sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
612088
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. ๒/๒๕๕๐ ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒” จำนวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท (แปดพันล้านบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวมสำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยให้เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงินและจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรรกระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตรา ดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ (LB137B) อายุ ๔ ปี อัตราดอกเบี้ย BIBOR ระยะ ๖ เดือน - ร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี จำนวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท ๒๙ ก.ค. ๒๕๕๒ ๘,๐๐๐ ๓๑ ก.ค. ๒๕๕๒ ๓๑ ก.ค. ๒๕๕๒ ๓๑ ก.ค. ๒๕๕๖ หมายเหตุ :- อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ จะประกาศในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวคำนวณดอกเบี้ยจากราคาตราของพันธบัตรตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและส่วนต่าง (ถ้ามี) ตามที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดสำหรับพันธบัตรแต่ละรุ่น และแบ่งชำระดอกเบี้ยเป็นสัดส่วนของจำนวนงวดต่อปี เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้งและจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๓๑ มกราคม และ ๓๑ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยไม่มีการคำนวณดอกเบี้ยเพิ่มให้ และการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๘,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ประวิช สารกิจปรีชา ที่ปรึกษาด้านหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง/หน้า ๒๕/๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒
612086
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 19
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๙” จำนวน ๓,๐๐๐ ล้านบาท (สามพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๕ (LB396A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๕,๕๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๙ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๙ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๙ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๙ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๙ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๙ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๙ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๙ (LB396A) อายุ ๒๙.๘๓ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕ ต่อปี จำนวน ๓,๐๐๐ ล้านบาท ๑๙ ส.ค. ๒๕๕๒ ๓,๐๐๐ ๒๑ ส.ค. ๒๕๕๒ ๒๖ มิ.ย. ๒๕๕๒ ๑๓ มิ.ย. ๒๕๘๒ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๕ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๕,๕๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๒ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๓ มิถุนายน และ ๑๓ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๘๒ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๓,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ประวิช สารกิจปรีชา ที่ปรึกษาด้านหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง/หน้า ๑๙/๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒
612084
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 18
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๘[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่ากระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๘” จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท (หกพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๔ (LB233A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๕๐,๗๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๘ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๘ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๘ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๘ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๘ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๘ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๘ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๘ (LB233A) อายุคงเหลือ ๑๓.๕๙ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๕๐ ต่อปี จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท ๑๑ ส.ค. ๒๕๕๒ ๖,๐๐๐ ๑๔ ส.ค. ๒๕๕๒ ๑๓ มี.ค. ๒๕๕๒ ๑๓ มี.ค. ๒๕๖๖ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๔ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาล รุ่นนี้เป็น ๕๐,๗๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๕๐ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือวันที่ ๑๓ มีนาคม และ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๖ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๖,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ประวิช สารกิจปรีชา ที่ปรึกษาด้านหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง/หน้า ๑๓/๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒
612082
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 17
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๗” จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท (ห้าพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓ (LB283A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๕๔,๙๕๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๗ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๗ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๗ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๗ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๗ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๗ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๗ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๗ (LB283A) อายุคงเหลือ ๑๘.๖๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๖๗ ต่อปี จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท ๒๒ ก.ค. ๒๕๕๒ ๕,๐๐๐ ๒๔ ก.ค. ๒๕๕๒ ๑๓ มี.ค. ๒๕๕๒ ๑๓ มี.ค. ๒๕๗๑ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๕๔,๙๕๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๖๗ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๓ มีนาคม และ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๗๑ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ประวิช สารกิจปรีชา ที่ปรึกษาด้านหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง/หน้า ๗/๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒
612080
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 16
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๖[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๖” จำนวน ๒๒,๐๐๐ ล้านบาท (สองหมื่นสองพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๙ (LB116A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๖๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๖ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๖ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๖ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๖ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๖ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๖ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๖ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๖ (LB116A) อายุ ๑.๙๐ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๕ ต่อปี จำนวน ๒๒,๐๐๐ ล้านบาท ๒๒ ก.ค. ๒๕๕๒ ๒๒,๐๐๐ ๒๔ ก.ค. ๒๕๕๒ ๑๗ มิ.ย. ๒๕๕๒ ๑๗ มิ.ย. ๒๕๕๔ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๙ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น 65,000 ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๗ มิถุนายน และ ๑๗ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๒๒,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ประวิช สารกิจปรีชา ที่ปรึกษาด้านหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง/หน้า ๑/๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒
610966
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 3
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓ เพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนด ในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓ วงเงิน ๙,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ (LB196A) อายุ ๑๐.๐๕ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๑,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๙.๙๕ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๒ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๗๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๓ มิถุนายน และ ๑๓ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๙,๐๐๐ ๓.๖๘๔๖ ๙,๑๖๐,๑๗๑,๘๘๙.๒๐ ๑๔๑,๐๖๒,๒๗๙.๒๐ ๑๙,๑๐๙,๖๑๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สาธิต รังคสิริ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๒๙/๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒
610962
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ เพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนด ในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ วงเงิน ๗,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๔ (LB233A) อายุ ๑๕.๒๒ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๔,๗๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๑๓.๗๒ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวน ในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๖ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๕๐ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๓ มีนาคม และ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ สำนักงานประกันสังคม และบริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๗,๐๐๐ ๔.๓๘๖๓ ๗,๙๐๕,๘๓๐,๗๗๐ ๗๙๕,๐๗๗,๓๓๐ ๑๑๐,๗๕๓,๔๔๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สาธิต รังคสิริ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๒๗/๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒
610955
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ เพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนดในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ วงเงิน ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ (LB145B) อายุ ๗.๓ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๑๐,๐๓๕ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๔.๙๒ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๒ มกราคม และ ๑๒ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๑๔,๐๐๐ ๓.๔๒๖๘ ๑๕,๔๕๑,๙๘๐,๔๓๓.๖๐ ๑,๑๔๗,๙๑๑,๙๑๓.๖๐ ๓๐๔,๐๖๘,๕๒๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สาธิต รังคสิริ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๒๕/๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒
610788
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 15
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๕[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อโดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๕” จำนวน ๒,๕๐๐ ล้านบาท (สองพันห้าร้อยล้านบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๕ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๕ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกันโดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๕ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๕ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๕ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๕ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๕ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๕ (LB396A) อายุ ๒๙.๙๘ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕ ต่อปี จำนวน ๒,๕๐๐ ล้านบาท ๒๔ มิ.ย. ๒๕๕๒ ๒,๕๐๐ ๒๖ มิ.ย. ๒๕๕๒ ๒๖ มิ.ย. ๒๕๕๒ ๑๓ มิ.ย. ๒๕๘๒ หมายเหตุ :- อัตราดอกเบี้ยจะประกาศในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๒ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๒ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๓ มิถุนายน และ ๑๓ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๘๒ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๒,๕๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๖ ง/หน้า ๗/๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒
610764
ประกาศองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เรื่อง การออกพันธบัตรองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 5
ประกาศองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ประกาศองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เรื่อง การออกพันธบัตรองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ (๗) แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. ๒๕๑๙ และโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพจึงขอประกาศให้ทราบว่า ข้อ ๑ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพกู้ยืมเงินโดยวิธีออกพันธบัตร ข้อ ๒ พันธบัตรนี้มีชื่อเรียกว่า “พันธบัตรองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕” ข้อ ๓ พันธบัตรนี้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย ข้อ ๔ พันธบัตรนี้เป็นพันธบัตรชนิดระบุชื่อผู้ถือ ข้อ ๕ พันธบัตรนี้มีมูลค่าที่ออกรวม ๑,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งพันล้านบาทถ้วน) แบ่งออกเป็นจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ หน่วย (หนึ่งล้านหน่วย) โดยมีมูลค่าหน่วยละ ๑,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน) ข้อ ๖ พันธบัตรนี้กำหนดไถ่ถอนพันธบัตรเมื่อครบ ๕ ปี นับแต่วันออกพันธบัตรเป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออกและไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด ข้อ ๗ วันออกจำหน่ายพันธบัตร คือ วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ ข้อ ๘ วันไถ่ถอนพันธบัตร คือ วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๗ หากวันดังกล่าวตรงกับวันหยุดทำการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพหรือวันหยุดทำการของธนาคารพาณิชย์ ก็ให้เลื่อนเป็นวันเปิดทำการถัดไป ข้อ ๙ พันธบัตรนี้มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ ๓.๔๔ (สามจุดสี่สี่) ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตร โดยเริ่มจากวันออกพันธบัตรถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตร การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปี มี ๓๖๕ วัน และนับวันตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ข้อ ๑๐ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพจะชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามกำหนด ดังนี้ ๑๐.๑ ดอกเบี้ยงวดแรกชำระในวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๑๐.๒ ดอกเบี้ยงวดต่อไปชำระทุก ๆ ๖ เดือน ทุก ๆ วันที่ ๒๓ มิถุนายน และวันที่ ๒๓ ธันวาคม ของทุกปี ตลอดอายุของพันธบัตร ๑๐.๓ ดอกเบี้ยงวดสุดท้ายชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตร ณ วันไถ่ถอนพันธบัตร ๑๐.๔ ถ้าวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยดังที่ระบุใน ๑๐.๑ และ ๑๐.๒ ตรงกับวันหยุดทำการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือวันหยุดทำการของธนาคารพาณิชย์ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป ข้อ ๑๑ ธนาคารออมสิน ตกลงรับซื้อพันธบัตรดังกล่าวทั้งจำนวน และธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕ ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรให้ทำได้โดยนำพันธบัตรไปจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงินของพันธบัตรนี้ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรหรือการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับการเป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๑๓ พันธบัตรนี้มิให้ถือว่าสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตร ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ โอภาส เพชรมุณี กรรมการบริหารกิจการองค์การ รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๕ ง/หน้า ๖๔/๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒
610762
ประกาศองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เรื่อง การออกพันธบัตรองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 4
ประกาศองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ประกาศองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เรื่อง การออกพันธบัตรองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ (๗) แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. ๒๕๑๙ และโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพจึงขอประกาศให้ทราบว่า ข้อ ๑ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพกู้ยืมเงินโดยวิธีออกพันธบัตร ข้อ ๒ พันธบัตรนี้มีชื่อเรียกว่า “พันธบัตรองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔” ข้อ ๓ พันธบัตรนี้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย ข้อ ๔ พันธบัตรนี้เป็นพันธบัตรชนิดระบุชื่อผู้ถือ ข้อ ๕ พันธบัตรนี้มีมูลค่าที่ออกรวม ๑,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งพันล้านบาทถ้วน) แบ่งออกเป็นจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ หน่วย (หนึ่งล้านหน่วย) โดยมีมูลค่าหน่วยละ ๑,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน) ข้อ ๖ พันธบัตรนี้กำหนดไถ่ถอนพันธบัตรเมื่อครบ ๔ ปี นับแต่วันออกพันธบัตรเป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออกและไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด ข้อ ๗ วันออกจำหน่ายพันธบัตร คือ วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ ข้อ ๘ วันไถ่ถอนพันธบัตร คือ วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๖ หากวันดังกล่าวตรงกับวันหยุดทำการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพหรือวันหยุดทำการของธนาคารพาณิชย์ ก็ให้เลื่อนเป็นวันเปิดทำการถัดไป ข้อ ๙ พันธบัตรนี้มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ ๓.๒๙ (สามจุดสองเก้า) ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตร โดยเริ่มจากวันออกพันธบัตรถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตร การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปี มี ๓๖๕ วัน และนับวันตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ข้อ ๑๐ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพจะชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามกำหนด ดังนี้ ๑๐.๑ ดอกเบี้ยงวดแรกชำระในวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๑๐.๒ ดอกเบี้ยงวดต่อไปชำระทุก ๆ ๖ เดือน ทุก ๆ วันที่ ๒๓ มิถุนายน และวันที่ ๒๓ ธันวาคม ของทุกปี ตลอดอายุของพันธบัตร ๑๐.๓ ดอกเบี้ยงวดสุดท้ายชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตร ณ วันไถ่ถอนพันธบัตร ๑๐.๔ ถ้าวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยดังที่ระบุใน ๑๐.๑ และ ๑๐.๒ ตรงกับวันหยุดทำการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือวันหยุดทำการของธนาคารพาณิชย์ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป ข้อ ๑๑ ธนาคารออมสิน ตกลงรับซื้อพันธบัตรดังกล่าวทั้งจำนวน และธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔ ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรให้ทำได้โดยนำพันธบัตรไปจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงินของพันธบัตรนี้ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรหรือการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับการเป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๑๓ พันธบัตรนี้มิให้ถือว่าสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตร ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ โอภาส เพชรมุณี กรรมการบริหารกิจการองค์การ รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๕ ง/หน้า ๖๒/๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒
610691
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ วงเงิน ๖,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุ ๔ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพ ฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี และจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ยกเว้นงวดแรกจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยชำระดอกเบี้ยปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๙ พฤษภาคม และ ๒๙ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๑.๓ อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เท่ากับร้อยละ ๑.๓๕๐๐๐ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ ๑.๕๐๐๐๐ ต่อปี ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๖,๐๐๐ ๑.๔๔๖๑๕ ๕,๙๗๗,๓๐๖,๐๘๙.๔๐ (๒๒,๖๙๓,๙๑๐.๖๐) - หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สาธิต รังคสิริ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านทรัพย์สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๕ ง/หน้า ๓๗/๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒
