sysid
stringlengths 1
6
| title
stringlengths 8
870
| txt
stringlengths 0
257k
|
---|---|---|
523951 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานี ฉบับที่ 99 (พ.ศ. 2549) เรื่อง การกำหนดเส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุบลราชธานี
ฉบับที่
๙๙ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
การกำหนดเส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานีได้พิจารณาเห็นสมควร กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานี ในการประชุมครั้งที่
๓/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๘
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดอุบลราชธานี สายที่ ๔๖๑๘ อุบลราชธานี-พิบูลมังสาหาร-สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอสิรินธร
(ด่านช่องเม็ก) โดยให้ใช้รายละเอียด เส้นทางดังนี้ คือ
สายที่ ๔๖๑๘
อุบลราชธานี-พิบูลมังสาหาร-สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอสิรินธร (ด่านช่องเม็ก)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๑ (ถนนวงแหวนรอบเมืองอุบลฯ
ด้านทิศตะวันออก) ผ่านแยกวนารมย์ แยกโนนหงษ์ทอง แยกกุดลาด ถึงบ้านบัวท่า
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๗ (ถนนสถิตย์นิมานกาล) ผ่านบ้านท่าช้าง บ้านคำนกเปล้า
กิ่งอำเภอสว่างวีระวงศ์ บ้านสะพานโดม อำเภอพิบูลมังสาหาร บ้านแก่งยาง บ้านนาเจริญ อำเภอสิรินธร
บ้านหัวสะพาน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอสิรินธร (ด่านช่องเม็ก)
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
วันชัย
สุทิน
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุบลราชธานี
โสรศ/ผู้จัดทำ
๑๘
มกราคม ๒๕๕๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๔ ง/หน้า ๒๒๐/๑๑ มกราคม ๒๕๕๐ |
523949 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานี ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2549) เรื่อง การกำหนดเส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุบลราชธานี
ฉบับที่
๙๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
การกำหนดเส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานีได้พิจารณาเห็นสมควร กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานี ในการประชุมครั้งที่
๓/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๘
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี สายที่ ๑ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอสิรินธร
(ด่านช่องเม็ก)-บ้านโป่งดินดำ โดยให้ใช้รายละเอียด เส้นทางดังนี้ คือ
สายที่ ๑ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอสิรินธร
(ด่านช่องเม็ก)-บ้านโป่งดินดำ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอสิรินธร
(ด่านช่องเม็ก) ไปตามถนนหน้าสถานีขนส่งแยกซ้ายไปตามถนนเทศบาล ๑
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๗ ผ่านหมู่บ้านเคหะชุมชนช่องเม็ก
ตลาดเทศบาลตำบลช่องเม็ก ถึงบริเวณหน้าด่านศุลกากร ด่านตรวจคนเข้าเมือง
แล้วกลับตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามถนนองค์การบริหารส่วนตำบลซอย ๒
ถึงตลาดองค์การบริหารส่วนตำบลแยกซ้ายไปตามถนนองค์การบริหารส่วนตำบลซอย ๓
ผ่านวัดภูนกยูง สำนักงานประปาส่วนท้องถิ่นแยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๗
ผ่านที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลช่องเม็ก สถานีตำรวจภูธรตำบลช่องเม็ก
สำนักงานโทรศัพท์ ตำบลช่องเม็ก โรงเรียนบ้านเหล่าอินทร์แปลงไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโป่งดินดำ
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
วันชัย
สุทิน
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุบลราชธานี
โสรศ/ผู้จัดทำ
๑๘
มกราคม ๒๕๕๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๔ ง/หน้า ๒๑๘/๑๑ มกราคม ๒๕๕๐ |
523946 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานี ฉบับที่ 97 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด 4 จังหวัดอุบลราชธานี สายที่ 1459 อุบลราชธานี-พิบูลมังสาหาร โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มอีก 1 ช่วง คือ ช่วงพิบูลมังสาหาร-บ้านคำข่า
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุบลราชธานี
ฉบับที่
๙๗ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง
หมวด
๔ จังหวัดอุบลราชธานี สายที่ ๑๔๕๙ อุบลราชธานี-พิบูลมังสาหาร
โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มอีก
๑ ช่วง คือ
ช่วงพิบูลมังสาหาร-บ้านคำข่า[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานี
ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๕ กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดอุบลราชธานี
สายที่ ๑๔๕๙ อุบลราชธานี-พิบูลมังสาหาร ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานีได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางสายดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานีในการประชุมครั้งที่
๓/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๘
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๙ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด
๔ จังหวัดอุบลราชธานี สายที่ ๑๔๕๙ อุบลราชธานี-พิบูลมังสาหาร
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
หมวด ๔ สายที่ ๑๔๕๙ ชื่อเส้นทาง
อุบลราชธานี-พิบูลมังสาหาร
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓
(ถนนแจ้งสนิท) ไปตามถนนชวาลานอก แยกซ้ายไปตามถนนพโลชัย แยกขวาไปตามถนนอุปราช
ข้ามสะพานเสรีประชาธิปไตย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ถึงอำเภอวารินชำราบ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๗ ผ่านบ้านยาง บ้านท่าช้าง บ้านคำนกเป้า
บ้านโดมใหญ่ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอพิบูลมังสาหาร
ช่วงวารินชำราบ-บ้านแค
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอวารินชำราบ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๗ ถึงทางแยกไปบ้านแค แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแค
ช่วงวารินชำราบ-บ้านคำขวาง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอวารินชำราบ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๗ ถึงทางแยกไปบ้านคำขวาง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคำขวาง
ช่วงวารินชำราบ-บ้านยาง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอวารินชำราบ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๗ ถึงทางแยกไปบ้านยาง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านยาง
ช่วงวารินชำราบ-บ้านวังกลางฮุง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอวารินชำราบ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๗ ถึงทางแยกไปบ้านวังกลางฮุง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านวังกลางฮุง
ช่วงวารินชำราบ-บ้านบัวท่า
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอวารินชำราบ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๗ ถึงทางแยกไปบ้านบัวท่า แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านบัวท่า
ช่วงวารินชำราบ-บ้านบัวเทิง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอวารินชำราบ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๗ ถึงทางแยกไปบ้านบัวเทิง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านบัวเทิง
ช่วงวารินชำราบ-บ้านหนองโสน
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอวารินชำราบ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๗ ถึงทางแยกไปบ้านหนองโสน แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองโสน
ช่วงวารินชำราบ-บ้านบุ่งมะแลง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอวารินชำราบ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๗ ผ่านบ้านท่าช้าง บ้านคำนกเป้า ถึงทางแยกไปบ้านบุ่งมะแลง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านบุ่งมะแลง
ช่วงวารินชำราบ-บ้านคำโพธิ์
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอวารินชำราบ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๗ ผ่านบ้านท่าช้าง บ้านคำนกเป้า ถึงทางแยกไปบ้านคำโพธิ์ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคำโพธิ์
ช่วงวารินชำราบ-บ้านสุขสมบูรณ์
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอวารินชำราบ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๗ ผ่านบ้านท่าช้าง บ้านคำนกเป้า ถึงทางแยกไปบ้านสุขสมบูรณ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านสุขสมบูรณ์
ช่วงวารินชำราบ-บ้านโคกสมบูรณ์
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอวารินชำราบ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๗ ผ่านบ้านท่าช้าง บ้านคำนกเป้า ถึงทางแยกไปบ้านโคกสมบูรณ์
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโคกสมบูรณ์
ช่วงวารินชำราบ-บ้านแพง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอวารินชำราบ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๗ ผ่านบ้านท่าช้าง บ้านคำนกเป้า ถึงทางแยกไปบ้านแพง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแพง
ช่วงวารินชำราบ-บ้านแก่งโดม
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอวารินชำราบ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๗ ผ่านบ้านท่าช้าง บ้านคำนกเป้า ถึงทางแยกไปบ้านแก่งโดม แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแก่งโดม
ช่วงวารินชำราบ-บ้านนาโพธิ์
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอวารินชำราบ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๗ ผ่านบ้านท่าช้าง บ้านคำนกเป้า บ้านโดมใหญ่ ถึงทางแยกไปบ้านนาโพธิ์
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านไร่ใต้ บ้านโนนสุข ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านนาโพธิ์
ช่วงพิบูลมังสาหาร-บ้านคำข่า
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอพิบูลมังสาหาร ไปตามถนนเทศบาล ๒
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๗ ผ่านบ้านสนามชัย บ้านสะพานโดม
ถึงทางแยกไปบ้านทุ่งเพียง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อบ. ๓๐๕๙ ผ่านบ้านทุ่งเพียง
บ้านคำสมิง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคำข่า
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
วันชัย
สุทิน
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุบลราชธานี
โสรศ/ผู้จัดทำ
๑๘
มกราคม ๒๕๕๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๔ ง/หน้า ๒๑๔/๑๑ มกราคม ๒๕๕๐ |
523944 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1729 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 192 นครสวรรค์-อุทัยธานี (ข)
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๒๙ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๑๙๒ นครสวรรค์-อุทัยธานี (ข)[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง
ฉบับที่ ๕๒๘ (พ.ศ. ๒๕๑๘) ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๑๘
กำหนดเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทาง หมวด ๓ เพิ่มเติม สายที่ ๑๙๒ นครสวรรค์-อุทัยธานี
(ข) นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๑๙๒ นครสวรรค์- อุทัยธานี (ข)
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๙๒ นครสวรรค์-อุทัยธานี (ข)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๓ ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุทัยธานี
ประกาศ
ณ วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
โสรศ/ผู้จัดทำ
๑๘
มกราคม ๒๕๕๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๔ ง/หน้า ๒๑๓/๑๑ มกราคม ๒๕๕๐ |
523942 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1728 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 314 จันทบุรี-สระแก้ว
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๒๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๓๑๔ จันทบุรี-สระแก้ว[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง
ฉบับที่ ๕๑๔ (พ.ศ. ๒๕๑๘) ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๑๘
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทางหมวด ๓ สายที่ ๓๑๔
จันทบุรี-ปราจีนบุรี เป็น สายที่ ๓๑๔ จันทบุรี-สระแก้ว นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๓๑๔ จันทบุรี- สระแก้ว โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๓๑๔ จันทบุรี-สระแก้ว
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดจันทบุรี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕๐ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓
จนถึงทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๗ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๗ ผ่านอำเภอมะขาม
อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอเขาฉกรรจ์
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสระแก้ว
ประกาศ
ณ วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
โสรศ/ผู้จัดทำ
๑๘
มกราคม ๒๕๕๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๔ ง/หน้า ๒๑๒/๑๑ มกราคม ๒๕๕๐ |
523922 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดประสิทธิภาพของห้ามล้อมือและห้ามล้อเท้าสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร รถขนาดเล็กและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
การกำหนดประสิทธิภาพของห้ามล้อมือและห้ามล้อเท้า
สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
รถขนาดเล็กและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑ (๑) (ซ) (ฌ) และข้อ ๑๕ (๑) (ซ) (ฌ) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดประสิทธิภาพของห้ามล้อมือและห้ามล้อเท้าสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารรถขนาดเล็กและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑
ห้ามล้อเท้าและห้ามล้อมือสำหรับรถต้องมีประสิทธิภาพในการตอบสนองการทำงานทันทีเมื่อเหยียบคันบังคับห้ามล้อเท้า
หรือการดึงหรือปลดคันบังคับห้ามล้อมือ แล้วแต่กรณี
ข้อ
๒ ประสิทธิภาพของห้ามล้อมือสำหรับรถ
เมื่อทดสอบในขณะรถเปล่า ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้
(๑) กรณีทดสอบด้วยเครื่องทดสอบห้ามล้อรถยนต์
แรงห้ามล้อของทุกล้อรวมกันต้องไม่น้อยกว่า ๒๐ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักรถ
(๒) กรณีทดสอบบนที่ลาดชันให้ทดสอบบนที่ลาดชันที่มีมุมลาดชันไม่น้อยกว่า ๑๑
องศา และเมื่อรถจอดนิ่งและดึงคันบังคับห้ามล้อมือแล้ว
แรงห้ามล้อต้องสามารถหยุดรถไม่ให้เคลื่อนที่ได้
ข้อ
๓ ประสิทธิภาพของห้ามล้อเท้าสำหรับรถ
เมื่อทดสอบในขณะรถเปล่า ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้
(๑) กรณีทดสอบด้วยเครื่องทดสอบห้ามล้อรถยนต์
(ก) แรงห้ามล้อของทุกล้อรวมกันต้องไม่น้อยกว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักรถ
และ
(ข) ความแตกต่างของแรงห้ามล้อระหว่างล้อขวาและล้อซ้ายของเพลาหน้าและเพลาท้ายต้องไม่เกิน
๘ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักรถลงเพลานั้น
ในกรณีที่รถมีเพลาหน้าหรือเพลาท้ายมากกว่า
๑ เพลา
ความแตกต่างระหว่างผลรวมของแรงห้ามล้อด้านขวาและผลรวมของแรงห้ามล้อด้านซ้ายของเพลาชุดนั้นต้องไม่เกิน
๘ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักรถที่ลงเพลาชุดนั้น
(๒) กรณีทดสอบบนทางวิ่ง
(ก) รถที่มีความเร็วสูงสุดเกิน ๘๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ให้ใช้ความเร็วในการทดสอบที่ ๕๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ซึ่งระยะทางที่รถหยุดได้ต้องไม่เกิน ๒๐ เมตร
โดยให้นับจากจุดที่เริ่มเหยียบคันบังคับห้ามล้อเท้าจนถึงจุดที่รถหยุดนิ่ง
(ข) รถที่มีความเร็วสูงสุดไม่เกิน ๘๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ให้ใช้ความเร็วในการทดสอบที่ ๓๕ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ซึ่งระยะทางที่รถหยุดได้ต้องไม่เกิน ๑๒ เมตร
โดยให้นับจากจุดที่เริ่มเหยียบคันบังคับห้ามล้อเท้าจนถึงจุดที่รถหยุดนิ่ง
(ค) ในขณะทำการทดสอบตาม (ก) หรือ (ข) รถจะต้องไม่เบี่ยงเบนไปทางซ้ายหรือขวาจากแนวทิศทางการวิ่งของรถนั้น
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖
พงศกร เลาหวิเชียร
รองอธิบดี
รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
โสรศ/ผู้จัดทำ
๑๘ มกราคม ๒๕๕๐
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๔ ง/หน้า ๖๗/๑๑ มกราคม ๒๕๕๐ |
523920 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานและวิธีการทดสอบห้ามล้อเท้า ห้ามล้อมือสำหรับการตรวจสภาพรถ ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
เกณฑ์มาตรฐานและวิธีการทดสอบห้ามล้อเท้า ห้ามล้อมือสำหรับการตรวจสภาพรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง การกำหนดประสิทธิภาพของห้ามล้อมือและห้ามล้อเท้าสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
รถขนาดเล็กและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖
ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๑) (ซ) (ฌ) และข้อ ๑๕ (๑) (ซ) (ฌ)
แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดเกณฑ์มาตรฐานและวิธีการทดสอบห้ามล้อเท้า
ห้ามล้อมือสำหรับการตรวจสภาพรถ ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง การกำหนดประสิทธิภาพของห้ามล้อมือและห้ามล้อเท้าสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
รถขนาดเล็กและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖
ข้อ
๒ บรรดาระเบียบ
ข้อบังคับหรือคำสั่งอื่นในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในประกาศนี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน
ข้อ
๓ การทดสอบประสิทธิภาพ ห้ามล้อเท้า
ห้ามล้อมือให้ใช้เครื่องทดสอบห้ามล้อรถแบบลูกกลิ้ง (Roller type brake tester)
โดยให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) การทดสอบจะต้องมีเฉพาะผู้ขับรถ จำนวน ๑ คน
อยู่ในรถขณะทำการทดสอบซึ่งจะต้องเป็นรถเปล่า (Unloaded state)
(๒) ขั้นตอนและวิธีการทดสอบ ให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้งานของผู้ผลิต
ข้อ
๔
เกณฑ์มาตรฐานและวิธีการทดสอบห้ามล้อเท้า (Service brake) และห้ามล้อมือ (Parking brake) ต้องเป็นดังนี้
(๑)
ห้ามล้อเท้าหรือห้ามล้อมือสำหรับรถต้องมีการตอบสนองการทำงานทันทีเมื่อเหยียบคันบังคับห้ามล้อเท้า
หรือเมื่อดึงหรือปลดคันบังคับห้ามล้อมือ แล้วแต่กรณี
(๒) แรงห้ามล้อมือของทุกล้อรวมกันต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของน้ำหนักรถ
(๓) แรงห้ามล้อเท้า
(ก) ผลรวมของแรงห้ามล้อทั้งหมดจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของน้ำหนักรถ
กรณีรถพ่วงและรถกึ่งพ่วงที่ควบคุมการห้ามล้อด้วยระบบห้ามล้อจากรถลากจูงผลรวมของแรงห้ามล้อทั้งหมด
จะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของน้ำหนักลงเพลาของรถพ่วงหรือรถกึ่งพ่วงขณะที่ทดสอบ
(ข) ผลต่างระหว่างแรงห้ามล้อด้านขวา และด้านซ้าย ต้องไม่เกินร้อยละ ๒๕
ของแรงห้ามล้อสูงสุดในเพลานั้น
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๙
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
โสรศ/ผู้จัดทำ
๑๘ มกราคม ๒๕๕๐
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๔ ง/หน้า ๖๕/๑๑ มกราคม ๒๕๕๐ |
522789 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการ ฉบับที่ 103 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสมุทรปราการ สายที่ 1140 สำโรง - ปากน้ำ - คลองด่าน
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ฉบับที่
๑๐๓ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง
ด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดสมุทรปราการ สายที่ ๑๑๔๐ สำโรง - ปากน้ำ คลองด่าน[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ฉบับที่ ๙๐ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ลงวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดสมุทรปราการ สายที่ ๑๑๔๐ สำโรง - ปากน้ำ - คลองด่านให้มีเส้นทางแยกช่วงปากน้ำ
- เทศบาลบางปู ๕๙ (วิทยุการบิน) ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการ ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางในการประชุมครั้งที่
๑๖/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงให้ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดสมุทรปราการ สายที่ ๑๑๔๐ สำโรง - ปากน้ำ - คลองด่าน ให้มีเส้นทางแยกช่วงปากน้ำ
- ตำหรุ เพิ่มอีก ๑ ช่วง และปรับปรุงเส้นทางแยกช่วงคลองด่าน - เคหะชุมชนบางพลี (โครงการ
๒) เป็น ช่วงคลองด่าน เคหะชุมชนบางพลี (โครงการ ๒) - โรงพยาบาลบางนา ๒
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่
๑๑๔๐ สำโรง - ปากน้ำ - คลองด่าน
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดสำโรงเหนือ
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านทางแยกไปท่าน้ำพระประแดง ที่ว่าการอำเภอเมืองบางเมฆขาว
บ้านคอต่อบ้านคลองตำหรุ บ้านคลองตาเจี่ย บ้านคลองบางปูเก่า ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคลองด่าน
ช่วงคลองด่าน-เคหะชุมชนบางพลี (โครงการ ๒)-โรงพยาบาลบางนา
๒ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคลองด่าน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓ (ถนนสุขุมวิท) แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สป ๑๐๐๖ (ถนนลาดหวาย) ผ่านเคหะชุมชนบางพลีโครงการ
๒ ผ่านแยกถนนเทพารักษ์ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโรงพยาบาลบางนา
๒
ช่วงพระประแดง ปากน้ำ
- บ้านคลองตำหรุ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณท่าน้ำพระประแดง
ไปตามถนนปู่เจ้าสมิงพราย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านที่ว่าการอำเภอเมืองบางเมฆขาว
บ้านคอต่อ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคลองตำหรุ
ช่วงปากน้ำ - เทศบาลบางปู ๕๙ (วิทยุการบิน)
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถบริเวณปากน้ำ (ด้านถนนสุขุมวิท) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓ (ถนนสุขุมวิท) แยกซ้ายไปตามซอยเทศบาลบางปู ๕๙ (วิทยุการบิน) แยกซ้ายไปตามซอยเทศบาลบางปู
๕๙/๕ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณด้านหลัง บริษัท ยัวซ่าแบตเตอรี่
จำกัด
ช่วงปากน้ำ - ตำหรุ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดปากน้ำ
ไปทางวงเวียนท้ายบ้าน ผ่านถนนสายลวด แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท ผ่านบางเมฆขาว บ้านคอต่อ
ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคลองตำหรุ
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
สุขุมรัฏฐ์
สาริบุตร
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรปราการ
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๒
มกราคม ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๒ ง/หน้า ๒๒๐/๔ มกราคม ๒๕๕๐ |
522787 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1727 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 กรุงเทพมหานคร สายที่ 1403 ปากทางถนนประชาอุทิศ-วัดทุ่งครุ เป็น ตลาดบางปะกอก-อาคารสงเคราะห์กรุงเทพมหานคร และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตลาดบางปะกอก-วัดพุทธบูชา เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๒๗ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๔๐๓ ปากทางถนนประชาอุทิศ-วัดทุ่งครุ เป็น
ตลาดบางปะกอก-อาคารสงเคราะห์กรุงเทพมหานคร
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก
ช่วงตลาดบางปะกอก-วัดพุทธบูชา
เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง[๑]
ตามที่ได้ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๕๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๕ มกราคม ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๔๐๓ ปากทางถนนประชาอุทิศ-วัดทุ่งครุ
ให้มีเส้นทางแยกช่วงวัดทุ่งครุ-ซอยวิเชียร-ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๔๐๓ ปากทางถนนประชาอุทิศ-วัดทุ่งครุ เป็น ตลาดบางปะกอก-อาคารสงเคราะห์
กรุงเทพมหานคร และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตลาดบางปะกอก-วัดพุทธบูชา เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง
สายที่
๑๔๐๓ ตลาดบางปะกอก-อาคารสงเคราะห์กรุงเทพมหานคร
เริ่มต้นจากตลาดบางปะกอก ไปตามถนนสุขสวัสดิ์ แยกขวาไปตามถนนประชาอุทิศ
ผ่านสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โรงเรียนอิสลามวิทยาลัย โรงเรียนราษฎร์บูรณะ
สถานีตำรวจนครบาลทุ่งครุแยกขวาไปตามซอยประชาอุทิศ ๙๐ จนสุดเส้นทางที่อาคารสงเคราะห์กรุงเทพมหานคร
ช่วงวัดทุ่งครุ-ซอยวิเชียร-ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี
เริ่มต้นจากวัดทุ่งครุ ไปตามถนนประชาอุทิศผ่านโรงเรียนราษฎร์บูรณะ โรงเรียนอิสลามวิทยาลัย
แยกขวาไปตามซอยวิเชียร ซอยสุขสวัสดิ์ ๖๔ แยกซ้ายไปตามถนนสุขสวัสดิ์ จนสุดเส้นทางที่บริเวณห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี
ช่วงตลาดบางปะกอก-วัดพุทธบูชา
เริ่มต้นจากตลาดบางปะกอก ไปตามถนนสุขสวัสดิ์ แยกขวาไปตามถนนประชาอุทิศ ผ่านสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ถึงแยกนาหลวง แยกขวาไปตามถนนพุทธบูชา จนสุดเส้นทางที่วัดพุทธบูชา
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
รักษาราชการแทน
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๒
มกราคม ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๒ ง/หน้า ๒๒๐/๔ มกราคม ๒๕๕๐ |
522785 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1726 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 กรุงเทพมหานคร จำนวน 4 เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๒๖ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๔ กรุงเทพมหานคร จำนวน ๔ เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการขนส่ง ฉบับที่ ๖๙๖ (พ.ศ.
