sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
480882
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. 2549
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังได้ออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทยธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิตและสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ผลการประมูลตั๋วเงินคลัง ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ งวดที่ จำนวนเงิน (ล้านบาท) วันที่ลง ในตั๋วเงินคลัง วันที่ครบกำหนด อายุ (วัน) ส่วนลด (บาท) 14/28/49 ๗,๐๐๐ ๔ มกราคม ๒๕๔๙ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ๒๘ ๑๙,๘๖๘,๔๔๒.๙๖ L14/91/49 ๗,๐๐๐ ๔ มกราคม ๒๕๔๙ ๕ เมษายน ๒๕๔๙ ๙๑ ๖๗,๐๑๙,๘๓๔.๓๘ L14/182/49 ๗,๐๐๐ ๔ มกราคม ๒๕๔๙ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ๑๘๒ ๑๔๑,๖๔๐,๔๐๓.๖๒ 15/28/49 ๗,๐๐๐ ๑๑ มกราคม ๒๕๔๙ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ๒๘ ๑๙,๔๓๖,๖๔๑.๙๔ L15/91/49 ๗,๐๐๐ ๑๑ มกราคม ๒๕๔๙ ๑๒ เมษายน ๒๕๔๙ ๙๑ ๖๖,๘๒๗,๙๘๗.๓๑ L15/182/49 ๗,๐๐๐ ๑๑ มกราคม ๒๕๔๙ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ๑๘๒ ๑๔๒,๒๓๗,๔๐๒.๒๗ 16/28/49 ๗,๐๐๐ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๙ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ๒๘ ๒๐,๐๗๒,๒๗๗.๗๐ L16/92/49 ๗,๐๐๐ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๙ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๙ ๙๒ ๖๘,๕๓๗,๐๔๙.๙๗ L16/182/49 ๗,๐๐๐ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๙ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ๑๘๒ ๑๔๒,๑๑๕,๙๕๘.๐๔ 17/28/49 ๗,๐๐๐ ๒๕ มกราคม ๒๕๔๙ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ๒๘ ๒๐,๓๔๓,๔๒๗.๑๗ L17/91/49 ๗,๐๐๐ ๒๕ มกราคม ๒๕๔๙ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๙ ๙๑ ๖๘,๘๙๐,๗๐๓.๕๙ L17/182/49 ๗,๐๐๐ ๒๕ มกราคม ๒๕๔๙ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ๑๘๒ ๑๔๒,๓๐๗,๔๘๗.๖๒ ข้อ ๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับตั๋วเงินคลัง ร้อยละ ๐.๐๑ ของจำนวนตั๋วเงินคลังที่จำหน่ายได้ ข้อ ๔ ในการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง จะเป็นการกู้เงินในรูปเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่งๆ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด เว้นแต่จะมีการลดวงเงินหรือเพิ่มวงเงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ทั้งนี้ วงเงินที่กำหนด หมายถึง วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลที่กู้ในรูปตั๋วเงินคลังสะสมมาจากปีงบประมาณก่อนๆ ซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ มีวงเงิน ๑๗๐,๐๐๐ ล้านบาท และเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้เพิ่มวงเงินอีกจำนวน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ จำนวน ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่ง ณ สิ้นเดือนมกราคม ๒๕๔๙ ตั๋วเงินคลังมียอดหนี้คงค้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๓๕,๐๐๐ ล้านบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ประกอบ ตันติยาพงศ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน นันทนา/ผู้จัดทำ ๗ มีนาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๓๒ ง/หน้า ๑/๒ มีนาคม ๒๕๔๙
480750
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศง 2549 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนด ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๑ โดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (โดยใช้สูตรการคำนวณราคา ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีการประมูล ดังนี้ (๑) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (๒) จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลโดยวิธีประมูลแบบไม่แข่งขันราคาให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน และผู้มีสิทธิ์ประมูลในตลาดแรกที่ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมประมูลแบบไม่แข่งขันราคา โดยผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคาจะต้องเสนอประมูลผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย (Outright PD) ข้อ ๒ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๑ เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๑ จะต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ผู้ประสงค์จะประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบแข่งขันราคาโดยตรง ต้องส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่าจะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อ ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูลต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง (๒) ผู้ประสงค์จะเข้าประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบไม่แข่งขันราคา ต้องยื่นความจำนงผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ภายในเวลา ๑๒.๐๐ น. ก่อนวันที่ประมูลแบบแข่งขันราคา ๑ วันทำการ และ Primary Dealers ต้องนำข้อมูลเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันเดียวกัน โดยระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท และไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ (๑) ในการประมูลแบบแข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับ และจะแจ้งผลให้ผู้ประมูลได้ทราบในวันประมูลนั้น (๒) ในการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา กระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูลแต่ละรุ่น และจะได้รับจัดสรรในราคาอัตราถัวเฉลี่ยของการประมูล โดยกรณีที่มีผู้เสนอประมูลแบบไม่แข่งขันราคา เกินร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะดำเนินการจัดสรรตามสัดส่วน ส่วนกรณีไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของวงเงินประมูล จะนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับการประมูลแบบแข่งขันราคา ข้อ ๕ ผู้ประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๑ แบบแข่งขันราคาได้ จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับผู้เข้าประมูลแบบไม่แข่งขันราคา จะต้องโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากให้กับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ที่ประมูลแทน ภายในวันทำการที่หนึ่งถัดจากวันประมูลแบบแข่งขันราคา โดยไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) ต้องรับผิดชอบชำระราคาค่าพันธบัตรที่ประมูลแบบไม่แข่งขันราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าพันธบัตรรัฐบาลภายในวันและเวลาที่กำหนดให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๗ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จำหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ และจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ ๘ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเป็นนายทะเบียนของธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๙ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตร (๒) ค่าธรรมเนียมในการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตร ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่ชำระและต้นเงินกู้ตามพันธบัตรที่ชำระคืน ข้อ ๑๐ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้เก็บรักษาพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๑ ไว้ และจะออกบัญชีรายละเอียดตราสารหนี้ให้ ข้อ ๑๑ กรณีที่มีการออกพันธบัตร มิให้ถือว่าพันธบัตรฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรฉบับนั้นแล้ว ข้อ ๑๒ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๑ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๑ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ประมูลวันที่ วงเงินประมูล(ล้านบาท) วันที่ชำระเงิน วันเริ่มคำนวณดอกเบี้ย วันครบกำหนดไถ่ถอน ครั้งที่ ๑ (LB088A) อายุคงเหลือ ๒.๔๗ ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓.๘๗๕ ต่อปี จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ๒๕ ม.ค. ๒๕๔๙ ๒,๐๐๐ ๒๗ ม.ค. ๒๕๔๙ ๕ ส.ค. ๒๕๔๘ ๕ ส.ค. ๒๕๕๑ ๘ ก.พ. ๒๕๔๙ ๒,๐๐๐ ๑๐ ก.พ. ๒๕๔๙ ๕ ก.พ. ๒๕๔๙ ๕ ส.ค. ๒๕๕๑ ๑๕ ก.พ. ๒๕๔๙ ๔,๐๐๐ ๑๗ ก.พ. ๒๕๔๙ ๕ ก.พ. ๒๕๔๙ ๕ ส.ค. ๒๕๕๑ ๒๒ ก.พ. ๒๕๔๙ ๒,๐๐๐ ๒๔ ก.พ. ๒๕๔๙ ๕ ก.พ. ๒๕๔๙ ๕ ส.ค. ๒๕๕๑ (๑) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๑ วงเงินรวม ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท เป็นการเพิ่มปริมาณ (Re-open) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ ครั้งที่ ๑ (LB088A) อายุ ๓ ปี ทำให้วงเงินรวมของพันธบัตรรุ่นนี้เป็น ๓๗,๕๐๐ ล้านบาท (วันเปิดจำหน่ายครั้งแรกวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๔๘) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๔๙ (๒) การคำนวณดอกเบี้ยของพันธบัตรประเภทนี้จะคำนวณจากมูลค่าของพันธบัตร โดยเริ่มคำนวณจากวันชำระดอกเบี้ยครั้งล่าสุด ถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรหนึ่งวัน การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง โดยตลอดเวลาที่พันธบัตรยังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ และ ๕ สิงหาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตร ณ วันไถ่ถอนพันธบัตร หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป (๓) พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนคืนในวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๑ เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจำนวนที่ออก และจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป โดยการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร ข้อ ๑๓ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ ดังนี้ (๑) ปรับเปลี่ยนการประมูลตามที่กระทรวงการคลังเห็นสมควร ทั้งนี้ วงเงินรวมของพันธบัตรรัฐบาลที่ประมูลทุกงวดรวมกัน ต้องไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท (๒) กระทรวงการคลังจะไม่รับประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้และจะจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร (๓) ในกรณีที่การดำเนินการประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงการคลังจะดำเนินการตามความเหมาะสม ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ใบประมูลซื้อและฝากพันธบัตรรัฐบาล (พันธบัตรประเภท SCRIPLESS) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) นันทนา/ผู้จัดทำ ๓ มีนาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๒/๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
480748
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินระยะสั้นเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินระยะสั้นเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรค ๓ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ๓ แห่ง เพื่อนำมาใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลจำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ที่ครบกำหนดในวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๙ โดยมีเงื่อนไขสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ๑. วงเงินกู้จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยเบิกเงินกู้ทั้งจำนวน ในวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๙ ตามรายละเอียด ดังนี้ ลำดับ สถาบันการเงิน วงเงินกู้ อัตราดอกเบี้ย (ล้านบาท) (ร้อยละต่อปี) ๑ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) ๒,๐๐๐ ๔.๑๑ ๒ ธนาคารออมสิน ๒,๐๐๐ ๔.๑๙ ๓ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ๖,๐๐๐ ๔.๒๕ รวมทั้งสิ้น ๑๐,๐๐๐ ๒. ระยะเวลาในการชำระคืนต้นเงินไม่เกิน ๒ เดือน โดยจะนำเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๑ มาทยอยชำระคืนภายในวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๙ ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นันทนา/ผู้จัดทำ ๑ มีนาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๑/๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
454848
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลัง
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประมูลตั๋วเงินคลัง กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังตามวงเงินและรายละเอียดในตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลอัตราผลตอบแทน (ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.นว.(ว) ๑๐๘๖/๒๕๓๘ เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขายและคำนวณราคาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง) และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดการแทนกระทรวงการคลังตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการคลังจะออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังโดยวิธีการประมูลให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๒[๑] ตั๋วเงินคลังตามข้อ ๑ จะออกโดยมีดอกเบี้ยเป็นส่วนลด และใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อครบกำหนดอายุนับแต่วันที่ลงในตั๋ว ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะประมูลตั๋วเงินคลัง ต้องยื่นใบประมูลซื้อและฝากตั๋วเงินคลังตามแบบที่แนบ หรือส่งข้อมูลทางระบบการประมูลตราสารหนี้โดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายในเวลา ๙.๓๐ น. ของวันที่ประมูล โดยระบุราคาตรารวมที่เสนอซื้อและต้องเสนอว่า จะซื้อในอัตราผลตอบแทนร้อยละเท่าใด ไม่เกิน ๓ อัตรา (ทศนิยมไม่เกิน ๔ ตำแหน่ง) และในการเสนอประมูลแต่ละอัตราต้องระบุราคาตราที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน โดยวงเงินรวมที่เสนอประมูล ต้องไม่เกินวงเงินประมูลตามประกาศกระทรวงการคลัง ข้อ ๔ กระทรวงการคลังจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยสูงขึ้นไปตามลำดับจนกว่าจะครบวงเงินที่กำหนด ข้อ ๕ กระทรวงการคลังสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับใบประมูลของผู้ประมูลรายใดก็ได้และจะจัดสรรตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้ประมูลรายใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร ข้อ ๖ ผู้ประมูลตั๋วเงินคลังได้จะต้องชำระราคาภายในเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันทำการที่สองถัดจากวันที่ประมูล โดยยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวัน งานจัดการตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ประมูลได้ไม่ชำระราคาค่าตั๋วเงินคลังภายในวันและเวลาที่กำหนดให้ถือว่าผู้ประมูลได้ผิดนัดชำระหนี้ กระทรวงการคลังอาจพิจารณาระงับสิทธิการทำธุรกรรมประมูลของผู้ประมูลรายนั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ข้อ ๘ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้เก็บรักษาตั๋วเงินคลังไว้ และจะออกหนังสือรับฝากตั๋วเงินคลังให้ ข้อ ๙ การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำตั๋วเงินคลัง จะต้องไปยื่นขอจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์หรือการจำนำที่ธนาคารแห่งประเทศไทย และเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการแล้วจะเก็บรักษาตั๋วเงินคลังไว้และออกหนังสือรับฝากให้ ข้อ ๑๐ ถ้าผู้ฝากซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้รับจำนำมีความประสงค์จะขอถอนคืนการฝากตั๋วเงินคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาออกตั๋วเงินคลังโดยระบุชื่อผู้ขอถอนคืนเป็นผู้รับเงิน ข้อ ๑๑ กรณีที่มีการออกตั๋วเงินคลังนี้มิให้ถือว่าฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินคลังฉบับนั้นแล้ว ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ศานิต ร่างน้อย รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงการคลัง ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางกำหนดการประมูลตั๋วเงินคลังประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 ๒. ใบประมูลซื้อและฝากตั๋วเงินคลัง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ศิริยา/พิมพ์ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๘ สุนันทา/ฐิติพงษ์/ตรวจ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๑๓๒ ง/หน้า ๑๔/๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
715619
คำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ 1275/2557 เรื่อง การมอบอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการลงนามในตราสารหนี้
คำสั่งกระทรวงการคลัง คำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ ๑๒๗๕/๒๕๕๗ เรื่อง การมอบอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในการลงนามในตราสารหนี้[๑] เพื่อให้การดำเนินการกู้เงินโดยวิธีการออกตราสารหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ และกฎหมายว่าด้วยการให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงมอบอำนาจการลงนามในตราสารหนี้ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ ๑. รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน มีอำนาจลงนามในตั๋วสัญญาใช้เงิน และตราสารหนี้อื่นที่คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะกำหนด ๒. ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ มีอำนาจลงนามในตั๋วเงินคลัง ๓. เงื่อนไขและการรายงานผลการใช้อำนาจ ๓.๑ ในกรณีที่ผู้รับมอบอำนาจตามข้อ ๑ และข้อ ๒ ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้ซึ่งทำหน้าที่รักษาราชการแทนผู้มอบอำนาจตามคำสั่งกระทรวงการคลังและคำสั่งสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (แล้วแต่กรณี) มีอำนาจดำเนินการตามคำสั่งมอบอำนาจนี้ได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา ๔๔ มาตรา ๔๖ และมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ๓.๒ การปฏิบัติราชการที่ได้มีการมอบอำนาจไว้แล้วตามคำสั่งนี้ หากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเห็นสมควรดำเนินการด้วยตนเองเป็นครั้งคราวตามความเหมาะสมและจำเป็น ให้ถือปฏิบัติตามนั้นเป็นรายกรณี ๓.๓ การรายงานผลการใช้อำนาจ เมื่อมีการใช้อำนาจที่มอบไว้ตามคำสั่งนี้แล้วให้ผู้รับมอบอำนาจหรือผู้รักษาราชการแทน (แล้วแต่กรณี) รายงานผลการใช้อำนาจต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นระยะตามความเหมาะสมของเรื่องที่มอบอำนาจในแต่ละเรื่องด้วย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ สมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/จัดทำ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗ วันทิตา/ตรวจ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๓๐/๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๗
502036
คำสั่งกระทรวงการคลังที่ 532/2549 เรื่อง การลงนามในตั๋วสัญญาใช้เงิน สัญญากู้เงิน หนังสือหรือสัญญาค้ำประกันของกระทรวงการคลัง
คำสั่งกระทรวงการคลัง คำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ ๕๓๒/๒๕๔๙ เรื่อง การลงนามในตั๋วสัญญาใช้เงิน สัญญากู้เงิน หนังสือหรือสัญญาค้ำประกันของ กระทรวงการคลัง[๑] เพื่อให้การปฏิบัติราชการของกระทรวงการคลังเป็นไปด้วยความรวดเร็ว เหมาะสม และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งได้ประกาศใช้บังคับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๑๒ จึงเห็นสมควรมอบอำนาจให้ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน หรือ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในการลงนามในตั๋วสัญญาใช้เงิน สัญญากู้เงิน หนังสือหรือสัญญาค้ำประกัน ซึ่งเกี่ยวกับการกู้เงินและค้ำประกันภายในประเทศตามนัยเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังและคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นันทนา/จัดทำ ๘ สิงหาคม ๒๕๔๙ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๘๓ ง/หน้า ๑๗/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๙
479847
คำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ 74/2549 เรื่อง การมอบอำนาจลงนามในเอกสารเกี่ยวกับการกู้เงินจากตลาดเงินทุนต่างประเทศ
คำสั่งกระทรวงการคลัง คำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ ๗๔/๒๕๔๙ เรื่อง การมอบอำนาจลงนามในเอกสารเกี่ยวกับการกู้เงินจากตลาดเงินทุนต่างประเทศ[๑] เพื่อให้การปฏิบัติราชการของกระทรวงการคลังในส่วนที่เกี่ยวกับการกู้เงินจากตลาดเงินทุนต่างประเทศเป็นไปด้วยความรวดเร็วและเหมาะสม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๑๒ ประกอบกับพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๘ (๒) และกฎกระทรวงว่าด้วยกลุ่มภารกิจ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖ จึงเห็นสมควรมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติการปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่น ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งหรือมติของคณะรัฐมนตรีที่มิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น หรือมิได้ห้ามเรื่องการมอบอำนาจไว้ให้แก่ รองปลัดกระทรวงการคลังหัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน หรือผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สั่งและปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในเรื่อง ดังต่อไปนี้ ๑. ลงนามในตราสารหนี้ในรูป Global Certificate หรือที่จะเรียกในชื่ออื่น ๒. ลงนามในสัญญากู้ หนังสือหรือสัญญาค้ำประกัน และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกู้เงินจากตลาดเงินทุนต่างประเทศ ๓. ลงนามในประกาศกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้องกับการกู้เงินจากตลาดเงินทุนต่างประเทศ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชัชสรัญ/จัดทำ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๑๔/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
762153
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2549 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ ประกอบกับมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ข้อ ๔ ให้สำนักงานกำหนดตารางเวลาการจัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะ และดำเนินการต่าง ๆ ดังนี้ (๑) ศึกษา วิเคราะห์ภาวะตลาดการเงิน ตลาดทุนทั้งในและต่างประเทศ นวัตกรรมทางการเงินและประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และฐานะการเงินการคลังของประเทศเพื่อเสนอแนะนโยบายและแนวทางในการบริหารหนี้สาธารณะ ให้เหมาะสมภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง (๒) ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อรวบรวมคำขอและจัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ ส่งให้สำนักงานพิจารณากลั่นกรองการบริหารหนี้สาธารณะภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ทั้งนี้ แผนดังกล่าวต้องครอบคลุมถึงการกู้เงิน การค้ำประกัน การให้กู้ต่อ การปรับโครงสร้างหนี้และการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหนี้ทั้งจากแหล่งในประเทศและต่างประเทศ (๓) เสนอคณะกรรมการพิจารณาแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณภายในเดือนสิงหาคมของทุกปี เพื่อนำเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี รายละเอียดของแผนที่จะนำเสนออย่างน้อยต้องประกอบด้วย หน่วยงานผู้ขอกู้ แหล่งเงินที่คาดว่าจะกู้ วงเงินกู้ เงินบาทสมทบ และกำหนดการกู้เงิน โดยต้องแสดงให้เห็นว่าวงเงินกู้ตามแผน เมื่อรวมกับวงเงินที่คาดว่าจะกู้ในช่วงห้าปีถัดไปแล้ว สัดส่วนยอดหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และภาระหนี้ต่องบประมาณจะต้องอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง สำหรับสัดส่วนภาระหนี้ต่างประเทศต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการต้องมีอัตราโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละเก้า ข้อ ๕ เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณตามข้อ ๔ แล้ว ห้ามมิให้มีการก่อหนี้นอกเหนือจากที่ได้รับอนุมัติตามแผน เว้นแต่กรณีมีความจำเป็นโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ในกรณีที่มีการปรับปรุงแผน ให้นำแผนที่ปรับปรุงแล้วเสนอคณะกรรมการพิจารณาหากแผนดังกล่าวเกินกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติ จะต้องตัดวงเงินกู้ที่มีอยู่ในแผนออก เพื่อมิให้มีการก่อหนี้เกินกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติตามแผน ข้อ ๖ ในกรณีที่จำเป็นต้องก่อหนี้หรือปรับปรุงแผนเกินกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามข้อ ๕ ให้สำนักงานพิจารณาความเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ ๘ และกรอบความยั่งยืนและการรักษาวินัยทางการคลัง แล้วนำเสนอคณะกรรมการพิจารณาเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติตามลำดับ ข้อ ๗ ให้สำนักงานรายงานผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ พร้อมทั้งสถานะหนี้สาธารณะของประเทศต่อคณะรัฐมนตรีทุกหกเดือน ข้อ ๘ ในการจัดทำแผนบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้สำนักงานรวบรวมและจัดทำแผน โดยพิจารณาความจำเป็นของการกู้เงิน การค้ำประกัน การให้กู้ต่อหรือการดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับหนี้สาธารณะตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นโครงการที่สอดคล้องกับทิศทาง ยุทธศาสตร์ นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ (๒) เป็นโครงการที่มีรายงานศึกษาความเหมาะสมด้านเทคนิค เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและการเงิน (๓) เป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแล้ว หรือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นชอบแล้ว หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาโครงการของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถทำการกู้เงินได้ในปีงบประมาณนั้น (๔) เป็นการลงทุนที่จะได้รับรายได้ตอบแทนเป็นเงินตราต่างประเทศหรือสามารถประหยัดเงินตราต่างประเทศ หรือมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างคุ้มค่า โดยคำนึงถึงผลกระทบของความเสี่ยงทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนด้วย (๕)[๒] รัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินภาครัฐที่จะก่อหนี้ต้องมีฐานะทางการเงินที่มั่นคง หรือมีความสามารถในการชำระคืนหนี้ได้ ทั้งนี้ ในกรณีของรัฐวิสาหกิจจะต้องมีสัดส่วนความสามารถในการทำรายได้เทียบกับภาระหนี้ของกิจการนับแต่มีการก่อหนี้ ในอัตราไม่ต่ำกว่าหนึ่งจุดห้าด้วย (๖) หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินภาครัฐจะต้องมีความสามารถในการดำเนินโครงการและแผนงานเงินกู้ได้ตามที่เสนอ โดยมีความพร้อมทางด้านบุคลากรและงบประมาณสมทบ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินภาครัฐมีความจำเป็นต้องก่อหนี้แต่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่งได้ ให้สำนักงานเสนอคณะกรรมการพิจารณาเป็นรายกรณี ข้อ ๙ โครงการลงทุนภาครัฐที่จะดำเนินการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอันจะมีผลเป็นการก่อหนี้สาธารณะ ให้หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินภาครัฐจัดทำโครงการเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อวิเคราะห์โครงการ เพื่อประโยชน์ในการกำหนดกรอบการบริหารหนี้สาธารณะของประเทศ ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการลงทุนภาครัฐและจัดทำแผนความต้องการเงินกู้ของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินภาครัฐในระยะสามถึงห้าปีถัดไป รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของโครงการที่จะขอใช้เงินกู้ตามแผนดังกล่าวในแต่ละปีงบประมาณ การดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำหนด ข้อ ๑๐ สำนักงานอาจขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดทำและรายงานหนี้ต่างประเทศของภาคธนาคารและธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร รวมทั้งประมาณการสภาพคล่องของตลาดการเงินในประเทศเพื่อประกอบการพิจารณาการบริหารจัดการหนี้สาธารณะของคณะกรรมการได้ตามที่จำเป็น ข้อ ๑๑ ให้หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินภาครัฐ หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งแผนการบริหารหนี้สาธารณะให้สำนักงานทราบตามตารางเวลาการจัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะ และให้จัดทำรายงานผลการก่อหนี้ใหม่ รวมทั้งการเบิกจ่ายเงินกู้การปรับโครงสร้างหนี้ โดยระบุเงื่อนไขที่เป็นสาระสำคัญภายในสิบห้าวันหลังจากดำเนินการ พร้อมทั้งจัดทำรายงานสถานะหนี้สาธารณะ ข้อ ๑๒ ให้สำนักงานขอความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินภาครัฐ หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดส่งข้อมูล ดังต่อไปนี้ (๑) การก่อหนี้และการปรับโครงสร้างหนี้ที่ไม่ใช่หนี้สาธารณะ ตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ หลังจากที่ได้มีการผูกพันในสัญญา ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวอย่างน้อยจะต้องระบุวัตถุประสงค์ วงเงิน สกุลเงิน ระยะเวลาในการชำระหนี้ อัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องและเงื่อนไขการเบิกจ่าย (๒) การทำธุรกรรมอื่นนอกเหนือจากการก่อหนี้แต่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงภาระผูกพันที่จัดเป็นหนี้สาธารณะ เช่น การแปลงหนี้ (SWAP) การขยายเวลา การชำระหนี้ หลังจากที่ได้มีการทำธุรกรรมนั้น ข้อ ๑๓ ให้หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินภาครัฐ หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำรายงานสถานะหนี้สาธารณะ ประกอบด้วย การเบิกจ่ายเงินกู้ ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และความก้าวหน้าของโครงการหรือแผนงานแต่ละเดือน เสนอสำนักงานตามแบบที่กำหนดภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป ข้อ ๑๔ ในการบริหารหนี้สาธารณะ ให้สำนักงานมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) ดำเนินการจัดหาเงินกู้ตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสม (๒) กำหนดรูปแบบ วิธีการ เงื่อนไขการกู้เงิน และการออกตราสารหนี้ (๓) กำหนดค่าใช้จ่ายในการกู้เงิน การออกและจัดการตราสารหนี้ ให้เหมาะสมกับเงื่อนไขของแหล่งเงินกู้ (๔) ดำเนินการให้มีการลงนามผูกพันในสัญญากู้เงิน สัญญาค้ำประกัน การให้กู้ต่อ และการปรับโครงสร้างหนี้ และการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหนี้ (๕) กำกับ ติดตามให้หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินภาครัฐปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญากู้เงิน สัญญาค้ำประกัน และสัญญาให้กู้ต่อให้เป็นไปตามข้อผูกพันและกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ (๖) ติดตามการบริหารโครงการหรือแผนงาน และจัดทำรายงานเสนอต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับความคืบหน้าผลการดำเนินงาน การเบิกจ่าย ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไข รวมทั้งพิจารณาปรับวงเงินค่าใช้จ่าย และระยะเวลาดำเนินโครงการหรือแผนงานได้ตามความจำเป็น เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น (๗) จัดทำรายงานการกู้เงินและการค้ำประกันที่กระทำในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้วเสนอต่อกระทรวงการคลังเพื่อเสนอรัฐสภาทราบตามมาตรา ๑๗ และจัดทำรายงานสถานะของหนี้สาธารณะเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อเสนอต่อกระทรวงการคลังและคณะรัฐมนตรีตามมาตรา ๓๕ (๑) (๘) บริหารงบชำระหนี้ให้สอดคล้องกับภาระหนี้ที่ครบกำหนด และแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ ข้อ ๑๕ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินภาครัฐ หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ใช้เงินกู้ตามวัตถุประสงค์ ไม่ปฏิบัติตามกรอบที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ หรือไม่มีศักยภาพในการบริหารจัดการโครงการหรือแผนงาน โดยดำเนินงานล่าช้ากว่ากรอบเวลาที่กำหนดมาก หรือขัดกับข้อกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติของทางราชการ ให้สำนักงานทักท้วงไปยังหน่วยงานดังกล่าว เพื่อให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเร็ว และหากไม่ดำเนินการแก้ไขให้สำนักงานรายงานคณะกรรมการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาระงับการใช้เงินกู้นั้น ข้อ ๑๖ ในกรณีที่โครงการหรือแผนงานใดได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ให้สำนักงานติดตามประเมินผล และจัดทำรายงานผลสำเร็จของโครงการนั้น ประกอบด้วย ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลกระทบของโครงการ และความยั่งยืนของโครงการเพื่อเสนอต่อกระทรวงการคลังพร้อมกับรายงานการกู้เงินและการค้ำประกันตามข้อ ๑๔ (๗) ข้อ ๑๗ ให้สำนักงานเป็นผู้ดำเนินการเจรจาและลงนามขอรับความช่วยเหลือทางการเงินและทางวิชาการที่ไม่มีดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจากแหล่งเงินกู้ เช่น ธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเชีย ข้อ ๑๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ทะนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙[๓] ศิรวัชร์/จัดทำ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๕๙ ง/หน้า ๓๑/๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ [๒] แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๘๘ ง/หน้า ๑/๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๙
808780
ระเบียบคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะว่าด้วยหลักเกณฑ์การกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2561
ระเบียบคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๕ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง “รายได้” หมายความว่า ภาษีอากร ค่าธรรมเนียม รายได้จากทรัพย์สิน รายได้จากการพาณิชย์ รายได้จากกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ตลอดจนเงินและทรัพย์สินอื่นที่มีผู้อุทิศให้ แต่ไม่รวมถึงเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ “ภาระชำระหนี้” หมายความว่า ผลรวมของเงินต้นและดอกเบี้ยเงินกู้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องชำระหนี้เงินกู้คืนในแต่ละปี รวมถึงกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องชำระหนี้เงินกู้คืนเงินทุนส่งเสริมกิจการองค์การบริหารส่วนจังหวัด เงินทุนส่งเสริมกิจการเทศบาล เงินทุนส่งเสริมกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ตลอดจนเงินชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยที่จ่ายให้กับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น “โครงการลงทุน” หมายความว่า โครงการที่มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายตลอดจนระยะเวลาการดำเนินงานที่แน่ชัดซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ หรืออาจใช้ประโยชน์ได้มากกว่าหนึ่งปีขึ้นไป “แผนพัฒนาท้องถิ่น” หมายความว่า แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด แผนพัฒนาเทศบาล แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร แผนพัฒนาเมืองพัทยา หรือแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ข้อ ๔ ระเบียบนี้ใช้บังคับกับการกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยกเว้นการกู้เงินจากเงินทุนส่งเสริมกิจการองค์การบริหารส่วนจังหวัด เงินทุนส่งเสริมกิจการเทศบาล เงินทุนส่งเสริมกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ข้อ ๕ ให้ประธานกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะรักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ หมวด ๑ การกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อ ๖ การกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องกระทำโดยความรอบคอบและคำนึงถึงความคุ้มค่า ความยั่งยืนทางการคลัง ความสามารถในการจัดหารายได้ การชำระหนี้ การกระจายภาระการชำระหนี้ เสถียรภาพและความยั่งยืนทางการคลัง ทั้งนี้ ให้มีการติดตามประเมินผลการรายงานการใช้จ่ายเงินกู้ และการเปิดเผยต่อประชาชนในท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ข้อ ๗ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกู้เงินได้เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) การดำเนินโครงการลงทุน (๒) การปรับโครงสร้างหนี้ (๓) ทุนหมุนเวียน บรรดาเงินที่ได้รับจากการกู้เงินตามวรรคหนึ่ง ให้นำไปใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ของการกู้เงิน ข้อ ๘ โครงการลงทุนที่จะดำเนินการกู้เงินตามข้อ ๗ (๑) ต้องมีลักษณะเป็นโครงการที่มีเป้าหมายในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต ส่งเสริมการประกอบอาชีพหรือสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน หรือก่อให้เกิดการเพิ่มพูนรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นโครงการตามอำนาจหน้าที่และภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (๒) เป็นโครงการที่อยู่ในแผนพัฒนาท้องถิ่น (๓) ไม่เป็นโครงการที่ดำเนินการแข่งขันกับเอกชน (๔) ไม่เป็นโครงการเกี่ยวกับการศึกษาวิจัย ทัศนศึกษาดูงาน หรือการจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวม (๕) ไม่เป็นโครงการที่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด การจัดทำโครงการลงทุนเพื่อขอความเห็นชอบหรืออนุมัติการกู้เงินดังกล่าวตามที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมทางด้านเทคนิค และแสดงให้เห็นถึงรายได้หรือผลตอบแทนทางเศรษฐกิจหรือสังคม พร้อมทั้งรายละเอียดและวงเงินกู้ของโครงการ รวมถึงแผนการชำระหนี้เงินกู้จากผลตอบแทนของโครงการ หากโครงการลงทุนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอขอกู้เงินตามวรรคหนึ่งอาจมีผลกระทบต่อชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นและเปิดเผยต่อสาธารณชน และต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๙ การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ตามข้อ ๗ (๒) ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) เฉพาะเพื่อเป็นการประหยัด ลดความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยน หรือกระจายภาระการชำระหนี้ (๒) กู้ได้ไม่เกินจำนวนเงินต้นที่ค้างชำระ และหากเป็นการกู้เงินรายใหม่เพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ที่เป็นเงินบาทให้กู้เป็นเงินบาทเท่านั้น (๓) การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ที่ใช้เพื่อการลงทุน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกู้ได้ไม่เกินอายุโครงการลงทุนที่เหลืออยู่ ข้อ ๑๐ การกู้เงินเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนตามข้อ ๗ (๓) ให้กระทำได้เฉพาะเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการสถานธนานุบาล ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด ข้อ ๑๑ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะกู้เงินตามข้อ ๗ (๑) ได้เมื่อการกู้นั้นไม่ก่อให้เกิดภาระชำระหนี้เกินกว่าร้อยละสิบต่อรายได้เฉลี่ย รายได้เฉลี่ยตามวรรคหนึ่งให้คำนวณจากประมาณการรายได้ตามเอกสารงบประมาณท้องถิ่นในปีที่กู้เงิน และรายได้ย้อนหลังสองปี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจกู้เงินเมื่อมีภาระชำระหนี้เกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งได้ หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสามารถในการชำระหนี้โดยไม่กระทบต่อรายจ่ายประจำ ทั้งนี้ ให้ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๒ ข้อ ๑๒ การกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นเงินตราต่างประเทศหรือเป็นสกุลเงินบาทให้กระทำได้โดยทำเป็นสัญญาหรือโดยการออกพันธบัตร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะกู้เงินจากหรือผ่านบุคคลอื่นใดที่มิใช่เป็นผู้ให้กู้โดยตรงไม่ได้ เว้นแต่เป็นการกู้ต่อจากกระทรวงการคลัง หรือการกู้เงินโดยการออกพันธบัตรซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะจำหน่ายพันธบัตรนั้นผ่านผู้จัดจำหน่ายก็ได้ ข้อ ๑๓ การกู้เงินโดยทำเป็นสัญญา อย่างน้อยต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ (๑) วัตถุประสงค์ของการกู้เงิน (๒) วงเงินกู้ (๓) ระยะเวลาในการชำระหนี้ (๔) อัตราดอกเบี้ย (๕) การชำระเงินต้นและดอกเบี้ย (๖) ค่าธรรมเนียม (๗) ผู้มีอำนาจลงนามในการกู้เงิน (๘) ผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) ข้อ ๑๔ การกู้เงินโดยการออกพันธบัตรต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๑๕ การกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีผลผูกพันให้ผู้ให้กู้มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากรัฐบาล และห้ามมิให้มีข้อกำหนดในสัญญาหรือพันธบัตรในเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ให้ถือว่ารัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ หมวด ๒ การบริหารหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนที่ ๑ การค้ำประกัน และการชำระหนี้ ข้อ ๑๖ ในการกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐบาลจะไม่ค้ำประกัน รวมทั้งไม่รับผิดชอบหรือตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชำระคืนเงินต้นหรือดอกเบี้ยดังกล่าว ข้อ ๑๗ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องชำระหนี้เงินกู้ตามกำหนดเวลาโดยเคร่งครัด ข้อ ๑๘ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดให้มีการกำกับดูแลการชำระหนี้ โดยกระจายภาระการชำระหนี้ และคำนึงถึงต้นทุนในการชำระหนี้เพื่อไม่ให้กระทบกับความสามารถในการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อ ๑๙ การตั้งงบประมาณเพื่อชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องตั้งให้เพียงพอตามความจำเป็นในการชำระหนี้ในปีนั้น ๆ โดยสภาท้องถิ่นจะแปรญัตติเพื่อลดหรือตัดทอนไม่ได้ ส่วนที่ ๒ การปรับโครงสร้างหนี้ ข้อ ๒๐ การปรับโครงสร้างหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้โดยการกู้เงินรายใหม่เพื่อชำระหนี้เดิม แปลงหนี้ ชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดชำระ ขยายหรือย่นระยะเวลาการชำระหนี้ ต่ออายุ ซื้อคืน หรือไถ่ถอนพันธบัตร หรือทำธุรกรรมทางการเงินอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับโครงสร้างหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้นำกฎกระทรวงว่าด้วยการทำธุรกรรมทางการเงินอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะซึ่งออกตามมาตรา ๑๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๓ การกำกับดูแล และการรายงาน ข้อ ๒๑ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดำเนินการกู้เงินตามหมวด ๑ ต้องจัดให้มีการดำเนินการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (๑) จัดทำแผนการเงินประจำปีที่แสดงถึงที่มาของรายได้และรายจ่าย โดยต้องมีการวิเคราะห์ถึงประโยชน์และผลกระทบของประชาชนในท้องถิ่นที่จะได้รับทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนแสดงถึงที่มาของแหล่งเงินทุนที่จะนำมาชำระหนี้ให้ชัดเจน และการได้รับอนุมัติจากผู้ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น (๒) จัดให้มีระบบบัญชีที่เป็นมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด (๓) จัดให้มีระบบควบคุมภายใน ระบบบริหารการเงิน และการชำระหนี้ ข้อ ๒๒ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการกู้เงินก่อนการกู้เงินเพื่อดำเนินโครงการลงทุนตามข้อ ๗ (๑) และการกู้เงินเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ตามข้อ ๗ (๒) แก่ประชาชนในท้องถิ่นเพื่อรับฟังความคิดเห็นเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนเสนอต่อผู้มีอำนาจพิจารณาให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติตามกฎหมาย นอกจากการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่เป็นการกู้เงินตามข้อ ๑๑ วรรคสาม ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอข้อมูลก่อนการกู้เงินต่อกระทรวงมหาดไทยเพื่อขอความเห็นชอบหรืออนุมัติ ให้ผู้ซึ่งมีอำนาจพิจารณาให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติการกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำผลการรับฟังความคิดเห็นตามวรรคหนึ่งประกอบการพิจารณา ข้อ ๒๓ ข้อมูลก่อนการกู้เงินตามข้อ ๒๒ อย่างน้อยต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ (๑) เหตุผลความจำเป็นในการกู้เงิน (๒) รายละเอียดของการกู้เงิน โดยให้นำข้อ ๑๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม (๓) ผลการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของโครงการลงทุน อายุโครงการลงทุน โดยพิจารณาถึงความเป็นไปได้ทางการเงินและมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ ตลอดจนผลประโยชน์ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในท้องถิ่นจะได้รับและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการนั้น (๔) ภาระชำระหนี้ในปีงบประมาณก่อนการกู้เงิน และประมาณการภาระชำระหนี้หลังการกู้เงิน (๕) รายงานการเงินที่เกิดขึ้นจริงในช่วงสามปีที่ผ่านมาโดยแยกประเภทงบดำเนินการ งบชำระหนี้และงบลงทุนให้ชัดเจน (๖) ยอดหนี้คงค้างก่อนการกู้เงิน (๗) ผลกระทบต่อเพดานการก่อหนี้และความสามารถในการก่อหนี้ในอนาคต ข้อ ๒๔ ภายในสิบห้าวันนับจากวันลงนามในสัญญากู้เงินเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนตามข้อ ๗ (๓) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรายงานข้อมูลการกู้เงินให้กระทรวงมหาดไทยทราบ รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวแก่ประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด ข้อ ๒๕ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งประกอบด้วย การก่อหนี้และการปรับโครงสร้างหนี้ ยอดหนี้คงค้าง ภาระหนี้ วัตถุประสงค์การกู้เงิน วงเงิน อัตราดอกเบี้ย อายุเงินกู้ การเบิกจ่ายเงินกู้ สัดส่วนยอดหนี้คงค้างต่อรายได้ และสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ รวมทั้งข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้แก่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเป็นรายไตรมาสตามแบบที่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะกำหนด ข้อ ๒๖ ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะรายงานต่อคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะและแจ้งกระทรวงมหาดไทยเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป บทเฉพาะกาล ข้อ ๒๗ การกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้ดำเนินการไปแล้วก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ หรือการกู้เงินที่อยู่ในระหว่างดำเนินการและยังไม่แล้วเสร็จในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้ถือว่าการดำเนินการนั้นเป็นการดำเนินการตามระเบียบนี้ ให้นำความในหมวด ๓ การกำกับดูแล และการรายงาน มาใช้บังคับกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการดำเนินการตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดส่งข้อมูลตามข้อ ๒๕ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ บรรดาประกาศ หลักเกณฑ์ หรือวิธีปฏิบัติของกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ จนกว่าจะได้มีการจัดทำประกาศ หลักเกณฑ์ หรือวิธีปฏิบัติตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ ปวันวิทย์/จัดทำ ๓ กันยายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๗๐ ง/หน้า ๑/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑
756796
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559
ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๙ ให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๘ ที่เห็นชอบให้ไม่ต้องนำหลักเกณฑ์การคำนวณสัดส่วนความสามารถในการทำรายได้เทียบกับภาระหนี้มาใช้บังคับกับสถาบันการเงินภาครัฐ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๕ ประกอบกับมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ (๕) ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “รัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินภาครัฐที่จะก่อหนี้ต้องมีฐานะทางการเงินที่มั่นคง หรือมีความสามารถในการชำระคืนหนี้ได้ ทั้งนี้ ในกรณีของรัฐวิสาหกิจจะต้องมีสัดส่วนความสามารถในการทำรายได้เทียบกับภาระหนี้ของกิจการนับแต่มีการก่อหนี้ ในอัตราไม่ต่ำกว่าหนึ่งจุดห้าด้วย” ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ศิรวัชร์/จัดทำ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๘๘ ง/หน้า ๑/๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๙
490211
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2549
ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ ประกอบกับมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ข้อ ๔ ให้สำนักงานกำหนดตารางเวลาการจัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะ และดำเนินการต่าง ๆ ดังนี้ (๑) ศึกษา วิเคราะห์ภาวะตลาดการเงิน ตลาดทุนทั้งในและต่างประเทศ นวัตกรรมทางการเงินและประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และฐานะการเงินการคลังของประเทศเพื่อเสนอแนะนโยบายและแนวทางในการบริหารหนี้สาธารณะ ให้เหมาะสมภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง (๒) ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อรวบรวมคำขอและจัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ ส่งให้สำนักงานพิจารณากลั่นกรองการบริหารหนี้สาธารณะภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ทั้งนี้ แผนดังกล่าวต้องครอบคลุมถึงการกู้เงิน การค้ำประกัน การให้กู้ต่อ การปรับโครงสร้างหนี้และการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหนี้ทั้งจากแหล่งในประเทศและต่างประเทศ (๓) เสนอคณะกรรมการพิจารณาแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณภายในเดือนสิงหาคมของทุกปี เพื่อนำเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี รายละเอียดของแผนที่จะนำเสนออย่างน้อยต้องประกอบด้วย หน่วยงานผู้ขอกู้ แหล่งเงินที่คาดว่าจะกู้ วงเงินกู้ เงินบาทสมทบ และกำหนดการกู้เงิน โดยต้องแสดงให้เห็นว่าวงเงินกู้ตามแผน เมื่อรวมกับวงเงินที่คาดว่าจะกู้ในช่วงห้าปีถัดไปแล้ว สัดส่วนยอดหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และภาระหนี้ต่องบประมาณจะต้องอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง สำหรับสัดส่วนภาระหนี้ต่างประเทศต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการต้องมีอัตราโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละเก้า ข้อ ๕ เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณตามข้อ ๔ แล้ว ห้ามมิให้มีการก่อหนี้นอกเหนือจากที่ได้รับอนุมัติตามแผน เว้นแต่กรณีมีความจำเป็นโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ในกรณีที่มีการปรับปรุงแผน ให้นำแผนที่ปรับปรุงแล้วเสนอคณะกรรมการพิจารณาหากแผนดังกล่าวเกินกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติ จะต้องตัดวงเงินกู้ที่มีอยู่ในแผนออก เพื่อมิให้มีการก่อหนี้เกินกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติตามแผน ข้อ ๖ ในกรณีที่จำเป็นต้องก่อหนี้หรือปรับปรุงแผนเกินกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามข้อ ๕ ให้สำนักงานพิจารณาความเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ ๘ และกรอบความยั่งยืนและการรักษาวินัยทางการคลัง แล้วนำเสนอคณะกรรมการพิจารณาเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติตามลำดับ ข้อ ๗ ให้สำนักงานรายงานผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ พร้อมทั้งสถานะหนี้สาธารณะของประเทศต่อคณะรัฐมนตรีทุกหกเดือน ข้อ ๘ ในการจัดทำแผนบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้สำนักงานรวบรวมและจัดทำแผน โดยพิจารณาความจำเป็นของการกู้เงิน การค้ำประกัน การให้กู้ต่อหรือการดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับหนี้สาธารณะตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นโครงการที่สอดคล้องกับทิศทาง ยุทธศาสตร์ นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ (๒) เป็นโครงการที่มีรายงานศึกษาความเหมาะสมด้านเทคนิค เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและการเงิน (๓) เป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแล้ว หรือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นชอบแล้ว หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาโครงการของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถทำการกู้เงินได้ในปีงบประมาณนั้น (๔) เป็นการลงทุนที่จะได้รับรายได้ตอบแทนเป็นเงินตราต่างประเทศหรือสามารถประหยัดเงินตราต่างประเทศ หรือมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างคุ้มค่า โดยคำนึงถึงผลกระทบของความเสี่ยงทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนด้วย (๕) รัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินภาครัฐที่จะก่อหนี้ต้องมีฐานะทางการเงินที่มั่นคงหรือมีความสามารถในการชำระหนี้คืนได้ โดยมีสัดส่วนความสามารถในการทำรายได้เทียบกับภาระหนี้ของกิจการนับแต่มีการก่อหนี้ ในอัตราไม่ต่ำกว่าหนึ่งจุดห้า (๖) หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินภาครัฐจะต้องมีความสามารถในการดำเนินโครงการและแผนงานเงินกู้ได้ตามที่เสนอ โดยมีความพร้อมทางด้านบุคลากรและงบประมาณสมทบ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินภาครัฐมีความจำเป็นต้องก่อหนี้แต่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่งได้ ให้สำนักงานเสนอคณะกรรมการพิจารณาเป็นรายกรณี ข้อ ๙ โครงการลงทุนภาครัฐที่จะดำเนินการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอันจะมีผลเป็นการก่อหนี้สาธารณะ ให้หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินภาครัฐจัดทำโครงการเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อวิเคราะห์โครงการ เพื่อประโยชน์ในการกำหนดกรอบการบริหารหนี้สาธารณะของประเทศ ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการลงทุนภาครัฐและจัดทำแผนความต้องการเงินกู้ของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินภาครัฐในระยะสามถึงห้าปีถัดไป รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของโครงการที่จะขอใช้เงินกู้ตามแผนดังกล่าวในแต่ละปีงบประมาณ การดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำหนด ข้อ ๑๐ สำนักงานอาจขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดทำและรายงานหนี้ต่างประเทศของภาคธนาคารและธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร รวมทั้งประมาณการสภาพคล่องของตลาดการเงินในประเทศเพื่อประกอบการพิจารณาการบริหารจัดการหนี้สาธารณะของคณะกรรมการได้ตามที่จำเป็น ข้อ ๑๑ ให้หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินภาครัฐ หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งแผนการบริหารหนี้สาธารณะให้สำนักงานทราบตามตารางเวลาการจัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะ และให้จัดทำรายงานผลการก่อหนี้ใหม่ รวมทั้งการเบิกจ่ายเงินกู้การปรับโครงสร้างหนี้ โดยระบุเงื่อนไขที่เป็นสาระสำคัญภายในสิบห้าวันหลังจากดำเนินการ พร้อมทั้งจัดทำรายงานสถานะหนี้สาธารณะ ข้อ ๑๒ ให้สำนักงานขอความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินภาครัฐ หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดส่งข้อมูล ดังต่อไปนี้ (๑) การก่อหนี้และการปรับโครงสร้างหนี้ที่ไม่ใช่หนี้สาธารณะ ตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ หลังจากที่ได้มีการผูกพันในสัญญา ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวอย่างน้อยจะต้องระบุวัตถุประสงค์ วงเงิน สกุลเงิน ระยะเวลาในการชำระหนี้ อัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องและเงื่อนไขการเบิกจ่าย (๒) การทำธุรกรรมอื่นนอกเหนือจากการก่อหนี้แต่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงภาระผูกพันที่จัดเป็นหนี้สาธารณะ เช่น การแปลงหนี้ (SWAP) การขยายเวลา การชำระหนี้ หลังจากที่ได้มีการทำธุรกรรมนั้น ข้อ ๑๓ ให้หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินภาครัฐ หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำรายงานสถานะหนี้สาธารณะ ประกอบด้วย การเบิกจ่ายเงินกู้ ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และความก้าวหน้าของโครงการหรือแผนงานแต่ละเดือน เสนอสำนักงานตามแบบที่กำหนดภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป ข้อ ๑๔ ในการบริหารหนี้สาธารณะ ให้สำนักงานมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) ดำเนินการจัดหาเงินกู้ตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสม (๒) กำหนดรูปแบบ วิธีการ เงื่อนไขการกู้เงิน และการออกตราสารหนี้ (๓) กำหนดค่าใช้จ่ายในการกู้เงิน การออกและจัดการตราสารหนี้ ให้เหมาะสมกับเงื่อนไขของแหล่งเงินกู้ (๔) ดำเนินการให้มีการลงนามผูกพันในสัญญากู้เงิน สัญญาค้ำประกัน การให้กู้ต่อ และการปรับโครงสร้างหนี้ และการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหนี้ (๕) กำกับ ติดตามให้หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินภาครัฐปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญากู้เงิน สัญญาค้ำประกัน และสัญญาให้กู้ต่อให้เป็นไปตามข้อผูกพันและกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ (๖) ติดตามการบริหารโครงการหรือแผนงาน และจัดทำรายงานเสนอต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับความคืบหน้าผลการดำเนินงาน การเบิกจ่าย ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไข รวมทั้งพิจารณาปรับวงเงินค่าใช้จ่าย และระยะเวลาดำเนินโครงการหรือแผนงานได้ตามความจำเป็น เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น (๗) จัดทำรายงานการกู้เงินและการค้ำประกันที่กระทำในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้วเสนอต่อกระทรวงการคลังเพื่อเสนอรัฐสภาทราบตามมาตรา ๑๗ และจัดทำรายงานสถานะของหนี้สาธารณะเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อเสนอต่อกระทรวงการคลังและคณะรัฐมนตรีตามมาตรา ๓๕ (๑) (๘) บริหารงบชำระหนี้ให้สอดคล้องกับภาระหนี้ที่ครบกำหนด และแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ ข้อ ๑๕ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินภาครัฐ หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ใช้เงินกู้ตามวัตถุประสงค์ ไม่ปฏิบัติตามกรอบที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ หรือไม่มีศักยภาพในการบริหารจัดการโครงการหรือแผนงาน โดยดำเนินงานล่าช้ากว่ากรอบเวลาที่กำหนดมาก หรือขัดกับข้อกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติของทางราชการ ให้สำนักงานทักท้วงไปยังหน่วยงานดังกล่าว เพื่อให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเร็ว และหากไม่ดำเนินการแก้ไขให้สำนักงานรายงานคณะกรรมการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาระงับการใช้เงินกู้นั้น ข้อ ๑๖ ในกรณีที่โครงการหรือแผนงานใดได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ให้สำนักงานติดตามประเมินผล และจัดทำรายงานผลสำเร็จของโครงการนั้น ประกอบด้วย ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลกระทบของโครงการ และความยั่งยืนของโครงการเพื่อเสนอต่อกระทรวงการคลังพร้อมกับรายงานการกู้เงินและการค้ำประกันตามข้อ ๑๔ (๗) ข้อ ๑๗ ให้สำนักงานเป็นผู้ดำเนินการเจรจาและลงนามขอรับความช่วยเหลือทางการเงินและทางวิชาการที่ไม่มีดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจากแหล่งเงินกู้ เช่น ธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเชีย ข้อ ๑๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นันทนา/จัดทำ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๕๙ ง/หน้า ๓๑/๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙
395096
พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชบัญญัติ การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นปีที่ ๕๒ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยมัสยิดอิสลามและกฎหมายว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. ๒๔๙๐ (๒) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พุทธศักราช ๒๔๘๘ (๓) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๑ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “มัสยิด” หมายความว่า สถานที่ซึ่งมุสลิมใช้ประกอบศาสนกิจโดยจะต้องมีละหมาดวันศุกร์เป็นปกติ และเป็นสถานที่สอนศาสนาอิสลาม “สัปปุรุษประจำมัสยิด” หมายความว่า มุสลิมที่คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดมีมติรับเข้าเป็นสัปปุรุษประจำมัสยิด และมีชื่ออยู่ในทะเบียนสัปปุรุษประจำมัสยิด แต่ผู้นั้นจะเป็นสัปปุรุษเกินกว่าหนึ่งมัสยิดในเวลาเดียวกันไม่ได้ “อิหม่าม” หมายความว่า ผู้นำศาสนาอิสลามประจำมัสยิด “คอเต็บ” หมายความว่า ผู้แสดงธรรมประจำมัสยิด “บิหลั่น” หมายความว่า ผู้ประกาศเชิญชวนให้มุสลิมปฏิบัติศาสนกิจตามเวลา มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม*รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ และคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวง กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๖ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจุฬาราชมนตรีคนหนึ่ง เพื่อเป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย ให้นายกรัฐมนตรีนำชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นจุฬาราชมนตรี หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาจุฬาราชมนตรีตามวรรคสองให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้มีเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรีตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๗ จุฬาราชมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นมุสลิมผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ (๓) เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในศาสนาอิสลามเป็นอย่างดี (๔) เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามโดยเคร่งครัด (๕) เป็นผู้มีความสัมพันธ์อันดีกับทุกศาสนา (๖) เป็นผู้มีความเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (๗) ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย (๘) ไม่เป็นผู้เคยถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๙) ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (๑๐) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มาตรา ๘ จุฬาราชมนตรีมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นต่อทางราชการเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม (๒) แต่งตั้งคณะผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม (๓) ออกประกาศแจ้งผลการดูดวงจันทร์ตามมาตรา ๓๕ (๑๑) เพื่อกำหนดวันสำคัญทางศาสนา (๔) ออกประกาศเกี่ยวกับข้อวินิจฉัยตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม มาตรา ๙ จุฬาราชมนตรีพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ มาตรา ๑๐ จุฬาราชมนตรี กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กรรมการอิสลามประจำจังหวัด และกรรมการอิสลามประจำมัสยิด มีสิทธิสวมเสื้อครุยและประดับเข็มพระปรมาภิไธย ทั้งนี้ ตามระเบียบว่าด้วยการนั้น มาตรา ๑๑ เมื่อเห็นสมควร กระทรวงศึกษาธิการอาจจัดตั้ง “อิสลามวิทยาลัย” ขึ้นเพื่อให้การศึกษาและอบรมทางวิชาการศาสนา วิชาการทั่วไป และวิชาชีพได้ หมวด ๒ การจัดตั้งและการเลิกมัสยิด มาตรา ๑๒ การสร้าง การจัดตั้ง การย้าย การรวม การเลิก และการจดทะเบียนมัสยิด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง การจัดตั้ง การรวม และการเลิกมัสยิด ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๓ ให้มัสยิดที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยให้คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดเป็นผู้แทนของมัสยิดในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดอาจมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนทำการแทนก็ได้ มาตรา ๑๔ มัสยิดที่เป็นนิติบุคคลอาจเลิกได้โดยการจดทะเบียนเลิกมัสยิดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ บรรดาทรัพย์สินของมัสยิดที่เลิกตามวรรคหนึ่ง ให้โอนไปยังมัสยิดที่เป็นนิติบุคคลที่อยู่ใกล้ที่สุด ถ้าไม่อาจทำได้ให้โอนไปยังมัสยิดที่เป็นนิติบุคคลที่อยู่ในลำดับถัดไป เว้นแต่เป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยมีผู้อุทิศให้ และผู้อุทิศให้ได้แสดงเจตนาไว้เป็นอย่างอื่น มาตรา ๑๕ มัสยิดที่ได้จดทะเบียนแล้วให้ดำเนินการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำมัสยิดตามหมวด ๕ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันจดทะเบียน หมวด ๓ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย มาตรา ๑๖ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” ประกอบด้วยจุฬาราชมนตรีเป็นประธานกรรมการและกรรมการ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ซึ่งเป็นผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด จังหวัดละหนึ่งคน และจากกรรมการอื่นซึ่งคัดเลือกโดยจุฬาราชมนตรีมีจำนวนหนึ่งในสามของจำนวนผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ถ้ามีเศษให้ปัดทิ้ง การคัดเลือกผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และการคัดเลือกกรรมการอื่นตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการด้วยกันเองเป็นรองประธานกรรมการ เลขาธิการ และตำแหน่งอื่นตามความจำเป็น มาตรา ๑๗ กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ ยกเว้น (๒) และ (๑๐) (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์ มาตรา ๑๘ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม*ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ (๒) ให้คำปรึกษาหรือข้อแนะนำเกี่ยวกับศาสนาอิสลามแก่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (๓) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมอบหมาย (๔) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินและการจัดหาผลประโยชน์ของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและมัสยิด (๕) ออกระเบียบวิธีการดำเนินงานและควบคุมดูแลการบริหารงานของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (๖) ปฏิบัติหน้าที่เป็นคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในจังหวัดที่ไม่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ในการนี้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจะมอบหมายให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่ใกล้เคียงปฏิบัติหน้าที่แทนก็ได้ (๗) พิจารณาวินิจฉัยคำร้องคัดค้านตามมาตรา ๔๑ (๘) จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน เอกสารและบัญชีรายรับรายจ่ายของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยให้ถูกต้องตามความเป็นจริง (๙) ออกประกาศและให้คำรับรองเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม (๑๐) ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางศาสนา และการศึกษาศาสนาอิสลาม (๑๑) ประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในกิจการที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม (๑๒) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๙ กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่งหกปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ เมื่อกรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้มีการคัดเลือกเพื่อดำเนินการแต่งตั้งใหม่ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันครบกำหนดตามวาระ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ มาตรา ๒๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๙ กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีมติให้พ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๗ ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นใด นอกจากถึงคราวออกตามวาระให้มีการคัดเลือกและดำเนินการแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่าง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งที่ว่างเหลือไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่คัดเลือกกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างก็ได้ กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งแทนอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ให้กระทรวงมหาดไทยประกาศรายชื่อกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยที่พ้นจากตำแหน่งในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๑ ในการประชุมคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการปฏิบัติหน้าที่แทน ถ้าประธานกรรมการและรองประธานกรรมการไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม มติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด แต่ถ้าเป็นมติให้กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยพ้นจากตำแหน่ง มติดังกล่าวต้องมีเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ มาตรา ๒๒ ให้มีสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย โดยมีคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นผู้แทนของสำนักงานในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยอาจมีมติมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนทำการแทนก็ได้ และให้เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบในกิจการของสำนักงาน หมวด ๔ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด มาตรา ๒๓ จังหวัดใดมีราษฎรนับถือศาสนาอิสลามและมีมัสยิดตามมาตรา ๑๓ ไม่น้อยกว่าสามมัสยิด ให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยประกาศให้จังหวัดนั้นมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดคณะหนึ่งประกอบด้วยกรรมการมีจำนวนไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสามสิบคน การคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการให้อิหม่ามประจำมัสยิดในจังหวัดนั้นเป็นผู้คัดเลือก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการด้วยกันเป็นประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ เลขานุการ และตำแหน่งอื่นตามความจำเป็น ให้กระทรวงมหาดไทยประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ เลขานุการ และกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๔ กรรมการอิสลามประจำจังหวัดต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๗ (๒) เป็นสัปปุรุษประจำมัสยิดในจังหวัดนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนวันคัดเลือก (๓) มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนวันคัดเลือก มาตรา ๒๕ กรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีวาระการดำรงตำแหน่งหกปี เมื่อตำแหน่งกรรมการอิสลามประจำจังหวัดว่างลงให้มีการคัดเลือกกรรมการแทนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่าง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่ตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนถึงกำหนดตามวาระไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน และยังมีกรรมการเหลืออยู่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่ได้รับการคัดเลือก จะไม่ให้มีการคัดเลือกกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างก็ได้ กรรมการที่ได้รับการคัดเลือกแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน มาตรา ๒๖ ในจังหวัดที่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับศาสนาอิสลามต่อผู้ว่าราชการจังหวัด (๒) กำกับดูแลและตรวจตราการปฏิบัติงานของคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดในจังหวัดและจังหวัดอื่นตามที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมอบหมาย (๓) ประนีประนอมหรือชี้ขาดคำร้องทุกข์ของสัปปุรุษประจำมัสยิดซึ่งเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (๔) กำกับดูแลการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำมัสยิดให้เป็นไปโดยเรียบร้อย (๕) พิจารณาแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (๖) สอบสวนพิจารณาให้กรรมการอิสลามประจำมัสยิดพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๔๐ (๔) (๗) สั่งให้กรรมการอิสลามประจำมัสยิดพักหน้าที่ระหว่างถูกสอบสวน (๘) พิจารณาเกี่ยวกับการจัดตั้ง การย้าย การรวม และการเลิกมัสยิด (๙) แต่งตั้งผู้รักษาการแทนในตำแหน่ง อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น เมื่อตำแหน่งดังกล่าวว่างลง (๑๐) ออกหนังสือรับรองการสมรสและการหย่าตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม (๑๑) ประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวและมรดกตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามเมื่อได้รับการร้องขอ (๑๒) จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน เอกสารและบัญชีรายรับ รายจ่าย ของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดให้ถูกต้องครบถ้วนเป็นปัจจุบัน และรายงานผลการดำเนินงาน ฐานะการเงินและทรัพย์สินให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยทราบปีละหนึ่งครั้งภายในเดือนมีนาคมของทุกปี (๑๓) ออกประกาศและให้คำรับรองเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลามในจังหวัด มาตรา ๒๗ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๒๕ กรรมการอิสลามประจำจังหวัดพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีมติให้พ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๔ ให้กระทรวงมหาดไทยประกาศรายชื่อกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่พ้นจากตำแหน่งในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๘ การประชุมคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ให้นำมาตรา ๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๒๙ ให้มีสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลมีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด โดยมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเป็นผู้แทนของสำนักงานในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดอาจมีมติมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนทำการแทนก็ได้ และให้เลขานุการคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในกิจการของสำนักงาน หมวด ๕ คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด มาตรา ๓๐ ให้มีคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดคณะหนึ่ง ประกอบด้วย (๑) อิหม่ามเป็นประธานกรรมการ (๒) คอเต็บเป็นรองประธานกรรมการ (๓) บิหลั่นเป็นรองประธานกรรมการ และ (๔) กรรมการอื่นตามจำนวนที่ที่ประชุมสัปปุรุษประจำมัสยิดนั้นกำหนดจำนวนไม่น้อยกว่าหกคนแต่ไม่เกินสิบสองคน ให้สัปปุรุษประจำมัสยิดซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป ประชุมกันคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดเลือกกรรมการตาม (๔) เป็นเลขานุการหนึ่งคน นายทะเบียนหนึ่งคน เหรัญญิกหนึ่งคน และตำแหน่งอื่นตามความจำเป็น ให้ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดหรือกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่ได้รับมอบหมายจากประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเป็นประธานในที่ประชุมสัปปุรุษประจำมัสยิด เพื่อดำเนินการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำมัสยิด แล้วเสนอคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเพื่อพิจารณาแต่งตั้ง ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยกำหนด มาตรา ๓๑ อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๗ (๒) อ่านพระคัมภีร์อัลกุรอานได้ถูกต้อง (๓) สามารถนำในการปฏิบัติศาสนกิจได้ถูกต้องตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม (๔) มีความสามารถแสดงธรรมได้ (๕) เป็นสัปปุรุษประจำมัสยิดนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนวันคัดเลือก อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น ไม่ถือเป็นนักพรตหรือนักบวช การพ้นจากตำแหน่งของ อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยกำหนด มาตรา ๓๒ กรรมการตามมาตรา ๓๐ (๔) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๗ (๒) เป็นสัปปุรุษประจำมัสยิดนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนวันคัดเลือก (๓) มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดที่มัสยิดนั้นตั้งอยู่ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนวันคัดเลือก มาตรา ๓๓ เมื่อตำแหน่งอิหม่าม คอเต็บ หรือบิหลั่น ว่างลง ให้นำวิธีการตามที่บัญญัติในมาตรา ๓๐ มาใช้เพื่อดำเนินการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวแทนภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่าง มาตรา ๓๔ กรรมการตามมาตรา ๓๐ (๔) มีวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี เมื่อตำแหน่งกรรมการว่างลง ให้นำวิธีการตามที่บัญญัติในมาตรา ๓๐ มาใช้เพื่อดำเนินการคัดเลือกกรรมการแทนภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่าง เว้นแต่ตำแหน่งกรรมการดังกล่าวว่างลงเนื่องจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีมติให้พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๔๐ (๔) และผู้ที่พ้นจากตำแหน่งได้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยตามมาตรา ๔๑ ระยะเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันให้นับแต่วันที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีมติ ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนถึงกำหนดตามวาระไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่ดำเนินการคัดเลือกกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างก็ได้ กรรมการที่ได้รับการคัดเลือกแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน มาตรา ๓๕ คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) บำรุงรักษามัสยิดและทรัพย์สินของมัสยิดให้เรียบร้อย (๒) วางระเบียบปฏิบัติภายในของมัสยิดเพื่อให้การดำเนินงานของมัสยิดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย (๓) ปฏิบัติตามคำแนะนำชี้แจงของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในเมื่อไม่ขัดต่อบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามและกฎหมาย (๔) สนับสนุนสัปปุรุษในการปฏิบัติศาสนกิจ ส่งเสริมให้เกิดความสามัคคีและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางที่ชอบตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม (๕) พิจารณามีมติรับมุสลิมเข้าเป็นสัปปุรุษประจำมัสยิด (๖) อำนวยความสะดวกและอบรมสั่งสอนให้สัปปุรุษประจำมัสยิดปฏิบัติศาสนกิจโดยถูกต้องเคร่งครัด (๗) ประนีประนอมข้อพิพาทระหว่างสัปปุรุษประจำมัสยิดเมื่อได้รับการร้องขอ (๘) จัดให้มีและรักษาสมุดทะเบียนสัปปุรุษประจำมัสยิด และตรวจตราแก้ไขเพิ่มเติมสมุดทะเบียนดังกล่าวให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง (๙) จำหน่ายชื่อสัปปุรุษประจำมัสยิดออกจากทะเบียน เมื่อได้สอบสวนแล้วปรากฏว่าผู้นั้นกระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม (๑๐) จัดให้มีทะเบียนทรัพย์สิน เอกสาร และบัญชีรายรับรายจ่ายของมัสยิดให้ถูกต้องตรงความเป็นจริง และจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน และทรัพย์สินของมัสยิด แล้วรายงานให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทราบภายในเดือนมีนาคมของทุกปี (๑๑) ดูดวงจันทร์และแจ้งผลการดูดวงจันทร์ต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด (๑๒) ส่งเสริมการศึกษาและจัดกิจกรรมที่ไม่ขัดต่อบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม มาตรา ๓๖ สัปปุรุษประจำมัสยิดผู้ถูกจำหน่ายชื่อตามมาตรา ๓๕ (๙) มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ประกาศให้จำหน่ายชื่อออกจากทะเบียน และให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดพิจารณาวินิจฉัยให้เสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องคัดค้าน มติของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดให้เป็นที่สุด การยื่นคำร้องคัดค้านและการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องคัดค้านตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยกำหนด มาตรา ๓๗ อิหม่ามมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม (๒) ปกครองดูแลและแนะนำเจ้าหน้าที่ของมัสยิดให้ปฏิบัติงานในหน้าที่ให้เรียบร้อย (๓) แนะนำให้สัปปุรุษประจำมัสยิดปฏิบัติให้ถูกต้องตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามและกฎหมาย (๔) อำนวยความสะดวกแก่มุสลิมในการปฏิบัติศาสนกิจ (๕) สั่งสอนและอบรมหลักธรรมทางศาสนาอิสลามแก่บรรดาสัปปุรุษประจำมัสยิด มาตรา ๓๘ คอเต็บมีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามในการแสดงธรรมแก่สัปปุรุษประจำมัสยิด มาตรา ๓๙ บิหลั่นมีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามในการประกาศเชิญชวนให้มุสลิมปฏิบัติศาสนกิจตามเวลา มาตรา ๔๐ กรรมการอิสลามประจำมัสยิดพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ครบกำหนดวาระตามมาตรา ๓๔ วรรคหนึ่ง สำหรับกรรมการอื่นตามมาตรา ๓๐ (๔) ในคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (๒) ตาย (๓) ลาออก (๔) คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีมติให้พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๒ (๕) สัปปุรุษประจำมัสยิดตามมาตรา ๓๐ วรรคสอง จำนวนเกินกว่ากึ่งหนึ่งยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดขอให้พ้นจากตำแหน่ง และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสอบสวนและวินิจฉัยแล้วมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง (๖) คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสอบสวนแล้วเห็นว่ามีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่มัสยิด หรือบกพร่องต่อหน้าที่ หรือดำเนินกิจการของมัสยิดไปในทางไม่สงบเรียบร้อย หรือขัดต่อหลักการของศาสนาอิสลาม หรือกระทำการอันอาจเสื่อมเสียประโยชน์ของมัสยิด และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดวินิจฉัยแล้วมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่สอบสวนแล้วเห็นว่าพฤติการณ์แห่งความผิดที่ได้กระทำยังไม่ถึงขั้นให้พ้นจากตำแหน่ง คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดอาจวินิจฉัยให้ภาคทัณฑ์ไว้ก่อนก็ได้ มาตรา ๔๑ กรรมการอิสลามประจำมัสยิดซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๔๐ (๔) (๕) และ (๖) มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง และให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยพิจารณาวินิจฉัยให้เสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องคัดค้าน มติของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยให้เป็นที่สุด การยื่นคำร้องคัดค้าน และการวินิจฉัยคำร้องคัดค้านตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยกำหนด มาตรา ๔๒ การประชุมคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ให้นำมาตรา ๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม บทเฉพาะกาล มาตรา ๔๓ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๙ ให้กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยและกรรมการอิสลามประจำจังหวัดซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับดำรงตำแหน่งต่อไปอีกสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้กรรมการอิสลามประจำมัสยิดซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๔ ให้มัสยิดซึ่งได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นมัสยิดตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔๕ ให้ “อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย” ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พุทธศักราช ๒๔๘๘ เป็นอิสลามวิทยาลัยตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔๖ บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ และคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. ๒๔๙๐ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พุทธศักราช ๒๔๘๘ ให้ใช้บังคับโดยอนุโลมก่อนจนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ และคำสั่งตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. ๒๔๙๐ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พุทธศักราช ๒๔๘๘ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๑ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน สมควรปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ *พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕[๒] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๒๐ ในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ให้แก้ไขคำว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม” หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่ ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม นั้นแล้ว และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่ โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่ และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่ รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปณตภร/ผู้จัดทำ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ กุลชาติ/ตรวจ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ภิรมย์พร/ปรับปรุง ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๕ ก/หน้า ๓/๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๖๖/๘ ตุลาคม ๒๕๔๕
302226
พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นปีที่ ๕๒ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยมัสยิดอิสลามและกฎหมายว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. ๒๔๙๐ (๒) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พุทธศักราช ๒๔๘๘ (๓) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๑ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “มัสยิด” หมายความว่า สถานที่ซึ่งมุสลิมใช้ประกอบศาสนกิจโดยจะต้องมีละหมาดวันศุกร์เป็นปกติ และเป็นสถานที่สอนศาสนาอิสลาม “สัปปุรุษประจำมัสยิด” หมายความว่า มุสลิมที่คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดมีมติรับเข้าเป็นสัปปุรุษประจำมัสยิด และมีชื่ออยู่ในทะเบียนสัปปุรุษประจำมัสยิด แต่ผู้นั้นจะเป็นสัปปุรุษเกินกว่าหนึ่งมัสยิดในเวลาเดียวกันไม่ได้ “อิหม่าม” หมายความว่า ผู้นำศาสนาอิสลามประจำมัสยิด “คอเต็บ” หมายความว่า ผู้แสดงธรรมประจำมัสยิด “บิหลั่น” หมายความว่า ผู้ประกาศเชิญชวนให้มุสลิมปฏิบัติศาสนกิจตามเวลา มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ และคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวง กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๖ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจุฬาราชมนตรีคนหนึ่ง เพื่อเป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย ให้นายกรัฐมนตรีนำชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นจุฬาราชมนตรี หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาจุฬาราชมนตรีตามวรรคสองให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้มีเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรีตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๗ จุฬาราชมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นมุสลิมผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ (๓) เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในศาสนาอิสลามเป็นอย่างดี (๔) เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามโดยเคร่งครัด (๕) เป็นผู้มีความสัมพันธ์อันดีกับทุกศาสนา (๖) เป็นผู้มีความเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (๗) ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย (๘) ไม่เป็นผู้เคยถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๙) ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (๑๐) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มาตรา ๘ จุฬาราชมนตรีมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นต่อทางราชการเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม (๒) แต่งตั้งคณะผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม (๓) ออกประกาศแจ้งผลการดูดวงจันทร์ตามมาตรา ๓๕ (๑๑) เพื่อกำหนดวันสำคัญทางศาสนา (๔) ออกประกาศเกี่ยวกับข้อวินิจฉัยตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม มาตรา ๙ จุฬาราชมนตรีพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ มาตรา ๑๐ จุฬาราชมนตรี กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กรรมการอิสลามประจำจังหวัด และกรรมการอิสลามประจำมัสยิด มีสิทธิสวมเสื้อครุยและประดับเข็มพระปรมาภิไธย ทั้งนี้ ตามระเบียบว่าด้วยการนั้น มาตรา ๑๑ เมื่อเห็นสมควร กระทรวงศึกษาธิการอาจจัดตั้ง “อิสลามวิทยาลัย” ขึ้นเพื่อให้การศึกษาและอบรมทางวิชาการศาสนา วิชาการทั่วไป และวิชาชีพได้ หมวด ๒ การจัดตั้งและการเลิกมัสยิด มาตรา ๑๒ การสร้าง การจัดตั้ง การย้าย การรวม การเลิก และการจดทะเบียนมัสยิด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง การจัดตั้ง การรวม และการเลิกมัสยิด ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๓ ให้มัสยิดที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยให้คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดเป็นผู้แทนของมัสยิดในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดอาจมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนทำการแทนก็ได้ มาตรา ๑๔ มัสยิดที่เป็นนิติบุคคลอาจเลิกได้โดยการจดทะเบียนเลิกมัสยิดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ บรรดาทรัพย์สินของมัสยิดที่เลิกตามวรรคหนึ่ง ให้โอนไปยังมัสยิดที่เป็นนิติบุคคลที่อยู่ใกล้ที่สุด ถ้าไม่อาจทำได้ให้โอนไปยังมัสยิดที่เป็นนิติบุคคลที่อยู่ในลำดับถัดไป เว้นแต่เป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยมีผู้อุทิศให้ และผู้อุทิศให้ได้แสดงเจตนาไว้เป็นอย่างอื่น มาตรา ๑๕ มัสยิดที่ได้จดทะเบียนแล้วให้ดำเนินการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำมัสยิดตามหมวด ๕ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันจดทะเบียน หมวด ๓ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย มาตรา ๑๖ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” ประกอบด้วยจุฬาราชมนตรีเป็นประธานกรรมการและกรรมการ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ซึ่งเป็นผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด จังหวัดละหนึ่งคน และจากกรรมการอื่นซึ่งคัดเลือกโดยจุฬาราชมนตรีมีจำนวนหนึ่งในสามของจำนวนผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ถ้ามีเศษให้ปัดทิ้ง การคัดเลือกผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และการคัดเลือกกรรมการอื่นตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการด้วยกันเองเป็นรองประธานกรรมการ เลขาธิการ และตำแหน่งอื่นตามความจำเป็น มาตรา ๑๗ กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ ยกเว้น (๒) และ (๑๐) (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์ มาตรา ๑๘ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ (๒) ให้คำปรึกษาหรือข้อแนะนำเกี่ยวกับศาสนาอิสลามแก่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (๓) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมอบหมาย (๔) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินและการจัดหาผลประโยชน์ของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและมัสยิด (๕) ออกระเบียบวิธีการดำเนินงานและควบคุมดูแลการบริหารงานของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (๖) ปฏิบัติหน้าที่เป็นคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในจังหวัดที่ไม่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ในการนี้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจะมอบหมายให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่ใกล้เคียงปฏิบัติหน้าที่แทนก็ได้ (๗) พิจารณาวินิจฉัยคำร้องคัดค้านตามมาตรา ๔๑ (๘) จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน เอกสารและบัญชีรายรับรายจ่ายของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยให้ถูกต้องตามความเป็นจริง (๙) ออกประกาศและให้คำรับรองเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม (๑๐) ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางศาสนา และการศึกษาศาสนาอิสลาม (๑๑) ประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในกิจการที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม (๑๒) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๙ กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่งหกปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ เมื่อกรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้มีการคัดเลือกเพื่อดำเนินการแต่งตั้งใหม่ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันครบกำหนดตามวาระ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ มาตรา ๒๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๙ กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีมติให้พ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๗ ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นใด นอกจากถึงคราวออกตามวาระให้มีการคัดเลือกและดำเนินการแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่าง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งที่ว่างเหลือไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่คัดเลือกกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างก็ได้ กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งแทนอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ให้กระทรวงมหาดไทยประกาศรายชื่อกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยที่พ้นจากตำแหน่งในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๑ ในการประชุมคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการปฏิบัติหน้าที่แทน ถ้าประธานกรรมการและรองประธานกรรมการไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม มติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด แต่ถ้าเป็นมติให้กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยพ้นจากตำแหน่ง มติดังกล่าวต้องมีเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ มาตรา ๒๒ ให้มีสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย โดยมีคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นผู้แทนของสำนักงานในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยอาจมีมติมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนทำการแทนก็ได้ และให้เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบในกิจการของสำนักงาน หมวด ๔ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด มาตรา ๒๓ จังหวัดใดมีราษฎรนับถือศาสนาอิสลามและมีมัสยิดตามมาตรา ๑๓ ไม่น้อยกว่าสามมัสยิด ให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยประกาศให้จังหวัดนั้นมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดคณะหนึ่งประกอบด้วยกรรมการมีจำนวนไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสามสิบคน การคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการให้อิหม่ามประจำมัสยิดในจังหวัดนั้นเป็นผู้คัดเลือก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการด้วยกันเป็นประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ เลขานุการ และตำแหน่งอื่นตามความจำเป็น ให้กระทรวงมหาดไทยประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ เลขานุการ และกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๔ กรรมการอิสลามประจำจังหวัดต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๗ (๒) เป็นสัปปุรุษประจำมัสยิดในจังหวัดนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนวันคัดเลือก (๓) มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนวันคัดเลือก มาตรา ๒๕ กรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีวาระการดำรงตำแหน่งหกปี เมื่อตำแหน่งกรรมการอิสลามประจำจังหวัดว่างลงให้มีการคัดเลือกกรรมการแทนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่าง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่ตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนถึงกำหนดตามวาระไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน และยังมีกรรมการเหลืออยู่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่ได้รับการคัดเลือก จะไม่ให้มีการคัดเลือกกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างก็ได้ กรรมการที่ได้รับการคัดเลือกแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน มาตรา ๒๖ ในจังหวัดที่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับศาสนาอิสลามต่อผู้ว่าราชการจังหวัด (๒) กำกับดูแลและตรวจตราการปฏิบัติงานของคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดในจังหวัดและจังหวัดอื่นตามที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมอบหมาย (๓) ประนีประนอมหรือชี้ขาดคำร้องทุกข์ของสัปปุรุษประจำมัสยิดซึ่งเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (๔) กำกับดูแลการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำมัสยิดให้เป็นไปโดยเรียบร้อย (๕) พิจารณาแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (๖) สอบสวนพิจารณาให้กรรมการอิสลามประจำมัสยิดพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๔๐ (๔) (๗) สั่งให้กรรมการอิสลามประจำมัสยิดพักหน้าที่ระหว่างถูกสอบสวน (๘) พิจารณาเกี่ยวกับการจัดตั้ง การย้าย การรวม และการเลิกมัสยิด (๙) แต่งตั้งผู้รักษาการแทนในตำแหน่ง อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น เมื่อตำแหน่งดังกล่าวว่างลง (๑๐) ออกหนังสือรับรองการสมรสและการหย่าตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม (๑๑) ประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวและมรดกตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามเมื่อได้รับการร้องขอ (๑๒) จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน เอกสารและบัญชีรายรับ รายจ่าย ของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดให้ถูกต้องครบถ้วนเป็นปัจจุบัน และรายงานผลการดำเนินงาน ฐานะการเงินและทรัพย์สินให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยทราบปีละหนึ่งครั้งภายในเดือนมีนาคมของทุกปี (๑๓) ออกประกาศและให้คำรับรองเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลามในจังหวัด มาตรา ๒๗ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๒๕ กรรมการอิสลามประจำจังหวัดพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีมติให้พ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๔ ให้กระทรวงมหาดไทยประกาศรายชื่อกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่พ้นจากตำแหน่งในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๘ การประชุมคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ให้นำมาตรา ๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๒๙ ให้มีสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลมีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด โดยมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเป็นผู้แทนของสำนักงานในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดอาจมีมติมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนทำการแทนก็ได้ และให้เลขานุการคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในกิจการของสำนักงาน หมวด ๕ คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด มาตรา ๓๐ ให้มีคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดคณะหนึ่ง ประกอบด้วย (๑) อิหม่ามเป็นประธานกรรมการ (๒) คอเต็บเป็นรองประธานกรรมการ (๓) บิหลั่นเป็นรองประธานกรรมการ และ (๔) กรรมการอื่นตามจำนวนที่ที่ประชุมสัปปุรุษประจำมัสยิดนั้นกำหนดจำนวนไม่น้อยกว่าหกคนแต่ไม่เกินสิบสองคน ให้สัปปุรุษประจำมัสยิดซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป ประชุมกันคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดเลือกกรรมการตาม (๔) เป็นเลขานุการหนึ่งคน นายทะเบียนหนึ่งคน เหรัญญิกหนึ่งคน และตำแหน่งอื่นตามความจำเป็น ให้ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดหรือกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่ได้รับมอบหมายจากประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเป็นประธานในที่ประชุมสัปปุรุษประจำมัสยิด เพื่อดำเนินการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำมัสยิด แล้วเสนอคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเพื่อพิจารณาแต่งตั้ง ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยกำหนด มาตรา ๓๑ อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๗ (๒) อ่านพระคัมภีร์อัลกุรอานได้ถูกต้อง (๓) สามารถนำในการปฏิบัติศาสนกิจได้ถูกต้องตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม (๔) มีความสามารถแสดงธรรมได้ (๕) เป็นสัปปุรุษประจำมัสยิดนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนวันคัดเลือก อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น ไม่ถือเป็นนักพรตหรือนักบวช การพ้นจากตำแหน่งของ อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยกำหนด มาตรา ๓๒ กรรมการตามมาตรา ๓๐ (๔) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๗ (๒) เป็นสัปปุรุษประจำมัสยิดนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนวันคัดเลือก (๓) มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดที่มัสยิดนั้นตั้งอยู่ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนวันคัดเลือก มาตรา ๓๓ เมื่อตำแหน่งอิหม่าม คอเต็บ หรือบิหลั่น ว่างลง ให้นำวิธีการตามที่บัญญัติในมาตรา ๓๐ มาใช้เพื่อดำเนินการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวแทนภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่าง มาตรา ๓๔ กรรมการตามมาตรา ๓๐ (๔) มีวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี เมื่อตำแหน่งกรรมการว่างลง ให้นำวิธีการตามที่บัญญัติในมาตรา ๓๐ มาใช้เพื่อดำเนินการคัดเลือกกรรมการแทนภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่าง เว้นแต่ตำแหน่งกรรมการดังกล่าวว่างลงเนื่องจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีมติให้พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๔๐ (๔) และผู้ที่พ้นจากตำแหน่งได้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยตามมาตรา ๔๑ ระยะเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันให้นับแต่วันที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีมติ ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนถึงกำหนดตามวาระไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่ดำเนินการคัดเลือกกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างก็ได้ กรรมการที่ได้รับการคัดเลือกแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน มาตรา ๓๕ คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) บำรุงรักษามัสยิดและทรัพย์สินของมัสยิดให้เรียบร้อย (๒) วางระเบียบปฏิบัติภายในของมัสยิดเพื่อให้การดำเนินงานของมัสยิดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย (๓) ปฏิบัติตามคำแนะนำชี้แจงของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในเมื่อไม่ขัดต่อบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามและกฎหมาย (๔) สนับสนุนสัปปุรุษในการปฏิบัติศาสนกิจ ส่งเสริมให้เกิดความสามัคคีและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางที่ชอบตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม (๕) พิจารณามีมติรับมุสลิมเข้าเป็นสัปปุรุษประจำมัสยิด (๖) อำนวยความสะดวกและอบรมสั่งสอนให้สัปปุรุษประจำมัสยิดปฏิบัติศาสนกิจโดยถูกต้องเคร่งครัด (๗) ประนีประนอมข้อพิพาทระหว่างสัปปุรุษประจำมัสยิดเมื่อได้รับการร้องขอ (๘) จัดให้มีและรักษาสมุดทะเบียนสัปปุรุษประจำมัสยิด และตรวจตราแก้ไขเพิ่มเติมสมุดทะเบียนดังกล่าวให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง (๙) จำหน่ายชื่อสัปปุรุษประจำมัสยิดออกจากทะเบียน เมื่อได้สอบสวนแล้วปรากฏว่าผู้นั้นกระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม (๑๐) จัดให้มีทะเบียนทรัพย์สิน เอกสาร และบัญชีรายรับรายจ่ายของมัสยิดให้ถูกต้องตรงความเป็นจริง และจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน และทรัพย์สินของมัสยิด แล้วรายงานให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทราบภายในเดือนมีนาคมของทุกปี (๑๑) ดูดวงจันทร์และแจ้งผลการดูดวงจันทร์ต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด (๑๒) ส่งเสริมการศึกษาและจัดกิจกรรมที่ไม่ขัดต่อบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม มาตรา ๓๖ สัปปุรุษประจำมัสยิดผู้ถูกจำหน่ายชื่อตามมาตรา ๓๕ (๙) มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ประกาศให้จำหน่ายชื่อออกจากทะเบียน และให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดพิจารณาวินิจฉัยให้เสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องคัดค้าน มติของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดให้เป็นที่สุด การยื่นคำร้องคัดค้านและการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องคัดค้านตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยกำหนด มาตรา ๓๗ อิหม่ามมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม (๒) ปกครองดูแลและแนะนำเจ้าหน้าที่ของมัสยิดให้ปฏิบัติงานในหน้าที่ให้เรียบร้อย (๓) แนะนำให้สัปปุรุษประจำมัสยิดปฏิบัติให้ถูกต้องตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามและกฎหมาย (๔) อำนวยความสะดวกแก่มุสลิมในการปฏิบัติศาสนกิจ (๕) สั่งสอนและอบรมหลักธรรมทางศาสนาอิสลามแก่บรรดาสัปปุรุษประจำมัสยิด มาตรา ๓๘ คอเต็บมีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามในการแสดงธรรมแก่สัปปุรุษประจำมัสยิด มาตรา ๓๙ บิหลั่นมีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามในการประกาศเชิญชวนให้มุสลิมปฏิบัติศาสนกิจตามเวลา มาตรา ๔๐ กรรมการอิสลามประจำมัสยิดพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ครบกำหนดวาระตามมาตรา ๓๔ วรรคหนึ่ง สำหรับกรรมการอื่นตามมาตรา ๓๐ (๔) ในคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (๒) ตาย (๓) ลาออก (๔) คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีมติให้พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๒ (๕) สัปปุรุษประจำมัสยิดตามมาตรา ๓๐ วรรคสอง จำนวนเกินกว่ากึ่งหนึ่งยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดขอให้พ้นจากตำแหน่ง และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสอบสวนและวินิจฉัยแล้วมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง (๖) คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสอบสวนแล้วเห็นว่ามีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่มัสยิด หรือบกพร่องต่อหน้าที่ หรือดำเนินกิจการของมัสยิดไปในทางไม่สงบเรียบร้อย หรือขัดต่อหลักการของศาสนาอิสลาม หรือกระทำการอันอาจเสื่อมเสียประโยชน์ของมัสยิด และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดวินิจฉัยแล้วมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่สอบสวนแล้วเห็นว่าพฤติการณ์แห่งความผิดที่ได้กระทำยังไม่ถึงขั้นให้พ้นจากตำแหน่ง คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดอาจวินิจฉัยให้ภาคทัณฑ์ไว้ก่อนก็ได้ มาตรา ๔๑ กรรมการอิสลามประจำมัสยิดซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๔๐ (๔) (๕) และ (๖) มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง และให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยพิจารณาวินิจฉัยให้เสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องคัดค้าน มติของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยให้เป็นที่สุด การยื่นคำร้องคัดค้าน และการวินิจฉัยคำร้องคัดค้านตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยกำหนด มาตรา ๔๒ การประชุมคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ให้นำมาตรา ๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม บทเฉพาะกาล มาตรา ๔๓ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๙ ให้กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยและกรรมการอิสลามประจำจังหวัดซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับดำรงตำแหน่งต่อไปอีกสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้กรรมการอิสลามประจำมัสยิดซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๔ ให้มัสยิดซึ่งได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นมัสยิดตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔๕ ให้ “อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย” ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พุทธศักราช ๒๔๘๘ เป็นอิสลามวิทยาลัยตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔๖ บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ และคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. ๒๔๙๐ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พุทธศักราช ๒๔๘๘ ให้ใช้บังคับโดยอนุโลมก่อนจนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ และคำสั่งตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. ๒๔๙๐ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พุทธศักราช ๒๔๘๘ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๑ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน สมควรปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ วาทินี/ปัญญา/ปรับปรุง ๗ สิงหาคม ๒๕๔๙ วศิน/แก้ไข ๒๒ เมษายน ๒๕๕๒ ปณตภร/ปรับปรุง ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ กุลชาติ/ตรวจ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ภัทรวีร์/ปรับปรุง ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๕ ก/หน้า ๓/๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
