sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
617888
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1947 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 219 ขอนแก่น-มหาสารคาม
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๔๗ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๑๙ ขอนแก่น-มหาสารคาม[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๔๘๒ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๑๙ ขอนแก่น-มหาสารคาม ให้มีเส้นทางแยกช่วงโกสุมพิสัย-บ้านวังกุง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๔/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๑๙ ขอนแก่น-มหาสารคาม ให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงโกสุมพิสัย-บ้านวังกุง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๒๑๙ ขอนแก่น-มหาสารคาม เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ ถึงบ้านท่าพระ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๘ ผ่านบ้านหนองสระพัง บ้านแพง อำเภอโกสุมพิสัย บ้านอุปราช ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารประจำทางจังหวัดมหาสารคาม ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒๕ ง/หน้า ๒๓๙/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒
617886
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1946 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 200 พระพุทธบาท-อ่างทอง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๔๖ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๐๐ พระพุทธบาท-อ่างทอง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๑๘๘ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๐๐ พระพุทธบาท-อ่างทอง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงพระพุทธบาท-บ้านมะขามเรียง-อ่างทอง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๔/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๐๐ พระพุทธบาท-อ่างทอง ให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงพระพุทธบาท-บ้านมะขามเรียง-อ่างทอง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๒๐๐ พระพุทธบาท-อ่างทอง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอพระพุทธบาท ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๒๒ ผ่านศาลเจ้าพ่อเขาตก บ้านบ่อโศก ถึงบ้านสะพานช้าง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๒๑ ถึงอำเภอบ้านหมอ กลับตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๒๒ ถึงอำเภอท่าเรือ กลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๖๗ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดอ่างทอง ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒๕ ง/หน้า ๒๓๘/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒
616971
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1943 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 717 สุราษฎร์ธานี-ดอนสัก-ขนอม
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๔๓ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๗๑๗ สุราษฎร์ธานี-ดอนสัก-ขนอม[๑] ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๔๖๐ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๗๑๗ สุราษฎร์ธานี-ดอนสัก-ขนอม ให้มีเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก ๒ ช่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๗๑๗ สุราษฎร์ธานี-ดอนสัก-ขนอม ให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสุราษฎร์ธานี-บ้านทับท้อน และช่วงสุราษฎร์ธานี-บ้านไสตอ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๗๑๗ สุราษฎร์ธานี-ดอนสัก-ขนอม เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านบ้านท่าทองใหม่ บ้านหนองจิก อำเภอกาญจนดิษฐ์ บ้านเขาหมอน ถึงบ้านใน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๔๒ ผ่านอำเภอดอนสัก แยกซ้ายไปตามทางเข้าท่าเรือเฟอร์รี่ (ดอนสัก) ถึงท่าเรือเฟอร์รี่ (ดอนสัก) แล้วย้อนกลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๔๒ ผ่านบ้านนางก่ำ บ้านธารทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอขนอม ช่วงสุราษฎร์ธานี-บ้านกระแดะแจะ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านบ้านท่าทองใหม่ ถึงบ้านหนองจิก แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านวัดนิกรปราสาท ถึงสามแยกบ้านดอนตะโหนด แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านกระแดะแจะ ช่วงสุราษฎร์ธานี-บ้านคลองสระ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านบ้านท่าทองใหม่ ถึงบ้านหนองจิก ถึงอำเภอกาญจนดิษฐ์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑๐ ผ่านบ้านดอนยา ถึงบ้านกรูด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๔๓ ถึงวัดวังไทร แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านวัดสวาด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคลองสระ ช่วงสุราษฎร์ธานี-บ้านดอนเนา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านบ้านท่าทองใหม่ บ้านหนองจิก ถึงอำเภอกาญจนดิษฐ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๗๗ ผ่านบ้านท่าทอง วัดดอนยาง วัดจันทราวาส วัดประสพ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านดอนเนา ช่วงสุราษฎร์ธานี-ท่าเรือเฟอร์รี่ไลน์ (ขนอม)-ขนอม เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านบ้านท่าทองใหม่ บ้านหนองจิก อำเภอกาญจนดิษฐ์ บ้านเขาหมอน ถึงบ้านใน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๔๒ ผ่านอำเภอดอนสัก แยกซ้ายไปตามทางเข้าท่าเรือเฟอร์รี่ (ดอนสัก) แล้วย้อนกลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๔๒ ถึงสามแยกบ้านน้ำโฉ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (ร.พ.ช. นศ. ๓๐๐๗ บ้านแพง - บ้านน้ำโฉ) ผ่านบ้านน้ำโฉ บ้านควนพลอง บ้านท่า ท่าเรือเฟอร์รี่ไลน์ (ขนอม) ถึงบ้านแพง แยกซ้ายไปตามถนนองค์การบริหารส่วนตำบลท้องเนียน สายบ้านแพง-พรุคลุ้ม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอขนอม ช่วงสุราษฎร์ธานี-บ้านกระแดะแจะ-บ้านดอนเนา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านบ้านท่าทองใหม่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (ยธ. สฎ. ๒๐๒๓ บ้านท่าทองใหม่ - บ้านกระแดะแจะ) ผ่านบ้านตะเคียนทอง บ้านดอนตะโหนด ไปตามทางหลวงชนบท (ร.พ.ช. สฎ. ๔๐๕๓ ดอนตะโหนด-กระแดะแจะ) ถึงวัดวชิรประดิษฐ์ ตรงไปตามทางหลวงชนบท (ร.พ.ช. สฎ. ๔๐๕๔ วัดวชิรประดิษฐ์-วัดพลายวาส) ผ่านบ้านท่าทอง วัดดอนยาง วัดจันทราวาส ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านดอนเนา ช่วงสุราษฎร์ธานี-บ้านกงตาก เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านบ้านท่าทองใหม่ ถึงทางแยกเข้าบ้านพุฒ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท (ร.พ.ช. สฎ. ๒๐๑๕ บ้านดอนเด็จ-บ้านพุฒ) ผ่านบ้านพุฒ บ้านมะรอ โรงเรียนบ้านไสตอ องค์การบริหารส่วนตำบลช้างซ้าย แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท (ร.พ.ช. สฎ. ๓๐๘๗ บ้านปากคู-บ้านกงตาก) ผ่านบ้านต้นหมึก บ้านห้วยด่าน บ้านควนระชา บ้านไสขุนอินทร์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านกงตาก ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒๑ ง/หน้า ๓๖๗/๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๒
616967
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1942 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 304 ระยอง-สัตหีบ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๔๒ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๐๔ ระยอง-สัตหีบ[๑] ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๐๗ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์โดยสารระหว่างจังหวัด (เฉพาะจังหวัดในส่วนภูมิภาค) สายที่ ๓๐๔ ระยอง-สัตหีบ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๐๔ ระยอง-สัตหีบ เป็น บ้านฉาง-สัตหีบ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๓๐๔ บ้านฉาง-สัตหีบ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านฉาง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสัตหีบ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒๑ ง/หน้า ๓๖๖/๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๒
616961
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1941 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 270 ขอนแก่น-บัวใหญ่
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๔๑ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๗๐ ขอนแก่น-บัวใหญ่[๑] ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๖๓๒ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สายที่ ๒๗๐ ขอนแก่น-บัวใหญ่ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๗๐ ขอนแก่น-บัวใหญ่ ให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงอำเภอพล-บ้านโนนเพ็ด ช่วงอำเภอพล - บ้านหนองช้างตาย ช่วงอำเภอพล-บ้านแดงน้อยและช่วงอำเภอพล-บ้านแฝก โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๒๗๐ ขอนแก่น-บัวใหญ่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอบ้านไผ่ อำเภอพล ถึงบ้านสีดา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบัวใหญ่ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒๑ ง/หน้า ๓๖๕/๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๒
616957
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1940 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 238 สกลนคร-บ้านไผ่
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๔๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๓๘ สกลนคร-บ้านไผ่[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๔๔๖ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สายที่ ๒๓๘ สกลนคร-บ้านไผ่ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๓๘ สกลนคร-บ้านไผ่ เป็น สกลนคร-มหาสารคาม และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงมหาสารคาม-กุฉินารายณ์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๒๓๘ สกลนคร-มหาสารคาม เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสกลนคร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓ ผ่านอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอยางตลาด อำเภอกันทรวิชัย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดมหาสารคาม ช่วงมหาสารคาม-กุฉินารายณ์ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดมหาสารคาม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓ ผ่านอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ถึงอำเภอสมเด็จ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๔๒ ผ่านอำเภอห้วยผึ้ง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอกุฉินารายณ์ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒๑ ง/หน้า ๓๖๔/๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๒
616951
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1939 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 191 อู่โพธิ์แก้ว-กระทรวงพาณิชย์
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๓๙ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๙๑ อู่โพธิ์แก้ว-กระทรวงพาณิชย์[๑] ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๑๖ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๐ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๙๑ อู่โพธิ์แก้ว-กระทรวงพาณิชย์ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๙๑ อู่โพธิ์แก้ว-กระทรวงพาณิชย์ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงการเคหะคลองจั่น-กระทรวงพาณิชย์ เพิ่มขึ้น ๑ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๙๑ อู่โพธิ์แก้ว-กระทรวงพาณิชย์ จากอู่โพธิ์แก้วไปกระทรวงพาณิชย์ เริ่มต้นจากอู่โพธิ์แก้ว ไปตามซอยโพธิ์แก้ว แยกขวาไปตามถนนนวมินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนศรีบูรพา แยกขวาไปตามถนนเสรีไทย ถนนลาดพร้าว แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกขวาไปตามถนนวิภาวดีรังสิต แยกซ้ายไปตามถนนงามวงศ์วาน ถนนรัตนาธิเบศร์ แยกขวาไปตามถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี แยกซ้ายไปตามถนนสนามบินน้ำ จนสุดเส้นทางที่กระทรวงพาณิชย์ จากกระทรวงพาณิชย์ไปอู่โพธิ์แก้ว เริ่มต้นจากกระทรวงพาณิชย์ ไปตามถนนสนามบินน้ำ แยกซ้ายไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่อู่โพธิ์แก้ว ช่วงการเคหะคลองจั่น-กระทรวงพาณิชย์ จากการเคหะคลองจั่น-ไปกระทรวงพาณิชย์ เริ่มต้นจากการเคหะคลองจั่น ไปตามถนนเสรีไทย แยกซ้ายไปตามถนนศรีบูรพา แยกซ้ายไปตามถนนอาคารสงเคราะห์ แยกขวาไปตามถนนนวมินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนแฮปปี้แลนด์ แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกขวาไปตามถนนวิภาวดีรังสิต แยกซ้ายไปตามถนนงามวงศ์วาน ถนนรัตนาธิเบศร์ แยกขวาไปตามถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี แยกซ้ายไปตามถนนสนามบินน้ำ จนสุดเส้นทางที่กระทรวงพาณิชย์ จากกระทรวงพาณิชย์ไปการเคหะคลองจั่น เริ่มต้นจากกระทรวงพาณิชย์ ไปตามถนนสนามบินน้ำ แยกซ้ายไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่การเคหะคลองจั่น ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒๑ ง/หน้า ๓๖๒/๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๒
616945
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1938 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 75 วัดพุทธบูชา-หัวลำโพง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๓๘ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๗๕ วัดพุทธบูชา-หัวลำโพง[๑] ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๑๙๗ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๒ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๗๕ สวนธนบุรีรมย์-หัวลำ โพง เป็น วัดพุทธบูชา-หัวลำ โพง และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงวัดพุทธบูชา-สาทร-หัวลำโพง (ทางด่วน) นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๗๕ วัดพุทธบูชา-หัวลำโพง ให้ยกเลิกเส้นทางช่วงวัดพุทธบูชา-สาทร-หัวลำโพง (ทางด่วน) โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๗๕ วัดพุทธบูชา-หัวลำโพง จากวัดพุทธบูชาไปหัวลำโพง เริ่มต้นจากวัดพุทธบูชา ไปตามถนนพุทธบูชา แยกซ้ายไปตามถนนประชาอุทิศ แยกซ้ายไปตามถนนสุขสวัสดิ์ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แยกขวาไปตามถนนมไหสวรรย์ ข้ามสะพานกรุงเทพ แยกซ้ายไปตามถนนเจริญกรุง แยกขวาไปตามถนนมิตรพันธ์ ถึงวงเวียน ๒๒ กรกฎา แยกขวาไปตามถนนไมตรีจิต ข้ามสะพานเจริญสวัสดิ์ ไปตามถนนพระราม ๔ จนสุดเส้นทางที่หัวลำโพง จากหัวลำโพงไปวัดพุทธบูชา เริ่มต้นจากหัวลำโพง ไปตามถนนพระราม ๔ แยกขวาไปตามถนนสี่พระยา แยกซ้ายไปตามถนนเจริญกรุง แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่วัดพุทธบูชา ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒๑ ง/หน้า ๓๖๐/๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๒
616939
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1937 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 73 อู่โพธิ์แก้ว-สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๓๗ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๗๓ อู่โพธิ์แก้ว-สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๕๓๑ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๗๓ อู่โพธิ์แก้ว-สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๗๓ อู่โพธิ์แก้ว-สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ให้มีรายละเอียดเส้นทางไปตามถนนนวมินทร์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๗๓ อู่โพธิ์แก้ว-สะพานพุทธฯ จากอู่โพธิ์แก้วไปสะพานพุทธฯ เริ่มต้นจากอู่โพธิ์แก้ว ไปตามซอยโพธิ์แก้ว แยกขวาไปตามถนนนวมินทร์ ถึงแยกนวมินทร์ แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกขวาไปตามถนนอโศก-ดินแดง ถนนดินแดง แยกซ้ายไปตามถนนราชปรารภ ถนนราชดำริ แยกขวาไปตามถนนพระราม ๑ แยกซ้ายไปตามถนนบรรทัดทอง แยกขวาไปตามถนนพระราม ๔ ข้ามสะพานเจริญสวัสดิ์ แยกซ้ายไปตามถนนไตรมิตร แยกขวาไปตามถนนเยาวราช แยกซ้ายไปตามถนนจักรวรรดิ์ แยกซ้ายไปตามถนนข้ามสะพานพระปกเกล้า ลอดใต้สะพานพระปกเกล้าไปตามถนนลอดใต้สะพานพุทธฯ จนสุดเส้นทางที่บริเวณใต้สะพานพุทธฯ (ฝั่งพระนคร) จากสะพานพุทธฯ ไปอู่โพธิ์แก้ว เริ่มต้นจากบริเวณสะพานพุทธฯ (ฝั่งพระนคร) ไปตามถนนลอดใต้สะพานพุทธฯ แยกซ้ายไปตามถนนจักรเพชร แยกขวาไปตามถนนอัษฎางค์ แยกขวาไปตามถนนพระพิทักษ์ แยกซ้ายไปตามถนนตรีเพชร แยกขวาไปตามถนนเจริญกรุง แยกซ้ายไปตามถนนมิตรพันธ์ แยกขวาไปตามถนนไมตรีจิต ถนนพระราม ๔ แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่อู่โพธิ์แก้ว ช่วงอู่โพธิ์แก้ว-สะพานพุทธฯ (ทางด่วน) จากอู่โพธิ์แก้วไปสะพานพุทธฯ เริ่มต้นจากอู่โพธิ์แก้ว ไปตามซอยโพธิ์แก้ว แยกขวาไปตามถนนนวมินทร์ ถึงแยกนวมินทร์ แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษกขึ้นทางพิเศษที่ด่านอโศก ไปตามทางพิเศษศรีรัช ลงทางพิเศษที่ด่านหัวลำโพง ไปตามถนนพระราม ๔ ข้ามสะพานเจริญสวัสดิ์ แยกซ้ายไปตามถนนไตรมิตร แยกขวาไปตามถนนเยาวราช แยกซ้ายไปตามถนนจักรวรรดิ์ แยกซ้ายไปตามถนนข้ามสะพานพระปกเกล้า ลอดใต้สะพานพระปกเกล้า ไปตามถนนลอดใต้สะพานพุทธฯ สุดเส้นทางที่บริเวณใต้สะพานพุทธฯ (ฝั่งพระนคร) จากสะพานพุทธฯ ไปอู่โพธิ์แก้ว เริ่มต้นจากบริเวณสะพานพุทธฯ (ฝั่งพระนคร) ไปตามถนนลอดใต้สะพานพุทธฯ แยกซ้ายไปตามถนนจักรเพชร แยกขวาไปตามถนนอัษฎางค์ แยกขวา ไปตามถนนพระพิทักษ์ แยกซ้ายไปตามถนนตรีเพชร แยกขวาไปตามถนนเจริญกรุง แยกซ้ายไปตามถนนมิตรพันธ์ แยกขวาไปตามถนนไมตรีจิต ถนนพระราม ๔ ขึ้นทางพิเศษที่ด่านหัวลำโพง ไปตามทางพิเศษศรีรัช ลงทางพิเศษที่ด่านอโศก แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่อู่โพธิ์แก้ว ช่วงห้วยขวาง-สะพานพุทธฯ จากห้วยขวางไปสะพานพุทธฯ เริ่มต้นจากห้วยขวาง ไปตามถนนประชาสงเคราะห์ แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกขวาไปตามถนนอโศก-ดินแดง ถนนดินแดง แยกซ้ายไปตามถนนราชปรารภ ถนนราชดำริ แยกขวาไปตามถนนพระราม ๑ แยกซ้ายไปตามถนนบรรทัดทอง แยกขวาไปตามถนนพระราม ๔ ข้ามสะพานเจริญสวัสดิ์ แยกซ้ายไปตามถนนไตรมิตร แยกขวาไปตามถนนเยาวราช แยกซ้ายไปตามถนนจักรวรรดิ์ แยกซ้ายไปตามถนนข้ามสะพานพระปกเกล้าลอดใต้สะพานพระปกเกล้า ไปตามถนนลอดใต้สะพานพุทธฯ สุดเส้นทางที่บริเวณใต้สะพานพุทธฯ (ฝั่งพระนคร) จากสะพานพุทธฯ ไปห้วยขวาง เริ่มต้นจากบริเวณสะพานพุทธฯ (ฝั่งพระนคร) ไปตามถนนลอดใต้สะพานพุทธฯ แยกซ้ายไปตามถนนจักรเพชร แยกขวาไปตามถนนอัษฎางค์ แยกขวาไปตามถนนพระพิทักษ์ แยกซ้ายไปตามถนนตรีเพชร แยกขวาไปตามถนนเจริญกรุง แยกซ้ายไปตามถนนมิตรพันธ์ แยกขวาไปตามถนนไมตรีจิต ถนนพระราม ๔ แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่ห้วยขวาง ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒๑ ง/หน้า ๓๕๗/๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๒
616932
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1936 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 1 ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 60 มีนบุรี-ปากคลองตลาด
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๓๖ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๖๐ มีนบุรี-ปากคลองตลาด[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๕๓๑ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๖๐ มีนบุรี-ปากคลองตลาด นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๖๐ มีนบุรี-ปากคลองตลาด เป็น อู่สวนสยาม-ปากคลองตลาด โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๖๐ อู่สวนสยาม-ปากคลองตลาด จากอู่สวนสยามไปปากคลองตลาด เริ่มต้นจากอู่สวนสยาม ไปตามถนนสวนสยาม แยกซ้ายไปตามถนนรามอินทรา แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนศรีบูรพา แยกขวาไปตามถนนเสรีไทย แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์ แยกขวาไปตามถนนรามคำแหง แยกขวาไปตามถนนเพชรบุรี แยกซ้ายไปตามถนนหลานหลวง ข้ามสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ไปตามถนนราชดำเนินกลาง แยกซ้ายไปตามถนนอัษฎางค์ แยกขวาข้ามสะพานมอญ แยกซ้ายไปตามถนนราชินี จนสุดเส้นทางที่ปากคลองตลาด จากปากคลองตลาดไปอู่สวนสยาม เริ่มต้นจากปากคลองตลาด ไปตามถนนราชินี แยกขวาข้ามสะพานเจริญรัช ไปตามถนนอัษฎางค์ แยกซ้ายไปตามถนนกัลยาณไมตรี แยกขวาไปตามถนนสนามไชย ถนนราชดำเนินใน แยกขวาข้ามสะพานผ่านพิภพลีลา แล้วไปตามเส้นทางเดิมจนสุดเส้นทางที่อู่สวนสยาม ช่วงอู่สวนสยาม-ถนนพระราม ๙-ปากคลองตลาด (ทางด่วน) จากอู่สวนสยามไปปากคลองตลาด เริ่มต้นจากอู่สวนสยาม ไปตามถนนสวนสยาม แยกซ้ายไปตามถนนรามอินทรา แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนศรีบูรพา แยกขวาไปตามถนนเสรีไทย แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์ แยกขวาไปตามถนนรามคำแหง แยกขวาไปตามถนนพระราม ๙ ขึ้นทางพิเศษที่ด่านอโศก ๒ ไปตามทางพิเศษศรีรัช ลงทางพิเศษที่ด่านยมราช แยกซ้ายไปตามถนนหลานหลวง ข้ามสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ไปตามถนนราชดำเนินกลาง แยกซ้ายไปตามถนนอัษฎางค์ แยกขวาข้ามสะพานมอญ แยกซ้ายไปตามถนนราชินี จนสุดเส้นทางที่ปากคลองตลาด จากปากคลองตลาดไปอู่สวนสยาม เริ่มต้นจากปากคลองตลาด ไปตามถนนราชินี แยกขวาข้ามสะพานเจริญรัช ไปตามถนนอัษฎางค์ แยกซ้ายไปตามถนนกัลยาณไมตรี แยกขวาไปตามถนนสนามไชย ถนนราชดำเนินใน แยกขวาข้ามสะพานผ่านพิภพลีลา แล้วไปตามเส้นทางเดิมจนสุดเส้นทางที่อู่สวนสยาม ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒๑ ง/หน้า ๓๕๕/๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๒
616918
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1935 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 1 ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 36 อู่โพธิ์แก้ว-ท่าน้ำสี่พระยา
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๓๕ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๓๖ อู่โพธิ์แก้ว-ท่าน้ำสี่พระยา[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๕๓๑ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๓๖ อู่โพธิ์แก้ว-ท่าน้ำสี่พระยา นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๓๖ อู่โพธิ์แก้ว-ท่าน้ำสี่พระยา ให้มีรายละเอียดเส้นทางผ่านถนนศรีบูรพาและถนนเสรีไทย โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๓๖ อู่โพธิ์แก้ว-ท่าน้ำสี่พระยา จากอู่โพธิ์แก้วไปท่าน้ำสี่พระยา เริ่มต้นจากอู่โพธิ์แก้ว ไปตามซอยโพธิ์แก้ว แยกขวาไปตามถนนนวมินทร์ ถึงแยกการเคหะ ไปตามถนนศรีบูรพา แยกขวาไปตามถนนเสรีไทย ถึงแยกนวมินทร์ไปตามถนนลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกขวาไปตามถนนรามคำแหง แยกขวาไปตามซอยรามคำแหง ๓๙ ไปตามถนนประชาอุทิศ แยกซ้ายไปตามถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ แยกซ้ายไปตามถนนประชาสงเคราะห์ แยกขวาไปตามถนนดินแดง ถนนราชวิถี ผ่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แยกซ้ายไปตามถนนพญาไท ถนนสี่พระยา แยกซ้ายไปตามถนนนเรศ แยกขวาไปตามถนนสุรวงศ์ แยกขวาไปตามถนนเจริญกรุง แยกซ้ายไปตามซอยเจริญกรุง ๓๐ จนสุดเส้นทางที่ท่าน้ำสี่พระยา จากท่าน้ำสี่พระยาไปอู่โพธิ์แก้ว เริ่มต้นจากท่าน้ำสี่พระยา ไปตามถนนสี่พระยา ถนนพญาไท แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่อู่โพธิ์แก้ว ช่วงเทียมร่วมมิตร-ท่าน้ำสี่พระยา จากเทียมร่วมมิตรไปท่าน้ำสี่พระยา เริ่มต้นจากอู่พระราม ๙ ไปตามถนนวัฒนธรรม ถนนเทียมร่วมมิตร ถนนรัชดาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนประชาราษฎร์บำเบ็ญ แยกซ้ายไปตามถนนประชาสงเคราะห์ แยกขวาไปตามถนนดินแดง ถนนราชวิถี ผ่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แยกซ้ายไปตามถนนพญาไท ถนนสี่พระยา แยกซ้ายไปตามถนนนเรศ แยกขวาไปตามถนนสุรวงศ์ แยกขวาไปตามถนนเจริญกรุง แยกซ้ายไปตามซอยเจริญกรุง ๓๐ จนสุดเส้นทางที่ท่าน้ำสี่พระยา จากท่าน้ำสี่พระยาไปเทียมร่วมมิตร เริ่มต้นจากท่าน้ำสี่พระยา ไปตามถนนสี่พระยา ถนนพญาไท แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่อู่พระราม ๙ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒๑ ง/หน้า ๓๕๓/๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๒
616915
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1934 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 831 มุกดาหาร-หัวหิน
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๓๔ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๘๓๑ มุกดาหาร-หัวหิน[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๘๓๑ มุกดาหาร-หัวหิน โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๘๓๑ มุกดาหาร-หัวหิน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดมุกดาหาร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒ ผ่านอำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอเลิงนกทา ถึงจังหวัดอำนาจเจริญ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒ ผ่านจังหวัดยโสธร ถึงอำเภอสุวรรณภูมิ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ผ่านอำเภอท่าตูม อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ถึงอำเภอปราสาท แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านอำเภอประโคนชัย อำเภอนางรอง ทางแยกอำเภอปักธงชัย ถึงทางแยกอำเภอสีคิ้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ ผ่านแยกอำเภอปากช่อง ถึงจังหวัดสระบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม ถึงสามแยกวังมะนาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดเพชรบุรี อำเภอชะอำ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอหัวหิน ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๒๑ ง/หน้า ๓๕๒/๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๒
612057
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดปัตตานี ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 สายที่ 8486 ปัตตานี-สายบุรี โดยให้ยกเลิกเส้นทางแยกช่วงปัตตานี-มายอ และช่วงปัตตานี-ปะนาเระ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดปัตตานี ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๘๔๘๖ ปัตตานี-สายบุรี โดยให้ยกเลิกเส้นทางแยกช่วงปัตตานี-มายอ และช่วงปัตตานี-ปะนาเระ[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปัตตานี ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๘๔๘๖ ปัตตานี-สายบุรี นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปัตตานีได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปัตตานี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๒ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๘๔๘๖ ปัตตานี-สายบุรี โดยให้ยกเลิกเส้นทางแยกช่วงปัตตานี-มายอ และช่วงปัตตานี-ปะนาเระ ให้มีรายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๘๔๘๖ ปัตตานี-สายบุรี เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดปัตตานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒ ผ่านบ้านบานา อำเภอยะหริ่ง บ้านตันหยงดาลอ บ้านปาลัส บ้านทุ่งคล้า บ้านกะลาพอ ถึงบ้านเจ๊าะกือแย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒ (เดิม) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสายบุรี ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ธีรเทพ ศรียะพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดปัตตานี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๙๓ ง/หน้า ๒๑๕/๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๒
612054