๒๕๒๑) ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๑ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทาง
หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๑๒๔ ถนนสายที่ ๔ หนองแขม-บางแค เป็น บางแค-ถนนสายที่
๔ บางบอน
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๑๕๖๒ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๓๐๓ ตลาดบางแค-ซอยทวีวัฒนา ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตลาดบางแค-หมู่บ้านเศรษฐกิจ-ตลาดพุทธมณฑล
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๑๖๖๖ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด
๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๔๗๐ สามแยกนาคปรก-โรงเรียนวัดรางบัว เป็น โรงเรียนวัดรางบัว-ซอยเลิศพัฒนาเหนือ
(ด้านถนนจอมทอง)
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๑๔๘๕ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ ในเขตกรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๔๙๙ ธนบุรีปากท่อ-ชุมชนดอกรัก ให้มีเส้นทางแยกช่วงชุมชนดอกรัก-โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช
บางขุนเทียน นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร จำนวน ๔ เส้นทาง คือ สายที่ ๑๑๒๔ บางแค-ถนนสายที่ ๔ บางบอน เป็น
ตลาดบางแค-โรงเรียนศึกษานารี ๒ และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตลาดบางแค-พุทธมณฑลสาย
๔ สายที่ ๑๓๐๓ ตลาดบางแค-ถนนทวีวัฒนา ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพชรเกษม ๖๙-โรงเรียนศึกษานารี
๒ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง สายที่ ๑๔๗๐ โรงเรียนวัดรางบัว-ซอยเลิศพัฒนาเหนือ (ด้านถนนจอมทอง)
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงโรงเรียนวัดรางบัว -วัดปากน้ำภาษีเจริญ และสายที่ ๑๔๙๙
ธนบุรีปากท่อ-ชุมชนดอกรัก เป็น ห้างสรรพสินค้าโลตัส-ชุมชนดอกรัก และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงห้างสรรพสินค้าโลตัส-ซอยเทียนทะเล
๒๒เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่
๑๑๒๔ ตลาดบางแค-โรงเรียนศึกษานารี ๒
เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกซ้ายไปตามถนนมาเจริญ
ผ่านทางเข้าตลาดหนองแขม ไปตามถนนบางบอน ๕ แยกขวาไปตามถนนเอกชัย จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนศึกษานารี
๒
ช่วงตลาดบางแค-ถนนพุทธมณฑลสาย ๔
เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษมจนสุดเส้นทางที่บริเวณปากทางถนนพุทธมณฑลสาย ๔
สายที่
๑๓๐๓ ตลาดบางแค-ถนนทวีวัฒนา
เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนทวีวัฒนา
จนสุดเส้นทางที่ปลายถนนทวีวัฒนา (ริมทางรถไฟสายใต้)
ช่วงตลาดบางแค-หมู่บ้านเศรษฐกิจ-ตลาดพุทธมณฑล
เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนหมู่บ้านเศรษฐกิจ แยกซ้ายไปตามถนนอัสสัมชัญ
แยกขวาไปตามซอยศิริเกษม ๙ แยกซ้ายไปตามซอยศิริเกษม ๑๙ แยกขวาไปตามถนนทวีวัฒนา จนสุดเส้นทางที่ตลาดพุทธมณฑล
ช่วงตลาดพุทธมณฑล-ปากทางถนนบางบอน ๓ (ด้านถนนเอกชัย)
เริ่มต้นจากตลาดพุทธมณฑลไปตามถนนทวีวัฒนา แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามซอยเพชรเกษม
๖๙ ผ่านตลาดคลองขวางไปตามถนนบางบอน ๓ ผ่านโรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบอน จนสุดเส้นทางที่บริเวณปากทางถนนบางบอน
๓
ช่วงเพชรเกษม ๖๙-โรงเรียนศึกษานารี ๒ เริ่มต้นจากปากซอยเพชรเกษม
๖๙ ไปตามซอยเพชรเกษม ๖๙ ผ่านตลาดคลองขวาง ไปตามถนนบางบอน ๓ แยกขวาไปตามถนนเอกชัยจนสุดเส้นทางที่โรงเรียนศึกษานารี
๒
สายที่
๑๔๗๐ โรงเรียนวัดรางบัว-ซอยเลิศพัฒนาเหนือ (ด้านถนนจอมทอง)
เริ่มต้นจากโรงเรียนวัดรางบัว ไปตามถนนพัฒนาการ ผ่านวัดอ่างแก้ว
วัดเพลง วัดนาคปรกไปตามถนนเทอดไท แยกขวาไปตามซอยเทอดไท ๓๓ ผ่านวัดบางสะแกนอก วัดบางสะแกในไปตามซอยเลิศพัฒนาเหนือ
จนสุดเส้นทางที่ซอยเลิศพัฒนาเหนือ (ด้านถนนจอมทอง)
ช่วงโรงเรียนวัดรางบัว-วัดปากน้ำภาษีเจริญ
เริ่มต้นจากโรงเรียนวัดรางบัว ไปตามถนนพัฒนาการผ่านวัดอ่างแก้ว วัดเพลง ถึงสามแยกนาคปรก
แยกซ้ายไปตามถนนรัชมงคลประสาธน์ จนสุดเส้นทางที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ
สายที่
๑๔๙๙ ห้างสรรพสินค้าโลตัส-ชุมชนดอกรัก
เริ่มต้นจากห้างสรรพสินค้าโลตัส ไปตามถนนพระราม ๒
แยกซ้ายไปตามถนนสะแกงามผ่านวัดสะแกงาม แยกขวาไปตามถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล แยกขวาไปตามซอยเทียนทะเล
๒๐ แยกขวาไปตามถนนเข้าชุมชนดอกรัก จนสุดเส้นทางที่บริเวณชุมชนดอกรัก
ช่วงชุมชนดอกรัก-โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช บางขุนเทียน
เริ่มต้นจากชุมชนดอกรักไปตามถนนเข้าชุมชนดอกรัก แยกซ้ายไปตามซอยเทียนทะเล ๒๐ แยกซ้ายไปตามถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล
แยกซ้ายไปตามถนนสะแกงาม แยกขวาไปตามซอยสะแกงาม ๒๑ แยกซ้ายไปตามซอยร่วมใจจนสุดเส้นทางที่บริเวณโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช
บางขุนเทียน
ช่วงห้างสรรพสินค้าโลตัส-ซอยเทียนทะเล ๒๒
เริ่มต้นจากห้างสรรพสินค้าโลตัส ไปตามถนนพระราม ๒ แยกซ้ายไปตามถนนสะแกงาม ผ่านวัดสะแกงาม
แยกขวาไปตามถนนบางขุนเทียน-ชายทะเลแยกขวาไปตามซอยเทียนทะเล ๒๒ จนสุดเส้นทางที่บริเวณปลายซอยเทียนทะเล
๒๒
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
รักษาราชการแทน
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๒
มกราคม ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๒ ง/หน้า ๒๑๗/๔ มกราคม ๒๕๕๐ |
522783 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1725 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 กรุงเทพมหานคร สายที่ 1405 สุขสวัสดิ์ 64-วัดทุ่งครุ-ปากซอยวัดคู่สร้าง เป็น ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี-วัดทุ่งครุ-ปากซอยวัดคู่สร้าง และช่วงสุขสวัสดิ์ 64-หมู่บ้านวิเศษสุขนคร เป็น ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี-ถนนประชาอุทิศ-หมู่บ้านวิเศษสุขนคร และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก 2 ช่วง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๒๕ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๔๐๕ สุขสวัสดิ์ ๖๔-วัดทุ่งครุ-ปากซอยวัดคู่สร้าง เป็น
ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี-วัดทุ่งครุ-ปากซอยวัดคู่สร้าง
และช่วงสุขสวัสดิ์ ๖๔-หมู่บ้านวิเศษสุขนคร
เป็น
ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี-ถนนประชาอุทิศ-หมู่บ้านวิเศษสุขนคร
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก
๒ ช่วง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๕๖๓ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๔๐๕ สุขสวัสดิ์ ๖๔-วัดทุ่งครุ-ปากซอยวัดคู่สร้างให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสุขสวัสดิ์
๖๔-หมู่บ้านวิเศษสุขนคร นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๔๐๕ สุขสวัสดิ์ ๖๔-วัดทุ่งครุ-ปากซอยวัดคู่สร้าง เป็นห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี-วัดทุ่งครุ-ปากซอยวัดคู่สร้าง
และช่วงสุขสวัสดิ์ ๖๔-หมู่บ้านวิเศษสุขนคร เป็นห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี-ถนนประชาอุทิศ-หมู่บ้านวิเศษสุขนคร
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก ๒ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่
๑๔๐๕ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี-วัดทุ่งครุ-ปากซอยวัดคู่สร้าง
เริ่มต้นจากห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ไปตามถนนสุขสวัสดิ์
แยกขวาไปตามซอยสุขสวัสดิ์ ๖๔ ถึงโรงเรียนสามัคคีบำรุง แยกซ้ายไปตามซอยประชาอุทิศ ๖๙
(ซอยชมทรัพย์) แยกซ้ายไปตามถนนประชาอุทิศผ่านโรงเรียนอิสลามวิทยาลัย วัดทุ่งครุ โรงเรียนคลองนาเกลือน้อย
ตรงไปตามทางหลวงชนบท ถึงวัดคู่สร้างกลับรถไปตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามถนนวัดคู่สร้าง
ผ่านโรงเรียนคลองสองพี่น้อง จนสุดเส้นทางที่ปากซอยวัดคู่สร้าง (ด้านถนนสุขสวัสดิ์)
ช่วงวัดทุ่งครุ-ปากซอยสุขสวัสดิ์ ๗๘ เริ่มต้นจากวัดทุ่งครุ
ไปตามถนนประชาอุทิศ ผ่านโรงเรียนคลองนาเกลือน้อย ตรงไปตามทางหลวงชนบท แยกซ้ายไปตามซอยซ้อยเพ็ง
ไปตามซอยสุขสวัสดิ์ ๗๘ ผ่านวัดซังเรืองภาวนาคม จนสุดเส้นทางที่ปากซอยสุขสวัสดิ์ ๗๘
ช่วงห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี-ถนนประชาอุทิศ-หมู่บ้านวิเศษสุขนคร
เริ่มต้นจากห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีไปตามถนนสุขสวัสดิ์ แยกขวาไปตามซอยสุขสวัสดิ์ ๖๔ ถึงโรงเรียนสามัคคีบำรุง
แยกซ้ายไปตามซอยประชาอุทิศ ๖๙ (ซอยชมทรัพย์) แยกซ้ายไปตามถนนประชาอุทิศ ผ่านโรงเรียนอิสลามวิทยาลัยแยกซ้ายไปตามซอยประชาอุทิศ
๗๙ จนสุดเส้นทางที่หมู่บ้านวิเศษสุขนคร
ช่วงห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี-สวนธนบุรีรมย์
เริ่มต้นจากห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ไปตามถนนสุขสวัสดิ์แยกขวาไปตามซอยสุขสวัสดิ์ ๖๔ ถึงโรงเรียนสามัคคีบำรุง
แยกซ้ายไปตามซอยประชาอุทิศ ๖๙ (ซอยชมทรัพย์) แยกขวาไปตามถนนประชาอุทิศ ถึงแยกนาหลวง
ไปตามถนนพุทธบูชา จนสุดเส้นทางที่สวนธนบุรีรมย์
ช่วงห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี-อาคารสงเคราะห์กรุงเทพมหานคร
เริ่มต้นจากห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีไปตามถนนสุขสวัสดิ์ แยกขวาไปตามซอยสุขสวัสดิ์ ๖๔ ถึงโรงเรียนสามัคคีบำรุง
แยกซ้ายไปตามซอยประชาอุทิศ ๖๙ (ซอยชมทรัพย์) แยกขวาไปตามถนนประชาอุทิศ ผ่านโรงเรียนอิสลามวิทยาลัยวัดทุ่งครุ
แยกขวาไปตามซอยประชาอุทิศ ๙๐ จนสุดเส้นทางที่อาคารสงเคราะห์กรุงเทพมหานคร
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
รักษาราชการแทน
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๒
มกราคม ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๒ ง/หน้า ๒๑๕/๔ มกราคม ๒๕๕๐ |
522781 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1724 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 548 นครราชสีมา-บ้านหนองสรวง-ลำนารายณ์ โดยให้ยกเลิกเส้นทางแยกช่วงนครราชสีมา-บ้านหนองสรวง-ด่านขุนทด-เทพสถิต และช่วงนครราชสีมา-บ้านหนองสรวง-ด่านขุนทด-บ้านห้วยยายจิ๋ว
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๒๔ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๕๔๘ นครราชสีมา-บ้านหนองสรวง-ลำนารายณ์ โดยให้ยกเลิกเส้นทางแยก
ช่วงนครราชสีมา-บ้านหนองสรวง-ด่านขุนทด-เทพสถิต
และ
ช่วงนครราชสีมา-บ้านหนองสรวง-ด่านขุนทด-บ้านห้วยยายจิ๋ว[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๘๕๑ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๓๖ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๕๔๘ นครราชสีมา-บ้านหนองสรวง-ลำนารายณ์ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก ๒
ช่วง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๕๔๘ นครราชสีมา-บ้านหนองสรวง-ลำนารายณ์ โดยให้ยกเลิกเส้นทางแยกช่วงนครราชสีมา-บ้านหนองสรวง-ด่านขุนทด-เทพสถิต
และช่วงนครราชสีมา-บ้านหนองสรวง-ด่านขุนทด-บ้านห้วยยายจิ๋ว โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่
๕๔๘ นครราชสีมาบ้านหนองสรวงลำนารายณ์
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ผ่านบ้านจอหอ บ้านโคกสูง บ้านหนองกะลัง บ้านด่านจาก
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๖๘ ผ่านบ้านนารายณ์ ถึงบ้านหนองสรวง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๔๘ ผ่านบ้านด่านนอก บ้านดอนตะแบง บ้านดอนตาหนินน้อย บ้านดอนตาหนินใหญ่ ถึงอำเภอด่านขุนทดแยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๑ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕๖ ผ่านบ้านตะเคียน บ้านหินดาต บ้านฉาง บ้านลำพญาไม้
บ้านชัยบาดาล แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๒๐๕ ผ่านบ้านยายกับตา ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารลำนารายณ์
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
รักษาราชการแทน
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๒
มกราคม ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๒ ง/หน้า ๒๑๓/๔ มกราคม ๒๕๕๐ |
522779 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1723 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 815 มุกดาหาร-พัทยา เป็น มุกดาหาร-ระยอง และเส้นทางแยกช่วงมุกดาหาร - ร้อยเอ็ด - พัทยา เป็น ช่วงมุกดาหาร - ร้อยเอ็ด-ระยอง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๒๓ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๘๑๕ มุกดาหาร-พัทยา เป็น มุกดาหาร-ระยอง
และเส้นทางแยกช่วงมุกดาหาร
ร้อยเอ็ด พัทยา เป็น
ช่วงมุกดาหาร
ร้อยเอ็ด-ระยอง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๕๔๑ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๘๑๕ มุกดาหารพัทยา
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นหนึ่งช่วง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด
๓ สายที่ ๘๑๕ มุกดาหาร พัทยา เป็น มุกดาหาร
ระยอง และเส้นทางแยกช่วงมุกดาหาร
ร้อยเอ็ด พัทยา เป็น ช่วงมุกดาหาร ร้อยเอ็ด-ระยอง
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่
๘๑๕ มุกดาหาร-ระยอง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดมุกดาหาร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๒ผ่านอำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอเลิงนกทา ถึงจังหวัดอำนาจเจริญ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๒ ผ่านจังหวัดยโสธร ถึงอำเภอสุวรรณภูมิ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔
ผ่านอำเภอท่าตูม อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ถึงอำเภอปราสาท แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๔ ผ่านอำเภอประโคนชัย ถึงอำเภอนางรอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๘
ผ่านอำเภอปะคำ ถึงบ้านใหม่ไทยถาวร แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๘๖ ผ่านบ้านโคคลานถึงบ้านทางโค้ง
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๘ ถึงอำเภออรัญประเทศ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๓ ผ่านอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ถึงแยกอำเภอกบินทร์บุรีแยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๐๔ ผ่านแยกอำเภอพนมสารคาม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ (ถนนเลี่ยงเมือง) ถึงทางแยกบางปะกง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา
อำเภอบางละมุง เมืองพัทยา อำเภอบ้านฉางบ้านมาบตาพุด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง
ช่วงมุกดาหาร-ร้อยเอ็ด-ระยอง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดมุกดาหาร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๔๒ ผ่านอำเภอคำชะอี
อำเภอหนองสูง ถึงอำเภอกุฉินารายณ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๔๖ ถึงอำเภอโพนทอง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๔๔ ถึงจังหวัดร้อยเอ็ด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๔๕
ผ่านอำเภอวาปีปทุม ถึงอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙ ผ่านอำเภอสตึก
ถึงจังหวัดบุรีรัมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๘ ถึงบ้านตะโก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๔ ถึงอำเภอนางรองแยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๘ ผ่านอำเภอปะคำ ถึงบ้านใหม่ไทยถาวร
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๘๖ ผ่านบ้านโคคลาน ถึงบ้านทางโค้ง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๔๘ ถึงอำเภออรัญประเทศ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ผ่านอำเภอวัฒนานคร
จังหวัดสระแก้ว ถึงแยกอำเภอกบินทร์บุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านแยกอำเภอพนมสารคาม
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ (ถนนเลี่ยงเมือง) ถึงทางแยกบางปะกงแยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชาอำเภอบางละมุง เมืองพัทยา อำเภอบ้านฉาง
บ้านมาบตาพุด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
รักษาราชการแทน
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๒
มกราคม ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒ ง/หน้า ๒๑๑/๔ มกราคม ๒๕๕๐ |
530123 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1751 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่องจำนวน 5 เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๕๑ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
จำนวน
๕ เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๑๕๑ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๒ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
(รถตู้ปรับอากาศ) หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่
ต. ๑ ห้างสรรพสินค้าพาต้าปิ่นเกล้า-มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา)
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๑๑๕๙ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ประกาศ ณ วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๒ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
(รถตู้ปรับอากาศ) หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่
ต. ๔๑ สถาบันราชภัฏจันทร์เกษม-ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางกะปิ สายที่ ต. ๕๑ ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์-ปากน้ำ
และสายที่ ต. ๖๓ รังสิต-ซอยลาซาล (ทางด่วน) และ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่
๑๒๕๕ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
(รถตู้ปรับอากาศ) หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่องสายที่
ต. ๘๐ มหาวิทยาลัยรามคำแหง-ท่าน้ำนนทบุรี นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒๑/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน ๕ เส้นทาง คือ
๑. สายที่ ต. ๑ ห้างสรรพสินค้าพาต้าปิ่นเกล้า-มหาวิทยาลัยมหิดล
(ศาลายา) เป็นห้างสรรพสินค้าพาต้าปิ่นเกล้า-อำเภอสามพราน และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงห้างสรรพสินค้าพาต้าปิ่นเกล้า-มหาวิทยาลัยมหิดล
(ศาลายา)
๒. สายที่ ต. ๔๑ สถาบันราชภัฏจันทร์เกษม-ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางกะปิ
เป็นหมู่บ้านรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี-ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางกะปิ
๓. สายที่ ต. ๕๑ ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์-ปากน้ำ
เป็น ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางกะปิ-ปากน้ำ
๔. สายที่ ต. ๖๓ รังสิต-ซอยลาซาล (ทางด่วน) เป็น รังสิต-ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียลสำโรง
(ทางด่วน)
๕. สายที่ ต. ๘๐ มหาวิทยาลัยรามคำแหง-ท่าน้ำนนทบุรี
สำหรับการเดินรถแยกช่วงมหาวิทยาลัยรามคำแหง-แยกลาดพร้าว-ท่าน้ำนนทบุรี เป็น ช่วงห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางกะปิ-ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์งามวงศ์วาน
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่
ต. ๑ ห้างสรรพสินค้าพาต้าปิ่นเกล้า-อำเภอสามพราน
เริ่มต้นจากห้างสรรพสินค้าพาต้าปิ่นเกล้า ไปตามถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ถนนบรมราชชนนีแยกซ้ายไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๗ (๓๓๑๖) แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๐๙๘ จนสุดเส้นทางที่อำเภอสามพราน
ช่วงห้างสรรพสินค้าพาต้าปิ่นเกล้า-มหาวิทยาลัยมหิดล
(ศาลายา) เริ่มต้นจากห้างสรรพสินค้าพาต้าปิ่นเกล้า ไปตามถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ถนนบรมราชชนนี แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๔ จนสุดเส้นทางที่มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา)
สายที่ ต. ๔๑ หมู่บ้านรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี-ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางกะปิ
เริ่มต้นจากหมู่บ้านรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ไปตามถนนรังสิต-ปทุมธานี
แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน ถนนวิภาวดีรังสิต แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าวจนสุดเส้นทางที่ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางกะปิ
สายที่
ต. ๕๑ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางกะปิ-ปากน้ำ
เริ่มต้นจากห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางกะปิ ไปตามถนนลาดพร้าว
แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท แยกซ้ายไปตามถนนศรีสมุทร ถนนสายลวด
จนสุดเส้นทางที่ตลาดปากน้ำ
สายที่
ต. ๖๓ รังสิต-ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียลสำโรง (ทางด่วน)
เริ่มต้นจากรังสิต ไปตามถนนพหลโยธิน แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต
ไปตามถนนอุตราภิมุข (ทางยกระดับดอนเมือง-โทล์เวย์) ที่ดอนเมือง ลงทางยกระดับที่มหาวิทยาลัยหอการค้า
ไปตามถนนวิภาวดีรังสิตขึ้นทางด่วนที่ด่านดินแดง ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ลงทางด่วนที่ด่านสุขุมวิท
๖๒ แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท จนสุดเส้นทางที่ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียลสำโรง
สายที่
ต. ๘๐ มหาวิทยาลัยรามคำแหง-ท่าน้ำนนทบุรี
เริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ไปตามถนนรามคำแหง
แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษก ถนนวงศ์สว่าง
แยกขวาไปตามถนนพิบูลสงคราม แยกซ้ายไปตามถนนประชาราษฎร์ จนสุดเส้นทางที่ท่าน้ำนนทบุรี
ช่วงห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางกะปิ-ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์งามวงศ์วาน
เริ่มต้นจากห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางกะปิ ไปตามถนนลาดพร้าว แยกขวาไปตามถนนวิภาวดีรังสิต
แยกซ้ายไปตามถนนงามวงศ์วาน จนสุดเส้นทางที่ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์งามวงศ์วาน
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๒๘
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๑๑๘/๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ |
522777 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1722 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 51 ปากเกร็ด - ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล (สาขาลาดพร้าว) เป็น ปากเกร็ด - บางโพ - สนามหลวง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๒๒ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่
๕๑ ปากเกร็ด - ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล (สาขาลาดพร้าว)
เป็น
ปากเกร็ด - บางโพ สนามหลวง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๒๙๙ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๕๑ ปากเกร็ด -
บางโพ เป็น ปากเกร็ด - ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล (สาขาลาดพร้าว) นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๕๑ ปากเกร็ด -
ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล (สาขาลาดพร้าว) เป็น ปากเกร็ด - บางโพ - สนามหลวง โดยให้ใช้รายละเอียด
เส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่
๕๑ ปากเกร็ด - บางโพ - สนามหลวง
จากปากเกร็ดไปสนามหลวง
เริ่มต้นจากตลาดปากเกร็ด ไปตามถนนแจ้งวัฒนะ แยกขวาไปตามถนนติวานนท์
แยกซ้ายไปตามถนนกรุงเทพ - นนทบุรี แยกขวาไปตามถนนประชาราษฎร์สาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนประชาราษฎร์สาย
๑ ถนนสามเสน ถนนจักรพงศ์ แยกขวาไปตามถนนเจ้าฟ้า แยกซ้ายไปตามถนนพระอาทิตย์ แยกซ้ายไปตามถนนราชินี
แยกขวาไปตามถนนหน้าพระธาตุ จนสุดเส้นทางที่สนามหลวง
จากสนามหลวงไปปากเกร็ด
เริ่มต้นจากสนามหลวง ไปตามถนนหน้าพระธาตุ แยกซ้ายไปตามถนนหน้าพระลาน
แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนินใน แยกซ้ายไปตามถนนราชินี แยกขวาไปตามถนนพระอาทิตย์ แยกขวาไปตามถนนพระสุเมรุ
แยกซ้ายตามถนนสามเสน แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่ตลาดปากเกร็ด
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
รักษาราชการแทน
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๕
มกราคม ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๒ ง/หน้า ๒๐๙/๔ มกราคม ๒๕๕๐ |
522775 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1721 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 552 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุช เป็น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - คลองเตย และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก 1 ช่วง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๒๑ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่
๕๕๒ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุช
เป็น
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - คลองเตย
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก
๑ ช่วง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๔๕ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่ ๕๕๒ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุช นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๕๕๒ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
- สถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุช เป็น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - คลองเตย
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก ๑ ช่วง
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่
๕๕๒ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - คลองเตย
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปตามถนนบางนา
- บางปะกง แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิทแยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔
แยกซ้ายไปตามถนนสุนทรโกษา จนสุดเส้นทางที่คลองเตย (บริเวณอู่คลองเตย)
ช่วงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ปากน้ำ
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปตามถนนบางนา - บางปะกง
แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท จนสุดเส้นทางที่ปากน้ำ
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
รักษาราชการแทน
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๕
มกราคม ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๒ ง/หน้า ๒๐๗/๔ มกราคม ๒๕๕๐ |
522773 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1720 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 551 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน) เป็น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สยามพารากอน (ทางด่วน)
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๒๐ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่
๕๕๑ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน)
เป็น
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สยามพารากอน (ทางด่วน)[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๔๕ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๕๕๑ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
- อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน) นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๕๕๑ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
- อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน) เป็น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สยามพารากอน
(ทางด่วน) โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่
๕๕๑ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สยามพารากอน (ทางด่วน)
จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปสยามพารากอน
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปตามทางพิเศษระหว่างเมือง
(กรุงเทพฯ - ชลบุรีสายใหม่) ไปตามทางพิเศษศรีรัช ลงทางพิเศษที่ด่านพระราม ๙ ไปตามถนนพระราม
๙ ถนนอโศก - ดินแดงถนนดินแดง ถนนราชวิถี ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปตามถนนพญาไท แยกซ้ายไปตามถนนเพลินจิตจนสุดเส้นทางที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน
จากสยามพารากอนไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
เริ่มต้นจากศูนย์การค้าสยามพารากอน ไปตามถนนเพลินจิต
แยกซ้ายไปตามถนนราชดำริไปตามถนนราชปรารภ แยกขวาไปตามถนนดินแดง แล้วไปตามเส้นทางเดิม
จนสุดเส้นทางที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
รักษาราชการแทน
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๕
มกราคม ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๒ ง/หน้า ๒๐๕/๔ มกราคม ๒๕๕๐ |
522770 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1719 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดมีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน 4 เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๑๙ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดมีเส้นทางต่อเนื่อง
จำนวน
๔ เส้นทาง[๑]
ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน ๔ เส้นทาง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่
๕๕๖ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (สายใต้)
จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(สายใต้)
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปตามทางพิเศษระหว่างเมือง
(กรุงเทพฯ - ชลบุรีสายใหม่) ไปตามทางพิเศษศรีรัช ลงทางด่วนที่ด่านยมราช ไปตามถนนหลานหลวง
ข้ามสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ไปตามถนนราชดำเนินกลาง ข้ามสะพานผ่านพิภพลีลา แยกขวาไปตามถนนราชินี
แยกซ้ายไปตามถนนหน้าพระธาตุ แยกซ้ายไปตามถนนหน้าพระลาน แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนินใน
แยกซ้ายข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ไปตามถนนพระปิ่นเกล้า ถนนบรมราชชนนี จนสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(สายใต้)
จากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(สายใต้) ไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (สายใต้)
ไปตามถนนบรมราชชนนีถนนพระปิ่นเกล้า ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า แยกซ้ายไปตามถนนเจ้าฟ้า
แยกซ้ายไปตามถนนพระอาทิตย์แยกซ้ายไปตามถนนราชินี แยกขวาไปตามถนนหน้าพระธาตุ แล้วไปตามเส้นทางเดิม
จนสุดเส้นทางที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
สายที่
๕๕๗ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - วงเวียนใหญ่
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปตามถนนกิ่งแก้ว
แยกขวาไปตามถนนเทพารักษ์ แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท แยกขวาไปตามถนนปู่เจ้าสมิงพราย ขึ้นสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม
ลงสะพานที่ถนนสุขสวัสดิ์ ไปตามถนนสุขสวัสดิ์ แยกขวาไปตามถนนราษฎร์พัฒนา แยกซ้ายไปตามถนนเจริญนครแยกซ้ายไปตามถนนลาดหญ้า
จนสุดเส้นทางที่วงเวียนใหญ่
สายที่
๕๕๘ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - เซ็นทรัลพระราม ๒
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปตามถนนบางนา
- บางปะกง แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิทแยกขวาไปตามถนนปู่เจ้าสมิงพราย ขึ้นสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม
ลงสะพานที่ถนนสุขสวัสดิ์ไปตามถนนสุขสวัสดิ์ แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๒ จนสุดเส้นทางที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล
(พระราม ๒)
สายที่
๕๕๙ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ถนนวงแหวนรอบนอก - ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปตามทางพิเศษระหว่างเมือง
(กรุงเทพ - ชลบุรีสายใหม่) แยกขวาไปตามถนนวงแหวนรอบนอก แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๐๕ (รังสิต - นครนายก) จนสุดเส้นทางที่ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
รักษาราชการแทน
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๕
มกราคม ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๒ ง/หน้า ๒๐๔/๔ มกราคม ๒๕๕๐ |
522768 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1718 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 555 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - รังสิต (ทางด่วน)
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๑๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่
๕๕๕ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - รังสิต (ทางด่วน)[๑]
ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๕๕๕ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
รังสิต (ทางด่วน) โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่
๕๕๕ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - รังสิต (ทางด่วน)
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปตามถนนภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ไปตามทางพิเศษระหว่างเมือง (กรุงเทพฯ - ชลบุรีสายใหม่) ไปตามทางพิเศษศรีรัช ลงทางพิเศษที่ด่านดินแดง
ไปตามถนนวิภาวดีรังสิต แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน จนสุดเส้นทางที่รังสิต
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ปิยะพันธ์
จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
รักษาราชการแทน
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๕
มกราคม ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๒ ง/หน้า ๒๐๒/๔ มกราคม ๒๕๕๐ |
522728 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ฉบับที่ 122 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดอุดรธานี สายที่ 4408 กุมภวาปี-บ้านโพนทอง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุดรธานี
ฉบับที่
๑๒๒ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่)
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดอุดรธานี
สายที่
๔๔๐๘ กุมภวาปี-บ้านโพนทอง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี
ฉบับที่ ๖๗ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๓๔ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดอุดรธานี สายที่ ๔๔๐๘ กุมภวาปี-บ้านโพนทอง ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานีได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด
(ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่)
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร ดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๘ และกรมการขนส่งทางบกได้เห็นชอบเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน
๒๕๔๘ ตามที่ได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดอุดรธานี สายที่ ๔๔๐๘ กุมภวาปี-บ้านโพนทอง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่
๔๔๐๘ กุมภวาปี-บ้านโพนทอง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอกุมภวาปี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒๓ ผ่านบ้านพันดอน ถึงบ้านทางพาดวาปี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒ ผ่านบ้านดงเรือง บ้านโนนผาสุข แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อด. ๒๐๑๕ ผ่านบ้านนาดี
บ้านสร้างบง บ้านห้วยสามพาด บ้านหนองแก บ้านโคกกลาง บ้านโนนสา บ้านนาม่วง บ้านสวนมอญ
บ้านอุ่มจาน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโพนทอง
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
จารึก
ปริญญาพล
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุดรธานี
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๐
มกราคม ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๐๙/๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ |
522726 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ฉบับที่ 121 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดอุดรธานี สายที่ 4346 โนนสะอาด-ศรีธาตุ
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุดรธานี
ฉบับที่
๑๒๑ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่)
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดอุดรธานี
สายที่
๔๓๔๖ โนนสะอาด-ศรีธาตุ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี
ฉบับที่ ๓๐ (พ.ศ. ๒๕๒๗) ลงวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๒๗ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดอุดรธานี สายที่ ๔๓๔๖ โนนสะอาด-ศรีธาตุ ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานีได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด
(ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่)
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๘ และกรมการขนส่งทางบกได้เห็นชอบเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน
๒๕๔๘ ตามที่ได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง
(ชื่อถนน, ชื่อสถานที่) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดอุดรธานี สายที่ ๔๓๔๖ โนนสะอาด-ศรีธาตุ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่
๔๓๔๖ โนนสะอาด-ศรีธาตุ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอโนนสะอาด
ตรงไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อด. ๑๐๐๕ ผ่านบ้านหัวฝาย บ้านบุ่งแก้ว บ้านโนนสำราญ บ้านหนองโก
บ้านบะยาว บ้านกุดยาง บ้านท่าลี่ บ้านห้วยผึ้ง บ้านโคกน้อย บ้านสงเปลือย ถึงบ้านท่าไฮ
ตรงไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อด. ๑๐๐๕ ผ่านบ้านหนองแวงจำปี ถึงสามแยกบ้านพรประจักษ์
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒๓ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอศรีธาตุ
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
จารึก
ปริญญาพล
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุดรธานี
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๐
