sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
735595
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 30/2558 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 105/2557
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๐/๒๕๕๘ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐๕/๒๕๕๗[๑] เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการที่แต่งตั้งตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๘ ในส่วนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการที่แต่งตั้งตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๘ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ให้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐๕/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โดยให้เพิ่มเติมกรรมการดังต่อไปนี้ในคณะกรรมการดังกล่าว ๑. รองนายกรัฐมนตรี กรรมการ (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ๒. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๘ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ปริยานุช/จัดทำ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๘ วริญา/ตรวจ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๘ ชุติมา/ปรับปรุง ๔ มกราคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๒๕ ง/หน้า ๗/๒๑ กันยายน ๒๕๕๘
722822
พระราชบัญญัติการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการที่แต่งตั้งตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับ พ.ศ. 2558
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ที่แต่งตั้งตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการที่แต่งตั้งตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการที่แต่งตั้งตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ (๑) คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๕/๒๕๕๗ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน (๒) คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒๐/๒๕๕๗ เรื่อง ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๑/๒๕๕๗ และแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ลงวันที่ ๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (๓) คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๕๔/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ลงวันที่ ๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (๔) คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๕๕/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ลงวันที่ ๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติแต่งตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (๕) คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๕๖/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ลงวันที่ ๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งนอกจากจะมีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการนั้นแล้ว ให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในประกาศหรือคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เกี่ยวข้องด้วย การใดที่คณะกรรมการตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕๕/๒๕๕๗ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ ๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ และคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๑/๒๕๕๗ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ลงวันที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ ได้ดำเนินการไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ถือว่าเป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายในฐานะเป็นคณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน แล้วแต่กรณี มาตรา ๔ ให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน และคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ใช้บังคับพ้นจากหน้าที่ แต่ไม่มีผลกระทบถึงการใดที่ได้ดำเนินการไปแล้วโดยชอบ และในระหว่างที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติยังไม่สิ้นสุดลงตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มิให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น มาตรา ๕ ในกรณีที่เห็นสมควร หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะมีคำสั่งให้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามมาตรา ๓ (๑) (๒) (๓) และ (๕) หรือให้กรรมการหรือที่ปรึกษาในคณะกรรมการดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งได้ตามความเหมาะสม มาตรา ๖ ในกรณีที่กรรมการหรือที่ปรึกษาในคณะกรรมการตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามมาตรา ๓ พ้นจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรเป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาแทนได้ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการหรือที่ปรึกษาแทน ให้คณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยกรรมการและที่ปรึกษาเท่าที่มีอยู่ มาตรา ๗ เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติสิ้นสุดลงตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแล้ว ให้คณะกรรมการตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามมาตรา ๓ พ้นจากตำแหน่งและให้แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน และคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ให้คณะกรรมการตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่พ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวหากไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งใด ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่ และเมื่อได้แต่งตั้งคณะกรรมการตามกฎหมายใดแล้ว ให้ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เกี่ยวข้องเป็นอันยกเลิก เมื่อแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นครบทุกคณะแล้ว ให้พระราชบัญญัตินี้เป็นอันยกเลิก มาตรา ๘ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ออกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๕/๒๕๕๗ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒๐/๒๕๕๗ เรื่อง ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๑/๒๕๕๗ และแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ลงวันที่ ๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๕๔/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ลงวันที่ ๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๕๕/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ลงวันที่ ๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ และคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๕๖/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ลงวันที่ ๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ กำหนดให้มีคณะกรรมการขึ้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติแต่งตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยมิได้ยกเลิกคณะกรรมการตามกฎหมายดังกล่าว เป็นเหตุให้คณะกรรมการสองชุดมีอำนาจหน้าที่ทำนองเดียวกัน อันจะก่อให้เกิดความสับสนขึ้นได้ ประกอบกับการกำหนดให้มีคณะกรรมการดังกล่าวขึ้นก็เพื่อดำเนินการให้เกิดผลสัมฤทธิ์และมีประสิทธิภาพในระหว่างเวลากำลังดำเนินการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ สมควรกำหนดขอบเขตของการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องและความสิ้นสุดของประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เกี่ยวข้องไว้ให้ชัดเจน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ นุสรา/ผู้ตรวจ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ชุติมา/ปรับปรุง ๔ มกราคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๑๐ ก/หน้า ๕๑/๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
768418
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4/2560 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 105/2557
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔/๒๕๖๐ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐๕/๒๕๕๗[๑] เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการที่แต่งตั้งตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับ ในส่วนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการที่แต่งตั้งตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๘ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่งให้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๕/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๐/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๘ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๗/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ โดยให้เพิ่มเติมรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ เมษินทรีย์) เป็นกรรมการในคณะกรรมการดังกล่าว ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๐ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๔๐ ง/หน้า ๓๒/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
743297
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 48/2558 เรื่อง แต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ)
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๘/๒๕๕๘ เรื่อง แต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ)[๑] โดยที่เป็นการสมควรเปลี่ยนแปลงกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒๐/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (เฉพาะ) ที่ ๙/๕๘ ลงวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๘ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๕/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการที่แต่งตั้งตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๘ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บุคคลดังต่อไปนี้พ้นจากตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) (๑) รองศาสตราจารย์ สมภพ มานะรังสรรค์ (๒) นายศิริชัย เลิศศิริมิตร (๓) นายบุญธรรม ทิพย์ประสงค์ (๔) นางศมน ชคัตธาดากุล ข้อ ๒ แต่งตั้งบุคคลดังต่อไปนี้เป็นกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) (๑) นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล (๒) นางกิตติยา โตธนะเกษม (๓) พันเอก เจียรนัย วงศ์สอาด (๔) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ปริยานุช/จัดทำ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑ ง/หน้า ๒๔/๕ มกราคม ๒๕๕๙
743295
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 47/2558 เรื่อง แต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๗/๒๕๕๘ เรื่อง แต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน[๑] ตามที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๕/๒๕๕๗ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ นั้น โดยที่ นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ได้ลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษาในคณะกรรมการดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการที่แต่งตั้งตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๘ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงให้แต่งตั้ง นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล เป็นที่ปรึกษาในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน แทนตำแหน่งที่ว่างลง ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ปริยานุช/จัดทำ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑ ง/หน้า ๒๓/๕ มกราคม ๒๕๕๙
389298
พระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. 2527 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการ ตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๒๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นปีที่ ๓๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๒๗” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ บรรดาบทกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศอื่นในส่วนที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ประเทศผู้โอน” หมายความว่า ประเทศที่ส่งนักโทษไปยังประเทศผู้รับโอน “ประเทศผู้รับโอน” หมายความว่า ประเทศที่รับนักโทษจากประเทศผู้โอน “นักโทษไทย” หมายความว่า บุคคลผู้มีสัญชาติไทยไม่ว่าจะมีสัญชาติอื่นด้วยหรือไม่ก็ตามซึ่งต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้ลงโทษและกำลังรับโทษอยู่ในต่างประเทศ “นักโทษต่างประเทศ” หมายความว่า บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้ลงโทษและกำลังรับโทษอยู่ในราชอาณาจักร “โทษ” หมายความว่า จำคุก กักขัง และหมายความรวมถึงวิธีการเพื่อความปลอดภัย การคุมความประพฤติ วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน การพักการลงโทษ การพักการกักกัน และการลดวันต้องโทษด้วย “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการพิจารณาการโอนนักโทษ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวงนั้น กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๖ การโอนนักโทษไทยในต่างประเทศเพื่อมารับโทษต่อในราชอาณาจักร หรือการโอนนักโทษต่างประเทศในราชอาณาจักรเพื่อไปรับโทษต่อในต่างประเทศ ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ประเทศผู้โอนและประเทศผู้รับโอนจะต้องมีสนธิสัญญาระหว่างกันในเรื่องความร่วมมือในการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาคดีอาญา (๒) การโอนนักโทษจะต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้โอนกับประเทศผู้รับโอน และนักโทษซึ่งจะได้รับการโอน (๓) ความผิดที่นักโทษไทยหรือนักโทษต่างประเทศได้รับโทษอยู่ต้องเป็นความผิดที่มีโทษฐานใดฐานหนึ่งตามกฎหมายของประเทศผู้รับโอน (๔) นักโทษซึ่งจะได้รับการโอนต้องไม่อยู่ในระหว่างการดำเนินคดีอาญาในความผิดอื่นหรืออยู่ในระหว่างการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ในประเทศผู้โอน (๕) การโอนนักโทษจะทำให้เกิดผลดีหรือเป็นประโยชน์แก่นักโทษผู้นั้น (๖) การโอนนักโทษจะมีผลกระทบต่อปัญหาอาชญากรรมและความรู้สึกของประชาชนในประเทศผู้โอนและประเทศผู้รับโอนเพียงใดหรือไม่ เมื่อคำนึงถึงลักษณะและความรุนแรงของการกระทำความผิด ความใน (๓) มิให้ใช้บังคับในกรณีที่สนธิสัญญาระหว่างประเทศผู้โอนและประเทศผู้รับโอนมิได้กำหนดข้อความดังกล่าวไว้ หรือมีเงื่อนไขกำหนดไว้เป็นประการอื่น มาตรา ๗ บรรดาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับการโอนนักโทษ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๘ การโอนนักโทษตามพระราชบัญญัตินี้ไม่เป็นการตัดสิทธิที่นักโทษนั้นจะพึงได้รับผลจากการอภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษโดยประเทศผู้โอนภายหลังการโอน หมวด ๒ คณะกรรมการพิจารณาการโอนนักโทษ มาตรา ๙ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการพิจารณาการโอนนักโทษ” ประกอบด้วยปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธานกรรมการ เจ้ากรมพระธรรมนูญ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา อธิบดีศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง อธิบดีกรมอัยการ อธิบดีกรมตำรวจ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เป็นกรรมการ ผู้อำนวยการกองทัณฑวิทยา กรมราชทัณฑ์ เป็นกรรมการและเลขานุการ และผู้อำนวยการกองสนธิสัญญา กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐ การประชุมของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๑ คณะกรรมการมีอำนาจตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย การประชุมของคณะอนุกรรมการให้นำมาตรา ๑๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๓ การโอนนักโทษไทย มาตรา ๑๒ นักโทษไทยซึ่งประสงค์จะขอโอนมารับโทษต่อในราชอาณาจักรให้ยื่นคำขอพร้อมทั้งส่งเอกสารหลักฐานที่คณะกรรมการกำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานทูตไทย หรือสถานกงสุลไทยที่มีอำนาจหน้าที่ประจำประเทศผู้โอน หรือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กระทรวงการต่างประเทศ แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๓ ถ้านักโทษไทยไม่สามารถยื่นคำขอได้ด้วยตนเอง หรือเป็นเด็กหรือเยาวชนตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน ให้สามีหรือภริยา ญาติหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีอำนาจยื่นคำขอตามมาตรา ๑๒ แทนนักโทษไทยได้ มาตรา ๑๔ ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอตามมาตรา ๑๒ หรือมาตรา ๑๓ ไม่สามารถจัดหาเอกสารหลักฐานประกอบคำขอได้ด้วยตนเอง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้จัดหาให้ มาตรา ๑๕ เมื่อได้รับคำขอพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานครบถ้วนแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งคำขอและเอกสารหลักฐานดังกล่าวต่อเลขานุการคณะกรรมการเพื่อเสนอให้คณะกรรมการพิจารณา ให้คณะกรรมการพิจารณาและมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้มีการโอนนักโทษไทยโดยเร็ว แล้วแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ผู้ยื่นคำขอทราบโดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศ และในกรณีที่คณะกรรมการมีคำสั่งไม่อนุญาตเนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการแสดงเหตุผลของการมีคำสั่งไม่อนุญาตนั้นด้วย คำสั่งของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด มาตรา ๑๖ ในกรณีที่คณะกรรมการมีคำสั่งอนุญาตให้มีการโอนนักโทษไทยให้คณะกรรมการส่งเรื่องไปยังกระทรวงการต่างประเทศเพื่อดำเนินการขอความเห็นชอบในการโอนนักโทษไทยดังกล่าวจากประเทศผู้โอน และเมื่อประเทศผู้โอนได้แจ้งผลการพิจารณาให้กระทรวงการต่างประเทศทราบแล้วให้กระทรวงการต่างประเทศแจ้งผลการพิจารณาให้คณะกรรมการและผู้ยื่นคำขอทราบโดยเร็ว มาตรา ๑๗ เมื่อคณะกรรมการได้รับแจ้งจากกระทรวงการต่างประเทศว่า ประเทศผู้โอนได้ให้ความเห็นชอบในการขอโอนนักโทษไทยจากประเทศผู้โอนตามมาตรา ๑๖ แล้ว ให้คณะกรรมการดำเนินการจัดการให้มีการโอนนักโทษไทยผู้นั้นต่อไปโดยเร็ว เมื่อนักโทษไทยเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ในกรณีที่ศาลของประเทศผู้โอนมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ลงโทษจำคุกหรือกักขัง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำคำสั่งเป็นหนังสือส่งตัวนักโทษไทยนั้นไปคุมขังไว้ ณ สถานที่ที่จัดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ถ้านักโทษไทยนั้นอยู่ภายใต้เงื่อนไขตามวิธีการเพื่อความปลอดภัย การคุมความประพฤติ วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน การพักการลงโทษ และการพักการกักกัน ก็ให้นำวิธีการเช่นว่านั้นตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ใช้อยู่ในราชอาณาจักรมาใช้ตามควรแก่กรณี มาตรา ๑๘ เพื่อประโยชน์ในการโอนนักโทษไทยมารับโทษต่อในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งลงโทษของศาลแห่งประเทศผู้โอนเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งลงโทษของศาลที่มีเขตอำนาจในราชอาณาจักร การอุทธรณ์ ฎีกา หรือการขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ในศาลที่มีเขตอำนาจในราชอาณาจักรเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ มาตรา ๑๙ เมื่อได้มีการตกลงรับโอนนักโทษไทย ให้คณะกรรมการใช้เอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการลงโทษที่มีการรับรองเป็นทางการโดยประเทศผู้โอนเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ถ้าปรากฏว่าโทษตามคำพิพากษาหรือคำสั่งลงโทษของศาลแห่งประเทศผู้โอนตรงกับโทษตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในราชอาณาจักร ให้คณะกรรมการทำคำสั่งเป็นหนังสือส่งไปยังเจ้าพนักงานเรือนจำหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจในการปฏิบัติตามวิธีการเพื่อความปลอดภัย การคุมความประพฤติ วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน การพักการลงโทษและการพักการกักกัน แล้วแต่กรณี เพื่อดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่ปรากฏว่า โทษหรือเงื่อนไขในการรับโทษตามกฎหมายของประเทศผู้โอนไม่ตรงกับโทษ หรือเงื่อนไขในการรับโทษตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในราชอาณาจักร ให้คณะกรรมการส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลอาญาหรือศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง เพื่อพิจารณาสั่งปรับใช้โทษหรือเงื่อนไขในการรับโทษให้เป็นไปตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ โทษหรือเงื่อนไขในการรับโทษที่ปรับใช้จะต้องไม่หนักกว่าโทษหรือเงื่อนไขในการรับโทษที่นักโทษไทยจะต้องรับในประเทศผู้โอน ในกรณีที่ปรากฏว่าความผิดที่นักโทษไทยได้รับอยู่ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแห่งประเทศผู้โอนไม่เป็นความผิดที่มีโทษฐานใดฐานหนึ่งตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในราชอาณาจักร ให้ถือว่าการที่นักโทษไทยผู้นั้นได้รับโทษตามคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวเป็นเงื่อนไขที่ศาลมีอำนาจสั่งใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยได้ และให้ศาลปรับโทษตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควร แต่ต้องไม่หนักกว่าโทษหรือเงื่อนไขในการรับโทษที่นักโทษไทยจะต้องรับในประเทศผู้โอน ทั้งนี้ ให้นำวิธีการตามวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม คำสั่งของศาลอาญาหรือศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางให้เป็นที่สุด มาตรา ๒๐ ให้ถือว่านักโทษไทยซึ่งได้รับการโอนมารับโทษต่อในราชอาณาจักรเป็นนักโทษเด็ดขาด หรือเป็นผู้ถูกสั่งใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัย การคุมความประพฤติ วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน การพักการลงโทษและการพักการกักกัน ตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในราชอาณาจักรว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี มาตรา ๒๑ การอภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาและลดโทษ การพักการลงโทษ การพักการกักกัน และการลดวันต้องโทษสำหรับนักโทษไทยซึ่งรับโทษต่อในราชอาณาจักร ให้เป็นไปตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่ได้มีสนธิสัญญากำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญานั้น มาตรา ๒๒ ในการรับโทษต่อในราชอาณาจักร ให้นักโทษไทยซึ่งได้รับการโอนได้รับประโยชน์จากเหตุ ดังต่อไปนี้ (๑) การหักระยะเวลาการลงโทษที่นักโทษไทยผู้นั้นได้รับอยู่ตามกฎหมายของประเทศผู้โอนจนถึงวันที่มีการรับมอบ (๒) การอภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาและลดโทษของประเทศผู้โอนเฉพาะในส่วนที่มีผลใช้บังคับถึงนักโทษไทยผู้นั้น (๓) กรณีที่มีกฎหมายของประเทศผู้โอนออกมาภายหลังและบัญญัติว่า การกระทำตามที่นักโทษไทยผู้นั้นได้รับโทษอยู่ไม่เป็นความผิดอีกต่อไป หรือบัญญัติให้เป็นคุณแก่นักโทษไทยผู้นั้น (๔) การแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกคำพิพากษาหรือคำสั่งลงโทษของศาลแห่งประเทศผู้โอน (๕) การหักระยะเวลาตั้งแต่วันที่มีการรับมอบนักโทษไทยผู้นั้นจนถึงวันที่นักโทษไทยผู้นั้นเข้ารับโทษต่อในราชอาณาจักร เมื่อความตามวรรคหนึ่งปรากฏแก่คณะกรรมการ หรือเมื่อนักโทษไทยหรือผู้มีอำนาจยื่นคำขอตามมาตรา ๑๓ ร้องขอ ให้คณะกรรมการมีอำนาจออกคำสั่งให้นักโทษไทยผู้นั้นได้รับประโยชน์ดังกล่าวได้ คำสั่งของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด หมวด ๔ การโอนนักโทษต่างประเทศ มาตรา ๒๓ การยื่นคำขอโอนนักโทษต่างประเทศเพื่อไปรับโทษต่อในประเทศผู้รับโอน ให้ประเทศที่ประสงค์จะรับโอนยื่นคำขอผ่านวิถีทางการทูตตามแบบวิธีการและเอกสารหลักฐานที่คณะกรรมการกำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กระทรวงการต่างประเทศ มาตรา ๒๔ เมื่อได้รับคำขอพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานครบถ้วนแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาส่งคำขอและเอกสารหลักฐานดังกล่าวต่อเลขานุการคณะกรรมการเพื่อเสนอให้คณะกรรมการพิจารณา มาตรา ๒๕ การโอนนักโทษต่างประเทศจะกระทำมิได้ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อโทษที่นักโทษต่างประเทศได้รับอยู่ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นโทษฐานกระทำความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระราชโอรสและพระราชธิดา ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร หรือความผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสมบัติที่มีค่าทางศิลปะของชาติ (๒)[๒] (ก) นักโทษต่างประเทศได้รับโทษจำคุกในราชอาณาจักรแล้วไม่ถึงหนึ่งในสามของโทษจำคุกทั้งสิ้นตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หรือไม่ถึงสี่ปี สุดแต่ระยะเวลาใดจะน้อยกว่า (ข) นักโทษต่างประเทศได้รับโทษจำคุกในราชอาณาจักรแล้วไม่ถึงแปดปี ในกรณีที่เป็นความผิดฐานผลิต จำหน่าย นำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ และมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต (๓) เมื่อโทษจำคุกที่นักโทษต่างประเทศจะต้องรับต่อไปในราชอาณาจักรเหลืออยู่น้อยกว่าหนึ่งปีของโทษจำคุกทั้งสิ้นตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง มาตรา ๒๖ คณะกรรมการอาจพิจารณาไม่อนุญาตให้โอนนักโทษต่างประเทศ ถ้าเห็นว่าการโอนนั้นจะมีผลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักรหรือต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน มาตรา ๒๗ ในกรณีที่นักโทษต่างประเทศผู้ใดมีหน้าที่ต้องชำระค่าปรับ คืนทรัพย์สินหรือชดใช้ราคาหรือค่าเสียหายตามคำพิพากษาในคดีอาญา หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ นักโทษต่างประเทศผู้นั้นจะต้องทำการชำระ คืน หรือชดใช้ดังกล่าว ให้เสร็จสิ้นก่อนที่คณะกรรมการจะมีคำสั่งเห็นชอบในการโอน มาตรา ๒๘ ให้คณะกรรมการมีคำสั่งให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในการโอนนักโทษต่างประเทศ และให้แจ้งคำสั่งนั้นให้ประเทศผู้รับโอนทราบโดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศ คำสั่งของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด และให้ถือว่าคำสั่งเห็นชอบของคณะกรรมการเป็นหลักฐานในการโอนนักโทษต่างประเทศไปยังประเทศผู้รับโอน หมวด ๕ การดำเนินการรับมอบและส่งมอบนักโทษ มาตรา ๒๙ การรับมอบนักโทษไทยและการส่งมอบนักโทษต่างประเทศ ซึ่งจะได้รับการโอน ให้ดำเนินการผ่านวิถีทางการทูต ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๐ เมื่อได้มีการรับมอบนักโทษไทยในประเทศผู้โอน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดการให้นักโทษไทยผู้นั้นเดินทางจากประเทศผู้โอนเข้ามาในราชอาณาจักรโดยเร็ว ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสามวันนับแต่วันที่มีการรับมอบ เว้นแต่จะมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น และเมื่อเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ต้องดำเนินการให้นักโทษไทยผู้นั้นเข้ารับโทษต่อทันที มาตรา ๓๑ เมื่อได้มีการส่งมอบนักโทษต่างประเทศแล้ว นักโทษต่างประเทศผู้นั้นจะต้องเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่การส่งมอบเสร็จสิ้นลง เว้นแต่คณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายจะได้ขยายระยะเวลาให้ตามความจำเป็น หมวด ๖ บทกำหนดโทษ มาตรา ๓๒ นักโทษไทยผู้ใดหลบหนีการควบคุมตัวในระหว่างการเดินทางจากประเทศผู้โอนมายังราชอาณาจักร หรือนักโทษต่างประเทศผู้ใดหลบหนีการควบคุมตัวในระหว่างก่อนเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท ถ้าความผิดดังกล่าวในวรรคหนึ่งได้กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินเจ็ดหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าความผิดตามมาตรานี้ได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่บัญญัติไว้ในสองวรรคก่อนกึ่งหนึ่ง มาตรา ๓๓ นักโทษไทยผู้ใดขัดขืน หรือไม่ปฏิบัติตามการจัดการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๗ หรือมาตรา ๓๐ หรือนักโทษต่างประเทศผู้ใดขัดขืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๓๔ การกระทำความผิดตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๓ ในส่วนที่เกี่ยวกับนักโทษไทย แม้กระทำนอกราชอาณาจักร ให้ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักร มาตรา ๓๕ ให้คณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามมาตรา ๓๓ ได้ และในการนี้ ให้คณะกรรมการมีอำนาจมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานสอบสวนดำเนินการเปรียบเทียบได้ โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์ในการเปรียบเทียบหรือเงื่อนไขใด ๆ ให้ผู้ได้รับมอบหมายปฏิบัติตามที่เห็นสมควรก็ได้ เมื่อผู้กระทำความผิดได้เสียค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้ดำเนินการโอนนักโทษต่อไป ถ้าผู้กระทำความผิดไม่เสียค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ ให้คณะกรรมการหรือผู้ได้รับมอบหมายส่งตัวผู้กระทำความผิดให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไป ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันนี้ได้มีบุคคลผู้มีสัญชาติไทยซึ่งรับโทษอยู่ในต่างประเทศเนื่องจากกระทำความผิดในต่างประเทศ และบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งรับโทษอยู่ในประเทศไทยเนื่องจากกระทำความผิดในประเทศไทยอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรที่จะกำหนดมาตรการให้มีการโอนตัวผู้กระทำความผิดดังกล่าวให้ได้รับโทษต่อในประเทศที่ผู้นั้นมีสัญชาติได้ เพื่อประโยชน์ในการที่แต่ละประเทศจะได้ให้การอบรมแก้ไขฟื้นฟูจิตใจผู้กระทำความผิดที่มีสัญชาติของประเทศของตนให้กลับตนเป็นพลเมืองดีต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๐[๓] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ คือ โดยที่บทบัญญัติมาตรา ๒๕ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้วางหลักเกณฑ์ไว้ว่าการโอนนักโทษต่างประเทศจะกระทำมิได้ถ้านักโทษต่างประเทศได้รับโทษจำคุกไปแล้วยังไม่ถึงหนึ่งในสามของโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ถึงสี่ปี แต่ระยะเวลาสี่ปีให้เปลี่ยนเป็นไม่ถึงแปดปี ในกรณีที่เป็นโทษฐานผลิต จำหน่าย นำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ซึ่งถือเอาโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้ถึงจำคุกตลอดชีวิตเป็นสำคัญ โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้นั้นจะได้ถูกพิพากษาลงโทษหนักเบาประการใด อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่นักโทษซึ่งทำผิดในโทษฐานเดียวกัน แต่ที่ศาลเห็นว่าไม่ควรลงโทษจำคุกตลอดชีวิต สมควรแก้ไขให้ระยะเวลาแปดปีนี้ใช้เฉพาะในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ลงโทษถึงจำคุกตลอดชีวิตเท่านั้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปัทมา/แก้ไข วศิน/ตรวจ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ พจณัฏฐ์/ปรับปรุง ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๑๓๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๗ กันยายน ๒๕๒๗ [๒] มาตรา ๒๕ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๒๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๐
302152
พระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการ ตามคำพิพากษาคดีอาญา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๐ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นปีที่ ๔๒ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๐” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความใน (๒) ของมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๒๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๒) (ก) นักโทษต่างประเทศได้รับโทษจำคุกในราชอาณาจักรแล้วไม่ถึงหนึ่งในสามของโทษจำคุกทั้งสิ้นตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หรือไม่ถึงสี่ปี สุดแต่ระยะเวลาใดจะน้อยกว่า (ข) นักโทษต่างประเทศได้รับโทษจำคุกในราชอาณาจักรแล้วไม่ถึงแปดปี ในกรณีที่เป็นความผิดฐานผลิต จำหน่าย นำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ และมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พิชัย รัตตกุล รองนายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ คือ โดยที่บทบัญญัติมาตรา ๒๕ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้วางหลักเกณฑ์ไว้ว่าการโอนนักโทษต่างประเทศจะกระทำมิได้ถ้านักโทษต่างประเทศได้รับโทษจำคุกไปแล้วยังไม่ถึงหนึ่งในสามของโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ถึงสี่ปี แต่ระยะเวลาสี่ปีให้เปลี่ยนเป็นไม่ถึงแปดปี ในกรณีที่เป็นโทษฐานผลิต จำหน่าย นำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ซึ่งถือเอาโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้ถึงจำคุกตลอดชีวิตเป็นสำคัญ โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้นั้นจะได้ถูกพิพากษาลงโทษหนักเบาประการใด อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่นักโทษซึ่งทำผิดในโทษฐานเดียวกัน แต่ที่ศาลเห็นว่าไม่ควรลงโทษจำคุกตลอดชีวิต สมควรแก้ไขให้ระยะเวลาแปดปีนี้ใช้เฉพาะในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ลงโทษถึงจำคุกตลอดชีวิตเท่านั้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ชไมพร/แก้ไข ๑๙ กันยายน ๒๕๔๔ A+B (C) อมราลักษณ์/แก้ไข ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๗ วศิน/แก้ไข ๒๒ เมษายน ๒๕๕๒ พจณัฏฐ์/ปรับปรุง ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๒๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๐
302151
พระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. 2527
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการ ตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๒๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นปีที่ ๓๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๒๗” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ บรรดาบทกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศอื่นในส่วนที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ประเทศผู้โอน” หมายความว่า ประเทศที่ส่งนักโทษไปยังประเทศผู้รับโอน “ประเทศผู้รับโอน” หมายความว่า ประเทศที่รับนักโทษจากประเทศผู้โอน “นักโทษไทย” หมายความว่า บุคคลผู้มีสัญชาติไทยไม่ว่าจะมีสัญชาติอื่นด้วยหรือไม่ก็ตามซึ่งต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้ลงโทษและกำลังรับโทษอยู่ในต่างประเทศ “นักโทษต่างประเทศ” หมายความว่า บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้ลงโทษและกำลังรับโทษอยู่ในราชอาณาจักร “โทษ” หมายความว่า จำคุก กักขัง และหมายความรวมถึงวิธีการเพื่อความปลอดภัย การคุมความประพฤติ วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน การพักการลงโทษ การพักการกักกัน และการลดวันต้องโทษด้วย “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการพิจารณาการโอนนักโทษ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวงนั้น กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๖ การโอนนักโทษไทยในต่างประเทศเพื่อมารับโทษต่อในราชอาณาจักร หรือการโอนนักโทษต่างประเทศในราชอาณาจักรเพื่อไปรับโทษต่อในต่างประเทศ ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ประเทศผู้โอนและประเทศผู้รับโอนจะต้องมีสนธิสัญญาระหว่างกันในเรื่องความร่วมมือในการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาคดีอาญา (๒) การโอนนักโทษจะต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้โอนกับประเทศผู้รับโอน และนักโทษซึ่งจะได้รับการโอน (๓) ความผิดที่นักโทษไทยหรือนักโทษต่างประเทศได้รับโทษอยู่ต้องเป็นความผิดที่มีโทษฐานใดฐานหนึ่งตามกฎหมายของประเทศผู้รับโอน (๔) นักโทษซึ่งจะได้รับการโอนต้องไม่อยู่ในระหว่างการดำเนินคดีอาญาในความผิดอื่นหรืออยู่ในระหว่างการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ในประเทศผู้โอน (๕) การโอนนักโทษจะทำให้เกิดผลดีหรือเป็นประโยชน์แก่นักโทษผู้นั้น (๖) การโอนนักโทษจะมีผลกระทบต่อปัญหาอาชญากรรมและความรู้สึกของประชาชนในประเทศผู้โอนและประเทศผู้รับโอนเพียงใดหรือไม่ เมื่อคำนึงถึงลักษณะและความรุนแรงของการกระทำความผิด ความใน (๓) มิให้ใช้บังคับในกรณีที่สนธิสัญญาระหว่างประเทศผู้โอนและประเทศผู้รับโอนมิได้กำหนดข้อความดังกล่าวไว้ หรือมีเงื่อนไขกำหนดไว้เป็นประการอื่น มาตรา ๗ บรรดาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับการโอนนักโทษ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๘ การโอนนักโทษตามพระราชบัญญัตินี้ไม่เป็นการตัดสิทธิที่นักโทษนั้นจะพึงได้รับผลจากการอภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษโดยประเทศผู้โอนภายหลังการโอน หมวด ๒ คณะกรรมการพิจารณาการโอนนักโทษ มาตรา ๙ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการพิจารณาการโอนนักโทษ” ประกอบด้วยปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธานกรรมการ เจ้ากรมพระธรรมนูญ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา อธิบดีศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง อธิบดีกรมอัยการ อธิบดีกรมตำรวจ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เป็นกรรมการ ผู้อำนวยการกองทัณฑวิทยา กรมราชทัณฑ์ เป็นกรรมการและเลขานุการ และผู้อำนวยการกองสนธิสัญญา กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐ การประชุมของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๑ คณะกรรมการมีอำนาจตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย การประชุมของคณะอนุกรรมการให้นำมาตรา ๑๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๓ การโอนนักโทษไทย มาตรา ๑๒ นักโทษไทยซึ่งประสงค์จะขอโอนมารับโทษต่อในราชอาณาจักรให้ยื่นคำขอพร้อมทั้งส่งเอกสารหลักฐานที่คณะกรรมการกำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานทูตไทย หรือสถานกงสุลไทยที่มีอำนาจหน้าที่ประจำประเทศผู้โอน หรือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กระทรวงการต่างประเทศ แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๓ ถ้านักโทษไทยไม่สามารถยื่นคำขอได้ด้วยตนเอง หรือเป็นเด็กหรือเยาวชนตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน ให้สามีหรือภริยา ญาติหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีอำนาจยื่นคำขอตามมาตรา ๑๒ แทนนักโทษไทยได้ มาตรา ๑๔ ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอตามมาตรา ๑๒ หรือมาตรา ๑๓ ไม่สามารถจัดหาเอกสารหลักฐานประกอบคำขอได้ด้วยตนเอง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้จัดหาให้ มาตรา ๑๕ เมื่อได้รับคำขอพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานครบถ้วนแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งคำขอและเอกสารหลักฐานดังกล่าวต่อเลขานุการคณะกรรมการเพื่อเสนอให้คณะกรรมการพิจารณา ให้คณะกรรมการพิจารณาและมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้มีการโอนนักโทษไทยโดยเร็ว แล้วแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ผู้ยื่นคำขอทราบโดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศ และในกรณีที่คณะกรรมการมีคำสั่งไม่อนุญาตเนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการแสดงเหตุผลของการมีคำสั่งไม่อนุญาตนั้นด้วย คำสั่งของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด มาตรา ๑๖ ในกรณีที่คณะกรรมการมีคำสั่งอนุญาตให้มีการโอนนักโทษไทยให้คณะกรรมการส่งเรื่องไปยังกระทรวงการต่างประเทศเพื่อดำเนินการขอความเห็นชอบในการโอนนักโทษไทยดังกล่าวจากประเทศผู้โอน และเมื่อประเทศผู้โอนได้แจ้งผลการพิจารณาให้กระทรวงการต่างประเทศทราบแล้วให้กระทรวงการต่างประเทศแจ้งผลการพิจารณาให้คณะกรรมการและผู้ยื่นคำขอทราบโดยเร็ว มาตรา ๑๗ เมื่อคณะกรรมการได้รับแจ้งจากกระทรวงการต่างประเทศว่า ประเทศผู้โอนได้ให้ความเห็นชอบในการขอโอนนักโทษไทยจากประเทศผู้โอนตามมาตรา ๑๖ แล้ว ให้คณะกรรมการดำเนินการจัดการให้มีการโอนนักโทษไทยผู้นั้นต่อไปโดยเร็ว เมื่อนักโทษไทยเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ในกรณีที่ศาลของประเทศผู้โอนมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ลงโทษจำคุกหรือกักขัง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำคำสั่งเป็นหนังสือส่งตัวนักโทษไทยนั้นไปคุมขังไว้ ณ สถานที่ที่จัดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ถ้านักโทษไทยนั้นอยู่ภายใต้เงื่อนไขตามวิธีการเพื่อความปลอดภัย การคุมความประพฤติ วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน การพักการลงโทษ และการพักการกักกัน ก็ให้นำวิธีการเช่นว่านั้นตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ใช้อยู่ในราชอาณาจักรมาใช้ตามควรแก่กรณี มาตรา ๑๘ เพื่อประโยชน์ในการโอนนักโทษไทยมารับโทษต่อในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งลงโทษของศาลแห่งประเทศผู้โอนเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งลงโทษของศาลที่มีเขตอำนาจในราชอาณาจักร การอุทธรณ์ ฎีกา หรือการขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ในศาลที่มีเขตอำนาจในราชอาณาจักรเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ มาตรา ๑๙ เมื่อได้มีการตกลงรับโอนนักโทษไทย ให้คณะกรรมการใช้เอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการลงโทษที่มีการรับรองเป็นทางการโดยประเทศผู้โอนเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ถ้าปรากฏว่าโทษตามคำพิพากษาหรือคำสั่งลงโทษของศาลแห่งประเทศผู้โอนตรงกับโทษตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในราชอาณาจักร ให้คณะกรรมการทำคำสั่งเป็นหนังสือส่งไปยังเจ้าพนักงานเรือนจำหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจในการปฏิบัติตามวิธีการเพื่อความปลอดภัย การคุมความประพฤติ วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน การพักการลงโทษและการพักการกักกัน แล้วแต่กรณี เพื่อดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่ปรากฏว่า โทษหรือเงื่อนไขในการรับโทษตามกฎหมายของประเทศผู้โอนไม่ตรงกับโทษ หรือเงื่อนไขในการรับโทษตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในราชอาณาจักร ให้คณะกรรมการส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลอาญาหรือศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง เพื่อพิจารณาสั่งปรับใช้โทษหรือเงื่อนไขในการรับโทษให้เป็นไปตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ โทษหรือเงื่อนไขในการรับโทษที่ปรับใช้จะต้องไม่หนักกว่าโทษหรือเงื่อนไขในการรับโทษที่นักโทษไทยจะต้องรับในประเทศผู้โอน ในกรณีที่ปรากฏว่าความผิดที่นักโทษไทยได้รับอยู่ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแห่งประเทศผู้โอนไม่เป็นความผิดที่มีโทษฐานใดฐานหนึ่งตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในราชอาณาจักร ให้ถือว่าการที่นักโทษไทยผู้นั้นได้รับโทษตามคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวเป็นเงื่อนไขที่ศาลมีอำนาจสั่งใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยได้ และให้ศาลปรับโทษตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควร แต่ต้องไม่หนักกว่าโทษหรือเงื่อนไขในการรับโทษที่นักโทษไทยจะต้องรับในประเทศผู้โอน ทั้งนี้ ให้นำวิธีการตามวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม คำสั่งของศาลอาญาหรือศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางให้เป็นที่สุด มาตรา ๒๐ ให้ถือว่านักโทษไทยซึ่งได้รับการโอนมารับโทษต่อในราชอาณาจักรเป็นนักโทษเด็ดขาด หรือเป็นผู้ถูกสั่งใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัย การคุมความประพฤติ วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน การพักการลงโทษและการพักการกักกัน ตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในราชอาณาจักรว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี มาตรา ๒๑ การอภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาและลดโทษ การพักการลงโทษ การพักการกักกัน และการลดวันต้องโทษสำหรับนักโทษไทยซึ่งรับโทษต่อในราชอาณาจักร ให้เป็นไปตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่ได้มีสนธิสัญญากำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญานั้น มาตรา ๒๒ ในการรับโทษต่อในราชอาณาจักร ให้นักโทษไทยซึ่งได้รับการโอนได้รับประโยชน์จากเหตุ ดังต่อไปนี้ (๑) การหักระยะเวลาการลงโทษที่นักโทษไทยผู้นั้นได้รับอยู่ตามกฎหมายของประเทศผู้โอนจนถึงวันที่มีการรับมอบ (๒) การอภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาและลดโทษของประเทศผู้โอนเฉพาะในส่วนที่มีผลใช้บังคับถึงนักโทษไทยผู้นั้น (๓) กรณีที่มีกฎหมายของประเทศผู้โอนออกมาภายหลังและบัญญัติว่า การกระทำตามที่นักโทษไทยผู้นั้นได้รับโทษอยู่ไม่เป็นความผิดอีกต่อไป หรือบัญญัติให้เป็นคุณแก่นักโทษไทยผู้นั้น (๔) การแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกคำพิพากษาหรือคำสั่งลงโทษของศาลแห่งประเทศผู้โอน (๕) การหักระยะเวลาตั้งแต่วันที่มีการรับมอบนักโทษไทยผู้นั้นจนถึงวันที่นักโทษไทยผู้นั้นเข้ารับโทษต่อในราชอาณาจักร เมื่อความตามวรรคหนึ่งปรากฏแก่คณะกรรมการ หรือเมื่อนักโทษไทยหรือผู้มีอำนาจยื่นคำขอตามมาตรา ๑๓ ร้องขอ ให้คณะกรรมการมีอำนาจออกคำสั่งให้นักโทษไทยผู้นั้นได้รับประโยชน์ดังกล่าวได้ คำสั่งของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด หมวด ๔ การโอนนักโทษต่างประเทศ มาตรา ๒๓ การยื่นคำขอโอนนักโทษต่างประเทศเพื่อไปรับโทษต่อในประเทศผู้รับโอน ให้ประเทศที่ประสงค์จะรับโอนยื่นคำขอผ่านวิถีทางการทูตตามแบบวิธีการและเอกสารหลักฐานที่คณะกรรมการกำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กระทรวงการต่างประเทศ มาตรา ๒๔ เมื่อได้รับคำขอพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานครบถ้วนแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาส่งคำขอและเอกสารหลักฐานดังกล่าวต่อเลขานุการคณะกรรมการเพื่อเสนอให้คณะกรรมการพิจารณา มาตรา ๒๕ การโอนนักโทษต่างประเทศจะกระทำมิได้ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อโทษที่นักโทษต่างประเทศได้รับอยู่ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นโทษฐานกระทำความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระราชโอรสและพระราชธิดา ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร หรือความผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสมบัติที่มีค่าทางศิลปะของชาติ (๒) นักโทษต่างประเทศได้รับโทษจำคุกในราชอาณาจักรไปแล้วไม่ถึงหนึ่งในสามของโทษจำคุกทั้งสิ้นตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หรือไม่ถึงสี่ปี สุดแต่ระยะเวลาใดจะน้อยกว่า แต่ระยะเวลาไม่ถึงสี่ปีดังกล่าวให้เปลี่ยนเป็นไม่ถึงแปดปี ในกรณีที่โทษซึ่งนักโทษต่างประเทศได้รับอยู่ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นโทษฐานผลิต จำหน่าย นำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษเฉพาะฐานความผิดที่กฎหมายกำหนดโทษไว้ถึงจำคุกตลอดชีวิต (๓) เมื่อโทษจำคุกที่นักโทษต่างประเทศจะต้องรับต่อไปในราชอาณาจักรเหลืออยู่น้อยกว่าหนึ่งปีของโทษจำคุกทั้งสิ้นตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง มาตรา ๒๖ คณะกรรมการอาจพิจารณาไม่อนุญาตให้โอนนักโทษต่างประเทศ ถ้าเห็นว่าการโอนนั้นจะมีผลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักรหรือต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน มาตรา ๒๗ ในกรณีที่นักโทษต่างประเทศผู้ใดมีหน้าที่ต้องชำระค่าปรับ คืนทรัพย์สินหรือชดใช้ราคาหรือค่าเสียหายตามคำพิพากษาในคดีอาญา หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ นักโทษต่างประเทศผู้นั้นจะต้องทำการชำระ คืน หรือชดใช้ดังกล่าวให้เสร็จสิ้นก่อนที่คณะกรรมการจะมีคำสั่งเห็นชอบในการโอน มาตรา ๒๘ ให้คณะกรรมการมีคำสั่งให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในการโอนนักโทษต่างประเทศ และให้แจ้งคำสั่งนั้นให้ประเทศผู้รับโอนทราบโดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศ คำสั่งของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด และให้ถือว่าคำสั่งเห็นชอบของคณะกรรมการเป็นหลักฐานในการโอนนักโทษต่างประเทศไปยังประเทศผู้รับโอน หมวด ๕ การดำเนินการรับมอบและส่งมอบนักโทษ มาตรา ๒๙ การรับมอบนักโทษไทยและการส่งมอบนักโทษต่างประเทศ ซึ่งจะได้รับการโอน ให้ดำเนินการผ่านวิถีทางการทูต ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๐ เมื่อได้มีการรับมอบนักโทษไทยในประเทศผู้โอน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดการให้นักโทษไทยผู้นั้นเดินทางจากประเทศผู้โอนเข้ามาในราชอาณาจักรโดยเร็ว ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสามวันนับแต่วันที่มีการรับมอบ เว้นแต่จะมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น และเมื่อเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ต้องดำเนินการให้นักโทษไทยผู้นั้นเข้ารับโทษต่อทันที มาตรา ๓๑ เมื่อได้มีการส่งมอบนักโทษต่างประเทศแล้ว นักโทษต่างประเทศผู้นั้นจะต้องเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่การส่งมอบเสร็จสิ้นลง เว้นแต่คณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายจะได้ขยายระยะเวลาให้ตามความจำเป็น หมวด ๖ บทกำหนดโทษ มาตรา ๓๒ นักโทษไทยผู้ใดหลบหนีการควบคุมตัวในระหว่างการเดินทางจากประเทศผู้โอนมายังราชอาณาจักร หรือนักโทษต่างประเทศผู้ใดหลบหนีการควบคุมตัวในระหว่างก่อนเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท ถ้าความผิดดังกล่าวในวรรคหนึ่งได้กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินเจ็ดหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าความผิดตามมาตรานี้ได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่บัญญัติไว้ในสองวรรคก่อนกึ่งหนึ่ง มาตรา ๓๓ นักโทษไทยผู้ใดขัดขืน หรือไม่ปฏิบัติตามการจัดการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๗ หรือมาตรา ๓๐ หรือนักโทษต่างประเทศผู้ใดขัดขืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๓๔ การกระทำความผิดตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๓ ในส่วนที่เกี่ยวกับนักโทษไทย แม้กระทำนอกราชอาณาจักร ให้ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักร มาตรา ๓๕ ให้คณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามมาตรา ๓๓ ได้ และในการนี้ ให้คณะกรรมการมีอำนาจมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานสอบสวนดำเนินการเปรียบเทียบได้ โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์ในการเปรียบเทียบหรือเงื่อนไขใด ๆ ให้ผู้ได้รับมอบหมายปฏิบัติตามที่เห็นสมควรก็ได้ เมื่อผู้กระทำความผิดได้เสียค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้ดำเนินการโอนนักโทษต่อไป ถ้าผู้กระทำความผิดไม่เสียค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ ให้คณะกรรมการหรือผู้ได้รับมอบหมายส่งตัวผู้กระทำความผิดให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไป ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันนี้ได้มีบุคคลผู้มีสัญชาติไทยซึ่งรับโทษอยู่ในต่างประเทศเนื่องจากกระทำความผิดในต่างประเทศ และบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งรับโทษอยู่ในประเทศไทยเนื่องจากกระทำความผิดในประเทศไทยอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรที่จะกำหนดมาตรการให้มีการโอนตัวผู้กระทำความผิดดังกล่าวให้ได้รับโทษต่อในประเทศที่ผู้นั้นมีสัญชาติได้ เพื่อประโยชน์ในการที่แต่ละประเทศจะได้ให้การอบรมแก้ไขฟื้นฟูจิตใจผู้กระทำความผิดที่มีสัญชาติของประเทศของตนให้กลับตนเป็นพลเมืองดีต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ชไมพร/แก้ไข ๑๙ กันยายน ๒๕๔๔ อมราลักษณ์/แก้ไข ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๗ วศิน/แก้ไข ๒๒ เมษายน ๒๕๕๒ พจณัฏฐ์/ปรับปรุง ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๑๓๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๗ กันยายน ๒๕๒๗
302153
ระเบียบคณะกรรมการพิจารณาการโอนนักโทษ ว่าด้วยการยื่นคำขอโอนนักโทษ และการดำเนินการรับมอบ ส่งมอบนักโทษ พ.ศ. 2529
ระเบียบคณะกรรมการพิจารณาการโอนนักโทษ ระเบียบคณะกรรมการพิจารณาการโอนนักโทษ ว่าด้วยการยื่นคำขอโอนนักโทษ และการดำเนินการรับมอบ ส่งมอบนักโทษ พ.ศ. ๒๕๒๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ มาตรา ๒๓ และมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๒๗ คณะกรรมการพิจารณาการโอนนักโทษจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการพิจารณาการโอนนักโทษ ว่าด้วยการยื่นคำขอโอนนักโทษ และการดำเนินการรับมอบส่งมอบนักโทษ พ.ศ. ๒๕๒๙” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓ การขอโอนนักโทษตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๒๗ ให้ยื่นคำขอพร้อมทั้งส่งเอกสารหลักฐานตามวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ หมวด ๑ การยื่นคำขอโอนนักโทษ ข้อ ๔ ให้นักโทษไทยซึ่งประสงค์จะขอโอนกลับมารับโทษต่อในราชอาณาจักร หรือสามี ภรรยา ญาติ หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักโทษนั้น ยื่นคำขอตามแบบท้ายระเบียบนี้ พร้อมทั้งส่งเอกสารหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๒ ดังต่อไปนี้ ๔.๑ หลักฐานแสดงสัญชาติของนักโทษ เช่น สูติบัตร บัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน ๔.๒ สำเนาคำพิพากษาของศาล ๔.๓ ทะเบียนประวัติการต้องโทษ สำเนาหมายจำคุก หรือกักขังเมื่อคดีถึงที่สุด หมายลดโทษ (ถ้ามี) ๔.๔ ในกรณีที่นักโทษมิได้ยื่นคำขอด้วยตนเอง ให้ผู้ยื่นคำขอแสดงหลักฐานความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับนักโทษด้วย ข้อ ๕ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับเรื่องราวตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนตามแบบการยื่นคำขอ และเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ รวมทั้งให้ข้อแนะนำแก่ผู้ยื่นคำขอในการจัดหาเอกสารหลักฐาน ข้อ ๖ ในกรณีนักโทษต่างประเทศ ประเทศผู้รับโอนที่ประสงค์จะขอโอนนักโทษสัญชาติของตนไปรับโทษต่อยังประเทศผู้รับโอน จะต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กระทรวงการต่างประเทศ โดยให้มีเอกสารหลักฐานตามข้อ ๔ โดยอนุโลม ข้อ ๗ เมื่อได้รับคำขอพร้อมเอกสารหลักฐาน ให้เจ้าหน้าที่ส่งคำขอและเอกสารหลักฐานดังกล่าวต่อเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาการโอนนักโทษ เพื่อเสนอคณะกรรมการพิจารณาโดยเร็ว หมวด ๒ การรับมอบนักโทษไทย ข้อ ๘ เมื่อประเทศผู้โอนให้ความเห็นชอบในการโอนนักโทษไทยจากประเทศผู้โอน และกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้คณะกรรมการทราบแล้ว ให้เลขานุการคณะกรรมการประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศ กรมตำรวจ และกรมราชทัณฑ์ เพื่อรับมอบนักโทษไทยต่อไปโดยเร็ว ข้อ ๙ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวนักโทษไทยเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ให้ส่งตัวนักโทษไทยผู้นั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๗ วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี ทันที ๙.๑ ถ้านักโทษไทยผู้นั้นเป็นผู้ที่ศาลของประเทศผู้โอนมีคำพิพากษา หรือคำสั่งให้ลงโทษจำคุก โดยจะมีโทษอย่างอื่น หรือเงื่อนไขในการรับโทษเป็นอย่างอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำคำสั่งเป็นหนังสือส่งตัวไปคุมขังไว้ที่เรือนจำกลางคลองเปรมสำหรับนักโทษชายและทัณฑสถานหญิงสำหรับนักโทษหญิง ๙.๒ ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งลงโทษกักขังโดยจะมีโทษอย่างอื่นที่มิใช่โทษจำคุก หรือเงื่อนไขในการรับโทษเป็นอย่างอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำคำสั่งเป็นหนังสือส่งตัวผู้ต้องกักขังไปกักขังไว้ ณ สถานกักขังกลาง กรมราชทัณฑ์ ๙.๓ ถ้าผู้นั้นอยู่ภายใต้เงื่อนไขตามวิธีการเพื่อความปลอดภัย การคุมความประพฤติ วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน การพักการลงโทษ และการพักการกักกัน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งตัวผู้นั้นให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ตามลักษณะแห่งเงื่อนไขนั้น ๆ เพื่อนำวิธีการเดียวกันตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาบังคับใช้ตามควรแก่กรณี ๙.๔ ถ้าศาลของประเทศผู้โอนสั่งลงโทษ หรือกำหนดเงื่อนไขในการรับโทษไว้ไม่ตรงกับโทษ หรือเงื่อนไขที่มีอยู่ตามกฎหมายไทย ให้ส่งตัวผู้นั้นไปอยู่ในความควบคุมของกรมราชทัณฑ์ แต่ถ้าผู้นั้นเป็นเด็กหรือเยาวชนให้ส่งตัวไปควบคุมไว้ ณ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง ๙.๕ ในกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษทำให้การปฏิบัติตาม ๙.๑ ถึง ๙.๔ ไม่เหมาะสม คณะกรรมการจะกำหนดให้ส่งตัวนักโทษผู้นั้นไปยังสถานที่ที่เหมาะสมกว่าก็ได้ เมื่อดำเนินการตาม ๙.๑ ๙.๒ ๙.๓ ๙.๔ หรือ ๙.๕ แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานให้คณะกรรมการทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป หมวด ๓ การส่งมอบนักโทษต่างประเทศ ข้อ ๑๐ เมื่อคณะกรรมการให้ความเห็นชอบในการโอนนักโทษต่างประเทศ ให้แจ้งคำสั่งให้ประเทศผู้รับโอนและนักโทษทราบ โดยให้เลขานุการคณะกรรมการประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงยุติธรรม กรมตำรวจ และกรมราชทัณฑ์ เพื่อดำเนินการต่อไปโดยเร็ว ข้อ ๑๑ เมื่อเจ้าพนักงานเรือนจำได้รับคำสั่งของคณะกรรมการที่ให้ความเห็นชอบในการโอนนักโทษต่างประเทศ และประเทศผู้รับโอนพร้อมที่จะรับมอบ ให้ส่งมอบนักโทษต่างประเทศผู้นั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อคุมตัวไปส่งให้เจ้าหน้าที่ของประเทศผู้รับโอนโดยเร็ว ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๙ สวัสดิ์ โชติพานิช ประธานคณะกรรมการพิจารณาการโอนนักโทษ [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบคำขอโอนนักโทษไทย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ พจณัฏฐ์/ปรับปรุง ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๗๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗/๘ พฤษภาคม ๒๕๒๙
301607
พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชบัญญัติ การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นปีที่ ๓๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ บรรดาบทกฎหมาย กฎและข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” หมายความว่า การปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิ และการถือครองในที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รวมตลอดถึงการจัดที่อยู่อาศัยในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้น โดยรัฐนำที่ดินของรัฐ หรือที่ดินที่รัฐจัดซื้อหรือเวนคืนจากเจ้าของที่ดิน ซึ่งมิได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นด้วยตนเอง หรือมีที่ดินเกินสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อจัดให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินของตนเองหรือเกษตรกรที่มีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพและสถาบันเกษตรกรได้เช่าซื้อ เช่าหรือเข้าทำประโยชน์โดยรัฐให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม การปรับปรุงทรัพยากรและปัจจัยการผลิต ตลอดจนการผลิตและการจำหน่ายให้เกิดผลดียิ่งขึ้น “เขตปฏิรูปที่ดิน” หมายความว่า เขตที่ดินที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม “ที่ดินของรัฐ” หมายความว่า บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน หรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อนุมัติให้บุคคลเข้าอยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ “เจ้าของที่ดิน” หมายความว่า ผู้มีสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน “เกษตรกรรม” หมายความว่า การทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา “เกษตรกร”[๒] หมายความว่า ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และให้หมายความรวมถึงบุคคลผู้ยากจนหรือผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรม หรือผู้เป็นบุตรของเกษตรกร บรรดาซึ่งไม่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นของตนเองและประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาด้วย “สถาบันเกษตรกร” หมายความว่า กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ “การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” หมายความว่า การเช่าหรือการเช่าช่วงโดยได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าซึ่งที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่ว่าการเช่าหรือเช่าช่วงนั้นจะมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงการยินยอมให้ใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยได้รับค่าเช่าที่ดิน และการทำนิติกรรมอื่นใดเพื่อเป็นการอำพรางการเช่าดังกล่าว “ค่าเช่าที่ดิน” หมายความว่า ผลิตผลเกษตรกรรม เงิน หรือทรัพย์สินอื่นใด ซึ่งเป็นค่าตอบแทนการเช่าที่ดิน และหมายความรวมถึงประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ที่ผู้ให้เช่าที่ดินหรือบุคคลอื่นได้รับเพื่อตอบแทนการให้เช่าที่ดินทั้งโดยทางตรงหรือทางอ้อม “เจ้าของที่ดินผู้ประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเอง” หมายความว่า เจ้าของที่ดินผู้ซึ่งดำเนินการผลิตด้านเกษตรกรรม โดยเป็นผู้ลงทุนและได้ผลประโยชน์จากการผลิตนั้นโดยตรง และไม่เป็นผู้ให้เช่าที่ดินนั้น “บุคคลในครอบครัวเดียวกัน” หมายความว่า คู่สมรส และผู้สืบสันดานที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม “คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด”[๓] (ยกเลิก) “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕[๔] ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวง กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา ๖ ให้จัดตั้งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมขึ้นในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ เรียกโดยย่อว่า ส.ป.ก. มาตรา ๗ ให้ ส.ป.ก. เป็นทบวงการเมือง มีฐานะเทียบเท่ากรม โดยมีเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเป็นหัวหน้าสำนักงาน มาตรา ๘ ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๙ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า กองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ในกระทรวงการคลัง ประกอบด้วยเงินและทรัพย์สินตามมาตรา ๑๐ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รายได้ที่ ส.ป.ก. ได้รับจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้นำส่งเข้าบัญชีกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน การใช้จ่ายเงินของกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้กระทำได้เฉพาะการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง ให้กระทรวงการคลังเก็บรักษาเงินของกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และเบิกจ่ายเงินจากกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเพื่อใช้จ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐ กองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประกอบด้วย (๑) เงินที่ได้รับจากงบประมาณแผ่นดิน (๒) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่ได้รับจากรัฐบาลหรือจากแหล่งต่าง ๆ ภายในประเทศ หรือต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศหรือบุคคลอื่น (๓) เงินที่ได้รับจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (๔) เงิน ดอกผลหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ ส.ป.ก. ได้รับเกี่ยวกับการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา ๑๑ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินตามมาตรา ๒๕ ใช้บังคับในท้องที่จังหวัดใดแล้ว ให้จัดตั้งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดขึ้นสังกัดสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามที่คณะกรรมการและคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดกำหนด ในกรณีที่ได้กำหนดเขตปฏิรูปที่ดินเขตหนึ่งเขตใดคลุมที่ดินในเขตของสองจังหวัดขึ้นไป คณะกรรมการจะมอบหมายให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดใดมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตลอดเขตปฏิรูปที่ดินนั้นก็ได้ ไม่ว่าจะมีสำนักงานการปฏิรูปที่ดินในจังหวัดที่เกี่ยวข้องนั้นหรือไม่ ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามมาตรา ๖ ทำหน้าที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินกรุงเทพมหานครด้วย หมวด ๒ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด มาตรา ๑๒[๕] ให้มีคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดีกรมป่าไม้ อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ* อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อธิบดีกรมธนารักษ์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแห่งประเทศไทย ประธานชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย และอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง* เป็นกรรมการและกรรมการอื่นอีกไม่เกินเก้าคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้แทนเกษตรกรหกคนและผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกินสามคน ให้เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นกรรมการและเลขานุการ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินตามมาตรา ๒๕ ใช้บังคับในท้องที่กรุงเทพมหานครแล้ว ให้คณะกรรมการทำหน้าที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสำหรับกรุงเทพมหานครด้วย มาตรา ๑๓[๖] ภายใต้บังคับมาตรา ๑๒ วรรคสอง เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินตามมาตรา ๒๕ ใช้บังคับในเขตอำเภอหนึ่งอำเภอใดในจังหวัดใดแล้ว ให้มีคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดขึ้นคณะหนึ่งในจังหวัดนั้น เรียกว่า “คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด” ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ เกษตรจังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด ป่าไม้จังหวัด ประมงจังหวัด ผู้แทนกรมชลประทาน ผู้แทนกรมพัฒนาที่ดิน สหกรณ์จังหวัด พาณิชย์จังหวัด เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด นายอำเภอ และปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอในท้องที่ที่มีการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พัฒนาการจังหวัด ผู้แทนกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ* ราชพัสดุจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด ผู้แทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ผู้แทนเกษตรกรในจังหวัดนั้นอีกสี่คนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง และผู้แทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง* เป็นกรรมการ และปฏิรูปที่ดินจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ มาตรา ๑๔ ให้กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งซ่อมนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ มาตรา ๑๕ กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับ ส.ป.ก. หรือในกิจการที่กระทำให้แก่ ส.ป.ก. ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม มาตรา ๑๖ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่มีอำนาจแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี ให้ออก (๔) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๕ มาตรา ๑๗ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม มาตรา ๑๘ การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย มาตรการ ข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานการปฏิรูปที่ดินของ ส.ป.ก. ตลอดจนการควบคุมการบริหารงานของ ส.ป.ก. รวมทั้งอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดหาที่ดินของรัฐเพื่อนำมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (๒) พิจารณากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินตามมาตรา ๒๕ การจัดซื้อหรือเวนคืนที่ดินตามมาตรา ๒๙ และการกำหนดเนื้อที่ที่ดินที่จะให้เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรเช่าระยะยาว หรือเช่าซื้อตามมาตรา ๓๐ (๓) พิจารณาการกำหนดแผนผังและการจัดแบ่งแปลงที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (๔) พิจารณาอนุมัติแผนงานและโครงการการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตลอดจนงบค่าใช้จ่ายของ ส.ป.ก. เสนอรัฐมนตรี (๕) พิจารณากำหนดแผนการผลิตและการจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมในเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อยกระดับรายได้ และคุ้มครองผลประโยชน์ของเกษตรกร หรือสถาบันเกษตรกร (๖) พิจารณากำหนดแผนการส่งเสริม และบำรุงเกษตรกรรมในเขตปฏิรูปที่ดิน รวมถึงการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตและคุณภาพผลิตผลเกษตรกรรม ตลอดจนสวัสดิการ การสาธารณูปโภค การศึกษาและการสาธารณสุขของเกษตรกร (๗) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตลอดจนแบบสัญญาเช่าและเช่าซื้อที่จะทำกับเกษตรกร หรือสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน (๘) กำหนดระเบียบการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินและปฏิบัติตามแผนการผลิตและการจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรม (๙) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินกู้ยืมจาก ส.ป.ก. ตลอดจนเงื่อนไขของการกู้ยืมโดยอนุมัติรัฐมนตรี (๑๐) กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตลอดจนการควบคุมดูแลกิจการอื่น ๆ ภายในเขตปฏิรูปที่ดิน (๑๑) ติดตามการปฏิบัติงานของ ส.ป.ก. ให้เป็นไปตามแผนงานและโครงการที่ได้รับอนุมัติ ตลอดจนกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน (๑๒) กำหนดกิจการและระเบียบการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของ ส.ป.ก. หรือสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับวัตถุประสงค์ของการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดมาตรการและวิธีปฏิบัติงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด และให้มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงาน โครงการและค่าใช้จ่ายของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด เพื่อเสนอคณะกรรมการ (๒) ติดตามการปฏิบัติงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด ให้เป็นไปตามแผนงานและโครงการที่ได้รับอนุมัติ ตลอดจนดำเนินการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน (๓) พิจารณาผลการปฏิบัติงาน เพื่อปรับปรุงแผนงาน โครงการ งบค่าใช้จ่ายและวิธีปฏิบัติงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด (๔) จัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายตามโครงการการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแต่ละโครงการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ (๕) ดำเนินการเกี่ยวกับการเงินและกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามระเบียบหรือข้อบังคับหรือมติของคณะกรรมการหรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (๖) วางระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบหรือข้อบังคับหรือมติของคณะกรรมการ มาตรา ๒๑ ให้คณะกรรมการหรือคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการคณะหนึ่งหรือหลายคณะเพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆ หรือปฏิบัติงานอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมอบหมาย การประชุมของอนุกรรมการ ให้นำความในมาตรา ๑๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๒๒ ภายในกำหนด ๙๐ วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณทุกปี ให้รัฐมนตรีประกาศรายงานรับจ่ายเงินของ ส.ป.ก. ในราชกิจจานุเบกษา รายงานการรับจ่ายเงินตามวรรคหนึ่ง เมื่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว ให้ทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอรัฐสภาทราบ มาตรา ๒๓ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบการประกอบเกษตรกรรม หรือการทำประโยชน์หรือกิจการอื่น ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก และให้แสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินหรือผู้ที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร บัตรประจำตัวให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๔ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ อนุกรรมการ เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รองเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๓ การดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา ๒๕ การกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ใดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ในพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้มีแผนที่แสดงเขตและระบุท้องที่ที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินแนบท้ายพระราชกฤษฎีกานั้นด้วย แผนที่ดังกล่าวให้ถือเป็นส่วนหนึ่งแห่งพระราชกฤษฎีกา การกำหนดเขตที่ดินให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดเฉพาะที่ดินที่จะดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็นจะถือเขตของตำบลหรืออำเภอเป็นหลักก็ได้ โดยให้ดำเนินการกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินในเขตท้องที่อำเภอที่มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก ตลอดจนที่มีผลผลิตต่อไร่ต่ำเป็นเกณฑ์ในการจัดอันดับความสำคัญในการกำหนดเขตก่อนหลัง ในกรณีที่ถือเขตของตำบลหรืออำเภอเป็นเขตปฏิรูปที่ดินนั้น ให้หมายถึงเฉพาะที่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล[๗] ให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโดยมิชักช้า และให้ดำเนินการสำรวจที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และวางโครงการเพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในท้องที่ทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร ให้เสร็จภายในสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๒๕ ทวิ[๘] ถ้าที่ดินที่ ส.ป.ก. ได้มาเป็นแปลงเล็กแปลงน้อยและมิได้อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดที่ดินนั้นให้กับเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรได้ ตามมาตรา ๓๐ เสมือนว่าเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน โดยไม่ต้องดำเนินการกำหนดเขตที่ดินในท้องที่นั้นให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินตามมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖[๙] เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินใช้บังคับในท้องที่ใดแล้ว (๑) ถ้าในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นมีที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน แต่พลเมืองเลิกใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น หรือได้เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันก็ดี หรือพลเมืองยังใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นอยู่ หรือยังไม่เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เมื่อได้จัดที่ดินแปลงอื่นให้พลเมืองใช้ร่วมกันแทน โดยคณะกรรมการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ดี ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินนั้นมีผลเป็นการถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับที่ดินดังกล่าวโดยมิต้องดำเนินการถอนสภาพตามประมวลกฎหมายที่ดิน และให้ ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ (๒) ถ้าในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นมีที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ หรือที่ดินที่ได้สงวนหรือหวงห้ามไว้ตามความต้องการของทางราชการ เมื่อกระทรวงการคลังได้ให้ความยินยอมแล้ว ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินนั้นมีผลเป็นการถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับที่ดินดังกล่าว โดยมิต้องดำเนินการถอนสภาพตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุ และให้ ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ (๓) ถ้าในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นมีที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้ง หรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน และที่ดินนั้นอยู่นอกเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ (๔) ถ้าเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติส่วนใดแล้ว เมื่อ ส.ป.ก. จะนำที่ดินแปลงใดในส่วนนั้นไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินมีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินแปลงนั้น และให้ ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้โดยไม่ต้องดำเนินการเพิกถอนตามกฎหมายป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตาม (๔) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ และมีอำนาจในการให้เช่าที่ดินอันเป็นป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวได้ และให้ค่าเช่าที่ได้มาตกเป็นของกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา ๒๗ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินใช้บังคับในท้องที่ใดแล้ว ภายในเขตปฏิรูปที่ดิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) เข้าไปทำการอันจำเป็นเพื่อการสำรวจรังวัดได้ แต่ต้องแจ้งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินทราบเสียก่อน (๒) ทำเครื่องหมายขอบเขตหรือแนวเขตโดยปักหลักหรือขุดร่องแนว ในกรณีที่ต้องสร้างหมุดหลักฐานการแผนที่ในที่ดินของผู้ใด ก็ให้มีอำนาจสร้างหมุดหลักฐานลงได้ตามความจำเป็น เมื่อมีความจำเป็นและโดยสมควร พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจขุดดิน ตัดรานกิ่งไม้และกระทำการอย่างอื่นแก่สิ่งที่กีดขวางการสำรวจรังวัดได้เท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงการที่จะให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหายน้อยที่สุด ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินและผู้ที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร มาตรา ๒๘ ภายในระยะเวลาสามปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินตามมาตรา ๒๕ ใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายด้วยประการใด ๆ หรือก่อให้เกิดภาระติดพันใด ๆ ซึ่งที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมาย ในกรณีที่ ส.ป.ก. จัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินนั้น ถ้ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนความในวรรคหนึ่ง และเป็นทรัพย์สินหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือกีดขวางการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้คณะกรรมการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินทำการรื้อถอนเสียได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินไม่ปฏิบัติตาม ให้คณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมาย มีอำนาจดำเนินการรื้อถอนโดยเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวจะเรียกร้องค่าเสียหายมิได้ และต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนนั้นด้วย มาตรา ๒๙ ในเขตปฏิรูปที่ดิน เมื่อคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่า ที่ดินบริเวณใดสมควรดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินได้ ดังต่อไปนี้ (๑) ที่ดินแปลงเดียวหรือหลายแปลงมีเนื้อที่รวมกันเกินกว่าห้าสิบไร่ ซึ่งบุคคลในครอบครัวเดียวกันไม่ว่าคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นเจ้าของที่ดินผู้ประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเอง ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินส่วนที่เกินกว่าห้าสิบไร่ (๒) ถ้าที่ดินดังกล่าวใน (๑) มีเนื้อที่รวมกันเกินกว่าหนึ่งร้อยไร่ และเจ้าของที่ดินผู้ประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองใช้เพื่อการเลี้ยงสัตว์จำพวกสัตว์ใหญ่ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดชนิด จำนวน และเงื่อนไขในราชกิจจานุเบกษา ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินส่วนที่เกินกว่าหนึ่งร้อยไร่ ถ้าเจ้าของที่ดินรายใดมีความประสงค์จะประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองในที่ดินเกินกว่าตามที่กล่าวไว้ใน (๑) หรือ (๒) และแสดงได้ว่าตนได้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินด้วยตนเองเกินกว่าที่กล่าวไว้ใน (๑) หรือ (๒) อยู่แล้วไม่ต่ำกว่าหนึ่งปีก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และแสดงได้ว่าตนมีความสามารถและมีปัจจัยที่จะทำที่ดินนั้นให้เป็นประโยชน์ทางเกษตรกรรมได้ ทั้งตนจะเป็นผู้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินนั้นด้วยตนเอง ให้ยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งแสดงหลักฐานอ้างอิงประกอบคำร้อง เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้สอบสวนแล้ว ให้รายงานต่อคณะกรรมการ ถ้าคณะกรรมการเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้กำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตเสนอรัฐมนตรีพิจารณา หากรัฐมนตรีเห็นชอบก็ให้อนุญาตให้ผู้ร้องขอนั้นมีสิทธิในที่ดินนั้นต่อไป แต่ต้องไม่เกินหนึ่งพันไร่ ในกรณีที่ผู้ร้องขอได้รับสิทธิในที่ดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินที่ได้รับเพิ่มขึ้นนั้นเพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อไป ในกรณีที่เจ้าของที่ดินรายใดได้แสดงว่าตนได้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินด้วยตนเองเกินกว่าหนึ่งพันไร่อยู่แล้วไม่ต่ำกว่าหนึ่งปีก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และมีความประสงค์จะประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองในที่ดินนั้นต่อไป ให้คณะกรรมการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ ก. ได้ลงทุนในกิจกรรมการเกษตรในที่ดินนั้นไปแล้วเป็นจำนวนมากและการลงทุนนั้นได้กระทำไปด้วยการส่งเสริมของรัฐ ข. เป็นการประกอบการเพื่อพัฒนาวิทยาการเกษตรแผนใหม่ หรือที่ยังมีความต้องการอยู่มากภายในประเทศหรือเพื่อการส่งออก ค. ในการที่จะประกอบกิจการได้ต่อไปนั้นจะต้องมีลักษณะที่ช่วยพัฒนาการเกษตร และช่วยเหลือเกษตรกรในด้านปัจจัยการผลิต เพื่อส่งเสริมผลผลิตการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรได้อย่างกว้างขวางในเรื่องการสาธิต และเป็นตลาดรับซื้อผลิตผลเกษตรกรรมจากเกษตรกรโดยตรง ง. เมื่อพ้นสิบห้าปี หากสถาบันเกษตรกรมีความต้องการและสามารถที่จะเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการนั้น เจ้าของที่ดินต้องยินยอมให้สถาบันเกษตรกรถือหุ้นในกิจการนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของจำนวนหุ้นทั้งหมด ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามวิธีการและรายละเอียดที่คณะกรรมการกำหนด ถ้าคณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้กำหนดเงื่อนไขในการอนุญาต เสนอรัฐมนตรีพิจารณา หากรัฐมนตรีเห็นชอบก็ให้อนุญาตให้ผู้ร้องขอนั้นมีสิทธิในที่ดินนั้นต่อไป ในกรณีที่ผู้ร้องขอได้รับสิทธิในที่ดินดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อ หรือดำเนินการเวนคืนที่ดินที่ได้รับเพิ่มขึ้นนั้น เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อไป (๓) ที่ดินแปลงใดถ้าเจ้าของไม่ได้ใช้ที่ดินประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเอง หรือมิได้ใช้ประกอบเกษตรกรรมอย่างใดหรือประกอบเกษตรกรรมเล็กน้อย หรือประกอบเกษตรกรรมบางส่วนเพียงเป็นการแสดงสิทธิในที่ดิน ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินนั้นได้ในส่วนที่เกินกว่ายี่สิบไร่ ถ้าเจ้าของที่ดินตาม (๓) มีความประสงค์จะประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองและแสดงได้ว่าตนมีความสามารถและมีปัจจัยที่จะทำที่ดินนั้นให้เป็นประโยชน์ทางเกษตรกรรมได้ ทั้งตนจะเป็นผู้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินนั้นด้วยตนเอง ให้ยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งแสดงหลักฐานอ้างอิงประกอบคำร้อง เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้สอบสวนแล้ว ให้รายงานต่อคณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายเพื่อพิจารณาอนุญาตให้ผู้ร้องขอนั้นมีสิทธิในที่ดินต่อไป ตามขนาดใน (๑) หรือ (๒) แล้วแต่กรณี และให้คณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาต ในกรณีผู้ได้รับสิทธิในที่ดินดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินนั้นเพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อไป บทบัญญัติในมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับแก่ที่ดินบรรดาที่เป็นของทบวงการเมือง องค์การของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันเกษตรกร หรือที่ดินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ในการจัดซื้อที่ดินตามมาตรานี้ ถ้าเจ้าของที่ดินประสงค์จะขายที่ดินของตนให้ทั้งหมด ก็ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อได้[๑๐] มาตรา ๓๐[๑๑] บรรดาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ ส.ป.ก. ได้มา ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดให้เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้ ตามขนาดการถือครองในที่ดินดังกล่าวต่อไปนี้ (๑) จำนวนที่ดินไม่เกินห้าสิบไร่ สำหรับเกษตรกรและบุคคลในครอบครัวเดียวกัน ซึ่งประกอบเกษตรกรรมอย่างอื่นนอกจากเกษตรกรรมเลี้ยงสัตว์ใหญ่ตาม (๒) (๒) จำนวนที่ดินไม่เกินหนึ่งร้อยไร่ สำหรับเกษตรกรและบุคคลในครอบครัวเดียวกัน ซึ่งใช้ประกอบเกษตรกรรมเลี้ยงสัตว์ใหญ่ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนด (๓) จำนวนที่ดินที่คณะกรรมการเห็นสมควรสำหรับสถาบันเกษตรกร ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงประเภทและลักษณะการดำเนินงานของสถาบันเกษตรกรนั้น ๆ ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการจัดให้เกษตรกร และเป็นที่ดินที่คณะกรรมการกำหนดมิให้มีการโอนสิทธิในที่ดินก็ให้จัดให้เกษตรกรเช่า ในกรณีอื่นให้จัดให้เกษตรกรเช่าหรือเช่าซื้อตามที่เกษตรกรแสดงความจำนง ถ้าเป็นการจัดให้สถาบันเกษตรกรให้จัดให้สถาบันเกษตรกรเช่า บรรดาที่ดินที่ ส.ป.ก. ได้มา ถ้าเป็นที่ดินของรัฐและมีเกษตรกรถือครองอยู่แล้วเกินจำนวนที่กำหนดในวรรคหนึ่งก่อนเวลาที่คณะกรรมการกำหนด เมื่อเกษตรกรดังกล่าวยื่นคำร้องและยินยอมชำระค่าเช่า หรือค่าชดเชยที่ดินในอัตราหรือจำนวนที่เพิ่มขึ้นตามที่คณะกรรมการกำหนด สำหรับที่ดินส่วนที่เกินตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการจัดที่ดินให้เกษตรกรเช่าหรือจัดให้ แล้วแต่กรณี ตามจำนวนที่เกษตรกรถือครองได้ แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินหนึ่งร้อยไร่ ในการกำหนดอัตราค่าเช่าหรือค่าชดเชยที่ดินดังกล่าว ต้องคำนึงถึงระยะเวลาและวิธีการที่เกษตรกรได้ที่ดินนั้นมา ความสามารถในการทำประโยชน์ ประเภทของเกษตรกรรม และการทำประโยชน์ที่ได้ทำไว้แล้วในที่ดินนั้น ในการจัดที่ดินให้เกษตรกรตามวรรคสาม ถ้าเกษตรกรได้เข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวก่อน พ.ศ. ๒๕๑๐ ให้เรียกเก็บเฉพาะค่าธรรมเนียมในการโอนและรังวัด และค่าปรับปรุงพัฒนาที่ดินที่ ส.ป.