นมิได้ (๒) กองทุนต้องลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสินทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้ (ก) เงินสด เงินฝากธนาคาร หรือบัตรเงินฝากที่ธนาคารเป็นผู้ออก (ข) พันธบัตรของรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (ค) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก (ง) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย (จ) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้รับรอง รับอาวัล หรือสลักหลังโดยไม่มีกองทุนนั้นเองเป็นผู้สลักหลังในลำดับก่อนมาแล้ว (ฉ) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ธนาคารเป็นผู้ออก (ช) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณนอกจากตราสารตาม (ค) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้ออก (ซ) ตราสารแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน (ฌ) หุ้น หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (ญ) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในระดับตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา (ฎ) บัตรเงินฝากที่บริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก (ฏ) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นผู้รับรอง รับอาวัล หรือสลักหลังโดยไม่มีกองทุนนั้นเองเป็นผู้สลักหลังในลำดับก่อนมาแล้ว (ฐ) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมหรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมเป็นผู้ออก (ฑ) สินทรัพย์อื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา (๓) การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสินทรัพย์ตาม (๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) หรือ (ญ) ไม่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างของกองทุน เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินของกองทุน แต่การลงทุนในสินทรัพย์ตาม (ญ) ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินของกองทุน การลงทุนในสินทรัพย์ตาม (๒) (ข) หรือ (ค) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาจกำหนดให้ต้องลงทุนไม่น้อยกว่าอัตราที่ประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาก็ได้ (๔) กองทุนอาจลงทุนในสินทรัพย์ตาม (๒) (ฌ) ที่ออกโดยบริษัทใดก็ได้แต่ถ้าจะลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันในบริษัทนั้น ต้องไม่เกินร้อยละห้าของเงินของกองทุน และเมื่อรวมกันแล้วทุกบริษัทต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของเงินของกองทุน (๕) การกำหนดสินทรัพย์ตาม (๒) (ฑ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาจกำหนดให้กองทุนถือปฏิบัติตาม (๓) วรรคหนึ่ง หรือ (๔) ด้วยก็ได้ (๖) กองทุนอาจให้ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกกองทุนกู้ยืมเงินในส่วนที่เป็นเงินสะสมและผลประโยชน์ไปใช้ในการจัดหาที่อยู่อาศัยของตนเองหรือใช้ในการศึกษาอบรมของตนเองและครอบครัว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๔ การตีราคาหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อ ๓ ให้ถือราคาทุนรวมทั้งค่านายหน้าที่จ่ายไปเพื่อให้ได้หลักทรัพย์นั้นมา” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๕ การซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน นอกจากหลักทรัพย์จดทะเบียนตามข้อ ๓ (๒) (ข) และ (ค) ให้กระทำในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๘ ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรให้ธนาคารและบริษัทประกันชีวิตเป็นผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ด้วย และเพิ่มประเภทของสินทรัพย์ที่จะให้กองทุนเลือกลงทุนได้มากขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมทั้งให้ลูกจ้างกู้ยืมเงินในส่วนที่เป็นเงินสะสมและผลประโยชน์ไปใช้ในการจัดหาที่อยู่อาศัยของตนเองหรือใช้ในการพัฒนาการศึกษาอบรมของตนเองและครอบครัวได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ อัมภิญา/แก้ไข ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๘ ก/หน้า ๑๓/๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
302188
กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า “บริษัทจดทะเบียน” ในข้อ ๑ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ข้อ ๒ ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า “หน่วยลงทุน” ในข้อ ๑ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไป นี้แทน ““หน่วยลงทุน” หมายความว่า ส่วนของทรัพย์สินของโครงการลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการจัดการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ที่แบ่งออกเป็นหน่วย แต่ละหน่วยมีมูลค่าเท่ากัน” ข้อ ๓ ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า “รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น” และคำว่า “ตราสารแสดงสิทธิในหนี้” ในข้อ ๑ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ““รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น” หมายความว่า รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติหรือประกาศของคณะปฏิวัติ “ตราสารแสดงสิทธิในหนี้” หมายความว่า พันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ รวมทั้งตราสารอื่น ๆ ที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความ ในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๓ การจัดการเงินของกองทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) กองทุนจะต้องลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสินทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้ (ก) เงินสดหรือเงินฝากธนาคาร (ข) พันธบัตรของรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง หรือ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (ค) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (ง) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย (จ) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้รับรอง รับอาวัล หรือสลักหลังอย่างมีความรับผิดเต็มจำนวนและไม่มีกองทุนนั้นเองเป็นผู้สลักหลังในลำดับก่อนมาแล้ว (ฉ) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ธนาคารเป็นผู้ออก (ช) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณนอกจากกรณีตราสารตาม (ค) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้ออก (ซ) ตราสารแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน (ฌ) หุ้น หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (ญ) สินทรัพย์อื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในพระราชกิจจานุเบกษา (๒) การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสินทรัพย์ตาม (๑) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) หรือ (ฉ) ไม่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างของกองทุน เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินของกองทุน ในการลงทุนในสินทรัพย์ตาม (๑) (ข) หรือ (ค) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาจกำหนดให้ต้องลงทุนไม่น้อยกว่าอัตราที่ประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาก็ได้ (๓) กองทุนอาจลงทุนในสินทรัพย์ตาม (๑) (ฌ) ที่ออกโดยบริษัทใดก็ได้ แต่ถ้าจะลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันในบริษัทนั้น จะต้องไม่เกินร้อยละห้าของเงินของกองทุน และเมื่อรวมกันแล้วทุกบริษัทจะต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของเงินของกองทุน (๔) ในการกำหนดสินทรัพย์ตาม (๑) (ญ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาจกำหนดให้กองทุนถือปฏิบัติตาม (๒) วรรคหนึ่ง หรือ (๓) ด้วยก็ได้” ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๔ สุธี สิงห์เสน่ห์ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดการเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามที่กำหนดไว้เดิมไม่เหมาะสมกับภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังกล่าว โดยกำหนดให้ผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถเลือกที่จะนำเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ได้มากขึ้นและในอัตราที่สูงขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ อัมภิญา/แก้ไข ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘ /ตอนที่ ๑๗๘/หน้า ๘๕๓/๘ ตุลาคม ๒๕๓๔
302187
กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2532) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บัตรประจำตัวนายทะเบียนซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งให้เป็นไปตามแบบที่ ๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ ๒ บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งให้เป็นไปตามแบบที่ ๒ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ ๓ บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยแต่งตั้ง ให้เป็นไปตามแบบที่ ๓ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ ๔ รูปถ่ายที่ติดบัตรประจำตัวให้เป็นรูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ขนาด ๓ x ๔ เซนติเมตร ข้อ ๕ ให้ปลัดกระทรวงการคลังเป็นผู้ออกบัตรประจำตัวนายทะเบียน และบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้แต่งตั้ง ข้อ ๖ ให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้แต่งตั้ง ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ประมวล สภาวสุ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบบัตรประจำตัวนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ท้ายกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ บัญญัติให้บัตรประจำตัวนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ อัมภิญา/แก้ไข ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๐/หน้า ๓๑๗/๒๗ มิถุนายน ๒๕๓๒
302186
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2532) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้ “เงินของกองทุน” หมายความว่า เงินที่ลูกจ้างจ่ายสะสม เงินที่นายจ้างจ่ายสมทบ เงินที่มีผู้อุทิศให้ และดอกผลนิตินัยของทรัพย์สินของกองทุน “ธนาคาร” หมายความว่า ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร “บริษัทเงินทุน” หมายความว่า บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และให้หมายความรวมถึงสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายเฉพาะสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม “หน่วยลงทุน” หมายความว่า ส่วนของทรัพย์สินของโครงการจัดการลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการจัดการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ที่แบ่งออกเป็นหน่วย แต่ละหน่วยมีมูลค่าเท่ากัน ข้อ ๒ ผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องเป็นบริษัทเงินทุน หรือบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการจัดการลงทุน ข้อ ๓ การจัดการเงินของกองทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) เงินของกองทุนจะเก็บไว้เป็นเงินสด หรือฝากธนาคารในบัญชีที่มิใช่ประเภทฝากประจำก็ได้ แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละห้าของเงินของกองทุน (๒) เงินของกองทุนหรือเงินของกองทุนส่วนที่เหลือจาก (๑) ให้นำไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่เป็นพันธบัตรของรัฐบาล พันธบัตรขององค์การของรัฐบาล ตั๋วเงินคลังอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของเงินของกองทุน (๓) เงินของกองทุนส่วนที่เหลือจาก (๑) และ (๒) อาจจัดการดังต่อไปนี้ (ก) ฝากประจำในธนาคาร หรือลงทุนในตั๋วแลกเงิน หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่สลักหลังอาวัลหรือรับรองโดยธนาคาร ธนาคารละไม่เกินร้อยละห้าของเงินของกองทุน อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละสามสิบของเงินของกองทุน (ข) ลงทุนในตั๋วแลกเงินที่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยรับรอง ไม่เกินร้อยละห้าของเงินของกองทุน (ค) ลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก บริษัทละไม่เกินร้อยละห้าของเงินของกองทุน และหรือในตั๋วสัญญาใช้เงินที่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นผู้ออกไม่เกินร้อยละห้าของเงินของกองทุน แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละสามสิบของเงินของกองทุน (ง) ลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นอกจากหลักทรัพย์ตาม (๒) และ (จ) หรือในหุ้นที่เกิดจากการเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียน หรือในหุ้นของบริษัทจำกัดที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาสั่งรับหุ้นนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือในหุ้นกู้ของบริษัทจดทะเบียนที่กำหนดเงื่อนไขในหนังสือชี้ชวนให้ต้องนำหุ้นกู้นั้นไปจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทละไม่เกินร้อยละสองของเงินของกองทุน อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบของเงินของกองทุน (จ) ลงทุนในหน่วยลงทุน ไม่เกินร้อยละห้าของเงินของกองทุน (ฉ) ลงทุนในหุ้นกู้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์เป็นผู้ออก หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์เป็นผู้ออก หรือหลักทรัพย์อย่างอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินของกองทุน ข้อ ๔ การตีราคาหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อ ๓ (๒) และ (๓) ให้ถือราคาทุนรวมทั้งค่านายหน้าที่จ่ายไปเพื่อให้ได้หลักทรัพย์นั้นมา ข้อ ๕ การซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน นอกจากหลักทรัพย์จดทะเบียนตามข้อ ๓ (๒) ให้กระทำในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ ๖ ในกรณีที่ข้อบังคับของกองทุนมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การจัดการทรัพย์สินของกองทุนนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ ๓ ดังต่อไปนี้ ผู้จัดการกองทุนจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกองทุน (๑) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก จำนอง ปลดจำนอง ให้แก่ผู้จำนอง หรือโอนสิทธิจำนองอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ (๒) ก่อตั้งหรือระงับทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น (๓) จำหน่ายหรือทำข้อผูกพันที่จะให้จำหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้อง ที่มุ่งจะก่อตั้งหรือโอนไปซึ่งทรัพยสิทธิในที่ดิน หรือที่จะให้ที่ดินปลอดจากทรัพยสิทธิดังกล่าว (๔) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี หรือให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ (๕) ขายหรือแลกเปลี่ยนสังหาริมทรัพย์ที่มีทะเบียนแสดงกรรมสิทธิ์หรือเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ ข้อ ๗ เมื่อปรากฏว่าการจัดการกองทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราส่วนที่กำหนดไว้ในข้อ ๓ ในขณะใด ให้ผู้จัดการกองทุนจัดการแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ไม่เป็นไปตามนั้น ข้อ ๘ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายในการจัดการกองทุนไว้ ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าตอบแทนผู้จัดการกองทุน ปีละไม่เกินร้อยละสิบของผลประโยชน์ที่กองทุนได้รับจากการลงทุนตามข้อ ๓ (๒) ค่าธรรมเนียม และค่าอากรแสตมป์ (๓) ค่าใช้จ่ายในการจัดการทรัพย์สินตามข้อ ๖ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุน ข้อ ๙ ให้ผู้จัดการกองทุนยื่นรายงานแสดงฐานะการเงินของกองทุน และรายงานแสดงผลการดำเนินงานของกองทุนตามแบบ กช. ๑ และ กช. ๑.๑ ที่ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมาย ต่อนายทะเบียนเป็นประจำทุกปี ภายในวันที่ ๒๐ มกราคม ของปีถัดจากปีที่จะต้องรายงาน ข้อ ๑๐ ให้ผู้จัดการกองทุนยื่นรายงานแสดงการจัดการกองทุนและรายงานแสดงรายละเอียดประกอบรายงานแสดงการจัดการกองทุนตามแบบ กช. ๒ และ กช. ๒.๑ ที่ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายต่อนายทะเบียนเป็นประจำทุกเดือน ภายในวันที่ ๒๐ ของเดือนถัดจากเดือนที่จะต้องรายงาน ข้อ ๑๑ การยื่นรายงานตามข้อ ๙ หรือข้อ ๑๐ ให้ยื่น ณ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ประมวล สภาวสุ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ บัญญัติให้การจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะต้องดำเนินการโดยบุคคลอื่นซึ่งมิใช่นายจ้าง และต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง การจัดการและค่าใช้จ่ายในการจัดการกองทุนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และการรายงานฐานะการเงินของกองทุนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ อัมภิญา/แก้ไข ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๐/หน้า ๓๑๐/๒๗ มิถุนายน ๒๕๓๒
302185
กฎกระทรวง (พ.ศ. 2532) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
