sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
568929
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ๑. กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๑” อายุ ๓ ปี จำนวน ๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าร้อยล้านบาทถ้วน) ๒. พันธบัตรนี้เป็นพันธบัตรชนิดออกในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตร และจดทะเบียนตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งหมื่นบาท โดยวงเงินซื้อขั้นต่ำ ๑๐,๐๐๐ บาท และซื้อเพิ่มเป็นจำนวนเท่าของ ๑๐,๐๐๐ บาท วงเงินซื้อสูงสุดไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำหน่ายและการถือครอง ดังนี้ ๒.๑ ผู้มีสิทธิซื้อประกอบด้วย บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทยหรือที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย มูลนิธิ สภากาชาดไทย และสมาคมสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ๒.๒ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ต้องการโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรรัฐบาลก่อนกำหนดสามารถกระทำได้โดยไม่จำกัดประเภทบุคคล ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ยกเว้นผู้ที่ต้องการโอนกรรมสิทธิ์เพื่อเป็นหลักประกันหรือโอนทางมรดก หรือการแบ่งทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการหย่าหรือล้มละลาย หรือการชำระบัญชี และกรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์นั้นเสียชีวิต ให้กระทำได้หลังจากได้รับใบพันธบัตรแล้ว แต่กระทำในระหว่างระยะเวลา ๓๐ วัน ก่อนถึงวันกำหนดชำระคืนต้นเงินมิได้ ๒.๓ ผู้ถือกรรมสิทธิ์สามารถใช้พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ เป็นหลักประกันให้กับหน่วยงานราชการและองค์กรของรัฐ เช่น การประกันทางศาล หรือการประกันไฟฟ้า และสามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันในการกู้เงินจากธนาคาร การโอนกรรมสิทธิ์ให้ปฏิบัติตามระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเป็นนายทะเบียนของธนาคารแห่งประเทศไทย การโอนกรรมสิทธิ์จะสมบูรณ์ เมื่อพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายได้แต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรนั้นแล้ว ๓. วันจำหน่ายพันธบัตรรุ่นนี้ คือวันที่ ๑๕-๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๐ โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์ประกอบด้วยบุคคลธรรมดา จำนวน ๑,๑๗๙ ราย จำนวนเงิน ๔๙๘,๗๐๐,๐๐๐ บาท และมูลนิธิจำนวน ๓ ราย จำนวนเงิน ๑,๓๐๐,๐๐๐ บาท ๔. พันธบัตรรุ่นนี้ ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๕. พันธบัตรรุ่นนี้ มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๙๕ ต่อปี การชำระดอกเบี้ยให้ชำระแก่ผู้มีนามในพันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๑ ที่ได้จดทะเบียนไว้ หรือตามคำร้องขอของผู้มีนามในพันธบัตรฉบับนั้นให้แบ่งชำระเงินเป็นสองงวด คือในวันที่ ๑๕ เมษายน และวันที่ ๑๕ ตุลาคม ของทุกปี เป็นจำนวนเงินงวดละเท่าๆ กัน ตลอดเวลาที่พันธบัตรยังมีอายุอยู่ ยกเว้นงวดแรกและงวดที่สองจะคำนวณดอกเบี้ยตามจำนวนวันที่ถือครองพันธบัตร สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรในวันที่ไถ่ถอน หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป และให้ถือว่าหนึ่งปีมีสามร้อยหกสิบห้าวัน ทั้งนี้ การคำนวณดอกเบี้ยหากมีเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง การจ่ายดอกเบี้ยของพันธบัตรในแต่ละงวด จะจ่ายให้แก่ผู้มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรในทะเบียน ณ เวลาที่เริ่มต้นทำการในวันแรกแห่งระยะเวลา ๓๐ วัน ก่อนถึงกำหนดชำระดอกเบี้ย ๖. กระทรวงการคลังจะรับโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรนี้ไว้ก็ได้ โดยพันธบัตรที่กระทรวงการคลังรับโอนกรรมสิทธิ์ตามข้อนี้ให้ถือว่าเป็นพันธบัตรที่ชำระต้นเงินกู้คืนแล้วตั้งแต่วันรับโอนกรรมสิทธิ์ ๗. การชำระต้นเงินกู้ตามพันธบัตรประเภทนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ๘. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดจำหน่ายพันธบัตรประเภทนี้ และจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ๙. กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้แก่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ดังนี้ ๙.๑ ค่าธรรมเนียมในการจัดจำหน่ายพันธบัตรในอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของมูลค่าพันธบัตรที่จำหน่ายได้ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) และไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติม ๙.๒ ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ตามที่จ่ายจริง ไม่เกินวงเงินที่กระทรวงการคลังกำหนด ๑๐. ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรประเภทนี้และจัดการอื่น ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ๑๑. กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้ ๑๑.๑ ค่าธรรมเนียมในการเป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงินเป็นรายปี ในอัตราร้อยละ ๐.๑ ของวงเงินพันธบัตรที่จดทะเบียน ๑๑.๒ ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรตามที่จ่ายจริง ประกาศ ณ วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๙๕ ง/หน้า ๑/๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๐
568809
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ครั้งที่ 3
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกการซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓” จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท (หกพันล้านบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคล เพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาทและไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓ ได้ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อ จะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓ (LB283A) อายุคงเหลือ ๒๐.๓๐ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๖๗ ต่อปี จำนวน ๖,๐๐๐ ล้า บาท ๒๘ พ.ย. ๕๐ ๖,๐๐๐ ๓๐ พ.ย. ๒๕๕๐ ๓๐ พ.ย. ๒๕๕๐ ๑๓ มี.ค. ๒๕๗๑ หมายเหตุ : อัตราดอกเบี้ยจะกำหนดในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๖๗ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๑ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๓ มีนาคมและ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๗๑ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการประมูลตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่ประมูลทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๖,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๔ ง/หน้า ๘/๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๐
568804
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกการซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๒” จำนวน ๗,๐๐๐ ล้านบาท (เจ็ดพันล้านบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๒ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคล เพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๒ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง. (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาทและไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๒ ได้ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อ จะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๒ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๒ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๒ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๒ (LB13B) อายุคงเหลือ ๑๐.๓๐ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๑๒ ต่อปี จำนวน ๗,๐๐๐ ล้านบาท ๒๑ พ.ย. ๕๐ ๗,๐๐๐ ๓๐ พ.ย. ๒๕๕๐ ๒๓ พ.ย. ๒๕๕๐ ๑๓ มี.ค. ๒๕๖๑ หมายเหตุ : อัตราดอกเบี้ยจะกำหนดในวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๑๒๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๑ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๓ มีนาคมและ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๑ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการประมูลตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่ประมูลทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๗,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๔ ง/หน้า ๒/๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๐
568789
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกการซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุนบริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลัง หากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้เสนอประมูลตั๋วเงินคลังได้จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๙ มกราคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๒/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐
568784
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 5) วันที่ 23 พฤศจิกายน 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๕) วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๐[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๕) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ อายุ ๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๙ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม และวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่งบวกร้อยละ ๐.๙๔ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๕) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๙ ต่อปี เป็นร้อยละ ๓.๐๐ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๙ มกราคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๑/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐
566817
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 4) วันที่ 16 พฤศจิกายน 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) จากธนาคารออมสินลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ อายุ ๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๘ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม และวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือนประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๓ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๘ ต่อปี เป็นร้อยละ ๒.๙๙ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๘๘ ง/หน้า ๙/๓ ธันวาคม ๒๕๕๐
566815
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 4) วันที่ 16 พฤศจิกายน 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ อายุ ๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๔ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม และวันที่ ๑๖ พฤศจิกายนของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๙ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว – มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๔ ต่อปี เป็นร้อยละ ๒.๙๕ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๘๘ ง/หน้า ๘/๓ ธันวาคม ๒๕๕๐
566796
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูล ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และสำนักงานประกันสังคม ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ วงเงิน ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๒๙,๗๔๗,๙๖๖,๕๒๗.๘๔ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๒๕๒,๐๓๓,๔๗๒.๑๖ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) ๑/๒๘/๕๑ L๑/๙๑/๕๑ L๑/๑๘๒/๕๑ ๒/๒๘/๕๑ L๒/๙๑/๕๑ L๒/๑๘๒/๕๑ ๓/๒๘/๕๑ L๓/๙๑/๕๑ L๓/๑๘๒/๕๑ ๔/๒๘/๕๑ L๔/๙๑/๕๑ L๔/๑๘๒/๕๑ ๕/๒๘/๕๑ L๕/๙๑/๕๑ L๕/๑๘๒/๕๑ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๒ มกราคม ๒๕๕๑ ๒ เมษายน ๒๕๕๑ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ๙ มกราคม ๒๕๕๑ ๙ เมษายน ๒๕๕๑ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๑ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๑ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๑ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๑ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๑ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๑ ๒๘ ๙๑ ๑๘๒ ๒๘ ๙๑ ๑๘๒ ๒๘ ๙๑ ๑๘๒ ๒๘ ๙๑ ๑๘๒ ๒๘ ๙๑ ๑๘๒ ๔,๕๘๔,๗๐๕.๘๖ ๑๔,๕๙๙,๗๓๕.๔๔ ๓๐,๐๒๒,๕๙๘.๑๘ ๔,๖๒๘,๒๘๙.๐๗ ๑๔,๕๕๗,๙๖๖.๘๙ ๓๑,๐๒๒,๒๑๙.๔๔ ๔,๖๖๕,๖๐๔.๕๓ ๑๔,๖๓๒,๑๖๕.๖๐ ๓๐,๕๑๘,๑๘๕.๘๗ ๔,๖๗๙,๒๖๔.๒๘ ๑๔,๘๕๙,๓๕๗.๑๒ ๓๑,๗๖๓,๗๑๐.๙๒ ๔,๗๕๔,๘๐๕.๙๓ ๑๕,๑๓๐,๒๘๐.๓๘ ๓๑,๖๑๔,๕๘๒.๖๕ รวม ๓๐,๐๐๐ ๒๕๒,๐๓๓,๔๗๒.๑๖ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลังร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่งๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - จ่ายของรัฐบาลจำนวน ๑๔๗,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๖๗,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติม ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่ง ณ สิ้นเดือนตุลาคม ๒๕๕๐ มียอดตั๋วเงินคลังหมุนเวียนในตลาดตราสารหนี้จำนวน ๑๒๘,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๘๗ ง/หน้า ๔/๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
566530
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 7
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๗[๑] โดยที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๗ วงเงิน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นล้านบาทถ้วน) ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๔๘ ง ลงวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๐ จำหน่ายได้จริงจำนวน ๑๙,๓๗๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นเก้าพันสามร้อยเจ็ดสิบล้านบาทถ้วน) กระทรวงการคลังจึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ปรับลดวงเงินการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๗ จากจำนวน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นล้านบาทถ้วน) เป็นจำนวน ๑๙,๓๗๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นเก้าพันสามร้อยเจ็ดสิบล้านบาทถ้วน) ประกาศ ณ วันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๖๕ ง/หน้า ๑/๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๐
566492
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำ เนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๑” จำนวน ๒๒,๐๐๐ ล้านบาท (สองหมื่นสองพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๘ (LB133A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรุ่นนี้เป็น ๔๙,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๐ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๑ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๑ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำ หน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการและ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกันโดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๑ ได้ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อ จะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๑ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๑ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๑ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๑ (LB133A) อายุคงเหลือ ๕.๔๐ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๒๕ ต่อปี จำนวน ๒๒,๐๐๐ ล้านบาท ๑๗ ต.ค. ๕๐ ๑๑,๐๐๐ ๑๙ ต.ค. ๒๕๕๐ ๑๓ ก.ย. ๒๕๕๐ ๑๓ มี.ค. ๒๕๕๖ ๑๙ ธ.ค. ๕๐ ๑๑,๐๐๐ ๒๑ ธ.ค. ๒๕๕๐ ๑๓ ก.ย. ๒๕๕๐ ๑๓ มี.ค. ๒๕๕๖ หมายเหตุ : พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๑ เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๘ อายุ ๕.๖๗ ปี จะทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรุ่นนี้เป็น ๔๙,๐๐๐ ล้านบาท (วันเปิดจำหน่ายครั้งแรก ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๐) ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๒๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (๑๓ กันยายน ๒๕๕๐) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๑ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๓ มีนาคมและ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๖ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๒๒,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-Competitive Bid : NCB) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๖๓ ง/หน้า ๒/๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๐
566440
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 และรายการการกู้เงินและค้ำประกัน ระหว่างเดือนเมษายน - กันยายน 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๐ และรายการการกู้เงิน และค้ำประกัน ระหว่างเดือนเมษายน - กันยายน ๒๕๕๐[๑] ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๑๖ วรรค ๒ กำหนดให้กระทรวงการคลังสรุปรายงานสถานะหนี้สาธารณะและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายใน ๖๐ วัน หลังจากสิ้นเดือนมีนาคมและเดือนกันยายนของทุกปี โดยรายงานดังกล่าวต้องแสดงหนี้สาธารณะที่เกิดจากการกู้เงินและค้ำประกัน ณ สิ้นเดือนดังกล่าว รวมทั้งรายการการกู้เงินและค้ำประกันที่เกิดขึ้นใหม่ในช่วงระยะเวลาระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม และเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน ตามลำดับ กระทรวงการคลังขอรายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๐ และรายการการกู้เงินและค้ำประกัน ซึ่งรวมทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ ระหว่างเดือนเมษายน - กันยายน ๒๕๕๐ ดังนี้ ๑. รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๐ ๑.๑ หนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๐ มีจำนวน ๓,๑๖๖,๔๔๖.๔๓ ล้านบาท หรือร้อยละ ๓๗.๗๐ ของ GDP ประกอบด้วย หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ๒,๐๓๙,๓๒๔.๗๕ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ๙๐๖,๓๗๓.๙๖ ล้านบาท หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ๑๘๕,๑๕๔.๔๔ ล้านบาท และหนี้องค์กรของรัฐอื่นๆ ๓๕,๕๙๓.๒๘ ล้านบาท หนี้สาธารณะจำนวนดังกล่าวจำแนกตามอายุของหนี้เป็นหนี้ระยะยาว ๒,๗๙๙,๖๒๕.๖๒ ล้านบาท และหนี้ระยะสั้น ๓๖๖,๘๒๐.๘๑ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๘๘.๔๒ และร้อยละ ๑๑.๕๘ และจำแนกตามแหล่งที่มาเป็นหนี้ต่างประเทศ ๔๐๑,๒๘๒.๘๘ ล้านบาท และหนี้ในประเทศ ๒,๗๖๕,๑๖๓.๕๕ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๑๒.๖๗ และร้อยละ ๘๗.๓๓ ตามลำดับ ดังปรากฏตามตารางที่ ๑ ตารางที่ ๑ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๐ หน่วย : ล้านบาท รายการ ๓๐ ก.ย. ๕๐ % GDP ๑. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ๑.๑ หนี้ต่างประเทศ ๑.๒ หนี้ในประเทศ ๒,๐๓๙,๓๒๔.๗๕ ๙๕,๘๖๓.๑๙ ๑,๙๔๓,๔๖๑.๕๖ ๒๔.๒๘ ๒. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ๒.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน - หนี้ต่างประเทศ - หนี้ในประเทศ ๒.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน - หนี้ต่างประเทศ - หนี้ในประเทศ ๙๐๖,๓๗๓.๙๖ ๕๐๖,๗๗๘.๑๒ ๑๗๑,๑๒๓.๗๐ ๓๓๕,๖๕๔.๔๒ ๓๙๙,๕๙๕.๘๔ ๑๓๔,๒๙๕.๙๙ ๒๖๕,๒๙๙.๘๕ ๑๐.๗๙ ๓. หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ๓.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ๓.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ๑๘๕,๑๕๔.๔๔ - ๑๘๕,๑๕๔.๔๔ ๒.๒๐ ๔. หนี้องค์กรของรัฐอื่น ๔.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ๔.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ๓๕,๕๙๓.๒๘ ๑๗,๙๙๓.๒๘ ๑๗,๖๐๐.๐๐ ๐.๔๒ ๕. รวม ๑.+๒.+๓.+๔. ๓,๑๖๖,๔๔๖.๔๓ ๓๗.๗๐ หมายเหตุ : ๑. ประมาณการ GDP ปี ๒๕๕๐ เท่ากับ ๘,๓๙๙ พันล้านบาท (สศช. ณ วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๐) ๒. ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ยังไม่รวมหนี้ของ SPV จำนวน ๑๘,๕๐๐ ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลมีภาระผูกพันต้องจ่ายภายใต้สัญญาเช่าพื้นที่อาคาร สัญญาบริการ สัญญาบริการจัดหาเฟอร์นิเจอร์ และสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง ของโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ ซึ่งตามระบบ GFS นับเป็นหนี้สาธารณะ ๒. รายการการกู้เงินและค้ำประกัน ระหว่างเดือนเมษายน - กันยายน ๒๕๕๐ คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะได้จัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๐ เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินการบริหารและจัดการหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ประกอบด้วย ๖ แผนย่อย และได้ปรับปรุงแผนฯ ในระหว่างปี เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินกู้และบริหารหนี้ ซึ่งหลังการปรับปรุงแผนฯ ครั้งที่ ๓/๒๕๕๐ ทำให้วงเงินรวมในแผนฯ ที่จะบริหารจัดการมีจำนวนทั้งสิ้น ๑,๐๕๔,๕๕๙.๗๕ ล้านบาท ทั้งนี้ ในช่วงระหว่างเดือนเมษายน - กันยายน ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการกู้เงินและบริหารหนี้เป็นวงเงินทั้งสิ้น ๖๖๔,๙๗๗.๓๙ ล้านบาท ดังปรากฏตามตารางที่ ๒ ตารางที่ ๒ การกู้เงินและการบริหารหนี้ระหว่างเดือนเมษายน - กันยายน ๒๕๕๐ หน่วย : ล้านบาท รายการ แผน ผลดำเนินการ ๑. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐบาล ๔๓๓,๒๐๐.๐๐ ๒๙๕,๙๔๐.๐๐ ๒. การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF ๑๐๙,๗๓๑.๐๒ ๔๗,๗๓๑.๐๒ ๓. การบริหารเงินกู้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบ สถาบันการเงิน ไม่มี ๒๖.๐๐ ๔. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ ๓๗๕,๑๖๐.๗๗ ๒๙๓,๒๒๔.๒๙ ๕. การก่อหนี้จากต่างประเทศ ๑๐,๖๙๖.๐๐ - ๖. การบริหารหนี้ต่างประเทศ ๑๒๕,๗๗๑.๙๖ ๒๘,๐๕๖.๐๘ รวม ๑,๐๕๔,๕๙๙.๗๕ ๖๖๔,๙๗๗.๓๙ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ ๒.๑ การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐบาล ๒.๑.๑ กระทรวงการคลังได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน ๔๐,๙๔๐ ล้านบาท โดยออกพันธบัตรรัฐบาล วงเงินรวม ๒๑,๘๕๕ ล้านบาท และตั๋วสัญญาใช้เงินวงเงินรวม ๑๙,๐๘๕ ล้านบาท ๒.๑.๒ กระทรวงการคลังได้ Roll-over ตั๋วเงินคลังเพื่อบริหารดุลเงินสด วงเงิน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ๒.๑.๓ กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ โดยดำเนินการแปลงเป็นพันธบัตรระยะยาว จำนวน ๗๐,๓๗๐ ล้านบาท และใช้เงินคงคลังไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง จำนวน ๖๓๐ล้านบาท ทั้งนี้ ในส่วนที่ยังไม่ได้ดำเนินการแปลงเป็นพันธบัตรระยะยาว จำนวน ๖๗,๐๐๐ ล้านบาท ได้ Roll-over ตั๋วเงินคลังต่อไป ๒.๑.๔ กระทรวงการคลังได้ Roll-over พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนดไถ่ถอนจำนวน ๓๗,๐๐๐ ล้านบาท โดยกู้เงินระยะสั้น จำนวน ๒๗,๐๐๐ ล้านบาท และใช้เงินจากงบชำระหนี้จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ชำระคืนในวันที่ครบกำหนด จากนั้นได้ทยอยออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อไปชำระคืนต้นเงินกู้ระยะสั้น ซึ่งใช้เวลาประมาณ ๒ เดือน ๒.๒ การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกพันธบัตร FIDF๓ จำนวน ๓,๐๐๐ ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรออมทรัพย์ทั้งจำนวน และดำเนินการ Roll-over พันธบัตร FIDF๓ ที่ครบกำหนดไถ่ถอน จำนวน ๔๔,๗๓๑.๐๒ ล้านบาท โดยกู้เงินระยะสั้นมาชำระคืนในวันครบกำหนด แล้วทยอยออกพันธบัตรเพื่อทดแทนเงินกู้ระยะสั้น ซึ่ง ณ สิ้นเดือนกันยายน ๒๕๕๐ ดำเนินการออกพันธบัตรไปแล้ว จำนวน ๒๔,๐๐๐ ล้านบาท ๒.๓ การบริหารเงินกู้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน บริษัท โทเทิล เซอร์วิสเซส โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) (ชื่อเดิม คือ ธนาคารจีอีมันนี่ เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเปลี่ยนจาก บริษัทเงินทุน เอเซียไฟแนนซ์ จำกัด (มหาชน)) ได้ไถ่ถอนหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ออกตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ ๒ จำนวน ๒๖ ล้านบาท ระยะเวลา ๑๐ ปี (ครบกำ หนด ๙ กันยายน ๒๕๕๒) ที่กระทรวงการคลังได้ถือไว้ ซึ่งกระทรวงการคลังได้นำเงินที่ได้รับจากการไถ่ถอนหุ้นกู้ดังกล่าวส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน และดำเนินการไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลที่ออกให้กับบริษัท โทเทิล เซอร์วิสเซส โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) ก่อนครบกำหนด จำนวน ๒๖ ล้านบาท โดยใช้เงินคงคลัง ทำให้ลดยอดหนี้คงค้างได้ทั้งสิ้น ๒๖ ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ จำนวน ๓.๑๒ ล้านบาท นอกจากนี้ ยังได้ส่วนต่างจากราคาไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลอีก ๐.๕๖๔ ล้านบาท ๒.๔ การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการกู้เงินและบริหารหนี้ในประเทศ จำนวนทั้งสิ้น ๒๙๓,๒๒๔.๒๙ ล้านบาท เป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๕๓,๘๕๓.๒๙ ล้านบาท และไม่ค้ำประกันจำนวน ๒๓๙,๓๗๑ ล้านบาท สามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้ ๒.๔.๑ เงินกู้ในประเทศทดแทนเงินกู้จากต่างประเทศ รัฐวิสาหกิจ ๒ แห่ง ได้กู้เงินในประเทศทดแทนเงินกู้จากต่างประเทศวงเงินรวม ๑,๖๘๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน ได้แก่ (๑) การไฟฟ้านครหลวงได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๑,๓๐๐ ล้านบาท เพื่อดำเนินการแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าฉบับที่ ๙ ปี ๒๕๔๗ - ๒๕๕๐ (๒) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๓๘๐ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๖ ส่วนที่ ๒ ๒.๔.๒ เงินกู้เงินบาทสมทบโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ รัฐวิสาหกิจ ๓ แห่ง ได้กู้เงินบาทสมทบโครงการเงินกู้จากต่างประเทศวงเงินรวม ๔,๘๙๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน ได้แก่ (๑) การประปานครหลวงได้กู้เงินจากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) วงเงิน ๕๐๐ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ ๗ (๒) การไฟฟ้านครหลวงได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๔,๒๐๐ ล้านบาท เพื่อดำเนินการแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าฉบับที่ ๙ ปี ๒๕๔๗ - ๒๕๕๐ (๓) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๑๙๐ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๖ ส่วนที่ ๑ ๒.๔.๓ เงินกู้เพื่อลงทุน รัฐวิสาหกิจ ๕ แห่ง ได้กู้เงินเพื่อลงทุน วงเงินรวม ๓๕,๑๖๔ ล้านบาทเป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๓๐,๒๓๔ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๔,๙๓๐ ล้านบาท ได้แก่ (๑) การเคหะแห่งชาติได้กู้เงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงินรวม ๑๒,๗๗๖ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ ๓ จำนวน ๒,๐๐๐ ล้านบาทโครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ ๔ จำนวน ๗,๕๐๐ ล้านบาท และโครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ ๕ จำนวน ๓,๒๗๖ ล้านบาท (๒) การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้กู้เงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงินรวม ๑๗,๓๓๘ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการทางพิเศษสายบางพลี - สุขสวัสดิ์ จำนวน ๑๖,๘๓๘ ล้านบาท และโครงการทางยกระดับด้านทิศใต้สนามบินสุวรรณภูมิเชื่อมทางพิเศษบูรพาวิถี จำนวน ๕๐๐ ล้านบาท (๓) การประปานครหลวงได้กู้เงินจากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) วงเงิน ๑,๐๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการปรับปรุงระบบประปาเพื่อลดน้ำสูญเสีย (๔) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม๓,๙๓๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๗ ส่วนที่ ๑ จำนวน ๔๖๒.๓๐ ล้านบาท โครงการก่อสร้างและปรับปรุงเสริมระบบจำหน่าย ระยะที่ ๖ จำนวน ๑,๕๗๐ ล้านบาท โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๘ ส่วนที่ ๑ จำนวน ๖๓๗ ล้านบาท โครงการติดตั้งศูนย์สั่งจ่ายไฟ ระยะที่ ๒ จำนวน ๖๑๐.๑๐ ล้านบาท โครงการเพิ่มความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า ระยะที่ ๒ จำนวน ๔๒๗ ล้านบาท โครงการขยายเขตไฟฟ้าให้ราษฎรในชนบท ระยะที่ ๓ (เพิ่มเติม) จำนวน ๑๙๒ ล้านบาท และโครงการก่อสร้างระบบจำหน่ายด้วยสายเคเบิ้ลใต้น้ำไปยังเกาะต่างๆ ที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว (เกาะล้าน เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี) จำนวน ๓๑.๖๐ ล้านบาท (๕) การรถไฟแห่งประเทศไทยได้กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) วงเงิน ๑๒๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อเป็นค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ๒.๔.๔ เงินกู้เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและอื่นๆ รัฐวิสาหกิจ ๔ แห่ง ได้กู้เงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและอื่นๆ วงเงินรวม ๑๙,๑๐๖ ล้านบาท เป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๑๖,๕๕๖ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๒,๕๕๐ ล้านบาท ได้แก่ (๑) การรถไฟแห่งประเทศไทยได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๕,๐๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน (๒) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตรวงเงินรวม ๑๑,๕๕๖ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน (๓) บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ได้กู้เงินจากธนาคารออมสิน วงเงิน ๑,๖๕๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน (๔) สำนักงานธนานุเคราะห์ได้กู้เงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) วงเงิน ๙๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน ๒.๔.๕ การบริหารหนี้ รัฐวิสาหกิจ ๕ แห่ง ได้บริหารหนี้ วงเงินรวม ๒๓๒,๓๘๔.๒๙ ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๗,๐๖๓.๒๙ ล้านบาท และไม่ค้ำประกันจำนวน ๒๒๕,๓๒๑ ล้านบาท ดังนี้ (๑) การ Roll-over หนี้ที่ครบกำหนดชำระคืน วงเงินรวม ๑๑,๑๙๓.๒๙ ล้านบาท เป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๗,๐๖๓.๒๙ ล้านบาท และไม่ค้ำประกันจำนวน ๔,๑๓๐ ล้านบาท ได้แก่ ๑) การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตรวงเงินรวม ๓,๐๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน ๒) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงิน ๙๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน ๓) การรถไฟแห่งประเทศไทยได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๔,๐๖๓.๒๙ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน ๔) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยได้กู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน วงเงินรวม ๓,๒๓๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน การ Roll-over ของรัฐวิสาหกิจทั้ง ๔ แห่ง จำนวน ๑๑,๑๙๓.๒๙ ล้านบาทนี้ เป็นการ Roll-over ภายใต้วงเงินที่ครบกำหนด ๒๒,๒๐๕.๒๙ ล้านบาท โดยรัฐวิสาหกิจชำระคืนหนี้ส่วนที่ไม่ได้ Roll-over จำนวน ๑๑,๐๑๒ ล้านบาท (๒) การ Refinance : กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้ปรับโครงสร้างหนี้ในตลาดซื้อคืน (R/P) วงเงิน ๒๒๑,๑๙๑ ล้านบาท โดยการชำระคืนหนี้จำนวน ๓๖,๙๘๙ ล้านบาท การ Roll-over จำนวน ๑๓๔,๒๐๒ ล้านบาท และดำเนินการออกพันธบัตรขายให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย จำนวน ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ๒.๕ การก่อหนี้จากต่างประเทศ ไม่มีรัฐวิสาหกิจใดดำเนินการกู้เงินตามแผนงานนี้ ๒.๖ การบริหารหนี้ต่างประเทศ กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้ดำ เนินการบริหารหนี้ต่างประเทศรวม ๒๘,๐๕๖.๐๘ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๒.๖.๑ กระทรวงการคลังได้บริหารหนี้ต่างประเทศ วงเงินรวม ๒๔,๘๕๖.๐๘ ล้านบาท ซึ่งสามารถลดยอดหนี้คงค้างลง จำนวน ๑๐,๑๘๓.๖๘ ล้านบาท ลดภาระดอกเบี้ยได้ ๑,๘๐๕ ล้านบาท ได้แก่ (๑) การทำ Prepayment เงินกู้ JBIC วงเงิน ๑๐,๑๘๓.๖๘ ล้านบาท โดยใช้งบชำระหนี้ ทำให้สามารถลดหนี้คงค้าง จำนวน ๑๐,๑๘๓.๖๘ ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้ ๑,๘๐๕ ล้านบาท (๒) การซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ณ อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าระยะยาว (Long-Dated Forward) วงเงิน ๑๔,๖๗๒.๔๐ ล้านบาท เพื่อเตรียมชำระคืนหนี้เงินกู้ Samurai Bond ๒.๖.๒ รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย Refinance เงินกู้ JBIC วงเงิน ๓,๒๐๐ ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรเงินบาท ทำให้ประหยัดดอกเบี้ยได้ ๓๔๙ ล้านบาท ๓. การกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบเพดานเงินกู้ของแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ๓.๑ การกู้เงินและบริหารหนี้ของบริษัทมหาชนจำกัด ที่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจ ๓ แห่ง ได้กู้เงินและบริหารหนี้รวม ๓๓,๒๒๙.๑๐ ล้านบาท ได้แก่ ๓.๑.๑ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้กู้เงิน ๘,๖๙๒.๒๙ ล้านบาท เพื่อจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส ๓๔๐ - ๕๐๐ ลำที่ ๔ และเครื่องบินโบอิ้ง ๗๗๗ - ๒๐๐ ER ลำที่ ๕ ๓.๑.๒ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้กู้เงินโดยการออก Samurai Bond วงเงิน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท จากนั้นดำเนินการ Swap เป็นหนี้สกุลเหรียญสหรัฐ ๓.๑.๓ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้แปลงหนี้โดยการทำCross Currency Swap เงินกู้ JBIC เป็นเงินบาท วงเงิน ๑๔,๕๓๖.๘๑ ล้านบาท เพื่อปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ๓.๒ การกู้เงินระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่อง เงินกู้ผ่อนปรนจากธนาคารแห่งประเทศไทยการ Roll-over เงินกู้ผ่อนปรนจากธนาคารแห่งประเทศไทย และการ Roll-over เงินกู้เพื่อดำเนินงานตามโครงการเฉพาะกิจตามนโยบายรัฐบาล ๓.๒.๑ เงินกู้ระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่องในรูป Credit Line รัฐวิสาหกิจ ๓ แห่ง ได้กู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องรวม ๙,๐๘๐ ล้านบาทได้แก่ (๑) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย วงเงิน ๙,๐๐๐ ล้านบาท (๒) องค์การแบตเตอรี่ วงเงิน ๕๐ ล้านบาท (๓) องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ วงเงิน ๓๐ ล้านบาท ๓.๒.๒ เงินกู้ผ่อนปรนจากธนาคารแห่งประเทศไทย รัฐวิสาหกิจ ๓ แห่ง ได้กู้เงินผ่อนปรนจากธนาคารแห่งประเทศไทยรวม ๔๙๙ ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ (๑) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยวงเงิน ๑๗๐ ล้านบาท (๒) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร วงเงิน ๒๐๐ ล้านบาท (๓) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย วงเงิน ๑๒๙ ล้านบาท ๓.๒.๓ การ Roll-over เงินกู้ผ่อนปรนจากธนาคารแห่งประเทศไทย รัฐวิสาหกิจ ๓ แห่ง ได้ Roll-over เงินกู้ผ่อนปรนจากธนาคารแห่งประเทศไทยรวม ๒,๖๒๙ ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ (๑) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยวงเงิน ๑๐๐ ล้านบาท (๒) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร วงเงิน ๑,๖๐๐ ล้านบาท (๓) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย วงเงิน ๙๒๙ ล้านบาท ๔. สรุปผลการดำเนินการตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๐(เมษายน - กันยายน ๒๕๕๐) ๔.๑ จากผลการดำ เนินงานที่กล่าวมาแล้ว ในช่วงระยะเวลา ๖ เดือนหลังของปีงบประมาณ ๒๕๕๐ (เมษายน - กันยายน ๒๕๕๐) กระทรวงการคลังได้ดำเนินการบริหารและจัดการหนี้สาธารณะตามกรอบแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๐ เป็นจำนวนทั้งสิ้น ๖๖๔,๙๗๗.๓๙ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๖๓.๐๖ ของแผน ฯ ๔.๒ ผลการกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบเพดานเงินกู้ของแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๐ รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินและบริหารหนี้รวมทั้งสิ้น ๔๕,๔๓๗.๑๐ ล้านบาท ๔.๓ จากการดำเนินการตามข้อ ๔.๑ และ ๔.๒ กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินและบริหารหนี้รวมทั้งสิ้น ๗๑๐,๔๑๔.๔๙ ล้านบาท แบ่งเป็นการกู้เงินใหม่ จำนวน๑๓๐,๐๕๑.๒๙ ล้านบาท และการบริหารหนี้ จำนวน ๕๘๐,๓๖๓.๒๐ ล้านบาท หน่วย : ล้านบาท หน่วยงาน ผลการดำเนินงาน การกู้ใหม่ การบริหารหนี้ รวม - รัฐบาล ๔๐,๙๔๐.๐๐ ๓๒๗,๖๑๓.๑๐ ๓๖๘,๕๕๓.๑๐ - รัฐวิสาหกิจ ๘๙,๑๑๑.๒๙ ๒๕๒,๗๕๐.๑๐ ๓๔๑,๘๖๑.๓๙ รวม ๑๓๐,๐๕๑.๒๙ ๕๘๐,๓๖๓.๒๐ ๗๑๐,๔๑๔.๔๙ ทั้งนี้ การกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจจำนวน ๓๔๑,๘๖๑.๓๙ ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๖๐,๒๑๑.๒๙ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๒๘๑,๖๕๐.๑๐ ล้านบาท ผลของการบริหารหนี้ที่ได้ดำเนินการทั้งในส่วนของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ วงเงินรวมกันทั้งสิ้น ๕๑๓,๓๖๓.๒๐ ล้านบาทนั้น สามารถลดยอดหนี้สาธารณะคงค้างได้ ๗๑,๖๒๙.๗๘ ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้ ๒,๑๕๗.๑๒ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน หมายเหตุ : FIDF หมายถึง กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน FIDF1 หมายถึง พันธบัตรที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลัง เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและ พัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งรวมทั้งเงินกู้หรือตรา สารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุ ไม่เกิน ๑ ปี FIDF3 หมายถึง พันธบัตรที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลัง เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและ พัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕ Prepayment หมายถึง การชำระหนี้คืนก่อนครบกำหนดชำระ Refinance หมายถึง การกู้เงินจากแหล่งใหม่เพื่อนำไปใช้คืนแหล่งเงินกู้เดิม ซึ่งเป็นการ ลดต้นทุนการกู้เงิน หรือขยายระยะเงินกู้ Roll-over หมายถึง การกู้เงินใหม่เพื่อนำไปชำระเงินกู้ที่ครบกำหนดชำระ เพื่อให้เงินกู้ ดังกล่าวมีระยะเงินกู้สอดคล้องกับระยะคืนทุน ADB หมายถึง Asian Development Bank IBRD หมายถึง International Bank for Reconstruction and Development JBIC หมายถึง Japan Bank for International Cooperation ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๘๑ ง/หน้า ๘/๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
566229
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 6)
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๖)[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล ในไตรมาสที่ ๔ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน ๒,๕๔๐ ล้านบาท เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๐ โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียด คือ ๑. ชำระเงินคืนต้นเงินกู้ภายใน ๓ ปี นับแต่วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๐ โดยจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ๒. ตั๋วสัญญาใช้เงินนี้มีอัตราดอกเบี้ยซึ่งตกลงให้เปลี่ยนแปลงได้ทุก ๖ เดือน โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๑.๐๑ ต่อปี โดยปรับอัตราดอกเบี้ย FDR ทุกงวด ๖ เดือน โดยดอกเบี้ยงวดแรกของตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกให้ในวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๐ มีอัตราร้อยละ ๓.๐๗๒๕ ต่อปี กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามเกณฑ์การคำนวณข้างต้น ในวันที่ ๒๖ มีนาคม และวันที่ ๒๖ กันยายน ของทุกปี โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๓. การชำระดอกเบี้ยแบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด ในวันที่ ๒๖ มีนาคม และวันที่ ๒๖ กันยายน ของทุกปี โดยดอกเบี้ยงวดแรกจะชำระในวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๑ สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินในวันที่ไถ่ถอน หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๕/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
566227
