sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
642314
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำ หน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลัง หากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลังถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ทวี ไอศูรย์พิศาลศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔๙ ง/หน้า ๓๘/๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๓
642312
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พฤศจิกายน 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ ลงวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๓ กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๘๕๐๐๐ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ทวี ไอศูรย์พิศาลศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔๙ ง/หน้า ๓๗/๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๓
641736
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ และสำนักงานประกันสังคม ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ วงเงิน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงิน จำนวน ๑๑,๙๔๓,๖๘๐,๓๘๙.๘๕ บาท โดยมีส่วนลด จำนวน ๕๖,๓๑๙,๖๑๐.๑๕ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 1/28/54 ๑,๐๐๐ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๒๘ ๑,๒๐๙,๒๓๒.๙๗ L1/91/54 ๑,๐๐๐ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๕ มกราคม ๒๕๕๔ ๙๑ ๔,๑๒๕,๐๐๙.๐๖ L1/183/54 ๑,๐๐๐ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๗ เมษายน ๒๕๕๔ ๑๘๓ ๘,๕๙๙,๑๑๒.๕๒ 2/28/54 ๑,๐๐๐ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๒๘ ๑,๒๑๐,๔๕๗.๔๑ L2/91/54 ๑,๐๐๐ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔ ๙๑ ๔,๑๙๐,๒๐๗.๙๐ L2/187/54 ๑,๐๐๐ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๔ ๑๘๗ ๘,๘๓๕,๗๕๔.๐๔ 3/28/54 ๑,๐๐๐ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๒๘ ๑,๒๒๐,๗๖๕.๔๒ L3/91/54 ๑,๐๐๐ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๔ ๙๑ ๔,๑๗๘,๓๙๕.๐๗ L3/182/54 ๑,๐๐๐ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๔ ๑๘๒ ๘,๖๙๙,๕๓๔.๔๘ 4/28/54 ๑,๐๐๐ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๒๘ ๑,๒๑๕,๑๐๒.๕๔ L4/91/54 ๑,๐๐๐ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๔ ๙๑ ๔,๑๔๖,๒๙๘.๒๘ L4/182/54 ๑,๐๐๐ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๔ ๑๘๒ ๘,๖๘๙,๗๔๐.๔๖ รวม ๑๒,๐๐๐ ๕๖,๓๑๙,๖๑๐.๑๕ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียนเพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ-เงินสดจ่ายของรัฐบาล จำนวน ๑๕๔,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาจนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ จำนวน ๗๔,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาล จำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔๕ ง/หน้า ๔๓/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๓
641734
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 4 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 30 พฤศจิกายน 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๓ กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๘๕๐๐๐ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ทวี ไอศูรย์พิศาลศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔๕ ง/หน้า ๔๒/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๓
641732
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 29 พฤศจิกายน 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๘๕๐๐๐ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ทวี ไอศูรย์พิศาลศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔๕ ง/หน้า ๔๑/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๓
641730
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 1 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 พฤศจิกายน 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ลงวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๘๕๐๐๐ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ทวี ไอศูรย์พิศาลศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔๕ ง/หน้า ๔๐/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๓
640598
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ 30 กันยายน 2553 และรายงานการกู้เงินและค้ำประกันระหว่างเดือนเมษายน 2553 ถึงเดือนกันยายน 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓ และรายการการกู้เงินและค้ำประกัน ระหว่างเดือนเมษายน ๒๕๕๓ ถึงเดือนกันยายน ๒๕๕๓[๑] ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๑๖ วรรค ๒ กำหนดให้กระทรวงการคลังสรุปรายงานสถานะหนี้สาธารณะและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายใน ๖๐ วันหลังจากสิ้นเดือนมีนาคมและเดือนกันยายนของทุกปี โดยรายงานดังกล่าวต้องแสดงหนี้สาธารณะที่เกิดจากการกู้เงินและค้ำประกัน ณ สิ้นเดือนดังกล่าว รวมทั้งรายการการกู้เงินและค้ำประกันที่เกิดขึ้นใหม่ในช่วงระยะเวลาระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม และเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน ตามลำดับ กระทรวงการคลังขอรายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓ และรายการการกู้เงินและค้ำประกัน ซึ่งรวมทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ ระหว่างเดือนเมษายน ๒๕๕๓ ถึงเดือนกันยายน ๒๕๕๓ รายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่แนบ ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓ และรายการการกู้เงินและค้ำประกันระหว่างเดือนเมษายน ๒๕๕๓ ถึงเดือนกันยายน ๒๕๕๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๗/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
639994
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลังหากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนดให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ทวี ไอศูรย์พิศาลศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง/หน้า ๕๙/๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
639992
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อโดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำ เนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒” จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท (หกพันล้านบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงินและผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกันโดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ (LB416A) อายุ ๓๐.๖๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๐ ต่อปี จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท ๒๗ ต.ค. ๒๕๕๓ ๑๕ ธ.ค. ๒๕๕๓ ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๒๙ ต.ค. ๒๕๕๓ ๑๗ ธ.ค. ๒๕๕๓ ๒๙ ต.ค. ๒๕๕๓ ๑๔ ธ.ค. ๒๕๕๓ ๑๔ มิ.ย. ๒๕๘๔ ๑๔ มิ.ย. ๒๕๘๔ หมายเหตุ :- อัตราดอกเบี้ยจะประกาศในวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๓ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๐ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๓ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๔ มิถุนายน และ ๑๔ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๘๔ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๖,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง/หน้า ๕๑/๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
639990
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่ากระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑” จำนวน ๒๗,๐๐๐ ล้านบาท (สองหมื่นเจ็ดพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ (LB15DA) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๗,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกันโดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ (LB15DA) อายุคงเหลือ ๕.๑๒ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๑๒๕ ต่อปี จำนวน ๒๗,๐๐๐ ล้านบาท ๒๗ ต.ค. ๒๕๕๓ ๑๕ ธ.ค. ๒๕๕๓ ๑๓,๐๐๐ ๑๔,๐๐๐ ๒๙ ต.ค. ๒๕๕๓ ๑๗ ธ.ค. ๒๕๕๓ ๑๖ ส.ค. ๒๕๕๓ ๑๑ ธ.ค. ๒๕๕๓ ๑๑ ธ.ค. ๒๕๕๘ ๑๑ ธ.ค. ๒๕๕๘ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ ให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๗,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๑๒๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๑ ธ.ค. ๒๕๕๓) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน (ยกเว้นการจำหน่ายงวดวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๓ เริ่มคำนวณดอกเบี้ยจากวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน) การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๑ มิถุนายน และ ๑๑ ธันวาคมของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๒๗,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง/หน้า ๔๕/๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
639988
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ และสำนักงานประกันสังคม ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ วงเงิน ๔๘,๒๙๐ ล้านบาท ได้รับเงิน จำนวน ๔๘,๐๖๓,๒๙๕,๑๕๒.๔๗ บาท โดยมีส่วนลด จำนวน ๒๒๖,๗๐๔,๘๔๗.๕๓ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลงในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 48/28/53 ๓,๐๐๐ ๑ กันยายน ๒๕๕๓ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ ๒๘ ๓,๖๘๙,๖๖๑.๒๘ L48/91/53 ๓,๐๐๐ ๑ กันยายน ๒๕๕๓ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๒,๕๗๕,๖๙๔.๖๘ L48/182/53 ๓,๐๐๐ ๑ กันยายน ๒๕๕๓ ๒ มีนาคม ๒๕๕๔ ๑๘๒ ๒๗,๒๗๐,๘๑๙.๘๒ 49/28/53 ๓,๐๐๐ ๘ กันยายน ๒๕๕๓ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๓,๕๙๘,๒๘๙.๒๒ L49/91/53 ๓,๐๐๐ ๘ กันยายน ๒๕๕๓ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๒,๕๐๑,๕๖๑.๘๓ L49/182/53 ๓,๐๐๐ ๘ กันยายน ๒๕๕๓ ๙ มีนาคม ๒๕๕๔ ๑๘๒ ๒๖,๗๓๕,๔๘๕.๕๐ 50/28/53 ๓,๐๐๐ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๓ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๓,๕๗๓,๘๘๒.๔๘ L50/91/53 ๓,๐๐๐ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๓ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๒,๓๕๗,๐๐๑.๖๔ L50/182/53 ๓,๐๐๐ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๓ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๔ ๑๘๒ ๒๖,๑๖๑,๕๐๑.๗๒ 51/28/53 ๓,๒๙๐ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๓ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๓,๙๗๕,๘๐๗.๖๑ L51/91/53 ๓,๐๐๐ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๓ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๒,๓๖๔,๗๑๗.๔๒ 51/182/53 ๓,๐๐๐ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๓ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๔ ๑๘๒ ๒๖,๐๖๙,๒๓๐.๘๐ 52/28/53 ๔,๐๐๐ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๔,๘๘๔,๙๓๖.๖๖ L52/91/53 ๔,๐๐๐ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๖,๔๑๑,๓๒๗.๕๒ L52/182/53 ๔,๐๐๐ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๔ ๑๘๒ ๓๔,๕๓๔,๙๒๙.๓๕ รวม ๔๘,๒๙๐ ๒๒๖,๗๐๔,๘๔๗.๕๓ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลังเป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียนเพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาล จำนวน ๒๘๑,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาจนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ จำนวน ๒๐๑,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาล จำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังได้ดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาลไปแล้ว จำนวน ๙๔,๐๐๐ ล้านบาท (ดำเนินการในเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ จำนวน ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๓ จำนวน ๓๕,๐๐๐ ล้านบาท และในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๓ จำนวน ๓๖,๐๐๐ ล้านบาท) และในเดือนกันยายน ๒๕๕๓ ได้ดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติมอีก จำนวน ๓๓,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นเดือนกันยายน ๒๕๕๓ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาล จำนวน ๑๕๔,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง/หน้า ๔๓/๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
639603
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ วงเงิน ๘,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุ ๔ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๗ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี และจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ยกเว้นงวดแรกจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยชำระดอกเบี้ยปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๔ มีนาคม และ ๒๔ กันยายนของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๑.๓ อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๘๔๘๗๕ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๓ ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ ๑.๙๙๘๗๕ ต่อปี ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๒ กันยายน ๒๕๕๓ ๘,๐๐๐ ๑.๙๔๖๘๘ ๗,๙๗๐,๕๖๓,๙๕๐.๐๐ -๒๙,๔๓๖,๐๕๐.๐๐ - หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่าย พันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๒๙ ง/หน้า ๙/๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
639601
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 5
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๕[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๕ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๕ วงเงิน ๒๑,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ (LB296A) อายุ ๑๙.๖๐ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๑๘.๙๑ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๗๒ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๘๗๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๒ มิถุนายน และ ๒๒ ธันวาคมของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ สำนักงานประกันสังคม และบริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๓ และวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๕ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ๑๑,๐๐๐ ๓.๘๒๘๖ ๑๒,๕๙๒,๘๖๐,๖๕๐.๑๕ ๑,๕๓๗,๐๓๑,๙๑๐.๑๕ ๕๕,๘๒๘,๗๔๐.๐๐ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๓ ๑๐,๐๐๐ ๓.๕๔๐๕ ๑๑,๙๓๓,๑๘๘,๐๐๑.๔๐ ๑,๘๑๖,๙๘๙,๔๐๑.๔๐ ๑๑๖,๑๙๘,๖๐๐.๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๒๙ ง/หน้า ๗/๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
639599
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 4
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ วงเงิน ๒๗,๒๕๔ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ (LB196A) อายุ ๑๐.๐๕ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๙๙,๙๙๔ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๘.๙๐ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๒ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๗๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๓ มิถุนายน และ ๑๓ ธันวาคมของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำนักงานประกันสังคมและบริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ และวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ๑๕,๐๐๐ ๓.๒๔๒๔ ๑๕,๗๙๐,๓๙๒,๒๓๑.๙๐ ๗๒๖,๖๙๓,๕๓๑.๙๐ ๖๓,๖๙๘,๗๐๐.๐๐ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๓ ๑๒,๒๕๔ ๓.๐๖๙๓ ๑๓,๑๓๗,๒๓๘,๙๘๙.๑๖ ๗๔๙,๒๔๒,๓๕๖.๙๔ ๑๓๓,๙๙๖,๖๓๒.๒๒ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่าย พันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๒๙ ง/หน้า ๕/๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
638601
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 (ครั้งที่ 2) วันที่ 22 ตุลาคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๒) วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๒) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๒ จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท อายุ ๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๐ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๒๒ เมษายน และวันที่ ๒๒ ตุลาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๙ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๓ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๒) เป็นร้อยละ ๑.๕๗ ต่อปี และตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ กระทรวงการคลังได้ไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวบางส่วนก่อนกำหนด โดยชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน ๖,๕๐๕ ล้านบาท พร้อมชำระดอกเบี้ยงวดสุดท้าย ในวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๓ ทำให้มียอดคงเหลือตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน ๓,๔๙๕ ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๕๗ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๒ ดังกล่าว สำหรับต้นเงินกู้คงเหลือ จำนวน ๓,๔๙๕ ล้านบาท จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๒) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๕๗ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๙๙๖ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๒๕ ง/หน้า ๑๒/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๓
638596
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แนวทางการบริหารเงินให้กู้ต่อของกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แนวทางการบริหารเงินให้กู้ต่อของกระทรวงการคลัง พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อให้มีแนวทางในการปฏิบัติสำหรับการบริหารเงินให้กู้ต่อของกระทรวงการคลังที่ชัดเจนมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกอบกับข้อ ๖ ของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้กู้ต่อของกระทรวงการคลัง พ.ศ. ๒๕๕๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ “ผู้กู้ต่อ” หมายความว่า หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินภาครัฐ ข้อ ๒ เมื่อโครงการหรือแผนงานของผู้กู้ต่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้กู้เงินต่อจากกระทรวงการคลังแล้ว ให้ผู้กู้ต่อเสนอแผนการดำเนินงานและแผนการเบิกจ่ายต่อสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเพื่อพิจารณาจัดหาเงินกู้ โดยดำเนินการกู้เงินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๓ เมื่อสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะจัดหาเงินกู้จากแหล่งเงินกู้ทั้งในประเทศและต่างประเทศแล้ว ให้ดำเนินการจัดทำสัญญาให้กู้ยืมเงินต่อกับผู้กู้ต่อตามสัญญามาตรฐานของกระทรวงการคลัง ข้อ ๔ กรณีกระทรวงการคลังกู้เงินจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศเพื่อนำมาให้กู้ต่อ (๑) ให้ผู้กู้ต่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับของหน่วยงานผู้กู้ต่อหากไม่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบราชการโดยอนุโลม (๒) การเบิกจ่ายเงินกู้ กระทรวงการคลังจะกำหนดให้ผู้กู้ต่อดำเนินการเบิกจ่ายเงินจากแหล่งเงินกู้โดยตรงก็ได้ โดยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการกู้เงินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และให้ผู้กู้ต่อเป็นผู้รับผิดชอบในการใช้จ่ายและการเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และขอบเขตงานของโครงการหรือแผนงานที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีภายใต้กฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับของหน่วยงานผู้กู้ต่อ ข้อ ๕ กรณีที่กระทรวงการคลังกู้เงินจากแหล่งเงินกู้ต่างประเทศเพื่อนำมาให้กู้ต่อในโครงการใดโครงการหนึ่งหรือแผนงานใดแผนงานหนึ่งโดยเฉพาะของผู้กู้ต่อ และแหล่งเงินกู้ต่างประเทศกำหนดให้ใช้หลักเกณฑ์และระเบียบในการดำเนินงาน การจัดซื้อจัดจ้าง การเบิกจ่ายเงินกู้ของแหล่งเงินกู้ต่างประเทศนั้น ให้ผู้กู้ต่อปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และระเบียบของแหล่งเงินกู้ต่างประเทศนั้นได้ ข้อ ๖ ให้ผู้กู้ต่อจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการหรือแผนงานที่ใช้เงินกู้ให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะทราบเป็นรายเดือน ทุกวันที่ ๗ ของเดือนถัดไป ข้อ ๗ การปฏิบัติอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเงินให้กู้ต่อของกระทรวงการคลัง ซึ่งไม่ได้กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์นี้ ให้ถือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาให้กู้ยืมเงินต่อระหว่างกระทรวงการคลังและผู้กู้ต่อ ข้อ ๘[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/จัดทำ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๒๕ ง/หน้า ๑๐/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๓
