sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
628551
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 (ครั้งที่ 2) วันที่ 22 เมษายน 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๒) วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๒) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๒ จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท อายุ ๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๐ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสองกระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๒๒ เมษายน และวันที่ ๒๒ ตุลาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๙ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๒) เป็นร้อยละ ๑.๖๕ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๒ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๒) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๖๕ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๕๗ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๒๒/๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628543
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 3
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่ากระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ วงเงิน ๘,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุ ๔ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๗ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี และจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ยกเว้นงวดแรกจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยชำระดอกเบี้ยปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒ เมษายน และ ๒ ตุลาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๑.๓ อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๓๘๕๑๖ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๓ ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ ๑.๕๓๕๑๖ ต่อปี ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๓ ๘,๐๐๐ ๑.๕๒๕๗๙ ๗,๙๕๖,๓๔๗,๓๐๔ -๔๓,๖๕๒,๖๙๖ - หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๒๐/๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628533
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 10
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๐[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๐ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไข และสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๐ วงเงิน ๓,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ (LB406A) อายุ ๓๐.๗๐ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๙,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๓๐.๓๒ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๘๓ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๒ มิถุนายน และ ๒๒ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๐ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๓ มีนาคม ๒๕๕๓ ๓,๐๐๐ ๔.๔๔๒๓ ๓,๓๐๗,๑๗๘,๐๐๓.๕๐ ๒๗๗,๑๗๘,๐๐๓.๕๐ ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๑๘/๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628519
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 8
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘ วงเงิน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ (LB296A) อายุ ๑๙.๖๐ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๒,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๑๙.๔๑ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๗๒ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๘๗๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๒ มิถุนายน และ ๒๒ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๒๗ มกราคม และ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๗ มกราคม ๒๕๕๓ ๗,๐๐๐ ๔.๔๕๓๒ ๗,๔๑๖,๕๐๑,๕๕๒.๔๐ ๓๘๐,๙๗๔,๑๗๒.๔๐ ๓๕,๕๒๗,๓๘๐ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๓ ๘,๐๐๐ ๔.๒๒๓๒ ๘,๗๘๒,๗๒๕,๑๑๐.๕๑ ๖๘๒,๒๘๖,๗๙๐.๕๑ ๑๐๐,๔๓๘,๓๒๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๑๖/๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628511
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 7
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่ากระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไข และสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗ วงเงิน ๓๘,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ (LB155A) อายุ ๕.๖๐ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๗๑,๕๗๒ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๕.๓๓ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๒๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม และ ๒๒ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการและสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำกัด ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๑๗ กุมภาพันธ์ และ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๐ มกราคม ๒๕๕๓ ๑๒,๐๐๐ ๓.๓๔๘๘ ๑๒,๒๓๔,๖๔๕,๕๐๔.๘๐ ๑๖๑,๙๔๖,๘๖๔.๘๐ ๗๒,๖๙๘,๖๔๐ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ๑๓,๐๐๐ ๓.๔๗๔๙ ๑๓,๒๐๙,๒๘๒,๔๔๓.๓๗ ๙๔,๓๗๔,๙๒๓.๓๗ ๑๑๔,๙๐๗,๕๒๐ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๓ ๑๓,๐๐๐ ๓.๕๕๗๔ ๑๓,๑๙๓,๗๓๘,๘๗๓.๗๐ ๔๒,๖๘๐,๖๙๓.๗๐ ๑๕๑,๐๕๘,๑๘๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๑๔/๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628503
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 6
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ วงเงิน ๒๔,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ (LB196A) อายุ ๑๐.๐๕ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๖๐,๗๔๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๙.๔๓ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๒ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๗๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๓ มิถุนายน และ ๑๓ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๕๓ และวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๖ มกราคม ๒๕๕๓ ๑๒,๐๐๐ ๔.๒๔๐๑ ๑๑,๖๙๕,๘๗๕,๑๑๘.๖๐ -๓๓๗,๒๔๘,๑๒๑.๔๐ ๓๓,๑๒๓,๒๔๐ ๓ มีนาคม ๒๕๕๓ ๑๒,๐๐๐ ๓.๙๑๗๑ ๑๒,๐๖๕,๖๑๓,๕๒๓.๕๐ -๓๘,๘๕๒,๒๓๖.๕๐ ๑๐๔,๔๖๕,๗๖๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๑๒/๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓
627936
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 3 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 2 เมษายน 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๓[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๓๕๐๐๐ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๓ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ประวิช สารกิจปรีชา รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/พิมพ์ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๓ ง/หน้า ๕/๕ เมษายน ๒๕๕๓
627922
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 มีนาคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๓[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ ลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๓๕๐๐๐ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๓ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ประวิช สารกิจปรีชา รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/พิมพ์ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๓ ง/หน้า ๔/๕ เมษายน ๒๕๕๓
627119
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่ากระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลังหากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/พิมพ์ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๖/๙ เมษายน ๒๕๕๓
627088
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 (ครั้งที่ 3) วันที่ 9 มีนาคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๓) วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๒ อายุ ๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๖๓ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๙ มีนาคม และวันที่ ๙ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๗ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๒ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๓) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๖๓ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๕๗ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/พิมพ์ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๓๑/๗ เมษายน ๒๕๕๓
627086
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (ครั้งที่ 4) วันที่ 10 มีนาคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๔) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๑ อายุ ๓.๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๓ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๑๐ มีนาคม และวันที่ ๑๐ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๗ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๔) เป็นร้อยละ ๑.๗๓ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๑ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๔) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๓ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๖๗ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/พิมพ์ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๓๐/๗ เมษายน ๒๕๕๓
627084
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคากรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 2) วันที่ 8 มีนาคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ อายุ ๔ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๕๑ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๘ มีนาคม และวันที่ ๘ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๕ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๘ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) เป็นร้อยละ ๑.๖๔ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๖๔ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๕๙ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/พิมพ์ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๒๙/๗ เมษายน ๒๕๕๓
627082
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 2) วันที่ 8 มีนาคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๓[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) จากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ อายุ ๔ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๔๙ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๘ มีนาคม และวันที่ ๘ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๕ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๖ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) เป็นร้อยละ ๑.๖๒ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๖๒ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๕๗ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/พิมพ์ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๒๘/๗ เมษายน ๒๕๕๓
624849
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 2 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 31 มกราคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๓[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ ลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๒ นั้น กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๓๕๐๐๐ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๓ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ประวิช สารกิจปรีชา ที่ปรึกษาด้านหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๕ มีนาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๕ มีนาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๘/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
624028
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 2 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 29 มกราคม 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๓[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๓ เท่ากับร้อยละ ๑.๓๕๐๐๐ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๓ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ สุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๘ ง/หน้า ๒๖/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
624026
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลังประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลังหากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลังถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๘ ง/หน้า ๒๒/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
624024
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทนซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และสำนักงานประกันสังคม ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วงเงิน ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๔๙,๘๐๓,๗๖๙,๘๑๖.๖๐ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๑๙๖,๒๓๐,๑๘๓.๔๐ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 9/28/53 ๒,๐๐๐ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๒๘ ๑,๗๘๓,๐๙๔.๒๘ L9/91/53 ๔,๐๐๐ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๓ มีนาคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๒,๐๐๘,๐๗๗.๘๐ L9/182/53 ๔,๐๐๐ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๒๖,๕๒๗,๕๑๔.๙๒ 10/28/53 ๒,๐๐๐ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๖ มกราคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๑,๗๑๔,๒๐๐.๒๙ L10/91/53 ๔,๐๐๐ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๒,๐๗๖,๑๕๓.๙๔ L10/182/53 ๔,๐๐๐ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๒๖,๔๙๘,๘๙๘.๖๑ 11/28/53 ๒,๐๐๐ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๑,๗๒๒,๙๔๖.๒๗ L11/91/53 ๔,๐๐๐ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๑,๘๕๗,๖๖๗.๐๑ L11/182/53 ๔,๐๐๐ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๒๖,๕๙๑,๗๘๓.๑๘ 12/28/53 ๒,๐๐๐ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๑,๖๒๔,๙๘๐.๐๒ L12/91/53 ๔,๐๐๐ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๑,๖๖๙,๙๔๘.๕๔ L12/182/53 ๔,๐๐๐ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๒๕,๙๗๘,๓๒๙.๑๓ 13/28/53 ๒,๐๐๐ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๓ ๒๘ ๑,๓๗๘,๓๓๗.๑๒ L13/91/53 ๔,๐๐๐ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๐,๖๔๒,๒๙๔.๘๐ L13/182/53 ๔,๐๐๐ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๒๔,๑๕๕,๙๕๗.๔๙ รวม ๕๐,๐๐๐ ๑๙๖,๒๓๐,๑๘๓.๔๐ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๘๑,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาจนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ จำนวน ๒๐๑,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท อย่างไรก็ดี ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาลจำนวน ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๒ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๕๘,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๘ ง/หน้า ๒๐/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
623706
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 3
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. ๒/๒๕๕๐ ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓” จำนวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท (แปดพันล้านบาทถ้วน) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๓ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุนบริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคล เพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยให้เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรรกระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตรา ดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ (LB144A) อายุ ๔ ปี อัตราดอกเบี้ย BIBOR ระยะ ๖ เดือน - ร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี จำนวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท ๓๑ มี.ค. ๒๕๕๓ ๘,๐๐๐ ๒ เม.ย. ๒๕๕๓ ๒ เม.ย. ๒๕๕๓ ๒ เม.ย. ๒๕๕๗ หมายเหตุ :- อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๓ จะประกาศในวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๓ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวคำนวณดอกเบี้ยจากราคาตราของพันธบัตรตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและส่วนต่าง (ถ้ามี) ตามที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดสำหรับพันธบัตรแต่ละรุ่น และแบ่งชำระดอกเบี้ยเป็นสัดส่วนของจำนวนงวดต่อปี เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้งและจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒ เมษายน และ ๒ ตุลาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๗ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยไม่มีการคำนวณดอกเบี้ยเพิ่มให้ และการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๘,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๖ ง/หน้า ๔๒/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
623704