มกราคม ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๐๗/๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ |
522724 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ฉบับที่ 120 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดอุดรธานี สายที่ 4343 อุดรธานี-บ้านสุมเส้า
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุดรธานี
ฉบับที่
๑๒๐ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่)
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดอุดรธานี
สายที่
๔๓๔๓ อุดรธานี-บ้านสุมเส้า[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี
ฉบับที่ ๒๗ (พ.ศ. ๒๕๒๗) ลงวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๒๗ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดอุดรธานี สายที่ ๔๓๔๓ อุดรธานี-บ้านสุมเส้า ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานีได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด
(ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่)
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๘ และกรมการขนส่งทางบกได้เห็นชอบเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน
๒๕๔๘ ตามที่ได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง
(ชื่อถนน, ชื่อสถานที่) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดอุดรธานี สายที่ ๔๓๔๓ อุดรธานี-บ้านสุมเส้า โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่
๔๓๔๓ อุดรธานี-บ้านสุมเส้า
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี แห่งที่
๑ ถึงสี่แยกตัดถนนเลี่ยงเมือง ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔๑๐ ถึงบ้านสามพร้าว
แยกซ้ายไปตามถนนทางหลวงชนบทหมายเลข อด. ๒๐๓๘ ผ่านบ้านสร้างแป้น บ้านยางซอง ถึงบ้านนาบัว
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๑๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านสุมเส้า
ช่วงอุดรธานี-บ้านดอนกลอย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี แห่งที่ ๑
ถึงสี่แยกตัดถนนเลี่ยงเมือง ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔๑๐ ถึงบ้านสามพร้าว ตรงไปตามทางหลวงชนบท
อบจ.อด. ผ่านบ้านหนองคอนแสน บ้านหว้าน บ้านไทย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านดอนกลอย
ช่วงอุดรธานี-บ้านหนองนาหล่ำ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี แห่งที่ ๑
ถึงสี่แยกตัดถนนเลี่ยงเมืองอุดรธานี ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔๑๐ แยกขวาไปตามถนนบ้านหนองนาหล่ำ
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองนาหล่ำ
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
จารึก
ปริญญาพล
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุดรธานี
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๐
มกราคม ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๐๕/๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ |
522722 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ฉบับที่ 119 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดอุดรธานี สายที่ 2 สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดอุดรธานี-สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี แห่งที่ 2
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุดรธานี
ฉบับที่
๑๑๙ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่)
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ จังหวัดอุดรธานี
สายที่
๒ สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดอุดรธานี-
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี
แห่งที่ ๒[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี
ฉบับที่ ๙๓ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ลงวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ จังหวัดอุดรธานี สายที่ ๒ สำนักงาน รพช. จังหวัดอุดรธานี-สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี
แห่งที่ ๒ ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานีได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด
(ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง (ชื่อถนน, ชื่อสถานที่)
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๘ และกรมการขนส่งทางบกได้เห็นชอบเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน
๒๕๔๘ ตามที่ได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง
(ชื่อถนน, ชื่อสถานที่) สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
จังหวัดอุดรธานี สายที่ ๒ สำนักงาน รพช. จังหวัดอุดรธานี-สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี
แห่งที่ ๒ เป็น สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดอุดรธานี-สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี
แห่งที่ ๒ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่
๒ สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดอุดรธานี-
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี
แห่งที่ ๒
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตรงข้ามสำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดอุดรธานีไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๒ ผ่านโรงงานทอกระสอบ ถึงสี่แยกตัดถนนเลี่ยงเมือง ตรงไปตามถนนนิตโย ผ่านตลาดหนองบัว
ไปตามถนนโพศรี ผ่านวงเวียนหอนาฬิกา แยกซ้ายไปตามถนนมุขมนตรี แยกขวาไปตามถนนศรีสุข แยกขวาไปตามถนนเพาะนิยม
ผ่านโรงพยาบาลอุดรธานีศาลเจ้าเทพารักษ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐ (ถนนเลี่ยงเมือง)
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี แห่งที่ ๒
ช่วงโรงงานทอกระสอบ-ถนนอำเภอ-โรงเรียนโปลีเทคนิคอุดรธานี
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหน้าโรงงานทอกระสอบ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๒ ถึงสี่แยกตัดถนนเลี่ยงเมือง ตรงไปตามถนนนิตโย ผ่านตลาดหนองบัว ไปตามถนนโพศรี ผ่านวงเวียนหอนาฬิกาแยกซ้ายไปตามถนนอำเภอ
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหน้าโรงเรียนโปลีเทคนิคอุดรธานี
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
จารึก
ปริญญาพล
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุดรธานี
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๐
มกราคม ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๐๓/๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ |
522720 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุทัยธานี ฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2549) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุทัยธานี
ฉบับที่
๒๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุทัยธานีกำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จำนวน ๕ เส้นทางดังต่อไปนี้
๑. ฉบับที่ ๒๕ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๑
สายที่ ๖๘๐๐๓ อุทัยธานี-ทัพทัน-ปากเหมือง
๒. ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๒๓
สายที่ ๖๘๐๐๔ ทุ่งนา-สมอทอง
๓. ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ลงวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๒๓
สายที่ ๖๘๐๐๖ หนองฉาง-โปร่งเก้ง
๔. ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๒๖) ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๒๖
สายที่ ๖๘๐๐๘ อุทัยธานี-วัดราษฎร์
๕. ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๒๖) ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๒๖
สายที่ ๖๘๐๐๙ อุทัยธานี-เนินซาก เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชน
นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุทัยธานีได้พิจารณาแล้ว
เห็นว่าเส้นทางดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก เนื่องจากได้พิจารณากำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้นทดแทนแล้ว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุทัยธานี ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กดังกล่าว
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ปรีชา
บุตรศรี
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุทัยธานี
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๐๑/๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ |
522718 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปทุมธานี ฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดปทุมธานี
ฉบับที่
๓๙ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปทุมธานีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปทุมธานี ในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๔๙ โดยได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในคราวประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดปทุมธานี สายที่ ๖๐๔๘ ถนนคลองหลวง (คลองสาม)-ถนนเลียบคลองระพีพัฒน์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้
คือ
สายที่
๖๐๔๘ ถนนคลองหลวง (คลองสาม)-ถนนเลียบคลองระพีพัฒน์
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณถนนคลองหลวง
(คลองสาม) ไปตามทางหลวงชนบท (ถนน ร.พ.ช. และโยธาธิการ) ถนนเลียบคลองสาม ผ่านองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม
วัดกลางคลองสาม โรงเรียนวัดกลางคลองสาม สถานีอนามัยคลองสาม โรงเรียนบ้านบึงไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณคลองระพีพัฒน์
หมู่ที่ ๑๖
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
นเรศ
จิตสุจริตวงศ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดปทุมธานี
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๐
มกราคม ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๐๐/๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ |
522716 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปทุมธานี ฉบับที่ 38 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดปทุมธานี
ฉบับที่
๓๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปทุมธานีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปทุมธานี ในคราวประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๔๙ โดยได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในคราวประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดปทุมธานี สายที่ ๖๐๔๗สะพานคลองสาม (ด้านถนนองครักษ์)-ถนนคลองหลวง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้
คือ
สายที่
๖๐๔๗ สะพานคลองสาม (ด้านถนนองครักษ์)-ถนนคลองหลวง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสะพานคลองสาม
(ด้านถนนองครักษ์) ไปตามทางหลวงชนบท (ถนน ร.พ.ช. และโยธาธิการ) ถนนเลียบคลองสาม ผ่านหมู่บ้านพฤกษา
๙ พฤกษา ๑๑ หมู่บ้านวรารักษ์ วัดเกิดการอุดม ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณทางแยกถนนคลองหลวง
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
นเรศ
จิตสุจริตวงศ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดปทุมธานี
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๐
มกราคม ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๑๙๙/๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ |
522714 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปทุมธานี ฉบับที่ 37 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดปทุมธานี
ฉบับที่
๓๗ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปทุมธานีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปทุมธานี ในคราวประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๔๙ โดยได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในคราวประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดปทุมธานี สายที่ ๖๐๔๖ ซอยชื่นสินธิ์ (ซอย ๓๙)-ซอยเย็นฉ่ำ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้
คือ
สายที่
๖๐๔๖ ซอยชื่นสินธิ์ (ซอย ๓๙)-ซอยเย็นฉ่ำ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากซอยชื่นสินธิ์
(ซอย ๓๙) ไปตามซอยชื่นสินธิ์ ผ่านวัดโพสพผลเจริญ แยกขวาไปตามถนนสายลำลูกกา ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณซอยเย็นฉ่ำ
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
นเรศ
จิตสุจริตวงศ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดปทุมธานี
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๐
มกราคม ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๑๙๘/๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ |
522712 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปทุมธานี ฉบับที่ 36 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดปทุมธานี
ฉบับที่
๓๖ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปทุมธานีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปทุมธานี ในคราวประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๔๙ โดยได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในคราวประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดปทุมธานี สายที่ ๖๐๔๕ แยกบางเตย-คลองส่งน้ำ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้
คือ
สายที่
๖๐๔๕ แยกบางเตย-คลองส่งน้ำ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณแยกบางเตย
ไปตามถนนทางเข้าวัดบ่อเงินผ่านวัดบ่อเงิน ซอยวุฒิสารสุนทร ๑ โรงเรียนสังฆรักษ์บำรุง
ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณริมคันคลองชลประทาน
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
นเรศ
จิตสุจริตวงศ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดปทุมธานี
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๐
มกราคม ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๑๙๗/๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ |
522710 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุทัยธานี ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุทัยธานี
ฉบับที่
๒๗ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุทัยธานีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
เพื่อทดแทนเส้นทางรถขนาดเล็กที่จะยกเลิกต่อไปโดยเส้นทางที่กำหนดยังคงมีรายละเอียดตามแนวเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็กเดิม
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุทัยธานี ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๙ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ และหมวด ๔ จังหวัดอุทัยธานี จำนวน ๑๖ เส้นทาง ดังนี้
หมวด
๑ สายที่ ๓ ชื่อเส้นทาง รอบเมืองอุทัยธานี
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุทัยธานี
(วนขวา) ไปตามถนนเติบศิริ ผ่านวัดมณีสถิตย์กปิฏฐาราม แยกซ้ายไปตามถนนชัยพฤกษ์ แยกขวาไปตามถนนศรีอุทัย
ผ่านตลาดเทศบาลเมืองอุทัยธานี ศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี แยกขวาไปตามถนนบริรักษ์ แยกขวาไปตามถนนวงศาโรจน์ผ่านศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี
ถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี แยกขวาไปตามถนนศรีอุทัยถึงวงเวียนห้าแยก แยกซ้ายไปตามถนนท่าช้าง
ผ่านที่ว่าการอำเภอเมืองอุทัยธานี แยกขวาไปตามถนนรักการดี ผ่านโรงพยาบาลอุทัยธานี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๓๓ แยกขวาไปตามถนนเติบศิริ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุทัยธานี
หมวด
๔ สายที่ ๒๕๐๘ ชื่อเส้นทาง หนองฉาง-ปากเหมือง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอหนองฉาง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๓ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๓๘ ผ่านบ้านเกาะตาซ้ง
บ้านประดาหักบ้านประดู่ยืน อำเภอลานสัก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดปากเหมือง
หมวด
๔ สายที่ ๒๕๐๙ ชื่อเส้นทาง อุทัยธานี-ท่าน้ำมโนรมย์
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุทัยธานี ไปตามถนนเติบศิริ
ผ่านวัดมณีสถิตย์กปิฏฐารามแยกซ้ายไปตามถนนชัยพฤกษ์ แยกขวาไปตามถนนศรีอุทัย ผ่านตลาดเทศบาลเมืองอุทัยธานี
ศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี แยกขวาไปตามถนนบริรักษ์ แยกซ้ายไปตามถนนวงศาโรจน์ ผ่านหน้าวิทยาลัยเทคนิคอุทัยธานี
ถึงทางแยกไปอำเภอวัดสิงห์ ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๖๕ ผ่านวัดท่าซุงไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางท่าน้ำมโนรมย์
หมวด
๔ สายที่ ๒๕๑๐ ชื่อเส้นทาง อุทัยธานี-ปากเหมือง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุทัยธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๓๓ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๒๐ ถึงแยกบ้านเนินเหล็ก แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
อน. ๔๐๑๘ ผ่านบ้านหนองไผ่แบน บ้านหนองบัว บ้านเนินเหล็ก บ้านหนองเต่าบ้านทุ่งนาไทย
ถึงอำเภอทัพทัน ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อน. ๔๐๐๓ ผ่านบ้านตลุกหมูบ้านตลุกดู่ บ้านท่าชะอม
บ้านทับยายปอน บ้านประดู่ยืน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดปากเหมือง
หมวด
๔ สายที่ ๒๕๑๑ ชื่อเส้นทาง ทุ่งนา-สมอทอง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดทุ่งนา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๓ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อน. ๓๐๒๓ ผ่านบ้านวังบ่าง
ถึงสามแยกตลาดใหม่ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อน. ๖๐๓๖ ผ่านบ้านกลาง บ้านโป่งข่อย
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านสมอทอง
หมวด
๔ สายที่ ๒๕๑๒ ชื่อเส้นทาง หนองฉาง-โป่งเก้ง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอหนองฉาง
ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อน. ๕๐๐๖ ผ่านวัดแจ้ง วัดหัวเมือง บ้านหนองจิกยาว ถึงแยกตลุกดู่
ไปตามทางหลวงท้องถิ่น (บ้านตลุกดู่-บ้านเขาปัฐวี) ถึงบ้านเขาปัฐวี ไปตามทางหลวงท้องถิ่น
(บ้านเขาปัฐวี-บ้านโป่งเก้ง)ผ่านบ้านเกาะกลาง บ้านหนองแมงลัก บ้านสวนขวัญ ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโป่งเก้ง
หมวด
๔ สายที่ ๒๕๑๓ ชื่อเส้นทาง อุทัยธานี-วัดราษฎร์ศรัทธาทำ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุทัยธานี ไปตามถนนเติบศิริ
ผ่านวัดมณีสถิตย์กปิฏฐารามแยกซ้ายไปตามถนนชัยพฤกษ์ แยกขวาไปตามถนนศรีอุทัย ผ่านตลาดเทศบาลเมืองอุทัยธานี
ศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อน. ๕๐๐๒ แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น
อบจ. หมายเลข อน. ๒๐๑๕ ผ่านบ้านท่ารากหวาย วัดเกาะเทโพ สถานีอนามัยตำบลเกาะเทโพ
วัดอัมพวัน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางวัดราษฎร์ศรัทธาทำ
หมวด
๔ สายที่ ๒๕๑๔ ชื่อเส้นทาง อุทัยธานี-เนินซาก
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุทัยธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๓๓ ถึงทางแยกวัดจักษา แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น ผ่านบ้านจักษา บ้านวังสาธิต ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเนินซาก
หมวด
๔ สายที่ ๒๕๑๕ ชื่อเส้นทาง อุทัยธานี-โรงเรียนวัดสะพานหิน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุทัยธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๓๓ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อน. ๕๐๐๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนวัดสะพานหิน
หมวด
๔ สายที่ ๒๕๑๖ ชื่อเส้นทาง อุทัยธานี-บ้านทุ่งสงบ-บ้านหนองตะเคียน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุทัยธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๓๓ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๒๐ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๒๑
ถึงอำเภอทัพทัน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๑๓ ถึงอำเภอสว่างอารมณ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๔๕๖ ผ่านบ้านดอนหวาย บ้านทุ่งสงบ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อน. ๔๐๒๒ ถึงบ้านงิ้วปม
แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น (บ้านงิ้วปม-บ้านหนองตะเคียน)ผ่านบ้านบ่อยาง ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองตะเคียน
ช่วงอุทัยธานี-บ้านหนองกี่
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุทัยธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๓ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๒๒๐ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๒๑ ถึงอำเภอทัพทัน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๐๑๓ ถึงทางแยกบ้านหนองกี่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อน. ๔๐๓๕ ผ่านบ้านดงแขวนบ้านหนองแขวนกูบ
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองกี่
ช่วงอุทัยธานี-บ้านทุ่งสงบ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุทัยธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๓ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๒๒๐ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๒๑ ถึงอำเภอทัพทัน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๐๑๓ ถึงอำเภอสว่างอารมณ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๕๖ ผ่านบ้านดอนหวาย
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านทุ่งสงบ
ช่วงอุทัยธานี-บ้านหนองสมบูรณ์
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุทัยธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๓ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๒๒๐ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๒๑ ถึงอำเภอทัพทัน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๐๑๓ ถึงอำเภอสว่างอารมณ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๕๖ ผ่านบ้านดอนหวาย
บ้านทุ่งสงบ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อน. ๔๐๒๒ ถึงบ้านงิ้วปม แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น
(บ้านงิ้วปม-บ้านหนองตะเคียน) ผ่านบ้านคลองเล็กสามัคคี แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น
(บ้านคลองเล็กสามัคคี-บ้านหนองสมบูรณ์) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองสมบูรณ์
หมวด
๔ สายที่ ๒๕๑๗ ชื่อเส้นทาง อุทัยธานี-บ้านท่าข้าม
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุทัยธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๓๓ ถึงอำเภอหนองขาหย่าง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อน. ๕๐๑๗ ผ่านบ้านดงขวาง แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น
ผ่านบ้านทุ่งปาจาน วัดมโนราช ถึงบ้านทุ่งมะขามเตี้ย แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น (บ้านทุ่งมะขามเตี้ย-บ้านท่าข้าม)
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านท่าข้าม
หมวด
๔ สายที่ ๒๕๑๘ ชื่อเสน้ ทาง บ้านไร-่ บ้านคลองแห้ง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านไร่
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๘๒ ผ่านบ้านห้วยแห้ง บ้านเจ้าวัด บ้านทองหลาง บ้านน้ำพุ
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคลองแห้ง
หมวด
๔ สายที่ ๒๕๑๙ ชื่อเส้นทาง โรงเรียนอุทัยวิทยาคม-ทางแยกอำเภอวัดสิงห์
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนอุทัยวิทยาคม
ไปตามถนนศรีอุทัยถึงวัดธรรมโศภิต แยกขวาไปตามถนนซอยศรีอุทัย ผ่านโรงเรียนอนุศิษย์วิทยา
ตลาดกลาง แยกซ้ายไปตามถนนเติบศิริ แยกขวาไปตามถนนสุนทรสถิตย์ ผ่านวัดมณีสถิตย์กปิฏฐาราม
ถึงศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองอุทัยธานี แยกซ้ายไปตามถนนข้างวัดทุ่งแก้ว ผ่านที่ว่าการอำเภอเมืองอุทัยธานี
แยกขวาไปตามถนนพรพิบูลย์อุทิศ แยกซ้ายไปตามถนนณรงค์วิถี ผ่านโรงเรียนอนุบาลเมืองอุทัยธานี
แยกขวาไปตามถนนศรีน้ำซึม ถึงสวนสองร้อยปี แยกซ้ายไปตามถนนวงศาโรจน์ ผ่านศาลากลางจังหวัดอุทัยธานีวิทยาลัยเทคนิคอุทัยธานี
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณทางแยกอำเภอวัดสิงห์
หมวด
๔ สายที่ ๒๕๒๐ ชื่อเส้นทาง บ้านไร่-บ้านพุบอน
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านไร่
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๑๑ ผ่านบ้านสะนำ บ้านห้วยป่าปก บ้านเนินหินตั้ง ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านพุบอน
หมวด
๔ สายที่ ๒๕๒๑ ชื่อเส้นทาง บ้านไร่-บ้านวังตอ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านไร่
ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อน. ๕๐๑๕ ผ่านบ้านหน้าฝายนาตาโพธิ์ บ้านเนินเกษม บ้านห้วยบง
บ้านป่าพริก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านวังตอ
หมวด
๔ สายที่ ๒๕๒๒ ชื่อเส้นทาง ตลาดปากเหมือง-บ้านเขาฤาษี
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดปากเหมือง
ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อน. ๔๐๓๔ ผ่านบ้านสุขสวัสดิ์ บ้านเขาผาแรด บ้านน้ำรอบ ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเขาฤาษี
ช่วงตลาดปากเหมือง-บ้านเนินสำราญ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดปากเหมืองไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อน. ๔๐๓๔
ผ่านบ้านสุขสวัสดิ์ บ้านเขาผาแรด บ้านน้ำรอบแยกขวาไปตามถนน สปก. หมายเลข UT-C
3 (บ้านน้ำรอบ-บ้านเนินสำราญ) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเนินสำราญ
ช่วงตลาดปากเหมือง-บ้านร่องตาที
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดปากเหมืองไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อน. ๔๐๓๔
ผ่านบ้านสุขสวัสดิ์ บ้านเขาผาแรด แยกซ้ายไปตามถนน สปก. หมายเลข UT-C 1
(บ้านเขาผาแรด-บ้านร่องตาที) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านร่องตาที
ช่วงตลาดปากเหมือง-บ้านเนินมะค่า
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดปากเหมืองไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อน. ๔๐๓๔
ผ่านบ้านสุขสวัสดิ์ บ้านเขาผาแรด แยกซ้ายไปตามถนน สปก. หมายเลข UT-C 1
(บ้านเขาผาแรด-บ้านร่องตาที) แยกขวาไปตามถนน สปก. หมายเลข UT-C 2
(บ้านเขาผาแรด-บ้านเนินมะค่า) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเนินมะค่า
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ปรีชา
บุตรศรี
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุทัยธานี
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๐
มกราคม ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๑๙๑/๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ |
521411 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำปาง ฉบับที่ 32 (พ.ศ. 2549) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดลำปาง
ฉบับที่
๓๒ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำปาง
ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๓
ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ลงวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ฉบับที่ ๒๒ (พ.ศ. ๒๕๔๔)
ลงวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๔ ฉบับที่ ๒๓ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ลงวันที่ ๕
เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๔ และฉบับที่ ๒๖ (พ.ศ. ๒๕๔๕) ลงวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดลำปาง สายที่ ๕๖๐๐๑
วงกลมโรงเรียนวัดนาก่วมใต้ สายที่ ๕๖๐๐๒ วงกลมสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง สายที่
๕๖๐๐๓ วงกลมอำเภอเถิน-อำเภอแม่พริก สายที่ ๕๖๐๐๕ ลำปาง-บ้านกิ่วลม สายที่ ๕๖๐๐๗ ลำปาง-บ้านแพะหนองแดง
สายที่ ๕๖๐๐๘ วงกลมประตูชัย สายที่ ๕๖๐๑๒ ลำปาง-บ้านปางมะโอ สายที่ ๕๖๐๑๔
ลำปาง-บ้านนาไผ่ และสายที่ ๕๖๐๑๐ บ้านห้วยอูน-บ้านแม่ตีบ ขึ้นตามลำดับ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำปางได้พิจารณาแล้วเห็นว่า
เส้นทาง สายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำปาง ในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๔
ตุลาคม ๒๕๔๙ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
อมรทัต
นิรัติศยกุล
ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดลำปาง
โสรศ/ผู้จัดทำ
๒๖
ธันวาคม ๒๕๔๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๓/ตอนที่ ๑๒๙ ง/หน้า ๑๘๒/๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๙ |
521407 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำปาง ฉบับที่ 31 (พ.ศ. 2549) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดลำปาง
ฉบับที่
๓๑ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำปาง
ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๙) ลงวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๙
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดลำปาง สายที่ ๕๖๐๑๓
อำเภอเถิน-บ้านแม่พุ ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำปางได้พิจารณาแล้วเห็นว่า
เส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำปาง ในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าวตั้งแต่วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
อมรทัต
นิรัติศยกุล
ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดลำปาง
โสรศ/ผู้จัดทำ
๒๖
ธันวาคม ๒๕๔๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๓/ตอนที่ ๑๒๙ ง/หน้า ๑๘๑/๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๙ |
521403 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ฉบับที่ 46 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสมุทรสงคราม สายที่ 8131 สมุทรสงคราม-วัดช่องลมวรรณาราม
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม
ฉบับที่
๔๖ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับ
การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดสมุทรสงคราม สายที่ ๘๑๓๑
สมุทรสงคราม-วัดช่องลมวรรณาราม[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงคราม
ฉบับที่ ๒๖ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ลงวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและ รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดสมุทรสงคราม สายที่ ๘๑๓๑ สมุทรสงคราม-ท่าเรือวัดแก้วเจริญ เป็น
สมุทรสงคราม-วัดประดู่ ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงครามได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงครามในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๖/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๙
จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๔
จังหวัดสมุทรสงคราม สายที่ ๘๑๓๑ สมุทรสงคราม-วัดประดู่ เป็น
สมุทรสงคราม-วัดช่องลมวรรณาราม โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๘๑๓๑ สมุทรสงคราม-วัดช่องลมวรรณาราม
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสมุทรสงคราม
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๕ (สมุทรสงคราม-บางแพ) ผ่านวัดแก้วฟ้า
แยกซ้ายข้ามสะพานพระศรีสุริเยนทร์ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อบจ. สส. ๒๐๖๒
ผ่านวัดบางนางลี่ใหญ่ ข้ามคลองประชาชมชื่น ค่ายลูกเสือภุมรินทร์ วัดท้องคุ้ง
ถึงวัดบางแคใหญ่ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สส. ๔๐๑๓ ผ่านโรงพยาบาลอัมพวา
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สส. ๔๐๐๔ ผ่านวัดเหมืองใหม่ วัดอินทาราม วัดเสด็จ
วัดละมุด วัดบางวันทอง วัดแก้วเจริญ วัดประดู่ บ้านคลองประดู่ บ้านดอนบุก บ้านต้นมูก
บ้านศาลาแดง บ้านคลองขุด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดช่องลมวรรณาราม
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
อนุวัฒน์
เมธีวิบูลวุฒิ
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม
โสรศ/ผู้จัดทำ
๒๖
ธันวาคม ๒๕๔๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๓/ตอนที่ ๑๒๙ ง/หน้า ๑๗๙/๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๙ |
521399 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ฉบับที่ 45 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม
ฉบับที่
๔๕ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงครามได้พิจารณาเห็นสมควร กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงครามในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๖/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๙
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสมุทรสงคราม
สายที่ ๘๔๒๕ อัมพวา-วัดช่องลมวรรณาราม โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๘๔๒๕ อัมพวา-วัดช่องลมวรรณาราม
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภออัมพวา
ไปตามถนนประชาเศรษฐี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๕ (สมุทรสงคราม-บางแพ)
ผ่านแยกวัดแก้วฟ้า แยกขวาข้ามสะพานพระศรีสุริเยนทร์ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
อบจ. สส. ๒๐๖๒ ผ่านวัดบางนางลี่ใหญ่ ข้ามคลองประชาชมชื่น ค่ายลูกเสือภุมรินทร์
วัดท้องคุ้ง ถึงวัดบางแคใหญ่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สส. ๔๐๑๓
ผ่านวัดบางแคกลาง วัดปรกสุธรรมาราม แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท อบจ. สส.
(สายบางแค-บ้านเหมืองใหม่) ผ่านองค์การบริหารส่วนตำบลบางแค บ้านเหมืองใหม่
สถานีอนามัยคลองเหมืองใหม่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สส. ๓๐๔๗ ผ่านบ้านคลองวัว
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สส. ๔๐๒๕ ถึงแยกวัดประดู่
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สส. ๔๐๐๔ ผ่านบ้านคลองประดู่ บ้านดอนบุก
บ้านต้นมูก บ้านศาลาแดง บ้านคลองขุด ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดช่องลมวรรณาราม
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
อนุวัฒน์
เมธีวิบูลวุฒิ
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม
โสรศ/ผู้จัดทำ
๒๖
ธันวาคม ๒๕๔๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๓/ตอนที่ ๑๒๙ ง/หน้า ๑๗๗/๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๙ |
521387 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ พ.ศ. 2549
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดแบบใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ
พ.ศ. ๒๕๔๙
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ ลงวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.
๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมไว้แล้ว นั้น
โดยที่ได้มีประกาศใช้บังคับกฎกระทรวงการประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ
พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๙ (พ.ศ. ๒๕๓๐)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
อันมีผลทำให้ประกาศกรมการขนส่งทางบกดังกล่าวซึ่งออกโดยอาศัยฐานอำนาจตามกฎกระทรวงฉบับเดิมถูกยกเลิกตามไปด้วย
ดังนั้น
เพื่อให้การกำหนดแบบใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับใหม่และถูกต้องตามกฎหมาย
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๙ ของกฎกระทรวงการประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๙
กรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศกำหนดแบบใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
กำหนดแบบใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ ลงวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๗
(๒) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
กำหนดแบบใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ (ฉบับที่ ๒)
ลงวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๒
ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ ให้เป็นไปตามแบบที่แนบท้ายประกาศ
ดังนี้
(๑)
ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ให้ใช้แบบ ขส.บ. ๑๒ ซ.
(๒) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ให้ใช้แบบ ขส.บ. ๑๒ ฌ.
(๓)
ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ให้ใช้แบบ ขส.บ. ๑๒ ญ.
(๔)
ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ให้ใช้แบบ ขส.บ. ๑๒ ฎ.
(๕)
ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ให้ใช้แบบ ขส.บ. ๑๒ ฏ.
ข้อ
๓[๑] ประกาศนี้
ให้ใช้บังคับนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
(แบบ ขส.บ. ๑๒ ซ.)
๒.
ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
(แบบ ขส.บ. ๑๒ ฌ.)
๓.
ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
(แบบ ขส.บ. ๑๒ ญ.)
๔.
ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
(แบบ ขส.บ. ๑๒ ฎ.)
๕.
ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
(แบบ ขส.บ. ๑๒ ฏ.)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
โสรศ/ผู้จัดทำ
๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๓ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๒๙ ง/หน้า ๔๔/๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๙ |
521383 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดแบบใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๗ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่
๒๙ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
กรมการขนส่งทางบกออกประกาศกำหนดแบบใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ให้ใช้แบบ ขส.บ. ๑๒ ซ.
ข้อ ๒ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
ให้ใช้แบบ ขส.บ. ๑๒ ฌ.
ข้อ ๓ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ให้ใช้แบบ ขส.บ. ๑๒ ญ.
ข้อ ๔ รายละเอียดและแบบใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศตามข้อ
๑, ๒ และ ๓ ให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๓๗[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๗
ประดัง
ปรีชญางกูร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
(แบบ ขส.บ. ๑๒ ซ.)
๒.
ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
(แบบ ขส.บ. ๑๒ ฌ.)
๓.
ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
(แบบ ขส.บ. ๑๒ ญ.)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
โสรศ/ผู้จัดทำ
๒๖
ธันวาคม ๒๕๔๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๓/ตอนที่ ๑๒๙ ง/หน้า ๔๓/๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๙ |
521284 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม ฉบับที่ 78 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดนครปฐม สายที่ 8348 สามพราน-ตลาดหมู่บ้านสามพราน เป็น คลองใหม่-ตลาดหมู่บ้านสามพราน | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครปฐม
ฉบับที่
๗๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๔ จังหวัดนครปฐม สายที่ ๘๓๔๘ สามพราน-ตลาดหมู่บ้านสามพราน
เป็น
คลองใหม่-ตลาดหมู่บ้านสามพราน[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม
ฉบับที่ ๖๙ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๐
กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดนครปฐม สายที่ ๘๓๔๘ สามพราน-ตลาดหมู่บ้านสามพราน ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐมได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครปฐม
ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๔๘ วันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๘
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุม ครั้งที่
๑๖/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๙
จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดนครปฐม สายที่ ๘๓๔๘ สามพราน-ตลาดหมู่บ้านสามพราน เป็น คลองใหม่-ตลาดหมู่บ้านสามพราน
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๘๓๔๘ คลองใหม่-ตลาดหมู่บ้านสามพราน
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากทางตำบลคลองใหม่
ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นฐ. ๑๐๓๔ ผ่านโรงเรียนบ้านคลองใหม่ หมู่บ้านสวนวิลเลจ
แยกซ้ายไปตามถนนสุขาภิบาล ๑ ผ่านโรงเรียนนาคประสิทธิ์ วัดบางช้างเหนือ
ถึงอำเภอสามพราน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙๘
ผ่านโรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔
(ถนนเพชรเกษม) ผ่านโรงเรียน ภปร.ราชวิทยาลัย สวนสามพราน โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ ซอยหมอศรี
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดหมู่บ้านสามพราน
ช่วงคลองใหม่-วัดเดชานุสรณ์-ตลาดหมู่บ้านสามพราน
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากทางตำบลคลองใหม่
ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นฐ. ๑๐๓๔ ผ่านโรงเรียนบ้านคลองใหม่ หมู่บ้านสวนวิลเลจ แยกซ้ายไปตามถนนสุขาภิบาล
๑ ผ่านโรงเรียนนาคประสิทธิ์ วัดบางช้างเหนือ ถึงอำเภอสามพราน
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙๘ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านวัดเดชานุสรณ์
วัดสรรเพ็ชญ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ (ถนนเพชรเกษม)
ผ่านโรงเรียน ภปร.ราชวิทยาลัย โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ ซอยหมอศรี ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดหมู่บ้านสามพราน
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
พิสิษฐ
บุญช่วง
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครปฐม
โสรศ/ผู้จัดทำ
๒๘
ธันวาคม ๒๕๔๙
[๑]ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๓๑ ง/หน้า ๑๔๙/๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๙ |
520090 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการ ฉบับที่ 102 (พ.ศ. 2549) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ฉบับที่
๑๐๒ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ฉบับที่ ๑๘ (พ.ศ. ๒๕๒๗) ลงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๒๗ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
จังหวัดสมุทรปราการ สายที่ ๑๘๐๐๓ ปากน้ำ-ซอยสมาคมฟอกหนัง (กม. ๓๐) นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการได้พิจารณาเห็นแล้วว่าเส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการในการประชุมครั้งที่
๓/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๕ กันยายน
๒๕๔๙ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
สุขุมรัฏฐ์
สาริบุตร
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรปราการ
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๓
ธันวาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๒๕ ง/หน้า ๑๓๑/๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ |
520076 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการ ฉบับที่ 101 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ฉบับที่
๑๐๑ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการในการประชุมครั้งที่
๓/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๙ เห็นชอบตามมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ ให้กำหนดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง
หมวด ๑ หรือหมวด ๔ เพื่อทดแทนเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็กที่จะยกเลิก จึงกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ จังหวัดสมุทรปราการสายที่ ๘ ชื่อเส้นทาง ปากน้ำ-ซอยสมาคมฟอกหนัง (กม. ๓๐) โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางดังนี้
สายที่
๘ ปากน้ำ-ซอยสมาคมฟอกหนัง (กม. ๓๐)
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดปากน้ำ
ไปตามถนนศรีสมุทร ผ่านศาลจังหวัดสมุทรปราการ ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท
ผ่านโรงเรียนสตรีสมุทรปราการ การไฟฟ้านครหลวงสมุทรปราการ ผ่านทางแยกถนนแพรกษา ผ่านทางแยกถนนสายลวด
แยกขวาไปตามซอยโรงฟอกหนัง (กม. ๓๐) ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางสมาคมฟอกหนัง
ประกาศ
ณ วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
สุขุมรัฏฐ์
สาริบุตร
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรปราการ
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๓
ธันวาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๒๕ ง/หน้า ๑๓๐/๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ |
520074 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการ ฉบับที่ 100 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสมุทรปราการ สายที่ 1286 สมุทรปราการ-ท่าน้ำพระประแดง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงท่าน้ำพระประแดง-โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล เพิ่มอีก 1 ช่วง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ฉบับที่
๑๐๐ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง
ด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดสมุทรปราการ สายที่ ๑๒๘๖
สมุทรปราการ-ท่าน้ำพระประแดง
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง
ท่าน้ำพระประแดง-โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล
เพิ่มอีก
๑ ช่วง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ฉบับที่ ๓๐ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ลงวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๓๒ เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดสมุทรปราการ สายที่ ๑๒๘๖ สมุทรปราการ-ท่าน้ำพระประแดง ให้มีเส้นทางแยกช่วงท่าน้ำพระประแดง-วัดบางฝ้าย
ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดสมุทรปราการ สายที่ ๑๒๘๖ สมุทรปราการ-ท่าน้ำพระประแดง ให้มีการเดินรถเส้นทางแยกช่วงท่าน้ำพระประแดง-โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล
เพิ่มอีก ๑ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่
๑๒๘๖ ชื่อเส้นทางสมุทรปราการ-ท่าน้ำพระประแดง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสมุทรปราการ
(วงเวียนท้ายบ้าน) บนถนนสายลวดไปตามถนนประโคนชัย ถนนสุขุมวิท ถึงสามแยกปู่เจ้าสมิงพราย
แยกซ้ายไปตามถนนปู่เจ้าสมิงพรายไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางท่าน้ำพระประแดง
(ฝั่งตรงข้ามอำเภอพระประแดง)
ช่วงท่าน้ำพระประแดง-วัดบางฝ้าย
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางท่าน้ำพระประแดง (ฝั่งตรงข้ามอำเภอพระประแดง)
ไปตามถนนปู่เจ้าสมิงพราย ถึงปากซอยกลับเจริญ แยกขวาไปตามซอยกลับเจริญ ไปตามถนนสุขาภิบาล
๑๘ ถึงทางแยกถนนสุขาภิบาล ๖ แยกขวาไปตามถนนสุขาภิบาล ๖ ถึงทางแยกถนนสุขาภิบาล ๒๐ แยกซ้ายไปตามถนนสุขาภิบาล
๒๐ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางวัดบางฝ้าย
ช่วงท่าน้ำพระประแดง-โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางท่าน้ำพระประแดง (ฝั่งตรงข้ามอำเภอพระประแดง)
ไปตามถนนปู่เจ้าสมิงพราย ถึงซอยเทศบาลสำโรงใต้ ๑๓ (พิทักษ์ธรรม) แยกขวาไปตามซอยเทศบาลสำโรงใต้
๑๓ แยกขวาไปตามถนนวัดบางหัวเสือผ่านหมู่บ้านไทยสมุทร ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล
ประกาศ
ณ วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
สุขุมรัฏฐ์
สาริบุตร
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรปราการ
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๓
ธันวาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๒๕ ง/หน้า ๑๒๘/๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ |
520066 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงใหม่ ฉบับที่ 64 (พ.ศ. 2549) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดเชียงใหม่
ฉบับที่
๖๔ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงใหม่
ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๒๓ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
จังหวัดเชียงใหม่ สายที่ ๕๒๐๑๐ เชียงดาว-เมืองนะ และประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงใหม่
ฉบับที่ ๓๙ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๓๖ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
จังหวัดเชียงใหม่ สายที่ ๕๒๐๑๐ เชียงดาว-เมืองนะ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก
๑ ช่วง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงใหม่ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า
เส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงใหม่ ในการประชุม
ครั้งที่ ๑/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๖ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่
๒๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
สุวัฒน์
ตันติพัฒน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดเชียงใหม่
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๓
ธันวาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๒๕ ง/หน้า ๑๒๗/๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ |
520062 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครนายก ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2549) เรื่อง การปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดนครนายก สายที่ 1681 ข. นครนายก-คลอง 14 เป็น นครนายก-บ้านนา | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครนายก
ฉบับที่
๒๑ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
การปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง
ด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดนครนายก สายที่ ๑๖๘๑ ข.
นครนายก-คลอง
๑๔ เป็น นครนายก-บ้านนา[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่
๗๒ (พ.ศ. ๒๕๐๘) ลงวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๐๘ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารในชนบท
(จังหวัดนครนายก) สายที่ ๑๖๘๑ ข. นครนายก-คลอง ๑๔ ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครนายกได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครนายก ในการประชุม
ครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๙ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ จังหวัดนครนายก สายที่ ๑๖๘๑ ข. นครนายก-คลอง ๑๔
เป็น นครนายก-บ้านนา โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่
๑๖๘๑ (ข) นครนายก-บ้านนา
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครนายก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๓ (ถนนสุวรรณศร) ผ่านสี่แยกเขาชะโงก ตลาดวังต้น ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณอำเภอบ้านนา
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
ปานชัย
บวรรัตนปราณ
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครนายก
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๓
ธันวาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๒๕ ง/หน้า ๑๒๖/๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ |
518851 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2549) เรื่อง ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสมุทรสงคราม สายที่ 6020 สมุทรสงคราม-บ้านดาวโด่ง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม
ฉบับที่
๔๔ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๔ จังหวัดสมุทรสงคราม สายที่ ๖๐๒๐ สมุทรสงคราม-บ้านดาวโด่ง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงคราม
ฉบับที่ ๔๐ (พ.ศ. ๒๕๔๕) ลงวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดสมุทรสงคราม สายที่ ๖๐๒๐ สมุทรสงคราม-บ้านดาวโด่ง ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงครามได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงครามในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๘ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ซึ่งมีมติอนุมัติในหลักการในกรณีที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดได้พิจารณาและมีมติให้เปลี่ยนชื่อเส้นทาง
ชื่อถนน ชื่อสถานที่ หรือเปลี่ยนหมายเลขทางหลวงใหม่ หรือเปลี่ยนทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน
ในเส้นทางหมวด ๑ หมวด ๔ ส่วนภูมิภาค เพื่อให้ถูกต้องตามสภาพข้อเท็จจริงในปัจจุบัน และยังคงมีรายละเอียดเส้นทางตามแนวเส้นทางเดิมอยู่
จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสมุทรสงครามสายที่
๖๐๒๐ สมุทรสงคราม-บ้านดาวโด่ง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ คือ
สายที่
๖๐๒๐ สมุทรสงคราม-บ้านดาวโด่ง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสมุทรสงคราม
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๕ (สมุทรสงคราม-บางแพ) ถึงโรงเรียนถาวรานุกูล แยกขวาไปตามถนนทรงธรรมผ่านวัดบางประจันต์
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสมุทรสงคราม แยกขวาผ่านบ้านสามเรือน
แยกขวาไปตามถนนซอยชลประทาน ถึงทางแยกหมู่ ๑ ตำบลลาดใหญ่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ถึงวัดสวนแก้ว
แยกซ้ายข้ามสะพานคลองแม่กลอง ผ่านวัดนางตะเคียน แยกซ้ายไปตามถนนคู้ลัดเคียน แยกขวาไปตามถนนสายบ้านนางตะเคียน
หมู่ ๑ ผ่านบ้านนางตะเคียน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อบจ. สส. ๓๐๔๖ ผ่านวัดศรีศรัทธาธรรม
บ้านหมู่ ๗ ตำบลคลองเขินไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านดาวโด่ง
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
อนุวัฒน์
เมธีวิบูลวุฒิ
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๖
ธันวาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๒๒ ง/หน้า ๑๒๑/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ |
518849 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2549) เรื่อง ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสมุทรสงคราม สายที่ 6019 อำเภออัมพวา-บ้านดาวโด่ง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม
ฉบับที่
๔๓ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๔ จังหวัดสมุทรสงคราม สายที่ ๖๐๑๙ อำเภออัมพวา-บ้านดาวโด่ง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงคราม
ฉบับที่ ๓๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕) ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๕ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดสมุทรสงคราม สายที่ ๖๐๑๙ อำเภออัมพวา-บ้านดาวโด่ง ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงครามได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงครามในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๘ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙
ซึ่งมีมติอนุมัติในหลักการในกรณีที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดได้พิจารณาและมีมติให้เปลี่ยนชื่อเส้นทาง
ชื่อถนน ชื่อสถานที่ หรือเปลี่ยนหมายเลขทางหลวงใหม่ หรือเปลี่ยนทางหลวงจังหวัดเป็นทางหลวงแผ่นดิน
ในเส้นทางหมวด ๑ หมวด ๔ ส่วนภูมิภาค เพื่อให้ถูกต้องตามสภาพข้อเท็จจริงในปัจจุบัน และยังคงมีรายละเอียดเส้นทางตามแนวเส้นทางเดิมอยู่
จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสมุทรสงครามสายที่
๖๐๑๙ อำเภออัมพวา-บ้านดาวโด่ง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ คือ
สายที่
๖๐๑๙ อำเภออัมพวา-บ้านดาวโด่ง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภออัมพวา
ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สส. ๖๐๐๒ ผ่านอุทยาน ร. ๒ ข้ามคลองบางช้าง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท
สายวัดช้างเผือก-วัดอลงกรณ์ ผ่านบ้านคลองบางจาก บ้านคลองลัดตาโชติ บ้านปากง่าม ผ่านทางแยกเข้าวัดลังกาผ่านบ้านหมู่
๖ ตำบลคลองเขิน บ้านคลองมะนาวหวาน แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สส. ๓๐๑๐ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
อบจ. สส. ๓๐๔๖ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านดาวโด่ง
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
อนุวัฒน์
เมธีวิบูลวุฒิ
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๖
ธันวาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๒๒ ง/หน้า ๑๑๙/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ |
517217 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ฉบับที่ 52 (พ.ศ. 2549) เรื่อง การปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดสุราษฎร์ธานี สายที่ 1 สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุราษฎร์ธานี-รอบเมือง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส-รอบเมือง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ฉบับที่
๕๒ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
การปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๑ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สายที่ ๑ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุราษฎร์ธานี-รอบเมือง
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส-รอบเมือง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ฉบับที่ ๒๓ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ลงวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๘
กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับรถขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สายที่ ๑ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุราษฎร์ธานี-รอบเมือง ขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส-รอบเมือง
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๔๘
เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๘ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส-รอบเมือง
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๑ ชื่อเส้นทาง
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุราษฎร์ธานี-รอบเมือง
วนซ้าย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุราษฎร์ธานี
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ถึงสามแยกท่ากูบ
ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ (ตอนเลี่ยงเมือง) ผ่านสี่แยกบางใหญ่
ถึงสี่แยกบางกุ้ง แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนวิถี ตรงไปตามถนนตลาดใหม่ผ่านตลาดเกษตร ๑,
๒ สี่แยกชนเกษม ศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี สี่แยกวัดโพธิ์
ตรงไปตามถนนศรีวิชัย ผ่านโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ถึงสามแยกท่ากูบ
ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ แยกขวาไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุราษฎร์ธานี
วนขวา
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุราษฎร์ธานี
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ถึงสามแยกท่ากูบ ตรงไปตามถนนศรีวิชัย
ผ่านโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี สี่แยกวัดโพธิ์ ศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี
ตรงไปตามถนนตลาดใหม่ ผ่านสีแยกชนเกษม ตลาดเกษตร ๑, ๒
ตรงไปตามถนนกาญจนวิถี ถึงสี่แยกบางกุ้ง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑
(ตอนเลี่ยงเมือง) ผ่านสี่แยกบางใหญ่ ถึงสามแยกท่ากูบ
ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ แยกขวาไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ช่วงห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส-รอบเมือง
วนซ้าย
เริ่มต้นจากห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ (ตอนเลี่ยงเมือง)
ถึงสี่แยกบางใหญ่ แยกซ้ายไปตามถนนชนเกษม ผ่านสี่แยกแสงเพชร สี่แยกการุณราษฎร์ ถึงสี่แยกชนเกษม
แยกซ้ายไปตามถนนตลาดใหม่ ผ่านศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี สี่แยกวัดโพธิ์ตรงไปตามถนนศรีวิชัย
ผ่านโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ถึงสามแยกท่ากูบ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑
(ตอนเลี่ยงเมือง) ไปสุดเส้นทาง ณ ห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส
วนขวา
เริ่มต้นจากห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ (ตอนเลี่ยงเมือง)
ถึงสามแยกท่ากูบ แยกขวาไปตามถนนศรีวิชัย ผ่านโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
สี่แยกวัดโพธิ์ตรงไปตามถนนตลาดใหม่ ผ่านศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี ถึงสี่แยกชนเกษม
แยกขวาไปตามถนนชนเกษม ผ่านสี่แยกการุณราษฎร์ สี่แยกแสงเพชร ถึงสี่แยกบางใหญ่
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ (ตอนเลี่ยงเมือง)
ไปสุดเส้นทาง ณ ห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
วิญญู
ทองสกุล
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
โสรศ/ผู้จัดทำ
๒๓
พฤศจิกายน ๒๕๔๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๓/ตอนที่ ๑๒๐ ง/หน้า ๑๗๔/๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ |
517215 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดลำปาง ฉบับที่ 30 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดลำปาง
ฉบับที่
๓๐ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำปางได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดลำปาง
ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๙ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางในการประชุมครั้งที่
๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดลำปาง จำนวน
๓ สาย และหมวด ๔ จังหวัดลำปาง จำนวน ๖ สาย โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
หมวด ๑ สายที่ ๕ ชื่อเส้นทาง วงกลมโรงเรียนวัดนาก่วมใต้
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนวัดนาก่วมใต้
ไปตามถนนนาก่วม ผ่านตลาดรัตน์ แยกขวาไปตามถนนประสานไมตรี ผ่านสถานีรถไฟนครลำปาง
ถึงสี่แยกดอนปาน แยกซ้ายไปตามถนนฉัตรไชย ถึงห้าแยกหอนาฬิกา ไปตามถนนบุญวาทย์ ผ่านตลาดบริบูรณ์
สำนักงานที่ดินจังหวัดลำปาง ที่ว่าการอำเภอเมืองลำปาง วัดเชตวัน
แยกขวาไปตามถนนวังทาน ถึงสามแยกโรงเรียนวิสุทธิ์วิทยากร แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน
(สายเก่า) ผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดลำปาง
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครลำปาง โรงพยาบาลลำปาง ถึงห้าแยกประตูชัย
แยกขวาไปตามถนนไปรษณีย์ แยกซ้ายไปตามถนนรอบเวียง ผ่านวัดน้ำล้อม โรงเรียนเทศบาล ๔
ถึงห้าแยกหอนาฬิกา ตรงไปตามถนนท่าคราวน้อย ผ่านวิทยาลัยเทคนิคลำปาง วัดศรีรองเมือง
วัดท่าคราวน้อย มูลนิธิบุญกว้าง วัดศรีบุญเรือง ถึงตลาดรัตน์ ตรงไปตามถนนนาก่วมไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนวัดนาก่วมใต้
หมวด ๑ สายที่ ๖ ชื่อเส้นทาง
วงกลมสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
ไปตามถนนจันทรสุรินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน (สายเก่า) ถึงสี่แยกดอนปาน
ตรงไปตามถนนประสานไมตรี ผ่านสถานีรถไฟนครลำปาง แยกขวาไปตามถนนสุเรนทร์
ผ่านโรงเรียนลำปางวิทยา แยกขวาไปตามถนนท่าคราวน้อย ผ่านวัดศรีรองเมือง แยกซ้ายไปตามถนนวังขวา
แยกขวาไปตามถนนเจริญประเทศ ผ่านโรงเรียนไตรภพวิทยา โรงเรียนวิชชานารี ถึงสะพานรัษฎาภิเศก
แยกซ้ายไปตามถนนรัษฎา ผ่านตลาดเทศบาล ๓ แยกขวาไปตามถนนพระแก้ว ถึงตำรวจภูธรจังหวัดลำปาง
แยกขวาไปตามถนนป่าไม้ แยกซ้ายไปตามถนนท่ามะโอ ถึงวัดดอกพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนวังโค้ง
ถึงสี่แยกโรงเรียนอนุบาลลำปาง แยกซ้ายไปตามถนนรัษฎา แยกขวาไปตามถนนทิพย์ช้าง
ถึงสามแยกการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดลำปาง แยกซ้ายไปตามถนนบ้านเชียงราย ผ่านวัดเชียงราย
ถึงห้าแยกหอนาฬิกา แยกซ้ายไปตามถนนบุญวาทย์ ถึงสี่แยกวัดบุญวาทย์วิหาร
แยกขวาไปตามถนนไปรษณีย์ ผ่านศาลแขวงลำปาง ถึงห้าแยกประตูชัย
แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน (สายเก่า) ผ่านโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
โรงเรียนลำปางกัลยาณี แยกซ้ายไปตามถนนจันทรสุรินทร์ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
หมวด ๑ สายที่ ๗ ชื่อเส้นทาง วงกลมประตูชัย
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางประตูชัย
ไปตามถนนพหลโยธิน (สายเก่า) ถึงห้าแยกประตูชัย แยกขวาไปตามถนนไปรษณีย์
ถึงแยกศาลแขวงลำปาง แยกซ้ายไปตามถนนรอบเวียง ผ่านวัดน้ำล้อม โรงเรียนเทศบาล ๔
ถึงห้าแยกหอนาฬิกา แยกซ้ายไปตามถนนฉัตรไชย ถึงสี่แยกดอนปาน แยกขวาไปตามถนนประสานไมตรี
ผ่านสถานีรถไฟนครลำปาง แยกขวาไปตามถนนสุเรนทร์ ผ่านโรงเรียนลำปางวิทยา
แยกขวาไปตามถนนท่าคราวน้อย ผ่านวิทยาลัยเทคนิคลำปาง ถึงห้าแยกหอนาฬิกา ตรงไปตามถนนบุญวาทย์
ผ่านตลาดบริบูรณ์ ถึงสี่แยกวัดบุญวาทย์วิหาร แยกซ้ายไปตามถนนไปรษณีย์ ถึงที่ทำการไปรษณีย์ลำปาง
แยกซ้ายไปตามถนนทิพย์ช้าง ถึงสามแยกการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดลำปาง ตรงไปตามถนนวังขวา
แยกขวาไปตามถนนวังขวา ตรงไปตามถนนบุญโยง แยกขวาไปตามถนนปงสนุก ตรงไปตามถนนพระแก้ว
ถึงตำรวจภูธรจังหวัดลำปาง แยกซ้ายไปตามถนนพระแก้ว แยกขวาไปตามถนนวังเหนือ
ถึงแยกวัดประตูต้นผึ้ง แยกซ้ายไปตามถนนท่ามะโอ ถึงวัดดอกพร้าว
แยกซ้ายไปตามถนนวังโค้ง ถึงสี่แยกโรงเรียนอนุบาลลำปาง แยกซ้ายไปตามถนนรัษฎา
แยกซ้ายไปตามถนนทิพย์ช้าง แยกขวาไปตามถนนราชบุตร ถึงวัดป่าดัวะ
แยกขวาไปตามถนนบุญวาทย์ ถึงวัดบุญวาทย์วิหาร แยกซ้ายไปตามถนนไปรษณีย์
ผ่านศาลแขวงลำปาง ถึงห้าแยกประตูชัย แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน (สายเก่า)
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางประตูชัย
หมวด ๔ สายที่ ๒๔๕๘ ชื่อเส้นทาง
วงกลมอำเภอเถิน-อำเภอแม่พริก
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเถิน
ไปตามถนนพหลโยธิน (สายเก่า) แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖
แยกซ้ายไปตามถนนเถินบุรี ผ่านบ้านอุมลอง บ้านเวียง บ้านสบคือ บ้านท่านาง
บ้านล้อมแรด บ้านเหล่าหลวง บ้านเหล่าน้อย ถึงทางแยกวัดเหล่าน้อย
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๐๒ ผ่านบ้านท่าเมล์ บ้านดอนแก้ว บ้านท่า
บ้านสองแคว บ้านท่าไม้ บ้านต้นธง บ้านวังผู ที่ว่าการอำเภอแม่พริก
โรงเรียนแม่พริกวิทยา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านโรงพยาบาลแม่พริก
บ้านแม่วะ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทาง อำเภอเถิน
หมวด ๔ สายที่ ๒๔๕๙ ชื่อเส้นทาง ลำปาง-บ้านแพะหนองแดง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
ไปตามถนนจันทรสุรินทร์ แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน (สายเก่า) ผ่านโรงเรียนลำปางกัลยาณี
โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ถึงห้าแยกประตูชัย แยกซ้ายไปตามถนนไปรษณีย์
ถึงที่ทำการไปรษณีย์ลำปาง แยกขวาไปตามถนนทิพย์ช้าง แยกซ้ายไปตามถนนรัษฎา
ถึงสี่แยกโรงเรียนอนุบาลลำปาง แยกขวาไปตามถนนวังโค้ง
แยกซ้ายไปตามถนนประตูม้าตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๓๕
ผ่านสถานปฏิบัติธรรมหลวงพ่อเกษมเขมโก วัดเจดีย์ซาว บ้านหม้อ บ้านธง บ้านนาป้อใต้
บ้านท่าโทก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแพะหนองแดง
หมวด ๔ สายที่ ๒๔๖๐ ชื่อเส้นทาง บ้านห้วยอูน-บ้านแม่ตีบ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยอูน
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านบ้านปั๋นเหนือ ที่ว่าการอำเภองาว
แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน (สายเก่า) ผ่านสถานีตำรวจภูธรอำเภองาว
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงทางแยกบ้านเป๊าะ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๓ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแม่ตีบ
หมวด ๔ สายที่ ๒๔๖๑ ชื่อเส้นทาง ลำปาง-บ้านปางมะโอ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
ไปตามถนนจันทรสุรินทร์ แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน (สายเก่า) ผ่านโรงเรียนลำปางกัลยาณี
แยกขวาไปตามถนนศรีชุม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงทางแยกดอยพระบาท
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ผ่านศูนย์สร้างทางลำปาง บ้านใหม่ บ้านมาย
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านปางมะโอ
หมวด ๔ สายที่ ๒๔๖๒ ชื่อเส้นทาง ลำปาง-บ้านนาไผ่
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
ไปตามถนนจันทรสุรินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน (สายเก่า) ผ่านแขวงการทางลำปาง
ถึงทางแยกย่าเป้า แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน
(สายเก่า) ถึงทางแยกที่ว่าการอำเภอเกาะคา แยกซ้ายไปตามเส้นทางหลวงชนบทหมายเลข ลป.
๕๐๐๖ ผ่านบ้านใหม่ บ้านนางแตน บ้านป่าแข แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๗๔
ผ่านบ้านแม่กึ๊ด บ้านนาบอน อำเภอเสริมงาม ถึงทางแยกบ้านดอนแก้ว
แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น อบจ. ลป. ๔๐๑๒ ผ่านโรงเรียนเสริมงามวิทยา บ้านเหล่า
บ้านต้นผึ้ง บ้านนาแง บ้านฮ่องฮี บ้านเหล่ายาว บ้านสบแม่ทำ บ้านนาจรา ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านนาไผ่
ช่วงลำปาง-บ้านแม่ผึ้ง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง ไปตามถนนจันทรสุรินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน
(สายเก่า) ผ่านแขวงการทางลำปาง ถึงทางแยกย่าเป้า แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน (สายเก่า) ถึงทางแยกที่ว่าการอำเภอเกาะคา แยกซ้ายไปตามเส้นทางหลวงชนบทหมายเลข
ลป. ๕๐๐๖ ผ่านบ้านใหม่ บ้านนางแตน บ้านป่าแขแยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๗๔
ผ่านบ้านแม่กึ๊ด บ้านนาบอน อำเภอเสริมงาม แยกขวาไปตามเส้นทางหลวงชนบทหมายเลข ลป.