กฎกระทรวง กฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การยื่นคำขอจดทะเบียนกองทุนที่ได้จัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๕ ให้คณะกรรมการกองทุนยื่นคำขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดในข้อ ๔ ต่อนายทะเบียน ข้อ ๒ เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างที่ได้จัดตั้งขึ้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๖๒ (พ.ศ. ๒๕๒๖) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก่อนวันที่พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ใช้บังคับ ถ้าประสงค์จะให้เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนกองทุนพร้อมทั้งยื่นคำขอนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวเข้ากองทุน กับเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดในข้อ ๔ ต่อนายทะเบียนภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และจะต้องจ่ายสมทบเข้ากองทุนทั้งหมดในครั้งเดียว ข้อ ๓ เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างที่นายจ้างได้จัดสรรหรือสำรองไว้และหรือที่ลูกจ้างได้สะสมไว้แยกต่างหากจากเงินอื่น ๆ เพื่อใช้จ่ายในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงาน ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ใช้บังคับ ถ้าประสงค์จะให้เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนกองทุน พร้อมทั้งยื่นคำขอนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างดังกล่าวเข้ากองทุน กับเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดในข้อ ๔ ต่อนายทะเบียนภายในสามปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และจะจ่ายสมทบเข้ากองทุนทั้งหมดในครั้งเดียวหรือจะจ่ายสมทบเข้ากองทุนภายในสิบครั้งหรือสิบรอบระยะเวลาบัญชีโดยแต่ละครั้งหรือแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีต้องจ่ายสมทบอย่างน้อยเท่ากับจำนวนเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างทั้งหมดหารด้วยจำนวนปีก็ได้ ข้อ ๔ คำขอจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องมีรายการและเอกสารหลักฐานตามที่ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมาย แต่อย่างน้อยต้องประกอบด้วยรายการและเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) วัน เดือน ปี ที่ยื่นคำขอ (๒) จำนวนและข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับลูกจ้างและนายจ้างที่ตกลงกันจัดตั้งกองทุน และรายละเอียดเกี่ยวกับเงินกองทุนเริ่มแรก (๓) ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับผู้สอบบัญชี (๔) ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับผู้จัดการกองทุน และสาระสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างกองทุนกับผู้จัดการกองทุน (๕) ข้อบังคับของกองทุน ข้อ ๕ การยื่นคำขอจดทะเบียนกองทุนตามกฎกระทรวงนี้ ให้ยื่น ณ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ประมวล สภาวสุ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ บัญญัติให้การยื่นคำขอจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อนายทะเบียนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ อัมภิญา/แก้ไข ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๐/หน้า ๓๐๗/๒๗ มิถุนายน ๒๕๓๒
567573
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบ ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และมาตรา ๓๑๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ลงวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๓๑ (๒) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ข้อ ๒ ให้แต่งตั้งบุคคลต่อไปนี้เป็นคณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามที่ระบุในมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และความผิดตามที่ระบุในมาตรา ๓๑๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ (๑) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมอบหมาย ในกรณีที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการได้ (๒)[๑] ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง หรือรองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้อำนวยการสำนัก หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในสังกัดสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ที่ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังมอบหมายในกรณีที่ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการได้ (๓) ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมาย หรือผู้อำนวยการฝ่ายที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมายในกรณีที่ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการได้ ข้อ ๓[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐[๓] ปรียนันท์/พิมพ์ สุนันทา/จัดทำ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ข้อ ๒ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๗๑ ง/หน้า ๒/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๓ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๔/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
683074