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูล ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และสำนักงานประกันสังคม ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ วงเงิน ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๓๙,๖๗๖,๔๑๑,๘๑๖.๖๑ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๓๒๓,๕๘๘,๑๘๓.๓๙ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) ๔๙/๒๘/๕๐ L๔๙/๙๑/๕๐ L๔๙/๑๘๒/๕๐ ๕๐/๒๘/๕๐ L๕๐/๙๑/๕๐ L๕๐/๑๘๒/๕๐ ๕๑/๒๘/๕๐ L๕๑/๙๑/๕๐ L๕๑/๑๘๒/๕๐ ๕๒/๒๘/๕๐ L๕๒/๙๑/๕๐ L๕๒/๑๘๒/๕๐ ๓,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๕ กันยายน ๒๕๕๐ ๕ กันยายน ๒๕๕๐ ๕ กันยายน ๒๕๕๐ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๐ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๐ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๐ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๐ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๐ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๐ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๐ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๐ ๒๖ กันยาน ๒๕๕๐ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๐ ๕ มีนาคม ๒๕๕๑ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๐ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๑ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๐ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๑ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๐ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๑ ๒๘ ๙๑ ๑๘๒ ๒๘ ๙๑ ๑๘๒ ๒๘ ๙๑ ๑๘๒ ๒๘ ๙๑ ๑๘๒ ๖,๗๕๒,๒๖๕.๒๐ ๒๙,๕๗๓,๓๑๓.๔๓ ๔๕,๑๕๒,๐๗๗.๗๑ ๖,๗๐๐,๙๓๓.๒๓ ๒๙,๐๗๙,๐๗๔.๖๗ ๔๔,๐๔๐,๘๘๘.๐๔ ๖,๖๖๖,๙๖๓.๓๙ ๒๘,๗๐๓,๑๑๑.๑๙ ๔๔,๗๐๒,๔๘๑.๕๘ ๖,๗๑๙,๙๙๐.๕๔ ๒๙,๖๔๑,๒๔๘.๖๔ ๔๕,๘๕๕,๘๓๕.๗๗ รวม ๔๐,๐๐๐ ๓๒๓,๕๘๘,๑๘๓.๓๙ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่งๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ มีวงเงินตั๋วเงินคลัง เพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - จ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๑๗๐,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๔๙ - กันยายน ๒๕๕๐ ได้ดำเนินการแปลงวงเงินตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณให้เป็นพันธบัตรรัฐบาลทั้งสิ้นจำนวน ๑๐๒,๓๗๐ ล้านบาท และใช้เงินคงคลังไถ่ถอนตั๋วเงินคลังจำนวน ๖๓๐ ล้านบาท มีผลให้ยอดตั๋วเงินคลังส่วนที่ ๑ ลดลงทั้งสิ้น ๑๐๓,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ ๒๕๕๐ มียอดตั๋วเงินคลังหมุนเวียนในตลาดตราสารหนี้จำนวน ๑๔๗,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งกระทรวงการคลังจะใช้วงเงินตั๋วเงินคลังดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการบริหารเงินสดรับ - จ่ายของรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ต่อไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๓/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
565996
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 7
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๗[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๗ เพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มา เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ ให้เป็นพันธบัตรรัฐบาล โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๗ วงเงิน ๑๙,๓๗๐ ล้านบาท รายละเอียดปรากฏ ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re - open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ (LB175A) อายุ ๑๐.๓ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๓,๘๓๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๙.๙๒ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวน ในวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕ ต่อปี ชำระดอกเบี้ยปีละ ๒ ครั้งในวันที่ ๒๖ มกราคม และ ๒๖ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. การออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๗ ใช้วิธีการประมูล ดังนี้ ๒.๑ วิธีประมูลแบบแข่งขันราคา ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ธนาคารพาณิชย์ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การประมูลพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๒๗ มิถุนายน - ๒๖ กันยายน ๒๕๕๐ โดยได้รับเงินในวันทำการที่สองนับจากวันประมูล และมีรายละเอียดผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๗ ดังนี้ ผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๗ วันที่ประมูล วงเงิน ประมูล (ล้านบาท) อัตรา ผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) ประมูลแบบแข่งขันราคา จำนวนเงิน ที่ประมูลได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/(ส่วนลด) (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่ จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่ ประมูล (บาท) ๒๗ มิ.ย. ๕๐ ๕,๐๐๐ ๔.๕๓๔๑ ๕,๒๙๐,๗๔๒,๐๑๕.๐๐ ๑๘๕,๒๖๒,๕๖๕.๐๐ ๑๐๕,๔๗๙,๔๕๐.๐๐ ๒๕ ก.ค. ๕๐ ๕,๐๐๐ ๔.๔๙๕๘ ๕,๑๙๘,๓๙๓,๖๔๙.๐๐ ๑๙๗,๗๐๘,๖๙๙.๐๐ ๖๘๔,๙๕๐.๐๐ ๒๒ ส.ค. ๕๐ ๕,๐๐๐ ๔.๗๔๓๘ ๕,๑๑๗,๙๖๐,๘๐๐.๐๐ ๙๘,๐๙๗,๘๐๐.๐๐ ๑๙,๘๖๓,๐๐๐.๐๐ ๒๖ ก.ย. ๕๐ ๔,๓๗๐ ๔.๖๗๕๖ ๔,๕๑๖,๔๙๓,๔๖๙.๒๐ ๑๐๘,๑๘๑,๑๕๔.๘๐ ๓๘,๓๑๒,๓๑๕.๔๐ รวม ๑๙,๓๗๐ ๔.๖๑๐๓ ๒๐,๑๒๓,๕๘๙,๙๓๓.๒๐ ๕๘๙,๒๕๐,๒๑๘.๘๐ ๑๖๔,๓๓๙,๗๑๔.๔๐ หมายเหตุ : วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูลพันธบัตรรัฐบาลซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงิน จากการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรรัฐบาล โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๓ ง/หน้า ๒๐/๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
565992
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 6
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๖[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะพ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๖ เพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มา เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ ให้เป็นพันธบัตรรัฐบาล โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๖ วงเงิน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท รายละเอียดปรากฏ ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re - open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ (LB145B) อายุ ๗.๓ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๖,๖๕๕ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๖.๙๑ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๕ ต่อปี ชำระดอกเบี้ยปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๒ มกราคม และ ๑๒ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีประมูลแบบแข่งขันราคา ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ธนาคารพาณิชย์ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การประมูลพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๓ มิถุนายน - ๑๒ กันยายน ๒๕๕๐ โดยได้รับเงินในวันทำการที่สองนับจากวันประมูล และมีรายละเอียดผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๖ ดังนี้ ผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๖ วันที่ประมูล วงเงิน ประมูล (ล้านบาท) อัตรา ผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) ประมูลแบบแข่งขันราคา จำนวนเงิน ที่ประมูลได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/(ส่วนลด) (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่ จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่ ประมูล (บาท) ๑๓ มิ.ย. ๕๐ ๕,๐๐๐ ๔.๑๐๔๕ ๕,๔๕๓,๒๐๔,๖๙๐.๕๐ ๓๔๒,๔๕๑,๒๙๐.๕๐ ๑๑๐,๗๕๓,๔๐๐.๐๐ ๑๑ ก.ค. ๕๐ ๕,๐๐๐ ๔.๔๓๙๗ ๕,๒๓๖,๓๔๕,๓๗๕.๐๐ ๒๓๕,๖๒๖,๑๗๕.๐๐ ๗๑๙,๒๐๐.๐๐ ๘ ส.ค. ๕๐ ๕,๐๐๐ ๔.๓๕๖๙ ๕,๒๗๘,๖๗๐,๒๔๒.๓๐ ๒๕๗,๘๑๔,๐๙๒.๓๐ ๒๐,๘๕๖,๑๕๐.๐๐ ๑๒ ก.ย. ๕๐ ๕,๐๐๐ ๔.๓๐๕๐ ๕,๓๑๕,๘๖๑,๗๐๔.๕๐ ๒๖๙,๘๓๔,๓๐๔.๕๐ ๔๖,๐๒๗,๔๐๐.๐๐ รวม ๒๐,๐๐๐ ๔.๓๐๑๕ ๒๑,๒๘๔,๐๘๒,๐๑๒.๓๐ ๑,๑๐๕,๗๒๕,๘๖๒.๓๐ ๑๗๘,๓๕๖,๑๕๐.๐๐ หมายเหตุ : วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูลพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงิน จากการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรรัฐบาล โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๓ ง/หน้า ๑๘/๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
565972
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกการซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลัง หากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลังถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๕ ผู้เสนอประมูลตั๋วเงินคลังได้จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๖ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๕ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๘ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๙ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลังประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๒ ง/หน้า ๑๐/๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
564605
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 8
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๘[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๘ เพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๓ ครั้งที่ ๑ ที่ครบกำหนดเมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๐ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๘ (LB133A) วงเงิน ๒๗,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุ ๕.๖๗ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๖ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๒๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้งในวันที่ ๑๓ มีนาคม และ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตร หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีประมูลแบบแข่งขันราคา ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๑ กรกฎาคม - ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๐ โดยได้รับเงินในวันทำการที่สองนับจากวันประมูล และมีรายละเอียดผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๘ ดังนี้ ผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๘ วันที่ประมูล วงเงินประมูล (ล้านบาท) อัตรา ผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) ประมูลแบบแข่งขันราคา (CB) จำนวนเงินที่ ประมูลได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่ายตั้งแต่ วันที่จ่ายดอกเบี้ยงวด ล่าสุดจนถึงวันที่ประมูล (บาท) ๑๑ ก.ค. ๕๐ ๒,๐๐๐ ๔.๒๔๖๑ ๒,๐๐๐,๔๙๓,๗๓๕.๐๐ ๔๙๓,๗๓๕.๐๐ - ๑๘ ก.ค. ๕๐ ๕,๐๐๐ ๔.๑๓๔๔ ๕,๐๓๓,๑๔๐,๑๘๐.๐๐ ๒๙,๐๖๔,๘๓๐.๐๐ ๔,๐๗๕,๓๕๐.๐๐ ๒๕ ก.ค. ๕๐ ๒,๐๐๐ ๔.๐๕๓๐ ๒,๐๒๒,๙๘๙,๑๕๔.๕๐ ๑๙,๗๒๘,๘๗๔.๕๐ ๓,๒๖๐,๒๘๐.๐๐ ๑ ส.ค. ๕๐ ๕,๐๐๐ ๔.๒๓๒๗ ๕,๐๑๖,๖๕๓,๕๕๘.๗๐ ๔,๔๒๗,๕๐๘.๗๐ ๑๒,๒๒๖,๐๕๐.๐๐ ๘ ส.ค. ๕๐ ๒,๐๐๐ ๔.๑๗๙๔ ๒,๐๑๓,๕๔๐,๑๙๐.๙๐ ๗,๐๑๙,๖๕๐.๙๐ ๖,๕๒๐,๕๔๐.๐๐ ๑๕ ส.ค. ๕๐ ๕,๐๐๐ ๔.๓๓๐๗ ๕,๐๐๐,๖๖๙,๖๒๓.๘๙ -๑๙,๗๐๗,๐๗๖.๑๑ ๒๐,๓๗๖,๗๐๐.๐๐ ๒๒ ส.ค. ๕๐ ๒,๐๐๐ ๔.๒๕๙๐ ๒,๐๐๘,๙๑๙,๖๗๕.๐๐ -๘๖๑,๑๔๕.๐๐ ๙,๗๘๐,๘๒๐.๐๐ ๒๙ ส.ค. ๕๐ ๔,๐๐๐ ๔.๑๘๐๐ ๔,๐๓๖,๕๕๖,๘๙๒.๐๐ ๑๓,๗๓๔,๙๗๒.๐๐ ๒๒,๘๒๑,๙๒๐.๐๐ รวม ๒๗,๐๐๐ ๔.๒๑๐๕ ๒๗,๑๓๒,๙๖๓,๐๐๙.๙๙ ๕๓,๙๐๑,๓๔๙.๙๙ ๗๙,๐๖๑,๖๖๐.๐๐ หมายเหตุ : ๑. วันที่ลงในพันธบัตร คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูลพันธบัตร ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการประมูลพันธบัตร ๒. ไม่มีผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ๓. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๕๗ ง/หน้า ๓/๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๐
563505
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 3) วันที่ 15 กันยายน 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๐[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๐ อายุ ๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๓๙ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๑๕ มีนาคม และวันที่ ๑๕ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๕ แห่งบวกร้อยละ ๑.๐๐ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๓๙ ต่อปี เป็นร้อยละ ๓.๐๕ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สุกัญญา/แก้ไข ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๔๓ ง/หน้า ๓/๒๘ กันยายน ๒๕๕๐
563503
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 3) วันที่ 15 กันยายน 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๐[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๐ อายุ ๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๓๘ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๑๕ มีนาคม และวันที่ ๑๕ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๕ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๙ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๓๘ ต่อปี เป็นร้อยละ ๓.๐๔ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สุกัญญา/แก้ไข ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๔๓ ง/หน้า ๒/๒๘ กันยายน ๒๕๕๐
563437
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะพ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ วงเงิน ๖๐,๐๐๐ ล้านบาทได้รับเงินจำนวน ๕๙,๕๑๘,๙๗๐,๙๕๔.๑๕ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๔๘๑,๐๒๙,๐๔๕.๘๕ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) ๔๔/๒๘/๕๐ L๔๔/๙๑/๕๐ L๔๔/๑๘๒/๕๐ ๔๕/๒๘/๕๐ L๔๕/๙๑/๕๐ L๔๕/๑๘๒/๕๐ ๔๖/๒๘/๕๐ L๔๖/๙๑/๕๐ L๔๖/๑๘๒/๕๐ ๔๗/๒๘/๕๐ L๔๗/๙๑/๕๐ L๔๗/๑๘๒/๕๐ ๔๘/๒๘/๕๐ L๔๘/๙๑/๕๐ L๔๘/๑๘๒/๕๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๑ ๕ กันยายน ๒๕๕๐ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๐ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๐ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๐ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ๒๘ ๙๑ ๑๘๒ ๒๘ ๙๑ ๑๘๒ ๒๘ ๙๑ ๑๘๒ ๒๘ ๙๑ ๑๘๒ ๒๘ ๙๑ ๑๘๒ ๙,๓๐๔,๒๒๕.๑๙ ๒๘,๐๖๙,๐๒๗.๑๒ ๕๗,๗๔๔,๕๙๒.๑๖ ๙,๒๘๕,๘๗๖.๗๒ ๒๗,๙๖๙,๑๗๓.๑๘ ๕๙,๑๑๙,๐๒๕.๒๐ ๙,๒๒๙,๒๐๐.๙๙ ๒๗,๙๘๐,๖๓๙.๖๐ ๕๙,๐๐๘,๑๓๔.๕๙ ๙,๒๒๘,๗๖๑.๒๗ ๒๘,๐๐๙,๔๖๕.๐๐ ๕๘,๔๖๙,๖๓๓.๓๕ ๙,๑๑๓,๒๓๕.๒๗ ๒๘,๒๕๗,๖๑๗.๙๖ ๖๐,๒๔๐,๔๓๘.๒๕ รวม ๖๐,๐๐๐ ๔๘๑,๐๒๙,๐๔๕.๘๕ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลังร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่งๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ-จ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๑๗๐,๐๐๐ ล้านบาทและส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๔๙ – สิงหาคม ๒๕๕๐ ได้ดำเนินการแปลงวงเงินตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลให้เป็นพันธบัตรรัฐบาลไปแล้วจำนวน ๙๓,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม ๒๕๕๐ มีวงเงินตั๋วเงินคลังที่กระทรวงการคลังสามารถใช้ในการบริหารเงินสดรับ-จ่ายของรัฐบาลได้ไม่เกินจำนวน ๑๕๗,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๔๗ ง/หน้า ๑๒/๓ ตุลาคม ๒๕๕๐
563435
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกการซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลังหากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลังถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะประมูลตั๋วเงินคลัง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่า จะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะประมูลส่งคำเสนอประมูลไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนกว่าจะครบวงเงินที่กำหนด ในกรณีที่มีผู้ประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้ประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้ประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้ประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๕ ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๖ เมื่อผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๕ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนดให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๘ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๙ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลังนี้มิให้ถือว่าฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการประมูล และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่ขอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ๒. แบบประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๔๗ ง/หน้า ๘/๓ ตุลาคม ๒๕๕๐
562602
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 1) วันที่ 1 กันยายน 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๑) วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๐ ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๑) ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ อายุ ๓ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๕๐ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๑ มีนาคม และวันที่ ๑ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๕ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๐ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ จากธนาคารออมสินในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๑) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๕๐ ต่อปี เป็นร้อยละ ๒.๘๕ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๐ เป็นต้นไป[๑] ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ สรร วิเทศพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง/หน้า ๒๐/๑๔ กันยายน ๒๕๕๐
562461
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนกันยายน พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง)และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลัง หากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะประมูลตั๋วเงินคลัง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่า จะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะประมูลส่งคำเสนอประมูลไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนกว่าจะครบวงเงินที่กำหนด ในกรณีที่มีผู้ประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้ประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้ประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้ประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๕ ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๖ เมื่อผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๕ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๘ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๙ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลังนี้มิให้ถือว่าฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการประมูล และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่ขอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 ๒. ใบประมูลซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง/หน้า ๑/๑๔ กันยายน ๒๕๕๐
562451
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 2) วันที่ 8 กันยายน 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๐[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) จากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ อายุ ๔ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๔๙ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสองกระทรวงการคลัง จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๘ มีนาคม และวันที่ ๘ กันยายนของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๕ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๖ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๔๙ ต่อปี เป็นร้อยละ ๒.๙๑ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๒/๑๙ กันยายน ๒๕๕๐
562449
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 2) วันที่ 8 กันยายน 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๐ ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ อายุ ๔ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๕๑ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๘ มีนาคม และวันที่ ๘ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือนประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๕ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๘ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๕๑ ต่อปี เป็นร้อยละ ๒.๙๓ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๐ เป็นต้นไป[๑] ประกาศ ณ วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๑/๑๙ กันยายน ๒๕๕๐
561745
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ วงเงิน ๔๘,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๔๗,๕๗๑,๕๗๕,๘๒๘.๕๔ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๔๒๘,๔๒๔,๑๗๑.๔๖ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) ๔๐/๒๘/๕๐ ๓,๐๐๐ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๒๘ ๖,๙๔๘,๕๓๒.๒๔ L๔๐/๙๑/๕๐ ๔,๐๐๐ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๙๑ ๒๘,๗๑๒,๙๔๙.๔๐ L๔๐/๑๘๒/๕๐ ๔,๐๐๐ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ๒ มกราคม ๒๕๕๑ ๑๘๒ ๖๐,๙๙๘,๙๗๙.๕๒ ๔๑/๒๘/๕๐ ๓,๐๐๐ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๒๘ ๗,๐๒๖,๘๖๖.๕๔ L๔๑/๙๑/๕๐ ๔,๐๐๐ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๙๑ ๒๘,๑๘๙,๐๔๐.๘๗ L๔๑/๑๘๒/๕๐ ๔,๐๐๐ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ๙ มกราคม ๒๕๕๑ ๑๘๒ ๖๐,๙๗๘,๑๕๐.๐๔ ๔๒/๒๘/๕๐ ๓,๐๐๐ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๒๘ ๗,๐๘๖,๑๖๙.๑๐ L๔๒/๙๑/๕๐ ๕,๐๐๐ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๙๑ ๓๕,๙๙๔,๖๐๐.๕๖ L๔๒/๑๘๒/๕๐ ๕,๐๐๐ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๑ ๑๘๒ ๗๖,๐๔๓,๕๗๔.๔๔ ๔๓/๒๘/๕๐ ๓,๐๐๐ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๒๘ ๖,๙๕๙,๐๙๔.๘๓ L๔๓/๙๑/๕๐ ๕,๐๐๐ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๙๑ ๓๕,๕๓๒,๓๕๐.๙๔ L๔๓/๑๘๒/๕๐ ๕,๐๐๐ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๑ ๑๘๒ ๗๓,๙๕๓,๘๖๒.๙๘ รวม ๔๘,๐๐๐ ๔๒๘,๔๒๔,๑๗๑.๔๖ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่งๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - จ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๑๗๐,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาทโดยตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๔๙ - กรกฎาคม ๒๕๕๐ ได้ดำเนินการแปลงวงเงินตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลให้เป็นพันธบัตรรัฐบาลไปแล้วจำนวน ๘๓,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๐ มีวงเงินตั๋วเงินคลังที่กระทรวงการคลังสามารถใช้ในการบริหารเงินสดรับ - จ่ายของรัฐบาลได้ไม่เกินจำนวน ๑๖๗,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๑/๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๐
561149
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกการซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ จะออกโดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลัง หากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะประมูลตั๋วเงินคลัง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่า จะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใดไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนกว่าจะครบวงเงินที่กำหนด ในกรณีที่มีผู้ประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้ประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้ประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้ประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๕ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้ และจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ข้อ ๖ ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนดให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติของนายทะเบียนหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาออกตั๋วเงินคลังโดยระบุชื่อผู้ขอถอนคืนเป็นผู้รับเงิน ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลังนี้มิให้ถือว่าฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 ๒. ใบประมูลซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๑/๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๐
560777
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 8
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๘[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนดในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยการออกจำ หน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๘ (LB133A) โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการประมูล ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคาให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาสาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิ์ประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมประมูลแบบไม่แข่งขันราคา โดยผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคาจะต้องเสนอประมูลผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๘ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๘ มีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบแข่งขันราคาโดยตรง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่าจะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อ ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะเข้าประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบไม่แข่งขันราคา ต้องยื่นความจำนงผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่ประมูลแบบแข่งขันราคา ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๘ ดังนี้ (๑) ในการประมูลแบบแข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับ และจะแจ้งผลให้ผู้ประมูลได้ทราบในวันประมูลนั้น ในกรณีที่มีผู้ประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้ประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้ผู้ประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้ประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูลแต่ละรุ่น และจะได้รับจัดสรรในราคาอัตราถัวเฉลี่ยของการประมูล โดยกรณีที่มีผู้เสนอประมูลแบบไม่แข่งขันราคา เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะดำเนินการจัดสรรตาม สัดส่วน ส่วนกรณีไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับการประมูลแบบแข่งขันราคา ข้อ ๕ ผู้ประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๘ แบบแข่งขันราคาได้ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคา จะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่ประมูลแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันประมูลแบบแข่งขันราคา โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่ประมูลแบบไม่แข่งขันราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันประมูลโดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๖ เมื่อผู้ประมูลได้ชำระราคาตามข้อ ๕ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๘ เข้าบัญชีผู้ประมูลได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ประมูลได้ ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนดให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๘ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๙ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตร (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตร ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๐ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติของนายทะเบียนหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ กรณีที่มีการออกพันธบัตร มิให้ถือว่าพันธบัตรฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๒ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๘ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๘ พันธบัตรรัฐบาล เพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประมูลวันที่ วงเงิน ประมูล (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน ครั้งที่ ๘ (LB133A) ๑๑ ก.ค. ๒๕๕๐ ๒,๐๐๐ ๑๓ ก.ค. ๒๕๕๐ ๑๓ ก.ค. ๒๕๕๐ ๑๓ มี.ค. ๒๕๕๖ อายุ ๕.๖๗ ปี ๑๘ ก.ค. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๒๐ ก.ค. ๒๕๕๐ ๑๓ ก.ค. ๒๕๕๐ ๑๓ มี.ค. ๒๕๕๖ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒๕ ก.ค. ๒๕๕๐ ๒,๐๐๐ ๒๗ ก.ค. ๒๕๕๐ ๑๓ ก.ค. ๒๕๕๐ ๑๓ มี.ค. ๒๕๕๖ ๔.๒๕ ต่อปี ๑ ส.ค. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๓ ส.ค. ๒๕๕๐ ๑๓ ก.ค. ๒๕๕๐ ๑๓ มี.ค. ๒๕๕๖ จำนวน ๒๗,๐๐๐ ล้านบาท ๘ ส.ค. ๒๕๕๐ ๒,๐๐๐ ๑๐ ส.ค. ๒๕๕๐ ๑๓ ก.ค. ๒๕๕๐ ๑๓ มี.ค. ๒๕๕๖ ๑๕ ส.ค. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๑๗ ส.ค. ๒๕๕๐ ๑๓ ก.ค. ๒๕๕๐ ๑๓ มี.ค. ๒๕๕๖ ๒๒ ส.ค. ๒๕๕๐ ๒,๐๐๐ ๒๔ ส.ค. ๒๕๕๐ ๑๓ ก.ค. ๒๕๕๐ ๑๓ มี.ค. ๒๕๕๖ ๒๙ ส.ค. ๒๕๕๐ ๔,๐๐๐ ๓๑ ส.ค. ๒๕๕๐ ๑๓ ก.ค. ๒๕๕๐ ๑๓ มี.ค. ๒๕๕๖ หมายเหตุ : อัตราดอกเบี้ยจะประกาศในวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๐ (๑) การคำนวณดอกเบี้ยของพันธบัตรประเภทนี้จะคำนวณจากมูลค่าของพันธบัตร โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้งโดยตลอดเวลาที่พันธบัตรยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๓ มีนาคม และ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตร ณ วันไถ่ถอนพันธบัตร หากวันครบกำหนดชำ ระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป (๒) พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๖ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๓ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการประมูลตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่ประมูลทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๒๗,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โสรศ/ผู้จัดทำ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๕/๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๐
560775
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินระยะสั้นเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินระยะสั้นเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรค ๓ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ๓ แห่ง เพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลจำนวน ๒๗,๐๐๐ ล้านบาท ที่ครบกำหนดในวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๐ โดยมีเงื่อนไขสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ๑. วงเงินกู้จำนวน ๒๗,๐๐๐ ล้านบาท โดยเบิกเงินกู้ทั้งจำนวน ในวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ตามรายละเอียด ดังนี้ ลำดับ สถาบันการเงิน วงเงินกู้ อัตราดอกเบี้ย (ล้านบาท) (ร้อยละต่อปี) ๑ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ๓,๕๐๐ ๓.๐๕ ๒ ธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ๘,๐๐๐ ๓.๒๐ ๓ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ๑๕,๕๐๐ ๓.๒๑ รวมทั้งสิ้น ๒๗,๐๐๐ ๒. ระยะเวลาในการชำระคืนต้นเงินไม่เกิน ๒ เดือน โดยจะนำเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๘ มาทยอยชำระคืนภายในวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๐ ประกาศ ณ วันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โสรศ/ผู้จัดทำ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๔/๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๐
560654
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐ วงเงิน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๑๑,๙๐๗,๔๕๕,๑๒๙.๑๙ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๙๒,๕๔๔,๘๗๐.๘๑ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) ๓๖/๒๘/๕๐ ๑,๐๐๐ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ๒๘ ๒,๐๖๔,๕๘๓.๔๘ L๓๖/๙๑/๕๐ ๑,๐๐๐ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๕ กันยายน ๒๕๕๐ ๙๑ ๖,๖๗๘,๘๗๐.๘๔ L๓๖/๑๘๓/๕๐ ๑,๐๐๐ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๐ ๑๘๓ ๑๓,๕๘๗,๑๒๙.๙๒ ๓๗/๒๘/๕๐ ๑,๐๐๐ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ๒๘ ๑,๙๘๑,๑๑๓.๙๑ L๓๗/๙๑/๕๐ ๑,๐๐๐ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๐ ๙๑ ๖,๕๓๗,๖๔๘.๕๒ L๓๗/๑๘๒/๕๐ ๑,๐๐๐ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๔,๑๑๓,๖๑๘.๘๓ ๓๘/๒๘/๕๐ ๑,๐๐๐ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ๒๘ ๑,๙๗๖,๙๘๗.๗๘ L๓๘/๙๑/๕๐ ๑,๐๐๐ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๐ ๙๑ ๗,๐๘๘,๐๘๔.๗๔ L๓๘/๑๘๒/๕๐ ๑,๐๐๐ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๔,๖๕๐,๖๘๑.๕๔ ๓๙/๒๘/๕๐ ๑,๐๐๐ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ๒๘ ๑,๙๙๒,๐๗๗.๗๑ L๓๙/๙๑/๕๐ ๑,๐๐๐ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๐ ๙๑ ๖,๙๓๒,๔๒๗.๘๘ L๓๙/๑๘๒/๕๐ ๑,๐๐๐ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๔,๙๔๑,๖๔๕.๖๖ รวม ๑๒,๐๐๐ ๙๒,๕๔๔,๘๗๐.๘๑ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่งๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ มีวงเงินตั๋วเงินคลัง เพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - จ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๑๗๐,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๔๙ - มิถุนายน ๒๕๕๐ ได้ดำเนินการแปลงวงเงินตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลให้เป็นพันธบัตรรัฐบาลไปแล้วจำนวน ๗๓,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน ๒๕๕๐ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - จ่าย ของรัฐบาลจำนวน ๑๗๗,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน โสรศ/ผู้จัดทำ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๙๔ ง/หน้า ๑/๘ สิงหาคม ๒๕๕๐
560411
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 5
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๕[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๕ เพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๔๗ ให้เป็นพันธบัตรรัฐบาล โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๕ วงเงิน ๓๑,๐๐๐ ล้านบาท รายละเอียดปรากฏ ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีระยะไถ่ถอน ๑๗ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๗ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๕๐ ต่อปี ชำระดอกเบี้ยปีละ ๒ ครั้งในวันที่ ๙ เมษายน และ ๙ ตุลาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตร หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. การออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๕ ใช้วิธีการประมูล ดังนี้ ๒.๑ จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ๒.๒ จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคาให้แก่ มูลนิธิสหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดีการศึกษา สาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมประมูลแบบไม่แข่งขันราคา โดยผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคาจะต้องเสนอประมูลผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ๓. การประมูลพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๑ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๔ เมษายน - ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ โดยได้รับเงินในวันทำการที่สองนับจากวันประมูล และมีรายละเอียดผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๕ ดังนี้ ผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๕ วันที่ประมูล วงเงิน ประมูล (ล้านบาท) อัตรา ผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) ประมูลแบบแข่งขันราคา (CB) จำนวนเงิน ที่ประมูลได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/(ส่วนลด) (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่ จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่ ประมูล (บาท) ๔ เม.ย. ๕๐ ๕,๐๐๐ ๔.๖๑๒๙ ๔,๙๓๓,๖๗๗,๙๐๓.๑๒ (๖๖,๓๒๒,๐๙๖.๘๘) - ๑๘ เม.ย. ๕๐ ๕,๐๐๐ ๔.๓๖๙๒ ๕,๐๘๔,๒๓๕,๗๗๙.๗๐ ๗๗,๔๕๔,๙๗๙.๗๐ ๖,๗๘๐,๘๐๐.๐๐ ๒๕ เม.ย. ๕๐ ๒,๐๐๐ ๔.๓๒๐๐ ๒,๐๔๗,๒๒๗,๕๖๐.๐๐ ๔๒,๗๘๙,๒๐๐.๐๐ ๔,๔๓๘,๓๖๐.๐๐ ๒ พ.ค. ๕๐ ๕,๐๐๐ ๔.๓๔๒๒ ๕,๑๐๘,๘๕๙,๐๕๓.๑๖ ๙๓,๔๔๘,๑๐๓.๑๖ ๑๕,๔๑๐,๙๕๐.๐๐ ๙ พ.ค. ๕๐ ๒,๐๐๐ ๔.๑๕๗๗ ๒,๐๙๐,๒๖๑,๑๓๘.๙๐ ๘๒,๓๗๐,๗๑๘.๙๐ ๗,๘๙๐,๔๒๐.๐๐ ๑๖ พ.ค. ๕๐ ๕,๐๐๐ ๔.๑๕๐๐ ๕,๒๓๔,๕๕๓,๐๐๐.๐๐ ๒๑๐,๕๑๑,๙๐๐.๐๐ ๒๔,๐๔๑,๑๐๐.๐๐ ๒๓ พ.ค. ๕๐ ๒,๐๐๐ ๔.๑๖๙๓ ๒,๐๙๐,๗๑๖,๔๒๔.๐๐ ๗๙,๓๗๓,๙๖๔.๐๐ ๑๑,๓๔๒,๔๖๐.๐๐ ๒๙ พ.ค. ๕๐ ๕,๐๐๐ ๔.๕๕๕๑ ๔,๙๙๙,๙๗๔,๓๔๗.๔๐ (๓๒,๖๙๖,๙๐๒.๖๐) ๓๒,๖๗๑,๒๕๐.๐๐ รวม ๓๑,๐๐๐ ๔.๓๖๙๑ ๓๑,๕๘๙,๕๐๕,๒๐๖.๒๘ ๔๘๖,๙๒๙,๘๖๖.๒๘ ๑๐๒,๕๗๕,๓๔๐.๐๐ หมายเหตุ : ๑. วันที่ลงในพันธบัตร คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูลพันธบัตร ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการประมูลพันธบัตร ๒. ไม่มีผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๘๘ ง/หน้า ๑๔/๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐
560407
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒[๑] โดยที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ วงเงิน ๒๗,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นเจ็ดพันล้านบาทถ้วน) จำหน่ายได้จำนวน ๒๔,๔๖๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นสี่พันสี่ร้อยหกสิบล้านบาทถ้วน) กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ปรับลดวงเงินการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ จากจำนวน ๒๗,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นเจ็ดพันล้านบาทถ้วน) เป็นจำนวน ๒๔,๔๖๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นสี่พันสี่ร้อยหกสิบล้านบาทถ้วน) ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๘๘ ง/หน้า ๑๒/๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐
560285
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ วงเงิน ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๔๙,๕๒๓,๖๓๙,๔๑๙.๗๕ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๔๗๖,๓๖๐,๕๘๐.๒๕ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) ๓๑/๒๘/๕๐ ๓,๐๐๐ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๒๘ ๘,๑๘๔,๖๖๙.๙๑ L๓๑/๙๑/๕๐ ๔,๐๐๐ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๙๑ ๓๔,๒๔๕,๓๘๗.๗๑ L๓๑/๑๘๒/๕๐ ๔,๐๐๐ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๖๗,๐๖๘,๘๖๗.๒๕ ๓๒/๒๘/๕๐ ๒,๐๐๐ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๒๘ ๕,๔๔๗,๒๘๖.๓๑ L๓๒/๙๑/๕๐ ๔,๐๐๐ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๙๑ ๓๓,๗๒๗,๒๕๔.๐๘ L๓๒/๑๘๒/๕๐ ๔,๐๐๐ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๖๖,๔๗๖,๘๑๔.๕๒ ๓๓/๒๘/๕๐ ๒,๐๐๐ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๒๘ ๕,๐๖๓,๓๑๘.๗๓ L๓๓/๙๑/๕๐ ๔,๐๐๐ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๙๑ ๓๒,๒๘๓,๔๑๒.๙๔ L๓๓/๑๘๒/๕๐ ๓,๐๐๐ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๔๘,๐๔๐,๐๖๘.๐๘ ๓๔/๒๘/๕๐ ๒,๐๐๐ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๒๘ ๔,๖๔๕,๓๑๖.๘๕ L๓๔/๙๑/๕๐ ๔,๐๐๐ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๙๑ ๒๙,๑๓๕,๕๙๑.๘๔ L๓๔/๑๘๒/๕๐ ๓,๐๐๐ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๔๓,๔๙๗,๑๘๖.๖๔ ๓๕/๒๘/๕๐ ๓,๐๐๐ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๒๘ ๗,๗๓๘,๙๗๒.๗๗ L๓๕/๙๑/๕๐ ๔,๐๐๐ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๙๑ ๓๐,๙๓๐,๘๑๘.๕๐ L๓๕/๑๘๒/๕๐ ๔,๐๐๐ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๕๙,๘๗๕,๖๑๔.๑๒ รวม ๕๐,๐๐๐ ๔๗๖,๓๖๐,๕๘๐.๒๕ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลังร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่งๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ มียอดตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - จ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๑๗๐,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาทโดยตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๔๙ - พฤษภาคม ๒๕๕๐ ได้ดำเนินการแปลงวงเงินตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลให้เป็นพันธบัตรรัฐบาลไปแล้วจำนวน ๖๓,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๐ มียอดหนี้ตั๋วเงินคลังคงค้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๘๗,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๑๘/๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๐