610689
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 15
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๕[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๕ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๕ วงเงิน ๒,๕๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุ ๒๙.๙๘ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๘๒ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๓ มิถุนายน และ ๑๓ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๕ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๒,๕๐๐ ๔.๘๙๕๔ ๒,๕๔๐,๙๓๘,๖๖๖ ๔๐,๙๓๘,๖๖๖ - หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สาธิต รังคสิริ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านทรัพย์สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๕ ง/หน้า ๓๕/๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒
610687
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 14
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๔[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๔ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำ หน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๔ วงเงิน ๗,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓ (LB283A) อายุ ๒๐.๓๐ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๙,๙๕๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๑๘.๗๘ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๗๑ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๖๗ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๓ มีนาคม และ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ สำนักงานประกันสังคม และบริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๔ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๗,๐๐๐ ๔.๙๑๐๐ ๗,๗๓๖,๘๗๖,๖๓๓.๗๐ ๖๔๕,๕๓๕,๒๔๓.๗๐ ๙๑,๓๔๑,๓๙๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สาธิต รังคสิริ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านทรัพย์สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๕ ง/หน้า ๓๓/๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒
610685
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 13
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ วงเงิน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุ ๑๐.๐๕ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๒ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๗๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๓ มิถุนายน และ ๑๓ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำนักงานประกันสังคม และบริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๑๒,๐๐๐ ๔.๐๕๔๑ ๑๑,๘๒๔,๕๘๔,๒๕๐.๖๐ (๑๗๕,๔๑๕,๗๔๙.๔๐) - หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สาธิต รังคสิริ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านทรัพย์สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๕ ง/หน้า ๓๑/๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒
610683
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ 27 มิถุนายน 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ อายุ ๓ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๑๑ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๒๗ มิถุนายน และวันที่ ๒๗ ธันวาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๑.๐๕ ต่อปี และในวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารออมสินเป็นร้อยละ ๒.๖๑ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารออมสินจากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๖๑ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๘๓ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๕ ง/หน้า ๓๐/๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒
610681
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) วันที่ 27 มิถุนายน 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ อายุ ๓ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๕ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๒๗ มิถุนายน และวันที่ ๒๗ ธันวาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๙ ต่อปี และในวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นร้อยละ ๒.๕๕ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๕๕ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๗๗ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๕ ง/หน้า ๒๙/๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒
610679
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลัง หากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๕ ง/หน้า ๒๕/๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒
608618
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินระยะสั้นเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินระยะสั้นเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และมาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ๕ แห่ง เพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลจำนวน ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท ที่ครบกำหนดในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ๑. วงเงินกู้จำนวน ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยเบิกเงินกู้ทั้งจำนวนในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๒ ตามรายละเอียด ดังนี้ ลำดับที่ สถาบันการเงิน อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละต่อปี) วงเงิน (ล้านบาท) ๑ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ๑.๑๑ ๓,๐๐๐ ๒ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ๑.๑๕ ๓,๐๐๐ ๓ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ๑.๑๙ ๓,๐๐๐ ๔ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ๑.๒๐ ๑๐,๐๐๐ ๕ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ๑.๒๓ ๕,๐๐๐ ๖ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ๑.๒๔ ๑๐,๐๐๐ ๗ ธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพ ฯ ๑.๒๔ ๖,๐๐๐ รวมทั้งสิ้น ๔๐,๐๐๐ ๒. ระยะเวลาในการชำระคืนต้นเงินไม่เกิน ๓ เดือน โดยจะนำเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้มาทยอยชำระคืนภายในวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๒ ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๔๐/๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๒
608616
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทนซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และสำนักงานประกันสังคม ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วงเงิน ๖๐,๐๘๑ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๕๙,๙๐๔,๐๘๐,๕๓๗.๗๑ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๑๗๖,๙๑๙,๔๖๒.๒๙ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 19/28/52 ๔,๐๐๐ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๒๘ ๓,๒๒๑,๑๕๔.๕๘ L27/91/52 ๖,๐๐๐ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๙๑ ๑๕,๗๓๔,๐๒๗.๘๗ L27/182/52 ๕,๐๐๐ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๒๖,๒๐๘,๙๖๕.๘๙ 20/28/52 ๔,๐๐๐ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๒๘ ๓,๑๗๖,๐๙๗.๔๕ L28/92/52 ๖,๐๐๐ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๙๒ ๑๕,๘๓๖,๐๘๒.๕๒ L28/182/52 ๕,๐๐๐ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๒๗,๐๙๖,๐๐๖.๖๓ 21/28/52 ๔,๐๐๐ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๒๘ ๒,๙๔๘,๒๓๖.๑๕ L29/91/52 ๖,๐๐๐ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๙๑ ๑๔,๒๕๔,๐๕๓.๔๖ L29/182/52 ๕,๐๐๐ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๒๔,๔๕๒,๓๐๘.๒๕ 22/28/52 ๔,๐๐๐ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๒๘ ๒,๙๔๘,๔๑๑.๓๘ L30/91/52 ๖,๐๘๑ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๙๑ ๑๔,๗๐๗,๐๘๙.๕๐ L30/182/52 ๕,๐๐๐ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๒๖,๓๓๗,๐๒๘.๖๑ รวม ๖๐,๐๘๑ ๑๗๖,๙๑๙,๔๖๒.๒๙ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๑๔๗,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๖๗,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับการออกตั๋วเงินคลังโดยใช้วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ จำนวน ๑๕๓,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งได้ดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม ๒๕๕๒ จะทำให้ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๒ มียอดวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๓๘/๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๒
608614
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 12
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๒ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๒ วงเงิน ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๙ (LB116A) อายุ ๒.๒๘ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๓,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๒.๐๙ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๗ มิถุนายน และ ๑๗ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๒ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๒๓,๐๐๐ ๑.๔๔๙๗ ๒๓,๒๑๘,๘๙๓,๗๖๙.๙๐ ๑๔๑,๗๐๒,๐๘๙.๙๐ ๗๗,๑๙๑,๖๘๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๓๖/๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๒
607891
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลัง หากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๘๘ ง/หน้า ๙/๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๒
607883
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 3
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนด ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนดในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓” จำนวน ๙,๐๐๐ ล้านบาท (เก้าพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ (LB196A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๑,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓ รุ่นพันธบัตร วันที่ จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓ (LB196A) อายุคงเหลือ ๙.๙๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๗๕ ต่อปี จำนวน ๙,๐๐๐ ล้านบาท ๓๐ มิ.ย. ๒๕๕๒ ๙,๐๐๐ ๓ ก.ค. ๒๕๕๒ ๑๓ มิ.ย. ๒๕๕๒ ๑๓ มิ.ย. ๒๕๖๒ หมายเหตุ :- ๑. เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ ทำให้วงเงินรวมของ พันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๑,๐๐๐ ล้านบาท ๒. อัตราดอกเบี้ยจะประกาศในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เนื่องจากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๗๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรก ในวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๓ มิถุนายน และ ๑๓ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๒ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๙,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๘๘ ง/หน้า ๓/๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๒
607773
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 5) วันที่ 23 พฤษภาคม 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๕) วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๕) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ อายุ ๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๙ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม และวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๔ ต่อปี และในวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๕) เป็นร้อยละ ๓.๔๔ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๕) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๔๔ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๗๓ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๖๘ ง/หน้า ๗/๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๒
607112
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 29 พฤษภาคม 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ นั้น กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เท่ากับร้อยละ ๑.๓๕๐๐๐ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาด กรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๘๖ ง/หน้า ๕๐/๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๒
607110
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. ๒/๒๕๕๐ ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑” จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท (หกพันล้านบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยให้เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงินและจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรรกระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตรา ดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ (LB135A) อายุ ๔ ปี อัตราดอกเบี้ย BIBOR ระยะ ๖ เดือน - ร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท ๒๗ พ.ค. ๒๕๕๒ ๖,๐๐๐ ๒๙ พ.ค. ๒๕๕๒ ๒๙ พ.ค. ๒๕๕๒ ๒๙ พ.ค. ๒๕๕๖ หมายเหตุ :- อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒ จะประกาศในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวคำนวณดอกเบี้ยจากราคาตราของพันธบัตรตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและส่วนต่าง (ถ้ามี) ตามที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดสำหรับพันธบัตรแต่ละรุ่น และแบ่งชำระดอกเบี้ยเป็นสัดส่วนของจำนวนงวดต่อปี เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้งและจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม และ ๒๙ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยไม่มีการคำนวณดอกเบี้ยเพิ่มให้ และการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๖,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๘๖ ง/หน้า ๔๓/๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๒
607107
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 14
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๔[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๔” จำนวน ๗,๐๐๐ ล้านบาท (เจ็ดพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓ (LB283A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๙,๙๕๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๒ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๔ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๔ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกันโดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๔ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๔ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๔ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๔ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๔ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๔ (LB283A) อายุคงเหลือ ๑๘.๗๘ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๖๗ ต่อปี จำนวน ๗,๐๐๐ ล้านบาท ๓ มิ.ย. ๒๕๕๒ ๗,๐๐๐ ๕ มิ.ย. ๒๕๕๒ ๑๓ มี.ค. ๒๕๕๒ ๑๓ มี.ค. ๒๕๗๑ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๙,๙๕๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๖๗ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๓ มีนาคม และ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๗๑ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๗,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๘๖ ง/หน้า ๓๖/๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๒
607104
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 13
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓” จำนวน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นสองพันล้านบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ (LB196A) อายุ ๑๐.๐๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๗๕ ต่อปี จำนวน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท ๒๗ พ.ค. ๒๕๕๒ ๑๒,๐๐๐ ๒๙ พ.ค. ๒๕๕๒ ๒๙ พ.ค. ๒๕๕๒ ๑๓ มิ.ย. ๒๕๖๒ หมายเหตุ :- อัตราดอกเบี้ยจะประกาศในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๗๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริงเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๓ มิถุนายน และ ๑๓ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๒ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๘๖ ง/หน้า ๓๐/๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๒
607100
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทนซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และสำนักงานประกันสังคม ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ วงเงิน ๑๑๕,๖๘๘ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๑๑๕,๓๖๓,๖๙๘,๔๗๒.๙๕ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๓๒๔,๓๐๑,๕๒๗.๐๕ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 14/28/52 ๕,๐๐๐ ๑ เมษายน ๒๕๕๒ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๒ ๒๘ ๔,๐๕๖,๗๘๒.๕๕ L22/92/52 ๑๐,๐๐๐ ๑ เมษายน ๒๕๕๒ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๙๒ ๒๗,๐๔๗,๗๙๖.๓๙ L22/182/52 ๙,๐๐๐ ๑ เมษายน ๒๕๕๒ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๔๙,๖๙๖,๙๔๐.๒๘ 15/28/52 ๕,๐๐๐ ๘ เมษายน ๒๕๕๒ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๒๘ ๓,๗๐๐,๔๗๐.๒๑ L23/91/52 ๑๐,๐๐๐ ๘ เมษายน ๒๕๕๒ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๙๑ ๒๔,๘๙๓,๕๖๔.๗๑ L23/182/52 ๙,๐๐๐ ๘ เมษายน ๒๕๕๒ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๔๕,๖๘๖,๒๔๕.๒๗ 16/27/52 ๕,๐๐๐ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๒ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๒๗ ๓,๑๗๖,๘๑๑.๙๘ L24/90/52 ๑๐,๐๐๐ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๒ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๙๐ ๒๑,๒๐๑,๙๗๙.๐๙ L24/181/52 ๙,๐๐๐ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๒ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๑๘๑ ๔๐,๐๕๐,๗๑๑.๘๒ 17/28/52 ๕,๐๐๐ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๒ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๒๘ ๒,๗๓๓,๖๑๓.๖๖ L25/91/52 ๑๐,๐๐๐ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๒ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๙๑ ๑๘,๑๒๕,๕๕๗.๓๑ L25/282/52 ๘,๖๗๐ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๒ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๓๕,๔๗๘,๐๒๕.๒๓ 18/28/52 ๔,๗๖๙ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๒ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๒๘ ๓,๑๒๙,๘๑๐.๘๗ L26/91/52 ๑๐,๐๐๐ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๒ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๙๑ ๒๑,๑๐๒,๐๔๐.๓๐ L26/182/52 ๕,๒๔๙ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๒ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๒๔,๒๒๑,๑๗๗.๓๘ รวม ๑๑๕,๖๘๘ ๓๒๔,๓๐๑,๕๒๗.๐๕ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๑๔๗,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๖๗,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับการออกตั๋วเงินคลังโดยใช้วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ จำนวน ๑๔๘,๖๘๘ ล้านบาท ซึ่งได้ดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน ๒๕๕๒ จะทำให้ ณ สิ้นเดือนเมษายน ๒๕๕๒ มีวงเงินตั๋วเงินคลังคงค้างจำนวน ๒๙๕,๖๘๘ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๘๖ ง/หน้า ๒๘/๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๒
607096
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 11
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๑[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๑ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๑ วงเงิน ๖,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๔ (LB233A) อายุ ๑๕.๒๒ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๓๗,๗๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๑๓.๘๗ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวน ในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๖ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๕๐ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๓ มีนาคม และ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๑ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๙ เมษายน ๒๕๕๒ ๖,๐๐๐ ๓.๘๕๐๙ ๗,๑๐๐,๕๐๘,๔๙๖.๘๐ ๑,๐๕๓,๔๙๔,๗๗๖.๘๐ ๔๗,๐๑๓,๗๒๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๘๖ ง/หน้า ๒๖/๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๒
607090
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 10