638593
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 4
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔[๑] โดยที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ วงเงิน ๓๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สามหมื่นล้านบาทถ้วน) ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๙๙ ง ลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ จำหน่ายได้จริงจำนวน ๒๗,๒๕๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นเจ็ดพันสองร้อยห้าสิบสี่ล้านบาทถ้วน) กระทรวงการคลังจึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ปรับลดวงเงินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ จากจำนวน ๓๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สามหมื่นล้านบาทถ้วน) เป็นจำนวน ๒๗,๒๕๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นเจ็ดพันสองร้อยห้าสิบสี่ล้านบาทถ้วน) ประกาศ ณ วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๒๕ ง/หน้า ๙/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๓
638362
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น สำหรับโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 ของกรมทางหลวงชนบท
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น สำหรับโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี ๑ ของกรมทางหลวงชนบท[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า รัฐบาลได้ลงนามในสัญญากู้เงินกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ๑. เป็นเงินกู้ จำนวน ๗,๓๐๗ ล้านเยน หรือเทียบเท่า ๒,๖๗๙,๐๐๑,๙๔๕ บาท (คำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยนขายถัวเฉลี่ยของเงินบาทกับเงินเยนญี่ปุ่น ณ วันลงนามในสัญญา คือ ๓๖.๖๖๓๕ บาท ต่อ ๑๐๐ เยน) และกำหนดเบิกจ่ายเงินกู้เสร็จสิ้นภายใน ๖ ปี นับจากวันที่สัญญาเงินกู้มีผลใช้บังคับ ๒. อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๐.๙๕ ต่อปี กำหนดชำระปีละ ๒ งวด โดยชำระในวันที่ ๒๐ กันยายน และ ๒๐ มีนาคม ของแต่ละปี สำหรับในช่วงการเบิกจ่ายเงินกู้ และในวันที่ ๒๐ สิงหาคม และ ๒๐ กุมภาพันธ์ ของแต่ละปี สำหรับในช่วงหลังการเบิกจ่ายเงินกู้ ๓. อัตราค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ร้อยละ ๐.๑ ของวงเงินกู้ที่ยังไม่ได้เบิกจ่าย ๔. กำหนดชำระคืนเงินกู้ภายใน ๒๐ ปี รวมระยะเวลาปลอดหนี้เงินกู้ ๖ ปี โดยผ่อนชำระปีละ ๒ งวด ทุกระยะ ๖ เดือน เป็นจำนวน ๒๙ งวด ชำระคืนต้นเงินกู้งวดแรกในวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๙ และงวดสุดท้ายในวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๗๓ ๕. รัฐบาลได้กำหนดจะนำเงินกู้รายนี้ไปใช้จ่ายในโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนนนทบุรี ๑ ของกรมทางหลวงชนบท เพื่อก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพของโครงข่ายถนนราชพฤกษ์โดยการเชื่อมโยงพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งเป็นทางเลือกของเส้นทางที่อำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนในกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง/หน้า ๑๙/๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๓
638360
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 3 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 2 ตุลาคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๓[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๘๕๐๐๐ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ สุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง/หน้า ๑๖/๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๓
638197
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 2 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 24 กันยายน 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๓[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ ลงวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๓ กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๘๔๘๗๕ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๓ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง/หน้า ๑๗/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๓
638195
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ และสำนักงานประกันสังคม ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ วงเงิน ๓๒,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงิน จำนวน ๓๑,๘๔๒,๔๖๖,๒๙๗.๗๑ บาท โดยมีส่วนลด จำนวน ๑๕๗,๕๓๓,๗๐๒.๒๙ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 44/28/53 ๒,๐๐๐ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๑ กันยายน ๒๕๕๓ ๒๘ ๒,๑๓๑,๓๒๖.๓๑ L44/91/53 ๓,๐๐๐ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๑,๔๐๐,๐๗๕.๘๓ L44/182/53 ๓,๐๐๐ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ๑๘๒ ๒๖,๒๔๘,๕๕๘.๐๔ 45/28/53 ๒,๐๐๐ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๘ กันยายน ๒๕๕๓ ๒๘ ๒,๑๑๕,๒๙๓.๗๙ L45/91/53 ๓,๐๐๐ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๑,๓๒๕,๘๔๖.๘๓ L45/182/53 ๓,๐๐๐ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ๑๘๒ ๒๕,๕๑๐,๕๒๕.๖๒ 46/28/53 ๒,๐๐๐ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๓ ๒๘ ๒,๑๒๓,๙๖๒.๒๙ L46/91/53 ๓,๐๐๐ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๑,๔๖๓,๔๑๔.๘๘ L46/182/53 ๓,๐๐๐ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ๑๘๒ ๒๕,๗๖๒,๖๕๔.๓๘ 47/28/53 ๒,๐๐๐ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๓ ๒๘ ๒,๑๒๘,๐๓๔.๗๐ L47/91/53 ๓,๐๐๐ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๑,๕๔๗,๓๔๘.๖๙ L47/182/53 ๓,๐๐๐ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ๑๘๒ ๒๕,๗๗๖,๖๖๐.๙๓ รวม ๓๒,๐๐๐ ๑๕๗,๕๓๓,๗๐๒.๒๙ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียนเพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาล จำนวน ๒๘๑,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาจนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ จำนวน ๒๐๑,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาล จำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังได้ดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล จำนวน ๙๔,๐๐๐ ล้านบาท (ดำเนินการในเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ จำนวน ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๓ จำนวน ๓๕,๐๐๐ ล้านบาท และในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๓ จำนวน ๓๖,๐๐๐ ล้านบาท) ทำให้ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม ๒๕๕๓ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๑๘๗,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง/หน้า ๑๕/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๓
638193
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 กันยายน 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๓[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ ลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๘๔๘๗๕ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๓ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ สุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง/หน้า ๑๔/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๓
637488
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. นว. (ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลังหากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๙/๕ ตุลาคม ๒๕๕๓
637333
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 (ครั้งที่ 3) วันที่ 9 กันยายน 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๓) วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๒ อายุ ๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๖๓ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๙ มีนาคม และวันที่ ๙ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๗ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๓ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๓) เป็นร้อยละ ๑.๕๗ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๒ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๓) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๕๗ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๘๔๕ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง/หน้า ๓/๓๐ กันยายน ๒๕๕๓
637304
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (ครั้งที่ 4) วันที่ 10 กันยายน 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๔) วันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๔) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๑ อายุ ๓.๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๓ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๑๐ มีนาคม และวันที่ ๑๐ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดาเฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๗ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๓ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๔) เป็นร้อยละ ๑.๖๗ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๑ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๔) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๖๗ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๙๔๕ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๑๓ ง/หน้า ๔๐/๒๘ กันยายน ๒๕๕๓
636460
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 2) วันที่ 8 กันยายน 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ อายุ ๔ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๕๑ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๘ มีนาคม และวันที่ ๘ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๕ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๘ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๓ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) เป็นร้อยละ ๑.๕๙ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๕๙ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๘๘ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๑๒/๒๓ กันยายน ๒๕๕๓
636455
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 2) วันที่ 8 กันยายน 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) จากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ อายุ ๔ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๔๙ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๘ มีนาคม และวันที่ ๘ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๕ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๖ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๓ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) เป็นร้อยละ ๑.๕๗ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๕๗ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๘๖ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๑๑/๒๓ กันยายน ๒๕๕๓
636450
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (ครั้งที่ 3) วันที่ 3 กันยายน 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ อายุ ๓.๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๔ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๓ มีนาคม และวันที่ ๓ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๘ ต่อปี และในวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๓ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) เป็นร้อยละ ๑.๖๘ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๖๘ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๙๖ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๑๐/๒๓ กันยายน ๒๕๕๓
636444
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (ครั้งที่ 3) วันที่ 3 กันยายน 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพ ฯ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ อายุ ๓.๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๓ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๓ มีนาคม และวันที่ ๓ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราตํ่าสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๗ ต่อปี และในวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๓ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) เป็นร้อยละ ๑.๖๗ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๖๗ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๙๕ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๙/๒๓ กันยายน ๒๕๕๓
636372
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 (ครั้งที่ 3) ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ 2 กันยายน 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๓) ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๓) ให้กับธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท แบ่งเป็น ๓ วงเงิน คือ ๓,๕๐๐ ล้านบาท ๓,๕๐๐ ล้านบาท และ ๓,๐๐๐ ล้านบาท อายุ ๗ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๔๒ ต่อปี ร้อยละ ๑.๔๓ ต่อปี และร้อยละ ๑.๔๔ ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในวันที่ ๒ มีนาคม และวันที่ ๒ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๗๒ ต่อปี ร้อยละ ๐.๗๓ ต่อปี และร้อยละ ๐.๗๔ ต่อปี ตามลำดับ เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๓) ให้กับธนาคารออมสินจากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๔๒ ต่อปี ร้อยละ ๑.๔๓ ต่อปี และร้อยละ ๑.๔๔ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๗๐ ต่อปี ร้อยละ ๑.๗๑ ต่อปี และร้อยละ ๑.๗๒ ต่อปีตามลำดับ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๔๖/๒๐ กันยายน ๒๕๕๓
636370
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนกันยายน พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลังหากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลังถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๔๒/๒๐ กันยายน ๒๕๕๓
636368
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ วงเงิน ๙,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุ ๔ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๗ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี และจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ยกเว้นงวดแรกจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยชำระดอกเบี้ยปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๓ มกราคม และ ๒๓ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๑.๓ อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๖๓๘๗๕ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ ๑.๗๘๘๗๕ ต่อปี ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ๙,๐๐๐ ๑.๗๖๓๙๗ ๘,๙๕๖,๐๑๕,๕๗๔ -๔๓,๙๘๔,๔๒๖ - หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๔๐/๒๐ กันยายน ๒๕๕๓
636366
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 8
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘ วงเงิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ (LB406A) อายุ ๓๐.๗๐ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๒๙.๘๖ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวน ในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๘๓ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๒ มิถุนายน และ ๒๒ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และบริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๕,๐๐๐ ๓.๙๖๕๘ ๕,๙๓๙,๘๐๐,๑๔๗.๒๐ ๘๙๙,๓๘๙,๑๙๗.๒๐ ๔๐,๔๑๐,๙๕๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๓๘/๒๐ กันยายน ๒๕๕๓
636364
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 7
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗ วงเงิน ๑๑,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ (LB24DA) อายุ ๑๕.๑๕ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๗,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๑๔.๓๕ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๗ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๗๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน และ ๒๐ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๑๑,๐๐๐ ๓.๖๑๐๕ ๑๒,๔๗๙,๑๑๗,๓๑๖ ๑,๓๙๑,๗๙๕,๓๕๖ ๘๗,๓๒๑,๙๖๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๓๖/๒๐ กันยายน ๒๕๕๓
636362
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 6
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ วงเงิน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุ ๕.๓๒ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๑๒๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๑ มิถุนายน และ ๑๑ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ สำนักงานประกันสังคม และบริษัทหลักทรัพย์ ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๒๐,๐๐๐ ๓.๐๗๐๒ ๒๐,๐๕๓,๙๕๗,๑๓๒.๒๘ ๕๓,๙๕๗,๑๓๒.๒๘ - หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๓๔/๒๐ กันยายน ๒๕๕๓
636360