ก. ดำเนินการให้ตามจำนวนที่คณะกรรมการกำหนด เฉพาะส่วนที่ไม่เกินห้าสิบไร่ นอกจากการจัดที่ดินให้แก่บุคคลตาม (๑) (๒) และ (๓) ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุคคลใดเช่า เช่าซื้อ ซื้อ หรือเข้าทำประโยชน์ เพื่อใช้สำหรับกิจการอื่นที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาได้ ทั้งนี้ ตามขนาดการถือครองในที่ดินที่คณะกรรมการเห็นสมควร ซึ่งต้องไม่เกินห้าสิบไร่ ส่วนหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการอนุญาตหรือการให้ผู้ได้รับอนุญาตถือปฏิบัติให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี การจัดที่ดินให้เช่าหรือเช่าซื้อตามมาตรานี้ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เกี่ยวกับการควบคุมการเช่าหรือเช่าซื้อ และสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อดังกล่าวจะโอนแก่กันได้หรือตกทอดทางมรดกได้เฉพาะตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๑ ถ้าเกษตรกรผู้ใดต้องการมีสิทธิในที่ดินหรือขอเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเกินกว่าที่กำหนดไว้ตามมาตรา ๓๐ (๑) หรือ (๒) และแสดงได้ว่าตนมีความสามารถและมีปัจจัยที่จะทำที่ดินที่ขอเพิ่มนั้นให้เป็นประโยชน์ในทางเกษตรกรรมได้ ทั้งตนจะเป็นผู้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินนั้นด้วยตนเอง ให้ทำคำร้องยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งแสดงหลักฐานอ้างอิงประกอบคำร้อง เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนแล้ว ให้เสนอคำร้องพร้อมด้วยบันทึกรายงานผลการสอบสวนต่อคณะกรรมการ คณะกรรมการมีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้ผู้ยื่นคำร้องมีสิทธิในที่ดิน หรือได้เช่าที่ดินได้ตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินหนึ่งเท่าของจำนวนเนื้อที่ที่ดินที่กำหนดไว้ตามมาตรา ๓๐ (๑) หรือ (๒) ทั้งนี้ โดยกำหนดเงื่อนไขก็ได้ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข คณะกรรมการมีอำนาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตเสียได้และจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินหรือสั่งเลิกการเช่าที่ดินดังกล่าวได้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามแต่จะเห็นสมควร และนำที่ดินนั้นไปใช้เพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อไป มาตรา ๓๒[๑๒] ถ้า ส.ป.ก. ได้ที่ดินแปลงใดมาโดยการจัดซื้อหรือเวนคืนหรือได้มาตามมาตรา ๒๕ ทวิ เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้สิทธิของผู้เช่าที่ดินแปลงนั้นตามสัญญาเช่าหรือตามกฎหมายว่าด้วยการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นอันสิ้นสุดลง มาตรา ๓๓ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินใช้บังคับในท้องที่ใดแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้บรรดาเจ้าของที่ดินที่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินแจ้งจำนวนแปลงที่ดิน ขนาดของที่ดินแต่ละแปลง ที่ตั้งของที่ดิน และการทำประโยชน์ในที่ดินที่ตนเป็นเจ้าของทุกแปลงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเก้าสิบวัน ตามแบบและวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๓๔ ในการเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์เพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม สำหรับที่ดินที่เวนคืนตามวรรคหนึ่ง ให้ ส.ป.ก. หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจาก ส.ป.ก. มีอำนาจเข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวเพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ทันที มาตรา ๓๕[๑๓] การชำระราคาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่จัดซื้อตามพระราชบัญญัตินี้ ให้จ่ายเป็นเงินสด หรือเงินสดและพันธบัตรของรัฐบาล ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา การชำระค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้ ให้จ่ายเป็นเงินสดส่วนหนึ่ง และส่วนที่เหลือให้จ่ายเป็นพันธบัตรของรัฐบาล ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ให้กระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี มีอำนาจออกพันธบัตร เพื่อชำระราคาหรือค่าทดแทนตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง และมีอำนาจกำหนดอัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาไถ่ถอน เงื่อนไข และวิธีการในการออกพันธบัตร ทั้งนี้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา พันธบัตรตามวรรคสามเมื่อครบกำหนดชำระให้ชำระจากเงินของกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา ๓๖ ให้คณะกรรมการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงการได้มา สภาพความอุดมสมบูรณ์ และทำเลที่ตั้งของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับมูลค่าของผลิตผลเกษตรกรรมหลักที่สามารถผลิตได้จากที่ดินในท้องที่นั้น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม และแก่บรรดาเกษตรกรผู้ที่จะต้องรับภาระจ่ายค่าที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์แก่ ส.ป.ก. ต่อไปด้วย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งจำนวนเงินค่าทดแทนให้เจ้าของที่ดินหรือผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนทราบ ถ้าเจ้าของที่ดินหรือผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่เห็นชอบด้วยกับจำนวนเงินค่าทดแทนดังกล่าว มีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามมาตรา ๔๐ วรรคสาม[๑๔] (ยกเลิก) มาตรา ๓๖ ทวิ[๑๕] บรรดาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ที่ ส.ป.ก. ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ หรือได้มาโดยประการอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่ให้ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ และให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินมีอำนาจออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเกี่ยวกับที่ดินของ ส.ป.ก. ตามวรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ตามที่ ส.ป.ก. ร้องขอ มาตรา ๓๗ ห้ามมิให้ยกอายุความครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับ ส.ป.ก. ในเรื่องที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ ส.ป.ก. ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๓๘ ถ้า ส.ป.ก. เกี่ยวข้องในกิจการใดที่กฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนในอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ ส.ป.ก. ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนนั้น มาตรา ๓๙ ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง หมวด ๔ อุทธรณ์ มาตรา ๔๐ ถ้าเจ้าของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์หรือผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนผู้ใดประสงค์จะอุทธรณ์ ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๔๑ ให้มีคณะกรรมการอุทธรณ์คณะหนึ่ง ประกอบด้วยปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมายหนึ่งคน ผู้ทรงคุณวุฒิทางดินหนึ่งคน ผู้ทรงคุณวุฒิทางเศรษฐกิจการเกษตรหนึ่งคน ผู้ทรงคุณวุฒิทางพืชพรรณหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้ประธานกรรมการแต่งตั้งกรรมการหรือบุคคลใดเป็นเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการอุทธรณ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะเป็นกรรมการหรืออนุกรรมการในคณะกรรมการหรือคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมิได้ มาตรา ๔๒ ให้คณะกรรมการอุทธรณ์มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยคำอุทธรณ์ที่ยื่นต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ ให้คณะกรรมการอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ หากผู้อุทธรณ์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือน ในกรณีที่ยังมิได้มีการตั้งศาลปกครองตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มิให้นำข้อความดังกล่าวนี้มาใช้บังคับ มาตรา ๔๓ ให้คณะกรรมการอุทธรณ์มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะ เพื่อกระทำการที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการอุทธรณ์หรือให้ช่วยเหลือในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ เว้นแต่การวินิจฉัยอุทธรณ์ และให้นำมาตรา ๑๗ และมาตรา ๑๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๔๔ ให้กรรมการอุทธรณ์ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการอุทธรณ์ระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งซ่อมนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการอุทธรณ์ซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น มาตรา ๔๕ ให้นำมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ และมาตรา ๑๘ มาใช้แก่คณะกรรมการอุทธรณ์โดยอนุโลม มาตรา ๔๖ หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นอุทธรณ์และวิธีพิจารณาในการวินิจฉัยคำอุทธรณ์ ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง หมวด ๕ บทกำหนดโทษ มาตรา ๔๗ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๒๓ หรือมาตรา ๒๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๔๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีซึ่งออกตามมาตรา ๓๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพในการเกษตร ที่ดินจึงเป็นปัจจัยสำคัญและเป็นรากฐานเบื้องต้นของการผลิตทางเกษตรกรรม แต่ปัจจุบันปรากฏว่าเกษตรกรกำลังประสบความเดือดร้อนเนื่องจากต้องสูญเสียสิทธิในที่ดินและกลายเป็นผู้เช่าที่ดิน ต้องเสียค่าเช่าที่ดินในอัตราสูงเกินสมควร ที่ดินขาดการบำรุงรักษา จึงทำให้อัตราผลิตทางเกษตรกรรมอยู่ในระดับต่ำ เกษตรกรไม่ได้รับความเป็นธรรมและเสียเปรียบจากระบบการเช่าที่ดินและการจำหน่ายผลิตผลตลอดมา ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะความยุ่งยากทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม การปกครองและการเมืองของประเทศเป็นอย่างมาก จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยด่วนที่สุด โดยวิธีการปฏิรูปที่ดิน เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีที่ดินทำกิน และให้การใช้ที่ดินเกิดประโยชน์มากที่สุด พร้อมกับการจัดระบบการผลิตและจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรม เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่เกษตรกร ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนองแนวนโยบายแห่งรัฐในการลดความเหลื่อมล้ำในฐานะของบุคคลในทางเศรษฐกิจและสังคม ตามที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๙[๑๖] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ยังมีบทบัญญัติไม่รัดกุมและเหมาะสม ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการปฏิรูปที่ดินอยู่หลายประการ และมีบางประการได้แก่เรื่อง การออกพันธบัตร การชำระราคาหรือค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมเสียใหม่โดยรีบด่วน เพื่อให้การปฏิบัติตามกฎหมายเกิดความคล่องตัวและสนองนโยบายการปฏิรูปที่ดินของรัฐบาลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒[๑๗] มาตรา ๑๔ ที่ราชพัสดุที่กระทรวงการคลังได้มาเนื่องจากการจัดซื้อของ ส.ป.ก. หรือมีผู้ยกให้แก่ ส.ป.ก. เพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้กระทรวงการคลังดำเนินการโอนที่ราชพัสดุดังกล่าวให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ ส.ป.ก. เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ การโอนที่ราชพัสดุดังกล่าวมิให้นำความในมาตรา ๘ และมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับ และให้ดำเนินการโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน บรรดานิติกรรมใด ๆ ที่ได้กระทำเกี่ยวกับที่ดินตามวรรคหนึ่ง ให้คงมีผลใช้ได้ต่อไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ประเทศไทยได้จัดให้มีการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมาระยะหนึ่งแล้ว แต่การดำเนินการยังมีอุปสรรคทำให้การงานไม่อาจดำเนินไปโดยเหมาะสมตามควร สมควรขยายขอบเขตการจัดที่ดินในการปฏิรูปที่ดินให้กว้างขวางขึ้นให้สามารถช่วยเหลือผู้ที่ประสงค์จะเป็นเกษตรกรได้และอาจจัดที่ดินให้แก่ผู้ประกอบกิจการสนับสนุนและต่อเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินได้ด้วย เพื่อให้งานดำเนินไปครบวงจรของภาคเกษตรกรรม นอกจากนั้น ในการจัดหาที่ดินมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินได้มีปัญหาว่าจะจัดซื้อที่ดินจากผู้ที่สมัครใจขายได้หมดทั้งแปลงหรือไม่ และการนำที่ดินของรัฐมาใช้จัดที่ดินมีปัญหาว่า ยังไม่มีแนวทางที่แน่ชัดระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบ เกิดปัญหาว่า ส.ป.ก. สมควรจะนำที่ดินส่วนใดมาใช้จัดได้เมื่อใดและเพียงใด ทั้งยังมีข้อจำกัดที่ ส.ป.ก. จะเข้าดำเนินการในที่ดินที่มีผู้ประสงค์บริจาค เพราะที่ดินนั้นต้องกลายเป็นที่ราชพัสดุและที่ดินอาจมีขนาดไม่กว้างมาก ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะกำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดินเล็ก ๆ โดยพระราชกฤษฎีกาหลายฉบับ ส่วนในขั้นนำที่ดินมาจัดให้แก่ประชาชนนั้น กฎหมายปัจจุบันได้แยกข้อแตกต่างระหว่างที่ดินที่เป็นของรัฐมาแต่เดิมกับที่ดินที่ได้มาโดยการจัดซื้อหรือเวนคืน ทำให้ไม่อาจจัดสิทธิในที่ดินให้แก่ประชาชนให้สอดคล้องกัน สมควรแก้ไขโดยคำนึงถึงเป้าหมายและความต้องการของผู้ขอรับการจัดที่ดินเป็นสำคัญ เพื่อให้สิทธิในที่ดินมีส่วนเกื้อหนุนสภาพความเป็นอยู่ในภาคเกษตรกรรมตามความเป็นจริง อนึ่ง องค์ประกอบของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด และแนวทางในการกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินยังไม่เหมาะสม สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายปัจจุบันเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ *พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕[๑๘] มาตรา ๒๒ ในพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ (๑) ให้แก้ไขคำว่า “อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ” และคำว่า “ประชาสงเคราะห์จังหวัด” เป็น “ผู้แทนกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ” (๒) ให้เพิ่ม “อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง” เป็นกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และเพิ่ม “ผู้แทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง” เป็นกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด เพื่อให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดิน ในส่วนที่เกี่ยวกับการวางแผนการใช้ที่ดินชายทะเล มาเป็นของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่ ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม นั้นแล้ว และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่ โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่ และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่ รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ภีรภัทร/ตรวจ สิงหาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒/ตอนที่ ๕๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐/๕ มีนาคม ๒๕๑๘ [๒] มาตรา ๔ นิยามคำว่า “เกษตรกร” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๓] มาตรา ๔ นิยามคำว่า “คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด” ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๔] มาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๙ [๕] มาตรา ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๖] มาตรา ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๗] มาตรา ๒๕ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๘] มาตรา ๒๕ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๙] มาตรา ๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๑๐] มาตรา ๒๙ วรรคสาม เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๑๑] มาตรา ๓๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๑๒] มาตรา ๓๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๑๓] มาตรา ๓๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๙ [๑๔] มาตรา ๓๖ วรรคสาม ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๑๕] มาตรา ๓๖ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๓/ตอนที่ ๑๔๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๙ [๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๔๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒/๘ กันยายน ๒๕๓๒ [๑๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๖๖/๘ ตุลาคม ๒๕๔๕
650427
พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 (Update ณ วันที่ 08/09/2532)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นปีที่ ๓๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ บรรดาบทกฎหมาย กฎและข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” หมายความว่า การปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิและ การถือครองในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมรวมตลอดถึงการจัดที่อยู่อาศัยในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้น โดยรัฐนำที่ดินของรัฐหรือที่ดินที่รัฐจัดซื้อหรือเวนคืนจากเจ้าของที่ดินซึ่งมิได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นด้วยตนเอง หรือมีที่ดินเกินสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อจัดให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินของตนเองหรือเกษตรกรที่มีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพและสถาบันเกษตรกรได้เช่าซื้อ เช่าหรือเข้าทำประโยชน์โดยรัฐให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม การปรับปรุงทรัพยากรและปัจจัยการผลิต ตลอดจนการผลิตและการจำหน่ายให้เกิดผลดียิ่งขึ้น “เขตปฏิรูปที่ดิน” หมายความว่า เขตที่ดินที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม “ที่ดินของรัฐ” หมายความว่า บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อนุมัติให้บุคคลเข้าอยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ “เจ้าของที่ดิน” หมายความว่า ผู้มีสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน “เกษตรกรรม” หมายความว่า การทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา “เกษตรกร”[๒] หมายความว่า ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และให้หมายความรวมถึงบุคคลผู้ยากจนหรือผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรม หรือผู้เป็นบุตรของเกษตรกร บรรดาซึ่งไม่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นของตนเองและประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาด้วย “สถาบันเกษตรกร” หมายความว่า กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ “การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” หมายความว่า การเช่าหรือการเช่าช่วงโดยได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าซึ่งที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่ว่าการเช่าหรือเช่าช่วงนั้นจะมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงการยินยอมให้ใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยได้รับค่าเช่าที่ดิน และการทำนิติกรรมอื่นใดเพื่อเป็นการอำพรางการเช่าดังกล่าว “ค่าเช่าที่ดิน” หมายความว่า ผลิตผลเกษตรกรรม เงินหรือทรัพย์สินอื่นใด ซึ่งเป็นค่าตอบแทนการเช่าที่ดิน และหมายความรวมถึงประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ที่ผู้ให้เช่าที่ดินหรือบุคคลอื่นได้รับเพื่อตอบแทนการให้เช่าที่ดินทั้งโดยทางตรงหรือทางอ้อม “เจ้าของที่ดินผู้ประกอบเกษตรกรรมด้วนตนเอง” หมายความว่า เจ้าของที่ดินผู้ซึ่งดำเนินการผลิตด้านเกษตรกรรม โดยเป็นผู้ลงทุนและได้ผลประโยชน์จากการผลิตนั้นโดยตรง และไม่เป็นผู้ให้เช่าที่ดินนั้น “บุคคลในครอบครัวเดียวกัน” หมายความว่า คู่สมรสและผู้สืบสันดานที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม “คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด”[๓] (ยกเลิก) “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕[๔] ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวง กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา ๖ ให้จัดตั้งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมขึ้นในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัตินี้เรียกโดยย่อว่า ส.ป.ก. มาตรา ๗ ให้ ส.ป.ก. เป็นทบวงการเมือง มีฐานะเทียบเท่ากรม โดยมีเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเป็นหัวหน้าสำนักงาน มาตรา ๘ ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๙ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า กองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ในกระทรวงการคลังประกอบด้วยเงินและทรัพย์สินตามมาตรา ๑๐ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รายได้ที่ ส.ป.ก. ได้รับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้นำส่งเข้าบัญชีกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน การใช้จ่ายเงินของกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้กระทำได้เฉพาะการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง ให้กระทรวงการคลังเก็บรักษาเงินของกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและเบิกจ่ายเงินจากกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเพื่อใช้จ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐ กองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประกอบด้วย (๑) เงินที่ได้รับจากงบประมาณแผ่นดิน (๒) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่ได้รับจากรัฐบาลหรือจากแหล่งต่าง ๆ ภายในประเทศ หรือต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศหรือบุคคลอื่น (๓) เงินที่ได้รับจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (๔) เงิน ดอกผลหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ ส.ป.ก. ได้รับเกี่ยวกับการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา ๑๑ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินตามมาตรา ๒๕ ใช้บังคับในท้องที่จังหวัดใดแล้ว ให้จัดตั้งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดขึ้นสังกัดสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามที่คณะกรรมการและคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดกำหนด ในกรณีที่ได้กำหนดเขตปฏิรูปที่ดินเขตหนึ่งเขตใดคลุมที่ดินในเขตของสองจังหวัดขึ้นไป คณะกรรมการจะมอบหมายให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดใดมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตลอดเขตปฏิรูปที่ดินนั้นก็ได้ ไม่ว่าจะมีสำนักงานการปฏิรูปที่ดินในจังหวัดที่เกี่ยวข้องนั้นหรือไม่ ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามมาตรา ๖ ทำหน้าที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินกรุงเทพมหานครด้วย หมวด ๒ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด มาตรา ๑๒[๕] ให้มีคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดีกรมป่าไม้ อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อธิบดีกรมธนารักษ์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแห่งประเทศไทย และประธานชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยเป็นกรรมการ และกรรมการอื่นอีกไม่เกินเก้าคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้แทนเกษตรกรหกคนและผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกินสามคน ให้เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นกรรมการและเลขานุการ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินตามมาตรา ๒๕ ใช้บังคับในท้องที่กรุงเทพมหานครแล้ว ให้คณะกรรมการทำหน้าที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสำหรับกรุงเทพมหานครด้วย มาตรา ๑๓[๖] ภายใต้บังคับมาตรา ๑๒ วรรคสอง เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินตามมาตรา ๒๕ ใช้บังคับในเขตอำเภอหนึ่งอำเภอใดในจังหวัดใดแล้ว ให้มีคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดขึ้นคณะหนึ่งในจังหวัดนั้น เรียกว่า “คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด” ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ เกษตรจังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด ป่าไม้จังหวัด ประมงจังหวัด ผู้แทนกรมชลประทาน ผู้แทนกรมพัฒนาที่ดิน สหกรณ์จังหวัด พาณิชย์จังหวัด เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด นายอำเภอ และปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอในท้องที่ที่มีการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พัฒนาการจังหวัด ประชาสงเคราะห์จังหวัด ราชพัสดุจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด ผู้แทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และผู้แทนเกษตรกรในจังหวัดนั้นอีกสี่คนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง เป็นกรรมการ และปฏิรูปที่ดินจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ มาตรา ๑๔ ให้กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งซ่อมนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ มาตรา ๑๕ กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับ ส.ป.ก. หรือในกิจการที่กระทำให้แก่ ส.ป.ก. ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม มาตรา ๑๖ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่มีอำนาจแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี ให้ออก (๔) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๕ มาตรา ๑๗ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม มาตรา ๑๘ การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย มาตรการ ข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานการปฏิรูปที่ดินของ ส.ป.ก. ตลอดจนการควบคุมการบริหารงานของ ส.ป.ก. รวมทั้งอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้ (๑) จัดหาที่ดินของรัฐเพื่อนำมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (๒) พิจารณากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินตามมาตรา ๒๕ การจัดซื้อหรือเวนคืนที่ดินตามมาตรา ๒๙ และการกำหนดเนื้อที่ที่ดินที่จะให้เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรเช่าระยะยาว หรือเช่าซื่อตามมาตรา ๓๐ (๓) พิจารณาการกำหนดแผนผังและการจัดแบ่งแปลงที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (๔) พิจารณาอนุมัติแผนงานและโครงการการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตลอดจนงบค่าใช้จ่ายของ ส.ป.ก. เสนอรัฐมนตรี (๕) พิจารณากำหนดแผนการผลิตและการจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมในเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อยกระดับรายได้ และคุ้มครองผลประโยชน์ของเกษตรกร หรือสถาบันเกษตรกร (๖) พิจารณากำหนดแผนการส่งเสริม และบำรุงเกษตรกรรมในเขตปฏิรูปที่ดิน รวมถึงการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตและคุณภาพผลิตผลเกษตรกรรม ตลอดจนสวัสดิการ การสาธารณูปโภค การศึกษาและการสาธารณสุขของเกษตรกร (๗) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตลอดจนแบบสัญญาเช่าและเช่าซื้อที่จะทำกับเกษตรกร หรือสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน (๘) กำหนดระเบียบการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินและปฏิบัติตามแผนการผลิตและการจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรม (๙) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินกู้ยืมจาก ส.ป.ก. ตลอดจนเงื่อนไขของการกู้ยืมโดยอนุมัติรัฐมนตรี (๑๐) กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตลอดจนการควบคุมดูแลกิจการอื่น ๆ ภายในเขตปฏิรูปที่ดิน (๑๑) ติดตามการปฏิบัติงานของ ส.ป.ก. ให้เป็นไปตามแผนงานและโครงการที่ได้รับอนุมัติ ตลอดจนกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน (๑๒) กำหนดกิจการและระเบียบการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของ ส.ป.ก. หรือสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับวัตถุประสงค์ของการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดมาตรการและวิธีปฏิบัติงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด และให้มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงาน โครงการและค่าใช้จ่ายของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด เพื่อเสนอคณะกรรมการ (๒) ติดตามการปฏิบัติงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด ให้เป็นไปตามแผนงานและโครงการที่ได้รับอนุมัติ ตลอดจนดำเนินการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน (๓) พิจารณาผลการปฏิบัติงาน เพื่อปรับปรุงแผนงาน โครงการ งบค่าใช้จ่ายและวิธีปฏิบัติงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด (๔) จัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายตามโครงการการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแต่ละโครงการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ (๕) ดำเนินการเกี่ยวกับเงินและกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามระเบียบหรือข้อบังคับหรือมติของคณะกรรมการหรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (๖) วางระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบหรือข้อบังคับหรือมติของคณะกรรมการ มาตรา ๒๑ ให้คณะกรรมการหรือคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการคณะหนึ่งหรือหลายคณะเพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆ หรือปฏิบัติงานอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมอบหมาย การประชุมของอนุกรรมการ ให้นำความในมาตรา ๑๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๒๒ ภายในกำหนด ๙๐ วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณทุกปี ให้รัฐมนตรีประกาศรายงานรับจ่ายเงินของ ส.ป.ก. ในราชกิจจานุเบกษา รายงานการรับจ่ายเงินตามวรรคหนึ่ง เมื่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว ให้ทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอรัฐสภาทราบ มาตรา ๒๓ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบการประกอบเกษตรกรรม หรือการทำประโยชน์หรือกิจการอื่น ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก และให้แสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินหรือผู้ที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร บัตรประจำตัวให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๔ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ อนุกรรมการ เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รองเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๓ การดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา ๒๕ การกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ใดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ในพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้มีแผนที่แสดงเขตและระบุท้องที่ที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินแนบท้ายพระราชกฤษฎีกานั้นด้วย แผนที่ดังกล่าวให้ถือเป็นส่วนหนึ่งแห่งพระราชกฤษฎีกา การกำหนดเขตที่ดินให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดเฉพาะที่ดินที่จะดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็นจะถือเขตของตำบลหรืออำเภอเป็นหลักก็ได้ โดยให้ดำเนินการกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินในเขตท้องที่อำเภอที่มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก ตลอดจนที่มีผลผลิตต่อไร่ต่ำเป็นเกณฑ์ในการจัดอันดับความสำคัญในการกำหนดเขตก่อนหลัง ในกรณีที่ถือเขตของตำบลหรืออำเภอเป็นเขตปฏิรูปที่ดินนั้น ให้หมายถึงเฉพาะที่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล[๗] ให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโดยมิชักช้า และให้ดำเนินการสำรวจที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และวางโครงการเพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในท้องที่ทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร ให้เสร็จภายในสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๒๕ ทวิ[๘] ถ้าที่ดินที่ ส.ป.ก. ได้มาเป็นแปลงเล็กแปลงน้อยและมิได้อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดที่ดินนั้นให้กับเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรได้ ตามมาตรา ๓๐ เสมือนว่าเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน โดยไม่ต้องดำเนินการกำหนดเขตที่ดินในท้องที่นั้นให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ตามมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖[๙] เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินใช้บังคับในท้องที่ใดแล้ว (๑) ถ้าในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นมีที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน แต่พลเมืองเลิกใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น หรือได้เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันก็ดี หรือพลเมืองยังใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นอยู่ หรือยังไม่เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เมื่อได้จัดที่ดินแปลงอื่นให้พลเมืองใช้ร่วมกันแทน โดยคณะกรรมการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ดี ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินนั้นมีผลเป็นการถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับที่ดินดังกล่าว โดยมิต้องดำเนินการถอนสภาพตามประมวลกฎหมายที่ดิน และให้ ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ (๒) ถ้าในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นมีที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ หรือที่ดินที่ได้สงวนหรือหวงห้ามไว้ตามความต้องการของทางราชการ เมื่อกระทรวงการคลังได้ให้ความยินยอมแล้ว ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินนั้นมีผลเป็นการถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับที่ดินดังกล่าว โดยมิต้องดำเนินการถอนสภาพตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุ และให้ ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ (๓) ถ้าในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นมีที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้ง หรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน และที่ดินนั้นอยู่นอกเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ (๔) ถ้าเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติส่วนใดแล้ว เมื่อ ส.ป.ก. จะนำที่ดินแปลงใดในส่วนนั้นไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินมีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินแปลงนั้น และให้ ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้โดยไม่ต้องดำเนินการเพิกถอนตามกฎหมายป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตาม (๔) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ และมีอำนาจในการให้เช่าที่ดินอันเป็นป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวได้ และให้ค่าเช่าที่ได้มาตกเป็นของกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา ๒๗ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินใช้บังคับในท้องที่ใดแล้ว ภายในเขตปฏิรูปที่ดิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้ (๑) เข้าไปทำงานอันจำเป็นเพื่อการสำรวจรังวัดได้ แต่ต้องแจ้งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินทรายเสียก่อน (๒) ทำเครื่องหมายขอบเขตหรือแนวเขตโดยปักหลักหรือขุดร่องแนว ในกรณีที่ต้องสร้างหมุดหลักฐานการแผนที่ในที่ดินของผู้ใด ก็ให้มีอำนาจสร้างหมุดหลักฐานลงได้ตามความจำเป็น เมื่อมีความจำเป็นและโดยสมควร พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจขุดดิน ตัดรานกิ่งไม้และกระทำการอย่างอื่นแก่สิ่งที่กีดขวางการสำรวจรังวัดได้เท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงการที่จะให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหายน้อยที่สุด ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินและผู้ที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร มาตรา ๒๘ ภายในระยะเวลาสามปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินตามมาตรา ๒๕ ใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายด้วยประการใด ๆ หรือก่อให้เกิดภาระติดพันใด ๆ ซึ่งที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมาย ในกรณีที่ ส.ป.ก. จัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินนั้น ถ้ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนความในวรรคหนึ่ง และเป็นทรัพย์สินหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือกีดขวางการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้คณะกรรมการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินทำการรื้อถอนเสียได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินไม่ปฏิบัติตาม ให้คณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมาย มีอำนาจดำเนินการรื้อถอนโดยเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวจะเรียกร้องค่าเสียหายมิได้ และต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนนั้นด้วย มาตรา ๒๙ ในเขตปฏิรูปที่ดิน เมื่อคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่า ที่ดินบริเวณใดสมควรดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินได้ ดังต่อไปนี้ (๑) ที่ดินแปลงเดียวหรือหลายแปลงมีเนื้อที่รวมกันเกินกว่าห้าสิบไร่ ซึ่งบุคคลในครอบครัวเดียวกันไม่ว่าคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นเจ้าของที่ดินผู้ประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเอง ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินส่วนที่เกินกว่าห้าสิบไร่ (๒) ถ้าที่ดินดังกล่าวใน (๑) มีเนื้อที่รวมกันเกินกว่าหนึ่งร้อยไร่ และเจ้าของที่ดินผู้ประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองใช้เพื่อการเลี้ยงสัตว์จำพวกสัตว์ใหญ่ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดชนิด จำนวน และเงื่อนไขในราชกิจจานุเบกษา ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินส่วนที่เกินกว่าหนึ่งร้อยไร่ ถ้าเจ้าของที่ดินรายใดมีความประสงค์จะประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองในที่ดินเกินกว่าตามที่กล่าวไว้ใน (๑) หรือ (๒) และแสดงได้ว่าตนได้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินด้วยตนเองเกินกว่าที่กล่าวไว้ใน (๑) หรือ(๒) อยู่แล้วไม่ต่ำกว่าหนึ่งปีก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และแสดงได้ว่าตนมีความสามารถและมีปัจจัยที่จะทำที่ดินนั้นให้เป็นประโยชน์ทางเกษตรกรรมได้ ทั้งตนจะเป็นผู้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินนั้นด้วยตนเอง ให้ยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งแสดงหลักฐานอ้างอิงประกอบคำร้อง เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้สอบสวนแล้ว ให้รายงานต่อคณะกรรมการ ถ้าคณะกรรมการเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้กำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตเสนอรัฐมนตรีพิจารณา หากรัฐมนตรีเห็นชอบก็ให้อนุญาตให้ผู้ร้องขอนั้นมีสิทธิในที่ดินนั้นต่อไป แต่ต้องไม่เกินหนึ่งพันไร่ ในกรณีที่ผู้ร้องขอได้รับสิทธิในที่ดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินที่ได้รับเพิ่มขึ้นนั้นเพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อไป ในกรณีที่เจ้าของที่ดินรายใดได้แสดงว่าตนได้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินด้วยตนเองเกินกว่าหนึ่งพันไร่อยู่แล้วไม่ต่ำกว่าหนึ่งปีก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และมีความประสงค์จะประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองในที่ดินนั้นต่อไป ให้คณะกรรมการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ ก. ได้ลงทุนในกิจกรรมการเกษตรในที่ดินนั้นไปแล้วเป็นจำนวนมากและการลงทุนนั้นได้กระทำไปด้วยการส่งเสริมของรัฐ ข. เป็นการประกอบการเพื่อพัฒนาวิทยาการเกษตรแผนใหม่ หรือที่ยังมีความต้องการอยู่มากภายในประเทศหรือเพื่อการส่งออก ค. ในการที่จะประกอบกิจการได้ต่อไปนั้นจะต้องมีลักษณะที่ช่วยพัฒนาการเกษตร และช่วยเหลือเกษตรกรในด้านปัจจัยการผลิต เพื่อส่งเสริมผลผลิตการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรได้อย่างกว้างขวางในเรื่องการสาธิต และเป็นตลาดรับซื้อผลิตผลเกษตรกรรมจากเกษตรกรโดยตรง ง. เมื่อพ้นสิบห้าปี หากสถาบันเกษตรกรมีความต้องการและสามารถที่จะเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการนั้น เจ้าของที่ดินต้องยินยอมให้สถาบันเกษตรกรถือหุ้นในกิจการนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของจำนวนหุ้นทั้งหมด ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามวิธีการและรายละเอียดที่คณะกรรมการกำหนด ถ้าคณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้กำหนดเงื่อนไขในการอนุญาต เสนอรัฐมนตรีพิจารณา หากรัฐมนตรีเห็นชอบก็ให้อนุญาตให้ผู้ร้องขอนั้นมีสิทธิในที่ดินนั้นต่อไป ในกรณีที่ผู้ร้องขอได้รับสิทธิในที่ดินดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อ หรือดำเนินการเวนคืนที่ดินที่ได้รับเพิ่มขึ้นนั้น เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อไป (๓) ที่ดินแปลงใดถ้าเจ้าของไม่ได้ใช้ที่ดินประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเอง หรือมิได้ใช้ประกอบเกษตรกรรมอย่างใดหรือประกอบเกษตรกรรมเล็กน้อย หรือประกอบเกษตรกรรมบางส่วนเพียงเป็นการแสดงสิทธิในที่ดิน ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินนั้นได้ในส่วนที่เกินกว่ายี่สิบไร่ ถ้าเจ้าของที่ดินตาม (๓) มีความประสงค์จะประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองและแสดงได้ว่าตนมีความสามารถและมีปัจจัยที่จะทำที่ดินนั้นให้เป็นประโยชน์ทางเกษตรกรรมได้ ทั้งตนจะเป็นผู้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินนั้นด้วยตนเอง ให้ยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งแสดงหลักฐานอ้างอิงประกอบคำร้อง เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้สอบสวนแล้ว ให้รายงานต่อคณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายเพื่อพิจารณาอนุญาตให้ผู้ร้องขอนั้นมีสิทธิในที่ดินต่อไป ตามขนาดใน (๑) หรือ (๒) แล้วแต่กรณี และให้คณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาต ในกรณีผู้ได้รับสิทธิในที่ดินดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินนั้นเพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อไป บทบัญญัติในมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับแก่ที่ดินบรรดาที่เป็นของทบวงการเมือง องค์การของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันเกษตรกร หรือที่ดินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ในการจัดซื้อที่ดินตามมาตรานี้ ถ้าเจ้าของที่ดินประสงค์จะขายที่ดินของตนให้ทั้งหมด ก็ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อได้[๑๐] มาตรา ๓๐[๑๑] บรรดาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ ส.ป.ก. ได้มา ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดให้เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้ ตามขนาดการถือครองในที่ดินดังกล่าวต่อไปนี้ (๑) จำนวนที่ดินไม่เกินห้าสิบไร่ สำหรับเกษตรกรและบุคคลในครอบครัวเดียวกัน ซึ่งประกอบเกษตรกรรมอย่างอื่นนอกจากเกษตรกรรมเลี้ยงสัตว์ใหญ่ตาม (๒) (๒) จำนวนที่ดินไม่เกินหนึ่งร้อยไร่ สำหรับเกษตรกรและบุคคลในครอบครัวเดียวกัน ซึ่งใช้ประกอบเกษตรกรรมเลี้ยงสัตว์ใหญ่ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนด (๓) จำนวนที่ดินที่คณะกรรมการเห็นสมควร สำหรับสถาบันเกษตรกร ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงประเภทและลักษณะการดำเนินงานของสถาบันเกษตรกรนั้น ๆ ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการจัดให้เกษตรกร และเป็นที่ดินที่คณะกรรมการกำหนดมิให้มีการโอนสิทธิในที่ดินก็ให้จัดให้เกษตรกรเช่า ในกรณีอื่นให้จัดให้เกษตรกรเช่าหรือเช่าซื้อตามที่เกษตรกรแสดงความจำนง ถ้าเป็นการจัดให้สถาบันเกษตรกรให้จัดให้สถาบันเกษตรกรเช่า บรรดาที่ดินที่ ส.