query_id
stringlengths 1
4
| query
stringlengths 11
185
| positive_passages
listlengths 1
9
| negative_passages
listlengths 1
30
|
---|---|---|---|
2621 | บรรหาร ศิลปอาชา มีบุตรกี่คน? | [
{
"docid": "125860#1",
"text": "สมรสกับนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย มีบุตร-ธิดารวม 3 คน เป็นชาย 1 คน คือ นายวราวุธ ศิลปอาชา (สมรสกับ เก๋ - สุวรรณา ไรวินท์ ทายาทตระกูลไรวินท์ เจ้าของธุรกิจ ซุปไก่ก้อนรีวอง) และเป็นหญิง 2 คน คือ น.ส. กัญจนา ศิลปอาชา และ น.ส. ปาริชาติ ศิลปอาชา",
"title": "แจ่มใส ศิลปอาชา"
},
{
"docid": "6131#3",
"text": "บรรหารสมรสกับคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา มีบุตร 3 คน",
"title": "บรรหาร ศิลปอาชา"
}
] | [
{
"docid": "193882#1",
"text": "นายวราวุธ ศิลปอาชา เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 ที่แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นลูกชายคนสุดท้องของนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทยและอดีตนายกรัฐมนตรี กับคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางสุวรรณา ศิลปอาชา (สกุลเดิม ไรวินท์) มีบุตรด้วยกัน 3 คน",
"title": "วราวุธ ศิลปอาชา"
},
{
"docid": "6131#2",
"text": "บรรหารเป็นชาวจังหวัดสุพรรณบุรี เดิมมีชื่อว่า เต็กเซียง แซ่เบ๊ (馬德祥) บิดาของบรรหาร คือ เซ่งกิม แซ่เบ๊ ส่วนมารดาของบรรหาร คือ สายเอ็ง แซ่เบ๊ เป็นเจ้าของร้านสิ่งทอชื่อ ย่งหยูฮง ทั้งคู่มีบุตร 6 คน ดังนี้ตามลำดับ สมบูรณ์ ศิลปอาชา, สายใจ ศิลปอาชา, อุดม ศิลปอาชา, บรรหาร ศิลปอาชา, ดรุณี วายากุล, และชุมพล ศิลปอาชา",
"title": "บรรหาร ศิลปอาชา"
},
{
"docid": "207325#1",
"text": "นายชุมพล ศิลปอาชา เกิดเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ที่ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของเซ่งกิม และสายเอ็ง แซ่เบ๊ เป็นน้องชายของบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 21 จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโท (M.P.A.) มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ สหรัฐอเมริกา ด้านชีวิตครอบครัว ได้สมรสกับดวงมาลย์ ศิลปอาชา (สกุลเดิม เจียรสวัสดิ์วัฒนา) ผู้พิพากษาอาวุโส ศาลคดีเด็กสมุทรปราการ มีบุตร 2 คน คือ สลิลดา ศิลปอาชา กับรัฐพล ศิลปอาชา",
"title": "ชุมพล ศิลปอาชา"
},
{
"docid": "5133#10",
"text": "อภิสิทธิ์เป็นบุตรชายคนเดียว ในจำนวนบุตร 3 คน ของศาสตราจารย์ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กับ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง สดใส เวชชาชีวะ มีพี่สาว คือ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอลิสา วัชรสินธุ ศาสตราจารย์หน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็ก และงามพรรณ เวชชาชีวะ นักประพันธ์รางวัลซีไรท์ประจำปี พ.ศ. 2549 และผู้แปลวรรณกรรมเยาวชน",
"title": "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"
},
{
"docid": "312457#6",
"text": "สุปาณี พุกสมบุญ มีบุตรกับครูสริ ยงยุทธ 4 คน คือ เสกสรร ยงยุทธ เกิด2490,วิทยา ยงยุทธ เกิด2492,ศุภสิทธิ์ ยงยุทธ เกิด2495 และนุศรา จันทร์สุวรรณ เกิด2500 ซึ่งทั้ง 4 คน ล้วนแล้วแต่เป็นนักดนตรีทั้งสิ้น โดยเสกสรรถนัดการเล่นเปียโนตามรอยบิดา ส่วนวิทยา และศุภสิทธิ์ถนัดการเล่นกีตาร์ และนุศราถนัดการเล่นออร์แกนไฟฟ้า โดยปัจจุบันสุปาณีพักอยู่ทีบ้านย่านถนนจักรพรรดิพงษ์ ใกล้วัดแคนางเลิ้ง แต่บางครั้งก็ไปพักที่บ้านบุตรสาวคนเล็กที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีบ้างเป็นบางครั้ง",
"title": "สุปาณี พุกสมบุญ"
},
{
"docid": "206893#4",
"text": "พระบำราศนราดูร สมรสกับคุณหญิงสุภาพ บำราศนราดูร (สุภาพ เวชชาชีวะ) มีบุตร 3 คน คือ นายอำนวย เวชชาชีวะ นายเสรี เวชชาชีวะ นายธีระ เวชชาชีวะ และเป็นพี่ชายของนายโฆษิต เวชชาชีวะ บิดาของนายนิสสัย เวชชาชีวะ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายวิทยา เวชชาชีวะ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ",
"title": "พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ)"
},
{
"docid": "40556#5",
"text": "เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น 34 คน เกิดจากภรรยา 9 คน ดังนี้\n1. ท่านลิ้ม มีธิดา 2 คน ได้แก่ \n2. เจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล พระน้องนางของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี มีบุตร 10 คน เป็นชาย 6 คน และหญิง 4 คน ซึ่งทั้งสิบคนนับว่าเป็นราชินิกุล ได้แก่\n3. ท่านกอง มีบุตร 5 คน เป็นชาย 3 คน หญิง 2 คน ได้แก่\n4. ท่านมิ่ง มีธิดา 4 คน ได้แก่\n5. ท่านฉิม มีบุตร 5 คน เป็นชาย 2 คน และหญิง 3 คน ได้แก่\n6. ท่านตุ๊ มีบุตร 2 คน เป็นชาย 1 คน หญิง 1 คน ได้แก่\n7. ท่านอ่วม มีบุตร 3 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 1 คน ได้แก่\n8. ท่านจันทร์ มีบุตร 1 คน ได้แก่\n9. ท่านทิม หรือ ท่านพิม มีบุตร 2 คน เป็นชาย 1 คน หญิง 1 คน ได้แก่",
"title": "เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค)"
},
{
"docid": "61366#2",
"text": "สรพงษ์ ชาตรี มีบุตรทั้งหมด 4 คน คือ พิมพ์อัปสร (ขวัญ), พิศุทธินี (เอิง), พิศรุตม์ (เอม) และพิทธกฤต เทียมเศวต (อั้ม) ซึ่งพิมพ์อัปสร บุตรคนแรกเกิดแต่ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ส่วนบุตรคนที่สองถึงสี่เกิดแต่พิมพ์จันทร์ ใจวงศ์ (แอ๊ด) ปัจจุบันสมรสกับ ดวงเดือน จิไธสงค์ รองมิสไทยแลนด์เวิลด์ พ.ศ. 2529 และรองนางสาวไทย พ.ศ. 2530",
"title": "สรพงศ์ ชาตรี"
},
{
"docid": "6131#0",
"text": "บรรหาร ศิลปอาชา (19 สิงหาคม พ.ศ. 2475 – 23 เมษายน พ.ศ. 2559) เป็นนักการเมืองชาวไทย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 21 ประธานกรรมการมูลนิธิบรรหาร-แจ่มใส ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี 11 สมัย อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อดีตนายกสภาสถาบันการพลศึกษา อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท สหศรีชัยก่อสร้าง จำกัด และอดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย ทั้งเป็นพี่ชายของชุมพล ศิลปอาชา อดีตรองนายกรัฐมนตรี",
"title": "บรรหาร ศิลปอาชา"
}
] |
982 | แอ๊ด คาราบาว เกิดเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "56123#2",
"text": "แอ๊ด คาราบาว เกิดวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 ที่ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรชายฝาแฝดคนสุดท้องของ นายมนัส โอภากุล (แซ่โอ๊ว) และ นางจงจินต์ แซ่อึ๊ง (ปัจจุบันบิดาและมารดาเสียชีวิตแล้ว มารดาไม่แน่ใจว่าเสียชีวิตเพราะสาเหตุใด แต่บิดาเสียชีวิตจากโรคชรา) มีจิตใจรักเสียงเพลงและดนตรีมาตั้งแต่เด็ก ๆ จากการที่เป็นชาวสุพรรณบุรีโดยกำเนิด จึงได้ซึมซ่าบการละเล่นพื้นบ้านของภาคกลาง เช่น ลำตัด, เพลงฉ่อย, เพลงอีแซว รวมถึงรำวง และเพลงลูกทุ่ง จากการที่พ่อ คือ นายมนัส เป็นหัวหน้าวงดนตรีประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ชื่อวงดนตรี \"ชสพ.\" เมื่อปี พ.ศ. 2480 ต่อมาเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นได้รับอิทธิพลจากดนตรีแนวตะวันตกจึงหันมาเล่นเครื่องดนตรีตะวันตกต่าง ๆ เช่น กีตาร์ ซึ่งเหล่านี้ได้เป็นอิทธิพลในการเป็นนักดนตรีในเวลาต่อมา[1]",
"title": "ยืนยง โอภากุล"
}
] | [
{
"docid": "56123#0",
"text": "ยืนยง โอภากุล หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ แอ๊ด คาราบาว เป็นศิลปินเพลงเพื่อชีวิตชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นหัวหน้าวงคาราบาว วงดนตรีเพื่อชีวิตและเป็นตำนานเพลงเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียงโด่งดัง",
"title": "ยืนยง โอภากุล"
},
{
"docid": "429484#1",
"text": "โดยอัลบั้มชุดนี้ มีเพลงบรรเลง คือ \"ภูผาหมอก\" เป็นเพลงที่ 5 ในเทปหน้าแรก และในเพลง \"ตัวเปล่า\" ขับร้องโดย ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว และ \"ร่มนักรัก\" ขับร้องโดย ลือชัย งามสม หรือ ดุก คาราบาว",
"title": "ภูผาหมอก"
},
{
"docid": "98217#0",
"text": "เว้นวรรค เป็นเพลงพิเศษที่อยู่ในอัลบั้ม \" ตะวันตกดิน \" ซึ่งเป็นอัลบั้มพิเศษของยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว ซึ่งออกมาในปี พ.ศ. 2549 ช่วงเวลาเดียวกับวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 ขณะที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ออกจากตำแหน่ง ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ในเดือนมีนาคม มีศิลปินเพลงเพื่อชีวิตและศิลปิน ดารา นักร้องหลายคนเข้าร่วมด้วย แต่กลับไม่มีคาราบาวหรือ แอ๊ด คาราบาว มาร่วมด้วยแต่อย่างใด แม้แต่ท่าทีหรือความเห็นในกรณีนี้ก็ไม่มีเหมือนอย่างเช่นกรณีทางการเมืองอื่น ๆ ในอดีต จึงมีเสียงถามหากันเกิดขึ้น",
"title": "เว้นวรรค"
},
{
"docid": "55532#5",
"text": "วงคาราบาว เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในอัลบั้มชุดที่ 3 ในปี พ.ศ. 2526 จากอัลบั้มชุด วณิพก กับสังกัดอโซน่า ด้วยเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้ม โดยมีทีมแบ็คอัพชุดเดิม คือสมาชิกกวงเพรสซิเดนท์ บางส่วน แต่ได้หมู - พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ เข้ามาร่วมเล่นเครื่องเคาะ, เพอร์คัสชั่นให้ด้วย บทเพลงจากอัลบั้มนี้มีเนื้อหาที่แปลกแผกไปจากเพลงในยุคนั้น ๆ และดนตรีที่เป็นท่วงทำนองแบบไทย ๆ ผสมกับดนตรีตะวันตก มีจังหวะที่สนุกสนาน ชวนให้รู้สึกคึกคัก เต้นรำได้ จึงสามารถแทรกตัวเองเข้าไปอยู่ในดิสโก้เธคได้เป็นเพลงแรกของไทย[1] ต่อมาในปลายปีเดียวกัน คาราบาวก็ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 4 คือ ท.ทหารอดทน ซึ่งได้ เป้า - อำนาจ ลูกจันทร์ และ รัช - ไพรัช เพิ่มฉลาด เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ในวง ในตำแหน่งมือกลอง และ มือเบสตามลำดับ แต่แอ๊ดกลับมีปัญหากับสังกัดอโซน่าในการทำเพลง เนื่องจากอโซน่าไม่อนุญาตให้วงคาราบาวไปอัดเสียงที่ห้องบันทึกเสียงศรีสยาม และให้ใช้ห้องอัดของอโซน่าทั้งที่แอ๊ดรู้ว่าเครื่องมือไม่ทันสมัย รวมทั้งเป็นอัลบั้มแรกของทางวงที่ถูก คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (กบว.) สั่งห้ามนำไปเผยแพร่ออกอากาศตามสื่อต่าง ๆ คือเพลง ท.ทหารอดทน และ ทินเนอร์ แต่ถึงกระนั้น ก็ยังประสบความสำเร็จทางด้านยอดขายอย่างมาก",
"title": "คาราบาว"
},
{
"docid": "56164#2",
"text": "เล็กเล่นดนตรีครั้งแรกในแนวเพลงคลาสสิก และเข้าร่วมกับวงเพรสซิเดนท์ เล่นตามห้องอาหารในโรงแรมต่าง ๆ ในตำแหน่งมือกีตาร์ เป็นที่เลื่องลือกันในหมู่นักดนตรีว่า เล่นได้ดี จนกระทั่งแอ๊ดกับวงคาราบาวและวงโฮป ซึ่งเป็นวงแบ็คอัพได้มาเล่นดนตรีในโรงแรมเดียวกัน โดยวงเพรสซิเดนท์เริ่มเล่นก่อน และต่อด้วยคาราบาว แต่เมื่อถึงคิวของวงคาราบาว เล็กได้ขอเพลงที่ทำให้วงคาราบาวและวงโฮป ถูกไล่ออกและตกงานคือเพลง \"ลุงขี้เมา\" ในอัลบั้ม ขี้เมา ที่วางแผงเมื่อปี พ.ศ. 2524 ซึ่งเป็นเพลงไทย หลังเล็กที่อยู่ในอาการมึนเมาทราบข่าวก็เข้าไปพังทรัพย์สินในโรงแรมจนแอ๊ดต้องเข้าไปช่วย หลังจากนั้นเล็กจึงต้องชดใช้ความผิดด้วยการเข้าร่วมวงคาราบาว และออกอัลบั้มในชุดที่ 2 ของวง ในชุด \"แป๊ะขายขวด\" ในปี พ.ศ. 2525",
"title": "ปรีชา ชนะภัย"
},
{
"docid": "59000#10",
"text": "\"แอ๊ด คาราบาว ชุด ทำมือ (พ.ศ. 2532)\n\"คาราบาว ชุด ห้ามจอดควาย (พ.ศ. 2533)\n\"เล็ก คาราบาว ชุด 1945 นางาซากิ (พ.ศ. 2533)\n\"เขียว คาราบาว ชุด ก่อกวน (พ.ศ. 2533)\n\"แอ๊ด คาราบาว ชุด โนพลอมแพลม (พ.ศ. 2533)http://www.facebook.com/WongTawanBand",
"title": "วงตาวัน"
},
{
"docid": "56123#8",
"text": "หลังจากนั้นตัวของ แอ๊ด คาราบาว ก็มีความคิดที่ว่าหากจะออกอัลบั้มเป็นของตัวเอง คงจะประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน จึงร่วมกับเขียว ออกอัลบั้มชุดแรกของวง คาราบาว ในชื่อชุด ขี้เมา ในปี พ.ศ. 2524 สังกัดพีค็อก สเตอริโอ ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ปีถัดมา คาราบาว ได้สมาชิกใหม่เพิ่มอีก 1 คน คือเล็ก - ปรีชา ชนะภัย มือกีตาร์จาdกวง เพรสซิเดนท์ (เล็กเป็นเพื่อนเก่าของแอ๊ดตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ช่างก่อสร้างอุเทนถวายด้วยกัน) มาร่วมงานในชุดที่ 2 คือชุด แป๊ะขายขวด ชุดที่ 3 ชุด \"วณิพก\" ในระหว่างนั้นวงคาราบาวในยุคแรกก็ได้ออกทัวร์เล่นคอนเสิร์ตตามโรงภาพยนตร์ต่าง ๆ ทั่วประเทศ แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าไร บางครั้งมีคนดูไม่ถึง 10 คนก็มี",
"title": "ยืนยง โอภากุล"
},
{
"docid": "20847#7",
"text": "วิสา ปัจจุบันยังคงยืนหยัด แสดงจุดยืนชัดเจน \"ต่อต้านรัฐประหาร ต่อต้านเผด็จการ\" เหมือนวัยหนุ่มที่ผ่านมา โดยเข้าร่วมกับนปช.ซึ่งสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่สนามหลวง เขาแต่งเพลง \"สัญญาใจขับไล่เผด็จการ\" ขึ้นเวทีร้องเพลงนี้กับไพจิตร อักษรณรงค์ และเมื่อต้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 เขาออกรายการ \"ตัวจริงชัดเจน\" ทางสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ร่วมกับแอ๊ด คาราบาว ในฐานะศิลปินเพลงเพื่อชีวิต วิสายืนอยู่ตรงข้ามกับแอ๊ด คาราบาวโดยสิ้นเชิง ขณะแอ๊ดเห็นด้วยกับทหาร เทิดทูน พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ แต่วิสาต้านการยึดอำนาจของทหาร คัดค้านรัฐประหาร ปรารถนาให้ใช้วิถีทางประชาธิปไตยในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง แสดงทัศนะเชื่อมั่นในพลังของภาคประชาชน ดังจะเห็นได้จากเนื้อเพลง \"สัญญาใจขับไล่เผด็จการ\" ที่วิสาได้ประพันธ์เอาไว้",
"title": "วิสา คัญทัพ"
},
{
"docid": "281370#0",
"text": "ทำมือ เป็นสตูดิโออัลบั้มเดี่ยวลำดับที่ 2 ของแอ๊ด คาราบาว (ยืนยง โอภากุล) และเป็นอัลบั้มชุดแรกภายหลังการแยกตัวของวงคาราบาว หรือเป็นการพักวง เริ่มบันทึกเสียงเดือนเมษายน พ.ศ. 2532 และวางตลาดเดือนสิงหาคม ขายได้ไปกว่า 700,000 ตลับ ภายใต้สังกัดแว่วหวาน (เป็นอัลบั้มที่โด่งดังในอัลบั้มหนึ่งของ แอ๊ด คาราบาว)",
"title": "ทำมือ"
},
{
"docid": "375896#0",
"text": "รายชื่ออัลบั้มเพลงของวงดนตรีคาราบาว โดยรวมทั้งอัลบั้มปกติ + อัลบั้มพิเศษ + อัลบั้มรวมเพลง และ อัลบั้มเดี่ยวของ ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด คาราบาว) หัวหน้าวง",
"title": "รายชื่ออัลบั้มเพลงที่ขับร้องโดยคาราบาว"
},
{
"docid": "55532#7",
"text": "คาราบาวประสบความสำเร็จมากที่สุดในปลายปี พ.ศ. 2527 เมื่อได้ออกอัลบั้มชุดที่ 5 เมด อิน ไทยแลนด์ เป็นอัลบั้มชุดที่ 5 ซึ่งทำยอดขายได้ถึง 5,000,000 ตลับ ซึ่งเป็นสถิติยอดจำหน่ายอัลบั้มเพลงของศิลปินไทยที่สูงที่สุดของไทยที่ขณะนั้นยังไม่มีใครทำลายได้[3] และเมื่อคาราบาวจัดคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรก คือ คอนเสิร์ตทำโดยคนไทย ที่เวโลโดรม หัวหมาก ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ก็มียอดผู้ชมถึง 60,000 คน แต่กลับเกิดเหตุสุดวิสัยคือผู้ชมขึ้นไปชมคอนเสิร์ตบนอัฒจันทร์ที่เลิกใช้งานแล้ว และมีผู้ชมตีกันกลางคอนเสิร์ต จนกลายเป็นนิยามว่า คาราบาวเล่นที่ไหนก็มีแต่คนตีกัน[4] แอ๊ดได้เตือนเรื่องความปลอดภัยของอัฒจันทร์เป็นระยะๆ ในที่สุดก่อนจบการแสดงครึ่งชั่วโมง และเหลือเพลงที่ยังไม่ได้แสดงอีก 3-4 เพลง รวมทั้งเพลง เรฟูจี ที่ สุรสีห์ อิทธิกุล และวงบัตเตอร์ฟลาย ต้องขึ้นไปขับร้องกับวงคาราบาวด้วย และ เพลงประจำคอนเสิร์ตทำโดยคนไทย คือ เมด อิน ไทยแลนด์ อัฒจันทร์ก็ได้ถล่มลงมาทับผู้ชม จนมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก แอ๊ดจึงประกาศยุติคอนเสิร์ตโดยทันที และเพลงสุดท้ายที่แอ๊ดร้อง คือ รอยไถแปร",
"title": "คาราบาว"
},
{
"docid": "212271#0",
"text": "ลือชัย งามสม หรือ ดุก คาราบาว เป็นมือคีย์บอร์ด ของวงคาราบาว เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 ที่จังหวัดชลบุรี ร่วมงานกับวงคาราบาวตั้งแต่อัลบั้ม วิชาแพะ ในปี พ.ศ. 2534 จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเล่นคีย์บอร์ดในอัลบั้มเดี่ยวชุดหลัง ๆ ของ ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว อีกด้วย",
"title": "ลือชัย งามสม"
},
{
"docid": "282209#0",
"text": "โนพลอมแพลม เป็นสตูดิโออัลบั้มเดี่ยวชุดที่ 4 ของ ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว แต่เป็นชุดแรกที่ใช้ชื่อจริงคือ ยืนยง โอภากุล ปรากฏบนปกเทป(ชุดอัลบั้มที่โด่งดัง ของ แอ๊ด คาราบาว)",
"title": "โนพลอมแพลม"
},
{
"docid": "759007#3",
"text": "หลังจากนั้นเข้าสู่ไฮไลท์สำคัญของคอนเสิร์ตนี้ คือการแสดงของวงคาราบาว นำโดย แอ๊ด - ยืนยง โอภากุล, เล็ก - ปรีชา ชนะภัย และ เทียรี่ เมฆวัฒนา โดยขนเพลงมาแสดงเป็นจำนวนมาก เช่น \"มนต์เพลงคาราบาว\", \"เจ้าตาก\", \"วันพ่อ\", \"ซานตาน่าคาราบาว\" เป็นต้น และมาถึงช่วงเซอร์ไพรส์ของงานที่ได้นักร้องชื่อดังอย่าง เสก โลโซ มาร่วมร้องเพลง \"เพื่อชีวิตติดล้อ\", \"วณิพก\" และ \"หำเทียม\" แถมในช่วงท้าย ๆ ยังมี โก๊ะตี๋ อารามบอย มาร่วมร้องด้วย ต่อด้วยบทเพลงอีก 1 ชุดใหญ่ อาทิ \"คนเก็บฟืน\", \"คนล่าฝัน\", \"วิชาแพะ\" และ 2 บทเพลงใหม่ \"ใครว่ะแก๊แก่\" และ \"สวัสดีประเทศไทย\" ต่อด้วยบทเพลงเมดเล่ย์ หลังจากนั้น วงคาราบาวและเหล่าตำนานวงดนตรีร็อกขึ้นเวทีร่วมแจมพร้อมกันในบทเพลงหลักของคอนเสิร์ตนี้ คือเพลง \"กินลม ชมบาว\" ปิดท้ายด้วยเพลง \"บัวลอย\" ก่อนที่คอนเสิร์ตจะปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์",
"title": "กินลม ชมบาว"
},
{
"docid": "56123#12",
"text": "ในปลายปี พ.ศ. 2545 แอ๊ด คาราบาว ได้เปลี่ยนบทบาทของตัวเองอย่างสำคัญอีกครั้งหนึ่ง โดยเป็นหุ้นส่วนสำคัญคนหนึ่งของเครื่องดื่มชูกำลังยี่ห้อ คาราบาวแดง โดยใช้ชื่อวงดนตรีของตัวเองมาเป็นจุดขาย ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างในสังคมว่า สมควรหรือไม่ กับผู้ที่เคยสู้เพื่ออุดมการณ์มาตลอด มาเป็นนายทุนเสียเอง ในปัจจุบันประชาชนหลายคนก็ยังเคลือบแคลงในจุดยืนของแอ๊ด",
"title": "ยืนยง โอภากุล"
},
{
"docid": "55532#10",
"text": "ระหว่างปี พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2533 เรียกได้ว่าเป็นปีทองของวงคาราบาว โดยมีแอ๊ดเป็นผู้นำ โดยออกอัลบั้มออกมาทั้งหมด 5 ชุด ทุกชุดประสบความสำเร็จทั้งหมด ได้เล่นคอนเสิร์ตที่สหรัฐอเมริกา และในทวีปยุโรปหลายครั้ง รวมทั้งปี พ.ศ. 2528 วงคาราบาวได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ ร่วมกันทั้งวง และ มีหลายเพลงของวงดนตรีคาราบาวที่ฮิตและติดอยู่ในความทรงจำของแฟน ๆ คาราบาวจนถึงปัจจุบัน เช่น เมด อิน ไทยแลนด์ , มหาลัย , เรฟูจี , บัวลอย (ถึกควายทุย ภาค 5) , คนจนผู้ยิ่งใหญ่ , ซาอุดรฯ , เจ้าตาก , เวลคัม ทู ไทยแลนด์ , กระถางดอกไม้ให้คุณ , คนหนังเหนียว , บาปบริสุทธิ์ , แม่สาย , ทับหลัง , รักทรหด เป็นต้น อีกทั้งได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับวงการเพลงไทยในด้านต่าง ๆ เช่นดังนี้",
"title": "คาราบาว"
},
{
"docid": "55532#24",
"text": "ศยาพร สิงห์ทอง (ชื่อเล่น: น้อง: 19 กันยายน พ.ศ. 2506 ที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม - 6 มีนาคม พ.ศ. 2557 ( ปี)[7]) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ น้อง คาราบาว เป็นอดีตสมาชิกวงคาราบาว จบการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ป.ว.ส.) น้องเคยร่วมงานกับวงดนตรีและนักดนตรีต่าง ๆ มามากมาย อาทิ ฟรีเบิร์ดส , ฤทธิพร อินสว่าง , พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ และ ยิ่งยง โอภากุล หรือ อี๊ด พี่ชายฝาแฝดของ ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว (หัวหน้าวง) เข้าร่วมวงคาราบาวในฐานะมือกลองเพอร์คัสชั่นและร้องประสานเสียง ตั้งแต่อัลบั้มชุด แจกกล้วย ในปี พ.ศ. 2538 ชีวิตส่วนตัว น้องสมรสแล้วและมีลูกสาวหนึ่งคนชื่อเล่นว่า อะตอม น้องได้ขอลาออกจากวงไปในปี พ.ศ. 2550 เนื่องจากป่วยเป็นระยะเวลานานและได้เสียชีวิตไปในเวลาเช้าของวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557",
"title": "คาราบาว"
},
{
"docid": "55532#0",
"text": "คาราบาว (English: Carabao) เป็นวงดนตรีเพื่อชีวิตและยังเป็นตำนานเพลงเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียงโด่งดังและยังเป็นวงที่อมตะตลอดกาลของประเทศไทย โดยมี ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด) เป็นหัวหน้าวง",
"title": "คาราบาว"
},
{
"docid": "55532#1",
"text": "วงคาราบาวเกิดจากการก่อตั้งโดยนักเรียนไทยที่กำลังศึกษาอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีมาปัว กรุงมะนิลาประเทศฟิลิปปินส์ 3 คน คือแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล , เขียว - กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร และไข่ - สานิตย์ ลิ่มศิลา ขึ้นที่นั่น ในปี พ.ศ. 2523 โดยคำว่า คาราบาว เป็นภาษาตากาล็อก คือภาษาพื้นเมืองของฟิลิปปินส์ แปลว่า ควาย หรือคนใช้แรงงาน ซึ่งทางฟิลิปปินส์ถือเป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นเกษตร โดยหมายจะเป็นวงดนตรีที่มีเนื้อหาเพื่อชีวิต",
"title": "คาราบาว"
},
{
"docid": "55532#3",
"text": "เมื่อกลับมาเมืองไทย แอ๊ดและเขียวได้ร่วมกันเล่นดนตรีในเวลากลางคืน โดยกลางวันแอ๊ดทำงานอยู่ที่การเคหะแห่งชาติ ขณะที่เขียวทำให้กับบริษัทฟิลิปปินส์ที่มาเปิดในประเทศไทย ส่วนไข่ก็ขอลาออกจากวงและแยกตัวออกไปทำงานรับเหมาก่อสร้างอยู่ที่ภาคใต้ ทั้งคู่ออกอัลบั้มชุดแรกของวง ในชื่อ ขี้เมา เมื่อปี พ.ศ. 2524 และแอ๊ดก็ได้ติดต่อวงโฮป ให้มาช่วยโปรดิวซ์ให้ในอัลบั้มชุดนี้ และทำให้คาราบาวเป็นที่รู้จักตั้งแต่อัลบั้มนี้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก",
"title": "คาราบาว"
},
{
"docid": "351010#10",
"text": "หลังเสร็จสิ้นการจัดมหกรรมดนตรี 30 ปี คาราบาวไปแล้ว วงคาราบาวมีคอนเสิร์ตใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ชื่อว่า กินลม ชมบาว ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ที่บ้านของแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยคอนเสิร์ตนี้เป็นคอนเสิร์ตเปิดอัลบั้ม สวัสดีประเทศไทย ซึ่งเป็นอัลบั้มชุดล่าสุดของวงคาราบาว จัดขึ้นในวันเกิดของแอ๊ด และเป็นครั้งแรกที่วงคาราบาวได้แสดงคอนเสิร์ตร่วมกับศิลปินตำนานร็อคเมืองไทยที่มีฝีมือประจักษ์แก่สายตาชาวโลกมาแล้วมากมาย เช่น แหลม มอริสัน, กิตติ กีตาร์ปืน, โอ้ - โอฬาร พรหมใจ และ ช.อ้น ณ บางช้าง โดยมีแขกรับเชิญพิเศษ คือ เสก โลโซ และโก๊ะตี๋ อารามบอย",
"title": "มหกรรมดนตรี 30 ปี คาราบาว"
},
{
"docid": "56123#7",
"text": "จุดเปลี่ยนของชีวิต แอ๊ด คาราบาว อยู่ที่การรับหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์อัลบั้มชุดแรกให้กับวงแฮมเมอร์ ในปี พ.ศ. 2522 ในชุด บินหลา โดยแอ๊ด คาราบาว ยังเป็นผู้ออกแบบปกอัลบั้มด้วย โดยอัลบั้มชุดนี้ทำให้แฮมเมอร์เป็นที่รู้จักในวงการเพลง และปี พ.ศ. 2523 แอ๊ดยังได้แต่งเพลง ถึกควายทุย ให้แฮมเมอร์บันทึกเสียงในอัลบั้ม ปักษ์ใต้บ้านเรา ซึ่งอัลบั้มชุดดังกล่าวทำให้แฮมเมอร์โด่งดังอย่างมาก และได้ร่วมแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ของพนม นพพร ในเรื่องหมามุ่ย ในปี พ.ศ. 2524",
"title": "ยืนยง โอภากุล"
},
{
"docid": "134585#2",
"text": "อ๊อด ได้ร่วมงานกับคาราบาวเป็นครั้งแรก เมื่อเล็ก - ปรีชา ชนะภัยได้เข้ามาร่วมกับวงคาราบาวขณะออกอัลบั้ม แป๊ะขายขวด ในปี พ.ศ. 2525 เล็ก จึงได้ชวนวงเพรสซิเดนท์ซึ่งมีอ๊อดเล่นเบสอยู่ให้มาเล่นแบ๊คอัพและออกทัวร์คอนเสิร์ตร่วมกับคาราบาวในอัลบั้มนี้ด้วย ต่อมา แอ๊ด - ยืนยง โอภากุล จึงชวนอ็อดให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของวงคาราบาวในอัลบั้ม ท.ทหารอดทน ในปี พ.ศ. 2526 อ๊อดรับปากแต่ยังติดทัวร์คอนเสิร์ตที่สหรัฐอเมริกากับวงเพรสซิเดนท์ ตำแหน่งมือเบสของวงจึงเป็นของ ไพรัช เพิ่มฉลาด ",
"title": "เกริกกำพล ประถมปัทมะ"
},
{
"docid": "743111#0",
"text": "เมด อิน ไทยแลนด์ ภาค 2546 สังคายนา เป็นอัลบั้มพิเศษอีกชุดหนึ่งของวงคาราบาว วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2546 โดยนำเพลงในอัลบั้ม เมด อิน ไทยแลนด์ ที่สามารถทำยอดขายได้ถึง 5,000,000 ตลับ ซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุดในประเทศไทย ทั้ง 10 เพลงมาทำดนตรีใหม่ให้ทันสมัยยิ่งขึ้น จากความตั้งใจของ แอ๊ด - ยืนยง โอภากุล ที่ต้องการทำให้อัลบั้มเมด อิน ไทยแลนด์ มีความสมบูรณ์ที่สุดในทุก ๆ ด้าน เพื่อคงสภาพงานอัลบั้มคลาสสิคที่สุดของคาราบาวให้ยั่งยืนชั่วกาลนาน ด้วยคุณภาพของการบันทึกเสียงในยุคนี้ และคาราบาวยังได้เพิ่มบทเพลงเข้าไปในอัลบั้มนี้อีก 2 เพลง คือ เดือนเพ็ญ และ ทะเลใจ โดย 2 เพลงนี้อยู่ในอัลบั้มเดี่ยวของแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล คืออัลบั้มชุด กัมพูชา และอัลบั้มชุด พฤษภา ที่ทำร่วมกับอี๊ด - ยิ่งยง โอภากุล ตามลำดับ",
"title": "เมด อิน ไทยแลนด์ ภาค 2546 สังคายนา"
},
{
"docid": "759007#0",
"text": "กินลม ชมบาว เป็นคอนเสิร์ตใหญ่เปิดอัลบั้ม \"สวัสดีประเทศไทย\" ของวงคาราบาว จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ซึ่งตรงกับวันเกิดของแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล ณ บ้านไร่กูไม่เบื่อของแอ๊ด ตั้งอยู่ในอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จัดขึ้นโดย บริษัท มองโกล จำกัด ซึ่งมี เซน - ณิชา โอภากุล ลูกสาวแท้ ๆ ของแอ๊ดเป็นกรรมการผู้จัดการ โดยมีการแถลงข่าวไปเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556 รายได้จากการจัดคอนเสิร์ตนำเอาไปมอบให้สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดระยอง ภายหลังมีการทำดีวีดีบันทึกการแสดงสดออกมาจำหน่ายด้วย",
"title": "กินลม ชมบาว"
},
{
"docid": "56227#3",
"text": "ที่ฟิลิปปินส์ เขียวได้พบกับเพื่อนนักเรียนไทยที่นั่นอีก 2 คน คือแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล และไข่ - สานิตย์ ลิ่มศิลา ทั้ง 3 ได้ตั้งวงดนตรีที่ชื่อ \"คาราบาว\" ขึ้นมาเพื่อเล่นประกวดในงานดนตรีของมหาวิทยาลัย โดยขึ้นเล่นเพลง \"Carry On\" ของวง \"ครอสบี, สติลส์, แนช แอนด์ ยัง\" และเพลง \"Mahal Kita\" ซึ่งเป็นเพลงของฟิลิปปินส์ ซึ่งวงคาราบาวได้เข้ารอบ 10 วงสุดท้าย ก่อนจะตกรอบในเวลาต่อมา เมื่อกลับมาเมืองไทยในปี พ.ศ. 2520 เขียวได้เป็นวิศวกรประเมินราคา แต่ยังคงเล่นดนตรีสากลในนามคาราบาว ร่วมกับแอ๊ด และ ไข่ โดยใช้เวลาหลังจากเลิกงานประจำมาเล่นดนตรี ต่อมาเมื่อไข่แยกตัวออกไป คาราบาวจึงเหลือเพียงแอ๊ดและเขียว ทั้งคู่ได้ตระเวนเล่นดนตรีตามห้องอาหารต่าง ๆ ในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันก็ทำงานประจำ โดยทางวงจะเล่นเพลงสากลของ จอห์น เดนเวอร์, อิเกิ้ลส์, ครอสบี, สติลส์, แนช แอนด์ ยัง เป็นต้น\nจนในปลายปี พ.ศ. 2524 อัลบั้มชุดแรกของคาราบาวก็เกิดขึ้น ในชื่อว่า \"ขี้เมา\" โดยเขียว รับหน้าที่เล่นกีตาร์เบส แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่นัก ต่อมาอัลบั้มชุดที่ 2 \"แป๊ะขายขวด\" ซึ่งวางจำหน่ายปี พ.ศ. 2525 และได้เล็ก - ปรีชา ชนะภัย จากวงเพรสซิเดนท์เข้าร่วมวงด้วย เขียวจึงเปลี่ยนหน้าที่จากเล่นเบสมาเล่นกีตาร์ และได้ร้องนำเป็นครั้งแรก โดยเป็นการร้องคู่กับแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล ในเพลง \"แป๊ะขายขวด\" และยังร้องเพลง \"หนทางใด\" และเพลง \"พรานทะเล\" อัลบั้มนี้ทำให้คาราบาวเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น และในอัลบั้มชุดวณิพกซึ่งวางจำหน่ายในปีถัดมา เขียว สมาชิกในตำแหน่งมือกีตาร์ ได้ร้องนำในเพลง \"หัวลำโพง\" ก่อนจะเริ่มหันมาทำงานและมีบทบาทเบื้องหลังกับวงคาราบาวมากขึ้น",
"title": "กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร"
},
{
"docid": "56123#9",
"text": "คาราบาว มาประสบความสำเร็จถึงขีดสุดในอัลบั้มชุดที่ 5 ของวง คือชุด เมด อิน ไทยแลนด์ ที่วางจำหน่ายในปลายปี พ.ศ. 2527 ซึ่งมียอดจำหน่ายสูงถึง 5,000,000 ตลับ/ก๊อปปี้ ซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุดในประเทศไทย และนับตั้งแต่นั้น ชื่อของ ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว ก็เป็นที่รู้จักกันดีของคนไทย และออกผลงานเพลงร่วมกับวงคาราบาวมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงได้แสดงคอนเสิร์ตที่สหรัฐอเมริกาอีกด้วย",
"title": "ยืนยง โอภากุล"
},
{
"docid": "377299#0",
"text": "กัมพูชา เป็นสตูดิโออัลบั้มเดี่ยวลำดับแรกของ ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด คาราบาว) โดยทำขึ้นภายหลังจากที่วงคาราบาวออกอัลบั้ม ท.ทหารอดทน โดยวางตลาดครั้งแรกในกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2527 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร",
"title": "กัมพูชา (แอ๊ด คาราบาว)"
},
{
"docid": "289269#3",
"text": "ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2534 คาราบาว ได้จัดคอนเสิร์ตคนคาราบาวขึ้นเพื่อประกาศถึงการแยกวงของสมาชิกยุคคลาสสิกอย่างเป็นทางการ ต่อมาในเดือนธันวาคม สมาชิกของคาราบาว 3 คน ประกอบไปด้วย แอ๊ด - ยืนยง โอภากุล, เล็ก - ปรีชา ชนะภัย และ อ็อด - อนุพงษ์ ประถมปัทมะ ได้กลับมารวมตัวเพื่อทำผลงานเพลงร่วมกันอีกครั้ง จึงได้เกิดเป็นผลงานเพลงชุด วิชาแพะ ขึ้น ",
"title": "วิชาแพะ"
},
{
"docid": "359522#1",
"text": "หลังวง คาราบาว ออกอัลบั้มช้างไห้ ทางต้นสังกัด ดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์ ขณะเดียวกัน แอ๊ด คาราบาว ได้ลาบวชอยู่ระยะหนึ่ง จึงกลับมาทำอัลบั้มเดี่ยวชุด \"รอยคำรณ\" และเริ่มทำอัลบั้มในนามวงเป็นลำดับที่ 14 โดยเป็นอัลบั้มชุดหนึ่งที่แอ๊ดปรากฏตัวร้องเพลงด้วยทรงผมที่ถูกโกนศีรษะจากการบวช",
"title": "รุ่นคนสร้างชาติ"
}
] |
1943 | ใครเป็นผู้แต่งนวนิยายเรื่องเพชรพระอุมา? | [
{
"docid": "28360#0",
"text": "เพชรพระอุมา เป็นนวนิยายแนวผจญภัยที่มีขนาดความยาวมากที่สุดในประเทศไทย และนับว่าเป็นนวนิยายที่มีความยาวมากที่สุดในโลก[1] บทประพันธ์โดย พนมเทียน ซึ่งเป็นนามปากกาของนายฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ ตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ และตีพิมพ์ต่อเนื่องในหนังสือพิมพ์รายวัน ใช้ระยะเวลาในการประพันธ์ยาวนานกว่า 25 ปี[2] โดยพนมเทียนเริ่มต้นการประพันธ์เพชรพระอุมาในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 และสิ้นสุดเนื้อเรื่องทั้งหมดในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2533 รวมระยะเวลาในการประพันธ์ทั้งสิ้น 25 ปี 7 เดือน กับ 2 วัน[3]",
"title": "เพชรพระอุมา"
}
] | [
{
"docid": "28360#5",
"text": "เพชรพระอุมาใช้ระยะเวลาในการประพันธ์ยาวนานกว่า 25 ปี[8] ซึ่งระยะเวลาที่ยาวนานนั้นมาจากการที่พนมเทียนเป็นนักเขียนอาชีพ และยึดถือเอาสิ่งสำคัญที่สุดของงานเขียนก็คือผู้อ่าน[9] โดยตราบใดที่งานเขียนของตนเองยังคงได้รับความนิยมและมีผู้สนใจติดตามอ่าน ตราบนั้นความสุขใจในการเขียนก็เป็นสิ่งที่มีความสุขมากที่สุดของพนมเทียน[9] ทำให้เนื้อเรื่องของเพชรพระอุมาถูกสร้างสรรค์และเขียนแต่งขึ้นตามจินตนาการ ร่วมกับประสบการณ์ในการเดินป่าอย่างละเอียดลออ จนกระทั่งมีความยาวมากทั้งภาคแรกและภาคสมบูรณ์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อ่านได้รับรู้ถึงเหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ สามารถจินตนาการตามตัวอักษรและสร้างอารมณ์ร่วมในการติดตามเนื้อเรื่องและการดำเนินเรื่องของตัวละครต่าง ๆ ได้[9]",
"title": "เพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "98425#6",
"text": "แงซาย เป็นตัวละครในเพชรพระอุมาที่ไม่มีต้นแบบมาจากบุคคลที่มีตัวตนจริง เกิดจากจินตนาการสร้างสรรค์ของพนมเทียนทั้งหมด ไม่มีต้นแบบจำลองมาจากลักษณะเฉพาะตัวของผู้ใด ที่สามารถจำลองเอามาใส่ในตัวของแงซายได้ โดยที่พนมเทียนนั้นเลือกเอาลักษณะต้นแบบของแงซาย มาจากภาพปั้นของเทพบุตรของกรีกที่ชื่อนาซิสซัส แล้วสร้างสรรค์เสริมแต่งให้แงซายมีชีวิตโลดแล่นในเพชรพระอุมา ที่ถือว่าเป็นพระเอกอีกคนหนึ่งของนวนิยายเรื่องนี้ มีสติปัญญาไหวพริบปฏิภาณเป็นเลิศ เจ้าเล่ห์ ขี้เล่น อีกทั้งยังเป็นคู่อริและคู่ปรับ คู่รักคู่แค้นของรพินทร์ ไพรวัลย์",
"title": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "28360#28",
"text": "ตลอดระยะเวลาที่เพชรพระอุมาได้รับการตีพิมพ์ฉบับรวมโดยสำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ได้มีคำนิยมของ \"เพชรพระอุมา\" จากผู้ทรงเกียรติและทรงคุณวุฒิหลายท่าน ได้ให้คำนิยมส่วนตัวแก่นวนิยายที่ถือได้ว่าเป็นสุดยอดของนวนิยาย และเป็นวรรณกรรมชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของเมืองไทย ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในนักอ่านหลาย ๆ รุ่น[14] ซึ่งได้รับความบันเทิง ความสนุกสนานจากการอ่านเพชรพระอุมา แม้เนื้อเรื่องจะมีความยาวเป็นอย่างมากก็ตาม",
"title": "เพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "142692#13",
"text": "ชุดเดินป่า เป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้รักในการเดินป่าและการผจญภัยในป่า นอกจากจะช่วยป้องกันอันตรายแก่ผู้สวมใส่ การเลือกชุดเดินป่าต้องเลือกแต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพแวะล้อมของภูมิประเทศอีกด้วย พนมเทียนได้นำเอาความรู้ รายละเอียดปลีกย่อยเล็กน้อยในการเลือกชุดเดินป่า นำมาสอดแทรกไว้ในเพชรพระอุมา เป็นการสะท้อนความสำคัญของความรู้ในการเลือกชุดเดินป่า ซึ่งต้องเป็นเสื้อผ้าแบบหนา ออกแบบและตัดเย็บแบบรัดกุม และคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด",
"title": "การเดินป่าในเพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "142694#1",
"text": "ในเพชรพระอุมา พนมเทียนได้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการ ทักษะรวมทั้งศิลปะในการล่าสัตว์ของพรานจัน พรานบุญคำ รวมทั้งรพินทร์ ไพรวัลย์ ที่เต็มไปด้วยการหลอกล่อและชั้นเชิงระหว่างมนุษย์และสัตว์ วิธีการล่าสัตว์ที่ปรากฏในเพชรพระอุมาเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการล่าสัตว์ ที่ประกอบไปด้วยวิธีการปฏิบัติ ขนบประเพณีต่าง ๆ ในการเข้าป่า วิธีการล่าสัตว์ในนวนิยายเพชรพระอุมา มีดังนี้",
"title": "การล่าสัตว์ในเพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "437242#8",
"text": "ธิติมา ผู้ผลิตธรณีนี่นี้ใครครอง ทั้งในปี พ.ศ. 2541 และ พ.ศ. 2555 กล่าวถึงการวางตัวเลือก ณเดชน์มาแสดงนำในบทอาทิจ และอุรัสยาในบทดรุณีว่า หลังจากที่เคยเห็นสองคนนี้แสดงร่วมกันใน \"ดวงใจอัคนี\" ระหว่างนั้นธิติมาได้อ่านนวนิยายเรื่อง \"ธรณีนี่นี้ใครครอง\" แล้วรู้สึกว่าตัวละครในนิยายมีความคล้ายคลึงกับทั้งสองคน โดยมียุทธนา ลอพันธุ์ไพบูลย์ ผู้กำกับละครได้แสดงความคิดเห็นสนับสนุนไว้ว่า \"\"อาทิจเหมือนณเดชน์ตรงที่เป็นคนที่มาจากต่างจังหวัด มุ่งมั่น ซื่อ มีน้ำใจ และมีอารมณ์ขันนิดหน่อย\"\" แต่ในส่วนของบทดรุณี ยุทธนามองว่าไม่ค่อยตรงกับอุรัสยาเท่าไหร่นัก แต่ก็กล่าวว่ามั่นใจในการแสดงดังนี้ \"\"เชื่อว่าญาญ่าจะเล่นเป็นดรุณีที่เหวี่ยงวีน ขี้อิจฉาได้ดีแน่นอน ที่สำคัญวัยของญาญ่าตรงกับดรุณีในนิยายพอดี\"\" จนในที่สุดธิติมาได้ตัดสินใจเลือกณเดชน์ และอุรัสยาเข้ามาแสดงละครเรื่องนี้ในฉบับปี พ.ศ. 2555 ",
"title": "ธรณีนี่นี้ใครครอง"
},
{
"docid": "98425#0",
"text": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา เป็นการรวบรวมตัวละครในเพชรพระอุมา ซึ่งเป็นนวนิยายแนวผจญภัยที่พนมเทียนใช้ระยะเวลาในการประพันธ์ยาวนานกว่า 25 ปี มีตัวละครในการดำเนินเนื้อเรื่องในแต่ละภาคเป็นจำนวนมาก พนมเทียนได้กำหนดลักษณะนิสัยของตัวละครให้โลดแล่นมีชีวิตชีวา สร้างความสนุกสนานให้แก่นักอ่านจำนวนมาก ที่ต่างมีความผูกพันกับตัวละครต่าง ๆ ในเพชรพระอุมา",
"title": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "103366#0",
"text": "การเดินป่า ล่าสัตว์ แกะรอยในเพชรพระอุมา เป็นการรวบรวมรายละเอียดและทักษะในการล่าสัตว์และการแกะรอยในเพชรพระอุมา นำมาจากทักษะและประสบการณ์ในการเดินป่าของพนมเทียน เช่นศิลปะในการดำรงชีพ ศิลปะในการล่าสัตว์ รวมทั้งศิลปะในการแกะรอยสัตว์ในเชิงพราน นำมาผูกเสริมเติมแต่งให้แก่ตัวละครในเพชรพระอุมา ให้มีทักษะความสามารถและประสบการณ์ในการเดินป่า รวมทั้งการล่าสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหาร ซึ่งการล่าสัตว์แกะรอยนั้นเป็นศิลปะเก่าแก่สืบทอดกันมาในหมู่พรานป่าและพรานพื้นเมือง เช่นเคล็ดลับในการสะกดรอยสัตว์ การตามสัตว์ที่ได้รับบาดเจ็บ การดูทางด่านของสัตว์ การนั่งห้างและการส่องสัตว์ การสังเกตทิศทางในการเดินป่าโดยใช้ต้นไม้และกิ่งไม้เป็นตำหนิป้องกันการหลงทาง การสังเกตท้องฟ้าและดวงดาว ฯลฯ โดยการล่าสัตว์แกะรอยในเพชรพระอุมา มีดังนี้",
"title": "การเดินป่า ล่าสัตว์ แกะรอยในเพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "28360#13",
"text": "ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 4 ดังกล่าวข้างต้น เมื่อนำมาเขียนเพชรพระอุมา พนมเทียนก็สามารถถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ อารมณ์และจินตนาการของตัวละครในนวนิยายได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งต้นแบบของโครงเรื่อง ก็มาจากประสบการณ์จริงบวกกับจินตนาการของพนมเทียนนั่นเอง",
"title": "เพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "103366#5",
"text": "ในเพชรพระอุมา พนมเทียนได้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการ ทักษะรวมทั้งศิลปะในการล่าสัตว์ของพรานพื้นเมือง ได้แก่พรานจัน พรานบุญคำ พรานเกิด พรานเส่ย รวมทั้งรพินทร์ ไพรวัลย์ ที่เต็มไปด้วยการหลอกล่อและชั้นเชิงระหว่างมนุษย์และสัตว์ วิธีการล่าสัตว์ที่ปรากฏในเพชรพระอุมาเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการล่าสัตว์ ที่ประกอบไปด้วยวิธีการปฏิบัติ ขนบประเพณีต่าง ๆ ในการเข้าป่า วิธีการล่าสัตว์ในนวนิยายเพชรพระอุมา",
"title": "การเดินป่า ล่าสัตว์ แกะรอยในเพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "98662#0",
"text": "คำนิยมเพชรพระอุมา เป็นการแสดงความคิดเห็นของผู้ทรงเกียรติและทรงคุณวุฒิหลายท่าน ที่มีต่อนวนิยายเรื่องเพชรพระอุมาจากสำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม ซึ่งการแสดงความนิยมต่อเพชรพระอุมานี้ เป็นการการันตีถึงผลงานการประพันธ์ของพนมเทียนและความเป็นสุดยอดของวรรณกรรมชิ้นเอกของเมืองไทย ซึ่งผู้ทรงเกียรติและทรงคุณวุฒิที่ได้ให้เกียรติมาให้คำนิยมต่อเพชรพระอุมา มาจากหลายอาชีพและหน้าที่การงาน เช่น ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย ฯพณฯ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ นายเสนาะ เทียนทอง ดร.พิจิตต รัตตกุล",
"title": "คำนิยมเพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "28360#3",
"text": "พนมเทียนเริ่มต้นการเขียนเพชรพระอุมาในปี พ.ศ. 2507 โดยตกลงทำข้อสัญญากับสำนักพิมพ์ผ่านฟ้าพิทยา (ซึ่งปัจจุบันสำนักพิมพ์ผ่านฟ้าพิทยา ได้ยุติกิจการไปแล้ว) ในการเขียนนวนิยายแนวผจญภัยในป่าจำนวนหนึ่งเรื่อง โดยมีข้อกำหนดความยาวของนวนิยายเพียงแค่ 8 เล่มจบเท่านั้น แต่กลับได้รับความนิยมอย่างล้นหลามทำให้ต้องเขียนเพชรพระอุมาเพิ่มเติมต่อจนครบ 10 เล่ม และขอยุติการเขียนตามข้อสัญญา[6] แต่ทางสำนักพิมพ์ผ่านฟ้าพิทยายังไม่อนุญาตให้พนมเทียนยุติการเขียน และได้ขอร้องให้เขียนเพิ่มเติมต่ออีก 5 เล่ม พร้อมกับบอกกล่าวถึงความนิยมของนักอ่านที่มีต่อเพชรพระอุมา ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจนต้องมีการตีพิมพ์ซ้ำหลาย ๆ ครั้งด้วยกันในระยะปลาย ๆ ของเล่มที่ 10[6] จนสถิติการตีพิมพ์และการจัดจำหน่ายของนวนิยายเรื่องนี้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และได้รับการตอบรับจากนักอ่านหลาย ๆ รุ่นเป็นอย่างดีในการช่วยขัดเกลาเนื้อเรื่องของเพชรพระอุมา และแจ้งเตือนแก่พนมเทียนถึงชื่อตัวละครหรือสถานที่ที่ปรากฏในเพชรพระอุมาที่มีการผิดพลาด[7]",
"title": "เพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "28360#52",
"text": "\"เพชรพระอุมา ใช้เวลาเขียนทั้งหมด 25 ปี 7 เดือนกับ 2 วัน ภาคแรกเขียนจบลงในหนังสือจักรวาลรายสัปดาห์ แล้วมาเริ่มเขียนภาคสองตอนจอมพราน ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันจันทร์ ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรก ที่ตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์รายวันของนวนิยายเรื่องนี้\"[33] โดยที่คำถามว่า",
"title": "เพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "28360#32",
"text": "แม้จะมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า เพชรพระอุมา ลอกเค้าโครงเรื่องมาจาก King Solomon's Mine หรือ สมบัติพระศุลี เนื่องจากความคล้ายคลึงกันของตัวละคร วัตถุประสงค์ในการเดินป่า รวมถึงแผนที่ลายแทงของทั้งสองเรื่อง ที่มีเนื้อความใกล้เคียงกันมาก วิทยานิพนธ์ของ สุภารัตน์ ศุภภัคว์รุจา ได้รายงานการศึกษาเชิงเปรียบเทียบสำหรับวรรณกรรมทั้งสองเรื่องนี้ ในบทคัดย่อปรากฏความตอนหนึ่งว่า \"นวนิยายผจญภัยเรื่อง เพชรพระอุมา เป็นนวนิยายที่มีลักษณะเป็นแบบฉบับของพนมเทียนเอง เนื่องจากการได้รับอิทธิพลนั้น เป็นการได้รับอิทธิพลแล้วนำอิทธิพลที่ได้รับนั้นมาสร้างสรรค์และขยายเรื่องราวการผจญภัยใน เพชรพระอุมา ให้สนุกสนานและน่าติดตามมากยิ่งขึ้น โดยการเพิ่มประสบการณ์ในการเดินป่า และความรู้ในด้านต่างๆ ของตนเองเข้าไปได้อย่างเหมาะสม\" [18] ว.วินิจฉัยกุล ให้ความเห็นว่า \"...'เพชรพระอุมา' ภาค 1 เป็นงานที่สร้างยากกว่า King Solomon's Mines และมีลักษณะเฉพาะของตัวเองชัดมาก ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับว่า การที่สถาปนิกไทยใช้กระเบื้องมุงหลังคาและเสาปูนของฝรั่ง ตลอดจนหน้าต่างกระจกติดเครื่องปรับอากาศ มาสร้างบ้านไทย ก็หาได้ทำให้บ้านไทยนั้นกลายเป็นบ้านฝรั่งไปไม่ และยิ่งเมื่อใช้พื้นไม้สัก ฝาปะกน ฝาเฟี้ยมแบบไทย มีประตูที่มีธรณีประตูสูง มีหย่อง หรือแผ่นไม้สลักใต้หน้าต่าง มีคันทวยสลักค้ำชายคา นอกชานตั้งเขามอ และไม้ดัดตลอดจนอ่างปลาเงินปลาทอง มันก็กลายเป็นบ้านไทยประยุกต์ที่คนไทยคุ้นตากันนั่นเอง...\"[19]",
"title": "เพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "277306#4",
"text": "เครื่องเพชรบลูไดมอนด์ ถูกหยิบยกขึ้นมาจากสื่อในประเทศไทยฝ่ายเดียว ตั้งแต่เริ่มมี \"คดีเพชรซาอุ\" โดยมีนายเกรียงไกรเป็นผู้กระทำความผิด พล.ต.ท.วรรณรัตน์ คชรัตน์ ผช.อตร. เจ้าของคดี ทราบเรื่องนี้ดี เพราะเป็นผู้ถามสื่อมวลชนเองว่า \"ไปเอาเรื่องนี้มาจากไหน ตนไม่เคยได้ยิน หรือเห็นมาก่อนเลย\" จากนั้นก็มีการไปเอารูปภริยาอธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น พล.ต.อ. แสวง ธีระสวัสดิ์ ภาพใน น.ส.พ. ฉบับหนึ่ง ผู้หญิงสวมสร้อยคอที่มีจี้เป็นอัญมณีสีน้ำเงินล้อมเพชรและทอง ปรากฏตัวในงานเลี้ยงงานหนึ่ง แล้วก็ลือกันตามมาว่าเป็นเพชรบลูไดมอนด์ของเจ้าฟ้าชายไฟซาล \nเรื่องนี้ได้มีการพิสูจน์กันสองทางคือ ประการแรกตำรวจได้ส่งภาพถ่ายดังกล่าวไปให้สถาบันอัญมณีในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตรวจพิสูจน์ ได้ข้อยุติว่า วัตถุที่ว่าเป็นอัญมณีสีน้ำเงินแล้วอนุมานว่าเป็นเพชรบลูไดมอนด์ ได้คำตอบ ไม่ใช่เพชรหรืออัญมณีแต่อย่างใด แต่เป็นวัตถุที่ทำด้วยผ้ากำมะหยี่สีน้ำเงินเข้มที่นำมาประดิษฐ์เข้าคู่กับเพชรและทอง ผลพิสูจน์นี้อยู่ ในสำนวนการสอบสวนของตำรวจ \nประการที่สอง บุตรชายของสุภาพสตรีท่านนั้นได้นำสร้อยและจี้ที่ปรากฏในภาพถ่ายมาแสดงต่อพนักงานสอบสวนเจ้าของคดี ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับผลตรวจพิสูจน์ของสถาบันในลอนดอน\nข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้อีกประการหนึ่งก็คือ ผลการสอบสวนนายเกรียงไกรพบว่า นายเกรียงไกรได้แบ่งเครื่องเพชรให้กับเพื่อนที่มีส่วนรู้เห็น ทั้งไม่รู้ด้วยว่าแบ่งเครื่องเพชรชนิดและประเภทใดให้เพื่อนไปบ้าง เนื่องจากมีความรู้เรื่องอัญมณีน้อยมาก เมื่อนำเครื่องเพชรทั้งหมดกลับมาที่บ้านใน จ.ลำปาง ก็ได้ทำการแยกชิ้นส่วนเอาเพชรกับทองแยกออกจากกัน เพราะรู้แต่ทองมีค่า โดยนำทองไปขายที่ร้านทองใน จ.ลำปาง และ จ.แพร่ ผลการสอบสวนเจ้าของร้านทองไม่ปรากฏว่าพบเห็น หรือรู้เรื่องเพชรบลูไดมอนด์ ส่วนเพชรนายเกรียงไกรไม่รู้จัก รู้แต่ว่าเพชรมีความแข็งมาก จึงลองทุบบางส่วน เม็ดไหนแตกก็ทิ้งไป เม็ดไหนไม่บุบสลายก็แยกไว้ ไม่ได้ทุบทั้งหมด จากนั้นได้นำเพชร พลอย อัญมณีอื่น ๆ ที่แยกออกจากทองแล้วไปฝังดินไว้บางส่วน บางส่วนทยอยขายให้แก่นายสันติ ศรีธนขัณฑ์ เจ้าของร้านเพชรชื่อดัง ย่านถนนเจริญกรุง ซึ่งบางส่วนถูกนำไปขายต่ออีกทอดโดยมี พล.ต.อ. คนหนึ่ง ซึ่งเป็น อดีตรอง ผบ.ตร. ชอบค้าของเก่าและของมีค่า ร่วมมือกับนายสันติขายเพชรซาอุ แต่หลักฐานสาวไปไม่ถึงจึงลอยนวลอยู่จนทุกวันนี้\nการให้การของนายเกรียงไกร กรณีเพชรบลูไดมอนด์ มีความคลุมเครือ ไม่ชัดเจน เหมือนว่าขายให้นายสันติ แต่นายเกรียงไกรก็ไม่เคยยืนยันอย่างหนักแน่นกับพนักงานสอบสวนในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากไม่มีความมั่นใจ เพราะนำเครื่องเพชรออกมาเป็นจำนวนมากจนไม่สามารถจดจำรายละเอียดได้ครบถ้วน \nพนักงานสอบสวน และราชสำนักซาอุดิอาระเบีย ประมาณการณ์ว่า เพชรซาอุถูกขายไปประมาณ 20 % ทั้งนายสันติ และภริยา ต่างยืนยันว่า ไม่เคยเห็นเพชรบลูไดมอนด์ ความตายของนางดาราวดี และ ด.ช.เสรี ศรีธนขันฑ์ เป็นข้อพิสูจน์ได้ดีว่า ผู้รับซื้อเพชรซึ่งมีอยู่รายเดียวจากนายเกรียงไกร ต่างไม่เคยเห็นเพชรบลูไดมอนด์ มิฉะนั้นคงรับสารภาพและคืนให้ไปแล้วเมื่อเห็นความตายและความเดือดร้อนของตนเอง ครอบครัว และบุตรอยู่ตรงหน้า \nผลสรุปของการสอบสวนคดีเพชรซาอุ มีข้อยุติว่า ไม่มีใครที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยเคยเห็นเพชรบลูไดมอนด์อยู่ในเครื่องเพชรที่นายเกรียงไกรขโมยมา กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเพชรบลูไดมอนด์ไม่เคยมีอยู่ในประเทศไทย การกล่าวหากล่าวอ้างว่าบุคคลนั้นบุคคลนี้ครอบครองเพชรบลูไดมอนด์ไว้ จึงไม่เป็นความจริง \nประการที่สองเจ้าชายหรือเจ้าหญิงของซาอุดิอาระเบียไม่รู้ว่าเครื่องเพชรที่ถูกขโมยมีชนิดหรือประเภทใดอย่างครบถ้วนเพราะเครื่องเพชรมีเป็นจำนวนมากที่อยู่ในครอบครองและที่ถูกขโมยมา ทั้งยอมรับว่าเครื่องเพชรที่ถูกขโมยมีทั้งของจริงและของปลอมที่ซื้อจากห้าง May Flower ซึ่งทำอัญมณีประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงมาก ทั้งไม่ทราบว่าเครื่องเพชรอันใดเทียมหรือจริง ข้อตำหนิเรื่องส่งคืนเครื่องเพชรปลอมและไม่ครบถ้วนจึงสามารถทำความเข้าใจที่ชัดเจนได้ในเวลาต่อมา",
"title": "คดีโจรกรรมเครื่องเพชรราชวงศ์ไฟซาลแห่งซาอุดีอาระเบีย พ.ศ. 2532"
},
{
"docid": "28360#2",
"text": "โดยเนื้อเรื่องต่าง ๆ ของเพชรพระอุมานั้น พนมเทียนได้นำเค้าโครงเรื่องมาจาก คิง โซโลมอน'ส มายน์ส (King Solomon's Mines) หรือ สมบัติพระศุลี นวนิยายของเซอร์เฮนรี่ ไรเดอร์ แฮกการ์ด (H. Rider Haggard) ที่ผจญภัยในความลี้ลับของป่าดงดิบภายในทวีปแอฟริกา[5]",
"title": "เพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "28360#29",
"text": "คำนิยมของ \"เพชรพระอุมา\" ในแต่ละเล่มและแต่ละตอน จึงเป็นการรับรองถึงความเป็นนวนิยายที่มีความบันเทิง ตื่นเต้นเร้าใจและการผจญภัยตามแต่จินตนาการของพนมเทียน ที่นอกจากสามารถทำให้นักอ่านได้สนุกสนานไปกับเนื้อเรื่องที่ชวนติดตามและลุ้นระทึกแล้ว ยังได้รับความรู้ในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับการเดินป่า การล่าสัตว์ รวมทั้งอาวุธปืนอีกด้วย[14]",
"title": "เพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "28360#47",
"text": "บทประพันธ์จากประสบการณ์ในการเดินป่าของผู้ประพันธ์มาเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเรื่อง รวมทั้งความรู้ความสามารถในการเดินป่าและอาวุธปืนในการแกะรอยล่าสัตว์[30] ได้รับความสนใจจากนักศึกษาในการทำวิทยานิพนธ์คือ นางสาวสุภารัตน์ ศุภภัคว์รุจา และ นางสาวสริญญา คงวัฒน์ เพื่อนำเสนอถึงคุณค่าและสิ่งที่ได้รับจากนวนิยายเรื่องนี้เสนอต่อ มหาวิทยาลัยทักษิณ",
"title": "เพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "28360#31",
"text": "ความสำเร็จดังกล่าวนี้ส่วนหนึ่งมาจากความสามารถในการประพันธ์ของพนมเทียน ซึ่ง ว.วินิจฉัยกุล ได้เอ่ยถึงว่า \"...พนมเทียนเป็นผู้พิถีพิถันทั้งในด้านรูปทรง สีสัน แสงและเงา ตลอดจนความเคลื่อนไหวที่แปรเปลี่ยนไม่หยุดนิ่ง มีแม้กระทั่งเสียง ด้วยการเลือกใช้ถ้อยคำอย่างวิจิตรบรรจง มีกลิ่นอายของวรรณคดีอยู่ในภาษาที่ใช้ เหมือนกับการแกะสลักลายซ้อนลงไปทีละชั้นจนเป็นหลายชั้นลึกละเอียด ไม่ใช่เพียงแต่ร่างคร่าว ๆ พอให้เป็นรูปขึ้นมาเท่านั้น...\" [16] หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ผู้กำกับภาพยนตร์ผู้มีชื่อเสียง ตรัสถึงนวนิยายชุดนี้ว่า \"เพชรพระอุมาคือมหากาพย์แห่งวรรณกรรมที่ไม่มีหนังสือเรื่องไหนที่จะเทียบได้\" [17]",
"title": "เพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "99267#0",
"text": "เนื้อเรื่องเพชรพระอุมา เป็นเนื้อเรื่องทั้งหมดของนวนิยายเรื่องเพชรพระอุมาจำนวน 48 เล่ม แบ่งเนื้อเรื่องเป็นสองภาคคือภาคแรก จำนวน 6 ตอน 24 เล่ม และภาคสมบูรณ์ จำนวน 6 ตอน 24 เล่ม",
"title": "เนื้อเรื่องเพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "28360#30",
"text": "เพชรพระอุมา เป็นนวนิยายที่ได้รับการตอบรับจากผู้อ่านเป็นอย่างดียิ่ง กระทั่งสำนักพิมพ์ผ่านฟ้าไม่ยอมให้พนมเทียนยุติการเขียน ถึงขนาดที่ว่า \"...ในช่วงที่พนมเทียนกำลังเขียนเรื่องนี้ตีพิมพ์ขายเป็นเล่มพ็อกเก็ตบุ๊คติดต่อกันนั้น ถึงกับมีผู้อ่านมาเข้าคิวรอซื้อกันหน้าโรงพิมพ์เลยทีเดียว...\"[15]",
"title": "เพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "28404#0",
"text": "ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ (23 พฤศจิกายน 2474 - ) นักเขียนนวนิยายที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของไทย ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2540 เป็นเจ้าของนามปากกา พนมเทียน ผู้แต่ง เพชรพระอุมา",
"title": "ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ"
},
{
"docid": "28360#10",
"text": "พนมเทียนนำเอาความรู้ความชำนาญในการเดินป่า การดำรงชีวิตและการล่าสัตว์จากประสบการณ์จริงของตนเอง มาเป็นพื้นฐานในการเขียนนวนิยายเรื่องเพชรพระอุมา โดยเค้าโครงเรื่องและส่วนประกอบต่าง ๆ ได้นำมาจากเรื่องเล่าขานและสิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากนักท่องไพรรุ่นอาวุโส หรือเรื่องเล่ารอบกองไฟของพรานพื้นเมืองต่าง ๆ ยามพักผ่อนภายหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจในการล่าสัตว์และเล่าเรื่องราวต่าง ๆ แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน",
"title": "เพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "28360#48",
"text": "นางสาวสุภารัตน์ ศุภภัคว์รุจา ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง \"นวนิยายแนวผจญภัย:จาก คิง โซโลมอน'ส มายน์ส ล่องไพร จนถึง เพชรพระอุมา (ภาคแรก)\" ในปี พ.ศ. 2541 นางสาวสริญญา คงวัฒน์ ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง \"วิเคราะห์ภาพสะท้อนเชิงพรานในนวนิยายเพชรพระอุมา ของพนมเทียน\"[31]",
"title": "เพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "100992#0",
"text": "อาวุธปืนในเพชรพระอุมา เป็นการรวบรวมรายละเอียดของปืนที่ใช้ในเรื่องเพชรพระอุมา จากความรู้และทักษะความสามารถทางด้านอาวุธปืนของพนมเทียน ในการนำเอาอาวุธปืนประเภทต่าง ๆ และกระสุนที่ใช้จากประสบการณ์จริง มาผูกเสริมเติมแต่งให้แก่ตัวละครในเพชรพระอุมา รวมทั้งกำหนดลักษณะและผลของการใช้ของปืนแต่ละประเภท ซึ่งปืนที่ใช้ในเพชรพระอุมานั้น มีจำนวนมากมายหลากหลายขนาด รวมทั้งยี่ห้อและรุ่น เช่นปืนไรเฟิล วินเชสเตอร์ .375 โมเดล 70 ปืนลูกซอง ปืนสั้นกึ่งออโตแมติกหรือแม้แต่ปืนเอ็ม 16 ที่ใช้ในการสงคราม รวมทั้งรายละเอียดและความรู้ทางด้านปืนของแต่ละกระบอก เช่น วิถีกระสุนในการปะทะเป้าหมาย แรงปะทะของปืน ฯลฯ อาวุธปืนที่ใช้ในเพชรพระอุมา มีดังนี้",
"title": "อาวุธปืนในเพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "28360#7",
"text": "โครงเรื่องของเพชรพระอุมานั้น พนมเทียนได้เค้าโครงเรื่องมาจากแนวความคิดของเรื่องคิง โซโลมอน'ส มายน์ส ของ เซอร์ฯ แฮกการ์ด ซึ่งเป็นเค้าโครงของการผจญภัยเรื่องที่ดีมากเรื่องหนึ่ง[10] โดยก่อนหน้าที่พนมเทียนจะเขียนเพชรพระอุมาก็ได้มีการวางโครงเรื่องคร่าว ๆ ไว้เช่นเดียวกับงานเขียนอื่น ๆ ซึ่งโครงเรื่องคร่าว ๆ ของเพชรพระอุมานั้น พนมเทียนวางเอาไว้เพียงเล็กน้อยโดยกำหนดให้เป็นเรื่องราวการผจญภัยในป่าของนายพรานผู้นำทางคนหนึ่งเท่านั้น[10]",
"title": "เพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "28360#6",
"text": "พนมเทียนนั้นมีวิธีการเขียนเนื้อเรื่องเพชรพระอุมาในรูปแบบการเขียนของตนเอง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยพยายามเขียนบรรยายถึงลักษณะท่าทาง ตลอดจนอากัปกิริยาต่าง ๆ ของตัวละครทุกตัวที่ปรากฏในเพชรพระอุมา โดยไม่ยอมให้เป็นการเขียนที่เรียกได้ว่าเขียนแบบผ่านเลยไป ทำให้ผู้อ่านที่ติดตามอ่านมาโดยตลอดไม่ได้อรรถรสและความเข้มข้นของเนื้อเรื่อง[9] แต่พนมเทียนจะเขียนโดยแจกแจงอากัปกิริยาทุกขณะและทุกฝีก้าวของตัวละคร เพื่อให้ผู้อ่านสามารถมองเห็นการกระทำต่างหรือการเคลื่อนไหวต่าง ๆ เช่นกระทิงหรือเสือโคร่งถูกรพินทร์ ไพรวัลย์ยิงล้มลง ก็จะเขียนบรรยายเริ่มตั้งแต่รพินทร์และคณะเดินทางพบเจอกับสัตว์ เกิดการต่อสู้หรือติดตามแกะรอยจนถึงประทับปืนและเหนี่ยวไกยิง จนกระทั่งสัตว์นั้นล้มลงเสียชีวิต หรือแม้แต่การพูดจาเล่นลิ้นยั่วยวนกวนประสาทของแงซายและรพินทร์ ไพรวัลย์ จนถึงการพร่ำพรรณนาคำรักหวานซึ้งระหว่างไชยยันต์ อนันตรัยและมาเรีย ฮอฟมัน พนมเทียนก็สามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างดีเยี่ยมจนสามารถทำให้ผู้อ่านได้รับรู้ว่าในขณะนั้นเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง จนทำให้เพชรพระอุมากลายเป็นนวนิยายที่มีความยาวมากที่สุดในโลก[9]",
"title": "เพชรพระอุมา"
},
{
"docid": "277306#10",
"text": "สำหรับเครื่องเพชรชุดที่ทางการซาอุดิอาระเบียต้องการมากที่สุด คือ เพชรสีน้ำเงิน หรือ \"บลูไดมอนด์\" เนื่องจากเป็น \"เพชรอาถรรพณ์\" แม้กระทั่งช่างที่เจียระไนก็ต้องมีอันเป็นไปสาบสูญไปจากโลก จึงเป็นเพียงเพชรชุดเดียวที่มีอยู่ในโลก และไม่ว่าจะตกไปอยู่ในมือใคร กษัตริย์ซาอุดิอาระเบียก็จะทรงจำได้เสมอ เพราะมีการทำตำหนิไว้ด้วยแสงอินฟราเรดอยู่ภายในใจกลางของเม็ด แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่มีใครหาพบ ซึ่งนายเกรียงไกรสารภาพกับนายโคจาว่า ได้โจรกรรมมาจริง แต่จำไม่ได้แน่ชัดว่าอยู่ในมือใครระหว่างพ่อค้าเพชรกับชุดจับกุม",
"title": "คดีโจรกรรมเครื่องเพชรราชวงศ์ไฟซาลแห่งซาอุดีอาระเบีย พ.ศ. 2532"
},
{
"docid": "28360#14",
"text": "เพชรพระอุมาเป็นนวนิยายที่มีความยาวทั้งสิ้น 48 เล่ม 12 ตอน แบ่งออกเป็นสองภาคคือภาคแรกและภาคสมบูรณ์ ภาคละ 24 เล่ม จำนวน 6 ตอน ซึ่งภาคแรกของเพชรพระอุมาได้แก่ ไพรมหากาฬ, ดงมรณะ, จอมผีดิบมันตรัย, อาถรรพณ์นิทรานคร, ป่าโลกล้านปีและแงซายจอมจักรา สำหรับภาคสมบูรณ์ได้แก่ จอมพราน, ไอ้งาดำ, จิตรางคนางค์, นาคเทวี, แต่ปางบรรพ์และมงกุฎไพร ซึ่งเค้าโครงเรื่องในภาคแรกและภาคสมบูรณ์ของเพชรพระอุมามีดังนี้",
"title": "เพชรพระอุมา"
}
] |
1287 | ช่อง 7 ยุติการออกอากาศระบบอนาล็อกเมื่อใด? | [
{
"docid": "59413#5",
"text": "สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ได้เตรียมที่จะกำหนดยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อก ก่อนสัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดลง (สัมปทาน 25 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ไปจนถึงปี พ.ศ. 2566) ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2560 โดยทางบริษัทฯ เห็นความจำเป็นในการยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อกเพื่อลดต้นทุนการส่งสัญญาณ ประกอบกับโครงข่ายโทรทัศน์ระบบดิจิทัลที่ช่อง 7 เช่าใช้ร่วมกับ ททบ. ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว [9] โดยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ในพื้นที่จังหวัดพิจิตร กำแพงเพชร พิษณุโลก สุโขทัย ชุมพร พังงา พัทลุง และสงขลา และวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ตราด บุรีรัมย์ นครสวรรค์ แพร่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน ระนอง นครศรีธรรมราช สตูล และยะลา และจะยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อกโดยสมบูรณ์จากสถานีกรุงเทพมหานครในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561 พร้อมกับสถานีอื่นๆ อีก 18 สถานี[10]ทั้งนี้ พันธะผูกพันต่างๆกับกองทัพบกในฐานะคู่สัญญาสัมปทานยังคงมีอยู่จนกระทั่งหมดสัญญาสัมปทาน [9]",
"title": "ช่อง 7 เอชดี"
}
] | [
{
"docid": "875306#1",
"text": "ทูนามิได้ออกอากาศในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2555 โดยเคเบิลท้องถิ่น ภายหลังถูกย้ายมายัง บริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทีโอทีไอพีทีวี จำกัด ต่อมาประเทศไทยนั้นได้มีการเปิดตัว ทูนามิ (ไทย) ในวันที่ 14 มกราคม 2558 ซึ่งจะทำให้สามารถดูช่องทูนามิผ่านทางเคเบิล/ดาวเทียมทั่วประเทศได้ฟรี (โดยแทนที่ช่อง 6ที่ยุติออกอากาศ) โดยสามารถดูผ่านจานดาวเทียมแบบฟรี ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ทีเอ็นที (TNT) เพิ่มรายการเรียลลิตี้และตลกขบขัน ปัจจุบันได้ทำการยุติออกอากาศในประเทศไทยแล้วเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ปัจจุบันรายการและการ์ตูนต่างๆ ของช่องทูนามิประเทศไทยบางส่วนนำไปฉายในช่องบูมเมอแรงประเทศไทย",
"title": "ทูนามิเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
},
{
"docid": "206434#104",
"text": "C หมวดหมู่:เกมโชว์ไทย หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ไทย หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ในอดีต หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2541 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ที่ยุติการออกอากาศในปี พ.ศ. 2551 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2552 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ที่ยุติการออกอากาศในปี พ.ศ. 2554 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ช่อง 3 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ช่อง 5 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ช่อง 7 หมวดหมู่:เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์",
"title": "ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า"
},
{
"docid": "21299#5",
"text": "เกมชีวิต ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยการผลิตของ กันตนา เมื่อต้นปี พ.ศ. 2543 (วันอาทิตย์ เวลา 17.00 น.) ซึ่งตอนนั้นได้ใช้รูปแบบรายการของเซอร์ไวเวอร์ (Survivor) แต่รูปแบบของของการเล่นเกมส์จะเปลี่ยนทุกซีซั่น ในซีซั่นที่ 3 จึงได้เสียงตอบรับที่ไม่ดีในด้านการดำเนินเกมส์ที่ใช้วิธีของทางทหาร สร้างความกดดันทั้งผู้เล่นเกมส์และคนดู จนคนดูไม่สามารถรับได้ จึงได้ยุติลงในที่สุด Survivor ในประเทศไทย ได้ออกอากาศทางฟรีทีวีและทางเคเบิลทีวี โดยลิขสิทธิ์ทางฟรีทีวี เป็นลิขสิทธิ์ของกันตนา (ฉายฤดูกาลที่ 1-3 ทางช่อง 5 เวลา 19.30 น.- 20.00 น. และฤดูกาลที่ 4-5 ทางช่อง 9 เวลา 22.00 น.-23.00 น. เมื่อต้นปี พ.ศ. 2546) ส่วนลิขสิทธิ์ทางเคเบิลทีวี คือ ทรูวิชั่นส์ โดยฉายฤดูกาลที่ 1-3 ตามหลังอเมริกาประมาณ 3 เดือนทางช่อง AXN และฉายฤดุกาลที่ 5-ฤดูกาลล่าสุด ตามหลังอเมริกาประมาณ 7 ชั่วโมง ทางช่อง True Series พร้อมทั้งยังมีการออกอากาศซ้ำหลายรอบ (ฤดูกาลที่ 4 เป็นฤดูกาลเดียวที่ไม่ได้ฉายทาง ทรูวิชั่นส์) เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ออกอากาศทางสถานีโมเดิร์นไนน์ทีวี (ช่อง 9) ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา รักแท้บทที่ 1 ออกอากาศทางสถานีกองทัพบกช่อง5 ในปี พ.ศ. 2548 (วันศุกร์ เวลา 20.30 น.) ผลิตรายการโดย แกรมมี่ เทเลวิชั่น เป็นเรียลลิตีประเภทนัดบอด แต่เนื่องด้วยจากกระแสวิจารณ์ทางสังคม ที่ตีความเนื้อหาของรายการผิดเพี้ยนไปจากเดิม จึงถูกยุติบทบาทลงไปในไม่กี่เดือน ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ออกอากาศทางเคเบิลทีวี ทาง ทรูวิชั่นส์ ซึ่งทรูได้ซื้อลิขสิทธิ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 และได้ออกอากาศทางฟรีทีวีตั้งแต่ ซีซั่น 2 โดย ซีซั่น 2 ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ในปี พ.ศ. 2548 และเมื่อขึ้นซีซั่นที่ 3 ได้ออกกาศทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ในปี พ.ศ. 2549 โดยโมเดิร์นไนน์ทีวีได้ออกอากาศซีซั่นที่ 3 ถึงซีซั่นที่ 10 (พ.ศ. 2549 - 2556) และเปลี่ยนไปออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ดิจิตอลทรูโฟร์ยูในซีซั่นที่ 11 (พ.ศ. 2557) จนถึงปัจจุบัน เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทยและเป็นรายการเรียลลิตีโชว์รายการแรกของไทยที่ถ่ายทอดสดการใช้ชีวิตของผู้เข้าแข่งขันในบ้านตลอด 24 ชั่วโมงตั้งแต่ต้นจนจบฤดูกาล UBC Human Resource เป็นรายการประเภทหางาน จัดโดยทรูวิชั่นเองทั้งหมด รูปแบบรายการไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ไม่ตื่นเต้น ไม่สนุกสนาน ไม่สามารถดึงดูดผู้ชมไม่ว่าจะทางด้านใดๆ ได้เลย อีกทั้งยังออกอากาศเฉพาะในทรูเท่านั้น ทำให้รายการไม่เป็นที่รู้จักแต่อย่างใด บิ๊ก บราเธอร์ โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรก วันที่ 2 เมษายน 2548 ทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี และทางเคเบิล ทางUBC ช่อง 16 (ตลอด 24 ชม.) จนรายการจบ",
"title": "เรียลลิตีโชว์"
},
{
"docid": "235731#0",
"text": "แก๊งการ์ตูน แชนแนล () เป็นช่องการ์ตูน 24 ชั่วโมง ของ บริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ส่วนใหญ่จะออกอากาศเกี่ยวกับการ์ตูนอนิเมะที่บริษัทได้รับลิขสิทธิ์ ถ่ายทอดทางสัญญาณดาวเทียมทั่วประเทศไทยผ่านระบบ C-Band (ซี-แบนด์) ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551 ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ช่องแก๊งการ์ตูน ได้ออกอากาศในระบบ KU-BAND (เคยู-แบนด์) ปัจจุบันยุติการออกอากาศผ่านทางดาวเทียมเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 แต่ออกอากาศในรูปแบบทีวีสตรีมมิงผ่านแอปพลิเคชัน Gangcartoon และเว็บไซต์ของช่องแทน",
"title": "แก๊งการ์ตูนแชนเนล"
},
{
"docid": "107082#0",
"text": "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไททีวี เป็นสถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศในระบบอนาล็อกเอ็มเอ็มดีเอส ดำเนินการโดย \"บริษัท ไททีวี วิทยุโทรทัศน์ จำกัด\" (เดิมคือ บริษัท เวิลด์ สตาร์ ทีวี จำกัด) ภายใต้สัญญาสัมปทานกับกรมประชาสัมพันธ์ เนื่องจากในปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา สถานีโทรทัศน์ไททีวี ยุติการออกอากาศในระบบ MMDS พร้อมกับ จะมีการเปลี่ยนผ่านจากทีวีอนาล๊อก เป็นทีวีดิจิทัล ซึ่งทำให้สถานีได้ปิดตัวลง โดยดำเนินการแพร่ภาพออกอากาศทั้งสิ้น 3 ช่องรายการ ดังนี้",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไททีวี"
},
{
"docid": "43460#35",
"text": "เมื่อเวลา 10.15 น. ของวันที่ 21 พฤษภาคม เสียงปี๊บที่ดังอยู่ตลอดหยุดไป โดยทางสถานีฯ เปิดเพลงบรรเลงเพื่อทดสอบเสียง และเวลา 10.24 น.สถานีฯ เปลี่ยนไปส่งภาพทดสอบ พีเอ็ม 5544 พร้อมบอกเวลาถอยหลัง เพื่อเริ่มทดสอบสัญญาณออกอากาศ โดยมีตราสัญลักษณ์ของช่อง พร้อมข้อความ อ.ส.ม.ท.และโดเมนเนมของไทยทีวีสีช่อง 3 ลักษณะเดียวกับการออกอากาศตามปกติ ปรากฏอยู่ที่มุมขวาบนของจอ ก่อนที่ในเวลา 11.30 น.สถานีฯ จึงเริ่มทดสอบสัญญาณออกอากาศ โดยเริ่ม Ident เปิดสถานีฯ ตามด้วยเพลงสรรเสริญพระบารมี ต่อด้วยสารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ชุด \"เพราะพ่อเหนื่อยหนักหนามามากแล้ว\" รวมระยะเวลายุติการออกอากาศทั้งหมด 2 วัน 11 ชั่วโมง 30 นาที จากนั้นจึงเปลี่ยนภาพ เข้าสู่ห้องส่งข่าว เพื่อให้ นางสาวกรุณา บัวคำศรี ผู้รายงานข่าว ไทยทีวีสีช่อง 3 ในขณะนั้น ประกาศเปิดสถานีฯ อย่างเป็นทางการ ด้วยข้อความดังต่อไปนี้ \"สวัสดีค่ะ ท่านผู้ชมคะ ขณะนี้สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จะเริ่มทดลองระบบการออกอากาศของสถานีฯ ขอเชิญท่านผู้ชม ติดตามรายการต่าง ๆ ของเราได้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปค่ะ\" จากนั้นจึงเริ่ม ภาพยนตร์ชุดตำนานรักดอกเหมย เสนอภาพยนตร์เกาหลีชุด สวรรค์ลิขิตรัก และมีข้อความปรากฏ ที่มุมซ้ายล่างของจอภาพว่า \"ทดสอบระบบออกอากาศ\" เมื่อภาพยนตร์เกาหลีชุด สวรรค์ลิขิตรัก จบลงในเวลาประมาณ 13.45 น. สถานีฯ ก็นำข้อความดังกล่าวออกไป [15] [16]",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3"
},
{
"docid": "747187#0",
"text": "The Money Drop Thailand เป็นรายการเกมโชว์แนวควิซโชว์ที่ทดสอบความรู้รอบตัวของผู้เข้าแข่งขัน ผ่านคำถามทั้งหมด 7 ข้อ เพื่อรักษาเงินสดที่มีอยู่กลับไปให้ได้มากที่สุด เกมโชว์นี้มีต้นแบบมาจากรายการ \"The Money Drop\" (เดิมใช้ชื่อว่า \"The Million Pound Drop\") ซึ่งผลิตโดยบริษัท Endemol ในประเทศอังกฤษ (ในนาม Endemol Shine Group) และบริษัท เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด ได้ทำการซื้อลิขสิทธิ์รายการนี้มาผลิตในรูปแบบของประเทศไทย ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ปัจจุบันออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 17.30 - 18.00 น. (จากเดิม เคยออกอากาศครั้งแรกทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.00 - 18.30 น.) โดยมี วราวุธ เจนธนากุล เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยออกอากาศตอนแรกเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557 และออกอากาศตอนสุดท้ายเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ปัจจุบันยุติการออกอากาศแล้ว",
"title": "The Money Drop Thailand"
},
{
"docid": "148402#6",
"text": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (7 สิงหาคม 2542 - 13 มกราคม 2550) รวม 7 ปี 4 เดือน 8 วัน ออกอากาศเป็นระยะเวลามากที่สุด เป็นยุคที่กลับมาออกอากาศ 1 ชั่วโมงอีกครั้ง พร้อมย้ายเวลาเป็นช่วง 11 โมง ,เที่ยงตรง ,บ่าย 2 ,และ 4 ทุ่มตามลำดับ มีชื่อเสียงมากที่สุดในยุค \"เวทีทอง Magic\" เมื่อปี 2542-2545 และได้รับความนิยมน้อยที่สุดในช่วง \"เวทีทอง\" ยุคดีเจภูมิและแอนดี้ ที่ย้ายเวลามาเป็น 4 ทุ่ม จนกระทั่งยุติการออกอากาศในที่สุด (ดูเพิ่มเติมในหัวข้อ \"การยุติการออกอากาศ\") ช่องเวิร์คพอยท์ (10 มกราคม 2559 - ปัจจุบัน)",
"title": "เวทีทอง"
},
{
"docid": "361616#0",
"text": "สถานีโทรทัศน์กองยุทธพลเขมรภูมินทร์ ช่อง 5 (ททขภม.5) (ชื่อสากล:XU-ATV) เป็นสถานีโทรทัศน์ในประเทศกัมพูชา มีกระทรวงกลาโหมกัมพูชาเป็นเจ้าของ บริษัท มิก้า มีเดีย จำกัด (บริษัทร่วมทุนของกันตนา และไทยนครพัฒนา) ได้รับสัมปทาน 30 ปี นับจากปี 2538 โดยต้องจ่ายให้กระทรวงกลาโหม 200 ล้านบาท. นอกจากรายการของทางกระทรวงฯแล้ว ยังมีรายการบันเทิงต่างจากประเทศกัมพูชา อีกจำนวนมาก ทั้ง ละครจากผู้ผลิดของทางสถานี ภาพยนตร์ และกีฬา โดยในประเทศไทยและที่อยู่ต่างประเทศ สามารถรับชมช่อง 5 กัมพูชา (สถานีโทรทัศน์กองยุทธพลเขมรภูมินทร์) ได้ผ่านจานดาวเทียมระบบ C-Band ไทยคม 5 ด้วยคลื่นความถี่ขาลง 3408 V sr-4444 (ยุติการออกอากาศระบบ C Band แล้ว)และ Ku-Band ไทยคม 5 ด้วยคลื่นความถี่ขาลง 12313 V sr-30000 และในส่วนสถานีภาคพื้นดิน ณ กรุงพนมเปญ ออกอากาศสัญญาณวีเอชเอฟ ช่อง 5 พร้อมด้วยระบบดิจิตอล รวมไปถึงสถานีแม่ข่ายรวมอยู่ด้วย",
"title": "สถานีโทรทัศน์กองยุทธพลเขมรภูมินทร์"
},
{
"docid": "253551#3",
"text": "ตั้งแต่ พ.ศ. 2561 สทท.ในส่วนภูมิภาค ยุติออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกในแต่ละจังหวัดของประเทศไทย เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ทั้งนี้ สทท.ในส่วนภูมิภาค ยังสามารถมารับชมผ่านช่องทางโทรทัศน์ในระบบจานดาวเทียมไทยคม 5 ระบบซีแบนด์ระยหนึ่ง และกลับมาออกอากาศ สทท.ในส่วนภูมิภาค ผ่านช่องทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน ในแต่ละภูมิภาค ทางช่องหมายเลข11 เริ่มวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ออกอากาศวันละ 15 ชั่วโมง ตั้งแต่ 06:00-21:00 น.",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค"
},
{
"docid": "550410#3",
"text": "เพื่อให้เข้ากับการเข้าสู่ทีวีดิจิตอลนำรายการที่ผลิดขึ้นเองออกอากาศทางช่อง เวิร์คพอยท์ทีวี และ รายการเก่าที่ออกอากาศทางช่อง เวิร์คพอยท์ทีวี ย้ายไปออกอากาศ ทางช่อง 6 ทั้งหมด และในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 6 ได้ประกาศผ่านทางแฟนเพจเฟสบุ๊คของทางสถานีฯว่าจะทำการยุติการออกอากาศในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 โดยมีช่อง ทูนามิ มาแทนที่",
"title": "ช่อง 6"
},
{
"docid": "141190#22",
"text": "ไทยพีบีเอสได้ทำการเตรียมยุติการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบแอนะล็อกจำนวน 10 ระยะ ตามแผนการยกเลิกการออกอากาศระบบแอนะล็อกของ กสทช. โดยดำเนินการในลักษณะ \"ป่าล้อมเมือง\" โดยทำการยุติออกอากาศจากสถานีที่ครอบคลุมในระดับอำเภอไปหาสถานีที่ครอบคลุมในระดับจังหวัด ดำเนินการจากสถานีเสริมไปยังสถานีหลัก โดยเริ่มยุติการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบแอนะล็อกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2558 จากสถานีส่งอ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี และสถานีส่ง อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ และทยอยยกเลิกการออกอากาศระบบแอนะล็อกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งยุติการออกอากาศใน 3 สถานีสุดท้าย ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (ณ อาคารใบหยก 2) จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2561[18]",
"title": "สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส"
},
{
"docid": "253551#4",
"text": "รายละเอียดทั้งหมดนี้ เป็นรายละเอียดสถานีส่วนภูมิภาค ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ช่องหมายเลข11 โดยแบ่งตามช่องภูมิภาคในประเทศไทยดังต่อไปนี้ (สำหรับรายละเอียดสถานีคลื่นความถี่ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล(ใช้โครงข่าย MUX1 ของกรมประชาสัมพันธ์ ร่วมกับช่องNBT2HD)นั้น โปรดติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ระบบตรวจสอบพื้นที่ครอบคลุมสัญญาณทีวีดิจิตอล ของสำนักงาน กสทช. แทน )\nรายละเอียดทั้งหมดนี้ เป็นรายละเอียดสถานีส่วนภูมิภาคที่เคยออกอากาศภาคพื้นดินระบบอนาล็อกทั้งสิ้น แต่ปัจจุบันได้ยุติการออกอากาศในระบบดังกล่าวไปแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา\nสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค แต่ละแห่ง ในส่วนสถานีโทรทัศน์ หรือ สถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ระบบวีเอชเอฟ และระบบยูเอชเอฟ\nจะมีที่ตั้ง ใกล้กับ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค พร้อมทั้ง สำนักประชาสัมพันธ์เขต หรือ สำนักประชาสัมพันธ์จังหวัดแต่ละแห่ง",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค"
},
{
"docid": "613666#5",
"text": "แต่เมื่อถึงกำหนดเวลาดังกล่าว บจก.ไทยทีวี ไม่สามารถดำเนินการตามข้อเสนอของ กสทช.ข้างต้นได้ จึงยุติการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ทางช่อง 17 ไทยทีวี พร้อมกับช่อง 15 เอ็มวีทีวีแฟมิลี ซึ่งดำเนินการด้วยตนเอง ตั้งแต่เวลา 23:59 น. ของวันที่ 31 ตุลาคมนั้นเอง โดยที่ กสทช.และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.; ไทยพีบีเอส) เจ้าของอุปกรณ์รวมส่งสัญญาณ มิได้เป็นฝ่ายดำเนินการตัดสัญญาณแต่อย่างใด โดยในวันรุ่งขึ้น (1 พฤศจิกายน) บจก.ไทยทีวี เปลี่ยนชื่อช่องอีกครั้งเป็น \"ทีวีพูล 7\" () พร้อมทั้งปรับปรุงตราสัญลักษณ์ในรายละเอียด ซึ่งใช้พื้นฐานจากสัญลักษณ์เดิมที่มีตัวเลข 7 อยู่เป็นสำคัญ มาประกอบกับสัญลักษณ์หัวนิตยสารทีวีพูล และส่วนล่างสุดยังมีสัญลักษณ์ \"มูฟวี่ฮิตส์\" () ขนาดเล็ก ซึ่งประกอบด้วยภาพม้วนฟิล์ม และเครื่องหมายเพลย์ (Play) เนื่องจากซื้อใบอนุญาตประกอบกิจการ โทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ของช่องมูฟวี่ฮิตส์มาใช้ไปพลางก่อน",
"title": "มูฟวี่ฮิตทีวีพูล"
},
{
"docid": "42149#12",
"text": "และในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 สทท. จะยุติการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบอนาล็อกจากกสถานีส่ง 12 สถานีทั่วประเทศที่เหลือ (โดยเลื่อนแผนออกไปจากเดิมที่ก่อนหน้านี้มีแผนกำหนดว่าจะให้ยุติการออกอากาศในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ซึ่ง 37 สถานีได้ยุติระบบอนาล็อกตามแผนกำหนด)[7] ซึ่งเป็นไปตามที่ทางสถานีฯได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ สังกัดคณะกรรมการ กสทช. ว่าด้วยแผนการยุติการออกอากาศระบบอนาล็อกของสถานีเอง เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 และจะเหลือแต่เพียงแค่การออกอากาศในระบบดิจิตอลภาพคมชัดสูง หมายเลข 2 เท่านั้น ในวันถัดไป (ก่อนหน้านั้น เอ็นบีทีได้ยุติการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบอนาล็อกในพื้นที่ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2559)[8]",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "59413#26",
"text": "โดยการออกอากาศระบบแอนะล็อกเฟสที่ 3 ของช่อง 7 ยุติลงในเวลา 00:01 น. ของวันที่ 17 มิถุนายน 2561 โดยตัดเข้าสู่หน้าจอแจ้งผู้ชมซึ่งมี 2 รูปแบบ คือแบบแรกเป็นแถบสี หรือ คัลเลอร์บาร์ และข้อความแสดงการยุติออกอากาศในระบบแอนะล็อก และพื้นหลังสีฟ้า พร้อมข้อความแจ้งช่องทางการรับชมหลังจากการยุติการออกอากาศ",
"title": "ช่อง 7 เอชดี"
},
{
"docid": "593911#1",
"text": "โดยตามแผนของ กสทช.จะเริ่มทำการยุติการส่งสัญญาณโทรทัศน์ ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อก ภายในปี พ.ศ. 2558 แต่ในแผนดำเนินการจริง ของสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อก เมื่อถึงปี พ.ศ. 2558 ไทยพีบีเอส ยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อกใน 2 พื้นที่แรก รวมถึงเอ็นบีทีที่สถานีสมุย พ.ศ. 2559 ไทยพีบีเอส จะยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อกใน 26 พื้นที่ พ.ศ. 2560 ไทยพีบีเอส จะยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อกใน 21 พื้นที่ เอ็นบีที จะยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อกใน 37 พื้นที่ ช่อง 5 จะยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อกใน 4 พื้นที่ รวมถึงช่อง 7 HD จะยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อกใน 16 พื้นที่ วันที่15 เมษายน พ.ศ. 2561 ช่อง 9 จะยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อกใน 13 พื้นที่ ",
"title": "โทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย"
},
{
"docid": "59413#0",
"text": "ช่อง 7 เอชดี (Channel 7 HD) (ชื่อเดิม: สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 English: Bangkok Broadcasting Television Channel 7) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินซึ่งออกอากาศด้วยระบบภาพสีแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่ 3 ของประเทศไทย ดำเนินกิจการภายใต้สัญญาสัมปทานกับกองทัพบก เริ่มแพร่ภาพเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 9[1] ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นระบบภาพสี และย้ายการออกอากาศ ไปทางช่องสัญญาณที่ 7 จนถึงปัจจุบัน มีกฤตย์ รัตนรักษ์ เป็นประธานกรรมการบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด และสมเกียรติ เจริญภิญโญยิ่ง เป็นกรรมการผู้จัดการ",
"title": "ช่อง 7 เอชดี"
},
{
"docid": "43460#24",
"text": "ต่อมาในวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 กสทช. ได้มีมติให้ยุติการออกอากาศในระบบแอนะล็อกอย่างเป็นทางการ หลังจากที่สถานีโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อกเดิม ได้แก่ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้ยุติการออกอากาศในระบบเดิมทั้งหมดไปเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561 สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ได้ยุติการออกอากาศในระบบเดิมไปเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2561 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ได้ยุติการออกอากาศระบบเดิมเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ได้ยุติการออกอากาศระบบเดิมเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เพื่อให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน กสทช.จึงมีมติให้วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ถือเป็นวันสิ้นสุดการออกอากาศในระบบแอนะล็อกเดิมเพื่อที่จะได้นำคลื่น 700 เมกะเฮิร์ตซ์ที่ใช้งานกับระบบดิจิทัลชั่วคราว กลับมาจัดสรรใหม่ให้กิจการโทรคมนาคมเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับระบบ 5 จี ในอนาคต และได้มีมติให้ช่อง 3 ยกเลิกการออกอากาศคู่ขนานกับระบบดิจิทัลทางช่อง 33 โดยหากช่อง 3 ยังต้องการออกอากาศแบบคู่ขนาน ให้ บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด เป็นผู้จัดสรรเนื้อหาให้ช่อง 33 แต่เพียงผู้เดียว แล้วให้ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนต์เมนต์ จำกัด นำเนื้อหาของช่อง 33 ไปออกอากาศทางระบบแอนะล็อกเดิมแทน อย่างไรก็ตาม ช่อง 3 ได้ยื่นคัดค้านมติ เนื่องจากช่อง 3 ไม่สามารถยกเลิกระบบเดิมได้ โดยมีสาเหตุมาจากยังไม่หมดสัมปทานที่ทำไว้กับ บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งแตกต่างจากกรณีของช่อง 7 เนื่องจาก บมจ.อสมท ถือเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี จึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานได้ รวมถึงการให้ บีอีซี-มัลติมีเดีย เป็นผู้จัดสรรเนื้อหาแต่เพียงผู้เดียว ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์รายการของ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ และ อสมท ด้วย และอาจมีผลทำให้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในด้านลิขสิทธิ์ในภายหลัง อย่างไรก็ตาม ช่อง 3 รับมติของ กสทช. เพียงเรื่องเดียว คือการแยกตราสัญลักษณ์ของสถานีออกจากกัน โดยช่อง 3 ใช้วิธีการแสดงสัญลักษณ์ของระบบแอนะล็อกไว้ที่มุมล่างขวา ในขณะที่ระบบดิจิทัลยังคงยึดตำแหน่งเดิมคือมุมบนขวา",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3"
},
{
"docid": "42149#18",
"text": "เพลงเงินล้าน - (พ.ศ. 2531 - ปัจจุบัน) รายการประกวดร้องเพลงโดยโรงเรียนวาทินี ออกอากาศทุกบ่ายวันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ 4 ของเดือน โลกใบจิ๋ว - (พ.ศ. 2533-พ.ศ. 2550) เป็นรายการสำหรับเด็ก ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 18.30 น. มอร์นิงทอล์ก - (พ.ศ. 2545) รายการสนทนาภาคภาษาอังกฤษ ออกอากาศต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน บทเรียนชีวิต - (พ.ศ. 2549) ละครโทรทัศน์เรื่องแรกของสถานี และเป็นละครโทรทัศน์เรื่องแรกของประเทศไทยที่สร้างและออกอากาศร่วมกับต่างประเทศ (ประเทศลาว) เสียงสวรรค์เมื่อวันวาน - (พ.ศ. 2550) เป็นรายการเพลงอมตะของวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ โดยผลิตรายการร่วมกับสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ออกอากาศเป็นประจำทุกวันเสาร์ ร่วมมือร่วมใจ - (พ.ศ. 2551 - 2555) รายการที่จะเป็นช่องทางในการรับเรื่องร้องทุกข์ในเรื่องราวและปัญหาต่างๆ ดำเนินรายการโดย อ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช ปิยะฉัตร กรุณานนท์ และ สิริเสาวภา เอกเอี่ยมสิน ออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ 14.00-15.00 น. ปัจจุบันย้ายไปออกอากาศช่องสปริงนิวส์ ติวเข้ม เติมเต็มความรู้ (ชื่อเดิม ติวเตอร์ แชนแนล) - (พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน) รายการให้ความรู้ทางวิชาการแก่นักเรียนทั่วประเทศ ผลิตรายการโดย สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 09.00-10.00 น. กรองสถานการณ์ - (พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2554) รายการสนทนาข่าวประจำวัน ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลาหลังข่าวภาคค่ำ ความจริงวันนี้ - (พ.ศ. 2551) รายการโทรทัศน์ประเภทความเห็นทางการเมืองของประเทศไทย ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 22.00 น. คลายปม - (28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 - ยุติออกอากาศแล้ว) รายการวิเคราะห์ เจาะลึก สถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน และเปิดโปงที่มาที่ไปของปัญหาบ้านเมืองนั้นๆ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ดำเนินรายการโดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ดร.เสรี วงศ์มณฑา และ อ.วันชัย สอนศิริ (ดร.เสรี กับ อ.วันชัย จะสลับกันมาร่วมรายการกับ ดร.เจิมศักดิ์) ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 21.00 น. - 22.00 น. เจาะข่าวร้อน ล้วงข่าวลึก - (10 สิงหาคม พ.ศ. 2552 - 26 กันยายน พ.ศ. 2554) รายการสารคดีเชิงข่าวของสำนักข่าวทีนิวส์ ปัจจุบันย้ายไปออกอากาศช่องไบรท์ทีวี ลงเอยอย่างไร - (พ.ศ. 2552 - ยุติออกอากาศแล้ว) รายการสนทนาปัญหาต่างๆ ของบ้านเมือง เพื่อร่วมกันหาทางออกของปัญหาต่างๆ โดยมีแขกรับเชิญมาร่วมรายการซึ่งจะเปลี่ยนไปในแต่ละสัปดาห์ ดำเนินรายการโดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ออกอากาศทุกคืนวันพุธ 21.00-22.00 น. เกาที่คัน - (พ.ศ. 2552 - ยุติออกอากาศแล้ว) รายการวิเคราะห์สถานการณ์บ้านเมือง วิเคราะห์ที่มาที่ไปของปัญหาแบบเจาะลึก ดำเนินรายการโดย ดร.เสรี วงศ์มณฑา และ รณชาติ บุตรแสนคม ออกอากาศทุกคืนวันศุกร์ 21.00-22.00 น. ปัจจุบันย้ายไปออกอากาศช่องทีเอ็นเอ็น 2 ศึกมวยดีวิถีไทย (พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน) รายการถ่ายทอดสดการแข่งขันชกมวยไทยที่นำเสนอภายใต้แนวคิด \"มวยไทยบันเทิง\" มีจุดเด่น คือ การนำเด็กมาทำหน้าที่นำนักมวยเข้าสู่เวทีก่อนการชกในแต่ละคู่ หรือที่เรียกกันว่า \"เยาวชนต้นกล้ามวยไทย\"(ปัจจุบันย้ายไปถ่ายทอดสดทางช่อง 3 เอสดี) ศึกยอดมวยไทย (2 มกราคม - 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559) รายการถ่ายทอดสดการแข่งขันชกมวยไทย ออกอากาศทุกวันเสาร์ 14.00-16.00 น. (ปัจจุบันย้ายไปถ่ายทอดสดทางทรูโฟร์ยู ในชื่อรายการมวยมันส์วันศุกร์)[9]",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "831782#0",
"text": "อักษรล่าแสน The Alphabet Thailand หรือเรียกโดยย่อว่า อักษรล่าแสน เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ ที่ผลิตโดยบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ดำเนินรายการโดย ณัฏฐ์ปวินท์ กุลกัลยาดี (เจ็ม) และ มารุต ชื่นชมบูรณ์ (อาร์ต) เริ่มออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2560 โดยออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิศ เวลา 12.00 - 13.00 น. ทางช่องวัน (ช่องโทรทัศน์ระบบดิจิตอลหมายเลข 31) และตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2560 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รายการจะย้ายไปออกอากาศในเวลาใหม่ 14.00 - 15.00 น. และตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นมาทางรายการได้ลดวันออกอากาศเหลือเพียงแค่วันเสาร์วันเดียวเท่านั้นและได้ย้ายไปอยู่เวลาใหม่เป็น 13.15 น. ซึ่งจะทำให้ไม่มีเทปรายการที่เป็นวันอาทิตย์ แต่เป็นเทปที่เอา ผู้ชมทางบ้าน สลับกับ ดารารับเชิญ แบบสัปดาห์เว้นสัปดาห์ และตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป รายการได้ย้ายไปอยู่เวลาใหม่เป็นเวลา 13.30 น. และออกอากาศเป็นเทปสุดท้ายเมื่อ 19 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ปัจจุบันยุติการออกอากาศแล้ว",
"title": "อักษรล่าแสน The Alphabet Thailand"
},
{
"docid": "349654#8",
"text": "สยามสปอร์ต นิวส์ (Siamsport News) นำเสนอข่าวสารและสาระบันเทิง พร้อมทั้งรายงานสดข่าวด่วน ทันเหตุการณ์ จากขอบสนามถึงหน้าจอโทรทัศน์ โดยคณะผู้สื่อข่าวมืออาชีพ ผู้มีความรู้และมีชื่อเสียงทางกีฬาทุกประเภท ออกอากาศแทนฟุตบอลสยามทีวี[7] และช่องดังกล่าวได้สิ้นสุดสัญญาการออกอากาศหรือยุติการออกอากาศช่องไปเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา สยามสปอร์ต ฟุตบอล (Siamsport Football) นำเสนอข่าวสารกีฬาฟุตบอล ทั้งของไทยและต่างประเทศ พร้อมบทวิเคราะห์วิจารณ์ จากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในเชิงลูกหนัง พร้อมทั้งการถ่ายทอดสด ฟุตบอลลีกอาชีพของไทยในทุกรายการ ออกอากาศแทนสตาร์ซอคเก้อร์ทีวี[7] และช่องดังกล่าวได้สิ้นสุดสัญญาการออกอากาศหรือยุติการออกอากาศช่องไปเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา สยามสปอร์ต ไลฟว์ (Siamsport Live) นำเสนอไฮไลต์กีฬาต่างประเทศหลายชนิด เกาะติดสถานการณ์เบื้องหน้าเบื้องหลัง ของการแข่งขันกีฬาที่สำคัญ พร้อมทั้งการถ่ายทอดสด การแข่งขันกีฬาหลายรายการ ออกอากาศแทนสยามกีฬาทีวี[7] ทว่ายุติการออกอากาศลงตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 โดยหมายเลขช่องเดิมทางทรูวิชันส์ นำช่องทีสปอร์ตสแชนเนลมาออกอากาศแทน",
"title": "สยามสปอร์ตเทเลวิชัน"
},
{
"docid": "973511#0",
