sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
664168
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนและวิธีการเสนอซื้อ (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒” จำนวน ๗,๕๐๐ ล้านบาท (เจ็ดพันห้าร้อยล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ (LB416A) ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน ๒๗,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๓๔,๕๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อโดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคล เพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใดไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ (LB416A) อายุคงเหลือ ๒๙.๓๒ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๐ ต่อปี จำนวน ๗,๕๐๐ ล้านบาท ๒๒ ก.พ. ๒๕๕๕ ๗,๕๐๐ ๒๔ ก.พ. ๒๕๕๕ ๑๔ ธ.ค. ๒๕๕๔ ๑๔ มิ.ย. ๒๕๘๔ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้ เป็น ๓๔,๕๐๐ ล้านบาท (เปิดจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๓) ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๐ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๔) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๔ มิถุนายน และ ๑๔ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๘๔ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๗,๕๐๐ ล้านบาท (เจ็ดพันห้าร้อยล้านบาทถ้วน) (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ มีนาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒ มีนาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑๐/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
664160
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนและวิธีการเสนอซื้อ (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑” จำนวน ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นหกพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ (LB155A) ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน ๑๐๑,๕๗๒ ล้านบาท ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๑๗,๕๗๒ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อโดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใดไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกันโดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ (LB155A) อายุคงเหลือ ๓.๒๔ ปี อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ ๓.๖๒๕ ต่อปี จำนวน ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท ๒๒ ก.พ. ๒๕๕๕ ๑๖,๐๐๐ ๒๔ ก.พ. ๒๕๕๕ ๒๒ พ.ย. ๒๕๕๔ ๒๒ พ.ค. ๒๕๕๘ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๑๗,๕๗๒ ล้านบาท (เปิดจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๒) ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๒๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๔) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๕ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม และ ๒๒ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นหกพันล้านบาทถ้วน) (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ มีนาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒ มีนาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๕/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
664158
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 (ครั้งที่ 2) ให้กับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2555
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จำนวน ๓,๐๐๐ ล้านบาท อายุ ๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๔๙ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๑๘ สิงหาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดาเฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๗๙ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เป็นร้อยละ ๒.๙๔๖ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๙๔๖ ต่อปี เป็นร้อยละ ๓.๑๙๖ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ มีนาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒ มีนาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๔/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
664156
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 (ครั้งที่ 2) ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2555
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน เพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท แบ่งเป็น ๒ วงเงิน วงเงินละ ๓,๐๐๐ ล้านบาท อายุ ๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๔๙ ต่อปี และ ๑.๕๐ ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๑๘ สิงหาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๗๙ ต่อปี และ ๐.๘๐ ต่อปี ตามลำดับ และเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารออมสินเป็นร้อยละ ๒.๙๔๖ ต่อปี และร้อยละ ๒.๙๕๖ ต่อปี ตามลำดับ เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารออมสินจากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๙๔๖ ต่อปี และร้อยละ ๒.๙๕๖ ต่อปี เป็นร้อยละ ๓.๑๙๖ ต่อปี และร้อยละ ๓.๒๐๖ ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ มีนาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒ มีนาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๓/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
663074
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 (ครั้งที่ 1) ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2555
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๑) ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๑) ให้กับธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท แบ่งเป็น ๒ วงเงิน วงเงินละ ๓,๐๐๐ ล้านบาท อายุ ๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๕๓ ต่อปี และ ๑.๕๔ ต่อปีตามลำดับ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดจากธนาคารออมสิน ในวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๔ จำนวน ๑,๓๐๐ ล้านบาท ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดจากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๔ ทำให้มีต้นเงินกู้คงเหลือจากการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ดังกล่าว จำนวน ๔,๗๐๐ ล้านบาท ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๔ สิงหาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๓ ต่อปี และ ๐.๘๔ ต่อปี ตามลำดับ และเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๑) ให้กับธนาคารออมสินเป็นร้อยละ ๒.๙๘๖ ต่อปี และร้อยละ ๒.๙๙๖ ต่อปี ตามลำดับ เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๑) ให้กับธนาคารออมสินจากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๙๘๖ ต่อปี และร้อยละ ๒.๙๙๖ ต่อปี เป็นร้อยละ ๓.๒๓๖ ต่อปี และร้อยละ ๓.๒๔๖ ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๑๔/๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
663072
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อให้กู้ต่อ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อให้กู้ต่อ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒[๑] เพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลัง ขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ และวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ ประกอบมาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ดำเนินการกู้เงิน โดยมีรายละเอียดและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ ๑. ผู้ให้กู้ : ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ๒. วัตถุประสงค์ในการกู้ : เพื่อให้กู้ต่อสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ๓. รายละเอียดเงื่อนไข : ๓.๑ ระยะเวลากู้เงิน ๔ ปี นับตั้งแต่วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ๓.๒ วงเงินกู้ จำนวน ๒,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองพันล้านบาทถ้วน) กระทรวงการคลังจะทยอยเบิกเงินกู้ นับตั้งแต่วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ จนถึงวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ โดยจะแจ้ง ผู้ให้กู้ ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๒ วันทำการ ๓.๓ อัตราดอกเบี้ย เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง บวกร้อยละ ๐.๒๕ ต่อปี โดยปรับอัตราดอกเบี้ยทุกงวด ๖ เดือน หากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงมีการเปลี่ยนแปลง การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปี มี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง “อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง” หมายความว่า อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นตลาดกรุงเทพ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ๓.๔ การชำระดอกเบี้ย กระทรวงการคลังจะชำระดอกเบี้ยเงินกู้ให้ ผู้ให้กู้ ทุกงวด ๖ เดือน ในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ และ ๓ สิงหาคม ของทุกปี โดยจะชำระดอกเบี้ยงวดแรก ในวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๕ และชำระดอกเบี้ยงวดสุดท้ายพร้อมต้นเงินกู้ ณ วันสิ้นสุดสัญญาเงินกู้ ซึ่งจะปรับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงทุกงวด ๖ เดือน หากมีการเปลี่ยนแปลง การชำระดอกเบี้ยงวดแรก กระทรวงการคลังจะใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นตลาดกรุงเทพระยะ ๖ เดือน (BIBOR) ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันประมูลเงินกู้ สำหรับอัตราดอกเบี้ยในงวดต่อ ๆ ไป จะใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ๒ วันทำการ ก่อนวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ย เพื่อใช้คำนวณดอกเบี้ยในช่วงระยะเวลา ๖ เดือนถัดมา ๓.๕ การชำระต้นเงิน กระทรวงการคลังจะชำระคืนต้นเงินกู้ทั้งจำนวน ณ วันสิ้นสุดสัญญากู้เงิน คือวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ๓.๖ การชำระหนี้ก่อนกำหนด กระทรวงการคลังสามารถชำระคืนเงินกู้ก่อนครบกำหนดได้ทั้งจำนวนหรือบางส่วน โดยกระทรวงการคลังจะแจ้งให้ ผู้ให้กู้ ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓ วันทำการ ๓.๗ หากวันครบกำหนดชำระต้นเงินกู้ตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๓.๘ ไม่มีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใด ๆ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๑๒/๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
662781
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ วงเงิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ (LB616A) อายุ ๕๐.๓๒ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๘,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๔๙.๔๖ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๖๐๔ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๘๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๗ มิถุนายน และ ๑๗ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ บริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๕ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่ จำหน่าย (บาท) ๑๑ มกราคม ๒๕๕๕ ๕,๐๐๐ ๔.๒๓๕๑ ๕,๖๕๑,๙๕๘,๐๖๕ ๖๓๔,๐๑๙,๗๑๕ ๑๗,๙๓๘,๓๕๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๓๐ ง/หน้า ๑๐/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
662673
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕ ประกอบกับมาตรา ๒๔/๑ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้ เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่ครบกำหนดในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง และวิธีการเสนอซื้อ (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. ๒/๒๕๕๐ ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย) โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒” จำนวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท (แปดพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ (LB165A) ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรุ่นนี้เป็น ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อโดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้วให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยยกเว้นให้ ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับ โครงสร้างหนี้ประเภท อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุน เพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ (LB165A) อายุคงเหลือ ๔.๒๙ ปี อัตราดอกเบี้ย BIBOR ระยะ ๖ เดือน - ร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี จำนวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท ๑ ก.พ. ๒๕๕๕ ๘,๐๐๐ ๓ ก.พ. ๒๕๕๕ ๑๘ พ.ย. ๒๕๕๔ ๑๘ พ.ค. ๒๕๕๙ หมายเหตุ :- ๑. อัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาสำหรับช่วงวันชำระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) จะกำหนดในวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๕ ๒. อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ เท่ากับร้อยละ ๓.๓๘๐๐๐ ต่อปี ๓. เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรุ่นนี้เป็น ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท (เปิดจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔) ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวคำนวณดอกเบี้ยจากราคาตราของพันธบัตรตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและส่วนต่าง (ถ้ามี) ตามที่กระทรวงการคลังกำหนดสำหรับพันธบัตรแต่ละรุ่น และแบ่งชำระดอกเบี้ยเป็นสัดส่วนของจำนวนงวดต่อปี เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง และจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง (อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้น วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ เท่ากับร้อยละ ๓.๓๘๐๐๐ ต่อปี) ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม และ ๑๘ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป โดยไม่คำนวณดอกเบี้ยเพิ่มให้ โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๘,๐๐๐ ล้านบาท (แปดพันล้านบาทถ้วน) (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๑๖/๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
662667
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ครั้งที่ 4
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๔[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕ ประกอบกับมาตรา ๒๔/๑ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้ เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่ครบกำหนดในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน และวิธีการเสนอซื้อ (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๔” จำนวน ๑๑,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ (LB193A) ซึ่งมียอดคงค้าง จำนวน ๙,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรุ่นนี้เป็น ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๕ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๔ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อโดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิสหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๔ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใดไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๔ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๔ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๔ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยยกเว้นให้ ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๔ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๔ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับ โครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๔ (LB193A) อายุคงเหลือ ๗.๑๒ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๔๕ ต่อปี จำนวน ๑๑,๐๐๐ ล้านบาท ๒๕ ม.ค. ๒๕๕๕ ๑๑,๐๐๐ ๒๗ ม.ค. ๒๕๕๕ ๔ พ.ย. ๒๕๕๔ ๘ มี.ค. ๒๕๖๒ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรุ่นนี้เป็น ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท (เปิดจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔) ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๔๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๕ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๘ มีนาคม และ ๘ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๒ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๑,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันล้านบาทถ้วน) (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๑๐/๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
662663
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ครั้งที่ 3
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕ ประกอบกับมาตรา ๒๔/๑ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้ เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่ครบกำหนดในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน และวิธีการเสนอซื้อ (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๓” จำนวน ๓๑,๐๐๐ ล้านบาท (สามหมื่นหนึ่งพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ (LB176A) ซึ่งมียอดคงค้าง จำนวน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรุ่นนี้เป็น ๔๖,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๕ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๓ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อโดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาสาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๓ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใดไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรม ซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๓ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๓ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๓ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยยกเว้นให้ ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๓ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๓ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับ โครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๓ (LB176A) อายุคงเหลือ ๕.๔๑ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๒๕ ต่อปี จำนวน ๓๑,๐๐๐ ล้านบาท ๑๘ ม.ค. ๒๕๕๕ ๑๖,๐๐๐ ๒๐ ม.ค. ๒๕๕๕ ๑๖ ธ.ค. ๒๕๕๔ ๑๖ มิ.ย. ๒๕๖๐ ๒๘ มี.ค. ๒๕๕๕ ๑๕,๐๐๐ ๓๐ มี.ค. ๒๕๕๕ ๑๖ ธ.ค. ๒๕๕๔ ๑๖ มิ.ย. ๒๕๖๐ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรุ่นนี้เป็น ๔๖,๐๐๐ ล้านบาท (เปิดจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔) ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๒๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๔) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๕ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๖ มิถุนายน และ ๑๖ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๐ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๓๑,๐๐๐ ล้านบาท (สามหมื่นหนึ่งพันล้านบาทถ้วน) (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๕/๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
661968
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนและวิธีการเสนอซื้อ (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑” จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท (ห้าพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ (LB616A) ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน ๑๓,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๘,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๕ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อโดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคล เพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใดไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระ เงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ (LB616A) อายุคงเหลือ ๔๙.๔๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๘๕ ต่อปี จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท ๑๑ ม.ค. ๒๕๕๕ ๕,๐๐๐ ๑๓ ม.ค. ๒๕๕๕ ๑๗ ธ.ค. ๒๕๕๔ ๑๗ มิ.ย. ๒๖๐๔ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้ เป็น ๑๘,๐๐๐ ล้านบาท (เปิดจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๔) ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๘๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๔) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๕ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๗ มิถุนายน และ ๑๗ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๖๐๔ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท (ห้าพันล้านบาทถ้วน) (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๕/๒๓ มกราคม ๒๕๕๕
658748
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟู ฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕ ประกอบกับมาตรา ๒๔/๑ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่ครบกำหนดในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. ๒/๒๕๕๐ ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย) และวิธีการเสนอซื้อโดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑” (LB165A) จำนวน ๘,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท (แปดพันล้านบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อโดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยให้เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรรกระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยยกเว้นให้ ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับ โครงสร้างหนี้ ประเภทอัตรา ดอกเบี้ยลอยตัว (พ.ร.ก. ช่วยเหลือ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ (LB165A) อายุ ๔.๕๐ ปี อัตราดอกเบี้ย BIBOR ระยะ ๖ เดือน - ๐.๑๕ ต่อปี จำนวน ๘,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ๑๖ พ.ย. ๕๔ ๘,๐๐๐.๐๐ ๑๘ พ.ย. ๕๔ ๑๘ พ.ย. ๕๔ ๑๘ พ.ค. ๕๙ หมายเหตุ :- อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ จะประกาศในวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวคำนวณดอกเบี้ยจากราคาตราของพันธบัตรตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและส่วนต่าง (ถ้ามี) ตามที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดสำหรับพันธบัตรแต่ละรุ่น และแบ่งชำระดอกเบี้ยเป็นสัดส่วนของจำนวนงวดต่อปี เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง และจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม และ ๑๘ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป โดยไม่คำนวณดอกเบี้ยเพิ่มให้ โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๘,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท (แปดพันล้านบาทถ้วน) (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๔๙ ง/หน้า ๒๔/๘ ธันวาคม ๒๕๕๔
658746
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟู ฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕ ประกอบกับมาตรา ๒๔/๑ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่ครบกำหนดในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒” (LB176A) จำนวน ๑๕,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันล้านบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อโดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ตํ่ากว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อ ไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยยกเว้นให้ ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการ ปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒ (LB176A) อายุ ๕.๖ ปี อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ ๓.๒๕ ต่อปี จำนวน ๑๕,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ๙ พ.ย. ๕๔ ๑๕,๐๐๐.๐๐ ๑๑ พ.ย. ๕๔ ๑๑ พ.ย. ๕๔ ๑๖ มิ.ย. ๖๐ หมายเหตุ :- อัตราดอกเบี้ยจะประกาศในวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๒๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๖ มิถุนายน และ ๑๖ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้าย จะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๐ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๕,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันล้านบาทถ้วน) (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๔๙ ง/หน้า ๑๘/๘ ธันวาคม ๒๕๕๔
658744
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟู ฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕ ประกอบกับมาตรา ๒๔/๑ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่ครบกำหนดในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑” (LB193A) จำนวน ๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท (เก้าพันล้านบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อโดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ตํ่ากว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยยกเว้นให้ ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับ โครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ช่วยเหลือ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ (LB193A) อายุ ๗.๓๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๔๕ ต่อปี จำนวน ๙,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ๒ พ.ย. ๕๔ ๙,๐๐๐.๐๐ ๔ พ.ย. ๕๔ ๔ พ.ย. ๕๔ ๘ มี.ค. ๖๒ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๔๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๕ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๘ มีนาคม และ ๘ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๒ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท (เก้าพันล้านบาทถ้วน) (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๔๙ ง/หน้า ๑๓/๘ ธันวาคม ๒๕๕๔
658116
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ 30 กันยายน 2554 และรายการการกู้เงินและค้ำประกัน ระหว่างเดือนเมษายน 2554 ถึงเดือนกันยายน 2554
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ และรายการการกู้เงิน และค้ำประกัน ระหว่างเดือนเมษายน ๒๕๕๔ ถึงเดือนกันยายน ๒๕๕๔[๑] ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๑๖ วรรค ๒ กำหนดให้กระทรวงการคลังสรุปรายงานสถานะหนี้สาธารณะและประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายใน ๖๐ วันหลังจากสิ้นเดือนมีนาคมและเดือนกันยายนของทุกปี โดยรายงานดังกล่าวต้องแสดงหนี้สาธารณะที่เกิดจากการกู้เงินและค้ำประกัน ณ สิ้นเดือนดังกล่าว รวมทั้งรายการการกู้เงินและค้ำประกันที่เกิดขึ้นใหม่ในช่วงระยะเวลาระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม และเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน ตามลำดับ กระทรวงการคลังขอรายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ และรายการการกู้เงินและค้ำประกัน ระหว่างเดือนเมษายน ๒๕๕๔ ถึงเดือนกันยายน ๒๕๕๔ ดังนี้ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ มีจำนวน ๔,๔๔๘,๒๔๙.๘๗ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๔๑.๖๖ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) โดยแบ่งเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง จำนวน ๓,๑๘๑,๑๕๘.๘๙ ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน จำนวน ๑,๐๗๙,๗๐๓.๘๔ ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน จำนวน ๑๕๖,๙๔๑.๙๖ ล้านบาท และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวน ๓๐,๔๔๕.๑๘ ล้านบาท หนี้สาธารณะจำนวนดังกล่าวจำแนกตามอายุของหนี้เป็นหนี้ระยะยาว ๔,๒๗๙,๗๔๔.๑๘ ล้านบาท และหนี้ระยะสั้น ๑๖๘,๕๐๕.๖๙ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๙๖.๒๑ และร้อยละ ๓.๗๙ ตามลำดับ และจำแนกตามแหล่งที่มาเป็นหนี้ต่างประเทศ ๓๕๑,๑๓๕.๒๐ ล้านบาท และหนี้ในประเทศ ๔,๐๙๗,๑๑๔.๖๗ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๗.๘๙ และร้อยละ ๙๒.๑๑ ตามลำดับ รายละเอียดดังปรากฏตามตารางที่ ๑ ตารางที่ ๑ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ หน่วย : ล้านบาท รายการ ๓๐ ก.ย. ๒๕๕๔ % GDP ๑. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ๑.๑ หนี้ต่างประเทศ ๑.๒ หนี้ในประเทศ ๓,๑๘๑,๑๕๘.๘๙ ๔๖,๑๕๗.๘๐ ๓,๑๓๕,๐๐๑.๐๙ ๒๙.๗๙ ๒. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ๒.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน - หนี้ต่างประเทศ - หนี้ในประเทศ ๒.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน - หนี้ต่างประเทศ - หนี้ในประเทศ ๑,๐๗๙,๗๐๓.๘๔ ๕๒๗,๔๓๐.๖๑ ๑๗๑,๑๑๐.๓๓ ๓๕๖,๓๒๐.๒๘ ๕๕๒,๒๗๓.๒๓ ๑๒๗,๕๔๗.๑๑ ๔๒๔,๗๒๖.๑๒ ๑๐.๑๑ ๓. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐค้ำประกัน) ๓.๑ หนี้ต่างประเทศ ๓.๒ หนี้ในประเทศ ๑๕๖,๙๔๑.๙๖ ๖,๓๑๙.๙๖ ๑๕๐,๖๒๒.๐๐ ๑.๔๗ ๔. หนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ๔.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ๔.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ๓๐,๔๔๕.๑๘ ๓๐,๔๔๕.๑๘ - ๐.๒๙ ๕. หนี้องค์กรของรัฐอื่น ๕.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ๕.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน - - - ๐.๐๐ ๖. รวม ๑.+๒.+๓.+๔.+๕. ๔,๔๔๘,๒๔๙.๘๗ ๔๑.๖๖ หมายเหตุ - ๑. GDP ปี ๒๕๕๓ และประมาณการ GDP ปี ๒๕๕๔ เท่ากับ ๑๐,๑๐๔.๘๒ พันล้านบาท และ ๑๐,๘๖๗.๗๓ พันล้านบาท ตามลำดับ (สศช. ณ วันที่ ๒๒ ส.ค. ๒๕๕๔) ๒. สบน.ได้ปรับวิธีการคำนวณ GDP ในแต่ละเดือน เพื่อให้สัดส่วน Debt/GDP สะท้อนค่าใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด โดยได้คำนวณ GDP ของเดือนกันยายน ๒๕๕๔ ดังนี้ [(GDP ปี ๕๓/๑๒)*๓] + [(GDP ปี ๕๔/๑๒)*๙] เท่ากับ ๑๐,๖๗๗.๐๐ พันล้านบาท ๓. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นอัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อและขาย ณ วันทำการสุดท้ายของเดือน ๔. ตัวเลขในตารางเป็นตัวเลขเบื้องต้น (Preliminary) และไม่รวมหนี้ของ SPV จำนวน ๒๓,๙๙๙.๙๐ ล้านบาท ที่รัฐบาลมีภาระผูกพันต้องจ่ายภายใต้สัญญาเช่าพื้นที่อาคารสัญญาบริหารจัดหาเฟอร์นิเจอร์ และสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องของโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถ. แจ้งวัฒนะ ๑. รายการการกู้เงินและค้ำประกัน ระหว่างเดือนเมษายน ๒๕๕๔ ถึง เดือนกันยายน ๒๕๕๔ คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีได้จัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๔ เพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินการบริหารและจัดการหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ ประกอบด้วย ๔ แผนย่อย และได้ปรับปรุงแผนฯ ในระหว่างปีเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินกู้และบริหารหนี้ ซึ่งหลังการปรับปรุงแผนฯ ครั้งที่ ๒ ทำให้วงเงินรวมในแผนฯ ที่จะบริหารจัดการมีจำนวนทั้งสิ้น ๑,๓๙๗,๙๑๗.๓๖ ล้านบาท โดยในช่วงระหว่างเดือนเมษายน ๒๕๕๔ ถึง เดือนกันยายน ๒๕๕๔ กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการกู้เงินและบริหารหนี้แล้ว เป็นวงเงินทั้งสิ้น ๕๙๙,๔๖๘.๘๗ ล้านบาท ดังปรากฏตามตารางที่ ๒ ตารางที่ ๒ การกู้เงินและการบริหารหนี้ ระหว่างเดือนเมษายน ๒๕๕๔ ถึงเดือนกันยายน ๒๕๕๔ หน่วย : ล้านบาท รายการ วงเงินแผน ผลดำเนินงาน (เม.ย. - ก.ย. ๕๔) ร้อยละ ๑. แผนการก่อหนี้ใหม่ ๕๖๙,๒๒๔.๐๔ ๑๒๗,๗๓๒.๐๘ ๒๒.๔๔ ๑.๑ รัฐบาล ๑.๒ รัฐวิสาหกิจ ๔๘๓,๒๘๕.๗๑ ๘๕,๙๓๘.๓๓ ๙๕,๐๖๑.๔๖ ๓๒,๖๗๐.๖๓ ๑๙.๖๗ ๓๘.๐๒ ๒. แผนการปรับโครงสร้างหนี้ ๖๐๘,๙๐๐.๑๐ ๔๑๓,๙๓๗.๓๘ ๖๗.๙๘ ๒.๑ รัฐบาล ๒.๒ รัฐวิสาหกิจ ๕๐๑,๗๙๖.๕๖ ๑๐๗,๑๐๓.๕๔ ๓๔๑,๘๐๕.๔๘ ๗๒,๑๓๑.๙๐ ๖๘.๑๒ ๖๗.๓๕ ๓. แผนการบริหารความเสี่ยง ๘๐,๐๐๐.๐๐ ๑๖,๑๗๘.๐๗ ๒๐.๒๒ ๔. แผนการบริหารจัดการหนี้ของรัฐวิสาหกิจ ที่ไม่ต้องขออนุมัติภายใต้กรอบแผนฯ ๑๓๙,๗๙๓.๒๒ ๔๑,๖๒๑.๓๔ ๒๙.๗๗ ๔.๑ การก่อหนี้ใหม่ ๔.๒ การบริหารหนี้ ๓๔,๓๕๐.๐๐ ๑๐๕,๔๔๓.๒๒ ๒๗,๗๐๗.๓๙ ๑๓,๙๑๓.๙๕ ๘๐.๖๖ ๑๓.๒๐ รวม (๑ - ๓) ๑,๒๕๘,๑๒๔.๑๔ ๕๕๗,๘๔๗.๕๓ ๔๔.๓๔ รวม (๑ - ๔) ๑,๓๙๗,๙๑๗.๓๖ ๕๙๙,๔๖๘.๘๗ ๔๒.๘๘ ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ ๑.๑ แผนการก่อหนี้ใหม่ ประกอบด้วย ๑.๑.๑ การก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาล กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณรวมทั้งสิ้น ๘๗,๐๖๑.๔๖ ล้านบาท โดยออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวน ๔๐,๕๐๐.๐๐ ล้านบาท พันธบัตรออมทรัพย์จำนวน ๘๗๐.๔๖ ล้านบาท และตั๋วเงินคลังจำนวน ๔๕,๖๙๑.๐๐ ล้านบาท และได้ลงนามในสัญญาเงินกู้กับธนาคารออมสิน เพื่อนำไปให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยกู้ต่อ จำนวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๑.๒ การก่อหนี้ใหม่ของรัฐวิสาหกิจ จำแนกตามวัตถุประสงค์ของการกู้เงินได้ดังนี้ เงินกู้ในประเทศเพื่อทดแทนเงินกู้จากต่างประเทศ การไฟฟ้านครหลวงออกพันธบัตร วงเงิน ๓๐๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ ๑๐ โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน เงินกู้บาทสมทบโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ รัฐวิสาหกิจ ๒ แห่ง กู้เงินบาทสมทบ วงเงินรวม ๑,๓๖๘.๗๒ ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันทั้งหมด ได้แก่ (๑) การไฟฟ้านครหลวงออกพันธบัตร วงเงิน ๑,๓๐๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าฉบับที่ ๑๐ (๒) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคออกพันธบัตร วงเงิน ๖๘.๗๑๖ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๗ ส่วนที่ ๒ เงินกู้เพื่อลงทุน รัฐวิสาหกิจ ๔ แห่ง กู้เงินเพื่อลงทุนในโครงการ วงเงินรวม ๑๑,๖๓๑.๙๑๔ ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน วงเงิน ๖,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท และกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน วงเงิน ๕,๖๓๑.๙๑๔ ล้านบาท ได้แก่ (๑) การทางพิเศษแห่งประเทศไทยกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ วงเงินรวม ๑,๒๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางเชื่อมต่อโครงการทางพิเศษสายบางพลี - สุขสวัสดิ์ กับถนนวงแหวนอุตสาหกรรม จำนวน ๘๐๐.๐๐ ล้านบาท และดำเนินโครงการทางพิเศษสายบางพลี - สุขสวัสดิ์ (ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน) จำนวน ๔๐๐.๐๐ ล้านบาท (๒) การประปาส่วนภูมิภาคออกพันธบัตร วงเงินรวม ๑,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างและปรับปรุงประปาสาขาในจังหวัดต่าง ๆ (๓) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคออกพันธบัตร วงเงินรวม ๕,๖๓๑.๙๑๔ ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างและปรับปรุงเสริมระบบจำหน่ายระยะที่ ๖ จำนวน ๓๘.๔๑๗ ล้านบาท โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้าระยะที่ ๘ ส่วนที่ ๑ จำนวน ๙๑๖.๗๑๔ ล้านบาท โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้าระยะที่ ๘ ส่วนที่ ๒ จำนวน ๗๕๒.๘๕๒ ล้านบาท โครงการติดตั้งระบบศูนย์สั่งการจ่ายไฟระยะที่ ๒ จำนวน ๔๒๙.๐๔๖ ล้านบาท โครงการเพิ่มความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าระยะที่ ๒ จำนวน ๒๕๓.๙๔๒ ล้านบาท โครงการก่อสร้างระบบจำหน่ายด้วยสายเคเบิ้ลใต้น้ำไปยังเกาะที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว จำนวน ๔๖.๕๓๐ ล้านบาท โครงการก่อสร้างและปรับปรุงเสริมระบบจำหน่ายระยะที่ ๗ จำนวน ๑,๒๑๐.๔๓๔ ล้านบาท โครงการขยายเขตไฟฟ้าให้พื้นที่ทำกินทางการเกษตร จำนวน ๑๘๙.๗๒๔ ล้านบาท โครงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพระบบจำหน่าย ๑,๕๐๒.๒๕๒ ล้านบาท โครงการก่อสร้างระบบจำหน่ายด้วยสายเคเบิ้ลใต้น้ำไปยังเกาะต่าง ๆ จำนวน ๐.๐๔๗ ล้านบาท และโครงการเร่งรัดขยายระบบจำหน่ายไฟฟ้าให้ครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ จำนวน ๒๙๑.๙๕๖ ล้านบาท (๔) การรถไฟแห่งประเทศไทยกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ วงเงินรวม ๓,๘๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการปรับปรุงทางระยะที่ ๕ และระยะที่ ๖ เงินกู้เพื่อดำเนินกิจการทั่วไปและอื่น ๆ รัฐวิสาหกิจ ๗ แห่ง กู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องและดำเนินกิจการทั่วไป วงเงินรวม ๑๙,๓๖๙.๙๙ ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๑๗,๕๔๙.๙๙ ล้านบาท และกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน จำนวน ๑,๘๒๐.๐๐ ล้านบาท ได้แก่ (๑) การไฟฟ้านครหลวงกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ จำนวน ๑๘๖.๐๐ ล้านบาท เพื่อชดเชยมาตรการลดค่าครองชีพ โดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน (๒) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคออกพันธบัตรและกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ วงเงินรวม ๔,๓๓๑.๑๓๗ ล้านบาท เพื่อดำเนินกิจการปกติ จำนวน ๘๒๐.๐๐ ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน และเพื่อชดเชยมาตรการลดค่าครองชีพ จำนวน ๓,๕๑๑.๑๔ ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน (๓) การรถไฟแห่งประเทศไทยออกพันธบัตรและกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ วงเงินรวม ๖,๕๗๘.๘๖ ล้านบาท เพื่อชดเชยมาตรการลดค่าครองชีพ จำนวน ๓๐๐.๘๖ ล้านบาท และเพื่อบรรเทาการขาดสภาพคล่อง จำนวน ๖,๒๗๘.๐๐ ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังค้ำประกันทั้งหมด (๔) สำนักงานธนานุเคราะห์กู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ จำนวน ๑,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อดำเนินกิจการปกติ โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน (๕) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพออกพันธบัตรและกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ วงเงินรวม ๗,๒๗๔.๐๐ ล้านบาท เพื่อเป็นเงินกู้ค่าดอกเบี้ย จำนวน ๑,๘๖๕.๐๐ ล้านบาท เพื่อเป็นค่าน้ำมันและค่าเหมาซ่อม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๓ - ๒๕๕๔ จำนวน ๕,๔๐๙.๐๐ ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังค้ำประกันทั้งหมด ๑.๒ แผนการปรับโครงสร้างหนี้ ประกอบด้วย ๑.๒.๑ การปรับโครงสร้างหนี้ของรัฐบาล กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ของรัฐบาล รวมทั้งสิ้น ๓๔๑,๘๐๕.๔๘ ล้านบาท ดังนี้ หนี้เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ (๑) ตั๋วเงินคลัง : กระทรวงการคลัง Roll - over ตั๋วเงินคลังเพื่อบริหารดุลเงินสด วงเงิน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท และดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ ๒๕๔๒ - ๒๕๕๓ ทั้งหมดให้เป็นพันธบัตรวงเงิน ๗๔,๐๐๐ ล้านบาท (๒) พันธบัตรรัฐบาล : กระทรวงการคลังเดิมมีแผนจะ Roll – over พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนดชำระในช่วง ๖ เดือนหลังของปีงบประมาณ ๒๕๕๔ จำนวน ๘๗,๐๑๒.๘๖ ล้านบาท แต่ในระหว่างปีสามารถบริหารจัดการงบชำระหนี้ได้ จึงนำงบชำระหนี้ที่เหลือมาชำระคืนหนี้ที่ครบกำหนดบางส่วนจำนวน ๓๕,๐๑๒.๘๖ ล้านบาท และดำเนินการ Roll - over หนี้ที่เหลืออีกจำนวน ๕๒,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ หนี้เงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF กระทรวงการคลัง Roll - over พันธบัตร FIDF3 ที่ครบกำหนดชำระในช่วง ๖ เดือนหลังของปีงบประมาณ ๒๕๕๔ จำนวน ๓๗,๗๙๒.๖๒ ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้จำนวน ๒๙,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท และออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน ๘,๗๙๒.๖๒ ล้านบาท หนี้เงินกู้เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ กระทรวงการคลังดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจซึ่งเดิมเป็นสัญญาเงินกู้วงเงินรวม ๖๓,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ให้เป็นพันธบัตรรัฐบาล จำนวน ๒๓,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อจำนวน ๔๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ๑.๒.๒ การปรับโครงสร้างหนี้ของรัฐวิสาหกิจ : หนี้ในประเทศ รัฐวิสาหกิจ จำนวน ๗ แห่ง ดำเนินการกู้เงินเพื่อ Roll - over จำนวน ๕๒,๒๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังค้ำประกันทั้งหมด และชำระคืนหนี้เดิมที่มีแผนจะ Roll – over อีกจำนวน ๑๙,๙๓๑.๙๐ ล้านบาท ได้แก่ (๑) การเคหะแห่งชาติใช้เงินรายได้ จำนวน ๑,๕๐๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อชำระคืนหนี้ที่ครบกำหนด (๒) การทางพิเศษแห่งประเทศไทยกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ วงเงิน ๑,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อ Roll - over พันธบัตรที่ครบกำหนดชำระ และใช้เงินรายได้ จำนวน ๔๐๐.๐๐ ล้านบาท สมทบเพื่อชำระหนี้ที่ครบกำหนด (๓) การประปาส่วนภูมิภาคออกพันธบัตร วงเงิน ๑,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อ Roll - over พันธบัตรที่ครบกำหนดชำระ (๔) การรถไฟแห่งประเทศไทยออกพันธบัตร วงเงิน ๒,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อ Roll - over พันธบัตรที่ครบกำหนดชำระ (๕) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพออกพันธบัตรและกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ จำนวน ๑,๐๘๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อ Roll - over เงินกู้ที่ครบกำหนดชำระ และใช้รายได้จำนวน ๑.๙๐ ล้านบาท สมทบเพื่อชำระหนี้ที่ครบกำหนด (๖) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ จำนวน ๔๓,๑๒๐ ล้านบาท และใช้เงินรายได้ จำนวน ๑๘,๐๓๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อ Roll – over เงินกู้และพันธบัตรที่ครบกำหนดชำระ (๗) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ออกพันธบัตร จำนวน ๔,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อ Roll - over เงินกู้และพันธบัตรที่ครบกำหนดชำระ ๑.๓ แผนการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วย ๑.๓.๑ การบริหารความเสี่ยงหนี้ของรัฐบาล กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้ในประเทศก่อนครบกำหนดจำนวน ๖,๕๗๖.๕๒ ล้านบาท ทำให้สามารถลดภาระดอกเบี้ยได้ ๔๑๗.๒๕ ล้านบาท และดำเนินการชำระหนี้ต่างประเทศก่อนครบกำหนดจำนวน ๓,๙๕๐.๐๘ ล้านบาท ทำให้สามารถลดภาระดอกเบี้ยได้ ๕๑๓.๖๘ ล้านบาท ๑.๓.๒ การบริหารความเสี่ยงหนี้ของรัฐวิสาหกิจ โดยรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการชำระหนี้ในประเทศก่อนครบกำหนดจำนวน ๓,๔๖๔.๑๐ ล้านบาท ทำให้สามารถลดภาระดอกเบี้ยได้ ๓๐๒.๐๐ ล้านบาท และดำเนินการบริหารความเสี่ยงหนี้ต่างประเทศโดยการ Refinance หนี้สกุลเงินเยนเป็นสกุลเงินบาท จำนวน ๒,๑๘๗.๒๗ ล้านบาท ๑.๔ แผนการบริหารจัดการหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ต้องขออนุมัติภายใต้กรอบแผนฯ ๑.๔.๑ การก่อหนี้ใหม่ ประกอบด้วย (๑) เงินกู้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด : บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้กู้เงินเพื่อดำเนินโครงการสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ ๓ วงเงิน ๑๔,๗๐๗.๓๙ ล้านบาท (๒) เงินกู้ระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่องในรูป Credit line: การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการทำสัญญาเงินกู้วงเงินรวม ๑๓,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ๑.๔.๒ การบริหารหนี้ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินการ Roll - over หนี้เงินกู้ในประเทศที่ครบกำหนดชำระ จำนวน ๑๑,๔๘๗.๐๐ ล้านบาท และดำเนินการทำ Cross Currency Swap หนี้สกุลเงินบาทเป็นสกุลเงินเยน จำนวน ๒,๔๒๖.๙๕ ล้านบาท ๒. สรุปผลการดำเนินการตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ในช่วง ๖ เดือนหลังของปีงบประมาณ ๒๕๕๔ ๒.๑ จากผลการดำเนินงานที่กล่าวมาแล้ว ในช่วงระยะเวลา ๖ เดือนหลังของปีงบประมาณ ๒๕๕๔ (เมษายน ๒๕๕๔ - กันยายน ๒๕๕๔) กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการบริหารและจัดการหนี้สาธารณะตามกรอบแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๔ เป็นจำนวนทั้งสิ้น ๕๕๗,๘๔๗.๕๓ ล้านบาท โดยมีความก้าวหน้า คิดเป็นร้อยละ ๔๔.๓๔ ของแผนฯ ๒.๒ ผลการกู้เงินและบริหารจัดการหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องขออนุมัติภายใต้กรอบแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ในช่วง ๖ เดือนหลังของปีงบประมาณ ๒๕๕๔ รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินและบริหารหนี้รวมทั้งสิ้น ๔๑,๖๒๑.๓๔ ล้านบาท ๒.๓ จากการดำเนินการตามข้อ ๒.๑ และ ๒.๒ กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินและบริหารหนี้รวมทั้งสิ้น ๕๙๙,๔๖๘.๘๗ ล้านบาท แบ่งเป็นการกู้เงินใหม่ จำนวน ๑๕๕,๔๓๙.๔๗ ล้านบาท และการบริหารหนี้ จำนวน ๔๔๔,๐๒๙.๔๐ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๘๘ ของแผนฯ ทั้งนี้ การกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจจำนวน ๑๖๐,๐๗๕.๓๔ ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๗๖,๗๕๐.๐๐ ล้านบาท ไม่ค้ำประกัน จำนวน ๗๕,๕๐๕.๓๔ ล้านบาท และการกู้ต่อจากกระทรวงการคลังอีก จำนวน ๘,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ผลของการบริหารหนี้ที่ได้ดำเนินการทั้งในส่วนของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ วงเงินรวมทั้งสิ้น ๕๙๙,๔๖๘.๘๗ ล้านบาท นั้น สามารถลดยอดหนี้ได้ ทั้งสิ้น ๖๘,๙๓๕.๔๖ ล้านบาท รวมทั้งประหยัดดอกเบี้ยได้ จำนวน ๓,๘๑๖.๙๓ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- FIDF หมายถึง กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน FIDF1 หมายถึง พันธบัตรที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งรวมทั้งเงินกู้หรือตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุไม่เกิน ๑ ปี FIDF3 หมายถึง พันธบัตรที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕ Refinance หมายถึง การกู้เงินจากแหล่งใหม่เพื่อนำไปใช้คืนแหล่งเงินกู้เดิม ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการกู้เงิน Roll-over หมายถึง การกู้เงินใหม่เพื่อนำไปชำระเงินกู้ที่ครบกำหนดชำระ เพื่อให้เงินกู้ดังกล่าวมีระยะเงินกู้สอดคล้องกับระยะคืนทุน Swap หมายถึง การแปลงหนี้ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ ๒ วิธี คือ การแปลงสกุลเงิน เช่น การแปลงหนี้สกุลเงินเยนเป็นเงินบาท และการแปลงอัตราดอกเบี้ย เช่น การแปลงอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๔๔ ง/หน้า ๕/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
657125
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อรายย่อยพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อรายย่อยพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ข้อ ๑ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อรายย่อยพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔” อายุ ๓ ปี จำนวน ๔๕๘,๖๙๕,๐๐๐ บาท (สี่ร้อยห้าสิบแปดล้านหกแสนเก้าหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรนี้เป็นพันธบัตรชนิดออกในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตร และจดทะเบียนตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยวงเงินซื้อขั้นต่ำ ๑,๐๐๐ บาท และจำกัดวงเงินซื้อขั้นสูง ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ซื้อเพิ่มเป็นจำนวนเท่าของ ๑,๐๐๐ บาท โดยมีรายละเอียดการจำหน่ายดังนี้ ๒.๑ ผู้มีสิทธิ์ซื้อประกอบด้วย บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย สภากาชาดไทย มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ วัด สถานศึกษาของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐและนิติบุคคลอื่นใดที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร (ผู้ไม่มีสิทธิ์ซื้อ ประกอบด้วย ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บริษัทประกัน กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคลที่บริหารโดยสถาบันการเงิน กองทุนรวม คณะบุคคล บรรษัท สำนักงานประกันสังคม รัฐวิสาหกิจ บริษัท ห้างร้าน หน่วยงานธุรกิจ นิติบุคคลที่แสวงหากำไร นิติบุคคลอาคารชุด นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โรงพยาบาลเอกชน และสถานศึกษาเอกชน) ๒.๒ วันชำระเงินค่าพันธบัตรรัฐบาลเพื่อรายย่อยพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ และวันจดทะเบียน คือ วันที่ ๑๒ - ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ โดยมีผู้ซื้อที่เป็นบุคคลธรรมดา ๑,๐๓๖ ราย จำนวน ๔๕๕,๔๔๕,๐๐๐ บาท มูลนิธิ ๔ ราย จำนวน ๓,๐๕๐,๐๐๐ บาท และสหกรณ์ ๑ ราย จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งสิ้น ๑,๐๔๑ ราย จำนวนรวม ๔๕๘,๖๙๕,๐๐๐ บาท ข้อ ๓ ให้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดจำหน่ายพันธบัตรประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๔ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรุ่นนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกใบตราสารให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ทั้งนี้ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรสามารถฝากพันธบัตรไว้ที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ตั้งแต่วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป หากประสงค์จะดำเนินการเรื่องต่าง ๆ ให้เป็นไปตามพิธีปฏิบัติของบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ข้อ ๖ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรสามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันให้กับหน่วยงานราชการและองค์กรของรัฐ เช่น การประกันทางศาล หรือการประกันไฟฟ้า และสามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระเบียบหลักเกณฑ์การรับหลักประกันของหน่วยงานหรือบุคคลนั้น ๆ ข้อ ๗ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ต้องการโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรรุ่นนี้ก่อนกำหนดสามารถกระทำได้โดยไม่จำกัดประเภทบุคคล ตั้งแต่วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ยกเว้นการโอนกรรมสิทธิ์เพื่อเป็นหลักประกัน หรือโอนทางมรดก หรือการแบ่งทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการหย่า หรือล้มละลาย หรือการชำระบัญชี ให้กระทำได้หลังจากได้รับใบพันธบัตรแล้ว แต่จะกระทำในระหว่างระยะเวลา ๓๐ วัน ก่อนวันครบกำหนดชำระคืนต้นเงินมิได้ การโอนกรรมสิทธิ์ให้ปฏิบัติตามพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ พันธบัตรรุ่นนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๗๕ ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยปีละ ๒ งวด คือ ในวันที่ ๑๒ มีนาคม และ ๑๒ กันยายน ของทุกปี โดยจ่ายเป็นจำนวนเงินงวดละเท่า ๆ กัน จนกว่าพันธบัตรจะครบกำหนด ยกเว้นงวดแรก และงวดที่ ๒ จะคำนวณดอกเบี้ยโดยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน และนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ การคำนวณดอกเบี้ยหากมีเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะโอนดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากประจำ)ของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ฝากไว้ที่ธนาคารใดก็ได้ (ธนาคารในประเทศไทยเท่านั้น) ตามที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์แจ้งไว้ในคำเสนอขอซื้อพันธบัตร หรือตามที่มีการแจ้งเปลี่ยนแปลงต่อธนาคารแห่งประเทศไทยในภายหลัง หรือตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับแจ้งจากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์ฝากพันธบัตรไว้กับบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยในการโอนดอกเบี้ยเข้าบัญชี หากเป็นบัญชีเงินฝากของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เจ้าของบัญชีจะไม่ถูกหักค่าธรรมเนียมการโอนเงิน หากเป็นบัญชีเงินฝากของธนาคารอื่น ธนาคารเจ้าของบัญชีเงินฝากอาจหักค่าธรรมเนียมการโอนเงินตามอัตราที่แต่ละธนาคารประกาศหรือกำหนด การจ่ายดอกเบี้ยของพันธบัตรในแต่ละงวด จะจ่ายให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์โดยถือตามรายชื่อทางทะเบียน ณ วันทำการสุดท้ายของธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนถึงช่วงระยะเวลา ๓๐ วัน ก่อนวันถึงกำหนดชำระดอกเบี้ย หากวันครบกำหนดจ่ายดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป โดยไม่คำนวณดอกเบี้ยเพิ่มให้ ข้อ ๙ พันธบัตรรุ่นนี้ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๗ หากวันครบกำหนดไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไปโดยไม่คำนวณดอกเบี้ยเพิ่มให้ ข้อ ๑๐ การชำระต้นเงินตามพันธบัตร จะกระทำได้ต่อเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับคืนใบพันธบัตร หรือตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับแจ้งจากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์ฝากพันธบัตรไว้กับบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ข้อ ๑๑ กรณีที่มีการออกใบพันธบัตร มิให้ถือว่าพันธบัตรฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่นายทะเบียนโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๒ กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ดังนี้ ๑๒.๑ ค่าธรรมเนียมในการจัดจำหน่ายพันธบัตรในอัตราร้อยละ ๐.๐๐ ของมูลค่าพันธบัตรที่จำหน่ายได้ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ๑๒.๒ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมในการจัดจำหน่ายพันธบัตร ไม่เกินวงเงิน ๑๐ ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ข้อ ๑๓ กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยดังนี้ ๑๓.๑ ค่าธรรมเนียมในการเป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงินเกี่ยวกับพันธบัตร ในอัตราร้อยละ ๐.๑ ของดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ๑๓.๒ ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรตามที่จ่ายจริง ประกาศ ณ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง/หน้า ๓/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
656978
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๑ และมาตรา ๒๔/๑ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินจากสถาบันการเงิน ๒ แห่ง โดยวิธีการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน วงเงินรวม ๓๙,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ที่ครบกำหนดในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ภายใต้พระราชกำหนดข้างต้น โดยมีเงื่อนไขสำคัญดังนี้ ๑. ระยะเวลากู้เงิน ๕.๕๐ ปี นับตั้งแต่วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ๒. เบิกเงินกู้ทั้งจำนวน ไม่ก่อนวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ ๓. อัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดาของ ๔ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) เฉลี่ย ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นฐานในการคำนวณอัตราดอกเบี้ยเงินกู้บวกด้วยส่วนต่าง (Spread) โดยปรับอัตราดอกเบี้ยทุกงวด ๖ เดือน หากอัตราดอกเบี้ย FDR มีการเปลี่ยนแปลง การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรก ในวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ และชำระดอกเบี้ยงวดสุดท้ายในวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๐ มีรายละเอียดดังนี้ ลำดับที่ สถาบันการเงินผู้ให้กู้ วงเงินกู้ (ล้านบาท) อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละต่อปี) ๑ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ๕,๐๐๐ FDR + ๑.๒๒ ๒ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ๕,๐๐๐ FDR + ๑.๒๓ ๓ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ๕,๐๐๐ FDR + ๑.๒๖ ๔ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ๕,๐๐๐ FDR + ๑.๒๙ ๕ ธนาคารออมสิน ๕,๐๐๐ FDR + ๑.๓๐ ๖ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ๕,๐๐๐ FDR + ๑.๓๒ ๗ ธนาคารออมสิน ๕,๐๐๐ FDR + ๑.๓๒ ๘ ธนาคารออมสิน ๔,๐๐๐ FDR + ๑.๓๔ รวม ๓๙,๐๐๐ ๔. ตลอดเวลาที่สัญญายังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๓๐ เมษายน และ ๓๑ ตุลาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมต้นเงินกู้ ณ วันสิ้นสุดสัญญากู้เงิน หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป โดยไม่นับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวเข้ารวมเพื่อคำนวณดอกเบี้ยที่ถึงกำหนดชำระ ยกเว้นการชำระหนี้งวดสุดท้ายให้คำนวณดอกเบี้ยจนถึงวันก่อนวันชำระหนี้ ๕. กระทรวงการคลังสามารถชำระคืนต้นเงินกู้ก่อนครบกำหนดได้ทั้งจำนวนหรือบางส่วนก็ได้ โดยจะชำระค่าดอกเบี้ยคงค้างของหนี้เงินต้นที่ชำระคืนก่อนกำหนด พร้อมกับการชำระหนี้เงินต้นก่อนกำหนดนั้นด้วย โดยได้รับยกเว้นการคิดค่าธรรมเนียมใด ๆ ๖. หากวันครบกำหนดชำระต้นเงินกู้ตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๗. ไม่มีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใด ๆ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง/หน้า ๑๓/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