ป.ก. ได้มา ถ้าเป็นที่ดินของรัฐและมีเกษตรกรถือครองอยู่แล้วเกินจำนวนที่กำหนดในวรรคหนึ่งก่อนเวลาที่คณะกรรมการกำหนด เมื่อเกษตรกรดังกล่าว ยื่นคำร้องและยินยอมชำระค่าเช่า หรือค่าชดเชยที่ดินในอัตราหรือจำนวนที่เพิ่มขึ้น ตามที่คณะกรรมการกำหนด สำหรับที่ดินส่วนที่เกินตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการจัดที่ดินให้เกษตรกรเช่าหรือจัดให้ แล้วแต่กรณี ตามจำนวนที่เกษตรกรถือครองได้ แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินหนึ่งร้อยไร่ ในการกำหนดอัตราค่าเช่าหรือค่าชดเชยที่ดินดังกล่าว ต้องคำนึงถึงระยะเวลาและวิธีการที่เกษตรกรได้ที่ดินนั้นมา ความสามารถในการทำประโยชน์ ประเภทของเกษตรกรรม และการทำประโยชน์ที่ได้ทำไว้แล้วในที่ดินนั้น ในการจัดที่ดินให้เกษตรกรตามวรรคสาม ถ้าเกษตรกรได้เข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวก่อน พ.ศ. ๒๕๑๐ ให้เรียกเก็บเฉพาะค่าธรรมเนียมในการโอนและรังวัด และค่าปรับปรุงพัฒนาที่ดินที่ ส.ป.ก. ดำเนินการให้ตามจำนวนที่คณะกรรมการกำหนด เฉพาะส่วนที่ไม่เกินห้าสิบไร่ นอกจากการจัดที่ดินให้แก่บุคคลตาม (๑) (๒) และ (๓) ให้ ส.ป.ก.มีอำนาจจัดที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุคคลใดเช่า เช่าซื้อ ซื้อ หรือเข้าทำประโยชน์ เพื่อใช้สำหรับกิจการอื่นที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาได้ ทั้งนี้ ตามขนาดการถือครองในที่ดินที่คณะกรรมการเห็นสมควร ซึ่งต้องไม่เกินห้าสิบไร่ ส่วนหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการอนุญาตหรือการให้ผู้ได้รับอนุญาตถือปฏิบัติให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี การจัดที่ดินให้เช่าหรือเช่าซื้อตามมาตรานี้ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เกี่ยวกับการควบคุมการเช่าหรือเช่าซื้อ และสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อดังกล่าวจะโอนแก่กันได้หรือตกทอดทางมรดกได้เฉพาะตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๑ ถ้าเกษตรกรผู้ใดต้องการมีสิทธิในที่ดินหรือขอเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเกินกว่าที่กำหนดไว้ตามมาตรา ๓๐ (๑) หรือ (๒) และแสดงได้ว่าตนมีความสามารถและมีปัจจัยที่จะทำที่ดินที่ขอเพิ่มนั้นให้เป็นประโยชน์ในทางเกษตรกรรมได้ ทั้งตนจะเป็นผู้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินนั้นด้วยตนเอง ให้ทำคำร้องยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งแสดงหลักฐานอ้างอิงประกอบคำร้อง เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนแล้ว ให้เสนอคำร้องพร้อมด้วยบันทึกรายงานผลการสอบสวนต่อคณะกรรมการ คณะกรรมการมีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้ผู้ยื่นคำร้องมีสิทธิในที่ดิน หรือได้เช่าที่ดินได้ตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินหนึ่งเท่าของจำนวนเนื้อที่ที่ดินที่กำหนดไว้ตามมาตรา ๓๐ (๑) หรือ (๒) ทั้งนี้ โดยกำหนดเงื่อนไขก็ได้ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข คณะกรรมการมีอำนาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตเสียได้และจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินหรือสั่งเลิกการเช่าที่ดินดังกล่าวได้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามแต่จะเห็นสมควร และนำที่ดินนั้นไปใช้เพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อไป มาตรา ๓๒[๑๒] ถ้า ส.ป.ก. ได้ที่ดินแปลงใดมาโดยการจัดซื้อหรือเวนคืนหรือได้มาตามมาตรา ๒๕ ทวิ เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้สิทธิของผู้เช่าที่ดินแปลงนั้นตามสัญญาเช่าหรือตามกฎหมายว่าด้วยการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นอันสิ้นสุดลง มาตรา ๓๓ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินใช้บังคับในท้องที่ใดแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้บรรดาเจ้าของที่ดินที่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินแจ้งจำนวนแปลงที่ดิน ขนาดที่ดินแต่ละแปลง ที่ตั้งของที่ดิน และการทำประโยชน์ในที่ดินที่ตนเป็นเจ้าของทุกแปลงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเก้าสิบวัน ตามแบบและวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๓๔ ในการเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์เพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม สำหรับที่ดินที่เวนคืนตามวรรคหนึ่ง ให้ ส.ป.ก. หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจาก ส.ป.ก. มีอำนาจเข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวเพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ทันที มาตรา ๓๕[๑๓] การชำระราคาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่จัดซื้อตามพระราชบัญญัตินี้ ให้จ่ายเป็นเงินสด หรือเงินสดและพันธบัตรของรัฐบาล ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา การชำระค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้ ให้จ่ายเป็นเงินสดส่วนหนึ่ง และส่วนที่เหลือให้จ่ายเป็นพันธบัตรของรัฐบาล ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ให้กระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี มีอำนาจออกพันธบัตร เพื่อชำระราคาหรือค่าทดแทนตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง และมีอำนาจกำหนดอัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาไถ่ถอน เงื่อนไข และวิธีการในการออกพันธบัตร ทั้งนี้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา พันธบัตรตามวรรคสามเมื่อครบกำหนดชำระให้ชำระจากเงินของกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา ๓๖ ให้คณะกรรมการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงการได้มา สภาพความอุดมสมบูรณ์ และทำเลที่ตั้งของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับมูลค่าของผลิตผลเกษตรกรรมหลักที่สามารถผลิตได้จากที่ดินในท้องที่นั้น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม และแก่บรรดาเกษตรกรผู้ที่จะต้องรับภาระจ่ายค่าที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์แก่ ส.ป.ก. ต่อไปด้วย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งจำนวนเงินค่าทดแทนให้เจ้าของที่ดินหรือผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนทราบ ถ้าเจ้าของที่ดินหรือผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่เห็นชอบด้วยกับจำนวนเงินค่าทดแทนดังกล่าว มีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามมาตรา ๔๐ วรรคสาม[๑๔] (ยกเลิก) มาตรา ๓๖ ทวิ[๑๕] บรรดาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ที่ ส.ป.ก. ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ หรือได้มาโดยประการอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่ให้ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ และให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินมีอำนาจออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเกี่ยวกับที่ดินของ ส.ป.ก. ตามวรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ตามที่ ส.ป.ก. ร้องขอ มาตรา ๓๗ ห้ามมิให้ยกเลิกอายุความครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู่กับ ส.ป.ก. ในเรื่องที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ ส.ป.ก. ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๓๘ ถ้า ส.ป.ก. เกี่ยวข้องในกิจการใดที่กฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนในอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้ ส.ป.ก. ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนนั้น มาตรา ๓๙ ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในกฎกระทรวง หมวด ๔ อุทธรณ์ มาตรา ๔๐ ถ้าเจ้าของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์หรือผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน ผู้ใดประสงค์จะอุทธรณ์ ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๔๑ ให้มีคณะกรรมการอุทธรณ์คณะหนึ่ง ประกอบด้วยปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมายหนึ่งคน ผู้ทรงคุณวุฒิทางดินหนึ่งคน ผู้ทรงคุณวุฒิทางเศรษฐกิจการเกษตรหนึ่งคน ผู้ทรงคุณวุฒิทางพืชพรรณหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้ประธานกรรมการแต่งตั้งกรรมการหรือบุคคลใดเป็นเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการอุทธรณ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะเป็นกรรมการหรืออนุกรรมการในคณะกรรมการหรือคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมิได้ มาตรา ๔๒ ให้คณะกรรมการอุทธรณ์มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยคำอุทธรณ์ที่ยื่นต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ ให้คณะกรรมการอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ หากผู้อุทธรณ์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือน ในกรณีที่ยังมิได้มีการตั้งศาลปกครองตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มิให้นำข้อความดังกล่าวนี้มาใช้บังคับ มาตรา ๔๓ ให้คณะกรรมการอุทธรณ์มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะ เพื่อกระทำการที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการอุทธรณ์ หรือให้ช่วยเหลือในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ เว้นแต่การวินิจฉัยอุทธรณ์ และให้นำมาตรา ๑๗ และมาตรา ๑๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๔๔ ให้กรรมการอุทธรณ์ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการอุทธรณ์ระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งซ่อมนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการอุทธรณ์ซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น มาตรา ๔๕ ให้นำมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ และมาตรา ๑๘ มาใช้แก่คณะกรรมการอุทธรณ์โดยอนุโลม มาตรา ๔๖ หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นอุทธรณ์และวิธีพิจารณาในการวินิจฉัยคำอุทธรณ์ ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง หมวด ๕ บทกำหนดโทษ มาตรา ๔๗ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๒๓ หรือมาตรา ๒๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๔๘ ผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรี ซึ่งออกตามมาตรา ๓๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพในการเกษตรที่ดินจึงเป็นปัจจัยสำคัญและเป็นรากฐานเบื้องต้นของการผลิตทางเกษตรกรรม แต่ปัจจุบันปรากฏว่าเกษตรกรกำลังประสบความเดือดร้อนเนื่องจากต้องสูญเสียสิทธิในที่ดินและกลายเป็นผู้เช่าที่ดิน ต้องเสียค่าเช่าที่ดินในอัตราสูงเกินสมควร ที่ดินขาดการบำรุงรักษา จึงทำให้อัตราผลิตผลเกษตรกรรมอยู่ในระดับต่ำ เกษตรกรไม่ได้รับความเป็นธรรมและเสียเปรียบจากระบบการเช่าที่ดินและการจำหน่ายผลิตผลตลอดมา ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะความยุ่งยากทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม การปกครองและการเมืองของประเทศเป็นอย่างมาก จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยด่วนที่สุด โดยวิธีการปฏิรูปที่ดิน เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีที่ดินทำกิน และให้การใช้ที่ดินเกิดประโยชน์มากที่สุด พร้อมกับการจัดระบบการผลิตและจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรม เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่เกษตรกร ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนองแนวนโยบายแห่งรัฐในการลดความเหลื่อมล้ำในฐานะของบุคคลในทางเศรษฐกิจและสังคม ตามที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๙[๑๖] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ยังมีบทบัญญัติไม่รัดกุมและเหมาะสม ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการปฏิรูปที่ดินอยู่หลายประการ และมีบางประการได้แก่เรื่อง การออกพันธบัตร การชำระราคาหรือค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์สมควรแก้ไขเพิ่มเติมเสียใหม่โดยรีบด่วน เพื่อให้การปฏิบัติตามกฎหมายเกิดความคล่องตัวและสนองนโยบายการปฏิรูปที่ดินของรัฐบาลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒[๑๗] มาตรา ๑๔ ที่ราชพัสดุที่กระทรวงการคลังได้มาเนื่องจากการจัดซื้อของ ส.ป.ก. หรือมีผู้ยกให้แก่ ส.ป.ก. เพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้กระทรวงการคลังดำเนินการโอนที่ราชพัสดุดังกล่าวให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ ส.ป.ก. เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ การโอนที่ราชพัสดุดังกล่าวมิให้นำความในมาตรา ๘ และมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับ และให้ดำเนินการโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน บรรดานิติกรรมใด ๆ ที่ได้กระทำเกี่ยวกับที่ดินตามวรรคหนึ่ง ให้คงมีผลใช้ได้ต่อไป มาตรา ๑๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ประเทศไทยได้จัดให้มีการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมาระยะหนึ่งแล้ว แต่การดำเนินการยังมีอุปสรรคทำให้การงานไม่อาจดำเนินไปโดยเหมาะสมตามควร สมควรขยายขอบเขตการจัดที่ดินในการปฏิรูปที่ดินให้กว้างขวางขึ้นให้สามารถช่วยเหลือผู้ที่ประสงค์จะเป็นเกษตรกรได้ และอาจจัดที่ดินให้แก่ผู้ประกอบกิจการสนับสนุนและต่อเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินได้ด้วย เพื่อให้งานดำเนินไปครบวงจรของภาคเกษตรกรรม นอกจากนั้น ในการจัดหาที่ดินมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินได้มีปัญหาว่าจะจัดซื้อที่ดินจากผู้ที่สมัครใจขายได้หมดทั้งแปลงหรือไม่ และการนำที่ดินของรัฐมาใช้จัดที่ดินมีปัญหาว่า ยังไม่มีแนวทางที่แน่ชัดระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบ เกิดปัญหาว่า ส.ป.ก. สมควรจะนำที่ดินส่วนใดมาใช้จัดได้เมื่อใดและเพียงใด ทั้งยังมีข้อจำกัดที่ ส.ป.ก. จะเข้าดำเนินการในที่ดินที่มีผู้ประสงค์บริจาค เพราะที่ดินนั้นต้องกลายเป็นที่ราชพัสดุและที่ดินอาจมีขนาดไม่กว้างมาก ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะกำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดินเล็ก ๆ โดยพระราชกฤษฎีกาหลายฉบับ ส่วนในขั้นนำที่ดินมาจัดให้แก่ประชาชนนั้น กฎหมายปัจจุบันได้แยกข้อแตกต่างระหว่างที่ดินที่เป็นของรัฐมาแต่เดิมกับที่ดินที่ได้มาโดยการจัดซื้อหรือเวนคืน ทำให้ไม่อาจจัดสิทธิในที่ดินให้แก่ประชาชนให้สอดคล้องกัน สมควรแก้ไขโดยคำนึงถึงเป้าหมายและความต้องการของผู้ขอรับการจัดที่ดินเป็นสำคัญ เพื่อให้สิทธิในที่ดินมีส่วนเกื้อหนุนสภาพความเป็นอยู่ในภาคเกษตรกรรมตามความเป็นจริง อนึ่ง องค์ประกอบของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด และแนวทางในการกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินยังไม่เหมาะสม สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายปัจจุบันเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พรพิมล/แก้ไข ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๔๔ ๒ ตุลาคม ๒๕๔๔ ดวงใจ/แก้ไข ๒๔ มกราคม ๒๕๔๕ สุนันทา/อรดา/จักรกฤษณ์/จัดทำ ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๖ ปณตภร/แก้ไข ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒/ตอนที่ ๕๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐/๕ มีนาคม ๒๕๑๘ [๒] มาตรา ๔ นิยามคำว่า “เกษตรกร” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๓] มาตรา ๔ นิยามคำว่า “คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด” ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๔] มาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๙ [๕] มาตรา ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๖] มาตรา ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๗] มาตรา ๒๕ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๘] มาตรา ๒๕ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๙] มาตรา ๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๑๐] มาตรา ๒๙ วรรคสาม เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๑๑] มาตรา ๓๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๑๒] มาตรา ๓๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๑๓] มาตรา ๓๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๙ [๑๔] มาตรา ๓๖ วรรคสาม ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๑๕] มาตรา ๓๖ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๓/ตอนที่ ๑๔๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๙ [๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๔๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒/๘ กันยายน ๒๕๓๒
301606
พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2532
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นปีที่ ๔๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “เกษตรกร” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““เกษตรกร” หมายความว่า ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และให้หมายความรวมถึงบุคคลผู้ยากจน หรือผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรม หรือผู้เป็นบุตรของเกษตรกร บรรดาซึ่งไม่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นของตนเองและประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาด้วย” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า “คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๒ ให้มีคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดีกรมป่าไม้ อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อธิบดีกรมธนารักษ์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแห่งประเทศไทย และประธานชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยเป็นกรรมการ และกรรมการอื่นอีกไม่เกินเก้าคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้แทนเกษตรกรหกคนและผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกินสามคน ให้เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นกรรมการและเลขานุการ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินตามมาตรา ๒๕ ใช้บังคับในท้องที่กรุงเทพมหานครแล้ว ให้คณะกรรมการทำหน้าที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสำหรับกรุงเทพมหานครด้วย มาตรา ๑๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๒ วรรคสอง เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินตามมาตรา ๒๕ ใช้บังคับในเขตอำเภอหนึ่งอำเภอใดในจังหวัดใดแล้ว ให้มีคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดขึ้นคณะหนึ่งในจังหวัดนั้น เรียกว่า “คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด” ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ เกษตรจังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด ป่าไม้จังหวัด ประมงจังหวัด ผู้แทนกรมชลประทาน ผู้แทนกรมพัฒนาที่ดิน สหกรณ์จังหวัด พาณิชย์จังหวัด เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด นายอำเภอ และปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอในท้องที่ที่มีการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พัฒนาการจังหวัดประชาสงเคราะห์จังหวัด ราชพัสดุจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด ผู้แทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และผู้แทนเกษตรกรในจังหวัดนั้นอีกสี่คนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง เป็นกรรมการ และปฏิรูปที่ดินจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ” มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การกำหนดเขตที่ดินให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดเฉพาะที่ดินที่จะดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็นจะถือเขตของตำบลหรืออำเภอเป็นหลักก็ได้ โดยให้ดำเนินการกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินในเขตท้องที่อำเภอที่มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก ตลอดจนที่มีผลผลิตต่อไร่ต่ำ เป็นเกณฑ์ในการจัดอันดับความสำคัญในการกำหนดเขตก่อนหลัง ในกรณีที่ถือเขตของตำบลหรืออำเภอเป็นเขตปฏิรูปที่ดินนั้น ให้หมายถึงเฉพาะที่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล” มาตรา ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๕ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ “มาตรา ๒๕ ทวิ ถ้าที่ดินที่ ส.ป.ก. ได้มาเป็นแปลงเล็กแปลงน้อยและมิได้อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดที่ดินนั้นให้กับเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรได้ ตามมาตรา ๓๐ เสมือนว่าเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน โดยไม่ต้องดำเนินการกำหนดเขตที่ดินในท้องที่นั้นให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินตามมาตรา ๒๕” มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๖ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินใช้บังคับในท้องที่ใดแล้ว (๑) ถ้าในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นมีที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน แต่พลเมืองเลิกใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น หรือได้เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันก็ดี หรือพลเมืองยังใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นอยู่ หรือยังไม่เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เมื่อได้จัดที่ดินแปลงอื่นให้พลเมืองใช้ร่วมกันแทน โดยคณะกรรมการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ดี ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินนั้นมีผลเป็นการถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับที่ดินดังกล่าว โดยมิต้องดำเนินการถอนสภาพตามประมวลกฎหมายที่ดิน และให้ ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ (๒) ถ้าในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นมีที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ หรือที่ดินที่ได้สงวนหรือหวงห้ามไว้ตามความต้องการของทางราชการ เมื่อกระทรวงการคลังได้ให้ความยินยอมแล้ว ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินนั้นมีผลเป็นการถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับที่ดินดังกล่าว โดยมิต้องดำเนินการถอนสภาพตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุ และให้ ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ (๓) ถ้าในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นมีที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้ง หรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน และที่ดินนั้นอยู่นอกเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ (๔) ถ้าเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติส่วนใดแล้ว เมื่อ ส.ป.ก. จะนำที่ดินแปลงใดในส่วนนั้นไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินมีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินแปลงนั้น และให้ ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้โดยไม่ต้องดำเนินการเพิกถอนตามกฎหมายป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตาม (๔) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ และมีอำนาจในการให้เช่าที่ดินอันเป็นป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวได้ และให้ค่าเช่าที่ได้มาตกเป็นของกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” มาตรา ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ “ในการจัดซื้อที่ดินตามมาตรานี้ ถ้าเจ้าของที่ดินประสงค์จะขายที่ดินของตนให้ทั้งหมด ก็ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อได้” มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๐ บรรดาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ ส.ป.ก. ได้มา ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดให้เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้ ตามขนาดการถือครองในที่ดินดังกล่าวต่อไปนี้ (๑) จำนวนที่ดินไม่เกินห้าสิบไร่ สำหรับเกษตรกรและบุคคลในครอบครัวเดียวกัน ซึ่งประกอบเกษตรกรรมอย่างอื่นนอกจากเกษตรกรรมเลี้ยงสัตว์ใหญ่ตาม (๒) (๒) จำนวนที่ดินไม่เกินหนึ่งร้อยไร่ สำหรับเกษตรกรและบุคคลในครอบครัวเดียวกัน ซึ่งใช้ประกอบเกษตรกรรมเลี้ยงสัตว์ใหญ่ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนด (๓) จำนวนที่ดินที่คณะกรรมการเห็นสมควร สำหรับสถาบันเกษตรกร ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงประเภทและลักษณะการดำเนินงานของสถาบันเกษตรกรนั้น ๆ ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการจัดให้เกษตรกร และเป็นที่ดินที่คณะกรรมการกำหนดมิให้มีการโอนสิทธิในที่ดิน ก็ให้จัดให้เกษตรกรเช่า ในกรณีอื่นให้จัดให้เกษตรกรเช่าหรือเช่าซื้อตามที่เกษตรกรแสดงความจำนง ถ้าเป็นการจัดให้สถาบันเกษตรกรให้จัดให้สถาบันเกษตรกรเช่า บรรดาที่ดินที่ ส.ป.ก. ได้มา ถ้าเป็นที่ดินของรัฐและมีเกษตรกรถือครองอยู่แล้วเกินจำนวนที่กำหนดในวรรคหนึ่งก่อนเวลาที่คณะกรรมการกำหนด เมื่อเกษตรกรดังกล่าวยื่นคำร้องและยินยอมชำระค่าเช่าหรือค่าชดเชยที่ดินในอัตราหรือจำนวนที่เพิ่มขึ้นตามที่คณะกรรมการกำหนด สำหรับที่ดินส่วนที่เกินตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการจัดที่ดินให้เกษตรกรเช่าหรือจัดให้ แล้วแต่กรณี ตามจำนวนที่เกษตรกรถือครองได้ แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินหนึ่งร้อยไร่ ในการกำหนดอัตราค่าเช่าหรือค่าชดเชยที่ดินดังกล่าว ต้องคำนึงถึงระยะเวลาและวิธีการที่เกษตรกรได้ที่ดินนั้นมา ความสามารถในการทำประโยชน์ ประเภทของเกษตรกรรม และการทำประโยชน์ที่ได้ทำไว้แล้วในที่ดินนั้น ในการจัดที่ดินให้เกษตรกรตามวรรคสาม ถ้าเกษตรกรได้เข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวก่อน พ.ศ. ๒๕๑๐ ให้เรียกเก็บเฉพาะค่าธรรมเนียมในการโอนและรังวัด และค่าปรับปรุงพัฒนาที่ดินที่ ส.ป.ก. ดำเนินการให้ตามจำนวนที่คณะกรรมการกำหนด เฉพาะส่วนที่ไม่เกินห้าสิบไร่ นอกจากการจัดที่ดินให้แก่บุคคลตาม (๑) (๒) และ (๓) ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุคคลใดเช่า เช่าซื้อ ซื้อ หรือเข้าทำประโยชน์ เพื่อใช้สำหรับกิจการอื่นที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาได้ ทั้งนี้ ตามขนาดการถือครองในที่ดินที่คณะกรรมการเห็นสมควร ซึ่งต้องไม่เกินห้าสิบไร่ ส่วนหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการอนุญาตหรือการให้ผู้ได้รับอนุญาตถือปฏิบัติให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี การจัดที่ดินให้เช่าหรือเช่าซื้อตามมาตรานี้ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการเช่าหรือเช่าซื้อ และสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อดังกล่าวจะโอนแก่กันได้หรือตกทอดทางมรดกได้เฉพาะตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด” มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๒ ถ้า ส.ป.ก. ได้ที่ดินแปลงใดมาโดยการจัดซื้อหรือเวนคืนหรือได้มาตามมาตรา ๒๕ ทวิ เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้สิทธิของผู้เช่าที่ดินแปลงนั้นตามสัญญาเช่าหรือตามกฎหมายว่าด้วยการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นอันสิ้นสุดลง” มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๑๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๖ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ “มาตรา ๓๖ ทวิ บรรดาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ที่ ส.ป.ก. ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ หรือได้มาโดยประการอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่ให้ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ และให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินมีอำนาจออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเกี่ยวกับที่ดินของ ส.ป.ก. ตามวรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ตามที่ ส.ป.ก. ร้องขอ” มาตรา ๑๔ ที่ราชพัสดุที่กระทรวงการคลังได้มาเนื่องจากการจัดซื้อของ ส.ป.ก. หรือมีผู้ยกให้แก่ ส.ป.ก. เพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้กระทรวงการคลังดำเนินการโอนที่ราชพัสดุดังกล่าวให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ ส.ป.ก. เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ การโอนที่ราชพัสดุดังกล่าวมิให้นำความในมาตรา ๘ และมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับ และให้ดำเนินการโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน บรรดานิติกรรมใด ๆ ที่ได้กระทำเกี่ยวกับที่ดินตามวรรคหนึ่ง ให้คงมีผลใช้ได้ต่อไป มาตรา ๑๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ประเทศไทยได้จัดให้มีการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมาระยะหนึ่งแล้ว แต่การดำเนินการยังมีอุปสรรคทำให้การงานไม่อาจดำเนินไปโดยเหมาะสมตามควร สมควรขยายขอบเขตการจัดที่ดินในการปฏิรูปที่ดินให้กว้างขวางขึ้นให้สามารถช่วยเหลือผู้ที่ประสงค์จะเป็นเกษตรกรได้ และอาจจัดที่ดินให้แก่ผู้ประกอบกิจการสนับสนุนและต่อเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินได้ด้วย เพื่อให้งานดำเนินไปครบวงจรของภาคเกษตรกรรม นอกจากนั้น ในการจัดหาที่ดินมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินได้มีปัญหาว่าจะจัดซื้อที่ดินจากผู้ที่สมัครใจขายได้หมดทั้งแปลงหรือไม่ และการนำที่ดินของรัฐมาใช้จัดที่ดินมีปัญหาว่า ยังไม่มีแนวทางที่แน่ชัดระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบ เกิดปัญหาว่า ส.ป.ก. สมควรจะนำที่ดินส่วนใดมาใช้จัดได้เมื่อใดและเพียงใด ทั้งยังมีข้อจำกัดที่ ส.ป.ก. จะเข้าดำเนินการในที่ดินที่มีผู้ประสงค์บริจาคเพราะที่ดินนั้นต้องกลายเป็นที่ราชพัสดุและที่ดินอาจมีขนาดไม่กว้างมาก ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะกำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดินเล็ก ๆ โดยพระราชกฤษฎีกาหลายฉบับ ส่วนในขั้นนำที่ดินมาจัดให้แก่ประชาชนนั้น กฎหมายปัจจุบันได้แยกข้อแตกต่างระหว่างที่ดินที่เป็นของรัฐมาแต่เดิมกับที่ดินที่ได้มาโดยการจัดซื้อหรือเวนคืน ทำให้ไม่อาจจัดสิทธิในที่ดินให้แก่ประชาชนให้สอดคล้องกัน สมควรแก้ไขโดยคำนึงถึงเป้าหมายและความต้องการของผู้ขอรับการจัดที่ดินเป็นสำคัญเพื่อให้สิทธิในที่ดินมีส่วนเกื้อหนุนสภาพความเป็นอยู่ในภาคเกษตรกรรมตามความเป็นจริง อนึ่ง องค์ประกอบของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด และแนวทางในการกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินยังไม่เหมาะสม สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายปัจจุบันเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ดวงใจ/แก้ไข ๒๔ ม.ค. ๔๕ A+B (C) พัชรินทร์/แก้ไข ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ วศิน/แก้ไข ๘ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๔๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒/๘ กันยายน ๒๕๓๒
300312
พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 (Update ณ วันที่ 17/11/2519)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นปีที่ ๓๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ บรรดาบทกฎหมาย กฎและข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” หมายความว่า การปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิและการถือครองในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมรวมตลอดถึงการจัดที่อยู่อาศัยในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้น โดยรัฐนำที่ดินของรัฐ หรือที่ดินที่รัฐจัดซื้อหรือเวนคืนจากเจ้าของที่ดินซึ่งมิได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นด้วยตนเอง หรือมีที่ดินเกินสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อจัดให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินของตนเองหรือเกษตรกรที่มีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพและสถาบันเกษตรกรได้เช่าซื้อ เช่าหรือเข้าทำประโยชน์โดยรัฐให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม การปรับปรุงทรัพยากรและปัจจัยการผลิต ตลอดจนการผลิตและการจำหน่ายให้เกิดผลดียิ่งขึ้น “เขตปฏิรูปที่ดิน” หมายความว่า เขตที่ดินที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม “ที่ดินของรัฐ” หมายความว่า บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน หรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อนุมัติให้บุคคลเข้าอยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ “เจ้าของที่ดิน” หมายความว่า ผู้มีสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน “เกษตรกรรม” หมายความว่า การทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา “เกษตรกร” หมายความว่า ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก “สถาบันเกษตรกร” หมายความว่า กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ “การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” หมายความว่า การเช่าหรือการเช่าช่วงโดยได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าซึ่งที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่ว่าการเช่าหรือเช่าช่วงนั้นจะมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงการยินยอมให้ใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยได้รับค่าเช่าที่ดิน และการทำนิติกรรมอื่นใดเพื่อเป็นการอำพรางการเช่าดังกล่าว “ค่าเช่าที่ดิน” หมายความว่า ผลิตผลเกษตรกรรม เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดซึ่งเป็นค่าตอบแทนการเช่าที่ดิน และหมายความรวมถึงประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ที่ผู้ให้เช่าที่ดินหรือบุคคลอื่นได้รับเพื่อตอบแทนการให้เช่าที่ดินทั้งโดยทางตรงหรือทางอ้อม “เจ้าของที่ดินผู้ประกอบเกษตรกรรมด้วนตนเอง” หมายความว่า เจ้าของที่ดินผู้ซึ่งดำเนินการผลิตด้านเกษตรกรรม โดยเป็นผู้ลงทุนและได้ผลประโยชน์จากการผลิตนั้นโดยตรง และไม่เป็นผู้ให้เช่าที่ดินนั้น “บุคคลในครอบครัวเดียวกัน” หมายความว่า คู่สมรส และผู้สืบสันดานที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม “คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด” หมายความรวมถึงคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินกรุงเทพมหานครด้วย “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕[๒] ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวง กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา ๖ ให้จัดตั้งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมขึ้นในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ เรียกโดยย่อว่า ส.ป.ก. มาตรา ๗ ให้ ส.ป.ก. เป็นทบวงการเมือง มีฐานะเทียบเท่ากรม โดยมีเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเป็นหัวหน้าสำนักงาน มาตรา ๘ ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๙ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า กองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ในกระทรวงการคลัง ประกอบด้วยเงินและทรัพย์สินตามมาตรา ๑๐ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รายได้ที่ ส.ป.ก. ได้รับจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้นำส่งเข้าบัญชีกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน การใช้จ่ายเงินของกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้กระทำได้เฉพาะการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง ให้กระทรวงการคลังเก็บรักษาเงินของกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และเบิกจ่ายเงินจากกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเพื่อใช้จ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐ กองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประกอบด้วย (๑) เงินที่ได้รับจากงบประมาณแผ่นดิน (๒) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่ได้รับจากรัฐบาลหรือจากแหล่งต่าง ๆ ภายในประเทศหรือต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศหรือบุคคลอื่น (๓) เงินที่ได้รับจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (๔) เงิน ดอกผลหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ ส.ป.ก. ได้รับเกี่ยวกับการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา ๑๑ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินตามมาตรา ๒๕ ใช้บังคับในท้องที่จังหวัดใดแล้ว ให้จัดตั้งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดขึ้นสังกัดสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามที่คณะกรรมการและคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดกำหนด ในกรณีที่ได้กำหนดเขตปฏิรูปที่ดินเขตหนึ่งเขตใดคลุมที่ดินในเขตของสองจังหวัดขึ้นไป คณะกรรมการจะมอบหมายให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดใดมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตลอดเขตปฏิรูปที่ดินนั้นก็ได้ ไม่ว่าจะมีสำนักงานการปฏิรูปที่ดินในจังหวัดที่เกี่ยวข้องนั้นหรือไม่ ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามมาตรา ๖ ทำหน้าที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินกรุงเทพมหานครด้วย หมวด ๒ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด มาตรา ๑๒ ให้มีคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมที่ดิน และผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเป็นกรรมการ และกรรมการอื่นอีกเจ็ดคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิสี่คนและผู้แทนเกษตรกรสามคน ให้เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นกรรมการและเลขานุการ มาตรา ๑๓ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินตามมาตรา ๒๕ ใช้บังคับในเขตอำเภอหนึ่งอำเภอใดในจังหวัดใดแล้ว ให้มีคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดขึ้นคณะหนึ่งในจังหวัดนั้น เรียกว่า “คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด” ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ เกษตรจังหวัด พาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด ผู้จัดการสาขาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และนายอำเภอในท้องที่ที่มีการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นกรรมการ และกรรมการอื่นอีกสามคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้แทนเกษตรกร มาตรา ๑๔ ให้กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งซ่อมนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ มาตรา ๑๕ กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับ ส.ป.ก. หรือในกิจการที่กระทำให้แก่ ส.ป.ก. ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม มาตรา ๑๖ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่มีอำนาจแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี ให้ออก (๔) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๕ มาตรา ๑๗ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม มาตรา ๑๘ การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย มาตรการ ข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานการปฏิรูปที่ดินของ ส.ป.ก. ตลอดจนการควบคุมการบริหารงานของ ส.ป.ก. รวมทั้งอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้ (๑) จัดหาที่ดินของรัฐเพื่อนำมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (๒) พิจารณากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินตามมาตรา ๒๕ การจัดซื้อหรือเวนคืนที่ดินตามมาตรา ๒๙ และการกำหนดเนื้อที่ที่ดินที่จะให้เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรเช่าระยะยาว หรือเช่าซื่อตามมาตรา ๓๐ (๓) พิจารณาการกำหนดแผนผังและการจัดแบ่งแปลงที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (๔) พิจารณาอนุมัติแผนงานและโครงการการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตลอดจนงบค่าใช้จ่ายของ ส.ป.ก. เสนอรัฐมนตรี (๕) พิจารณากำหนดแผนการผลิตและการจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมในเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อยกระดับรายได้ และคุ้มครองผลประโยชน์ของเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกร (๖) พิจารณากำหนดแผนการส่งเสริม และบำรุงเกษตรกรรมในเขตปฏิรูปที่ดิน รวมถึงการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตและคุณภาพผลิตผลเกษตรกรรม ตลอดจนสวัสดิการ การสาธารณูปโภค การศึกษา และการสาธารณสุขของเกษตรกร (๗) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตลอดจนแบบสัญญาเช่าและเช่าซื้อที่จะทำกับเกษตรกร หรือสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน (๘) กำหนดระเบียบการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินและปฏิบัติตามแผนการผลิตและการจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรม (๙) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินกู้ยืมจาก ส.ป.ก. ตลอดจนเงื่อนไขของการกู้ยืมโดยอนุมัติรัฐมนตรี (๑๐) กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตลอดจนการควบคุมดูแลกิจการอื่น ๆ ภายในเขตปฏิรูปที่ดิน (๑๑) ติดตามการปฏิบัติงานของ ส.ป.ก. ให้เป็นไปตามแผนงานและโครงการที่ได้รับอนุมัติ ตลอดจนกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน (๑๒) กำหนดกิจการและระเบียบการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของ ส.ป.ก. หรือสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับวัตถุประสงค์ของการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดมาตรการและวิธีปฏิบัติงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด และให้มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงาน โครงการและค่าใช้จ่ายของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด เพื่อเสนอคณะกรรมการ (๒) ติดตามการปฏิบัติงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด ให้เป็นไปตามแผนงานและโครงการที่ได้รับอนุมัติ ตลอดจนดำเนินการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน (๓) พิจารณาผลการปฏิบัติงาน เพื่อปรับปรุงแผนงาน โครงการ งบค่าใช้จ่ายและวิธีปฏิบัติงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด (๔) จัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายตามโครงการการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแต่ละโครงการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ (๕) ดำเนินการเกี่ยวกับเงินและกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามระเบียบหรือข้อบังคับหรือมติของคณะกรรมการหรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (๖) วางระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบหรือข้อบังคับหรือมติของคณะกรรมการ มาตรา ๒๑ ให้คณะกรรมการหรือคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการคณะหนึ่งหรือหลายคณะเพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆ หรือปฏิบัติงานอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมอบหมาย การประชุมของอนุกรรมการ ให้นำความในมาตรา ๑๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๒๒ ภายในกำหนด ๙๐ วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณทุกปี ให้รัฐมนตรีประกาศรายงานรับจ่ายเงินของ ส.ป.