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๐[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๐ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๐ วงเงิน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ (LB145B) อายุ ๗.๓ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๙๖,๐๓๕ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๕.๐๕ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๒ มกราคม และ ๑๒ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๐ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๒ เมษายน ๒๕๕๒ ๑๕,๐๐๐ ๒.๔๒๒๙ ๑๗,๒๒๕,๖๘๙,๓๓๙ ๒,๐๐๕,๖๒๐,๘๘๙ ๒๒๐,๐๖๘,๔๕๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๘๖ ง/หน้า ๒๔/๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๒
606959
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 (ครั้งที่ 2)
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๒)[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล ในไตรมาสที่ ๓ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียด คือ ๑. ชำระคืนต้นเงินกู้ภายใน ๕ ปี นับแต่วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๒ โดยจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ๒. ตั๋วสัญญาใช้เงินนี้มีอัตราดอกเบี้ยซึ่งตกลงให้เปลี่ยนแปลงได้ทุก ๖ เดือน โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกด้วยร้อยละ ๐.๘๙ ต่อปี โดยปรับอัตราดอกเบี้ย FDR ทุกงวด ๖ เดือน โดยดอกเบี้ยงวดแรกของตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกให้ในวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๒ มีอัตราร้อยละ ๑.๗๐ ต่อปี กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามเกณฑ์การคำนวณข้างต้น ในวันที่ ๒๒ เมษายน และวันที่ ๒๒ ตุลาคม ของทุกปี โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๓. การชำระดอกเบี้ยแบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด ในวันที่ ๒๒ เมษายน และวันที่ ๒๒ ตุลาคม ของทุกปี โดยดอกเบี้ยงวดแรกจะชำระในวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินในวันที่ไถ่ถอน หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๘๐ ง/หน้า ๓๖/๘ มิถุนายน ๒๕๕๒
605412
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2552 และรายการการกู้เงินและค้ำประกันระหว่างเดือนตุลาคม 2551 ถึงเดือนมีนาคม 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒ และรายการการกู้เงินและค้ำประกัน ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๑ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๕๒[๑] ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๑๖ วรรค ๒ กำหนดให้กระทรวงการคลังสรุปรายงานสถานะหนี้สาธารณะและประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายใน ๖๐ วันหลังจากสิ้นเดือนมีนาคมและเดือนกันยายนของทุกปี โดยรายงานดังกล่าวต้องแสดงหนี้สาธารณะที่เกิดจากการกู้เงินและค้ำประกัน ณ สิ้นเดือนดังกล่าว รวมทั้งรายการการกู้เงินและค้ำประกันที่เกิดขึ้นใหม่ในช่วงระยะเวลาระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม และเดือนเมษายน ถึงเดือนกันยายน ตามลำดับ กระทรวงการคลังขอรายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒ และรายการการกู้เงินและค้ำประกัน ซึ่งรวมทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๑ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๕๒ ดังนี้ ๑. รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒ หนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒ มีจำนวน ๓,๖๙๒,๖๙๒.๖๑ ล้านบาท หรือร้อยละ ๔๐.๙๗ ของ GDP ประกอบด้วย หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ๒,๓๖๔,๗๘๓.๓๓ ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ๑,๐๑๓,๘๕๕.๕๖ ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน ๒๐๐,๑๑๓.๒๗ ล้านบาท หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ๑๑๐,๒๕๗.๗๒ ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ ๓,๖๘๒.๗๓ ล้านบาท หนี้สาธารณะจำนวนดังกล่าวจำแนกตามอายุของหนี้เป็นหนี้ระยะยาว ๓,๓๓๓,๘๘๑.๐๘ ล้านบาท และหนี้ระยะสั้น ๓๕๘,๘๑๑.๕๓ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๙๐.๒๘ และร้อยละ ๙.๗๒ และจำแนกตามแหล่งที่มาเป็นหนี้ต่างประเทศ ๓๘๔,๙๔๑.๐๓ ล้านบาท และหนี้ในประเทศ ๓,๓๐๗,๗๕๑.๕๘ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๑๐.๔๒ และร้อยละ ๘๙.๕๘ ตามลำดับ ดังปรากฏตามตารางที่ ๑ ตารางที่ ๑ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒ หน่วย : ล้านบาท รายการ ๓๑ มี.ค. ๕๒ % GDP ๑. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ๑.๑ หนี้ต่างประเทศ ๑.๒ หนี้ในประเทศ ๒,๓๖๔,๗๘๓.๓๓ ๖๔,๐๑๔.๒๐ ๒,๓๐๐,๗๖๙.๑๓ ๒๖.๒๔ ๒. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ๒.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน - หนี้ต่างประเทศ - หนี้ในประเทศ ๒.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน - หนี้ต่างประเทศ - หนี้ในประเทศ ๑,๐๑๓,๘๕๕.๕๖ ๕๖๒,๐๖๑.๕๘ ๑๗๖,๓๓๗.๔๐ ๓๘๕,๗๒๔.๑๘ ๔๕๑,๗๙๓.๙๘ ๑๓๕,๖๐๘.๔๓ ๓๑๖,๑๘๕.๕๕ ๑๑.๒๕ ๓. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐค้ำประกัน) ๓.๑ หนี้ต่างประเทศ ๓.๒ หนี้ในประเทศ ๒๐๐,๑๑๓.๒๗ ๘,๙๘๑.๐๐ ๑๙๑,๑๓๒.๒๗ ๒.๒๒ ๔. หนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ๔.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ๔.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ๑๑๐,๒๕๗.๗๒ ๗๓,๗๙๔.๖๐ ๓๖,๔๖๓.๑๒ ๑.๒๒ ๕. หนี้องค์กรของรัฐอื่น ๕.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ๕.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ๓,๖๘๒.๗๓ ๓,๖๘๒.๗๓ - ๐.๐๔ ๖. รวม ๑.+๒.+๓.+๔.+๕. ๓,๖๙๒,๖๙๒.๖๑ ๔๐.๙๗ หมายเหตุ :- ๑. ประมาณการ GDP ปี ๒๕๕๑ เท่ากับ ๙,๐๑๒.๘๐ พันล้านบาท (สศช. ณ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒) ๒. ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ยังไม่รวมหนี้ของ SPV จำนวน ๒๓,๙๙๙.๙๐ ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลมีภาระผูกพันต้องจ่ายภายใต้สัญญาเช่าพื้นที่อาคาร สัญญาบริการ สัญญาบริการจัดหาเฟอร์นิเจอร์ และสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องของโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ ซึ่งตามระบบ GFS นับเป็นหนี้สาธารณะ ๒. รายการการกู้เงินและค้ำประกัน ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๑ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๕๒ คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีได้จัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๒ เพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินการบริหารและจัดการหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ ประกอบด้วย ๖ แผนย่อย และได้ปรับปรุงแผน ฯ ในระหว่างปี เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินกู้และบริหารหนี้ ซึ่งหลังการปรับปรุงแผน ฯ ครั้งที่ ๒ ทำให้วงเงินรวมในแผน ฯ ที่จะบริหารจัดการมีจำนวนทั้งสิ้น ๑,๓๑๒,๘๘๒.๗๐ ล้านบาท โดยในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๑ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการกู้เงินและบริหารหนี้แล้ว เป็นวงเงินทั้งสิ้น ๕๙๐,๘๓๐.๙๗ ล้านบาท ดังปรากฏตามตารางที่ ๒ ตารางที่ ๒ การกู้เงินและการบริหารหนี้ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๑ - เดือนมีนาคม ๒๕๕๒ หน่วย : ล้านบาท รายการ แผน ผลการดำเนินการ ๑. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐบาล ๖๐๓,๖๑๘.๖๑ ๓๖๒,๕๓๐.๐๐ ๒. การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF ๒๑๘,๑๙๐.๗๒ ๔๙,๙๙๙.๒๐ ๓. การบริหารเงินกู้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบ สถาบันการเงิน ไม่มี - ๔. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของ รัฐวิสาหกิจ ๓๒๕,๗๑๙.๔๐ ๑๕๕,๑๖๗.๓๖ ๕. การก่อหนี้จากต่างประเทศ ๑๑๔,๕๖๓.๔๔ ๒๓,๑๓๔.๔๑ ๖. การบริหารหนี้ต่างประเทศ ๕๐,๗๙๐.๕๓ - รวม ๑,๓๑๒,๘๘๒.๗๐ ๕๙๐,๘๓๐.๙๗ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ ๒.๑ การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐบาล ๒.๑.๑ กระทรวงการคลังได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน ๒๑๕,๕๓๐.๐๐ ล้านบาท โดยออกพันธบัตรรัฐบาล จำนวน ๕ รุ่น วงเงินรวม ๑๑๕,๐๓๐.๐๐ ล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน ๑ รุ่น วงเงิน ๑๓,๕๐๐.๐๐ ล้านบาท และตั๋วเงินคลัง ๘๗,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ๒.๑.๒ กระทรวงการคลังได้ Roll-over ตั๋วเงินคลังเพื่อบริหารดุลเงินสด วงเงิน ๘๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท และตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๖๗,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ทั้งนี้ จากการดำเนินการตาม ๒.๑.๑ และ ๒.๑.๒ ทำให้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม ๒๕๕๒ มีตั๋วเงินคลังหมุนเวียนในตลาด จำนวน ๒๓๔,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ๒.๒ การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF กระทรวงการคลังได้ดำเนินการ Roll-over พันธบัตร FIDF 1 (พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ปีงบประมาณ ๒๕๔๒ ครั้งที่ ๓) ที่ครบกำหนดไถ่ถอน จำนวน ๕๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยการกู้เงินระยะสั้นจากสถาบันการเงิน จำนวน ๔๓,๖๙๕.๒๐ ล้านบาท สมทบกับเงินทดรองจ่ายจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง จำนวน ๖,๓๐๔.๐๐ ล้านบาท เพื่อชำระคืนหนี้ที่ครบกำหนด จากนั้นทยอยการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ปีงบประมาณ ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ วงเงิน ๔๙,๙๙๙.๒๐ ล้านบาท มาชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นและเงินจากบัญชีเงินฝาก ฯ ทั้งนี้ จากการดำเนินงานสามารถลดหนี้คงค้างลง ๐.๘๐ ล้านบาท โดยมีการชำระคืนหนี้จากเงินในบัญชีกองทุนเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ๒.๓ การบริหารเงินกู้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน ในปีงบประมาณ ๒๕๕๒ ไม่มีพันธบัตรครบกำหนดไถ่ถอน ๒.๔ การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการกู้เงินในประเทศ จำนวนทั้งสิ้น ๑๕๕,๑๖๗.๓๖ ล้านบาท เป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๑๔๕,๓๘๗.๓๖ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๙,๗๘๐.๐๐ ล้านบาท สามารถแบ่งตามประเภทของการกู้เงิน ได้ดังนี้ ๒.๔.๑ เงินกู้ในประเทศทดแทนเงินกู้จากต่างประเทศ รัฐวิสาหกิจ ๒ แห่ง ได้กู้เงินในประเทศทดแทนเงินกู้จากต่างประเทศวงเงินรวม ๕,๘๕๔.๓๒ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน ได้แก่ (๑) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตรวงเงิน ๕,๗๕๔.๓๒ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครใต้ ชุดที่ ๓ จำนวน ๑,๖๐๕.๒๑ ล้านบาท โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกง ชุดที่ ๕ จำนวน ๑,๐๑๒.๑๙ ล้านบาท โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ ๑ จำนวน ๑,๓๐๖.๐๒ ล้านบาท โครงการขยายระบบไฟฟ้าในเขตกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล ระยะที่ ๒ จำนวน ๕๔๔.๕๐ ล้านบาท โครงการขยายระบบส่งไฟฟ้า ระยะที่ ๑๑ จำนวน ๑๘๖.๔๐ ล้านบาท และโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจะนะ วงเงิน ๑,๑๐๐.๐๐ ล้านบาท (๒) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงิน ๑๐๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้าระยะที่ ๖ ส่วนที่ ๒ ๒.๔.๒ เงินกู้เงินบาทสมทบโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ รัฐวิสาหกิจ ๒ แห่ง ได้กู้เงินบาทสมทบโครงการเงินกู้จากต่างประเทศวงเงินรวม ๒,๓๔๕.๖๘ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน ได้แก่ (๑) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตรวงเงิน ๒,๒๔๕.๖๘ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ ๑ จำนวน ๑,๒๖๙.๑๐ ล้านบาท โครงการขยายระบบไฟฟ้าในเขตกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล ระยะที่ ๒ จำนวน ๗๖.๕๘ ล้านบาท โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครใต้ ชุดที่ ๓ จำนวน ๔๔๙.๑๙ ล้านบาท โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกง ชุดที่ ๕ จำนวน ๔๕๐.๘๑ ล้านบาท (๒) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงิน ๑๐๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้าระยะที่ ๖ ส่วนที่ ๑ ๒.๔.๓ เงินกู้เพื่อลงทุน รัฐวิสาหกิจ ๓ แห่ง ได้กู้เงินเพื่อลงทุน วงเงินรวม ๗,๕๘๐.๐๐ ล้านบาท เป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๖,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๑,๕๘๐.๐๐ ล้านบาท ได้แก่ (๑) การเคหะแห่งชาติ ได้กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน ๔,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ ๔ จำนวน ๒,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท และโครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ ๕ จำนวน ๒,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท (๒) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงิน ๒,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการทางพิเศษรามอินทรา - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพ ฯ จำนวน ๑,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท และโครงการทางพิเศษบางพลี - สุขสวัสดิ์ ในส่วนของค่าก่อสร้างระบบเก็บค่าผ่านทางและระบบควบคุมความปลอดภัย ฯ จำนวน ๕๐๐.๐๐ ล้านบาท และค่าก่อสร้างทางเชื่อมโครงการ ฯ กับทางพิเศษบูรพาวิถี จำนวน ๕๐๐.๐๐ ล้านบาท (๓) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงิน ๑,๕๘๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการติดตั้งศูนย์สั่งจ่ายไฟ ระยะที่ ๒ จำนวน ๑๑๑.๕๗ ล้านบาท โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๘ ส่วนที่ ๒ จำนวน ๑๗๑.๐๐ ล้านบาท โครงการเพิ่มความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า ระยะที่ ๒ จำนวน ๓๔๕.๐๐ ล้านบาท โครงการก่อสร้างระบบจำหน่ายด้วยสายเคเบิ้ลใต้น้ำไปยังเกาะที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว (เกาะล้าน เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี) จำนวน ๑๖๘.๐๐ ล้านบาท โครงการก่อสร้างระบบจำหน่ายด้วยสายเคเบิ้ลใต้น้ำไปยังเกาะที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว (เกาะลิบง เกาะสุกร และเกาะมุกต์ จังหวัดตรัง) จำนวน ๖.๕๐ ล้านบาท โครงการขยายเขตติดตั้งระบบไฟฟ้าให้เกาะต่าง ๆ (เกาะสีบอยา เกาะปู เกาะพีพีดอน จังหวัดกระบี่) จำนวน ๔๙๗.๙๓ ล้านบาท และโครงการก่อสร้างและปรับปรุงเสริมระบบจำหน่าย ระยะที่ ๗ จำนวน ๒๘๐.๐๐ ล้านบาท ๒.๔.๔ เงินกู้เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและอื่น ๆ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) วงเงินรวม ๑๑๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการรับจำนำข้าว และผลผลิตทางการเกษตร ปีการผลิต ๒๕๕๑/๕๒ และการออกพันธบัตร ๖ รุ่น วงเงินรวม ๖,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อนำไปปล่อยสินเชื่อ กระทรวงการคลังค้ำประกัน ๒.๔.๕ การบริหารและจัดการหนี้ รัฐวิสาหกิจ ๕ แห่ง ได้กู้เงินเพื่อ Roll-over หนี้ที่ครบกำหนดชำระคืนวงเงินรวม ๒๓,๓๘๗.๓๖ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน ได้แก่ (๑) การเคหะแห่งชาติ ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร ๒ รุ่น วงเงินรวม ๔,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท (๒) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร ๓ รุ่น วงเงินรวม ๒,๖๐๐.๐๐ ล้านบาท (๓) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร ๓ รุ่น และกู้เงินจากสถาบันการเงิน วงเงินรวม ๔,๔๖๒.๐๐ ล้านบาท (๔) องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ได้กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน ๔,๕๒๕.๓๖ ล้านบาท (๕) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร ๗ รุ่น วงเงินรวม ๗,๘๐๐.๐๐ ล้านบาท ทั้งนี้ การ Roll-over ของรัฐวิสาหกิจทั้ง ๕ แห่ง จำนวน ๒๓,๓๘๗.๓๖ ล้านบาท นี้เป็นการ Roll-over ภายใต้วงเงินที่ครบกำหนด ๒๖,๘๗๓.๓๖ ล้านบาท โดยรัฐวิสาหกิจชำระคืนหนี้ส่วนที่ไม่ได้ Roll-over จำนวน ๓,๔๘๖.๐๐ ล้านบาท ๒.๕ การก่อหนี้จากต่างประเทศ กระทรวงการคลังได้ลงนามสัญญาเงินกู้กับรัฐบาลญี่ปุ่นผ่านองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น จำนวน ๖๓,๐๑๘.๐๐ ล้านเยน หรือเทียบเท่า ๒๓,๑๓๔.๔๑ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ - รังสิต ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ๒.๖ การบริหารหนี้ต่างประเทศ กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจยังไม่ได้ดำเนินการบริหารหนี้ต่างประเทศตามแผนงานนี้ ๓. การกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบวงเงินของแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ๓.๑ การกู้เงินและบริหารหนี้ของบริษัทมหาชนจำกัด ที่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจ ๒ แห่ง ได้กู้เงินและบริหารหนี้รวม ๔๒,๑๖๒.๙๐ ล้านบาท ได้แก่ ๓.๑.๑ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้กู้เงินและบริหารหนี้รวม ๓๗,๒๑๒.๙๐ ล้านบาท แบ่งเป็น (๑) กู้เงินในรูปเช่าซื้อ (Asset Based Financing) เพื่อชำระค่าจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส ๓๔๐ - ๖๐๐ ลำที่ ๖ วงเงิน ๓,๘๙๔.๐๐ ล้านบาท (๒) เงินกู้เพื่อซื้อคืนเครื่องบินเช่า โบอิ้ง ๗๗๗ - ๒๐๐ ลำที่ ๘ วงเงิน ๑,๐๙๘.๙๐ ล้านบาท โดยใช้เงินกู้ภายใต้โปรแกรม Euro Commercial Paper (ECP) ของกระทรวงการคลังมาเป็น Bridge Financing ก่อนที่จะจัดหาเงินกู้ระยะยาวมาทดแทน (๓) กู้เงินเพื่อชำระค่าซื้อคืนเครื่องบินเช่าดำเนินงาน ๓ ลำ ได้แก่ โบอิ้ง ๗๔๗ - ๔๐๐ ลำที่ ๑๑ โบอิ้ง ๗๔๗ - ๔๐๐ ลำที่ ๑๒ และโบอิ้ง ๗๗๗ - ๒๐๐ ลำที่ ๗ วงเงินรวม ๓,๕๐๐.๐๐ ล้านบาท (๔) กู้เงินเพื่อใช้ในการดำเนินงานทั่วไป วงเงิน ๙,๐๔๐.๐๐ ล้านบาท (๕) Roll-over หุ้นกู้ที่ครบกำหนดชำระคืน โดยการออกหุ้นกู้ วงเงิน ๕,๕๐๐.๐๐ ล้านบาท (๖) Roll-over เงินกู้ Samurai Bond รุ่นที่ ๒๐ ที่ครบกำหนดชำระคืนจำนวน ๒,๗๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยใช้เงินกู้ ECP ของกระทรวงการคลังมาเป็น Bridge Financing ก่อนที่จะจัดหาเงินกู้ระยะยาวมาทดแทน (๗) Roll-over ตั๋วสัญญาใช้เงิน ๖ รุ่น ที่ครบกำหนดชำระคืน โดยการขยายอายุตั๋วสัญญาใช้เงิน วงเงินรวม ๑๑,๔๘๐.๐๐ ล้านบาท ๓.๑.๒ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ทำ Interest Rate Swap หนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็นหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ จำนวน ๔,๙๕๐.๐๐ ล้านบาท ๓.๒ การกู้เงินระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่อง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กู้เงินระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่อง วงเงิน ๔,๕๐๐.๐๐ ล้านบาท ๔. สรุปผลการดำเนินการตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๒ ๔.๑ จากผลการดำเนินงานที่กล่าวมาแล้ว ในช่วงระยะเวลา ๖ เดือนแรกของปีงบประมาณ ๒๕๕๒ (ตุลาคม ๒๕๕๑ - มีนาคม ๒๕๕๒) กระทรวงการคลังได้ดำเนินการบริหารและจัดการหนี้สาธารณะตามกรอบแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๒ เป็นจำนวนทั้งสิ้น ๕๙๐,๘๓๐.๙๗ ล้านบาท โดยมีความก้าวหน้าไปแล้วคิดเป็นร้อยละ ๔๕.๐๐ ของแผน ฯ ๔.๒ ผลการกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบกรอบวงเงินของแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๒ รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินและบริหารหนี้รวมทั้งสิ้น ๔๖,๖๖๒.๙๐ ล้านบาท ๔.๓ จากการดำเนินการตามข้อ ๔.๑ และ ๔.๒ กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินและบริหารหนี้รวมทั้งสิ้น ๖๓๗,๔๙๓.๘๗ ล้านบาท แบ่งเป็นการกู้เงินใหม่ จำนวน ๓๙๒,๔๗๗.๓๑ ล้านบาท และการบริหารหนี้ จำนวน ๒๔๕,๐๑๖.๕๖ ล้านบาท หน่วย : ล้านบาท หน่วยงาน ผลการดำเนินงาน การกู้ใหม่ การบริหารหนี้ รวม - รัฐบาล ๒๓๘,๖๖๔.๔๑ ๑๙๖,๙๙๙.๒๐ ๔๓๕,๖๖๓.๖๑ - รัฐวิสาหกิจ ๑๕๓,๘๑๒.๙๐ ๔๘,๐๑๗.๓๖ ๒๐๑,๘๓๐.๒๖ รวม ๓๙๒,๔๗๗.๓๑ ๒๔๕,๐๑๖.๕๖ ๖๓๗,๔๙๓.๘๗ ทั้งนี้ การกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจจำนวน ๒๐๑,๘๓๐.๒๖ ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๑๔๕,๓๘๗.๓๖ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๕๖,๔๔๒.๙๐ ล้านบาท ผลของการบริหารหนี้ที่ได้ดำเนินการทั้งในส่วนของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจวงเงินรวมกันทั้งสิ้น ๒๔๕,๐๑๖.๕๖ ล้านบาท นั้น สามารถลดยอดหนี้สาธารณะคงค้างได้ ๓,๔๘๖.๘๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน หมายเหตุ :- FIDF หมายถึง กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน FIDF1 หมายถึง พันธบัตรที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งรวมทั้งเงินกู้หรือตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุ ไม่เกิน ๑ ปี Roll-over หมายถึง การกู้เงินใหม่เพื่อนำไปชำระเงินกู้ที่ครบกำหนดชำระ เพื่อให้เงินกู้ดังกล่าวมีระยะเงินกู้สอดคล้องกับระยะคืนทุน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๘/๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒
605398
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 4) วันที่ 16 พฤษภาคม 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) จากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ อายุ ๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๘ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม และวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๓ ต่อปี และในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) เป็นร้อยละ ๓.๔๓ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสินในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๔๓ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๗๒ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๗๕ ง/หน้า ๘๕/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒
605396