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชลบุรี ฉบับที่ 60 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชลบุรี ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ และ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ จึงกำหนดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ จังหวัดชลบุรี สายที่ ๖๐๘๘ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชลบุรี-บางแสน และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชลบุรี (เลี่ยงเมือง)-บางแสน โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๖๐๘๘ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชลบุรี-บางแสน เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชลบุรี แยกขวาไปตามถนนวิบูลย์ธรรมรักษ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ถึงสี่แยกเฉลิมไทย แยกขวาไปตามถนนโพธิ์ทอง แยกซ้ายไปตามถนนเจตน์จำนง แยกขวาไปตามถนนอัคนิวาต แยกซ้ายไปตามถนนวชิรปราการ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านบ้านห้วยกะปิ สี่แยกบ้านคีรีนคร สามแยกอ่างศิลา ตลาดนัดจตุจักร ถึงตลาดหนองมนแล้วย้อนกลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๓๗ ผ่านมหาวิทยาลัยบูรพา แยกขวาไปตามถนนเลียบชายหาดบางแสน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านบางแสน (บริเวณแหลมแท่น) เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านบางแสน (บริเวณแหลมแท่น) ไปตามถนนเลียบชายหาดบางแสน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๓๗ ผ่านมหาวิทยาลัยบูรพา แยกขวาไปตามถนนมิตรสัมพันธ์ ถึงตลาดหนองมน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านตลาดนัดจตุจักร สามแยกอ่างศิลา สี่แยกบ้านคีรีนคร โรงพยาบาลชลบุรี แยกซ้ายไปตามถนนวชิรปราการ แยกซ้ายไปตามถนนโรงพยาบาลเก่า แยกขวาไปตามถนนพระยาสัจจา แยกขวาไปตามถนนภาสเพตรา แยกซ้ายไปตามถนนวชิรปราการ แยกขวาไปตามถนนไทยประชา ถึงตลาดใหม่ แยกขวาไปตามถนนเจตน์จำนง ผ่านตลาดวัดกลาง ไปตามถนนราชประสงค์ แยกซ้ายไปตามถนนโปษยานนท์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านสี่แยกเฉลิมไทย สามแยกบ้านบางทราย แยกขวาไปตามถนนวิบูลย์ธรรมรักษ์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชลบุรี ช่วงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชลบุรี (เลี่ยงเมือง)-บางแสน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชลบุรี แยกซ้ายไปตามถนนวิบูลย์ธรรมรักษ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนเลี่ยงเมือง) ถึงสะพานต่างระดับแล้ววกกลับตามเส้นทางเดิม ผ่านสะพานต่างระดับแยกพนัสนิคม สะพานต่างระดับแยกบ้านบึงจนถึงบ้านห้วยกะปิ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านสี่แยกบ้านคีรีนคร สามแยกอ่างศิลา ตลาดนัดจตุจักร ตลาดหนองมน แยกขวาไปตามถนนเนตรดี แยกขวาไปตามถนนเลียบชายหาดบางแสนล่าง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๓๗ แยกขวาไปตามถนนเลียบชายหาดบางแสน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านบางแสน (บริเวณแหลมแท่น) ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชลบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๙๓ ง/หน้า ๒๑๓/๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๒
611069
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดรัศมีวงเลี้ยวและระยะท้ายปัดของรถ พ.ศ. 2552
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดรัศมีวงเลี้ยวและระยะท้ายปัดของรถ พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] โดยที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ กำหนดให้รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของต้องมีรัศมีวงเลี้ยวและระยะท้ายปัดของรถเป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด เพื่อให้การควบคุมบังคับรถเกิดความปลอดภัยในการใช้งานและให้สมรรถนะของรถเป็นไปตามมาตรฐานสากล อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๑) (ค) และข้อ ๑๕ (๑) (ค) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกเห็นสมควรประกาศกำหนดรัศมี วงเลี้ยวและระยะท้ายปัดของรถไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “รถ” หมายถึง รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร มาตรฐาน ๑ มาตรฐาน ๒ มาตรฐาน ๓ มาตรฐาน ๔ และมาตรฐาน ๖ และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๑ ลักษณะ ๒ ลักษณะ ๓ ลักษณะ ๔ และลักษณะ ๙ “ระยะท้ายปัด” (Rear Swing-out) หมายถึง ระยะที่ท้ายรถปัดออกด้านข้างขณะเลี้ยวโดยมีรัศมีวงเลี้ยวด้านนอกเท่ากับ ๑๒.๕๐ เมตร วัดอ้างอิงกับแนวตัวถังรถขณะจอด ข้อ ๒ รถหรือคัสซีรถต้องมีรัศมีวงเลี้ยว ดังนี้ (๑) รัศมีวงเลี้ยวด้านนอก (Outer Turning Radius) ไม่เกิน ๑๒.๕๐ เมตร เมื่อวัดที่ตัวถังด้านนอกวงเลี้ยว (๒) รัศมีวงเลี้ยวด้านใน (Inner Turning Radius) ไม่น้อยกว่า ๕.๓๐ เมตร เมื่อวัดที่ตัวถังด้านในวงเลี้ยวในขณะที่รถนั้นเคลื่อนที่โดยมีรัศมีวงเลี้ยวด้านนอกเท่ากับ ๑๒.๕๐ เมตร ข้อ ๓ รถหรือคัสซีรถจะต้องมีระยะท้ายปัด ดังนี้ (๑) สำหรับรถหรือคัสซีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีความยาวมากกว่า ๑๒ เมตร จะมีระยะท้ายปัดได้ไม่เกิน ๐.๖๐ เมตร (๒) สำหรับรถหรือคัสซีรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่มีความยาวมากกว่า ๑๐ เมตร จะมีระยะท้ายปัดได้ไม่เกิน ๐.๘๐ เมตร ข้อ ๔ ตัวอย่างแสดงรัศมีวงเลี้ยวด้านนอก รัศมีวงเลี้ยวด้านใน และระยะท้ายปัดของรถให้เป็นไปตามรูปที่แนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. รูปตัวอย่างแสดงรัศมีวงเลี้ยวและระยะท้ายปัดของรถ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๕๑/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
611062
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การวัดขนาดช่วงล้อของรถ พ.ศ. 2552
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การวัดขนาดช่วงล้อของรถ พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] เพื่อให้การวัดขนาดช่วงล้อของรถเป็นไปตามมาตรฐานสากลและเป็นแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๓ วรรคสอง และข้อ ๒๐ วรรคสอง แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เห็นสมควรประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การวัดขนาดช่วงล้อของรถไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ช่วงล้อของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร มาตรฐาน ๑ มาตรฐาน ๒ มาตรฐาน ๓ มาตรฐาน ๔ มาตรฐาน ๕ และมาตรฐาน ๗ และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ ๑ ลักษณะ ๒ ลักษณะ ๓ ลักษณะ ๔ ลักษณะ ๕ และลักษณะ ๙ ให้วัดจากศูนย์กลางเพลาล้อหน้าสุดถึงศูนย์กลางเพลาล้อท้าย หรือกึ่งกลางของกลุ่มเพลาล้อท้ายในกรณีที่มีเพลาล้อท้ายมากกว่าหนึ่งเพลาล้อ ข้อ ๒ การวัดช่วงล้อของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร มาตรฐาน ๖ ให้เป็น ดังนี้ (๑) ช่วงล้อของรถตอนหน้า ให้วัดจากศูนย์กลางเพลาล้อหน้าสุดถึงศูนย์กลางเพลาล้อท้ายหรือกึ่งกลางของกลุ่มเพลาล้อท้ายของรถตอนหน้าในกรณีที่มีเพลาล้อท้ายมากกว่าหนึ่งเพลาล้อ (๒) ช่วงล้อของรถตอนท้าย ให้วัดจากศูนย์กลางเพลาล้อท้ายหรือกึ่งกลางของกลุ่มเพลาล้อท้ายของรถตอนหน้าถึงศูนย์กลางเพลาล้อท้ายหรือกึ่งกลางของกลุ่มเพลาล้อท้ายของรถตอนท้าย ในกรณีที่มีเพลาล้อท้ายมากกว่าหนึ่งเพลาล้อ ข้อ ๓ ช่วงล้อของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๖ ให้วัดจากศูนย์กลางเพลาล้อหน้าสุดถึงศูนย์กลางเพลาล้อท้ายหรือกึ่งกลางกลุ่มเพลาล้อท้าย ในกรณีที่มีเพลาล้อท้ายมากกว่าหนึ่งเพลาล้อ เว้นแต่รถนั้นมีเพลาล้อหรือกลุ่มเพลาล้อเดียวอยู่ตรงบริเวณกลางตัวรถไม่รวมแขนพ่วง ซึ่งมีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันลงที่เพลาล้อหรือกลุ่มเพลาล้อ ให้วัดจากศูนย์กลางของอุปกรณ์ต่อพ่วงถึงศูนย์กลางเพลาล้อหรือกึ่งกลางกลุ่มเพลาล้อในกรณีที่มีเพลาล้อมากกว่าหนึ่งเพลาล้อ ข้อ ๔ ช่วงล้อของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ ๗ และลักษณะ ๘ ให้วัดจากศูนย์กลางสลักพ่วงถึงศูนย์กลางเพลาล้อท้ายหรือกึ่งกลางของกลุ่มเพลาล้อท้ายในกรณีที่มีเพลาล้อท้ายมากกว่าหนึ่งเพลาล้อ ข้อ ๕ ตัวอย่างแสดงการวัดช่วงล้อของรถให้เป็นไปตามรูปที่แนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. รูปตัวอย่างแสดงวิธีการวัดช่วงล้อตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การวัดขนาดช่วงล้อของรถ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๔๙/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
611039
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสภาพรถ ตามเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสภาพรถ ตามเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสภาพรถตามเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ลงวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ไว้แล้ว นั้น โดยที่ประกาศดังกล่าวกำหนดให้รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพปีละ ๒ ครั้ง เพื่อให้รถมีสภาพมั่นคงแข็งแรงและเกิดความปลอดภัยแก่ประชาชนผู้ใช้บริการแต่ปัจจุบันกรมการขนส่งทางบก ได้มีโครงการพัฒนาคุณภาพรถบัสทัศนาจร (รถโดยสารไม่ประจำทาง) และมีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพบริการรถโดยสารประจำทาง ตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มาตรฐานคุณภาพบริการรถโดยสารประจำทาง ฉบับลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ส่งผลให้รถที่เข้าร่วมและได้รับการรับรองตามโครงการดังกล่าวมีมาตรฐานด้านการให้บริการและความปลอดภัยสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของประกาศดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความใน (๒) ของกฎกระทรวงกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๔๖ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงเห็นสมควรออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๗/๑ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสภาพรถ ตามเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ลงวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ “ข้อ ๗/๑ กรณีรถที่ต้องนำเข้ารับการตรวจสภาพตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศนี้ หากเป็นรถที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพรถบัสทัศนาจร ๔ ดาว หรือ ๕ ดาว จากคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์และรับรองมาตรฐานคุณภาพบริการรถโดยสารไม่ประจำทาง (รถทัศนาจร) และรถโดยสารประจำทาง ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากคณะกรรมการรับรองมาตรฐานคุณภาพบริการให้ได้รับสิทธิมิต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพตามข้อ ๓ ของประกาศนี้” ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๓๖/๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒
610460
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดให้สำนักงานขนส่งจังหวัดออกใบอนุญาตขับรถตามความตกลงระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดให้สำนักงานขนส่งจังหวัดออกใบอนุญาตขับรถตามความตกลงระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี[๑] ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้วางระเบียบว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตขับรถและบัตรประจำตัวคนขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ข้อ ๑๐ กำหนดให้กรมการขนส่งทางบกสามารถออกประกาศให้สำนักงานขนส่งจังหวัดดำเนินการออกใบอนุญาตขับรถตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีได้ นั้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในส่วนภูมิภาค สามารถขอรับใบอนุญาตขับรถตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีได้ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ จึงเห็นสมควรประกาศกำหนดให้สำนักงานขนส่งจังหวัดดำเนินการออกใบอนุญาตขับรถตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๓ ง/หน้า ๔๑/๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒
608246
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุทัยธานี ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2552) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดอุทัยธานี ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุทัยธานีกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ฉบับที่ ๑๗ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ลงวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๓๖ สายที่ ๖๘๐๑๗ บ้านไร่-บ้านพุบอน และสายที่ ๖๘๐๑๘ บ้านไร่-บ้านวังตอ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชน นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุทัยธานี ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้พิจารณากำหนดเส้นทางสำหรับ การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้นทดแทนแล้ว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุทัยธานี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ชนม์ชื่น บุญญานุสาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดอุทัยธานี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๗๑ ง/หน้า ๒๗๓/๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒
608242
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ฉบับที่ 81 (พ.ศ. 2552) เรื่อง ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สายที่ 1001 พระนครศรีอยุธยา-วังน้อย
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ฉบับที่ ๘๑ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สายที่ ๑๐๐๑ พระนครศรีอยุธยา-วังน้อย[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๐๗ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สายที่ ๑๐๐๑ พระนครศรีอยุธยา-วังน้อย ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้พิจารณาเห็นสมควรปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสายดังกล่าว โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ระยะทาง ๕ กม. เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สายที่ ๑๐๐๑ พระนครศรีอยุธยา-วังน้อย ใหม่ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังนี้ สายที่ ๑๐๐๑ พระนครศรีอยุธยา-วังน้อย เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙ ผ่านตำบลคานหาม ตำบลบ้านสร้าง ถึงทางแยกอำเภอวังน้อย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงสะพานต่างระดับวังน้อย แล้วกลับรถไปตามแนวเส้นทางเดิมไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอวังน้อย เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอวังน้อย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แล้วกลับรถที่สะพานกลับรถบริเวณวัดลาดทราย ไปตามแนวเส้นทางเดิม ผ่านโรงเรียนวิเชียรกลิ่นสุคนธ์อุปถัมภ์ โรงพยาบาลวังน้อย ถึงทางแยกอำเภอวังน้อย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙ ผ่านตำบลบ้านสร้าง ตำบลคานหาม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกาศ ณ วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ปรีชา กมลบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๗๑ ง/หน้า ๒๗๑/๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒
608239
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1929 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร จำนวน 2 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๒๙ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร จำนวน ๒ เส้นทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่ ๔๙๒ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๐ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๑๖ กรุงเทพฯ-บางปะอิน เป็น กรุงเทพฯ-บางปะอิน-บางไทร และประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่ ๓๒๗ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๑๕ กำหนดเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด (เฉพาะจังหวัดในส่วนภูมิภาค) สายที่ ๑๗๐ เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าวให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙(๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ที่ได้อนุมัติในหลักการไว้แล้ว ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๑๖ กรุงเทพฯ-บางปะอิน-บางไทร และหมวด ๓ สายที่ ๑๗๐ เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๖ กรุงเทพฯ-บางปะอิน-บางไทร เริ่มต้นจากสถานีขนส่งโดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านรังสิต แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๘ ผ่านแยกไปศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ ถึงอำเภอบางปะอิน และกลับตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๐๙ ผ่านบ้านบางกระสั้น บ้านราชคราม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ สายที่ ๑๗๐ เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ ไปตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘ ผ่านอำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทอง อำเภอฮอด อำเภอแม่สะเรียง อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอขุนยวม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๗๑ ง/หน้า ๒๖๙/๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒
607847
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดที่หยุดรถโดยสารประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดที่หยุดรถโดยสาร ประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๐ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดที่หยุดรถโดยสารประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ขึ้น นั้น บัดนี้ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดที่หยุดรถโดยสารประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานครดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๑๑) และมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และโดยมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๒ จึงให้ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดที่หยุดรถโดยสารประจำจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ๑. ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด เป็นประธานอนุกรรมการ ๒. ผู้กำกับการ กองบังคับการตำรวจทางหลวง หรือผู้แทน (ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ) เป็นอนุกรรมการ ๓. หัวหน้าสำนักงานจังหวัด หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ ๔. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ ๕. นายกเทศมนตรี หรือนายกเมืองพัทยา หรือนายกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือนายกเทศบาลตำบล หรือผู้แทน (ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ) เป็นอนุกรรมการ ๖. นายอำเภอ หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ ๗. ผู้อำนวยการแขวงการทาง กรมทางหลวง หรือผู้แทน (ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ) เป็นอนุกรรมการ ๘. ผู้อำนวยการสำนักงานบำรุงทาง กรมทางหลวง หรือผู้แทน (ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ) เป็นอนุกรรมการ ๙. ผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงชนบท หรือผู้แทน (ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ) เป็นอนุกรรมการ ๑๐. ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งจังหวัด หรือขนส่งจังหวัด เป็นอนุกรรมการ และเลขานุการ ๑๑. หัวหน้าฝ่ายวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัด เป็นอนุกรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการ ให้คณะอนุกรรมการดังกล่าว มีอำนาจหน้าที่พิจารณากำหนด ยกเลิก หรือย้ายที่หยุดรถโดยสารประจำทางและรถโดยสารขนาดเล็ก ภายในเขตรับผิดชอบตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด รวมทั้งติดต่อและประสานงานเกี่ยวกับการปักป้ายที่หยุดรถโดยสาร การติดตั้งป้าย การทำเครื่องหมายจราจร และการอื่นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน หรือเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เมื่อคณะอนุกรรมการดังกล่าว ได้พิจารณาเห็นสมควรเกี่ยวกับการกำหนด ยกเลิก หรือย้ายที่หยุดรถโดยสารประจำทางและรถโดยสารขนาดเล็ก ให้ถือว่าได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง แล้วรวบรวมเพื่อรายงานให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางทราบ ปีละ ๑ ครั้ง เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๖๘ ง/หน้า ๒๗๑/๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๒
607843
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดที่หยุดรถโดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดที่หยุดรถโดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับลงวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดที่หยุดรถโดยสารในเขตกรุงเทพมหานครขึ้น นั้น บัดนี้ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดที่หยุดรถโดยสารในเขตกรุงเทพมหานครดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๑๑) และมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และโดยมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๒ จึงให้ปรับปรุงคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดที่หยุดรถโดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ๑. ผู้อำนวยการส่วนกิจการสถานีขนส่ง กรมการขนส่งทางบก เป็นประธานอนุกรรมการ ๒. ผู้แทนกองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นอนุกรรมการ ๓. ผู้แทนกองบังคับการตำรวจจราจร เป็นอนุกรรมการ ๔. ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เป็นอนุกรรมการ ๕. ผู้แทนสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร เป็นอนุกรรมการ ๖. ผู้แทนกรมทางหลวงชนบท (ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ) เป็นอนุกรรมการ ๗. ผู้แทนองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เป็นอนุกรรมการ ๘. ผู้อำนวยการแขวงการทาง กรมทางหลวง หรือผู้แทน (ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ) เป็นอนุกรรมการ ๙. ผู้อำนวยการสำนักงานบำรุงทาง กรมทางหลวง หรือผู้แทน (ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ) เป็นอนุกรรมการ ๑๐. หัวหน้าฝ่ายบริการการขนส่ง กรมการขนส่งทางบก เป็นอนุกรรมการ และเลขานุการ ๑๑. เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการการขนส่ง กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ให้คณะอนุกรรมการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่พิจารณาและดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดยกเลิก หรือย้ายที่หยุดรถโดยสารประจำทางในเขตรับผิดชอบ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด รวมทั้งติดต่อและประสานงานเกี่ยวกับการปักป้ายที่หยุดรถโดยสารประจำทาง การติดตั้งป้าย การทำเครื่องหมายจราจร และการอื่นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน หรือเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย และเมื่อคณะอนุกรรมการดังกล่าว ได้พิจารณาเห็นสมควรเกี่ยวกับการกำหนด ยกเลิก หรือย้ายที่หยุดรถโดยสารประจำทางแล้ว ให้ถือว่าได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง แล้วรวบรวมเพื่อรายงานให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางทราบปีละ ๒ ครั้ง ตามปีปฏิทิน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๖๘ ง/หน้า ๒๖๙/๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๒
605352
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเลย ฉบับที่ 68 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดเลย สายที่ 4457 เลย-บ้านปากหมาก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเลย ฉบับที่ ๖๘ (พ.ศ. ๒๕๕๐) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเลย สายที่ ๔๔๕๗ เลย-บ้านปากหมาก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเลย ฉบับที่ ๕๑ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ลงวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๒ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางการเดินรถประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเลย สายที่ ๔๔๕๗ เลย-บ้านปากหมาก นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเลยได้มีมติเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางการเดินรถดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเลย ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๔๙ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๐ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเลย สายที่ ๔๔๕๗ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๔๔๕๗ เลย-บ้านปากหมาก เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ แยกขวาไปตามซอยเจริญรัฐ ๒ แยกซ้ายไปตามถนนเจริญรัฐ แยกซ้ายไปตามถนนร่วมใจ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านบ้านหนองผักก้าม บ้านปากภู บ้านหนองมะผาง บ้านนาอ้อ ถึงบ้านนาโคก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดิน ๒๒๕๗ ผ่านบ้านท่าบุ่ง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านปากหมาก ช่วงเลย-บ้านท่ามะนาว เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ แยกขวาไปตามซอยเจริญรัฐ ๒ แยกซ้ายไปตามถนนเจริญรัฐ แยกซ้ายไปตามถนนร่วมใจ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านบ้านหนองผักก้าม บ้านปากภู บ้านหนองมะผาง ถึงบ้านนาอ้อ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ร.พ.ช. หมายเลข ลย. ๒๐๐๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านท่ามะนาว ช่วงเลย-บ้านโพนค่าย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ แยกขวาไปตามซอยเจริญรัฐ ๒ แยกซ้ายไปตามถนนเจริญรัฐ แยกซ้ายไปตามถนนร่วมใจ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านบ้านหนองผักก้าม บ้านปากภู แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโพนค่าย ช่วงเลย-บ้านนาโคก-บ้านกกดู่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ แยกขวาไปตามซอยเจริญรัฐ ๒ แยกซ้ายไปตามถนนเจริญรัฐ แยกซ้ายไปตามถนนร่วมใจ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านบ้านหนองผักก้าม บ้านปากภู บ้านหนองมะผาง บ้านนาอ้อ ถึงบ้านนาโคก แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลย. ๓๐๐๓ ผ่านบ้านใหม่พัฒนา บ้านนาม่วง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านกกดู่ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ พรศักดิ์ เจียรณัย รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเลย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๕๗ ง/หน้า ๒๕๙/๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒
605330
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานี ฉบับที่ 96 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดอุบลราชธานี ฉบับที่ ๙๖ (พ.ศ. ๒๕๔๘) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานีได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเป็นการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาการเดินรถภายในจังหวัด ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๔๖ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๒/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน ๖ เส้นทาง ดังนี้ ๑. สายที่ ๑๔๕๙ อุบลราชธานี-พิบูลมังสาหาร ๒. สายที่ ๑๔๖๐ อุบลราชธานี-เดชอุดม ๓. สายที่ ๔๓๖๕ อุบลราชธานี-เดชอุดม-บุณฑริก ๔. สายที่ ๔๓๘๘ อุบลราชธานี-พิบูลมังสาหาร-บุณฑริก ๕. สายที่ ๔๓๘๙ อุบลราชธานี-เดชอุดม-นาจะหลวย ๖. สายที่ ๔๓๙๐ อุบลราชธานี-เดชอุดม-น้ำยืน โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางตามเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทางที่แนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ จีรศักดิ์ เกษณียบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดอุบลราชธานี [เอกสารแนบท้าย] ๑. จังหวัดอุบลราชธานี เส้นทางเดินรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ สายที่ ๑๔๕๙ อุบลราชธานี-พิบูลมังสาหาร ๒. จังหวัดอุบลราชธานี เส้นทางเดินรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ สายที่ ๑๔๖๐ อุบลราชธานี-เดชอุดม ๓. จังหวัดอุบลราชธานี เส้นทางเดินรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ สายที่ ๔๓๖๕ อุบลราชธานี-เดชอุดม-บุณฑริก ๔. จังหวัดอุบลราชธานี เส้นทางเดินรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ สายที่ ๔๓๘๘ อุบลราชธานี-พิบูลมังสาหาร-บุณฑริก ๕. จังหวัดอุบลราชธานี เส้นทางเดินรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ สายที่ ๔๓๘๙ อุบลราชธานี-เดชอุดม-นาจะหลวย ๖. จังหวัดอุบลราชธานี เส้นทางเดินรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ สายที่ ๔๓๙๐ อุบลราชธานี-เดชอุดม-น้ำยืน (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๕๗ ง/หน้า ๒๕๘/๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒
605321
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปทุมธานี ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2552) เรื่อง การปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดปทุมธานี สายที่ 6038 หมู่บ้านวังทอง-ปากซอยกุศลสามัคคี ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน 3 ช่วง คือ ช่วงหมู่บ้านวังทอง-หมู่บ้านพูนผล-ตลาดสะพานฟ้า ช่วงหมู่บ้านวังทอง-ซอยรังสิต-นครนายก 18-ตลาดสะพานฟ้า และช่วงหมู่บ้านวังทอง-ซอยรังสิต-นครนายก 30-ตลาดสะพานฟ้า
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดปทุมธานี ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง การปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับ การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดปทุมธานี สายที่ ๖๐๓๘ หมู่บ้านวังทอง-ปากซอยกุศลสามัคคี ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๓ ช่วง คือ ช่วงหมู่บ้านวังทอง-หมู่บ้านพูนผล-ตลาดสะพานฟ้า ช่วงหมู่บ้านวังทอง-ซอยรังสิต-นครนายก ๑๘-ตลาดสะพานฟ้า และช่วงหมู่บ้านวังทอง-ซอยรังสิต-นครนายก ๓๐-ตลาดสะพานฟ้า[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปทุมธานี ฉบับที่ ๓๕ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ลงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดปทุมธานี สายที่ ๖๐๓๘ หมู่บ้านวังทอง-ปากซอยกุศลสามัคคีขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปทุมธานีได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปทุมธานี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๒ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดปทุมธานี สายที่ ๖๐๓๘ หมู่บ้านวังทอง-ปากซอยกุศลสามัคคี ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๓ ช่วง คือ ช่วงหมู่บ้านวังทอง-หมู่บ้านพูนผล-ตลาดสะพานฟ้า ช่วงหมู่บ้านวังทอง-ซอยรังสิต-นครนายก ๑๘-ตลาดสะพานฟ้า และช่วงหมู่บ้านวังทอง-ซอยรังสิต-นครนายก ๓๐-ตลาดสะพานฟ้า โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๖๐๓๘ หมู่บ้านวังทอง-ปากซอยกุศลสามัคคี เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถบริเวณหมู่บ้านวังทอง ไปตามถนนพหลโยธิน แยกซ้ายไปตามซอยพหลโยธิน ๖๘ ไปตามถนนเทศบาลเมืองคูคต ผ่านสนามกอล์ฟธูปเตมีย์ ชุมชนจามรวัดลาดสนุ่น วัดลาดสนุ่น สถานีอนามัยตำบลคูคต หมู่บ้านพูนผล แยกขวาผ่านโรงเรียนบริบูรณ์ศิลป์รังสิต แยกขวาไปตามซอยบุญคุ้ม ผ่านหมู่บ้านลัลลี่วิว แยกซ้ายไปตามถนนองค์การบริหารส่วนตำบลคูคต ผ่านถนนเลียบคลองสอง ที่ว่าการองค์การบริหารส่วนตำบลคูคต หมู่บ้านธารารินทร์ แยกขวาไปตามซอยกุศลสามัคคี ถนนเทศบาลเมืองรังสิต ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถบริเวณปากซอยกุศลสามัคคี ช่วงหมู่บ้านวังทอง-หมู่บ้านพูนผล-ตลาดสะพานฟ้า เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถบริเวณหมู่บ้านวังทอง ไปตามถนนพหลโยธิน แยกซ้ายไปตามซอยพหลโยธิน ๖๘ ไปตามถนนเทศบาลเมืองคูคต ผ่านสนามกอล์ฟธูปเตมีย์ ชุมชนจามรวัดลาดสนุ่น วัดลาดสนุ่น สถานีอนามัยตำบลคูคต แยกเข้าหมู่บ้านพูนผล แยกซ้ายผ่านหมู่บ้านเอื้ออาทรรังสิต (คลองหนึ่ง) หมู่บ้านวังทอง วัดซอยสามัคคี (ธรรมสุขใจ) วัดคลองหนึ่ง ชุมชน ๓๙ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถบริเวณตลาดสะพานฟ้า ช่วงหมู่บ้านวังทอง-ซอยรังสิต-นครนายก ๑๘-ตลาดสะพานฟ้า เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถบริเวณหมู่บ้านวังทอง ไปตามถนนพหลโยธิน แยกซ้ายไปตามซอยพหลโยธิน ๖๘ ไปตามถนนเทศบาลเมืองคูคต ผ่านสนามกอล์ฟธูปเตมีย์ ชุมชนจามรวัดลาดสนุ่น วัดลาดสนุ่น แยกซ้ายไปตามซอยบุญคุ้ม ผ่านหมู่บ้านสวนเอก หมู่บ้านเกษมทรัพย์ หมู่บ้านลัลลี่วิว แยกซ้ายผ่านโรงเรียนบริบูรณ์ศิลป์รังสิต หมู่บ้านเอื้ออาทรรังสิต (คลองหนึ่ง) แยกขวาไปตามซอยรังสิต-นครนายก ๑๘ แยกซ้ายไปตามถนนเลียบคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถบริเวณตลาดสะพานฟ้า ช่วงหมู่บ้านวังทอง-ซอยรังสิต-นครนายก ๓๐-ตลาดสะพานฟ้า เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถบริเวณหมู่บ้านวังทอง ไปตามถนนพหลโยธิน แยกซ้ายไปตามซอยพหลโยธิน ๖๘ ไปตามถนนเทศบาลเมืองคูคต ผ่านสนามกอล์ฟธูปเตมีย์ ชุมชนจามรวัดลาดสนุ่น วัดลาดสนุ่น สถานีอนามัยตำบลคูคต โรงเรียนวัดลาดสนุ่น แยกขวาไปตามซอยบุญคุ้ม แยกซ้ายสะพาน ๓ (ซอยวัดลาดสนุ่น) แยกขวาไปตามซอยจามร (เชื่อมวัดลาดสนุ่น) ซอยจามร ค. ซอยจามร ข. ซอยจามร ก. แยกขวาไปตามซอยบุญคุ้ม ผ่านหมู่บ้านสวนเอก หมู่บ้านเกษมทรัพย์ หมู่บ้านลัลลี่วิว แยกขวาไปตามซอยรังสิต-นครนายก ๓๐ แยกซ้ายไปตามถนนเลียบคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ผ่านหมู่บ้านเอื้ออาทร (คลองหนึ่ง) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถบริเวณตลาดสะพานฟ้า ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ปรีชา บุตรศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดปทุมธานี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๕๗ ง/หน้า ๒๕๕/๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒
605319
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปทุมธานี ฉบับที่ 42 (พ.ศ. 2552) เรื่อง การปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดปทุมธานี สายที่ 6045 แยกบางเตย-คลองส่งน้ำ เป็น ปทุมธานี-วัดเจดีย์หอย
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดปทุมธานี ฉบับที่ ๔๒ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง การปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับ การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดปทุมธานี สายที่ ๖๐๔๕ แยกบางเตย-คลองส่งน้ำ เป็น ปทุมธานี-วัดเจดีย์หอย[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปทุมธานี ฉบับที่ ๓๖ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดปทุมธานี สายที่ ๖๐๔๕ แยกบางเตย-คลองส่งน้ำขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปทุมธานีได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปทุมธานี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๘/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดปทุมธานี สายที่ ๖๐๔๕ แยกบางเตย-คลองส่งน้ำ เป็น ปทุมธานี-วัดเจดีย์หอย โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๖๐๔๕ ปทุมธานี-วัดเจดีย์หอย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดปทุมธานี (ตลาดเทศบาลเมืองปทุมธานี) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๓๕ ผ่านโรงเรียนปทุมวิไล ตรงไปทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๑๒ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖ แยกขวาไปตามถนนปทุมธานี-บางเลน-วัดเจดีย์หอย ผ่านแยกบางเตย แยกขวาไปตามถนนสายบ้านสุเหร่าแดง-บ้านคลองบางเตย ไปสุดเส้นทางบริเวณวัดเจดีย์หอย ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ปรีชา บุตรศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดปทุมธานี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๕๗ ง/หน้า ๒๕๓/๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒
605315
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปทุมธานี ฉบับที่ 41 (พ.ศ. 2552) เรื่อง การปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดปทุมธานี สายที่ 1156 รังสิต-ทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง-หมู่บ้านมาลีรมย์ 5 ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงรังสิต-หมู่บ้านสัมมากร-หมู่บ้านพฤกษา 2
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดปทุมธานี ฉบับที่ ๔๑ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง การปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับ การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดปทุมธานี สายที่ ๑๑๕๖ รังสิต-ทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง-หมู่บ้านมาลีรมย์ ๕ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงรังสิต-หมู่บ้านสัมมากร-หมู่บ้านพฤกษา ๒[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปทุมธานี ฉบับที่ ๔๐ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ลงวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ การปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดปทุมธานี สายที่ ๑๑๕๖ รังสิต-ทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง-หมู่บ้านมาลีรมย์ ๕ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงรังสิต-หมู่บ้านพรธิสาร ๘ ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปทุมธานีได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปทุมธานี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๘/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดปทุมธานี สายที่ ๑๑๕๖ รังสิต-ทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง-หมู่บ้านมาลีรมย์ ๕ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก ๑ ช่วง คือ รังสิต-หมู่บ้านสัมมากร-หมู่บ้านพฤกษา ๒ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑๑๕๖ รังสิต-ทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง-หมู่บ้านมาลีรมย์ ๕ เที่ยวไป เริ่มต้นจากรังสิต ไปตามถนนพหลโยธิน แยกซ้ายขึ้นสะพานต่างระดับรังสิต ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ (ถนนรังสิต-นครนายก) ผ่านคลองหนึ่ง คลองสอง คลองสาม คลองสี่ คลองห้า แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (ถนนเลียบคลองหก) ผ่านศาลจังหวัดธัญบุรี ด้านหลังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี วัดหว่านบุญ ทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง โรงเรียนอุดมพัฒนา บริษัท สยามโปรเทคอินดัสตรี จำกัด ทางแยกเชื่อมถนนคลองห้า ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหมู่บ้านมาลีรมย์ ๕ เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากหมู่บ้านมาลีรมย์ ๕ ไปตามทางหลวงชนบท (ถนนเลียบคลองหก) ผ่านทางแยกเชื่อมถนนคลองห้า บริษัท สยามโปรเทคอินดัสตรี จำกัด โรงเรียนอุดมพัฒนา ทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง ผ่านหลังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ศาลจังหวัดธัญบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ (ถนนรังสิต-นครนายก) แล้วไปตามเส้นทางเดิม ลอดใต้สะพานต่างระดับรังสิต แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางรังสิต ช่วงรังสิต-หมู่บ้านพรธิสาร ๘ เที่ยวไป เริ่มต้นจากรังสิต ไปตามถนนพหลโยธิน แยกซ้ายขึ้นสะพานต่างระดับรังสิต ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ (ถนนรังสิต-นครนายก) ผ่านคลองหนึ่ง คลองสอง คลองสาม คลองสี่ คลองห้า แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (ถนนเลียบคลองหก) ผ่านศาลจังหวัดธัญบุรี ด้านหลังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี แยกขวาข้ามคลองหก ผ่านตลาดสด หมู่บ้านพรธิสาร ๓ หมู่บ้านพรธิสาร ๔ แยกซ้ายไปตามถนนธัญบุรี-คลองหลวง ไปสุดเส้นทางที่บริเวณหมู่บ้านพรธิสาร ๘ เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากหมู่บ้านพรธิสาร ๘ ไปตามถนนธัญบุรี-คลองหลวง แยกขวาไปตามถนนหมู่บ้านพรธิสาร แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (ถนนเลียบคลองหก) ผ่านด้านหลังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ศาลจังหวัดธัญบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ (ถนนรังสิต-นครนายก) แล้วไปตามเส้นทางเดิม ลอดใต้สะพานต่างระดับรังสิต แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางรังสิต ช่วงรังสิต-หมู่บ้านสัมมากร-หมู่บ้านพฤกษา ๒ เริ่มต้นจากรังสิต ไปตามถนนพหลโยธิน แยกซ้ายขึ้นสะพานต่างระดับรังสิต ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ (ถนนรังสิต-นครนายก) ผ่านคลองหนึ่ง คลองสอง คลองสาม คลองสี่ คลองห้า คลองหก แยกขวาข้ามสะพานหมู่บ้านสัมมากร ไปตามถนนเลียบคลองรังสิตฝั่งขวา ผ่านชุมชนแก้วขวัญ การเคหะคลอง ๗ โรงเรียนสารสาส์นวิเทศรังสิต ไปสุดเส้นทาง ณ หมู่บ้านพฤกษา ๒ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ปรีชา บุตรศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดปทุมธานี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๕๗ ง/หน้า ๒๕๐/๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒
605307
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ 73 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดลพบุรี สายที่ 10 วัดเสาธงทอง-เอราวัณ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงวัดเสาธงทอง-หมู่บ้านศรีไทรทอง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ ๗๓ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดลพบุรี สายที่ ๑๐ วัดเสาธงทอง-เอราวัณ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงวัดเสาธงทอง-หมู่บ้านศรีไทรทอง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ ๒๗ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ลงวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๓๒ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดลพบุรี สายที่ ๑๐ วัดเสาธงทอง-เอราวัณ ให้มีรายละเอียดเส้นทางไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๓๐๑๖ และให้มีทางแยกช่วงวัดเสาธงทอง-วัดถนนแค นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดลพบุรี สายที่ ๑๐ วัดเสาธงทอง-เอราวัณ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงวัดเสาธงทอง-หมู่บ้านศรีไทรทอง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑๐ วัดเสาธงทอง-เอราวัณ เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางวัดเสาธงทอง ไปตามถนนฝรั่งเศส แยกขวาไปตามถนนวิชาเยนทร์ ผ่านศาลพระกาฬ ไปตามถนนนารายณ์มหาราช ถึงวงเวียนศรีสุริโยทัย แยกซ้ายถึงศูนย์สงครามพิเศษ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๑๖ ผ่านสะพานชลประทานที่ ๖ จังหวัดทหารบกลพบุรี สี่แยกเอราวัณ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางค่ายเอราวัณ เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางค่ายเอราวัณ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๑๖ ผ่านสี่แยกเอราวัณ จังหวัดทหารบกลพบุรี สะพานชลประทานที่ ๖ แยกซ้ายผ่านศูนย์สงครามพิเศษ ถึงวงเวียนศรีสุริโยทัย แยกขวาไปตามถนนนารายณ์มหาราช ถึงศาลพระกาฬ แยกซ้ายไปตามถนนหน้าศาลพระกาฬ แยกขวาไปตามถนนพระยากำจัด แยกซ้ายไปตามถนนสรศักดิ์ แยกขวาไปตามถนนเพทราชา แยกขวาไปตามถนนพระราม แยกขวาไปตามถนนราชดำเนิน แยกซ้ายไปตามถนนฝรั่งเศส ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางวัดเสาธงทอง ช่วงวัดเสาธงทอง-วัดถนนแค เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางวัดเสาธงทอง ไปตามถนนฝรั่งเศส แยกขวาไปตามถนนวิชาเยนทร์ ผ่านศาลพระกาฬ ไปตามถนนนารายณ์มหาราช ถึงวงเวียนศรีสุริโยทัย แยกซ้ายถึงศูนย์สงครามพิเศษ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๑๖ ถึงสะพานชลประทานที่ ๖ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลบ ๒๐๓๙ แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางวัดถนนแค เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางวัดถนนแค ไปตามทางหลวงท้องถิ่น แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลบ ๒๐๓๙ ถึงสะพานชลประทานที่ ๖ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๑๖ แยกซ้ายผ่านศูนย์สงครามพิเศษ ถึงวงเวียนศรีสุริโยทัย แยกขวาไปตามถนนนารายณ์มหาราช ถึงศาลพระกาฬ แยกซ้ายไปตามถนนหน้าศาลพระกาฬ แยกขวาไปตามถนนพระยากำจัด แยกซ้ายไปตามถนนสรศักดิ์ แยกขวาไปตามถนนเพทราชา แยกขวาไปตามถนนพระราม แยกขวาไปตามถนนราชดำเนิน แยกซ้ายไปตามถนนฝรั่งเศส ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางวัดเสาธงทอง ช่วงวัดเสาธงทอง-หมู่บ้านศรีไทรทอง เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางวัดเสาธงทอง ไปตามถนนฝรั่งเศส แยกขวาไปตามถนนวิชาเยนทร์ ผ่านศาลพระกาฬ ไปตามถนนนารายณ์มหาราช ถึงวงเวียนศรีสุริโยทัย แยกซ้ายถึงศูนย์สงครามพิเศษ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๑๖ ผ่านสะพานชลประทานที่ ๖ จังหวัดทหารบกลพบุรี สี่แยกเอราวัณ ถึงสามแยกเทศบาลเมืองเขาสามยอด แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลบ ๒๐๖๑ ผ่านหมู่บ้านฟ้าใส หมู่บ้านรุ่งปิติแลนด์ หมู่บ้านพนาสันต์ แยกซ้ายไปตามถนนเฉลิมพระเกียรติ ๓ ผ่านหมู่บ้านทิวสน โรงเรียนพระนารายณ์ แยกซ้ายไปตามถนนเฉลิมพระเกียรติ ผ่านโรงเรียนพัฒนปัญญา หมู่บ้านโสภา ๑ หมู่บ้านพี พีแลนด์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหมู่บ้านศรีไทรทอง เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหมู่บ้านศรีไทรทอง ไปตามถนนเฉลิมพระเกียรติ ถึงโรงเรียนพัฒนปัญญา แยกขวาไปตามถนนเฉลิมพระเกียรติ ๓ ผ่านโรงเรียนพระนารายณ์ หมู่บ้านทิวสน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ๒๐๖๑ ผ่านหมู่บ้านพนาสันต์ หมู่บ้านรุ่งปิติแลนด์ หมู่บ้านฟ้าใส ถึงสามแยกเทศบาลเมืองเขาสามยอด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๑๖ ผ่านสี่แยกเอราวัณ จังหวัดทหารบกลพบุรี สะพานชลประทานที่ ๖ แยกซ้ายผ่านศูนย์สงครามพิเศษ ถึงวงเวียนศรีสุริโยทัย แยกขวาไปตามถนนนารายณ์มหาราช ถึงศาลพระกาฬ แยกซ้ายไปตามถนนหน้าศาลพระกาฬ แยกขวาไปตามถนนพระยากำจัด แยกซ้ายไปตามถนนสรศักดิ์ แยกขวาไปตามถนนเพทราชา แยกขวาไปตามถนนพระราม แยกขวาไปตามถนนราชดำเนิน แยกซ้ายไปตามถนนฝรั่งเศส ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางวัดเสาธงทอง ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ จารุพงศ์ พลเดช ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดลพบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๕๗ ง/หน้า ๒๔๗/๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒
603279
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ฉบับที่ 70 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ฉบับที่ ๗๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดบุรีรัมย์ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๒/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดบุรีรัมย์ สายที่ ๔๗๐๒ บุรีรัมย์ - ปราสาทหินพนมรุ้ง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๗๐๒ บุรีรัมย์ - ปราสาทหินพนมรุ้ง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๘ ถึงสามแยกถนนหัก แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านบ้านตะแบก ถึงบ้านตะโก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๑๗ ถึงบ้านดอนหนองแหน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๒๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางปราสาทหินพนมรุ้ง ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ มงคล สุระสัจจะ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๔๒ ง/หน้า ๑๕๑/๑๖ เมษายน ๒๕๕๒
603277
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ฉบับที่ 69 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ฉบับที่ ๖๙ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดบุรีรัมย์ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๒/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดบุรีรัมย์ สายที่ ๔๗๐๑ บุรีรัมย์ - ประโคนชัย - ปราสาทหินพนมรุ้ง และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงบุรีรัมย์ - ประโคนชัย - ปราสาทเมืองต่ำ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๗๐๑ บุรีรัมย์ - ประโคนชัย - ปราสาทหินพนมรุ้ง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙ ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอประโคนชัย สี่แยกประโคนชัย แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อบจ. บร. ๔๐๓๗ ผ่านบ้านถนนขาด บ้านโคกย่าง บ้านบุ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางปราสาทหินพนมรุ้ง ช่วงบุรีรัมย์ - ประโคนชัย - ปราสาทเมืองต่ำ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙ ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอประโคนชัย สี่แยกประโคนชัย แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อบจ. บร. ๔๐๗๓ ผ่านบ้านถนนขาด บ้านโคกย่าง บ้านบัวพระ บ้านตาจรู๊ก บ้านจระเข้มาก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางปราสาทเมืองต่ำ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ มงคล สุระสัจจะ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๔๒ ง/หน้า ๑๔๙/๑๖ เมษายน ๒๕๕๒
603275
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ฉบับที่ 68 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดบุรีรัมย์ สายที่ 1474 บุรีรัมย์ - ละหานทราย โดยให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงประโคนชัย - บ้านจันดุม
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ฉบับที่ ๖๘ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดบุรีรัมย์ สายที่ ๑๔๗๔ บุรีรัมย์ - ละหานทราย โดยให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงประโคนชัย - บ้านจันดุม[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ฉบับที่ ๕๗ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดบุรีรัมย์ สายที่ ๑๔๗๔ บุรีรัมย์ - ละหานทราย ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดบุรีรัมย์ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดบุรีรัมย์ สายที่ ๑๔๗๔ บุรีรัมย์ - ละหานทราย โดยให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงประโคนชัย - บ้านจันดุม โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑๔๗๔ บุรีรัมย์ - ละหานทราย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙ ผ่านบ้านเขากระโดง อ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก บ้านหัววัว บ้านแสลงโทน บ้านไสยา บ้านไพบูลย์ บ้านไทร ถึงอำเภอประโคนชัย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๗๕ ผ่านบ้านพาชี อำเภอบ้านกรวด นิคมสร้างตนเองบ้านกรวด บ้านสายตรี บ้านตาจง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอละหานทราย ช่วงบุรีรัมย์ - บ้านเสม็ด เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙ ผ่านบ้านเขากระโดง อ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลขบร. ๔๐๕๕ ผ่านบ้านหนองข่า ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเสม็ด ช่วงบุรีรัมย์ - บ้านหนองปรือ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙ ผ่าบ้านเขากระโดง อ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข บร. ๔๐๕๕ ผ่านบ้านโคกตาล บ้านสะแกซำ บ้านใหม่ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองปรือ ช่วงบุรีรัมย์ - บ้านโคกแสลงน้อย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙ ผ่านบ้านเขากระโดง อ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก บ้านหัววัว แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหนองบอน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโคกแสลงน้อย ช่วงบุรีรัมย์ - บ้านสำโรง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙ ผ่านบ้านเขากระโดง อ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก บ้านหัววัว แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข บร. ๓๐๕๓ ผ่านบ้านตะโกรี ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านสำโรง ช่วงบุรีรัมย์ - บ้านสารภี เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙ ผ่านบ้านเขากระโดง อ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก บ้านหัววัว บ้านแสลงโทน ถึงบ้านไสยา แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข บร. ๓๐๒๙ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านสารภี ประกาศ ณ วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ มงคล สุระสัจจะ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๔๒ ง/หน้า ๑๔๗/๑๖ เมษายน ๒๕๕๒
603273
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดศรีสะเกษ ฉบับที่ 72 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด 1 จังหวัดศรีสะเกษ สายที่ 4 สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ - บ้านน้ำคำ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดศรีสะเกษ ฉบับที่ ๗๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ จังหวัดศรีสะเกษ สายที่ ๔ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ - บ้านน้ำคำ[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดศรีสะเกษ ฉบับที่ ๖๗ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๘ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ จังหวัดศรีสะเกษ สายที่ ๔ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ - บ้านน้ำคำ ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดศรีสะเกษได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ จังหวัดศรีสะเกษ สายที่ ๔ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์- บ้านน้ำคำ ให้เป็นไปตามประกาศเจ้าพนักงานจราจรในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสะดวก รวดเร็ว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดศรีสะเกษ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๑ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ จังหวัดศรีสะเกษ สายที่ ๔ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ - บ้านน้ำคำ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๔ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ - บ้านน้ำคำ เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ไปตามถนนกสิกรรม ผ่านวิทยาลัยเกษตรกรรมศรีสะเกษ วิทยาลัยการอาชีพศรีสะเกษ วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ ถึงวงเวียนดอกลำดวน แยกขวาไปตามถนนวิเศษภักดี แยกซ้ายไปตามถนนโชติพันธ์ (ถนนมารี - หนองแคน) ผ่านโรงเรียนมารีวิทยา แยกซ้ายไปตามถนนกวงเฮง ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดศรีสะเกษ สี่แยกซุ่นเฮง แยกซ้ายไปตามถนนราชการรถไฟ ๔ แยกขวาไปตามถนนศรีสะเกษ แยกซ้ายไปตามถนนราชการรถไฟ ๓ ถึงสี่แยกสำนักงานสาธารณสุข (เก่า) แยกขวาไปตามถนนกสิกรรม แยกขวาไปตามถนนราชการรถไฟ ๒ ถึงวงเวียนหน้าสถานีรถไฟ ไปตามถนนราชการรถไฟ ๑ แยกขวาไปตามถนนขุขันธ์ แยกซ้ายไปตามถนนราชการรถไฟ ๒ ผ่านตลาดสดเทศบาล ๒ แยกซ้ายไปตามถนนวิจิตรนคร ผ่านสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองศรีสะเกษ โรงเรียนมิ่งเมือง ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. ศก. ๓๑๑๔ ผ่านบ้านโนน ถึงสวนสัตว์ศรีสะเกษ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. ศก. ๒๑๒๐ ถึงบ้านหนองโน แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. ศก. ๒๐๑๑ ผ่านบ้านหนองคำ บ้านข้าวดอ บ้านหัวนา บ้านหว้าน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านน้ำคำ เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านน้ำคำ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. ศก. ๒๐๑๑ ไปตามเส้นทางเดิม ถึงถนนราชการรถไฟ ๓ แยกขวาไปตามถนนราชการรถไฟ ๓ แยกขวาไปตามถนนขุขันธ์ แยกซ้ายไปตามถนนราชการรถไฟ ๒ ถึงวงเวียนหน้าสถานีรถไฟ แล้วไปตามเส้นทางเดิม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดศรีสะเกษ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๔๒ ง/หน้า ๑๔๕/๑๖ เมษายน ๒๕๕๒
603271
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1928 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 2 สายที่ 911 กรุงเทพฯ - พิจิตร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๒๘ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๑๑ กรุงเทพฯ - พิจิตร[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๑๑๓ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๑ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ กรุงเทพฯ - พิจิตร ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกรุงเทพฯ - โพธิ์ประทับช้าง - พิจิตร นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๙๑๑ กรุงเทพฯ - พิจิตร ให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกรุงเทพฯ - โพธิ์ประทับช้าง - พิจิตร โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๙๑๑ กรุงเทพฯ - พิจิตร เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ผ่านจังหวัดสิงห์บุรี ถึงทางแยกเข้าอำเภอมโนรมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงจังหวัดนครสวรรค์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๗ ถึงแยกปลวกสูง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๕ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิจิตร ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๔๒ ง/หน้า ๑๔๔/๑๖ เมษายน ๒๕๕๒