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่ากระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. ๒/๒๕๕๐ ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒” จำนวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท (แปดพันล้านบาทถ้วน) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๓ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยให้เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงตํ่าสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงินและจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรรกระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตรา ดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ (LB141A) อายุ ๔ ปี อัตราดอกเบี้ย BIBOR ระยะ ๖ เดือน - ร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี จำนวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท ๒๗ ม.ค. ๒๕๕๓ ๘,๐๐๐ ๒๙ ม.ค. ๒๕๕๓ ๒๙ ม.ค. ๒๕๕๓ ๒๙ ม.ค. ๒๕๕๗ หมายเหตุ :- อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๓ จะประกาศในวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๓ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวคำนวณดอกเบี้ยจากราคาตราของพันธบัตรตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและส่วนต่าง (ถ้ามี) ตามที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดสำหรับพันธบัตรแต่ละรุ่น และแบ่งชำระดอกเบี้ยเป็นสัดส่วนของจำนวนงวดต่อปี เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้งและจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๙ มกราคม และ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๗ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยไม่มีการคำนวณดอกเบี้ยเพิ่มให้ และการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๘,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๖ ง/หน้า ๓๖/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
623700
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 10
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อโดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๐” จำนวน ๓,๐๐๐ ล้านบาท (สามพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ (LB406A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๙,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๓ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๐ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๐ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกันโดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๐ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๐ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๐ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๐ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๐ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ใน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑๐ (LB406A) อายุคงเหลือ ๓๐.๓๒ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕ ต่อปี จำนวน ๓,๐๐๐ ล้านบาท ๓ มี.ค. ๒๕๕๓ ๓,๐๐๐ ๕ มี.ค. ๒๕๕๓ ๒๒ ธ.ค. ๒๕๕๒ ๒๒ มิ.ย. ๒๕๘๓ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๙,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๒ มิถุนายน และ ๒๒ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๘๓ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๓,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๖ ง/หน้า ๓๐/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
623696
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 9
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อโดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๙” จำนวน ๗,๐๐๐ ล้านบาท (เจ็ดพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ (LB24DA) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๑,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๙ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๙ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๙ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๙ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๙ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๙ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๙ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๙ (LB24DA) อายุคงเหลือ ๑๔.๘๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๗๕ ต่อปี จำนวน ๗,๐๐๐ ล้านบาท ๑๐ ก.พ. ๒๕๕๓ ๗,๐๐๐ ๑๒ ก.พ. ๒๕๕๓ ๒๐ ธ.ค. ๒๕๕๒ ๒๐ ธ.ค. ๒๕๖๗ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๑,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๗๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๐ มิถุนายน และ ๒๐ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๗ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๗,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๖ ง/หน้า ๒๔/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
623692
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 8
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่ากระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อโดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘” จำนวน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นห้าพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ (LB296A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๒,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๓ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๘ (LB296A) อายุ ๑๙.๔๑ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๘๗๕ ต่อปี จำนวน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท ๒๗ ม.ค. ๒๕๕๓ ๒๔ มี.ค. ๒๕๕๓ ๗,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๒๙ ม.ค. ๒๕๕๓ ๒๖ มี.ค. ๒๕๕๓ ๒๒ ธ.ค. ๒๕๕๒ ๒๒ ธ.ค. ๒๕๕๒ ๒๒ มิ.ย. ๒๕๗๒ ๒๒ มิ.ย. ๒๕๗๒ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๒,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๘๗๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๒ มิถุนายน และ ๒๒ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๗๒ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๖ ง/หน้า ๑๘/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
623688
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 7
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อโดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗” จำนวน ๓๘,๐๐๐ ล้านบาท (สามหมื่นแปดพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ (LB155A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๗๑,๕๗๒ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๓ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำ ระหนี้กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๗ (LB155A) อายุคงเหลือ ๕.๓๓ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๒๕ ต่อปี จำนวน ๓๘,๐๐๐ ล้านบาท ๒๐ ม.ค. ๒๕๕๓ ๑๗ ก.พ. ๒๕๕๓ ๑๗ มี.ค. ๒๕๕๓ ๑๒,๐๐๐ ๑๓,๐๐๐ ๑๓,๐๐๐ ๒๒ ม.ค. ๒๕๕๓ ๑๙ ก.พ. ๒๕๕๓ ๑๙ มี.ค. ๒๕๕๓ ๒๒ พ.ย. ๒๕๕๒ ๒๒ พ.ย. ๒๕๕๒ ๒๒ พ.ย. ๒๕๕๒ ๒๒ พ.ค. ๒๕๕๘ ๒๒ พ.ค. ๒๕๕๘ ๒๒ พ.ค. ๒๕๕๘ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๗๑,๕๗๒ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๒๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม และ ๒๒ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๓๘,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๖ ง/หน้า ๑๒/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
623684
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 6
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่ากระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖” จำนวน ๒๔,๐๐๐ ล้านบาท (สองหมื่นสี่พันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ (LB196A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๖๐,๗๔๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๓ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้วให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ (LB196A) อายุคงเหลือ ๙.๔๓ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๗๕ ต่อปี จำนวน ๒๔,๐๐๐ ล้านบาท ๖ ม.ค. ๒๕๕๓ ๓ มี.ค. ๒๕๕๓ ๑๒,๐๐๐ ๑๒,๐๐๐ ๘ ม.ค. ๒๕๕๓ ๕ มี.ค. ๒๕๕๓ ๑๓ ธ.ค. ๒๕๕๒ ๑๓ ธ.ค. ๒๕๕๒ ๑๓ มิ.ย. ๒๕๖๒ ๑๓ มิ.ย. ๒๕๖๒ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๖๐,๗๔๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๗๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๓ มิถุนายน และ ๑๓ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๒ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๒๔,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูล หรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูล หรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๖ ง/หน้า ๖/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
623273
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 4
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ วงเงิน ๗,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ (LB24DA) อายุ ๑๕.๑๕ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๑๕.๐๒ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๗ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๗๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน และ ๒๐ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำนักงานประกันสังคม และบริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๗,๐๐๐ ๔.๖๙๗๕ ๗,๐๓๗,๔๓๖,๕๘๒.๑๐ ๓๗,๔๓๖,๕๘๒.๑๐ - หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๕๔/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
623271
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ วงเงิน ๒๐,๕๗๒ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ (LB155A) อายุ ๕.๖๐ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๓๓,๕๗๒ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๕.๕๒ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๒๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม และ ๒๒ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำกัด ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน และ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๑๐,๐๐๐ ๓.๙๖๔๓ ๙,๘๒๔,๒๖๒,๗๖๕.๕๕ -๒๐๓,๕๔๕,๔๓๔.๔๕ ๒๗,๘๐๘,๒๐๐ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๑๐,๕๗๒ ๓.๕๗๒๑ ๑๐,๖๒๘,๐๒๙,๒๖๓.๘๔ ๒๘,๗๓๐,๓๕๑.๑๖ ๒๗,๒๙๘,๙๑๒.๖๘ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๕๒/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
623269
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนมกราคม พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่ากระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลังหากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๔๘/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
622566
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ วงเงิน ๖,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุ ๔ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี และจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ยกเว้นงวดแรกจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยชำระดอกเบี้ยปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๓ พฤษภาคม และ ๑๓ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๑.๓ อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เท่ากับร้อยละ ๑.๓๕๐๐๐ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ ๑.๕๐๐๐๐ ต่อปี ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๖,๐๐๐ ๑.๔๘๙๑๗ ๕,๙๖๘,๐๕๔,๔๙๐ -๓๑,๙๔๕,๕๑๐ - หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๓๑/๑๑ มกราคม ๒๕๕๓
622564
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 3
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ วงเงิน ๘,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ (LB196A) อายุ ๑๐.๐๕ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๓๖,๗๔๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๙.๕๕ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๒ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๗๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๓ มิถุนายน และ ๑๓ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๘,๐๐๐ ๔.๑๕๐๔ ๗,๙๖๙,๑๑๙,๘๒๕.๖๐ -๑๗๒,๗๑๕,๗๗๔.๔๐ ๑๔๑,๘๓๕,๖๐๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๒๙/๑๑ มกราคม ๒๕๕๓
622562
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ วงเงิน ๗,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุ ๑๙.๖๐ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๗๒ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๘๗๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๒ มิถุนายน และ ๒๒ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ สำนักงานประกันสังคม และบริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๗,๐๐๐ ๔.๗๓๙๕ ๗,๑๒๐,๔๘๒,๑๐๙.๔๐ ๑๒๐,๔๘๒,๑๐๙.๔๐ - หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๒๗/๑๑ มกราคม ๒๕๕๓
622034
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ 27 ธันวาคม 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารออมสิน วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ อายุ ๓ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๑๑ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๒๗ มิถุนายน และวันที่ ๒๗ ธันวาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๑.๐๕ ต่อปี และในวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารออมสิน เป็นร้อยละ ๑.๘๓ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารออมสินจากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๘๓ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๗๕ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๙๐ ง/หน้า ๑๓/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๒
622032
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) วันที่ 27 ธันวาคม 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ อายุ ๓ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๕ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๒๗ มิถุนายน และวันที่ ๒๗ ธันวาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๙ ต่อปี และในวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นร้อยละ ๑.๗๗ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๗ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๖๙ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๙๐ ง/หน้า ๑๒/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๒
622030
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑[๑] โดยที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ลงวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ วงเงิน ๒๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นสามพันล้านบาทถ้วน) จำหน่ายได้จริงจำนวน ๒๐,๕๗๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นห้าร้อยเจ็ดสิบสองล้านบาทถ้วน) กระทรวงการคลังจึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ปรับลดวงเงินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ จากจำนวน ๒๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นสามพันล้านบาทถ้วน) เป็นจำนวน ๒๐,๕๗๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นห้าร้อยเจ็ดสิบสองล้านบาทถ้วน) ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๙๐ ง/หน้า ๑๑/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๒
622026
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ และสำนักงานประกันสังคม ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ วงเงิน ๓๗,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๓๖,๘๔๘,๐๓๓,๗๘๗.๐๙ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๑๕๑,๙๖๖,๒๑๒.๙๑ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 5/28/53 ๒,๐๐๐ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๒๘ ๑,๗๓๔,๐๕๐.๒๙ L5/91/53 ๔,๐๐๐ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๒,๓๖๒,๔๓๐.๑๓ L5/183/53 ๔,๐๐๐ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๑๘๓ ๒๘,๘๑๘,๔๗๐.๙๖ 6/28/53 ๒,๐๐๐ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๒๘ ๑,๗๕๘,๕๙๓.๗๑ L6/91/53 ๔,๐๐๐ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๒,๓๑๐,๑๑๗.๐๑ L6/182/53 ๔,๐๐๐ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๒๘,๔๔๗,๑๑๘.๖๘ 7/28/53 ๒,๐๐๐ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๒๘ ๑,๗๔๔,๒๐๐.๘๗ L7/91/53 ๔,๐๐๐ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๒,๒๑๐,๑๖๖.๒๐ L7/182/53 ๔,๐๐๐ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๒๘,๓๕๘,๔๓๙.๙๓ 8/28/53 ๒,๐๐๐ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๒๘ ๑,๗๒๓,๙๔๙.๔๕ L8/91/53 ๓,๐๐๐ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ๙๑ ๘,๙๒๘,๕๙๓.๖๖ L8/182/53 ๒,๐๐๐ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๑๓,๕๗๐,๐๘๒.๐๒ รวม ๓๗,๐๐๐ ๑๕๑,๙๖๖,๒๑๒.๙๑ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๘๑,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาจนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ จำนวน ๒๐๑,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท อย่างไรก็ดี ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาลจำนวน ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๒ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๕๘,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๙๐ ง/หน้า ๗/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๒
621845
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 5) วันที่ 23 พฤศจิกายน 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๕) วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๕) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ อายุ ๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๙ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม และวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๔ ต่อปี และในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๕) เป็นร้อยละ ๑.๗๓ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๕) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๓ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๗๐ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๗ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๗ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๘๒ ง/หน้า ๕๗/๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๒
621843