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพ ฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 4) วันที่ 16 พฤษภาคม 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพ ฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพ ฯ ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ อายุ ๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๔ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม และวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๙ ต่อปี และในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพ ฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) เป็นร้อยละ ๓.๓๙ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพ ฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๓๙ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๖๘ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๗๕ ง/หน้า ๘๔/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒
605394
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 12
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๒” จำนวน ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท (สองหมื่นสามพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๙ (LB116A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๓,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๒ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๒ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกันโดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๒ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๒ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๒ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๒ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๒ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๒ (LB116A) อายุ ๒.๐๙ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๕ ต่อปี จำนวน ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท ๑๓ พ.ค. ๒๕๕๒ ๒๓,๐๐๐ ๑๕ พ.ค. ๒๕๕๒ ๖ มี.ค. ๒๕๕๒ ๑๗ มิ.ย. ๒๕๕๔ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๙ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๓,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๒ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริงเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๗ มิถุนายน และ ๑๗ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๗๕ ง/หน้า ๗๗/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒
605389
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนด ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนดในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒” จำนวน ๗,๐๐๐ ล้านบาท (เจ็ดพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๔ (LB233A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๔,๗๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๒ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบ กำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ (LB233A) อายุคงเหลือ ๑๓.๗๒ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๕๐ ต่อปี จำนวน ๗,๐๐๐ ล้านบาท ๒๔ มิ.ย. ๒๕๕๒ ๗,๐๐๐ ๒๖ มิ.ย. ๒๕๕๒ ๑๓ มี.ค. ๒๕๕๒ ๑๓ มี.ค. ๒๕๖๖ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๔ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๔,๗๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๕๐ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๓ มีนาคม และ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๖ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๗,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๗๕ ง/หน้า ๗๐/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒
605387
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนด ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนดในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑” จำนวน ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นสี่พันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ (LB145B) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๑๐,๐๓๕ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๒ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ (LB145B) อายุคงเหลือ ๔.๙๒ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๕ ต่อปี จำนวน ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท ๑๐ มิ.ย. ๒๕๕๒ ๑๔,๐๐๐ ๑๒ มิ.ย. ๒๕๕๒ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๒ ๑๒ พ.ค. ๒๕๕๗ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๑๐,๐๓๕ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๒ มกราคม และ ๑๒ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๗๕ ง/หน้า ๖๔/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒
605385
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินระยะสั้นเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินระยะสั้นเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และมาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ๔ แห่ง เพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลจำนวน ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท ที่ครบกำหนดในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ๑. วงเงินกู้จำนวน ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยเบิกเงินกู้ทั้งจำนวน ในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ตามรายละเอียด ดังนี้ ลำดับที่ สถาบันการเงิน อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละต่อปี) วงเงิน (ล้านบาท) ๑ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ๑.๑๐ ๗,๕๐๐ ๒ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ๑.๑๕ ๕,๓๕๗.๑ รวม ๑๒,๘๕๗.๑ ๓ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ๑.๑๐ ๓,๐๐๐ ๔ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ๑.๑๕ ๒,๑๔๒.๙ รวม ๕,๑๔๒.๙ ๕ ธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพ ฯ ๑.๑๐ ๗,๐๐๐ ๖ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ๑.๑๔ ๕,๐๐๐ รวมทั้งสิ้น ๓๐,๐๐๐ ๒. ระยะเวลาในการชำระคืนต้นเงินไม่เกิน ๓ เดือน โดยจะนำเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ และครั้งที่ ๓ มาทยอยชำระคืนภายในวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๗๕ ง/หน้า ๖๒/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒
605383
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลังประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลังหากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๗๕ ง/หน้า ๕๘/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒
605381
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒ ได้กำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนเมษายน ๒๕๕๒ รวม ๑๕ งวด เป็นเงินจำนวน ๑๒๐,๐๐๐ ล้านบาท นั้น กระทรวงการคลังขอประกาศปรับลดวงเงินการจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ งวดที่ วันที่จำหน่าย วงเงินที่ประกาศ (ล้านบาท) วงเงินหลังปรับลด (ล้านบาท) L25/182/52 ๒๐ เมษายน ๒๕๕๒ ๙,๐๐๐ ๘,๖๗๐ 18/28/52 ๒๗ เมษายน ๒๕๕๒ ๕,๐๐๐ ๔,๗๖๙ L26/182/52 ๒๗ เมษายน ๒๕๕๒ ๙,๐๐๐ ๕,๒๔๙ ทำให้วงเงินการจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ปรับลดจากจำนวน ๑๒๐,๐๐๐ ล้านบาท เป็นจำนวน ๑๑๕,๖๘๘ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๗๕ ง/หน้า ๕๗/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒
605035
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นสำหรับโครงการรถไฟชานเมือง สายสีแดง ช่วงบางซื่อ - รังสิต ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น สำหรับโครงการรถไฟชานเมือง สายสีแดง ช่วงบางซื่อ - รังสิต ของการรถไฟแห่งประเทศไทย[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า รัฐบาลได้ลงนามในสัญญากู้เงินกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ๑. เป็นเงินกู้ จำนวน ๖๓,๐๑๘ ล้านเยน หรือเทียบเท่า ๒๓,๑๓๔,๔๑๑,๙๔๔ บาท (คำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยนขายถัวเฉลี่ยของเงินบาทกับเงินเยนญี่ปุ่น ณ วันลงนามในสัญญา คือ ๓๖.๗๑๐๘ บาท ต่อ ๑๐๐ เยน) และกำหนดเบิกจ่ายเงินกู้เสร็จสิ้นภายใน ๗ ปี ๓ เดือน นับจากวันที่สัญญากู้เงินมีผลใช้บังคับ ๒. อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๔ ต่อปี ยกเว้นในส่วนที่ปรึกษา อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๐.๐๑ ต่อปี กำหนดชำระปีละ ๒ งวด โดยชำระในวันที่ ๒๐ กรกฎาคม และ ๒๐ มกราคม ของแต่ละปี สำหรับในช่วงการเบิกจ่ายเงินกู้ และในวันที่ ๒๐ มิถุนายน และ ๒๐ ธันวาคม ของแต่ละปี สำหรับในช่วงหลังการเบิกจ่ายเงินกู้ ๓. อัตราค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ร้อยละ ๐.๑ ของวงเงินกู้ที่ยังไม่ได้เบิกจ่าย ๔. กำหนดชำระคืนต้นเงินกู้ภายใน ๒๕ ปี รวมระยะปลอดหนี้เงินกู้ ๗ ปี โดยผ่อนชำระปีละ ๒ งวด ทุกระยะ ๖ เดือน เป็นจำนวน ๓๗ งวด ชำระคืนต้นเงินกู้งวดแรกในวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๘ และงวดสุดท้ายในวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๗๖ ๕. รัฐบาลได้กำหนดจะนำเงินกู้รายนี้ไปใช้จ่ายในโครงการรถไฟชานเมือง สายสีแดง ช่วงบางซื่อ - รังสิต ของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - รังสิต โดยทำให้สถานีบางซื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางด้านการเดินทาง เป็นศูนย์กลางการคมนาคมเพื่อการเดินรถไฟทางไกลสายเหนือและสายอีสาน รวมทั้งเป็นศูนย์กลางด้านการเดินทางจากภาคใต้และภาคตะวันออกในอนาคต โดยจะเชื่อมต่อกับโครงการระบบรถไฟชานเมือง ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๗๓ ง/หน้า ๑๗/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒
604945
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานประกันสังคม และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วงเงิน ๑๐๔,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๑๐๓,๖๓๒,๗๖๖,๘๕๓.๓๗ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๓๖๗,๒๓๓,๓๔๖.๖๓ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 10/28/52 ๖,๐๐๐ ๔ มีนาคม ๒๕๕๒ ๑ เมษายน ๒๕๕๒ ๒๘ ๖,๐๓๔,๔๔๔.๘๘ L18/91/52 ๑๐,๐๐๐ ๔ มีนาคม ๒๕๕๒ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๙๑ ๓๒,๗๑๐,๓๖๔.๖๕ L18/182/52 ๑๐,๐๐๐ ๔ มีนาคม ๒๕๕๒ ๒ กันยายน ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๖๕,๓๘๓,๕๘๒.๗๗ 11/28/52 ๖,๐๐๐ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ ๘ เมษายน ๒๕๕๒ ๒๘ ๕,๑๑๓,๒๗๑.๕๖ L19/91/52 ๑๐,๐๐๐ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๙๑ ๒๘,๒๗๙,๙๔๒.๕๖ L19/182/52 ๑๐,๐๐๐ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ ๙ กันยายน ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๕๖,๑๕๒,๗๐๘.๔๙ 12/29/52 ๖,๐๐๐ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๒ ๒๙ ๕,๐๖๒,๓๘๙.๗๔ L20/91/52 ๑๐,๐๐๐ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๙๑ ๒๖,๖๗๐,๘๑๘.๐๔ L20/182/52 ๑๐,๐๐๐ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๕๕,๓๑๙,๙๓๐.๓๑ 13/28/52 ๖,๐๐๐ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๒ ๒๘ ๔,๙๕๖,๖๒๐.๖๔ L21/91/52 ๑๐,๐๐๐ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๙๑ ๒๖,๕๗๓,๗๗๔.๓๐ L21/182/52 ๑๐,๐๐๐ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๕๔,๙๗๕,๔๙๘.๖๙ รวม ๑๐๔,๐๐๐ ๓๖๗,๒๓๓,๓๔๖.๖๓ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๑๔๗,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๖๗,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับการออกตั๋วเงินคลังโดยใช้วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ จำนวน ๘๗,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งได้ดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม ๒๕๕๒ จะทำให้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม ๒๕๕๒ มีวงเงินตั๋วเงินคลังคงค้างจำนวน ๒๓๔,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๗๑ ง/หน้า ๒๕/๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒
604943
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 (ครั้งที่ 3) และ (ครั้งที่ 4) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ครั้งที่ ๓) และ (ครั้งที่ ๔) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] ด้วยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ครั้งที่ ๓) และ (ครั้งที่ ๔) ลงวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ข้อ ๔ วรรค ๒ กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในวันที่ ๑๗ เมษายน ของทุกปี โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ครั้งที่ ๓) และ (ครั้งที่ ๔) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๒๕ ต่อปี เป็นร้อยละ ๓.๓๐ ต่อปี ตั้งแต่วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงิน เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ครั้งที่ ๓) และ (ครั้งที่ ๔) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๓๐ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๙๕ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๗๑ ง/หน้า ๒๔/๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒
604941
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 11
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๑” จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท (หกพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๔ (LB233A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๓๗,๗๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๑ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๑ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๑ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๑ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๑ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๑ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๑ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๑ (LB233A) อายุคงเหลือ ๑๓.๘๗ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๕๐ ต่อปี จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท ๒๙ เม.ย. ๒๕๕๒ ๖,๐๐๐ ๔ พ.ค. ๒๕๕๒ ๑๓ มี.ค. ๒๕๕๒ ๑๓ มี.ค. ๒๕๖๖ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๔ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๓๗,๗๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๕๐ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๓ มีนาคม และ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๖ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๖,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๗๑ ง/หน้า ๑๗/๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒
604939
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 10
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอนและการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๐” จำนวน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นห้าพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ (LB145B) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๙๖,๐๓๕ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๐ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคล เพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๐ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการและ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้ โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๐ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๐ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๐ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๐ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๐ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๐ (LB145B) อายุคงเหลือ ๕.๐๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๕ ต่อปี จำนวน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท ๒๒ เม.ย. ๒๕๕๒ ๑๕,๐๐๐ ๒๔ เม.ย. ๒๕๕๒ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๒ ๑๒ พ.ค. ๒๕๕๗ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๙๖,๐๓๕ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๒ มกราคม และ ๑๒ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๗๑ ง/หน้า ๑๑/๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒
604274
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 6
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำ หน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖ วงเงิน ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓ (LB283A) อายุ ๒๐.๓๐ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๒,๙๕๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๑๙.๑๓ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๗๑ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๖๗ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๓ มีนาคม และ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๒ และ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๘ มกราคม ๒๕๕๒ ๗,๐๐๐ ๔.๔๙๕๔ ๘,๑๙๙,๖๐๓,๐๒๕.๒๐ ๑,๐๔๘,๔๕๔,๘๒๕.๒๐ ๑๕๑,๑๔๘,๒๐๐ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒ ๗,๐๐๐ ๔.๗๕๗๘ ๗,๘๐๕,๖๗๗,๗๑๒.๔๐ ๗๙๐,๔๕๔,๑๘๒.๔๐ ๑๕,๒๒๓,๕๓๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๖๗ ง/หน้า ๓๐/๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒
604272
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 5
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕ วงเงิน ๒๔,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๒ (LB183B) อายุ ๑๐.๓๑ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๘๖,๘๓๒ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๙.๑๔ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๑ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๑๒๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๓ มีนาคม และ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ สำนักงานประกันสังคม และบริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำกัด ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๒ และ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๑ มกราคม ๒๕๕๒ ๑๒,๐๐๐ ๓.๒๕๕๑ ๑๓,๙๘๕,๒๙๓,๐๖๕.๑๐ ๑,๗๖๒,๘๘๒,๐๖๕.๑๐ ๒๒๒,๔๑๑,๐๐๐ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒ ๑๒,๐๐๐ ๓.๙๖๓๘ ๑๓,๐๕๓,๙๖๖,๐๑๕.๑๕ ๑,๐๔๒,๑๗๑,๔๕๕.๑๕ ๑๑,๗๙๔,๕๖๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการ จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๖๗ ง/หน้า ๒๘/๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒
604009
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 (ครั้งที่ 2) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ครั้งที่ ๒) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] ด้วยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ครั้งที่ ๒) ลงวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ข้อ ๔ วรรค ๒ กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในวันที่ ๙ เมษายน ของทุกปีโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ครั้งที่ ๑) และ (ครั้งที่ ๒) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๒๕ ต่อปี เป็นร้อยละ ๓.๓๐ ต่อปี ตั้งแต่วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงิน เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ครั้งที่ ๑) และ (ครั้งที่ ๒) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๓๐ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๙๕ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๕๓/๒๙ เมษายน ๒๕๕๒
604007
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลังประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลังหากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๔๙/๒๙ เมษายน ๒๕๕๒
603302
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 (ครั้งที่ 1)
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๑)[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล ในไตรมาสที่ ๒ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน ๑๓,๕๐๐ ล้านบาท เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียด คือ ๑. ชำระคืนต้นเงินกู้ภายใน ๔ ปี นับแต่วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ โดยจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ๒. ตั๋วสัญญาใช้เงินนี้มีอัตราดอกเบี้ยซึ่งตกลงให้เปลี่ยนแปลงได้ทุก ๖ เดือน โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกด้วย Spread โดยมีรายละเอียด ดังนี้ อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละต่อปี) จำนวน (ล้านบาท) FDR + ๐.๙๐ ๓,๐๐๐ FDR + ๐.๙๒ ๓,๐๐๐ FDR + ๐.๙๔ ๓,๐๐๐ FDR + ๐.๙๖ ๔,๕๐๐ โดยปรับอัตราดอกเบี้ย FDR ทุกงวด ๖ เดือน โดยดอกเบี้ยงวดแรกของตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกให้ในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ มีอัตราร้อยละ ๒.๑๖ ต่อปี ๒.๑๘ ต่อปี ๒.๒๐ ต่อปี และ ๒.๒๒ ต่อปี กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามเกณฑ์การคำนวณข้างต้น ในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๒๔ สิงหาคม ของทุกปี โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๓. การชำระดอกเบี้ยแบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด ในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๒๔ สิงหาคม ของทุกปี โดยดอกเบี้ยงวดแรกจะชำระในวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินในวันที่ไถ่ถอน หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๖๑ ง/หน้า ๓๓/๒๔ เมษายน ๒๕๕๒