"text": "หัวหน้าห้าขวบ เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ที่ให้เด็กหรือเยาวชน รับบทบาทในฐานะ \"\"หัวหน้า\"\" ที่จะต้องปฎิบัติภารกิจออกคำสั่งหรือแสดงความสามารถทางด้านต่าง ๆ เพื่อให้ฝ่ายผู้ใหญ่หรือ \"\"ลูกน้อง\"\" ที่ตนได้เลือกไว้ต้องร่วมปฎิบัติภารกิจให้สำเร็จ ผลิตรายการโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม – 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ทางสถานีโทรทัศน์ช่องเวิร์คพอยท์ (ช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัลหมายเลข 23) ดำเนินรายการโดย ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ ปัจจุบันยุติการออกอากาศแล้ว",
"title": "หัวหน้าห้าขวบ"
},
{
"docid": "43460#22",
"text": "ต่อมาในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557 กสทช.ลงมติเพิกถอนโทรทัศน์ระบบแอนะล็อก จากส่วนที่ให้บริการเป็นการทั่วไป จึงต้องยุติการออกอากาศ ผ่านระบบโทรทัศน์ดาวเทียม และเครือข่ายโทรทัศน์ทางสายเคเบิล ตามที่กฎหมายกำหนด ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน เป็นต้นไป[6] โดยทางไทยทีวีสีช่อง 3 อาศัยความในประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 27 ประกอบกับ ความในสัญญาสัมปทาน โทรทัศน์ระบบแอนะล็อก ซึ่งทำไว้กับ อสมท จนถึงปี พ.ศ. 2563 เพื่อรักษาสิทธิในการ ออกอากาศต่อไปตามเดิม[7] วันต่อมา (3 กันยายน) กสทช.ทำหนังสือถึง ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ผ่านระบบดาวเทียมและสายเคเบิล ให้งดการแพร่ภาพ ไทยทีวีสีช่อง 3 ในระบบแอนาล็อก โดยกำหนดเวลาภายใน 15 วัน พร้อมทั้งเสนอ ความช่วยเหลือทางกฎหมาย เพื่อทำให้ไทยทีวีสีช่อง 3 นำสัญญาณจากช่องในระบบแอนะล็อก มาออกอากาศคู่ขนาน ทางช่องในระบบดิจิทัลได้[8] ไทยทีวีสีช่อง 3 นำความขึ้นร้องต่อศาลปกครอง ชั้นต้นวินิจฉัยให้ กสทช.กับผู้บริหารไทยทีวีสีช่อง 3 เปิดการเจรจากัน แต่ไม่ได้ข้อยุติ ศาลปกครองสูงสุดจึงเข้าไกล่เกลี่ย โดยทำข้อตกลงให้บีอีซี-มัลติมีเดีย นำสัญญาณภาพและเสียงทั้งหมด ของไทยทีวีสีช่อง 3 ในระบบแอนะล็อก ไปออกอากาศด้วยภาพคมชัดสูง ทางช่องหมายเลข 33 ของตนในระบบดิจิทัล ภายในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557[9]",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3"
},
{
"docid": "152472#0",
"text": "หมู่ 7 เด็ดสะระตี่ เป็นรายการละครซิตคอม (Situation Comedy) ของบริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัด ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ทุกวันอังคารและวันพุธ เวลา 10.30-11.25 น. โดยออกอากาศตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2549 จนถึง พ.ศ. 2554 จึงได้ยุติการออกอากาศ เนื่องจากทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ได้นำรายการใหม่มาขึ้นผังออกอากาศแทน รายการนั้นก็คือรายการห้องข่าว 7 สี",
"title": "หมู่ 7 เด็ดสะระตี่"
},
{
"docid": "593911#2",
"text": "วันที่16 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ช่อง 5 ช่อง 7 HD และไทยพีบีเอส ยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อกครบทั้งประเทศ แต่ช่อง 5 ภายหลังได้มีการเลื่อนวันยุติออกอากาศ เป็นหลังวันที่ 21 มิถุนายน 2561 แทน ส่วนวันที่16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ช่อง 9 และ เอ็นบีที ยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อกทั้งประเทศ ส่วนช่อง 3ยังไม่มีกำหนดยุติออกอากาศ แต่จะอยู่ภายในปี พ.ศ. 2561",
"title": "โทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย"
},
{
"docid": "59413#2",
"text": "ในระยะเดียวกัน จอมพลประภาส ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก มีนโยบายให้ คณะกรรมการควบคุมวิทยุและโทรทัศน์กองทัพบก ลงมติอนุมัติให้ร่วมกับ บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ ดำเนินการติดต่อให้นำเครื่องส่งโทรทัศน์สี ของบริษัทฟิลิปส์แห่งฮอลแลนด์ ระบบแพร่ภาพ 625 เส้นต่อภาพ 25 ภาพต่อวินาที มาทดลองใช้งาน โดยบันทึกภาพการประกวดนางสาวไทย ภายในงานวชิราวุธานุสรณ์ ที่พระราชวังสราญรมย์ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน มาถ่ายทอดผ่านคลื่นวิทยุ ในย่านความถี่สูงมาก ทางช่องสัญญาณที่ 7 และออกอากาศคู่ขนาน ด้วยระบบแพร่ภาพขาวดำ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที ทางช่องสัญญาณที่ 9[1] ในอีกสองวันถัดมา คือวันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน หลังจากนั้น ก็ยุติการแพร่ภาพชั่วคราว เพื่อดำเนินการในทางเทคนิค โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม มีการประกอบพิธีสถาปนา บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ อย่างเป็นทางการ โดยในปีถัดมา (พ.ศ. 2511) ผู้ถือหุ้นมีมติให้เฑียร์ ลาออกจากตำแหน่ง กรรมการบริษัท, หัวหน้าฝ่ายรายการ และหัวหน้าฝ่ายเทคนิค โดยแต่งตั้งให้สุรางค์ เปรมปรีดิ์ เข้าเป็นกรรมการแทน พร้อมถือ 80 หุ้น[3] และในปีเดียวกัน คณะกรรมการฯ ทำสัญญาร่วมกับทาง บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ซึ่งกำหนดให้บริษัทฯ จัดสร้างอาคารที่ตั้ง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ภายในบริเวณที่ทำการ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.) สนามเป้า พร้อมติดตั้งเครื่องส่งโทรทัศน์สี กำลังออกอากาศ 500 วัตต์ เพื่อมอบทั้งหมดให้แก่ ททบ.5 แล้วจึงทำสัญญาเช่าช่วงจาก ททบ.เป็นระยะเวลา 10 ปี เพื่อเข้าบริหารงานอีกทอดหนึ่ง โดยในระยะสองปีแรก ใช้บุคลากรและห้องส่ง ร่วมกับ ททบ. พร้อมทั้งนำรถประจำทางเก่าสามคัน เข้าไปจอดไว้ภายในที่ทำการ ททบ5.สนามเป้า แล้วรื้อที่นั่งออกทั้งหมด เพื่อใช้ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ไปพลางก่อน",
"title": "ช่อง 7 เอชดี"
},
{
"docid": "69424#3",
"text": "เป็นการจัดการศึกษา เพื่อให้ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ และทักษะที่เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไป (Informal Education) การจัดการศึกษาผ่านดาวเทียม เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัยนี้ กำหนดเนื้อหารายการ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบัน และ ความต้องการของประชาชน ในการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ รวมถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน\nสถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม จะยุติการออกอากาศในระบบความคมชัดมาตราฐาน (Standard Definition หรือ SD) ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ซึ่งการรับชมดีแอลทีวีหลังจากนี้ต่อไป สามารถรับชมช่อง NEW DLTV HD ได้ตามปกติ ระบบใหม่ ความคมชัดสูง HD (โดยเลื่อนแผนออกไปจากเดิมที่ก่อนหน้านี้มีแผนกำหนดว่าจะให้ยุติการออกอากาศในระบบความคมชัดมาตราฐาน ภายในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561) (จำเป็นต้องติดตั้งและรับสัญญาณจากกล่องรับสัญญาณดาวเทียม ความคมชัดสูง หรือ Set-top-box) โดยจะต้องสังเกตด้านหลังกล่อง ดังกล่าว ซึ่งจะมีช่องต่อสายที่รองรับการออกอากาศจากระบบส่งสัญญาณมัลติมีเดียความละเอียดสูง หรือ สาย HDMI เป็นต้น",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม"
},
{
"docid": "376288#0",
"text": "ฮา 7 ดาวเป็นรายการตลก ออกอากาศในช่วงปี พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2541 ทุกคืนวันอังคาร เวลา 22.15 น. ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ผลิตรายการโดย บริษัท เจเอสแอล จำกัด เป็นรายการวาไรตี้คอเมดีโชว์จำลองเหตุการณ์ต่างๆ โดยมีนักแสดงตลกหมุนเวียนทุกสัปดาห์ รวมไปถึงปริศนาอะไรเอ่ยจากจากเด็กๆ รวมอยู่ด้วยในยุคแรกของรายการ ดำเนินรายการโดย ชาญณรงค์ ขันทีท้าว และ จาตุรงค์ พลบูรณ์ โดยยุคที่ 2 ได้เพิ่มช่วงใหม่อีก 2 ช่วง จากนั้นรายการต้องยุติการออกอากาศ และได้กลับมาฉายอีกครั้งในรอบ 14 ปี ออกอากาศทุกวันเวลา 9.00 น. - 9.50 น. และ ออกอากาศซ้ำ เวลา 23.00 น. - 23.50 น.ทาง เจเอสแอล แชนแนลเนื่องด้วยรายการฮา 7 ดาว ออกอากาศทุกวันอังคาร เวลา 22.15 น. เป็นเทปที่ 3 ที่กำลังออกอากาศต้องหยุดชะงักไป 1 สัปดาห์ เนื่องจาก มีละครซีรีส์ เรื่องอำพรางอำยวน จากบริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด ที่ยังไม่ได้ออกอากาศ 1 ตอนซึ่งเป็นตอนสุดท้ายมาแทน(ซึ่งเป็นละครที่ออกอากาศประจำวันอังคาร เวลา 22.15 น.) จึงทำให้รายการนี้ต้องเลื่อนออกอากาศไปอีก 1 สัปดาห์",
"title": "ฮา 7 ดาว"
}
] |
2304 | ศาสดาของ ศาสนาคริสต์ คือใคร? | [
{
"docid": "1010#0",
"text": "พระเยซู (English: Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (English: Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33[10]) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์",
"title": "พระเยซู"
}
] | [
{
"docid": "17466#2",
"text": "ชีอะฮ์มีความเชื่อว่า พระองค์อัลลอฮ์ คือพระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน คือพระผู้ทรงบริสุทธิ์ยิ่ง ศาสนาของพระองค์ก็เป็นศาสนาที่บริสุทธิ์ ศาสดามุฮัมมัด (ศ) ศาสนทูตของพระองค์ก็ต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และผู้สืบทอดตำแหน่งของศาสดาของพระองค์ก็จำเป็นจะต้องเป็นผู้บริสุทธิ์เท่านั้น\nและเมื่อศาสนทูตของพระองค์ พระองค์เป็นผู้ทรงแต่งตั้ง ดังนั้นตัวแทนของศาสนทูตของพระองค์ พระองค์ก็จะต้องเป็นผู้แต่งตั้งเช่นเดียวกัน มิใช่ปล่อยให้ใครก็ได้มาเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศาสนทูตของพระองค์ มิใช่ปล่อยให้ใครก็ได้มาแต่งตั้งผู้สืบทอดตำแหน่งศาสนทูตของพระองค์",
"title": "ชีอะฮ์"
},
{
"docid": "43997#1",
"text": "จากการค้นคว้าเกี่ยวกับศาสนาโซโรอัสเตอร์ ทำให้เป็นที่กระจ่างชัดว่าศาสดาโซโรอัสเตอร์ได้พยายามทำการต่อสู้กับความงมงายของศาสนาของชาวอารยัน หนึ่งในนั้นก็คือการที่เขาปฏิเสธว่าตนมีส่วนร่วมในการชวนเชื่อสู่พระอหุระมาซดะ แต่ไม่มีใครทราบถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่การนับถือเทพเจ้าสองฝ่าย (ฝ่ายแสงสว่างกับฝ่ายความมืด) ของชาวโซโรอัสเตอร์ว่าเริ่มตั้งแต่สมัยใด ซึ่งในคัมภีร์หมวดที่ 1 ของอเวสตะ ได้ระบุไว้ว่าเทพเจ้าแห่งความชั่วต้องเผชิญหน้ากับเทพเจ้าแห่งความดีมิใช่เผชิญกับพระอหุระมาซดะซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุด",
"title": "พระอหุระมาซดะ"
},
{
"docid": "78680#34",
"text": "การถวายบุตรแด่พระเจ้า ของอับราฮัม ในคัมภีร์อัลกุรอานเชื่อว่าบุตรที่ถูกถวายแด่พระเจ้าคืออิชมาเอล และเชื่อว่าอิชมาเอล คือ บุตรหัวปี ซึ่งบุตรทั้งสองคนเป็นผู้สืบเชื้อสายของอับราฮัมเหมือนกัน อิสอัค(อิสฮัค)และลูกหลานได้รับมรดก และรับพันธสัญญาของพระเจ้ามีบุตรหลานมากมายเป็นศาสดาพยากรณ์ เช่นเดียวกับที่ทางสายอิชมาเอลที่มีมุฮัมมัดเป็นศาสดาในยุคหลัง ในขณะที่คัมภีร์ไบเบิลนั้น อิสอัค</b>เป็นบุตรที่พระเจ้าให้นำไปถวาย[38] และพระเจ้าได้ตั้งพันธสัญญาขึ้นต่ออับราฮัม ว่าเชื้อสายของเขา(อิสอัค ผู้เป็นบุตรหัวปีของนางซาราห์ภรรยาหลวง) จะเป็นต้นเชื้อสายของผู้ที่จะเสด็จมาภายหลัง(ทางศาสนาคริสต์เล็งถึงการมาบังเกิดของพระเยซูคริสต์)[39][40] และกล่าวถึงการอวยพรของพระเจ้าต่อเชื้อสายของอับราฮัมทางฝั่งอิชมาเอล(บุตรหัวปีของนางฮาการ์ทาสรับใช้ของนางซาราห์) ว่า \"ดูเถิด เราได้อวยพรเขาและจะกระทำให้เขามีลูกดกทวีมากขึ้นอุดมบริบูรณ์อย่างยิ่ง เขาจะให้กำเนิดเจ้านายสิบสององค์และเราจะกระทำให้เขาเป็นชนชาติใหญ่ชนชาติหนึ่ง\"",
"title": "หนังสือปฐมกาล"
},
{
"docid": "681295#5",
"text": "ต่อมาดินแดนคานาอัน ประสบความแห้งแล้งอย่างรุนแรง ชาวยิวจึงอพยพกลับไปอยู่ในดินแดนของประเทศอียิปต์ และกลายเป็นทาสของอียิปต์ ชาวยิวทนความลำบากของสภาพทาสไม่ได้ จึงคิดอพยพกลับไปดินแดนคานาอัน การเดินทางครั้งนี้พระเจ้าทรงมีโองการให้ชาวยิวคนหนึ่งชื่อ \"โมเสส\" เป็นหัวหน้า ระหว่างเดินทางเต็มไปด้วยความลำบาก และต้องรอนแรมกลางทะเลทรายหลายปี และชาวอียิปต์ได้ส่งทหารติดตามกวาดล้าง โดยคิดว่าชาวยิวจะก่อกบฏ เมื่อไล่ติดตามมาถึงทะเลแดง ด้วยเดชแห่งอำนาจของพระเจ้า โมเสสได้แยกน้ำออกจากกันทำให้ชาวยิวหนีรอดมาได้ เหตุการณ์สำคัญนี้ ต่อมาได้กลายเป็นเหตุการณ์สำคัญในงานฉลองประจำปีเรียกว่า งานฉลองปัสคา นอกจากนี้ พระเจ้าได้ประทานบัญญัติ 10 ประการแก่โมเสส เพื่อให้ชาวยิวนำไปยึดถือปฏิบัติ บัญญัติ 10 ประการนี้ ถือเป็นหลักสำคัญของศาสนายูดาห์ และต่อมาถือเป็นหลักสำคัญของศาสนาคริสต์ด้วย โมเสสได้รับการยกย่องให้เป็นศาสดาของศาสนายูดาห์",
"title": "ประวัติศาสนาคริสต์"
},
{
"docid": "207196#18",
"text": "ทั้งนี้ได้มีนักวิชาการบางส่วนออกมาปฏิเสธความเกี่ยวข้องกันของการกำเนิดพระศาสดา เป็นต้นว่าพอลา เฟรดริกเซน (Paula Fredriksen) กล่าวว่าไม่มีงานวิจัยใดพบว่าพระเยซูทรงออกจากความเป็นยิวปาเลสไตน์ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1 ส่วนเอ็ดดีและบอยด์ (Eddy and Boyd) กล่าวว่าไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์จากแหล่งข้อมูลภายนอกของผู้เขียนพันธสัญญาใหม่ และนักวิชาการส่วนใหญ่เห็นพ้องว่าอิทธิพลที่เข้ามาในศาสนาคริสต์ช่วงศตวรรษแรกนั้นไม่เชื่อถืออย่างสิ้นเชิง เพราะชาวยิวกาลิลีที่ยึดถือความเชื่ออย่างเอกเทวนิยมนั้นจะไม่ยอมรับความเชื่อของลัทธินอกศาสนา",
"title": "พระนางสิริมหามายา"
},
{
"docid": "77973#0",
"text": "ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากศาสนาหนึ่งของโลก รองจากศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดู ประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน 6 ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่นี้ เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาประมาณ 11 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนาหลังจากการประกาศศาสนา เริ่มจากการแพร่หลายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน 100 ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือเถรวาทและมหายาน",
"title": "ประวัติศาสนาพุทธ"
},
{
"docid": "80018#72",
"text": "พระบะฮาอุลลอฮ์ ศาสดาของศาสนาบาไฮ และพระอับดุลบะฮาอ์ ผู้นำศาสนารุ่นต่อมา กล่าวถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาที่พระเป็นเจ้าทรงส่งมาเพื่อทำหน้าที่นำพาและให้ความรู้แก่มนุษย์ในยุคสมัยหนึ่ง เช่นเดียวกับศาสดาท่านอื่น ๆ คือ พระกฤษณะ โมเสส ซาราธุสตรา พระเยซู นบีมุฮัมมัด พระบาบ[20] โดยพระบาฮาอุลลออ์คือพระศรีอริยเมตไตรย เป็นศาสดาองค์ล่าสุดในยุคปัจจุบันนี้[21]",
"title": "พระโคตมพุทธเจ้า"
},
{
"docid": "42096#0",
"text": "ศาสนาฮินดู (English: Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่า<b data-parsoid='{\"dsr\":[257,281,3,3]}'>ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน[1] [2].",
"title": "ศาสนาฮินดู"
},
{
"docid": "270677#0",
"text": "ผู้เผยพระวจนะ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) ประกาศก (ศัพท์คาทอลิก) หรือ ศาสดาพยากรณ์ (; , : จากคำนิบาต προ- \"pro-\" แปลว่า เบื้องหน้า และ φημί แปลว่า พูด, กล่าวออกไป) หมายถึง ผู้ที่พระเป็นเจ้าทรงเจิมตั้งไว้เพื่อการรับพระดำรัสของพระองค์มาถ่ายทอดสู่มวลมนุษย์ เป็นผู้ที่ทำนายอนาคต ผู้บอกเล่าอนาคต หรือประกาศคำสั่งสอนของพระเป็นเจ้า ปรากฏในความเชื่อของศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ",
"title": "ผู้เผยพระวจนะ"
},
{
"docid": "36602#6",
"text": "มีรายงานจากชาวซุนนี ความว่าในขณะที่มุฮัมหมัดได้รับพระวจนะครั้งแรกกับเทวทูตญิบรีลในถ้ำฮิรอ เขากลับมาที่บ้านในสภาพที่กำลังกลัวแล้วบอกเธอว่าให้ห่มเขาด้วยผ้าห่ม หลังจากที่ใจเย็นแล้ว เคาะดีญะฮ์ได้พูดกับมุฮัมหมัดว่า: \"อัลลอฮ์จะกป้องเจ้าจากอันตรายทั้งปวง และจะไม่ให้ใครที่จะต่อว่าเขา ทั้งๆที่เขาเป็นคนที่นำมาซึ่งสันติภาพ...และมิตรภาพ\" เคาะดีญะฮ์จึงเป็นคนแรกที่นับถือศาสนาอิสลาม บางรายงานเขียนว่า วารอกะฮ์ อิบน์ เนาฟัลได้ยอมรับการเป็นศาสดาของมุฮัมหมัดทีหลัง",
"title": "เคาะดีญะฮ์ บินต์ คุวัยลิด"
},
{
"docid": "79741#0",
"text": "โมเสส (ศัพท์ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์) หรือ มูซา (ศัพท์ศาสนาอิสลาม) (English: Moses; Hebrew: מֹשֶׁה; Arabic: موسى มูซา) เป็นผู้บัญญัติกฎและผู้เผยพระวจนะแก่วงศ์วานอิสราเอล ซึ่งเป็นที่มาของคัมภีร์โทราห์ในศาสนายูดาห์ หรือคัมภีร์เบญจบรรณในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ อีกทั้งยังเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ตามคติของศาสนาอิสลาม และเป็นศาสดาตามคติของศาสนาบาไฮ",
"title": "โมเสส"
},
{
"docid": "40864#1",
"text": "ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน[4] ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ[5] รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม",
"title": "ศาสนายูดาห์"
},
{
"docid": "892663#0",
"text": "โลกอิสลาม เป็นศัพท์เชิงวิชาการที่ใช้เรียกผืนแผ่นดินที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ผู้นับถือศาสนาอิสลามมีประมาณหนึ่งพันล้านคน ที่ปฏิบัติตามศาสนาของ\nมุฮัมหมัด บุตรของอับดุลลอฮ์ (ศาสดาของบรรดามุสลิม) เป็นชาวฮิญาซ และเป็นศาสนาที่มีมากว่า 1400 ปี (ปีจันทรคติ) บรรดามุสลิมมีความเชื่อเหมือนกันว่า ศาสดามุฮัมหมัด บุตรของอับดุลลอฮ์ คือศาสดาองค์สุดท้าย (คอตะมุลอันบิยา) เชื่อในกุรอาน ( คัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลาม) กิบลัตและบทบัญญัติหลักปฏิบัติศาสนกิจ",
"title": "โลกอิสลาม"
},
{
"docid": "934#0",
"text": "พระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (Pali: buddhasāsana พุทฺธสาสนา, Sanskrit: buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4",
"title": "ศาสนาพุทธ"
},
{
"docid": "991837#13",
"text": "มุฮัมมัดได้ส่งคอลิดไปที่ดุมาตุลญันดัลเพื่อโจมตีปราสาทของเจ้าชายอุกัยดิรที่นับถือศาสนาคริสต์ จนยึดได้ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 631 (เดือนซุลกิอฺดะฮฺ ฮ.ศ.9) โดยคอลิดได้นำตัวประกันและขู่ว่าถ้าไม่เปิดประตูปราสาทแล้วเขาจะฆ่าตัวประกัน หลังจากนั้นศาสดามุฮัมมัดได้จ่ายค่าไถ่โดยมีอูฐ 2000 ตัว, แกะ 800 ตัว, ชุดเกราะ 400 ชุด, หอก 400 อัน และสัญญาว่าจะจ่ายจิซยะฮ์",
"title": "คอลิด อิบน์ อัลวะลีด"
},
{
"docid": "7708#109",
"text": "2.1 ความรักใครเมตตา (Human Heartedness) หรือเหริน (任) หมายถึงความรักโดยไม่จำกัดขอบเขต ไม่มีการแบ่งแยก เช่นเดียวกับหลักเมตตาในพระพุทธศาสนา และหลักความรักแห่งพระเจ้า (Divine Love)ในศาสนาคริสต์",
"title": "ขงจื๊อ"
},
{
"docid": "91822#0",
"text": "ศาสดา คือผู้ก่อตั้งศาสนา หรือผู้คิดค้น ริเริ่มในการนำคำสอนไปเผยแผ่ เช่น พระพุทธศาสนามีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา ศาสนายูดาห์มีโมเสสเป็นศาสดา เป็นต้น",
"title": "ศาสดา"
},
{
"docid": "1010#31",
"text": "ลัทธิอนุตตรธรรมถือว่าอนุตตรธรรมเป็นรากเหง้าของทุกศาสนารวมทั้งศาสนาคริสต์ โดยพระเยซูเป็นศาสดาองค์หนึ่งที่พระแม่องค์ธรรมทรงส่งมาเพื่อโปรดเวไนยในช่วงธรรมกาลยุคแดง เช่นเดียวกับพระโคตมพุทธเจ้าและนบีมุฮัมมัด และยุคแดงได้สิ้นสุดไปแล้วตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1912 ปัจจุบันจึงเป็นธรรมกาลยุคขาวซึ่งมีลู่ จงอี เป็นผู้ปกครอง[66]",
"title": "พระเยซู"
},
{
"docid": "41646#2",
"text": "ขณะนั้นล่วงปลายพุทธกาลแล้ว นิครนถนาฏบุตรผู้เป็นศาสดาของศาสนาเชนได้สิ้นชีวิตลง สาวกของท่านไม่ได้รวบรวมคำสอนไว้เป็นหมวดหมู่ และไม่ได้ตกลงกันไว้ให้ชัดเจน ปรากฏว่าเมื่อศาสดาของศาสนาเชนสิ้นชีวิตไปแล้ว เหล่าสาวกก็แตกแยกทะเลาะวิวาทกันว่า ศาสดาของตนสอนว่าอย่างไร ครั้งนั้น พระจุนทเถระ</b>ได้นำข่าวนี้มากราบทูลแด่พระพุทธเจ้า และพระองค์ได้ตรัสแนะนำให้พระสงฆ์ทั้งปวง ร่วมกันสังคายนาธรรมทั้งหลายไว้เพื่อให้พระศาสนาดำรงอยู่ยั่งยืนเพื่อประโยชน์สุขแก่พหูชน (ที.ปา.11/108/139) เวลานั้น พระสารีบุตรอัครสาวกยังมีชีวิตอยู่ คราวหนึ่งท่านปรารภเรื่องนี้แล้วกล่าวว่า ปัญหาของศาสนาเชนเกิดขึ้นเพราะว่าไม่ได้รวบรวมร้อยกรองคำสอนไว้",
"title": "สังคายนาในศาสนาพุทธ"
},
{
"docid": "919589#2",
"text": "คณะตัวแทนชาวคริสต์ที่เดินทางไปมีจำนวน 40-60-70 คน อาทิ อบู ฮาริษะฮ์ บิน อัลกอมะฮ์ ซึ่งเป็นอัครมุขนายกของชาวเมืองนัจรอน. เหล่าตัวแทนชาวคริสต์หลังจากที่ได้พบกับท่านศาสดาก็ได้พูดถกกันในปแระเด็นต่างๆรวมถึงเรื่องของพระเยซูบุตรของท่านหญิงมัรยัม(มารีย์)และพระผู้เป็นเจ้าจนในท้ายที่สุดพวกเขาได้กล่าวกับท่านศาสดาว่า(คำพูดของท่านไม่สามารถทำให้เรายอมจำนนได้) และทันใดนั้น ญิบรออีลก็ได้ลงมาพร้อมกับคำตรัสของพระผู้เป็นเจ้าคือโองการ มุบาฮะละฮ์ โดยสั่งให้ท่านศาสดา(ศ)ทำการถกกับกลุ่มชนเหล่านี้ด้วยการ มุบาฮะละฮ์ ตามตัวบทที่อยู่ในโองการดังต่อไปนี้:เหล่าตัวแทนชาวคริสต์ได้ขอประวิงกำหนดการจากท่านศาสดา(ศ)โดยท่านได้กำหนดให้เป็นวันถัดไปและทั้งสองฝ่ายก็ยอมรับในข้อตกลงว่าจะกระทำการนี้ ณ บริเวณนอกเมืองแถบทะเลทรายของนครมะดีนะฮ์.",
"title": "โองการมุบาฮะละฮ์"
},
{
"docid": "681295#4",
"text": "ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่พัฒนาหรือปฏิรูปมาจากศาสนายูดาห์ ซึ่งมีประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ประมาณ 2,000 ปี ก่อนคริสตกาล ชนเผ่าหนึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวยิว ตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ ดินแดนเมโสโปเตเมีย มีหัวหน้าเผ่าชื่อ \"อับราฮัม\" (อับราฮัม เป็นศาสดาของศาสนายูดาห์) ได้อ้างตนว่า ได้รับโองการจากพระเจ้าให้อพยพชนเผ่าไปอยู่ในดินแดนที่เรียกว่า แผ่นดินคานาอัน (บริเวณประเทศอิสราเอลในปัจจุบัน) โดยอับราฮัมกล่าวว่า พระเจ้ากำหนดและสัญญาให้ชนเผ่านี้เป็นชนชาติที่ยิ่งใหญ่ต่อไป การที่พระเจ้าสัญญาจึงก่อให้เกิดพันธสัญญาระหว่างพระเจ้ากับชนชาวยิว ดังนั้นในเวลาต่อมาจึงเรียกคัมภีร์ของศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ว่า \"พันธสัญญา\"",
"title": "ประวัติศาสนาคริสต์"
},
{
"docid": "68020#0",
"text": "อีซา อิบนุ มัรยัม ( \"อีซาบุตรนางมัรยัม\") คือบุคคลเดียวกันกับ พระเยซู ศาสดาของศาสนาคริสต์ แต่ในคติของศาสนาอิสลาม ถือเป็นเพียงศาสนทูตท่านหนึ่งของอัลลอฮ์ ",
"title": "อีซา"
},
{
"docid": "7605#79",
"text": "เทศกาลนี้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่บ้านซ้งแย้ ตำบลคำเตย อำเภอไทยเจริญ อันเป็นที่ตั้งของวัดอัครเทวดามิคาแอล เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสและเป็นการแสดงความรักต่อองค์ศาสดาตามความเชื่อของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก",
"title": "จังหวัดยโสธร"
},
{
"docid": "919589#1",
"text": "ท่านศาสดามุฮัมหมัด(ศ)ได้เขียนจดหมายถึงอัครมุขนายกของศาสนาคริสต์ในปีที่สิบปีของฮิจเราะห์สศักราช และเรียกร้องเชิญชวนประชาชนชาวคริสต์ทั้งหมดเข้าสู่ศาสนาอิสลาม.\nบรรดาตัวแทนของท่านศาสดา(ศ)อาทิ ท่าน อุตบะฮ์ บิน กอซวาน , อับดุลลอฮ์ อิบนิ อบี อุมัยยะฮ์,ฮะดีร อิบนิ อับดุลลอฮ์,และ ศอฮีบ อิบนิ ซินานเป็นผู้ดำเนินการจัดส่งจดหมายถึงผู้นำศาสนาคริสต์,หลังจากที่เขาได้อ่านจดหมายได้จัดตั้งการประชุมโดยการเข้าร่วมของนักการศาสนาและบุคคลสำคัญอื่นๆและได้บทสรุปว่าจะต้องะเดินทางไปพบกับ มุฮัมหมัด (ศ)ณ นครมะดีนะฮ์ และรับฟังการชี้แจงหลักฐานยืนยันการเป็นศาสนทูตของศาสดามุฮัมหมัดโดยพร้อมกัน.",
"title": "โองการมุบาฮะละฮ์"
},
{
"docid": "44055#2",
"text": "ศาสดา หรือ คุรุ แห่งศาสนาซิกข์มี 10 ท่าน ต่อจากนั้นศาสดาองค์ที่ 10 ได้ประกาศให้ถือพระคัมภีร์เป็นศาสดาแทน และไม่มีการแต่งตั้งศาสดาต่อไปอีก (ยกเว้นนิกายนามธารีถือว่ายังมีศาสดาต่อไปได้อีกจนบัดนี้ รวม 20 องค์แล้ว) ศาสดาทั้ง 10 ท่าน ได้แก่พระศาสดาองค์ที่ห้า พระศาสดาคุรุอารยันเทพ ได้ทรงรวบรวมพระคัมภีร์ของพระศาสดาองค์ก่อน ๆ ทั้งสี่พระองค์ รวมทั้งของพระองค์เอง และนักบุญนักบวชต่าง ๆ ไม่ว่าจะศาสนาใด ที่มีแนวคิดปรัชญาและความสัตย์รู้แจ้งเห็นจริง ในปี พ.ศ. ๒๑๔๗ ซึ่งมีพระนามว่า อาดิครันถ์ซาฮิบ เป็นพระคัมภีร์พระองค์เดียวในสากลโลกที่ได้มีการเรียบเรียงโดยพระศาสดา (ผู้ก่อตั้งศาสนา) ในช่วงสมัยพระชนมายุของพระองค์เอง แบ่งออกเป็น 2 เล่ม ดังนี้",
"title": "ศาสนาซิกข์"
},
{
"docid": "43992#4",
"text": "ศาสดาของศาสนาเชน เดิมมีพระนามเดิมว่า \"วรรธมาน\" แปลว่า ผู้เจริญมีกำเนิดในสกุลกษัตริย์ เกิดในเมืองเมืองเวสาลี พระบิดานามว่า สิทธารถะ พระมารดานามว่า ตริศาลา เมื่อเจริญวัยได้รับการศึกษาศิลปศาสตร์หลายอย่างโดยควรแก่ฐานะแห่งวรรณะกษัตริย์ เผอิญวันหนึ่งขณะเล่นอยู่กับสหาย ได้มีช้างตกมันตัวหนึ่งหลุดออกจากโรงวิ่งมาอาละวาด ทำให้ฝูงชนแตกตื่นตกใจ ไม่มีใครจะกล้าเข้าใกล้และจัดการช้างตกมันตัวนี้ให้สงบได้ แต่เจ้าชายวรรธมานได้ตรงเข้าไปหาช้างและจับช้างพากลับไปยังโรงช้างได้ตามเดิม เพราะเหตุที่แสดงความกล้าหาญจับช้างตกมันได้จึงมีนามเกียรติยศว่า \"มหาวีระ\" แปลว่า ผู้กล้าหาญมาก ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกขานกันต่อมาของศาสดาพระองค์นี้",
"title": "ศาสนาเชน"
},
{
"docid": "406895#0",
"text": "นบี ( หมายถึง ศาสดาในศาสนาอิสลาม คำว่า นบี มาจากคำว่า \"นับบะอะ\" หรือ \"อัมบะอะ\" แปลว่า แจ้งข่าว ใช้หมายถึงการนำวจนะของพระเจ้ามาประกาศแก่มวลมนุษย์ คำว่านบีในศาสนาอิสลามจึงหมายถึงผู้เผยพระวจนะในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์",
"title": "นบี"
},
{
"docid": "42096#6",
"text": "ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ไม่มีศาสดาชัดเจนเหมือนศาสนาอื่น แต่มีผู้แต่งตำรา ทำหน้าที่คล้ายศาสดาสืบทอดกันมา ดังนี้",
"title": "ศาสนาฮินดู"
},
{
"docid": "919547#7",
"text": "เริ่มแรกที่ท่านอยู่ในอิหร่านมีความรู้เกี่ยวกับ มีตะรอออี (میترایی) หลังจากนั้นท่านก็ได้รู้จักแนวคิดโบราณของเปอร์เซีย (ศาสนาโซโรอัสเตอร์) และหลังจากที่ท่านเดินทางไปแถบตะวันตกก็ได้รู้จักกับความเชื่อของคริสเตียนและเคยรับใช้อยู่ในโบสน์คริสต์อยู่ระยะหนึ่งและได้ศึกษาแนวคิดของศาสนายูดายควบคู่ไปด้วย ทำให่ท่านเข้าถึงและมีความเชี่ยวชาญต่อแนวคิดและหลักศรัทธาของศาสนาคริสต์เป็นอย่างดี และเมื่ท่านเดินทางมาถึงเมืองยัษริบและได้พบกับท่านศาสดามุฮัมหมัด(ศ)และได้รู้จักกับแนวคิดและหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม",
"title": "ซัลมาน ฟารซี"
}
] |
771 | สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เกิดเมื่อวันที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "18064#0",
"text": "พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) เป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ก่อนที่สมเด็จพระบรมชนกนาถจะเสด็จสวรรคตในวันต่อมา",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
}
] | [
{
"docid": "384639#37",
"text": "ดูบทความหลักที่ พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นพระราชพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รัฐบาลไทยขึ้นจัดเพื่อแสดงความจงรักภักดีและความอาลัยแด่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี โดยกำหนดวันพระราชพิธีระหว่างวันที่ 8-12 เมษายน พ.ศ. 2555 โดยกำหนดการพระราชพิธีสำคัญ ได้แก่ การบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ในวันที่ 8 เมษายน พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพในวันที่ 9 เมษายน พระราชพิธีเก็บพระอัฐิ ในวันที่ 10 เมษายน การบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระอัฐิ ในวันที่ 11 เมษายน การเชิญพระอัฐิขึ้นประดิษฐานที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และการเชิญพระผอบพระสรีรางคารไปบรรจุยังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ในวันที่ 12 เมษายน",
"title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "384639#4",
"text": "สำนักพระราชวัง มีประกาศเรื่อง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ความว่า",
"title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "18064#82",
"text": "ของสำนักราชเลขาธิการ วินิตา ดิถียนต์, ชัชพล ไชยพร. . กรุงเทพฯ: บริษัท อักษรโสภณ จำกัด, 2550. . เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 6 รอบ. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2542.",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "574091#37",
"text": "ขบวนเชิญพระโกศพระอัฐิสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ไปประดิษฐาน ณ พระวิมานวังรื่นฤดี ประกอบด้วย รถจักรยานยนต์นำขบวน จากกองสันดิบาล ตำรวจนครบาล รถยนต์พระที่นั่งเชิญพระโกศพระอัฐิ เป็นรถยนต์คาร์ดิลแลคสีขาว ซึ่งเป็นรถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์ขององค์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ปักธงราชวงศ์ใหญ่ฝ่ายใน และรถยนต์ข้าราชบริพารจากกองราชพาหนะ สำนักพระราชวัง ขบวนเคลื่นออกจากท้องสนามหลวงไปตามถนนราชดำเนินเลี้ยวเข้าสู่ถนนนครสวรรค์ขึ้นทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไปลงถนนสุขุมวิท เลี้ยวเข้าถนนสุขุมวิท 38 ถึงยังวังรื่นฤดี มีข้าหลวงฝ่ายในของวังรื่นฤดีเฝ้ารับพระอัฐิ จากนั้นนางสุรัสวดี กุวานนท์ แม็คซี่ เชิญพระโกศพระอัฐิไปยังท้องพระโรงวังรื่นฤดี เชิญขึ้นบนพระตำหนัก เข้าสู่ห้องนมัสการประดิษฐานบนพระวิมาน นางสุรัสวดี กุวานนท์ แม็คซี่ จุดธูปเทียนบูชาพระพุทธรูป และจุดธูปเทียนบูชาพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอัฐิพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และพระอัฐิสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นอันเสร็จพิธี",
"title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "18064#10",
"text": "ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ได้เสด็จผ่านพิภพขึ้นสืบสนองพระองค์ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีประกาศเปลี่ยนคำนำพระนามสมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ผู้เป็นพระขนิษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ[12]",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "18064#53",
"text": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชูปโภคสำหรับสมเด็จเจ้าฟ้า ซึ่งสร้างขึ้นมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีรายการดังต่อไปนี้[53]",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "574091#38",
"text": "วันที่ 11 เมษายน 2555 เวลา 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยรวรางกูร เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เสด็จถึง ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมอัฐิสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระบรมอัฐิสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระอัฐิพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และพระบรมอัฐิสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมราชบุพการีที่เชิญออกประดิษฐานบนแท่นนพปฎลมหาเศวตฉัตร และทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการพระอัฐิสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ณ พระแท่นสุวรรณเบญจดล จากนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยรวรางกูร เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ ไปถวายพัดรองที่ระลึกงานทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระอัฐิ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี แด่สมเด็จพระราชาคณะ จากนั้นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร สมเด็จพระบรมราชบุพการี และพระพุทธรูปประจำพระชนมวารสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ที่พระแท่นมณฑลมุก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทรงธรรม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยรวรางกูร เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารทรงจุดธูปเทียนทรงจุดธูปเทียนสำหรับพระบรมอัฐิพระบรมราชบุพการีทรงธรรม และสำหรับสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีทรงธรรม พระสงฆ์ถวายพระธรรมเทศนาจบแล้ว ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์ ทรงทอดผ้าไตรสดับปกรณ์พระอัฐิสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระสงฆ์ 86 รูป สดับปกรณ์พระอัฐิ จากนั้นทรงทอดผ้าไตรสดับปกรณ์พระบรมอัฐิและพระอัฐิพระบรมราชบุพการี ทรงหลั่งทักษิโณทก ทรงกราบที่หน้าพระพุทธรูปประจำพระชนมวารพระบรมอัฐิ และพระอัฐิ ที่พระแท่นมณฑลมุก เสด็จฯ ไปทรงกราบพระบรมอัฐิและพระอัฐิสมเด็จพระบรมราชบุพการี ที่หน้าพระแท่นนพปฎลเศวตฉัตร แล้วเสด็จฯ ไปทรงกราบพระอัฐิสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินกลับ",
"title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "18064#66",
"text": "เป็นหนังสือเฉลิมพระเกียรติพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีเรียบเรียงโดยคุณหญิงวนิตา ดิถียนต์ และ ดร.ชัชพล ไชยพร สำนักนายกรัฐมนตรีให้จัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา จำนวน 711 หน้า โดยผู้เรียบเรียงได้มอบลิขสิทธิ์ให้แก่มูลนิธิเพชรรัตน-สุวัทนา",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "574091#58",
"text": "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชดำริให้ไปจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นการถาวรขึ้นที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม แทนการจัดนิทรรศการชั่วคราวที่พระเมรุอย่างในอดีต ซึ่งจำเป็นต้องรื้อถอนไป ถ้านำงบประมาณส่วนนี้ไปจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติเป็นการถาวรภายในพระราชวังสนามจันทร์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีกับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีทรงร่วมกันบูรณะก็จะเป็นประโยชน์ยั่งยืนกว่า ทั้งนี้จะได้เป็นการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทั้งสามพระองค์ด้วย โดยจัดแสดงภายในพระที่นั่งพิมานปฐม พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี และพระที่นั่งวัชรีรมยา โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน กล่าวคือ",
"title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "18064#69",
"text": "เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ฉลองพระชนมายุ 80 พรรษา เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 มีลักษณะดังนี้[70] ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงฉลองพระองค์ชุดไทย ทรงสายสะพายและสายสร้อยเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระอังสาเบื้องซ้ายประดับเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1, เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1, และเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า \"สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี\" ด้านหลัง กลางเหรียญมีอักษรพระนามย่อ \"พ.ร.\" ภายใต้มงกุฎขัตติยราชนารี และมีพระวชิระ ดอกบัว และดารารัศมีประดับอยู่โดยรอบ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า \"พระชนมายุ ๘๐ พรรษา ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘\" เบื้องล่างมีข้อความบอกราคาและ \"ประเทศไทย\" ตามลำดับ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ฉลองพระชนมายุ 84 พรรษา เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 มีลักษณะดังนี้[71] ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงฉลองพระองค์ชุดไทย ทรงสายสะพายและสายสร้อยเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระอังสาเบื้องซ้ายประดับเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1, เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1, และเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า \"สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี\" ด้านหลัง กลางเหรียญมีอักษรพระนามย่อ \"พ.ร.\" ภายใต้มงกุฎขัตติยราชนารี ล้อมด้วยลายไทยประดิษฐ์ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า \"พระชนมายุ ๘๔ พรรษา ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒\" เบื้องล่างมีข้อความว่า \"ประเทศไทย\" โดยมีจุดกลมคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่าง เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555 มีลักษณะดังนี้ ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงฉลองพระองค์ชุดไทย ทรงสายสะพายและสายสร้อยเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระอังสาเบื้องซ้ายประดับเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1, เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1, และเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 ภายในวงขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า \"สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี\" ด้านหลัง กลางเหรียญเป็นรูปพระเมรุมาจัดวาง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศของพระองค์ หลังรูปพระเมรุมีรูปแสงพระอาทิตย์แผ่รัศมีผ่าน ปุยเมฆ สื่อความหมายว่าแสงสุดท้ายและเป็นการน้อมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "242955#0",
"text": "โรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (ตัวอักษร) เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่เดิมเป็นโรงเรียนชายล้วน ปัจจุบันจัดอยู่ในประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ รูปแบบสหศึกษา ตั้งอยู่บริเวณถนนขุนลุมประพาส ตำบลจองคำ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน เป็นโรงเรียนในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี",
"title": "โรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์ฯ"
},
{
"docid": "18064#70",
"text": "บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัดออกตราไปรษณียากรที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ดังต่อไปนี้",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "18064#83",
"text": "อาริยา สินธุ, สกุลไทย ชัชพล ไชยพร, พระผู้ทรงเป็น “เพชรรัตน” แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระราชสุดาได้ จากฟ้ามาแทน โดย ชัชพล ไชยพร พระประวัติ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ข่าวการสิ้นพระชนม์, INN News.",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "384639#28",
"text": "ในการประโคมงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี กรมศิลปากรได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมในการประโคมย่ำยามด้วย ดังนั้น จึงมี 2 หน่วยงานเข้าร่วมประโคม คือ",
"title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "18064#80",
"text": "ทุนจุฬาเพชรรัตน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุนเพชรรัตน มหาวิทยาลัยศิลปากร ทุนเพชรรัตน สำนักงานบรรเทาทุกข์ สภากาชาดไทย ทุนเพชรรัตนการุญ ศิริราชมูลนิธิ ทุนเพชรรัตนการุณ กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 15 ทุนเพชรรัตนอุปถัมภ์ โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ทุนสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทุนสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ สำนักงานอาสากาชาด สภากาชาดไทย ทุนสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ นิธิวัดราชบพิธ ทุนสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ กองทุนสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม ทุนสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี โรงเรียนราชินี ทุนสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี โสสะมูลนิธิแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "384639#2",
"text": "ในเวลาต่อมาสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เริ่มมีพระอาการเส้นพระโลหิตอุดตัน มีรับสั่งน้อยลง แต่ทรงทราบกิจทุกเรื่อง[1] แต่พระอาการดังกล่าวทำให้พระวรกายด้านซ้ายขยับยาก คณะแพทย์ศิริราชจึงได้ถวายพระโอสถ มีนางพยาบาลมาดูแลตลอด 24 ชั่วโมง และมีนักกายภาพบำบัดมาถวายการออกกำลัง[1]",
"title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "18064#68",
"text": "กรมธนารักษ์ออกเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ดังต่อไปนี้",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "384639#47",
"text": "หมายกำหนดการ พระราชพิธีพระราชทานเพลงิ พระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พุทธศักราช ๒๕๕๕",
"title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "7052#6",
"text": "ในรัชกาลปัจจุบันเมื่อพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จนิวัติประเทศไทยเป็นการถาวรในปี พ.ศ. 2502 ทั้งสองพระองค์ทรงมีพระประสงค์จะสนองพระเดชพระคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็นพระบรมชนกนาถ และ พระราชสวามี จึงทรงต้องพระประสงค์จะอุปถัมภ์กิจการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มไว้ ดังนั้นพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี จึงทรงรับวชิราวุธวิทยาลัยไว้ในพระอุปถัมภ์ โดยจะทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อบำรุงวชิราวุธวิทยาลัย และทรงเสด็จพระดำเนินมาบำเพ็ญพระกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้เมื่อพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี จะเสด็จสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ก็ยังทรงพระราชทานเงินเพื่อบำรุงไว้เช่นเดิมจนถึงปัจจุบัน",
"title": "วชิราวุธวิทยาลัย"
},
{
"docid": "18064#3",
"text": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16.37 นาฬิกา ณ ตึก 84 ปี โรงพยาบาลศิริราช สิริพระชนมายุ 85 พรรษา 8 เดือน 3 วัน[1][2]",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "18064#51",
"text": "สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (30 ธันวาคม พ.ศ. 2468 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478) สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "384639#49",
"text": "หมวดหมู่:สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี หมวดหมู่:การสิ้นพระชนม์ในพระบรมวงศานุวงศ์ไทย",
"title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "574091#52",
"text": "สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดทำเข็มที่ระลึก สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เนื่องในโอกาสพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เพื่อให้ประชาชนร่วมกับรัฐบาลน้อมเกล้าฯ แสดงความจงรักภักดี และนำรายได้ทูลเกล้าฯ ถวายสมทบมูลนิธิเพชรรัตน - สุวัทนา ซึ่งมี อักษรพระนาม พ.ร. ภายใต้พระชฎามหากฐินรัชกาลที่ 6 และอุณาโลมเลียนลักษณะเลข 6 ทำด้วยโลหะชุบทอง หมายถึง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระอิสริยยศสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชธิดาในรัชกาลที่ 6 มีพระขัตติยชาติอันประเสริฐดั่งทองนพคุณ",
"title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "384639#45",
"text": "วันที่ 4 เมษายน 2555 มีการพระราชทานเพลิงพระบุพโพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งเป็นพระราชพิธีโบราณที่จัดขึ้นสืบต่อกันมาในการพระราชทานเพลิงพระศพเจ้านาย ในช่วงเช้าของวันเดียวกันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลเรือเอกหม่อมเจ้าปุสาน สวัสดิวัตน์ เสด็จแทนพระองค์ ไปในการพระราชทานเพลิงพระบุพโพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส",
"title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "384639#13",
"text": "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล พระราชทานพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ดังนี้",
"title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "18064#65",
"text": "จัดงานพระราชพิธีฉลองพระชนมายุ 84 พรรษา สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี จัดพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์จำนวน 285 รูป ถวายเป็นพระกุศล โดยในกรุงเทพมหานครจัด ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร สำหรับจังหวัดอื่นๆ นั้น ขอเชิญชวนประชาชนร่วมทำบุญตักบาตรตามความเหมาะสมต่อไป กิจกรรมการบริจาคโลหิตถวายเป็นพระกุศล จัดทำสารคดีพระประวัติ พระกรณียกิจ และพระเกียรติคุณ เผยแพร่ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย จัดทำหนังสือเรื่อง \"ดวงแก้วแห่งพระมงกุฎเกล้า\" ฉบับพ็อคเก็ตบุ๊ค จัดทำหนังสือจดหมายเหตุการจัดงานฉลองพระชนมายุ 84 พรรษา สมเด็จพระเจ้า ภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี กรมธนารักษ์จัดทำเหรียญที่ระลึก บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จัดทำดวงตราไปรษณียากรที่ระลึก พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ออกแบบภาพวัว เพื่อจัดทำเสื้อจำหน่ายให้แก่มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ จัดทำนาฬิกาที่ระลึกจำหน่าย",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "393672#3",
"text": "ท่านผู้หญิงศรีนาถ สุริยะ เป็นทั้งคุณข้าหลวงในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และพระอาจารย์ในพระองค์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งทรงไว้วางพระทัยมาก ท่านผู้หญิงเคยตามเสด็จ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ประพาสสหรัฐอเมริกา",
"title": "ศรีนาถ สุริยะ"
},
{
"docid": "18064#64",
"text": "โดยใช้ชื่อการจัดงานเป็นภาษาไทยว่า \"งานฉลองพระชนมายุ 84 พรรษา สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี\" สำหรับชื่องานภาษาอังกฤษ คือ \"The Celebrations of the 84th Birthday Anniversary of Her Royal Highness Princess Bejaratana\" นอกจากนี้ยังมีการจัดพระราชพิธี รัฐพิธี และกิจกรรม ดังนี้",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "18064#56",
"text": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเรียงลำดับตามปีที่ได้รับพระราชทาน ดังนี้",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
},
{
"docid": "18064#11",
"text": "จากนั้นในปี พ.ศ. 2489 เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบแทน ก็ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คงคำนำพระนามของสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ ที่ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ ดังเดิม เนื่องจากคำว่า \"ภคินี\" หมายถึง ลูกพี่ลูกน้องหญิง[13] เนื่องจากสังคมไทยจะพิจารณาจากความเป็น \"ลูกผู้พี่\" และ \"ลูกผู้น้อง\"[14] จึงทรงพระนามตามพระฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ดังปรากฏในปัจจุบันว่า สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ส่วนพระนามในภาษาอังกฤษตามทางราชการใช้ว่า \"Her Royal Highness Princess Bejaratana\"[15]",
"title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
}
] |
2601 | ซัดดัม ฮุสเซน เคยเป็นนักการเมืองหรือไม่ ? | [
{
"docid": "110687#0",
"text": "ซัดดัม ฮุสเซน (English: Saddam Hussein)[1] หรือ ศ็อดดาม ฮุเซน อับดุลมะญีด อัลตีกรีตี[2] (อาหรับ: صدام حسين عبد المجيد التكريتي; ละติน:Ṣaddām Ḥusayn ʿAbd al-Majīd al-Tikrītī; 28 เมษายน พ.ศ. 2480[3]-30 ธันวาคม พ.ศ. 2549) เป็นอดีตประธานาธิบดีของอิรัก ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 252 กระทั่งถูกจับกุมและถอดออกจากตำแหน่ง โดยกองกำลังนานาชาติซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา ในช่วงสงครามอิรัก",
"title": "ซัดดัม ฮุสเซน"
}
] | [
{
"docid": "415957#8",
"text": "ในการฟ้องกล่าวหาซัดดัม ฮุสเซนแต่แรก เขายังถูกกล่าวหาว่า\nวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 ซัดดัม ฮุสเซนถูกพบว่ามีความผิดจริงทุกข้อกล่าวหาที่เกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่ดูเญล และถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ เขาได้รับสิทธิอุทธรณ์อัตโนมัติ อย่างไรก็ดี การอุทธรณ์นั้นถูกปฏิเสธ และยืนโทษผิดจริงนั้น มีคำสั่งให้ประหารชีวิตเขาภายใน 30 วัน และเขาถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 2006\nกลุ่มกฎหมายอื่นและสหประชาชาติประท้วงว่า ซัดดัม ฮุสเซนควรถูกนำตัวขึ้นศาลสหประชาชาติ คล้ายกับศาลอาญาระหว่างประเทศสำหรับรวันดาในอารูชา ประเทศแทนซาเนีย หลายคนว่า ซัดดัมควรถูกนำตัวขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ บางคนวิจารณ์ว่า สหรัฐอเมริกามีบทบาทมากเกินไปในการก่อตั้ง จัดหารเงินทุนและการปฏิบัติการของคณะตุลาการฯ",
"title": "คณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรัก"
},
{
"docid": "110687#10",
"text": "วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซัดดัมและสมาชิกระดับสูงของพรรคบะอัธอีก 11 คน ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในความควบคุมของกองทัพสหรัฐฯ ได้ถูกส่งมอบทางอำนาจทางกฎหมายให้กับรัฐบาลชั่วคราวของอิรัก เพื่อนำตัวเข้ารับการไต่สวนในข้อหาก่ออาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซัดดัมถูกตั้งข้อหาโดยศาลพิเศษ ในการก่ออาชญากรรมต่อชาวเมืองดูเญล ในปีพ.ศ. 2525 ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากความพยายามสังหารซัดดัมที่เมืองนั้นไม่สำเร็จ ข้อกล่าวหาประกอบไปด้วยการฆาตกรรมคน 148 คน การทรมานผู้หญิงและเด็ก และการจับกุม 399 คนอย่างไม่ถูกกฎหมาย ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ซัดดัม ฮุสเซนถูกศาลตัดสินว่ามีความผิด และถูกตัดสินประหารชีวิตโดยการแขวนคอ[4] ซัดดัมถูกประหารชีวิตโดยการแขวนคอในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2549[5]",
"title": "ซัดดัม ฮุสเซน"
},
{
"docid": "415810#7",
"text": "หลังการประหารชีวิตซัดดัม ฮุสเซน ผู้นำหลายประเทศได้ออกแถลงการณ์ โดยผู้นำอินเดีย กัมพูชา ศรีลังกา บราซิลและเวเนซุเอลาแสดงการคัดค้านการประหารชีวิต ผู้นำและรัฐบาลหลายประเทศทวีปยุโรปยังแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างแข็งขันในการใช้โทษประหารชีวิตในทุกกรณี ซึ่งมีทั้งออสเตรีย เดนมาร์ก ฟินแลนด์ เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์และสหราชอาณาจักร",
"title": "การประหารชีวิตซัดดัม ฮุสเซน"
},
{
"docid": "415810#4",
"text": "ศพของซัดดัมถูกฝังในอัลเอาว์ญา สถานที่เกิดของเขาในติกริต ประเทศอิรัก ใกล้กับสมาชิกครอบครัวของเขา รวมทั้งบุตรชายทั้งสอง อูเดย์และคูเซย์ ฮุสเซน เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม เมื่อเวลา 4.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (01:00 GMT) ศพของเขาถูกเคลื่อนย้ายไปยังติกริตโดยเฮลิคอปเตอร์ทหารสหรัฐ เขาถูกฝังห่างจากบุตรชายทั้งสองของเขาสามกิโลเมตรในสุสานเดียวกัน บุตรสาวคนโตสุดของซัดดัม รากัด ฮุสเซน ซึ่งอยู่ในระหว่างลี้ภัยในจอร์แดน ได้ร้องขอให้ \"ฝังศพเขาในเยเมนชั่วคราวจนกระทั่งอิรักถูกปลดปล่อยแล้วค่อยนำไปฝังใหม่ในอิรัก\" โฆษกตระกูลกล่าวผ่านโทรศัพท์",
"title": "การประหารชีวิตซัดดัม ฮุสเซน"
},
{
"docid": "110687#5",
"text": "ซัดดัม ฮุสเซนเกิดที่เมืองเอาญะห์ ห่างจากเมืองตีกรีต 13 กิโลเมตร ในครอบครัวของคนเลี้ยงแกะ แม่ชื่อศุบฮะห์ ตุลฟะห์ ตั้งชื่อให้ว่า \"ศ็อดดาม\" ซึ่งแปลว่า \"ชนแหลก\" ในภาษาอาหรับ ฮุเซน อับดุลมาญิด พ่อของซัดดัม หายตัวไปก่อนที่ซัดดัมเกิด 6 เดือน หลังจากนั้นไม่นาน พี่ชายวัยสิบสามขวบของซัดดัมก็เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง แม่ของซัดดัมเศร้าโศกเสียใจเป็นอันมาก และปฏิเสธที่จะเลี้ยงดูซัดดัมเมื่อแรกเกิด ซัดดัมถูกส่งไปอยู่กับค่อยรุลลอห์ ตุลฟะห์ พี่ชายของแม่จนกระทั่งอายุสามปี[6] แม่ของซัดดัมแต่งงานใหม่ และมีลูกอีกสามคน พ่อเลี้ยงของซัดดัมปฏิบัติต่อซัดดัมแย่มากหลังจากที่ซัดดัมกลับไปอยู่ด้วย เมื่อซัดดัมอายุราว 10 ปี เขาก็ย้ายกลับไปอยู่กับลุงอีกครั้ง ค่อยรุลลอห์ ตุลฟะห์ เป็นชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ที่เคร่งศาสนา และเคยผ่านสงครามระหว่างอิรักและสหราชอาณาจักรในปีพ.ศ. 2484 บุคคลผู้นี้ภายหลังกลายเป็นที่ปรึกษาที่ใกล้ชิดกับซัดดัมมาก ซัดดัมเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาในแบกแดดตามคำแนะนำของลุง ซัดดัมเข้าศึกษานิติศาสตร์อยู่สามปี ในปีพ.ศ. 2500 ก่อนจะออกจากวิทยาลัยไปเข้าร่วมพรรคบะอัธซึ่งลุงของเขาสนับสนุ2น",
"title": "ซัดดัม ฮุสเซน"
},
{
"docid": "2890#8",
"text": "พ.ศ. 2511 - เริ่มต้นการปกครองโดยพรรคบาธ โดยมีประธานาธิบดี Ahmad Masan Al Bakr และรองประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซน (Saddam Hussein) พ.ศ. 2522 - ซัดดัม ฮุสเซน ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี พ.ศ. 2523-2531 -สงครามระหว่างอิรัก-อิหร่าน (สงครามอ่าวครั้งที่ 1) พ.ศ. 2533 - เข้ายึดครองคูเวต(สงครามอ่าวครั้งที่ 2) พ.ศ. 2533 - ถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจโดยสหประชาชาติ",
"title": "ประเทศอิรัก"
},
{
"docid": "415996#21",
"text": "ส่วนอดีตเจ้าหน้าที่พรรคบาธในภูมิภาคดูเญลสองคนได้รับโทษจำคุก 15 ปี และมีคนหนึ่งถูกปล่อยตัวไปเพราะขาดหลักฐาน",
"title": "การพิจารณาซัดดัม ฮุสเซน"
},
{
"docid": "353103#1",
"text": "คัมภีร์ได้รับการผลิตโดยอับบาส ชากิรฺ เจาดี นักอักษรวิจิตรอิสลาม ผู้ซึ่งปัจจุบันอาศัยอยู่ในรัฐเวอร์จิเนียในสหรัฐอเมริกา ตลอดช่วงเวลาสองปี ซัดดัมได้อุทิศเลือด 24-27 ลิตร ซึ่งเจาดีได้ใช้ในการคัดเลือกคัมภีร์กว่า 6,000 โองการ ความยาวมากกว่า 360,000 คำ ตามคำบอกเล่าของเจาดี ซัดดัม ฮุสเซนได้เรียกเขาไปยังโรงพยาบาลอิบน์ ซีนา ในกรุงแบกแดด ที่ซึ่งบุตรชายของฮุสเซน อูเดย์ ฮุสเซน กำลังพักฟื้นจากการพยายามลอบสังหาร และต้องการให้เขาเขียนอัลกุรอานด้วยเลือดของเขาว่าเป็น \"การให้สัตย์ปฏิญาณรูปแบบหนึ่งจากฝ่ายซัดดัม\" ผลงานถูกส่งมอบให้แก่ซัดดัมเป็นทางการเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2543 ต่อมา มันได้ถูกจัดแสดงในสุเหร่าอุมม์ อัลมะอาริก (มารดาแห่งการยุทธ์ทั้งปวง) ในแบกแดด ซึ่งสร้างขึ้นโดยซัดดัมเพื่อระลึกถึงสงครามอ่าว (พ.ศ. 2533-34) และได้รับการออกแบบหออะซานให้เป็นรูปจรวดสกั๊ดและลำกล้องไรเฟิลคาแลชนิคอฟ",
"title": "อัลกุรอานเลือด"
},
{
"docid": "415996#1",
"text": "คณะบริหารประเทศชั่วคราวออกเสียงจัดตั้งศาลพิเศษอิรัก ประกอบด้วยผู้พิพากษาห้าคน เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เพื่อพิจารณาซัดดัม ฮุสเซนและผู้ช่วยของเขาในข้อหาอาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และพันธุฆาต",
"title": "การพิจารณาซัดดัม ฮุสเซน"
},
{
"docid": "415996#20",
"text": "ในบรรดาจำเลยร่วมของซัดดัม บาร์แซน อิบราฮิม อัล-ตีกริติ น้องร่วมมารดาของซัดดัมและอดีตหัวหน้าฝ่ายข่าวกรองของอิรักขณะเกิดการสังหารหมู่ดูเญล และอะวัด ฮาเหม็ด อัล-บันดาร์ อัล-ซาดุน ผู้ตัดสินโทษประหารชีวิตต่อผู้อยู่อาศัยในดูเญลในฐานะประธานศาลปฏิวัติ ถูกตัดสินโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอเช่นกัน ทั้งสองถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2550 อดีตรองประธานาธิบดีทาฮา ยาสซิน รามาดัน ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 โทษเปลี่ยนเป็นประหารชีวิตด้วยการแขวนคอเช่นกัน และรามาดานถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2550",
"title": "การพิจารณาซัดดัม ฮุสเซน"
},
{
"docid": "8514#49",
"text": "เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547 รายงานผลสุดท้ายของ คณะสำรวจอิรักของสหรัฐ ได้สรุปว่า \"คณะผู้ตรวจสอบอาวุธไม่พบหลักฐานว่า ซัดดัม ฮุสเซน มีอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงไว้ในครอบครอง ในปี พ.ศ. 2546 แต่หลักฐานที่พบจากการตรวจสอบ รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ถูกกักขัง และการตรวจสอบเอกสาร ต่าง»แสดงให้เห็นว่า อาจเป็นไปได้ที่มีอาวุธดังกล่าวอยู่ในอิรัก แม้ว่าจะไม่มีนัยยะสำคัญทางการทหารก็ตาม\" รายงานของคณะผู้สอบสวนกรณี 9/11 ก็ไม่พบหลักฐานที่อาจเชื่อถือได้ว่าซัดดัม ฮุสเซน มีอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงไว้ในครอบครอง แม้รายงานจะสรุปว่ารัฐบาลของซัดดัมจะพยายามอย่างหนัก ให้มีเทคโนโลยีที่ทำให้อิรักสามารถผลิตอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงไว้ในครอบครอง ทันทีที่มีการยกเลิกการคว่ำบาตรของสหประชาชาติ นอกจากนี้ คณะผู้สอบสวนกรณี 9/11 ยังพบว่า แม้อิรักจะมีการติดต่อกับกลุ่มอัลกออิดะห์ ในปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) แต่ก็ \"\"ไม่มีการประสานความร่วมมือกัน\"\" ที่เกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ก่อวินาศกรรม 9/11 แต่อย่างใด",
"title": "จอร์จ ดับเบิลยู. บุช"
},
{
"docid": "110687#4",
"text": "วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ผู้พิพากษาศาลอิรัก สั่งลงโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอซัดดัม ในคดีสังหารหมู่ชาวชีอะห์ 148 คน ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองดูเญลเมื่อปี พ.ศ. 2525[4] โดยเขาถูกประหารชีวิตในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2549[5]",
"title": "ซัดดัม ฮุสเซน"
},
{
"docid": "71371#10",
"text": "ในช่วงยุครัฐบาลซัดดัม ฮุสเซน นั้น ทีมชาติอิรักควบคุมโดยลูกของประธานาธิบดีซัดดัม คือ อูเดย์ ฮุสเซน โดยภายใต้การควบคุมนั้น จะมีการลงโทษและข่มขู่อย่างแรง ไม่ว่าจะโดนให้ตัดขาถ้าขาดซ้อม หรือจับขังคุก เตะลูกบอลเหล็ก รวมไปถึงถูกเฆี่ยนด้วยแส้ด้วยไฟฟ้า ซึ่งการลงโทษนี้รวมไปถึง นักฟุตบอลที่เตะลูกโทษพลาดในการแข่งขันนัดสำคัญ [1] ซึ่งภายหลังจากที่ประเทศถูกคุมคามจากสหรัฐอเมริกาในช่วงปี 2546 ทีมชาติได้มีผู้จัดการคนใหม่เข้ามา คือ อัดนัน ฮามัด ซึ่งมีผลงานทำให้ทีมชาติอิรัก ผ่านรอบคัดเลือกในการแข่งขัน โอลิมปิก 2004 โดยชนะ ทีมชาติคอสตาริกา ทีมชาติโปรตุเกส และทีมชาติออสเตรเลีย โดยได้อันดับที่ 4 ในการแข่งขัน",
"title": "ฟุตบอลทีมชาติอิรัก"
},
{
"docid": "415996#0",
"text": "การพิจารณาซัดดัม ฮุสเซน เป็นการพิจารณาประธานาธิบดีอิรักที่ถูกขับจากตำแหน่ง ซัดดัม ฮุสเซน โดยรัฐบาลชั่วคราวอิรัก ด้วยข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง",
"title": "การพิจารณาซัดดัม ฮุสเซน"
},
{
"docid": "110687#11",
"text": "ห้องสมุดบ้านจอมยุทธ โดย บีบีซีนิวส์ (in English) (in English) จาก National Security Archive (in English)",
"title": "ซัดดัม ฮุสเซน"
},
{
"docid": "10947#7",
"text": "เมื่ออิหร่านประสบกับชัยชนะในสงครามและปฏิเสธการสงบศึกที่ได้รับการเสนอขึ้นในเดือนกรกฎาคม การขายอาวุธให้กับอิรักก็ทำลายสถิติเมื่อปี 2525 แต่อุปสรรคยังคงมีอยู่ระหว่างสหรัฐกับอิรัก กลุ่มอาบูไนดัลยังคงได้รับการสนับสนุนอยู่ในแบกแดด เมื่อประธานาธิบดีอิรัก ซัดดัม ฮุสเซน ได้ขับไล่พวกเขาไปยังซีเรียตามคำขอของสหรัฐในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2526 รัฐบาลเรแกนได้ส่ง โดนัลด์ รัมส์เฟลด์ เพื่อพบกับประธานาธิบดีฮุสเซนเป็นทูตพิเศษและเพื่อกระชับความสัมพันธ์",
"title": "สงครามอ่าวเปอร์เซีย"
},
{
"docid": "415810#1",
"text": "ซัดดัม ฮุสเซนเป็นประธานาธิบดีอิรักตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 ถึง 9 เมษายน พ.ศ. 2546 เมื่อเขาพ้นจากตำแหน่งระหว่างการรุกรานอิรัก พ.ศ. 2546 โดยกำลังผสมพันธมิตรนำโดยสหรัฐ หลังการจับกุมตัวซัดดัมในอัดดาวร์ ใกล้ติกรีตเมืองเกิดของเขา เขาถูกกักขังที่ค่ายครอปเปอร์ และถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549",
"title": "การประหารชีวิตซัดดัม ฮุสเซน"
},
{
"docid": "415810#0",
"text": "การประหารชีวิตซัดดัม ฮุสเซน มีขึ้นในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (วันแรกของอีดิลอัดฮา) ซัดดัมถูกตัดสินประหารชีวิตโดยการแขวนคอ หลังพบว่ามีความผิดจริงและถูกพิพากษาฐานก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ โดยคณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรัก ในการฆาตกรรมชาวอิรักชีอะฮ์ 148 คนในเมืองดูเญล เมื่อ พ.ศ. 2525 เพื่อเป็นการแก้แค้นต่อความพยายามลอบสังหารตัวเขา",
"title": "การประหารชีวิตซัดดัม ฮุสเซน"
},
{
"docid": "415810#6",
"text": "โฆษกหญิงประจำตัวบุตรสาวของซัดดัมรายงานว่า \"พวกเขารู้สึกภูมิใจมากที่เห็นบิดาของตนเผชิญหน้ากับเพชฌฆาตอย่างกล้าหาญ\" ในอัมมาน เมืองหลวงของจอร์แดน รากัด ฮุสเซน บุตรสาวคนโตสุดของซัดดัม เข้าร่วมการประท้วงต่อต้านการประหารชีวิตบิดาของเธอ ผู้ประท้วงแสดงอารมณ์ว่าซัดดัมเป็นมรณสักขีและเขาเป็นเพียงผู้นำอาหรับเพียงคนเดียวที่ปฏิเสธสหรัฐอเมริกา มุสลิมชีอะฮ์ในอิรักเฉลิมฉลองต่อการประหารชีวิต ขณะที่มุสลิมซุนนีย์ประท้วง",
"title": "การประหารชีวิตซัดดัม ฮุสเซน"
},
{
"docid": "415996#12",
"text": "หลังมีการอ่านข้อกล่าวหาให้จำเลยฟัง จำเลยทั้งแปดคนต่างแก้ต่างว่าตนไม่มีความผิด การพิจารณาซัดดัมสมัยแรกกินเวลาสามชั่วโมง ศาลเลื่อนการพิจารณาไปเป็นวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เพราะพยานบางคนกลัวเกินกว่าจะเข้าร่วม และอนุญาตให้จำเลยมีเวลาศึกษาหลักฐานมากขึ้น ระหว่างการให้สัมภาษณ์ต่อสำนักข่าวอาหรับอัลอาราบิยาหลังการเปิดการพิจารณา บุตรสาวคนโตสุดของซัดดัม รากัด เรียกศาลว่าเป็น \"ละครตลก\" และอ้างว่าบิดาของเธอวางตัวเช่น \"สิงโต\" ระหว่างกระบวนการ \"พ่อของฉันกล้าหาญ เป็นสิงโต ฉันภูมิใจในตัวท่านมาก\" เธอกล่าว \"ท่านเป็นชายผู้อุทิศชีวิตเพื่อรับใช้ประเทศของท่าน ท่านกล้าหาญในวัยหนุ่ม แล้วท่านจะมากลัวในยามนี้ได้อย่างไร\" เธอเสริม",
"title": "การพิจารณาซัดดัม ฮุสเซน"
},
{
"docid": "36801#0",
"text": "ติกรีต () เมืองหนึ่งในประเทศอิรัก เป็นเมืองหลวงของเขตผู้ว่าการเศาะลาฮุดดีน และเป็นสถานที่เกิดของซัดดัม ฮุสเซน และเศาะลาฮุดดีน อัลอัยยูบี",
"title": "ติกรีต"
},
{
"docid": "8514#46",
"text": "ไม่นานหลังเกิดเหตุการณ์ 9/11 คณะบริหารงานแผ่นดินของบุชได้เริ่มรณรงค์แผนการตอบโต้เร่งด่วนต่ออิรัก โดยระบุว่าประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซนของอิรัก ได้กลับมาใช้อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงอีกครั้ง แม้ว่าซัดดัมจะอ้างว่าเขาได้ทำลายอาวุธเคมีและชีวภาพที่เขาเคยมีเมื่อก่อนปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) ทั้งหมด (ซัดดัมเคยใช้มันสังหารชาวเคิร์ดทางตอนเหนือของอิรัก เมื่อปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) โดยที่โครงการอาวุธดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและอังกฤษ) ทฤษฎีที่ว่าซัดดัมได้ทำลายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงได้ถูกประกาศอย่างโจ่งแจ้งโดยนายสก็อต ริตเตอร์ อดีตผู้ตรวจอาวุธ และนายฮานส์ บลิกซ์ อดีตหัวหน้าผู้ตรวจอาวุธของสหประชาชาติ บุชยังกล่าวว่าซัดดัมเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐ และทำให้ขาดเสถียรภาพในตะวันออกกลาง ก่อให้เกิดกรณีพิพาทอิสราเอล-ปาเลสไตน์ อีกทั้งได้ให้เงินสนับสนุนผู้ก่อการร้าย รายงานของหน่วยข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐหรือ ซีไอเอ ได้ระบุว่าการที่ซัดดัม ฮุสเซนพยายามจะมีวัตถุนิวเคลียร์ในครอบครองนั้น ไม่ถือว่าเป็นอาวุธเคมี หรืออาวุธชีวภาพที่ฝ่าฝืนมาตรการคว่ำบาตรของสหประชาชาติ และขีปนาวุธของอิรักบางส่วนนั้น มีวิถีไกลเกินกว่าที่มาตรการคว่ำบาตรของสหประชาชาติอนุญาต แต่ถ้าจะว่ากันไปแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) เป็นต้นมา ประธานาธิบดีสหรัฐมีนโยบายจะโค่นล้มซัดดัม ฮุสเซน ด้วยการใช้กฎหมายปลดปล่อยอิรัก ที่ผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติ และวุฒิสภา อีกทั้งผ่านการลงนามโดยประธานาธิบดีบิล คลินตัน ",
"title": "จอร์จ ดับเบิลยู. บุช"
},
{
"docid": "49108#1",
"text": "ซัดดัมเริ่มชกมวยตั้งแต่อายุ 7 ขวบกับพ่อที่เป็นนักมวยเก่า เริ่มขึ้นชกมวยครั้งแรกเมื่ออายุ 9 ขวบตามงานวัดแถวบ้านในชื่อเทพณรงค์ เกียรติพูลศักดิ์ ชกได้ประมาณ 40 ครั้ง บ่าว ชูจันทร์ เทรนเนอร์ค่ายเกียรติยงยุทธที่เป็นคนบ้านเดียวกันจึงพามาอยู่ค่ายเกียรติยงยุทธ ใช้ชื่อว่า ซัดดัม เกียรติยงยุทธ ขึ้นชกมวยไทยจนเป็นนักมวยระดับเงินหมื่น โดยฉายาของเขานำมาจากชื่อของอดีตประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน ของประเทศอิรัก",
"title": "ซัดดัม เกียรติยงยุทธ"
},
{
"docid": "137699#3",
"text": "ธงชาติแบบดังกล่าวนี้ ได้รับอนุญาตให้ใช้ชักในจังหวัดเคอร์ดิชสถาน ซึ่งเป็นเขตปกครองของชนกลุ่มน้อยชาวเคิร์ด ส่วนธงในรุ่นหลัง ซึ่งมีการใช้ในกลุ่มสมาชิกพรรคบะอัธ และกลุ่มสมาคมพันธมิตรอาหรับ ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้\nต่อมาเมื่อรัฐบาลปฏิวัติของอับดุล การิม คัสซิมถูกโค่นอำนาจโดยพรรคบะอัธ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงธงชาติอิรักอีกครั้งหนึ่ง ตามกฎหมายเลขที่ 28 ค.ศ. 1963 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 ธงแบบใหม่นี้เป็นธงริ้วสามสีแนวนอนพื้นสีแดง-ขาว-ดำ มีดาว 5 แฉกสีเขียว 3 ดวง ในแถบสีขาว ซึ่งดาวสีเขียวในธงนี้ เดิมได้กำหนดไว้ในธงเพื่อแทนความหมายถึง ความต้องการก่อตั้งสหภาพสาธารณรัฐอาหรับ โดยความร่วมมือกันระหว่าง 3 ประเทศ คือ อิรัก อียิปต์ และซีเรีย ซึ่งในขณะนั้นทั้งสองชาติหลังมีการใช้ธงที่มีดาวสีเขียว 2 ดวงอยู่กลางธงเหมือนกัน หากการก่อตั้งสหภาพเกิดขึ้นจริงแล้ว ทั้งอียิปต์และซีเรียนั้นก็จะเพิ่มจำนวนดาวในธง ในลักษณะเดียวกับธงชาติอิรักในเวลานั้นด้วย \nในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2534 ได้มีการเปลี่ยนแปลงธงชาติอิรักอีกครั้ง โดยธงชาติมีลักษณะคล้ายกับธงชาติยุค พ.ศ. 2506 แต่มีการเปลี่ยนนิยามความหมายของดาว 3 ดวงในธง ให้หมายถึงหลัก 3 ข้อคำขวัญของพรรคบะอัธ คือ เอกภาพ เสรีภาพ สังคมนิยม (อาหรับ: \"Wahda, Hurriyah, Ishtirakiyah\") และเพิ่มข้อความอักษรคูฟิก ภาษาอาหรับ แทรกระหว่างดาวสีเขียว 3 ดวงว่า \"\"อัลลอหุ อักบัร\"\" โดยประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน เป็นผู้ออกคำสั่งให้เพิ่มข้อความข้างต้น แม้จะไม่เป็นที่ยืนยันนัก แต่ก็มีการกล่าวกันว่า ข้อความอักษรคูฟิกดังกล่าวเป็นลายมือของซัดดัม ฮุสเซนเอง ทั้งยังมีอีกหลายคนตีความกันว่า ที่ซัดดัมทำเช่นนี้ก็เพื่อแสวงหาความสนับสนุนจากโลกอิสลามในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งแรก (พ.ศ. 2534) \nหลังการสิ้นอำนาจของซัดดัมใน พ.ศ. 2547 ได้มีการเสนอธงชาติแบบใหม่ให้แทนธงเดิมในเดือนเมษายนปีเดียวกัน แต่ก็ไม่เคยมีการนำมาใช้แต่อย่างใด (ดูเพิ่มเติมข้างล่าง) ต่อมาในพิธีการส่งมอบอำนาจแก่รัฐบาลรักษาการณ์ของอิรัก เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2547 นั้น ได้มีการตกแต่งเวทีโดยใช้ธงซึ่งมีลักษณะคล้ายกันกับธงชาติแบบเดิม กล่าวคือ เป็นธงสามสีแนวนอนพื้นสีแดง-ขาว-ดำ กลางแถบสีขาวมีรูปดาวสีเขียว 3 ดวง ระหว่างดาวทั้งสามมีข้อความภาษาอาหรับ เขียนด้วยอักษรคูฟิกว่า \"อัลลอหุ อักบัร\" ในลักษณะเป็นอักษรตัวเหลี่ยมสมัยใหม่ ธงชาติอิรักแบบแก้ไขเพิ่มเติมนี้ได้มีการเชิญขึ้นสู่ยอดเสาที่สถานทูตอิรักในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2547\nวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2547 สภาการปกครองอิรัก (Iraqi Governing Council หรือ IGC) ได้ประกาศใช้ธงชาติอย่างใหม่แทนธงเดิมในยุคของซัดดัม ฮุสเซน โดยเลือกจากธงที่ได้มีการการส่งเข้าประกวด 30 แบบ ซึ่งแบบธงที่ได้รับการคัดเลือกนี้ เป็นผลงานของของริฟัต อัล ชาเดอร์ชี (Rifat al-Chaderchi) ศิลปินและสถาปนิกชาวอิรัก ซึ่งพำนักอยู่ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร และเป็นพี่ชายของสมาชิกสภาการปกครองอิรักคนหนึ่งด้วย",
"title": "ธงชาติอิรัก"
},
{
"docid": "415996#5",
"text": "วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ซัดดัมถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ วันที่ 26 ธันวาคม การอุทธรณ์ของซัดดัมถูกปฏิเสธและยืนโทษประหารชีวิต ไม่มีการอุทธรณ์เพิ่มเติมและซัดดัมถูกสั่งให้ประหารชีวิตภายใน 30 วันนับแต่วันนั้น วันที่และสถานที่การประหารชีวิตนั้นเป็นความลับกระทั่งประหารแล้ว ซัดดัม ฮุสเซนถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ด้วยการเสียชีวิตของเขา ข้อกล่าวหาอื่นจึงตกไปโดยปริยาย",
"title": "การพิจารณาซัดดัม ฮุสเซน"
},
{
"docid": "415996#19",
"text": "วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ซัดดัม ฮุสเซนถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอจากการสังหารมุสลิมชีอะฮ์ 148 คนจากดูเญล เป็นการแก้แค้นความพยายามลอบสังหารเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 หัวหน้าทนายฝ่ายจำเลยภายหลังอ้างคำพูดจากซัดดัม ฮุสเซนที่ให้เพียงก่อนหน้าศาลพิพากษา เขาว่า ซัดดัมกระตุ้นให้ประชาชน \"ให้อภัยและไม่แก้แค้นต่อชาติผู้รุกราน พลเรือนของมัน\" การอุทธรณ์ ซึ่งบังคับโดยระบบตุลาการอิรัก ตามมา มีการคาดคะเนว่าการอุทธรณ์อาจกินเวลาหลายปี ซึ่งเลื่อนการประหารชีวิตแท้จริงไป อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม การอุทธรณ์ของซัดดัมถูกปฏิเสธและยืนโทษประหารชีวิต การอุทธรณ์อีกไม่อาจกระทำได้และซัดดัมจะต้องถูกประหารภายใน 30 วันนับแต่วันนั้น การตัดสินนั้นยังต้องได้รับการให้สัตยาบันโดยประธานาธิบดีอิรักแต่ไม่อาจลดโทษได้",
"title": "การพิจารณาซัดดัม ฮุสเซน"
},
{
"docid": "220283#16",
"text": "หลังแขวนนวม มูฮัมหมัด อาลี ได้ทำงานเกี่ยวกับสาธารณกุศลไปทั่วโลก และในสงครามอ่าวเปอร์เซีย เมื่อปี ค.ศ. 1990 เมื่ออิรักบุกยึดคูเวตได้แล้ว กองทัพอิรักได้จับกุมตัวประกันชาวอเมริกันได้กว่า 2,000 ราย อาลีได้เสนอตัวเข้าไปเป็นผู้เจรจาปล่อยตัวประกันด้วยตนเองกับประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซน ถึงกรุงแบกแดก ด้วยคิดว่าชื่อเสียงของเขาและการที่เป็นชาวมุสลิมเหมือนกันจะช่วยให้การเจรจาเป็นไปได้ด้วยดี ปรากฏว่าความพยายามของอาลีเป็นที่สำเร็จ เมื่อทางฮุสเซนยอมปล่อยตัวประกันออกมา 15 ราย หลังจากใช้เวลาเจรจาเพียง 50 นาที [1]",
"title": "มูฮัมหมัด อาลี"
},
{
"docid": "353316#0",
"text": "ดร. ซากีร์ ฮุสเซน () เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2440 เป็นประธานาธิบดีคนที่ 3 ของอินเดีย และเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่เป็นชาวมุสลิม ซากีร์ ฮุสเซนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ในคณะเศรษฐศาสตร์ ซากีร์ ฮุสเซนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ร่างของเขาฝังอยู่ในวิทยาเขตของญามียะ มิลลิยะ อิสลามิยะ ในนิวเดลี",
"title": "ซากีร์ ฮุสเซน (นักการเมือง)"
},
{
"docid": "793001#2",
"text": "การบุกครองคูเวตเริ่มขึ้นในเวลาตีสองของวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 เนื่องจากกำลังทหารที่มากกว่าประกอบกับมีอาวุธยุทโธปกรณ์ทันสมัยจากการสนับสนุนของชาติตะวันตกในช่วงสงครามอิรัก-อิหร่าน ทำให้อิรักใช้เวลาเพียงสองวันในการบุกครองคูเวต กำลังทหารส่วนใหญ่ของคูเวตก็ต้องล่าถอยไปยังซาอุดีอาระเบียและบาห์เรนซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน คูเวตถูกผนวกดินแดนเข้ากับอิรัก โดยซัดดัม ฮุสเซน ได้ออกมาประกาศไม่กี่วันให้หลังว่าคูเวตเป็นจังหวัดที่ 19 ของอิรัก ซัดดัม ฮุสเซนได้แต่งตั้งให้ อัลลาอา ฮุสเซน อาลี เป็นนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลหุ่นเชิดในคูเวต และตั้ง อาลี ฮัสซัน อัลมาจิด เป็นผู้ว่าการคูเวตโดยพฤตินัย",
"title": "การบุกครองคูเวต"
}
] |
2431 | สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมดของ JET ตั้งอยู่บนสถานที่ใด? | [
{
"docid": "622772#1",
"text": "สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมดของ JET ตั้งอยู่บนอดีตสนามบินกองทัพเรือใกล้ Culham ออกซฟอร์ดเชียร์ที่ชื่อว่า RNAS Culham (HMS Hornbill) ในประเทศสหราชอาณาจักร อาคารที่ทำการของโครงการได้รับการก่อสร้างโดย Tarmac Construction [1] เริ่มต้นในปี 1978 ที่มีห้องโถงรูปห่วงยางหรือโดนัท (English: Torus Hall) ที่เสร็จสมบูรณ์ในเดือนมกราคม 1982 การก่อสร้างของตัวเครื่อง JET เองเริ่มทันทีหลังจากการก่อสร้าง Torus Hall เสร็จสิ้น การทดลองพลาสม่าครั้งแรกทำในปี 1983",
"title": "JET (พลังงานฟิวชั่น)"
}
] | [
{
"docid": "898484#5",
"text": "สถานที่แห่งนี้ได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชั้นนำของเมืองจางเย่ และได้มีการสร้างทางเดินเพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมลายหินได้อีกด้วย ในปี 2557 ได้มีการลงทุนกว่า 100 หยวนเพื่อเพิ่มและปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในอุทยาน",
"title": "อุทยานธรณีแห่งชาติจางเย่"
},
{
"docid": "51265#3",
"text": "วิศวกรรมการขนส่ง, ตามที่ได้รับการปฎิบัติโดยวิศวกรโยธา, เบื้องต้นเกี่ยวข้องกับการวางแผน, การออกแบบ, การก่อสร้าง, การบำรุงรักษา, และการดำเนินงานของสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง. สิ่งอำนวยความสะดวกให้การสนับสนุนทางอากาศ, ทางหลวง, รถระบบราง, ท่อส่งน้ำ, และแม้กระทั่งการขนส่งในอวกาศ. เนื้อหาการออกแบบของวิศวกรรมการขนส่งจะรวมถึงการปรับขนาดของสิ่งอำนวยความสะดวกจองการขนส่ง (ใช้กี่เลนหรือความจุของสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นเท่าไร), การกำหนดวัสดุและความหนาที่ใช้ในทางเท้าในการออกแบบรูปทรงเรขาคณิต (แนวตั้งและแนวนอน) ของถนน (หรือของราง).\nก่อนที่จะมีการวางแผนใดๆเกิดขึ้น, วิศวกรจะต้องใช้สิ่งที่เรียกว่าพื้นที่คงคลังหรือถ้ามันมีความเหมาะสม, ระบบก่อนหน้านี้ที่มีอยู่แล้ว. พื้นที่คงคลังหรือฐานข้อมูลนี้จะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับ (1) ประชากร, (2) การใช้ที่ดิน, (3) กิจกรรมทางเศรษฐกิจ, (4) สิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งและบริการ, (5) รูปแบบการเดินทางและปริมาณ (6) กฎหมายและศาสนพิธี, (7) แหล่งทรัพยากรทางการเงินในภูมิภาค, (8) คุณค่าและความคาดหวังของชุมชน. พื้นที่คงคลังเหล่านี้ช่วยให้วิศวกรสร้างแบบจำลองทางธุรกิจในการดำเนินการคาดการณ์ที่ถูกต้องของเงื่อนไขในอนาคตของ systemReview.",
"title": "วิศวกรรมขนส่ง"
},
{
"docid": "155290#14",
"text": "แค็มพ์จอดรถบ้านบางแห่งก็อาจจะเป็นเพียงที่จอดรถโดยไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกอื่นใด ในสหราชอาณาจักรและยุโรปนอกไปจากแค็มพ์จอดรถบ้านแล้วที่จอดรถบ้านก็อาจจะเป็นเพียงบริการส่วนบุคคลขนาดเล็ก ที่เจ้าของกิจการที่อาจจะเป็นเจ้าของบ้าน ฟาร์ม หรือภัตตาคารมีที่ให้รถบ้านจอดสองสามคันเพื่อหารายได้พิเศษ ที่จอดประเภทนี้จะมีราคาต่ำกว่าที่จอดรถบ้านที่เป็นทางการ และมักจะไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้ ",
"title": "รถบ้าน"
},
{
"docid": "20739#75",
"text": "การรื้อถอนจะเกี่ยวข้องกับการบริหารและการดำเนินการทางเทคนิคจำนวนมาก. มันรวมถึงการทำความสะอาดกัมมันตภาพรังสีทั้งหมดและการรื้อถอนต่อเนื่องของโรงงาน. ทันทีที่สถานที่ตั้งถูกรื้อถอน, มันไม่ควรจะเกิดอันตรายจากอุบัติเหตุกัมมันตภาพรังสีใดๆหรือแก่บุคคลใดๆที่เข้ามาเยี่ยมชมอีกต่อไป. หลังจากที่สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมดถูกปลดประจำการอย่างสมบูรณ์, สถานที่นั้นจะหลุดออกจากการควบคุมของผู้กำกับดูแล, และผู้ได้รับใบอนุญาตของโรงงานไม่ต้องมีความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยนิวเคลียร์อีกต่อไป",
"title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์"
},
{
"docid": "622772#8",
"text": "ในปี 1999 ข้อตกลงเพื่อการพัฒนาฟิวชั่นของยุโรป (EFDA) ได้ก่อตั้งขึ้นด้วยความรับผิดชอบ สำหรับการใช้งานร่วมกันในอนาคตของ JET เมื่อเปลี่ยนสหัสวรรษ \"การดำเนินการร่วม\" ได้สิ้นสุดลงและสิ่งอำนวยความสะดวกของ JET ได้เริ่มดำเนินการภายใต้สัญญากับ Culham Centre for Fusion Energy (CCFE) (ขณะนั้นเป็น UKAEA) จากนั้น โปรแกรมทางวิทยาศาสตร์ของ JET ได้ถูกกำหนดโดย EFDA",
"title": "JET (พลังงานฟิวชั่น)"
},
{
"docid": "622772#11",
"text": "ในเดือนธันวาคมปี 1999 สัญญา\"ระหว่างประเทศ\"ของ JET สิ้นสุดลงและ จากนั้น สำนักงานพลังงานปรมาณูแห่งสหราชอาณาจักร (English: United Kingdom Atomic Energy Authority (UKAEA)) เข้าดำเนินการต่อในการจัดการด้านความปลอดภัยและการทำงานของ สิ่งอำนวยความสะดวกของ JET ในนามของคู่ค้ายุโรป จากเวลานั้น (ปี 2000) โปรแกรมการทดลองของ JET ถูกร่วมประสานโดยหน่วยสนับสนุนอย่างใกล้ชิดของ EFDA",
"title": "JET (พลังงานฟิวชั่น)"
},
{
"docid": "405160#5",
"text": "ภายใต้การดูแลของเจ้าของใหม่ สโมสรได้เจรจาสัญญาเช่าใหม่กับสภาเทศบาลเมืองในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 โดยเช่าสถานที่เป็นระยะเวลา 250 ปี และขอเพิ่มสิทธิ์ในการใช้ชื่อ[10] ในการแลกเปลี่ยนกับค่าเช่าที่เพิ่มขึ้นมาก[14][21] โดยขอเปลี่ยนชื่อสนามมาเป็น สนามกีฬาอัลติฮัด ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2011 ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงการสนับสนุนสโมสรเป็นเวลา 10 ปี บนชุดกีฬาที่ปักชื่อ สายการบินเอติฮัด[2] ข้อตกลงนี้รวมถึงชื่อของสนามกีฬาด้วย[22] รวมถึงแผนการย้ายสโมสรเยาวชนและสิ่งอำนวยความสะดวกในการฝึกซ้อม ไปยังที่แห่งใหม่ คือ วิทยาลัยเอติฮัด ที่อยู่ใกล้กับสนาม[23]",
"title": "สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์"
},
{
"docid": "432258#0",
"text": "เกมส์ซิมทาวเวอร์ ช่วยให้ผู้เล่นได้สร้างและการบริหารดำเนินการของตึกระฟ้าอเนกประสงค์รูปแบบใหม่ ผู้เล่นวางแผนสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในตึกนี้เช่น ภัตตาคาร ห้องพักอาศัย ห้องทำงาน และ ลิฟท์ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เช่าย้ายออกจากตึกนี้ ผู้เล่นต้องตอบสนองความต้องการของผู้เช่า โดยสร้างศูนย์การแพทย์ มีที่จอดรถมากมาย มีสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งทำความสะอาดห้องพักโรงแรมโดยแม่บ้านอยู่เสมอ และยังเป็นที่เกี่ยวข้องกับการจราจรการจัดการลิฟท์ซิมทาวเวอร์ซึ่งสร้างขึ้นรอบๆ โปรแกรมจำลองลิฟท์ สถานที่สำคัญอย่างมากต่อการจัดการลิฟท์ที่ดี",
"title": "ซิมทาวเวอร์"
},
{
"docid": "774562#24",
"text": "การใช้ให้เป็นประโยชน์ () คือ \"ผลลัพท์สุดท้าย\" ของการผลิต การจัดส่ง และการกระจายพลังงานไฟฟ้า พลังงานที่ดำเนินการโดยระบบการจัดส่งและการกระจายจะถูกเปลี่ยนให้เป็นงานที่เป็นประโยชน์, แสง, ความร้อน, หรือการรวมกันของรายการเหล่านี้ที่จุดใช้ประโยชน์ การทำความเข้าใจและการแยกแยะลักษณะเฉพาะของการใช้ประโยชน์จากพลังงานไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการวางแผนและการดำเนินงานที่เหมาะสมของระบบไฟฟ้า ลักษณะที่ไม่เหมาะสมของการใช้ประโยชน์ จะส่งผลให้มีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับระบบไฟฟ้ารวมทั้งการเน้นหนักของอุปกรณ์ในระบบที่เกินหรือต่ำกว่าความสามารถในการออกแบบ คำว่าโหลดหมายถึงอุปกรณ์หรือกลุ่มของอุปกรณ์ที่ดึงพลังงานจากระบบไฟฟ้า โหลด (หรืออุปกรณ์) เฉพาะตัวเป็นตั้งแต่หลอดไฟขนาดเล็กจนถึงมอเตอร์เหนี่ยวนำขนาดใหญ่จนถึงเตาเผาไฟอาร์ค คำว่าโหลดยังมักถูกนำไปใช้ทำอะไรบางอย่างตามอำเภอใจ อย่างเช่นในช่วงเวลาที่ถูกนำไปใช้เพื่ออธิบายถึงอุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เฉพาะเจาะจงและในอีกช่วงเวลาก็หมายถึงสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมด และแม้กระทั่งในบางครั้งจะถูกใช้ในการอธิบายถึงความต้องการใช้พลังงานขนาดใหญ่ของส่วนประกอบของระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์การใช้ประโยชน์ที่เชื่อมต่อถึงกันในช่วงท้ายน้ำของจุดที่เฉพาะเจาะจงในการศึกษาระบบขนาดใหญ่",
"title": "วิศวกรรมกำลังไฟฟ้า"
},
{
"docid": "300881#16",
"text": "การเร่งก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนจาการ์ตา จะเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมในการจัดการแข่งขันครั้งนี้ในด้านการขนส่ง ปาเลมบังจะเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งโดยการสร้างรถไฟฟ้ารางเบา 24.5 กิโลเมตร จากท่าอากาศยานนานาชาติสุลต่านมุฮัมหมัด บาดารูดดินที่ 2 ไปยังจากาบาริงสปอร์ตซิตี สิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งอื่น ๆ เช่น อุโมงค์, ทางยกระดับและสะพาน จะถูกสร้างขึ้นอยู่ในเมืองสมาชิกทั้งหมด 46 ประเทศของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชียจะเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ โดยได้มีการตกลงกันว่าประเทศเกาหลีเหนือและประเทศเกาหลีใต้จะเข้าร่วมแข่งขันในนามของทีมรวมเฉพาะกิจในบางชนิดกีฬา เช่นเดียวกับในโอลิมปิกฤดูหนาว 2018",
"title": "เอเชียนเกมส์ 2018"
},
{
"docid": "669134#67",
"text": "ระบบการเพาะเลี้ยงในน้ำแบบหมุนเวียนบนบก, สิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้เทคนิคแบบผสมผสานและการจัดหาสถานที่อย่างเหมาะสม (เช่นพื้นที่นอกชายฝั่งที่มีกระแสน้ำไหลแรง) เป็นตัวอย่างของวิธีการที่จะจัดการกับผลกระทบเชิงลบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม",
"title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ"
},
{
"docid": "95587#1",
"text": "ราชมังคลากีฬาสถาน เป็นสนามเหย้าของทีมฟุตบอลทีมชาติไทย ในปัจจุบัน และใช้จัดแข่งขันฟุตบอลนัดสำคัญต่างๆ นอกจากนี้ ยังใช้สำหรับจัดการแสดงดนตรี(คอนเสิร์ต)กลางแจ้ง มีศักยภาพรองรับผู้เข้าชมภายในอาคาร จำนวน 80,000 คน และอัฒจันทร์จำนวน 49,722 ที่นั่ง ซึ่งเป็นเก้าอี้ทั้งหมด ภายในมีสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐาน ลู่วิ่ง ลานกรีฑา และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังเป็นสนามกีฬาที่มีขนาดใหญ่ เป็นอันดับที่ 55 ของโลก และเป็นอันดับ 17 ของทวีปเอเชีย",
"title": "ราชมังคลากีฬาสถาน"
},
{
"docid": "622772#2",
"text": "ส่วนประกอบทั้งหมดสำหรับเครื่อง JET มาจากผู้ผลิตทั่วยุโรป โดยส่วนประกอบเหล่านี้ถูกส่งไปสถานที่ตั้งของ JET",
"title": "JET (พลังงานฟิวชั่น)"
},
{
"docid": "622772#10",
"text": "JET ถูกจัดตั้งแต่เดิมโดย ชุมชนพลังงานอะตอมยุโรป (English: European Atomic Energy Community (Euratom)) ที่มีระบบการจ้างงานที่ไม่เท่าเทียมที่ยอมให้พนักงานที่ไม่ใช่ชาวอังกฤษจะได้รับเงินเดือนมากกว่าสองเท่าของเงินเดือนชาวอังกฤษที่เทียบเท่า ในที่สุด เจ้าหน้าที่ชาวอังกฤษได้ประกาศว่าการปฏิบัติดังกล่าวผิดกฎหมาย และความเสียหายอย่างมากได้รับการจ่ายทดแทนที่ส่วนท้ายของปี 1999 ให้กับพนักงาน UKAEA (และต่อมาก็ให้ผู้รับเหมาบางคน) สิ่งนี่เป็นสาเหตุของการสิ้นสุดโดยทันทีของการดำเนินงานของ Euratom ในการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่นั้น",
"title": "JET (พลังงานฟิวชั่น)"
},
{
"docid": "36592#13",
"text": "ทั้งนี้สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหลายขึ้นอยู่กับขนาดของโรงแรมอ้างอิงจากหนังสือ The Guinness Book of World Record\nรายชื่อ 10 อันดับ โรงแรมดีที่สุดในโลก ปี 2012 เป็นส่วนหนึ่งในการประกาศรางวัล World’s Best Awards 2012 ซึ่งจัดโดยนิตยสารด้านการท่องเที่ยวชั้นนำของโลก ทราเวล แอนด์ ลีเชอร์ ให้คะแนนจากการสำรวจความเห็นของผู้อ่านผ่านสื่อด้านต่างๆ ทั้งในนิตยสาร iPad และทางเว็บไซต์ โดยพิจารณาจาก ห้องพัก, สิ่งอำนวยความสะดวก, สถานที่ตั้ง, การบริการ, อาหาร และความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับเงินที่ต้องควักออกจากกระเป๋า",
"title": "โรงแรม"
},
{
"docid": "351804#0",
"text": "เรือนจำจี๊ฮหว่า () เป็นเรือนจำที่ตั้งอยู่ในนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม เป็นเรือนจำหนึ่งในสิบสองแห่งของประเทศ ตัวเรือนจำเป็นอาคารทรงแปดเหลี่ยมซึ่งสร้างอยู่บนสถานที่ตั้งขนาด 7 เฮกตาร์ ซึ่งประกอบด้วยห้องกักกัน ห้องคุมขังนักโทษ กำแพงเรือนจำ หอคอย สิ่งอำนวยความสะดวกและที่ดินเพาะปลูกของนักโทษ ตัวเรือนจำสร้างขึ้นโดยรัฐบาลอาณานิคมอินโดจีนฝรั่งเศส ใน ค.ศ. 1943 (หรือ ค.ศ. 1939) เพื่อใช้แทนที่เรือนจำกลางไซ่ง่อน เป็นเรือนจำที่รัฐบาลเวียดนามทุกยุคทุกสมัยใช้กันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากความซับซ้อนและสถาปัตยกรรมอันมีประสิทธิภาพ เรือนจำดังกล่าวจึงได้รับการพิจารณาว่าเป็นเรือนจำที่มีความปลอดภัยสูงที่สุดในเวียดนาม โดยในประวัติศาสตร์ของเรือนจำ พบว่ามีการแหกคุกได้สำเร็จเพียงสองครั้งเท่านั้น",
"title": "เรือนจำจี๊ฮหว่า"
},
{
"docid": "54020#24",
"text": "รวมไปถึงสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในคณะที่มีไว้ให้บริการกับนิสิตอย่างครบครัน เช่น ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ ห้องบริการคอมพิวเตอร์ โรงอาหารคณะวิทยาศาสตร์ (หรือที่มักเรียกกันติดปากว่า “บาร์วิทย์”) ห้องทำกิจกรรมชมรม สวนหย่อมและสถานที่พักผ่อนตามมุมต่าง ๆ ร้านสะดวกซื้อ ร้านกาแฟหรือคาร์เฟ่ ",
"title": "คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"
},
{
"docid": "348106#27",
"text": "โรงแรมระดับ 5-ดาว แห่งนี้ให้บริการห้องพัก 468 ห้อง พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกชั้นยอด โดยแต่ละห้องมี ห้องปลอดบุหรี่, เครื่องปรับอากาศ, เสื้อคลุมอาบน้ำ, หนังสือพิมพ์รายวัน, ภาพยนตร์ชมในห้องพัก, โต๊ะเขียนหนังสือ, เครื่องเป่าผม นอกจากนี้ โรงแรมแห่งนี้ใน กัวลาลัมเปอร์ ยังมี รูมเซอร์วิส 24 ชั่วโมง, ร้านค้า, ห้องพักชั้นพิเศษ, คอฟฟี่ช็อป, บาร์/ผับ, บริการซักรีด/ซักแห้ง ส่วนผู้เข้าพักที่ต้องการออกกำลังกายหรือพักผ่อนหย่อนใจก็จะได้สนุกไปกับบริการนวด, จาคุซซี, ห้องฟิตเนส, ซาวน่า, ห้องอบไอน้ำ, สปา, สนามสควอช แขกผู้เข้าพักจะพบว่าโรงแรมซึ่งมุ่งเน้นการให้บริการด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ยอดเยี่ยมแห่งนี้นับเป็นสถานที่พักอันคุ้มค่า สำรองห้องพักที่ Grand Millennium Kuala Lumpur Hotel ในกัวลาลัมเปอร์ ได้อย่างง่ายๆ ผ่านทางแบบฟอร์มการจองทางออนไลน์ที่เชื่อถือได้",