560149
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 2 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 ครั้งที่ 8 ก่อนครบกำหนด
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ ๒ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ ครั้งที่ ๘ ก่อนครบกำหนด เพื่ออนุวัติตามความในประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สำหรับสถาบันการเงินที่ประสงค์จะขอเข้ารับความช่วยเหลือจากกระทรวงการคลังตามโครงการช่วย เพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ ๑ และโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ ๒ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๑ และข้อ ๔ วรรค ๒ ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ ๒ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ ครั้งที่ ๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลที่ออกตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ ๒ ก่อนครบกำหนดจากผู้ถือพันธบัตรที่กระทรวงการคลังออกจำหน่ายภายใต้พระราชกำหนด ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๑ คือ พันธบัตรรัฐบาลตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ ๒ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ ครั้งที่ ๘ จำนวน ๒๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยไถ่ถอนจากบริษัท โทเทิล เซอร์วิสเซสโซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) (ชื่อเดิมคือ “ธนาคาร จีอี มันนี่ เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)” ซึ่งเปลี่ยนมาจาก “บริษัทเงินทุน เอเซียไฟแนนซ์ จำกัด (มหาชน)”) ในวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ประกาศนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป[๑] ประกาศ ณ วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โสรศ/ผู้จัดทำ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๖/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๐
560147
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 5
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๕[๑] โดยที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๕ วงเงิน ๔๘,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สี่หมื่นแปดพันล้านบาทถ้วน) จำหน่ายได้จำนวน ๓๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สามหมื่นหนึ่งพันล้านบาทถ้วน) กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ปรับลดวงเงินการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๕ จากจำนวน ๔๘,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สี่หมื่นแปดพันล้านบาทถ้วน) เป็นจำนวน ๓๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สามหมื่นหนึ่งพันล้านบาทถ้วน) ประกาศ ณ วันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โสรศ/ผู้จัดทำ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๕/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๐
560145
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่ากระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลังประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ จะออกโดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลัง หากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลังถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะประมูลตั๋วเงินคลัง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่า จะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนกว่าจะครบวงเงินที่กำหนด ในกรณีที่มีผู้ประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้ประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้ประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้ประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๕ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้ และจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ข้อ ๖ ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้เป็นไปตามที่ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ ไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติของนายทะเบียนหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาออกตั๋วเงินคลังโดยระบุชื่อผู้ขอถอนคืนเป็นผู้รับเงิน ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลังนี้มิให้ถือว่าฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 ๒. ใบประมูลซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) โสรศ/ผู้จัดทำ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๑/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๐
559119
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ วงเงิน ๒๔,๔๖๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีระยะไถ่ถอน ๑๐.๓ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๐ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๖ มกราคม และ ๒๖ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรหากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. การออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลใช้วิธีการประมูล ดังนี้ ๒.๑ จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ๒.๒ จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคาให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาสาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมประมูลแบบไม่แข่งขันราคาโดยผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคาจะต้องเสนอประมูลผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ๓. การประมูลพันธบัตรตามนัยข้อ ๒ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๒๔ มกราคม - ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ โดยได้รับเงินในวันทำการที่สองนับจากวันประมูล และมีรายละเอียดผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาล เพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ วงเงิน อัตรา ประมูลแบบแข่งขันราคา (CB) ประมูล ผลตอบแทน จำนวนเงินที่ ส่วนเพิ่ม/ ดอกเบี้ยค้างจ่ายตั้งแต่ วันที่ประมูล (ล้านบาท) เฉลี่ย ประมูลได้ ส่วนลด วันที่จ่ายดอกเบี้ยงวดล่าสุด (ร้อยละต่อปี) (บาท) (บาท) จนถึงวันที่ประมูล (บาท) ๒๔ มกราคม ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๔.๗๙๑๔ ๕,๐๘๕,๓๘๕,๓๑๐.๓๙ ๘๕,๓๘๕,๓๑๐.๓๙ - ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๔.๓๙๒๓ ๕,๒๗๓,๒๑๔,๕๖๐.๖๐ ๒๔๙,๒๔๑,๙๖๐.๖๐ ๒๓,๙๗๒,๖๐๐.๐๐ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๐ ๔,๒๖๐ ๔.๒๔๕๙ ๔,๕๖๐,๒๕๗,๘๑๕.๔๐ ๒๖๓,๔๙๓,๔๑๙.๐๐ ๓๖,๗๖๔,๓๙๖.๔๐ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๐ ๖,๗๔๐ ๓.๘๖๗๓ ๗,๔๕๗,๓๒๗,๔๕๓.๔๗ ๖๓๓,๓๐๘,๒๙๘.๔๗ ๘๔,๐๑๙,๑๕๕.๐๐ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๓,๔๖๐ ๓.๖๓๖๙ ๓,๙๐๙,๔๘๔,๔๗๖.๙๐ ๓๙๓,๐๘๑,๗๓๖.๗๐ ๕๖,๔๐๒,๗๔๐.๒๐ รวม ๒๔,๔๖๐ ๔.๑๙๖๙ ๒๖,๒๘๕,๖๖๙,๖๑๖.๗๖ ๑,๖๒๔,๕๑๐,๗๒๕.๑๖ ๒๐๑,๑๕๘,๘๙๑.๖๐ หมายเหตุ : ๑. วันที่ลงในพันธบัตร คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูลพันธบัตร ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการประมูลพันธบัตร ๒. ไม่มีผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน โสรศ/ผู้จัดทำ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๖/๙ กรกฎาคม ๒๕๕๐
559117
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ วงเงิน ๒๖,๖๕๕ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีระยะไถ่ถอน ๗.๓ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๐ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๒ มกราคม และ ๑๒ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตร หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. การออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลใช้วิธีการประมูล ดังนี้ ๒.๑ จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ๒.๒ จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคาให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาสาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมประมูลแบบไม่แข่งขันราคาโดยผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคาจะต้องเสนอประมูลผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ๓. การประมูลพันธบัตรตามนัยข้อ ๒ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๐ มกราคม - ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ โดยได้รับเงินในวันทำการที่สองนับจากวันประมูล และมีรายละเอียดผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ วงเงิน อัตรา ประมูลแบบแข่งขันราคา (CB) ประมูล ผลตอบแทน จำนวนเงินที่ ส่วนเพิ่ม/ ดอกเบี้ยค้างจ่ายตั้งแต่ วันที่ประมูล (ล้านบาท) เฉลี่ย ประมูลได้ ส่วนลด วันที่จ่ายดอกเบี้ยงวดล่าสุด (ร้อยละต่อปี) (บาท) (บาท) จนถึงวันที่ประมูล (บาท) ๑๐ มกราคม ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๔.๙๕๘๒ ๕,๐๙๐,๐๓๒,๗๕๕.๕๐ ๙๐,๐๓๒,๗๕๕.๕๐ - ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๔.๖๓๔๐ ๕,๒๑๓,๖๔๐,๔๖๔.๔๐ ๑๘๘,๔๖๙,๒๑๔.๔๐ ๒๕,๑๗๑,๒๕๐.๐๐ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๔.๐๗๖๒ ๕,๔๐๗,๒๔๓,๙๗๒.๐๐ ๓๖๑,๙๓๕,๗๗๒.๐๐ ๔๕,๓๐๘,๒๐๐.๐๐ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๐ ๕,๖๕๕ ๓.๙๘๔๙ ๖,๑๗๐,๑๑๗,๖๒๑.๕๕ ๔๓๗,๘๔๕,๕๕๒.๖๕ ๗๗,๒๗๒,๐๖๘.๙๐ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๖,๐๐๐ ๓.๔๙๔๕ ๖,๗๕๒,๘๗๓,๓๕๗.๙๕ ๖๕๐,๑๗๔,๗๑๗.๙๕ ๑๐๒,๖๙๘,๖๔๐.๐๐ รวม ๒๖,๖๕๕ ๔.๑๙๖๐ ๒๘,๖๓๓,๙๐๘,๑๗๑.๔๐ ๑,๗๒๘,๔๕๘,๐๑๒.๕๐ ๒๕๐,๔๕๐,๑๕๘.๙๐ หมายเหตุ : ๑. วันที่ลงในพันธบัตร คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูลพันธบัตร ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการประมูลพันธบัตร ๒. ไม่มีผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน โสรศ/ผู้จัดทำ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๔/๙ กรกฎาคม ๒๕๕๐
558664
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 4 และครั้งที่ 5)
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงินในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔ และครั้งที่ ๕)[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล ในไตรมาสที่ ๓ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน ๑๖,๕๔๕ ล้านบาท ดังนี้ ๑. วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๔ จำนวน ๗,๐๐๐ ล้านบาท ให้กับ ๑.๑ ธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ จำนวนเงิน ๓,๕๐๐ ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียด คือ (๑) ชำระเงินคืนต้นเงินกู้ภายใน ๖ ปี นับแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ โดยจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน (๒) ตั๋วสัญญาใช้เงินนี้มีอัตราดอกเบี้ยซึ่งตกลงให้เปลี่ยนแปลงได้ทุก ๖ เดือน โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดาเฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๙ ต่อปี โดยปรับอัตราดอกเบี้ย FDR ทุกงวด ๖ เดือน โดยดอกเบี้ยงวดแรกของตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกให้ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ มีอัตราร้อยละ ๓.๖๔ ต่อปี กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามเกณฑ์การคำนวณข้างต้น ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม และวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ของทุกปี โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๓) การชำระดอกเบี้ยแบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม และวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ของทุกปี โดยดอกเบี้ยงวดแรกจะชำระในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินในวันที่ไถ่ถอน หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป ๑.๒ ธนาคารออมสิน จำนวนเงิน ๓,๕๐๐ ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียด คือ (๑) ชำระเงินคืนต้นเงินกู้ภายใน ๖ ปี นับแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ โดยจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน (๒) ตั๋วสัญญาใช้เงินนี้มีอัตราดอกเบี้ยซึ่งตกลงให้เปลี่ยนแปลงได้ทุก ๖ เดือน โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดาเฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๓ ต่อปี โดยปรับอัตราดอกเบี้ย FDR ทุกงวด ๖ เดือน โดยดอกเบี้ยงวดแรกของตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกให้ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ มีอัตราร้อยละ ๓.๖๘ ต่อปี กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามเกณฑ์การคำนวณข้างต้น ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม และวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ของทุกปี โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๓) การชำระดอกเบี้ยแบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม และวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ของทุกปี โดยดอกเบี้ยงวดแรกจะชำระในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินในวันที่ไถ่ถอน หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป ๒. วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๕ จำนวน ๙,๕๔๕ ล้านบาท ให้กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียด คือ (๑) ชำระเงินคืนต้นเงินกู้ภายใน ๖ ปี นับแต่วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ โดยจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน (๒) ตั๋วสัญญาใช้เงินนี้มีอัตราดอกเบี้ยซึ่งตกลงให้เปลี่ยนแปลงได้ทุก ๖ เดือน โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๔ ต่อปี โดยปรับอัตราดอกเบี้ย FDR ทุกงวด ๖ เดือน โดยดอกเบี้ยงวดแรกของตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกให้ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ มีอัตราร้อยละ ๓.๖๙ ต่อปี กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามเกณฑ์การคำนวณข้างต้น ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคมและวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ของทุกปี โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๓) การชำระดอกเบี้ยแบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม และวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ของทุกปี โดยดอกเบี้ยงวดแรกจะชำระในวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินในวันที่ไถ่ถอน หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน โสรศ/ผู้จัดทำ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๗๙ ง/หน้า ๑๕/๒ กรกฎาคม ๒๕๕๐
558438
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 3
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ วงเงิน ๔๖,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีระยะไถ่ถอน ๑๒ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๖๒ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๖๒๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๒ มกราคม และ ๑๒ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตร หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. การออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลใช้วิธีการประมูล ดังนี้ ๒.๑ จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทยธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ๒.๒ จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคาให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาสาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมประมูลแบบไม่แข่งขันราคา โดยผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคาจะต้องเสนอประมูลผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ๓. การประมูลพันธบัตรตามนัยข้อ ๒ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๐ มกราคม - ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๐ โดยได้รับเงินในวันทำการที่สองนับจากวันประมูล และมีรายละเอียดผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ ดังนี้ วันที่ประมูล วงเงิน อัตรา ประมูลแบบแข่งขันราคา (CB) ประมูล ผลตอบแทน จำนวนเงินที่ ส่วนเพิ่ม/ ดอกเบี้ยค้างจ่ายตั้งแต่ (ล้านบาท) เฉลี่ย ประมูลได้ ส่วนลด วันที่จ่ายดอกเบี้ยงวด (ร้อยละต่อปี) (บาท) (บาท) ล่าสุดจนถึงวันที่ประมูล (บาท) ๑๐ มกราคม ๒๕๕๐ ๑,๕๐๐ ๕.๒๗๑๘ ๑,๕๔๗,๐๑๑,๙๙๐.๑๐ ๔๗,๐๑๑,๙๙๐.๑๐ - ๑๗ มกราคม ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๕.๒๐๓๕ ๕,๑๙๒,๕๘๒,๖๙๗.๐๕ ๑๘๗,๑๘๘,๘๔๗.๐๕ ๕,๓๙๓,๘๕๐.๐๐ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๐ ๑,๕๐๐ ๔.๙๑๕๐ ๑,๕๙๘,๙๗๙,๘๗๐.๐๐ ๙๕,๗๔๓,๕๗๕.๐๐ ๓,๒๓๖,๒๙๕.๐๐ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๔.๘๘๕๕ ๕,๓๔๘,๖๕๐,๑๐๐.๖๐ ๓๓๒,๔๖๘,๖๐๐.๖๐ ๑๖,๑๘๑,๕๐๐.๐๐ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๔.๘๑๙๘ ๕,๓๘๔,๓๒๘,๔๔๓.๖๐ ๓๖๒,๗๕๓,๐๙๓.๖๐ ๒๑,๕๗๕,๓๕๐.๐๐ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๑,๕๐๐ ๔.๗๔๕๔ ๑,๖๒๗,๒๗๒,๑๐๘.๖๐ ๑๑๙,๑๘๑,๓๔๘.๖๐ ๘,๐๙๐,๗๖๐.๐๐ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๔.๕๕๗๒ ๕,๕๑๘,๘๘๑,๒๖๑.๙๑ ๔๘๖,๕๑๘,๒๖๑.๙๑ ๓๒,๓๖๓,๐๐๐.๐๐ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๓,๕๐๐ ๔.๔๗๓๐ ๓,๘๙๕,๐๔๐,๓๒๐.๔๐ ๓๖๘,๖๑๐,๕๒๕.๔๐ ๒๖,๔๒๙,๗๙๕.๐๐ ๗ มีนาคม ๒๕๕๐ ๖,๐๐๐ ๔.๕๑๙๖ ๖,๖๕๕,๘๓๙,๙๖๕.๙๓ ๖๐๔,๐๕๙,๑๒๕.๙๓ ๕๑,๗๘๐,๘๔๐.๐๐ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๐ ๓,๐๐๐ ๔.๓๒๖๖ ๓,๓๘๗,๑๖๖,๓๖๒.๖๖ ๓๕๘,๐๓๙,๖๖๒.๖๖ ๒๙,๑๒๖,๗๐๐.๐๐ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๐ ๖,๐๐๐ ๔.๓๗๒๓ ๖,๗๕๒,๙๙๗,๗๗๘.๖๐ ๖๘๘,๒๗๑,๗๕๘.๖๐ ๖๔,๗๒๖,๐๒๐.๐๐ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๐ ๓,๐๐๐ ๔.๔๒๐๑ ๓,๓๖๕,๓๕๒,๐๓๐.๗๒ ๓๒๙,๗๕๒,๗๑๐.๗๒ ๓๕,๕๙๙,๓๒๐.๐๐ รวม ๔๖,๐๐๐ ๔.๖๗๓๔ ๕๐,๒๗๔,๑๐๒,๙๓๐.๑๗ ๓,๙๗๙,๕๙๙,๕๐๐.๑๗ ๒๙๔,๕๐๓,๔๓๐.๐๐ หมายเหตุ : ๑. วันที่ลงในพันธบัตร คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูลพันธบัตร ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการประมูลพันธบัตร ๒. ไม่มีผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน โสรศ/ผู้จัดทำ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๕๔ ง/หน้า ๑/๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
556497
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่ากระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว. (ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำ รองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำ นักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัยบริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ จะออกโดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลัง หากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะประมูลตั๋วเงินคลัง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูลโดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่า จะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนกว่าจะครบวงเงินที่กำหนด ในกรณีที่มีผู้ประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้ประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้ประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้ประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๕ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้ และจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ข้อ ๖ ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติของนายทะเบียนหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาออกตั๋วเงินคลังโดยระบุชื่อผู้ขอถอนคืนเป็นผู้รับเงิน ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลังนี้มิให้ถือว่าฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 ๒. ใบประมูลซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๒/๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๐
553648
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการประมูลพันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการประมูลพันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑[๑] โดยที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ วงเงิน ๒๗,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นเจ็ดพันล้านบาทถ้วน) จำหน่ายได้จำนวน ๒๖,๖๕๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นหกพันหกร้อยห้าสิบห้าล้านบาทถ้วน) กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ปรับลดวงเงินการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ จากจำนวน ๒๗,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นเจ็ดพันล้านบาทถ้วน) เป็นจำนวน ๒๖,๖๕๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นหกพันหกร้อยห้าสิบห้าล้านบาทถ้วน) ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โสรศ/ผู้จัดทำ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๗๐ ง/หน้า ๔/๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
553549
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ วงเงิน ๔๒,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๔๑,๖๑๓,๖๐๓,๓๘๑.๕๑ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๓๘๖,๓๙๖,๖๑๘.๔๙ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 27/28/50 ๔,๐๐๐ ๔ เมษายน ๒๕๕๐ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๒๘ ๑๒,๑๙๓,๗๙๖.๗๑ L27/91/50 ๕,๐๐๐ ๔ เมษายน ๒๕๕๐ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ๙๑ ๔๗,๔๔๓,๙๑๓.๑๐ L27/182/50 ๔,๐๐๐ ๔ เมษายน ๒๕๕๐ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๗๔,๐๙๔,๒๑๑.๕๓ 28/28/50 ๔,๐๐๐ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๐ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๒๘ ๑๒,๐๐๙,๔๓๔.๗๙ L28/91/50 ๖,๐๐๐ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๐ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ๙๑ ๕๕,๙๕๒,๑๙๙.๐๖ L28/182/50 ๕,๐๐๐ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๐ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๙๑,๒๘๐,๐๙๐.๐๘ 29/28/50 ๒,๐๐๐ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๐ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๒๘ ๕,๕๘๐,๖๒๕.๖๖ L29/91/50 ๔,๐๐๐ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๐ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ๙๑ ๓๕,๙๕๖,๘๕๑.๒๕ 30/28/50 ๓,๐๐๐ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๐ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๒๘ ๘,๒๐๓,๙๓๒.๑๓ L30/91/50 ๕,๐๐๐ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๐ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ๙๑ ๔๓,๖๘๑,๕๖๒.๑๘ รวม ๔๒,๐๐๐ ๓๘๖,๓๙๖,๖๑๘.๔๙ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่งๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ มียอดตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - จ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๑๗๐,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๔๙ – เมษายน ๒๕๕๐ ได้ดำเนินการแปลงวงเงินตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลให้เป็นพันธบัตรรัฐบาลไปแล้วจำนวน ๔๔,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นเดือนเมษายน ๒๕๕๐ มียอดหนี้ตั๋วเงินคลังคงค้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๐๖,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน โสรศ/ผู้จัดทำ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๖๗ ง/หน้า ๑๓/๔ มิถุนายน ๒๕๕๐
552443
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 4
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๔[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๔ เพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ธนาคารโลก (IBRD) และธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) วงเงิน ๓๐๓ ล้านเหรียญสหรัฐ ก่อนครบกำหนดเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๐ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๔ วงเงิน ๑๐,๕๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ (LB095C) อายุ ๓ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๓๗๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม และ ๑๕ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตร หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. การออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลใช้วิธีการประมูล ดังนี้ ๒.๑ จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ๒.๒ จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคาให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาสาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมประมูลแบบไม่แข่งขันราคาโดยผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคาจะต้องเสนอประมูลผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ๓. การประมูลพันธบัตรตามนัยข้อ ๒ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๒๑ มีนาคม - ๑๑ เมษายน ๒๕๕๐ โดยได้รับเงินในวันทำการที่สองนับจากวันประมูล และมีรายละเอียดผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๔ ดังนี้ ผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๔ วันที่ประมูล วงเงินประมูล (ล้านบาท) อัตรา ผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) ประมูลแบบแข่งขันราคา (CB) จำนวนเงินที่ ประมูลได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่ายตั้งแต่ วันที่จ่ายดอกเบี้ยงวดล่าสุด จนถึงวันที่ประมูล (บาท) ๒๑ มี.ค. ๕๐ ๓,๕๐๐ ๓.๘๐๔๕ ๓,๖๗๘,๗๗๔,๒๒๙.๒๐ ๑๑๒,๘๐๑,๖๐๙.๒๐ ๖๕,๙๗๒,๖๒๐.๐๐ ๒๘ มี.ค. ๕๐ ๒,๐๐๐ ๓.๘๓๒๐ ๒,๑๐๒,๕๔๑,๒๔๐.๐๐ ๖๒,๗๘๐,๙๖๐.๐๐ ๓๙,๗๖๐,๒๘๐.๐๐ ๔ เม.ย. ๕๐ ๓,๐๐๐ ๓.๗๔๓๕ ๓,๑๖๒,๕๐๘,๖๔๗.๕๐ ๙๘,๔๕๐,๔๒๗.๕๐ ๖๔,๐๕๘,๒๒๐.๐๐ ๑๑ เม.ย. ๕๐ ๒,๐๐๐ ๓.๖๒๒๐ ๒,๑๑๔,๙๗๔,๘๒๐.๐๐ ๖๙,๙๑๓,๑๘๐.๐๐ ๔๕,๐๖๑,๖๔๐.๐๐ รวม ๑๐,๕๐๐ ๓.๗๕๗๕ ๑๑,๐๕๘,๗๙๘,๙๓๖.๗๐ ๓๔๓,๙๔๖,๑๗๖.๗๐ ๒๑๔,๘๕๒,๗๖๐.๐๐ หมายเหตุ : ๑ วันที่ลงในพันธบัตร คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูลพันธบัตร ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการประมูลพันธบัตร ๒ ไม่มีผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ๕. การดำเนินการกู้เงินบาทโดยการออกพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะทำให้กระทรวงการคลังสามารถประหยัดภาระดอกเบี้ยเป็นเงินประมาณ ๒๗ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน โสรศ/ผู้จัดทำ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๖๘ ง/หน้า ๑/๖ มิถุนายน ๒๕๕๐
549631
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550 และรายการการกู้เงิน และค้ำประกัน ระหว่างเดือนตุลาคม 2549 ถึงเดือนมีนาคม 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๐ และรายการการกู้เงิน และค้ำประกัน ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๔๙ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๕๐[๑] ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๑๖ วรรค ๒ กำหนดให้กระทรวงการคลังสรุปรายงานสถานะหนี้สาธารณะและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายใน ๖๐ วัน หลังจากสิ้นเดือนมีนาคมและเดือนกันยายนของทุกปี โดยรายงานดังกล่าวต้องแสดงหนี้สาธารณะที่เกิดจากการกู้เงินและค้ำประกัน ณ สิ้นเดือนดังกล่าว รวมทั้งรายการการกู้เงินและค้ำประกันที่เกิดขึ้นใหม่ในช่วงระยะเวลาระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม และเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน ตามลำดับ กระทรวงการคลังขอรายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๐ และรายการการกู้เงินและค้ำประกัน ซึ่งรวมทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๔๙ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๕๐ ดังนี้ ๑. รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๐ ๑.๑ หนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๐ มีจำนวน ๓,๒๑๔,๘๖๖ ล้านบาทหรือร้อยละ ๓๘.๑๐ ของ GDP ประกอบด้วย หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ๒,๐๕๖,๓๒๗ ล้านบาทหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ๘๘๘,๕๘๐ ล้านบาท หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ๒๒๔,๒๔๓ ล้านบาท และหนี้องค์การของรัฐอื่นๆ ๔๕,๗๑๖ ล้านบาท หนี้สาธารณะจำนวนดังกล่าวจำแนกตามอายุของหนี้เป็นหนี้ระยะยาว ๒,๗๕๒,๗๘๑ ล้านบาทและหนี้ระยะสั้น ๔๖๒,๐๘๕ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๘๕.๖๓ และร้อยละ ๑๔.๓๗ และจำแนกตามแหล่งที่มาเป็นหนี้ต่างประเทศ ๔๔๗,๒๐๙ ล้านบาท และหนี้ในประเทศ ๒,๗๖๗,๖๕๗ ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ ๑๓.๙๑ และร้อยละ ๘๖.๐๙ ตามลำดับ ดังปรากฏตามตารางที่ ๑ ตารางที่ ๑ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๐ หน่วย : ล้านบาท รายการ ๓๑ มี.ค. ๕๐ % GDP ๑. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ๒,๐๕๖,๓๒๗ ๒๔.๓๗ ๑.๑ หนี้ต่างประเทศ ๑๔๑,๐๘๒ ๑.๒ หนี้ในประเทศ ๑,๙๑๕,๒๔๕ ๒. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ๘๘๘,๕๘๐ ๑๐.๕๓ ๒.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ๔๙๒,๒๓๐ - หนี้ต่างประเทศ ๑๗๗,๙๒๕ - หนี้ในประเทศ ๓๑๔,๓๐๕ ๒.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ๓๙๖,๓๕๐ - หนี้ต่างประเทศ ๑๒๘,๒๐๒ - หนี้ในประเทศ ๒๖๘,๑๔๘ ๓. หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ๒๒๔,๒๔๓ ๒.๖๖ ๓.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน - ๓.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ๒๒๔,๒๔๓ ๔. หนี้องค์กรของรัฐอื่น ๔๕,๗๑๖ ๐.๕๔ ๔.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ๒๓,๒๗๒ ๔.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ๒๒,๔๔๔ ๕. รวม ๑.+๒.+๓.+๔. ๓,๒๑๔,๘๖๖ ๓๘.๑๐ หมายเหตุ : ๑. ประมาณการ GDP ปี ๒๕๕๐ เท่ากับ ๘,๔๓๘.๑๐ พันล้านบาท (สศช. ณ วันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐) ๒. ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ยังไม่รวมหนี้ของ SPV จำนวน ๑๘,๕๐๐ ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลมีภาระผูกพันต้องจ่ายภายใต้สัญญาเช่าพื้นที่อาคาร สัญญาบริการ สัญญาบริการจัดหาเฟอร์นิเจอร์ และสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องของโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ ซึ่งตามระบบ GFS นับเป็นหนี้สาธารณะ ๒. รายการการกู้เงินและค้ำประกัน ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๔๙ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๕๐ คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะได้จัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๐ เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินการบริหารและจัดการหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ ประกอบด้วย ๖ แผนย่อย และได้ปรับปรุงแผนฯ ในระหว่างปีเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินกู้และบริหารหนี้ ซึ่งหลังการปรับปรุงแผนฯ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ทำให้วงเงินรวมในแผนฯ ที่จะบริหารจัดการมีจำนวนทั้งสิ้น ๙๘๖,๗๐๖.๗๙ ล้านบาท โดยในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๔๙ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการกู้เงินและบริหารหนี้แล้ว เป็นวงเงินทั้งสิ้น ๓๕๙,๔๕๐.๗๐ ล้านบาท ดังปรากฏตามตารางที่ ๒ ตารางที่ ๒ การกู้เงินและการบริหารหนี้ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๔๙ - เดือนมีนาคม ๒๕๕๐ หน่วย : ล้านบาท รายการ แผน ผลการดำเนินการ ๑. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐบาล ๔๖๘,๒๐๐.๐๐ ๒๑๗,๒๖๐.๐๐ ๒. การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF ๑๐๙,๗๓๑.๐๒ ๖๒,๐๐๐.๐๐ ๓. การบริหารเงินกู้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน ไม่มี - ๔. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ ๒๔๐,๓๕๑.๖๐ ๓๐,๘๘๓.๐๐ ๕. การกู้เงินตามแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ๒๑,๕๔๕.๗๑ - ๖. การบริหารหนี้ต่างประเทศ ๑๔๖,๘๗๘.๔๖ ๔๙,๓๐๗.๗๐ รวม ๙๘๖,๗๐๖.๗๙ ๓๕๙,๔๕๐.๗๐ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ ๒.๑ การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐบาล ๒.๑.๑ กระทรวงการคลังได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน ๑๐๕,๒๖๐ ล้านบาท โดยออกพันธบัตรรัฐบาล จำนวน ๓ รุ่น วงเงินรวม ๗๕,๒๖๐ ล้านบาท และตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน ๕ รุ่น วงเงินรวม ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท ๒.๑.๒ กระทรวงการคลังได้ Roll-over ตั๋วเงินคลังเพื่อบริหารดุลเงินสด วงเงิน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ๒.๑.๓ กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาจนถึงสิ้นปีงบประมาณ ๒๕๔๗ วงเงิน ๑๗๐,๐๐๐ ล้านบาท เป็นพันธบัตรระยะยาว ซึ่ง ณ สิ้นเดือนมีนาคม ๒๕๕๐ ได้ดำเนินการไปแล้วทั้งสิ้น ๓๒,๐๐๐ ล้านบาท และในส่วนที่ยังไม่ได้ดำเนินการ จำนวน ๑๓๘,๐๐๐ ล้านบาทนั้นได้ Roll-over ตั๋วเงินคลังต่อไปจนกว่าจะแปลงเป็นพันธบัตรแล้วเสร็จ ทั้งนี้ จากการดำเนินการตาม ๒.๑.๒ และ ๒.๑.๓ ทำให้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม ๒๕๕๐ มีตั๋วเงินคลังหมุนเวียนในตลาด จำนวน ๒๑๘,๐๐๐ ล้านบาท ๒.๒ การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF ๒.๒.๑ พันธบัตร FIDF1 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการ Roll-over ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ที่ครบกำหนดไถ่ถอน จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท และดำเนินการ Roll-over พันธบัตร FIDF1 ที่ครบกำหนดไถ่ถอน จำนวน ๓๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยกู้เงินระยะสั้น จำนวน ๓๑,๕๐๐ ล้านบาทมาสมทบกับเงินที่ได้จากการประมูลพันธบัตร ฯ งวดแรก จำนวน ๓,๕๐๐ ล้านบาท สำหรับไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนดดังกล่าวข้างต้น จากนั้นได้ทยอยนำเงินจากการประมูลพันธบัตรไปชำระคืนเงินกู้ระยะสั้น ซึ่งใช้เวลาประมาณ ๓ เดือน ๒.๒.๒ พันธบัตร FIDF3 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกพันธบัตร FIDF3 จำนวน ๑๗,๐๐๐ ล้านบาทเป็นพันธบัตรลงทุน จำนวน ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท และพันธบัตรออมทรัพย์ จำนวน ๓,๐๐๐ ล้านบาท ๒.๓ การบริหารเงินกู้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน ในปีงบประมาณ ๒๕๕๐ ไม่มีพันธบัตรครบกำหนดไถ่ถอน ๒.๔ การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการกู้เงินในประเทศ จำนวนทั้งสิ้น ๓๐,๘๘๓ ล้านบาทเป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๒๘,๘๘๓ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๒,๐๐๐ ล้านบาทสามารถแบ่งตามประเภทของการกู้เงิน ได้ดังนี้ ๒.๔.๑ เงินกู้ในประเทศทดแทนเงินกู้จากต่างประเทศ ยังไม่มีรัฐวิสาหกิจใดดำเนินการกู้เงินตามแผนงานนี้ ๒.๔.๒ เงินกู้เงินบาทสมทบโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงิน ๑๑.๑๐ ล้านบาทกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๗ ส่วนที่ ๒ ๒.๔.๓ เงินกู้เพื่อลงทุน รัฐวิสาหกิจ ๓ แห่ง ได้กู้เงินเพื่อลงทุน วงเงินรวม ๗,๑๕๓.๙๐ ล้านบาทเป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๖,๑๖๕ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๙๘๘.๙๐ ล้านบาทได้แก่ (๑) การเคหะแห่งชาติ ได้กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน ๕,๑๖๕ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการบ้านเอื้ออาทรระยะที่ ๓ และระยะที่ ๕ (๒) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน ๑,๐๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการทางพิเศษรามอินทรา - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ (๓) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงิน ๙๘๘.๙๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างและปรับปรุงเสริมระบบจำหน่าย ระยะที่ ๖ จำนวน ๓๐๐ ล้านบาท โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้าระยะที่ ๘ ส่วนที่ ๑ จำนวน ๔๙๓ ล้านบาท และโครงการติดตั้งศูนย์สั่งจ่ายไฟ ระยะที่ ๒ จำนวน ๑๙๕.๙๐ ล้านบาท ๒.๔.๔ เงินกู้เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและอื่นๆ รัฐวิสาหกิจ ๒ แห่ง ได้กู้เงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและอื่นๆ วงเงินรวม ๘,๘๕๓ ล้านบาท เป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันทั้งสิ้น ได้แก่ (๑) องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ได้กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน ๑,๐๕๓ ล้านบาท เพื่อใช้ในการชำระหนี้หลังจากการยุบเลิกองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (๒) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร ๖ รุ่น วงเงินรวม ๗,๘๐๐ ล้านบาท เพื่อนำไปชำระหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยที่ครบกำหนด ๒.๔.๕ เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ รัฐวิสาหกิจ ๕ แห่ง ได้กู้เงินเพื่อ Roll-over หนี้ที่ครบกำหนดชำระคืนวงเงินรวม ๑๔,๘๖๕ ล้านบาท เป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๑๓,๘๖๕ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๑,๐๐๐ ล้านบาท ได้แก่ (๑) การเคหะแห่งชาติ ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตรและกู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงินรวม ๑,๕๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน (๒) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร ๔ รุ่นและกู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงินรวม ๕,๐๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน (๓) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตรวงเงิน ๑,๐๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน (๔) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร ๕ รุ่นวงเงินรวม ๔,๓๖๕ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน (๕) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร ๒ รุ่นวงเงินรวม ๓,๐๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน การ Roll-over ของรัฐวิสาหกิจทั้ง ๕ แห่ง จำนวน ๑๔,๘๖๕ ล้านบาทนี้เป็นการ Roll-over ภายใต้วงเงินที่ครบกำหนด ๑๗,๗๖๕.๖๐ ล้านบาท โดยรัฐวิสาหกิจชำระคืนหนี้ส่วนที่ไม่ได้ Roll-over จำนวน ๒,๙๐๐.๖๐ ล้านบาท ๒.๕ การกู้เงินตามแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ยังไม่มีรัฐวิสาหกิจใดดำเนินการกู้เงินตามแผนงานนี้ ๒.๖ การบริหารหนี้ต่างประเทศ กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการบริหารหนี้ต่างประเทศ รวม ๔๙,๓๐๗.๗๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๒.๖.๑ กระทรวงการคลังได้บริหารหนี้ต่างประเทศ วงเงินรวม ๔๗,๓๕๘.๒๖ ล้านบาท ซึ่งสามารถลดยอดหนี้คงค้างลง จำนวน ๑๘,๗๐๗.๒๖ ล้านบาท ลดภาระดอกเบี้ยได้ ๘๙๗ ล้านบาท ได้แก่ (๑) การทำ Prepayment วงเงินรวม ๓๖๒.๒๖ ล้านบาท โดยใช้งบชำระหนี้ ทำให้สามารถลดหนี้คงค้าง จำนวน ๓๖๒.๒๖ ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้ ๖๑ ล้านบาท คือ · เงินกู้ ADB และ IBRD จำนวน ๒๙๐.๗๗ ล้านบาท · เงินกู้ ECP ที่ใช้เป็น Bridge Financing ในการ Refinance เงินกู้ JBIC จำนวน ๗๑.๔๙ ล้านบาท (๒) การทำ Refinance วงเงินรวม ๑๗,๒๐๐ ล้านบาท โดยออกพันธบัตรเงินบาททดแทน ทำให้สามารถประหยัดดอกเบี้ยได้ ๓๓๒ ล้านบาท คือ · เงินกู้ ADB และ IBRD จำนวน ๑๐,๕๐๐ ล้านบาท · เงินกู้ ECP ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการ Refinance เงินกู้ JBIC จำนวน ๖,๗๐๐ ล้านบาท (๓) การทำ Repayment เงินกู้ ECP ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการ Refinance เงินกู้ตราสารหนี้ชนิดอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Note : FRN) โดยใช้งบชำระหนี้ จำนวน ๑๘,๓๔๕ ล้านบาท ทำให้ลดภาระดอกเบี้ยได้ ๕๐๔ ล้านบาท (๔) การซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า จำนวน ๑๑,๔๕๑ ล้านบาทโดยแบ่งเป็นการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ณ อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าระยะยาว (Long-Dated Forward) จำนวน ๗,๖๓๔ ล้านบาท และการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ณ อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าโดยจำกัดอัตราแลกเปลี่ยนไว้เป็นช่วง (Range Forward) จำนวน ๓,๑๘๗ ล้านบาท ๒.๖.๒ รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยได้ชำระคืนหนี้ที่ครบกำหนด จำนวน ๑,๙๔๙.๔๔ ล้านบาท แทนการ Roll-over ที่กำหนดไว้เดิมทำให้ลดยอดหนี้คงค้างลงได้ทั้งจำนวน ๓. การกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบเพดานเงินกู้ของแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ๓.๑ การกู้เงินและบริหารหนี้ของบริษัทมหาชนจำกัด ที่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจรัฐวิสาหกิจ ๒ แห่ง ได้กู้เงินและบริหารหนี้รวม ๖๑,๗๒๗.๔๓ ล้านบาท ได้แก่ ๓.๑.๑ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้กู้เงินและบริหารหนี้รวม ๒๖,๗๒๗.๔๓ ล้านบาท แบ่งเป็น (๑) กู้เงินในรูปเช่าซื้อ (Asset Based Financing) เพื่อชำระค่าจัดซื้อเครื่องบินโบอิ้ง ๗๗๗-๒๐๐ ER จำนวน ๔ ลำ วงเงินรวม ๑๘,๔๙๗.๐๗ ล้านบาท (๒) Roll-over เงินกู้ Samurai Bond รุ่นที่ ๑๗ และ ๑๙ ที่ครบกำหนดชำระคืน โดยใช้เงินกู้ ECP ของกระทรวงการคลังมาเป็น Bridge Financing ก่อนที่จะจัดหาเงินกู้ระยะยาวมาทดแทน จำนวน ๘,๒๓๐.๓๖ ล้านบาท ๓.๑.๒ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้กู้เงินจากสถาบันการเงินต่างประเทศ ๔ แห่ง วงเงินรวม ๑๑,๐๐๐ ล้านบาท และกู้เงินในประเทศ วงเงินรวม ๒๔,๐๐๐ ล้านบาท โดยดำเนินการออกหุ้นกู้ ๒ ชุด จำนวน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท และกู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศจำนวน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท ๓.๒ การกู้เงินระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่อง รัฐวิสาหกิจ ๒ แห่ง ได้กู้เงินระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่อง วงเงินรวม ๓,๘๐๐ ล้านบาท ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค วงเงิน ๓,๐๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันและการรถไฟแห่งประเทศไทย วงเงิน ๘๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน ๔. สรุปผลการดำเนินการตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๐ ๔.๑ จากผลการดำเนินงานที่กล่าวมาแล้ว ในช่วงระยะเวลา ๖ เดือนแรกของปีงบประมาณ ๒๕๕๐ (ตุลาคม ๒๕๔๙ - มีนาคม ๒๕๕๐) กระทรวงการคลังได้ดำเนินการบริหารและจัดการหนี้สาธารณะตามกรอบแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๐ เป็นจำนวนทั้งสิ้น ๓๕๙,๔๕๐.๗๐ ล้านบาท โดยมีความก้าวหน้าไปแล้วคิดเป็นร้อยละ ๓๖.๔๓ ของแผนฯ ๔.๒ ผลการกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบเพดานเงินกู้ของแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๐ รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินและบริหารหนี้รวมทั้งสิ้น ๖๕,๕๒๗.๔๓ ล้านบาท ๔.๓ จากการดำเนินการตามข้อ ๔.๑ และ ๔.๒ กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินและบริหารหนี้รวมทั้งสิ้น ๔๒๔,๙๗๘.๑๓ ล้านบาท แบ่งเป็นการกู้เงินใหม่ จำนวน ๑๗๘,๕๗๕.๐๗ ล้านบาท และการบริหารหนี้ จำนวน ๒๔๖,๔๐๓.๐๖ ล้านบาท หน่วย : ล้านบาท หน่วยงาน ผลการดำเนินงาน การกู้ใหม่ การบริหารหนี้ รวม - รัฐบาล ๑๐๕,๒๖๐.๐๐ ๒๒๑,๓๕๘.๒๖ ๓๒๖,๖๑๘.๒๖ - รัฐวิสาหกิจ ๗๓,๓๑๕.๐๗ ๒๕,๐๔๔.๘๐ ๙๘,๓๕๙.๘๗ รวม ๑๗๘,๕๗๕.๐๗ ๒๔๖,๔๐๓.๐๖ ๔๒๔,๙๗๘.๑๓ ทั้งนี้ การกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจจำนวน ๙๘,๓๕๙.๘๗ ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๒๙,๖๘๓ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๖๘,๖๗๖.๘๗ ล้านบาท ผลของการบริหารหนี้ที่ได้ดำเนินการทั้งในส่วนของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ วงเงินรวมกันทั้งสิ้น ๒๔๖,๔๐๓.๐๖ ล้านบาทนั้น สามารถลดยอดหนี้สาธารณะคงค้างได้ ๒๓,๕๕๗.๓๐ ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้ ๘๙๗ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน หมายเหตุ : FIDF หมายถึง กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน FIDF1 หมายถึง พันธบัตรที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งรวมทั้งเงินกู้หรือตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุ ไม่เกิน ๑ ปี FIDF3 หมายถึง พันธบัตรที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕ Prepayment หมายถึง การชำระหนี้คืนก่อนครบกำหนดชำระ Refinance หมายถึง การกู้เงินจากแหล่งใหม่เพื่อนำไปใช้คืนแหล่งเงินกู้เดิม ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการกู้เงิน หรือขยายระยะเงินกู้ Repayment หมายถึง การชำระหนี้คืนตามกำหนดชำระ Roll-over หมายถึง การกู้เงินใหม่เพื่อนำไปชำระเงินกู้ที่ครบกำหนดชำระ เพื่อให้เงินกู้ดังกล่าวมีระยะเงินกู้สอดคล้องกับระยะคืนทุน ADB หมายถึง Asian Development Bank IBRD หมายถึง International Bank for Reconstruction and Development JBIC หมายถึง Japan Bank for International Cooperation วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๖๕ ง/หน้า ๖/๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐
548783
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล ในไตรมาสที่ ๒ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท ดังนี้ ๑. วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ให้กับธนาคารออมสิน โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียด คือ (๑) ชำระเงินคืนต้นเงินกู้ภายใน ๓ ปี นับแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐ โดยจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน (๒) ตั๋วสัญญาใช้เงินนี้มีอัตราดอกเบี้ยซึ่งตกลงให้เปลี่ยนแปลงได้ทุก ๖ เดือน โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๕ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๐ ต่อปี โดยปรับอัตราดอกเบี้ย FDR ทุกงวด ๖ เดือน โดยดอกเบี้ยงวดแรกของตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกให้ในวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐ มีอัตราร้อยละ ๔.๕๐ ต่อปี กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามเกณฑ์การคำนวณข้างต้น ในวันที่ ๑ มีนาคม และวันที่ ๑ กันยายน ของทุกปี โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๓) การชำระดอกเบี้ยแบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด ในวันที่ ๑ มีนาคม และวันที่ ๑ กันยายน ของทุกปี โดยดอกเบี้ยงวดแรกจะชำระในวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๐ สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินในวันที่ไถ่ถอน หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป ๒. วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ให้กับ ๒.๑ ธนาคารออมสิน จำนวนเงิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียด คือ (๑) ชำระเงินคืนต้นเงินกู้ภายใน ๔ ปี นับแต่วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๐ โดยจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน (๒) ตั๋วสัญญาใช้เงินนี้มีอัตราดอกเบี้ยซึ่งตกลงให้เปลี่ยนแปลงได้ทุก ๖ เดือนโดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๕ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๖ ต่อปี โดยปรับอัตราดอกเบี้ย FDR ทุกงวด ๖ เดือน โดยดอกเบี้ยงวดแรกของตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกให้ในวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๐ มีอัตราร้อยละ ๔.๔๙ ต่อปี กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามเกณฑ์การคำนวณข้างต้น ในวันที่ ๘ มีนาคม และวันที่ ๘ กันยายน ของทุกปี โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๓) การชำระดอกเบี้ยแบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด ในวันที่ ๘ มีนาคม และวันที่ ๘ กันยายน ของทุกปี โดยดอกเบี้ยงวดแรกจะชำระในวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๐ สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินในวันที่ไถ่ถอน หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป ๒.๒ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวนเงิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียด คือ (๑) ชำระเงินคืนต้นเงินกู้ภายใน ๔ ปี นับแต่วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๐ โดยจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน (๒) ตั๋วสัญญาใช้เงินนี้มีอัตราดอกเบี้ยซึ่งตกลงให้เปลี่ยนแปลงได้ทุก ๖ เดือนโดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๕ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๘ ต่อปี โดยปรับอัตราดอกเบี้ย FDR ทุกงวด ๖ เดือน โดยดอกเบี้ยงวดแรกของตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกให้ในวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๐ มีอัตราร้อยละ ๔.๕๑ ต่อปี กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามเกณฑ์การคำนวณข้างต้น ในวันที่ ๘ มีนาคม และวันที่ ๘ กันยายน ของทุกปี โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๓) การชำระดอกเบี้ยแบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด ในวันที่ ๘ มีนาคม และวันที่ ๘ กันยายน ของทุกปี โดยดอกเบี้ยงวดแรกจะชำระในวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๐ สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินในวันที่ไถ่ถอน หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป ๓. วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ให้กับ ๓.๑ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวนเงิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียด คือ (๑) ชำระเงินคืนต้นเงินกู้ภายใน ๕ ปี นับแต่วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๐ โดยจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน (๒) ตั๋วสัญญาใช้เงินนี้มีอัตราดอกเบี้ยซึ่งตกลงให้เปลี่ยนแปลงได้ทุก ๖ เดือนโดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๕ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๙ ต่อปี โดยปรับอัตราดอกเบี้ย FDR ทุกงวด ๖ เดือน โดยดอกเบี้ยงวดแรกของตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกให้ในวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๐ มีอัตราร้อยละ ๔.๓๘ ต่อปี กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามเกณฑ์การคำนวณข้างต้น ในวันที่ ๑๕ มีนาคม และวันที่ ๑๕ กันยายน ของทุกปี โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๓) การชำระดอกเบี้ยแบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด ในวันที่ ๑๕ มีนาคม และวันที่ ๑๕ กันยายน ของทุกปี โดยดอกเบี้ยงวดแรกจะชำระในวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๐ สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินในวันที่ไถ่ถอน หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป ๓.๒ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จำนวนเงิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียด คือ (๑) ชำระเงินคืนต้นเงินกู้ภายใน ๕ ปี นับแต่วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๐ โดยจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน (๒) ตั๋วสัญญาใช้เงินนี้มีอัตราดอกเบี้ยซึ่งตกลงให้เปลี่ยนแปลงได้ทุก ๖ เดือนโดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๕ แห่ง บวกร้อยละ ๑.๐๐ ต่อปี โดยปรับอัตราดอกเบี้ย FDR ทุกงวด ๖ เดือน โดยดอกเบี้ยงวดแรกของตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกให้ในวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๐ มีอัตราร้อยละ ๔.๓๙ ต่อปี กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามเกณฑ์การคำนวณข้างต้น ในวันที่ ๑๕ มีนาคม และวันที่ ๑๕ กันยายน ของทุกปี โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๓) การชำระดอกเบี้ยแบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด ในวันที่ ๑๕ มีนาคม และวันที่ ๑๕ กันยายน ของทุกปี โดยดอกเบี้ยงวดแรกจะชำระในวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๐ สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินในวันที่ไถ่ถอน หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน โสรศ/ผู้จัดทำ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๕๘ ง/หน้า ๑/๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๐
548711
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่ากระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลังประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัยบริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ จะออกโดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลัง หากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะประมูลตั๋วเงินคลัง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่า จะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใดไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนกว่าจะครบวงเงินที่กำหนด ในกรณีที่มีผู้ประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้ประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้ประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้ประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๕ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้ และจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ข้อ ๖ ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติของนายทะเบียนหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาออกตั๋วเงินคลังโดยระบุชื่อผู้ขอถอนคืนเป็นผู้รับเงิน ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลังนี้มิให้ถือว่าฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 ๒. ใบประมูลซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๖/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐
543774
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ วงเงิน ๖๔,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๖๓,๒๘๐,๖๔๓,๐๕๕.๒๐ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๗๑๙,๓๕๖,๙๔๔.๘๐ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 23/28/50 ๕,๐๐๐ ๗ มีนาคม ๒๕๕๐ ๔ เมษายน ๒๕๕๐ ๒๘ ๑๖,๙๒๘,๒๘๙.๐๑ L23/91/50 ๖,๐๐๐ ๗ มีนาคม ๒๕๕๐ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๙๑ ๖๔,๓๑๕,๘๑๐.๖๐ L23/182/50 ๕,๐๐๐ ๗ มีนาคม ๒๕๕๐ ๕ กันยายน ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๐๔,๒๓๘,๑๔๗.๐๓ 24/28/50 ๕,๐๐๐ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๐ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๐ ๒๘ ๑๖,๗๗๐,๒๖๘.๘๖ L24/91/50 ๖,๐๐๐ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๐ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๙๑ ๖๓,๒๓๕,๔๘๔.๐๕ L24/182/50 ๖,๐๐๐ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๐ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๒๓,๙๙๑,๕๓๐.๔๗ 25/28/50 ๕,๐๐๐ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๐ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๐ ๒๘ ๑๖,๐๑๔,๔๘๑.๙๖ L25/91/50 ๕,๐๐๐ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๐ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๙๑ ๔๙,๗๗๙,๒๘๙.๒๐ L25/182/50 ๕,๐๐๐ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๐ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๙๖,๗๖๙,๐๙๐.๕๕ 26/28/50 ๕,๐๐๐ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๐ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๐ ๒๘ ๑๕,๔๕๙,๘๓๑.๐๙ L26/91/50 ๖,๐๐๐ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๐ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๙๑ ๕๘,๐๕๕,๕๘๕.๕๘ L26/182/50 ๕,๐๐๐ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๐ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๙๓,๗๙๙,๑๓๖.๔๐ รวม ๖๔,๐๐๐ ๗๑๙,๓๕๖,๙๔๔.๘๐ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่งๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ มียอดตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - จ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๑๗๐,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๔๙ ได้ดำเนินการแปลงวงเงินตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลให้เป็นพันธบัตรรัฐบาลไปแล้วจำนวน ๓๒,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม ๒๕๕๐ มียอดหนี้ตั๋วเงินคลังคงค้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๑๘,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน โสรศ/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๕๓ ง/หน้า ๒/๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐
543768
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงวงเงินการประมูลพันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงวงเงินการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒[๑] ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ ลงวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๐ ได้กำหนดการประมูลพันธบัตรรัฐบาลวงเงินรวม ๒๗,๐๐๐ ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น ๕ งวด และนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๑๗ ง ลงวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ แล้ว นั้น กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้เปลี่ยนแปลงวงเงินการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ งวดประมูลวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๐ และวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๐ ซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขข้อ ๑๓ (๑) ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ พันธบัตรรัฐบาล ประมูลวันที่ วงเงินประมูล วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ วันครบกำหนด ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ล้านบาท) ดอกเบี้ย ไถ่ถอน ครั้งที่ ๒ (LB175A) ๒๔ ม.ค. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๒๖ ม.ค. ๒๕๕๐ ๒๖ ม.ค. ๒๕๕๐ ๒๖ พ.ค. ๒๕๖๐ อายุ ๑๐.๓ ปี ๒๘ ก.พ. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๒ มี.ค. ๒๕๕๐ ๒๖ ม.ค. ๒๕๕๐ ๒๖ พ.ค. ๒๕๖๐ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒๘ มี.ค. ๒๕๕๐ ๔,๒๖๐ ๓๐ มี.ค. ๒๕๕๐ ๒๖ ม.ค. ๒๕๕๐ ๒๖ พ.ค. ๒๕๖๐ ๕.๐๐ ต่อปี ๒๕ เม.ย. ๒๕๕๐ ๖,๗๔๐ ๒๗ เม.ย. ๒๕๕๐ ๒๖ ม.ค. ๒๕๕๐ ๒๖ พ.ค. ๒๕๖๐ จำนวน ๒๗,๐๐๐ ล้านบาท ๒๓ พ.ค. ๒๕๕๐ ๖,๐๐๐ ๒๕ พ.ค. ๒๕๕๐ ๒๖ ม.ค. ๒๕๕๐ ๒๖ พ.ค. ๒๕๖๐ สำหรับเงื่อนไขอื่นๆ ไม่เปลี่ยนแปลง ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โสรศ/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๕๕ ง/หน้า ๑/๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐
541968
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 (ครั้งที่ 3) และ (ครั้งที่ 4) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ครั้งที่ ๓) และ (ครั้งที่ ๔) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] ด้วยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ครั้งที่ ๓) และ (ครั้งที่ ๔) ลงวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ข้อ ๔ วรรค ๒ กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในวันที่ ๑๗ เมษายน ของทุกปีโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ครั้งที่ ๓) และ(ครั้งที่ ๔) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๐๐ ต่อปีเป็นร้อยละ ๔.๗๐ ต่อปี ตั้งแต่วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๔๙ เป็นต้นไป เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงิน เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ครั้งที่ ๓) และ (ครั้งที่ ๔) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคมพ.ศ. ๒๕๔๙ จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๗๐ ต่อปี เป็นร้อยละ ๔.๒๕ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๒๒/๒๓ เมษายน ๒๕๕๐
541961
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 (ครั้งที่ 1) และ (ครั้งที่ 2) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ครั้งที่ ๑) และ (ครั้งที่ ๒) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] ด้วยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ครั้งที่ ๑) และ (ครั้งที่ ๒) ลงวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ข้อ ๔ วรรค ๒ กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในวันที่ ๙ เมษายน ของทุกปี โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ครั้งที่ ๑) และ (ครั้งที่ ๒) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๐๐ ต่อปี เป็นร้อยละ ๔.๗๐ ต่อปี ตั้งแต่วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๔๙ เป็นต้นไป เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงิน เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ครั้งที่ ๑) และ (ครั้งที่ ๒) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๗๐ ต่อปี เป็นร้อยละ ๔.๒๕ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๒๑/๒๓ เมษายน ๒๕๕๐
541957
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนเมษายน พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ จะออกโดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินทีธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลัง หากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไปทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลังถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะประมูลตั๋วเงินคลัง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่า จะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนกว่าจะครบวงเงินที่กำหนด ในกรณีที่มีผู้ประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้ประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้ประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้ประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๕ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้ และจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ข้อ ๖ ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนดให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติของนายทะเบียนหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาออกตั๋วเงินคลังโดยระบุชื่อผู้ขอถอนคืนเป็นผู้รับเงิน ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลังนี้มิให้ถือว่าฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 ๒. ใบประมูลซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๗/๒๓ เมษายน ๒๕๕๐
541952
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 7
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วเงินคลังเป็นตราสารหนี้ระยะยาว โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๗ ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ (LB175A) โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการประมูล ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทยธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคาให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาสาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิ์ประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมประมูลแบบไม่แข่งขันราคา โดยผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคาจะต้องเสนอประมูลผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๗ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๗ มีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบแข่งขันราคาโดยตรง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่าจะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อ ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะเข้าประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบไม่แข่งขันราคา ต้องยื่นความจำนงผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่ประมูลแบบแข่งขันราคา ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๗ ดังนี้ (๑) ในการประมูลแบบแข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับ และจะแจ้งผลให้ผู้ประมูลได้ทราบในวันประมูลนั้น ในกรณีที่มีผู้ประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้ประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้ผู้ประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้ประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล และจะได้รับจัดสรรในราคาอัตราถัวเฉลี่ยของการประมูล โดยกรณีที่มีผู้เสนอประมูลแบบไม่แข่งขันราคา เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนส่วนกรณีไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับการประมูลแบบแข่งขันราคา ข้อ ๕ ผู้ประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๗ แบบแข่งขันราคาได้ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูลโดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคา จะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่ประมูลแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันประมูลแบบแข่งขันราคา โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่ประมูลแบบไม่แข่งขันราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันประมูลโดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๖ เมื่อผู้ประมูลได้ชำระราคาตามข้อ ๕ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๗ เข้าบัญชีผู้ประมูลได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ประมูลได้ ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนดให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๘ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๙ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตร (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตร ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๐ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติของนายทะเบียนหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ กรณีที่มีการออกพันธบัตร มิให้ถือว่าพันธบัตรฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๒ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๗ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๗ พันธบัตรรัฐบาล เพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประมูลวันที่ วงเงิน ประมูล (ล้าน บาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน ครั้งที่ ๗ (LB175A) อายุคงเหลือ ๙.๙๒ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๐๐ ต่อปี จำนวน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท ๒๗ มิ.ย. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๒๙ มิ.ย. ๒๕๕๐ ๒๖ ม.ค. ๒๕๕๐ ๒๖ พ.ค. ๒๕๖๐ ๒๕ ก.ค. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๒๗ ก.ค. ๒๕๕๐ ๒๖ ก.ค. ๒๕๕๐ ๒๖ พ.ค. ๒๕๖๐ ๒๒ ส.ค. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๒๔ ส.ค. ๒๕๕๐ ๒๖ ก.ค. ๒๕๕๐ ๒๖ พ.ค. ๒๕๖๐ ๒๖ ก.ย. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๒๘ ก.ย. ๒๕๕๐ ๒๖ ก.ค. ๒๕๕๐ ๒๖ พ.ค. ๒๕๖๐ (๑) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๗ วงเงิน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ (LB175A) อายุ ๑๐.๓ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรุ่นนี้เป็น ๔๗,๐๐๐ ล้านบาท (วันเปิดจำหน่ายครั้งแรกวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๐) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๐ (๒) การคำนวณดอกเบี้ยของพันธบัตรประเภทนี้จะคำนวณจากมูลค่าของพันธบัตร โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้งโดยตลอดเวลาที่พันธบัตรยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๖ มกราคม และ ๒๖ กรกฎาคม ของทุกปี ยกเว้นดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตร ณ วันไถ่ถอนพันธบัตร หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป (๓) พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๓ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการประมูลตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่ประมูลทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๑/๒๓ เมษายน ๒๕๕๐
541947
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 6
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๖[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วเงินคลังเป็นตราสารหนี้ระยะยาว โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๖ ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ (LB145B) โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการประมูล ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทยธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคาให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาสาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิ์ประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมประมูลแบบไม่แข่งขันราคา โดยผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคาจะต้องเสนอประมูลผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๖ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๖ มีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบแข่งขันราคาโดยตรง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่าจะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อ ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะเข้าประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบไม่แข่งขันราคา ต้องยื่นความจำนงผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่ประมูลแบบแข่งขันราคา ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๖ ดังนี้ (๑) ในการประมูลแบบแข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับ และจะแจ้งผลให้ผู้ประมูลได้ทราบในวันประมูลนั้น ในกรณีที่มีผู้ประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้ประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้ผู้ประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้ประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล และจะได้รับจัดสรรในราคาอัตราถัวเฉลี่ยของการประมูล โดยกรณีที่มีผู้เสนอประมูลแบบไม่แข่งขันราคา เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วน ส่วนกรณีไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับการประมูลแบบแข่งขันราคา ข้อ ๕ ผู้ประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๖ แบบแข่งขันราคาได้ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูลโดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคา จะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่ประมูลแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันประมูลแบบแข่งขันราคา โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่ประมูลแบบไม่แข่งขันราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันประมูลโดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๖ เมื่อผู้ประมูลได้ชำระราคาตามข้อ ๕ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๖ เข้าบัญชีผู้ประมูลได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ประมูลได้ ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนดให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๘ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๙ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตร (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตร ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๐ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติของนายทะเบียนหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ กรณีที่มีการออกพันธบัตร มิให้ถือว่าพันธบัตรฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๒ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๖ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๖ พันธบัตรรัฐบาล เพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประมูลวันที่ วงเงิน ประมูล (ล้าน บาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน ครั้งที่ ๖ (LB145B) อายุคงเหลือ ๖.๙๑ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๕ ต่อปี จำนวน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท ๑๓ มิ.ย. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๑๕ มิ.ย. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ พ.ค. ๒๕๕๗ ๑๑ ก.ค. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๑๓ ก.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ ก.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ พ.ค. ๒๕๕๗ ๘ ส.ค. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๑๐ ส.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ ก.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ พ.ค. ๒๕๕๗ ๑๒ ก.ย. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๑๔ ก.ย. ๒๕๕๐ ๑๒ ก.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ พ.ค. ๒๕๕๗ (๑) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๖ วงเงิน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ (LB145B) อายุ ๗.๓ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรุ่นนี้เป็น ๔๗,๐๐๐ ล้านบาท (วันเปิดจำหน่ายครั้งแรกวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๐) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๐ (๒) การคำนวณดอกเบี้ยของพันธบัตรประเภทนี้จะคำนวณจากมูลค่าของพันธบัตร โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๒ มกราคมและ ๑๒ กรกฎาคม ของทุกปี ยกเว้นดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตร ณ วันไถ่ถอนพันธบัตร หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป (๓) พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๓ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการประมูลตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่ประมูลทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๖/๒๓ เมษายน ๒๕๕๐
541939
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ ๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๕[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วเงินคลังเป็นตราสารหนี้ระยะยาว โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๕ โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการประมูล ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทยธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคาให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาสาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิ์ประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมประมูลแบบไม่แข่งขันราคา โดยผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคาจะต้องเสนอประมูลผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๕ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๕ มีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบแข่งขันราคาโดยตรง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่าจะซื้อ ในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อ ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะเข้าประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบไม่แข่งขันราคา ต้องยื่นความจำนงผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่ประมูลแบบแข่งขันราคา ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๕ ดังนี้ (๑) ในการประมูลแบบแข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับ และจะแจ้งผลให้ผู้ประมูลได้ทราบในวันประมูลนั้น ในกรณีที่มีผู้ประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้ประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้ผู้ประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้ประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล และจะได้รับจัดสรรในราคาอัตราถัวเฉลี่ยของการประมูล โดยกรณีที่มีผู้เสนอประมูลแบบไม่แข่งขันราคา เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนส่วนกรณีไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับการประมูลแบบแข่งขันราคา ข้อ ๕ ผู้ประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๕ แบบแข่งขันราคาได้ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคา จะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่ประมูลแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันประมูลแบบแข่งขันราคา โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่ประมูลแบบไม่แข่งขันราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันประมูลโดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๖ เมื่อผู้ประมูลได้ชำระราคาตามข้อ ๕ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๕ เข้าบัญชีผู้ประมูลได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ประมูลได้ ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนดให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๘ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๙ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตร (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตร ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๐ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติของนายทะเบียนหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ กรณีที่มีการออกพันธบัตร มิให้ถือว่าพันธบัตรฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๒ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๕ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๕ พันธบัตรรัฐบาล เพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประมูลวันที่ วงเงิน ประมูล (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน ครั้งที่ ๕ (LB244A) อายุ ๑๗ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๕๐ ต่อปี จำนวน ๔๘,๐๐๐ ล้านบาท ๔ เม.ย. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๙ เม.ย. ๒๕๕๐ ๙ เม.ย. ๒๕๕๐ ๙ เม.ย. ๒๕๖๗ ๑๘ เม.ย. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๒๐ เม.ย. ๒๕๕๐ ๙ เม.ย. ๒๕๕๐ ๙ เม.ย. ๒๕๖๗ ๒๕ เม.ย. ๒๕๕๐ ๒,๐๐๐ ๒๗ เม.ย. ๒๕๕๐ ๙ เม.ย. ๒๕๕๐ ๙ เม.ย. ๒๕๖๗ ๒ พ.ค. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๔ พ.ค. ๒๕๕๐ ๙ เม.ย. ๒๕๕๐ ๙ เม.ย. ๒๕๖๗ ๙ พ.ค. ๒๕๕๐ ๒,๐๐๐ ๑๑ พ.ค. ๒๕๕๐ ๙ เม.ย. ๒๕๕๐ ๙ เม.ย. ๒๕๖๗ ๑๖ พ.ค. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๑๘ พ.ค. ๒๕๕๐ ๙ เม.ย. ๒๕๕๐ ๙ เม.ย. ๒๕๖๗ ๒๓ พ.ค. ๒๕๕๐ ๒,๐๐๐ ๒๕ พ.ค. ๒๕๕๐ ๙ เม.ย. ๒๕๕๐ ๙ เม.ย. ๒๕๖๗ ๒๙ พ.ค. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๑ มิ.ย. ๒๕๕๐ ๙ เม.ย. ๒๕๕๐ ๙ เม.ย. ๒๕๖๗ ๖ มิ.ย. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๘ มิ.ย. ๒๕๕๐ ๙ เม.ย. ๒๕๕๐ ๙ เม.ย. ๒๕๖๗ ๑๓ มิ.ย. ๒๕๕๐ ๓,๐๐๐ ๑๕ มิ.ย. ๒๕๕๐ ๙ เม.ย. ๒๕๕๐ ๙ เม.ย. ๒๕๖๗ ๒๐ มิ.ย. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๒๒ มิ.ย. ๒๕๕๐ ๙ เม.ย. ๒๕๕๐ ๙ เม.ย. ๒๕๖๗ ๒๗ มิ.ย. ๒๕๕๐ ๔,๐๐๐ ๒๙ มิ.ย. ๒๕๕๐ ๙ เม.ย. ๒๕๕๐ ๙ เม.ย. ๒๕๖๗ (๑) การคำนวณดอกเบี้ยของพันธบัตรประเภทนี้จะคำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรโดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๐ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้งโดยตลอดเวลาที่พันธบัตรยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๙ เมษายน และ ๙ ตุลาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตร ณ วันไถ่ถอนพันธบัตร หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป (๒) พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๗ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๓ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการประมูลตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่ประมูลทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๔๘,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑/๒๓ เมษายน ๒๕๕๐