ก. ในราชกิจจานุเบกษา รายงานการรับจ่ายเงินตามวรรคหนึ่ง เมื่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว ให้ทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอรัฐสภาทราบ มาตรา ๒๓ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบการประกอบเกษตรกรรม หรือการทำประโยชน์ หรือกิจการอื่น ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก และให้แสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินหรือผู้ที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร บัตรประจำตัวให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๔ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ อนุกรรมการ เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รองเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๓ การดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา ๒๕ การกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ใดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ในพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้มีแผนที่แสดงเขตและระบุท้องที่ที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินแนบท้ายพระราชกฤษฎีกานั้นด้วย แผนที่ดังกล่าวให้ถือเป็นส่วนหนึ่งแห่งพระราชกฤษฎีกา การกำหนดเขตที่ดินให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเขตของอำเภอเป็นหลัก โดยให้ดำเนินการกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินในเขตท้องที่อำเภอที่มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก ตลอดจนที่มีผลผลิตต่อไร่ต่ำ เป็นเกณฑ์ในการจัดอันดับความสำคัญในการกำหนดเขตก่อนหลัง ให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโดยมิชักช้า และให้ดำเนินการสำรวจที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และวางโครงการเพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในท้องที่ทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร ให้เสร็จภายในสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๒๖ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินใช้บังคับในท้องที่ใดแล้ว (๑) ถ้าในเขตปฏิรูปที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแต่พลเมืองเลิกใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น หรือได้เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันก็ดี หรือพลเมืองยังใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นอยู่ หรือยังไม่เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เมื่อได้จัดที่ดินแปลงอื่นให้พลเมืองใช้ร่วมกันแทนโดยคณะกรรมการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ดี ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินนั้นมีผลเป็นการถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับที่ดินดังกล่าวโดยมิต้องดำเนินการถอนสภาพตามประมวลกฎหมายที่ดิน และให้ ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ (๒) ถ้าในเขตปฏิรูปที่ดินนั้น มีที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินนั้นมีผลเป็นการถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวโดยมิต้องดำเนินการถอนสภาพตามประมวลกฎหมายที่ดิน และให้ ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ ในกรณีที่ทางราชการยังต้องใช้ที่ดินตอนใดเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะต่อไปให้คณะกรรมการจัดที่ดินเพื่อใช้ตามความจำเป็น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๓) ถ้าในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นมีที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าหรือที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามประมวลกฎหมายที่ดิน และที่ดินนั้นอยู่นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตที่ดินที่ได้จำแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ มาตรา ๒๗ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินใช้บังคับในท้องที่ใดแล้ว ภายในเขตปฏิรูปที่ดิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้ (๑) เข้าไปทำงานอันจำเป็นเพื่อการสำรวจรังวัดได้ แต่ต้องแจ้งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินทราบเสียก่อน (๒) ทำเครื่องหมายขอบเขตหรือแนวเขตโดยปักหลักหรือขุดร่องแนว ในกรณีที่ต้องสร้างหมุดหลักฐานการแผนที่ในที่ดินของผู้ใด ก็ให้มีอำนาจสร้างหมุดหลักฐานลงได้ตามความจำเป็น เมื่อมีความจำเป็นและโดยสมควร พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจขุดดิน ตัดรานกิ่งไม้และกระทำการอย่างอื่นแก่สิ่งที่กีดขวางการสำรวจรังวัดได้เท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงการที่จะให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหายน้อยที่สุด ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินและผู้ที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร มาตรา ๒๘ ภายในระยะเวลาสามปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินตามมาตรา ๒๕ ใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายด้วยประการใด ๆ หรือก่อให้เกิดภาระติดพันใด ๆ ซึ่งที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมาย ในกรณีที่ ส.ป.ก. จัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินนั้น ถ้ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนความในวรรคหนึ่ง และเป็นทรัพย์สินหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือกีดขวางการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้คณะกรรมการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินทำการรื้อถอนเสียได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินไม่ปฏิบัติตาม ให้คณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมาย มีอำนาจดำเนินการรื้อถอนโดยเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวจะเรียกร้องค่าเสียหายมิได้ และต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนนั้นด้วย มาตรา ๒๙ ในเขตปฏิรูปที่ดิน เมื่อคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่า ที่ดินบริเวณใดสมควรดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินได้ ดังต่อไปนี้ (๑) ที่ดินแปลงเดียวหรือหลายแปลงมีเนื้อที่รวมกันเกินกว่าห้าสิบไร่ ซึ่งบุคคลในครอบครัวเดียวกันไม่ว่าคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นเจ้าของที่ดินผู้ประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเอง ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินส่วนที่เกินกว่าห้าสิบไร่ (๒) ถ้าที่ดินดังกล่าวใน (๑) มีเนื้อที่รวมกันเกินกว่าหนึ่งร้อยไร่ และเจ้าของที่ดินผู้ประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองใช้เพื่อการเลี้ยงสัตว์จำพวกสัตว์ใหญ่ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดชนิด จำนวน และเงื่อนไขในราชกิจจานุเบกษา ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินส่วนที่เกินกว่าหนึ่งร้อยไร่ ถ้าเจ้าของที่ดินรายใดมีความประสงค์จะประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองในที่ดินเกินกว่าตามที่กล่าวไว้ใน (๑) หรือ (๒) และแสดงได้ว่าตนได้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินด้วยตนเองเกินกว่าที่กล่าวไว้ใน (๑) หรือ(๒) อยู่แล้วไม่ต่ำกว่าหนึ่งปีก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และแสดงได้ว่าตนมีความสามารถและมีปัจจัยที่จะทำที่ดินนั้นให้เป็นประโยชน์ทางเกษตรกรรมได้ ทั้งตนจะเป็นผู้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินนั้นด้วยตนเอง ให้ยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งแสดงหลักฐานอ้างอิงประกอบคำร้อง เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้สอบสวนแล้ว ให้รายงานต่อคณะกรรมการ ถ้าคณะกรรมการเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้กำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตเสนอรัฐมนตรีพิจารณา หากรัฐมนตรีเห็นชอบก็ให้อนุญาตให้ผู้ร้องขอนั้นมีสิทธิในที่ดินนั้นต่อไป แต่ต้องไม่เกินหนึ่งพันไร่ ในกรณีที่ผู้ร้องขอได้รับสิทธิในที่ดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ให้ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินที่ได้รับเพิ่มขึ้นนั้นเพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อไป ในกรณีที่เจ้าของที่ดินรายใดได้แสดงว่าตนได้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินด้วยตนเองเกินกว่าหนึ่งพันไร่อยู่แล้วไม่ต่ำกว่าหนึ่งปีก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และมีความประสงค์จะประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองในที่ดินนั้นต่อไป ให้คณะกรรมการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ ก. ได้ลงทุนในกิจกรรมการเกษตรในที่ดินนั้นไปแล้วเป็นจำนวนมากและการลงทุนนั้นได้กระทำไปด้วยการส่งเสริมของรัฐ ข. เป็นการประกอบการเพื่อพัฒนาวิทยาการเกษตรแผนใหม่ หรือที่ยังมีความต้องการอยู่มากภายในประเทศหรือเพื่อการส่งออก ค. ในการที่จะประกอบกิจการได้ต่อไปนั้นจะต้องมีลักษณะที่ช่วยพัฒนาการเกษตร และช่วยเหลือเกษตรกรในด้านปัจจัยการผลิต เพื่อส่งเสริมผลผลิตการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรได้อย่างกว้างขวางในเรื่องการสาธิต และเป็นตลาดรับซื้อผลิตผลเกษตรกรรมจากเกษตรกรโดยตรง ง. เมื่อพ้นสิบห้าปี หากสถาบันเกษตรกรมีความต้องการและสามารถที่จะเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการนั้น เจ้าของที่ดินต้องยินยอมให้สถาบันเกษตรกรถือหุ้นในกิจการนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของจำนวนหุ้นทั้งหมด ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามวิธีการและรายละเอียดที่คณะกรรมการกำหนด ถ้าคณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้กำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตเสนอรัฐมนตรีพิจารณา หากรัฐมนตรีเห็นชอบก็ให้อนุญาตให้ผู้ร้องขอนั้นมีสิทธิในที่ดินนั้นต่อไป ในกรณีที่ผู้ร้องขอได้รับสิทธิในที่ดินดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อ หรือดำเนินการเวนคืนที่ดินที่ได้รับเพิ่มขึ้นนั้น เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อไป (๓) ที่ดินแปลงใดถ้าเจ้าของไม่ได้ใช้ที่ดินประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเอง หรือมิได้ใช้ประกอบเกษตรกรรมอย่างใดหรือประกอบเกษตรกรรมเล็กน้อย หรือประกอบเกษตรกรรมบางส่วนเพียงเป็นการแสดงสิทธิในที่ดิน ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินนั้นได้ในส่วนที่เกินกว่ายี่สิบไร่ ถ้าเจ้าของที่ดินตาม (๓) มีความประสงค์จะประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองและแสดงได้ว่าตนมีความสามารถและมีปัจจัยที่จะทำที่ดินนั้นให้เป็นประโยชน์ทางเกษตรกรรมได้ ทั้งตนจะเป็นผู้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินนั้นด้วยตนเอง ให้ยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งแสดงหลักฐานอ้างอิงประกอบคำร้อง เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้สอบสวนแล้ว ให้รายงานต่อคณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายเพื่อพิจารณาอนุญาตให้ผู้ร้องขอนั้นมีสิทธิในที่ดินต่อไป ตามขนาดใน (๑) หรือ (๒) แล้วแต่กรณีและให้คณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาต ในกรณีผู้ได้รับสิทธิในที่ดินดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินนั้นเพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อไป บทบัญญัติในมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับแก่ที่ดินบรรดาที่เป็นของทบวงการเมือง องค์การของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันเกษตรกร หรือที่ดินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๐ ในเขตปฏิรูปที่ดิน ถ้าเป็นที่ดินของรัฐซึ่งมีจำนวนเนื้อที่ตั้งแต่หนึ่งหมื่นไร่ขึ้นไป ให้คณะกรรมการจัดให้สถาบันเกษตรกรเช่าระยะยาว ถ้าเป็นที่ดินของรัฐซึ่งมีจำนวนเนื้อที่ไม่ถึงหนึ่งหมื่นไร่ คณะกรรมการจะให้สถาบันเกษตรกรหรือเกษตรกรเช่าระยะยาวก็ได้ แต่จะโอนสิทธิในที่ดินของรัฐนั้นมิได้ แต่ถ้าเป็นที่ดินที่ได้มาโดยการจัดซื้อหรือเวนคืน คณะกรรมการจะให้เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรเช่าระยะยาวหรือเช่าซื้อตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) เกษตรกรและบุคคลในครอบครัวเดียวกันซึ่งประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่น เว้นแต่ (๒) จำนวนไม่เกินห้าสิบไร่ (๒) เกษตรกรและบุคคลในครอบครัวเดียวกันซึ่งประกอบเกษตรกรรมเพื่อการเลี้ยงสัตว์จำพวกสัตว์ใหญ่ตามที่รัฐมนตรีประกาศตามมาตรา ๒๙ (๒) จำนวนไม่เกินหนึ่งร้อยไร่ (๓) สถาบันเกษตรกรซึ่งจะนำที่ดินไปจัดให้แก่เกษตรกรตาม (๑) หรือ (๒) เช่าระยะยาวหรือเช่าซื้อ จำนวนเนื้อที่ที่ดินตามแต่คณะกรรมการจะเห็นสมควร มาตรา ๓๑ ถ้าเกษตรกรผู้ใดต้องการมีสิทธิในที่ดินหรือขอเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเกินกว่าที่กำหนดไว้ตามมาตรา ๓๐ (๑) หรือ (๒) และแสดงได้ว่าตนมีความสามารถและมีปัจจัยที่จะทำที่ดินที่ขอเพิ่มนั้นให้เป็นประโยชน์ในทางเกษตรกรรมได้ ทั้งตนจะเป็นผู้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินนั้นด้วยตนเอง ให้ทำคำร้องยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งแสดงหลักฐานอ้างอิงประกอบคำร้อง เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนแล้ว ให้เสนอคำร้องพร้อมด้วยบันทึกรายงานผลการสอบสวนต่อคณะกรรมการ คณะกรรมการมีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้ผู้ยื่นคำร้องมีสิทธิในที่ดิน หรือได้เช่าที่ดินได้ตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินหนึ่งเท่าของจำนวนเนื้อที่ที่ดินที่กำหนดไว้ตามมาตรา ๓๐ (๑) หรือ (๒) ทั้งนี้ โดยกำหนดเงื่อนไขก็ได้ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข คณะกรรมการมีอำนาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตเสียได้และจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินหรือสั่งเลิกการเช่าที่ดินดังกล่าวได้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามแต่จะเห็นสมควร และนำที่ดินนั้นไปใช้เพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อไป มาตรา ๓๒ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินใช้บังคับในท้องที่ใด และ ส.ป.ก. ได้จัดซื้อหรือเวนคืนที่ดินแปลงใดแล้ว ให้สิทธิของผู้เช่าในที่ดินแปลงนั้นตามสัญญาเช่า หรือตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการเช่านาเป็นอันสิ้นสุดลง มาตรา ๓๓ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินใช้บังคับในท้องที่ใดแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้บรรดาเจ้าของที่ดินที่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินแจ้งจำนวนแปลงที่ดิน ขนาดที่ดินแต่ละแปลง ที่ตั้งของที่ดิน และการทำประโยชน์ในที่ดินที่ตนเป็นเจ้าของทุกแปลงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเก้าสิบวัน ตามแบบและวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๓๔ ในการเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์เพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม สำหรับที่ดินที่เวนคืนตามวรรคหนึ่ง ให้ ส.ป.ก. หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจาก ส.ป.ก. มีอำนาจเข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวเพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ทันที มาตรา ๓๕[๓] การชำระราคาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่จัดซื้อตามพระราชบัญญัตินี้ ให้จ่ายเป็นเงินสด หรือเงินสดและพันธบัตรของรัฐบาล ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา การชำระค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้ ให้จ่ายเป็นเงินสดส่วนหนึ่ง และส่วนที่เหลือให้จ่ายเป็นพันธบัตรของรัฐบาล ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ให้กระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี มีอำนาจออกพันธบัตรเพื่อชำระราคาหรือค่าทดแทนตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง และมีอำนาจกำหนดอัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาไถ่ถอน เงื่อนไข และวิธีการในการออกพันธบัตร ทั้งนี้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา พันธบัตรตามวรรคสามเมื่อครบกำหนดชำระให้ชำระจากเงินของกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา ๓๖ ให้คณะกรรมการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงการได้มา สภาพความอุดมสมบูรณ์ และทำเลที่ตั้งของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับมูลค่าของผลิตผลเกษตรกรรมหลักที่สามารถผลิตได้จากที่ดินในท้องที่นั้น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม และแก่บรรดาเกษตรกรผู้ที่จะต้องรับภาระจ่ายค่าที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์แก่ ส.ป.ก. ต่อไปด้วย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งจำนวนเงินค่าทดแทนให้เจ้าของที่ดินหรือผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนทราบ ถ้าเจ้าของที่ดินหรือผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่เห็นชอบด้วยกับจำนวนเงินค่าทดแทนดังกล่าวมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามมาตรา ๔๐ บรรดาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา ๓๗ ห้ามมิให้ยกเลิกอายุความครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู่กับ ส.ป.ก. ในเรื่องที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ ส.ป.ก. ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๓๘ ถ้า ส.ป.ก. เกี่ยวข้องในกิจการใดที่กฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนในอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ ส.ป.ก. ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนนั้น มาตรา ๓๙ ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในกฎกระทรวง หมวด ๔ อุทธรณ์ มาตรา ๔๐ ถ้าเจ้าของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์หรือผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน ผู้ใดประสงค์จะอุทธรณ์ ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๔๑ ให้มีคณะกรรมการอุทธรณ์คณะหนึ่ง ประกอบด้วยปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมายหนึ่งคน ผู้ทรงคุณวุฒิทางดินหนึ่งคน ผู้ทรงคุณวุฒิทางเศรษฐกิจการเกษตรหนึ่งคน ผู้ทรงคุณวุฒิทางพืชพรรณหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้ประธานกรรมการแต่งตั้งกรรมการหรือบุคคลใดเป็นเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการอุทธรณ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะเป็นกรรมการหรืออนุกรรมการในคณะกรรมการหรือคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมิได้ มาตรา ๔๒ ให้คณะกรรมการอุทธรณ์มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยคำอุทธรณ์ที่ยื่นต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ ให้คณะกรรมการอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ หากผู้อุทธรณ์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือน ในกรณีที่ยังมิได้มีการตั้งศาลปกครองตามบทตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มิให้นำข้อความดังกล่าวนี้มาใช้บังคับ มาตรา ๔๓ ให้คณะกรรมการอุทธรณ์มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะ เพื่อกระทำการที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการอุทธรณ์หรือให้ช่วยเหลือในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ เว้นแต่การวินิจฉัยอุทธรณ์ และให้นำมาตรา ๑๗ และมาตรา ๑๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๔๔ ให้กรรมการอุทธรณ์ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการอุทธรณ์ระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งซ่อมนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการอุทธรณ์ซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น มาตรา ๔๕ ให้นำมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ และมาตรา ๑๘ มาใช้แก่คณะกรรมการอุทธรณ์โดยอนุโลม มาตรา ๔๖ หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นอุทธรณ์และวิธีพิจารณาในการวินิจฉัยคำอุทธรณ์ ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง หมวด ๕ บทกำหนดโทษ มาตรา ๔๗ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๒๓ หรือมาตรา ๒๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๔๘ ผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีซึ่งออกตามมาตรา ๓๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพในการเกษตร ที่ดินจึงเป็นปัจจัยสำคัญและเป็นรากฐานเบื้องต้นของการผลิตทางเกษตรกรรม แต่ปัจจุบันปรากฏว่าเกษตรกรกำลังประสบความเดือดร้อนเนื่องจากต้องสูญเสียสิทธิในที่ดินและกลายเป็นผู้เช่าที่ดิน ต้องเสียค่าเช่าที่ดินในอัตราสูงเกินสมควร ที่ดินขาดการบำรุงรักษา จึงทำให้อัตราผลิตผลเกษตรกรรมอยู่ในระดับต่ำ เกษตรกรไม่ได้รับความเป็นธรรมและเสียเปรียบจากระบบการเช่าที่ดินและการจำหน่ายผลิตผลตลอดมา ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะความยุ่งยากทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม การปกครองและการเมืองของประเทศเป็นอย่างมาก จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยด่วนที่สุด โดยวิธีการปฏิรูปที่ดิน เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีที่ดินทำกิน และให้การใช้ที่ดินเกิดประโยชน์มากที่สุด พร้อมกับการจัดระบบการผลิตและจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรม เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่เกษตรกร ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนองแนวนโยบายแห่งรัฐในการลดความเหลื่อมล้ำในฐานะของบุคคลในทางเศรษฐกิจและสังคม ตามที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๙[๔] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ยังมีบทบัญญัติไม่รัดกุมและเหมาะสม ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการปฏิรูปที่ดินอยู่หลายประการ และมีบางประการได้แก่เรื่อง การออกพันธบัตร การชำระราคาหรือค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์สมควรแก้ไขเพิ่มเติมเสียใหม่โดยรีบด่วน เพื่อให้การปฏิบัติตามกฎหมายเกิดความคล่องตัวและสนองนโยบายการปฏิรูปที่ดินของรัฐบาลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น พรพิมล/แก้ไข ๒ ต.ค ๒๕๔๔๔ A+B (C) พัชรินทร์/แก้ไข ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ วศิน/แก้ไข ๘ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒/ตอนที่ ๕๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐/๔ มีนาคม ๒๕๑๘ [๒] มาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๙ [๓] มาตรา ๓๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๙ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๓/ตอนที่ ๑๔๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๙
318616
พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2519
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๙ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นปีที่ ๓๑ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๙” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวง กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๕ การชำระราคาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่จัดซื้อตามพระราชบัญญัตินี้ ให้จ่ายเป็นเงินสด หรือเงินสดและพันธบัตรของรัฐบาล ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา การชำระค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้ ให้จ่ายเป็นเงินสดส่วนหนึ่ง และส่วนที่เหลือให้จ่ายเป็นพันธบัตรของรัฐบาล ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ให้กระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี มีอำนาจออกพันธบัตรเพื่อชำระราคาหรือค่าทดแทนตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง และมีอำนาจกำหนดอัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาไถ่ถอน เงื่อนไข และวิธีการในการออกพันธบัตร ทั้งนี้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา พันธบัตรตามวรรคสามเมื่อครบกำหนดชำระให้ชำระจากเงินของกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ยังมีบทบัญญัติไม่รัดกุมและเหมาะสม ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการปฏิรูปที่ดินอยู่หลายประการ และมีบางประการได้แก่เรื่อง การออกพันธบัตร การชำระราคาหรือค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์สมควรแก้ไขเพิ่มเติมเสียใหม่โดยรีบด่วน เพื่อให้การปฏิบัติตามกฎหมายเกิดความคล่องตัวและสนองนโยบายการปฏิรูปที่ดินของรัฐบาลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น พรพิมล/แก้ไข ๓๐ ก.ค ๒๕๔๔ A+B (C) พัชรินทร์/แก้ไข ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ วศิน/แก้ไข ๘ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๓/ตอนที่ ๑๔๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๙
301605
พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นปีที่ ๓๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ บรรดาบทกฎหมาย กฎและข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” หมายความว่า การปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิและการถือครองในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมรวมตลอดถึงการจัดที่อยู่อาศัยในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้น โดยรัฐนำที่ดินของรัฐ หรือที่ดินที่รัฐจัดซื้อหรือเวนคืนจากเจ้าของที่ดินซึ่งมิได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นด้วยตนเอง หรือมีที่ดินเกินสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อจัดให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินของตนเองหรือเกษตรกรที่มีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพและสถาบันเกษตรกรได้เช่าซื้อ เช่าหรือเข้าทำประโยชน์โดยรัฐให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม การปรับปรุงทรัพยากรและปัจจัยการผลิต ตลอดจนการผลิตและการจำหน่ายให้เกิดผลดียิ่งขึ้น “เขตปฏิรูปที่ดิน” หมายความว่า เขตที่ดินที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม “ที่ดินของรัฐ” หมายความว่า บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน หรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อนุมัติให้บุคคลเข้าอยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ “เจ้าของที่ดิน” หมายความว่า ผู้มีสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน “เกษตรกรรม” หมายความว่า การทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา “เกษตรกร” หมายความว่า ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก “สถาบันเกษตรกร” หมายความว่า กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ “การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” หมายความว่า การเช่าหรือการเช่าช่วงโดยได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าซึ่งที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่ว่าการเช่าหรือเช่าช่วงนั้นจะมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงการยินยอมให้ใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยได้รับค่าเช่าที่ดิน และการทำนิติกรรมอื่นใดเพื่อเป็นการอำพรางการเช่าดังกล่าว “ค่าเช่าที่ดิน” หมายความว่า ผลิตผลเกษตรกรรม เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดซึ่งเป็นค่าตอบแทนการเช่าที่ดิน และหมายความรวมถึงประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ที่ผู้ให้เช่าที่ดินหรือบุคคลอื่นได้รับเพื่อตอบแทนการให้เช่าที่ดินทั้งโดยทางตรงหรือทางอ้อม “เจ้าของที่ดินผู้ประกอบเกษตรกรรมด้วนตนเอง” หมายความว่า เจ้าของที่ดินผู้ซึ่งดำเนินการผลิตด้านเกษตรกรรม โดยเป็นผู้ลงทุนและได้ผลประโยชน์จากการผลิตนั้นโดยตรง และไม่เป็นผู้ให้เช่าที่ดินนั้น “บุคคลในครอบครัวเดียวกัน” หมายความว่า คู่สมรส และผู้สืบสันดานที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม “คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด” หมายความรวมถึงคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินกรุงเทพมหานครด้วย “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา ๖ ให้จัดตั้งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมขึ้นในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ เรียกโดยย่อว่า ส.ป.ก. มาตรา ๗ ให้ ส.ป.ก. เป็นทบวงการเมือง มีฐานะเทียบเท่ากรม โดยมีเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเป็นหัวหน้าสำนักงาน มาตรา ๘ ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๙ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า กองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ในกระทรวงการคลัง ประกอบด้วยเงินและทรัพย์สินตามมาตรา ๑๐ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รายได้ที่ ส.ป.ก. ได้รับจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้นำส่งเข้าบัญชีกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน การใช้จ่ายเงินของกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้กระทำได้เฉพาะการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง ให้กระทรวงการคลังเก็บรักษาเงินของกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และเบิกจ่ายเงินจากกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเพื่อใช้จ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐ กองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประกอบด้วย (๑) เงินที่ได้รับจากงบประมาณแผ่นดิน (๒) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่ได้รับจากรัฐบาลหรือจากแหล่งต่าง ๆ ภายในประเทศหรือต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศหรือบุคคลอื่น (๓) เงินที่ได้รับจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (๔) เงิน ดอกผลหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ ส.ป.ก. ได้รับเกี่ยวกับการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา ๑๑ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินตามมาตรา ๒๕ ใช้บังคับในท้องที่จังหวัดใดแล้ว ให้จัดตั้งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดขึ้นสังกัดสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามที่คณะกรรมการและคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดกำหนด ในกรณีที่ได้กำหนดเขตปฏิรูปที่ดินเขตหนึ่งเขตใดคลุมที่ดินในเขตของสองจังหวัดขึ้นไป คณะกรรมการจะมอบหมายให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดใดมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตลอดเขตปฏิรูปที่ดินนั้นก็ได้ ไม่ว่าจะมีสำนักงานการปฏิรูปที่ดินในจังหวัดที่เกี่ยวข้องนั้นหรือไม่ ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามมาตรา ๖ ทำหน้าที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินกรุงเทพมหานครด้วย หมวด ๒ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด มาตรา ๑๒ ให้มีคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมที่ดิน และผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเป็นกรรมการ และกรรมการอื่นอีกเจ็ดคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิสี่คนและผู้แทนเกษตรกรสามคน ให้เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นกรรมการและเลขานุการ มาตรา ๑๓ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินตามมาตรา ๒๕ ใช้บังคับในเขตอำเภอหนึ่งอำเภอใดในจังหวัดใดแล้ว ให้มีคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดขึ้นคณะหนึ่งในจังหวัดนั้น เรียกว่า “คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด” ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ เกษตรจังหวัด พาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด ผู้จัดการสาขาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และนายอำเภอในท้องที่ที่มีการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นกรรมการ และกรรมการอื่นอีกสามคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้แทนเกษตรกร มาตรา ๑๔ ให้กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งซ่อมนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ มาตรา ๑๕ กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับ ส.ป.ก. หรือในกิจการที่กระทำให้แก่ ส.ป.ก. ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม มาตรา ๑๖ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่มีอำนาจแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี ให้ออก (๔) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๕ มาตรา ๑๗ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม มาตรา ๑๘ การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย มาตรการ ข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานการปฏิรูปที่ดินของ ส.ป.ก. ตลอดจนการควบคุมการบริหารงานของ ส.ป.ก. รวมทั้งอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้ (๑) จัดหาที่ดินของรัฐเพื่อนำมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (๒) พิจารณากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินตามมาตรา ๒๕ การจัดซื้อหรือเวนคืนที่ดินตามมาตรา ๒๙ และการกำหนดเนื้อที่ที่ดินที่จะให้เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรเช่าระยะยาว หรือเช่าซื่อตามมาตรา ๓๐ (๓) พิจารณาการกำหนดแผนผังและการจัดแบ่งแปลงที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (๔) พิจารณาอนุมัติแผนงานและโครงการการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตลอดจนงบค่าใช้จ่ายของ ส.ป.ก. เสนอรัฐมนตรี (๕) พิจารณากำหนดแผนการผลิตและการจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมในเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อยกระดับรายได้ และคุ้มครองผลประโยชน์ของเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกร (๖) พิจารณากำหนดแผนการส่งเสริม และบำรุงเกษตรกรรมในเขตปฏิรูปที่ดิน รวมถึงการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตและคุณภาพผลิตผลเกษตรกรรม ตลอดจนสวัสดิการ การสาธารณูปโภค การศึกษา และการสาธารณสุขของเกษตรกร (๗) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตลอดจนแบบสัญญาเช่าและเช่าซื้อที่จะทำกับเกษตรกร หรือสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน (๘) กำหนดระเบียบการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินและปฏิบัติตามแผนการผลิตและการจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรม (๙) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินกู้ยืมจาก ส.ป.ก. ตลอดจนเงื่อนไขของการกู้ยืมโดยอนุมัติรัฐมนตรี (๑๐) กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตลอดจนการควบคุมดูแลกิจการอื่น ๆ ภายในเขตปฏิรูปที่ดิน (๑๑) ติดตามการปฏิบัติงานของ ส.ป.ก. ให้เป็นไปตามแผนงานและโครงการที่ได้รับอนุมัติ ตลอดจนกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน (๑๒) กำหนดกิจการและระเบียบการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของ ส.ป.ก. หรือสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับวัตถุประสงค์ของการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดมาตรการและวิธีปฏิบัติงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด และให้มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงาน โครงการและค่าใช้จ่ายของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด เพื่อเสนอคณะกรรมการ (๒) ติดตามการปฏิบัติงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด ให้เป็นไปตามแผนงานและโครงการที่ได้รับอนุมัติ ตลอดจนดำเนินการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน (๓) พิจารณาผลการปฏิบัติงาน เพื่อปรับปรุงแผนงาน โครงการ งบค่าใช้จ่ายและวิธีปฏิบัติงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด (๔) จัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายตามโครงการการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแต่ละโครงการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ (๕) ดำเนินการเกี่ยวกับเงินและกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามระเบียบหรือข้อบังคับหรือมติของคณะกรรมการหรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (๖) วางระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบหรือข้อบังคับหรือมติของคณะกรรมการ มาตรา ๒๑ ให้คณะกรรมการหรือคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการคณะหนึ่งหรือหลายคณะเพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆ หรือปฏิบัติงานอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมอบหมาย การประชุมของอนุกรรมการ ให้นำความในมาตรา ๑๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๒๒ ภายในกำหนด ๙๐ วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณทุกปี ให้รัฐมนตรีประกาศรายงานรับจ่ายเงินของ ส.ป.ก. ในราชกิจจานุเบกษา รายงานการรับจ่ายเงินตามวรรคหนึ่ง เมื่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว ให้ทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอรัฐสภาทราบ มาตรา ๒๓ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบการประกอบเกษตรกรรม หรือการทำประโยชน์ หรือกิจการอื่น ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก และให้แสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินหรือผู้ที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร บัตรประจำตัวให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๔ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ อนุกรรมการ เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รองเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๓ การดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา ๒๕ การกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ใดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ในพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้มีแผนที่แสดงเขตและระบุท้องที่ที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินแนบท้ายพระราชกฤษฎีกานั้นด้วย แผนที่ดังกล่าวให้ถือเป็นส่วนหนึ่งแห่งพระราชกฤษฎีกา การกำหนดเขตที่ดินให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเขตของอำเภอเป็นหลัก โดยให้ดำเนินการกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินในเขตท้องที่อำเภอที่มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก ตลอดจนที่มีผลผลิตต่อไร่ต่ำ เป็นเกณฑ์ในการจัดอันดับความสำคัญในการกำหนดเขตก่อนหลัง ให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโดยมิชักช้า และให้ดำเนินการสำรวจที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และวางโครงการเพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในท้องที่ทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร ให้เสร็จภายในสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๒๖ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินใช้บังคับในท้องที่ใดแล้ว (๑) ถ้าในเขตปฏิรูปที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแต่พลเมืองเลิกใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น หรือได้เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันก็ดี หรือพลเมืองยังใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นอยู่ หรือยังไม่เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เมื่อได้จัดที่ดินแปลงอื่นให้พลเมืองใช้ร่วมกันแทนโดยคณะกรรมการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ดี ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินนั้นมีผลเป็นการถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับที่ดินดังกล่าวโดยมิต้องดำเนินการถอนสภาพตามประมวลกฎหมายที่ดิน และให้ ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ (๒) ถ้าในเขตปฏิรูปที่ดินนั้น มีที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินนั้นมีผลเป็นการถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวโดยมิต้องดำเนินการถอนสภาพตามประมวลกฎหมายที่ดิน และให้ ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ ในกรณีที่ทางราชการยังต้องใช้ที่ดินตอนใดเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะต่อไปให้คณะกรรมการจัดที่ดินเพื่อใช้ตามความจำเป็น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๓) ถ้าในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นมีที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าหรือที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามประมวลกฎหมายที่ดิน และที่ดินนั้นอยู่นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตที่ดินที่ได้จำแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ มาตรา ๒๗ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินใช้บังคับในท้องที่ใดแล้ว ภายในเขตปฏิรูปที่ดิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้ (๑) เข้าไปทำงานอันจำเป็นเพื่อการสำรวจรังวัดได้ แต่ต้องแจ้งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินทราบเสียก่อน (๒) ทำเครื่องหมายขอบเขตหรือแนวเขตโดยปักหลักหรือขุดร่องแนว ในกรณีที่ต้องสร้างหมุดหลักฐานการแผนที่ในที่ดินของผู้ใด ก็ให้มีอำนาจสร้างหมุดหลักฐานลงได้ตามความจำเป็น เมื่อมีความจำเป็นและโดยสมควร พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจขุดดิน ตัดรานกิ่งไม้และกระทำการอย่างอื่นแก่สิ่งที่กีดขวางการสำรวจรังวัดได้เท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงการที่จะให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหายน้อยที่สุด ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินและผู้ที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร มาตรา ๒๘ ภายในระยะเวลาสามปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินตามมาตรา ๒๕ ใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายด้วยประการใด ๆ หรือก่อให้เกิดภาระติดพันใด ๆ ซึ่งที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมาย ในกรณีที่ ส.ป.