sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
478645
ประกาศจังหวัดสตูล เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดสตูล ประกาศจังหวัดสตูล เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย จังหวัดสตูลได้รับเรื่องราวการขออนุญาตจัดตั้งมัสยิด ในพื้นที่อำเภอเมืองสตูล จำนวน ๑ มัสยิด คือ “ฮีดายาตุลอีมาน” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลปูยู อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล โดยมี นายอุหมาก เตะปูยู เป็น อิหม่าม นายเจ๊ะนอรูเด็น อาลี เป็น คอเต็บ และ นายอาเหยด เตะปูยู เป็น บิหลั่น เลขทะเบียนมัสยิดที่ ๒๐๒ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๔, ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดฮีดายาตุลอีมาน เลขทะเบียนที่ ๒๐๒ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ชูศักดิ์ มณีชยางกูร รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๔ ง/หน้า ๑๙๗/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
477495
ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดปัตตานี ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายสุชาติ หวันตุหมัน ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนมัสยิด จัดตั้งมัสยิดนูรุดดิน (แหลมนก) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลามพ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดนูรุดดิน (แหลมนก) ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๓๘/๒๕๔๘ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๘ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ไชยยศ ธงไชย ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๑ ง/หน้า ๒๒๕/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
477346
ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดซอฮาบีย์อุมัรบินค็อบต็อบ
ประกาศจังหวัดนราธิวาส ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดซอฮาบีย์อุมัรบินค็อบต็อบ[๑] ด้วย นายอาหมะ พระสี และคณะ ได้รับความเห็นชอบให้สร้างและจัดตั้งมัสยิด ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดซอฮาบีย์อุมัรบินค็อบต็อบ ตั้งอยู่ ณ บ้านยือเลาะ หมู่ที่ ๙ ตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “ซอฮาบีย์อุมัรบินค็อบต็อบ” ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๑๙/๒๕๔๘ ตั้งแต่วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๘ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ประชา เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐ ง/หน้า ๑๖๗/๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
474042
ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดยะลา ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายเจะอามะ เจะอามะ นายมะ จาเงาะ นายมะแอ ลาเตะ ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “นูรูลอีมาน” ตั้งอยู่ที่บ้านกูมังใน หมู่ที่ ๕ ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “นูรูลอีมาน” ตั้งอยู่ที่บ้านกูมังใน หมู่ที่ ๕ ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา หมายเลขทะเบียน ๔๔๒ ตั้งแต่วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๔๘ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ บุณยสิทธิ์ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔ ง/หน้า ๑๑๙/๑๒ มกราคม ๒๕๔๙
472787
ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดปัตตานี ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายบาราเฮง อาแว ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนมัสยิด จัดตั้งมัสยิดดารุลมาอาเรฟตั้ งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลสาบัน อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดดารุลมาอาเรฟ ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๓๗/๒๕๔๘ ตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ วินัย ครุวรรณพัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๒๖ ง/หน้า ๘๖/๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๘
472785
ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดปัตตานี ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายหามะ อาแว ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนมัสยิด จัดตั้งมัสยิดดารุนอีบาดะห์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑๑ ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดดารุนอีบาดะห์ ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๓๖/๒๕๔๘ ตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ วินัย ครุวรรณพัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๒๖ ง/หน้า ๘๕/๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๘
469449
ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดยะลา ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายมะรอซี แวนาแว นายสุไลมัน สาแม นายอีสะมาแอ กาซอ ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “ดารุลมุตตากีน” ตั้งอยู่ที่บ้านคลองปุด เลขที่ ๓๙ หมู่ที่ ๗ ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “ดารุลมุตตากีน” ตั้งอยู่ที่บ้านคลองปุด เลขที่ ๓๙ หมู่ที่ ๗ ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา หมายเลขทะเบียน ๔๔๑ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ บุณยสิทธิ์ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๑๘๗/๘ ธันวาคม ๒๕๔๘
469447
ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดยะลา ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายมะแอ ดือราเซะมิง นายกามารูดิง ยามา และ นายอับดุลเลาะ ดอรอแต ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “นูรูลยากีนย์” ตั้งอยู่ที่บ้านละแอบันนังกูแว หมู่ที่ ๔ ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “นูรูลยากีนย์” ตั้งอยู่ที่บ้านละแอบันนังกูแว หมู่ที่ ๔ ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา หมายเลขทะเบียน ๔๔๐ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ บุณยสิทธิ์ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๑๓ ง/หน้า ๑๘๖/๘ ธันวาคม ๒๕๔๘
466508
ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดนูรูลฮีดายะห์
ประกาศจังหวัดนราธิวาส ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดนูรูลฮีดายะห์[๑] ด้วย นายบือราเฮ็ง เร๊ะเจ๊ะเซ็ง และคณะ ได้รับความเห็นชอบให้สร้างและจัดตั้งมัสยิด ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดนูรูลฮีดายะห์ ตั้งอยู่ ณ บ้านไอร์ลาคอ หมู่ที่ ๕ ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “นูรูลฮีดายะห์” ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๑๘/๒๕๔๘ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๘ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ขจรศักดิ์ สิงโตกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๐๕ ง/หน้า ๑๐๗/๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
466505
ประกาศจังหวัดตรัง เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดตรัง ประกาศจังหวัดตรัง เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายหลี สูเหตุ นายศักดิ์ชัย ปรั่งนัด และ นายพิเชษฐ์ ระเหม ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดญาบาลิลมาดานีย์ (บ้านบางหมากน้อย) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดญาบาลิลมาดานีย์ (บ้านบางหมากน้อย) ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๑๓๑ ตั้งแต่วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๔๘ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ชัยวัฒน์ รัฐขจร ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๐๕ ง/หน้า ๑๐๖/๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
466502
ประกาศจังหวัดขอนแก่น เรื่อง การจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดขอนแก่น ประกาศจังหวัดขอนแก่น เรื่อง การจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด[๑] อาศัยอำนาจตามความในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๖ เพื่อแสดงว่า มัสยิดนูรุ้ลรอฮีม ตั้งอยู่ ณ ตำบลบ้านกง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ได้จดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดแล้ว จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลหมายเลขทะเบียน ๔/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๘ จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ศิลป์ ชื่นนิรันดร์ ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๐๕ ง/หน้า ๑๐๕/๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
466257
ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดยะลา ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายมือเส๊าะ หะนะกาแม นายอับดุลฮาลิง วาหามะ นายอับดุลกอเดร์ สาแม ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “นูรูลอิสลาม” ตั้งอยู่ที่บ้านตะโล๊ะมีแย หมู่ที่ ๔ ตำบลกาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดนูรูลอิสลาม ตั้งอยู่ที่บ้านตะโล๊ะมีแย หมู่ที่ ๔ ตำบลกาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา หมายเลขทะเบียนที่ ๔๓๗ ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๘ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ บุณยสิทธิ์ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๘๕/๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
466253
ประกาศจังหวัดปทุมธานี เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดปทุมธานี ประกาศจังหวัดปทุมธานี เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายสัญญา วันเพ็ญ กับพวก ได้ยื่นเรื่องขออนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดอิบาดุเราะห์มาน ตั้งอยู่ ณ ซอยสวนส้มพัฒนา ถนนลำลูกกา เทศบาลเมืองคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดอิบาดุเราะห์มาน ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๓๒ ตั้งแต่วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๔๘ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ชนะ นพสุวรรณ ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๘๔/๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
466245
ประกาศจังหวัดตรัง เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดตรัง ประกาศจังหวัดตรัง เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายสมัด นันตสินธ์ นายอะสัน แก้วทอง และ นายพิมล หมาดตุด ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดมิฟตาฮุ้ลฮีดายะฮ์ (บ้านหาดยาว) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดมิฟตาฮุ้ลฮีดายะฮ์ (บ้านหาดยาว) ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๑๓๐ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๘ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ชัยวัฒน์ รัฐขจร ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๘๓/๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
466249
ประกาศจังหวัดตรัง เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดตรัง ประกาศจังหวัดตรัง เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายก่อเดช แดงหย้ง นายสมเกียรติ สะดี นายกิติพงษ์ คีรีรัตน์ ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดดารุลฮิกมะฮ์ (บ้านตะเคียนหลบฟ้า) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลบางหมาก ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดดารุลฮิกมะฮ์ (บ้านตะเคียนหลบฟ้า) ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๑๒๙ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๘ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ชัยวัฒน์ รัฐขจร ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๘๒/๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
466241
ประกาศจังหวัดตรัง เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดตรัง ประกาศจังหวัดตรัง เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายอิสมะแอน เพ็ชร์สนั่น นายสมหวัง สะดี และ นายศักดิ์ชัย เพ็ชร์สนั่น ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดญัมอุลอิควานีย์ (บ้านทุ่งทัพไทย) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลบางหมาก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดญัมอุลอิควานีย์ (บ้านทุ่งทัพไทย) ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๑๒๘ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๘ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ชัยวัฒน์ รัฐขจร ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๘๑/๑ ๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
466187
ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดดารุลฮิกมะห์
ประกาศจังหวัดนราธิวาส ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดดารุลฮิกมะห์[๑] ดวย นายอีซอ ตาเละ และคณะ ไดรับความเห็นชอบใหสรางและจัดตั้งมัสยิด ไดยื่นคําขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดดารุลฮิกมะห ตั้งอยู ณ บานไอรสลีซิง หมูที่ ๑๓ ตําบลบูกิต อําเภอเจาะไอรอง จังหวัดนราธิวาส ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๒ แหงพระราชบัญญัติการบริหารองคกรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติองคกรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ขอ ๕ ขอ ๖ และขอ ๗ พนักงานเจาหนาที่จึงมีคําสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “ดารุลฮิกมะห” ตามหมายเลขทะเบียน ๖๑๗/๒๕๔๘ ตั้งแตวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๘ จึงประกาศใหทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ขจรศักดิ์ สิงโตกุล รองผู้วาราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้วาราชการจังหวัดนราธิวาส วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๐๑ ง/หน้า ๑๗๑/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
466183
ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดยะลา ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ดวย นายสะอารี ดาลี นายกอมารูดิน ลาโบป นายสุพงศ ดอคา ไดยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “นูรูลฮูดา” ตั้งอยูที่บานบาโงยดูรียัน หมูที่ ๒ ตําบลบาโงยซิแน อําเภอยะหา จังหวัดยะลา ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๒ แหงพระราชบัญญัติการบริหารองคกรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองคกรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ขอ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจาหนาที่จึงมีคําสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “นูรูลฮูดา” ตั้งอยูที่บานบาโงยดูรียัน หมูที่ ๒ ตําบลบาโงยซิแน อําเภอยะหา จังหวัดยะลา หมายเลขทะเบียน ๔๓๙ ตั้งแตวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๘ จึงขอประกาศใหทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ บุณยสิทธิ์ สุวรรณรัตน ผูวาราชการจังหวัดยะลา วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ภัทรวีร์/ปรับปรุง ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๐๑ ง/หน้า ๑๗๐/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
466181
ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดยะลา ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ดวย นายอับดุลเลาะ เซ็งโซะ นายเดะแว มณีหิยา นายมาฮิดิง เจะแวสนิ ไดยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “อะมาดีญะห อัลฮิญิรีญะห” ตั้งอยูที่บานบาโระลาแล หมูที่ ๒ ตําบลบาโระ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๒ แหงพระราชบัญญัติการบริหารองคกรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองคกรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ขอ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจาหนาที่จึงมีคําสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “อะมาดีญะห อัลฮิญิรีญะห” ตั้งอยูที่บานบาโระลาแล หมูที่ ๒ ตําบลบาโระ อําเภอยะหา จังหวัดยะลา หมายเลขทะเบียน ๔๓๘ ตั้งแตวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๘ จึงขอประกาศใหทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ บุณยสิทธิ์ สุวรรณรัตน ผูวาราชการจังหวัดยะลา วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๐๑ ง/หน้า ๑๖๙/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
802425
ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
415454
ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดยะลา ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายมามะซอปี โตะลู นายยูโซะ ยูโซะ และนายยูโซะ มาฮะ ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดดารุสลาม บ้านสลาแด ๒ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลห้วยกระทิง กิ่งอำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดดารุสลาม บ้านสลาแด ๒ หมายเลขทะเบียน ๔๑๙ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๔๖ จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖ กิตติ กิตติโชควัฒนา ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๕๗/๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
802929
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ระเบียบการควบคุมจัดตั้งมัสยิดที่สร้างขึ้นใหม่ พ.ศ. 2493
ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องระเบียบการควบคุมจัดตั้งมัสยิดที่สร้างขึ้นใหม่ พ.ศ. ๒๔๙๓[๑] โดยที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ได้ประชุมปรึกษาลงมติ เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ให้ควบคุมการจัดตั้งมัสยิดที่จะสร้างขึ้นใหม่ให้มั่นคงและรัดกุม จึงวางระเบียบขึ้นไว้เป็นทางปฏิบัติดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งมัสยิด ให้ยื่นเรื่องราวต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดท้องที่ที่จะจัดตั้งมัสยิดนั้น ตามแบบท้ายระเบียบการนี้ พร้อมด้วยรายการและเอกสารที่เกี่ยวกับการจัดตั้งมัสยิด คือ ก. จำนวนสัปบุรุษในท้องที่ซึ่งจัดตั้งมัสยิด และหลักฐานแสดงความเห็นชอบของปวงสัปบุรุษในท้องที่นั้น ข. รายการจำนวนที่ดินซึ่งจะยกให้แก่มัสยิดที่จัดตั้งขึ้นหนังสือสำคัญเกี่ยวกับที่ดิน แผนผังแสดงสิ่งก่อสร้างของมัสยิด แผนที่แสดงเขตที่จะตั้งมัสยิดขึ้นใหม่ และอยู่ห่างจากมัสยิดอื่นใดเท่าใด ค. ชื่อเจ้าของที่ดิน และสัญญาที่จะยกที่ดินให้แก่มัสยิด ง. รายการเงินทุนที่จะใช้ในการสร้างมัสยิด จ. กำหนดเวลาที่จะสร้างมัสยิดให้แล้วเสร็จ ฉ. คำมั่นว่า จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. ๒๔๙๐ เมื่อสร้างมัสยิดนั้นเสร็จแล้ว ข้อ ๒ เมื่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้รับคำร้องเรื่องราวขอจัดตั้งมัสยิดแล้ว ให้ตรวจพิจารณาหลักฐานว่าถูกต้องตามระเบียบการข้อ ๑ หรือบกพร่องประการใด ถ้าบกพร่องให้สอบถามหรือเรียกหลักฐานเพิ่มเติมได้จนครบถ้วน ข้อ ๓ เมื่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดพิจารณาเห็นว่า มัสยิดที่ขอจัดตั้งขึ้น ไม่ขัดต่อการบริหารแห่งราชอาณาจักร สมควรเป็นที่ประกอบพิธีกรรมในทางศาสนาเป็นประโยชน์แก่อิสลามิกชนในท้องที่ที่ขอจัดตั้งมัสยิดนั้น และตั้งอยู่ห่างจากมัสยิดอื่นในอันที่จะได้รับการบำรุงจากอิสลามิกชนพอที่จะดำรงอยู่ได้ก็ให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดให้ความเห็นขอบในการจัดตั้งมัสยิดนั้นขึ้นได้ เมื่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดพิจารณาให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งมัสยิดหรือไม่แล้ว ให้แจ้งแก่ผู้ยื่นเรื่องราวทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ข้อ ๔ เมื่อผู้ยื่นเรื่องราวได้สร้างมัสยิดเสร็จแล้ว ให้รีบแจ้งแก่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทราบ เพื่อดำเนินการเลือกกรรมการอิสลามประจำมัสยิดนั้น ตามระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (สุเหร่า) และวิธีดำเนินการอันเกี่ยวแก่ศาสนกิจของมัสยิด (สุเหร่า) พ.ศ. ๒๔๙๒ และเมื่อได้จดทะเบียนมัสยิดเป็นนิติบุคคลแล้ว ให้ผู้ยื่นเรื่องราวจัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่มัสยิดนั้น ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ข้อ ๕ ให้อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น ซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการมัสยิดที่ตั้งขึ้นใหม่ รีบขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เพื่อดำเนินการจดทะเบียนมัสยิดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. ๒๔๙๐ โดยเร็ว ข้อ ๖ จังหวัดใดที่ไม่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยทำหน้าที่แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดตามระเบียบนี้ ระเบียบให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๔๙๓ ต่วน สุวรรณศาสน์ ประธานกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๗/ตอนที่ ๖๐/หน้า ๕๗๒๐/วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๔๙๓
461056
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการสวมเสื้อครุยและประดับเข็มพระปรมาภิไธย พ.ศ. 2548
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการสวมเสื้อครุยและประดับเข็มพระปรมาภิไธย พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยที่เป็นการสมควรเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการสวมเสื้อครุยและประดับเข็มพระปรมาภิไธย ของจุฬาราชมนตรี กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กรรมการอิสลามประจำจังหวัด และกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ผู้มีสิทธิสวมเสื้อครุยและประดับเข็มพระปรมาภิไธย จึงสมควรวางระเบียบว่าด้วยการสวมเสื้อครุยและประดับเข็มพระปรมาภิไธย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการสวมเสื้อครุยและประดับเข็มพระปรมาภิไธย พ.ศ. ๒๕๔๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามระเบียบนี้ และมีอำนาจวินิจฉัยตีความวินิจฉัยปัญหา กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามในระเบียบนี้ ข้อ ๔ ลักษณะเสื้อครุยและเข็มพระปรมาภิไธยตามระเบียบนี้ ให้ใช้เช่นเดียวกับที่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๔๘๘ และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ เรื่อง ระเบียบการสวมเสื้อครุยและประดับเข็มพระปรมาภิไธยตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พุทธศักราช ๒๔๘๘ กำหนดไว้ ดังนี้ (๑) ครุย มีลักษณะเป็นเสื้อคลุมเปิดอก (๒) เข็มพระปรมาภิไธย มี ๒ ชั้น คือ ชั้นที่ ๑ มีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ลงยาสีเหลืองเบื้องบนมีพระมหามงกุฎทองลงยาสีเหลืองและเขียว ภายในพระมหามงกุฎเหนืออักษร มีเลข ๙ ลงยาสีขาวประดับบนแพรแถบขนาดกว้าง ๔ เซนติเมตร สีแดงริมเขียวมีริ้วเหลืองริ้วน้ำเงินขนาดเล็กควบคั่นทั้งสองข้าง ชั้นที่ ๒ มีลักษณะเช่นเดียวกับชั้นที่ ๑ แต่ไม่ลงยาและประดับบนแพรแถบขนาดกว้าง ๔ เซนติเมตร สีน้ำเงินริมเขียวมีริ้วเหลืองริ้วแดงขนาดเล็กควบคั่นทั้งสองข้าง ข้อ ๕ ให้กระทรวงมหาดไทยจัดทำเข็มพระปรมาภิไธยและมอบแก่ผู้มีสิทธิได้รับโดยให้ผู้มีสิทธิสวมเสื้อครุยจัดหาเสื้อครุยด้วยตนเอง ข้อ ๖ ผู้มีสิทธิสวมเสื้อครุยและประดับเข็มพระปรมาภิไธย คือ (๑) จุฬาราชมนตรี กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีสิทธิสวมเสื้อครุยและประดับเข็มพระปรมาภิไธย ชั้นที่ ๑ (๒) กรรมการอิสลามประจำมัสยิด มีสิทธิสวมเสื้อครุยและประดับเข็มพระปรมาภิไธย ชั้นที่ ๒ ข้อ ๗ ผู้มีสิทธิสวมเสื้อครุยและประดับเข็มพระปรมาภิไธย ตามข้อ ๖ (๑) และ (๒) มีสิทธิสวมเสื้อครุยและประดับเข็มพระปรมาภิไธย ในขณะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กรรมการอิสลามประจำจังหวัด หรือกรรมการอิสลามประจำมัสยิด หากผู้มีสิทธิประดับเข็มพระปรมาภิไธยพ้นจากตำแหน่งให้ส่งคืนเข็มพระปรมาภิไธย หรือชดเชยเป็นเงินตามวงเงินที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ ๘ การสวมเสื้อครุยและประดับเข็มพระปรมาภิไธย (๑) การสวมเสื้อครุยให้สวมทับเครื่องแต่งกายที่สุภาพ ประดับเข็มพระปรมาภิไธย ณ อกเบื้องซ้ายและจะสวมเสื้อครุยได้ในโอกาสต่อไปนี้ ก. งานสำคัญทางศาสนาอิสลาม คือ วันเมาลิดินนบีมุฮัมมัด ซ.ล. วันอีดิ้ลฟิฏร์ และวันอีดิ้ลอัฎฮา ข. งานพระราชพิธี หรือรัฐพิธีที่มีหมายกำหนดการ ค. งานที่ทางราชการเชื้อเชิญ โดยกำหนดให้สวมเสื้อครุย (๒) การประดับเข็มพระปรมาภิไธยนั้น อาจประดับกับเครื่องแต่งกายที่สุภาพเฉพาะในโอกาสอันเป็นมงคลต่อไปนี้ ก. วันทำพิธีทางศาสนาอิสลาม คือ วันขึ้นปีใหม่ วันนิสฟูชะอ์บาน และวันเมียะราจ ข. การไปในงานพิธีที่บุคคลจัดให้มีขึ้น ข้อ ๙ ให้กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่กำกับ ดูแล และให้คำแนะนำในการปฏิบัติตามระเบียบนี้แก่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ โภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๗๒ ง/หน้า ๔/๒๙ สิงหาคม ๒๕๔๘
395106
พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นปีที่ ๕๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการบัญชี พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๕ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “งบการเงิน” หมายความว่า รายงานผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ ไม่ว่าจะรายงานโดยงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกำไรสะสม งบกระแสเงินสด งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบประกอบ หรือหมายเหตุประกอบงบการเงิน หรือคำอธิบายอื่นซึ่งระบุไว้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน “มาตรฐานการบัญชี” หมายความว่า หลักการบัญชีและวิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น “ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี” หมายความว่า ผู้มีหน้าที่จัดให้มีการทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ “ผู้ทำบัญชี” หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่ว่าจะได้กระทำในฐานะเป็นลูกจ้างของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือไม่ก็ตาม “สารวัตรใหญ่บัญชี” หมายความว่า อธิบดี และให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายด้วย “สารวัตรบัญชี” หมายความว่า ผู้ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้เป็นสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า* “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๖ ให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า* กระทรวงพาณิชย์ เป็นสำนักงานกลางบัญชี ให้อธิบดีมีอำนาจจัดตั้งสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ โดยขึ้นตรงต่อสำนักงานกลางบัญชี และมีสารวัตรบัญชีคนหนึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ การจัดตั้งสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๗ อธิบดีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (๑) ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ (๒) ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี (๓) ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี (๔) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี (๕) กำหนดข้อยกเว้นให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ทำบัญชีไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง (๖) คุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ ในการประกาศข้อกำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีคำนึงถึงมาตรฐานการบัญชีและข้อคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถาบันวิชาชีพบัญชี ข้อกำหนดตาม (๕) และ (๖) ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีด้วย ข้อกำหนดตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) หากเรื่องนั้นมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีปฏิบัติตามกฎหมายเฉพาะนั้นแล้ว ให้ถือว่าได้จัดทำบัญชีโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว หมวด ๒ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี มาตรา ๘ ให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกัน ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเป็นกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ให้บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของกิจการนั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้บุคคลธรรมดาใดหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจใดในประเทศไทยตามเงื่อนไขใดเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ได้ ประกาศของรัฐมนตรีตามวรรคสี่ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนวันใช้บังคับ ในกรณีที่มีประกาศของรัฐมนตรีตามวรรคสี่ ให้อธิบดีกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับวันเริ่มทำบัญชีครั้งแรก และกำหนดวิธีการจัดทำบัญชีของบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนนั้น มาตรา ๙ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องจัดให้มีการทำบัญชีนับแต่วันเริ่มทำบัญชี ดังต่อไปนี้เป็นต้นไป (๑) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ให้เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดนั้น ได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย (๒) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย ให้เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศนั้นได้เริ่มต้นประกอบธุรกิจในประเทศไทย (๓) กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ให้เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่กิจการร่วมค้านั้นได้เริ่มต้นประกอบกิจการ (๔) สถานที่ประกอบธุรกิจเป็นประจำตามมาตรา ๘ วรรคสอง ให้เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่สถานที่ประกอบธุรกิจเป็นประจำนั้นเริ่มต้นประกอบกิจการ มาตรา ๑๐ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องปิดบัญชีครั้งแรกภายในสิบสองเดือนนับแต่วันเริ่มทำบัญชีที่กำหนดตามมาตรา ๘ วรรคหก หรือวันเริ่มทำบัญชีตามมาตรา ๙ แล้วแต่กรณี และปิดบัญชีทุกรอบสิบสองเดือนนับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน เว้นแต่ (๑) เมื่อได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีให้เปลี่ยนรอบปีบัญชีแล้วอาจปิดบัญชีก่อนครบรอบสิบสองเดือนได้ (๒) ในกรณีมีหน้าที่จัดทำบัญชีตามมาตรา ๘ วรรคสอง ให้ปิดบัญชีพร้อมกับสำนักงานใหญ่ มาตรา ๑๑ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องจัดทำงบการเงินและยื่นงบการเงินดังกล่าวต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ภายในห้าเดือนนับแต่วันปิดบัญชีตามมาตรา ๑๐ สำหรับกรณีของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยให้ยื่นภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่งบการเงินนั้นได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่ ทั้งนี้ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นทำให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้ อธิบดีอาจพิจารณาสั่งให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไปอีกตามความจำเป็นแก่กรณีได้ การยื่นงบการเงินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด งบการเงินต้องมีรายการย่อตามที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี เว้นแต่กรณีที่ได้มีกฎหมายเฉพาะกำหนดเพิ่มเติมจากรายการย่อของงบการเงินที่อธิบดีกำหนดไว้แล้วให้ใช้รายการย่อตามที่กำหนดในกฎหมายเฉพาะนั้น งบการเงินต้องได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เว้นแต่งบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีทุน สินทรัพย์ หรือรายได้ รายการใดรายการหนึ่งหรือทุกรายการ ไม่เกินที่กำหนดโดยกฎกระทรวง มาตรา ๑๒ ในการจัดทำบัญชี ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้แก่ผู้ทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นสามารถแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี มาตรา ๑๓ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำหรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานประจำ เว้นแต่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีให้เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่นได้ การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนดและในระหว่างรอการอนุญาตให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ในสถานที่ที่ยื่นขอนั้นไปพลางก่อนได้ ในกรณีที่จัดทำบัญชีด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมืออื่นใดในสถานที่อื่นใดในราชอาณาจักรที่มิใช่สถานที่ตามวรรคหนึ่ง แต่มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือนั้นมายังสถานที่ตามวรรคหนึ่ง กรณีดังกล่าวนี้ให้ถือว่าได้มีการเก็บรักษาบัญชีไว้ ณ สถานที่ตามวรรคหนึ่งแล้ว มาตรา ๑๔ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันปิดบัญชีหรือจนกว่าจะมีการส่งมอบบัญชีและเอกสารตามมาตรา ๑๗ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบบัญชีของกิจการประเภทใดประเภทหนึ่ง ให้อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้เกินห้าปีแต่ต้องไม่เกินเจ็ดปีได้ มาตรา ๑๕ ถ้าบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีแจ้งต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบหรือควรทราบถึงการสูญหายหรือเสียหายนั้น มาตรา ๑๖ ในกรณีที่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีตรวจพบว่าบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่เป็นสาระสำคัญแก่การจัดทำบัญชีสูญหายหรือถูกทำลาย หรือปรากฏว่าบัญชีและเอกสารดังกล่าวมิได้เก็บไว้ในที่ปลอดภัย ให้สันนิษฐานว่าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีเจตนาทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น หรือทำให้สูญหายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งบัญชีหรือเอกสารนั้น เว้นแต่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะพิสูจน์ให้เชื่อได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้ว เพื่อป้องกันมิให้บัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย มาตรา ๑๗ เมื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเลิกประกอบธุรกิจด้วยเหตุใด ๆ โดยมิได้มีการชำระบัญชี ให้ส่งมอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีแก่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันเลิกประกอบธุรกิจ และให้สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่าห้าปี เมื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีร้องขอ ให้สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีมีอำนาจขยายเวลาการส่งมอบบัญชีและเอกสารตามวรรคหนึ่งได้ แต่ระยะเวลาที่ขยายเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันเลิกประกอบธุรกิจ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีส่งมอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไม่ครบถ้วนถูกต้อง สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีมีอำนาจเรียกให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีส่งมอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ครบถ้วนถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด มาตรา ๑๘ งบการเงิน บัญชี และเอกสารที่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีได้รับและเก็บรักษาไว้ตามมาตรา ๑๑ หรือมาตรา ๑๗ ผู้มีส่วนได้เสียหรือบุคคลทั่วไปอาจขอตรวจดูหรือขอภาพถ่ายสำเนาได้โดยเสียค่าใช้จ่ายตามที่อธิบดีกำหนด หมวด ๓ ผู้ทำบัญชี มาตรา ๑๙ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา ๗ (๖) เพื่อจัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ และมีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดทำบัญชีให้ตรงต่อความเป็นจริงและถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาจะเป็นผู้ทำบัญชีสำหรับกิจการของตนเองก็ได้ มาตรา ๒๐ ผู้ทำบัญชีต้องจัดทำบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน มาตรา ๒๑ ในการลงรายการในบัญชี ผู้ทำบัญชีต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ลงรายการเป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับ หรือลงรายการเป็นรหัสบัญชีให้มีคู่มือแปลรหัสที่เป็นภาษาไทยไว้ (๒) เขียนด้วยหมึก ดีดพิมพ์ ตีพิมพ์ หรือทำด้วยวิธีอื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน หมวด ๔ การตรวจสอบ มาตรา ๒๒ สารวัตรใหญ่บัญชีและสารวัตรบัญชีมีอำนาจตรวจสอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ในการนี้ให้มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ทำการหรือสถานที่เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ทำบัญชีหรือสถานที่รวบรวมหรือประมวลข้อมูลของบุคคลดังกล่าวได้ในระหว่างเวลาทำการของสถานที่นั้น ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีมีอำนาจเข้าไปในสถานที่ตามวรรคหนึ่ง เพื่อยึด หรืออายัดบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีได้ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ บัญชีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี หรือเอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกับความผิดดังกล่าวนั้นจะถูกยักย้าย ซุกซ่อน ทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม มาตรา ๒๓ ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ สารวัตรใหญ่บัญชีและสารวัตรบัญชีต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง บัตรประจำตัว ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้สารวัตรใหญ่บัญชีและสารวัตรบัญชีมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือ (๑) ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ผู้ทำบัญชี หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีหรือการเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี (๒) ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ทำบัญชีส่งบัญชี เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี หรือรหัสบัญชีมาเพื่อตรวจสอบ หนังสือที่สั่งตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือให้นำส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสถานที่ประกอบธุรกิจของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ผู้ทำบัญชี หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ถ้าไม่พบผู้รับ ณ ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสถานที่ประกอบธุรกิจของผู้นั้น จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่หรือทำงานอยู่ในบ้านหรือสถานที่ประกอบธุรกิจที่ปรากฏว่าเป็นของผู้รับนั้นก็ได้ ในกรณีที่ไม่สามารถส่งตามวิธีการในวรรคสอง หรือผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ผู้ทำบัญชีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นออกไปนอกราชอาณาจักร ให้ใช้วิธีปิดหนังสือดังกล่าวในที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ ที่อยู่หรือสถานที่ประกอบธุรกิจของผู้นั้นหรือบ้านที่ผู้นั้นมีชื่ออยู่ในทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร หรือโฆษณาข้อความย่อในหนังสือพิมพ์ที่จำหน่ายเป็นปกติในท้องที่นั้นก็ได้ เมื่อได้ปฏิบัติตามวิธีการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันได้รับแล้ว มาตรา ๒๕ ห้ามมิให้ผู้ใดเปิดเผยข้อความใด ๆ ที่ทราบหรือได้มาเนื่องจากการปฏิบัติตามมาตรา ๒๒ หรือมาตรา ๒๔ เว้นแต่จะมีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย มาตรา ๒๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้สารวัตรใหญ่บัญชีและสารวัตรบัญชีเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๕ บทกำหนดโทษ มาตรา ๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของอธิบดีที่ออกตามมาตรา ๗ (๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๖) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท กรณีที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของอธิบดีที่ออกตามมาตรา ๗ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ให้ปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๒๘ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่จัดให้มีการทำบัญชีตามมาตรา ๘ หรือมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละหนึ่งพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๒๙ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๒ หรือมาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๓๐ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๓๑ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ วรรคสาม มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ หรือมาตรา ๑๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๓๒ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ วรรคสี่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๓๓ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดแจ้งข้อความตามมาตรา ๑๕ เป็นเท็จต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีว่าบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๓๔ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๓๕ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๓๖ ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี ซึ่งปฏิบัติการตามมาตรา ๒๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๒๒ หรือฝ่าฝืนคำสั่งของสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีซึ่งสั่งการตามมาตรา ๒๔ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๓๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นสารวัตรใหญ่บัญชี สารวัตรบัญชี หรือเจ้าพนักงาน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๓๘ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น หรือทำให้สูญหายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๓๙ ผู้ใดลงรายการเท็จ แก้ไข ละเว้นการลงรายการในบัญชีหรืองบการเงิน หรือแก้ไขเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีเพื่อให้ผิดความเป็นจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๔๐[๒] ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๔๑ บรรดาความผิดตามมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๕ และมาตรา ๓๖ วรรคสอง ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบได้ และเมื่อผู้กระทำความผิดได้ชำระค่าปรับตามที่ได้เปรียบเทียบแล้ว ให้คดีเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บทเฉพาะกาล มาตรา ๔๒ บรรดากฎกระทรวง หรือประกาศที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๘๕ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ จนกว่าจะได้มีกฎกระทรวง หรือประกาศที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้ใดเป็นผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่าห้าปี แต่ไม่มีคุณสมบัติของการเป็นผู้ทำบัญชีตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา ๗ (๖) หากประสงค์จะเป็นผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป ให้แจ้งต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเมื่อผู้นั้นเข้ารับการอบรมและสำเร็จการอบรมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่อธิบดีประกาศกำหนดแล้ว ให้ผู้นั้นเป็นผู้ทำบัญชีต่อไปได้เป็นเวลาแปดปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๔๓ ระหว่างที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีที่กฎหมายกำหนด ให้ถือว่ามาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยซึ่งคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีได้มีมติให้ประกาศใช้แล้ว เป็นมาตรฐานการบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔๔ ให้กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรซึ่งเริ่มต้นประกอบกิจการร่วมค้าอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะเริ่มรอบระยะเวลาบัญชีใหม่หลังจากวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแล้ว มาตรา ๔๕ ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจัดให้มีผู้ทำบัญชีให้ถูกต้องตามมาตรา ๑๙ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ กำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี จะขยายออกไปอีกตามความจำเป็นแก่กรณีก็ได้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งปี ในระหว่างระยะเวลาตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๙ มาใช้บังคับแก่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มิได้จัดให้มีผู้ทำบัญชีตามมาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๘๕ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยการบัญชีได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน มีหลักการเกี่ยวกับการทำบัญชีหลายประการที่ยังไม่สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางการบัญชีและการจัดทำบัญชี และไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการบัญชีให้ทันสมัยยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ *พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕[๓] มาตรา ๒๑ ในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้แก้ไขคำว่า “กรมทะเบียนการค้า” เป็น “กรมพัฒนาธุรกิจการค้า” และคำว่า “อธิบดีกรมทะเบียนการค้า” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า” หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่ ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม นั้นแล้ว และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่ โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่างๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่ และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐[๔] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๕๔ เฉพาะในส่วนที่สันนิษฐานให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษทางอาญาร่วมกับการกระทำความผิดของนิติบุคคล โดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำหรือเจตนาประการใดอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวทำนองเดียวกัน คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๔ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗๘ พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๒๘/๔ และพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๗๒/๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ ดังนั้น เพื่อแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ คุณากร/ผู้จัดทำ ๓ มกราคม ๒๕๕๖ ชาญ/ตรวจ ๓ มกราคม ๒๕๕๖ ปริญสินีย์/เพิ่มเติม ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๔๑ ก/หน้า ๑/๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓ [๒] มาตรา ๔๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๖๖/๘ ตุลาคม ๒๕๔๕ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
769005