"title": "บูกิตบินตัง"
},
{
"docid": "102300#0",
"text": "แฟมิลี่มาร์ท (อังกฤษ : FamilyMart; ญี่ปุ่น : ファミリーマート ) เป็นกิจการค้าปลีกลักษณะร์านสะดวกซื้อ (Convenience Store) ที่ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค ที่เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง จึงอำนวยความสะดวกสำหรับลูกค้าทั้งในด้านเวลา สถานที่ และสินค้าที่มีให้เลือกอย่างครบครัน โดยในปัจจุบันในประเทศไทยมีอยู่ทั้งหมด 1,040 สาขา ",
"title": "แฟมิลี่มาร์ท"
},
{
"docid": "622772#15",
"text": "JET มีการติดตั้งด้วยอุปกรณ์ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการระยะไกล [6] เพื่อรับมือกับกัมมันตภาพรังสีที่ผลิตขึ้นโดยเชื้อเพลิง deuterium-tritium (D-T) ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ถูกนำเสนอสำหรับรุ่นแรกของโรงไฟฟ้าพลังงานฟิวชั่น ในระหว่างที่การก่อสร้าง ITER ยังไม่เสร็จ JET ยังคงเป็นเครื่องปฏิกรณ์ฟิวชั่นที่มีขนาดใหญ่เท่านั้นที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่อุทิศตนเพื่อการจัดการกับกัมมันตภาพรังสีที่ปล่อยออกมาจาก D-T ฟิวชั่น การผลิตพลังงานมีการทำลายสถิติโดยวิ่งจาก JET และ เตาปฏิกรณ์เพื่อการทดสอบปฏิกิริยาฟิวชั่น Tokamak (English: Tokamak Fusion Test Reactor (en:TFTR)) เมื่อใช้ส่วนผสมเชื้อเพลิง D-T ที่อัตราส่วน 50-50",
"title": "JET (พลังงานฟิวชั่น)"
},
{
"docid": "628466#1",
"text": "การรื้อถอนเป็นกระบวนการทางการบริหารและกระบวนการทางเทคนิค ซึ่งจะรวมถึงการทำความสะอาดวัสดุกัมมันตรังสีและการรื้อถอนโรงงานอย่างต่อเนื่อง เมื่อสิ่งอำนวยความสะดวกเช่นอาคารสถานที่ทั้งหมดถูกรื้อถอนไปจนหมด อันตรายจากรังสีไม่ควรจะยังมีอยู่ ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนจะมีการกระจายตลอดช่วงชีวิตของสิ่งอำนวยความสะดวกนั้นและถูกบรรจุไว้ในงบประมาณเพื่อการรื้อถอน หลังจากที่สิ่งอำนวยความสะดวกได้รับการรื้อถอนอย่างสมบูรณ์แล้ว มันจะหลุดออกจากการควบคุมของผู้กำกับดูแลกฎระเบียบ และผู้รับใบอนุญาตของโรงงานก็จะไม่ต้องรับผิดชอบต่อความปลอดภัยเกี่ยวกับนิวเคลียร์ของตนอีกต่อไป การรื้อถอนจะต้องดำเนินการตลอดทุกขั้นตอนจนถึงจุดที่เป็นสถานะ \"greenfield\"",
"title": "การรื้อถอนนิวเคลียร์"
},
{
"docid": "221551#1",
"text": "โรงอาบน้ำมีหลากหลายทั้งเรื่องขนาดและสิ่งอำนวยความสะดวก ตั้งแต่เล็ก ๆ จุคน 10 หรือ 20 คนต่อห้อง และมีล็อกเกอร์กะทัดรัดถึงซาวน่าหลายห้องที่มีห้องหลายแบบและหลายขนาด และมีห้องอบไอน้ำหลายห้อง มีอ่างจากุซซี และในบางครั้งมีสระว่ายน้ำ —แต่เกือบทั้งหมดมีห้องอบไอน้ำอย่างน้อยหนึ่งห้อง (หรือซาวน่าเปียก) เช่นเดียวกับฝักบัวอาบน้ำ ล็อกเกอร์ และห้องส่วนตัวเล็ก ๆ แตกต่างจากซ่อง โรงอาบน้ำหลายแห่งเป็นระบบสมาชิกเท่านั้น ลูกค้าจะจ่ายเฉพาะค่าใช้สิ่งอำนวยสะดวก และกิจกรรมทางเพศ (ถ้ามี) การบริการไม่ได้บริการโดยพนักงาน แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างลูกค้าด้วยกันเอง ไม่มีการจ่ายเงินให้กัน มีโรงอาบน้ำเกย์หลายแห่งห้ามการขายตัว",
"title": "โรงอาบน้ำเกย์"
},
{
"docid": "205696#19",
"text": "ปัจจุบันนี้ ESPN กำลังสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ในการผลิตรายการ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมือง Los Angeles สิ่งอำนวยความสะดวกนี้เป็นส่วนหนึ่งของ L.A. Live complex ที่อยู่ตรงข้าม Staples Center สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งห้าชั้นนี้จะจัดโซนร้านอาหารไว้ที่สองชั้นแรก และจะมีสตูดิโอสองห้องที่ใช้ในการผลิตโทรทัศน์ด้วยห้องควบคุมระบบดิจิทัลที่อยู่ชั้นบน โดยที่ทำการเปิดตัวไปแล้ว ในปี พ.ศ. 2552",
"title": "อีเอสพีเอ็น"
},
{
"docid": "618657#100",
"text": "เครื่องยกผู้ป่วยเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ช่วยให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลและผู้ที่ได้รับการดูแลสุขภาพที่บ้านที่จะทำการย้ายระหว่างเตียงและเก้าอี้ผู้ป่วยหรือ สถานที่พักผ่อนอื่นๆที่คล้ายกัน, โดยใช้พลังงานไฮดรอลิค. เครื่องยกผู้ป่วย, จะถูกใช้สำหรับผู้ป่วยที่จำกัดการเคลื่อนไหว, เป็นสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1955 โดย โรนัลด์ อาร์ สแตรทตัน ในสิ่งที่เขาเรียกว่า \"เครนบนพื้นที่มีขาที่ปรับได้\".[91]",
"title": "ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91)"
},
{
"docid": "759327#2",
"text": "ภายใต้ความตกลงนี้ ประเทศอิหร่านตกลงกำจัดคลังยูเรเนียมเสริมสมรรถนะปานกลาง ตัดคลังยูเรเนียมเสริมสมรรถนะต่ำ 98% และลดเครื่องหมุนเหวี่ยงแก๊สลงประมาณสองในสามเป็นเวลา 13 ปี อีก 15 ปีถัดจากนี้ อิหร่านจะเสริมสมรรถนะยูเรเนียมได้ไม่เกิน 3.67% ประเทศอิหร่านยังตกลงไม่สร้างเครื่องปฏิกรณ์น้ำหนักใหม่เป็นระยะเวลาเดียวกัน กิจกรรมเสริมสมรรถนะยูเรเนียมใด ๆจะถูกจำกัดอยู่ที่สิ่งอำนวยความสะดวกเดี่ยวที่ใช้เครื่องปั่นเหวี่ยงรุ่นแรกเป็นเวลา 10 ปี สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นจะถูกแปลงเพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ขยาย เพื่อเฝ้าสังเกตและพิสูจน์ยืนยันการปฏิบัติตามของอิหร่านกับความตกลงนี้ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) จะสามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกนิวเคลียร์ทั้งหมดของอิหร่านสม่ำเสมอ ความตกลงนี้กำหนดว่าเพื่อแลกเปลี่ยนกับการปฏิบัติตามข้อผูกมัดของตนอย่างพิสูจน์ยืนยันได้ ประเทศอิหร่านจะได้รับการช่วยเหลือจากสหรัฐ สหภาพยุโรปและวิธีการบังคับที่เกี่ยวข้องกับนิวเคลียร์ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ",
"title": "แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม"
},
{
"docid": "398568#27",
"text": "สิทธิในที่อยู่อาศัยที่เพียงพอ หรือที่รู้จักกันว่า สิทธิในที่อยู่อาศัย เป็น \"สิทธิที่จะอาศัยอยู่ที่ใดที่หนึ่งด้วยความปลอดภัย สันติและมีศักดิ์ศรี\" สิทธินี้กำหนด \"ความเป็นส่วนตัวอย่างพอเพียง ที่ว่างอย่างพอเพียง ความปลอดภัยอย่างพอเพียง แสงสว่างและการระบายอากาศอย่างพอเพียง สาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างพอเพียง และตำแหน่งที่พอเหมาะเมื่อเทียบกับที่ทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน ซึ่งทั้งหมดนี้ ด้วยมูลค่าที่สมเหตุสมผล\" ภาคีต้องประกันความปลอดภัยในสิทธิถือครอง และการเข้าถึงนั้นปราศจากการเลือกปฏิบัติ และดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อกำจัดภาวะไร้ที่อยู่อาศัย การรอนสิทธิที่ถูกบังคับ ซึ่งนิยามว่าเป็น \"การเพิกถอนอย่างถาวรหรือชั่วคราวซึ่งขัดต่อเจตจำนงของปัจเจกบุคคล ครอบครัว และ/หรือ ชุมชน จากบ้าน และ/หรือ ที่ดินซึ่งพวกเขาถือครอง โดยปราศจากการจัดไว้ชั่วคราว และการเข้าถึง รูปแบบการคุ้มครองทางกฎหมายหรืออื่น ๆ อย่างเหมาะสม\" เป็นการละเมิดกติกาฯ อย่างมีมูล",
"title": "กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม"
},
{
"docid": "6388#106",
"text": "ราคาของพลังงานที่ใส่เข้าไปและค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมของทุกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังคงต่อเนื่องเป็นเวลานานหลังจากสิ่งอำนวยความสะดวกเสร็จสิ้นการผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีประโยชน์สุดท้าย. ทั้งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นยูเรเนียมสมรรถนะสูงจะต้องถูกปลดประจำการ, กลับคืนสถานที่และชิ้นส่วนของมันให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยมากพอที่จะถูกมอบหมายให้ไปใช้ในงานอื่นๆ. หลังจากระยะเวลาการระบายความร้อนออกที่อาจนานเป็นศตวรรษ, เครื่องปฏิกรณ์จะต้องถูกรื้อถอนและตัดเป็นชิ้นเล็กๆเพื่อที่จะถูกบรรจุในภาชนะบรรจุเพื่อการกำจัดขั้นสุดท้าย. กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มีราคาแพงมาก, ใช้เวลานาน, อันตรายสำหรับคนงาน, เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ, และนำเสนอโอกาสใหม่สำหรับความผิดพลาดของมนุษย์, อุบัติเหตุหรือการก่อวินาศกรรม[186].",
"title": "พลังงานนิวเคลียร์"
},
{
"docid": "285482#0",
"text": "สถานพักตากอากาศ หรือ รีสอร์ต () เป็นสถานที่ที่ใช้พักผ่อนหรือนันทนาการ ผู้พักใช้ในวันหยุดหรือวันพักผ่อน รีสอร์ตเป็นสถานที่หรืออาจเป็นเมืองหรือในบางครั้งอาจะเป็นสิ่งก่อสร้างการค้าที่บริหารโดยบริษัทเดียว เป็นสถานที่ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันสำหรับผู้มาพัก ทั้งอาหาร ที่พัก กีฬา สิ่งบันเทิงและศูนย์การค้า",
"title": "สถานพักตากอากาศ"
},
{
"docid": "627772#0",
"text": "อาคารสาทรสแควร์ () เป็นอาคารสำนักงานสูง 41 ชั้น ตั้งอยู่หัวมุมแยกสาทร-นราธิวาส (แยกถนนสาทรเหนือ ตัดถนนนราธิวาสราชนครินทร์) เขตบางรัก ใกล้กับสถานีช่องนนทรี พื้นที่ 75,000 ตารางเมตร แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนร้านค้าและสิ่งอำนวยความสะดวกชั้น 1 ถึง 3 ส่วนสำนักงานชั้น 4 ถึง 38 และส่วนบนสุดชั้น 39 ถึง 40 เป็นร้านอาหารเชลาวี (CÈ LA VI Bangkok) ตัวอาคารแวดล้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ โรงแรมดับเบิ้ลยู กรุงเทพ (โรงแรม 5 ดาว) และบ้านสาทร (หลวงสาทรราชายุตก์ (ยม พิศลยบุตร)) ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งสถานเอกอัคราชทูตสหพันธรัฐรัสเซียประจำประเทศไทย นอกจากนี้ อาคารสาทรสแควร์ ยังได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์พลังงาน รางวัลลีด (Leadership in Energy and Environmental Design : LEED) ของสภาอาคารเขียวสหรัฐอเมริกา (U.S. Green Building Council : USGBC) ระดับทองคำ (GOLD) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดแห่งเดียวของอาคารสำนักงานบนถนนสาทร อาคารยังโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมที่สวยงามเป็นสัญลักษณ์ให้กับแยกสาทร\nนอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูตเบลเยียมประจำประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ชั้น 16 ของอาคารอีกด้วย",
"title": "สาทรสแควร์"
}
] |
3366 | สหราชอาณาจักร หมายถึงประเทศอังกฤษใช่หรือไม่ ? | [
{
"docid": "2083#1",
"text": "รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง",
"title": "สหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "2083#0",
"text": "สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ () หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร () และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก",
"title": "สหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "2083#4",
"text": "พื้นที่ทั้งหมดของสหราชอาณาจักรจะอยู่ที่ประมาณ 243,610 ตารางกิโลเมตร (94,060 ตารางไมล์) ประเทศครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่เกาะอังกฤษ. หมู่เกาะอังกฤษ รวมถึง เกาะบริเตนใหญ่, เกาะไอร์แลนด์ และหมู่เกาะขนาดเล็กรอบๆ ประเทศอยู่ระหว่างตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเหนือ ที่มีชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้อยู่ภายใน 22 ไมล์ (35 กิโลเมตร) จากชายฝั่งทางตอนเหนือของ ฝรั่งเศส, ซึ่งจะถูกคั่นด้วยช่องแคบอังกฤษ. ในปี 1993, 10% ของสหราชอาณาจักรเป็นป่า, 46% เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และ 25% เพื่อการเกษตร. 'เดอะรอยัลกรีนิช หอดูดาวกรุงลอนดอน' กำหนดจุด เส้นแวงแรกที่พาดผ่านตำบล Greenwich ของอังกฤษ ().",
"title": "สหราชอาณาจักร"
}
] | [
{
"docid": "700037#0",
"text": "รายชื่อสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสหราชอาณาจักร () สัญลักษณ์ของสหราชอาณาจักรส่วนใหญ่ คือ สัญลักษณ์ของประเทศอังกฤษ ในทางทฤษฎีรายชื่อนี้อาจถูกเรียกว่า สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของอังกฤษ อย่างไรก็ตามไม่เพียงประเทศอังกฤษเท่า สัญลักษณ์ของสกอตแลนด์ ไอร์แลนด์เหนือ และเวลส์ ยังถูกเผยแพร่ไปยังส่วนอื่นๆ ของสหราชอาณาจักร หรือถูกก่อตั้ง ถูกประดิษฐ์หลังจากพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 หรือก่อนการรวมสหภาพ (ดังนั้นรวมสโตนเฮนจ์ด้วย)",
"title": "รายชื่อสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "272370#0",
"text": "รัฐร่วมประมุข หรือ การรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักร () เป็นการรวมรัฐอิสระมากกว่าสองรัฐขึ้นไปภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน ในขณะที่พรมแดน, กฎหมาย และ นโยบายของอาณาจักรในกลุ่มยังคงเป็นตัวของตัวเอง สหราชไม่ใช่ “สหพันธรัฐ” (federation) ที่เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นหลายรัฐที่รวมเข้ามาเป็นรัฐเดียวกันและมีพรมแดน, กฎหมาย และ นโยบายส่วนใหญ่ร่วมกัน หรือ “สหราชวงศ์” (dynastic union) ซึ่งหมายถึงการรวมภายใต้ราชวงศ์เดียวกัน แต่กระนั้นความหมายระหว่าง “สหราช” และ “สหพันธรัฐ” ก็มีความเกี่ยวพันกัน และ “สหราช” มักจะวิวัฒนาการมาเป็น “สหพันธรัฐ”",
"title": "รัฐร่วมประมุข"
},
{
"docid": "2287#2",
"text": "ราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งหลังจาก พ.ศ. 1827 รวมเวลส์เข้าไปด้วยนั้น เป็นรัฐอธิปไตยกระทั่งวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 เมื่อพระราชบัญญัติสหภาพมีผลใช้บังคับตามเงื่อนไขซึ่งตกลงกันในสนธิสัญญาสหภาพเมื่อปีก่อน ส่งผลให้มีการรวมทางการเมืองกับราชอาณาจักรสกอตแลนด์ และสถาปนาราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ พ.ศ. 2344 บริเตนใหญ่รวมกับราชอาณาจักรไอร์แลนด์ ผ่านพระราชบัญญัติสหภาพอีกฉบับหนึ่งกลายเป็นสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ พ.ศ. 2465 รัฐอิสระไอร์แลนด์ได้รับการสถาปนาเป็นอาณาจักรแยกต่างหาก แต่ Royal and Parliamentary Titles Act 1927 รวมไอร์แลนด์เหนือเข้ากับสหราชอาณาจักรอีกครั้ง และสถาปนาสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือปัจจุบันอย่างเป็นทางการ",
"title": "ประเทศอังกฤษ"
},
{
"docid": "2083#53",
"text": "องค์กรของรัฐบาลท้องถิ่นในประเทศอังกฤษมีความซับซ้อน ที่มีการกระจายของหน้าที่ที่แตกต่างกันไปตามการเตรียมการในท้องถิ่น การออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลท้องถิ่นในประเทศอังกฤษ เป็นความรับผิดชอบของรัฐสภาสหราชอาณาจักรและรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักร เนื่องจากประเทศอังกฤษไม่มีรัฐสภาที่กระจายอำนาจออกไป เขตการปกครองย่อยบนชั้น upper-tier ของอังกฤษ เป็นพื้นที่สำนักงานรัฐบาล หรือภูมิภาคสำนักงานรัฐบาลสหภาพยุโรป 9 แห่ง. หนึ่งในภูมิภาค, มหานครลอนดอน, มีสภาและนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงตั้งแต่ปี 2000 ต่อมาจากการสนับสนุนที่เป็นที่นิยมสำหรับข้อเสนอในการลงประชามติ. มันเป็นเจตนาที่ภูมิภาคอื่นๆก็จะได้รับสภาระดับภูมิภาคที่มาจากการเลือกตั้งของตัวเอง, แต่สภาที่ถูกนำเสนอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับการปฏิเสธโดยการลงประชามติในปี 2004. ด้านล่างของ tier ระดับภูมิภาค, บางส่วนของอังกฤษมีเทศบาลเมืองและเทศบาลเขต และบางส่วนอื่นๆมีเจ้าหน้าที่ที่เป็นหนึ่งเดียว; ในขณะที่ลอนดอนประกอบด้วย 32 เมืองเล็กของ ลอนดอนและกรุงลอนดอน. ที่ปรึกษาจะมาจากการเลือกตั้งโดยระบบ first-past-the-post ในการเลือกแบบสมาชิกเดียว หรือโดยระบบ หลายสมาชิก ในการเลือกแบบหลายสมาชิก.",
"title": "สหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "236703#4",
"text": "ในจักรวรรดิอังกฤษ \"รัฐบาลในสมเด็จฯ\" มีความหมายเพียงรัฐบาลจักรวรรดิซึ่งตั้งอยู่ในกรุงลอนดอนเท่านั้น เนื่องจากพัฒนาการของเครือจักรภพแห่งชาติ ที่ปกครองตนเอง เริ่มมีอำนาจและสถานะเทียบเท่าสหราชอาณาจักร และจากช่วงทศวรรษที่ 1920s - 1930 ก็เริ่มมีการใช้คำว่า \"รัฐบาลในสมเด็จฯประจำ...\" () ในดินแดนอาณานิคมปกครองตนเอง สำหรับรัฐบาลอาณานิคม รัฐ หรือมณฑลใช้วลีที่เล็กกว่าคือ \"รัฐบาลแห่ง...\" ()อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ชาติในเครือจักรภพแห่งชาติใช้เพียง\"รัฐบาลแห่ง...\" และโดยมากมักจะหมายถึงรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรเท่านั้นที่ยังคงใช้ชื่อนี้อยู่",
"title": "รัฐบาลสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "901801#1",
"text": "ภายในสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์เหนือ สกอตแลนด์ และเวลส์ ได้รับเอกราชในขั้นตอนการกระจายอำนาจทางนิติบัญญัติ จนมีสถานะเป็นรัฐอธิปไตยแบบเอกเทศ ทั้งนี้รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรและรัฐบาลอังกฤษยังมีอำนาจจัดการกับกิจการที่สงวนไว้ทั้งหมดสำหรับไอร์แลนด์เหนือ กับสกอตแลนด์ และในกิจการที่ไม่ได้ถ่ายโอนทั้งหมดสำหรับเวลส์ แต่ไม่ใช่กิจการทั่วไปซึ่งได้ถ่ายโอนอำนาจไปยังรัฐสภาไอร์แลนด์เหนือ รัฐสภาสกอตแลนด์และสมัชชาแห่งชาติเวลส์ นอกจากนี้การโอนอำนาจปกครองตนเองให้ไอร์แลนด์เหนือ เป็นเงื่อนไขในการร่วมมือระหว่างฝ่ายบริหารไอแลนด์เหนือและรัฐบาลไอร์แลนด์ และรัฐบาลอังกฤษให้คำปรึกษากับรัฐบาลไอร์แลนด์เพื่อบรรลุข้อตกลงในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องการเงิน ไอร์แลนด์เหนือ อังกฤษประกอบไปด้วยประชากรส่วนใหญ่ และพื้นที่ของสหราชอาณาจักรยังคงเป็นความรับผิดชอบของสหราชอาณาจักรรัฐสภารวมศูนย์ในลอนดอน",
"title": "ประเทศในสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "338356#93",
"text": "ในช่องโทรทัศน์ดิจิตอลของอังกฤษบางแห่งยังสามารถรับชมช่องโทรทัศน์ของสหรัฐได้โดยตรงเช่น \"ฟ็อกซ์นิวส์\" รวมไปถึงช่องโทรทัศน์สำหรับผู้ชมชาวอังกฤษอย่าง \"ซีเอ็นบีซียุโรป\", \"ซีเอ็นเอ็นยุโรป\", \"อีเอสพีเอ็นคลาสสิก (สหราชอาณาจักร)\", \"คอมเมดีเซ็นทรัล (สหราชอาณาจักร)\" และ \"เอฟเอ็กซ์ (สหราชอาณาจักร)\" ส่วนซูเปอร์โบวล์รายการแข่งขันชิงชนะเลิศอเมริกันฟุตบอลของเอ็นเอฟแอลซึ่งถูกจัดขึ้นทุกเดือนกุมภาพันธ์ของปี ก็ถูกออกอากาศในสหราชอาณาจักรมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525",
"title": "ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ"
},
{
"docid": "901801#2",
"text": "หมู่เกาะช่องแคบ และเกาะไอล์ออฟแมน เป็นอาณานิคมของรัฐบาลอังกฤษ (Crown) และไม่ใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร ในทำนองเดียวกับที่ดินแดนโพ้นทะเลของอังกฤษส่วนที่เหลือของจักรวรรดิอังกฤษไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร",
"title": "ประเทศในสหราชอาณาจักร"
}
] |
1224 | โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แห่งแรกของโลกคือที่ไหน? | [
{
"docid": "20739#6",
"text": "ไฟฟ้าถูกสร้างขึ้นโดยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เป็นครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายน 1948 ด้วย'เครื่องปฏิกรณ์แกรไฟท์ X-10' ใน Oak Ridge รัฐเทนเนสซี ประเทศสหรัฐอเมริกาและเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เครื่องแรกที่จะให้กำลังไฟกับหลอดไฟดวงหนึ่ง[4][5][6]. การทดลองครั้งที่สองมีขนาดใหญ่กว่าเกิดขึ้นในวันที่ 20 ธันวาคม 1951 ที่สถานีทดลอง EBR-I ใกล้ Arco, รัฐไอดาโฮสหรัฐอเมริกา และเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 1954 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของโลกที่ผลิตไฟฟ้าสำหรับกริด (ไฟฟ้า) เริ่มดำเนินการที่เมือง Obninsk สหภาพโซเวียต[7]. สถานีไฟฟ้าเต็มรูปแบบแห่งแรกของโลกคือที่คาลเดอฮอลล์ในอังกฤษเปิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 1956[8].",
"title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์"
}
] | [
{
"docid": "6388#38",
"text": "ในปี 2011 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ผลิต 10% ของกระแสไฟฟ้าของโลก[84] ในปี 2007, IAEA รายงานว่า มีเครื่องปฏิกรณ์พลังงานนิวเคลียร์ 439 เครื่องกำลังปฏิบัติงานในโลก[85] ใน 31 ประเทศ[5]. แต่อย่างไรก็ตาม หลายประเทศในขณะนี้ได้หยุดการดำเนินงานอันเนื่องมาจากภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่ฟูกูชิม่า ในขณะที่พวกเขามีการประเมินในด้านความปลอดภัย. ในปี 2011 การผลิตพลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลกลดลง 4.3 % เป็นการลดลง ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์, ตามหลังการลดลงอย่างรวดเร็วในญี่ปุ่น(-44.3%) และ เยอรมนี (-23.2%)[86].",
"title": "พลังงานนิวเคลียร์"
},
{
"docid": "726765#5",
"text": "ความคิดเห็นอิสระไม่ค่อยแสดงให้เห็นว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีความจำเป็นต้องมีราคาแพงมาก แต่กลุ่มต่อต้านนิวเคลียร์ทำการผลิตรายงานบ่อยที่บอกว่าค่าใช้จ่ายของการใช้พลังงานนิวเคลียร์จะสูงอย่างจำกัด แม้จะมีความจริงที่ว่าค่าใช้จ่ายในการผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์ในฝรั่งเศสจะเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของที่ใช้ในประเทศเยอรมนีและเดนมาร์ก ในออนตาริโอ ไฟฟ้าจากพลังน้ำ () และจากนิวเคลียร์มีค่าใช้จ่ายทิ้งห่างในการผลิตที่ถูกที่สุดที่ 4.3c/kWh และ 5.9c/kWh ตามลำดับในขณะที่ค่าใช้จ่ายพลังงานแสงอาทิตย์มีราคาสูงถึง 50.4c/kWh ค่าใช้จ่ายของพลังงานนิวเคลียร์ยังต้องมีการเปรียบเทียบกับของทางเลือก ถ้ามันพิสูจน์ว่ามันเป็นไปได้ที่จะย้ายไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอน ชุมชนจะต้องตอบสนองต่อค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแหล่งพลังงาน หลายประเทศรวมทั้งรัสเซีย, เกาหลีใต้, อินเดีย, และจีนได้ทำอย่างต่อเนื่องที่จะไล่ตามการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ทั่วโลก ณ เดือนมกราคมปี 2015 มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 71 โรงอยู่ระหว่างการก่อสร้างใน 15 ประเทศ อ้างอิงตาม IAEA จีนมี 25 เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ระหว่างการก่อสร้างและมีแผนที่จะสร้างมากขึ้น อย่างไรก็ตาม อ้างอิงถึงหน่วยวิจัยของรัฐบาล จีนต้องไม่สร้าง \"เครื่องปฏิกรณ์พลังงานนิวเคลียร์มากเกินไปอย่างเร็วเกินไป\" เพื่อหลีกเลี่ยงการขาดแคลนเชื้อเพลิง อีกทั้งอุปกรณ์และคนงานโรงงานที่มีคุณภาพ",
"title": "เศรษฐศาสตร์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่"
},
{
"docid": "109379#1",
"text": "เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (English: Nuclear Reactor) เป็นอุปกรณ์ที่ก่อกำเนิดและควบคุมปฏิกิริยานิวเคลียร์ลูกโซ่ (English: Nuclear chain reaction) อย่างยั่งยืน มันถูกนำมาใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้าและในการขับเคลื่อนเรือ ความร้อนจากนิวเคลียร์ฟิชชั่นถูกส่งไปให้กับของเหลว (น้ำหรือก๊าซ) ให้เป็นตัวทำงาน (English: working fluid) ของเหลวความร้อนสูงจะไหลไปหมุนกังหันเพื่อหมุนใบพัดเรือหรือหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ไอน้ำที่สร้างโดยนิวเคลียร์ในหลักการสามารถนำมาใช้เพื่อให้ความร้อนในกระบวนการอุตสาหกรรมหรือสำหรับให้ความร้อนชุมชน (English: district heating) เครื่องปฏิกรณ์บางเครื่องใช้ในการผลิตไอโซโทปสำหรับการใช้งานทางการแพทย์และอุตสาหกรรมหรือผลิตพลูโตเนียมสำหรับทำอาวุธ บางเครื่องก็ใช้สำหรับงานวิจัยเท่านั้น ทุกวันนี้มีประมาณ 450 เครื่องปฏิกรณ์พลังงานนิวเคลียร์ที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าในประมาณ 30 ประเทศทั่วโลก[1]",
"title": "เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์"
},
{
"docid": "20739#2",
"text": "ข้อมูลของ IAEA ณ วันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2014 มีเครื่องปฏิกรณ์ทำงานอยู่ 435 เครื่อง[2]ใน 31 ประเทศทั่วโลก[3] รวมแล้วผลิตกำลังไฟฟ้าเป็น 1 ใน 6 ส่วนของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดในโลก โดยสหรัฐอเมริกามีจำนวนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มากที่สุด ตามมาด้วย ฝรั่งเศส",
"title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์"
},
{
"docid": "20739#63",
"text": "ฝ่ายเสนอยืนยันว่าพลังงานนิวเคลียร์เป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และสามารถเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานถ้าการใช้ของมันสามารถทดแทน การพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงได้[63]. ฝ่ายเสนอให้แนวคิดเพิ่มเติมว่าพลังงานนิวเคลียร์แทบจะไม่ได้ผลิตมลพิษทางอากาศ, ในทางตรงกันข้ามกับทางเลือกที่ใช้งานอยู่ของเชื้อเพลิงฟอสซิลชั้นนำ. ฝ่ายเสนอยังเชื่อว่าพลังงานนิวเคลียร์เป็นแนงทางที่เป็นไปได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้นเพื่อที่จะบรรลุความเป็นอิสระด้านพลังงานสำหรับประเทศตะวันตกส่วนใหญ่. พวกเขาเน้นว่ามีความเสี่ยงทั้งหลายในการจัดเก็บขยะเป็นเรื่องเล็กน้อยและสามารถลดความเสี่ยงลงต่อไปได้อีกโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในเครื่องปฏิกรณ์รุ่นใหม่และความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในโลกตะวันตกได้รับการบันทึกว่าได้ผลเป็นเลิศเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ ที่สำคัญ[64].",
"title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์"
},
{
"docid": "368028#56",
"text": "หน่วยที่ 1 มีใบอนุญาตถูกแขวนชั่วคราวหลังจากดังต่อไปนี้เหตุการณ์เกิดขึ้นที่หน่วยที่ 2 แม้ว่าประชาชนในสามมณฑลรอบโรงไฟฟ้าได้โหวตด้วยเสียง 3:1 ให้ปลดระวางหน่วยที่ 1 อย่างถาวรก็ตาม มันก็ยังได้รับอนุญาตให้ดำเนินการต่อในปี 1985 บรรษัทสาธารณูปโภคทั่วไปที่เป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าได้ก่อตั้งบรรษัทสาธารณูปโภคนิวเคลียร์ทั่วไปคอร์ปอเรชั่น (GPUN) ให้เป็นบริษัทย่อยแห่งใหม่ที่จะเป็นเจ้าของและดำเนินการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของบริษัท รวมทั้งที่เกาะทรีไมล์ โรงไฟฟ้าเคยถูกดำเนินการก่อนหน้านี้โดยบริษัทเมโทรโพลิตันเอดิสัน (Met-ED) ซึ่งเป็นหนึ่งใน บริษัทที่ดำเนินงานยูทิลิตี้ในภูมิภาคของ GPU ในปี 1996 บริษัทสาธารณูปโภคทั่วไปเปลี่ยนชื่อให้สั้นลงเป็น GPU อินค์ เกาาะทรีไมล์หน่วยที่ 1 ถูกขายให้กับบริษัทพลังงาน AmerGen ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัทไฟฟ้าฟิลาเดลเฟีย (PECO) และบริษัทพลังงานอังกฤษในปี 1998 ในปี 2000 PECO ได้ควบรวมกับ Unicom คอร์ปอเรชั่น ตั้งขึ้นเป็นบริษัท Exelon คอร์ปอเรชั่น ซึ่งซี้อกรรมสิทธิ์มาจากหุ้นของบริษัทพลังงานอังกฤษของ AmerGen ในปี 2003 วันนี้ AmerGen LLC เป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้นเต็มของ Exelon Generation และเป็นเจ้าของ TMI หน่วยที่ 1 และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Oyster Creek และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์คลินตัน ทั้งสามหน่วยนี้รวมกับหน่วยนิวเคลียร์อื่น ๆ ของ Exelon ถูกดำเนินการโดย Exelon นิวเคลียร์อินค์ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ Exelon ",
"title": "อุบัติเหตุนิวเคลียร์เกาะทรีไมล์"
},
{
"docid": "20739#87",
"text": "การขยายตัวของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 โรงในสหรัฐ, Plant Vogtle และ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ V. C. Summer, ที่ตั้งอยู่ในรัฐจอร์เจียและเซาท์แคโรไลนาตามลำดับ, มีกำหนดจะแล้วเสร็จในระหว่างปี 2016 และ 2019. ใหม่เครื่องปฏิกรณ์ 2 เครื่องใหม่ของ Plant Vogtle และเครื่องปฏิกรณ์สองเครื่องใหม่ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Virgil C. Summer, เป็นตัวแทนโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่เกิดอุบัติเหตุนิวเคลียร์ที่เกาะทรีไมล์ในปี 1979.",
"title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์"
},
{
"docid": "20739#88",
"text": "คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้บรรจุในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า โดยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ กำหนดให้มีโรงไฟฟ้าในปี พ.ศ. 2563-2564 รวมกำลังผลิต 4,000 เมกะวัตต์ หรือจะเท่ากับปริมาณโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 โรงนั้น ระยะเวลาการก่อสร้างต่อโรงอยู่ที่ประมาณ 6-7 ปี [98]",
"title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์"
},
{
"docid": "20739#68",
"text": "'อนุสัญญากรุงเวียนนาเรื่องการรับผิดทางแพ่งสำหรับความเสียหาย'ถูกนำมาใช้ในกรอบระหว่างประเทศสำหรับความรับผิดชอบด้านนิวเคลียร์[79]. อย่างไรก็ตาม รัฐต่างๆที่มีส่วนใหญ่ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของโลก, รวมทั้งสหรัฐอเมริกา, รัสเซีย, จีน, และญี่ปุ่นจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอนุสัญญาการรับผิดด้านนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ.",
"title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์"
},
{
"docid": "6388#124",
"text": "ในเดือนมีนาคม 2011 เหตุฉุกเฉินนิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิม่า I และการปิดสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆในโรงงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นทำให้เกิดคำถามในหมู่นักวิจารณ์บางคนเกี่ยวกับอนาคตของการฟื้นฟู[226][227][228][229][230]. Platts ได้รายงานว่า \"วิกฤตที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima ของญี่ปุ่นได้ย้ำเตือนประเทศชั้นนำต่างๆที่ใช้พลังงานให้ตรวจสอบความปลอดภัยของเครื่องปฏิกรณ์ที่มีอยู่ของพวกเขาและตั้งข้อสงสัยกับความเร็วและขนาดของแผนการขยายทั่วโลก\"[231]. ในปี 2011 ซีเมนส์เดินออกจากภาคพลังงานนิวเคลียร์ตามหลังภัยพิบัติที่ Fukushima และการเปลี่ยนแปลงที่สืบเนื่องของนโยบายพลังงานของเยอรมันและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานของรัฐบาลเยอรมันที่วางแผนจะใช้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน[232]. จีน, เยอรมัน, สวิตเซอร์แลนด์, อิสราเอล, มาเลเซีย, ไทย, สหราชอาณาจักร, อิตาลี[233] และฟิลิปปินส์ ได้ทบทวนโครงการนิวเคลียร์ของพวกเขา. อินโดนีเซียและเวียดนามยังคงวางแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์[234][235][236][237]. ประเทศต่างๆเช่นออสเตรเลีย, ออสเตรีย, เดนมาร์ก, กรีซ, ไอร์แลนด์, ลัตเวีย, Liechtenstein, ลักเซมเบิร์ก, โปรตุเกส, อิสราเอล, มาเลเซีย, นิวซีแลนด์ และนอร์เวย์ยังคงคัดค้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์. หลังการเกิดอุบัติเหตุนิวเคลียร์ฟูกูชิม่า I, สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศได้ลดลงครึ่งหนึ่งของประมาณการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์ที่สร้างในปี 2035[238].",
"title": "พลังงานนิวเคลียร์"
},
{
"docid": "6388#4",
"text": "ปัจจุบัน ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน ขององค์ประกอบใน actinide series[2] ของตารางธาตุได้ผลิตพลังงานนิวเคลียร์ส่วนใหญ่ในการให้บริการโดยตรงแก่มนุษย์, กับกระบวนการสลายตัวของ นิวเคลียร์ส่วนใหญ่ในรูปแบบของพลังงานความร้อนใต้พิภพและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเทอร์โม ไอโซโทป, สำหรับการนำไปใช้เฉพาะอย่างจะใช้ประโยชน์จากปฏิกิริยาที่เหลือ. โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ฟิชชัน), ไม่รวมการใช้งานในกองทัพเรือ, ให้พลังงานประมาณ 5.7% ของพลังงาน ของโลกและ 13% ของกระแสไฟฟ้าของโลกในปี 2012.[3] ในปี 2013, หน่วยงานพลังงานปรมาณูนานาชาติ (English: International Atomic Energy Agency (IAEA)) รายงานว่ามี 437 เครื่องปฏิกรณ์พลังงานนิวเคลียร์กำลังใช้งานอยู่[4] ใน 31 ประเทศ[5] แม้ว่าจะมีบางเครื่องปฏิกรณ์ที่ไม่ได้ทำการผลิตไฟฟ้าอีกแล้ว[6]. นอกจากนี้ยังมีเรือประมาณ 140 ลำที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการขับเคลื่อนโดยเครื่องปฏิกรณ์ราว 180 เครื่อง.[7][8][9]. ขณะที่ในปี 2013, การได้รับพลังงานสุทธิจากเครื่องปฏิกรณ์ฟิวชั่นที่ยั่งยืน, ไม่รวมแหล่งพลังงานฟิวชั่นตามธรรมชาติเช่นจากดวงอาทิตย์, ยังคงเป็นพื้นที่ต่อเนื่องของการวิจัยด้านฟิสิกส์และวิศวกรรมระหว่างประเทศ. กว่า 60 ปีหลังจากความพยายามครั้งแรก, การผลิตพลังงานฟิวชั่นในเชิงพาณิชย์ยังคงไม่น่าจะเกิดขึ้นก่อนปี 2050[10].",
"title": "พลังงานนิวเคลียร์"
},
{
"docid": "20739#85",
"text": "รัสเซียได้เริ่มการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของโลกที่ลอยน้ำได้. เรือมูลค่า £ 100 ล้านชื่อ Lomonosov, เป็นโรงงานแรกในเจ็ดโรงงานที่ทางการมอสโกกล่าวว่า มันจะนำแหล่งทรัพยากรพลังงานที่สำคัญไปยังภูมิภาคของรัสเซียที่อยู่ห่างไกล[96].",
"title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์"
},
{
"docid": "20739#26",
"text": "เศรษฐศาสตร์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่เป็นเรื่องความขัดแย้ง, และการลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์นั่งอยู่บนทางเลือกของแหล่งพลังงาน. โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มักจะมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูง, แต่ค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงโดยตรงต่ำ, กับค่าใช้จ่ายของการสกัดเชื้อเพลิง, กระบวนการ, การใช้งานและค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาเชื้อเพลิงใช้แล้ว. ดังนั้น การเปรียบเทียบกับวิธีการผลิตไฟฟ้าอื่นๆจะขึ้นอยู่กับสมมติฐานเกี่ยวกับระยะเวลาการก่อสร้างและการจัดหาเงินลงทุนสำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์. การประมาณการค่าใช้จ่ายจะต้องนำค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและการเก็บรักษากากนิวเคลียร์หรือค่าใช้จ่ายโรงงานรีไซเคิลเข้ามาคิดด้วยถ้าสร้างในสหรัฐอเมริกาเนื่องจาก'พระราชบัญญัติด้านราคา Anderson'. กับความคาดหวังว่าทั้งหมดของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว/\"กากนิวเคลียร์\"อาจมีศักยภาพในการนำกลับมาใช้ใหม่โดยใช้เครื่องปฏิกรณ์ในอนาคต,เครื่องปฏิกรณ์ generation IV, ที่กำลังออกแบบมาเพื่อปิดวัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ได้อย่างสมบูรณ์.",
"title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์"
},
{
"docid": "7953#5",
"text": "จากการศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตและราคาของกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์ของกองพลังปรมาณู ฝ่ายวิศวกรรมพลังความร้อน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยปรับตัวแปรต่างๆ ให้มีลักษณะเฉพาะเป็นของประเทศไทย โดยโรงไฟฟ้าต้นแบบทั้งถ่านหิน และนิวเคลียร์ มีขนาด 1,200 เมกกะวัตต์ พบว่า ต้นทุนการก่อสร้างของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะสูงกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินในขั้นต้น แต่ต้นทุนการใช้เชื้อเพลิงจะต่ำกว่ามากในช่วงของการผลิต ซึ่งมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต่ำกว่าและเมื่อเปรียบเทียบกับโรงไฟฟ้าชนิดอื่นแล้วจะพบว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีข้อได้เปรียบหลายประการ คือ ต้นทุนการผลิตไฟฟ้ามีราคาถูก ต้นทุนผลิตไฟฟ้ามีเสถียรภาพสูง เสริมความมั่นคงด้านการผลิตไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี และสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในปริมาณที่มากกว่า",
"title": "พลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทย"
},
{
"docid": "20739#0",
"text": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนแบบหนึ่งที่ใช้แหล่งพลังงานความร้อนจากเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไอน้ำแรงดันสูงจ่ายให้กับกังหันไอน้ำ กังหันไอน้ำจะไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าออกมา โดยเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้ในการผลิตพลังงานนิวเคลียร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบวิจัย (English: Research Reactor) ที่ใช้ประโยชน์จากนิวตรอนฟลักซ์ในการวิจัย และระบายความร้อนที่เกิดขึ้นออกสู่ชั้นบรรยากาศ และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลัง (English: Power Reactor) ที่ใช้พลังความร้อนที่เกิดขึ้นเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลัง มีขนาดใหญ่โตกว่าเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเป็นอย่างมาก",
"title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์"
},
{
"docid": "365546#0",
"text": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะแห่งที่สอง () เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ 1.5 ล้านตารางเมตร ในเมืองมาราฮะและโทมิโอกะในเขตฟูตาบะ จังหวัดฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ห่างจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่งไปทางใต้ 11.5 กิโลเมตร บริหารจัดการโดยบริษัทผลิตไฟฟ้าโตเกียว",
"title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่สอง"
},
{
"docid": "726765#29",
"text": "ดูเพิ่มเติม: ช่องโหว่ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่จะถูกโจมตีและการแพร่กระจายอาวุธเคมี\n \nรายงานปี 2011 ของ'สหภาพนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นห่วง'ระบุว่า \"ค่าใช้จ่ายในการป้องกันการแพร่กระจายนิวเคลียร์ () และการก่อการร้ายควรได้รับการยอมรับว่าเป็นผลกระทบภายนอกเชิงลบของการใช้พลังงานนิวเคลียร์ส่วนพลเรือน, ควรได้รับการประเมินอย่างละเอียดและควรได้รับการบูรณาการเข้ากับในการประเมินผลที่มีความจำเป็นทางเศรษฐกิจเนื่องจากการปล่อยมลพิษจนเกิดเป็นภาวะโลกร้อนได้มีการระบุมากขึ้นว่าเป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ของการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน\"",
"title": "เศรษฐศาสตร์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่"
},
{
"docid": "7953#4",
"text": "ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 - 2539) ได้มีการระบุไว้ในแผนพัฒนาพลังงานฯว่า \"…ให้มีการพิจารณาศึกษาความเหมาะสมในการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าทั้งทางเศรษฐศาสตร์ เทคโนโลยี และความปลอดภัย…\" ดังนั้น จังมีการพิจารณาที่จะนำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาใช้ในประเทศไทย โดยพิจารณาจากความจำเป็น 2 ประการ คือ\nดังนั้น จากเหตุผลที่กล่าวมา ประกอบกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำเป็นต้องใช้เวลาดำเนินการล่วงหน้าเป็นเวลานานประมาณ 12 ปี จึงจะสามารถก่อสร้างเสร็จเดินเครื่องจ่ายไฟฟ้าให้ทันความต้องการได้ ในปัจจุบันจึงได้มีการพิจารณาที่จะนำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาใช้ภายในประเทศเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง และเพื่อให้เกิดความมั่นใจและภาคภูมิใจยิ่งขึ้นว่า หากเลือกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาใช้ในการแก้ปัญหาด้านพลังงานของชาติจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง จึงควรที่จะได้พิจารณาถึงปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมด้วย",
"title": "พลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทย"
},
{
"docid": "6388#132",
"text": "ตามที่สมาคมนิวเคลียร์โลก, ทั่วโลกในช่วงปี 1980s เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ใหม่หนึ่งตัวเริ่มก่อสร้างขึ้นทุก 17 วันโดยเฉลี่ย, และในปี 2015 อัตรานี้อาจเพิ่มขึ้นเป็นหนึ่งต้วในทุกๆ 5 วัน[260]. เมื่อปี 2007 เครื่อง Watts Bar 1 ในเทนเนสซี, ซึ่งเริ่มออนไลน์ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ปี 1996, เป็นเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของสหรัฐในเชิงพาณิชย์ตัวสุดท้ายที่ออนไลน์. เรื่องนี้มักจะถูกยกมาเป็นหลักฐานของการรณรงค์ทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จสำหรับการใช้พลังงานนิวเคลียร์ที่หยุดทำการ[261]. การขาดแคลนไฟฟ้า, ราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เพิ่มขึ้น, ภาวะโลกร้อน, และการปล่อยโลหะหนักจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล, เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่นโรงงานที่ปลอดภัยอย่างพาสซีฟ, และความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศอาจต่ออายุความต้องการสำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์",
"title": "พลังงานนิวเคลียร์"
},
{
"docid": "7953#8",
"text": "สำหรับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมนั้น ดังได้กล่าวมาแล้ว ตั้งแต่ต้นว่า การใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ จะทำให้ปลอดภัยจากภาวะปฏิกิริยาเรือนกระจก ปลอดภัยจากภาวะฝนกรด ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในโลก ตลอดจนไม่ทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้นมากเหมือนอย่างการใช้เชื้อเพลิงอย่างอื่น นอกจากนี้ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังใช้พื้นที่ในการก่อสร้างน้อยกว่าและไม่ทำลายพื้นที่ป่าเขา เหมือนอย่างการสร้างเขื่อนสำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ",
"title": "พลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทย"
},
{
"docid": "6388#40",
"text": "การผลิตต่อปีของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยตั้งแต่ปี 2007, ลดลง 1.8% ในปี 2009 ลงมาที่ 2558 TWh หรือเพียง 13-14% ของความต้องการไฟฟ้าของโลก[89]. ปัจจัยหนึ่งในการลดลงของพลังงานนิวเคลียร์ตั้งแต่ปี 2007 คือเนื่องจากการปิดเป็นเวลานานของเครื่องปฏิกรณ์ขนาดใหญ่ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Kashiwazaki - Kariwa ในประเทศญี่ปุ่นหลังจากแผ่นดินไหวที่ นีงะตะ-Chuetsu-โอกิ.Kashiwazaki - Kariwa[89].",
"title": "พลังงานนิวเคลียร์"
},
{
"docid": "665217#29",
"text": "ปัจจุบันพลังงานนิวเคลียร์มีประมาณ 15.7% ของการผลิตไฟฟ้าของโลก (ในปี 2004) และถูกใช้ในการขับเคลื่อนเรือบรรทุกเครื่องบิน, เรือตัดน้ำแข็งและเรือดำน้ำ (นับถึงปัจจุบันเศรษฐศาสตร์และความกลัวในบางท่าเรือมีการหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในเรือขนส่ง). ทุกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใช้ปฏิกิริยาฟิชชัน. ยังไม่มีปฏิกิริยาฟิวชั่นที่มนุษย์สร้างขึ้นในการผลิตกระแสไฟฟ้า.",
"title": "เทคโนโลยีนิวเคลียร์"
},
{
"docid": "6388#15",
"text": "เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 1954 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Obninsk ของสหภาพโซเวียตเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าแห่งแรกของโลกสำหรับกริด (ไฟฟ้า), และผลิตพลังงานไฟฟ้าประมาณ 5 เมกะวัตต์[40][41].",
"title": "พลังงานนิวเคลียร์"
},
{
"docid": "6388#6",
"text": "นับถึงปี 2012, ตามข้อมูลของ IAEA, ทั่วโลกมี 68 เครื่องปฏิกรณ์พลังงานนิวเคลียร์ในงานของพลเรือนอยู่ระหว่างการก่อสร้างใน 15 ประเทศ[4]. ประมาณ 28 แห่งในจำนวนนั้นอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีน (PRC), ซึ่งเป็นเครื่องปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ล่าสุด, ซึ่งจะเชื่อมต่อเข้ากับกริด (ไฟฟ้า)ในเดือนพฤษภาคม 2013, ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ปี 2013 ได้เดนเครื่องในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Hongyanhe ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน[18]. ในสหรัฐอเมริกาเครื่องปฏิกรณ์ Generation III ตัวใหม่สองเครื่องอยู่ระหว่างการก่อสร้างใน Vogtle. เจ้าหน้าที่อุตสาหกรรมนิวเคลียร์สหรัฐอเมริกาคาดหวังว่า เครื่องปฏิกรณ์ใหม่ 5 เครื่องจะนำมาให้บริการในปี 2020, ทุกเครื่องในโรงไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม[19]. ในปี 2013, เครื่องปฏิกรณ์เก่าและไม่มีประสิทธิภาพในการแข่งขันสี่เครื่องจะถูกปิดอย่างถาวร [20][21].",
"title": "พลังงานนิวเคลียร์"
},
{
"docid": "20739#51",
"text": "การออกแบบสำหรับโรงงานที่ตั้งอยู่ในโซนที่ยังมีการสั่นไหวของพื้นโลกอยู่ยังต้องพิจารณาความเสี่ยงของการเกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิด้วย. ญี่ปุ่น, อินเดีย, จีนและสหรัฐอเมริกาอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีโรงงานอยู่ในภูมิภาคที่มีแนวโน้มของแผ่นดินไหว. ความเสียหายที่เกิดกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Kashiwazaki-Kariwa ของญี่ปุ่นในปี 2007 ระหว่างการเกิดแผ่นดินไหวนอกชายฝั่ง Chuetsu[41][42] ได้ขีดเส้นใต้แสดงความกังวลโดยผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวของประเทศญี่ปุ่นก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุฟูกูชิม่า, เป็นผู้ที่เตือนสิ่งที่เรียกว่า genpatsu-shinsai (ผลกระทบแบบโดมิโนของภัยพิบัติแผ่นดินไหวสำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์)[43].",
"title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์"
},
{
"docid": "1820#29",
"text": "ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองลงมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา (59 เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ใน 19 โรงงานปรมาณูทั่วประเทศ) การผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศ 88% มาจากพลังงานนิวเคลียร์ ค่าไฟฟ้าในประเทศราคาถูกกว่าประเทศใกล้เคียง จึงมีการส่งออกกระแสไฟฟ้าไปยังประเทศอื่น [1]",
"title": "ประเทศฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "6388#125",
"text": "สมาคมนิวเคลียร์โลกได้กล่าวว่า \"การผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์เดือดร้อนจากการตกต่ำหนึ่งปีที่ใหญ่ที่สุดที่เคยได้รับมาตลอดปี 2012 เมื่อกลุ่มของกองทัพเรือญี่ปุ่นยังคงอยู่แบบออฟไลน์ตลอดหนึ่งปีเต็ม\". ข้อมูลจากสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศแสดงให้เห็นว่าโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลกผลิตไฟฟ้าได้ 2346 TWh ในปี 2012-7% น้อยกว่าในปี 2011\" ตัวเลขแสดงให้เห็นถึงผลกระทบของหนึ่งปีเต็มที่เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของญี่ปุ่น 48 เครื่องไม่มีการผลิตไฟฟ้าเลย. การปิดถาวรของเครื่องปฏิกรณ์แปดหน่วยในประเทศเยอรมนียังเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง. ปัญหาที่คริสตัลริเวอร์, ฟอร์ทคาลฮูนและอีกสองหน่วยที่ซาน Onofre ในสหรัฐอเมริกาหมายถึงการที่พวกมันไม่ได้ผลิตพลังงานเลยทั้งปี, ในขณะที่เครื่อง Doel 3 และ Tihange 2 ของเบลเยียมออกจากการทำงานเป็นเวลาหกเดือน. เมื่อเทียบกับปี 2010, อุตสาหกรรมนิวเคลียร์ที่ผลิตไฟฟ้าน้อยลง 11% ในปี 2012[225].",
"title": "พลังงานนิวเคลียร์"
},
{
"docid": "364138#0",
"text": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง () เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลโอกูมะ อำเภอฟูตาบะ จังหวัดฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น โดยมีเครื่องปฏิกรณ์สำหรับผลิตไฟฟ้าหกหน่วย รวมกำลัง 4.7 กิกะวัตต์ โรงไฟฟ้าแห่งนี้เป็นหนึ่งใน 15 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกซึ่งได้รับการก่อสร้างและบริหารจัดการทั้งหมดโดยบริษัทพลังงานไฟฟ้าโตเกียว (TEPCO) ",
"title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง"
},
{
"docid": "20739#58",
"text": "อ้างถึงสหประชาชาติ (UNSCEAR), การดำเนินงานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปกติที่รวมถึงวัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์จะมีการสัมผ้สกับรังสีในที่สาธารณะเฉลี่ยประจำปีจำนวน 0.0002 mSv (มิลลิ Sievert); มรดกของภัยพิบัติเชอร์โนบิลเป็น 0.002 mSv/ปีเป็นค่าเฉลี่ยทั่วโลก ณ รายงานปี 2008; และค่าเฉลี่ยการสัมผ้สรังสีตามธรรมชาติที่ 2.4 mSv/ปี แม้ว่าบ่อยครั้งที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้งของแต่ละบุคคลตั้งแต่ 1-13 mSv[52]",
"title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์"
}
] |
3422 | สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า มีพื้นที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "1953#0",
"text": "พม่า หรือ เมียนมา (, , \"มฺยะหฺม่า\") มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (, \"ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ\") เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง",
"title": "ประเทศพม่า"
}
] | [
{
"docid": "852229#0",
"text": "สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า (, Pyihtaunghcu Soshallaitsammat Myanmar Ninengantaw) ตั้งแต่ปี 1974 ถึง 1988 สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (, Pyidaunzu Myăma Nainngandaw) ตั้งแต่ 1962 ถึง 1974 เป็นรัฐสังคมนิยมในประเทศพม่า ตั้งแต่ปี 1962 ถึง 1988 โดยมีเป้าหมายจะพัฒนาเศรษฐกิจ ลดอิทธิพลจากต่างประเทศในพม่าและเพิ่มบทบาทของทหาร สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่าก่อตั้งจากการปฏิวัติสังคมนิยมที่นำโดย เน วิน และคณะปฏิวัติ (RC) ในปี 1962 ได้กระทำภายใต้ข้ออ้างของวิกฤตเศรษฐกิจศาสนาและการเมืองในประเทศโดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับสหพันธรัฐ",
"title": "สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า"
},
{
"docid": "665400#0",
"text": "สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า เป็นประเทศพม่าหลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษและปกครองด้วยรัฐบาลของพลเรือน การปกครองในยุคนี้สิ้นสุดลงใน พ.ศ. 2505 หลังการรัฐประหารของนายพลเน วิน และเปลี่ยนการปกครองประเทศเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า",
"title": "สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (พ.ศ. 2491–2505)"
},
{
"docid": "665400#2",
"text": "พื้นที่ห่างไกลทางภาคเหนือของพม่าถูกควบคุมโดยกองทัพก๊กมินตั๋งที่อพยพลงมาบริเวณนี้หลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้รับชัยชนะใน พ.ศ. 2492 พม่าในยุคนี้รับความช่วยเหลือจากประเทศต่างๆในการฟื้นฟูประเทศ แต่การที่สหรัฐสนับสนุนกองทัพจีนคณะชาติที่อยู่ในพม่าทำให้พม่าปฏิเสธความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ไม่เข้าร่วมในซีโต และสนับสนุนการประชุมบันดุงใน พ.ศ. 2498 นอกจากนั้น พม่ายังเป็นประเทศแรกที่รับรองประเทศอิสราเอลและสาธารณรัฐประชาชนจีน",
"title": "สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (พ.ศ. 2491–2505)"
},
{
"docid": "274356#0",
"text": "ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า () เป็นเครื่องหมายราชการของรัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ใช้ประทับในเอกสารของทางราชการทุกชนิด รวมถึงการตีพิมพ์ในเอกสารสำหรับเผยแพร่ แบบตราดังที่ปรากฏในปัจจุบันเป็นลักษณะตามที่ปรากฏในหมวดที่ 8 ของรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ซึ่งได้รับการรับรองด้วยการลงประชามติในปี พ.ศ. 2551",
"title": "ตราแผ่นดินของพม่า"
},
{
"docid": "83541#0",
"text": "ธงชาติสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า มีลักษณะเป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งตามแนวนอน ความกว้างเท่ากัน พื้นสีเหลือง สีเขียว และสีแดง เรียงตามลำดับจากบนลงล่าง กลางธงมีรูปดาวห้าแฉกสีขาวขนาดใหญ่ ธงนี้ได้เริ่มชักขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ในเวลา 15.00 น. ที่กรุงเนปยีดอ และในเวลา 15.33 น. ที่อาคารศาลาว่าการนครย่างกุ้ง (อ้างอิงตามเวลาท้องถิ่น) อันเป็นเวลา 17 วัน ก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไปของพม่า ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ความหมายของสัญลักษณ์ในธงชาติประกอบด้วย สีเขียวหมายถึงสันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของพม่า สีเหลืองหมายถึงความสามัคคี สีแดงหมายถึงความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด ดาวสีขาวหมายถึงสหภาพอันมั่นคงเป็นเอกภาพ",
"title": "ธงชาติพม่า"
},
{
"docid": "123014#2",
"text": "พื้นที่อำเภอแม่ระมาด มีอาณาเขตติดกับชายแดนประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่ง สหภาพพม่า ทางด้านทิศตะวันตก เท่าที่ผ่านมายังไม่เคยมีการเคลื่อนไหวทางการทหาร ของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ จะมีก็แต่ข่าวการเคลื่อนไหวทางด้านมวลชน ซึ่งกล่าวได้ว่ายังไม่รุนแรงนัก",
"title": "อำเภอแม่ระมาด"
},
{
"docid": "127469#10",
"text": "เป็นชื่อเรียกพื้นที่รอยต่อระหว่างพรมแดนพรมแดนไทยและสหภาพพม่าตั้งอยู่ในเขตตำบลรับร่อ อำเภอท่าแซะ โดยสถานที่แห่งนี้ได้กลายเป็นเอกลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ของชุมพร เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 จากการที่รัฐบาลสหภาพพม่าส่งกำลังทหารเข้ายึดพื้นที่บริเวณรอบเนิน 491 อันเป็นการละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย ต่อมารัฐบาลได้ใช้ยุทธวิธีทางการทูตเจรจาจนกองทหารสหภาพพม่าถอนกำลังออกไป ปัจจุบันจังหวัดชุมพรกำลังพัฒนาเนิน 491 ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทางประวัติศาสตร์ เพื่อเป็นพักผ่อนหย่อนใจและให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้ทางประวัติของไทย",
"title": "อำเภอท่าแซะ"
},
{
"docid": "665400#1",
"text": "ในยุคนี้ มีปัญหาความขัดแย้งกับกลุ่มพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งมีพรรคคอมมิวนิสต์ธงแดงของทะขิ่นโส และพรรคคอมมิวนิสต์ธงขาวของทะขิ่นถั่นทุน กลุ่ม Yèbaw Hpyu ที่นำโดย โบ ลา ยอง ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มทะขิ่น 30 คน กองทัพปฏิวัติพม่าที่นำโดย โบ เซยา โบ ยาน ออง และโบ เหย่ ทุต ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มทะขิ่น 30 คนเช่นกัน โดยการสู้รบเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2491 นอกจากนั้น ยังเกิดความขัดแย้งกับขนกลุ่มน้อยคือมุสลิมในรัฐยะไข่และเกิดความขัดแย้งกับสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงที่ต้องการสร้างรัฐอิสระของตนเองตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2491 ในช่วงแรก ทั้งฝ่ายคอมมิวนิสต์และฝ่ายกะเหรี่ยงยึดครองพื้นที่ไว้ได้มาก ฝ่ายรัฐบาลเริ่มคุมพื้นที่คืนได้ใน พ.ศ. 2492 ต่อมา ใน พ.ศ. 2497 ชาวกะเหรี่ยงประกาศจัดตั้งรัฐอิสระชื่อรัฐกอทูเลและได้แจ้งเรื่องไปยังสหประชาชาติเพื่อให้รับรองรัฐกอทูเล พม่าได้ตอบโต้ด้วยการปราบปรามอย่างหนัก และได้จัดตั้งรัฐกะเหรี่ยงเป็นหน่วยการปกครองในสหภาพพม่า",
"title": "สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (พ.ศ. 2491–2505)"
},
{
"docid": "772018#0",
"text": "รัฐสภาแห่งสหภาพ (, ) เป็นสภาระดับชาติระบบสองสภาของประเทศพม่า (หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า) ซึ่งตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 ปยีดองซุลุตอประกอบด้วยสภาสองสภา คือ สภาชนชาติ (อะมโยตาลุตอ) 224 ที่นั่งบนสภา และสภาผู้แทนราษฎร (ปยีตุลุตอ) 440 ที่นั่งบนสภา",
"title": "รัฐสภาแห่งสหภาพ"
}
] |
4082 | เภสัชกรโรงพยาบาล มีหน้าที่หลักเช่นการจ่ายยาให้ผู้ป่วยใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "15599#0",
"text": "เภสัชกร (English: pharmacist) คือผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข (health profession) ที่มีความเชี่ยวชาญด้านยามากที่สุดในสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพ ทั้งยาแผนปัจจุบันและยาสมุนไพรหรือยาแผนโบราณ เนื่องจากสาขาวิชาชีพเภสัชกรรมนั้นมีความหลากหลาย จึงทำให้หน้าที่ของเภสัชกรจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละสายงาน ถ้าเป็นสายงานที่เกี่ยวข้องกับการบริบาลผู้ป่วย เช่น เภสัชกรโรงพยาบาล อาจมีหน้าที่หลักเช่นการจ่ายยาให้ผู้ป่วย การแนะนำการใช้ยา ติดตามการใช้ยาให้ผู้ป่วย แต่หากเป็นเภสัชกรที่เกี่ยวข้องกับสายงานด้านเทคโนโลยีเภสัชกรรม การทำงานอาจเป็นการควบคุมและดูแลกระบวนการในการผลิตยา",
"title": "เภสัชกร"
}
] | [
{
"docid": "496536#10",
"text": "สำนักงานประกันสังคมได้ขยายการคุ้มครองยาในบัญชีสำหรับผลผู้ทางสุขภาพจิต หรือผู้ป่วยจิตเวชโดยสามารถเบิกยาในบัญชีได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554\nและในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 สำนักงานประกันสังคมเพิ่มสิทธิประโยชน์บริการทางการแพทย์ กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลอื่น ซึ่งไม่ใช่โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง\nกองทุนบำเหน็จบำนาญชราภาพจะขาดทุนภายในสามสิบปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2586 เนื่องจากปัญหาโครงสร้างประชากรที่มีวัยทำงานน้อยลงและเงื่อนไขการจ่ายเงินของกองทุนกองทุนบำเหน็จบำนาญชราภาพ",
"title": "สำนักงานประกันสังคม"
},
{
"docid": "15599#40",
"text": "- ถามประวัติแพ้ยา กรณีที่ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยากับโรงพยาบาลที่ไปรักษาจะมีการแสดงชื่อยาและอาการที่ผู้ป่วยแพ้บนใบสั่งยา ซึ่งเภสัชกรจะสามารถเห็นและตรวจสอบได้ แต่หากผู้ป่วยเกิดการแพ้ยาจากที่อื่นการแจ้งประวัติแพ้ยาจะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากประวัติการแพ้ยาจากแหล่งอื่นจะไม่มีในฐานข้อมูลของโรงพยาบาล และหากผู้ป่วยเกิดการแพ้ยาซ้ำจะทำให้เป็นอันตรายรุนแรงได้",
"title": "เภสัชกร"
},
{
"docid": "163412#1",
"text": "ก่อตั้งเมื่อพ.ศ. 2490 มีเนื้อที่ 49 ไร่ 2 งาน เปิดให้บริการเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2494 มีหอผู้ป่วยรวมรับผู้ป่วย 25 เตียง มีแพทย์ 2 คน พยาบาลวิชาชีพ 2 คน เภสัชกร 1 คน มีอาคารผู้ป่วยนอก โรงซักฟอก\nเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ได้ขยายหน่วยงานเพื่อรับรองการบริการของผู้ป่วยที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น คือ อายุรกรรม ศัลยกรรม สูติกรรม เคมีบำบัด“ภายในปี 2020 เป็นโรงพยาบาลศูนย์ชั้นนำที่มีคุณภาพคู่คุณธรรม”",
"title": "โรงพยาบาลขอนแก่น"
},
{
"docid": "289503#0",
"text": "โรงพยาบาลโคกสำโรง เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ตั้งอยู่ใน ตำบลโคกสำโรง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี\nโรงพยาบาลโคกสำโรง เป็นโรงพยาบาลชุมขน 120 เตียง มีแพทย์ 12 คน ทันตแพทย์ 7 คน พยาบาล 123 คน เภสัชกร 10 คน และมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวน 4 คน จำนวนผู้ป่วยของโรงพยาบาลรัฐ ในจังหวัดลพบุรี ปี 2552 มีผู้ป่วยนอก จำนวน 130,713 คน และมีผู้ป่วยในจำนวน 13,711 คน มีห้องปฏิบัติการ ห้องปฏิบัติการทดสอบ/วิเคราะห์",
"title": "โรงพยาบาลโคกสำโรง"
},
{
"docid": "15374#11",
"text": "สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนหรือร้านยา คือสถานที่ปฏิบัติการส่วนใหญ่ของเภสัชกรทางด้านเภสัชกรรม ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยคลังยาและการกระจายยา การจ่ายยาของเภสัชกรต้องอ้างอิงถึงใบสั่งแพทย์และการซักถามประวัติผู้ป่วยในเรื่องการใช้ยาเพื่อจ่ายยาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแก่ผู้ป่วย เภสัชกรทุกคนต้องอยู่ปฏิบัติการ ณ สถานที่ปฏิบัติการที่ตนสังกัดตลอดเวลาที่ให้บริการแก่ผู้ป่วย ทั้งนี้ครอบคลุมถึงแผนกเภสัชกรรมในห้างร้านต่าง ๆ ด้วย นอกจากสถานที่ปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนจะจ่ายยาแล้ว บางสถานยังเพิ่มสินค้าทางด้านเวชสำอางค์และเวชภัณฑ์อื่น ๆ ตามความเหมาะสม",
"title": "เภสัชกรรม"
},
{
"docid": "15599#25",
"text": "- กรณีที่เป็นยาโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรังของผู้ป่วย เช่น โรคความดัน โรคเบาหวาน จะต้องตรวจสอบว่าแพทย์มีการปรับเปลี่ยนแผนการรักษา มีการปรับเพิ่มลดหยุดยาตัวใดหรือไม่ หรือแพทย์ลืมสั่งใช้ยาโดยที่ไม่ได้ตตั้งใจหยุดยาหรือไม่ โดยตรวจสอบจากใบสั่งยากับฐานข้อมูลของโรงพยาบาล เพื่อที่จะได้แจ้งให้ผู้ป่วยทราบได้อย่างถูกต้อง",
"title": "เภสัชกร"
},
{
"docid": "310300#2",
"text": "ในสมัยอาหรับซึ่งมีความรู้ทางการแพทย์และเภสัชกรรมมากขึ้น ประกอบกับนโยบายของรัฐที่ส่งเสริมด้านสุขภาพแก่ประชากรชาวอาหรับ ทำให้เกิดการสร้างระบบสาธารณสุขขึ้นซึ่งส่งผลให้เภสัชกรมีลักษณะวิชาชีพที่จำเพาะของตนเอง เดิมการแพทย์ของอาหรับเป็นลักษณะการแพทย์โดยนักบวช แต่ภายหลังคริสต์ศตวรรษที่ 8 ได้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลในเมืองดามัสกัสซึ่งเชื่อว่าเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของชาวอิสลาม ทำให้เกิดระบบสุขภาพที่ชัดเจนทำให้เภสัชกรรมได้รับการยกระดับขึ้นเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ โรงพยาบาลที่สนับสนุนโดยรัฐก็มีแผนกเภสัชกรรมเป็นของตนเอง โดยมีห้องปฏิบัติการเพื่อผสมยาและการจ่ายยาในเบื้องต้น เช่น ในรูปแบบไซรัป, อิลิกเซอร์ และยาขี้ผึ้ง และในสมัยกาหลีบ Al-Mansur นครแบกแดดได้กลายเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และการบริหาร การพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกและองค์ความรู้ทำให้ราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 มีการเปิดร้านยามากมายในนครแบกแดดและเมืองใกล้เคียง เภสัชกรในสมัยนั้นอาศัยการฝึกปฏิบัติในร้านยาจนเกิดความชำนาญทั้งด้านการผสมยา, การเก็บรักษาและบรรจุภัณฑ์ และ นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบโดยผู้ที่รัฐบาลแต่งตั้งขึ้น (Muhtasib) เพื่อตรวจสอบมาตรฐานของร้านยาถึงมาตรฐานด้านการตวงวัดและความบริสุทธิ์ของตัวยา แต่ทว่าเป็นการประกอบการโดยผู้ที่ปราศจากความรู้ด้านเภสัชกรรม จึงทำให้เกิดการสอนเภสัชกรรมแก่กลุ่มพลเมืองชั้นสูงในสังคมโดยเรียกกลุ่มผู้ฝึกหัดว่า \"sayadilah\" ซึ่งยังคงเป็นคำที่ใช้เรียกผู้ฝึกหัดเภสัชกรรมในอาหรับจนกระทั่งปัจจุบัน ",
"title": "เภสัชกรรมอาหรับสมัยกลาง"
},
{
"docid": "27129#1",
"text": "โครงการ HOSxP ริเริ่มโดย ภก.ชัยพร สุรเตมีย์กุล โดยเป็นโครงการทดลองพัฒนาระบบสารสนเทศใช้เองภายในโรงพยาบาลเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการผู้ป่วย และช่วยลดภาระในการทำรายงานประจำเดือนของฝ่ายต่าง ๆ โครงการเริ่มพัฒนาเมื่อกลางปี พ.ศ. 2542 โดยเริ่มต้นพัฒนา ระบบเวชระเบียน เป็นระบบแรก ตามด้วยระบบผู้ป่วยใน และระบบห้องจ่ายยา หลังจากพัฒนาและแก้ไขได้ประมาณ 1 ปี ก็ได้มีทีมงานจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด นำทีมโดย นายแพทย์ไพบูลย์ เพ็ญสุวรรณ ติดต่อดูงาน และทำแผนนำไปใช้ใน 10 โรงพยาบาลชุมชนนำร่อง ในจังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน โรงพยาบาลโพชัย โรงพยาบาลหนอกพอก โรงพยาบาลเมยวดี โรงพยาบาลศรีสมเด็จ โรงพยาบาลจังหาร โรงพยาบาลเมืองสรวง โรงพยาบาลปทุมรัตน์ โรงพยาบาลพนมไพร และโรงพยาบาลโพนทราย ",
"title": "ฮอสเอกซ์พี"
},
{
"docid": "15599#20",
"text": "หน้าที่หลักของเภสัชกรโรงพยาบาลคือการจ่ายยาตามใบสั่งยาของแพทย์ให้แก่ผู้ป่วย แต่การจ่ายยาของเภสัชกรไม่ใช่เพียงจ่ายยาตามรายการที่แพทย์สั่งเท่านั้น ก่อนจ่ายยาเภสัชกรจะต้องตรวจสอบความถูกต้องของใบสั่งยาร่วมกับข้อมูลของผู้ป่วยว่ามีข้อห้ามใช้ยาตัวใดหรือไม่ เนื่องจากโรคหรือยาบางชนิดนั้นอาจเป็นข้อจำกัดในการใช้ยาตัวอื่น",
"title": "เภสัชกร"
},
{
"docid": "76392#8",
"text": "ทำหน้าที่เป็นแพทย์ผู้ปกครองโรงพยาบาลและผู้อำนวยการคนแรกของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ร่วมมือกับสาธารณสุขจังหวัด สร้างนิคมโรคเรื้อนแม่ลาว ตำบลธารทอง อำเภอพาน ด้วยที่ดิน 1,000 ไร่ เริ่มการรักษาโรคทางศัลยกรรมชนบทกับโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ โรคคอพอกในประชาชน ซึ่งเป็นกันถึงร้อยละ 50 ของประชากร เริ่มการป้องกันโรคคอพอกในจังหวัดเชียงรายโดยการให้ไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์และในเด็ก ทำการสำรวจไอโอดีนในน้ำ ผัก และอาหารและสร้างอาสาสมัครสาธารณสุขในหมู่บ้านเพื่อการให้ไอโอดีน สร้างเจ้าหน้าที่เสนารักษ์จากกองทัพให้เป็นผู้ช่วยในการผสมยาต่าง ๆ เพราะไม่มีเภสัชกร รวมทั้งสร้างให้เป็นเจ้าหน้าที่ช่วยในห้องผ่าตัด และในการเป็นผู้ให้ยาระงับความรู้สึกด้วยการดมทางจมูก จัดสร้างตึกสูติกรรม นรีเวชกรรม ให้แม่มาคลอดบุตรในโรงพยาบาลเพื่อความปลอดภัย สร้างตึก พนม นครานุรักษ์ สำหรับเป็นอาคารสงฆ์อาพาธแยกจากประชาชน เริ่มการให้บริการทางทันตกรรมในชนบทแก่นักเรียนและประชาชนทั่วไป ชักชวนคหบดีในตลาดบริจาคเงินสร้างตึกผ่าตัดโดยเฉพาะ รวมทั้งบริษัทยาสูบอังกฤษ-อเมริกันที่ให้ทุนสร้างอาคารผู้ป่วยพิเศษ และผู้ป่วยทั่วไป สร้างอาคารสำหรับรังสีวิทยาด้วยเงินทุนของโรงพยาบาลและได้ขอให้เทศบาลเมืองเชียงรายสนับสนุนสร้างอาคารครัว โรงซักฟอก และสถานที่เก็บศพ",
"title": "เสม พริ้งพวงแก้ว"
},
{
"docid": "902752#0",
"text": "เภสัชกรรมปฏิบัติ (Pharmacy Practice) หมายถึง การนำความรู้ด้านเภสัชกรรมมาใช้กับผู้ป่วยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยา โดยรวมทุกกระบวนการเช่น การจ่ายยา การให้คำแนะนำด้านยา การติดตามตรวจวัดระดับยาในเลือด การติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การค้นหาปัญหาจากการใช้ยา การวิจัยเชิงคลินิกด้านการใช้ยา การประเมินการใช้ยา การเตรียมยาในโรงพยาบาล การให้ข้อมูลข่าวสารด้านยา ดังนั้นคำว่าเภสัชกรรมปฏิบัติจึงหมายรวมการบริบาลทางเภสัชกรรมและเภสัชกรรมคลินิก รวมทั้งงานด้านอื่นๆของเภสัชกรที่ดูแลด้านยาแก่ผู้ป่วย ",
"title": "เภสัชกรรมปฏิบัติ"
},
{
"docid": "911215#49",
"text": "ในปี ค.ศ. 2009 ไลนิโซลิดจัดเป็นยาปฏิชีวนะที่มีราคาค่อนข้างสูง โดยการรักษาในรอบหนึ่งๆ อาจมีใช้ค่าใช้จ่ายเฉพาะค่ายาชนิดนี้มากถึง 1000 – 2000 ดอลลาร์สหรัฐ[58] ซึ่งยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ (อาทิ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล) อย่างไรก็ดี เมื่อยานี้มีการใช้ในวงกว้างมากขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านยาในการรักษารอบหนึ่งๆ ในสหรัฐอเมริกาลดลงเป็นอย่างมาจาก โดยในปี ค.ศ. 2016 ค่าใช้จ่ายดังกล่าวอยู่ที่ประมาณ 137.90 ดอลลาร์สหรัฐ[12] ในประเทศอินเดีย จากข้อมูลปี ค.ศ. 2015 การได้รับการรักษาด้วยไลเนโวลิด ซึ่งส่วนใหญ่ใช้สำหรับการรักษาวัณโรค เป็นระยะเวลา 1 เดือนจะมีค่าใช้จ่ายเฉพาะยานี้เพียง 137.90 ดอลลาร์สหรัฐ[4] นอกจากนี้แล้ว เนื่องจากการบริหารยาไลนิโซลิดนั้นสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารยาจากการฉีดเข้าหลอดเลือดดำเป็นการรับประทานทั้งในรูปแบบยาเม็ดหรือยาน้ำได้โดยไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการรักษา ทำให้ผู้ป่วยอาจออกจากโรงพยาบาลได้เร็วขึ้นและทำการรักษาต่อที่บ้านโดยการใช้ยาในรูปแบบรับประทาน[13] ซึ่งการลดระยะเวลาการพักรักษาในโรงพยาบาลเช่นนี้ก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายรวมของการรักษาแม้ไลนีโซลิดจะมีราคาสูงก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับยาปฏิชีวนะขนานอื่นๆก็ตาม",
"title": "ไลนิโซลิด"
},
{
"docid": "926387#0",
"text": "บูโพรพิออน (English: Bupropion) เป็นยาที่มีข้อข่งใช้หลักสำหรับต้านซึมเศร้าและช่วยเลิกบุหรี่[7][8][9] มีจำหน่ายในตลาดยาสหรัฐอเมริกาภายใต้ชื่อการค้า Wellbutrin, Zyban และอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา แพทย์มักสั่งจ่ายบูโพรพิออนเพื่อจุดประสงค์ในการรักษาโรคซึมเศร้าเป็นหลัก[10] ในขณะที่ประเทศอื่นๆนอกเหนือจากนี้นั้น การใช้บูโพรพิออนสำหรับข้อบ่งใช้ดังกล่าวถือเป็นการใช้ยานอกเหนือจากข้อบ่งใช้ (off-label use)[11] ถึงแม้ว่ายานี้จะมีผลในการต้านซึมเศร้าที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างดีอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่มักนิยมใช้ยานี้เป็นยาเสริมในกรณีที่ผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาทางเลือกแรกอย่างยากลุ่มที่ทำหน้าที่ยับยั้งการเก็บกลับเซโรโทนินได้ไม่เต็มที่[12] ปัจจุบัน บูโพรพิออนมีจำหน่ายในรูปแบบยาเม็ด โดยส่วนใหญ่แล้วต้องได้รับการสั่งจ่ายจากแพทย์หรือซื้อได้โดยใช้ใบสั่งยาจากแพทย์[10] แต่ในประเทศไทย เนื่องจากสถานะทางกฎหมายปัจจุบันของบูโพรพิออนนั้นจัดเป็นยาอันตราย ประชาชนจึงสามารถเข้าถึงได้จากร้านยาที่มีเภสัชกรปฏิบัติการได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้ที่ใช้ยานี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อติดตามประเมินผลและเฝ้าระวังการเกิดอาการไม่พึงประสงค์อย่างใกล้ชิด[13]",
"title": "บูโพรพิออน"
},
{
"docid": "15599#38",
"text": "การจ่ายยาเป็นขั้นตอนการส่งมอบยาให้ผู้ป่วยหลังจากผ่านการตรวจสอบความถูกต้องของใบสั่งยาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งการจ่ายยาในผู้ป่วยแต่ละราย และการจ่ายยาแต่ละชนิดจะต้องอาศัยเทคนิคการจ่ายยาที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้เภสัชกรจะต้องซักถามข้อมูลผู้ป่วยเพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการให้คำแนะนำการใช้ยาแก่ผู้ป่วย ขั้นตอนการจ่ายยา ดังนี้",
"title": "เภสัชกร"
},
{
"docid": "15599#19",
"text": "บทบาทหน้าที่ของเภสัชกรโรงพยาบาลที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ คือเภสัชกรจะทำงานในห้องจ่ายยา โดยมีหน้าที่เพียงจ่ายยาตามใบสั่งยาของแพทย์และให้คำแนะนำในการใช้ยาแก่ผู้ป่วยเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงนอกจากการจ่ายยาแล้ว เภสัชกรยังทำหน้าที่อีกหลายอย่างทั้งหน้าที่ทีเ่กี่ยวข้องกับการให้บริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วย และยังมีหน้าที่ด้านการบริหารจัดการระบบยาในโรงพยาบาลอีกด้วย หน้าที่ของเภสัชกรในโรงพยาบาล ได้แก่",
"title": "เภสัชกร"
},
{
"docid": "260835#22",
"text": "เมื่อโคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกาแล้วนั้น ประชาชนส่วนหนึ่งและผู้แสวงบุญชาวตะวันตก ได้ย้ายเข้ามาพำนักอาศัย ณ ทวีปอเมริกา และได้นำวิทยาการทางการแพทย์และเภสัชกรรมเข้ามาพร้อม ๆ กัน ในระยะเริ่มแรกสหรัฐอเมริกาเป็นเพียงอาณานิคมของประเทศในตะวันตกเท่านั้น ในปี ค.ศ. 1751 ได้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลเพนซิลวาเนีย โรงพยาบาลแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา โดยเบนจามิน แฟรงคลิน และ ดร.โทมัส บอนด์ ในส่วนงานเภสัชกรรมได้เริ่มดำเนินการในปี ค.ศ. 1752 โดยใช้สถานที่คินซีย์เฮาส์เป็นที่ทำการในระยะเริ่มแรก โดยมีเภสัชกรโรงพยาบาลคนแรกคือโจนาธาน โรเบิร์ตส แต่เภสัชกรผู้มีบทบาทในการพัฒนาเภสัชกรรมในสหรัฐอเมริกาคือจอห์น มอร์แกน ศิษย์ของโจนาธาน เขามีบทบาทในการพัฒนาเภสัชกรรมและเวชกรรมในสหรัฐอเมริกาให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ภายหลังที่เขาจบการศึกษาทางเภสัชศาสตร์แล้วนั้น เขาได้ศึกษาในสาขาเวชกรรมในเวลาต่อมา ในส่วนกองทัพของสหรัฐอเมริกาก็ได้มีการเพิ่มเติมเภสัชกรเป็นหนึ่งในกำลังพลของกองทัพอีกด้วย โดย แอนดรูว์ เครก เป็นเภสัชกรคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการร้านยาแห่งแมตซาซูเซตเข้าร่วมในสงคราม ณ บังเกอร์ฮิลล์ ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1775 เขาทำหน้าที่บริบาลและรักษาทหารที่ได้รับบาดเจ็บ ต่อมาเมื่อสภาคองเกรสเห็นชอบในการบรรจุบุคลากรทางสาธารณสุขในกองทัพในแผนกการแพทย์ด้วยนั้น แอนดรูว์เป็นเภสัชกรคนแรกที่ได้รับการบรรจุในกองทัพ โดยมีหน้าที่ในการปฐมพยาบาล เก็บรักษา ผลิต และกระจายยาในกองทัพ นอกจากนี้เขายังพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมยาในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย",
"title": "ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม"
},
{
"docid": "53527#2",
"text": "ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ได้แก่ ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่อยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งมีหน้าที่หลักในการตรวจสิ่งตรวจของผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการในโรงพยาบาลนั้น ๆ และห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เอกชน เป็นห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในโรงพยาบาล แต่เปิดให้บริการโดยเอกชน เช่น ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ของบริษัทประกันชีวิต",
"title": "ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์"
},
{
"docid": "16160#7",
"text": "หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต เป็นหลักสูตรวิชาชีพได้รับการรับรอง มาตรฐานจากสภาเภสัชกรรม มีเป้าหมายในการผลิตเภสัชกรที่มีคุณธรรมจริยธรรมและเจตคติอันดีงามในการ ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมที่มีความรู้ความสามารถและทักษะทางวิชาชีพชั้นสูง การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับ 21st century skill outcomes ในระดับสากล ชั้นปีที่ 1-4 เน้นความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานทางเภสัชกรรมขั้นพื้นฐาน ชั้นปีที่ 5 และ 6 สามารถเลือกเรียนด้านเภสัชอุตสาหการ (การผลิต ตรวจวิเคราะห์ ประกันคุณภาพ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา สมุนไพร อาหาร เครื่องสำอาง เป็นต้น ) และด้านบริบาลทางเภสัชกรรม (การดูแลการใช้ยาของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ร้านขายยา งานคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น) นักศึกษาชั้นปีที่ 6 จะได้ฝึกทักษะการปฏิบัติงานวิชาชีพในแหล่งฝึกงาน เช่น โรงงานอุตสาหกรรมผลิตยาระดับแนวหน้าของประเทศ โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลอีกหลายแห่งที่เป็นสถานพยาบาลชั้นนำของประเทศรวมถึงร้านยา คุณภาพ การสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้ นักศึกษาต้องฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2,000 ชั่วโมง และต้องมีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 225 หน่วยกิต",
"title": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล"
},
{
"docid": "15599#22",
"text": "เป็นขั้นตอนก่อนที่จะจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจ่ายยา โดยทั่วไปเภสัชกรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของใบสั่งยาและเภสัชกรที่ทำหน้าที่จ่ายยาควรจะเป็นคนละคนกัน เพื่อช่วยกันตรวจสอบไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้นในขณะที่กำลังทำการจ่ายยาให้กับผู้ป่วย และหากพบความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาเกิดขึ้น เภสัชกรจะต้องปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาเพื่อยืนยันหรือปรับเปลี่ยนคำสั่งใช้ยาต่อไป การตรวจสอบความถูกต้องของใบสั่งยามีหลายขั้นตอน ได้แก่",
"title": "เภสัชกร"
},
{
"docid": "15599#43",
"text": "เภสัชกรชุมชน (Community pharmacist): หรือ เภสัชกรร้านยา หน้าที่หลักของเภสัชกรร้านยาคือให้การวินิจฉัยโรคผู้ป่วยในเบื่องต้นและจ่ายยาที่ตรงกับโรคนั้น ๆ หรือหากประเมินแล้วพบว่าโรคดังกล่าวไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาในร้านยาจะต้องทำการส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อไปยังโรงพยาบาล ดังนั้นเภสัชกรชุมชนจึงถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยดูแลผู้ป่วยนอกเหนือจากการให้บริการของโรงพยาบาลหรือคลินิกแพทย์ เนื่องจากผู้ป่วยสามารถเข้าถึงร้านยาได้ง่าย จึงทำให้ผู้ป่วยสามารถรับการรักษาในเบื่องต้นได้อย่างรวดเร็ว เภสัชกรสาธารณสุข: เภสัชกรที่ทำงานในสายงานนี้ ได้แก่ เภสัชกรที่ทำงานในสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. และเภสัชที่ทำงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือ สสจ. เภสัชกรในสายงานนี้จะมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมตรวจสอบเรื่องยา อาหารเสริม รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ นอกจากนี้ยังตรวจสอบควบคุมการทำงานของเภสัชกรรวมทั้งร้านยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้ป่วยและผู้บริโภค เภสัชกรการตลาด: เภสัชกรในสาขานี้ จะถูกเรียกว่า \"ผู้แทนยา\" โดยมีหน้าที่หลักคือนำเสนอข้อมูลยาที่ตนรับผิดชอบให้โรงพยาบาลหรือร้านยาเพื่อให้รับยานั้น ๆ เข้าไปใช้ในโรงพยาบาลหรือร้านยา ซึ่งผู้แทนยาจะมีความเชี่ยวชาญในข้อมูลยาที่ตนรับผิดชอบเป็นพิเศษ ดังนั้นผู้แทนยาจึงถือว่ามีความสำคัญในการกระจายยาจากบริษัทผู้ผลิตหรือผู้คิดค้นยาไปยังร้านยาและโรงพยาบาลต่าง ๆ",
"title": "เภสัชกร"
},
{
"docid": "386369#159",
"text": "ปัญหายาขาดแคลนและปัญหาโรคที่มากับน้ำ รวมถึงสุขภาพจิตของประชาชนมีเพิ่มขึ้นในช่วงอุทกภัย[216]เช่น ที่โรงพยาบาลศรีสะเกษประสบปัญหาการขาดยาและเวชภัณฑ์ หลังโรงงานในเขตจังหวัดปริมณฑลถูกน้ำท่วม ส่งผลให้โรงพยาบาลต้องลดปริมาณการจ่ายยาให้ผู้ป่วยเรื้อรัง จากครั้งละ 3 เดือน เป็น 1 เดือน และหมุนเวียนยาร่วมกับโรงพยาบาลใกล้เคียง เพื่อช่วยกระจายยาให้คนไข้[217] คณะกรรมการอาหารและยาอำนวยความสะดวกเป็นผู้สั่งยาโดยตรงกับบริษัทในต่างประเทศ หากเกิดกรณีที่ผู้ประกอบการหรือเภสัชกรต้องการยานั้น ๆ ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขพบผู้ประสบอุทกภัยเจ็บป่วยแล้ว 1.6 ล้านราย ส่วนใหญ่เป็นโรคน้ำกัดเท้า ผื่นคัน ไข้หวัดใหญ่[218]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "279999#2",
"text": "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามโรงพยาบาลลพบุรีใหม่ เป็น “โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช” เพื่อเทิดพระเกียรติและรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ทรงนำความเจริญด้านการแพทย์มาสู่ประเทศไทย และจังหวัดลพบุรี ตั้งเป้าพัฒนาให้เป็นโรงพยาบาลศูนย์ชั้นนำในเขตภาคกลาง ภายในปี 2555 \nนายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อโรงพยาบาลลพบุรีใหม่ ว่า “โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช” ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ผู้ทรงสร้างเมืองลพบุรีให้เป็นราชธานีแห่งที่ 2 ทรงเป็นผู้นำวิทยาการสมัยใหม่และความเจริญด้านต่างๆ เกือบทุกด้านมาสู่ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนวดไทย โดยมีการผสมผสานการรักษาด้วยแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนตะวันตก ปรากฏอยู่ในหลักฐานตำรา “พระโอสถพระนารายณ์” เป็นตำรายา 81 ตำรับ มีตัวยาปรากฏในตำรามากกว่า 300 ชนิด \nโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราชเป็นโรงพยาบาลทั่วไป ตั้งอยู่ใน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เปิดบริการมาแล้ว 54 ปี ปัจจุบันมีเตียงรับผู้ป่วย 428 เตียง มีบุคลากรให้บริการ 958 คน โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญครบทุกสาขารวม 42 คน ทันตแพทย์ 8 คน เภสัชกร 12 คน พยาบาลวิชาชีพ 310 คน ขณะนี้ได้เร่งพัฒนาคุณภาพบริการทุกด้าน โดยภายในปี 2555 จะพัฒนาให้เป็นโรงพยาบาลศูนย์ชั้นนำในเขตภาคกลาง และเป็นศูนย์แพทย์เชี่ยวชาญด้านมะเร็งในระดับต้น เป็นพึ่งพาของประชาชน \nที่ผ่านมาโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช มีผลงานการพัฒนาดีเด่นมากมาย เช่น เป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก ได้รับมาตรฐานการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติด เป็นสถานที่ทำงานที่น่าอยู่ งานโภชนาการประกอบอาหารให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาลดีเด่นในระดับ “ดีมาก” ได้รับรางวัลเป็นโรงพยาบาลคุณภาพตามมาตรฐานด้านการส่งเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2549 งานอนามัยแม่และเด็กดีเด่นระดับเขต ได้รับการรับรองเป็นโรงพยาบาลสายใยรักระดับทอง พ.ศ. 2551 ผ่านการรับรองเป็นโรงพยาบาลคุณภาพตามมาตรฐานสากล ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 และการรับรองการให้บริการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลันดีเยี่ยม พ.ศ. 2549 \nต่อวันมีประชาชนเข้ารับบริการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกเฉลี่ย 1,363 ราย โรคที่พบมากอันดับ 1 ได้แก่โรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 24 รองลงมา คือ เบาหวาน ร้อยละ 15 มีผู้ป่วยนอนรักษาในโรงพยาบาลวันละ 355 ราย ที่พบมากที่สุด ได้แก่ โรคท้องร่วงร้อยละ 32 รองลงมา คือ โรคหัวใจล้มเหลวร้อยละ 11 ทำผ่าตัดใหญ่วันละ 29 ราย และกำลังดำเนินการก่อสร้างอาคารเพื่อขยายเป็นโรงพยาบาลศูนย์ต่อไป",
"title": "โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช"
},
{
"docid": "289492#1",
"text": "โรงพยาบาลบ้านหมี่ เป็นโรงพยาบาลขนาด 258 เตียง มีแพทย์ 26 คน ทันตแพทย์ 5 คน พยาบาล 230 คน เภสัชกร 8 คน และมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวน 49 คน จำนวนผู้ป่วยของโรงพยาบาลรัฐ ในจังหวัดลพบุรี ปี 2552 มีผู้ป่วยนอก จำนวน 227,218 คน และมีผู้ป่วยในจำนวน 24,257 คน อาคารสิรินธรเป็นอาคารที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด ",
"title": "โรงพยาบาลบ้านหมี่"
},
{
"docid": "260835#25",
"text": "ปัจจุบันเภสัชกรรมได้ขยายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกกว่า 50 ประเทศ บทบาทของวิชาชีพมีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตกล่าวคือจากการจ่ายยาตามใบสั่งยาได้มีการวิวัฒน์ขึ้นสู่การบริบาลทางเภสัชกรรม เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประสิทธิผลจากวิชาชีพเภสัชกรรมสูงสุด โดยเป็นการพัฒนาวิเคราะห์และแก้ปัญหาการใช้ยาอย่างเป็นระบบ ซึ่งการบริบาลทางเภสัชกรรมในร้านยาหรือหออภิบาลผู้ป่วยในโรงพยาบาลได้เกิดขึ้นในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงข้อกฎหมายวิชาชีพเภสัชกรรมในอนาคต ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการริเริ่มการคิดค่าธรรมเนียมวิชาชีพเภสัชกรรม การฝึกปฏิบัติทางเภสัชกรรมในปัจจุบันเป็นการเรียนการสอนในโรงเรียนเภสัชกรรมทั่วโลก ซึ่งรวมไปถึงการบริการทางคลินิกที่เภสัชกรจะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ อาทิ การวิเคราะห์การใช้ยา เช่น ใช้หรือไม่ใช้ หรือใช้สมุนไพร เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันในสหรัฐอเมริกามีการแยกอำนาจการจ่ายยาให้แก่เภสัชกรอย่างเด็ดขาด ซึ่งผลจากการปฏิบัติดังกล่าวจะช่วยให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้นและค่าใช้จ่ายในระบบสุขภาพจะลดลง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้เริ่มต้นในบางประเทศ เช่น เภสัชกรในออสเตรเลียซึ่งได้รับค่าตอบแทนจากรัฐบาลในการจัดการด้านยาครอบคลุมการตรวจสอบยาประจำบ้าน ในแคนาดา เภสัชกรในบางรัฐมีสิทธิการจ่ายยาที่จำกัดหรือได้รับการจ่ายค่าทดแทนเพิ่มเติมจากรัฐบาลท้องถิ่นสำหรับการขยายบริการทางสาธารณสุข ในสหราชอาณาจักรที่เภสัชกรมีสิทธิในการจ่ายยาก็ได้รับค่าตอบแทนจากรัฐบาลเช่นกัน ส่วนในสหรัฐอเมริกาในด้านการบริการทางเภสัชกรรมหรือเภสัชกรรมคลินิกมีวิวัฒนาการครอบคลุมในการฝึกปฏิบัติทางเภสัชกรรม ยิ่งไปกว่านั้นผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชกรรม (Doctor of Pharmacy) เป็นสิ่งที่สำคัญก่อนการปฏิบัติและเภสัชกรบางส่วนในปัจจุบันได้รับการศึกษาเทียบเท่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชกรรม นอกจากนี้เภสัชกรผู้ให้คำปรึกษา (consultant pharmacist) ซึ่งแต่เดิมจะดูแลในด้านปฐมภูมิก็ได้ขยายสู่การให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยภายใต้คำว่า \"senior care pharmacy\"",
"title": "ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม"
},
{
"docid": "15599#17",
"text": "เภสัชกรโรงพยาบาล (Hospital pharmacist): หรืออาจเรียกได้ว่า เภสัชกรคลินิก (Clinical pharmacist) ทั้งโรงพยาบาลรัฐบาลและโรงพยาบาลเอกชนจะมีเภสัชกรทำงานร่วมกับสหวิชาชีพด้านสุขภาพในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยสูงสุดในการใช้ยา การจ่ายยาเภสัชกรจะเป็นผู้จ่ายยาจากใบสั่งแพทย์ และให้คำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับยาและวิธีการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย การให้คำปรึกษาเพื่อหาปัญหาจากยาแก่ผู้ป่วยในคลินิกของโรงพยาบาลก่อนหรือหลังพบแพทย์ เช่น คลินิกวัณโรค คลินิกโรคไต คลินิกโรคเบาหวานและความดัน คลินิกยาวาร์ฟาริน แต่ทั้งนี้งานของเภสัชกรโรงพยาบาลยังมีความหลากหลาย เพราะเภสัชกรจะต้องดูแลระบบยาของทั้งโรงพยาบาลเพื่อให้โรงพยาบาลนั้นได้มาตรฐาน ดังนั้นนอกจากทำหน้าที่จ่ายยา เภสัชกรอาจมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารคลังยาของโรงพยาบาล การจัดซื้อจัดหายาเข้าโรงพยาบาล การออกหน่วยเยี่ยมบ้านลงชุมชนในเขตที่โรงพยาบาลนั้น ๆ เป็นผู้รับผิดชอบ การเตรียมยาให้ผู้ป่วยเฉพาะรายซึ่งอาจมีเฉพาะในบางโรงพยาบาล การปฏิบัติหน้าที่เป็นศูนย์ตอบคำถามด้านยาให้แก่แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นต้น แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าเภสัชกรโรงพยาบาลมีหน้าที่จ่ายยาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ เภสัชกรโรงพยาบาลยังมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลความคลาดเคลื่อนหรือความเสี่ยงด้านยาต่าง ๆ เพื่อนำมาทบทวน วางแผนหรือสร้างระบบป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากยาไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีก",