ก. จัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินนั้น ถ้ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนความในวรรคหนึ่ง และเป็นทรัพย์สินหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือกีดขวางการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้คณะกรรมการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินทำการรื้อถอนเสียได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินไม่ปฏิบัติตาม ให้คณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมาย มีอำนาจดำเนินการรื้อถอนโดยเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวจะเรียกร้องค่าเสียหายมิได้ และต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนนั้นด้วย มาตรา ๒๙ ในเขตปฏิรูปที่ดิน เมื่อคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่า ที่ดินบริเวณใดสมควรดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินได้ ดังต่อไปนี้ (๑) ที่ดินแปลงเดียวหรือหลายแปลงมีเนื้อที่รวมกันเกินกว่าห้าสิบไร่ ซึ่งบุคคลในครอบครัวเดียวกันไม่ว่าคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นเจ้าของที่ดินผู้ประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเอง ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินส่วนที่เกินกว่าห้าสิบไร่ (๒) ถ้าที่ดินดังกล่าวใน (๑) มีเนื้อที่รวมกันเกินกว่าหนึ่งร้อยไร่ และเจ้าของที่ดินผู้ประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองใช้เพื่อการเลี้ยงสัตว์จำพวกสัตว์ใหญ่ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดชนิด จำนวน และเงื่อนไขในราชกิจจานุเบกษา ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินส่วนที่เกินกว่าหนึ่งร้อยไร่ ถ้าเจ้าของที่ดินรายใดมีความประสงค์จะประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองในที่ดินเกินกว่าตามที่กล่าวไว้ใน (๑) หรือ (๒) และแสดงได้ว่าตนได้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินด้วยตนเองเกินกว่าที่กล่าวไว้ใน (๑) หรือ(๒) อยู่แล้วไม่ต่ำกว่าหนึ่งปีก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และแสดงได้ว่าตนมีความสามารถและมีปัจจัยที่จะทำที่ดินนั้นให้เป็นประโยชน์ทางเกษตรกรรมได้ ทั้งตนจะเป็นผู้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินนั้นด้วยตนเอง ให้ยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งแสดงหลักฐานอ้างอิงประกอบคำร้อง เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้สอบสวนแล้ว ให้รายงานต่อคณะกรรมการ ถ้าคณะกรรมการเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้กำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตเสนอรัฐมนตรีพิจารณา หากรัฐมนตรีเห็นชอบก็ให้อนุญาตให้ผู้ร้องขอนั้นมีสิทธิในที่ดินนั้นต่อไป แต่ต้องไม่เกินหนึ่งพันไร่ ในกรณีที่ผู้ร้องขอได้รับสิทธิในที่ดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ให้ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินที่ได้รับเพิ่มขึ้นนั้นเพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อไป ในกรณีที่เจ้าของที่ดินรายใดได้แสดงว่าตนได้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินด้วยตนเองเกินกว่าหนึ่งพันไร่อยู่แล้วไม่ต่ำกว่าหนึ่งปีก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และมีความประสงค์จะประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองในที่ดินนั้นต่อไป ให้คณะกรรมการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ ก. ได้ลงทุนในกิจกรรมการเกษตรในที่ดินนั้นไปแล้วเป็นจำนวนมากและการลงทุนนั้นได้กระทำไปด้วยการส่งเสริมของรัฐ ข. เป็นการประกอบการเพื่อพัฒนาวิทยาการเกษตรแผนใหม่ หรือที่ยังมีความต้องการอยู่มากภายในประเทศหรือเพื่อการส่งออก ค. ในการที่จะประกอบกิจการได้ต่อไปนั้นจะต้องมีลักษณะที่ช่วยพัฒนาการเกษตร และช่วยเหลือเกษตรกรในด้านปัจจัยการผลิต เพื่อส่งเสริมผลผลิตการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรได้อย่างกว้างขวางในเรื่องการสาธิต และเป็นตลาดรับซื้อผลิตผลเกษตรกรรมจากเกษตรกรโดยตรง ง. เมื่อพ้นสิบห้าปี หากสถาบันเกษตรกรมีความต้องการและสามารถที่จะเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการนั้น เจ้าของที่ดินต้องยินยอมให้สถาบันเกษตรกรถือหุ้นในกิจการนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของจำนวนหุ้นทั้งหมด ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามวิธีการและรายละเอียดที่คณะกรรมการกำหนด ถ้าคณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้กำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตเสนอรัฐมนตรีพิจารณา หากรัฐมนตรีเห็นชอบก็ให้อนุญาตให้ผู้ร้องขอนั้นมีสิทธิในที่ดินนั้นต่อไป ในกรณีที่ผู้ร้องขอได้รับสิทธิในที่ดินดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อ หรือดำเนินการเวนคืนที่ดินที่ได้รับเพิ่มขึ้นนั้น เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อไป (๓) ที่ดินแปลงใดถ้าเจ้าของไม่ได้ใช้ที่ดินประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเอง หรือมิได้ใช้ประกอบเกษตรกรรมอย่างใดหรือประกอบเกษตรกรรมเล็กน้อย หรือประกอบเกษตรกรรมบางส่วนเพียงเป็นการแสดงสิทธิในที่ดิน ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินนั้นได้ในส่วนที่เกินกว่ายี่สิบไร่ ถ้าเจ้าของที่ดินตาม (๓) มีความประสงค์จะประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองและแสดงได้ว่าตนมีความสามารถและมีปัจจัยที่จะทำที่ดินนั้นให้เป็นประโยชน์ทางเกษตรกรรมได้ ทั้งตนจะเป็นผู้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินนั้นด้วยตนเอง ให้ยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งแสดงหลักฐานอ้างอิงประกอบคำร้อง เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้สอบสวนแล้ว ให้รายงานต่อคณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายเพื่อพิจารณาอนุญาตให้ผู้ร้องขอนั้นมีสิทธิในที่ดินต่อไป ตามขนาดใน (๑) หรือ (๒) แล้วแต่กรณีและให้คณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาต ในกรณีผู้ได้รับสิทธิในที่ดินดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินนั้นเพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อไป บทบัญญัติในมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับแก่ที่ดินบรรดาที่เป็นของทบวงการเมือง องค์การของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันเกษตรกร หรือที่ดินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๐ ในเขตปฏิรูปที่ดิน ถ้าเป็นที่ดินของรัฐซึ่งมีจำนวนเนื้อที่ตั้งแต่หนึ่งหมื่นไร่ขึ้นไป ให้คณะกรรมการจัดให้สถาบันเกษตรกรเช่าระยะยาว ถ้าเป็นที่ดินของรัฐซึ่งมีจำนวนเนื้อที่ไม่ถึงหนึ่งหมื่นไร่ คณะกรรมการจะให้สถาบันเกษตรกรหรือเกษตรกรเช่าระยะยาวก็ได้ แต่จะโอนสิทธิในที่ดินของรัฐนั้นมิได้ แต่ถ้าเป็นที่ดินที่ได้มาโดยการจัดซื้อหรือเวนคืน คณะกรรมการจะให้เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรเช่าระยะยาวหรือเช่าซื้อตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) เกษตรกรและบุคคลในครอบครัวเดียวกันซึ่งประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่น เว้นแต่ (๒) จำนวนไม่เกินห้าสิบไร่ (๒) เกษตรกรและบุคคลในครอบครัวเดียวกันซึ่งประกอบเกษตรกรรมเพื่อการเลี้ยงสัตว์จำพวกสัตว์ใหญ่ตามที่รัฐมนตรีประกาศตามมาตรา ๒๙ (๒) จำนวนไม่เกินหนึ่งร้อยไร่ (๓) สถาบันเกษตรกรซึ่งจะนำที่ดินไปจัดให้แก่เกษตรกรตาม (๑) หรือ (๒) เช่าระยะยาวหรือเช่าซื้อ จำนวนเนื้อที่ที่ดินตามแต่คณะกรรมการจะเห็นสมควร มาตรา ๓๑ ถ้าเกษตรกรผู้ใดต้องการมีสิทธิในที่ดินหรือขอเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเกินกว่าที่กำหนดไว้ตามมาตรา ๓๐ (๑) หรือ (๒) และแสดงได้ว่าตนมีความสามารถและมีปัจจัยที่จะทำที่ดินที่ขอเพิ่มนั้นให้เป็นประโยชน์ในทางเกษตรกรรมได้ ทั้งตนจะเป็นผู้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินนั้นด้วยตนเอง ให้ทำคำร้องยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งแสดงหลักฐานอ้างอิงประกอบคำร้อง เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนแล้ว ให้เสนอคำร้องพร้อมด้วยบันทึกรายงานผลการสอบสวนต่อคณะกรรมการ คณะกรรมการมีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้ผู้ยื่นคำร้องมีสิทธิในที่ดิน หรือได้เช่าที่ดินได้ตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินหนึ่งเท่าของจำนวนเนื้อที่ที่ดินที่กำหนดไว้ตามมาตรา ๓๐ (๑) หรือ (๒) ทั้งนี้ โดยกำหนดเงื่อนไขก็ได้ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข คณะกรรมการมีอำนาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตเสียได้และจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินหรือสั่งเลิกการเช่าที่ดินดังกล่าวได้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามแต่จะเห็นสมควร และนำที่ดินนั้นไปใช้เพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อไป มาตรา ๓๒ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินใช้บังคับในท้องที่ใด และ ส.ป.ก. ได้จัดซื้อหรือเวนคืนที่ดินแปลงใดแล้ว ให้สิทธิของผู้เช่าในที่ดินแปลงนั้นตามสัญญาเช่า หรือตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการเช่านาเป็นอันสิ้นสุดลง มาตรา ๓๓ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินใช้บังคับในท้องที่ใดแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้บรรดาเจ้าของที่ดินที่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินแจ้งจำนวนแปลงที่ดิน ขนาดที่ดินแต่ละแปลง ที่ตั้งของที่ดิน และการทำประโยชน์ในที่ดินที่ตนเป็นเจ้าของทุกแปลงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเก้าสิบวัน ตามแบบและวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๓๔ ในการเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์เพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม สำหรับที่ดินที่เวนคืนตามวรรคหนึ่ง ให้ ส.ป.ก. หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจาก ส.ป.ก. มีอำนาจเข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวเพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ทันที มาตรา ๓๕ การชำระเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้จ่ายเป็นเงินร้อยละยี่สิบห้าของเงินค่าทดแทนทั้งหมด ส่วนที่เหลือให้จ่ายเป็นพันธบัตรของรัฐบาลมีอัตราดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่าร้อยละแปดต่อปี มีระยะเวลาไถ่ถอนคืนภายในสิบปี และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจ่ายเงินให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่ที่ดินซึ่งจะต้องเวนคืนมีเนื้อที่ไม่เกินยี่สิบห้าไร่ และเจ้าของที่ดินนั้นไม่มีที่ดินอื่น ไม่ว่าในหรือนอกเขตปฏิรูปที่ดิน ให้ชำระเงินทั้งหมดในวันที่มีการโอนกรรมสิทธิในที่ดินนั้น แต่ทั้งนี้ ไม่เกินจำนวนเงินขั้นสูงสุดที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๓๖ ให้คณะกรรมการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงการได้มา สภาพความอุดมสมบูรณ์ และทำเลที่ตั้งของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับมูลค่าของผลิตผลเกษตรกรรมหลักที่สามารถผลิตได้จากที่ดินในท้องที่นั้น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม และแก่บรรดาเกษตรกรผู้ที่จะต้องรับภาระจ่ายค่าที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์แก่ ส.ป.ก. ต่อไปด้วย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งจำนวนเงินค่าทดแทนให้เจ้าของที่ดินหรือผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนทราบ ถ้าเจ้าของที่ดินหรือผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่เห็นชอบด้วยกับจำนวนเงินค่าทดแทนดังกล่าวมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามมาตรา ๔๐ บรรดาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา ๓๗ ห้ามมิให้ยกเลิกอายุความครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู่กับ ส.ป.ก. ในเรื่องที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ ส.ป.ก. ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๓๘ ถ้า ส.ป.ก. เกี่ยวข้องในกิจการใดที่กฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนในอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ ส.ป.ก. ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนนั้น มาตรา ๓๙ ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในกฎกระทรวง หมวด ๔ อุทธรณ์ มาตรา ๔๐ ถ้าเจ้าของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์หรือผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน ผู้ใดประสงค์จะอุทธรณ์ ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๔๑ ให้มีคณะกรรมการอุทธรณ์คณะหนึ่ง ประกอบด้วยปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมายหนึ่งคน ผู้ทรงคุณวุฒิทางดินหนึ่งคน ผู้ทรงคุณวุฒิทางเศรษฐกิจการเกษตรหนึ่งคน ผู้ทรงคุณวุฒิทางพืชพรรณหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้ประธานกรรมการแต่งตั้งกรรมการหรือบุคคลใดเป็นเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการอุทธรณ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะเป็นกรรมการหรืออนุกรรมการในคณะกรรมการหรือคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมิได้ มาตรา ๔๒ ให้คณะกรรมการอุทธรณ์มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยคำอุทธรณ์ที่ยื่นต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ ให้คณะกรรมการอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ หากผู้อุทธรณ์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือน ในกรณีที่ยังมิได้มีการตั้งศาลปกครองตามบทตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มิให้นำข้อความดังกล่าวนี้มาใช้บังคับ มาตรา ๔๓ ให้คณะกรรมการอุทธรณ์มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะ เพื่อกระทำการที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการอุทธรณ์หรือให้ช่วยเหลือในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ เว้นแต่การวินิจฉัยอุทธรณ์ และให้นำมาตรา ๑๗ และมาตรา ๑๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๔๔ ให้กรรมการอุทธรณ์ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการอุทธรณ์ระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งซ่อมนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการอุทธรณ์ซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น มาตรา ๔๕ ให้นำมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ และมาตรา ๑๘ มาใช้แก่คณะกรรมการอุทธรณ์โดยอนุโลม มาตรา ๔๖ หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นอุทธรณ์และวิธีพิจารณาในการวินิจฉัยคำอุทธรณ์ ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง หมวด ๕ บทกำหนดโทษ มาตรา ๔๗ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๒๓ หรือมาตรา ๒๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๔๘ ผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีซึ่งออกตามมาตรา ๓๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพในการเกษตร ที่ดินจึงเป็นปัจจัยสำคัญและเป็นรากฐานเบื้องต้นของการผลิตทางเกษตรกรรม แต่ปัจจุบันปรากฏว่าเกษตรกรกำลังประสบความเดือดร้อนเนื่องจากต้องสูญเสียสิทธิในที่ดินและกลายเป็นผู้เช่าที่ดิน ต้องเสียค่าเช่าที่ดินในอัตราสูงเกินสมควร ที่ดินขาดการบำรุงรักษา จึงทำให้อัตราผลิตผลเกษตรกรรมอยู่ในระดับต่ำ เกษตรกรไม่ได้รับความเป็นธรรมและเสียเปรียบจากระบบการเช่าที่ดินและการจำหน่ายผลิตผลตลอดมา ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะความยุ่งยากทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม การปกครองและการเมืองของประเทศเป็นอย่างมาก จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยด่วนที่สุด โดยวิธีการปฏิรูปที่ดิน เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีที่ดินทำกิน และให้การใช้ที่ดินเกิดประโยชน์มากที่สุด พร้อมกับการจัดระบบการผลิตและจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรม เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่เกษตรกร ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนองแนวนโยบายแห่งรัฐในการลดความเหลื่อมล้ำในฐานะของบุคคลในทางเศรษฐกิจและสังคม ตามที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น พรพิมล/แก้ไข ๒ ต.ค ๒๕๔๔๔ A+B (C) พัชรินทร์/แก้ไข ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ วศิน/แก้ไข ๘ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒/ตอนที่ ๕๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐/๔ มีนาคม ๒๕๑๘
761402
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี และตำบลท่าขนุน ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2543
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการชำระราคา และค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ในเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๐ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นปีที่ ๓๒ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการชำระราคาและค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ มาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๙ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธี การในการชำระราคาและค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๐” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓[๒] การชำระที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่จัดซื้อ ให้จ่ายเป็นเงินสดหรือเงินสดและพันธนบัตรของรัฐบาล ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้ (๑) ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่จัดซื้อซึ่งมีราคาไม่เกินแปดล้านบาท ให้จ่ายเป็นเงินสดทั้งหมด (๒) ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่จัดซื้อซึ่งมีราคาเกินแปดล้านบาทขึ้นไป สำหรับจำนวนเงินแปดล้านบาทแรกให้จ่ายตาม (๑) ส่วนที่เกินแปดล้านให้จ่ายเป็นเงินสดร้อยละยี่สิบห้า และจ่ายเป็นพันธบัตรของรัฐบาลร้อยละเจ็ดสิบห้า เว้นแต่ในกรณีส่วนที่จะต้องจ่ายเป็นพันธบัตรรัฐบาลมีจำนวนต่ำกว่าหนึ่งหมื่นบาท ให้จ่ายเป็นเงินสด มาตรา ๔ การชำระค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืน ให้จ่ายเป็นเงินสดส่วนหนึ่ง และส่วนที่เหลือให้จ่ายเป็นพันธบัตรของรัฐบาล ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ (๑) ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืน ซึ่งมีค่าทดแทนไม่เกินหนึ่งแสนบาท ให้จ่าย เป็นเงินสดร้อยละห้าสิบ ส่วนที่เหลือให้จ่ายเป็นพันธบัตรของรัฐบาล (๒) ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืน ซึ่งมีค่าทดแทนเกินหนึ่งแสนบาท สำหรับจำนวนเงินหนึ่งแสนบาทแรกให้จ่ายตาม (๑) ส่วนที่เกินหนึ่งแสนบาทให้จ่ายเป็นเงินสดร้อยละยี่สิบห้าและจ่ายเป็นพันธบัตรของรัฐบาลร้อยละเจ็ดสิบห้า มาตรา ๕ การชำระราคาตามมาตรา ๓ (๒) หรือการชำระค่าทดแทนตามมาตรา ๔ นั้น เมื่อจ่ายเป็นพันธบัตรของรัฐบาลตามมูลค่าแล้วยังมีจำนวนเงินเหลืออยู่ไม่เท่ามูลค่าของหนึ่งหน่วยพันธบัตรที่ตราไว้ ให้จ่ายเป็นเงินสด มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ บัญญัติให้การชำระราคาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่จัดซื้อและการชำระค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการชำระราคาและค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๖[๓] หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่หลักเกณฑ์และวิธีการในการชำระที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่จัดซื้อมา ในการปฏิรูปที่ดินซึ่งกำหนดไว้ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีในการชำระและค่าทดแทนที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๐ ยังไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน เนื่องจากราคาที่ดินได้ปรับตัวสูงขึ้นมาก ประกอบกับดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลมักจะมีอัตราต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ การแลกเปลี่ยนธนบัตรรัฐบาลเป็นเงินสดจะมีส่วนลดสูง และสถาบันการเงินที่จะรับแลกเปลี่ยนก็มีอยู่น้อย ทำให้การใช้พันธบัตรไม่แพร่หลายและไม่จงใจ ให้มีการขายที่ดินให้แก่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการชำระราคาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยเพิ่มจำนวนเงินที่จะชำระเป็นเงินสดให้มากขึ้น อันจะเป็นการส่งเสริมนโยบาย การซื้อที่ดินแปลงใหญ่เพื่อนำมาจัดให้เกษตรผู้ไม่มีที่ดินทำกินต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ วิภา/ปรับปรุง ๑๒ กันยายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๔/ตอนที่ ๔๖/หน้า ๔๘๓/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๐ [๒] มาตรา ๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการชำระราคาและค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๖ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๘๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘/๒ กรกฎาคม ๒๕๓๖
787884
พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการชำระราคาและค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2520 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการชำระราคา และค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ในเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๐ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นปีที่ ๓๒ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการชำระราคาและค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ มาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๙ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการชำระราคาและค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๐” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓[๒] การชำระราคาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่จัดซื้อ ให้จ่ายเป็นเงินสด มาตรา ๔ การชำระค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืน ให้จ่ายเป็นเงินสดส่วนหนึ่ง และส่วนที่เหลือให้จ่ายเป็นพันธบัตรของรัฐบาล ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ (๑) ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืน ซึ่งมีค่าทดแทนไม่เกินหนึ่งแสนบาท ให้จ่ายเป็นเงินสดร้อยละห้าสิบ ส่วนที่เหลือให้จ่ายเป็นพันธบัตรของรัฐบาล (๒) ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืน ซึ่งมีค่าทดแทนเกินหนึ่งแสนบาท สำหรับจำนวนเงินหนึ่งแสนบาทแรกให้จ่ายตาม (๑) ส่วนที่เกินหนึ่งแสนบาทให้จ่ายเป็นเงินสดร้อยละยี่สิบห้า และจ่ายเป็นพันธบัตรของรัฐบาลร้อยละเจ็ดสิบห้า มาตรา ๕ การชำระราคาตามมาตรา ๓ (๒) หรือการชำระค่าทดแทนตามมาตรา ๔ นั้น เมื่อจ่ายเป็นพันธบัตรของรัฐบาลตามมูลค่าแล้วยังมีจำนวนเงินเหลืออยู่ไม่เท่ามูลค่าของหนึ่งหน่วยพันธบัตรที่ตราไว้ ให้จ่ายเป็นเงินสด มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ บัญญัติให้การชำระราคาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่จัดซื้อและการชำระค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการชำระราคาและค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๖[๓] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่หลักเกณฑ์และวิธีการในการชำระราคาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่จัดซื้อมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินซึ่งกำหนดไว้ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการชำระราคาและค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตปฏิรูปที่ดินพ.ศ. ๒๕๒๐ ยังไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากราคาที่ดินได้ปรับตัวสูงขึ้นมาก ประกอบกับดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลมักจะมีอัตราต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ การแลกเปลี่ยนพันธบัตรรัฐบาลเป็นเงินสดจะมีส่วนลดสูง และสถาบันการเงินที่จะรับแลกเปลี่ยนก็มีอยู่น้อย ทำให้การใช้พันธบัตรไม่แพร่หลายและไม่จูงใจให้มีการขายที่ดินให้แก่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการชำระราคาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยเพิ่มจำนวนเงินที่จะชำระเป็นเงินสดให้มากขึ้น อันจะเป็นการส่งเสริมนโยบายการซื้อที่ดินแปลงใหญ่เพื่อนำมาจัดให้เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินทำกินต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการชำระราคาและค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐[๔] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่หลักเกณฑ์และวิธีการในการชำระราคาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่จัดซื้อมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินยังไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะการจ่ายเงินโดยการใช้พันธบัตรของรัฐบาล ซึ่งมีขั้นตอนหลายประการทำให้ผู้ขายได้รับเงินล่าช้า สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการชำระราคาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตปฏิรูปที่ดินที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจัดซื้อเพื่อนำมาจัดให้เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินทำกินต่อไป โดยให้จ่ายเป็นเงินสดเพียงวิธีการเดียวเพื่อจูงใจให้มีการขายที่ดินเพื่อการนี้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปวันวิทย์/จัดทำ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๐ วิชพงษ์/ตรวจ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๔/ตอนที่ ๔๖/หน้า ๔๘๓/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๐ [๒] มาตรา ๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการชำระราคาและค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๘๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘/๒ กรกฎาคม ๒๕๓๖ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๙๓ ก/หน้า ๓๖/๑๓ กันยายน ๒๕๖๐
866932
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2563
พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๖๓ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นปีที่ ๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๖๓” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่ที่ดินสาธารณประโยชน์ทุ่งแหลมแค ในท้องที่ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล ซึ่งทางราชการได้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ ๔๔๘๓ ลงวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๘ เนื้อที่ประมาณ ๖,๗๘๓ ไร่ ๗๓ ตารางวา แต่เนื่องจากที่ดินสาธารณประโยชน์ดังกล่าวบางส่วนอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและพื้นที่ที่จำแนกออกจากป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี รวมทั้งบางส่วนได้มีการดำเนินการปฏิรูปที่ดินไปแล้ว คงเหลือที่ดินสาธารณประโยชน์ที่จะนำมาดำเนินการปฏิรูปที่ดิน เนื้อที่ประมาณ ๑,๓๕๔ ไร่ ๔๐ ตารางวา ปัจจุบันปรากฏว่าที่ดินดังกล่าวได้เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันไปแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พัชรภรณ์/จัดทำ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนที่ ๗๕ ก/หน้า ๔๔/๒๓ กันยายน ๒๕๖๓
848720
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลมะนังตายอ อำเภอเมืองนราธิวาส และตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2562
พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลมะนังตายอ อำเภอเมืองนราธิวาส และตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลมะนังตายอ อำเภอเมืองนราธิวาส และตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลมะนังตายอ อำเภอเมืองนราธิวาส และตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๖๒” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลมะนังตายอ อำเภอเมืองนราธิวาส และตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลมะนังตายอ อำเภอเมืองนราธิวาส และตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๖๒ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลมะนังตายอ อำเภอเมืองนราธิวาส และตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดิน ประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พัชรภรณ์/จัดทำ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๑๓๘ ก/หน้า ๒๙/๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๒
831157
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลท่าธง และตำบลอาซ่อง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2562
พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลท่าธง และตำบลอาซ่อง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๖๒ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลท่าธง และตำบลอาซ่อง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลท่าธง และตำบลอาซ่อง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๖๒” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลท่าธง และตำบลอาซ่อง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลท่าธง และตำบลอาซ่อง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๖๒ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลท่าธง และตำบลอาซ่อง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปุณิกา/จัดทำ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๒ นุสรา/ตรวจ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเษกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๔๙ ก/หน้า ๗๙/๑๔ เมษายน ๒๕๖๒
820873
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลนามะเขือ ตำบลกุตาไก้ ตำบลปลาปาก และตำบลโคกสูง อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2561
พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลนามะเขือ ตำบลกุตาไก้ ตำบลปลาปาก และตำบลโคกสูง อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๖๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลนามะเขือ ตำบลกุตาไก้ ตำบลปลาปากและตำบลโคกสูง อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลนามะเขือ ตำบลกุตาไก้ ตำบลปลาปาก และตำบลโคกสูง อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนมให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๖๑” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลนามะเขือ ตำบลกุตาไก้ ตำบลปลาปาก และตำบลโคกสูง อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลนามะเขือ ตำบลกุตาไก้ ตำบลปลาปาก และตำบลโคกสูง อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๖๑ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลนามะเขือ ตำบลกุตาไก้ ตำบลปลาปาก และตำบลโคกสูง อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปวันวิทย์/จัดทำ ๖ มีนาคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๙๘ ก/หน้า ๓๔/๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
785764
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลฉลุง ตำบลเจ๊ะบิลัง และตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2560
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลฉลุง ตำบลเจ๊ะบิลัง และตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลฉลุง ตำบลเจ๊ะบิลัง และตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลฉลุง ตำบลเจ๊ะบิลัง และตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๖๐” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลฉลุง ตำบลเจ๊ะบิลัง และตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลฉลุง ตำบลเจ๊ะบิลัง และตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๖๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลฉลุง ตำบลเจ๊ะบิลัง และตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเองหรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมากและโดยที่ที่ดินสาธารณประโยชน์ทุ่งกาลันยีตัน ในท้องที่ตำบลฉลุง ตำบลเจ๊ะบิลัง และตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ซึ่งทางราชการได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์สำหรับพลเมืองใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์พาหนะร่วมกันเมื่อสมัยการปกครองจังหวัดสตูลขึ้นต่อมณฑลนครศรีธรรมราช เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๑๘,๐๐๐ ไร่ แต่เมื่อทำการสำรวจรังวัดใหม่ปรากฏว่ามีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๙,๑๐๐ ไร่ ปัจจุบันปรากฏว่าที่ดินดังกล่าวได้เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันไปแล้วบางส่วน คงเหลือที่ดินสาธารณประโยชน์ที่จะนำมาดำเนินการปฏิรูปที่ดิน เนื้อที่ประมาณ ๓,๖๗๒ ไร่ สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปวันวิทย์/ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๙๓ ก/หน้า ๓๙/๑๓ กันยายน ๒๕๖๐
785739
พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการชำระราคาและค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ ในการชำระราคาและค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการในการชำระราคาและค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๙ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการชำระราคาและค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการชำระราคาและค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการชำระราคาและค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓ การชำระราคาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่จัดซื้อ ให้จ่ายเป็นเงินสด” ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่หลักเกณฑ์และวิธีการในการชำระราคาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่จัดซื้อมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินยังไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะการจ่ายเงินโดยการใช้พันธบัตรของรัฐบาล ซึ่งมีขั้นตอนหลายประการทำให้ผู้ขายได้รับเงินล่าช้า สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการชำระราคาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตปฏิรูปที่ดินที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจัดซื้อเพื่อนำมาจัดให้เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินทำกินต่อไป โดยให้จ่ายเป็นเงินสดเพียงวิธีการเดียวเพื่อจูงใจให้มีการขายที่ดินเพื่อการนี้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปวันวิทย์/ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๙๓ ก/หน้า ๓๖/๑๓ กันยายน ๒๕๖๐
783389
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2560
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๖๐” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๘๔ ก/หน้า ๑๙/๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๐
754646
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2559
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๙ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นปีที่ ๗๑ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๙” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๕๙ ก/หน้า ๗/๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙
754190
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปลาปาก อำเภอปลาปาก และตำบลนาคู่ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2559
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปลาปาก อำเภอปลาปาก และตำบลนาคู่ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๙ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นปีที่ ๗๑ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปลาปาก อำเภอปลาปาก และตำบลนาคู่ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปลาปาก อำเภอปลาปาก และตำบลนาคู่ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๙” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลปลาปาก อำเภอปลาปาก และตำบลนาคู่ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปลาปาก อำเภอปลาปาก และตำบลนาคู่ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลปลาปาก อำเภอปลาปาก และตำบลนาคู่ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเองหรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/จัดทำ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙ กัญฑรัตน์/ตรวจ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๕๘ ก/หน้า ๑/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙
751121
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบงตัน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2559
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบงตัน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๙ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นปีที่ ๗๑ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบงตัน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบงตัน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๙” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลบงตัน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบงตัน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลบงตัน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/จัดทำ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๔๖ ก/หน้า ๓๗/๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙
746400
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านนา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2559
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านนา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๙ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นปีที่ ๗๑ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านนา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านนา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๙” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลบ้านนา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านนา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลบ้านนา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่ที่ดินสาธารณประโยชน์ทำเลเลี้ยงสัตว์ทุ่งหนองโต๊ะ ในท้องที่ตำบลบ้านนา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ซึ่งทางราชการได้ประกาศหวงห้ามเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์สำหรับพลเมืองใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ร่วมกัน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๔ เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๓,๔๖๖ ไร่ ๒ งาน ๑ตารางวา ปัจจุบันปรากฏว่าได้เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ วริญา/ปริยานุช/จัดทำ ๒ มีนาคม ๒๕๕๙ พจนา/ตรวจ ๒ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๑๙ ก/หน้า ๑๓/๑ มีนาคม ๒๕๕๙
739656
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเมืองใหม่ อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2558
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเมืองใหม่ อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเมืองใหม่ อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเมืองใหม่ อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลเมืองใหม่ อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเมืองใหม่ อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลเมืองใหม่ อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/จัดทำ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ปุณิกา/ตรวจ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๑๐๖ ก/หน้า ๒๕/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
738266
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2558
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๘ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๑๕/๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๘
734985
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเมืองน้อย ตำบลอีปาด ตำบลบัวน้อย อำเภอกันทรารมย์ และตำบลลิ้นฟ้า อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2558
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเมืองน้อย ตำบลอีปาด ตำบลบัวน้อย อำเภอกันทรารมย์ และตำบลลิ้นฟ้า อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเมืองน้อย ตำบลอีปาด ตำบลบัวน้อย อำเภอกันทรารมย์ และตำบลลิ้นฟ้า อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเมืองน้อย ตำบลอีปาด ตำบลบัวน้อย อำเภอกันทรารมย์ และตำบลลิ้นฟ้า อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลเมืองน้อย ตำบลอีปาด ตำบลบัวน้อย อำเภอกันทรารมย์ และตำบลลิ้นฟ้า อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเมืองน้อย ตำบลอีปาด ตำบลบัวน้อย อำเภอกันทรารมย์ และตำบลลิ้นฟ้า อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลเมืองน้อย ตำบลอีปาด ตำบลบัวน้อย อำเภอกันทรารมย์ และตำบลลิ้นฟ้า อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินที่ได้จำแนกออกจากเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีป่าที่จัดสรรบ้านโนน (บางส่วน) ในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๘ ปุณิกา/ผู้ตรวจ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๘๗ ก/หน้า ๒๙/๙ กันยายน ๒๕๕๘
733841
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลองครักษ์ ตำบลบางเจ้าฉ่า ตำบลโคกพุทรา ตำบลอ่างแก้ว อำเภอโพธิ์ทอง ตำบลหลักฟ้า ตำบลชะไว ตำบลจระเข้ร้อง ตำบลชัยฤทธิ์ อำเภอไชโย ตำบลห้วยคันแหลน อำเภอวิเศษชัยชาญ และตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทองให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2558
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลองครักษ์ ตำบลบางเจ้าฉ่า ตำบลโคกพุทรา ตำบลอ่างแก้ว อำเภอโพธิ์ทอง ตำบลหลักฟ้า ตำบลชะไว ตำบลจรเข้ร้อง ตำบลชัยฤทธิ์ อำเภอไชโย ตำบลห้วยคันแหลน อำเภอวิเศษชัยชาญ และตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลองครักษ์ ตำบลบางเจ้าฉ่า ตำบลโคกพุทรา ตำบลอ่างแก้ว อำเภอโพธิ์ทอง ตำบลหลักฟ้า ตำบลชะไว ตำบลจรเข้ร้อง ตำบลชัยฤทธิ์ อำเภอไชโย ตำบลห้วยคันแหลน อำเภอวิเศษชัยชาญ และตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลองครักษ์ ตำบลบางเจ้าฉ่า ตำบลโคกพุทรา ตำบลอ่างแก้ว อำเภอโพธิ์ทอง ตำบลหลักฟ้า ตำบลชะไว ตำบลจรเข้ร้อง ตำบลชัยฤทธิ์ อำเภอไชโย ตำบลห้วยคันแหลน อำเภอวิเศษชัยชาญ และตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลองครักษ์ ตำบลบางเจ้าฉ่า ตำบลโคกพุทรา ตำบลอ่างแก้ว อำเภอโพธิ์ทอง ตำบลหลักฟ้า ตำบลชะไว ตำบลจรเข้ร้อง ตำบลชัยฤทธิ์ อำเภอไชโย ตำบลห้วยคันแหลน อำเภอวิเศษชัยชาญ และตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลองครักษ์ ตำบลบางเจ้าฉ่า ตำบลโคกพุทรา ตำบลอ่างแก้ว อำเภอโพธิ์ทอง ตำบลหลักฟ้า ตำบลชะไว ตำบลจรเข้ร้อง ตำบลชัยฤทธิ์ อำเภอไชโย ตำบลห้วยคันแหลน อำเภอวิเศษชัยชาญ และตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลองครักษ์ ตำบลบางเจ้าฉ่า ตำบลโคกพุทรา ตำบลอ่างแก้ว อำเภอโพธิ์ทอง ตำบลหลักฟ้า ตำบลชะไว ตำบลจรเข้ร้อง ตำบลชัยฤทธิ์ อำเภอไชโย ตำบลห้วยคันแหลน อำเภอวิเศษชัยชาญ และตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/จัดทำ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ นุสรา/ตรวจ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๘๒ ก/หน้า ๔๕/๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๘
733839
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลอ่างทองอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2558
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลอ่างทอง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลอ่างทอง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลอ่างทอง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลอ่างทอง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลอ่างทอง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลอ่างทอง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/จัดทำ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ นุสรา/ตรวจ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๘๒ ก/หน้า ๔๒/๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๘
731119
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2558
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ปุณิกา - วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๖๑ ก/หน้า ๑๔/๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘
728498
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหนองกระเบียน ตำบลหนองเมือง ตำบลดอนดึง ตำบลดงพลับ ตำบลบางกะพี้ อำเภอบ้านหมี่ และตำบลวังจั่น อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2558