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตราแห่งประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติและพระราชกำหนด จำนวนเจ็ดสิบหกฉบับ ดังต่อไปนี้ และให้ใช้ความตามที่ปรากฏในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้แทนตามลำดับ (๑) มาตรา ๑๒ จัตวา แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช ๒๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒) มาตรา ๓๕ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๒๕ และมาตรา ๙๐/๕ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔ (๓) มาตรา ๖๒ ตรี แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ (๔) มาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๕) มาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๖) มาตรา ๒๘/๔ แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๖ (๗) มาตรา ๓๙ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔ (๘) มาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. ๒๕๑๐ (๙) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ (๑๐) มาตรา ๗๒/๕ แห่งพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ (๑๑) มาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๒) มาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๓) มาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๔) มาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๑๕) มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๖) มาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๗) มาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๒๔ (๑๘) มาตรา ๒๓ แห่งพระราชกำหนดควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ. ๒๕๒๔ (๑๙) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗ (๒๐) มาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ (๒๑) มาตรา ๙๒ แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘ (๒๒) มาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ (๒๓) มาตรา ๑๐๑ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ (๒๔) มาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ (๒๕) มาตรา ๔๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ (๒๖) มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒๗) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒๘) มาตรา ๑๑๑ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒๙) มาตรา ๘๗/๒ แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๓๐) มาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓๑) มาตรา ๑๑๔ แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๓๒) มาตรา ๑๐๘ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๓๓) มาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๓๗ (๓๔) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ (๓๕) มาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ (๓๖) มาตรา ๑๓ แห่งพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๕๐ (๓๗) มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒ (๓๘) มาตรา ๖๑ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ (๓๙) มาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๐) มาตรา ๖๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๑) มาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๒) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๓) มาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๔) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๕) มาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๖) มาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๗) มาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๘) มาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๙) มาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๓ (๕๐) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ (๕๑) มาตรา ๘๖ แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๓ (๕๒) มาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ (๕๓) มาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ (๕๔) มาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ (๕๕) มาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๔๕ (๕๖) มาตรา ๑๓๕ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ (๕๗) มาตรา ๑๑๕ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ (๕๘) มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๖ (๕๙) มาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ (๖๐) มาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. ๒๕๔๘ (๖๑) มาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ (๖๒) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๖๓) มาตรา ๑๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๖๔) มาตรา ๑๕๓ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๖๕) มาตรา ๘๐ แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๖๖) มาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ (๖๗) มาตรา ๑๓๒ และมาตรา ๑๓๙ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ (๖๘) มาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๖๙) มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๐) มาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๑) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๒) มาตรา ๕๘ แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๓) มาตรา ๘๕ แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๔) มาตรา ๑๒๒ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๕) มาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๓ (๗๖) มาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี บัญชีท้ายพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑. พระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช ๒๔๗๔ “มาตรา ๑๒ จัตวา ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒. ประมวลรัษฎากร “มาตรา ๓๕ ทวิ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๒ ทวิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย” “มาตรา ๙๐/๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามหมวดนี้เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓. พระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑ “มาตรา ๖๒ ตรี ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๖๒ ทวิ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๒ ทวิ ด้วย” ๔. พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ “มาตรา ๑๑๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕. พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙ “มาตรา ๒๕ ในกรณีที่บริษัทจำกัดใดกระทำความผิดตามมาตรา ๗ ถึงมาตรา ๒๔ ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทจำกัดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทจำกัดนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทจำกัดนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท” ๖. พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ “มาตรา ๒๘/๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗. พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ “มาตรา ๓๙ ทวิ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๘. พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. ๒๕๑๐ “มาตรา ๓๓ ผู้ใดมิใช่ในกิจการของ อผศ. หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก อผศ. ใช้ชื่อหรือถ้อยคำในประการที่น่าจะทำให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นกิจการของ อผศ. หรือเกี่ยวเนื่องกับกิจการของ อผศ. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ นิติบุคคลใดมิใช่กระทรวง ทบวง กรม หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก อผศ. ใช้คำว่า “อผศ.” “ทหารผ่านศึก” “ผ่านศึก” “นอกประจำการ” หรือคำว่า“ทหาร” เป็นชื่อหรือประกอบชื่อของนิติบุคคลนั้น ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิดผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย” ๙. พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ “มาตรา ๗๖ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิด ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๐. พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ “มาตรา ๗๒/๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๗๒/๒ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๑. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๘๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๒. พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๘๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๓. พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๓๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๔ . พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๗๑ นิติบุคคลอาคารชุดใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๘/๑ มาตรา ๓๘/๒ และมาตรา ๓๘/๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ในกรณีที่นิติบุคคลอาคารชุดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้น หรือในกรณีที่ผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลอาคารชุดนั้นกระทำความผิด ผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ตามวรรคหนึ่งด้วย” ๑๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๕๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๖. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๗. พระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๒๔ “มาตรา ๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๓๑ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๘. พระราชกำหนดควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ. ๒๕๒๔ “มาตรา ๒๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๙. พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗ “มาตรา ๗๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๐. พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ “มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลซึ่งปรากฏพยานหลักฐานว่ามีพฤติกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลด้วย” ๒๑. พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘ “มาตรา ๙๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๒. พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ “มาตรา ๔๑ ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนกระทำความผิดตามมาตรา ๓๔ ถ้าการกระทำความผิดของคณะกรรมการกองทุนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด หรือในกรณีที่กรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้คณะกรรมการกองทุนนั้นกระทำความผิด กรรมการผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๓. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ “มาตรา ๑๐๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลและถูกลงโทษ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๔. พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ “มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๕ หรือมาตรา ๘ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๒๕. พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ “มาตรา ๔๘/๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๕ วรรคสี่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ในกรณีที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐกระทำผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของหัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นกระทำความผิด หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๖. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๕๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๗. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๘. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๑๑๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๙. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๘๗/๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรเฉพาะ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓๐. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๖๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓๑. พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๑๑๔ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิดตามมาตรา ๒๓ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๖ หรือมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งหรือให้ทำคำชี้แจงตามมาตรา ๔๕ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิดผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๒. พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๑๐๘ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิดตามมาตรา ๒๓ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งหรือให้ทำคำชี้แจงตามมาตรา ๔๙ หรือไม่หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๕๒ วรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๓. พระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๓๗ “มาตรา ๓๙ ในกรณีที่สภากระทำความผิดและถูกลงโทษ ถ้าการกระทำความผิดของสภานั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด หรือในกรณีที่กรรมการผู้ใดมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สภานั้นกระทำความผิด กรรมการผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท” ๓๔. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ “มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓๕. พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ “มาตรา ๘๙ ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๖. พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ “มาตรา ๑๓ บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔/๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ หรือมาตรา ๑๑/๑ วรรคสอง หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือคำสั่งหรือเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๔/๑ วรรคสอง มาตรา ๕ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๑/๑ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๑๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ในกรณีที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๗. พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓๘. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๖๑ นิติบุคคลใดกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๗ มาตรา ๘ หรือมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งของนิติบุคคลเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีหรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๙. พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๘๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๐. พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๖๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๑. พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๘๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๒. พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น และสำหรับนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบเท่าของอัตราโทษปรับสำหรับความผิดนั้นด้วย” ๔๓. พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๗๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๔. พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น และสำหรับนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบเท่าของอัตราโทษปรับสำหรับความผิดนั้นด้วย” ๔๕. พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๖. พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๗. พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๕๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๘. พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๖๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๙. พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๑๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๐. พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๑. พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๘๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๒. พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ “มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๓. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ “มาตรา ๗๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๔. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ “มาตรา ๔๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๕. พระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๔๕ “มาตรา ๖๔ ในกรณีที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๐ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ หรือมาตรา ๓๙ หรือฝ่าฝืนมาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๓๑ ถ้าการกระทำความผิดของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด หรือในกรณีที่กรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์นั้นกระทำความผิด กรรมการผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท” ๕๖. พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ “มาตรา ๑๓๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๖ มาตรา ๑๒๗ มาตรา ๑๒๘ มาตรา ๑๒๙ มาตรา ๑๓๐ มาตรา ๑๓๑ มาตรา ๑๓๓ หรือมาตรา ๑๓๘ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๕๗. พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ “มาตรา ๑๑๕ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๔ หรือมาตรา ๗๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดกระทำความผิดตามมาตรา ๗๔ หรือมาตรา ๗๕ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการสภาสถาบัน อธิการบดี หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๘. พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๖ “มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๙. พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ “มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๐. พระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. ๒๕๔๘ “มาตรา ๓๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๑. พระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ “มาตรา ๗๗ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๗๑ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๒. พระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ “มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับอนุญาตตามมาตรา ๓๓ ซึ่งเป็นนิติบุคคลกระทำความผิด ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๓. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐ “มาตรา ๑๔๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๔. พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ “มาตรา ๑๕๓ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคลกระทำความผิดและถูกลงโทษ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๕. พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. ๒๕๕๐ “มาตรา ๘๐ ผู้ใดให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในการตรวจสอบหรือการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งเป็นทรัสตี ถ้าการกระทำความผิดของทรัสตีนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของทรัสตีนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ทรัสตีนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๖๖. พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๕๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๗. พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๑๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๑ หรือมาตรา ๑๒๓ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของนิติบุคคล หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย ภายใต้บังคับมาตรา ๑๓๙ ในกรณีที่สถาบันการเงินกระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๔ มาตรา ๑๒๕ หรือมาตรา ๑๒๘ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันการเงินนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” “มาตรา ๑๓๙ ในกรณีที่สถาบันการเงินใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๖๖ มาตรา ๘๐ มาตรา ๙๓ มาตรา ๙๔ หรือมาตรา ๙๕ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ข้อกำหนด หลักเกณฑ์ หรือคำสั่งที่กำหนดตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๖๖ มาตรา ๗๑ มาตรา ๘๐ มาตรา ๙๐ หรือมาตรา ๙๕ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันการเงินนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๖๘. พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๖๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลและถูกลงโทษ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๙. พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๖๕ ผู้ใดนอกจากสถาบันการเงิน ใช้ข้อความ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ เพื่อแสดงว่าธุรกิจของตนเป็นสถาบันการเงินที่เงินฝากได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๖๖ สถาบันการเงินใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย” ๗๐. พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๕๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดในส่วนที่ ๒ นี้ ยกเว้นมาตรา ๔๘ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๑. พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๗๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๒. พระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๕๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๓. พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๘๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษอาญาตามส่วนนี้เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๔. พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๑๒๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๓ “มาตรา ๔๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๖. พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔ “มาตรา ๖๒ ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๗ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๕๔ เฉพาะในส่วนที่สันนิษฐานให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษทางอาญาร่วมกับการกระทำความผิดของนิติบุคคล โดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำหรือเจตนาประการใดอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวทำนองเดียวกัน คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๔ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗๘ พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๒๘/๔ และพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๗๒/๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ ดังนั้น เพื่อแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
769671
พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (ฉบับ Update ณ วันที่ 08/10/2545)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นปีที่ ๕๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการบัญชี พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๕ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “งบการเงิน” หมายความว่า รายงานผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ ไม่ว่าจะรายงานโดยงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกำไรสะสม งบกระแสเงินสด งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบประกอบ หรือหมายเหตุประกอบงบการเงิน หรือคำอธิบายอื่นซึ่งระบุไว้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน “มาตรฐานการบัญชี” หมายความว่า หลักการบัญชีและวิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น “ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี” หมายความว่า ผู้มีหน้าที่จัดให้มีการทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ “ผู้ทำบัญชี” หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่ว่าจะได้กระทำในฐานะเป็นลูกจ้างของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือไม่ก็ตาม “สารวัตรใหญ่บัญชี” หมายความว่า อธิบดี และให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายด้วย “สารวัตรบัญชี” หมายความว่า ผู้ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้เป็นสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า* “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๖ ให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า* กระทรวงพาณิชย์ เป็นสำนักงานกลางบัญชี ให้อธิบดีมีอำนาจจัดตั้งสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ โดยขึ้นตรงต่อสำนักงานกลางบัญชี และมีสารวัตรบัญชีคนหนึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ การจัดตั้งสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๗ อธิบดีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (๑) ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ (๒) ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี (๓) ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี (๔) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี (๕) กำหนดข้อยกเว้นให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ทำบัญชีไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง (๖) คุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ ในการประกาศข้อกำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีคำนึงถึงมาตรฐานการบัญชีและข้อคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถาบันวิชาชีพบัญชี ข้อกำหนดตาม (๕) และ (๖) ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีด้วย ข้อกำหนดตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) หากเรื่องนั้นมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีปฏิบัติตามกฎหมายเฉพาะนั้นแล้ว ให้ถือว่าได้จัดทำบัญชีโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว หมวด ๒ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี มาตรา ๘ ให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกัน ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเป็นกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ให้บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของกิจการนั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้บุคคลธรรมดาใดหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจใดในประเทศไทยตามเงื่อนไขใดเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ได้ ประกาศของรัฐมนตรีตามวรรคสี่ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนวันใช้บังคับ ในกรณีที่มีประกาศของรัฐมนตรีตามวรรคสี่ ให้อธิบดีกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับวันเริ่มทำบัญชีครั้งแรก และกำหนดวิธีการจัดทำบัญชีของบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนนั้น มาตรา ๙ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องจัดให้มีการทำบัญชีนับแต่วันเริ่มทำบัญชี ดังต่อไปนี้เป็นต้นไป (๑) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ให้เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดนั้น ได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย (๒) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย ให้เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศนั้นได้เริ่มต้นประกอบธุรกิจในประเทศไทย (๓) กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ให้เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่กิจการร่วมค้านั้นได้เริ่มต้นประกอบกิจการ (๔) สถานที่ประกอบธุรกิจเป็นประจำตามมาตรา ๘ วรรคสอง ให้เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่สถานที่ประกอบธุรกิจเป็นประจำนั้นเริ่มต้นประกอบกิจการ มาตรา ๑๐ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องปิดบัญชีครั้งแรกภายในสิบสองเดือนนับแต่วันเริ่มทำบัญชีที่กำหนดตามมาตรา ๘ วรรคหก หรือวันเริ่มทำบัญชีตามมาตรา ๙ แล้วแต่กรณี และปิดบัญชีทุกรอบสิบสองเดือนนับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน เว้นแต่ (๑) เมื่อได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีให้เปลี่ยนรอบปีบัญชีแล้วอาจปิดบัญชีก่อนครบรอบสิบสองเดือนได้ (๒) ในกรณีมีหน้าที่จัดทำบัญชีตามมาตรา ๘ วรรคสอง ให้ปิดบัญชีพร้อมกับสำนักงานใหญ่ มาตรา ๑๑ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องจัดทำงบการเงินและยื่นงบการเงินดังกล่าวต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ภายในห้าเดือนนับแต่วันปิดบัญชีตามมาตรา ๑๐ สำหรับกรณีของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยให้ยื่นภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่งบการเงินนั้นได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่ ทั้งนี้ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นทำให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้ อธิบดีอาจพิจารณาสั่งให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไปอีกตามความจำเป็นแก่กรณีได้ การยื่นงบการเงินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด งบการเงินต้องมีรายการย่อตามที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี เว้นแต่กรณีที่ได้มีกฎหมายเฉพาะกำหนดเพิ่มเติมจากรายการย่อของงบการเงินที่อธิบดีกำหนดไว้แล้วให้ใช้รายการย่อตามที่กำหนดในกฎหมายเฉพาะนั้น งบการเงินต้องได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เว้นแต่งบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีทุน สินทรัพย์ หรือรายได้ รายการใดรายการหนึ่งหรือทุกรายการ ไม่เกินที่กำหนดโดยกฎกระทรวง มาตรา ๑๒ ในการจัดทำบัญชี ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้แก่ผู้ทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นสามารถแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี มาตรา ๑๓ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำหรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานประจำ เว้นแต่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีให้เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่นได้ การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนดและในระหว่างรอการอนุญาตให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ในสถานที่ที่ยื่นขอนั้นไปพลางก่อนได้ ในกรณีที่จัดทำบัญชีด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมืออื่นใดในสถานที่อื่นใดในราชอาณาจักรที่มิใช่สถานที่ตามวรรคหนึ่ง แต่มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือนั้นมายังสถานที่ตามวรรคหนึ่ง กรณีดังกล่าวนี้ให้ถือว่าได้มีการเก็บรักษาบัญชีไว้ ณ สถานที่ตามวรรคหนึ่งแล้ว มาตรา ๑๔ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันปิดบัญชีหรือจนกว่าจะมีการส่งมอบบัญชีและเอกสารตามมาตรา ๑๗ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบบัญชีของกิจการประเภทใดประเภทหนึ่ง ให้อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้เกินห้าปีแต่ต้องไม่เกินเจ็ดปีได้ มาตรา ๑๕ ถ้าบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีแจ้งต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบหรือควรทราบถึงการสูญหายหรือเสียหายนั้น มาตรา ๑๖ ในกรณีที่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีตรวจพบว่าบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่เป็นสาระสำคัญแก่การจัดทำบัญชีสูญหายหรือถูกทำลาย หรือปรากฏว่าบัญชีและเอกสารดังกล่าวมิได้เก็บไว้ในที่ปลอดภัย ให้สันนิษฐานว่าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีเจตนาทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น หรือทำให้สูญหายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งบัญชีหรือเอกสารนั้น เว้นแต่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะพิสูจน์ให้เชื่อได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้ว เพื่อป้องกันมิให้บัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย มาตรา ๑๗ เมื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเลิกประกอบธุรกิจด้วยเหตุใด ๆ โดยมิได้มีการชำระบัญชี ให้ส่งมอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีแก่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันเลิกประกอบธุรกิจ และให้สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่าห้าปี เมื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีร้องขอ ให้สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีมีอำนาจขยายเวลาการส่งมอบบัญชีและเอกสารตามวรรคหนึ่งได้ แต่ระยะเวลาที่ขยายเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันเลิกประกอบธุรกิจ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีส่งมอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไม่ครบถ้วนถูกต้อง สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีมีอำนาจเรียกให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีส่งมอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ครบถ้วนถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด มาตรา ๑๘ งบการเงิน บัญชี และเอกสารที่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีได้รับและเก็บรักษาไว้ตามมาตรา ๑๑ หรือมาตรา ๑๗ ผู้มีส่วนได้เสียหรือบุคคลทั่วไปอาจขอตรวจดูหรือขอภาพถ่ายสำเนาได้โดยเสียค่าใช้จ่ายตามที่อธิบดีกำหนด หมวด ๓ ผู้ทำบัญชี มาตรา ๑๙ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา ๗ (๖) เพื่อจัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ และมีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดทำบัญชีให้ตรงต่อความเป็นจริงและถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาจะเป็นผู้ทำบัญชีสำหรับกิจการของตนเองก็ได้ มาตรา ๒๐ ผู้ทำบัญชีต้องจัดทำบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน มาตรา ๒๑ ในการลงรายการในบัญชี ผู้ทำบัญชีต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ลงรายการเป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับ หรือลงรายการเป็นรหัสบัญชีให้มีคู่มือแปลรหัสที่เป็นภาษาไทยไว้ (๒) เขียนด้วยหมึก ดีดพิมพ์ ตีพิมพ์ หรือทำด้วยวิธีอื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน หมวด ๔ การตรวจสอบ มาตรา ๒๒ สารวัตรใหญ่บัญชีและสารวัตรบัญชีมีอำนาจตรวจสอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ในการนี้ให้มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ทำการหรือสถานที่เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ทำบัญชีหรือสถานที่รวบรวมหรือประมวลข้อมูลของบุคคลดังกล่าวได้ในระหว่างเวลาทำการของสถานที่นั้น ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีมีอำนาจเข้าไปในสถานที่ตามวรรคหนึ่ง เพื่อยึด หรืออายัดบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีได้ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ บัญชีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี หรือเอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกับความผิดดังกล่าวนั้นจะถูกยักย้าย ซุกซ่อน ทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม มาตรา ๒๓ ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ สารวัตรใหญ่บัญชีและสารวัตรบัญชีต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง บัตรประจำตัว ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้สารวัตรใหญ่บัญชีและสารวัตรบัญชีมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือ (๑) ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ผู้ทำบัญชี หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีหรือการเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี (๒) ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ทำบัญชีส่งบัญชี เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี หรือรหัสบัญชีมาเพื่อตรวจสอบ หนังสือที่สั่งตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือให้นำส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสถานที่ประกอบธุรกิจของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ผู้ทำบัญชี หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ถ้าไม่พบผู้รับ ณ ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสถานที่ประกอบธุรกิจของผู้นั้น จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่หรือทำงานอยู่ในบ้านหรือสถานที่ประกอบธุรกิจที่ปรากฏว่าเป็นของผู้รับนั้นก็ได้ ในกรณีที่ไม่สามารถส่งตามวิธีการในวรรคสอง หรือผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ผู้ทำบัญชีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นออกไปนอกราชอาณาจักร ให้ใช้วิธีปิดหนังสือดังกล่าวในที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ ที่อยู่หรือสถานที่ประกอบธุรกิจของผู้นั้นหรือบ้านที่ผู้นั้นมีชื่ออยู่ในทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร หรือโฆษณาข้อความย่อในหนังสือพิมพ์ที่จำหน่ายเป็นปกติในท้องที่นั้นก็ได้ เมื่อได้ปฏิบัติตามวิธีการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันได้รับแล้ว มาตรา ๒๕ ห้ามมิให้ผู้ใดเปิดเผยข้อความใด ๆ ที่ทราบหรือได้มาเนื่องจากการปฏิบัติตามมาตรา ๒๒ หรือมาตรา ๒๔ เว้นแต่จะมีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย มาตรา ๒๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้สารวัตรใหญ่บัญชีและสารวัตรบัญชีเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๕ บทกำหนดโทษ มาตรา ๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของอธิบดีที่ออกตามมาตรา ๗ (๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๖) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท กรณีที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของอธิบดีที่ออกตามมาตรา ๗ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ให้ปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๒๘ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่จัดให้มีการทำบัญชีตามมาตรา ๘ หรือมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละหนึ่งพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๒๙ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๒ หรือมาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๓๐ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๓๑ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ วรรคสาม มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ หรือมาตรา ๑๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๓๒ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ วรรคสี่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๓๓ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดแจ้งข้อความตามมาตรา ๑๕ เป็นเท็จต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีว่าบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๓๔ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๓๕ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๓๖ ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี ซึ่งปฏิบัติการตามมาตรา ๒๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๒๒ หรือฝ่าฝืนคำสั่งของสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีซึ่งสั่งการตามมาตรา ๒๔ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๓๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นสารวัตรใหญ่บัญชี สารวัตรบัญชี หรือเจ้าพนักงาน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๓๘ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น หรือทำให้สูญหายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๓๙ ผู้ใดลงรายการเท็จ แก้ไข ละเว้นการลงรายการในบัญชีหรืองบการเงิน หรือแก้ไขเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีเพื่อให้ผิดความเป็นจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล ให้กรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้แทนนิติบุคคล หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น มาตรา ๔๑ บรรดาความผิดตามมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๕ และมาตรา ๓๖ วรรคสอง ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบได้ และเมื่อผู้กระทำความผิดได้ชำระค่าปรับตามที่ได้เปรียบเทียบแล้ว ให้คดีเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บทเฉพาะกาล มาตรา ๔๒ บรรดากฎกระทรวง หรือประกาศที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๘๕ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ จนกว่าจะได้มีกฎกระทรวง หรือประกาศที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้ใดเป็นผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่าห้าปี แต่ไม่มีคุณสมบัติของการเป็นผู้ทำบัญชีตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา ๗ (๖) หากประสงค์จะเป็นผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป ให้แจ้งต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเมื่อผู้นั้นเข้ารับการอบรมและสำเร็จการอบรมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่อธิบดีประกาศกำหนดแล้ว ให้ผู้นั้นเป็นผู้ทำบัญชีต่อไปได้เป็นเวลาแปดปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๔๓ ระหว่างที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีที่กฎหมายกำหนด ให้ถือว่ามาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยซึ่งคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีได้มีมติให้ประกาศใช้แล้ว เป็นมาตรฐานการบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔๔ ให้กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรซึ่งเริ่มต้นประกอบกิจการร่วมค้าอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะเริ่มรอบระยะเวลาบัญชีใหม่หลังจากวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแล้ว มาตรา ๔๕ ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจัดให้มีผู้ทำบัญชีให้ถูกต้องตามมาตรา ๑๙ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ กำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี จะขยายออกไปอีกตามความจำเป็นแก่กรณีก็ได้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งปี ในระหว่างระยะเวลาตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๙ มาใช้บังคับแก่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มิได้จัดให้มีผู้ทำบัญชีตามมาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๘๕ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยการบัญชีได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน มีหลักการเกี่ยวกับการทำบัญชีหลายประการที่ยังไม่สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางการบัญชีและการจัดทำบัญชี และไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการบัญชีให้ทันสมัยยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ *พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕[๒] มาตรา ๒๑ ในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้แก้ไขคำว่า “กรมทะเบียนการค้า” เป็น “กรมพัฒนาธุรกิจการค้า” และคำว่า “อธิบดีกรมทะเบียนการค้า” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า” หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่ ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม นั้นแล้ว และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่ โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่างๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่ และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ คุณากร/ผู้จัดทำ ๓ มกราคม ๒๕๕๖ ชาญ/ตรวจ ๓ มกราคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๔๑ ก/หน้า ๑/๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๖๖/๘ ตุลาคม ๒๕๔๕
311720
พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นปีที่ ๕๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการบัญชี พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๕ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “งบการเงิน” หมายความว่า รายงานผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ ไม่ว่าจะรายงานโดยงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกำไรสะสม งบกระแสเงินสด งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบประกอบ หรือหมายเหตุประกอบงบการเงิน หรือคำอธิบายอื่นซึ่งระบุไว้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน “มาตรฐานการบัญชี” หมายความว่า หลักการบัญชีและวิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น “ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี” หมายความว่า ผู้มีหน้าที่จัดให้มีการทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ “ผู้ทำบัญชี” หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่ว่าจะได้กระทำในฐานะเป็นลูกจ้างของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือไม่ก็ตาม “สารวัตรใหญ่บัญชี” หมายความว่า อธิบดี และให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายด้วย “สารวัตรบัญชี” หมายความว่า ผู้ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้เป็นสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมทะเบียนการค้า “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๖ ให้กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นสำนักงานกลางบัญชี ให้อธิบดีมีอำนาจจัดตั้งสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ โดยขึ้นตรงต่อสำนักงานกลางบัญชี และมีสารวัตรบัญชีคนหนึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ การจัดตั้งสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๗ อธิบดีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (๑) ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ (๒) ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี (๓) ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี (๔) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี (๕) กำหนดข้อยกเว้นให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ทำบัญชีไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง (๖) คุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ ในการประกาศข้อกำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีคำนึงถึงมาตรฐานการบัญชีและข้อคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถาบันวิชาชีพบัญชี ข้อกำหนดตาม (๕) และ (๖) ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีด้วย ข้อกำหนดตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) หากเรื่องนั้นมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีปฏิบัติตามกฎหมายเฉพาะนั้นแล้ว ให้ถือว่าได้จัดทำบัญชีโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว หมวด ๒ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี มาตรา ๘ ให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกัน ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเป็นกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ให้บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของกิจการนั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้บุคคลธรรมดาใดหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจใดในประเทศไทยตามเงื่อนไขใดเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ได้ ประกาศของรัฐมนตรีตามวรรคสี่ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนวันใช้บังคับ ในกรณีที่มีประกาศของรัฐมนตรีตามวรรคสี่ ให้อธิบดีกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับวันเริ่มทำบัญชีครั้งแรก และกำหนดวิธีการจัดทำบัญชีของบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนนั้น มาตรา ๙ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องจัดให้มีการทำบัญชีนับแต่วันเริ่มทำบัญชี ดังต่อไปนี้เป็นต้นไป (๑) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ให้เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดนั้น ได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย (๒) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย ให้เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศนั้นได้เริ่มต้นประกอบธุรกิจในประเทศไทย (๓) กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ให้เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่กิจการร่วมค้านั้นได้เริ่มต้นประกอบกิจการ (๔) สถานที่ประกอบธุรกิจเป็นประจำตามมาตรา ๘ วรรคสอง ให้เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่สถานที่ประกอบธุรกิจเป็นประจำนั้นเริ่มต้นประกอบกิจการ มาตรา ๑๐ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องปิดบัญชีครั้งแรกภายในสิบสองเดือนนับแต่วันเริ่มทำบัญชีที่กำหนดตามมาตรา ๘ วรรคหก หรือวันเริ่มทำบัญชีตามมาตรา ๙ แล้วแต่กรณี และปิดบัญชีทุกรอบสิบสองเดือนนับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน เว้นแต่ (๑) เมื่อได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีให้เปลี่ยนรอบปีบัญชีแล้วอาจปิดบัญชีก่อนครบรอบสิบสองเดือนได้ (๒) ในกรณีมีหน้าที่จัดทำบัญชีตามมาตรา ๘ วรรคสอง ให้ปิดบัญชีพร้อมกับสำนักงานใหญ่ มาตรา ๑๑ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรต้องจัดทำงบการเงินและยื่นงบการเงินดังกล่าวต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ภายในห้าเดือนนับแต่วันปิดบัญชีตามมาตรา ๑๐ สำหรับกรณีของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยให้ยื่นภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่งบการเงินนั้นได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่ ทั้งนี้ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นทำให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้ อธิบดีอาจพิจารณาสั่งให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไปอีกตามความจำเป็นแก่กรณีได้ การยื่นงบการเงินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด งบการเงินต้องมีรายการย่อตามที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี เว้นแต่กรณีที่ได้มีกฎหมายเฉพาะกำหนดเพิ่มเติมจากรายการย่อของงบการเงินที่อธิบดีกำหนดไว้แล้ว ให้ใช้รายการย่อตามที่กำหนดในกฎหมายเฉพาะนั้น งบการเงินต้องได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เว้นแต่งบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีทุน สินทรัพย์ หรือรายได้ รายการใดรายการหนึ่งหรือทุกรายการ ไม่เกินที่กำหนดโดยกฎกระทรวง มาตรา ๑๒ ในการจัดทำบัญชี ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้แก่ผู้ทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นสามารถแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี มาตรา ๑๓ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำหรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานประจำ เว้นแต่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีให้เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่นได้ การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด และในระหว่างรอการอนุญาตให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ในสถานที่ที่ยื่นขอนั้นไปพลางก่อนได้ ในกรณีที่จัดทำบัญชีด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมืออื่นใดในสถานที่อื่นใดในราชอาณาจักรที่มิใช่สถานที่ตามวรรคหนึ่ง แต่มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือนั้นมายังสถานที่ตามวรรคหนึ่ง กรณีดังกล่าวนี้ให้ถือว่าได้มีการเก็บรักษาบัญชีไว้ ณ สถานที่ตามวรรคหนึ่งแล้ว มาตรา ๑๔ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันปิดบัญชีหรือจนกว่าจะมีการส่งมอบบัญชีและเอกสารตามมาตรา ๑๗ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบบัญชีของกิจการประเภทใดประเภทหนึ่ง ให้อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้เกินห้าปีแต่ต้องไม่เกินเจ็ดปีได้ มาตรา ๑๕ ถ้าบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีแจ้งต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบหรือควรทราบถึงการสูญหายหรือเสียหายนั้น มาตรา ๑๖ ในกรณีที่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีตรวจพบว่าบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่เป็นสาระสำคัญแก่การจัดทำบัญชีสูญหายหรือถูกทำลาย หรือปรากฏว่าบัญชีและเอกสารดังกล่าวมิได้เก็บไว้ในที่ปลอดภัย ให้สันนิษฐานว่าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีเจตนาทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น หรือทำให้สูญหายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งบัญชีหรือเอกสารนั้น เว้นแต่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะพิสูจน์ให้เชื่อได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้ว เพื่อป้องกันมิให้บัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย มาตรา ๑๗ เมื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเลิกประกอบธุรกิจด้วยเหตุใด ๆ โดยมิได้มีการชำระบัญชี ให้ส่งมอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีแก่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันเลิกประกอบธุรกิจ และให้สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่าห้าปี เมื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีร้องขอ ให้สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีมีอำนาจขยายเวลาการส่งมอบบัญชีและเอกสารตามวรรคหนึ่งได้ แต่ระยะเวลาที่ขยายเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันเลิกประกอบธุรกิจ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีส่งมอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไม่ครบถ้วนถูกต้อง สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีมีอำนาจเรียกให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีส่งมอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ครบถ้วนถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด มาตรา ๑๘ งบการเงิน บัญชี และเอกสารที่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีได้รับและเก็บรักษาไว้ตามมาตรา ๑๑ หรือมาตรา ๑๗ ผู้มีส่วนได้เสียหรือบุคคลทั่วไปอาจขอตรวจดูหรือขอภาพถ่ายสำเนาได้โดยเสียค่าใช้จ่ายตามที่อธิบดีกำหนด หมวด ๓ ผู้ทำบัญชี มาตรา ๑๙ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา ๗ (๖) เพื่อจัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ และมีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดทำบัญชีให้ตรงต่อความเป็นจริงและถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาจะเป็นผู้ทำบัญชีสำหรับกิจการของตนเองก็ได้ มาตรา ๒๐ ผู้ทำบัญชีต้องจัดทำบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน มาตรา ๒๑ ในการลงรายการในบัญชี ผู้ทำบัญชีต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) ลงรายการเป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับ หรือลงรายการเป็นรหัสบัญชีให้มีคู่มือแปลรหัสที่เป็นภาษาไทยไว้ (๒) เขียนด้วยหมึก ดีดพิมพ์ ตีพิมพ์ หรือทำด้วยวิธีอื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน หมวด ๔ การตรวจสอบ มาตรา ๒๒ สารวัตรใหญ่บัญชีและสารวัตรบัญชีมีอำนาจตรวจสอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ในการนี้ให้มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ทำการหรือสถานที่เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ทำบัญชีหรือสถานที่รวบรวมหรือประมวลข้อมูลของบุคคลดังกล่าวได้ในระหว่างเวลาทำการของสถานที่นั้น ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีมีอำนาจเข้าไปในสถานที่ตามวรรคหนึ่ง เพื่อยึด หรืออายัดบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีได้ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ บัญชีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี หรือเอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกับความผิดดังกล่าวนั้นจะถูกยักย้าย ซุกซ่อน ทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม มาตรา ๒๓ ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ สารวัตรใหญ่บัญชีและสารวัตรบัญชีต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง บัตรประจำตัว ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้สารวัตรใหญ่บัญชีและสารวัตรบัญชีมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือ (๑) ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ผู้ทำบัญชี หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีหรือการเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี (๒) ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ทำบัญชีส่งบัญชี เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี หรือรหัสบัญชีมาเพื่อตรวจสอบ หนังสือที่สั่งตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือให้นำส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสถานที่ประกอบธุรกิจของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ผู้ทำบัญชี หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ถ้าไม่พบผู้รับ ณ ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสถานที่ประกอบธุรกิจของผู้นั้น จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่หรือทำงานอยู่ในบ้านหรือสถานที่ประกอบธุรกิจที่ปรากฏว่าเป็นของผู้รับนั้นก็ได้ ในกรณีที่ไม่สามารถส่งตามวิธีการในวรรคสอง หรือผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ผู้ทำบัญชีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นออกไปนอกราชอาณาจักร ให้ใช้วิธีปิดหนังสือดังกล่าวในที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ ที่อยู่หรือสถานที่ประกอบธุรกิจของผู้นั้นหรือบ้านที่ผู้นั้นมีชื่ออยู่ในทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร หรือโฆษณาข้อความย่อในหนังสือพิมพ์ที่จำหน่ายเป็นปกติในท้องที่นั้นก็ได้ เมื่อได้ปฏิบัติตามวิธีการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันได้รับแล้ว มาตรา ๒๕ ห้ามมิให้ผู้ใดเปิดเผยข้อความใด ๆ ที่ทราบหรือได้มาเนื่องจากการปฏิบัติตามมาตรา ๒๒ หรือมาตรา ๒๔ เว้นแต่จะมีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย มาตรา ๒๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้สารวัตรใหญ่บัญชีและสารวัตรบัญชีเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๕ บทกำหนดโทษ มาตรา ๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของอธิบดีที่ออกตามมาตรา ๗ (๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๖) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท กรณีที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของอธิบดีที่ออกตามมาตรา ๗ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ให้ปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๒๘ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่จัดให้มีการทำบัญชีตามมาตรา ๘ หรือมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละหนึ่งพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๒๙ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๒ หรือมาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๓๐ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๓๑ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ วรรคสาม มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ หรือมาตรา ๑๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๓๒ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ วรรคสี่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๓๓ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดแจ้งข้อความตามมาตรา ๑๕ เป็นเท็จต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีว่าบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๓๔ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๓๕ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๓๖ ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี ซึ่งปฏิบัติการตามมาตรา ๒๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๒๒ หรือฝ่าฝืนคำสั่งของสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีซึ่งสั่งการตามมาตรา ๒๔ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๓๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นสารวัตรใหญ่บัญชี สารวัตรบัญชี หรือเจ้าพนักงาน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๓๘ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น หรือทำให้สูญหายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๓๙ ผู้ใดลงรายการเท็จ แก้ไข ละเว้นการลงรายการในบัญชีหรืองบการเงิน หรือแก้ไขเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีเพื่อให้ผิดความเป็นจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล ให้กรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้แทนนิติบุคคล หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น มาตรา ๔๑ บรรดาความผิดตามมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๕ และมาตรา ๓๖ วรรคสอง ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบได้ และเมื่อผู้กระทำความผิดได้ชำระค่าปรับตามที่ได้เปรียบเทียบแล้ว ให้คดีเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บทเฉพาะกาล มาตรา ๔๒ บรรดากฎกระทรวง หรือประกาศที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๘๕ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ จนกว่าจะได้มีกฎกระทรวง หรือประกาศที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้ใดเป็นผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่าห้าปี แต่ไม่มีคุณสมบัติของการเป็นผู้ทำบัญชีตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา ๗ (๖) หากประสงค์จะเป็นผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป ให้แจ้งต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเมื่อผู้นั้นเข้ารับการอบรมและสำเร็จการอบรมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่อธิบดีประกาศกำหนดแล้ว ให้ผู้นั้นเป็นผู้ทำบัญชีต่อไปได้เป็นเวลาแปดปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๔๓ ระหว่างที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีที่กฎหมายกำหนด ให้ถือว่ามาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยซึ่งคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีได้มีมติให้ประกาศใช้แล้ว เป็นมาตรฐานการบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔๔ ให้กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรซึ่งเริ่มต้นประกอบกิจการร่วมค้าอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะเริ่มรอบระยะเวลาบัญชีใหม่หลังจากวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแล้ว มาตรา ๔๕ ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจัดให้มีผู้ทำบัญชีให้ถูกต้องตามมาตรา ๑๙ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ กำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี จะขยายออกไปอีกตามความจำเป็นแก่กรณีก็ได้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งปี ในระหว่างระยะเวลาตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๙ มาใช้บังคับแก่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มิได้จัดให้มีผู้ทำบัญชีตามมาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๘๕ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยการบัญชีได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน มีหลักการเกี่ยวกับการทำบัญชีหลายประการที่ยังไม่สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางการบัญชีและการจัดทำบัญชี และไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการบัญชีให้ทันสมัยยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ สุนันทา/นวพร/พัลลภ/จัดทำ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๖ วาทินี/ศิริยา/ปรับปรุง ๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ วศิน/แก้ไข ๒๒ เมษายน ๒๕๕๒ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๔๑ ก/หน้า ๑/๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