746557
พระราชกฤษฎีกาเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรี พ.ศ. 2542 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นปีที่ ๕๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๒” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓[๒] ให้มีเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรีเดือนละสองหมื่นบาท มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พุทธศักราช ๒๔๘๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๑ ที่กำหนดให้มีเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรี และตามมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดให้มีเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรีตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘[๓] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบทบาทและภารกิจของจุฬาราชมนตรีในปัจจุบันได้ขยายเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการปฏิบัติงานของจุฬาราชมนตรีเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สมควรเพิ่มเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรีให้สอดคล้องกับภาระค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานที่เพิ่มขึ้นและสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปุณิกา/จัดทำ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ พจนา/ตรวจ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๗๒ ก/หน้า ๑/๙ สิงหาคม ๒๕๔๒ [๒] มาตรา ๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๑๐๖ ก/หน้า ๓๖/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
739660
พระราชกฤษฎีกาเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓ ให้มีเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรีเดือนละสองหมื่นบาท” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบทบาทและภารกิจของจุฬาราชมนตรีในปัจจุบันได้ขยายเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการปฏิบัติงานของจุฬาราชมนตรีเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สมควรเพิ่มเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรีให้สอดคล้องกับภาระค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานที่เพิ่มขึ้นและสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ปุณิกา/ตรวจ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๑๐๖ ก/หน้า ๓๖/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
309381
พระราชกฤษฎีกาเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรี พ.ศ. 2542
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นปีที่ ๕๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๒” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้มีเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรีเดือนละหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พุทธศักราช ๒๔๘๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๑ ที่กำหนดให้มีเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรี และตามมาตรา ๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดให้มีเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรีตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๗๒ ก/หน้า ๑/๙ สิงหาคม ๒๕๔๒
508543
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 (ฉบับ Update ล่าสุด)
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้ “คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด” ให้หมายความรวมถึง คณะกรรมการกลางอิสลาม แห่งประเทศไทยหรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่ใกล้เคียง ซึ่งคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่แทนในกรณีที่จังหวัดซึ่งจะสร้างหรือจัดตั้งมัสยิดไม่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดด้วย “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหมาดไทยแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์การศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ “นายอำเภอท้องที่” ให้หมายความรวมถึง ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอท้องที่ด้วย หมวด ๑ การสร้างและจัดตั้งมัสยิด ข้อ ๒ บุคคลใดประสงค์จะสร้างมัสยิดให้ยื่นคำขอรับความเห็นชอบต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดตามแบบ บอ. ๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้ พร้อมด้วยเอกสารดังต่อไปนี้ (๑) แผนผังแสดงการใช้ที่ดินและสิ่งก่อสร้างของมัสยิด (๒) แผนที่แสดงเขตที่ตั้งมัสยิดและระยะห่างจากมัสยิดอื่น (๓) สำเนาหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินที่ใช้สร้างมัสยิด (๔) สำเนาหนังสือสัญญาซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามกฎหมายทำกับคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด แสดงความจำนงว่าจะให้ที่ดินดังกล่าวเพื่อสร้างมัสยิด (๕) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคล ข้อ ๓ ให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดพิจารณาคำขอให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ และให้แจ้งมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบให้สร้างมัสยิดเป็นหนังสือให้ผู้ขอทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มติดังกล่าว กรณีที่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีมติไม่เห็นชอบให้สร้างมัสยิด ให้แสดงเหตุผลที่ไม่ให้ความเห็นชอบในหนังสือแจ้งมติดังกล่าวด้วย ข้อ ๔ เมื่อได้สร้างอาคารมัสยิดเสร็จและพร้อมที่จะใช้ปฏิบัติศาสนกิจได้แล้ว ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบให้สร้างมัสยิดแจ้งการสร้างมัสยิดแล้วเสร็จ เพื่อขอความเห็นชอบจัดตั้งมัสยิดต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และเมื่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดใต้พิจารณาแล้วเห็นว่าการสร้างมัสยิดนั้นเป็นไปตามแบบแปลนและแผนผังที่ได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว และมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งมัสยิดได้ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับความเห็นชอบทราบมติดังกล่าว หมวด ๒ การจดทะเบียนจังตั้งมัสยิด ข้อ ๕ การจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบให้สร้างและจัดตั้งมัสยิดหรืออิหม่ามคอเด็บ และบิหลั่นประจำมัสยิดที่ได้รับมอบหมายจากผู้ได้รับความเห็นชอบให้สร้างและจัดตั้งมัสยิดยื่นคำขอแบบ บอ.๒ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ต่อนายอำเภอท้องที่ พร้อมด้วยเอกสาร ดังต่อไปนี้ (๑) หนังสือแจ้งมติเห็นชอบให้จัดตั้งมัสยิดของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด (๒) สำเนาหนังสืออนุญาตให้ก่อนสร้างอาคารมัสยิดหรือใบรับแจ้งการก่อสร้างอาคารมัสยิดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ข้อ ๖ เมื่อนายอำเภอท้องที่ได้รับคำขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดพร้อมด้วยเอกสารตามข้อ ๕ แล้วให้ตรวจสอบความถูกต้องแล้วเสนอไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยความเห็นของตนภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณามีคำสั่งภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากนายอำเภอท้องที่และแจ้งคำสั่งนั้นให้นายอำเภอท้องที่เพื่อแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดทราบ กรณีพนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนตามแบบ บอ.๓ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้แก่ผู้ขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด และแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อดำเนินการจัดให้มีการประกาศการจัดตั้งมัสยิดนั้นในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงเหตุผลแหงการไม่รับจดทะเบียนไว้ในหนังสือแจ้งคำสั่งดังกล่าวไปยังผู้ขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดด้วย ข้อ ๖/๑[๒] มัสยิดใดที่จดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดแล้วประสงค์จะเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ให้ขอความเห็นชอบโดยแสดงเหตุผลความจำเป็นต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เมื่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเห็นชอบแล้ว ให้มัสยิดยื่นคำขอตามแบบ บอ.๒/๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ต่อนายอำเภอท้องที่แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณา และมีคำสั่งให้เปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดแล้ว ให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด และออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน ตามแบบ บอ.๓/๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้มัสยิดถือไว้เพื่อแสดงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการดังกล่าว กรณีเฉพาะการเปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อดำเนินการจัดให้มีการจัดให้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งไม่ให้เปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือแก่มัสยิดผู้ขอพร้อมทั้งเหตุผลประกอบ ข้อ ๗ มัสยิดใดที่ได้สร้างและมีการประกอบศาสนกิจอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับประสงค์จะขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดตามหมวดนี้ ให้อิหม่าม คอเด็บ และมิหลั่นประจำมัสยิดนั้นยื่นคำขอรับความเห็นชอบจัดตั้งมัสยิดต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ตามข้อ ๔ และให้นำข้อ ๒ มาใช้บังคับกับแบบคำขอและเอกสารที่ต้องยื่นพร้อมคำขอโดยอนุโลม เมื่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งมัสยิดได้แล้ว ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบให้จัดตั้งมัสยิดนั้นมาขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหมวดนี้ได้ หมวด ๓ การย้าย การรวม และการเลิกมัสยิด ข้อ ๘ การย้ายมัสยิดที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งแล้ว ให้ประธานกรรมการอิสลามประจำมัสยิดยื่นคำขอรับความเห็นชอบให้ย้ายมัสยิดตามแบบ บอ.๔ ท้ายกฎกระทรวงนี้ พร้อมด้วยเอกสารตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอนั้นต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วให้การสร้างและจัดตั้งมัสยิดแห่งใหม่เป็นไปตามหมวด ๑ และเมื่อได้ย้ายไปประกอบศาสนกิจยังมัสยิดแห่งใหม่แล้วให้คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่เพื่อแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ให้แก้ไขรายการในทะเบียนจัดตั้งมัสยิดให้ถูกต้อง ข้อ ๙ การรวมมัสยิดที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งแล้ว สามารถรวมกันเข้าเป็นมัสยิดเดียวกับอีกมัสยิดหนึ่งที่เป็นหลักได้ โดยให้ประธานกรรมการอิสลามประจำมัสยิดของแต่ละมัสยิดร่วมกันยื่นคำขอรับความเห็นชอบตามแบบ บอ.๕ ท้ายกฎกระทรวงนี้ พร้อมด้วยเอกสารตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอนั้นต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เมื่อให้ความเห็นชอบแล้ว ให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดแจ้งต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อดำเนินการให้มีการประกาศการรวมมัสยิดในราชกิจจานุเบกษา การรวมมัสยิดให้มีผลนับแต่วันที่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดให้ความเห็นชอบและให้มัสยิดเดิมเป็นอันสิ้นสภาพ โดยให้บรรดาทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิ และความรับผิดชอบของมัสยิดเดิมโอนไปเป็นของมัสยิดใหม่นับแต่วันที่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดให้ความเห็นชอบ ข้อ ๑๐ การเลิกมัสยิดที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งแล้ว ให้ประธานกรรมการอิสลามประจำมัสยิดหรือกรรมการอิสลามประจำมัสยิดคนใดคนหนึ่ง ยื่นคำขอรับความเห็นชอบให้เลิกมัสยิดตามแบบ บอ.๖ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ต่อคณะกรรมกรรอิสลามประจำจังหวัด เมื่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเห็นชอบแล้ว ให้ผู้ขอเลิกมัสยิดยื่นคำขอจดทะเบียนเลิกมัสยิดตามแบบ บอ.๗ ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนเลิกมัสยิดโดยบันทึกสาเหตุแห่งการเลิกลงในทะเบียนจัดตั้งมัสยิด และแจ้งต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อดำเนินการให้มีการประกาศการเลิกมัสยิดในราชกิจจานุเบกษา กรณีไม่มีประธานกรรมการอิสลามประจำมัสยิดหรือกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ให้นายอำเภอท้องที่เป็นผู้ยื่นคำขอรับความเห็นชอบให้เลิกมัสยิดต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และเป็นผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนเลิกมัสยิดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒ ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย [เอกสารแนบท้าย] ๑ [๓]หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด (แบบ บอ. ๓) ๒. [๔]คำขอจดทะเบียนเลิกมัสยิด (แบบ บอ. ๗) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์การศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ บัญญัติให้การสร้าง การจัดตั้ง การย้าย การรวม การเลิก และการจดทะเบียนมัสยิดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐[๕] หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ มิได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ประกอบกับสมควรปรับปรุงแบบหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดตามแบบ บอ. ๓ และคำขอจดทะเบียนเลิกมัสยิดตามแบบ บอ. ๗ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ต่อศักดิ์/จัดทำ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๙ ภัทรวีร์/ปรับปรุง ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๑๐๗ก/หน้า ๙/๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ [๒] ข้อ๖/๑ เพิ่มโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ [๓] แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ [๔]แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๒๕ก/หน้า ๔/๑๘ มีนาคม ๒๕๔๘
453534
กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2548) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๖/๑ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ "ข้อ ๖/๑ มัสยิดใดที่จดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดแล้วประสงค์จะเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ให้ขอความเห็นชอบโดยแสดงเหตุผลความจำเป็นต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เมื่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเห็นชอบแล้ว ให้มัสยิดยื่นคำขอตามแบบ บอ.๒/๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ต่อนายอำเภอท้องที่แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณา และมีคำสั่งให้เปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดแล้ว ให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด และออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน ตามแบบ บอ.๓/๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้มัสยิดถือไว้เพื่อแสดงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการดังกล่าว กรณีเฉพาะการเปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อดำเนินการจัดให้มีการจัดให้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งไม่ให้เปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือแก่มัสยิดผู้ขอพร้อมทั้งเหตุผลประกอบ” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกแบบ บอ. ๓ และแบบ บอ. ๗ ท้ายกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ และให้ใช้แบบ บอ. ๓ และแบบ บอ. ๗ ท้ายกฎกระทรวงนี้แทน ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ โภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ มิได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ประกอบกับสมควรปรับปรุงแบบหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดตามแบบ บอ. ๓ และคำขอจดทะเบียนเลิกมัสยิดตามแบบ บอ. ๗ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ภัทรวีร์/ปรับปรุง ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] รก.๒๕๔๘/๒๕ก/๔/๑๘ มีนาคม ๒๕๔๘
322489
กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๗ (๙) แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ โรคตามมาตรา ๗ (๙) คือ (๑) โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม (๒) วัณโรคในระยะติดต่อ (๓) โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม (๔) โรคติดยาเสพติดให้โทษ (๕) โรคพิษสุราเรื้อรัง ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒ ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๗ (๙) แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ กำหนดว่าผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ต้องไม่เป็นโรคตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และมาตรา ๑๗ (๑) มาตรา ๒๔ (๑) มาตรา ๓๑ (๑) และมาตรา ๓๒ (๑) บัญญัติให้นำมาตรา ๗ (๙) มาใช้กับผู้ที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กรรมการอิสลามประจำจังหวัด และกรรมการอิสลามประจำมัสยิดด้วย จึงสมควรกำหนดโรคซึ่งเป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๑๐๗ ก/หน้า ๑๔/๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๒
322488
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐[๑] --------------------- อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้ "คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด" ให้หมายความรวมถึง คณะกรรมการกลางอิสลาม แห่งประเทศไทยหรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่ใกล้เคียง ซึ่งคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประะเทศไไทยมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่แทนในกรณีที่จังหวัดซึ่งจะสร้างหรือจัดตั้งมัสยิดไม่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดด้วย "พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหมาดไทยแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์การศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ "นายอำเภอท้องที่" ให้หมายความรวมถึง ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอท้องที่ด้วย หมวด ๑ การสร้างและจัดตั้งมัสยิด --------------------- ข้อ ๒ บุคคลใดประสงค์จะสร้างมัสยิดให้ยื่นคำขอรับความเห็นชอบต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดตามแบบ บอ. ๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้ พร้อมด้วยเอกสาร ดังต่อไปนี้ (๑) แผนผังแสดงการใช้ที่ดินและสิ่งก่อสร้างของมัสยิด (๒) แผนที่แสดงเขตที่ตั้งมัสยิดและระยะห่างจากมัสยิดอื่น (๓) สำเนาหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินที่ใช้สร้างมัสยิด (๔) สำเนาหนังสือสัญญาซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามกฎหมายทำกับคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด แสดงความจำนงว่าจะให้ที่ดินดังกล่าวเพื่อสร้างมัสยิด (๕) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคล ข้อ ๓ ให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดพิจารณาคำขอให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ และให้แจ้งมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบให้สร้างมัสยิดเป็นหนังสือให้ผู้ขอทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มติดังกล่าว กรณีที่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีมติไม่เห็นชอบให้สร้างมัสยิด ให้แสดงเหตุผลที่ไม่ให้ความเห็นชอบในหนังสือแจ้งมติดังกล่าวด้วย ข้อ ๔ เมื่อได้สร้างอาคารมัสยิดเสร็จและพร้อมที่จะใช้ปฏิบัติศาสนกิจได้แล้ว ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบให้สร้างมัสยิดแจ้งการสร้างมัสยิดแล้วเสร็จ เพื่อขอความเห็นชอบจัดตั้งมัสยิดต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และเมื่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดใต้พิจารณาแล้วเห็นว่าการสร้างมัสยิดนั้นเป็นไปตามแบบแปลนและแผนผังที่ได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว และมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งมัสยิดได้ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับความเห็นชอบทราบมติดังกล่าว หมวด ๒ การจดทะเบียนจังตั้งมัสยิด ------------------- ข้อ ๕ การจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบให้สร้างและจัดตั้งมัสยิดหรืออิหม่ามคอเด็บ และบิหลั่นประจำมัสยิดที่ได้รับมอบหมายจากผู้ได้รับความเห็นชอบให้สร้างและจัดตั้งมัสยิดยื่นคำขอแบบ บอ.๒ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ต่อนายอำเภอท้องที่ พร้อมด้วยเอกสาร ดังต่อไปนี้ (๑) หนังสือแจ้งมติเห็นชอบให้จัดตั้งมัสยิดของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด (๒) สำเนาหนังสืออนุญาตให้ก่อนสร้างอาคารมัสยิดหรือใบรับแจ้งการก่อสร้างอาคารมัสยิดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ข้อ ๖ เมื่อนายอำเภอท้องที่ได้รับคำขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดพร้อมด้วยเอกสารตามข้อ 5 แล้วให้ตรวจสอบความถูกต้องแล้วเสนอไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยความเห็นของตน ภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณามีคำสั่งภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากนายอำเภอท้องที่และแจ้งคำสั่งนั้นให้นายอำเภอท้องที่เพื่อแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดทราบ กรณีพนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนตามแบบ บอ.๓ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้แก่ผู้ขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด และแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อดำเนินการจัดให้มีการประกาศการจัดตั้งมัสยิดนั้นในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงเหตุผลแหงการไม่รับจดทะเบียนไว้ในหนังสือแจ้งคำสั่งดังกล่าวไปยังผู้ขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดด้วย ข้อ ๗ มัสยิดใดที่ได้สร้างและมีการประกอบศาสนกิจอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับประสงค์จะขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดตามหมวดนี้ ให้อิหม่าม คอเด็บ และมิหลั่นประจำมัสยิดนั้นยื่นคำขอรับความเห็นชอบจัดตั้งมัสยิดต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ตามข้อ ๔ และให้นำข้อ ๒ มาใช้บังคับกับแบบคำขอและเอกสารที่ต้องยื่นพร้อมคำขอโดยอนุโลม เมื่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งมัสยิดได้แล้ว ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบให้จัดตั้งมัสยิดนั้นมาขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหมวดนี้ได้ หมวด ๓ การย้าย การรวม และการเลิกมัสยิด --------------------- ข้อ ๘ การย้ายมัสยิดที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งแล้ว ให้ประธานกรรมการอิสลามประจำมัสยิดยื่นคำขอรับความเห็นชอบให้ย้ายมัสยิดตามแบบ บอ.๔ ท้ายกฎกระทรวงนี้ พร้อมด้วยเอกสารตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอนั้นต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วให้การสร้างและจัดตั้งมัสยิดแห่งใหม่เป็นไปตามหมวด ๑ และเมื่อได้ย้ายไปประกอบศาสนกิจยังมัสยิดแห่งใหม่แล้วให้คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่เพื่อแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ให้แก้ไขรายการในทะเบียนจัดตั้งมัสยิดให้ถูกต้อง ข้อ ๙ การรวมมัสยิดที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งแล้ว สามารถรวมกันเข้าเป็นมัสยิดเดียวกับอีกมัสยิดหนึ่งที่เป็นหลักได้ โดยให้ประธานกรรมการอิสลามประจำมัสยิดของแต่ละมัสยิดร่วมกันยื่นคำขอรับความเห็นชอบตามแบบ บอ.๕ ท้ายกฎกระทรวงนี้ พร้อมด้วยเอกสารตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอนั้นต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เมื่อให้ความเห็นชอบแล้ว ให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดแจ้งต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อดำเนินการให้มีการประกาศการรวมมัสยิดในราชกิจจานุเบกษา การรวมมัสยิดให้มีผลนับแต่วันที่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดให้ความเห็นชอบและให้มัสยิดเดิมเป็นอันสิ้นสภาพ โดยให้บรรดาทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิ และความรับผิดชอบของมัสยิดเดิมโอนไปเป็นของมัสยิดใหม่นับแต่วันที่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดให้ความเห็นชอบ ข้อ ๑๐ การเลิกมัสยิดที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งแล้ว ให้ประธานกรรมการอิสลามประจำมัสยิดหรือกรรมการอิสลามประจำมัสยิดคนใดคนหนึ่ง ยื่นคำขอรับความเห็นชอบให้เลิกมัสยิดตามแบบ บอ.๖ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เมื่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเห็นชอบแล้ว ให้ผู้ขอเลิกมัสยิดยื่นคำขอจดทะเบียนเลิกมัสยิดตามแบบ บอ.๗ ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนเลิกมัสยิดโดยบันทึกสาเหตุแห่งการเลิกลงในทะเบียนจัดตั้งมัสยิด และแจ้งต่อผู้ว่ราชการจังหวัดเพื่อดำเนินการให้มีการประกาศการเลิกมัสยิดในราชกิจจานุเบกษา กรณีไม่มีประธานกรรมการอิสลามประจำมัสยิดหรือกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ให้นายอำเภอท้องที่เป็นผู้ยื่นคำขอรับความเห็นชอบให้เลิกมัสยิดต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และเป็นผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนเลิกมัสยิดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒ ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) +-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------+ หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการบริหาร องค์การศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 บัญญัติให้การสร้าง การจัดตั้ง การย้าย การรวม การเลิก และการจดทะเบียน มัสยิดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ภัทรวีร์/ปรับปรุง ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] รก.๒๕๔๒/๑๐๗ก/๙/๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๒