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ และสำนักงานประกันสังคม ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ วงเงิน ๓๗,๗๑๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๓๗,๕๓๙,๒๐๓,๔๑๖.๖๒ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๑๗๐,๗๙๖,๕๘๓.๓๘ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 40/28/53 ๒,๐๐๐ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๑,๗๙๔,๓๒๐.๓๔ L40/91/53 ๔,๐๐๐ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๒,๑๑๑,๘๙๕.๒๗ L40/182/53 ๔,๐๐๐ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ๕ มกราคม ๒๕๕๔ ๑๘๒ ๒๖,๙๔๘,๐๗๗.๐๖ 41/28/53 ๒,๐๐๐ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๑,๘๗๕,๐๘๓.๗๓ L41/91/53 ๔,๐๐๐ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๓,๘๓๑,๙๐๒.๗๗ L41/182/53 ๑,๗๑๐ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔ ๑๘๒ ๑๒,๖๘๘,๑๗๐.๖๖ 42/28/53 ๒,๐๐๐ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๒,๑๒๑,๘๒๕.๑๒ L42/91/53 ๔,๐๐๐ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๕,๐๐๐,๖๖๕.๐๖ L42/182/53 ๔,๐๐๐ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๔ ๑๘๒ ๓๒,๙๕๖,๖๐๖.๔๐ 43/28/53 ๒,๐๐๐ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๒,๑๓๔,๓๑๑.๖๓ L43/91/53 ๔,๐๐๐ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๕,๑๘๙,๗๓๘.๑๔ L43/182/53 ๔,๐๐๐ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๔ ๑๘๒ ๓๔,๑๔๓,๙๘๗.๒๐ รวม ๓๗,๗๑๐ ๑๗๐,๗๙๖,๕๘๓.๓๘ หมายเหตุ :- ตั๋วเงินคลังรุ่น L41/182/53 มีวงเงินที่ประกาศประมูลจำนวน ๔,๐๐๐ ล้านบาท แต่มีวงเงินที่ได้รับจัดสรรจำนวน ๑,๗๑๐ ล้านบาท ต่ำกว่าวงเงินที่ประกาศไว้จำนวน ๒,๒๙๐ ล้านบาท ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ-เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๘๑,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาจนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ จำนวน ๒๐๑,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังได้ดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาลไปแล้วจำนวน ๕๘,๐๐๐ ล้านบาท (ดำเนินการในเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ จำนวน ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท และในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๓ จำนวน ๓๕,๐๐๐ ล้านบาท) ทำให้ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๓ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๒๓,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๓๒/๒๐ กันยายน ๒๕๕๓
635681
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในประงบประมาณ พ.ศ. 2552 (ครั้งที่ 1) วันที่ 24 สิงหาคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๑) วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๑) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ จำนวน ๑๓,๕๐๐ ล้านบาท อายุ ๔ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๑๖ ต่อปี ๒.๑๘ ต่อปี ๒.๒๐ ต่อปี ๒.๒๒ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๒๔ สิงหาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๐ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังได้ไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินบางส่วนก่อนกำหนด โดยชำระคืนต้นเงินกู้จำนวน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้มียอดคงเหลือตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน ๑,๕๐๐ ล้านบาท และเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๑) เป็นร้อยละ ๑.๖๐ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ สำหรับต้นเงินกู้คงเหลือ จำนวน ๑,๕๐๐ ล้านบาท ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๑) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๖๐ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๘๘ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๒๙/๑๔ กันยายน ๒๕๕๓
635679
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 6
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำ เนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖” จำนวน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท (สองหมื่นล้านบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกันโดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ (LB15DA) อายุ ๕.๓๒ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๑๒๕ ต่อปี จำนวน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท ๑๐ ส.ค. ๒๕๕๓ ๒๐,๐๐๐ ๑๖ ส.ค. ๒๕๕๓ ๑๖ ส.ค. ๒๕๕๓ ๑๑ ธ.ค. ๒๕๕๘ หมายเหตุ :- อัตราดอกเบี้ยจะประกาศในวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๑๒๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริงเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๑ มิถุนายน และ ๑๑ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๒๓/๑๔ กันยายน ๒๕๕๓
635037
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 (ครั้งที่ 2) ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ 18 สิงหาคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท แบ่งเป็น ๒ วงเงิน วงเงินละ ๓,๐๐๐ ล้านบาท อายุ ๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๔๙ ต่อปี และ ๑.๕๐ ต่อปี ตามลำดับซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๑๘ สิงหาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๗๙ ต่อปี และ ๐.๘๐ ต่อปี ตามลำดับ เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารออมสินจากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๔๙ ต่อปี และร้อยละ ๑.๕๐ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๗๗ ต่อปี และร้อยละ ๑.๗๘ ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๐๖ ง/หน้า ๔๒/๓ กันยายน ๒๕๕๓
635035
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 (ครั้งที่ 2) ให้กับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) วันที่ 18 สิงหาคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จำนวน ๓,๐๐๐ ล้านบาท อายุ ๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๔๙ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๑๘ สิงหาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดาเฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๗๙ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๔๙ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๗๗ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๐๖ ง/หน้า ๔๑/๓ กันยายน ๒๕๕๓
634965
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ๑. กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓” อายุ ๓ ปี จำนวน ๓,๔๖๐,๐๐๐ บาท (สามล้านสี่แสนหกหมื่นบาทถ้วน) ๒. พันธบัตรนี้เป็นพันธบัตรชนิดออกในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตร และจดทะเบียนตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งหมื่นบาท โดยวงเงินซื้อขั้นต่ำ ๑๐,๐๐๐ บาท และจำกัดวงเงินซื้อขั้นสูง ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ซื้อเพิ่มเป็นจำนวนเท่าของ ๑๐,๐๐๐ บาท โดยมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำหน่ายและการถือครอง ดังนี้ ๒.๑ ผู้มีสิทธิ์ซื้อประกอบด้วย บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย สภากาชาดไทย มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ วัด สถานศึกษาของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐ และนิติบุคคลอื่นใดที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร โดยต้องเป็นผู้ลงทะเบียนจองสิทธิ์ซื้อพันธบัตรที่ลงทะเบียนในงานมหกรรมการออม การลงทุนครบวงจร : SET in the City สัญจร พิษณุโลก ในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ เท่านั้น (ผู้ไม่มีสิทธิ์ซื้อ ประกอบดัวย ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บริษัทประกัน กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคลที่บริหารโดยสถาบันการเงิน กองทุนรวม คณะบุคคล บรรษัท สำนักงานประกันสังคม รัฐวิสาหกิจ บริษัท ห้างร้าน นิติบุคคลที่แสวงหากำไร นิติบุคคลอาคารชุด นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โรงพยาบาลเอกชน และสถานศึกษาเอกชน) ๒.๒ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ต้องการโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรรัฐบาลก่อนกำหนดสามารถกระทำได้โดยไม่จำกัดประเภทบุคคล ตั้งแต่วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ยกเว้นการโอนกรรมสิทธิ์เพื่อเป็นหลักประกัน หรือโอนทางมรดก หรือการแบ่งทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการหย่า หรือล้มละลาย หรือการชำระบัญชี ให้กระทำได้หลังจากได้รับใบพันธบัตรแล้ว แต่กระทำในระหว่างระยะเวลา ๓๐ วัน ก่อนวันครบกำหนดชำระคืนต้นเงินมิได้ ๒.๓ ผู้ถือกรรมสิทธิ์สามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันให้กับหน่วยงานราชการและองค์กรของรัฐ เช่น การประกันทางศาล หรือการประกันไฟฟ้า และสามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่นได้ การโอนกรรมสิทธิ์ให้ปฏิบัติตามระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเป็นนายทะเบียนของธนาคารแห่งประเทศไทย การโอนกรรมสิทธิ์จะสมบูรณ์ เมื่อพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่นายทะเบียนโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรนั้นแล้ว ๓. วันชำระเงินค่าพันธบัตรสำหรับผู้มีสิทธิ์ซื้อที่ได้จองพันธบัตรออมทรัพย์ ในงานมหกรรมการออม การลงทุนครบวงจร : SET in the City สัญจร พิษณุโลก คือวันที่ ๖ - ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นบุคคลธรรมดา จำนวน ๑๘ ราย จำนวนเงิน ๓,๔๖๐,๐๐๐ บาท ๔. พันธบัตรรุ่นนี้ ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๖ หากวันครบกำหนดไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป ๕. พันธบัตรรุ่นนี้ มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๗๕ ต่อปี การชำระดอกเบี้ยให้ชำระแก่ผู้มีนามในพันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่ได้จดทะเบียนไว้ หรือตามคำร้องขอของผู้มีนามในพันธบัตรฉบับนั้น ให้แบ่งชำระเงินเป็นสองงวด คือในวันที่ ๖ มกราคม และวันที่ ๖ กรกฎาคม ของทุกปี เป็นจำนวนเงินงวดละเท่า ๆ กันตลอดเวลาที่พันธบัตรยังมีอายุอยู่ ยกเว้นงวดแรกและงวดที่สองจะคำนวณดอกเบี้ยตามจำนวนวันที่ถือครองพันธบัตร สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรในวันที่ไถ่ถอน หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป และให้ถือว่าหนึ่งปีมีสามร้อยหกสิบห้าวัน ทั้งนี้ การคำนวณดอกเบี้ยหากมีเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง การจ่ายดอกเบี้ยของพันธบัตรในแต่ละงวด จะจ่ายให้แก่ผู้มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรในทะเบียน ณ เวลาที่เริ่มต้นทำการในวันแรกแห่งระยะเวลา ๓๐ วัน ก่อนถึงกำหนดชำระดอกเบี้ย ๖. กระทรวงการคลังจะรับโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรนี้ไว้ก็ได้ โดยพันธบัตรที่กระทรวงการคลังรับโอนกรรมสิทธิ์ตามข้อนี้ให้ถือว่าเป็นพันธบัตรที่ชำระต้นเงินกู้คืนแล้ว ตั้งแต่วันรับโอนกรรมสิทธิ์ ๗. การชำระต้นเงินกู้ตามพันธบัตรประเภทนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรในกรณีที่มีการออกใบตราสาร หรือได้รับแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับคืนต้นเงินกู้จากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ในกรณีที่ไร้ใบตราสาร ๘. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดจำหน่ายพันธบัตรประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ๙. กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ดังนี้ ๙.๑ ค่าธรรมเนียมในการจัดจำหน่ายพันธบัตรในอัตราร้อยละ ๐.๐๐ ของมูลค่าพันธบัตรที่จำหน่ายได้ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) และไม่มีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติม ๙.๒ ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ตามที่จ่ายจริง ไม่เกินวงเงินที่กระทรวงการคลังกำหนด ๑๐. ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรประเภทนี้และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ๑๑. กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้ ๑๑.๑ ค่าธรรมเนียมในการเป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงินเกี่ยวกับพันธบัตรในอัตราร้อยละ ๐.๑ ของดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ๑๑.๒ ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรตามที่จ่ายจริง ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๐๕ ง/หน้า ๔/๑ กันยายน ๒๕๕๓
634937
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 (ครั้งที่ 1) ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ 4 สิงหาคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๑) ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๑) ให้กับธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท แบ่งเป็น ๒ วงเงิน วงเงินละ ๓,๐๐๐ ล้านบาท อายุ ๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๕๓ ต่อปี และ ๑.๕๔ ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๔ สิงหาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๓ ต่อปี และ ๐.๘๔ ต่อปี ตามลำดับ เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๑) ให้กับธนาคารออมสินจากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๕๓ ต่อปีและร้อยละ ๑.๕๔ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๘๑ ต่อปี และร้อยละ ๑.๘๒ ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๐๔ ง/หน้า ๓๓/๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๓
634533
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ สำนักงานประกันสังคม และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ วงเงิน ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๔๙,๘๐๗,๙๗๐,๓๑๘.๒๐ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๑๙๒,๐๒๙,๖๘๑.๘๐ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 35/28/53 ๒,๐๐๐ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๒๘ ๑,๖๐๙,๖๖๒.๓๗ L35/91/53 ๔,๐๐๐ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๑ กันยายน ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๑,๖๖๓,๗๕๒.๔๓ L35/182/53 ๔,๐๐๐ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๒๔,๙๐๖,๐๙๖.๔๒ 36/28/53 ๒,๐๐๐ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๑,๖๕๗,๑๔๖.๑๙ L36/91/53 ๔,๐๐๐ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๘ กันยายน ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๑,๕๐๑,๕๖๖.๖๕ L36/182/53 ๔,๐๐๐ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๒๔,๘๕๕,๘๖๘.๓๗ 37/28/53 ๒,๐๐๐ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๑,๖๙๙,๒๘๖.๔๙ L37/91/53 ๔,๐๐๐ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๑,๕๖๑,๑๕๗.๙๐ L37/182/53 ๔,๐๐๐ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๒๔,๘๐๒,๕๓๔.๐๑ 38/28/53 ๒,๐๐๐ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๑,๖๙๗,๐๐๐.๓๐ L38/91/53 ๔,๐๐๐ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๑,๖๑๒,๔๕๑.๘๖ L38/182/53 ๔,๐๐๐ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๒๕,๑๒๗,๘๕๐.๗๑ 39/28/53 ๒,๐๐๐ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๑,๗๖๓,๓๓๓.๘๕ L39/91/53 ๔,๐๐๐ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๑,๘๓๓,๐๓๕.๖๑ L39/182/53 ๔,๐๐๐ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๒๕,๗๓๘,๙๓๘.๖๔ รวม ๕๐,๐๐๐ ๑๙๒,๐๒๙,๖๘๑.๘๐ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๘๑,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาจนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ จำนวน ๒๐๑,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท อย่างไรก็ดี ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาลจำนวน ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน ๒๕๕๓ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๕๘,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ กันยายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๖ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๑๕/๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๓
634363
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนด จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และตามข้อ ๓ วรรค ๒ ของประกาศกระทรวงการคลัง ๒ ฉบับ ดังนี้ ๑) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๕) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๒) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๒) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยที่เป็นการสมควรชำระคืนต้นเงินกู้ให้กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำหรับตั๋วสัญญาใช้เงินตามประกาศกระทรวงการคลังทั้ง ๒ ฉบับ ดังกล่าว โดยกำหนดชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวนรวม ๑๖,๐๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นหกพันห้าสิบล้านบาทถ้วน) พร้อมชำระดอกเบี้ยงวดสุดท้าย ในวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ รายการ วงเงิน (ล้านบาท) อายุ อัตราดอกเบี้ย งวดแรก (ร้อยละต่อปี) สถาบันการเงิน ผู้ให้กู้ ปรับอัตรา ดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ย ในปัจจุบัน วันครบกำหนด ๑. ตั๋วสัญญาใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๕) ๙,๕๔๕ ๖ ปี ๓.๖๙ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สFDR* ส6M +๐.๙๔ ๑.๖๒ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ๒. ตั๋วสัญญาใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๒) ** ๖,๕๐๕ ๕ ปี ๑.๗๐ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สFDR* ส6M +๐.๘๙ ๑.๕๗ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๗ ๑๖,๐๕๐ หมายเหตุ :- * คืออัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ ขนาดใหญ่ ๔ แห่ง ประกอบด้วยธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารกสิกรไทยฯ และธนาคารไทยพาณิชย์ฯ ** คือไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินบางส่วนทำให้มีต้นเงินกู้คงเหลือจากการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว จำนวน ๓,๔๙๕ ล้านบาท สำหรับต้นเงินกู้คงเหลือจากการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๒) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันร้อยละ ๑.๕๗ ต่อปี จำนวน ๓,๔๙๕ ล้านบาท กระทรวงการคลังจะดำเนินการออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่แทนฉบับเดิม โดยมีอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินและเงื่อนไขอื่นคงเดิมตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๒) วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ โดยกำหนดวันที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ตามวันที่ไถ่ถอน ๒๓ กันยายน ๒๕๕๓ มีผลคำนวณดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๓ จนถึงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ กันยายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๘ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๐๐ ง/หน้า ๒/๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๓
634361
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดจากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนด จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และตามข้อ ๓ วรรค ๒ ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ซึ่งกระทรวงการคลังได้ไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับนี้ก่อนครบกำหนดบางส่วน ในวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๓ โดยดำเนินการออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดจากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ลงวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ทำให้มียอดคงเหลือตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นจำนวน ๒,๔๕๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยที่เป็นการสมควรชำระคืนต้นเงินกู้คงเหลือจากการไถ่ถอนให้กับธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ตามประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ดังกล่าว โดยกำหนดชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวนรวม ๒,๔๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองพันสี่ร้อยห้าสิบล้านบาทถ้วน) พร้อมชำระดอกเบี้ยงวดสุดท้าย ในวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ รายการ วงเงิน (ล้านบาท) อายุ อัตราดอกเบี้ย งวดแรก (ร้อยละต่อปี) สถาบันการเงิน ผู้ให้กู้ ปรับอัตรา ดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ย ในปัจจุบัน วันครบกำหนด ๑. ตั๋วสัญญาใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) ๒,๔๕๐ ๖ ปี ๓.๖๔ ธนาคารแห่งโตเกียว- มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ สFDR* 6M +๐.๘๙ ๑.๕๗ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ๒,๔๕๐ หมายเหตุ :- * คืออัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ ขนาดใหญ่ ๔ แห่ง ประกอบด้วยธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารกสิกรไทยฯ และธนาคารไทยพาณิชย์ฯ ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ กันยายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๘ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๐๐ ง/หน้า ๑/๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๓