315284
กฎกระทรวง ว่าด้วยการยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ. 2544
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ว่าด้วยการยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบ และแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ. ๒๕๔๔[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีทุนสินทรัพย์ และรายได้ ทุกรายการไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (๑) ทุนห้าล้านบาท (๒) สินทรัพย์รวมสามสิบล้านบาท (๓) รายได้รวมสามสิบล้านบาท ข้อ ๒ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับสำหรับการจัดทำงบการเงินซึ่งมีรอบปีบัญชีที่สิ้นสุดลงในหรือหลังวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นต้นไป ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔ อดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๑ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนดให้งบการเงินต้องได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เว้นแต่งบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีทุน สินทรัพย์ หรือรายได้ รายการใดรายการหนึ่งหรือทุกรายการ ไม่เกินที่กำหนด โดยกฎกระทรวง ดังนั้น เพื่อกำหนดจำนวนทุน สินทรัพย์และรายได้ ทุกรายการของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ภคินี/แก้ไข ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๕ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๓๙ ก/หน้า ๑/๘ มิถุนายน ๒๕๔๔
325867
กฎกระทรวง ( พ.ศ. 2516 ) ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515
กฎกระทรวง กฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๑๖) ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๕ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕[๑] อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ และข้อ ๑๙ แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๕ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้กำหนดค่าธรรมเนียมดังนี้ ค่าประทับตราบัญชี ณ สถานที่ประกอบธุรกิจของผู้ขอ ๒๐๐ บาท ข้อ ๒ บัตรประจำตัวของสารวัตรใหญ่บัญชี สารวัตรบัญชี และพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบท้ายกฎกระทรวงนี้ รูปถ่ายติดบัตรประจำตัว ให้เป็นรูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ขนาด ๓ x ๔ เซนติเมตร และแต่งเครื่องแบบปกติ หรือแต่งกายสากล ไม่สวมหมวก ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๖ ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบบัตรประจำตัวสารวัตรใหญ่บัญชี ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๕ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ๒. แบบบัตรประจำตัวสารวัตรบัญชี ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๕ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ๓. แบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๕ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๕ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ให้อำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการประทับตราบัญชี ณ สถานที่ประกอบธุรกิจของผู้ขอ และกำหนดแบบบัตรประจำตัวของสารวัตรใหญ่บัญชี สารวัตรบัญชี และพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงฉบับนี้ จุฑามาศ/จัดทำ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๐/ตอนที่ ๕/หน้า ๑๕/๑๖ มกราคม ๒๕๑๖
604673
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2548 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ และประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงินไว้ นั้น บัดนี้ เห็นสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงินให้เหมาะสมและอำนวยความสะดวกต่อภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมาย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘ ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑] ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ (๒) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ข้อ ๔ การยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชี (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) หรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ (สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ (๑) แบบที่ใช้ในการยื่นงบการเงินให้ใช้แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) ที่แนบท้ายประกาศนี้ (๒) ผู้มีอำนาจทำการแทนกิจการคือ หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ผู้จัดการหรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของกิจการร่วมค้า ตามประมวลรัษฎากรหรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ แล้วแต่กรณีต้องลงลายมือชื่อรับรองและประทับตรา (ถ้ามี) ในแบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) และลงลายมือชื่อรับรองว่าถูกต้องและประทับตรา (ถ้ามี) ไว้ในงบดุล และงบกำไรขาดทุนทุกหน้า ส่วนเอกสารงบการเงินอื่นให้ผู้มีอำนาจทำการแทนกิจการอย่างน้อยหนึ่งคนลงลายมือชื่อรับรอง และสำหรับแบบนำส่งงบการเงิน(แบบ ส.บช. ๓) ให้ผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีนั้นลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วย ถ้าเป็นงบการเงินของบริษัทจำกัด ให้ระบุข้อความไว้ในงบการเงินในหน้างบดุลด้วยว่า งบการเงินได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นครั้งใด เมื่อวันที่ เดือน ปี ใด หากมิได้ระบุข้อความดังกล่าวไว้ ต้องจัดส่งสำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติงบการเงินนั้นไปพร้อมกับงบการเงินที่จัดส่ง โดยกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัดนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองว่าถูกต้องและประทับตรา(ถ้ามี) ด้วย การลงลายมือชื่อในงบการเงินหรือแบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) ต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเอง พร้อมกับวงเล็บชื่อ นามสกุล ด้วยตัวบรรจงกำกับไว้ด้วย จะมอบหมายให้ผู้อื่นลงลายมือชื่อแทนมิได้ (๓) งบการเงินของบริษัทมหาชนจำกัดที่ได้จัดพิมพ์ไว้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานประจำปีโดยจัดทำเป็นรูปเล่มซึ่งได้มีการพิมพ์ลายมือชื่อของบุคคลตาม (๒) พร้อมทั้งพิมพ์ลายมือชื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ลงลายมือชื่อรับรองในรายงานการสอบบัญชีของบริษัทนั้นไว้แล้ว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีการลงลายมือชื่อของบุคคลดังกล่าว (๔) การยื่นงบการเงินให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (ก) กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นต่อสำนักงานกลางบัญชี (สำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) หรือสถานที่อื่นใดตามที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด (ข) กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค ให้ยื่นต่อสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ (สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด) หรือยื่นต่อสำนักงานกลางบัญชี(สำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) ก็ได้ (ค) การยื่นงบการเงินอาจยื่นโดยตรงต่อเจ้าหน้าที่ หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังสถานที่ดังกล่าวข้างต้น พร้อมแนบซองที่จ่าหน้ากลับคืนถึงตัวผู้รับ โดยผนึกดวงตราไปรษณียากรครบถ้วนไปด้วย ซึ่งหากปรากฏว่าเอกสารหลักฐานที่จัดส่งครบถ้วนถูกต้องโดยสมบูรณ์ จะถือว่าได้ยื่นงบการเงินไว้ตั้งแต่วันที่ประทับตราไปรษณีย์ต้นทาง (๕)[๒] การยื่นงบการเงินต้องยื่นเอกสารตามจำนวนที่กำหนด ดังต่อไปนี้ กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครต้องยื่น (ก) งบการเงินและรายงานการสอบบัญชี ๑ ชุด (ข) แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) ๒ ฉบับ กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค ต้องยื่นเอกสารตาม (ก) เพิ่มอีก ๑ ชุด และเอกสารตาม (ข) เพิ่มอีก ๑ ฉบับ (๖)[๓] การยื่นงบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ ต้องยื่นแบบนำส่งงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ (แบบ ส.บช.๓/๑) ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ด้วย จำนวน ๑ ชุด คือ (ก) บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีบุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร หรือนิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละหนึ่งของมูลค่าหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง (ข) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรที่มีผู้ร่วมลงทุนเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร หรือนิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย (ค) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย (ง) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรที่มีการลงทุนในกิจการที่ต่างประเทศ ซึ่งได้แก่การจัดตั้งกิจการ สำนักงานสาขาหรือตัวแทนในต่างประเทศ หรือการเข้าร่วมลงทุนกับบุคคลหรือนิติบุคคลในต่างประเทศโดยมีสัดส่วนการลงทุนหรือการถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละหนึ่งของทุนทั้งหมดของกิจการหรือของมูลค่าหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง แล้วแต่กรณี การยื่นแบบนำส่งงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ (แบบ ส.บช. ๓/๑) ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีอาจยื่นพร้อมงบการเงินหรือยื่นโดยวิธีการอื่นตามที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดก็ได้ ข้อ ๕ กำหนดเวลาในการยื่นงบการเงิน ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องจัดทำงบการเงินและยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ตามข้อ ๔ (๔) ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ดังนี้ (๑) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยและกิจการร่วมค้า ตามประมวลรัษฎากร ต้องยื่นงบการเงินภายในห้าเดือนนับแต่วันปิดบัญชี (๒) บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ต้องนำเสนองบการเงินเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ภายในสี่เดือนนับแต่วันปิดบัญชี และต้องยื่นงบการเงินภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่งบการเงินนั้นได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่ หากวันสุดท้ายของกำหนดเวลายื่นงบการเงินตาม (๑) และ (๒) เป็นวันหยุดทำการของทางราชการ ให้เลื่อนวันสุดท้ายของกำหนดเวลายื่นงบการเงินไปเป็นวันทำการแรกต่อจากวันหยุดทำการ ข้อ ๖ ในการตรวจสอบว่างบการเงินที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชียื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือไม่ และโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตคนใด กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะตรวจสอบจากรายชื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้แจ้งไว้ตามประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๔๔ (พ.ศ. ๒๕๔๔) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และการพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนของผู้ที่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๔ หรือตามประกาศ ข้อบังคับของสภาวิชาชีพบัญชีที่กำหนดในเรื่องเดียวกันที่จะออกมาใช้บังคับในภายหลัง หากไม่ปรากฏรายชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ยื่นงบการเงินดังกล่าวอยู่ในบัญชีรายชื่อที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้แจ้งไว้ จะสันนิษฐานว่างบการเงินรายนั้นไม่ได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต แต่ทั้งนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะรับงบการเงินรายนั้นไว้ชั่วคราวและให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่อง ดังนี้ (๑) ติดต่อให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตดำเนินการแจ้งรายชื่อธุรกิจหรือยืนยันการลงลายมือชื่อรับรองงบการเงิน หรือ (๒) จัดส่งเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการรับงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตโดยจะต้องปรากฏหลักฐานการลงลายมือชื่อของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเอกสารรับงานดังกล่าวหากผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีได้ดำเนินการตาม (๑) หรือ (๒) ให้ถูกต้องภายในกำหนดระยะเวลา ๒ เดือน นับแต่วันที่ได้ยื่นงบการเงินไว้ จะถือว่าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีได้ยื่นงบการเงินไว้โดยถูกต้องแล้วตั้งแต่การยื่นในคราวแรก ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจัดส่งเอกสารตาม (๒) หากปรากฏว่าผู้สอบบัญชีรับอนุญาตปฏิเสธว่ามิได้เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองงบการเงินรายดังกล่าว ให้เป็นหน้าที่ของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่จะต้องพิสูจน์โดยจัดส่งหลักฐานที่แสดงว่าผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้ลงลายมือชื่อรับรองในงบการเงินนั้นจริงต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายในกำหนดระยะเวลา ๒ เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการปฏิเสธลายมือชื่อของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทั้งนี้ หากผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมิได้ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคสองหรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี จะถือว่าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีนั้นยังไม่ได้ยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ข้อ ๗ งบการเงินที่ยื่นภายในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๘ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะใช้แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) ที่ใช้อยู่เดิม คือ แบบที่กำหนดตามประกาศกรมทะเบียนการค้าเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ก็ได้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ อรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓)[๔] ๒. แบบนำส่งงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ งบการเงินรอบปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ ................. (แบบ ส.บช. ๓/๑)[๕] (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๙[๖] ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๒[๗] อุรารักษ์/จัดทำ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๔๐ ง/หน้า ๓๑/๑๙ พฤษภาคม/๒๕๔๘ [๒] ข้อ ๔ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๒ [๓] ข้อ ๔ (๖) เพิ่มโดยประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๔] แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๕] แบบนำส่งงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ งบการเงินรอบปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ ..... (แบบ ส.บช. ๓/๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๔/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๒๗/๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
605684
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. 2544(ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ (๑) (๒) (๓) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๔” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมวด ๑ ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อ ๒/๑[๒] ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี จัดให้มีอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อย ๑ เครื่อง จากผู้มีสิทธิให้บริการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e - Payment) เมื่อมีการรับชำระเงินจากประชาชน เมื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ได้ติดตั้งอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเปลี่ยนแปลงผู้ให้บริการตามวรรคหนึ่งแล้ว ภายใน ๑๕ วันนับตั้งแต่ติดตั้งอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเปลี่ยนแปลงผู้ให้บริการ ให้รายงานต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ หรือทาง www.dbd.go.th ข้อ ๓ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยและกิจการร่วมการค้าตามประมวลรัษฎากรต้องจัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ โดยต้องจัดทำให้ครบถ้วนถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี (๑) บัญชีรายวัน (ก) บัญชีเงินสด (ข) บัญชีธนาคาร แยกเป็นแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร (ค) บัญชีรายวันซื้อ (ง) บัญชีรายวันขาย (จ) บัญชีรายวันทั่วไป (๒) บัญชีแยกประเภท (ก) บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน (ข) บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย (ค) บัญชีแยกประเภทลูกหนี้ (ง) บัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ (๓) บัญชีสินค้า (๔) บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภทอื่น และบัญชีแยกประเภทย่อยตามความจำเป็นแก่การทำบัญชีของธุรกิจ หมวด ๒ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ข้อ ๔ ปกด้านหน้าของสมุดบัญชี หรือแผ่นหน้าของบัญชีกรณีที่บัญชีเป็นแผ่น ต้องมีข้อความ ดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่ใช่นิติบุคคลจะใช้ชื่อทางการค้าก็ได้ (๒) ชนิดของบัญชี (๓) ลำดับเล่มบัญชีแต่ละชนิดให้ใช้ตัวเลขไทยหรืออารบิค ถ้าบัญชีแต่ละชนิดมีมากกว่าหนึ่งเล่ม ต้องเรียงลำดับเล่มต่อเนื่องกัน ข้อ ๕ บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท และบัญชีสินค้า ต้องมีข้อความและรายการในบัญชี ดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อบัญชี วัน เดือน ปี เลขที่ของเอกสารประกอบการลงบัญชีหรือหน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิง รายการบัญชี และจำนวนเงิน (๒) หน้าบัญชีต้องมีตัวเลขไทยหรืออารบิคเรียงลำดับทุกหน้า (๓)[๓] รายการในบัญชีที่เป็นจำนวนเงินต้องเป็นหน่วยเงินตราไทย เว้นแต่ในกรณีที่มีมาตรฐานการบัญชีกำหนดให้แสดงเป็นหน่วยเงินตราสกุลอื่นได้ จะเลือกปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีก็ได้ ข้อ ๖ บัญชีแต่ละชนิดดังต่อไปนี้ นอกจากต้องมีรายการตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ แล้ว ต้องมีรายการต่อไปนี้ด้วย (๑) บัญชีเงินสด หรือบัญชีธนาคาร ให้มีรายละเอียดการได้มาหรือจ่ายไปซึ่งเงินสด เงินในธนาคาร แต่ถ้ามีรายละเอียดดังกล่าวในเอกสารประกอบการลงบัญชีหรือบัญชีรายวันชนิดหนึ่งชนิดใดแล้ว จะลงรายการรับหรือจ่ายเงินประเภทเดียวกันเป็นยอดรวมก็ได้ (๒) บัญชีรายวันซื้อหรือบัญชีรายวันขาย ให้มีรายละเอียด ชนิด ประเภท จำนวน และราคาของสินค้าหรือบริการที่ซื้อขาย แต่ถ้ามีรายละเอียดดังกล่าวในเอกสารประกอบการลงบัญชีหรือทะเบียนใดแล้ว จะลงรายการซื้อหรือขายสินค้าหรือบริการนั้นเป็นยอดรวมก็ได้ (๓) บัญชีรายวันทั่วไป ให้มีคำอธิบายรายการบัญชี (๔) บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน ให้มีรายละเอียดการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของสินทรัพย์ หนี้สินและทุน โดยให้อ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิงด้วย (๕) บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย ให้มีรายละเอียดที่มาแห่งรายได้หรือค่าใช้จ่าย โดยให้อ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิงด้วย (๖) บัญชีแยกประเภทลูกหนี้หรือบัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ ให้มีชื่อลูกหนี้หรือเจ้าหนี้การแสดงรายการบัญชีให้มีรายละเอียดการก่อหนี้หรือระงับหนี้ การลงรายการดังกล่าวให้อ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิงด้วย (๗) บัญชีสินค้า ให้มีชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ รายละเอียดการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินค้า และจำนวนสินค้านั้น หมวด ๓ ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี ข้อ ๗ กำหนดระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชีให้แล้วเสร็จไว้ ดังต่อไปนี้ (๑) บัญชีรายวัน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รายการนั้นเกิดขึ้น (๒) บัญชีแยกประเภท ต้องผ่านรายการจากบัญชีรายวันภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่รายการนั้นเกิดขึ้น (๓) บัญชีสินค้า ภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่รายการนั้นเกิดขึ้น ในกรณีที่เป็นบัญชีตาม (๒) และ (๓) ซึ่งต้องมีการลงรายการยอดคงเหลือต้องลงรายการยอดคงเหลือให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันปิดบัญชี หมวด ๔ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ข้อ ๘ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ได้แก่ บันทึก หนังสือ หรือเอกสารใด ๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี ซึ่งแยกได้เป็น ๓ ประเภท คือ (๑) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยบุคคลภายนอก (๒) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอก (๓) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อใช้ในกิจการของตนเอง ข้อ ๙ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีตามข้อ ๘ ทุกประเภทต้องมีรายการดังต่อไปนี้ และมีรายการตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๐ (๑) หรือ (๒) หรือข้อ ๑๑ ตามแต่ประเภทของเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีด้วย (๑) ชื่อของผู้จัดทำเอกสารซึ่งอาจใช้ชื่อที่ใช้ในการประกอบธุรกิจของผู้จัดทำเอกสารก็ได้ (๒) ชื่อของเอกสาร (๓) เลขที่ของเอกสาร และเล่มที่ (ถ้ามี) (๔) วัน เดือน ปี ที่ออกเอกสาร (๕) จำนวนเงินรวม ข้อ ๑๐ ถ้าเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีเป็นเอกสารตามข้อ ๘ (๒) ต้องมีรายการตามที่กำหนดไว้ใน (๑) หรือ (๒) ด้วย แล้วแต่กรณี คือ (๑) ในกรณีที่เป็นเอกสารเพื่อเป็นหลักฐานในการรับเงิน รับฝากเงิน รับชำระเงินหรือตั๋วเงินต้องมีรายการต่อไปนี้ (ก) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกิจการที่จัดทำเอกสาร (ข) สถานที่ตั้งของกิจการที่จัดทำเอกสาร (ค) รายละเอียดเกี่ยวกับการรับเงินหรือตั๋วเงิน (ง) ชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ ราคาต่อหน่วย และราคารวมของสินค้าหรือบริการแต่ละรายการ เว้นแต่ได้ระบุรายละเอียดดังกล่าวไว้ในเอกสารตาม (๒) (ค) แล้ว (จ) ลายมือชื่อของผู้รับเงินหรือตั๋วเงิน เว้นแต่เป็นเอกสารที่จัดทำและส่งมอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมืออื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน (๒) ในกรณีที่เป็นเอกสารเพื่อเป็นหลักฐานในการจำหน่าย จ่ายโอน ส่งมอบสินค้าหรือบริการโดยยังมิได้มีการชำระเงินหรือตั๋วเงินต้องมีรายการต่อไปนี้ (ก) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกิจการที่จัดทำเอกสาร (ข) สถานที่ตั้งของกิจการที่จัดทำเอกสาร (ค) ชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ ราคาต่อหน่วย และราคารวมของสินค้าหรือบริการแต่ละรายการ (ง) ชื่อหรือชื่อที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ และที่อยู่ของผู้ซื้อหรือผู้รับสินค้าหรือผู้รับบริการ (จ) ลายมือชื่อผู้จัดทำเอกสาร (ฉ) ลายมือชื่อผู้รับสินค้าหรือผู้รับบริการ ข้อ ๑๑ ถ้าเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีเป็นเอกสารตามข้อ ๘ (๓) ต้องมีรายการต่อไปนี้ด้วย คือ (๑) คำอธิบายรายการ (๒) วิธีการและการคำนวณต่าง ๆ (ถ้ามี) (๓) ลายมือชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี หรือผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อนุมัติรายการ ข้อ ๑๒ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอกต้องมีสำเนาเก็บไว้อย่างน้อย ๑ ฉบับ ข้อ ๑๓ การลงรายการในบัญชีรายวันและบัญชีสินค้า ต้อง (๑) มีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีทุกรายการและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีนั้นต้องสามารถแสดงความถูกต้องครบถ้วนของรายการบัญชีตามความเป็นจริง และเป็นที่เชื่อถือได้ (๒) ใช้เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีตามข้อ ๘ ในลำดับ (๑) หรือ (๒) แล้วแต่กรณีก่อน เว้นแต่ไม่มีเอกสารดังกล่าวจึงให้ใช้เอกสารในลำดับ (๓) ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔ อดุลย์ วินัยแพทย์ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า [เอกสารแนบท้าย] ๑.[๔] แบบแจ้งการติดตั้งอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒[๕] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐[๖] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป สุกัญญา/พิมพ์ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๒ อุรารักษ์/ตรวจ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๙ ปุณิกา/เพิ่มเติม ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๘ ง/หน้า ๒๐/๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๔ [๒] ข้อ ๒/๑ เพิ่มโดยประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] ข้อ ๕ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ [๔] แบบแจ้งการติดตั้งอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี เพิ่มโดยประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๓๓ ง/หน้า ๕๔/๒ มีนาคม ๒๕๕๒ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๒ ง/หน้า ๒๕/๓๐ มีนาคม ๒๕๖๐
764985
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. 2557 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๗[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๗” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ลงวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ (๒) ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง การแจ้งเป็นผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้ทำบัญชีได้ พ.ศ. ๒๕๔๔ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ (๓) ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ (๔) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ (๕) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ (๖) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ (๗) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๔ ผู้ทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (๒) มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ทำบัญชีได้ (๓) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะประกอบวิชาชีพเป็นผู้ทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี (๔) ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเนื่องจากกระทำความผิดตามฐานความผิดหรือกฎหมายที่กำหนดในมาตรา ๓๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ เว้นแต่ต้องคำพิพากษาหรือพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี (๕) มีคุณวุฒิการศึกษา ดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียนไม่เกินห้าล้านบาท มีสินทรัพย์รวมไม่เกินสามสิบล้านบาทและมีรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่งคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี (ข) ผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า หรือได้รับประกาศนียบัตร หรือวุฒิอื่นเทียบเท่าปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีรับรอง ๑) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียน สินทรัพย์รวม หรือรายได้รวมรายการใดรายการหนึ่งเกินกว่าที่กำหนดไว้ใน (ก) ๒) บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ๓) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย ๔) กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร (ค) ในกรณีที่เป็นการเริ่มทำบัญชีรอบปีบัญชีแรกของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คุณวุฒิการศึกษาของผู้ทำบัญชีให้พิจารณาโดยใช้เกณฑ์ทุนจดทะเบียนตามที่กำหนดไว้ใน (ก) และ (ข) แล้วแต่กรณี ข้อ ๕ ในกรณีที่ทุนจดทะเบียน สินทรัพย์รวม หรือรายได้รวมของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามข้อ ๔ (๕) (ก) เปลี่ยนแปลงไปจนทำให้ผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่มีคุณสมบัติของการเป็นผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีนั้นต่อไป ให้ผู้นั้นสามารถเป็นผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังกล่าวต่อไปได้เป็นเวลาสองปีนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชีที่มีการเปลี่ยนแปลง ข้อ ๖ ผู้ทำบัญชีต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชีตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ (๒)[๒] แจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) พร้อมด้วยสำเนาหลักฐานภายในสามสิบวันนับแต่วันเริ่มทำบัญชี ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการที่แจ้งไว้ตามวรรคหนึ่งหรือยกเลิกการแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชี ต้องแจ้งรายการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) พร้อมด้วยสำเนาหลักฐานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก ผู้ทำบัญชีต้องยืนยันรายชื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่รับทำบัญชี และสถานภาพการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) พร้อมด้วยสำเนาหลักฐานภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของทุกปีปฏิทิน (๓) ต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีไม่น้อยกว่า ๑๒ ชั่วโมงต่อปีปฏิทินเว้นแต่ผู้ทำบัญชีที่แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีสำหรับปีแรกและมีระยะเวลาที่เหลือหลังการแจ้งในปีนั้นน้อยกว่าหกเดือนให้เริ่มพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีในปีถัดไป จำนวนชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีตามวรรคหนึ่ง ต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการบัญชีไม่น้อยกว่า ๖ ชั่วโมง ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนด[๓] การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรม ดังต่อไปนี้ (ก) การอบรมหรือสัมมนา ทั้งนี้ ให้รวมถึงการอบรมหรือสัมมนาในรูปแบบสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) (ข) การเป็นวิทยากร ผู้บรรยาย ผู้ดำเนินการสัมมนา ในกิจกรรมตาม (ก) (ค) การเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษาของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันการศึกษาเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำ กว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า ไม่ว่าจะเป็นการสอนในฐานะอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พิเศษ (ง) การสำเร็จการศึกษาในคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีไม่ว่าคุณวุฒิใหม่นั้นจะสูงกว่าคุณวุฒิเดิมหรือไม่ก็ตาม (จ) การผ่านการศึกษาเฉพาะรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีจากสถาบันการศึกษาของรัฐหรือสถาบันการศึกษาของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันการศึกษาเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า (ฉ) กิจกรรมอื่น นอกจากที่ระบุตาม (ก) (ข) (ค) (ง) และ (จ) ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนด (๔)[๔] แจ้งรายละเอียดการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) ได้ทันทีหลังการทำกิจกรรมแต่ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของทุกปีปฏิทิน และต้องเก็บหลักฐานการเข้าร่วมพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี นับแต่วันสิ้นสุดของการทำกิจกรรมในแต่ละครั้ง (๕) ผู้ทำบัญชีใดไม่เข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีหรือเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีไม่ครบจำนวนตาม (๓) แม้ว่าถูกเปรียบเทียบตามกฎหมายแล้วยังต้องพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีให้ครบจำนวนชั่วโมงตามระยะเวลาที่ขาดหายไป แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง ทั้งนี้ ไม่นับรวมจำนวนชั่วโมงในปีปัจจุบัน (๖)[๕] ผู้ทำบัญชีใดยกเลิกการแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีแล้ว และขอกลับมาแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีของผู้ทำบัญชีใหม่ต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีให้ครบจำนวนชั่วโมงตามระยะเวลาที่ขาดหายไปก่อนการยกเลิกการแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีแต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง และแจ้งการขอกลับมาแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีใหม่ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) (๗) ผู้ทำบัญชีสามารถรับทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีได้ไม่เกิน ๑๐๐ รายต่อปีปฏิทินไม่ว่าจะเป็นการรับทำบัญชีในรอบปีบัญชีใดก็ตาม ข้อ ๗ ให้ข้อกำหนดตาม ๖ (๓) และ (๗) มีผลใช้บังคับในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๘ ผู้ใดเป็นผู้ทำบัญชีอยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ทำบัญชีตามประกาศนี้และให้ปฏิบัติตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ลงวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติมและประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ข้อ ๙ ผู้ทำบัญชีรายใดที่ได้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการทำบัญชีต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับให้ยืนยันรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีใหม่ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบสมัครสมาชิก / ขึ้นทะเบียนสภาวิชาชีพบัญชี และแบบแจ้งการทำบัญชีของผู้ทำบัญชี (แบบ ส.บช. ๕) ๒. แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้ทำบัญชี (แบบ ส.บช. ๖) ๓. แบบแจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชี (แบบ ส.บช. ๗) ๔. แบบขอยกเลิกการเป็นผู้ทำบัญชี (แบบขอยกเลิกการแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีของผู้ทำบัญชี) (แบบ ส.บช. ๘) ๕. แบบแจ้งขอกลับมาเป็นผู้ทำบัญชี (แบบขอกลับมาแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีของผู้ทำบัญชีใหม่) (แบบ ส.บช. ๙) ๖. แบบแจ้งยืนยันรายชื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่รับทำบัญชี (แบบ ส.บช. ๑๐) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙[๖] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ชนิกา/จัดทำ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๗๗ ง/หน้า ๑๔/๙ กันยายน ๒๕๕๗ [๒] ข้อ ๖ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๓] ข้อ ๖ (๓) วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๔] ข้อ ๖ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๕] ข้อ ๖ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๖๗ ง/หน้า ๑๐/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
764987
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๔[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๒ งบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ คือ (๑) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๑ (๒) บริษัทจำกัด ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๒ (๓) บริษัทมหาชนจำกัด ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๓ (๔) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๔ (๕) กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๕ ข้อ ๓ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ที่ลักษณะหรือสภาพธุรกิจไม่เป็นกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ตามที่กำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนด ต้องจัดทำงบการเงินที่มีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๓ ข้อ ๔ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ที่ลักษณะหรือสภาพธุรกิจเป็นกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ตามที่กำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนด แต่มีความประสงค์จะจัดทำบัญชีและงบการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนดโดยอ้างอิงมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (International Financial Report Standard : IFRS) ต้องจัดทำงบการเงินที่มีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๓ ข้อ ๕ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่จัดทำงบการเงินตามแบบ ๓ ให้เลือกแสดงงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จแบบใดแบบหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย แสดงแบบงบเดียว (๒) แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย แสดงแบบสองงบ (๓) แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ - แบบขั้นเดียว แสดงแบบงบเดียว (๔) แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ - แบบขั้นเดียว แสดงแบบสองงบ (๕) แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ - แบบหลายขั้น แสดงแบบงบเดียว (๖) แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ - แบบหลายขั้น แสดงแบบสองงบ ข้อ ๖ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ที่จัดทำงบการเงินตามแบบ ๑ แบบ ๒ แบบ ๔ และแบบ ๕ ตามลำดับ ให้เลือกแสดงงบกำไรขาดทุนแบบใดแบบหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย (๒) แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ - แบบขั้นเดียว (๓) แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ - แบบหลายขั้น ข้อ ๗ ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของธุรกิจไม่มีรายการที่ต้องแสดงรายการย่อครบตามแบบที่กำหนดไว้ ก็ให้งดเว้นไม่ต้องแสดงรายการย่อที่ไม่มีดังกล่าว ข้อ ๘[๒] กรณีที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินกำหนดให้มีการแสดงรายการที่แตกต่างหรือนอกเหนือจากรายการที่กำหนดไว้ตามแบบที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน หรือให้แสดงรายการดังกล่าวรวมอยู่ในกลุ่มของรายการตามแบบที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับประเภทและลักษณะของรายการ รวมทั้งให้แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสำหรับการจัดทำงบการเงินซึ่งมีรอบปีบัญชีเริ่มต้นในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ บรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า [เอกสารแนบท้าย] ๑. งบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน (แบบ ๑) ๒. งบการเงินของบริษัทจำกัด (แบบ ๒) ๓.[๓] งบการเงินของบริษัทมหาชนจำกัด (แบบ ๓) ๔. งบการเงินของนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ (แบบ ๔) ๕. งบการเงินของกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร (แบบ ๕) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙[๔] ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสำหรับการจัดทำงบการเงินซึ่งมีรอบปีบัญชีเริ่มต้นในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ชนิกา/จัดทำ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๓๒ ง/หน้า ๕/๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ [๒] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๓] งบการเงินของบริษัทมหาชนจำกัด (แบบ ๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๖๗ ง/หน้า ๑๒/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
860076
ประกาศ ก.บช. ฉบับที่ 42 (พ.ศ. 2543) เรื่อง มาตรฐานการบัญชี(ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๔๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) เรื่อง มาตรฐานการบัญชี[๑] ตามที่พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๔๓ กำหนดว่า ระหว่างที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีที่กฎหมายกำหนด ให้ถือว่ามาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ซึ่งคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีได้มติให้ประกาศใช้แล้ว เป็นมาตรฐานการบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ นั้น บัดนี้ คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บช.) ได้มติให้ประกาศใช้มาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย จำนวน ๓๓ ฉบับ ประกอบด้วยแม่บทการบัญชี ๑ ฉบับ มาตรฐานการบัญชี ๒๘ ฉบับ และการตีความมาตรฐานการบัญชี ๔ ฉบับ ดังมีบัญชีรายชื่อและสาระสำคัญของมาตรฐานการบัญชีแต่ละเรื่องตามเอกสารที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ เป็นมาตรฐานการบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ทั้งนี้ ให้มีผลเป็นมาตรฐานการบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เกริกไกร จีระแพทย์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ประธานคณะกรรมการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีรายชื่อมาตรฐานการบัญชีแนบท้ายประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๔๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ๒. การตีความตามมาตรฐานการบัญชีที่ประกาศใช้ในปัจจุบัน ๓. มาตรฐานการบัญชี เรื่อง แม่บทการบัญชี ๔. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๗ เรื่อง การบัญชีเกี่ยวกับการเช่าซื้อ - ทางด้านผู้ให้เช่าซื้อ ๕. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๘ เรื่อง การบัญชีสำหรับงานก่อสร้างตามสัญญา ๖.[๒] มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๑๑ เรื่อง หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ (ยกเลิก) ๗. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๑๔ เรื่อง การบัญชีสำหรับการวิจัยและพัฒนา ๘. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๑ เรื่อง เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นภายหน้า และเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน ๙. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๔ เรื่อง การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน ๑๐. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๕ เรื่อง งบกระแสเงินสด ๑๑. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๖ เรื่อง การรับรู้รายได้สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ๑๒. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๗ เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินของธนาคารและสถานบันการเงินที่คล้ายคลึงกัน ๑๓. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๙ เรื่อง การบัญชีสำหรับสัญญาเช่าระยะยาว ๑๔. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๐ เรื่อง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ๑๕. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๑ เรื่อง สินค้าคงเหลือ ๑๖. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๒ เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ๑๗. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๓ เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม ๑๘. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๕ เรื่อง การนำเสนองบการเงิน ๑๙. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๖ เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ ๒๐. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๗ เรื่อง การรับรู้รายได้ ๒๑. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๘ เรื่อง กำไรต่อหุ้น ๒๒. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๙ เรื่อง กำไรหรือขาดทุนสิทธิสำหรับงวด ข้อผิดพลาดที่สำคัญ และการเปลี่ยนแปลงทางบัญชี ๒๓. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๐ เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ๒๔. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๑ เรื่อง งบการเงินระหว่างกาล ๒๕.[๓] มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๒ เรื่อง การบัญชีสำหรับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน (ยกเลิก) ๒๖. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๓ เรื่อง การรวมธุรกิจ ๒๗. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๔ เรื่อง งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย ๒๘. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๕ เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม ๒๙. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๖ เรื่อง รายงานทางการเงินเกี่ยวกับส่วนได้เสียในการร่วมค้า ๓๐. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๗ เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ๓๑. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๘ เรื่อง การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน ๓๒. การตีความมาตรฐานการบัญชี เรื่องที่ ๑ เรื่อง สินทรัพย์ที่ลูกหนี้โอนให้เพื่อชำระหนี้ ๓๓. การตีความมาตรฐานการบัญชี เรื่องที่ ๒ เรื่อง งบการเงินรวม - บริษัทย่อยที่เป็นกิจการเฉพาะกิจ ๓๔. การตีความมาตรฐานการบัญชี เรื่องที่ ๓ เครื่องมือทางการเงินแบบผสมที่ออกโดยสถาบันการเงิน ๓๕. การตีความมาตรฐานการบัญชี เรื่องที่ ๔ เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ – รายจ่ายที่กิจการในขั้นพัฒนา และกิจการที่พัฒนาแล้ว บันทึกไว้เป็นสินทรัพย์ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) นุสรา/เพิ่มเติม ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๓๓ ง/หน้า ๓๙/๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๓ [๒] มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๑๑ เรื่อง หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ ในลำดับที่ ๔ ตามประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๔๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ซึ่งแก้ไขเลขระบุฉบับและชื่อมาตรฐานการบัญชีใหม่ เป็น ฉบับที่ ๑๐๑ เรื่อง หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ ๔๙/๒๕๕๓ เรื่อง การจัดเลขระบุฉบับมาตรฐานการบัญชี และมาตรฐานการรายงานทางการเงินบางรายการ ยกเลิกโดยประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ ๒๒/๒๕๖๑ เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ ๙ เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน [๓] มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๒ เรื่อง การบัญชีสำหรับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน ในลำดับที่ ๒๓ ตามประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๔๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ซึ่งแก้ไขเลขระบุฉบับและชื่อมาตรฐานการบัญชีใหม่เป็น ฉบับที่ ๑๐๖ เรื่อง การบัญชีสำหรับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ ๔๙/๒๕๕๓ เรื่อง การจัดเลขระบุฉบับมาตรฐานการบัญชี และมาตรฐานการรายงานทางการเงินบางรายการ ยกเลิกโดยประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ ๒๒/๒๕๖๑ เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ ๙ เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน
773403
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชีระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ (๑) (๒) (๓) และ (๔) และมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๘ เรื่อง แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e - Payment Master Plan) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ เรื่อง แนวทางส่งเสริมการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ National e - Payment ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาระบบการชำระเงินของประเทศไทยให้เข้าสู่ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๒/๑ แห่งประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๔ “ข้อ ๒/๑ ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี จัดให้มีอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อย ๑ เครื่อง จากผู้มีสิทธิให้บริการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e - Payment) เมื่อมีการรับชำระเงินจากประชาชน เมื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ได้ติดตั้งอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเปลี่ยนแปลงผู้ให้บริการตามวรรคหนึ่งแล้ว ภายใน ๑๕ วันนับตั้งแต่ติดตั้งอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเปลี่ยนแปลงผู้ให้บริการ ให้รายงานต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ หรือทาง www.dbd.go.th” ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ บรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบแจ้งการติดตั้งอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๒ ง/หน้า ๒๕/๓๐ มีนาคม ๒๕๖๐
762240
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก แบบ ๓ งบการเงินของบริษัทมหาชนจำกัด ที่แนบท้ายประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ แบบ ๓ งบการเงินของบริษัทมหาชนจำกัดที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้แทน ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ ของประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “กรณีที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินกำหนดให้มีการแสดงรายการที่แตกต่างหรือนอกเหนือจากรายการที่กำหนดไว้ตามแบบที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน หรือให้แสดงรายการดังกล่าวรวมอยู่ในกลุ่มของรายการตามแบบที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับประเภทและลักษณะของรายการ รวมทั้งให้แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสำหรับการจัดทำงบการเงินซึ่งมีรอบปีบัญชีเริ่มต้นในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า [เอกสารแนบท้าย] ๑. งบการเงินของบริษัทมหาชนจำกัด (แบบ ๓) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ชนิกา/ตรวจ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๖๗ ง/หน้า ๑๒/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
762234
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ (๒) ของประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๒) แจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) พร้อมด้วยสำเนาหลักฐานภายในสามสิบวันนับแต่วันเริ่มทำบัญชี ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการที่แจ้งไว้ตามวรรคหนึ่งหรือยกเลิกการแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชี ต้องแจ้งรายการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) พร้อมด้วยสำเนาหลักฐานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก ผู้ทำบัญชีต้องยืนยันรายชื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่รับทำบัญชี และสถานภาพการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) พร้อมด้วยสำเนาหลักฐานภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของทุกปีปฏิทิน” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ (๓) วรรคสอง ของประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “จำนวนชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีตามวรรคหนึ่ง ต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการบัญชีไม่น้อยกว่า ๖ ชั่วโมง ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนด” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ (๔) ของประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๔) แจ้งรายละเอียดการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) ได้ทันทีหลังการทำกิจกรรมแต่ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของทุกปีปฏิทิน และต้องเก็บหลักฐานการเข้าร่วมพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี นับแต่วันสิ้นสุดของการทำกิจกรรมในแต่ละครั้ง” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ (๖) ของประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๖) ผู้ทำบัญชีใดยกเลิกการแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีแล้ว และขอกลับมาแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีของผู้ทำบัญชีใหม่ต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีให้ครบจำนวนชั่วโมงตามระยะเวลาที่ขาดหายไปก่อนการยกเลิกการแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีแต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง และแจ้งการขอกลับมาแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีใหม่ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th)” ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปริยานุช/จัดทำ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ชนิกา/ตรวจ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๖๗ ง/หน้า ๑๐/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