"title": "เภสัชกร"
},
{
"docid": "15374#12",
"text": "เภสัชกรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมีความแตกต่างกับสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน โดยมีหน้าที่ทางการจัดการด้านคลินิกการแพทย์ เนื่องจากภายในโรงพยาบาลมีงานที่ซับซ้อนกว่า อาทิ เภสัชวินิจฉัย รูปแบบการใช้ยาที่ปลอดภัยเนื่องด้วยยาที่ใช้ในโรงพยาบาลมีความซับซ้อนและมีปฏิกิริยาที่ต้องอยู่ในความควบคุมของเภสัชกร ดังนั้นในโรงพยาบาล เภสัชกรจึงมีความชำนาญเฉพาะด้าน อาทิ โลหิตวิทยา เนื้องอกวิทยา เอดส์ โรคเรื้อรัง บริบาลเภสัชกรรม การแพทย์ฉุกเฉิน พิษวิทยา เป็นต้น",
"title": "เภสัชกรรม"
},
{
"docid": "260835#26",
"text": "ในประเทศไทยปัจจุบันได้มีการประกาศใช้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งทำให้เกิดความแออัดของประชากรขึ้นในโรงพยาบาล ส่งผลต่องานของเภสัชกรโรงพยาบาลรวมถึงบุคลากรทางสาธารณสุขอื่น ๆ เสียงต่อการถูกฟ้องร้องค่าเสียหายทางการรักษา ร้านยาจึงเป็นอีกหนึ่งทางออกในการบริบาลผู้ป่วยเบื้องต้น นอกจากนี้ยังมีการออกพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ส่งผลให้ผู้บริโภคสามารถฟ้องร้องจากการบริการหรือการได้รับผลิตภัณฑ์มาตรฐานได้ ร้านยาจึงควรเพิ่มการพิจารณาด้านการใช้ยาแก่ผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิผลมากกว่าการแข่งขันด้านการบริการ ในสถาบันทางเภสัชศาสตร์ของไทยก็ได้มีการขยายหลักสูตรการศึกษาของเภสัชศาสตร์ออกเป็นสองหลักสูตรโดยแยกสายงานบริบาลทางเภสัชกรรมออกจำเพาะเพื่อเพิ่มบทบาทด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมของเภสัชกร และมีการผลักดันการใช้พระราชบัญญัติยาฉบับใหม่ที่ให้สิทธิขาดแก่เภสัชกรในการจ่ายยา",
"title": "ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม"
},
{
"docid": "15374#13",
"text": "งานเภสัชกรรมคลินิกเป็นอีกหนึ่งในบทบาทของเภสัชกร ที่มีหน้าที่โดยตรง ในดูแลผู้ป่วยด้านการใช้ยา เภสัชกรที่ปฏิบัติการในสาขานี้จะปฏิบัติทั้งในโรงพยาบาล ร้านขายยา และคลินิกทางเวชกรรมทั่วไป ซึ่งจะต้องทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลาการทางสาธารณสุขอื่น ๆ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการใช้ยาที่ดีขึ้น งานที่ถือว่าเป็นงานเภสัชกรรมคลินิก ได้แก่ การคัดเลือกยาที่ถูกต้องเหมาะสม การติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย การให้คำปรึกษาด้านยาแก่ผู้ป่วย และการจัดการการใช้ยาอันตรายสูง จะต้องมีการควบคุมอย่างใกล้ชิดจากเภสัชกร",
"title": "เภสัชกรรม"
},
{
"docid": "44984#28",
"text": "เภสัชกรรมคลินิกเป็นสาขาทางเภสัชศาสตร์ที่เภสัชกรและนักเภสัชวิทยาดูแลผู้ป่วยและจัดหายาที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยเพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการและป้องกันโรค เภสัชกรที่ทำงานในสาขานี้เรียกว่าเภสัชกรคลินิกซึ่งมักปฏิบัติการในคลินิกหรือโรงพยาบาล โดยปฏิบัติการร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุข",
"title": "เภสัชศาสตร์"
}
] |
1699 | The Price Is Right Thailand มีใครเป็นพิธีกร? | [
{
"docid": "728110#0",
"text": "The Price Is Right Thailand ราคาพารวย เป็นรายการประเภทเกมโชว์ที่ให้ผู้เข้าแข่งขันมาเล่นเกมเกี่ยวกับราคาของสินค้าชนิดต่างๆ เพื่อได้รับของรางวัลกลับบ้าน โดยมีรูปแบบรายการต้นฉบับมาจากรายการ \"\" ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทางบริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัด (มหาชน) ซื้อลิขสิทธิ์รายการนี้มาจากบริษัท ของประเทศสหรัฐอเมริกา นำมาผลิตในรูปแบบของประเทศไทย ดำเนินรายการโดย เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558",
"title": "The Price Is Right Thailand ราคาพารวย"
}
] | [
{
"docid": "728110#12",
"text": "ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านหมุนวงล้อได้คะแนนสูงสุดจากรอบ Showcase Showdown จะมาเล่นเกมนี้ กับกลุ่มของรางวัลที่มีราคารวมตั้งแต่หลักแสนขึ้นไป โดยก่อนเปิดเผยของรางวัลนั้น ทางรายการจะมีราคาช่วย ที่สามารถทายราคาต่ำกว่าราคาจริงได้ แต่ไม่เกินราคาช่วยที่กำหนดไว้ ต่างกันไปแล้วแต่เทป โดยผู้เล่นจะต้องกดปุ่ม เพื่อสุ่มรับราคาช่วยนั้น โดยราคาช่วยจะเรื่มต้นที่ 10,000 บาท ซึ่งจะเพื่มขึ้นระดับละ 10,000 บาท จนถึงสูงสุด 60,000 บาท",
"title": "The Price Is Right Thailand ราคาพารวย"
},
{
"docid": "728110#2",
"text": "ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 4 ท่าน ที่เป็นลูกค้าของทรู และสมัครผ่านทางโทรศัพท์ ที่ถูกเรียกลงมา จะต้องทายราคาสินค้าตามที่รายการกำหนดไว้ ซึ่งราคาจริงนั้น ส่วนใหญ่จะมี 4 หลัก (บางชิ้นจะมี 5 หลัก แต่ต่ำกว่า 20,000 บาท) ผู้เข้าแข่งขันที่สามารถทายราคาได้ใกล้เคียงที่สุด โดยที่ไม่เกินราคาจริง จะได้รับของรางวัลชิ้นนั้นไปทันที และได้เข้าไปเล่นทั้งรอบ Showcase Showdown และรอบ Pricing Game ทุกคน",
"title": "The Price Is Right Thailand ราคาพารวย"
},
{
"docid": "728110#13",
"text": "หลังจากนั้น ของรางวัลทั้งหมดจะถูกเปิดเผย ผู้เล่นจะต้องทายราคาสินค้าของรางวัลทั้งหมดนั้น ถ้าผู้เล่นสามารถทายราคาสินค้า ต่ำกว่าราคาจริง โดยที่ผลต่างนั้นไม่เกินราคาช่วยที่กำหนดไว้ ผู้เล่นจะได้รับของรางวัลทั้งหมดไปทันที ในกรณีที่ทายราคาสินค้าได้ตรงกับราคาจริง (ผลต่างราคาเป็น 0) จะได้รับเงินรางวัลอีก 100,000 บาทอีกด้วย",
"title": "The Price Is Right Thailand ราคาพารวย"
},
{
"docid": "728110#8",
"text": "เป็นเกมที่นำผู้ที่ผ่านจากรอบ One-Bid และ Pricing Game ทั้ง 4 คน มาหมุนวงล้อนำโชค ซึ่งมีคะแนนตั้งแต่ 5 ถึง 100 คะแนน ผู้เล่นจะมีโอกาสหมุนวงล้อได้ 2 ครั้ง เพื่อทำการรวมคะแนนของการหมุนให้ได้มากที่สุด แต่ถ้าเกิน 100 คะแนนหรือน้อยกว่าตัวตั้งด้านขวา จะตกรอบทันที หลังหมุนครั้งแรก ถ้าคิดว่าคะแนนสะสมพอที่จะเข้ารอบ สามารถหยุดเล่นได้ เพื่อรับคะแนนนั้น รอบนี้ ผู้ที่ได้คะแนนรวมมากที่สุดจาก 4 คน จะเข้าไปสู่รอบ Showcase ในกรณีที่หมุนวงล้อได้ 100 คะแนนจะได้เงินรางวัลพิเศษ 10,000 บาท หมุน 2 ครั้ง คะแนนรวมได้ 100 รับ 5,000 บาท",
"title": "The Price Is Right Thailand ราคาพารวย"
},
{
"docid": "728110#1",
"text": "รูปแบบการแข่งขัน จะคล้ายคลึงกับต้นฉบับของสหรัฐอเมริกาเกือบทุกประการ ยกเว้นรอบสุดท้าย ทั้งนี้ ราคาของสินค้าในรายการทั้งหมด เป็นราคามาตรฐาน ก่อนหักส่วนลดของแต่ละห้างสรรพสินค้า ณ วันที่ถ่ายทำ",
"title": "The Price Is Right Thailand ราคาพารวย"
},
{
"docid": "728110#9",
"text": "สำหรับการเล่นที่มีดารานักแสดงมาร่วมเล่นเกมนี้ด้วย ก็จะให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกดารารับเชิญคนใดคนหนึ่งให้หมุนวงล้อนี้ หากดารารับเชิญหมุนวงล้อได้คะแนนเท่าไหร่ ผู้เข้าแข่งขันที่เลือกดารารับเชิญคนนั้นก็จะได้รับเงินรางวัลไปก่อน 100 บาท คูณกับคะแนนที่หมุนได้ เช่น หมุนได้ 100 คะแนน ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นก็จะได้รับเงินรางวัล 100 x 100 = 20,000 บาท 50 x 50 = 10,000 บาท",
"title": "The Price Is Right Thailand ราคาพารวย"
},
{
"docid": "728110#7",
"text": "เป็นเกมที่ผู้ที่ผ่านเข้ารอบจากเกม One-Bid ทั้ง 4 คน (แต่มีระยะหนึ่งที่ลดจำนวนเหลือ 3 คน) จะต้องเล่นเกมทายราคาสินค้าตามที่รายการได้กำหนดไว้ ซึ่งมีดังนี้\nในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันทั้งหมดที่ได้เล่นเกมประจำวันสำเร็จทั้ง 4 เกม (แต่มีระยะหนึ่งที่เหลือเพียง 3 เกม) เรียกว่า Perfect Show",
"title": "The Price Is Right Thailand ราคาพารวย"
},
{
"docid": "728110#6",
"text": "มีข้อสังเกตประการหนึ่งในเกมนี้ว่า หากมีผู้เข้าแข่งขัน 1 ใน 4 คนที่ทายราคาตรงกับราคาจริง จะมีเสียงกระดิ่งดังออกมาเมื่อผู้เข้าแข่งขันทั้ง 4 คนได้ทายราคาเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันทั้ง 4 คนทายราคาเสร็จเรียบร้อยแล้วมีเสียงสัญญาณออดดังขึ้น นั่นหมายความว่าทุกคนทายราคาเกิน (Overbid)",
"title": "The Price Is Right Thailand ราคาพารวย"
},
{
"docid": "728110#3",
"text": "กรณีที่ทายราคาสินค้าตรงกับราคาจริง จะมีรางวัลโบนัส 5,000 บาทเพิ่มให้กับผู้ทายราคาตรงกับราคาจริงทันที เรียกว่า Perfect-Bid แต่ถ้าทุกคนทายราคาเกินราคาจริงหมด ต้องทายราคาใหม่ทุกคนทันทีโดยไม่เกินราคาต่ำสุดที่1 ใน 4 ผู้เข้าแข่งขันทาย เช่น คนแรกทาย 2,900 บาท คนที่สองทาย 3,500 บาท คนที่สามทาย 2,590 บาท และคนสุดท้ายทาย 4,200 บาท แล้วทุกคนทายเกินทั้งหมด ต้องทายใหม่โดยให้ต่ำกว่า 2,590 บาท เรียกว่า Overbid",
"title": "The Price Is Right Thailand ราคาพารวย"
}
] |
2346 | โครงสร้างของพระปรางค์สามยอด ทำมาจากอะไร? | [
{
"docid": "69187#0",
"text": "พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี เป็นโบราณสถานและ แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี ลักษณะเป็นปราสาทขอมในศิลปะบายน (พ.ศ. 1720 - 1773) โครงสร้างเป็นศิลาแลงประดับปูนปั้น สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์ พ.ศ. 1724 - ประมาณ 1757) เพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิวัชรยานประจำเมืองละโว้หรือลพบุรี ซึ่งในขณะนั้นเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรขะแมร์ แต่เดิมภายในปราสาทประธานประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง ปราสาททิศใต้ประดิษฐานรูปพระโลเกศวร (พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร) สี่กร และปราสาททิศเหนือประดิษฐานรูปพระนางปรัชญาปารมิตาสองกร",
"title": "พระปรางค์สามยอด"
}
] | [
{
"docid": "69187#9",
"text": "นอกจากนี้ในสมัยอยุธยาตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์และดัดแปลงพระปรางค์สามยอดเพื่อใช้เป็นพุทธศาสนสถานอีกครั้ง ดังจะเห็นได้จากการซ่อมแซมส่วนที่เป็นเพดาน โดยยังคงเห็นร่อยรอยของการปิดทองเป็นรูปดาวเพดาน และการสร้างฐานภายในพระปรางค์สามยอดหลายฐานลักษณะคล้ายกับฐานชุกชีด้วยอิฐ อันเป็นวัสดุที่แตกต่างไปจากส่วนอื่นๆ ของพระปรางค์สามยอดซึ่งส่วนใหญ่เป็นศิลาแลง",
"title": "พระปรางค์สามยอด"
},
{
"docid": "69187#12",
"text": "สำหรับรูปเคารพอื่นๆ ที่พบในพระปรางค์สามยอดนั้น ส่วนมากเป็นพระพุทธรูปนาคปรก ซึ่งกรมศิลปากรได้อัญเชิญไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี",
"title": "พระปรางค์สามยอด"
},
{
"docid": "22158#5",
"text": "วัดไชยวัฒนาราม มีปรางค์ประธานและปรางค์มุมอยู่บนฐานเดียวกัน พระปรางค์ประธานนำรูปแบบของพระปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้นมาก่อสร้าง แต่ปรางค์ประธานที่วัดไชยวัฒนารามทำมุขทิศยื่นออกมามากกว่า บนยอดองค์พระปรางค์ใหญ่อาจเคยประดิษฐานพระเจดีย์ขนาดเล็ก สื่อถึงพระเจดีย์จุฬามณีบนยอดเขาพระสุเมรุ รอบพระปรางค์ใหญ่ล้อมรอบไปด้วยระเบียงคตที่เดิมนั้นมีหลังคา ภายในระเบียงคตประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่เคยลงรักปิดทองจำนวน 120 องค์ เป็นเสมือนกำแพงเขตศักดิ์สิทธิ์ ตามแนวระเบียงคตตรงทิศทั้งแปดสร้างเมรุทิศ และ เมรุมุม (เจดีย์รอบๆพระปรางค์ใหญ่) ภายในเมรุทุกองค์ประดิษฐานพระพุทธรูป ภายในซุ้มเรือนแก้วล้วนลงรักปิดทอง ฝาเพดานทำด้วยไม้ประดับลวดลายลงรักปิดทองเช่นกัน",
"title": "วัดไชยวัฒนาราม"
},
{
"docid": "69187#14",
"text": "อายุเวลาของพระปรางค์สามยอด พิจารณาจากรูปแบบการก่อสร้างที่ใช้ศิลาแลงเป็นโครงสร้างพอกด้วยปูนและประดับด้วยลวดลายปูนปั้น อันเป็นรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่นิยมมากในศิลปะบายนของกัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และยังสอดคล้องกับรูปแบบของพระพิมพ์รูปปราสาทสามยอด ที่ภายในแต่ละยอดประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องนาคปรก พระโลเกศวรสี่กร และพระนางปรัชญาปารมิตา อันเป็นรูปเคารพที่เคยประดิษฐานภายในปราสาททั้ง 3 หลังของพระปรางค์สามยอดด้วย โดยพระพิมพ์ดังกล่าวสร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานที่รุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่งในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขะแมร์ จากเหตุผลดังกล่าว จึงสันนิษฐานได้ว่าพระปรางค์สามยอดสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ที่ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1724 ถึงประมาณ 1757",
"title": "พระปรางค์สามยอด"
},
{
"docid": "69187#10",
"text": "ปัจจุบันไม่พบหลักฐานรูปเคารพประธานในพระปรางค์สามยอด พบเพียงฐานสนานโทรณิที่ใช้เป็นแท่นรองสรง แต่จากรูปแบบของพระพิมพ์รูปปราสาท 3 องค์ที่พบภายในกรุปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือที่นิยมเรียกกันว่า \"พระพิมพ์รัตนตรัยมหายาน\" ทำให้ทราบว่า แต่เดิมภายในปราสาทประธานของพระปรางค์สามยอดคงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง พระโลเกศวรสี่กรในปราสาททิศใต้ และพระนางปรัชญาปารมิตาในปราสาททิศเหนือ เช่นเดียวกับที่ปรากฏในพระพิมพ์ โดยพระพิมพ์ดังกล่าวสร้างขึ้นภายใต้คติความเชื่อพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานจากขอม[3]",
"title": "พระปรางค์สามยอด"
},
{
"docid": "69187#17",
"text": "ต่อมาหลังการล่มสลายของพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานในอาณาจักรขะแมร์ พระปรางค์สามยอดจึงได้รับการดัดแปลงให้เป็นพุทธสถานในนิกายเถรวาท ดังเห็นได้จากการสร้างวิหารเชื่อมต่อกับปราสาทประธานในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งทรงสร้างพระนารายณ์ราชนิเวศน์และบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ในเมืองลพบุรี ในช่วงระยะเวลาที่เสด็จแปรพระราชฐานมายังเมืองลพบุรีเกือบตลอดรัชกาล",
"title": "พระปรางค์สามยอด"
},
{
"docid": "69187#15",
"text": "ส่วนวิหารด้านหน้าของพระปรางค์สามยอดคงสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ โดยพิจารณาจากเทคนิคการสร้างซุ้มโค้งของประตูและหน้าต่างที่ก่ออิฐตะแคงเป็นซุ้มโค้งหรืออาร์ช (arch) อันเป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มนิยมสร้างในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ดังตัวอย่างจากซุ้มโค้งของบ้านวิชาเยนทร์ จังหวัดลพบุรี ซึ่งสร้างในรัชสมัยดังกล่าวเช่นกัน นอกจากนี้ ผนังของวิหารซึ่งมีการเสริมศิลาแลงเข้าไประหว่างอิฐเพื่อให้โครงสร้างแข็งแรงขึ้น เป็นเทคนิคที่นิยมในรัชสมัยนี้เช่นเดียวกัน ดังปรากฏในอาคารหลายหลังที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี",
"title": "พระปรางค์สามยอด"
},
{
"docid": "77231#0",
"text": "\"พระปรางค์สามยอด อาจหมายถึง\"",
"title": "พระปรางค์สามยอด (แก้ความกำกวม)"
},
{
"docid": "48101#27",
"text": "ปรางค์กับปราสาทในวัฒนธรรมขอมโบราณไม่ใช่สิ่งก่อสร้างที่มีแบบเดียวกัน เพราะข้อความในจารึกทำขึ้นใน พ.ศ. 1664 กล่าวถึงการคุมศาสนสถานด้วยผ้าเพื่อประกอบพิธีอุทิศถวายว่า \"...คลุมพระปราสาทปรางค์ และพระถนน...\" [27] จารึกขอมอีกหลักหนึ่งทำขึ้นใน พ.ศ. 1682 กล่าวถึงการประดิษฐานรูปศังกรนารายณ์ไว้ในพระปรางค์[28] หากนึกภาพปราสาท พระปรางค์ และพระถนนให้เกี่ยวเนื่องกัน จะได้ว่าปราสาทคือส่วนที่มียอดชั้น ปรางค์คือส่วนที่ต่อเนื่องมามีหลังคาคลุม ประดิษฐานรูปเคารพ ต่อมาจึงเป็นทางเดินหรือถนน หากเป็นดังกล่าว ก็อาจเทียบกับปราสาทขอมบางองค์ได้ เช่น ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์[29]",
"title": "เจดีย์"
},
{
"docid": "69187#21",
"text": "อนึ่ง ครูชลหมู่ ชลานุเคราะห์ อดีตผู้อำนวยเพลงวงดุริยางค์สากลกรมศิลปากร ศิษย์ของศาสตราจารย์พระเจนดุริยางค์ (ผู้ประพันธ์เพลงประจำตราบริษัท / แฟนแฟร์) กล่าวถึงองค์พระปรางค์จำลองดังกล่าว อาจเป็นผลงานของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี",
"title": "พระปรางค์สามยอด"
},
{
"docid": "69187#4",
"text": "ส่วนยอดหรือ<i data-parsoid='{\"dsr\":[3769,3778,2,2]}'>ศิขระ สร้างด้วยหินทรายเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงายซ้อนกัน 3 ชั้น ถัดลงมาเป็นการยกเก็จสามเก็จตรงด้านและมุมประดับด้วยกลีบขนุนทำจากศิลาแลง และบางส่วนทำจากปูนปั้นเป็นรูปบุคคลยืนอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ส่วนที่ยกเก็จชั้นที่ 4 เดิมทั้ง 4 ทิศ จะมีการปั้นเทพประจำทิศอยู่ในกลีบขนุนและตอนล่าง ได้แก่ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณประจำทิศตะวันออก พระวรุณทรงหงส์ ประจำทิศตะวันตก ท้าวกุเวรทรงมกร ทิศเหนือ และ พระยมทรงกระบือ ทิศใต้ ปัจจุบันเหลือเพียงบางส่วน สันหลังคาของมุขกระสันประดับด้วยบราลีศิลาแลงปั้นเป็นพระพุทธรูปประทับสมาธิราบ ปางสมาธิ ในซุ้มเรือนแก้ว ปัจจุบันเสียหายทั้งหมด",
"title": "พระปรางค์สามยอด"
},
{
"docid": "68620#7",
"text": "พบบริเวณ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีรูปแบบคล้ายศิลปะขอม เช่น เทวาลัย ปราสาท พระปรางค์ ต่างๆ\nนิยมใช้อิฐ หินทรายและศิลาแลง โดยใช้อิฐและหินทรายสำหรับสร้างเรือนปราสาทและใช้ศิลาแลง\nสร้างส่วนฐาน ต่อมาก็สร้างด้วยศิลาแลงทั้งหลัง\nสถาปัตยกรรมที่ยังคงสภาพสมบูรณ์อยู่เช่น ปรางค์วัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย และ พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี",
"title": "สถาปัตยกรรมไทย"
},
{
"docid": "69187#3",
"text": "เป็นปราสาทขอม 3 องค์ เชื่อมต่อกันด้วยมุขกระสัน (อันตรละ) โดยวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ หันหน้าสู่ทิศตะวันออก ปราสาทประธานมีความสูงใหญ่กว่าอีก 2 องค์ โครงสร้างของปราสาททำจากศิลาแลงฉาบปูน มีการประดับประดาตามส่วนต่างๆ ของปราสาทด้วยปูนปั้น อันเป็นลักษณะของงานสถาปัตยกรรมในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์ พ.ศ. 1724 - ประมาณ 1757) ที่นิยมใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุในการก่อสร้าง เช่น ปรางค์พรหมทัตที่ปราสาทพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งประดิษฐานพระรูปของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปราสาทวัดกำแพงแลง จังหวัดเพชรบุรี ที่สร้างเป็นปราสาทศิลาแลง 3 องค์เรียงกันในลักษณะเดียวกับพระปรางค์สามยอด และปรางค์องค์กลางของวัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย เป็นต้น",
"title": "พระปรางค์สามยอด"
},
{
"docid": "48101#31",
"text": "สำหรับปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง และปรางค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรีนั้น มีรูปแบบเป็นอย่างปรางค์ไทยแล้ว[36] ส่วนปรางค์ที่วัดพระพายหลวง สุโขทัย มีที่เรียกว่าปราสาทดังกล่าวมาข้างต้น เพราะมีรูปแบบเป็นปราสาทแบบขอมในศิลปะลพบุรีเช่นกัน แต่เรียกตามความเคยชินว่าปรางค์สามยอดดังได้กล่าวมาแล้วเช่นกัน",
"title": "เจดีย์"
},
{
"docid": "48101#26",
"text": "การที่นิยมเรียกเจดีย์ทรงปรางค์อย่างสั้นๆว่า พระปรางค์ ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่าพระปรางค์ไม่ใช่เจดีย์ ซ้ำเรียกปราสาทแบบขอมว่าปรางค์เข้าด้วย ทำให้ชวนสับสนยิ่งขึ้น คำว่าปราสาทใช้เฉพาะศาสนสถานศิลปะขอม เช่น ปราสาทบายน ในประเทศกัมพูชา[26] ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา แต่ปราสาทสามยอดที่ลพบุรี กลับนิยมเรียกว่า พระปรางค์สามยอด ทั้งที่เป็นรูปแบบปราสาทขอม นับว่าเรียกตามปากที่คุ้นเคยกัน",
"title": "เจดีย์"
},
{
"docid": "117903#6",
"text": "ด้านหลังพระอุโบสถคือ พระปรางค์ซึ่งพระปรางค์เป็นพระปรางค์องค์เดียวโดด ๆ ไม่ใช่เรียงกันสามองค์เช่น พระปรางค์สามยอดแต่เชื่อว่าสร้างในรุ่นเดียวกัน คือ ระหว่าง พ.ศ. 1500 - 1800 บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและได้ชื่อว่ามีลวดลายปูนปั้นงามเป็นเลิศ แต่น่าเสียดายในการบูรณะทำให้เสียหายไปไม่ใช่น้อยแต่ยังพอหลงเหลือให้ชมความงามคือทางซ้ายหรือทางใต้ของพระปรางค์ เงยหน้ามองสูงสักหน่อย ที่หน้าบันจะเห็นภาพพระอมิตาประทับบนดอกบัวมีก้านในสวรรค์สุขาวดี ตามคติพุทธมหายาน ลายปูนปั้นที่หน้ากระดานแถวบนสุด เป็นลายกระหนกที่รับอิทธิพลขอมศิลปะสมัยละโว้ ลายปูนปั้น มกรคายนาคหน้าบันซุ้มโคปุระ หรือซุ้มหน้าของปรางค์ประธาน เป็นศิลปะละโว้ กับอโยธยา วิหารหลวง อยู่ทางขวาของพระอุโบสถ เข้าใจว่าปฏิสังขรณ์จนกลายแบบไปแล้ว เดิมประตูเป็นศิลปะไทยแต่หน้าต่างนั้นเป็นศิลปะแบบโกธิค ของฝรั่งเศสแสดงว่าสร้างสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฯ\nเจดีย์รายอยู่รอบพระปรางค์ใกล้ชิดกำแพงวัด หลายองค์ยังมีภาพลวดลายปูนปั้นที่งดงามอยู่ วิหารคด ยังมีสภาพที่ดีเหลือให้ชมมาบรรจบกันที่ท้ายวิหารหลวง",
"title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี"
},
{
"docid": "69187#24",
"text": "วัดใหม่ปรางค์สามยอด วัดที่เคยตั้งอยู่ใกล้เคียงกับพระปรางค์สามยอด ปัจจุบันได้สูญหายไป",
"title": "พระปรางค์สามยอด"
},
{
"docid": "65682#14",
"text": "การวางผังของปราสาท พบการวางแนวปราสาทคล้ายคลึงกับปราสาทเขมรทั่วไป คือพบยอดปรางค์ปราสาท 5 หลัง เรียงประจำตามทิศทั้ง 4 ซึ่งที่วัดกำแพงแลงแห่งนี้พบว่าปราสาททางทิศตะวันออกเป็นโคปุระ หรือซุ้มประตูทางเข้ามีการวางแนวของปราสาทสำคัญ 3 หลังในแนวเหนือ-ใต้ โดยมีปราสาทประธานองค์กลางเป็นแกน ทางทิศตะวันตกพบปราสาทอีกหนึ่งหลัง เมื่อมองเพียงรูปของการวางผังอาจเทียบคล้ายกับการวางผังของปราสาทเขมรโดยทั่วไป การวางแนวของปราสาทสำคัญ 3 หลังเทียบได้กับที่พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี ซึ่งมีผังการวางแนวปรางค์ประธาน เรียงกันสามองค์เช่นกัน โดยการวางผังนี้ อยู่ภายใต้คติความเชื่อของศาสนาพุทธ ลัทธิวัชรยาน คือการสร้างปราสาท สามหลัง เพื่อเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ ดังนี้\nจากลักษณะของปราสาทวัดกพแพงแลงเมื่อเทียบกับปราสาทเขมรแล้วมีความใกล้เคียงกันมาก ตั้งแต่ส่วนฐานจนถึงส่วนยอดนั้น มีองค์ประกอบที่คล้ายกัน กล่าวคือองค์ประกอบในส่วนของการสร้างต่างๆ เช่น บราลีบนสันหลังคา ชั้นภูมิของปรางค์ ยอดพินทุ กลีบขนุน ก็เป็นไปตามระเบียบวิธีการสร้างปราสาทเขมร แต่การวางผังปราสาทกำแพงแลงแห่งนี้ พบเพียงส่วนของเรือนธาตุและมุขที่ยื่นออกมาเท่านั้น ไม่มีส่วนของมณฑป มุขสันตามแบบปราสาทเขมรหลังอื่นๆ ที่พบในประเทศไทย",
"title": "วัดกำแพงแลง"
},
{
"docid": "842836#1",
"text": "พระปรางค์วัดอรุณฯ ได้รับการบูรณะเสมอมา จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทำการบูรณะพระปรางค์ครั้งใหญ่ ซึ่งก็คือแบบที่เห็นในปัจจุบัน องค์พระปรางก่ออิฐถือปูน ประดับด้วยชิ้นเปลือกหอย กระเบื้องเคลือบ จานชามเบญจรงค์สีต่าง เป็นลายดอกไม้ ใบไม้ และลายอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน เป็นจำนวนมหาศาล นอกจากนี้ยังมีการประดับตกแต่งด้วย กินนร กินรี ยักษ์ เทวดา และพญาครุฑ ส่วนยอดบนสุดของพระปรางค์ติดตั้งยอดนภศูล",
"title": "พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร"
},
{
"docid": "69187#13",
"text": "เป็นวิหารก่ออิฐถือปูน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก สภาพของวิหารคงเหลือเพียงผนังทั้ง 2 ข้างและผนังหุ้มกลองทางด้านทิศตะวันออก ส่วนเครื่องบนพังทลายไปหมดแล้ว ประตูของผนังหุ้มกลองด้านทิศตะวันออกก่ออิฐเป็นซุ้มโค้งหรืออาร์ช (arch) แบบตะวันตก ส่วนประตูทางเข้าที่ผนังด้านข้างของวิหารและหน้าต่างที่ผนังด้านหลังของวิหารก่ออิฐเป็นซุ้มโค้งกลีบบัว (pointed arch) แบบศิลปะอิสลาม ป้จจุบันเหลือเพียงซุ้มหน้าต่างด้านทิศเหนือเท่านั้น โครงสร้างผนังของก่ออิฐหนาทึบสลับกับศิลาแลงบางส่วน อันเป็นเทคนิคที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรมในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เช่นเดียวกับกับอาคารที่สร้างขึ้นรัชสมัยนี้ที่นิยมก่อสร้างด้วยอิฐแทรกด้วยศิลาแลงเป็นชั้นๆ เช่น พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ในพระราชวังโบราณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอาคารหลายหลังในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี ด้านหลังของวิหารยกเก็จเป็นกะเปาะเชื่อมต่อกับประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธาน ซึ่งการยกเก็จเป็นกะเปาะนี้เป็นรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของวิหารซึ่งนิยมสร้างในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เช่น พระที่นั่งจันทรพิศาล ภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ และวิหารหลวงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี ภายในวิหารประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูปประทับสมาธิราบ ปางสมาธิ ทำจากศิลา",
"title": "พระปรางค์สามยอด"
},
{
"docid": "69187#22",
"text": "องค์พระปรางค์ขนาดจำลอง 2 แห่ง ได้แก่",
"title": "พระปรางค์สามยอด"
},
{
"docid": "56631#0",
"text": "พระปรางค์วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองกระแซง อำเภอเมืองเพชรบุรี (อำเภอคลองกระแชง) สร้างมามากกว่า 1,900 ปี มีพระปรางค์ห้ายอด ล้อมรอบด้วยพระระเบียงคด ที่หน้าบันพระวิหารหลวงประดับลวดลายปูนปั้นศิลปะสมัยอยุธยา ใบเสมาคู่สมัยอยุธยาตอนปลาย ทำด้วยหินทรายแดง จำหลักลวดลายทั้งใบ ความสูงถึงยอดนภศูลประมาณ 55 เมตร รอบฐานยาว 120 เมตร ",
"title": "พระปรางค์วัดมหาธาตุ"
},
{
"docid": "94484#3",
"text": "ตัวเทวสถานประกอบด้วยปราสาทอิฐ 3 องค์ เรียงตัวกันในแนวเหนือใต้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกตามธรรมเนียมที่พบในกัมพูชา องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่าองค์อื่น ๆ มีประตูทางเข้าเพียงประตูเดียวในแต่ละปรางค์ ส่วนอีกสามประตูเป็นประตูหลอก และไม่มีฉนวนเชื่อมดังพระปรางค์สามยอด แต่เดิมก่อด้วยอิฐไม่สอปูนและคาดว่าคงพังทลายลง ช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลายในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงมีการปฏิสังขรปรางค์ทั้งสามองค์ขึ้นใหม่ในรูปแบบถืออิฐสอปูนแต่ละก้อนเชื่อมด้วยยางไม้ และสร้างอาคารอีกสองหลังขึ้นเพิ่มเติม โดยอาคารแรกเป็นวิหารทางด้านหน้า ส่วนอาคารอีกหลังทางทิศใต้สร้างเป็นถังเก็บน้ำประปา และอาคารทั้งสองเป็นศิลปะไทยผสมยุโรปตามพระราชนิยม โดยประตูทางเข้ามีลักษณะโค้งแหลม ต่อมาเมื่อเทวสถานปรางค์แขกชำรุดทรุดโทรมลง กรมศิลปากรจึงเข้าไปทำการบูรณะเพิ่มเติมและเทคอนกรีตเสริมฐานราก",
"title": "เทวสถานปรางค์แขก"
},
{
"docid": "293432#0",
"text": "เทศกาลโต๊ะจีน ได้จัดว่า เป็น 1 ใน 10 ของเทศกาลที่แปลกที่สุดในโลก และเป็นเทศกาลงานประเพณีที่สำคัญของจังหวัดลพบุรี\nการจัดงานเลี้ยง'โต๊ะจีนลิงของจังหวัดลพบุรี เริ่มมีขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2532 สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดลพบุรีจนโด่งดังไปทั่วโลก และถูกจัดเข้าปฏิทินงานประจำปีของจังหวัด งานดังกล่าวเริ่มขึ้นจากการลงแรงกายแรงความความคิดของอาทิตย์ ทวีคูณ เสนอต่อ นายยงยุทธ กิจวัฒนานุสนธิ์ ประธาน บริษัท ลพบุรีอินน์กรุ๊ป และดำเนินการต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบันขึ้นสู่ปีที่ 14 ลิงบริเวณศาลพระกาฬ พระปรางค์สามยอด จะแยกพวกกันกับลิงบริเวณตึก สภาพของ ลิงศาลพระกาฬ ค่อนข้างได้รับการเลี้ยงดูอย่างอิ่มหมีพีมัน เนื่องจากมีผู้คนที่มากราบไหว้สักการะศาลฯ เลี้ยงดู ขณะที่ ลิงพระปรางค์สามยอด และลิงตึกที่มีอยู่ประมาณ 3,000 ตัว มีความเป็นอยู่ที่ลำบาก บางมื้อก็กินไม่อิ่ม",
"title": "เทศกาลโต๊ะจีนลิง"
},
{
"docid": "56631#10",
"text": "พระปรางค์ 5 ยอด (พระศรีรัตนมหาธาตุ) พระปรางค์มีรูปทรงแบบเขมร พื้นล่างของพระปรางค์เป็นศิลาแลง สร้างมาพร้อมกับวัดกำแพงแลง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเมืองเพชรบุรี พระปรางค์นี้ได้บรรจุพระบรมสาริริกธาตุไว้ทั้ง 5 ยอด คือ ยอดใหญ่ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุุ ยอดเล็กทางด้านทิศตะวันออกเป็นอุทเทสเจดีย์ ทางด้านทิศใต้เป็นธาตุเจดีย์ ทางด้านทิศตะวันตกเป็นบริโภคเจดีย์ และทางทิศเหนือบรรจุพระธรรมเจดีย์\nพ.ศ. 2479 พระปรางค์ 5 ยอดนี้เคยชำรุดหักพังมาแล้ว 2 ครั้ง วัดส่วนสูงได้ 27 วาเศษ ส่วนฐานวัดโดยรอบได้ 60 วาเศษ เป็นปูชนียสถานที่ประชาชนเคารพบูชามาก",
"title": "พระปรางค์วัดมหาธาตุ"
},
{
"docid": "48101#30",
"text": "สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงทีลายพระหัตถ์ถวายสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ความตอนหนึ่งว่า \"ของโบราณทางพุทธศาสนาซึ่งสร้างไว้ทางเมืองเหนือ หม่อมฉันสังเกตอย่าง 1 ว่าถ้าสร้างในสมัยเมื่อขอมยังเป็นใหญ่ สร้างตามลัทธิมหายาน ยกตัวอย่างดังพระศรีรัตนมหาธาตุที่เมืองเชลียงก็เป็นปรางค์อย่างเดียวกับพระมหาธาตุเมืองลพพบุรี วัดพระพายหลวงที่เมืองสุโขทัยก็เป็นปรางค์สามยอดแบบเดียวกับปรางค์สามยอดที่เมืองลพบุรี\"[35]",
"title": "เจดีย์"
},
{
"docid": "842836#3",
"text": "พระปรางค์วัดอรุณฯ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ ฐาน เรือนธาตุ และเรือนยอด มีสัณฐานดุจเขาพระสุเมรุ ด้วยความกว้างราว 234 เมตร ส่วนตัวเรือนฐานทำการย่อมุมลง และเรือนยอดที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆขึ้นไป ในแต่ละชั้นมีช่องรูปกินนรและกินรี เชิงบาตรเหนือช่องมีรูปมารแบกกระบี่แบกสลับกัน เหนือขึ้นไปเป็นซุ้มคูหารูปพระพายทรงม้า เหนือขึ้นไปเป็นยอดปรางค์มีรูปครุฑยุดนาคและเทพนมอยู่เหนือซุ้มคูหา ส่วนยอดปรางค์เป็นนภศูลปิดทอง ",
"title": "พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร"
},
{
"docid": "142465#16",
"text": "ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จะยึดหลักการสร้างแบบพระเมรุมาศตามตำราโบราณราชประเพณีครั้งกรุงเก่าทุกประการ คือ ทำเป็นพระเมรุอย่างใหญ่ มีตัวพระเมรุ 2 ชั้นต่างไปอยู่ภายในพระเมรุชั้นนอกที่ทำเป็นพระเมรุยอดปรางค์หรือยอดรูปดอกข้าวโพด ส่วนใหญ่เป็นไปตามแบบแผนมีต่างกันไปในรายละเอียดเรื่องการออกแบบตามฝีมือช่าง[14] สำหรับพระเมรุมาศพระบรมศพรัชกาลที่ 4 ถือได้ว่า เป็นพระเมรุมาศสุดท้ายที่ทำตามแบบโบราณราชประเพณี แต่พระเมรุใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมียอดเรือนเพียง 5 ยอด ตามแบบอยุธยาได้ยุติลง และกลายเป็นว่ารูปแบบ พระเมรุโท ที่เป็นปรางค์ 5 ยอดตามแบบแผนอยุธยา กลับทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ความเป็นพระเมรุเอก สำหรับกษัตริย์ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น[15]",
"title": "พระเมรุมาศ"
},
{
"docid": "69187#16",
"text": "จากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่า พระปรางค์สามยอดสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิวัชรยานประจำเมืองละโว้ เพื่อประดิษฐานรูปพระวัชรสัตว์นาคปรก พระโลกิเตศวร และพระนางปรัชญาปารมิตา อันเป็นรูปเคารพที่นิยมสร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานในรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่พุทธศาสนาลัทธิวัชรยานเจริญรุ่งเรืองอย่างมากในอาณาจักรขะแมร์ เทียบได้กับศาสนาประจำอาณาจักรภายใต้พระราชูปถัมภ์ของพระองค์ ดังจารึกปราสาทพระขรรค์ที่กล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ว่า หลังทรงครองราชย์ได้ 10 ปี ได้ทรงสร้างเทวรูปทำด้วยทองคำ เงิน สัมฤทธิ์ และศิลา เพื่อส่งไปพระราชทานยังเมืองต่างๆ ในราชอาณาจักรของพระองค์เป็นจำนวนถึง 20,400 องค์ และทรงส่งพระชัยพุทธมหานาถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่องอีก 23 องค์ไว้ตามเมืองใหญ่ ๆ ในอาณาจักร เช่นที่ “ละโว้ทยปุระ” (จังหวัดลพบุรี) “สุวรรณปุระ” (จังหวัดสุพรรณบุรี) “ศัมพูกปัฏฏนะ” (เมืองหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย) “ชยราชบุรี” (จังหวัดราชบุรี) “ชยสิงหบุรี” (เมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี) “ชยวัชรบุรี” (จังหวัดเพชรบุรี) ซึ่งในขณะนั้นเมืองละโว้ในรัชสมัยของพระองค์ก็มีศักดิ์เป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรขะแมร์ด้วย ดังปรากฏในจารึกของอาณาจักรขะแมร์ว่า เจ้าชายอินทรวรมัน (ต่อมา คือ พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2) พระราชโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กับพระนางชัยราชเทวี ทรงครองเมือง “ละโว้”[5]",
"title": "พระปรางค์สามยอด"
}
] |
3965 | เมยท์ มิเชลล์ ราดรีเกซมีมารดาชื่อว่าอะไร? | [
{
"docid": "642144#4",
"text": "ราดรีเกซ เกิดที่เมืองแซนแอนโทนีโอ (San Antonio) รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา แม่ของเธอ คาเมน มิลาดี้ ราดรีเกซ เป็นคนพื้นเมืองของโดมินิกัน และพ่อของเธอ ราฟาเอล ราดรีเกซ เป็นชาวเปอร์โตริโก ทำงานในกองทัพสหรัฐ[8][9][10] ราดรีเกซได้ย้ายตามแม่ของเธอไปอยู่สาธารณรัฐโดมินิกันเมื่อเธออายุได้ 8 ขวบและอาศัยอยู่ที่นั่นจนกระทั่งอายุ 11 ปี หลังจากนั้นเธอย้ายไปอยู่ที่เปอร์โตริโกจนอายุได้ 17 ปี และสุดท้ายเธอตั้งรกรากที่เมืองเจอร์ซีย์ (Jersey City) รัฐนิวเจอร์ซีย์ เธอหยุดเรียนไปตอนมัธยมปลายแต่ก็มาเรียนGED ต่อ[11] เธอถูกไล่ออกมา 5 โรงเรียน[12] เธอเข้าเรียนหลักสูตรเร่งรัดที่โรงเรียนทางธุรกิจก่อนที่จะออกจากอาชีพนักแสดง โดยเธอนั้นมีความฝันสูงสุดที่จะเป็นนักเขียนบทและผู้อำนวยการสร้าง[13]",
"title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ"
}
] | [
{
"docid": "826530#0",
"text": "เร็ว..แรงทะลุนรก 8 () หรือ Fast & Furious 8 หรือ Fast 8 (บางครั้งใช้ F8) เป็นภาพยนตร์โลดโผน กำกับโดยเอฟ. แกรี เกรย์ เขียนบทโดยคริส มอร์แกน เป็นภาพยนตร์ลำดับที่ 8 ในชุด \"เดอะฟาสต์แอนด์เดอะฟิวเรียส\" นำแสดงโดยวิน ดีเซล, มิเชลล์ ราดรีเกซ, ดเวย์น จอห์นสัน, ไทรีส กิบสัน, ลูดาคริส, ชาร์ลิส โตรน, เจสัน สเตธัม, เคิร์ต รัสเซลล์และสกอตต์ อีสต์วุด ภาพยนตร์เข้าฉายในสหรัฐ วันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 2017",
"title": "เร็ว..แรงทะลุนรก 8"
},
{
"docid": "642144#7",
"text": "ราดรีเกซมีบทบาทที่โดดเด่นในภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จ รวมถึงบทบาทของเธอที่เป็นแล็ตตี้ โอติซ ในภาพยนตร์เรื่อง เร็ว แรง ทะลุนรก (The Fast and the Furious) ในปี 2001 และในบทของเรน โอคัมโป ในหนังเรื่องผีชีวะ(Resident Evil) ในปี 2002. เธอปรากฏตัวในหนังเรื่องคลื่นยักษ์รักร้อน(Blue Crush) และสวาทหน่วยจู่โจมระห่ำโลก(S.W.A.T.)[20] ในปี 2004, ราดรีเกซได้พากษ์เสียงของเธอในวิดีโอเกมชื่อว่า Halo 2, เล่นในตัวชื่อว่ามารีน(Marine)[21] เธอยังมีการให้เสียงของอลิซ ริคาร์โรว์(Liz Ricarro) ในการ์ตูนเน็ตเวิร์คซีรีส์(การ์ตูนเน็ตเวิร์ค series) ของ IGPX.[6] จากปี 2005 ถึง 2006 เธอได้รับบทเล่นเป็นตำรวจ แอนนา โลนิการ์ คอร์เทซ(Ana Lucia Cortez)[22] ในซีรีส์โทรทัศน์ชื่อ Lost เธอปรากฏตัวในซีชั่นที่ 2 (ตัวละครที่ปรากฏตัวในครั้งแรกเป็นเรื่องย้อนหลังในช่วงจบซีชั่นแรกชื่อว่า \"Exodus: Part 1\") และมาปรากฏตัวอีกครั้งในฐานะนักแสดงรับเชิญในซีชั่นที่ 5 \"The Lie\" ในปี 2009 เธอกลับมาอีกครั้งในตอนสุดท้ายของซีรีส์ที่ชื่อตอนว่า \"What They Died For\", ในปี 2010 เมื่อปี 2006 ราดรีเกซที่ตอนสำคัญที่เป็นเอพพิโซดของตัวเธอเองใน G4's แสดงเป็น Icons.[23]",
"title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ"
},
{
"docid": "642144#20",
"text": "ในวันที่ 1 ธันวาคม ปี 2005 ราดรีเกซถูกจับกุมจากการขับรถ[54] โรดิเกซได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาว่าเธอไม่ยอมรับความผิดเมื่อถูกฟ้องร้อง[55] แต่ในวันของการพิจารณาคดีของเธอในเดือนเมษายน ปี 2006, เธอกลับรับสารภาพและยินดีที่จะจ่ายค่าปรับ เธอเลือกที่จะเป็นจ่ายเงิน 500 ดอลลาร์สหรัฐและถูกคุมขังเป็นเวลา 5 วันแทนที่จะบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน 240 ชั่วโมง.[51] เธอได้อ้างว่าปริมาณสารสเตียรอยด์ที่เธอได้รับในปริมาณที่สูงจากการเบาเทาอาการแพ้มีผลกับพฤติกรรมของเธอ[56] เพราะอุบัติเหตุที่ไกลลัว(Kailua) มันอยู่ในช่วงการคุมความประพฤติของเธอที่ลอสแอนเจลิส เธอถูกตัดสินจำคุกถึง 60 วันในคุก และถูกคุมความประพฤติโปรแกรมการฟื้นฟูเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอร์และอีก 30 ในการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อชุมชน, รวมถึงงานรณรงค์ต่อต้านแม่เมาแล้วขับ(Mothers Against Drunk Driving) โดยผู้พิพากษาลอสแอนเจลิสในวันที่ 1 พฤษภาคม ปี 2006.[57] เพราะความอึดอัด เธอได้รับการปล่อยตัวจากคุกเพียงหลังจากที่เธอเดินเขาไปในคุกในวันเดียวกัน เธอนำประสบการณ์เข้าไปเขียนในบล็อกของเธอ[58]",
"title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ"
},
{
"docid": "642144#5",
"text": "ในช่วงเวลาหนึ่งเธอถูกเลี้ยงโดยคุณยายและถูกนำขึ้นเป็นพยานพระยะโฮวา ตามศาสนาแม่ของเธอ แม้ว่าเธอจะเริ่มละทิ้งศรัทธา[14][15] การทดสอบดีเอ็นเอของโรดิเกซจัดทำขึ้นตามโปรแกรมของรายการโทรทัศน์ที่มีชื่อว่า Finding Your Roots ว่าบรรพบุรุษของเป็น 72.4% ยุโรป, 21.3% แอฟริกัน, and 6.3%เป็นชนพื้นเมืองอเมริกัน[16] ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีบางส่วนขัดแย้งกันระหว่างเชื้อชาติกับครอบครัวของเธอ ตั้งแต่พ่อของเธอเป็นเปอร์โตริโกผิวขาวและแม่ของเธอซึ่งเป็นโดมินิกันซึ่งเป็นผิวสี",
"title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ"
},
{
"docid": "642144#19",
"text": "ในปี 2005 ขณะที่หนังเรื่อง Lost ใน รัฐฮาวาย ราดรีเกซถูกจับกุมจากตำรวจโฮโนลูลู(โฮโนลูลู) หลายครั้ง เธอถูกกล่าวหาเรื่องการขับรถในเขตเกาะเกาะโอวาฮู(เกาะโอวาฮู) ในวันที่ 1 พฤศจิกายนและถูกปรับเป็นเงิน 357 ดอลลาร์สหรัฐ. เธอต้องจ่าย 300 ดอลลาร์สหรัฐในเรื่องการขับในวันที่ 20 ตุลาคมและถูกปรับ 197 เหรียญในวันที่ 24 เดือนสิงหาคม[53]",
"title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ"
},
{
"docid": "642144#13",
"text": "ราดรีเกซได้ผันตัวเข้ามาทำงานเป็นนักจัดรายการ(ดีเจ) ปี 2009 – เป็นไนท์คลับที่เป็นนานาชาติและเป็นดีเจในรอบปฐมทัศน์ภาพยนตร์ที่ช่วงท้ายมีงานปาร์ตี้[35] โรดิเกซระบุว่ามีการมิกเพลงที่เป็นแนวเฮาส์มิวสิค(เฮาส์ (แนวดนตรี)) และมีการบันทึก เธอพูดไว้ว่า \"ส่วนใหญ่ฉันชอบเล่นในที่ที่มีคนมากที่เป็นกลุ่มผู้ใหญ่เพื่อฉันจะย้อนกลับไปในยุค 1930s ไปถึงปี 1960s, 1970 และ1980s – เอามาไว้ในบ้าน มีแนวฮิปฮอปแล้วก็อาร์แอนด์บี ฉันชอบที่จะผสมผสานเสียงดนตรีอีเล็กทรอนิค\"",
"title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ"
},
{
"docid": "642144#15",
"text": "ในช่วงต้นปี 2000 ราดรีเกซได้ยุติการหมั้นกับแฟนหนุ่มที่เป็นชาวมุสลิม โดยเหตุผลหรือข้ออ้างมาจากความแตกต่างทางศาสนาของฝ่ายชายที่เขาขอร้องจากเธอ[36] หลังจากนั้นได้มีข่าวว่าเธออาจมีความสัมพันธ์กับวิน ดีเซล ที่เป็นพระเอกคู่กับเธอในหนังเรื่อง เร็ว แรง ทะลุนรก (Fast and the Furious)[37] และโอลิเวียร์ มาร์ติเนซ (Olivier Martinez) ที่ได้มีโอกาสร่วมงานกับเธอในหนังเรื่อง ส.ว.า.ท. หน่วยจู่โจมระห่ำโลก (S.W.A.T.) [38][39]",
"title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ"
},
{
"docid": "354831#0",
"text": "เจซัส โรดรีเกซ () เกิดวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1986 เป็นนักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกันเชื้อสายเม็กซิโก เป็นอดีตนักมวยปล้ำดับเบิลยูดับเบิลยูอี(WWE) เป็นอดีตโฆษกผู้ประกาศให้กับอัลเบร์โต เดล รีโอ ในชื่อว่า ริคาร์โด โรดรีเกซ () และนักมวยปล้ำสวมหน้ากากในชื่อ เอลโลคัล () เคยทำงานเป็นผู้ฝึกอบรมมวยปล้ำอาชีพ Fit Pit และยังเคยเป็นนักมวยปล้ำอาชีพชื่อ คีเมรา ()",
"title": "ริคาร์โด โรดรีเกซ"
},
{
"docid": "642144#0",
"text": "เมยท์ มิเชลล์ ราดรีเกซ (English: Mayte Michelle Rodriguez[1]; /rɑːˈdriːɡɛz/) เกิดเมื่อ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1978[2] รู้จักกันดีในชื่อ มิเชลล์ ราดรีเกซ, เป็นนักแสดงชาวอเมริกัน เป็นผู้เขียนบทภาพยนตร์ และเป็นดีเจ[3] เธอเริ่มมีชื่อเสียงจากบทบาทในภาพยนตร์เป็นนักมวยเจ้าปัญหาในภาพยนตร์อิสระเรื่อง Girlfight ในปี 2000 ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีและทำให้เธอสามารถคว้ารางวัลมาได้หลายรางวัล รวมไปถึงรางวัล Independent Spirit Award ซึ่งจะประกาศก่อนรางวัลออสการ์ 1 วันซึ่งถือเป็นรางวัลสำคัญสำหรับหนังอิสระต้นทุนต่ำ[4] และรางวัล Gotham Award ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับแนวหนังอินดี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งถือว่าเปิดตัวครั้งแรกได้ดี[5] และในปีต่อมา เธอเริ่มได้รับบทนำที่ชื่อว่า เล็ตตี้ โอติซ (รายชื่อตัวละครในเดอะฟาสต์แอนด์เดอะฟิวเรียส) ในภาพยนตร์ดังเรื่อง เร็ว แรง ทะลุนรก (The Fast and the Furious) ในปี 2001, บทบาทของเธอในเวลาต่อมาที่เธอแสดงเรื่อง Fast & Furious ในปี 2009 และ เร็ว..แรงทะลุนรก 6 ในปี 2013",
"title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ"
},
{
"docid": "537457#0",
"text": "เร็ว..แรงทะลุนรก 6 () รู้จักในอีกชื่อว่า Fast Six หรือ Furious 6 เป็นภาพยนตร์โลดโผน/ระทึกขวัญลำดับที่ 6 ในชุด\"เดอะฟาสต์แอนด์เดอะฟิวเรียส\" เขียนบทโดยคริส มอร์แกน และกำกับโดยจัสติน ลิน นำแสดงโดย วิน ดีเซล, พอล วอล์กเกอร์, ดเวย์น จอห์นสัน และ มิเชลล์ ร็อดริเกซ เข้าฉายเมื่อปี ค.ศ. 2013",
"title": "เร็ว..แรงทะลุนรก 6"
},
{
"docid": "642144#1",
"text": "เส้นทางสายอาชีพของเธอ, โรดิเกซเล่นในบทบาทที่ยากลำบาก, เป็นนักแสดงหญิงอิสระคนที่ประสบความสำเร็จในวงการแสดงภาพยนตร์, รวมไปถึงหนังที่เธอแสดงในเรื่อง คลื่นยักษ์รักร้อน(Blue Crush),สวาทหน่วยจู่โจมระห่ำโลก(S.W.A.T.),วันยึดโลก(Battle: Los Angeles), และ อวตาร(Avatar) และเธอยังเป็นที่รู้จักดีในบทบาทนักแสดงภาพยนตร์แนวแอ๊กชั่นตลกสนุกสนาน(action comedy) ในเรื่อง ระห่ำกระฉูด(Machete) และคนระห่ำ ดุกระฉูด(Machete Kills) และ เรน โอแคมโบ(Rain Ocampo) ยังมีในหนังแนวนิยายวิทยาศาสตร์(บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ films) ในเรื่อง ผีชีวะ(Resident Evil) และผีชีวะ 5( Resident Evil: Retribution)",
"title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ"
},
{
"docid": "642144#21",
"text": "ในเดือนกันยายน ปี 2007 ราดรีเกซได้ถูกกล่าวหาว่าละเมิดการถูกคุมความประพฤติโดยการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณชนไม่เสร็จสิ้นและไม่ปฏิบัติตามโปรแกรมบำบัดแฮกอลฮอร์ มีรายงานว่าเธอส่งเอกสารเดิมที่ระบุว่าเธอทำงานบำเพ็ญประโยชน์ในวันที่ 5 เดือนกันยายนในปี 2006, แต่ก็ได้รับการยืนยันว่าเธอทำจริงที่เมืองนิวยอร์กในวันนั้น. ทนายความของเธออ้างว่าเป็นข้อผิดพลาดของฝ่ายธุรการ.[59] ในวันที่ 10 เดือนตุลาคม ปี 2007 เธอถูกตัดสินให้จำคุก 180 วันหลังจากที่เธอละเมิดการคุมความประพฤติของเธอ เธอคาดว่าเวลาในคุก 180 วันเต็มในคุกนั้นไม่เหมาะสมเนื่องจากเธอต้องพักงานเธอและถูกกักบริเวณในบ้าน.[60] อย่างไรก็ตามหลังจากที่เข้าไปในคุกที่เป็นสถานกักกันที่ตั้งอยู่ในเขตลินวูดส์(Lynwood) แคลิฟอเนียร์ ในวันที่ 23 ธันวาคม ปี 2007[61] เธอได้รับการปล่อยตัวหลังจากถูกคุมขังได้ 18 วัน ในวันที่ 9 เดือนมกราคม ปี 2008 เนื่องจากความแออัดในคุก[62]",
"title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ"
},
{
"docid": "642144#9",
"text": "ในปี 2010, ราดรีเกซได้ปรากฏตัวในของโรเบิร์ท ราดรีเกซ (Robert Rodriguez) หนังเรื่อง Machete ซึ่งหนังได้รับคำวิจารณ์ในเชิงบวกและทำเงินไป 44 ล้านเหรียญในบ๊อกออฟฟิต[31] ในปี 2011 ประกบคู่คับ อารอน เอคฮาร์ท (อารอน เอคฮาร์ท) ในหนังแนวแนวนิยายวิทยาศาสตร์ เรื่อง Battle: Los Angeles หนังทำรายได้มากว่า 200ล้านเหรียญในบ๊อกออฟฟิต ในปี 2012 เธอกลับไปเล่นหนังในบทของร่างโคลนที่เป็นทั้งตัวดีและตัวร้ายในบทของ เรน โอแคมโบ ในหนังเรื่อง ผีชีวะ 5 ตอนสงครามไวรัสล้างนรก (Resident Evil: Retribution) ในปี 2013 เธอรับบทบาทเป็น เล็ตตี้ โอติซ ในเรื่อง เร็ว..แรงทะลุนรก 6 ในปีเดียวกันราดรีเกซมาเล่นหนังในของโรเบิร์ท ราดรีเกซในเรื่อง Machete Kills.",
"title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ"
},
{
"docid": "642144#11",
"text": "\"โอ้ไม่นะ, ฉันรู้สึกว่าเพิ่งได้รับบทบาทในหนังเรื่อง Girlfight เมื่อปีที่ผ่านมา. คุณจะยอมให้ตัวเองได้รับบท ถ้าฉันตัดสินใจฉันไม่ต้องการที่จะได้รับบทในวันพรุ่งนี้ ฉันจะต้องเล่นหนังอินดี้ที่ได้รับบทสาวยากจนที่ต้องมีประสบการณ์ที่ทนทุกข์ทรมารและต้องการที่จะเอาชนะผ่านมันมาให้ได้จากการร้องไห้หรือถูกข่มขืน แต่ช่วงท้ายๆ ของวันฉันรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้แสดง ฉันเพียงต้องการใครบางคนฉันเชื่อในสิ่งนั้นฉันอยากให้ทุกคนสนใจหรือสนุกไปกับมัน ฉันอยู่ตรงนี้เพื่อให้ความบันเทิงกับผู้ชมและช่วยให้ผู้หญิงนั้นแข็งแกร่งขึ้น และนั่นคือสิ่งที่ฉันทำในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ฉันบอกกับตัวเองและฉันก็มีกล่องของตัวเองและจะพูดว่าเมื่อมีสิ่งต่างๆที่จะใส่ในจานของฉัน ฉันก็จะพูดว่าไม่ และในที่สุดฉันก็จะเหมือนลูกไก่ที่แข็งแรงที่จะถูกฆ่าและมันก็ไม่ผิดปกติอะไร\"",
"title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ"
},
{
"docid": "642144#2",
"text": "ราดรีเกซยังมีงานทางซีรีส์ทางรายการโทรทัศน์ที่เล่นเป็นแอนนา โลนิการ์ คอร์เทซ(Ana Lucia Cortez) ในซีชั่น 2 ของหนังซีรีส์เรื่องอสุรกายดงดิบ(Lost) เธอเป็นส่วนหนึ่งของนักแสดงซึ่งมีการแยกเป็นหลายชุดก่อนที่ซีรีส์จะจบลง เธอยังมีการทำงานเกี่ยวกับเสียงมากมาย(voice work) ในวิดีโอเกม เช่น เกม Call of Duty และเกม Halo, และหนัง 3 มิติแอนนิเมชั่น( 3D แอนิเมชัน) เรื่องหอยทากจอมซิ่งสายฟ้า(Turbo) และซีรีส์ทางโทรทัศน์เรื่อง IGPX.[6]",
"title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ"
},
{
"docid": "642144#17",
"text": "ในเดือนตุลาคม 2013, หนังสือเอนเตอร์เทนเมนท์รายสัปดาห์(เอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี) ได้ยกคำพูดของเธอที่ว่า \"ฉันได้ทั้งสองอย่าง ฉันทำในสิ่งที่ฉันชอบ ฉันแปลกมากที่มานั่งอยู่ตรงนี้และฉันไม่พยายามทนในเมื่อฉันสามารถทำได้ ผู้ชายก็มีอะไรที่น่าทึ่ง เหมือนดังลูกไก่\"[7] แล้วเธอก็ได้อธิบายคำพูดของเธอกับนิตยสารที่มีชื่อว่าLatina ว่า \"ฉันว่ามันเก่าแล้ว. ในที่สุดมันก็จะทำเกิดความยุ่งยากจนฉันไม่อยากจะกลับไปทำอีก. ฉันอยากจะซื่อสัตย์และมองดูสิ่งที่กำลังจะเกิด.\"[45] ในเดือนพฤษภาคม ปี 2014, เธอกล่าวว่าการที่เธอให้สัมภาษณ์เธอหวังว่าการกระทำของเธอจะสามารถช่วยคนอื่นๆ ที่เจอในสถานการณ์ที่คล้ายกัน \"โดยอาจจะเปิดปากใหญ่โตที่เต็มได้ด้วยไขมันของฉัน เหมือนกับจะทำให้ก้าวผ่านขึ้นไปอีกขั้นโดยที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับใครบางคนที่เป็นคล้ายๆกัน\"[46] เธอได้ให้คำอธิบายหลังจากการให้สัมภาษณ์อีกครั้งนั้นหลังจากนั้นว่าตัวเธอเองเป็นไบเซ็กชวล: \"ไบ , ใช่ ฉันตกอยู่ในแบบ B-ของ กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ(กลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ)\" ราดรีเกซขาดความแปลกใหม่ในบทนักแสดงหญิงที่มีอยู่ในบทภาพยนตร์ เธอกล่าวว่า \"มีอะไรที่ผิดปกติกับการเป็นไบเซ็กชวลเหรอ? ฉันหมายถึง,พวกเราต่อต้านสิ่งที่จะมารบกวนในที่ที่เราจะไป\"[47]",
"title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ"
},
{
"docid": "642144#6",
"text": "มีการเปิดทดสอบหน้ากล้องหรือเรียกว่าแคสติ้งดาราหน้าใหม่ซึ่งเป็นการออดิชั่นครั้งแรกของเธอ ราดรีเกซชนะผู้ที่เข้าสมัคร 350 คนในหนังอิสระทุนต่ำ ที่ชื่อว่า Girlfight.ด้วยการรับบทเป็นไดน่า ก๊อทแมน(Diana Guzman),ซึ่งเป็นบทวัยรุ่นที่ก้าวร้าวแล้วได้รับการฝึกฝนเพื่อจะเป็นนักมวย,[17] ราดรีเกซได้รับรางวัลต่อหลายรางวัลและถูกเสนอชื่อในฐานะนักแสดงอิสระ, รวมทั้งได้รับรางวัลนักแสดงหลักจากงาน National Board of Review และ Deauville Film Festival,[18] และก็ยังมีอีกหลายรางวัล เช่น Independent Spirit Awards,[4] Gotham Awards,[5] Las Vegas Film Critics Sierra Awards, และอีกหลายที่ได้รับ ตัวภาพยนตร์เองก็ได้รับรางวัลสูงสุดจาก Sundance[19] และชนะเลิศรางวัลเยาวชนที่เทศกาลประกวดภาพยนตร์ที่เมืองคานส์(เทศกาลภาพยนตร์เมืองกาน) ในปี 1999, เธอได้รับคัดเลือกในบทบาทที่เป็น Sisqó's ในมิวสิควิดีโอ ชื่อว่า \"Thong Song\". ในปี 2002, เธอปรากฏตัวในมิวสิควิดีโอเพลงที่มีชื่อว่า \"Always On Time\".",
"title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ"
},
{
"docid": "754169#0",
"text": "บาร์โตโลเม อัลแบร์โต มอตต์ (; ชื่อในการแสดง: ทอม ราดรีเกซ; ; 1 ตุลาคม ค.ศ. 1987 —) เป็นนักแสดงชาวฟิลิปปินส์เชื้อสายอเมริกัน เขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้เข้าแข่งขันในทีวีเรียลลิตี้โชว์ \"พินอยบิกบราเธอร์ : ดับเบิลอัพ\" และเขาได้ร่วมแสดงภาพยนตร์ในเรื่อง \"Be Careful With My Heart\", \"Temptation Island\", \"My Husband's Lover\" รับบทเป็น วินเซนต์ โซรีอาโน และ \"My Destiny\" รับบทเป็น ลูคัส แมทธิว อันดราดา",
"title": "ทอม ราดรีเกซ"
},
{
"docid": "642144#10",
"text": "หลังจากภาพยนตร์เรื่องแรกของเธอ ที่ชื่อว่า Girlfight ราดรีเกซได้รับบทอย่างต่อเนื่องและมีคาแรคเตอร์แนวทอมบอยที่ทำงานในสถานีตำรวจหรือทำงานในหน่วยงานของกองทัพ ราดรีเกซกล่าวว่าไม่สนใจว่าตัวเองจะได้รับบทบาทอย่างไร แต่เธอจะรับผิดชอบกับบทบาทที่ได้รับอย่างดีที่สุด[32]",
"title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ"
},
{
"docid": "642144#16",
"text": "ในเดือนกรกฎาคม 2006, ราดรีเกซได้บอกกับนิตยสาร Cosmopolitan ว่าเธอไม่ใช่เลสเบี้ยน, แต่ว่า\"เธอได้เคยมีประสบการณ์กับทั้งสองเพศ\" [40] ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2006, เธอได้ถูกเปิดเผยว่าเธอเป็นไบเซ็กชวล กับตอนที่เธอเล่นหนังเรื่องผ่าภิภพแวมไพร์(Bloodrayne)ที่ได้ร่วมงานกับดาราที่ชื่อว่า คริสแตนน่า โลเค่น(Kristanna Loken) ได้สร้างความคิดเห็นหลายความเห็นผู้ที่ให้การสนับสนุน มีการตีความกันอย่างกว้างขวางจากสื่อถึงความสัมพันธ์ของทั้งคู่ แต่ก็ไม่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการจากคนทั้งคู่[41] ในเดือนมิถุนายน ปี 2007 นิตยสารเลสเบี้ยนที่ชื่อว่าCurve ได้นำเสนอเรื่องราวอ้างว่าราดรีเกซนั้นเป็นไบเซ็กชวล[42] ราดรีเกซได้วิพากษ์วิจารณ์นิตยสารเล่มนี้ว่า\"เอาคำพูดยัดใส่ปากของเธอ\".[43] เธอก็ได้บอกอีกครั้งว่าเธอไม่ใช่เลสเบี้ยนในเดือนพฤศจิกายน ปี 2008 จากการที่เธอให้สัมภาษณ์กับหนังสือนิตยสารสำหรับผู้หญิงที่ชื่อว่า Cayena ซึ่งเป็นนิตยสารของสาธารณรัฐโดมินิกัน.[44]",
"title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ"
},
{
"docid": "642144#22",
"text": "on IMDb on Instagram on Facebook",
"title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ"
},
{
"docid": "642144#14",
"text": "หลายต่อหลายครั้งในช่วงอาชีพของเธอ เธอได้รับการจัดอันดับในนิตยสาร Stuff ว่าเป็น \"เป็น 1 ในผู้หญิง 102 คนที่เซ็กซี่ที่สุดในโลก\", หนังสือ Maxim\" เป็นผู้หญิงที่ติดหนึ่งใน 100 ของผู้หญิงที่เซ็กซี่ที่สุด\" และติดอันดับที่ 74 ของนิตยสาร เอฟเอชเอ็ม \"ผู้หญิง 100 อันดับแรกที่เซ็กซี่ที่สุดในปี 2009\"",
"title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ"
},
{
"docid": "642144#3",
"text": "หนังของเธอทำรายมากกว่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2013 ความบันเทิงรายสัปดาห์ ได้มีบทความเกี่ยวกับราดรีเกซ ว่าเป็น \"นักแสดงหญิงที่โดดเด่นที่สุดในฐานะนักแสดงหญิงประเภทแนวแอ็กชั่นที่เป็นชาวละตินที่เห็นได้ชัดเจนในฮอลลิวูด\".[7]",
"title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ"
},
{
"docid": "930604#0",
"text": "ส.ว.า.ท. หน่วยจู่โจมระห่ำโลก (อังกฤษ: S.W.A.T.) เป็นภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกา สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2003 กำกับโดย คลาร์ก จอห์นสัน นำแสดงโดย ซามูเอล แอล. แจ็กสัน, โคลิน ฟาร์เรล, มิเชลล์ ราดรีเกซ, แอลแอล คูล เจ ภาพยนตร์เรื่องนี้มีภาพยนตร์ภาคต่อคือ ส.ว.า.ท. หน่วยจู่โจมระห่ำโลก 2",
"title": "ส.ว.า.ท. หน่วยจู่โจมระห่ำโลก"
},
{
"docid": "642144#18",
"text": "ในเดือนมีนาคม ปี 2002, ราดรีเกซได้ถูกจับกุมในข้อหาทำร้ายร่างกายหลังจากที่ต่อสู้ตบตีกับเพื่อนร่วมห้องของเธอ[48] ค่าปรับได้ถูกหยุดไว้เนื่องจากเพื่อนร่วมห้องของเธอปฏิเสธข้อกล่าวหาในชั้นศาล.[49] ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2003, ราดรีเกซขึ้นศาลเพื่อเผชิญหากับข้อกล่าวหาทางอาญา(misdemeanor) 8 ข้อ และถูกจ่ายค่าปรับกับ 2 เหตุการณ์ซึ่งรวมไปถึงกรณีขับรถชนแล้วหนีและชกต่อย.[50] ในเดือนมิถุนายน ปี 2004 , โรดิเกซสารภาพไม่ขอสู้คดี(no contest) ในลอสแอนเจลิสที่ถูกจับกุมใน 3 ข้อหาชนแล้วหนี,เมาแล้วขับ และขับรถโดยที่ใบอนุญาตในการขับขี่ถูกระงับ.[51] เธอถูกจำคุก 48 ชั่วโมง, ต้องบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม(งานบริการชุมชน)ที่ห้องเก็บศพในโรงพยาบาลนิวยอร์ก, เข้าโปรแกรมบำบัดแอลกอฮอล์ 3 เดือน, และได้รับการรอลงอาญา(probation) เป็นเวลา 3 ปี [52]",
"title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ"
},
{
"docid": "826530#8",
"text": "วิน ดีเซล, เคิร์ต รัสเซล, มิเชลล์ ราดรีเกซ, ไทรีส กิบสันและลูดาคริสยืนยันจะกลับมาในภาคต่อนี้ รวมถึงลูคัส แบล็คที่เคยแสดงใน \"เร็ว..แรงทะลุนรก ซิ่งแหกพิกัดโตเกียว\" ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2015 ดเวย์น จอห์นสันและเจสัน สเตธัมให้สัมภาษณ์ว่าจะกลับมาร่วมแสดงเช่นกัน",
"title": "เร็ว..แรงทะลุนรก 8"
},
{
"docid": "642144#12",
"text": "ในระหว่าที่กำลังมีทัวร์เพื่อโปรโมทหนังเรื่อง เร็ว..แรงทะลุนรก 6 ราดรีเกซเริ่มได้รับร่วมธุรกิจกับฮอลลีวูดที่จะผันตัวเป็นคนเขียนบาท เธอมีงานเขียนบทอยู่สองเรื่องที่กำลังพัฒนาอยู่และมีแผนที่จะหยุดพักงานแสดงเพื่อจะติดตามผลงานเขียนของเธอ หนึ่งในแนวความคิดอยู่บนพื้นฐานเป็นหนังครอบครัวเธอได้ให้คำอธิบายว่า \"เรื่องราว 2012 ที่เกี่ยวข้องกับความบริสุทธิ์ เกี่ยวกับสัตว์และเกี่ยวกับเด็ก\",[33] และมีจุดอื่นๆ ที่กับลังปรับปรุงแก้ไขในการที่เอามาทำใหม่เป็นหนังโจรเยอรมันปี 1997 ที่เธอให้คำอธิบายเกี่ยวกับหนังไว้ว่า \"เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ 4 สาวที่หนีออกมาจากคุกและกำลังถูกตามล่าตัวทั่วประเทศโดยเอฟบีไอ\"[34]",
"title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ"
},
{
"docid": "642144#23",
"text": "หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2521 หมวดหมู่:บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ หมวดหมู่:20th-century American actresses หมวดหมู่:21st-century American actresses หมวดหมู่:Actresses from New Jersey หมวดหมู่:Actresses from San Antonio, Texas หมวดหมู่:American people of Dominican Republic descent หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายยุโรป หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายชนพื้นเมืองอเมริกัน หมวดหมู่:American people of African descent หมวดหมู่:American actresses of Puerto Rican descent หมวดหมู่:Hispanic and Latino American actresses หมวดหมู่:Military brats หมวดหมู่:บุคคลจากแซนแอนโทนีโอ หมวดหมู่:People from Jersey City, New Jersey หมวดหมู่:American television actresses หมวดหมู่:นักเขียนบทชาวอเมริกัน หมวดหมู่:American writers of Dominican Republic descent หมวดหมู่:นักแสดงภาพยนตร์หญิงชาวอเมริกัน หมวดหมู่:นักพากย์ชาวอเมริกัน หมวดหมู่:Former Jehovah's Witnesses หมวดหมู่:ดีเจอเมริกัน หมวดหมู่:Bisexual actors",
"title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ"
},
{
"docid": "642144#8",
"text": "ในปี 2008,โรดิเกซปรากฏตัวในหนังเรื่อง ซึแอตเติล ปิดเมืองเดือดระอุ(Battle in Seattle)[24] ใน 2009, เธอแสดงในหนังเรื่อง เร็วแรงทะลุนรก 4(เดอะฟาสต์แอนด์เดอะฟิวเรียส), ซึ่งเป็นภาคที่ 4 ของหนังเรื่อง The Fast and the Furious film series.[25][26] หลังจากนั้นอีกปี, ราดรีเกซได้เริ่มในหนังของเจมส์ แคเมลอน ในหนังทุนสร้างสูงแนวไซไฟผจญภัยในเรื่องอวตาร, ซึ่งกลายเป็นหนังที่รายได้สูงสุดในประวัติศาสตร์วงการภาพยนตร์(highest-grossing film in history) และก็เป็นหนังที่ราดรีเกซก็ประสบความสำเร็จ เธอให้ความสนใจกับการกับมาในภาพยนตร์เรื่องที่ 2[27][28] ในปี 2009 โรดิเกซได้ร่วมแสดงในหนังของโดมิดิกันที่ชื่อว่า Trópico de Sangre, ซึ่งเป็นหนังอิสระที่สร้างโดยมิราเบลน้องสาวของเธอ(Mirabal sisters)[29][30]",
"title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ"
}
] |
2025 | คาบสมุทรอิตาลี ตั้งอยู่ที่ใด ? | [
{
"docid": "70066#0",
"text": "คาบสมุทรอิตาลี หรือ คาบสมุทรแอเพนไนน์ () เป็นคาบสมุทรที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปใต้ พื้นที่ทางตอนเหนือติดกับเทือกเขาแอลป์และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลเอเดรียติก ทางทิศใต้ติดกับทะเลไอโอเนียน และทางทิศตะวันตกติดกับทะเลติร์เรเนียนและทะเลลิกูเรียน คาบสมุทรนี้มีรูปร่างคล้ายรองเท้าบูท โดยบริเวณตอนกลางของคาบสมุทรมีเทือกเขาแอเพนไนน์เป็นแกนกลาง บริเวณตอนเหนือมีที่ราบลุ่มแม่น้ำโปซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาแอลป์กับเทือกเขาแอเพนไนน์นั้น เป็นที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์มีรูปร่างเป็นรูปสามเหลี่ยม และเป็นที่ตั้งเมืองสำคัญของประเทศอิตาลี เช่น มิลาน ตูริน เวนิส โบโลญญา ปาร์มา เวโรนา",
"title": "คาบสมุทรอิตาลี"
},
{
"docid": "70066#1",
"text": "คาบสมุทรอิตาลีมีความยาวประมาณ 1,000 กิโลเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 290 กิโลเมตร และตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปใต้ มีพื้นที่ประมาณ 260,000 ตารางกิโลเมตร (ไม่นับรวมพื้นที่เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย) เป็นคาบสมุทรที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของทวีปยุโรป รองจาก คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย คาบสมุทรไอบีเรีย และคาบสมุทรบอลข่าน ตามลำดับ เมืองใหญ่ที่ตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรอิตาลีเรียงตามลำดับ 4 อันดับแรกได้แก่ โรม มิลาน เนเปิลส์ และตูริน ภูมิอากาศบริเวณคาบสมุทรอิตาลีเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน พืชที่ปลูกส่วนใหญ่ที่นิยมปลูกคือ มะกอกเพื่อทำน้ำมันมะกอก และองุ่นเพื่อใช้ทำไวน์ เมืองท่าที่สำคัญบนคาบสมุทรอิตาลีได้แก่ เจนัว เวนิส และเนเปิลส์",
"title": "คาบสมุทรอิตาลี"
}
] | [
{
"docid": "70041#0",
"text": "คาบสมุทรไอบีเรีย (; ; ; ) ตั้งอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีพื้นที่ประมาณ 582,860 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นคาบสมุทรที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของทวีปยุโรปรองจากคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ทางทิศเหนือติดกับเทือกเขาพิเรนีสและประเทศฝรั่งเศส ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศใต้สุดติดกับช่องแคบยิบรอลตาร์ คาบสมุทรไอบีเรียมีความยาวประมาณ 900 กิโลเมตร กว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 900 กิโลเมตร รูปร่างคล้ายสีเหลี่ยมพื้นผ้า พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและเทือกเขา พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้บริเวณเทือกเขาเซียร์ราเนบาดา เป็นบริเวณแห้งแล้งมากแห่งหนึ่งในคาบสมุทร เมืองที่สำคัญที่อยู่ในคาบสมุทรไอบีเรีย ได้แก่ มาดริด บาร์เซโลนา บาเลนเซีย เซบียา บิลบาโอ ลิสบอน โปร์ตู และยิบรอลตาร์",
"title": "คาบสมุทรไอบีเรีย"
},
{
"docid": "249838#2",
"text": "ยุโรปอยู่ทางตอนเหนือที่รวมทั้งคาบสมุทรใหญ่สามคาบที่รวมทั้งคาบสมุทรไอบีเรีย, คาบสมุทรอิตาลี และ คาบสมุทรบอลข่าน โดยมีแนวเทือกเขาเป็นที่กั้นเขตแดนทางตอนเหนือที่รวมทั้งเทือกเขาพิเรนีสที่แยกสเปนจากฝรั่งเศส, เทือกเขาแอลป์ที่แยกอิตาลีจากยุโรปกลาง, เทือกเขาไดนาริคแอลป์ตามแนวตะวันออกของทะเลเอเดรียติค และเทือกเขาบอลข่าน กับ เทือกเขาราดาพี (Rhodope Mountains) ของคาบสมุทรบอลข่านที่แยกทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจากบริเวณแบบภาคพื้นทวีปของยุโรปกลางและยุโรปตะวันตก",
"title": "บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน"
},
{
"docid": "70112#0",
"text": "คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย () ตั้งอยู่บริเวณยุโรปเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 770,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่หลักๆคือดินแดนของประเทศสวีเดนและประเทศนอร์เวย์ เป็นคาบสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป มีความยาวประมาณ 1,000 กิโลเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 500 กิโลเมตร แกนกลางคาบสมุทรเป็นเทือกเขาสูงชัน ยอดเขาที่สูงที่สุดบนคาบสมุทรอยู่ในประเทศนอร์เวย์ สูงกว่า 2,400 เมตร ทิศเหนือของคาบสมุทรอยู่ในเขตอาร์กติก สามารถชมปรากฏการณ์พระอาทิตย์เที่ยงคืนได้ ทั้ง สวีเดน นอร์เวย์ และ ฟินแลนด์ แต่จุดชมที่สวยที่สุดอยู่ในนอร์เวย์บริเวณแหลมเหนือ ชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณคาบสมุทรมักจะอาศัยกระจุกตัวอยู่ทางทิศใต้ของคาบสมุทร เพราะมีอากาศที่อบอุ่นกว่า มีเมืองใหญ่ๆตั้งอยู่ อาทิเช่น สตอกโฮล์ม ออสโล เมลโม เฮลซิงบอร์ก เป็นต้น",
"title": "คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย"
},
{
"docid": "9941#8",
"text": "คาบสมุทรอิตาลีมีมนุษย์อาศัยตั้งแต่ยุคหินเก่า ดินแดนลุ่มแม่น้ำไทเบอร์เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลตั้งแต่เมื่อประมาณ 5 หมื่นปีที่แล้ว และด้วยอิตาลีนั้นตั้งอยู่บนคาบสมุทรในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งมีอารยธรรมโบราณกล่าวคือ อารยธรรมมิโนอันและไมซีเนียน อารยธรรมที่เกี่ยวพันกับอารยธรรมกรีกโบราณ อิตาลีเป็นประเทศที่มีอารยธรรมมาช้านานและแผ่ขยายดินแดนอื่น ๆ ในทวีปยุโรป",
"title": "ประเทศอิตาลี"
},
{
"docid": "278778#0",
"text": "คาบสมุทรไครเมีย เป็นผืนดินขนาดใหญ่ทางชายฝั่งด้านเหนือของทะเลดำซึ่งแทบถูกน้ำล้อมรอบแทบทุกด้าน คาบสมุทรไครเมียตั้งอยู่ทางใต้ของแผ่นดินใหญ่ยูเครน และทางตะวันตกของเขตคูบันของรัสเซีย คาบสมุทรนี้ถูกสองทะเลล้อมรอบ คือ ทะเลดำและทะเลอะซอฟที่เล็กกว่าทางตะวันออก ติดต่อกับแผ่นดินใหญ่ยูเครนโดยคอคอดเปเรกอฟ (Isthmus of Perekop) และแยกจากยูบันด้วยช่องแคบเคิร์ช (Strait of Kerch) สันดอนจะงอยอะราบัด (Arabat Spit) ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นแผ่นดินเล็ก ๆ ที่แยกระบบลากูนชื่อ ซิวัช (Sivash) จากทะเลอะซอฟ",
"title": "คาบสมุทรไครเมีย"
},
{
"docid": "192924#0",
"text": "คัมปาเนีย () เป็นแคว้นทางตอนใต้ของประเทศอิตาลี มีประชากรราว 5.8 ล้านคน มากเป็นอันดับสองของประเทศ มีพื้นที่ 13,590 ตารางกิโลเมตร จัดเป็นแคว้นที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดในอิตาลี พื้นที่ของแคว้นตั้งอยู่บนคาบสมุทรอิตาลี ทางทิศตะวันตกจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีหมู่เกาะเฟลเกรเอและกาปรีเป็นส่วนหนึ่งของเขตการปกครองของแคว้นด้วย เมืองหลักของแคว้นคือเนเปิลส์ (นาโปลี)",
"title": "แคว้นคัมปาเนีย"
},
{
"docid": "996912#0",
"text": "คาบสมุทรยูกาตัน () ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเม็กซิโก ได้แบ่งทะเลแคริบเบียนกับอ่าวเม็กซิโกโดยแนวชายทิศเหนือของช่องแคบยูกาตัน คาบสมุทรตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของคอคอดเตอวนเตเปก ที่แบ่งภูมิศาสตร์ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของภูมิภาคอเมริกากลางกับส่วนที่เหลือของอเมริกาเหนือ คาบสมุทรมีพื้นที่ราว 181,000 ตร.กม. พื้นที่ส่วนทั้งหมดเป็นหินปูน",
"title": "คาบสมุทรยูกาตัน"
},
{
"docid": "258407#1",
"text": "สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโป ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งบริเวณคาบสมุทรอิตาลีทางตอนเหนือจะติดกับเทือกเขาแอลป์ ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลแอเดรียติกและทิศตะวันตกติดกับทะเลเมดิเตอเรเนียน โดยแม่น้ำโปเป็นแม่น้ำที่มีความยาวมากที่สุดในอิตาลีและมีต้นกำเนิดจากเทือก เขาแอลป์ไหลเข้าสู่ประเทศอิตาลีทางทิศเหนือและไหลออกสู่ทะเลแอเดรียติกทาง ทิศตะวันออก",
"title": "แม่น้ำโป"
}
] |
26 | ผู้นำสูงสุดของกองทัพบกไทย เรียกว่าอะไร? | [
{
"docid": "59272#1",
"text": "สำหรับในประเทศไทยมีตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ จอมทัพ ซึ่งเรียกว่า จอมทัพไทย[1] โดยจอมทัพไทยไม่ใช่ยศทหาร ผู้ที่ดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย คือ พระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งเป็นทั้งประมุขและผู้นำทหารทั้งประเทศ ทรงดำรงพระยศ จอมพล จอมพลเรือ และ จอมพลอากาศ[2][3]",
"title": "ผู้บัญชาการทหาร"
}
] | [
{
"docid": "520172#2",
"text": "\"กรมแพทย์ทหารบก\" เป็นหนึ่งใน 3 กรมแพทย์ของกองทัพไทย และ เป็นหนึ่งใน 9 กรมฝ่ายยุทธบริการ ของกองทัพบกไทย กรมแพทย์ทหารบกมีหน้าที่วางแผนอำนวยการประสานงาน แนะนำกำกับการดำเนินการวิจัย และ พัฒนาเกี่ยวกับการผลิต, จัดหา, ส่งกำลัง, ซ่อมบำรุง, บริการ, พยาธิวิทยา, เวชกรรมป้องกัน, ทันตกรรมและการรักษาพยาบาล กำหนดหลักนิยม และ ทำตำรา ตลอดทั้งการฝึกศึกษา ทั้งนี้เกี่ยวกับกิจการ และ สิ่งอุปกรณ์ของเหล่าทหารแพทย์",
"title": "กรมแพทย์ทหารบก"
},
{
"docid": "107607#0",
"text": "การทดสอบยิงปืนทางยุทธวิธีกองทัพบก กลุ่มประเทศอาเซียน () เป็นกิจกรรมทางทหารของประเทศสมาชิกอาเซียน ริเริ่มจากผู้บัญชาการทหารบกของประเทศมาเลเซีย ที่ได้หารือกับเหล่าผู้บัญชาการทหารบกของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อให้มีกิจกรรมทางการทหารที่ปฏิบัติร่วมกัน เพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีและความคุ้นเคยในระดับผู้นำเหล่าทัพ",
"title": "การทดสอบยิงปืนทางยุทธวิธีของกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียน"
},
{
"docid": "531682#3",
"text": "แรมง ปวงกาเร – ประธานาธิบดีฝรั่งเศส René Viviani – นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส (13 มิถุนายน 1914 - 29 ตุลาคม 1915) Aristide Briand – นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส (29 ตุลาคม 1915 - 20 มีนาคม 1917) Alexandre Ribot – นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส (20 มีนาคม 1917 - 12 กันยายน 1917) Paul Painlevé – นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส (12 กันยายน 1917 - 16 พฤศจิกายน 1917) Georges Clemenceau – นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส (ตั้งแต่ 16 พฤศจิกายน 1917) Joseph Joffre – หัวหน้าผู้บัญชาการทหารของกองทัพบกฝรั่งเศส (จนกระทั่ง 13 ธันวาคม 1916) Robert Nivelle – หัวหน้าผู้บัญชาการทหารของกองทัพบกฝรั่งเศส (จนกระทั่ง เมษายน 1917) ฟีลิป เปแต็ง – หัวหน้าผู้บัญชาการทหารของกองทัพบกฝรั่งเศส (ตั้งแต่ เมษายน 1917)",
"title": "ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง"
},
{
"docid": "27996#46",
"text": "หมวดหมู่:นักการเมืองไทย หมวดหมู่:นายกรัฐมนตรีไทย หมวดหมู่:รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย หมวดหมู่:รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติไทย หมวดหมู่:รัฐมนตรีไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง หมวดหมู่:นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หมวดหมู่:อธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หมวดหมู่:ผู้บัญชาการทหารสูงสุดไทย หมวดหมู่:ผู้บัญชาการทหารบกของกองทัพไทย หมวดหมู่:ทหารบกชาวไทย หมวดหมู่:จอมพล หมวดหมู่:บุคคลจากกรุงเทพมหานคร หมวดหมู่:ชาวไทยเชื้อสายลาว หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร. หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า) หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ส.ร. หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช. หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม. หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญจักรมาลา หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญรัตนาภรณ์ อ.ป.ร.2 หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1 หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า หมวดหมู่:พรรคชาติสังคม หมวดหมู่:เสียชีวิตจากภาวะไตล้มเหลว หมวดหมู่:ผู้นำที่ขึ้นสู่ตำแหน่งจากรัฐประหาร หมวดหมู่:ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย",
"title": "สฤษดิ์ ธนะรัชต์"
},
{
"docid": "63904#63",
"text": "พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 มาตรา 14 กำหนดอำนาจและหน้าที่กระทรวงกลาโหมและหน้าที่ของกองทัพบกไว้ว่า \"กองทัพบกมีหน้าที่เตรียมกำลังทางบก และป้องกันราชอาณาจักร มีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ\"",
"title": "กองทัพบกไทย"
},
{
"docid": "421352#0",
"text": "กองทัพประชาชนเกาหลี (เกาหลี: 조선인민군 , ฮันจา: 朝鮮人民軍) เป็นกำลังทหารของประเทศเกาหลีเหนือ คิม จ็อง-อึนเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพประชาชนเกาหลีและประธานคณะกรรมาธิการป้องกันประเทศ กองทัพประชาชนเกาหลีประกอบด้วยห้าเหล่าทัพ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กำลังจรวดยุทธศาสตร์และกองกำลังปฏิบัติการพิเศษ นอกจากนี้ กองกำลังแดงพิทักษ์กรรมกร-ชาวนาก็อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกองทัพบก",
"title": "กองทัพประชาชนเกาหลี"
},
{
"docid": "263409#10",
"text": "เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2493 คิม อิล-ซ็อง มอบหมายให้ ชเว ยง-ก็อน () ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกองทัพประชาชนเกาหลี นำกองทัพประชาชนเกาหลีเข้ารุกรานเกาหลีใต้ข้ามเส้นขนานที่ 38 และเข้าบุกยึดนครโซลได้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประณามการกระทำของฝ่ายเกาหลีเหนือและลงมติให้ประเทศสมาชิกส่งกองกำลังรวมในนามของสหประชาชาติเข้าต้านทานการรุกรานของเกาหลีเหนือ ฝ่ายสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน ตัดสินใจนำส่งทัพเข้าช่วยเหลือฝ่ายเกาหลีใต้ ทัพอเมริกาเอาชนะทัพเกาหลีเหนือได้ในยุทธการวงรอบปูซาน และทัพผสมนานาชาติในนามของสหประชาชาติยกพลขึ้นบกที่เมืองอินชอน ในเดือนกันยายนทัพฝ่ายเกาหลีใต้สามารถยึดนครโซลคืนไปได้ ทัพเกาหลีเหนือจึงล่าถอยกลับไปเหนือเส้นขนานที่ 38",
"title": "คิม อิล-ซ็อง"
},
{
"docid": "59275#0",
"text": "จอมพล เป็นยศทหารชั้นสูงสุดของกองทัพไทย โดยมียศที่เทียบเท่ากันของทั้งสามเหล่าทัพ ได้แก่ จอมพล (ทหารบก) จอมพลเรือ (ทหารเรือ) และจอมพลอากาศ (ทหารอากาศ) (ตามพระราชบัญญัติยศทหาร พ.ศ. ๒๔๗๙) โดยเป็นยศสูงกว่าพลเอก และเป็นรองแต่เพียงจอมทัพไทยเท่านั้น(จอมทัพเป็นตำแหน่งมิใช่ยศทางการทหาร จอมทัพไทยหรือพระมหากษัตริย์ทรงดำรงยศ จอมพล จอมพลเรือ และ จอมพลอากาศ)",
"title": "จอมพล (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "148709#6",
"text": "ในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1940 ฝ่ายเยอรมันได้เริ่มการสู้รบที่ฝรั่งเศส.ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก (ส่วนใหญ่ของกองทัพบกของฝรั่งเศส,เบลเยียมและอังกฤษ) ต้องพบกับความปราชัยภายใต้การรุกโจมตีของกลยุทธ์เชิงยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า บลิทซ์ครีก (Blitzkrieg-การโจมตีสายฟ้าแลบ) กองทัพส่วนใหญ่ของอังกฤษและบางส่วนของกองทัพฝรั่งเศสได้ทำการอพยพที่ดันเคิร์กไปยังแผ่นดินอังกฤษ.เมื่อการสู้รบได้ยุติลง.ทางฝ่ายเยอรมันได้เริ่มทำการพิจารณาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับวิธีจัดการกับอังกฤษ หากอังกฤษปฏิเสธที่จะยอมเจราจาต่อในการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพ,อีกทางเลือกหนึ่งคือการรุกราน. อย่างไรก็ตาม,ครีกซมารีเนอได้รับความเสียหายอย่างหนักในนอร์เวย์และเพื่อที่จะออกคำสั่งในการพิจารณาที่จะทำการยกพลขึ้นบก,กองทัพอากาศแห่งเยอรมนี (ลุฟท์วัฟเฟอ) จะต้องมีอำนาจเหนือทางอากาศเป็นครั้งแรกหรืออำนาจสูงสุดทางอากาศ.",
"title": "แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)"
},
{
"docid": "22364#23",
"text": "หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดนนทบุรี หมวดหมู่:ชาวไทยเชื้อสายลาว หมวดหมู่:นักการเมืองไทย หมวดหมู่:นายกรัฐมนตรีไทย หมวดหมู่:รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานไทย หมวดหมู่:รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย หมวดหมู่:รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไทย หมวดหมู่:สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี หมวดหมู่:สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม หมวดหมู่:สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ หมวดหมู่:สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง หมวดหมู่:ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย หมวดหมู่:พรรคความหวังใหม่ หมวดหมู่:พรรคไทยรักไทย หมวดหมู่:พรรคเพื่อไทย หมวดหมู่:ทหารบกชาวไทย หมวดหมู่:ผู้บัญชาการทหารสูงสุดไทย หมวดหมู่:ผู้บัญชาการทหารบกของกองทัพไทย หมวดหมู่:ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า หมวดหมู่:ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น หมวดหมู่:ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม หมวดหมู่:ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หมวดหมู่:ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยนครพนม หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช. หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม. หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ภ. หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า) หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ร. หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญจักรมาลา หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.4 หมวดหมู่:ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง",
"title": "ชวลิต ยงใจยุทธ"
},
{
"docid": "116070#0",
"text": "เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ เกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 โดยแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) 15 คน และกลุ่มผู้ชุมนุม จำนวน 20,000 คน เคลื่อนขบวนจากท้องสนามหลวง ไปปิดล้อมบริเวณหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ บ้านพักรับรองสำหรับผู้บัญชาการระดับสูงของกองทัพบกไทย ซึ่ง พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ใช้พักอาศัยในกรุงเทพมหานคร เพื่อกดดันให้ลาออกจากตำแหน่งประธานองคมนตรี เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมเชื่อว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการรัฐประหารในประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549",
"title": "เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550"
},
{
"docid": "27907#24",
"text": "หมวดหมู่:นักการเมืองไทย หมวดหมู่:นายกรัฐมนตรีไทย หมวดหมู่:รองนายกรัฐมนตรีไทย หมวดหมู่:รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย หมวดหมู่:รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดตาก หมวดหมู่:ทหารบกชาวไทย หมวดหมู่:ผู้บัญชาการทหารสูงสุดไทย หมวดหมู่:ผู้บัญชาการทหารบกของกองทัพไทย หมวดหมู่:จอมพล หมวดหมู่:นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หมวดหมู่:อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หมวดหมู่:บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หมวดหมู่:ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หมวดหมู่:ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า) หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ส.ร. หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช. หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม. หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญจักรมาลา หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญรัตนาภรณ์ อ.ป.ร.3 หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1 หมวดหมู่:บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 14 ตุลา หมวดหมู่:บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลา หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า หมวดหมู่:ผู้นำในสงครามเย็น หมวดหมู่:พรรคสหประชาไทย หมวดหมู่:พรรคชาติสังคม หมวดหมู่:เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง หมวดหมู่:ผู้นำที่ขึ้นสู่ตำแหน่งจากรัฐประหาร หมวดหมู่:สกุลกิตติขจร หมวดหมู่:ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย",
"title": "ถนอม กิตติขจร"
},
{
"docid": "909570#0",
"text": "จอมพลเรือ เป็นยศทหารชั้นสูงสุดของกองทัพเรือไทย โดยมียศที่เทียบเท่ากันของทั้งสามเหล่าทัพ ได้แก่ จอมพล (ทหารบก) และจอมพลอากาศ (ทหารอากาศ) โดยเป็นยศสูงกว่าพลเรือเอก และเป็นรองแต่เพียงจอมทัพไทยเท่านั้น (จอมทัพเป็นตำแหน่งมิใช่ยศทางการทหาร จอมทัพไทยหรือพระมหากษัตริย์ทรงดำรงยศจอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ) ตำแหน่งนี้ได้รับการก่อตั้งขึ้นในพ.ศ. 2431 ซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว",
"title": "จอมพลเรือ (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "752982#0",
"text": "คอนเสิร์ตชีวิตสัมพันธ์ สายธารสู่อิสานเขียว หรือที่นิยมเรียกกันว่าคอนเสิร์ต เวลคัม ทู อิสานเขียว เป็นคอนเสิร์ตใหญ่ของวงคาราบาว จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ณ สนามกีฬากองทัพบก ซึ่งคอนเสิร์ตนี้มีผู้ชมมากกว่า 100,000 คน และได้มีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 อีกด้วย โดยรายได้จะนำไปมอบให้โครงการอิสานเขียวของกองทัพบก เพื่อแก้ปัญหาความแห้งแล้งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในภายหลังได้มีการทำเทปออกมาวางจำหน่ายโดย อามีโก้ ด้วย ในปี พ.ศ. 2531\nแต๋ว แว่วหวาน , ต้อย , วิชาญ อามีโก้ , ทบ.",
"title": "คอนเสิร์ตสายธารสู่อิสานเขียว"
},
{
"docid": "909849#0",
"text": "จอมพลอากาศ เป็นยศทหารชั้นสูงสุดของกองทัพอากาศไทย โดยมียศที่เทียบเท่ากันของทั้งสามเหล่าทัพ ได้แก่ จอมพล (ทหารบก) และจอมพลเรือ (ทหารเรือ) โดยเป็นยศสูงกว่าพลอากาศเอก และเป็นรองแต่เพียงจอมทัพไทยเท่านั้น(จอมทัพเป็นตำแหน่งมิใช่ยศทางการทหาร จอมทัพไทยหรือพระมหากษัตริย์ทรงดำรงยศจอมพล จอมพลเรือ และ จอมพลอากาศ)ตำแหน่งนี้ถูกก่อตั้งขึ้นในพ.ศ. 2480 ยศนี้ท่าเทียบกับยศกองทัพสหราชอาณาจักรจะได้ยศเป็นจอมพล",
"title": "จอมพลอากาศ (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "7440#42",
"text": "หมวดหมู่:อาชญากรสงครามชาวไทย หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดนนทบุรี หมวดหมู่:นักการเมืองไทย หมวดหมู่:นายกรัฐมนตรีไทย หมวดหมู่:สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร หมวดหมู่:ผู้นำที่พ้นตำแหน่งจากรัฐประหาร หมวดหมู่:รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไทย หมวดหมู่:รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไทย หมวดหมู่:รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย หมวดหมู่:รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย หมวดหมู่:รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย หมวดหมู่:รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมไทย หมวดหมู่:รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทย หมวดหมู่:รัฐมนตรีไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง หมวดหมู่:ทหารบกชาวไทย หมวดหมู่:จอมพล หมวดหมู่:ผู้บัญชาการทหารสูงสุดไทย หมวดหมู่:ผู้บัญชาการทหารบกของกองทัพไทย พิบูลสงคราม หมวดหมู่:สมาชิกคณะราษฎร หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร. หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว. หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า) หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช. หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม. หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญ ร.ด.ม.(ผ) หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญ ร.ด.ม.(ศ) หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญจักรมาลา หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญรัตนาภรณ์ อ.ป.ร.1 หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1 หมวดหมู่:ชาวไทยเชื้อสายกวางตุ้ง หมวดหมู่:ชาวไทยเชื้อสายมอญ หมวดหมู่:อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หมวดหมู่:อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หมวดหมู่:บุคคลในสงครามโลกครั้งที่สอง หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า หมวดหมู่:ชาวไทยที่เสียชีวิตในประเทศญี่ปุ่น หมวดหมู่:ผู้นำในสงครามเย็น หมวดหมู่:ผู้นำที่ขึ้นสู่ตำแหน่งจากรัฐประหาร หมวดหมู่:ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หมวดหมู่:ผู้รอดชีวิตจากการลอบสังหาร หมวดหมู่:สกุลพิบูลสงคราม หมวดหมู่:ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน หมวดหมู่:สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบแต่งตั้ง หมวดหมู่:ศาสตราจารย์พิเศษ",
"title": "แปลก พิบูลสงคราม"
},
{
"docid": "63904#61",
"text": "ต่อมาสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ขอใช้ที่ดินบริเวณส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยฯ เดิม เพื่อขยายสถานที่ทำงานของทำเนียบรัฐบาล ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ลงมติเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2530 อนุมัติหลักการให้สำนักนายกรัฐมนตรีใช้ที่ดินและอาคารสถานที่บริเวณส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยฯ เดิม และอนุมัติให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณให้กองทัพบกในการก่อสร้างอาคาร \"กองบัญชาการกองทัพบก\" แห่งใหม่ บริเวณส่วนบัญชาการโรงเรียนนายร้อยฯ เดิม คณะกรรมการโครงการก่อสร้างกองบัญชาการกองทัพบก จึงได้พิจารณาออกแบบอาคารขนาดใหญ่ที่ทันสมัย เพื่อเป็นศูนย์รวมในการปฏิบัติงานของผู้บังคับบัญชาชั้นสูง และฝ่ายเสนาธิการต่างๆ ของกองทัพบก ให้สามารถปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ พิธีวางศิลาฤกษ์กองบัญชาการกองทัพบกแห่งใหม่นี้ได้กำหนดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2531 ระหว่างเวลา 08.49 - 09.29 นาฬิกา โดยมี พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบก รักษาราชการผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานในพิธี",
"title": "กองทัพบกไทย"
},
{
"docid": "220726#49",
"text": "หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดนครราชสีมา หมวดหมู่:พุทธศาสนิกชนชาวไทย หมวดหมู่:ผู้นำ หมวดหมู่:นายกรัฐมนตรีไทย หมวดหมู่:นักการเมืองไทย หมวดหมู่:ทหารบกชาวไทย หมวดหมู่:ผู้บัญชาการทหารบกของกองทัพไทย หมวดหมู่:สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช. หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม. หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญราชอิสริยาภรณ์ ร.ม.ก. หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ.ว. หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญจักรมาลา หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนวัดนวลนรดิศ หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า หมวดหมู่:บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หมวดหมู่:แม่ทัพภาคที่ 1 หมวดหมู่:ผู้นำที่ขึ้นสู่ตำแหน่งจากรัฐประหาร หมวดหมู่:คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หมวดหมู่:สโมสรฟุตบอลอาร์มี่ ยูไนเต็ด",
"title": "ประยุทธ์ จันทร์โอชา"
},
{
"docid": "42818#0",
"text": "กองทัพเรือไทย หรือ ราชนาวีไทย (คำย่อ: ทร., English: Royal Thai Navy) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติการทางทหารในทะเล ลำน้ำ และพื้นที่บริเวณชายฝั่งของประเทศไทย กองทัพเรือมีจำนวนกำลังพลประจำการเป็นลำดับ 2 (รองจากกองทัพบก) ซึ่งมีเรือปฏิบัติการด้วยเรือรบกว่า 74 ลำ อากาศยานกว่า 90 เครื่อง และกำลังรบทางบกอีก 2 กองพล นับเป็นกองทัพเรือที่มีความสำคัญในลำดับต้นของภูมิภาคเอเชีย กองทัพเรือมีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด โดยเป็นหน่วยงานในสังกัดของกองบัญชาการกองทัพไทย ที่มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา และอยู่ในสังกัดของกระทรวงกลาโหม",
"title": "กองทัพเรือไทย"
},
{
"docid": "63904#34",