603269
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1927 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 กรุงเทพมหานคร สายที่ 1541 หมู่บ้านนักกีฬา - มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๒๗ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๕๔๑ หมู่บ้านนักกีฬา - มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๕๔๑ หมู่บ้านนักกีฬา - มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๕๔๑ หมู่บ้านนักกีฬา - มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ เริ่มต้นจากหมู่บ้านนักกีฬา (บริเวณตลาดทรัพย์พจน์) ไปตามถนนกรุงเทพกรีฑา แยกขวาไปตามซอยกรุงเทพกรีฑา ๓๒ แยกขวาไปตามถนนคู่ขนานกรุงเทพ - ชลบุรี (สายใหม่) แยกขวาไปตามซอยกรุงเทพกรีฑา ๘ ผ่านโรงเรียนอนุบาลทับแก้ว แยกซ้ายไปตามถนนกรุงเทพกรีฑา ถึงแยกกรุงเทพกรีฑา ตรงไปตามถนนหัวหมาก จนสุดเส้นทางที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๔๒ ง/หน้า ๑๔๓/๑๖ เมษายน ๒๕๕๒
603267
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1926 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 873 รังสิต - ผักไห่
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๒๖ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๘๗๓ รังสิต - ผักไห่[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๘๗๓ รังสิต - ผักไห่ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๘๗๓ รังสิต - ผักไห่ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณรังสิต ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๗ ถึงแยกวรเชษฐ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๖๓ ถึงอำเภอเสนา ข้ามสะพานแม่น้ำน้อย ไปตามถนนคันคลองชลประทาน ผ่านองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแพน ถึงแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๕๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๕๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอผักไห่ ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๔๒ ง/หน้า ๑๔๒/๑๖ เมษายน ๒๕๕๒
603265
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1925 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 697 วังน้อย - นวนคร เป็นสวนอุตสาหกรรมโรจนะ - นวนคร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๒๕ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๙๗ วังน้อย - นวนคร เป็น สวนอุตสาหกรรมโรจนะ - นวนคร[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๔๙๐ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สายที่ ๒๒๙๔ วังน้อย- ประตูน้ำพระอินทร์ เป็น หมวด ๓ สายที่ ๖๙๗ วังน้อย - นวนคร นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๙๗ วังน้อย - นวนคร เป็น สวนอุตสาหกรรมโรจนะ - นวนคร โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๖๙๗ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ - นวนคร เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสวนอุตสาหกรรมโรจนะ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙ ผ่านตำบลบ้านสร้าง ถึงแยกอำเภอวังน้อย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงสะพานต่างระดับวังน้อย แล้วกลับรถไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านอำเภอวังน้อย โรงพยาบาลวังน้อย โรงเรียนวิเชียรกลิ่นสุคนธ์อุปถัมถ์ วัดลาดทราย บ้านพยอม ประตูน้ำพระอินทร์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณนวนคร ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๔๒ ง/หน้า ๑๔๑/๑๖ เมษายน ๒๕๕๒
603263
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1924 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 360 บ้านคลองรั้ง-บ้านคลองยายสร้อย
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๒๔ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๖๐ บ้านคลองรั้ง-บ้านคลองยายสร้อย[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๔๗๔ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๓๐ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารสายที่ ๓๖๐ บ้านคลองรั้ง - บ้านคลองยายสร้อย นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าวให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้อนุมัติในหลักการไว้แล้ว ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๖๐ บ้านคลองรั้ง – บ้านคลองยายสร้อย โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๓๖๐ บ้านคลองรั้ง - บ้านคลองยายสร้อย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคลองรั้ง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๗๙ ผ่านบ้านอ่างตามี บ้านตรอกสมบูรณ์ บ้านโคกผาสุข บ้านคลองอุดม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคลองยายสร้อย ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๔๒ ง/หน้า ๑๔๐/๑๖ เมษายน ๒๕๕๒
602766
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ 74 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๗๔ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๓๖ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ลงวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๔๔ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดเชียงราย สายที่ ๕๐๐๑๖ ชายแดนไทย-พม่า-บ้านห้วยไคร้-บ้านด้าย นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงรายได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเชียงราย สายที่ ๒๔๔๙ ชายแดนไทย-พม่า -บ้านด้าย ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ไตรสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๒๑๗/๙ เมษายน ๒๕๕๒
602764
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ 73 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๗๓ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๒๓ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ลงวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๓๖ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดเชียงราย สายที่ ๕๐๐๑๕ แม่สรวย-บ้านแม่สลัก นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงรายได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเชียงราย สายที่ ๒๔๔๘ แม่สรวย-บ้านแม่สลัก ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ไตรสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๒๑๖/๙ เมษายน ๒๕๕๒
602762
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ 72 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๗๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๒๓ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ลงวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๓๖ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดเชียงราย สายที่ ๕๐๐๑๔ แม่จัน-บ้านเย้าธรรมจาริก นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงรายได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเชียงราย สายที่ ๒๔๔๗ แม่จัน-บ้านเย้าธรรมจาริก ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ไตรสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๒๑๕/๙ เมษายน ๒๕๕๒
602760
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ 71 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๗๑ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๒๒ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๓๕ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดเชียงราย สายที่ ๕๐๐๑๓ บ้านห้วยไคร้-แม่สาย นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงรายได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเชียงราย สายที่ ๒๔๔๖ บ้านห้วยไคร้-แม่สาย ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ไตรสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๒๑๔/๙ เมษายน ๒๕๕๒
602758
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ 70 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๗๐ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๒๒ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๓๕ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดเชียงราย สายที่ ๕๐๐๑๒ สันกอง-พระธาตุดอยตุง และประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๒๘ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ลงวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๓๗ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดเชียงราย สายที่ ๕๐๐๑๒ สันกอง-พระธาตุดอยตุง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง รวม ๒ ช่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงรายได้พิจารณาเห็นว่าเส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเชียงราย สายที่ ๒๔๔๕ บ้านสันกอง-พระธาตุดอยตุง ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ไตรสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๒๑๓/๙ เมษายน ๒๕๕๒
602756
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ 69 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๖๙ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๒๘ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดเชียงราย สายที่ ๕๐๐๑๑ เชียงราย-บ้านเวียงเดิม นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงรายได้พิจารณาเห็นว่าเส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเชียงราย สายที่ ๒๔๓๓ เชียงราย-บ้านเวียงเดิม ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๔๗ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ไตรสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๒๑๒/๙ เมษายน ๒๕๕๒
602754
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ 68 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๖๘ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ลงวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๒๘ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดเชียงราย สายที่ ๕๐๐๑๐ เชียงราย-ห้วยขม บ้านริมกก ห้วยแม่ซ้าย นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงรายได้พิจารณาเห็นว่าเส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเชียงราย สายที่ ๒๔๔๔ เชียงราย-บ้านห้วยขม ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ไตรสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๒๑๑/๙ เมษายน ๒๕๕๒
602752
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ 67 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๖๗ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ลงวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๔ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดเชียงราย สายที่ ๕๐๐๐๙ เวียงป่าเป้า-ดอยนางแก้ว ร.ร.เวียงป่าเป้าวิทยาคม บ้านป่าสัก บ้านฮ่างต่ำ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงรายได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเชียงราย สายที่ ๒๔๔๓ เวียงป่าเป้า-ดอยนางแก้ว ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ไตรสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๒๑๐/๙ เมษายน ๒๕๕๒
602750
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ 66 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๖๖ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๒๓ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดเชียงราย สายที่ ๕๐๐๐๘ เทิง-ปางค่า-ผาแล ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๑๗ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ลงวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดเชียงราย สายที่ ๕๐๐๐๘ เทิง-ปางค่า-ผาแล เป็น เทิง-ปางค่า-ผาแล-กิ่งอำเภอเวียงแก่น-บ้านลุง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๒๕ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๓๗ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดเชียงราย สายที่ ๕๐๐๐๘ เทิง-ปางค่า-ผาแล-กิ่งอำเภอเวียงแก่น-บ้านลุง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเทิง-บ้านผาตั้ง และประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๒๖ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ลงวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๓๗ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดเชียงราย สายที่ ๕๐๐๐๘ เทิง-ปางค่า-ผาแล-กิ่งอำเภอเวียงแก่น-บ้านลุง เป็น เทิง-ปางค่า-ผาแล-กิ่งอำเภอเวียงแก่น-บ้านลุง-เชียงของ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงรายได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเชียงราย สายที่ ๒๔๔๒ เทิง-เชียงของขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ไตรสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๒๐๘/๙ เมษายน ๒๕๕๒
602748
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ 65 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๖๕ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ลงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๓ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดเชียงราย สายที่ ๕๐๐๐๖ เชียงราย-บ้านยางนอก บ้านแม่กรณ์ และประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๑๙ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ลงวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๓๕ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดเชียงราย สายที่ ๕๐๐๐๖ เชียงราย-บ้านยางนอก บ้านแม่กรณ์ เป็น เชียงราย-บ้านหนองเก้าห้อง บ้านยางนอก นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงรายได้พิจารณาเห็นว่าเส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเชียงราย สายที่ ๒๔๔๑ เชียงราย-บ้านหนองเก้าห้อง ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ไตรสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๒๐๗/๙ เมษายน ๒๕๕๒
602746
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ 64 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๖๔ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ลงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๓ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดเชียงราย สายที่ ๕๐๐๐๕ เทิง-สันสลีก-แม่เปา นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงรายได้พิจารณาเห็นว่าเส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเชียงราย สายที่ ๒๔๔๐ เทิง-บ้านแม่เปา ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ไตรสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๒๐๖/๙ เมษายน ๒๕๕๒
602744
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ 63 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๖๓ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ลงวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๒๓ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดเชียงราย สายที่ ๕๐๐๐๔ พาน-เจริญเมือง-บ้านใหม่สันทรายงาม นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงรายได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเชียงราย สายที่ ๒๔๓๙ พาน-บ้านใหม่สันทรายงาม ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ไตรสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๒๐๕/๙ เมษายน ๒๕๕๒
602740
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ 62 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๖๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ลงวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๒๓ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดเชียงราย สายที่ ๕๐๐๐๓ เชียงราย-ฟาร์มสัมพันธกิจ-ป่าซาง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงรายได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเชียงราย สายที่ ๒๔๓๘ เชียงราย-บ้านป่ายาง ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ไตรสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๒๐๔/๙ เมษายน ๒๕๕๒
602738
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ 61 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๖๑ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ลงวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๒๓ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดเชียงราย สายที่ ๕๐๐๐๒ แม่สาย-สันนา-ปางหมอปวง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงรายได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเชียงราย สายที่ ๒๔๓๗ แม่สาย-บ้านปางหมอปวง ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ไตรสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๒๐๓/๙ เมษายน ๒๕๕๒
602736
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ 60 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ลงวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๒๓ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดเชียงราย สายที่ ๕๐๐๐๑ แม่จัน-แม่สลอง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๑๘ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๔ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดเชียงราย สายที่ ๕๐๐๐๑ แม่จัน-แม่สลอง เป็น แม่จัน-แม่สลอง บ้านเทอดไทย และประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๒๗ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ลงวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๓๗ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดเชียงราย สายที่ ๕๐๐๐๑ แม่จัน-แม่สลอง ช่วงแม่จัน-บ้านเทอดไทย เป็น แม่จัน-บ้านเทอดไทย-บ้านหัวแม่คำ และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่ม ๒ ช่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงรายได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเชียงราย สายที่ ๒๔๓๖ แม่จัน-บ้านแม่สลอง ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ไตรสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๒๐๑/๙ เมษายน ๒๕๕๒
602734
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ 232 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 4 จังหวัดนครราชสีมา สายที่ 1303 นครราชสีมา-ปักธงชัยให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ ๒๓๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๑๓๐๓ นครราชสีมา-ปักธงชัย ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่ ๗๑ (พ.ศ. ๒๕๐๘) ลงวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๐๘ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์โดยสารในชนบท (จังหวัดนครราชสีมา) สายที่ ๑๓๐๓ นครราชสีมา-ปักธงชัย นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมาได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๑๓๐๓ นครราชสีมา-ปักธงชัย ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนครราชสีมา-บ้านบุตาล โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑๓๐๓ นครราชสีมา-ปักธงชัย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านบ้านถนนหัก บ้านโคกศิลา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปักธงชัย ช่วงนครราชสีมา-บ้านบุตาล เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านแยกทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. นม. ๒๑๙๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. นม. ๒๑๙๒ ผ่านบ้านโกรกตะคร้อ ถึงบ้านหนองพลวงใหญ่ แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านบุตาล ประกาศ ณ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ประจักษ์ สุวรรณภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๑๙๙/๙ เมษายน ๒๕๕๒
602730
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ 231 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 4 จังหวัดนครราชสีมา สายที่ 4129 นครราชสีมา-มหาวิทยาลัยรามคำแหงสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมาให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ ๒๓๑ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๑๒๙ นครราชสีมา-มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ ๒๑๘ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ลงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๐ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๑๒๙ นครราชสีมา-มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมาได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๑๒๙ นครราชสีมา-มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนครราชสีมา-สวนสัตว์นครราชสีมา-บ้านบุตาล โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๑๒๙ นครราชสีมา-มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดนครราชสีมา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ถึงแยกปักธงชัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ แยกซ้ายไปตามซอยร่วมมิตร ถึงโรงเรียนรัตโนภาส แล้วย้อนกลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๑๐ ผ่านสวนสัตว์นครราชสีมา บ้านหนองเสาเดียว วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณมหาวิทยลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ช่วงนครราชสีมา-สนามกีฬาเมืองหลัก เฉลิมฉลอง ๓๓๓ ปี นครราชสีมา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ถึงแยกปักธงชัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ แยกขวาไปตามถนนทางเข้าสนามกีฬา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสนามกีฬาเมืองหลัก เฉลิมฉลอง ๓๓๓ ปี นครราชสีมา ช่วงนครราชสีมา-สวนสัตว์นครราชสีมา-บ้านบุตาล เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ถึงแยกปักธงชัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ แยกซ้ายไปตามซอยร่วมมิตร ถึงโรงเรียนรัตโนภาส แล้วย้อนกลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๑๐ ผ่านสวนสัตว์นครราชสีมา แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น ถึงบ้านโกรกตะคร้อ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. นม. ๒๑๙๒ ถึงบ้านหนองพลวงใหญ่ แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถประจำทางบ้านบุตาล ประกาศ ณ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ประจักษ์ สุวรรณภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๑๙๗/๙ เมษายน ๒๕๕๒
602728
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ 180 (พ.ศ. 2551) เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทางหมวด 4 จังหวัดขอนแก่น สายที่ 4446 ชุมแพ-บ้านวังสวาปให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงชุมแพ-บ้านเหมือดแอ่-บ้านโนนหัน
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๘๐ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๔๔๔๖ ชุมแพ-บ้านวังสวาป ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงชุมแพ-บ้านเหมือดแอ่-บ้านโนนหัน[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๐๐ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๓๖ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๔๔๔๖ ชุมแพ-บ้านวังสวาป ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่นได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสายดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๔๔๔๖ ชุมแพ-บ้านวังสวาป โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางดังนี้ สายที่ ๔๔๔๖ ชุมแพ-บ้านวังสวาป เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอชุมแพ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ (ถนนมลิวรรณ) ผ่านบ้านโคกสูง บ้านกุดแข้ บ้านหนองตุ้มนก บ้านร่องแซง ถึงบ้านโนนหัน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ถึงบ้านโนนงาม แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหัวสนามบิน บ้านโนนเรียน บ้านธาตุ บ้านโคกงาม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๖๑ ถึงบ้านป่ากล้วย แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ถึงบ้านนาน้ำซำ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. ขก. ๒๐๗๑ ถึงอำเภอภูผาม่าน ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. ขก. ๓๐๓๑ ผ่านบ้านท่ากระบือ บ้านน้อยหัวเขา บ้านนาท่าลี่ บ้านสะแกเครือ บ้านนาฝายเหนือ บ้านนาฝาย ถึงบ้านวังผาดำ แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น อ.บ.ต. วังสวาป ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านวังสวาป ช่วงภูผาม่าน-บ้านห้วยเตย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอภูผาม่าน ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. ขก. ๒๐๗๑ ถึงบ้านนาน้ำซำ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านซำภูทองใต้ บ้านซำภูทองเหนือ บ้านห้วยม่วง บ้านโนนสะอาด บ้านห้วยซ้อ บ้านทรัพย์สมบูรณ์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยเตย ช่วงชุมแพ-บ้านเหมือดแอ่-บ้านโนนหัน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอชุมแพ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ (ถนนมลิวรรณ) ผ่านบ้านโคกสูง บ้านกุดแข้ ถึงบ้านหนองตุ้มนก แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (โครงการลำน้ำเชิญ) แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหนองบัว บ้านเหมือดแอ่ บ้านโนนสะอาด บ้านโนนลาน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนหัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ มานิต วัฒนเสน ผู้ว่าราชกาจังหวัดขอนแก่น ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๑๙๕/๙ เมษายน ๒๕๕๒
602724
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดจันทบุรี ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางรถโดยสารประจำทางหมวด 4 จังหวัดจันทบุรี
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดจันทบุรี ฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ จังหวัดจันทบุรี[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดจันทบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดจันทบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดจันทบุรี จำนวน ๒ เส้นทาง คือ สาย ๖๐๗๖ จันทบุรี-ท่าใหม่-แหลมเสด็จ และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงจันทบุรี-ท่าใหม่-แหลมสิงห์ และสายที่ ๖๐๗๗ จันทบุรี-ท่าใหม่-คุ้งวิมาน โดยให้รายละเอียดเส้นทาง ดังนี้ คือ สายที่ ๖๐๗๖ จันทบุรี-ท่าใหม่-แหลมเสด็จ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดจันทบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕๓ ผ่านบ้านเขาพลอยแหวน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔๗ บ้านเขาวัว สนามบินอำเภอท่าใหม่ โรงพยาบาลอำเภอท่าใหม่ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข จบ. ๖๐๐๑ ผ่านบ้านตะกาดเง้า บ้านบางกะไชย แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข จบ. ๔๐๐๒ ผ่านบ้านปากน้ำแขมหนู หาดเจ้าหลาว ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแหลมเสด็จ ช่วงจันทบุรี-ท่าใหม่-แหลมสิงห์ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดจันทบุรี แยกซ้าย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕๓ ผ่านบ้านเขาพลอยแหวน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔๗ บ้านเขาวัว โรงพยาบาลอำเภอท่าใหม่ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข จบ. ๖๐๐๑ ผ่านบ้านตะกาดเง้า บ้านบางกะไชย บ้านอ่าวหมู ศูนย์วิจัยสัตว์น้ำเค็ม ข้ามสะพานแหลมสิงห์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔๙ ผ่านที่ว่าการอำเภอแหลมสิงห์ โรงเรียนปากน้ำแหลมสิงห์ แยกขวาไปตามถนนเทศบาลสาย ๑/๓ แยกขวาไปตามถนนเทศบาล ๑ ผ่านชายหาดแหลมสิงห์ สนามกีฬาเทศบาลปากน้ำแหลมสิงห์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอแหลมสิงห์ (ตึกแดง) สายที่ ๖๐๗๗ จันทบุรี-ท่าใหม่-คุ้งวิมาน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดจันทบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕๓ ผ่านบ้านเขาพลอยแหวน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔๗ แยกขวาไปตามถนนเทศบาลสาย ๑ ผ่านวัดไผ่ล้อม โรงเรียนวัดไผ่ล้อม แยกขวาไปตามถนนราชกิจ ผ่านสวนสาธารณะเทศบาลตำบลท่าใหม่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าใหม่ แยกซ้ายไปตามถนนสรรพกิจ ผ่านโรงพยาบาลอำเภอท่าใหม่ แยกซ้ายไปตามถนนศรีนวดิตถ์ แยกขวาไปตามถนนเทศบาลสาย ๗ ตรงไปตามถนนกั้นน้ำเค็มคลองวังโตนด ผ่านมหาวิทยาลัยบูรพา บ้านคลองขุด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๙๙ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคุ้งวิมาน ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ พูลศักดิ์ ประณุทนรพาล ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดจันทบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๑๙๓/๙ เมษายน ๒๕๕๒