759107
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง จัดตั้งสำนักงานบัญชีประจำท้องที่และแต่งตั้งหัวหน้าสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ พ.ศ. 2559
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง จัดตั้งสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ และแต่งตั้งหัวหน้าสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ พ.ศ. ๒๕๕๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง จัดตั้งสำนักงานบัญชีประจำท้องที่และแต่งตั้งหัวหน้าสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ พ.ศ. ๒๕๔๓ ลงวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๒ ให้กองกำกับบัญชีธุรกิจ และกองตรวจสอบบัญชีธุรกิจ เป็นสำนักงานบัญชีประจำท้องที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร และให้สารวัตรบัญชีซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองกำกับบัญชีธุรกิจ และผู้อำนวยการกองตรวจสอบบัญชีธุรกิจเป็นหัวหน้าสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ ข้อ ๓ ให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัด เป็นสำนักงานบัญชีประจำท้องที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ในเขตท้องที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดนั้น และให้สารวัตรบัญชีซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งพาณิชย์จังหวัดเป็นหัวหน้าสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑] ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปุณิกา/ปริยานุช/จัดทำ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๒๓ ง/หน้า ๙/๔ ตุลาคม ๒๕๕๙
755602
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ. 2558
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไจประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๗ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ วรรคท้าย แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๗ ข้อ ๓ ในประกาศฉบับนี้ “สำนักงานบัญชี” หมายถึง บุคคลธรรมดา หรือคณะบุคคล หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนและมีสถานที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งให้บริการด้านการทำบัญชี “หัวหน้าสำนักงาน” หมายถึง ผู้รับผิดชอบการดำเนินงานของสำนักงานบัญชีในการให้บริการจัดทำบัญชีแก่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี “ผู้ทำบัญชี” หมายถึง ผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ที่สังกัดในสำนักงานบัญชี “ผู้ตรวจประเมิน” หมายถึง ผู้ทำหน้าที่ตรวจประเมินสำนักงานบัญชีที่ยื่นขอรับการรับรองคุณภาพ และตรวจติดตามการดำเนินงานของสำนักงานบัญชีคุณภาพ “ข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี” หมายถึง ข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีที่แนบท้ายประกาศนี้ “หนังสือรับรอง” หมายถึง หนังสือรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกให้แก่สำนักงานบัญชีที่ผ่านการตรวจประเมินตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี “กรม” หมายถึง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ “อธิบดี” หมายถึง อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ข้อ ๔ สำนักงานบัญชีที่จะยื่นขอรับหนังสือรับรองต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (๑) ประกอบกิจการด้านการจัดทำบัญชีมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี (๒) รับทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยแบ่งตามขนาดดังนี้ (ก) ขนาดเล็ก ตั้งแต่ ๑๕ – ๒๙ ราย (ข) ขนาดกลาง ตั้งแต่ ๓๐ – ๔๙ ราย (ค) ขนาดใหญ่ ตั้งแต่ ๕๐ รายขึ้นไป (๓) มีหัวหน้าสำนักงานที่ปฏิบัติงานเต็มเวลา มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า หรือได้รับประกาศนียบัตร หรือวุฒิอื่นเทียบเท่าปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีรับรอง มีประสบการณ์ด้านการจัดทำบัญชีไม่น้อยกว่า ๕ ปี และต้องแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีต่อกรมไว้แล้วตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๗ (๔) มีผู้ช่วยทำบัญชีที่ปฏิบัติงานเต็มเวลา มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า หรือไดรับประกาศนียบัตร หรือวุฒิอื่นเทียบเท่าปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีรับรองอย่างน้อย ๑ คน (๕) มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (๖) ในกรณีที่สำนักงานบัญชีจัดตั้งในรูปคณะบุคคลหรือนิติบุคคล ผู้เป็นเจ้าของ ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือกรรมการ แล้วแต่กรณี ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านการให้บริการรับทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติตามข้อ ๔ (๓) ด้วย ข้อ ๕ สำนักงานบัญชีที่จะยื่นขอรับหนังสือรับรองต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้ (๑) เคยถูกเพอกถอนหนังสือรับรอง เว้นแต่พ้นระยะเวลาที่ฝ่าฝืนมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี (๒) ฝ่าฝืนเงื่อนไขตามข้อ ๑๔ และข้อ ๑๘ เว้นแต่พ้นระยะเวลาที่ฝ่าฝืนมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี (๓) หัวหน้าสำนักงานเป็นบุคคลล้มละลาย (๔) ในกรณีที่สำนักงานบัญชีจัดตั้งในรูปคณะบุคคลหรือนิติบุคคล ผู้เป็นเจ้าของ ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือกรรมการ แล้วแต่กรณี ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านการให้บริการรับทำบัญชีต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๕ (๔) ข้อ ๖ สำนักงานบัญชีที่ยื่นขอรับหนังสือรับรองต้องปฏิบัติ และผ่านขั้นตอนการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี ดังนี้ (๑) แจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการขอรับรองคุณภาพตามแบบคำขอหนังสือรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี (แบบ ร.สบ. ๑) ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ พร้อมด้วยหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบ ร.สบ. ๑ ในกรณีสำนักงานบัญชีมีสำนักงานหลายแห่งแยกต่างหากจากกัน ให้แยกคำขอของแต่ละสำนักงานที่ประสงค์จะขอหนังสือรับรอง (๒) เข้ารับและผ่านการตรวจประเมินคุณภาพตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี โดยผู้ตรวจประเมินจากหน่วยงานที่กรมกำหนด ดังนี้ (ก) สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) หรือ (ข) หน่วยงานอื่นที่กรมให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ สำนักงานบัญชีที่ยื่นขอรับหนังสือรับรอง ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ จากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) หรือหน่วยงานอื่นที่กรมให้ความเห็นชอบแล้ว จะไดรับการยกเว้นการตรวจประเมินคุณภาพในข้อกำหนดการรับรองมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ แต่ต้องได้รับการตรวจสอบเกี่ยวกับมาตรฐานทางบัญชี และข้อกำหนดอื่นที่กรมกำหนดเพิ่มเติม โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม (๓) ได้รับความเห็นชอบจากกรมให้เป็นสำนักงานบัญชีคุณภาพ ข้อ ๗ สำนักงานบัญชีที่ผ่านขั้นตอนการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีแล้วจะได้รับหนังสือรับรอง และจะได้รับการเผยแพร่ชื่อและที่ตั้งของสำนักงานบัญชีให้สาธารณชนทราบ ข้อ ๘ หนังสือรับรองมีกำหนดอายุ ๓ ปี รับแต่วันที่ออกหนังสือรับรอง ข้อ ๙ ตลอดระยะเวลาอายุหนังสือรับรอง สำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี ซึ่งรวมถึงในกรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดในภายหลัง (๒) เข้ารับการตรวจประเมินคุณภาพจากผู้ตรวจประเมินอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ซึ่งอาจเป็นการตรวจประเมินใหม่ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนตามความเหมาะสม โดยสำนักงานบัญชีเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการตรวจประเมินคุณภาพตามอัตราที่หน่วยตรวจประเมินเรียกเก็บ กรณีสำนักงานบัญชีที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ จากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) หรือหน่วยงานอื่นที่กรมให้ความเห็นชอบแล้ว จะต้องเข้ารับการตรวจประเมินคุณภาพอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง โดยจะได้รับการยกเว้นการตรวจประเมินคุณภาพในข้อกำหนดการรับรองมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ แต่ต้องได้รับการตรวจสอบเกี่ยวกับมาตรฐานทางการบัญชี และข้อกำหนดอื่นที่กรมกำหนดเพิ่มเติม โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม หากสำนักงานบัญชีมีความประสงค์เข้ารับการตรวจประเมินคุณภาพพร้อมกันในคราวเดียวกับการตรวจประเมินมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ของสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) หรือหน่วยงานอื่นที่กรมให้ความเห็นชอบ ก็สามารถดำเนินการได้ โดยสำนักงานบัญชีเป็นผู้รับผิดชอบเฉพาะค่าใช้จ่ายในการตรวจตามมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ตามอัตราที่สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) หรือหน่วยงานอื่นที่กรมให้ความเห็นชอบเรียกเก็บ (๓) ให้ความร่วมมือกับผู้ตรวจประเมินทุกครั้งที่รับการตรวจประเมิน และยินยอมให้หน่วยงานอื่นที่กรมเห็นชอบเข้าร่วมสังเกตการณ์ตรวจประเมิน รวมทั้งส่งมอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับรองคุณภาพแก่ผู้ตรวจประเมินและกรม เมื่อได้รับการร้องขอ (๔) ไม่นำหนังสือรับรองไปใช้ในทางที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อกรม หรือนำไปใช้อ้างอิงต่อบุคคลหรือหน่วยงานอื่นในลักษณะที่ก่อให้เกิดความสับสนหรือเข้าใจผิด (๕ ) ในกรณีที่กรมแจ้งเรื่องร้องเรียนของบุคคลที่สามเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี สำนักงานบัญชีจะต้องดำเนินการพิจารณาข้อร้องเรียนดังกล่าวและแจ้งผลการดำเนินการให้กรมทราบภายในระยะเวลาที่กำหนด ข้อ ๑๐ กรมมีอำนาจกำหนดให้มีการตรวจประเมินคุณภาพเพิ่มเติมหรือตรวจประเมินคุณภาพใหม่ทั้งหมด โดยไม่แจ้งให้สำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองทราบล่วงหน้าได้ตลอดระยะเวลาอายุหนังสือรับรอง เมื่อมีเหตุดังต่อไปนี้ (๑) มีเหตุที่น่าเชื่อว่าคุณภาพของสำงานบัญชีลดลง ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี (๒) มีการเปลี่ยนแปลงในสำนักงานที่เป็นสาระสำคัญและมีผลต่อการดำเนินงานของสำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรอง (๓) มีข้อร้องเรียนที่มีมูลเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี ข้อ ๑๑ กรณีหนังสือรับรองสิ้นอายุ และสำนักงานบัญชีมีความประสงค์ต่ออายุหนังสือรับรองให้ดำเนินการ ดังนี้ (๑) แจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องตามแบบคำขอต่ออายุหนังสือรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี (แบบ ร.สบ. ๒) ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ พร้อมด้วยหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบ ร.สบ. ๒ ภายใน ๙๐ วัน ก่อนวันที่หนังสือรับรองสิ้นอายุ (๒) ผ่านขั้นตอนการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีตามข้อ ๖ (๒) และ (๓) ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นสาระสำคัญในสำนักงานที่ได้รับหนังสือรับรองแล้ว เช่น ย้ายที่ตั้งสำนักงาน การโอนกิจการ การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับสูง การเปลี่ยนแปลงสถานะของสำนักงานบัญชี เป็นต้น สำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองจะต้องแจ้งการย้ายหรือการเปลี่ยนแปลงเช่นว่านั้นต่อกรมภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง แล้วแต่กรณี ตามแบบคำขอทั่วไป (แบบ ร.สบ. ๓) ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ พร้อมกับแนบเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบ ร.สบ. ๓ และในกรณีดังกล่าว สำนักงานบัญชีจะต้องรับการตรวจประเมินคุณภาพใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วนตามความเหมาะสม ซึ่งเมื่อผ่านการตรวจประเมินแล้วจะได้รับหนังสือรับรองฉบับใหม่ที่มีอายุเท่ากับหนังสือรับรองฉบับเดิม ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ประสงค์จะยกเลิกการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีหรือเลิกประกอบกิจการด้านการทำบัญชี ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้กรมทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๔๕ วัน นับแต่วันที่สำนักงานบัญชีมีมติยกเลิกการรับรอง หรือเลิกประกอบกิจการ โดยใช้แบบคำขอทั่วไป (แบบ ร.สบ. ๓) ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ พร้อมกับแนบเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบ ร.สบ. ๓ ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ถูกเพิกถอนหนังสือรับรองหรือมีการแจ้งขอยกเลิกการรับรอง หรือเลิกประกอบกิจการด้านการทำบัญชีจะต้องส่งคืนหนังสือรับรองให้แก่กรมภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่งหรือวันยกเลิกการรับรองหรือวันเลิกประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๕ กรมอาจมีคำสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนหนังสือรับรองได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) หัวหน้าสำนักงาน หรือผู้เป็นเจ้าของ หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือกรรมการ แล้วแต่กรณี เป็นบุคคลล้มละลายถูกห้ามประกอบวิชาชีพบัญชีหรือถูกเพิกถอนสมาชิกภาพจากสภาวิชาชีพบัญชี (๒) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่กำหนดในข้อ ๙ (๓) กรณีอื่น ๆ ที่กรมพิจารณาแล้วเห็นว่าสำนักงานบัญชีอาจกระทำให้เกิดความเสียหายหรือมีผลกระทบต่อการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี ข้อ ๑๖ หากสำนักงานบัญชีถูกพักใช้หรือเพิกถอนหนังสือรับรอง และถ้าปรากฏว่าสำนักงานบัญชีนั้นมีสำนักงานบัญชีแห่งอื่นหรือสำนักงานสาขา ที่มีหัวหน้าสำนักงาน หรือผู้เป็นเจ้าของ หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือกรรมการ เป็นคนเดียวกันหรือกลุ่มเดียวกัน ผู้ตรวจประเมินจะเข้าไปตรวจประเมินคุณภาพสำนักงานบัญชีแห่งอื่น หรือสำนักงานสาขานั้น ๆ ด้วย และถ้ามีความเสียหายหรือมีผลกระทบต่อการรับรองคุณภาพ สำนักงานบัญชีแห่งอื่นหรือสำนักงานสาขานั้น อาจถูกพักใช้หรือเพิกถอนหนังสือรับรองได้ ข้อ ๑๗ การพักใช้หนังือรับรองครั้งหนึ่งมีกำหนดระยะเวลา ๑๘๐ วัน ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ถูกพักใช้ หรือเพิกถอนหนังสือรับรอง หรือมีการแจ้งขอยกเลิกการรับรอง หรือเลิกประกอบกิจการด้านการทำบัญชี ต้องยุติการใช้สิ่งพิมพ์ สื่อโฆษณา ที่มีการอ้างอิงถึงการได้รับการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีโดยทันที ข้อ ๑๙ สำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองรายใดถูกสั่งพักใช้หนังสือรับรองแล้ว หากมีเหตุที่กรมอาจสั่งพักหรือเพิกถอนหนังสือรับรองตามข้อ ๑๕ ซ้ำอีก ภายในกำหนดระยะเวลา ๓ ปี นับแต่วันถูกสั่งพักใช้หนังสือรับรองครั้งแรก กรมจะเพิกถอนหนังสือรับรอง ข้อ ๒๐ กรณีที่หนังสือรับรองชำรุด หรือสูญหาย หรือมีการเปลี่ยนชื่อสำนักงานบัญชี ให้สำนักงานบัญชียื่นคำร้องต่อกรมภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่หนังสือรับรองชำรุด หรือสูญหาย หรือมีการเปลี่ยนชื่อสำนักงานบัญชี เพื่อขอรับใบแทนหนังสือรับรอง ข้อ ๒๑ บรรดาผู้ตรวจประเมินที่กรมให้ความเห็นชอบตามข้อ ๖ (๒) (ข) และสำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นผู้ตรวจประเมินที่ได้รับความเห็นชอบ และเป็นสำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองตามประกาศฉบับนี้ ข้อ ๒๒ สำนักงานบัญชีใดที่ได้ยื่นขอรับหนังสือรับรองตามแบบคำขอรับหนังสือรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี (แบบ ร.สบ. ๑) หรือได้ยื่นคำขอต่ออายุหนังสือรับรองตามแบบคำขอต่ออายุหนังสือรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี (แบบ ร.สบ. ๒) หรือได้ยื่นคำขอทั่วไป (แบบ ร.สบ. ๓) ไว้ก่อนประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าได้ยื่นคำขอดังกล่าว แล้วแต่กรณี ตามประกาศฉบับนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ นางสางผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า [เอกสารแนบท้าย] ๑. ข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) จุฑามาศ/จัดทำ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๙
755599
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นงบการเงิน พ.ศ. 2558
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อให้หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงินมีความทันสมัยเหมาะสมกับสภาวการณ์ โดยคำนึงถึงความสะดวก รวดเร็ว และลดภาระของประชาชนเป็นสำคัญ รวมทั้งเพื่อให้ภาครัฐมีข้อมูลที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจของประเทศอย่างครบถ้วน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ๑. ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๘” ๒. ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ๓. ให้ยกเลิก ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดังนี้ (๑) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดวิธีการยื่นแบบนำส่งงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ (แบบส.บช.๓/๑) พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ (๒) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗ (๓) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๕๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ (๔) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ๔. ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ปะกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลกฎหมายรัษฎากร บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด ยื่นงบการเงินและรายการสอบบัญชีทางอิเล็กทรอนิกส์ตามแบบนำส่งงบการเงิน (แบบส.บช.๓) ที่แนบท้ายประกาศนี้ ๕. ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ ให้ยื่นแบบนำส่งงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ (แบบส.บช.๓/๑) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด เพิ่มอีก ๑ ชุด (๑) บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีบุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร หรือนิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละหนึ่งของมูลค่าหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง (๒) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและกิจการร่วมค้าตามประมวลกฎหมายรัษฎากรที่มีผู้ร่วมลงทุนเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร หรือนิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย (๓) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย (๔) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลกฎหมายรัษฎากรที่มีการลงทุนในกิจการที่ต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ การจัดตั้งกิจการสำนักงานสาขาหรือตัวแทนในต่างประเทศ หรือการเข้าร่วมลงทุนกับบุคคลหรือนิติบุคคลในต่างประเทศ โดยมีสัดส่วนการลงทุนหรือการถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละหนึ่งของทุนทั้งหมดของกิจการหรือของมูลค่าหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง แล้วแต่กรณี ๖. ผู้มีหน้าที่ตัดทำบัญชี สามารถยื่นเฉพาะแบบนำส่งงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ (แบบส.บช.๓/๑) ทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ยื่นต่อส่วนสถิติต่างประเทศ ฝ่ายสถิติและข้อสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) ส่งทางไปรษณีย์ไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เลขที่ ๒๗๓ ถนนสามเสน แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐ (๓) ส่งทางโทรสารไปที่หมายเลข ๐-๒๒๘๓-๕๓๐๘ (๔) ส่งทาง-ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ไปที่ form๔๕@bot.or.th (๕) ส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ www.bot.or.th ๗. สมาคมการค้าและหอการค้า สามารถยื่นสำเนารายงานประจำปี งบดุล และสำเนารายงานการประชุมใหญ่ ด้วยตนเองหรือนำส่งทางไปรษณีย์ ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ๘. ในการยื่นงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีใช้ Username และ Password ที่ได้รับจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แทนการลงลายมือชื่อในงบการเงิน สำเนารายงานประจำปี งบดุลและบัญชีกำไรขาดทุน สำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้น แบบ ส.บช.๓ และแบบ ส.บช.๓/๑ ๙. การขอรับ Username และ Password ให้ยื่นต่อกองข้อมูลธุรกิจ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า เขต ๑ – ๖ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด ตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ พร้อมแนบหลักฐานดังต่อไปนี้ จำนวนอย่างละ ๑ ชุด (๑) หนังสือแสดงความตกลงในการยื่นงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์หรือมติกรรมการอย่างใดอย่างหนึ่ง (๒) สำเนาบัตรประชาขนของกรรมการผู้มีอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (๓) กรณีมอบอำนาจให้แสดงต้นฉบับบัตรประชาชนและแนบสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (๔) หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) ๑๐. ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ยื่นงบการเงิน รายงานการสอบบัญชี รายงานประจำปี สำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้น ทางอิเล็กทรอนิกส์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด กรณีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ยังไม่พร้อมยื่นงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ยื่นด้วยตนเองหรือนำส่งทางไปรษณีย์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และต้องยื่นงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์อีกครั้งหนึ่งภายในสามสิบวันนับแต่วันครบกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายจึงจะถือว่าเป็นการยื่นงบการเงินภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ประกาศ ณ วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ นางสาวผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จุฑามาศ/จัดทำ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๙
712209
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. 2557
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๗[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๗” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ลงวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ (๒) ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง การแจ้งเป็นผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้ทำบัญชีได้ พ.ศ. ๒๕๔๔ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ (๓) ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ (๔) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ (๕) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ (๖) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ (๗) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๔ ผู้ทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (๒) มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ทำบัญชีได้ (๓) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะประกอบวิชาชีพเป็นผู้ทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี (๔) ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเนื่องจากกระทำความผิดตามฐานความผิดหรือกฎหมายที่กำหนดในมาตรา ๓๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ เว้นแต่ต้องคำพิพากษาหรือพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี (๕) มีคุณวุฒิการศึกษา ดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียนไม่เกินห้าล้านบาท มีสินทรัพย์รวมไม่เกินสามสิบล้านบาทและมีรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่งคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี (ข) ผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า หรือได้รับประกาศนียบัตร หรือวุฒิอื่นเทียบเท่าปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีรับรอง ๑) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียน สินทรัพย์รวม หรือรายได้รวมรายการใดรายการหนึ่งเกินกว่าที่กำหนดไว้ใน (ก) ๒) บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ๓) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย ๔) กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร (ค) ในกรณีที่เป็นการเริ่มทำบัญชีรอบปีบัญชีแรกของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คุณวุฒิการศึกษาของผู้ทำบัญชีให้พิจารณาโดยใช้เกณฑ์ทุนจดทะเบียนตามที่กำหนดไว้ใน (ก) และ (ข) แล้วแต่กรณี ข้อ ๕ ในกรณีที่ทุนจดทะเบียน สินทรัพย์รวม หรือรายได้รวมของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามข้อ ๔ (๕) (ก) เปลี่ยนแปลงไปจนทำให้ผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่มีคุณสมบัติของการเป็นผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีนั้นต่อไป ให้ผู้นั้นสามารถเป็นผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังกล่าวต่อไปได้เป็นเวลาสองปีนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชีที่มีการเปลี่ยนแปลง ข้อ ๖ ผู้ทำบัญชีต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชีตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ (๒) แจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) พร้อมด้วยสำเนาหลักฐานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ หรือนับแต่วันเริ่มทำบัญชี โดยใช้แบบ ส.บช. ๕ ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการที่แจ้งไว้ตามวรรคหนึ่งหรือยกเลิกการเป็นผู้ทำบัญชี ต้องแจ้งรายการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) พร้อมด้วยสำเนาหลักฐานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก โดยใช้แบบ ส.บช. ๖ หรือแบบ ส.บช. ๘ แล้วแต่กรณีที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ ผู้ทำบัญชีต้องยืนยันรายชื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่รับทำบัญชี และสถานภาพการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) พร้อมด้วยสำเนาหลักฐานภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของทุกปีปฏิทินโดยใช้แบบ ส.บช. ๑๐ ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ (๓) ต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีไม่น้อยกว่า ๑๒ ชั่วโมงต่อปีปฏิทินเว้นแต่ผู้ทำบัญชีที่แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีสำหรับปีแรกและมีระยะเวลาที่เหลือหลังการแจ้งในปีนั้นน้อยกว่าหกเดือนให้เริ่มพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีในปีถัดไป จำนวนชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีตามวรรคหนึ่ง ต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการบัญชีไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งและเนื้อหาด้านอื่น ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนด การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรม ดังต่อไปนี้ (ก) การอบรมหรือสัมมนา ทั้งนี้ ให้รวมถึงการอบรมหรือสัมมนาในรูปแบบสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) (ข) การเป็นวิทยากร ผู้บรรยาย ผู้ดำเนินการสัมมนา ในกิจกรรมตาม (ก) (ค) การเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษาของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันการศึกษาเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำ กว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า ไม่ว่าจะเป็นการสอนในฐานะอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พิเศษ (ง) การสำเร็จการศึกษาในคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีไม่ว่าคุณวุฒิใหม่นั้นจะสูงกว่าคุณวุฒิเดิมหรือไม่ก็ตาม (จ) การผ่านการศึกษาเฉพาะรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีจากสถาบันการศึกษาของรัฐหรือสถาบันการศึกษาของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันการศึกษาเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า (ฉ) กิจกรรมอื่น นอกจากที่ระบุตาม (ก) (ข) (ค) (ง) และ (จ) ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนด (๔) แจ้งรายละเอียดการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) ได้ทันทีหลังการทำกิจกรรมแต่ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของทุกปีปฏิทิน โดยใช้แบบ ส.บช. ๗ ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ และต้องเก็บหลักฐานการเข้าร่วมพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี นับแต่วันสิ้นสุดของการทำกิจกรรมในแต่ละครั้ง (๕) ผู้ทำบัญชีใดไม่เข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีหรือเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีไม่ครบจำนวนตาม (๓) แม้ว่าถูกเปรียบเทียบตามกฎหมายแล้วยังต้องพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีให้ครบจำนวนชั่วโมงตามระยะเวลาที่ขาดหายไป แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง ทั้งนี้ ไม่นับรวมจำนวนชั่วโมงในปีปัจจุบัน (๖) ผู้ทำบัญชีใดยกเลิกการเป็นผู้ทำบัญชีแล้ว และขอกลับมาเป็นผู้ทำบัญชีใหม่ต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีให้ครบจำนวนชั่วโมงตามระยะเวลาที่ขาดหายไปก่อนการยกเลิกการเป็นผู้ทำบัญชี แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง และแจ้งการขอกลับมาเป็นผู้ทำบัญชีใหม่ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) โดยใช้แบบ ส.บช. ๙ ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ (๗) ผู้ทำบัญชีสามารถรับทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีได้ไม่เกิน ๑๐๐ รายต่อปีปฏิทินไม่ว่าจะเป็นการรับทำบัญชีในรอบปีบัญชีใดก็ตาม ข้อ ๗ ให้ข้อกำหนดตาม ๖ (๓) และ (๗) มีผลใช้บังคับในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๘ ผู้ใดเป็นผู้ทำบัญชีอยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ทำบัญชีตามประกาศนี้และให้ปฏิบัติตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ลงวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติมและประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ข้อ ๙ ผู้ทำบัญชีรายใดที่ได้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการทำบัญชีต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับให้ยืนยันรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีใหม่ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบสมัครสมาชิก / ขึ้นทะเบียนสภาวิชาชีพบัญชี และแบบแจ้งการทำบัญชีของผู้ทำบัญชี (แบบ ส.บช. ๕) ๒. แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้ทำบัญชี (แบบ ส.บช. ๖) ๓. แบบแจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชี (แบบ ส.บช. ๗) ๔. แบบขอยกเลิกการเป็นผู้ทำบัญชี (แบบขอยกเลิกการแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีของผู้ทำบัญชี) (แบบ ส.บช. ๘) ๕. แบบแจ้งขอกลับมาเป็นผู้ทำบัญชี (แบบขอกลับมาแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีของผู้ทำบัญชีใหม่) (แบบ ส.บช. ๙) ๖. แบบแจ้งยืนยันรายชื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่รับทำบัญชี (แบบ ส.บช. ๑๐) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๗๗ ง/หน้า ๑๔/๙ กันยายน ๒๕๕๗
704033
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน พ.ศ. 2557
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๗ เพื่อให้หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงินมีความทันสมัยเหมาะสมกับสภาวการณ์โดยคำนึงถึงความสะดวก รวดเร็ว และลดภาระของประชาชนเป็นสำคัญ รวมทั้งเพื่อให้ภาครัฐมีข้อมูลที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจของประเทศอย่างครบถ้วน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมาย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๗” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก “ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๔ ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชียื่นงบการเงินและรายงานการสอบบัญชี จำนวน ๑ ชุดโดยใช้แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) ที่แนบท้ายประกาศนี้ จำนวน ๒ ชุด ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ดังต่อไปนี้ ยื่นแบบนำส่งงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ (แบบ ส.บช. ๓/๑) ที่แนบท้ายประกาศนี้ เพิ่มขึ้นอีก ๑ ชุด (๑) บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีบุคคลธรรมดา ซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร หรือนิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละหนึ่งของมูลค่าหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง (๒) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรที่มีผู้ร่วมลงทุนเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร หรือนิติบุคคล ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย (๓) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย (๔) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรที่มีการลงทุนในกิจการที่ต่างประเทศซึ่งได้แก่ การจัดตั้งกิจการสำนักงานสาขาหรือตัวแทนในต่างประเทศ หรือการเข้าร่วมลงทุนกับบุคคลหรือนิติบุคคลในต่างประเทศโดยมีสัดส่วนการลงทุนหรือการถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละหนึ่งของทุนทั้งหมดของกิจการหรือของมูลค่าหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงแล้วแต่กรณี การยื่นงบการเงินของบริษัทจำกัดให้ระบุในหน้างบแสดงฐานะการเงินด้วยว่างบการเงินนั้นได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นครั้งที่เท่าใด เมื่อวันที่ เดือน และปี พ.ศ. ใดไว้ด้วย ข้อ ๕ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ลงลายมือชื่อในงบการเงิน แบบ ส.บช. ๓ และแบบ ส.บช. ๓/๑ (๑) หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน (๒) กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด (เว้นแต่งบการเงินของบริษัทมหาชนจำกัดที่ได้จัดพิมพ์ไว้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานประจำปีและจัดทำเป็นรูปเล่ม ซึ่งได้พิมพ์ลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท และลายมือชื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ลงลายมือชื่อรับรองในรายงานการสอบบัญชีของบริษัทไว้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีการลงลายมือชื่อ) (๓) ผู้จัดการหรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ การลงลายมือชื่อในงบการเงินให้ลงลายมือชื่อและประทับตรา (ถ้ามี) ทุกหน้า หมายเหตุประกอบงบการเงินให้บุคคลตาม (๑) - (๓) จำนวน ๑ คน ลงลายมือชื่อเฉพาะหน้าสุดท้าย ข้อ ๖ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชียื่นงบการเงินได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ยื่นต่อสำนักข้อมูลธุรกิจ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต ๑ - ๖ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด และสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสาขา แห่งหนึ่งแห่งใดก็ได้ (๒) ส่งทางไปรษณีย์โดยสามารถเลือกส่งได้ ดังนี้ - รับประกันการสูญหาย (ส่งได้เฉพาะที่ทำการไปรษณีย์ในเขตกรุงเทพมหานครและที่ทำการไปรษณีย์นนทบุรี) - ลงทะเบียนตอบรับ (ส่งได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ) โดยส่งไปที่สำนักข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เลขที่ ๔๔/๑๐๐ ถนนนนทบุรี ๑ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ และแนบซองจดหมายจ่าหน้าถึงผู้ยื่นงบการเงินพร้อมผนึกดวงตราไปรษณียากร ซึ่งหากเอกสารหลักฐานที่ยื่นครบถ้วนถูกต้องจะถือวันที่ไปรษณีย์ประทับตราต้นทางเป็นวันที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชียื่นงบการเงิน ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามข้อ ๔ วรรคสอง สามารถยื่นแบบ ส.บช. ๓/๑ พร้อมกับแบบ ส.บช. ๓ และงบการเงินได้ตามวิธีการ และสถานที่ที่กำหนดไว้ในวรรคก่อน หรือยื่นแบบ ส.บช. ๓/๑ โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ยื่นต่อส่วนสถิติดุลการชำระเงิน ฝ่ายบริหารข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) ส่งทางไปรษณีย์ไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เลขที่ ๒๗๓ ถนนสามเสน แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐ (๓) ส่งทางโทรสารไปที่หมายเลข ๐ - ๒๒๘๓ - ๖๒๙๙, ๐ - ๒๒๘๓ - ๕๓๐๘ (๔) ส่งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E – mail) ไปที่ form๔๕@bot.or.th (๕) ส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ www.bot.or.th ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) ๒. แบบนำส่งงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ (แบบ ส.บช. ๓/๑) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ เมษายน ๒๕๕๗ จุฑามาศ/ผู้ตรวจ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๓๔/๑ เมษายน ๒๕๕๗
702710
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ. 2557
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๗[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ วรรคท้าย แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๗” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ข้อ ๓ ในประกาศฉบับนี้ “สำนักงานบัญชี” หมายถึง บุคคลธรรมดา หรือคณะบุคคล หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนและมีสถานที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งให้บริการด้านการทำบัญชี “หัวหน้าสำนักงาน” หมายถึง ผู้รับผิดชอบการดำเนินงานของสำนักงานบัญชีในการให้บริการจัดทำบัญชีแก่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี “ผู้ทำบัญชี” หมายถึง ผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ที่สังกัดในสำนักงานบัญชี “ผู้ตรวจประเมิน” หมายถึง ผู้ทำหน้าที่ตรวจประเมินสำนักงานบัญชีที่ยื่นขอรับการรับรองคุณภาพและตรวจติดตามการดำเนินงานของสำนักงานบัญชีคุณภาพ “ข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี” หมายถึง ข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีที่แนบท้ายประกาศนี้ “หนังสือรับรอง” หมายถึง หนังสือรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกให้แก่สำนักงานบัญชีที่ผ่านการตรวจประเมินตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี “กรม” หมายถึง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ “อธิบดี” หมายถึง อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ข้อ ๔ สำนักงานบัญชีที่จะยื่นขอรับหนังสือรับรองต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (๑) รับทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ไม่น้อยกว่า ๓๐ ราย และประกอบกิจการด้านการจัดทำบัญชีมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี (๒) มีหัวหน้าสำนักงานที่มีคุณสมบัติ ดังนี้ (ก) มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษา ซึ่งคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีปฏิบัติงานเต็มเวลา และมีประสบการณ์ด้านการจัดทำบัญชีไม่น้อยกว่า ๕ ปี (ข) ได้แจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ (๓) มีผู้ช่วยทำบัญชีที่มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษา ซึ่งคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี และปฏิบัติงานเต็มเวลาอย่างน้อย ๑ คน (๔) มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (๕) กรณีผู้เป็นเจ้าของ หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือกรรมการ เป็นหัวหน้าสำนักงาน ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือกรรมการ แล้วแต่กรณี ต้องมีคุณสมบัติตามข้อ ๔ (๒) ข้อ ๕ สำนักงานบัญชีที่จะยื่นขอรับหนังสือรับรองต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้ (๑) เคยถูกเพิกถอนหนังสือรับรอง เว้นแต่พ้นระยะเวลาที่ถูกเพิกถอนมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี (๒) ฝ่าฝืนเงื่อนไขตามข้อ ๑๔ และข้อ ๑๘ เว้นแต่พ้นระยะเวลาที่ฝ่าฝืนมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี (๓) หัวหน้าสำนักงานเป็นบุคคลล้มละลาย (๔) กรณีผู้เป็นเจ้าของ หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือกรรมการ เป็นหัวหน้าสำนักงาน ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือกรรมการ แล้วแต่กรณี ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๕ (๓) ข้อ ๖ สำนักงานบัญชีที่ยื่นขอรับหนังสือรับรองต้องปฏิบัติ และผ่านขั้นตอนการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี ดังนี้ (๑) แจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการขอรับรองคุณภาพตามแบบคำขอหนังสือรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี (แบบ ร.สบ. ๑) ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ พร้อมด้วยหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบ ร.สบ. ๑ ในกรณีสำนักงานบัญชีมีสำนักงานหลายแห่งแยกต่างหากจากกันให้แยกคำขอของแต่ละสำนักงานที่ประสงค์จะขอหนังสือรับรอง (๒) เข้ารับและผ่านการตรวจประเมินคุณภาพตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี โดยผู้ตรวจประเมินจากหน่วยงานที่กรมกำหนด ดังนี้ (ก) สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) หรือ (ข) หน่วยงานอื่นตามที่อธิบดีให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ สำนักงานบัญชีเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการตรวจประเมินคุณภาพตามอัตราที่หน่วยตรวจประเมินเรียกเก็บ กรณีสำนักงานบัญชีที่ยื่นขอรับหนังสือรับรอง ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพจากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) หรือหน่วยงานอื่นตามที่อธิบดีให้ความเห็นชอบแล้ว จะได้รับยกเว้นการตรวจประเมินคุณภาพในข้อกำหนดการรับรองมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ แต่ต้องได้รับการตรวจสอบเกี่ยวกับมาตรฐานทางบัญชี และข้อกำหนดอื่นที่กรมกำหนดเพิ่มเติมโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม (๓) ผ่านความเห็นชอบจากกรม ข้อ ๗ สำนักงานบัญชีที่ผ่านขั้นตอนการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีแล้วจะได้รับหนังสือรับรองและจะได้รับการเผยแพร่ชื่อและที่ตั้งของสำนักงานบัญชีให้สาธารณชนทราบ ข้อ ๘ หนังสือรับรองมีกำหนดอายุ ๓ ปี นับแต่วันที่ออกหนังสือรับรอง ข้อ ๙ ตลอดระยะเวลาอายุหนังสือรับรอง สำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี ซึ่งรวมถึงในกรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดในภายหลัง (๒) เข้ารับการตรวจประเมินคุณภาพจากผู้ตรวจประเมินอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ซึ่งอาจเป็นการตรวจประเมินใหม่ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนตามความเหมาะสม โดยสำนักงานบัญชีเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการตรวจประเมินคุณภาพตามอัตราที่หน่วยตรวจประเมินเรียกเก็บ กรณีสำนักงานบัญชีที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ จากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) หรือหน่วยงานอื่นตามที่อธิบดีให้ความเห็นชอบแล้ว จะต้องเข้ารับการตรวจประเมินคุณภาพอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง โดยจะได้รับยกเว้นการตรวจประเมินคุณภาพในข้อกำหนดการรับรองมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ แต่ต้องได้รับการตรวจสอบเกี่ยวกับมาตรฐานทางบัญชีและข้อกำหนดอื่นที่กรมกำหนดเพิ่มเติม โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม หากสำนักงานบัญชีมีความประสงค์เข้ารับการตรวจประเมินคุณภาพพร้อมกันในคราวเดียวกับการตรวจประเมินมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพของสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) หรือหน่วยงานอื่นตามที่อธิบดีให้ความเห็นชอบก็สามารถดำเนินการได้ โดยสำนักงานบัญชีเป็นผู้รับผิดชอบเฉพาะค่าใช้จ่ายในการตรวจตามมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพตามอัตราที่สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) หรือหน่วยงานอื่นตามที่อธิบดีให้ความเห็นชอบเรียกเก็บ (๓) ให้ความร่วมมือกับผู้ตรวจประเมินทุกครั้งที่รับการตรวจประเมิน และยินยอมให้หน่วยงานอื่นที่กรมเห็นชอบเข้าร่วมสังเกตการณ์ตรวจประเมินรวมทั้งส่งมอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับรองคุณภาพแก่ผู้ตรวจประเมินและกรมเมื่อได้รับการร้องขอ (๔) ไม่นำหนังสือรับรองไปใช้ในทางที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อกรมหรือนำไปใช้อ้างอิงต่อบุคคลอื่นในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด (๕) ในกรณีที่กรมแจ้งเรื่องร้องเรียนของบุคคลที่สามเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี สำนักงานบัญชีจะต้องดำเนินการพิจารณาข้อร้องเรียนดังกล่าวและแจ้งผลการดำเนินการให้กรมทราบภายในระยะเวลาที่กำหนด ข้อ ๑๐ กรมมีอำนาจกำหนดให้มีการตรวจประเมินคุณภาพเพิ่มเติมหรือตรวจประเมินคุณภาพใหม่ทั้งหมด โดยไม่แจ้งให้สำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองทราบล่วงหน้าได้ตลอดระยะเวลาอายุหนังสือรับรอง เมื่อมีเหตุดังต่อไปนี้ (๑) มีเหตุที่น่าเชื่อว่าคุณภาพของสำนักงานบัญชีลดลง ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี (๒) มีการเปลี่ยนแปลงในสำนักงานที่เป็นสาระสำคัญและมีผลต่อการดำเนินงานของสำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรอง (๓) มีข้อร้องเรียนที่มีมูลเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี ข้อ ๑๑ กรณีหนังสือรับรองสิ้นอายุและสำนักงานบัญชีมีความประสงค์ต่ออายุหนังสือรับรองให้ดำเนินการ ดังนี้ (๑) แจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องตามแบบคำขอต่ออายุหนังสือรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี (แบบ ร.สบ. ๒) ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ พร้อมด้วยหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบ ร.สบ. ๒ ภายใน ๙๐ วัน ก่อนวันที่หนังสือรับรองสิ้นอายุ (๒) ผ่านขั้นตอนการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีตามข้อ ๖ (๒) และ (๓) ข้อ ๑๒ ในกรณีมีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นสาระสำคัญในสำนักงานที่ได้รับหนังสือรับรองแล้ว เช่น ย้ายที่ตั้งสำนักงาน การโอนกิจการ การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับสูง การเปลี่ยนแปลงสถานะของสำนักงานบัญชี เป็นต้น สำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองจะต้องแจ้งการย้ายหรือการเปลี่ยนแปลงเช่นว่านั้นต่อกรมภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง แล้วแต่กรณี ตามแบบคำขอทั่วไป (แบบ ร.สบ. ๓) ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ พร้อมกับแนบเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบ ร.สบ. ๓ และในกรณีดังกล่าว สำนักงานบัญชีนั้นจะต้องรับการตรวจประเมินคุณภาพใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วนตามความเหมาะสม ซึ่งเมื่อผ่านการตรวจประเมินแล้วจะได้รับหนังสือรับรองฉบับใหม่ที่มีอายุเท่ากับหนังสือรับรองฉบับเดิม ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ประสงค์จะยกเลิกการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีหรือเลิกประกอบกิจการด้านการทำบัญชี ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้กรมทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๔๕ วัน นับแต่วันที่สำนักงานบัญชีมีมติยกเลิกการรับรอง หรือเลิกประกอบกิจการ โดยใช้แบบคำขอทั่วไป (แบบ ร.สบ. ๓) ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ พร้อมกับแนบเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบ ร.สบ. ๓ ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ถูกเพิกถอนหนังสือรับรองหรือมีการแจ้งขอยกเลิกการรับรอง หรือเลิกประกอบกิจการด้านการทำบัญชีจะต้องส่งคืนหนังสือรับรองให้แก่กรมภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่งหรือวันยกเลิกการรับรองหรือวันเลิกประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๕ กรมอาจมีคำสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนหนังสือรับรองได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) หัวหน้าสำนักงาน หรือผู้เป็นเจ้าของ หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือกรรมการ แล้วแต่กรณี เป็นบุคคลล้มละลายถูกห้ามประกอบวิชาชีพบัญชีหรือถูกเพิกถอนสมาชิกภาพจากสภาวิชาชีพบัญชี (๒) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่กำหนดในข้อ ๙ (๓) กรณีอื่น ๆ ที่กรมพิจารณาแล้วเห็นว่าสำนักงานบัญชีอาจกระทำให้เกิดความเสียหายหรือมีผลกระทบต่อการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี ข้อ ๑๖ หากสำนักงานบัญชีถูกพักใช้หรือเพิกถอนหนังสือรับรองและถ้าปรากฏว่าสำนักงานบัญชีนั้นมีสำนักงานบัญชีแห่งอื่นหรือสำนักงานสาขาที่มีหัวหน้าสำนักงานหรือผู้เป็นเจ้าของหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือกรรมการ เป็นคนเดียวกันหรือกลุ่มเดียวกัน ผู้ตรวจประเมินจะเข้าไปตรวจประเมินคุณภาพสำนักงานบัญชีแห่งอื่นหรือสำนักงานสาขานั้น ๆ ด้วยและถ้ามีความเสียหายหรือมีผลกระทบต่อการรับรองคุณภาพ สำนักงานบัญชีแห่งอื่นหรือสำนักงานสาขานั้น อาจถูกพักใช้หรือเพิกถอนหนังสือรับรองได้ ข้อ ๑๗ การพักใช้หนังสือรับรองครั้งหนึ่งมีกำหนดระยะเวลา ๑๘๐ วัน ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ถูกพักใช้หรือเพิกถอนหนังสือรับรองหรือมีการแจ้งขอยกเลิกการรับรองหรือเลิกประกอบกิจการด้านการทำบัญชีต้องยุติการใช้สิ่งพิมพ์ สื่อโฆษณา ที่มีการอ้างอิงถึงการได้รับการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี เมื่อได้รับการแจ้งหรือแจ้งโดยทันที ข้อ ๑๙ สำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองรายใดถูกสั่งพักใช้หนังสือรับรองแล้ว หากมีเหตุที่กรมอาจสั่งพักหรือเพิกถอนหนังสือรับรองตามข้อ ๑๕ ซ้ำอีกภายในกำหนดระยะเวลา ๓ ปี นับแต่วันถูกสั่งพักใช้หนังสือรับรองครั้งแรกกรมจะเพิกถอนหนังสือรับรอง ข้อ ๒๐ กรณีที่หนังสือรับรองชำรุดหรือสูญหายหรือมีการเปลี่ยนชื่อสำนักงานบัญชี ให้สำนักงานบัญชียื่นคำร้องต่อกรมภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่หนังสือรับรองชำรุดหรือสูญหายหรือมีการเปลี่ยนชื่อสำนักงานบัญชี เพื่อขอรับใบแทนหนังสือรับรอง ข้อ ๒๑ บรรดาผู้ตรวจประเมินที่อธิบดีให้ความเห็นชอบตามข้อ ๖ (๒) (ข) และสำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นผู้ตรวจประเมินที่ได้รับความเห็นชอบและเป็นสำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองตามประกาศฉบับนี้ ข้อ ๒๒ สำนักงานบัญชีใดที่ได้ยื่นขอรับหนังสือรับรองตามแบบคำขอรับหนังสือรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี (แบบ ร.สบ. ๑) หรือได้ยื่นคำขอต่ออายุหนังสือรับรองตามแบบคำขอต่ออายุหนังสือรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี (แบบ ร.สบ. ๒) หรือได้ยื่นคำขอทั่วไป (แบบ ร.สบ. ๓) ไว้ก่อนประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าได้ยื่นคำขอดังกล่าว แล้วแต่กรณี ตามประกาศฉบับนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า [เอกสารแนบท้าย] ๑. ข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี (เอกสารแนบท้าย ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๗) ๒. คำขอรับหนังสือรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี (แบบ ร.สบ. ๑) ๓. คำขอต่ออายุหนังสือรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี (แบบ ร.สบ. ๒) ๔. คำขอทั่วไป (แบบ ร.สบ. ๓) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ อุษมล/ผู้ตรวจ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๓๔ ง/หน้า ๒๙/๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
666571
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การจัดทำบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน ตามมาตรา 68 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศกรมสรรพากร ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การจัดทำบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน ตามมาตรา ๖๘ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร[๑] ตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ออกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๔ ยกเลิกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๒ และกำหนดให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ ต้องจัดทำงบการเงินตามรูปแบบของแต่ละประเภท โดยให้ถือปฏิบัติสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ดังนี้ ๑. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้า ต้องจัดทำ “งบแสดงฐานะทางการเงิน” แทน “งบดุล” ๒. บริษัทมหาชนจำกัด ต้องจัดทำ “งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ” แทน “งบกำไรขาดทุน” ๓. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้า ยังคงจัดทำ “งบกำไรขาดทุน” ตามข้อกฎหมายเดิม แต่โดยเหตุที่ตามมาตรา ๖๘ ทวิ และมาตรา ๖๙ แห่งประมวลรัษฎากร ได้บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา ๖๕ แห่งประมวลรัษฎากร ให้มีหน้าที่จัดทำ “บัญชีงบดุล” “บัญชีทำการ” และ “บัญชีกำไรขาดทุน” พร้อมทั้งแนบบัญชีดังกล่าวที่มีผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา ๓ สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองไปพร้อมกับแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด. ๕๐) จึงเป็นผลให้ชื่อบัญชีอันเป็นงบการเงินที่ต้องจัดทำตามกฎหมาย ว่าด้วยการบัญชีกับบัญชีที่ต้องจัดทำตามประมวลรัษฎากร ดังกล่าวไม่สอดคล้องกัน ดังนั้น เพื่อให้การจัดทำ “บัญชีงบดุล” และ “บัญชีกำไรขาดทุน” ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา ๓๙ แห่งประมวลรัษฎากร เป็นไปโดยถูกต้อง และเป็นการอำนวยความสะดวกแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิดังกล่าว กรมสรรพากรจึงกำหนดให้ “งบแสดงฐานะการเงิน” “งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ” และ “งบกำไรขาดทุน” ในงบการเงินที่ต้องจัดทำตามกฎหมาย ว่าด้วยการบัญชี เป็น “บัญชีงบดุล” และ “บัญชีกำไรขาดทุน” ที่ต้องจัดทำตามมาตรา ๖๘ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ “งบแสดงฐานะทางการเงิน” ในงบการเงินที่ต้องจัดทำตามกฎหมาย ว่าด้วยการบัญชี เป็น “บัญชีงบดุล” ตามมาตรา ๖๘ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๒ ให้ “งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ” ในงบการเงินที่ต้องจัดทำตามกฎหมาย ว่าด้วยการบัญชี เป็น “บัญชีกำไรขาดทุน” ตามมาตรา ๖๘ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๓ ให้ “งบกำไรขาดทุน” ในงบการเงินที่ต้องจัดทำตามกฎหมาย ว่าด้วยการบัญชี เป็น “บัญชีกำไรขาดทุน”ตามมาตรา ๖๘ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ สาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๗๐ ง/หน้า ๒๙/๒๖ เมษายน ๒๕๕๕