603154
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 6) วันที่ 26 มีนาคม 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๖) วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๖) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๐ อายุ ๓ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๗๒๕ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๒๖ มีนาคม และวันที่ ๒๖ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๑.๐๑ ต่อปี และในวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๑ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๖) เป็นร้อยละ ๓.๕๑ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๖) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๕๑ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๙๒ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๒ ง/หน้า ๒๔/๙ เมษายน ๒๕๕๒
603150
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 9
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๙[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๙ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๙ วงเงิน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุ ๒.๒๘ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๗ มิถุนายน และ ๑๗ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๙ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๔ มีนาคม ๒๕๕๒ ๒๐,๐๐๐ ๑.๕๓๙๐ ๒๐,๐๙๔,๔๔๖,๓๙๕.๔๐ ๙๔,๔๔๖,๓๙๕.๔๐ - หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๒ ง/หน้า ๒๒/๙ เมษายน ๒๕๕๒
603146
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 8
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๘[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๘ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๘ วงเงิน ๒,๖๕๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๔ (LB233A) อายุ ๑๕.๒๒ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๓๑,๗๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๑๔.๐๗ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๖ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๕๐ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๓ มีนาคม และ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ สำนักงานประกันสังคม และบริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๘ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๒,๖๕๐ ๔.๕๕๔๑ ๒,๙๗๒,๖๐๒,๕๔๘.๗๐ ๒๕๘,๗๑๒,๑๓๕.๒๐ ๖๓,๘๙๐,๔๑๓.๕๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๒ ง/หน้า ๒๐/๙ เมษายน ๒๕๕๒
603144
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 7
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ วงเงิน ๑๔,๓๘๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ (LB145B) อายุ ๗.๓ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๘๑,๐๓๕ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๕.๒๔ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๒ มกราคม และ ๑๒ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๑๔,๓๘๐ ๒.๓๓๗๔ ๑๖,๕๐๒,๖๑๘,๗๘๗.๓๐ ๒,๐๕๖,๔๓๑,๓๘๖.๑๐ ๖๖,๑๘๗,๔๐๑.๒๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๒ ง/หน้า ๑๘/๙ เมษายน ๒๕๕๒
603142
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ วงเงิน ๘๘,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๘๗,๖๑๔,๘๒๐,๙๘๘ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๓๘๕,๑๗๙,๐๑๒ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 6/28/52 ๖,๐๐๐ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๔ มีนาคม ๒๕๕๒ ๒๘ ๘,๐๑๘,๗๔๘.๒๙ L14/91/52 ๘,๐๐๐ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๙๑ ๓๓,๒๑๔,๓๑๗.๐๔ L14/182/52 ๘,๐๐๐ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๖๓,๕๔๐,๓๑๘.๓๒ 7/28/52 ๖,๐๐๐ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ ๒๘ ๗,๑๗๔,๗๒๒.๐๖ L15/91/52 ๘,๐๐๐ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๙๑ ๒๙,๕๗๒,๘๗๘.๙๓ L15/183/52 ๘,๐๐๐ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๑๘๓ ๕๙,๓๒๐,๑๔๑.๘๔ 8/28/52 ๖,๐๐๐ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒ ๒๘ ๗,๐๓๖,๕๓๗.๑๕ L16/91/52 ๘,๐๐๐ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๙๑ ๒๘,๖๔๘,๘๖๕.๙๔ L16/182/52 ๘,๐๐๐ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๕๘,๓๒๗,๑๗๖.๔๒ 9/28/52 ๖,๐๐๐ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒ ๒๘ ๖,๗๑๕,๕๔๓.๖๓ L17/91/52 ๘,๐๐๐ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๙๑ ๒๘,๒๐๑,๔๘๐.๗๕ L17/182/52 ๘,๐๐๐ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๕๕,๔๐๘,๒๘๑.๖๓ รวม ๘๘,๐๐๐ ๓๘๕,๑๗๙,๐๑๒.๐๐ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๑๔๗,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๖๗,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับการออกตั๋วเงินคลังโดยใช้วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ จำนวน ๓๙,๐๐๐ ล้านบาท จะทำให้ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ มีวงเงินตั๋วเงินคลังคงค้างจำนวน ๑๘๖,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๒ ง/หน้า ๑๖/๙ เมษายน ๒๕๕๒
603003
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 3) วันที่ 15 มีนาคม 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๐ อายุ ๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๓๙ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๑๕ มีนาคม และวันที่ ๑๕ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๕ แห่ง บวกร้อยละ ๑.๐๐ ต่อปี และในวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๑ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) เป็นร้อยละ ๓.๕๐ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๕๐ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๙๗ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๑ ง/หน้า ๓๔/๘ เมษายน ๒๕๕๒
603001
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 3) วันที่ 15 มีนาคม 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๐ อายุ ๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๓๘ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๑๕ มีนาคม และวันที่ ๑๕ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๕ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๙ ต่อปี และในวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๑ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) เป็นร้อยละ ๓.๔๙ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๔๙ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๙๖ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๑ ง/หน้า ๓๓/๘ เมษายน ๒๕๕๒
601630
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 9
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลัง โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๙” จำนวน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท (สองหมื่นล้านบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๙ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคล เพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๙ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๙ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๙ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๙ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๙ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๙ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๙ (LB116A) อายุ ๒.๒๘ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๕ ต่อปี จำนวน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท ๔ มี.ค. ๒๕๕๒ ๒๐,๐๐๐ ๖ มี.ค. ๒๕๕๒ ๖ มี.ค. ๒๕๕๒ ๑๗ มิ.ย. ๒๕๕๔ หมายเหตุ :- อัตราดอกเบี้ยจะประกาศในวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๒ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๒ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๗ มิถุนายน และ ๑๗ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๒๕/๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒
601621
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 8
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๘[๑] โดยที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๘ วงเงิน ๗,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดพันล้านบาทถ้วน) ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๒๐ ง ลงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ จำหน่ายได้จริงจำนวน ๒,๖๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองพันหกร้อยห้าสิบล้านบาทถ้วน) กระทรวงการคลังจึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ปรับลดวงเงินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๘ จากจำนวน ๗,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดพันล้านบาทถ้วน) เป็นจำนวน ๒,๖๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองพันหกร้อยห้าสิบล้านบาทถ้วน) ประกาศ ณ วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๒๔/๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒
601617
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (ครั้งที่ 4) วันที่ 10 มีนาคม 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๔) วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๔) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๑ อายุ ๓.๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๓ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๑๐ มีนาคม และวันที่ ๑๐ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๗ ต่อปี และในวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๑ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๔) เป็นร้อยละ ๓.๔๗ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๑ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๔) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๔๗ ต่อปี เป็นร้อยละ ๒.๑๔ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๒๓/๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒
601609
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (ครั้งที่ 3) วันที่ 3 มีนาคม 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ อายุ ๓.๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๔ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๓ มีนาคม และวันที่ ๓ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๘ ต่อปี และในวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๑ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) เป็นร้อยละ ๓.๔๘ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๔๘ ต่อปี เป็นร้อยละ ๒.๒๔ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๒๒/๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒
601607
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพ ฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (ครั้งที่ 3) วันที่ 3 มีนาคม 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพ ฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพ ฯ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ อายุ ๓.๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๓ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๓ มีนาคม และวันที่ ๓ กันยายนของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๗ ต่อปี และในวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๑ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพ ฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) เป็นร้อยละ ๓.๔๗ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๔๗ ต่อปี เป็นร้อยละ ๒.๒๓ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๒๑/๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒
601603
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 2) วันที่ 8 มีนาคม 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) จากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ อายุ ๔ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๔๙ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๘ มีนาคม และวันที่ ๘ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๕ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๖ ต่อปี และในวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๑ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) เป็นร้อยละ ๓.๓๖ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๓๖ ต่อปี เป็นร้อยละ ๒.๑๓ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๒๐/๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒
601599
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 2) วันที่ 8 มีนาคม 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ อายุ ๔ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๕๑ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๘ มีนาคม และวันที่ ๘ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๕ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๘ ต่อปี และในวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๑ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) เป็นร้อยละ ๓.๓๘ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๓๘ ต่อปี เป็นร้อยละ ๒.๑๕ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๑๙/๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒
601551
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 1) วันที่ 1 มีนาคม 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๑) วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๑) ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ อายุ ๓ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๕๐ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๑ มีนาคม และวันที่ ๑ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๕ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๐ ต่อปี และในวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๑ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๑) เป็นร้อยละ ๓.๓๐ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๑) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๓๐ ต่อปี เป็นร้อยละ ๒.๑๑ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๑๐๒/๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒
601547
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลังประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงิน ตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลัง หากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคาร แห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๙๘/๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒
601543
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 7
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗[๑] โดยที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ วงเงิน ๑๕,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันล้านบาทถ้วน) ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๒๐ ง ลงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ จำหน่ายได้จริงจำนวน ๑๔,๓๘๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยแปดสิบล้านบาทถ้วน) กระทรวงการคลังจึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ปรับลดวงเงินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ จากจำนวน ๑๕,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันล้านบาทถ้วน) เป็นจำนวน ๑๔,๓๘๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยแปดสิบล้านบาทถ้วน) ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๙๗/๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒
601236
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (ครั้งที่ 2) วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๒) วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๒) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ อายุ ๒ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๓ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๑๘ สิงหาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๗ ต่อปี และในวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๑ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๒) เป็นร้อยละ ๓.๔๗ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๒) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๔๗ ต่อปี เป็นร้อยละ ๒.๒๓ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๐ ง/หน้า ๑๘/๑๗ มีนาคม ๒๕๕๒
600487
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และสำนักงานประกันสังคม ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วงเงิน ๖๕,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๖๔,๖๓๕,๖๓๖,๖๙๐.๔๐ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๓๖๔,๓๖๓,๓๐๙.๖๐ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงิน คลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 1/23/52 ๓,๐๐๐ ๕ มกราคม ๒๕๕๒ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๒ ๒๓ ๓,๙๖๒,๙๑๙.๑๕ L9/86/52 ๕,๐๐๐ ๕ มกราคม ๒๕๕๒ ๑ เมษายน ๒๕๕๒ ๘๖ ๒๓,๕๔๐,๕๖๔.๐๔ L9/178/52 ๕,๐๐๐ ๕ มกราคม ๒๕๕๒ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๑๗๘ ๔๗,๕๖๒,๖๖๖.๙๖ 2/28/52 ๓,๐๐๐ ๗ มกราคม ๒๕๕๒ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๒๘ ๔,๗๗๕,๙๓๔.๖๒ L10/91/52 ๕,๐๐๐ ๗ มกราคม ๒๕๕๒ ๘ เมษายน ๒๕๕๒ ๙๑ ๒๔,๖๑๒,๐๔๑.๕๗ L10/182/52 ๕,๐๐๐ ๗ มกราคม ๒๕๕๒ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๔๗,๗๕๙,๖๕๘.๓๗ 3/28/52 ๓,๐๐๐ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๒ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๒๘ ๔,๖๖๓,๓๖๙.๘๔ L11/92/52 ๕,๐๐๐ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๒ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๒ ๙๒ ๒๔,๐๖๐,๙๕๐.๘๘ L11/182/52 ๕,๐๐๐ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๒ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๔๔,๗๙๒,๓๐๘.๗๖ 4/28/52 ๓,๐๐๐ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๒ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๒๘ ๔,๔๔๗,๖๕๙.๒๖ L12/91/52 ๕,๐๐๐ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๒ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๒ ๙๑ ๒๒,๙๓๘,๓๑๑.๒๕ L12/182/52 ๕,๐๐๐ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๒ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๔๓,๐๙๐,๙๘๔.๕๘ 5/28/52 ๓,๐๐๐ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๒ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๒๘ ๔,๒๖๔,๔๒๗.๘๗ L13/91/52 ๕,๐๐๐ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๒ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๒ ๙๑ ๒๒,๐๙๓,๒๗๘.๔๐ L13/182/52 ๕,๐๐๐ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๒ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๔๑,๗๙๘,๒๓๔.๐๕ รวม ๖๕,๐๐๐ ๓๖๔,๓๖๓,๓๐๙.๖๐ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๑๔๗,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๖๗,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่ง ณ สิ้นเดือนมกราคม ๒๕๕๒ มีวงเงินตั๋วเงินคลังคงค้างจำนวน ๑๓๘,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๓๕/๑๓ มีนาคม ๒๕๕๒
600062
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินในรูป Euro Commercial aper (ECP)