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว. (ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อโดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒” จำนวน ๗,๐๐๐ ล้านบาท (เจ็ดพันล้านบาทถ้วน) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ (LB296A) อายุ ๑๙.๖๐ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๘๗๕ ต่อปี จำนวน ๗,๐๐๐ ล้านบาท ๑๘ พ.ย. ๒๕๕๒ ๗,๐๐๐ ๒๐ พ.ย. ๒๕๕๒ ๒๐ พ.ย. ๒๕๕๒ ๒๒ มิ.ย. ๒๕๗๒ หมายเหตุ :- อัตราดอกเบี้ยจะประกาศในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๘๗๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๒ มิถุนายน และ ๒๒ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๗๒ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๗,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๗ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๗ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๘๒ ง/หน้า ๕๑/๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๒
621771
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 29 พฤศจิกายน 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ นั้น กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เท่ากับร้อยละ ๑.๓๕๐๐๐ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๘ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๘๔ ง/หน้า ๒๑/๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๒
621769
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำ หน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลังหากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลังประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๘ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๘๔ ง/หน้า ๑๗/๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๒
621251
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 4) วันที่ 16 พฤศจิกายน 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) จากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ อายุ ๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๘ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม และวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๓ ต่อปี และในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) เป็นร้อยละ ๑.๗๒ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๒ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๖๙ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๘๐ ง/หน้า ๒๖/๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๒
621249
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 4) วันที่ 16 พฤศจิกายน 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ อายุ ๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๔ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม และวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๙ ต่อปี และในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) เป็นร้อยละ ๑.๖๘ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๔) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๖๘ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๖๕ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๘๐ ง/หน้า ๒๕/๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๒
621158
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 3
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ วงเงิน ๗,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุ ๑๕.๑๕ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๗ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๗๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน และ ๒๐ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกันชีวิต และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๗,๐๐๐ ๔.๗๕๕๓ ๖,๙๙๖,๔๔๔,๔๓๖.๑๐ -๓,๕๕๕,๕๖๓.๙๐ - หมายเหตุ : วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๗๙ ง/หน้า ๑๕/๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
621156
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ วงเงิน ๓,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุ ๓๐.๗๐ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๘๓ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๒ มิถุนายน และ ๒๒ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๓,๐๐๐ ๔.๘๑๗๒ ๓,๐๘๗,๖๗๗,๗๑๐.๓๐ ๘๗,๖๗๗,๗๑๐.๓๐ - หมายเหตุ : วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๗๙ ง/หน้า ๑๓/๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
621154
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ วงเงิน ๑๓,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุ ๕.๖๐ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๒๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม และ ๒๒ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ สำนักงานประกันสังคม และบริษัทหลักทรัพย์ ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๑๓,๐๐๐ ๓.๗๖๐๑ ๑๒,๙๑๒,๔๒๓,๙๖๗.๓๐ -๘๗,๕๗๖,๐๓๒.๗๐ - หมายเหตุ : วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๗๙ ง/หน้า ๑๑/๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
620463
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ 30 กันยายน 2552 และรายการการกู้เงินและค้ำประกัน ระหว่างเดือนเมษายน - กันยายน 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ และรายการการกู้เงิน และค้ำประกัน ระหว่างเดือนเมษายน - กันยายน ๒๕๕๒[๑] ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๑๖ วรรค ๒ กำหนดให้กระทรวงการคลังสรุปรายงานสถานะหนี้สาธารณะและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายใน ๖๐ วันหลังจากสิ้นเดือนมีนาคมและเดือนกันยายนของทุกปี โดยรายงานดังกล่าวต้องแสดงหนี้สาธารณะที่เกิดจากการกู้เงินและค้ำประกัน ณ สิ้นเดือนดังกล่าว รวมทั้งรายการการกู้เงินและค้ำประกันที่เกิดขึ้นใหม่ในช่วงระยะเวลาระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม และเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน ตามลำดับ กระทรวงการคลังขอรายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ และรายการการกู้เงินและค้ำประกัน ซึ่งรวมทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ ระหว่างเดือนเมษายน - กันยายน ๒๕๕๒ ดังนี้ ๑. รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ ๑.๑ หนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ มีจำนวน ๔,๐๐๑,๙๔๒.๐๐ ล้านบาท หรือร้อยละ ๔๕.๕๕ ของ GDP ประกอบด้วย หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ๒,๕๘๖,๕๑๓.๑๘ ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ๑,๑๐๘,๕๘๐.๓๒ ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน ๒๐๘,๗๐๒.๐๒ ล้านบาท และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ๙๘,๑๔๖.๔๘ ล้านบาท หนี้สาธารณะจำนวนดังกล่าวจำแนกตามอายุของหนี้เป็นหนี้ระยะยาว ๓,๖๐๐,๙๕๗.๙๙ ล้านบาท และหนี้ระยะสั้น ๔๐๐,๙๘๔.๐๑ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๘๙.๙๘ และร้อยละ ๑๐.๐๒ และจำแนกตามแหล่งที่มาเป็นหนี้ต่างประเทศ ๓๘๔,๓๗๖.๖๘ ล้านบาท และหนี้ในประเทศ ๓,๖๑๗,๕๖๕.๓๒ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๙.๖๐ และร้อยละ ๙๐.๔๐ ตามลำดับ ดังปรากฏตามตารางที่ ๑ ตารางที่ ๑ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ หน่วย : ล้านบาท รายการ ๓๐ ก.ย. ๕๒ % GDP ๑. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ๑.๑ หนี้ต่างประเทศ ๑.๒ หนี้ในประเทศ ๒,๕๘๖,๕๑๓.๑๘ ๖๒,๙๙๗.๗๓ ๒,๕๒๓,๕๑๕.๔๕ ๒๙.๔๔ ๒. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ๒.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน - หนี้ต่างประเทศ - หนี้ในประเทศ ๒.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน - หนี้ต่างประเทศ - หนี้ในประเทศ ๑,๑๐๘,๕๘๐.๓๒ ๕๕๙,๔๗๓.๘๕ ๑๗๕,๕๔๓.๕๖ ๓๘๓,๙๓๐.๒๙ ๕๔๙,๑๐๖.๔๗ ๑๓๗,๓๕๗.๘๔ ๔๑๑,๗๔๘.๖๓ ๑๒.๖๒ ๓. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐค้ำประกัน) ๓.๑ หนี้ต่างประเทศ ๓.๒ หนี้ในประเทศ ๒๐๘,๗๐๒.๐๒ ๘,๔๗๗.๕๕ ๒๐๐,๒๒๔.๔๗ ๒.๓๘ ๔. หนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ๔.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ๔.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ๙๘,๑๔๖.๔๘ ๗๓,๗๙๔.๖๐ ๒๔,๓๕๑.๘๘ ๑.๑๒ ๕. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ ๕.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ๕.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน - - - - ๖. รวม ๑.+๒.+๓.+๔.+๕. ๔,๐๐๑,๙๔๒.๐๐ ๔๕.๕๕ หมายเหตุ :- ๑. ประมาณการ GDP ปี ๒๕๕๒ เท่ากับ ๘,๗๘๖.๒๙ พันล้านบาท (สศช. ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒) ๒. ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ยังไม่รวมหนี้ของ SPV จำนวน ๒๓,๙๙๙.๙๐ ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลมีภาระผูกพันต้องจ่ายภายใต้สัญญาเช่าพื้นที่อาคาร สัญญาบริการ สัญญาบริการจัดหาเฟอร์นิเจอร์ และสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง ของโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ ซึ่งตามระบบ GFS นับเป็นหนี้สาธารณะ ๒. รายการการกู้เงินและค้ำประกัน ระหว่างเดือนเมษายน - กันยายน ๒๕๕๒ คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะได้จัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๒ เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินการบริหารและจัดการหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ ประกอบด้วย ๖ แผนย่อย และได้ปรับปรุงแผนฯ ในระหว่างปีเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินกู้และบริหารหนี้ ซึ่งหลังการปรับปรุงแผนฯ ครั้งที่ ๔/๒๕๕๒ ทำให้วงเงินรวมในแผนฯ ที่จะบริหารจัดการมีจำนวนทั้งสิ้น ๑,๓๗๕,๕๓๕.๔๕ ล้านบาท ทั้งนี้ ในช่วงระหว่างเดือนเมษายน - กันยายน ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการกู้เงินและบริหารหนี้เป็นวงเงินทั้งสิ้น ๖๙๑,๑๖๗.๔๐ ล้านบาท ดังปรากฏตามตารางที่ ๒ ตารางที่ ๒ การกู้เงินและการบริหารหนี้ ระหว่างเดือนเมษายน - กันยายน ๒๕๕๒ หน่วย : ล้านบาท รายการ แผน ผลดำเนินการ ๑. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐบาล ๖๕๘,๐๖๐.๕๒ ๔๕๒,๕๓๐.๕๒ ๒. การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF ๑๐๕,๑๙๐.๗๒ ๔๘,๑๖๒.๐๐ ๓. การบริหารและจัดการเงินกู้ตาม พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวง การคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๕๒ ๑๕๐,๐๐๐.๐๐ ๘๐,๐๐๐.๐๐ ๔. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ ๒๙๕,๔๘๖.๕๙ ๑๐๙,๐๑๕.๑๘ ๕. การก่อหนี้จากต่างประเทศ ๑๑๔,๕๖๓.๔๔ - ๖. การบริหารหนี้ต่างประเทศ ๕๒,๒๓๔.๑๘ ๑,๔๕๙.๗๐ รวม ๑,๓๗๕,๕๓๕.๔๕ ๖๙๑,๑๖๗.๔๐ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ ๒.๑ การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐบาล ๒.๑.๑ กระทรวงการคลังได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และกรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ จำนวน ๒๒๕,๕๓๐.๕๒ ล้านบาท โดยออกพันธบัตรรัฐบาล วงเงินรวม ๑๔๕,๕๐๐.๐๐ ล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงิน วงเงินรวม ๑๔,๐๓๐.๕๒ ล้านบาท และตั๋วเงินคลัง วงเงินรวม ๖๖,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ทั้งนี้ ในส่วนของตั๋วสัญญาใช้เงินที่ได้ดำเนินการออกนั้นกระทรวงการคลังได้ไถ่ถอนก่อนครบกำหนดโดยใช้งบชำระหนี้ วงเงิน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ลดหนี้คงค้างลงตามจำนวนดังกล่าว และลดภาระดอกเบี้ย จำนวน ๖๙๗.๖๐ ล้านบาท ๒.๑.๒ กระทรวงการคลังได้ Roll - over ตั๋วเงินคลังเพื่อบริหารดุลเงินสด วงเงิน ๘๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท และตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๖๗,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ทั้งนี้ ในส่วนของตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้โดยแปลงเป็นพันธบัตรระยะยาว จำนวน ๑๙,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ๒.๑.๓ กระทรวงการคลังได้ Roll - over พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนดไถ่ถอน ๓ รุ่น วงเงินรวม ๔๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยกู้เงินระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ๕ แห่ง ตามจำนวนดังกล่าวมาชำระคืนในวันที่ครบกำหนด จากนั้นได้ออกพันธบัตรรัฐบาล ๓ รุ่น วงเงินรวม ๓๗,๗๔๐.๐๐ ล้านบาท สมทบกับเงินจากการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน ๒,๒๖๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อนำไปชำระคืนต้นเงินกู้ระยะสั้นดังกล่าว ๒.๑.๔ กระทรวงการคลังได้ Roll - over พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนดไถ่ถอน ๒ รุ่น วงเงินรวม ๓๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยกู้เงินระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ๔ แห่ง ตามจำนวนดังกล่าวมาชำระคืนในวันที่ครบกำหนด จากนั้นได้ออกพันธบัตรรัฐบาล ๓ รุ่น วงเงินรวม ๓๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อนำไปชำระคืนต้นเงินกู้ระยะสั้น ๒.๑.๕ กระทรวงการคลังได้ไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนครบกำหนด วงเงิน ๑๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยใช้งบชำระหนี้ ซึ่งทำให้ลดหนี้คงค้างลงตามจำนวนดังกล่าว และลดภาระดอกเบี้ย จำนวน ๔๓๔.๖๖ ล้านบาท ๒.๒ การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) กระทรวงการคลังได้ดำเนินการ Roll - over พันธบัตร FIDF3 (พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕) ที่ครบกำหนดไถ่ถอน จำนวน ๕๔,๒๔๕.๗๓ ล้านบาท โดยการกู้เงินระยะยาวจากสถาบันการเงิน ๒ แห่ง จำนวน ๒๓,๑๖๒.๐๐ ล้านบาท สมทบกับการกู้เงินระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ๓ แห่ง จำนวน ๑๓,๙๓๔.๖๔ ล้านบาท และเงินทดรองจ่ายจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง จำนวน ๑๑,๐๖๕.๓๖ ล้านบาท เพื่อชำระคืนหนี้ที่ครบกำหนดจากนั้นได้ออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ วงเงิน ๒๕,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท มาชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นและเงินจากบัญชีเงินฝากฯ ทั้งนี้ ในส่วนที่ไม่ได้กู้เงินเพื่อมาชำระคืนในวันที่ครบกำหนดไถ่ถอน ได้มีการชำระคืนเงินต้นจากเงินในบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวน ๖,๐๘๓.๗๓ ล้านบาท นอกจากนี้ ณ สิ้นเดือนกันยายน ๒๕๕๒ ได้ดำเนินการชำระคืนเงินกู้ระยะยาวอีกส่วนหนึ่ง จำนวน ๗๑๑.๐๐ ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมฯ ด้วย อนึ่ง ในปีงบประมาณ ๒๕๕๒ ยังมีพันธบัตร FIDF3 ที่ครบกำหนดไถ่ถอน อีก ๒ รุ่น วงเงินรวม ๙๔๔.๙๙ ล้านบาท ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการชำระคืนหนี้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนโดยใช้เงินจากบัญชีเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน แทนการ Roll - over ที่กำหนดไว้เดิม ทำให้ลดหนี้คงค้างได้ ๙๔๔.๙๙ ล้านบาท ๒.๓ การบริหารและจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๕๒ ๒.๓.๑ กระทรวงการคลังได้กู้เงินเพื่อสมทบเป็นเงินคงคลัง จำนวน ๕๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาทโดยออกพันธบัตรรัฐบาล ๒.๓.๒ กระทรวงการคลังได้กู้เงินเพื่อแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ จำนวน ๓๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยกู้เงินจากสถาบันการเงินรวม ๔ แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งกระทรวงการคลังมีแผนที่จะแปลงเป็นพันธบัตรรัฐบาลในโอกาสแรกที่ภาวะตลาดเอื้ออำนวยต่อไป ๒.๔ การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการกู้เงินและบริหารหนี้ในประเทศ จำนวนทั้งสิ้น ๑๐๙,๐๑๕.๑๘ ล้านบาท เป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๕๙,๕๗๕.๑๘ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๔๙,๔๔๐.๐๐ ล้านบาท สามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์ได้ ดังนี้ ๒.๔.๑ เงินกู้ในประเทศทดแทนเงินกู้จากต่างประเทศ รัฐวิสาหกิจ ๓ แห่ง ได้กู้เงินในประเทศทดแทนเงินกู้จากต่างประเทศวงเงินรวม ๑๐,๑๔๗.๔๕ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน ได้แก่ (๑) การไฟฟ้านครหลวงได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๑,๗๘๘.๐๐ ล้านบาท เพื่อดำเนินการตามแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ ๙ ปี ๒๕๔๗ - ๒๕๕๐ (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ ๒) จำนวน ๖๔๐.๐๐ ล้านบาท แผนงานเปลี่ยนสายป้อนอากาศเป็นสายป้อนใต้ดิน ปี ๒๕๔๗ - ๒๕๕๒ จำนวน ๑๔๘.๐๐ ล้านบาท และแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ ๑๐ ปี ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔ จำนวน ๑,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท (๒) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๘,๒๓๙.๔๕ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครใต้ ชุดที่ ๓ จำนวน ๖๙๔.๗๙ ล้านบาท โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกง ชุดที่ ๕ จำนวน ๒,๐๓๐.๘๑ ล้านบาท โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ ๑ จำนวน ๑,๕๙๓.๙๘ ล้านบาท โครงการขยายระบบไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ระยะที่ ๒ จำนวน ๙๓๑.๗๑ ล้านบาท โครงการขยายระบบส่งไฟฟ้า ระยะที่ ๑๑ จำนวน ๗๙๕.๕๖ ล้านบาท โครงการสายส่ง ๕๐๐ เควี. เพื่อการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนน้ำเทิน ๒ จำนวน ๔๐๐.๐๐ ล้านบาท โครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนน้ำงึม ๒ จำนวน ๕๒๙.๑๐ ล้านบาท โครงการระบบส่งไฟฟ้า ๕๐๐ เควี. สำหรับรับไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชน ระยะที่ ๑ จำนวน ๙๖๓.๔๙ ล้านบาท และโครงการขยายระบบส่งไฟฟ้า ระยะที่ ๑๐ จำนวน ๓๐๐.๐๐ ล้านบาท (๓) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๑๒๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๖ ส่วนที่ ๒ ๒.๔.๒ เงินกู้เงินบาทสมทบโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ รัฐวิสาหกิจ ๔ แห่ง ได้กู้เงินบาทสมทบโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ วงเงินรวม ๘,๒๔๙.๖๘ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน ได้แก่ (๑) การประปานครหลวงได้กู้เงินจากธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน ๑,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ ๗ (๒) การไฟฟ้านครหลวงได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๑,๒๑๒.