661997
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน พ.ศ. 2555
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๕ เพื่อให้หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงินมีความทันสมัยเหมาะสมกับสภาวการณ์ โดยคำนึงถึงความสะดวก รวดเร็ว และลดภาระของประชาชนเป็นสำคัญ รวมทั้งเพื่อให้ภาครัฐมีข้อมูลที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจของประเทศอย่างครบถ้วน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมาย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ (๒) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ข้อ ๔ ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชียื่นงบการเงินและรายงานการสอบบัญชี จำนวน ๑ ชุด โดยใช้แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช.3) ที่แนบท้ายประกาศนี้ จำนวน ๒ ชุด ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ดังต่อไปนี้ ยื่นแบบนำส่งงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ (แบบ ส.บช.3/1) ที่แนบท้ายประกาศนี้ เพิ่มขึ้นอีก ๑ ชุด (๑) บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีบุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร หรือนิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละหนึ่งของมูลค่าหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง (๒) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรที่มีผู้ร่วมลงทุนเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร หรือนิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย (๓) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย (๔) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรที่มีการลงทุนในกิจการที่ต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ การจัดตั้งกิจการสำนักงานสาขาหรือตัวแทนในต่างประเทศ หรือการเข้าร่วมลงทุนกับบุคคลหรือนิติบุคคลในต่างประเทศโดยมีสัดส่วนการลงทุนหรือการถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละหนึ่งของทุนทั้งหมดของกิจการหรือของมูลค่าหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงแล้วแต่กรณี การยื่นงบการเงินของบริษัทจำกัดให้ระบุในหน้างบดุลด้วยว่างบการเงินนั้นได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นครั้งที่เท่าใด เมื่อวันที่ เดือน และปี พ.ศ. ใดไว้ด้วย ข้อ ๕ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ลงลายมือชื่อในงบการเงิน แบบ ส.บช.3 และ แบบ ส.บช.3/1 (๑) หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน (๒) กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด (เว้นแต่งบการเงินของบริษัทมหาชนจำกัดที่ได้จัดพิมพ์ไว้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานประจำปีและจัดทำเป็นรูปเล่ม ซึ่งได้พิมพ์ลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท และลายมือชื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ลงลายมือชื่อรับรองในรายงานการสอบบัญชีของบริษัทไว้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีการลงลายมือชื่อ) (๓) ผู้จัดการหรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ การลงลายมือชื่อในงบการเงินให้ลงลายมือชื่อและประทับตรา (ถ้ามี) ทุกหน้า หมายเหตุประกอบงบการเงินให้บุคคลตาม (๑) - (๓) จำนวน ๑ คน ลงลายมือชื่อเฉพาะหน้าสุดท้าย ข้อ ๖ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชียื่นงบการเงินได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ (๑) ยื่นต่อสำนักข้อมูลธุรกิจ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต ๑ - ๕ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด และสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสาขา แห่งหนึ่งแห่งใดก็ได้ (๒) ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปที่สำนักข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เลขที่ ๔๔/๑๐๐ ถนนนนทบุรี ๑ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ และแนบซองจดหมายจ่าหน้าถึงผู้ยื่นงบการเงินพร้อมผนึกดวงตราไปรษณียากร ซึ่งหากเอกสารหลักฐานที่ยื่นครบถ้วนถูกต้องจะถือวันที่ไปรษณีย์ประทับตราต้นทางเป็นวันที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชียื่นงบการเงิน ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามข้อ ๔ วรรคสอง สามารถยื่นแบบ ส.บช. 3/1 พร้อมกับแบบ ส.บช.3 และงบการเงินได้ตามวิธีการ และสถานที่ที่กำหนดไว้ในวรรคก่อน หรือยื่นแบบ ส.บช. 3/1 โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ยื่นต่อส่วนสถิติดุลการชำระเงิน ฝ่ายบริหารข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) ส่งทางไปรษณีย์ไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เลขที่ ๒๗๓ ถนนสามเสน แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐ (๓) ส่งทางโทรสารไปที่หมายเลข ๐ - ๒๒๘๓ - ๖๒๙๙, ๐ - ๒๒๘๓ - ๕๓๐๘ (๔) ส่งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E–mail) ไปที่ form๔๕@bot.or.th (๕) ส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ www.bot.or.th ประกาศ ณ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ บรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช.3) ๒. คำแนะนำในการกรอกข้อมูลในแบบ ส.บช.3 ๓. แบบนำส่งงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ (แบบ ส.บช.3/1) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๒๒ ง/หน้า ๑๙/๒๔ มกราคม ๒๕๕๕
656852
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๔[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๒ งบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ คือ (๑) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๑ (๒) บริษัทจำกัด ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๒ (๓) บริษัทมหาชนจำกัด ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๓ (๔) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๔ (๕) กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๕ ข้อ ๓ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ที่ลักษณะหรือสภาพธุรกิจไม่เป็นกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ตามที่กำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนด ต้องจัดทำงบการเงินที่มีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๓ ข้อ ๔ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ที่ลักษณะหรือสภาพธุรกิจเป็นกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ตามที่กำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนด แต่มีความประสงค์จะจัดทำบัญชีและงบการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนดโดยอ้างอิงมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (International Financial Report Standard : IFRS) ต้องจัดทำงบการเงินที่มีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๓ ข้อ ๕ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่จัดทำงบการเงินตามแบบ ๓ ให้เลือกแสดงงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จแบบใดแบบหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย แสดงแบบงบเดียว (๒) แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย แสดงแบบสองงบ (๓) แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ - แบบขั้นเดียว แสดงแบบงบเดียว (๔) แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ - แบบขั้นเดียว แสดงแบบสองงบ (๕) แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ - แบบหลายขั้น แสดงแบบงบเดียว (๖) แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ - แบบหลายขั้น แสดงแบบสองงบ ข้อ ๖ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ที่จัดทำงบการเงินตามแบบ ๑ แบบ ๒ แบบ ๔ และแบบ ๕ ตามลำดับ ให้เลือกแสดงงบกำไรขาดทุนแบบใดแบบหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย (๒) แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ - แบบขั้นเดียว (๓) แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ - แบบหลายขั้น ข้อ ๗ ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของธุรกิจไม่มีรายการที่ต้องแสดงรายการย่อครบตามแบบที่กำหนดไว้ ก็ให้งดเว้นไม่ต้องแสดงรายการย่อที่ไม่มีดังกล่าว ข้อ ๘ ในกรณีที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินกำหนดให้มีการแสดงรายการที่แตกต่างหรือนอกเหนือจากรายการที่กำหนดไว้ตามประกาศฉบับนี้ ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสำหรับการจัดทำงบการเงินซึ่งมีรอบปีบัญชีเริ่มต้นในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ บรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า [เอกสารแนบท้าย] ๑. งบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน (แบบ ๑) ๒. งบการเงินของบริษัทจำกัด (แบบ ๒) ๓. งบการเงินของบริษัทมหาชนจำกัด (แบบ ๓) ๔. งบการเงินของนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ (แบบ ๔) ๕. งบการเงินของกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร (แบบ ๕) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๓๒ ง/หน้า ๕/๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
649891
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๓ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมาย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (๒) ของข้อ ๔ ของประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๒) สถานที่ยื่นงบการเงิน ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค สามารถยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชี (สำนักข้อมูลธุรกิจ และสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า เขต ๑ - ๕ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) และสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ (สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสาขา) แห่งหนึ่งแห่งใดก็ได้” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ บรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๖๑ ง/หน้า ๔๔/๑ มิถุนายน ๒๕๕๔
629622
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง ขยายระยะเวลาการยื่นงบการเงินประจำปี 2552 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง ขยายระยะเวลาการยื่นงบการเงินประจำปี ๒๕๕๒ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] ตามที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ออกประกาศ เรื่อง ขยายระยะเวลาการยื่นงบการเงินประจำปี ๒๕๕๒ พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๓ เพื่อขยายระยะเวลาการยื่นงบการเงิน สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด นิติบุคคลต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้า ที่มีสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ ในท้องที่เขตสาธร เขตบางรัก และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบออกไปจนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ แล้ว นั้น เนื่องจากปรากฏว่า เหตุการณ์ความไม่สงบจากการชุมนุมทางการเมืองได้ขยายพื้นที่ออกไปทุกท้องที่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงให้ขยายระยะเวลายื่นงบการเงินสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด นิติบุคคลต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าที่มีสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ในกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดปทุมธานี ออกไปจนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ เพิ่มเติม ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ บรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปริยานุช/จัดทำ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๐ ง/หน้า ๑๕/๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
629420
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน พ.ศ. 2553
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๓ ตามที่ได้มีประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ และประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ บัดนี้ เห็นสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงินให้สอดคล้องกับมาตรา ๓๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ เพื่อให้ทันสมัยเหมาะสมกับสภาวการณ์ โดยคำนึงถึงความสะดวก รวดเร็ว และลดภาระของประชาชนเป็นสำคัญ รวมทั้งเพื่อให้ภาครัฐมีข้อมูลที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจของประเทศอย่างครบถ้วน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมาย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ (๒) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ (๓) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ (๔) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดวิธีการยื่นแบบนำส่งงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ (แบบ ส.บช.3/1) ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๔ ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชียื่นงบการเงินตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้ (๑) แบบนำส่งงบการเงิน ในการยื่นงบการเงินให้ใช้แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช.3) ที่แนบท้ายประกาศนี้ (๒) สถานที่ยื่นงบการเงิน ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค สามารถจะยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชี (สำนักบริการข้อมูลธุรกิจ ฝ่ายบริการข้อมูลธุรกิจในสำนักบริการจดทะเบียนธุรกิจ ๑-๗ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) และสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ (สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด) แห่งหนึ่งแห่งใดก็ได้ (๓) วิธีการยื่นงบการเงิน การยื่นงบการเงินอาจยื่นต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง ณ สถานที่ยื่นงบการเงินตาม (๒) หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ พร้อมแนบซองจ่าหน้าถึงผู้ยื่นงบการเงินโดยผนึกดวงตราไปรษณียากรด้วย ในกรณีการยื่นงบการเงินโดยส่งทางไปรษณีย์หากเอกสารหลักฐานที่ยื่นครบถ้วนถูกต้องจะถือเอาวันที่ไปรษณีย์ประทับตราต้นทางเป็นวันที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชียื่นงบการเงิน (๔) จำนวนแบบและงบการเงินที่จะต้องยื่น ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีทั้งที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค ยื่นแบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช.3) ๒ ฉบับ งบการเงินและรายงานการสอบบัญชี ๑ ชุด (๕) ในกรณีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ ดังต่อไปนี้ ให้ยื่นแบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช.3/1) ที่แนบท้ายประกาศนี้ เพิ่มขึ้นอีกจำนวน ๑ ชุด (ก) บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีบุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร หรือนิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละหนึ่งของมูลค่าหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง (ข) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรที่มีผู้ร่วมลงทุนเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือนิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย (ค) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย (ง) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรที่มีการลงทุนในกิจการที่ต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ การจัดตั้งกิจการ สำนักงานสาขาหรือตัวแทนในต่างประเทศ หรือการเข้าร่วมลงทุนกับบุคคลหรือนิติบุคคลในต่างประเทศโดยมีสัดส่วนการลงทุนหรือการถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละหนึ่งของทุนทั้งหมดของกิจการหรือของมูลค่าหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง แล้วแต่กรณี การยื่นแบบนำส่งงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ (แบบ ส.บช.3/1) ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีอาจยื่นต่อสถานที่ยื่นงบการเงินตาม (๒) โดยยื่นพร้อมกับแบบ ส.บช.3 ซึ่งยื่นพร้อมงบการเงินหรือแยกแบบนำส่งงบการเงินเกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ (แบบ ส.บช.3/1) เพื่อยื่นต่อธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรงที่ส่วนสถิติดุลการชำระเงิน ฝ่ายบริหารข้อมูล เลขที่ ๒๗๓ ถนนสามเสน แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐ หรือส่งทางไปรษณีย์ หรือส่งทางโทรสารไปที่หมายเลข ๐ - ๒๒๘๓ - ๖๒๙๙ หรือ ๐ - ๒๒๘๓ - ๕๓๐๘ หรือส่งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ไปที่ [email protected] หรือส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ www.bot.or.th ทางหนึ่งทางใดก็ได้ (๖) การลงชื่อในแบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช.3) งบการเงินและเอกสารประกอบในการยื่นงบการเงินให้ผู้มีอำนาจกระทำการแทน ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ดังต่อไปนี้ เป็นผู้ลงนามหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ผู้จัดการหรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรหรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศแล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่อและประทับตรา (ถ้ามี) ในแบบ ส.บช.3 แบบ ส.บช.3/1 งบการเงินทุกหน้า สำหรับหมายเหตุประกอบงบการเงินให้ผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหนึ่งคนลงนามเฉพาะหน้าสุดท้าย แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช.3) ให้ผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ลงลายมือชื่อไว้ในแบบดังกล่าวด้วย ในกรณีเป็นการยื่นงบการเงินของบริษัทจำกัดให้ระบุในหน้างบดุลด้วยว่างบการเงินนั้นได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นครั้งที่เท่าใด เมื่อวันที่ เดือน และปี พ.ศ.ใดไว้ด้วย (๗) ในกรณีงบการเงินของบริษัทมหาชนจำกัดที่ได้จัดพิมพ์ไว้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานประจำปีโดยจัดทำเป็นรูปเล่ม ซึ่งได้มีการพิมพ์ลายมือชื่อของบุคคลตาม (๖) พร้อมทั้งพิมพ์ลายมือชื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ลงลายมือชื่อรับรองในรายงานการสอบบัญชีของบริษัทนั้นไว้แล้ว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีการลงลายมือชื่อของบุคคลดังกล่าว ข้อ ๕ กำหนดเวลาในการยื่นงบการเงิน ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องจัดทำงบการเงินและยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ตามข้อ ๔ (๒) ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ดังนี้ (๑) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยและกิจการร่วมค้า ตามประมวลรัษฎากร ต้องยื่นงบการเงินภายในห้าเดือนนับแต่วันปิดบัญชี (๒) บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ต้องนำเสนองบการเงินเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ภายในสี่เดือนนับแต่วันปิดบัญชี และต้องยื่นงบการเงินภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่งบการเงินนั้นได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่ หากวันสุดท้ายของกำหนดเวลายื่นงบการเงินตาม (๑) และ (๒) เป็นวันหยุดทำการของทางราชการให้เลื่อนวันสุดท้ายของกำหนดเวลายื่นงบการเงินไปเป็นวันทำการแรกต่อจากวันหยุดทำการ ข้อ ๖ งบการเงินที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชียื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะต้องได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ซึ่งผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้แจ้งไว้ตามประกาศ ก.บช. (ฉบับที่ ๔๔) พ.ศ. ๒๕๔๔ เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและการพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนของผู้ที่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ แล้ว หากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมิได้แจ้งชื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ตนจะทำการสอบบัญชีไว้จะสันนิษฐานว่า งบการเงินนั้นไม่ได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ซึ่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะรับงบการเงินนั้นไว้ชั่วคราวก่อนและให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดำเนินการ ดังนี้ (๑) แจ้งผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเพื่อดำเนินการแจ้งรายชื่อหรือยืนยันลายมือชื่อในการตรวจสอบและแสดงความเห็นในงบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีนั้น หรือ (๒) ส่งหลักฐานที่แสดงว่าผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้รับงานตรวจสอบบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีปรากฏไว้ด้วย โดยหลักฐานดังกล่าวจะต้องมีลายมือชื่อของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หากผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีได้ดำเนินการตาม (๑) หรือ (๒) ภายในกำหนดระยะเวลา ๒ เดือนนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ได้รับงบการเงินไว้ชั่วคราว ถือว่าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีได้ยื่นงบการเงินไว้โดยถูกต้องแล้วตั้งแต่วันที่ยื่นงบการเงิน ในกรณีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมิได้ดำเนินตาม (๑) หรือ (๒) ภายในระยะเวลา ๒ เดือนนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ได้รับงบการเงินไว้ชั่วคราว จะถือว่าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่ได้ยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ บรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า [เอกสารแนบท้าย] ๑. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช.3) ๒. แบบนำส่งงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ สำหรับปี งบการเงิน (แบบ ส.บช.3/1) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๕๙ ง/หน้า ๔๖/๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628961
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง ขยายระยะเวลาการยื่นงบการเงิน ประจำปี 2552 พ.ศ. 2553
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง ขยายระยะเวลาการยื่นงบการเงิน ประจำปี ๒๕๕๒ พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] โดยที่ขณะนี้เกิดเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองขึ้นในท้องที่เขตสาทร เขตบางรัก และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร อันอาจมีผลทำให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัดนิติบุคคลต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้า ไม่สามารถยื่นงบการเงินประจำปี ๒๕๕๒ ภายในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ตามที่กฎหมายกำหนดได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงให้ขยายระยะเวลาการยื่นงบการเงิน สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มีสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ ในท้องที่เขตสาทร เขตบางรัก และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ออกไปจนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ บรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปริยานุช/จัดทำ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๗ ง/หน้า ๑๐/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓
777956
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. 2544(ฉบับ Update ณวันที่ 02/03/2552)
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ (๑) (๒) (๓) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๔” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมวด ๑ ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อ ๓ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยและกิจการร่วมการค้าตามประมวลรัษฎากรต้องจัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ โดยต้องจัดทำให้ครบถ้วนถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี (๑) บัญชีรายวัน (ก) บัญชีเงินสด (ข) บัญชีธนาคาร แยกเป็นแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร (ค) บัญชีรายวันซื้อ (ง) บัญชีรายวันขาย (จ) บัญชีรายวันทั่วไป (๒) บัญชีแยกประเภท (ก) บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน (ข) บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย (ค) บัญชีแยกประเภทลูกหนี้ (ง) บัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ (๓) บัญชีสินค้า (๔) บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภทอื่น และบัญชีแยกประเภทย่อยตามความจำเป็นแก่การทำบัญชีของธุรกิจ หมวด ๒ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ข้อ ๔ ปกด้านหน้าของสมุดบัญชี หรือแผ่นหน้าของบัญชีกรณีที่บัญชีเป็นแผ่น ต้องมีข้อความ ดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่ใช่นิติบุคคลจะใช้ชื่อทางการค้าก็ได้ (๒) ชนิดของบัญชี (๓) ลำดับเล่มบัญชีแต่ละชนิดให้ใช้ตัวเลขไทยหรืออารบิค ถ้าบัญชีแต่ละชนิดมีมากกว่าหนึ่งเล่ม ต้องเรียงลำดับเล่มต่อเนื่องกัน ข้อ ๕ บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท และบัญชีสินค้า ต้องมีข้อความและรายการในบัญชี ดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อบัญชี วัน เดือน ปี เลขที่ของเอกสารประกอบการลงบัญชีหรือหน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิง รายการบัญชี และจำนวนเงิน (๒) หน้าบัญชีต้องมีตัวเลขไทยหรืออารบิคเรียงลำดับทุกหน้า (๓)[๒] รายการในบัญชีที่เป็นจำนวนเงินต้องเป็นหน่วยเงินตราไทย เว้นแต่ในกรณีที่มีมาตรฐานการบัญชีกำหนดให้แสดงเป็นหน่วยเงินตราสกุลอื่นได้ จะเลือกปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีก็ได้ ข้อ ๖ บัญชีแต่ละชนิดดังต่อไปนี้ นอกจากต้องมีรายการตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ แล้ว ต้องมีรายการต่อไปนี้ด้วย (๑) บัญชีเงินสด หรือบัญชีธนาคาร ให้มีรายละเอียดการได้มาหรือจ่ายไปซึ่งเงินสด เงินในธนาคาร แต่ถ้ามีรายละเอียดดังกล่าวในเอกสารประกอบการลงบัญชีหรือบัญชีรายวันชนิดหนึ่งชนิดใดแล้ว จะลงรายการรับหรือจ่ายเงินประเภทเดียวกันเป็นยอดรวมก็ได้ (๒) บัญชีรายวันซื้อหรือบัญชีรายวันขาย ให้มีรายละเอียด ชนิด ประเภท จำนวน และราคาของสินค้าหรือบริการที่ซื้อขาย แต่ถ้ามีรายละเอียดดังกล่าวในเอกสารประกอบการลงบัญชีหรือทะเบียนใดแล้ว จะลงรายการซื้อหรือขายสินค้าหรือบริการนั้นเป็นยอดรวมก็ได้ (๓) บัญชีรายวันทั่วไป ให้มีคำอธิบายรายการบัญชี (๔) บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน ให้มีรายละเอียดการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของสินทรัพย์ หนี้สินและทุน โดยให้อ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิงด้วย (๕) บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย ให้มีรายละเอียดที่มาแห่งรายได้หรือค่าใช้จ่าย โดยให้อ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิงด้วย (๖) บัญชีแยกประเภทลูกหนี้หรือบัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ ให้มีชื่อลูกหนี้หรือเจ้าหนี้การแสดงรายการบัญชีให้มีรายละเอียดการก่อหนี้หรือระงับหนี้ การลงรายการดังกล่าวให้อ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิงด้วย (๗) บัญชีสินค้า ให้มีชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ รายละเอียดการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินค้า และจำนวนสินค้านั้น หมวด ๓ ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี ข้อ ๗ กำหนดระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชีให้แล้วเสร็จไว้ ดังต่อไปนี้ (๑) บัญชีรายวัน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รายการนั้นเกิดขึ้น (๒) บัญชีแยกประเภท ต้องผ่านรายการจากบัญชีรายวันภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่รายการนั้นเกิดขึ้น (๓) บัญชีสินค้า ภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่รายการนั้นเกิดขึ้น ในกรณีที่เป็นบัญชีตาม (๒) และ (๓) ซึ่งต้องมีการลงรายการยอดคงเหลือต้องลงรายการยอดคงเหลือให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันปิดบัญชี หมวด ๔ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ข้อ ๘ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ได้แก่ บันทึก หนังสือ หรือเอกสารใด ๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี ซึ่งแยกได้เป็น ๓ ประเภท คือ (๑) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยบุคคลภายนอก (๒) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอก (๓) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อใช้ในกิจการของตนเอง ข้อ ๙ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีตามข้อ ๘ ทุกประเภทต้องมีรายการดังต่อไปนี้ และมีรายการตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๐ (๑) หรือ (๒) หรือข้อ ๑๑ ตามแต่ประเภทของเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีด้วย (๑) ชื่อของผู้จัดทำเอกสารซึ่งอาจใช้ชื่อที่ใช้ในการประกอบธุรกิจของผู้จัดทำเอกสารก็ได้ (๒) ชื่อของเอกสาร (๓) เลขที่ของเอกสาร และเล่มที่ (ถ้ามี) (๔) วัน เดือน ปี ที่ออกเอกสาร (๕) จำนวนเงินรวม ข้อ ๑๐ ถ้าเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีเป็นเอกสารตามข้อ ๘ (๒) ต้องมีรายการตามที่กำหนดไว้ใน (๑) หรือ (๒) ด้วย แล้วแต่กรณี คือ (๑) ในกรณีที่เป็นเอกสารเพื่อเป็นหลักฐานในการรับเงิน รับฝากเงิน รับชำระเงินหรือตั๋วเงินต้องมีรายการต่อไปนี้ (ก) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกิจการที่จัดทำเอกสาร (ข) สถานที่ตั้งของกิจการที่จัดทำเอกสาร (ค) รายละเอียดเกี่ยวกับการรับเงินหรือตั๋วเงิน (ง) ชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ ราคาต่อหน่วย และราคารวมของสินค้าหรือบริการแต่ละรายการ เว้นแต่ได้ระบุรายละเอียดดังกล่าวไว้ในเอกสารตาม (๒) (ค) แล้ว (จ) ลายมือชื่อของผู้รับเงินหรือตั๋วเงิน เว้นแต่เป็นเอกสารที่จัดทำและส่งมอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมืออื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน (๒) ในกรณีที่เป็นเอกสารเพื่อเป็นหลักฐานในการจำหน่าย จ่ายโอน ส่งมอบสินค้าหรือบริการโดยยังมิได้มีการชำระเงินหรือตั๋วเงินต้องมีรายการต่อไปนี้ (ก) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกิจการที่จัดทำเอกสาร (ข) สถานที่ตั้งของกิจการที่จัดทำเอกสาร (ค) ชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ ราคาต่อหน่วย และราคารวมของสินค้าหรือบริการแต่ละรายการ (ง) ชื่อหรือชื่อที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ และที่อยู่ของผู้ซื้อหรือผู้รับสินค้าหรือผู้รับบริการ (จ) ลายมือชื่อผู้จัดทำเอกสาร (ฉ) ลายมือชื่อผู้รับสินค้าหรือผู้รับบริการ ข้อ ๑๑ ถ้าเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีเป็นเอกสารตามข้อ ๘ (๓) ต้องมีรายการต่อไปนี้ด้วย คือ (๑) คำอธิบายรายการ (๒) วิธีการและการคำนวณต่าง ๆ (ถ้ามี) (๓) ลายมือชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี หรือผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อนุมัติรายการ ข้อ ๑๒ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอกต้องมีสำเนาเก็บไว้อย่างน้อย ๑ ฉบับ ข้อ ๑๓ การลงรายการในบัญชีรายวันและบัญชีสินค้า ต้อง (๑) มีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีทุกรายการและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีนั้นต้องสามารถแสดงความถูกต้องครบถ้วนของรายการบัญชีตามความเป็นจริง และเป็นที่เชื่อถือได้ (๒) ใช้เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีตามข้อ ๘ ในลำดับ (๑) หรือ (๒) แล้วแต่กรณีก่อน เว้นแต่ไม่มีเอกสารดังกล่าวจึงให้ใช้เอกสารในลำดับ (๓) ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔ อดุลย์ วินัยแพทย์ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒[๓] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป สุกัญญา/พิมพ์ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๒ อุรารักษ์/ตรวจ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๘ ง/หน้า ๒๐/๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๔ [๒] ข้อ ๕ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๓๓ ง/หน้า ๕๔/๒ มีนาคม ๒๕๕๒
601656
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับวันเริ่มทำบัญชีและวิธีการจัดทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับงาช้าง พ.ศ. 2552
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับวันเริ่มทำบัญชี และวิธีการจัดทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วน ที่มิได้จดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับงาช้างเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดให้บุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจ โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่ง งาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ (๑) และมาตรา ๘ วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับวันเริ่มทำบัญชี และวิธีการจัดทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับงาช้างเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ มีหน้าที่จัดทำบัญชีสินค้า ข้อ ๔ ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามข้อ ๓ เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีนั้นได้เริ่มต้นประกอบกิจการ สำหรับกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีได้ประกอบกิจการอยู่ก่อนวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ให้มีหน้าที่เริ่มทำบัญชีตามประกาศฉบับนี้ตั้งแต่วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ข้อ ๕ วิธีการจัดทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามข้อ ๓ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กำหนดในหมวด ๒ หมวด ๓ และหมวด ๔ ของประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๔ ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔ ประกาศ ณ วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ คณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปริยานุช/จัดทำ ๒ เมษายน ๒๕๕๒ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๔๒/๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒
600491
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๔ ลงวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔ (๒) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๒ งบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ คือ (๑) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 1 (๒) บริษัทจำกัด ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 2 (๓) บริษัทมหาชนจำกัด ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 3 (๔) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 4 (๕) กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 5 ข้อ ๓ ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของธุรกิจไม่มีรายการที่ต้องแสดงรายการย่อครบตามแบบที่กำหนดไว้ ก็ให้งดเว้นไม่ต้องแสดงรายการย่อที่ไม่มีดังกล่าว ข้อ ๔ งบกำไรขาดทุนอาจเลือกแสดงแบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย หรือแบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ - แบบขั้นเดียว หรือแบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ - แบบหลายขั้นก็ได้ ข้อ ๕ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น หรืองบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของสำนักงานใหญ่ หรืองบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ร่วมค้า อาจเลือกแสดงเป็นแบบงบแสดงการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายแทนก็ได้ ข้อ ๖ ในกรณีที่มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้มีการแสดงรายการที่แตกต่างหรือนอกเหนือจากรายการที่กำหนดไว้ตามประกาศฉบับนี้ก็ให้ปฏิบัติตามที่มาตรฐานการบัญชีกำหนด ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสำหรับการจัดทำงบการเงินซึ่งมีรอบปีบัญชีเริ่มต้นในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป แต่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดในประกาศฉบับนี้ได้ก่อนถึงกำหนดเวลาใช้บังคับก็ให้กระทำได้ และให้ถือว่าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีนั้นได้จัดทำงบการเงินโดยถูกต้องตามข้อกำหนดในเรื่องนี้แล้ว ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ คณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า [เอกสารแนบท้าย] ๑. งบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน (แบบ 1) ๒. งบการเงินของบริษัทจำกัด (แบบ 2) ๓. งบการเงินของบริษัทมหาชนจำกัด (แบบ 3) ๔. งบการเงินของนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ (แบบ 4) ๕. งบการเงินของกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร (แบบ 5) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๓๙/๑๓ มีนาคม ๒๕๕๒
600072
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชีระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีสากล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ (๑) (๒) (๓) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ (๓) แห่งประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๕ (๓) รายการในบัญชีที่เป็นจำนวนเงินต้องเป็นหน่วยเงินตราไทย เว้นแต่ในกรณีที่มีมาตรฐานการบัญชีกำหนดให้แสดงเป็นหน่วยเงินตราสกุลอื่นได้ จะเลือกปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีก็ได้” ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ คณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปริยานุช/จัดทำ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๒ อุรารักษ์/จัดทำ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๒ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๓๓ ง/หน้า ๕๔/๒ มีนาคม ๒๕๕๒
599179
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๒ ตามที่ได้มีประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงินไว้ นั้น บัดนี้ เห็นสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงินโดยการลดจำนวนเอกสารงบการเงินที่ต้องยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้เหมาะสมและอำนวยความสะดวกต่อภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมาย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (๕) ของข้อ ๔ แห่งประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๕) การยื่นงบการเงินต้องยื่นเอกสารตามจำนวนที่กำหนด ดังต่อไปนี้ กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครต้องยื่น (ก) งบการเงินและรายงานการสอบบัญชี ๑ ชุด (ข) แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) ๒ ฉบับ กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค ต้องยื่นเอกสารตาม (ก) เพิ่มอีก ๑ ชุด และเอกสารตาม (ข) เพิ่มอีก ๑ ฉบับ” ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ คณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ อุรารักษ์/ปรับปรุง ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๒๗/๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
587101
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับงาช้างเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี พ.ศ. 2551
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับงาช้างเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยที่เป็นการสมควรควบคุมการค้างาช้างภายในประเทศ เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและเป็นไปตามมติที่ประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ครั้งที่ ๑๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับงาช้างเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้บุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจ โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่ง งาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ วัชศักดิ์/จัดทำ ๘ กันยายน ๒๕๕๑ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๔๖ ง/หน้า ๒/๔ กันยายน ๒๕๕๑
573255
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ. 2550
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจสำนักงานบัญชีมีการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพและเป็นที่น่าเชื่อถือกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงได้กำหนดให้มีการออกหนังสือรับรองคุณภาพให้แก่สำนักงานบัญชี ที่ผ่านการตรวจประเมินการปฏิบัติตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี และกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “สำนักงานบัญชี” หมายถึง สำนักงานที่มีการให้บริการด้านการทำบัญชี ไม่ว่าจะจัดตั้งในรูปของนิติบุคคล คณะบุคคล หรือบุคคลธรรมดา “ผู้ทำบัญชี” หมายถึง ผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ที่สังกัดในสำนักงานบัญชี “ผู้ช่วยผู้ทำบัญชี” หมายถึง ผู้ช่วยของผู้ทำบัญชีที่สังกัดในสำนักงานบัญชี “ข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี” หมายถึง ข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีที่แนบท้ายประกาศนี้และที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป “หนังสือรับรอง” หมายถึง หนังสือรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกให้แก่สำนักงานบัญชีที่ผ่านการตรวจประเมินตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี “กรม” หมายถึง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ “อธิบดี” หมายถึง อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ข้อ ๒ สำนักงานบัญชีที่จะยื่นคำขอรับหนังสือรับรองต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (๑) รับทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ไม่น้อยกว่า ๓๐ ราย (๒) หัวหน้าสำนักงานต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี ปฏิบัติงานเต็มเวลามีประสบการณ์ด้านการทำบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่า ๕ ปี และต้องแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีต่อกรมไว้แล้ว (๓) มีผู้ช่วยผู้ทำบัญชีที่มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีและปฏิบัติงานเต็มเวลาอย่างน้อย ๑ คน (๔) มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (๕) ประกอบธุรกิจสำนักงานบัญชีมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี (๖) ไม่เคยถูกเพิกถอนหนังสือรับรอง เว้นแต่พ้นมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี (๗) ไม่เคยฝ่าฝืนเงื่อนไขที่กำหนดในข้อ ๘ (๖) และ (๗) เว้นแต่พ้นมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี (๘) หัวหน้าสำนักงานต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย (๙) ในกรณีที่สำนักงานบัญชีจัดตั้งในรูปคณะบุคคลหรือนิติบุคคล ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือกรรมการ แล้วแต่กรณี ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านการให้บริการรับทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติตาม (๒) และ (๘) ด้วย ข้อ ๓ การยื่นคำขอรับหนังสือรับรองให้ใช้แบบ ร.สบ.1 ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้พร้อมกับแนบเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบ ร.สบ.1 และยื่นต่อสำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ข้อ ๔ ในกรณีสำนักงานบัญชีมีสำนักงานหลายแห่งแยกต่างหากจากกันให้แยกคำขอของแต่ละสำนักงานที่ประสงค์จะขอหนังสือรับรอง โดยสำนักงานแต่ละแห่งที่ยื่นคำขอจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในข้อ ๒ (๑) (๒) (๓) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ข้อ ๕ สำนักงานบัญชีที่ยื่นคำขอรับหนังสือรับรองต้องรับการตรวจประเมินคุณภาพจากหน่วยงานที่กรมกำหนด ดังนี้ (๑) สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) หรือ (๒) สถาบันหรือหน่วยงานอื่นที่อธิบดีให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ สำนักงานบัญชีเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจประเมินทุกครั้งตามอัตราที่หน่วยงานผู้ตรวจประเมินเรียกเก็บ ข้อ ๖ สำนักงานบัญชีที่ผ่านการตรวจประเมินตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีแล้วจะได้รับหนังสือรับรอง และกรมจะเผยแพร่ชื่อและที่ตั้งของสำนักงานบัญชีดังกล่าวให้สาธารณชนทราบ ข้อ ๗ หนังสือรับรองมีกำหนดอายุ ๓ ปี นับแต่วันที่ออกหนังสือรับรอง สำนักงานบัญชีที่จะขอต่ออายุหนังสือรับรองต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในข้อ ๒ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) และ (๙) การยื่นคำขอต่ออายุหนังสือรับรองให้ใช้แบบ ร.สบ.2 ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้พร้อมกับแนบเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบ ร.สบ.2 และยื่นต่อสำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ภายใน ๙๐ วัน ก่อนวันที่หนังสือรับรองสิ้นอายุ ข้อ ๘ สำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรอง มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (๑) ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีตลอดระยะเวลาที่ได้รับการรับรอง ซึ่งรวมถึงในกรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดในภายหลังด้วย (๒) ต้องรับการตรวจประเมินคุณภาพปีละ ๑ ครั้ง ซึ่งอาจเป็นการตรวจประเมินใหม่ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนตามความเหมาะสม (๓) ต้องไม่นำหนังสือรับรองไปใช้ในทางที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อกรม หรือนำไปใช้อ้างอิงต่อบุคคลอื่นในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด (๔) ให้ความร่วมมือกับผู้ตรวจประเมินทุกครั้ง และยินยอมให้หน่วยงานอื่นที่กรมเห็นสมควรให้เข้าร่วมสังเกตการณ์การตรวจประเมินได้ รวมทั้งต้องส่งมอบเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับรองคุณภาพที่เป็นปัจจุบันให้แก่กรมและผู้ตรวจประเมิน เมื่อได้รับการร้องขอ (๕) ในกรณีที่ประสงค์จะยกเลิกการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีหรือเลิกประกอบกิจการด้านการทำบัญชี ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้กรมทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๙๐ วัน โดยใช้แบบ ร.สบ.3 ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้พร้อมกับแนบเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบ ร.สบ.3 (๖) ในกรณีที่ถูกเพิกถอนหนังสือรับรองหรือมีการแจ้งขอยกเลิกการรับรอง หรือเลิกประกอบกิจการด้านการทำบัญชีจะต้องส่งคืนหนังสือรับรองให้แก่กรมภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่งหรือวันยกเลิกการรับรองหรือวันเลิกประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี (๗) ในกรณีที่ถูกพักใช้ หรือเพิกถอนหนังสือรับรอง หรือมีการแจ้งขอยกเลิกการรับรองหรือเลิกประกอบกิจการด้านการทำบัญชี ต้องยุติการใช้สิ่งพิมพ์ สื่อโฆษณา ที่มีการอ้างอิงถึงการได้รับการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี (๘) ต้องจัดทำและเก็บรักษารายการบันทึกข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีรวมทั้งผลการดำเนินการกับข้อร้องเรียนทั้งหมด และต้องส่งมอบเอกสารดังกล่าวให้แก่กรมหรือผู้ตรวจประเมิน เมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๙ ในกรณีที่มีการย้ายที่ตั้งสำนักงานหรือมีการเปลี่ยนแปลงในสำนักงานที่เป็นสาระสำคัญ เช่น การโอนกิจการ การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับสูง เป็นต้น สำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองจะต้องแจ้งการย้ายหรือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อกรมภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ย้ายหรือวันที่มีการเปลี่ยนแปลงแล้วแต่กรณี โดยใช้แบบ ร.สบ.3 ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้พร้อมกับแนบเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบ ร.สบ.3 และในกรณีดังกล่าวสำนักงานบัญชีจะต้องรับการตรวจประเมินคุณภาพใหม่ซึ่งอาจตรวจประเมินเพียงบางส่วนตามความเหมาะสมซึ่งเมื่อผ่านการตรวจประเมินแล้ว กรมจะออกหนังสือรับรองฉบับใหม่ให้โดยหนังสือรับรองฉบับใหม่มีอายุเท่ากับหนังสือรับรองฉบับเดิม ข้อ ๑๐ กรมอาจกำหนดให้มีการตรวจประเมินเพิ่มเติมหรือตรวจประเมินใหม่ทั้งหมดโดยไม่แจ้งให้สำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองทราบล่วงหน้าได้ เมื่อมีเหตุดังต่อไปนี้ (๑) มีเหตุที่น่าเชื่อว่าคุณภาพของสำนักงานบัญชีลดลง ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี (๒) มีการเปลี่ยนแปลงในสำนักงานที่เป็นสาระสำคัญและมีผลต่อการดำเนินงานของสำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรอง (๓) มีการร้องเรียนว่า สำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองปฏิบัติไม่เป็นไปตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีและกรมพิจารณาเห็นว่าข้อร้องเรียนนั้นมีมูล ข้อ ๑๑ กรมอาจมีคำสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนหนังสือรับรองได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) หัวหน้าสำนักงานหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือกรรมการ แล้วแต่กรณี เป็นบุคคลล้มละลายถูกห้ามประกอบวิชาชีพบัญชีหรือถูกเพิกถอนสมาชิกภาพจากสภาวิชาชีพบัญชี (๒) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่กำหนดในข้อ ๘ (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๘) (๓) กรณีอื่นๆ ที่กรมพิจารณาแล้วเห็นว่าสำนักงานบัญชีอาจกระทำให้เกิดความเสียหายหรือมีผลกระทบต่อการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี ข้อ ๑๒ การพักใช้หนังสือรับรองครั้งหนึ่งให้มีกำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๙๐ วัน และไม่เกิน ๑๘๐ วัน ข้อ ๑๓ สำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองรายใดถูกสั่งพักใช้หนังสือรับรองแล้ว หากมีเหตุที่กรมอาจสั่งพักหรือเพิกถอนหนังสือรับรองตามข้อ ๑๑ ซ้ำอีก ภายในกำหนดระยะเวลา ๓ ปี นับแต่วันถูกสั่งพักใช้หนังสือรับรองครั้งแรก กรมจะเพิกถอนหนังสือรับรอง ข้อ ๑๔ ในกรณีที่หนังสือรับรองชำรุด หรือสูญหาย หรือมีการเปลี่ยนชื่อสำนักงานบัญชีสำนักงานบัญชีอาจยื่นคำขอให้กรมออกใบแทนหนังสือรับรองให้ได้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ คณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า [เอกสารแนบท้าย] ๑. (เอกสารแนบท้าย ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ. 2550) ข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี ๒. คำขอรับหนังสือรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี แบบ ร.สบ. 1 ๓. คำขอต่ออายุหนังสือรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี แบบ ร.สบ. 2 ๔. คำขอทั่วไป แบบ ร.สบ. 3 (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๘/๓ มีนาคม ๒๕๕๑
530263
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดวิธีการยื่นแบบนำส่งงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน ระหว่างประเทศ (แบบ ส.บช. 3/1) พ.ศ. 2550
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดวิธีการยื่นแบบนำส่งงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน ระหว่างประเทศ (แบบ ส.บช. ๓/๑) พ.ศ. ๒๕๕๐ ตามที่ได้มีประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๒ กำหนดให้การยื่นแบบนำส่งงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ (แบบ ส.บช. ๓/๑) ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีอาจยื่น พร้อมงบการเงินหรือยื่นโดยวิธีการอื่นตามที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดก็ได้ นั้น อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงกำหนดวิธีการอื่นในการยื่นแบบนำส่งงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ (แบบ ส.บช. ๓/๑) ไว้ดังต่อไปนี้ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีอาจยื่นแบบนำส่งงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ (แบบ ส.บช. ๓/๑) ได้โดยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ๑. ยื่นต่อธนาคารแห่งประเทศไทยที่ ทีมฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ ส่วนสถิติดุลการชำระเงิน ฝ่ายบริหารข้อมูล เลขที่ ๒๗๓ ถนนสามเสน แขวงบางขุนพรหม เขตพระนครกรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐ หรือส่งทางไปรษณีย์ไปยังสถานที่ดังกล่าว ๒. ส่งทางโทรสารไปที่หมายเลข ๐-๒๒๘๓-๖๒๙๙ หรือ ๐-๒๒๘๓-๕๓๐๘ ๓. ส่งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ไปที่ form [email protected] ๔. ส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่ www.bot.or.th ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป[๑] ประกาศ ณ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ คณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โสรศ/ผู้จัดทำ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๗/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
523869