602722
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1923 (พ.ศ. 2552) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 83 วงกลมตลิ่งชัน-สถานีรถไฟบางกอกน้อย และ หมวด 4 กรุงเทพมหานคร สายที่ 1078 อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ-ซอยแจ้งวัฒนะ 14
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๒๓ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๘๓ วงกลมตลิ่งชัน-สถานีรถไฟบางกอกน้อย และ หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๐๗๘ อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ-ซอยแจ้งวัฒนะ ๑๔[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๐๑๙ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๓๙ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๘๓ วงกลมตลิ่งชัน-พาณิชยการราชดำเนิน (ธนบุรี) เป็น วงกลมตลิ่งชัน-สถานีรถไฟบางกอกน้อย และให้มีเส้นทางแยกช่วงวงกลมตลิ่งชัน-พาณิชยการราชดำเนิน (ธนบุรี) ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๗๓ (พ.ศ. ๒๕๕๑) ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๑ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๐๗๘ อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ-ซอยแจ้งวัฒนะ ๑๔ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๒ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๑๙๒/๙ เมษายน ๒๕๕๒
602718
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1922 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 จำนวน 5 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๒๒ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ จำนวน ๕ เส้นทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๗๕๓ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๔ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๒๗ บ่อพลอย-อู่ทอง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๗๓๕ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๔๐ นครราชสีมา-จันทบุรี เป็น นครราชสีมา-แหลมงอบ ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๔๗๘ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ ภาคใต้และภาคตะวันตก สายที่ ๔๗๖ นครศรีธรรมราช-พัทลุง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๗๒๓ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๘๑๕ มุกดาหาร-พัทยา เป็น มุกดาหาร-ระยอง และเส้นทางแยกช่วงมุกดาหาร-ร้อยเอ็ด-พัทยา เป็น ช่วงมุกดาหาร-ร้อยเอ็ด-ระยอง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๔๒๘ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๘๑๗ ขอนแก่น-คำม่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๒๗ บ่อพลอย-อู่ทอง โดยให้ยกเลิกเส้นทางแยกช่วงอู่ทอง-บ้านอ่างหิน สายที่ ๓๔๐ นครราชสีมา-แหลมงอบ เป็น นครราชสีมา-ตราด และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนครราชสีมา-แหลมงอบ สายที่ ๔๗๖ นครศรีธรรมราช-พัทลุง สำหรับช่วงนครศรีธรรมราช-ชะอวด-พัทลุง สายที่ ๘๑๕ มุกดาหาร-ระยอง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงมุกดาหาร-บ่อวิน-ระยอง เพิ่มขึ้นอีก ๑ ช่วง และสายที่ ๘๑๗ ขอนแก่น-คำม่วง เป็น ขอนแก่น-วังสามหมอ และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงขอนแก่น-คำม่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๓๒๗ บ่อพลอย-อู่ทอง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ่อพลอย ไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๓๓๔๒ ผ่านบ้านหนองโก บ้านเขาเขียว บ้านห้วยกระเจา บ้านหนองแกเวช บ้านไผ่สี บ้านห้วยยาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภออู่ทอง สายที่ ๓๔๐ นครราชสีมา-ตราด เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านบ้านถนนหัก ทางแยกเข้าอำเภอปักธงชัย ทางแยกเขื่อนลำพระเพลิง บ้านหลุมเงิน บ้านห้วยน้ำเค็ม บ้านวังมืด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ผ่านจังหวัดสระแก้ว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๗ ผ่านอำเภอวังน้ำเย็น บ้านปะตง อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอมะขาม ถึงจังหวัดจันทบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๔๘ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านบ้านแสนตุ้ง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตราด ช่วงนครราชสีมา-แหลมงอบ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านบ้านถนนหัก ทางแยกเข้าอำเภอปักธงชัย ทางแยกเขื่อนลำพระเพลิง บ้านหลุมเงิน บ้านห้วยน้ำเค็ม บ้านวังมืด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ผ่านจังหวัดสระแก้ว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๗ ผ่านอำเภอวังน้ำเย็น บ้านปะตง อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอมะขาม ถึงจังหวัดจันทบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๔๘ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ถึงบ้านแสนตุ้ง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕๖ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอแหลมงอบ สายที่ ๔๗๖ นครศรีธรรมราช-พัทลุง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครศรีธรรมราช ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓ ผ่านอำเภอร่อนพิบูลย์ ถึงแยกส่วนผัก แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ผ่านบ้านทุ่งโป๊ะ บ้านไม้เสียบ สี่แยกพิกุลทอง บ้านไสยวน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพัทลุง ช่วงนครศรีธรรมราช-ชะอวด-พัทลุง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครศรีธรรมราช ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓ ผ่านอำเภอร่อนพิบูลย์ ถึงแยกสวนผัก แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ถึงบ้านทุ่งโป๊ะ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑๘ ผ่านอำเภอชะอวด ถึงบ้านไม้เสียบ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ถึงแยกพิกุลทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๘๗ ถึงอำเภอควนขนุน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๔๘ ถึงบ้านไสยวน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ไปจุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพัทลุง สายที่ ๘๑๕ มุกดาหาร-ระยอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดมุกดาหาร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒ ผ่านอำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอเลิงนกทา ถึงจังหวัดอำนาจเจริญ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒ ผ่านจังหวัดยโสธร ถึงอำเภอสุวรรณภูมิ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ผ่านอำเภอท่าตูม อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ถึงอำเภอปราสาท แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านอำเภอประโคนชัย อำเภอนางรอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๘ ผ่านอำเภอปะคำ ถึงบ้านใหม่ไทยถาวร แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๘๖ ผ่านบ้านโคคลาน ถึงบ้านทางโค้ง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๘ ถึงอำเภออรัญประเทศ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ผ่านอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ถึงแยกอำเภอกบินทร์บุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านแยกอำเภอพนมสารคาม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ (ถนนเลี่ยงเมือง) ถึงทางแยกบางปะกง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง เมืองพัทยา อำเภอบ้านฉาง บ้านมาบตาพุด ไปจดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง ช่วงมุกดาหาร-ร้อยเอ็ด-ระยอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดมุกดาหาร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๔๒ ผ่านอำเภอคำชะอี อำเภอหนองสูง ถึงอำเภอกุฉินารายณ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๔๖ ถึงอำเภอโพนทอง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๔๔ ถึงจังหวัดร้อยเอ็ด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๔๕ ผ่านอำเภอวาปีปทุม ถึงอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙ ผ่านอำเภอสตึก ถึงจังหวัดบุรีรัมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๘ ถึงบ้านตะโก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ถึงอำเภอนางรอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๘ ผ่านอำเภอปะคำ ถึงบ้านใหม่ไทยถาวร แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๘๖ ผ่านบ้านโคคลาน ถึงบ้านทางโค้ง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๘ ถึงอำเภออรัญประเทศ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ผ่านอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ถึงแยกอำเภอกบินทร์บุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านแยกอำเภอพนมสารคาม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ (ถนนเลี่ยงเมือง) ถึงทางแยกบางปะกง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดิหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง เมืองพัทยา อำเภอบ้านฉาง บ้านมาบตาพุด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง ช่วงมุกดาหาร-บ่อวิน-ระยอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารมุกดาหาร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒ ผ่านอำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอเลิงนกทา ถึงจังหวัดอำนาจเจริญ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒ ผ่านจังหวัดยโสธร ถึงอำเภอสุวรรณภูมิ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ผ่านอำเภอท่าตูม อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ถึงอำเภอปราสาท แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านอำเภอประโคนชัย อำเภอนางรอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๘ ผ่านอำเภอปะคำ ถึงบ้านใหม่ไทยถาวร แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๘๖ ผ่านบ้านโคคลาน ถึงบ้านทางโค้ง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๘ ถึงอำเภออรัญประเทศ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ผ่านอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ถึงแยกอำเภอกบินทร์บุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านแยกเขาหินซ้อน แยกชำขวาง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑ ผ่านอำเภอแปลงยาว บ้านบ่อวิน ถึงบ้าน กม. ๑๐ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง สายที่ ๘๑๗ ขอนแก่น-วังสามหมอ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙ ผ่านอำเภอเชียงยืน ถึงแยกอำเภอยางตลาด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓ ถึงจังหวัดกาฬสินธุ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๗ ผ่านบ้านห้วยสีทน วัดสักกะวัน (ซากกระดูกไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว) อำเภอสหัสขันธ์ พุทธสถานภูสิงห์ วัดพุทธนิมิตภูค่าว บ้านใหม่ชัยมงคล บ้านโพน ผ่านบ้านคำพิมูล ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอวังสามหมอ ช่วงขอนแก่น-คำม่วง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙ ผ่านอำเภอเชียงยืน ถึงสี่แยกอำเภอยางตลาด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓ ถึงจังหวัดกาฬสินธุ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๗ ผ่านบ้านห้วยสีทน วัดสักกะวัน (ซากกระดูกไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว) อำเภอสหัสขันธ์ พุทธสถานภูสิงห์ วัดพุทธนิมิตภูค่าว บ้านใหม่ชัยมงคล บ้านโพน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕๓ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอคำม่วง ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๑๘๗/๙ เมษายน ๒๕๕๒
602716
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1921 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 4 กรุงเทพมหานคร จำนวน 3 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๒๑ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร จำนวน ๓ เส้นทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๒๙ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๐ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๐๐๙ ตลาดยิ่งเจริญ-วัดแป้นทองโสภาราม เป็น ตลาดยิ่งเจริญ-ตลาดวงศกร-มีนบุรี และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก ๑ ช่วง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๕๗๙ (พ.ศ. ๒๕๓๑) ประกาศ ณ วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๑ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๐๑๗ เพชรเกษม-สามแยกบางบอน ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพชรเกษม-ซอยกำนันแม้น ๓ ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่ ๕๑๒ (พ.ศ. ๒๕๑๘) ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๑๘ กำหนดเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทาง หมวด ๔ เพิ่มเติม (กรุงเทพมหานคร) สายที่ ๑๔๐๒ เพชรเกษม-ซอยวัดสิงห์ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๐๐๙ ตลาดยิ่งเจริญ-ตลาดวงศกร-มีนบุรี โดยยกเลิกเส้นทางช่วงตลาดยิ่งเจริญ-วัดอยู่ดีบำรุงธรรม (วัดออเงิน) สายที่ ๑๐๑๗ เพชรเกษม-สามแยกบางบอน เป็น วงกลมเพชรเกษม-ห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์บางบอน และสายที่ ๑๔๐๒ เพชรเกษม-ซอยวัดสิงห์ เป็น เพชรเกษม-ห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์บางบอน โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๐๐๙ ตลาดยิ่งเจริญ-ตลาดวงศกร-มีนบุรี เที่ยวไป เริ่มต้นจากตลาดยิ่งเจริญ ไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามถนนจันทรุเบกษา แยกซ้ายไปตามถนนเลียบคลองสอง แยกขวาไปตามถนนสายไหม ผ่านตลาดวงศกร ไปตามถนนหทัยราษฎร์ แยกซ้ายไปตามถนนหทัยมิตร แยกขวาไปตามถนนนิมิตรใหม่ ถนนสุวินทวงศ์ แยกขวาไปตามถนนรามคำแหง แยกขวาไปตามถนนร่มเกล้า แยกซ้ายไปตามถนนสีหบุรานุกิจ จนสุดเส้นทางที่ตลาดมีนบุรี เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากตลาดมีนบุรี ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ แยกขวาไปตามถนนสุวินทวงศ์ แยกซ้ายไปตามถนนนิมิตรใหม่ แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่ตลาดยิ่งเจริญ ช่วงตลาดยิ่งเจริญ-วัดแป้นทองโสภาราม เริ่มต้นจากตลาดยิ่งเจริญ ไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามซอยพหลโยธิน ๕๔/๑ ถนนเลียบคลองสอง แยกขวาไปตามถนนสายไหม ผ่านตลาดวงศกร ไปตามถนนหทัยราษฎร์ แยกขวาไปตามซอยวัดแป้นทอง ผ่านโรงเรียนขุมทองวิทยา โรงเรียนวัดแป้นทองโสภาราม จนสุดเส้นทางที่วัดแป้นทองโสภาราม ช่วงตลาดยิ่งเจริญ-ถนนเพิ่มสิน-ตลาดวงศกร เริ่มต้นจากตลาดยิ่งเจริญ ไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามซอยพหลโยธิน ๕๔/๑ ถนนเลียบคลองสอง แยกขวาไปตามถนนเพิ่มสิน ผ่านโรงเรียนศิริวัฒน์วิทยา วัดอยู่ดีบำรุงธรรม (วัดออเงิน) แยกซ้ายไปตามถนนสุขาภิบาล ๕ จนสุดเส้นทางที่ตลาดวงศกร ช่วงตลาดยิ่งเจริญ-วัดเกาะสุวรรณาราม-วัดพรพระร่วงประสิทธิ์ เริ่มต้นจากตลาดยิ่งเจริญ ไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามซอยพหลโยธิน ๕๔/๑ แยกขวาไปตามซอยวัดเกาะสุวรรณาราม ผ่านวัดเกาะสุวรรณาราม โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม หมู่บ้านเพชรไพลิน แยกซ้ายไปตามถนนเพิ่มสิน ผ่านวัดอยู่บำรุงธรรม (วัดออเงิน) แยกขวาไปตามถนนสุขาภิบาล ๕ จนสุดเส้นทางที่วัดพรพระร่วงประสิทธิ์ ช่วงตลาดยิ่งเจริญ-ถนนเพิ่นสิน-โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางเขน เริ่มต้นจากตลาดยิ่งเจริญ ไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามซอยพหลโยธิน ๕๔/๑ ถนนเลียบคลองสอง แยกขวาไปตามถนนเพิ่มสิน ผ่านวัดลุ่มเจริญศรัทธาธรรม แยกขวาตามถนนวัชรพล ผ่านโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๕ จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางเขน ช่วงวัดอยู่ดีบำรุงธรรม (วัดออเงิน)-ตลาดวงศกร-ถนนลำลูกกา เริ่มต้นจากวัดอยู่ดีบำรุงธรรม (วัดออเงิน) ไปตามถนนเพิ่มสิน แยกซ้ายไปตามถนนสุขาภิบาล ๕ แยกซ้ายไปตามถนนสายไหม ผ่านตลาดวงศกร แยกขวาไปตามถนนเฉลิมพงษ์ จนสุดเส้นทางที่บริเวณบรรจบถนนลำลูกกา สายที่ ๑๐๑๗ วงกลมเพชรเกษม-ห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์บางบอน เริ่มต้นตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม ถึงแยกบางแค แยกซ้ายไปตามถนนบางแค ถนนบางบอน ๑ แยกซ้ายไปตามซอยบางบอน ๘ ซอยกำนันแม้น ๑๓ แยกขวาไปตามซอยกำนันแม้น ซอยเอกชัย ๓๖ ถึงแยกวัดสิงห์ แยกขวาไปตามถนนเอกชัย ผ่านห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์บางบอน ถึงแยกบางบอน แยกขวาไปตามถนนบางบอน ๑ ถนนบางแค แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม จนสุดเส้นทางที่ตลาดบางแค สายที่ ๑๔๐๒ เพชรเกษม-ห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์บางบอน เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม ถึงแยกบางแค แยกซ้ายไปตามถนนบางแค ถึงแยกพัฒนาการ แยกขวาไปตามถนนเทอดไท ถึงแยกกำนันแม้น แยกขวาไปตามถนนสายศาลธนบุรี ซอยหมู่บ้านทรัพย์สิน-บางขุนเทียน ซอยกำนันแม้น ถึงแยกวัดสิงห์ แยกขวาไปตามถนนเอกชัย จนสุดเส้นทางที่ห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์บางบอน ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๑๘๔/๙ เมษายน ๒๕๕๒
602714
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1920 (พ.ศ. 2552) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 377 สระแก้ว-กบินทร์บุรี
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๒๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๗๗ สระแก้ว-กบินทร์บุรี[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๗๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑) ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๑ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๗๗ สระแก้ว-กบินทร์บุรี นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๒ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๑๘๓/๙ เมษายน ๒๕๕๒
602710
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1919 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 4 กรุงเทพมหานคร สายที่ 1124 ตลาดบางแค-โรงเรียนศึกษานารี 2 สำหรับเส้นทางช่วงตลาดบางแค-ถนนพุทธมณฑลสาย 4 เป็น ตลาดบางแค-หมู่บ้านนพดล
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๑๙ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๑๒๔ ตลาดบางแค-โรงเรียนศึกษานารี ๒ สำหรับเส้นทางช่วงตลาดบางแค-ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ เป็น ตลาดบางแค-หมู่บ้านนพดล[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๙๗ (พ.ศ. ๒๕๕๑) ประกาศ ณ วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๑ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๑๒๔ ตลาดบางแค-โรงเรียนศึกษานารี ๒ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตลาดบางแค-หมู่บ้านเพชรสยาม และช่วงถนนพุทธมณฑลสาย ๔-โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี เพิ่มขึ้นอีก ๒ ช่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๒ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๑๒๔ ตลาดบางแค-โรงเรียนศึกษานารี ๒ สำหรับเส้นทางช่วงตลาดบางแค-ถนนพุทธมณฑล สาย ๔ เป็น ตลาดบางแค-หมู่บ้านนพดล โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๑๒๔ ตลาดบางแค-โรงเรียนศึกษานารี ๒ เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกซ้ายไปตามถนนมาเจริญ ผ่านทางเข้าตลาดหนองแขม ไปตามถนนบางบอน ๕ แยกขวาไปตามถนนเอกชัย จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนศึกษานารี ๒ ช่วงตลาดบางแค-หมู่บ้านนพดล เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๔ จนสุดเส้นทางที่หมู่บ้านนพดล ช่วงตลาดบางแค-วัดศรีนวลธรรมวิมล-โรงเรียนศึกษานารี ๒ เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกซ้ายไปตามถนนมาเจริญ แยกขวาไปตามถนนเลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้ แยกซ้ายไปตามถนนหนองแขม-วัดศรีนวลธรรมวิมล แยกซ้ายไปตามถนนสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ๑ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สค. ๔๐๐๙ แยกขวาไปตามซอยโรงเรียนนวลนรดิศ แยกขวาไปตามถนนบางบอน ๕ แยกขวาไปตามถนนเอกชัย จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนศึกษานารี ๒ ช่วงตลาดบางแค-วัดใหม่หนองพะอง เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกซ้ายไปตามถนนมาเจริญ แยกขวาไปตามถนนสวนหลวงร่วมใจ ถนนเลียบคลองภาษีเจริญฝั่งเหนือ จนสุดเส้นทางที่วัดใหม่หนองพะอง ช่วงตลาดบางแค-หมู่บ้านเพชรสยาม เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกซ้ายไปตามซอยเพชรเกษม ๖๓ แยกซ้ายไปตามถนนวัดม่วง-บางบอน ๒ ผ่านวัดม่วง โรงเรียนวัดม่วง โรงเรียนปัญญาวรคุณ แยกขวาไปตามซอยเรืองสอน ๓ จนสุดเส้นทางที่หมู่บ้านเพชรสยาม ช่วงถนนพุทธมลฑลสาย ๔-โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี เริ่มต้นจากถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ไปตามถนนเพชรเกษม แยกซ้ายไปตามถนนพุทธมณฑล สาย ๓ แยกขวาไปตามถนนอัสสัมชัญ จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๑๘๑/๙ เมษายน ๒๕๕๒
602708
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1918 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 301 จันทบุรี-ตราด
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๑๘ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๐๑ จันทบุรี-ตราด[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๐๗ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์โดยสารระหว่างจังหวัด (เฉพาะจังหวัดในส่วนภูมิภาค) สายที่ ๓๐๑ จันทบุรี-ตราด นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าวให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้อนุมัติในหลักการไว้แล้ว ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๐๑ จันทบุรี-ตราด โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๓๐๑ จันทบุรี-ตราด เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดจันทบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอขลุง อำเภอเขาสมิง ไปสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตราด ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๑๘๐/๙ เมษายน ๒๕๕๒
601593
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. 2552
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลง สภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ เสียใหม่ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบคัสซีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๔ (รถสองชั้น) ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๔๗ ข้อ ๔ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในประกาศนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๕ การอนุญาตให้รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงโครงคัสซีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ ก. การตัดต่อโครงคัสซี (๑) รถที่มีโครงคัสซี (Chassis Frame) ต้องมีโครงคัสซีเดิมเป็นสาระสำคัญในการรับน้ำหนักรถ ดังนี้ (๑.๑) โครงคัสซีเดิมจากผู้ผลิตที่เป็นชิ้นเดียวกันและมีหมายเลขคัสซีปรากฏอยู่ต้องมีความยาวเหลืออยู่เกินกว่าร้อยละ ๕๐ ของความยาวโครงคัสซีทั้งหมด (๑.๒) กรณีโครงคัสซีเดิมจากผู้ผลิตที่เป็นชิ้นเดียวกันและมีหมายเลขคัสซีปรากฏอยู่มีความยาวเหลืออยู่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของความยาวโครงคัสซีทั้งหมด การอนุญาตจะทำได้ต่อเมื่อมีเหตุผลความจำเป็นเนื่องจากสภาพโครงสร้างและการใช้งานของรถ และโครงคัสซีส่วนนั้นต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า ๑๓๐ เซนติเมตร ซึ่งเมื่อรวมกับความยาวโครงคัสซีเดิมจากผู้ผลิตส่วนอื่น ๆ อีกไม่เกิน ๒ ส่วนแล้วต้องทำให้โครงคัสซีเดิมยาวเกินกว่าร้อยละ ๕๐ ของความยาวโครงคัสซีทั้งหมด และต้องมีหนังสือรับรองชิ้นส่วนของโครงคัสซีเดิมจากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถด้วย (๑.๓) การแก้ไขเพิ่มเติมความยาวสุดของรถให้ผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมและทำให้รถมีความยาวเกินกว่า ๑๐ เมตร ต้องเป็นรถที่ผู้ผลิตกำหนดให้มีน้ำหนักรวมสูงสุด (GVW) ไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ กิโลกรัม หรือมีขนาดหน้าตัดของโครงคัสซีส่วนที่ใหญ่สุดมีความสูงไม่น้อยกว่า ๒๐๐ มิลลิเมตร (๒) รถที่มีโครงสร้างเป็นแบบโมโนค็อก (Monocoque) หรือแบบเซมิโมโนค็อก (Semi-Monocoque) ซึ่งใช้โครงสร้างตัวถังเป็นสาระสำคัญในการรับน้ำหนักรถดังนี้ (๒.๑) ต้องมีโครงสร้างส่วนที่รองรับน้ำหนักบริเวณเพลาล้อหน้า เพลาล้อท้ายหรือคู่ท้ายและส่วนที่มีหมายเลขคัสซีเป็นโครงสร้างเดิม และต้องมีหนังสือรับรองชิ้นส่วนจากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถด้วย (๒.๒) การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงความยาวสุดของรถให้ผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมและทำให้รถมีความยาวเกินกว่า ๑๐ เมตร ต้องเป็นรถที่ผู้ผลิตกำหนดให้มีน้ำหนักรวมสูงสุด (GVW) ไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ กิโลกรัม หรือมีขนาดหน้าตัดของโครงคัสซีส่วนที่ใหญ่สุดมีความสูงไม่น้อยกว่า ๒๐๐ มิลลิเมตร ข. การเปลี่ยนโครงคัสซี ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (๑) ต้องเป็นรถที่จดทะเบียนหรือเคยจดทะเบียนไว้แล้วตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (๒) ต้องไม่เปลี่ยนเครื่องกำเนิดพลังงานในคราวเดียวกัน (๓) โครงคัสซีที่นำมาเปลี่ยนต้องเป็นชนิด (Maker) เดียวกับโครงคัสซีรถเดิมที่จดทะเบียนไว้และต้องไม่มีการต่อโครงคัสซีนั้น (๔) ต้องไม่ทำให้รถนั้นเปลี่ยนแปลงไปเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดดังนี้ (๔.๑) ความยาวสุดของรถ เปลี่ยนแปลงจากประวัติรถเดิมไม่เกินร้อยละ ๕ (๔.๒) น้ำหนักรถ เปลี่ยนแปลงจากที่จดทะเบียนไว้ไม่เกินร้อยละ ๒๐ (๔.๓) น้ำหนักรวมสูงสุด เปลี่ยนแปลงจากเดิมไม่เกินร้อยละ ๒๕ ของน้ำหนักรวมสูงสุดที่จดทะเบียนไว้ ค. การเปลี่ยนเครื่องกำเนิดพลังงาน เครื่องกำเนิดพลังงานที่นำมาเปลี่ยนต้องมีอัตรากำลังขั้นต่ำไม่น้อยกว่า ๕ กิโลวัตต์ต่อตันของน้ำหนักรวมสูงสุด ข้อ ๖ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๑ มาตรฐาน ๒ และมาตรฐาน ๔ ที่มีความสูงเกินกว่า ๓.๖๐ เมตร ต้องนำรถเข้าตรวจและทดสอบการทรงตัวของรถโดยใช้อุปกรณ์ทดสอบการทรงตัว (Tilt-Table Test) ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและระยะเวลาที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด ข้อ ๗ รถที่เคยได้รับการอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงโครงคัสซีและได้ดำเนินการทางทะเบียนแล้วเสร็จก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ การขออนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงโครงคัสซีครั้งใหม่ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (๑) กรณีโครงคัสซีจากบริษัทผู้ผลิตที่เป็นชิ้นเดียวกันและมีหมายเลขคัสซีปรากฏอยู่มีความยาวเหลืออยู่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ ให้พิจารณาอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพรถเป็นมาตรฐานอื่นได้ทุกมาตรฐาน (๒) กรณีโครงคัสซีจากบริษัทผู้ผลิตที่เป็นชิ้นเดียวกันและมีหมายเลขคัสซีปรากฏอยู่ มีความยาวเหลืออยู่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ และมิได้อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ ก. (๑) (๑.๒) ให้พิจารณาอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพรถเป็นมาตรฐานอื่นได้ทุกมาตรฐานยกเว้นมาตรฐาน ๔ ข้อ ๘ บรรดารถที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถไว้แล้วและไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การอนุญาตตามประกาศนี้ หากประสงค์จะขออนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ให้ดำเนินการยื่นขออนุญาตต่อนายทะเบียนภายในกำหนด ๙๐ วัน และต้องดำเนินการทางทะเบียนสำหรับรถนั้นให้แล้วเสร็จภายใน ๑๘๐ วัน นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ โดยการพิจารณาอนุญาตต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ (๑) การอนุญาตให้ตัดต่อโครงคัสซี ต้องเป็นกรณีโครงคัสซีเดิมหรือชิ้นส่วนของโครงคัสซีเดิมที่เหลืออยู่ มีความยาวเกินกว่าร้อยละ ๕๐ ของโครงคัสซีหรือชิ้นส่วนโครงคัสซีที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงใหม่และยังคงเป็นสาระสำคัญในการรองรับน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุก (๒) การอนุญาตให้เปลี่ยนโครงคัสซี ซึ่งถือเป็นการให้ความเห็นชอบรถคันใหม่ที่ต้องจดทะเบียนและชำระภาษีใหม่ ต้องเป็นกรณีโครงคัสซีเดิมที่เหลืออยู่ มีความยาวไม่เกินร้อยละ ๕๐ หรือมีความยาวเกินกว่าร้อยละ ๕๐ ของความยาวโครงคัสซีที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงใหม่ แต่มิได้เป็นสาระสำคัญในการรองรับน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกอีกต่อไป ข้อ ๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถที่ประสงค์จะขออนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถตามข้อ ๘ ให้ยื่นหลักฐานเอกสารต่อนายทะเบียน ดังนี้ (๑) หนังสือขออนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมเป็นรายคัน (๒) รูปถ่ายของรถคันที่ขอรับความเห็นชอบ (๓) ลายหมายเลขโครงคัสซี (๔) สำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนหรือหลักฐานการได้มาของรถ (๕) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถ (๖) แผนที่และภาพถ่ายสถานที่เก็บหรือจอดรถ ประกาศ ณ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ เมษายน ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๓๘/๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒
601232
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ 179 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดขอนแก่น สายที่ 17 บ้านโนนทัน-บ้านโคกท่า เส้นทางแยกช่วงบ้านโนนทัน-หมู่บ้านพัชรียา ให้มีรายละเอียดเส้นทางผ่านการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดขอนแก่น
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๗๙ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๑๗ บ้านโนนทัน-บ้านโคกท่า เส้นทางแยกช่วงบ้านโนนทัน-หมู่บ้านพัชรียา ให้มีรายละเอียดเส้นทางผ่านการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดขอนแก่น[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ ๑๗๖ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ลงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๐ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๑๗ บ้านโนนทัน-บ้านโคกท่า นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่นได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๘/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๑๗ บ้านโนนทัน-บ้านโคกท่า เส้นทางแยกช่วงบ้านโนนทัน-หมู่บ้านพัชรียา ให้มีรายละเอียดเส้นทางผ่านการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดขอนแก่น โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑๗ ชื่อเส้นทาง บ้านโนนทัน-บ้านโคกท่า เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนทัน ไปตามถนนโพธิสาร แยกขวาไปตามถนนรอบบึงแก่นนคร ตรงไปตามถนนนิกรสำราญ แยกขวาไปตามถนนกลางเมือง แยกขวาไปตามถนนชีท่าขอน แยกซ้ายไปตามถนนหลังเมือง แยกซ้ายไปตามถนนประชาสโมสร แยกขวาไปตามถนนหน้าเมือง แยกขวาไปตามถนนหน้าศูนย์ราชการ แยกซ้ายไปตามถนนหลังเมือง แยกขวาไปตามถนนศูนย์ราชการ แยกซ้ายไปตามถนนกสิกรทุ่งสร้าง ถึงค่ายศรีพัชรินทร์ ตรงไปตามทางหลวงชนบท ผ่านโรงเรียนขามแก่นนคร บ้านเกสร บ้านโกทา บ้านหนองหิน บ้านบึง บ้านห้วยซัน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโคกท่า ช่วงสนามม้าจังหวัดขอนแก่น-บ้านศิลา เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสนามม้าจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ แยกขวาไปตามถนนเหล่านาดี แยกซ้ายไปตามถนนรถไฟ ถึงสถานีรถไฟขอนแก่น แยกขวาไปตามถนนรื่นรมย์ แยกซ้ายไปตามถนนหน้าเมือง แยกขวาไปตามถนนชวนชื่น แยกขวาไปตามถนนหลังเมือง ถึงวัดศรีนวล แยกซ้ายไปตามถนนรอบเมือง แยกซ้ายไปตามถนนพิมพสุต แยกขวาไปตามถนนหลังเมือง แยกซ้ายไปตามถนนประชาสโมสร แยกขวาไปตามถนนหน้าเมือง แยกขวาไปตามถนนหน้าศูนย์ราชการ แยกซ้ายไปตามถนนหลังเมือง แยกขวาไปตามถนนศูนย์ราชการ แยกซ้ายไปตามถนนกสิกรทุ่งสร้าง ถึงค่ายศรีพัชรินทร์ ตรงไปตามทางหลวงชนบท ผ่านโรงเรียนขามแก่นนคร บ้านเกสร บ้านโกทา ถึงบ้านหนองหิน แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านศิลา ช่วงบ้านโนนทัน-หมู่บ้านพัชรียา เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนทัน ไปตามถนนโพธิสาร แยกขวาไปตามถนนรอบบึงแก่นนคร ตรงไปตามถนนนิกรสำราญ แยกขวาไปตามถนนกลางเมือง แยกขวาไปตามถนนชีท่าขอน แยกซ้ายไปตามถนนหลังเมือง แยกซ้ายไปตามถนนประชาสโมสร แยกขวาไปตามถนนหน้าเมือง แยกขวาไปตามถนนหน้าศูนย์ราชการ ผ่านสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดขอนแก่น แยกซ้ายไปตามถนนกสิกรทุ่งสร้าง ผ่านการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดขอนแก่น ค่ายศรีพัชรินทร์ ถึงทางแยกเข้าชุมชนบ้านคอนสวรรค์ แยกซ้ายไปตามถนนชุมชนบ้านคอนสวรรค์ ผ่านชุมชนบ้านคอนสวรรค์ หมู่บ้านพิมานบุรีเกสร หมู่บ้านฉัตรเพชร ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหมู่บ้านพัชรียา ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ มานิต วัฒนเสน ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๙ ง/หน้า ๒๗๑/๑๙ มีนาคม ๒๕๕๒
601228
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครปฐม ฉบับที่ 102 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดนครปฐม สายที่ 8239 นครปฐม-ท่าเรือหน้าวัดปรีดาราม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนครปฐม-วัดปรีดาราม
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครปฐม ฉบับที่ ๑๐๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครปฐม สายที่ ๘๒๓๙ นครปฐม-ท่าเรือหน้าวัดปรีดาราม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนครปฐม-วัดปรีดาราม[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม ฉบับที่ ๓๘ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ลงวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครปฐม สายที่ ๘๒๓๙ นครปฐม-ท่าเรือหน้าวัดปรีดาราม ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐมได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม ในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครปฐม สายที่ ๘๒๓๙ นครปฐม-ท่าเรือหน้าวัดปรีดาราม ให้มีรายละเอียดแยกช่วงนครปฐม-วัดปรีดาราม โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ หมวด ๔ สายที่ ๘๒๓๙ นครปฐม-ท่าเรือหน้าวัดปรีดาราม เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครปฐม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านแยกวัดพระประโทนเจดีย์ วัดธรรมศาลา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๓๔ ผ่านบ้านห้วยตะโก วัดบ่อตะกั่วพุทธาราม ตำบลโคกพระเจดีย์ บ้านพาดหมอน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณท่าเรือหน้าวัดปรีดาราม แยกช่วงนครปฐม-วัดปรีดาราม เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครปฐม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านแยกวัดพระประโทนเจดีย์ วัดธรรมศาลา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๓๔ ผ่านบ้านห้วยตะโก วัดบ่อตะกั่วพุทธาราม ตำบลโคกพระเจดีย์ บ้านพาดหมอน แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นฐ ๐๐๔๖ ถึงแยกทางหลวงชนบทสายวัดปรีดาราม-สามพราน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทสายวัดปรีดาราม-สามย่าน ผ่านสะพานเรืองรอง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดปรีดาราม ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ชนินทร์ บัวประเสริฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครปฐม ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๙ ง/หน้า ๒๖๙/๑๙ มีนาคม ๒๕๕๒
600467
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง การยกเว้นค่าโดยสารสำหรับรถมาตรฐาน 3 (รถโดยสารธรรมดา) ในเส้นทางหมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง พ.ศ. 2551
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง การยกเว้นค่าโดยสารสำหรับรถมาตรฐาน ๓ (รถโดยสารธรรมดา) ในเส้นทางหมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและ จังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง พ.ศ. ๒๕๕๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๔/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑ อนุมัติให้ยกเว้นค่าโดยสารสำหรับรถมาตรฐาน ๓ (รถโดยสารธรรมดาลักษณะพิเศษ และหรือรถโดยสารธรรมดาลักษณะพิเศษ ข) ในเส้นทางหมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน ๘๐๐ คัน ใน ๗๑ เส้นทาง ไม่รวมเส้นทางของรถร่วมบริการ โดยมีสัดส่วนในการให้บริการ คือ รถไม่เสียค่าโดยสาร : รถที่เสียค่าโดยสารปกติ เป็น ๑ : ๑ ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ ถึงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๒ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง การยกเว้นค่าโดยสารสำหรับรถมาตรฐาน ๓ (รถโดยสารธรรมดา) ในเส้นทางหมวด ๑ ใน เขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒ ประกาศนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ถึงวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๓ ยกเว้นค่าโดยสารสำหรับรถมาตรฐาน ๓ (รถโดยสารธรรมดาลักษณะพิเศษ และหรือรถโดยสารธรรมดาลักษณะพิเศษ ข) ในเส้นทางหมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน ๘๐๐ คัน ใน ๗๑ เส้นทาง ไม่รวมเส้นทางของรถร่วมบริการ ดังนี้ ลำดับ สายที่ ชื่อเส้นทาง จำนวนรถ ๑ ถนนตก - ท่าเตียน ๑๓ ๒ สำโรง - ปากคลองตลาด ๑๙ ๓ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) - คลองสาน ๗ ๔ ท่าน้ำภาษีเจริญ - ท่าเรือคลองเตย ๗ ๗ ถนนพระราม ๒ - หัวลำโพง ๒๙ ๑๑ อู่ศรีนครินทร์ - มาบุญครอง ๗ ๑๒ ห้วยขวาง - ปากคลองตลาด ๙ ๑๓ อู่พระราม ๙ - คลองเตย ๑๕ ๑๕ เดอะมอลล์ท่าพระ - สีลม - บางลำภู ๑๑ ๑๖ ประชาชื่น - สุรวงศ์ ๖ ๑๘ ท่าอิฐ - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ๑๔ ๒๑ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - วัดคู่สร้าง ๗ ๒๓ สำโรง - สี่เสาเทเวศน์ (ทางด่วน) ๑๕ ๒๔ ประชานิเวศน์ ๓ - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ๑๓ ๒๕ อู่สายลวด - ท่าช้างวังหลวง ๑๒ ๒๖ มีนบุรี - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ๑๒ ๒๙ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) - หัวลำโพง ๒๒ ๓๒ ปากเกร็ด - วัดพระเชตุพนฯ ๘ ๓๔ รังสิต - ถนนพหลโยธิน - หัวลำโพง ๑๓ ๓๖ อู่โพธิ์แก้ว - สี่พระยา ๑๐ ๔๒ วงกลมท่าพระ - เสาชิงช้า ๕ ๔๕ สำโรง - ท่าน้ำสี่พระยา ๑๑ ๔๗ ท่าเรือคลองเตย - กรมที่ดิน ๑๔ ๔๙ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) - หัวลำโพง ๔ ๕๐ โรงพยาบาลจุฬาฯ - พระราม ๖ ๘ ๕๓ รอบเมืองเทเวศน์ ๑๓ ๕๔ วงกลมรอบเมืองห้วยขวาง ๑๙ ๕๙ รังสิต - สนามหลวง ๘ ๖๐ มีนบุรี - ปากคลองตลาด ๑๔ ๖๒ สาธุประดิษฐ์ - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ๘ ๖๓ อตก. ๓ - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ๖ ๖๕ วัดปากน้ำ - สนามหลวง ๑๑ ๖๖ ประชานิเวศน์ ๒ - สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (ตลิ่งชัน) ๗ ๖๗ วัดเสมียนนารี - เซ็นทรัลพระราม ๓ ๖ ๖๘ บางลำภู - สมุทรสาคร ๑๕ ๗๐ สนามหลวง – ประชานิเวศน์ ๓ ๖ ๗๑ สวนสยาม - วัดธาตุทอง ๑๖ ๗๒ สี่เสาเทเวศน์ - ท่าเรือคลองเตย ๑๐ ๗๕ วัดพุทธบูชา - หัวลำโพง ๑๒ ๗๗ สาธุประดิษฐ์ - สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ๘ ๘๐ โรงเรียนศึกษานารี - สนามหลวง ๖ ๘๒ พระประแดง - บางลำภู ๑๒ ๘๔ คลองสาน - สามพราน ๓๐ ๙๑ สนามหลวง - วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ๔ ๙๓ หมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง - สี่พระยา ๘ ๙๕ รังสิต - มหาวิทยาลัยรามคำแหง ๒๕ ๙๖ สวนสยาม - สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต ๑๙ ๙๗ กระทรวงสาธารณสุข - โรงพยาบาลสงฆ์ ๑๔ ๑๐๑ วัดม่วง - ตลาดโพธิ์ทอง ๑๒ ๑๐๕ คลองสาน - ตลาดมหาชัยเมืองใหม่ ๑๒ ๑๐๗ บางเขน - ท่าเรือคลองเตย (ทางด่วน) ๙ ๑๑๑ วงกลมตลาดพลู - บุคคโล ๑๑ ๑๑๗ กทม. ๒ - อตก. ๓ ๑๐ ๑๒๙ บางเขน - สำโรง (ทางด่วน) ๗ ๑๓๔ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) - หมู่บ้านบัวทองเคหะ ๑๓ ๑๓๖ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) - ท่าเรือคลองเตย ๑๒ ๑๓๗ วงกลมรามคำแหง - ถนนรัชดาภิเษก ๘ ๑๔๕ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) - สมุทรปราการ ๑๘ ๑๕๖ วงกลมโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ - ถนนนวมินทร์ ๑๕ ๑๖๕ พุทธมณฑลสาย ๒ - ศาลาธรรมสพน์ - สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ ๓ ๑๖๖ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ – เมืองทองธานี (ทางด่วน) ๕ ๑๗๘ วงกลมสุคนธสวัสดิ์ - เกษตรนวมินทร์ ๑๔ ๑๗๙ อู่พระราม ๙ - สะพานพระราม ๗ ๘ ๑๘๐ อู่สาธุประดิษฐ์ - วิทยาเขตรามคำแหง ๙ ๑๘๕ คลองเตย - รังสิต ๗ ๑๘๙ สนามหลวง - กระทุ่มแบน ๗ ๑๙๑ อู่โพธิ์แก้ว - กระทรวงพาณิชย์ ๑๕ ๒๐๓ อตก. ๓ - สนามหลวง ๑๖ ๒๐๔ กทม. ๒ - ท่าน้ำราชวงศ์ ๕ ๒๐๕ คลองเตย - ถนนรัชดาภิเษก (ตอนล่าง) ๘ ๒๐๖ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - ประเวศ ๘ รวมจำนวนรถทั้งหมด ๘๐๐ ประกาศ ณ วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๖ ง/หน้า ๒๖๗/๑๒ มีนาคม ๒๕๕๒
600465
ประกาศนายทะเบียนทั่วราชอาณาจักร เรื่อง การออกเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (แบบ ขส.บ. 10ท.-5)
ประกาศนายทะเบียนทั่วราชอาณาจักร ประกาศนายทะเบียนทั่วราชอาณาจักร เรื่อง การออกเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (แบบ ขส.บ. 10ท.-5)[๑] ตามที่ นายทะเบียนทั่วราชอาณาจักรได้มีประกาศกำหนดให้ใช้แบบเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ แบบ ขส.บ. 10ท.-5 สำหรับรถทุกประเภทที่จดทะเบียนในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร โดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ นั้น โดยที่กรมการขนส่งทางบกเห็นควรปรับปรุงเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีให้แก่ประชาชนเจ้าของรถเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว รวมทั้งเป็นการประหยัดงบประมาณในการพิมพ์เครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี จึงได้กำหนดรูปแบบ รายละเอียดและสีของเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ แบบ ขส.บ. 10ท.-5 ขึ้นใหม่อีกแบบหนึ่ง ดังนั้น นายทะเบียนทั่วราชอาณาจักรจึงเห็นสมควรให้ออกเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี ตามแบบ ขส.บ. 10ท.-5 ที่ปรับปรุงใหม่สำหรับรถทุกประเภทที่จดทะเบียน ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เจ้าของรถใช้เป็นหลักฐานในการเสียภาษีประจำปี อนึ่ง เครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี แบบ ขส.บ. 10ท.-5 เดิมที่ยังมีอยู่ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีดังกล่าวจะหมดลง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ชัยรัตน์ สงวนชื่อ นายทะเบียนทั่วราชอาณาจักร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๖ ง/หน้า ๒๑๘/๑๒ มีนาคม ๒๕๕๒
600430
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดรูปแบบรายละเอียดและสีของเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดรูปแบบรายละเอียดและสีของเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี สำหรับรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์[๑] ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดรูปแบบรายละเอียดและสีของเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๔๙ และวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๐ ไว้แล้ว นั้น โดยที่กรมการขนส่งทางบกเห็นควรปรับปรุงเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ให้มีรูปแบบที่เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกเครื่องหมายการเสียภาษีให้แก่ประชาชนเจ้าของรถเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว รวมทั้งเป็นการประหยัดงบประมาณในการพิมพ์เครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี กรมการขนส่งทางบกจึงได้กำหนดรูปแบบและรายละเอียดเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (แบบ ขส.บ. 10ท.-5) ขึ้นใหม่อีกแบบหนึ่ง โดยให้มีรูปแบบเป็นไปตามที่แนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ชัยรัตน์ สงวนชื่อ รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ) ปฏิบัติราชการแทน อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบและสีเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (แบบ ขส.บ. 10ท.-5) แนบท้ายประกาศกรมการขนส่งทางบก ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2551 (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๖ ง/หน้า ๓/๑๒ มีนาคม ๒๕๕๒
599985
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดอุดรธานี ฉบับที่ 131 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดอุดรธานี ฉบับที่ ๑๓๑ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชนและเพื่อรองรับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีแห่งใหม่ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๙ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๖/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๑ จึงมีมติอนุมัติให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดอุดรธานี สายที่ ๑๙ สถานีรถไฟอุดรธานี - แยกบ้านหนองคอนแสน โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑๙ สถานีรถไฟอุดรธานี-แยกบ้านหนองคอนแสน เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำ ทางบริเวณสถานีรถไฟอุดรธานี ไปตามถนนประจักษ์ศิลปาคม แยกซ้ายไปตามถนนสายอุทิศ ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี (แห่งที่ ๑) แยกขวาไปตามถนนโภคานุสรณ์ ถึงอนุสาวรีย์กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม แยกขวาไปตามถนนศรีสุข ผ่านโรงเรียนบ้านหมากแข้ง โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี โรงเรียนสตรีราชินูทิศ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี แยกขวาไปตามถนนเพาะนิยม ผ่านโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี สวนสาธารณะหนองประจักษ์ ศาลเทพารักษ์ แยกขวาไปตามถนนธรรมเจดีย์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐ (ถนนเลี่ยงเมือง) ถึงแยกบ้านสามพร้าว แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อด. ๒๔๑๐ ผ่านบ้านหนองบุ บ้านหนองลีหู บ้านแมด บ้านสามพร้าว ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณแยกบ้านหนองคอนแสน ประกาศ ณ วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ สมบัติ ตรีวัฒน์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดอุดรธานี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๗๒/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599981
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ 94 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง (ถนน ยธ. สร. 2006 (ถ.สาธร) เป็นทางหลวงชนบทหมายเลข สร. 4029 ถนน ร.พ.ช. สร. 3040 เป็นทางหลวงชนบทหมายเลข สร. 2025 ถนน ร.พ.ช. 3031 เป็นทางหลวงชนบทหมายเลข สร. 3075 ถนน ร.พ.ช. 3045 เป็นทางหลวงชนบทหมายเลข สร. 4029 บ้านตะโก เป็น บ้านตาโก บ้านคู เป็น บ้านหนองคู) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสุรินทร์ สายที่ 4458 สังขะ-บ้านหนองโจงโลง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ ๙๔ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง (ถนน ยธ. สร. ๒๐๐๖ (ถ.สาธร) เป็นทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๔๐๒๙ ถนน ร.พ.ช. สร. ๓๐๔๐ เป็นทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๒๐๒๕ ถนน ร.พ.ช. ๓๐๓๑ เป็นทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๓๐๗๕ ถนน ร.พ.ช. ๓๐๕๔ เป็นทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๔๐๒๙ บ้านตะโก เป็น บ้านตาโก บ้านคู เป็น บ้านหนองคู) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๔๔๕๘ สังขะ-บ้านหนองโจงโลง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ ๖๙ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๔ ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๔๔๕๘ สังขะ-บ้านหนองโจงโลง ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง (ถนน ยธ. สร. ๒๐๐๖ (ถ. สาธร) เป็นทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๔๐๒๙ ถนน ร.พ.ช. สร. ๓๐๔๐ เป็นทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๒๐๒๕ ถนน ร.พ.ช. ๓๐๓๑ เป็นทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๓๐๗๕ ถนน ร.พ.ช. สร. ๓๐๕๔ เป็นทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๔๐๒๙ บ้านตะโก เป็น บ้านตาโก บ้านคู เป็น บ้านหนองคู) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๔๔๕๘ สังขะ-บ้านหนองโจงโลง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๔๕๘ สังขะ-บ้านหนองโจงโลง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอสังขะ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๔๐๒๙ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านบ้านพูนทราย บ้านสันติสุข สี่แยกพระแก้ว บ้านโคกไม้แดง บ้านโนนสวรรค์ บ้านพรหมสะอาด บ้างหนองเยาะ ถึงบ้านตาคง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๒๐๒๕ ผ่านบ้านโคกสำโรง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองโจงโลง ช่วงสังขะ-บ้านสนวน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอสังขะ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๔๐๒๙ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านบ้านพูนทราย บ้านสันติสุข ถึงสี่แยกพระแก้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๓๐๗๕ ผ่านบ้านตาโก ถึงบ้านธาตุเจริญ ตรงไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๔๐๒๙ ผ่านบ้านหนองคู บ้านกระสัง บ้านหนองขี้เหล็ก บ้านแสนสนุก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านสนวน ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ปราโมทย์ สัจจรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุรินทร์ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๗๐/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599973
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ 93 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง (ถนน ร.พ.ช. สร. 3011 เป็นทางหลวงชนบทหมายเลข สร. 3027 และถนน ร.พ.ช. สร. 3113 เป็นทางหลวงท้องถิ่น (อบจ. สร.)) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสุรินทร์ สายที่ 4450 สุรินทร์-บ้านหนองตาด-บ้านเมืองลีง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ ๙๓ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง (ถนน ร.พ.ช. สร. ๓๐๑๑ เป็นทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๓๐๒๗ และถนน ร.พ.ช. สร. ๓๑๑๓ เป็นทางหลวงท้องถิ่น (อบจ. สร.)) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๔๔๕๐ สุรินทร์-บ้านหนองตาด-บ้านเมืองลีง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ ๖๘ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๔ ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๔๔๕๐ สุรินทร์-บ้านหนองตาด-บ้านเมืองลีง ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง (ถนน ร.พ.ช. สร. ๓๐๑๑ เป็นทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๓๐๒๗ และถนน ร.พ.ช. สร. ๓๑๑๓ เป็นทางหลวงท้องถิ่น (อบจ. สร.)) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๔๔๕๐ สุรินทร์-บ้านหนองตาด-บ้านเมืองลีง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๔๕๐ สุรินทร์-บ้านหนองตาด-บ้านเมืองลีง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุรินทร์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ผ่านบ้านนาตัง อำเภอจอมพระ บ้านสำโรง ถึงบ้านหนองตาด แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๓๐๒๗ ผ่านบ้านบุผาง บ้านหนองสิม บ้านโนนเปลือย บ้านโค้งเจริญ บ้านโนนแคน บ้านบะ บ้านหนองอีดำ บ้านกระเจา บ้านกระโพ บ้านตระมุง บ้านดงเค็ง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเมืองลีง ช่วงสุรินทร์-บ้านหนองตาด-บ้านตากลาง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุรินทร์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ผ่านบ้านนาตัง อำเภอจอมพระ บ้านสำโรง ถึงบ้านหนองตาด แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๓๐๒๗ ผ่านบ้านบุผาง บ้านหนองสิม บ้านโนนเปลือย บ้านโค้งเจริญ บ้านโนนแคน บ้านบะ บ้านหนองอีดำ บ้านกะเจา ถึงบ้านกระโพ แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น (อบจ. สร.) ผ่านบ้านจินดา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านตากลาง ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ปราโมทย์ สัจจรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุรินทร์ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๖๘/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599969