๐๐ ล้านบาท เพื่อดำเนินการตามแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ ๙ ปี ๒๕๔๗ - ๒๕๕๐ (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ ๒) จำนวน ๒๐๐.๐๐ ล้านบาท แผนงานเปลี่ยนสายป้อนอากาศเป็นสายป้อนใต้ดิน ปี ๒๕๔๗ - ๒๕๕๒ จำนวน ๕๒.๐๐ ล้านบาท และแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ ๑๐ ปี ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔ จำนวน ๙๖๐.๐๐ ล้านบาท (๓) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๕,๗๖๐.๕๕ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครใต้ ชุดที่ ๓ จำนวน ๘๕๐.๘๑ ล้านบาท โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกง ชุดที่ ๕ จำนวน ๙๖๙.๑๙ ล้านบาท โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ ๑ จำนวน ๕๑๑.๗๖ ล้านบาท โครงการขยายระบบไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ระยะที่ ๒ จำนวน ๔๓๔.๒๑ ล้านบาท โครงการขยายระบบส่งไฟฟ้า ระยะที่ ๑๑ จำนวน ๑,๓๑๙.๓๔ ล้านบาท โครงการสายส่ง ๕๐๐ เควี. เพื่อการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนน้ำเทิน ๒ จำนวน ๓๐๐.๗๔ ล้านบาท โครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนน้ำงึม ๒ จำนวน ๔๗๔.๕๐ ล้านบาท โครงการระบบส่งไฟฟ้า ๕๐๐ เควี. สำหรับรับไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชน ระยะที่ ๑ จำนวน ๗๐๐.๐๐ ล้านบาท และโครงการขยายระบบส่งไฟฟ้า ระยะที่ ๑๐ จำนวน ๒๐๐.๐๐ ล้านบาท (๔) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๒๗๗.๑๓ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๖ ส่วนที่ ๑ จำนวน ๑๗๙.๕๗ ล้านบาท และโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๗ ส่วนที่ ๒ จำนวน ๙๗.๕๖ ล้านบาท ๒.๔.๓ เงินกู้เพื่อลงทุน รัฐวิสาหกิจ ๖ แห่ง ได้กู้เงินเพื่อลงทุน วงเงินรวม ๒๑,๘๔๘.๑๖ ล้านบาท เป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๑๘,๓๑๕.๒๙ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๓,๕๓๒.๘๗ ล้านบาท ได้แก่ (๑) การเคหะแห่งชาติได้กู้เงินจากธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) วงเงินรวม ๔,๐๗๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ ๓ จำนวน ๒๗๐.๐๐ ล้านบาท โครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ ๔ จำนวน ๑,๓๐๐.๐๐ ล้านบาท และโครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ ๕ จำนวน ๒,๕๐๐.๐๐ ล้านบาท (๒) การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้กู้เงินจากธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงินรวม ๓,๕๐๗.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกันเพื่อดำเนินโครงการทางพิเศษสายบางพลี - สุขสวัสดิ์ จำนวน ๒,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท โครงการทางพิเศษรามอินทราวงแหวนรอบนอกกรุงเทพ ฯ จำนวน ๑,๒๓๐.๐๐ ล้านบาท และโครงการทางยกระดับด้านทิศใต้สนามบินสุวรรณภูมิเชื่อมทางพิเศษบูรพาวิถี จำนวน ๒๗๗.๐๐ ล้านบาท (๓) การประปานครหลวงได้กู้เงินจากธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน ๕๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ ๗/๑ (๔) การประปาส่วนภูมิภาคได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงิน ๘๕๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อดำเนินการตามแผนงานก่อสร้างปรับปรุงขยายประปาชลบุรี ประปาพัทยา และประปาแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี (๕) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๓,๐๓๒.๘๗ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างและปรับปรุงเสริมระบบจำหน่าย ระยะที่ ๖ จำนวน ๖๐๖.๘๗ ล้านบาท โครงการติดตั้งศูนย์สั่งจ่ายไฟ ระยะที่ ๒ จำนวน ๓๘๘.๗๔ ล้านบาท โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๘ ส่วนที่ ๑ จำนวน ๕๘๗.๑๓ ล้านบาท โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๘ ส่วนที่ ๒ จำนวน ๒๓๔.๔๔ ล้านบาท โครงการเพิ่มความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า ระยะที่ ๒ จำนวน ๒๕๐.๐๐ ล้านบาท โครงการก่อสร้างระบบจำหน่ายด้วยสายเคเบิ้ลใต้น้ำไปยังเกาะต่าง ๆ ที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว (เกาะล้าน เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี) จำนวน ๖๙.๔๐ ล้านบาท โครงการขยายเขตติดตั้งระบบไฟฟ้าให้เกาะต่าง ๆ (เกาะสีบอยา เกาะปู เกาะพีพีดอน จังหวัดกระบี่) จำนวน ๖๐.๑๔ ล้านบาท โครงการก่อสร้างและปรับปรุงเสริมระบบจำหน่าย ระยะที่ ๗ จำนวน ๗๒๙.๑๗ ล้านบาทและโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ ๗ ส่วนที่ ๑ จำนวน ๑๐๖.๙๘ ล้านบาท (๖) การรถไฟแห่งประเทศไทยได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร และกู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน และใช้เงินกู้ Short term facility วงเงินรวม ๙,๘๘๘.๒๙ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อดำเนินโครงการจัดหารถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า ๑๑๒ คัน จำนวน ๑๙๓.๒๘ ล้านบาท และโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน ๙,๖๙๕.๐๑ ล้านบาท ๒.๔.๔ เงินกู้เพื่อดำเนินกิจการทั่วไปและอื่น ๆ รัฐวิสาหกิจ ๑๐ แห่ง ได้กู้เงินเพื่อดำเนินกิจการทั่วไปและอื่น ๆ วงเงินรวม ๔๐,๖๒๒.๕๖ ล้านบาท เป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๑๗,๖๙๒.๕๖ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๒๒,๙๓๐.๐๐ ล้านบาท ได้แก่ (๑) การไฟฟ้านครหลวงได้กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน ๑๗๑.๔๔ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อชดเชยรายได้กรณี ๖ มาตรการ ๖ เดือน (๒) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร และกู้เงินจากสถาบันการเงิน ๔ แห่ง วงเงินรวม ๒๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันเพื่อใช้ในการดำเนินงาน (๓) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร และกู้เงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) วงเงินรวม ๔,๑๓๐.๐๐ ล้านบาท แบ่งเป็นการกู้เงินที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๒,๙๐๐.๐๐ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๑,๒๓๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อชดเชยรายได้กรณี ๖ มาตรการ ๖ เดือน และใช้ในการดำเนินงาน (๔) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร และกู้เงินจากธนาคารออมสิน วงเงินรวม ๔,๕๙๔.๔๖ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อชำระค่าดอกเบี้ยเงินกู้ และหนี้ค่าน้ำมันและค่าเหมาซ่อมพร้อมดอกเบี้ย (๕) องค์การคลังสินค้าได้กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน ๔,๙๑๘.๘๔ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อใช้ในการดำเนินงาน (๖) องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรได้กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน ๑๐๗.๘๒ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อใช้ในการดำเนินงาน (๗) บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ได้กู้เงินจากธนาคารออมสิน วงเงิน ๑,๒๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน เพื่อใช้ในการดำเนินงาน (๘) สำนักงานธนานุเคราะห์ได้กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน ๕๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน เพื่อใช้ในการดำเนินงาน (๙) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๔,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อใช้ในการปล่อยสินเชื่อ (๑๐) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงิน ๑,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อใช้ในการปล่อยสินเชื่อ ๒.๔.๕ การบริหารและจัดการหนี้ รัฐวิสาหกิจ ๙ แห่ง ได้ Roll - over หนี้ที่ครบกำหนดชำระคืน วงเงินรวม ๒๘,๑๔๗.๓๓ ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๒๓,๕๖๗.๓๓ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๔,๕๘๐.๐๐ ล้านบาท ได้แก่ (๑) การเคหะแห่งชาติได้กู้เงินจากธนาคารออมสิน วงเงินรวม ๕,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน (๒) การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร และกู้เงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) วงเงินรวม ๒,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน (๓) การประปาส่วนภูมิภาคได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงิน ๑,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน (๔) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๔,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน (๕) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงิน ๕๘๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน (๖) การรถไฟแห่งประเทศไทยได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๔,๒๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน (๗) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพได้กู้เงินจากธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงินรวม ๑,๒๕๒.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน (๘) องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยได้กู้เงินจากธนาคารออมสิน วงเงิน ๑๑๕.๓๓ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน (๙) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม ๑๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท กระทรวงการคลังค้ำประกัน การ Roll - over ของรัฐวิสาหกิจทั้ง ๙ แห่ง เป็นการ Roll - over ภายใต้วงเงินที่ครบกำหนด ๓๔,๗๘๙.๓๓ ล้านบาท โดยรัฐวิสาหกิจชำระคืนหนี้ส่วนที่ไม่ได้ Roll - over จำนวน ๖,๖๔๒.๐๐ ล้านบาท ๒.๕ การก่อหนี้จากต่างประเทศ ไม่มีการดำเนินการกู้เงินตามแผนงานนี้ ๒.๖ การบริหารหนี้ต่างประเทศ กระทรวงการคลังได้ชำระคืนหนี้เงินกู้ธนาคารพัฒนาเอเชีย ๖ สัญญา ก่อนครบกำหนด วงเงินเทียบเท่า ๑,๔๕๙.๗๐ ล้านบาท โดยใช้งบชำระหนี้ ทำให้สามารถลดหนี้คงค้างจำนวน ๑,๔๕๙.๗๐ ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ย ๗๔.๔๒ ล้านบาท ๓. การกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบวงเงินของแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ๓.๑ การกู้เงินและบริหารหนี้ของบริษัทมหาชนจำกัด ที่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจ ๒ แห่ง ได้กู้เงินและบริหารหนี้รวม ๔๘,๗๐๐.๐๐ ล้านบาท ได้แก่ ๓.๑.๑ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้กู้เงิน จำนวน ๑๐,๗๐๐.๐๐ ล้านบาทเพื่อจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส ๓๓๐ - ๓๐๐ ลำที่ ๑ - ๓ และเพื่อใช้ในการดำเนินงาน นอกจากนี้ มีการ Roll - over หนี้ที่ครบกำหนดชำระคืน จำนวน ๓,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยต่ออายุตั๋วสัญญาใช้เงินหลังจากนั้นมีการแปลงเป็นเงินกู้ระยะยาว ๓.๑.๒ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้กู้เงินโดยการออกหุ้นกู้ วงเงินรวม ๓๕,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ๓.๒ การกู้เงินระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่องในรูป Credit Line รัฐวิสาหกิจ ๓ แห่ง ได้กู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องรวม ๑๑,๐๕๐.๐๐ ล้านบาท ได้แก่ (๑) การประปานครหลวง วงเงิน ๑,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท (๒) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย วงเงิน ๑๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท (๓) องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ วงเงิน ๕๐.๐๐ ล้านบาท ๔. สรุปผลการดำเนินการตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๒ (เมษายน - กันยายน ๒๕๕๒) ๔.๑ จากผลการดำเนินงานที่กล่าวมาแล้ว ในช่วงระยะเวลา ๖ เดือนหลังของปีงบประมาณ ๒๕๕๒ (เมษายน - กันยายน ๒๕๕๒) กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการบริหารและจัดการหนี้สาธารณะตามกรอบแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๒ เป็นจำนวนทั้งสิ้น ๖๙๑,๑๖๗.๔๐ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๒๕ ของแผนฯ ๔.๒ ผลการกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบวงเงินของแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ปีงบประมาณ ๒๕๕๒ รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินและบริหารหนี้ รวมทั้งสิ้น ๕๙,๗๕๐.๐๐ ล้านบาท ๔.๓ จากการดำเนินการตามข้อ ๔.๑ และ ๔.๒ กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินและบริหารหนี้รวมทั้งสิ้น ๗๕๐,๙๑๗.๔๐ ล้านบาท แบ่งเป็นการกู้เงินใหม่ จำนวน ๔๔๓,๑๔๘.๓๗ ล้านบาท และการบริหารหนี้ จำนวน ๓๐๗,๗๖๙.๐๓ ล้านบาท หน่วย : ล้านบาท หน่วยงาน ผลการดำเนินงาน การกู้ใหม่ การบริหารหนี้ รวม - รัฐบาล ๓๐๕,๕๓๐.๕๒ ๒๗๖,๖๒๑.๗๐ ๕๘๒,๑๕๒.๒๒ - รัฐวิสาหกิจ ๑๓๗,๖๑๗.๘๕ ๓๑,๑๔๗.๓๓ ๑๖๘,๗๖๕.๑๘ รวม ๔๔๓,๑๔๘.๓๗ ๓๐๗,๗๖๙.๐๓ ๗๕๐,๙๑๗.๔๐ ทั้งนี้ การกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจจำนวน ๑๖๘,๗๖๕.๑๘ ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๕๙,๕๗๕.๑๘ ล้านบาท และไม่ค้ำประกัน จำนวน ๑๐๙,๑๙๐.๐๐ ล้านบาท ๔.๔ เมื่อรวมผลการดำเนินการตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๒ ในช่วง ๖ เดือนแรก (ตุลาคม ๒๕๕๑ - มีนาคม ๒๕๕๒) และ ๖ เดือนหลัง (เมษายน - กันยายน ๒๕๕๒) กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการบริหารจัดการหนี้สาธารณะตามกรอบแผนฯ เป็นจำนวนทั้งสิ้น ๑,๑๓๕,๗๙๘.๓๗ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๘๒.๕๗ ของแผนฯ และเมื่อรวมกับการกู้เงินและบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบวงเงินของแผนฯ แล้ว ในปีงบประมาณ ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินและบริหารหนี้ รวมทั้งสิ้น ๑,๒๖๕,๒๑๑.๒๗ ล้านบาท แบ่งเป็นการกู้เงินใหม่ ๘๕๙,๔๒๕.๖๘ ล้านบาท และการบริหารหนี้ ๔๐๕,๗๘๕.๕๙ ล้านบาท ซึ่งผลของการบริหารหนี้ที่ได้ดำเนินการทั้งในส่วนของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจนั้น สามารถลดยอดหนี้สาธารณะคงค้างได้ ๔๓,๕๘๘.๒๒ ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้ ๑,๒๐๖.๖๙ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๗๓ ง/หน้า ๓๖/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
620461
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วงเงิน ๔๘,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๔๗,๗๙๘,๐๗๑,๗๔๐.๑๔ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๒๐๑,๙๒๘,๒๕๙.๘๖ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 1/28/53 ๒,๐๐๐ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๒๘ ๑,๖๐๘,๒๐๗.๑๘ L1/91/53 ๕,๐๐๐ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๖ มกราคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๔,๖๗๗,๗๗๒.๙๔ L1/182/53 ๕,๐๐๐ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๓๓,๓๘๐,๘๒๔.๓๘ 2/28/53 ๒,๐๐๐ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๒๘ ๑,๕๘๖,๖๘๕.๔๓ L2/91/53 ๕,๐๐๐ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๔,๖๑๗,๕๙๗.๓๕ L2/184/53 ๕,๐๐๐ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๓ ๑๘๔ ๓๓,๗๑๕,๘๗๗.๑๔ 3/28/53 ๒,๐๐๐ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๒๘ ๑,๖๑๘,๕๖๕.๗๘ L3/91/53 ๕,๐๐๐ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๔,๙๒๐,๔๒๙ L3/182/53 ๕,๐๐๐ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๓๓,๗๑๘,๒๐๑.๖๒ 4/28/53 ๒,๐๐๐ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๒๘ ๑,๖๘๘,๘๗๑.๒๙ L4/91/53 ๕,๐๐๐ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๓ ๙๑ ๑๕,๔๐๒,๒๖๒.๑๓ L4/182/53 ๕,๐๐๐ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๓๔,๙๙๒,๙๖๔.๙๙ รวม ๔๘,๐๐๐ ๒๐๑,๙๒๘,๒๕๙.๘๖ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๘๑,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาจนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ จำนวน ๒๐๑,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท อย่างไรก็ดี ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาลจำนวน ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๕๘,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๗๓ ง/หน้า ๓๔/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
620459
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 1 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 พฤศจิกายน 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ลงวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เท่ากับร้อยละ ๑.๓๕๐๐๐ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๗๓ ง/หน้า ๓๓/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
620457
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยลงลายมือชื่อกำกับ ในพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑[๑] เพื่อให้พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ สมบูรณ์ตามที่กำหนดในข้อ ๑๔ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ลงวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายชื่อต่อไปนี้ คือ ๑. นายชาญชัย โยธาวงษ์ ๒. นายสมศักดิ์ แหลมทองสวัสดิ์ ๓. นายศักดิ์สิทธิ์ สถิตย์พนาพร ๔. นายยรรยง ดำรงศิริ ๕. นายชลัท มกรารัตต์ เป็นพนักงานลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ประกาศ ณ วันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๗๓ ง/หน้า ๓๒/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
620455
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4 และครั้งที่ 5
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๔ และครั้งที่ ๕[๑] เพื่อให้พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๔ และครั้งที่ ๕ สมบูรณ์ตามที่กำหนดในข้อ ๑๔ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๔ และครั้งที่ ๕ ลงวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายชื่อต่อไปนี้ คือ ๑. นายชาญชัย โยธาวงษ์ ๒. นายสมศักดิ์ แหลมทองสวัสดิ์ ๓. นายศักดิ์สิทธิ์ สถิตย์พนาพร ๔. นายยรรยง ดำรงศิริ ๕. นายชลัท มกรารัตต์ เป็นพนักงานลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๔ และครั้งที่ ๕ ประกาศ ณ วันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๗๓ ง/หน้า ๓๑/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
620453