656976
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อให้กู้ต่อ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อให้กู้ต่อ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑[๑] เพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลัง ขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ และวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ ประกอบมาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ดำเนินการกู้เงิน โดยมีรายละเอียดและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ ๑. ผู้ให้กู้ : ธนาคารออมสิน ๒. วัตถุประสงค์ในการกู้ : เพื่อให้กู้ต่อสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงบางซื่อ - ท่าพระ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ๓. รายละเอียดเงื่อนไข : ๓.๑ ระยะเวลากู้เงิน ๔ ปี นับตั้งแต่วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ๓.๒ วงเงินกู้ จำนวน ๑๒,๓๐๓,๐๖๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นสองพันสามร้อยสามล้านหกหมื่นบาทถ้วน) แบ่งเป็น ๔ วงเงิน ดังนี้ วงเงินที่ ๑ จำนวน ๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สามพันล้านบาทถ้วน) วงเงินที่ ๒ จำนวน ๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สามพันล้านบาทถ้วน) วงเงินที่ ๓ จำนวน ๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สามพันล้านบาทถ้วน) วงเงินที่ ๔ จำนวน ๓,๓๐๓,๐๖๐,๐๐๐ บาท (สามพันสามร้อยสามล้านหกหมื่นบาทถ้วน) กระทรวงการคลังจะทยอยเบิกเงินกู้ นับตั้งแต่วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๔ จนถึงวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๖ โดยจะแจ้ง ผู้ให้กู้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๒ วันทำการ ๓.๓ อัตราดอกเบี้ย วงเงินที่ ๑ เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง บวกร้อยละ ๑.๒๓ ต่อปี วงเงินที่ ๒ เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง บวกร้อยละ ๑.๒๕ ต่อปี วงเงินที่ ๓ เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง บวกร้อยละ ๑.๒๗ ต่อปี วงเงินที่ ๔ เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง บวกร้อยละ ๑.๒๙ ต่อปี “อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง” หมายความว่า อัตราดอกเบี้ยต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา ของ ๔ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) (ธ.กรุงเทพฯ ธ.กรุงไทยฯ ธ.กสิกรไทยฯ และ ธ.ไทยพาณิชย์ฯ) เฉลี่ย ๗ วัน ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย “อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง” หมายความว่า อัตราดอกเบี้ยต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง (ธ.กรุงเทพฯ ธ.กรุงไทยฯ ธ.กสิกรไทยฯ และ ธ.ไทยพาณิชย์ฯ) ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ๓.๔ การชำระดอกเบี้ย กระทรวงการคลังจะชำระดอกเบี้ยเงินกู้ให้ ผู้ให้กู้ ทุกงวด ๖ เดือน ในวันที่ ๒๘ เมษายน และ ๒๘ ตุลาคม ของทุกปี โดยจะชำระดอกเบี้ยงวดแรก ในวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๕ และชำระดอกเบี้ยงวดสุดท้ายพร้อมต้นเงินกู้ ณ วันสิ้นสุดสัญญาเงินกู้ ซึ่งจะปรับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงทุกงวด ๖ เดือน หากมีการเปลี่ยนแปลง การชำระดอกเบี้ยงวดแรก กระทรวงการคลังจะใช้อัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดาของ ๔ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) เฉลี่ย ๗ วัน ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ก่อนวันประมูลเงินกู้ สำหรับการใช้อัตราดอกเบี้ยในงวดต่อ ๆ ไป จะใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเฉลี่ย ๗ วัน ก่อน ๒ วันทำการก่อนวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ย เพื่อใช้คำนวณดอกเบี้ยในช่วงระยะเวลา ๖ เดือนถัดมา ๓.๕ การชำระต้นเงิน กระทรวงการคลังจะชำระคืนต้นเงินกู้ทั้งจำนวน ณ วันสิ้นสุดสัญญากู้เงิน คือวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๘ ๓.๖ การชำระหนี้ก่อนกำหนด กระทรวงการคลังสามารถชำระคืนเงินกู้ก่อนครบกำหนดได้ทั้งจำนวนหรือบางส่วน โดยจะทยอยคืนหนี้เงินกู้ที่อัตราดอกเบี้ยสูงสุดก่อน ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะแจ้งให้ ผู้ให้กู้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓ วันทำการ ๓.๗ หากวันครบกำหนดชำระต้นเงินกู้ตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๓.๘ ไม่มีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใด ๆ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง/หน้า ๑๑/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
656974
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2554
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน บริษัทหลักทรัพย์ และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ วงเงิน ๑๒๕,๖๙๑ ล้านบาท มีรายละเอียดดังนี้ งวดที่ จำนวนเงิน(ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ(วัน) จำนวนเงินที่ประมูลได้(บาท) ส่วนลด (บาท) ๑/๓/๕๔ ๑๒๕,๖๙๑ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๔ ๓ ๑๒๕,๖๕๔,๕๕๘,๐๔๗.๒๘ ๓๖,๔๔๑,๙๕๒.๗๒ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียนเพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่ง ณ ต้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาล จำนวน ๑๕๔,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาจนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ จำนวน ๗๔,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาล จำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท อย่างไรก็ดี ในเดือนพฤษภาคม - กันยายน ๒๕๕๔ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล จำนวน ๗๔,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้มีวงเงินตั๋วเงินคลังคงเหลือจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท เมื่อรวมกับการดำเนินการออกตั๋วเงินคลังโดยใช้วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ จำนวน ๔๕,๖๙๑ ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นเดือนกันยายน ๒๕๕๔ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาล จำนวน ๑๒๕,๖๙๑ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง/หน้า ๙/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
656972
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 3
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ วงเงิน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ (LB14NA) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๖,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๓.๓๓ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี และจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ยกเว้นงวดแรกจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยชำระดอกเบี้ยปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๖ พฤษภาคม และ ๒๖ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๑.๔ อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เท่ากับร้อยละ ๓.๐๑๖๒๕ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ ๓.๑๖๖๒๕ ต่อปี ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ และวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ๘,๐๐๐ ๓.๖๒๕๖๖ ๗,๙๙๕,๖๔๕,๒๖๑.๕๐ (๔๖,๖๖๔,๘๙๘.๕๐) ๔๒,๓๑๐,๑๖๐ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๔ ๗,๐๐๐ ๓.๖๖๑๘๙ ๗,๐๓๕,๖๔๐,๙๒๙ (๓๓,๗๗๔,๑๕๑) ๖๙,๔๑๕,๐๘๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง/หน้า ๗/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
656320
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ประเภทอัตราดอกเบี้ยแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๕๒ และมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ข้อ ๑ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้กู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔” อายุ ๑๐ ปี จำนวน ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท (สี่หมื่นล้านบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรนี้เป็นพันธบัตรชนิดออกในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตร และจดทะเบียนตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยวงเงินซื้อขั้นต่ำ ๑๐๐,๐๐๐ บาท และซื้อเพิ่มเป็นจำนวนเท่าของ ๑๐๐,๐๐๐ บาท ไม่จำกัดวงเงินซื้อขั้นสูง โดยมีรายละเอียดการจำหน่ายดังนี้ ๒.๑ ผู้มีสิทธิ์ซื้อประกอบด้วย บุคคลธรรมดา และนิติบุคคลทุกประเภท ที่มีสถานที่ติดต่อในประเทศไทย และมีบัญชีเงินฝากในประเทศไทย ๒.๒ วันจำหน่ายพันธบัตรรุ่นนี้ คือวันที่ ๑๑ - ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ โดยกำหนดวันจดทะเบียนเป็นวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดผู้ถือกรรมสิทธิ์ดังนี้ ประเภทผู้ถือกรรมสิทธิ์ จำนวน (รายการ) จำนวนเงิน (ล้านบาท) ธนาคารพาณิชย์ในประเทศ ๕ ๒,๗๒๙.๓๐ ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ๓ ๑๖,๑๒๐.๓๐ บริษัทประกันภัย ๑ ๘๐.๐๐ บริษัทประกันชีวิต ๙ ๑๐,๓๙๐.๐๐ สถาบันการเงินอื่น ๑ ๔๐.๐๐ บริษัท ห้างหุ้นส่วน ๑๖ ๔๔.๓๐ กองทุนต่าง ๆ ๓๓ ๖,๒๔๐.๐๐ สหกรณ์ออมทรัพย์ ๑๓ ๑,๔๔๕.๐๐ ส่วนราชการสังกัดรัฐบาลกลาง ๗ ๖๖๔.๕๐ นิติบุคคลอื่น ๆ ๓ ๑๗.๖๐ มูลนิธิ ๒ ๘.๐๐ บุคคลธรรมดา ๑,๓๔๗ ๒,๒๒๑.๐๐ รวมทั้งสิ้น ๑,๔๔๐ ๔๐,๐๐๐.๐๐ ๒.๓ ให้ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่ายหลักให้กับผู้ลงทุนสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ร่วมจัดจำหน่ายพันธบัตรให้กับผู้ลงทุนรายย่อยในประเทศ ข้อ ๓ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรุ่นนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๔ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๕ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกใบตราสาร หรือนำฝากพันธบัตรรุ่นนี้เข้าบัญชีผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๖ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรสามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันให้กับหน่วยงานราชการและองค์กรของรัฐ เช่น การประกันทางศาล หรือการประกันไฟฟ้า และสามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระเบียบหลักเกณฑ์การรับหลักประกันของหน่วยงานหรือบุคคลนั้น ๆ ข้อ ๗ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ต้องการโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรรุ่นนี้สามารถกระทำได้หลังจากได้รับใบพันธบัตร หรือหลังจากได้รับการฝากเข้าบัญชีที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้ว แต่จะกระทำในระหว่างระยะเวลา ๑๐ วัน ก่อนวันครบกำหนดไถ่ถอนมิได้ การโอนกรรมสิทธิ์ให้ปฏิบัติตามพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ พันธบัตรรุ่นนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๒๐ ต่อปี และมีส่วนชดเชยเงินเฟ้อบนดอกเบี้ย และส่วนชดเชยเงินเฟ้อบนต้นเงิน โดยมีวิธีการคำนวณดอกเบี้ยและส่วนชดเชยดังนี้ (๑) ดอกเบี้ยหน้าตั๋วและส่วนชดเชยเงินเฟ้อบนดอกเบี้ย = ต้นเงิน x อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว x Index Ratio x จำนวนวันตามจริง/๓๖๕ (๒) ส่วนชดเชยเงินเฟ้อบนต้นเงิน (จ่าย ณ วันครบกำหนด) = ต้นเงิน x Index Ratio โดยที่ Index Ratio = CPI Ref CPI Issue CPI Ref = ดัชนีเงินเฟ้อทั่วไป ที่ใช้อ้างอิงในวันจ่ายดอกเบี้ย CPI Issue = ดัชนีเงินเฟ้อทั่วไป ที่ใช้อ้างอิงในวันออกพันธบัตร (วันที่ ๑๔ ก.ค. ๕๔ เท่ากับ ๑๑๒.๑๖๙๓๕) หมายเหตุ ใช้ดัชนีผู้บริโภคทั่วไปย้อนหลัง ๓ เดือนในการคำนวณ Index Ratio โดยกระทรวงการคลังจะประกาศ Index Ratio ประมาณ ๑ เดือน ก่อนวันจ่ายดอกเบี้ย การคำนวณดอกเบี้ยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๕ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๔ มกราคม และ ๑๔ กรกฎาคม ของทุกปี จนกว่าพันธบัตรจะครบกำหนด หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไปโดยไม่คำนวณดอกเบี้ยเพิ่มให้ ยกเว้น การชำระดอกเบี้ยงวดสุดท้ายในวันไถ่ถอนจะคำนวณดอกเบี้ยเพิ่มให้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะโอนดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากประจำ) ของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ฝากไว้ที่ธนาคารใดก็ได้ (ธนาคารในประเทศไทยเท่านั้น) ตามที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์แจ้งไว้ในคำเสนอขอซื้อพันธบัตร หรือตามที่มีการแจ้งเปลี่ยนแปลงต่อธนาคารแห่งประเทศไทยในภายหลัง หรือตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับแจ้งจากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์ฝากพันธบัตรไว้กับบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งในการโอนดอกเบี้ยเข้าบัญชี ธนาคารเจ้าของบัญชีเงินฝากอาจหักค่าธรรมเนียมการโอนเงินตามอัตราที่แต่ละธนาคารประกาศหรือกำหนด การจ่ายดอกเบี้ยของพันธบัตรในแต่ละงวด จะจ่ายให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์โดยถือตามรายชื่อทางทะเบียน ณ วันทำการสุดท้ายของธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนถึงช่วงระยะเวลา ๑๐ วัน ก่อนถึงกำหนดชำระดอกเบี้ย ข้อ ๙ พันธบัตรรุ่นนี้ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก ไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันครบกำหนดไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป ข้อ ๑๐ การชำระต้นเงินตามพันธบัตร จะกระทำได้ต่อเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับคืนใบพันธบัตร หรือตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับแจ้งจากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์ฝากพันธบัตรไว้กับบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ข้อ ๑๑ กรณีที่มีการออกใบพันธบัตร มิให้ถือว่าพันธบัตรฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่นายทะเบียนโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๒ กำหนดค่าธรรมเนียมในการจำหน่ายพันธบัตรในอัตราร้อยละ ๐.๐๕ ของวงเงินพันธบัตรที่จำหน่ายได้ ให้แก่ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด ในฐานะผู้จัดจำหน่ายหลัก และธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด จะเป็นผู้จัดสรรค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ต่อไป ข้อ ๑๓ กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้ ๑๓.๑ ค่าธรรมเนียมในการเป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงินเกี่ยวกับพันธบัตร ในอัตราร้อยละ ๐.๑ ของดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ๑๓.๒ ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรตามที่จ่ายจริง ประกาศ ณ วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๓ ง/หน้า ๑๖/๙ กันยายน ๒๕๕๔
656310
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 4
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ข้อ ๑ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔” อายุ ๓ ปี จำนวน ๗๘,๒๕๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดสิบแปดล้านสองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรนี้เป็นพันธบัตรชนิดออกในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตร และจดทะเบียนตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งหมื่นบาท โดยวงเงินซื้อขั้นต่ำ ๑๐,๐๐๐ บาท และจำกัดวงเงินซื้อขั้นสูง ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ซื้อเพิ่มเป็นจำนวนเท่าของ ๑๐,๐๐๐ บาท โดยมีรายละเอียดการจำหน่ายดังนี้ ๒.๑ ผู้มีสิทธิ์ซื้อประกอบด้วย บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย สภากาชาดไทย มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ วัด สถานศึกษาของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐ และนิติบุคคลอื่นใดที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร โดยต้องเป็นผู้ลงทะเบียนจองสิทธิ์ซื้อพันธบัตรที่ลงทะเบียนในงานมหกรรมการเงิน Money Expo โคราช 2011 ณ ห้อง MCC Hall ชั้น ๓ ห้างสรรพสินค้า เดอะมอลล์ จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ ๑๙ - ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ (ผู้ไม่มีสิทธิ์ซื้อ ประกอบด้วย ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บริษัทประกัน กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคลที่บริหารโดยสถาบันการเงิน กองทุนรวม คณะบุคคล บรรษัท สำนักงานประกันสังคม รัฐวิสาหกิจ บริษัท ห้างร้าน นิติบุคคลที่แสวงหากำไร นิติบุคคลอาคารชุด นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โรงพยาบาลเอกชน และสถานศึกษาเอกชน) ๒.๒ วันชำระเงินค่าพันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ และวันจดทะเบียนคือ วันที่ ๒๒ - ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ โดยมีผู้ซื้อที่เป็นบุคคลธรรมดา ๑๑๐ ราย จำนวน ๗๗,๗๐๐,๐๐๐ บาท และมูลนิธิ ๑ ราย จำนวน ๕๕๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งสิ้น ๑๑๑ ราย จำนวนรวม ๗๘,๒๕๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๓ ให้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดจำหน่ายพันธบัตรประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๔ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรุ่นนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกใบตราสารให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ทั้งนี้ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรสามารถฝากพันธบัตรไว้ที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เป็นต้นไป หากประสงค์จะดำเนินการเรื่องต่าง ๆ ให้เป็นไปตามพิธีปฏิบัติของบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ข้อ ๖ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรสามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันให้กับหน่วยงานราชการและองค์กรของรัฐ เช่น การประกันทางศาล หรือการประกันไฟฟ้า และสามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระเบียบหลักเกณฑ์การรับหลักประกันของหน่วยงานหรือบุคคลนั้น ๆ ข้อ ๗ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ต้องการโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรรุ่นนี้ก่อนกำหนดสามารถกระทำได้โดยไม่จำกัดประเภทบุคคล ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ยกเว้นการโอนกรรมสิทธิ์เพื่อเป็นหลักประกัน หรือโอนทางมรดก หรือการแบ่งทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการหย่า หรือล้มละลาย หรือการชำระบัญชี ให้กระทำได้หลังจากได้รับใบพันธบัตรแล้ว แต่จะกระทำในระหว่างระยะเวลา ๓๐ วัน ก่อนวันครบกำหนดชำระคืนต้นเงินมิได้ การโอนกรรมสิทธิ์ให้ปฏิบัติตามพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ พันธบัตรรุ่นนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๐๐ ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยปีละ ๒ งวด คือ ในวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ และ ๒๒ สิงหาคม ของทุกปี โดยจ่ายเป็นจำนวนเงินงวดละเท่า ๆ กันจนกว่าพันธบัตรจะครบกำหนด ยกเว้นงวดแรก และงวดที่ ๒ จะคำนวณดอกเบี้ยโดยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน และนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ การคำนวณดอกเบี้ยหากมีเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะโอนดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากประจำ) ของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ฝากไว้ที่ธนาคารใดก็ได้ (ธนาคารในประเทศไทยเท่านั้น) ตามที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์แจ้งไว้ในคำเสนอขอซื้อพันธบัตร หรือตามที่มีการแจ้งเปลี่ยนแปลงต่อธนาคารแห่งประเทศไทยในภายหลัง หรือตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับแจ้งจากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์ฝากพันธบัตรไว้กับบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งในการโอนดอกเบี้ยเข้าบัญชี ธนาคารเจ้าของบัญชีเงินฝากอาจหักค่าธรรมเนียมการโอนเงินตามอัตราที่แต่ละธนาคารประกาศหรือกำหนด การจ่ายดอกเบี้ยของพันธบัตรในแต่ละงวด จะจ่ายให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์โดยถือตามรายชื่อทางทะเบียน ณ วันทำการสุดท้ายของธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนถึงช่วงระยะเวลา ๓๐ วัน ก่อนวันถึงกำหนดชำระดอกเบี้ย หากวันครบกำหนดจ่ายดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป โดยไม่คำนวณดอกเบี้ยเพิ่มให้ ข้อ ๙ พันธบัตรรุ่นนี้ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๗ หากวันครบกำหนดไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไปโดยไม่คำนวณดอกเบี้ยเพิ่มให้ ข้อ ๑๐ การชำระต้นเงินตามพันธบัตร จะกระทำได้ต่อเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับคืนใบพันธบัตร หรือตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับแจ้งจากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์ฝากพันธบัตรไว้กับบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ข้อ ๑๑ กรณีที่มีการออกใบพันธบัตร มิให้ถือว่าพันธบัตรฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่นายทะเบียนโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๒ กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ดังนี้ ๑๒.๑ ค่าธรรมเนียมในการจัดจำหน่ายพันธบัตรในอัตราร้อยละ ๐.๐๐ ของมูลค่าพันธบัตรที่จำหน่ายได้ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ๑๒.๒ ค่าใช้จ่ายในการจัดส่งพันธบัตรให้กับผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามที่จ่ายจริง ๑๒.๓ ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ตามที่จ่ายจริง ไม่เกินวงเงินที่กระทรวงการคลังกำหนด ข้อ ๑๓ กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้ ๑๓.๑ ค่าธรรมเนียมในการเป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงินเกี่ยวกับพันธบัตร ในอัตราร้อยละ ๐.๑ ของดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ๑๓.๒ ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรตามที่จ่ายจริง ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๑๒/๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔
656308
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 9
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ วงเงิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ (LB616A) อายุ ๕๐.๓๒ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๓,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๔๙.๗๙ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๖๐๔ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๘๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๗ มิถุนายน และ ๑๗ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๔ กันยายน ๒๕๕๔ ๕,๐๐๐ ๔.๕๒๔๘ ๕,๓๘๐,๗๖๐,๑๗๐.๕๐ ๓๒๐,๓๐๑,๒๗๐.๕๐ ๖๐,๔๕๘,๙๐๐.๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๘/๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔
656306
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 8
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘ วงเงิน ๑๓,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ (LB21DA) อายุ ๑๑.๐๘ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๕๙,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๑๐.๒๘ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๗ มิถุนายน และ ๑๗ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ๑๓,๐๐๐ ๓.๕๕๘๘ ๑๓,๒๐๙,๓๒๓,๒๑๖.๓๐ ๑๐๐,๑๒๓,๒๑๖.๓๐ ๑๐๙,๒๐๐,๐๐๐.๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๖/๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔
656304
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 6
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๖[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๖ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๖ วงเงิน ๑๙,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ (LB316A) อายุ ๒๐.๖๒ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๑,๙๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๑๙.๙๓ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๗๔ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน และ ๒๐ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ สำนักงานประกันสังคม และบริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๔ และวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๖ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ๑๐,๐๐๐ ๔.๒๕๑๐ ๙,๒๒๙,๒๖๓,๕๘๘.๖๐ (๘๐๒,๗๓๖,๔๑๑.๔๐) ๓๒,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๔ ๙,๐๐๐ ๔.๑๒๗๙ ๘,๕๐๘,๐๐๘,๕๑๓.๘๐ (๕๗๗,๔๙๑,๔๘๖.๒๐) ๘๕,๕๐๐,๐๐๐.๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔/๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔
656298
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔[๑] ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๔ ได้กำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน ๒๕๕๔ โดยการออกตั๋วเงินคลัง งวด ๑/๓/๕๔ อายุ ๓ วัน จำนวน ๑๘๐,๐๐๐ ล้านบาท นั้น กระทรวงการคลังขอประกาศปรับลดวงเงินการจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ งวด ๑/๓/๕๔ อายุ ๓ วัน จำหน่ายวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๔ จากวงเงิน ๑๘๐,๐๐๐ ล้านบาท เป็นวงเงิน ๑๒๕,๖๙๑ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๑/๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔
656229
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 7
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗ วงเงิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re - open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ (LB416A) อายุ ๓๐.๖๕ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๗,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๒๙.๘๕ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวน ในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๘๔ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๐ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๔ มิถุนายน และ ๑๔ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ บริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๔ ๕,๐๐๐ ๔.๑๕๗๐ ๔,๗๒๘,๒๓๗,๕๐๐ (๓๐๔,๐๓๖,๔๕๐) ๓๒,๒๗๓,๙๕๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง/หน้า ๓๒/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔
656227
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลัง หากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง/หน้า ๒๘/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔
655663
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 (ครั้งที่ 3) วันที่ 9 กันยายน 2554