"text": "พระองค์ทรงจ้าง ร้อยเอก อิมเปย์ และ ร้อยเอก โทมัส ยอร์ช น็อกซ์ เป็นนายทหารนอกราชการของกองทัพอังกฤษประจำอินเดีย เดินทางเข้ามาในไทยเมื่อปี พ.ศ. 2394 ให้มาเป็นครูฝึกหัดทหารบก ฝึกทหารในกรมทหารอาสาลาวและเขมร ที่เข้ามาเป็นทหารเกณฑ์หัดแบบตะวันตกในวังหน้า และวังหลวง คนทั่วไปเรียกทหารหน่วยนี้ว่า ทหารอย่างยุโรป หรือ ทหารเกณฑ์หัดอย่างฝรั่ง หน่วยดังกล่าวนี้มีการจัดเป็น กองร้อย หมวด และหมู่ มีนายร้อย นายสิบ ควบคุมตามแบบฝรั่ง ดังนั้นใน พ.ศ. 2395 กองทหารที่ได้รับการฝึกและจัดแบบตะวันตก มีดังนี้กองทหารหน้าเป็นหน่วยที่ได้รับการฝึกแบบใหม่ มีอาวุธใหม่ และมีทหารประจำการมากกว่าทหารหน่วยอื่นๆ ทั้งยังมีความชำนาญในการรบมาพอสมควร เนื่องจากได้เข้าสมทบในกองทัพหลวงไปทำศึกที่เมืองเชียงตุง เมื่อปี พ.ศ. 2395 และ พ.ศ. 2396 การศึกทั้ง 2 ครั้งนี้ กองทหารหน้าได้สำแดงเกียรติภูมิในหน้าที่ของตนไว้อย่างน่าชมเชย จึงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างมาก ยามปกติกองทหารหน้ามีหน้าที่เข้าขบวนแห่นำตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกคราว นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ปราบปรามโจรผู้ร้ายตามหัวเมืองต่างๆ เช่น ปราบปรามพวกอั้งยี่ที่มณฑลปราจีน และเมืองชลบุรีอีกด้วย จึงนับได้ว่า \"กองทหารหน้า\" นี้เองเป็นรากเหง้าของกองทัพบกในปัจจุบันนี้",
"title": "กองทัพบกไทย"
},
{
"docid": "797197#3",
"text": "หลังสงคราม เกรชโคได้เป็นผู้บัญชาการกองทัพในเคียฟจนถึงปี พ.ศ. 2496 ระหว่าง พ.ศ. 2496 และ พ.ศ. 2500 เกรชโค เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองกำลังโซเวียตใน เยอรมนีตะวันออก ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2498 เกรชโค พร้อมกับเพื่อนร่วมงานระดับสูงอีกห้าทุกคนได้ถูกรับเลือกในความสามารถในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในรับการเลื่อนยศจอมพลแห่งสหภาพโซเวียต ในช่วงปี พ.ศ. 2500-2503, เกรชโค ได้เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพบกและ พ.ศ. 2503-2510 เขาเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองกำลัง สนธิสัญญาวอร์ซอ ",
"title": "อันเดรย์ เกรชโค"
},
{
"docid": "12832#24",
"text": "12. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช 2551 เปลี่ยนชื่อกองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น กองทัพไทย และเพิ่มกองบัญชาการกองทัพไทย ในส่วนราชการของกองทัพไทยระดับเดียวกับกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ",
"title": "ราชการส่วนกลาง (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "936#44",
"text": "พระมหากษัตริย์ดำรงตำแหน่งจอมทัพไทยโดยนิตินัย ในทางปฏิบัติ กองทัพอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกระทรวงกลาโหม มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้สั่งการ และอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกองบัญชาการกองทัพไทย โดยมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บัญชาการ กองทัพไทยแบ่งออกเป็น 3 เหล่าทัพ ได้แก่ กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ทุกวันนี้กองทัพไทยมีกำลังทหารทั้งสิ้น 1,025,640 นาย และมีกำลังหนุนกว่า 200,000 นาย และมีกำลังกึ่งทหารประจำการกว่า 113,700 นาย[57] ในปี 2558 เครดิตสวิสจัดอันดับว่าประเทศไทยมีดัชนีกำลังทางทหารสูงเป็นอันดับที่ 16 ของโลก[58] งบประมาณกลาโหมเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่าจาก 78,100 ล้านบาทในปี 2548 เป็น 207,000 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2559 คิดเป็นประมาณร้อยละ 1.5 ของจีดีพี[59][60]",
"title": "ประเทศไทย"
},
{
"docid": "782253#0",
"text": "เวลคัม ทู อิสานเขียว หรือที่นิยมเรียกกันว่าคอนเสิร์ต คอนเสิร์ตสายธารสู่อิสานเขียว เป็นคอนเสิร์ตใหญ่ของวงคาราบาว จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ณ สนามกีฬากองทัพบก ซึ่งคอนเสิร์ตนี้มีผู้ชมมากกว่า 100,000 คน และมีการบันทึกเทปแสดงสดทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 อีกด้วย โดยรายได้จะนำไปมอบให้โครงการอิสานเขียว ของกองทัพบก เพื่อแก้ปัญหาความแห้งแล้งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในภายหลังได้มีการทำเทปออกมาวางจำหน่ายโดย อามีโก้ ในปี พ.ศ. 2531 ด้วย\nแต๋ว แว่วหวาน , ต้อย , วิชาญ อามีโก้ , ทบ.",
"title": "คอนเสิร์ต เวลคัม ทู อิสานเขียว"
},
{
"docid": "34424#0",
"text": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (English: Royal Thai Army Radio and Television; ชื่อย่อ: ททบ.) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) ของกองทัพบกไทย และเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่สองของประเทศไทย เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2501 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 7 จึงเรียกว่า สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ททบ.7) หรือ ช่อง 7 (ขาว-ดำ) ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 จึงย้ายมาออกอากาศด้วยภาพสี ทางช่องสัญญาณที่ 5 จึงเรียกว่า สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.5) จนถึงปัจจุบัน มี พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานกรรมการบริหารกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์กองทัพบก และ พลเอก กิตติเชษฐ์ ศรดิษฐพันธ์ เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก"
},
{
"docid": "181803#5",
"text": "เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 พื้นที่บางส่วนของพระราชวังดุสิตตกไปอยู่ภายใต้ความดูแลของกองทัพบก รวมทั้ง พระตำหนักสวนหงส์ด้วย จนกระทั่ง พ.ศ. 2532 พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายคืนพื้นที่ภายใต้ความดูแลของกองทัพบกให้แก่สำนักพระราชวัง พระตำหนักสวนหงส์จึงได้รับการบูรณะซ่อมแซมให้มีความสมบูรณ์อีกครั้ง",
"title": "พระตำหนักสวนหงส์"
},
{
"docid": "51096#0",
"text": "ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นชื่อตำแหน่งของผู้บังคับบัญชาระดับบนสุดของกองทัพไทยและกองบัญชาการกองทัพไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา (ก่อนหน้านั้น กองบัญชาการกองทัพไทย มีชื่อเรียกว่า กองบัญชาการทหารสูงสุด)",
"title": "รายนามผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย"
},
{
"docid": "855737#0",
"text": "กองทัพบกเยอรมัน หรือเรียกว่า แฮร์ (, ) เป็นกองทัพบกเยอรมันในส่วนหนึ่งของกองทัพเวร์มัคท์,กองทัพประจำของเยอรมันในปี 1935 จนกระทั่งถูกปลดและสลายตัวในเดือนสิงหาคม ปี 1946.กองทัพเวร์มัคฺได้รวมถึงครีคส์มารีเนอ (กองทัพเรือ),และลุฟท์วัฟเฟอ (กองทัพอากศ).ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง,จำนวนทหารทั้งหมด 13 ล้านนายรับใช้ในกองทัพเยอรมัน.บุคลากรของกองทัพส่วนใหญ่มาจากการเกณฑ์.",
"title": "กองทัพบกเยอรมัน (แวร์มัคท์)"
},
{
"docid": "93456#8",
"text": "จากการรายงานในการบุกอิรักเมื่อปีพ.ศ. 2546 ไทป์ 69-คิวเอ็มถูกใช้โดยกองทัพบกอิรักเพื่อป้องกันเมื่อนาซิรายาห์ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2546 พวกมันส่วนใหญ่ถูกใช้เป็นรังปืนใหญ่ พวกมันยังเป็นกุญแจสำคัญในการโจมตีซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากให้กับกองร้อยซ่อมบำรุงที่ 507 ของกองทัพบกและกองร้อยชาร์ลีของนาวิกโยธินสหรัฐ ก่อนที่เอเอช-1 คอบราจะเข้ามาทำลายพวกมัน ไทป์ 69 สองคันได้ทำลายพาหนะของกองร้อยที่ 507 ไปอย่างน้อยสี่คัน นอกจากนนี้ยังมีไทป์ 69 ประมาณสี่คันที่ซ่อนอยู่ในตกและกระหน่ำยิงเข้าใส่เอเอวีหลายคันของกองร้อยชาร์ลีอีกด้วย\nไทป์ 59 และ 69 บางคันที่ไม่สามารถทำงานได้ถูกนำมาใช้เป็นเป้าล่อหรือเครื่องกัดขวาง\nในรุ่นนี้ได้รับการส่งออกอย่างกว้างขวางและผลิตโดยบริษัทของปากีสถานภายใต้ใบอนุญาต ไทป์ 69-II ถูกเรียกว่าไทป์ 30 ในกองทัพบกไทย\nไทป์ 69 และ 79 ของพลเรือนถูกใช้เพื่อพัฒนารถถังดับเพลิงของจีน ปัจจุบันมีเพียง 3 คันเท่านั้นในจีน",
"title": "ไทป์ 69/79"
},
{
"docid": "55222#0",
"text": "โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ ชื่อย่อ รร.สธ.ทร. เดิมชื่อ โรงเรียนนายทหารเรือ เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของกองทัพเรือ ขึ้นอยู่กับสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง และอยู่ในระดับเดียวกับ สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง ของกองทัพบก และ สถาบันวิชาการทหารอากาศชั้นสูง ของกองทัพอากาศ",
"title": "สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง"
}
] |
874 | สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ครองเมืองใด ? | [
{
"docid": "42761#0",
"text": "สมเด็จพระบรมราชา (ที่ 3) หรือ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ หรือ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 33 และเป็นรัชกาลสุดท้ายแห่งอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2301-2310",
"title": "สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์"
}
] | [
{
"docid": "42761#3",
"text": "เมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2301 พระเจ้าอุทุมพรเสด็จขึ้นครองราชย์ ระหว่างนั้นกรมขุนอนุรักษ์มนตรีเสด็จมาประทับ ณ พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ราว 2 เดือนต่อมา พระเจ้าอุทุมพรเสด็จไปถวายราชสมบัติแก่กรมขุนอนุรักษ์มนตรีแล้วเสด็จออกผนวช ประทับ ณ วัดประดู่ทรงธรรม กรมขุนอนุรักษ์มนตรีจึงเสด็จขึ้นราชาภิเษก ณ พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท ทรงพระนามว่า\"สมเด็จพระบรมราชามหาอดิศร บวรสุจริต ทศพิธธรรมธเรศ เชษฐโลกานายกอุดม บรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว\"",
"title": "สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์"
},
{
"docid": "42761#4",
"text": "ในระหว่างที่พระองค์ครองราชย์ พม่าได้ยกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าเอกทัศได้ทรงขอให้พระเจ้าอุทุมพรลาผนวชมาช่วยบัญชาการรบ พระเจ้าอลองพญา พระมหากษัตริย์พม่า ที่ยกทัพมา แต่สวรรคตเสียก่อน\nต่อมาใน พ.ศ. 2307 พระเจ้ามังระ โอรสของพระเจ้าอลองพญา ได้เป็นพระมหากษัตริย์พม่า และส่งกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีก ให้เกณฑ์กองทัพกว่า 70,000 นาย ยกเข้าตีเมืองไทย 2 ทาง ทางทิศใต้เข้าตีเข้าทางเมืองมะริด ส่วนทางตอนเหนือตีลงมาจากแคว้นล้านนา และบรรจบกันที่กรุงศรีอยุธยาเป็นศึกขนานกันสองข้างโดยได้ล้อมกรุงศรีอยุธยานาน 1 ปี 2 เดือน ก็เข้าพระนครได้ เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310",
"title": "สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์"
}
] |
13 | จังหวัดมุกดาหารมีกี่อำเภอ? | [
{
"docid": "2854#3",
"text": "การปกครองแบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 53 ตำบล 526 หมู่บ้าน",
"title": "จังหวัดมุกดาหาร"
}
] | [
{
"docid": "419061#1",
"text": "หลังจากที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็น \"การเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวของไทย\" โดยขณะนั้นมุกดาหารยังเป็นเพียงอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนม",
"title": "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมุกดาหาร"
},
{
"docid": "7605#34",
"text": "ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอหนองสูง อำเภอนิคมคำสร้อย และอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอชานุมาน อำเภอเสนางคนิคม อำเภอเมืองอำนาจเจริญ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ และอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอศิลาลาด อำเภอราษีไศล และอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอหนองพอก อำเภอเสลภูมิ และอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด",
"title": "จังหวัดยโสธร"
},
{
"docid": "456334#1",
"text": "สืบเนื่องจากที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ครั้งที่ 6/2550 วันเสาร์ที่ 15 กันยายน 2550 ได้เห็นชอบโครงการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติลุ่มน้ำโขงจังหวัดมุกดาหาร โดยมีการเรียนการสอนให้สอดรับความต้องการของพื้นที่จังหวัดมุกดาหารด้านการส่งเสริมธุรกิจระหว่างประเทศ ด้านการท่องเที่ยว ภาษา วัฒนธรรม ทั้งนี้การจัดการเรียนการสอน ณ จังหวัดมุกดาหาร เป็นการขยายโอกาสทางการศึกษา ให้กับนักศึกษาไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะจาก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้จบอาชีวศึกษาได้ต่อในระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้จังหวัดมุกดาหารได้มอบอาคารเรียนหลังเก่า ของโรงเรียนมุกดาลัย ชื่อตึกเหลืองมุกดาลัย มอบให้เพื่อใช้ในการเรียนการสอน และเป็นสำนักงาน มหาวิทยาลัยได้นำตึกเหลืองมุกดาลัย มาปรับปรุงใหม่โดยยังคงรูปแบบเดิมของตึกให้มากที่สุด ปรับปรุงซ่อมแซมไปในเดือน เมษายน และเดือนพฤษภาคม 2550 มหาวิทยาลัยอุบลได้ส่ง ดร.กุลภา โภคสวัสดิ์ มาเตรียมงานและดูแลการปรับปรุงสถานที่ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2550 จากนั้นในวันที่ 1 มิถุนายน 2550 ได้ส่งอาจารย์ ณัฎฐ์นรี สุขจิต มาเป็นอาจารย์ประจำศูนย์ฯ มุกดาหารอีกหนึ่งท่าน และมีอาจารย์ประจำมาเพิ่มอีกคือ อาจารย์ทยากร สุวรรณปักษ์ และอาจารย์ ชุมพร หลินหะตระกูล ตามลำดับ\nต่อมาเมื่อวันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2551 ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ครั้งที่ 3/2551 มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งวิทยาเขตมุกดาหาร และได้ขอความเห็นชอบในการใช้พื้นที่ป่าไม้บริเวณภูผาเจี้ย ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร เพื่อจัดตั้งวิทยาเขตมุกดาหาร\nวิทยาเขตมุกดาหาร มีนักศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 144 คน (พ.ศ. 2554) มีพื้นที่ดำเนินการ 3 พื้นที่ คือ พื้นที่พืชไร่ตำบลคำอาอวน พื้นที่ทหารตำบลคำอาอวน และพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลมุกดาหาร (ภูผาเจี้ย) โดยวิทยาเขตมุกดาหาร กำลังมีโครงการจะก่อสร้างอาคารซึ่งเป็นที่ตั้งถาวรของวิทยาเขต นอกจากนี้ยังมีโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมนานาชาติสิรินธารา สามารถรองรับกิจกรรมอเนกประสงค์ และรองรับการประชุมได้ 4,000 ที่นั่ง บริเวณพื้นที่ภูผาเจี้ย เนื้อที่ 1,134 ไร่",
"title": "มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร"
},
{
"docid": "129659#0",
"text": "นิคมคำสร้อย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร เดิมเป็นตำบลคำสร้อย ขึ้นกับอำเภอมุกดาหาร ตั้งเป็นกิ่งอำเภอนิคมคำสร้อย เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ยกฐานะเป็นอำเภอนิคมคำสร้อย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2522 แบ่งการปกครองเป็น 7 ตำบล 77 หมู่บ้าน มีประชากร 40,475 คน",
"title": "อำเภอนิคมคำสร้อย"
},
{
"docid": "685057#0",
"text": "ทางหลวงเอเชียสาย 121 () คือถนนเครือข่ายทางหลวงสายเอเชียประเภทสายรอง เริ่มต้นจากพรมแดนประเทศลาว ที่สะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ใน อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ลงมาทางทิศใต้ตามเส้นทางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 (ถนนชยางกูร) เลี้ยวขวาไปตาม ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2116 ผ่านอำเภอเลิงนกทา เลี้ยวซ้ายไปตาม ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2169 ผ่านเข้าอำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร จากนั้นจึงเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202 เข้าเขต จังหวัดร้อยเอ็ด ผ่าน อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอเกษตรวิสัย เลี้ยวซ้ายไปตาม ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 219 ใน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย เข้าเขต อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ แล้วใช้เส้นทาง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 218 เข้าเขต อำเภอนางรอง แล้วเลี้ยวขวาใช้ถนน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 แล้วเลี้ยวซ้ายไปตาม ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 348 ในเขตเทศบาลเมืองนางรอง ผ่าน อำเภอปะคำ อำเภอโนนดินแดง ลงเขาช่องตะโก เข้าสู่เขตอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว เลี้ยวขวาใช้เส้นทางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3486 ที่แยกบ้านใหม่ เลี้ยวขวาใช้เส้นทางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3395 ที่แยกโคคลาน แล้วเลี้ยวขวาใช้เส้นทางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3462 ที่สี่แยกช่องกุ่ม ตำบลช่องกุ่ม อำเภอวัฒนานคร ไปบรรจบทางหลวงเอเชียสาย 1 (AH 1) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 ที่ตัวเมืองจังหวัดสระแก้ว รวมระยะทาง 458.5 กิโลเมตร",
"title": "ทางหลวงเอเชียสาย 121"
},
{
"docid": "456966#11",
"text": "ด้านประเทศไทยได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ น่าน เลย นครพนม หนองคาย อุดรธานี และอุบลราชธานี ในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2496\nและได้มีการประกาศสถานการณ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ สกลนคร และศรีสะเกษ ในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2496\nต่อมารัฐบาลไทยได้สั่งให้ประชาชนอยู่ในเคหะสถานตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนถึงตี5 ในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ ตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย ตำบลบึงกาฬ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย กับในเทศบาลเมืองนครพนม ตำบลอุเทน อำเภออุเทน ตำบลบ้านแพง กิ่งอำเภอบ้านแพง ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม ตำบลมุกดาหาร อำเภอมุกดาหาร ตำบลศรีบุญเรือง ตำบลนาแก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2497และออกคำสั่งห้ามชุมนุมเกิน 5 คน ในวันเดียวกัน",
"title": "สงครามกลางเมืองลาว"
},
{
"docid": "2854#14",
"text": "มุกดาหารอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 642 กิโลเมตร ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา-อำเภอบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-อำเภอโพนทอง-อำเภอคำชะอี-มุกดาหาร หรือเส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 2) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 207 ที่บ้านวัด-เลี้ยวขวาผ่านอำเภอประทาย-อำเภอพุทไธสง-อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย–อำเภอเกษตรวิสัย-อำเภอสุวรรณภูมิ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2169 ผ่านอำเภอทรายมูล-อำเภอกุดชุม-อำเภอเลิงนกทา แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 212 ผ่านอำเภอนิคมคำสร้อย สู่จังหวัดมุกดาหาร",
"title": "จังหวัดมุกดาหาร"
},
{
"docid": "2854#11",
"text": "อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ/มุกดาหาร ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่บ้านคอนสาย ตำบลนาสีนวน อำเภอเมืองมุกดาหาร อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่บ้านหนองเม็ก ตำบลป่าไร่ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร(มุกดาหาร,ยโสธร,อำนาจเจริญ) อุทยานแห่งชาติภูผายล/ห้วยหวด ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่บ้านห้วยหวด ตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร(สกลนคร,นครพนม,มุกดาหาร) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน ที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯตั้งอยูที่อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร(มุกดาหาร,กาฬสินธุ์) วนอุทยานดงบังอี ที่ทำการวนอุทยานฯตั้งอยู่ที่ตำบลนากอก อำเภอนิคมคำสร้อย เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ ที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯตั้งอยู่ที่ตำบลบึงงาม อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด(ร้อยเอ็ด,กาฬสินธุ์,มุกดาหาร)",
"title": "จังหวัดมุกดาหาร"
},
{
"docid": "435465#1",
"text": "ในปี พ.ศ. 2450 ได้มีการปรับปรุงการปกครองในมณฑลอุดร เป็นจังหวัด จึงถูกยุบลงเป็น อำเภอมุกดาหาร ขึ้นตรงกับ จังหวัดนครพนม และในปี พ.ศ. 2525 จึงได้มีพระราชบัญญัติ จัดตั้งจังหวัดมุกดาหารขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาการบุกรุก และขยายอิทธิพล ของระบบสังคมนิยม ของค่าสังคมนิยมในลาว ซึ่งได้เปลี่ยนการ ปกครองจาก ระบบประชาธิปไตย เป็นสังคมนิยม ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2518 ทำให้ชุมชนสุขาภิบาลมุกดาหาร ได้รับการยกฐานะ เป็นเทศบาลเมือง ตามการจัดตั้ง จังหวัดมุกดาหาร เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2526 (ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 100 หน้า 63 ลงวันที่ 21 เมษายน 2526) นายกเทศมนตรีคนแรก คือ นายนิรันดร์ ยิ่งอรุณธรรม เข้าดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2526",
"title": "เทศบาลเมืองมุกดาหาร"
},
{
"docid": "850541#0",
"text": "โรงเรียนมุกดาหาร ()เป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ตั้งอยู่ที่ 211 ถนนพิทักษ์พนมเขต อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร และเป็นโรงเรียนประเภทโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ ปัจจุบันมีอายุ 70 ปี ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2491",
"title": "โรงเรียนมุกดาหาร"
},
{
"docid": "537418#0",
"text": "วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทย มุกดาหาร เป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2547 ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร จัดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชสชีพชั้นสูง(ปวส.)",
"title": "วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทย มุกดาหาร"
},
{
"docid": "2854#4",
"text": "อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดอนตาล อำเภอดงหลวง อำเภอคำชะอี อำเภอหว้านใหญ่ อำเภอหนองสูง",
"title": "จังหวัดมุกดาหาร"
},
{
"docid": "129664#0",
"text": "เมืองมุกดาหาร เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร",
"title": "อำเภอเมืองมุกดาหาร"
},
{
"docid": "790333#12",
"text": "ชาวเมืองมุกดาหารและทางราชการได้นำราชทินนาของพระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ) มาตั้งเป็นชื่อซอยบริเวณถนนศรีบุญเรืองและถนนสมุทรศักดารักษ์ ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ชื่อว่า ซอยศศิวงษ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งคุณงามความดีในราชการบ้านเมืองของพระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ)",
"title": "พระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ จันทรสาขา)"
},
{
"docid": "6340#7",
"text": "ในปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดมุกดาหาร พ.ศ. 2525 แยกอำเภอ มุกดาหารเป็นจังหวัด ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525",
"title": "จังหวัดนครพนม"
},
{
"docid": "790333#6",
"text": "เมื่อเจ้าราชบุตร (เมฆ) ได้ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าเมืองและว่าที่เจ้าเมืองมุกดาหารแล้ว ต่อมาอีก ๓ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๓๔ จึงได้เดินทางลงไปรับพระราชทานสัญญาบัตรในตำแหน่งเจ้าเมืองมุกดาหารที่กรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามสัญญาบัตรประทับพระราชสัญจกร ตั้งให้ราชบุตร (เมฆ) เป็นที่ พระจันทรเทพสุริยวงษ์ดำรงมหาราชการ ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองมุกดาหารในฐานะพระประเทศราชตามจารีตเดิม ตั้งแต่วันที่ ๔ เดือนตุลาคม ร.ศ. ๑๑๐ ปรากฏความในราชกิจจานุเบกษา ร.ศ. ๑๑๐ การแต่งตั้งเจ้าเมืองครั้งนี้ประกอบด้วยกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ดำรงตำแหน่งคณะอาญาสี่และผู้ช่วยราชการเมืองอีก ๗ ท่าน คือ ท้าวเสริม ให้ดำรงตำแหน่งอุปฮาตเมืองมุกดาหาร ท้าวแสง ให้ดำรงตำแหน่งราชวงศ์เมืองมุกดาหาร ท้าวแป้น ให้ดำรงตำแหน่งราชบุตรเมืองมุกดาหาร พระวรบุตรภักดี (อ่าง) ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองมุกดาหาร พระศรีวรวงษ์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองมุกดาหาร พระราชกิจภักดี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองมุกดาหาร พระศรีวรราช ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองมุกดาหารเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๔ พระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ) เมื่อครั้งเป็นที่พระจันทรเทพสุริยวงษ์เจ้าเมืองมุกดาหาร ได้ชักชวนประชาชนชาวเมืองมุกดาหารร่วมแรงร่วมใจกันเสาะหาต้นตะเคียนในเขตเมืองมุกดาหารจนพบต้นตะเคียนที่งดงามและสูงใหญ่ที่สุดของเมือง ณ ดงบักอี่หรือดงบั่งอี บริเวณท้องที่อำเภอดอนตาลต่อเขตแดนอำเภอนิคมคำสร้อย แล้วนำมาขุดถากสำเร็จเป็นเรือเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๖ พระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ) ได้ตั้งมงคลนามของเรือว่า เรือมณฑล เรือมณฑลเป็นเรือประวัติศาสตร์คู่บ้านคู่เมืองของมุกดาหารมาแต่อดีต มีอายุร้อยกว่าปี ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ ณ วัดศรีสุมังค์ ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร เป็นเรือขุดจากต้นตะเคียนทั้งต้น มีความยาว ๒๐ เมตร กว้าง ๑.๒๐ เมตร บรรจุฝีพายได้ ๔๕ คน ประชาชนเล่าลือกันว่าเป็นเรือที่สวยงามที่สุดและชนะเลิศการแข่งเรือในบุญส่วงเฮือแถบลุ่มแม่น้ำโขงมาโดยตลอด เรือมณฑลเคยเป็นเรือรับเสด็จเมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ พระองค์เจ้าชายดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสด็จมาตรวจราชการภาคอีสานบริเวณมณฑลอุดรและมณฑลร้อยเอ็ด พระองค์ได้ประทับบนเรือมณฑลเพื่อล่องแก่งในลำแม่น้ำโขงจากเมืองธาตุพนมมายังเมืองมุกดาหารเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ เรือมณฑลเคยลงน้ำครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ หลังจากนั้นได้เก็บรักษาไว้ ณ วัดศรีสุมังค์ นับถือกันว่าเป็นเรือประวัติศาสตร์ของชาติและเป็นโบราณวัตถุหรือสมบัติอันล้ำค่าของชาวเมืองมุกดาหาร ต่อมาชาวเมืองมุกดาหารจึงได้ปรึกษาหารือร่วมกันเพื่ออนุรักษ์เรือไว้ไม่ให้ทรุดโทรมและได้บูรณะซ่อมแซมเรือมณฑลแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙",
"title": "พระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ จันทรสาขา)"
},
{
"docid": "97959#1",
"text": "ภาษาลาวเวียงจันทน์ ใช้ในประเทศลาว ท้องที่นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงบอลิคำไซ และในประเทศไทยท้องที่จังหวัดชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย โพธิ์ตาก สังคม(บางหมู่บ้าน) ) ขอนแก่น (อำเภอภูเวียง ชุมแพ สีชมพู ภูผาม่าน หนองนาคำ เวียงเก่า หนองเรือบางหมู่บ้าน) ยโสธร (อำเภอเมืองยโสธร ทรายมูล กุดชุม บางหมู่บ้าน) อุดรธานี (อำเภอบ้านผือ เพ็ญ บางหมู่บ้าน) ศรีสะเกษ (ในบางหมู่บ้านของอำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอขุขันธ์ และอำเภอขุนหาญ) ภาษาลาวเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงหลวงพระบาง ไชยบุรี อุดมไซ ในประเทศไทยท้องที่จังหวัดเลย อุตรดิตถ์ (อำเภอบ้านโคก น้ำปาด ฟากท่า) เพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า น้ำหนาว) ขอนแก่น (อำเภอภูผาม่าน และบางหมู่บ้านของอำเภอสีชมพู ชุมแพ) ชัยภูมิ (อำเภอคอนสาร) พิษณุโลก (อำเภอชาติตระการและนครไทยบางหมู่บ้าน) หนองคาย (อำเภอสังคม) อุดรธานี (อำเภอน้ำโสม นายูง บางหมู่บ้าน) ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงเชียงขวาง หัวพัน ในประเทศไทยท้องที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และบางหมู่บ้านในจังหวัดสกลนคร หนองคาย(บางหมู่บ้านในอำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ และอำเภอโพธิ์ตาก) และยังมีชุมชนลาวพวนในภาคเหนือบางแห่งในจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้น หนองคาย ภาษาลาวกลาง แยกออกเป็นสำเนียงถิ่น 2 สำเนียงใหญ่ คือ ภาษาลาวกลางถิ่นคำม่วน และถิ่นสุวรรณเขต ถิ่นคำม่วน จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จังหวัดนครพนม สกลนคร บึงกาฬ (อำเภอเซกา บึงโขงหลง บางหมู่บ้าน) ถิ่นสุวรรณเขต จังหวัดที่พูดมีจังหวัดเดียว คือ จังหวัดมุกดาหาร ภาษาลาวใต้ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงจำปาศักดิ์ สาละวัน เซกอง อัตตะปือ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร ภาษาลาวตะวันตก (ภาษาลาวร้อยเอ็ด) ไม่มีใช้ในประเทศลาว เป็นภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ท้องที่ร้อยเอ็ด อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม หนองคาย(บางหมู่บ้าน) และบริเวณใกล้เคียงมณฑลร้อยเอ็ดของสยาม",
"title": "ภาษาไทยถิ่นอีสาน"
},
{
"docid": "6340#14",
"text": "ระยะทางจากจังหวัดนครพนมไปยังจังหวัดใกล้เคียง โดยประมาณ คือ จังหวัดอุดรธานี 242 กิโลเมตร จังหวัดหนองคาย 303 กิโลเมตร จังหวัดขอนแก่น 298 กิโลเมตร จังหวัดบึงกาฬ 181 กิโลเมตร จังหวัดมุกดาหาร 104 กิโลเมตร จังหวัดสกลนคร 93 กิโลเมตร จังหวัดอุบลราชธานี 271 กิโลเมตร กรุงเทพมหานคร 730 กิโลเมตร ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอใกล้เคียง โดยประมาณ คือ อำเภอท่าอุเทน 26 กิโลเมตร อำเภอโพนสวรรค์ 45 กิโลเมตร อำเภอธาตุพนม 52 กิโลเมตร อำเภอนาแก 78 กิโลเมตร อำเภอนาหว้า 93 กิโลเมตร อำเภอวังยาง 80 กิโลเมตร อำเภอปลาปาก 44 กิโลเมตร อำเภอเรณูนคร 51 กิโลเมตร อำเภอศรีสงคราม 67 กิโลเมตร อำเภอบ้านแพง 93 กิโลเมตร อำเภอนาทม 103 กิโลเมตร",
"title": "จังหวัดนครพนม"
},
{
"docid": "2854#6",
"text": "อำเภอเมืองมุกดาหาร เทศบาลเมืองมุกดาหาร เทศบาลตำบลดงเย็น เทศบาลตำบลคำอาฮวน เทศบาลตำบลมุก เทศบาลตำบลบางทรายใหญ่ เทศบาลตำบลโพนทราย เทศบาลตำบลผึ่งแดด เทศบาลตำบลคำป่าหลาย เทศบาลตำบลดงมอน เทศบาลตำบลนาโสก เทศบาลตำบลนาสีนวน อำเภอนิคมคำสร้อย เทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย เทศบาลตำบลร่มเกล้า อำเภอดอนตาล เทศบาลตำบลดอนตาล เทศบาลตำบลบ้านแก้ง เทศบาลตำบลดอนตาลผาสุก อำเภอดงหลวง เทศบาลตำบลดงหลวง เทศบาลตำบลหนองแคน เทศบาลตำบลกกตูม อำเภอคำชะอี เทศบาลตำบลคำชะอี อำเภอหว้านใหญ่ เทศบาลตำบลหว้านใหญ่ เทศบาลตำบลชะโนด อำเภอหนองสูง เทศบาลตำบลภูวง เทศบาลตำบลบ้านเป้า เทศบาลตำบลหนองสูงเหนือ",
"title": "จังหวัดมุกดาหาร"
},
{
"docid": "114522#0",
"text": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 สายแม่สอด (เขตแดน)–มุกดาหาร เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธานที่เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่เชื่อมระหว่างภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย สายทางเริ่มต้นที่สะพานมิตรภาพไทย-พม่า อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และสิ้นสุดที่อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 793.391 กิโลเมตร อีกทั้งรัฐบาลยังวางแผนให้เป็นหนึ่งในถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ที่เชื่อมระหว่างเมืองเมาะลำเลิง ประเทศพม่า และเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม นอกจากนี้เส้นทางหลวงแผ่นดินสายนี้ยังถือเป็นทางหลวงสายเอเชีย ได้แก่ ทางหลวงเอเชียสาย 1 และทางหลวงเอเชียสาย 16 อีกด้วย",
"title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12"
},
{
"docid": "794883#4",
"text": "พ.ศ. ๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ได้ยกทัพลงมาทางอีสาน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) โปรดเกล้าฯ ให้กองทัพไทยไปทำสงครามและจับเจ้าอนุวงศ์ได้ในปี พ.ศ. ๒๓๗๑ กองทัพไทยได้กวาดต้อนชาวภูไทจากหัวเมืองต่าง ๆ เข้ามายังฝั่งขวาของแม่น้ำโขงจำนวนมาก ชาวภูไทเหล่านี้ส่วนใหญ่ตั้งบ้านเมืองกระจายกันไปอยู่ทั่วภาคอีสาน เช่น จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น[3] ในปี พ.ศ. ๒๓๘๗ พระจันทรสุริยวงษ์ (พรหม จันทรสาขา) เจ้าเมืองมุกดาหารหรือเมืองบังมุก ได้นำท้าวสีหนาม (สิงห์) เจ้าเมืองคำอ้อ ท้าวราชอาดกรมการเมืองคำอ้อ เพี้ยเมืองแสน ท้าวสุวรรณโคตร และท้าวอุปคุตกรมการชั้นผู้ใหญ่จากเมืองวังในฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นเจ้านายเผ่าภูไททั้งหมด เข้าพบเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สมุหนายกและแม่ทัพใหญ่ที่ออกมาจัดราชการเมืองเขมรอยู่ที่เมืองพนมเป็ญ ครั้นความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) เจ้านายภูไทที่ถูกนำตัวมาทั้งหมดได้ประกอบพิธีดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อฝ่ายสยาม หลังจากนั้น พระจันทรสุริยวงษ์ (พรหม จันทรสาขา) เจ้าเมืองมุกดาหาร ได้นำตัวท้าวสีหนาม (สิงห์) เจ้าเมืองคำอ้อ และกรมการเมืองวังเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพมหานคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวสีหนาม (สิงห์) เจ้าเมืองคำอ้อ เป็นที่ พระไกรสรราช ยกบ้านหนองสูงเป็น เมืองหนองสูง ให้พระไกรสรราช (สิงห์) อดีตท้าวสีหนาม เป็นเจ้าเมืองหนองสูง โดยมีสารตราตั้งเจ้าเมืองปรากฏในเอกสาร ร.๓ จ.ศ.๑๒๗๖ เลขที่ ๕๘ หอสมุดแห่งชาติ มาเมื่อวันศุกร์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะโรง ฉศก จ.ศ. ๑๒๐๖ ตรงกับวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๘๗ ให้เมืองหนองสูงเป็นหัวเมืองชั้นจัตวา[4] ทำราชการสนองพระเดชพระคุณขึ้นต่อเมืองมุกดาหาร และให้เมืองมุกดาหารแบ่งเขตแดนให้เมืองหนองสูง คือ ด้านทิศตะวันออกตั้งแต่ห้วยทราย ด้านทิศเหนือถึงเขานางมอญ ด้านทิศตะวันตกถึงห้วยบังอี่ ด้านทิศใต้จรดห้วยทราย[5] มีอาณาบริเวณครอบคลุมพื้นที่อำเภอหนองสูง อำเภอคำชะอี และอำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม และมีพื้นที่บางส่วนล้ำเข้าไปถึงบ้านขุมขี้ยาง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ชาวบ้านทั่วไปนิยมออกพระนามของพระไกรสรราชโดยลำลองว่า อาญาโหลง ตามสำเนียงของชาวภูไท ซึ่งตามสำเนียงชาวลาวนั้นออกพระนามลำลองว่า อาญาหลวง ส่วนโฮงที่ประทับของพระองค์ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า คุ้มเหนือ",
"title": "พระไกรสรราช (สิงห์ ไตรยวงค์)"
},
{
"docid": "35773#41",
"text": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนตาก-แม่สอด) หรือ ทางหลวงเอเชียหมายเลข 1 จากชายแดนประเทศพม่า (ด่านพรมแดนแม่สอด สะพานมิตรภาพไทย-พม่า) อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก-อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ถนนช่วงตาก-แม่สอด เดิมคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 (ถนนแม่สอด-แม่สะเรียง เดิมคือ ถนนแม่สอด-แม่ระมาด) หรือ จากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก-อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1090 (ถนนแม่สอด-อุ้มผาง) ทางเข้าเมืองแม่สอด จากแยกอุ้มผาง-อำเภออุ้มผาง",
"title": "อำเภอแม่สอด"
},
{
"docid": "282522#1",
"text": " วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร แรกเริ่มก่อตั้งโดยได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารให้ใช้อาคาร ที่ว่าการอำเภอเมืองมุกดาหารหลังเก่า ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร จึงย้ายสำนักงานจากศูนย์การศึกษา นอกโรงเรียนจังหวัดมุกดาหาร มาที่อาคารที่ว่าการอำเภอเมืองมุกดาหารหลังเก่า ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2547 เป็นต้นมา ขณะเดียวกันสำนักงานบริหารงานวิทยาลัยชุมชน ได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อทำการซ่อมแซมอาคารดังกล่าว จำนวน 1,998,000 บาท และทำการซ่อมแซมแล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤษภาคม 2547 โดยวิทยาลัยฯ ใช้ประโยชน์ จากอาคารดังกล่าวเป็นสำนักงานวิทยาลัย ศูนย์วิทยบริการ ศูนย์ภาษาแบบพึ่งพาตนเอง บริการนักศึกษา และ ห้องเรียน โดยได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ ศาสตราจารย์นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เดินทางมาเป็น ประธานพิธีเปิดอาคารสำนักงานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2548 ",
"title": "วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร"
},
{
"docid": "850541#1",
"text": "โรงเรียนมุกดาหาร เดิมเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ประจำอำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม เปิดทำการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2491 เริ่มเปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยอาศัยบริเวณโรงเรียนมุกดาลัย (โรงเรียนประถมศึกษาประจำอำเภอ) และในปี พ.ศ. 2525 (จากราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2525) อำเภอมุกดาหารได้แยกออกจากจังหวัดนครพนม ก่อตั้งเป็นจังหวัดมุกดาหาร จังหวัดที่ 73 ของประเทศ เหตุนี้จึงทำให้โรงเรียนมุกดาหารเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดโดยพฤตินัย ปัจจุบันได้ทำการเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรพิเศษ 3 หลักสูตร คือ หลักสูตร Mini English Program (MEP), หลักสูตร Intensive English Program (IEP), และหลักสูตรส่งเริมคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้โรงเรียนมุกดาหารยังได้เข้าร่วมโครงการสร้างหลักสูตรห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์มาตรฐานสากล ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามแนวทางของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอีกด้วย",
"title": "โรงเรียนมุกดาหาร"
},
{
"docid": "111193#1",
"text": "เริ่มในสมัยขอมเรืองอำนาจ เมืองนี้มีชื่อว่า สุวรรณภูมิประเทศ เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ในปี พ.ศ. 2120 ท้าวหลวงและนางสิมได้อพยบผู้คนจากภาคเหนือลงมาตั้งหมู่บ้านชื่อว่าบ้านหลวงโพนสิม ห่างจากตัวเมืองปัจจุบันประมาณ 18 กิโลเมตร เส้นทางเดียวกับไปพระธาตุอิงฮัง ครั้นถึง พ.ศ. 2185 ท้าวสิมพลีบุตรชายได้พาชาวบ้านหลายสิบครอบครัวแยกออกไปตั้งเมืองใหม่เป็นชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขงประวัติการก่อตั้งเมืองสุวรรณเขตยังเกี่ยวพันกับการก่อตั้งจังหวัดมุกดาหารในฝั่งไทย เพราะชาวบ้านที่อพยพมาจากบ้านโพนสิมได้ข้ามไปตั้งบ้านเรือนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงแล้วก่อตั้งเมืองมุกดาหารขึ้นการเดินทางไปเมืองไกสอน พมวิหาน จากประเทศไทย สามารถทำได้โดยผ่านด่านพรมแดนที่สะพานมิตรภาพ 2 ตำบลบางทรายใหญ่ อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งเป็นจุดกึ่งกลางในการเดินทางระหว่างเวียงจันทน์ถึงปากเซ",
"title": "ไกสอน พมวิหาน (เมือง)"
},
{
"docid": "101472#0",
"text": "ถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก หรือ EWEC (East-West Economic Corridor) เป็นเส้นทางขนส่งมี ความยาวประมาณ 1,500 กิโลเมตร เป็นทางลัดเชื่อมทะเลจีนใต้กับมหาสมุทรอินเดีย เริ่มจากต้นทางที่ท่าเรือดานัง ในภาคกลางของประเทศเวียดนาม เข้าสู่ประเทศลาว จากนั้นข้ามสะพานมิตรภาพไทย - ลาวแห่งที่ 2 (มุกดาหาร - สุวรรณเขต) เข้าสู่ประเทศไทยที่อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร แล้วเข้าสู่ประเทศพม่า ที่สะพานมิตรภาพไทย - พม่า ผ่านด่านแม่สอด-เมียวดี อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ไปออกมหาสมุทรอินเดียที่เมืองท่ามะละแหม่งในอ่าวเมาะตะมะของประเทศพม่า ",
"title": "ถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก"
},
{
"docid": "101472#1",
"text": "เส้นทางในประเทศไทยเริ่มที่สะพานมิตรภาพไทย - ลาวแห่งที่ 2 (มุกดาหาร - สุวรรณเขต) ผ่านเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ช่วงมุกดาหาร - อำเภอสมเด็จ - กาฬสินธุ์ - อำเภอยางตลาด - ขอนแก่น - อำเภอชุมแพ - อำเภอหล่มสัก - พิษณุโลก - สุโขทัย - อำเภอบ้านด่านลานหอย - ตาก - อำเภอแม่สอด และสิ้นสุดที่สะพานมิตรภาพไทย - พม่า อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ",
"title": "ถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก"
},
{
"docid": "114522#10",
"text": "ถนนช่วงสมเด็จ–มุกดาหาร เดิมเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2042 หรือ ทางหลวงแผ่นดินสายสี่แยกสมเด็จ–มุกดาหาร เริ่มจากอำเภอสมเด็จ ผ่านอำเภอห้วยผึ้ง อำเภอกุฉินารายณ์ เข้าเขตจังหวัดมุกดาหาร ผ่านอำเภอหนองสูง และไปตัดที่ถนนชยางกูร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212) ในอำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร จากนั้นไปสิ้นสุดที่เขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร รวมระยะทาง 122 กิโลเมตร",
"title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12"
},
{
"docid": "790333#0",
"text": "อำมาตย์เอก พระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ จันทรสาขา) อดีตเจ้าเมืองมุกดาหารองค์ที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๓๐-๒๔๔๒) จากราชวงศ์เวียงจันทน์ในฐานะเจ้าเมืองประเทศราช อดีตราชบุตรผู้รักษาราชการเมืองมุกดาหาร อดีตจางวางที่ปรึกษาราชการเมืองมุกดาหาร อดีตกรมการพิเศษจังหวัดนครพนม (พ.ศ. ๒๔๔๒-๒๔๖๐) อดีตจางวางอำเภอมุกดาหาร อำมาตย์เอก พระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ จันทรสาขา) เป็นต้นสกุลพระราชทาน จันทรสาขา แห่งจังหวัดมุกดาหารและเป็นต้นสกุลพระราชทาน พิทักษ์พนม แห่งอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ในภาคอีสานของประเทศไทย",
"title": "พระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ จันทรสาขา)"
},
{
"docid": "435465#0",
"text": "เทศบาลเมืองมุกดาหาร เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ได้รับยกฐานะมาจากเทศบาลตำบลมุกดาหาร มีเขตรับผิดชอบ ได้แก่ ตำบลศรีบุญเรืองทั้งตำบล และ บางส่วนของตำบลมุกดาหาร",
"title": "เทศบาลเมืองมุกดาหาร"
}
] |
1600 | ประเทศยูกันดาตั้งอยู่ที่ใด ? | [
{
"docid": "19824#0",
"text": "ยูกันดา () หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐยูกันดา () เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก มีอาณาเขตทางตะวันออกจดประเทศเคนยา ทางเหนือจดประเทศซูดานใต้ ทางตะวันตกจดสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์เดิม) ทางตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศรวันดา และทางใต้จดประเทศแทนซาเนีย ทางใต้ของประเทศรวมถึงบางส่วนของทะเลสาบวิกตอเรีย ซึ่งมีพรมแดนติดกับเคนยาและแทนซาเนียด้วย ยูกันดาได้ชื่อมาจากอาณาจักรบูกันดาซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมทางใต้ของประเทศ รวมถึงเมืองหลวง กัมปาลา นอกจากนี้ยังมีอาณาจักรอื่นคือ อาณาจักรโตโร อาณาจักรบุนโยโร-กิตารา อาณาจักรบูโซกา อาณาจักรอันโกเล อาณาจักรรเวนซูรูรู เมืองหลวงเก่าของประเทศนี้คือเอนเทบบี อันเป็นที่ตั้งของสนามบินแห่งชาติยูกันดาด้วย",
"title": "ประเทศยูกันดา"
}
] | [
{
"docid": "53185#1",
"text": "รวันดามีอาณาเขตติดต่อกับยูกันดาทางตอนเหนือ บุรุนดีทางตอนใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกทางตะวันตกเฉียงเหนือมาจนถึงตะวันตก และแทนซาเนียที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ไล่ขึ้นมาถึงทางตะวันออก รวันดามีลักษณะทางภูมิประเทศที่เป็นเนินเขาที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ได้สมญานามจากเบลเยียม เจ้าอาณานิคมเก่าว่าเป็น \"ดินแดนแห่งเขาพันลูก\" (Pays des Mille Collines เป็นภาษาฝรั่งเศส หรือ Igihugu cy'Imisozi Igihumbi เป็นภาษากิญญาร์วันดา) รวันดายังถือเป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในแอฟริกาส่วนภูมิภาค (ไม่นับเกาะเล็ก ๆ) เหตุการณ์ที่โด่งดังที่สุดของประเทศรวันดาในระดับสากลคือเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวทุตซีในปี พ.ศ. 2537 (1994) ซึ่งส่งผลให้ประชากรเกือบล้านคนต้องเสียชีวิตไป",
"title": "ประเทศรวันดา"
},
{
"docid": "19824#14",
"text": "ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ : เนื่องจากเป็นประเทศที่ประสบภาวะสงครามกลางเมืองเป็นเวลานาน ยูกันดาจึงต้องการความช่วยเหลือจากต่างประเทศ อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดี Museveni แถลงว่า รัฐบาลยูกันดายินดีที่จะยอมรับความช่วยเหลือจากต่างชาติในด้านที่จำเป็นและสำคัญทางเศรษฐกิจเท่านั้น เช่น ในด้านการขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2530 ประเทศผู้ให้ต่าง ๆ ได้ให้เงินช่วยเหลือแก่ยูกันดามากขึ้น โดยประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ยูกันดาที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ออสเตรีย เป็นต้น นอกจากนี้ ยูกันดายังได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) 76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการนำเข้าสินค้าจำเป็นจำนวน 20.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือแก่ยูกันดามากที่สุดในภูมิภาค SUB-SAHARA เดนมาร์ก (12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ญี่ปุ่นได้ให้เงินช่วยเหลือ 4.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจ ยูกันดาในการลดภาระหนี้สินในการนำเข้าสินค้าจำเป็น อาทิ ปิโตรเลียม เครื่องมือก่อสร้างถนน อุปกรณ์ไฟฟ้า รถประจำทาง เครื่องจักรกล เครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ อุปกรณ์โทรคมนาคม ฯลฯ จากการเยือนยูกันดาของประธานาธิบดี Clinton ระหว่างวันที่ 24-25 มีนาคม 2541 นั้นประธานาธิบดี Clinton ได้ประกาศให้ความช่วยเหลือแก่ยูกันดาในด้านการศึกษา โภชนาการ สาธารณสุขและด้านแรงงานแก่ประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกา รวมมูลค่า 198.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ การประกาศให้ความช่วยเหลือดังกล่าวที่ประเทศยูกันดา นับว่าสหรัฐฯ ได้ให้ความสำคัญแก่ยูกันดามากขึ้น",
"title": "ประเทศยูกันดา"
},
{
"docid": "19824#1",
"text": "ยูกันดาตกเป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษตั้งแต่ปี 2436 (ค.ศ. 1893) จากข้อตกลงระหว่างกษัตริย์แห่ง Buganda ซึ่งเป็นเผ่าที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดกับรัฐบาลอังกฤษ หลังจากการเป็นรัฐอารักขาของอังกฤษ อิทธิพลทางเศรษฐกิจของชนผิวขาวจากเคนยาซึ่งอพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในยูกันดาเริ่มขยายตัวมากขึ้น ทำให้กลุ่มผู้นำ Buganda ไม่พอใจและระแวงว่าคนเหล่านี้จะมีอำนาจครอบงำทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจโดยสิ้นเชิง ดังนั้น เมื่อมีการเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการจัดตั้งสหพันธรัฐแอฟริกาตะวันออก (East African Federation : EAF) ซึ่งเป็นรัฐเอกราชใหม่ที่จะรวมอดีตอาณานิคมอังกฤษในแอฟริกาตะวันออกเข้าด้วยกัน ผู้นำ Buganda จึงคัดค้านข้อเสนอนี้ และต้องการที่จะแยกตัวออกเป็นประเทศเอกราชต่างหาก เพราะเกรงว่าชนผิวขาวในเคนยาจะมีอิทธิพลเหนือยูกันดา ข้อเรียกร้องดังกล่าวก่อให้เกิดความขัดแย้งกับนักการเมืองจากเผ่าอื่น ซึ่งต้องการให้ยูกันดาได้รับเอกราชแล้วรวมตัวกันเป็นรัฐเดียว ผู้นำที่สำคัญ ได้แก่ นาย Milton Obote หัวหน้าพรรค (Uganda People's Congress : UPC) ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่ทำให้ยูกันดาได้รับเอกราช เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2505 (ค.ศ. 1962) และนาย Obote ได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี",
"title": "ประเทศยูกันดา"
},
{
"docid": "310527#25",
"text": "ประเทศยูกันดาภายใต้อำนาจการปกครองของอามินได้ดำเนินการส่งเสริมการทหารให้แข็งแกร่งขึ้น เนื่องด้วยการสะสมกองกำลังของประเทศเคนยา ทางการเคนยาได้ทำการยึดเรือสินค้าของโซเวียตลำที่มีเส้นทางเข้าประเทศยูกันดาเอาไว้ที่ท่าเรือมอมบาซ่าของประเทศเคนยา สถานการณ์ตึงเครียดระหว่างยูกันดาและเคนยาบรรลุมาถึงจุดแตกหักในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 เมื่ออามินประกาศว่าเขาจะสืบสาวเหตุการณ์ในซูดานตอนใต้และภาคตะวันตกกับภาคกลางของเคนยา เข้าไปถึง 32 กิโลเมตร (20 ไมล์) ของกรุงไนโรบี เมืองหลวงของประเทศเคนยา ซึ่งตามประวัติศาสตร์นั้นเป็นส่วนหนึ่งอาณานิคมของยูกันดา รัฐบาลของเคนยาได้ตอกกลับไปว่าเคนยาไม่เคยเป็นส่วนหนึ่ง\"แม้แต่นิ้วเดียว\" ต่อมาอามินเปลี่ยนใจเนื่องจากเคนยาได้ส่งกองกำลังและยานหุ้มเกราะบรรทุกทหารมาที่บริเวณเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างยูกันดาและเคนยา",
"title": "อีดี อามิน"
},
{
"docid": "19824#5",
"text": "ปัจจุบันยูกันดากำลังประสบกับปัญหาความขัดแย้งทางตอนเหนือของประเทศ โดยปัญหาดังกล่าวเริ่มต้นในปี 2530 (ค.ศ. 1987) เนื่องมาจากมีการจัดตั้งกลุ่มกบฏ Lord Resistance Army (LRA) นำโดยนาย Joseph Kony ซึ่งมีเป้าหมายที่จะโค่นล้มรัฐบาลยูกันดาเพื่อก่อตั้งรัฐบาล Theocratic ซึ่งเป็นระบบการปกครองที่ยึดถือพระเจ้าหรือเทพเจ้าเป็นหลัก ถึงแม้ว่า LRA ไม่ได้เป็นภัยคุกคามสำหรับรัฐบาลยูกันดาก็ตาม แต่ก็ได้ก่อความไม่สงบทางตอนเหนือของยูกันดาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ส่งผลให้ปัจจุบันมีชาวยูกันดาซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนเหนือจำนวนมากต้องประสบปัญหาความยากจน ขาดแคลนอาหาร มีอัตราการตายของเด็กสูง มีจำนวนผู้พลัดถิ่นสูง นอกจากนี้ เมื่อปลายปี 2547 (ค.ศ. 2004) ได้มีรายงานด้วยว่า LRA ได้ใช้กำลังกดขี่ทางเพศต่อเด็ก รวมทั้งยังมีเด็กอีกจำนวน 16,000 - 26,000 คน ถูกใช้งานเป็นทหาร (Child Soldiers)",
"title": "ประเทศยูกันดา"
},
{
"docid": "19824#13",
"text": "ยูกันดาได้ประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศภายใต้ LOME CONVENTION ซึ่งเป็นข้อตกลงทางการค้าและความช่วยเหลือระหว่าง EU และแอฟริกา แคริบเบียน และแปซิฟิก โดยสินค้าเข้าบางชนิดในประเทศกลุ่ม EU จะได้รับการยกเว้นภาษี นอกจากนี้ ยังได้รับความช่วยเหลือด้านการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การสูญเสียจากการที่ราคาสินค้าตกต่ำและเพื่อกิจการด้านเหมืองแร่ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2536 ยูกันดาและประเทศในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกและได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาตลาดร่วมแห่งภูมิภาครัฐแอฟริกาตะวันออกและใต้ (Common Market for Eastern and Southern African States : COMESA)",
"title": "ประเทศยูกันดา"
},
{
"docid": "19824#16",
"text": "ประเทศยูกันดาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ภูมิภาค โดยแบ่งย่อยออกเป็น 6 อาณาจักร โดยแต่ละอาณาจักรแบ่งย่อยออกเป็น 111 เขต โดยแต่ละเขตแบ่งย่อยออกเป็น 146 มณฑล",
"title": "ประเทศยูกันดา"
},
{
"docid": "19824#12",
"text": "ยูกันดาเป็นสมาชิกสหประชาชาติและองค์กรต่าง ๆ ของสหประชาชาติและเข้าเป็นสมาชิกองค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity - OAU) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2533 ประธานาธิบดี Museveni ได้รับเลือกเป็นประธาน OAU เป็นเวลาหนึ่ง และสมาชิกในกลุ่ม PTA (Preferential Trade Area for East and Southern Africa) เมื่อเดือนธันวาคม 2530 มีการประชุมประเทศในกลุ่ม PTA ที่กรุงกัมปาลา มีมติให้ประเทศสมาชิกลดภาษีศุลกากรลงร้อยละ 10 ทุก ๆ 2 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2530 ถึงเดือนตุลาคม 2539 นอกจากนี้ ยูกันดายังเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ด้วย",
"title": "ประเทศยูกันดา"
},
{
"docid": "19824#15",
"text": "นอกจากนี้ ยูกันดายังมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในภูมิภาค (Great Lakes) รวมถึงการส่งเสริมการค้า การลงทุนระหว่างกัน และได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Entebbe Summit for Peace and Prosperity ขึ้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2541 โดยประธานาธิบดี Clinton ได้เข้าร่วมการประชุมพร้อมกับผู้นำสูงสุดและผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ประธานาธิบดี Museveni แห่งยูกันดา ประธานาธิบดี Danial arap Moi แห่งเคนยา ประธานาธิบดี Benjamin W. Mkapa แห่งแทนซาเนีย ประธานาธิบดี Pasteur Bizimungu แห่งรวันดา ประธานาธิบดี Laurent Kabila แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก นายกรัฐมนตรี Meles Zenawi แห่งเอธิโอเปีย นาย Murerwa รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของซิมบับเว ซึ่งผู้นำและผู้แทนประเทศต่าง ๆ ได้ร่วมลงนามในแถลงการณ์การประชุม Kampala Summit Communigue ด้วย",
"title": "ประเทศยูกันดา"
}
] |
327 | เจ้าเมืองกาฬสินธุ์องค์สุดท้ายสิ้นสุดลงเมื่อใด ? | [
{
"docid": "586595#0",
"text": "พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์) นามเดิมว่า ท้าวเก เป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์องค์ที่ 12 (พ.ศ. 2433–2437) หรือเป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์องค์สุดท้ายก่อนปฏิรูปการปกครองเป็นระบบมณฑลเทศาภิบาล (พ.ศ. 2444) เป็นผู้ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามสกุล ณ กาฬสินธุ์ และนับได้ว่าเป็นต้นตระกูล ณ กาฬสินธุ์ แห่งจังหวัดกาฬสินธุ์ในปัจจุบันด้วย",
"title": "พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์)"
},
{
"docid": "586595#2",
"text": "ก่อน พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ ร.ศ.116 ยกเลิกระบบการปกครองแบบเก่า ต่อมา กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลอีสาน เสด็จตรวจราชการถึงเมืองกาฬสินธุ์ พบว่าเจ้าเมืองกำลังว่างอยู่ จึงกราบทูลขอตั้งท้าวเกเมื่อครั้งดำรงบรรดาศักดิ์เป็นที่พระสินธุ์ประชาธรรมให้เป็นที่พระยาชัยสุนทรเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ และให้เมืองกมลาไสยมาขึ้นอยู่กับเมืองกาฬสินธุ์เช่นเดิม ต่อมาไม่นาน จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระสินธุ์ประชาธรรม (เก) เป็นที่ พระยาชัยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ต่อมา เมื่อสยามยุบตำแหน่งเจ้าเมืองหรือระบบการปกครองแบบคณะอาญาสี่ลง จึงโปรดฯ ให้ พระยาชัยสุนทร (เก) ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองกาฬสินธุ์ท่านแรก ในปี พ.ศ. 2433 ซึ่งเป็นสมัยที่พระยาชัยสุนทร (เก) ปกครองเมืองกาฬสินธุ์อยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แบ่งการปกครองหัวเมืองลาวตะวันออกออกเป็น 4 กอง ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นายสุดจินดา (เลื่อน) เป็นข้าหลวงกำกับราชการเมืองกาฬสินธุ์ เมืองกมลาไสย และเมืองภูแล่นช้าง เมืองดังกล่าวจัดอยู่ในหัวเมืองลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลลาวกาวและเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอีสาน จากนั้นราว พ.ศ. 2437-2444 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาชัยสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางสุ) ปกครองเมืองกาฬสินธุ์ต่อมาจากพระยาชัยสุนทร (เก) ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หัวเมืองกาฬสินธุ์ขึ้นอยู่กับบริเวณร้อยเอ็ด จากนั้นรัฐบาลสยามได้จัดการเปลี่ยนการปกครองจากการให้เจ้าเมืองปกครองขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ มาจัดการปกครองให้มีภาค จังหวัด อำเภอ และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เมืองร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดร้อยเอ็ด บรรดาหัวเมืองต่างๆ ให้ยุบเป็นอำเภอ คือ เมืองกาฬสินธุ์ เป็นอำเภออุทัยกาฬสินธุ์ จนกระทั่งถึงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2456 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะจังหวัดร้อยเอ็ดขึ้นเป็นมณฑล ยกฐานะอำเภออุทัยกาฬสินธุ์ขึ้นเป็นจังหวัดกาฬสินธุ์ ให้จังหวัดกาฬสินธุ์มีอำนาจปกครองอำเภอ คือ ให้อำเภออุทัยกาฬสินธุ์ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอกมลาไสย อำเภอยางตลาด ขึ้นกับจังหวัดกาฬสินธุ์ และให้จังหวัดกาฬสินธุ์ขึ้นต่อมณฑลร้อยเอ็ด ให้พระภิรมย์บุรีรักษ์เป็นปลัดมณฑลประจำจังหวัดกาสินธุ์ และขุนชัยศรีทรงยศ (ศรี ฆารสินธุ์) เป็นนายอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ถือเป็นอันสิ้นสุดระบบอาญาสี่ที่เคยปกครองเมืองกาฬสินธุ์มาอย่างยาวนานถึงสองร้อยกว่าปี และเป็นการยุติบทบาทของเจ้านายจากราชวงศ์เวียงจันทน์ที่ทรงปกครองเมืองกาฬสินธุ์มายาวนานมากถึง 12 องค์",
"title": "พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์)"
}
] | [
{
"docid": "47842#12",
"text": "สองวันก่อนคริสต์มาส 23 ธันวาคม พ.ศ. 2528 ผู้คนในลอนดอนกำลังชุลมุนวุ่นวายจับจ่ายซื้อข้าวของต้อนรับเทศกาลสำคัญที่สุดของชาวคริสต์ ชายชราคนหนึ่งล้มลงที่สถานีรถไฟบารอนส์คอร์ต สิ้นลมหายใจก่อนแก้ไขทัน ไม่มีใครทราบว่าชายชาวเอเชียคนนี้เป็นใคร ไม่มีหลักฐานอะไรในตัวเขา นอกจากจดหมายเขียนเป็นภาษาที่ตำรวจอ่านไม่ออก สก๊อตแลนด์ยาร์ดส่งจดหมายไปสอบถามผู้เชี่ยวชาญทางภาษาที่มหาวิทยาลัยลอนดอน",
"title": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช"
},
{
"docid": "287205#2",
"text": "ครั้นสิ้นสุดเสียงประโคม พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล เป็นผู้แทนพระบรมวงศานุวงศ์ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ประธานรัฐสภา กราบบังคมทูลพระกรุณาถวายพระพรชัยมงคลตามลำดับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสตอบจบแล้ว มหาดเล็กรัวกรับ ชาวม่านปิดพระวิสูตร เจ้าพนักงานชูพุ่มดอกไม้ทองให้สัญญาณ ชาวพนักงานประโคมเช่นเวลาเสด็จออก ทหารกองเกียรติยศถวายความเคารพ แตรวงบรรเลง เพลงสรรเสริญพระบารมี จากนั้นจึงเสด็จขึ้น พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทางพระทวารเทวราชมเหศวร์",
"title": "พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 4 รอบ 5 ธันวาคม 2518"
},
{
"docid": "95911#7",
"text": "หลังจากเจ้าอนุวงศ์สิ้นพระชนม์แล้วอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ก็ถึงกาลอวสานสิ้นสุดลงในที่สุด เอกสารสยามไม่กล่าวถึงพระราชพิธีพระบรมศพของพระองค์ ส่วนเอกสารฝ่ายลาวได้กล่าวถึงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระองค์ว่า จัดอย่างพิธีลาวใหญ่โตและงดงามกลางกรุงเทพมหานคร ทางสยามไม่ได้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิถวายเป็นพระเกียรติยศของพระองค์เยี่ยงกษัตริย์ทั่วไปแต่ประการใด ภายหลังมีข่าวลือว่า พระบรมอัฐิของพระองค์ถูกเก็บไว้ใต้บันไดวัดอรุณราชวราราม ส่วนเอกสารวรรณกรรมพื้นเมืองเวียงจันทน์กล่าวว่า พระองค์ทรงสั่งให้พระมเหสีนำง้วนสารหรือยาพิษมาเสวยจนสิ้นพระชนม์ ทางสยามได้นำพระบรมศพไปฝังไว้ใต้ฐานพระธาตุดำกลางกรุงเวียงจันทน์ ต่อมาสยามได้ลดฐานะนครเวียงจันทน์ให้เป็นเพียงหัวเมืองชั้นจัตวา และโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยไปรักษาราชการเมือง แล้วยกฐานะเมืองหนองคายเป็นเมืองชั้นเอกให้เมืองเวียงจันทน์ขึ้นแก่เมืองหนองคาย ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) พระองค์ปรารถนาจะชุบเลี้ยงเจ้านายในราชวงศ์ล้านช้างเวียงจันทน์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งเจ้าจอมมารดาดวงคำ พระราชนัดดาในเจ้าอนุวงศ์มาเป็นเจ้าจอมพระสนม และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชนัดดาทั้ง ๒ พระองค์ของเจ้าอนุวงศ์ คือ เจ้าจันทรเทพสุริยวงศ์ ดำรงรัฐสีมามุกดาหาราธิบดี (หนู ต้นสกุล จันทนากร) ขึ้นไปกินเมืองมุกดาหารบุรี (หรือเมืองมุกดาหาร) และโปรดฯ ให้ให้เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ ดำรงรัฐสีมาอุบลราชธานีบาล (หน่อคำ ต้นสกุล เทวานุเคราะห์, พรหมโมบล, พรหมเทพ) ขึ้นไปกินเมืองอุบลราชธานีในฐานะเมืองประเทศราชทั้ง ๒ เมือง",
"title": "เจ้าอนุวงศ์"
},
{
"docid": "453163#7",
"text": "เมื่อ พ.ศ. 2304 ภายหลังจากที่ “เนเมียวสีหบดี” เสร็จสิ้นจากการไปตีหัวเมืองมอญแล้ว “มังลอก” พระโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าอลองพญา จัดทัพมาตีเชียงใหม่ โดยมี “อภัยคามณี” เป็นแม่ทัพ และ “มังละศิริ” เป็นปลัดทัพพร้อมด้วยพลจำนวน 7,500 นาย พระเจ้าจันทร์ เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ กรุงศรีอยุธยาในขณะนั้น ทรงแต่งหนักสือมาถวายพระเจ้าเอกทัศพร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการ มีพระประสงค์ให้เชียงใหม่เป็นเมืองออกของอยุธยา และขอกำลังทหารไปรักษาเมืองใหม่ พระเจ้าเอกทัศจึงตรัสสั่งให้เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เกณฑ์ทัพพลหัวเมืองเหนือจำนวน 5,000 นาย ยกไปช่วยเมืองเชียงใหม่ แต่ก่อนที่ทัพเจ้าพระยาพิษณุโลกจะไปถึงนั้น ฝ่ายพม่าก็ล้อมเมืองเชียงใหม่ แต่ฝ่ายเชียงใหม่มีกำลังไม่แข็งกล้านักจึงเสียเมืองให้แก่ฝ่ายพม่าไป โดยมี “เนเมียวสีหบดี” อยู่รักษาเมืองเชียงใหม่",
"title": "เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล)"
},
{
"docid": "58267#1",
"text": "วันหนึ่งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระชนมายุ 79 พรรษาแล้ว ทรงนำเหล่าภิกษุสงฆ์เสด็จออกจากรุงเวสาลี พร้อมรับสั่งว่า การเห็นกรุงเวสาลีครั้งนี้เป็นปัจฉิมทัศนา คือ เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย การตรัสเช่นนี้ถือเป็นมรณญาณ เป็นลางบอกให้ทราบว่าพระพุทธองค์ใกล้ปรินิพพานแล้ว และทรงทราบด้วยพระญาณว่า แม้มหาชนทั่วไปก็ไม่อาจเห็นเมืองเวสาลีอีก เพราะหลังพระพุทธองค์ปรินิพพาน กองทัพของพระเจ้าอชาตศัตรูจะเข้ายึดเมืองเวสาลีเพราะกษัตริย์ลิจฉวีไม่ได้ตั้งมั่นในอาปริหานิยธรรมที่พระพุทธองค์ประทานสำหรับใช้ปกครองร่วมกัน ซึ่งเคยต้านทัพของพระเจ้าอชาตศัตรูไว้ได้ถึง ๒ ครั้ง การทอดพระเนตรครั้งนี้ เรียกว่า \"นาคาวโลก\" คือการเหลียวมองอย่างพญาช้าง สถานที่นี้มีผู้สร้างเจดีย์เอาไว้เรียกว่า \"นาคาวโลกเจดีย์\"",
"title": "ปางนาคาวโลก"
},
{
"docid": "96707#4",
"text": "หลังจากลอบปลงพระชนม์แล้ว ก็ได้นำพระเมืองเกษเกล้าพระราชบิดากลับมาครองราชย์โดยครองราชย์ไม่ถึงสองปี ก็ถูกแสนคราวเหล่าขุนนางไทใหญ่ลอบปลงพระชนม์ในปี พ.ศ. 2088 แผ่นดินล้านนาจึงว่างกษัตริย์และเกิดความแตกแยกถึงขั้นสงครามกลางเมือง ก่อนที่ยกพระนางจิรประภามหาเทวี พระอัครมเหสีในพระเมืองเกษเกล้า และพระราชมารดาในท้าวซายคำ ขึ้นเป็นกษัตรีย์พระองค์แรกในแผ่นดินล้านนา",
"title": "ท้าวซายคำ"
},
{
"docid": "562413#5",
"text": "เจ้าครอกชีสิ้นพระชนม์เมื่อใดไม่ปรากฏเป็นที่แน่ชัด บ้างก็ว่าสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก บ้างก็ว่าสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ที่ถูกต้องน่าจะเป็นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เพราะพ.ศ. 2361 ยังมีพระชนม์อยู่ สถานที่เก็บรักษาพระอัฐิของพระองค์อยู่ที่หอพระนาก พระโกศของพระองค์อยู่ในพระเบญจาชั้นที่ 1 เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาพระอัฐิเป็น กรมขุนรามินทรสุดา",
"title": "กรมขุนรามินทรสุดา"
},
{
"docid": "45667#8",
"text": "พระองค์สิ้นพระชนม์ที่วังคันธวาส ถนนวิทยุ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 เวลา 23.15 นาฬิกา ด้วยพระอาการสงบ ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพารตลอดจนผู้ใกล้ชิด นับเป็นพระราชธิดาองค์สุดท้ายของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีที่สิ้นพระชนม์ ในการนี้สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี เสด็จไปงานพระราชทานเพลิงพระศพด้วยพระองค์เอง ซึ่งก่อนหน้านี้สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ ไม่เคยเสด็จไปงานพระราชทานเพลิงพระศพพระราชโอรสธิดาพระองค์ใด เนื่องจากคติโบราณที่ห้ามบิดามารดาเผาศพบุตร มิฉะนั้นต้องเผาอีก แต่ครั้งนี้เป็นพระราชธิดาองค์ท้ายสุด พระองค์จึงได้เสด็จมา และมีพระดำรัสที่มีนัยยะความชอกช้ำพระทัย และประชดประชันในพระชะตาชีวิตว่า \"\"...อ๋อ ไปส่งให้หมด พอกันที ไม่เคยไปเลยจนคนเดียว คนนี้ต้องไปหมดกันที\"\" พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ณ ท้องสนามหลวง",
"title": "สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร"
}
] |
2724 | เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553คนขับรถที่ทำให้เกิดเหตุคือใคร? | [
{
"docid": "353986#0",
"text": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553 เป็นอุบัติเหตุบนท้องถนน เกิดขึ้นในคืนวันที่ 27 ธันวาคม 2553 เมื่อรถยนต์นั่งส่วนบุคคล สีขาว ยี่ห้อฮอนด้า ซีวิค ขับโดย อรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา ชื่อเล่นว่า แพรวา อายุ 17 ปี แล่นมาด้วยความเร็ว พุ่งเข้าชนท้ายรถตู้สาธารณะ สีขาว ยี่ห้อโตโยต้า ไฮแอซ บนทางยกระดับอุตราภิมุขเส้นทางระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต กับสถานีหมอชิต (สาย ต.118) ซึ่งมีผู้โดยสาร 14 คน ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นเหตุให้รถตู้คันดังกล่าวฟาดกับขอบทางยกระดับอุตราภิมุขอย่างแรง มีผู้โดยสารกระเด็นออกจากรถ เบื้องต้นเสียชีวิต 8 คน บาดเจ็บอีก 6 คน ต่อมา ผู้บาดเจ็บเสียชีวิตลงอีก 1 คน รวมจำนวนผู้โดยสารเสียชีวิต 9 คน และบาดเจ็บ 5 คน ส่วนอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา บาดเจ็บเล็กน้อย",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#13",
"text": "อุบัติเหตุครั้งนี้ กลายเป็นประเด็นสนทนาเป็นอันมากในสังคมออนไลน์ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่พยายามค้นหาประวัติของอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา และส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นเชิงลบ รุมประณามการที่อรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา ขับรถโดยประมาทและในวัยสิบเจ็ดปีเท่านั้น ตลอดจนกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจไม่ดำเนินคดี ต่างก็คาดเดากันว่า เนื่องจากอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นลูกหลานราชสกุลเทพหัสดิน ณ อยุธยา จึงหลุดพ้นคดีได้ มีผู้ตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ และตั้งหัวข้อสนทนา เป็นหลายประการ อาทิ ในพันทิปดอตคอม มีหัวข้อว่า \"ขอประณามการกระทำคุณแพรวา และครอบครัว\", \"ตกลงใครเป็นคนขับชนกันแน่...รถตู้โดนซีวิคชนท้าย คนตกทางด่วน ตายเกลื่อน\" และ \"มาดูหลังภาพรถเก๋งและคนขับหลังจากเกิดเหตุการณ์\" เป็นต้น อีกประเด็นหนึ่งที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มาก คือ กรณีที่สมบัติ วงศ์กำแหง โฆษกสภาทนายความ แถลงว่าคนขับรถตู้ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญานั้น มีผู้แสดงความคิดว่า \"นายสมบัติ วงศ์กำแหง มึงดูภาพจากล้องหรือยัง ถ้ามึงขับมาดี ๆ ไม่เร็ว ขับปรกติ แล้วรถมาชนตูดมึง รถมึงหมุน ลูกมึงกระเด็นมาตายนอกรถ มึงว่ามึงผิดไหม แล้วมึงต้องจ่ายค่าเสียหายรถที่ขับมาชนตูดมึงไหม...\" เป็นอาทิ",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#4",
"text": "เวลา 21:41 นาฬิกา พันตำรวจโท ฉัตรชัย เอี่ยมอ่อง สารวัตรสืบสวนสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลวิภาวดีรังสิต รับรายงานเหตุ จึงนำกำลังไปตรวจสอบ และสั่งปิดการจราจรบนทางยกระดับอุตราภิมุข ตลอดจนบริเวณทางคู่ขนานขาเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 ตั้งแต่หน้าบริษัทยาคูลท์ ไปจนถึงสี่แยกบางเขน บนทางยกระดับอุตราภิมุข เขาพบรถรรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา จอดอยู่กลางถนน หน้ารถพังยับเยิน และล้อหลุด ส่วนอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา พิงขอบทางยกระดับอุตราภิมุข ใช้แบล็กเบอร์รีอยู่ข้าง ๆ และพบรถตู้ที่ประสบเหตุ กำลังพลิกคว่ำ สภาพท้ายรถพังยับเยิน นอกจากนี้ เขายังพบศพกระจายเกลื่อนอยู่บนทางคู่ขนาน ตั้งแต่หน้าหน้าสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ มาถึงประตูทางเข้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นับได้ทั้งหมด 8 ศพ ส่วนผู้บาดเจ็บมี 7 คน รวมอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา ด้วยแล้ว เจ้าหน้าที่และพลเมืองดีได้ช่วยกันนำส่งโรงพยาบาลวิภาวดีที่อยู่ใกล้เคียง ต่อมา จันจิรา ซิมกระโทก ผู้บาดเจ็บ ตายลงอีก 1 จำนวนผู้ประสบเหตุจึงเปลี่ยนแปลงเป็น เสียชีวิต 9 คน บาดเจ็บ 6 คน",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#17",
"text": "เวลา 19:00 นาฬิกาของวันเดียวกัน ชาวเฟซบุ๊กจากโครงการ \"มั่นใจว่าคนไทยเกินล้านคนไม่พอใจ แพรวา (อรชร) เทพหัสดิน ณ อยุธยา\" ข้างต้น ราวห้าสิบคน นัดรวมตัวกันและเดินเท้าจากหน้าโรงพยาบาลวิภาวดี ไปยังทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 ใต้ทางยกระดับอุตราภิมุขจุดเกิดเหตุ แล้วจุดเทียนไว้อาลัยแก่ผู้ตาย ทั้งกล่าวด้วยว่าจะจัดกิจกรรมเช่นนี้ต่อไปจนกว่าอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยาจะได้รับการลงโทษตามกฎหมาย มีรายงานข่าวว่า ประชาชนที่ผ่านไปมาหยุดดูด้วยความสนใจ",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#29",
"text": "กระทั่งวันที่ 30 ธันวาคม 2553 ลัดดาวัลย์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา มารดาของอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา แถลงว่า ที่ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบตั้งแต่แรกเริ่มนั้น เพราะต้องการให้กระแสของอารมณ์ในสังคมคลี่คลายลงเสียก่อน และยืนยันว่าจะไม่หนีไปไหน เธอยังกล่าวด้วยว่า \"...ลูกสาวยอมรับว่าขับรถเร็ว เพราะจะรีบเอารถไปคืนเพื่อน รถไม่ใช่ของเรา ดิฉันไม่เคยอนุญาตให้ลูกขับรถไปข้างนอกแบบนั้น...ลูกสาวผิดแน่ที่อายุสิบเจ็ดไม่มีบัตร [ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์] แพรวารีบกดบีบี [แบล็กเบอร์รี] บอกเพื่อนว่ารถชน และถามเรื่องประกันของรถคันนี้ ไม่ใช่มัวเล่นบีบีตามที่บางท่านเข้าใจ...ถ้าน้องผิดจริง เราก็ยินดีให้น้องเข้ากระบวนการทุกอย่าง\"",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#28",
"text": "นับแต่เกิดเหตุเป็นต้นมา อรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา และครอบครัวยังคงเก็บตัวเงียบ ในขณะที่ฝ่ายผู้เสียหายในอุบัติครั้งนี้ต่างเรียกร้องให้อรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา แสดงความรับผิดชอบบ้าง อาทิ สะโอด ซิมกระโทก บิดาของจันจิรา ซิมกระโทก ผู้ตาย ว่า \"...อยากให้เจ้าหน้าที่ ตำรวจทำคดีอย่างตรงไปตรงมา...และอยากให้คู่กรณีออกมาแสดงความรับผิดชอบบ้าง ให้มีน้ำใจต่อกันบ้าง สำหรับตอนนี้ ยังไม่มีใครออกมารับผิดชอบหรือให้ความช่วยเหลืออะไรเลย\" ขณะที่ปิยะวรรณ ซิมกระโทก มารดาของจันจิรา ซิมกระโทก ว่า \"...ตั้งแต่เกิดเหตุจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีใครออกมาแสดงความรับผิดชอบ ไม่ใช่เรียกร้องเรื่องเงิน แต่ให้คนที่เกี่ยวข้องออกมารับผิดชอบบ้าง แค่แสดงความเสียใจก็ยังดี แต่ถึงตอนนี้ยังไม่มีใครทำอะไรเลย\"",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
}
] | [
{
"docid": "353986#9",
"text": "โอกาสเดียวกัน พลตำรวจตรี ภาณุ เกิดลาภผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ด้านการจราจร ว่า เขาได้ดูภาพจากกล้องวงจรปิดแล้วเช่นกัน พบว่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลของอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา ขับมาชนรถตู้อย่างกระชั้น โดยเขาใช้คำว่า \"สะกิดรถตู้ให้เสียหลัก\" ขณะที่สมบัติ วงศ์กำแหง โฆษกสภาทนายความ ว่า \"...คนขับรถตู้มีความผิดชัดเจนอยู่แล้ว แต่คนขับเสียชีวิตด้านอาญาไม่ต้องรับผิดชอบ แต่ทางแพ่งยังคงต้องรับผิดชอบ โดยผู้เสียหายหรือญาติสามารถฟ้องร้องจากเจ้าของรถตู้ หรือถ้าผู้ตายเป็นเจ้าของก็สามารถฟ้องร้องนำทรัพย์สินมาชดใช้เป็นค่าเสียหาย ได้ ส่วนรถเก๋งก็ต้องรับผิดชอบด้วยเหมือนกัน แต่จะต้องรับผิดชอบทั้งอาญาและแพ่ง...\" เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นหนึ่งที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เป็นอันมากในสังคม ออนไลน์",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#2",
"text": "วันที่ 27 ธันวาคม 2553 ราว 21:00 นาฬิกา รถตู้สาธารณะคันข้างต้นได้รับผู้โดยสาร 14 คนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ที่เลิกเรียนและเลิกงานจะกลับบ้านก่อนวันหยุดยาวช่วงขึ้นปีใหม่ ปลายทางของรถตู้คือสถานีหมอชิต เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#26",
"text": "ในช่วงเดียวกัน กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า มีดำริจะออกกฎกระทรวงบังคับให้ผู้โดยสารรถตู้และรถประจำทางสาธารณะทั่วประเทศต้องคาดเข็มนิรภัยทุกคน ขณะที่ ปิยะพันธ์ จัมปาสุต ประธานคณะกรรมการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ขอให้กระทรวงคมนาคมทบทวนให้ดี เกรงว่าในกรณีที่เพลิงไหม้ ผู้โดยสารอาจตายคารถ เพราะปลดเข็มขัดไม่ทัน เขาเห็นว่า ควรที่จะส่งเสริมให้ประชาชนใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย มากกว่าคอยออกกฎระเบียบ",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#12",
"text": "วันที่ 31 สิงหาคม 2555 ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง สนามหลวง อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 1233/2554 ลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและทำให้ทรัพย์สินเสียหายเป็นเวลา 3 ปี คำให้การในชั้นพิจารณาเป็นประโยชน์ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกเป็นเวลา 2 ปี โทษจำคุกให้รอลงอาญาเป็นเวลา 3 ปี คุมประพฤติจำเลย 3 ปี และให้รายงานตัวทุก 3 เดือน ให้ทำงานบริการสังคมโดยการดูแลผู้ป่วยจากอุบัติเหตุเป็นเวลา 48 ชั่วโมง และห้ามจำเลยขับรถยนต์จนกว่าจะมีอายุครบ 25 ปีบริบูรณ์ ส่วนความผิดฐานใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ ศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากไม่สามารถนำสืบได้ว่าจำเลยใช้โทรศัพท์จริงหรือไม่ เพราะอยู่ในรถ",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
}
] |
3815 | สมองของมนุษย์ทำหน้าที่อะไร? | [
{
"docid": "12075#1",
"text": "สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้",
"title": "สมอง"
}
] | [
{
"docid": "139805#2",
"text": "สมองกลีบหน้า (Frontal lobe) ทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิด ความเสียหายของสมองส่วนนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ สมองกลีบข้าง (Parietal lobe) ทำหน้าที่สำคัญในการรวบรวมและประมวลข้อมูลความรู้สึกทั้งหลาย และหน้าที่ในการควบคุมวัตถุ ส่วนของสมองกลีบข้างนี้ยังเกี่ยวข้องกับการประมวลภาพและที่ว่าง (visuospatial processing) สมองกลีบท้ายทอย (Occipital lobe) รับความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็น การเสื่อมของสมองส่วนนี้ทำให้เห็นภาพหลอน (hallucinations) สมองกลีบขมับ (Temporal lobe) รับความรู้สึกเกี่ยวกับกลิ่นและเสียง รวมทั้งการประมวลสิ่งกระตุ้นที่ซับซ้อนเช่น ใบหน้า หรือทิวทัศน์",
"title": "กลีบสมอง"
},
{
"docid": "936852#11",
"text": "ระบบต่อมไร้ท่อประกอบด้วยต่อมไร้ท่อหลัก รวมถึง ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ตับอ่อน ต่อมพาราไทรอยด์ และต่อมบ่งเพศ ทว่าอวัยวะและเนื้อเยื่อเกือบทั้งหมดผลิตฮอร์โมนต่อมไร้ท่อเฉพาะเช่นกัน ฮอร์โมนต่อมไร้ท่อทำหน้าที่เป็นตัวส่งสัญญาณจากระบบร่างกายหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่งเพื่อบอกถึงสถานะต่าง ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงาน",
"title": "ร่างกายมนุษย์"
},
{
"docid": "166427#0",
"text": "กะโหลกศีรษะมนุษย์ () เป็นโครงสร้างของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างที่สำคัญศีรษะของมนุษย์ กะโหลกศีรษะทำหน้าที่ปกป้องสมองซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท รวมทั้งเป็นโครงร่างที่ค้ำจุนอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ทั้งตา หู จมูก และลิ้น และยังทำหน้าที่เป็นทางเข้าของทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ เมื่อแรกเกิดกะโหลกศีรษะจะประกอบด้วยกระดูกหลายชิ้นซึ่งเมื่อเจริญเติบโตขึ้นกระดูกเหล่านี้จะเกิดการสร้างเนื้อกระดูกและเชื่อมรวมกัน แม้ว่ากะโหลกศีรษะจะเป็นโครงสร้างที่มีความแข็งแรงก็ตาม การกระทบกระเทือนที่ศีรษะอย่างแรงก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตและพิการได้ ทั้งจากการบาดเจ็บจากเนื้อสมองโดยตรง การตกเลือดในสมอง และการติดเชื้อ",
"title": "กะโหลกศีรษะมนุษย์"
},
{
"docid": "610775#5",
"text": "ซีกสมองมีการเชื่อมต่อกันโดย corpus callosum\nทำให้สื่อสารและทำงานร่วมกันได้\nการสื่อสารนั้นสำคัญเพราะว่าสมองแต่ละซีกทำหน้าที่บางอย่างโดยเฉพาะที่อีกข้างหนึ่งไม่ทำ\nเช่นสมองซีกขวามีหน้าที่เฉพาะเกี่ยวกับการทำการงานที่ไม่ต้องอาศัยคำพูดที่ต้องมีการเคลื่อนไหวภายในปริภูมิ\nในขณะที่สมองซีกซ้ายเป็นหลักในการกระทำที่ใช้ภาษาเช่นการพูดหรือการเขียน\nถึงแม้ว่า ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานเฉพาะอย่างแบบนี้ในสมองยังไม่สมบูรณ์\nแต่ก็มีทฤษฎีที่เกิดขึ้นแล้วว่า ความแตกต่างระหว่างซีกสมองทั้งสองข้างก็คือ ซีกซ้ายทำหน้าที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ (analytical) ที่เป็นไปตามเหตุผล (logical)\nในขณะที่ซีกขวาทำหน้าที่โดยอาศัยความเข้าใจแบบองค์รวม (holistic) หรือแบบรู้เอง (intuitive)",
"title": "Split-brain"
},
{
"docid": "172653#2",
"text": "สำหรับสมองน้อยของมนุษย์นั้นทำหน้าที่ร่วมกับระบบประสาททั้งส่วนกลาง (central nervous system) และส่วนปลาย (peripheral nervous system) ในการควบคุมการทรงตัวและการเคลื่อนไหวของมนุษย์ โดยอาศัยไขสันหลังในการส่งผ่านกระแสประสาท",
"title": "โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง"
},
{
"docid": "44057#2",
"text": "ผลกระทบทางสุขภาพเกี่ยวกับความเสียวสุดยอดของมนุษย์มีหลากหลาย มีการสนองทางสรีรวิทยามากมายระหว่างกิจกรรมทางเพศ ซึ่งรวมสถานะผ่อนคลายโดยโปรแลกติน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงในระบบประสาทส่วนกลาง เช่น มีกัมมันตภาพเมแทบอลิซึมของเปลือกสมองขนาดใหญ่ลดลงชั่วคราว แต่กัมมันตภาพเมแทบอลิซึมในบริเวณลิมบิกของสมองไม่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการทำหน้าที่ผิดปกติทางเพศหลายอย่าง เช่น การขาดความเสียวสุดยอดทางเพศ (anorgasmia) ผลเหล่านี้ส่งผลต่อมุมมองทางวัฒนธรรมต่อความเสียวสุดยอดทางเพศ เช่น ความเชื่อว่า ความเสียวสุดยอดทางเพศและความถี่/ความต่อเนื่องของมันสำคัญหรือไม่เกี่ยวกับความพอใจในความสัมพันธ์ทางเพศ และทฤษฎีเกี่ยวกับหน้าที่ทางชีววิทยาและวิวัฒนาการของความเสียวสุดยอดทางเพศ",
"title": "ความเสียวสุดยอดทางเพศ"
},
{
"docid": "610775#14",
"text": "ถ้าสมองเขตหนึ่งเกิดความเสียหายหรือถูกทำลายไปหมดสิ้น\nสมองเขตข้าง ๆ บางครั้งจะทำหน้าที่แทนสมองเขตที่เสียหาย\nในคนไข้ที่ผ่านการผ่าตัดแบบ corpus callosotomy จะเป็นแบบบางส่วนหรือทั้งหมดก็ดี ไม่ปรากฏสภาพพลาสติกโดยกิจอย่างที่กล่าวนี้ \nแต่ว่า จะพบสภาพพลาสติกอย่างนี้ได้ในเด็กทารกที่ผ่านการผ่าตัดแบบ hemispherectomy (เอาสมองข้างหนึ่งออก)\nซึ่งบอกเป็นนัยว่า สมองซีกตรงข้ามสามารถทำหน้าที่บางประเภทที่ปกติเป็นหน้าที่ของสมองอีกซีกหนึ่ง",
"title": "Split-brain"
},
{
"docid": "12072#1",
"text": "การศึกษาทางชีววิทยาของสมองของมนุษย์มีเนื้อหาเกี่ยวโยงกันของสาขาวิชาต่าง ๆ ในหลายระดับ มีตั้งแต่ระดับโมเลกุลไปจนถึงระดับเซลล์ (นิวรอน) ซึ่งมีทั้งระดับการทำงานของกลุ่มของนิวรอนจำนวนน้อย เช่น ในคอลัมน์ของสมองส่วนคอร์เทกซ์ (cortical columns) ไปจนถึงระดับการทำงานของระบบต่าง ๆ ในสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบประสาทการมองเห็น และไปจนถึงระดับการทำงานของระบบขนาดใหญ่ เช่น การทำงานของสมองส่วนซีรีบรัลคอร์เทกซ์ หรือ ซีรีเบลลัม และการทำงานของสมองทั้งหมด",
"title": "ประสาทวิทยาศาสตร์"
},
{
"docid": "552407#1",
"text": "รอยนูนกลีบขมับส่วนล่างเป็นส่วนล่างของสมองกลีบขมับ\nอยู่ใต้ร่องกลีบขมับกลาง (central temporal sulcus) \nสมองส่วนนี้ (ซึ่งเป็นส่วนของคอร์เทกซ์กลีบขมับส่วนล่าง)\nทำหน้าที่แปลผลตัวกระตุ้นทางตา เป็นการรู้จำวัตถุ (object recognition) ที่เห็นทางตา \nและเป็นส่วนสุดท้ายของทางสัญญาณด้านล่างของระบบการเห็น (ดังที่แสดงไว้ในงานวิจัยเร็ว ๆ นี้) \n\"คอร์เทกซ์กลีบขมับส่วนล่าง\" (inferior temporal cortex ตัวย่อ ITC) ในมนุษย์เป็นส่วนเดียวกับ \"รอยนูนกลีบขมับส่วนกลาง\" (เขตบร็อดแมนน์ 21) รวมกับ \"รอยนูนกลีบขมับส่วนล่าง\" (เขตบร็อดแมนน์ 20) โดยที่ไม่เหมือนกับไพรเมตประเภทอื่น ๆ",
"title": "รอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่าง"
},
{
"docid": "480552#1",
"text": "โดยทั่วไปมนุษย์จะมีเซลล์รับแสงอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม กลุ่มแรกทำหน้าที่รับรู้ถึงความมืด หรือ สว่าง ไม่สามารถแยกแยะสีสันได้ แต่จะมีความไวในการกระตุ้นแม้ในที่ที่มีแสงเพียงเล็กน้อย เช่น เวลากลางคืน ส่วนเซลล์กลุ่มที่สองจะทำหน้าที่บอกสีต่าง ๆ ที่เรามองเห็น โดยจะแยกได้อีกเป็น 3 ชนิด ตามระดับคลื่นแสง หรือสี ที่กระตุ้น ได้แก่ เซลล์รับแสงสีแดง เซลล์รับแสงสีน้ำเงิน และเซลส์รับแสงสีเขียวสำหรับการรับแสงสีอื่น โดยให้สมองเราแปลภาพออกมาเป็นสีต่าง ๆ",
"title": "ตาบอดสี"
},
{
"docid": "552407#15",
"text": "ในงานวิจัยของเด็นนีส์และคณะ มีการใช้การสร้างภาพสมองโดย fMRI เพื่อเปรียบเทียบการแปลผลของรูปร่างที่เห็นทางตาระหว่างของมนุษย์และของลิงแม็กแคก\nสิ่งที่ได้ค้นพบอย่างหนึ่งในงานวิจัยก็คือว่า มีเขตที่ทำงานคาบเกี่ยวกันระหว่างการแปลผลของรูปร่างและการเคลื่อนไหวในสมอง\nแต่ว่าความคาบเกี่ยวกันมีมากกว่าในมนุษย์ (คือต้องมีการทำงานประสานกันมากกว่าระหว่างทางสัญญาณด้านล่างและทางสัญญาณด้านหลัง) \nซึ่งบอกเป็นนัยว่า สมองมนุษย์มีวิวัฒนาการในระดับที่สูงกว่าเพื่อทำการแปลผลเพื่อที่จะใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ",
"title": "รอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่าง"
},
{
"docid": "654839#2",
"text": "แม้สมองมนุษย์ได้รับการป้องกันจากกระดูกที่หนาของกะโหลก แขวนในน้ำหล่อสมองไขสันหลัง และแยกจากกระแสเลือดด้วยเยื่อกั้นเลือด–สมอง กระนั้น ยังไวต่อความเสียหายและโรค ความเสียหายทางกายภาพแบบที่พบมากที่สุด คือ การบาดเจ็บที่ศีรษะแบบปิด (closed head injury) เช่น การทุบศีรษะ โรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะเป็นพิษจากสารเคมีหลายชนิดที่เป็นพิษต่อประสาท การติดเชื้อของสมอง แม้รุนแรง แต่พบน้อยเนื่องจากมีเยื่อกั้นชีวภาพป้องกันอยู่ สมองมนุษย์ยังไวต่อโรคการเสื่อม เช่น โรคพาร์กินสัน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งและโรคอัลไซเมอร์ มีภาวะจิตเวชจำนวนหนึ่ง เช่น โรคจิตเภทและภาวะซึมเศร้า คาดว่าสัมพันธ์กับการทำหน้าที่ผิดปรกติของสมอง แม้ธรรมชาติของวิกลภาพของสมองดังกล่าวยังไม่เข้าใจกันดีมาก",
"title": "สมองมนุษย์"
},
{
"docid": "136073#0",
"text": "ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ กล้ามเนื้อทราพีเซียส () เป็นกล้ามเนื้อในชั้นตื้นที่อยู่ด้านหลังของมนุษย์ เลี้ยงโดยเส้นประสาทแอกเซสซอรี (accessory nerve) หรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 11 และโดยแขนงประสาทด้านท้องของเส้นประสาทสันหลังส่วนคอที่ 3 และ 4 ซึ่งนอกจากจะเลี้ยงกล้ามเนื้อนี้แล้วยังเลี้ยงกล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ด้วย เนื่องจากใยกล้ามเนื้อนี้วางตัวในหลายทิศทาง กล้ามเนื้อทราพีเซียสจึงทำหน้าที่ได้หลากหลาย ได้แก่",
"title": "กล้ามเนื้อทราพีเซียส"
},
{
"docid": "12075#2",
"text": "สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษย์",
"title": "สมอง"
},
{
"docid": "806291#29",
"text": "งานศึกษาในสัตว์พบว่า การออกกำลังกายมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของสมองในช่วงต้นของชีวิต หนูที่มีล้อวิ่งหรือมีของเล่นออกกำลังกายอื่น ๆ มีพัฒนาการของเซลล์ประสาทเกี่ยวกับการเรียนรู้และความจำที่ดีกว่า[84] งานสร้างภาพสมองในมนุษย์แสดงผลเช่นเดียวกัน ที่การออกกำลังกายนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและการทำหน้าที่ของสมอง[84] นักวิจัยบางท่านได้เชื่อมระดับความฟิตต่ำในเด็กกับการมี executive function ที่เสียหายเมื่อถึงวัยสูงอายุ แต่ก็มีหลักฐานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่า ความจริงมันอาจจะสัมพันธ์กับความไม่สามารถควบคุมการการใส่ใจ หยุดพฤติกรรมอัตโนมัติ (inhibitory control) และไม่สนใจตัวกวนสมาธิ (interference control)[81]",
"title": "ผลทางประสาทชีวภาพของการออกกำลังกาย"
},
{
"docid": "810384#13",
"text": "ทางสรีรวิทยา การถ่ายปัสสาวะเกี่ยวพันกับการประสานงานกันระหว่างระบบประสาทส่วนกลาง อัตโนวัติ และโซมาติก ในทารก หรือผู้สูงอายุบางคน ที่มีอาการบาดเจ็บของระบบประสาท การถ่ายปัสสาวะอาจเกิดขึ้นในฐานะรีเฟล็กซ์โดยไม่สมัครใจ ศูนย์สมองที่ควบคุมการปัสสาวะ ได้แก่ ศูนย์ถ่ายปัสสาวะพอนทีน (Pontine micturition center), เนื้อเทาพีเรียคืวดักทัล (Periaqueductal gray) และเปลือกสมอง ในระหว่างการแข็งตัว ศูนย์เหล่านี้จะยับยั้งการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อหูรูด เพื่อทำหน้าที่แยกทางสรีรวิทยาระหว่างการขับถ่ายและการสืบพันธุ์ขององคชาต และป้องกันปัสสาวะเข้าไปอยู่ในท่อปัสสาวะระหว่างการหลั่งน้ำอสุจิ",
"title": "องคชาตของมนุษย์"
},
{
"docid": "654839#0",