634357
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกการซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกง. ๒/๒๕๕๐ ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย) และวิธีการเสนอซื้อโดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำ เนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒” จำนวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท (แปดพันล้านบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วยหน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคล เพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยให้เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงินและจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรรกระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงโดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ (LB149A) อายุ ๔ ปี อัตราดอกเบี้ย BIBOR ระยะ ๖ เดือน - ร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี จำนวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท ๒๒ ก.ย. ๒๕๕๓ ๘,๐๐๐ ๒๔ ก.ย. ๒๕๕๓ ๒๔ ก.ย. ๒๕๕๓ ๒๔ ก.ย. ๒๕๕๗ หมายเหตุ :- อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๓ จะประกาศในวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๓ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวคำนวณดอกเบี้ยจากราคาตราของพันธบัตรตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและส่วนต่าง (ถ้ามี) ตามที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดสำหรับพันธบัตรแต่ละรุ่น และแบ่งชำระดอกเบี้ยเป็นสัดส่วนของจำนวนงวดต่อปี เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้งและจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๔ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๔ มีนาคม และ ๒๔ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๗ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๘,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ กันยายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๖ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๓๔/๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓
634355
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกการซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกง. ๒/๒๕๕๐ ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย) และวิธีการเสนอซื้อโดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑” จำนวน ๙,๐๐๐ ล้านบาท (เก้าพันล้านบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วยหน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยให้เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงินและจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรรกระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่นกระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำ ฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ (LB147A) อายุ ๔ ปี อัตราดอกเบี้ย BIBOR ระยะ ๖ เดือน - ร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี จำนวน ๙,๐๐๐ ล้านบาท ๒๑ ก.ค. ๒๕๕๓ ๙,๐๐๐ ๒๓ ก.ค. ๒๕๕๓ ๒๓ ก.ค. ๒๕๕๓ ๒๓ ก.ค. ๒๕๕๗ หมายเหตุ :- อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ จะประกาศในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวคำนวณดอกเบี้ยจากราคาตราของพันธบัตรตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและส่วนต่าง (ถ้ามี) ตามที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดสำหรับพันธบัตรแต่ละรุ่น และแบ่งชำระดอกเบี้ยเป็นสัดส่วนของจำนวนงวดต่อปี เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้งและจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๔ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๓ มกราคม และ ๒๓ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๙,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ กันยายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๖ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๒๘/๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓
634353
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 8
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกการซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘” จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท (ห้าพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ (LB406A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยวงเงินรวมดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘ (LB406A) อายุคงเหลือ ๒๙.๘๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕ ต่อปี จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท ๑๘ ส.ค. ๒๕๕๓ ๕,๐๐๐ ๒๐ ส.ค. ๒๕๕๓ ๒๒ มิ.ย. ๒๕๕๓ ๒๒ มิ.ย. ๒๕๘๓ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ ทำให้วงเงินรวม ของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วันแล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๒ มิถุนายน และ ๒๒ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๘๓ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ กันยายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๖ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๒๒/๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓
634351
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 7
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกการซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗” จำนวน ๑๑,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ (LB24DA) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๗,๐๐๐ ล้านบาท โดยวงเงินรวมดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗ (LB24DA) อายุคงเหลือ ๑๔.๓๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๗๕ ต่อปี จำนวน ๑๑,๐๐๐ ล้านบาท ๑๘ ส.ค. ๒๕๕๓ ๑๑,๐๐๐ ๒๐ ส.ค. ๒๕๕๓ ๒๐ มิ.ย. ๒๕๕๓ ๒๐ ธ.ค. ๒๕๖๗ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๗,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๗๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๓) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วันแล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๐ มิถุนายน และ ๒๐ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๗ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๑,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ กันยายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๖ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๖/๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓
634349
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 5
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๕[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกการซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๕” จำนวน ๒๑,๐๐๐ ล้านบาท (สองหมื่นหนึ่งพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ (LB296A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยวงเงินรวมดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๓ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๕ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๕ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๕ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๕ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๕ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๕ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๕ (LB296A) อายุ ๑๘.๙๑ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๘๗๕ ต่อปี จำนวน ๒๑,๐๐๐ ล้านบาท ๒๘ ก.ค. ๒๕๕๓ ๑๕ ก.ย. ๒๕๕๓ ๑๑,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๓๐ ก.ค. ๒๕๕๓ ๑๗ ก.ย. ๒๕๕๓ ๒๒ มิ.ย. ๒๕๕๓ ๒๒ มิ.ย. ๒๕๕๓ ๒๒ มิ.ย. ๒๕๗๒ ๒๒ มิ.ย. ๒๕๗๒ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๘๗๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๒ มิถุนายน และ ๒๒ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๗๒ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๒๑,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ กันยายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๖ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๐/๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓
634347
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 4
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกการซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔” จำนวน ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท (สามหมื่นล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ (LB196A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๐๒,๗๔๐ ล้านบาท โดยวงเงินรวมดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๓ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ (LB196A) อายุคงเหลือ ๘.๙๐ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๗๕ ต่อปี จำนวน ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท ๒๑ ก.ค. ๒๕๕๓ ๒๒ ก.ย. ๒๕๕๓ ๑๕,๐๐๐ ๑๕,๐๐๐ ๒๓ ก.ค. ๒๕๕๓ ๒๔ ก.ย. ๒๕๕๓ ๑๓ มิ.ย. ๒๕๕๓ ๑๓ มิ.ย. ๒๕๕๓ ๑๓ มิ.ย. ๒๕๖๒ ๑๓ มิ.ย. ๒๕๖๒ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๐๒,๗๔๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๗๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๓) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๓ มิถุนายน และ ๑๓ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๒ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ กันยายน ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๖ กันยายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๔/๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓
633780
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 2 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 31 กรกฎาคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ ลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๒ นั้น กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๖๙๐๐๐ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ สุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๗ ง/หน้า ๒๕/๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓
633750
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 13
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๓[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๓ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๓ วงเงิน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re - open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ (LB24DA) อายุ ๑๕.๑๕ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๓๖,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๑๔.๖๕ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๗ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๗๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน และ ๒๐ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ สำนักงานประกันสังคม และบริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน และ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๓ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๘ เมษายน ๒๕๕๓ ๘,๐๐๐ ๓.๘๙๔๐ ๘,๘๙๕,๒๑๐,๒๔๐ ๗๕๘,๘๒๖,๖๔๐ ๑๓๖,๓๘๓,๖๐๐ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๗,๐๐๐ ๓.๕๙๙๖ ๗,๙๐๗,๐๔๐,๗๕๕.๖๕ ๙๐๒,๔๘๕,๙๙๕.๖๕ ๔,๕๕๔,๗๖๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๗ ง/หน้า ๒๓/๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓
633748
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 12
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๒ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๒ วงเงิน ๖,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re - open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ (LB406A) อายุ ๓๐.๗๐ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๓๐.๒๒ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๘๓ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๒ มิถุนายน และ ๒๒ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ สำนักงานประกันสังคม และบริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๗ เมษายน และ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๐ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๗ เมษายน ๒๕๕๓ ๓,๐๐๐ ๔.๓๗๖๗ ๓,๓๕๖,๐๙๙,๔๘๐ ๓๑๑,๗๑๕,๙๒๐ ๔๔,๓๘๓,๕๖๐ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๓,๐๐๐ ๓.๘๘๓๐ ๓,๕๙๔,๔๔๑,๔๒๐.๑๐ ๕๙๐,๓๓๑,๘๔๐.๑๐ ๔,๑๐๙,๕๘๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๗ ง/หน้า ๒๑/๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓
633746
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 11
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๑[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๑ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๑ วงเงิน ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re - open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ (LB155A) อายุ ๕.๖๐ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๐๑,๕๗๒ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๕.๑๒ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๒๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม และ ๒๒ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำกัด ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๑๒ พฤษภาคม และ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๑ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๗ เมษายน ๒๕๕๓ ๑๐,๐๐๐ ๓.๕๑๐๕ ๑๐,๑๙๑,๔๘๓,๓๑๘.๓๐ ๕๔,๔๒๘,๕๑๘.๓๐ ๑๓๗,๐๕๔,๘๐๐ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๑๐,๐๐๐ ๓.๒๖๖๒ ๑๐,๑๕๗,๐๕๐,๖๐๖.๒๐ ๑๕๗,๐๕๐,๖๐๖.๒๐ - ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๑๐,๐๐๐ ๒.๙๗๙๐ ๑๐,๓๑๙,๓๖๒,๒๖๒ ๒๙๒,๕๔๗,๑๖๒ ๒๖,๘๑๕,๑๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๗ ง/หน้า ๑๙/๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓
633744
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดจากธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพ ฯ
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนด จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และตามข้อ ๓ วรรค ๒ ของประกาศกระทรวงการคลัง ๒ ฉบับ ดังนี้ ๑) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๒) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ กระทรวงการคลังจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยที่เป็นการสมควรชำระคืนต้นเงินกู้ให้กับธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งหมดตามประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลทั้ง ๒ ฉบับ ดังกล่าว โดยกำหนดชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวนรวม ๔,๐๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สี่พันห้าสิบล้านบาทถ้วน) พร้อมชำระดอกเบี้ยงวดสุดท้าย ในวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ รายการ วงเงิน (ล้านบาท) อายุ อัตราดอกเบี้ย งวดแรก (ร้อยละต่อปี) ปรับอัตรา ดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ย ใน ปัจจุบัน วันครบกำหนด ๑. ตั๋วสัญญาใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๔** ๑,๐๕๐ ๖ ปี ๓.๖๔ FDR* 6M +๐.๘๙ ๑.๕๗ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ๒. ตั๋วสัญญาใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓ ๓,๐๐๐ ๓.๕ ปี ๓.๐๓ FDR* 6M +๐.๙๗ ๑.๖๗ ๓ กันยายน ๒๕๕๔ ๔,๐๕๐ หมายเหตุ : - * คืออัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ๔ แห่ง ประกอบด้วยธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารกสิกรไทยฯ และธนาคารไทยพาณิชย์ฯ ** คือไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินบางส่วน สำหรับต้นเงินกู้คงเหลือจากการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๔ จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันร้อยละ ๑.๕๗ ต่อปี จำนวน ๒,๔๕๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังจะดำเนินการออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่แทนฉบับเดิมตามจำนวนวงเงินคงเหลือดังกล่าว โดยมีอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินและเงื่อนไขอื่นคงเดิมตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓ โดยกำหนดวันที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ตามวันที่ไถ่ถอน ๑๖ กันยายน ๒๕๕๓ มีผลคำนวณดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๓ จนถึงวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๗ ง/หน้า ๑๗/๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓
633742
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดจากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนด จากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และตามข้อ ๓ วรรค ๒ ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยที่เป็นการสมควรชำระคืนต้นเงินกู้ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งหมด ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ โดยกำหนดชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน ๒,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองพันห้าร้อยล้านบาทถ้วน) พร้อมชำระดอกเบี้ยงวดสุดท้าย ในวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ รายการ วงเงิน (ล้านบาท) อายุ อัตราดอกเบี้ย งวดแรก (ร้อยละต่อปี) ปรับอัตรา ดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ย ในปัจจุบัน วันครบกำหนด ๑. ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ๒,๕๐๐ ๓ ปี ๓.๐๕ FDR* 6M +๐.๙๙ ๑.๖๙ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๒,๕๐๐ หมายเหตุ :- * คืออัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ๔ แห่ง ประกอบด้วยธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารกสิกรไทยฯ และธนาคารไทยพาณิชย์ฯ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๗ ง/หน้า ๑๖/๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓
633740
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดจากธนาคารออมสิน
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดจากธนาคารออมสิน[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และตามข้อ ๓ วรรค ๒ ของประกาศกระทรวงการคลัง ๔ ฉบับ ดังนี้ ๑) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) จากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ ๒) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) จากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ๓) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ ๔) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ กระทรวงการคลังจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยที่เป็นการสมควรชำระคืนต้นเงินกู้ให้กับธนาคารออมสิน สำหรับตั๋วสัญญาใช้เงินตามประกาศกระทรวงการคลังทั้ง ๔ ฉบับ ดังกล่าว โดยกำหนดชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวนรวม ๑๔,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นสี่พันล้านบาทถ้วน) พร้อมชำระดอกเบี้ยงวดสุดท้าย ในวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ รายการ วงเงิน (ล้านบาท) อายุ อัตราดอกเบี้ย งวดแรก (ร้อยละต่อปี) ปรับอัตรา ดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ย ในปัจจุบัน วันครบกำหนด ๑. ตั๋วสัญญาใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ ๕,๐๐๐ ๔ ปี ๔.๔๙ FDR* 6M +๐.๘๖ ๑.๕๗ ๘ มีนาคม ๒๕๕๔ ๒. ตั๋วสัญญาใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๔ ๓,๕๐๐ ๖ ปี ๓.๖๘ FDR** 6M +๐.๙๓ ๑.๖๑ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ๓. ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการ บริหารหนี้ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ๒,๕๐๐ ๓ ปี ๓.๑๑ FDR** 6M +๑.๐๕ ๑.๗๕ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๔. ตั๋วสัญญาใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓ ๓,๐๐๐ ๓.๕ ปี ๓.๐๔ FDR** 6M +๐.๙๘ ๑.๖๘ ๓ กันยายน ๒๕๕๔ ๑๔,๐๐๐ หมายเหตุ :- * คืออัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ๕ แห่ง ประกอบด้วยธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารกสิกรไทยฯ ธนาคารไทยพาณิชย์ฯ และธนาคารกรุงศรีอยุธยาฯ ** คืออัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ๔ แห่ง ประกอบด้วยธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารกสิกรไทยฯ และธนาคารไทยพาณิชย์ฯ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๗ ง/หน้า ๑๔/๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓
633738
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนด จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และตามข้อ ๓ วรรค ๒ ของประกาศกระทรวงการคลัง ๕ ฉบับ ดังนี้ ๑) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ครั้งที่ ๓) ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๔๕ ๒) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ครั้งที่ ๔) ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๔๕ ๓) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ ๔) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๔) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๑ ๕) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๑) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ซึ่งกระทรวงการคลังได้ไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับนี้ก่อนครบกำหนดบางส่วน เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๒ โดยดำเนินการออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๒ ทำให้มียอดคงเหลือตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นจำนวน ๑,๕๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยที่เป็นการสมควรชำระคืนต้นเงินกู้ให้กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำหรับตั๋วสัญญาใช้เงินตามประกาศกระทรวงการคลังทั้ง ๕ ฉบับ ดังกล่าว โดยกำหนดชำระคืนต้นเงินกู้จำนวนรวม ๒๑,๔๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นหนึ่งพันสี่ร้อยห้าสิบล้านบาทถ้วน) พร้อมชำระดอกเบี้ยงวดสุดท้าย ในวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ รายการ วงเงิน (ล้านบาท) อายุ อัตราดอกเบี้ย งวดแรก (ร้อยละต่อปี) ปรับอัตรา ดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ย ในปัจจุบัน วันครบกำหนด ๑. ตั๋วสัญญาใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ ครั้งที่ ๓ ๕,๐๐๐ ๙ ปี ๓.๖๐ FDR* 1yr +๑.๐๐ ๑.๖๙ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๔ ๒. ตั๋วสัญญาใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ ครั้งที่ ๔ ๕,๐๐๐ ๑๐ ปี ๓.๖๐ FDR* 1yr +๑.๐๐ ๑.๖๙ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๕ ๓. ตั๋วสัญญาใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ ๕,๐๐๐ ๔ ปี ๔.๕๑ FDR* 6M +๐.๘๘ ๑.๕๙ ๘ มีนาคม ๒๕๕๔ ๔. ตั๋วสัญญาใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๔ ๔,๙๕๐ ๓.๕ ปี ๓.๐๓ FDR** 6M +๐.๙๗ ๑.๖๗ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๔ ๕. ตั๋วสัญญาใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ ๑,๕๐๐ ๔ ปี ๒.๑๖ FDR** 6M +๐.๙๐ ๑.๖๐ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ๒๑,๔๕๐ หมายเหตุ :- * คืออัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ๕ แห่ง ประกอบด้วยธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารกสิกรไทยฯ ธนาคารไทยพาณิชย์ฯ และธนาคารกรุงศรีอยุธยาฯ ** คืออัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ๔ แห่ง ประกอบด้วยธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารกสิกรไทยฯ และธนาคารไทยพาณิชย์ฯ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๗ ง/หน้า ๑๒/๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓
633682
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 1 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 23 กรกฎาคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ลงวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๓ กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๖๓๘๗๕ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๔/๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๓
633485
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลังหากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลังถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ สุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๕ ง/หน้า ๑๘/๖ สิงหาคม ๒๕๕๓
633473
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ ได้กำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๓ รวม ๑๒ งวด เป็นเงินจำนวน ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท นั้น กระทรวงการคลังขอประกาศปรับลดวงเงินการจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ งวดที่ วันที่จำหน่าย วงเงินที่ประกาศ (ล้านบาท) วงเงินหลังปรับลด (ล้านบาท) L41/182/53 ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ๔,๐๐๐ ๑,๗๑๐ ทำให้วงเงินการจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ปรับลดจากจำนวน ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท เป็นจำนวน ๓๗,๗๑๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ สุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๕ ง/หน้า ๑๗/๖ สิงหาคม ๒๕๕๓
633429
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 2 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 29 กรกฎาคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๖๖๕๐๐ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ สุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๓ ง/หน้า ๑๒๑/๒ สิงหาคม ๒๕๕๓
632594
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลังหากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลังถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ สุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๘๙ ง/หน้า ๒๗/๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
632590
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ สำนักงานประกันสังคม และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ วงเงิน ๓๖,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๓๕,๘๕๒,๖๑๐,๒๒๐.๘๘ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๑๔๗,๓๘๙,๗๗๙.๑๒ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 31/27/53 ๒,๐๐๐ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๒๗ ๑,๕๙๒,๘๔๘.๘๘ L31/90/53 ๕,๐๐๐ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๙๐ ๑๔,๓๘๖,๒๗๒.๗๖ L31/181/53 ๕,๐๐๐ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๑๘๑ ๓๒,๔๓๔,๙๙๑.๘๓ 32/28/53 ๒,๐๐๐ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๒๘ ๑,๗๐๔,๖๒๗.๗๙ L32/91/53 ๕,๐๐๐ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๔,๙๙๔,๘๘๖.๑๑ L32/182/53 ๕,๐๐๐ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๓๒,๗๔๒,๕๐๘.๔๖ 34/28/53 ๒,๐๐๐ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๒๘ ๑,๖๘๑,๗๙๘.๘๐ L34/91/53 ๕,๐๐๐ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๕,๑๐๘,๓๐๒.๐๘ L34/182/53 ๕,๐๐๐ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๓๒,๗๔๓,๕๔๒.๔๑ รวม ๓๖,๐๐๐ ๑๔๗,๓๘๙,๗๗๙.๑๒ หมายเหตุ :- เนื่องจากรัฐบาลประกาศให้วันที่ ๑๗ - ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เป็นวันหยุดราชการ กระทรวงการคลังจึงยกเลิกการประมูลงวดวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓ จำนวน ๓ รุ่น วงเงินรวม ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท ประกอบด้วยรุ่น ๓๓/๒๘/๕๓ จำนวน ๒,๐๐๐ ล้านบาท รุ่น L33/91/53 จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท และรุ่น L33/182/53 จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๘๑,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาจนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ จำนวน ๒๐๑,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท อย่างไรก็ดี ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาลจำนวน ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๕๘,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๘๙ ง/หน้า ๒๓/๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
631978
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินจากธนาคารพัฒนาเอเชีย สำหรับโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) ของกรมทางหลวง
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินจากธนาคารพัฒนาเอเชีย สำหรับโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น ๔ ช่องจราจร (ระยะที่ ๒) ของกรมทางหลวง[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า รัฐบาลได้ลงนามในสัญญากู้เงินกับธนาคารพัฒนาเอเชีย เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ เพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น ๔ ช่องจราจร (ระยะที่ ๒) ของกรมทางหลวง ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ๑. เป็นเงินกู้ในรูปเงินสกุลเหรียญสหรัฐ จำนวน ๗๗.๑๐ ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า ๒,๕๑๒,๖๘๙,๐๐๐ บาท (สองพันห้าร้อยสิบสองล้านหกแสนแปดหมื่นเก้าพันบาทถ้วน) โดยคำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันลงนามคือ ๑ เหรียญสหรัฐ เท่ากับ ๓๒.๕๙ บาท ๒. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ กำหนดตามที่ธนาคารพัฒนาเอเชียประกาศ ซึ่งกำหนดตามอัตราดอกเบี้ย ณ วันกำหนด โดยการเบิกจ่ายเงินกู้แต่ละครั้งในงวดการชำระดอกเบี้ยงวดหนึ่ง ๆ จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยตาม (๑) อัตรา LIBOR สกุลเงินเหรียญสหรัฐ ระยะเวลา ๖ เดือน (๒) บวกส่วนต่าง (Spread) ของธนาคารพัฒนาเอเชีย ร้อยละ ๐.๒๐ ต่อปี และหักลบอัตราส่วนลด (Rebate) ของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) โดยเฉลี่ยทุกครึ่งปี ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงทุก ๖ เดือน (วันที่ ๑ มกราคม และ ๑ กรกฎาคม) ๓. ค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ (Commitment Charge) อัตราร้อยละ ๐.๑๕ ของวงเงินกู้คงค้างที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายในแต่ละปี โดยธนาคารฯ จะเริ่มคิดค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ ๖๐ วัน หลังวันลงนามในสัญญาเงินกู้ หลังจากนั้นคิดเต็มยอดเงินกู้ที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายทั้งหมด ๔. การชำระดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมอื่นๆ ชำระปีละ ๒ ครั้ง ทุกวันที่ ๑๕ มิถุนายน และ วันที่ ๑๕ ธันวาคมของทุกปี ๕. กำหนดชำระคืนต้นเงินกู้ ภายใน ๑๕ ปี รวมระยะเวลาปลอดหนี้ ๕ ปี โดยจะเริ่มชำระคืนต้นเงินกู้งวดแรกในวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ และชำระหนี้คืนต้นเงินกู้งวดสุดท้ายในวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๗ ๖. ระยะเวลาสิ้นสุดการเบิกจ่ายเงินกู้ ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ ๗. เงินกู้รายนี้รัฐบาลจะนำไปเป็นค่าใช้จ่ายสมทบกับเงินงบประมาณแผ่นดิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น ๔ ช่องจราจร (ระยะที่ ๒) ของกรมทางหลวง ประกาศ ณ วันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๒๑/๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓
631976
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินจากธนาคารโลก สำหรับโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) ของกรมทางหลวง
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินจากธนาคารโลก สำหรับโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น ๔ ช่องจราจร (ระยะที่ ๒) ของกรมทางหลวง[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า รัฐบาลได้ลงนามในสัญญากู้เงินกับธนาคารโลก เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ เพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น ๔ ช่องจราจร (ระยะที่ ๒) ของกรมทางหลวง ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ๑. เป็นเงินกู้ในรูปเงินสกุลเหรียญสหรัฐ จำนวน ๗๙.๓๐ ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า ๒,๕๘๔,๓๘๗,๐๐๐ บาท (สองพันห้าร้อยแปดสิบสี่ล้านสามแสนแปดหมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน) โดยคำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันลงนาม คือ ๑ เหรียญสหรัฐ เท่ากับ ๓๒.๕๙ บาท ๒. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ กำหนดตามที่ธนาคารโลกประกาศ ซึ่งกำหนดตามอัตราดอกเบี้ย ณ วันที่มีการเบิกจ่ายเงินกู้แต่ละครั้ง โดยในงวดการชำระดอกเบี้ยงวดหนึ่ง ๆ จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยตาม (๑) อัตรา LIBOR สกุลเหรียญสหรัฐ ระยะ ๖ เดือน (๒) บวกส่วนต่าง (Spread) ของธนาคารโลกซึ่งจะปรับทุก ๖ เดือน (ทุกวันที่ ๑ มกราคม และ ๑ กรกฎาคม) ๓. ค่าธรรมเนียมการกู้เงิน (Front-end Fee) อัตราร้อยละ ๐.๒๕ ของยอดวงเงินกู้ ๔. การชำระดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ชำระปีละ ๒ ครั้ง ทุกวันที่ ๑๕ มิถุนายน และ ๑๕ ธันวาคม ของทุกปี ๕. กำหนดชำระคืนต้นเงินกู้ ภายใน ๑๕ ปี รวมระยะเวลาปลอดหนี้ ๕ ปี โดยจะเริ่มชำระคืนต้นเงินกู้งวดแรกในวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ และชำระหนี้คืนต้นเงินกู้งวดสุดท้ายในวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๗ ๖. ระยะเวลาสิ้นสุดการเบิกจ่ายเงินกู้ ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๖ ๗. เงินกู้รายนี้รัฐบาลจะนำไปเป็นค่าใช้จ่ายสมทบกับเงินงบประมาณแผ่นดิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น ๔ ช่องจราจร (ระยะที่ ๒) ของกรมทางหลวง ประกาศ ณ วันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๒๐/๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓
631898
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 4
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔[๑] เพื่ออนุมัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ วงเงิน ๘,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุ ๔ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี และจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ยกเว้นงวดแรกจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยชำระดอกเบี้ยปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม และ ๓๐ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๑.๓ อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๓๙๕๑๖ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ ๑.๕๔๕๑๖ ต่อปี ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๘,๐๐๐ ๑.๕๑๙๒๙ ๗,๙๖๑,๔๕๑,๒๒๐ -๓๘,๕๔๘,๗๘๐ - หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๘๒ ง/หน้า ๑๘/๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓
631896
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 15
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๕[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๕ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๕ วงเงิน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ (LB196A) อายุ ๑๐.๐๕ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๗๒,๗๔๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๙.๐๔ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๒ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๗๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๓ มิถุนายน และ ๑๓ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ บริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๕ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๑๒,๐๐๐ ๓.๓๙๙๐ ๑๒,๖๕๗,๐๐๑,๒๐๐ ๔๔๑,๖๙๙,๘๔๐ ๒๑๕,๓๐๑,๓๖๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๘๒ ง/หน้า ๑๖/๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓
631894
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 14
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๔[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๔ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๔ วงเงิน ๗,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ (LB296A) อายุ ๑๙.๖๐ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๙,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๑๙.๑๒ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๗๒ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๘๗๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๒ มิถุนายน และ ๒๒ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ สำนักงานประกันสังคม และบริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๔ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๗,๐๐๐ ๓.๙๗๙๗ ๗,๙๖๗,๐๐๐,๙๑๒.๒๐ ๘๓๓,๓๐๕,๖๗๒.๒๐ ๑๓๓,๖๙๕,๒๔๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๘๒ ง/หน้า ๑๔/๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓
631838
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ 27 มิถุนายน 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ อายุ ๓ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๑๑ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในวันที่ ๒๗ มิถุนายน และวันที่ ๒๗ ธันวาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๑.๐๕ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารออมสิน เป็นร้อยละ ๑.๗๕ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารออมสินจากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๕ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๗๓ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๕/๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓
631836
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) วันที่ 27 มิถุนายน 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ อายุ ๓ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๕ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๒๗ มิถุนายน และวันที่ ๒๗ ธันวาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๙ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นร้อยละ ๑.๖๙ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๖๙ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๖๗ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๔/๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓
630595
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2553 และรายการการกู้เงินและค้ำประกันระหว่างเดือนตุลาคม 2552 ถึงเดือนมีนาคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๓ และรายการการกู้เงินและค้ำประกัน ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๕๓[๑] ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๑๖ วรรค ๒ กำหนดให้กระทรวงการคลังสรุปรายงานสถานะหนี้สาธารณะและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายใน ๖๐ วันหลังจากสิ้นเดือนมีนาคมและเดือนกันยายนของทุกปี โดยรายงานดังกล่าวต้องแสดงหนี้สาธารณะที่เกิดจากการกู้เงินและค้ำประกัน ณ สิ้นเดือนดังกล่าว รวมทั้งรายการการกู้เงินและค้ำประกันที่เกิดขึ้นใหม่ในช่วงระยะเวลาระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม และเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน ตามลำดับ กระทรวงการคลังขอรายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๓ และรายการการกู้เงินและค้ำประกัน ซึ่งรวมทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๕๓ ดังนี้ ๑. รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๓ หนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๓ มีจำนวน ๔,๑๒๔,๗๑๑.๖๘ ล้านบาท หรือร้อยละ ๔๒.๓๙ ของ GDP ประกอบด้วย หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ๒,๗๖๒,๓๐๒.๗๑ ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ๑,๑๐๓,๗๒๕.๐๒ ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน ๑๘๘,๕๖๙.๑๐ ล้านบาท และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ๗๐,๑๑๔.๘๕ ล้านบาท หนี้สาธารณะจำนวนดังกล่าวจำแนกตามอายุของหนี้เป็นหนี้ระยะยาว ๓,๘๗๑,๘๓๒.๒๔ ล้านบาท และหนี้ระยะสั้น ๒๕๒,๘๗๙.๔๔ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๙๓.๘๗ และร้อยละ ๖.๑๓ ตามลำดับและจำแนกตามแหล่งที่มาเป็นหนี้ต่างประเทศ ๓๗๒,๓๐๓.๑๘ ล้านบาท และหนี้ในประเทศ ๓,๗๕๒,๔๐๘.๕๐ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๙.๐๓ และร้อยละ ๙๐.๙๗ ตามลำดับ ดังปรากฏตามตารางที่ ๑ ตารางที่ ๑ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๓ หน่วย : ล้านบาท รายการ ๓๑ มี.ค. ๕๓ % GDP ๑. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ๑.๑ หนี้ต่างประเทศ ๑.๒ หนี้ในประเทศ ๒,๗๖๒,๓๐๒.๗๑ ๕๔,๐๔๓.๘๐ ๒,๗๐๘,๒๕๘.๙๑ ๒๘.๓๙ ๒. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ๒.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน - หนี้ต่างประเทศ - หนี้ในประเทศ ๒.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน - หนี้ต่างประเทศ - หนี้ในประเทศ ๑,๑๐๓,๗๒๕.๐๒ ๕๓๗,๐๖๐.๘๓ ๑๖๐,๗๕๗.๒๙ ๓๗๖,๓๐๓.๕๔ ๕๖๖,๖๖๔.๑๙ ๑๔๙,๙๕๗.๔๖ ๔๑๖,๗๐๖.๗๓ ๑๑.๓๔ ๓. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐค้ำประกัน) ๓.๑ หนี้ต่างประเทศ ๓.๒ หนี้ในประเทศ ๑๘๘,๕๖๙.๑๐ ๗,๕๔๔.๖๓ ๑๘๑,๐๒๔.๔๗ ๑.๙๔ ๔. หนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ๔.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ๔.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ๗๐,๑๑๔.๘๕ ๓๐,๔๔๕.๑๘ ๓๙,๖๖๙.๖๗ ๐.๗๒ ๕. หนี้องค์กรของรัฐอื่น ๕.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ๕.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน - - - ๖. รวม ๑.+๒.+๓.+๔.+๕. ๔,๑๒๔,๗๑๑.๖๘ ๔๒.๓๙ หมายเหตุ : ๑. ประมาณการ GDP ปี ๒๕๕๓ เท่ากับ ๙,๗๒๙.๕ พันล้านบาท (สศช. ณ วันที่ ๒๔ พ.ค. ๕๓) ๒. ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ยังไม่รวมหนี้ของ SPV จำนวน ๒๓,๙๙๙.๙๐ ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลมีภาระผูกพันต้องจ่ายภายใต้สัญญาเช่าพื้นที่อาคาร สัญญาบริการ สัญญาบริการจัดหาเฟอร์นิเจอร์ และสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องของโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ ซึ่งตามระบบ GFS นับเป็นหนี้สาธารณะ ๒. รายการการกู้เงินและค้ำประกัน ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๕๓ คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีได้จัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๓ เพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินการบริหารและจัดการหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ ประกอบด้วย ๖ แผนย่อย และได้ปรับปรุงแผนฯ ในระหว่างปี เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินกู้และบริหารหนี้ ซึ่งหลังการปรับปรุงแผนฯ ครั้งที่ ๓ ทำให้วงเงินรวมในแผนฯ ที่จะบริหารจัดการมีจำนวนทั้งสิ้น ๑,๗๔๘,๖๖๒.๗๐ ล้านบาท โดยในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๕๓ กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการกู้เงินและบริหารหนี้แล้ว เป็นวงเงินทั้งสิ้น ๗๙๐,๙๖๖.๕๕ ล้านบาท ดังปรากฏตามตารางที่ ๒ ตารางที่ ๒ การกู้เงินและการบริหารหนี้ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ - เดือนมีนาคม ๒๕๕๓ หน่วย : ล้านบาท รายการ แผน ผลการ ดำเนินการ ๑. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐบาล ๖๗๓,๐๐๐.๐๐ ๔๕๒,๕๓๒.๐๐ ๒. การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF ๑๓๙.๑๗๑.๐๒ ๔๐,๐๐๐.๐๐ ๓. การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคง ทางเศรษฐกิจ ๓๕๐,๐๐๐.๐๐ ๑๒๐,๐๐๐.๐๐ ๔. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ ๓๖๗,๖๐๒.๓๘ ๑๗๖,๗๓๓.๗๑ ๕. การก่อหนี้จากต่างประเทศ ๑๒๐,๓๕๗.๘๖ ๑,๗๐๐.๘๔ ๖. การบริหารหนี้ต่างประเทศ ๙๘,๕๓๑.๔๔ - รวม ๑,๗๔๘,๖๖๒.๗๐ ๗๙๐,๙๖๖.๕๕ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ ๒.๑ การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐบาล ๒.๑.๑ กระทรวงการคลังได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน ๑๔๖,๕๓๒.๐๐ ล้านบาท โดยออกพันธบัตรรัฐบาล จำนวน ๕ รุ่น วงเงินรวม ๑๓๒,๕๓๒.๐๐ ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ๒ รุ่น วงเงินรวม ๑๔,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ๒.๑.๒ กระทรวงการคลังได้ Roll-over ตั๋วเงินคลังเพื่อบริหารดุลเงินสด วงเงิน ๘๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท และตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ ๒๕๔๒ - ๒๕๕๒ จำนวน ๒๐๑,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ทั้งนี้ ในส่วนของตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ ๒๕๔๒ - ๒๕๕๒ ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้โดยแปลงเป็นพันธบัตรระยะยาว จำนวน ๒๓,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม ๒๕๕๓ มีตั๋วเงินคลังหมุนเวียนในตลาด จำนวน ๒๕๘,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ๒.๑.๓ กระทรวงการคลังได้ Roll-over ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ครบกำหนดไถ่ถอน จำนวน ๒๕,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ๒.๒ การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF ๒.๒.๑ กระทรวงการคลังได้ Roll-over พันธบัตร FIDF1 ที่ครบกำหนดไถ่ถอน จำนวน ๓๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยการกู้เงินระยะสั้นจากสถาบันการเงิน จำนวน ๑๖,๐๙๖.๑๑ ล้านบาท สมทบกับเงินทดรองจ่ายจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง จำนวน ๑๓,๙๐๓.๘๙ ล้านบาท เพื่อชำระคืนหนี้ที่ครบกำหนด จากนั้นทยอยการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ วงเงิน ๓๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท มาชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นและเงินจากบัญชีเงินฝากฯ ๒.๒.๒ กระทรวงการคลังได้ Roll-over พันธบัตร FIDF3 ที่ครบกำหนดไถ่ถอน จำนวน ๑๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ๒.๓ การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ กระทรวงการคลังได้กู้เงินจากสถาบันการเงิน จำนวน ๑๒๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ ๒.๔ การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการกู้เงินในประเทศ จำนวนทั้งสิ้น ๑๗๖,๗๓๓.๗๑ ล้านบาท เป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๑๔๐,๒๙๘.๕๑ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๓๖,๔๓๕.๒๐ ล้านบาท สามารถแบ่งตามประเภทของการกู้เงิน ได้ดังนี้ ๒.๔.๑ เงินกู้ในประเทศทดแทนเงินกู้จากต่างประเทศ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงิน ๑.๑๒ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๖ ส่วนที่ ๒ ๒.๔.๒ เงินกู้เงินบาทสมทบโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงิน ๗.๐๓ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๗ ส่วนที่ ๒ ๒.๔.๓ เงินกู้เพื่อลงทุน รัฐวิสาหกิจ ๓ แห่ง ได้กู้เงินเพื่อลงทุน วงเงินรวม ๖,๖๗๔.๘๖ ล้านบาท เป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๓,๐๗๓.๐๐ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๓,๖๐๑.๘๖ ล้านบาท ได้แก่ (๑) การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงิน ๑,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการทางพิเศษบางพลี - สุขสวัสดิ์ ในส่วนของค่าก่อสร้างทางเชื่อมโครงการ ฯ กับถนนวงแหวนอุตสาหกรรม (๒) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงิน ๓,๖๐๑.๘๖ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบสายส่ง และสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๗ ส่วนที่ ๑ จำนวน ๖.๐๓ ล้านบาท โครงการก่อสร้างและปรับปรุงเสริมระบบจำหน่าย ระยะที่ ๖ จำนวน ๒๒๘.๓๘ ล้านบาท โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๘ ส่วนที่ ๑ จำนวน ๘๙๒.๓๕ ล้านบาท โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๘ ส่วนที่ ๒ จำนวน ๖๔๕.๕๔ ล้านบาท โครงการติดตั้งศูนย์สั่งจ่ายไฟ ระยะที่ ๒ จำนวน ๖๐๓.๗๔ ล้านบาท โครงการเพิ่มความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า ระยะที่ ๒ จำนวน ๓๖๓.๙๑ ล้านบาท โครงการก่อสร้างระบบจำหน่ายด้วยสายเคเบิ้ลใต้น้ำไปยังเกาะที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว (เกาะลิบง เกาะสุกร และเกาะมุกต์ จังหวัดตรัง) จำนวน ๒๖.๘๒ ล้านบาท และโครงการก่อสร้างและปรับปรุงเสริมระบบจำหน่าย ระยะที่ ๗ จำนวน ๘๓๕.๐๙ ล้านบาท (๓) การรถไฟแห่งประเทศไทยได้กู้เงินจากธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงินรวม ๒,๐๗๓.๐๐ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการระบบรถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จำนวน ๑,๕๐๐ ล้านบาท และโครงการก่อสร้างระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในส่วนของค่า K จำนวน ๕๗๓ ล้านบาท ๒.๔.๔ เงินกู้เพื่อดำเนินกิจการทั่วไปและอื่น ๆ รัฐวิสาหกิจ ๗ แห่ง ได้กู้เงินเพื่อดำเนินกิจการทั่วไปและอื่น ๆ วงเงินรวม ๓๔,๕๖๑.๐๐ ล้านบาท เป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน ๓๓,๗๕๑.๐๐ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๘๑๐.๐๐ ล้านบาท ได้แก่ (๑) การประปาส่วนภูมิภาคได้กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน ๒,๑๔๑.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อชดเชยยอดค้างชำระสำหรับนโยบาย ๖ มาตรการ ๖ เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน และมาตรการลดค่าครองชีพของประชาชน (๒) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร และกู้เงินจากสถาบันการเงิน ๒ แห่ง ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงินรวม ๖,๒๖๕.๐๐ ล้านบาท แบ่งเป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน ๕,๔๕๕.๐๐ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๘๑๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อชดเชยยอดค้างชำระสำหรับนโยบาย ๖ มาตรการ ๖ เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน และมาตรการลดค่าครองชีพของประชาชน จำนวน ๕,๔๕๕.๐๐ ล้านบาท และใช้ในการดำเนินงาน จำนวน ๘๑๐.๐๐ ล้านบาท (๓) การรถไฟแห่งประเทศไทยได้กู้เงินระยะสั้นจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน ๘๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อใช้เสริมสภาพคล่องในการดำเนินงาน (๔) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพได้กู้เงินจากธนาคารออมสิน จำนวน ๓๕๕.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อใช้เป็นเงินทดแทนเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ (PSO) ที่สำนักงบประมาณไม่สามารถจัดสรรเงินงบประมาณให้ได้ (๕) องค์การสวนยางได้กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน ๕,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อใช้ดำเนินโครงการสนับสนุนสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่า แก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ (๖) องค์การคลังสินค้าได้กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน ๑๓,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการแทรกแซงตลาดรับซื้อข้าวเปลือกตามโครงการแทรกแซงตลาดรับซื้อข้าวเปลือก ปี ๒๕๕๒/๕๓ (๗) องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรได้กู้เงินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน ๗,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการแทรกแซงตลาดรับซื้อข้าวเปลือกตามโครงการแทรกแซงตลาดรับซื้อข้าวเปลือกปี ๒๕๕๒/๕๓ ๒.๔.๕ การบริหารและจัดการหนี้ รัฐวิสาหกิจ ๑๐ แห่ง ได้บริหารหนี้ในประเทศ วงเงินรวม ๑๓๕,๔๘๙.๗๑ ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๑๐๓,๔๗๔.๕๑ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๓๒,๐๑๕.๒๐ ล้านบาท ดังนี้ (๑) การ Roll-over : รัฐวิสาหกิจ ๙ แห่ง ได้ Roll-over หนี้ที่ครบกำหนดชำระคืน วงเงินรวม ๑๒๙,๙๗๔.๕๑ ล้านบาท เป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๙๘,๙๗๔.๕๑ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๓๑,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ได้แก่ ๑) การเคหะแห่งชาติได้กู้เงินจากธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน ๑,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน ๒) การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร ๒ รุ่น และกู้เงินจากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน วงเงินรวม ๕,๑๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน ๓) การประปาส่วนภูมิภาคได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงิน ๑,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน ๔) การรถไฟแห่งประเทศไทยได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร ๗ รุ่น วงเงินรวม ๖,๕๐๒.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน ๕) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตรและกู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน วงเงินรวม ๔,๐๓๕.๘๘ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน ๖) องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรได้กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน ๔,๓๓๖.๖๓ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน ๗) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้กู้เงิน โดยการออกพันธบัตร วงเงิน ๓๑,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน ๘) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้กู้เงินจากธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) วงเงินรวม ๗๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน ๙) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร ๗ รุ่น วงเงินรวม ๗,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน (๒) การ Refinance : การเคหะแห่งชาติได้ Refinance สัญญาเงินกู้ เงินกู้ระยะยาว ๕ สัญญา โดยกู้เงินจากธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน วงเงินรวม ๔,๕๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน ทำให้ประหยัดดอกเบี้ยได้ ๖๘.๖๕ ล้านบาท (๓) การทำ Swap Arrangement : บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ได้ทำ Swap สัญญาเงินกู้ระยะยาวจากอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ วงเงิน ๑,๐๑๕.๒๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน ๒.๕ การก่อหนี้จากต่างประเทศ การประปานครหลวงได้ลงนามสัญญาเงินกู้กับรัฐบาลญี่ปุ่นผ่านองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น จำนวน ๔,๔๖๒ ล้านเยน หรือเทียบเท่า ๑,๗๐๐.๘๔ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ ๘ ๒.๖ การบริหารหนี้ต่างประเทศ กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจยังไม่ได้ดำเนินการบริหารหนี้ต่างประเทศตามแผนงานนี้ ๓. การกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบวงเงินของแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ๓.๑ การกู้เงินและบริหารหนี้ของบริษัทมหาชนจำกัด ที่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจ ๒ แห่ง ได้กู้เงินและบริหารหนี้รวม ๓๘,๕๐๗.๕๗ ล้านบาท ได้แก่ ๓.๑.๑ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้กู้เงินและบริหารหนี้รวม ๒๑,๓๗๑.๕๗ ล้านบาท แบ่งเป็น (๑) กู้เงินในรูปเช่าซื้อ (Asset Based Financing) เพื่อชำระค่าจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส 330-300 ลำที่ ๓-๘ วงเงินรวม ๑๔,๘๗๑.๕๗ ล้านบาท (๒) Roll-over หุ้นกู้ที่ครบกำหนดชำระคืน โดยการกู้เงินจากธนาคาร กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) วงเงินรวม ๖,๕๐๐.๐๐ ล้านบาท ๓.๑.๒ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้กู้เงินในประเทศโดยการออกหุ้นกู้ วงเงินรวม ๖,๖๓๖.๐๐ ล้านบาท และกู้เงินต่างประเทศจากสถาบันการเงิน ๓ แห่ง วงเงิน ๓๐๐.๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า ๑๐,๕๐๐.๐๐ ล้านบาท ๓.๒ การกู้เงินระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่อง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กู้เงินระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่อง วงเงิน ๔,๕๐๐.๐๐ ล้านบาท ๔. สรุปผลการดำเนินการตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ๔.๑ จากผลการดำเนินงานที่กล่าวมาแล้ว ในช่วงระยะเวลา ๖ เดือนแรกของปีงบประมาณ ๒๕๕๓ (ตุลาคม ๒๕๕๒ - มีนาคม ๒๕๕๓) กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการบริหารและจัดการหนี้สาธารณะตามกรอบแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๓ เป็นจำนวนทั้งสิ้น ๗๙๐,๙๖๖.๕๕ ล้านบาท โดยมีความก้าวหน้าไปแล้วคิดเป็นร้อยละ ๔๕.๒๓ ของแผนฯ ๔.๒ ผลการกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบวงเงินของแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินและบริหารหนี้ รวมทั้งสิ้น ๔๓,๐๐๗.๕๗ ล้านบาท ๔.๓ จากการดำเนินการตามข้อ ๔.๑ และ ๔.๒ กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินและบริหารหนี้รวมทั้งสิ้น ๘๓๓,๙๗๔.๑๒ ล้านบาท แบ่งเป็นการกู้เงินใหม่ จำนวน ๓๔๕,๙๘๔.๔๑ ล้านบาท และการบริหารหนี้ จำนวน ๔๘๗,๙๘๙.๗๑ ล้านบาท หน่วย : ล้านบาท หน่วยงาน ผลการดำเนินงาน การกู้ใหม่ การบริหารหนี้ รวม - รัฐบาล ๒๖๖,๕๓๒.๐๐ ๓๔๖,๐๐๐.๐๐ ๖๑๒,๕๓๒.๐๐ - รัฐวิสาหกิจ ๗๙,๔๕๒.๔๑ ๑๔๑,๙๘๙.๗๑ ๒๒๑,๔๔๒.๑๒ รวม ๓๔๕,๙๘๔.๔๑ ๔๘๗,๙๘๙.๗๑ ๘๓๓,๙๗๔.๑๒ ทั้งนี้ การกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจจำนวน ๒๒๑,๔๔๒.๑๒ ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๑๔๑,๙๙๙.๓๕ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๗๙,๔๔๒.๗๗ ล้านบาท ผลของการบริหารหนี้ที่ได้ดำเนินการทั้งในส่วนของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ วงเงินรวมกันทั้งสิ้น ๔๘๗,๙๘๙.๗๑ ล้านบาท นั้น สามารถประหยัดดอกเบี้ยได้ ๖๘.๖๕ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ : FIDF หมายถึง กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน FIDF1 หมายถึง พันธบัตรที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งรวมทั้งเงินกู้หรือตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุไม่เกิน ๑ ปี FIDF3 หมายถึง พันธบัตรที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕ Refinance หมายถึง การกู้เงินจากแหล่งใหม่เพื่อนำไปใช้คืนแหล่งเงินกู้เดิม ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการกู้เงิน Roll-over หมายถึง การกู้เงินใหม่เพื่อนำไปชำระเงินกู้ที่ครบกำหนดชำระ เพื่อให้เงินกู้ดังกล่าวมีระยะเงินกู้สอดคล้องกับระยะคืนทุน Swap หมายถึง การแปลงหนี้ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ ๒ วิธี คือ การแปลงสกุลเงิน เช่น การแปลงหนี้สกุลเงินเยนเป็นเงินบาท และการแปลงอัตราดอกเบี้ย เช่น การแปลงอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๕ ง/หน้า ๓๑/๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