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. ๒/๒๕๕๐ ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำ เนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑” จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท (หกพันล้านบาทถ้วน) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยให้เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำ หน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงินและจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรรกระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายจะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลประเภท อัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ (LB13NA) อายุ ๔ ปี อัตราดอกเบี้ย BIBOR ระยะ ๖ เดือน – ร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท ๑๑ พ.ย. ๒๕๕๒ ๖,๐๐๐ ๑๓ พ.ย. ๒๕๕๒ ๑๓ พ.ย. ๒๕๕๒ ๑๓ พ.ย. ๒๕๕๖ หมายเหตุ :- อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ จะประกาศในวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวคำนวณดอกเบี้ยจากราคาตราของพันธบัตรตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและส่วนต่าง (ถ้ามี) ตามที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดสำหรับพันธบัตรแต่ละรุ่น และแบ่งชำระดอกเบี้ยเป็นสัดส่วนของจำนวนงวดต่อปี เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง และจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้งชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม และ ๑๓ พฤศจิกายน ของทุกปีสำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยไม่มีการคำนวณดอกเบี้ยเพิ่มให้ และการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๖,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๗๓ ง/หน้า ๒๕/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
620451
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 5
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๕[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำ เนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๕” จำนวน ๓,๐๐๐ ล้านบาท (สามพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ (LB406A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๖,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๒ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๕ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกันโดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๕ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๕ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๕ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๕ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๕ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ใน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๕ (LB406A) อายุคงเหลือ ๓๐.๕๑ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕ ต่อปี จำนวน ๓,๐๐๐ ล้านบาท ๒๓ ธ.ค. ๒๕๕๒ ๓,๐๐๐ ๒๕ ธ.ค. ๒๕๕๒ ๒๒ ธ.ค. ๒๕๕๒ ๒๒ มิ.ย. ๒๕๘๓ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๖,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๒ มิถุนายน และ ๒๒ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๘๓ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๓,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๗๓ ง/หน้า ๑๙/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
620449
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 4
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔” จำนวน ๗,๐๐๐ ล้านบาท (เจ็ดพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ (LB24DA) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๒ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคล เพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๔ (LB24DA) อายุคงเหลือ ๑๕.๐๒ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๗๕ ต่อปี จำนวน ๗,๐๐๐ ล้านบาท ๑๖ ธ.ค. ๒๕๕๒ ๗,๐๐๐ ๑๘ ธ.ค. ๒๕๕๒ ๓๐ ต.ค. ๒๕๕๒ ๒๐ ธ.ค. ๒๕๖๗ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ ทำให้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๗๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริงเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๐ มิถุนายน และ ๒๐ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๗ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๗,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๗๓ ง/หน้า ๑๓/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
620446
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 3
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อโดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำ เนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓” จำนวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท (แปดพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ (LB196A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๓๖,๗๔๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาสาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ (LB196A) อายุคงเหลือ ๙.๕๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๗๕ ต่อปี จำนวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท ๒๕ พ.ย. ๒๕๕๒ ๘,๐๐๐ ๒๗ พ.ย. ๒๕๕๒ ๑๓ มิ.ย. ๒๕๕๒ ๑๓ มิ.ย. ๒๕๖๒ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๓๖,๗๔๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๗๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๓ มิถุนายน และ ๑๓ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๒ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๘,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๗๓ ง/หน้า ๗/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
620443
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำ เนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑” จำนวน ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท (สองหมื่นสามพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ (LB155A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๓๖,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาสาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูลโดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ (LB155A) อายุคงเหลือ ๕.๕๒ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๒๕ ต่อปี จำนวน ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท ๑๑ พ.ย. ๒๕๕๒ ๑๖ ธ.ค. ๒๕๕๒ ๑๐,๐๐๐ ๑๓,๐๐๐ ๑๓ พ.ย. ๒๕๕๒ ๑๘ ธ.ค. ๒๕๕๒ ๑๖ ต.ค. ๒๕๕๒ ๒๒ พ.ย. ๒๕๕๒ ๒๒ พ.ค. ๒๕๕๘ ๒๒ พ.ค. ๒๕๕๘ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๓๖,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๒๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๒ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม และ ๒๒ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๗๓ ง/หน้า ๑/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
620322
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 3
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคาตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓” จำนวน ๗,๐๐๐ ล้านบาท (เจ็ดพันล้านบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาสาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำ หน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการ บริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๓ (LB24DA) อายุ ๑๕.๑๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๗๕ ต่อปี จำนวน ๗,๐๐๐ ล้านบาท ๒๘ ต.ค. ๒๕๕๒ ๗,๐๐๐ ๓๐ ต.ค. ๒๕๕๒ ๓๐ ต.ค. ๒๕๕๒ ๒๐ ธ.ค. ๒๕๖๗ หมายเหตุ :- อัตราดอกเบี้ยจะประกาศในวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๒ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๗๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริงเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๐ มิถุนายน และ ๒๐ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๗ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๗,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๗๐ ง/หน้า ๒๖/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
619542
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่ากระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลังหากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๖๔ ง/หน้า ๓๙/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
619540
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 (ครั้งที่ 2) วันที่ 22 ตุลาคม 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๒) วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๒) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๒ จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท อายุ ๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๐ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๒๒ เมษายน และวันที่ ๒๒ ตุลาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๙ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๒ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๒) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๐ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๖๕ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๖๔ ง/หน้า ๓๘/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
618805
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินและสำนักงานประกันสังคม ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ วงเงิน ๙๕,๕๔๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๙๕,๑๙๓,๑๐๑,๔๑๓.๗๘ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๓๔๖,๘๙๘,๕๘๖.๒๒ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 36/28/52 ๕,๐๐๐ ๒ กันยายน ๒๕๕๒ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ ๒๘ ๔,๐๓๙,๐๗๑.๙๔ L44/91/52 ๖,๐๐๐ ๒ กันยายน ๒๕๕๒ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๙๑ ๑๗,๗๑๔,๖๗๖.๗๔ L44/182/52 ๖,๕๔๐ ๒ กันยายน ๒๕๕๒ ๓ มีนาคม ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๔๑,๕๔๐,๙๐๘.๐๓ 37/28/52 ๕,๐๐๐ ๙ กันยายน ๒๕๕๒ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๒๘ ๔,๒๓๒,๕๑๔.๗๙ L45/91/52 ๖,๐๐๐ ๙ กันยายน ๒๕๕๒ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๙๑ ๑๘,๕๗๓,๕๘๓.๙๘ L45/182/52 ๖,๐๐๐ ๙ กันยายน ๒๕๕๒ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๓๘,๓๑๔,๖๖๗.๗๗ 38/28/52 ๖,๐๐๐ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๒ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๒๘ ๕,๒๘๗,๖๑๘.๖๓ L46/91/52 ๗,๐๐๐ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๒ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๙๑ ๒๑,๙๗๐,๔๔๐.๐๑ L46/182/52 ๗,๐๐๐ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๒ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๔๕,๖๒๔,๒๑๕.๕๙ 39/28/52 ๖,๐๐๐ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๒ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๒๘ ๕,๒๑๖,๙๐๗.๔๑ L47/91/52 ๗,๐๐๐ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๒ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๙๑ ๒๑,๓๘๔,๒๐๖.๘๒ L47/182/52 ๗,๐๐๐ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๒ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๔๗,๙๒๗,๖๓๖.๔๐ 40/28/52 ๗,๐๐๐ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๒๘ ๕,๗๕๐,๑๘๕.๓๘ L48/91/52 ๗,๐๐๐ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๙๑ ๒๐,๙๐๕,๙๕๙.๑๔ L48/82/52 ๗,๐๐๐ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๔๘,๔๑๕,๙๙๓.๕๙ รวม ๙๕,๕๔๐ ๓๔๖,๘๙๘,๕๘๖.๒๒ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๑๔๗,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๖๗,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับการออกตั๋วเงินคลังโดยใช้วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ จำนวน ๑๕๓,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งได้ดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม ๒๕๕๒ ทำให้มียอดวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาล จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ ล้านบาท อย่างไรก็ดี ในเดือนสิงหาคม - กันยายน ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาลจำนวน ๑๙,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นเดือน กันยายน ๒๕๕๒ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๘๑,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๖๓ ง/หน้า ๓๘/๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
618802
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 7
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ เพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนด เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ วงเงิน ๗,๗๔๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ (LB196A) อายุ ๑๐.๐๕ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๒๘,๗๔๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๙.๗๔ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๒ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๗๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๓ มิถุนายน และ ๑๓ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๖ กันยายน ๒๕๕๒ ๗,๗๔๐ ๓.๙๗๗๐ ๗,๗๕๕,๗๕๑,๗๖๗.๖๐ -๖๓,๙๕๔,๓๖๕.๔๐ ๗๙,๗๐๖,๑๓๓ หมายเหตุ :-วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๖๓ ง/หน้า ๓๖/๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
618800
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 6
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖ เพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนด เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖ วงเงิน ๗,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓ (LB283A) อายุ ๒๐.๓๐ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๖๑,๙๕๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๑๘.๕๒ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวน ในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๗๑ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๖๗ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๓ มีนาคม และ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๙ กันยายน ๒๕๕๒ ๗,๐๐๐ ๔.๔๑๐๘ ๘,๑๐๔,๙๐๐,๗๒๑ ๑,๑๐๔,๙๐๐,๗๒๑ - หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๖๓ ง/หน้า ๓๔/๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
618798
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 5
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕ เพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนดเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕ วงเงิน ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๙ (LB116A) อายุ ๒.๒๘ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๘๘,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๑.๗๖ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๗ มิถุนายน และ ๑๗ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บริษัทหลักทรัพย์ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการเมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๙ กันยายน ๒๕๕๒ ๒๓,๐๐๐ ๑.๙๙๑๖ ๒๒,๙๙๘,๐๙๓,๒๗๑.๑๖ -๙๖,๗๔๒,๓๙๘.๘๔ ๙๔,๘๓๕,๖๗๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๖๓ ง/หน้า ๓๒/๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
618795
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 7
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗[๑] โดยที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ ลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๒ วงเงิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นล้านบาทถ้วน) จำหน่ายได้จริงจำนวน ๗,๗๔๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดพันเจ็ดร้อยสี่สิบล้านบาทถ้วน) กระทรวงการคลังจึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ปรับลดวงเงินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ จากจำนวน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นล้านบาทถ้วน) เป็นจำนวน ๗,๗๔๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดพันเจ็ดร้อยสี่สิบล้านบาทถ้วน) ประกาศ ณ วันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๖๓ ง/หน้า ๓๑/๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
618749
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒” จำนวน ๓,๐๐๐ ล้านบาท (สามพันล้านบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๒ (LB406A) อายุ ๓๐.๗๐ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕ ต่อปี จำนวน ๓,๐๐๐ ล้านบาท ๑๔ ต.ค. ๒๕๕๒ ๓,๐๐๐ ๑๖ ต.ค. ๒๕๕๒ ๑๖ ต.ค. ๒๕๕๒ ๒๒ มิ.ย. ๒๕๘๓ หมายเหตุ :- อัตราดอกเบี้ยจะประกาศในวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๒ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๒ มิถุนายน และ ๒๒ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๘๓ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๓,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๖๒ ง/หน้า ๔๘/๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
618747
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑” จำนวน ๑๓,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นสามพันล้านบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ (LB155A) อายุ ๕.๖๐ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๒๕ ต่อปี จำนวน ๑๓,๐๐๐ ล้านบาท ๑๔ ต.ค. ๒๕๕๒ ๑๓,๐๐๐ ๑๖ ต.ค. ๒๕๕๒ ๑๖ ต.ค. ๒๕๕๒ ๒๒ พ.ค. ๒๕๕๘ หมายเหตุ :- อัตราดอกเบี้ยจะประกาศในวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๖๒๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๒ ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม และ ๒๒ พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๓,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๖๒ ง/หน้า ๔๒/๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
618582
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 (ครั้งที่ 3)