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเป็นบริษัทโฮลดิ้งที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน นอกจากต้องจัดทำงบการเงินโดยมีรายการย่อ ตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๔ ลงวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔ แล้ว ยังต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง แบบงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ด้วย ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสำหรับการจัดทำงบการเงินซึ่งมีรอบปีบัญชีสิ้นสุดในหรือหลังวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ คณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โสรศ/ผู้จัดทำ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๒๐/๘ มกราคม ๒๕๕๐
523825
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดค่าใช้จ่ายในการขอตรวจดูหรือขอภาพถ่ายสำเนางบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2549
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดค่าใช้จ่ายในการขอตรวจดูหรือขอภาพถ่ายสำเนางบการเงิน ของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดค่าใช้จ่ายในการขอตรวจดูหรือขอภาพถ่ายสำเนางบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ ให้ครอบคลุมการกำหนดค่าใช้จ่ายในการขอภาพถ่ายสำเนางบการเงินพร้อมคำรับรอง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดค่าใช้จ่ายในการ ขอตรวจดู หรือขอภาพถ่ายสำเนางบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๒ การขอตรวจดูหรือขอภาพถ่ายสำเนางบการเงินพร้อมคำรับรองของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ซึ่งมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดและนอกเขตจังหวัดที่มีการเชื่อมข้อมูลงบการเงินทางคอมพิวเตอร์ให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายดังนี้ ๒.๑ การขอตรวจดู รายละ ๕๐ บาท ๒.๒ การขอภาพถ่ายสำเนางบการเงินพร้อมคำรับรอง หน้าละ ๕๐ บาท ข้อ ๓ การขอภาพถ่ายสำเนางบการเงินพร้อมคำรับรองของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนบริษัท จำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ซึ่งมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่นอกเขตจังหวัดที่ไม่มีการเชื่อมข้อมูลงบการเงินทางคอมพิวเตอร์ ให้ดำเนินการส่งข้อมูลงบการเงิน ทางระบบโทรสารหรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) เพื่อให้บริการและให้เรียกเก็บค่าใช้จ่าย เช่นเดียวกับข้อ ๒ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ คณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา รักษาราชการแทน อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โสรศ/จัดทำ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๐ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๔ ง/หน้า ๖/๑๒ มกราคม ๒๕๕๐
523823
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดค่าใช้จ่ายในการขอตรวจดูหรือขอภาพถ่ายสำเนางบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดค่าใช้จ่ายในการขอตรวจดูหรือขอภาพถ่ายสำเนางบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดค่าใช้จ่ายในการขอตรวจดูหรือขอภาพถ่ายสำเนางบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับอัตราค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็น พระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดค่าใช้จ่ายในการขอตรวจดู หรือขอภาพถ่ายสำเนางบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๒ การขอตรวจดูงบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยและกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ซึ่งมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายรายละ ๕๐ บาท ข้อ ๓ การขอตรวจดูงบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยและกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ซึ่งมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่นอกเขตจังหวัดทางระบบคอมพิวเตอร์ให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายรายละ ๕๐ บาท ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๙ เป็นต้นไป[๑] ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ อรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โสรศ/ผู้จัดทำ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๔ ง/หน้า ๕/๑๒ มกราคม ๒๕๕๐
517159
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2549
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๙[๑] ตามที่ได้มีประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงินไว้ นั้น บัดนี้เห็นสมควรปรับปรุงแบบที่ใช้ในการยื่นงบการเงินให้เหมาะสมและอำนวยความสะดวกต่อภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อให้ภาครัฐมีข้อมูลที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจของประเทศอย่างครบถ้วน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช.๓) ที่แนบท้ายประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช.๓) ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้แทน ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๖) ของข้อ ๔ แห่งประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ “(๖) การยื่นงบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ ต้องยื่นแบบนำส่งงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ (แบบ ส.บช.๓/๑) ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ด้วย จำนวน ๑ ชุด คือ (ก) บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีบุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร หรือนิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละหนึ่งของมูลค่าหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง (ข) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรที่มีผู้ร่วมลงทุนเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร หรือนิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย (ค) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย (ง) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรที่มีการลงทุนในกิจการที่ต่างประเทศ ซึ่งได้แก่การจัดตั้งกิจการ สำนักงานสาขาหรือตัวแทนในต่างประเทศ หรือการเข้าร่วมลงทุนกับบุคคลหรือนิติบุคคลในต่างประเทศโดยมีสัดส่วนการลงทุนหรือการถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละหนึ่งของทุนทั้งหมดของกิจการหรือของมูลค่าหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง แล้วแต่กรณี การยื่นแบบนำส่งงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ (แบบ ส.บช.๓/๑) ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีอาจยื่นพร้อมงบการเงินหรือยื่นโดยวิธีการอื่นตามที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดก็ได้” ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ดุสิต อุชุพงศ์อมร รองอธิบดี รักษาราชการแทน อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) ๒. แบบนำส่งงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ งบการเงินรอบปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ .................................... (แบบ ส.บช. ๓/๑) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ อุรารักษ์/ปรับปรุง ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๔/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
483823
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง ทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ และข้อ ๗ (๒) แห่งประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ (๑) ของประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๑) การเข้าร่วมการอบรมหรือสัมมนาในหลักสูตรหรือเรื่องซึ่งจัดโดยสภาวิชาชีพบัญชี หรือการเข้าร่วมการอบรมหรือสัมมนาในหลักสูตรหรือเรื่องที่อธิบดีให้ความเห็นชอบ ซึ่งจัดโดย (ก) กระทรวง กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่า (ข) สถาบันการศึกษาของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาของเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันการศึกษาเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า (ค) หอการค้าไทย (ง) สถาบันวิชาชีพบัญชีหรือสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานอื่น ซึ่งอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้ความเห็นชอบ ให้นับจำนวนชั่วโมงได้ตามระยะเวลาที่เข้าร่วมการอบรมหรือสัมมนา” ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ อรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า นันทนา/ผู้จัดทำ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๒๘/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙
456858
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2548
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ และประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงินไว้ นั้น บัดนี้ เห็นสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงินให้เหมาะสมและอำนวยความสะดวกต่อภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมาย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘ ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑] ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ (๒) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ข้อ ๔ การยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชี (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) หรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ (สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ (๑) แบบที่ใช้ในการยื่นงบการเงินให้ใช้แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) ที่แนบท้ายประกาศนี้ (๒) ผู้มีอำนาจทำการแทนกิจการคือ หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ผู้จัดการหรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของกิจการร่วมค้า ตามประมวลรัษฎากรหรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ แล้วแต่กรณีต้องลงลายมือชื่อรับรองและประทับตรา (ถ้ามี) ในแบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) และลงลายมือชื่อรับรองว่าถูกต้องและประทับตรา (ถ้ามี) ไว้ในงบดุล และงบกำไรขาดทุนทุกหน้า ส่วนเอกสารงบการเงินอื่นให้ผู้มีอำนาจทำการแทนกิจการอย่างน้อยหนึ่งคนลงลายมือชื่อรับรอง และสำหรับแบบนำส่งงบการเงิน(แบบ ส.บช. ๓) ให้ผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีนั้นลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วย ถ้าเป็นงบการเงินของบริษัทจำกัด ให้ระบุข้อความไว้ในงบการเงินในหน้างบดุลด้วยว่า งบการเงินได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นครั้งใด เมื่อวันที่ เดือน ปี ใด หากมิได้ระบุข้อความดังกล่าวไว้ ต้องจัดส่งสำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติงบการเงินนั้นไปพร้อมกับงบการเงินที่จัดส่ง โดยกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัดนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองว่าถูกต้องและประทับตรา(ถ้ามี) ด้วย การลงลายมือชื่อในงบการเงินหรือแบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) ต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเอง พร้อมกับวงเล็บชื่อ นามสกุล ด้วยตัวบรรจงกำกับไว้ด้วย จะมอบหมายให้ผู้อื่นลงลายมือชื่อแทนมิได้ (๓) งบการเงินของบริษัทมหาชนจำกัดที่ได้จัดพิมพ์ไว้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานประจำปีโดยจัดทำเป็นรูปเล่มซึ่งได้มีการพิมพ์ลายมือชื่อของบุคคลตาม (๒) พร้อมทั้งพิมพ์ลายมือชื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ลงลายมือชื่อรับรองในรายงานการสอบบัญชีของบริษัทนั้นไว้แล้ว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีการลงลายมือชื่อของบุคคลดังกล่าว (๔) การยื่นงบการเงินให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (ก) กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นต่อสำนักงานกลางบัญชี (สำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) หรือสถานที่อื่นใดตามที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด (ข) กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค ให้ยื่นต่อสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ (สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด) หรือยื่นต่อสำนักงานกลางบัญชี(สำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) ก็ได้ (ค) การยื่นงบการเงินอาจยื่นโดยตรงต่อเจ้าหน้าที่ หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังสถานที่ดังกล่าวข้างต้น พร้อมแนบซองที่จ่าหน้ากลับคืนถึงตัวผู้รับ โดยผนึกดวงตราไปรษณียากรครบถ้วนไปด้วย ซึ่งหากปรากฏว่าเอกสารหลักฐานที่จัดส่งครบถ้วนถูกต้องโดยสมบูรณ์ จะถือว่าได้ยื่นงบการเงินไว้ตั้งแต่วันที่ประทับตราไปรษณีย์ต้นทาง (๕) การยื่นงบการเงินต้องยื่นเอกสารตามจำนวนที่กำหนด ดังต่อไปนี้ กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ต้องยื่น (ก) งบการเงินและรายงานการสอบบัญชี ๒ ชุด (ข) แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) ๓ ฉบับ กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค ต้องยื่นเอกสารตาม(ก) และ (ข) เพิ่มอีก ๑ ฉบับ ข้อ ๕ กำหนดเวลาในการยื่นงบการเงิน ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องจัดทำงบการเงินและยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ตามข้อ ๔ (๔) ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ดังนี้ (๑) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยและกิจการร่วมค้า ตามประมวลรัษฎากร ต้องยื่นงบการเงินภายในห้าเดือนนับแต่วันปิดบัญชี (๒) บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ต้องนำเสนองบการเงินเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ภายในสี่เดือนนับแต่วันปิดบัญชี และต้องยื่นงบการเงินภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่งบการเงินนั้นได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่ หากวันสุดท้ายของกำหนดเวลายื่นงบการเงินตาม (๑) และ (๒) เป็นวันหยุดทำการของทางราชการ ให้เลื่อนวันสุดท้ายของกำหนดเวลายื่นงบการเงินไปเป็นวันทำการแรกต่อจากวันหยุดทำการ ข้อ ๖ ในการตรวจสอบว่างบการเงินที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชียื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือไม่ และโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตคนใด กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะตรวจสอบจากรายชื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้แจ้งไว้ตามประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๔๔ (พ.ศ. ๒๕๔๔) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และการพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนของผู้ที่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๔ หรือตามประกาศ ข้อบังคับของสภาวิชาชีพบัญชีที่กำหนดในเรื่องเดียวกันที่จะออกมาใช้บังคับในภายหลัง หากไม่ปรากฏรายชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ยื่นงบการเงินดังกล่าวอยู่ในบัญชีรายชื่อที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้แจ้งไว้ จะสันนิษฐานว่างบการเงินรายนั้นไม่ได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต แต่ทั้งนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะรับงบการเงินรายนั้นไว้ชั่วคราวและให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่อง ดังนี้ (๑) ติดต่อให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตดำเนินการแจ้งรายชื่อธุรกิจหรือยืนยันการลงลายมือชื่อรับรองงบการเงิน หรือ (๒) จัดส่งเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการรับงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตโดยจะต้องปรากฏหลักฐานการลงลายมือชื่อของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเอกสารรับงานดังกล่าวหากผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีได้ดำเนินการตาม (๑) หรือ (๒) ให้ถูกต้องภายในกำหนดระยะเวลา ๒ เดือน นับแต่วันที่ได้ยื่นงบการเงินไว้ จะถือว่าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีได้ยื่นงบการเงินไว้โดยถูกต้องแล้วตั้งแต่การยื่นในคราวแรก ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจัดส่งเอกสารตาม (๒) หากปรากฏว่าผู้สอบบัญชีรับอนุญาตปฏิเสธว่ามิได้เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองงบการเงินรายดังกล่าว ให้เป็นหน้าที่ของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่จะต้องพิสูจน์โดยจัดส่งหลักฐานที่แสดงว่าผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้ลงลายมือชื่อรับรองในงบการเงินนั้นจริงต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายในกำหนดระยะเวลา ๒ เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการปฏิเสธลายมือชื่อของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทั้งนี้ หากผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมิได้ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคสองหรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี จะถือว่าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีนั้นยังไม่ได้ยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ข้อ ๗ งบการเงินที่ยื่นภายในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๘ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะใช้แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) ที่ใช้อยู่เดิม คือ แบบที่กำหนดตามประกาศกรมทะเบียนการค้าเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ก็ได้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ อรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พุทธพัท/ผู้จัดทำ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๘ อุรารักษ์/ปรับปรุง ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๔๐ ง/หน้า ๓๑/๑๙ พฤษภาคม/๒๕๔๘
446242
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดค่าใช้จ่ายในการขอตรวจดูหรือขอภาพถ่ายสำเนางบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี พ.ศ. 2547
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดค่าใช้จ่ายในการขอตรวจดูหรือขอภาพถ่ายสำเนางบการเงิน ของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดค่าใช้จ่ายในการขอตรวจดูหรือขอภาพถ่ายสำเนางบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายในการขอตรวจดูงบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไว้ ดังต่อไปนี้ (๑) การขอตรวจดูงบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรให้เรียกเก็บค่าใช้จ่าย ครั้งละ ๒๐ บาท (๒) การขอตรวจดูงบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ซึ่งมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่นอกเขตจังหวัด ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายครั้งละ ๕๐ บาท ข้อ ๔ ในกรณีที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดใดยังไม่สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายกับส่วนกลางเพื่อใช้ในการให้บริการตรวจดูงบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่นอกเขตจังหวัดด้วยระบบคอมพิวเตอร์ได้ หรือมีการเชื่อมโยงเครือข่ายแล้วแต่ระบบคอมพิวเตอร์ขัดข้องไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ทำให้ไม่สามารถขอตรวจดูงบการเงินได้ อาจขอภาพถ่ายสำเนางบการเงินทางระบบโทรสารแทน และให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายการขอภาพถ่ายสำเนางบการเงินหน้าละ ๓๐ บาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ อรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พรพิมล/พิมพ์ ๙ ธันวาคม ๒๕๔๗ นวพร/สุนันทา/ตรวจ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๗ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๑๘/๗ กันยายน ๒๕๔๗
445268
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี พ.ศ. 2547
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง ทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยที่ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗ ออกตามความในมาตรา ๗ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนดให้อธิบดีประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี เพื่อให้เป็นไปตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๓ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้เรียกว่า “ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ผู้ทำบัญชีต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพทุกรอบสามปีโดยในแต่ละรอบต้องมีจำนวนชั่วโมงไม่น้อยกว่า ๒๗ ชั่วโมง และต้องเป็นกิจกรรมที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีไม่น้อยกว่า ๑๘ ชั่วโมง ทั้งนี้ ในแต่ละปีผู้ทำบัญชีจะต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพไม่น้อยกว่า ๖ ชั่วโมง ข้อ ๔ ภายใต้บังคับของข้อ ๕ การเข้าร่วมกิจกรรมดังต่อไปนี้ ให้ถือเป็นการเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี และให้นับจำนวนชั่วโมงตามที่กำหนดในข้อ ๓ ได้ ดังนี้ (๑) การเข้าร่วมการอบรมหรือสัมมนาในหลักสูตรหรือเรื่องที่อธิบดีให้ความเห็นชอบซึ่งจัดโดย (ก) สถาบันการศึกษาของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาของเอกชนตามกฎหมาย ว่าด้วยสถาบันการศึกษาเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า (ข) สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย (ค) หอการค้าไทย (ง) สถาบันวิชาชีพบัญชีหรือสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานอื่น ซึ่งอธิบดีให้ความเห็นชอบ ให้นับจำนวนชั่วโมงได้ตามระยะเวลาที่เข้าร่วมการอบรมหรือสัมมนา (๒) การเป็นวิทยากร ผู้บรรยาย ผู้ดำเนินการสัมมนา ให้นับจำนวนชั่วโมงได้สามเท่าของระยะเวลาการเป็นวิทยากร ผู้บรรยาย ผู้ดำเนินการสัมมนา (๓) การเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษาของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันการศึกษาเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี หรือเทียบเท่าไม่ว่าจะเป็นการสอนในฐานะอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พิเศษ ให้นับจำนวนชั่วโมงได้วิชาละ ๙ ชั่วโมง และในแต่ละรอบสามปีให้นับจำนวนชั่วโมงได้ไม่เกิน ๑๘ ชั่วโมงไม่ว่าจะทำการสอนเกินกว่าสองวิชาหรือไม่ก็ตาม (๔) การสำเร็จการศึกษาในคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี ให้นับจำนวนชั่วโมงได้ตามปีที่สำเร็จการศึกษา ดังนี้ (ก) กรณีสำเร็จการศึกษาในระดับที่สูงกว่าคุณวุฒิเดิม - ถ้าเป็นคุณวุฒิทางการบัญชีให้นับจำนวนชั่วโมงได้ ๒๗ ชั่วโมง - ถ้าเป็นคุณวุฒิทางด้านอื่น เช่น การเงิน บริหารธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ การภาษีอากร หรือด้านอื่นที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีให้นับจำนวนชั่วโมงได้ ๑๘ ชั่วโมง (ข) กรณีสำเร็จการศึกษาในระดับที่ไม่สูงกว่าคุณวุฒิเดิมให้นับจำนวนชั่วโมงได้ ๙ ชั่วโมง (๕) การผ่านการศึกษาเฉพาะรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีจากสถาบันการศึกษาของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันการศึกษาเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า ให้นับจำนวนชั่วโมงได้วิชาละ ๖ ชั่วโมง (๖) กิจกรรมอื่น นอกจากที่ระบุตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) ตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ข้อ ๕ การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชีต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) การบัญชี (๒) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี ได้แก่ (ก) กฎหมายว่าด้วยการบัญชี (ข) กฎหมายว่าด้วยการสอบบัญชี (ค) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัท) (ง) กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด (จ) กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉ) กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (ช) กฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตและประกันวินาศภัย (ซ) กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (ฌ) กฎหมายอื่นนอกจากที่ระบุข้างต้นที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี (๓) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการภาษีอากร (๔) เทคโนโลยีสารสนเทศเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี (๕) เรื่องอื่นๆ นอกจากที่ระบุตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) ตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ข้อ ๖ การนับจำนวนชั่วโมงทุกรอบระยะเวลาสามปีตามข้อ ๓ ให้นับตามปีปฏิทินโดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นไป ในกรณีที่ผู้ทำบัญชีแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีต่ออธิบดีหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ของปีถัดจากปีที่ผู้ทำบัญชีแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีเป็นต้นไป ทั้งนี้ ในรอบระยะเวลาแรกให้ผู้ทำบัญชีสามารถนำชั่วโมงที่เข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชีตั้งแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับหรือตั้งแต่วันที่แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีต่ออธิบดีแล้วแต่กรณี ไปนับรวมกับชั่วโมงในรอบระยะเวลาแรกได้ ข้อ ๗ ผู้ทำบัญชีต้องแจ้งรายละเอียดการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชีตามแบบ ส.บช.๗ ที่แนบท้ายประกาศนี้ต่ออธิบดีภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของทุกปี ประกาศ ณ วันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ อรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แบบ ส.บช. ๗ แบบแจ้งรายละเอียดการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี สำหรับรอบระยะเวลาวันที่………………ถึงวันที่ ……………… [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] มัตติกา/พิมพ์ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ พัชรินทร์/อมราลักษณ์/ตรวจ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ A+B [๑] รก.๒๕๔๗/พ๘๙ง/๓๑/๙ สิงหาคม ๒๕๔๗
445266
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2547
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ (๒) ของประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๒) ต้องมีการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่อธิบดีประกาศกำหนด การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรม ดังต่อไปนี้ (ก) การอบรมหรือสัมมนา (ข) การเป็นวิทยากร ผู้บรรยาย ผู้ดำเนินการสัมมนา (ค) การเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษาของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันการศึกษาเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี หรือเทียบเท่าไม่ว่าจะเป็นการสอนในฐานะอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พิเศษ (ง) การสำเร็จการศึกษาในคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีไม่ว่าคุณวุฒิใหม่นั้นจะสูงกว่าคุณวุฒิเดิมหรือไม่ก็ตาม (จ) การผ่านการศึกษาเฉพาะรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีจากสถาบันการศึกษาของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันการศึกษาเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า (ฉ) กิจกรรมอื่น นอกจากที่ระบุตาม (ก) (ข) (ค) (ง) และ (จ) ตามที่อธิบดีประกาศกำหนด เงื่อนไขตามวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นไป” ประกาศ ณ วันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ อรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ศุภชัย/พิมพ์ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ พัชรินทร์/อมราลักษณ์/ตรวจ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๙ ง/หน้า ๒๙/๙ สิงหาคม ๒๕๔๗
420853
ประกาศ ก.บช. ฉบับที่ 51 (พ.ศ. 2546) เรื่อง การตีความมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สินทรัพย์ที่ลูกหนี้โอนให้เพื่อชำระหนี้
ประกาศ ก ประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๕๑ (พ.ศ. ๒๕๔๖) เรื่อง การตีความมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สินทรัพย์ที่ลูกหนี้โอนให้เพื่อชำระหนี้[๑] ตามที่คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บช.) ได้ออกประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๔๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๓ ให้ใช้มาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย จำนวน ๓๓ ฉบับ เป็นมาตรฐานการบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชร พ.ศ. ๒๕๔๓ นั้น บัดนี้ สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ได้ยกเลิกการตีความมาตรฐานการบัญชี เรื่องที่ ๑ สินทรัพย์ที่ลูกหนี้โอนให้เพื่อชำระหนี้ และกำหนดให้ใช้การตีความมาตรฐานการบัญชี เรื่องที่ ๙ สินทรัพย์ที่ลูกหนี้โอนให้เพื่อชำระหนี้ แทน ซึ่งคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ ๑๔๖ (๓/๒๕๔๖) เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๖ ให้ยกเลิกการตีความมาตรฐานการบัญชี เรื่องที่ ๑ และให้ใช้การตีความมาตรฐานการบัญชี เรื่องที่ ๙ สินทรัพย์ที่ลูกหนี้โอนให้เพื่อชำระหนี้ เป็นมาตรฐานการบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ดังปรากฏรายละเอียดตามเอกสารที่แนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ การุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ประธานกรรมการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. การตีความมาตรฐานการบัญชี เรื่องที่ ๙ สินทรัพย์ที่ลูกหนี้โอนให้เพื่อชำระหนี้ เกณฑ์การตีความฉบับนี้ใช้แทนการตีความเรื่องที่ ๑ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) จุฑามาศ/จัดทำ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๒๖ ง/หน้า ๙๓/๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
413214
ประกาศ ก.บช. ฉบับที่ 50 (พ.ศ. 2546) เรื่อง แก้ไขมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40
ประกาศ ก ประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ. ๒๕๔๖) เรื่อง แก้ไขมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๐[๑] ตามที่คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บช.) ได้ออกประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๔๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๓ ให้ใช้มาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย จำนวน ๓๓ ฉบับ เป็นมาตรฐานการบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ นั้น บัดนี้ สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ได้ทำการแก้ไขมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๐ และคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ ๑๔๕ (๒/๒๕๔๖) เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๖ ให้แก้ไขมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๐ เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ดังปรากฏรายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ การุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ประธานกรรมการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. การแก้ไขมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๐ เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) สุภาพร/พิมพ์ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ สุภาพร/แก้ไข ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๖ เนติมา/ปาจรีย์/ตรวจ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๖ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๒๗/๒ มิถุนายน ๒๕๔๖
399015
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖ ตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงินไว้ นั้น บัดนี้ เห็นสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงินให้เหมาะสมและอำนวยความสะดวกต่อภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมาย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ แห่งประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๗ ในการตรวจสอบว่างบการเงินที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชียื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือไม่และโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตคนใด กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะตรวจสอบจากรายชื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้แจ้งไว้ต่อสำนักงาน ก.บช. ตามประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๔๔ (พ.ศ. ๒๕๔๔) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และการพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนของผู้ที่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ หากไม่ปรากฏรายชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ยื่นงบการเงินดังกล่าวอยู่ในบัญชีรายชื่อที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้แจ้งไว้จะสันนิษฐานว่า งบการเงินรายนั้นไม่ได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต แต่ทั้งนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะรับงบการเงินรายนั้นไว้ชั่วคราวก่อน และให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่อง ดังนี้ (๑) ติดต่อให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตดำเนินการแจ้งยืนยันการลงลายมือชื่อรับรองงบการเงิน หรือ (๒) จัดส่งเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการรับงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต โดยจะต้องปรากฏหลักฐานการลงลายมือชื่อของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเอกสารรับงานดังกล่าว หากผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีได้ดำเนินการตาม (๑) หรือ (๒) ให้ถูกต้องภายในกำหนดระยะเวลา ๒ เดือน นับแต่วันที่ได้ยื่นงบการเงินไว้ จะถือว่าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีได้ยื่นงบการเงินไว้โดยถูกต้องแล้ว ตั้งแต่การยื่นในคราวแรก ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจัดส่งเอกสารตาม (๒) หากปรากฏว่า ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแจ้งต่อสำนักงาน ก.บช. ว่ามิได้เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองงบการเงินรายดังกล่าวให้เป็นหน้าที่ของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่จะต้องพิสูจน์โดยจัดส่งหลักฐานที่แสดงว่าผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้ลงลายมือชื่อรับรองในงบการเงินนั้นจริงต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายในกำหนดระยะเวลา ๒ เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการปฏิเสธลายมือชื่อของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทั้งนี้ หากผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมิได้ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคสองหรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี จะถือว่าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีนั้นยังไม่ได้ยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป[๑] ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ อรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สุภาพร/พิมพ์ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๖ อุรารักษ์/ปรับปรุง ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑]ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๕๑ ง/หน้า ๒๗/๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๖
316698
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง ขยายระยะเวลายื่นงบการเงินให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ไม่สามารถจัดหาผู้สอบบัญชีตรวจสอบรับรองงบการเงิน พ.ศ. 2545
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง ขยายระยะเวลายื่นงบการเงินให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ที่ไม่สามารถจัดหาผู้สอบบัญชีตรวจสอบรับรองงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๕[๑] ตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีกำหนดให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะต้องจัดทำและยื่นงบการเงินต่อกรมทะเบียนการค้าภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๔ บางกลุ่มจะต้องยื่นงบการเงินอย่างช้าที่สุดภายในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕ นั้น เนื่องจากผู้ประกอบการบางราย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย แจ้งว่า ผู้ประกอบธุรกิจจำนวนหนึ่งยังไม่สามารถจัดหาผู้สอบบัญชีเพื่อตรวจสอบรับรองงบการเงินได้ ทำให้ไม่สามารถนำส่งงบการเงินต่อกรมทะเบียนการค้าภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งกรมทะเบียนการค้าได้พิจารณาแล้วเห็นว่า มีเหตุผลรับฟังได้ว่าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมทะเบียนการค้าจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ขยายระยะเวลาการยื่นงบการเงินสำหรับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๔ ซึ่งยังไม่สามารถจัดหาผู้สอบบัญชีเพื่อตรวจสอบรับรองงบการเงินได้ออกไปอีกจนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๕ แต่ทั้งนี้ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังกล่าวต้องจัดส่งเอกสารดังต่อไปนี้ต่อกรมทะเบียนการค้าภายในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕ คือ (๑) แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) จำนวน ๓ ฉบับ (๒) งบการเงิน (ไม่ต้องแนบรายงานการสอบบัญชี) จำนวน ๑ ชุด เอกสารที่จัดส่งตาม (๑) และ (๒) ต้องมีอำนาจทำการแทนกิจการ คือ หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ผู้จัดการหรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรหรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ แล้วแต่กรณีลงลายมือชื่อและประทับตรา (ถ้ามี) สำหรับสถานที่จัดส่งและวิธีการจัดส่งให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการยื่นงบการเงินในกรณีปกติ ข้อ ๒ เมื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีได้ยื่นเอกสารถูกต้องครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อ ๑ แล้ว กรมทะเบียนการค้าจะออกหลักฐานการรับเอกสารให้ ในกรณีเช่นนี้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบรับรองงบการเงินและยื่นงบการเงินที่ได้ดำเนินการถูกต้องครบถ้วนตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ ต่อกรมทะเบียนการค้าอีกครั้งหนึ่งภายในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๕ คือ (๑) แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) จำนวน ๓ ฉบับ (๒) งบการเงินและรายงานการสอบบัญชี จำนวน ๒ ชุด (๓) สำเนาหลักฐานการรับเอกสารที่กรมทะเบียนการค้าออกให้ กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคต้องยื่นเอกสารตาม (๑) และ (๒) เพิ่มขึ้นอีก อย่างละ ๑ ฉบับ การยื่นเอกสารครั้งใหม่นี้ให้ยื่น ณ สถานที่เดิมที่ได้ยื่นเอกสารตามข้อ ๑ ไว้ ข้อ ๓ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีได้ยื่นงบการเงินใหม่โดยถูกต้องครบถ้วนภายในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๕ ก็ถือว่าได้ยื่นงบการเงินใหม่ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว แต่ถ้าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่ได้ยื่นงบการเงินใหม่ภายในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๕ หรือยื่นภายในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๕ แต่ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ ก็จะถือว่าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีนั้นยังไม่ได้ยื่นงบการเงินต่อกรมทะเบียนการค้า ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ อรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีกรมทะเบียนการค้า พรพิมล/พิมพ์/แก้ไข ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๕ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๘/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๕
325384
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน พ.ศ. 2545
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๕[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๕” ข้อ ๒ บรรดาประกาศ คำสั่ง ระเบียบ หรือข้อบังคับอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในประกาศนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ให้ใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๓ การยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชี (กรมทะเบียนการค้า) หรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ (สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัด) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้ (๑) งบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยและกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรมทะเบียนการค้า ออกตามความในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ และในกรณีของบริษัทมหาชนจำกัดต้องมีรายการและความหมายของรายการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ออกตามความในพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ ด้วย ในกรณีที่ได้มีกฎหมายเฉพาะกำหนดรายการย่อ หรือรายการและความหมายของรายการเพิ่มเติมนอกเหนือจากรายการย่อ หรือรายการและความหมายของรายการที่กำหนดไว้ในประกาศกรมทะเบียนการค้า หรือกฎกระทรวงดังกล่าวข้างต้น แล้วแต่กรณี ให้ใช้รายการย่อหรือรายการและความหมายของรายการตามที่กำหนดในกฎหมายเฉพาะนั้น (๒) ให้ระบุข้อความไว้ในงบการเงินในหน้างบดุลด้วยว่าข้อมูลในงบการเงินที่จัดส่งได้จัดทำขึ้นอย่างถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี และให้ผู้มีอำนาจทำการแทนกิจการคือ หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ผู้จัดการหรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรหรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ แล้วแต่กรณี และผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังกล่าว ลงลายมือชื่อรับรองและประทับตรา (ถ้ามี) ทั้งนี้ สำหรับในงบการเงินหน้าอื่น ๆ ให้ผู้มีอำนาจทำการแทนกิจการดังกล่าว ลงลายมือชื่อรับรองและประทับตรา (ถ้ามี) ไว้ในงบการเงินทุกหน้า ถ้าเป็นงบการเงินของบริษัทจำกัด ให้ระบุข้อความไว้ในงบการเงินในหน้างบดุลด้วยว่างบการเงินได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นครั้งใด เมื่อวันที่ เดือน ปี ใด หากมิได้ระบุข้อความดังกล่าวไว้ต้องจัดส่งสำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติงบการเงินนั้นไปพร้อมกับงบการเงินที่จัดส่งโดยกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัดนั้น ต้องลงลายมือชื่อรับรองว่าถูกต้องด้วยและประทับตรา (ถ้ามี) (๓) ในกรณีที่ไม่ได้มีการประกอบธุรกิจในรอบปีบัญชีที่จัดส่งงบการเงินนั้น ให้แจ้งไว้ด้วยว่าไม่ได้ประกอบธุรกิจ (๔) การยื่นงบการเงินต้องมีรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต แสดงความเห็นต่องบการเงินที่จัดส่งพร้อมทั้งลายมือชื่อรับรองในรายงานนั้นแนบมาด้วย ถ้าเป็นงบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนตั้งแต่รอบปีบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๕ เป็นต้นไป ที่มีทุนไม่เกินห้าล้านบาทสินทรัพย์รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท และรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท จะไม่มีรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแนบมาด้วยก็ได้ (๕) การยื่นงบการเงินถ้าเป็นกิจการที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครต้องมีเอกสารคู่ฉบับ อีก ๑ ฉบับ และถ้าเป็นกิจการที่ตั้งในส่วนภูมิภาคต้องมีเอกสารคู่ฉบับ อีก ๒ ฉบับ (๖) ถ้าเป็นงบการเงินที่ได้จัดพิมพ์ไว้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานประจำปีโดยจัดทำเป็นรูปเล่ม ซึ่งได้มีการพิมพ์ลายมือชื่อของบุคคลตาม (๒) และ (๔) ไว้แล้ว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีการลงลายมือชื่อของบุคคลดังกล่าวก็ได้ (๗) ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีหน้าที่ตามกฎหมายอื่นที่จะต้องยื่นงบการเงินต่อส่วนราชการอื่นด้วย งบการเงินที่ยื่นต่อกรมทะเบียนการค้าต้องมีข้อมูลที่ตรงกันกับงบการเงินชุดที่ยื่นต่อส่วนราชการอื่นนั้น (๘) แบบที่ใช้ในการยื่นงบการเงินให้ใช้แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ (๙) ผู้มีอำนาจทำการแทนกิจการ คือ หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดผู้จัดการหรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรหรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ แล้วแต่กรณี และผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองในแบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) พร้อมกับประทับตรา (ถ้ามี) ในกรณีที่ผู้ทำบัญชีเป็นผู้ช่วยผู้ทำบัญชีในสำนักงานบริการรับทำบัญชี หัวหน้าสำนักงานบริการรับทำบัญชีนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองในแบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) ด้วย (๑๐) การลงลายมือชื่อในงบการเงินหรือแบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) ต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเองพร้อมกับวงเล็บชื่อ นามสกุล ด้วยตัวบรรจงกำกับไว้ด้วย จะมอบหมายให้ผู้อื่นลงลายมือชื่อแทนมิได้ (๑๑) การยื่นงบการเงินให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (ก) กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมทะเบียนการค้า หรือสถานที่อื่นใดตามที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้ากำหนด (ข) กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคให้ยื่นต่อสำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัดนั้น หรือยื่นต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมทะเบียนการค้าก็ได้ (ค) การยื่นงบการเงินอาจยื่นโดยตรงต่อเจ้าหน้าที่ หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังสถานที่ดังกล่าวข้างต้น พร้อมแนบซองที่จ่าหน้ากลับคืนถึงตัวผู้รับ โดยผนึกดวงตราไปรษณียากรครบถ้วนไปด้วย ซึ่งหากปรากฏว่าเอกสารหลักฐานที่จัดส่งครบถ้วนถูกต้องโดยสมบูรณ์จะถือว่าได้ยื่นงบการเงินไว้ตั้งแต่วันที่ประทับตราไปรษณีย์ต้นทาง (๑๒) การยื่นงบการเงินต้องยื่นเอกสารตามจำนวนที่กำหนด ดังต่อไปนี้ กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครต้องยื่น (ก) งบการเงินและรายงานการสอบบัญชี จำนวน ๒ ชุด (ข) แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) จำนวน ๓ ฉบับ (ค) สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล จำนวน ๑ ฉบับ กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคต้องยื่นเอกสารตาม (ก) และ (ข) เพิ่มขึ้นอีก ๑ ฉบับ ข้อ ๔ กำหนดเวลาในการยื่นงบการเงิน ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องจัดทำงบการเงินและยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชี (กรมทะเบียนการค้า) หรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ (สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัด) ภายในกำหนดเวลาตามที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย ดังนี้ (๑) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยและกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องยื่นงบการเงินภายในห้าเดือนนับแต่วันปิดบัญชี (๒) บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยต้องยื่นงบการเงินภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่งบการเงินนั้นได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและป้องกันมิให้มีการแอบอ้างใช้ชื่อของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในรายงานการสอบบัญชี ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีแจ้งชื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่จะลงลายมือชื่อรับรองการสอบบัญชีสำหรับงบการเงินในรอบปีบัญชีถัดไปไว้ในแบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) และในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากที่ได้แจ้งไว้แล้ว ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีแจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้นต่อกรมทะเบียนการค้าภายใน ๑ เดือน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง ข้อ ๖ ในการตรวจสอบว่างบการเงินที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชียื่นต่อกรมทะเบียนการค้าได้รับการตรวจสอลและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือไม่และโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตคนใด กรมทะเบียนการค้าจะตรวจสอบจากรายชื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้แจ้งไว้ต่อสำนักงาน ก.บช. ตามประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๔๔ (พ.ศ. ๒๕๔๔) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และการพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนของผู้ที่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ หากไม่ปรากฏรายชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ยื่นงบการเงินดังกล่าวอยู่ในบัญชีรายชื่อที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้แจ้งไว้จะถือว่างบการเงินรายนั้นไม่ได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ซึ่งกรมทะเบียนการค้าจะคืนงบการเงินแจ้งให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องและยื่นงบการเงินใหม่ภายในกำหนด ๒ เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และจะถือว่าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีได้ยื่นงบการเงินไว้โดยถูกต้องแล้วตั้งแต่วันที่ยื่นงบการเงินครั้งแรก หากผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีได้ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องและยื่นงบการเงินใหม่ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕ อรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีกรมทะเบียนการค้า พรพิมล/พิมพ์ ๑๖/๐๘/๔๕ อุรารักษ์/ปรับปรุง ๓๑/๐๓/๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๑๕/๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
316488