310667
กฎกระทรวง (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540
กฎกระทรวง กฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ มาตรา ๖ วรรคสาม มาตรา ๑๖ วรรคสอง มาตรา ๒๐ วรรคสอง มาตรา ๒๓ วรรคสอง และมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ หมวด ๑ การสรรหาจุฬาราชมนตรี ข้อ ๑ เมื่อตำแหน่งจุฬาราชมนตรีว่างลง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนดวัน เวลา และสถานที่ประชุมสรรหาและให้ความเห็นชอบผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีและแจ้งให้กรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศทราบ การกำหนดสถานที่ประชุมวรรคหนึ่ง ให้กำหนดสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งเพียงแห่งเดียว ข้อ ๒ ในการประชุมสรรหาและให้ความเห็นชอบผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีต้องมีกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมาประชุมไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมกรรมอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศเท่าทีมีอยู่ในขณะนั้น จึงจะเป็นองค์ประชุม และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมายเป็นประธานในที่ประชุม การให้ความเห็นชอบผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีให้กระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ ข้อ ๓ ในการสรรหาผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ให้กรรมการอิสลามประจำจังหวัดซึ่งอยู่ในที่ประชุมแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อผู้ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ เพื่อให้กรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่อยู่ในที่ประชุมลงคะแนนให้ความเห็นชอบเป็นผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีได้หนึ่งชื่อ การเสนอนั้นต้องมีกรรมการอิสลามประจำจังหวัดรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน ถ้ามีผู้ได้รับการเสนอชื่อเพียงชื่อเดียว ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบจากกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศให้เป็นผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีตามมาตรา ๖ วรรคสอง ถ้ามีผู้ได้รับการเสนอชื่อมากกว่าหนึ่งชื่อแต่ไม่เกินสามชื่อ ให้ประธานในที่ประชุมจับสลากกำหนดหมายเลขประจำตัวของผู้ได้รับการเสนอชื่อเพื่อให้ที่ประชุมลงคะแนนให้ความเห็นชอบตามข้อ ๔ ถ้ามีผู้ได้รับการเสนอชื่อมากว่าสามชื่อ ให้ประธานในที่ประชุมจับสลากเลือกรายชื่อกรรมการอิสลามประจำจังหวัดแต่ละจังหวัดที่อยู่ในที่ประชุม จังหวัดละหนึ่งชื่อเป็นคณะกรรมการสรรหาเพื่อดำเนินการสรรหาผู้ได้รับการเสนอชื่อให้เหลือเพียงสามชื่อ โดยวิธีลงคะแนนลับ และเมื่อได้ผู้ได้รับการเสนอชื่อจำนวนสามชื่อแล้ว ให้ดำเนินการตามวรรคสาม ข้อ ๔ ในการลงคะแนนให้ความเห็นชอบผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีให้ใช้บัตรลงคะแนนตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด และระยะเวลาในการลงคะแนน ให้เป็นไปตามที่ที่ประชุมกำหนด เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาลงคะแนนแล้ว ให้ประธานในที่ประชุมแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เป็นผู้ตรวจนับคะแนน ผู้ได้รับคะแนนสูงสุด เป็นผู้ได้รับความเห็นชอบจากกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศให้เป็นผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีตามมาตรา ๖ วรรคสอง ถ้ามีผู้ได้รับคะแนนสูงสุดเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมจัดให้มีการลงคะแนนใหม่ เฉพาะผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดเท่ากันตามวิธีการที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งและวรรคสองอีกครั้งหนึ่ง ถ้ายังคงได้รับคะแนนเท่ากันอีก ให้ใช้วิธีจับสลากโดยประธานในที่ประชุมเป็นผู้จับ ข้อ ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอชื่อผู้ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศให้เป็นผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีตามข้อ ๓ วรรคสอง หรือตามข้อ ๔ วรรคสองหรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี ไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นจุฬาราชมนตรี หมวด ๒ การคัดเลือกกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ข้อ ๖ เมื่อกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเพื่อคัดเลือกผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนั้นเสนอแต่งตั้งเป็นกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ในการประชุมคัดเลือกผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ต้องมีกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมาประชุมไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้น จึงจะเป็นองค์ประชุม และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเป็นประธานในที่ประชุม ให้กรรมการอิสลามประจำจังหวัดซึ่งอยู่ในที่ประชุมแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเพื่อให้ที่ประชุมลงคะแนนคัดเลือกได้หนึ่งชื่อ การเสนอนั้นต้องมีกรรมการอิสลามประจำจังหวัดรับรองไม่น้อยกว่าสามคน ถ้ามีผู้ได้รับการเสนอชื่อเพียงชื่อเดียว ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ถ้ามีผู้ได้รับการเสนอชื่อหลายชื่อ ให้ที่ประชุมออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ ผู้ได้รับคะแนนสูงสุดเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ถ้ามีผู้ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเท่ากัน ให้ใช้วิธีการจับสลากโดยประธานในที่ประชุมเป็นผู้จับ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอชื่อกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่ได้รับเลือกเป็นผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อรวบรวมนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยโดยเร็ว ข้อ ๗ เมื่อกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยที่เป็นกรรมการอื่นซึ่งคัดเลือกโดยจุฬาราชมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้จุฬาราชมนตรีคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๗ ซึ่งเห็นว่าเหมาะสม เสนอไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ พร้อมกับผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ข้อ ๘ เมื่อตำแหน่งกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศซึ่งเป็นผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดหรือเป็นกรรมการอื่นซึ่งคัดเลือกโดยจุฬาราชมนตรีว่างลงเพราะแหตุอื่นใด นอกจากถึงคราวออกวาระ ให้นำข้อ ๖ หรือข้อ ๗ มาใช้บังคับกับการคัดเลือกผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดหรือการคัดเลือกกรรมการอื่นเพื่อดำเนินการแต่งตั้งเป็นกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยแทนตำแหน่งที่ว่าง แล้วแต่กรณี หมวด ๓ การคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ข้อ ๙ เมื่อคณะกรรมการกลางอิสลามแห่ประเทศไทยประกาศให้จังหวัดใดมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด หรือตำแหน่งกรรมการอิสลามประจำจังหวัดว่างลง ให้กระทรวงมหาดไทยแจ้งให้ผู้ว่าราชการจัดให้มีการประชุมอิหม่ามประจำมัสยิดในจังหวัดนั้นเพื่อคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ในการประชุมคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ต้องมีอิหม่ามประจำมัสยิดในจังหวัดมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนอิหม่ามประจำมัสยิดในจังหวัดนั้นเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้นจึงจะเป็นองค์ประชุม และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเป็นประธานในที่ประชุม ให้อิหม่ามประจำมัสยิดที่มาประชุมคนหนึ่งมีสิทธิเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้ไม่เกินจำนวนของกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนั้น หรือไม่เกินจำนวนตำแหน่งที่ว่างลง แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ผู้ได้รับการเสนอชื่อมีจำนวนเท่ากับจำนวนกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะทำการคัดเลือกในคราวนั้น ให้ถือว่าผู้ได้รับการเสนอชื่อเหล่านั้นได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ข้อ ๑๑ ในกรณีที่มีผู้ได้รับการเสนอเชื่อมีจำนวนมากกว่ากรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะทำการคัดเลือกในคราวนั้น ให้อิหม่ามประจำมัสยิดที่มาประชุมออกเสียงลงคะแนน ให้ผู้ได้รับคะแนนสูงสุดเรียงลำดับลงมาจนเท่ากับจำนวนกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะทำการคัดเลือก เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ถ้ามีผู้ได้รับการคัดเลือกได้คะแนนเท่ากันจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียงลำดับตามวรรคสองได้ ให้ประธานในที่ประชุมจับสลากเพื่อให้ได้ผู้ได้รับการคัดเลือกครบจำนวนกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะทำการคัดเลือกในคราวนั้น เมื่อได้ครบจำนวนแล้วให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการอิสลามประจำจังหวัดไปยังกระทรวงมหาดไทย ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒ ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๖ วรรคสาม มาตรา ๑๖ วรรคสอง มาตรา ๒๐ วรรคสอง มาตรา ๒๓ วรรคสอง และมาตรา ๒๕ บัญญัติให้การสรรหาจุฬาราชมนตรี การคัดเลือกผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและการคัดเลือกกรรมการอื่น เพื่อดำเนินการแต่งตั้งเป็น กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยแทนตำแหน่งที่ว่าง การคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำจังหวัดแทนตำแหน่งที่ว่าว ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๑๐๗ ก/หน้า ๔/๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๒
697309
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจดทะเบียนตั้งมัสยิด [มัสยิดอิบาดิรเราะห์มาน]
ประกาศกรุงเทพมหานคร ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดอิบาดิรเราะห์มาน ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๖๑ ซอยราษฎร์พัฒนา ๑๐ แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร หมายเลขทะเบียน ๑๕๘ เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๖ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ วรรคสาม แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ จึงประกาศจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดอิบาดิรเราะห์มาน เพื่อทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ อุษมล/ผู้ตรวจ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๑๑๖ ง/หน้า ๑๗๗/๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๖
803727
ประกาศจังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
566482
ประกาศจังหวัดพังงา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดพังงา ประกาศจังหวัดพังงา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายหมาด สะวารี นายมานพ อีดเกิด และ นายสาร ไชยเพส ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “นูรุ้ลอามานะฮ์” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “นูรุ้ลอามานะฮ์” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา หมายเลขทะเบียน ๙๓ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ วินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๖ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๙๕ ง/หน้า ๒๒๔/๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
566480
ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดฮูดัยบียะห์
ประกาศจังหวัดนราธิวาส ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดฮูดัยบียะห์[๑] ด้วย นายแวหามะสำสูดิน เซ็งหมะ และคณะ ได้รับความเห็นชอบให้สร้างและจัดตั้งมัสยิด ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดฮูดัยบียะห์ ตั้งอยู่ ณ บ้านบูกิตอ่าวมะนาว หมู่ที่ ๑๒ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่ จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดฮูดัยบียะห์ ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๓๐/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ นิพนธ์ นราพิทักษ์กุล รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๙๕ ง/หน้า ๒๒๓/๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
566223
ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดปัตตานี ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายมูฮำหมัด เบญจอิสระ ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนมัสยิด จัดตั้งมัสยิดเราฎอตุลอีบาดะห์ (ดูซงปันยัง) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดเราฎอตุลอีบาดะห์ (ดูซงปันยัง) ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๕๒/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๐๑ ง/หน้า ๑๙๑/๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
566221
ประกาศจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดอัลฮายาต
ประกาศจังหวัดกาฬสินธุ์ ประกาศจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดอัลฮายาต[๑] ด้วย นายราเชนทร์ แสงบำรุง นายประเสริฐ ยามัล และ นายจรัล ไทยใหม่ ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดอัลฮายาต ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดอัลฮายาต ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๒ ตั้งแต่วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ประสิทธิ์ คชโคตร ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๐๑ ง/หน้า ๑๙๐/๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
564511
ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดปัตตานี ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายดอเลาะ อาบู ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดนูรุลอีมาน (นัดตูปะ) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดนูรุลอีมาน (นัดตูปะ) ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๕๑/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ประมุข ลมุล ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๒๒๐/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๐
564508
ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดปัตตานี ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายอาแว เจ๊ะโด ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนมัสยิด จัดตั้งมัสยิดอัลฟิรดาวส์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลมะนังดาลำ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ พนักงาน เจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดอัลฟิรดาวส์ ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๕๐/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๒๑๙/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๐
563380
ประกาศจังหวัดกระบี่ เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดกระบี่ ประกาศจังหวัดกระบี่ เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายดลกอหนี ยี่เต๊ะ นายนรินทร์ ชลธี และ นายหมูด สารภี ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “ดารุสลาม” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่ จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “ดารุสลาม” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ หมายเลขทะเบียน ๑๘๑ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ชัยเลิศ ภิญโญรัตนโชติ ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๘๓ ง/หน้า ๑๑๕/๔ ตุลาคม ๒๕๕๐
562717
ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การเปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิด
ประกาศจังหวัดปัตตานี ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การเปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิด[๑] ด้วย นายเจะมามุ มูหะมะสาเล็ม อิหม่ามประจำมัสยิดตาแกะกือดา ผู้ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดตาแกะกือดา ได้ยื่นเรื่องราวขอเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ขอเปลี่ยนแปลงชื่อและสถานที่ตั้งมัสยิดตาแกะกือดา ทะเบียนเลขที่ ๓๙๔/๒๕๑๙ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลตาแกะ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี รับจดทะเบียนเมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ เป็นชื่อ “มัสยิดอัลอาบีดีนวัลอิฮซาน ตาแกะกือดา ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลตาแกะ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี” ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๖/๑ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดจาก “มัสยิดตาแกะกือดา ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลตาแกะ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี” เป็นชื่อ “มัสยิดอัลอาบีดีนวัลอิฮซาน ตาแกะกือดา ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลตาแกะ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี” ตั้งแต่วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ประมุข ลมุล ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๗๙ ง/หน้า ๑๐๒/๒๐ กันยายน ๒๕๕๐
562715
ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดปัตตานี ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายฮามะ อีแต ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนมัสยิด จัดตั้งมัสยิดมิฟตาฮุลยันนะห์ (แมซา) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลมะนังดาลำ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดมิฟตาฮุลยันนะห์ (แมซา) ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๔๙/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อภินันท์ จันทรังษี รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๗๙ ง/หน้า ๑๐๑/๒๐ กันยายน ๒๕๕๐
562713
ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดปัตตานี ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายเพายี อาแว ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนมัสยิด จัดตั้งมัสยิดดารุลยันนะห์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลละหาร อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดดารุลยันนะห์ ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๔๘/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อภินันท์ จันทรังษี รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๗๙ ง/หน้า ๑๐๐/๒๐ กันยายน ๒๕๕๐
562215
ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดยะลา ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายมะหะมะสุกรี มะเซ็ง นายอิสมาอีล ราโอ และ นายพิเชษฐ นิยมเดชา ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “ดารุลมุฮาญิรีน” (ตลาดเมืองใหม่) ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๑๑๖ ถนนภูมาชีพ ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “ดารุลมุฮาญิรีน” (ตลาดเมืองใหม่) ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๑๑๖ ถนนภูมาชีพ ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ทะเบียนเลขที่ ๔๕๓ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๗๔ ง/หน้า ๑๗๗/๖ กันยายน ๒๕๕๐
561653
ประกาศนายทะเบียนมัสยิดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรื่อง จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิดของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประกาศนายทะเบียนมัสยิดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกาศนายทะเบียนมัสยิดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรื่อง จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิดของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา[๑] ด้วย มัสยิดอาลียิ้ลงอลิไบน์ ได้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิด ดังนี้ จาก มัสยิดอาลียิ้ลงอลิไบน์ เป็น “มัสยิดอาลียิ้ลฆอลิไบน์” ทะเบียนเลขที่ ๔๓ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายทะเบียนมัสยิดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้มีคำสั่งรับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิดรายนี้แล้ว เลขทะเบียนที่ ๒/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ สมชาย อัชฌากุล ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๗๒ ง/หน้า ๑๑๙/๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๐
560988
ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดยะลา ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายสะมะแอ มณีหิยา นายมาอุเซ็ง ดอเต๊ะ นายมะอุเซ็ง สาและ ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “นูรูลฮีดายะห์” ตั้งอยู่ที่บ้านซีเซะใน หมู่ที่ ๕ ตำบลบาโร๊ะ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “นูรูลฮีดายะห์” ตั้งอยู่ที่บ้านซีเซะใน หมู่ที่ ๕ ตำบลบาโร๊ะ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ทะเบียนเลขที่ ๔๕๒ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๖๔ ง/หน้า ๑๗๙/๒ สิงหาคม ๒๕๕๐
560986
ประกาศจังหวัดกระบี่ เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดกระบี่ ประกาศจังหวัดกระบี่ เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายแสล้ มะหมัด นายกะหนี โต๊ะตาเหยะ และ นายเส็ง บีเจ๊ะหวาง ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “ดารุลเอี๊ยะสาน” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลหน้าเขา อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “ดารุลเอี๊ยะสาน” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลหน้าเขา อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ หมายเลขทะเบียน ๑๘๐ ตั้งแต่วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ชัยเลิศ ภิญโญรัตนโชติ ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๖๘ ง/หน้า ๑๗๒/๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๐
559067
ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดปัตตานี ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายมะยะโกะ แวอีซอ ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนมัสยิด จัดตั้งมัสยิดดารุลมุตตากีน (ฮารอยาบี) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดดารุลมุตตากีน (ฮารอยาบี) ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๔๗/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๕๖ ง/หน้า ๑๔๔/๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐
559062
ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดปัตตานี ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายอูเซ็ง อาแว ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนมัสยิด จัดตั้งมัสยิดบาฮ์รูลอิสลามมียะฮ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลตอหลัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดบาฮ์รูลอิสลามมียะฮ์ ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๔๖/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๕๖ ง/หน้า ๑๔๓/๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐
559059
ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดปัตตานี ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายมะเสาดี เด็ง ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนมัสยิด จัดตั้งมัสยิดนูรุลอิฮซาน (ดูซงโตะนอ) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลวัด อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่ จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดนูรุลอิฮซาน (ดูซงโตะนอ) ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๔๕/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ วินัย ครุวรรณพัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๕๖ ง/หน้า ๑๔๒/๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐
559052
ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดปัตตานี ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายหามะ บือราเฮง ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนมัสยิด จัดตั้งมัสยิดอีบาดีลฮัก (ตันหยงบูโละ) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดอีบาดีลฮัก (ตันหยงบูโละ) ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๔๔/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ วินัย ครุวรรณพัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๕๖ ง/หน้า ๑๔๑/๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐
558996
ประกาศจังหวัดตรัง เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดตรัง ประกาศจังหวัดตรัง เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายฮัจยีมะหมูด เสียมไหม นายเรือง หวันแอ และ นายอดุลย์ หวันแอ ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดอัลบาบุสสลาม (ท่าดินแดง) ตั้งอยู่เลขที่ ๘๑/๖ หมู่ที่ ๓ ตำบลบ้าหวี กิ่งอำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดอัลบาบุสสลาม (ท่าดินแดง) ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๑๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อรชุณห์ นุ้ยบ้านด่าน ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๕๖ ง/หน้า ๑๔๐/๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐
558987
ประกาศจังหวัดตรัง เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดตรัง ประกาศจังหวัดตรัง เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายสมัน ตรงมะตัง นายยุมาต สิงห์ภมร และ นายหมาด ศรีไหมพัทลุง ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดนู้รุลญันนะฮ์ (บ้านปากคลอง) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดนู้รุลญันนะฮ์ (บ้านปากคลอง) ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๑๓๒ ตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อรชุณห์ นุ้ยบ้านด่าน ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๕๖ ง/หน้า ๑๓๙/๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐
558451
ประกาศนายทะเบียนจังหวัดลพบุรี เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด "ดารุ้ลอามาน๊ะฮ์"
ประกาศนายทะเบียนจังหวัดลพบุรี ประกาศนายทะเบียนจังหวัดลพบุรี เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “ดารุ้ลอามาน๊ะฮ์”[๑] ด้วย นายไสว เสล็ม ได้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด เพื่อให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มีใจความสำคัญ ดังนี้ ๑. ชื่อมัสยิด “ดารุ้ลอามาน๊ะฮ์” ๒. วัตถุประสงค์ เพื่อประกอบศาสนกิจ ๓. มัสยิดตั้งอยู่เลขที่ ๗๐/๑ หมู่ที่ ๑ ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้รับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดรายนี้แล้ว เลขทะเบียนที่ ๔ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๑๒ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ คำนึง อิสโร ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี พนักงานเจ้าหน้าที่ วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๕๔ ง/หน้า ๑๕๗/๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
552813
ประกาศจังหวัดกระบี่ เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดกระบี่ ประกาศจังหวัดกระบี่ เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายส้อแล้ หมันกุล เลขประจำตัวประชาชน ๓-๘๑๐๕-๐๐๒๙๑-๖๙-๙ นายด้าโหด แกเกิด เลขประจำตัวประชาชน ๓-๘๑๐๕-๐๐๒๘๘-๖๖-๓ และ นายก้อเฉม ดีเดช เลขประจำตัวประชาชน ๓-๘๑๐๕-๐๐๒๙๑-๐๔-๔ ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “สอลาฮุดดีน” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “สอลาฮุดดีน” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ หมายเลขทะเบียน ๑๗๙ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ชัยเลิศ ภิญโญรัตนโชติ ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๔๘ ง/หน้า ๑๕๕/๗ มิถุนายน ๒๕๕๐
548696
ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดดารุลอิสติกลาล
ประกาศจังหวัดนราธิวาส ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดดารุลอิสติกลาล[๑] ด้วย นายมาหามะรือสะลี บินเซ็ง และคณะ ได้รับความเห็นชอบให้สร้างและจัดตั้งมัสยิด ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดดารุลอิสติกลาล ตั้งอยู่ที่บ้านยะกัง ถนนระแงะมรรคา ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดดารุลอิสติกลาล ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๒๙/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ การัณย์ ศุภกิจวิเลขการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๔๒ ง/หน้า ๑๙๓/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๐
543998
ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดยะลา ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายมะลี วานิ นายมะรูดิง ดีโซะ และ นายยูโซ๊ะ ดือราซอ ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “นูรรุลอิสลาม” ตั้งอยู่ที่บ้านดอน หมู่ที่ ๗ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “นูรรุลอิสลาม” ตั้งอยู่ที่บ้านดอน หมู่ที่ ๗ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ทะเบียนเลขที่ ๔๕๑ ตั้งแต่วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๐ จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๓๘ ง/หน้า ๒๐๔/๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐
543770
ประกาศจังหวัดกระบี่ เรื่อง ขอเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดกระบี่ ประกาศจังหวัดกระบี่ เรื่อง ขอเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดบ้านทุ่ง ทะเบียนเลขที่ ๗๙ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนขอเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๖/๑ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ดังนี้ ๑. เปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิดจากเดิม “บ้านทุ่ง” เป็น “บ้านกลาง” ๒. เปลี่ยนแปลงที่ตั้งมัสยิดจากเดิมตั้งอยู่ “หมู่ที่ ๓ ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่” เป็น “หมู่ที่ ๖ ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่” จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ชัยเลิศ ภิญโญรัตนโชติ ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๔๐ ง/หน้า ๑๖๐/๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐
542003
ประกาศจังหวัดสตูล เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดสตูล ประกาศจังหวัดสตูล เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย จังหวัดสตูลได้รับเรื่องราวการขออนุญาตจัดตั้งมัสยิดในพื้นที่อำเภอเมืองสตูล จำนวน ๑ มัสยิด “มิฟตาฮุลญันน๊ะ (กาลูบี)” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลโดยมี นายมะหมูด ยาติกุล เป็นอิหม่าม นายฉาเหตุ นารอยี เป็นคอเต็บ และ นายอับดลล๊ะ กอหลำเป็นบิหลั่น เลขทะเบียนมัสยิดที่ ๒๑๒ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๔, ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดมิฟตาฮุลญันน๊ะ (กาลูบี) เลขทะเบียนที่ ๒๑๒ ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ธันวาคม เขมะศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๓๔ ง/หน้า ๒๐๓/๑๙ เมษายน ๒๕๕๐
541532
ประกาศนายทะเบียนมัสยิดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรื่อง จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิดของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประกาศนายทะเบียนมัสยิดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกาศนายทะเบียนมัสยิดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรื่อง จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิดของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา[๑] ด้วย มัสยิดยะมาลุดอิสลาม ได้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิด ดังนี้ จากมัสยิดยะมาลุดอิสลาม เป็น “มัสยิดญ่ามาลุ้ลอิสลาม (สะพานยาว)” ทะเบียนเลขที่ ๖ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลปากกราน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายทะเบียนมัสยิดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้มีคำสั่งรับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิดรายนี้แล้ว เลขทะเบียนที่ ๑/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ สมชาย อัชฌากุล ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๓๔ ง/หน้า ๖๕/๑๙ เมษายน ๒๕๕๐
535035
ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การเปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิด
ประกาศจังหวัดปัตตานี ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การเปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิด[๑] ด้วย นายบือราเฮง สาฮะ อิหม่ามประจำมัสยิดตะโละกาโปร์ ผู้ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดตะโละกาโปร์ ได้ยื่นเรื่องราวขอเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ขอเปลี่ยนแปลงชื่อและสถานที่ตั้งมัสยิดตะโละกาโปร์ ทะเบียนเลขที่ ๗๓/๒๔๙๓ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี รับจดทะเบียนเมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นชื่อ “มัสยิดอัลบะฮ์รุลวาซิอะฮ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี” ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๖/๑ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงรายการ ในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดจาก “มัสยิดตะโละกาโปร์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี” เป็นชื่อ “มัสยิดอัลบะฮ์รุลวาซิอะฮ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี” ตั้งแต่วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ไชยยศ ธงไชย ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๒๒๙/๒๙ มีนาคม ๒๕๕๐
535033
ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การเปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิด
ประกาศจังหวัดปัตตานี ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การเปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิด[๑] ด้วย นายลาเต๊ะ เจะมะ อิหม่ามประจำมัสยิดสุเหร่ากัวลอแกแฆ ผู้ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดสุเหร่ากัวลอแกแฆ ได้ยื่นเรื่องราวขอเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ขอเปลี่ยนแปลงชื่อและสถานที่ตั้งมัสยิดสุเหร่ากัวลอแกแฆ ทะเบียนเลขที่ ๒๔๖/๒๕๐๕ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลพ่อมิ่ง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี รับจดทะเบียนเมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๕ เป็นชื่อ “มัสยิดนูรุลฮูดา (แฆ - แฆ) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลบ้านน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี” ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๖/๑ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดจาก “มัสยิดสุเหร่ากัวลอแกแฆ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลพ่อมิ่ง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี” เป็นชื่อ “มัสยิดนูรุลฮูดา (แฆ - แฆ) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลบ้านน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี” ตั้งแต่วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ไชยยศ ธงไชย ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๒๒๘/๒๙ มีนาคม ๒๕๕๐
535031
ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดปัตตานี ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายอับดุลเลาะ โด ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนมัสยิด จัดตั้งมัสยิดดารุนมูไฮมี ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลตาแกะ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดดารุนมูไฮมี ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๔๓/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๒๒๗/๒๙ มีนาคม ๒๕๕๐
530804
ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดยะลา ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายฮาซัน นิระหิง นายกอเดร์ หะยีวานี และ นายยูโซ๊ะ ดงมะแซ ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “อัลฮามีดี” ตั้งอยู่ที่บ้านบือแนบารู หมู่ที่ ๑ ตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “อัลฮามีดี” ตั้งอยู่ที่บ้านบือแนบารู หมู่ที่ ๑ ตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ทะเบียนเลขที่ ๔๔๙ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๐ จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๒๒ ง/หน้า ๒๑๕/๘ มีนาคม ๒๕๕๐
530234
ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดเราฎอฏุลญันนะห์
ประกาศจังหวัดนราธิวาส ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดเราฎอฏุลญันนะห์[๑] ด้วย นายแวสอิ แวเยะ และคณะ ได้รับความเห็นชอบให้สร้างและจัดตั้งมัสยิด ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดเราฎอฏูลญันนะห์ ตั้งอยู่บ้านบูเก๊ะยารง หมู่ที่ ๑ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดเราฎอฎฏุลญันนะห์ ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๒๖/๒๕๔๙ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ นิพนธ์ นราพิทักษ์กุล รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๗ ง/หน้า ๑๙๐/๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
530111
ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดดารุลอามาน
ประกาศจังหวัดนราธิวาส ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดดารุลอามาน[๑] ด้วย นายมะรอซี แดเมาะเล็ง และคณะ ได้รับความเห็นชอบให้สร้างและจัดตั้งมัสยิด ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดดารุลอามาน ตั้งอยู่บ้านบือเจ๊าะ ๒ หมู่ที่ ๘ ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดดารุลอามาน ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๒๗/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ การัณย์ ศุภกิจวิเลขการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๒๔๖/๑ มีนาคม ๒๕๕๐
530109
ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดกามาลูลยากีน
ประกาศจังหวัดนราธิวาส ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดกามาลูลยากีน[๑] ด้วย นายมะโซะ สะแมแอ และคณะ ได้รับความเห็นชอบให้สร้างและจัดตั้งมัสยิด ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดกามาลูลยากีน ตั้งอยู่บ้านบาซาซีแก๊ะ หมู่ที่ ๔ ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดกามาลูลยากีน ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๒๘/๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ การัณย์ ศุภกิจวิเลขการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๒๔๕/๑ มีนาคม ๒๕๕๐
530074
ประกาศจังหวัดสตูล เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดสตูล ประกาศจังหวัดสตูล เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย จังหวัดสตูลได้รับเรื่องราวการขออนุญาตจัดตั้งมัสยิด ในพื้นที่อำเภอเมืองสตูล จำนวน ๑ มัสยิด คือ “มัสยิดบากัรบาตา” ตั้งอยู่ถนนสตูลธานี ซอย ๑๗ ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล โดยมี นายประเสริฐ อิสมาแอล เป็นอิหม่าม นายฮาหรุน ละอาด เป็นคอเต็บ และนายมะแอ มะอาลา เป็นบิหลั่น เลขทะเบียนมัสยิดที่ ๒๑๐ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๔, ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดบากัรบาตา เลขทะเบียนที่ ๒๑๐ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ มานิต วัฒนเสน ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๑๕๐/๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
530071
ประกาศจังหวัดตราด เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดตราด ประกาศจังหวัดตราด เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายมูฮำหมัด มะตัง อิหม่ามประจำมัสยิดนูรุ้ลอิบาดะห์ (ฆ้อ) ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนมัสยิดนูรุ้ลอิบาดะห์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ เพื่อแสดงว่า มัสยิดนูรุ้ลอิบาดะห์ (ฆ้อ) ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๑๓ หมู่ที่ ๕ ตำบลวังตะเคียน อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ได้จดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดแล้ว จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคล หมายเลขทะเบียน ๑๓ เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๐ จึงประกาศเพื่อทราบทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ วิชัย ประพันธ์โรจน์ ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๑๔๙/๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
528710
ประกาศจังหวัดระยอง เรื่อง การจัดตั้งมัสยิดดะวะห์ติ้ลอิสลาม
ประกาศจังหวัดระยอง ประกาศจังหวัดระยอง เรื่อง การจัดตั้งมัสยิดดะวะห์ติ้ลอิสลาม[๑] ด้วย จังหวัดระยองได้อนุญาตให้มีการจัดตั้งมัสยิดดะวะห์ติ้ลอิสลาม เพื่อเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจตามบัญญัติศาสนาอิสลาม โดยมีสถานที่ตั้งอยู่เลขที่ ๖๐/๑๐๕ หมู่ที่ ๕ ถนนเทศบาล ๓๔/๒ ตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง และจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ตามทะเบียนแบบ บอ. ๓ เล่มที่ ๑ เลขที่ ๑/๒๕๔๙ หมายเลขทะเบียน ๙ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ จึงประกาศเพื่อทราบทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ สุนทร รัตนวราหะ รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๓ ง/หน้า ๑๖๓/๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
526365
ประกาศจังหวัดภูเก็ต เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดภูเก็ต ประกาศจังหวัดภูเก็ต เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายอับดุลล่ะ ร่าหมาน ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดอัลบุซรอ ตั้งอยู่เลขที่ ๙๖/๔๑ หมู่ที่ ๓ ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดอัลบุซรอ ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๕๑ เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ วรพจน์ รัฐสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๗ ง/หน้า ๑๗๕/๑๘ มกราคม ๒๕๕๐
526200
ประกาศนายทะเบียนมัสยิดประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด
ประกาศนายทะเบียนมัสยิด ประกาศนายทะเบียนมัสยิด ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายชาติชาย น้อยสกุล อิหม่ามประจำมัสยิดนูรุตตักวา ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ต่อนายทะเบียนมัสยิดจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีใจความสำคัญ ดังนี้ ๑. ชื่อมัสยิดนูรุตตักวา ๒. สำนักงานของมัสยิด ตั้งอยู่เลขที่ ๓๙ ถนนปางล้อนิคม ตำบลจองคำ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ๕๘๐๐๐ นายทะเบียนมัสยิดจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้จดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๙ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ดิเรก ก้อนกลีบ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๙ ง/หน้า ๑๗๘/๒๕ มกราคม ๒๕๕๐
523957
ประกาศจังหวัดพังงา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดพังงา ประกาศจังหวัดพังงา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายอุ่น ศรีรัตน์ นายสุชาติ ท่อทิพย์ และ นายดนหล้อ ไมหมาด ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “บ้านนา” หมู่ที่ ๓ ตำบลหล่อยูง อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “บ้านนา” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลหล่อยูง อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา หมายเลขทะเบียน ๙๒ ตั้งแต่วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ วินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๔ ง/หน้า ๒๒๙/๑๑ มกราคม ๒๕๕๐
522791
ประกาศจังหวัดสตูล เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดสตูล ประกาศจังหวัดสตูล เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย จังหวัดสตูลได้รับเรื่องราวการขออนุญาตจัดตั้งมัสยิด ในพื้นที่อำเภอควนกาหลง จำนวน ๑ มัสยิด คือ มัสยิด “อัสซากีนาตุลยันนะห์” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล โดยมี นายแอ หมาดลีลา เป็นอิหม่าม นายอาสีด แกสมาน เป็นคอตีบ และ นายสัน หลังยาหน่าย เป็นบิหลั่น เลขทะเบียนมัสยิดที่ ๒๑๑ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๔, ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดอัสซากีนาตุลยันนะห์ เลขทะเบียนที่ ๒๑๑ ตั้งแต่วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ธันวาคม เขมะศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๒ ง/หน้า ๒๓๒/๔ มกราคม ๒๕๕๐
803226
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
521286
ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดยะลา ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายฮาซัน หะเด็ง นายวิชัย ลาบือแม และ นายสะมะแอ นาแว ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “ดารุสสากีรีน” ตั้งอยู่ที่บ้านปาโละห์ หมู่ที่ ๓ ตำบลบาโงย อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “ดารุสสากีรีน” ตั้งอยู่ที่บ้านปาโละห์ หมู่ที่ ๓ ตำบลบาโงย อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ทะเบียนเลขที่ ๔๔๘ ตั้งแต่วันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วไป ประกาศ ณ วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ การัณย์ ศุภกิจวิเลขการ รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๓๑ ง/หน้า ๑๖๑/๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๙
520121
ประกาศจังหวัดพังงา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดพังงา ประกาศจังหวัดพังงา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายสะอาด พืชชน นายสมปอง พืชชน และ นายก้อหล้า ประสารการ ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “สาลาฮุดดิ่น” หมู่ที่ ๖ ตำบลโคกเจริญ อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่ จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “สาลาฮุดดิ่น” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลโคกเจริญ อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา หมายเลขทะเบียน ๙๑ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ วินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๒๗ ง/หน้า ๒๕๖/๗ ธันวาคม ๒๕๔๙
520119
ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดปัตตานี ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายดอเลาะ ดอเลาะ ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนมัสยิด จัดตั้งมัสยิดดารุลสลาม (เมาะปริง) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลจะรัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดดารุลสลาม (เมาะปริง) ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๔๒/๒๕๔๙ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ธีระ มินทราศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๒๗ ง/หน้า ๒๕๕/๗ ธันวาคม ๒๕๔๙
520117
ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดปัตตานี ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายอิบรอเฮง ดอเลาะ ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนมัสยิด จัดตั้งมัสยิดนูรุลอิสลามสูปัน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลมะนังยง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดนูรุลอิสลามสูปัน ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๔๑/๒๕๔๙ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ธีระ มินทราศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๒๗ ง/หน้า ๒๕๔/๗ ธันวาคม ๒๕๔๙
518857
ประกาศจังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดนครศรีธรรมราช ประกาศจังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายม๊ะเหรม ดาราไก่ นายหมาม พลสะอาด และ นายเสรี สุทธิกาญจน์ ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดศีรอตุสสาลาม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ถนนกะโรม ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดศีรอตุสสาลาม ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๑๒๐ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ บุญญวัฒน์ ชีช้าง ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๒๒ ง/หน้า ๑๓๕/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
516370
ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การเปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิด
ประกาศจังหวัดปัตตานี ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การเปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิด[๑] ด้วย นายอดุลย์ สาแล อิหม่ามประจำมัสยิดลูกุบ (โรงกบ) ผู้ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดลูกุบ (โรงกบ) ได้ยื่นเรื่องราวขอเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ขอเปลี่ยนแปลงชื่อ มัสยิดลูกุบ (โรงกบ) ทะเบียนเลขที่ ๓๕๗/๒๕๑๖ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลท่าข้าม อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี รับจดทะเบียนเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๑๖ เป็นชื่อ “มัสยิดดารุลมุหซีนีนลูโกะ” ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๖/๑ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดจาก “มัสยิดลูกุบ (โรงกบ)” เป็น “มัสยิดดารุลมุหซีนีนลูโกะ” ตั้งแต่วันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ธีระ มินทราศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๑๖ ง/หน้า ๑๑๔/๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
513657
ประกาศจังหวัดชัยภูมิ เรื่อง จัดตั้งมัสยิดภูเขียว
ประกาศจังหวัดชัยภูมิ ประกาศจังหวัดชัยภูมิ เรื่อง จัดตั้งมัสยิดภูเขียว[๑] ด้วย นายมานพ รุ่งโรจน์ และคณะ ได้รับความเห็นชอบให้สร้างและจัดตั้งมัสยิด ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนมัสยิด จัดตั้งมัสยิดภูเขียว ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๒๓๙ หมู่ที่ ๑ ตำบลผักปัง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “มัสยิดภูเขียว” ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๓/๒๕๔๙ ตั้งแต่วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงประกาศเพื่อทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ประภากร สมิติ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๖ ง/หน้า ๑๓๑/๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙
513655
ประกาศจังหวัดกระบี่ เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดกระบี่ ประกาศจังหวัดกระบี่ เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายยูโสบ ผิวดี อิหม่าม นายเอกรัตน์ สุขจันทร์ คอเต็บ และ นายหีม หลานเด็น บิหลั่น ประจำมัสยิดบ้านทุ่งโต๊ะหยุม ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “บ้านทุ่งโต๊ะหยุม” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “บ้านทุ่งโต๊ะหยุม” ตั้งอยู่ที่ - หมู่ที่ ๒ ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ หมายเลขทะเบียน ๑๗๗ ตั้งแต่วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ช่วงชัย เปาอินทร์ ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๖ ง/หน้า ๑๓๐/๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙
513586
ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การเปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิด
ประกาศจังหวัดปัตตานี ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การเปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิด[๑] ด้วย นายสามาอูน เวาะเย็ง อิหม่ามประจำมัสยิดนาพร้าว ผู้ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดนาพร้าว ได้ยื่นเรื่องราวขอเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ขอเปลี่ยนแปลงชื่อ มัสยิดนาพร้าว ทะเบียนเลขที่ ๓๕๓/๒๕๑๖ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลปะนาเระ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี รับจดทะเบียนเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๑๖ เป็นชื่อ “มัสยิดนูรุลอีมาน (นาพร้าว)” ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๖/๑ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดจาก “มัสยิดนาพร้าว” เป็นชื่อ “มัสยิดนูรุลอีมาน (นาพร้าว)” ตั้งแต่วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ไชยยศ ธงไชย ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๑๔ ง/หน้า ๗๕/๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๙
511011
ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การเปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิด
ประกาศจังหวัดปัตตานี ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การเปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิด[๑] ด้วย นายมะแอ เวาะสะ อิหม่ามประจำมัสยิดสุเหร่าบูเกะบ้านหัวเขาแก้ว ผู้ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดสุเหร่าบูเกะบ้านหัวเขาแก้ว ได้ยื่นเรื่องราวขอเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ขอเปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิดสุเหร่าบูเกะบ้านหัวเขาแก้ว ทะเบียนเลขที่ ๑๖๓/๒๔๙๖ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี รับจดทะเบียนเมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๔๙๖ เป็นชื่อ “มัสยิดนูรุลอามานียะห์” ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๖/๑ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดจาก “สุเหร่าบูเกะบ้านหัวเขาแก้ว” เป็นชื่อ “มัสยิดนูรุลอามานียะห์” ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ธีระ มินทราศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๘ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๓ ง/หน้า ๑๘๑/๕ ตุลาคม ๒๕๔๙
511009
ประกาศจังหวัดสตูล เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดสตูล ประกาศจังหวัดสตูล เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย จังหวัดสตูลได้รับเรื่องราวการขออนุญาตจัดตั้งมัสยิด ในพื้นที่อำเภอเมืองสตูล จำนวน ๑ มัสยิด คือ “ญะบัลเราะห์มะฮ์” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑๔ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล โดยมีนายดาเร๊ะ เนื้ออ่อน เป็นอิหม่าม นายศัก เนื้ออ่อน เป็นคอเต็บ และ นายบาราเหม หมาดยี เป็นบิหลั่น เลขทะเบียนมัสยิดที่ ๒๐๙ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๔, ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่ จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดญะบัลเราะห์มะฮ์ เลขทะเบียนที่ ๒๐๙ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ชูศักดิ์ มณีชยางกูร รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๓ ง/หน้า ๑๘๐/๕ ตุลาคม ๒๕๔๙
511007
ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดยะลา ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายสะมะแอ สีดีตี นายมะซากี ลือแบซา และ นายดอเล๊าะ อะแด ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “นูรูลยากีน” ตั้งอยู่ที่บ้านตะโละมางาแบ หมู่ที่ ๒ ตำบลวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่ จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “นูรูลยากีน” ตั้งอยู่ที่บ้านตะโละมางาแบ หมู่ที่ ๒ ตำบลวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ทะเบียนเลขที่ ๔๔๗ ตั้งแต่วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ บุณยสิทธิ์ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๓ ง/หน้า ๑๗๙/๕ ตุลาคม ๒๕๔๙
511005
ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดปัตตานี ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายขอเดร์ มะแซ ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนมัสยิด จัดตั้งมัสยิดอะห์มาดี (กูบังโปร) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๗ ตำบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่ จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดอะห์มาดี (กูบังโปร) ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๔๐/๒๕๔๙ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ธีระ มินทราศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๓ ง/หน้า ๑๗๘/๕ ตุลาคม ๒๕๔๙
511003
ประกาศจังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดนครศรีธรรมราช ประกาศจังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายกระหย้า ไก่แก้ว นายยุโสบ ศรีดุกา และ นายสุโพล กุนการ ได้ยื่นเรื่องขออนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดนูรุลมูฮายีรีน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลนาทราย อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดนูรุลมูฮายีรีน ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๑๑๙ ตั้งแต่วันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ บุญญวัฒน์ ชีช้าง ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๓ ง/หน้า ๑๗๗/๕ ตุลาคม ๒๕๔๙
507993
ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การเปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิด
ประกาศจังหวัดปัตตานี ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การเปลี่ยนแปลงชื่อมัสยิด[๑] ด้วย นายอุสมาน ลีเซาะนำ คอเต็บประจำมัสยิด ผู้ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดสุเหร่าบ้านกลาง ได้ยื่นเรื่องราวขอเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ขอเปลี่ยนแปลงชื่อ มัสยิดสุเหร่าบ้านกลาง ทะเบียนเลขที่ ๑๖๒/๒๔๙๖ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี รับจดทะเบียนเมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๔๙๖ เป็นชื่อ “มัสยิดดารูลนาอีม” ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๖/๑ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดจาก “มัสยิดสุเหร่าบ้านกลาง” เป็นชื่อ “มัสยิดดารูลนาอีม” ตั้งแต่วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ วินัย ครุวรรณพัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๙๑ ง/หน้า ๑๐๗/๗ กันยายน ๒๕๔๙
507987
ประกาศจังหวัดกระบี่ เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดกระบี่ ประกาศจังหวัดกระบี่ เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายอูเส็น ลือแมะ นายมูหะหมัด ขุนเสร่ และ นายนัทพงษ์ ลูกเด็น ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “บ้านนาใหม่” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลห้วยน้ำขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕,๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่ จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “บ้านนาใหม่” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลห้วยน้ำขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ หมายเลขทะเบียน ๑๗๖ ตั้งแต่วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ช่วงชัย เปาอินทร์ ปลัดจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๙๐ ง/หน้า ๑๓๑/๗ กันยายน ๒๕๔๙
507919
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด
ประกาศกรุงเทพมหานคร ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดกันซุ้ลญันนะฮ์ ตั้งอยู่ ณ อาคารเลขที่ ๒๐/๑๘ หมู่ที่ ๑๑ แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร หมายเลขทะเบียน ๑๕๕ เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๙ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ วรรคสาม แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ จึงประกาศการจัดตั้งมัสยิดกันซุ้ลญันนะฮ์ หมายเลขทะเบียน ๑๕๕ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ วัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๕/๕ กันยายน ๒๕๔๙
504435
ประกาศจังหวัดสตูล เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดสตูล ประกาศจังหวัดสตูล เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย จังหวัดสตูลได้รับเรื่องราวการขออนุญาตจัดตั้งมัสยิด ในพื้นที่อำเภอท่าแพ จำนวน ๒ มัสยิด คือ “นะฮ์รุสลาม” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล โดยมี นายนิรัต อะตันตรา เป็นอิหม่าม นายสุกรี เปรมใจ เป็นคอเต็บ และ นายอิสมาแอล ฮะอุรา เป็นบิหลั่น เลขทะเบียนมัสยิดที่ ๒๐๗ และ “ดารุลมุห์มีนีน” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล โดยมี นายกอเดช กอหลัง เป็นอิหม่าม นายดนตาเหลบ รอเกต เป็นคอเต็บ และ นาย หมัดเหยด หลงสลำ เป็นบิหลั่น เลขทะเบียนมัสยิดที่ ๒๐๘ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๔, ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดนะฮ์รุสลาม เลขทะเบียนที่ ๒๐๗ และมัสยิดดารุลมุห์มีนีน เลขทะเบียนที่ ๒๐๘ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ชูศักดิ์ มณีชยางกูร รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๘๓ ง/หน้า ๕๙/๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๙
503651
ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดบูรณะ
ประกาศจังหวัดนราธิวาส ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดบูรณะ[๑] ด้วย นายมามะ วาหลง และคณะ ได้รับความเห็นชอบให้สร้างและจัดตั้งมัสยิด ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดบูรณะ ตั้งอยู่ ณ ชุมชนกำปงตาโก๊ะ ถนนจาตุรงค์รัศมี ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “บูรณะ” ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๒๕/๒๕๔๙ ตั้งแต่วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ประชา เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๗๘ ง/หน้า ๑๕๕/๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๙
501182
ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดดารุลอูลูม
ประกาศจังหวัดนราธิวาส ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดดารุลอูลูม[๑] ด้วย นายบือราเฮง สามะ และคณะ ได้รับความเห็นชอบให้สร้างและจัดตั้งมัสยิด ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดดารุลอูลูม ตั้งอยู่ ณ บ้านยากาบองอ หมู่ที่ ๓ ตำบลศรีบรรพต อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียน จัดตั้งมัสยิด “ดารุลอูลูม” ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๒๔/๒๕๔๙ ตั้งแต่วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๔๙ จึงประกาศเพื่อทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ วิชิต ชาตไพสิฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๗๐ ง/หน้า ๒๐๐/๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙
499108
ประกาศจังหวัดสตูล เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดสตูล ประกาศจังหวัดสตูล เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย จังหวัดสตูลได้รับเรื่องราวการขออนุญาตจัดตั้งมัสยิด ในพื้นที่อำเภอท่าแพ จำนวน ๑ มัสยิด คือ “ยามีอาตุลอิสลามียะฮ์” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล โดยมี นายกอเดช ปาละวัล เป็นอิหม่าม นายโหยด โสธามาต เป็นคอเต็บ และนายหมีด หมีนพราน เป็นบิหลั่น เลขทะเบียนมัสยิดที่ ๒๐๖ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๔, ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดยามีอาตุลอิสลามียะฮ์ เลขทะเบียนที่ ๒๐๖ ตั้งแต่วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ชูศักดิ์ มณีชยางกูร รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๑๓๐/๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๙
499106
ประกาศจังหวัดสตูล เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดสตูล ประกาศจังหวัดสตูล เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย จังหวัดสตูลได้รับเรื่องราวการขออนุญาตจัดตั้งมัสยิด ในพื้นที่อำเภอทุ่งหว้า จำนวน ๑ มัสยิดคือ “บัยตุลมุตตากีน” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล โดยมี นายบูหนัน หมาดดาเร๊ะ เป็นอิหม่าม นายวาหลาด หมาดอี เป็นคอเต็บ และ นายอุเส็น หมัดแสละ เป็นบิหลั่น เลขทะเบียนมัสยิดที่ ๒๐๕ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๔, ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดบัยตุลมุตตากีน เลขทะเบียนที่ ๒๐๕ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ชูศักดิ์ มณีชยางกูร รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๑๒๙/๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๙
497882
ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดดารุลอิฮซาน
ประกาศจังหวัดนราธิวาส ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดดารุลอิฮซาน[๑] ด้วย นายอาหมัดซัยนูร อาแว และคณะ ได้รับความเห็นชอบให้สร้างและจัดตั้งมัสยิด ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดดารุลอิฮซาน ตั้งอยู่ ณ บ้านไอร์แตแต หมู่ที่ ๕ ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “ดารุลอิฮซาน” ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๒๓/๒๕๔๙ ตั้งแต่วันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ วิชิต ชาตไพสิฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๖๔ ง/หน้า ๒๓๖/๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙
497257
ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดยะลา ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายมาโซง สะอะสาฆอร์ นายอับดุลรอนิง จินตรา และ นายเจ๊ะเต๊ะ มูเล็ง ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดนูรูดิน ตั้งอยู่ที่บ้านบือแนปากา หมู่ที่ ๑ ตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดนูรูดิน ตั้งอยู่ที่บ้านบือแนปากา หมู่ที่ ๑ ตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ทะเบียนเลขที่ ๔๔๖ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๙ จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ บุณยสิทธิ์ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๖๒ ง/หน้า ๘๒/๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
495916
ประกาศจังหวัดศรีสะเกษ เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดศรีสะเกษ ประกาศจังหวัดศรีสะเกษ เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายอาลีคาน ตายูเคน ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด ชื่อ มัสยิด วะฮ์ดานียะฮ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดวะฮ์ดานียะฮ์ ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๑/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ พีระศักดิ์ หินเมืองเก่า รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๖๐ ง/หน้า ๑๑๑/๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๙
494938
ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดนูรอามานียะห์
ประกาศจังหวัดนราธิวาส ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดนูรอามานียะห์[๑] ด้วย นายอัสมิง ขะไต้ และคณะ ได้รับความเห็นชอบให้สร้างและจัดตั้งมัสยิด ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด มัสยิดนูรอามานียะห์ ตั้งอยู่ ณ บ้านไอร์กาแซ หมู่ที่ ๔ ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “นูรอามานียะห์” ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๒๒/๒๕๔๙ ตั้งแต่วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ วิชิต ชาตไพสิฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๕๖ ง/หน้า ๓๑๔/๘ มิถุนายน ๒๕๔๙
492023
ประกาศจังหวัดสตูล เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดสตูล ประกาศจังหวัดสตูล เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย จังหวัดสตูลได้รับเรื่องราวการขออนุญาตจัดตั้งมัสยิด ในพื้นที่อำเภอเมืองสตูล จำนวน ๑ มัสยิด คือ “ฟัตฮุ้ลมายีด” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล โดยมี นายสะมะแอ ล่าดี้ เป็น อิหม่าม นายปัตรา กูแดหวา เป็น คอเต็บ และ นายสหาก ล่าดี้ เป็น บิหลั่น เลขทะเบียนมัสยิดที่ ๒๐๔ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๔, ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดฟัตฮุ้ลมายีด เลขทะเบียนที่ ๒๐๔ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ชูศักดิ์ มณีชยางกูร รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๕๒ ง/หน้า ๑๖๒/๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๙
489521
ประกาศจังหวัดนราธิวาสเรื่อง จัดตั้งมัสยิดอัลบายาน
ประกาศจังหวัดนราธิวาส ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดอัลบายาน[๑] ด้วย นายอิลยาส ดอฆอ และคณะ ได้รับความเห็นชอบให้สร้างและจัดตั้งมัสยิด ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดอัลบายาน ตั้งอยู่ ณ บ้านกือดือปัน หมู่ที่ ๗ ตำบลละหาร อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “อัลบายาน” ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๒๑/๒๕๔๙ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ วิชิต ชาตไพสิฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๖ ง/หน้า ๒๐๗/๔ พฤษภาคม ๒๕๔๙
485396
ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดยะลา ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายการุณ อุดม นายมะยาลี มานิ๊ และ นายอาแว ตาเยะ ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “ดารุสสลาม” ตั้งอยู่ที่บ้านกอซี หมู่ที่ ๘ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “ดารุสสลาม” ตั้งอยู่ที่บ้านกอซี หมู่ที่ ๘ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ทะเบียนเลขที่ ๔๔๕ ตั้งแต่วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๔๙ จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ บุณยสิทธิ์ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๓๖ ง/หน้า ๑๒๗/๓๐ มีนาคม ๒๕๔๙
484132
ประกาศจังหวัดเชียงราย เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดเชียงราย ประกาศจังหวัดเชียงราย เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายสมเกียรติ แสงยอด และคณะ ได้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด เพื่อให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มีใจความสำคัญ ดังนี้ ๑. ชื่อมัสยิด “ดารุ้ลฮูดาบ้านถ้ำสันติสุข” ๒. ที่ตั้ง เลขที่ ๗๖ หมู่ที่ ๔ ตำบลโป่งงาม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ ๔๙๔/๒๕๔๒ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ลงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ ได้มีคำสั่งให้รับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดรายนี้แล้ว ตามหมายเลขทะเบียน ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ วรรคสาม แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ วรเกียรติ สมสร้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๑๖๔/๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙
482219
ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดปัตตานี ประกาศจังหวัดปัตตานี เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายหะมะรือสดี สามะ ได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนมัสยิด จัดตั้งมัสยิดนูรวาห์ดะห์ (ลาคอ) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ และกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดนูรวาห์ดะห์ (ลาคอ) ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๓๙/๒๕๔๙ ตั้งแต่วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ วินัย ครุวรรณพัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๕๔/๙ มีนาคม ๒๕๔๙
480981
ประกาศจังหวัดสตูล เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดสตูล ประกาศจังหวัดสตูล เรื่อง การจัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย จังหวัดสตูลได้รับเรื่องราวการขออนุญาตจัดตั้งมัสยิดในพื้นที่อำเภอเมืองสตูล จำนวน ๑ มัสยิดคือ “ญะบาลุรเราะห์มะฮ์” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลควนขัน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล โดยมี นายอาบูกา หลังปูเต๊ะ เป็นอิหม่าม นายโกบ เล่ทองคำ เป็นคอเต็บ และ นายนัน กาสาและ เป็นบิหลั่น เลขทะเบียนมัสยิดที่ ๒๐๓ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๔, ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดญะบาลุรเราะห์มะฮ์ เลขทะเบียนที่ ๒๐๓ ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ชูศักดิ์ มณีชยางกูร รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๑๘๔/๒ มีนาคม ๒๕๔๙
480746
ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดยะลา ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายยา สะอุ นายเพาซี เปาะฮะ และ นายดอรอนิง เปาะอีแต ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “อีบาดูลเราะห์มาน” ตั้งอยู่ที่บ้านบาสาเวง หมู่ที่ ๖ ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “อีบาดูลเราะห์มาน” ตั้งอยู่ที่บ้านบาสาเวง หมู่ที่ ๖ ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา เลขทะเบียนที่ ๔๔๔ ตั้งแต่วันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ บุณยสิทธิ์ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๖ ง/หน้า ๑๙๒/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
480744
ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดนูรุลอิฮซาน
ประกาศจังหวัดนราธิวาส ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง จัดตั้งมัสยิดนูรุลอิฮซาน[๑] ด้วย นายมะรอเซะ มะยิ และคณะ ได้รับความเห็นชอบให้สร้างและจัดตั้งมัสยิด ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดนูรุลอิฮซาน ตั้งอยู่ ณ บ้านสะปอมกลาง หมู่ที่ ๑๓ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “นูรุลอิฮซาน” ตามหมายเลขทะเบียนที่ ๖๒๐/๒๕๔๙ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ วิชิต ชาตไพสิฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๖ ง/หน้า ๑๙๑/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
478723
ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด
ประกาศจังหวัดยะลา ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง จัดตั้งมัสยิด[๑] ด้วย นายมูหัมมัดกอซี แนปีแน นายมะซาลี การีดอง และ นายซาดีนาอูมา โต๊ะตาหยง ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “มิฟตาหูลอุลู” ตั้งอยู่ที่บ้านกาจะลากี หมู่ที่ ๒ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด “มิฟตาหูลอุลู” ตั้งอยู่ที่บ้านกาจะลากี หมู่ที่ ๒ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เลขทะเบียนที่ ๔๔๓ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๔๙ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ บุณยสิทธิ์ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา วิชชุตา/ผู้จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ นฤตยา/ผู้ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๔ ง/หน้า ๑๙๖/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