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๓) วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๔[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๒ อายุ ๕ ปี จำนวน ๔,๐๓๐.๕๒ ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๖๓ ต่อปี ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดจากธนาคารออมสิน ในวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๔ จำนวน ๑,๕๐๕ ล้านบาท ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดจากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ และดำเนินการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดเพิ่มเติมจากธนาคารออมสิน ในวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๔ จำนวน ๑,๕๒๕.๕๒ ล้านบาท ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดจากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ทำให้มีต้นเงินกู้คงเหลือจากการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว จำนวน ๑,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง ของประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๙ มีนาคม และวันที่ ๙ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๗ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๔ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๓) เป็นร้อยละ ๒.๓๘๓ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๒ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๓) สำหรับต้นเงินกู้คงเหลือจากการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน ๑,๐๐๐ ล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๓๘๓ ต่อปี เป็นร้อยละ ๓.๐๙๘ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๑๗/๒๗ กันยายน ๒๕๕๔
655659
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน ฯ พ.ศ. 2552) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ พ.ศ. ๒๕๕๒) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ พ.ศ. ๒๕๕๒) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ พ.ศ. ๒๕๕๒) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ (LB25DA) วงเงิน ๔๓,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุ ๑๕ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๘ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๒ มิถุนายน และ ๑๒ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ สำนักงานประกันสังคม และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการตั้งแต่วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ พ.ศ. ๒๕๕๒) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตรา ผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงินที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่ จำหน่าย (บาท) ๒๔ พ.ย. ๕๓ ๖,๐๐๐.๐๐ ๓.๗๙๘๕ ๖,๐๓๕,๒๗๗,๖๐๐.๐๐ ๓๕,๒๗๗,๖๐๐.๐๐ - ๑๒ ม.ค. ๕๔ ๖,๐๐๐.๐๐ ๔.๑๑๗๓ ๕,๘๔๓,๖๙๔,๙๒๓.๐๐ (๑๗๗,๑๘๙,๙๙๗.๐๐) ๒๐,๘๘๔,๙๒๐.๐๐ ๒๓ ก.พ. ๕๔ ๘,๐๐๐.๐๐ ๔.๑๘๖๐ ๗,๗๖๙,๐๘๙,๗๒๐.๐๐ (๒๙๔,๑๙๗,๙๖๐.๐๐) ๖๓,๒๘๗,๖๘๐.๐๐ ๒๗ เม.ย. ๕๔ ๘,๐๐๐.๐๐ ๓.๙๒๘๐ ๘,๐๔๗,๖๘๙,๑๓๐.๕๐ (๖๘,๗๖๐,๑๔๙.๕๐) ๑๑๖,๔๔๙,๒๘๐.๐๐ ๑๕ มิ.ย. ๕๔ ๘,๐๐๐.๐๐ ๓.๘๓๙๓ ๘,๐๑๓,๑๗๘,๙๖๑.๗๐ ๘,๙๕๙,๗๖๑.๗๐ ๔,๒๑๙,๒๐๐.๐๐ ๑๗ ส.ค. ๕๔ ๗,๐๐๐.๐๐ ๓.๗๐๕๗ ๗,๑๖๑,๐๑๘,๓๐๙.๔๐ ๑๑๐,๘๑๐,๑๐๙.๔๐ ๕๐,๒๐๘,๒๐๐.๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๑๕/๒๗ กันยายน ๒๕๕๔
654988
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 (ครั้งที่ 3) ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ 2 กันยายน 2554
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๓) ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๔[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๓) ให้กับธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท แบ่งเป็น ๓ วงเงิน คือ ๓,๕๐๐ ล้านบาท ๓,๕๐๐ ล้านบาท และ ๓,๐๐๐ ล้านบาท อายุ ๗ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๔๒ ต่อปี ร้อยละ ๑.๔๓ ต่อปี และร้อยละ ๑.๔๔ ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในวันที่ ๒ มีนาคม และวันที่ ๒ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๗๒ ต่อปี ร้อยละ ๐.๗๓ ต่อปี และร้อยละ ๐.๗๔ ต่อปี ตามลำดับ และเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๔ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๓) ให้กับธนาคารออมสินเป็นร้อยละ ๒.๒๓๓ ต่อปี ร้อยละ ๒.๒๔๓ ต่อปี และร้อยละ ๒.๒๕๓ ต่อปี ตามลำดับ เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๓) ให้กับธนาคารออมสินจากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๒๓๓ ต่อปี ร้อยละ ๒.๒๔๓ ต่อปี และร้อยละ ๒.๒๕๓ ต่อปี เป็นร้อยละ ๒.๘๗๖ ต่อปี ร้อยละ ๒.๘๘๖ ต่อปี และร้อยละ ๒.๘๙๖ ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๑/๗ กันยายน ๒๕๕๔
654896
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 5
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนด ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕ วงเงิน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ (LB21DA) อายุ ๑๑.๐๘ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๖,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๑๐.๔๕ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๗ มิถุนายน และ ๑๗ ธันวาคมของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ๑๒,๐๐๐ ๓.๙๒๒๒ ๑๑,๗๔๖,๖๖๘,๖๘๘.๒๐ (๒๗๘,๕๓๑,๓๑๑.๘๐) ๒๕,๒๐๐,๐๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๐ ง/หน้า ๑๐/๒ กันยายน ๒๕๕๔
654894
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 3
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนด ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ วงเงิน ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ (LB15DA) อายุ ๕.๓๒ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๑๓,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๔.๔๙ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๑๒๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๑ มิถุนายน และ ๑๑ ธันวาคมของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ และวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่ จำหน่าย (บาท) ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ ๒๐,๐๐๐ ๓.๕๗๗๒ ๑๙,๖๓๗,๖๘๑,๙๕๗.๑๐ (๓๗๒,๕๙๒,๐๔๒.๙๐) ๑๐,๒๗๔,๐๐๐ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๔ ๒๐,๐๐๐ ๓.๓๗๖๒ ๑๙,๙๐๙,๓๓๘,๔๒๑.๗๐ (๒๐๑,๙๖๒,๙๗๘.๓๐) ๑๑๑,๓๐๑,๔๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๐ ง/หน้า ๘/๒ กันยายน ๒๕๕๔
654892
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 (ครั้งที่ 2) ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ 18 สิงหาคม 2554
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท แบ่งเป็น ๒ วงเงิน วงเงินละ ๓,๐๐๐ ล้านบาท อายุ ๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๔๙ ต่อปี และ ๑.๕๐ ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๑๘ สิงหาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๗๙ ต่อปี และ ๐.๘๐ ต่อปี ตามลำดับ และเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารออมสินเป็นร้อยละ ๒.๓๐๓ ต่อปี และร้อยละ ๒.๓๑๓ ต่อปี ตามลำดับ เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารออมสินจากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๓๐๓ ต่อปี และร้อยละ ๒.๓๑๓ ต่อปี เป็นร้อยละ ๒.๙๔๖ ต่อปี และร้อยละ ๒.๙๕๖ ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๐ ง/หน้า ๗/๒ กันยายน ๒๕๕๔
654890
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 (ครั้งที่ 2) ให้กับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) วันที่ 18 สิงหาคม 2554
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จำนวน ๓,๐๐๐ ล้านบาท อายุ ๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๔๙ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๑๘ สิงหาคม ของทุกปีโดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดาเฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๗๙ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เป็นร้อยละ ๒.๓๐๓ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๓๐๓ ต่อปี เป็นร้อยละ ๒.๙๔๖ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๐ ง/หน้า ๖/๒ กันยายน ๒๕๕๔
654774
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดจากธนาคารออมสิน
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนด จากธนาคารออมสิน[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และตามข้อ ๓ วรรคสอง ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๒ จำนวน ๔,๐๓๐,๕๒๐,๐๐๐ บาท (สี่พันสามสิบล้านห้าแสนสองหมื่นบาทถ้วน) และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๑) ให้กับธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จำนวน ๖,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หกพันล้านบาทถ้วน) กระทรวงการคลังจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยที่เป็นการสมควรชำระคืนต้นเงินกู้ให้กับธนาคารออมสิน สำหรับตั๋วสัญญาใช้เงินตามประกาศกระทรวงการคลังทั้ง ๒ ฉบับ ดังกล่าว โดยกำหนดชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวนรวม ๒,๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองพันสามร้อยล้านบาทถ้วน) พร้อมชำระดอกเบี้ยงวดสุดท้าย ในวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดดังนี้ หมายเหตุ :- * คืออัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ๔ แห่ง ประกอบด้วยธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารกสิกรไทยฯ และธนาคารไทยพาณิชย์ฯ ส่วนต้นเงินกู้คงเหลือจากการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๑) จากธนาคารออมสิน ไถ่ถอนเฉพาะวงเงินที่ ๒ (FDR 6M+๐.๘๔) จำนวน ๑,๗๐๐ ล้านบาท (๓,๐๐๐ - ๑,๓๐๐) อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันซึ่งเป็นการปรับทุกงวด ๖ เดือน เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ เป็นร้อยละ ๒.๙๘๖ ต่อปี และร้อยละ ๒.๙๙๖ ต่อปี ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่แทนฉบับเดิมตามต้นเงินกู้คงเหลือดังกล่าว โดยได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินรุ่นดังกล่าวไปแล้วเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ ซึ่งมีผลคำนวณดอกเบี้ย ตั้งแต่วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๔ จนถึงวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑/๑ กันยายน ๒๕๕๔
654227
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 (ครั้งที่ 1) ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ 4 สิงหาคม 2554
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๑) ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๔[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๑) ให้กับธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท แบ่งเป็น ๒ วงเงิน วงเงินละ ๓,๐๐๐ ล้านบาท อายุ ๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๕๓ ต่อปี และ ๑.๕๔ ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๔ สิงหาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๓ ต่อปี และ ๐.๘๔ ต่อปี ตามลำดับ และเมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๑) ให้กับธนาคารออมสินเป็นร้อยละ ๒.๓๔๓ ต่อปี และร้อยละ ๒.๓๕๓ ต่อปี ตามลำดับ เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๑) ให้กับธนาคารออมสินจากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๓๔๓ ต่อปี และร้อยละ ๒.๓๕๓ ต่อปี เป็นร้อยละ ๒.๙๘๖ ต่อปี และร้อยละ ๒.๙๙๖ ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๙๗ ง/หน้า ๑๒/๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๔
653573
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 9
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙” จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท (ห้าพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ (LB616A) ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๓,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๔ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัดหรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ (LB616A) อายุคงเหลือ ๔๙.๗๙ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๘๕ ต่อปี จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท ๑๔ ก.ย. ๒๕๕๔ ๕,๐๐๐ ๑๖ ก.ย. ๒๕๕๔ ๑๗ มิ.ย. ๒๕๕๔ ๑๗ มิ.ย. ๒๖๐๔ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้ เป็น ๑๓,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๘๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๗ มิ.ย. ๒๕๕๔) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๔ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๗ มิถุนายน และ ๑๗ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๖๐๔ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๕๖/๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๔
653571
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 8
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘” จำนวน ๑๓,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นสามพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ (LB21DA) ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน ๔๖,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๕๙,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๔ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘ (LB21DA) อายุคงเหลือ ๑๐.๒๘ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี จำนวน ๑๓,๐๐๐ ล้านบาท ๗ ก.ย. ๒๕๕๔ ๑๓,๐๐๐ ๙ ก.ย. ๒๕๕๔ ๑๗ มิ.ย. ๒๕๕๔ ๑๗ ธ.ค. ๒๕๖๔ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๕๙,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๗ มิ.ย. ๒๕๕๔) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๔ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๗ มิถุนายน และ ๑๗ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๓,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๕๑/๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๔
653567
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 7
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗” จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท (ห้าพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ (LB416A) ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน ๒๒,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๗,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗ (LB416A) อายุคงเหลือ ๒๙.๘๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๐ ต่อปี จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท ๑๐ ส.ค. ๒๕๕๔ ๕,๐๐๐ ๑๕ ส.ค. ๒๕๕๔ ๑๔ มิ.ย. ๒๕๕๔ ๑๔ มิ.ย. ๒๕๘๔ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๗,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๐ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๔ มิ.ย. ๒๕๕๔) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๔ มิถุนายน และ ๑๔ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๘๔ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๔๖/๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๔
653565
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 6
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๖[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่ากระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๖” จำนวน ๑๙,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นเก้าพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ (LB316A) ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน ๒๒,๙๐๐ ล้านบาท ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๑,๙๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๔ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๖ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๖ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๖ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๖ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๖ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๖ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๖ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๖ (LB316A) อายุคงเหลือ ๑๙.๙๓ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี จำนวน ๑๙,๐๐๐ ล้านบาท ๒๐ ก.ค. ๒๕๕๔ ๒๑ ก.ย. ๒๕๕๔ ๑๐,๐๐๐ ๙,๐๐๐ ๒๒ ก.ค. ๒๕๕๔ ๒๓ ก.ย. ๒๕๕๔ ๒๐ มิ.ย. ๒๕๕๔ ๒๐ มิ.ย. ๒๕๕๔ ๒๐ มิ.ย. ๒๕๗๔ ๒๐ มิ.ย. ๒๕๗๔ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้ เป็น ๔๑,๙๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๒๐ มิ.ย. ๒๕๕๔) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๔ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๐ มิถุนายน และ ๒๐ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๗๔ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๙,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี ดำรง/ตรวจ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๔๑/๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๔
653563
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 3
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. ๒/๒๕๕๐ ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓” จำนวน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นห้าพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ (LB14NA) ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน ๓๑,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๖,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๔ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยให้เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตรา ดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ (LB14NA) อายุคงเหลือ ๓.๓๓ ปี อัตราดอกเบี้ย BIBOR ระยะ ๖ เดือน - ร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี จำนวน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท ๒๗ ก.ค. ๒๕๕๔ ๒๑ ก.ย. ๒๕๕๔ ๘,๐๐๐ ๗,๐๐๐ ๒๙ ก.ค. ๒๕๕๔ ๒๓ ก.ย. ๒๕๕๔ ๒๖ พ.ค. ๒๕๕๔ ๒๖ พ.ค. ๒๕๕๔ ๒๖ พ.ย. ๒๕๕๗ ๒๖ พ.ย. ๒๕๕๗ หมายเหตุ :- ๑. อัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาสำหรับช่วงวันชำระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) จะกำหนดในวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๔ และ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๔ ๒. อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เท่ากับร้อยละ ๓.๐๑๖๒๕ ต่อปี ๓. เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๖,๐๐๐ ล้านบาท หน้า ๔๐ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวคำนวณดอกเบี้ยจากราคาตราของพันธบัตรตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและส่วนต่าง (ถ้ามี) ตามที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดสำหรับพันธบัตรแต่ละรุ่น และแบ่งชำระดอกเบี้ยเป็นสัดส่วนของจำนวนงวดต่อปี เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้งและจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง (อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เท่ากับร้อยละ ๓.๐๑๖๒๕ ต่อปี) ชำระดอกเบี้ยงวดแรก ในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม และ ๒๖ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๓๖/๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๔
652520
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดจากธนาคารออมสิน
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนด จากธนาคารออมสิน[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๒ จำนวน ๔,๐๓๐.๕๒ ล้านบาท และตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดจากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับนี้ก่อนกำหนด ในวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๔ จำนวน ๑,๕๐๕ ล้านบาท ทำให้มีต้นเงินกู้คงเหลือจากการไถ่ถอน จำนวน ๒,๕๒๕.๕๒ ล้านบาท ทั้งนี้ ตามข้อ ๔ วรรคสอง ของประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการกู้เงิน ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๒ ดังกล่าว กระทรวงการคลังจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยที่เป็นการสมควรชำระคืนต้นเงินกู้ตั๋วสัญญาใช้เงินจากธนาคารออมสินบางส่วนจากวงเงินคงเหลือจำนวน ๒,๕๒๕.๕๒ ล้านบาท ตามประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ดังกล่าว โดยกำหนดชำระคืนต้นเงินกู้คงเหลือบางส่วน จำนวน ๑,๕๒๕.๕๒ ล้านบาท พร้อมชำระดอกเบี้ยงวดสุดท้าย ในวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดดังนี้ รายการ วงเงินต้น (ล้านบาท) ไถ่ถอน ก่อน กำหนด (ล้านบาท) ต้นเงินกู้ คงเหลือ (ล้านบาท) อายุ อัตรา ดอกเบี้ย งวดแรก (ร้อยละ ต่อปี) สถาบัน การเงิน ผู้ให้กู้ ปรับอัตรา ดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ย ที่ปรับครั้งล่าสุด ๙ มี.ค. ๕๔ วันครบ กำหนด ๑. ตั๋วสัญญาใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๓) ๒,๕๒๕.๕๒ ๑,๕๒๕.๕๒ ๑,๐๐๐ ๕ ปี ๑.๖๓ ธนาคาร ออมสิน FDR* ๖M+๐.๘๗ ๒.๓๘๓ (๑.๕๑๓+๐.๘๗) ๙ ก.ย. ๒๕๕๗ ๑,๕๒๕.๕๒ หมายเหตุ :- * คืออัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ระหว่าง วันที่ ๒๓ ก.พ. ๕๔ - ๑ มี.ค. ๕๔ ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ๔ แห่ง ประกอบด้วยธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารกสิกรไทยฯ และธนาคารไทยพาณิชย์ ฯ ส่วนต้นเงินกู้คงเหลือจากการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารออมสิน อีกจำนวน ๑,๐๐๐ ล้านบาท ตามข้อ ๔ วรรคสอง ของประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังจะดำเนินการปรับอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินทุก ๖ เดือน โดยจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินงวดถัดไปในวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๔ กระทรวงการคลังจะดำเนินการปรับอัตราดอกเบี้ยพร้อมทั้งออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่แทนฉบับเดิม ซึ่งมีผลคำนวณดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๔ จนถึงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๕ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๗/๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
652267
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อให้กู้ต่อ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อให้กู้ต่อ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑[๑] เพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ และวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ ประกอบมาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ดำเนินการกู้เงินโดยมีรายละเอียดและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ ๑. ผู้ให้กู้ : ธนาคารออมสิน ๒. วัตถุประสงค์ในการกู้ : เพื่อให้กู้ต่อสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงบางซื่อ - ท่าพระ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ๓. รายละเอียดเงื่อนไข : ๓.๑ ระยะเวลากู้เงิน ๔ ปี นับตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ๓.๒ วงเงินกู้ จำนวน ๘,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (แปดพันล้านบาทถ้วน) แบ่งเป็น ๒ วงเงิน ดังนี้ วงเงินที่ ๑ จำนวน ๔,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สี่พันล้านบาทถ้วน) วงเงินที่ ๒ จำนวน ๔,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สี่พันล้านบาทถ้วน) กระทรวงการคลังจะทยอยเบิกเงินกู้ นับตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ จนถึงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ โดยจะแจ้ง ผู้ให้กู้ ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๒ วันทำการ ๓.๓ อัตราดอกเบี้ย วงเงินที่ ๑ เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง บวกร้อยละ ๑.๒๙ ต่อปี วงเงินที่ ๒ เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง บวกร้อยละ ๑.๓๑ ต่อปี “อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง” หมายความว่า อัตราดอกเบี้ยต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง (ธ.กรุงเทพฯ ธ.กรุงไทยฯ ธ.กสิกรไทยฯ และ ธ.ไทยพาณิชย์ฯ) ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ๓.๔ การชำระดอกเบี้ย กระทรวงการคลังจะชำระดอกเบี้ยเงินกู้ให้ ผู้ให้กู้ ทุกงวด ๖ เดือน ในวันที่ ๓๐ พฤษภาคม และ ๓๐ พฤศจิกายน ของทุกปี โดยจะชำระดอกเบี้ยงวดแรก ในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ และชำระดอกเบี้ยงวดสุดท้าย ในวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ซึ่งจะปรับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงทุกงวด ๖ เดือน หากมีการเปลี่ยนแปลง การชำระดอกเบี้ยงวดแรก กระทรวงการคลังจะใช้อัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดาของ ๔ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) เฉลี่ย ๗ วัน ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ก่อนวันประมูลเงินกู้ สำหรับการใช้อัตราดอกเบี้ยในงวดต่อ ๆ ไป จะใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเฉลี่ย ๗ วัน ก่อน ๒ วันทำการก่อนวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยเพื่อใช้คำนวณดอกเบี้ยในช่วงระยะเวลา ๖ เดือนถัดมา ๓.๕ การชำระต้นเงิน กระทรวงการคลังจะชำระคืนต้นเงินกู้ให้ ผู้ให้กู้ งวดเดียวทั้งจำนวน ในวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ๓.๖ การชำระหนี้ก่อนกำหนด กระทรวงการคลังสามารถชำระคืนเงินกู้ก่อนครบกำหนดได้ทั้งจำนวนหรือบางส่วนโดยจะทยอยคืนหนี้เงินกู้ที่อัตราดอกเบี้ยสูงสุดก่อน ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะแจ้งให้ ผู้ให้กู้ทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า ๓ วันทำการ ๓.๗ หากวันครบกำหนดชำระต้นเงินกู้ตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๓.๘ ไม่มีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใด ๆ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๘๓ ง/หน้า ๑/๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔
651443
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ วงเงิน ๘,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ (LB14NA) อายุ ๔ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๓๑,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๓.๕๐ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปีและจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ยกเว้นงวดแรกจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยชำระดอกเบี้ยปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๖ พฤษภาคม และ ๒๖ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๑.๔ อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เท่ากับร้อยละ ๓.๐๑๖๒๕ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ ๓.๑๖๖๒๕ ต่อปี ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่ จำหน่าย (บาท) ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ๘,๐๐๐ ๓.๑๔๓๔๑ ๗,๙๖๓,๔๘๘,๕๒๔.๕๐ (๓๗,๑๗๒,๕๙๕.๕๐) ๖๖๑,๑๒๐.๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๑๑/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔
651440
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 4
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ วงเงิน ๖,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ (LB416A) อายุ ๓๐.๖๕ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๒,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๒๙.๙๙ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๘๔ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๐ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๔ มิถุนายน และ ๑๔ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตรา ผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๔ ๖,๐๐๐ ๔.๒๒๒๐ ๕,๕๗๗,๕๙๔,๘๐๑.๑๐ (๔๒๘,๖๕๑,๗๙๘.๙๐) ๖,๒๔๖,๖๐๐.๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๙/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔
651437
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ วงเงิน ๘,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ (LB316A) อายุ ๒๐.๖๒ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๒,๙๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๒๐.๑๐ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๗๔ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน และ ๒๐ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตรา ผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ๘,๐๐๐ ๔.๐๖๐๓ ๗,๖๗๓,๒๑๕,๕๕๒.๐๐ (๔๔๗,๕๘๔,๔๔๘.๐๐) ๑๒๐,๘๐๐,๐๐๐.๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๗/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔
651434
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ วงเงิน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ (LB21DA) อายุ ๑๑.๐๘ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๓๔,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๑๐.๖๑ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๗ มิถุนายน และ ๑๗ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตรา ผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ๑๐,๐๐๐ ๓.๘๙๒๑ ๙,๙๓๘,๖๓๔,๐๓๓.๕๐ (๒๐๘,๓๖๕,๙๖๖.๕๐) ๑๔๗,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๕/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔
651240
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 3
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ๑. กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓” อายุ ๓ ปี จำนวน ๓๓๓,๕๑๐,๐๐๐ บาท (สามร้อยสามสิบสามล้านห้าแสนหนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ๒. พันธบัตรนี้เป็นพันธบัตรชนิดออกในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตร และจดทะเบียนตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งหมื่นบาท โดยวงเงินซื้อขั้นต่ำ ๑๐,๐๐๐ บาท และจำกัดวงเงินซื้อขั้นสูง ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ซื้อเพิ่มเป็นจำนวนเท่าของ ๑๐,๐๐๐ บาท โดยมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำหน่ายและการถือครองดังนี้ ๒.๑ ผู้มีสิทธิ์ซื้อประกอบด้วย บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย สภากาชาดไทย มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ วัด สถานศึกษาของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐ และนิติบุคคลอื่นใดที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร โดยต้องเป็นผู้ลงทะเบียนจองสิทธิ์ซื้อพันธบัตรที่ลงทะเบียนในงานมหกรรมการเงินมันนี่ เอ็กซ์โป ครั้งที่ ๑๑ ณ อาคารชาเลนเจอร์ ๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๑๒ - ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๔ (ผู้ไม่มีสิทธิ์ซื้อ ประกอบด้วย ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บริษัทประกัน กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคลที่บริหารโดยสถาบันการเงิน กองทุนรวม คณะบุคคล บรรษัท สำนักงานประกันสังคม รัฐวิสาหกิจ บริษัท ห้างร้าน นิติบุคคลที่แสวงหากำไร นิติบุคคลอาคารชุด นิติบุคคล หมู่บ้านจัดสรร โรงพยาบาลเอกชน และสถานศึกษาเอกชน) ๒.๒ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ต้องการโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรรัฐบาลก่อนกำหนดสามารถกระทำได้โดยไม่จำกัดประเภทบุคคล ตั้งแต่วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ยกเว้นการโอนกรรมสิทธิ์เพื่อเป็นหลักประกัน หรือโอนทางมรดก หรือการแบ่งทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการหย่า หรือล้มละลายหรือการชำระบัญชี ให้กระทำได้หลังจากได้รับใบพันธบัตรแล้ว แต่กระทำในระหว่างระยะเวลา ๓๐ วัน ก่อนวันครบกำหนดชำระคืนต้นเงินมิได้ ๒.๓ ผู้ถือกรรมสิทธิ์สามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันให้กับหน่วยงานราชการและองค์กรของรัฐ เช่น การประกันทางศาล หรือการประกันไฟฟ้า และสามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่นได้ การโอนกรรมสิทธิ์ให้ปฏิบัติตามระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเป็นนายทะเบียนของธนาคารแห่งประเทศไทย การโอนกรรมสิทธิ์จะสมบูรณ์ เมื่อพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่นายทะเบียนโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรนั้นแล้ว ๓. วันชำระเงินค่าพันธบัตรออมทรัพย์ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ วันที่ ๑๘ - ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ และ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ โดยมีผู้ซื้อที่เป็นบุคคลธรรมดา ๕๐๓ ราย และมูลนิธิ ๓ ราย จำนวน ๓๓๓,๕๑๐,๐๐๐ บาท ๔. พันธบัตรรุ่นนี้ ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๗ หากวันครบกำหนดไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป ๕. พันธบัตรรุ่นนี้ มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๕๐ ต่อปี การชำระดอกเบี้ยให้ชำระแก่ผู้มีนามในพันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ ที่ได้จดทะเบียนไว้ หรือตามคำร้องขอของผู้มีนามในพันธบัตรฉบับนั้น ให้แบ่งชำระเงินเป็นสองงวดคือในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม และ ๑๘ พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นจำนวนเงินงวดละเท่า ๆ กันตลอดเวลาที่พันธบัตรยังมีอายุอยู่ ยกเว้นงวดแรกและงวดที่สองจะคำนวณดอกเบี้ยตามจำนวนวันที่ถือครองพันธบัตร สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรในวันที่ไถ่ถอนหากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป และให้ถือว่าหนึ่งปีมีสามร้อยหกสิบห้าวัน ทั้งนี้ การคำนวณดอกเบี้ยหากมีเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง การจ่ายดอกเบี้ยของพันธบัตรในแต่ละงวด จะจ่ายให้แก่ผู้มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรในทะเบียน ณ เวลาที่เริ่มต้นทำการในวันแรกแห่งระยะเวลา ๓๐ วัน ก่อนถึงกำหนดชำระดอกเบี้ย ๖. กระทรวงการคลังจะรับโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรนี้ไว้ก็ได้ โดยพันธบัตรที่กระทรวงการคลังรับโอนกรรมสิทธิ์ตามข้อนี้ให้ถือว่าเป็นพันธบัตรที่ชำระต้นเงินกู้คืนแล้ว ตั้งแต่วันรับโอนกรรมสิทธิ์ ๗. การชำระต้นเงินกู้ตามพันธบัตรประเภทนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรในกรณีที่มีการออกใบตราสาร หรือได้รับแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับคืนต้นเงินกู้จากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ในกรณีที่ไร้ใบตราสาร ๘. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดจำหน่ายพันธบัตรประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ๙. กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ดังนี้ ๙.๑ ค่าธรรมเนียมในการจัดจำหน่ายพันธบัตรในอัตราร้อยละ ๐.๐๐ ของมูลค่าพันธบัตรที่จำหน่ายได้ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ๙.๒ ค่าใช้จ่ายในการจัดส่งพันธบัตรให้กับผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามที่จ่ายจริง ๙.๓ ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ตามที่จ่ายจริง ไม่เกินวงเงินที่กระทรวงการคลังกำหนด ๑๐. ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรประเภทนี้และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ๑๑. กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยดังนี้ ๑๑.๑ ค่าธรรมเนียมในการเป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงินเกี่ยวกับพันธบัตรในอัตราร้อยละ ๐.๑ ของดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ๑๑.๒ ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรตามที่จ่ายจริง ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๒๒/๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔
651113
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 5
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนด ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนดในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕” จำนวน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นสองพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ (LB21DA) ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน ๓๔,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๖,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธ์ิหรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕ รุ่นพันธบัตร วันที่ จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระ เงิน วันเริ่ม คำนวณ ดอกเบี้ย วันครบ กำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล เพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕ (LB21DA) อายุคงเหลือ ๑๐.๔๕ ปี อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี จำนวน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท ๖ ก.ค. ๒๕๕๔ ๑๒,๐๐๐ ๘ ก.ค. ๒๕๕๔ ๑๗ มิ.ย. ๒๕๕๔ ๑๗ ธ.ค. ๒๕๖๔ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๖,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๗ มิ.ย. ๒๕๕๔) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๔ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๗ มิถุนายนและ ๑๗ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๒ ง/หน้า ๒๔/๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๔
651111
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 3
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนด ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนด ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓” จำนวน ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท (สี่หมื่นล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ (LB15DA) ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน ๗๓,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๑๓,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคล เพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัดหรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธ์ิหรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ รุ่นพันธบัตร วันที่ จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระ เงิน วันเริ่ม คำนวณ ดอกเบี้ย วันครบ กำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล เพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ (LB15DA) อายุคงเหลือ ๔.๔๙ ปี อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ ๓.๑๒๕ ต่อปี จำนวน ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท ๑๕ มิ.ย. ๒๕๕๔ ๑๐ ส.ค. ๒๕๕๔ ๒๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๑๗ มิ.ย. ๒๕๕๔ ๑๕ ส.ค. ๒๕๕๔ ๑๑ มิ.ย. ๒๕๕๔ ๑๑ มิ.ย. ๒๕๕๔ ๑๑ ธ.ค. ๒๕๕๘ ๑๑ ธ.ค. ๒๕๕๘ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๑๓,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๑๒๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๑ มิ.ย. ๒๕๕๔) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๑ มิถุนายน และ ๑๑ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๒ ง/หน้า ๑๙/๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๔
651109
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินระยะสั้นเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินระยะสั้นเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และมาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ๓ แห่ง เพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนด ในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขสำคัญสรุปได้ดังนี้ ๑. วงเงินกู้จำนวน ๓๒,๐๐๐ ล้านบาท โดยเบิกเงินกู้ทั้งจำนวน ในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ ตามรายละเอียดดังนี้ ลำดับ ที่ สถาบันการเงิน วงเงินกู้ (ล้านบาท) อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละต่อปี) ๑ ธนาคารออมสิน ๑๐,๐๐๐ ๓.๐๔๐ ๒ ธนาคารออมสิน ๑๐,๐๐๐ ๓.๐๖๐ ๓ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ๕,๐๐๐ ๓.๐๘๐ ๔ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ๗,๐๐๐ ๓.๐๙๐ รวมทั้งสิ้น ๓๒,๐๐๐ ๒. ระยะเวลาในการชำระคืนต้นเงินไม่เกิน ๓ เดือน โดยจะนำเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ และครั้งที่ ๕ มาทยอยชำระคืนภายในวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๔ ประกาศ ณ วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๒ ง/หน้า ๑๘/๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๔
651100
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 12
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๒ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๒ วงเงิน ๔,๕๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ (LB616A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๘,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๕๐.๐๕ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๖๐๔ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๘๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๗ มิถุนายน และ ๑๗ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๒ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตรา ผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่ จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่ จำหน่าย (บาท) ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ ๔,๕๐๐.๐๐ ๔.๗๔๘๗ ๔,๕๘๒,๘๖๖,๑๗๖.๐๐ ๘๗,๐๕๑,๘๐๖.๐๐ (๔,๑๘๕,๖๓๐.๐๐) หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๑ ง/หน้า ๑๐๗/๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๔
651098
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 11
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๑[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๑ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๑ วงเงิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ (LB416A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๓๐.๑๓ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๘๔ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๐ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๔ มิถุนายน และ ๑๔ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ สำนักงานประกันสังคม และบริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๑ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตรา ผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่ จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่ จำหน่าย (บาท) ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ๕,๐๐๐.๐๐ ๔.๒๗๒๓ ๔,๖๗๖,๖๓๖,๑๑๒.๒๐ (๓๙๗,๘๐๒,๒๓๗.๘๐) ๗๔,๔๓๘,๓๕๐.๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๑ ง/หน้า ๑๐๕/๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๔
651096
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 10
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๐[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๐ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๐ วงเงิน ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ (LB15DA) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๗๓,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๔.๖๒ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๑๒๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๑ มิถุนายน และ ๑๑ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ สำนักงานประกันสังคม และสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๐ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตรา ผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่ จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่ จำหน่าย (บาท) ๒๗ เมษายน ๒๕๕๔ ๑๖,๐๐๐.๐๐ ๓.๓๐๒๑ ๑๖,๐๗๐,๒๗๐,๖๑๒.๕๕ (๑๒๐,๑๔๐,๒๖๗.๔๕) ๑๙๐,๔๑๐,๘๘๐.๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๑ ง/หน้า ๑๐๓/๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๔
649983
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2554 และรายการการกู้เงินและค้ำประกัน ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนมีนาคม 2554
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ และรายการการกู้เงินและค้ำประกัน ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๓ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๕๔[๑] ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๑๖ วรรค ๒ กำหนดให้กระทรวงการคลังสรุปรายงานสถานะหนี้สาธารณะและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายใน ๖๐ วัน หลังจากวันสิ้นเดือนมีนาคมและเดือนกันยายนของทุกปี โดยรายงานดังกล่าวต้องแสดงหนี้สาธารณะที่เกิดจากการกู้เงินและค้ำประกัน ณ วันสิ้นเดือนดังกล่าว รวมทั้งรายการการกู้เงินและค้ำประกันที่เกิดขึ้นใหม่ในช่วงระยะเวลาระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม และเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน ตามลำดับ กระทรวงการคลังขอรายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ และรายการการกู้เงินและค้ำประกัน ซึ่งรวมทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๓ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ ดังนี้ ๑. รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ หนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ มีจำนวน ๔,๒๔๖,๑๑๔.๖๘ ล้านบาท หรือร้อยละ ๔๑.๒๘ ของ GDP ประกอบด้วย หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ๒,๙๘๘,๘๔๕.๓๙ ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ๑,๐๖๕,๘๗๒.๑๓ ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน ๑๖๐,๓๔๐.๒๗ ล้านบาท และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ๓๑,๐๕๖.๘๙ ล้านบาท ดังปรากฏตามตารางที่ ๑ หนี้สาธารณะจำนวนดังกล่าวจำแนกตามอายุของหนี้เป็นหนี้ระยะยาว ๔,๒๑๒,๑๐๗.๙๘ ล้านบาท และหนี้ระยะสั้น ๓๔,๐๐๖.๗๐ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๙๙.๒๐ และร้อยละ ๐.๘๐ ตามลำดับ และจำแนกตามแหล่งที่มาเป็นหนี้ต่างประเทศ ๓๕๐,๓๓๑.๘๘ ล้านบาท และหนี้ในประเทศ ๓,๘๙๕,๗๘๒.๘๐ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๘.๒๕ และร้อยละ ๙๑.๗๕ ตามลำดับ ตารางที่ ๑ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ หน่วย : ล้านบาท รายการ ๓๑ มี.ค ๕๔ % GDP ๑. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ๑.๑ หนี้ต่างประเทศ ๑.๒ หนี้ในประเทศ ๒,๙๘๘,๘๔๕.๓๙ ๕๓,๓๑๑.๖๕ ๒,๙๓๕,๕๓๓.๗๔ ๒๙.๐๕ ๒. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ๒.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน - หนี้ต่างประเทศ - หนี้ในประเทศ ๒.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน - หนี้ต่างประเทศ - หนี้ในประเทศ ๑,๐๖๕,๘๗๒.๑๓ ๕๐๘,๖๘๙.๕๒ ๑๕๙,๗๐๐.๘๒ ๓๔๘,๙๘๘.๗๐ ๕๕๗,๑๘๒.๖๑ ๑๓๐,๘๙๑.๑๔ ๔๒๖,๒๙๑.๔๗ ๑๐.๓๖ ๓. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐค้ำประกัน) ๓.๑ หนี้ต่างประเทศ ๓.๒ หนี้ในประเทศ ๑๖๐,๓๔๐.๒๗ ๖,๔๒๘.๒๗ ๑๕๓,๙๑๒.๐๐ ๑.๕๖ ๔. หนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ๔.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ๔.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ๓๑,๐๕๖.๘๙ ๓๐,๔๔๕.๑๘ ๖๑๑.๗๑ ๐.๓๐ ๕. หนี้องค์กรของรัฐอื่น - ๕.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน - ๕.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน - - - - ๖. รวม ๑.+๒.+๓.+๔.+๕. ๔,๒๔๖,๑๑๔.๖๘ ๔๑.๒๘ หมายเหตุ :- ๑. ประมาณการ GDP ปี ๒๕๕๓ และ ๒๕๕๔ เท่ากับ ๑๐,๑๐๓.๐๐ พันล้านบาท และ ๑๐,๘๔๐.๕๐ พันล้านบาท ตามลำดับ (ที่มา : สศช.) ๒. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นอัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อและขาย ณ วันสุดท้ายของเดือน ๒. รายการการกู้เงินและค้ำประกัน ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๓ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีได้จัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๔ เพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินการบริหารและจัดการหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ ประกอบด้วย ๓ แผนย่อย และได้ปรับปรุงแผนฯ ในระหว่างปี เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินกู้ การปรับโครงสร้างหนี้ และการบริหารความเสี่ยง ซึ่งหลังการปรับปรุงแผนฯ ครั้งที่ ๑ ทำให้วงเงินรวมในแผนฯ ที่จะบริหารจัดการมีจำนวนทั้งสิ้น ๑,๒๙๑,๕๐๔.๒๗ ล้านบาท โดยในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๓ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการก่อหนี้ใหม่ การปรับโครงสร้างหนี้และการบริหารความเสี่ยงแล้วเป็นวงเงินทั้งสิ้น ๕๑๖,๗๙๒.๒๓ ล้านบาท ดังปรากฏตามตารางที่ ๒ ตารางที่ ๒ การกู้เงินและการบริหารหนี้ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๓ - เดือนมีนาคม ๒๕๕๔ หน่วย : ล้านบาท รายการ แผน ผลการดำเนินการ I. แผนการก่อหนี้ใหม่ ๖๐๒,๖๐๔.๑๗ ๒๐๐,๒๒๐.๓๕ II. แผนการปรับโครงสร้างหนี้ ๖๐๘,๙๐๐.๑๐ ๓๑๕,๖๙๖.๘๘ III. แผนการบริหารความเสี่ยง ๘๐,๐๐๐.๐๐ ๘๗๕.๐๐ รวม ๑,๒๙๑,๕๐๔.๒๗ ๕๑๖,๗๙๒.๒๓ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ I. การก่อหนี้ใหม่ (วงเงินรวม ๒๐๐,๒๒๐.๓๕ ล้านบาท) ๑. รัฐบาล (วงเงิน ๑๘๕,๘๙๔.๗๖ ล้านบาท) ๑.๑ การก่อหนี้ในประเทศ (๑) กระทรวงการคลังได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ วงเงินรวม ๑๑๖,๗๐๔.๕๘ ล้านบาท โดยออกพันธบัตรรัฐบาล ๙ รุ่น จำนวน ๙๓,๕๐๐.๐๐ ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ๒ รุ่น จำนวน ๒๓,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท และพันธบัตรออมทรัพย์ ๒ รุ่น จำนวน ๒๐๔.๕๘ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังได้กู้เงินจากสถาบันการเงิน วงเงินรวม ๕๙,๙๖๐.๔๔ ล้านบาท ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ จำนวน ๒ ครั้ง ครั้งที่ ๑ จำนวน ๓๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท และครั้งที่ ๒ จำนวน ๒๙,๙๖๐.๔๔ ล้านบาท ๑.๒ การก่อหนี้ต่างประเทศ กระทรวงการคลังได้ลงนามสัญญาเงินกู้กับธนาคารพัฒนาเอเชีย วงเงิน ๙,๒๒๙.๗๔ ล้านบาท หรือเทียบเท่า ๓๐๐.๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ๑.๓ กู้มาให้กู้ต่อ กระทรวงการคลังไม่มีการดำเนินการกู้มาเพื่อให้รัฐวิสาหกิจกู้ต่อ ทั้งในส่วนของเงินกู้ในประเทศและเงินกู้ต่างประเทศ ในช่วงเดือนตุลาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ๒. รัฐวิสาหกิจ (วงเงิน ๑๔,๓๒๕.๕๙ ล้านบาท) ๒.๑ การก่อหนี้ในประเทศ รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการกู้เงินในประเทศ วงเงินรวม ๑๔,๓๒๕.๕๙ ล้านบาท โดยเป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๑๑,๗๗๕.๕๙ ล้านบาท ไม่ค้ำประกัน จำนวน ๒,๕๕๐.๐๐ ล้านบาท ดังนี้ (๑) เงินกู้ในประเทศทดแทนเงินกู้จากต่างประเทศ รัฐวิสาหกิจไม่มีการลงนามสัญญาเงินกู้ในช่วงเดือนตุลาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ (๒) เงินกู้เงินบาทสมทบโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ วงเงินรวม ๓๕.๗๕ ล้านบาท - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร จำนวน ๓๕.๗๕ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๖ ส่วนที่ ๑ (๓) เงินกู้เพื่อลงทุน วงเงินรวม ๒,๔๙๔.๒๕ ล้านบาท - การเคหะแห่งชาติได้กู้เงินจากธนาคารออมสิน จำนวน ๗๕๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ ๔ และระยะที่ ๕ - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๑,๗๔๔.๒๕ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างและปรับปรุงเสริมระบบจำหน่าย ระยะที่ ๖ จำนวน ๗๘.๕๒ ล้านบาท โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๘ ส่วนที่ ๒ จำนวน ๖๕.๒๓ ล้านบาท โครงการติดตั้งศูนย์สั่งการจ่ายไฟ ระยะที่ ๒ จำนวน ๑๗๖.๒๖ ล้านบาท โครงการเพิ่มความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า ระยะที่ ๒ จำนวน ๒๕.๐๐ ล้านบาท โครงการก่อสร้างระบบจำหน่ายด้วยสายเคเบิ้ลใต้น้ำไปยังเกาะที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว (เกาะลิบง เกาะสุกร เกาะมุกต์ จังหวัดตรัง) จำนวน ๑๖๒.๑๕ ล้านบาท โครงการก่อสร้างและปรับปรุงเสริมระบบจำหน่าย ระยะที่ ๗ จำนวน ๕๔๕.๘๓ ล้านบาท โครงการขยายเขตไฟฟ้าให้พื้นที่ทำกินทางการเกษตร จำนวน ๔๒.๒๑ ล้านบาท และโครงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพระบบจำหน่าย จำนวน ๖๔๙.๐๕ ล้านบาท (๔) เงินกู้เพื่อดำเนินกิจการทั่วไปและอื่น ๆ วงเงินรวม ๑๑,๗๙๕.๕๙ ล้านบาท - การประปานครหลวงได้กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน ๓๙๒.๐๖ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อชดเชยมาตรการลดค่าครองชีพ ระยะที่ ๖ - การประปาส่วนภูมิภาคได้กู้เงินจากธนาคารออมสิน จำนวน ๘๑๐.๒๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อชดเชยมาตรการลดค่าครองชีพ ระยะที่ ๒ และระยะที่ ๓ - การไฟฟ้านครหลวงได้กู้เงินจากธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) วงเงินรวม ๘๙๑.๘๕ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อชดเชยมาตรการลดค่าครองชีพ ระยะที่ ๓ และระยะที่ ๕ - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) วงเงินรวม ๖,๕๘๘.๘๖ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อชดเชยมาตรการลดค่าครองชีพ ระยะที่ ๓ และระยะที่ ๕ และได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร จำนวน ๗๗๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน เพื่อดำเนินงานปกติ - การรถไฟแห่งประเทศไทยได้กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน ๔๗๘.๒๗ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อชดเชยมาตรการลดค่าครองชีพระยะที่ ๕ - องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพได้กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) วงเงินรวม ๑,๘๖๔.๓๕ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อชดเชยมาตรการลดค่าครองชีพ ระยะที่ ๓ และระยะที่ ๕ ๒.๒ การก่อหนี้ต่างประเทศ รัฐวิสาหกิจไม่มีการดำเนินการก่อหนี้ต่างประเทศ ในช่วงเดือนตุลาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ II. การปรับโครงสร้างหนี้ (วงเงินรวม ๓๑๕,๖๙๖.๘๘ ล้านบาท) ๑. รัฐบาล (วงเงิน ๒๘๓,๘๒๑.๓๗ ล้านบาท) ๑.๑ การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ (๑) หนี้เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ กระทรวงการคลังมีตั๋วเงินคลังคงค้างรวม ๑๕๔,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ซึ่งเป็นตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารดุลเงินสด วงเงิน ๘๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท และเป็นตั๋วเงินคลังที่กู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาจนถึงสิ้นปีงบประมาณ ๒๕๕๓ วงเงิน ๗๔,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยในช่วง ๖ เดือนแรกของปีงบประมาณ กระทรวงการคลังได้ใช้เงินคงคลัง จำนวน ๑๔๑,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ทยอยไถ่ถอนตั๋วเงินคลังที่ครบกำหนด ทำให้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ มีตั๋วเงินคลังหมุนเวียนในตลาดเท่ากับ ๑๓,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังมีแผนที่จะทยอยไถ่ถอนตั๋วเงินคลังทั้งหมดในช่วงเดือนเมษายน - เดือนมิถุนายน ๒๕๕๔ หลังจากนั้น ในช่วงปลายปีงบประมาณ กระทรวงการคลังจะดำเนินการออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวน ๗๔,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อนำไปใช้คืนเงินคงคลัง และออกตั๋วเงินคลังเพื่อบริหารดุลเงินสด วงเงิน ๘๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท อีกครั้ง (๒) หนี้เงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF พันธบัตร FIDF 1 - กระทรวงการคลังได้ Roll-over พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษปีงบประมาณ ๒๕๔๒ พันธบัตรเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ปีงบประมาณ ๒๕๔๓ ครั้งที่ ๒ และพันธบัตรเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ปีงบประมาณ ๒๕๔๖ ครั้งที่ ๒ ที่ครบกำหนดไถ่ถอนเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๔ วงเงินรวม ๓๙,๘๓๖.