๕๐๑๖ ผ่านโรงเรียนอนุบาลเสริมงาม บ้านสาแล บ้านปงหลวง บ้านปงแพ่ง บ้านปงหัวทุ่ง
บ้านปงป่าป๋อ บ้านทุ่งไผ่ บ้านแม่เลียง ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแม่ผึ้ง
ช่วงลำปาง-บ้านจู้ด
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง ไปตามถนนจันทรสุรินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน
(สายเก่า) ผ่านแขวงการทางลำปาง ถึงทางแยกย่าเป้า แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน (สายเก่า) ถึงทางแยกที่ว่าการอำเภอเกาะคา
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๓๔ ผ่านวัดพระธาตุลำปางหลวง ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านจู้ด
ช่วงลำปาง-บ้านไหล่หิน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง ไปตามถนนจันทรสุรินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน
(สายเก่า) ผ่านแขวงการทางลำปาง ถึงทางแยกย่าเป้า แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน (สายเก่า) ถึงทางแยกที่ว่าการอำเภอเกาะคา
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๓๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ลป. ๔๐๐๗
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านไหล่หิน
หมวด ๔ สายที่ ๒๕๒๓ ชื่อเส้นทาง ลำปาง-บ้านกิ่วลม
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
ไปตามถนนจันทรสุรินทร์ แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน (สายเก่า) ผ่านโรงเรียนลำปางกัลยาณี
โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย วิทยาลัยอาชีวลำปาง เรือนจำกลางลำปาง
โรงเรียนวิสุทธิ์วิทยากร ค่ายสุรศักดิ์มนตรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑
ผ่านโรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี บ้านพิชัย บ้านเสด็จ ถึงทางแยกเขื่อนกิ่วลม
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๓๓๕ ผ่านสวนป่าแม่มาย
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแลง ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านกิ่วลม
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
อมรทัต
นิรัติศยกุล
ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดลำปาง
โสรศ/ผู้จัดทำ
๒๓
พฤศจิกายน ๒๕๔๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๓/ตอนที่ ๑๒๐ ง/หน้า ๑๖๙/๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ |
516222 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรี ฉบับที่ 57 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดชลบุรี
ฉบับที่
๕๗ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรี
ในการประชุมครั้งที่
๓/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๘ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๔๙
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดชลบุรี สายที่
๗ รอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
สายที่
๗ รอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางวัดดอนดำรงธรรม
ไปตามถนนบ้านเก่า ๕ (สัตตพงษ์-ดอนหัวฬ่อ) ถึงทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖๖
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖๖ ถึงทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (เลี่ยงเมืองชลบุรี) ถึงถนนวิบูลย์ธรรมรักษ์
แยกซ้ายไปตามถนนวิบูลย์ธรรมรักษ์ ตรงไปตามถนนวิบูลย์ประชารักษ์ แยกขวาไปตามถนนบ้านเก่า
๕ (สัตตพงษ์-ดอนหัวฬ่อ) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางวัดดอนดำรงธรรม
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
พิสิฐ
เกตุผาสุข
ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดชลบุรี
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๔
พฤศจิกายน ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๑๘ ง/หน้า ๑๒๕/๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ |
516211 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรี ฉบับที่ 56 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดชลบุรี
ฉบับที่
๕๖ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรี ในการประชุม
ครั้งที่ ๓/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๘ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ จังหวัดชลบุรี สายที่ ๔ ท่าเรือแหลมบาลีฮาย-ที่ว่าการอำเภอบางละมุง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้
คือ
สายที่
๔ ท่าเรือแหลมบาลีฮาย-ที่ว่าการอำเภอบางละมุง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางท่าเรือแหลมบาลีฮาย
ไปตามถนนพัทยาสาย ๓ ถึงถนนโพธิสาร แยกซ้ายไปตามถนนโพธิสาร ถึงถนนพัทยา-นาเกลือ แยกขวาไปตามถนนพัทยา-นาเกลือ
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางที่ว่าการอำเภอบางละมุง
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ทองทวี
พิมเสน
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดชลบุรี
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๔
พฤศจิกายน ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๑๘ ง/หน้า ๑๒๔/๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ |
516203 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ 63 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนนทบุรี
ฉบับที่
๖๓ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรีในการประชุมครั้งที่
๔/๒๕๔๗ วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๗ ครั้งที่ ๒/๒๕๔๘ วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๔๘ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุม ครั้งที่ ๗/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๖๐๒๙ วงกลมปากเกร็ด-บางใหญ่ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้
คือ
สายที่
๖๐๒๙ วงกลมปากเกร็ด-บางใหญ่
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด
แยกขวาไปตามถนนแจ้งวัฒนะ ผ่านแยกปากเกร็ด ตรงไปข้ามสะพานปากเกร็ด ไปตามโครงการถนนแจ้งวัฒนะ-ราชพฤกษ์
แยกขวาไปตามถนนราชพฤกษ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๕ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข
๙ ผ่านอำเภอบางใหญ่ แยกซ้ายไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ แยกซ้ายไปตามถนนราชพฤกษ์ แยกขวาไปตามโครงการถนนแจ้งวัฒนะ-ราชพฤกษ์
ข้ามสะพานปากเกร็ด ไปตามถนนแจ้งวัฒนะ แยกซ้ายไปตามถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
พระนาย
สุวรรณรัฐ
ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนนทบุรี
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๔
พฤศจิกายน ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๑๘ ง/หน้า ๑๒๓/๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ |
516199 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ 62 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนนทบุรี
ฉบับที่
๖๒ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรีในการประชุมครั้งที่
๔/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๗ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่
๖๐๒๘ นนทบุรี-ราชพฤกษ์-ปากเกร็ด โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
สายที่
๖๐๒๘ นนทบุรี-ราชพฤกษ์-ปากเกร็ด
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี
แยกซ้ายไปตามถนนพิบูลสงคราม แยกขวาข้ามสะพานพระราม ๕ ตรงไปตามถนนนครอินทร์ แยกขวาไปตามถนนราชพฤกษ์
แยกขวาไปตามโครงการถนนแจ้งวัฒนะ-ราชพฤกษ์ ข้ามสะพานปากเกร็ด ตรงไปตามถนนแจ้งวัฒนะ ผ่านแยกปากเกร็ด
แยกซ้ายไปตามถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘
พระนาย
สุวรรณรัฐ
ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนนทบุรี
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๔
พฤศจิกายน ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๑๘ ง/หน้า ๑๒๒/๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ |
513793 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1716 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 614 ลำปาง-แพร่
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๑๖ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๖๑๔ ลำปาง-แพร่[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๕๖๗ (พ.ศ. ๒๕๓๑) ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๓๑ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๖๑๔ ลำปาง-แพร่ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๖๑๔ ลำปาง-แพร่ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่
๖๑๔ ลำปาง-แพร่
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๓๗ ผ่านบ้านกล้วย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๓๖ ผ่านศูนย์เครื่องมือกล ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงบ้านแม่แขม
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๒๓ ผ่านบ้านแม่ลอง อำเภอลอง บ้านปิน บ้านน้ำชำ
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดแพร่
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๗ ง/หน้า ๑๑๔/๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ |
513791 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1715 (พ.ศ. 2549) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 2 สายที่ 85 กรุงเทพฯ-สมุทรสาคร (ก) และสายที่ 980 กรุงเทพฯ-สมุทรสาคร (ข)
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๑๕ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๒ สายที่ ๘๕ กรุงเทพฯ-สมุทรสาคร (ก)
และสายที่
๙๘๐ กรุงเทพฯ-สมุทรสาคร (ข)[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๐๖ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ สายที่ ๘๕ กรุงเทพฯ-สมุทรสาคร (ก) และประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๗๓๙ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ประกาศ ณ วันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๓๔ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ สายที่ ๙๘๐ กรุงเทพฯ-สมุทรสาคร (ข) นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นว่า
เส้นทางดังกล่าวหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๔๙
เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๗ ง/หน้า ๑๑๓/๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ |
513726 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อเป็นมาตรการควบคุมเกี่ยวกับสีรถที่ใช้ในการประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อเป็นมาตรการควบคุมเกี่ยวกับสีรถที่ใช้ใน
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
โดยที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๐ (พ.ศ. ๒๕๓๑)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้กำหนดว่า
ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง
ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับสีรถไว้ในใบอนุญาตด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางจึงเห็นสมควรกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อเป็นมาตรการควบคุมเกี่ยวกับสีรถที่ใช้ในการประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ขึ้น
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๑๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๓๒ เมื่อวันที่
๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ จึงให้กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อเป็นมาตรการควบคุมเกี่ยวกับสีรถที่ใช้ในการประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ดังนี้
๑. ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารใช้สีรถทุกคันเหมือนกัน
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในลักษณะ
๓ เพื่อการจ้างเหมา อาจใช้สีรถแต่ละคันต่างสีกันได้ตามที่จำเป็น
เพื่อประโยชน์ในการประกอบการขนส่งของตน ทั้งนี้
ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกก่อน
๒. สีรถโดยสารไม่ประจำทางต้องมีลักษณะเรียบร้อย
ไม่ใช้สีหลายสีมากเกินความจำเป็นซึ่งไม่อาจแสดงลักษณะของสีรถโดยชัดเจนได้
และต้องไม่ใช้สีส้มคาดขาวหรือสีฟ้าคาดขาว
ในลักษณะเช่นเดียวกันหรือคล้ายกับสีรถโดยสารที่ใช้ในการประกอบการขนส่งประจำทางของ
บริษัท ขนส่ง จำกัด
๓. ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารรายใดที่มิได้ใช้สีรถให้เป็นไปโดยถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในข้อ
๑ และ ๒ ให้ทำการแก้ไขให้เป็นไปตามประกาศนี้ให้ถูกต้องเรียบร้อยภายในกำหนด ๒ ปี
นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๒
ศรีภูมิ
ศุขเนตร
ปลัดกระทรวงคมนาคม
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๓๐
ตุลาคม ๒๕๔๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๙ ง/หน้า ๑๔๓/๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๙ |
513724 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อเป็นมาตรการควบคุมเกี่ยวกับสีรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคันที่ใช้ในการประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. 2549
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อเป็นมาตรการควบคุมเกี่ยวกับสีรถและ
เครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคันที่ใช้ใน
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
พ.ศ. ๒๕๔๙[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสีรถโดยสารไม่ประจำทาง
และกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งเพื่อเป็นมาตรการในการควบคุมเกี่ยวกับสีรถโดยสารไม่ประจำทางและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคันที่ใช้ในการประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๙ (๑๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อเป็นการควบคุมเกี่ยวกับสีรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคันที่ใช้ในการประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อเป็นมาตรการควบคุมเกี่ยวกับสีรถที่ใช้ในการประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ลงวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๒
ข้อ
๓
หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสีรถโดยสารไม่ประจำทาง
๓.๑
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ต้องใช้สีรถที่ใช้ในการประกอบการขนส่งของตนเหมือนกันทุกคัน
ไม่ว่าจะเป็นรถมาตรฐานใดก็ตาม
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในลักษณะ
๓ เพื่อการจ้างเหมาอาจใช้สีรถแต่ละคันที่ใช้ในการประกอบการขนส่งของตนต่างสีกันได้ตามที่จำเป็น
เพื่อประโยชน์ในการประกอบการขนส่งของตน แต่ทั้งนี้
จะต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนกลางก่อน
๓.๒
ต้องใช้สีที่มีลักษณะเรียบร้อย ไม่ใช้สีหลายสีมากเกินความจำเป็น
สีของรถต้องมีสีพื้นที่เด่นชัดสำหรับแสดงลักษณะของสี และนอกจากนี้ จะมีสีอื่นๆ
ต่างหากจากสีพื้นด้วยก็ได้ แต่ต้องให้อยู่ในลักษณะที่ดูแล้วเรียบร้อย
๓.๓
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ต้องไม่ใช้สีรถในลักษณะเช่นเดียวกัน หรือคล้ายกับสีรถโดยสารที่ใช้ในการประกอบการขนส่งประจำทาง
หมวด ๒ ของ บริษัท ขนส่ง จำกัด
ข้อ
๔
หลักเกณฑ์เกี่ยวกับเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน
๔.๑
ต้องมีชื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง เป็นอักษรภาษาไทย
(หากจะมีตัวอักษรภาษาอื่นควบคู่ด้วยก็ได้) มีขนาดสูงไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร
ไว้ที่ด้านนอกตัวรถทั้งสองข้าง
๔.๒
เครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่ง (ถ้ามี)
จะต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
หากมีตัวอักษรภาษาอื่นกำกับเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่ง จะต้องมีตัวอักษรภาษาไทยที่มีขนาดไม่เล็กกว่าตัวอักษรภาษานั้นด้วย
๔.๓
ต้องมีชื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งพร้อมหมายเลขโทรศัพท์ไว้ที่ด้านหลังรถ
มีขนาดสูงไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร
ข้อ
๕ รถที่จดทะเบียนใหม่
นับตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๙ เป็นต้นไป
จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับสีรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถ
ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้กำหนดไว้
ข้อ
๖
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารรายใดที่ใช้สีรถและเครื่องหมายที่ต้องปรากฏประจำรถไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในข้อ
๓ และข้อ ๔ ให้แก้ไขให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ภายในกำหนดเวลา ๒ ปี นับตั้งแต่วันที่
๑ มิถุนายน ๒๕๔๙ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๓ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๙ ง/หน้า ๑๔๕/๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๙ |
513628 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1713 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 144 เด่นชัย-เชียงราย
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๑๓ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๑๔๔ เด่นชัย-เชียงราย[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่
๓ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๐๗ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์โดยสารระหว่างจังหวัด
(เฉพาะจังหวัดในส่วนภูมิภาค) สายที่ ๑๔๔ เด่นชัย-เชียงราย นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๑๔๔ เด่นชัย-เชียงราย โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่
๑๔๔ เด่นชัย-เชียงราย
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเด่นชัย
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ ผ่านอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ถึงทางแยกอำเภอร้องกวาง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๓ ผ่านอำเภอสอง ถึงอำเภองาว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ ผ่านจังหวัดพะเยา อำเภอพาน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๖ ง/หน้า ๑๒๒/๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ |
513622 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1712 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 173 พิษณุโลก-เขาทราย
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๑๗๓ พิษณุโลก-เขาทราย[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่
๓๒๗ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๑๕ กำหนดเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด
(เฉพาะจังหวัดในส่วนภูมิภาค) สายที่ ๑๗๓ พิษณุโลก-เขาทราย นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๑๗๓ พิษณุโลก-เขาทราย โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่
๑๗๓ พิษณุโลก-เขาทราย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๒ ถึงสามแยกวังทอง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ผ่านบ้านวัดตายม บ้านสากเหล็ก
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเขาทราย
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๖ ง/หน้า ๑๒๑/๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ |
513620 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1711 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 164 พิจิตร-พิษณุโลก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๑๑ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๑๖๔ พิจิตร-พิษณุโลก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่
๒๖๐ (พ.ศ. ๒๕๑๔) ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ กำหนดเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด
(เฉพาะจังหวัดในส่วนภูมิภาค) สายที่ ๑๖๔ พิจิตร-พิษณุโลก นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๑๖๔ พิจิตร-พิษณุโลก โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่
๑๖๔ พิจิตร-พิษณุโลก
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิจิตร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๑๑ ถึงบ้านสากเหล็ก แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงสามแยกอำเภอวังทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลก
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๖ ง/หน้า ๑๒๐/๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ |
513616 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1710 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 199 ลาดยาว-สว่างอารมณ์
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๑๐ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๑๙๙ ลาดยาว-สว่างอารมณ์[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่
๕๖๘ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ประกาศ ณ วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๑๙ กำหนดเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทาง
หมวด ๓ เพิ่มเติม สายที่ ๑๙๙ ลาดยาว-สว่างอารมณ์ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๑๙๙ ลาดยาว-สว่างอารมณ์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่
๑๙๙ ลาดยาว-สว่างอารมณ์
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอลาดยาว ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๐๑๓ ผ่านบ้านสร้อยละคร บ้านวังม้า บ้านคลองแบ่ง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสว่างอารมณ์
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๖ ง/หน้า ๑๑๙/๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ |
513614 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1709 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 103 ลำปาง-ลี้
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๐๙ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๑๐๓ ลำปาง-ลี้[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๓๔๔ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๒๘ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดลำปาง สายที่ ๑๒๐๒ ลำปาง-เกาะคา เป็น หมวด ๓ สายที่ ๑๐๓ ลำปาง-ลี้ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๑๐๓ ลำปาง-ลี้ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่
๑๐๓ ลำปาง-ลี้
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงอำเภอเกาะคา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
ลป. ๕๐๐๖ ผ่านบ้านใหม่ บ้านสองแควเหนือ ถึงบ้านสองแควใต้ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๒๗๔ ผ่านบ้านแม่กึ๊ด บ้านทุ่งงาม อำเภอเสริมงาม บ้านสบเสริม บ้านปวง ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอลี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๖ ง/หน้า ๑๑๘/๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ |
513610 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1708 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 632 นครสวรรค์-ซับสมอทอด
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๐๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๖๓๒ นครสวรรค์-ซับสมอทอด[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๒๓๗ (พ.ศ. ๒๕๒๖) ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๒๖ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดนครสวรรค์ สายที่ ๑๐๙๔ (ข) นครสวรรค์-วังพิกุล เป็น หมวด ๓ สายที่ ๖๓๒
นครสวรรค์-ซับสมอทอด นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๖๓๒ นครสวรรค์-ซับสมอทอด โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่
๖๓๒ นครสวรรค์-ซับสมอทอด
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ ถึงค่ายจิระประวัติ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๐๔ ผ่านบ้านหัวพลวง อำเภอท่าตะโก
อำเภอไพศาลี บ้านเขาใหญ่ บ้านวังพิกุล บ้านโป่งบุญเจริญ บ้านห้วยทราย บ้านซับไม้แดง
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านซับสมอทอด
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๖ ง/หน้า ๑๑๗/๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ |
513606 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1707 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 2 สายที่ 964 กรุงเทพฯ-ดอยเต่า-จอมทอง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๐๗ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๒ สายที่ ๙๖๔ กรุงเทพฯ-ดอยเต่า-จอมทอง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๖๒๔ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๓๒ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ สายที่ ๙๖๔ กรุงเทพฯ-ดอยเต่า-จอมทอง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ สายที่ ๙๖๔ กรุงเทพฯ-ดอยเต่า-จอมทอง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง
ดังต่อไปนี้
สายที่
๙๖๔ กรุงเทพฯ-ดอยเต่า-จอมทอง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๒ ถึงทางแยกเข้าอำเภอมโนรมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดนครสวรรค์
กำแพงเพชร ตาก ถึงอำเภอเถิน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ ผ่านอำเภอลี้
ถึงบ้านแม่ตืน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๐๓ ผ่านอำเภอดอยเต่า ถึงอำเภอฮอด
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอจอมทอง
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๖ ง/หน้า ๑๑๖/๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ |
513602 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1706 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 2 สายที่ 923 กรุงเทพฯ-แพร่
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๐๖ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๒ สายที่ ๙๒๓ กรุงเทพฯ-แพร่[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๓๗๔ (พ.ศ. ๒๕๒๙) ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๒๙ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ สายที่ ๙๒๓ กรุงเทพฯ-แพร่ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ สายที่ ๙๒๓ กรุงเทพฯ-แพร่ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่
๙๒๓ กรุงเทพฯ-แพร่
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๒ ถึงอำเภออินทร์บุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงอำเภอวังทอง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงบ้านร้องโพธิ์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๑ ถึงอำเภอเด่นชัย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดแพร่
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๖ ง/หน้า ๑๑๕/๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ |
513582 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครนายก ฉบับที่ 20 (พ.ศ. 2549) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครนายก
ฉบับที่
๒๐ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครนายก
ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๓๐ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
จังหวัดนครนายก สายที่ ๒๐๐๐๒ ขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครนายกได้พิจารณาแล้ว
เห็นว่าเส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครนายก
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๙
จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๙ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
ปานชัย
บวรรัตนปราณ
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครนายก
โสรศ/ผู้จัดทำ
๓
พฤศจิกายน ๒๕๔๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๓/ตอนที่ ๑๑๔ ง/หน้า ๖๓/๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๙ |
513578 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1705 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 2 สายที่ 913 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก (ข)
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๐๕ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๒ สายที่ ๙๑๓ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก (ข)[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๙ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๒๕ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ สายที่ ๙๑๓ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก (ข) นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๑๓ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก
(ข) โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่
๙๑๓ กรุงเทพฯ-พิษณโลก (ข)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๒ ผ่านจังหวัดสิงห์บุรี ถึงทางแยกเข้าอำเภอมโนรมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑
ถึงจังหวัดนครสวรรค์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๗ ผ่านบ้านปลวกสูง ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลก
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๖ ง/หน้า ๑๑๔/๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ |
513576 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตราด ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2549) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดตราด
ฉบับที่
๑๓ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามที่
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตราดได้พิจารณากำหนดเส้นทางการเดินรถโดยสารประจำทาง
หมวด ๔ สายที่ ๖๐๔๒ บ้านด่านใหม่-บ้านมาบค้างคาว
ขึ้นทดแทนเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก สายที่ ๒๖๐๐๒ บ้านด่านใหม่-บ้านมาบค้างคาว
ไว้แล้ว นั้น
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตราด ในการประชุม ครั้งที่
๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๙
จึงให้ยกเลิกเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็กสายที่ ๒๖๐๐๒
บ้านด่านใหม่-บ้านมาบค้างคาว ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
สุรพล
สายพันธ์
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดตราด
โสรศ/ผู้จัดทำ
๓
พฤศจิกายน ๒๕๔๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๓/ตอนที่ ๑๑๔ ง/หน้า ๖๒/๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๙ |
513572 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตราด ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2549) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดตราด
ฉบับที่
๑๑ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามที่
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตราดได้พิจารณากำหนดเส้นทางการเดินรถโดยสารประจำทาง
หมวด ๔ สายที่ ๖๐๔๑ แหลมงอบ-ตลาดแสนตุ้ง ขึ้นทดแทนเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
สายที่ ๒๖๐๐๑ แหลมงอบ-ตลาดแสนตุ้ง ไว้แล้ว นั้น
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตราด ในการประชุม ครั้งที่
๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก สายที่
๒๖๐๐๑ แหลมงอบ-ตลาดแสนตุ้ง ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
สุรพล
สายพันธ์
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดตราด
โสรศ/ผู้จัดทำ
๓
พฤศจิกายน ๒๕๔๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๓/ตอนที่ ๑๑๔ ง/หน้า ๖๑/๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๙ |
513566 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ 161 (พ.ศ. 2549) เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทางหมวด 1 จังหวัดขอนแก่น สายที่ 20 หมู่บ้านแลนด์แอนด์เฮ้าส์พาร์ค-บ้านโนนพยอมเป็น ตลาดหนองไผ่ล้อม-บ้านกางฮุง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดขอนแก่น
ฉบับที่
๑๖๑ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
การกำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง
หมวด
๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๒๐ หมู่บ้านแลนด์แอนด์เฮ้าส์พาร์ค-บ้านโนนพยอม
เป็น
ตลาดหนองไผ่ล้อม-บ้านกางฮุง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น
ฉบับที่ ๑๓๗ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๒
กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่
๒๐ หมู่บ้านแลนด์แอนด์เฮ้าส์พาร์ค-บ้านโนนพยอมขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่นได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด
(ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสายดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ในการประชุมครั้งที่
๓/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๕/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๒๐
หมู่บ้านแลนด์แอนด์เฮ้าส์พาร์ค-บ้านโนนพยอม เป็น ตลาดหนองไผ่ล้อม-บ้านกางฮุง และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง
๓ ช่วง คือ ช่วงตลาดหนองไผ่ล้อม-บ้านหนองไผ่ ช่วงตลาดหนองไผ่ล้อม-บ้านหนองกุง
และช่วงตลาดหนองไผ่ล้อม-บ้านอัมพวัน โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางดังนี้
สายที่ ๒๐ ตลาดหนองไผ่ล้อม-บ้านโนนพยอม
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดหนองไผ่ล้อม
ไปตามถนนรื่นรมย์ แยกขวาไปตามถนนหน้าเมือง ซอย ๑๙ แยกซ้ายไปตามถนนหน้าเมือง
แยกซ้ายไปตามถนนประชาสโมสร ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ ผ่านโรงพยาบาลศรีนครินทร์
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. ขก. ๓๐๗๙ ถึงบ้านโคกนางาม
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ถึงบ้านหนองค้า แยกขวาไปตามถนนคันคลองชลประทานฝั่งขวา
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านกางฮุง
ช่วงตลาดหนองไผ่ล้อม-บ้านหนองไผ่
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดหนองไผ่ล้อม ไปตามถนนรื่นรมย์
แยกขวาไปตามถนนหน้าเมือง ซอย ๑๙ แยกซ้ายไปตามถนนหน้าเมือง
แยกซ้ายไปตามถนนประชาสโมสร
ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒
ผ่านโรงพยาบาลศรีนครินทร์ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ถึงศูนย์ปฏิบัติการ ร.พ.ช.
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองไผ่
ช่วงตลาดหนองไผ่ล้อม-บ้านหนองกุง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดหนองไผ่ล้อม ไปตามถนนรื่นรมย์
แยกขวาไปตามถนนหน้าเมือง ซอย ๑๙ แยกซ้ายไปตามถนนหน้าเมือง แยกซ้ายไปตามถนนประชาสโมสร
ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แยกขวา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒
ผ่านโรงพยาบาลศรีนครินทร์ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองกุง
ช่วงตลาดหนองไผ่ล้อม-บ้านอัมพวัน
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดหนองไผ่ล้อม ไปตามถนนรื่นรมย์
แยกขวาไปตามถนนหน้าเมือง ซอย ๑๙ แยกซ้ายไปตามถนนหน้าเมือง
แยกซ้ายไปตามถนนประชาสโมสร ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แยกขวา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒ ผ่านโรงพยาบาลศรีนครินทร์ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. ขก. ๓๐๗๙
ผ่านบ้านโคกนางาม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านอัมพวัน
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
เจตน์
ธนวัฒน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดขอนแก่น
โสรศ/ผู้จัดทำ
๓
พฤศจิกายน ๒๕๔๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๓/ตอนที่ ๑๑๔ ง/หน้า ๕๙/๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๙ |
513554 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ 214 (พ.ศ. 2549) เรื่อง การกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครราชสีมา
ฉบับที่
๒๑๔ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
การกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมาได้พิจารณาเห็นสมควร กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสี มาในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๙
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๕/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๖๑๙ นครราชสีมา-ปักธงชัย-บ้านศาลเจ้าพ่อ
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
สายที่ ๔๖๑๙ นครราชสีมา-ปักธงชัย-บ้านศาลเจ้าพ่อ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา
แห่งที่ ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ)
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านค่ายสุรธรรมพิทักษ์ บ้านโคกศิลา
อำเภอปักธงชัย บ้านอุดมทรัพย์ อำเภอวังน้ำเขียว ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านศาลเจ้าพ่อ
ประกาศ
ณ วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
สมบูรณ์
งามลักษณ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครราชสีมา
โสรศ/ผู้จัดทำ
๓
พฤศจิกายน ๒๕๔๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๓/ตอนที่ ๑๑๔ ง/หน้า ๕๘/๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๙ |
513550 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครนายก ฉบับที่ 19 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครนายก
ฉบับที่
๑๙ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครนายกได้พิจารณาเห็นสมควร กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครนายก
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๙
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ จังหวัดนครนายก สายที่ ๑ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครนายก-รอบเมืองนครนายก
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
สายที่ ๑
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครนายก-รอบเมืองนครนายก
เที่ยววนซ้าย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครนายก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓
(ถนนสุวรรณศร) ถึงวงเวียนธรรมศาสตร์ ๕๐ ปี ไปตามถนนเสนาพินิจ ถนนพาณิชย์เจริญ แยกซ้ายไปตามถนนชลประสิทธิ์
ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๓๙ แยกซ้ายไปตามถนนอุดมธานี ตรงไปตามถนน ๕ ธันวา
แยกซ้ายไปตามถนนท่าข่อย แยกซ้ายไปตามถนนบ้านใหญ่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๓ (สุวรรณศร) แยกขวาไปตามถนนศรีเมือง แยกขวาไปตามถนนไชยพันธ์ ถึงโรงพยาบาลนครนายก
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ (สุวรรณศร)
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครนายก
เที่ยววนขวา
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครนายก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓
(ถนนสุวรรณศร) ถึงโรงพยาบาลนครนายก แยกขวาไปตามถนนไชยพันธ์ แล้วไปตามแนวเส้นทางเดิม
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครนายก
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
ปานชัย
บวรรัตนปราณ
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครนายก
โสรศ/ผู้จัดทำ
๓
พฤศจิกายน ๒๕๔๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๓/ตอนที่ ๑๑๔ ง/หน้า ๕๗/๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๙ |
513544 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตราด ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดตราด
ฉบับที่
๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตราดได้พิจารณากำหนดเส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
เพื่อทดแทนเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็กที่จะยกเลิกต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตราด ในการประชุม ครั้งที่
๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๙ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดตราด สายที่ ๖๐๔๒ บ้านด่านใหม่-บ้านมาบค้างคาว
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
สายที่ ๖๐๔๒ บ้านด่านใหม-่ บ้านมาบค้างคาว
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านด่านใหม่
ไปตามทางหลวงชนบท (ถนน อบจ. สายบ้านคลองสน-บ้านสลักเพชร)
ผ่านบ้านแหลมตะเคียน บ้านด่านเก่า ถึงบ้านอ่าวสัปรดไปตามทางหลวงชนบท (ถนน อบต.