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหนองกระเบียน ตำบลหนองเมือง ตำบลดอนดึง ตำบลดงพลับ ตำบลบางกะพี้ อำเภอบ้านหมี่ และตำบลวังจั่น อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหนองกระเบียน ตำบลหนองเมือง ตำบลดอนดึง ตำบลดงพลับ ตำบลบางกะพี้ อำเภอบ้านหมี่ และตำบลวังจั่น อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ ตำบลหนองกระเบียน ตำบลหนองเมือง ตำบลดอนดึง ตำบลดงพลับ ตำบลบางกะพี้ อำเภอบ้านหมี่ และตำบลวังจั่น อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลหนองกระเบียน ตำบลหนองเมือง ตำบลดอนดึง ตำบลดงพลับ ตำบลบางกะพี้ อำเภอบ้านหมี่ และตำบลวังจั่น อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ ตำบลหนองกระเบียน ตำบลหนองเมือง ตำบลดอนดึง ตำบลดงพลับ ตำบลบางกะพี้ อำเภอบ้านหมี่ และตำบลวังจั่น อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลหนองกระเบียน ตำบลหนองเมือง ตำบลดอนดึง ตำบลดงพลับ ตำบลบางกะพี้ อำเภอบ้านหมี่ และตำบลวังจั่น อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๘ วิศนี - วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๗ ก/หน้า ๑๖/๒ มิถุนายน ๒๕๕๘
727444
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปากพลี อำเภอปากพลี และตำบลบางสมบูรณ์ ตำบลบางลูกเสือ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2558
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปากพลี อำเภอปากพลี และตำบลบางสมบูรณ์ ตำบลบางลูกเสือ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปากพลี อำเภอปากพลี และตำบลบางสมบูรณ์ ตำบลบางลูกเสือ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปากพลี อำเภอปากพลี และตำบลบางสมบูรณ์ ตำบลบางลูกเสือ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลปากพลี อำเภอปากพลี และตำบลบางสมบูรณ์ ตำบลบางลูกเสือ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปากพลี อำเภอปากพลี และตำบลบางสมบูรณ์ ตำบลบางลูกเสือ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลปากพลี อำเภอปากพลี และตำบลบางสมบูรณ์ ตำบลบางลูกเสือ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘ วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๐ ก/หน้า ๑๘/๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘
727248
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2558
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ นุสรา/ผู้ตรวจ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๓๖ ก/หน้า ๓๖/๓๐ เมษายน ๒๕๕๘
722828
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2558
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ นุสรา/ผู้ตรวจ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๑๐ ก/หน้า ๕๖/๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
717042
พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2557
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๗” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในเขตท้องที่ตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๗ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่ที่ดินสาธารณประโยชน์โคกป่าแต้ ในท้องที่ตำบลโพธิ์สัย และตำบลสวนจิก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งทางราชการได้ประกาศหวงห้ามเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ สำหรับพลเมืองใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ร่วมกันเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ และได้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ ๑๕๑๑๙ ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เนื้อที่ประมาณ ๑,๕๔๑ ไร่ ๔๕ตารางวา ปัจจุบันปรากฏว่าพลเมืองเลิกใช้ประโยชน์ในที่ดินแล้วบางส่วน เนื้อที่ประมาณ ๔๖๖ ไร่ ๑ งาน ๑๙ ตารางวา สมควรกำหนดเขตที่ดินซึ่งพลเมืองเลิกใช้ประโยชน์ในที่ดินแล้วบางส่วนนี้ในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ จุฑามาศ/ผู้ตรวจ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๗๖ ก/หน้า ๔/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
717038
พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหนองฮี อำเภอปลาปาก ตำบลวังยาง อำเภอวังยาง และตำบลหนองสังข์ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2557
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหนองฮี อำเภอปลาปาก ตำบลวังยาง อำเภอวังยาง และตำบลหนองสังข์ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหนองฮี อำเภอปลาปาก ตำบลวังยาง อำเภอวังยาง และตำบลหนองสังข์ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหนองฮี อำเภอปลาปาก ตำบลวังยาง อำเภอวังยาง และตำบลหนองสังข์ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๗” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลหนองฮี อำเภอปลาปาก ตำบลวังยาง อำเภอวังยาง และตำบลหนองสังข์ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหนองฮี อำเภอปลาปาก ตำบลวังยาง อำเภอวังยาง และตำบลหนองสังข์ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๗ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลหนองฮี อำเภอปลาปาก ตำบลวังยาง อำเภอวังยาง และตำบลหนองสังข์ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ จุฑามาศ/ผู้ตรวจ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๗๖ ก/หน้า ๑/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
716959
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลชะไว ตำบลหลักฟ้า ตำบลตรีณรงค์ และตำบลจรเข้ร้อง อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2557
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลชะไว ตำบลหลักฟ้า ตำบลตรีณรงค์ และตำบลจรเข้ร้อง อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลชะไว ตำบลหลักฟ้า ตำบลตรีณรงค์ และตำบลจรเข้ร้อง อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลชะไว ตำบลหลักฟ้า ตำบลตรีณรงค์ และตำบลจรเข้ร้อง อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๗” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลชะไว ตำบลหลักฟ้า ตำบลตรีณรงค์ และตำบลจระเข้ร้อง อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลชะไว ตำบลหลักฟ้า ตำบลตรีณรงค์ และตำบลจรเข้ร้อง อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๗ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลชะไว ตำบลหลักฟ้า ตำบลตรีณรงค์ และตำบลจรเข้ร้อง อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ จุฑามาศ/ผู้ตรวจ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๗๕ ก/หน้า ๑๐/๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
693013
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโพธิ์ตาก ตำบลกุรุคุ และตำบลหนองญาติ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2556
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโพธิ์ตาก ตำบลกุรุคุ และตำบลหนองญาติ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นปีที่ ๖๘ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโพธิ์ตาก ตำบลกุรุคุ และตำบลหนองญาติ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโพธิ์ตาก ตำบลกุรุคุ และตำบลหนองญาติ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลโพธิ์ตาก ตำบลกุรุคุ และตำบลหนองญาติ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโพธิ์ตาก ตำบลกุรุคุ และตำบลหนองญาติ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลโพธิ์ตาก ตำบลกุรุคุ และตำบลหนองญาติ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเองหรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๖ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๘๔ ก/หน้า ๔/๒๕ กันยายน ๒๕๕๖
693011
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย และตำบลหนองหลวง อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2556
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย และตำบลหนองหลวง อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นปีที่ ๖๘ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย และตำบลหนองหลวง อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย และตำบลหนองหลวง อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย และตำบลหนองหลวง อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย และตำบลหนองหลวง อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย และตำบลหนองหลวง อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเองหรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๖ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๘๔ ก/หน้า ๑/๒๕ กันยายน ๒๕๕๖
691448
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเดิด ตำบลดู่ทุ่ง และตำบลค้อเหนือ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2556
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเดิด ตำบลดู่ทุ่ง และตำบลค้อเหนือ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นปีที่ ๖๘ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเดิด ตำบลดู่ทุ่ง และตำบลค้อเหนือ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเดิด ตำบลดู่ทุ่ง และตำบลค้อเหนือ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลเดิด ตำบลดู่ทุ่ง และตำบลค้อเหนือ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเดิด ตำบลดู่ทุ่ง และตำบลค้อเหนือ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลเดิด ตำบลดู่ทุ่ง และตำบลค้อเหนือ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเองหรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมากสมควรกำหนดเขตที่ดินที่ได้จำแนกออกจากเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ป่าตำบลเดิด ในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ กันยายน ๒๕๕๖ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒ กันยายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๗๔ ก/หน้า ๑๖/๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๖
691446
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลไทยเจริญ อำเภอไทยเจริญ และตำบลโนนเปือย อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2556
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลไทยเจริญ อำเภอไทยเจริญ และตำบลโนนเปือย อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นปีที่ ๖๘ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลไทยเจริญ อำเภอไทยเจริญ และตำบลโนนเปือย อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลไทยเจริญ อำเภอไทยเจริญ และตำบลโนนเปือย อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลไทยเจริญ อำเภอไทยเจริญ และตำบลโนนเปือย อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลไทยเจริญ อำเภอไทยเจริญ และตำบลโนนเปือย อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลไทยเจริญ อำเภอไทยเจริญ และตำบลโนนเปือย อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินที่ได้จำแนกออกจากเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ป่ากำแมด ในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ กันยายน ๒๕๕๖ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒ กันยายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๗๔ ก/หน้า ๑๓/๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๖
691444
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวังเพลิง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2556
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวังเพลิง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นปีที่ ๖๘ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวังเพลิง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวังเพลิง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลวังเพลิง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวังเพลิง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลวังเพลิง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพหรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ กันยายน ๒๕๕๖ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒ กันยายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๗๔ ก/หน้า ๑๐/๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๖
689817
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโพธิ์ตาก ตำบลบ้านผึ้ง ตำบลกุรุคุ ตำบลหนองญาติ และตำบลคำเตย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2556
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโพธิ์ตาก ตำบลบ้านผึ้ง ตำบลกุรุคุ ตำบลหนองญาติ และตำบลคำเตย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นปีที่ ๖๘ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโพธิ์ตาก ตำบลบ้านผึ้ง ตำบลกุรุคุ ตำบลหนองญาติ และตำบลคำเตย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโพธิ์ตาก ตำบลบ้านผึ้ง ตำบลกุรุคุ ตำบลหนองญาติ และตำบลคำเตย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลโพธิ์ตาก ตำบลบ้านผึ้ง ตำบลกุรุคุ ตำบลหนองญาติ และตำบลคำเตย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโพธิ์ตาก ตำบลบ้านผึ้ง ตำบลกุรุคุ ตำบลหนองญาติ และตำบลคำเตย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลโพธิ์ตาก ตำบลบ้านผึ้ง ตำบลกุรุคุ ตำบลหนองญาติ และตำบลคำเตย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๖๗ ก/หน้า ๑/๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๖
688166
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปางหมู ตำบลจองคำ และตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2556
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปางหมู ตำบลจองคำ และตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นปีที่ ๖๘ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปางหมู ตำบลจองคำ และตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปางหมู ตำบลจองคำ และตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลปางหมู ตำบลจองคำ และตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปางหมู ตำบลจองคำ และตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลปางหมู ตำบลจองคำ และตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินที่ได้จำแนกออกจากเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ป่าแม่ปาย ฝั่งซ้าย แปลง ๒ (หมายเลข ๙) ในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๖ ชาญ/ผู้ตรวจ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๕๓ ก/หน้า ๔/๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๖
686511
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก และตำบลอุดมธัญญา ตำบลพุนกยูง ตำบลสุขสำราญ ตำบลลำพยนต์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2556
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก และตำบลอุดมธัญญา ตำบลพุนกยูง ตำบลสุขสำราญ ตำบลลำพยนต์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นปีที่ ๖๘ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก และตำบลอุดมธัญญา ตำบลพุนกยูง ตำบลสุขสำราญ ตำบลลำพยนต์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก และตำบลอุดมธัญญา ตำบลพุนกยูง ตำบลสุขสำราญ ตำบลลำพยนต์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก และตำบลอุดมธัญญา ตำบลพุนกยูง ตำบลสุขสำราญ ตำบลลำพยนต์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก และตำบลอุดมธัญญา ตำบลพุนกยูง ตำบลสุขสำราญ ตำบลลำพยนต์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก และตำบลอุดมธัญญา ตำบลพุนกยูง ตำบลสุขสำราญ ตำบลลำพยนต์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตต์หวงห้ามที่ดิน ในท้องที่อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี และอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งทางราชการได้ประกาศเป็นที่ดินหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์แก่ราชการทหาร เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๘๐๘,๘๒๑ ไร่ ต่อมากระทรวงการคลังได้ให้ความยินยอมให้นำที่ราชพัสดุดังกล่าวบางส่วน เนื้อที่ประมาณ ๕๔,๒๐๐ ไร่ มาดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๔๒ ก/หน้า ๑๐/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖
683313
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหนองผือ อำเภอเขมราฐ ตำบลโนนสวาง อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี และตำบลคำโพน อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2556
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหนองผือ อำเภอเขมราฐ ตำบลโนนสวาง อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี และตำบลคำโพน อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นปีที่ ๖๘ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหนองผือ อำเภอเขมราฐ ตำบลโนนสวาง อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี และตำบลคำโพน อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหนองผือ อำเภอเขมราฐ ตำบลโนนสวาง อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี และตำบลคำโพน อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลหนองผือ อำเภอเขมราฐ ตำบลโนนสวาง อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี และตำบลคำโพน อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหนองผือ อำเภอเขมราฐ ตำบลโนนสวาง อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี และตำบลคำโพน อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลหนองผือ อำเภอเขมราฐ ตำบลโนนสวาง อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี และตำบลคำโพน อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่ารังงาม ในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๖ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๒๓ ก/หน้า ๘/๑๓ มีนาคม ๒๕๕๖
682298
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลท่าผาปุ้ม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2556
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลท่าผาปุ้ม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นปีที่ ๖๘ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลท่าผาปุ้ม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลท่าผาปุ้ม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลท่าผาปุ้ม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลท่าผาปุ้ม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลท่าผาปุ้ม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ มีนาคม ๒๕๕๖ ชาญ/ผู้ตรวจ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๑๙ ก/หน้า ๔/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
682296
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2556
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นปีที่ ๖๘ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ มีนาคม ๒๕๕๖ ชาญ/ผู้ตรวจ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๑๙ ก/หน้า ๑/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
678635
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลป่ามะนาว อำเภอบ้านฝาง ตำบลคำแคน ตำบลท่าศาลา ตำบลโพนเพ็ก ตำบลนาข่า ตำบลนางาม ตำบลหนองแปน อำเภอมัญจาคีรี และตำบลพระยืน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลป่ามะนาว อำเภอบ้านฝาง ตำบลคำแคน ตำบลท่าศาลา ตำบลโพนเพ็ก ตำบลนาข่า ตำบลนางาม ตำบลหนองแปน อำเภอมัญจาคีรี และตำบลพระยืน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลป่ามะนาว อำเภอบ้านฝาง ตำบลคำแคน ตำบลท่าศาลา ตำบลโพนเพ็ก ตำบลนาข่า ตำบลนางาม ตำบลหนองแปน อำเภอมัญจาคีรี และตำบลพระยืน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลป่ามะนาว อำเภอบ้านฝาง ตำบลคำแคน ตำบลท่าศาลา ตำบลโพนเพ็ก ตำบลนาข่า ตำบลนางาม ตำบลหนองแปน อำเภอมัญจาคีรี และตำบลพระยืน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลป่ามะนาว อำเภอบ้านฝาง ตำบลคำแคน ตำบลท่าศาลา ตำบลโพนเพ็ก ตำบลนาข่า ตำบลนางาม ตำบลหนองแปน อำเภอมัญจาคีรี และตำบลพระยืน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลป่ามะนาว อำเภอบ้านฝาง ตำบลคำแคน ตำบลท่าศาลา ตำบลโพนเพ็ก ตำบลนาข่า ตำบลนางาม ตำบลหนองแปน อำเภอมัญจาคีรี และตำบลพระยืน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลป่ามะนาว อำเภอบ้านฝาง ตำบลคำแคน ตำบลท่าศาลา ตำบลโพนเพ็ก ตำบลนาข่า ตำบลนางาม ตำบลหนองแปน อำเภอมัญจาคีรี และตำบลพระยืน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าโคกหลวง ในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๑๙ ก/หน้า ๑๖/๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๕
678626
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลชัยบุรี และตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลชัยบุรี และตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลชัยบุรี และตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลชัยบุรี และตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลชัยบุรี และตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลชัยบุรี และตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลชัยบุรี และตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่ที่ดินสาธารณประโยชน์ควนท่าสำเภา ในท้องที่ตำบลชัยบุรี และตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ซึ่งทางราชการได้ประกาศเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ สำหรับพลเมืองใช้ไม้ในตำบล เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๒,๑๕๖ ไร่ ๑ งาน แต่เมื่อทำการสำรวจรังวัดใหม่ปรากฏว่ามีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๔,๑๒๘ ไร่ ๑ งาน ๓๖ ตารางวา ปัจจุบันปรากฏว่าได้เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้วบางส่วน คงเหลือที่ดินสาธารณประโยชน์ที่จะนำมาดำเนินการปฏิรูปที่ดิน เนื้อที่ประมาณ ๑,๗๐๐ ไร่ สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๑๙ ก/หน้า ๑๐/๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๕
678623
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวังใหญ่ ตำบลสายลำโพง ตำบลพนมเศษ ตำบลพนมรอก ตำบลดอนคา ตำบลวังมหากร ตำบลท่าตะโก ตำบลหัวถนน และตำบลทำนบ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวังใหญ่ ตำบลสายลำโพง ตำบลพนมเศษ ตำบลพนมรอก ตำบลดอนคา ตำบลวังมหากร ตำบลท่าตะโก ตำบลหัวถนน และตำบลทำนบ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวังใหญ่ ตำบลสายลำโพง ตำบลพนมเศษ ตำบลดอนคา ตำบลพนมรอก ตำบลท่าตะโก ตำบลหัวถนน และตำบลทำนบ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวังใหญ่ ตำบลสายลำโพง ตำบลพนมเศษ ตำบลพนมรอก ตำบลดอนคา ตำบลวังมหากร ตำบลท่าตะโก ตำบลหัวถนน และตำบลทำนบ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวังใหญ่ ตำบลสายลำโพง ตำบลพนมเศษ ตำบลดอนคา ตำบลพนมรอก ตำบลท่าตะโก ตำบลหัวถนน และตำบลทำนบ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๔ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลวังใหญ่ ตำบลสายลำโพง ตำบลพนมเศษ ตำบลพนมรอก ตำบลดอนคา ตำบลวังมหากร ตำบลท่าตะโก ตำบลหัวถนน และตำบลทำนบ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวังใหญ่ ตำบลสายลำโพง ตำบลพนมเศษ ตำบลพนมรอก ตำบลดอนคา ตำบลวังมหากร ตำบลท่าตะโก ตำบลหัวถนน และตำบลทำนบ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวังใหญ่ ตำบลสายลำโพง ตำบลพนมเศษ ตำบลดอนคา ตำบลพนมรอก ตำบลท่าตะโก ตำบลหัวถนน และตำบลทำนบ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้กำหนดให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๖ โดยกันพื้นที่ที่ไม่สมควรกำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดินออก แต่ยังคงมีเขตปฏิรูปที่ดินครอบคลุมพื้นที่ที่ไม่มีโครงการเพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมด้วย ต่อมาเมื่อมาตรา ๒๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ กำหนดให้การกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินให้กำหนดเฉพาะที่ดินที่จะดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็นจะถือเขตของตำบลหรืออำเภอเป็นหลักแล้ว สมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เพื่อให้การกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินสอดคล้องกับข้อเท็จจริง โดยกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินเฉพาะที่ดินที่มีการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเท่านั้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๑๙ ก/หน้า ๗/๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๕
678621
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเวียง ตำบลบ้านโป่ง ตำบลป่างิ้ว และตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเวียง ตำบลบ้านโป่ง ตำบลป่างิ้ว และตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเวียง ตำบลบ้านโป่ง ตำบลป่างิ้ว และตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเวียง ตำบลบ้านโป่ง ตำบลป่างิ้ว และตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลเวียง ตำบลบ้านโป่ง ตำบลป่างิ้ว และตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเวียง ตำบลบ้านโป่ง ตำบลป่างิ้ว และตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลเวียง ตำบลบ้านโป่ง ตำบลป่างิ้ว และตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ลาวฝั่งขวา ในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๑๙ ก/หน้า ๔/๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๕
676628
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปันแต และตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปันแต และตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปันแต และตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปันแต และตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลปันแต และตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปันแต และตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลปันแต และตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่ที่ดินสาธารณประโยชน์ทุ่งศาลาน้ำตก ในท้องที่ตำบลปันแต และตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ซึ่งทางราชการได้ประกาศเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ สำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์เพื่อใช้ไม้ ตัดฟืน และเลี้ยงสัตว์พาหนะร่วมกัน เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๔๕,๐๐๐ ไร่ ปัจจุบันปรากฏว่าได้เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันและได้มีการดำเนินการปฏิรูปที่ดินไปแล้วบางส่วน คงเหลือที่ดินสาธารณประโยชน์ที่จะนำมาดำเนินการปฏิรูปที่ดิน เนื้อที่ประมาณ ๒,๐๔๕ ไร่ ๔๐ ตารางวา สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๐๔ ก/หน้า ๘/๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
676626
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินที่ได้จำแนกออกจากเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ป่าแม่ปายฝั่งขวา แปลง ๑ (หมายเลข ๘) ในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๐๔ ก/หน้า ๕/๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
674372
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านขอ อำเภอเมืองปาน และตำบลบ้านค่า ตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านขอ อำเภอเมืองปาน และตำบลบ้านค่า ตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านขอ อำเภอเมืองปาน และตำบลบ้านค่า ตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านขอ อำเภอเมืองปาน และตำบลบ้านค่า ตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลบ้านขอ อำเภอเมืองปาน และตำบลบ้านค่า ตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านขอ อำเภอเมืองปาน และตำบลบ้านค่า ตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลบ้านขอ อำเภอเมืองปาน และตำบลบ้านค่า ตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินที่ได้จำแนกออกจากเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ป่าแม่อิง - แม่ต๋ำ - แม่จุ๋น ในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๙๒ ก/หน้า ๔/๒๘ กันยายน ๒๕๕๕
674007
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่ที่ดินสาธารณประโยชน์ที่เลี้ยงสัตว์ในท้องที่ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ซึ่งทางราชการได้ประกาศหวงห้ามเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์สำหรับพลเมืองใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ร่วมกัน เมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๔ เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๑,๒๐๐ ไร่ แต่เมื่อทำการสำรวจรังวัดใหม่ปรากฏว่า มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๕๘๐ ไร่ ๓ งาน ๘๓ตารางวา ปัจจุบันปรากฏว่าได้เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้ว คงเหลือที่ดินสาธารณประโยชน์ที่จะนำมาดำเนินการปฏิรูปที่ดิน เนื้อที่ประมาณ ๒๐๕ ไร่ สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๙๐ ก/หน้า ๒๗/๑๙ กันยายน ๒๕๕๕
674005
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโนนสมบูรณ์ ตำบลบ้านแฮด ตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด และตำบลภูเหล็ก ตำบลในเมือง ตำบลหินตั้ง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโนนสมบูรณ์ ตำบลบ้านแฮด ตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด และตำบลภูเหล็ก ตำบลในเมือง ตำบลหินตั้ง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโนนสมบูรณ์ ตำบลบ้านแฮด ตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด และตำบลภูเหล็ก ตำบลในเมือง ตำบลหินตั้ง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโนนสมบูรณ์ ตำบลบ้านแฮด ตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด และตำบลภูเหล็ก ตำบลในเมือง ตำบลหินตั้ง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลโนนสมบูรณ์ ตำบลบ้านแฮด ตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด และตำบลภูเหล็ก ตำบลในเมือง ตำบลหินตั้ง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโนนสมบูรณ์ ตำบลบ้านแฮด ตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด และตำบลภูเหล็ก ตำบลในเมือง ตำบลหินตั้ง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลโนนสมบูรณ์ ตำบลบ้านแฮด ตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด และตำบลภูเหล็ก ตำบลในเมือง ตำบลหินตั้ง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าหนองเม็กและป่าลุมพุก ในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๙๐ ก/หน้า ๒๔/๑๙ กันยายน ๒๕๕๕
673656
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลริมโขง และตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลริมโขง และตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลริมโขง และตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลริมโขงและตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลริมโขง และตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลริมโขงและตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลริมโขง และตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่โขงฝั่งขวาในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๘๗ ก/หน้า ๔/๑๒ กันยายน ๒๕๕๕
673651
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพหรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินที่ได้จำแนกออกจากเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ป่าเทือกเขาปลายโต๊ะ - เขาศก ในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๘๗ ก/หน้า ๑/๑๒ กันยายน ๒๕๕๕
672072
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร และตำบลคอแลน ตำบลโพนงาม อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร และตำบลคอแลน ตำบลโพนงาม อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร และตำบลคอแลน ตำบลโพนงาม อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร และตำบลคอแลน ตำบลโพนงาม อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร และตำบลคอแลน ตำบลโพนงาม อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร และตำบลคอแลน ตำบลโพนงาม อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร และตำบลคอแลน ตำบลโพนงาม อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าบุณฑริก ในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๗๘ ก/หน้า ๔/๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕
672070
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเขาเจ็ดลูก ตำบลเขาทราย ตำบลทับคล้อ ตำบลท้ายทุ่ง อำเภอทับคล้อ ตำบลหนองพยอม ตำบลวังหลุม ตำบลงิ้วราย ตำบลทุ่งโพธิ์ ตำบลดงตะขบ อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร และตำบลท้ายดง อำเภอวังโป่ง ตำบลตะกุดไร ตำบลดงขุย อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเขาเจ็ดลูก ตำบลเขาทราย ตำบลทับคล้อ ตำบลท้ายทุ่ง อำเภอทับคล้อ ตำบลหนองพยอม ตำบลวังหลุม ตำบลงิ้วราย ตำบลทุ่งโพธิ์ ตำบลดงตะขบ อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร และตำบลท้ายดง อำเภอวังโป่ง ตำบลตะกุดไร ตำบลดงขุย อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๖ และพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเขาเจ็ดลูก ตำบลเขาทราย ตำบลทับคล้อ ตำบลท้ายทุ่ง อำเภอทับคล้อ ตำบลหนองพยอม ตำบลวังหลุม ตำบลงิ้วราย ตำบลทุ่งโพธิ์ ตำบลดงตะขบ อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร และตำบลท้ายดง อำเภอวังโป่ง ตำบลตะกุดไร ตำบลดงขุย อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๖ (๒) พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๔ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลเขาเจ็ดลูก ตำบลเขาทราย ตำบลทับคล้อ ตำบลท้ายทุ่ง อำเภอทับคล้อ ตำบลหนองพยอม ตำบลวังหลุม ตำบลงิ้วราย ตำบลทุ่งโพธิ์ ตำบลดงตะขบ อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร และตำบลท้ายดง อำเภอวังโป่ง ตำบลตะกุดไร ตำบลดงขุย อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเขาเจ็ดลูก ตำบลเขาทราย ตำบลทับคล้อ ตำบลท้ายทุ่ง อำเภอทับคล้อ ตำบลหนองพยอม ตำบลวังหลุม ตำบลงิ้วราย ตำบลทุ่งโพธิ์ ตำบลดงตะขบ อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร และตำบลท้ายดง อำเภอวังโป่ง ตำบลตะกุดไร ตำบลดงขุย อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๖ และพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้กำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ในท้องที่อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร โดยถือเขตอำเภอดังกล่าวเป็นหลัก ซึ่งทำให้เขตปฏิรูปที่ดินที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ที่ไม่มีโครงการเพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมด้วย ต่อมาเมื่อมาตรา ๒๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ กำหนดให้การกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินให้กำหนดเฉพาะที่ดินที่จะดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็นจะถือเขตของตำบลหรืออำเภอเป็นหลักแล้ว สมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับดังกล่าว เพื่อกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินเฉพาะที่ดินที่มีการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเท่านั้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๗๘ ก/หน้า ๑/๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕
669644
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวิสัยใต้ ตำบลครน ตำบลทุ่งระยะ ตำบลนาสัก ตำบลเขาทะลุ ตำบลเขาค่าย อำเภอสวี และตำบลวิสัยเหนือ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวิสัยใต้ ตำบลครน ตำบลทุ่งระยะ ตำบลนาสัก ตำบลเขาทะลุ ตำบลเขาค่าย อำเภอสวี และตำบลวิสัยเหนือ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวิสัยใต้ ตำบลครน ตำบลทุ่งระยะ ตำบลนาสัก ตำบลเขาทะลุ ตำบลเขาค่าย อำเภอสวี และตำบลวิสัยเหนือ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวิสัยใต้ ตำบลครน ตำบลทุ่งระยะ ตำบลนาสัก ตำบลเขาทะลุ ตำบลเขาค่าย อำเภอสวี และตำบลวิสัยเหนือ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลวิสัยใต้ ตำบลครน ตำบลทุ่งระยะ ตำบลนาสัก ตำบลเขาทะลุ ตำบลเขาค่าย อำเภอสวี และตำบลวิสัยเหนือ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวิสัยใต้ ตำบลครน ตำบลทุ่งระยะ ตำบลนาสัก ตำบลเขาทะลุ ตำบลเขาค่าย อำเภอสวี และตำบลวิสัยเหนือ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลวิสัยใต้ ตำบลครน ตำบลทุ่งระยะ ตำบลนาสัก ตำบลเขาทะลุ ตำบลเขาค่าย อำเภอสวี และตำบลวิสัยเหนือ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าทุ่งระยะ และป่านาสัก ในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๕๗ ก/หน้า ๗/๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๕
666711
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปากหมัน และตำบลอิปุ่ม อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปากหมัน และตำบลอิปุ่ม อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปากหมัน และตำบลอิปุ่ม อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปากหมัน และตำบลอิปุ่ม อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลปากหมัน และตำบลอิปุ่ม อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลปากหมัน และตำบลอิปุ่ม อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้า และป่าภูเรือ ในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๓๗ ก/หน้า ๑๖/๒๗ เมษายน ๒๕๕๕
666709
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต และตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต และตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต และตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต และตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต และตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต และตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่ที่ดินสาธารณประโยชน์ทุ่งหนองคล้า ในท้องที่ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต และตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ซึ่งทางราชการได้ประกาศและขึ้นทะเบียนเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ สำหรับพลเมืองใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ร่วมกัน เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๓,๐๗๖ ไร่ แต่เมื่อทำการสำรวจรังวัดใหม่ปรากฏว่ามีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๓,๖๙๘ ไร่ ๓ งาน ๗๐ ๒/๑๐ ตารางวา ปัจจุบันปรากฏว่าที่ดินดังกล่าวได้เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๓๗ ก/หน้า ๑๓/๒๗ เมษายน ๒๕๕๕
666707
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลน้ำตก และตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลน้ำตก และตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลน้ำตก และตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลน้ำตก และตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลน้ำตก และตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลน้ำตก และตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าควนออกบ้านน้ำตก ในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๓๗ ก/หน้า ๑๐/๒๗ เมษายน ๒๕๕๕
666705
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ และตำบลเขาน้อย อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ และตำบลเขาน้อย อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ และตำบลเขาน้อย อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ และตำบลเขาน้อย อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ และตำบลเขาน้อย อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ และตำบลเขาน้อย อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่ากรุงชิง ในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๓๗ ก/หน้า ๗/๒๗ เมษายน ๒๕๕๕
666216
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมากและโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำตกโยง ในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๓๕ ก/หน้า ๑๐/๒๐ เมษายน ๒๕๕๕
666214
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเขาคีริส อำเภอพรานกระต่าย และตำบลมหาชัย ตำบลหนองทอง ตำบลหนองคล้า ตำบลพานทอง อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเขาคีริส อำเภอพรานกระต่าย และตำบลมหาชัย ตำบลหนองทอง ตำบลหนองคล้า ตำบลพานทอง อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเขาคีริส อำเภอพรานกระต่าย และตำบลมหาชัย ตำบลหนองทอง ตำบลหนองคล้า ตำบลพานทอง อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเขาคีริส อำเภอพรานกระต่าย และตำบลมหาชัย ตำบลหนองทอง ตำบลหนองคล้า ตำบลพานทอง อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลเขาคีริส อำเภอพรานกระต่าย และตำบลมหาชัย ตำบลหนองทอง ตำบลหนองคล้า ตำบลพานทอง อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเขาคีริส อำเภอพรานกระต่าย และตำบลมหาชัย ตำบลหนองทอง ตำบลหนองคล้า ตำบลพานทอง อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลเขาคีริส อำเภอพรานกระต่าย และตำบลมหาชัย ตำบลหนองทอง ตำบลหนองคล้า ตำบลพานทอง อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมากสมควรกำหนดเขตที่ดินที่ได้จำแนกออกจากเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ป่าหนองคล้า - คลองเรือ ในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๓๕ ก/หน้า ๗/๒๐ เมษายน ๒๕๕๕
665893
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ ตำบลเวียง ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย และตำบลเชียงแรง อำเภอภูซาง ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคา จังหวัดพะเยา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเวียง ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย และตำบลเชียงแรง อำเภอภูซาง ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเวียง ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย และตำบลเชียงแรง อำเภอภูซาง ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเวียง ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย และตำบลเชียงแรง อำเภอภูซาง ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลเวียง ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย และตำบลเชียงแรง อำเภอภูซาง ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเวียง ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย และตำบลเชียงแรง อำเภอภูซาง ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลเวียง ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย และตำบลเชียงแรง อำเภอภูซาง ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพหรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดอยทา และป่าดอยบ่อส้ม ในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๓๔ ก/หน้า ๑๓/๑๒ เมษายน ๒๕๕๕
665891