541492
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 4
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๔[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๔ ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ (LB095C) โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการประมูล ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทยธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคาให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาสาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมประมูลแบบไม่แข่งขันราคา โดยผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคาจะต้องเสนอประมูลผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๔ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๔ มีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบแข่งขันราคาโดยตรง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่าจะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อ ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะเข้าประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบไม่แข่งขันราคา ต้องยื่นความจำนงผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่ประมูลแบบแข่งขันราคา ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๔ ดังนี้ (๑) ในการประมูลแบบแข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับ และจะแจ้งผลให้ผู้ประมูลได้ทราบในวันประมูลนั้น ในกรณีที่ผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันมีหลายราย และจำนวนที่ขอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ ให้กระทรวงการคลังจัดสรรพันธบัตรแก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวเฉลี่ยตามสัดส่วนจำนวนที่ผู้เสนอประมูลเสนอขอประมูล หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร ให้กระทรวงการคลังจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูลแต่ละรุ่น และจะได้รับจัดสรรในราคาอัตราถัวเฉลี่ยของการประมูล โดยกรณีที่มีผู้เสนอประมูลแบบไม่แข่งขันราคา เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนส่วนกรณีไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับการประมูลแบบแข่งขันราคา ข้อ ๕ ผู้ประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๔ แบบแข่งขันราคาได้ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูลโดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคา จะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่ประมูลแทน ภายในวันทำการที่หนึ่ง ถัดจากวันประมูลแบบแข่งขันราคา โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่ประมูลแบบไม่แข่งขันราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๖ เมื่อผู้ประมูลได้ชำระราคาตามข้อ ๕ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๔ เข้าบัญชีผู้ประมูลได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ประมูลได้ ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนดให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๘ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๙ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตร (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตร ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๐ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติของนายทะเบียนหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ กรณีที่มีการออกพันธบัตร มิให้ถือว่าพันธบัตรฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๒ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๔ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๔ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประมูลวันที่ วงเงิน ประมูล (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน ครั้งที่ ๔ (LB095C) อายุคงเหลือ ๒.๑๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๓๗๕ ต่อปี จำนวน ๑๐,๕๐๐ ล้านบาท ๒๑ มี.ค. ๒๕๕๐ ๓,๕๐๐ ๒๓ มี.ค. ๒๕๕๐ ๑๕ พ.ย. ๒๕๔๙ ๑๕ พ.ค. ๒๕๕๒ ๒๘ มี.ค. ๒๕๕๐ ๒,๐๐๐ ๓๐ มี.ค. ๒๕๕๐ ๑๕ พ.ย. ๒๕๔๙ ๑๕ พ.ค. ๒๕๕๒ ๔ เม.ย. ๒๕๕๐ ๓,๐๐๐ ๙ เม.ย. ๒๕๕๐ ๑๕ พ.ย. ๒๕๔๙ ๑๕ พ.ค. ๒๕๕๒ ๑๑ เม.ย. ๒๕๕๐ ๒,๐๐๐ ๑๗ เม.ย. ๒๕๕๐ ๑๕ พ.ย. ๒๕๔๙ ๑๕ พ.ค. ๒๕๕๒ (๑) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๔ วงเงิน ๑๐,๕๐๐ ล้านบาท เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ (LB095C) อายุ ๓ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรุ่นนี้เป็น ๔๑,๗๐๐ ล้านบาท (วันเปิดจำหน่ายครั้งแรกวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๔๙) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๐ (๒) การคำนวณดอกเบี้ยของพันธบัตรประเภทนี้ จะคำนวณจากมูลค่าของพันธบัตร โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้งโดยตลอดเวลาที่พันธบัตรยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม และ ๑๕ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตร ณ วันไถ่ถอนพันธบัตร หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป (๓) พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๓ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการประมูลตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่ประมูลทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๐,๕๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้ประมูลรายใด เป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๓๔ ง/หน้า ๕/๑๙ เมษายน ๒๕๕๐
541483
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินระยะสั้นเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินระยะสั้นเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรค ๓ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินระยะสั้นโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้กับธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพ ฯ วงเงิน ๗,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๔๒ ต่อปี เพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ธนาคารโลก (IBRD) และเงินกู้ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) วงเงินรวม ๓๐๓ ล้านเหรียญสหรัฐ ก่อนครบกำหนดในวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๐ โดยมีระยะเวลาในการชำระคืนต้นเงินไม่เกิน ๑ เดือน และเบิกเงินกู้ทั้งจำนวนในวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๐ สำหรับการชำระคืนต้นเงินจะนำเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๔ มาทยอยชำระคืนภายในวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๐ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๓๔ ง/หน้า ๔/๑๙ เมษายน ๒๕๕๐
535535
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ วงเงิน ๖๖,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๖๕,๑๙๑,๓๙๗,๒๓๔.๑๔ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๘๐๘,๖๐๒,๗๖๕.๘๖ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 19/28/50 ๕,๐๐๐ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๗ มีนาคม ๒๕๕๐ ๒๘ ๑๗,๙๘๓,๕๒๔.๒๒ L19/91/50 ๕,๐๐๐ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๙๑ ๕๖,๐๙๖,๔๐๕.๒๓ L19/182/50 ๕,๐๐๐ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๑๐,๔๑๘,๗๗๓.๘๐ 20/28/50 ๖,๐๐๐ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๐ ๒๘ ๒๑,๕๗๕,๘๑๘.๗๘ L20/91/50 ๖,๐๐๐ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๙๑ ๖๗,๔๔๙,๒๒๘.๒๕ L20/182/50 ๖,๐๐๐ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๓๑,๐๘๓,๑๕๙.๐๑ 21/28/50 ๔,๐๐๐ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๐ ๒๘ ๑๔,๒๗๑,๘๗๗.๒๕ L21/91/50 ๕,๐๐๐ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๙๑ ๕๕,๔๗๘,๙๘๔.๓๘ L21/182/50 ๕,๐๐๐ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๐๘,๗๑๕,๘๒๖.๑๘ 22/28/50 ๖,๐๐๐ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๐ ๒๘ ๒๐,๘๓๓,๔๘๙.๙๔ L22/91/50 ๗,๐๐๐ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๙๑ ๗๖,๔๕๖,๔๒๔.๑๔ L22/182/50 ๖,๐๐๐ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๒๘,๒๓๙,๒๕๔.๖๘ รวม ๖๖,๐๐๐ ๘๐๘,๖๐๒,๗๖๕.๘๖ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลังร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่งๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ มียอดตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - จ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๑๗๐,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๔๙ ได้ดำเนินการแปลงวงเงินตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลให้เป็นพันธบัตรรัฐบาลไปแล้วจำนวน ๓๒,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ มียอดหนี้ตั๋วเงินคลังคงค้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๑๘,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๒/๔ เมษายน ๒๕๕๐
532393
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลัง โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ ธปท. นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ จะออกโดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลัง หากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลังถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะประมูลตั๋วเงินคลัง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูลโดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่า จะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนกว่าจะครบวงเงินที่กำหนด ในกรณีที่ผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันมีหลายราย และจำนวนที่ขอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ ให้กระทรวงการคลังจัดสรรตั๋วเงินคลังแก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวเฉลี่ยตามสัดส่วนจำนวนที่ผู้เสนอประมูลเสนอขอประมูลหากมีเศษเหลือจากการจัดสรรให้กระทรวงการคลังจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๕ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้ และจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ข้อ ๖ ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติของนายทะเบียนหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาออกตั๋วเงินคลังโดยระบุชื่อผู้ขอถอนคืนเป็นผู้รับเงิน ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลังนี้มิให้ถือว่าฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 ๒. ใบประมูลซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๙ ง/หน้า ๒/๑๔ มีนาคม ๒๕๕๐
530383
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลัง โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ จะออกโดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลัง หากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลังถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะประมูลตั๋วเงินคลัง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่า จะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนกว่าจะครบวงเงินที่กำหนด ในกรณีที่ผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันมีหลายราย และจำนวนที่ขอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ ให้กระทรวงการคลังจัดสรรตั๋วเงินคลังแก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวเฉลี่ยตามสัดส่วนจำนวนที่ผู้เสนอประมูลเสนอขอประมูลหากมีเศษเหลือจากการจัดสรรให้กระทรวงการคลังจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๕ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้ และจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ข้อ ๖ ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติของนายทะเบียนหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาออกตั๋วเงินคลังโดยระบุชื่อผู้ขอถอนคืนเป็นผู้รับเงิน ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลังนี้มิให้ถือว่าฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลังประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ๒. ใบประมูลซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) โสรศ/ผู้จัดทำ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๘ ง/หน้า ๔/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
530375
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนมกราคม พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลัง โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัยบริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ จะออกโดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลัง หากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะประมูลตั๋วเงินคลัง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้ โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่า จะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใดไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนกว่าจะครบวงเงินที่กำหนด ในกรณีที่ผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันมีหลายราย และจำนวนที่ขอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ ให้กระทรวงการคลังจัดสรรตั๋วเงินคลังแก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวเฉลี่ยตามสัดส่วนจำนวนที่ผู้เสนอประมูลเสนอขอประมูล หากมีเศษเหลือจากการจัดสรรให้กระทรวงการคลังจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๕ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้ และจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ข้อ ๖ ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย นำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนดให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติของนายทะเบียนหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาออกตั๋วเงินคลังโดยระบุชื่อผู้ขอถอนคืนเป็นผู้รับเงิน ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลังนี้มิให้ถือว่าฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลังประจำเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 ๒. ใบประมูลซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) โสรศ/ผู้จัดทำ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๘ ง /หน้า ๑ / ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
530129
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ วงเงิน ๗๙,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๗๗,๙๖๗,๕๗๒,๒๗๕.๖๐ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๑,๐๓๒,๔๒๗,๗๒๔.๔๐ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 14/28/50 ๕,๐๐๐ ๓ มกราคม ๒๕๕๐ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๐ ๒๘ ๑๘,๗๔๕,๕๔๗.๗๗ L14/91/50 ๖,๐๐๐ ๓ มกราคม ๒๕๕๐ ๔ เมษายน ๒๕๕๐ ๙๑ ๗๑,๒๗๑,๑๘๒.๖๖ L14/182/50 ๕,๐๐๐ ๓ มกราคม ๒๕๕๐ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๑๘,๖๙๘,๘๑๙.๑๔ 15/28/50 ๔,๐๐๐ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๐ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๒๘ ๑๔,๙๕๓,๐๖๕.๗๗ L15/91/50 ๕,๐๐๐ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๐ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๐ ๙๑ ๕๙,๓๒๑,๙๕๐.๘๖ L15/182/50 ๕,๐๐๐ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๐ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๑๗,๓๔๙,๔๘๘.๖๓ 16/28/50 ๕,๐๐๐ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๐ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๒๘ ๑๘,๕๙๙,๔๓๗.๘๖ L16/91/50 ๖,๐๐๐ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๐ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๐ ๙๑ ๗๐,๔๒๗,๓๓๑.๙๐ L16/182/50 ๖,๐๐๐ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๐ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๓๘,๐๖๕,๗๕๗.๖๘ 17/28/50 ๔,๐๐๐ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๐ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๒๘ ๑๔,๒๙๙,๗๓๙.๐๗ L17/91/50 ๕,๐๐๐ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๐ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๐ ๙๑ ๕๖,๙๑๑,๖๔๖.๙๐ L17/182/50 ๕,๐๐๐ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๐ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๑๑,๖๒๒,๕๒๓.๗๘ 18/28/50 ๖,๐๐๐ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๐ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๒๘ ๒๑,๕๘๗,๓๓๐.๐๙ L18/91/50 ๖,๐๐๐ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๐ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๙๑ ๖๗,๕๑๔,๐๖๗.๐๔ L18/182/50 ๖,๐๐๐ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๐ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๓๓,๐๕๙,๘๓๕.๒๕ รวม ๗๙,๐๐๐ ๑,๐๓๒,๔๒๗,๗๒๔.๔๐ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลังร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่งๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ มียอดตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - จ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๑๗๐,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๔๙ ได้ดำเนินการแปลงวงเงินตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลให้เป็นพันธบัตรรัฐบาลไปแล้วจำนวน ๓๒,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นเดือน มกราคม ๒๕๕๐ มียอดหนี้ตั๋วเงินคลังคงค้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๑๘,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน โสรศ/ผู้จัดทำ ๘ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๓ ง/หน้า ๑๔/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
528816
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินในรูป Euro Commercial Paper (ECP)
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินในรูป Euro Commercial Paper (ECP)[๑] ตามที่กระทรวงการคลังได้จัดตั้ง Euro Commercial Paper หรือ ECP Programme วงเงิน ๒,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการจัดจำหน่าย (Dealer Agreement) ความตกลงว่าด้วยการเป็นตัวแทนรับจ่ายเงิน (Agency Agreement) เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๒ และหนังสือการขยายวงเงินกู้ภายใต้ ECP Programme (Notification Letter for an Increase in the Programme Amount) ลงวันที่๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๕ โดยกำหนดให้นำมาใช้เป็น Bridge Financing สำหรับการทำ Refinance เงินกู้ต่างประเทศของภาครัฐบาล และ/หรือสำหรับการลงทุนในโครงการลงทุนเพื่อการพัฒนาของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจต่างๆ นั้น เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ๑. เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ กระทรวงการคลังได้ทำความตกลงในการกู้เงินในรูป ECP เพื่อใช้เป็น Bridge Financing ในการ Rollover เงินกู้ Samurai Bond รุ่นที่ ๑๗ และ ๑๙ ของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ครบกำหนดชำระคืนเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๙ โดยได้ดำเนินการออกตราสาร ECP ดังนี้ ๑.๑ วงเงิน ๑๓๒,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ ซึ่งเทียบเท่า ๔,๖๒๗,๓๑๒,๘๐๐ บาท (คำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยน ๑ เหรียญสหรัฐ เท่ากับ ๓๕.๐๕๕๔ บาท ณ วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙) กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๐๒๕ ต่อปี (เทียบเท่า LIBOR ระยะ ๑ ปี ลบด้วยส่วนต่างร้อยละ ๐.๑๐ ต่อปี) อายุ ๓๖๕ วัน (ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๐) ได้รับเงินสุทธิ จำนวน ๑๒๕,๓๘๖,๑๘๓.๕๗ เหรียญสหรัฐ ๑.๒ วงเงิน ๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ เยน ซึ่งเทียบเท่า ๒,๖๖๔,๒๑๖,๐๐๐ บาท (คำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยน ๑๐๐ เยน เท่ากับ ๒๙.๖๐๒๔ บาท ณ วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙) กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๐.๖๔๓๗๕ ต่อปี (เทียบเท่า YenLIBOR ระยะ ๑ ปี ลบด้วยส่วนต่างร้อยละ ๐.๑๐ ต่อปี) อายุ ๓๖๕ วัน (ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๐) ได้รับเงินสุทธิจำนวน ๘,๙๔๒,๔๓๓,๐๘๗ เยน ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้ขอให้ Citibank N.A. ซึ่งเป็นธนาคารตัวแทนรับจ่ายเงิน โอนเงินที่ได้รับสุทธิที่ได้จากการออกตราสารตามนัยข้อ ๑.๑ และ ๑.๒ เข้าบัญชี ดังนี้ - วงเงิน ๑๒๕,๓๘๖,๑๘๓.๕๗ เหรียญสหรัฐ เข้าบัญชี Sumitomo Mitsui Banking Corporation, Tokyo ที่ Sumitomo Mitsui Banking Corporation, New York บัญชีเลขที่ ๘๙๕๐๐๒ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๙ เวลา ๑๐.๐๐ น. (เวลาท้องถิ่น นครนิวยอร์ค) เพื่อชำระคืนเงินกู้ Samurai Bond รุ่นที่ ๑๗ - วงเงิน ๘,๙๔๒,๔๓๓,๐๘๗ เยน เข้าบัญชี Mitsui Sumitomo Syasai Tesuryo Guchi ที่ Sumitomo Mitsui Banking Corporation (Japan), Tokyo Main Office Category: Betsudan บัญชีเลขที่ ๙๑๑๗๒๑ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๙ เวลา ๑๐.๐๐ น. (เวลาท้องถิ่นกรุงโตเกียว) เพื่อชำระคืนเงินกู้ Samurai Bond รุ่นที่ ๑๙ ๒. กระทรวงการคลังตกลงให้บริษัท การบินไทย ฯ กู้เงินดังกล่าวต่อ เพื่อใช้ในการทำ Refinance เงินกู้ Samurai Bond ทั้ง ๒ รุ่น ได้แก่ ๑) Samurai Bond รุ่นที่ ๑๗ ซึ่งใช้ชำระค่าจัดซื้อเครื่องบินโบอิ้ง ๗๔๗ - ๔๐๐ ลำที่ ๙ และเครื่องบินโบอิ้ง ๗๗๗ - ๒๐๐ ลำที่ ๔ และ ๒) Samurai Bond รุ่นที่ ๑๙ ซึ่งใช้สำหรับการทำ Refinance เงินกู้ Samurai Bond รุ่นที่ ๑๒ และ ๑๖ ทั้งนี้ ให้บริษัท การบินไทยฯ กู้เงินต่อจากกระทรวงการคลังตามนัยเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังได้ผูกพันภายใต้ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้ง ECP Programme ๓. กระทรวงการคลังจะทำการ Rollover เงินกู้ตามนัยข้อ ๑ และให้บริษัท การบินไทยฯ กู้ต่อตามนัยข้อ ๒ ต่อไปจนกว่าการดำเนินการจัดหาเงินกู้ระยะยาวมาทดแทนจะแล้วเสร็จ ซึ่งเป็นไปตามหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน โสรศ/ผู้จัดทำ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗ ง/หน้า ๒๖/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
528814
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 3
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ เพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ Euro Commercial Paper (ECP) ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) วงเงิน ๒๑,๗๐๐ ล้านเยน ก่อนครบกำหนดเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ วงเงิน ๖,๗๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีระยะไถ่ถอน ๓ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือ วันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๓๗๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้งในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม และ ๑๕ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตร หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. การออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลใช้วิธีการประมูล ดังนี้ ๒.๑ จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ๒.๒ จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคาให้แก่ มูลนิธิสหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดีการศึกษา สาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิ์ประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมประมูลแบบไม่แข่งขันราคา โดยผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคาจะต้องเสนอประมูลผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ๓. การประมูลพันธบัตรตามนัยข้อ ๒ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน - ๖ ธันวาคม ๒๕๔๙ โดยได้รับเงินในวันทำการที่สองนับจากวันประมูล และมีรายละเอียดผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ ดังนี้ ผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ วันที่ประมูล วงเงินประมูล (ล้านบาท) อัตรา ผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) ประมูลแบบแข่งขันราคา (CB) ประมูลได้ ประมูลได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่ประมูล จนถึงวันที่จ่าย ดอกเบี้ย (บาท) ๒๙ พ.ย. ๔๙ ๓,๕๐๐ ๔.๗๑๗๔ ๓,๕๖๑,๖๓๑,๘๖๗.๐๐ ๕๓,๓๘๕,๓๐๗.๐ ๘,๒๔๖,๕๖๐.๐๐ ๖ ธ.ค. ๔๙ ๓,๒๐๐ ๔.๖๗๐๒ ๓,๒๖๒,๗๓๒,๖๐๕.๒๔ ๕๑,๘๙๔,๒๓๗.๒๔ ๑๐,๘๓๘,๓๖๘.๐๐ รวม ๖,๗๐๐ ๔.๖๙๔๙ ๖,๘๒๔,๓๖๔,๔๗๒.๒๔ ๑๐๕,๒๗๙,๕๔๔.๒๔ ๑๙,๐๘๔,๙๒๘.๐๐ หมายเหตุ : ๑. วันที่ลงในพันธบัตร คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูลพันธบัตร ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการประมูลพันธบัตร ๒. ไม่มีผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ๕. การดำเนินการกู้เงินบาทโดยการออกพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะทำให้กระทรวงการคลังสามารถประหยัดภาระดอกเบี้ยเป็นเงินประมาณ ๓๐๕ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน โสรศ/ผู้จัดทำ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗ ง/หน้า ๒๓/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
528812
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ เพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ – ๒๕๔๗ ให้เป็นพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งในไตรมาสที่ ๑ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้ทยอยลดวงเงินตั๋วเงินคลังและออกพันธบัตรรัฐบาลทดแทนจำนวน ๓๒,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑. พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ วงเงิน ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท รายละเอียดปรากฏ ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๑ (LB137A) อายุ ๗.๕ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรุ่นนี้เป็น ๕๒,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๓ มกราคม และ ๑๓ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตร หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้จะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๖ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ๒. พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ วงเงิน ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท รายละเอียดปรากฏ ดังนี้ ๒.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ (LB167A) อายุ ๑๐.๕ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรุ่นนี้ เป็น ๕๒,๐๐๐ ล้านบาท ๒.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๔๐ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๗ มกราคม และ ๒๗ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตร หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้จะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๙ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ๓. การออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ ใช้วิธีการประมูล ดังนี้ ๓.๑ จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ๓.๒ จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคาให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาสาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิ์ประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมประมูลแบบไม่แข่งขันราคา โดยผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคาจะต้องเสนอประมูลผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับ การแต่งตั้งเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ๔. การประมูลพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๑ และข้อ ๒ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๑ ตุลาคม – ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๙ โดยได้รับเงินในวันทำการที่สองนับจากวันประมูล และมีรายละเอียดผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ ดังนี้ ผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ พันธบัตรรัฐบาล เพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ วันที่ประมูล วงเงินประมูล (ล้านบาท) อัตรา ผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) ประมูลแบบแข่งขันราคา (CB) จำนวนเงิน ที่ประมูลได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่ประมูล จนถึงวันที่จ่าย ดอกเบี้ย (บาท) ครั้งที่ ๑ (LB137A) ๑๑ ต.ค. ๔๙ ๖,๐๐๐ ๕.๑๒๓๙ ๖,๑๒๐,๓๒๘,๖๗๓.๐๐ ๔๐,๙๓๑,๓๙๓.๐๐ ๗๙,๓๙๗,๒๘๐.๐๐ ๘ พ.ย. ๔๙ ๖,๐๐๐ ๔.๘๙๐๒ ๖,๒๒๓,๕๓๑,๔๗๐.๑๐ ๑๑๙,๙๖๙,๘๕๐.๑๐ ๑๐๓,๕๖๑,๖๒๐.๐๐ ๑๓ ธ.ค. ๔๙ ๔,๐๐๐ ๔.๖๙๑๖ ๔,๒๑๓,๓๓๙,๒๗๖.๙๕ ๑๒๔,๑๖๑,๑๙๖.๙๕ ๘๙,๑๗๘,๐๘๐.๐๐ รวม ๑๖,๐๐๐ ๔.๙๒๘๒ ๑๖,๕๕๗,๑๙๙,๔๒๐.๐๕ ๒๘๕,๐๖๒,๔๔๐.๐๕ ๒๗๒,๑๓๖,๙๘๐.๐๐ ครั้งที่ ๒ (LB167A) ๒๕ ต.ค. ๔๙ ๖,๐๐๐ ๕.๑๕๙๑ ๖,๑๘๙,๕๒๓,๒๕๘.๓๐ ๑๐๗,๘๕๗,๔๙๘.๓๐ ๘๑,๖๖๕,๗๖๐.๐๐ ๒๒ พ.ย. ๔๙ ๖,๐๐๐ ๔.๘๘๓๙ ๖,๓๔๑,๒๖๖,๕๙๐.๗๐ ๒๓๔,๗๔๖,๐๗๐.๗๐ ๑๐๖,๕๒๐,๕๒๐.๐๐ ๒๗ ธ.ค. ๔๙ ๔,๐๐๐ ๕.๓๕๙๑ ๔,๑๐๒,๘๕๗,๑๒๙.๐๐ ๑๑,๑๓๑,๐๘๙.๐๐ ๙๑,๗๒๖,๐๔๐.๐๐ รวม ๑๖,๐๐๐ ๕.๑๐๕๙ ๑๖,๖๓๓,๖๔๖,๙๗๘.๐๐ ๓๕๓,๗๓๔,๖๕๘.๐๐ ๒๗๙,๙๑๒,๓๒๐.๐๐ หมายเหตุ : ๑. วันที่ลงในพันธบัตร คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูลพันธบัตร ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ๒. ไม่มีผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ๕. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน โสรศ/ผู้จัดทำ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗ ง/หน้า ๒๐/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
528810
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 3
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการประมูล ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคาให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาสาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิ์ประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมประมูลแบบไม่แข่งขันราคา โดยผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคาจะต้องเสนอประมูลผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ จะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบแข่งขันราคาโดยตรง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่าจะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อ ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะเข้าประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบไม่แข่งขันราคา ต้องยื่นความจำนงผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่ประมูลแบบแข่งขันราคา ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ ดังนี้ (๑) ในการประมูลแบบแข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับ และจะแจ้งผลให้ผู้ประมูลได้ทราบในวันประมูลนั้น ในกรณีที่ผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันมีหลายราย และจำนวนที่ขอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ ให้กระทรวงการคลังจัดสรรพันธบัตรแก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวเฉลี่ยตามสัดส่วนจำนวนที่ผู้เสนอประมูลเสนอขอประมูลหากมีเศษเหลือจากการจัดสรรให้กระทรวงการคลังจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูลแต่ละรุ่น และจะได้รับจัดสรรในราคาอัตราถัวเฉลี่ยของการประมูล โดยกรณีที่มีผู้เสนอประมูลแบบไม่แข่งขันราคา เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วน ส่วนกรณีไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับการประมูลแบบแข่งขันราคา ข้อ ๕ ผู้ประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ แบบแข่งขันราคาได้ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคา จะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่ประมูลแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันประมูลแบบแข่งขันราคา โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่ประมูลแบบไม่แข่งขันราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๖ เมื่อผู้ประมูลได้ชำระราคาตามข้อ ๕ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ เข้าบัญชีผู้ประมูลได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ประมูลได้ ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนดให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๘ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๙ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตร (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตร ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๐ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติของนายทะเบียนหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ กรณีที่มีการออกพันธบัตร มิให้ถือว่าพันธบัตรฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๒ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการประมูลพันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ วงเงิน ๔๖,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประมูลวันที่ วงเงินประมูล (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน ครั้งที่ ๓ (LB191A) ๑๐ ม.ค. ๒๕๕๐ ๑,๕๐๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๖๒ อายุ ๑๒ ปี ๑๗ ม.ค. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๑๙ ม.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๖๒ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒๔ ม.ค. ๒๕๕๐ ๑,๕๐๐ ๒๖ ม.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๖๒ ๕.๖๒๕ ต่อปี ๓๑ ม.ค. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๒ ก.พ. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๖๒ จำนวน ๔๖,๐๐๐ ล้านบาท ๗ ก.พ. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๙ ก.พ. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๖๒ ๑๔ ก.พ. ๒๕๕๐ ๑,๕๐๐ ๑๖ ก.พ. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๖๒ ๒๑ ก.พ. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๒๓ ก.พ. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๖๒ ๒๘ ก.พ. ๒๕๕๐ ๓,๕๐๐ ๒ มี.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๖๒ ๗ มี.ค. ๒๕๕๐ ๖,๐๐๐ ๙ มี.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๖๒ ๑๔ มี.ค. ๒๕๕๐ ๓,๐๐๐ ๑๖ มี.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๖๒ ๒๑ มี.ค. ๒๕๕๐ ๖,๐๐๐ ๒๓ มี.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๖๒ ๒๘ มี.ค. ๒๕๕๐ ๓,๐๐๐ ๓๐ มี.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๖๒ (๑) การคำนวณดอกเบี้ยของพันธบัตรประเภทนี้จะคำนวณจากมูลค่าของพันธบัตร โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๐ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๒ มกราคม และ ๑๒ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตร ณ วันไถ่ถอนพันธบัตร หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป (๒) พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๖๒ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๓ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการประมูลตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่ประมูลทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๔๖,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โสรศ/ผู้จัดทำ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗ ง/หน้า ๑๔/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
528808
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการประมูล ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคาให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาสาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิ์ประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมประมูลแบบไม่แข่งขันราคา โดยผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคาจะต้องเสนอประมูลผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ จะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบแข่งขันราคาโดยตรง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วย การให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่าจะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูล แต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อ ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะเข้าประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบไม่แข่งขันราคา ต้องยื่นความจำนงผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่ประมูลแบบแข่งขันราคา ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ (๑) ในการประมูลแบบแข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับ และจะแจ้งผลให้ผู้ประมูลได้ทราบในวันประมูลนั้น ในกรณีที่ผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันมีหลายราย และจำนวนที่ขอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ ให้กระทรวงการคลังจัดสรรพันธบัตรแก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวเฉลี่ยตามสัดส่วนจำนวนที่ผู้เสนอประมูลเสนอขอประมูลหากมีเศษเหลือจากการจัดสรรให้กระทรวงการคลังจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูลแต่ละรุ่น และจะได้รับจัดสรรในราคาอัตราถัวเฉลี่ยของการประมูล โดยกรณีที่มีผู้เสนอประมูลแบบไม่แข่งขันราคา เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วน ส่วนกรณีไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับการประมูลแบบแข่งขันราคา ข้อ ๕ ผู้ประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ แบบแข่งขันราคาได้ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอม ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคา จะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่ประมูลแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันประมูลแบบแข่งขันราคา โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่ประมูลแบบไม่แข่งขันราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันประมูลโดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๖ เมื่อผู้ประมูลได้ชำระราคาตามข้อ ๕ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ เข้าบัญชีผู้ประมูลได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ประมูลได้ ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนดให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๘ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๙ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตร (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตร ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๐ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติของนายทะเบียนหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ กรณีที่มีการออกพันธบัตร มิให้ถือว่าพันธบัตรฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๒ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ วงเงิน ๒๗,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประมูลวันที่ วงเงินประมูล (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน ครั้งที่ ๒ (LB175A) ๒๔ ม.ค. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๒๖ ม.ค. ๒๕๕๐ ๒๖ ม.ค. ๒๕๕๐ ๒๖ พ.ค. ๒๕๖๐ อายุ ๑๐.๓ ปี ๒๘ ก.พ. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๒ มี.ค. ๒๕๕๐ ๒๖ ม.ค. ๒๕๕๐ ๒๖ พ.ค. ๒๕๖๐ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒๘ มี.ค. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๓๐ มี.ค. ๒๕๕๐ ๒๖ ม.ค. ๒๕๕๐ ๒๖ พ.ค. ๒๕๖๐ ๕.๐๐ ต่อปี ๒๕ เม.ย. ๒๕๕๐ ๖,๐๐๐ ๒๗ เม.ย. ๒๕๕๐ ๒๖ ม.ค. ๒๕๕๐ ๒๖ พ.ค. ๒๕๖๐ จำนวน ๒๗,๐๐๐ ล้านบาท ๒๓ พ.ค. ๒๕๕๐ ๖,๐๐๐ ๒๕ พ.ค. ๒๕๕๐ ๒๖ ม.ค. ๒๕๕๐ ๒๖ พ.ค. ๒๕๖๐ (๑) การคำนวณดอกเบี้ยของพันธบัตรประเภทนี้จะคำนวณจากมูลค่าของพันธบัตร โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๐ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๖ มกราคม และ ๒๖ กรกฎาคม ของทุกปี ยกเว้นดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตร ณ วันไถ่ถอนพันธบัตร หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป (๒) พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๓ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการประมูลตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่ประมูลทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๒๗,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการประมูลแบบไม่แข่งขันราคาไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โสรศ/ผู้จัดทำ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗ ง/หน้า ๙/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