เกาะช้าง) ผ่านบ้านคลองสน บ้านหาดทรายขาว บ้านคลองพร้าวไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านมาบค้างคาว
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
สุรพล
สายพันธ์
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดตราด
โสรศ/ผู้จัดทำ
๓
พฤศจิกายน ๒๕๔๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๓/ตอนที่ ๑๑๔ ง/หน้า ๕๖/๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๙ |
513538 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตราด ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดตราด
ฉบับที่
๑๐ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตราดได้พิจารณากำหนดเส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
เพื่อทดแทนเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็กที่จะยกเลิกต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตราด ในการประชุม ครั้งที่
๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๙ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดตราด สายที่ ๖๐๔๑ แหลมงอบ-ตลาดแสนตุ้ง
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
สายที่ ๖๐๔๑ แหลมงอบ-ตลาดแสนตุ้ง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอแหลมงอบ
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕๖
ผ่านบ้านคลองใหญ่ บ้านแหลมอวน บ้านธรรมชาติ บ้านบางปิดล่าง-บ้านบางปิดบน
บ้านบางกระดาน บ้านท่าโสม บ้านคลองศอก บ้านท่าหาด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓ (ถนนสุขุมวิท) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดแสนตุ้ง
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
สุรพล
สายพันธ์
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดตราด
โสรศ/ผู้จัดทำ
๓
พฤศจิกายน ๒๕๔๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๓/ตอนที่ ๑๑๔ ง/หน้า ๕๕/๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๙ |
513530 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1706 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 2 สายที่ 923 กรุงเทพฯ-แพร่
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๐๖ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๒ สายที่ ๙๒๓ กรุงเทพฯ-แพร่[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๓๗๔ (พ.ศ. ๒๕๒๙) ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๒๙ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ สายที่ ๙๒๓ กรุงเทพฯ-แพร่ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ สายที่ ๙๒๓ กรุงเทพฯ-แพร่ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่
๙๒๓ กรุงเทพฯ-แพร่
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๒ ถึงอำเภออินทร์บุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงอำเภอวังทอง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงบ้านร้องโพธิ์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๑ ถึงอำเภอเด่นชัย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดแพร่
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๖ ง/หน้า ๑๑๕/๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ |
513526 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1714 (พ.ศ.2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 2 สายที่ 5 กรุงเทพฯ-หนองบัวลำภู-ศรีเชียงใหม่ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก 2 ช่วง คือ ช่วงกรุงเทพฯ-สังคม และช่วงกรุงเทพฯ-นาวัง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๑๔ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๒ สายที่ ๕ กรุงเทพฯ-หนองบัวลำภู-ศรีเชียงใหม่
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก
๒ ช่วง คือ
ช่วงกรุงเทพฯ-สังคม
และช่วงกรุงเทพฯ-นาวัง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๔๐๐ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๖ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๕
กรุงเทพฯ-หนองบัวลำภู-ศรีเชียงใหม่ ให้มีเส้นทางแยกช่วงกรุงเทพฯ-สุวรรณคูหา นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๕
กรุงเทพฯ-หนองบัวลำภู-ศรีเชียงใหม่ ให้มีรายละเอียด เส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก ๒
ช่วง คือ ช่วงกรุงเทพฯ-สังคม และช่วงกรุงเทพฯ-นาวัง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๕ กรุงเทพฯ-หนองบัวลำภู-ศรีเชียงใหม่
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน)
ถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอสีคิ้ว อำเภอด่านขุนทด อำเภอจัตุรัส
จังหวัดชัยภูมิ อำเภอแก้งคร้อ ถึงบ้านหนองแวง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๘๗
ผ่านอำเภอบ้านแท่น ถึงอำเภอหนองเรือ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๓๘ ถึงอำเภอภูเวียง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓๓ ถึงบ้านศรีบุญเรือง
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๘ ผ่านอำเภอศรีบุญเรือง ถึงจังหวัดหนองบัวลำภู
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐ ถึงบ้านนาคำไฮ
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙๗ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙๘
ถึงอำเภอบ้านผือ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒๐ ถึงอำเภอท่าบ่อ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๑ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอศรีเชียงใหม่
ช่วงกรุงเทพฯ-สุวรรณคูหา
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑
(ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ)
ผ่านอำเภอปากช่อง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอสีคิ้ว อำเภอด่านขุนทด
อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ อำเภอแก้งคร้อ ถึงบ้านหนองแวง
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๘๗ ผ่านอำเภอบ้านแท่น ถึงอำเภอหนองเรือ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๓๘
ถึงอำเภอภูเวียง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓๓ ถึงบ้านศรีบุญเรือง
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๘ ผ่านอำเภอศรีบุญเรือง ถึงจังหวัดหนองบัวลำภู
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐ ถึงบ้านนาคำไฮ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๙๗ ถึงบ้านนาด่าน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๕๒ ผ่านบ้านหนองบัวน้อย
บ้านโนนชาด บ้านเชียงฮาย บ้านกุดผึ้ง บ้านหนองเหลือง ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสุวรรณคูหา
ช่วงกรุงเทพฯ-สังคม
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑
(ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ)
ผ่านอำเภอปากช่อง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอสีคิ้ว อำเภอด่านขุนทด
อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ อำเภอแก้งคร้อ ถึงบ้านหนองแวง
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๘๗ ผ่านอำเภอบ้านแท่น ถึงอำเภอหนองเรือ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๓๘
ถึงอำเภอภูเวียง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓๓ ถึงบ้านศรีบุญเรือง
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๘ ผ่านอำเภอศรีบุญเรือง ถึงจังหวัดหนองบัวลำภู
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐ ถึงบ้านนาคำไฮ
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙๗ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙๘ ถึงอำเภอบ้านผือ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๔๘ ถึงอำเภอน้ำโสม แล้วกลับตามเส้นทางเดิม
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๗๖ ถึงบ้านปากราง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. อด. ๒๐๑๐ ถึงบ้านนายูง
ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อด. ๔๐๑๓ ถึงบ้านชุมพล ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อด. ๖๐๒๒ ถึงอำเภอนายูง
แล้วกลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๗๖ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสังคม
ช่วงกรุงเทพฯ-นาวัง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑
(ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ)
ผ่านอำเภอปากช่อง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอสีคิ้ว อำเภอด่านขุนทด
อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ อำเภอแก้งคร้อ ถึงบ้านหนองแวง
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๘๗ ผ่านอำเภอบ้านแท่น ถึงอำเภอหนองเรือ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๓๘
ถึงอำเภอภูเวียง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓๓ ถึงบ้านศรีบุญเรือง
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๘ ผ่านอำเภอศรีบุญเรือง ถึงจังหวัดหนองบัวลำภู
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐ ถึงบ้านนาคำไฮ อำเภอนากลาง ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอนาวัง
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
โสรศ/ผู้จัดทำ
๒๗
ตุลาคม ๒๕๔๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๗ ง/หน้า ๑๑๐/๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ |
510511 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ฉบับที่ 77 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ฉบับที่
๗๗ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการประชุมครั้งที่
๓/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๘ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง
หมวด ๔ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สายที่ ๒๔๓๕ พระนครศรีอยุธยา-บ้านชุ้ง-บ้านไร่ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง
ดังนี้
สายที่ ๒๔๓๕ พระนครศรีอยุธยา-บ้านชุ้ง-บ้านไร่
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ไปตามถนนโรจนะ ถึงเจดีย์วัดสามปลื้ม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕๘ ผ่านสถานพินิจเด็ก
วัดดุสิตดาราม แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๖๑ ผ่านสี่แยกช่างแสงไปตามทางหลวงชนบท
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๖๓ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
อย ๓๐๐๕ ผ่านองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพง วัดบ้านดาบ โรงเรียนมาบพระจันทร์ โรงเรียนหนองโคก
ผ่านแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๙ ไปตามทางหลวงชนบท ถึงวัดบ้านชุ้ง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านไร่
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
สมชาย
ชุ่มรัตน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๗ กันยายน ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๙๙ ง/หน้า ๑๖๗/๒๑ กันยายน ๒๕๔๙ |
510509 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1704 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 171 พิษณุโลก-เถิน เป็น พิษณุโลก-ทุ่งเสลี่ยม และยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน 3 ช่วง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๐๔ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๑๗๑ พิษณุโลก-เถิน เป็น พิษณุโลก-ทุ่งเสลี่ยม
และยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง
จำนวน
๓ ช่วง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๘๙๙ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๑๗๑ พิษณุโลก-เถิน โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงทุ่งเสลี่ยม-บ้านท่าเกวียน
นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๔/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๑๗๑ พิษณุโลก-เถิน เป็น พิษณุโลก-ทุ่งเสลี่ยม และยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง
จำนวน ๓ ช่วง คือ ช่วงทุ่งเสลี่ยม-บ้านแม่พุ ช่วงทุ่งเสลี่ยม-บ้านแม่แสลม
และช่วงทุ่งเสลี่ยม-บ้านห้วยริน โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่
๑๗๑ พิษณุโลก-ทุ่งเสลี่ยม
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๒ ผ่านอำเภอกงไกรลาศ ถึงจังหวัดสุโขทัย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ ผ่านอำเภอศรีสำโรง
ถึงอำเภอสวรรคโลก แล้วกลับตามเส้นทางเดิม ถึงแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๔๘
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๔๘ ผ่านบ้านดงไทย บ้านถนนพระร่วง บ้านใหม่ชัยมงคล
บ้านสามหลัง บ้านท่าต้นธง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอทุ่งเสลี่ยม
ช่วงสวรรคโลก-บ้านท่าวิเศษ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสวรรคโลก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๔๘ แยกซ้าย ไปตามถนนจันทโรภาส ผ่านบ้านหนองกลับ
บ้านหนองป่าก้าน บ้านป่าถ่อน บ้านคลองแห้ง บ้านคล้องช้าง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านขอนซุง
บ้านวัดโบสถ์ ไปตามถนนกมลราษฎร์-วัดโบสถ์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านท่าวิเศษ
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๗ กันยายน ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๙๙ ง/หน้า ๑๖๕/๒๑ กันยายน ๒๕๔๙ |
510506 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1703 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 590 หนองคาย-ระยอง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงหนองคาย-สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒนศรีราชา
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๐๓ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๕๙๐ หนองคาย-ระยอง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง
หนองคาย-สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒนศรีราชา[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๖๐๑ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๓๒ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๕๙๐ หนองคาย-ระยอง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๔/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๕๙๐ หนองคาย-ระยอง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงหนองคาย-สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒนศรีราชา
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่
๕๙๐ หนองคาย-ระยอง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองคาย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดอุดรธานี จังหวัดขอนแก่น อำเภอบ้านไผ่ อำเภอพล จังหวัดนครราชสีมา
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านสี่แยกกบินทร์บุรี อำเภอพนมสารคาม
ถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๔ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง
อำเภอสัตหีบ อำเภอบ้านฉาง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยจังหวัดระยอง
ช่วงหนองคาย-สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒนศรีราชา
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสาร จังหวัดหนองคาย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ)
ผ่านจังหวัดอุดรธานี จังหวัดขอนแก่น อำเภอบ้านไผ่ อำเภอพล จังหวัดนครราชสีมา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๐๔ ผ่านสี่แยกกบินทร์บุรี อำเภอพนมสารคาม ถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท)
ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา ถึงบ้านอ่าวอุดม แยกซ้ายไปตามถนนแหลมทองไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒนศรีราชา
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๗ กันยายน ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๙๙ ง/หน้า ๑๖๓/๒๑ กันยายน ๒๕๔๙ |
510504 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1702 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 138 หล่มสัก-พัทยา เป็น หล่มสัก-พัทยา-ระยอง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๐๒ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๑๓๘ หล่มสัก-พัทยา เป็น หล่มสัก-พัทยา-ระยอง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๑๕ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๑๓๘ เพชรบูรณ์-สระบุรี เป็น หล่มสัก-พัทยา นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๔/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๑๓๘ หล่มสัก-พัทยา เป็น หล่มสัก-พัทยา-ระยอง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง
ดังต่อไปนี้
สายที่
๑๓๘ หล่มสัก-พัทยา-ระยอง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหล่มสัก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑ ผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ บ้านสามแยกวังชมพู บ้านนาเฉลียง อำเภอหนองไผ่ บ้านราหุล อำเภอบึงสามพัน
(ตลาดซับสมอทอด) บ้านสามแยกวิเชียรบุรี บ้านพุเตย อำเภอศรีเทพ อำเภอชัยบาดาล บ้านม่วงค่อม
ถึงแยกพุแค ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอหนองแค อำเภอวังน้อย
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๙ (ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก) แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข
๗ ถึงทางต่างระดับบางพระ แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึงแหลมฉบัง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓ ผ่านนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อำเภอบางละมุง เมืองพัทยา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๓๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอบ้านฉาง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๗ กันยายน ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๙๙ ง/หน้า ๑๖๒/๒๑ กันยายน ๒๕๔๙ |
510487 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1701 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดนครศรีธรรมราช สายที่ 8274 นครศรีธรรมราช-สามแยกคลองเหลง-ขนอม-อ่าวท้องหยี เป็นเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด 3 สายที่ 771 นครศรีธรรมราช-ท่าเรือเฟอร์รี่ดอนสัก โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนครศรีธรรมราช-ขนอม-อ่าวท้องหยี
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๐๑ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๔ จังหวัดนครศรีธรรมราช สายที่ ๘๒๗๔
นครศรีธรรมราช-สามแยกคลองเหลง-ขนอม-อ่าวท้องหยี
เป็นเส้นทางรถโดยสารประจำทาง
หมวด ๓ สายที่ ๗๗๑
นครศรีธรรมราช-ท่าเรือเฟอร์รี่ดอนสัก
โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง
นครศรีธรรมราช-ขนอม-อ่าวท้องหยี[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ฉบับที่ ๕๓ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๔๘ ปรับปรุงเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
จังหวัดนครศรีธรรมราช สายที่ ๘๒๗๔ นครศรีธรรมราช-ขนอม เป็น นครศรีธรรมราช-สามแยกคลองเหลง-ขนอม-อ่าวท้องหยี
นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๔/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดนครศรีธรรมราช สายที่ ๘๒๗๔ นครศรีธรรมราช-สามแยกคลองเหลง-ขนอม-อ่าวท้องหยี
เป็นเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๓ สายที่ ๗๗๑ นครศรีธรรมราช-ท่าเรือเฟอร์รี่ดอนสัก
โดยให้มีรายละเอียดเส้นทาง แยกช่วงนครศรีธรรมราช-ขนอม-อ่าวท้องหยี และให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง
ดังต่อไปนี้
สายที่
๗๗๑ นครศรีธรรมราช-ท่าเรือเฟอร์รี่ดอนสัก
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครศรีธรรมราช
ไปตามถนนกระโรม แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนิน แยกขวาไปตามถนนมณีวัตร แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๐๑๒ (ถนนอ้อมค่ายวชิราวุธ) ถึงบ้านท่าแพ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านอำเภอท่าศาลา
บ้านสระแก้ว บ้านต้นเหรียง อำเภอสิชล ถึงสามแยกคลองเหลง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๐๑๔ ผ่านบ้านท่าน้อย ถึงแยกครูวิง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๔๒
ผ่านบ้านบางคู บ้านน้ำโฉ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณท่าเรือเฟอร์รี่ดอนสัก
ช่วงนครศรีธรรมราช-ขนอม-อ่าวท้องหยี
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครศรีธรรมราช ไปตามถนนกระโรม แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนิน
แยกขวาไปตามถนนมณีวัตร แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑๒ (ถนนอ้อมค่ายวชิราวุธ)
ถึงบ้านท่าแพ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านอำเภอท่าศาลา บ้านสระแก้ว บ้านต้นเหรียง
อำเภอสิชล ถึงสามแยกคลองเหลง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑๔ ผ่านบ้านท่าน้อย
แยกครูวิง สี่แยกบ้านตลาด ถึงอำเภอขนอม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒๓๒ ผ่านบ้านหน้าด่าน
ไปตามทางหลวงชนบท (ยธ. นศ. ๒๐๐๒) ผ่านบ้านในเพลา ไปตามทางหลวงชนบท (สายในเพลา-ท้องหยี)
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณอ่าวท้องหยี
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๗ กันยายน ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๙๙ ง/หน้า ๑๖๐/๒๑ กันยายน ๒๕๔๙ |
510472 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ฉบับที่ 76 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ฉบับที่
๗๖ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๘ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๔๘ จึงให้กำหนดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง
หมวด ๑ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สายที่ ๘ รอบเมือง-สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โดยมีรายละเอียดเส้นทาง ดังนี้
สายที่
๘ รอบเมือง-สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ถึงสะพานคลองข้าวเม่า
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (ร.พ.ช. อย. ๓๑๐๒) แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๖๑
ผ่านสถาบันราชมงคลวิทยาเขตหันตรา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕๘ ถึงเจดีย์วัดสามปลื้ม
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕๓ ถึงสถานีรถไฟจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ย้อนกลับตามแนวเส้นทางเดิม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕๓
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕๙ ถึงสามแยกวัดใหญ่ชัยมงคล แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท
(โยธาธิการสายศูนย์ราชการ-สนามกีฬา) ผ่านสำนักงานขนส่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๐๙ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙
สมชาย
ชุ่มรัตน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๖ กันยายน ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๙๘ ง/หน้า ๘๙/๒๑ กันยายน ๒๕๔๙ |
510322 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทาง หมวด 2 หมวด 3 หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง และหมวด 4 กรุงเทพมหานคร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง
การกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทาง
หมวด
๒ หมวด ๓ หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
และหมวด
๔ กรุงเทพมหานคร[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๓/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๙ และครั้งที่ ๑๔/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙ อนุมัติให้กำหนด
(ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทาง หมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
และหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร ดังนี้
๑. กำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าโดยสารสำหรับรถโดยสารประจำทาง
หมวด ๒ หมวด ๓ โดยให้ใช้อัตราค่าโดยสารขั้นสูงไม่เกินอัตราที่ ๑๕ และขั้นต่ำไม่ต่ำกว่าอัตราที่
๑๒ ดังนี้
อัตราที่
ราคาน้ำมันดีเซล
บาท/ลิตร
อัตราค่าโดยสาร
(บาท)
๔๐
กม.แรก กม.ละ
เกิน
๔๐ กม. แต่ไม่เกิน
๑๕๐
กม. กม.ละ
เกิน
๑๕๐ กม. ขึ้นไป กม.ละ
อัตรา
ก
อัตรา
ข
อัตรา
ค
อัตรา
ก
อัตรา
ข
อัตรา
ค
อัตรา
ก
อัตรา
ข
อัตรา
ค
๑
๑๐.๐๗
๑๑.๒๘
๐.๔๐
๐.๔๕
๐.๕๐
๐.๓๓
๐.๓๘
๐.๔๓
๐.๒๘
๐.๓๓
๐.๓๘
๒
๑๑.๒๙
๑๒.๕๐
๐.๔๑
๐.๔๖
๐.๕๑
๐.๓๔
๐.๓๙
๐.๔๔
๐.๒๙
๐.๓๔
๐.๓๙
๓
๑๒.๕๑
๑๓.๗๒
๐.๔๒
๐.๔๗
๐.๕๒
๐.๓๕
๐.๔๐
๐.๔๕
๐.๓๐
๐.๓๕
๐.๔๐
๔
๑๓.๗๓
๑๔.๙๕
๐.๔๓
๐.๔๘
๐.๕๓
๐.๓๖
๐.๔๑
๐.๔๖
๐.๓๑
๐.๓๖
๐.๔๑
๕
๑๔.๙๖
๑๖.๑๗
๐.๔๔
๐.๔๙
๐.๕๔
๐.๓๗
๐.๔๒
๐.๔๗
๐.๓๒
๐.๓๗
๐.๔๒
๖
๑๖.๑๘
๑๗.๓๙
๐.๔๕
๐.๕๐
๐.๕๕
๐.๓๘
๐.๔๓
๐.๔๘
๐.๓๓
๐.๓๘
๐.๔๓
๗
๑๗.๔๐
๑๘.๖๑
๐.๔๖
๐.๕๑
๐.๕๖
๐.๓๙
๐.๔๔
๐.๔๙
๐.๓๔
๐.๓๙
๐.๔๔
๘
๑๘.๖๒
๑๙.๘๓
๐.๔๗
๐.๕๒
๐.๕๗
๐.๔๐
๐.๔๕
๐.๕๐
๐.๓๕
๐.๔๐
๐.๔๕
๙
๑๙.๘๔
๒๑.๐๕
๐.๔๘
๐.๕๓
๐.๕๘
๐.๔๑
๐.๔๖
๐.๕๑
๐.๓๖
๐.๔๑
๐.๔๖
๑๐
๒๑.๐๖
๒๒.๒๗
๐.๔๙
๐.๕๔
๐.๕๙
๐.๔๒
๐.๔๗
๐.๕๒
๐.๓๗
๐.๔๒
๐.๔๗
๑๑
๒๒.๒๘
๒๓.๔๙
๐.๕๐
๐.๕๕
๐.๖๐
๐.๔๓
๐.๔๘
๐.๕๓
๐.๓๘
๐.๔๓
๐.๔๘
๑๒
๒๓.๕๐
๒๔.๗๑
๐.๕๑
๐.๕๖
๐.๖๑
๐.๔๔
๐.๔๙
๐.๕๔
๐.๓๙
๐.๔๔
๐.๔๙
๑๓
๒๔.๗๒
๒๕.๙๓
๐.๕๒
๐.๕๗
๐.๖๒
๐.๔๕
๐.๕๐
๐.๕๕
๐.๔๐
๐.๔๕
๐.๕๐
๑๔
๒๕.๙๔
๒๗.๑๕
๐.๕๓
๐.๕๘
๐.๖๓
๐.๔๖
๐.๕๑
๐.๕๖
๐.๔๑
๐.๔๖
๐.๕๑
๑๕
๒๗.๑๖
๒๘.๓๗
๐.๕๔
๐.๕๙
๐.๖๔
๐.๔๗
๐.๕๒
๐.๕๗
๐.๔๒
๐.๔๗
๐.๕๒
๑๖
๒๘.๓๘
๒๙.๕๙
๐.๕๕
๐.๖๐
๐.๖๕
๐.๔๘
๐.๕๓
๐.๕๘
๐.๔๓
๐.๔๘
๐.๕๓
๑๗
๒๙.๖๐
๓๐.๘๑
๐.๕๖
๐.๖๑
๐.๖๖
๐.๔๙
๐.๕๔
๐.๕๙
๐.๔๔
๐.๔๙
๐.๕๔
๑๘
๓๐.๘๒
๓๒.๐๓
๐.๕๗
๐.๖๒
๐.๖๗
๐.๕๐
๐.๕๕
๐.๖๐
๐.๔๕
๐.๕๐
๐.๕๕
๑๙
๓๒.๐๔
๓๓.๒๕
๐.๕๘
๐.๖๓
๐.๖๘
๐.๕๑
๐.๕๖
๐.๖๑
๐.๔๖
๐.๕๑
๐.๕๖
๒๐
๓๓.๒๖
๓๔.๔๗
๐.๕๙
๐.๖๔
๐.๖๙
๐.๕๒
๐.๕๗
๐.๖๒
๐.๔๗
๐.๕๒
๐.๕๗
๒๑
๓๔.๔๘
๓๕.๖๙
๐.๖๐
๐.๖๕
๐.๗๐
๐.๕๓
๐.๕๘
๐.๖๓
๐.๔๘
๐.๕๓
๐.๕๘
๒๒
๓๕.๗๐
๓๖.๙๑
๐.๖๑
๐.๖๖
๐.๗๑
๐.๕๔
๐.๕๙
๐.๖๔
๐.๔๙
๐.๕๔
๐.๕๙
๒๓
๓๖.๙๒
๓๘.๑๓
๐.๖๒
๐.๖๗
๐.๗๒
๐.๕๕
๐.๖๐
๐.๖๕
๐.๕๐
๐.๕๕
๐.๖๐
๒๔
๓๘.๑๔
๓๙.๓๕
๐.๖๓
๐.๖๘
๐.๗๓
๐.๕๖
๐.๖๑
๐.๖๖
๐.๕๑
๐.๕๖
๐.๖๑
๒๕
๓๙.๓๖
๔๐.๕๗
๐.๖๔
๐.๖๙
๐.๗๔
๐.๕๗
๐.๖๒
๐.๖๗
๐.๕๒
๐.๕๗
๐.๖๒
ในกรณีที่คำนวณค่าโดยสารได้ต่ำกว่า ๗ บาท ให้คิดค่าโดยสารเท่ากับ
๗ บาท
หมายเหตุ ๑. อัตรา ก. หมายถึง อัตราค่าโดยสารที่ใช้กับถนนลาดยางหรือคอนกรีต
๒. อัตรา ข. หมายถึง อัตราค่าโดยสารที่ใช้กับถนนลูกรัง
หรือทางขึ้นลงเขา ซึ่งมีความลาดชันตั้งแต่ร้อยละ ๔ ขึ้นไป เป็นระยะทางไม่น้อยกว่าร้อยละ
๒๕ ของช่วงทางขึ้นลงเขานั้น
๓. อัตรา ค. หมายถึง อัตราค่าโดยสารที่ใช้กับทางชั่วคราว
หรือทางขึ้นลงเขา ซึ่งมีความลาดชันตั้งแต่ร้อยละ ๔ ขึ้นไป เป็นระยะทางไม่น้อยกว่าร้อยละ
๔๕ ของช่วงทางขึ้นลงเขานั้น อนึ่ง อัตราค่าโดยสารดังกล่าวเป็นอัตราค่าโดยสารของรถโดยสารประจำทางธรรมดา
(ไม่ปรับอากาศ) สำหรับรถปรับอากาศ ให้คิดค่าธรรมเนียมสำหรับรถปรับอากาศตามที่กำหนดไว้เดิม
คือ
๑) รถมาตรฐาน ๒ หรือปรับอากาศชั้น ๒ ไม่มีห้องน้ำ
ให้คิดค่าธรรมเนียม ๔๐% ของค่าโดยสาร
๒) รถมาตรฐาน ๑ ข หรือปรับอากาศชั้น ๑ มีห้องน้ำ
ขนาด ๔๒ ที่นั่ง ให้คิดค่าธรรมเนียม ๘๐% ของค่าโดยสาร
๓) รถมาตรฐาน ๑ ข พิเศษ หรือปรับอากาศชั้น ๑ มีห้องน้ำ
ขนาด ๓๒ ที่นั่ง ให้คิดค่าธรรมเนียม ๑๑๐% ของค่าโดยสาร
๔) รถมาตรฐาน ๑ ก หรือปรับอากาศชั้น ๑ (VIP)
มีห้องน้ำ ขนาด ๒๔ ที่นั่ง ให้คิดค่าธรรมเนียม ๑๘๐ % ของค่าโดยสาร