"text": "สมองมนุษย์</b>มีโครงสร้างทั่วไปเหมือนสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น แต่มีเปลือกสมองพัฒนามากกว่าสัตว์ชนิดอื่น สัตว์ใหญ่อย่างวาฬและช้างมีสมองใหญ่กว่าในเชิงสัมบูรณ์ แต่เมื่อเทียบกับขนาดกายแล้ว สมองมนุษย์ใหญ่เป็นเกือบสองเท่าของสมองโลมาปากขวดและใหญ่เป็นสามเท่าของสมองชิมแปนซี การขยายส่วนมากมาจากเปลือกสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลีบหน้า ซึ่งสัมพันธ์กับการทำหน้าที่บริหาร เช่น การควบคุมตน การวางแผน การให้เหตุผลและความคิดนามธรรม ส่วนของเปลือกสมองที่ทำหน้าที่มองเห็น คือ เปลือกสมองส่วนการเห็น ยังใหญ่มากในมนุษย์ด้วย",
"title": "สมองมนุษย์"
},
{
"docid": "654839#1",
"text": "เปลือกสมองมนุษย์เป็นชั้นเนื้อเยื่อประสาทหนาที่คลุมสมองส่วนใหญ่ ชั้นนี้พับเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวซึ่งสามารถจุในปริมาตรเท่าที่มี รูปแบบการพับเหมือนกันในแต่ละบุคคล แม้มีการแปรผันเล็กน้อยอยู่มาก เปลือกสมองแบ่งเป็นสี่ \"กลีบ\" เรียก กลีบหน้า กลีบข้าง กลีบขมับและกลีบท้ายทอย (ระบบจำแนกบางระบบยังรวมกลีบลิมบิกและถือเปลือกอินซูลาร์ [insular cortex] เป็นกลีบหนึ่งด้วย) ในแต่ละกลีบมีพื้นที่เปลือกจำนวนมาก แต่ละพื้นที่กลีบสัมพันธ์กับหน้าที่เฉพาะ ซึ่งรวมการเห็น การควบคุมสั่งการและภาษา เปลือกสมองฝั่งซ้ายและขวาโดยคร่าว ๆ มีรูปทรงคล้ายกัน และพื้นที่กลีบส่วนมากมีซ้ำกันทั้งสองขวา ทว่า บางพื้นที่มีเฉพาะข้างหนึ่งอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาษา ในคนส่วนมาก ซีกซ้าย \"เด่น\" สำหรับภาษา ขณะที่ซีกขวามีบทบาทเพียงเล็กน้อย มีหน้าที่อื่นเช่น มิติสัมพันธ์ ซึ่งซีกขวาโดยปกติเด่น",
"title": "สมองมนุษย์"
},
{
"docid": "922748#0",
"text": "ป่องรู้กลิ่น หรือ ป่องรับกลิ่น\nเป็นโครงสร้างทางประสาทแบบเป็นชั้น ๆ ที่สมองส่วนหน้าของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (โดยในมนุษย์จะอยู่ที่ด้านหน้าส่วนล่าง) ซึ่งมีบทบาทในการได้กลิ่น\nป่องรับกลิ่นรับข้อมูลขาเข้ามาจากเซลล์ประสาทรับกลิ่นที่เยื่อรับกลิ่นซึ่งบุโพรงจมูกเป็นบางส่วน แล้วส่งข้อมูลขาออกผ่านลำเส้นใยประสาท lateral olfactory tract ไปยังเปลือกสมองส่วนการรู้กลิ่น\nแม้การแปลผลกลิ่นอย่างแม่นยำของป่องรู้กลิ่นจะยังไม่ชัดเจน แต่ก็เชื่อว่ามันทำหน้าที่เป็นตัวกรอง/ฟิลเตอร์ ที่อาจมีบทบาทต่าง ๆ รวมทั้ง\nแยกแยะกลิ่น,\nเพิ่มความไวการตรวจจับกลิ่น,\nกรองกลิ่นพื้นหลังเพื่อเพิ่มสัญญาณกลิ่นที่เลือก,\nและอำนวยให้สมองระดับสูงควบคุมระดับสัญญาณจากป่องรับกลิ่นตามสภาวะทางสรีรภาพของสัตว์",
"title": "ป่องรู้กลิ่น"
},
{
"docid": "12075#11",
"text": "เป็นสมองที่ต่อจากสมองส่วนหน้า เป็นสถานีรับส่งประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้ายและส่วนหน้ากับนัยน์ตาทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตาจะเจริญดีในสัตว์พวกปลา กบ ฯลฯ ในมนุษย์สมองส่วน obtic lobe นี้จะเจริญไปเป็น Corpora quadrigermia ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน",
"title": "สมอง"
},
{
"docid": "806291#0",
"text": "การออกกำลังกายมีผลมากต่อโครงสร้าง หน้าที่การทำงาน และการรู้คิดของสมอง[1][2][3][4] งานวิจัยในมนุษย์จำนวนมากแสดงว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิก (จากเบาถึงหนักที่ใช้กระบวนการสร้างพลังงานโดยออกซิเจน) โดยอย่างน้อย 30 นาทีทุกวันปรับปรุงการทำงานของสมอง โดยปรับหน้าที่การรู้คิด (cognitive function) การแสดงออกของยีน และสภาพพลาสติกทางประสาท (neuroplasticity) และพฤติกรรมที่มีผลดี ผลที่ได้ในระยะยาวรวมทั้งการเกิดเซลล์ประสาท (neurogenesis) ที่เพิ่มขึ้น, การทำงานทางประสาทที่ดีขึ้น (เช่นในการส่งสัญญาณแบบ c-Fos และ BDNF), การรับมือกับความเครียดที่ดีขึ้น, การควบคุมพฤติกรรมที่ดีขึ้น, ความจำชัดแจ้ง (declarative) ความจำปริภูมิ (spatial) ความจำใช้งาน (working) ที่ดีขึ้น, และการปรับปรุงทางโครงสร้างและหน้าที่ของโครงสร้างสมองและวิถีประสาทที่สัมพันธ์กับการควบคุมการรู้คิดและความจำ[1][2][3][4][5][6][7][8][9][10] ผลการออกกำลังกายต่อความรู้คิดอาจช่วยการเรียนหนังสือในนักเรียนนักศึกษา เพิ่มผลิตผลการทำงาน ช่วยรักษาการทำงานของสมองในคนแก่ ป้องกันหรือบำบัดความผิดปกติทางประสาทแบบต่าง ๆ และปรับปรุงคุณภาพชีวิตโดยทั่วไป[1][11][12]",
"title": "ผลทางประสาทชีวภาพของการออกกำลังกาย"
},
{
"docid": "936852#16",
"text": "ระบบประสาทประกอบด้วยระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) และระบบประสาทนอกส่วนกลางประกอบด้วยเส้นประสาทและปมประสาทนอกสมองและไขสันหลัง สมองเป็นอวัยวะแห่งความคิด อารมณ์ ความทรงจำ และการประมวนทางประสาทสัมผัส และทำหน้าที่ในหลายมุมมองของการสื่อสารและควบคุมระบบและหน้าที่ต่าง ๆ ความรู้สึกพิเศษประกอบด้วย การมองเห็น การได้ยิน การรับรู้รส และการดมกลิ่น ซึ่ง ตา,หู, ลิ้น, และจมูกรวบรวมข้อมูลจากสิ่งรอบตัว",
"title": "ร่างกายมนุษย์"
},
{
"docid": "553365#13",
"text": "นักวิจัยทางภูมิศาสตร์ ศ.ดร.แจเร็ด ไดมอนด์ ได้ตั้งประเด็นกว่า ทำไมในบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบกกินพืชขนาดใหญ่ 148 อย่าง 14 ชนิดเท่านั้นที่ปรับนำมาเลี้ยง และเสนอว่า บรรพบุรุษป่าของสัตว์ที่ปรับนำมาเลี้ยง ต้องมีลักษณะ 6 อย่างก่อนที่จะพิจารณาปรับนำมาเลี้ยงได้ คือการคัดเลือกโดยมนุษย์ที่ทำเป็นเวลายาวนานได้ลดความไวปฏิกิริยาของสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งของทั้งลักษณะรูปร่างและการทำงานของสมองสัตว์\nสัตว์เริ่มต้นยิ่งมีสมองใหญ่หรือมีรอยพับ (folding) ในสมองยิ่งมากเท่าไร ระดับการลดขนาดของสมองก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้นเมื่อกลายเป็นสัตว์เลี้ยง\nเช่น สุนัขจิ้งจอกที่เพาะพันธุ์อย่างคัดเลือกเพื่อให้เชื่องกว่า 40 ปี\nมีขนาดของกะโหลกศีรษะทั้งส่วนสูงและส่วนกว้างลดลง และโดยอนุมาน มีสมองเล็กลง\nซึ่งสนับสนุนสมมติฐานว่า การลดขนาดสมองเป็นปฏิกิริยาแรก ๆ ที่เกิดขึ้นจากการคัดเลือกเพื่อความเชื่องและเพื่อลดความไวปฏิกิริยา ซึ่งเป็นลักษณะสามัญของสัตว์เลี้ยง\nสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ปรับนำมาเลี้ยงรวมทั้งสุนัข หมู และแกะ มีระบบลิมบิกซึ่งเป็นส่วนสมอง ลดขนาดลง 40% เมื่อเทียบกับสัตว์ป่า\nสมองส่วนนี้ควบคุมหน้าที่ของระบบต่อมไร้ท่อที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมต่าง ๆ รวมทั้งความดุร้าย ความระมัดระวัง และปฏิกิริยาต่อความเครียดที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นลักษณะกุญแจสำคัญของสัตว์เลี้ยง",
"title": "การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง"
},
{
"docid": "144769#0",
"text": "ไฮโปทาลามัส () มาจากภาษากรีซ \"ὑποθαλαμος\" แปลว่า ใต้ทาลามัส เป็นโครงสร้างของสมองที่อยู่ใต้ทาลามัส (thalamus) แต่เหนือก้านสมอง (brain stem) ทำหน้าที่เชื่อมโยงการทำงานของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ โครงสร้างนี้เป็นโครงสร้างหลักที่อยู่ด้านล่างของไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) พบในสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทุกชนิด ในมนุษย์มีขนาดประมาณเมล็ดอัลมอนด์",
"title": "ไฮโปทาลามัส"
},
{
"docid": "139709#7",
"text": "เทเลนเซฟาลอนทำหน้าที่เกี่ยวกับการสั่งการในร่างกายมนุษย์ หน้าที่ดังกล่าวเริ่มต้นภายในไพรมารี มอเตอร์ คอร์เท็กซ์ (primary motor cortex) และบริเวณอื่นๆ ในบริเวณสั่งการของกลีบสมองด้านหน้า เมื่อสมองส่วนนี้เสียไป สมองจะไม่สามารถส่งสัญญาณผ่านเส้นประสาทไปยังเส้นประสาทสั่งการของกล้ามเนื้อ และทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า Motor Neurone Disease การเสื่อมของสมองประเภทนี้ทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง และขาดความแม่นยำ มากกว่าทำให้เกิดอัมพาตทั้งตัว",
"title": "สมองใหญ่"
},
{
"docid": "168031#1",
"text": "หน้าที่หลักของโครงกระดูกแกนคือช่วยปกป้องอวัยวะสำคัญในร่างกาย เช่น กะโหลกศีรษะทำหน้าที่ปกป้องสมอง กระดูกสันหลังทำหน้าที่ปกป้องไขสันหลัง และกระดูกอกและกระดูกซี่โครงทำหน้าที่ปกป้องอวัยวะในช่องอก สัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิดจะมีโครงกระดูกแกน บทความนี้ส่วนใหญ่จะเน้นที่โครงกระดูกแกนของมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตามความเข้าใจในสายวิวัฒนาการของโครงกระดูกแกนในสัตว์แต่ละชนิดก็มีความสำคัญในการศึกษาชีววิทยา",
"title": "โครงกระดูกแกน"
},
{
"docid": "11347#42",
"text": "สมองของช้างมีมวลมากกว่า 5 กิโลกรัมเล็กน้อย คิดเป็นสมองของสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ลักษณะพฤติกรรมของช้างที่สอดคล้องกับสติปัญญาของมันนั้นมีอย่างกว้างขวาง รวมไปถึงการมีความเศร้าโศก การทำเสียงดนตรี ศิลปะ การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม การที่เลี้ยงทารกได้โดยไม่มีแม่ การเล่น การใช้อุปกรณ์ พัฒนาการต่างๆที่มนุษย์สอนและการใช้เวลาช่วงที่อยู่ด้วยกันตอนทำงานและสงสาร,การรู้จักตนเอง เชื่อกันว่าช้างมีระดับสติปัญญาเทียบเท่ากับสัตว์ในอันดับวาฬและโลมา และไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ สมองของช้างคล้ายคลึงกับสมองของมนุษย์ในแง่ของโครงสร้างและความซับซ้อน สมองของช้างแสดงรูปแบบหมุนเวียนซึ่งมีความซับซ้อนกว่าและมีขดมวนมากกว่า หรือรอยพับสมอง มากกว่ามนุษย์ ไพรเมตหรือสัตว์กินเนื้อ แต่ยังมีความซับซ้อนน้อยกว่าอันดับวาฬและโลมา อย่างไรก็ตาม เปลือกสมองของช้าง \"หนากว่าเปลือกสมองของอันดับวาฬและโลมา\" และเชื่อกันว่ามีเซลล์ประสาทและมีไซแนปส์เท่ากับไซแนปส์ของมนุษย์ ซึ่งมากกว่าอันดับวาฬและโลมา",
"title": "ช้าง"
},
{
"docid": "571441#6",
"text": "นอกจากนั้นแล้ว กิจหน้าที่ระดับสูง ๆ ยิ่งขึ้นไปของเขตสัมพันธ์ในเปลือกสมอง ก็ยังปรากฏว่ามีเขตจำกัดอยู่ในเขตที่บร็อดแมนน์กำหนดไว้นั้นแหละ ปรากฏโดยใช้วิธีต่าง ๆ รวมทั้ง เทคนิคทางประสาทสรีรวิทยา fMRI และวิธีอื่น ๆ. ตัวอย่างเช่น เขตโบรคา ซึ่งเป็นเขตทางการพูดและภาษา ก็จำกัดอยู่ในเขตบร็อดแมนน์ 44-45 ถึงแม้กระนั้น การสร้างภาพโดยกิจ (functional imaging) ก็สามารถเพียงแค่บ่งชี้ตำแหน่ง\"อย่างคร่าว ๆ\" ของการทำงานในสมองโดยสัมพันธ์กับเขตบร็อดแมนน์ได้เท่านั้น เพราะว่า ขอบเขตจริง ๆ ของเขตสมองต่าง ๆ ต้องอาศัยการตรวจสอบโดยอ้างอิงวิทยาเนื้อเยื่อ(*) เขตที่เจอในไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์เท่านั้น",
"title": "บริเวณบรอดมันน์"
},
{
"docid": "139805#0",
"text": "กลีบสมอง (English: Lobes of the brain) เป็นส่วนหนึ่งของสมอง ในการแบ่งกลีบของสมองในระยะดั้งเดิม เป็นการแบ่งตามลักษณะทางกายวิภาค ซึ่งแสดงถึงความเกี่ยวข้องกับหน้าที่ที่ต่างๆ กันของสมอง เทเลนเซฟาลอน ซึ่งเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของสมองมนุษย์แบ่งออกได้เป็นกลีบต่างๆ เช่นเดียวกันกับสมองส่วนซีรีเบลลัม แต่หากไม่ระบุให้เจาะจงลงไป การแบ่งกลีบของสมองมักหมายถึงการแบ่งกลีบเฉพาะของซีรีบรัม",
"title": "กลีบสมอง"
},
{
"docid": "141228#0",
"text": "บริเวณเวอร์นิเก (Wernicke's area) เป็นบริเวณของซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ในสมองของมนุษย์ อยู่ด้านหลังของลอนสมองซุพีเรียร์เทมพอรัล (superior temporal gyrus) ล้อมรอบคอร์เท็กซ์ของระบบรับเสียง (auditory cortex) บนร่องด้านข้างหรือร่องซิลเวียน [ซึ่งเป็นส่วนที่สมองกลีบขมับ (temporal lobe) และสมองกลีบข้าง (parietal lobe) มาพบกัน] อาจเรียกบริเวณนี้ว่าส่วนท้ายของบริเวณโบรดมันน์ 22 และในคนส่วนใหญ่บริเวณนี้จะอยู่ในสมองซีกซ้าย ซึ่งทำหน้าที่เฉพาะในด้านทักษะทางภาษา การอุดตันของหลอดเลือดแดงมิดเดิลซีรีบรัล (middle cerebral artery) ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอาจทำให้บริเวณนี้ทำหน้าที่ได้ผิดปกติ",
"title": "บริเวณเวอร์นิเก"
}
] |
1874 | เจ. เค. โรว์ลิ่ง มีชื่อจริงว่าอะไร? | [
{
"docid": "38960#0",
"text": "โจแอนน์ \"โจ\" โรว์ลิง (English: Joanne \"Jo\" Rowling, OBE FRSL[1]) หรือนามปากกา เจ. เค. โรว์ลิง[2] และ<b data-parsoid='{\"dsr\":[1509,1531,3,3]}'>โรเบิร์ต กัลเบรธ (เกิด 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1965)[3] เป็นนักเขียนนวนิยายชาวอังกฤษ ผู้เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้ประพันธ์วรรณกรรมแฟนตาซีชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งได้รับความความสนใจจากทั่วโลก ได้รับรางวัลมากมาย และมียอดขายกว่า 500 ล้านเล่ม[4] และยังเป็นหนังสือชุดที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์[5] ด้านภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ที่ดัดแปลงมาจากหนังสือก็เป็นภาพยนตร์ชุดที่ทำรายได้มากที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์[6] โรว์ลิงอนุมัติบทภาพยนตร์ทุกภาค[7] และตลอดจนควบคุมงานฝ่ายสร้างสรรค์ภาพยนตร์ภาคสุดท้ายในฐานะผู้อำนวยการสร้าง[8]",
"title": "เจ. เค. โรว์ลิง"
}
] | [
{
"docid": "195306#0",
"text": "พรีเควลแฮร์รี่พอตเตอร์ เป็นบทความสั้น ๆ ของนักเขียน เจ. เค. โรว์ลิ่ง ซึ่งเธอเขียนขึ้นมาหลังจากแฮร์รี่ พอตเตอร์จบลง มีทั้งหมด 800 คำ 2 หน้ากระดาษด้วยกัน โดยเธอกล่าวว่า \"สองสามเดือนก่อน นักเขียนจำนวนหนึ่งได้รับเชิญให้เขียนการ์ดด้วยลายมือสำหรับการประมูล โดย Waterstone's ในวันที่ 10 มิถุนายน รายได้ทั้งหมดจะมอบให้กับ \"English PEN\" ซึ่งเป็นสมาคมของนักเขียน และสมาคม \"Dyslexia Society\"\"",
"title": "พรีเควลแฮร์รี่พอตเตอร์"
},
{
"docid": "33547#15",
"text": "ในเทพนิยายของพี่น้องตระกูลกริมม์เรื่องแรก คือ \"Die Wichtelmänner\" ตัวเอกซึ่งมีชื่อเดียวกับชื่อเรื่องเป็นหุ่นเปลือยสองตัวซึ่งทำงานช่วยช่างทำรองเท้า เมื่อช่างให้รางวัลแก่พวกเขาเป็นเศษผ้าชิ้นเล็กๆ พวกเขาก็ดีใจมาก แล้ววิ่งหนีหายไปไม่มีใครพบอีกเลย \"Wichtelmänner\" เป็นภูตเล็กๆ ชนิดหนึ่งทำนองเดียวกับคนแคระ และ แต่เมื่อบทประพันธ์ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษ กลับมีชื่อเรื่องว่า \"เอลฟ์กับช่างทำรองเท้า\" (The Elves and the Shoemaker) แนวคิดนี้ยังได้สะท้อนต่อมาอยู่ในวรรณกรรมของ เจ. เค. โรว์ลิ่ง เรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ในลักษณะของ เอลฟ์ประจำบ้าน",
"title": "เอลฟ์"
},
{
"docid": "209984#0",
"text": "เอลฟ์ประจำบ้านเป็นสิ่งมีชีวิตในจินตนาการของเจ.เค.โรว์ลิ่ง ปรากฏในนิยายและภาพยนตร์เรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ มีลักษณะเป็นภูตวิเศษขนาดเล็กที่สิงอยู่ในบ้านที่มีขนาดใหญ่ ทำหน้าที่คอยดูแลรับใช้คนในตระกูลเวทมนตร์ ซึ่งจะทำหน้าที่นี้ไปจนกว่ามันจะตาย เอลฟ์ประจำบ้านจะภาคภูมิใจในหน้าที่ของตน และจะไม่ทรยศต่อครอบครัวของตน",
"title": "เอลฟ์ประจำบ้าน"
},
{
"docid": "338365#0",
"text": "โทมัส แอนดรูว์ \"ทอม\" เฟลตัน () (เกิดเมื่อวันที่ 22 กันยายน 1987) เป็นนักแสดงและนักดนตรีชาวอังกฤษ ทอมเป็นที่รู้จักในบทบาทของ เดรโก มัลฟอย ตัวละครในภาพยนตร์เรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ภาพยนตร์ที่สร้างมาจากหนังสือขายดีของ เจ.เค. โรว์ลิ่ง ซึ่งตัวเขาได้เข้ารับการออดิชั่นเมื่ออายุได้ 12 ปี",
"title": "ทอม เฟลตัน"
},
{
"docid": "381610#0",
"text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 () เป็นภาพยนตร์แฟนตาซี-ผจญภัยภาคต่อในปี พ.ศ. 2554 ที่ดัดแปลงจากบทประพันธ์ชื่อเดียวกันของเจ. เค. โรว์ลิ่ง อันเป็นตอนสุดท้ายของหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2"
},
{
"docid": "10882#0",
"text": "แฮร์รี่ เจมส์ พอตเตอร์</b>เกิดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 (วันเดือนเดียวกับผู้แต่ง เจ. เค. โรว์ลิ่ง ได้เขียนให้แฮร์รี่เกิดวันเดียวกันกับเธอแต่คนละปี) เป็นลูกชายคนเดียวของเจมส์ พอตเตอร์และลิลี่ พอตเตอร์ เป็นตัวละครเอกในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร)"
},
{
"docid": "197689#45",
"text": "ผู้เขียนที่ใช้นามแฝงว่า \"แรบบิท\" นั้น ได้แรงบันดาลใจมาจาก งานเขียนของเจ. เค. โรว์ลิ่ง นักเขียนเจ้าของผลงานวรรณกรรมก้องโลก แฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ และประสบความสำเร็จในประเทศไทยอย่างมาก รวมไปถึงเรื่อง The Book of Three ของ Lloyd Alexander ซึ่งเป็นเรื่องราวของเจ้าชายกับคนเลี้ยงหมู ก็เป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจให้ผู้เขียน",
"title": "หัวขโมยแห่งบารามอส"
},
{
"docid": "556733#0",
"text": "เก้าอี้ว่าง () เป็นนวนิยายสะท้อนสังคม เขียนโดยเจ. เค. โรว์ลิ่ง วางจำหน่ายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556 ซึ่งเก้าอี้ว่างถือเป็นนวนิยายผู้ใหญ่เล่มแรกของโรว์ลิ่ง หลังจากเธอใช้เวลาเขียนวรรณกรรมเยาวชนอย่างแฮร์รี่ พอตเตอร์มาเป็นเวลานานถึง 17 ปี ตัวนิยายมีเนื้อหาสะท้อนสังคม ตีแผ่ด้านมืดในจิตใจมนุษย์ ปัญหาต่างๆในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ปัญหาของวัยรุ่น ยาเสพติด เซ็กซ์",
"title": "เก้าอี้ว่าง"
},
{
"docid": "197313#0",
"text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน () ภาพยนตร์ลำดับที่ 3 โดยวอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส จากวรรณกรรมเยาวชน แฮร์รี่ พอตเตอร์ และ คริส โคลัมบัส ผู้กำกับภาคที่ 1 และ 2 กับเดวิด เฮย์แมนเป็นผู้เขียนบทภาพยนตร์ จากนิยายโดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง นำแสดงโดย แดเนียล แรดคลิฟฟ์, รูเพิร์ท กรินท์, เอ็มม่า วัตสัน,ไมเคิล แกรมบอลล์ ที่มารับตำแหน่งดัมเบิลดอร์แทนคนก่อนเนื่องจาก คนรับตำแหน่งดัมเบิลดอร์คนก่อนเสียชีวิต ",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "77255#0",
"text": "อัลบัส เพอร์ซิวาล วูลฟริก ไบรอัน ดัมเบิลดอร์ (Albus Percival Wulfric Brian Dumbledore) เป็นตัวละครในเรื่องแต่งชุด\"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" ของ เจ. เค. โรว์ลิ่ง มีบทบาทเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ในเนื้อหาเกือบทั้งหมดของเรื่อง ต่อมามีการเปิดเผยในเนื้อเรื่องว่าดัมเบิลดอร์เป็นผู้ก่อตั้งภาคีนกฟีนิกซ์ซึ่งเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อต่อสู้กับตัวร้ายของเรื่องคือลอร์ดโวลเดอมอร์",
"title": "อัลบัส ดัมเบิลดอร์"
},
{
"docid": "203685#0",
"text": "โรเบิร์ต ดักลาส โธมัส แพตตินสัน () เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1986 เป็นนักแสดงชาวอังกฤษ นายแบบ รับบทเอ็ดเวิร์ด คัลเลนในภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากนวนิยายเรื่อง \"แวมไพร์ ทไวไลท์\" จากบทประพันธ์ของสเตฟานี เมเยอร์ และยังแสดงในภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากนิยายอันโด่งดังเรื่อง \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี\"บทประพันธุ์เล่มที่4ของเจ. เค. โรว์ลิ่ง รับบทเป็นเซดริค ดิกกอรี",
"title": "โรเบิร์ต แพตตินสัน"
},
{
"docid": "4336#69",
"text": "หมวดหมู่:งานเขียนของ เจ. เค. โรว์ลิ่ง ฮ ฮ ฮ ฮ หมวดหมู่:วรรณกรรมที่สร้างเป็นภาพยนตร์ หมวดหมู่:นวนิยายอังกฤษดัดแปลงเป็นภาพยนตร์",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "155361#10",
"text": "อะเล็กโต แคร์โรว์ (Alecto Carrow) เป็นตัวละครในหนังสือวรรณกรรมเยาวชนชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ของ เจ. เค. โรว์ลิ่ง แคร์โรว์ในตอนเริ่มเรื่อง เป็นอาจารย์สอนวิชามักเกิ้ลศึกษา และรองอาจารย์ใหญ่ในโรงเรียนพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ชั่วคราว",
"title": "ผู้เสพความตาย"
},
{
"docid": "17410#0",
"text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี คือหนังสือเล่มที่สี่ในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง และแปลโดยงามพรรณ เวชชาชีวะจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ตีพิมพ์และวางจำหน่ายเป็นฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 และเป็นฉบับภาษาไทยในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2544 วรรณกรรมชุดนี้ถือว่ายาวมากอย่างไม่น่าจะมีใครทำมาก่อน โดยในฉบับภาษาไทยมีความยาวทั้งหมดถึง 832 หน้า (ฉบับบลูมส์บูรี่มีความยาวทั้งหมด 636 หน้า) หนังสือเล่มนี้สร้างสถิติโดยเป็นหนังสือเล่มแรกที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนมากกว่าชิ้นงานวรรณกรรมเยาวชนอื่นๆ มีเพียงหนังสือเล่มต่อๆ มาในชุดเดียวกันนี้เท่านั้นที่สามารถลบสถิตินี้ได้ นั่นคือแฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์และแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม โดยเฉพาะจากการที่ เจ. เค. โรว์ลิ่งออกมาเตือนผู้อ่านก่อนหนังสือจะตีพิมพ์ว่าจะมีตัวละครเสียชีวิตในเล่มนี้ ซึ่งสร้างกระแสของการคาดการณ์ว่าตัวละครใดจะเสียชีวิต และสร้างปรากฏการณ์ 'คลั่งแฮร์รี่ พอตเตอร์' ทั่วโลก",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี"
},
{
"docid": "180227#1",
"text": "เดิมที เจ. เค. โรว์ลิ่ง ผู้เขียนได้จัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้นด้วยมือเพียง 7 เล่มในโลกเท่านั้น โดยหกเล่มนั้นเธอนำไปบริจาคให้กับ 6 สถานที่ที่ช่วยให้เธอประสบความสำเร็จ และอีกหนึ่งเล่มเธอนำไปประมูลขาย โดยก็มีผู้ร่วมประมูลมากมาย แต่ในที่สุดเว็บไซต์ Amazon ก็ได้ไปในราคาถึง 1.95 ล้านปอนด์ ซึ่งถือว่าเป็นการประมูลต้นฉบับงานเขียนยุคใหม่ที่ราคาสูงที่สุดในประวัติศาสตร์",
"title": "นิทานของบีเดิลยอดกวี"
},
{
"docid": "315583#2",
"text": "วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอได้ทำสัญญาซื้อลิขสิทธิ์กับวอร์เนอร์บราเธอร์ส และ เจ. เค. โรว์ลิ่ง ในการสร้างสวนสนุก แฮร์รี่ พอตเตอร์ขึ้นบนพื้นที่ของยูนิเวอร์แซล ออร์แลนโด รีสอร์ต [2] โดยทางสวนสนุกเริ่มเคลียร์พื้นที่ในปลายปี พ.ศ. 2550 และเริ่มก่อสร้างเมื่อต้นปี พ.ศ. 2551",
"title": "โลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์ (ยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ต)"
},
{
"docid": "95790#0",
"text": "แฮรี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน เป็นหนังสือเล่มที่สามในหนังสือชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. เค. โรว์ลิ่ง ได้รับการตีพิมพ์และวางจำหน่ายเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 (1999) โดยสำนักพิมพ์บลูมส์บิวรี่ ฉบับภาษาไทยแปลโดย วลีพร หวังซื่อกุล จัดพิมพ์และจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ต่อมาในปีพ.ศ. 2547(2004)ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์โดยวอร์เนอร์ บราเธอร์สและออกฉายไปทั่วโลก ",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน"
},
{
"docid": "83609#12",
"text": "ล่าสุดนิตยสารฟอร์บส์เปิดเผยข้อมูลว่าโอปราห์คือสตรีผู้ร่ำรวยที่สุดในวงการบันเทิง ด้วยสินทรัพย์ประมาณ 2,500 ล้านดอลลาร์ ทิ้งห่างอันดับ 2 \"เจ. เค. โรว์ลิ่ง\" นักเขียนชาวอังกฤษเจ้าของวรรณกรรมเยาวชนขายดี \"แฮรี่ พอตเตอร์\" ที่มีสินทรัพย์ประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์ และอันดับ 3 คือ \"มาร์ธา สจ๊วต\" นักธุรกิจหญิงชาวอเมริกัน ซึ่งมีสินทรัพย์ประมาณ 600 ล้านดอลลาร์ ",
"title": "โอปราห์ วินฟรีย์"
},
{
"docid": "25299#0",
"text": "เฮอร์ไมโอนี่ จีน เกรนเจอร์ (เกิด 19 กันยายน พ.ศ. 2522) เป็นตัวละครในหนังสือวรรณกรรมเยาวชนชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ของเจ. เค. โรว์ลิ่ง",
"title": "เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์"
},
{
"docid": "209021#0",
"text": "ลำดับเวลาในแฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นลำดับเวลาของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมเยาวชนชุด \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" โดย เจ. เค. โรว์ลิ่ง โดยลำดับเวลาดังกล่าวจะครอบคลุมถึงเหตุการณ์ที่ปรากฏในงานเขียนด้วย โดยเพิ่มเติมจากที่โรวลิ่งโพสต์ในเว็บไซต์ของเธอ จากการให้สัมภาษณ์หลายครั้งและจากสื่อสิ่งพิมพ์อื่น",
"title": "ลำดับเวลาในแฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "111030#0",
"text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี () ภาพยนตร์ภาคที่ 4 โดยวอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส จากวรรณกรรมเยาวชน แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี ภาพยนตร์เรื่องนี้อำนวยการสร้างโดย เดวิด เฮย์แมน จากบทภาพยนตร์ของ สตีฟ โกลฟส์ จากนิยายโดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง\nนำแสดงโดยสามนักแสดงหลักจากสามภาคแรก แดเนียล แรดคลิฟฟ์, รูเพิร์ท กรินท์ และ เอ็มม่า วัตสัน ร่วมด้วย รอบบี้ โคลเทรน, ราล์ฟ เฟนน์ส, ไมเคิล แกมบอน, มิแรนด้า ริชาร์ดสัน, แบรนแดน กลีสัน, เจสัน อิซาคส์, แกรี่ โอล์ดแมน, อลัน ริคแมน, แมคกี้ สมิธ และทิโมธี สปอลล์",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "399419#1",
"text": "มิเนอร์ว่า มักกอนนากัล (Minerva McGonagall) เป็นตัวละครในหนังสือวรรณกรรมเยาวชนชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ของ เจ. เค. โรว์ลิ่ง ในตอนเริ่มเรื่อง มักกอนนากัลเป็นอาจารย์สอนวิชาแปลงร่าง อาจารย์ประจำบ้านกริฟฟินดอร์ และรองอาจารย์ใหญ่ในโรงเรียนพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์",
"title": "บุคลากรฮอกวอตส์"
},
{
"docid": "18946#0",
"text": "โรนัลด์ \"รอน\" บิลิอัส วีสลีย์ () เป็นตัวละครสมมุติในหนังสือวรรณกรรมเยาวชนชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ของเจ. เค. โรว์ลิ่ง ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือเล่มแรก แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ เป็นเพื่อนรักของแฮร์รี่ พอตเตอร์ และเฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ เขาเป็นสมาชิกครอบครัววีสลีย์ ครอบครัวอาศัยอยู่ใน \"บ้านโพรงกระต่าย\" นอก Ottery St. Catchpole เขาเป็นสมาชิกบ้านกริฟฟินดอร์เช่นเดียวกับแฮร์รี่ และเฮอร์ไมโอนี รอนปรากฏในเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ในชุด",
"title": "รอน วีสลีย์"
},
{
"docid": "195305#0",
"text": "สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ () เป็นหนังสือชุดพิเศษในชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่เขียนโดยเจ. เค. โรว์ลิ่ง ซึ่งเขียนมอบให้แก่การกุศล โดยสมมติว่าหนังสือเล่มนี้เป็นสมบัติของแฮร์รี่ พอตเตอร์ ในหนังสือเล่มนี้เป็นของโรงเรียนฮอกวอตส์ที่นักเรียนปีหนึ่งทุกคนต้องซื้อ มีชื่อสัตว์เรียงลำดับตัวอักษร A ถึง Z ที่มีชีวิตอยู่ และยังแยกประเภทความดุร้ายไว้ด้วย รวมถึงบอกเล่าความเป็นมาอย่างละเอียดของสัตว์วิเศษหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น บาสิลิสก์ ฮิปโปกริฟฟ์ เซนเทอร์ ยูนิคอร์น กัปปะ พิกซี่ มนุษย์หมาป่า เป็นต้น รายได้ของหนังสือเล่มนี้ได้ถูกมอบให้แก่การกุศล",
"title": "สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่"
},
{
"docid": "57587#0",
"text": "ลอร์ดโวลเดอมอร์ (; ) เป็นตัวละครร้ายในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ของ เจ. เค. โรว์ลิ่ง ปรากฏตัวครั้งแรกในตอน\"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์\" มีชื่อเดิมว่า ทอม มาร์โวโล่ ริดเดิ้ล และเป็นผู้สืบสกุลของซัลลาซาร์ สลิธีริน คนสุดท้าย โวลเดอมอร์เป็นตัวละครที่ได้รับการโหวตให้เป็นตัวละครร้ายอันดับหนึ่งทั้งในวรรณกรรมและในภาพยนตร์",
"title": "ลอร์ดโวลเดอมอร์"
},
{
"docid": "315583#6",
"text": "เมื่อค่ำคืนของวันที่ 16 มิถุนายน ตามเวลาท้องถิ่นของรัฐฟลอริดา สวนสนุกมีการเปิดตัวสวนสนุกแฮร์รี่ พอตเตอร์อย่างเป็นทางการ แม้ก่อนหน้านั้นสวนสนุกจะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมแล้วก็ตาม โดยมีนักแสดงจากภาพยนตร์ ได้แก่ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ (แฮร์รี่ พอตเตอร์), บอนนี่ ไรท์, เจมส์และโอลิเวอร์ เฟลส์ป, ไมเคิล แกมบอน (ศาสตราจารย์ดัมเบิลดอร์), รูเพิร์ท กรินท์ (รอน วีสลีย์) แมทธิว ลิวอิส (เนวิลล์ ลองบัตท่อม) วอร์วิก เดวิส (ศาสตราจารย์ฟลิตวิก) และทอม เฟลตัน รวมถึง เจ.เค. โรว์ลิ่ง และผู้ประพันธ์เพลงให้กับภาพยนตร์ 3 ภาคแรกอย่าง จอห์น วิลเลียมส์ มาร่วมงานครั้งนี้ด้วย",
"title": "โลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์ (ยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ต)"
},
{
"docid": "315583#5",
"text": "ในงานเปิดตัวของสวนสนุก บอนนี่ ไรท์ (จินนี่ วีสลีย์) ทอม เฟลตัน (เดรโก มัลฟอย) กับฝาแฝดเจมส์และโอลิเวอร์ เฟลส์ป (เฟร็ดกับจอร์จ วีสลีย์) ได้ตอบรับคำเชิญและจะมาร่วมงานครั้งนี้ด้วย และมีแนวโน้มว่า เจ. เค. โรว์ลิ่ง ก็อาจจะมาด้วยเช่นกัน[1]",
"title": "โลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์ (ยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ต)"
},
{
"docid": "180227#0",
"text": "นิทานของบีเดิลยอดกวี (The Tales of Beedle the Bard) เป็นหนังสือนิทานเด็ก ที่แต่งโดย เจ. เค. โรว์ลิ่ง เพื่อเป็นหนังสือประกอบสำหรับนิยายในชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดยหนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือสมมติที่ถูกอ้างถึงใน แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ซึ่งเป็นนิยายเล่มสุดท้ายในชุดอีกด้วย",
"title": "นิทานของบีเดิลยอดกวี"
},
{
"docid": "107228#0",
"text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ (Harry Potter and the Order of the Phoenix) คือหนังสือเล่มที่ห้าในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง และแปลเป็นภาษาไทยโดยสุมาลี จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ เป็นภาคที่ยาวที่สุด ออกวางจำหน่ายเมื่อ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2003",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์"
},
{
"docid": "142621#7",
"text": "ความนิยมในวรรณกรรมจินตนิมิตยังคงสืบเนื่องต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเกิดปรากฏการณ์หนังสือขายดีที่สุด จากเรื่อง \"แฮร์รี่ พ็อตเตอร์\" ผลงานของ เจ. เค. โรว์ลิ่ง ขณะเดียวกัน ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากวรรณกรรมจินตนิมิตก็เกิดขึ้นมากและประสบผลสำเร็จหลายเรื่อง เรื่องที่โดดเด่นที่สุดได้แก่ ภาพยนตร์ไตรภาคเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของผู้กำกับภาพยนตร์ ปีเตอร์ แจ็กสัน",
"title": "จินตนิมิต"
}
] |
2329 | รัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทยประกาศใช้เมื่อไหร่? | [
{
"docid": "109228#1",
"text": "พระราชบัญญัติธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกในประวัติศาสตร์ไทย ร่างขึ้นโดยแกนนำสำคัญภายในคณะราษฎร โดยในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ กลับพระนคร และในวันเดียวกันนั้นก็โปรดเกล้าฯ ให้คณะราษฎรเข้าเฝ้าฯ และทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกำหนดนิรโทษกรรมให้แก่บรรดาสมาชิกคณะราษฎร นอกจากนี้คณะราษฎรยังถวายร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามด้วย แต่พระองค์ทรงขอตรวจร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวก่อน ซึ่งพระองค์ก็ทรงลงพระปรมาภิไธยในวันรุ่งขึ้น โดยทรงพระอักษรกำกับต่อท้ายชื่อพระราชบัญญัตินั้นว่า \"ชั่วคราว\" สืบเนื่องมาจากพระองค์ทรงเห็นว่าหลักการประชาธิปไตยของผู้ก่อการฯ ไม่พ้องกันกับพระประสงค์ของพระองค์ แต่พระองค์ก็ทรงลงพระปรมาภิไธยเพราะเหตุการณ์ฉุกเฉินในขณะนั้น",
"title": "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475"
}
] | [
{
"docid": "21707#0",
"text": "วันรัฐธรรมนูญในประเทศไทย หรือ วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ เป็นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย โดยผลของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน",
"title": "วันรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "927775#1",
"text": "พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มีความสำคัญต่อวันเลือกตั้งในประเทศไทยครั้งถัดไป เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใน 150 วันนับจากประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งครบ 4 ฉบับ",
"title": "พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560"
},
{
"docid": "936#37",
"text": "ในทางพฤตินัย ปัจจุบันประเทศไทยปกครองในระบอบเผด็จการทหาร คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ควบคุมอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ต่อมาในปี 2560 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ในรัฐธรรมนูญดังกล่าว ระบุว่า ประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา หรือใช้ว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยกำหนดรูปแบบองค์กรบริหารอำนาจทั้งสามส่วนดังนี้",
"title": "ประเทศไทย"
},
{
"docid": "137773#1",
"text": "ในกรณีที่เสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบให้ใช้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สภาร่างรัฐธรรมนูญจะสิ้นสุดลง คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ได้เคยประกาศใช้บังคับมาแล้วฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันออกเสียงประชามติ และนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญต่อไป",
"title": "การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2550"
},
{
"docid": "673134#0",
"text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 หรือ รัฐธรรมนูญฉบับ รสช. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 15 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2534 เพื่อใช้แทน ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 ซึ่งได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ปีเดียวกันโดยมีนาย อุกฤษ มงคลนาวิน ประธาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ",
"title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534"
},
{
"docid": "23112#11",
"text": "นับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้น 20 ฉบับ ฉบับปัจจุบันคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จำนวน 279 มาตรา ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2550 เป็นฉบับแรกใน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (รัชกาลที่ 10)",
"title": "รัฐธรรมนูญ"
},
{
"docid": "69653#6",
"text": "รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวบางฉบับใช้บังคับเป็นเวลานาน เช่น ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ซึ่งเกิดขึ้นจากรัฐประหารจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ใช้บังคับเป็นเวลา 9 ปีเศษ แต่รัฐธรรมนูญฉบับถาวรหลายฉบับใช้บังคับในระยะเวลาสั้น ๆ เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่มีหลักการสอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่สอดคล้องกับโครงสร้างอำนาจทางการเมืองซึ่งไม่ได้อยู่ในมือของประชาชนอย่างแท้จริง ทว่าตกอยู่ในมือของกลุ่มข้าราชการประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายทหารระดับสูง ด้วยเหตุนี้รัฐธรรมนูญที่มุ่งจะใช้บังคับเป็นการถาวรจึงมักถูกยกเลิกโดยรัฐประหาร โดยคณะผู้นำทางทหาร เมื่อคณะรัฐประหาร ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น คณะปฏิวัติ คณะปฏิรูป หรือคณะรักษาความสงบเรียบร้อย ยึดอำนาจได้สำเร็จก็จะประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้วจึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร และเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่มุ่งใช้บังคับถาวรแล้วก็จะมีการเลือกตั้ง และตามด้วยการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญฉบับถาวร แต่เมื่อรัฐบาลบริหารประเทศไปได้ระยะหนึ่งก็จะถูกรัฐประหาร และประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับถาวร แล้วก็ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พร้อมทั้งจัดให้การร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรใหม่อีก หมุนเวียนเป็นวงจรการเมืองของรัฐไทยมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานนับหลายสิบปี นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา",
"title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย"
},
{
"docid": "69653#7",
"text": "แม้จะเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนร่วมเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดในประวัติศาสตร์ หลังจากจอมพล ถนอม กิตติขจรรัฐประหารให้แก่ตนเอง เพราะขณะรัฐประหารนั้น จอมพลถนอมดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511 และเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พร้อมเตรียมร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรตามวงจรการเมืองของไทยที่เคยเป็นมา ก็เกิดกระบวนการเรียกร้องรัฐธรรมนูญจนนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือด จนทำให้จอมพล ถนอม กิตติขจรต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเดินทางออกนอกประเทศ และแม้ต่อมาจะมีการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 ที่เป็นรัฐธรรมนูญซึ่งมีหลักการที่เป็นประชาธิปไตยมากฉบับหนึ่ง แต่ในที่สุดก็มีรัฐประหารอีก แล้วก็เกิดเหตุการณ์นองเลือดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ทำให้วงจรการเมืองไทยหมุนกลับไปสู่วงจรเดิม คือ รัฐประหาร ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร จัดให้มีการเลือกตั้ง จัดตั้งรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญฉบับถาวร และรัฐประหารยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ซ้ำซากไม่จบสิ้น เฉลี่ยแล้ว รัฐธรรมนูญไทยเปลี่ยนแปลงทุก 4 ปี ต่างจากกรณีสหรัฐอเมริกาที่มีรัฐธรรมนูญเพียงฉบับเดียว ซึ่งนับตั้งแต่ประกาศใช้ 7 มาตรา 55 อนุมาตรา ใน พ.ศ. 2332 ก็มีแต่การแก้ไขให้ทันสมัยเท่านั้น",
"title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย"
},
{
"docid": "98888#14",
"text": "ในกรณีที่เสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบให้ใช้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สภาร่างรัฐธรรมนูญจะสิ้นสุดลง คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ได้เคยประกาศใช้บังคับมาแล้วฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันออกเสียงประชามติ และนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญต่อไป",
"title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550"
},
{
"docid": "98888#0",
"text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในระหว่าง พ.ศ. 2549–2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน กรุงเทพมหานคร มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก หน้า 1 ในวันเดียวกันนั้น และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549",
"title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550"
},
{
"docid": "11232#10",
"text": "เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2540 ก็ได้มีมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. .... และเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ลงพระปรมาภิไธยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ก็มีผลใช้บังคับในวันเดียวกัน รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน หรือฉบับปฏิรูปการเมือง โดยเนื้อหาสาระได้มีการปรับปรุงแก้ไขออกแบบโครงสร้างระบบการเมืองให้มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพิ่มกลไกการตรวจสอบอำนาจรัฐและนักการเมืองการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ การบัญญัติให้มีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นองค์กรอิสระทำหน้าที่ควบคุมและจัดการเลือกตั้งแทนที่กระทรวงมหาดไทยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทย และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดแรก เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2540",
"title": "คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "965695#0",
"text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๙๒ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 ของไทย โดยหากเทียบรัฐธรรมนูญสี่ฉบับก่อนหน้าถือได้ว่าเป็นฉบับที่ดีที่สุด จัดร่างโดยสภาผู้แทนราษฎร และประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492 และถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารตนเอง รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 2 ปี เศษ\nรัฐธรรมนูญฉบับนี้ อำนาจนิติบัญญัติ ให้มีรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนวุฒิสภาโดยกำหนดให้มีสมาชิกในสภานี้ทั้งสิ้น 100 คน",
"title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492"
},
{
"docid": "672721#6",
"text": "รัฐธรรมนูญฉบับนี้สิ้นสุดลงแล้วโดยการปฏิวัติตัวเองของ จอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 และได้มีการประกาศใช้คำสั่งและประกาศของคณะ\nปฏิวัติเป็นกฎหมายปกครองประเทศแทน",
"title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511"
},
{
"docid": "671#4",
"text": "ก่อนหน้าการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ประเทศไทยยังไม่มีรัฐธรรมนูญใช้ในการปกครองประเทศ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์และประมุขฝ่ายบริหาร ในปี พ.ศ. 2475 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับลายลักษณ์อักษร โดยคาดว่าจะเป็นแนวปฏิบัติที่สำคัญที่สุดในการปกครองประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้นระหว่างกลุ่มมีอิทธิพล จึงได้เกิดรัฐประหารขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2477 รัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการฉบับแรกของประเทศถูกยกเลิก และได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่",
"title": "การเมืองไทย"
},
{
"docid": "50621#6",
"text": "ในเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 นายมีชัยเป็นที่ปรึกษาคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฝ่ายกฎหมาย มีบทบาทในการร่างแถลงการณ์ประกาศ และคำสั่ง คปค. หลายฉบับ และร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ร่วมกับนายวิษณุ เครืองาม และนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถอนตัวออกไปหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เนื่องจากถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทบาทการทำงานในอดีต",
"title": "มีชัย ฤชุพันธุ์"
},
{
"docid": "28664#0",
"text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศไทยที่เป็นลายลักษณ์อักษร ฉบับที่ 16 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้สิ้นสุดลงแล้ว ด้วยการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ออกประกาศ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549 ทั้งนี้คณะปฏิรูปฯได้ออกประกาศคงบทบัญญัติบางหมวดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 ไว้ภายหลัง",
"title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540"
},
{
"docid": "634923#1",
"text": "รัฐธรรมนูญฉบับนี้เปิดทางให้สถาปนาสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อใช้อำนาจนิติบัญญัติ คณะรัฐมนตรีชั่วคราวเพื่อรับผิดชอบการบริหารราชการแผ่นดิน สภาปฏิรูปแห่งชาติ (และต่อมาสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ) เพื่อดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างกว้างขวางและอนุมัติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุกรอบเวลาที่แน่นอนสำหรับงานเหล่านี้\nปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับนี้สิ้นสุดลงแล้วเมื่อมีการประกาศใข้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560",
"title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557"
},
{
"docid": "634923#11",
"text": "การใช้อำนาจตามมาตรานี้ยังปรากฏภายหลังจากที่ราชอาณาจักรไทยประเทศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในการออกคำสั่งหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติเนื่องจาก มาตรา 265 บัญญัติว่า ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้ รัฐธรรมนูญนี้ ยังคงอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลัง การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่",
"title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557"
},
{
"docid": "741532#19",
"text": "หลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้ว ทางคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจะได้ทำการร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่สำคัญ 4 ฉบับจากทั้งหมด 10 ฉบับได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา และร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการเลือกตั้ง โดยสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศจะได้ส่งความคิดเห็นไปยังคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อประกอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ จากนั้นจะได้ส่งไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 4 ฉบับ โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 8 เดือนหรือ 240 วัน จากนั้น สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะได้ทำการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอีก 6 ฉบับจนครบ 10 ฉบับเพื่อจะเข้าสู่การเลือกตั้งในช่วงปลายปี พ.ศ. 2560 หรือต้นปี พ.ศ. 2561",
"title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560"
},
{
"docid": "771740#6",
"text": "8 – 18 สิงหาคม – เป็นช่วงระยะเวลาการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2007 ในประเทศไทย 19 สิงหาคม – มีการจัดการลงประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของไทย 24 สิงหาคม – ประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปี 2550[1]",
"title": "ประเทศไทยใน พ.ศ. 2550"
},
{
"docid": "112910#0",
"text": "สภาร่างรัฐธรรมนูญ คือ คณะบุคคลที่ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ มักเกิดขึ้นเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวและต้องการให้มีรัฐธรรมนูญฉบับถาวร หรือเป็นกรณีที่ต้องการประสานประโยชน์ ตรงตามความประสงค์ของบุคคลทุกฝ่ายมากที่สุด ",
"title": "สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "23112#10",
"text": "ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปณิธานอยู่แต่เดิมที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนชาวไทยในวันที่ 6 เมษายน 2475 แต่เมื่อถึงเวลาก็มิได้พระราชทานเนื่องจากอภิรัฐมนตรีสภากราบบังคมทูลทัดทานไว้ว่ายังไม่ถึงเวลาอันสมควร เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรจึงได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย และได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย ต่อมาเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของประเทศไทย",
"title": "รัฐธรรมนูญ"
},
{
"docid": "345856#1",
"text": "สำหรับในประเทศไทย วันรัฐธรรมนูญตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย โดยผลของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน ลักษณะสำคัญคือ ได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจาก พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง เป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริการราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาล ก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐ ซึ่งมีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้น ได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะของประชาชน ผู้ใดจะละเมิดมิได้",
"title": "วันรัฐธรรมนูญ"
},
{
"docid": "121276#0",
"text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 ของไทย จัดร่างโดยสภาผู้แทนราษฎร และประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 และถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 โดยรัฐประหารของคณะรัฐประหารอันมี พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ นายทหารกองหนุน เป็นหัวหน้า รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี 5 เดือน 28 วัน\nรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้มีพฤฒิสภา (วุฒิสภา) ที่มาจากการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยกำหนดให้มีสมาชิกในสภานี้ทั้งสิ้น 80 คน",
"title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489"
},
{
"docid": "49464#2",
"text": "รัฐธรรมนูญนิยม มีหลายความหมาย โดยส่วนใหญ่แล้วมักหมายถึงกลุ่มของแนวความคิด ทัศนคติ และรูปแบบพฤติกรรมที่สาธยายเกี่ยวกับหลักการที่การใช้อำนาจของรัฐมาจากกฎหมายสูงสุดและถูกจำกัดอำนาจด้วยกฎหมายสูงสุด \nรัฐธรรมนูญนิยม นิยาม รัฐธรรมนูญนิยม หรือ ระบอบรัฐธรรมนูญ (Constitutionalism) หมายถึง ความเชื่อทางปรัชญาความคิดที่นิยมหลักการปกครองรัฐด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ เป็นแนวความคิดที่มุ่งหมายจะใช้รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร (written constitution) เป็นหลักในการกำหนดรูปแบบ กลไก และสถาบันทางการเมืองการปกครองต่างๆ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานของการบริหารงานภาครัฐในฐานะที่เป็นกฎหมายสูงสุด (อมร จันทรสมบูรณ์, 2537: 9; Alexander, 1999: 16; Bellamy, 2007: 4-5; Sartori, 1962: 3) ที่มา แนวคิดนี้เริ่มก่อตัวขึ้นครั้งแรกในประเทศตะวันตก ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 17 เพื่อต่อต้าน คัดค้านรูปแบบการเมืองการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (absolutism) ของประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปขณะนั้น จนมาปรากฏชัดเจนขึ้นหลังจากการประชุมเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1787 (McIlwain, 1977: 17) ซึ่งทำให้แนวคิดเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้นปรากฏชัดเจนขึ้นเป็นครั้งแรก ดังนั้น แนวคิดเรื่องลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมนี้เมื่อเกิดขึ้นในขั้นต้น จึงไม่ได้มีความหมายกลางๆ แต่อย่างใด หากแต่มีความหมายที่โน้มเอียงไปในด้านการจำกัดอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในขณะนั้น และเน้นหนักในการพยายามสร้างสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของพลเมืองภายในรัฐ โดยเรียกร้องให้มีการนำสิ่งที่เรียกว่า “รัฐธรรมนูญ” มาใช้เป็นหลักในการวางกรอบของประเด็นดังกล่าว จากลักษณะข้างต้นจึงทำให้ลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมในประเทศตะวันตกนั้นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยไปในที่สุด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สำหรับประเทศตะวันตกแล้ว หากจะมีรัฐธรรมนูญก็ควรจะต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยนั่นเอง (Bellamy, 2007: 93) ท่ามกลางกระแสเสรีประชาธิปไตยซึ่งยังคงเป็นกระแสหลักของประเทศส่วนใหญ่ในตะวันตก จึงได้ทำให้คำว่าลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมในปัจจุบันกลับกลายเป็นสิ่งที่มีความหมายกลางๆ ที่มองรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือทางกฎหมายอย่างหนึ่ง ที่จะนำมาใช้วางโครงสร้างสถาบันทางการเมืองการปกครอง กำหนดแหล่งที่มาของอำนาจ การเข้าสู่อำนาจ และการใช้อำนาจของผู้ปกครองในทุกๆ ระบอบการปกครอง (McIlwain, 1977) โดยมิได้จำกัดอยู่แต่เพียงระบอบประชาธิปไตยอีกต่อไป ดังจะเห็นได้จากในปัจจุบันนี้รัฐสมัยใหม่ “ทุกรัฐ” ในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นประเทศเสรีประชาธิปไตยหรือไม่ ต่างก็ล้วนแล้วแต่ยึดรูปแบบการปกครองของระบอบรัฐธรรมนูญนิยม (constitutionalism) ทั้งสิ้น กล่าวคือ ทุกๆ รัฐต่างก็มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการจัดวางอำนาจและโครงสร้างทางการเมืองของประเทศนั้นๆ (เสน่ห์, 2540: 17) โดยปัจจุบัน (พ.ศ. 2556) ประเทศที่สหประชาชาติให้การรับรองนั้นมีทั้งสิ้น 196 ประเทศ (แต่เป็นสมาชิกสหประชาชาติเพียง 193 ประเทศ) ในขณะที่รัฐธรรมนูญที่เป็นทางการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันในโลกนี้มีทั้งสิ้นกว่า 203 ฉบับ ทั้งนี้เพราะในรัฐโพ้นทะเลบางแห่งอย่างเช่น หมู่เกาะบริติช เวอร์จิน (British Virgin Islands or BVI) ของอังกฤษ หรือ เกาะกรีนแลนด์ของเดนมาร์กนั้นต่างก็เป็นรัฐที่มีรัฐธรรมนูญเป็นของตนเองในฐานะเป็นดินแดนที่มีการปกครองตนเอง แม้ว่าอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน (absolute territorial sovereignty) นั้นจะเป็นของประเทศเจ้าเอกราชก็ตาม ตัวอย่างการนำไปใช้ในประเทศไทย ประเทศไทยเองก็รับเอาลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมนี้เข้ามาใช้อย่างเป็นทางการภายหลังจากการเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับแรกของคณะราษฎร แม้ว่าขบวนการในการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นจะสามารถสร้างระบอบรัฐธรรมนูญขึ้นในประเทศไทยได้ แต่ผลจากการที่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดจากการต่อสู้กันเฉพาะภายในกลุ่มชนชั้นนำบางส่วนของไทย ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ถึงขนาดที่มีคนเข้าใจว่า “รัฐธรรมนูญ” เป็นชื่อของลูกชายนายทหารผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา (ปรีดี, 2543) ทั้งนี้ก็เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ได้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือต่อสู้บนพื้นฐานของความเข้าใจในสิทธิเสรีภาพและการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ อันจะเป็นเครื่องมือในการสร้างความเสมอภาคเท่าเทียมและเป็นตัวแทนอำนาจอธิปไตยของปวงชน ดังเช่นที่ประชาชนชาติตะวันตกได้ต่อสู้ด้วยความยากลำเค็ญเพื่อก่อร่างสร้างระบอบรัฐธรรมนูญในประเทศของพวกเขา ดังนั้น ระบอบรัฐธรรมนูญของไทยที่เกิดขึ้นภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 จึงสามารถก่อรูปได้ก็แต่เพียงหลักการในการจำกัดอำนาจผู้ปกครอง คือ พระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และทำให้แหล่งที่มาของอำนาจต้องอ้างอิงกับประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยได้ตามหลักการทุกประการ แต่จากการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการต่อสู้มากนักจึงทำให้พวกเขาไม่สามารถเชื่อมโยงจิตสำนึกให้เข้ากับรัฐธรรมนูญได้ แม้จะมีบทบัญญัติถึงหน้าที่ในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญไว้ในรัฐธรรมนูญก็ตาม จุดนี้เองที่ทำให้ประชาชนไม่ให้ความสำคัญกับรัฐธรรมนูญ และทำให้รัฐธรรมนูญขาดความศักดิ์สิทธิ์ กฎหมายรัฐธรรมนูญไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 จึงกลายเป็นผลลัพธ์และการรอมชอมจากการต่อสู้ของกลุ่มชนชั้นนำทางการเมืองกลุ่มต่างๆ ของไทย ซึ่งสามารถถูกฉีกทิ้งและร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาแทนในภายหลังได้อย่างง่ายดาย (เสน่ห์, 2540: 31-35) อย่างไรก็ดี หลังจากเหตุการณ์การเรียกร้องให้มีการใช้รัฐธรรมนูญในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 ของขบวนการนิสิตนักศึกษาไทย ได้แสดงให้เห็นถึงจุดเปลี่ยนครั้งยิ่งใหญ่ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย โดยเฉพาะในแง่ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ปรากฏการณ์นี้สะท้อนว่า คนส่วนหนึ่งของสังคมได้เริ่มตระหนักรู้และเข้าใจความสำคัญของรัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นตัวแทนอำนาจอธิปไตยสูงสุดของปวงชน และเป็นเครื่องมือที่จะนำไปใช้จำกัดอำนาจของผู้ปกครองจากการใช้อำนาจอันมิชอบ (abuse of power) ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถมีเสรีภาพและความเสมอภาคเท่าเทียมที่ถูกรับรองไว้ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญได้อย่างถ้วนหน้า ซึ่งเป็นแก่นของระบอบรัฐธรรมนูญนั่นเอง (เสน่ห์, 2540: 316) จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เองที่ทำให้ลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมเริ่มเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทย ในฐานะที่เป็นแนวคิดที่จะสร้างกลไกทางกฎหมายรัฐธรรมนูญที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย คือ จำกัดอำนาจผู้ปกครอง และสร้างเสรีภาพให้แก่พลเมืองให้มากที่สุด จึงทำให้แนวคิดนี้เติบโตออกไปจากเดิมมาก แม้ช่วงเวลาหลังจากการเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับยุคที่รัฐธรรมนูญมีลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยเพียงครึ่งใบก็ตาม และด้วยกระแสลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมที่เติบโตขึ้นจึงทำให้ท้ายที่สุดในปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยก็สามารถประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ได้ชื่อว่าประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยกร่าง และจัดทำรัฐธรรมนูญมากที่สุดฉบับหนึ่ง ซึ่งถึงแม้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจะสามารถนำมาบังคับใช้ได้แค่เพียง 9 ปีก่อนจะเกิดการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 แต่จะเห็นได้ว่าการฉีกรัฐธรรมนูญของคณะทหารในครั้งนี้แตกต่างจากครั้งก่อนๆ เพราะครั้งนี้ได้เกิดกระแสต่อต้านคณะรัฐประหารที่ทำลายรัฐธรรมนูญเป็นอย่างมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการที่ดีของประเทศไทยที่ประชาชนเริ่มผูกโยงความสำคัญของตัวรัฐธรรมนูญเข้ากับการมีอยู่ของสิทธิและเสรีภาพของตนที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากกว่าเพียงแค่ตัวอักษรที่จารึกไว้ในกระดาษ หากแต่เป็นเจตนารมณ์ของตัวรัฐธรรมนูญที่คอยปกป้องสิทธิ เสรีภาพของประชาชนอันเป็นปัจจัยพื้นฐานของรัฐธรรมนูญทุกรัฐธรรมนูญในระบอบรัฐธรรมนูญ (every constitutionalism’s constitution) นั้นพึงมี\nความหมายของรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับของโลก เป็นความหมายที่ เดวิด เฟลล์แมน เมธีด้านรัฐศาสตร์และรัฐธรรมนูญแห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ได้อธิบายไว้ว่า",
"title": "รัฐธรรมนูญนิยม"
},
{
"docid": "673043#0",
"text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 4 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2490 หรือหนึ่งวันหลังการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน มีจอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย หรือ ผู้บัญชาการทหารบก ในปัจจุบันเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ",
"title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490"
},
{
"docid": "671#3",
"text": "ตั้งแต่โบราณกาล ราชอาณาจักรไทยอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อย่างไรก็ตาม หลังจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ประเทศไทยจึงอยู่ภายใต้การปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ(ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมห่กษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข) รัฐธรรมนูญเขียนฉบับแรกถูกร่างขึ้น อย่างไรก็ตาม การเมืองไทยยังมีการต่อสู้ระหว่างกลุ่มการเมืองระหว่างอภิชนหัวสมัยเก่าและหัวสมัยใหม่ ข้าราชการ และนายพล ประเทศไทยเกิดรัฐประหารหลายครั้ง ซึ่งมักเปลี่ยนแปลงให้ประเทศไทยอยู่ภายใต้อำนาจของคณะรัฐประหารชุดแล้วชุดเล่า จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญและกฎบัตรรวมแล้ว 20 ฉบับ (นับรวมฉบับปัจจุบัน) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไร้เสถียรภาพทางการเมืองอย่างสูง หลังรัฐประหารแต่ละครั้ง รัฐบาลทหารมักยกเลิกรัฐธรรมนูญที่มีอยู่เดิมและประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว",
"title": "การเมืองไทย"
},
{
"docid": "142983#3",
"text": "จากนั้นคณะบริหารประเทศชั่วคราวได้สั่งยกเลิกรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2492 หันกลับไปใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2475 อันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกมาใช้แทน ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าเป็นการกระทำที่ประหลาดที่สุดในโลก และเป็นเหตุให้พรรคฝ่ายค้าน คือ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ประกาศคว่ำบาตรรัฐบาลทุกประการ เช่น ไม่ร่วมเลือกตั้งในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2495 เป็นต้น",
"title": "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494"
},
{
"docid": "671#7",
"text": "อย่างไรก็ตาม หลังจากรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ถูกยกเลิก คณะรัฐประหารได้ประกาศกฎอัยการศึกและรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวขึ้นปกครองประเทศ ซึ่งมีเนื้อหาให้คณะรัฐประหารมีอำนาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ฝ่ายนิติบัญญัติและสภาร่างรัฐธรรมนูญ คณะรัฐประหารถูกบีบให้ยินยอมจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นและเทศบาลเป็นปกติในปี พ.ศ. 2550 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีการประกาศใช้หลังลงประชามติ และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐผ่านองคกรอิสระตามรัฐธรรมนูญ แต่ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามาจากคณะรัฐประหารปี 2549 ทั้งนี้ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญมาจากการสรรหา",
"title": "การเมืองไทย"
},
{
"docid": "53198#0",
"text": "สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในประเทศไทย หมายถึง สภาที่ทำหน้าที่ออกกฎหมายแทนสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เกิดขึ้นหลังจากคณะรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพลเรือนและประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองหรือรัฐธรรมนูญชั่วคราวแทนรัฐธรรมนูญถาวร สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีลักษณะเป็นสภาเดี่ยวซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะรัฐประหาร ซึ่งรัฐธรรมนูญบางฉบับอาจกำหนดให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญอีกหน้าที่หนึ่ง",
"title": "สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย)"
}
] |
591 | บริษัท ซีเนริโอ จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อใด ? | [
{
"docid": "230186#0",
"text": "บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (เดิม: บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด) เป็นบริษัทที่ดำเนินการผลิต ละคร เกมโชว์ วาไรตี้ ให้กับช่องวัน และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด ผู้ถือใบอนุญาตประกอบกิจการดิจิทัลทีวีช่องวันในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จาก กสทช. ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ในชื่อ บริษัท จีเอ็มเอ็มวัน ทีวี เทรดดิง จำกัด โดยจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และ กลุ่มของนายถกลเกียรติ วีรวรรณ ประกอบไปด้วย ถกลเกียรติ วีรวรรณ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด และบริษัท วัน ทำ ดี จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วน 51% ต่อ 49% ด้วยทุนจดทะเบียน 900,000,000 บาท ภายหลังได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 1,275,000,000 บาท และได้บริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด บริษัทในกลุ่มปราสาททองโอสถ ของ ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ มาร่วมเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 3,810,000,000 บาท",
"title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์"
}
] | [
{
"docid": "154438#0",
"text": "หัวใจช็อกโกแลต เป็นละครรักโรแมนติกของบริษัท ซีเนริโอ จำกัด ออกฉายทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2548 นำแสดงโดย ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ และ พิยดา อัครเศรณี ",
"title": "หัวใจช็อกโกแลต"
},
{
"docid": "790772#0",
"text": "รักฝุ่นตลบ เป็นละครโทรทัศน์ประเภทซีรีส์ แนวโรแมนติก-คอมเมดี ผลิตโดย บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด เค้าโครงเรื่องโดย กิตติ เชี่ยววงศ์กุล บทโทรทัศน์โดย พิมพ์มาดา พัฒนอลงกรณ์, พิมสิรินทร์ พงษ์วานิชสุข, นนทพร ประภาพร, จักรกริช สุพัฒน์ผล ควบคุมบทโทรทัศน์โดย จิรศักดิ์ โย้จิ้ว, กิตติ เชี่ยววงศ์กุล อำนวยการผลิตโดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ, นิพนธ์ ผิวเณร กำกับการแสดงโดย จิรศักดิ์ โย้จิ้ว, นพโรจน์ โชติมั่นคงสิทธิ์ ออกอากาศครั้งแรกทางสถานีโทรทัศน์ ช่องวัน เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ทุกวันเสาร์ เวลา 22.00 - 23.00 น.",
"title": "รักฝุ่นตลบ"
},
{
"docid": "765104#3",
"text": "ในปี พ.ศ. 2559 ทางสถานีโทรทัศน์ช่องวันได้นำรายการนี้กลับมาทำใหม่อีกครั้ง ในสังกัดบริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559 และเพิ่มรายการ 4 ต่อ 4 เซเลบริตี้ โดยออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559 และได้ย้ายวัน-เวลาออกอากาศใหม่เป็นทุกวันอาทิตย์ เวลา 12.00 น. เริ่มวันที่ 3 กรกฎาคม - 25 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ดำเนินรายการโดย กิตติ เชี่ยววงศ์กุล\nในช่วงปี 2560 ได้เพิ่ม 4 ต่อ 4 ฟรายเดย์ ซึ่งเป็นช่วงเฉพาะที่จัดในช่วงทุกวันศุกร์ โดยกฏกติกาในเกมเหมือนทุก 4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม ทุกประการ",
"title": "4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม"
},
{
"docid": "354136#20",
"text": "ประพันธ์คำร้องโดย วิเชียร ตันติพิมลพันธ์ ประพันธ์ทำนอง และเรียบเรียงโดย สราวุธ เลิศปัญญานุช ขับร้องโดย นักแสดงและศิลปิน 123 คน จัดทำโดย บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีการถ่ายทำมิวสิกวิดีโอ ที่โรงละครเมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์[17] ทั้งนี้ เพลงนี้ยังใช้ประกอบละครเวทีเรื่อง สี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล ขับร้องโดย เด็กหญิงณัฐนิช รัตนเสรีเกียรติ หรือน้องพินต้า ที่รับบทเป็นแม่พลอยในวัยเด็ก",
"title": "พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554"
},
{
"docid": "280834#5",
"text": "หลังการประมูล จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ก่อตั้ง บริษัท จีเอ็มเอ็มวัน ทีวี เทรดดิ้ง จำกัด โดยบริษัทถือหุ้นจดทะเบียน 100% หลังก่อตั้ง บริษัทฯ ได้แยก เอ็กแซ็กท์ ซีเนริโอ และมีมิติ ออกจากจีเอ็มเอ็ม มีเดีย และรวมเข้ากับ จีเอ็มเอ็มวัน ทีวี เทรดดิ้ง ภายหลังบริษัทนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ใน พ.ศ. 2559",
"title": "รายชื่อกลุ่มบริษัทและธุรกิจในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่"
},
{
"docid": "801437#1",
"text": "เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงโดยการออดิชั่นผ่านเป็นนักแสดงละครเวทีเรื่อง \"เลือดขัตติยาเดอะมิวสิคัล\" โดย บริษัท ซีเนริโอ จำกัด ในปี 2556 จากนั้นได้มีโอกาสเล่นละครทีวีเรื่องแรกในบทของจิณห์ จากละครเรื่อง ดอกไม้ใต้เมฆ ผลิตโดย บริษัท เป่าจินจง จำกัด ออกอากาศหลังข่าวภาคค่ำทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 หลังจากนั้นก็มีผลงานทั้งละคร ละครเวที ซีรีส์ รวมถึงร่วมแสดงในซิทคอมหลายเรื่อง ปัจจุบันเป็นนักแสดงอิสระ",
"title": "สิรภพ สมผล"
},
{
"docid": "765104#1",
"text": "4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์แนวทายปัญหา (ควิซโชว์) โดยมีผู้เข้าแข่งขันทีมละ 4 คน จำนวน 2 ทีม (หรือจำนวน 3 ทีม ในรายการ \"4 ต่อ 4 เซเลบริตี้\") มาแข่งขันตอบคำถามจาก \"ผลสำรวจ\" โดยทาง\"บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด\" (ภายหลังได้เปลี่ยนบริษัทผู้ผลิตมาเป็น\"บริษัท ซีเนริโอ จำกัด\" ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในสังกัดเดียวกัน) ซื้อลิขสิทธิ์รายการนี้จาก\"บริษัท \" ของเอเชีย นำมาผลิตในรูปแบบของประเทศไทย เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2544 จนถึงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ดำเนินรายการโดย กนิษฐ์ สารสิน",
"title": "4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม"
},
{
"docid": "487246#0",
"text": "บ่วงรัก เป็นละครโทรทัศน์แนวดราม่า ผลิตโดยบริษัท เอ็กแซ็กท์ และ ซีเนริโอ จำกัด เค้าโครงเรื่องโดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ, ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์, กษิดินทร์ แสงวงศ์ โดยเนื้อเรื่องดัดแปลงมาจากละครโทรทัศน์ บ่วงรัก ที่ออกอากาศเมื่อปี พ.ศ. 2548 ซึ่งผลิตโดยบริษัทเอ็กแซ็กท์เช่นกัน ",
"title": "บ่วงรัก"
},
{
"docid": "468130#0",
"text": "จับตายวายร้ายสายสมร คือละครแอคชั่น-ดราม่า-โรแมนติก บทประพันธ์โดย อีเลเฟนท์ โดยบริษัท ยูม่า 99 จำกัด ออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2541 โดยออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2553 ได้ถูกนำกลับมาสร้างใหม่โดยบริษัท เอ็กแซ็กท์ กับ ซีเนริโอ จำกัด โดยเนื้อหาและการถ่ายทำยังคงดำเนินงานโดย บริษัท ยูม่า 99 จำกัด เช่นเดิม",
"title": "จับตายวายร้ายสายสมร"
},
{
"docid": "230186#4",
"text": "สายงานธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์ (เอ็กแซ็กท์ ซีเนริโอ และมีมิติ เดิม) สายงานธุรกิจผลิตละครเวที (ซีเนริโอ เดิม) สายงานธุรกิจบริหารสถานที่ ประกอบด้วย เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ และ แอ็กซ์ สตูดิโอ สายงานธุรกิจบริหารสถานีโทรทัศน์ โดยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด ผู้ถือใบอนุญาตประกอบกิจการดิจิทัลทีวีความละเอียดสูง ช่องวัน",
"title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์"
},
{
"docid": "247243#0",
"text": "ฮีโร่ 1000 รัก เป็นละครโทรทัศน์ของบริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด บทโทรทัศน์ โอฬาร์กร ควบคุมบทโทรทัศน์ นิพนธ์ ผิวเณร กำกับการแสดงโดย ฉัตรชัย สุรสิทธิ์ โดยออกอากาศทุกวันจันทร์ ถึง วันพฤหัสบดี เวลา 20.20 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 โดยออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน และมาถึงตอนอวสานเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 จำนวน 26 ตอน",
"title": "ฮีโร่ 1000 รัก"
},
{
"docid": "621765#4",
"text": "ขายและโอนสิทธิ์การถือหุ้นของ บริษัท จีเอ็มเอ็มทีวี จำกัด จำนวน 100% ให้ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จำกัด ขายและโอนสิทธิ์การถือหุ้นของ บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) จำนวน 99.8% ให้ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จำกัด ซึ่งบริษัทดังกล่าวถือหุ้น บริษัท เอ-ไทม์ มีเดีย จำกัด จำนวน 100% และบริษัท เอไทม์มีเดีย ถือหุ้นบริษัท เอ-ไทม์ ทราเวลเลอร์ จำกัด 20% ขายและโอนสิทธิ์การถือหุ้นของ บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด จำนวน 100% และ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด จำนวน 25% จาก บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) ให้ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ซึ่งบริษัท ซีเนริโอ เป็นผู้ถือหุ้นส่วนหนึ่งของ บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี จำกัด หรือสถานีโทรทัศน์ช่องวัน",
"title": "จีเอ็มเอ็ม 25"
},
{
"docid": "463419#0",
"text": "นางสิงห์สะบัดช่อ เป็นละครโทรทัศน์แนวแอ็คชั่นซุปเปอร์ฮีโร่ ผลิตโดยบริษัท เอ็กแซ็กท์ และ ซีเนริโอ จำกัด ผลงานกำกับการแสดงโดย อรรถพร ธีมากร บทประพันธ์ - บทโทรทัศน์โดย ณพุทธ สุศรีฯ ",
"title": "นางสิงห์สะบัดช่อ"
},
{
"docid": "635921#0",
"text": "พรุ่งนี้ไม่สายที่จะรักกัน เป็นละครโทรทัศน์ แนวโรแมนติก-ดราม่า ผลิตโดยบริษัท เอ็กแซ็กท์ และ ซีเนริโอ จำกัด จากบทประพันธ์โดย ทีมซีเนริโอ บทโทรทัศน์โดย เวฬุรีย์ เมธาวีวีนิจ, ปิยพร วายุภาพ กำกับการแสดงโดย สุชีวิน แนวสูง นำแสดงโดย อนุชิต สพันธุ์พงษ์, อคัมย์สิริ สุวรรณศุข และนักแสดงชั้นนำอื่นๆ อีกมากมาย ออกอากาศทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 20.25 - 21.25 น. ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 โดยเริ่มออกอากาศตอนแรกวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2548–4 ตุลาคม พ.ศ. 2548",
"title": "พรุ่งนี้ไม่สายที่จะรักกัน"
},
{
"docid": "280834#7",
"text": "บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด โดย ซีเนริโอ เป็นหนึ่งในผู้ผลิตละครเวทีชั้นนำของประเทศไทย โดยบริษัทฯ เป็นผู้บริหารโรงละครบอรดเวย์ เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ ร่วมกับเมืองไทยประกันชีวิต และธนาคารไทยพาณิชย์ และยังเป็นผู้พัฒนาละครเวทีหลากหลายเรื่องดังนี้บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด โดย บริษัท แอ็กซ์ สตูดิโอ จำกัด เป็นผู้บริหารสตูดิโอถ่ายทำรายการโทรทัศน์ขนาดใหญ่ในตำบลบางคูวัด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ภายใต้ชื่อ แอ็กซ์ สตูดิโอ ปัจจุบันสตูดิโอดังกล่าวเป็นสตูดิโอถ่ายทำรายการหลักของทั้งช่องวัน 31 และ จีเอ็มเอ็ม 25",
"title": "รายชื่อกลุ่มบริษัทและธุรกิจในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่"
},
{
"docid": "680281#1",
"text": "แผนงานโครงการ ละครดี ดูที่ ช่องวัน เดิมทีเป็นการทำละครให้กับช่องวันภายใต้ความร่วมมือกับ บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (เอ็กแซ็กท์ และ ซีเนริโอ เดิม) แต่ภายหลัง ได้เริ่มเปิดให้บริษัทภายในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เข้ามาร่วมทำโครงการด้วย ซึ่งละครเรื่องแรกที่ไม่ใช่ของเอ็กแซ็กท์ และซีเนริโอ คือ รูมอะโลน ของ จีเอ็มเอ็มทีวีในช่วงกลางปี พ.ศ. 2557 เอ็กแซ็กท์และซีเนริโอได้มีการปรับแผนการดำเนินการใหม่ทั้งหมด โดยเปลี่ยนระบบการถ่ายทำละครใหม่ เพิ่มระบบผู้จัดละครเพื่อเปิดโอกาสให้แต่ละค่ายละคร สามารถส่งผลงานเข้ามาร่วมงานกับเอ็กแซ็กท์ได้ และเปลี่ยนวิธีการถ่ายทำละครใหม่เป็นการถ่ายทำแบบเดียวกับภาพยนตร์ อีกทั้งมีการประกาศเปิดกล้องละครใหม่กว่า 10 เรื่อง ใน พ.ศ. 2557 โดยยังไม่ทราบสาเหตุว่าเปิดกล้องล่วงหน้าเพื่อเตรียมละครลงช่อง 5 หรือเพื่อการอะไร แต่หลังจากที่ บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัลทีวี จำกัด ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ประมูลได้ใบอนุญาตการออกอากาศทีวีดิจิทัลในช่องหมายเลข 31 และได้นายถกลเกียรติ วีรวรรณขึ้นเป็นผู้บริหารช่อง ทำให้ เอ็กแซ็กท์และซีเนริโอ มีการเปลี่ยนแผนการออกอากาศละครจากเดิมที่ทำเพื่อลงให้กับช่อง 5 มาเป็นการทำละครเพื่อลงให้กับช่องใหม่ของแกรมมี่ทั้งหมด หลังจากที่ก่อนหน้านั้นได้นำซิทคอมเป็นต่อมาออกอากาศกับช่องจีเอ็มเอ็มวัน ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ไปแล้ว",
"title": "รายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์ช่องวัน"
},
{
"docid": "155888#3",
"text": "ใน พ.ศ. 2557 เอ็กแซ็กท์ - ซีเนริโอ และ บริษัท อู่ข้าวอู่น้ำ ภาพยนตร์ จำกัด ได้นำบทประพันธ์เรื่องนี้กลับมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ใหม่อีกครั้งโดยมีแผนออกอากาศให้ชมในปี พ.ศ. 2558 ทางช่องวัน ",
"title": "เคหาสน์ดาว"
},
{
"docid": "887949#0",
"text": "แก้วลืมคอน เป็นละครโทรทัศน์ไทยแนวพีเรียด-โรแมนติก-ดราม่า เค้าโครงบทประพันธ์เรื่องมาจาก เสนีย์ บุษปะเกศ บทโทรทัศน์โดย คฑาหัสต์ บุษปะเกศ, เพ็ญสิริ เศวตวิหารี, ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ กำกับการแสดงโดย สันต์ ศรีแก้วหล่อ ผลิตโดย บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด นำแสดงโดย ภูธเนศ หงษ์มานพ, พิยดา อัครเศรณี ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ทุกวันพุธ-พฤหัสบดี-ศุกร์ เวลา 20:25-21:25 น. เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2548-19 พฤษภาคม พ.ศ. 2548\nบุคลิกตัวละครเรื่องแก้วลืมคอน ดังนี้",
"title": "แก้วลืมคอน"
},
{
"docid": "799722#0",
"text": "โสด Stories เป็นละครโทรทัศน์ประเภทซีรีส์ แนวโรแมนติก-คอมเมดี ผลิตโดย บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด - บริษัท ซีเนริโอ จำกัด และ บริษัท อู่ข้าวอู่น้ำ ภาพยนตร์ จำกัด สร้างจากเค้าโครงเรื่องโดย เอกชัย เอื้อครองธรรม, นิพนธ์ ผิวเณร, ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ บทโทรทัศน์โดย ทีมไรท์เตอร์แลป, วิลาสินี เรืองประจวบกุล, อัลวา ริตศิลา, ดนุพล ฉายเหมือนวงศ์, สืบพงศ์ ศรีหะไตร, ธนกฤต กฤษณยรรยง, สุชาวินันท์ พินทะกัง ควบคุมบทโทรทัศน์โดย พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์, กรัณย์ คุ้มอนุวงศ์ อำนวยการผลิตโดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ, นิพนธ์ ผิวเณร ดูแลการผลิตโดย พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์ กำกับการแสดงโดย กรัณย์ คุ้มอนุวงศ์ ออกอากาศครั้งแรกทางสถานีโทรทัศน์ ช่องวัน เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม - 25 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 20.50 - 21.50 น. ต่อมาทาง กสทช. ได้สั่งให้เพิ่มเรทจากเดิม น.13+ เป็น น.18+ พร้อมเลื่อนเวลาออกอากาศเป็น 22.20 - 23.20 น. เริ่ม 20 พฤศจิกายนนี้ เป็นต้นไป",
"title": "โสด Stories"
},
{
"docid": "230186#1",
"text": "ในยุคเริ่มแรก ถกลเกียรติ วีรวรรณ หนึ่งในกรรมการบริษัทของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ก่อตั้ง บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และควบตำแหน่งทั้งเป็นผู้จัดละครโทรทัศน์ ผู้กำกับ และผู้จัดการทั่วไป โดยรับจ้างผลิตละคร เกมโชว์ ทอล์คโชว์ วาไรตี้โชว์ เพื่อป้อนลงสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ซึ่งเริ่มจัดตั้งบริษัทในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 และเริ่มออกอากาศละครซิตคอม เรื่อง \"3 หนุ่ม 3 มุม\" เป็นรายการแรกของบริษัท ต่อมา ในปี พ.ศ. 2535 ได้สร้างละครดราม่าเรื่องแรกของบริษัทเรื่อง รักในรอยแค้น และในปี พ.ศ. 2546 ถกลเกียรติ ได้ก่อตั้ง บริษัท ซีเนริโอ จำกัด โดยถือหุ้นเอง 75% และให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ถือหุ้น 25% โดยมีจุดประสงค์เดียวกับเอ็กแซ็กท์ คือเป็นบริษัทที่ดำเนินการผลิต ละคร เกมโชว์ วาไรตี้ และละครเวที เพื่อป้อนลงช่องต่าง ๆ ตลอดมา",
"title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์"
},
{
"docid": "761222#0",
"text": "สายลมกับแสงดาว ถูกสร้างแรกเมื่อปี พ.ศ. 2545 โดย บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด จากเค้าโครงเรื่องของ นิพนธ์ ผิวเณร, ณัฐิยา ศิรกรวิไล บทโทรทัศน์โดย ณัฐิยา ศิรกรวิไล กำกับการแสดงโดย นิพนธ์ ผิวเณร ออกอากาศทุกวันศุกร์–อาทิตย์ เวลา 20.15 – 21.30 น. เริ่มตอนแรกวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545",
"title": "สายลมกับแสงดาว"
},
{
"docid": "135185#8",
"text": "ปี พ.ศ. 2547 ผู้จัดการ “ซีเนริโอ” ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้จัดการ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด ",
"title": "ถกลเกียรติ วีรวรรณ"
},
{
"docid": "788389#6",
"text": "4 ของตี๋ใหญ่ ผลิตโดย : บริษัท เอ็กแซ็กท์- ซีเนริโอ จำกัด และ บริษัท กู๊ดซีนส์ จำกัด\n บทประพันธ์ : วสันต์ วิษุวัติ\n บทโทรทัศน์ : ทองคำ\nกำกับการแสดง : คฑาเทพ ไทยวานิช\nออกอากาศทาง ช่องวัน\nเริ่มตอนแรก : 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559–6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559\nผลิตโดย : บริษัท กลมกล่อม โปรดักชั่น จำกัด\n บทประพันธ์ : นพชัย ชัยนาม\n บทโทรทัศน์ : พิง ลำพระเพลิง, ปีเตอร์-นพชัย ชัยนาม, จิรสุดา แสงคำ\nกำกับการแสดง : นพชัย ชัยนาม\nออกอากาศทาง : ช่องโมโน 29\nเริ่มตอนแรก : 26 มกราคม พ.ศ. 2559–7 มีนาคม พ.ศ. 2559 ผลิตโดย : บริษัท ป๊าสั่งย่าสอน จำกัด\nบทประพันธ์ : พันตำรวจเอก บรรดล ตัณฑไพบูลย์\nบทโทรทัศน์ : จรูญพร ปรปักษ์ประลัย\nกำกับการแสดง : รฤกฤกษ์ กัลย์จาฤก\nออกอากาศทาง : ช่อง 7 HD\nเริ่มตอนแรก : \n17 มกราคม พ.ศ. 2561- 8 มีนาคม พ.ศ. 2561",
"title": "ตี๋ใหญ่ (ละครโทรทัศน์)"
},
{
"docid": "896600#2",
"text": "ครั้งที่สองปี พ.ศ. 2548 ผลิตโดย บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด, บริษัท ซีเนริโอ จำกัด บทโทรทัศน์โดย กษิดินทร์ แสงวงศ์, พฤกษ์ เอมะรุจิ กำกับการแสดงโดย สันต์ ศรีแก้วหล่อ นำแสดงโดย รัฐศาสตร์ กรสูต, โสภิตนภา ชุ่มภาณี",
"title": "รักหลอก ๆ อย่าบอกใคร"
},
{
"docid": "362188#2",
"text": "ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2557 บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด ได้มีการปรับแผนการดำเนินการใหม่ทั้งหมด โดยเปลี่ยนระบบการถ่ายทำละครใหม่ เพิ่มระบบผู้จัดละครเพื่อเปิดโอกาสให้แต่ละค่ายละคร สามารถส่งผลงานเข้ามาร่วมงานกับเอ็กแซ็กท์ได้ และเปลี่ยนวิธีการถ่ายทำละครใหม่เป็นการถ่ายทำแบบเดียวกับภาพยนตร์ อีกทั้งมีการประกาศเปิดกล้องละครใหม่กว่า 10 เรื่อง ใน พ.ศ. 2557 โดยยังไม่ทราบสาเหตุว่าเปิดกล้องล่วงหน้าเพื่อเตรียมละครลงช่อง 5 หรือเพื่อการอะไร แต่หลังจากที่ บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัลทีวี จำกัด ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ประมูลได้ใบอนุญาตการออกอากาศทีวีดิจิทัลในช่องหมายเลข 31 และได้นายถกลเกียรติ วีรวรรณขึ้นเป็นผู้บริหารช่อง ทำให้ เอ็กแซ็กท์และซีเนริโอ มีการเปลี่ยนแผนการออกอากาศละครจากเดิมที่ทำเพื่อลงให้กับช่อง 5 มาเป็นการทำละครเพื่อลงให้กับช่องใหม่ของแกรมมี่ทั้งหมด หลังจากที่ก่อนหน้านั้นได้นำซิทคอมเป็นต่อมาออกอากาศกับช่องจีเอ็มเอ็มวัน ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ไปแล้ว",
"title": "รายชื่อละครโทรทัศน์ของเอ็กแซ็กท์และซีเนริโอ"
},
{
"docid": "325914#0",
"text": "หัวใจพลอยโจร เป็นละครรักโรแมนติก-คอมมาดี้ ของบริษัท เอ็กแซ็กท์ และ ซีเนริโอ จำกัด ต่อจาก ละครดอกรักริมทางเป็นละครรักโรแมนติก-คอมมาดี้เหมือนกัน และ อยู่ค่ายเดียวกัน",
"title": "หัวใจพลอยโจร"
},
{
"docid": "230186#2",
"text": "หลังจากก่อตั้ง เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ นายถกลเกียรติ ได้รวม เอ็กแซ็กท์ และ ซีเนริโอ เข้ามาเป็นบริษัทเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการบริหาร และภายหลังจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ได้รวมเอา บริษัท มีมิติ จำกัด เข้า เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เพื่อร่วมผลิตเกมโชว์ลงช่องวันและจีเอ็มเอ็ม 25 และเพื่อเพิ่มความสะดวกในการบริหารให้เป็นหนึ่งเดียว",
"title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์"
},
{
"docid": "872276#2",
"text": "ต่อมา อ๊ะ อริญากรได้รับเลือกให้ร่วมแสดงในละครเพลงอีกหลายเรื่องให้กับ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด รวมทั้งได้รับโอกาสให้ร่วมแสดงละครโทรทัศน์ กับ เอ็กแซคท์ และ ซีเนริโอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทบาทที่สร้างสีสัน มีชีวิตชีวา และสร้างเสียงหัวเราะ ผลงานเด่นคือ สาลินี จากซิทคอม เพราะมีเธอ ทาง ช่องวัน ตัวละครที่สร้างสีสันและเสียงหัวเราะให้ผู้ชมในทุกๆ ตอนที่ปรากฏตัว ด้วยคาแรกเตอร์ความสอดรู้สอดเห็นจนทำให้ถูกคนอื่นแกล้ง ล้อเลียน ด้วยเสียงร้องของช้างและถูกเรียกในฉายา น้องช้าง",
"title": "อริญากร บวรวิศรุติ"
},
{
"docid": "362188#0",
"text": "ละครโทรทัศน์ของ เอ็กแซ็กท์ และ ซีเนริโอ เป็นผลงานละครโทรทัศน์ของ บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด ทุกเรื่องเป็นผลงานเบื้องหลังของ ถกลเกียรติ วีรวรรณ ที่ส่วนมากออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 และตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2557 ผลงานละครทั้งหมดจะถูกย้ายไปออกอากาศทางช่องวัน 31 2 เรื่องต่อสัปดาห์ ในเวลา 20.20 น. - 22.20 น.",
"title": "รายชื่อละครโทรทัศน์ของเอ็กแซ็กท์และซีเนริโอ"
}
] |
2562 | ซามูไร เริ่มมีตั้งแต่ในยุคสมัยใด? | [
{
"docid": "54270#1",
"text": "เป็นที่เชื่อกันว่า รูปแบบของเหล่านักรบบนหลังม้า มือธนู และทหารเดินเท้าในช่วงศตวรรษที่ 6น่าจะเป็นตัวบทต้นแบบของซามูไรดั้งเดิม ขณะที่จุดกำเนิดของซามูไรสมัยใหม่ยังเป็นปัญหาที่โต้เถียงกันอยู่",
"title": "ซามูไร"
}
] | [
{
"docid": "54270#108",
"text": "ในยุคต่อมา เป็นที่สังเกตได้ว่าภาพยนตร์แนวซามูไร หรือที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของซามูไร เริ่มที่จะปรากฏตัวในวงการภาพยนตร์ของฮอลีวูดมากขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดได้แก่\"โชกุน\" ถือเป็นตัวอย่างวรรณกรรมซามูไรที่เป็นที่รู้จักในระดับสากลมากที่สุดชิ้นหนึ่ง ผลงานชิ้นนี้คือนวนิยายเรื่องแรกในงานชุดเอเชียน ซากา ของเจมส์ คลาเวลล์ (แปลเป็นไทยโดย ธนิต ธรรมสุคติ) นวนิยายเรื่องนี้มีท้องเรื่องอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2143 ซึ่งเป็นเวลาที่ญี่ปุ่นถูกปกครองด้วยระบบศักดินา เนื้อเรื่องเกี่ยวข้องกับการรุ่งโรจน์ของโทะกุงะวะ อิเอะยะสึ จนสามารถตั้งคณะการปกครองในระบอบโชกุนของตนเองได้ เรื่องราวทั้งหมดในเรื่องนี้จะถูกเล่าผ่านสายตาของทหารชาวอังกฤษคนหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวละครที่มีพื้นฐานอย่างหลวมๆ มาจากวิลเลียม อดัมส์ ชาวตะวันตกที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นซามูไร เนื้อหาส่วนใหญ่ของนวนิยายชิ้นนี้ได้ถูกแต่งขึ้นมาใหม่โดยผู้เขียนเอง",