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ 93 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสุรินทร์ สายที่ 4273 สุรินทร์-บ้านเมืองลีง (ก) สำหรับการเดินรถเส้นทางแยกช่วง จำนวน 3 ช่วง จากเดิมเป็น ดังนี้ 1. ช่วงสุรินทร์-บ้านตากแดด เป็น ช่วงจอมพระ-บ้านตากแดด 2. ช่วงสุรินทร์-บ้านแสลงพันธ์ เป็น ช่วงจอมพระ-บ้านแสลงพันธ์ 3. ช่วงสุรินทร์-บ้านบุแกรง เป็น ช่วงจอมพระ-บ้านบุแกรง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ ๙๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๔๒๗๓ สุรินทร์-บ้านเมืองลีง (ก) สำหรับการเดินรถเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๓ ช่วง จากเดิมเป็น ดังนี้ ๑. ช่วงสุรินทร์-บ้านตากแดด เป็น ช่วงจอมพระ-บ้านตากแดด ๒. ช่วงสุรินทร์-บ้านแสลงพันธ์ เป็น ช่วงจอมพระ-บ้านแสลงพันธ์ ๓. ช่วงสุรินทร์-บ้านบุแกรง เป็น ช่วงจอมพระ-บ้านบุแกรง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ ๖๗ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๔ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๔๒๗๓ สุรินทร์-บ้านเมืองลีง (ก) ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ได้พิจารณาเห็นสมควรปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๑ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๔๒๗๓ สุรินทร์-บ้านเมืองลีง (ก) สำหรับการเดินรถเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๓ ช่วง จากเดิมเป็น ดังนี้ ๑. ช่วงสุรินทร์-บ้านตากแดด เป็น ช่วงจอมพระ-บ้านตากแดด ๒. ช่วงสุรินทร์-บ้านแสลงพันธ์ เป็น ช่วงจอมพระ-บ้านแสลงพันธ์ ๓. ช่วงสุรินทร์-บ้านบุแกรง เป็น ช่วงจอมพระ-บ้านบุแกรง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๒๗๓ สุรินทร์-บ้านเมืองลีง (ก) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุรินทร์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ผ่านบ้านตะแบกน้อย บ้านลำดวน บ้านตำปุง บ้านตะแบกใหญ่ บ้านระไซร์ บ้านโคกกรวด ถึงอำเภอจอมพระ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๗๘ ผ่านบ้านทวารไพร ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเมืองลีง ช่วงสุรินทร์-บ้านอากลัว เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุรินทร์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ถึงหลัก กม. ที่ ๖ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านสระ บ้านอาโพน บ้านหนองตะครอง บ้านภูดิน ถึงบ้านนาเกา แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. สร. ๓๐๙๔ ผ่านบ้านพระปึด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านอากลัว ช่วงสุรินทร์-บ้านกระทมพรง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุรินทร์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ผ่านบ้านตะแบกน้อย บ้านลำดวน บ้านตำปุง ถึงหลัก กม. ที่ ๑๓ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. สร. ๓๑๓๓ ผ่านบ้านนาดี ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านกระทมพรง ช่วงสุรินทร์-บ้านโคกพระ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุรินทร์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ผ่านบ้านตะแบกน้อย บ้านลำดวน บ้านตำปุง บ้านตะแบกใหญ่ ถึงบ้านระไซร์ (กม. ที่ ๑๙) แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านเขวาน้อย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโคกพระ ช่วงจอมพระ-บ้านตากแดด เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอจอมพระ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๒๐๕๘ ผ่านบ้านตาโหมก บ้านละเอาะ ถึงบ้านอาไร ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๒๐๔๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านตากแดด ช่วงจอมพระ-บ้านแสลงพันธ์ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอจอมพระ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๓๐๑๔ ผ่านบ้านตั้งใจ บ้านสังแก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแสลงพันธ์ ช่วงจอมพระ-บ้านบุแกรง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอจอมพระ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๓๐๒๓ ผ่านบ้านปะ บ้านตาบอด บ้านแท่น บ้านว่าน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านบุแกรง ประกาศ ณ วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ วีระ ศรีวัฒนตระกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุรินทร์ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๖๕/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599961
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสระบุรี ฉบับที่ 56 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับ การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสระบุรี สายที่ 2360 ชื่อเส้นทาง สระบุรี-บ้านหนองปลากระดี่-หนองแค เป็น สระบุรี-บ้านเอื้ออาทรหนองแค ๒-หนองแค
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสระบุรี ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับ การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสระบุรี สายที่ ๒๓๖๐ ชื่อเส้นทาง สระบุรี-บ้านหนองปลากระดี่-หนองแค เป็น สระบุรี-บ้านเอื้ออาทรหนองแค ๒-หนองแค[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสระบุรี ฉบับที่ ๔๑ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๐ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสระบุรี สายที่ ๒๓๖๐ ชื่อเส้นทาง สระบุรี-บ้านหนองปลากระดี่-หนองแค ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสระบุรีได้พิจารณาแล้ว สมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสระบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๑ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสระบุรี สายที่ ๒๓๖๐ ชื่อเส้นทาง สระบุรี-บ้านหนองปลากระดี่-หนองแค เป็น สระบุรี-บ้านเอื้ออาทรหนองแค ๒-หนองแค โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๒๓๖๐ สระบุรี-บ้านเอื้ออาทรหนองแค ๒-หนองแค เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามถนนสุดบรรทัด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) แยกขวาไปตามถนนปากเพรียว-โคกสว่าง ตรงไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สบ. ๑๐๒๑ ผ่านวัดนารอง บ้านหนองครก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๙ ถึงบ้านเอื้ออาทรหนองแค ๒ ย้อนกลับเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สบ. ๑๐๒๑ ผ่านบ้านหนองปลาหมอ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๒๖ ผ่านบ้านหนองปลากระดี่ แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน (สายเก่า) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอหนองแค ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ธวัชชัย เทอดเผ่าไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสระบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๖๓/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599957
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสระบุรี ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับ การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 342 สระบุรี-ปากคลอง 13 เป็น เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด 4 จังหวัดสระบุรี สายที่ 2596 ชื่อเส้นทาง สระบุรี-หนองแค
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสระบุรี ฉบับที่ ๕๕ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับ การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๔๒ สระบุรี-ปากคลอง ๑๓ เป็น เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ จังหวัดสระบุรี สายที่ ๒๕๙๖ ชื่อเส้นทาง สระบุรี-หนองแค[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๕๔๗ (พ.ศ. ๒๕๓๑) ลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๓๑ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๑๐๒๗ สระบุรี-หนองแค เป็น หมวด ๓ สายที่ ๓๔๒ สระบุรี-ปากคลอง ๑๓ ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสระบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสระบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๔๒ สระบุรี-ปากคลอง ๑๓ เป็น เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ จังหวัดสระบุรี สายที่ ๒๕๙๖ สระบุรี-หนองแค โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๒๕๙๖ สระบุรี-หนองแค เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามถนนสุดบรรทัด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านหินกอง ถึงอำเภอหนองแค แยกซ้ายไปตามถนนเศรษฐสัมพันธ์ แยกซ้ายไปตามถนนเลียบคลองระพีพัฒน์ฝั่งซ้าย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณชุมชนบ้านปากท่อ อำเภอหนองแค ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ธวัชชัย เทอดเผ่าไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสระบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๖๑/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599953
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสาคร ฉบับที่ 88 (พ.ศ. 2551) เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับ การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสมุทรสาคร สายที่ 8328 สมุทรสาคร-ศาลพันท้ายนรสิงห์ เป็น สมุทรสาคร-การเคหะแห่งชาติธนบุรี
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสาคร ฉบับที่ ๘๘ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับ การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสมุทรสาคร สายที่ ๘๓๒๘ สมุทรสาคร-ศาลพันท้ายนรสิงห์ เป็น สมุทรสาคร-การเคหะแห่งชาติธนบุรี[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสาคร ฉบับที่ ๗๖ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสมุทรสาคร สายที่ ๘๓๒๘ สมุทรสาคร-ศาลพันท้ายนรสิงห์ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสมุทรสาคร-บ้านไร่ (ท่าเรือคลองมหาชัย) สมุทรสาคร-ท่าเรือบ้านโคกขาม-สารินซิตี้ และสมุทรสาคร-ท่าเรือบ้านโคกขาม-วัดบ้านไร่เจริญผล ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสาครได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสาคร ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๐ และครั้งที่ ๓/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ จังหวัดสมุทรสาคร สายที่ ๘๓๒๘ สมุทรสาคร-ศาลพันท้ายนรสิงห์ เป็น สมุทรสาคร-การเคหะแห่งชาติธนบุรี โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๘๓๒๘ สมุทรสาคร-การเคหะแห่งชาติธนบุรี เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสมุทรสาคร ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๕ (ถนนพระรามที่ ๒) ผ่านมหาชัยเมืองใหม่ วัดพันท้ายนรสิงห์ แสมดำ แยกวงแหวนรอบนอก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณการเคหะแห่งชาติธนบุรี ช่วงสมุทรสาคร-ศาลพันท้ายนรสิงห์ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสมุทรสาคร ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๕ (ถนนพระรามที่ ๒) ผ่านมหาชัยเมืองใหม่ กลับรถที่สะพานกลับรถ กม. ๑๔+๕๐๐ ถึงวัดพันท้ายนรสิงห์ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สค. ๒๐๐๔ ข้ามสะพานสนามไชย แยกซ้ายไปตามถนนองค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์ ถึงหมู่บ้านวิเศษสุขแล้วกลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สค. ๒๐๐๔ ผ่านวัดบ้านไร่เจริญผล วัดบ้านโคก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณศาลพันท้ายนรสิงห์ ช่วงสมุทรสาคร-บ้านไร่ (ท่าเรือคลองมหาชัย) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสมุทรสาคร ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๕ (ถนนพระรามที่ ๒) ผ่านมหาชัยเมืองใหม่ ถึงทางแยกไปบ้านไร่ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านไร่ (ท่าเรือคลองมหาชัย) ช่วงสมุทรสาคร-ท่าเรือบ้านโคกขาม-สารินซิตี้ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสมุทรสาคร ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๕ (ถนนพระรามที่ ๒) ผ่านมหาชัยเมืองใหม่ ถึงทางแยกไปบ้านโคกขาม แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สค. ๔๐๐๖ (บ้านคอกควาย-บ้านโคกขาม) ผ่านสถานีรถไฟบ้านคอกกระบือ ข้ามคลองมหาชัย แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สค. ๓๐๑๙ (สายบ้านปากคลองโคกขาม-บ้านไร่) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหมู่บ้านสารินซิตี้ ช่วงสมุทรสาคร-ท่าเรือบ้านโคกขาม-วัดบ้านไร่เจริญผล เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสมุทรสาคร ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๕ (ถนนพระรามที่ ๒) ผ่านมหาชัยเมืองใหม่ ถึงทางแยกไปบ้านโคกขาม แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สค. ๔๐๐๖ (บ้านคอกควาย-บ้านโคกขาม) ผ่านสถานีรถไฟบ้านคอกกระบือ ข้ามคลองมหาชัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สค. ๓๐๑๙ (สายบ้านปากคลองโคกขาม-บ้านไร่) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดบ้านไร่เจริญผล ประกาศ ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ วีระยุทธ เอี่ยมอำภา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสาคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๕๘/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599947
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสาคร ฉบับที่ 87 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสาคร ฉบับที่ ๘๗ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสาครได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสาคร ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสมุทรสาคร สายที่ ๖๐๗๔ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสมุทรสาคร-โรงเรียนฐานเทคโนโลยี โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๖๐๗๔ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสมุทรสาคร-โรงเรียนฐานเทคโนโลยี เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสมุทรสาคร ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๕ (ถนนพระรามที่ ๒) ผ่านมหาชัยเมืองใหม่ แยกซ้ายเข้าซอยราษฎร์พัฒนา ๖ แยกซ้ายไปตามถนนเลียบคลองขุดใหม่บางน้ำจืด แยกขวาข้ามสะพานไปตามถนนทุ่งสีทอง ผ่านหมู่บ้านลลิล หมู่บ้านบุรีรมย์ ไปสิ้นสุดเส้นทางที่สถานที่จดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนฐานเทคโนโลยี เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากโรงเรียนฐานเทคโนโลยี ผ่านหมู่บ้านลลิล หมู่บ้านบุรีรมย์ แยกซ้ายไปตามถนนทุ่งสีทอง แยกซ้ายไปตามถนนเลียบคลองขุดใหม่บางน้ำจืด แยกขวาไปตามถนนราษฎร์พัฒนา ๖ ออกถนนพระรามที่ ๒ กลับรถใต้สะพาน ไปตามถนนพระรามที่ ๒ ผ่านมหาชัยเมืองใหม่ แยกซ้ายผ่านหน้าโรงพยาบาลมหาชัย แยกขวาไปตามถนนมหาชัย ออกถนนพระรามที่ ๒ ลอดใต้สะพานท่าจีน ไปสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสมุทรสาคร ประกาศ ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ วีระยุทธ เอี่ยมอำภา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสาคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๕๖/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599943
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ 59 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4จังหวัดสงขลา สายที่ 1881 สงขลา-จะนะ เป็น สงขลา-จะนะ-สะบ้าย้อย
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ ๕๙ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสงขลา สายที่ ๑๘๘๑ สงขลา-จะนะ เป็น สงขลา-จะนะ-สะบ้าย้อย[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ลงวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๔๑ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๑๘๘๑ สงขลา-จะนะ ให้มีรายละเอียดเส้นทางช่วงอำเภอจะนะ-วัดแหลมพ้อ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลาได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๘/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสงขลา สายที่ ๑๘๘๑ สงขลา-จะนะ เป็น สงขลา-จะนะ-สะบ้าย้อย โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ หมวด ๔ สายที่ ๑๘๘๑ สงขลา-จะนะ-สะบ้าย้อย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสงขลา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๗ (ถนนกาญจนวนิช) ถึงสามแยกสำโรง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘ ผ่านบ้านทุ่งหวัง บ้านควนมีด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘๖ ผ่านอำเภอจะนะ ถึงสามแยกจะนะ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๓ ผ่านบ้านสะกอม บ้านกรงอิตำ ถึงแยกพระพุทธ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘๕ ผ่านอำเภอเทพา บ้านป่ากอ บ้านแม่ที บ้านลำไพล สี่แยกลำไพล ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสะบ้าย้อย ช่วงอำเภอจะนะ-วัดแหลมพ้อ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอจะนะ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘๖ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘ ผ่านบ้านควนมีด บ้านทุ่งหวัง ถึงบ้านอ่างทอง (สามแยกบ้านอ่างทอง) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘ ผ่านบ้านเกาะแต้ว สี่แยกน้ำกระจาย ไปสุดเส้นทางที่วัดแหลมพ้อ ประกาศ ณ วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ วิทยา พานิชพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๕๔/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599939
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ 58 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสงขลา สายที่ 8292 บ้านน้ำกระจาย-บ้านแม่ลาด เป็น สงขลา-บ้านแม่ลาด
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ ๕๘ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสงขลา สายที่ ๘๒๙๒ บ้านน้ำกระจาย-บ้านแม่ลาด เป็น สงขลา-บ้านแม่ลาด[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ ๒๖ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ลงวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๓๕ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๘๒๙๒ บ้านน้ำกระจาย-บ้านแม่ลาด ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลาได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๘/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสงขลา สายที่ ๘๒๙๒ บ้านน้ำกระจาย-บ้านแม่ลาด เป็น สงขลา-บ้านแม่ลาด โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ หมวด ๔ สายที่ ๘๒๙๒ สงขลา-บ้านแม่ลาด เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเมืองสงขลา ไปตามถนนไทรบุรี แยกขวาไปตามถนนเตาหลวง ผ่านโรงแรมกรีนเวิลด์พาเลซ แยกซ้ายไปตามถนนราษฎร์อุทิศ ๑ แยกขวาไปตามซอยราษฎร์อุทิศ ซอย ๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข ๒๐๕๑ ผ่านบ้านท่าสะอ้าน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘ ถึงบ้านน้ำกระจาย กลับตามเส้นทางเดิม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘ ผ่านบ้านเกาะยอ ถึงบ้านหนองหีบ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านวัดสถิตย์ชลทาราม วัดบ่อป่า วัดมะม่วงหมู่ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแม่ลาด ประกาศ ณ วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ วิทยา พานิชพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๕๒/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599935
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ 57 (พ.ศ. 2551) เรื่อง การกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ ๕๗ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง การกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลาได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสงขลา สายที่ ๘๕๕๙ หาดใหญ่-บ้านถ้ำตลอด โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ หมวด ๔ สายที่ ๘๕๕๙ หาดใหญ่-บ้านถ้ำตลอด เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหาดใหญ่ ไปตามถนนโชติวิทยะกุล ๒ ถึงทางแยกถนนกาญจนวนิช แยกขวาไปตามถนนกาญจนวนิช ถึงทางแยกคลองหวะ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๓ ผ่านบ้านควนจง อำเภอนาหม่อม บ้านควนมีด บ้านสะกอม ถึงบ้านกรงอิตำ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สข. ๒๐๓๖ ถึงบ้านเกาะสะบ้า แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข ๓๐๒๖ ถึงบ้านพรุตู แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สข. ๔๐๐๖ ผ่านบ้านใหม่ บ้านคลองยอ บ้านพรุกง บ้านโหล๊ะบอน บ้านวังใหญ่ ถึงบ้านควนหมาก แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒ ถึงบ้านควนเจดีย์ แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข ๓๐๒๗ ผ่านบ้านปริกบ้านท่าไทร บ้านหลักเขต บ้านถ้ำครก ถึงบ้านคูหา แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ๔๐๙๘ ผ่านบ้านปลายนา บ้านใต้ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านถ้ำตลอด ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ สนธิ เตชานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๕๐/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599931
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ 56 (พ.ศ.2551) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดสงขลา (อำเภอหาดใหญ่) สายที่ 4 ตลาดนัดบ้านเกาะหมี-บ้านเนินพิชัย เป็น บ้านเนินพิชัย-องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดสงขลา (อำเภอหาดใหญ่) สายที่ ๔ ตลาดนัดบ้านเกาะหมี-บ้านเนินพิชัย เป็น บ้านเนินพิชัย-องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ ๔๑ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดสงขลา สายที่ ๔ ตลาดนัดบ้านเกาะหมี-บ้านเนินพิชัย ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลาได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๑ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดสงขลา (อำเภอหาดใหญ่) สายที่ ๔ ตลาดนัดบ้านเกาะหมี-บ้านเนินพิชัย เป็น บ้านเนินพิชัย-องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ หมวด ๑ สายที่ ๔ ชื่อเส้นทาง บ้านเนินพิชัย-องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเนินพิชัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๓ ถึงแยกควนลัง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านแยกสนามบินท่าคลองตก ที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ ขึ้นสะพานลอย ผ่านวงเวียนน้ำพุ ถึงสามแยกคอหงส์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๗ ผ่านตลาดนัดบ้านเกาะหมี ศูนย์ส่งเสริมศิลปหัตถกรรมหมู่บ้านชวนชื่น แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ๓๐๐๕ ผ่านโรงเรียนหาดใหญ่พิทยาคม อนามัยทุ่งใหญ่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ๓๐๓๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ วิทยา พานิชพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๔๘/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599925
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดศรีสะเกษ ฉบับที่ 71 (พ.ศ. 2551) เรื่อง การพิจารณากำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด 4 จังหวัดศรีสะเกษ สายที่ 4185 ศรีสะเกษ-ขุขันธ์ เป็น ศรีสะเกษ-ช่องสะงำ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดศรีสะเกษ ฉบับที่ ๗๑ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง การพิจารณากำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ จังหวัดศรีสะเกษ สายที่ ๔๑๘๕ ศรีสะเกษ-ขุขันธ์ เป็น ศรีสะเกษ-ช่องสะงำ[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดศรีสะเกษได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ ขึ้น นั้น ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดศรีสะเกษ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๑ ให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดศรีสะเกษ สายที่ ๔๑๘๕ ศรีสะเกษ-ขุขันธ์ เป็น ศรีสะเกษ-ช่องสะงำ โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๑๘๕ ศรีสะเกษ-ช่องสะงำ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดศรีสะเกษ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๐ ผ่านบ้านก้านเหลือง บ้านธาตุ บ้านศาลาระบาน บ้านหัวเสือ บ้านตรางสวาย อำเภอขุขันธ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๕๗ ผ่านนิคมปรือใหญ่ บ้านปรือคัน บ้านโคกตาล บ้านนาตราว บ้านจำปานวง บ้านแซร์สะโบว์ ถึงบ้านไพรพัฒนา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๐๑ ผ่านเมืองใหม่ช่องสะงำ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางช่องสะงำ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ เสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดศรีสะเกษ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๔๗/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599919
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดศรีสะเกษ ฉบับที่ 70 (พ.ศ. 2551) เรื่อง การพิจารณากำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด 4 จังหวัดศรีสะเกษ สายที่ 4692 ขุขันธ์-บ้านแซร์ไปร์ เป็น ขุขันธ์-ช่องสะงำ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดศรีสะเกษ ฉบับที่ ๗๐ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง การพิจารณากำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ จังหวัดศรีสะเกษ สายที่ ๔๖๙๒ ขุขันธ์-บ้านแซร์ไปร์ เป็น ขุขันธ์-ช่องสะงำ[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดศรีสะเกษ ฉบับที่ ๖๘ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ลงวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๐ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดศรีสะเกษ ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดศรีสะเกษได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดศรีสะเกษ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๑ ให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดศรีสะเกษ สายที่ ๔๖๙๒ ขุขันธ์-บ้านแซร์ไปร์ เป็น ขุขันธ์-ช่องสะงำ โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๖๙๒ ขุขันธ์-ช่องสะงำ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอขุขันธ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๐ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านบ้านห้วยใต้ บ้านนกยูง บ้านสี่แยกนาเจริญ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๐๑ ถึงบ้านละลม ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ศก. ๔๐๐๑ ผ่านบ้านห้วยตามอญ บ้านโคกชาติ บ้านไพรพัฒนา บ้านนาตำบล บ้านแซร์ไปร์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๐๑ ผ่านเมืองใหม่ช่องสะงำ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางช่องสะงำ ช่วงขุขันธ์-ภูสิงห์ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอขุขันธ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๐ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านบ้านห้วยใต้ ถึงบ้านนกยูง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ศก. ๒๐๔๖ ผ่านบ้านตาเม็ง บ้านโคกใหญ่ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอภูสิงห์ ช่วงขุขันธ์-บ้านขนุน เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอขุขันธ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๐ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านบ้านห้วยใต้ บ้านนกยูง บ้านสี่แยกนาเจริญ บ้านสวายน้อย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทาง บ้านขนุน ช่วงขุขันธ์-บ้านโสน เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอขุขันธ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๐ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านบ้านห้วยใต้ บ้านนกยูง ถึงบ้านสี่แยกนาเจริญ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๐๑ ผ่านบ้านอาวอย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโสน ช่วงขุขันธ์-บ้านหนองคล้า เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอขุขันธ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๐ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านบ้านห้วยใต้ บ้านนกยูง บ้านสี่แยกนาเจริญ ถึงบ้านสวายน้อย แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านอรุณใหม่ บ้านไพรวรรณ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองคล้า ช่วงขุขันธ์-บ้านห้วยตามอญ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอขุขันธ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๐ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านบ้านห้วยใต้ ถึงบ้านนกยูง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ศก. ๒๐๔๖ ผ่านบ้านตาเม็ง บ้านโคกใหญ่ อำเภอภูสิงห์ บ้านทุ่งหลวง บ้านโพธิ์ทอง บ้านโพธิ์ไทร ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยตามอญ ช่วงขุขันธ์-บ้านโอปังโกว์ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอขุขันธ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๐ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านบ้านห้วยใต้ บ้านนกยูง ถึงบ้านสี่แยกนาเจริญ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๐๑ ถึงบ้านละลม ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ศก. ๔๐๐๑ ผ่านบ้านห้วยตามอญ ถึงบ้านไพรพัฒนา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๕๗ ผ่านบ้านวนาสวรรค์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโอปังโกว์ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ เสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดศรีสะเกษ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๔๔/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599917
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ 32 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดลพบุรี
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดลพบุรี ฉบับที่ ๗๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดลพบุรี[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลพบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำ จังหวัดลพบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดลพบุรี สายที่ ๑๙ หมู่บ้านสวัสดิการกองพลรบพิเศษที่ ๑-โรงเรียนวินิตศึกษา โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๑๙ หมู่บ้านสวัสดิการกองพลรบพิเศษที่ ๑-โรงเรียนวินิตศึกษา เที่ยวไป เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหมู่บ้านสวัสดิการกองพลรบพิเศษที่ ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๑๗ ถึงสี่แยกนิคมสร้างตนเอง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกขวาไปตามถนนเฉลิมพระเกียรติ แยกซ้ายไปตามถนนเฉลิมพระเกียรติ ๓ ผ่านโรงเรียนพระนารายณ์ หมู่บ้านทิวสน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลบ. ๒๐๖๑ ผ่านหมู่บ้านพนาสันต์ หมู่บ้านรุ่งปิติแลนด์ หมู่บ้านฟ้าใส ถึงสามแยกเทศบาลเมืองเขาสามยอด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๑๖ ถึงสี่แยกเอราวัณ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านวงเวียนเทพสตรี ไปตามถนนนารายณ์มหาราช ผ่านวงเวียนศรีสุริโยทัย วงเวียนศาลพระกาฬ แยกซ้ายไปตามถนนหน้าศาลพระกาฬ แยกขวาไปตามถนนพระยากำจัด แยกซ้ายไปตามถนนสรศักดิ์ แยกขวาไปตามถนนเพทราชา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนวินิตศึกษา เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนวินิตศึกษา ไปตามถนนเพทราชา แยกขวาไปตามถนนพระราม แยกขวาไปตามถนนราชดำเนิน แยกซ้ายไปตามถนนสุรสงคราม แยกขวาไปตามถนนวิชาเยนทร์ ผ่านวงเวียนศาลพระกาฬ ไปตามถนนนารายณ์มหาราช ผ่านวงเวียนศรีสุริโยทัย วงเวียนเทพสตรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงสี่แยกเอราวัณ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๑๖ ถึงสามแยกเทศบาลเมืองเขาสามยอด แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลบ. ๒๐๖๑ ผ่านหมู่บ้านฟ้าใส หมู่บ้านรุ่งปิติแลนด์ หมู่บ้านพนาสันต์ แยกซ้ายไปตามถนนเฉลิมพระเกียรติ ๓ ผ่านหมู่บ้านทิวสน โรงเรียนพระนารายณ์ แยกขวาถนนเฉลิมพระเกียรติ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงสี่แยกนิคมสร้างตนเอง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๑๗ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหมู่บ้านสวัสดิการกองพลรบพิเศษที่ ๑ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ จารุพงศ์ พลเดช ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดลพบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๔๒/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599913
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพังงา ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพังงา ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพังงาได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพังงา ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดพังงา สายที่ ๘๕๕๐ ท่าเรือตลาดย่านยาว-บ้านน้ำเค็ม และสายที่ ๘๕๕๑ พังงา-ทุ่งคาโงก โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๘๕๕๐ ท่าเรือตลาดย่านยาว-บ้านน้ำเค็ม เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณท่าเรือตลาดย่านยาว ไปตามถนนศรีเมือง แยกขวาไปตามถนนราษฎร์บำรุง ถึงสี่แยกเทศบาลเมืองตะกั่วป่า แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านโรงพยาบาลตะกั่วป่า ตลาดบางม่วง ถึงสามแยกบ้านน้ำเค็ม แยกขวาไปตามถนนน้ำเค็ม ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านน้ำเค็ม สายที่ ๘๕๕๑ พังงา-ทุ่งคาโงก เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดพังงา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงสามแยกปากหรา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓๒ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านทุ่งคาโงก ช่วงพังงา-ป่ากอ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดพังงา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงสามแยกในโตน แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (พง. ๑๐๐๑) ถึงสามแยกตากแดด ตรงไปตามทางหลวงชนบท ถึงสามแยกป่ากอ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านป่ากอ ช่วงพังงา-ตากแดด เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดพังงา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงสามแยกในโตน แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (พง. ๑๐๐๑) ผ่านสามแยกตากแดด ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านตากแดด ช่วงพังงา-ในโตน เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดพังงา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงสามแยกในโตน แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (พง. ๑๐๐๑) ถึงสามแยกตากแดด ตรงไปตามทางหลวงชนบท ผ่านสามแยกป่ากอ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านในโตน ช่วงพังงา-นบปริง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดพังงา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงสามแยกในโตน สามแยกปากหรา ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านนบปริง ช่วงพังงา-สองแพรก เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดพังงา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านสามแยกในโตน ถึงสามแยกปากหรา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓๒ ถึงสามแยกสองแพรก แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านสองแพรก ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ประจวบ อินเจริญศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพังงา ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๔๐/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599911
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดแพร่ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดแพร่ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งประจำจังหวัดแพร่ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางรถโดยสารประจำทางขึ้น เพื่อทดแทนเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็กเดิมที่ยกเลิก ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแพร่ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดแพร่ จำนวน ๑ เส้นทาง และหมวด ๔ จังหวัดแพร่ จำนวน ๕ เส้นทาง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังนี้ หมวด ๑ สายที่ ๔ ทุ่งโฮ้ง-รอบเวียง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสามแยกบ้านทุ่งโฮ้ง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ (ถนนยันตรกิจโกศล) ผ่านสถานีอนามัยทุ่งโฮ้ง สามแยกบ้านใหม่ ถึงสี่แยกบ้านทุ่ง แยกขวาไปตามถนนเจริญเมือง ผ่านสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองแพร่ ถึงวงเวียนน้ำพุ ไปตามถนนไชยบูรณ์ ผ่านศาลากลางจังหวัดแพร่ ถึงสี่แยกประตูใหม่ ไปตามถนนบ้านใหม่ ถึงสามแยกบ้านใหม่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ (ยันตรกิจโกศล) ไปตามเส้นทางเดิม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสามแยกบ้านทุ่งโฮ้ง หมวด ๔ สายที่ ๒๕๙๑ แพร่-วังชิ้น-วังเบอะ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดแพร่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ (ถนนยันตรกิจโกศล) ผ่านบ้านร่องกาศ อำเภอสูงเม่น อำเภอเด่นชัย ถึงบ้านปางเคาะ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงบ้านแม่แขม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๒๓ ผ่านบ้านแม่ป้าก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอวังชิ้น ช่วงแพร่-บ้านวังเบอะ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดแพร่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ (ถนนยันตรกิจโกศล) ผ่านบ้านร่องกาศ อำเภอสูงเม่น อำเภอเด่นชัย ถึงบ้านปางเคาะ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงบ้านปากจอก แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข พร. ๔๐๑๓ ผ่านบ้านผาจั๊บ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านวังเบอะ หมวด ๔ สายที่ ๒๕๙๒ แพร่-บ้านป่าแดง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดแพร่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ (ถนนยันตรกิจโกศล) ถึงสี่แยกบ้านทุ่ง แยกซ้ายไปตามถนนช่อแฮ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๒๒ ผ่านโรงพยาบาลแพร่ บ้านนาจักร บ้านแต แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๐๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านป่าแดง หมวด ๔ สายที่ ๒๕๙๓ แพร่-บ้านห้วยไร่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดแพร่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ (ถนนยันตรกิจโกศล) ผ่านบ้านร่องกาศ อำเภอสูงเม่น สามแยกเข้าอำเภอเด่นชัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยไร่ หมวด ๔ สายที่ ๒๕๙๔ แพร่-บ้านวังหลวง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดแพร่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ (ถนนยันตรกิจโกศล) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๒๓ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข พร. ๔๐๑๖ บ้านสุพรรณ บ้านมหาโพธิ์ บ้านหนองใหม่ บ้านปากห้วย บ้านวังธง บ้านเวียงตั้ง บ้านท่าขวัญ บ้านไผ่ล้อม บ้านวังหงษ์ บ้านหนองน้ำรัด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านวังหลวง หมวด ๔ สายที่ ๒๕๙๕ แพร่-บ้านแม่แคม เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดแพร่ ถึงสามแยก (โดยให้เลี้ยวซ้ายและเลี้ยวขวา) เลี้ยวซ้ายไปตามถนนราษฎร์อุทิศ ผ่านองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ถึงสี่แยกบ้านนาแหลม แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านนาแหลม บ้านปทุม ถึงตำบลเหมืองหม้อ เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น จนถึงสี่แยกบ้านเหมืองแดง เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางเข้าหมู่บ้าน ผ่านบ้านเหมืองค่า บ้านสะบู บ้านกาซ้อง แล้วมาบรรจบกันที่ตำบลเหมืองหม้อ ผ่านบ้านโป่งศรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๐๑ ผ่านบ้านถิ่น แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๒๔ ผ่านบ้านสวนเขื่อน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแม่แคม ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ว่าที่ร้อยตรี พงษ์ศักดิ์ พลายเวช ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดแพร่ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๓๗/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599907
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพิจิตร ฉบับที่ 29 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จำนวน 9 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพิจิตร ฉบับที่ ๒๙ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จำนวน ๙ เส้นทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิจิตร กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดพิจิตร รายละเอียด ดังนี้ ๑) ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิจิตร ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ลงวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๒๕ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดพิจิตร สายที่ ๖๕๐๐๓ พิจิตร-วังกระดี่ทอง ๒) ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิจิตร ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๒๕ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดพิจิตร สายที่ ๖๕๐๐๔ ตลาดสากเหล็ก-สถานีรถไฟวังกรด สายที่ ๖๕๐๐๕ ตลาดสากเหล็ก-บ้านทับไทร สายที่ ๖๕๐๐๘ อำเภอโพทะเล-บ้านท่าเสา และสายที่ ๖๕๐๐๙ อำเภอโพทะเล-บ้านบางลาย ๓) ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิจิตร ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ลงวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๒๘ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดพิจิตร สายที่ ๖๕๐๑๐ พิจิตร-โพธิ์ประทับช้าง ๔) ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิจิตร ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดพิจิตร สายที่ ๖๕๐๐๒ ตะพานหิน-บ้านวัดขวาง ๕) ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิจิตร ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดพิจิตร สายที่ ๖๕๐๑๑ บางมูลนาก-บ้านวัดขวาง ๖) ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิจิตร ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๓๐ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดพิจิตร สายที่ ๖๕๐๑๒ เขาทราย-บ้านห้วยร่วม นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิจิตรได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากมีการกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้นทดแทนแล้ว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิจิตร ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพิจิตร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๓๕/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599903
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ฉบับที่ 80 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ฉบับที่ ๘๐ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สายที่ ๒๖๐๕ อุทัย-ตลาดบ้านสร้าง โดยมีรายละเอียดเส้นทาง ดังนี้ สายที่ ๒๖๐๕ อุทัย-ตลาดบ้านสร้าง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภออุทัย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕๖ ถึงโรงงานเจ แอนด์ เจ แวร์เฮาส์ แอนด์ เซอร์วิส แยกซ้ายไปตามถนนองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านวัดโตนดเตี้ย วัดเทพกุญชร วัดบ้านช้าง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดบ้านสร้าง ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เพิ่มศักดิ์ สีทองสุรภณา รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๓๔/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599897
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ 230 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับ การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดนครราชสีมา สายที่ 4449 นครราชสีมา-บ้านปะคำ-ด่านขุนทด เป็น นครราชสีมา-บ้านปะคำ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ ๒๓๐ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับ การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๔๔๙ นครราชสีมา-บ้านปะคำ-ด่านขุนทด เป็น นครราชสีมา-บ้านปะคำ[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ ๑๑๓ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ลงวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๓๖ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๔๔๙ นครราชสีมา-บ้านปะคำ-ด่านขุนทด นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมาได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๘/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๔๔๙ นครราชสีมา-บ้านปะคำ-ด่านขุนทด เป็น นครราชสีมา-บ้านปะคำ โดยยกเลิกเส้นทางเดินรถช่วงบ้านปะคำ-ด่านขุนทด ดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๔๔๙ นครราชสีมา-บ้านปะคำ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา (แห่งที่ ๑) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ (ถนนสุรนารายณ์) ผ่านบ้านจอหอ บ้านโคกสูง บ้านด่านจาก อำเภอโนนไทย บ้านโคกสวาย บ้านหัวถนน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านปะคำ ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ประจักษ์ สุวรรณภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๓๒/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599891
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ 229 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับ การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดนครราชสีมา สายที่ 4700 ด่านขุนทด-บ้านปะคำ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ ๒๒๙ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับ การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๗๐๐ ด่านขุนทด-บ้านปะคำ[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมาได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๘/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๗๐๐ ด่านขุนทด-บ้านปะคำ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๗๐๐ ด่านขุนทด-บ้านปะคำ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอด่านขุนทด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นม. ๔๐๐๘ ผ่านบ้านถนนหักน้อย บ้านโค้งตะกร้อ บ้านหนองบัวละคร บ้านคลองแคเหนือ บ้านเมืองเก่า ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านปะคำ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ประจักษ์ สุวรรณภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๓๑/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599887
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ 37 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๒๓ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดตรัง สายที่ ๙๑๐๐๗ ย่านตาขาว-นาโยง ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรังได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๐ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตรัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๓๐/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599883
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ 36 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ ๓๖ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๒๓ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดตรัง สายที่ ๙๑๐๐๖ ย่านตาขาว-ลำปลอก ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรังได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๐ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตรัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๒๙/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599881
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ 35 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ ๓๕ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๒๓ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดตรัง สายที่ ๙๑๐๐๕ ย่านตาขาว-ปากปรน (หาดสำราญ) ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรังได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๐ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตรัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๒๘/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599879
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ 34 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ ๓๔ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ลงวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๓๐ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดตรัง สายที่ ๙๑๐๐๒ ตรัง-น้ำผุด ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรังได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๐ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตรัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๒๗/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599877
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๒๖) ลงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๖ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดตรัง สายที่ ๙๑๐๐๑ ตรัง-เขาช่อง ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรังได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๐ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตรัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๒๖/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599875
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ 32 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ ๓๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรังได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตรัง สายที่ ๘๕๕๔ ตรัง-นาโยง-อำเภอย่านตาขาว โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๘๕๕๔ ตรัง-นาโยง-อำเภอย่านตาขาว เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดตรัง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านบ้านโคกขี้เหล็ก บ้านนาโยงเหนือ ถึงกิโลเมตรที่ ๕๙ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๒๔ ผ่านโรงเรียนธรรมราม โรงเรียนวัดไทรทอง โรงเรียนวัดหนองเป็ด โรงเรียนทุ่งเกาะญวน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอย่านตาขาว ประกาศ ณ วันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ อานนท์ มนัสวานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตรัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๒๕/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599873
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ 31 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ ๓๑ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรังได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตรัง สายที่ ๘๕๕๒ ตรัง-บ้านช่อง-อำเภอย่านตาขาว โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๘๕๕๒ ตรัง-บ้านช่อง-อำเภอย่านตาขาว เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดตรัง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านบ้านโคกขี้เหล็ก บ้านนาโยงเหนือ บ้านช่อง ถึงกิโลเมตรที่ ๕๓ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒๖๔ ผ่านบ้านห้วยลึก บ้านลำพิกุล บ้านโคกทรายเหนือ โรงเรียนวิเชียรมาตุ ๒ บ้านปะเหลียน ถึงสามแยกบ้านหาดเลา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๒๕ ผ่านโรงเรียนบ้านยวนโป๊ะ ถึงสามแยกบ้านท่าพญา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอย่านตาขาว ช่วงตรัง-เขาช่อง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดตรัง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านบ้านโคกขี้เหล็ก บ้านนาโยงเหนือ บ้านช่อง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางเขาช่อง ประกาศ ณ วันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ อานนท์ มนัสวานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตรัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๒๔/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599871
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ 59 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๕๙ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงรายได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๔/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเชียงราย สายที่ ๒๕๙๘ เชียงราย-ดอยหลวง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๒๕๙๘ เชียงราย-ดอยหลวง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านบ้านดู่ บ้านนางแล ถึงบ้านเด่น แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๐๙ ผ่านบ้านม่วงคำ บ้านหัวฝาย บ้านทุ่งยาว บ้านแม่ข้าวต้มหลวง บ้านหนองบัวแดง บ้านใหม่บัวแดง บ้านร่องก๊อ บ้านปางลาว บ้านห้วยเจริญ บ้านใหม่ บ้านโล๊ะป่าห้า บ้านห้วยอ้ม บ้านแม่แพง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๘ ผ่านบ้านท่าข้าวเปลือก บ้านท่ากอบง บ้านไทรทอง บ้านป่าแดง บ้านปงน้อย ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอดอยหลวง ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ไตรสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๒๓/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599869
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ 58 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๕๘ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงรายได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเชียงราย สายที่ ๒๕๙๗ เชียงราย-บ้านพนาสวรรค์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๒๕๙๗ เชียงราย-บ้านพนาสวรรค์ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธินสายเก่า) ผ่านแยกประตูสลี ตรงไปตามถนนรัตนาเขต แยกซ้ายไปตามถนนสิงหไคล แยกขวาไปตามถนนไกรสรสิทธิ์ แยกขวาไปตามถนนแม่ฟ้าหลวง ถึงบ้านน้ำลัด แยกซ้ายไปตามถนนแม่ฟ้าหลวง ซอย ๕ ตรงไปตามทางหลวงท้องถิ่น ถึงบ้านป่าอ้อ แยกซ้ายไปตามถนนป่าอ้อ ซอย ๓ ถึงบ้านริมกก แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชร. ๔๐๔๔ ผ่านบ้านห้วยทรายขาว บ้านเขื่อนแก้ว บ้านรวมมิตร บ้านโป่งผำพัฒนา บ้านจะทอ บ้านผามูบ บ้านแคววัวดำ บ้านออบเสือแหวน บ้านสามเส้า บ้านผาขวาง ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านพนาสวรรค์ ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ไตรสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๒๒/๕ มีนาคม ๒๕๕๒
599867
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ 57 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดเชียงราย สายที่ 2378 แม่สรวย-บ้านดอยช้าง-ห้วยส้านพลับพลา ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงแม่สรวย-บ้านดอยช้าง-บ้านห้วยไคร้ และแม่สรวย-บ้านดอยช้าง-บ้านใหม่พัฒนา
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๕๗ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเชียงราย สายที่ ๒๓๗๘ แม่สรวย-บ้านดอยช้าง-ห้วยส้านพลับพลา ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงแม่สรวย-บ้านดอยช้าง-บ้านห้วยไคร้ และแม่สรวย-บ้านดอยช้าง-บ้านใหม่พัฒนา[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ ๓๔ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๑ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเชียงราย สายที่ ๒๓๗๘ แม่สรวย-บ้านดอยช้าง-ห้วยส้านพลับพลา นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงรายได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเชียงราย สายที่ ๒๓๗๘ แม่สรวย-บ้านดอยช้าง-ห้วยส้านพลับพลา ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงแม่สรวย-บ้านดอยช้าง-บ้านห้วยไคร้ และแม่สรวย-บ้านดอยช้าง-บ้านใหม่พัฒนา โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๒๓๗๘ แม่สรวย-บ้านดอยช้าง-ห้วยส้านพลับพลา เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอแม่สรวย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๘ ผ่านบ้านแม่สรวยหลวง ถึงบ้านตีนดอย แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชร. ๓๐๓๗ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านแสนเจริญใหม่ บ้านแสนเจริญเก่า บ้านดอยล้าน บ้านดอยช้าง ไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านแม่มอญ บ้านห้วยส้านลีซอ ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยส้านพลับพลา ช่วงแม่สรวย-บ้านดอยช้าง-บ้านห้วยไคร้ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอแม่สรวย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๘ ผ่านบ้านแม่สรวยหลวง ถึงบ้านตีนดอย แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชร. ๓๐๓๗ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านแสนเจริญใหม่ บ้านแสนเจริญเก่า บ้านดอยล้าน บ้านดอยช้าง แยกซ้ายไปตามถนนทางหลวงท้องถิ่นสายห้วยไคร้-ดอยช้าง ผ่านบ้านปางซาง ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยไคร้ ช่วงแม่สรวย-บ้านดอยช้าง-บ้านใหม่พัฒนา เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอแม่สรวย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๘ ผ่านบ้านแม่สรวยหลวง ถึงบ้านตีนดอย แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ชร. ๓๐๓๗ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านแสนเจริญใหม่ บ้านแสนเจริญเก่า บ้านดอยล้าน บ้านดอยช้าง ไปตามถนนชนบทสายดอยช้าง-บ้านใหม่พัฒนา ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านใหม่พัฒนา ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ไตรสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดเชียงราย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๒๒๐/๕ มีนาคม ๒๕๕๒