๒. กำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าโดยสารรถโดยสารประจำทาง
หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง และหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร
ดังนี้
๒.๑ รถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
ให้กำหนดเป็นอัตราขั้นสูง ดังนี้
(๑) รถโดยสารธรรมดาลักษณะพิเศษ (ข) (สีขาว - น้ำเงิน)
ปรับเพิ่มเป็นไม่เกิน ๘.๕๐ บาทต่อคนต่อเที่ยว
(๒) รถโดยสารธรรมดาลักษณะพิเศษ (สีครีม - แดง) ปรับเพิ่มเป็นไม่เกิน
๗.๕๐ บาทต่อคนต่อเที่ยว
(๓) รถโดยสารมินิบัส ปรับเพิ่มเป็นไม่เกิน ๗.๐๐
บาท ต่อคนต่อเที่ยว
(๔) รถโดยสารปรับอากาศธรรมดา ปรับเพิ่มเป็น ดังนี้
ระยะทาง ๐-๘ กิโลเมตร ค่าโดยสารไม่เกิน ๑๒.๐๐ บาท
ระยะทาง ๘-๑๒ กิโลเมตร ค่าโดยสารไม่เกิน ๑๔.๐๐ บาท
ระยะทาง ๑๒-๑๖ กิโลเมตร ค่าโดยสารไม่เกิน ๑๖.๐๐ บาท
ระยะทาง ๑๖-๒๐ กิโลเมตร ค่าโดยสารไม่เกิน ๑๘.๐๐ บาท
ระยะทาง ๒๐ กิโลเมตรขึ้นไป ค่าโดยสารไม่เกิน ๒๐.๐๐ บาท
(๕) รถโดยสารปรับอากาศ EURO I EURO II ปรับเพิ่มเป็น
ดังนี้
ระยะทาง ๐-๔ กิโลเมตร ค่าโดยสารไม่เกิน ๑๓.๐๐ บาท
ระยะทาง ๔-๘ กิโลเมตร ค่าโดยสารไม่เกิน ๑๕.๐๐ บาท
ระยะทาง ๘-๑๒ กิโลเมตร ค่าโดยสารไม่เกิน ๑๗.๐๐ บาท
ระยะทาง ๑๒-๑๖ กิโลเมตร ค่าโดยสารไม่เกิน ๑๙.๐๐ บาท
ระยะทาง ๑๖-๒๐ กิโลเมตร ค่าโดยสารไม่เกิน ๒๑.๐๐ บาท
ระยะทาง ๒๐-๒๔ กิโลเมตร ค่าโดยสารไม่เกิน ๒๓.๐๐ บาท
ระยะทาง ๒๔ กิโลเมตรขึ้นไป ค่าโดยสารไม่เกิน ๒๕.๐๐ บาท
สำหรับรถตู้โดยสารปรับอากาศ ไม่อนุมัติให้ปรับขึ้นอัตราค่าโดยสาร
๒.๒ รถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร ให้กำหนดเป็นอัตราขั้นสูง
ดังนี้
(๑) รถโดยสารธรรมดา ปรับเพิ่มเป็นไม่เกิน ๖.๕๐ บาท
ต่อคนต่อเที่ยว
(๒) รถโดยสารปรับอากาศ ปรับเพิ่มเป็น ดังนี้
ระยะทาง ๐-๘ กิโลเมตร ค่าโดยสารไม่เกิน ๑๐.๐๐ บาท
ระยะทาง ๘-๑๒ กิโลเมตร ค่าโดยสารไม่เกิน ๑๒.๐๐ บาท
ระยะทาง ๑๒-๑๖ กิโลเมตร ค่าโดยสารไม่เกิน ๑๔.๐๐ บาท
ระยะทาง ๑๖-๒๐ กิโลเมตร ค่าโดยสารไม่เกิน ๑๖.๐๐ บาท
ระยะทาง ๒๐ กิโลเมตรขึ้นไป ค่าโดยสารไม่เกิน ๑๘.๐๐ บาท
สำหรับหลักเกณฑ์ในการคิดค่าบริการและค่าธรรมเนียม
การยกเว้นหรือการลดหย่อนค่าโดยสาร
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติไว้แล้ว
ทั้งนี้ การกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร)
ดังกล่าวข้างต้น ให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๙ สำหรับกรณีเส้นทางที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
การจะปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารดังกล่าว ให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพด้วย
และอยู่ภายใต้บังคับมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกาศ
ณ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๔ ตุลาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๙๕ ง/หน้า ๕๓/๑๔ กันยายน ๒๕๔๙ |
510208 | ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเพชรบูรณ์
| ประกาศกระทรวงคมนาคม
ประกาศกระทรวงคมนาคม
เรื่อง
การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเพชรบูรณ์[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
จัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเพชรบูรณ์ ในที่ดินที่ราชพัสดุ แปลงหมายเลขทะเบียนที่
พช. ๑๒๒๖ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ เนื้อที่ ๕-๐-๒ ๑/๑๐ ไร่ โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
พลเอก
ชัยนันท์ เจริญศิริ
รัฐมนตรีช่วยว่าการ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนผังบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสาร จังหวัดเพชรบูรณ์
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
นันทนา/ผู้จัดทำ
๕ ตุลาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๐ ง/หน้า ๗/๒๖ กันยายน ๒๕๔๙ |
510190 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1700 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 2 สายที่ 94 กรุงเทพฯ-กำแพงเพชร (ข)
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๗๐๐ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๒ สายที่ ๙๔ กรุงเทพฯ-กำแพงเพชร (ข)[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่
๒๕๙ (พ.ศ. ๒๕๑๔) ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ กำหนดเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด
(เฉพาะที่เริ่มต้นจากจังหวัดพระนคร) สายที่ ๙๔ กรุงเทพฯ-กำแพงเพชร (ข) นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว ในการประชุมครั้งที่
๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ สายที่ ๙๔ กรุงเทพฯ-กำแพงเพชร (ข) โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่
๙๔ กรุงเทพฯ-กำแพงเพชร (ข)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๒ ถึงทางแยกเข้าอำเภอมโนรมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดนครสวรรค์
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกำแพงเพชร
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๖ กันยายน ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๙๕ ง/หน้า ๕๒/๑๔ กันยายน ๒๕๔๙ |
510186 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1699 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 2 สายที่ 3 กรุงเทพฯ-เชียงแสน
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๖๙๙ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๒ สายที่ ๓ กรุงเทพฯ-เชียงแสน[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๗๔๕ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๓๔ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ สายที่ ๓ กรุงเทพฯ-เชียงแสน นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว ในการประชุมครั้งที่
๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ สายที่ ๓ กรุงเทพฯ-เชียงแสน โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่
๓ กรุงเทพฯ-เชียงแสน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๒ ถึงอำเภออินทร์บุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงอำเภอวังทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๒ ถึงบ้านร้องโพธิ์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงอำเภอเด่นชัย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๑ ถึงทางแยกอำเภอร้องกวาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๓ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๑๕๔ ผ่านอำเภอสอง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๒๐ ถึงอำเภอเชียงม่วน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๙๑ ผ่านอำเภอปง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๒ ผ่านบ้านดอนเงิน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๑๗๙ ถึงบ้านฝายกวาง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๔๘ ถึงอำเภอเชียงคำ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๒๑ ถึงอำเภอเทิง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๒๐ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ ถึงจังหวัดเชียงราย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๐ ถึงอำเภอแม่จัน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๑๖ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเชียงแสน
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๖ กันยายน ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๙๕ ง/หน้า ๕๐/๑๔ กันยายน ๒๕๔๙ |
510183 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1698 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 641 ลพบุรี-บ้านแพรก-อ่างทอง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๖๙๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๖๔๑ ลพบุรี-บ้านแพรก-อ่างทอง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๔๔๐ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๓๐ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๖๔๑ ลพบุรี-บ้านแพรก-อ่างทอง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว ในการประชุมครั้งที่
๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๖๔๑ ลพบุรี-บ้านแพรก-อ่างทอง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง
ดังต่อไปนี้
สายที่
๖๔๑ ลพบุรี-บ้านแพรก-อ่างทอง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลพบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๐๑๖ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๖ ผ่านวัดโพธิ์เก้าต้น วัดยางณรังสี วัดโบสถ์โก่งธนู
ทางแยกเข้าอำเภอบ้านแพรก วัดกระโจมทอง ถึงสี่แยกวัดเจ้าปลุก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๒๖๗ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๔ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙ ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดอ่างทอง
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๖ กันยายน ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๙๕ ง/หน้า ๔๙/๑๔ กันยายน ๒๕๔๙ |
510179 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1697 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 166 เชียงใหม่-สามเหลี่ยมทองคำ
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๖๙๗ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๑๖๖ เชียงใหม่-สามเหลี่ยมทองคำ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๗๔๙ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๔ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๑๖๖ เชียงใหม่-เชียงราย (ข) เป็น เชียงใหม่-สามเหลี่ยมทองคำ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว ในการประชุมครั้งที่
๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๑๖๖ เชียงใหม่-สามเหลี่ยมทองคำ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง
ดังต่อไปนี้
สายที่
๑๖๖ เชียงใหม่-สามเหลี่ยมทองคำ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๑๘ ผ่านอำเภอดอนสะเก็ด อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่สรวย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ ถึงจังหวัดเชียงราย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๐ ถึงอำเภอแม่จัน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๑๖ ถึงอำเภอเชียงแสน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๙๐ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางสามเหลี่ยมทองคำ
(บ้านสบรวก)
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๖ กันยายน ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๙๕ ง/หน้า ๔๘/๑๔ กันยายน ๒๕๔๙ |
510175 | ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
| ประกาศกระทรวงคมนาคม
ประกาศกระทรวงคมนาคม
เรื่อง
การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
ในที่ดินที่ราชพัสดุ แปลงหมายเลขทะเบียนที่ ตก. ๑๔๙ ตั้งอยู่บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๕ ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เนื้อที่ ๑๐ ไร่ โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
พลเอก
ชัยนันท์ เจริญศิริ
รัฐมนตรีช่วยว่าการ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนผังบริเวณ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 1:1500
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๖ กันยายน ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๙๕ ง/หน้า ๓/๑๔ กันยายน ๒๕๔๙ |
510082 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ฉบับที่ 118 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดอุดรธานี สายที่ 13 บ้านหนองหัวหมู-ตลาดโพศรี เป็น โรงเรียนราชินูทิศ 2-ตลาดรังษิณา และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงโรงเรียนราชินูทิศ 2-ตลาดโพศรี
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุดรธานี
ฉบับที่
๑๑๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งด้วยรถโดยสาร
หมวด
๑ จังหวัดอุดรธานี สายที่ ๑๓ บ้านหนองหัวหมู-ตลาดโพศรี
เป็น
โรงเรียนราชินูทิศ ๒-ตลาดรังษิณา
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงโรงเรียนราชินูทิศ
๒-ตลาดโพศรี[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี
ฉบับที่ ๘๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ จังหวัดอุดรธานี สายที่ ๑๓ บ้านหนองหัวหมู-ตลาดโพศรี ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี
ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี
ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๗ และการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๘
เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๘ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ จังหวัดอุดรธานี สายที่ ๑๓ บ้านหนองหัวหมู-ตลาดโพศรี เป็น โรงเรียนราชินูทิศ
๒ - ตลาดรังษิณา และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงโรงเรียนราชินูทิศ ๒ - ตลาดโพศรี
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ คือ
สายที่
๑๓ โรงเรียนราชินูทิศ ๒ - ตลาดรังษิณา
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนราชินูทิศ
๒ ไปตามถนนองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจั่น ผ่านโรงเรียนบ้านหนองตูม วัดป่าหนองหัวหมู
ถึงบ้านหนองหัวหมู แยกขวาไปตามถนนองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจั่น ถึงทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๐ (ถนนเลี่ยงเมือง) ตรงไปตามถนนบ้านช้าง ผ่านบ้านช้าง แยกขวาไปตามถนนพรหมประกาย ผ่านโรงเรียนอุดรพิชัยรักษ์
ท่าอากาศยานจังหวัดอุดรธานี หมู่บ้านลักษมี หมู่บ้านสินชัยธานี แยกขวาไปตามถนนศรีชมชื่น
ผ่านการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอุดรธานี โรงเรียนสตรีราชินูทิศ โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล
แยกซ้ายไปตามถนนหมากแข้ง ผ่านตลาดเทศบาล ๒ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี แยกซ้ายไปตามถนนวัฒนานุวงศ์
ผ่านวิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี แยกขวาไปตามถนนมุขมนตรี ผ่านโรงเรียนเทศบาล
๒ แยกซ้ายไปตามถนนโพนพิสัย แยกขวาไปตามถนนเทศา แยกซ้ายไปตามถนนศุภกิจจรรยา ผ่านโรงพยาบาลวัฒนา
แยกขวาไปตามถนนพิบูลย์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐ (ถนนเลี่ยงเมือง)
แยกขวาไปตามถนนอุดรดุษฎี ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดรังษิณา
ช่วงโรงเรียนราชินูทิศ ๒-ตลาดโพศรี
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนราชินูทิศ ๒ ไปตามถนนองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจั่น
ผ่านโรงเรียนบ้านหนองตูม วัดป่าหนองหัวหมู ถึงบ้านหนองหัวหมู แยกขวาไปตามถนนองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจั่น
ถึงทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐ (ถนนเลี่ยงเมือง) ตรงไปตามถนนบ้านช้าง ผ่านบ้านช้าง แยกขวาไปตามถนนพรหมประกาย
ผ่านโรงเรียนอุดรพิชัยรักษ์ ท่าอากาศยานจังหวัดอุดรธานี หมู่บ้านลักษมี หมู่บ้านสินชัยธานี
แยกขวาไปตามถนนศรีชมชื่น ผ่านการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอุดรธานี โรงเรียนสตรีราชินูทิศ
โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล แยกซ้ายไปตามถนนหมากแข้ง ผ่านตลาดเทศบาล ๒ แยกซ้ายไปตามถนนอธิบดี
ผ่านสำนักงานเทศบาลนครอุดรธานี ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี แยกซ้ายไปตามถนนเทศา ผ่านหนองประจักษ์
แยกขวาไปตามถนนโพศรี ผ่านสำนักงานที่ดินจังหวัดอุดรธานี สี่แยกวัดโพธิสมภรณ์
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดโพศรี
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙
จารึก
ปริญญาพล
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุดรธานี
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๖ กันยายน ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๙๔ ง/หน้า ๑๑๓/๑๔ กันยายน ๒๕๔๙ |
510077 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2549) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดแม่ฮ่องสอน สายที่ 51001 แม่ฮ่องสอน-ปาย โดยยกเลิกเส้นทางแยกช่วงแม่ฮ่องสอน-บ้านนาปลาจาด
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ฉบับที่
๕ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
สายที่ ๕๑๐๐๑ แม่ฮ่องสอน-ปาย
โดยยกเลิกเส้นทางแยกช่วงแม่ฮ่องสอน-บ้านนาปลาจาด[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ลงวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๒๔ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
จังหวัดแม่ฮ่องสอน สายที่ ๕๑๐๐๑ แม่ฮ่องสอน-ปาย ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๘ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทาง
สำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดแม่ฮ่องสอน สายที่ ๕๑๐๐๑ แม่ฮ่องสอน-ปาย โดยให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงแม่ฮ่องสอน-บ้านนาปลาจาด
และให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ คือ
สายที่
๕๑๐๐๑ ชื่อเส้นทาง แม่ฮ่องสอน-ปาย
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถขนาดเล็กจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๕ ผ่านทางแยกบ้านปางหมู วนอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา บ้านห้วยผา
ทางแยกบ้านนาปลาจาด บ้านแม่สุยะ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถขนาดเล็กอำเภอปาย
ช่วงแม่ฮ่องสอน-บ้านปางหมู
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถขนาดเล็กจังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๕
ถึงทางแยกบ้านปางหมู แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถขนาดเล็กบ้านปางหมู
ช่วงแม่ฮ่องสอน-บ้านในสอย
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถขนาดเล็กจังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๕
ผ่านทางแยกบ้านปางหมู ถึงทางแยกบ้านในสอย แยกซ้ายไปทางหลวงท้องถิ่น ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถขนาดเล็กบ้านในสอย
ช่วงแม่ฮ่องสอน-บ้านห้วยขาน
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถขนาดเล็กจังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๕
ผ่านทางแยกบ้านปางหมู ทางแยกบ้านในสอย ถึงทางแยกบ้านหมอกจำแป่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถขนาดเล็กบ้านห้วยขาน
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ดิเรก
ก้อนกลีบ
ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๖ กันยายน ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๙๔ ง/หน้า ๑๑๑/๑๔ กันยายน ๒๕๔๙ |
510023 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะ ขนาด สีของแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ และการแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กำหนดลักษณะ ขนาด สีของแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ
และการแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี[๑]
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ ลงวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
และประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การติดแผ่นป้ายเลขทะเบียนและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
ลงวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขลักษณะของแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถที่ใช้อยู่ในปัจจุบันให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจที่มีการใช้รถในการขนส่งระหว่างประเทศ
และให้มีการรวมประกาศเกี่ยวกับการติดแผ่นป้ายทะเบียนรถและข้อกำหนดเกี่ยวกับแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถไว้ด้วยกัน
เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบและอ้างอิง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๓ และมาตรา ๙๐ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ และอนุวัตรการให้เป็นไปตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้ทำไว้กับต่างประเทศ
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดลักษณะ ขนาด สีของแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถและการแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิก
(๑)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ ลงวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.
๒๕๓๐
(๒)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ (ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๒๐
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘
(๓)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การติดแผ่นป้ายเลขทะเบียนและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
ลงวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ
๒ แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถให้มีลักษณะ ขนาด
และสี ดังนี้
(๑)
แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง และการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
มีขนาดกว้าง ๒๒ เซนติเมตร ยาว ๔๔ เซนติเมตร มีพื้นเป็นวัสดุสะท้อนแสงสีเหลือง รายการบนแผ่นป้ายแบ่งออกเป็นสามบรรทัด
บรรทัดแรกเป็นตัวอักษรคำว่า THAILAND และเลขรหัสจังหวัด บรรทัดที่สองเป็นตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถกับหมายเลขทะเบียนสำหรับรถ
ระหว่างตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถกับหมายเลขทะเบียนมีขีดตามทางยาวคั่นกลาง บรรทัดที่สามเป็นชื่อจังหวัด
ตัวอักษรชื่อจังหวัดเป็นภาษาไทย และมีเครื่องหมายเป็นตัวอักษร ขส อยู่ภายในวงกลมที่มุมล่างด้านซ้ายของแผ่นป้าย
ตัวอักษร
THAILAND รหัสจังหวัด ตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถ ขีดระหว่างตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถกับหมายเลขทะเบียนสำหรับรถ
หมายเลขทะเบียนสำหรับรถ เครื่องหมายเป็นตัวอักษร ขส อยู่ภายในวงกลม ตัวอักษรชื่อจังหวัด
และขอบแผ่นป้ายอัดเป็นรอยดุนนูนสีดำและรายการต่าง ๆ บนแผ่นป้ายมีขนาด ดังนี้
(ก)
ตัวอักษร THAILAND มีขนาดสูงไม่น้อยกว่า ๒.๔ เซนติเมตร
(ข)
รหัสจังหวัด มีขนาดสูงไม่น้อยกว่า ๒.๔ เซนติเมตร
(ค)
รหัสประเภทรถ และหมายเลขทะเบียนสำหรับรถ มีขนาดสูงไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร กว้างไม่น้อยกว่า
๕ เซนติเมตร
(ง)
ขีดระหว่างตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถกับหมายเลขทะเบียนสำหรับรถ มีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า
๑.๕ เซนติเมตร ยาวไม่น้อยกว่า ๒.๕ เซนติเมตร
(จ)
ชื่อจังหวัด มีขนาดสูงไม่น้อยกว่า ๒.๕ เซนติเมตร
(๒)
แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งส่วนบุคคล มีลักษณะและขนาดเป็นไปตาม (๑)
แต่มีพื้นเป็นวัสดุสะท้อนแสงสีขาว
(๓)
เลขรหัสแสดงประเภทรถ หมายเลขทะเบียนสำหรับรถ และเลขรหัสจังหวัดใช้เลขอารบิค
โดยหมายเลขทะเบียนสำหรับรถใช้เลข ๔ หลัก ตั้งแต่ลำดับหมายเลข ๐๐๐๑ ถึงหมายเลข ๙๙๙๙
แล้วเริ่มต้นโดยใช้เลขรหัสแสดงประเภทรถเดิมลำดับถัดไป
เลขรหัสแสดงประเภทรถแบ่งตามประเภทการขนส่ง
ดังนี้
(ก) รถโดยสารประจำทาง ใช้หมายเลขตั้งแต่
๑๐ ถึง ๑๙
(ข) รถขนาดเล็ก ใช้หมายเลขตั้งแต่
๒๐ ถึง ๒๙
(ค) รถโดยสารไม่ประจำทาง ใช้หมายเลขตั้งแต่
๓๐ ถึง ๓๙
(ง) รถโดยสารส่วนบุคคล ใช้หมายเลขตั้งแต่
๔๐ ถึง ๔๙
(จ) รถบรรทุกประจำทาง ใช้หมายเลขตั้งแต่
๖๐ ถึง ๖๙
(ฉ) รถบรรทุกไม่ประจำทาง ใช้หมายเลขตั้งแต่
๗๐ ถึง ๗๙
(ช) รถบรรทุกส่วนบุคคล ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๕๐ ถึง ๕๙ และ ๘๐ ถึง ๙๙
ข้อ
๓ การติดแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
ให้เป็นไป ดังนี้
(๑)
แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ ให้ติดตรึงไว้ในที่ที่เห็นได้ง่าย ที่ด้านหน้ารถหนึ่งแผ่นและที่ด้านท้ายรถหนึ่งแผ่น
(๒)
เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี ให้ติดที่ด้านในของกระจกกันลมด้านหน้า โดยหันข้อความด้านหน้าของเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีออกด้านนอกรถ
ข้อ
๔ บรรดาแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถตามประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ ลงวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ที่ยังคงเหลืออยู่ก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ใช้เป็นแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถต่อไปได้จนกว่าจะหมดลง
ข้อ
๕ บรรดาแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถที่นายทะเบียนออกให้ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้ใช้ได้ต่อไป เว้นแต่เจ้าของรถมีความประสงค์จะขอเปลี่ยนหรือมาแจ้งดำเนินการทางทะเบียนต่อนายทะเบียน
เกี่ยวกับการโอนหรือขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถในสาระสำคัญให้นายทะเบียนเปลี่ยนแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถให้เป็นไปตามประกาศนี้โดยให้เจ้าของรถเสียค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
ข้อ
๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
นันทนา/ผู้จัดทำ
๖ ตุลาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๒๘/๒๙ กันยายน ๒๕๔๙ |
510021 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบตัวถัง ลักษณะและมาตรฐานถังบรรทุกวัตถุอันตรายของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
แบบตัวถัง
ลักษณะและมาตรฐานถังบรรทุกวัตถุอันตรายของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ[๑]
เพื่อให้การขนส่งวัตถุอันตรายมีความปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐานสากล
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๕ (๒) และข้อ ๑๘ (๒) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
กรมการขนส่งทางบกเห็นสมควรประกาศกำหนดแบบตัวถัง
ลักษณะและมาตรฐานถังบรรทุกวัตถุอันตรายของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ในประกาศนี้
ถังบรรทุกวัตถุอันตราย หมายความว่า ถังบรรทุกวัตถุอันตรายที่เป็นแท็งก์ยึดติดถาวรกับตัวรถ
(Fixed tank) ภาชนะบรรจุก๊าซแบบกลุ่ม (Multiple-element gas container ; MEGC) ภาชนะบรรจุก๊าซหลายใบ
ที่ยึดติดกับรถอย่างถาวรและมีท่อร่วมที่ต่อถึงกัน (Batterry-vehicle) หรือแท็งก์ยึดติดไม่ถาวร (Demountable tank) แท็งก์ที่ยกและเคลื่อนย้ายได้ (Portable tank) แท็งก์คอนเทนเนอร์ (Tank-container)
แท็งก์ที่สับเปลี่ยนได้ (Tank swap body) ที่มีขนาดความจุของแท็งก์แต่ละใบ
หรือขนาดความจุของแท็งก์ทุกใบรวมกันตั้งแต่ ๖,๐๐๐ ลิตรขึ้นไป
ตามข้อกำหนดใน TP๒ หรือ Restructured ADR
วัตถุอันตราย หมายความว่า
วัตถุอันตรายตามประเภทหรือชนิดที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
TP๒ หมายความว่า
ข้อกำหนดด้านการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศไทย เล่มที่ ๒ (Thai Provision Volume ๒ ; TP๒) ว่าด้วยการขนส่งทางถนน
Restructured ADR หมายความว่า ข้อกำหนดในความตกลงยุโรปว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางถนน
( European Agreement Concerning the International Carriage of Dangerous Goods by Road ) ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ (United Nations Economic Commission for Europe ; UNECE) ฉบับปรับปรุงตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ (ค.ศ.