"title": "ซามูไร"
},
{
"docid": "54270#49",
"text": "เมื่อการปฏิรูปสมัยเมจิเกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ชนชั้นซามูไรก็ล่มสลายไป และกองทัพประจำชาติแบบตะวันตกก็เกิดขึ้นแทน ทหารในกองทัพสมัยใหม่ขององค์พระจักรพรรดิแห่งประเทศญี่ปุ่นล้วนแล้วแต่เป็นทหารที่ถูกเกณฑ์เข้ามาทั้งสิ้น แต่ก็มีซามูไร (เก่า) หลายคนที่อาสาไปเป็นทหารให้ และอีกหลายคนก็เข้าไปฝึกเพื่อที่จะเป็นเจ้าหน้าที่อยู่ในกองทัพ ผู้ที่เป็นเจ้าหน้าที่ในกองทัพนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะมีจุดเริ่มต้นมาจากซามูไรแทบทั้งสิ้น ทำให้พวกเขาเข้ามาทำงานพร้อมกับแรงจูงใจและวินัยขั้นสูง ประกอบกับการหมั่นฝึกฝนที่โดดเด่นผิดธรรมดา",
"title": "ซามูไร"
},
{
"docid": "62246#4",
"text": "ในยุคคามากูระ (Kamakura Period) ราวปี พ.ศ. 1735-1879 จักรพรรดิสั่งให้ช่างตีดาบศึกษาวิธีการตีเหล็กจากยุคโบราณ ยุคนี้ถือเป็นจุดเริ่มยุคทองของดาบซามูไร มีการพัฒนาดาบให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยมีการเพิ่มวิธีการผสมเหล็กสองชนิดเข้าด้วยกัน เหล็กที่มีความแข็งจะมีปริมาณคาร์บอนสูงใช้ทำเป็นตัวดาบ และเหล็กอ่อนที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำใช้ทำเป็นไส้ดาบเพื่อให้ยืดหยุ่น จากเหล็กสองชนิดที่ถูกนำมาพับและตีมากกว่าสิบชั้น ทำให้เกิดชั้นเล็กๆ เป็นทวีคูณเป็นหมื่นชั้น ช่างตีดาบจะพับเหล็กแข็งให้เป็นรูปตัวยู และนำเหล็กอ่อนมาวางไว้ตรงกลางเพื่อเป็นไส้ใน แล้วนำไปหลอมและตีรวมกันให้แผ่ออกเป็นใบดาบ จากนั้นนำไปหลอมในอุณหภูมิที่เหมาะสมซึ่งมากกว่า 700 องศาเซลเซียส แล้วจึงนำมาแช่น้ำเย็น การแช่น้ำต้องระมัดระวังมาก หากแช่ไม่ดี ดาบจะโค้งเสียรูป เหล็กที่มีความแข็งต่างกันเมื่อทำให้เย็นทันทีจะหดตัวต่างกัน ถือเป็นเคล็ดลับที่ทำให้ใบดาบโค้งได้รูปตามธรรมชาติ ดาบสามารถฟันคอขาดได้ในครั้งเดียว บาดแผลที่ได้รับจากดาบจะเจ็บปวดมาก ซามูไรยังต้องเรียนรู้การใช้ดาบอย่างช่ำชองว่องไวและคล่องแคล่ว ให้เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย จากความสามารถนี้เองทำให้ซามูไรเพียงคนเดียวสามารถสังหารศัตรูที่รายล้อมตนกว่าสิบคนได้ภายในชั่วพริบตาด้วยดาบเพียงเล่มเดียว แต่ประเพณีการต่อสู้ของชนชั้นซามูไรคือการต่อสู้ \"ตัวต่อตัวอย่างมีมารยาทด้วยดาบ\" ผู้แพ้ที่ยังมีชีวิตอยู่คือผู้ที่ไร้เกียรติ ซามูไรจึงไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้ การฆ่าตัวตายอย่างสมเกียรติด้วยการทำ \"เซ็ปปูกุ\" คือเกียรติยศของซามูไร",
"title": "คาตานะ"
},
{
"docid": "886308#0",
"text": "เจ็ดเซียนซามูไร () เป็นภาพยนตร์แนวผจญภัยดราม่าซามูไร ในปี ค.ศ. 1954 ที่ร่วมประพันธ์เนื้อเรื่อง ,ตัดต่อ และกำกับโดย อะกิระ คุโระซะวะ โดยมีฉากอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1586 สมัยยุคเซ็งโงะกุ ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับหมู่บ้านชาวนาที่จ้างโรนิงทั้ง 7 คน (ซามูไรต้นแบบ) เพื่อต่อสู้กับโจรที่กลับมาหลังจากเก็บเกี่ยวขโมยพืชผลของพวกเขา",
"title": "เจ็ดเซียนซามูไร"
},
{
"docid": "54270#34",
"text": "ตลอดสมัยการปกครองของตระกูลโทะกุงะวะ (ที่มักจะเรียกกันว่ายุคเอะโดะ) นับตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ก็เป็นช่วงเวลาที่ไม่มีสงครามปะทุขึ้นอีกเลย ในยุคนี้ซามูไรหลายๆ คนจึงสูญเสียหน้าที่ทางการทหารไปทีละน้อย เป็นเหตุให้พวกเขาต้องหันมาทำงานเป็นข้าราชสำนัก ข้าราชการ และนักบริหารมากกว่าที่จะเป็นนักรบอย่างเคย",
"title": "ซามูไร"
},
{
"docid": "54270#95",
"text": "เมื่อมาถึงตอนต้นยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่น โดยเฉพาะยุคอะซุชิโมะโมะยะมะและต้นยุคเอโดะ เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความหมายของคำว่า \"ซามูไร\" (ซึ่งนำมาใช้แทนคำว่า \"ซะบุไร\" ในตอนนั้น) ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป",
"title": "ซามูไร"
},
{
"docid": "54270#44",
"text": "ปฏิบัติการครั้งสุดท้ายของทัพซามูไรต้นตำรับเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) เมื่อซามูไรจากแคว้นโชชูและแคว้นซะสึมะสามารถเอาชนะกองกำลังของโชกุนที่ได้รับการสนับสนุนจากคำสั่งขององค์จักรพรรดิได้ ก่อนหน้านี้ไดเมียวของทั้งสองแคว้นได้ไปสวามิภักดิ์กับอิเอะยะซุหลังจากสงครามทุ่งเซกิงะฮะระสิ้นสุดลง พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600)\nแต่ก็มีแหล่งข้อมูลอื่นอีกที่อ้างว่า ปฏิบัติการครั้งสุดท้ายของซามูไรเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) ในช่วงที่เกิดกบฏซะสึมะในยุทธการแห่งชิโระยะมะ ความขัดแย้งซึ่งเป็นที่มาของปฏิบัติการครั้งนั้นเริ่มมาจากการลุกฮือขึ้นก่อกบฏในครั้งที่ผ่านมาเพื่อที่จะเอาชนะโชกุนโทะกุงะวะ",
"title": "ซามูไร"
},
{
"docid": "42221#0",
"text": "SAMURAI 7 (คำอ่าน: ซามูไร เซเว่น) () เป็นภาพยนตร์การ์ตูน ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีเนื้อเรื่องเดิมมาจาก \"เจ็ดเซียนซามูไร\" ภาพยนตร์แนววิถีซามูไร ซึ่งกำกับโดย อากิระ คุโรซาว่า (ในราวปี ค.ศ. 1954) โดยในฉบับภาพยนตร์การ์ตูน สร้างโดย ค่าย GONZO เพื่อเป็นการฉลองการครบรอบ 50 ปีของภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนแบบ Full Digital Animation รวมทั้งหมด 26 ตอน",
"title": "ซามูไรเซเว่น"
},
{
"docid": "54270#2",
"text": "หลังจากการสู้รบในสงครามนองเลือดกับฝ่ายราชวงศ์ถังของจีน และอาณาจักรซิลลาของเกาหลี ญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคแห่งการปฏิรูปไปทั่วทุกหัวระแหง โดยการปฏิรูปครั้งสำคัญที่สุดคือการปฏิรูปไทกะ ซึ่งกระทำโดยจักรพรรดิโคโตกุเมื่อ ค.ศ. 646 การปฏิรูปในครั้งนั้น ได้เริ่มนำเอาวัฒนธรรมการปฏิบัติและเทคนิคการบริหารต่าง ๆ ของจีนมาใช้กับกลุ่มชนชั้นสูงและระบบราชการของญี่ปุ่น",
"title": "ซามูไร"
},
{
"docid": "54270#37",
"text": "ตามหลักการแล้ว พันธะที่เกิดขึ้นระหว่างซามูไรกับเจ้านายของพวกเขา (ส่วนใหญ่ก็คือไดเมียว) มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากจากสมัยเก็มเปสู่สมัยเอโดะ ในช่วงนี้ ซามูไรจะให้ความสำคัญต่อคำสอนของปราชญ์ขงจื๊อและเม่งจื๊ออย่างมาก ตำราของปราชญ์ทั้งสองเป็นที่ต้องการของชนชั้นซามูไรที่มีการศึกษา",
"title": "ซามูไร"
}
] |
1855 | นิทานปันหยีของชวานั้น มีด้วยกันหลายฉบับ แต่ฉบับที่ตรงกับอิเหนาของเรานั้น คือ อะไร? | [
{
"docid": "10853#5",
"text": "เรื่องอิเหนา หรือที่เรียกกันว่านิทานปันหยีนั้น เป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา และมีด้วยกันหลายสำนวน พงศาวดารเรียกอิเหนาว่า “ ปันจี อินู กรัตปาตี” (Panji Inu Kartapati) แต่ในหมู่ชาวชวามักเรียกกันสั้นๆ ว่า “ปันหยี” (Panji) ส่วนเรื่องอิเหนาที่เป็นนิทานนั้น น่าจะแต่งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 หรือในยุคเสื่อมของราชวงศ์อิเหนาแห่งอาณาจักรมัชปาหิต และอิสลามเริ่มเข้ามาครอบครอง นิทานปันหยีของชวานั้น มีด้วยกันหลายฉบับ แต่ฉบับที่ตรงกับอิเหนาของเรานั้น คือ ฉบับมาลัต ใช้ภาษากวีของชวาโบราณ มาจากเกาะบาหลี",
"title": "อิเหนา"
}
] | [
{
"docid": "955890#0",
"text": "เจ้าฟ้ามงกุฎ เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กับเจ้าฟ้าสังวาลย์ พระองค์เป็นพระขนิษฐาร่วมพระชนกชนนีกับเจ้าฟ้ากุณฑล และเป็นพระขนิษฐาต่างพระมารดาของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ โดยเจ้าฟ้ามงกุฎได้พระราชนิพนธ์ \"อิเหนา\" (อิเหนาเล็ก) โดยดัดแปลงจากนิทานอิงพงศาวดารชวา",
"title": "เจ้าฟ้ามงกุฎ (พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)"
},
{
"docid": "217699#0",
"text": "โฉมงามกับเจ้าชายอสูร (ฝรั่งเศส: \"La Belle et la Bête\") เป็นนิทานโบราณดั้งเดิม ฉบับแรกซึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศส ประพันธ์โดย มาดาม Nuttapong Jatutan ใน พ.ศ. 2283 ฉบับที่มีชื่อเสียงที่สุด คือฉบับที่ได้รับการย่อเรื่องของมาดาม Villeneuve ใน พ.ศ. 2299 โดย มาดาม Jeanne-Marie Leprince de Beaumont ฉบับภาษาอังกฤษฉบับแรกได้ออกมาใน พ.ศ. 2300 ",
"title": "โฉมงามกับเจ้าชายอสูร"
},
{
"docid": "175280#2",
"text": "เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎมักจะฟังนิทานปรัมปราหรือเรื่องเล่าจากยายยะโว (ยะโวคือคำว่ายาวอหรือยะวาแปลว่าชาวชวา) นางพระกำนัลซึ่งเป็นเชลยจากเมืองปัตตานี ซึ่งยายยะโวได้เล่านิทานอิงพงศาวดารชวาถวายเจ้าฟ้าทั้งสอง เจ้าฟ้ากุณฑลจึงพระราชนิพนธ์บทละคร \"ดาหลัง\" หรืออิเหนาใหญ่ ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎจึงพระราชนิพนธ์บทละคร \"อิเหนาเล็ก\" มาตั้งแต่นั้น ซึ่งคำชวาและมลายูที่ปรากฏมักลงท้ายด้วยเสียงสูงอันแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลจากผู้เล่าที่มีสำเนียงใต้เป็นสำคัญ หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ต้นฉบับของวรรณคดีก็สูญหายไปบางส่วน เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎถูกกวาดต้อนไปยังกรุงอังวะ ในขณะที่ทั้งสองพระองค์นิราศในต่างแดน ก็ทรงเผยแพร่นาฏศิลป์อย่างอยุธยาให้แก่ราชสำนักพม่า และส่งอิทธิพลตกทอดถึงนาฏศิลป์พม่าในยุคปัจจุบัน ",
"title": "เจ้าฟ้ากุณฑล"
},
{
"docid": "191986#3",
"text": "แม้ว่าคนชวาในประเทศไทยจะไม่มีใครพูดภาษาชวาได้แล้ว แต่ว่าภาษาไทยเองก็รับคำชวามาใช้หลายคำ อย่างคำว่า ละคอน หรือละคร แม้แต่ใน เรื่องอิเหนา ก็ยังปรากฏให้เห็นคำชวาอยู่ประปราย บางวรรคก็เป็นคำชวาล้วน อย่าง \"หยังหยังหนึ่งรัตอินดรา...\"",
"title": "ไทยเชื้อสายชวา"
},
{
"docid": "10853#24",
"text": "อย่างไรก็ตาม เรื่องอิเหนาเป็นที่นิยมกันมากกว่าเรื่องดาหลัง เนื่องจากเรื่องดาหลังมีเนื้อเรื่องที่ซ้ำซ้อน และสับสนมาก แต่แม้จะเป็นเรื่องจากชวา การบรรยายบ้านเมืองและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ล้วนเป็นฉากของไทยทั้งสิ้น และนับว่าน่ายินดี ที่มีการนำอิเหนาฉบับของชวามาแปลให้ชาวไทยได้รู้จักและเปรียบเทียบกับอิเหนาฉบับดั้งเดิมของไทย นิทานปันหยีหรือเรื่องอิเหนานับเป็นวรรณคดีต่างประเทศอีกเรื่องหนึ่งที่มีคำศัพท์ชวาจำนวนไม่น้อย เช่น บุหงา บุหลัน บุหรง ลางิต ตุนาหงัน มะงุมมะงาหรา ฯลฯ",
"title": "อิเหนา"
},
{
"docid": "150126#0",
"text": "ดาหลัง เป็นวรรณคดีสำคัญเรื่องหนึ่งของไทยจัดอยู่ในประเภทบทละครใน ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 เรื่องคือ รามเกียรติ์ อุณรุท ดาหลัง และ อิเหนา โดย ดาหลัง และ อิเหนา นั้นมีต้นเค้ามาจากนิทานปันหยีของทางชวาเหมือนกัน แต่ความนิยมในดาหลังนั้นมีน้อยมาก อันจะสังเกตได้ว่าแทบไม่มีผู้ใดคิดจะหยิบมาอ่านหรือนำมาศึกษาอย่างจริงจังอาจเพราะด้วยเนื้อหานั้นค่อนข้างรุนแรงกว่าอิเหนา ภาษานั้นไม่ไพเราะลื่นไหลน่าอ่านเท่ากับอิเหนาฉบับรัชกาลที่ 2 และเนื้อเรื่องที่ได้ตีพิมพ์ออกมานั้นไม่จบตอน ขาดในส่วนของตอนจบไป จึงไม่มีใครทราบว่าเรื่องดาหลังนั้นแท้จริงแล้วจบอย่างไร จากสาเหตุข้างต้นจึงน่าจะเป็นเหตุให้วรรณคดีเรื่องนี้ถูกมองข้ามไปโดยปริยาย",
"title": "ดาหลัง"
},
{
"docid": "217699#1",
"text": "หลากหลายฉบับของนิทานเรื่องโฉมงามกับเจ้าชายอสูร ได้เป็นที่รู้จักดีในยุโรป ยกตัวอย่าง ในประเทศฝรั่งเศส \"Zémire et Azor\" เป็นฉบับโอเปราของนิทานเรื่องนี้ ประพันธ์โดย Marmontel และจัดการบรรเลงโดย Grétry ใน พ.ศ. 2314 ฉบับโอเปรานี้ได้รับชื่อเสียงอย่างมากในศตวรรษที่ 19. ฉบับนี้เป็นฉบับที่ใช้โครงร่างของฉบับมาดาม Jeanne-Marie Leprince de Beaumont",
"title": "โฉมงามกับเจ้าชายอสูร"
},
{
"docid": "311697#0",
"text": "ปัญจตันตระ (; ภาษาสันสกฤต: पञ्चतन्त्र) เป็นนิทานโบราณของอินเดีย คาดว่ามีต้นกำเนิดที่แคชเมียร์เมื่อ พ.ศ. 343 เขียนด้วยภาษาสันสกฤต ได้รับอิทธิพลจากนิทานชาดกของพุทธศาสนา มีการแปลเป็นภาษาต่างๆมาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น แปลเป็นภาษาอาหรับเมื่อราว พ.ศ. 1400 ต่อมาจึงแปลไปเป็นภาษาละติน ภาษาฮีบรู ภาษากรีก และภาษาอื่นๆในยุโรป ส่วนฉบับภาษาอังกฤษนั้นตั้งชื่อใหม่ว่า นิทานของปิลเป (Pilpay's Fable) ส่วนปัญจตันตระฉบับภาษาไทยแปลจากฉบับภาษาอังกฤษโดยศักดา วิมลจันทร์",
"title": "ปัญจตันตระ"
},
{
"docid": "150126#5",
"text": "ท้าวกุเรปันทรงตุนาหงัน (หมั้น) พระธิดากรุงดาหาประทานแก่อิเหนาผู้เป็นโอรสแต่แรกประสูติมาแต่อิเหนาเมื่อเจริญพระชันษาขึ้น ได้ไปพบหญิงงามชาวไร่ชื่อ เกนบุษบา และหลงรักนางจนไม่ใยดีต่อคู่หมั่น พระบิดาพากเพียรจะให้อิเหนาไปอภิเษกสมรส แต่อิเหนาบิดพริ้วจนพระบิดากริ้วแสนสาหัส ถึงให้ไปลอบฆ่านางเกนบุษบาเสีย อิเหนาเสียพระทัยอย่างที่สุดจนหลบหนีไปจากพระนครพร้อมด้วยรี้พล เดินทางไปโดยไม่มีจุดหมาย และปลอมพระองค์เป็นชาวป่าเรียกนามว่า ปันหยี ในการที่ออกเดินทางไปโดยอาการอย่างนี้เรียกว่า มะงุมมะงาหรา และได้ไปประสบเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งทุกข์ทั้งสุข ผ่านบ้านเมืองใดก็ท้าเขารบ รบแล้วก็ชนะ บ้างก็ยอมแพ้ แก่ปันหยียกบุตรธิดาถวายทั้งทรัพย์สมบัติ ไปๆ ก็ไปหลงกลของเจ้าเมืองมะงาดา ซึ่งพาไปเที่ยวเกาะแล้วให้ล่มเรือปันหยี ปันหยีถูกคลื่นซัดไปขึ้นฝั่งด้วยกันกับประสันตา ต้องอยู่อย่างยากจนลำบากโดยการหากินเป็นดาหลัง คือผู้เชิดหนัง ระหว่างนี้พระญาติวงศ์รวมทั้งพระธิดาบุษบาก้าโละก็ออกติดตามหา โดยต่างก็ปลอมองค์เป็นปันจุเหร็จ คือชาวป่าเที่ยวรบราฆ่าฟันไปทุกเมือง จนท้ายสุดเหล่าเจ้านายซึ่งปลอมพระองค์เป็นชาวป่าออกหาซึ่งกันและกันนั้น เผอิญไปพร้อมกันอยู่ที่กรุงกาหลัง และไปได้ความว่าใครเป็นใครที่กรุงนั้น ในที่สุดบรรดาคู่ตุนาหงัน (คู่หมั่น) ก็ได้อภิเษกซึ่งกันและกันโดยแนวที่ถูกต้องทุกประการ",
"title": "ดาหลัง"
},
{
"docid": "42563#4",
"text": "นิทานเรื่องเวตาลนี้ เดิมได้เรียบเรียงเป็นร้อยแก้ว ชื่อ ลิลิตเพชรมงกุฎ โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่ถอดมาเพียงเรื่องแรกเท่านั้น (เรื่องพระวัชรมกุฎกับพุทธิศรีระ) ภายหลังพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือ น.ม.ส. ได้ทรงแปลจากฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษของริชาร์ด เอฟ เบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากสำนวนแปลของ ซี.เอช. ทอว์นีย์ อีก 1 เรื่อง ทำให้ฉบับภาษาไทยของ น.ม.ส. มีนิทานเวตาลทั้งหมด 10 เรื่อง ต่อมา ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา ได้แปลจากต้นฉบับเดิม ซึ่งเป็นอักษรเทวนาครี ภาษาสันสกฤต จนครบ 25 เรื่อง และภายหลังวรรณกรรมเรื่องนี้ก็ได้รับการแปลแปลงในหลากหลายรูปแบบ เช่น รูปแบบการ์ตูนคอมมิคชื่อ \"เวตาล\" ซึ่งเป็นผลงานของ ภาณุ นทีนันท์ เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง จนกระทั่งเวตาลได้กลายเป็นอีกหนึ่งตัวละครที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี",
"title": "นิทานเวตาล"
},
{
"docid": "180227#2",
"text": "หลังจากนั้น หนังสือฉบับพิมพ์ปกติก็ได้เริ่มวางขายให้แก่คนทั่วไปในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 2551 สำหรับฉบับภาษาไทยนั้นจัดจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551",
"title": "นิทานของบีเดิลยอดกวี"
},
{
"docid": "946377#0",
"text": "เกาะปันหยี เป็นเกาะหมู่บ้านชาวประมงในจังหวัดพังงา ประเทศไทย เกาะแห่งนี้เป็นเกาะที่เริ่มก่อสร้างโดยชาวประมงของอินโดนีเซียที่อพยพเข้ามา บนเกาะมี 360 ครอบครัวประชากรประมาณ 1,685 คนชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมที่นี้มีสนามฟุตบอลลอยน้ำซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากฟุตบอลโลก 1986 รวมถึงมีทีมฟุตบอลปันหยีซึ่งเป็นสโมสรเยาวชนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในภาคใต้ของประเทศไทยใน พ.ศ. 2554 ในเวลาต่อมาธนาคารทหารไทยได้นำเรื่องราวของทีมไปทำภาพยนตร์สั้น",
"title": "เกาะปันหยี"
},
{
"docid": "175280#0",
"text": "เจ้าฟ้ากุณฑล หรือ เจ้าฟ้าขวันตง เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กับเจ้าฟ้าสังวาลย์ พระองค์เป็นพระเชษฐภคินีร่วมพระชนกชนนีกับเจ้าฟ้ามงกุฎ และเป็นพระขนิษฐาต่างพระมารดาของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ โดยเจ้าฟ้ากุณฑลได้พระราชนิพนธ์ \"ดาหลัง\" (อิเหนาใหญ่) โดยดัดแปลงจากนิทานอิงพงศาวดารชวา",
"title": "เจ้าฟ้ากุณฑล"
},
{
"docid": "175280#3",
"text": "หลังการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกซึ่งเป็นยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม พระองค์จึงทรงรวบรวมบทละครเรื่อง \"ดาหลัง\" และ \"อิเหนาเล็ก\" พระราชนิพนธ์เดิมของเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎมาเรียบเรียงใหม่ โดยมีเนื้อหาในพระราชนิพนธ์ \"อิเหนา\" ฉบับรัชกาลที่ 1 ความว่า",
"title": "เจ้าฟ้ากุณฑล"
},
{
"docid": "946377#1",
"text": "เริ่มมีการมาตั้งถิ่นฐานบนเกาะนี้เมื่อปลายศตวรรษที่ 18 โดยชาวประมงมาเลย์ที่เร่ร่อน เกาะปันหยีมีชื่อในภาษามาเลย์ว่า Pulau Panji ในสมัยนั้นกฎหมายจำกัดความเป็นเจ้าของที่ดินกับคนที่มีสัญชาติไทยเพียงอย่างเดียวจึงทำให้ต้องปันเสาเข็มลงบนทะเลเพื่อสร้างบ้านเรือน ต่อมาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่กำลังเติบโตในประเทศไทยได้เพิ่มความมั่งคั่งให้กับชุมชน จึงได้เริ่มการสร้างแหล่งน้ำจืดและมัสยิดบนเกาะ",
"title": "เกาะปันหยี"
},
{
"docid": "10853#23",
"text": "บทละครเรื่องอิเหนาครั้งกรุงเก่า. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงได้มาจากเมืองนครศรีธรรมราช มีอยู่ตอนเดียว เข้าใจว่าเป็นสำนวนครั้งกรุงเก่า อิเหนาคำฉันท์. งานนิพนธ์ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่งในสมัยธนบุรี จับตอนอิเหนาลักบุษบาไปซ่อนไว้ในถ้ำ บทละครเรื่องอิเหนา. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก บทละครเรื่องดาหลัง. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก บทละครเรื่องอิเหนา. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย บทมโหรีเรื่องอิเหนา. ของเจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ (แสง) ในรัชกาลที่ 2 นิราศอิเหนา. ของสุนทรภู่ ตอนลมหอบ บทสักวาเรื่องอิเหนา. แต่งในสมัยรัชกาลที่ 3 อิเหนา. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนอุณากรรณ อิเหนาคำฉันท์ พระนิพนธ์กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ในรัชกาลที่ 4 ตอนเข้าห้องจินตะหรา บทเจรจาละครเรื่องอิเหนา. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ รวม 68 บท บทละครพูดเรื่องอิเหนา. พระนิพนธ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ตอนศึกกระหมังกุหนิง บทละครดึกดำบรรพ์เรื่องอิเหนา. พระนิพนธ์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ตอนใช้บน บทสักวาเรื่องอิเหนา เล่นถวายในรัชกาลที่ 5 ตอนเสี่ยงเทียน ตอนชนไก่ และตอนสึกชี หิกะยัต ปันหยี สมิรัง. พระนิพนธ์แปล ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงแปลจากต้นฉบับภาษามลายู อิเหนาฉบับอารีนครา. แปลจากอิเหนาชวา ผู้แต่งชื่ออารีนครา ขุนนิกรการประกิจ เป็นผู้แปล ปันหยี สะมิหรัง คำกลอน. น.อ.หลวงสำรวจวิถีสมุทร ประพันธ์จากเรื่อง หิกะยัต ปันหยี สมิรัง เล่าเรื่องอิเหนา รศ. วิเชียร เกษประทุม",
"title": "อิเหนา"
},
{
"docid": "64982#17",
"text": "แต่ไม่ว่าเขาจะมีแหล่งข้อมูลมาจากที่ใด ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า \"Historia Regum Britanniae\" ของเจฟฟรีย์ส่งอิทธิพลต่อวรรณกรรมยุคหลังเป็นอย่างมาก มีงานเขียนฉบับคัดลอกจากต้นฉบับภาษาละตินของเจฟฟรีย์หลงเหลือมาถึงปัจจุบันมากกว่า 200 ฉบับ ทั้งนี้ยังไม่รวมฉบับที่แปลออกไปเป็นภาษาอื่น ๆ อีก เช่นมีต้นฉบับของ \"Historia\" ในภาษาเวลส์มากกว่า 60 ฉบับ ฉบับที่เก่าแก่ที่สุดพบว่าเขียนขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ผลจากความนิยมอย่างสูงนี้ \"Historia Regum Britanniae\" ของเจฟฟรีย์จึงมีอิทธิพลอย่างมากต่อวิวัฒนาการของตำนานอาเธอร์ในยุคกลางตอนปลาย ซึ่งไม่เพียงจะเป็นแรงผลักดันในจินตนาการเกี่ยวกับวีรกรรมของอาเธอร์เท่านั้น แต่ทุกเสี้ยวส่วนในตำนานล้วนถูกหยิบยืมไปพัฒนาแตกหน่อขยายเรื่องราวออกไป (ตัวอย่างเช่น เรื่องของพ่อมดเมอร์ลิน และชะตากรรมสุดท้ายของอาเธอร์) และได้สร้างกรอบทางประวัติศาสตร์ขึ้นให้กับเหล่าผู้นิยมนิทานโรแมนซ์ เรื่องราวของเวทมนตร์อันศักดิ์สิทธิ์ ตลอดจนการผจญภัยอันน่ามหัศจรรย์",
"title": "กษัตริย์อาเธอร์"
},
{
"docid": "955890#3",
"text": "หลังการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกซึ่งเป็นยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม พระองค์จึงทรงรวบรวมบทละครเรื่อง \"ดาหลัง\" และ \"อิเหนาเล็ก\" พระราชนิพนธ์เดิมของเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎมาเรียบเรียงใหม่ โดยมีเนื้อหาในพระราชนิพนธ์ \"อิเหนา\" ฉบับรัชกาลที่ 1 อธิบายไว้ความว่า",
"title": "เจ้าฟ้ามงกุฎ (พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)"
},
{
"docid": "797587#3",
"text": "ความในเอกสารปฐมภูมิคัมภีร์ใบลานเรื่อง หนังสืออุลังคนีทาน หรือ อุลังคะนิทาน สำนวนที่ 2 ซึ่งศรัทธาสร้างโดยพ่อเจ้าทิดแดง ต้นฉบับรักษาไว้ ณ หอสมุดแห่งชาติ บ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี หน้าลานที่ 25-27 ออกพระนามของเจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร) ว่า แสนกางน้อยศรีมุงคุร มีเนื้อความใกล้เคียงกับสำนวนที่ 1 สันนิษฐานว่าทั้ง ๒ ฉบับมีการคัดลอกกันไปมา คัมภีร์ฉบับนี้เมื่อเทียบจุลศักราชแล้วตรงกับสมัยของสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ (ครองราชย์ พ.ศ. 2348-2371) ปรากฏความว่า ",
"title": "เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร)"
},
{
"docid": "46463#0",
"text": "ปันหยี อาจหมายถึง",
"title": "ปันหยี"
},
{
"docid": "866253#5",
"text": "นอกจากนี้ยังมีรามายณะฉบับมอญที่ชื่อว่า \"Loik Samoing Ram\" รจนาโดยพระอุตตมะเมื่อปี พ.ศ. พ.ศ. 2377 ซึ่งใกล้เคียงกับฉบับพม่า ผู้เขียนอธิบายว่าเพราะเมืองหลวงนิยมรามายะฉบับพม่า อย่างไรก็ตามรามายณะฉบับนี้มีความเชื่อมโยงกับฉบับภาษาไทย ชวา และมลายู และมีตอนพิเศษที่ต่างออกไปจากฉบับภาษาไทย พม่า และมลายู",
"title": "ยามะซะตอ"
},
{
"docid": "1711#1",
"text": "ที่มาของนิทานเรื่องนี้นั้น เป็นเรื่องที่เล่าปากต่อปาก แพร่หลายอยู่ในหลายประเทศในยุโรป ซึ่งคาดว่าเป็นก่อนช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเนื้อเรื่องที่ปรากฏ ก็มีหลายฉบับด้วยกัน ซึ่งแตกต่างจากฉบับที่เป็นที่รู้จักและแพร่หลายในปัจจุบัน",
"title": "หนูน้อยหมวกแดง"
},
{
"docid": "180227#36",
"text": "ในตอนท้ายของแต่ละเรื่อง อัลบัส ดัมเบิลดอร์ได้เขียนคำวิจารณ์เอาไว้และให้เก็บรักษาไว้ในหอจดหมายเหตุฮอกวอตส์ โดยเขาได้เขียนบทวิจารณ์ฉบับนี้ก่อนการเสียชีวิตของเขา 18 เดือน (ตรงกับปี 5 ของแฮร์รี่) ",
"title": "นิทานของบีเดิลยอดกวี"
},
{
"docid": "150126#1",
"text": "ดาหลัง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อิเหนาใหญ่ เป็นกลอนบทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีเค้าเดิมมาจากนิทานชวา เชื่อกันว่าเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุทธยา หญิงเชลยชาวชวาปัตตานี ซึ่งเป็นข้าหลวงรับใช้เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎพระธิดาในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้เล่าถวายเจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์นั้น ทั้งสองพระองค์จึงทรงแต่งเรื่องขึ้นคนละเรื่องคือ อิเหนาใหญ่ และ อิเหนาเล็ก แต่เรื่องทั้งสองสุญหายไป พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่ทั้งอิเหนาใหญ่และอิเหนาเล็ก โดยอาสัยเค้าเรื่องเดิมสมัยอยุธยา",
"title": "ดาหลัง"
},
{
"docid": "391347#24",
"text": "เพลงยาวเรื่อง กำนันหลอกพราน [25] เป็นนิทานบันเทิงคดีที่หลวงลิขิตปรีชา (ปลอบ) เจ้ากรมพระอาลักษณ์ ร่วมแต่งกับนายนาน บางขุนพรหม เป็นเพลงยาวมีความยาว 27 บท ไม่ปรากฏปีที่แต่งแน่ชัด เพลงยาวนิทานดังกล่าวถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารวชิรญาณวิเศษ [26] (วารสารที่ออกในนามหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระบรมราชตระกูล) หมวดนิทานคำกลอน เล่ม 8 แผ่นที่ 20 ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก 111 ตรงกับ พ.ศ. 2435 ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา (ขณะนั้นทรงพระอิสริยายศ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา) ทรงเป็นกรรมสัมปาทิก (คณะบรรณาธิการ) ปีที่ 12 และสภานายกหอพระสมุดวชิรญาณ (ปัจจุบันคือสำนักหอสมุดแห่งชาติ) ในขณะนั้น และเพลงยาวเรื่อง กำนันหลอกพราน ถูกตีพิมพ์อีกครั้งในหนังสือ นิทานวชิรญาณ เล่ม 1 [27] เมื่อ พ.ศ. 2555 โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร",
"title": "หลวงลิขิตปรีชา (ปลอบ โรจนกุล)"
},
{
"docid": "103375#0",
"text": "อาหรับราตรี หรือพันหนึ่งราตรี (, ) เป็นงานรวบรวมนิยายและนิทานพื้นบ้านตะวันออกกลางและเอเชียใต้ซึ่งรวบรวมไว้เป็นภาษาอังกฤษระหว่างยุคทองของอิสลาม ซึ่งฉบับภาษาอังกฤษฉบับแรก (ค.ศ. 1706) ใช้ชื่อเรื่องว่า \"ความบันเทิงอาหรับราตรี\" (\"The Arabian Nights' Entertainment\")",
"title": "อาหรับราตรี"
},
{
"docid": "9800#106",
"text": "ในประเทศไทย สามก๊กได้รับการแปลและเรียบเรียงเป็นร้อยแก้วในปี พ.ศ. 2345 โดยซินแสผู้รู้ภาษาจีนได้แปลออกมาให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เพื่อนำมาเรียบเรียงเป็นภาษาไทยอีกครั้งหนึ่งก่อนทำการตีพิมพ์ ดังนั้นเมื่อนำสามก๊กของหลัว กวั้นจงซึ่งเป็นต้นฉบับ นำมาเปรียบเทียบเคียงกับภาษาไทยที่แปลโดย สังข์ พัธโนทัย ซึ่งเป็นการแปลออกมาในรูปแบบของตำราพิชัยสงคราม หรือสามก๊ก ฉบับวณิพกของยาขอบ หรือฉบับสามก๊ก ฉบับภาษาอังกฤษของบริวิต เทเลอร์ จะเห็นว่าเนื้อและความหมายของบทประพันธ์ในหลายตอนมีคลาดเคลื่อนแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งการคลาดเคลื่อนของความหมายในสามก๊กนั้นเกิดจากผู้แปลโดยตรง[18] อย่างไรก็ดี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 วรรณคดีสโมสร ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2457 ได้ตัดสินให้ \"สามก๊ก\" เป็นวรรณคดีประเภทเรียงความยอดเยี่ยมประเภทนิทาน เสมอกับเรื่องราชาธิราช เนื่องจากมีการใช้สำนวนภาษาที่สละสลวย เนื้อเรื่องมีความสนุกสนานและทอดแทรกแฝงแง่คิดต่าง ๆ ไว้มากมาย โดยถือว่าสามก๊กนั้น เป็นตำราสำหรับใช้ในการศึกษากลยุทธ์ในการทำสงครามและประวัติศาสตร์ของจีนได้เป็นอย่างดี[19]",
"title": "สามก๊ก"
},
{
"docid": "27551#2",
"text": "สำเนาใบลานของเรื่องราชาธิราชฉบับพญาทะละปัจจุบันเหลือรอดมาเพียง 4 ชุด สันนิษฐานว่าทำขึ้นในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 23 (คริสต์ศตวรรษที่ 18) นอกจากนี้ยังมีฉบับแปลฉบับอื่นๆ อยู่อีก รวมทั้งสิ้น 9 ฉบับ ตามการวิเคราะห์โดยนายปันหละเมื่อปี พ.ศ. 2511 นายปันหละได้แปลราชาธิราชฉบับหนึ่งกลับเป็นภาษามอญเมื่อปี พ.ศ. 2501 และเรียบเรียงเรื่องราชาธิราชขึ้นใหม่อีก 1 ฉบับเป็นภาษาพม่า (นับเป็นราชาธิราชฉบับที่ 10) โดยสังเคราะห์ข้อมูลจากราชาธิราชฉบับพญาทละ ฉบับ \"ปากลัด\" และบันทึกจากพงศาวดารพม่าฉบับหอแก้ว (มานนานยาซะเวง) รวมทั้งอาศัยข้อมูลเพิ่มเติมจากการวิจัยสมัยใหม่",
"title": "ราชาธิราช"
},
{
"docid": "955890#2",
"text": "เจ้าฟ้ามงกุฎและเจ้าฟ้ากุณฑลพระพี่นาง มักจะฟังนิทานปรัมปราหรือเรื่องเล่าจากยายยะโว (ยะโวคือคำว่ายาวอหรือยะวาแปลว่าชาวชวา) นางพระกำนัลซึ่งเป็นเชลยจากเมืองปัตตานี ซึ่งยายยะโวได้เล่านิทานอิงพงศาวดารชวาถวายเจ้าฟ้าทั้งสอง เจ้าฟ้ากุณฑลจึงพระราชนิพนธ์บทละคร \"ดาหลัง\" หรืออิเหนาใหญ่ ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎจึงพระราชนิพนธ์บทละคร \"อิเหนาเล็ก\" มาตั้งแต่นั้น ซึ่งคำชวาและมลายูที่ปรากฏมักลงท้ายด้วยเสียงสูงอันแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลจากผู้เล่าที่มีสำเนียงใต้เป็นสำคัญ หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ต้นฉบับของวรรณคดีก็สูญหายไปบางส่วน เจ้าฟ้ามงกุฎและเจ้าฟ้ากุณฑลถูกกวาดต้อนไปยังกรุงอังวะ ในขณะที่ทั้งสองพระองค์นิราศในต่างแดน ก็ทรงเผยแพร่นาฏศิลป์อย่างอยุธยาให้แก่ราชสำนักพม่า และส่งอิทธิพลตกทอดถึงนาฏศิลป์พม่าในยุคปัจจุบัน",
"title": "เจ้าฟ้ามงกุฎ (พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)"
}
] |
1524 | ต้นไม่สัญลักษณ์ประจำจังหวัดหนองคายคืออะไร? | [
{
"docid": "7858#14",
"text": "สัญลักษณ์ประจำจังหวัด คือ พญานาคหรืองูใหญ่ อักษรย่อชื่อจังหวัด คือ นค คำขวัญประจำจังหวัด คือ วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส สะพานไทย-ลาว ตราประจำจังหวัด คือ รูปกอไผ่ริมหนองน้ำ มีภูเขาหัวน้ำอุ่นอยู่เบื้องหลัง เพราะที่ตั้งเมืองหนองคายนี้เดิมชื่อบ้านไผ่เพราะมีกอไผ่อยู่ทั่วไป จึงมีกอไผ่ประกอบในตราประจำจังหวัด และมีหนองน้ำใหญ่ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า \"หนองคาย\" เดิมหนองคายถูกเรียกเพี้ยนมาจากคำว่า \"หนองค่าย\" ในช่วงรัชกาลที่ 5 จึงมีการเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นหนองคายตั้งแต่นั้นมาถึงปัจจุบัน ตราประจำจังหวัดหนองคาย ออกแบบโดย กรมศิลปากร ซึ่งได้เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2483 เป็นต้นมา ต้นไม้ประจำจังหวัด คือ ต้นชิงชัน (([Dalbergia oliveri]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกชิงชัน สัตว์น้ำประจำจังหวัด คือ ปลายี่สก ([Probarbus jullieni]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ภาษา คือ ประชากรส่วนใหญ่ในจังหวัดหนองคายจะใช้ภาษาไทยอีสานในการสื่อสาร คนหนองคายจะนิยมใช้คำว่า \"หวา\" หรือ \"ฮะหวา\" ลงท้ายประโยคคำถามถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งคำว่า \"หวา\" นั้นมีความหมายว่า \"หรอ,หรือ,จริงหรือ,อย่างนั้นหรือ\" ตัวอย่างประโยค เช่น \"เจ้ามี้ลูกซ้ายสองค้นหวา\" (เขียนตามการออกสำเนียงของคนหนองคาย) ซึ่งแปลได้ว่า \"คุณมีลูกชายสองคนหรือ\" ซึ่งคำว่า \"หวา\" นี้ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาลาว เนื่องจากในอดีตมีการอพยพถิ่นฐานของชาวลาวเวียงจันทน์เข้ามายังฝั่งจังหวัดหนองคายเป็นจำนวนมากและยังมีความสัมพันธ์กันมาช้านานตั้งแต่อดีตจึงทำให้ได้รับอิทธิพลทางด้านภาษามาด้วยซึ่งถ้าเป็นสำเนียงภาษาหนองคายแท้ๆจะพูดภาษาไทยอีสานสำเนียงเหน่อคล้ายจะออกเป็นสำเนียงภาษาลาวเวียงจันทน์ แต่เมื่อฟังดีๆแล้วจะไม่ใช่ภาษาลาวเวียงจันทน์แต่เป็นภาษาไทยอีสาน และจะใช้ภาษาไทยกลางสื่อสารกันในเมือง เพลงประจำจังหวัด",
"title": "จังหวัดหนองคาย"
}
] | [
{
"docid": "138080#0",
"text": "ถนนมิตรภาพ ซึ่งเป็นชื่อเรียกของ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 หรือ ทางหลวงสายสระบุรี–สะพานมิตรภาพที่หนองคาย (เขตแดนไทย/ลาว) เป็นหนึ่งในทางหลวงสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย โดยสายทางเริ่มต้นที่จังหวัดสระบุรี มุ่งเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และสิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย มีระยะทางทั้งสิ้น 509 กิโลเมตร และเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 12",
"title": "ถนนมิตรภาพ"
},
{
"docid": "39793#17",
"text": "อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ เป็นอนุสรณ์สถานที่กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ได้โปรดให้จัดสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิของเหล่าทหารจากกรมกองต่างๆ ที่เสียสละชีวิต เพื่อป้องกันประเทศชาติในการปราบพวกฮ่อครั้งนั้น ประกอบด้วย กรมทหารอาสาวิเศษ กรมแปดเหล่า กรมฝรั่งแม่นปืน กรมทหารมาลา กรมสัสดี กรมเรือต้น กรมทหารมหาดเล็กและกรมการหัวเมือง โดยตั้งอยู่ที่ด้านข้างทางทิศตะวันตก ของสถานีตำรวจภูธรเมืองหนองคาย ในปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2492 จังหวัดหนองคายได้รับงบประมาณทำการบูรณปฏิสังขรณ์อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ โดยได้ย้ายมาก่อสร้างองค์ใหม่ ขึ้นที่บริเวณด้านหน้าศาลากลางจังหวัดหนองคาย(หลังเก่า)มีลักษณะเป็นศิลปะประยุกต์ แบบทรงสี่เหลี่ยม ก่ออิฐถือปูน มีฐานเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม กว้าง 4เมตร สูง10.10 เมตร ยอดทรงกรวยเหลี่ยมปลายแหลม และได้คัดลอกข้อความจากอนุสาวรีย์องค์เดิมมาไว้ทั้ง 4 ด้าน โดยในวันที่ 5 มีนาคม ของทุกปี จังหวัดหนองคาย จะประกอบพิธีบวงสรวง ขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชาวจังหวัดหนองคาย และเป็นการระลึกถึงวีรกรรมอันหาญกล้าของบรรพบุรุษ ที่ต่อสู้ปกป้องแผ่นดินให้พ้นจากการรุกรานของพวกฮ่อ",
"title": "สงครามปราบฮ่อ"
},
{
"docid": "296779#1",
"text": "กระแสกีฬาฟุตบอลไทยลีกตั้งแต่ปีที่ผ่านมาประสบความสำเร็จอย่างไม่น่าเชื่อ ประชาชนหันมาสนใจเชียร์ฟุตบอลไทยลีกมากขึ้น เป็นแรงกระตุ้นให้แต่ละจังหวัดสร้างทีมนักเตะประจำจังหวัดของตัวเอง ซึ่งสมาคมกีฬาจังหวัดหนองคาย ได้ร่วมกับ อบจ.หนองคาย จัดตั้งทีมฟุตบอลเป็น “หนองคายเอฟซี” โดยได้เปิดรับสมัครนักเตะในจังหวัดหนองคายและใกล้เคียงมาเข้าทีม มีนักเตะมาสมัคร 76 คน คณะกรรมการคัดเลือกเหลือ 35 คน อายุระหว่าง 17-28 ปี มีทั้งนักเรียน นักศึกษา และวัยทำงานที่มีความสามารถด้านการกีฬา โดยเป็นคนหนองคายแท้ ๆ ร้อยละ 80 อีกร้อยละ 20 เป็นผู้ที่มาทำงานและศึกษาในจังหวัดหนองคาย เบื้องต้นมีนายนันทชัย สุทธิวงศ์ เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน มีผู้ฝึกสอนเป็นอาจารย์จากโรงเรียนกีฬาจังหวัดหนองคาย 3 คน ส่วนผู้จัดการทีมนั้นยังไม่มีการแต่งตั้งเป็นทางการ แต่จะใช้การบริหารโดยสมาคมกีฬา จ.หนองคายไปก่อน",
"title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดหนองคาย"
},
{
"docid": "367755#1",
"text": "ทางหลวงเอเชียสาย 12 ในประเทศไทยเริ่มต้นที่ทางแยกต่างระดับหินกอง ตำบลโคกแย้ อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 1 ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงทางแยกต่างระดับมิตรภาพ (แยกปากเพรียว) ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี สิ้นสุดที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ระยะทาง 520 กิโลเมตร",
"title": "ทางหลวงเอเชียสาย 12"
},
{
"docid": "4775#33",
"text": "ดอกไม้ประจำจังหวัด: จังหวัดเพชรบุรีไม่มีการกำหนดดอกไม้ประจำจังหวัดอย่างเป็นทางการ แต่ได้ใช้ดอกลั่นทมเป็นสัญลักษณ์เสมือนเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดโดยตลอด ต้นไม้ประจำจังหวัด: หว้า (Eugenia cumini) คำขวัญประจำจังหวัด: เขาวังคู่บ้าน ขนมหวานเมืองพระ เลิศล้ำศิลปะ แดนธรรมะ ทะเลงาม อักษรย่อ: พบ",
"title": "จังหวัดเพชรบุรี"
},
{
"docid": "7858#40",
"text": "เป็นประเพณีของท้องถิ่นเก่าแก่ ซึ่งทางจังหวัดได้จัดให้มีขึ้นควบคู่กันกับงานแข่งเรือ มีการจัดทำปราสาทผึ้งประกวด และนำลงเรือยนต์ล่องไปตามลำน้ำโขง กลางคืนมีการไหลเรือไฟประดับดวงไฟมากมาย และดูทิวทัศน์แสงไฟกระทบพื้นน้ำยามกลางคืนสวยงามมาก เพื่อนมัสการพระธาตุหล้าหนอง (วัดและองค์มหาเจดีย์ได้พังลงน้ำโขงเมื่อปี พ.ศ. 2390) อยู่หน้าวัดสิริมหากัจจายน์ อำเภอเมืองหนองคาย จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 11 จัดพร้อมกันกับงานแข่งเรือประจำปี",
"title": "จังหวัดหนองคาย"
},
{
"docid": "120602#11",
"text": "เช่นเดียวกับครุยดุษฎีบัณฑิต แต่ตอนกลางของสำรดที่ต้นแขนมีแถบสักหลาดสีตามสีประจำมหาวิทยาลัย จำนวน 1 เส้น",
"title": "มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย"
},
{
"docid": "4203#5",
"text": "คำขวัญประจำจังหวัด: ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา เลอคุณค่ามรดกโลก ตราประจำจังหวัด: รูปสังข์ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพานแว่นฟ้าภายในปราสาทใต้ต้นหมัน ซึ่งนับถือกัน ว่าเป็นสัญลักษณ์อันประเสริฐ ต้นไม้ประจำจังหวัด: หมัน ([Cordia dichotoma]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกโสน (สะ-โหน) ([Sesbania aculeata]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) สัตว์น้ำประจำจังหวัด: กุ้งก้ามกรามหรือกุ้งสมเด็จ ([Macrobrachium rosenbergii]error: {{lang}}: text has italic markup (help))",
"title": "จังหวัดพระนครศรีอยุธยา"
},
{
"docid": "70973#0",
"text": "เถาะ เป็นชื่อปีที่ 4 ของรอบปีนักษัตร มีสัญลักษณ์เป็นกระต่าย พุทธศักราชที่ตรงกับปีเถาะ เช่น พ.ศ. 2506, พ.ศ. 2518, พ.ศ. 2530, พ.ศ. 2542, พ.ศ. 2554, พ.ศ. 2566, พ.ศ. 2578 และ พ.ศ. 2590 เป็นต้น โดยวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดรอบปีนักษัตรไม่แน่นอนเมื่อเทียบกับปฏิทินสากล และนับต่างกันระหว่างแบบจีนกับแบบไทย โดยมีพระธาตุประจำปีเกิดตามความเชื่อล้านนา คือ พระธาตุแช่แห้ง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน มีสีประจำปีคือสีเทา เป็นปีธาตุไม้ และมีทิศประจำปีคือทิศตะวันออก",
"title": "เถาะ"
},
{
"docid": "12104#3",
"text": "ตราประจำมหาวิทยาลัย ใช้สัญลักษณ์ เจดีย์ทรงล้านช้าง หมายถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภายในมีดอกบัวหลวงประดิษฐานอยู่บนแท่นรองรับของเส้น 3 เส้น ดอกบัวมีสีกลีบบัว อันหมายถึงสัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี และเส้น 3 เส้นที่เป็นฐานรองรับดอกบัวนั้น หมายถึงแม่น้ำสายสำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ แม่น้ำโขง แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล ลักษณะของดอกบัวเป็นประเภทบัวเหนือน้ำที่พร้อมจะ เบ่งบาน ให้ความดีงามแก่มหาชนได้ชื่นชม ส่วนกลีบดอกบัวด้านล่างสองกลีบ หมายถึง คุณธรรมและปัญญาอันเป็นเปลือกหุ้มสถาบันสำหรับดอกตูมสามกลีบหมายถึง องค์พระรัตนตรัย สีน้ำเงิน ที่เป็นขอบเส้นของตรามหาวิทยาลัยนั้นมีความ หมายถึง ความมั่นคงแข็งแรงและสีเหลืองสดที่เป็นพื้น หมายถึง สีประจำมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ ต้นกันเกรา เป็นไม้สูงประมาณ 25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึก ใบดกหนาทึบ สีเขียวแก่เป็นมัน ดอกสีเหลืองอมแสด ออกดอกที่ช่อปลายกิ่ง มีกลิ่นหอมเย็นระรื่นอยู่ 7 วัน จากนั้นจะมีกลิ่นเหม็น ไม้กันเกราสื่อความหมายถึงเครื่องป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ และทำให้เสาเรือนมั่นคง ต้นกันเกราเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยอุบล ราชธานี เป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งที่พบมากใน บริเวณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก “มันปลา” ภาคใต้ เรียก“ตำเสา”ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนจะออกดอกเป็น ช่อสีเหลือง มีกลิ่นหอมขจรขจาย สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีเหลือง อักษรย่อ คือ ม.อบ.",
"title": "มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี"
},
{
"docid": "120602#15",
"text": "เนื่องจาก วิทยาเขตหนองคาย เป็นหน่วยงานหนึ่งเทียบเท่าคณะของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพราะฉนั้นจึงใช้ ตราประจำมหาวิทยาลัยเดียวกันกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ ลักษณะตราสัญลักษณ์เป็นตามแนวคิดของพระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) ซึ่งให้นายพินิจ สุวรรณะบุณย์ เป็นผู้ยกร่าง ในชั้นแรกนั้นเป็นรูปพระธาตุพนม ทั้งสองข้างมีลายช่อกนกเปลวลอย ส่วนล่างสุดขององค์พระธาตุเป็นชื่อมหาวิทยาลัยขอนแก่นบนแพรแถบ ต่อมาพระยาอนุมานราชธนได้นำร่างดังกล่าวปรึกษาหาหรือกับผู้ออกแบบและท่านผู้รู้แห่งราชบัณฑิตยสถาน เห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขลายกนกเป็นรูปเทวดาอัญเชิญมิ่งขวัญสิริมงคลพนมประทานสู่สถาบัน และเปลี่ยนแถบแพรป้ายชื่อเป็นมหาวิทยาลัยขอนแก่นอยู่บนขอนไม้ พื้นหลังแบ่งเป็น ๓ ช่อง มีความหมายถึง คุณธรรมของนักศึกษา ๓ ประการ ได้แก่สาเหตุที่กำหนดให้พระธาตุพนมเป็นตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้น เนื่องจากตระหนักว่าพระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานสำคัญ เป็นมิ่งขวัญสิริมงคลอันเป็นที่เคารพบูชาของ ชาวไทย-ลาว ทั้งสองฝั่งโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่นก็เช่นเดียวกัน ที่จะต้องเป็นศูนย์รวมความคิด สติปัญญาของสังคมและเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ",
"title": "มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย"
},
{
"docid": "354136#12",
"text": "เครือเซ็นทรัลและ ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศอิตาลี จัดนิทรรศการ GLAMOUR,60 Years of Italian ที่เซ็นทรัล ชิดลมตั้งแต่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึง 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554 Fashion[7] รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จัดสารคดี พระราชอารมณ์ขัน เปิดให้บริการบนรถไฟฟ้าทุกเที่ยว ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2554 และ ประชาสัมพันธ์ ตราสัญลักษณ์ ทุกสถานี การรถไฟแห่งประเทศไทย ประชาสัมพันธ์ ตราสัญลักษณ์ ทุกขบวนรถไฟ 84 World Tennis Invitation Hua Hin 2011 โดย ลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทยฯ วันเสาร์ที่ 1 มกราคม ณ เซนทิเนียล พาร์ค โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล หัวหิน รีสอร์ท แอนด์ สปา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เทศกาลตรุษจีนไชน่าทาวน์และเทศกาลตรุษจีนในภูมิภาค โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สนับสนุนพันธุ์ไม้งามอร่ามสวนหลวง ร.9 โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เทศกาลโคมไฟสีสันเมืองใต้ โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การแข่งขันฟุตบอลเยาวชนชิงถ้วย “AOT Cup” โดยบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) รวมใจไทยถวายในหลวง โดย บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)จัดบริการให้ผู้โดยสารแลกไมล์สะสม 1000 ไมล์ขึ้นไปเป็นเงินเพื่อระดมทุนก่อสร้าง สถาบันการแพทย์ สยามินทราธิราช โดยทำบุญกับโรงพยาบาลศิริราช[8] และจัดบริการเที่ยวบินสีเขียว THAI ASPIRE Flight กรุงเทพ-โอ๊คแลนด์[9] ร่วมกับบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด รวมถึงประชาสัมพันธ์ ตราสัญลักษณ์ ทุกเที่ยวบิน จัดสร้างหอบังคับการบิน ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดแทนของเดิม) โดย บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด การประชุม 5th CANSO Asia Pacific ANSP Conference และ CANSO Global ATM Summit & 15 th Annual General Meeting (AGM) โดย บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ผ่าตัดหัวใจทั่วโลก เทิดพระเกียรติในหลวงทั่วหล้า โดยมูลนิธิโรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ในพระสังฆราชูปถัมภ์[3] โครงการหนองคายมาราธอนมหากุศล ครั้งที่ 1 โดย มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ โครงการสถานสงเคราะห์หญิงชราบ้านสุทธาวาส โดย มูลนิธิบ้านสุทธาวาส เอส แอนด์ พี ซินดิเคทร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลจัดทำคุกกี้รวมรสจำหน่ายเพื่อนำรายได้สบทบทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ของสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราชโรงพยาบาลศิริราชโดยจำหน่าย ใน 10 สาขา เฉพาะกรุงเทพมหานคร[10] คมชัดลึก (หนังสือพิมพ์)ร่วมกับศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็กมอนท์ เอ็ดดูเทนเมนท์ จำกัด จัดโครงการ \"84 พรรษา ใส่บาตรหนังสือ: เติมปัญญาสู่ห้องสมุดประสบอุทกภัย\" เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา โดยนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มารับมอบหนังสือจากสถานศึกษา และส่งต่อไปยังโรงเรียนที่ประสบอุทกภัย[11] มหาวิทยาลัยรังสิต มอบทุน 84 ทุนแก่ผู้มีครอบครัวฐานะขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือมีถิ่นที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร หรือพื้นที่เสี่ยงภัย หรือพื้นที่ที่มีผลกระทบจากภัยธรรมชาติ หรือพื้นที่ที่มีผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้[12]",
"title": "พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554"
},
{
"docid": "120602#0",
"text": "วิทยาเขตหนองคาย เป็นวิทยาเขตหนึ่งของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยตั้งอยู่ที่จังหวัดหนองคาย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2538 เปิดรับนักศึกษาครั้งแรก พ.ศ. 2541 ปัจจุบันมีนักศึกษา 21 รุ่น (พ.ศ. 2559) และมีการเรียนการสอน 5 คณะวิชา 16 หลักสูตร นับได้ว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาของรัฐในภูมิภาคอีสานตอนบน มีสีประจำคือสีเปลือกไม้ ต้นไม้ประจำวิทยาเขตหนองคายคือต้นชิงชัน ปัจจุบันมีบัณฑิตจบการศึกษาระดับปริญญาตรี มากกว่า 1,500 คน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา",
"title": "มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย"
},
{
"docid": "171950#0",
"text": "เทศบาลเมืองหนองคาย เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมืองในอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาแม่น้ำโขงและมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาว โดยมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว เชื่อมต่อจากเมืองหนองคายไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ เทศบาลเมืองหนองคายเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดหนองคาย มีพื้นที่ 35.15 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 47,949 คน ทำให้เป็นเทศบาลที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัดหนองคาย",
"title": "เทศบาลเมืองหนองคาย"
},
{
"docid": "142889#7",
"text": "ตราสถาบัน มงกุฏเหนืออักษรย่อ ว.ป. ส่วนของวงกลมตรงกลางคือ ดอกประดู่ ที่ล้อมไปด้วยช่อชัยพฤกษ์ ดอกประดู่ อันเป็นสัญลักษณ์บนตราของโรงเรียน และพบได้ทั่วไปในโรงเรียน แสดงถึง ความพร้อมเพรียง ความร่วมือ ร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้ดอกของประดู่ยังมีลักษณะที่ระดมกันบานเต็มต้นดูลานตา ดังนั้นคนโบราณจึงได้เลือกเอาต้นประดู่เป็นไม้ประจำกอง กองทัพเรือ และคนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า ส่วนของแก่นไม้ยังใช้เป็นศิลปะการดนตรี ที่สำคัญของคนพื้นเมืองในสมัยโบราณอีกด้วย คือใช้ทำเป็นเครื่องเสียงพวกระนาด นั่นก็หมายถึง ความแข็งแกร่ง แข็งแรง ทั้งนี้ดอกประดู่ยังเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดระยองอีกด้วย ปรัชญา: บุคคลมีทางพัฒนาได้ คติพจน์: สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี (ความสามัคคีของหมู่ ก่อให้เกิดสุข) คำขวัญ: เรียนดี ประพฤติดี มีวินัย อนามัยดี เพลงมาร์ชป่าประดู่: เป็นหนึ่งในเพลงประจำโรงเรียนวัดป่าประดู่ ประพันธ์เนื้อร้องและทำนองโดย นายจินดา สุวรรณลมัย เป็นเพลงที่ใช้มากที่สุดจนเป็นที่คุ้นหูกันว่า เหลือง เขียว งามหรู นอกจากนี้โรงเรียนวัดป่าประดู่ยังมีเพลงประจำโรงเรียนอีกหลายเพลง สีเหลือง-เขียว: เป็นสีประจำโรงเรียน ซึ่งในตอนหนึ่งของเพลงมาร์ชป่าประดู่ ได้กล่าวไว้ว่า \"เหลือง-เขียว งามหรู ดอกประดู่เปรียบเช่นเป็นสีเหลือง ต้นใบสีเขียวช่วยประเทือง ให้รุ่งเรืองตราบสิ้นดินมลาย\"",
"title": "โรงเรียนวัดป่าประดู่"
},
{
"docid": "281683#2",
"text": "โพเป็นต้นไม้ที่ได้รับการสักการะในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ศาสนาเชน และ พระพุทธศาสนา ด้วยเหตุนี้จึงมีชื่อว่า \"Sacred fig\" พระโคตมพุทธเจ้าก็ได้ตรัสรู้เมื่อนั่งอยู่ใต้ต้นโพเช่นกัน โดยต้นโพที่พระโคตมพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นชื่อ \"ต้นพระศรีมหาโพธิ์\" ปัจจุบันยังคงมีชีวิตอยู่ที่ประเทศอินเดีย จึงเชื่อกันว่าโพเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุข, ความสำเร็จ, อายุยืน และ ความโชคดี และเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดปราจีนบุรี",
"title": "โพ"
},
{
"docid": "7858#50",
"text": "สถานีขนส่งผู้โดยสารเทศบาลเมืองหนองคาย ตั้งอยู่ที่ ถนนประจักษ์ศิลปาคม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองคาย แห่งที่ 2 โครงการปี พ.ศ. 2555 ที่ตั้งโครงการ ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย [10] สถานีขนส่งผู้โดยสารเทศบาลตำบลโพนพิสัย ตั้งอยู่ที่ ถนนภิรมยาราม ตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย",
"title": "จังหวัดหนองคาย"
},
{
"docid": "7137#5",
"text": "แต่อีกทางหนึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะได้มาจากชื่อพันธุ์ไม้ธรรมชาติในท้องถิ่น ได้แก่ ต้นมะเดื่อชุมพร เพราะที่ตั้งของเมืองชุมพรนั้นอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าตะเภา มีต้นมะเดื่อชุมพรขึ้นอยู่มากมาย ต้นมะเดื่อชุมพรจึงเป็นสัญลักษณ์ส่วนหนึ่งของ ตราประจำจังหวัดชุมพร",
"title": "จังหวัดชุมพร"
},
{
"docid": "174963#1",
"text": "รายชื่อพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดของแต่ละจังหวัดแยกตามภาค (ตามเกณฑ์การแบ่งของราชบัณฑิตยสถาน) มีรายละเอียดตามที่ปรากฏในตารางข้างล่าง ทั้งนี้ พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานของบางจังหวัด (ได้แก่ นครปฐม บุรีรัมย์ ยโสธร ระนอง ระยอง สุโขทัย และสุรินทร์) จะเป็นพรรณไม้คนละชนิดกับต้นไม้ประจำจังหวัดนั้น ๆ ส่วนจังหวัดบึงกาฬไม่มีพันธุ์ไม้พระราชทานเนื่องจากขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหนองคาย",
"title": "รายชื่อพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด"
},
{
"docid": "171950#8",
"text": "ปัจจุบันจังหวัดหนองคายไม่มีท่าอากาศยาน การเดินทางโดยเครื่องบินจึงต้องไปใช้ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีของจังหวัดอุดรธานี ซึ่งอยู่ห่างกับจังหวัดหนองคายประมาณ 54 กิโลเมตร และบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)ได้อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย โดยจัดให้มีรถยนต์บริการรับส่งระหว่างจังหวัดหนองคายกับท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี ตลอดจนมีการให้บริการจำหน่ายตั๋วสำรองที่นั่งในพื้นที่จังหวัดหนองคาย",
"title": "เทศบาลเมืองหนองคาย"
},
{
"docid": "604109#43",
"text": "หนองคาย หมวดหมู่:สถาบันอาชีวศึกษาในจังหวัดหนองคาย หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในจังหวัดหนองคาย หมวดหมู่:สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดหนองคาย",
"title": "วิทยาลัยเทคนิคหนองคาย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑"
},
{
"docid": "583218#1",
"text": "เดิมจังหวัดหนองคายมีโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัด 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนประจำจังหวัดชาย “หนองคายวิทยาคาร” และโรงเรียนสตรีหนองคาย “ปทุมเทพรังสรรค์” มีประวัติความเป็นมาพอสังเขป ดังนี้",
"title": "โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร"
},
{
"docid": "427935#1",
"text": "ต้นแบบของเหรียญลูกเสือสรรเสริญ มาจาก \"เหรียญที่ระลึกลูกเสือ\" ซึ่งพระราชทานให้ลูกเสือที่ออกจากประจำการไปเป็นเสือป่า ต่อมาได้พัฒนาเป็นต้นเค้าของเหรียญลูกเสือสรรเสริญซึ่งมีสามชั้นคือทอง นาค เงิน ก่อนที่มาสู่เหรียญลูกเสือสรรเสริญในปัจจุบัน ลูกเสือที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสรรเสริญครั้งแรก เป็นเหรียญลูกเสือสรรเสริญชั้นที่ 2 (เหรียญเงิน) ได้แก่ลูกเสือตรีเล็กซัน วิเศษรัตน์ เลขประจำตัว 887 สังกัดกองลูกเสือเสนาจังหวัดหนองคายที่ 1 (หนองคายวิทยาคาร) ซึ่งได้ช่วยเหลือเด็กหญิงอรรตพนธ์ สงกะศิริ ให้พ้นอันตรายจากการจมน้ำตายที่ท่าวัดหายโศก อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ประกาศ ณ วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2483",
"title": "เหรียญลูกเสือสรรเสริญ"
},
{
"docid": "120602#16",
"text": "ศาสตราจารย์พิมล กลกิจ ได้เดินทางไปนมัสการพระธรรมราชานุวัตร (แก้ว กนฺโตภาโส) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เพื่อทำพิธีขออนุญาตเชิญรูปพระธาตุพนมมาเป็นตราสถาบันอย่างถูกต้องและเป็นทางการแต่เพียงสถาบันเดียว ในปี ๒๕๐๙ นับตั้งแค่นั้นมา ตราพระธาตุพนมก็กลายเป็นสัญลักษณ์ประจำสถาบันการศึกษาแห่งนี้",
"title": "มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย"
},
{
"docid": "78994#61",
"text": "ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถึง (สถานีรถไฟ อำเภอวารินชำราบ) จังหวัดอุบลราชธานี ระยะทาง 575 กิโลเมตร และสถานีชุมทางถนนจิระถึงสถานีจังหวัดหนองคาย และต่อจากหนองคายไปยังสะพานมิตรภาพไทย-ลาว (สปป.ลาว) ระยะทาง 2.66 กิโลเมตร และสถานีชุมทางจิระถึงสถานีหนองคาย จังหวัดหนองคายระยะทาง 360 กิโลเมตร และชุมทางแก่งคอย-ชุมทางบัวใหญ่ ระยะทาง 252.4 กิโลเมตร ทางรถไฟสายเหนือ ถึง สถานีรถไฟ จังหวัดเชียงใหม่ และ สถานีรถไฟ จังหวัดสุโขทัย ระยะทาง 752 กิโลเมตร และทางแยกสถานีชุมทางบ้านดาราจังหวัดพิษณุโลก ถึงสถานีสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ระยะทาง 29 กิโลเมตร ทางรถไฟสายใต้ เริ่มต้นจากสถานีกรุงเทพ ถึง ( สถานีรถไฟ อำเภอสุไหงโกลก ) จังหวัดนราธิวาส ระยะทาง 1,141 กิโลเมตร, ทางแยกสถานีปาดังเบซาร์ ระยะทาง 43.5 กิโลเมตร, ทางแยกคีรีรัฐนิคม ระยะทาง 31 กิโลเมตร และทางแยกกันตัง ระยะทาง 92.8 กิโลเมตร, ทางแยกนครศรีธรรมราช ระยะทาง 35 กิโลเมตร โดยสถานีรถไฟ จังหวัดสงขลา ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับทางรถไฟของ ประเทศมาเลเซีย ไปถึงยัง ประเทศสิงคโปร์ ทางรถไฟสายตะวันออก ถึง จังหวัดสระแก้ว ( สถานีรถไฟ อำเภออรัญประเทศ ) ระยะทาง 260 กิโลเมตร, สถานีคลองสิบเก้า-ชุมทางแก่งคอย ระยะทาง 81.4 กิโลเมตร และชุมทางเขาชีจรรย์-มาบตะพุต ระยะทาง 24.07 กิโลเมตร ทางรถไฟสายตะวันตก จาก สถานีชุมทางหนองปลาดุกถึง สถานีรถไฟ ) จังหวัดกาญจนบุรี ระยะทาง 131 กิโลเมตร และถึงทางแยก สถานีรถไฟ จังหวัดสุพรรณบุรี ระยะทาง 78 กิโลเมตร ทางรถไฟสายแม่กลอง ช่วง สถานีรถไฟ - สถานีรถไฟ ระยะทาง 31 กิโลเมตร และช่วง สถานีรถไฟ - สถานีรถไฟ ระยะทาง 34 กิโลเมตร",
"title": "การรถไฟแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "7858#69",
"text": "ณ หนองคาย สะพานมิตรภาพ 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) รายชื่อวัดในจังหวัดหนองคาย รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดหนองคาย รายชื่อสาขาของธนาคารในจังหวัดหนองคาย รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดหนองคาย รายชื่อศูนย์การค้าในจังหวัดหนองคาย",
"title": "จังหวัดหนองคาย"
},
{
"docid": "618213#1",
"text": "วิศรุต หิมรัตน์ มีชื่อเล่นว่า โมสต์ เกิดวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2536 เป็นชาวจังหวัดหนองคาย โดยเป็นบุตรคนที่ 2 จากพี่น้อง 2 คน และมีพี่สาวหนึ่งคน วิศรุตมีภูมิลำเนาจาก จังหวัดหนองคาย จบการศึกษาระดับอนุบาลจากโรงเรียนอนุบาลนิจจานุเคราะห์ และเข้าศึกษาต่อระดับประถมศึกษาจาก โรงเรียนเซนต์ปอลหนองคาย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร จังหวัดหนองคาย จบมัธยมปลายจากโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล จังหวัดอุดรธานี และปัจจุบันจบการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒแล้ว",
"title": "วิศรุต หิมรัตน์"
},
{
"docid": "306804#9",
"text": "สถาบันการเงินเทศบาลเมืองท่าบ่อ ได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลเมืองท่าบ่อ โดยคณะผู้บริหาร นายสุรศักดิ์ โสตะวงศ์ เป็นผู้ก่อตั้งสถาบันการเงินเทศบาลเมืองท่าบ่อ และ ประธานชุมชนในเขตเทศบาลเมืองท่าบ่อ (บางท่าน) ร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารสถาบันการเงินเทศบาลเมืองท่าบ่อ และร่วมสนับสนุนแหล่งเงินทุนของสถาบันการเงินฯ จาก สำนักโครงการธนาคารชุมชน ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. โดยมีหน้าที่ คือให้บริหารปล่อยกู้เงินดอกเบี้ยต่ำแก่ประชาชนในชุนชนเขตเทศบาลเมืองท่าบ่อ ทั้ง 19 ชุมชน ดำเนินงานคล้ายลักษณะเดียวกับกองทุนหมู่บ้าน เพียงแต่มีพนักงานประจำอยู่เพื่อให้บริการตามวันและเวลาราชการ ปัจจุบัน มี นางวันเพ็ญ ผิวบาง รองประธานสตรีจังหวัดหนองคาย เป็น ประธานบริหารสถาบันการเงินเทศบาลเมืองท่าบ่อ และ นายเจษฎากร พรหมเทศน์ กรรมการกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมประจำจังหวัดหนองคาย/เลขานุการสถาบันการเงินเทศบาลเมืองท่าบ่อ เป็น ผู้จัดการสถาบันการเงินเทศบาลเมืองท่าบ่อ",
"title": "เทศบาลเมืองท่าบ่อ"
},
{
"docid": "306664#18",
"text": "ลักษณะเด่นของสวนคือความเขียวชอุ่มด้วยสวนพฤกษศาสตร์ไม้ดอกนานาพรรณและไม้ยืนต้น อันเป็นพันธุ์ไม้พื้นถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะ \"ลำดวน\" และ \"ดอกลำดวน\" ซึ่งถือเป็นต้นไม้และดอกไม้สัญลักษณ์ประจำจังหวัดศรีสะเกษ ที่ขึ้นหนาแน่นอยู่ในพื้นที่นี้จำนวนมากกว่า 50,000 ต้น ระหว่างเดือนมีนาคม เป็นช่วงที่ต้นลำดวนออกดอกบานสะพรั่งส่งกลิ่นหอมอบอวลทั้งในเขตสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ และพื้นที่เขตเทศบาลซึ่งมีต้นลำดวนปลูกอยู่ตามแนวถนนทุกสาย เทศบาลเมืองศรีสะเกษ ร่วมกับจังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดให้มี\"เทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทยศรีสะเกษ\" ขึ้นบริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ เป็นประจำทุกปี เป็นเทศกาลท่องเที่ยวที่ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543",
"title": "เทศบาลเมืองศรีสะเกษ"
}
] |
168 | โลก มีพระจันทร์กี่ดวง? | [
{
"docid": "3841#0",
"text": "ดวงจันทร์เป็นดาราศาสตร์วัตถุที่โคจรรอบโลก เป็นดาวบริวารถาวรดวงเดียวของโลก เป็นดาวบริวารใหญ่ที่สุดอันดับที่ 5 ในระบบสุริยะ และเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่สุดเมื่อเทียบกับขนาดของดาวเคราะห์ที่โคจร ดวงจันทร์เป็นดาวบริวารที่มีความหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากไอโอของดาวพฤหัสบดี ซึ่งบางส่วนไม่ทราบความหนาแน่นมากหรือน้อย",
"title": "ดวงจันทร์"
}
] | [
{
"docid": "3875#51",
"text": "โลกและดวงจันทร์โคจรรอบจุดศูนย์กลางมวลร่วมในทุก ๆ 27.32 วัน สัมพัทธ์กับดาวฤกษ์พื้นหลัง เมื่อประกอบกันเข้ากับวงโคจรร่วมโลก–ดวงจันทร์รอบดวงอาทิตย์แล้ว เกิดเป็นคาบของเดือนจันทรคตินับจากอมาวสีหนึ่งไปอีกอมาวสีหนึ่งราว 29.53 วัน เมื่อมองจากขั้วฟ้าเหนือ การเคลื่อนที่ของโลก ดวงจันทร์ และการหมุนรอบแกนดาวของทั้งคู่ล้วนเป็นไปในทิศทวนเข็มนาฬิกา เมื่อมองจากจุดสูงเหนือขั้วเหนือของทั้งดวงอาทิตย์และโลก วงโคจรของโลกจะมีทิศทางทวนเข็มนาฬิการอบดวงอาทิตย์ วงโคจรและระนาบแกนไม่ได้วางตัวอยู่ในแนวเดียวกันโดยแกนหมุนของโลกมีการเอียงประมาณ 23.4 องศาจากแนวตั้งฉากกับระนาบโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ (หรือสุริยวิถี) และระนาบโคจรของดวงจันทร์รอบโลกเอียง ±5.1 องศาเทียบกับระนาบโลก–ดวงอาทิตย์ หากปราศจากการเอียงเช่นนี้ จะเกิดอุปราคาทุกสองสัปดาห์สลับกันระหว่างจันทรุปราคาและสุริยุปราคา",
"title": "โลก (ดาวเคราะห์)"
},
{
"docid": "3875#73",
"text": "ดวงจันทร์เป็นดาวบริวารขนาดค่อนข้างใหญ่ มีพื้นผิวแข็ง คล้ายดาวเคราะห์โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณหนึ่งในสี่ของโลก เป็นดาวบริวารขนาดใหญ่สุดในระบบสุริยะเมื่อเทียบสัดส่วนกับดาวเคราะห์ แม้ว่าแครอนมีขนาดใหญ่กว่าเมื่อเทียบสัดส่วนกับดาวเคราะห์แคระพลูโต ดาวบริวารที่โคจรรอบดาวเคราะห์อื่น ๆ ก็เรียก \"ดวงจันทร์\" ตามดวงจันทร์ของโลก",
"title": "โลก (ดาวเคราะห์)"
},
{
"docid": "701877#0",
"text": "เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 เกิดเมื่อดวงจันทร์ผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ ฉะนั้นจึงขวางภาพดวงอาทิตย์ทั้งหมดหรือบางส่วนแก่ผู้สังเกตบนโลก สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดเมื่อเส้นผ่านศูนย์กลางปรากฏของดวงจันทร์ใหญ่กว่าเส้นผ่านศูนย์กลางปรากฏของดวงอาทิตย์ จึงสกัดแสงอาทิตย์โดยตรงทั้งหมด แล้วทำให้ความมืดปกคลุม คราสเต็มดวง (totality) เกิดในวิถีแคบผ่านพื้นผิวโลกโดยสามารถเห็นสุริยุปราคาบางส่วนได้เหนือภูมิภาคโดยรอบกว้างหลายพันกิโลเมตร",
"title": "สุริยุปราคา 9 มีนาคม พ.ศ. 2559"
},
{
"docid": "205054#0",
"text": "ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก (; NEA) คือดาวเคราะห์น้อยที่มีวงโคจรใกล้กับวงโคจรของโลก โดยมากมีวงโคจรอยู่ระหว่าง 0.983 ถึง 1.3 หน่วยดาราศาสตร์ จากดวงอาทิตย์ วงโคจรของดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกบางส่วนตัดกับวงโคจรของโลก ซึ่งอาจมีความเสี่ยงที่จะปะทะกันได้ ดาวเคราะน้อยเหล่านี้อยู่ใกล้พอที่จะเดินทางไปถึงโดยยานอวกาศได้ บางดวงสามารถไปถึงได้โดยใช้เชื้อเพลิงน้อยกว่าการไปดวงจันทร์เสียอีก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ดาวเคราะห์น้อยกลุ่มนี้เป็นเป้าหมายที่น่าสำรวจอย่างยิ่ง มียานอวกาศไปเยือนดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกสองดวงแล้ว คือ ยานสำรวจ Near Earth Asteroid Rendezvous ขององค์การนาซา ไปสำรวจดาวเคราะห์น้อย 433 อีรอส และยานสำรวจ Hayabusa ของ JAXA ได้ไปเยือน 25143 Itokawa \"ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก\" จัดว่าเป็นกลุ่มย่อยหนึ่งอยู่ในบรรดา \"วัตถุท้องฟ้าใกล้โลก\"",
"title": "ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก"
},
{
"docid": "3875#76",
"text": "เมื่อมองจากโลก ดวงจันทร์อยู่ห่างออกไปพอให้ขนาดปรากฏของดวงจันทร์เกือบเท่ากับขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์ ขนาดเชิงมุม (หรือมุมตัน) ของวัตถุทั้งสองเสมอกันเพราะเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์แม้จะมากกว่าของดวงจันทร์ร่วม 400 เท่า แต่ระยะทางมาถึงโลกก็ไกลกว่า 400 เท่าด้วยเช่นกัน สภาพดังกล่าวเป็นสาเหตุให้สุริยุปราคาทั้งแบบเต็มดวงและแบบวงแหวนปรากฏบนโลกได้",
"title": "โลก (ดาวเคราะห์)"
},
{
"docid": "899596#0",
"text": "ด้วยสองมือแม่นี้ที่สร้างโลก เป็นละครโทรทัศน์ สร้างจากบทประพันธ์ของ โบตั๋น โดยออกอากาศทั้งหมดทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 \nเป็นเรื่องชีวิตต้องสู้ของ \"แสงคำ\" หญิงสาวที่เกิดมาในครอบครัวที่ยากจนข้นแค้น แสงคำมีพ่อเป็นกรรมกรก่อสร้าง แม่เป็นแม่ค้าในตลาด มีน้องสาวหน้าตาสะสวยชื่อ \"สร้อยคำ\" แสงเป็นหญิงแกร่งที่ต่อสู้เพื่อจะให้มีชีวิตที่ดีขึ้น เธอทำงานหนักเพื่อส่งเสียน้องให้ได้เรียนหนังสือ ต่อมาแสงได้พบและแต่งงานกับพระเอกด้วยเหตุผลประการหนึ่งเพื่อที่จะยกระดับครอบครัวตัวเองขึ้นได้บ้าง แสงช่วยสามีทำงานสร้างครอบครัวอย่างขยันขันแข็ง และในเวลาต่อมายังได้เป็นของเจ้ากิจการร้านเสริมสวยของตัวเอง วันหนึ่งสามีเธอประสบอุบัติเหตุทำให้ขาพิการไป แสงจึงจำเป็นต้องขึ้นมากุมบังเฮียนดูแลธุรกิจและครอบครัว",
"title": "ด้วยสองมือแม่นี้ที่สร้างโลก"
},
{
"docid": "3841#2",
"text": "ดวงจันทร์หมุนรอบโลกแบบประสานเวลา จะหันด้านเดียวเข้าหาโลกเสมอคือด้านใกล้ที่มีลักษณะเป็นทะเลภูเขาไฟมืด ๆ ซึ่งเติมที่ว่างระหว่างที่สูงเปลือกโบราณสว่างและหลุมอุกกาบาตที่เห็นได้ชัดเจน เมื่อสังเกตจากโลก เป็นเทห์ฟ้าที่เห็นได้เป็นประจำสว่างที่สุดอันดับสองในท้องฟ้าของโลกรองจากดวงอาทิตย์ พื้นผิวแท้จริงแล้วมืด แม้เทียบกับท้องฟ้าราตรีแล้วจะดูสว่างมาก โดยมีการสะท้อนสูงกว่าแอสฟอลต์เสื่อมเล็กน้อย อิทธิพลความโน้มถ่วงของดวงจันทร์ทำให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร และทำให้หนึ่งวันยาวขึ้นเล็กน้อย",
"title": "ดวงจันทร์"
},
{
"docid": "3875#8",
"text": "ดวงจันทร์กำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ การกำเนิดของดวงจันทร์ยังเป็นหัวข้อการวิจัยในปัจจุบัน สมมติฐานนำกล่าวว่าดวงจันทร์ถือกำเนิดขึ้นโดยการพอกพูนจากวัตถุที่หลุดออกจากโลกหลังจากโลกถูกวัตถุขนาดใหญ่เท่าดาวอังคารชื่อว่า \"เธีย\" (Theia) พุ่งเข้าชน แบบจำลองนี้กะว่ามวลของเธียคิดเป็นประมาณร้อยละ 10 ของมวลโลก พุ่งเข้าชนโลกในลักษณะแฉลบและมวลบางส่วนรวมเข้ากับโลก ในระหว่างเวลาประมาณ 4.1 และ 3.8 พันล้านปีก่อน ดาวเคราะห์น้อยจำนวนมากพุ่งชนระหว่างการระดมชนหนักครั้งสุดท้าย ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงกับบริเวณพื้นที่ผิวส่วนใหญ่ของดวงจันทร์รวมทั้งโลก",
"title": "โลก (ดาวเคราะห์)"
},
{
"docid": "699881#0",
"text": "เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2558 สุริยุปราคาเกิดเมื่อดวงจันทร์ผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ ฉะนั้นจึงขวางภาพดวงอาทิตย์ทั้งหมดหรือบางส่วนแก่ผู้สังเกตบนโลก สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดเมื่อเส้นผ่านศูนย์กลางปรากฏของดวงจันทร์ใหญ่กว่าเส้นผ่านศูนย์กลางปรากฏของดวงอาทิตย์ จึงสกัดแสงอาทิตย์โดยตรงทั้งหมด แล้วทำให้ความมืดปกคลุม คราสเต็มดวง (totality) เกิดในวิถีแคบผ่านพื้นผิวโลกโดยสามารถเห็นสุริยุปราคาบางส่วนได้เหนือภูมิภาคโดยรอบกว้างหลายพันกิโลเมตร",
"title": "สุริยุปราคา 20 มีนาคม พ.ศ. 2558"
},
{
"docid": "3841#11",
"text": "มีความผันผวนเล็กน้อย (ไลเบรชัน) ในมุมองศาของดวงจันทร์ซึ่งเราได้เห็น เราจึงมองเห็นพื้นผิวของดวงจันทร์ทั้งหมดประมาณ 59% ของพื้นผิวทั้งหมดของดวงจันทร์\nด้านที่มองเห็นจากโลกจะถูกเรียกว่า \"ด้านใกล้\" และด้านที่อยู่ตรงข้ามเรียกว่า \"ด้านไกล\" ด้านไกลของดวงจันทร์ต่างจากด้านมืดของดาวพุธคือ ด้านมืดของดาวพุธเป็นด้านที่ไม่ถูกแสงอาทิตย์ส่องเลย แต่ด้านไกลของดวงจันทร์นั้นบางครั้งก็เป็นด้านที่ได้รับแสงอาทิตย์และหันหน้าเข้าหาโลก ด้านไกลของดวงจันทร์ได้ถูกถ่ายรูปโดยยานลูน่า 3 ของโซเวียตในปี 1959 หนึ่งในลักษณะภูมิประเทศที่ทำให้สังเกตได้ว่าเป็นดวงจันทร์ด้านไกลคือมันมีที่ราบคล้ำหรือ \"มาเร\" น้อยกว่าด้านใกล้มาก",
"title": "ดวงจันทร์"
}
] |
3536 | พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส ขึ้นครองราชย์เมื่อไหร่? | [
{
"docid": "233418#0",
"text": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส ([Louis XVI de France, หลุยส์แซซเดอฟร็องส์]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help); 5 กันยายน ค.ศ. 1754 – 21 มกราคม ค.ศ. 1793) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ ในช่วงต้นของสมัยใหม่ พระบิดาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 คือ เจ้าชายหลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส ผู้เป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวและทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงในพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ซึ่งสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1765 ส่งผลให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระอัยกา (พระเจ้าหลุยส์ที่ 15) ในปี ค.ศ. 1774 โดยในปี ค.ศ. 1791 ทรงสูญเสียราชบัลลังก์แห่งนาวาร์และครองราชย์ต่อไปในฐานะกษัตริย์แห่งฝรั่งเศส ถัดมาในปี ค.ศ. 1792 ทรงถูกขับออกจากราชสมบัติและสำเร็จโทษในช่วงของการปฏิวัติฝรั่งเศส",
"title": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส"
}
] | [
{
"docid": "235511#5",
"text": "พระเจ้าหลุยส์เสด็จสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1137 ที่ปราสาท Béthisy-Saint-Pierre ไม่ไกลจากซองลีส์ (Senlis) และคองเพียญน์ (Compiègne) จากโรคบิดที่เกิดจากการเสวยพระกระยาหารมากและทำให้ทรงอ้วนกว่าปกติ พระร่างได้รับการบรรจุที่มหาวิหารแซ็ง-เดอนี พระราชโอรสขึ้นครองราชย์ต่อเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส",
"title": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "517872#0",
"text": "หลุยส์ อองตวน ดยุกแห่งอ็องกูแลม () หรือ พระเจ้าหลุยส์ที่ 19 แห่งฝรั่งเศส เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าชาร์ลที่ 10 บางครั้งพระองค์ถือว่าเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสที่ถูกต้องตามกฎหมาย (พระเจ้าหลุยส์ที่ 19 แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์) หลังจากที่พระเจ้าชาร์ลที่ 10 ทรงลงพระปรมาภิไธยสละราชสมบัติ และ 20 นาทีถัดมา พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยสละราชสมบัติเช่นเดียวกัน ทำให้พระองค์กลายเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์สั้นที่สุดในประวัติศาสตร์",
"title": "หลุยส์ อ็องตวน ดยุกแห่งอ็องกูแลม"
},
{
"docid": "59917#14",
"text": "กษัตริย์แห่งเดือนกรกฎาคม : Monarchie de Juillet (ค.ศ. 1830 - ค.ศ. 1848) • ราชวงศ์บูร์บง - ออร์เลอองส์ •พระปรมาภิไธยขึ้นครองราชย์สิ้นสุดการครองราชย์หมายเหตุพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1 กษัตริย์แห่งประชาชน (Louis-Philippe , le Roi-Citoyen)9 สิงหาคม ค.ศ. 1830 (พ.ศ. 2373)24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1848 (พ.ศ. 2391)• ทรงเป็นทายาทรุ่นที่ 6 ในพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 • ทรงเป็นหลานคนที่ 5 ในพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ,18 และชาร์ลส์ที่ 10 • ขึ้นครองราชย์หลังจากการปฏิวัติเดือนกรกฎาคม • ทรงประกาศตนว่าเป็น<i data-parsoid='{\"dsr\":[37341,37368,2,2]}'>กษัตริย์แห่งชาวฝรั่งเศส มิใช่<i data-parsoid='{\"dsr\":[37374,37404,2,2]}'>กษัตริย์แห่งประเทศฝรั่งเศส • ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์สุดท้ายของประเทศฝรั่งเศส",
"title": "รายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "529567#0",
"text": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 3 แห่งฝรั่งเศส () (863 - 5 สิงหาคม 882) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งชนแฟรงค์ตะวันตก พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 6 ในราชวงศ์กาโรแล็งเชียง พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์โตในพระเจ้าหลุยส์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศสกับสมเด็จพระราชินีแอนซ์การ์ดแห่งเบอร์กันดี พระองค์ทรงปกครองฝรั่งเศสเพียง 2 ปี ก็สวรรคต เหล่าขุนนางจึงสนับสนุนให้เจ้าชายคาร์โลมัน พระอนุชาของพระองค์ขึ้นครองราชย์แทน",
"title": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 3 แห่งฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "247900#68",
"text": "พระพลานามัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ทรุดลงในฤดูใบไม้ผลิ ปีค.ศ. 1824 พระองค์ทรงทุกข์ทรมานจากโรคอ้วน, โรคเกาต์และเนื้อตายเน่า ทั้งเปียกและแห้ง ในพระเพลา (ขา) และกระดูกสันหลัง พระเจ้าหลุยส์เสด็จสวรรคตในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1824 โดยทรงแวดล้อมด้วยเหล่าพระราชวงศ์และข้าราชการบางคน ผู้สืบราชบัลลังก์ต่อคือ พระอนุชาของพระองค์ เคานต์แห่งอาตัวส์ทรงครองราชย์ในฐานะ พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศส",
"title": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "235250#3",
"text": "พระโอรสของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 ทั้งสี่พระองค์สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ตามการตีความหมายของกฎบัตรซาลลิคในการครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสอนุญาตให้เฉพาะผู้สืบเชื้อสายที่เป็นชายและห้ามการสืบราชบัลลังก์ผู้สืบเชื้อสายจากสตรี เมื่อพระเจ้าชาร์ลส์เสด็จสวรรคตหลุยส์ผู้เป็นพระปนัดดาของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 5 เป็นผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดในการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์จากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 หลุยส์จึงได้ขึ้นครองราชย์หลังจากที่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 เสด็จสวรรคต ",
"title": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "163351#1",
"text": "พระเจ้าฟรองซัวส์ประสูติที่เมืองคอนญัค (Cognac) ในแคว้นแซงตง (Saintonge) เป็นพระโอรสของชาร์ลส์ ดยุคแห่งอองกูแลม (Duke of Angoulême) และพระนางหลุยส์แห่งซาวอย (Louise of Savoy) ทรงเป็นลูกพี่ลูกน้องของพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส กษัตริย์องค์ก่อนพระองค์ ทรงเป็นราชวงศ์วาลัวส์สาขาอองกูแลม พระเจ้าฟรองซัวส์ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นดยุคแห่งออกูแลมต่อจากพระบิดา และเมื่อพระชนมายุได้ 4 พรรษาก็ได้รับแต่งตั้งเป็นดยุคแห่งวาลัวส์ (Duke of Valois) และได้เป็นองค์รัชทายาทของราชอาณาจักรฝรั่งเศส เพราะพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 นั้นทรงไม่มีพระโอรส ในค.ศ. 1514 พระเจ้าฟรองซัวส์ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางโคลด (Claude of France) พระธิดาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 เมื่อพระเจ้าหลุยส์สิ้นพระชนม์ในค.ศ. 1515 พระเจ้าฟรองซัวส์ก็ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุ 21 พรรษา",
"title": "พระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "97565#2",
"text": "เจ้าฟ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งอองชู เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2258 (ค.ศ. 1715) หลังจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เสด็จสวรรคตอย่างกะทันหันขณะมีพระชนมายุได้ 77 พรรษา ซึ่งในขณะนั้นเจ้าฟ้าชายหลุยส์มีพระชนมายุได้เพียง 5 ปีเท่านั้น",
"title": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "4496#72",
"text": "ภายใต้ข้อตกลงของคองเกรสแห่งเวียนนา ราชวงศ์บูร์บงกลับมาครองฝรั่งเศสอีกครั้ง เคานต์แห่งพรอว็องส์ (Comte de Provence) พระอนุชาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กลับเข้าฝรั่งเศสมาครองราชย์เป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 การปกครองใหม่ของฝรั่งเศสเป็นแบบสองสภา คือ สภาขุนนาง (Chamber of Peers) และสภาผู้แทน (Chamber of Deputies) เกิดพวกคลั่งเจ้า ซึ่งได้ชื่อว่านิยมระบอบกษัตริย์มากกว่าองค์กษัตริย์เสียเอง กวาดล้างขบวนการปฏิวัติและพวกนโปเลียนเดิม เรียกว่า มิคสัญญีขาว (White Terror) ทำให้ประชาชนหวาดกลัว การเลือกตั้งค.ศ. 1815 พวกนิยมกษัตริย์จึงได้รับการเลือกตั้งท่วมท้น เรียกว่า chambre introuvable แปลว่า สภาที่ทำงานด้วยไม่ได้ พระเจ้าหลุยส์ทรงยุบสภานี้เสีย เพราะทรงตระหนักว่าพวกนี้หัวรุนแรงเกินไป และเลือกตั้งใหม่ จึงได้พวกเสรีนิยมมากขึ้น",
"title": "ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "248449#3",
"text": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ทรงพระประชวรในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2317 และเสด็จสวรรคตในวันที่ 10 พฤษภาคม ด้วยโรคฝีดาษ สิริพระชนมายุรวม 64 พรรษา[6] พระราชนัดดา เจ้าชายหลุยส์-โอกุสต์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส จึงเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส[7]",
"title": "พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "235511#1",
"text": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 6 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1081 ที่ปารีส ในประเทศฝรั่งเศส พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าฟิลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศสและพระนางเบอร์ธาแห่งฮอลแลนด์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสพระชายาองค์แรก ตลอดยี่สิบปีที่ทรงครองราชย์พระองค์ต้องทรงต่อสู้กับขุนนางผู้มีอำนาจที่เป็นปัญหาทั้งต่อราชบัลลังก์ฝรั่งเศสและราชบัลลังก์อังกฤษในการครองอำนาจในนอร์ม็องดี แต่พระเจ้าหลุยส์ก็ทรงสามารถเพิ่มอำนาจของพระองค์เองขึ้นอีกมากและเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกผู้มีความแข็งแกร่งตั้งแต่การแยกจักรวรรดิการอแล็งเฌียง อธิการซูว์เฌแห่งมหาวิหารแซ็ง-เดอนีกล่าวถึงพระองค์ว่าเป็นผู้ที่มีพระอุปนิสัยหนักแน่นที่ไม่เหมือนบรรพบุรุษของพระองค์ก่อนหน้านั้น",
"title": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "12914#12",
"text": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2258 ด้วยโรคติดเชื้อจากแผลกดทับ พระองค์ได้ทรงประกาศก่อนสิ้นพระทัยว่า \"ข้าจะไปแล้ว แต่รัฐของข้าจะคงอยู่ตลอดไป\" รัชสมัยของพระองค์กินเวลา 72 ปี กับ 100 วัน พระศพถูกฝังไว้ที่บาซิลิก ซังต์ เดอนี ซึ่งหลุมพระศพนี้ถูกบุกรุกทำลายในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสในกาลต่อมา ดยุคแห่งอองจู เหลนของพระองค์ผู้มีพระชนม์เพียงห้าชันษาได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พระองค์ต่อมา ภายใต้พระนามว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส โดยมีเจ้าชายฟิลิปป์ ดยุคแห่งออร์เลอง พระนัดดาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นผู้สำเร็จราชการตลอดช่วงที่กษัตริย์ยังทรงพระเยาว์",
"title": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "59917#7",
"text": "สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 (พ.ศ. 2335 - พ.ศ. 2347) ประชาชนที่นิยมกษัตริย์จำนวนมากไม่ยอมรับการล้มล้างระบอบกษัตริย์ และถือว่ารัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ยังคงดำเนินต่อไปจนกระทั่งการสวรรคตของพระองค์ในปี พ.ศ. 2336 ต่อมาพระราชโอรส พระเจ้าหลุยส์ที่ 17 ครองราชย์ต่อมาจนสวรรคตในปี พ.ศ. 2338 และพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ครองราชย์ในเวลาต่อมา",
"title": "รายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "235250#8",
"text": "ในปี ค.ศ. 1476 พระเจ้าหลุยส์ทรงเสกสมรสกับฌานน์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสพระราชธิดาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องของพระองค์ หลังจากพระเชษฐาของฌานน์ผู้ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 ต่อจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 เสด็จสวรรคตโดยไม่มีพระราชโอรส การเสกสมรสของพระเจ้าหลุยส์ก็ได้รับการประกาศให้เป็นโมฆะเพื่อเปิดโอกาสให้พระองค์ทรงเสกสมรสกับแอนน์แห่งบริตานีพระราชินีหม้ายในพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 ผู้ทรงเป็นทายาทของฟรานซิสที่ 2 ดยุกแห่งบริตตานี (Francis II, Duke of Brittany) ซึ่งเป็นการทำให้สามารถผนวกดัชชีแห่งบริตตานีเข้ากับสถาบันพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส",
"title": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "4496#46",
"text": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สิ้นพระชนม์ในปีค.ศ. 1715 ก่อนวันคล้ายวันประสูติพระชนมายุ 77 พรรษาไม่กี่วัน ทรงครองราชย์ 72 ปี ยาวนานกว่ากษัตริย์ยุโรปอื่นใด พระองค์พระชนมายุยาวนานมาก จนพระโอรสและนัดดาสิ้นพระชนม์ไปก่อนหมด เหลือเพียงดยุคแห่งอังชูที่ยังพระเยาว์ ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส",
"title": "ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "247900#69",
"text": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสพระองค์สุดท้าย และเป็นเพียงพระองค์เดียวหลังจากค.ศ. 1774 ที่เสด็จสวรรคตขณะที่ทรงครองราชย์ พระบรมศพของพระองค์ถูกฝังที่มหาวิหารแซ็ง-เดอนี ซึ่งเป็นสุสานของเหล่าพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส",
"title": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "12914#3",
"text": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีพระนามเดิมว่า หลุยส์-ดิเยอดอนเน (Louis-Dieudonné) สมัยประทับอยู่ที่พระราชวังแซงต์-แชร์แมง-ออง-เลย์ (วันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1638) ต่อมามีพระนามว่า เลอรัว-โซแลย (le Roi-Soleil) ซึ่งแปลว่า สุริยกษัตริย์ เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1715 เมื่อพระองค์ประทับที่แวร์ซายส์ (Versailles) และพระนามต่อมาคือ หลุยส์ เลอ กรองด์ (Louis le Grand) แปลว่าหลุยส์ผู้ยิ่งใหญ่ เริ่มใช้วันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1643 จนกระทั่งพระองค์สวรรคต พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส แลพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งนาวาร์ พระองค์มีเชื้อสายทั้งราชวงศ์บูร์บงและราชวงศ์กาเปเตียง พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ครองราชย์เป็นเวลา 72 ปี จัดว่าเป็นผู้ที่ครองประเทศฝรั่งเศสนานที่สุด อีกทั้งยังเป็นพระมหากษัตริย์ในที่ครองราชย์นานที่สุดในยุโรปอีกด้วย",
"title": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "12914#0",
"text": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ([Louis XIV de France; หลุยส์กาโตร์ซเดอฟร็องส์]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help), 5 กันยายน พ.ศ. 2181 – 1 กันยายน พ.ศ. 2258) หรือเรียกว่า หลุยส์มหาราช ([Louis le Grand; หลุยส์ เลอ กร็อง]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help)) หรือ สุริยกษัตริยาธิราช (French: le Roi Soleil) เป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสและนาวาร์ ทรงครองราชย์เมื่อมีพระชนมายุได้เพียง 5 ชันษา เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 ของราชวงศ์บูร์บงแห่งราชวงศ์กาเปเตียง เสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2186 และทรงครองราชย์นานถึง 72 ปี นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในยุโรป และในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์เป็นช่วงที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้นำทางด้านศูนย์กลางการรวมอำนาจของแผ่นดิน",
"title": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "235464#0",
"text": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่งเศส ( หรือ ) (3 กรกฎาคม ค.ศ. 1423 - 7 เมษายน ค.ศ. 1498) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์วาลัวส์ ผู้ครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1461 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1483\nพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1423 ที่บูร์กในประเทศฝรั่งเศส พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 และ พระราชินีมารีแห่งราชวงศ์อองชู พระองค์เป็นพระปนัดดาในพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 และพระราชินีอิสซาเบลลา เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีความปรีชาสามารถที่สุดพระองค์หนึ่งในการพยายามรวบรวมอำนาจในฝรั่งเศส ในยี่สิบสองปีของการครองราชย์พระองค์ทรงต้องใช้กลวิธีทางการเมืองต่างๆ หรือ “ชักใยแมงมุม” ของการคบคิดและแผนต่างๆ ที่ทำให้ทรงได้รับพระฉายานามว่า “พระราชาแมงมุม”",
"title": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "59917#6",
"text": "ราชวงศ์บูร์บง : Bourbon (พ.ศ. 2132 - พ.ศ. 2335) • ราชวงศ์บูร์บง •พระปรมาภิไธยขึ้นครองราชย์สิ้นสุดการครองราชย์หมายเหตุพระเจ้าอองรีที่ 4 กษัตริย์ที่ดีและเจ้าชู้ (Henri IV)2 สิงหาคม พ.ศ. 2132 (ค.ศ. 1589)14 พฤษภาคม พ.ศ. 2153 (ค.ศ. 1610)• ทรงเป็นหลานยายของพี่สาวในพระเจ้าฟรองซัวที่ 1 พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ผู้มี่ความเที่ยงธรรม (Louis XIII)14 พฤษภาคม พ.ศ. 2153 (ค.ศ. 1610)14 พฤษภาคม พ.ศ. 2186 (ค.ศ. 1643)• เป็นพระโอรสของพระเจ้าอองรีที่ 4 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ผู้ยิ่งใหญ่,สุริยกษัตริย์ (Louis XIV)14 พฤษภาคม พ.ศ. 2186 (ค.ศ. 1643)1 กันยายน พ.ศ. 2258 (ค.ศ. 1715)• เป็นพระโอรสของพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ผู้เป็นที่รักของราษฎร (Louis XV)1 กันยายน พ.ศ. 2258 (ค.ศ. 1715)10 พฤษภาคม พ.ศ. 2317 (ค.ศ. 1774)• ทรงเป็นเหลนของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ผู้เป็นคนสุดท้าย (Louis XVI)10 พฤษภาคม พ.ศ. 2317 (ค.ศ. 1774)10 สิงหาคม พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1792)• เป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 พระเจ้าหลุยส์ที่ 17 (Louis XVII)21 มกราคม พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793)8 มกราคม พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1795)• เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16",
"title": "รายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "12914#2",
"text": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สวรรคตก่อนที่จะถึงวันครบรอบพระราชสมภพครบ 77 พรรษา และพระราชปนัดดาของเขาก็ครองราชย์สืบต่อเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 โดยในรัชสมัยอันยาวยาวนานของพระองค์ ทรงมีรัชทายาทต่อราชบัลลังก์มาแล้วกว่า 3 พระองค์ ได้แก่ พระราชโอรสของพระองค์ หลุยส์ โดแฟ็งใหญ่แห่งฝรั่งเศส, พระโอรสในของโดแฟ็งใหญ่ ได้แก่ หลุยส์ โดแฟ็งน้อย, และพระโอรสองค์โตในโดแฟ็งน้อย ได้แก่ เจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งเบรอตาญ",