๐๐ ล้านบาท โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ อายุ ๕ ปี ให้แก่ธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ สาขากรุงเทพฯ จำนวน ๑๓,๒๓๒.๐๐ ล้านบาท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน ๒๕,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จำนวน ๑,๖๐๔.๐๐ ล้านบาท พันธบัตร FIDF 3 - กระทรวงการคลังได้ Roll-over พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษปีงบประมาณ ๒๕๔๗ ที่ครบกำหนดไถ่ถอนเมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๔ วงเงินรวม ๓๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยการกู้เงินระยะสั้นเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ จากธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ สาขากรุงเทพฯ จำนวน ๔,๒๖๘.๐๐ ล้านบาท ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน ๓,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน ๑๒,๗๓๒.๐๐ ล้านบาท สมทบกับเงินทดรองจ่ายจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง จำนวน ๑๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท จากนั้นทยอยออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ จำนวน ๓๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อมาชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นและเงินยืมจากบัญชีเงินฝากฯ - กระทรวงการคลังได้ Roll-over พันธบัตรออมทรัพย์ ปีงบประมาณ ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ ที่ครบกำหนดไถ่ถอนเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ วงเงิน ๒,๐๐๐.๐๐ ล้านบาทโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินกับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) - กระทรวงการคลังได้ยืมเงินทดรองจ่ายจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง จำนวน ๓,๓๘๕.๓๗ ล้านบาท เพื่อนำมาไถ่ถอนพันธบัตรออมทรัพย์ ปีงบประมาณ ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๔ ที่ครบกำหนดเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๔ วงเงิน ๒,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท และพันธบัตรออมทรัพย์ ปีงบประมาณ ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๖ ที่ครบกำหนดเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๔ วงเงิน ๑,๓๘๕.๓๗ ล้านบาท จากนั้นจะดำเนินการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ ในช่วงเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔ เพื่อใช้คืนเงินยืมจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง (๓) หนี้เงินกู้เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ วงเงินรวม ๕๔,๖๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ จำนวน ๒๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ออกตั๋วสัญญาใช้เงินอายุ ๑๒ ปี จำนวน ๑๘,๙๐๐.๐๐ ล้านบาท และออกตั๋วสัญญาใช้เงินอายุ ๑๘ ปี จำนวน ๑๕,๗๐๐.๐๐ ล้านบาท ๑.๒ การปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศ กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจไม่มีการปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศตามแผนงาน ในช่วงเดือนตุลาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ๒. รัฐวิสาหกิจ (วงเงิน ๓๑,๘๗๕.๕๑ ล้านบาท) ๒.๑ การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ วงเงินรวม ๓๑,๘๗๕.๕๑ ล้านบาท โดยเป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๒๐,๗๑๒.๗๗ ล้านบาท และการชำระคืนหนี้ จำนวน ๑๑,๑๖๒.๗๔ ล้านบาท ดังนี้ (๑) การเคหะแห่งชาติได้บริหารและจัดการหนี้ วงเงินรวม ๕,๕๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยการชำระหนี้เงินกู้ก่อนครบกำหนด จำนวน ๑,๕๐๐.๐๐ ล้านบาท และชำระหนี้ตามกำหนด โดยใช้เงินรายได้ จำนวน ๔,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท (๒) การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้บริหารและจัดการหนี้ วงเงินรวม ๕,๐๖๙.๕๐ ล้านบาท โดยการ Roll-over หนี้ที่ครบกำหนดชำระคืน จำนวน ๓,๕๐๐.๐๐ ล้านบาท และชำระหนี้ตามกำหนดโดยใช้เงินรายได้ จำนวน ๑,๕๖๙.๕๐ ล้านบาท (๓) การประปาส่วนภูมิภาคได้บริหารและจัดการหนี้ วงเงิน ๘๕๐.๐๐ ล้านบาท โดยการ Roll-over หนี้ที่ครบกำหนดชำระคืน (๔) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้บริหารและจัดการหนี้ วงเงินรวม ๒,๕๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยการ Roll-over หนี้ที่ครบกำหนดชำระคืน จำนวน ๑,๗๘๓.๗๗ ล้านบาท และชำระหนี้ตามกำหนด โดยใช้เงินรายได้ จำนวน ๗๑๖.๒๓ ล้านบาท (๕) การรถไฟแห่งประเทศไทยได้บริหารและจัดการหนี้ วงเงินรวม ๖,๙๓๙.๐๐ ล้านบาท โดยการ Roll-over หนี้ที่ครบกำหนดชำระคืน (๖) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพได้บริหารและจัดการหนี้ วงเงินรวม ๔,๖๔๘.๐๑ ล้านบาท โดยการ Roll-over หนี้ที่ครบกำหนดชำระคืน จำนวน ๔,๖๔๐.๐๐ ล้านบาท และชำระหนี้ตามกำหนด โดยใช้เงินรายได้ จำนวน ๘.๐๑ ล้านบาท (๗) องค์การคลังสินค้าได้บริหารและจัดการหนี้ วงเงิน ๑,๘๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยการชำระหนี้ที่ครบตามกำหนด (๘) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้บริหารและจัดการหนี้วงเงิน ๑,๕๖๙.๐๐ ล้านบาท โดยการชำระหนี้เงินกู้ก่อนครบกำหนด (๙) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้บริหารและจัดการหนี้ วงเงินรวม ๓,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยการ Roll-over หนี้ที่ครบกำหนดชำระคืน ๒.๒ การปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศ รัฐวิสาหกิจไม่มีการปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศ ในช่วงเดือนตุลาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ III. การบริหารความเสี่ยง (วงเงินรวม ๘๗๕.๐๐ ล้านบาท) ๑. รัฐบาล กระทรวงการคลังไม่มีการบริหารความเสี่ยง ในช่วงเดือนตุลาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ๒. รัฐวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจ จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ การประปานครหลวงได้ดำเนินการชำระหนี้เงินกู้ก่อนครบกำหนด วงเงินรวม ๘๗๕.๐๐ ล้านบาท ๓. การกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบวงเงินของแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ๓.๑ การก่อหนี้ใหม่ (วงเงิน ๒,๕๐๐.๐๐ ล้านบาท) (๑) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กู้เงินโดยการลงนามในสัญญาเงินกู้เบิกเกินบัญชีจากธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน ๒,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อใช้เสริมสภาพคล่องการดำเนินงาน (๒) บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ได้กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน ๕๐๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อจ่ายค่าดำเนินการก่อสร้างโครงการศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๓.๒ การบริหารหนี้ (วงเงิน ๗,๕๐๐.๐๐ ล้านบาท) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้บริหารและจัดการหนี้ วงเงินรวม ๗,๕๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยการ Roll-over หนี้ที่ครบกำหนดชำระคืน ๔. สรุปผลการดำเนินการตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๔ ๔.๑ จากผลการดำเนินงานที่กล่าวมาแล้ว ในช่วงระยะเวลา ๖ เดือนแรกของปีงบประมาณ ๒๕๕๔ (ตุลาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔) กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการบริหารและจัดการหนี้สาธารณะตามกรอบแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๔ เป็นจำนวนทั้งสิ้น ๕๑๖,๗๙๒.๒๓ ล้านบาท โดยมีความก้าวหน้าไปแล้วคิดเป็นร้อยละ ๔๐.๐๑ ของแผนฯ ๔.๒ ผลการกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบวงเงินของแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๔ รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินและบริหารหนี้ รวมทั้งสิ้น ๑๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ๔.๓ จากการดำเนินการตามข้อ ๔.๑ และ ๔.๒ กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินและบริหารหนี้รวมทั้งสิ้น ๕๒๖,๗๙๒.๒๓ ล้านบาท แบ่งเป็นการก่อหนี้ใหม่ จำนวน ๒๐๒,๗๒๐.๓๕ ล้านบาท และการบริหารหนี้ จำนวน ๓๒๔,๐๗๑.๘๘ ล้านบาท หน่วย : ล้านบาท หน่วยงาน ผลการดำเนินงาน การก่อหนี้ใหม่ การบริหารหนี้ รวม - รัฐบาล ๑๘๕,๘๙๔.๗๖ ๒๘๓,๘๒๑.๓๗ ๔๖๙,๗๑๖.๑๓ - รัฐวิสาหกิจ ๑๖,๘๒๕.๕๙ ๔๐,๒๕๐.๕๑ ๕๗,๐๗๖.๑๐ รวม ๒๐๒,๗๒๐.๓๕ ๓๒๔,๐๗๑.๘๘ ๕๒๖,๗๙๒.๒๓ ทั้งนี้ การกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจจำนวน ๕๗,๐๗๖.๑๐ ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๓๒,๔๘๘.๓๖ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๑๒,๕๕๐.๐๐ ล้านบาท และเป็นการชำระคืนหนี้ จำนวน ๑๒,๐๓๗.๗๔ ล้านบาท ผลของการบริหารหนี้ที่ได้ดำเนินการทั้งในส่วนของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ ๑๒,๐๓๗.๗๔ ล้านบาท และสามารถประหยัดดอกเบี้ยได้ ๖๐.๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๓/๓ มิถุนายน ๒๕๕๔
649767
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. ๒/๒๕๕๐ ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑” จำนวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท (แปดพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ (LB14NA) ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๓๑,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยให้เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาทและไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงินและจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเท่ากันหลายรายและจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาลมิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ รุ่นพันธบัตร วันที่ จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการ บริหารหนี้ประเภท อัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ (LB14NA) อายุคงเหลือ ๓.๕๐ ปี อัตราดอกเบี้ย BIBOR ระยะ ๖ เดือน - ร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี จำนวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท ๒๕ พ.ค. ๒๕๕๔ ๘,๐๐๐ ๒๗ พ.ค. ๒๕๕๔ ๒๖ พ.ค. ๒๕๕๔ ๒๖ พ.ย. ๒๕๕๗ หมายเหตุ :- ๑. อัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาสำหรับช่วงวันชำระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I๑) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I๒) จะกำหนดในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ๒. อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ จะกำหนดในวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ๓. เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๓๑,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวคำนวณดอกเบี้ยจากราคาตราของพันธบัตรตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและส่วนต่าง (ถ้ามี) ตามที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดสำหรับพันธบัตรแต่ละรุ่น และแบ่งชำระดอกเบี้ยเป็นสัดส่วนของจำนวนงวดต่อปี เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง และจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม และ ๒๖ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกันต้องไม่เกิน ๘,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๓๓/๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔
649765
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 4
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔” จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท (หกพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ (LB416A) ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๒,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๔ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้องให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายรายและจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายจะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทนภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาลมิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ รุ่นพันธบัตร วันที่ จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล เพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ (LB416A) อายุคงเหลือ ๒๙.๙๙ ปี อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ ๓.๘๐ ต่อปี จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท ๒๒ มิ.ย. ๒๕๕๔ ๖,๐๐๐ ๒๔ มิ.ย. ๒๕๕๔ ๑๔ มิ.ย. ๒๕๕๔ ๑๔ มิ.ย. ๒๕๘๔ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้ เป็น ๒๒,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๐ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๔ มิ.ย. ๒๕๕๔) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๔ มิถุนายน และ ๑๔ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๘๔ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกันต้องไม่เกิน ๖,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๒๘/๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔
649763
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒” จำนวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท (แปดพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ (LB316A) ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน ๑๔,๙๐๐ ล้านบาท ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๒,๙๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูลโดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทนภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัดหรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาลมิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ รุ่นพันธบัตร วันที่ จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล เพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ (LB316A) อายุคงเหลือ ๒๐.๑๐ ปี อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี จำนวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท ๑๘ พ.ค. ๒๕๕๔ ๘,๐๐๐ ๒๐ พ.ค. ๒๕๕๔ ๒๐ ธ.ค. ๒๕๕๓ ๒๐ มิ.ย. ๒๕๗๔ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้ เป็น ๒๒,๙๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๒๐ ธ.ค. ๒๕๕๓) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๔ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๐ มิถุนายน และ ๒๐ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๗๔ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกันต้องไม่เกิน ๘,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๒๓/๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔
649761
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑” จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ (LB21DA) ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน ๒๔,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๓๔,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคล เพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายรายและจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูลโดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัดหรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาลมิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ รุ่นพันธบัตร วันที่ จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล เพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ (LB21DA) อายุคงเหลือ ๑๐.๖๑ ปี อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ๑๑ พ.ค. ๒๕๕๔ ๑๐,๐๐๐ ๑๓ พ.ค. ๒๕๕๔ ๑๗ ธ.ค. ๒๕๕๓ ๑๗ ธ.ค. ๒๕๖๔ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๓๔,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๗ ธ.ค. ๒๕๕๓) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๗ มิถุนายน และ ๑๗ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกันต้องไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๑๘/๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔
649155
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 12
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๒” จำนวน ๔,๕๐๐ ล้านบาท (สี่พันห้าร้อยล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ (LB616A) ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน ๓,๕๐๐ ล้านบาท ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๘,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๔ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๒ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๒ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๒ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๒ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๒ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๒ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๒ รุ่นพันธบัตร วันที่ จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบ กำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๒ (LB616A) อายุคงเหลือ ๕๐.๐๕ ปี อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ ๔.๘๕ ต่อปี จำนวน ๔,๕๐๐ ล้านบาท ๘ มิ.ย. ๒๕๕๔ ๔,๕๐๐ ๑๐ มิ.ย. ๒๕๕๔ ๔ มี.ค. ๒๕๕๔ ๑๗ มิ.ย. ๒๖๐๔ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้ เป็น ๘,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๘๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๔ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๗ มิถุนายน และ ๑๗ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๖๐๔ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๔,๕๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๕๒ ง/หน้า ๑๕/๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔
649153
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 11
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๑” จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท (ห้าพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ (LB416A) ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน ๑๑,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๑ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์ อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงินและผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๑ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการและ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๑ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๑ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๑ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๑ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๑ รุ่นพันธบัตร วันที่ จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบ กำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๑ (LB416A) อายุคงเหลือ ๓๐.๑๓ ปี อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ ๓.๘๐ ต่อปี จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท ๓ พ.ค. ๒๕๕๔ ๕,๐๐๐ ๖ พ.ค. ๒๕๕๔ ๑๔ ธ.ค. ๒๕๕๓ ๑๔ มิ.ย. ๒๕๘๔ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้ เป็น ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๐ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๔ ธ.ค. ๒๕๕๓) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๔ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๔ มิถุนายน และ ๑๔ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๘๔ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๕๒ ง/หน้า ๑๐/๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔
649151
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 10
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๐” จำนวน ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นหกพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ (LB15DA) ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน ๕๗,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๗๓,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๔ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๐ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๐ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๐ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๐ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๐ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๐ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๐ รุ่นพันธบัตร วันที่ จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบ กำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑๐ (LB15DA) อายุคงเหลือ ๔.๖๒ ปี อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ ๓.๑๒๕ ต่อปี จำนวน ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท ๒๗ เม.ย. ๒๕๕๔ ๑๖,๐๐๐ ๒๙ เม.ย. ๒๕๕๔ ๑๑ ธ.ค. ๒๕๕๓ ๑๑ ธ.ค. ๒๕๕๘ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๗๓,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๑๒๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๑ ธ.ค. ๒๕๕๓) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๔ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๑ มิถุนายน และ ๑๑ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๕๒ ง/หน้า ๕/๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔
647969
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ วงเงิน ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re - open) พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ (LB14NA) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๓.๘๕ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี และจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ยกเว้นงวดแรกจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยชำระดอกเบี้ยปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๖ พฤษภาคม และ ๒๖ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๑.๔ อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๘๕๐๐๐ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ ๒.๐๐๐๐๐ ต่อปี ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๔ และวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๙ มกราคม ๒๕๕๔ ๘,๐๐๐.๐๐ ๒.๔๓๐๙๗ ๗, ๙๗๙,๘๑๘,๘๘๒.๐๐ -๔๒,๘๘๗,๙๙๘.๐๐ ๒๒,๗๐๖,๘๘๐.๐๐ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๔ ๘,๐๐๐.๐๐ ๒.๗๓๗๖๓ ๘,๐๐๔,๑๘๙,๙๔๖.๐๐ -๔๑,๒๒๓,๗๓๔.๐๐ ๔๕,๔๑๓,๖๘๐.๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการ จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๒๐/๑๑ เมษายน ๒๕๕๔
647967
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 9
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ วงเงิน ๓,๕๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุ ๕๐.๓๒ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๖๐๔ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๘๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๗ มิถุนายน และ ๑๗ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกันชีวิต และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒ มีนาคม ๒๕๕๔ ๓,๕๐๐.๐๐ ๔.๘๕๐๕ ๓,๕๐๑,๐๑๐,๒๓๔.๑๐ ๑,๐๑๐,๒๓๔.๑๐ - หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑๘/๑๑ เมษายน ๒๕๕๔
647965
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 8
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘ วงเงิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re - open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ (LB416A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๑,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๓๐.๓๓ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวน ในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๘๔ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๐ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๔ มิถุนายน และ ๑๔ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิต กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ๕,๐๐๐.๐๐ ๔.๓๖๔๗ ๔,๕๖๓,๘๔๙,๓๗๐.๘๐ -๔๗๒,๐๖๘,๔๒๙.๒๐ ๓๕,๙๑๗,๘๐๐.๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑๖/๑๑ เมษายน ๒๕๕๔
647963
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 7
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗ วงเงิน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re - open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ (LB15DA) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๕๗,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๔.๘๓ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวน ในวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๑๒๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๑ มิถุนายน และ ๑๑ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิต กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ๑๐,๐๐๐.๐๐ ๓.๕๗๘๗ ๙,๘๕๓,๖๕๗,๒๘๘.๒๔ -๑๙๙,๔๒๔,๙๑๑.๗๖ ๕๓,๐๘๒,๒๐๐.๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑๔/๑๑ เมษายน ๒๕๕๔
647959
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 5
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕ วงเงิน ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re - open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ (LB21DA) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๔,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๑๐.๘๙ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๗ มิถุนายน และ ๑๗ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิต กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๔ และ ๒ มีนาคม ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๖ มกราคม ๒๕๕๔ ๗,๐๐๐.๐๐ ๓.๙๒๗๘ ๖,๘๕๘,๖๓๑,๗๐๙.๖๐ -๑๗๐,๗๖๘,๒๙๐.๔๐ ๒๙,๔๐๐,๐๐๐.๐๐ ๒ มีนาคม ๒๕๕๔ ๗,๐๐๐.๐๐ ๓.๙๕๐๓ ๖,๘๗๐,๗๕๒,๕๓๒.๐๐ -๑๘๓,๑๔๗,๔๖๘.๐๐ ๕๓,๙๐๐,๐๐๐.๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑๐/๑๑ เมษายน ๒๕๕๔
647919