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๓)[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล ในไตรมาสที่ ๔ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้กับธนาคารออมสิน จำนวน ๔,๐๓๐.๕๒ ล้านบาท เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียด คือ ๑. ชำระคืนต้นเงินกู้ภายใน ๕ ปี นับแต่วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๒ โดยจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ๒. ตั๋วสัญญาใช้เงินนี้มีอัตราดอกเบี้ยซึ่งตกลงให้เปลี่ยนแปลงได้ทุก ๖ เดือน โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกด้วยร้อยละ ๐.๘๗ ต่อปี โดยปรับอัตราดอกเบี้ย FDR ทุกงวด ๖ เดือน โดยดอกเบี้ยงวดแรกของตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกให้ในวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๒ มีอัตราร้อยละ ๑.๖๓ ต่อปี กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามเกณฑ์การคำนวณข้างต้นในวันที่ ๙ มีนาคม และวันที่ ๙ กันยายน ของทุกปี โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๓. การชำระดอกเบี้ยแบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด ในวันที่ ๙ มีนาคม และวันที่ ๙ กันยายน ของทุกปี โดยดอกเบี้ยงวดแรกจะชำระในวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๓ สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินในวันที่ไถ่ถอน หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป ประกาศ ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ นริศ ชัยสูตร หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทน หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๙ ง/หน้า ๕๒/๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๒
617949
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ วงเงิน ๘,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุ ๔ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๖ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปีและจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ยกเว้นงวดแรกจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยชำระดอกเบี้ยปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๘ มีนาคม และ ๑๘ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๑.๓ อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๒ เท่ากับร้อยละ ๑.๓๕๐๐๐ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๒ ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ ๑.๕๐๐๐๐ ต่อปี ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๖ กันยายน ๒๕๕๒ ๘,๐๐๐ ๑.๔๖๑๐ ๗,๙๖๖,๐๙๕,๒๘๖ -๓๓,๙๐๔,๗๑๔ - หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สาธิต รังคสิริ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๕ ง/หน้า ๓๓/๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒
617947
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 4
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔ วงเงิน ๑๑,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ (LB145B) อายุ ๗.๓ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๒๑,๐๓๕ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๔.๗๓ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๒ มกราคม และ ๑๒ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และบริษัทหลักทรัพย์ ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ยงวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๑๑,๐๐๐ ๓.๐๓๗๖ ๑๒,๑๒๔,๓๐๘,๘๑๐.๘๐ ๑,๐๖๑,๐๒๑,๑๙๐.๘๐ ๖๓,๒๘๗,๖๒๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สาธิต รังคสิริ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๕ ง/หน้า ๓๑/๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒
617296
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลังหากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๒ ง/หน้า ๒๒/๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๒
617121
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินและสำนักงานประกันสังคม ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วงเงิน ๗๕,๕๔๑ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๗๕,๒๗๙,๔๙๒,๒๐๗.๐๘ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๒๖๑,๕๐๗,๗๙๒.๙๒ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 32/28/52 ๕,๐๐๐ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๒ กันยายน ๒๕๕๒ ๒๘ ๓,๘๘๙,๘๐๖.๘๕ L40/91/52 ๗,๐๐๐ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๙๑ ๑๘,๕๙๒,๒๘๔.๙๑ L40/182/52 ๗,๐๐๐ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๔๒,๕๙๑,๕๙๘.๖๒ 33/27/52 ๕,๐๐๐ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๙ กันยายน ๒๕๕๒ ๒๗ ๓,๗๘๙,๔๘๕.๑๑ L41/90/52 ๗,๐๐๐ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๙๐ ๑๘,๕๕๙,๓๐๖.๗๕ L41/181/52 ๗,๐๐๐ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ๑๘๑ ๔๒,๔๒๔,๑๖๕.๑๙ 34/28/52 ๕,๐๐๐ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๒ ๒๘ ๓,๘๕๑,๔๑๖.๖๗ L42/91/52 ๗,๐๐๐ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๙๑ ๑๘,๖๖๗,๕๘๖.๙๙ L42/182/52 ๗,๐๐๐ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๔๒,๙๘๔,๕๙๗.๔๖ 35/28/52 ๕,๐๐๐ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๒ ๒๘ ๔,๐๕๗,๖๒๘.๐๒ L43/91/52 ๖,๕๔๑ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๙๑ ๑๘,๒๔๘,๔๔๘.๕๘ L43/182/52 ๗,๐๐๐ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๔๓,๘๕๑,๔๖๗.๗๗ รวม ๗๕,๕๔๑ ๒๖๑,๕๐๗,๗๙๒.๙๒ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๑๔๗,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๖๗,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับการออกตั๋วเงินคลังโดยใช้วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ จำนวน ๑๕๓,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งได้ดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม ๒๕๕๒ ทำให้มียอดวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาล จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ ล้านบาท อย่างไรก็ดี ในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาลจำนวน ๑๑,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม ๒๕๕๒ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๒๘๙,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สาธิต รังคสิริ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๒ ง/หน้า ๒๐/๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๒
617119
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 6) วันที่ 26 กันยายน 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๖) วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๖) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๐ อายุ ๓ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๗๒๕ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๒๖ มีนาคม และวันที่ ๒๖ กันยายนของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๑.๐๑ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๖) เป็นร้อยละ ๑.๙๒ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๖) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๙๒ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๗๗ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ประวิช สารกิจปรีชา ที่ปรึกษาด้านหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๒ ง/หน้า ๑๙/๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๒
615563
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 กันยายน 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๒[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ ลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๒ เท่ากับร้อยละ ๑.๓๕๐๐๐ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๒ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๔๕ ง/หน้า ๑๙/๑ ตุลาคม ๒๕๕๒
614776
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ วงเงิน ๘,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุ ๔ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี และจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ยกเว้นงวดแรกจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยชำระดอกเบี้ยปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๓๑ มกราคม และ ๓๑ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๑.๓ อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เท่ากับร้อยละ ๑.๓๕๐๐๐ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ ๑.๕๐๐๐๐ ต่อปี ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และธนาคารออมสิน ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๘,๐๐๐ ๑.๔๕๓๕๐ ๗,๙๖๗,๔๖๖,๐๓๑ (๓๒,๕๓๓,๙๖๙) - หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สาธิต รังคสิริ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๓๖/๒๑ กันยายน ๒๕๕๒
614773
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 19
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๙[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๙ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำ หน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๙ วงเงิน ๓,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๕ (LB396A) อายุ ๒๙.๙๘ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๕,๕๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๒๙.๘๓ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๘๒ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๓ มิถุนายน และ ๑๓ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๙ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๓,๐๐๐ ๔.๗๐๐๘ ๓,๑๖๖,๐๗๘,๗๖๗ ๑๔๓,๐๖๕,๐๗๗ ๒๓,๐๑๓,๖๙๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สาธิต รังคสิริ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๓๔/๒๑ กันยายน ๒๕๕๒
614771
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 18
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๘[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๘ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๘ วงเงิน ๖,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๔ (LB233A) อายุ ๑๕.๒๒ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๕๐,๗๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๑๓.๕๙ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวน ในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๖ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๕๐ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๓ มีนาคม และ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ บริษัทประกันชีวิต ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๘ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๖,๐๐๐ ๔.๓๘๘๓ ๖,๘๑๔,๗๓๒,๐๖๕ ๖๗๕,๔๙๙,๑๘๕ ๑๓๙,๒๓๒,๘๘๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สาธิต รังคสิริ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๓๒/๒๑ กันยายน ๒๕๕๒
614769
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 17
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๗[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๗ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๗ วงเงิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓ (LB283A) อายุ ๒๐.๓๐ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๕๔,๙๕๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๑๘.๖๕ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวน ในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๗๑ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๖๗ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๓ มีนาคม และ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๗ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๕,๐๐๐ ๔.๔๙๘๗ ๕,๘๓๕,๕๗๙,๓๖๕ ๗๓๒,๒๗๖,๖๑๕ ๑๐๓,๓๐๒,๗๕๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สาธิต รังคสิริ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๓๐/๒๑ กันยายน ๒๕๕๒
614767
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 16
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๖[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๖ เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๖ วงเงิน ๒๒,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑ พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๙ (LB116A) อายุ ๒.๒๘ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๖๕,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ ๑.๙๐ ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตรรัฐบาล ๑.๓ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๕ ต่อปี ชำระปีละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๗ มิถุนายน และ ๑๗ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ๒. วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ ๒.๑ วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และสำนักงานประกันสังคม ๒.๒ วิธีการเสนอซื้อ ไม่มีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ๓. การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ ๒ ดำเนินการในวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๖ ดังนี้ วันที่จำหน่าย วงเงิน จำหน่าย (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) จำนวนเงิน ที่จำหน่ายได้ (บาท) ส่วนเพิ่ม/ ส่วนลด (บาท) ดอกเบี้ยค้างจ่าย ตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย งวดล่าสุดจนถึงวันที่จำหน่าย (บาท) ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๒๒,๐๐๐ ๑.๘๕๑๐ ๒๑,๙๙๗,๐๗๖,๒๐๕.๕๘ (๔๑,๙๕๑,๑๓๔.๔๒) ๓๙,๐๒๗,๓๔๐ หมายเหตุ :- วันที่ลงในพันธบัตรรัฐบาล คือ วันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ๔. กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียนและตัวแทนรับจ่ายเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ประกาศ ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สาธิต รังคสิริ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๒๘/๒๑ กันยายน ๒๕๕๒
614765
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (ครั้งที่ 3) วันที่ 3 กันยายน 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ อายุ ๓.๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๓ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๓ มีนาคม และวันที่ ๓ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๗ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) เป็นร้อยละ ๒.๒๓ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารแห่งโตเกียว - มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๒๓ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๗๓ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๒๗/๒๑ กันยายน ๒๕๕๒
614763
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 3) วันที่ 15 กันยายน 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๐ อายุ ๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๓๙ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๑๕ มีนาคม และวันที่ ๑๕ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๕ แห่ง บวกร้อยละ ๑.๐๐ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) เป็นร้อยละ ๑.๙๗ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๙๗ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๗๖ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๒๖/๒๑ กันยายน ๒๕๕๒
614761
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (ครั้งที่ 4) วันที่ 10 กันยายน 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๔) วันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๔) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๑ อายุ ๓.๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๓ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๑๐ มีนาคม และวันที่ ๑๐ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๗ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๔) เป็นร้อยละ ๒.๑๔ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๑ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๔) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๑๔ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๗๓ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๒๕/๒๑ กันยายน ๒๕๕๒
614759
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 3) วันที่ 15 กันยายน 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๐ อายุ ๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๓๘ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๑๕ มีนาคม และวันที่ ๑๕ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๕ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๙ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) เป็นร้อยละ ๑.๙๖ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๙๖ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๗๕ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๒๔/๒๑ กันยายน ๒๕๕๒
614757
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 2) วันที่ 8 กันยายน 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ อายุ ๔ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๕๑ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๘ มีนาคม และวันที่ ๘ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๕ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๘ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) เป็นร้อยละ ๒.๑๕ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๑๕ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๖๔ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๒๓/๒๑ กันยายน ๒๕๕๒
614755
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (ครั้งที่ 3) วันที่ 3 กันยายน 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ อายุ ๓.๕ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๔ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๓ มีนาคม และวันที่ ๓ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๘ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) เป็นร้อยละ ๒.๒๔ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๓) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๒๔ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๗๔ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๒๒/๒๑ กันยายน ๒๕๕๒
614753