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕[๑] ตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน รวมทั้งกำหนดแบบที่ใช้ในการยื่นงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) ไว้ นั้น เนื่องจากปรากฏว่าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีบางราย ยังมีความไม่พร้อมในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศกรมทะเบียนการค้าฉบับดังกล่าวบางข้อเห็นสมควรผ่อนระยะเวลาในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไปอีกระยะหนึ่งอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๔๕” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่ความในข้อ ๔ (๗) ข้อ ๔ (๘) วรรคสอง และข้อ ๖ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๕ บรรดาประกาศ คำสั่ง ระเบียบ หรือข้อบังคับอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในประกาศนี้ หรือซึ่งขัดแย้งกับประกาศนี้ให้ใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๔ การยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชี (กรมทะเบียนการค้า) หรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ (สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัด) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้มีอำนาจทำการแทนกิจการคือ หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ผู้จัดการหรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของกิจการร่วมค้า ตามประมวลรัษฎากรหรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ แล้วแต่กรณี ต้องลงลายมือชื่อรับรองว่าถูกต้องและประทับตรา (ถ้ามี) ไว้ในงบการเงินทุกหน้า ถ้าเป็นงบการเงินของบริษัทจำกัด ให้ระบุข้อความไว้ในงบการเงินในหน้างบดุลด้วยว่างบการเงินได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นครั้งใด เมื่อวันที่ เดือน ปี ใด หากมิได้ระบุข้อความดังกล่าวไว้ต้องจัดส่งสำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติงบการเงินนั้นไปพร้อมกับงบการเงินที่จัดส่งโดยกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัดนั้น ต้องลงลายมือชื่อรับรองว่าถูกต้องด้วยและประทับตรา (ถ้ามี) (๒) ในกรณีที่ไม่ได้มีการประกอบธุรกิจในรอบปีบัญชีที่จัดส่งงบการเงินนั้น ให้แจ้งไว้ด้วยว่าไม่ได้ประกอบธุรกิจ (๓) การยื่นงบการเงินต้องมีรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแสดงความเห็นต่องบการเงินที่จัดส่งพร้อมทั้งลงลายมือชื่อรับรองในรายงานนั้นแนบมาด้วย ถ้าเป็นงบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนตั้งแต่รอบปีบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๕ เป็นต้นไป ที่มีทุนไม่เกินห้าล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท และรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท ไม่ต้องมีรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแนบมาด้วย (๔) การยื่นงบการเงินถ้าเป็นกิจการที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครต้องมีเอกสารคู่ฉบับ อีก ๑ ฉบับ และถ้าเป็นกิจการที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคต้องมีเอกสารคู่ฉบับ อีก ๒ ฉบับ (๕) สำหรับงบการเงินที่ได้จัดพิมพ์ไว้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานประจำปีโดยจัดทำเป็นรูปเล่ม ซึ่งได้มีการพิมพ์ลายมือชื่อของบุคคลตาม (๑) และ (๓) ไว้แล้ว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีการลงลายมือชื่อของบุคคลดังกล่าว (๖) ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีหน้าที่ตามกฎหมายอื่นที่จะต้องยื่นงบการเงินต่อส่วนราชการอื่นด้วย งบการเงินที่ยื่นต่อกรมทะเบียนการค้าต้องมีข้อมูลที่ตรงกันกับงบการเงินชุดที่ยื่นต่อส่วนราชการอื่นนั้น (๗) แบบที่ใช้ในการยื่นงบการเงินให้ใช้แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ (๘) ผู้มีอำนาจทำการแทนกิจการ คือ หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ผู้จัดการหรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของกิจการร่วมค้า ตามประมวลรัษฎากรหรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ แล้วแต่กรณี และผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองในแบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) พร้อมกับประทับตรา (ถ้ามี) ในกรณีที่ผู้ทำบัญชีเป็นผู้ช่วยผู้ทำบัญชีในสำนักงานบริการรับทำบัญชี หัวหน้าสำนักงานบริการรับทำบัญชีนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองในแบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) ด้วย (๙) การลงลายมือชื่อในงบการเงินหรือแบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) ต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเองพร้อมกับวงเล็บชื่อ นามสกุล ด้วยตัวบรรจงกำกับไว้ด้วย จะมอบหมายให้ผู้อื่นลงลายมือชื่อแทนมิได้ (๑๐) การยื่นงบการเงินให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (ก) กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมทะเบียนการค้า หรือสถานที่อื่นใดตามที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้ากำหนด (ข) กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค ให้ยื่นต่อสำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัดนั้น หรือยื่นต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมทะเบียนการค้าก็ได้ (ค) การยื่นงบการเงินอาจยื่นโดยตรงต่อเจ้าหน้าที่ หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังสถานที่ดังกล่าวข้างต้น พร้อมแนบซองที่จ่าหน้ากลับคืนถึงตัวผู้รับ โดยผนึกดวงตราไปรษณียากรครบถ้วนไปด้วย ซึ่งหากปรากฏว่าเอกสารหลักฐานที่จัดส่งครบถ้วนถูกต้องโดยสมบูรณ์ จะถือว่าได้ยื่นงบการเงินไว้ตั้งแต่วันที่ประทับตราไปรษณีย์ต้นทาง (๑๑) การยื่นงบการเงินต้องยื่นเอกสารตามจำนวนที่กำหนด ดังต่อไปนี้ กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขต กรุงเทพมหานครต้องยื่น (ก) งบการเงินและรายงานการสอบบัญชี จำนวน ๒ ชุด (ข) แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) จำนวน ๓ ฉบับ กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคต้องยื่นเอกสารตาม (ก) และ (ข) เพิ่มขึ้น อีก ๑ ฉบับ ข้อ ๕ กำหนดเวลาในการยื่นงบการเงิน ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องจัดทำงบการเงินและยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชี (กรมทะเบียนการค้า) หรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ (สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัด) ภายในกำหนดเวลาตามที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย ดังนี้ (๑) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยและกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องยื่นงบการเงินภายในห้าเดือนนับแต่วันปิดบัญชี (๒) บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยต้องยื่นงบ การเงินภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่งบการเงินนั้นได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่ ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและป้องกันมิให้มีการแอบอ้างใช้ชื่อของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในรายงานการสอบบัญชี ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีแจ้งชื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่จะลงลายมือชื่อรับรองการสอบบัญชีสำหรับงบการเงินในรอบบัญชีถัดไปไว้ในแบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) และในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากที่ได้แจ้งไว้แล้วให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีแจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้นต่อกรมทะเบียนการค้าภายใน ๑ เดือน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง ข้อ ๗ ในการตรวจสอบว่างบการเงินที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชียื่นต่อกรมทะเบียนการค้าได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือไม่และโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตคนใด กรมทะเบียนการค้าจะตรวจสอบจากรายชื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้แจ้งไว้ต่อสำนักงาน ก.บช. ตามประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๔๔ (พ.ศ. ๒๕๔๔) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และการพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนของผู้ที่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ หากไม่ปรากฏรายชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ยื่นงบการเงินดังกล่าวอยู่ในบัญชีรายชื่อที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้แจ้งไว้จะถือว่างบการเงินรายนั้นไม่ได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ซึ่งกรมทะเบียนการค้าจะคืนงบการเงินและแจ้งให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องและยื่นงบการเงินใหม่ภายในกำหนด ๒ เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และถือว่าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีได้ยื่นงบการเงินไว้โดยถูกต้องแล้วตั้งแต่วันที่ยื่นงบการเงินครั้งแรก หากผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีได้ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องและยื่นงบการเงินใหม่ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ข้อ ๘ การยื่นงบการเงินก่อนวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้ใช้แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) ที่ใช้อยู่เดิมคือแบบที่กำหนดตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดแบบพิมพ์และแบบคำขอตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๕ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๓๙ และมาตรา ๑๑๙๙ ลงวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ ประกาศ ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ อรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีกรมทะเบียนการค้า พรพิมล/แก้ไข ๓๑/๐๗/๔๕ อุรารักษ์/ปรับปรุง ๓๑/๐๓/๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๒๑/๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
316427
ประกาศ ก.บช. ฉบับที่ 45 (พ.ศ. 2545) เรื่อง มาตรฐานการบัญชีที่ยกเว้นการบังคับใช้กับธุรกิจที่ไม่ใช่บริษัทมหาชนจำกัด
ประกาศ ก ประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๔๕ (พ.ศ. ๒๕๔๕) เรื่อง มาตรฐานการบัญชีที่ยกเว้นการบังคับใช้กับธุรกิจ ที่ไม่ใช่บริษัทมหาชนจำกัด[๑] ตามที่คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บช.) ได้ออกประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๔๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๓ ให้ใช้มาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย จำนวน ๓๓ ฉบับ นั้น คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีได้มีมติในการประชุมครั้งที่ ๑๓๙ (๕/๒๕๔๔) เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ ให้สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยดำเนินการออกประกาศสมาคม เรื่อง มาตรฐานการบัญชีที่ยกเว้นการบังคับใช้กับธุรกิจที่ไม่ใช่บริษัทมหาชนจำกัดซึ่งสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศ ฉบับที่ ๐๐๔/๒๕๔๔ - ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ยกเว้นการบังคับใช้มาตรฐานการบัญชีกับธุรกิจที่ไม่ใช่บริษัทมหาชนจำกัด จำนวน ๗ ฉบับ คือ ๑. ฉบับที่ ๒๔ การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน ๒. ฉบับที่ ๒๕ งบกระแสเงินสด ๓. ฉบับที่ ๓๖ การด้อยค่าของสินทรัพย์ ๔. ฉบับที่ ๔๔ งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย ๕. ฉบับที่ ๔๕ การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม ๖. ฉบับที่ ๔๗ การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ๗. ฉบับที่ ๔๘ การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน ทั้งนี้ ตั้งแต่การจัดทำงบการเงินที่มีรอบปีบัญชีหรือรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดในหรือหลังวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๔ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ การุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ประธานกรรมการ พรพิมล/พิมพ์ ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๕ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๘๑/๗ มีนาคม ๒๕๔๕
316418
ประกาศ ก. บช. ฉบับที่ 46 (พ.ศ. 2545) เรื่อง แก้ไขวันบังคับใช้ย่อหน้าที่ 38 ของมาตราฐานการบัญชี ฉบับที่ 32
ประกาศ ก ประกาศ ก. บช. ฉบับที่ ๔๖ (พ.ศ. ๒๕๔๕) เรื่อง แก้ไขวันบังคับใช้ย่อหน้าที่ ๓๘ ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๒[๑] ตามที่คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก. บช.) ได้ออกประกาศ ก. บช. ฉบับที่ ๔๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๓ ให้ใช้มาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย จำนวน ๓๓ ฉบับ และประกาศ ก. บช. ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๔๔) เรื่อง แก้ไขวันบังคับใช้ย่อหน้าที่ ๓๘ ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๒ นั้น บัดนี้ สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศ ที่ ๐๐๖/๒๕๔๔ - ๒๕๔๖ เรื่อง ขยายเวลาวันถือปฏิบัติในการแก้ไขย่อหน้า ๓๘ ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๒ ลงวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๕ และคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีได้มีมติเห็นชอบให้ใช้มาตรฐานการบัญชีตามประกาศของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยแล้วโดยกำหนดให้ย่อหน้าที่ ๓๘ ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๒ เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ใช้บังคับสำหรับงวดปีบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๐ เป็นต้นไป สำหรับกรณีที่ผู้ใดสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดในย่อหน้าที่ ๓๘ ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๒ ตามระยะเวลาที่ใช้บังคับไว้เดิมก็ถือว่าได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีในเรื่องดังกล่าวแล้ว ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ การุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ประธานคณะกรรมการ พรพิมล/พิมพ์ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๔๕ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๖๖/๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕
755597
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับวันเริ่มทำบัญชี และวิธีการจัดทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียน พ.ศ. 2544
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ หลักเกณฑ์และวิธีการ เกี่ยวกับวันเริ่มทำบัญชี และวิธีการจัดทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียน พ.ศ. ๒๕๔๔[๑] ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้บุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๔ ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๔ กำหนดให้บุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจเป็นผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้มีไว้เพื่อจำหน่าย ผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักร หรือผู้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งสินค้าประเภทแถบเสียงเพลง แถบวีดีทัศน์ และแผ่นซีดี เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ (๑) และ มาตรา ๘ วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้บุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๔ ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๔ มีหน้าที่จัดทำบัญชีสินค้า ข้อ ๒ ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามข้อ ๑ เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีนั้นได้เริ่มต้นประกอบกิจการ สำหรับกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีได้ประกอบกิจการอยู่ก่อนแล้ว ให้มีหน้าที่เริ่มทำบัญชีตามประกาศฉบับนี้ตั้งแต่วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นต้นไป ข้อ ๓ วิธีการจัดทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามข้อ ๑ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กำหนดในหมวด ๒ หมวด ๓ และหมวด ๔ ของประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๔ ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ อดุลย์ วินัยแพทย์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จุฑามาศ/จัดทำ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๕๒/๙ สิงหาคม ๒๕๔๔
755595
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้บุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี พ.ศ. 2544
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้บุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียน เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บุคคลธรรมหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจเป็นผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้มีไว้เพื่อจำหน่าย ผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักร หรือผู้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งสินค้าประเภทแถบเสียง แถบวีดิทัศน์ และแผ่นซีดี เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๔ ศุภชัย พานิชภักดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทนวงพาณิชย์ จุฑามาศ/จัดทำ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๘/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
605676
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการ ที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. 2544
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการ ที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ (๑) (๒) (๓) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๔” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมวด ๑ ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อ ๓ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยและกิจการร่วมการค้าตามประมวลรัษฎากรต้องจัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ โดยต้องจัดทำให้ครบถ้วนถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี (๑) บัญชีรายวัน (ก) บัญชีเงินสด (ข) บัญชีธนาคาร แยกเป็นแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร (ค) บัญชีรายวันซื้อ (ง) บัญชีรายวันขาย (จ) บัญชีรายวันทั่วไป (๒) บัญชีแยกประเภท (ก) บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน (ข) บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย (ค) บัญชีแยกประเภทลูกหนี้ (ง) บัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ (๓) บัญชีสินค้า (๔) บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภทอื่น และบัญชีแยกประเภทย่อยตามความจำเป็นแก่การทำบัญชีของธุรกิจ หมวด ๒ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ข้อ ๔ ปกด้านหน้าของสมุดบัญชี หรือแผ่นหน้าของบัญชีกรณีที่บัญชีเป็นแผ่น ต้องมีข้อความ ดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่ใช่นิติบุคคลจะใช้ชื่อทางการค้าก็ได้ (๒) ชนิดของบัญชี (๓) ลำดับเล่มบัญชีแต่ละชนิดให้ใช้ตัวเลขไทยหรืออารบิค ถ้าบัญชีแต่ละชนิดมีมากกว่าหนึ่งเล่ม ต้องเรียงลำดับเล่มต่อเนื่องกัน ข้อ ๕ บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท และบัญชีสินค้า ต้องมีข้อความและรายการในบัญชี ดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อบัญชี วัน เดือน ปี เลขที่ของเอกสารประกอบการลงบัญชีหรือหน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิง รายการบัญชี และจำนวนเงิน (๒) หน้าบัญชีต้องมีตัวเลขไทยหรืออารบิคเรียงลำดับทุกหน้า (๓) รายการในบัญชีที่เป็นจำนวนเงินต้องเป็นหน่วยเงินตราไทย ข้อ ๖ บัญชีแต่ละชนิดดังต่อไปนี้ นอกจากต้องมีรายการตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ แล้ว ต้องมีรายการต่อไปนี้ด้วย (๑) บัญชีเงินสด หรือบัญชีธนาคาร ให้มีรายละเอียดการได้มาหรือจ่ายไปซึ่งเงินสด เงินในธนาคาร แต่ถ้ามีรายละเอียดดังกล่าวในเอกสารประกอบการลงบัญชีหรือบัญชีรายวันชนิดหนึ่งชนิดใดแล้ว จะลงรายการรับหรือจ่ายเงินประเภทเดียวกันเป็นยอดรวมก็ได้ (๒) บัญชีรายวันซื้อหรือบัญชีรายวันขาย ให้มีรายละเอียด ชนิด ประเภท จำนวน และราคาของสินค้าหรือบริการที่ซื้อขาย แต่ถ้ามีรายละเอียดดังกล่าวในเอกสารประกอบการลงบัญชีหรือทะเบียนใดแล้ว จะลงรายการซื้อหรือขายสินค้าหรือบริการนั้นเป็นยอดรวมก็ได้ (๓) บัญชีรายวันทั่วไป ให้มีคำอธิบายรายการบัญชี (๔) บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน ให้มีรายละเอียดการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของสินทรัพย์ หนี้สินและทุน โดยให้อ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิงด้วย (๕) บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย ให้มีรายละเอียดที่มาแห่งรายได้หรือค่าใช้จ่าย โดยให้อ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิงด้วย (๖) บัญชีแยกประเภทลูกหนี้หรือบัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ ให้มีชื่อลูกหนี้หรือเจ้าหนี้การแสดงรายการบัญชีให้มีรายละเอียดการก่อหนี้หรือระงับหนี้ การลงรายการดังกล่าวให้อ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิงด้วย (๗) บัญชีสินค้า ให้มีชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ รายละเอียดการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินค้า และจำนวนสินค้านั้น หมวด ๓ ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี ข้อ ๗ กำหนดระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชีให้แล้วเสร็จไว้ ดังต่อไปนี้ (๑) บัญชีรายวัน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รายการนั้นเกิดขึ้น (๒) บัญชีแยกประเภท ต้องผ่านรายการจากบัญชีรายวันภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่รายการนั้นเกิดขึ้น (๓) บัญชีสินค้า ภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่รายการนั้นเกิดขึ้น ในกรณีที่เป็นบัญชีตาม (๒) และ (๓) ซึ่งต้องมีการลงรายการยอดคงเหลือต้องลงรายการยอดคงเหลือให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันปิดบัญชี หมวด ๔ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ข้อ ๘ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ได้แก่ บันทึก หนังสือ หรือเอกสารใด ๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี ซึ่งแยกได้เป็น ๓ ประเภท คือ (๑) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยบุคคลภายนอก (๒) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอก (๓) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อใช้ในกิจการของตนเอง ข้อ ๙ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีตามข้อ ๘ ทุกประเภทต้องมีรายการดังต่อไปนี้ และมีรายการตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๐ (๑) หรือ (๒) หรือข้อ ๑๑ ตามแต่ประเภทของเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีด้วย (๑) ชื่อของผู้จัดทำเอกสารซึ่งอาจใช้ชื่อที่ใช้ในการประกอบธุรกิจของผู้จัดทำเอกสารก็ได้ (๒) ชื่อของเอกสาร (๓) เลขที่ของเอกสาร และเล่มที่ (ถ้ามี) (๔) วัน เดือน ปี ที่ออกเอกสาร (๕) จำนวนเงินรวม ข้อ ๑๐ ถ้าเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีเป็นเอกสารตามข้อ ๘ (๒) ต้องมีรายการตามที่กำหนดไว้ใน (๑) หรือ (๒) ด้วย แล้วแต่กรณี คือ (๑) ในกรณีที่เป็นเอกสารเพื่อเป็นหลักฐานในการรับเงิน รับฝากเงิน รับชำระเงินหรือตั๋วเงินต้องมีรายการต่อไปนี้ (ก) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกิจการที่จัดทำเอกสาร (ข) สถานที่ตั้งของกิจการที่จัดทำเอกสาร (ค) รายละเอียดเกี่ยวกับการรับเงินหรือตั๋วเงิน (ง) ชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ ราคาต่อหน่วย และราคารวมของสินค้าหรือบริการแต่ละรายการ เว้นแต่ได้ระบุรายละเอียดดังกล่าวไว้ในเอกสารตาม (๒) (ค) แล้ว (จ) ลายมือชื่อของผู้รับเงินหรือตั๋วเงิน เว้นแต่เป็นเอกสารที่จัดทำและส่งมอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมืออื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน (๒) ในกรณีที่เป็นเอกสารเพื่อเป็นหลักฐานในการจำหน่าย จ่ายโอน ส่งมอบสินค้าหรือบริการโดยยังมิได้มีการชำระเงินหรือตั๋วเงินต้องมีรายการต่อไปนี้ (ก) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกิจการที่จัดทำเอกสาร (ข) สถานที่ตั้งของกิจการที่จัดทำเอกสาร (ค) ชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ ราคาต่อหน่วย และราคารวมของสินค้าหรือบริการแต่ละรายการ (ง) ชื่อหรือชื่อที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ และที่อยู่ของผู้ซื้อหรือผู้รับสินค้าหรือผู้รับบริการ (จ) ลายมือชื่อผู้จัดทำเอกสาร (ฉ) ลายมือชื่อผู้รับสินค้าหรือผู้รับบริการ ข้อ ๑๑ ถ้าเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีเป็นเอกสารตามข้อ ๘ (๓) ต้องมีรายการต่อไปนี้ด้วย คือ (๑) คำอธิบายรายการ (๒) วิธีการและการคำนวณต่าง ๆ (ถ้ามี) (๓) ลายมือชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี หรือผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อนุมัติรายการ ข้อ ๑๒ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอกต้องมีสำเนาเก็บไว้อย่างน้อย ๑ ฉบับ ข้อ ๑๓ การลงรายการในบัญชีรายวันและบัญชีสินค้า ต้อง (๑) มีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีทุกรายการและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีนั้นต้องสามารถแสดงความถูกต้องครบถ้วนของรายการบัญชีตามความเป็นจริง และเป็นที่เชื่อถือได้ (๒) ใช้เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีตามข้อ ๘ ในลำดับ (๑) หรือ (๒) แล้วแต่กรณีก่อน เว้นแต่ไม่มีเอกสารดังกล่าวจึงให้ใช้เอกสารในลำดับ (๓) ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔ อดุลย์ วินัยแพทย์ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า สุกัญญา/พิมพ์ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๒ อุรารักษ์/ตรวจ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๘ ง/หน้า ๒๐/๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๔
316127
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2544
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๔ [๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมทะเบียนการค้าโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ งบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดไว้ในแบบที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ คือ (๑) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๑ (๒) บริษัทจำกัด ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๒ (๓) บริษัทมหาชนจำกัด ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๓ (๔) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๔ (๕) กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๕ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์นอกจากต้องจัดทำงบการเงินโดยมีรายการย่อดังกล่าวข้างต้นแล้ว ต้องมีรายการย่อตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดสำหรับธนาคารพาณิชย์เพิ่มเติมนอกเหนือจากรายการดังกล่าวและในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์นอกจากต้องจัดทำงบการเงินโดยมีรายการย่อดังกล่าวข้างต้นแล้ว ต้องมีรายการย่อตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดสำหรับบริษัทเงินทุนเพิ่มเติมนอกเหนือจากรายการดังกล่าวด้วย ข้อ ๒ ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของธุรกิจไม่มีรายการที่ต้องแสดงรายการย่อครบตามแบบที่กำหนดไว้ ก็ให้งดเว้นไม่ต้องแสดงรายการย่อที่ไม่มีดังกล่าว ข้อ ๓ งบกำไรขาดทุนอาจเลือกแสดงแบบขั้นเดียวหรือแสดงแบบหลายขั้นก็ได้ สำหรับงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของสำนักงานใหญ่ หรืองบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ร่วมค้า อาจเลือกแสดงแบบงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จแทนก็ได้ ข้อ ๔ ในกรณีที่มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้มีการแสดงรายการย่อนอกเหนือจากรายการที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น ต้องแสดงรายการนั้นเพิ่มเติมด้วย ข้อ ๕ ในระยะเริ่มแรกที่ประกาศฉบับนี้มีผลให้บังคับให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นบริษัทจำกัดที่มิได้มีหน้าที่จัดทำและนำส่งงบการเงินต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรได้รับยกเว้นไม่ต้องแสดงรายการในงบการเงินเปรียบเทียบกับปีก่อน และให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ซึ่งเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่มิได้มีหน้าที่จัดทำและนำส่งงบการเงินต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือมิได้เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้รับยกเว้นไม่ต้องแสดงรายการงบการเงินรวมเปรียบเทียบกับปีก่อน แต่ต้องเริ่มแสดงรายการในงบการเงินหรืองบการเงินรวมแล้วแต่กรณี เปรียบเทียบกับปีก่อน สำหรับการจัดทำงบการเงินซึ่งมีรอบปีบัญชีเริ่มต้นในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นต้นไป ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสำหรับการจัดทำงบการเงินซึ่งมีรอบปีบัญชีเริ่มต้นในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นต้นไป แต่ทั้งนี้ หากผู้ใดสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดในประกาศฉบับนี้ได้ก่อนถึงกำหนดเวลาใช้บังคับก็สมควรกระทำและให้ถือว่าผู้นั้นได้จัดทำงบการเงินโดยถูกต้องตามข้อกำหนดในเรื่องนี้แล้ว ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔ อดุลย์ วินัยแพทย์ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า [เอกสารแนบท้าย] ๑. งบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน (แบบ ๑) ๒. งบการเงินของบริษัทจำกัด (แบบ ๒) ๓. งบการเงินของบริษัทมหาชนจำกัด (แบบ ๓) ๔. งบการเงินของนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ (แบบ ๔) ๕. งบการเงินของกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร (แบบ ๕) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) สุกัญญา/พิมพ์ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๒ อุรารักษ์/ตรวจ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๑๗/๑๙ กันยายน ๒๕๔๔
324859
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชี และหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาการเข้ารับการอบรม และสำเร็จการอบรม พ.ศ.2543
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชี และหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาการเข้ารับการอบรม และสำเร็จการอบรม พ.ศ. ๒๕๔๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชี และหลักทรัพย์ วิธีการ และระยะเวลาการเข้ารับการอบรมและสำเร็จการอบรม พ.ศ. ๒๕๔๓” ข้อ ๒ ผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ใช้บังคับ แต่ไม่มีคุณสมบัติของการเป็นผู้ทำบัญชีตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา ๗ (๖) ซึ่งได้ออกประกาศแล้วตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ลงวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ที่ประสงค์จะเป็นผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ต่อไป ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) แจ้งความประสงค์จะเป็นผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.๒๕๔๓ ต่อไปต่ออธิบดี ในระหว่างวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ถึงวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยใช้แบบแจ้งเป็นผู้ทำบัญชีที่แนบท้ายประกาศนี้ (แบบ ส.บช. ๕ - ก) พร้อมด้วยหลักฐานเอกสารตามที่ระบุไว้ในแบบ ส.บช. ๕ - ก ดังนี้ (ก) ในกรณีที่ผู้แจ้งมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดนนทบุรีให้ยื่นแบบแจ้งเป็นผู้ทำบัญชีต่อสำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ถนนนนทบุรี ๑ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ (ข) ในกรณีที่ผู้แจ้งมีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่อื่นนอกจาก (ก) ให้ยื่นแบบแจ้งเป็นผู้ทำบัญชีต่อสำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัดที่ผู้แจ้งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดนั้น (ค) การยื่นแบบแจ้งเป็นผู้ทำบัญชีจะใช้วิธีส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังสถานที่ตาม (ก) หรือ (ข) แล้วแต่กรณี ก็ได้ โดยจะถือวันที่ที่ไปรษณีย์ต้นทางประทับตราเป็นเกณฑ์ว่าได้ยื่นเมื่อใด ทั้งนี้ ผู้ยื่นแบบแจ้งเป็นผู้ทำบัญชีจะต้องแนบซองติดตราไปรษณียากรจ่าหน้าซองถึงตนเองไปด้วยเพื่อประโยชน์ในการแจ้งตอบรับ (ง) การยื่นแบบแจ้งเป็นผู้ทำบัญชีดังกล่าวข้างต้น หากปรากฏว่าหลักฐานเอกสารครบถ้วนถูกต้องโดยสมบูรณ์จะถือว่าได้ยื่นแบบแจ้งนับแต่วันที่ยื่นแบบหรือวันที่ประทับตราไปรษณีย์ต้นทาง แล้วแต่กรณี หากปรากฏว่าหลักฐานเอกสารไม่ครบถ้วนถูกต้องสมบูรณ์ จะแจ้งให้ผู้แจ้งทราบและผู้แจ้งจะต้องแก้ไขให้ถูกต้องครบถ้วนภายในกำหนดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง หากผู้แจ้งดำเนินการแก้ไขภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ก็จะถือว่าได้ยื่นแบบแจ้งเป็นผู้ทำบัญชีไว้โดยถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่แรก หากผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ก็จะถือว่าผู้แจ้งไม่ประสงค์จะแจ้งเป็นผู้ทำบัญชีต่อไป (๒) เข้ารับการอบรมและสำเร็จการอบรมหลักสูตรความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีและมาตรฐานการบัญชีตามตารางต่อไปนี้ จากสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นตามวัน เวลา และสถานที่อบรม โดยเสียค่าธรรมเนียมในการอบรม ตามที่กรมทะเบียนการค้าจะประกาศกำหนด หลักสูตรหรือเรื่องที่อบรม จำนวนชั่วโมง ทั้งหลักสูตร ๑. พ.ร.บ. การบัญชี ๒. แม่บทการบัญชี ๓. การบัญชีขั้นต้น - ขั้นตอนการจัดทำบัญชี - การควบคุมภายใน - การปรับปรุง และปิดบัญชี ๔. การบัญชีขั้นกลาง - เงินสด / เงินฝากธนาคาร - ลูกหนี้ - สินค้าคงเหลือ - การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน - ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ - ต้นทุนการกู้ยืม - สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน - หนี้สิน (ประมาณการหนี้สิน) - ส่วนของผู้เป็นเจ้าของ ๕. การบัญชีสำหรับธุรกิจเฉพาะ - สัญญาเช่าระยะยาว - การเช่าซื้อ / ผ่อนชำระ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ - กิจการร่วมค้า - งานก่อสร้างตามสัญญา ๖. กำไรหรือขาดทุนสุทธิสำหรับงวด ข้อผิดพรากที่สำคัญและการ เปลี่ยนแปลงทางบัญชี ๗. การบัญชีชั้นสูง ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับเงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และงบการเงินรวม ๘. ศึกษาการบัญชีเกี่ยวกับการจัดทำกำไรต่อหุ้น กรณีเหตุการณ์ที่อาจ เกิดขึ้นภายหน้าและเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน ๙. การจัดทำงบการเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน - การนำเสนองบการเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน - ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน - การจัดทำงบกระแสเงินสด ๑๐. การบัญชีต้นทุน / การบัญชีเพื่อการจัดการ - ศึกษาเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการบัญชีต้นทุน - ส่วนประกอบของต้นทุนผลิตภัณฑ์ - การบัญชีต้นทุนมาตรฐาน - การบัญชีต้นทุนงาน ต้นทุนช่วงและแบบผสม รวม ๓ ๖ ๓ ๓ ๓ ๓ ๓ ๓ ๓ ๓ ๙ ๓ ๖ ๙ ๖๐ (๓) เกณฑ์การตัดสินการสำเร็จการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมที่ถือว่าสำเร็จการอบรมจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (ก) มีระยะเวลาการเข้ารับการอบรมนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบของระยะเวลาอบรมที่กำหนดไว้ทั้งหลักสูตร (ข) ผ่านการทดสอบความรู้ในวิชาที่อบรมทั้งหลักสูตรโดยต้องได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบ ด้วยวิธีการสอบข้อเขียน การประเมินจากการทำรายงานของผู้เข้ารับการอบรม การทำแบบฝึกหัด หรือการสอบสัมภาษณ์ วิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธี การรวมกันตามที่กรมทะเบียนการค้าประกาศกำหนด ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓. ภัทรา สกุลไทย อธิบดีกรมทะเบียนการค้า [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบแจ้งเป็นผู้ทำบัญชี ตามมาตรา ๔๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ (แบบ ส.บช. ๕ - ก) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) อัมพิกา/แก้ไข ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๗๙ ง/หน้า ๑๙/๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๓
315511
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. 2543
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมทะเบียนการค้าโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติ และเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๔ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ผู้ทำบัญชีตามประกาศฉบับนี้ ได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ (๑) ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี สมุห์บัญชี หัวหน้าแผนกบัญชี หรือผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวกรณีที่เป็นพนักงานของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี (๒) หัวหน้าสำนักงาน กรณีที่เป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชีที่มิได้จัดตั้งในรูปคณะบุคคล (๓) ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชี กรณีที่เป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชีที่จัดตั้งในรูปคณะบุคคล (๔) กรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชีกรณีที่เป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชีที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคล (๕) บุคคลธรรมดา กรณีที่เป็นผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ (๖) ผู้ช่วยผู้ทำบัญชีตามที่กำหนดใน ข้อ ๗ (๓) (๗) บุคคลอื่นนอกจากที่ระบุตาม (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ข้อ ๔ ผู้ทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (๒) มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ทำบัญชีได้ (๓) ไม่เคยต้องโทษโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เนื่องจากได้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชี หรือกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี เว้นแต่พ้นระยะเวลาที่ถูกลงโทษมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี (๔) มีคุณวุฒิ ดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา มีทุนจดทะเบียนไม่เกินห้าล้านบาท มีสินทรัพย์รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท และมีรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาล ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี (ข) ผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี ๑) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียน หรือสินทรัพย์รวม หรือรายได้รวมรายการใดรายการหนึ่งเกินกว่าที่กำหนดไว้ใน (ก) ๒) บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ๓) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย ๔) กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ๕) ผู้ประกอบธุรกิจธนาคาร เงินทุน หลักทรัพย์ เครดิตฟองซิเอร์ ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย ๖) ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน (ค) ในกรณีที่เป็นการเริ่มทำบัญชีรอบปีบัญชีแรกของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คุณวุฒิของผู้ทำบัญชีให้พิจารณาโดยใช้เกณฑ์ทุนจดทะเบียนตามที่กำหนดไว้ใน (ก) และ (ข) แล้วแต่กรณี ข้อ ๕ ในกรณีที่เป็นผู้ทำบัญชีของบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนซึ่งรัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คุณวุฒิของผู้ทำบัญชีดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๔ (๔) (ก) หรือ (ข) โดยอนุโลม ข้อ ๖ ในกรณีที่ทุนจดทะเบียน สินทรัพย์รวม หรือรายได้รวมของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามข้อ ๔ (๔) (ก) เปลี่ยนแปลงไปจนทำให้ผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่มีคุณสมบัติของการเป็นผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีนั้นต่อไป ให้ผู้นั้นสามารถเป็นผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังกล่าวต่อไปได้เป็นเวลาสองปีนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชีที่มีการเปลี่ยนแปลง ข้อ ๗ ผู้ทำบัญชีต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี ดังต่อไปนี้ (๑) แจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีตามแบบ ส.บช. ๕ ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้พร้อมด้วยหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบ ส.บช. ๕ ต่ออธิบดีภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับหรือนับแต่วันเริ่มทำบัญชีแล้วแต่กรณีเว้นแต่ผู้ทำบัญชีที่ระบุไว้ตามมาตรา ๔๒ วรรคสอง ที่ได้ยื่นแบบ ส.บช. ๕ - ก ไว้แล้ว ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการที่แจ้งไว้ตามวรรคหนึ่ง ผู้ทำบัญชีต้องแจ้งรายการเปลี่ยนแปลงนั้นโดยยื่นแบบ ส.บช. ๕ ต่ออธิบดีภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง (๒) เข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี อย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกรอบสามปี จากสถาบันวิชาชีพบัญชีหรือสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่อธิบดีประกาศกำหนด เงื่อนไขตามวรรคหนึ่งให้ปฏิบัติเมื่อพ้นกำหนดสามปีนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ (๓) ผู้ทำบัญชีที่รับทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีปีละเกินกว่าหนึ่งร้อยรายต้องจัดให้มีผู้ช่วยผู้ทำบัญชีซึ่งมีคุณวุฒิเช่นเดียวกับผู้ทำบัญชีอย่างน้อยหนึ่งคนในทุก ๆ หนึ่งร้อยรายที่เกินหนึ่งร้อยรายแรก เศษของหนึ่งร้อยถ้าเกินกว่าห้าสิบให้นับเป็นหนึ่งร้อย การนับจำนวนของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามวรรคหนึ่งมิให้รวมถึงผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มิได้ทำการค้าขายหรือประกอบการงานแล้ว หรือที่ยังไม่ได้เริ่มทำการค้าขายหรือประกอบการงาน ประกาศ ณ วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ภัทรา สกุลไทย อธิบดีกรมทะเบียนการค้า [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบแจ้งการทำบัญชีของผู้ทำบัญชีตามมาตรา ๗ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ (แบบ ส.บช. ๕) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) อัมพิกา/แก้ไข ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๗๙ ง/หน้า ๑๔/๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๓
315510
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง บัตรประจำตัวสารวัตรใหญ่บัญชีและสารวัตรบัญชี พ.ศ. 2543
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง บัตรประจำตัวสารวัตรใหญ่บัญชีและสารวัตรบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ บัตรประจำตัวสารวัตรใหญ่บัญชีและสารวัตรบัญชีให้ทำด้วยกระดาษแข็งสีขาวและมีขนาดและลักษณะ ดังนี้ (๑) บัตรประจำตัวสารวัตรใหญ่บัญชี ให้เป็นไปตามแบบที่ ๑ ท้ายประกาศฉบับนี้ (๒) บัตรประจำตัวสารวัตรบัญชี ให้เป็นไปตามแบบที่ ๒ ท้ายประกาศฉบับนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑] ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ อดุลย์ วินัยแพทย์ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบบัตรประจำตัวสารวัตรใหญ่บัญชี ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ (แบบที่ ๑) ๒. แบบบัตรประจำตัวสารวัตรบัญชี ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ (แบบที่ ๒) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) อัมพิกา/แก้ไข ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๑๕ ง/หน้า ๔๓/๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
315509
ประกาศ ก.บช. ฉบับที่ 42 (พ.ศ. 2543) เรื่อง มาตรฐานการบัญชี
ประกาศ ก ประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๔๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) เรื่อง มาตรฐานการบัญชี[๑] ตามที่พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๔๓ กำหนดว่า ระหว่างที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีที่กฎหมายกำหนด ให้ถือว่ามาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ซึ่งคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีได้มติให้ประกาศใช้แล้ว เป็นมาตรฐานการบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ นั้น บัดนี้ คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บช.) ได้มติให้ประกาศใช้มาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย จำนวน ๓๓ ฉบับ ประกอบด้วยแม่บทการบัญชี ๑ ฉบับ มาตรฐานการบัญชี ๒๘ ฉบับ และการตีความมาตรฐานการบัญชี ๔ ฉบับ ดังมีบัญชีรายชื่อและสาระสำคัญของมาตรฐานการบัญชีแต่ละเรื่องตามเอกสารที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ เป็นมาตรฐานการบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ทั้งนี้ ให้มีผลเป็นมาตรฐานการบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เกริกไกร จีระแพทย์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ประธานคณะกรรมการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีรายชื่อมาตรฐานการบัญชีแนบท้ายประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๔๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ๒. การตีความตามมาตรฐานการบัญชีที่ประกาศใช้ในปัจจุบัน ๓. มาตรฐานการบัญชี เรื่อง แม่บทการบัญชี ๔. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๗ เรื่อง การบัญชีเกี่ยวกับการเช่าซื้อ - ทางด้านผู้ให้เช่าซื้อ ๕. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๘ เรื่อง การบัญชีสำหรับงานก่อสร้างตามสัญญา ๖. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๑๑ เรื่อง หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ ๗. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๑๔ เรื่อง การบัญชีสำหรับการวิจัยและพัฒนา ๘. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๑ เรื่อง เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นภายหน้า และเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน ๙. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๔ เรื่อง การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน ๑๐. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๕ เรื่อง งบกระแสเงินสด ๑๑. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๖ เรื่อง การรับรู้รายได้สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ๑๒. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๗ เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินของธนาคารและสถานบันการเงินที่คล้ายคลึงกัน ๑๓. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๙ เรื่อง การบัญชีสำหรับสัญญาเช่าระยะยาว ๑๔. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๐ เรื่อง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ๑๕. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๑ เรื่อง สินค้าคงเหลือ ๑๖. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๒ เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ๑๗. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๓ เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม ๑๘. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๕ เรื่อง การนำเสนองบการเงิน ๑๙. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๖ เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ ๒๐. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๗ เรื่อง การรับรู้รายได้ ๒๑. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๘ เรื่อง กำไรต่อหุ้น ๒๒. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๙ เรื่อง กำไรหรือขาดทุนสิทธิสำหรับงวด ข้อผิดพลาดที่สำคัญ และการเปลี่ยนแปลงทางบัญชี ๒๓. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๐ เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ๒๔. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๑ เรื่อง งบการเงินระหว่างกาล ๒๕. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๒ เรื่อง การบัญชีสำหรับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน ๒๖. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๓ เรื่อง การรวมธุรกิจ ๒๗. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๔ เรื่อง งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย ๒๘. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๕ เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม ๒๙. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๖ เรื่อง รายงานทางการเงินเกี่ยวกับส่วนได้เสียในการร่วมค้า ๓๐. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๗ เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ๓๑. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๘ เรื่อง การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน ๓๒. การตีความมาตรฐานการบัญชี เรื่องที่ ๑ เรื่อง สินทรัพย์ที่ลูกหนี้โอนให้เพื่อชำระหนี้ ๓๓. การตีความมาตรฐานการบัญชี เรื่องที่ ๒ เรื่อง งบการเงินรวม - บริษัทย่อยที่เป็นกิจการเฉพาะกิจ ๓๔. การตีความมาตรฐานการบัญชี เรื่องที่ ๓ เครื่องมือทางการเงินแบบผสมที่ออกโดยสถาบันการเงิน ๓๕. การตีความมาตรฐานการบัญชี เรื่องที่ ๔ เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ – รายจ่ายที่กิจการในขั้นพัฒนา และกิจการที่พัฒนาแล้ว บันทึกไว้เป็นสินทรัพย์ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) อัมพิกา/แก้ไข ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๓๓ ง/หน้า ๓๙/๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๓
323223
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่น และการแจ้งบัญชีหรือเอกสารที่ใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย พ.ศ. 2543
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาต ให้เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่น และการแจ้งบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบ การลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย พ.ศ. ๒๕๔๓ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ วรรคสอง และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่น และการแจ้งบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย พ.ศ. ๒๕๔๓” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ หลักเกณฑ์และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่น (๑) ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ประสงค์จะขออนุญาตเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่นที่มิใช่สถานที่ทำการ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานเป็นประจำให้ยื่นคำขอตามแบบ ส.บช. ๑ ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้พร้อมด้วยหลักฐานเอกสารตามที่ระบุไว้ในแบบ ส.บช. ๑ ต่อสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ ณ สำนักงานบัญชีประจำท้องที่ที่มีเขตอำนาจในจังหวัดที่สถานที่ดังกล่าวข้างต้นตั้งอยู่ หรือยื่นต่อสารวัตรใหญ่บัญชี สำนักงานกลางบัญชี ณ สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมทะเบียนการค้า (๒) การพิจารณาคำขออนุญาตให้เก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่น จะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน ๑๐ วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับคำขอและหลักฐานเอกสารประกอบคำขอไว้โดยครบถ้วนถูกต้อง (๓) ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ได้รับอนุญาตให้เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่นแล้ว หากต่อมาได้นำบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีนั้นทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเก็บรักษาไว้ ณ สถานที่ทำการ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานเป็นประจำ ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้นต่อสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ ณ สำนักงานบัญชีประจำท้องที่ที่มีเขตอำนาจในจังหวัดที่สถานที่ดังกล่าวข้างต้นตั้งอยู่ หรือแจ้งต่อสารวัตรใหญ่บัญชี สำนักงานกลางบัญชี ณ สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมทะเบียนการค้า ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ข้อ ๔ หลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ประสงค์จะแจ้งบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหายให้ใช้แบบ ส.บช. ๒ ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้พร้อมด้วยหลักฐานเอกสารตามที่ระบุไว้ในแบบ ส.บช. ๒ โดยยื่นต่อสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ ณ สำนักงานบัญชีประจำท้องที่ที่มีเขตอำนาจในจังหวัดที่สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ หรือยื่นต่อสารวัตรใหญ่บัญชี สำนักงานกลางบัญชี ณ สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมทะเบียนการค้า ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบหรือควรทราบถึงการสูญหายหรือเสียหายนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ อดุลย์ วินัยแพทย์ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขออนุญาตเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่น (แบบ ส.บช. ๑) ๒. แบบแจ้งบัญชีหรือเอกสารประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย (แบบ ส.บช.๒) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) สุรินทร์/แก้ไข ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๔๔ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๑๕ ง/หน้า ๔๐/๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
312236
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง จัดตั้งสำนักงานบัญชีประจำท้องที่และแต่งตั้งหัวหน้าสำนักงานบัญชีประจำท้องที่
ประกาศ ก ประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๔๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) เรื่อง มาตรฐานการบัญชี[๑] ตามที่พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๔๓ กำหนดว่า ระหว่างที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีที่กฎหมายกำหนด ให้ถือว่ามาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ซึ่งคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีได้มติให้ประกาศใช้แล้ว เป็นมาตรฐานการบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ นั้น บัดนี้ คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บช.) ได้มติให้ประกาศใช้มาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย จำนวน ๓๓ ฉบับ ประกอบด้วยแม่บทการบัญชี ๑ ฉบับ มาตรฐานการบัญชี ๒๘ ฉบับ และการตีความมาตรฐานการบัญชี ๔ ฉบับ ดังมีบัญชีรายชื่อและสาระสำคัญของมาตรฐานการบัญชีแต่ละเรื่องตามเอกสารที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ เป็นมาตรฐานการบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ทั้งนี้ ให้มีผลเป็นมาตรฐานการบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เกริกไกร จีระแพทย์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ประธานคณะกรรมการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีรายชื่อมาตรฐานการบัญชีแนบท้ายประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๔๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ๒. การตีความตามมาตรฐานการบัญชีที่ประกาศใช้ในปัจจุบัน ๓. มาตรฐานการบัญชี เรื่อง แม่บทการบัญชี ๔. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๗ เรื่อง การบัญชีเกี่ยวกับการเช่าซื้อ - ทางด้านผู้ให้เช่าซื้อ ๕. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๘ เรื่อง การบัญชีสำหรับงานก่อสร้างตามสัญญา ๖. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๑๑ เรื่อง หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ ๗. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๑๔ เรื่อง การบัญชีสำหรับการวิจัยและพัฒนา ๘. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๑ เรื่อง เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นภายหน้า และเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน ๙. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๔ เรื่อง การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน ๑๐. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๕ เรื่อง งบกระแสเงินสด ๑๑. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๖ เรื่อง การรับรู้รายได้สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ๑๒. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๗ เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินของธนาคารและสถานบันการเงินที่คล้ายคลึงกัน ๑๓. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๙ เรื่อง การบัญชีสำหรับสัญญาเช่าระยะยาว ๑๔. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๐ เรื่อง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ๑๕. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๑ เรื่อง สินค้าคงเหลือ ๑๖. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๒ เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ๑๗. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๓ เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม ๑๘. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๕ เรื่อง การนำเสนองบการเงิน ๑๙. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๖ เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ ๒๐. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๗ เรื่อง การรับรู้รายได้ ๒๑. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๘ เรื่อง กำไรต่อหุ้น ๒๒. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๙ เรื่อง กำไรหรือขาดทุนสิทธิสำหรับงวด ข้อผิดพลาดที่สำคัญ และการเปลี่ยนแปลงทางบัญชี ๒๓. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๐ เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ๒๔. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๑ เรื่อง งบการเงินระหว่างกาล ๒๕. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๒ เรื่อง การบัญชีสำหรับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน ๒๖. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๓ เรื่อง การรวมธุรกิจ ๒๗. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๔ เรื่อง งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย ๒๘. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๕ เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม ๒๙. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๖ เรื่อง รายงานทางการเงินเกี่ยวกับส่วนได้เสียในการร่วมค้า ๓๐. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๗ เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ๓๑. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๘ เรื่อง การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน ๓๒. การตีความมาตรฐานการบัญชี เรื่องที่ ๑ เรื่อง สินทรัพย์ที่ลูกหนี้โอนให้เพื่อชำระหนี้ ๓๓. การตีความมาตรฐานการบัญชี เรื่องที่ ๒ เรื่อง งบการเงินรวม - บริษัทย่อยที่เป็นกิจการเฉพาะกิจ ๓๔. การตีความมาตรฐานการบัญชี เรื่องที่ ๓ เครื่องมือทางการเงินแบบผสมที่ออกโดยสถาบันการเงิน ๓๕. การตีความมาตรฐานการบัญชี เรื่องที่ ๔ เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ – รายจ่ายที่กิจการในขั้นพัฒนา และกิจการที่พัฒนาแล้ว บันทึกไว้เป็นสินทรัพย์ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) อัมพิกา/แก้ไข ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๓๓ ง/หน้า ๓๙/๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๓