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ๑. กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒” อายุ ๓ ปี จำนวน ๘๓,๖๓๐,๐๐๐ บาท (แปดสิบสามล้านหกแสนสามหมื่นบาทถ้วน) ๒. พันธบัตรนี้เป็นพันธบัตรชนิดออกในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตร และจดทะเบียนตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งหมื่นบาท โดยวงเงินซื้อขั้นต่ำ ๑๐,๐๐๐ บาท และจำกัดวงเงินซื้อขั้นสูง ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ซื้อเพิ่มเป็นจำนวนเท่าของ ๑๐,๐๐๐ บาท โดยมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำหน่ายและการถือครอง ดังนี้ ๒.๑ ผู้มีสิทธิ์ซื้อประกอบด้วย บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยสภากาชาดไทย มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ วัด สถานศึกษาของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐ และนิติบุคคลอื่นใดที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร โดยต้องเป็นผู้ลงทะเบียนจองสิทธิ์ซื้อพันธบัตรที่ลงทะเบียนในงานมหกรรมการเงิน หาดใหญ่ ครั้งที่ ๑ Money Expo Hatyai 2011 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ ๑๑ - ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ผู้ไม่มีสิทธิ์ซื้อ ประกอบด้วย ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บริษัทประกัน กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคลที่บริหารโดยสถาบันการเงิน กองทุนรวม คณะบุคคล บรรษัท สำนักงานประกันสังคม รัฐวิสาหกิจ บริษัท ห้างร้าน นิติบุคคลที่แสวงหากำไร นิติบุคคลอาคารชุด นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โรงพยาบาลเอกชน และสถานศึกษาเอกชน) ๒.๒ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ต้องการโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรรัฐบาลก่อนกำหนดสามารถกระทำได้โดยไม่จำกัดประเภทบุคคล ตั้งแต่วันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ยกเว้นการโอนกรรมสิทธิ์เพื่อเป็นหลักประกัน หรือโอนทางมรดก หรือการแบ่งทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการหย่า หรือล้มละลายหรือการชำระบัญชี ให้กระทำได้หลังจากได้รับใบพันธบัตรแล้ว แต่กระทำในระหว่างระยะเวลา ๓๐ วัน ก่อนวันครบกำหนดชำระคืนต้นเงินมิได้ ๒.๓ ผู้ถือกรรมสิทธิ์สามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันให้กับหน่วยงานราชการและองค์กรของรัฐ เช่น การประกันทางศาล หรือการประกันไฟฟ้า และสามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่นได้ การโอนกรรมสิทธิ์ให้ปฏิบัติตามระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเป็นนายทะเบียนของธนาคารแห่งประเทศไทย การโอนกรรมสิทธิ์จะสมบูรณ์ เมื่อพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่นายทะเบียนโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรนั้นแล้ว ๓. วันชำระเงินค่าพันธบัตรสำหรับผู้มีสิทธิ์ซื้อที่ได้จองพันธบัตรออมทรัพย์ในงานมหกรรมการเงินหาดใหญ่ ครั้งที่ ๑ Money Expo Hatyai 2011 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา ในวันที่ ๑๑ - ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ โดยมีผู้ซื้อที่เป็นบุคคลธรรมดา ๑๔๙ ราย จำนวน ๘๓,๖๓๐,๐๐๐ บาท ๔. พันธบัตรรุ่นนี้ ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ หากวันครบกำหนดไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป ๕. พันธบัตรรุ่นนี้ มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๓๕ ต่อปี การชำระดอกเบี้ยให้ชำระแก่ผู้มีนามในพันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ ที่ได้จดทะเบียนไว้ หรือตามคำร้องขอของผู้มีนามในพันธบัตรฉบับนั้น ให้แบ่งชำระเงินเป็นสองงวด คือในวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ และ ๑๔ สิงหาคม ของทุกปี เป็นจำนวนเงินงวดละเท่า ๆ กันตลอดเวลาที่พันธบัตรยังมีอายุอยู่ ยกเว้นงวดแรกและงวดที่สองจะคำนวณดอกเบี้ยตามจำนวนวันที่ถือครองพันธบัตร สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรในวันที่ไถ่ถอนหากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป และให้ถือว่าหนึ่งปีมีสามร้อยหกสิบห้าวัน ทั้งนี้ การคำนวณดอกเบี้ยหากมีเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง การจ่ายดอกเบี้ยของพันธบัตรในแต่ละงวด จะจ่ายให้แก่ผู้มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรในทะเบียน ณ เวลาที่เริ่มต้นทำการในวันแรกแห่งระยะเวลา ๓๐ วัน ก่อนถึงกำหนดชำระดอกเบี้ย ๖. กระทรวงการคลังจะรับโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรนี้ไว้ก็ได้ โดยพันธบัตรที่กระทรวงการคลังรับโอนกรรมสิทธิ์ตามข้อนี้ให้ถือว่าเป็นพันธบัตรที่ชำระต้นเงินกู้คืนแล้ว ตั้งแต่วันรับโอนกรรมสิทธิ์ ๗. การชำระต้นเงินกู้ตามพันธบัตรประเภทนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรในกรณีที่มีการออกใบตราสาร หรือได้รับแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับคืนต้นเงินกู้จากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ในกรณีที่ไร้ใบตราสาร ๘. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดจำหน่ายพันธบัตรประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ๙. กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ดังนี้ ๙.๑ ค่าธรรมเนียมในการจัดจำหน่ายพันธบัตรในอัตราร้อยละ ๐.๐๐ ของมูลค่าพันธบัตรที่จำหน่ายได้ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ๙.๒ ค่าใช้จ่ายในการจัดส่งพันธบัตรให้กับผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามที่จ่ายจริง ๙.๓ ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ตามที่จ่ายจริง ไม่เกินวงเงินที่กระทรวงการคลังกำหนด ๑๐. ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรประเภทนี้และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ๑๑. กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยดังนี้ ๑๑.๑ ค่าธรรมเนียมในการเป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงินเกี่ยวกับพันธบัตรในอัตราร้อยละ ๐.๑ ของดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ๑๑.๒ ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรตามที่จ่ายจริง ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๑๗/๗ เมษายน ๒๕๕๔
647917
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 มีนาคม 2554
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๔[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ ลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๔ เท่ากับร้อยละ ๒.๖๔๓๗๕ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๔ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๑๖/๗ เมษายน ๒๕๕๔
647833
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินจากธนาคารพัฒนาเอเชีย สำหรับเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (เงินกู้ Capitat Market Development Program : CMDP)
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินจากธนาคารพัฒนาเอเชีย สำหรับเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (เงินกู้ Capital Market Development Program : CMDP)[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า รัฐบาลได้ลงนามในสัญญาเงินกู้กับธนาคารพัฒนาเอเชียเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสำหรับเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (เงินกู้ Capital Market Development Program : CMDP) โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ๑. เป็นเงินกู้ในรูปเงินสกุลเหรียญสหรัฐ จำนวน ๓๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า ๙,๒๗๑,๙๒๐,๐๐๐ บาท (เก้าพันสองร้อยเจ็ดสิบเอ็ดล้านเก้าแสนสองหมื่นบาทถ้วน) โดยคำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันลงนาม คือ ๑ เหรียญสหรัฐ เท่ากับ ๓๐.๙๐๖๔ บาท ๒. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เท่ากับ (๑) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารพาณิชย์ในตลาดลอนดอนสกุลเงินเหรียญสหรัฐระยะเวลา ๖ เดือน (6-month LIBOR) (๒) บวกส่วนต่าง (Spread) ที่ประกาศโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ร้อยละ ๐.๒๐ ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่ตกลงไว้ตามสัญญาเงินกู้ (๓) หักลบอัตราส่วนลด (Rebate) ที่ประกาศโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) โดยจะเปลี่ยนแปลงทุก ๖ เดือน (วันที่ ๑ มกราคม และ ๑ กรกฎาคม) ๓. ค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ (Commitment Charge) อัตราร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปีของวงเงินกู้ที่ยังไม่ได้เบิกจ่าย โดยธนาคารฯ จะเริ่มคิดค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ ๖๐ วัน นับจากวันลงนามในสัญญาเงินกู้ ๔. การชำระดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ชำระปีละ ๒ ครั้ง ทุกวันที่ ๑ มิถุนายน และวันที่ ๑ ธันวาคม ของทุกปี ๕. การกำหนดชำระคืนต้นเงินกู้ ภายใน ๑๕ ปี รวมระยะเวลาปลอดหนี้ ๓ ปี แบ่งเป็น ๒๔ งวด กำหนดชำระปีละ ๒ ครั้ง โดยเริ่มชำระคืนต้นเงินกู้งวดแรกในวันชำระดอกเบี้ยงวดที่ ๗ วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ และชำระคืนต้นเงินกู้งวดสุดท้ายในวันชำระดอกเบี้ยงวดที่ ๒๔ วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๘ ๖. ระยะเวลาสิ้นสุดการเบิกจ่ายเงินกู้ ภายในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๕ ๗. เงินกู้รายนี้รัฐบาลจะนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพื่อใช้ในการสนับสนุนโครงการลงทุนภาครัฐที่สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินของประเทศ และเพื่อใช้ในการสนับสนุนโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๔๐ ง/หน้า ๑/๕ เมษายน ๒๕๕๔
646872
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 (ครั้งที่ 3) วันที่ 9 มีนาคม 2554
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๓) วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๔[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๒ อายุ ๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๖๓ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๙ มีนาคม และวันที่ ๙ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๗ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๓ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๓) เป็นร้อยละ ๑.๘๔๕ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๒ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๓) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๘๔๕ ต่อปี เป็นร้อยละ ๒.๓๘๓ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๓๑ ง/หน้า ๒๐/๑๗ มีนาคม ๒๕๕๔
646868
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 9
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙” จำนวน ๓,๕๐๐ ล้านบาท (สามพันห้าร้อยล้านบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ รุ่นพันธบัตร วันที่ จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบ กำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๙ (LB616A) อายุ ๕๐.๓๒ ปี อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ ๔.๘๕ ต่อปี จำนวน ๓,๕๐๐ ล้านบาท ๒ มี.ค. ๒๕๕๔ ๓,๕๐๐ ๔ มี.ค. ๒๕๕๔ ๔ มี.ค. ๒๕๕๔ ๑๗ มิ.ย. ๒๖๐๔ หมายเหตุ :- อัตราดอกเบี้ยจะประกาศในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๘๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๔ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริงเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๗ มิถุนายน และ ๑๗ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๖๐๔ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๓,๕๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๓๑ ง/หน้า ๑๓/๑๗ มีนาคม ๒๕๕๔
646832
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 (ครั้งที่ 3) ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ 2 มีนาคม 2554
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๓) ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๔[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๓) ให้กับธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท แบ่งเป็น ๓ วงเงิน คือ ๓,๕๐๐ ล้านบาท ๓,๕๐๐ ล้านบาท และ ๓,๐๐๐ ล้านบาท อายุ ๗ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๔๒ ต่อปี ร้อยละ ๑.๔๓ ต่อปี และร้อยละ ๑.๔๔ ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในวันที่ ๒ มีนาคม และวันที่ ๒ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๗๒ ต่อปี ร้อยละ ๐.๗๓ ต่อปี และร้อยละ ๐.๗๔ ต่อปี ตามลำดับ และเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๓ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๓) ให้กับธนาคารออมสินเป็นร้อยละ ๑.๗๐ ต่อปี ร้อยละ ๑.๗๑ ต่อปี และร้อยละ ๑.๗๒ ต่อปี ตามลำดับ เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๓) ให้กับธนาคารออมสินจากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๐ ต่อปี ร้อยละ ๑.๗๑ ต่อปี และร้อยละ ๑.๗๒ ต่อปี เป็นร้อยละ ๒.๒๓๓ ต่อปี ร้อยละ ๒.๒๔๓ ต่อปี และร้อยละ ๒.๒๕๓ ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๓๐ ง/หน้า ๑๑/๑๕ มีนาคม ๒๕๕๔
646761
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 (ครั้งที่ 2) ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2554
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท แบ่งเป็น ๒ วงเงิน วงเงินละ ๓,๐๐๐ ล้านบาท อายุ ๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๔๙ ต่อปี และ ๑.๕๐ ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๑๘ สิงหาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๗๙ ต่อปี และ ๐.๘๐ ต่อปี ตามลำดับ และเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารออมสินเป็นร้อยละ ๑.๗๗ ต่อปี และร้อยละ ๑.๗๘ ต่อปี ตามลำดับ เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารออมสินจากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๗ ต่อปี และร้อยละ ๑.๗๘ ต่อปี เป็นร้อยละ ๒.๓๐๓ ต่อปี และร้อยละ ๒.๓๑๓ ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๒๘/๑๐ มีนาคม ๒๕๕๔
646759
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 (ครั้งที่ 2) ให้กับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2554
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จำนวน ๓,๐๐๐ ล้านบาท อายุ ๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๔๙ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๑๘ สิงหาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๗๙ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เป็นร้อยละ ๑.๗๗ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒) ให้กับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๗ ต่อปี เป็นร้อยละ ๒.๓๐๓ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๒๗/๑๐ มีนาคม ๒๕๕๔
646300
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนด จากธนาคารออมสิน
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนด จากธนาคารออมสิน[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และตามข้อ ๓ วรรค ๒ ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๒ จำนวน ๔,๐๓๐,๕๒๐,๐๐๐ บาท (สี่พันสามสิบล้านห้าแสนสองหมื่นบาทถ้วน) กระทรวงการคลังจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยที่เป็นการสมควรชำระคืนต้นเงินกู้ให้กับธนาคารออมสิน สำหรับตั๋วสัญญาใช้เงินตามประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๒ ดังกล่าว โดยกำหนดชำระคืนต้นเงินกู้บางส่วน จำนวน ๑,๕๐๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันห้าร้อยห้าล้านบาทถ้วน) พร้อมชำระดอกเบี้ยงวดสุดท้าย ในวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดดังนี้ รายการ วงเงิน (ล้านบาท) อายุ อัตราดอกเบี้ย งวดแรก (ร้อยละต่อปี) สถาบันการเงิน ผู้ให้กู้ ปรับอัตรา ดอกเบี้ย อัตรา ดอกเบี้ย ในปัจจุบัน วันครบ กำหนด ๑. ตั๋วสัญญาใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๓) ๑,๕๐๕** ๕ ปี ๑.๖๓ ธนาคารออมสิน FDR* 6M + ๐.๘๗ ๑.๘๔๕ ๙ กันยายน ๒๕๕๗ หมายเหตุ :- * คืออัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ ขนาดใหญ่ ๔ แห่ง ประกอบด้วยธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารกสิกรไทยฯ และธนาคารไทยพาณิชย์ฯ ** คือไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินบางส่วน ทำให้มีต้นเงินกู้คงเหลือจากการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว จำนวน ๒,๕๒๕.๕๒ ล้านบาท สำหรับต้นเงินกู้คงเหลือจากการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารออมสิน จำนวน ๒,๕๒๕.๕๒ ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันร้อยละ ๑.๘๔๕ ต่อปี ตามข้อ ๔ วรรคสอง ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังจะดำเนินการปรับอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินทุก ๖ เดือน โดยจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินงวดถัดไปในวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๔ ทั้งนี้ ในวันไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนด ๘ เมษายน ๒๕๕๔ กระทรวงการคลังจะดำเนินการออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่แทนฉบับเดิมตามจำนวนวงเงินคงเหลือดังกล่าว และกำหนดอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินตามอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดในวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๔ ซึ่งมีผลคำนวณดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๔ จนถึงวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๔ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๒๗ ง/หน้า ๓๑/๘ มีนาคม ๒๕๕๔
646298
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนด จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนด จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และตามข้อ ๓ วรรค ๒ ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๒) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๒ จำนวน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นล้านบาทถ้วน) ซึ่งกระทรวงการคลังได้ไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับนี้ก่อนครบกำหนดแล้วบางส่วน จำนวน ๖,๕๐๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หกพันห้าร้อยห้าล้านบาทถ้วน) เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๓ โดยดำเนินการออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ ทำให้มียอดคงเหลือตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับนี้ จำนวน ๓,๔๙๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สามพันสี่ร้อยเก้าสิบห้าล้านบาทถ้วน) ซึ่งกระทรวงการคลังจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยที่เป็นการสมควรชำระคืนต้นเงินกู้ให้กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำหรับตั๋วสัญญาใช้เงินตามประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๒ ดังกล่าว โดยกำหนดชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน ๓,๔๙๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สามพันสี่ร้อยเก้าสิบห้าล้านบาทถ้วน) พร้อมชำระดอกเบี้ยงวดสุดท้าย ในวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดดังนี้ รายการ วงเงิน (ล้านบาท) อายุ อัตราดอกเบี้ย งวดแรก (ร้อยละต่อปี) สถาบันการเงิน ผู้ให้กู้ ปรับอัตรา ดอกเบี้ย อัตรา ดอกเบี้ย ในปัจจุบัน วันครบ กำหนด ๑. ตั๋วสัญญาใช้เงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๒) ๓,๔๙๕ ๕ ปี ๑.๗๐ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) FDR* 6M + ๐.๘๙ ๑.๙๙๖ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๗ หมายเหตุ :- * คืออัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ๔ แห่ง ประกอบด้วยธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารกสิกรไทยฯ และธนาคารไทยพาณิชย์ฯ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๒๗ ง/หน้า ๓๐/๘ มีนาคม ๒๕๕๔
645638
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 1 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 23 มกราคม 2554
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๔[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ลงวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๓ กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๔ เท่ากับร้อยละ ๒.๓๓๑๐๙ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๔ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ มีนาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๘ มีนาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๒๒ ง/หน้า ๔๑/๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
645636
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ และสำนักงานประกันสังคม ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ วงเงิน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงิน จำนวน ๑๔,๙๑๙,๙๒๙,๗๗๗.๓๖ บาท โดยมีส่วนลด จำนวน ๘๐,๐๗๐,๒๒๒.๖๔ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 9/28/54 ๑,๐๐๐ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๑,๒๕๑,๗๕๗.๐๘ L9/91/54 ๑,๐๐๐ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๒ มีนาคม ๒๕๕๔ ๙๑ ๔,๓๒๐,๒๐๖.๗๗ L9/182/54 ๑,๐๐๐ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๔ ๑๘๒ ๙,๓๓๓,๙๑๑.๒๕ 10/28/54 ๑,๐๐๐ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๕ มกราคม ๒๕๕๔ ๒๘ ๑,๔๔๔,๗๐๔.๓๔ L10/91/54 ๑,๐๐๐ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๙ มีนาคม ๒๕๕๔ ๙๑ ๔,๗๙๐,๙๖๐.๘๑ L10/182/54 ๑,๐๐๐ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ ๑๘๒ ๑๐,๐๗๔,๕๐๓.๔๘ 11/28/54 ๑,๐๐๐ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔ ๒๘ ๑,๔๔๕,๖๙๘.๗๒ L11/91/54 ๑,๐๐๐ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๔ ๙๑ ๔,๖๗๐,๑๘๗.๑๑ L11/182/54 ๑,๐๐๐ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ ๑๘๒ ๙,๘๗๔,๑๓๑.๙๕ 12/28/54 ๑,๐๐๐ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๔ ๒๘ ๑,๔๓๗,๐๙๓.๔๐ L12/91/54 ๑,๐๐๐ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๔ ๙๑ ๔,๖๖๕,๒๕๖.๖๖ L12/182/54 ๑,๐๐๐ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๔ ๑๘๒ ๑๐,๒๗๖,๖๐๙.๗๗ 13/28/54 ๑,๐๐๐ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๔ ๒๘ ๑,๔๑๓,๓๔๒.๑๐ L13/91/54 ๑,๐๐๐ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๔ ๙๑ ๔,๖๕๖,๙๐๘.๐๕ L13/182/54 ๑,๐๐๐ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ ๑๘๒ ๑๐,๔๑๔,๙๕๑.๑๕ รวม ๑๕,๐๐๐ ๘๐,๐๗๐,๒๒๒.๖๔ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียนเพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาล จำนวน ๑๕๔,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาจนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ จำนวน ๗๔,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาล จำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ มีนาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๘ มีนาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๒๒ ง/หน้า ๓๙/๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
643772
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 2 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 31 มกราคม 2554
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๔[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ ลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๔ เท่ากับร้อยละ ๒.๓๔๗๕๐ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๖ ง/หน้า ๘๓/๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
643770
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 2 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 29 มกราคม 2554
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๔[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๔ เท่ากับร้อยละ ๒.๓๔๗๕๐ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๖ ง/หน้า ๘๒/๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
643766
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. ๒/๒๕๕๐ ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒” จำนวน ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นหกพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ (LB14NA) ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน ๗,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๔ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยให้เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัดหรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตรา ดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ (LB14NA) อายุคงเหลือ ๓.๘๕ ปี อัตราดอกเบี้ย BIBOR ระยะ ๖ เดือน - ร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี จำนวน ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท ๑๙ ม.ค. ๒๕๕๔ ๑๖ มี.ค. ๒๕๕๔ ๘,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๒๑ ม.ค. ๒๕๕๔ ๑๘ มี.ค. ๒๕๕๔ ๒๖ พ.ย. ๒๕๕๓ ๒๖ พ.ย. ๒๕๕๓ ๒๖ พ.ย. ๒๕๕๗ ๒๖ พ.ย. ๒๕๕๗ หมายเหตุ :- อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๘๕ ต่อปี ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวคำนวณดอกเบี้ยจากราคาตราของพันธบัตรตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและส่วนต่าง (ถ้ามี) ตามที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดสำหรับพันธบัตรแต่ละรุ่น และแบ่งชำระดอกเบี้ยเป็นสัดส่วนของจำนวนงวดต่อปี เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง และจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง (อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๘๕ ต่อปี) ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม และ ๒๖ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๖ ง/หน้า ๖๘/๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
643764
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 8
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘” จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท (ห้าพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ (LB416A) ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๑,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้ โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘ (LB416A) อายุคงเหลือ ๓๐.๓๓ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๐ ต่อปี จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท ๑๖ ก.พ. ๒๕๕๔ ๕,๐๐๐ ๒๑ ก.พ. ๒๕๕๔ ๑๔ ธ.ค. ๒๕๕๓ ๑๔ มิ.ย. ๒๕๘๔ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้ เป็น ๑๑,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๐ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๔ ธ.ค. ๒๕๕๓) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๔ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๔ มิถุนายน และ ๑๔ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๘๔ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใด เป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๖ ง/หน้า ๖๓/๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
643762
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 7
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗” จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ (LB15DA) ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน ๔๗,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๕๗,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้ โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่าย โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๗ (LB15DA) อายุคงเหลือ ๔.๘๓ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๑๒๕ ต่อปี จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ๙ ก.พ. ๒๕๕๔ ๑๐,๐๐๐ ๑๑ ก.พ. ๒๕๕๔ ๑๑ ธ.ค. ๒๕๕๓ ๑๑ ธ.ค. ๒๕๕๘ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๕๗,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๑๒๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๑ ธ.ค. ๒๕๕๓) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๔ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๑ มิถุนายน และ ๑๑ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใด เป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๖ ง/หน้า ๕๘/๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
643760
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 6