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 2) วันที่ 8 กันยายน 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) จากธนาคารออมสิน ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ อายุ ๔ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๔๙ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๘ มีนาคม และวันที่ ๘ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๕ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๖ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) เป็นร้อยละ ๒.๑๓ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๑๓ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๖๒ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๒๑/๒๑ กันยายน ๒๕๕๒
614749
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนกันยายน พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่ากระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำ หน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลังหากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์(ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๑๐/๒๑ กันยายน ๒๕๕๒
614743
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินการจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ได้กำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๕๒ รวม ๑๒ งวด เป็นเงินจำนวน ๗๖,๐๘๑ ล้านบาท นั้น กระทรวงการคลังขอประกาศปรับลดวงเงินการจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ งวดที่ วันที่จำหน่าย วงเงินที่ประกาศ (ล้านบาท) วงเงินหลังปรับลด (ล้านบาท) L43/91/52 ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๗,๐๘๑ ๖,๕๔๑ ทำให้วงเงินการจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ปรับลดจากจำนวน ๗๖,๐๘๑ ล้านบาท เป็นจำนวน ๗๕,๕๔๑ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๖/๒๑ กันยายน ๒๕๕๒
614670
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 1) วันที่ 1 กันยายน 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๑) วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๑) ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ อายุ ๓ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๕๐ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๑ มีนาคม และวันที่ ๑ กันยายน ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๕ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๘๐ ต่อปี และเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๑) เป็นร้อยละ ๒.๑๑ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารออมสิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๑) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๑๑ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๕๖ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๖ ง/หน้า ๔๕/๑๘ กันยายน ๒๕๕๒
614668
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และสำนักงานประกันสังคม ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วงเงิน ๙๕,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๙๔,๖๖๖,๔๕๙,๙๘๒.๕๗ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๓๓๓,๕๔๐,๐๑๗.๔๓ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 27/27/52 ๕,๐๐๐ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๒๗ ๓,๘๘๖,๖๐๓.๐๗ L35/90/52 ๗,๐๐๐ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ ๙๐ ๒๐,๐๙๑,๕๖๗.๘๓ L35/181/52 ๗,๐๐๐ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๑๘๑ ๔๔,๔๕๕,๕๑๗.๔๐ 28/28/52 ๕,๐๐๐ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๒๘ ๓,๙๗๖,๖๐๘.๙๙ L36/91/52 ๗,๐๐๐ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๙๑ ๑๙,๘๖๓,๕๔๘.๐๘ L36/182/52 ๗,๐๐๐ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๖ มกราคม ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๔๓,๔๕๗,๙๖๕.๔๔ 29/29/52 ๕,๐๐๐ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๒๙ ๔,๐๒๔,๘๒๐.๗๔ L37/91/52 ๗,๐๐๐ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๙๑ ๑๘,๙๗๑,๑๘๔.๙๐ L37/182/52 ๗,๐๐๐ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๔๓,๑๓๖,๐๖๕.๒๕ 30/28/52 ๕,๐๐๐ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๒๘ ๓,๘๕๙,๗๖๗.๗๕ L38/91/52 ๗,๐๐๐ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๙๑ ๑๘,๘๖๒,๔๘๓.๔๒ L38/182/52 ๗,๐๐๐ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๔๓,๒๗๔,๐๙๐.๑๔ 31/28/52 ๕,๐๐๐ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๒๘ ๓,๘๖๗,๘๘๒.๓๖ L39/91/52 ๗,๐๐๐ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๒ ๙๑ ๑๘,๗๔๙,๓๕๙.๙๙ L39/182/๕๒ ๗,๐๐๐ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๓ ๑๘๒ ๔๓,๐๖๒,๕๕๒.๐๗ รวม ๙๕,๐๐๐ ๓๓๓,๕๔๐,๐๑๗.๔๓ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๑๔๗,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๖๗,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับการออกตั๋วเงินคลังโดยใช้วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ จำนวน ๑๕๓,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งได้ดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม ๒๕๕๒ จะทำให้ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๒ มียอดวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๖ ง/หน้า ๔๓/๑๘ กันยายน ๒๕๕๒
614666
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 7
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนดในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนดในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗” จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ (LB196A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๓๑,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๒ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๗ (LB196A) อายุคงเหลือ ๙.๗๔ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๗๕ ต่อปี จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ๑๖ ก.ย. ๒๕๕๒ ๑๐,๐๐๐ ๑๘ ก.ย. ๒๕๕๒ ๑๓ มิ.ย. ๒๕๕๒ ๑๓ มิ.ย. ๒๕๖๒ หมายเหตุ :- ๑. เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑๓ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตร รัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๓๑,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๗๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๓ มิถุนายน และ ๑๓ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๒ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๖ ง/หน้า ๓๔/๑๘ กันยายน ๒๕๕๒
614664
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 6
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนด ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนด ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖” จำนวน ๗,๐๐๐ ล้านบาท (เจ็ดพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓ (LB283A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๖๑,๙๕๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๒ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการและ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกันโดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๖ (LB283A) อายุคงเหลือ ๑๘.๕๒ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๖๗ ต่อปี จำนวน ๗,๐๐๐ ล้านบาท ๙ ก.ย. ๒๕๕๒ ๗,๐๐๐ ๑๑ ก.ย. ๒๕๕๒ ๑๓ มี.ค. ๒๕๕๒ ๑๓ มี.ค. ๒๕๗๑ หมายเหตุ :- ๑. เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๖๑,๙๕๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๖๗ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๓ มีนาคม และ ๑๓ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๗๑ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกันต้องไม่เกิน ๗,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๖ ง/หน้า ๒๘/๑๘ กันยายน ๒๕๕๒
614660
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 5
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนด ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนด ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕” จำนวน ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท (สองหมื่นสามพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๙ (LB116A) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๘๘,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๒ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕ (LB116A) อายุคงเหลือ ๑.๗๖ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๕ ต่อปี จำนวน ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท ๙ ก.ย. ๒๕๕๒ ๒๓,๐๐๐ ๑๑ ก.ย. ๒๕๕๒ ๑๗ มิ.ย. ๒๕๕๒ ๑๗ มิ.ย. ๒๕๕๔ หมายเหตุ :- ๑. เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๙ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๘๘,๐๐๐ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๗๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๗ มิถุนายน และ ๑๗ ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๒๓,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๖ ง/หน้า ๒๒/๑๘ กันยายน ๒๕๕๒
614656
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่ากระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลัง เป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. ๒/๒๕๕๐ ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑” จำนวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท (แปดพันล้านบาทถ้วน) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วยหน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยให้เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือเสนอส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงินและจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรรกระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ กรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๑ (LB139A) อายุ ๔ ปี อัตราดอกเบี้ย BIBOR ระยะ ๖ เดือน - ร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี จำนวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท ๑๖ ก.ย. ๒๕๕๒ ๘,๐๐๐ ๑๘ ก.ย. ๒๕๕๒ ๑๘ ก.ย. ๒๕๕๒ ๑๘ ก.ย. ๒๕๕๖ หมายเหตุ :- อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๒ จะประกาศในวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๒ ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวคำนวณดอกเบี้ยจากราคาตราของพันธบัตรตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและส่วนต่าง (ถ้ามี) ตามที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดสำหรับพันธบัตรแต่ละรุ่น และแบ่งชำระดอกเบี้ยเป็นสัดส่วนของจำนวนงวดต่อปี เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้งและจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ๒ วันทำการ ก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๘ มีนาคม และ ๑๘ กันยายน ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๖ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไปโดยไม่มีการคำนวณดอกเบี้ยเพิ่มให้ และการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๘,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนต่อร้อยหรือส่วนต่างต่อร้อยจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๖ ง/หน้า ๑๖/๑๘ กันยายน ๒๕๕๒
614654
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 4
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และวิธีการเสนอซื้อ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลัง ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะดำเนินการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔” จำนวน ๑๑,๐๐๐ ล้านบาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ (LB145B) ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๒๑,๐๓๕ ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อ โดยมีวิธีการ ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์ในการเสนอซื้อ ข้อ ๔ การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔ ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่าจะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูล ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้านโดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอซื้อ ต้องเสนอซื้อผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกันโดยระบุราคาตราที่เสนอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน กรณีระบบสำหรับการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนหรือเสนอซื้อไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔ ดังนี้ (๑) ในการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้านหากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้กับผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น (๒) ในการเสนอซื้อ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น ในอัตราถัวเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่มีผู้ประมูลได้ตามวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้เสนอซื้อเกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น กระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อกรณีที่มีผู้เสนอซื้อไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินจำหน่าย จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินที่จำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ข้อ ๖ ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เสนอซื้อที่ได้รับการจัดสรรจะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่เสนอซื้อแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันที่จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่เสนอซื้อภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้ชำระราคาตามข้อ ๖ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔ เข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลหรือเสนอซื้อของผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๙ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากพันธบัตรรัฐบาลประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรรัฐบาล (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๒ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากพันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล มิให้ถือว่าพันธบัตรรัฐบาลฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรรัฐบาลฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางการจำหน่าย พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔ รุ่นพันธบัตร วันที่จำหน่าย วงเงินจำหน่าย (ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณ ดอกเบี้ย วันครบกำหนด ไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๔ (LB145B) อายุคงเหลือ ๔.๗๓ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๕ ต่อปี จำนวน ๑๑,๐๐๐ ล้านบาท ๑๙ ส.ค. ๒๕๕๒ ๑๑,๐๐๐ ๒๑ ส.ค. ๒๕๕๒ ๑๒ ก.ค. ๒๕๕๒ ๑๒ พ.ค. ๒๕๕๗ หมายเหตุ :- เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑ ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น ๑๒๑,๐๓๕ ล้านบาท ข้อ ๑๖ พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๕.๒๕ ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด (วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒) ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๓ โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรรัฐบาลยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๑๒ มกราคม และ ๑๒ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรรัฐบาล ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ข้อ ๑๗ พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๘ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการจำหน่ายตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๑,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนของผู้เสนอประมูลหรือการเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายใดก็ได้ และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้เสนอประมูลหรือผู้เสนอซื้อรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดกระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) ๒. แบบเสนอซื้อตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-competitive Bid : NCB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๖ ง/หน้า ๑๐/๑๘ กันยายน ๒๕๕๒
614636