๒๐๐๓) เป็นต้นไป
ISO หมายความว่า มาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization)
IMDG Code หมายความว่า
ข้อกำหนดว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางทะเล (International Maritime Dangerous Goods Code)
ICAO Technical Instructions
หมายความว่า ข้อแนะนำทางเทคนิคขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization)
ข้อ
๒ แบบตัวถัง
ลักษณะและมาตรฐานถังบรรทุกวัตถุอันตรายและอุปกรณ์ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ TP๒ หรือ Restructured ADR หรือมาตรฐาน ISO
และต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก
โดยการขอรับความเห็นชอบต้องยื่นเอกสารข้อมูลรายละเอียดต่อกรมการขนส่งทางบก ดังนี้
(๑)
ถังหรืออุปกรณ์ที่ผลิตภายในประเทศ
(ก)
แบบ รายละเอียดของถังและอุปกรณ์
(ข)
รายการคำนวณความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยของถัง
(ค)
หนังสือรับรองและรายงานผลการตรวจสอบและทดสอบถังและอุปกรณ์จากผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก
กรณีการขอรับความเห็นชอบแบบ
หรือเป็นถังหรืออุปกรณ์ที่เหมือนกัน ให้ยื่นเอกสารตามรายการ (๑) และ (๒) เพียง ๑
ชุด
(๒)
ถังหรืออุปกรณ์ที่ผลิตหรือนำเข้าจากต่างประเทศ
(ก)
แบบ รายละเอียดของถังและอุปกรณ์
(ข)
หนังสือรับรองและรายงานผลการตรวจสอบและทดสอบถังและอุปกรณ์จากหน่วยงาน
ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำการตรวจสอบและทดสอบตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานนั้น ๆ
จากต่างประเทศ แล้วแต่กรณี และเป็นหน่วยงานที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบ หรือ
(ค)
หนังสือรับรอง และรายงานผลการตรวจสอบและทดสอบ
จากผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก
พร้อมด้วยรายการคำนวณความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยของถัง
ถังบรรทุกและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายที่นำเข้าชั่วคราวจากต่างประเทศและเป็นการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
หากมีแบบตัวถัง ลักษณะและมาตรฐานถังบรรทุกวัตถุอันตรายและอุปกรณ์เป็นไปตาม IMDG Code หรือ ICAO Technical Instructions แล้วแต่กรณี ไม่ต้องขอรับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก
ข้อ
๓ ถังบรรทุกวัตถุอันตรายและอุปกรณ์
จะต้องผ่านการตรวจสอบและทดสอบเมื่อครบวาระการใช้งานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขของ TP๒ หรือ Restructured ADR หรือ ISO หรือตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด แล้วแต่กรณี
ข้อ
๔ ถังบรรทุกวัตถุอันตรายและอุปกรณ์
ที่มีการนำมาใช้งานในการขนส่งด้วยรถ ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ต้องผ่านการตรวจสอบและทดสอบจากผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด และต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้
(๑)
ถังบรรทุกวัตถุอันตรายประเภทที่ ๓ ต้องผ่านการตรวจสอบและทดสอบภายในระยะเวลาไม่เกิน
๓ ปี นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
(๒)
ถังบรรทุกวัตถุอันตรายประเภทอื่นนอกจากที่กำหนดใน (๑)
ต้องผ่านการตรวจสอบและทดสอบภายในระยะเวลาไม่เกิน ๒ ปี
นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ
๕
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
นันทนา/ผู้จัดทำ
๖ ตุลาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๒๕/๒๙ กันยายน ๒๕๔๙ |
510017 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การกำหนดเกณฑ์กำลังของเครื่องกำเนิดพลังงานของรถ ที่ใช้ในการขนส่งสำหรับการให้ความเห็นชอบแบบคัสซีรถ
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
การกำหนดเกณฑ์กำลังของเครื่องกำเนิดพลังงานของรถ
ที่ใช้ในการขนส่งสำหรับการให้ความเห็นชอบแบบคัสซีรถ[๑]
เพื่อให้การกำหนดเกณฑ์กำลังของเครื่องกำเนิดพลังงานเป็นไปด้วยความเหมาะสม
และให้รถที่ใช้ในการขนส่งสามารถขับเคลื่อนรถในขณะที่มีน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุกในสภาพใช้งานตามปกติได้อย่างปลอดภัย
ตลอดจนเพื่อให้เกณฑ์กำลังของเครื่องกำเนิดพลังงานเป็นมาตรฐานเดียวกันและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๑) และข้อ ๑๕ (๑) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ กรมการขนส่งทางบกเห็นสมควรกำหนดเกณฑ์กำลังของเครื่องกำเนิดพลังงานของรถที่ใช้ในการขนส่งสำหรับการให้ความเห็นชอบแบบคัสซีรถไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง การให้ความเห็นชอบกำลังเครื่องยนต์สำหรับรถบรรทุกและรถโดยสาร ลงวันที่ ๑๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อ
๒ ในประกาศนี้
รถ หมายความว่า รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
น้ำหนักรวมสูงสุด หมายความว่า
น้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุก (GROSS VEHICLE WEIGHT) สำหรับรถที่ไม่มีการต่อพ่วง
หรือน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกของรถลากจูงและรถพ่วงรวมกัน
หรือน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกของรถลากจูงและน้ำหนักลงเพลาของรถกึ่งพ่วงรวมกัน (GROSS COMBINATION WEIGHT) สำหรับรถที่มีการต่อพ่วง
โดยมีหน่วยเป็นตัน
กิโลวัตต์ (kilowatt ; kW) หมายความว่า
หน่วยวัดกำลังของเครื่องกำเนิดพลังงานซึ่งวัดตามข้อกำหนดของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ
(UNITED NATIONS ECONOMIC COMMISSION FOR EUROPE ; UNECE) ข้อที่ ๘๕
ว่าด้วยเรื่องการวัดกำลังสุทธิ (NET POWER) ของ เครื่องกำเนิดพลังงานที่ใช้ในการขับเคลื่อน หรือตามข้อกำหนดของประชาคมเศรษฐกิจยุโรป
(EUROPEAN ECONOMICS COMMISSION ; EEC) (DIRECTIVE ๘๐/๑๒๖๙/EEC;ENGINE POWER OF MOTER VEHICLE)
ข้อ
๓
เกณฑ์กำลังของเครื่องกำเนิดพลังงานที่ใช้ในการขับเคลื่อนรถ
จะต้องมีอัตรากำลัง (POWER RATIO) ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า ๕ กิโลวัตต์ต่อตันของน้ำหนักรวมสูงสุด
ในกรณีหน่วยวัดเป็นหน่วยอื่นการแปลงค่าหน่วยกำลังม้าระบบเมตริก
(PFERDESTARKE ; PS) หรือกำลังม้าระบบอังกฤษ
(HORSEPOWER ; HP) เป็นกิโลวัตต์ ให้ใช้ค่าในการแปลงค่า ๑.๓๕๙๖PS = ๑kW หรือ ๑.๓๔๑HP = ๑kW
ข้อ
๔ ผู้ประสงค์จะยื่นขอรับความเห็นชอบแบบคัสซีรถ
ต้องยื่นรายละเอียดของเครื่องยนต์และรายงานการทดสอบตามข้อกำหนดของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ
หรือตามข้อกำหนดของประชาคมเศรษฐกิจยุโรป พร้อมชื่อและที่อยู่ของหน่วยงานที่ทำการทดสอบเพื่อประกอบการพิจารณาให้ความเห็นชอบ
ข้อ
๕ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับรถ
ดังต่อไปนี้
(๑)
รถที่จดทะเบียนไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ รวมทั้งรถที่ได้แจ้งเลิกใช้และนำมาจดทะเบียนเพื่อใช้รถนั้นอีกครั้งและมีการเปลี่ยนแปลงเครื่องกำเนิดพลังงานภายหลังวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
(๒)
รถที่ได้ยื่นขอรับความเห็นชอบแบบคัสซีรถไว้ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ
๖ ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
นันทนา/ผู้จัดทำ
๖ ตุลาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๒๓/๒๙ กันยายน ๒๕๔๙ |
510014 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ (ฉบับที่ 3)
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ (ฉบับที่ ๓)
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ
(ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๘ กำหนดให้ใช้แผ่นป้ายเลขทะเบียนขนาดใหญ่แทนแผ่นป้ายเลขทะเบียนขนาดเล็กเดิม
นั้น
โดยที่ประกาศกรมการขนส่งทางบกฉบับดังกล่าว มีข้อความผิดพลาดเกี่ยวกับกำหนดระยะเวลาและขนาดของแผ่นป้ายเลขทะเบียนขนาดเล็ก
ฉะนั้น เพื่อให้การวางข้อกำหนดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเป็นไปด้วยความถูกต้อง กรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ
(ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๘
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ และข้อ ๕ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ ลงวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๐
ข้อ ๓ บรรดารถที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๑ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้ใช้แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถขนาดกว้าง ๑๕.๒ เซนติเมตร ยาว ๓๐ เซนติเมตร
(ขนาดเล็ก) ต่อไปได้จนกว่าผู้ประกอบการขนส่ง หรือเจ้าของรถจะนำรถนั้นมาขอดำเนินการทางทะเบียนและได้รับแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถขนาดกว้าง
๒๒ เซนติเมตร ยาว ๔๔ เซนติเมตร (ขนาดใหญ่) ทดแทน
สำหรับกรณีที่เป็นรถที่ได้จดทะเบียนไว้
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้ใช้แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถขนาดกว้าง ๑๕.๒
เซนติเมตร ยาว ๓๐ เซนติเมตร (ขนาดเล็ก) ต่อไปได้ จนกว่าจะสิ้นอายุภาษีประจำปี และได้รับแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถขนาดกว้าง
๒๒ เซนติเมตร ยาว ๔๔ เซนติเมตร (ขนาดใหญ่) ทดแทน
ข้อ ๔[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘
ประดัง
ปรีชญางกูร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
นันทนา/ผู้จัดทำ
๕ ตุลาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๒๒/๒๙ กันยายน ๒๕๔๙ |
510010 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ (ฉบับที่ 2)
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ (ฉบับที่ ๒)
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ
ลงวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๐ กำหนดลักษณะ และขนาดแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถตามกฎหมาย
ว่าด้วยการขนส่งทางบกขึ้นใหม่ และกำหนดระยะเวลาการผ่อนผันเกี่ยวกับการใช้แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถขนาดกว้าง
๑๑ เซนติเมตร ยาว ๒๒ เซนติเมตร (ขนาดเล็กเดิม) นั้น
โดยที่ปัจจุบันแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ
ตามกฎหมาย ว่าด้วยการขนส่งทางบก ยังมีขนาดที่แตกต่างกัน กล่าวคือ มีทั้งแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถขนาดกว้าง
๑๑ เซนติเมตร ยาว ๒๒ เซนติเมตร (ขนาดเล็ก) และขนาดกว้าง ๒๒ เซนติเมตร ยาว ๔๔ เซนติเมตร
(ขนาดใหญ่) โดยแผ่นป้ายเลขทะเบียนขนาดเล็กส่วนมากได้ใช้มาเป็นระยะเวลานานแล้ว เป็นเหตุให้มีสภาพชำรุด
หรือลบเลือนในสาระสำคัญและมีการสะท้อนของแสงลดน้อยลงไปตามสภาพ ฉะนั้น เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและเพื่อให้รถที่จดทะเบียน
ตามกฎหมาย ว่าด้วยการขนส่งทางบก ใช้แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถมีขนาดเดียวกันทุกคัน กรมการขนส่งทางบก
จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ และข้อ ๕ ของประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ ลงวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๐
ข้อ ๒ บรรดารถที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๑ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๓๗ ให้ใช้แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถขนาดกว้าง ๑๑ เซนติเมตร ยาว ๒๒ เซนติเมตร
(ขนาดเล็ก) ต่อไปได้จนกว่าผู้ประกอบการขนส่ง หรือเจ้าของรถจะนำรถนั้นมาขอดำเนินการทางทะเบียนและได้รับแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ
ขนาดกว้าง ๒๒ เซนติเมตร ยาว ๔๔ เซนติเมตร (ขนาดใหญ่) ทดแทน
สำหรับกรณีที่เป็นรถที่ได้จดทะเบียนไว้
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ให้ใช้แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ ขนาดกว้าง ๑๑ เซนติเมตร
ยาว ๒๒ เซนติเมตร (ขนาดเล็ก) ต่อไปได้จนกว่าจะสิ้นอายุ ภาษีประจำปี และได้รับแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ
ขนาดกว้าง ๒๒ เซนติเมตร ยาว ๔๔ เซนติเมตร (ขนาดใหญ่) ทดแทน
ข้อ ๓[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๘
ประดัง
ปรีชญางกูร
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
นันทนา/ผู้จัดทำ
๖ ตุลาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๒๐/๒๙ กันยายน ๒๕๔๙ |
510007 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ
ลงวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๒๒ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
กรมการขนส่งทางบกจึงประกาศกำหนดลักษณะ และขนาดแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ ตามกฎหมาย
ว่าด้วยการขนส่งทางบกไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ
ลงวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๒๒
ข้อ ๒ แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถให้มีลักษณะและขนาด
ดังนี้
(๑) รถที่ใช้ในการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง
และการขนส่งโดยรถขนาดเล็กแผ่นป้ายทำด้วยอลูมิเนียม ขนาดกว้าง ๒๒ เซนติเมตร ยาว ๔๔ เซนติเมตร
มีพื้นเป็นวัสดุสะท้อนแสงสีเหลือง เจาะรูลูกน้ำ ๔ รู มีระยะห่างจากขอบด้านบนและล่าง
๒ เซนติเมตร และห่างจากขอบด้านข้างๆ ละ ๘ เซนติเมตร กับมีรอยดุนบุ๋ม ๒ ข้าง ขนาดกว้าง
๒.๕ เซนติเมตร ยาว ๔ เซนติเมตร มีระยะห่างจากขอบด้านบน ๑ เซนติเมตร และขอบด้านข้างๆ
ละ ๑ เซนติเมตร รายการบนแผ่นป้ายแบ่งออกเป็น ๒ บรรทัด บรรทัดบนเป็นตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถกับหมายเลขทะเบียนสำหรับรถ
ระหว่างตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถกับหมายเลขทะเบียน มีขีดตามทางยาวคั่นกลางบรรทัดล่างเป็นรอยตราเครื่องหมายรูปวงกลมที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ตัวอักษรชื่อจังหวัด และเลขรหัสจังหวัด
ตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถ ขีดระหว่างตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถกับหมายเลขทะเบียนสำหรับรถ
หมายเลขทะเบียนสำหรับรถ รอยเครื่องหมายรูปวงกลมที่กรมการขนส่งทางบก กำหนด ตัวอักษรชื่อจังหวัด
เลขรหัสจังหวัด และขอบแผ่นป้าย อัดเป็นรอยดุนนูนสีดำสูง ๒.๐ มิลลิเมตร (+๐.๒ มิลลิเมตร)
และมีขนาด ดังนี้
(ก) ตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถและหมายเลขทะเบียนสำหรับรถมีขนาดสูง
๑๐ เซนติเมตร กว้างไม่เกิน ๕ เซนติเมตร
(ข) ขีดระหว่างตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถกับหมายเลขทะเบียนสำหรับรถ
มีขนาดกว้าง ๑.๕ เซนติเมตร ยาว ๒.๕ เซนติเมตร
(ค) รอยตราเครื่องหมายรูปวงกลมที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒.๕ เซนติเมตร
(๒) รถที่ใช้ในการขนส่งส่วนบุคคล มีลักษณะและขนาดเป็นไปตาม
(๑) แต่มีพื้นเป็นวัสดุสะท้อนแสงสีขาว
(๓) เลขรหัสแสดงประเภทรถ หมายเลขทะเบียนสำหรับรถ
และเลขรหัสจังหวัด ใช้เลขอารบิค โดยหมายเลขทะเบียนสำหรับรถใช้เลข ๔ หลัก ตั้งแต่ลำดับหมายเลข
๐๐๐๑ ถึงหมายเลข ๙๙๙๙ แล้วเริ่มต้นใหม่โดยใช้เลขรหัสแสดงประเภทรถเดิมลำดับถัดไป
เลขรหัสแสดงประเภทรถแบ่งตามประเภทการขนส่ง ดังนี้
(ก) รถโดยสารประจำทาง ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๑๐ ถึง ๑๙
(ข) รถขนาดเล็ก ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๒๐ ถึง ๒๙
(ค) รถโดยสารไม่ประจำทาง ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๓๐ ถึง ๓๙
(ง) รถโดยสารส่วนบุคคล ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๔๐ ถึง ๔๙
และ
๕๐ ถึง ๕๙
(จ) รถบรรทุกประจำทาง ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๖๐ ถึง ๖๙
(ฉ) รถบรรทุกไม่ประจำทาง ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๗๐ ถึง ๗๙
(ช) รถบรรทุกส่วนบุคคล ใช้หมายเลขตั้งแต่ ๘๐ ถึง ๘๙
และ
๙๐ ถึง ๙๙
ข้อ ๓ รอยตราเครื่องหมายรูปวงกลมที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดตามข้อ
๒ (๑) นั้นให้เป็นไป ดังนี้
ข้อ ๔ บรรดารถที่ได้รับแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถตามประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ ลงวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๒๒ ไว้แล้ว ให้ใช้แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถดังกล่าวได้ต่อไป
ข้อ ๕ บรรดาแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถตามประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ ลงวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๒๒ ที่ยังคงเหลืออยู่ก่อนประกาศนี้
ให้ใช้เป็นแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถได้ต่อไปจนกว่าจะหมดลง
ข้อ ๖ เจ้าของรถผู้ใดประสงค์จะขอเปลี่ยนแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ
ตามลักษณะและขนาดที่กำหนดใหม่ตามประกาศนี้ ก็ให้กระทำได้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๐
สว่าง
ศรีนิลทา
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
นันทนา/ผู้จัดทำ
๖ ตุลาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๑๗/๒๙ กันยายน ๒๕๔๙ |
510003 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การติดแผ่นป้ายเลขทะเบียนและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
การติดแผ่นป้ายเลขทะเบียนและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๐ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
กำหนดให้ผู้ประกอบการขนส่งติดแผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีไว้กับตัวรถ
ดังนี้
๑. แผ่นป้ายเลขทะเบียนสำหรับรถ ต้องติดตรึงไว้ในที่ที่เห็นได้ง่ายที่ด้านหน้ารถหนึ่งแผ่นและด้านท้ายรถหนึ่งแผ่น
๒. เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี ต้องติดที่ด้านในของกระจกหน้ารถให้เห็นได้จากด้านหน้า
หรือด้านซ้ายของรถในระยะพอสมควร
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๒๒ เป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๒
มนัส
คอวนิช
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
นันทนา/ผู้จัดทำ
๕ ตุลาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๑๖/๒๙ กันยายน ๒๕๔๙ |
507985 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1696 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่องสายที่ 172 แฮปปี้แลนด์-บางขุนเทียน
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๖๙๖ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่
๑๗๒ แฮปปี้แลนด์-บางขุนเทียน[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๔๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๖ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๗๒ แฮปปี้แลนด์-บางขุนเทียน
ให้มีเส้นทางแยกช่วงแฮปปี้แลนด์-บางขุนเทียน (ทางด่วน) นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๗๒ แฮปปี้แลนด์-บางขุนเทียน
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่
๑๗๒ แฮปปี้แลนด์-บางขุนเทียน
จากแฮปปี้แลนด์ไปบางขุนเทียน
เริ่มต้นจากแฮปปี้แลนด์ ไปตามถนนแฮปปี้แลนด์ แยกขวาไปตามถนนนวมินทร์ แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว
แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกขวาไปตามถนนอโศก-ดินแดง ถนนดินแดง ถนนราชวิถี ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
แยกซ้ายไปตามถนนพญาไท แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔ แยกขวาไปตามถนนสีลม แยกซ้ายไปตามถนนสุรศักดิ์
แยกขวาไปตามถนนสาทร ข้ามสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ไปตามถนนกรุงธนบุรี แยกซ้ายไปตามถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ถนนสุขสวัสดิ์ แยกขวาไปตามถนนพระราม ๒ แยกซ้ายไปตามซอยร่วมใจ ผ่านเคหะธนบุรี แยกขวาไปตามถนนบางขุนเทียน
จนสุดเส้นทางที่อู่บางขุนเทียน (ใต้ถนนวงแหวนรอบนอก)
จากบางขุนเทียนไปแฮปปี้แลนด์
เริ่มต้นจากอู่บางขุนเทียน (ใต้ถนนวงแหวนรอบนอก) ไปตามถนนบางขุนเทียน แยกขวาไปตามถนนพระราม
๒ แล้วไปตามเส้นทางเดิม ถึงถนนลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนแฮปปี้แลนด์ จนสุดเส้นทางที่ศูนย์การค้าแฮปปี้แลนด์
ช่วงแฮปปี้แลนด์-บางขุนเทียน (ทางด่วน)
จากแฮปปี้แลนด์ไปบางขุนเทียน
เริ่มต้นจากแฮปปี้แลนด์ ไปตามถนนแฮปปี้แลนด์ แยกขวาไปตามถนนนวมินทร์ แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว
แยกซ้ายไปตามถนนรัชดาภิเษก แยกขวาไปตามถนนอโศก-ดินแดง ถนนดินแดง ถนนราชวิถี ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
แยกซ้ายไปตามถนนพญาไท แยกขวาไปตามถนนพระราม ๔ ขึ้นทางด่วนที่ด่านพระราม ๔ ไปตามทางด่วนศรีรัช
ทางด่วนเฉลิมมหานคร ลงทางด่วนที่ด่านสุขสวัสดิ์ แยกขวาไปตามถนนสุขสวัสดิ์ แยกซ้ายไปตามถนนพระราม
๒ แยกซ้ายไปตามซอยร่วมใจ ผ่านเคหะธนบุรี แยกขวาไปตามถนนบางขุนเทียน จนสุดเส้นทางที่อู่บางขุนเทียน
(ใต้ถนนวงแหวนรอบนอก)
จากบางขุนเทียนไปแฮปปี้แลนด์
เริ่มต้นจากอู่บางขุนเทียน (ใต้ถนนวงแหวนรอบนอก) ไปตามถนนบางขุนเทียน แยกขวาไปตามถนนพระราม
๒ แล้วไปตามเส้นทางเดิม ถึงถนนลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนแฮปปี้แลนด์ จนสุดเส้นทางที่ศูนย์การค้าแฮปปี้แลนด์
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๑๓ กันยายน ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๙๐ ง/หน้า ๑๒๙/๗ กันยายน ๒๕๔๙ |
507983 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1695 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่องสายที่ 165 พุทธมณฑลสาย 2-เขตบางกอกใหญ่ เป็นพุทธมณฑลสาย 2-ถนนธรรมสพน์-สำนักงานเขตบางกอกใหญ่
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๖๙๕ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่
๑๖๕ พุทธมณฑลสาย ๒-เขตบางกอกใหญ่ เป็น
พุทธมณฑลสาย
๒-ถนนธรรมสพน์-สำนักงานเขตบางกอกใหญ่[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๕๓๑ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๖๕ พุทธมณฑลสาย
๒ - เขตบางกอกใหญ่ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๖๕ พุทธมณฑลสาย
๒-เขตบางกอกใหญ่ เป็น พุทธมณฑลสาย ๒-ถนนธรรมสพน์-สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง
ดังต่อไปนี้
สายที่
๑๖๕ พุทธมณฑลสาย ๒-ถนนธรรมสพน์-สำนักงานเขตบางกอกใหญ่
เริ่มต้นจากถนนพุทธมณฑลสาย ๒ (ด้านถนนบรมราชชนนี)
ไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนธรรมสพน์ แยกซ้ายไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๓ แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม
ถึงแยกท่าพระ แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษกตอนล่าง จนสุดเส้นทางที่สำนักงานเขตบางกอกใหญ่
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๑๒ กันยายน ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๙๐ ง/หน้า ๑๒๘/๗ กันยายน ๒๕๔๙ |
507981 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1694 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 755 โรงเรียนภัทรนุสรณ์-หมู่บ้านอ้อมน้อย เป็นวงกลมหมู่บ้านอ้อมน้อย-สามพราน-คลองใหม่ และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงหมู่บ้านอ้อมน้อย-โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์-โรงเรียนภัทรนุสรณ์
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๖๙๔ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๗๕๕ โรงเรียนภัทรนุสรณ์-หมู่บ้านอ้อมน้อย เป็น
วงกลมหมู่บ้านอ้อมน้อย-สามพราน-คลองใหม่
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง
หมู่บ้านอ้อมน้อย-โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์-โรงเรียนภัทรนุสรณ์[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๔๘๑ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๗๕๕ โรงเรียนวัดดงเกตุ-หมู่บ้านอ้อมน้อย เป็น โรงเรียนภัทรนุสรณ์-หมู่บ้านอ้อมน้อย
นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๗๕๕ โรงเรียนภัทรนุสรณ์-หมู่บ้านอ้อมน้อย เป็น วงกลมหมู่บ้านอ้อมน้อย-สามพราน-คลองใหม่
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงหมู่บ้านอ้อมน้อย-โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์-โรงเรียนภัทรนุสรณ์
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่
๗๕๕ วงกลมหมู่บ้านอ้อมน้อย-สามพราน-คลองใหม่
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหมู่บ้านอ้อมน้อย
ไปตามซอยหมู่บ้านอ้อมน้อย แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๕ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔ (ถนนเพชรเกษม) ผ่านตลาดหมู่บ้านสามพราน แยกซ้ายเข้าซอยวัดเทียนดัด แยกขวาเข้าซอยเซนคาเบรียล
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (สายโรมันคาทอลิก-ดงเกตุ) ผ่านวัดนักบุญเปโตร ถึงโรงเรียนบ้านดงเกตุ
ตรงไปตามทางหลวงชนบท (อบจ. นฐ.) ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน (สะพานบุญรัฐประชานุวัฒน์)
ผ่านอำเภอสามพราน ตลาดสามพราน ไปตามถนนสุขาภิบาล ๑ แยกขวาไปตามถนนสุขาภิบาล ๓
ถึงโรงเรียนภัทรนุสรณ์ ย้อนกลับไปตามแนวเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามถนนสุขาภิบาล ๑ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
นฐ. ๑๐๓๔ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ (ถนนเพชรเกษม) ผ่านแยกถนนไร่ขิง โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์
ตลาดหมู่บ้านสามพราน แยกซ้ายไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๕ แยกซ้ายไปตามซอยหมู่บ้านอ้อมน้อย
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหมู่บ้านอ้อมน้อย
ช่วงหมู่บ้านอ้อมน้อย-โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์-โรงเรียนภัทรนุสรณ์
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหมู่บ้านอ้อมน้อย ไปตามซอยหมู่บ้านอ้อมน้อย
แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑล สาย ๕ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ (ถนนเพชรเกษม) ผ่านตลาดหมู่บ้านสามพราน
ผ่านโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (สายโรมันคาทอลิก-ดงเกตุ) ผ่านวัดนักบุญเปรโต
ถึงโรงเรียนบ้านดงเกตุ ตรงไปตามทางหลวงชนบท (อบจ. นฐ.) ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน
(สะพานบุญรัฐประชานุวัฒน์) ผ่านอำเภอสามพราน ตลาดสามพราน ไปตามถนนสุขาภิบาล ๑ แยกขวาไปตามถนนสุขาภิบาล
๓ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโรงเรียนภัทรนุสรณ์
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๑๓ กันยายน ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๙๐ ง/หน้า ๑๒๖/๗ กันยายน ๒๕๔๙ |
507977 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1693 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 2 สายที่ 35 กรุงเทพฯ-บ้านมาบตาพุด-ระยอง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกรุงเทพฯ (สายใต้)-บ้านมาบตาพุด-ระยอง เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๖๙๓ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๒ สายที่ ๓๕ กรุงเทพฯ-บ้านมาบตาพุด-ระยอง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง
กรุงเทพฯ
(สายใต้)-บ้านมาบตาพุด-ระยอง เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๕๘๑ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ สายที่ ๓๕ กรุงเทพฯ-ระยอง-บ้านมาบตาพุด เป็น กรุงเทพฯ-บ้านมาบตาพุด-ระยอง และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกรุงเทพฯ-บูรพาวิถี-ระยอง
และกรุงเทพฯ-ระยอง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ สายที่ ๓๕ กรุงเทพฯ-บ้านมาบตาพุด-ระยอง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกรุงเทพฯ
(สายใต้)-บ้านมาบตาพุด-ระยอง เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง
ดังต่อไปนี้
สายที่
๓๕ กรุงเทพฯ-บ้านมาบตาพุด-ระยอง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ถึงแยกบางนา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ขึ้นทางพิเศษบูรพาวิถี
ถึงด่านชลบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา บ้านโรงโป๊ะ
ถึงแยกกระทิงลาย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๖ ผ่านบ้านชากแง้ว ถึงแยกมาบข่า
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านบ้านมาบตาพุด
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง
ช่วงกรุงเทพฯ (สายใต้)-บ้านมาบตาพุด-ระยอง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘
แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ ขึ้นทางด่วน
(ทางพิเศษเฉลิมมหานคร) ที่ด่านดาวคะนอง ขึ้นทางพิเศษบูรพาวิถี ถึงด่านชลบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓ ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา บ้านโรงโป๊ะ
ถึงแยกกระทิงลาย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๖ ผ่านบ้านชากแง้ว ถึงแยกมาบข่า
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านบ้านมาบตาพุด
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง
ช่วงกรุงเทพฯ-บูรพาวิถี-ระยอง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓ ถึงแยกบางนา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ขึ้นทางพิเศษบูรพาวิถี ถึงด่านชลบุรี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี)
แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๖ ผ่านบ้านชากแง้ว
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๓๘ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง
ช่วงกรุงเทพฯ-ระยอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(เอกมัย) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ถึงแยกบางนา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๔ ถึงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา
บ้านโรงโป๊ะ ถึงแยกกระทิงลาย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๖ ผ่านบ้านชากแง้ว
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๓๘ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๑๓ กันยายน ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๙๐ ง/หน้า ๑๒๔/๗ กันยายน ๒๕๔๙ |
507971 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1692 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 2 สายที่ 29 กรุงเทพฯ-ปากชม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกรุงเทพฯ-ภูกระดึง-เลย เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๖๙๒ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๒ สายที่ ๒๙ กรุงเทพฯ-ปากชม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง
กรุงเทพฯ-ภูกระดึง-เลย
เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๕๒๓ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ สายที่ ๒๙ กรุงเทพฯ-ปากชม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มอีก ๒ ช่วง
คือ ช่วงกรุงเทพฯ-ชุมแพ-ภูผาม่าน และช่วงกรุงเทพฯ-ภูเขียว-เกษตรสมบูรณ์ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ สายที่ ๒๙ กรุงเทพฯ-ปากชม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกรุงเทพฯ-ภูกระดึง-เลย
เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่
๒๙ กรุงเทพฯ-ปากชม
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง ถึงทางแยกไปอำเภอสีคิ้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๑ ผ่านอำเภอสีคิ้ว อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ถึงอำเภอชุมแพ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๒ ถึงบ้านโนนหัน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอวังสะพุง
จังหวัดเลย ถึงบ้านธาตุจอมศรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐๘ ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปากชม
ช่วงกรุงเทพฯ-เชียงคาน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง ถึงทางแยกไปอำเภอสีคิ้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๑ ผ่านอำเภอสีคิ้ว อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ถึงอำเภอชุมแพ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๒ ถึงบ้านโนนหัน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเชียงคาน
ช่วงกรุงเทพฯ-คอนสวรรค์-ภูเขียว
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง ถึงทางแยกไปอำเภอสีคิ้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๑ ผ่านอำเภอสีคิ้ว อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๒ ถึงบ้านลาดใหญ่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕๔ ผ่านอำเภอคอนสวรรค์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๑ ผ่านอำเภอแก้งคร้อ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอภูเขียว
ช่วงกรุงเทพฯ-เลย-ท่าลี่
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน)
ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ)
ผ่านอำเภอปากช่อง ถึงทางแยกไปอำเภอสีคิ้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอสีคิ้ว
อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ถึงอำเภอชุมแพ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงบ้านโนนหัน
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ถึงบ้านปากภู แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๑๕ ผ่านบ้านน้ำภู บ้านตูบโก บ้านท่าเปิบ บ้านโป่งป่าติ้ว บ้านลาดค้อ บ้านโคกใหญ่
บ้านโนนสว่าง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอท่าลี่
ช่วงกรุงเทพฯ-ผาขาว-เลย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง ถึงทางแยกไปอำเภอสีคิ้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๑ ผ่านอำเภอสีคิ้ว อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ถึงอำเภอชุมแพ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๒ ถึงบ้านโนนหัน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ถึงบ้านตาดข่า แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๔๑ ผ่านบ้านโคกใหญ่ บ้านแสนสุข บ้านห้วยลาด บ้านสมศักดิ์พัฒนา บ้านโนนยาง บ้านห้วยฝาย
บ้านโนนปอแดง ถึงอำเภอผาขาว แยกซ้ายไปตามถนนองค์การบริหารส่วนจังหวัด สายซำจำปา-โนนปอแดง
(ช่วงที่ ๑) ผ่านบ้านโนนป่าซาง ถึงบ้านซำจำปา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๔๐
ผ่านบ้านภูป่าไผ่ บ้านผาสามยอด บ้านนาอุดม บ้านห้วยป่าน บ้านหนองใหญ่ บ้านทรัพย์เจริญ
ถึงอำเภอเอราวัณ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐ ถึงอำเภอวังสะพุง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลย
ช่วงกรุงเทพฯ-ชุมแพ-ภูผาม่าน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง ถึงทางแยกไปอำเภอสีคิ้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๑ ผ่านอำเภอสีคิ้ว อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ถึงอำเภอชุมแพ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงบ้านน้ำพุ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท (ยธ. ชย.
๓๐๗๔) ผ่านอำเภอคอนสาร ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอภูผาม่าน
ช่วงกรุงเทพฯ-ภูเขียว-เกษตรสมบูรณ์
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง ถึงทางแยกไปอำเภอสีคิ้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๑ ผ่านอำเภอสีคิ้ว อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ถึงอำเภอภูเขียว
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๓๗ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทาง
อำเภอเกษตรสมบูรณ์
ช่วงกรุงเทพฯ-ภูกระดึง-เลย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ถึงสามแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย ถึงจังหวัดสระบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง ถึงทางแยกอำเภอสีคิ้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๑ ผ่านอำเภอสีคิ้ว อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ถึงอำเภอชุมแพ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๒ ถึงบ้านโนนหัน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ถึงทางแยกอำเภอภูกระดึง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๑๙ ถึงอำเภอภูกระดึง แล้วกลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑
ผ่านอำเภอวังสะพุง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลย
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๑๓ กันยายน ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๙๐ ง/หน้า ๑๒๐/๗ กันยายน ๒๕๔๙ |
507967 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1691 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 770 ภูเก็ต-เกาะลันตา
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๖๙๑ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๗๗๐ ภูเก็ต-เกาะลันตา[๑]
ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควร
ให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๗๗๐ ภูเก็ต-เกาะลันตา โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่
๗๗๐ ภูเก็ต-เกาะลันตา
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๐๒ ผ่านอำเภอถลาง บ้านท่าฉัตรไชย บ้านท่านุ่น ถึงสามแยกโคกกลอย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔ ผ่านอำเภอตะกั่วทุ่ง ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๑๕ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภออ่าวลึก
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๑ (ถนนอุตรกิจ) ถึงจังหวัดกระบี่ แล้วกลับเส้นทางเดิม
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านบ้านเหนือคลอง บ้านบางผึ้ง อำเภอคลองท่อม
ถึงบ้านห้วยน้ำขาว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒๐๖ ผ่านโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด
บ้านทุ่ง โรงเรียนบ้านคลองย่าหนัด บ้านร่าบู ถึงบ้านหัวหิน ข้ามแพขนานยนต์ ถึงบ้านคลองหมาก
(เกาะลันตาน้อย) ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. กบ. ๒๐๘๕
ถึงบ้านหลังสอด ข้ามแพขนานยนต์ ถึงบ้านศาลาด่าน (เกาะลันตาใหญ่) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๒๔๕ ผ่านบ้านพระแอะ บ้านคลองนิล บ้านแจ๊ะหลี เทศบาลตำบลเกาะลันตา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางเกาะลันตา
(บ้านสังกาอู้)
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๑๓ กันยายน ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๙๐ ง/หน้า ๑๑๙/๗ กันยายน ๒๕๔๙ |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.