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๖[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่ากระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๖” จำนวน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นสองพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ (LB316A) ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน ๒,๙๐๐ ล้านบาท ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๔,๙๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๔ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๖ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๖ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๖ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๖ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๖ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวง และหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๖ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๖ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๖ (LB316A) อายุคงเหลือ ๒๐.๓๙ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี จำนวน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท ๒ ก.พ. ๒๕๕๔ ๑๖ มี.ค. ๒๕๕๔ ๖,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ๔ ก.พ. ๒๕๕๔ ๑๘ มี.ค. ๒๕๕๔ ๒๐ ธ.ค. ๒๕๕๓ ๒๐ ธ.ค. ๒๕๕๓ ๒๐ มิ.ย. ๒๕๗๔ ๒๐ มิ.ย. ๒๕๗๔ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้ เป็น ๑๔,๙๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๒๐ ธ.ค. ๒๕๕๓) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๔ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๐ มิถุนายน และ ๒๐ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๗๔ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใด เป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๖ ง/หน้า ๕๓/๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
643758
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 5
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕” จำนวน ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นสี่พันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ (LB21DA) ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๔,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๔ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคล เพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๕ (LB21DA) อายุคงเหลือ ๑๐.๘๙ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี จำนวน ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท ๒๖ ม.ค. ๒๕๕๔ ๒ มี.ค. ๒๕๕๔ ๗,๐๐๐ ๗,๐๐๐ ๒๘ ม.ค. ๒๕๕๔ ๔ มี.ค. ๒๕๕๔ ๑๗ ธ.ค. ๒๕๕๓ ๑๗ ธ.ค. ๒๕๕๓ ๑๗ ธ.ค. ๒๕๖๔ ๑๗ ธ.ค. ๒๕๖๔ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๔,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๗ ธ.ค. ๒๕๕๓) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๗ มิถุนายน และ ๑๗ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใด เป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ดำรง/ตรวจ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๖ ง/หน้า ๔๘/๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
643654
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 (ครั้งที่ 1) ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๑) ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๑) ให้กับธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท แบ่งเป็น ๒ วงเงิน วงเงินละ ๓,๐๐๐ ล้านบาท อายุ ๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๕๓ ต่อปี และ ๑.๕๔ ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๔ สิงหาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๓ ต่อปี และ ๐.๘๔ ต่อปี ตามลำดับ และเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๓ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๑) ให้กับธนาคารออมสินเป็นร้อยละ ๑.๘๑ ต่อปี และร้อยละ ๑.๘๒ ต่อปี ตามลำดับ เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๑) ให้กับธนาคารออมสินจากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๘๑ ต่อปี และร้อยละ ๑.๘๒ ต่อปี เป็นร้อยละ ๒.๓๔๓ ต่อปี และร้อยละ ๒.๓๕๓ ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๒๐/๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
642838
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ๑. กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑” อายุ ๓ ปี จำนวน ๑๒๐,๙๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งร้อยยี่สิบล้านเก้าแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) ๒. พันธบัตรนี้เป็นพันธบัตรชนิดออกในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตร และจดทะเบียนตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งหมื่นบาท โดยวงเงินซื้อขั้นต่ำ ๑๐,๐๐๐ บาท และจำกัดวงเงินซื้อขั้นสูง ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ซื้อเพิ่มเป็นจำนวนเท่าของ ๑๐,๐๐๐ บาท โดยมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำหน่ายและการถือครองดังนี้ ๒.๑ ผู้มีสิทธิ์ซื้อประกอบด้วย บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย สภากาชาดไทย มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ วัด สถานศึกษาของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐ และนิติบุคคลอื่นใดที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร โดยต้องเป็นผู้ลงทะเบียนจองสิทธิ์ซื้อพันธบัตรที่ลงทะเบียนในงานมหกรรมการลงทุนครบวงจรแห่งปี SET in the City กรุงเทพมหานคร ๒๐๑๐ ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ ชั้น ๕ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ในวันที่ ๑๘ - ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ (ผู้ไม่มีสิทธิ์ซื้อ ประกอบดัวย ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บริษัทประกัน กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคลที่บริหารโดยสถาบันการเงิน กองทุนรวม คณะบุคคล บรรษัท สำนักงานประกันสังคม รัฐวิสาหกิจ บริษัท ห้างร้าน นิติบุคคลที่แสวงหากำไร นิติบุคคลอาคารชุด นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โรงพยาบาลเอกชนและสถานศึกษาเอกชน) ๒.๒ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ต้องการโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรรัฐบาลก่อนกำหนดสามารถกระทำได้โดยไม่จำกัดประเภทบุคคล ตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ยกเว้นการโอนกรรมสิทธิ์เพื่อเป็นหลักประกัน หรือโอนทางมรดก หรือการแบ่งทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการหย่า หรือล้มละลายหรือการชำระบัญชี ให้กระทำได้หลังจากได้รับใบพันธบัตรแล้ว แต่กระทำในระหว่างระยะเวลา ๓๐ วัน ก่อนวันครบกำหนดชำระคืนต้นเงินมิได้ ๒.๓ ผู้ถือกรรมสิทธิ์สามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันให้กับหน่วยงานราชการและองค์กรของรัฐ เช่น การประกันทางศาล หรือการประกันไฟฟ้า และสามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่นได้ การโอนกรรมสิทธิ์ให้ปฏิบัติตามระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเป็นนายทะเบียนของธนาคารแห่งประเทศไทย การโอนกรรมสิทธิ์จะสมบูรณ์ เมื่อพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ นายทะเบียนโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรนั้นแล้ว ๓. วันชำระเงินค่าพันธบัตรสำหรับผู้มีสิทธิ์ซื้อที่ได้จองพันธบัตรออมทรัพย์ในงานมหกรรมการลงทุนครบวงจรแห่งปี SET in the City กรุงเทพมหานคร ๒๐๑๐ ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ ชั้น ๕ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ในวันที่ ๑๘ - ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ โดยมีผู้ซื้อที่เป็นบุคคลธรรมดา ๓๒๐ ราย มูลนิธิ ๑ ราย และอื่น ๆ ๑ ราย จำนวน ๑๒๐,๙๕๐,๐๐๐ บาท ๔. พันธบัตรรุ่นนี้ ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ หากวันครบกำหนดไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป ๕. พันธบัตรรุ่นนี้ มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๗๐ ต่อปี การชำระดอกเบี้ยให้ชำระแก่ผู้มีนามในพันธบัตรออมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ ที่ได้จดทะเบียนไว้ หรือตามคำร้องขอของผู้มีนามในพันธบัตรฉบับนั้น ให้แบ่งชำระเงินเป็นสองงวด คือในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม และ ๒๒ พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นจำนวนเงินงวดละเท่า ๆ กัน ตลอดเวลาที่พันธบัตรยังมีอายุอยู่ ยกเว้นงวดแรกและงวดที่สองจะคำนวณดอกเบี้ยตามจำนวนวันที่ถือครองพันธบัตร สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรในวันที่ไถ่ถอน หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป และให้ถือว่าหนึ่งปีมีสามร้อยหกสิบห้าวัน ทั้งนี้ การคำนวณดอกเบี้ยหากมีเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง การจ่ายดอกเบี้ยของพันธบัตรในแต่ละงวด จะจ่ายให้แก่ผู้มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรในทะเบียน ณ เวลาที่เริ่มต้นทำการในวันแรกแห่งระยะเวลา ๓๐ วัน ก่อนถึงกำหนดชำระดอกเบี้ย ๖. กระทรวงการคลังจะรับโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรนี้ไว้ก็ได้ โดยพันธบัตรที่กระทรวงการคลังรับโอนกรรมสิทธิ์ตามข้อนี้ให้ถือว่าเป็นพันธบัตรที่ชำระต้นเงินกู้คืนแล้ว ตั้งแต่วันรับโอนกรรมสิทธิ์ ๗. การชำระต้นเงินกู้ตามพันธบัตรประเภทนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรในกรณีที่มีการออกใบตราสาร หรือได้รับแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับคืนต้นเงินกู้จากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ในกรณีที่ไร้ใบตราสาร ๘. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดจำหน่ายพันธบัตรประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ๙. กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ดังนี้ ๙.๑ ค่าธรรมเนียมในการจัดจำหน่ายพันธบัตรในอัตราร้อยละ ๐.๐๐ ของมูลค่าพันธบัตรที่จำหน่ายได้ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ๙.๒ ค่าใช้จ่ายในการจัดส่งพันธบัตรให้กับผู้จองซื้อตามที่จ่ายจริง ๙.๓ ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ตามที่จ่ายจริง ไม่เกินวงเงินที่กระทรวงการคลังกำหนด ๑๐. ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรประเภทนี้และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ๑๑. กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยดังนี้ ๑๑.๑ ค่าธรรมเนียมในการเป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงินเกี่ยวกับพันธบัตรในอัตราร้อยละ ๐.๑ ของดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ๑๑.๒ ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรตามที่จ่ายจริง ประกาศ ณ วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๔ ง/หน้า ๒๓/๑๔ มกราคม ๒๕๕๔
642736
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ วงเงิน ๗,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุ ๔ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้น การกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี และจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ยกเว้นงวดแรกจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยชำระดอกเบี้ยปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๖ พฤษภาคม และ ๒๖ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๑.๓ อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๘๕๐๐๐ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ ๒.๐๐๐๐๐ ต่อปี ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตรา ผลตอบแทนเฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุด จนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๗,๐๐๐.๐๐ ๑.๙๕๖๔๓ ๖,๙๗๒,๐๒๖,๗๕๕.๙๖ -๒๗,๙๗๓,๒๔๔.๐๔ - หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๔๒/๑๐ มกราคม ๒๕๕๔
642734
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 4
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ วงเงิน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๑๑.๐๘ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๗ มิถุนายน และ ๑๗ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๑๐,๐๐๐.๐๐ ๓.๗๖๖๒ ๙,๘๙๕,๗๖๑,๙๒๕.๐๐ -๑๐๔,๒๓๘,๐๗๕.๐๐ - หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๔๐/๑๐ มกราคม ๒๕๕๔
642732
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 3
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ วงเงิน ๒,๙๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๒๐.๖๒ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๗๔ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน และ ๒๐ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๒,๙๐๐.๐๐ ๓.๗๒๓๙ ๒,๘๖๙,๔๓๕,๘๙๐.๖๐ -๓๐,๕๖๔,๑๐๙.๔๐ – หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๓๘/๑๐ มกราคม ๒๕๕๔
642730
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ วงเงิน ๖,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุ ๓๐.๖๕ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๘๔ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๐ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๔ มิถุนายน และ ๑๔ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกันชีวิต และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๓ และ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๓,๐๐๐.๐๐ ๓.๗๕๐๙ ๓,๐๒๖,๘๒๕,๗๒๖.๘๐ ๒๖,๘๒๕,๗๒๖.๘๐ - ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๓,๐๐๐.๐๐ ๔.๒๗๐๕ ๒,๗๖๑,๗๔๗,๓๖๘.๔๐ -๒๓๙,๑๘๙,๖๒๑.๖๐ ๙๓๖,๙๙๐.๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๓๖/๑๐ มกราคม ๒๕๕๔
642728
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ วงเงิน ๒๗,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ (LB15DA) ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาททำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๔๗,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๕.๑๒ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๑๒๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๑ มิถุนายน และ ๑๑ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิต กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๓ และ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๑๓,๐๐๐.๐๐ ๒.๗๙๑๓ ๑๓,๒๘๗,๙๓๕,๓๙๕.๐๐ ๒๐๕,๕๗๒,๓๓๕.๐๐ ๘๒,๓๖๓,๐๖๐.๐๐ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๑๔,๐๐๐.๐๐ ๓.๕๓๗๓ ๑๓,๗๔๖,๑๖๑,๘๗๓.๒๐ -๒๖๑,๐๒๙,๙๒๖.๘๐ ๗,๑๙๑,๘๐๐.๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๓๔/๑๐ มกราคม ๒๕๕๔
658401
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๕๒ และตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ๑. กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้กู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑” อายุ ๖ ปี วงเงินรวม ๘๒,๒๓๐,๒๙๐,๐๐๐ บาท (แปดหมื่นสองพันสองร้อยสามสิบล้านสองแสนเก้าหมื่นบาทถ้วน) ๒. พันธบัตรนี้เป็นพันธบัตรชนิดออกในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตร และจดทะเบียนตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งหมื่นบาท โดยวงเงินซื้อขั้นต่ำ ๑๐,๐๐๐ บาท และซื้อเพิ่มเป็นจำนวนเท่าของ ๑๐,๐๐๐ บาท และจำกัดวงเงินซื้อขั้นสูงที่ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำหน่ายและการถือครอง ดังนี้ ๒.๑ ผู้มีสิทธิ์ซื้อประกอบด้วย บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย สภากาชาดไทย มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ วัด สถานศึกษาของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐและนิติบุคคลอื่นใดที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร (ผู้ไม่มีสิทธิ์ซื้อ ประกอบด้วย ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บริษัทประกัน กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคลที่บริหารโดยสถาบันการเงิน กองทุนรวม คณะบุคคล บรรษัท สำนักงานประกันสังคม รัฐวิสาหกิจ บริษัท ห้างร้าน นิติบุคคลที่แสวงหากำไร นิติบุคคลอาคารชุด นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โรงพยาบาลเอกชนและสถานศึกษาเอกชน) ๒.๒ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ต้องการโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรรัฐบาลก่อนกำหนดสามารถกระทำได้โดยไม่จำกัดประเภทบุคคล ตั้งแต่วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ยกเว้นผู้ที่ต้องการโอนกรรมสิทธิ์เพื่อเป็นหลักประกันหรือโอนทางมรดก หรือการแบ่งทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการหย่า หรือล้มละลาย หรือการชำระบัญชี และกรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์นั้นเสียชีวิต ให้กระทำได้หลังจากได้รับใบพันธบัตรแล้ว แต่กระทำในระหว่างระยะเวลา ๓๐ วัน ก่อนถึงวันกำหนดชำระคืนต้นเงินมิได้ ๒.๓ ผู้ถือกรรมสิทธิ์สามารถใช้พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ เป็นหลักประกันให้กับหน่วยงานราชการและองค์กรของรัฐ เช่น การประกันทางศาล หรือการประกันไฟฟ้า และสามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่น ๆ ได้ การโอนกรรมสิทธิ์ให้ปฏิบัติตามระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเป็นนายทะเบียนของธนาคารแห่งประเทศไทย การโอนกรรมสิทธิ์จะสมบูรณ์ เมื่อพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่นายทะเบียน โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรนั้นแล้ว ๓. วันจำหน่ายพันธบัตรรุ่นนี้ คือวันที่ ๗ - ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ โดยกำหนดวันจดทะเบียนเป็นวันที่ ๙ - ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผู้ถือกรรมสิทธิ์ ดังนี้ ประเภทผู้ถือกรรมสิทธิ์ จำนวน (ราย) จำนวนเงิน (ล้านบาท) บุคคลธรรมดา ๑๒๒,๘๑๕ ๘๑,๒๓๙.๖๗ สหกรณ์ ๓๓๙ ๓๓๖.๐๐ มูลนิธิ ๔๓๑ ๓๗๕.๙๕ วัด ๕๕ ๔๔.๑๖ อื่น ๆ ๒๔๐ ๒๓๔.๕๑ รวม ๑๒๓,๘๘๐ ๘๒,๒๓๐.๒๙ ๔. พันธบัตรรุ่นนี้ ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ หากวันครบกำหนดไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป ๕. พันธบัตรรุ่นนี้ กำหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรออมทรัพย์เป็นแบบขั้นบันได โดยใช้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล อายุ ๖ ปี เป็นฐานในการกำหนดอัตราดอกเบี้ย + Spread โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ลำดับ ปีที่ ๑ ปีที่ ๒ ปีที่ ๓ ปีที่ ๔ ปีที่ ๕ ปีที่ ๖ อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละต่อปี) ๓ ๓ ๔ ๔ ๕ ๖ การชำระดอกเบี้ยให้ชำระแก่ผู้มีนามในพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ในปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ที่ได้จดทะเบียนไว้ หรือตามคำร้องขอของผู้มีนามในพันธบัตรฉบับนั้นให้แบ่งชำระเงินเป็นสองงวด คือในวันที่ ๙ มิถุนายน และ ๙ ธันวาคม ของทุกปี เป็นจำนวนเงินงวดละเท่า ๆ กัน ตลอดเวลาที่พันธบัตรยังมีอายุอยู่ ยกเว้นงวดแรกและงวดที่สองจะคำนวณดอกเบี้ยตามจำนวนวันที่ถือครองพันธบัตร สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรในวันที่ไถ่ถอน หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป และให้ถือว่าหนึ่งปีมีสามร้อยหกสิบห้าวัน ทั้งนี้ การคำนวณดอกเบี้ยหากมีเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง การจ่ายดอกเบี้ยของพันธบัตรในแต่ละงวด จะจ่ายให้แก่ผู้มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรในทะเบียน ณ เวลาที่เริ่มต้นทำการในวันแรกแห่งระยะเวลา ๓๐ วัน ก่อนถึงกำหนดชำระดอกเบี้ย ๖. กระทรวงการคลังจะรับโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรนี้ไว้ก็ได้ โดยพันธบัตรที่กระทรวงการคลังรับโอนกรรมสิทธิ์ตามข้อนี้ให้ถือว่าเป็นพันธบัตรที่ชำระต้นเงินกู้คืนแล้ว ตั้งแต่วันรับโอนกรรมสิทธิ์ ๗. การชำระต้นเงินกู้ตามพันธบัตรประเภทนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรในกรณีที่มีการออกใบตราสาร หรือได้รับแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับคืนต้นเงินกู้จากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ในกรณีที่ไร้ใบตราสาร ๘. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ธนาคารซิตี้แบงก์ เอ็น.เอ. สาขากรุงเทพ ฯ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน เป็นผู้จัดจำหน่ายพันธบัตรประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ๙. กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ธนาคารซิตี้แบงก์ เอ็น.เอ. สาขากรุงเทพ ฯ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน ดังนี้ ๙.๑ ค่าธรรมเนียมในการจัดจำหน่ายพันธบัตรในอัตราร้อยละ ๐.๐๐ ของมูลค่าพันธบัตรที่จำหน่ายได้ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) และไม่มีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติม ๙.๒ ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ตามที่จ่ายจริง ไม่เกินวงเงินที่กระทรวงการคลังกำหนด ๑๐. ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรประเภทนี้และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ๑๑. กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้ ๑๑.๑ ค่าธรรมเนียมในการเป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงินเกี่ยวกับพันธบัตรในอัตราร้อยละ ๐.๑ ของดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ๑๑.๒ ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรตามที่จ่ายจริง ประกาศ ณ วันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๓/๕ ตุลาคม ๒๕๕๓
642455
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 3
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓[๑] โดยที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ ลงวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๓ วงเงิน ๖,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หกพันล้านบาทถ้วน) จำหน่ายได้จริงจำนวน ๒,๙๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองพันเก้าร้อยล้านบาทถ้วน) กระทรวงการคลังจึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ปรับลดวงเงินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ จากจำนวน ๖,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หกพันล้านบาทถ้วน) เป็นจำนวน ๒,๙๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองพันเก้าร้อยล้านบาทถ้วน) ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๕๒ ง/หน้า ๕๑/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๓
642453
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่ากระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. ๒/๒๕๕๐ ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑” จำนวน ๗,๐๐๐ ล้านบาท (เจ็ดพันล้านบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยให้เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อย หรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตรา ดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ (LB14NA) อายุ ๔ ปี อัตราดอกเบี้ย BIBOR ระยะ ๖ เดือน - ร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี จำนวน ๗,๐๐๐ ล้านบาท ๒๔ พ.ย. ๒๕๕๓ ๗,๐๐๐ ๒๖ พ.ย. ๒๕๕๓ ๒๖ พ.ย. ๒๕๕๓ ๒๖ พ.ย. ๒๕๕๗ หมายเหตุ :- อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ จะประกาศในวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวคำนวณดอกเบี้ยจากราคาตราของพันธบัตรตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและส่วนต่าง (ถ้ามี) ตามที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดสำหรับพันธบัตรแต่ละรุ่น และแบ่งชำระดอกเบี้ยเป็นสัดส่วนของจำนวนงวดต่อปี เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง และจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้งชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม และ ๒๖ พฤศจิกายนของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๗,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๕๒ ง/หน้า ๔๕/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๓
642451
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 4
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวงกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔” จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นล้านบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๔ (LB21DA) อายุ ๑๑.๐๘ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ๑๗ พ.ย. ๒๕๕๓ ๑๐,๐๐๐ ๑๙ พ.ย. ๒๕๕๓ ๑๙ พ.ย. ๒๕๕๓ ๑๗ ธ.ค. ๒๕๖๔ หมายเหตุ :- อัตราดอกเบี้ยจะประกาศในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริงเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๗ มิถุนายน และ ๑๗ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๕๒ ง/หน้า ๓๙/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๓
642449
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 3
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓” จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท (หกพันล้านบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๓ (LB316A) อายุ ๒๐.๖๒ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท ๑๐ พ.ย. ๒๕๕๓ ๖,๐๐๐ ๑๒ พ.ย. ๒๕๕๓ ๑๒ พ.ย. ๒๕๕๓ ๒๐ มิ.ย. ๒๕๗๔ หมายเหตุ :- อัตราดอกเบี้ยจะประกาศในวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริงเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๐ มิถุนายน และ ๒๐ ธันวาคมของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๗๔ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๖,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๕๒ ง/หน้า ๓๓/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๓
642397
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ และสำนักงานประกันสังคม ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ วงเงิน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงิน จำนวน ๑๑,๙๔๑,๘๙๖,๔๓๙.๒๔ บาท โดยมีส่วนลด จำนวน ๕๘,๑๐๓,๕๖๐.๗๖ บาท งวดที่ จำนวน เงิน (ล้าน บาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 5/28/54 ๑,๐๐๐ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๑,๒๓๗,๓๕๒.๐๑ L5/91/54 ๑,๐๐๐ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ๙๑ ๔,๒๐๘,๘๘๓.๖๓ L5/182/54 ๑,๐๐๐ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ๑๘๒ ๘,๙๒๑,๔๕๘.๘๒ 6/28/54 ๑,๐๐๐ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๑,๒๑๘,๒๔๐.๑๑ L6/91/54 ๑,๐๐๐ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ๙๑ ๔,๒๑๓,๘๐๕.๓๐ L6/182/54 ๑,๐๐๐ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ๑๘๒ ๘,๙๖๙,๙๕๗.๘๕ 7/28/54 ๑,๐๐๐ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๑,๒๒๔,๕๕๓.๔๕ L7/91/54 ๑,๐๐๐ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ๙๑ ๔,๒๑๕,๘๓๕.๓๖ L7/182/54 ๑,๐๐๐ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ๑๘๒ ๙,๐๘๓,๕๔๔.๔๐ 8/28/54 ๑,๐๐๐ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๑,๒๔๒,๕๗๔.๕๔ L8/91/54 ๑,๐๐๐ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ๙๑ ๔,๒๒๐,๔๖๘.๓๒ L8/182/54 ๑,๐๐๐ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ๑๘๒ ๙,๓๔๖,๘๘๖.๙๗ รวม ๑๒,๐๐๐ ๕๘,๑๐๓,๕๖๐.๗๖ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียนเพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาล จำนวน ๑๕๔,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาจนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ จำนวน ๗๔,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาล จำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๕๑ ง/หน้า ๑๒/๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๓