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟู และเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ๑. กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ และกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการออกพันธบัตรเงินกู้ประเภทที่เรียกว่า “พันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒” อายุ ๕ ปี จำนวน ๘๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (แปดหมื่นล้านบาทถ้วน) ๒. พันธบัตรนี้เป็นพันธบัตรชนิดออกในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตร และจดทะเบียนตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งหมื่นบาท โดยวงเงินซื้อขั้นต่ำ ๑๐,๐๐๐ บาท และซื้อเพิ่มเป็นจำนวนเท่าของ ๑๐,๐๐๐ บาท และจำกัดวงเงินซื้อขั้นสูงที่ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำหน่ายและการถือครอง ดังนี้ ๒.๑ ผู้มีสิทธิ์ซื้อประกอบด้วย บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยสภากาชาดไทย มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ วัด สถานศึกษาของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐ และนิติบุคคลอื่นใดที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร (ผู้ไม่มีสิทธิ์ซื้อ ประกอบด้วย ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บริษัทประกัน กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคลที่บริหารโดยสถาบันการเงิน กองทุนรวม คณะบุคคล บรรษัท สำนักงานประกันสังคมรัฐวิสาหกิจ บริษัท ห้างร้าน นิติบุคคลที่แสวงหากำไร นิติบุคคลอาคารชุด โรงพยาบาลเอกชนและสถานศึกษาเอกชน) ๒.๒ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ต้องการโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรรัฐบาลก่อนกำหนดสามารถกระทำได้โดยไม่จำกัดประเภทบุคคล ตั้งแต่วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ยกเว้นผู้ที่ต้องการโอนกรรมสิทธิ์เพื่อเป็นหลักประกันหรือโอนทางมรดก หรือการแบ่งทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการหย่า หรือล้มละลาย หรือการชำระบัญชี และกรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์นั้นเสียชีวิต ให้กระทำได้หลังจากได้รับใบพันธบัตรแล้วแต่กระทำในระหว่างระยะเวลา ๓๐ วัน ก่อนถึงวันกำหนดชำระคืนต้นเงินมิได้ ๒.๓ ผู้ถือกรรมสิทธิ์สามารถใช้พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ เป็นหลักประกันให้กับหน่วยงานราชการและองค์กรของรัฐ เช่น การประกันทางศาล หรือการประกันไฟฟ้า และสามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่น ๆ ได้ การโอนกรรมสิทธิ์ให้ปฏิบัติตามระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเป็นนายทะเบียนของธนาคารแห่งประเทศไทย การโอนกรรมสิทธิ์จะสมบูรณ์ เมื่อพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายได้แต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรนั้นแล้ว ๓. วันจำหน่ายพันธบัตรรุ่นนี้ คือวันที่ ๑๓ - ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดผู้ถือกรรมสิทธิ์ ดังนี้ ประเภทผู้ถือกรรมสิทธิ์ จำนวนราย จำนวนเงิน (บาท) บุคคลธรรมดา ๑๑๖,๑๓๖ ๗๙,๘๕๐,๘๔๐,๐๐๐ วัด ๑๒ ๑๑,๓๐๐,๐๐๐ สถาบันอื่นที่จัดตั้งโดยไม่แสวงหากำไร ๒๓ ๒๒,๖๐๐,๐๐๐ มูลนิธิ ๑๐๐ ๘๕,๑๗๐,๐๐๐ ส่วนราชการสังกัดรัฐบาลกลาง ๔ ๓,๒๐๐,๐๐๐ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ประมง สหกรณ์อื่น ๆ ๔ ๓,๕๐๐,๐๐๐ สหกรณ์ออมทรัพย์ ๒๕ ๒๓,๓๙๐,๐๐๐ รวม ๑๑๖,๓๐๔ ๘๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ๔. พันธบัตรรุ่นนี้ ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ๕. พันธบัตรรุ่นนี้ กำหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรออมทรัพย์เป็นแบบขั้นบันได โดยใช้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล อายุ ๕ ปี เป็นฐานในการกำหนดอัตราดอกเบี้ย + Spread โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ลำดับ ปีที่ ๑ ปีที่ ๒ ปีที่ ๓ ปีที่ ๔ ปีที่ ๕ อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละต่อปี) ๓ ๓ ๔ ๕ ๕ การชำระดอกเบี้ยให้ชำระแก่ผู้มีนามในพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่ได้จดทะเบียนไว้ หรือตามคำร้องขอของผู้มีนามในพันธบัตรฉบับนั้น ให้แบ่งชำระเงินเป็นสองงวด คือในวันที่ ๑๓ มกราคม และ ๑๓ กรกฎาคม ของทุกปี เป็นจำนวนเงินงวดละเท่า ๆ กันตลอดเวลาที่พันธบัตรยังมีอายุอยู่ ยกเว้นงวดแรกและงวดที่สองจะคำนวณดอกเบี้ยตามจำนวนวันที่ถือครองพันธบัตร สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรในวันที่ไถ่ถอนหากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป และให้ถือว่าหนึ่งปีมีสามร้อยหกสิบห้าวัน ทั้งนี้ การคำนวณดอกเบี้ยหากมีเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง การจ่ายดอกเบี้ยของพันธบัตรในแต่ละงวด จะจ่ายให้แก่ผู้มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรในทะเบียน ณ เวลาที่เริ่มต้นทำการในวันแรกแห่งระยะเวลา ๓๐ วัน ก่อนถึงกำหนดชำระดอกเบี้ย ๖. กระทรวงการคลังจะรับโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรนี้ไว้ก็ได้ โดยพันธบัตรที่กระทรวงการคลังรับโอนกรรมสิทธิ์ตามข้อนี้ให้ถือว่าเป็นพันธบัตรที่ชำระต้นเงินกู้คืนแล้ว ตั้งแต่วันรับโอนกรรมสิทธิ์ ๗. การชำระต้นเงินกู้ตามพันธบัตรประเภทนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ๘. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดจำหน่ายพันธบัตรประเภทนี้ และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ๙. กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้แก่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ดังนี้ ๙.๑ ค่าธรรมเนียมในการจัดจำหน่ายพันธบัตรในอัตราร้อยละ ๐.๐๐ ของมูลค่าพันธบัตรที่จำหน่ายได้ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) และไม่มีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติม ๙.๒ ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ตามที่จ่ายจริง ไม่เกินวงเงินที่กระทรวงการคลังกำหนด ๑๐. ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรประเภทนี้และจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ๑๑. กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้ ๑๑.๑ ค่าธรรมเนียมในการเป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงินเกี่ยวกับพันธบัตรในอัตราร้อยละ ๐.๑ ของดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ๑๑.๒ ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรตามที่จ่ายจริง ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง/หน้า ๓/๑๖ กันยายน ๒๕๕๒
612939
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 2 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 31 กรกฎาคม 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒[๑] เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ ลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังขอประกาศอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๒ สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เท่ากับร้อยละ ๑.๓๕๐๐๐ ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ลบร้อยละ ๐.๑๕ ต่อปี) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๒๕ ง/หน้า ๑๒/๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๒
612776
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 (ครั้งที่ 1) วันที่ 24 สิงหาคม 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๑) วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๑) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ จำนวน ๑๓,๕๐๐ ล้านบาท อายุ ๔ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๑๖ ต่อปี ๒.๑๘ ต่อปี ๒.๒๐ ต่อปี ๒.๒๒ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๒๔ สิงหาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๐ ต่อปี ๐.๙๒ ต่อปี ๐.๙๔ ต่อปี ๐.๙๖ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๑) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละต่อปี) จำนวน (ล้านบาท) FDR + ๐.๙๐ = ๑.๖๖ ๓,๐๐๐ FDR + ๐.๙๒ = ๑.๖๘ ๓,๐๐๐ FDR + ๐.๙๔ = ๑.๗๐ ๓,๐๐๐ FDR + ๐.๙๖ = ๑.๗๒ ๔,๕๐๐ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง/หน้า ๑๔/๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๒
612774
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (ครั้งที่ 2) วันที่ 18 สิงหาคม 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๒) วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๒) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ อายุ ๒ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๓ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๑๘ สิงหาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๗ ต่อปี และในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๒) เป็นร้อยละ ๒.๒๓ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๒) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๒๓ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๗๓ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง/หน้า ๑๓/๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๒
612772
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (ครั้งที่ 1) วันที่ 4 สิงหาคม 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๑) วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๒[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๑) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๑ อายุ ๒ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๐๔๕ ต่อปี ซึ่งตามข้อ ๔ วรรคสอง กระทรวงการคลังจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๔ สิงหาคม ของทุกปี โดยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) ๔ แห่ง บวกร้อยละ ๐.๙๘๕ ต่อปี และในวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๑) เป็นร้อยละ ๒.๒๗๕ ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๑ ดังกล่าว จึงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๑) จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๒๗๕ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑.๗๔๕ ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง/หน้า ๑๒/๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๒
612967
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดจากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนด จากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามข้อ ๓ วรรค ๒ ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยที่เป็นการสมควรชำระคืนต้นเงินกู้ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งหมด ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงินในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๐ โดยกำหนดชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน ๕,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าพันล้านบาทถ้วน) พร้อมชำระดอกเบี้ยงวดสุดท้าย ในวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๒ ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๒๐ ง/หน้า ๒๑/๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒
612965
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนด จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามข้อ ๓ วรรค ๒ ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๐ และตามข้อ ๓ วรรค ๒ ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๑) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังจะชำระคืนต้นเงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนกำหนดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยที่เป็นการสมควรชำระคืนต้นเงินกู้ให้กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำหรับตั๋วสัญญาใช้เงินตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงินในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๓) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๐ โดยกำหนดชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน ๕,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าพันล้านบาทถ้วน) พร้อมชำระดอกเบี้ยงวดสุดท้าย ในวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๒ และตั๋วสัญญาใช้เงินตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๑) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ โดยกำหนดชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน ๑๒,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นสองพันล้านบาทถ้วน) พร้อมชำระดอกเบี้ยงวดสุดท้ายในวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๒ (ทำให้มียอดคงเหลือตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นจำนวน ๑,๕๐๐ ล้านบาท) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตั๋วสัญญา ใช้เงิน ปีงบประมาณ ครั้งที่ ยอดคงค้าง (ล้านบาท) ไถ่ถอน (ล้านบาท) คงเหลือ (ล้านบาท) อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละต่อปี) พ.ศ. ๒๕๕๐ ๓ ๕,๐๐๐ ๕,๐๐๐ - FDR* + ๐.๙๙ ต่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ๑ ๓,๐๐๐ ๑,๕๐๐ ๑,๕๐๐ FDR** + ๐.๙๐ ต่อปี ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ - FDR** + ๐.๙๒ ต่อปี ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ - FDR** + ๐.๙๔ ต่อปี ๔,๕๐๐ ๔,๕๐๐ - FDR** + ๐.๙๖ ต่อปี ๑๘,๕๐๐ ๑๗,๐๐๐ ๑,๕๐๐ หมายเหตุ * คืออัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ๕ แห่ง ประกอบด้วยธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารกสิกรไทยฯ ธนาคารไทยพาณิชย์ฯ และธนาคารกรุงศรีอยุธยาฯ ** คืออัตราดอกเบี้ยอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๖ เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา เฉลี่ย ๗ วัน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ๔ แห่ง ประกอบด้วยธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารกสิกรไทยฯ และธนาคารไทยพาณิชย์ฯ ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๒๐ ง/หน้า ๑๙/๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒
612963
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายตั๋วเงินคลังในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท. นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินตั๋วเงินคลังและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินคลังประเภทไร้ใบตราสาร ข้อ ๔ ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ มีราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท โดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินคลังหากวันครบกำหนดอายุตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกใบตั๋วเงินคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องส่งคืนใบตั๋วเงินคลัง ถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดอายุไถ่ถอนอย่างน้อย ๑ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เงินให้เมื่อได้รับใบตั๋วเงินคลังแล้ว ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอประมูลและต้องเสนอว่า จะประมูลในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่เสนอประมูลไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินจำหน่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง กรณีระบบการประมูลขัดข้อง ให้ผู้ประสงค์จะซื้อตั๋วเงินคลังจะต้องเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๖ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้เสนอประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน และจะแจ้งผลการจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลทราบในวันจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ในกรณีที่มีผู้เสนอประมูลเสนออัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายราย และจำนวนที่เสนอประมูลของผู้เสนอประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันแล้วเกินวงเงินที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้เสนอประมูลที่ได้เสนอประมูลก่อนในกลุ่มนั้น ข้อ ๗ ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังจะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่จำหน่ายตั๋วเงินคลัง โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้ชำระราคาตามข้อ ๗ แล้ว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำฝากตั๋วเงินคลังเข้าบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือออกเป็นใบตราสาร ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังได้แจ้งความประสงค์ไว้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลังผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้เสนอประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมจัดการตั๋วเงินคลังอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ของวงเงินตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลังให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงและหรือพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามพิธีปฏิบัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลัง มิให้ถือว่าตั๋วเงินคลังฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๔ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการจำหน่าย และจะไม่พิจารณาจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้เสนอประมูลรายใด หรือทุกราย สำหรับจำนวนที่เสนอประมูลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการจำหน่ายตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ๒. แบบเสนอประมูลตราสารหนี้รัฐบาล (โดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid : CB)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ กันยายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๒๐ ง/หน้า ๑๕/๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒
612309
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ได้รับการจัดสรรตั๋วเงินคลัง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรบริษัทหลักทรัพย์ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และสำนักงานประกันสังคม ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ วงเงิน ๕๒,๐๐๐ ล้านบาท ได้รับเงินจำนวน ๕๑,๘๑๒,๖๗๔,๓๐๓.๔๙ บาท โดยมีส่วนลดจำนวน ๑๘๗,๓๒๕,๖๙๖.๕๑ บาท งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 23/29/52 ๓,๐๐๐ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๒๙ ๒,๓๘๑,๖๖๙.๓๗ L31/91/52 ๕,๐๐๐ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๒ กันยายน ๒๕๕๒ ๙๑ ๑๒,๘๖๘,๔๑๒.๕๖ L31/182/52 ๕,๐๐๐ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๒๘,๘๕๓,๑๗๖.๒๗ 24/28/52 ๓,๐๐๐ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๒๘ ๒,๒๗๑,๐๓๒.๕๕ L32/91/52 ๕,๐๐๐ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๙ กันยายน ๒๕๕๒ ๙๑ ๑๓,๑๐๖,๘๑๗.๖๓ L32/182/52 ๕,๐๐๐ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๓๐,๗๔๒,๓๙๓.๑๑ 25/28/52 ๓,๐๐๐ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๒๘ ๒,๓๙๘,๑๗๒.๓๖ L33/91/52 ๕,๐๐๐ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๒ ๙๑ ๑๔,๓๒๖,๔๓๑.๐๒ L33/182/52 ๕,๐๐๐ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๓๑,๖๐๗,๓๕๐.๐๓ 26/28/52 ๓,๐๐๐ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ๒๘ ๒,๔๐๑,๘๕๖.๒๓ L34/91/52 ๕,๐๐๐ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๒ ๙๑ ๑๔,๔๙๘,๓๓๗.๕๑ L34/182/52 ๕,๐๐๐ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๑๘๒ ๓๑,๘๗๐,๐๔๗.๘๗ รวม ๕๒,๐๐๐ ๑๘๗,๓๒๕,๖๙๖.๕๑ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง เป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่ง ๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ - เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๑๔๗,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นวงเงินที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๔๗ จำนวน ๖๗,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนที่ ๒ เป็นวงเงินที่ได้ขออนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับการออกตั๋วเงินคลังโดยใช้วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ จำนวน ๑๕๓,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งได้ดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม ๒๕๕๒ จะทำให้ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน ๒๕๕๒ มียอดวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ-เงินสดจ่ายของรัฐบาลจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงฯ ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๙ ง/หน้า ๔๖/๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๒