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบ ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และมาตรา ๓๑๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ ลงวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๓๑ (๒) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ข้อ ๒ ให้แต่งตั้งบุคคลต่อไปนี้เป็นคณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามที่ระบุในมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และความผิดตามที่ระบุในมาตรา ๓๑๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ (๑) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมอบหมาย ในกรณีที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการได้ (๒)[๑] ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง หรือที่ปรึกษา (เศรษฐกรทรงคุณวุฒิ) รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือผู้อำนวยการสำนัก ในสังกัดสำนักงานเศรษฐกิจการคลังที่ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังมอบหมาย ในกรณีที่ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการได้ (๓) ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมาย หรือผู้อำนวยการฝ่ายที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมายในกรณีที่ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการได้ ข้อ ๓[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐[๓] ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕[๔] โชติกานต์/ผู้จัดทำ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๖ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๖ [๑] ข้อ ๒ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๗๑ ง/หน้า ๒/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๓ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๔/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๙๔ ง/หน้า ๑๙/๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๕
819253
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบ ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๓๑๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และมาตรา ๙๕ แห่งพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ (๒) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ (๓) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๒ แต่งตั้งให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๑ (๑) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมอบหมาย ในกรณีที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการได้ (๒) ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง หรือที่ปรึกษา (เศรษฐกรทรงคุณวุฒิ) รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือผู้อำนวยการสำนักในสังกัดสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ที่ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังมอบหมาย ในกรณีที่ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการได้ (๓) ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมายหรือผู้อำนวยการฝ่ายที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมายในกรณีที่ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการได้ ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พัชรภรณ์/ธนบดี/จัดทำ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๘๒ ง/หน้า ๒๕/๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
812163
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สท. 42/2561 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สท. ๔๒/๒๕๖๑ เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ[๑] โดยที่มาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ กำหนดให้นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ ดังต่อไปนี้ ๑. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กลุ่มพนักงานบริษัท ออลเน็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัดซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒๐๘/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๑ ๒. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท จีซีพี (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒๐๙/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๑ ๓. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๒๕๗/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๑ ๔. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงาน บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ซึ่ง จดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๓๗๔/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๑ ๕. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที.แอล. ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๓๒/๒๕๓๔ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๑ ๖. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เพื่อพนักงานบีทีเอ็มยูเดิม ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๘๑/๒๕๓๗ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๑ ๗. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท มอนเดลีซ อินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๑๕๘/๒๕๔๐ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๑ ๘. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำนักข่าว เอ.พี. ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๙๙/๒๕๔๑ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๑ ๙. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท เดอะ นีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๓๙๐/๒๕๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๑ ๑๐. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กลุ่มโฟร์โมสต์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ ๕๖/๒๕๓๖ ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๑ ๑๑. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้วทะเบียนเลขที่ ๑๕/๒๕๔๑ ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๑ ประกาศ ณ วันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ รพี สุจริตกุล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ วิวรรธน์/จัดทำ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๑๘ ง/หน้า ๒๙/๗ กันยายน ๒๕๖๑