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินในรูป Euro Commercial aper (ECP) [๑] ตามที่กระทรวงการคลังได้จัดตั้ง Euro Commercial Paper หรือ ECP Programme วงเงิน ๒,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการจัดจำหน่าย (Dealer Agreement) ความตกลงว่าด้วยการเป็นตัวแทนรับจ่ายเงิน (Agency Agreement) เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๒ และหนังสือการขยายวงเงินกู้ภายใต้ ECP Programme (Notification Letter for an Increase in the Programme Amount) ลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๕ โดยกำหนดให้นำมาใช้เป็น Bridge Financing สำหรับการทำ Refinance เงินกู้ต่างประเทศของภาครัฐบาล และ/หรือสำหรับการลงทุนในโครงการลงทุนเพื่อการพัฒนาของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ นั้น เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ๑. เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังได้ทำความตกลงในการกู้เงินในรูป ECP เพื่อใช้เป็น Bridge Financing ในการชำระค่าจัดซื้อเครื่องบิน B777 - 200 ลำที่ ๘ ที่ครบกำหนดสัญญาเช่า ๑๑ ปี ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ครบกำหนดชำระคืน เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๒ โดยได้ดำเนินการออกตราสาร ECP วงเงิน ๓๓,๓๐๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ ฯ ซึ่งเทียบเท่า ๑,๑๖๒,๘๘๐,๙๕๕ บาท (คำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยน ๑ เหรียญสหรัฐ ฯ เท่ากับ ๓๔.๙๒๑๓๕ บาท ณ วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๒) กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๑๙๖๒๕ ต่อปี (เทียบเท่า USDLIBOR ระยะ ๑ ปี บวกด้วยส่วนต่างร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) อายุ ๓๖๔ วัน (ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๓) ได้รับเงินสุทธิจำนวน ๓๒,๕๗๖,๕๘๗.๑๑ เหรียญสหรัฐ ฯ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้ขอให้ Citibank N.A. ซึ่งเป็นธนาคารตัวแทนรับจ่ายเงิน โอนเงินที่ได้รับสุทธิที่ได้จากการออกตราสารวงเงิน ๓๒,๕๗๖,๕๘๗.๑๑ เหรียญสหรัฐ ฯ เข้าบัญชี Calyon Paris ที่ JP MORGAN CHASE BANK, BIC: CHASUS33, Chips Participant Number : 002 Fed ABA Routing Number : 021000021 บัญชีเลขที่ 786419036 SWIFT BIC : BSUIFRPP เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๒ เพื่อชำระค่าจัดซื้อเครื่องบิน B777 - 200 ลำที่ ๘ ที่ครบกำหนดสัญญาเช่า ๑๑ ปี เรียบร้อยแล้ว ๒. กระทรวงการคลังตกลงให้บริษัท การบินไทย ฯ กู้เงินดังกล่าวต่อ เพื่อใช้เป็น Bridge Financing ในการชำระค่าจัดซื้อเครื่องบิน B777 - 200 ลำที่ ๘ ที่ครบกำหนดสัญญาเช่า ๑๑ ปี ทั้งนี้ ให้บริษัทการบินไทย ฯ กู้เงินต่อจากกระทรวงการคลังตามนัยเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังได้ผูกพันภายใต้ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้ง ECP Programme ๓. กระทรวงการคลังจะทำการ Rollover เงินกู้ตามนัยข้อ ๑ และให้บริษัท การบินไทย ฯ กู้ต่อตามนัยข้อ ๒ ต่อไปจนกว่าการดำเนินการจัดหาเงินกู้ระยะยาวมาทดแทนจะแล้วเสร็จ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เบญจา หลุยเจริญ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านทรัพย์สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๓๓ ง/หน้า ๔๓/๒ มีนาคม ๒๕๕๒
599453
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (ครั้งที่ 1) วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๑) วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๑) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๑ อายุ ๒ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๔๕ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๔ สิงหาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๘๕ ต่อปี และในวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๑ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๑) เป็นร้อยละ ๓.๔๘๕ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๑ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๑) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๔๘๕ ต่อปี เป็นร้อยละ ๒.๒๗๕ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๕ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๓๑ ง/หน้า ๒๗/๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
599451
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำ นวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลัง หากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๕ มีนาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๓๑ ง/หน้า ๒๓/๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
599236
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และสำนักงานประกันสังคม ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ วงเงิน ๒๔,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๒๓,๗๘๕,๔๗๔,๓๖๔.๕๑ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๒๑๔,๕๒๕,๖๓๕.๔๙ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) L5/91/52 ๓,๐๐๐ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๑ ๔ มีนาคม ๒๕๕๒ ๙๑ ๒๒,๙๘๖,๔๑๙.๐๖ L5/182/52 ๓,๐๐๐ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๑ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๔๕,๒๙๒,๕๘๑.๔๙ L6/90/52 ๓,๐๐๐ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ ๙๐ ๑๘,๐๔๙,๒๙๙.๗๑ L6/182/52 ๓,๐๐๐ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๑๘๑ ๓๔,๑๓๕,๔๓๙.๖๓ L7/91/52 ๓,๐๐๐ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒ ๙๑ ๑๖,๘๙๗,๔๐๑.๔๐ L7/182/52 ๓,๐๐๐ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๓๒,๓๓๒,๙๓๔.๑๓ L8/91/52 ๓,๐๐๐ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๑ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒ ๙๑ ๑๕,๕๓๘,๑๙๒.๙๓ L8/182/52 ๓,๐๐๐ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๑ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๒๙,๒๙๓,๓๖๗.๑๔ รวม ๒๔,๐๐๐ ๒๑๔,๕๒๕,๖๓๕.๔๙ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๑๔๗,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๖๗,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่ง ณ สิ้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๑ มีวงเงินตั๋วเงินคลังคงค้างจำนวน ๘๑,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๙ ง/หน้า ๑๗/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
598504
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินในรูป Euro Commercial Paper (ECP)
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินในรูป Euro Commercial Paper (ECP)[๑] ตามที่กระทรวงการคลังได้จัดตั้ง Euro Commercial Paper หรือ ECP Programme วงเงิน ๒,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการจัดจำหน่าย (Dealer Agreement) ความตกลงว่าด้วยการเป็นตัวแทนรับจ่ายเงิน (Agency Agreement) เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๒ และหนังสือการขยายวงเงินกู้ภายใต้ ECP Programme (Notification Letter for an Increase in the Programme Amount) ลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๕ โดยกำหนดให้นำมาใช้เป็น Bridge Financing สำหรับการทำRefinance เงินกู้ต่างประเทศของภาครัฐบาล และ/หรือสำหรับการลงทุนในโครงการลงทุนเพื่อการพัฒนาของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ นั้น เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ๑. เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ กระทรวงการคลังได้ทำความตกลงในการกู้เงินในรูป ECP เพื่อใช้เป็น Bridge Financing ในการ Refinance เงินกู้ Samurai Bond รุ่นที่ ๒๐ ของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ครบกำหนดชำระคืน เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑ โดยได้ดำเนินการออกตราสาร ECP วงเงิน ๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ เยน ซึ่งเทียบเท่า ๓,๔๘๗,๕๑๘,๐๐๐ บาท (คำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยน ๑๐๐ เยน เท่ากับ ๓๘.๗๕๐๒ บาท ณ วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๑) กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๒๘๑๒๕ ต่อปี (เทียบเท่า YenLIBOR ระยะ ๑ ปี บวกด้วยส่วนต่างร้อยละ ๐.๑๔ ต่อปี) อายุ ๓๖๕ วัน (ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๒) ได้รับเงินสุทธิจำนวน ๘,๘๘๔,๕๘๕,๒๒๗ เยน ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้ขอให้ Citibank N.A. ซึ่งเป็นธนาคารตัวแทนรับจ่ายเงิน โอนเงินที่ได้รับสุทธิที่ได้จากการออกตราสารวงเงิน ๘,๘๘๔,๕๘๕,๒๒๗ เยน เข้าบัญชี Mitsui Sumitomo Syasai Tesuryo Guchi ที่ Sumitomo Mitsui Banking Corp., Tokyo Main Office Category: Betsudan บัญชีเลขที่ ๙๑๑๗๒๑ เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๐.๐๐ น. (เวลาท้องถิ่น กรุงโตเกียว) เพื่อชำระคืนเงินกู้ Samurai Bond รุ่นที่ ๒๐ เรียบร้อยแล้ว ๒. กระทรวงการคลังตกลงให้บริษัท การบินไทย ฯ กู้เงินดังกล่าวต่อ เพื่อใช้ในการทำ Refinance เงินกู้ Samurai Bond รุ่นที่ ๒๐ ซึ่งใช้สำหรับการทำ Refinance เงินกู้ Samurai Bond รุ่นที่ ๑๒ และ ๑๖ ทั้งนี้ ให้บริษัท การบินไทย ฯ กู้เงินต่อจากกระทรวงการคลังตามนัยเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังได้ผูกพันภายใต้ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้ง ECP Programme ๓. กระทรวงการคลังจะทำการ Rollover เงินกู้ตามนัยข้อ ๑ และให้บริษัท การบินไทย ฯ กู้ต่อตามนัยข้อ ๒ ต่อไปจนกว่าการดำเนินการจัดหาเงินกู้ระยะยาวมาทดแทนจะแล้วเสร็จ ซึ่งเป็นไปตามหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ประกาศ ณ วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๔ ง/หน้า ๕/๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
598500
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 4
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔ วงเงิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๔ (LB233A) อายุ ๑๕.๒๒ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๙,๐๕๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๑๔.๒๒ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๖ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๕๐ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๓ มีนาคม และ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ สำนักงานประกันสังคม และบริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๑ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๑ ๕,๐๐๐ ๓.๑๐๒๘ ๖,๔๔๘,๓๗๑,๑๔๖.๒๐ ๑,๓๗๐,๐๑๔,๙๙๖.๒๐ ๗๘,๓๕๖,๑๕๐.๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๔ ง/หน้า ๓/๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
598495
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ วงเงิน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ (LB145B) อายุ ๗.๓ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๖๖,๖๕๕ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๕.๕๓ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๒ มกราคม และ ๑๒ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๑ และ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๑ ๑๐,๐๐๐ ๓.๖๙๗๖ ๑๐,๙๒๗,๒๐๐,๙๔๓.๒๐ ๗๖๗,๕๔๓,๔๔๓.๒๐ ๑๕๙,๖๕๗,๕๐๐.๐๐ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ ๑๐,๐๐๐ ๑.๙๖๑๙ ๑๑,๙๐๓,๔๔๕,๐๙๑.๓๙ ๑,๖๗๓,๓๐๘,๐๙๑.๓๙ ๒๓๐,๑๓๗,๐๐๐.๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๔ ง/หน้า ๑/๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
598274
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 8
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๘[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๘” จำนวน ๗,๐๐๐ ล้านบาท (เจ็ดพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๔ (LB233A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๓๖,๐๕๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๘ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๘ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาทและไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๘ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๘ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๘ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๘ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๘ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๘ (LB233A) อายุคงเหลือ ๑๔.๐๗ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๕๐ ต่อปี จำนวน ๗,๐๐๐ ล้านบาท ๑๘ ก.พ. ๒๕๕๒ ๗,๐๐๐ ๒๐ ก.พ. ๒๕๕๒ ๑๓ ก.ย. ๒๕๕๑ ๑๓ มี.ค. ๒๕๖๖ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๔ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๓๖,๐๕๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๕๐ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๑) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือวันที่ ๑๓ มีนาคม และ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๖ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการประมูลตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๗,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๓๐/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
598272
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 7
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗” จำนวน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นห้าพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ (LB145B) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๘๑,๖๕๕ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาทและไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ (LB145B) อายุคงเหลือ ๕.๒๔ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๕ ต่อปี จำนวน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท ๑๑ ก.พ. ๒๕๕๒ ๑๕,๐๐๐ ๑๓ ก.พ. ๒๕๕๒ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๒ ๑๒ พ.ค. ๒๕๕๗ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๘๑,๖๕๕ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๒ มกราคม และ ๑๒ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการประมูลตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูล หรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๒๔/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
598270
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 6
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖” จำนวน ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นสี่พันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓ (LB283A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๒,๙๕๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๒ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖ (LB283A) อายุคงเหลือ ๑๙.๑๓ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๖๗ ต่อปี จำนวน ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท ๒๘ ม.ค. ๒๕๕๒ ๒๕ มี.ค. ๒๕๕๒ ๗,๐๐๐ ๗,๐๐๐ ๓๐ ม.ค. ๒๕๕๒ ๒๗ มี.ค. ๒๕๕๒ ๑๓ ก.ย. ๒๕๕๑ ๑๓ มี.ค. ๒๕๕๒ ๑๓ มี.ค. ๒๕๗๑ ๑๓ มี.ค. ๒๕๗๑ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๒,๙๕๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๖๗ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๑) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๓ มีนาคม และ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๗๑ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการประมูลตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูล หรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๑๘/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
598268
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 5
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำ เนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕” จำนวน ๒๔,๐๐๐ ล้านบาท (สองหมื่นสี่พันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๒ (LB183B) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๘๖,๖๓๒ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๒ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาทและไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕ (LB183B) อายุคงเหลือ ๙.๑๔ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๑๒๕ ต่อปี จำนวน ๒๔,๐๐๐ ล้านบาท ๒๑ ม.ค. ๒๕๕๒ ๑๘ มี.ค. ๒๕๕๒ ๑๒,๐๐๐ ๑๒,๐๐๐ ๒๓ ม.ค. ๒๕๕๒ ๒๐ มี.ค. ๒๕๕๒ ๑๓ ก.ย. ๒๕๕๑ ๑๓ มี.ค. ๒๕๕๒ ๑๓ มี.ค. ๒๕๖๑ ๑๓ มี.ค. ๒๕๖๑ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๒ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๘๖,๖๓๒ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๑๒๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๑) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๓ มีนาคม และ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๑ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๒๔,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูล หรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๑๒/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
597665
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคมบริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลังหากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๒/๒๗ มกราคม ๒๕๕๒
596930
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (ครั้งที่ 2) วันที่ 18 สิงหาคม 2551
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๒) วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๑[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๒) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ อายุ ๒ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๓ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๑๘ สิงหาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๗ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๒) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๓ ต่อปี เป็นร้อยละ ๓.๔๗ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐ ง/หน้า ๕๙/๒๒ มกราคม ๒๕๕๒
596293
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ 27 ธันวาคม 2551
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๑[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ อายุ ๓ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๑๑ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๒๗ มิถุนายน และวันที่ ๒๗ ธันวาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๑.๐๕ ต่อปี และในวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารออมสิน เป็นร้อยละ ๓.๕๕ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารออมสินจากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๕๕ ต่อปี เป็นร้อยละ ๒.๖๑ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๒๐/๑๖ มกราคม ๒๕๕๒
596288
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) วันที่ 27 ธันวาคม 2551
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๑[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ อายุ ๓ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๕ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๒๗ มิถุนายน และวันที่ ๒๗ ธันวาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๙ ต่อปี และในวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นร้อยละ ๓.๔๙ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๔๙ ต่อปี เป็นร้อยละ ๒.๕๕ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๑๙/๑๖ มกราคม ๒๕๕๒
596284
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลังประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และสำนักงานประกันสังคม ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ วงเงิน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๑๑,๘๗๕,๖๓๐,๘๗๑.๗๕ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๑๒๔,๓๖๙,๑๒๘.๒๕ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) L1/91/52 ๒,๐๐๐ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๙๑ ๑๖,๒๗๖,๕๑๖.๒๖ L1/182/52 ๑,๐๐๐ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๑๕,๙๗๐,๙๙๘.๕๐ L2/91/52 ๒,๐๐๐ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๙๑ ๑๕,๗๗๘,๘๓๑.๑๗ L2/182/52 ๑,๐๐๐ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๑๕,๕๔๑,๒๘๓.๖๓ L3/91/52 ๒,๐๐๐ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๙๑ ๑๕,๓๓๗,๘๑๕.๘๙ L3/182/52 ๑,๐๐๐ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๑๕,๐๑๖,๖๗๖.๖๐ L4/91/52 ๒,๐๐๐ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๙๑ ๑๕,๓๐๒,๑๕๕.๘๘ L4/182/52 ๑,๐๐๐ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๑๕,๑๔๔,๘๕๐.๓๒ รวม ๑๒,๐๐๐ ๑๒๔,๓๖๙,๑๒๘.๒๕ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๑๔๗,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมา ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๖๗,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาล จำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่ง ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๑ มีวงเงินตั๋วเงินคลังคงค้างจำนวน ๘๑,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๑๗/๑๖ มกราคม ๒๕๕๒
596282
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 3
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓ วงเงิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓ (LB283A) อายุ ๒๐.๓๐ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๘,๙๕๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๑๙.๓๐ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวน ในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๗๑ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๖๗ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๓ มีนาคม และ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ สำนักงานประกันสังคม และบริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ๕,๐๐๐ ๔.๔๕๒๘ ๕,๘๔๒,๐๙๐,๗๗๒.๓๐ ๗๘๓,๐๖๐,๖๒๒.๓๐ ๕๙,๐๓๐,๑๕๐.๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๑๕/๑๖ มกราคม ๒๕๕๒
596276
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ วงเงิน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๒ (LB183B) อายุ ๑๐.๓๑ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๖๒,๖๓๒ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๙.๓๑ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๑ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๑๒๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๓ มีนาคม และ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ๑๐,๐๐๐ ๓.๘๔๙๕ ๑๑,๐๘๘,๒๕๖,๑๔๑.๐๐ ๙๙๑,๓๗๒,๕๔๑.๐๐ ๙๖,๘๘๓,๖๐๐.๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๑๓/๑๖ มกราคม ๒๕๕๒