528806
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการประมูล ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคาให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาสาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิ์ประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมประมูลแบบไม่แข่งขันราคา โดยผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคาจะต้องเสนอประมูลผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ จะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบแข่งขันราคาโดยตรง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่าจะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อ ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะเข้าประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบไม่แข่งขันราคา ต้องยื่นความจำนงผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่ประมูลแบบแข่งขันราคา ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ (๑) ในการประมูลแบบแข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับ และจะแจ้งผลให้ผู้ประมูลได้ทราบในวันประมูลนั้น ในกรณีที่ผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันมีหลายราย และจำนวนที่ขอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ ให้กระทรวงการคลังจัดสรรพันธบัตรแก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวเฉลี่ยตามสัดส่วนจำนวนที่ผู้เสนอประมูลเสนอขอประมูล หากมีเศษเหลือจากการจัดสรรให้กระทรวงการคลังจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูลแต่ละรุ่น และจะได้รับจัดสรรในราคาอัตราถัวเฉลี่ยของการประมูล โดยกรณีที่มีผู้เสนอประมูลแบบไม่แข่งขันราคา เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วน ส่วนกรณีไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับการประมูลแบบแข่งขันราคา ข้อ ๕ ผู้ประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ แบบแข่งขันราคาได้ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคา จะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่ประมูลแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันประมูลแบบแข่งขันราคา โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่ประมูลแบบไม่แข่งขันราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันประมูลโดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๖ เมื่อผู้ประมูลได้ชำระราคาตามข้อ ๕ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ เข้าบัญชีผู้ประมูลได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ประมูลได้ ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนดให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๘ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๙ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตร (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตร ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๐ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติของนายทะเบียนหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ กรณีที่มีการออกพันธบัตร มิให้ถือว่าพันธบัตรฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๒ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ วงเงิน ๒๗,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประมูลวันที่ วงเงินประมูล (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน ครั้งที่ ๑ (LB145B) ๑๐ ม.ค. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ พ.ค. ๒๕๕๗ อายุ ๗.๓ ปี ๑๔ ก.พ. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๑๖ ก.พ. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ พ.ค. ๒๕๕๗ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑๔ มี.ค. ๒๕๕๐ ๕,๐๐๐ ๑๖ มี.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ พ.ค. ๒๕๕๗ ๕.๒๕ ต่อปี ๑๑ เม.ย. ๒๕๕๐ ๖,๐๐๐ ๑๗ เม.ย. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ พ.ค. ๒๕๕๗ จำนวน ๒๗,๐๐๐ ล้านบาท ๙ พ.ค. ๒๕๕๐ ๖,๐๐๐ ๑๑ พ.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๐ ๑๒ พ.ค. ๒๕๕๗ (๑) การคำนวณดอกเบี้ยของพันธบัตรประเภทนี้จะคำนวณจากมูลค่าของพันธบัตร โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๐ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๒ มกราคม และ ๑๒ กรกฎาคม ของทุกปี ยกเว้นดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตร ณ วันไถ่ถอนพันธบัตร หากวันครบกำหนดชำ ระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป (๒) พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๓ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการประมูลตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่ประมูลทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๒๗,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โสรศ/ผู้จัดทำ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗ ง/หน้า ๔/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
528664
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ วงเงิน ๕๔,๐๐๐ ล้านบาทได้รับเงินจำนวน ๕๓,๒๙๐,๕๑๓,๒๗๒.๓๔ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๗๐๙,๔๘๖,๗๒๗.๖๖ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) ๑๐/๒๘/๕๐ ๔,๐๐๐ ๖ ธันวาคม ๒๕๔๙ ๓ มกราคม ๒๕๕๐ ๒๘ ๑๔,๑๕๖,๘๔๑.๑๓ L๑๐/๙๑/๕๐ ๕,๐๐๐ ๖ ธันวาคม ๒๕๔๙ ๗ มีนาคม ๒๕๕๐ ๙๑ ๕๘,๒๔๑,๗๑๙.๓๕ L๑๐/๑๘๒/๕๐ ๕,๐๐๐ ๖ ธันวาคม ๒๕๔๙ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๑๕,๔๙๓,๓๘๑.๙๗ ๑๑/๒๘/๕๐ ๔,๐๐๐ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๙ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๐ ๒๘ ๑๔,๒๘๙,๗๑๒.๕๖ L๑๑/๙๑/๕๐ ๕,๐๐๐ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๙ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๐ ๙๑ ๕๘,๒๕๒,๑๗๙.๒๔ L๑๑/๑๘๒/๕๐ ๔,๐๐๐ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๙ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๙๒,๐๙๔,๖๗๙.๑๔ ๑๒/๒๘/๕๐ ๔,๐๐๐ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๙ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๐ ๒๘ ๑๔,๓๕๓,๑๖๐.๐๒ L๑๒/๙๑/๕๐ ๕,๐๐๐ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๙ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๐ ๙๑ ๕๗,๙๕๙,๖๕๘.๖๘ L๑๒/๑๘๒/๕๐ ๕,๐๐๐ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๙ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๑๔,๗๙๐,๐๕๖.๑๙ ๑๓/๒๘/๕๐ ๔,๐๐๐ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๙ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๐ ๒๘ ๑๕,๐๗๒,๔๗๘.๗๐ L๑๓/๙๑/๕๐ ๕,๐๐๐ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๙ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๐ ๙๑ ๕๙,๕๗๑,๐๖๖.๕๔ L๑๓/๑๘๒/๕๐ ๔,๐๐๐ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๙ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๙๕,๒๑๑,๗๙๔.๑๔ รวม ๕๔,๐๐๐ ๗๐๙,๔๘๖,๗๒๗.๖๖ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่งๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ มียอดตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - จ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๑๗๐,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาทโดยในเดือนธันวาคม ๒๕๔๙ ได้ดำเนินการแปลงวงเงินตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลให้เป็นพันธบัตรรัฐบาลจำนวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท (ยอดตั๋วเงินคลังที่แปลงเป็นพันธบัตรรัฐบาลตั้งแต่เดือนตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๔๙ มีจำนวนทั้งสิ้น ๓๒,๐๐๐ ล้านบาท) ทำให้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม ๒๕๔๙ ตั๋วเงินคลังมียอดหนี้คงค้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๑๘,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๒/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
524059
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ วงเงิน ๗๓,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๗๒,๐๔๙,๔๑๑,๖๔๕.๐๒ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๙๕๐,๕๘๘,๓๕๔.๙๘ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 5/28/50 ๖,๐๐๐ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๒๘ ๒๒,๓๑๘,๕๒๙.๙๗ L5/91/50 ๖,๐๐๐ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๐ ๙๑ ๗๒,๒๒๔,๑๘๒.๙๖ L5/182/50 ๖,๐๐๐ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๔๔,๓๒๗,๑๓๔.๒๖ 6/28/50 ๓,๐๐๐ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๖ ธันวาคม ๒๕๔๙ ๒๘ ๑๑,๑๐๘,๔๖๗.๘๘ L6/91/50 ๔,๐๐๐ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๙๑ ๔๘,๐๐๙,๒๓๒.๑๓ L6/182/50 ๓,๐๐๐ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๗๑,๗๑๓,๕๓๔.๐๓ 7/28/50 ๖,๐๐๐ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๙ ๒๘ ๒๑,๙๓๔,๔๕๓.๗๑ L7/91/50 ๖,๐๐๐ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๙๑ ๗๑,๒๓๙,๖๗๒.๗๒ L7/182/50 ๖,๐๐๐ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๔๑,๒๗๔,๓๙๙.๘๘ 8/28/50 ๓,๐๐๐ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๙ ๒๘ ๑๐,๙๓๑,๗๓๔.๗๓ L8/91/50 ๓,๐๐๐ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๙๑ ๓๕,๒๐๙,๗๔๑.๔๘ L8/182/50 ๓,๐๐๐ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๖๙,๖๙๖,๒๗๐.๖๘ 9/28/50 ๖,๐๐๐ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๙ ๒๘ ๒๑,๘๙๐,๖๔๒.๙๙ L9/91/50 ๖,๐๐๐ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๙๑ ๗๐,๒๓๑,๕๑๖.๕๖ L50/182/50 ๖,๐๐๐ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๓๘,๔๗๘,๘๔๑.๐๐ รวม ๗๓,๐๐๐ ๙๕๐,๕๘๘,๓๕๔.๙๘ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่งๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ มียอดตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - จ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๑๗๐,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๙ ได้ดำเนินการแปลงวงเงินตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลให้เป็นพันธบัตรรัฐบาลจำนวน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท (ยอดตั๋วเงินคลังที่แปลงเป็นพันธบัตรรัฐบาลตั้งแต่เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน ๒๕๔๙ มีจำนวนทั้งสิ้น ๒๔,๐๐๐ ล้านบาท) ทำให้ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๙ ตั๋วเงินคลังมียอดหนี้คงค้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๒๖,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๕ ง/หน้า ๑/๑๕ มกราคม ๒๕๕๐
522242
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินในรูป Euro Commercial Paper (ECP)
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินในรูป Euro Commercial Paper (ECP)[๑] ตามที่กระทรวงการคลังได้จัดตั้ง Euro Commercial Paper หรือ ECP Programme วงเงิน ๒,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการจัดจำหน่าย (Dealer Agreement) ความตกลงว่าด้วยการเป็นตัวแทนรับจ่ายเงิน (Agency Agreement) เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๒ และหนังสือการขยายวงเงินกู้ภายใต้ ECP Programme (Notification Letter for an Increase in the Programme Amount) ลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๕ โดยกำหนดให้นำมาใช้เป็น Bridge Financing สำหรับการทำ Refinance เงินกู้ต่างประเทศของภาครัฐบาล และ/หรือสำหรับการลงทุนในโครงการลงทุนเพื่อการพัฒนาของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่างๆ นั้น เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ๑. กระทรวงการคลังได้ทำความตกลงในการกู้เงินภายใต้ ECP Programme วงเงินรวม ๒๓๕.๒ ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อใช้เป็น Bridge Financing โดยนำเงินกู้ที่ได้ไปสมทบการชำระค่าจัดซื้อเครื่องบินโบอิ้ง B๗๗๗-๒๐๐ER ลำที่ ๑ - ๔ ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีรายละเอียดของการเบิกจ่ายเงินกู้ ECP ดังนี้ ๑.๑ เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๙ ทำความตกลงในการออกตราสาร ECP วงเงิน ๕๘.๔ ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเทียบเท่า ๒,๑๕๔,๕๕๑,๒๐๐.๐๐ บาท (คำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยน ๑ เหรียญสหรัฐเท่ากับ ๓๖.๘๙๓ บาท ณ วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๙) เพื่อนำไปใช้สมทบการชำระค่าจัดซื้อเครื่องบินลำที่ ๑ โดยได้ทำการเบิกจ่ายเงินกู้ ECP เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๗ ต่อปี (เทียบเท่า LIBOR ๑ เดือน ลบด้วยส่วนต่างร้อยละ ๐.๐๕ ต่อปี) อายุ ๓๐ วัน (ครบกำหนดไถ่ถอนเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙) และได้รับเงินสุทธิจำนวน ๕๘,๑๔๔,๖๔๘.๐๙ เหรียญสหรัฐ ๑.๒ เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ทำความตกลงในการออกตราสาร ECP วงเงิน ๕๘.๖ ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเทียบเท่า ๒,๑๕๒,๔๙๕,๒๐๐.๐๐ บาท (คำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยน ๑ เหรียญสหรัฐ เท่ากับ ๓๖.๗๓๒ บาท ณ วันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๙) เพื่อนำไปใช้สมทบการชำระค่าจัดซื้อเครื่องบินลำที่ ๒ โดยได้ทำการเบิกจ่ายเงินกู้ ECP เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ และมีรายละเอียดของวงเงิน อัตราดอกเบี้ย และระยะเงินกู้ ดังนี้ ๑.๒.๑ วงเงิน ๔๐,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๕ ต่อปี (เทียบเท่า LIBOR ๑ เดือน ลบด้วยส่วนต่างร้อยละ ๐.๐๗ ต่อปี) อายุ ๓๐ วัน (ครบกำหนดไถ่ถอนเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๔๙) ได้รับเงินสุทธิจำนวน ๓๙,๘๒๕,๗๖๒.๒๙ เหรียญสหรัฐ ๑.๒.๒ วงเงิน ๑๘,๖๐๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๕๕ ต่อปี (เทียบเท่า LIBOR ๑ เดือน ลบด้วยส่วนต่างร้อยละ ๐.๐๖๕ ต่อปี) อายุ ๓๐ วัน (ครบกำหนดไถ่ถอนเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๔๙) ได้รับเงินสุทธิจำนวน ๑๘,๕๑๘,๙๐๒.๖๔ เหรียญสหรัฐ โดยได้รับเงินสุทธิจากการออกตราสารจำนวนรวม ๕๘,๓๔๔,๖๖๔.๙๓ เหรียญสหรัฐ ๑.๓ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ทำความตกลงในการออกตราสาร ECPวงเงิน ๕๘.๖ ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเทียบเท่า ๒,๑๔๐,๓๖๕,๐๐๐.๐๐ บาท (คำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยน ๑ เหรียญสหรัฐ เท่ากับ ๓๖.๕๒๕ บาท ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๙) เพื่อนำไปใช้สมทบการชำระค่าจัดซื้อเครื่องบินลำที่ ๓ โดยได้ทำการเบิกจ่ายเงินกู้ ECP เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ และมีรายละเอียดของวงเงิน อัตราดอกเบี้ย และระยะเงินกู้ ดังนี้ ๑.๓.๑ วงเงิน ๔๐,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๕ ต่อปี (เทียบเท่า LIBOR ๑ เดือน ลบด้วยส่วนต่างร้อยละ ๐.๐๗ ต่อปี) อายุ ๓๑ วัน (ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙) ได้รับเงินสุทธิจำนวน ๓๙,๘๑๙,๙๘๐.๕๐ เหรียญสหรัฐ ๑.๓.๒ วงเงิน ๑๘,๖๐๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๗ ต่อปี (เทียบเท่า LIBOR ๑ เดือน ลบด้วยส่วนต่างร้อยละ ๐.๐๕ ต่อปี) อายุ ๓๑ วัน (ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙) ได้รับเงินสุทธิจำนวน ๑๘,๕๑๕,๙๗๓.๔๘ เหรียญสหรัฐ โดยได้รับเงินสุทธิจากการออกตราสารจำนวนรวม ๕๘,๓๓๕,๙๕๓.๙๘ เหรียญสหรัฐ ๑.๔ เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๔๙ ได้ทำความตกลงในการออกตราสาร ECP วงเงิน ๕๙.๖ ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเทียบเท่า ๒,๑๒๒,๒๙๖,๔๐๐.๐๐ บาท (คำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยน ๑ เหรียญสหรัฐเท่ากับ ๓๕.๖๐๙ บาท ณ วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๔๙) เพื่อนำไปใช้สมทบการชำระค่าจัดซื้อเครื่องบินลำที่ ๔ โดยได้ทำการเบิกจ่ายเงินกู้ ECP เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๙ กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๑๙๖๘๘ ต่อปี (เทียบเท่า LIBOR ๒ สัปดาห์ ลบด้วยส่วนต่างร้อยละ ๐.๑๑ ต่อปี) อายุ ๑๐ วัน (ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๙) และได้รับเงินสุทธิจำนวน ๕๙,๕๑๔,๐๘๖.๗๙ เหรียญสหรัฐ ๒. กระทรวงการคลังได้นำเงินกู้ตามนัยข้อ ๑ ให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กู้ต่อตามนัยเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังได้ผูกพันภายใต้ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้ง ECP Programme ๓. กระทรวงการคลังจะทำการ Rollover เงินกู้ ECP ตามนัยข้อ ๑ และให้บริษัท การบินไทยฯ กู้ต่อตามนัยข้อ ๒ ต่อไปจนกว่าการดำเนินการจัดหาเงินกู้ระยะยาวมาทดแทนจะแล้วเสร็จ ซึ่งเป็นไปตาม หลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ชวลิต เศรษฐเมธีกุล รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ รักษาราชการแทน หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน โสรศ/ผู้จัดทำ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๓๓ ง/หน้า ๑/๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๙
521306
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ วงเงิน ๕๒,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๕๑,๓๘๘,๗๑๖,๗๑๑.๙๒ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๖๑๑,๒๘๓,๒๘๘.๐๘ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) ๑/๒๘/๕๐ L๑/๙๑/๕๐ L๑/๑๘๒/๕๐ ๒/๒๘/๕๐ L๒/๙๑/๕๐ L๒/๑๘๒/๕๐ ๓/๒๘/๕๐ L๓/๙๑/๕๐ ๔/๒๘/๕๐ L๔/๙๑/๕๐ ๖,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ๗,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ๗,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๙ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๙ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๙ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๙ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๙ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๙ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๙ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๓ มกราคม ๒๕๕๐ ๔ เมษายน ๒๕๕๐ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๐ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๐ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๐ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๐ ๒๘ ๙๑ ๑๘๒ ๒๘ ๙๑ ๑๘๒ ๒๘ ๙๑ ๒๘ ๙๑ ๒๒,๓๐๕,๙๗๑.๐๔ ๗๒,๒๔๓,๐๖๑.๑๓ ๑๖๗,๔๓๔,๓๙๖.๙๓ ๑๔,๘๗๓,๓๐๗.๓๒ ๔๘,๒๗๒,๗๑๘.๓๑ ๑๑๙,๒๘๙,๕๓๘.๓๕ ๒๒,๓๖๗,๐๔๘.๗๐ ๘๔,๘๑๕,๖๘๕.๐๔ ๑๑,๑๘๖,๒๘๖.๓๔ ๔๘,๔๙๕,๒๗๔.๙๒ รวม ๕๒,๐๐๐ ๖๑๑,๒๘๓,๒๘๘.๐๘ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลังร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่งๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ มียอดตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - จ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๑๗๐,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยในเดือนตุลาคม ๒๕๔๙ ได้ดำเนินการแปลงวงเงินตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลให้เป็นพันธบัตรรัฐบาลจำนวน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นเดือนตุลาคม ๒๕๔๙ ตั๋วเงินคลังมียอดหนี้คงค้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๓๘,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๓๑ ง/หน้า ๑๒/๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๙
521302
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 3
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ครั้งที่ ๒ (LB095C) โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการประมูล ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคาให้แก่ มูลนิธิสหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดีการศึกษา สาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิ์ประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมประมูลแบบไม่แข่งขันราคา โดยผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคาจะต้องเสนอประมูลผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ จะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบแข่งขันราคาโดยตรง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่าจะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อ ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะเข้าประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบไม่แข่งขันราคา ต้องยื่นความจำนงผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่ประมูลแบบแข่งขันราคา ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ ดังนี้ (๑) ในการประมูลแบบแข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับ และจะแจ้งผลให้ผู้ประมูลได้ทราบในวันประมูลนั้น ในกรณีที่ผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันมีหลายราย และจำนวนที่ขอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ ให้กระทรวงการคลังจัดสรรพันธบัตรแก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวเฉลี่ยตามสัดส่วนจำนวนที่ผู้เสนอประมูลเสนอขอประมูล หากมีเศษเหลือจากการจัดสรรให้กระทรวงการคลังจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูลแต่ละรุ่น และจะได้รับจัดสรรในราคาอัตราถัวเฉลี่ยของการประมูล โดยกรณีที่มีผู้เสนอประมูลแบบไม่แข่งขันราคา เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูลจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วน ส่วนกรณีไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับการประมูลแบบแข่งขันราคา ข้อ ๕ ผู้ประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ แบบแข่งขันราคาได้ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคา จะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่ประมูลแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันประมูลแบบแข่งขันราคา โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่ประมูลแบบไม่แข่งขันราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันประมูลโดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๖ เมื่อผู้ประมูลได้ชำระราคาตามข้อ ๕ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ เข้าบัญชีผู้ประมูลได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ประมูลได้ ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนดให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๘ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๙ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตร (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตร ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๐ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติของนายทะเบียนหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ กรณีที่มีการออกพันธบัตร มิให้ถือว่าพันธบัตรฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๒ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ พันธบัตรรัฐบาล เพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประมูลวันที่ วงเงิน ประมูล (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน ครั้งที่ ๓ (LB095C) อายุคงเหลือ ๒.๔๕ ปี ๒๙ พ.ย. ๒๕๔๙ ๓,๕๐๐ ๑ ธ.ค.๒๕๔๙ ๑๕ พ.ย. ๒๕๔๙ ๑๕ พ.ค. ๒๕๕๒ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๓๗๕ ต่อปี จำนวน ๖,๗๐๐ ล้านบาท ๖ ธ.ค. ๒๕๔๙ ๓,๒๐๐ ๘ ธ.ค. ๒๕๔๙ ๑๕ พ.ย. ๒๕๔๙ ๑๕ พ.ค. ๒๕๕๒ (๑) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ วงเงิน ๖,๗๐๐ ล้านบาท เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ (LB095C) อายุ ๓ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรุ่นนี้เป็น๓๑,๒๐๐ ล้านบาท (วันเปิดจำหน่ายครั้งแรกวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๔๙) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๔๙ (๒) การคำนวณดอกเบี้ยของพันธบัตรประเภทนี้จะคำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรโดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม และ ๑๕ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตร ณ วันไถ่ถอนพันธบัตร หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป (๓) พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๓ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการประมูลตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่ประมูลทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๖,๗๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ อุทิศ ธรรมวาทิน อธิบดีกรมสรรพสามิต รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๓๑ ง/หน้า ๖/๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๙
521298
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินระยะสั้นเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินระยะสั้นเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรค ๓ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินระยะสั้นโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้กับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน ๖,๗๐๐ ล้านบาท โดยมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๙๕๕ ต่อปี เพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ Euro Commercial Paper วงเงินรวม ๒๑,๗๐๐ ล้านเยนที่ครบกำหนดในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ โดยมีระยะเวลาในการชำระคืนต้นเงินไม่เกิน ๑๐ วันและเบิกเงินกู้ทั้งจำนวน ในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ สำหรับการชำระคืนต้นเงินจะนำเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ มาทยอยชำระคืนภายในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ อุทิศ ธรรมวาทิน อธิบดีกรมสรรพสามิต รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๓๑ ง/หน้า ๕/๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๙
521294
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลัง โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ จะออกโดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลัง หากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลังถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะประมูลตั๋วเงินคลัง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่า จะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใดไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนกว่าจะครบวงเงินที่กำหนด ในกรณีที่ผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันมีหลายราย และจำนวนที่ขอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ ให้กระทรวงการคลังจัดสรรตั๋วเงินคลังแก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวเฉลี่ยตามสัดส่วนจำนวนที่ผู้เสนอประมูลเสนอขอประมูลหากมีเศษเหลือจากการจัดสรรให้กระทรวงการคลังจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๕ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้ และจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ข้อ ๖ ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติของนายทะเบียนหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาออกตั๋วเงินคลังโดยระบุชื่อผู้ขอถอนคืนเป็นผู้รับเงิน ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลังนี้มิให้ถือว่าฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดกาประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ๒. ใบประมูลซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๓๑ ง/หน้า ๑/๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๙
518825
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2549
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูล ให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทยธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 49/28/19 ๖,๐๐๐ ๖ กันยายน ๒๕๔๙ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๙ ๒๘ ๒๒,๐๔๐,๒๓๔.๗๕ L49/91/49 ๖,๐๐๐ ๖ กันยายน ๒๕๔๙ ๖ ธันวาคม ๒๕๔๙ ๙๑ ๗๑,๙๒๐,๔๔๘.๐๕ L49/182/49 ๖,๐๐๐ ๖ กันยายน ๒๕๔๙ ๗ มีนาคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๔๔,๐๗๕,๖๙๖.๐๐ 50/28/49 ๖,๐๐๐ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๙ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ ๒๘ ๒๒,๑๘๖,๔๓๕.๕๑ L50/91/49 ๖,๐๐๐ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๙ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๙ ๙๑ ๗๒,๑๘๔,๖๙๔.๔๗ L50/182/49 ๖,๐๐๐ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๙ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๔๔,๐๖๒,๓๕๒.๖๙ 51/28/49 ๖,๐๐๐ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๙ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๙ ๒๘ ๒๒,๓๐๑,๘๙๗.๙๕ L51/91/49 ๖,๐๐๐ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๙ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๙ ๙๑ ๗๒,๕๕๐,๙๙๑.๔๑ L51/182/49 ๖,๐๐๐ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๙ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๔๓,๓๑๔,๖๖๓.๖๗ 52/28/49 ๖,๐๐๐ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๙ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๙ ๒๘ ๒๒,๓๖๖,๖๑๖.๖๓ L52/91/49 ๖,๐๐๐ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๙ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๙ ๙๑ ๗๒,๙๔๖,๓๒๓.๗๗ L52/182/49 ๕,๐๐๐ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๙ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๑๙,๖๒๔,๘๖๑.๓๑ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่งๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงิน ตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ทั้งนี้ วงเงินที่กำหนด หมายถึง วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลที่กู้ในรูปตั๋วเงินคลังสะสมมาจากปีงบประมาณก่อนๆ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ มีวงเงิน ๑๗๐,๐๐๐ ล้านบาท และเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้เพิ่มวงเงินอีก จำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ จำนวน ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่ง ณ สิ้นเดือนกันยายน ๒๕๔๙ ตั๋วเงินคลังมียอดหนี้คงค้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ศานิต ร่างน้อย รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ รักษาราชการแทน หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๖ ธันวาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๒๒ ง/หน้า ๓/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
516241
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙[๑] กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลัง โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ จะออกโดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลัง หากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลังถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะประมูลตั๋วเงินคลัง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่า จะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อนแล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนกว่าจะครบวงเงินที่กำหนด ในกรณีที่ผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันมีหลายราย และจำนวนที่ขอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ ให้กระทรวงการคลังจัดสรรตั๋วเงินคลังแก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวเฉลี่ยตามสัดส่วนจำนวนที่ผู้เสนอประมูลเสนอขอประมูล หากมีเศษเหลือจากการจัดสรรให้กระทรวงการคลังจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๕ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้ และจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ข้อ ๖ ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติของนายทะเบียนหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาออกตั๋วเงินคลังโดยระบุชื่อผู้ขอถอนคืนเป็นผู้รับเงิน ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลังนี้มิให้ถือว่าฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ พรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ๒. ใบประมูลซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๑๖ ง/หน้า ๑/๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
516197
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินในรูป Euro Commercial Paper (ECP)
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินในรูป Euro Commercial Paper (ECP)[๑] ตามที่กระทรวงการคลังได้จัดตั้ง Euro Commercial Paper หรือ ECP Programme วงเงิน ๒,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการจัดจำหน่าย (Dealer Agreement) ความตกลงว่าด้วยการเป็นตัวแทนรับจ่ายเงิน (Agency Agreement) เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๒ และหนังสือการขยายวงเงินกู้ภายใต้ ECP Programme (Notification Letter for an Increase in the Programme Amount) ลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๕ โดยกำหนดให้นำมาใช้เป็น Bridge Financing สำหรับการทำ Refinance เงินกู้ต่างประเทศของภาครัฐบาล และ/หรือสำหรับการลงทุนในโครงการลงทุนเพื่อการพัฒนาของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่างๆ นั้น เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ๑. เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๙ กระทรวงการคลังได้ทำความตกลงกู้เงินภายใต้ ECP Programme วงเงิน ๒๑,๗๐๐,๐๐๐,๐๐๐ เยน ซึ่งเทียบเท่า ๖,๙๕๙,๑๙๐,๐๐๐ บาท (คำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยน ๑๐๐ เยน เท่ากับ ๓๒.๐๗ บาท ณ วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๙) เพื่อใช้เป็น Bridge Financing ในการทำ Refinance เงินกู้ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) ซึ่งได้ทำการเบิกจ่ายเงินกู้ ECP เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๙ กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๐.๓๒๗๕ ต่อปี (เทียบเท่าอัตรา Yen LIBOR ๒ เดือน ลบด้วยส่วนต่างร้อยละ ๐.๐๗ ต่อปี) อายุ ๖๑ วัน (ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙) และได้รับเงินสุทธิจำนวน ๒๑,๖๘๘,๑๒๙,๔๖๓ เยน ๒. กระทรวงการคลังได้ขอให้ Citibank N.A. ซึ่งเป็นธนาคารตัวแทนรับจ่ายเงิน โอนเงินที่ได้รับสุทธิที่ได้จากการกู้เงินจำนวน ๒๑,๖๘๘,๑๒๙,๔๖๓ เยน ตามนัยข้อ ๑. เข้าบัญชี ODA-JBIC ที่ The Bank of Tokyo Mitsubishi UFJ,Ltd., Head Office, Japan บัญชีเลขที่ ๐๒๐๗๗๘๗ เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๙ เวลา ๑๒.๐๐ น. (เวลาท้องถิ่น กรุงโตเกียว) เพื่อชำระคืนต้นเงินกู้ JBIC พร้อมทั้งได้ใช้งบชำระหนี้ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๙ สมทบการชำระคืนอีกจำนวนรวม ๑๐๓,๘๓๕,๙๒๗ เยน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ (๑) สมทบการชำระคืนต้นเงินกู้ JBIC จำนวน ๒๘,๖๕๐,๐๐๐ เยน (๒) ชำระค่าดอกเบี้ยเงินกู้ JBIC จำนวน ๖๓,๓๑๕,๓๙๐ เยน และ (๓) สมทบเงินต้นส่วนขาดซึ่งเกิดจากการหักดอกเบี้ยเงินกู้ ECP จำนวน ๑๑,๘๗๐,๕๓๗ เยน ๓. กระทรวงการคลังได้ใช้เงินกู้ ECP ตามนัยข้อ ๑. และงบชำระหนี้ ฯ ตามนัยข้อ ๒. ไปชำระคืนเงินกู้ JBIC ก่อนครบกำหนด จำนวน ๗ สัญญา ได้แก่ สัญญาเลขที่ TXIII-6 TXIII-10 TXVII-3 TXVII-6 TXVII-9 TXVIII-4 และ TXVIII-11 เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๙ ๔. กระทรวงการคลังจะทำการ Rollover เงินกู้ตามนัยข้อ ๑. ต่อไปจนกว่าการดำเนินการจัดหาเงินกู้ระยะยาวจะแล้วเสร็จ ซึ่งเป็นไปตามหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ๕. การดำเนินการตามนัยข้อ ๑. - ๓. เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการตามแผนการบริหารหนี้ต่างประเทศภาครัฐปีงบประมาณ ๒๕๔๙ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนเงินกู้และภาระหนี้ต่างประเทศ ซึ่งผลการบริหารหนี้โดยใช้เงินกู้ ECP วงเงิน ๒๑,๗๐๐,๐๐๐,๐๐๐ เยน สำหรับระยะเวลาระหว่างวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๙ ถึงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ และการใช้งบชำระหนี้ ฯ สมทบการชำระคืนต้นเงินกู้ JBIC ส่วนที่ขาดจำนวน ๒๘,๖๕๐,๐๐๐ เยน ทำให้กระทรวงการคลัง สามารถลดภาระหนี้สาธารณะได้รวมทั้งสิ้น ๔๑,๘๗๓,๙๓๓ บาท แบ่งเป็น ๕.๑ ภาระดอกเบี้ยที่ประหยัดได้จากการใช้เงินกู้ ECP คิดเป็นจำนวน ๓๑,๐๘๔,๔๐๐ บาท ๕.๒ หนี้คงค้างที่ลดลงเท่ากับวงเงินงบชำระหนี้ ฯ คิดเป็นจำนวน ๙,๑๘๘,๐๕๕ บาท ๕.๓ ภาระดอกเบี้ยในอนาคตที่ลดได้ คิดเป็นจำนวน ๑,๖๐๑,๔๗๘ บาท ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง โสรศ/ผู้จัดทำ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๑/๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
513813