630517
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 29 พฤษภาคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ นั้น กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๓๙๒๖๖ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ สุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๔๒/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
630514
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลังหากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลังถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๓๘/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
630512
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๓ ได้กำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓ รวม ๑๒ งวด เป็นเงินจำนวน ๔๘,๐๐๐ ล้านบาท นั้น กระทรวงการคลังขอประกาศปรับลดวงเงินการจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยยกเลิกการจำหน่ายตั๋วเงินคลังงวดวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓ จำนวน ๓ รุ่น วงเงินรวม ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท ประกอบด้วย รุ่น 33/28/53 จำนวน ๒,๐๐๐ ล้านบาท รุ่น L33/91/53 จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท และ รุ่น LB33/182/53 จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้วงเงินการจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓ ปรับลดจากจำนวน ๔๘,๐๐๐ ล้านบาท เป็นจำนวน ๓๖,๐๐๐ ล้านบาท และทำให้ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓ มียอดตั๋วเงินคลังคงค้างจำนวน ๑๙๐,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๓๗/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
630510
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 4 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 31 พฤษภาคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๓ กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๓๙๕๑๖ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๓๖/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
630025
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 6) วันที่ 26 มีนาคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๖) วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๖) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๐ อายุ ๓ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๗๒๕ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๒๖ มีนาคม และวันที่ ๒๖ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๑.๐๑ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๖) เป็นร้อยละ ๑.๗๗ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๖) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๗ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๗๐ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๘/๒ เมษายน ๒๕๕๓
629975
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (ครั้งที่ 3) วันที่ 3 มีนาคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพ ฯ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ อายุ ๓.๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๓ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๓ มีนาคม และวันที่ ๓ กันยายนของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๗ ต่อปี และในวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) เป็นร้อยละ ๑.๗๓ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๓ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๖๗ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๐ ง/หน้า ๓๙/๓๐ มีนาคม ๒๕๕๓
629973
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (ครั้งที่ 3) วันที่ 3 มีนาคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ อายุ ๓.๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๔ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๓ มีนาคม และวันที่ ๓ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๘ ต่อปี และในวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) เป็นร้อยละ ๑.๗๔ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๔ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๖๘ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๐ ง/หน้า ๓๘/๓๐ มีนาคม ๒๕๕๓
629971
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 9
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๙[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๙ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๙ วงเงิน ๗,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ (LB24DA) อายุ ๑๕.๑๕ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๑,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๑๔.๘๖ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวน ในวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๗ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๗๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน และ ๒๐ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ สำนักงานประกันสังคม และบริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๙ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ๗,๐๐๐ ๔.๑๕๘๙ ๗,๕๐๔,๓๔๓,๕๒๒.๑๕ ๔๕๕,๑๕๑,๗๒๒.๑๕ ๔๙,๑๙๑,๘๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๐ ง/หน้า ๓๖/๓๐ มีนาคม ๒๕๕๓
629969
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ วงเงิน ๘,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุ ๔ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๗ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้น การกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี และจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ยกเว้นงวดแรกจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยชำระดอกเบี้ยปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๙ มกราคม และ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๑.๓ อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๓๕๐๐๐ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๓ ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ ๑.๕๐๐๐๐ ต่อปี ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึง วันที่จำหน่าย (บาท) ๒๗ มกราคม ๒๕๕๓ ๘,๐๐๐ ๑.๔๖๑๑๖ ๗,๙๖๖,๐๔๔,๙๙๙.๓๐ -๓๓,๙๕๕,๐๐๐.๗๐ - หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๐ ง/หน้า ๓๔/๓๐ มีนาคม ๒๕๕๓
629967
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลัง หากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ สุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจ่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๐ ง/หน้า ๓๐/๓๐ มีนาคม ๒๕๕๓
629900
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 (ครั้งที่ 1) วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๑) วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๑) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ จำนวน ๑๓,๕๐๐ ล้านบาท อายุ ๔ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๑๖ ต่อปี ๒.๑๘ ต่อปี ๒.๒๐ ต่อปี ๒.๒๒ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๒๔ สิงหาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๐ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๑) เป็นร้อยละ ๑.๖๖ ต่อปี ๑.๖๘ ต่อปี ๑.๗๐ ต่อปี และ ๑.๗๒ ต่อปี และตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังได้ไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวบางส่วนก่อนกำหนด โดยชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท พร้อมชำระดอกเบี้ยงวดสุดท้าย ในวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๒ ทำให้มียอดคงเหลือตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน ๑,๕๐๐ ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๖๖ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ สำหรับต้นเงินกู้คงเหลือ จำนวน ๑,๕๐๐ ล้านบาท ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๑) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๖๖ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๖๐ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๓๗ ง/หน้า ๔๗/๒๔ มีนาคม ๒๕๕๓
629533
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 5) วันที่ 23 พฤษภาคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๕) วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๕) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ อายุ ๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๙ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม และวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๔ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๕) เป็นร้อยละ ๑.๗๐ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๕) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๐ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๖๒ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๘ ง/หน้า ๑/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓
629471
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 4
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่ากระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. ๒/๒๕๕๐ ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔” จำนวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท (แปดพันล้านบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยให้เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงินและจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรรกระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่นกระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตรา ดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ (LB145C) อายุ ๔ ปี อัตราดอกเบี้ย BIBOR ระยะ ๖ เดือน - ร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี จำนวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท ๒๖ พ.ค. ๒๕๕๓ ๘,๐๐๐ ๓๑ พ.ค. ๒๕๕๓ ๓๑ พ.ค. ๒๕๕๓ ๓๑ พ.ค. ๒๕๕๗ หมายเหตุ :- อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ จะประกาศในวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวคำนวณดอกเบี้ยจากราคาตราของพันธบัตรตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและส่วนต่าง (ถ้ามี) ตามที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดสำหรับพันธบัตรแต่ละรุ่น และแบ่งชำระดอกเบี้ยเป็นสัดส่วนของจำนวนงวดต่อปี เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้งและจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม และ ๓๐ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยไม่มีการคำนวณดอกเบี้ยเพิ่มให้ และการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๘,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๕๔/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓
629469
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 15
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๕[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่ากระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำ เนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๕” จำนวน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นสองพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ (LB196A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๗๒,๗๔๐ ล้านบาท โดยวงเงินรวมดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๕ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๕ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวัน เดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๕ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๕ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๕ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๕ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๕ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๕ (LB196A) อายุคงเหลือ ๙.๐๔ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๗๕ ต่อปี จำนวน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท ๒๖ พ.ค. ๒๕๕๓ ๑๒,๐๐๐ ๓๑ พ.ค. ๒๕๕๓ ๑๓ ธ.ค. ๒๕๕๒ ๑๓ มิ.ย. ๒๕๖๒ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๗๒,๗๔๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๗๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๓ มิถุนายน และ ๑๓ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๒ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๔๘/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓
629467
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 14
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๔[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อโดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๔” จำนวน ๗,๐๐๐ ล้านบาท (เจ็ดพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ (LB296A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๙,๐๐๐ ล้านบาท โดยวงเงินรวมดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๔ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๔ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๔ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๔ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๔ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๔ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๔ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๔ (LB296A) อายุ ๑๙.๑๒ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๘๗๕ ต่อปี จำนวน ๗,๐๐๐ ล้านบาท ๑๒ พ.ค. ๒๕๕๓ ๗,๐๐๐ ๑๔ พ.ค. ๒๕๕๓ ๒๒ ธ.ค. ๒๕๕๒ ๒๒ มิ.ย. ๒๕๗๒ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๙,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๘๗๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๒ มิถุนายน และ ๒๒ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๗๒ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๗,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๔๒/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓
629465
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 13
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่ากระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำ เนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๓” จำนวน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นห้าพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ (LB24DA) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๓๖,๐๐๐ ล้านบาท โดยวงเงินรวมดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๓ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๓ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกันโดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๓ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๓ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๓ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๓ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๓ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๓ (LB24DA) อายุคงเหลือ ๑๔.๖๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๗๕ ต่อปี จำนวน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท ๒๘ เม.ย. ๒๕๕๓ ๒๓ มิ.ย. ๒๕๕๓ ๘,๐๐๐ ๗,๐๐๐ ๓๐ เม.ย. ๒๕๕๓ ๒๕ มิ.ย. ๒๕๕๓ ๒๐ ธ.ค. ๒๕๕๒ ๒๐ มิ.ย. ๒๕๕๓ ๒๐ ธ.ค. ๒๕๖๗ ๒๐ ธ.ค. ๒๕๖๗ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๓๖,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๗๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๐ มิถุนายน และ ๒๐ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๗ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๓๖/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓
629462
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 12
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่ากระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๒” จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท (หกพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ (LB406A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยวงเงินรวมดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๒ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคล เพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๒ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๒ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๒ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๒ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๒ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๒ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๒ (LB406A) อายุคงเหลือ ๓๐.๒๒ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕ ต่อปี จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท ๗ เม.ย. ๒๕๕๓ ๒๙ มิ.ย. ๒๕๕๓ ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๙ เม.ย. ๒๕๕๓ ๒ ก.ค. ๒๕๕๓ ๒๒ ธ.ค. ๒๕๕๒ ๒๒ มิ.ย. ๒๕๕๓ ๒๒ มิ.ย. ๒๕๘๓ ๒๒ มิ.ย. ๒๕๘๓ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๒ มิถุนายน และ ๒๒ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๘๓ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๖,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๓๐/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓
629460
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 11
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่ากระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อโดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๑” จำนวน ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท (สามหมื่นล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ (LB155A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๐๑,๕๗๒ ล้านบาท โดยวงเงินรวมดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๑ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคล เพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๑ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกันโดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๑ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๑ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๑ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๑ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๑ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๑ (LB155A) อายุคงเหลือ ๕.๑๒ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๒๕ ต่อปี จำนวน ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท ๗ เม.ย. ๒๕๕๓ ๑๒ พ.ค. ๒๕๕๓ ๑๖ มิ.ย. ๒๕๕๓ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๙ เม.ย. ๒๕๕๓ ๑๔ พ.ค. ๒๕๕๓ ๑๘ มิ.ย. ๒๕๕๓ ๒๒ พ.ย. ๒๕๕๒ ๒๒ พ.ย. ๒๕๕๒ ๒๒ พ.ค. ๒๕๕๓ ๒๒ พ.ค. ๒๕๕๘ ๒๒ พ.ค. ๒๕๕๘ ๒๒ พ.ค. ๒๕๕๘ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๐๑,๕๗๒ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๒๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม และ ๒๒ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) ๓. แบบคำขอต่อใบอนุญาต (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๒๔/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓
629414
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่ากระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลังหากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลังถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๕๙ ง/หน้า ๓๔/๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓
629410
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ สำนักงานประกันสังคม กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ วงเงิน ๗๐,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๖๙,๗๓๐,๗๕๖,๓๙๑.๗๓ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๒๖๙,๒๔๓,๖๐๘.๒๗ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 22/28/53 ๔,๐๐๐ ๓ มีนาคม ๒๕๕๓ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๓,๖๖๘,๐๓๙.๓๔ L22/91/53 ๕,๐๐๐ ๓ มีนาคม ๒๕๕๓ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๕,๒๓๗,๔๐๗.๗๒ L22/182/53 ๕,๐๐๐ ๓ มีนาคม ๒๕๕๓ ๑ กันยายน ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๓๔,๘๙๕,๔๘๓.๖๐ 23/28/53 ๔,๐๐๐ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๓ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ ๒๘ ๒๘ ๓,๕๘๙,๙๙๔.๒๕ L23/91/53 ๕,๐๐๐ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๓ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๔,๘๒๓,๙๗๑.๘๑ L23/182/53 ๕,๐๐๐ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๓ ๘ กันยายน ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๓๔,๖๓๑,๓๙๔.๐๒ 24/30/53 ๔,๐๐๐ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๓ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๓ ๓๐ ๓,๙๓๗,๗๗๐.๓๔ L24/91/53 ๕,๐๐๐ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๓ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๕,๑๖๖,๖๘๙.๘๖ L24/182/53 ๕,๐๐๐ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๓ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๓๕,๓๘๕,๒๗๖.๖๗ 25/28/53 ๔,๐๐๐ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๓ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ ๒๘ ๓,๕๖๔,๖๓๓.๙๘ L25/91/53 ๕,๐๐๐ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๓ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๔,๙๘๔,๘๕๑.๔๔ L25/182/53 ๕,๐๐๐ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๓ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๓๕,๕๙๙,๔๖๑.๗๖ 26/28/53 ๔,๐๐๐ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๓ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๓ ๒๘ ๓,๕๗๐,๓๗๗.๓๒ L26/91/53 ๕,๐๐๐ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๓ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๕,๐๔๓,๒๗๕.๒๔ L26/182/53 ๕,๐๐๐ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๓ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๓๕,๑๔๔,๙๘๐.๙๒ รวม ๗๐,๐๐๐ ๒๖๙,๒๔๓,๖๐๘.๒๗ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๘๑,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาจนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ จำนวน ๒๐๑,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท อย่างไรก็ดี ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาลจำนวน ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม ๒๕๕๓ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ-เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๕๘,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๕๙ ง/หน้า ๓๒/๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628955
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 4) วันที่ 16 พฤษภาคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) จากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ อายุ ๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๘ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม และวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๓ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) เป็นร้อยละ ๑.๖๙ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๖๙ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๖๑ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๗ ง/หน้า ๕/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628953
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพ ฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 4) วันที่ 16 พฤษภาคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพ ฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ อายุ ๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๔ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม และวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๙ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) เป็นร้อยละ ๑.๖๕ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๖๕ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๕๗ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๗ ง/หน้า ๔/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628951
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 1 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 พฤษภาคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้น วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ลงวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นั้น กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๓๙๕๑๖ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ สุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๗ ง/หน้า ๓/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628949
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สำนักงานประกันสังคม และสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ วงเงิน ๕๖,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๕๕,๗๙๘,๔๐๘,๙๐๒.๐๒ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๒๐๑,๕๙๑,๐๙๗.๙๘ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 27/29/53 ๔,๐๐๐ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๓,๔๗๕,๐๑๔.๔๒ L27/91/53 ๕,๐๐๐ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๔,๓๘๗,๖๑๐.๔๓ L27/182/53 ๕,๐๐๐ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๓๔,๖๓๒,๖๓๔.๖๔ 28/26/53 ๔,๐๐๐ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๓ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๒๖ ๒,๙๔๒,๐๑๐.๔๑ L28/89/53 ๕,๐๐๐ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๓ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ๘๙ ๑๓,๘๕๖,๗๖๘.๔๘ L28/180/53 ๕,๐๐๐ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๓ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๑๘๐ ๓๓,๒๗๐,๗๓๔.๗๐ 29/28/53 ๔,๐๐๐ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๓,๐๔๔,๖๙๔.๓๗ L29/91/53 ๕,๐๐๐ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๓,๗๗๕,๖๒๙.๒๐ L29/182/53 ๕,๐๐๐ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๓๒,๖๔๔,๗๑๕.๖๑ 30/28/53 ๔,๐๐๐ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๓ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๓,๒๖๖,๘๘๕.๕๒ L30/91/53 ๕,๐๐๐ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๓ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๔,๑๑๖,๐๘๗.๒๘ L30/182/53 ๕,๐๐๐ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๓ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๓๒,๑๗๘,๓๑๒.๙๒ รวม ๕๖,๐๐๐ ๒๐๑,๕๙๑,๐๙๗.๙๘ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ-เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๘๑,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาจนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ จำนวน ๒๐๑,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท อย่างไรก็ดี ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาลจำนวน ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นเดือนเมษายน ๒๕๕๓ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ-เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๕๘,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๗ ง/หน้า ๑/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628750
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ จำนวน ๒๕,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ครบกำหนดในไตรมาสที่ ๒ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ดังนี้ ๑. วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ กระทรวงการคลังได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ จำนวนรวม ๖,๐๐๐ ล้านบาท ให้กับธนาคารออมสิน โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียด คือ ๑.๑ ชำระเงินคืนต้นเงินกู้ภายใน ๕ ปี นับแต่วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ โดยจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ๑.๒ ตั๋วสัญญาใช้เงินนี้มีอัตราดอกเบี้ยซึ่งตกลงให้เปลี่ยนแปลงได้ทุก ๖ เดือน โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดาเฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๓ ต่อปี และร้อยละ ๐.๘๔ ต่อปี โดยปรับอัตราดอกเบี้ย FDR ทุกงวด ๖ เดือน โดยดอกเบี้ยงวดแรกของตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกให้ในวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จำนวน ๓,๐๐๐ ล้านบาท มีอัตราร้อยละ ๑.๕๓ ต่อปี และจำนวน ๓,๐๐๐ ล้านบาท มีอัตราร้อยละ ๑.๕๔ ต่อปี กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามเกณฑ์การคำนวณข้างต้น ในวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๔ สิงหาคม ของทุกปี โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๑.๓ การชำระดอกเบี้ยแบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด ในวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๔ สิงหาคม ของทุกปี โดยดอกเบี้ยงวดแรกจะชำระในวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๓ สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินในวันที่ไถ่ถอน หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ย และวันไถ่ถอนต้นเงินตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป ๒. วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ กระทรวงการคลังได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ จำนวนรวม ๙,๐๐๐ ล้านบาท ให้กับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียด คือ ๒.๑ ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ที่ออกให้กับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน ๓,๐๐๐ ล้านบาท ๒.๑.๑ ชำระเงินคืนต้นเงินกู้ภายใน ๖ ปี นับแต่วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ โดยจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ๒.๑.๒ ตั๋วสัญญาใช้เงินนี้มีอัตราดอกเบี้ยซึ่งตกลงให้เปลี่ยนแปลงได้ทุก ๖ เดือน โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดาเฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๗๙ ต่อปี โดยปรับอัตราดอกเบี้ย FDR ทุกงวด ๖ เดือน โดยดอกเบี้ยงวดแรกของตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกให้ในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จำนวน ๓,๐๐๐ ล้านบาท มีอัตราร้อยละ ๑.๔๙ ต่อปี กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามเกณฑ์การคำนวณข้างต้น ในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๑๘ สิงหาคม ของทุกปี โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๒.๑.๓ การชำระดอกเบี้ยแบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด ในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๑๘ สิงหาคม ของทุกปี โดยดอกเบี้ยงวดแรกจะชำระในวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินในวันที่ไถ่ถอน หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยและวันไถ่ถอนต้นเงินตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป ๒.๒ ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ที่ออกให้กับธนาคารออมสิน จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท ๒.๒.๑ ชำระเงินคืนต้นเงินกู้ภายใน ๖ ปี นับแต่วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ โดยจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ๒.๒.๒ ตั๋วสัญญาใช้เงินนี้มีอัตราดอกเบี้ยซึ่งตกลงให้เปลี่ยนแปลงได้ทุก ๖ เดือน โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๗๙ ต่อปี และร้อยละ ๐.๘๐ ต่อปี โดยปรับอัตราดอกเบี้ย FDR ทุกงวด ๖ เดือน โดยดอกเบี้ยงวดแรกของตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกให้ในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จำนวน ๓,๐๐๐ ล้านบาท มีอัตราร้อยละ ๑.๔๙ ต่อปี และจำนวน ๓,๐๐๐ ล้านบาท มีอัตราร้อยละ ๑.๕๐ ต่อปี กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามเกณฑ์การคำนวณข้างต้น ในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๑๘ สิงหาคม ของทุกปี โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๒.๒.๓ การชำระดอกเบี้ยแบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด ในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๑๘ สิงหาคม ของทุกปี โดยดอกเบี้ยงวดแรกจะชำระในวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินในวันที่ไถ่ถอน หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ย และวันไถ่ถอนต้นเงินตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป ๓. วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๓ กระทรวงการคลังได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ จำนวนรวม ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ให้กับธนาคารออมสิน โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียด คือ ๓.๑ ชำระเงินคืนต้นเงินกู้ภายใน ๗ ปี นับแต่วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๓ โดยจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ๓.๒ ตั๋วสัญญาใช้เงินนี้มีอัตราดอกเบี้ยซึ่งตกลงให้เปลี่ยนแปลงได้ทุก ๖ เดือน โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดาเฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๗๒ ต่อปี ร้อยละ ๐.๗๓ ต่อปี และร้อยละ ๐.๗๔ ต่อปี โดยปรับอัตราดอกเบี้ย FDR ทุกงวด ๖ เดือน โดยดอกเบี้ยงวดแรกของตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกให้ในวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๓ จำนวน ๓,๕๐๐ ล้านบาท มีอัตราร้อยละ ๑.๔๒ ต่อปี จำนวน ๓,๕๐๐ ล้านบาท มีอัตราร้อยละ ๑.๔๓ ต่อปี และจำนวน ๓,๐๐๐ ล้านบาท มีอัตราร้อยละ ๑.๔๔ ต่อปี กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามเกณฑ์การคำนวณข้างต้น ในวันที่ ๒ มีนาคม และวันที่ ๒ กันยายน ของทุกปี โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๓.๓ การชำระดอกเบี้ยแบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด ในวันที่ ๒ มีนาคม และวันที่ ๒ กันยายน ของทุกปี โดยดอกเบี้ยงวดแรกจะชำระในวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๓ สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินในวันที่ไถ่ถอน หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยและวันไถ่ถอนต้นเงินตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๕๕ ง/หน้า ๑/๓๐ เมษายน ๒๕๕๓
628569
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บริษัทหลักทรัพย์ สำนักงานประกันสังคม และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ วงเงิน ๖๔,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงิน จำนวน ๖๓,๗๔๗,๗๖๐,๖๐๙.๐๔ บาท โดยมีส่วนลด จำนวน ๒๕๒,๒๓๙,๓๙๐.๙๖ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) ๑๘/๒๘/๕๓ ๔,๐๐๐ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ๓ มีนาคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๓,๗๔๘,๒๑๕.๘๔ L๑๘/๙๒/๕๓ ๖,๐๐๐ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๙๒ ๑๘,๖๑๑,๗๓๔.๘๔ L๑๘/๑๘๒/๕๓ ๖,๐๐๐ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๓๙,๖๔๕,๒๑๐.๕๙ ๑๙/๒๘/๕๓ ๔,๐๐๐ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๓,๖๖๖,๖๒๖.๖๒ L๑๙/๙๑/๕๓ ๖,๐๐๐ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๘,๒๔๗,๐๕๔.๑๖ L๑๙/๑๘๒/๕๓ ๖,๐๐๐ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๔๑,๑๑๐,๔๕๑.๔๐ ๒๐/๒๘/๕๓ ๔,๐๐๐ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๓,๖๔๙,๐๑๘.๘๓ L๒๐/๙๑/๕๓ ๖,๐๐๐ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๘,๒๖๘,๑๖๗.๙๓ L๒๐/๑๘๒/๕๓ ๖,๐๐๐ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๔๑,๕๔๑,๑๕๔.๔๙ ๒๑/๒๘/๕๓ ๔,๐๐๐ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๓,๖๘๐,๒๒๑.๑๐ L๒๑/๙๑/๕๓ ๖,๐๐๐ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๘,๒๒๔,๐๓๔.๖๐ L๒๑/๑๘๒/๕๓ ๖,๐๐๐ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๔๑,๘๔๗,๕๐๐.๕๖ รวม ๖๔,๐๐๐ ๒๕๒,๒๓๙,๓๙๐.๙๖ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ-เงินสดจ่ายของรัฐบาล จำนวน ๒๘๑,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาจนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ จำนวน ๒๐๑,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาล จำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท อย่างไรก็ดี ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล จำนวน ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ-เงินสดจ่ายของรัฐบาล จำนวน ๒๕๘,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๖๙ ง/หน้า ๑/๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628565
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 (ครั้งที่ 3) และ (ครั้งที่ 4) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ครั้งที่ ๓) และ (ครั้งที่ ๔) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] ด้วยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ครั้งที่ ๓) และ (ครั้งที่ ๔) ลงวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ข้อ ๔ วรรค ๒ กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในวันที่ ๑๗ เมษายน ของทุกปี โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ครั้งที่ ๓) และ (ครั้งที่ ๔) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๓๐ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๙๕ ต่อปี ตั้งแต่วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงิน เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ครั้งที่ ๓) และ (ครั้งที่ ๔) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๙๕ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๖๙ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๒๓/๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