595788
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลัง หากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑ ง/หน้า ๑/๖ มกราคม ๒๕๕๒
595371
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 5) วันที่ 23 พฤศจิกายน 2551
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๕) วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๕) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ อายุ ๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๙ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม และวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๔ ต่อปี และในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ได้มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๕) เป็นร้อยละ ๓.๐๐ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๕) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๐ ต่อปี เป็นร้อยละ ๓.๔๔ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ มกราคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๙๒ ง/หน้า ๖๐/๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๑
595369
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 4) วันที่ 16 พฤศจิกายน 2551
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๑[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) จากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ อายุ ๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๘ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม และวันที่ ๑๖ พฤศจิกายนของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๓ ต่อปี และในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ได้มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสินในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) เป็นร้อยละ ๒.๙๙ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๙๙ ต่อปี เป็นร้อยละ ๓.๔๓ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวง ฯ รักษาราชการแทน หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ มกราคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๙๒ ง/หน้า ๕๙/๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๑
595367
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพ ฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 4) วันที่ 16พฤศจิกายน 2551
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพ ฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๑[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพ ฯ ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ อายุ ๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๔ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม และวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๙ ต่อปี และในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ได้มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพ ฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) เป็นร้อยละ ๒.๙๕ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพ ฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๙๕ ต่อปี เป็นร้อยละ ๓.๓๙ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวง ฯ รักษาราชการแทน หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ มกราคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๙๒ ง/หน้า ๕๘/๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๑
593861
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลังหากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๘๕ ง/หน้า ๒๙/๓ ธันวาคม ๒๕๕๑
593844
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 4
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔” จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท (ห้าพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๔ (LB233A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๙,๐๕๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๑ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงิน ที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔ (LB233A) อายุคงเหลือ ๑๔.๒๒ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๕๐ ต่อปี จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท ๒๔ ธ.ค. ๒๕๕๑ ๕,๐๐๐ ๒๖ ธ.ค. ๒๕๕๑ ๑๓ ก.ย. ๒๕๕๑ ๑๓ มี.ค. ๒๕๖๖ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๔ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๙,๐๕๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๕๐ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๑) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๓ มีนาคม และ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๖ เป็นการ ไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๘๕ ง/หน้า ๒๒/๓ ธันวาคม ๒๕๕๑
593840
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 3
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓” จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท (ห้าพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓ (LB283A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๘,๙๕๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคาร แห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓ (LB283A) อายุคงเหลือ ๑๙.๓๐ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๖๗ ต่อปี จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท ๒๖ พ.ย. ๒๕๕๑ ๕,๐๐๐ ๒๘ พ.ย. ๒๕๕๑ ๑๓ ก.ย. ๒๕๕๑ ๑๓ มี.ค. ๒๕๗๑ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๘,๙๕๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๖๗ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๑) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๓ มีนาคม และ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๗๑ เป็นการ ไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๘๕ ง/หน้า ๑๖/๓ ธันวาคม ๒๕๕๑
593838
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒” จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๒ (LB183B) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๖๒,๖๓๒ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคาร แห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติ ตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ (LB183B) อายุคงเหลือ ๙.๓๑ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๑๒๕ ต่อปี จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ๑๙ พ.ย. ๒๕๕๑ ๑๐,๐๐๐ ๒๑ พ.ย. ๒๕๕๑ ๑๓ ก.ย. ๒๕๕๑ ๑๓ มี.ค. ๒๕๖๑ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๒ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๖๒,๖๓๒ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๑๒๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๑) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๓ มีนาคม และ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๑ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๘๕ ง/หน้า ๑๐/๓ ธันวาคม ๒๕๕๑
593836
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑” จำนวน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท (สองหมื่นล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ (LB145B) ทาให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๖๖,๖๕๕ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๑ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคล เพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคาร แห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ (LB145B) อายุคงเหลือ ๕.๕๓ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๕ ต่อปี จำนวน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท ๒๙ ต.ค. ๒๕๕๑ ๑๗ ธ.ค. ๒๕๕๑ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๓๑ ต.ค. ๒๕๕๑ ๑๙ ธ.ค. ๒๕๕๑ ๑๒ ก.ค. ๒๕๕๑ ๑๒ ก.ค. ๒๕๕๑ ๑๒ พ.ค. ๒๕๕๗ ๑๒ พ.ค. ๒๕๕๗ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๖๖,๖๕๕ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๑) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๒ มกราคม และ ๑๒ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๘๕ ง/หน้า ๔/๓ ธันวาคม ๒๕๕๑
592655
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 และรายการการกู้เงินและค้ำประกันระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน 2551
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๑ และรายการการกู้เงินและค้ำประกัน ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน ๒๕๕๑[๑] ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๑๖ วรรค ๒ กำหนดให้กระทรวงการคลังสรุปรายงานสถานะหนี้สาธารณะและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายใน ๖๐ วันหลังจากสิ้นเดือนมีนาคมและเดือนกันยายนของทุกปี โดยรายงานดังกล่าวต้องแสดงหนี้สาธารณะที่เกิดจากการกู้เงินและค้ำประกัน ณ สิ้นเดือนดังกล่าว รวมทั้งรายการการกู้เงินและค้ำประกันที่เกิดขึ้นใหม่ในช่วงระยะเวลาระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม และเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน ตามลำดับ กระทรวงการคลังขอรายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๑ และรายการการกู้เงินและค้ำประกัน ซึ่งรวมทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน ๒๕๕๑ ดังนี้ ๑. รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๑ ๑.๑ หนี้สาธารณะคงค้างของประเทศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๑ มีจำนวนทั้งสิ้น ๓,๔๐๘,๒๓๑.๔๐ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๒๒ ของ GDP ประกอบด้วย หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ๒,๑๖๒,๑๑๐.๖๕ ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ๙๘๘,๔๓๙.๗๑ ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินซึ่งรัฐบาลค้ำประกัน ๑๐๒,๓๔๖.๒๙ ล้านบาท หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ๑๓๘,๒๑๘.๖๑ ล้านบาท และหนี้องค์การ ของรัฐอื่น ๑๗,๑๑๖.๑๔ ล้านบาท หนี้สาธารณะจำนวนดังกล่าวจำแนกตามอายุของหนี้เป็นหนี้ระยะยาว ๓,๒๕๑,๒๐๐.๑๑ ล้านบาท และหนี้ระยะสั้น ๑๕๗,๐๓๑.๒๙ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๙๕.๓๙ และร้อยละ ๔.๖๑ และจำแนกตามแหล่งที่มาเป็นหนี้ต่างประเทศ ๓๘๗,๔๔๓.๑๓ ล้านบาท และหนี้ในประเทศ ๓,๐๒๐,๗๘๘.๒๗ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๑๑.๓๗ และร้อยละ ๘๘.๖๓ ตามลำดับ ดังปรากฏตามตารางที่ ๑ ตารางที่ ๑ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๑ หน่วย : ล้านบาท รายการ ๓๐ ก.ย. ๕๑ % GDP ๑. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ๑.๑ หนี้ต่างประเทศ ๑.๒ หนี้ในประเทศ ๒,๑๖๒,๑๑๐.๖๕ ๖๖,๙๘๖.๑๒ ๒,๐๙๕,๑๒๔.๕๓ ๒๒.๙๘ ๒. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ๒.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน - หนี้ต่างประเทศ - หนี้ในประเทศ ๒.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน - หนี้ต่างประเทศ - หนี้ในประเทศ ๙๘๘,๔๓๙.๗๑ ๕๗๒,๕๓๙.๙๓ ๑๗๔,๙๔๕.๖๕ ๓๙๗,๕๙๔.๒๘ ๔๑๕,๘๙๙.๗๘ ๑๓๖,๔๙๗.๓๔ ๒๗๙,๔๐๒.๔๔ ๑๐.๕๐ ๓. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ๓.๑ หนี้ต่างประเทศ ๓.๒ หนี้ในประเทศ ๑๐๒,๓๔๖.๒๙ ๙,๐๑๔.๐๒ ๙๓,๓๓๒.๒๗ ๑.๐๙ ๔. หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ๔.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ๔.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ๑๓๘,๒๑๘.๖๑ ๗๓,๗๙๔.๖๐ ๖๔,๔๒๔.๐๑ ๑.๔๗ ๕. หนี้องค์การของรัฐอื่น ๕.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ๕.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ๑๗,๑๑๖.๑๔ ๘,๓๑๖.๑๔ ๘,๘๐๐.๐๐ ๐.๑๘ ๖. รวม ๑ ถึง ๕ ๓,๔๐๘,๒๓๑.๔๐ ๓๖.๒๒ หมายเหตุ : ๑. ประมาณการ GDP ปี ๒๕๕๑ เท่ากับ ๙,๔๑๐.๑ พันล้านบาท (สศช. ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๑) ๒. ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ยังไม่รวมหนี้ของ SPV จำนวน ๒๓,๙๙๙.๙๐ ล้านบาท ที่รัฐบาลมีภาระผูกพันต้องจ่ายภายใต้สัญญาเช่าพื้นที่อาคาร สัญญาบริการ สัญญาบริการจัดหาเฟอร์นิเจอร์ และสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง ของโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ ซึ่งตามระบบ GFS นับเป็นหนี้สาธารณะ ๒. รายการการกู้เงินและค้ำประกัน ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน ๒๕๕๑ คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะได้จัดทำแผนการบริหาร หนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๑ เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินการบริหารและจัดการ หนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ ประกอบด้วย ๖ แผนงานย่อย และได้ปรับปรุงแผน ฯ ในช่วงระหว่างปีงบประมาณจำนวน ๓ ครั้ง โดยเป็นการปรับปรุงแผน ฯ ในช่วงเดือนตุลาคม ๒๕๕๐ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๕๑ จำนวน ๒ ครั้ง และในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน ๒๕๕๑ จำนวน ๑ ครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินกู้และบริหารหนี้ โดยวงเงินรวมหลังจากการปรับปรุงแผน ฯ ครั้งที่ ๓ เท่ากับ ๙๘๙,๒๗๒.๔๔ ล้านบาท ทั้งนี้ ในช่วงระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน ๒๕๕๑ กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการกู้เงินและบริหารหนี้เป็นวงเงินทั้งสิ้น ๔๐๖,๕๙๑.๗๐ ล้านบาท ดังปรากฏตามตารางที่ ๒ ตารางที่ ๒ การกู้เงินและการบริหารหนี้ ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน ๒๕๕๑ หน่วย : ล้านบาท รายการ แผน ผลการดำเนินการ ๑. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐบาล ๔๖๕,๙๙๕.๐๐ ๒๔๙,๕๕๒.๑๒ ๒. การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF ๒๕,๐๐๐.๐๐ ๑๕,๐๐๐.๐๐ ๓. การบริหารเงินกู้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบ สถาบันการเงิน ไม่มี ไม่มี ๔. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ ๓๗๖,๕๙๗.๕๙ ๑๒๑,๙๗๘.๑๑ ๕. การกู้เงินตามแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ๒๓,๓๑๙.๓๖ - ๖. การบริหารหนี้ต่างประเทศ ๙๘,๓๖๐.๔๙ ๒๐,๐๖๑.๔๗ รวม ๙๘๙,๒๗๒.๔๔ ๔๐๖,๕๙๑.๗๐ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ ๒.๑ การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐบาล ๒.๑.๑ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน ๖๒,๕๕๒.๑๒ ล้านบาท ด้วยวิธีการดังนี้ (๑) ออกพันธบัตรรัฐบาล จำนวน ๕ รุ่น วงเงินรวม ๔๓,๐๕๐.๐๐ ล้านบาท (๒) ออกพันธบัตรออมทรัพย์ จำนวน ๗ รุ่น วงเงินรวม ๑๕,๕๐๒.๑๒ ล้านบาท (๓) ออกตั๋วเงินคลัง วงเงินรวม ๔,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ๒.๑.๒ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการ Roll-over ตั๋วเงินคลังเพื่อบริหารดุลเงินสดวงเงิน ๘๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท และ Roll-over ตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลซึ่งสะสมมาในช่วงปี ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ อีกจำนวน ๖๗,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นเดือนกันยายน ๒๕๕๑ มีตั๋วเงินคลังเพื่อการดังกล่าวหมุนเวียนในตลาด จำนวน ๑๔๗,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ๒.๑.๓ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนครบกำหนดวงเงิน ๒,๕๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยใช้งบประมาณเพื่อการชำระหนี้ ทำให้สามารถลดภาระดอกเบี้ยได้ ๔๑.๒๕ ล้านบาท ๒.๑.๔ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการ Roll-over พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนดชำระวงเงน ๓๗,๕๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยใช้เงินกู้ระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ๓ แห่ง จำนวน ๒๒,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท รวมกับงบประมาณเพื่อการชำระหนี้ จำนวน ๑๕,๕๐๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อชำระหนี้ในวันครบกำหนด และทยอยออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ จำนวน ๒ รุ่น จำนวน ๒๑,๙๒๕.๐๐ ล้านบาท รวมกับเงิน Premium จำนวน ๗๕.๐๐ ล้านบาท โดยนำเงินที่ได้ไปชำระคืนหนี้เงินกู้ระยะสั้นจนครบจำนวน ๒.๒ การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF3 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการ Roll-over พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ที่ครบกำหนดชำระวงเงิน ๑๕,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยใช้เงินกู้ระยะสั้นจากธนาคาร แห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพ ฯ จำนวน ๙,๕๐๖.๐๐ ล้านบาท รวมกับเงินยืมจากบัญชีเงินฝากจากการกู้เงินเพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวน ๕,๔๙๔.๐๐ ล้านบาท เพื่อนำไปชำระคืนหนี้ในวันครบกำหนด และทยอยออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน ๓ รุ่น วงเงินรุ่นละ ๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยนำเงินที่ได้ไปชำระคืนหนี้เงินกู้ระยะสั้นและเงินที่ยืมมา ๒.๓ การบริหารเงินกู้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน ในปีงบประมาณ ๒๕๕๑ ไม่มีพันธบัตรครบกำหนดไถ่ถอน ๒.๔ การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการกู้เงินและบริหารหนี้ในประเทศ จำนวนทั้งสิ้น ๑๒๑,๙๗๘.๑๑ ล้านบาท เป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๑๐๐,๐๗๘.๑๑ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๒๑,๙๐๐.๐๐ ล้านบาท และสามารถแบ่งตามประเภทของการกู้เงิน ได้ดังนี้ ๒.๔.๑ เงินกู้ในประเทศทดแทนเงินกู้จากต่างประเทศ รัฐวิสาหกิจ ๓ แห่ง ได้กู้เงินในประเทศทดแทนเงินกู้จากต่างประเทศ วงเงินรวม ๘,๗๙๑.๕๕ ล้านบาท เป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันทั้งสิ้น ได้แก่ (๑) การไฟฟ้านครหลวง ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๑,๑๐๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อดำเนินงานตามแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าฉบับที่ ๙ ปี ๒๕๔๗ - ๒๕๕๐ (ฉบับปรับปรุง) จำนวน ๖๐๐.๐๐ ล้านบาท และตามแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าฉบับที่ ๑๐ ปี ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔ จำนวน ๕๐๐.๐๐ ล้านบาท (๒) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๗,๕๙๑.๕๕ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจะนะ จำนวน ๑,๙๖๑.๔๙ ล้านบาท โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครใต้ ชุดที่ ๓ จำนวน ๑,๕๖๔.๐๖ ล้านบาท โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกง ชุดที่ ๕ จำนวน ๑,๗๑๑.๑๐ ล้านบาท โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ ๑ จำนวน ๑,๕๔๗.๒๔ ล้านบาท โครงการสายส่ง ๕๐๐ เควี เพื่อการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนน้ำเทิน จำนวน ๗๙.๔๖ ล้านบาท และโครงการขยายระบบไฟฟ้าในเขตกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล ระยะที่ ๒ จำนวน ๗๒๘.๒๐ ล้านบาท (๓) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงิน ๑๐๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๖ ส่วนที่ ๒ ๒.๔.๒ เงินกู้เงินบาทสมทบโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ รัฐวิสาหกิจ ๔ แห่ง ได้กู้เงินบาทสมทบโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ วงเงินรวม ๘,๕๐๖.๗๕ ล้านบาท เป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันทั้งสิ้น ได้แก่ (๑) การประปานครหลวง ได้กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน ๑,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ ๗ (๒) การไฟฟ้านครหลวง ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๔,๙๐๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อดำเนินงานตามแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าฉบับที่ ๙ ปี ๒๕๔๗ - ๒๕๕๐ (ฉบับปรับปรุง) จำนวน ๒,๒๑๕.๐๐ ล้านบาท และแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าฉบับที่ ๑๐ ปี ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔ จำนวน ๒,๖๘๕.๐๐ ล้านบาท (๓) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๒,๔๐๘.๔๕ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจะนะ จำนวน ๔๔๑.๓๙ ล้านบาท โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครใต้ ชุดที่ ๓ จำนวน ๑๓๕.๔๙ ล้านบาท โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกง ชุดที่ ๕ จำนวน ๒๕๑.๕๔ ล้านบาท โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ ๑ จำนวน ๖๙๑.๕๑ ล้านบาท โครงการสายส่ง ๕๐๐ เควี เพื่อการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนน้ำเทิน จำนวน ๕๒๙.๘๙ ล้านบาท และโครงการขยายระบบไฟฟ้าในเขตกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล ระยะที่ ๒ จำนวน ๓๕๘.๖๓ ล้านบาท (๔) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๑๙๘.๓๐ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๖ ส่วนที่ ๑ จำนวน ๗๖.๐๐ ล้านบาท และโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๗ ส่วนที่ ๒ จำนวน ๑๒๒.๓๐ ล้านบาท ๒.๔.๓ เงินกู้เพื่อลงทุน รัฐวิสาหกิจ ๕ แห่ง ได้กู้เงินเพื่อลงทุน วงเงินรวม ๒๑,๓๑๙.๗๐ ล้านบาท เป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๑๗,๕๑๘.๐๐ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๓,๘๐๑.๗๐ ล้านบาท ได้แก่ (๑) การเคหะแห่งชาติ ได้กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน วงเงินรวม ๙,๗๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการบ้านเอื้ออาทรระยะที่ ๓ ระยะที่ ๔ และระยะที่ ๕ (๒) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้กู้เงินจากธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๔,๗๑๘.