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังโดยอนุมัติ หัวหน้า คปค. ขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วเงินคลังเป็นตราสารหนี้ระยะยาว โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๑ (LB137A) โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการประมูล ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคาให้แก่ มูลนิธิสหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิ์ประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมประมูลแบบไม่แข่งขันราคา โดยผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคาจะต้องเสนอประมูลผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ จะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบแข่งขันราคาโดยตรง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่าจะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อ ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะเข้าประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบไม่แข่งขันราคา ต้องยื่นความจำนงผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่ประมูลแบบแข่งขันราคา ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ (๑) ในการประมูลแบบแข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับ และจะแจ้งผลให้ผู้ประมูลได้ทราบในวันประมูลนั้น ในกรณีที่ผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันมีหลายราย และจำนวนที่ขอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ ให้กระทรวงการคลังจัดสรรพันธบัตร แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวเฉลี่ยตามสัดส่วนจำนวนที่ผู้เสนอประมูลเสนอขอประมูล หากมีเศษเหลือจากการจัดสรรให้กระทรวงการคลังจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูลแต่ละรุ่น และจะได้รับจัดสรรในราคาอัตราถัวเฉลี่ยของการประมูล โดยกรณีที่มีผู้เสนอประมูลแบบไม่แข่งขันราคา เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วน ส่วนกรณีไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับการประมูลแบบแข่งขันราคา ข้อ ๕ ผู้ประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ แบบแข่งขันราคาได้ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคา จะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่ประมูลแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันประมูลแบบแข่งขันราคา โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่ประมูลแบบไม่แข่งขันราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๖ เมื่อผู้ประมูลได้ชำระราคาตามข้อ ๕ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ เข้าบัญชีผู้ประมูลได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ประมูลได้ ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนดให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๘ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๙ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตร (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตร ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๐ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติของนายทะเบียนหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ กรณีที่มีการออกพันธบัตร มิให้ถือว่าพันธบัตรฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๒ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ พันธบัตรรัฐบาล เพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประมูลวันที่ วงเงิน ประมูล (ล้านบาท) วันที่ชะรำเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน ครั้งที่ ๑ (LB137A) อายุคงเหลือ ๖.๗๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๕ ต่อปี จำนวน ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท ๑๑ ต.ค. ๒๕๔๙ ๖,๐๐๐ ๑๓ ต.ค. ๒๕๔๙ ๑๓ ก.ค. ๒๕๔๙ ๑๓ ก.ค. ๒๕๕๖ ๘ พ.ย. ๒๕๔๙ ๖,๐๐๐ ๑๐ พ.ย. ๒๕๔๙ ๑๓ ก.ค. ๒๕๔๙ ๑๓ ก.ค. ๒๕๕๖ ๑๓ ธ.ค. ๒๕๔๙ ๔,๐๐๐ ๑๕ ธ.ค. ๒๕๔๙ ๑๓ ก.ค. ๒๕๔๙ ๑๓ ก.ค. ๒๕๕๖ (๑) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ วงเงิน ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๑ (LB137A) อายุ ๗.๕ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรุ่นนี้เป็น ๕๒,๐๐๐ ล้านบาท (วันเปิดจำหน่ายครั้งแรกวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๙) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ (๒) การคำนวณดอกเบี้ยของพันธบัตรประเภทนี้จะคำนวณจากมูลค่าของพันธบัตร โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๓ มกราคม และ ๑๓ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตร ณ วันไถ่ถอนพันธบัตร หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป (๓) พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๖ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๓ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการประมูลตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่ประมูลทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ศานิต ร่างน้อย รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ รักษาราชการแทน หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน โสรศ/ผู้จัดทำ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๑/๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๙
513804
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังโดยอนุมัติ หัวหน้า คปค. ขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วเงินคลังเป็นตราสารหนี้ระยะยาว โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ (LB167A) โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการประมูล ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคาให้แก่ มูลนิธิสหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดีการศึกษา สาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิ์ประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมประมูลแบบไม่แข่งขันราคา โดยผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคาจะต้องเสนอประมูลผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ จะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบแข่งขันราคาโดยตรง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่าจะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อ ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะเข้าประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบไม่แข่งขันราคา ต้องยื่นความจำนงผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่ประมูลแบบแข่งขันราคา ๑ วันทำการ และ PrimaryDealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ (๑) ในการประมูลแบบแข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับ และจะแจ้งผลให้ผู้ประมูลได้ทราบในวันประมูลนั้น ในกรณีที่ผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันมีหลายราย และจำนวนที่ขอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ ให้กระทรวงการคลังจัดสรรพันธบัตร แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวเฉลี่ยตามสัดส่วนจำนวนที่ผู้เสนอประมูลเสนอขอประมูล หากมีเศษเหลือจากการจัดสรรให้กระทรวงการคลังจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูลแต่ละรุ่น และจะได้รับจัดสรรในราคาอัตราถัวเฉลี่ยของการประมูล โดยกรณีที่มีผู้เสนอประมูลแบบไม่แข่งขันราคา เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วน ส่วนกรณีไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับการประมูลแบบแข่งขันราคา ข้อ ๕ ผู้ประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ แบบแข่งขันราคาได้ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูลโดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคา จะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่ประมูลแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันประมูลแบบแข่งขันราคา โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่ประมูลแบบไม่แข่งขันราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๖ เมื่อผู้ประมูลได้ชำระราคาตามข้อ ๕ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ เข้าบัญชีผู้ประมูลได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ประมูลได้ ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนดให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๘ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๙ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตร (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตร ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๐ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติของนายทะเบียนหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ กรณีที่มีการออกพันธบัตร มิให้ถือว่าพันธบัตรฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๒ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ พันธบัตรรัฐบาล เพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประมูลวันที่ วงเงิน ประมูล (ล้านบาท) วันที่ชะรำเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน ครั้งที่ ๒ (LB167A) อายุคงเหลือ ๙.๗๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๔๐ ต่อปี จำนวน ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท ๒๕ ต.ค. ๒๕๔๙ ๖,๐๐๐ ๒๗ ต.ค. ๒๕๔๙ ๒๗ ก.ค. ๒๕๔๙ ๒๗ ก.ค. ๒๕๕๙ ๒๒ พ.ย. ๒๕๔๙ ๖,๐๐๐ ๒๔ พ.ย. ๒๕๔๙ ๒๗ ก.ค. ๒๕๔๙ ๒๗ ก.ค. ๒๕๕๙ ๒๗ ธ.ค. ๒๕๔๙ ๔,๐๐๐ ๒๙ ธ.ค. ๒๕๔๙ ๒๗ ก.ค. ๒๕๔๙ ๒๗ ก.ค. ๒๕๕๙ (๑) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ วงเงิน ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ (LB167A) อายุ ๑๐.๕ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรุ่นนี้เป็น ๕๒,๐๐๐ ล้านบาท (วันเปิดจำหน่ายครั้งแรกวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๔๙) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๙ (๒) การคำนวณดอกเบี้ยของพันธบัตรประเภทนี้จะคำนวณจากมูลค่าของพันธบัตร โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรหนึ่งวัน การคำนวณ ดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๗ มกราคม และ ๒๗ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตร ณ วันไถ่ถอนพันธบัตร หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป (๓) พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๓ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการประมูลตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่ประมูลทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ศานิต ร่างน้อย รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ รักษาราชการแทน หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน โสรศ/ผู้จัดทำ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๖/๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๙
513648
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามวงเงินและรายละเอียดในข้อ ๘ ตารางกำหนดการประมูลพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการประมูล ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคาให้แก่ มูลนิธิสหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดีการศึกษา สาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิ์ประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมประมูลแบบไม่แข่งขันราคา โดยผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคาจะต้องเสนอประมูลผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลตามข้อ ๑ คือ พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท กำหนดวงเงิน อัตราดอกเบี้ย เงื่อนไขและวงเงินตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะประมูลพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ จะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบแข่งขันราคาโดยตรง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่าจะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อ ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะเข้าประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบไม่แข่งขันราคา ต้องยื่นความจำนงผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่ประมูลแบบแข่งขันราคา ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ดังนี้ (๑) ในการประมูลแบบแข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับ และจะแจ้งผลให้ผู้ประมูลได้ทราบในวันประมูลนั้น ในกรณีที่ผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันมีหลายราย และจำนวนที่ขอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ ให้กระทรวงการคลังจัดสรรพันธบัตรแก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าว เฉลี่ยตามสัดส่วนจำนวนที่ผู้เสนอประมูลเสนอขอประมูลหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร ให้กระทรวงการคลังจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูลแต่ละรุ่น และจะได้รับจัดสรรในราคาอัตราถัวเฉลี่ยของการประมูลโดยกรณีที่มีผู้เสนอประมูลแบบไม่แข่งขันราคาเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วน ส่วนกรณีไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับการประมูลแบบแข่งขันราคา ข้อ ๕ ผู้ประมูลพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ แบบแข่งขันราคาได้ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคา จะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่ประมูลแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันประมูลแบบแข่งขันราคา โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่ประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๖ เมื่อผู้ประมูลได้ชำระราคาตามข้อ ๕ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ เข้าบัญชีผู้ประมูลได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ประมูลได้ ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ ไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนดให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๘ กระทรวงการคลังได้กำหนดการประมูลพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางกำหนดการประมูลพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ พันธบัตรรัฐบาล กรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประมูลวันที่ วงเงิน ประมูล (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน LB213A1 อายุคงเหลือ ๑๔.๔๕ ปี อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ ๕.๘๕ ต่อปี จำนวน ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท ๑๘ ต.ค. ๒๕๔๙ ๔,๐๐๐ ๒๐ ต.ค. ๒๕๔๙ ๓๐ ก.ย.๒๕๔๙ ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๔ ๑ พ.ย. ๒๕๔๙ ๔,๐๐๐ ๓ พ.ย. ๒๕๔๙ ๓๐ ก.ย.๒๕๔๙ ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๔ ๑๕ พ.ย. ๒๕๔๙ ๓,๐๐๐ ๑๗ พ.ย.๒๕๔๙ ๓๐ ก.ย.๒๕๔๙ ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๔ ๒๙ พ.ย. ๒๕๔๙ ๓,๐๐๐ ๑ ธ.ค.๒๕๔๙ ๓๐ ก.ย.๒๕๔๙ ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๔ หมายเหตุ: 1. พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ วงเงินรวม ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๕ (LB213A) อายุ ๑๕ ปี จะทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรุ่นนี้เป็น ๒๙,๐๐๐ ล้านบาท (วันเปิดจำหน่ายครั้งแรก วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๙) ข้อ ๙ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการประมูลตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่ประมูลทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับประมูลจากผู้ประมูลรายใดก็ได้และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ศานิต ร่างน้อย รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ รักษาราชการแทน หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ใบประมูลซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๑๕ ง/หน้า ๓/๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
513464
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 44/28/49 ๖,๐๐๐ ๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๒๘ ๒๒,๓๑๘,๒๗๒.๗๓ L44/91/49 ๗,๐๐๐ ๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๙๑ ๘๓,๙๖๒,๒๑๒.๘๖ L44/182/49 ๗,๐๐๐ ๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๗๐,๙๕๑,๖๓๗.๗๘ 45/28/49 ๖,๐๐๐ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๖ กันยายน ๒๕๔๙ ๒๘ ๒๒,๒๐๗,๗๙๘.๒๑ L45/91/49 ๗,๐๐๐ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๙๑ ๘๔,๕๐๑,๘๐๕.๐๓ L45/182/49 ๗,๐๐๐ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๖๙,๖๒๘,๒๓๕.๘๕ 46/28/49 ๖,๐๐๐ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๙ ๒๘ ๒๑,๙๖๕,๙๕๐.๓๗ L46/91/49 ๗,๐๐๐ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๙๑ ๘๓,๙๑๑,๒๕๑.๙๕ L46/182/49 ๗,๐๐๐ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๖๙,๗๕๓,๑๘๙.๕๕ 47/28/49 ๖,๐๐๐ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๙ ๒๘ ๒๑,๙๑๔,๖๔๔.๗๘ L47/91/49 ๗,๐๐๐ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๙๑ ๘๓,๓๙๔,๖๒๘.๕๒ L47/182/49 ๗,๐๐๐ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๖๙,๗๓๘,๘๖๕.๒๔ 48/28/49 ๖,๐๐๐ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๙ ๒๘ ๒๑,๙๑๒,๐๑๖.๐๒ L48/91/49 ๗,๐๐๐ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๙๑ ๘๓,๒๙๙,๙๓๙.๐๗ L48/182/49 ๗,๐๐๐ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๖๙,๐๐๒,๙๒๕.๒๐ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่งๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงิน ตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ทั้งนี้ วงเงินที่กำหนด หมายถึง วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลที่กู้ในรูปตั๋วเงินคลังสะสมมาจากปีงบประมาณก่อนๆ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ มีวงเงิน ๑๗๐,๐๐๐ ล้านบาท และเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้เพิ่มวงเงินอีก จำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ จำนวน ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่ง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม ๒๕๔๙ ตั๋วเงินคลังมียอดหนี้ คงค้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๔๕,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ศานิต ร่างน้อย รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ รักษาราชการแทน หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน โสรศ/ผู้จัดทำ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๑๐ ง/หน้า ๑/๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๙
511050
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙[๑] กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลัง โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ จะออกโดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลัง หากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลังถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอน อย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทย จะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะประมูลตั๋วเงินคลัง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้ โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่า จะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อ ไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนกว่าจะครบวงเงินที่กำหนด ในกรณีที่ผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันมีหลายราย และจำนวนที่ขอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ ให้กระทรวงการคลังจัดสรรตั๋วเงินคลังแก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวเฉลี่ยตามสัดส่วนจำนวนที่ผู้เสนอประมูลเสนอขอประมูล หากมีเศษเหลือจากการจัดสรรให้กระทรวงการคลังจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๕ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้ และจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ข้อ ๖ ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้จะต้องชำระราคา ภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือออกเป็นใบตราสารหนี้ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติของนายทะเบียนหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาออกตั๋วเงินคลัง โดยระบุชื่อผู้ขอถอนคืนเป็นผู้รับเงิน ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลังนี้มิให้ถือว่าฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ พรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ๒. ใบประมูลซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) นันทนา/ผู้จัดทำ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๐๕ ง/หน้า ๒/๖ ตุลาคม ๒๕๔๙
510377
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลังในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙[๑] กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลัง โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ จะออกโดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลัง หากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลังถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะประมูลตั๋วเงินคลัง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรม ประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่า จะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใดไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนกว่าจะครบวงเงินที่กำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้ และจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ข้อ ๖ ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยส่งมอบตั๋วเงินคลังให้ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ หรือนำตั๋วเงินคลังฝากเข้าบัญชีผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติของนายทะเบียนหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาออกตั๋วเงินคลังโดยระบุชื่อผู้ขอถอนคืนเป็นผู้รับเงิน ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลังนี้มิให้ถือว่าฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ พรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 ๒. ใบประมูลซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พัชรินทร์/ผู้จัดทำ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๓/๑๓ กันยายน ๒๕๔๙
510375
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2549
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 40/28/49 ๕,๒๐๐ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๒๘ ๑๙,๐๑๓,๑๕๑.๒๑ L40/91/49 ๗,๐๐๐ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๙ ๙๑ ๘๓,๕๙๗,๑๔๐.๑๙ L40/182/49 ๖,๐๐๐ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ๓ มกราคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๔๙,๐๑๙,๕๓๖.๖๑ 41/28/49 ๖,๐๐๐ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๒๘ ๒๒,๑๗๔,๕๒๑.๖๕ L41/91/49 ๗,๐๐๐ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ ๙๑ ๘๔,๕๕๙,๖๗๙.๔๙ L41/182/49 ๖,๐๐๐ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๔๘,๒๙๘,๐๗๓.๒๖ 42/28/49 ๖,๐๐๐ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๒๘ ๒๒,๓๐๔,๖๐๗.๖๖ L42/91/49 ๗,๐๐๐ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๙ ๙๑ ๘๔,๖๒๘,๕๔๓.๕๔ L42/182/49 ๖,๐๐๐ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๔๗,๗๓๗,๕๕๑.๔๘ 43/28/49 ๖,๐๐๐ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๒๘ ๒๒,๓๔๗,๕๓๔.๖๔ L43/91/49 ๗,๐๐๐ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๙ ๙๑ ๘๔,๙๘๙,๔๐๙.๕๒ L43/182/49 ๖,๐๐๐ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๐ ๑๘๒ ๑๔๗,๔๑๑,๓๘๕.๓๐ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้ปรับลดวงเงินการประมูลตั๋วเงินคลัง เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๔๙ รุ่นอายุ ๒๘ วัน งวด ๔๐/๒๘/๔๙ จากจำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท เป็นจำนวน ๕,๒๐๐ ล้านบาท ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง จะเป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่งๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ทั้งนี้ วงเงินที่กำหนด หมายถึง วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลที่กู้ในรูปตั๋วเงินคลังสะสมมาจากปีงบประมาณก่อนๆ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ มีวงเงิน ๑๗๐,๐๐๐ ล้านบาท และเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้เพิ่มวงเงินอีกจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ จำนวน ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่ง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๙ ตั๋วเงินคลังมียอดหนี้คงค้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๔๑,๒๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ประกอบ ตันติยาพงศ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน พัชรินทร์/ผู้จัดทำ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑/๑๓ กันยายน ๒๕๔๙
510196
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงวันประมูลพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ครั้งที่ 4
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงวันประมูลพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๔[๑] ตามที่กระทรวงการคลังได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ ได้กำหนดให้มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๔ วงเงิน ๒๔,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท รวม ๖ งวด ตั้งแต่วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๔๙ - ๒๐ กันยายน ๒๕๔๙ และลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม ๑๒๓ ตอนพิเศษ ๗๗ ง ลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙ แล้ว นั้น เนื่องจากวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นวันหยุดราชการและวันหยุดธนาคาร ตามคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒/๒๕๔๙ เรื่อง มอบอำนาจการรักษาความสงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่กองทัพภาค กระทรวงการคลัง จึงเปลี่ยนแปลงวันประมูลพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๔ จากวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๙ วงเงินประมูล จำนวน ๔,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สี่พันล้านบาทถ้วน) เป็นวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๙ สำหรับเงื่อนไขอื่นๆ ไม่เปลี่ยนแปลง ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ศานิต ร่างน้อย รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ รักษาราชการแทน หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน นันทนา/ผู้จัดทำ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๑/๓๐ กันยายน ๒๕๔๙
508020
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลัง ขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ เพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ Euro Commercial Paper (ECP) ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ธนาคารโลก (IBRD) และธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) วงเงิน ๑๕๖ ล้านเหรียญสหรัฐ และเงินกู้ Floating Rate Notes (FRNs) วงเงิน ๕๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ก่อนครบกำหนดเมื่อวันที่ ๑๐ และ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ตามลำดับ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ วงเงิน ๒๔,๕๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีระยะไถ่ถอน ๓ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๓๗๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม และ ๑๕ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตร หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. การออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลใช้วิธีการประมูล ดังนี้ ๒.๑ จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ๒.๒ จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคาให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิ์ประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมประมูลแบบไม่แข่งขันราคา โดยผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคาจะต้องเสนอประมูลผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ๓. การประมูลพันธบัตรตามนัยข้อ ๒ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๐ พฤษภาคม – ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๙ โดยได้รับเงินในวันทำการที่สองนับจากวันประมูล และมีรายละเอียดผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ ตามตารางแนบท้ายประกาศ ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการ ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ๕. การดำเนินการกู้เงินบาทโดยการออกพันธบัตรรัฐบาลนี้ มีต้นทุนการกู้เงินที่แท้จริงเท่ากับร้อยละ ๕.๓๖๙๖ ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยของเงินกู้ธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเชียที่อยู่ที่ระดับร้อยละ ๕.๙๙ ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยของเงินกู้ Floating Rate Notes ที่อยู่ที่ระดับร้อยละ ๕.๔๓ ต่อปี ทำให้กระทรวงการคลังสามารถประหยัดภาระดอกเบี้ยเป็นเงิน ประมาณ ๔๘ ล้านบาท ต่อปี ภายในระยะเวลา ๓ ปี ประกาศ ณ วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ศานิต ร่างน้อย รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางแนบท้ายประกาศ ผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ครั้งที่ 2 (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) นันทนา/ผู้จัดทำ ๑๒ กันยายน ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๔ ง/หน้า ๗/๖ กันยายน ๒๕๔๙
504711
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 36/28/49 ๕,๐๐๐ ๗ มิถุนายน ๒๕๔๙ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ๒๘ ๑๗,๙๘๙,๐๙๐.๐๓ L36/91/49 ๕,๐๐๐ ๗ มิถุนายน ๒๕๔๙ ๖ กันยายน ๒๕๔๙ ๙๑ ๕๙,๗๘๖,๓๑๔.๕๙ L36/182/49 ๕,๐๐๐ ๗ มิถุนายน ๒๕๔๙ ๖ ธันวาคม ๒๕๔๙ ๑๘๒ ๑๑๙,๔๗๘,๖๖๒.๗๐ 37/28/49 ๕,๐๐๐ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๙ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ๒๘ ๑๘,๐๖๖,๕๙๒.๕๐ L37/91/49 ๕,๐๐๐ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๙ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๙ ๙๑ ๖๐,๔๙๙,๘๑๓.๕๓ L37/182/49 ๕,๐๐๐ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๙ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๙ ๑๘๒ ๑๒๒,๓๙๓,๓๗๖.๖๑ 38/28/49 ๕,๐๐๐ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๙ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ๒๘ ๑๗,๙๐๔,๔๕๒.๒๗ L38/91/49 ๕,๐๐๐ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๙ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๙ ๙๑ ๖๐,๙๓๖,๔๕๗.๓๙ L38/182/49 ๕,๐๐๐ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๙ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๙ ๑๘๒ ๑๒๓,๙๕๑,๖๖๐.๙๒ 39/28/49 ๕,๐๐๐ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๙ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ๒๘ ๑๗,๘๗๙,๒๒๕.๒๒ L39/91/49 ๕,๐๐๐ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๙ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๙ ๙๑ ๖๐,๗๒๕,๕๒๘.๘๐ L39/182/49 ๕,๐๐๐ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๙ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๙ ๑๘๒ ๑๒๔,๕๓๙,๓๑๑.๗๓ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง จะเป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่งๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงิน ตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ทั้งนี้ วงเงินที่กำหนด หมายถึง วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลที่กู้ในรูปตั๋วเงินคลังสะสมมาจากปีงบประมาณก่อนๆ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ มีวงเงิน ๑๗๐,๐๐๐ ล้านบาท และเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้เพิ่มวงเงินอีก จำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ จำนวน ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่ง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน ๒๕๔๙ ตั๋วเงินคลังมียอดหนี้คงค้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๓๘,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ศานิต ร่างน้อย รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ รักษาราชการแทน หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน นันทนา/ผู้จัดทำ ๑ กันยายน ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๑/๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙
500304
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินในรูป Euro Commercial Paper (ECP)
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินในรูป Euro Commercial Paper (ECP)[๑] ตามที่กระทรวงการคลังได้จัดตั้ง Euro Commercial Paper หรือ ECP Programme วงเงิน ๒,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการจัดจำหน่าย (Dealer Agreement) ความตกลง ว่าด้วยการเป็นตัวแทนรับจ่ายเงิน (Agency Agreement) เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๒ และหนังสือการขยายวงเงินกู้ภายใต้ ECP Programme (Notification Letter for an Increase in the Programme Amount) ลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๕ โดยกำหนดให้นำมาใช้เป็น Bridge Financing สำหรับการทำ Refinance เงินกู้ต่างประเทศของภาครัฐบาล และ/หรือสำหรับการลงทุนในโครงการลงทุน เพื่อการพัฒนาของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่างๆ นั้น เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ๑. เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙ กระทรวงการคลังได้ทำความตกลงในการกู้เงินภายใต้ ECP Programme วงเงิน ๕๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเทียบเท่า ๑๙,๑๑๔,๕๐๐,๐๐๐ บาท (คำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยน ๑ เหรียญสหรัฐ เท่ากับ ๓๘.๒๒๙ บาท ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙) เพื่อใช้สำหรับการทำ Refinance ตราสารหนี้ชนิดอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Notes : FRN) โดยได้ทำการเบิกจ่ายเงินกู้ ECP เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๔๖๘๘ ต่อปี (เทียบเท่าอัตรา LIBOR ๖ เดือน ลบด้วยส่วนต่างร้อยละ ๐.๐๗ ต่อปี) อายุ ๑๘๔ วัน (ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙) และได้รับเงินสุทธิจำนวน ๔๘๖,๙๔๑,๕๐๑.๔๗ เหรียญสหรัฐ ๒. กระทรวงการคลังได้ขอให้ Citibank N.A. ซึ่งเป็นธนาคารตัวแทนรับจ่ายเงิน โอนเงินที่ได้รับสุทธิจากการกู้เงินจำนวน ๔๘๖,๙๔๑,๕๐๑.๔๗ เหรียญสหรัฐ ตามนัยข้อ ๑. พร้อมจัดสรรงบชำระหนี้เพื่อสมทบส่วนที่ขาดจำนวน ๑๓,๐๕๘,๔๙๘.๕๓ เหรียญสหรัฐ เพื่อชำระคืนตราสารหนี้ FRN ที่ Deutsche Bank Trust Company Americas, ABA 021-001-033, Deutsche Bank AG, London บัญชีเลขที่ ๐๔-๔๑๑-๗๓๙ REF : CTAS/20060419286, SWIFT : BKTRUS 33 เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ เวลา ๑๐.๐๐ น. (เวลาท้องถิ่น นครนิวยอร์ค) ๓. กระทรวงการคลังได้ใช้เงินกู้ในรูป ECP ตามนัยข้อ ๑. และพันธบัตรเงินบาท รวมทั้งใช้งบชำระหนี้ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๙ สมทบการชำระคืนตราสารหนี้ FRN วงเงิน ๑,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ก่อนครบกำหนด เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๔. กระทรวงการคลังจะใช้งบชำระหนี้ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๐ ชำระคืนเงินกู้ ECP ตามนัยข้อ ๑. หรือทำการ Rollover ต่อไปจนกว่าการดำเนินการจัดหาเงินกู้ระยะยาวจะแล้วเสร็จ ซึ่งเป็นไปตามหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ๕. การดำเนินการตามนัยข้อ ๑. - ๓. เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการตามแผนการบริหารหนี้ต่างประเทศภาครัฐ ปีงบประมาณ ๒๕๔๙ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนเงินกู้และภาระหนี้ต่างประเทศ ซึ่งผลการบริหารหนี้โดยใช้เงินกู้ ECP วงเงิน ๕๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับระยะเวลาระหว่างวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ถึงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ทำให้กระทรวงการคลังสามารถลดภาระดอกเบี้ยได้ เป็นจำนวน ๓๑,๔๖๑,๔๑๘.๘๐ บาท ประกาศ ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ศานิต ร่างน้อย รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ นันทนา/ผู้จัดทำ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๗๙ ง/หน้า ๑/๒๑ กรกฎาคม ๒๕๔๙
500258
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒[๑] กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามวงเงินและรายละเอียดในข้อ ๘ ตารางกำหนดการประมูลพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว. (ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการประมูล ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคาให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคล เพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิ์ประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมประมูลแบบไม่แข่งขันราคา โดยผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคาจะต้องเสนอประมูลผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลตามข้อ ๑ คือ พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๔ ครั้งที่ ๕ และครั้งที่ ๖ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท กำหนดวงเงิน อัตราดอกเบี้ย เงื่อนไข และวงเงินตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำ หน่ายพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๔ ครั้งที่ ๕ และครั้งที่ ๖ ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะประมูลพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๔ ครั้งที่ ๕ และครั้งที่ ๖ จะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบแข่งขันราคาโดยตรง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่าจะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อ ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะเข้าประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบไม่แข่งขันราคา ต้องยื่นความจำนงผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่ประมูลแบบแข่งขันราคา ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๔ ครั้งที่ ๕ และครั้งที่ ๖ ดังนี้ (๑) ในการประมูลแบบแข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับ และจะแจ้งผลให้ผู้ประมูลได้ทราบในวันประมูลนั้น (๒) ในการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูลแต่ละรุ่น และจะได้รับจัดสรรในราคาอัตราถัวเฉลี่ยของการประมูล โดยกรณีที่มีผู้เสนอประมูลแบบไม่แข่งขันราคา เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วน ส่วนกรณีไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับการประมูลแบบแข่งขันราคา ข้อ ๕ ผู้ประมูลพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๔ ครั้งที่ ๕ และครั้งที่ ๖ แบบแข่งขันราคาได้ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคา จะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่ประมูลแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันประมูลแบบแข่งขันราคา โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่ประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ ไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๗ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้เก็บรักษาพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๔ ครั้งที่ ๕ และครั้งที่ ๖ ไว้ และจะออกบัญชีรายละเอียดตราสารหนี้ให้ ข้อ ๘ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการประมูลพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๔ ครั้งที่ ๕ และครั้งที่ ๖ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางประมูลพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๔ ครั้งที่ ๕ และครั้งที่ ๖ พันธบัตรรัฐบาล กรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ประมูลวันที่ วงเงิน ประมูล (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน ครั้งที่ ๓ (LB137A)/1 อายุ ๗.๒๗ ปี อัตรา ดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๕ ต่อปี จำนวน ๒๔,๐๐๐ ล้านบาท ๔ เม.ย. ๒๕๔๙ ๔,๐๐๐ ๗ เม.ย. ๒๕๔๙ ๑๓ ม.ค. ๒๕๔๙ ๑๓ ก.ค.๒๕๕๖ ๑๐ พ.ค. ๒๕๔๙ ๔,๐๐๐ ๑๕ พ.ค. ๒๕๔๙ ๑๓ ม.ค. ๒๕๔๙ ๑๓ ก ค. ๒๕๕๖ ๗ มิ.ย. ๒๕๔๙ ๔,๐๐๐ ๙ มิ.ย. ๒๕๔๙ ๑๓ ม.ค .๒๕๔๙ ๑๓ ก.ค. ๒๕๕๖ ๑๒ ก.ค. ๒๕๔๙ ๔,๐๐๐ ๑๔ ก.ค. ๒๕๔๙ ๑๓ ก.ค. ๒๕๔๙ ๑๓ ก.ค. ๒๕๕๖ ๙ ส.ค. ๒๕๔๙ ๔,๐๐๐ ๑๑ ส.ค. ๒๕๔๙ ๑๓ ก.ค. ๒๕๔๙ ๑๓ ก.ค. ๒๕๕๖ ๖ ก.ย. ๒๕๔๙ ๔,๐๐๐ ๘ ก.ย .๒๕๔๙ ๑๓ ก.ค. ๒๕๔๙ ๑๓ ก.ค. ๒๕๕๖ ครั้งที่ ๔ (LB167A) /2 อายุ ๑๐.๒๗ ปี อัตรา ดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๔๐ ต่อปี จำนวน ๒๔,๐๐๐ ล้านบาท ๑๘ เม.ย. ๒๕๔๙ ๔,๐๐๐ ๒๑ เม.ย. ๒๕๔๙ ๒๗ ม.ค ๒๕๔๙ ๒๗ ก.ค.๒๕๕๙ ๒๔ พ.ค. ๒๕๔๙ ๔,๐๐๐ ๒๖ พ.ค. ๒๕๔๙ ๒๗ ม.ค.๒๕๔๙ ๒๗ ก.ค.๒๕๕๙ ๒๑ มิ.ย. ๒๕๔๙ ๔,๐๐๐ ๒๓ มิ.ย. ๒๕๔๙ ๒๗ ม.ค.๒๕๔๙ ๒๗ ก.ค.๒๕๕๙ ๒๖ ก.ค .๒๕๔๙ ๔,๐๐๐ ๒๘ ก.ค. ๒๕๔๙ ๒๗ ก.ค.๒๕๔๙ ๒๗ ก.ค.๒๕๕๙ ๒๓ ส.ค. ๒๕๔๙ ๔,๐๐๐ ๒๕ ส.ค. ๒๕๔๙ ๒๗ ก.ค.๒๕๔๙ ๒๗ ก.ค.๒๕๕๙ ๒๐ ก.ย. ๒๕๔๙ ๔,๐๐๐ ๒๒ ก.ย. ๒๕๔๙ ๒๗ ก.ค.๒๕๔๙ ๒๗ ก.ค.๒๕๕๙ ครั้งที่ ๕ (LB213A) อายุ ๑๕ ปี อัตรา ดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๘๕ ต่อปี จำนวน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท ๒๙ มี.ค. ๒๕๔๙ ๒,๕๐๐ ๓๑ มี.ค. ๒๕๔๙ ๓๑ มี.ค. ๒๕๔๙ ๓๑ มี.ค.๒๕๖๔ ๑๑ เม.ย. ๒๕๔๙ ๒,๕๐๐ ๑๗ เม.ย.๒๕๔๙ ๓๑ มี.ค. ๒๕๔๙ ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๔ ๒๖ เม.ย. ๒๕๔๙ ๒,๕๐๐ ๒๘ เม.ย.๒๕๔๙ ๓๑ มี.ค. ๒๕๔๙ ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๔ ๑๗ พ.ค. ๒๕๔๙ ๒,๕๐๐ ๑๙ พ.ค. ๒๕๔๙ ๓๑ มี.ค. ๒๕๔๙ ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๔ ๓๑ พ.ค. ๒๕๔๙ ๒,๕๐๐ ๒ มิ.ย. ๒๕๔๙ ๓๑ มี.ค. ๒๕๔๙ ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๔ ๑๔ มิ.ย. ๒๕๔๙ ๒,๕๐๐ ๑๖ มิ.ย. ๒๕๔๙ ๓๑ มี.ค. ๒๕๔๙ ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๔ ครั้งที่ ๖ (LB267A) อายุ ๒๐ ปี อัตรา ดอกเบี้ยร้อยละ ๖.๑๕ ต่อปี จำนวน ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท ๕ ก.ค. ๒๕๔๙ ๒,๕๐๐ ๗ ก.ค. ๒๕๔๙ ๗ ก.ค. ๒๕๔๙ ๗ ก.ค.๒๕๖๙ ๑๙ ก.ค. ๒๕๔๙ ๒,๕๐๐ ๒๑ ก.ค. ๒๕๔๙ ๗ ก.ค. ๒๕๔๙ ๗ ก.ค. ๒๕๖๙ ๒ ส.ค. ๒๕๔๙ ๒,๕๐๐ ๔ ส.ค. ๒๕๔๙ ๗ ก.ค. ๒๕๔๙ ๗ ก.ค. ๒๕๖๙ ๑๖ ส.ค. ๒๕๔๙ ๒,๕๐๐ ๑๘ ส.ค. ๒๕๔๙ ๗ ก.ค. ๒๕๔๙ ๗ ก.ค. ๒๕๖๙ ๓๐ ส.ค. ๒๕๔๙ ๒,๐๐๐ ๑ ก.ย. ๒๕๔๙ ๗ ก.ค. ๒๕๔๙ ๗ ก.ค. ๒๕๖๙ ๑๓ ก.ย. ๒๕๔๙ ๒,๐๐๐ ๑๕ ก.ย. ๒๕๔๙ ๗ ก.ค. ๒๕๔๙ ๗ ก.ค. ๒๕๖๙ หมายเหตุ :- ๑. พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๓ วงเงินรวม ๒๔,๐๐๐ ล้านบาท เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๑ (LB137A) อายุ ๗.๕ ปี จะทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรุ่นนี้เป็น ๓๖,๐๐๐ ล้านบาท (วันเปิดจำหน่ายครั้งแรก วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๙) ๒. พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๔ วงเงินรวม ๒๔,๐๐๐ ล้านบาท เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ (LB167A) อายุ ๑๐.๕ ปี จะทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรุ่นนี้เป็น ๓๖,๐๐๐ ล้านบาท (วันเปิดจำหน่ายครั้งแรก วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๔๙) ข้อ ๙ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการประมูลตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่ประมูลทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๗๗,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับประมูลจากผู้ประมูลรายใดก็ได้และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ประกอบ ตันติยาพงศ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ใบประมูลซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) นันทนา/ผู้จัดทำ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๔/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙
499175
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิะการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 31/28/49 L31/91/49 L31/182/49 32/28/49 L32/91/49 L32/182/49 33/28/49 L33/91/49 L33/182/49 34/28/49 L34/91/49 L34/182/49 35/28/49 L35/91/49 L35/182/49 ๖,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ๗,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ๗,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ๗,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๗ มิถุนายน ๒๕๔๙ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๙ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๙ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๙ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ๒๘ ๙๑ ๑๘๒ ๒๘ ๙๑ ๑๘๒ ๒๘ ๙๑ ๑๘๒ ๒๘ ๙๑ ๑๘๒ ๒๘ ๙๑ ๑๘๒ ๒๐,๖๗๑,๕๔๘.๕๔ ๖๙,๑๓๙,๓๔๕.๗๒ ๑๑๘,๕๑๔,๑๒๙.๕๔ ๒๐,๖๒๓,๓๒๒.๔๕ ๖๘,๐๒๐,๒๖๙.๒๖ ๑๑๗,๘๖๒,๙๑๒.๕๒ ๒๐,๗๐๘,๘๘๙.๕๕ ๘๐,๐๒๔,๐๒๒.๐๓ ๑๑๖,๙๘๗,๘๘๓.๘๓ ๒๑,๑๒๔,๒๒๙.๘๓ ๘๑,๓๒๑,๑๕๒.๔๔ ๑๑๗,๐๓๑,๘๑๕.๑๖ ๒๑,๓๖๙,๑๖๔.๕๔ ๘๑,๓๘๕,๑๗๐.๖๓ ๑๑๗,๖๓๐,๒๕๑.๖๘ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง จะเป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่งๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ทั้งนี้ วงเงินที่กำหนด หมายถึง วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลที่กู้ในรูปตั๋วเงินคลังสะสมมาจากปีงบประมาณก่อนๆ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ มีวงเงิน ๑๗๐,๐๐๐ ล้านบาท และเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้เพิ่มวงเงินอีกจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ จำนวน ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่ง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๙ ตั๋วเงินคลังมียอดหนี้คงค้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ประกอบ ตันติยาพงศ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน นันทนา/ผู้จัดทำ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๑/๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๙
497946
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินระยะสั้นเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินระยะสั้นเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๑[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ๑. กระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการกู้เงินระยะสั้นโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้กับสถาบันการเงินจำนวน ๓ แห่ง เพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ Euro Commercial Paper วงเงิน ๑๕๖ ล้านเหรียญสหรัฐ และ Floating Rate Notes วงเงิน ๕๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ และ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ตามลำดับ โดยแบ่งออกเป็น ๒ วงเงิน ดังนี้ (๑) วงเงินที่ ๑ จำนวน ๕,๙๐๐ ล้านบาท ระยะเวลาในการชำระคืนต้นเงินไม่เกิน ๒ สัปดาห์ โดยเบิกเงินกู้ทั้งจำนวน ในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ รายละเอียดปรากฏ ดังนี้ ลำดับ สถาบันการเงิน วงเงินกู้ (ล้านบาท) อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละต่อปี) ๑ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ๔,๐๐๐ ๔.๗๒ ๒ ธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ๑,๙๐๐ ๔.๗๕ รวมทั้งสิ้น ๕,๙๐๐ สำหรับการชำระคืนต้นเงินกู้จะนำเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ มาทยอยชำระคืนภายในวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๙ (๒) วงเงินที่ ๒ จำนวน ๑๘,๖๐๐ ล้านบาท ระยะเวลาในการชำระคืนต้นเงินไม่เกิน ๒ เดือน โดยเบิกเงินกู้ทั้งจำนวน ในวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ รายละเอียดปรากฏ ดังนี้ ลำดับ สถาบันการเงิน วงเงินกู้ (ล้านบาท) อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละต่อปี) ๑ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ๑๘,๖๐๐ ๔.๙๔ รวมทั้งสิ้น ๑๘,๖๐๐ สำหรับการชำระคืนต้นเงินกู้จะนำเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ มาทยอยชำระคืนภายในวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ๒. การกู้เงินระยะสั้นตามนัยข้อ ๑ เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการตามแผนการปรับโครงสร้างเงินกู้ธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชีย โดยการ Refinance ด้วยเงินกู้ใหม่ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าพร้อมกับแปลงหนี้เป็นเงินบาทเพื่อปิดความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยนตามภาวะตลาดที่เอื้ออำนวย โดยสามารถลดต้นทุนการกู้เงินได้บางส่วนด้วย ซึ่งในการดำเนินการจะกู้เงินระยะสั้นมาไถ่ถอนหนี้เดิมในวันที่กำหนด แล้วทยอยนำเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรมาชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นตามที่กล่าวในข้อ ๑ (๑) และ (๒) ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ประกอบ ตันติยาพงศ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน พัชรินทร์/ผู้จัดทำ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๗๕ ง/หน้า ๑/๕ กรกฎาคม ๒๕๔๙
495876
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2549
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) ๒๗/๒๘/๔๙ ๕,๐๐๐ ๕ เมษายน ๒๕๔๙ ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๒๘ ๑๖,๑๙๒,๗๐๗.๐๔ L27/91/49 ๖,๐๐๐ ๕ เมษายน ๒๕๔๙ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ๙๑ ๖๖,๒๗๐,๗๕๗.๗๕ L27/182/49 ๖,๐๐๐ ๕ เมษายน ๒๕๔๙ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๙ ๑๘๒ ๑๔๐,๐๗๗,๙๕๖.๘๗ ๒๘/๒๘/๔๙ ๕,๐๐๐ ๑๒ เมษายน ๒๕๔๙ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๒๘ ๑๖,๙๖๒,๔๕๑.๖๒ L28/91/49 ๖,๐๐๐ ๑๒ เมษายน ๒๕๔๙ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ๙๑ ๖๘,๘๙๖,๕๖๔.๑๙ L28/182/49 ๖,๐๐๐ ๑๒ เมษายน ๒๕๔๙ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ ๑๘๒ ๑๔๓,๕๒๒,๑๕๕.๙๓ ๒๙/๒๗/๔๙ ๖,๐๐๐ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๙ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๒๗ ๒๐,๐๔๗,๓๔๑.๙๕ L29/90/49 ๖,๐๐๐ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๙ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ๙๐ ๖๙,๔๐๕,๐๒๐.๘๓ ๓๐/๒๘/๔๙ ๖,๐๐๐ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๙ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๒๘ ๒๐,๘๑๓,๔๘๓.๖๐ L30/91/49 ๖,๐๐๐ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๙ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ๙๑ ๗๐,๓๙๓,๒๔๓.๓๕ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง จะเป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่งๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงิน ตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ทั้งนี้ วงเงินที่กำหนด หมายถึง วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลที่กู้ในรูปตั๋วเงินคลังสะสมมาจากปีงบประมาณก่อนๆ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ มีวงเงิน ๑๗๐,๐๐๐ ล้านบาท และเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้เพิ่มวงเงินอีกจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ จำนวน ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่ง ณ สิ้นเดือนเมษายน ๒๕๔๙ ตั๋วเงินคลังมียอดหนี้คงค้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ประกอบ ตันติยาพงศ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ฐิติพงษ์/ผู้จัดทำ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๕๙ ง/หน้า ๑/๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๙
492190
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินในรูป Euro Commercial Paper (ECP)
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินในรูป Euro Commercial Paper (ECP)[๑] ตามที่กระทรวงการคลังได้จัดตั้ง Euro Commercial Paper หรือ ECP Programme วงเงิน ๒,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการจัดจำหน่าย (Dealer Agreement) ความตกลง ว่าด้วยการเป็นตัวแทนรับจ่ายเงิน (Agency Agreement) เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๒ และหนังสือการขยายวงเงินกู้ภายใต้ ECP Programme (Notification Letter for an Increase in the Programme Amount) ลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๕ โดยกำหนดให้นำมาใช้เป็น Bridge Financing สำหรับการทำ Refinance เงินกู้ต่างประเทศของภาครัฐบาล และ/หรือสำหรับการลงทุนในโครงการลงทุนเพื่อการพัฒนาของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่างๆ นั้น เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ๑. เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ กระทรวงการคลังได้ทำความตกลงในการกู้เงินภายใต้ ECP Programme วงเงิน ๑๕๖,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ ซึ่งเทียบเท่า ๖,๐๕๖,๔๑๙,๒๐๐.๐๐ บาท (คำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยน ๑ เหรียญสหรัฐ เท่ากับ ๓๘.๘๒๓๒ บาท ณ วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙) เพื่อใช้เป็น Bridge Financing ในการทำ Refinance เงินกู้ธนาคารโลก (IBRD) และธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ซึ่งได้ทำการเบิกจ่ายเงินกู้ ECP เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๙ โดยมีรายละเอียดของวงเงินอัตราดอกเบี้ย และระยะเวลาต่างๆ ดังนี้ ๑.๑ วงเงิน ๑๓๖,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๗๒๕ ต่อปี (เทียบเท่าอัตรา LIBOR ๑ เดือน ลบด้วยส่วนต่างร้อยละ ๐.๑๐๕ ต่อปี) อายุ ๓๐ วัน (ครบกำหนดไถ่ถอน ในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙) และได้รับเงินสุทธิจำนวน ๑๓๕,๔๖๖,๖๐๐.๒๖ เหรียญสหรัฐ ๑.๒ วงเงิน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๗๓ ต่อปี (เทียบเท่าอัตรา LIBOR ๑ เดือน ลบด้วยส่วนต่างร้อยละ ๐.๑๐ ต่อปี) อายุ ๓๐ วัน (ครบกำหนดไถ่ถอน ในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙) และได้รับเงินสุทธิจำนวน ๑๙,๙๒๑,๔๗๖.๑๘ เหรียญสหรัฐ โดยได้รับเงินสุทธิรวมจากการออกตราสาร ECP เท่ากับ ๑๕๕,๓๘๘,๐๗๖.๔๔ เหรียญสหรัฐ ๒. กระทรวงการคลังได้ขอให้ Citibank N.A. ซึ่งเป็นธนาคารตัวแทนรับจ่ายเงิน โอนเงินที่ได้รับสุทธิที่ได้จากการออกตราสารจำนวน ๑๕๕,๓๘๘,๐๗๖.๔๔ เหรียญสหรัฐ ตามนัยข้อ ๑ เข้าบัญชี IBRD และ ADB เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๙ เวลา ๑๐.๐๐ น. (เวลาท้องถิ่น นครนิวยอร์ค) เพื่อชำระคืนต้นเงินกู้ IBRD และ ADB พร้อมทั้งได้ใช้งบชำระหนี้ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๙ สมทบการชำระคืนอีกจำนวนรวม ๗,๕๔๕,๓๐๑.๙๑ เหรียญสหรัฐ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๒.๑ วงเงิน ๓๗,๑๘๗,๔๕๐.๑๗ เหรียญสหรัฐ โอนเข้าบัญชี IBRD ที่ WACHOVIA BANK N.V. 11 PENN PLAZA, FLOOR 4, New York, NY 10038 U.S.A., SWIFT Address: PNBPUS 3 NNYC, IBRD Account Number: 2000192003476 SWIFT Address: IBRDUS 33, Reference: Full Prepayment of IBRD loan 4052-0 TH. และได้ใช้งบชำระหนี้ฯ สมทบการชำระคืนอีกจำนวนรวม ๑,๓๑๘,๑๕๙.๘๓ เหรียญสหรัฐ แบ่งเป็น (๑) เงินสมทบการชำระคืนต้นเงินกู้ IBRD จำนวน ๖๒๙,๓๐๕.๔๓ เหรียญสหรัฐ และ (๒) เงินค่าดอกเบี้ยจำนวน ๖๘๘,๘๕๔.๔๐ เหรียญสหรัฐ ๒.๒ วงเงิน ๑๑๘,๒๐๐,๖๒๖.๒๗ เหรียญสหรัฐ โอนเข้าบัญชี ADB ที่ Federal Reserve Bank of New York, New York, U.S.A. under ADB’s Account A Routing ABA No.021080245 (funds must be sent on the Fedwire System via Type code 15), Reference: Full Prepayment of ADB loan 1306 THA and Partial Prepayment of ADB loan 1699 THA (PSCL portion) และได้ใช้งบชำระหนี้ฯ สมทบการชำระคืนอีกจำนวนรวม ๖,๒๒๗,๑๔๒.๐๘ เหรียญสหรัฐ แบ่งเป็น (๑) เงินค่าดอกเบี้ยจำนวน ๓,๐๔๒,๕๓๒.๑๙ เหรียญสหรัฐ และ (๒) ค่าธรรมเนียมการชำระคืนก่อนกำหนดอีกจำนวน ๓,๑๘๔,๖๐๙.๘๙ เหรียญสหรัฐ ๓. กระทรวงการคลังได้ใช้เงินกู้ตามนัยข้อ ๑ ไปชำระคืนเงินกู้ IBRD และ ADB ก่อนครบกำหนด เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๙ ประกอบด้วยเงินกู้ IBRD จำนวน ๑ สัญญา คือ สัญญาเลขที่ 4052-0 TH และ ADB จำนวน ๒ สัญญา คือ สัญญาเลขที่ 1306 THA และ 1699 THA (PSCL Portion) ๔. กระทรวงการคลังจะทำการ Rollover เงินกู้ตามนัยข้อ ๑ ต่อไปจนกว่าการดำเนินการจัดหาเงินกู้ระยะยาวจะแล้วเสร็จ ซึ่งเป็นไปตามหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ๕. การดำเนินการตามนัยข้อ ๑ – ๓ เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการตามแผนการบริหารหนี้ต่างประเทศภาครัฐปีงบประมาณ ๒๕๔๙ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนเงินกู้และภาระหนี้ต่างประเทศ ซึ่งผลการบริหารหนี้โดยใช้เงินกู้ ECP วงเงิน ๑๕๖,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ สำหรับระยะเวลา ระหว่างวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๙ ถึงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ และการใช้งบชำระหนี้ฯ สมทบการชำระคืนต้นเงินกู้ IBRD ส่วนที่ขาดจำนวน ๖๒๙,๓๐๕.๔๓ เหรียญสหรัฐ ทำให้กระทรวงการคลังสามารถลดภาระหนี้สาธารณะได้รวมทั้งสิ้น ๓๓,๘๑๒,๒๐๗.๘๑ บาท แบ่งเป็น ๕.๑ ภาระดอกเบี้ยที่ประหยัดได้จากการใช้เงินกู้ ECP คิดเป็นจำนวน ๕,๒๘๓,๓๖๙.๔๔ บาท ๕.๒ หนี้คงค้างที่ลดลงเท่ากับวงเงินงบชำระหนี้ฯ คิดเป็นจำนวน ๒๔,๔๓๑,๖๕๐.๕๗ บาท ๕.๓ ภาระดอกเบี้ยในอนาคตที่ลดได้ คิดเป็นจำนวน ๔,๐๙๗,๑๘๗.๘๐ บาท ประกาศ ณ วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ประกอบ ตันติยาพงศ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน นันทนา/ผู้จัดทำ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๑/๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙
490941
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินในรูป Euro Commercial Paper (ECP)
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินในรูป Euro Commercial Paper (ECP)[๑] ตามที่ กระทรวงการคลังได้จัดตั้ง Euro Commercial Paper หรือ ECP Programme วงเงิน ๒,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการจัดจำหน่าย (Dealer Agreement) ความตกลงว่าด้วยการเป็นตัวแทนรับจ่ายเงิน (Agency Agreement) เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๒ และหนังสือการขยายวงเงินกู้ภายใต้ ECP Programme (Notification Letter for an Increase in the Programme Amount) ลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๕ โดยกำหนดให้นำมาใช้เป็น Bridge Financing สำหรับการทำ Refinance เงินกู้ต่างประเทศของภาครัฐบาล และ/หรือสำหรับการลงทุนในโครงการลงทุนเพื่อการพัฒนาของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่างๆ นั้น เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ๑. เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๙ กระทรวงการคลังได้ทำความตกลงในการกู้เงินในรูป ECP และดำเนินการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เพื่อใช้ในการทำ Refinance เงินกู้ Samurai Bond รุ่นที่ ๑๕ ของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยได้ดำเนินการออกตราสาร ECP วงเงิน ๑๖,๑๑๖,๐๐๐,๐๐๐ เยน ซึ่งเทียบเท่า ๕,๓๘๔,๖๖๑,๘๐๔.๐๐ บาท (คำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยน ๑๐๐ เยน เท่ากับ ๓๓.๔๑๑๙ บาท ณ วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๙) โดยได้ทำการเบิกจ่ายเงินกู้ ECP เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๙ กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๐.๑๐๑๔๑๕ ต่อปี (เทียบเท่า YenLIBOR ระยะ ๑ ปี ลบด้วยส่วนต่างร้อยละ ๐.๑๘๙๘๓๕ ต่อปี) อายุ ๓๖๕ วัน (ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๐) ได้รับเงินสุทธิ จำนวน ๑๖,๐๙๙,๔๔๕,๙๗๙ เยน และได้แปลงหนี้เงินเยนเป็นยูโร (FX Swap) เพื่อปิดความเสี่ยงเงินต้นและดอกเบี้ยสกุลเยนกับ ABN AMRO BANK N.V. ซึ่งให้ข้อเสนอต้นทุนเงินกู้ที่ต่ำที่สุด โดยจะทำให้ บริษัท การบินไทยฯ มีภาระหนี้เป็นสกุลยูโร จำนวน ๑๑๗,๐๐๐,๐๐๐ ยูโร และมีอัตราดอกเบี้ยเท่ากับ EuRibor ระยะ ๑ ปี ลบด้วยส่วนต่างร้อยละ ๐.๒๐ ต่อปี โดยมีรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้ - วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๙ บริษัท การบินไทยฯ จะได้รับเงินจำนวนทั้งสิ้น ๑๑๓,๖๑๕,๐๕๒.๕๔ ยูโร และจะต้องจ่ายเงินเยนที่ได้รับจากการออกตราสาร ECP จำนวน ๑๖,๐๙๙,๔๔๕,๙๗๙ เยน ให้กับ ABN AMRO ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้สั่งให้ Citibank N.A. ซึ่งเป็นธนาคารตัวแทนรับจ่ายเงิน โอนเงินที่ได้จากการออกตราสาร ECP ดังกล่าวเข้าบัญชี Euroclear ของ ABN AMRO เลขที่ ๑๐๗๖๘ เรียบร้อยแล้ว - วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๐ ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระคืน บริษัท การบินไทยฯ จะต้องชำระคืนเงินยูโร จำนวน ๑๑๗,๐๐๐,๐๐๐ ยูโร ให้กับ ABN AMRO แบ่งเป็นเงินต้น จำนวน ๑๑๓,๖๑๕,๐๕๒.๕๔ ยูโร และดอกเบี้ย จำนวน ๓,๓๘๔,๙๔๗.๔๖ ยูโร โดยมีอัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ ๒.๙๓๘๕ ต่อปี (EuRibor ๑ ปี - ๒๐ bps) และ ABN AMRO จะเป็นผู้ชำระคืนเงินกู้ ECP จำนวน ๑๖,๑๑๖,๐๐๐,๐๐๐ เยน ให้กับ Citibank N.A. ในฐานะธนาคารตัวแทนรับจ่ายเงิน อนึ่ง กระทรวงการคลังได้นำเงินยูโรที่ได้รับ จำนวน ๑๑๓,๖๑๕,๐๕๒.๕๔ ยูโร ไปซื้อเงินเหรียญสหรัฐเพื่อให้ บริษัท การบินไทยฯ ใช้ชำระคืนเงินกู้ Samurai Bond รุ่นที่ ๑๕ ในวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๙ โดยซื้อเงินเหรียญสหรัฐกับ ABN AMRO Bank N.V. ที่อัตราแลกเปลี่ยน ๑ ยูโร เท่ากับ ๑.๒๑ เหรียญสหรัฐ ได้เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น ๑๓๗,๔๗๔,๒๑๓.๕๗ เหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้สั่งให้ ABN AMRO สั่งจ่ายเงินเหรียญสหรัฐจำนวนดังกล่าวเข้าบัญชี Sumitomo Mitsui Banking Corporation, Tokyo ที่ Sumitomo Mitsui Banking Corporation, New York บัญชีเลขที่ ๘๙๕๐๐๒ ในวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๙ เวลา ๑๐.๐๐ น. (เวลาท้องถิ่นนครนิวยอร์ค) เพื่อชำระคืนเงินกู้ Samurai Bond รุ่นที่ ๑๕ และ บริษัท การบินไทยฯ ได้ใช้รายได้สมทบการชำระคืนอีกจำนวนรวม ๘,๘๖๑,๕๓๗.๘๓ เหรียญสหรัฐ แบ่งเป็น ๑) เงินต้นส่วนขาด จำนวน ๔,๐๓๗,๖๓๔.๗๗ เหรียญสหรัฐ และ ๒) เงินค่าดอกเบี้ยอีก จำนวน ๔,๘๒๓,๙๐๓.๐๖ เหรียญสหรัฐ ๒. กระทรวงการคลังได้นำเงินกู้รวมทั้งการทำธุรกรรม FX Swap ตามนัยข้อ ๑ ให้ บริษัทการบินไทยฯ กู้ต่อเพื่อใช้ในการทำ Refinance โดยการใช้ตราสาร ECP เป็น Bridge Financing ในการ Rollover เงินกู้เพื่อชำระค่าจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส A๓๓๐-๓๐๐ ลำที่ ๗ และเครื่องบินโบอิ้ง ๗๗๗-๒๐๐ ลำที่ ๑ และ ๒ (Samurai Bond # ๑๕) ที่ครบกำหนดชำระคืนเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๙ โดยการทำ Refinance ดังกล่าว เป็นการจัดหาเงินกู้ใหม่ที่มีอายุสอดคล้องกับอายุเครื่องบินที่เหลือซึ่งจะช่วยให้ บริษัท การบินไทยฯ มีสถานะทางทรัพย์สินใกล้เคียงกับภาระหนี้ และสอดคล้องกับงบกระแสเงินสดในอนาคตซึ่งจะช่วยปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของ บริษัท การบินไทยฯ ทั้งนี้ ให้ บริษัท การบินไทยฯ กู้เงินตามนัยข้อ ๑ ต่อจากกระทรวงการคลัง ตามนัยเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังได้ผูกพันภายใต้ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้ง ECP Programme ๓. กระทรวงการคลังจะทำการ Rollover เงินกู้ตามนัยข้อ ๑ และให้ บริษัท การบินไทยฯ กู้ต่อตามนัยข้อ ๒ ต่อไปจนกว่าการดำเนินการจัดหาเงินกู้ระยะยาวจะแล้วเสร็จ ซึ่งเป็นไปตามหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ประกอบ ตันติยาพงศ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน พัชรินทร์/ผู้จัดทำ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๕๐ ง/หน้า ๖/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๙
490937
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่ากระทรวงการคลังจะปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว. (ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการประมูล ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทยธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคาให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิ์ประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมประมูลแบบไม่แข่งขันราคา โดยผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคาจะต้องเสนอประมูลผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ จะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบแข่งขันราคาโดยตรง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่าจะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อ ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะเข้าประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบไม่แข่งขันราคา ต้องยื่นความจำนงผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่ประมูลแบบแข่งขันราคา ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ (๑) ในการประมูลแบบแข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับ และจะแจ้งผลให้ผู้ประมูลได้ทราบในวันประมูลนั้น (๒) ในการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูลแต่ละรุ่น และจะได้รับจัดสรรในราคาอัตราถัวเฉลี่ยของการประมูล โดยกรณีที่มีผู้เสนอประมูลแบบไม่แข่งขันราคา เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วน ส่วนกรณีไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับการประมูลแบบแข่งขันราคา ข้อ ๕ ผู้ประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ แบบแข่งขันราคาได้ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคา จะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่ประมูลแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันประมูลแบบแข่งขันราคา โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่ประมูลแบบไม่แข่งขันราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนดให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๗ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๘ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเป็นนายทะเบียนของธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๙ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตร (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตร ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๐ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้เก็บรักษาพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ ไว้ และจะออกบัญชีรายละเอียดตราสารหนี้ให้ ข้อ ๑๑ กรณีที่มีการออกพันธบัตร มิให้ถือว่าพันธบัตรฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๒ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ พันธบัตรรัฐบาล เพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ประมูลวันที่ วงเงิน ประมูล (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน ครั้งที่ ๒ (LB095C) อายุ ๓ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๓๗๕ ต่อปี จำนวน ๒๔,๕๐๐ ล้านบาท ๑๐ พ.ค. ๒๕๔๙ ๒,๕๐๐ ๑๕ พ.ค. ๒๕๔๙ ๑๕ พ.ค. ๒๕๔๙ ๑๕ พ.ค. ๒๕๕๒ ๑๗ พ.ค. ๒๕๔๙ ๓,๔๐๐ ๑๙ พ.ค. ๒๕๔๙ ๑๕ พ.ค. ๒๕๔๙ ๑๕ พ.ค. ๒๕๕๒ ๓๑ พ.ค. ๒๕๔๙ ๓,๖๐๐ ๒ มิ.ย. ๒๕๔๙ ๑๕ พ.ค. ๒๕๔๙ ๑๕ พ.ค. ๒๕๕๒ ๗ มิ.ย. ๒๕๔๙ ๒,๐๐๐ ๙ มิ.ย. ๒๕๔๙ ๑๕ พ.ค. ๒๕๔๙ ๑๕ พ.ค. ๒๕๕๒ ๑๔ มิ.ย. ๒๕๔๙ ๓,๕๐๐ ๑๖ มิ.ย. ๒๕๔๙ ๑๕ พ.ค. ๒๕๔๙ ๑๕ พ.ค. ๒๕๕๒ ๒๑ มิ.ย. ๒๕๔๙ ๒,๐๐๐ ๒๓ มิ.ย. ๒๕๔๙ ๑๕ พ.ค. ๒๕๔๙ ๑๕ พ.ค. ๒๕๕๒ ๒๘ มิ.ย. ๒๕๔๙ ๔,๐๐๐ ๓๐ มิ.ย. ๒๕๔๙ ๑๕ พ.ค. ๒๕๔๙ ๑๕ พ.ค. ๒๕๕๒ ๕ ก.ค. ๒๕๔๙ ๓,๕๐๐ ๗ ก.ค. ๒๕๔๙ ๑๕ พ.ค. ๒๕๔๙ ๑๕ พ.ค. ๒๕๕๒ (๑) การคำนวณดอกเบี้ยของพันธบัตรประเภทนี้จะคำนวณจากมูลค่าของพันธบัตร โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม และ ๑๕ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตร ณ วันไถ่ถอนพันธบัตร หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป (๒) พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๓ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการประมูลตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่ประมูลทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๒๔,๕๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ใบประมูลซื้อและฝากพันธบัตรรัฐบาล (พันธบัตรประเภท SCRIPLESS) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พัชรินทร์/ผู้จัดทำ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๖๑ ง/หน้า ๖/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๙
490207
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนดอายุ อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 22/28/49 ๕,๐๐๐ ๑ มีนาคม ๒๕๔๙ ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๙ ๒๘ ๑๔,๔๙๐,๙๗๓.๓๖ L22/91/49 ๗,๐๐๐ ๑ มีนาคม ๒๕๔๙ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๙๑ ๖๘,๓๗๕,๓๒๗.๗๗ L22/182/49 ๖,๐๐๐ ๑ มีนาคม ๒๕๔๙ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๑๘๒ ๑๒๑,๓๖๙,๕๓๑.๗๐ 23/28/49 ๕,๐๐๐ ๘ มีนาคม ๒๕๔๙ ๕ เมษายน ๒๕๔๙ ๒๘ ๑๔,๖๐๗,๒๙๘.๕๑ L23/91/49 ๖,๐๐๐ ๘ มีนาคม ๒๕๔๙ ๗ มิถุนายน ๒๕๔๙ ๙๑ ๕๙,๒๗๔,๓๓๖.๙๕ L23/182/49 ๖,๐๐๐ ๘ มีนาคม ๒๕๔๙ ๖ กันยายน ๒๕๔๙ ๑๘๒ ๑๒๒,๘๑๖,๗๐๙.๙๐ 24/28/49 ๕,๐๐๐ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๙ ๑๒ เมษายน ๒๕๔๙ ๒๘ ๑๕,๒๒๙,๑๑๕.๑๘ L24/91/49 ๖,๐๐๐ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๙ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๙ ๙๑ ๖๒,๒๕๗,๐๒๙.๕๖ L24/182/49 ๖,๐๐๐ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๙ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๙ ๑๘๒ ๑๒๕,๙๑๑,๖๓๑.๕๙ 25/29/49 ๕,๐๐๐ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๙ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๙ ๒๙ ๑๕,๙๐๑,๙๑๑.๕๙ L25/91/49 ๖,๐๐๐ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๙ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๙ ๙๑ ๖๓,๘๘๓,๐๙๑.๘๔ L25/182/49 ๖,๐๐๐ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๙ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๙ ๑๘๒ ๑๒๘,๘๙๐,๖๘๘.๙๑ 26/28/49 ๕,๐๐๐ ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๙ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๙ ๒๘ ๑๕,๖๐๑,๙๗๔.๒๑ L26/91/49 ๖,๐๐๐ ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๙ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๙ ๙๑ ๖๕,๘๑๐,๔๑๓.๙๓ L26/182/49 ๔,๐๐๐ ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๙ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๙ ๑๘๒ ๘๘,๘๑๖,๔๓๒.๕๒ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้ปรับลดวงเงินการประมูลตั๋วเงินคลัง เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๙ รุ่นอายุ ๑๘๒ วัน งวด L26/182/49 จากจำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท เป็นจำนวน ๔,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง จะเป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่งๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงิน ตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ทั้งนี้ วงเงินที่กำหนด หมายถึง วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลที่กู้ในรูปตั๋วเงินคลังสะสมมาจากปีงบประมาณก่อน ๆ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ มีวงเงิน ๑๗๐,๐๐๐ ล้านบาท และเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้เพิ่มวงเงินอีกจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ จำนวน ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่ง ณ สิ้นเดือนมีนาคม ๒๕๔๙ ตั๋วเงินคลังมียอดหนี้ คงค้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๔๘,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ประกอบ ตันติยาพงศ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน นันทนา/ผู้จัดทำ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๗ ง/หน้า ๑/๙ พฤษภาคม ๒๕๔๙
488013
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การออกตราสารหนี้ในรูปอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Notes) ในตลาดทุนต่างประเทศ
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การออกตราสารหนี้ในรูปอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Notes) ในตลาดทุนต่างประเทศ[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ๑. กระทรวงการคลังในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกตราสารหนี้ในรูปอัตราดอกเบี้ยลอยตัว วงเงิน ๒๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า ๗,๘๕๔,๗๖๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดพันแปดร้อยห้าสิบสี่ล้านเจ็ดแสนหกหมื่นบาทถ้วน) และได้ลงนามในความตกลงที่เกี่ยวกับการออกตราสารดังกล่าว เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ซึ่งประกอบด้วย ๑.๑ ความตกลงว่าด้วยการจัดจำหน่ายตราสาร (Subscription Agreement) กับ Standard Chartered Bank ในฐานะหัวหน้าคณะผู้จัดการจัดจำหน่ายตราสาร (Lead Manager) ๑.๒ ความตกลงว่าด้วยการเป็นตัวแทนรับจ่ายเงิน (Fiscal Agency Agreement) กับ Deutsche Bank AG โดยมี Deutsche Bank AG สาขาฮ่องกง เป็นหัวหน้าตัวแทนรับจ่ายเงิน (Fiscal Agent) และนายทะเบียน (Registrar) ๑.๓ ตราสารหนี้ในรูป Global Certificate โดยมีเงื่อนไขสำคัญสรุปได้ ดังนี้ (๑) ตราสารนี้เป็นตราสารเงินเหรียญสหรัฐชนิดจดทะเบียนผู้ถือ (Registered Form) มีมูลค่าฉบับละ ๑,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ หรือจำนวนทวีคูณของ ๑,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ และจำหน่ายในราคาเสมอภาค (๒) กำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราลอยตัวตามอัตราเงินให้กู้ระหว่างธนาคารในกรุงลอนดอน (London Interbank Offered Rate หรือ LIBOR) ระยะ ๖ เดือน ลบด้วยส่วนต่างร้อยละ ๐.๐๗ ต่อปี โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ เป็นต้นไป ชำระดอกเบี้ยปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ และ ๒๗ สิงหาคม ของทุกปี โดยจะเริ่มชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๔๙ (เนื่องจากวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๙ ตรงกับวันอาทิตย์ และวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๙ ตลาดลอนดอนปิดทำการ) (๓) ตราสารนี้มีระยะไถ่ถอน ๓ ปี โดยจะไถ่ถอนเงินต้นครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ (๔) เงินต้นและดอกเบี้ยที่ชำระตามตราสารนี้ให้ชำระเป็นเงินเหรียญสหรัฐ (๕) เงินต้นและดอกเบี้ยที่จ่ายให้แก่ผู้ถือตราสารปลอดภาระภาษีอากรใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าในปัจจุบันหรืออนาคต และหากมีการเรียกเก็บภาษีที่กล่าว ราชอาณาจักรไทยจะเป็นผู้รับภาระแทน (๖) กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการออกและจัดจำหน่ายตราสาร ดังนี้ ๑) ค่าธรรมเนียมการจัดจำหน่ายตราสารในอัตราร้อยละ ๐.๐๕ ของวงเงินตราสารคิดเป็นเงินจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ ๒) ค่าธรรมเนียมที่ปรึกษากฎหมาย ค่าธรรมเนียมตัวแทนรับจ่ายเงิน ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนตราสารหนี้ที่ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่พึงเกิดขึ้นเนื่องจากการจำหน่ายตราสาร FRN ผู้ออกตราสารจะรับภาระไม่เกินวงเงิน ๘๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ อนึ่ง สำหรับค่าธรรมเนียมการจัดระดับเครดิตของการกู้เงินรายนี้ บริษัท Standard & Poor’s และ Fitch Ratings คิดรวมในค่าธรรมเนียมรายปี บริษัท Moody’s Investors Service คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา ๓๕,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ (๗) ให้ใช้กฎหมายอังกฤษเป็นกฎหมายบังคับในกรณีที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้น เนื่องจากการกู้เงินรายนี้ (๘) สิทธิและข้อผูกพันต่างๆ ภายใต้การกู้เงินรายนี้จะเท่าเทียมกับสิทธิและข้อผูกพันภายใต้เงื่อนไขเงินกู้ต่างประเทศอื่นใดที่ผู้กู้ได้กระทำไว้แล้ว และที่จะกระทำต่อไปในอนาคต ๒. กระทรวงการคลังได้รับเงินจากการออกตราสารหนี้ในรูปอัตราดอกเบี้ยลอยตัว เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ เป็นเงินรวม ๒๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเงินที่ได้ไปชำระคืนเงินกู้ Euro Commercial Paper ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการ Refinance เงินกู้ธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเชีย โดยการดำเนินการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๙ ๓. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการแปลงหนี้โดยการทำ Coupon Swap เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๔๙ จากอัตราดอกเบี้ยลอยตัวสกุลเงินเหรียญสหรัฐที่ระดับอัตรา LIBOR ระยะ ๖ เดือน ลบด้วยส่วนต่างร้อยละ ๐.๐๗ ต่อปี แปลงหนี้เป็นอัตราดอกเบี้ยสกุลเงินบาทได้ที่ระดับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน บวกด้วยส่วนต่างร้อยละ ๐.๙๕ ต่อปี (ณ วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๔๙ อยู่ที่ระดับร้อยละ ๔.๑๑ ต่อปี) ทั้งนี้ คาดว่าการจัดทำ Coupon Swap ดังกล่าวจะสามารถประหยัดภาระดอกเบี้ยได้เป็นเงินประมาณ ๑๐๒ - ๒๑๑ ล้านบาท สำหรับระยะเงินกู้คงเหลือเฉลี่ย ๓ ปี ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ประกอบ ตันติยาพงศ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน นันทนา/ผู้จัดทำ ๒๗ เมษายน ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๒ ง/หน้า ๖/๒๐ เมษายน ๒๕๔๙
488011
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๑[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๑ เพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนด เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๙ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๑ วงเงิน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๑ วงเงินรวม ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ ครั้งที่ ๑ (LB088A) อายุคงเหลือ ๒.๔๗ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๗๕ ต่อปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรุ่นนี้เป็น ๓๗,๕๐๐ ล้านบาท (วันเปิดจำหน่ายครั้งแรกวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๔๘) ๑.๒ การคำนวณดอกเบี้ยของพันธบัตรประเภทนี้จะคำนวณจากมูลค่าของพันธบัตร โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ และ ๕ สิงหาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตร ณ วันไถ่ถอนพันธบัตร หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๑ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ๒. การออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลใช้วิธีการประมูล ดังนี้ ๒.๑ จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ๒.๒ จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคาให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาสาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิ์ประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมประมูลแบบไม่แข่งขันราคา โดยผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคาจะต้องเสนอประมูลผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ๓. การประมูลพันธบัตรตามนัยข้อ ๒ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๒๕ มกราคม - ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ โดยได้รับเงินในวันทำการที่สองนับจากวันประมูล และมีรายละเอียดผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๑ ตามตารางแนบท้ายประกาศ ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ประกอบ ตันติยาพงศ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน [เอกสารแนบท้าย] ๑. ผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ครั้งที่ 1 (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) นันทนา/ผู้จัดทำ ๒๗ เมษายน ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๒ ง/หน้า ๔/๒๐ เมษายน ๒๕๔๙
484135
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 18/28/49 ๕,๐๐๐ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ๑ มีนาคม ๒๕๔๙ ๒๘ ๑๔,๔๓๖,๖๔๙.๑๘ L18/91/49 ๗,๐๐๐ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๙๑ ๖๗,๖๑๙,๕๘๒.๕๘ L18/182/49 ๗,๐๐๐ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๑๘๒ ๑๔๐,๖๓๕,๖๖๗.๕๘ 19/28/49 ๕,๐๐๐ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ๘ มีนาคม ๒๕๔๙ ๒๘ ๑๔,๔๓๑,๙๕๒.๐๗ L19/91/49 ๗,๐๐๐ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๙๑ ๖๗,๙๖๙,๐๕๒.๙๗ L19/182/49 ๗,๐๐๐ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๑๘๒ ๑๔๑,๔๙๒,๖๑๒.๒๐ 20/28/49 ๕,๐๐๐ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๙ ๒๘ ๑๔,๓๙๔,๕๙๑.๑๐ L20/91/49 ๗,๐๐๐ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๙๑ ๖๘,๑๕๓,๗๔๒.๓๓ L20/182/49 ๗,๐๐๐ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๑๘๒ ๑๔๑,๘๑๑,๒๒๘.๖๓ 21/28/49 ๕,๐๐๐ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๙ ๒๘ ๑๔,๔๓๔,๙๓๔.๑๒ L21/91/49 ๗,๐๐๐ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๙๑ ๖๘,๔๔๑,๙๙๓.๖๔ L21/182/49 ๗,๐๐๐ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙ ๑๘๒ ๑๔๑,๓๒๓,๘๔๙.๒๗ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง จะเป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียนเพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่งๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงิน ตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ทั้งนี้ วงเงินที่กำหนด หมายถึง วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลที่กู้ในรูปตั๋วเงินคลังสะสมมาจากปีงบประมาณก่อนๆ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ มีวงเงิน ๑๗๐,๐๐๐ ล้านบาทและเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้เพิ่มวงเงินอีก จำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ จำนวน ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่ง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ตั๋วเงินคลังมียอดหนี้คงค้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๔๓,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ประกอบ ตันติยาพงศ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๓๒ ง/หน้า ๑๘/๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