317221
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ฉบับที่ 17 (พ.ศ.2534) เรื่อง กำหนดเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ประกาศกรมทะเบียนการค้า ฉบับที่ ๑๗ (พ.ศ. ๒๕๓๔) เรื่อง กำหนดเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี เพื่อให้การลงรายการในบัญชีมีเอกสารประกอบการลงบัญชีที่ครบถ้วนถูกต้องตรงตามความเป็นจริงและเป็นแนวทางเดียวกัน ซึ่งจะอำนวยประโยชน์ให้การจัดทำบัญชีของธุรกิจเป็นที่เชื่อถือแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๘ (๔) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๕ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๕ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การลงรายการในบัญชีเงินสด บัญชีรายวันและบัญชีสินค้าซึ่งอยู่ในครอบครองจะต้องมีเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สามารถแสดงความครบถ้วนและถูกต้องของรายการบัญชีและเป็นที่เชื่อถือได้ ข้อ ๒ เอกสารประกอบการลงบัญชี หมายถึง บันทึก หนังสือ หรือเอกสารใด ๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี ซึ่งแยกออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ (๑) เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยบุคคลภายนอก (๒) เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี เพื่ออกให้แก่บุคคลภายนอก (๓) เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี เพื่อใช้ในกิจการ การลงรายการในบัญชีจะต้องใช้เอกสารจากลำดับที่ ๒ (๑) หรือ (๒) แล้วแต่กรณีก่อน เว้นแต่ไม่มีเอกสารดังกล่าว จึงให้ใช้เอกสารลำดับถัดไป ข้อ ๓ เอกสารประกอบการลงบัญชีทุกประเภทต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อหรือชื่อที่ใช้ในการประกอบธุรกิจของผู้จัดทำเอกสาร (๒) ชื่อของเอกสาร (๓) เลขที่ของเอกสารและเล่มที่ (ถ้ามี) (๔) วัน เดือน ปี ที่ออกเอกสาร (๕) จำนวนเงินรวม ข้อ ๔ เอกสารประกอบการลงบัญชีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจัดทำขึ้นเพื่อออกให้บุคคลภายนอกตามข้อ ๒ (๒) เพื่อเป็นหลักฐานในการรับชำระ รับฝากหรือรับเงิน หรือตั๋วเงิน นอกจากจะต้องมีรายการตามข้อ ๓ แล้ว จะต้องมีรายการต่อไปนี้เพิ่มขึ้นอีก คือ (๑) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรและเลขทะเบียนการค้า (ถ้ามี) ของกิจการที่จัดทำเอกสาร (๒) สถานที่ตั้งของกิจการที่จัดทำเอกสาร (๓) รายละเอียดเกี่ยวกับการรับเงินหรือตั๋วเงิน (๔) ชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ ราคาต่อหน่วยและราคาของสินค้า หรือบริการแต่ละรายการ เว้นแต่ได้ระบุรายละเอียดดังกล่าวไว้ในเอกสารตามข้อ ๕ (๓) แล้ว (๕) ลายมือชื่อของผู้รับเงินหรือตั๋วเงิน ข้อ ๕ เอกสารประกอบการลงบัญชีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจัดทำขึ้น เพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอกตามข้อ ๒ (๒) เพื่อเป็นหลักฐานในการจำหน่าย จ่าย โอน ส่งมอบสินค้าหรือบริการโดยยังมิได้มีการชำระเงินหรือตั๋วเงิน นอกจากจะต้องมีรายการตามข้อ ๓ แล้ว จะต้องมีรายการต่อไปนี้เพิ่มขึ้นอีก คือ (๑) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรและเลขทะเบียนการค้า (ถ้ามี) ของกิจการที่จัดทำ เอกสาร (๒) สถานที่ตั้งของกิจการที่จัดทำเอกสาร (๓) ชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ ราคาต่อหน่วยและราคาของสินค้า หรือบริการแต่ละรายการ (๔) ชื่อ หรือ ชื่อที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ และที่อยู่ของผู้ซื้อหรือผู้รับสินค้าหรือบริการ (๕) ลายมือชื่อผู้รับสินค้าหรือบริการ ข้อ ๖ เอกสารประกอบการลงบัญชีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจัดทำขึ้น เพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอก จะต้องมีสำเนาเก็บไว้อย่างน้อย ๑ ชุด ข้อ ๗ เอกสารประกอบการลงบัญชีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจัดทำขึ้น เพื่อใช้ในกิจการตามข้อ ๒ (๓) นอกจากจะต้องมีรายการตามข้อ ๓ แล้ว จะต้องมีคำอธิบายรายการและลายมือชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อนุมัติรายการนั้นด้วย ข้อ ๘[๑] ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับสำหรับการจัดทำบัญชีซึ่งมีรอบปีบัญชีเริ่มต้นถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ๙๐ วัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๔ เฉลิมศักดิ์ นากสวาสดิ์ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า เพ็ญพร/พิมพ์/แก้ไข ๒๖ กันยายน ๒๕๔๕ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๑๓/หน้า ๖๐๘๑/๒๗ มิถุนายน ๒๕๓๔
317323
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2526) เรื่อง กำหนดระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ประกาศกรมทะเบียนการค้า ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๒๖) เรื่อง กำหนดระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี เพื่อให้กำหนดระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีได้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๘ (๓) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๕ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๕ อธิบดีกรมทะเบียนการค้าจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมทะเบียนการค้า ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๑๗) เรื่อง กำหนดระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี ลงวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๑๗ ข้อ ๒ การลงรายการในบัญชี ต้องจัดทำภายในกำหนดระยะเวลา ดังต่อไปนี้ (๑) บัญชีเงินสดและบัญชีรายวันทุกชนิด ต้องลงให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่รายการนั้นเกิดขึ้น (๒) ในกรณีลงบัญชีเงินสดและบัญชีรายวันด้วยเครื่องจักรทำบัญชี ต้องลงให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่รายการนั้นเกิดขึ้น (๓) บัญชีแยกประเภท ต้องลงให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่รายการนั้นเกิดขึ้น (๔) บัญชีสินค้าซึ่งอยู่ในครอบครอง ต้องลงให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่รายการนั้นเกิดขึ้น (๕) บัญชีเงินสด บัญชีแยกประเภททุกชนิด และบัญชีสินค้าซึ่งอยู่ในครอบครอง ต้องลงรายการยอดคงเหลือในบัญชี ณ วันปิดบัญชีแต่ละงวดให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันปิดบัญชี ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๒๖ จเร จุฑารัตนกุล อธิบดีกรมทะเบียนการค้า จารุวรรณ/พิมพ์ ๒๔ กันยายน ๒๕๔๕ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๐/ตอนที่ ๑๑/หน้า ๓๗๔/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖
326860
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2520) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอประทับตราบัญชี
ประกาศกรมทะเบียนการค้า ประกาศกรมทะเบียนการค้า ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๒๐) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอประทับตราบัญชี อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๘ (๖) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๕ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๕ อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การขอประทับตราบัญชี ให้ยื่นคำขอตามแบบ ส.บช.๑ ตามที่สำนักงานกลางบัญชีกำหนด ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานกลางบัญชี กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ในกรณีตามข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔ วรรคแรก และ ณ ที่ทำการเขตของกรุงเทพมหานครตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๔ วรรคสอง ข้อ ๒ ในกรณีที่เริ่มประกอบธุรกิจใหม่ หรือเปลี่ยนบัญชีแทนบัญชีเล่มเดิมหรือชุดเดิม ที่ได้ประทับตราของสำนักงานกลางบัญชีไว้แล้ว แต่ลงรายการหมดหรือมีการเปลี่ยนบัญชีเมื่อสิ้นรอบปีบัญชีในวันอื่นที่มิใช่วันที่ ๓๑ ธันวาคมของทุกปีหรือมีการเปลี่ยนระบบบัญชี ให้ขอประทับตราบัญชีภายในสามสิบวัน นับแต่วันเริ่มประกอบธุรกิจหรือนับแต่วันที่ลงรายการบัญชีครั้งแรกในบัญชีเล่มใหม่หรือชุดใหม่ แล้วแต่กรณี ในกรณีเปลี่ยนบัญชี ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีนำบัญชีเล่มเดิมหรือชุดเดิมมาให้ตรวจสอบและพิจารณาประกอบการประทับตามบัญชีเล่มใหม่หรือชุดใหม่ด้วย ข้อ ๓ ในกรณีที่บัญชีสูญหายหรือเสียหาย ให้ขอประทับตราบัญชีเล่มใหม่หรือชุดใหม่ก่อนที่จะลงรายการในบัญชีนั้น การขอประทับตราบัญชีดังกล่าว ให้นำบัญชีเล่มเดิมหรือชุดเดิมมาให้ตรวจสอบและพิจารณาประกอบการประทับตราบัญชีเล่มใหม่หรือชุดใหม่ด้วย เว้นแต่ไม่อาจทำเช่นนั้นได้ ทั้งนี้ ต้องแสดงข้อเท็จจริงถึงการสูญหายหรือเสียหายพร้อมด้วยนำบัญชีของปีปัจจุบัน หรือปีที่ล่วงมาแล้วหรือหลักฐานอื่นใดมาแสดงว่าได้จัดทำบัญชีไว้ครบถ้วน ข้อ ๔ ในกรณีที่เปลี่ยนบัญชีเมื่อสิ้นรอบปีบัญชีในวันที่ ๓๑ ธันวาคมของทุกปี ให้ขอประทับตราบัญชีภายในกำหนดเวลา ดังต่อไปนี้ (๑) สำหรับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มีสถานที่ประกอบธุรกิจอยู่ในเขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตดุสิต เขตพญาไท และเขตห้วยขวาง ภายในเดือนมิถุนายนของทุกปี (๒) สำหรับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มีสถานที่ประกอบธุรกิจอยู่ในเขตปทุมวัน เขตสัมพันธวงศ์ เขตบางรัก และเขตยานนาวา ภายในเดือนกรกฎาคมของทุกปี (๓) สำหรับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มีสถานที่ประกอบธุรกิจอยู่ในเขตธนบุรี เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตคลองสาน ภายในเดือนสิงหาคมของทุกปี ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีสถานที่ประกอบธุรกิจอยู่ในเขตพระโขนง เขตหนองจอก เขตตลิ่งชัน เขตราษฎร์บูรณะ เขตมีนบุรี เขตลาดกะบัง เขตภาษีเจริญ เขตบางขุนเทียน เขตบางกะปิ เขตบางเขน และเขตหนองแขม ให้ขอประทับตราบัญชีต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการของเขตนั้น ๆ ภายในเดือนกันยายนของทุกปี หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องขอประทับตราบัญชี ณ สำนักงานกลางบัญชี กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ภายในเดือนตุลาคมของทุกปี ข้อ ๕ ในกรณีที่ลงบัญชีด้วยเครื่องจักรหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทำบัญชี และไม่สามารถนำบัญชีไปประทับตราบัญชีก่อนลงรายการในบัญชีภายในกำหนดเวลาในข้อ ๒ ถึง ข้อ ๔ ได้ ให้ขอผ่อนผันและขยายเวลาต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือผู้ซึ่งสารวัตรใหญ่บัญชีมอบหมายภายในเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละกรณี ข้อ ๖ ในกรณีที่บัญชีซึ่งจะต้องประทับตรามีเป็นจำนวนมากและไม่สามารถนำไปประทับตรา ณ สำนักงานกลางบัญชี หรือที่ทำการเขตต่าง ๆ ได้ จะขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ไปประทับตราบัญชี ณ สถานที่ของผู้ประกอบธุรกิจก็ได้ โดยยื่นคำขอตามแบบ ส.บช. ๒ ที่สำนักงานกลางบัญชีกำหนด ทั้งนี้ ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละกรณี ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่นำบัญชีไปให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับตราของสำนักงานกลางบัญชีภายในเวลาที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับตราบัญชีนั้น ๆ ไม่ว่ากรณีใด ๆ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือผู้ซึ่งสารวัตรใหญ่บัญชีมอบหมาย หรือเมื่อได้ดำเนินการตามกฎหมายแล้ว ข้อ ๘[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๒๐ ประยูร เถลิงศรี อธิบดีกรมทะเบียนการค้า พรพิมล/พิมพ์/แก้ไข ๒๘ ตุลาคม ๒๕๔๕ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๔/ตอนที่ ๖๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๔/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๒๐
327753
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285
ประกาศของคณะปฏิวัติ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๕ โดยที่คณะปฏิวัติพิจารณาเห็นว่า ปัจจุบันนี้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการค้าของประเทศและระบบการบัญชี ได้วิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว แต่กฎหมายว่าด้วยการบัญชีได้ประกาศใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๒ บทบัญญัติต่าง ๆ ไม่รัดกุมและเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน สมควรแก้ไขปรับปรุงเสียใหม่ให้เหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจการค้า และเพื่อให้สอดคล้องกับระบบการภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรในปัจจุบัน หัวหน้าคณะปฏิวัติจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติการบัญชี พุทธศักราช ๒๔๘๒ (๒) พระราชบัญญัติการบัญชี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๖ บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ ให้ใช้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้แทน ข้อ ๒ ในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ “สารวัตรบัญชี” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ และหมายความรวมถึงผู้ทำการแทนด้วย “สารวัตรใหญ่บัญชี” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ และหมายความรวมถึงผู้ทำการแทนด้วย “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมทะเบียนการค้า “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ ข้อ ๓ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งสารวัตรใหญ่บัญชี สารวัตรบัญชี และพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ ข้อ ๔ ให้มีสำนักงานกลางบัญชีในกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อปฏิบัติการตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจจัดตั้งสำนักงานบัญชีในท้องที่ซึ่งรัฐมนตรีเห็นสมควร เพื่อปฏิบัติการตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ในท้องที่นั้น และขึ้นต่อสำนักงานกลางบัญชี การจัดตั้งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๕ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้มีการจัดทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจใด ๆ เป็นปกติในประเภทต่อไปนี้ (๑) ขายสินค้า (๒) ซื้อขายที่ดิน (๓) ขายทอดตลาด (๔) โรงแรม หรือภัตตาคาร (๕) นายหน้า หรือตัวแทน (๖) รับขนโดยใช้ยานพาหนะซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องจักรหรือรับขนทางทะเล (๗) ธนาคาร รับแลกเปลี่ยนเงินตรา ซื้อขายตั๋วเงิน ให้กู้ยืมเงิน เครดิตฟองซิเอร์ โพยก๊วน หรือโรงรับจำนำ (๘) ประกันภัย (๙) เก็บของในคลังสินค้า (๑๐) การไฟฟ้าหรือการประปา (๑๑) การแสดง การเล่น การกีฬา หรือการประกวดที่จัดขึ้นเพื่อเก็บเงินจากผู้เข้าดู ผู้เข้าฟัง หรือจากผู้มีส่วนเข้าร่วมในการนั้น (๑๒) ให้เช่าทรัพย์หรือให้เช่าซื้อ (๑๓) รับจ้างทำของ (๑๔) สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ (๑๕) ธุรกิจอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา การกำหนดตามวรรคหนึ่งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และระบุวันเริ่มทำบัญชีไม่น้อยกว่าหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๖ ให้บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนบริษัทจำกัด และนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งประกอบธุรกิจที่รัฐมนตรีกำหนดตามข้อ ๕ มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ ในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน ให้ผู้จัดการเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีสำนักงานสาขา ให้ผู้มีหน้าที่จัดการสำนักงานสาขานั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ข้อ ๗ ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจัดทำบัญชีเงินสด แต่ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นสมควรจะกำหนดให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีใดจัดทำบัญชีต่อไปนี้ทุกประเภทหรือบางประเภทเพิ่มขึ้นก็ได้ (๑) บัญชีรายวัน (๒) บัญชีแยกประเภท (๓) บัญชีสินค้าซึ่งอยู่ในครอบครอง ให้นำข้อ ๕ วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การกำหนดตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม ข้อ ๘ ให้อธิบดีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดในเรื่องต่อไปนี้ (๑) ชนิดของบัญชีรายวันหรือบัญชีแยกประเภทที่ต้องทำ (๒) ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี (๓) ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี (๔) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี (๕) บัญชีใดสำหรับการประกอบธุรกิจใด ในท้องที่ใดที่ต้องมีตราของสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีประทับ (๖) หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอประทับตราบัญชีและการขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ไปประทับตราบัญชี ณ สถานที่ประกอบธุรกิจของผู้ขอ ข้อ ๙ การลงรายการในบัญชี ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้อง (๑) ลงเป็นภาษาไทย หรือจะลงเป็นภาษาต่างประเทศก็ได้ แต่ต้องมีภาษาไทยกำกับด้วย หรือจะลงเป็นรหัสด้วยเครื่องจักรทำบัญชีก็ได้ แต่ต้องส่งมอบคำแปลรหัสที่เป็นภาษาไทยต่อสำนักงานกลางบัญชี หรือสำนักงานบัญชี (๒) เขียนด้วยหมึก หรือดีดพิมพ์ หรือตีพิมพ์ ข้อ ๑๐ ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีปิดบัญชีครั้งแรกภายในสิบสองเดือนนับแต่วันที่มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ และปิดบัญชีครั้งหนึ่งทุกรอบสิบสองเดือนนับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน เว้นแต่ในกรณีที่ประสงค์จะเปลี่ยนรอบปีบัญชีและได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีแล้ว จะปิดบัญชีก่อนครบรอบสิบสองเดือนก็ได้ ข้อ ๑๑ ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศจัดทำงบดุล และบัญชีกำไรขาดทุน ยื่นต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชี ภายในห้าเดือนนับแต่วันปิดบัญชีตามข้อ ๑๐ งบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในกฎกระทรวง งบดุลต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบ ข้อ ๑๒ ให้นำข้อ ๑๑ วรรคสอง มาใช้บังคับแก่กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นบริษัทจำกัด ทำงบดุลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย ข้อ ๑๓ ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ประกอบธุรกิจนั้น แต่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะขออนุญาตต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี เพื่อเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่นก็ได้ การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๑๔ ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปีนับแต่วันปิดบัญชี หรือจนกว่าจะมีการส่งมอบตามข้อ ๑๖ แต่เมื่อได้เก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีแล้ว ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะขออนุญาตต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีไม่เก็บรักษาต่อไปก็ได้ การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๑๕ ถ้าบัญชีหรือเอกสารประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหายให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีแจ้งต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชี ตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบ หรือควรทราบถึงการสูญหายหรือเสียหายนั้น ข้อ ๑๖ เมื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเลิกประกอบธุรกิจโดยเหตุอื่นนอกจากเหตุล้มละลาย ให้ส่งมอบบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีแก่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันเลิกประกอบธุรกิจ และให้สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีดังกล่าวไว้ห้าปี หรือจนกว่าจะครบกำหนดเวลาตามข้อ ๑๔ สุดแต่ระยะเวลาใดจะสั้นกว่า เมื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีร้องขอ ให้สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีมีอำนาจขยายกำหนดเวลาเก้าสิบวันตามวรรคหนึ่งได้ตามสมควร ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่ห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนและบริษัทจำกัดซึ่งเลิกประกอบธุรกิจโดยมีการชำระบัญชี ข้อ ๑๗ ให้สารวัตรใหญ่บัญชี สารวัตรบัญชี หรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตรวจสอบบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีเพื่อให้เป็นไปตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ และเพื่อประโยชน์แห่งการนี้ให้มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี หรือสถานที่เก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก ข้อ ๑๘ ให้สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือ (๑) ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำเกี่ยวกับการบัญชีหรือการเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี (๒) ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีมาเพื่อตรวจสอบ ข้อ ๑๙ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ สารวัตรใหญ่บัญชี สารวัตรบัญชี และพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวงต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๐ ห้ามมิให้ผู้ใดเปิดเผยข้อความใด ๆ ซึ่งทราบหรือได้มาเนื่องจากการปฏิบัติการตามข้อ ๑๗ หรือข้อ ๑๘ เว้นแต่จะมีอำนาจทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ข้อ ๒๑ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสองร้อยบาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง ข้อ ๒๒ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีใดไม่ปฏิบัติตามประกาศของอธิบดีที่ออกตามข้อ ๘ (๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๕) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าสิบบาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง ข้อ ๒๓ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๙ ข้อ ๑๑ วรรคหนึ่ง ข้อ ๑๓ วรรคหนึ่ง ข้อ ๑๔ วรรคหนึ่ง ข้อ ๑๕ หรือข้อ ๑๖ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท ข้อ ๒๔ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท ข้อ ๒๕ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นบริษัทจำกัดผู้ใดไม่ทำงบดุลตามข้อ ๑๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท ข้อ ๒๖ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่ให้ความสะดวกแก่สารวัตรใหญ่บัญชี สารวัตรบัญชี หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติการตามข้อ ๑๗ หรือฝ่าฝืนคำสั่งของสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีซึ่งสั่งตามข้อ ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ข้อ ๒๗ ผู้ใดฝ่าผืนข้อ ๒๐ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นนิติบุคคลผู้ใดกระทำความผิดเพราะไม่ปฏิบัติตามข้อ ๗ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๔ วรรคหนึ่ง หรือข้อ ๑๖ วรรคหนึ่ง กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคล ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับโทษที่กำหนดไว้สำหรับนิติบุคคลนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นด้วย ข้อ ๒๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น หรือทำให้สูญหาย หรือไร้ประโยชน์ซึ่งบัญชี หรือเอกสารประกอบการลงบัญชี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ข้อ ๓๐ ผู้ใดลงรายการเท็จในบัญชี แก้ไขบัญชีหรือเอกสารประกอบการลงบัญชีเพื่อให้ผิดความจริง หรือละเว้นการลงรายการในบัญชี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ข้อ ๓๑ ให้บุคคลซึ่งมีหน้าที่ทำบัญชีอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับหรือบุคคลซึ่งเริ่มประกอบธุรกิจเมื่อประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับแล้วแต่ก่อนวันที่ประกาศของรัฐมนตรี ซึ่งออกตามข้อ ๕ ของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้มีผลบังคับ และบุคคลนั้นมีลักษณะต้องตามที่บัญญัติไว้ให้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พุทธศักราช ๒๔๘๒ เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ จนกว่าประกาศของรัฐมนตรีซึ่งออกตามข้อ ๕ ของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้มีผลบังคับ ให้บุคคลตามวรรคหนึ่งจัดทำบัญชีและรับผิดในการจัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พุทธศักราช ๒๔๘๒ จนกว่าประกาศของรัฐมนตรีมีผลบังคับ เมื่อประกาศของรัฐมนตรีมีผลบังคับแล้ว ถ้าบุคคลนั้นมีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีตามประกาศของรัฐมนตรี ให้จัดทำบัญชีดังกล่าวต่อไปจนกว่าจะมีการงบบัญชี ข้อ ๓๒[๑] ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ระกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๕ จอมพล ถ. กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติ [เอกสารแนบท้าย] ๑. อัตราค่าธรรมเนียม (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ฐาปนี/แก้ไข ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๙/ตอนที่ ๑๘๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๕
682021
คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ 164/2555 เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการมีอำนาจเปรียบเทียบ
คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ ๑๖๔/๒๕๕๕ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการมีอำนาจเปรียบเทียบ[๑] เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการเปรียบเทียบตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นไปด้วยความสะดวก เรียบร้อยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๕๔/๑ แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสมาคมการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๖๐/๑ แห่งพระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๒๒/๑ แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ และมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงมีคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ ๕๙/๒๕๕๕ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการมีอำนาจเปรียบเทียบ ลงวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๕ ข้อ ๒ มอบหมายให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ มีอำนาจเปรียบเทียบ (๑) รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (๒) ผู้อำนวยการสำนักข้อมูลธุรกิจ (๓) ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนธุรกิจ (๔) ผู้อำนวยการสำนักกำกับบัญชีธุรกิจ (๕) ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาบัญชีธุรกิจ (๖) ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย (๗) ผู้อำนวยการสำนักธรรมาภิบาลธุรกิจ (๘) ผู้อำนวยการสำนักบริหารการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (๙) หัวหน้าสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด (๑๐) นิติกรระดับชำนาญการขึ้นไปในสำนักกฎหมาย (๑๑) นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต และสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสาขา ข้อ ๓ ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญตามข้อ ๒ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย หัวหน้าสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด นิติกรระดับชำนาญการขึ้นไปในสำนักกฎหมายและนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขตและสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสาขา มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหา เรียกชำระเงินค่าปรับและเปรียบเทียบความผิดที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบได้ตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙ พระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙ พระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ และพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ สำหรับกรณีความผิดที่เกิดขึ้นในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรและดำเนินการอื่นตามที่กำหนดในระเบียบกรมพัฒนาธุรกิจการค้าว่าด้วยการเปรียบเทียบตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (๒) ผู้อำนวยการสำนักข้อมูลธุรกิจ ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนธุรกิจ ผู้อำนวยการ สำนักกำกับบัญชีธุรกิจ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาบัญชีธุรกิจ ผู้อำนวยการสำนักธรรมาภิบาลธุรกิจ และผู้อำนวยการสำนักบริหารการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการออกหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาและเรียกชำระเงินค่าปรับ กรณีตรวจพบการกระทำความผิดตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ บรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๒๔ ง/หน้า ๒๘/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
682009
คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ 163/2555 เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการเป็นสารวัตรใหญ่บัญชี และแต่งตั้งสารวัตรบัญชี
คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ ๑๖๓/๒๕๕๕ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการเป็นสารวัตรใหญ่บัญชี และแต่งตั้งสารวัตรบัญชี[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามีคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ ๗๑ /๒๕๕๒ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการเป็นสารวัตรใหญ่บัญชี และแต่งตั้งสารวัตรบัญชี ลงวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๒ ข้อ ๒ มอบหมายให้รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผู้อำนวยการสำนักกำกับบัญชีธุรกิจ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาบัญชีธุรกิจ ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนธุรกิจ ผู้อำนวยการสำนักข้อมูลธุรกิจ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและผู้อำนวยการสำนักธรรมาภิบาลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นสารวัตรใหญ่บัญชี ข้อ ๓ แต่งตั้งให้ (๑) ผู้อำนวยการสำนักกำกับบัญชีธุรกิจ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาบัญชีธุรกิจ ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไประดับชำนาญงานขึ้นไป และประเภทวิชาการระดับชำนาญการขึ้นไป ในสังกัดสำนักกำกับบัญชีธุรกิจ สำนักพัฒนาบัญชีธุรกิจ สำนักกฎหมาย และสำนักธรรมาภิบาลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (๒) ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไประดับปฏิบัติงานซึ่งมีอายุราชการไม่น้อยกว่า ๕ ปี ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการขึ้นไปในสังกัดสำนักกำกับบัญชีธุรกิจ และสำนักพัฒนาบัญชีธุรกิจประเภททั่วไประดับชำนาญงานขึ้นไป และประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการขึ้นไป ในสังกัดสำนักทะเบียนธุรกิจ สำนักข้อมูลธุรกิจ สำนักกฎหมาย และสำนักธรรมาภิบาลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่กรุงเทพมหานคร (๓) ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไประดับปฏิบัติงานซึ่งมีอายุราชการไม่น้อยกว่า ๕ ปี และระดับชำนาญงานขึ้นไป และประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการขึ้นไป ในสังกัดสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด เป็นสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ในจังหวัดนั้น ๆ (๔) ข้าราชการพลเรือนสามัญตามลำดับดังต่อไปนี้ เป็นสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ในจังหวัดนั้น ๆ คือ (ก) พาณิชย์จังหวัด (ข) ผู้รักษาราชการแทนพาณิชย์จังหวัด สำหรับกรณีที่พาณิชย์จังหวัดไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ (ค) ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการขึ้นไป เรียงตามลำดับอาวุโสในสังกัดสำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำหรับกรณีที่ไม่มีผู้รักษาราชการแทนพาณิชย์จังหวัด หรือมีแต่ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้เป็นสารวัตรบัญชีตามวรรคหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ เฉพาะในระหว่างเวลาที่ไม่มีสารวัตรบัญชีตาม (๓) หรือมีแต่ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้หรือตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ามอบหมาย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ บรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๒๔ ง/หน้า ๒๖/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
618628
คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ 71/2552 เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการเป็นสารวัตรใหญ่บัญชี และแต่งตั้งสารวัตรบัญชี
คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ ๗๑/๒๕๕๒ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการเป็นสารวัตรใหญ่บัญชี และแต่งตั้งสารวัตรบัญชี[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามีคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ ๒๘๘/๒๕๔๗ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการเป็นสารวัตรใหญ่บัญชี และแต่งตั้งสารวัตรบัญชี ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ (๒) คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ ก ๑๔๒/๒๕๕๑ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการเป็นสารวัตรใหญ่บัญชี และแต่งตั้งสารวัตรบัญชี ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๒ มอบหมายให้รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผู้อำนวยการสำนักกำกับดูแลธุรกิจ ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนธุรกิจ ผู้อำนวยการสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและคดี และผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นสารวัตรใหญ่บัญชี ข้อ ๓ แต่งตั้งให้ (๑) ผู้อำนวยการสำนักกำกับดูแลธุรกิจ ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไประดับชำนาญงานขึ้นไป และประเภทวิชาการระดับชำนาญการขึ้นไป ในสังกัดสำนักกำกับดูแลธุรกิจ สำนักกฎหมายและคดี และสำนักตรวจสอบธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (๒) ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไประดับปฏิบัติงานซึ่งมีอายุราชการไม่น้อยกว่า ๕ ปี ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการขึ้นไปในสังกัดสำนักกำกับดูแลธุรกิจ ประเภททั่วไประดับชำนาญงานขึ้นไป และประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการขึ้นไป ในสังกัดสำนักทะเบียนธุรกิจ สำนักบริการข้อมูลธุรกิจ สำนักกฎหมายและคดี และสำนักตรวจสอบธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่กรุงเทพมหานคร (๓) ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไประดับปฏิบัติงานซึ่งมีอายุราชการไม่น้อยกว่า ๕ ปี และระดับชำนาญงานขึ้นไป และประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการขึ้นไป ในสังกัดสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด เป็นสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ในจังหวัดนั้น ๆ (๔) ข้าราชการพลเรือนสามัญตามลำดับดังต่อไปนี้ เป็นสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ในจังหวัดนั้น ๆ คือ (ก) พาณิชย์จังหวัด (ข) ผู้รักษาราชการแทนพาณิชย์จังหวัด สำหรับกรณีที่พาณิชย์จังหวัดไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ (ค) ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการขึ้นไป เรียงตามลำดับอาวุโสในสังกัดสำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำหรับกรณีที่ไม่มีผู้รักษาราชการแทนพาณิชย์จังหวัด หรือมีแต่ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้เป็นสารวัตรบัญชีตามวรรคหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ เฉพาะในระหว่างเวลาที่ไม่มีสารวัตรบัญชีตาม (๓) หรือมีแต่ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ามอบหมาย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ คณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๖๐ ง/หน้า ๑๐๐/๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
618626
คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ 70/2552 เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการมีอำนาจเปรียบเทียบ ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543
คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ ๗๐/๒๕๕๒ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการมีอำนาจเปรียบเทียบ ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคำสั่งกรมทะเบียนการค้า ที่ ๑๘๒/๒๕๔๔ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการมีอำนาจเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒ มอบหมายให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ มีอำนาจเปรียบเทียบ คือ (๑) รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและคดี และข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับชำนาญการขึ้นไป ในสังกัดสำนักกฎหมายและคดี สำหรับกรณีความผิดเกิดในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (๒) หัวหน้าสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด สำหรับกรณีความผิดเกิดในเขตท้องที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนั้น ข้อ ๓ ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญตามข้อ ๒ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ดำเนินการเปรียบเทียบสำหรับความผิดที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบได้ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ (๒) ดำเนินการอื่นตามที่กำหนดในระเบียบกรมทะเบียนการค้าว่าด้วยการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ คณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปริยานุช/จัดทำ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๖๐ ง/หน้า ๙๙/๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
601395
คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ 18/2552 เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการเป็นสารวัตรใหญ่บัญชี และแต่งตั้งสารวัตรบัญชี
คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ ๑๘/๒๕๕๒ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการเป็นสารวัตรใหญ่บัญชี และแต่งตั้งสารวัตรบัญชี[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามีคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ มอบหมายให้ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ผู้อำนวยการสำนักป้องกันปราบปราม และควบคุมไฟป่า ผู้อำนวยการกองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑ ถึง ๑๖ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑ สาขาสระบุรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๓ สาขาเพชรบุรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๖ สาขาปัตตานี ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๓ สาขาลำปาง และผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๖ สาขาแม่สะเรียง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นสารวัตรใหญ่บัญชี ข้อ ๒ แต่งตั้งให้ (๑) ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับปฏิบัติงานหรือระดับปฏิบัติการขึ้นไป ในสังกัดสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า และกองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่กรุงเทพมหานคร (๒) ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับปฏิบัติงานหรือระดับปฏิบัติการขึ้นไป ในสังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑ ถึง ๑๖ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑ สาขาสระบุรี สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๓ สาขาเพชรบุรี สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๖ สาขาปัตตานี สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๓ สาขาลำปาง และสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๖ สาขาแม่สะเรียง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ทุกท้องที่ที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์นั้น ข้อ ๓ ให้สารวัตรใหญ่บัญชีตามข้อ ๑ มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ เฉพาะกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นโรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่ง งาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง ข้อ ๔ ให้สารวัตรบัญชีตามข้อ ๒ มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ เฉพาะกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นโรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่ง งาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ คณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปริยานุช/จัดทำ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๙๕/๑๙ มีนาคม ๒๕๕๒
595961
คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ ก 142/2551 เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการเป็นสารวัตรใหญ่บัญชี และแต่งตั้งสารวัตรบัญชี
คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ ก ๑๔๒/๒๕๕๑ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการเป็นสารวัตรใหญ่บัญชี และแต่งตั้งสารวัตรบัญชี[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามีคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ มอบหมายให้ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นสารวัตรใหญ่บัญชี ข้อ ๒ แต่งตั้งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ ๖ ขึ้นไปในสำนักตรวจสอบธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ คณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า วัชศักดิ์/จัดทำ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๒ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔ ง/หน้า ๖๕/๙ มกราคม ๒๕๕๒
788511
พระราชบัญญัติการปฏิบัติการตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การปฏิบัติการตามความตกลงระหว่างรัฐบาล แห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติ ตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติการตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๒๘ มาตรา ๓๒ และมาตรา ๓๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อปฏิบัติการตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศและการดำเนินการตาม FATCA ที่ทำขึ้นเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ และเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีอากรของประเทศ ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการปฏิบัติการตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ความตกลง” หมายความว่า ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ และการดำเนินการตาม FATCA ซึ่งทำขึ้นเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ แนบท้ายพระราชบัญญัตินี้ “ผู้มีหน้าที่รายงาน” หมายความว่า (๑) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (๒) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (๓) สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (๔) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย (๕) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (๖) ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาตามกฎหมายว่าด้วยการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (๗) ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๕๘ ลงวันที่ ๒๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ (๘) บุคคลอื่นใดที่ประกอบธุรกิจรับฝากหลักทรัพย์ รับฝากเงิน หรือดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการลงทุน ทั้งนี้ เฉพาะประเภท ลักษณะ ขนาด หรือที่มีการให้บริการหรือธุรกรรมตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาซึ่งต้องสอดคล้องกับความตกลง “ข้อมูลที่ต้องรายงาน” หมายความว่า ข้อมูลตามรายการที่กำหนดในข้อ ๒ ของความตกลงที่อยู่ในความครอบครองของผู้มีหน้าที่รายงาน “เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ” หมายความว่า รัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีเพื่อปฏิบัติการตามความตกลง “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของความตกลง ให้ผู้มีหน้าที่รายงานมีหน้าที่รวบรวม และนำส่งข้อมูลที่ต้องรายงานให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๕ ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจมีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้ (๑) แลกเปลี่ยนข้อมูลที่ต้องรายงานให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาตามระยะเวลาและวิธีการที่กำหนดในความตกลง (๒) เปิดเผยข้อมูลที่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยหรือรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาแลกเปลี่ยนตามความตกลงให้หน่วยงานของรัฐที่ร้องขอเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย (๓) สั่งให้กรรมการ ผู้จัดการ บุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือพนักงานของผู้มีหน้าที่รายงาน หรือผู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้มีหน้าที่รายงานมารายงาน ให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานใด ๆ เพื่อการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ (๔) ดำเนินการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น มาตรา ๖ ในกรณีที่มีบุคคลใดขอให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจรับรองสถานะว่าเป็นหรือไม่เป็นผู้มีหน้าที่รายงานตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจออกหนังสือรับรองสถานะให้บุคคลดังกล่าวโดยเร็ว การขอและการออกหนังสือรับรองสถานะของบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗ ในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจว่าผู้มีหน้าที่รายงานผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔ ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจมีอำนาจสั่งให้ผู้มีหน้าที่รายงานระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้มีหน้าที่รายงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจพิจารณามีคำสั่งลงโทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่หรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๘ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลที่ต้องรายงานที่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย หรือรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาแลกเปลี่ยนตามความตกลงแล้วนำไปเปิดเผยแก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามหน้าที่และอำนาจตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่กฎหมายอื่นบัญญัติ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศและการดำเนินการตาม FATCA เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ประเทศไทยจึงมีพันธกรณีที่จะต้องดำเนินการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพของการจัดเก็บภาษีอากรของประเทศในระยะยาว สมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติการตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาดังกล่าวเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนในการแลกเปลี่ยนข้อมูลตามความตกลง รวมทั้งกำหนดหน้าที่และอำนาจของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ [เอกสารแนบท้าย] ๑. Agreement between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the United States of America to Improve International Tax Compliance and to Implement FATCA ๒. คำแปลความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศและการดำเนินการตาม FATCA (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๑๐ ก/หน้า ๑๗/๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๐
796728
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4/2560 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 105/2557
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔/๒๕๖๐ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐๕/๒๕๕๗[๑] เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการที่แต่งตั้งตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับ ในส่วนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการที่แต่งตั้งตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๘ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่งให้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๕/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๐/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๘ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๗/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ โดยให้เพิ่มเติมรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ เมษินทรีย์) เป็นกรรมการในคณะกรรมการดังกล่าว ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๐ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐ ชุติมา/ปรับปรุง ๔ มกราคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๔๐ ง/หน้า ๓๒/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
796726
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 48/2558 เรื่อง แต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ)
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๘/๒๕๕๘ เรื่อง แต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ)[๑] โดยที่เป็นการสมควรเปลี่ยนแปลงกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒๐/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (เฉพาะ) ที่ ๙/๕๘ ลงวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๘ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๕/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการที่แต่งตั้งตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๘ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บุคคลดังต่อไปนี้พ้นจากตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) (๑) รองศาสตราจารย์ สมภพ มานะรังสรรค์ (๒) นายศิริชัย เลิศศิริมิตร (๓) นายบุญธรรม ทิพย์ประสงค์ (๔) นางศมน ชคัตธาดากุล ข้อ ๒ แต่งตั้งบุคคลดังต่อไปนี้เป็นกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) (๑) นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล (๒) นางกิตติยา โตธนะเกษม (๓) พันเอก เจียรนัย วงศ์สอาด (๔) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ปริยานุช/จัดทำ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๙ ชุติมา/ปรับปรุง ๔ มกราคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑ ง/หน้า ๒๔/๕ มกราคม ๒๕๕๙
796724
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 47/2558 เรื่อง แต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๗/๒๕๕๘ เรื่อง แต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน[๑] ตามที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๕/๒๕๕๗ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ นั้น โดยที่ นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ได้ลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษาในคณะกรรมการดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการที่แต่งตั้งตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๘ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงให้แต่งตั้ง นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล เป็นที่ปรึกษาในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน แทนตำแหน่งที่ว่างลง ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ปริยานุช/จัดทำ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๙ ชุติมา/ปรับปรุง ๔ มกราคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑ ง/หน้า ๒๓/๕ มกราคม ๒๕๕๙
735733
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 33/2558 เรื่อง เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 2/2558
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๓/๒๕๕๘ เรื่อง เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒/๒๕๕๘[๑] เพื่อให้การดำเนินการของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติสอดคล้องกับโครงสร้างการบริหารราชการในปัจจุบันและการดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการที่แต่งตั้งตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๘ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ “ให้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ โดยเปลี่ยนแปลงตำแหน่งรองประธานกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ จากรองนายกรัฐมนตรี (หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล) เป็นรองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง)” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๘ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ปริยานุช/จัดทำ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๘ วริญา/ตรวจ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๘ ชุติมา/ปรับปรุง ๔ มกราคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๒๗ ง/หน้า ๑๒/๒๒ กันยายน ๒๕๕๘