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง และตำบลศรีคา ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง และตำบลศรีค้ำ ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง และตำบลศรีค้ำ ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้ เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง และตำบลศรีค้ำ ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง และตำบลศรีค้ำ ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง และตำบลศรีค้ำ ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง และตำบลศรีค้ำ ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๓๔ ก/หน้า ๑๐/๑๒ เมษายน ๒๕๕๕
664818
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านสา ตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม และตำบลบ้านแลง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านสา ตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม และตำบลบ้านแลง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านสา ตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม และตำบลบ้านแลง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านสา ตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม และตำบลบ้านแลง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลบ้านสา ตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม และตำบลบ้านแลง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านสา ตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม และตำบลบ้านแลง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลบ้านสา ตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม และตำบลบ้านแลง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ต๋าและป่าแม่มาย ในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๖ ก/หน้า ๔/๑๖ มีนาคม ๒๕๕๕
664816
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านขอ ตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน และตำบลบ้านค่า อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านขอ ตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน และตำบลบ้านค่า อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านขอ ตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน และตำบลบ้านค่า อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านขอ ตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน และตำบลบ้านค่า อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลบ้านขอ ตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน และตำบลบ้านค่า อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านขอ ตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน และตำบลบ้านค่า อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลบ้านขอ ตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน และตำบลบ้านค่า อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเองหรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ตุ๋ยฝั่งขวา ในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๖ ก/หน้า ๑/๑๖ มีนาคม ๒๕๕๕
664319
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลทุ่งศรีทอง ตำบลนาเหลือง ตำบลน้ำปั้ว ตำบลจอมจันทร์ ตำบลตาลชุม ตำบลปงสนุก ตำบลยาบหัวนา ตำบลกลางเวียง ตำบลไหล่น่าน ตำบลขึ่ง ตำบลแม่สา ตำบลส้านนาหนองใหม่ ตำบลอ่ายนาไลย ตำบลส้าน ตำบลแม่สาคร ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา และตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลทุ่งศรีทอง ตำบลนาเหลือง ตำบลน้ำปั้ว ตำบลจอมจันทร์ ตำบลตาลชุม ตำบลปงสนุก ตำบลยาบหัวนา ตำบลกลางเวียง ตำบลไหล่น่าน ตำบลขึ่ง ตำบลแม่สา ตำบลส้านนาหนองใหม่ ตำบลอ่ายนาไลย ตำบลส้าน ตำบลแม่สาคร ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา และตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลทุ่งศรีทอง ตำบลนาเหลือง ตำบลน้ำปั้ว ตำบลจอมจันทร์ ตำบลตาลชุม ตำบลปงสนุก ตำบลยาบหัวนา ตำบลกลางเวียง ตำบลไหล่น่าน ตำบลขึ่ง ตำบลแม่สา ตำบลส้านนาหนองใหม่ ตำบลอ่ายนาไลย ตำบลส้าน ตำบลแม่สาคร ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา และตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๒ มาตรา ๔ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลทุ่งศรีทอง ตำบลนาเหลือง ตำบลน้ำปั้ว ตำบลจอมจันทร์ ตำบลตาลชุม ตำบลปงสนุก ตำบลยาบหัวนา ตำบลกลางเวียง ตำบลไหล่น่าน ตำบลขึ่ง ตำบลแม่สา ตำบลส้านนาหนองใหม่ ตำบลอ่ายนาไลย ตำบลส้าน ตำบลแม่สาคร ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา และตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลทุ่งศรีทอง ตำบลนาเหลือง ตำบลน้ำปั้ว ตำบลจอมจันทร์ ตำบลตาลชุม ตำบลปงสนุก ตำบลยาบหัวนา ตำบลกลางเวียง ตำบลไหล่น่าน ตำบลขึ่ง ตำบลแม่สา ตำบลส้านนาหนองใหม่ ตำบลอ่ายนาไลย ตำบลส้าน ตำบลแม่สาคร ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา และตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้กำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ในท้องที่อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน โดยถือเขตอำเภอดังกล่าวเป็นหลัก ซึ่งทำให้เขตปฏิรูปที่ดินที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ที่ไม่มีโครงการเพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมด้วยต่อมาเมื่อมาตรา ๒๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ กำหนดให้การกำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ให้กำหนดเฉพาะที่ดินที่จะดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็นจะถือเขตของตำบลหรืออำเภอเป็นหลักแล้ว สมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เพื่อกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินเฉพาะที่ดินที่มีการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเท่านั้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๕ มีนาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๕ มีนาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๗/๒ มีนาคม ๒๕๕๕
664314
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ่อเกลือเหนือ อำเภอบ่อเกลือ ตำบลเจดีย์ชัย ตำบลวรนคร ตำบลปัว ตำบลศิลาแลง ตำบลป่ากลาง ตำบลศิลาเพชร ตำบลอวน อำเภอปัว ตำบลป่าแลวหลวง ตำบลพงษ์ ตำบลดู่พงษ์ อำเภอสันติสุข และตำบลแม่จริม ตำบลหนองแดง ตำบลหมอเมือง ตำบลน้ำปาย ตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ่อเกลือเหนือ อำเภอบ่อเกลือ ตำบลเจดีย์ชัย ตำบลวรนคร ตำบลปัว ตำบลศิลาแลง ตำบลป่ากลาง ตำบลศิลาเพชร ตำบลอวน อำเภอปัว ตำบลป่าแลวหลวง ตำบลพงษ์ ตำบลดู่พงษ์ อำเภอสันติสุข และตำบลแม่จริม ตำบลหนองแดง ตำบลหมอเมือง ตำบลน้ำปาย ตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอปัว จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๗ และพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่กิ่งอำเภอสันติสุข อำเภอเมืองน่าน และอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ่อเกลือเหนือ อำเภอบ่อเกลือ ตำบลเจดีย์ชัย ตำบลวรนคร ตำบลปัว ตำบลศิลาแลง ตำบลป่ากลาง ตำบลศิลาเพชร ตำบลอวน อำเภอปัว ตำบลป่าแลวหลวง ตำบลพงษ์ ตำบลดู่พงษ์ อำเภอสันติสุข และตำบลแม่จริม ตำบลหนองแดง ตำบลหมอเมือง ตำบลน้ำปาย ตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอปัว จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๗ (๒) พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่กิ่งอำเภอสันติสุข อำเภอเมืองน่าน และอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๔ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลบ่อเกลือเหนือ อำเภอบ่อเกลือ ตำบลเจดีย์ชัย ตำบลวรนคร ตำบลปัว ตำบลศิลาแลง ตำบลป่ากลาง ตำบลศิลาเพชร ตำบลอวน อำเภอปัว ตำบลป่าแลวหลวง ตำบลพงษ์ ตำบลดู่พงษ์ อำเภอสันติสุข และตำบลแม่จริม ตำบลหนองแดง ตำบลหมอเมือง ตำบลน้ำปาย ตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ่อเกลือเหนือ อำเภอบ่อเกลือ ตำบลเจดีย์ชัย ตำบลวรนคร ตำบลปัว ตำบลศิลาแลง ตำบลป่ากลาง ตำบลศิลาเพชร ตำบลอวน อำเภอปัว ตำบลป่าแลวหลวง ตำบลพงษ์ ตำบลดู่พงษ์ อำเภอสันติสุข และตำบลแม่จริม ตำบลหนองแดง ตำบลหมอเมือง ตำบลน้ำปาย ตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอปัว จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๗ และพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่กิ่งอำเภอสันติสุข อำเภอเมืองน่าน และอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้กำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ในท้องที่อำเภอปัว กิ่งอำเภอสันติสุข อำเภอเมืองน่าน และอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน โดยถือเขตอำเภอดังกล่าวเป็นหลัก ซึ่งทำให้เขตปฏิรูปที่ดินที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ที่ไม่มีโครงการเพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมด้วย ต่อมาเมื่อมาตรา ๒๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ กำหนดให้การกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินให้กำหนดเฉพาะที่ดินที่จะดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็นจะถือเขตของตำบลหรืออำเภอเป็นหลัก สมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับดังกล่าว เพื่อกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินเฉพาะที่ดินที่มีการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเท่านั้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๕ มีนาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๕ มีนาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๔/๒ มีนาคม ๒๕๕๕
664312
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลผาทอง ตำบลผาตอ ตำบลแสนทอง ตำบลริม ตำบลท่าวังผา ตำบลจอมพระ ตำบลป่าคา ตำบลยม ตำบลศรีภูมิ ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา ตำบลบ่อ ตำบลสะเนียน ตำบลผาสิงห์ ตำบลถืมตอง ตำบลไชยสถาน ตำบลเรือง ตำบลดู่ใต้ ตำบลสวก ตำบลนาซาว ตำบลกองควาย อำเภอเมืองน่าน และตำบลเมืองจัง ตำบลฝายแก้ว ตำบลม่วงตึ๊ด ตำบลน้ำเกี๋ยน ตำบลแก่น ตำบลนาปัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลผาทอง ตำบลผาตอ ตำบลแสนทอง ตำบลริม ตำบลท่าวังผา ตำบลจอมพระ ตำบลป่าคา ตำบลยม ตำบลศรีภูมิ ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา ตำบลบ่อ ตำบลสะเนียน ตำบลผาสิงห์ ตำบลถืมตอง ตำบลไชยสถาน ตำบลเรือง ตำบลดู่ใต้ ตำบลสวก ตำบลนาซาว ตำบลกองควาย อำเภอเมืองน่าน และตำบลเมืองจัง ตำบลฝายแก้ว ตำบลม่วงตึ๊ด ตำบลน้ำเกี๋ยน ตำบลน้ำแก่น ตำบลนาปัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๑ และพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๓ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลผาทอง ตำบลผาตอ ตำบลแสนทอง ตำบลริม ตำบลท่าวังผา ตำบลจอมพระ ตำบลป่าคา ตำบลยม ตำบลศรีภูมิ ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา ตำบลบ่อ ตำบลสะเนียน ตำบลผาสิงห์ ตำบลถืมตอง ตำบลไชยสถาน ตำบลเรือง ตำบลดู่ใต้ ตำบลสวก ตำบลนาซาว ตำบลกองควาย อำเภอเมืองน่าน และตำบลเมืองจัง ตำบลฝายแก้ว ตำบลม่วงตึ๊ด ตำบลน้ำเกี๋ยน ตำบลน้ำแก่น ตำบลนาปัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๑ (๒) พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๓ มาตรา ๔ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลผาทอง ตำบลผาตอ ตำบลแสนทอง ตำบลริม ตำบลท่าวังผา ตำบลจอมพระ ตำบลป่าคา ตำบลยม ตำบลศรีภูมิ ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา ตำบลบ่อ ตำบลสะเนียน ตำบลผาสิงห์ ตำบลถืมตอง ตำบลไชยสถาน ตำบลเรือง ตำบลดู่ใต้ ตำบลสวก ตำบลนาซาว ตำบลกองควาย อำเภอเมืองน่าน และตำบลเมืองจัง ตำบลฝายแก้ว ตำบลม่วงตึ๊ด ตำบลน้ำเกี๋ยน ตำบลน้ำแก่น ตำบลนาปัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลผาทอง ตำบลผาตอ ตำบลแสนทอง ตำบลริม ตำบลท่าวังผา ตำบลจอมพระ ตำบลป่าคา ตำบลยม ตำบลศรีภูมิ ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา ตำบลบ่อ ตำบลสะเนียน ตำบลผาสิงห์ ตำบลถืมตอง ตำบลไชยสถาน ตำบลเรือง ตำบลดู่ใต้ ตำบลสวก ตำบลนาซาว ตำบลกองควาย อำเภอเมืองน่าน และตำบลเมืองจัง ตำบลฝายแก้ว ตำบลม่วงตึ๊ด ตำบลน้ำเกี๋ยน ตำบลน้ำแก่น ตำบลนาปัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๑ และพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้กำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ในท้องที่อำเภอท่าวังผา และอำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน โดยถือเขตอำเภอดังกล่าวเป็นหลัก ซึ่งทำให้เขตปฏิรูปที่ดินที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ที่ไม่มีโครงการเพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมด้วย ต่อมาเมื่อมาตรา ๒๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ กำหนดให้การกำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ให้กำหนดเฉพาะที่ดินที่จะดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็นจะถือเขตของตำบลหรืออำเภอเป็นหลัก สมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับดังกล่าว เพื่อกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินเฉพาะที่ดินที่มีการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเท่านั้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๕ มีนาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๕ มีนาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๑/๒ มีนาคม ๒๕๕๕
663407
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลสร้างถ่อน้อย และตำบลหัวตะพาน อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลสร้างถ่อน้อย และตำบลหัวตะพาน อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลสร้างถ่อน้อย และตำบลหัวตะพาน อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลสร้างถ่อน้อย และตำบลหัวตะพาน อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลสร้างถ่อน้อย และตำบลหัวตะพาน อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลสร้างถ่อน้อย และตำบลหัวตะพาน อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลสร้างถ่อน้อย และตำบลหัวตะพาน อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดงใหญ่ ในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๙ ก/หน้า ๒๖/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
663405
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลหนองบอน ตำบลแพง ตำบลเหล่า ตำบลหัวขวาง ตำบลหนองกุงสวรรค์ ตำบลวังยาว ตำบลดอนกลาง และตำบลหนองเหล็ก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหนองบอน ตำบลแพง ตำบลเหล่า ตำบลหัวขวาง ตำบลหนองกุงสวรรค์ ตำบลวังยาว ตำบลดอนกลาง และตำบลหนองเหล็ก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหนองบอน ตำบลแพง ตำบลเหล่า ตำบลหัวขวาง ตำบลหนองกุงสวรรค์ ตำบลวังยาว ตำบลดอนกลาง และตำบลหนองเหล็ก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลหนองบอน ตำบลแพง ตำบลเหล่า ตำบลหัวขวาง ตำบลหนองกุงสวรรค์ ตำบลวังยาว ตำบลดอนกลาง และตำบลหนองเหล็ก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลหนองบอน ตำบลแพง ตำบลเหล่า ตำบลหัวขวาง ตำบลหนองกุงสวรรค์ ตำบลวังยาว ตำบลดอนกลาง และตำบลหนองเหล็ก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหนองบอน ตำบลแพง ตำบลเหล่า ตำบลหัวขวาง ตำบลหนองกุงสวรรค์ ตำบลวังยาว ตำบลดอนกลาง และตำบลหนองเหล็ก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลหนองบอน ตำบลแพง ตำบลเหล่า ตำบลหัวขวาง ตำบลหนองกุงสวรรค์ ตำบลวังยาว ตำบลดอนกลาง และตำบลหนองเหล็ก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินที่ได้จำแนกออกจากเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ป่าโคกหินแดง ในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๙ ก/หน้า ๒๓/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
663403
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเขาดิน ตำบลหน้าเขา ตำบลพรุเตียว ตำบลสินปุน ตำบลเขาพนม ตำบลโคกหาร อำเภอเขาพนม และตำบลทุ่งไทรทอง อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเขาดิน ตำบลหน้าเขา ตำบลพรุเตียว ตำบลสินปุน ตำบลเขาพนม ตำบลโคกหาร อำเภอเขาพนม และตำบลทุ่งไทรทอง อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเขาดิน ตำบลหน้าเขา ตำบลพรุเตียว ตำบลสินปุน ตำบลเขาพนม ตำบลโคกหาร อำเภอเขาพนม และตำบลทุ่งไทรทอง อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๑ มาตรา ๔ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลเขาดิน ตำบลหน้าเขา ตำบลพรุเตียว ตำบลสินปุน ตำบลเขาพนม ตำบลโคกหาร อำเภอเขาพนม และตำบลทุ่งไทรทอง อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเขาดิน ตำบลหน้าเขา ตำบลพรุเตียว ตำบลสินปุน ตำบลเขาพนม ตำบลโคกหาร อำเภอเขาพนม และตำบลทุ่งไทรทอง อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้กำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ในท้องที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ โดยถือเขตอำเภอดังกล่าวเป็นหลัก ซึ่งทำให้เขตปฏิรูปที่ดินที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ที่ไม่มีโครงการเพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมด้วย ต่อมาเมื่อมาตรา ๒๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ กำหนดให้การกำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ให้กำหนดเฉพาะที่ดินที่จะดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็นจะถือเขตของตำบลหรืออำเภอเป็นหลัก สมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เพื่อกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินเฉพาะที่ดินที่มีการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเท่านั้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๙ ก/หน้า ๒๐/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
663401
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลชานุมาน ตำบลคำเขื่อนแก้ว ตำบลโคกสาร ตำบลโคกก่ง และตำบลป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลชานุมาน ตำบลคำเขื่อนแก้ว ตำบลโคกสาร ตำบลโคกก่ง และตำบลป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลชานุมาน ตำบลคำเขื่อนแก้ว ตำบลโคกสาร ตำบลโคกก่ง และตำบลป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลชานุมาน ตำบลคำเขื่อนแก้ว ตำบลโคกสาร ตำบลโคกก่ง และตำบลป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลชานุมาน ตำบลคำเขื่อนแก้ว ตำบลโคกสาร ตำบลโคกก่ง และตำบลป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลชานุมาน ตำบลคำเขื่อนแก้ว ตำบลโคกสาร ตำบลโคกก่ง และตำบลป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลชานุมาน ตำบลคำเขื่อนแก้ว ตำบลโคกสาร ตำบลโคกก่ง และตำบลป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินที่ได้จำแนกออกจากเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ป่าดงบังอี่ฝั่งซ้ายห้วยทม ในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๙ ก/หน้า ๑๗/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
663399
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านแก้ง และตำบลโคกปี่ฆ้อง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านแก้ง และตำบลโคกปี่ฆ้อง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านแก้ง และตำบลโคกปี่ฆ้อง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านแก้ง และตำบลโคกปี่ฆ้อง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลบ้านแก้ง และตำบลโคกปี่ฆ้อง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านแก้ง และตำบลโคกปี่ฆ้อง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลบ้านแก้ง และตำบลโคกปี่ฆ้อง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโตน ในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๙ ก/หน้า ๑๔/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
663396
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปากคาด ตำบลโนนศิลา ตำบลสมสนุก ตำบลนาดง ตำบลหนองยอง อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ และตำบลโพนแพง ตำบลนาทับไฮ ตำบลพระบาทนาสิงห์ อำเภอรัตนวาปี ตำบลวังหลวง ตำบลหนองหลวง ตำบลเฝ้าไร่ ตำบลนาดี ตำบลอุดมพร อำเภอเฝ้าไร่ ตำบลจุมพล ตำบลชุมช้าง ตำบลบ้านผือ ตำบลทุ่งหลวง ตำบลเหล่าต่างคำ ตำบลเซิม ตำบลวัดหลวง ตำบลสร้างนางขาว ตำบลบ้านโพธิ์ ตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย ตำบลสีกาย ตำบลหินโงม ตำบลหาดคำ ตำบลวัดธาตุ ตำบลโพธิ์ชัย ตำบลสองห้อง อำเภอเมืองหนองคาย ตำบลบ้านฝาง อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปากคาด ตำบลโนนศิลา ตำบลสมสนุก ตำบลนาดง ตำบลหนองยอง อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ และตำบลโพนแพง ตำบลนาทับไฮ ตำบลพระบาทนาสิงห์ อำเภอรัตนวาปี ตำบลวังหลวง ตำบลหนองหลวง ตำบลเฝ้าไร่ ตำบลนาดี ตำบลอุดมพร อำเภอเฝ้าไร่ ตำบลจุมพล ตำบลชุมช้าง ตำบลบ้านผือ ตำบลทุ่งหลวง ตำบลเหล่าต่างคำ ตำบลเซิม ตำบลวัดหลวง ตำบลสร้างนางขาว ตำบลบ้านโพธิ์ ตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย ตำบลสีกาย ตำบลหินโงม ตำบลหาดคำ ตำบลวัดธาตุ ตำบลโพธิ์ชัย ตำบลสองห้อง อำเภอเมืองหนองคาย ตำบลบ้านฝาง อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการกำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลปากคาด ตำบลโนนศิลา ตำบลสมสนุก ตำบลนาดง ตำบลหนองยอง อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ และตำบลโพนแพง ตำบลนาทับไฮ ตำบลพระบาทนาสิงห์ อำเภอรัตนวาปี ตำบลวังหลวง ตำบลหนองหลวง ตำบลเฝ้าไร่ ตำบลนาดี ตำบลอุดมพร อำเภอเฝ้าไร่ ตำบลจุมพล ตำบลชุมช้าง ตำบลบ้านผือ ตำบลทุ่งหลวง ตำบลเหล่าต่างคำ ตำบลเซิม ตำบลวัดหลวง ตำบลสร้างนางขาว ตำบลบ้านโพธิ์ ตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย ตำบลสีกาย ตำบลหินโงม ตำบลหาดคำ ตำบลวัดธาตุ ตำบลโพธิ์ชัย ตำบลสองห้อง อำเภอเมืองหนองคาย ตำบลบ้านฝาง อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปากคาด ตำบลโนนศิลา ตำบลสมสนุก ตำบลนาดง ตำบลหนองยอง อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ และตำบลโพนแพง ตำบลนาทับไฮ ตำบลพระบาทนาสิงห์ อำเภอรัตนวาปี ตำบลวังหลวง ตำบลหนองหลวง ตำบลเฝ้าไร่ ตำบลนาดี ตำบลอุดมพร อำเภอเฝ้าไร่ ตำบลจุมพล ตำบลชุมช้าง ตำบลบ้านผือ ตำบลทุ่งหลวง ตำบลเหล่าต่างคำ ตำบลเซิม ตำบลวัดหลวง ตำบลสร้างนางขาว ตำบลบ้านโพธิ์ ตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย ตำบลสีกาย ตำบลหินโงม ตำบลหาดคำ ตำบลวัดธาตุ ตำบลโพธิ์ชัย ตำบลสองห้อง อำเภอเมืองหนองคาย ตำบลบ้านฝาง อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอโพนพิสัย และอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๔ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลปากคาด ตำบลโนนศิลา ตำบลสมสนุก ตำบลนาดง ตำบลหนองยอง อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ และตำบลโพนแพง ตำบลนาทับไฮ ตำบลพระบาทนาสิงห์ อำเภอรัตนวาปี ตำบลวังหลวง ตำบลหนองหลวง ตำบลเฝ้าไร่ ตำบลนาดี ตำบลอุดมพร อำเภอเฝ้าไร่ ตำบลจุมพล ตำบลชุมช้าง ตำบลบ้านผือ ตำบลทุ่งหลวง ตำบลเหล่าต่างคำ ตำบลเซิม ตำบลวัดหลวง ตำบลสร้างนางขาว ตำบลบ้านโพธิ์ ตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย ตำบลสีกาย ตำบลหินโงม ตำบลหาดคำ ตำบลวัดธาตุ ตำบลโพธิ์ชัย ตำบลสองห้อง อำเภอเมืองหนองคาย ตำบลบ้านฝาง อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปากคาด ตำบลโนนศิลา ตำบลสมสนุก ตำบลนาดง ตำบลหนองยอง อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ และตำบลโพนแพง ตำบลนาทับไฮ ตำบลพระบาทนาสิงห์ อำเภอรัตนวาปี ตำบลวังหลวง ตำบลหนองหลวง ตำบลเฝ้าไร่ ตำบลนาดี ตำบลอุดมพร อำเภอเฝ้าไร่ ตำบลจุมพล ตำบลชุมช้าง ตำบลบ้านผือ ตำบลทุ่งหลวง ตำบลเหล่าต่างคำ ตำบลเซิม ตำบลวัดหลวง ตำบลสร้างนางขาว ตำบลบ้านโพธิ์ ตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย ตำบลสีกาย ตำบลหินโงม ตำบลหาดคำ ตำบลวัดธาตุ ตำบลโพธิ์ชัย ตำบลสองห้อง อำเภอเมืองหนองคาย ตำบลบ้านฝาง อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอโพนพิสัย และอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้กำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ในท้องที่อำเภอโพนพิสัย และอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย โดยถือเขตอำเภอดังกล่าวเป็นหลัก ซึ่งทำให้เขตปฏิรูปที่ดินที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ที่ไม่มีโครงการเพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ประกอบกับมีพื้นที่บางส่วนแยกออกจากจังหวัดหนองคาย รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดบึงกาฬ ตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ๒๕๕๔ ดังนั้น เมื่อมาตรา ๒๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ กำหนดให้การกำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ให้กำหนดเฉพาะที่ดินที่จะดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็นจะถือเขตของตำบลหรืออำเภอเป็นหลักแล้ว สมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เพื่อกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินเฉพาะที่ดินที่มีการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเท่านั้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๙ ก/หน้า ๑๐/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
663394
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวังประจบ ตำบลน้ำรึม ตำบลตลุกกลางทุ่ง ตำบลวังหิน อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ตำบลวังตะคร้อ อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย และตำบลท่าไม้ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวังประจบ ตำบลน้ำรึม ตำบลตลุกกลางทุ่ง ตำบลวังหิน อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ตำบลวังตะคร้อ อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย และตำบลท่าไม้ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวังประจบ ตำบลน้ำรึม ตำบลตลุกกลางทุ่ง ตำบลวังหิน อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ตำบลวังตะคร้อ อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย และตำบลท่าไม้ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวังประจบ ตำบลน้ำรึม ตำบลตลุกกลางทุ่ง ตำบลวังหิน อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ตำบลวังตะคร้อ อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย และตำบลท่าไม้ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลวังประจบ ตำบลน้ำรึม ตำบลตลุกกลางทุ่ง ตำบลวังหิน อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ตำบลวังตะคร้อ อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย และตำบลท่าไม้ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวังประจบ ตำบลน้ำรึม ตำบลตลุกกลางทุ่ง ตำบลวังหิน อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ตำบลวังตะคร้อ อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย และตำบลท่าไม้ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลวังประจบ ตำบลน้ำรึม ตำบลตลุกกลางทุ่ง ตำบลวังหิน อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ตำบลวังตะคร้อ อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย และตำบลท่าไม้ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าประจำรักษ์ ในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๙ ก/หน้า ๗/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
663113
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลพระบาท ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง ตำบลแม่เมาะ ตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ และตำบลแม่ทะ ตำบลหัวเสือ ตำบลดอนไฟ ตำบลวังเงิน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลพระบาท ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง ตำบลแม่เมาะ ตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ และตำบลแม่ทะ ตำบลหัวเสือ ตำบลดอนไฟ ตำบลวังเงิน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลพระบาท ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง ตำบลแม่เมาะ ตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ และตำบลแม่ทะ ตำบลหัวเสือ ตำบลดอนไฟ ตำบลวังเงิน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๗ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลพระบาท ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง ตำบลแม่เมาะ ตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ และตำบลแม่ทะ ตำบลหัวเสือ ตำบลดอนไฟ ตำบลวังเงิน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลพระบาท ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง ตำบลแม่เมาะ ตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ และตำบลแม่ทะ ตำบลหัวเสือ ตำบลดอนไฟ ตำบลวังเงิน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๔ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลพระบาท ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง ตำบลแม่เมาะ ตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ และตำบลแม่ทะ ตำบลหัวเสือ ตำบลดอนไฟ ตำบลวังเงิน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลพระบาท ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง ตำบลแม่เมาะ ตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ และตำบลแม่ทะ ตำบลหัวเสือ ตำบลดอนไฟ ตำบลวังเงิน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลพระบาท ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง ตำบลแม่เมาะ ตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ และตำบลแม่ทะ ตำบลหัวเสือ ตำบลดอนไฟ ตำบลวังเงิน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้กำหนดเขตปฏิรูปที่ดินครอบคลุมบริเวณบ้านใหม่นาแขม และบ้านเมาะหลวง ในท้องที่ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง แต่ในปัจจุบันทางราชการไม่มีโครงการที่จะดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมบริเวณบ้านใหม่นาแขม และบ้านเมาะหลวง สมควรปรับปรุงแนวเขตปฏิรูปที่ดินตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๗ ก/หน้า ๔/๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
663111
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลทุ่งไทรทอง อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลทุ่งไทรทอง อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลทุ่งไทรทอง อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลทุ่งไทรทอง อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลทุ่งไทรทอง อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลทุ่งไทรทอง อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลทุ่งไทรทอง อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าสินปุน ร. ๑๒ ในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๗ ก/หน้า ๑/๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
660449
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลผักขะ อำเภอวัฒนานคร และตำบลคลองทับจันทร์ ตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2554
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลผักขะ อำเภอวัฒนานคร และตำบลคลองทับจันทร์ ตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลผักขะ อำเภอวัฒนานคร และตำบลคลองทับจันทร์ ตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลผักขะ อำเภอวัฒนานคร และตำบลคลองทับจันทร์ ตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลผักขะ อำเภอวัฒนานคร และตำบลคลองทับจันทร์ ตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลผักขะ อำเภอวัฒนานคร และตำบลคลองทับจันทร์ ตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลผักขะ อำเภอวัฒนานคร และตำบลคลองทับจันทร์ ตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพหรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๙๗ ก/หน้า ๑๓/๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔
660447
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2554
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๙๗ ก/หน้า ๑๐/๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔
660445
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2554
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๙๗ ก/หน้า ๗/๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔
660443
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านนา อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2554
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านนา อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านนา อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านนา อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลบ้านนา อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านนา อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลบ้านนา อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่ที่ดินสาธารณประโยชน์ป่าทุ่งยาว ในท้องที่ตำบลบ้านนา อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ซึ่งทางราชการได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ สำหรับพลเมืองใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ร่วมกัน เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๕ เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๔,๕๐๐ ไร่ ปัจจุบันปรากฏว่าได้เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้วบางส่วน คงเหลือที่ดินสาธารณประโยชน์ที่จะนำมาดำเนินการปฏิรูปที่ดิน เนื้อที่ประมาณ ๒๕๐ ไร่ สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๙๗ ก/หน้า ๔/๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔
660441
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลม่วงหวาน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2554
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลม่วงหวาน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลม่วงหวาน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลม่วงหวาน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลม่วงหวาน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลม่วงหวาน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลม่วงหวาน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๙๗ ก/หน้า ๑/๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔
660367
พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลนาสัก อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2554
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลนาสัก อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลนาสัก อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปางให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลนาสัก อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลนาสัก อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลนาสัก อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลนาสัก อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่จาง (ตอนขุน) ในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๙๖ ก/หน้า ๑๐/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๔
660365
พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลยางฮอม ตำบลต้า อำเภอขุนตาล และตำบลตับเต่า ตำบลเวียง ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2554
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลยางฮอม ตำบลต้า อำเภอขุนตาล และตำบลตับเต่า ตำบลเวียง ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลยางฮอม ตำบลต้า อำเภอขุนตาลและตำบลตับเต่า ตำบลเวียง ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลยางฮอม ตำบลต้า อำเภอขุนตาล และตำบลตับเต่า ตำบลเวียง ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลยางฮอม ตำบลต้า อำเภอขุนตาล และตำบลตับเต่า ตำบลเวียง ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลยางฮอม ตำบลต้า อำเภอขุนตาล และตำบลตับเต่า ตำบลเวียง ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลยางฮอม ตำบลต้า อำเภอขุนตาล และตำบลตับเต่า ตำบลเวียง ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าห้วยป่าแดง ป่าห้วยป่าตาล และป่าห้วยไคร้ ในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๙๖ ก/หน้า ๗/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๔
660363
พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเวียง และตำบลงิ้ว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2554
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเวียง และตำบลงิ้ว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเวียง และตำบลงิ้ว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเวียง และตำบลงิ้ว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลเวียง และตำบลงิ้ว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเวียง และตำบลงิ้ว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลเวียง และตำบลงิ้ว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดอยม่อนปู่เมา และป่าดอยม่อนหินขาว ในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๙๖ ก/หน้า ๔/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๔
660361
พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหาดพันไกร อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2554
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหาดพันไกร อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหาดพันไกร อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหาดพันไกร อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลหาดพันไกร อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลหาดพันไกร อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลหาดพันไกร อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่ที่ดินสาธารณประโยชน์ทุ่งกลาง ในท้องที่ตำบลหาดพันไกร อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ซึ่งทางราชการได้ประกาศหวงห้ามเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ สำหรับพลเมืองใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ร่วมกัน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๕ เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๖๗๖ ไร่ ปัจจุบันปรากฏว่าได้เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้วบางส่วน คงเหลือที่ดินสาธารณประโยชน์ที่จะนำมาดำเนินการปฏิรูปที่ดิน เนื้อที่ประมาณ ๑๑๘ ไร่ สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๙๖ ก/หน้า ๑/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๔
660125
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลคำด้วง ตำบลกลางใหญ่ ตำบลเมืองพาน ตำบลบ้านค้อ ตำบลหายโศก ตำบลบ้านผือ ตำบลหนองหัวคู ตำบลคำบง ตำบลโนนทอง ตำบลข้าวสาร ตำบลจำปาโมง ตำบลเขือน้ำ ตำบลหนองแวง อำเภอบ้านผือ และตำบลสร้างก่อ ตำบลตาลเลียน อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2554
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลคำด้วง ตำบลกลางใหญ่ ตำบลเมืองพาน ตำบลบ้านค้อ ตำบลหายโศก ตำบลบ้านผือ ตำบลหนองหัวคู ตำบลคำบง ตำบลโนนทอง ตำบลข้าวสาร ตำบลจำปาโมง ตำบลเขือน้ำ ตำบลหนองแวง อำเภอบ้านผือ และตำบลสร้างก่อ ตำบลตาลเลียน อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลคำด้วง ตำบลกลางใหญ่ ตำบลเมืองพาน ตำบลบ้านค้อ ตำบลหายโศก ตำบลบ้านผือ ตำบลหนองหัวคู ตำบลคำบง ตำบลโนนทอง ตำบลข้าวสาร ตำบลจำปาโมง ตำบลเขือน้ำ ตำบลหนองแวง อำเภอบ้านผือ และตำบลสร้างก่อ ตำบลตาลเลียน อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๑ มาตรา ๔ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลคำด้วง ตำบลกลางใหญ่ ตำบลเมืองพาน ตำบลบ้านค้อ ตำบลหายโศก ตำบลบ้านผือ ตำบลหนองหัวคู ตำบลคำบง ตำบลโนนทอง ตำบลข้าวสาร ตำบลจำปาโมง ตำบลเขือน้ำ ตำบลหนองแวง อำเภอบ้านผือ และตำบลสร้างก่อ ตำบลตาลเลียน อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลคำด้วง ตำบลกลางใหญ่ ตำบลเมืองพาน ตำบลบ้านค้อ ตำบลหายโศก ตำบลบ้านผือ ตำบลหนองหัวคู ตำบลคำบง ตำบลโนนทอง ตำบลข้าวสาร ตำบลจำปาโมง ตำบลเขือน้ำ ตำบลหนองแวง อำเภอบ้านผือ และตำบลสร้างก่อ ตำบลตาลเลียน อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้กำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ในท้องที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี โดยถือเขตอำเภอดังกล่าวเป็นหลัก ซึ่งทำให้เขตปฏิรูปที่ดินที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ที่ไม่มีโครงการเพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมด้วยต่อมาเมื่อมาตรา ๒๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ กำหนดให้การกำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ให้กำหนดเฉพาะที่ดินที่จะดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็นจะถือเขตของตำบลหรืออำเภอเป็นหลักแล้ว สมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเพื่อกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินเฉพาะที่ดินที่มีการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเท่านั้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๙๕ ก/หน้า ๑๓/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๔
660119
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลแม่พริก ตำบลผาปัง ตำบลแม่ปุ อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง และตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2554
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลแม่พริก ตำบลผาปัง ตำบลแม่ปุ อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง และตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลแม่พริก ตำบลผาปัง ตำบลแม่ปุ อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง และตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลแม่พริก ตำบลผาปัง ตำบลแม่ปุ อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง และตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลแม่พริก ตำบลผาปัง ตำบลแม่ปุ อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง และตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลแม่พริก ตำบลผาปัง ตำบลแม่ปุ อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง และตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลแม่พริก ตำบลผาปัง ตำบลแม่ปุ อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง และตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่พริก ในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๙๕ ก/หน้า ๑๐/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๔
660115
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านดง และตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2554
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านดง และตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านดง และตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านดง และตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลบ้านดง และตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านดง และตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลบ้านดง และตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่เมาะในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๙๕ ก/หน้า ๗/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๔