๐๐ ล้านบาท โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการทางพิเศษรามอินทรา - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพ ฯ จำนวน ๒,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท โครงการทางพิเศษสายบางพลี - สุขสวัสดิ์ จำนวน ๑,๗๑๘.๐๐ ล้านบาท และโครงการทางยกระดับด้านทิศใต้สนามบินสุวรรณภูมิเชื่อมทางพิเศษบูรพาวิถี จำนวน ๑,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท (๓) การประปานครหลวง ได้กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน ๕๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ ๗/๑ (๔) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๓,๓๐๑.๗๐ ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๗ ส่วนที่ ๑ จำนวน ๒๘๒.๐๐ ล้านบาท โครงการก่อสร้างและปรับปรุงเสริมระบบจำหน่าย ระยะที่ ๖ จำนวน ๗๕๐.๐๐ ล้านบาท โครงการติดตั้งศูนย์สั่งจ่ายไฟ ระยะที่ ๒ จำนวน ๑,๐๖๐.๐๓ ล้านบาท โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๘ ส่วนที่ ๑ จำนวน ๖๒๓.๐๐ ล้านบาท โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๘ ส่วนที่ ๒ จำนวน ๑๓๖.๐๐ ล้านบาท และโครงการเพิ่มความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า ระยะที่ ๒ จำนวน ๔๕๐.๖๗ ล้านบาท (๕) การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน วงเงินรวม ๓,๑๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการว่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน ๑๐๐.๐๐ ล้านบาท และโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน ๓,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ๒.๔.๔ เงินกู้เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและอื่น ๆ รัฐวิสาหกิจ ๔ แห่ง ได้กู้เงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและอื่น ๆ วงเงินรวม ๑๒,๗๑๓.๘๘ ล้านบาท เป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันทั้งสิ้น ได้แก่ (๑) การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน ๔,๒๗๔.๐๐ ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินกิจการ (๒) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) รวมกับการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๔,๔๓๙.๘๘ ล้านบาท เพื่อใช้ในการชำระหนี้ ค่าน้ำมัน ค่าเหมาซ่อม และค่าดอกเบี้ยค้างจ่าย (๓) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงิน ๒,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ในการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร (๔) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงิน ๒,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ในการปล่อยสินเชื่อโครงการบ้านหลังแรก ๒.๔.๕ เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ (๑) รัฐวิสาหกิจ ๔ แห่ง ได้กู้เงินเพื่อ Roll-over หนี้ที่ครบกำหนดชำระคืน วงเงินรวม ๓๒,๑๘๑.๙๕ ล้านบาท เป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันทั้งสิ้น ได้แก่ ๑) การเคหะแห่งชาติ ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร ๓ รุ่น และกู้เงินจากธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงินรวม ๑๖,๘๐๐.๐๐ ล้านบาท ๒) การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร ๓ รุ่น วงเงินรวม ๓,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ๓) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้กู้เงินจากธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงินรวม ๑,๓๘๑.๙๕ ล้านบาท ๔) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร ๑๐ รุ่น วงเงินรวม ๑๑,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท การ Roll-over ของรัฐวิสาหกิจทั้ง ๔ แห่ง ดังกล่าว เป็นการ Roll-over ภายใต้วงเงินที่ครบกำหนด ๓๒,๕๓๓.๙๕ ล้านบาท โดยรัฐวิสาหกิจชำระคืนหนี้ส่วนที่ไม่ได้ Roll-over จำนวน ๓๕๒.๐๐ ล้านบาท (๒) รัฐวิสาหกิจ ๔ แห่ง ได้กู้เงินเพื่อ Refinance วงเงินรวม ๓๘,๔๖๔.๒๘ ล้านบาท เป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๓๗,๖๖๔.๒๘ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๘๐๐.๐๐ ล้านบาท ได้แก่ ๑) การเคหะแห่งชาติ ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร ๔ รุ่น และกู้เงินจากธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงินรวม ๑๔,๑๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกัน ๒) การประปานครหลวง ได้กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน ๘๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน ๓) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร ๓ รุ่น และกู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงินรวม ๔,๕๗๗.๐๐ ล้านบาท โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกัน ๔) การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร ๑๙ รุ่น วงเงินรวม ๑๘,๙๘๗.๒๘ ล้านบาท โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกัน การ Refinance ของรัฐวิสาหกิจทั้ง ๔ แห่ง ดังกล่าวสามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ ๘,๐๙๒.๐๐ ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้ ๔๔.๒๙ ล้านบาท ๒.๕ การกู้เงินตามแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ไม่มีการดำเนินงานในช่วงเดือนเมษายน ถึงเดือนกันยายน ๒๕๕๑ เนื่องจากได้ดำเนินการตามแผน ฯ ทั้งหมดในช่วงเดือนตุลาคม ๒๕๕๐ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๕๑ แล้ว ๒.๖ การบริหารหนี้ต่างประเทศ กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการบริหารหนี้ต่างประเทศ วงเงินรวม ๒๐,๐๖๑.๔๗ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ (๑) กระทรวงการคลังได้ดำเนินการ Refinance และ Prepayment หนี้เงินกู้ JBIC จำนวน ๑๑ สัญญา วงเงินรวม ๑๖,๙๖๙.๓๙ ล้านบาท โดยใช้เงินกู้ ECP ซึ่งเป็นเงินกู้ระยะสั้น จำนวน ๑๖,๙๖๗.๕๐ ล้านบาท รวมกับงบประมาณเพื่อการชำระหนี้ ๑.๘๙ ล้านบาท แล้วจึงออก Samurai Bond จำนวน ๓ รุ่น ได้แก่ Samurai Bond รุ่นที่ ๒๒ รุ่นที่ ๒๓ และรุ่นที่ ๒๔ เพื่อชำระหนี้เงินกู้ ECP ดังกล่าว และต่อมาได้ดำเนินการทำ Coupon Only Swap กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เพื่อแปลงสกุลเงินของอัตราดอกเบี้ยของ Samurai Bond รุ่นที่ ๒๒ จากอัตราดอกเบี้ยคงที่สกุลเงินเยน เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่สกุลเงินบาท การดำเนินการดังกล่าวสามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ ๑.๘๙ ล้านบาท และ ลดภาระดอกเบี้ยได้ ๑,๕๘๙.๒๕ ล้านบาท (๒) การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการบริหารหนี้เงินกู้ โดยทำ Refinance หนี้เงินกู้ JBIC จำนวน ๒ สัญญา วงเงินรวม ๓,๐๙๒.๐๘ ล้านบาท โดยใช้เงินจากการออกพันธบัตรในประเทศ จำนวน ๒ รุ่น และทำสัญญาเงินกู้กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกัน ๓. การกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบเพดานเงินกู้ของแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ๓.๑ การบริหารหนี้ของบริษัทมหาชนจำกัด ที่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการบริหารหนี้ทั้งในและต่างประเทศ วงเงินรวม ๑๖,๙๕๔.๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ (๑) ดำเนินการทำ Cross Currency Swap หนี้เงินกู้ AFLAC (American Family Life Assurance Company of Columbus Incorporated) จากหนี้สกุลเงินเยนเป็นหนี้สกุลเงินเหรียญสหรัฐ วงเงิน ๖,๙๐๐.๐๐ ล้านบาท (๒) ดำเนินการทำ Cross Currency Swap พันธบัตรสกุลเงินบาท จำนวน ๒ รุ่น เป็นหนี้สกุลเงินเหรียญสหรัฐ วงเงินรวม ๑๐,๐๕๔.๐๐ ล้านบาท ๓.๒ การกู้เงินระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่อง รัฐวิสาหกิจ ๒ แห่ง ได้กู้เงินระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่องวงเงินรวม ๙,๐๕๐.๐๐ ล้านบาท เป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำไม่ประกันทั้งสิ้น ได้แก่ (๑) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้กู้เงินระยะสั้นในรูป Credit Line จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน ๙,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท (๒) องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้กู้เงินระยะสั้นในรูป Credit Line จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน ๕๐.๐๐ ล้านบาท ๓.๓ การกู้เงินและชำระหนี้เงินกู้ผ่อนปรนจากธนาคารแห่งประเทศไทย สถาบันการเงินของรัฐ ๓ แห่ง ได้กู้เงินกู้ผ่อนปรนจากธนาคารแห่งประเทศไทย วงเงินรวม ๓,๑๒๘.๐๐ ล้านบาท โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกัน และธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตรได้ชำระคืนหนี้ ๑ รายการ วงเงินรวม ๓,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ได้แก่ (๑) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ได้กู้เงินเพื่อดำเนินโครงการสนับสนุนทางการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการใน ๓ จังหวัดภาคใต้ วงเงิน ๒๗๐.๐๐ ล้านบาท (๒) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้กู้เงินเพื่อดำเนินโครงการสนับสนุนทางการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการใน ๓ จังหวัดภาคใต้ วงเงิน ๑,๘๐๐.๐๐ ล้านบาท และชำระคืนหนี้ตามโครงการสนับสนุนทางการเงินตามโครงการสินเชื่อเพื่อวิสาหกิจในชนบทที่ครบกำหนดเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๑ วงเงิน ๓,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยใช้เงินรายได้ (๓) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยได้กู้เงินเพื่อดำเนินโครงการสนับสนุนทางการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการใน ๓ จังหวัดภาคใต้ วงเงิน ๑,๐๕๘.๐๐ ล้านบาท ๔. สรุปผลการดำเนินการตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๑ (เดือนเมษายน - กันยายน ๒๕๕๑) ๔.๑ จากผลการดำเนินงานในช่วงเดือนเมษายน - กันยายน ๒๕๕๑ ที่กล่าวมาแล้ว กระทรวงการคลังสามารถบริหารและจัดการหนี้สาธารณะตามกรอบแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๑ ได้ ๔๐๖,๕๙๑.๗๐ ล้านบาท โดยคิดเป็นร้อยละ ๔๑.๑๐ ของแผน ฯ ๔.๒ ผลการกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบเพดานเงินกู้ของแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๑ รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินและบริหารหนี้รวมทั้งสิ้น ๒๙,๑๓๒.๐๐ ล้านบาท ๔.๓ จากการดำเนินการตามข้อ ๔.๑ และ ๔.๒ กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินและบริหารหนี้รวมทั้งสิ้น ๔๓๕,๗๒๓.๗๐ ล้านบาท แบ่งเป็นการกู้เงินใหม่ จำนวน ๑๒๒,๙๓๔.๐๐ ล้านบาท และการบริหารหนี้ จำนวน ๓๑๒,๗๘๙.๗๐ ล้านบาท หน่วย : ล้านบาท หน่วยงาน ผลการดำเนินงาน การกู้ใหม่ การบริหารหนี้ รวม - รัฐบาล ๖๒,๕๕๒.๑๒ ๒๑๘,๙๖๙.๓๙ ๒๘๑,๕๒๑.๕๑ - รัฐวิสาหกิจ ๖๐,๓๘๑.๘๘ ๙๓,๘๒๐.๓๑ ๑๕๔,๒๐๒.๑๙ รวม ๑๒๒,๙๓๔.๐๐ ๓๑๒,๗๘๙.๗๐ ๔๓๕,๗๒๓.๗๐ ทั้งนี้ การกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจจำนวน ๑๕๔,๒๐๒.๑๙ ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๑๐๖,๒๙๘.๑๑ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๔๗,๙๐๔.๐๘ ล้านบาท การบริหารหนี้ที่ได้ดำเนินการทั้งในส่วนของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ วงเงินรวมกันทั้งสิ้น ๓๑๒,๗๘๙.๗๐ ล้านบาท นั้น สามารถลดยอดหนี้สาธารณะคงค้างได้ ๒๙,๕๒๐.๙๗ ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้ ๒,๐๓๘.๘๘ ล้านบาท ๔.๔ เมื่อรวมผลการดำเนินงานตามข้อ ๔.๓ กับผลการดำเนินงานในช่วง ๖ เดือนแรกของปีงบประมาณ ๒๕๕๑ (เดือนตุลาคม ๒๕๕๐ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๕๑) ที่ได้รายงานไปแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๑ กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินงานตามแผน ฯ ได้ทั้งสิ้น ๗๙๔,๘๔๖.๑๕ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๘๐.๓๕ ของแผน ฯ และเมื่อรวมกับผลการกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบเพดานเงินกู้ของแผนการบริหารหนี้สาธารณะแล้ว กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจสามารถกู้เงินและบริหารหนี้ไปได้ทั้งสิ้น ๕๗,๑๐๘.๐๕ ล้านบาท โดยสามารถลดยอดหนี้สาธารณะคงค้างได้ ๖๐,๑๒๖.๙๔ ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้ ๒,๒๙๖.๘๘ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน หมายเหตุ :- FIDF หมายถึง กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน FIDF1 หมายถึง พันธบัตรที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กระทรวงการคลัง กู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งรวมทั้งเงินกู้หรือตราสารหนี้ระยะสั้นที่ มีอายุ ไม่เกิน ๑ ปี FIDF3 หมายถึง พันธบัตรที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕ ECP หมายถึง การกู้เงินระยะสั้นในรูป Euro Commercial Paper เพื่อใช้เป็น Bridge financing ก่อนการจัดหาเงินกู้ ระยะยาวต่อไป Prepayment หมายถึง การชำระหนี้คืนก่อนครบกำหนดชำระ Refinance หมายถึง การกู้เงินจากแหล่งใหม่เพื่อนำไปใช้คืนแหล่งเงินกู้เดิม ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการกู้เงิน หรือขยายระยะเงินกู้ Repayment หมายถึง การชำระหนี้คืนตามกำหนดชำระ Roll-over หมายถึง การกู้เงินใหม่เพื่อนำไปชำระเงินกู้ที่ครบกำหนดชำระ เพื่อให้เงินกู้ดังกล่าวมีระยะเงินกู้สอดคล้องกับระยะ คืนทุน JBIC หมายถึง Japan Bank for International Cooperation ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๘๔ ง/หน้า ๑/๑ ธันวาคม ๒๕๕๑
591621
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2551
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ สำนักงานประกันสังคม และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ วงเงิน ๕๙,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๕๘,๓๙๓,๖๒๔,๘๗๓.๗๙ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๖๐๖,๓๗๕,๑๒๖.๒๑ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 49/28/51 ๔,๐๐๐ ๓ กันยายน ๒๕๕๑ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ ๒๘ ๑๑,๔๗๔,๕๗๐.๓๓ L49/91/51 ๕,๐๐๐ ๓ กันยายน ๒๕๕๑ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๑ ๙๑ ๔๖,๓๙๐,๖๕๖.๓๓ L49/182/51 ๕,๐๐๐ ๓ กันยายน ๒๕๕๑ ๔ มีนาคม ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๙๑,๗๒๖,๓๓๐.๖๒ 50/28/51 ๕,๐๐๐ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๑ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๑ ๒๘ ๑๔,๒๙๒,๐๒๓.๓๕ L50/92/51 ๕,๐๐๐ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๑ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ ๙๒ ๔๖,๘๑๒,๓๐๘.๑๙ L50/182/51 ๕,๐๐๐ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๑ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๙๑,๙๒๖,๖๖๓.๔๑ 51/28/51 ๕,๐๐๐ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๑ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๑ ๒๘ ๑๔,๒๔๓,๒๙๘.๘๐ L51/91/51 ๕,๐๐๐ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๑ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ ๙๑ ๔๖,๐๗๘,๗๗๙.๗๑ L51/182/51 ๕,๐๐๐ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๑ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๙๑,๗๑๐,๔๗๒.๕๐ 52/28/51 ๕,๐๐๐ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๑ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ๒๘ ๑๔,๒๙๗,๑๓๘.๓๒ L52/91/51 ๕,๐๐๐ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๑ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๑ ๙๑ ๔๖,๐๕๔,๒๙๔.๕๑ L52/182/51 ๕,๐๐๐ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๑ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๙๑,๓๖๘,๕๙๐.๑๔ รวม ๕๙,๐๐๐ ๖๐๖,๓๗๕,๑๒๖.๒๑ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๑๔๗,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๖๗,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับการออกตั๋วเงินคลังโดยใช้วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ จำนวน ๒๑,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้มียอดตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๑๖๘,๐๐๐ ล้านบาท อย่างไรก็ดี ในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๑ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาลไปแล้วจำนวน ๒๑,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นเดือนกันยายน ๒๕๕๑ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๑๔๗,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๗๘ ง/หน้า ๖/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
591616
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ครั้งที่ 12
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๑๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ๑. กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๑๒” อายุ ๓ ปี จำนวน ๖๖๔,๓๖๐,๐๐๐ บาท (หกร้อยหกสิบสี่ล้านสามแสนหกหมื่นบาทถ้วน) ๒. พันธบัตรนี้เป็นพันธบัตรชนิดออกในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตร และจดทะเบียนตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งหมื่นบาท โดยวงเงินซื้อขั้นต่ำ ๑๐,๐๐๐ บาท และซื้อเพิ่มเป็นจำนวนเท่าของ ๑๐,๐๐๐ บาท วงเงินซื้อสูงสุดไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำหน่ายและการถือครอง ดังนี้ ๒.๑ ผู้มีสิทธิซื้อประกอบด้วย บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทยหรือที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย มูลนิธิ สภากาชาดไทย และสมาคมสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ๒.๒ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ต้องการโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรรัฐบาลก่อนกำหนดสามารถกระทำได้โดยไม่จำกัดประเภทบุคคล ตั้งแต่วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ยกเว้น ผู้ที่ต้องการโอนกรรมสิทธิ์เพื่อเป็นหลักประกันหรือโอนทางมรดก หรือการแบ่งทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการหย่าหรือล้มละลาย หรือการชำระบัญชี และกรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์นั้นเสียชีวิตให้กระทำได้หลังจากได้รับใบพันธบัตรแล้วแต่กระทำในระหว่างระยะเวลา ๓๐ วัน ก่อนถึงวันกำหนดชำระคืนต้นเงินมิได้ ๒.๓ ผู้ถือกรรมสิทธิ์สามารถใช้พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ เป็นหลักประกันให้กับหน่วยงานราชการและองค์กรของรัฐ เช่น การประกันทางศาล หรือการประกันไฟฟ้า และสามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่น ๆ ได้ การโอนกรรมสิทธิ์ให้ปฏิบัติตามระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเป็นนายทะเบียนของธนาคารแห่งประเทศไทย การโอนกรรมสิทธิ์จะสมบูรณ์ เมื่อพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายได้แต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรนั้นแล้ว ๓. วันจำหน่ายพันธบัตรรุ่นนี้ คือวันที่ ๑๕ - ๒๒ กันยายน ๒๕๕๑ โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์ประกอบด้วยบุคคลธรรมดา จำนวน ๑,๖๔๖ ราย จำนวนเงิน ๖๖๐,๓๖๐,๐๐๐ บาท และมูลนิธิ จำนวน ๙ ราย จำนวนเงิน ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท ๔. พันธบัตรรุ่นนี้ ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๔ ๕. พันธบัตรรุ่นนี้ มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๖๕ ต่อปี การชำระดอกเบี้ยให้ชำระแก่ผู้มีนามในพันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๑๒ ที่ได้จดทะเบียนไว้ หรือตามคำร้องขอของผู้มีนามในพันธบัตรฉบับนั้น ให้แบ่งชำระเงินเป็นสองงวด คือในวันที่ ๑๕ มีนาคม และวันที่ ๑๕ กันยายน ของทุกปี เป็นจำนวนเงินงวดละเท่า ๆ กัน ตลอดเวลาที่พันธบัตรยังมีอายุอยู่ ยกเว้นงวดแรกและงวดที่สองจะคำนวณดอกเบี้ยตามจำนวนวันที่ถือครองพันธบัตร สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรในวันที่ไถ่ถอน หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป และให้ถือว่าหนึ่งปีมีสามร้อยหกสิบห้าวัน ทั้งนี้ การคำนวณดอกเบี้ยหากมีเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง การจ่ายดอกเบี้ยของพันธบัตรในแต่ละงวด จะจ่ายให้แก่ผู้มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรในทะเบียน ณ เวลาที่เริ่มต้นทำการในวันแรกแห่งระยะเวลา ๓๐ วัน ก่อนถึงกำหนดชำระดอกเบี้ย ๖. กระทรวงการคลังจะรับโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรนี้ไว้ก็ได้ โดยพันธบัตรที่กระทรวงการคลังรับโอนกรรมสิทธิ์ตามข้อนี้ให้ถือว่าเป็นพันธบัตรที่ชำระต้นเงินกู้คืนแล้ว ตั้งแต่วันรับโอนกรรมสิทธิ์ ๗. การชำระต้นเงินกู้ตามพันธบัตรประเภทนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ๘. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดจำหน่ายพันธบัตรประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ๙. กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้แก่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ดังนี้ ๙.๑ ค่าธรรมเนียมในการจัดจำหน่ายพันธบัตรในอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของมูลค่าพันธบัตรที่จำหน่ายได้ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) และไม่มีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติม ๙.๒ ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ตามที่จ่ายจริง ไม่เกินวงเงินที่กระทรวงการคลังกำหนด ๑๐. ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรประเภทนี้และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ๑๑. กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้ ๑๑.๑ ค่าธรรมเนียมในการเป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงินเกี่ยวกับพันธบัตรในอัตราร้อยละ ๐.๑ ของดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ๑๑.๒ ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรตามที่จ่ายจริง ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๗๘ ง/หน้า ๑/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