"title": "พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "236123#16",
"text": "เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1824 พระศพก็ถูกฝังกลางคริพท์ใกล้กับพระศพพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระนางมารี อ็องตัวแนต โลงพระศพของพระบรมวงศานุวงศ์ที่สิ้นพระชนม์ระหว่าง ค.ศ. 1815 ถึงปี ค.ศ. 1830 ก็ถูกบรรจุในคริพท์ด้วย ภายใต้การนำของเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก อนุสรณ์ต่าง ๆ ที่ถูกนำไปเก็บไว้ในอนุสาวรีย์ประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศสก็ได้รับการนำกลับมายังมหาวิหาร และพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ผู้ถูกฝังไว้ที่อารามแซ็งปองต์ซึ่งมิได้ถูกทำลายก็ถูกนำกลับมายังมหาวิหาร ในปี ค.ศ. 2004 พระหทัย(หัวใจ)ของมกุฎราชกุมารที่ถ้าได้ขึ้นครองราชย์ก็จะเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 17 ก็ได้การบรรจุไว้ในผนังของคริพท์",
"title": "มหาวิหารแซ็ง-เดอนี"
},
{
"docid": "281496#14",
"text": "คีตกวีผู้มีชื่อเสียงไปทั่วยุโรป ฌอชแคง เดส์ เปรซ์ (Josquin Des Prez) เป็นนักดนตรีประจำราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 12อยู่ชั่วระยะหนึ่ง และอาจจะเป็นผู้เขียนงานชิ้นสำคัญๆ บางชิ้นขึ้นที่นั่น (เช่นงาน เพลงสดุดี 129, \"De profundis\" ที่อาจจะเขียนสำหรับงานพระบรมศพของพระเจ้าหลุยส์ในปี ค.ศ. 1515) พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 ผู้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสทรงให้ความสำคัญในการสร้างดนตรีอันหรูหราเป็นสิ่งแรก และทรงนำนักดนตรีติดตามพระองค์ไปในโอกาสที่ทรงไปพบปะกับสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษในการพบปะที่ทุ่งภูษาทอง ในปี ค.ศ. 1520 เพื่อเป็นการอวดโอ้ถึงความสามารถของการดนตรีของราชสำนักฝรั่งเศส ที่คาดกันว่าจัดโดยฌอง มูตอง (Jean Mouton) คีตกวีผู้มีชื่อเสียงที่สุดในการเขียนโมเต็ตของต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ",
"title": "สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "233860#1",
"text": "ระหว่างสมัยอองเซียง เรฌีมผู้ถือตำแหน่งนี้มักจะมีบทบาททางการเมือง ผู้ได้เป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสจากราชวงศ์ออร์เลอองส์องค์แรกคือพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หลุยส์ ฟิลิปป์ที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลอองส์ผู้เป็นดยุคแห่งออร์เลอองส์องค์ที่ 5 มีส่วนในการทำลายการปกครองยุคโบราณ ในฐานะหัวหน้าฝ่าย “ออร์เลอองนิสต์” (Orleanist) ที่พาเลส์รอยาลหลุยส์ ฟิลิปป์ท้าทายอำนาจของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องที่ประทับอยู่ในลูฟร์ แต่ผู้ที่ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสก็คือพระโอรสของหลุยส์ ฟิลิปป์ที่ขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1830 หลังจากการปฏิวัติในเดือนกรกฎาคมในพระนามว่าพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ผู้สืบเชื้อสายของราชตระกูลนี้คือผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ (pretender) ออร์เลอองนิสต์ และเป็นตำแหน่งที่ใช้กับสมาชิกหลายพระองค์ในราชตระกูล ผู้ถือตำแหน่งนี้มีศักดิ์เป็น “Serene Highness”",
"title": "ดยุกแห่งออร์เลอ็อง"
},
{
"docid": "517885#0",
"text": "เจ้าหญิงมารี-เตแรซแห่งฝรั่งเศส () เป็นพระชายาในเจ้าชายหลุยส์ อ็องตวน ดยุกแห่งอ็องกูแลม เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสและพระนางมารี อ็องตัวแน็ต ได้เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสหลังจากที่พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสสละราชสมบัติ เจ้าชายหลุยส์ อ็องตวน ดยุกแห่งอ็องกูแลม พระสวามีของพระองค์จึงได้ครองราชย์และเพียง 20 นาที ต่อมาพระองค์ก็ลงพระนามสละราชสมบัติ เป็นอันสิ้นสุดตำแหน่ง ",
"title": "มารี-เตแรซแห่งฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "504336#7",
"text": "อิสริยยศโดแฟ็งแห่งฝรั่งเศสถูกยกเลิกโดยรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส ค.ศ. 1791 ซึ่งนิยามฝรั่งเศสให้เป็นประเทศราชาธิปไตยใต้รัฐธรรมนูญ และภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่นี้ได้นิยามให้รัชทายาทผู้สืบราชบัลลังก์ฝรั่งเศส (ในขณะนั้นคือ โดแฟ็งหลุยส์-ชาร์ล) เปลี่ยนพระยศไปเป็น \"ราชกุมาร\" () ส่วนเจ้าชายสืบสายพระโลหิตถูกเปลี่ยนพระยศไปเป็น \"เจ้าชายฝรั่งเศส\" () การเปลี่ยนแปลงถูกประกาศรับรองโดยสภานิติบัญญัติและมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1791 ต่อมาเมื่อมีการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บงขึ้น และพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 เสด็จขึ้นครองราชย์ พระยศโดแฟ็งก็ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้ง อย่างไรก็ดีในช่วงรัชสมัยดังกล่าวกลับไม่มีผู้ได้ดำรงพระยศโดแฟ็งไปจนกระทั่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 เสด็จสวรรคต ต่อมาด้วยการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระอนุชาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ซึ่งก็คือ พระเจ้าชาร์ลที่ 10 พระโอรสของพระเจ้าชาร์ลนามว่า หลุยส์-อ็องตวน ดยุกแห่งอ็องกูแลม ผู้เป็นรัชทายาทโดยตรง จึงได้ทรงพระยศโดแฟ็งโดยอัตโนมัติ ",
"title": "โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "248449#0",
"text": "พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศส ([Charles X de France, ชาร์ลดิสเดอฟร็องส์]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help); 9 ตุลาคม พ.ศ. 2300 – 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2379), ได้รับพระสมัญญานามว่า ผู้ทรงเป็นที่รัก ([le Bien-Aimé; เลอเบียงแนเม]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help))[1], ทรงดำรงตำแหน่งเคานต์แห่งอาร์ตัวก่อนจะขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ ตั้งแต่ 16 กันยายน พ.ศ. 2367 - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2373[2] เป็นพระปิตุลา (ลุง) ในเยาวกษัตริย์ผู้ทรงไม่ได้บรมราชาภิเษก พระเจ้าหลุยส์ที่ 17 และพระอนุชาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสและพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส ผู้ซึ่งหลังทรงถูกเนรเทศก็สนับสนุนพระอนุชาจนได้สืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ พระเจ้าชาร์ลที่ 10 ทรงครองราชสมบัติเป็นระยะเวลาเกือบ 6 ปี และสิ้นสุดลงด้วยการปฏิวัติเดือนกรกฎาคม ส่งผลให้ต้องทรงสละราชสมบัติแก่หลุยส์ ฟิลิปป์ที่ ดยุคแห่งออร์เลอองส์ ซึ่งขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 ทรงถูกเนรเทศและสวรรคตที่กอริเซีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย[3]",
"title": "พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "235434#2",
"text": "ฌานเสกสมรสเมื่อพระชนมายุได้ 12 พรรษาเมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1476 ด้วยเหตุผลทางเมืองกับญาติห่าง ๆ ของพระราชบิดาหลุยส์ ดยุกแห่งออร์เลอ็อง ผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 เมื่อพระเจ้าชาร์ลที่ 8 พระเชษฐาของฌานเสด็จสวรรคตและหลุยส์ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ หลุยส์ก็ถูกบังคับให้ประกาศให้การแต่งงานของพระองค์กับฌานเป็นโมฆะเพื่อที่จะได้เสกสมรสกับแอนน์แห่งบริตตานี พระราชินีหม้ายในพระเจ้าชาร์ลที่ 8 เพื่อรักษาดัชชีบริตตานีไว้กับราชวงศ์ฝรั่งเศสที่ได้รับการบรรยายว่าเป็น “คดีที่น่าขยะแขยงที่สุดของสมัยนั้น” พระเจ้าหลุยส์มิได้ทรงใช้การแต่งงานภายในสายเลือดเดียวกัน (consanguinity) เป็นข้ออ้างซึ่งเป็นเหตุผลที่นิยมใช้เป็นข้ออ้างกันในสมัยนั้น แม้ว่าจะทรงสามารถหาพยานพิสูจน์ได้ว่ามีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดต่อกันโดยการแต่งงานของบรรดาพี่ ๆ น้อง ๆ หลายคู่ และไม่ทรงสามารถใช้ข้ออ้างที่ว่าพระชนมายุต่ำกว่าที่ระบุไว้ในกฎหมาย (14 ปี) ที่จะต้องได้รับอนุญาตในการเสกสมรส ไม่มีใครทราบว่าพระองค์ประสูติเมื่อใด พระองค์เองตรัสว่ามีพระชนมายุ 12 ปี ผู้อื่นสันนิษฐานว่า 11 ถึง 13 ปี แต่ก็ไม่มีสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่าทรงถูกบังคับให้ใช้เหตุผลอื่น",
"title": "ฌานแห่งฝรั่งเศส ดัชเชสแห่งแบรี"
},
{
"docid": "59917#11",
"text": "ราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟูครั้งที่ 2 : Seconde Restauration (ค.ศ. 1815 - ค.ศ. 1830) • ราชวงศ์บูร์บง •พระปรมาภิไธยขึ้นครองราชย์สิ้นสุดการครองราชย์หมายเหตุพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 (Louis XVIII)7 กรกฎาคม ค.ศ. 1815 (พ.ศ. 2358)16 กันยายน ค.ศ. 1824 (พ.ศ. 2367)• เป็นพระอนุชาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 16พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 (Charles X)16 กันยายน ค.ศ. 1824 (พ.ศ. 2367)2 สิงหาคม ค.ศ. 1830 (พ.ศ. 2373)• เป็นพระอนุชาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และ พระเจ้าหลุยส์ที่ 18",
"title": "รายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศส"
}
] |
2724 | เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553คนขับรถที่ทำให้เกิดเหตุคือใคร? | [
{
"docid": "353986#0",
"text": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553 เป็นอุบัติเหตุบนท้องถนน เกิดขึ้นในคืนวันที่ 27 ธันวาคม 2553 เมื่อรถยนต์นั่งส่วนบุคคล สีขาว ยี่ห้อฮอนด้า ซีวิค ขับโดย อรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา ชื่อเล่นว่า แพรวา อายุ 17 ปี[1] แล่นมาด้วยความเร็ว พุ่งเข้าชนท้ายรถตู้สาธารณะ สีขาว ยี่ห้อโตโยต้า ไฮแอซ บนทางยกระดับอุตราภิมุขเส้นทางระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต กับสถานีหมอชิต (สาย ต.118) ซึ่งมีผู้โดยสาร 14 คน ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ[2] เป็นเหตุให้รถตู้คันดังกล่าวฟาดกับขอบทางยกระดับอุตราภิมุขอย่างแรง มีผู้โดยสารกระเด็นออกจากรถ เบื้องต้นเสียชีวิต 8 คน บาดเจ็บอีก 6 คน[3][4] ต่อมา ผู้บาดเจ็บเสียชีวิตลงอีก 1 คน รวมจำนวนผู้โดยสารเสียชีวิต 9 คน และบาดเจ็บ 5 คน[5] ส่วนอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา บาดเจ็บเล็กน้อย[2]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
}
] | [
{
"docid": "353986#4",
"text": "เวลา 21:41 นาฬิกา พันตำรวจโท ฉัตรชัย เอี่ยมอ่อง สารวัตรสืบสวนสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลวิภาวดีรังสิต รับรายงานเหตุ จึงนำกำลังไปตรวจสอบ และสั่งปิดการจราจรบนทางยกระดับอุตราภิมุข ตลอดจนบริเวณทางคู่ขนานขาเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 ตั้งแต่หน้าบริษัทยาคูลท์ ไปจนถึงสี่แยกบางเขน[8][11] บนทางยกระดับอุตราภิมุข เขาพบรถรรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา จอดอยู่กลางถนน หน้ารถพังยับเยิน และล้อหลุด ส่วนอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา พิงขอบทางยกระดับอุตราภิมุข ใช้แบล็กเบอร์รีอยู่ข้าง ๆ[12] และพบรถตู้ที่ประสบเหตุ กำลังพลิกคว่ำ สภาพท้ายรถพังยับเยิน[2] นอกจากนี้ เขายังพบศพกระจายเกลื่อนอยู่บนทางคู่ขนาน ตั้งแต่หน้าหน้าสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ มาถึงประตูทางเข้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นับได้ทั้งหมด 8 ศพ ส่วนผู้บาดเจ็บมี 7 คน รวมอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา ด้วยแล้ว เจ้าหน้าที่และพลเมืองดีได้ช่วยกันนำส่งโรงพยาบาลวิภาวดีที่อยู่ใกล้เคียง[10] ต่อมา จันจิรา ซิมกระโทก ผู้บาดเจ็บ ตายลงอีก 1 จำนวนผู้ประสบเหตุจึงเปลี่ยนแปลงเป็น เสียชีวิต 9 คน บาดเจ็บ 6 คน[5]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#13",
"text": "วันที่ 31 สิงหาคม 2555 ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง สนามหลวง อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 1233/2554 ลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและทำให้ทรัพย์สินเสียหายเป็นเวลา 3 ปี คำให้การในชั้นพิจารณาเป็นประโยชน์ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกเป็นเวลา 2 ปี โทษจำคุกให้รอลงอาญาเป็นเวลา 3 ปี คุมประพฤติจำเลย 3 ปี และให้รายงานตัวทุก 3 เดือน ให้ทำงานบริการสังคมโดยการดูแลผู้ป่วยจากอุบัติเหตุเป็นเวลา 48 ชั่วโมง และห้ามจำเลยขับรถยนต์จนกว่าจะมีอายุครบ 25 ปีบริบูรณ์ ส่วนความผิดฐานใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ ศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากไม่สามารถนำสืบได้ว่าจำเลยใช้โทรศัพท์จริงหรือไม่ เพราะอยู่ในรถ[25]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#3",
"text": "ครั้นมาถึงทางยกระดับอุตราภิมุข ซึ่งอยู่สูง 20 เมตรเหนือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ติดต่อกับสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และบริษัทยาคูลท์ (ประเทศไทย) จำกัด แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร[2][8] รถยนต์นั่งส่วนบุคคลของอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้วิ่งมาด้วยความเร็ว พุ่งเข้าชนท้ายรถตู้ รถตู้จึงเสียหลัก พลิกคว่ำไปชนขอบกั้นคอนกรีตของทางยกระดับอุตราภิมุข และฟาดกับเสาไฟฟ้า ก่อนคว่ำลงกับพื้นในลักษณะตะแคง กระจกแตก และประตูเปิดออก[9] แรงเหวี่ยงส่งผลให้ผู้โดยสารบางส่วนกระเด็นจากรถ กระแทกพื้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 บางส่วนปลิวตกลงคลองของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มี 1 คนกระเด็นไปกระแทกสะพานลอยใต้ทางยกระดับอุตราภิมุขเสียชีวิตและศพเกี่ยวห้อยอยู่ ณ ที่นั้น ขณะที่อีกส่วนคาอยู่ในรถตู้[2][10]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#11",
"text": "วันที่ 30 ธันวาคม 2553 พลตำรวจตรี อำนวย นิ่มมะโน รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ว่า เจ้าพนักงานตำรวจได้หมายเรียกอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา ให้มาที่สถานีตำรวจนครบาลวิภาวดีในวันที่ 5 มกราคม 2554 เวลา 12.00 น. เพื่อถามปากคำ หากไม่มาตามหมาย ก็จะขอให้ศาลหมายจับต่อไป และที่มีข่าวว่า อรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยาเตรียมหลบหนีออกนอกประเทศนั้น ทางตำรวจได้ประสานกับตำรวจตรวจคนเข้าเมืองประจำทุกจุดผ่านแดนให้เตรียมสะกัดไว้แล้ว[5] เขายังสำทับด้วยว่า เตรียมตั้งข้อกล่าวหาอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา ว่ากระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิตและบาดเจ็บ และขับขี่รถยนต์ โดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่[21]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#15",
"text": "ส่วนประชาคมธรรมศาสตร์บนเฟซบุ๊ก แสดงความคิดเห็นทำนองเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่ผู้ตายซึ่งเป็นเพื่อนและอาจารย์ร่วมมหาวิทยาลัย และประสงค์ให้ตำรวจไทยกล้าหาญทำสิ่งที่ถูกต้อง ไม่เกรงกลัวอิทธิพลของราชสกุล บางคนว่า \"มันช่างตลกร้าย นักกฎหมายแท้ ๆ ที่ตาย แต่คนชนกลับหลุดรอดกฎหมายไปได้...\", \"เด็กผู้หญิงอายุสิบเจ็ด ไม่มีใบขับขี่ ขับรถเก๋งบนทางด่วนด้วยความเร็วสูงตอนสี่ทุ่ม ผู้ปกครองปล่อยมาได้อย่างไร\" และ \"เด็กไม่ได้ตั้งใจ แต่มีคนเจ็บคนตายนะ เด็กควรขอโทษ พ่อแม่ครอบครัวเด็กมีฐานะ น่าจะแสดงความรับผิดชอบหรือแสดงถึงน้ำใจและความรู้สึกเสียใจต่อการกระทำของเด็กสักนิด\" เป็นต้น[16][32]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#30",
"text": "กระทั่งวันที่ 30 ธันวาคม 2553 ลัดดาวัลย์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา มารดาของอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา แถลงว่า ที่ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบตั้งแต่แรกเริ่มนั้น เพราะต้องการให้กระแสของอารมณ์ในสังคมคลี่คลายลงเสียก่อน และยืนยันว่าจะไม่หนีไปไหน เธอยังกล่าวด้วยว่า \"...ลูกสาวยอมรับว่าขับรถเร็ว เพราะจะรีบเอารถไปคืนเพื่อน รถไม่ใช่ของเรา ดิฉันไม่เคยอนุญาตให้ลูกขับรถไปข้างนอกแบบนั้น...ลูกสาวผิดแน่ที่อายุสิบเจ็ดไม่มีบัตร [ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์] แพรวารีบกดบีบี [แบล็กเบอร์รี] บอกเพื่อนว่ารถชน และถามเรื่องประกันของรถคันนี้ ไม่ใช่มัวเล่นบีบีตามที่บางท่านเข้าใจ...ถ้าน้องผิดจริง เราก็ยินดีให้น้องเข้ากระบวนการทุกอย่าง\"[40]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#33",
"text": "วันที่ 29 ธันวาคม 2553 ปิยะพันธ์ จัมปาสุต ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ว่า \"...ได้ตรวจสอบแล้วว่ารถตู้คันดังกล่าวเป็นรถตู้ของบริษัท สยามออโต้เซอร์วิส จัดทำประกันภัยไว้กับบริษัทนำสินประกันภัย ประเภท 1 ระยะเวลาประกันภัยตั้งแต่ 31 ธันวาคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553 โดยผู้เสียชีวิตจะได้รับค่าชดเชยจากบริษัทประกันภัยรายละสองแสนบาท และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจะได้รับค่ารักษาพยาบาลก่อนไม่เกินหนึ่งแสนบาท...\" วันถัดมา จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย แถลงว่า เงินดังกล่าวเป็นเพียงเบื้องต้น และบริษัทประกันภัยได้เริ่มจ่ายให้แก่ทายาทผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บแล้ว[40]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#29",
"text": "นับแต่เกิดเหตุเป็นต้นมา อรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา และครอบครัวยังคงเก็บตัวเงียบ ในขณะที่ฝ่ายผู้เสียหายในอุบัติครั้งนี้ต่างเรียกร้องให้อรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา แสดงความรับผิดชอบบ้าง อาทิ สะโอด ซิมกระโทก บิดาของจันจิรา ซิมกระโทก ผู้ตาย ว่า \"...อยากให้เจ้าหน้าที่ ตำรวจทำคดีอย่างตรงไปตรงมา...และอยากให้คู่กรณีออกมาแสดงความรับผิดชอบบ้าง ให้มีน้ำใจต่อกันบ้าง สำหรับตอนนี้ ยังไม่มีใครออกมารับผิดชอบหรือให้ความช่วยเหลืออะไรเลย\" ขณะที่ปิยะวรรณ ซิมกระโทก มารดาของจันจิรา ซิมกระโทก ว่า \"...ตั้งแต่เกิดเหตุจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีใครออกมาแสดงความรับผิดชอบ ไม่ใช่เรียกร้องเรื่องเงิน แต่ให้คนที่เกี่ยวข้องออกมารับผิดชอบบ้าง แค่แสดงความเสียใจก็ยังดี แต่ถึงตอนนี้ยังไม่มีใครทำอะไรเลย\"[43]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#32",
"text": "วันที่ 1 มกราคม 2554 เวลา 15.00 นาฬิกา ลัดดาวัลย์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา มารดาของอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เดินทางไปยังวัดเกาะนัมมทาปทวลัญชาราม อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เพื่อขอขมาศพศาสตรา เช้าเที่ยง และกราบเท้าถวิล เช้าเที่ยง มารดาบุญธรรมของศาสตรา เช้าเที่ยง สามครั้ง พร้อมกล่าวขอโทษด้วยน้ำตานองหน้า และมอบเงินสามหมื่นบาทให้เป็นค่าปลงศพ ในโอกาสนี้ เธอยังแถลงว่าได้ประสานให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบเหตุทุกรายแล้ว[47] วันที่ 2 มกราคม 2554 พันตำรวจเอกศรัญ นิลวรรณ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี บิดาของสุดาวดี นิลวรรณ ผู้ตาย กล่าวว่า ไม่เคยมีใครติดต่อมา และไม่สนใจว่าใครจะติดต่อมา สิ่งเดียวที่เขาสนใจคือการเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่บุตร[41]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#34",
"text": "ในโอกาสเดียวกัน บริษัทนำสินประกันภัย ว่า เงินทั้งนี้ บริษัทประกันจ่ายให้แก่ผู้ประสบเหตุ โดยไม่คำนึงว่าฝ่ายใดถูกฝ่ายใดผิด แม้เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วจะปรากฏว่าฝ่ายรถตู้ผิด ก็จะรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมอีกไม่เกินจำนวนหนึ่งล้านบาทให้แก่ผู้ตายแต่ละคน และไม่เกินหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทให้แก่ผู้บาดเจ็บ แต่ถ้าฝ่ายรถตู้ถูก บริษัทจะเรียกค่าสินไหมทดแทนจากอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา ให้[48]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#19",
"text": "วันที่ 30 ธันวาคม 2553 พลตำรวจตรีประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือนชาวไซเบอร์ให้ระมัดระมัดในการวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์ เพราะอาจเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาได้ เนื่องจากขณะนั้น อรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา ยังไม่มีสถานะเป็นผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญา[21]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#23",
"text": "บ่ายวันนั้น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่าเกี่ยวกับประเด็นที่สัมคมออนไลน์วิพากษ์วิจารณ์ถึงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจในคดีนี้ว่า \"...ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย ไม่มีใครสิทธิพิเศษ ก็ต้องมีการติดตามคดีอย่างเต็มที่ ส่วนการบังคับใช้กฎหมาย เพราะคนขับที่เป็นต้นเหตุอายุแค่ 16 ปีนั้น...นี่แหละคือสิ่งที่เราพยายามอย่างมากขณะนี้ คือ หนึ่ง การเคารพกฎหมาย สอง ความไม่ประมาท อันนี้เป็นจุดอ่อนมาโดยตลอด และ สาม เราจะต้องเข้มงวดกวดขันมากขึ้น\"[38] และกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร มีหนังสือเรียกเจ้าพนักงานตำรวจที่เกี่ยวข้องให้เข้าชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นเดียวกัน ในวันที่ 5 มกราคม 2554[39]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#2",
"text": "วันที่ 27 ธันวาคม 2553 ราว 21:00 นาฬิกา รถตู้สาธารณะคันข้างต้นได้รับผู้โดยสาร 14 คนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ที่เลิกเรียนและเลิกงานจะกลับบ้านก่อนวันหยุดยาวช่วงขึ้นปีใหม่[2] ปลายทางของรถตู้คือสถานีหมอชิต เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร[2]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#14",
"text": "อุบัติเหตุครั้งนี้ กลายเป็นประเด็นสนทนาเป็นอันมากในสังคมออนไลน์ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่พยายามค้นหาประวัติของอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา และส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นเชิงลบ รุมประณามการที่อรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา ขับรถโดยประมาทและในวัยสิบเจ็ดปีเท่านั้น ตลอดจนกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจไม่ดำเนินคดี ต่างก็คาดเดากันว่า เนื่องจากอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นลูกหลานราชสกุลเทพหัสดิน ณ อยุธยา จึงหลุดพ้นคดีได้[26][16] มีผู้ตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ และตั้งหัวข้อสนทนา เป็นหลายประการ อาทิ ในพันทิปดอตคอม มีหัวข้อว่า \"ขอประณามการกระทำคุณแพรวา และครอบครัว\"[27], \"ตกลงใครเป็นคนขับชนกันแน่...รถตู้โดนซีวิคชนท้าย คนตกทางด่วน ตายเกลื่อน\"[28] และ \"มาดูหลังภาพรถเก๋งและคนขับหลังจากเกิดเหตุการณ์\"[29] เป็นต้น อีกประเด็นหนึ่งที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มาก คือ กรณีที่สมบัติ วงศ์กำแหง โฆษกสภาทนายความ แถลงว่าคนขับรถตู้ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญานั้น มีผู้แสดงความคิดว่า \"นายสมบัติ วงศ์กำแหง มึงดูภาพจากล้องหรือยัง ถ้ามึงขับมาดี ๆ ไม่เร็ว ขับปรกติ แล้วรถมาชนตูดมึง รถมึงหมุน ลูกมึงกระเด็นมาตายนอกรถ มึงว่ามึงผิดไหม แล้วมึงต้องจ่ายค่าเสียหายรถที่ขับมาชนตูดมึงไหม....\" เป็นอาทิ[30][31]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#10",
"text": "โอกาสเดียวกัน พลตำรวจตรี ภาณุ เกิดลาภผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ด้านการจราจร ว่า เขาได้ดูภาพจากกล้องวงจรปิดแล้วเช่นกัน พบว่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลของอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา ขับมาชนรถตู้อย่างกระชั้น โดยเขาใช้คำว่า \"สะกิดรถตู้ให้เสียหลัก\"[18] ขณะที่สมบัติ วงศ์กำแหง โฆษกสภาทนายความ ว่า \"...คนขับรถตู้มีความผิดชัดเจนอยู่แล้ว แต่คนขับเสียชีวิตด้านอาญาไม่ต้องรับผิดชอบ แต่ทางแพ่งยังคงต้องรับผิดชอบ โดยผู้เสียหายหรือญาติสามารถฟ้องร้องจากเจ้าของรถตู้ หรือถ้าผู้ตายเป็นเจ้าของก็สามารถฟ้องร้องนำทรัพย์สินมาชดใช้เป็นค่าเสียหาย ได้ ส่วนรถเก๋งก็ต้องรับผิดชอบด้วยเหมือนกัน แต่จะต้องรับผิดชอบทั้งอาญาและแพ่ง...\" เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นหนึ่งที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เป็นอันมากในสังคม ออนไลน์[19][20]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#21",
"text": "วันที่ 28 ธันวาคม 2553 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ออก \"ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง ข้อกำหนดในการให้บริการรถตู้โดยสารที่มีสถานีรับส่งผู้โดยในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2553\" สาระสำคัญเป็นข้อกำหนดให้ผู้ให้บริการรถตู้ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต้องจัดให้ผู้โดยสารทุกคนคาดเข็มขัดนิรภัย ถ้ามีผู้โดยสารไม่คาด ห้ามออกรถเป็นอันขาด กับทั้งกำหนดความเร็วรถและเส้นทางของรถ ห้ามพนักงานที่เมา เมาค้าง อ่อนเพลีย หรือไม่พร้อมทำหน้าที่ เช่น เพิ่งหายป่วย หรืออดนอน ขับรถโดยเด็ดขาด ตลอดจนกำหนดให้ติดเลขหมายโทรศัพท์ของรองอธิการบดีฝ่ายบริหารทั่วไปไว้ในรถทุกคัน เพื่อให้ผู้ใช้บริการร้องเรียนได้โดยพลัน ประกาศนี้ให้ใช้บังคับทันที[26]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#22",
"text": "วันที่ 29 ธันวาคม 2553 สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ออก \"แถลงการณ์สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ฉบับที่ 1) กรณีอุบัติเหตุบนดอนเมืองโทลล์เวย์เมื่อ 27 ธันวาคม 2553 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2553\" เนื้อใหญ่ใจความ เป็นการแสดงความเสียใจต่อผู้ประสบเหตุ, เรียกร้องให้อรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา แสดงความรับผิดชอบ ตลอดจน เรียกร้องให้เจ้าพนักงานตำรวจมีความกล้าหาญ ไม่เกรงกลัวอิทธิพล และเป็นกลาง",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#8",
"text": "ภาพยังปรากฏอีกว่า เมื่อรถตู้ถูกชน มีจังหวะหนึ่งผู้โดยสารกระเด็นออกจากรถตู้ขึ้นสู่อากาศกว่าเจ็ดสิบเมตร[15]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#24",
"text": "วันที่ 30 ธันวาคม 2553 องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดตั้ง \"กลุ่มเฝ้าระวังอุบัติเหตุของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์\" เพื่อจับตาความปลอดภัยของชาวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[31] ในโอกาสเดียวกัน สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงว่า[40]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#18",
"text": "เวลา 19:00 นาฬิกาของวันเดียวกัน ชาวเฟซบุ๊กจากโครงการ \"มั่นใจว่าคนไทยเกินล้านคนไม่พอใจ แพรวา (อรชร) เทพหัสดิน ณ อยุธยา\" ข้างต้น ราวห้าสิบคน นัดรวมตัวกันและเดินเท้าจากหน้าโรงพยาบาลวิภาวดี ไปยังทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 ใต้ทางยกระดับอุตราภิมุขจุดเกิดเหตุ แล้วจุดเทียนไว้อาลัยแก่ผู้ตาย ทั้งกล่าวด้วยว่าจะจัดกิจกรรมเช่นนี้ต่อไปจนกว่าอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยาจะได้รับการลงโทษตามกฎหมาย มีรายงานข่าวว่า ประชาชนที่ผ่านไปมาหยุดดูด้วยความสนใจ[36]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#1",
"text": "อุบัติเหตุครั้งนี้สร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในด้านลบต่ออรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา อย่างกว้างขวางในสังคมออนไลน์ ขณะที่ชาวเน็ตบางกลุ่มเรียกร้องให้รัฐดำเนินกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับอุบัติเหตุครั้งนี้อย่างโปร่งใสและเป็นกลาง[6] อีกทั้งยังส่งผลให้รัฐพิจารณาออกกฎระเบียบบังคับให้ผู้โดยสารรถสาธารณะต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทุกคนด้วย[7]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#31",
"text": "พันเอกรัฐชัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา บิดาของอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา กล่าวเสริมว่า \"...กระแสในโซเชียลเน็ตเวิร์คที่กล่าวว่าลูกสาวเส้นใหญ่ หรือมีการปิดสื่อ ไม่โกรธที่จะมีใครคิดอย่างนั้น เพราะว่าใครเห็นนามสกุลของตระกูล ก็สามารถคิดได้ทั้งนั้น แต่ไม่เคยมีพฤติกรรมเอาเปรียบประชาชน เพราะตั้งแต่เข้ารับราชการกระทั่งลาออก ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างดี ไม่เคยเล่นเส้นสายหรือทุจริตแต่อย่างใด...\"[44] ค่ำวันเดียวกัน ครอบครัวเทพหัสดินมีหนังสือแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และอวยพรปีใหม่ตบท้าย[45] ครั้นวันถัดมา อรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา ให้สัมภาษณ์ว่า จำไม่ได้ว่าวันเกิดเหตุขับรถด้วยความเร็วเท่าไร ทว่า ในคำสัมภาษณ์ช่วงหลังปรากฏถ้อยคำว่า \"...ถ้าหนูไม่ขับเร็วในวันนั้น เหตุการณ์นี้ก็คงไม่เกิดขึ้น...\" อรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยากล่าวด้วยว่า ที่ใช้แบล็กเบอร์รี ก็เพื่อแจ้งพวกพ้องให้ทราบถึงเหตุการณ์และเรียกบริษัทประกัน หาได้สนทนากับเพื่อน หรือเพิ่มเติมเนื้อหาในหน้าเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์ของตน แต่ประการใดไม่ และทิ้งท้ายว่า หลังเหตุการณ์เธอจะไปบวชชี[1] บ่ายวันเดียวกัน เธอและครอบครัว เดินทางไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บทั้งห้าคน พร้อมให้ขนมเปี๊ยะเป็นกำนัลคนละกล่อง[46]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#27",
"text": "ในช่วงเดียวกัน กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า มีดำริจะออกกฎกระทรวงบังคับให้ผู้โดยสารรถตู้และรถประจำทางสาธารณะทั่วประเทศต้องคาดเข็มนิรภัยทุกคน ขณะที่ ปิยะพันธ์ จัมปาสุต ประธานคณะกรรมการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ขอให้กระทรวงคมนาคมทบทวนให้ดี เกรงว่าในกรณีที่เพลิงไหม้ ผู้โดยสารอาจตายคารถ เพราะปลดเข็มขัดไม่ทัน[38] เขาเห็นว่า ควรที่จะส่งเสริมให้ประชาชนใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย มากกว่าคอยออกกฎระเบียบ[7]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#36",
"text": "หมวดหมู่:อุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย หมวดหมู่:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หมวดหมู่:อินเทอร์เน็ตมีม หมวดหมู่:การตรวจพิจารณา หมวดหมู่:ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2553",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#20",
"text": "อนึ่ง สถิติจากกูเกิลเจาะลึกการค้นหา เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2554 ยังพบว่า ในช่วงปลายปี 2553 ถึงวันดังกล่าว คำสำคัญที่เกี่ยวกับอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา อาทิ \"อรชร เทพหัสดิน,\" \"เทพหัสดิน ณ อยุธยา,\" \"แพรวา อรชร\" และ \"น.ส.อรชร\" ได้รับความนิยมใช้ค้นหาในกูเกิลมากถึงร้อยละร้อย ขณะที่คำสำคัญอย่าง \"ข่าวอรชร เทพหัสดิน,\" \"ชนรถตู้,\" \"น.ส.อรชร,\" \"ประวัติอรชร เทพหัสดิน\" และ \"แพรวา\" เป็นต้น กำลังได้รับความนิยมใช้มากขึ้นโดยลำดับ ขนาดที่กูเกิลเจาะลึกการค้นหากล่าวว่าเป็น \"ดาวรุ่งพุ่งแรง\"[37]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#7",
"text": "...รถตู้วิ่งอยู่เลนกลางด้วยความเร็วประมาณแปดสิบ กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถเก๋งซีวิควิ่งตามหลังมาด้วยความเร็วสูง แล้วเกิดเปลี่ยนเลน [ช่องทาง] ไปทางขวากะทันหัน ทำให้ด้านหน้ารถเก๋งชนท้ายขวาของรถตู้อย่างแรง...รถตู้หมุนหัวรถหันไปทาง ด้านซ้าย...รถเก๋งซึ่งเสียหลักก็หมุนเช่นกัน ส่งผลให้ด้านข้างขวาของรถเก๋งกระแทกซ้ำเข้าไปที่ด้านซ้ายของรถตู้อย่างจัง ผลจากการชนซ้ำทำให้รถตู้กระแทกเข้าไปที่ขอบปูนอย่างรุนแรง จนด้านหน้าของรถตู้ฉีกขาด ทำให้ผู้โดยสารที่อยู่ภายในหลุดกระเด็นออกมา...ช่วงระยะเวลาที่เกิดเหตุนั้น รวมเพียงแค่ห้าถึงหกวินาทีเท่านั้น...",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "353986#6",
"text": "วันที่ 28 ธันวาคม 2553 เวลา 10:00 นาฬิกา พันตำรวจโท ฉัตรชัย เอี่ยมอ่อง แถลงข่าวว่า เบื้องต้น ได้ตรวจสอบกล้องวงจรปิด พบว่าสามารถบันทึกภาพช่วงที่เกิดเหตุได้[12] โดยปรากฏว่า[2]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
},
{
"docid": "925303#3",
"text": "วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เกิด เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553 มีผู้เสียชีวิต 9 ราย และ ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เกิดอุบัติเหตุรถตู้เสียหลักชนต้นไม้ ที่ อำเภอคลองขลุง มีผู้เสียชีวิต 9 ราย เช่นเดียวกัน",
"title": "ยอดผู้เสียชีวิตจากยานพาหนะในประเทศไทยแบ่งตามปี"
},
{
"docid": "353986#17",
"text": "อย่างไรก็ดี มีสมาชิกอีกกลุ่มในสังคมออนไลน์เชิญชวนให้เพื่อนสมาชิกหมั่นใช้วิจารณญาณ และระงับสติอารมณ์ บางคนแสดงความคิดเห็นว่า \"เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยจำนวนหนึ่ง จะมากน้อยไม่รู้ มีความเก็บกดทางความคิดและอารมณ์ โดยเฉพาะในประเด็นความไม่ทัดเทียมกันในสังคมที่มีให้เห็นอย่างดาษดื่น\" และ \"...คนส่วนใหญ่มีการศึกษาและเข้าถึงข่าวสาร แต่กลับใช้อารมณ์ตัดสินและแต่งเติม\" เป็นต้น[16][32]",
"title": "เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553"
}
] |
1726 | คลองรังสิตประยูรศักดิ์ ตั้งชื่อโดยใคร ? | [
{
"docid": "329505#3",
"text": "เมื่อขุดคลองเสร็จ พ.ศ. 2440 ได้มีการสร้างประตูน้ำทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานชื่อ \"ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์\" คู่กับ \"ประตูน้ำเสาวภา\" ทั้งพระราชทานชื่อคลองว่า \"คลองรังสิตประยูรศักดิ์\" ซึ่งเป็นพระนามของพระราชโอรสผู้เป็นพระนัดดาของพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์เป็นเกียรติสืบมา",
"title": "จังหวัดธัญญบุรี"
},
{
"docid": "120120#3",
"text": "เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตพิเศษให้แก่บริษัทขุดคลองแลคูนาสยามซึ่งมีหม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ เป็นผู้รับมอบ ให้จัดการขุดคลองซอยตัดท้องทุ่งระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำนครนายก โดยให้สิทธิ์แก่บริษัทฯ ในการขายที่ดินทั้งสองฝั่งคลองเพื่อจัดเป็นที่นาได้ บริษัทฯ ได้ขุดคลองสายกลางขึ้นสายหนึ่งจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปทะลุแม่น้ำนครนายกพร้อมตัดคลองซอยจากทั้งสองฝั่งคลองสายกลางนี้ โดยได้รับพระราชทานนามว่า \"คลองรังสิตประยูรศักดิ์\" ประตูน้ำปิด-เปิดด้านแม่น้ำเจ้าพระยาได้พระราชทานนามว่า \"ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์\" ส่วนประตูน้ำทางด้านแม่น้ำนครนายกนั้นพระราชทานนามว่า \"ประตูน้ำเสาวภาผ่องศรี\"",
"title": "อำเภอองครักษ์"
},
{
"docid": "31386#2",
"text": "อำเภอธัญบุรีเดิมอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า \"ทุ่งหลวง\" ของมณฑลกรุงเทพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่จะพัฒนาที่ดินในทุ่งหลวงให้เกิดประโยชน์แก่ประชาราษฎรด้วยการที่จะมีคลองขึ้นในบริเวณทุ่งนี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการขุดคลองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 เป็นต้นมาและได้พระราชทานนามว่า \"คลองรังสิตประยูรศักดิ์\" ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการให้สถาปนา เมืองธัญญบูรี ขึ้น ประกอบด้วย 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอคลองหลวง อำเภอหนองเสือ และอำเภอลำลูกกา พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดที่ทำการเมืองด้วยพระองค์เองเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2445 ธัญญบูรีมีฐานะเป็นเมืองจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2475 จึงถูกลดฐานะลงเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี",
"title": "อำเภอธัญบุรี"
},
{
"docid": "177501#6",
"text": "แม้ว่าจะได้รับสัมปทานขุดคลองมาตั้งแต่ พ.ศ. 2431 แล้ว แต่ในสัญญาได้ระบุไว้ว่า บริษัทขุดคลองแลคูนาสยามต้องเสนอแผนการขุดหรือซ่อมคลอง ระบุแผนที่การขุด ขนาดคลอง และกำหนดระยะเวลาการทำงาน ให้เสนาบดีกรมเกษตราธิการ (เดิมคือ กรมนา ต่อมายกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงเกษตราธิการใน พ.ศ. 2435) พิจารณาก่อนทุกครั้ง โดยใน พ.ศ. 2433 บริษัทได้ยื่นหนังสือขออนุญาตขุดคลองครั้งแรกรวม 8 สาย แต่พระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เสนาบดีกรมเกษตราธิการในขณะนั้น อนุญาตให้ขุดได้เพียงสายเดียว คือ คลองสายหลัก ซึ่งเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ส่วนปลายคลองเชื่อมกับแม่น้ำนครนายกในเขตอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก บริษัทได้เริ่มขุดคลองนี้เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2433 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2440 รวมระยะเวลาขุดประมาณ 7 ปี คลองดังกล่าวกว้าง 8 วา (16 เมตร) ลึก 5 ศอก (3 เมตร) ยาวประมาณ 1,400 เส้น (56 กิโลเมตร) ในระยะแรกชาวบ้านเรียกคลองนี้ว่า “คลองเจ้าสาย” ตามพระนามพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ หรือเรียกกันว่า “คลองแปดวา” ตามความกว้างของคลอง แต่ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามคลองนี้ว่า “รังสิตประยูรศักดิ์” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ (ต้นราชสกุล รังสิต) พระราชโอรสที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์ พระธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ด้วยเหตุนี้ในเวลาต่อมาจึงเรียกชื่อโครงการพัฒนาที่ดินบริเวณนี้ว่า โครงการรังสิต และเรียกบริเวณที่คลองนี้ไหลผ่านว่า ทุ่งรังสิต",
"title": "คลองรังสิต"
}
] | [
{
"docid": "177501#0",
"text": "คลองรังสิตประยูรศักดิ์ หรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า คลองรังสิต เป็นคลองสายหลักในโครงการพัฒนาที่ดินขนาดใหญ่แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งเริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นโครงการคลองชลประทานเพื่อการเกษตรแห่งแรกของไทยที่ริเริ่มขึ้นเพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณทุ่งรังสิตให้เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าว รองรับการขยายตัวของการส่งออกข้าว ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทยในขณะนั้น",
"title": "คลองรังสิต"
},
{
"docid": "86098#1",
"text": "สภาพทั่วไปในเขตเทศบาลเป็นที่ราบลุ่ม มีคลองรังสิตประยูรศักดิ์ผ่านกลาง แบ่งเขตพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้ขุด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 โดยขุดแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี ไปจนถึงเขตอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ความยาวโดยประมาณ 38.4 กิโลเมตร มีคลองซอย 14 คลอง อยู่ในเขตเทศบาลนครรังสิตจำนวน 3 คลองซอย ใช้สำหรับส่งน้ำเพื่อประโยชน์ทางกสิกรรมและคมนาคมขนส่ง",
"title": "เทศบาลนครรังสิต"
},
{
"docid": "539493#0",
"text": "คลองหกวาสายบน เป็นคลองที่ขุดขึ้นหลังคลองแปดวา หรือคลองรังสิตประยูรศักดิ์เริ่มขุดไปได้ระยะหนึ่ง โดยบริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 5 เชื่อมระหว่างคลองหนึ่ง บริเวณเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กับแม่น้ำใน ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำนครนายก ที่อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี จุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายคลองต่าง ๆ เข้าด้วยกันตามโครงการทุ่งรังสิต ระหว่างปี พ.ศ. 2433 – พ.ศ. 2447 เหตุที่เรียกว่าคลองหกวาสายบน ด้วยเพราะคลองนี้มีความกว้าง 6 วา และอยู่ทางเหนือของคลองแปดวา ส่วนคลองขนาดกว้างหกวาที่อยู่ทางใต้ของคลองแปดวาก็เรียกกันว่าคลองหกวาสายล่าง",
"title": "คลองหกวาสายบน"
},
{
"docid": "177501#3",
"text": "การขุดคลองรังสิตเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2433 ดำเนินการโดย บริษัทขุดคลองแลคูนาสยามจำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน มีเจ้านาย ขุนนาง และชาวตะวันตกเป็นผู้ถือหุ้น ในชั้นต้นประกอบด้วย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ พระนานาพิธภาษี (ชื่น บุนนาค) และนายโยคิม แกรซี (Joachim Grassi) ต่อมาในปี พ.ศ. 2435 เปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นเป็น หม่อมราชวงศ์สุวพรรณ สนิทวงศ์ บุตรคนใหญ่ในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ เออร์วิน มูลเลอร์ (Erwin Müller) หรือพระปฏิบัติราชประสงค์ และฮันส์ เมทซเลอร์ (Hans Metzler) และยังเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นอีกหลายครั้ง",
"title": "คลองรังสิต"
},
{
"docid": "192348#1",
"text": "หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต มีชื่อจริงว่า พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต มีนามเดิมว่า \"ค้วน จิตตะคุณ\" เกิดเมื่อวันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2439 ตรงกับวัน 2 8 8 ค่ำ ปีวอก ภูมิลำเนาเดิม คลองบางกอบัว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ บิดาชื่อนายจิ้น มารดาชื่อนางเพียร",
"title": "หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต)"
},
{
"docid": "134658#0",
"text": "หม่อมเจ้าสนิทประยูรศักดิ์ รังสิต เป็นพระโอรสใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร และหม่อมเอลิซาเบท รังสิต ณ อยุธยา ประสูติเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2460 มีพระเชษฐาและพระขนิษฐา คือ\nการศึกษา ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2468 เลขประจำตัว ท.ศ.2978 และเป็นนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ DSA",
"title": "หม่อมเจ้าสนิทประยูรศักดิ์ รังสิต"
},
{
"docid": "12481#2",
"text": "คณะผู้ก่อตั้งวิทยาลัย ได้เลือกที่ดินบริเวณตำบลคูคตในขณะนั้น อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ \"ทุ่งรังสิต\" เป็นสถานที่ก่อตั้ง จึงได้นำมงคลนาม \"รังสิต\" อันเนื่องมาจากพระนามของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาตั้งเป็นชื่อของวิทยาลัย ซึ่งเดิมเคยระบุชื่อวิทยาลัยที่จะก่อตั้งไว้ว่า \"วิทยาลัยปิ่นเกล้า\" ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น \"วิทยาลัยรังสิต\" ในเวลาต่อมา",
"title": "มหาวิทยาลัยรังสิต"
}
] |
1894 | คัมภีร์อัลกุรอาน เคยได้รับการแก้ไขหรือไม่ ? | [
{
"docid": "16720#2",
"text": "การศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอานทั้งเล่มเป็นหลักการหนึ่งที่มุสลิมทุกคนต้องศรัทธา นั่นก็หมายความว่าหากไม่ศรัทธาในอัลกุรอาน หรือศรัทธาเพียงบางส่วนก็จะเป็นมุสลิมไม่ได้ เช่นเดียวกับที่ต้องศรัทธาว่าคัมภีร์อัลกุรอานนี้มีความบริบูรณ์ภายใต้การพิทักษ์ของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้จึง ตั้งแต่วันที่ท่านศาสดาเสียชีวิตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยมีความเหมือนกันในทุกฉบับบนโลก และภาษาอาหรับในคัมภีร์จึงเป็นภาษาโบราณภาษาเดียว ที่มีใช้อย่างคงเดิมอยู่จนกระทั่งวันนี้ได้ และได้กลายเป็นภาษามาตรฐานของประเทศอาหรับทั้งหลาย เป็นภาษาวิชาการของอิสลาม และเป็นภาษาที่ใช้ในการปฏิบัติศาสนพิธีของมุสลิมทุกคนทั่วโลก",
"title": "อัลกุรอาน"
}
] | [
{
"docid": "16720#1",
"text": "อัลลอฮ์ได้ประทานคัมภีร์อัลกรุอานแก่นบีมุฮัมมัดซึ่งชาวมุสลิมถือว่าเป็นศาสนทูตคนสุดท้าย และคัมภีร์นี้ก็เป็นคัมภีร์สุดท้ายที่อัลลอฮ์ได้ส่งมาให้แก่มวลมนุษยชาติ หลังจากนี้แล้วจะไม่มีคัมภีร์ใด ๆ จากพระเป็นเจ้าอีก คัมภีร์กรุอานนี้ได้ประทานมาเพื่อยกเลิกคัมภีร์เก่า ๆ ที่เคยได้ทรงประทานมาในอดีตนั่นคือคัมภีร์เตารอต ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีมูซา คัมภีร์ซะบูร ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีดาวูด (ดาวิด) และคัมภีร์อินญีลที่เคยทรงประทานมาแก่นบีอีซา (พระเยซู) เป็นคัมภีร์ที่บริบูรณ์ไม่มีการเพี้ยนเปลี่ยนแปลง ภาษาของคัมภีร์อัลกุรอานนั้นคือภาษาอาหรับ ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน",
"title": "อัลกุรอาน"
},
{
"docid": "16720#7",
"text": "อันลักษณะของคัมภีร์อัลกรุอานนั้นอยู่กึ่งกลางระหว่างร้อยแก้วและร้อยกรอง คัมภีร์อัลกรุอานจึงเป็นสิ่งท้าทายที่พิสดารสำหรับชาวอาหรับ เพราะเป็นร้อยแก้วมีความไพเราะได้โดยไม่ต้องใช้มาตราสัมผัสและบทวรรคตามกฎของกวีนิพนธ์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวอาหรับฉงนใจว่า คนที่ไม่เคยแต่งโคลงกลอนและอ่านเขียนไม่ได้อย่างมุฮัมมัด จะต้องไม่ใช่ผู้แต่งอัลกุรอานเป็นแน่",
"title": "อัลกุรอาน"
},
{
"docid": "16720#16",
"text": "เนื่องด้วยคัมภีร์อัลกุรอานเป็นธรรมนูญของอิสลาม จึงเกิดมีวิทยาการใหญ่ ๆ แตกแขนงมาจากคัมภีร์อัลกุรอานหลายสาขา เช่น วิชาตัจญ์วีด ซึ่งเป็นวิชาเกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอานให้ถูกต้อง วิชาอุลูมอัลกุรอาน หรือที่เรียกว่า อุศูลอัลกุรอาน เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของอัลกุรอาน ศึกษาว่าโองการแต่ละโองการลงมาที่ไหนเมื่อไหร่และเหตุใด อันเป็นส่วนช่วยในการตีความหมายอัลกุรอาน หรือที่เรียกว่า ตัฟซีรอัลกุรอาน",
"title": "อัลกุรอาน"
},
{
"docid": "16961#1",
"text": "เนื่องจากคัมภีร์อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่มีวาทศิลป์เลอเลิศ จึงไม่มีใครแม้แต่ผู้เดียวยอมรับว่าสามารถแปลอัลกุรอานได้ดีพอ อย่างไรก็ตามงานแปลเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ นักวิชาการมุสลิมในแต่ละประเทศในโลกจะพยายามแปลความหมายของอัลกุรอาน ในปัจจุบันอัลกุรอานได้รับการแปลเป็นภาษาใหญ่ของโลกทุกภาษาแล้ว",
"title": "ตัฟซีร"
},
{
"docid": "353103#3",
"text": "หลังจากการนำทัพบุกแบกแดดนำโดยกองทัพสหรัฐในเดือนเมษายน พ.ศ. 2546 ผู้รับผิดชอบดูแลสุเหร่าได้นำอัลกุรอานเลือดไปเก็บไว้เพื่อความปลอดภัย การเสียชีวิตของซัดดัมได้ทำให้องค์การศาสนาและฝ่ายฆราวาสอิรักอยู่ในสภาวะลำบากอย่างรุนแรง ในแง่หนึ่ง ศาสนาอิสลามถือว่าเป็นฮะรอม (ข้อห้าม) ที่จะเขียนอัลกรุอานด้วยเลือด พฤติการณ์ของซัดดัมได้รับการประณามใน พ.ศ. 2543 โดยองค์การศาสนาในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และซาอุดิอาระเบีย ศาสตราจารย์อับดุล กอฮ์ฮะร์ อัล-อะนี ศาสตราจารย์ด้านความคิดอิสลามจากมหาวิทยาลัยแบกแดด ได้ให้เหตุผลว่า \"ซัดดัมไม่ใช่บุคคลศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นเลือดของเขาจึงสกปรก\" อะลี อัลวะอะฮ์ นักบวชนิกายชีอะฮฺผู้ซึ่งถูกจองจำในสมัยซัดดัม อธิบายว่าอัลกุรอานเลือดเป็น \"เวทมนตร์ดำของซัดดัม อัลกุรอานเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับทองคำและเงิน ไม่ใช่สิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ดังเช่นเลือด [อัลกุรอานเลือด] สามารถถูกเผาทิ้งหรือสามารถโยนลงแม่น้ำได้ ผมจะโยนมันลงในแม่น้ำ\" ในอีกแง่หนึ่ง เป็นข้อห้ามมิให้ทำให้อัลกุรอ่านแปดเปื้อนหรือเสียหาย โดยที่ชาวอิรักคนหนึ่งได้สรุปถึงปัญหาดังกล่าวว่า \"มันเป็นข้อห้ามที่จะเขียนอัลกุรอานด้วยเลือด แต่เราจะทำลายคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์จากพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างไร\"",
"title": "อัลกุรอานเลือด"
},
{
"docid": "78680#30",
"text": "ในคัมภีร์อัลกุรอานและคัมภีร์ไบเบิล มีทั้งส่วนที่เหมือน และส่วนที่แตกต่างกัน โดยพื้นฐานทั้งสองมีโครงเริ่มแรกเหมือนกัน โดยเนื้อหาในแง่ประวัติศาสตร์นั้น พระคัมภีร์ในทั้งสองศาสนามีความสอดคล้องกันตั้งแต่พระเจ้าทรงสร้างโลก การสร้างมนุษย์ ความบาป เรือโนอาห์ เหตุการณ์น้ำท่วมโลก เรื่องราวของอับราฮัม การทำนายฝันของโยเซฟ จนกระทั่งโมเสสเข้าเฝ้าพระเจ้า แต่ในมุมมองของคัมภีร์อัลกุรอานมองว่าหนังสือปฐมกาลมีความคลาดเคลื่อนของเนื้อหา ที่แตกต่างในหลายประเด็น และคัมภีร์อัลกุรอานค่อนข้างให้ความสำคัญกับเรื่องของกฎบัญญัติสูงมาก",
"title": "หนังสือปฐมกาล"
},
{
"docid": "942443#1",
"text": "William Montgomery Watt กล่าวว่า “คัมภีร์อัลกุรอานไม่ได้กล่าวถึงสงครามนี้ไว้อย่างชัดเจน”. แต่มุฮัมหมัด อะซัน ฏอบาฏอบาอีย์ นักอรรถาธิบายอัลกุรอานของชีอะฮ์ได้กล่าวว่า “คัมภีร์อัลกุรอานโองการที่ 121 – 128 บทอาลิอิมรอน ได้กล่าวถึงสงครามบะดัรไว้อย่างชัดเจน”. และเช่นกันในหนังสือ ดาอิรอตุ้ลมาอาริฟบุโซรก์อิสลามีย์ ได้บันทึกว่า บทอัลอันฟาลถูกประทานลงมาก็เนื่องด้วยสงครามนี้.",
"title": "ยุทธการที่บะดัร"
},
{
"docid": "17466#37",
"text": "2. ฝ่ายวาฮาบีย์กล่าวว่าพวกชีอะฮ์ไม่ยอมรับว่า คัมภีร์อัลกุรอาน ฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ถูกต้องสมบูรณ์ เนื่องจากตอนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมาในช่วงแรก ๆ เหล่าสาวกที่ชีอะฮ์บอกว่าเป็นคนตกศาสนา ที่เป็นคนบันทึกอัลกุรอานไว้ เนื่องจากท่านศาสดาไม่รู้หนังสือไม่สามารถเขียนหนังสือได้",
"title": "ชีอะฮ์"
},
{
"docid": "60227#36",
"text": "สอดคล้องกับที่กลุ่มมุสลิม Ahmadiyya ได้กล่าวอ้างอิงโดยตรงจากคัมภีร์อัลกุรอานที่ถูกนำเสนอโดย มีร์ซา ทาฮีร์ อาหมัด (Mirza Tahir Ahmad) เป็นข้อพิสูจน์ว่าชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงอื่นอาจมีอยู่ตามคัมภีร์อัลกุรอาน",
"title": "สิ่งมีชีวิตนอกโลก"
}
] |
3257 | คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา ถูกนำมาสร้างเป็นอนิเมชั่นครั้งแรกเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "52784#0",
"text": "คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา () เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น แนวสืบสวนสอบสวน เรื่องโดย โยซาบุโร่ คานาริ และเซย์มารุ อามางิ ภาพโดย ฟุมิยะ ซาโต้ ตีพิมพ์ในประเทศญี่ปุ่นโดยสำนักพิมพ์โคดันฉะ ตีพิมพ์ในประเทศไทยโดยสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ แปลโดยยูตะ, บี, ชิริว และกาญจนี ต่อมาถูกนำมาสร้างเป็นแอนิเมชันโดยโตเอแอนิเมชัน ในปีพ.ศ. 2540 - 2543 และกลับมาออกอากาศใหม่อีกครั้งในภาครีเทิร์น ในปี พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน",
"title": "คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา"
},
{
"docid": "52784#2",
"text": "คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนาถูกดัดแปลงเป็นการ์ตูนโทรทัศน์ภาคแรก 148 ตอน ในปี พ.ศ. 2540-พ.ศ. 2543 และกลับมาออกอากาศอีกครั้งในปี พ.ศ. 2557 หลังผ่านไป 14 ปี ในชื่อภาครีเทิร์น ซึ่งปัจจุบันออกอากาศไปแล้ว 47 ตอน นอกจากนี้ยังถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์การ์ตูนในปี พ.ศ. 2539 \"คดีพิศวง Phantom of The Opera\" และพ.ศ. 2542 ฆาตกรรมหมู่ในมหาสมุทร",
"title": "คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา"
}
] | [
{
"docid": "52784#1",
"text": "ในประเทศญี่ปุ่น คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนาลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร โชเน็นแม็กกาซีน ของสำนักพิมพ์โคดันฉะ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2535 และตีพิมพ์รวมเล่มออกจำหน่ายจนถึงตอนนี้เป็นจำนวน 52 เล่ม แบ่งเป็นฉบับ \"ไฟล์\" 27 เล่ม 19 คดี ฉบับ \"เคส\" 10 เล่ม 7 คดี ฉบับ \"ชุดแฟ้มคดีพิศวง\" 6 เล่ม 17 คดี ฉบับ \"ชุดสารวัตรอาเคจิ\" 2 เล่ม 7 คดี และฉบับ \"ชุดไฟล์ฉบับใหม่\" 14 เล่ม 8 คดี \"ชุดคดีฉลองครบรอบ 20 ปี\" 5 เล่ม 3 คดี และฉบับล่าสุด \"อาร์\" ซึ่งในขณะนี้ 10 เล่ม 8 คดี สำหรับประเทศไทยผู้ได้รับลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์คือสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ เริ่มแรกตีพิมพ์เป็นรายสัปดาห์ในนิตยสาร KC WEEKLY ภายหลังเปลี่ยนเป็นรายสะดวก ตีพิมพ์รวมเล่มออกจำหน่ายแล้ว 75 เล่ม และปัจจุบันสามารถหาอ่านแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (อีบุ๊ค) อย่างถูกกฎหมายผ่านเว็บไซต์ของวิบูลย์กิจ ทั้งแบบรวมเล่ม และตอนรายสัปดาห์",
"title": "คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา"
},
{
"docid": "52784#4",
"text": "คดีในคินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา ส่วนใหญ่ดำเนินเรื่องตามรอยวรรณกรรมตระกูลรหัสคดีประเภท whodunnit (ใครเป็นคนทำ), puzzle (ปริศนา) และ cozy (รหัสคดีบุ๋น) กล่าวคือ มีการฆาตกรรม มีปริศนาระหว่างผู้เขียนและผู้อ่าน และมักเกี่ยวพันกับเรื่องราวเหนือธรรมชาติ ส่วนมาเดินตามขนบนิยายของ อกาธา คริสตี้, กัสตง เลอรู, เอส. เอส. แวนไดน์ และจอห์น ดิกสัน คารร์ มีการใช้อุบายแบบ locked room murder (ฆาตกรรมในห้องปิดตาย) อยู่บ่อยครั้ง ในขณะที่ฆาตกรในเรื่องก่อการฆาตกรรมอย่างเลือดเย็นและเหี้ยมโหด มักพบว่าสาเหตุเบื้องหลังการฆาตกรรมบ่อยครั้งเกิดจากการสูญเสียอย่างร้ายกาจที่เกิดกับฆาตกร ที่หลายครั้งทำให้ผู้อ่านสะเทือนใจไปกับฆาตกรมากกว่าผู้ถูกฆาตกรรมเสียอีก ด้วยความยอดเยี่ยมของโครงเรื่อง ทำให้นักวิจารณ์ส่วนใหญ่ ถือว่า คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา เป็นการ์ตูนแนวสืบสวนที่ดีที่สุดในญี่ปุ่น และ ในโลกปัจจุบัน",
"title": "คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา"
},
{
"docid": "52784#6",
"text": "ต่อมาภายหลังเกิดคดีฆาตกรรมขึ้น ณ สถานที่แห่งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นนักสืบของคินดะอิจิและได้พบกับสารวัติอาเคจิและผู้หมวดเคนโมจิครั้งแรก หลายต่อหลายครั้งที่เกิดคดีฆาตกรรม คินดะอิจิและมิยูกิจะร่วมอยู่ในเหตุการณ์ด้วยเสมอ ทั้งสารวัตรอาเคจิและหมวดเคนโมจิ ต่างยอมรับในฝีมือด้านการสืบสวนของคินดะอิจิที่ไม่ทิ้งเชื้อสายจากคินดะอิจิ โคสุเกะ ที่ช่วยสามารถคลี่คลายคดีที่เกิดขึ้นได้สำเร็จ",
"title": "คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา"
},
{
"docid": "204595#0",
"text": "คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมผีดูดเลือด เป็นละครพิเศษ 1 ตอนจบ ออกฉายทางสถานี Nippon Television Network เป็นละครแนวสืบสวนที่ดัดแปลงมาจากต้นฉบับซึ่งเป็นการ์ตูนที่ได้รับความนิยมสูงทั้งในประเทศญี่ปุ่น และต่างประเทศ",
"title": "คินดะอิจิกับคดีฆาตกรรมปริศนา ตอน คดีฆาตกรรมผีดูดเลือด"
},
{
"docid": "204595#1",
"text": "คินดะอิจิ และมิยูกิ เดินทางไปยังโรงแรมเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ในชนบทห่างไกลชื่อ Ruin เพื่อหาสถานที่ในการฝึกซ้อมเก็บตัวสำหรับสมาชิกชมรมกรีฑา ณ โรงแรมแห่งนี้มีประวัติเกี่ยวกับผีดูดเลือดที่เคยออกอาละวาดฆ่าผู้คนในละแวกนั้นเมื่อหลายปีก่อน หนึ่งในเหยื่อของผีดูดเลือดนั้นคือลูกสาวคนเดียวของเจ้าของโรงแรมคนก่อน",
"title": "คินดะอิจิกับคดีฆาตกรรมปริศนา ตอน คดีฆาตกรรมผีดูดเลือด"
},
{
"docid": "52784#7",
"text": "ไหวพริบปฏิภาณ สติปัญญาอันเฉียบแหลมที่สามารถมองทะลุถึงแผนการฆาตกรรมของคนร้าย ทำให้คินดะอิจิมีชื่อเสียงในแวดวงตำรวจ และสะดุดตาของนักอาชญากรรมตัวร้ายอย่าง ทากาโต้ โยจิอิ หรือ \"นักมายากลจากนรก\" ผู้อยู่เบื้องหลังการก่อคดีอาชญากรรมที่เต็มไปด้วยความสวยงาม คินดะอิจิถูกทากาโต้ใช้แผนซ้อนแผนและมายากล หลอกจนหัวปั่นและก่อคดีฆาตกรรมได้สำเร็จ และกลายเป็นศัตรูคู่ปรับในการไขคดีปริศนาฆาตกรรมหลายต่อหลายครั้ง",
"title": "คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา"
},
{
"docid": "52784#5",
"text": "คินดะอิจิ ฮาจิเมะ ตัวละครหลักของเรื่อง เป็นหลานชายของคินดะอิจิ โคสุเกะ ผู้มีศักดิ์เป็นปู่ ยอดนักสืบชื่อดังในอดีต คินดะอิจิชื่นชอบและมีความสามารถในด้านการสืบสวนสอบสวนเป็นอย่างมาก โดยยืดเอาคินดะอิจิ โคสุเกะ เป็นต้นแบบ มีเพื่อนสนิทในวัยเด็กและเพื่อนร่วมชั้นคือ นานาเสะ มิยูกิ ที่ติดตามคินดะอิจิไปพบกับเรื่องราวคดีฆาตกรรมหลายต่อหลายครั้ง คินดะอิจิถูกมิยูกิ บังคับให้มาเป็นเพื่อนซ้อมละครเรื่อง \"The Phantom of the Opera\" ที่โรงละครโอเปร่าที่โรงแรมที่ตั้งอยู่บนเกาะโดดเดี่ยว",
"title": "คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา"
},
{
"docid": "246317#28",
"text": "- คินดะอิจิ กับ คดีฆาตกรรมปริศนา คดีฆาตกรรมหมู่บ้านอาถรรพ์ได้รับอิทธิพลจากนวนิยาย ไสย์ศาสตร์ฆาตกรรม ( ยังไม่แปลไทย )",
"title": "คดีฆาตกรรมหมู่บ้านอาถรรพ์"
}
] |
2518 | สตีเวน พอล จอบส์เกิดที่เมืองใดในอเมริกา? | [
{
"docid": "14288#3",
"text": "สตีฟ จอบส์ เกิดที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย มีชื่อจริงว่า สตีเวน พอล จอบส์ เป็นบุตรบุญธรรมของพอล แรนโฮลด์ จอบส์ กับคลารา จอบส์ (สกุลเดิม ฮาโกเพียน) ครอบครัวชาวอเมริกันเชื้อสายอาร์เมเนีย ต่อมาพ่อแม่บุญธรรมก็รับผู้หญิงมาเป็นบุตรบุญธรรมอีกคน ชื่อ แพทรีเชีย \"แพตตี\" แอน จอบส์",
"title": "สตีฟ จอบส์"
}
] | [
{
"docid": "14288#0",
"text": "สตีเวน พอล จอบส์ (; หรือที่รู้จักในชื่อ สตีฟ จอบส์ (; 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955 - 5 ตุลาคม ค.ศ. 2011) เป็นผู้นำธุรกิจและนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ผู้ร่วมก่อตั้ง ประธาน อดีตประธานบริหารของแอปเปิลคอมพิวเตอร์ และยังเคยเป็นประธานบริหาร พิกซาร์แอนิเมชันสตูดิโอส์ และเป็นคณะกรรมการบริหารบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ใน ค.ศ. 2006 หลังดิสนีย์ซื้อกิจการพิกซาร์ ฟรัค",
"title": "สตีฟ จอบส์"
},
{
"docid": "143187#1",
"text": "สตีเวน สปีลเบิร์ก เกิดในซินซินเนติ โอไฮโอ ในครอบครัวชนชั้นกลาง ชาวอเมริกันเชื้อสายยิว จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่แคลิฟอร์เนีย สเตท, ลองบีช ซึ่งเขาไม่เคยเรียนวิชาภาพยนตร์จากมหาวิทยาเลย พออายุ 16 ปี ได้ทำงานกับบริษัทสร้างหนังในท้องถิ่นที่เมืองฟินิกซ์ รัฐแอริโซนาและก็ทำหนังวิทยาศาสตร์ (ไซไฟ) ความยาว 2 ชั่วโมง เรื่อง \"Firelight\" จากนั้น สปีลเบิร์กก็ทำภาพยนตร์สั้นเรื่อง \"Amblin\" ในปี พ.ศ. 2512 และได้ไปเสนอกับฝ่ายโทรทัศน์ของบริษัทยูนิเวอร์แซล จนได้งานทำภาพยนตร์สั้นออกมา 3 เรื่อง และหนึ่งในนั้นคือ \"Duel\" หนังเขย่าขวัญที่ทำให้สปีลเบิร์กแจ้งเกิด เพราะหนังได้รางวัลจากยุโรปแถมทำเงินอีกด้วย",
"title": "สตีเวน สปีลเบิร์ก"
},
{
"docid": "658912#1",
"text": "โรเบิร์ต หลุยส์ สตีเวนสัน เกิดเมื่อ พ.ศ. 2393 ที่เมืองเอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์ ในครอบครัวที่มีชื่อเสียง พ่อและปู่ของเขาเป็นวิศวกรที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาประภาคาร ในวัยเด็ก สตีเวนสันมีปัญหาเกี่ยวกับปอดและมีพยาบาลคอยดูแล ซึ่งพยาบาลท่านนี้เองที่จุดประกายความเป็นนักเขียนให้กับเขา",
"title": "โรเบิร์ต หลุยส์ สตีเวนสัน"
},
{
"docid": "335484#4",
"text": "สตีฟ โรเจอร์ส ถือกำเนิดในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1917 ที่โลเวอร์อีสท์ไซด์ของแมนฮัตตัน ในนิวยอร์ก โดยมีพ่อแม่เป็นชาวไอร์แลนด์ที่อพยพเข้าเมือง ซึ่งมีชื่อว่าซาร่าห์ กับโจเซฟ โรเจอร์ส โจเซฟ โรเจอร์สเสียชีวิตลง โดยที่เหลือเพียงสตีฟซึ่งเป็นบุตรเพียงคนเดียวของซาร่าห์ผู้เป็นมารดา จากนั้นในภายหลัง ซาร่าห์ก็ได้เสียชีวิตลงด้วยโรคปอดบวมในช่วงที่สตีฟอยู่ในวัยหนุ่ม ในช่วงต้นยุค 1940 ก่อนที่อเมริกาจะเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง โรเจอร์สเป็นผู้มีร่างกายสูงแต่ผอมบาง เขาเป็นนักเรียนด้านวิจิตรศิลป์ผู้เชี่ยวชาญภาพประกอบ จากเหตุการณ์ที่คุกคามโดยจักรวรรดิไรช์ที่สามนี้ โรเจอร์สได้พยายามที่จะเข้าร่วมเกณฑ์ เพียงเพื่อต้องการที่จะปฏิเสธความยากจน เนื่องด้วยพลเอกเชสเตอร์ ฟีลิปส์แห่งกองทัพสหรัฐกำลังมองหาการทดสอบอยู่พอดี โรเจอส์จึงมีโอกาสที่จะรับใช้ประเทศชาติด้วยการมีส่วนร่วมในโครงการป้องกันความลับสุดยอด โอเปอร์เรชั่น: รีเบิร์ธ หรือโครงการการเกิดใหม่จึงได้เกิดขึ้น ซึ่งได้มีความพยายามในการพัฒนาด้านการสร้างซูเปอร์โซลเยอร์ที่มีความแข็งแกร่งทางด้านร่างกายอย่างแท้จริง โรเจอร์สอาสาเข้ารับการทดสอบ และภายหลังจากการคัดเลือกอย่างเข้มงวด เขาก็ได้รับเลือกให้เป็นมนุษย์คนแรกที่ได้รับเซรุ่มเพื่อเป็นซูเปอร์โซลเยอร์จากนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อว่า ดร.โจเซฟ ไรน์สไตน์ ซึ่งในภายหลังเขาได้เปลี่ยนชื่อรหัสของนักวิทยาศาสตร์มาเป็น อับราฮัม เออร์สไคน์",
"title": "กัปตันอเมริกา"
},
{
"docid": "479639#5",
"text": "เฟล็ตเชอร์เกิดที่เมืองชรูว์สบรี เทศมณฑลชรอปเชอร์ และใช้ชีวิตช่วงแรกในค่ายทหารอังกฤษในประเทศอังกฤษและเยอรมนี ที่ซึ่งพ่อของเขาประจำการอยู่ โดยพ่อของเขา \"สิบเอก เคนนี เฟล็ตเชอร์\" เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง เมื่อเขาอายุได้เพียงสิบปี ทำให้แม่ของเขาตัดสินใจพาเขาและน้องสาวย้ายไปยังเมืองแฮมิลตัน มณฑลเซาท์ลานาร์กเชอร์ ในสกอตแลนด์ และผู้ฝึกสอนของสโมสรฟุตบอลฮิเบอร์เนียน ที่มาจากแฮมิลตันได้เห็นความสามารถในการเล่นฟุตบอลของเขาและเขาได้เข้าร่วม Leith club's youth network ในวัยสิบสามปี",
"title": "สตีเวน เฟล็ตเชอร์"
},
{
"docid": "779816#0",
"text": "เจสัน แชมเบอส์ () เกิดวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1980 ที่ชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ เป็นทั้งนักแสดง, นักต่อสู้แบบผสม และผู้บรรยายกีฬาชาวอเมริกัน แชมเบอส์เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในบทบาทผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ยอดนิยมประจำสัปดาห์อย่าง\"ฮิวแมนเวปปอน\" ทางช่องฮิสทรี เขาได้ปรากฏตัวในรายการโทรทัศน์หลายแห่ง ซึ่งรวมถึง\"\", \"เดย์สออฟเอาเออร์ไลฟ์ส\", \"แอสเดอะเวิลด์เทิร์น\" และ\"เดอะมิดเดิลแมน\" แชมเบอส์มีความสำคัญในรายการ\"เอ็กซ์ตรา\" ในฐานะเป็นชายโสด\"ที่มีความเหมาะสมมากที่สุดของอเมริกา\" และแชมเบอส์ยังมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันกับศูนย์การแพทย์แห่งชาติซิตีออฟโฮป ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยโรคมะเร็ง ที่เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการผู้บริหารเมื่อไม่นานมานี้",
"title": "เจสัน แชมเบอส์"
},
{
"docid": "14288#5",
"text": "ในปีค.ศ. 1972 จอบส์จบการศึกษาจากโฮมสตีดไฮสคูล ในเมืองคิวเปอร์ทีโน รัฐแคลิฟอร์เนีย และได้สมัครเข้าเรียนต่อที่วิทยาลัยรีด (Reed College) ในเมืองพอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน แต่ก็ต้องลาพักการเรียนหลังจากเข้าเรียนได้เพียงหนึ่งภาคการศึกษา หลายปีต่อมา ในปาฐกถาครั้งหนึ่งในพิธีสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ปีค.ศ. 2005 จอบส์ได้กล่าวว่าเพราะเขาลาพักเรียนไป จึงมีเวลาเข้าชั้นเรียนคัดตัวหนังสือ \"\"ถ้าผมไม่ได้เรียนวิชานั้นที่วิทยาลัยรีด เครื่องแมคอินทอชคงจะไม่มีรูปแบบอักษรหลากหลาย และปราศจากฟอนต์ที่มีการแบ่งระยะห่างอย่างถูกสัดส่วนเช่นนี้\"\" จอบส์กล่าว",
"title": "สตีฟ จอบส์"
},
{
"docid": "120945#2",
"text": "สตีเฟน คิง เกิดเมื่อ 21 กันยายน พ.ศ. 2490 ที่เมืองพอร์ตแลนด์ ในรัฐเมน เป็นบุตรคนที่ 2 ของเอ็ดวิน คิง และ เนลลี รูธ พิลส์บูรี เขาเสียพ่อตั้งแต่วัยเด็ก ในปี 2509 เขาได้เข้าเรียนในภาควิชาภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยเมน ที่เมืองออรอโน หลังจบการศึกษาเขาได้สอนวิชาภาษาอังกฤษในเมืองแฮมปเดน ในรัฐเมน",
"title": "สตีเวน คิง"
},
{
"docid": "317789#0",
"text": "เจมส์ แซมูเอล \"จิมมี แจม\" แฮร์ริสที่ 3 () (เกิดเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1959 ที่เมืองมินนีแอโพลิส รัฐมินนิโซตา) และเทร์รี สตีเวน ลูอิส () เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 ทีเมืองโอมาฮา รัฐเนแบรสกา) เป็นทีมนักประพันธ์เพลง โปรดิวเซอร์เพลงแนวป็อป อาร์แอนด์บี สัญชาติอเมริกัน มีผลงานที่ประสบความสำเร็จในคริสต์ทศวรรษ 1980 ให้กับหลายศิลปิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานของเจเน็ต แจ็กสัน",
"title": "จิมมี แจมและเทร์รี ลูอิส"
}
] |
3493 | ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิงมีกี่ชุด? | [
{
"docid": "340785#0",
"text": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ([LaFlora, the Princess Academy]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help)) เป็นหนังสือการ์ตูนที่แทรกเรื่องราวเกี่ยวกับอารยธรรมและวัฒนธรรมนานาชาติ มี 9 ชุด คือ \"ลา ฟลอร่า\", \"ลา ฟลอร่า ภาค ประเทศฉันสุดยอด\", \"ลา ฟลอร่า บอร์ดเกม\",\"ลาฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่\",\"ลาฟลอร่า คลับเฟสต้า\",\"ลาฟลอร่า แอนิเมชัน\",\"นิยาย ลาฟลอร่า\",\"คอมมิกชันนารี ลา ฟลอร่า โรซารี่ please\" และ \"ลาฟลอร่า ดรีมมี่ คาเฟ่\" โดยในแต่ละเล่มจะมีเนื้อหาและตัวละครที่ต่างกัน[1][2] จากความนิยมอย่างแพร่หลาย และความโดดเด่นของตัวละคร ส่งผลให้ทางผู้ผลิตได้จัดทำในรูปแบบของเกมกระดานในเวลาต่อมา[3]",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
}
] | [
{
"docid": "340785#24",
"text": "ลา ฟลอร่า GOGO อาเซียน ตอน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับภูตพิพิธภัณฑ์จอมจุ้น ลา ฟลอร่า GOGO อาเซียน ตอน อลวนป่วนโรงเรียนกับเจ้าภูตพิพิธภัณฑ์อาเซียน ลา ฟลอร่า GOGO อาเซียน ตอน พิพิธภัณฑ์มาเลเซียแสนวุ่นวาย ทิวาถูกสลับร่างซะแล้ว... ลา ฟลอร่า GOGO อาเซียน ตอน มาเลเซียทำได้!! ยูริก็ต้องทำได้เจ้าค่ะ... ลา ฟลอร่า GOGO อาเซียน ตอน เหมยฮัวเผชิญหน้ากับมังกรโคโมโดจากอินโดนิเซีย",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#19",
"text": "3. ลา ฟลอร่า ลิตเติ้ล เลดี้ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน อดีตที่สูญหายบนปลายปิ่น",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#3",
"text": "ทิวา พุดพิชญา",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#33",
"text": "การตอบรับในต่างประเทศ",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#17",
"text": "ลา ฟลอร่า ลิตเติ้ล เลดี้ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน กระจกต้องสาปกับวิญญาณเลดี้ที่ถูกลืม",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#22",
"text": "ลา ฟลอร่า อินเดีย สุดยอด ลา ฟลอร่า อเมริกา สุดยอด ลา ฟลอร่า เนปาล สุดยอด ลา ฟลอร่า รัสเซีย สุดยอด ลา ฟลอร่า บราซิล สุดยอด ลา ฟลอร่า อียิปต์ สุดยอด ลา ฟลอร่า กรีซ สุดยอด ลา ฟลอร่า นิวซีแลนด์ สุดยอด ลา ฟลอร่า อาร์เจนตินา สุดยอด ลา ฟลอร่า อินโดนีเซีย สุดยอด ลา ฟลอร่า เบลเยี่ยม สุดยอด ลา ฟลอร่า แคนาดา สุดยอด ลา ฟลอร่า สวิตเซอร์แลนด์ สุดยอด ลา ฟลอร่า ออสเตรเลีย สุดยอด",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#30",
"text": "สายลับภูตอาเซียน กับภารกิจป่วน โรงเรียนลาฟลอร่า ลาฟลอร่า x โปเม่ สารพันเจ้าหญิง กุ๊กเวทมนตร์ โนอาห์ x การินจูเนียร์ ไขคดีโลกเร้นลับฉบับโรงเรียนเจ้าชายโนอาห์ ลาฟลอร่า ครอสโอเวอร์ ๑๐๐๑ ราตรีกับกาหลิบการิน",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#20",
"text": "4. ลา ฟลอร่า ลิตเติ้ล เลดี้ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ถุงหอมกรุความทรงจำกลิ่นหยดน้ำตา",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "337000#0",
"text": "ล่าขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า (; ) เป็นหนังสือการ์ตูนความรู้จากประเทศเกาหลีใต้ ที่แทรกเรื่องราวเกี่ยวกับอารยธรรมและวัฒนธรรมนานาชาติ จัดพิมพ์ฉบับลิขสิทธิ์ภาษาไทยโดย สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ และ ล่าขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า เป็นการ์ตูนที่สร้างแรงดลบันดาลใจให้กับหนังสือการ์ตูนความรู้ชุด ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง",
"title": "ล่าขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า"
},
{
"docid": "340785#16",
"text": "ลา ฟลอร่า ดรีมมี่คาเฟ่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน คลับเก๋ๆรับเพื่อนใหม่ ลา ฟลอร่า ครีมมี่คาเฟ่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน รอยปริศนาบนแคทวอล์คผ้าไหม ลา ฟลอร่า ดรีมมี่คาเฟ่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ดอกไม้น้ำตาลปั้นอันแสนบอบบาง ลา ฟลอร่า ดรีมมี่คาเฟ่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน มงกุฎเคลือบยาพิษกับไข่มุกแห่งชีวิตของเจ้าหญิงเงือก ลา ฟลอร่า ดรีมมี่คาเฟ่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน กำลังใจจากน้ำหอมที่อาบย้อมความเป็นเพื่อน? ลา ฟลอร่า ดรีมมี่คาเฟ่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน รูปปั้นเทพธิดาจากความปรารถนาของหมู่ดาว ลา ฟลอร่า ดรีมมี่คาเฟ่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน พิธีชงชากับคราบน้ำตาในถ้วยเคลือบ ลา ฟลอร่า ดรีมมี่คาเฟ่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน เผยความลับที่ซ่อนไว้ใต้สีลิปที่ลบเลือน ลา ฟลอร่า ดรีมมี่คาเฟ่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน คลี่ปริศนาคาใจด้วยสายใยสีทองแห่งมิตรภาพ ลา ฟลอร่า ดรีมมี่คาเฟ่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ทีมเวิร์คเปล่งประกายกับเพชรพลอยแห่งชัยชนะ",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#31",
"text": "ลาฟลอร่า ตอน ผีเสื้อสีทองแห่งทางช้างเผือก - ฉายครั้งแรกวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556 ณ ห้องออดิทอเรียม ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 41 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 11 (41st National Book Fair and 11th Bangkok International Book Fair 2013) ลาฟลอร่า โก โก อาเซียน ลา ฟลอร่า ตอน มหัศจรรย์วันวุ่นกับหุ่นละครเล็ก",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "408023#0",
"text": "รายชื่อตัวละครในลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ซึ่งเป็นตัวละครการ์ตูนจากการ์ตูนไทยเรื่อง \"ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง\"อัลแบร์โตรสูง 155 ซม.",
"title": "รายชื่อตัวละครในลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#34",
"text": "ลา ฟลอร่า ได้ถูกจัดจำหน่ายอีก 2 ประเทศ คือ ประเทศมาเลเซีย และประเทศเกาหลีใต้ และต่อมาทางทีมงานได้จัดกิจกรรม 2 กิจกรรม คือ ประกวดตัวละครประจำประเทศมาเลเซีย เพื่อฉลองกับการจัดจำหน่ายที่มาเลเซีย โดยตัวละครที่ชนะคือ \"ราณี มอธี\" และอีกกิจกรรมคือ กิจกรรมระบายสีรูป \"SAWASDEE KOREA\" เพื่อฉลองกับการจัดจำหน่ายที่เกาหลีใต้ โดยทั้ง 2 กิจกรรมได้กระแสตอบรับดีมาก",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#13",
"text": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ห้องลับกับเครื่องเรือนนานาชาติ ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ปริศนา? แฟชั่นอังกฤษพิศวง ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ศึกประลองอาหารไทยจีน ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ตุ๊กตานานาชาติกับเรื่องสยองขวัญใน ลา ฟลอร่า ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน มหกรรมขนมหวาน ร้อยรสชาติระดับโลก ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน เทศกาลหรรษากับกีฬาพิสดาร ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ลีลาศอลหม่านกับการแสดงนานาชาติอลวน ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน คฤหาสน์ป่วนกับแก๊งผีเฮี้ยน ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ศิลปะการต่อสู้กับประตูสู่ฝัน ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ตามรอยรหัสลับภาพเขียนบันลือโลก",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "140943#1",
"text": "ยูริ - ตัวละครหลักในหนังสือการ์ตูนเรื่อง ลาฟลอร่า โรงเรียนป่วน ก๊วนเจ้าหญิง",
"title": "ยูริ"
},
{
"docid": "340785#11",
"text": "นาซิสซ่า เลเฟบเวร์ (พากย์ไทยโดย นภัสวรรณ์ วัชรีวงศ์ ณ อยุธยา)",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#15",
"text": "ลา ฟลอร่า คลับเฟสต้า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ค้นหาความฝัน ผ่านสีสันชมรมจัดดอกไม้ ลา ฟลอร่า.คลับเฟสต้า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน กิจกรรมวัดผล บนเส้นทางฝันช็อกโกลาทีเย่ร์ ลา ฟลอร่า คลับเฟสต้า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน สานฝันชมรมกายกรรม ผ่านลีลาระบำฮาวาย ลา ฟลอร่า คลับเฟสต้า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ศาสตร์ทำนายลี้ลับกับภารกิจชุบชีวิตไพ่ทาโรต์ ลา ฟลอร่า คลับเฟสต้า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ทิวลิปปาร์ตี้ ถึงคราวราตรีโชว์ฝีมือ ลา ฟลอร่า คลับเฟสต้า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน พิสูจน์มิตรแท้ ในแดนทุ่งน้ำแข็งเอสกิโม ลา ฟลอร่า คลับเฟสต้า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ดนตรีเยอรมนีกับเสียงสวรรค์ไวโอลิน ลา ฟลอร่า คลับเฟสต้า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ถักทอกระโจมผ้า ไขปริศนาแห่งทุ่งหญ้ามองโกล ลา ฟลอร่า คลับเฟสต้า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ฟองดูอันเปล่งประกาย หลอมละลายสวิสชีส ลา ฟลอร่า คลับเฟสต้า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ราตรีส่งท้าย เทศกาลนานาชาติ",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#23",
"text": "ลา ฟลอร่า สเปเชียล ตอน ใบไม้เปลี่ยนสีกับคดีจิ้งจอกแห่งเกียวโต ลา ฟลอร่า สเปเชียล ตอน ปริศนาxคำสาปxกุหลาบxวาเลนไทน์ ลา ฟลอร่า สเปเชียล ตอน รหัสลับดาวินชีกับมนุษย์ต่างดาวแห่งเมืองฟลอเรนซ์ ลา ฟลอร่า สเปเชียล ตอน คำสัญญาแห่งดวงดาว ในคืนเทศกาลทานาบาตะ ลา ฟลอร่า สเปเชียล ตอน รอยเลือดเจ้าหญิงหิมะกับคำสาปพ่อมดรัสเซีย ลา ฟลอร่า สเปเชียล ตอน แพรไหมลายน้ำตากับความปรารถนาของดอกมู่หลาน ลา ฟลอร่า สเปเชียล ตอน กระต่ายหมายจันทร์กับคืนวันดีๆของเจ้าหญิงคางูยะ",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#27",
"text": "ลา ฟลอร่า โรซารี่ please บทที่ 1 Speak English พิชิตตัวเลข ลา ฟลอร่า โรซารี่ please บทที่ 2 หนาวบ้างฝนบ้างว่างๆก็ฝึก English ลา ฟลอร่า โรซารี่ please บทที่ 3 แต่งตัวให้พร้อมแล้วไปซ้อม Speak English ลา ฟลอร่า โรซารี่ please บทที่ 4 Birthdayชิลชิลกับการอัพสกิล English ลา ฟลอร่า โรซารี่ please บทที่ 5 ท่องป่าพาเพลิน แล้วไป Learn English ลา ฟลอร่า โรซารี่ please บทที่ 6 อยากเรียนรู้ English แค่คลิกก็ได้เรื่อง ลา ฟลอร่า โรซารี่ please บทที่ 7 เรียนรู้รอบตัวจะได้ไม่ปวดหัวเมื่อเจอ English",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#32",
"text": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ได้รับการตอบรับเชิงบวก โดยมีการจัดแปล 4 ภาษา ได้แก่ ภาษาจีนกลาง, ภาษาอังกฤษ,ภาษามลายู และภาษาเกาหลี รวมถึงได้มีการพัฒนาตัวละครสำหรับแอนิเมชัน ลาฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอนตำนานผีเสื้อสีทองแห่งทางช้างเผือก โดยใน พ.ศ. 2556 ได้มีการเปิดตัวแอนิเมชันชุดดังกล่าวอย่างเป็นทางการที่งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์[7]",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#26",
"text": "ลา ฟลอร่า การ์ดเกม ตอน ภารกิจพิชิตมรดกไทย",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#5",
"text": "หยาง เหมยฮัว (พากย์ไทยโดย นภัสวรรณ์ วัชรีวงศ์ ณ อยุธยา)",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#21",
"text": "ลา ฟลอร่า อังกฤษ สุดยอด ลา ฟลอร่า ญี่ปุ่น สุดยอด ลา ฟลอร่า ไทย สุดยอด[1] ลา ฟลอร่า จีน สุดยอด ลา ฟลอร่า ฝรั่งเศส สุดยอด ลา ฟลอร่า สเปน สุดยอด ลา ฟลอร่า อิตาลี สุดยอด ลา ฟลอร่า เกาหลี สุดยอด ลา ฟลอร่า มาเลเซีย สุดยอด ลา ฟลอร่า เวียดนาม สุดยอด ลา ฟลอร่า สิงคโปร์ สุดยอด ลา ฟลอร่า เนเธอร์แลนด์ สุดยอด ลา ฟลอร่า เยอรมนี สุดยอด",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#2",
"text": "ทิวา เด็กหญิงชาวไทยผู้ห่างไกลความเป็นกุลสตรี ได้รับคำเชิญให้ไปเรียนที่สถาบันสตรี ลา ฟลอร่า ที่ตั้งอยู่ใบนเกาะลึกลับในทะเลเมดิเตอเรเนียน ทิวาจำใจรับคำเชิญและเดินทางไปเรียน เพราะทิวาต้องการไปสืบหาข่าวของแม่ที่ได้หายสาบสูญไป[5] ที่โรงเรียน ทิวาได้พบเรื่องวุ่นวายและอุปสรรคมากมาย และได้พบมิตรภาพจากเพื่อนๆในโรงเรียน[6]และทิวาก็ได้พบว่ารักเกิดขึ้นได้เพราะตัวเราและความสุขที่ทิวากับเพื่อนๆได้ร่วมสร้างกันนั้นคือมิตรภาพ",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#25",
"text": "ลา ฟลอร่า บอร์ดเกม ตอน ผจญภัยในแดนสยาม ลา ฟลอร่า บอร์ดเกม ตอน ท่องแดนอาทิตย์อุทัย",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#18",
"text": "2. ลา ฟลอร่า ลิตเติ้ล เลดี้ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ไขปริศนาลีลาศลับฉบับระบำแทงโก้",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#35",
"text": "ที่ไร้สาระนุกรม on Facebook on Facebook",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#14",
"text": "ลา ฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน อลังการคอนเสิร์ตนานาชาติกับเครื่องดนตรีหรรษา ลา ฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน มหัศจรรย์แรลลี่นิทานรอบโลก ลา ฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ศาสตร์การแพทย์หรรษากับสปาอลวน ลา ฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ศึกประชันจ้าวแห่งการละเล่นรอบโลก ลา ฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ตระการตาบุปผานานาชาติในวันพบผู้ปกครอง ลา ฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ก๊วนคุณครูจำเป็นกับตำนานกำเนิดโลก ลา ฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน แรลลี่หรรษากีฬานานาชาติ ลา ฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ประกวดงานฝีมือเลื่องลือหัตถศิลป์ ลา ฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน เกาะสวนสนุก ร้อยสัตว์ประหลาด ลา ฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ดีไซน์เพชรพลอย ร้อยอัญมณีพรอบโพลิส",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#9",
"text": "โรซารี่ เกรย์ (พากย์ไทยโดย ธันวา ภักดีอำนาจ)",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
}
] |
1229 | ชินโต มีความหมายว่าอะไร ? | [
{
"docid": "43069#0",
"text": "ชินโต () เป็นลัทธิตามความเชื่อเดิมของชาวญี่ปุ่น คำว่า \"ชินโต\" มาจากตัวอักษรจีน หรือคันจิ 2 ตัวรวมกัน คือ \"ชิน\" () หมายถึงเทพเจ้า (ภาษาจีน: 神, พินอิน: shén, เสิน) และ \"โต\" () หมายถึงวิถีทางหรือศาสตร์วิชา (ภาษาจีน: 道, พินอิน: dào, เต้า) หรือ \"เต๋า\" ในลัทธิเต๋านั่นเอง เมื่อรวมกันแล้ว จะหมายถึงศาสตร์แห่งเทพเจ้า หรือวิถีแห่งเทพเจ้า () นั่นเอง ชินโตของญี่ปุ่นมีตำนานความเชื่อว่า \"เทพเจ้ามีมากมายนับไม่ถ้วน\" ทั้งในป่า บนภูเขา ทะเล แม่น้ำ ลำธาร ในสายลม แม้แต่ในบ้านเรือนและเรือกสวนไร่นาในธรรมชาติที่ที่มีความบริสุทธิ์ล้วนเป็นที่สถิตของเทพเจ้าได้ทั้งสิ้น จึงมีคำที่ว่า \"เทพแปดล้านองค์\" () เป็นการรวมคำเพื่อแสดงว่ามีทวยเทพอยู่มากมาย",
"title": "ชินโต"
},
{
"docid": "43069#5",
"text": "คำว่า \"ชินโต\" นี้ มาซาฮารุ อนาซากิ (Masaharu Anasaki. 1963 : 19 - 23) ได้อธิบายว่า มาจากอักษรจีนสองตัว คือ \"เชน\" (Shen) ซึ่งแปลว่า \"เทพทั้งหลาย\" ส่วน \"เต๋า\" (Tao) แปลว่า \"ทาง\" รวมความแล้ว แปลว่า \"วิถีทางแห่งเทพทั้งหลาย\" เพราะชาวญี่ปุ่นบูชาเทพเจ้าเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน เทพเหล่านี้เป็นเทพที่มีอยู่ในธรรมชาติ และการที่จะเข้าถึงองค์เทพได้นั้น จะต้องเข้าถึงธรรมชาติชินโตจึงสอนให้บุคคลเคารพในธรรมชาติเพื่อที่จะเข้าใจความเป็นชินโตให้มากขึ้น เราจะต้องศึกษาเทพนิยายและตำนานธรรมของคนญี่ปุ่นซึ่งมีมานานก่อนศตวรรษที่ 6 อันเป็นเรื่องราวที่แสดงถึงชาติกำเนิดของคนญี่ปุ่น ซึ่งเชื่อกันว่าสืบสายเลือดมาจากเทพทั้งหลายทั้งปวง เทพเหล่านี้ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า \"คามิ\" (Kami) แต่นักศาสนาบางท่านได้สันนิษฐานว่า คามิ คือ มานา (mana) คามิจะเป็นมานาหรือไม่ ยากที่จะระบุลงไปได้ เพราะแม้แต่นักศาสนาของญี่ปุ่นที่ชื่อ โมโตโอริ โนรินางะ (Motoori Norinaga) ยังไม่ยอมที่จะอธิบายกามิให้มากไปกว่าความหมายซึ่งเป็นที่เข้าใจกันทั่ว ๆ ไป \nชินโต (「神道」, shintō, 神道?) เป็นศาสนาตามความเชื่อเดิมของชาวญี่ปุ่น และเคยเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศญี่ปุ่นในอดีต ชินโตเป็นศาสนาที่บูชา เทพเจ้า หรือที่เรียกว่า คามิ ( 神(かみ)) และจิตวิญญาณในธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ซุซะโนะโอะ เทพเจ้าแห่งทะเลและพายุในศาสนาชินโต คำว่าชินโต มาจากภาษาญี่ปุ่นสองคำในอักษรคันจิ คำว่า \"ชิน\" (神) ที่แปลว่า พระเจ้า และ \"โต\" (道) ที่หมายถึงวิถีชีวิต ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ชินโตได้ถูกยกเลิกจากการเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งในปัจจุบันชินโตเริ่มลดหายไปจากวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยที่ยังเห็นได้ในปัจจุบันได้แก่ โอะมิกุจิ (การดึงฉลากเสี่ยงโชคในศาลเจ้าชินโต) และการเฉลิมฉลอง งานปีใหม่ญี่ปุ่น ที่มีจัดขึ้นตามศาลเจ้าชินโต",
"title": "ชินโต"
}
] | [
{
"docid": "43069#13",
"text": "ชินโตสอนว่าการกระทำของคนเราทุกอย่างจะสร้างชนิดของความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์ ที่หนึ่งควรต้องการทำความสะอาดเพื่อความสงบสุขของตัวเองหนึ่งของความคิดและความโชคดีไม่ได้เพราะไม่ถูกต้องในสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์และของตัวเอง กระทำผิดจะเรียกว่า () ซึ่งแปลว่าไม่บริสุทธิ์ ตรงกันข้ามคำว่า () โดยวันที่ไม่สำคัญจะเรียกว่า\"วัน\"(\"คี\")และส่วนในช่วงเทศกาลหรือวันสำคัญจะใช้คำว่า\"แสงแดด\"ซึ่งอาจมีความหมายว่า สิ่งมี่เป็นมงคลนั่นเอง",
"title": "ชินโต"
},
{
"docid": "43069#8",
"text": "ในศาสนาเทวนิยมส่วนมากสอนว่า จุดหมายปลาย ทางของชีวิต คือ พระเจ้า แต่ชินโตแม้จะกล่าวว่า วิญญาณเป็นอมตะ คนตายเท่ากับการเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวใหม่ ชินโตก็มีการเซ่นสรวงดวงวิญญาณตามโอกาส \nฐานะปัจจุบัน ประเทศให้ทันสมัยอย่างประเทศตะวันตก ได้ ชินโต เป็นศาสนาของชาวญี่ปุ่นโดยเฉพาะนอก ประเทศญี่ปุ่นผู้นับถือส่วนใหญ่จะเป็นผู้มีเชื้อสายญี่ปุ่นที่ไปตั้งรกรากในประเทศนั้น ๆ เช่น ที่ ไปนมัสการไม่น้อยกว่าปีละ 80 ล้านคนในช่วง ฮาวาย บราซิล และ ออสเตรเลีย เป็นต้น",
"title": "ชินโต"
},
{
"docid": "43069#15",
"text": "เป็นเรื่องปกติสำหรับครอบครัวที่จะเข้าร่วมในพิธีสำหรับเด็กที่ศาลเจ้า ยังมี งานศพแบบญี่ปุ่นที่เป็นเวลาแห่งความตาย แต่แนวคิดในด้านของชีวิตภายหลังการมรณะของชินโต อาจจะไม่ได้เปิดมุมคมชัดแบบของพุทธ ในตำนานเก่าของญี่ปุ่นก็มักจะอ้างว่าคนตายไปที่สถานที่ที่เรียกว่า \"โยมิ\" (黄泉) ดินแดนใต้พิภพเป็นแผ่นมืดมนกับแม่น้ำแยกชีวิตจากความตาย ซึ่งปกครองโดย อิซะนะมิ เทพมารดรผู้เป็นนายเหนือแห่งดินแดนยมโลก",
"title": "ชินโต"
},
{
"docid": "43069#7",
"text": "ศาสนาชินโต เกิดขึ้นเนื่องจากเมื่อญี่ปุ่นติดต่อกับจีนได้รับพระพุทธศาสนาและศาสนาขงจื้อเข้ามาผสมกับความเชื่อดั้งเดิมของตนจึงเรียกรวมว่าชิน - เต๋า หรือ ชินโต แปลว่าทางแห่งเทพเจ้าภาษาญี่ปุ่นเรียก คามิ - โน - มิชิ บ่อเกิดของศาสนาชินโตมาจากประเพณีบูชาบรรพบุรุษ และการครองชีวิตโดยปฏิบัติตามการนำทางของเทพเจ้า เกี่ยวกับเทพนิยายลึกลับซับซ้อน ในนิทานและพงศาวดารของญี่ปุ่น \nศาสนาชินโตไม่มีศาสดา แต่มีจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น ที่สืบสายเลือดมาจากเทพ เป็นประมุขของศาสนา ก่อตั้งจัดอยู่ในประเภท หลักธรรมสำคัญ เทวนิยม บูชาเทพเจ้า เชื่อถือเวทมนตร์ คาถา บูชา ธรรมชาติ บรรพบุรุษ",
"title": "ชินโต"
},
{
"docid": "43069#12",
"text": "ถึงแม้ว่าศาลเจ้าสาธารณะมากมายจะมีโครงสร้างที่มีความประณีตทั้งหมดเป็นสถาปัตยกรรมรูปแบบเฉพาะของญี่ปุ่นซึ่งแตกต่างไปตามยุค ด้านหน้าของศาลเจ้าจะมีเสาประตูญี่ปุ่นขนาดใหญ่ซึ่งมีความเด่นเป็นพิเศษ(\"โทริอิ\") ทำจากประตูสลักแบบตั้งสองชิ้นซึ่งแบ่งเป็นช่องธรรมดาและช่องศักดิ์สิทธิ์ ประตูโทริอิมีถึง 20 รูปแบบและเข้ากับฐานโครงสร้างบูชาเทพเจ้าและราชวงศ์ ซึ่งบริเวณหน้าเสาโทริอิจะมีรูปปั้นสิงโตชิสะอยู่เพื่อปกป้องวัดจากความชั่วร้าย",
"title": "ชินโต"
},
{
"docid": "894977#8",
"text": "ตามความเชื่อของชาวชีอะฮ์ ความหมายของอะฮ์ลุลบัยต์ คือความหมายเดียวกับความหมายที่ถูกกล่าวถึงในวจนะต่าง ๆ อาทิ ฮาดิษษะกอลัยน์ ฮาดิษซาฟีนะฮ์ ฮาดิษนุญูม และ ฮาดิษสิบสองอิมาม เพราะจากการประมวลผลทางสติปัญญาและทางการรายงาน ตำแหน่งที่ถูกกล่าวถึงในวจนะต่าง ๆ นั้นยืนยันเกี่ยวกับพวกเขาเท่านั้น เช่นเดียวกับที่ชาวซุนนีกลุ่มหนึ่งได้ให้ทัศนะเช่นนี้เหมือนกัน บนพื้นฐานของหลักฐานต่าง ๆ ที่กล่าวไปแล้วข้างต้น รวมถึงหลักฐานอื่น ๆ ทางประวัติศาสตร์อิสลาม ชาวชีอะฮ์ จึงเชื่อว่า อะฮ์ลุลบัยต์ มีเพียง ๑๔ท่านผู้บริสุทธิ์ เท่านั้น และตามหลักฐานดังกล่าว แม้แต่บรรดาภรรยาของท่านศาสดาก็ไม่สามารถรวมอยู่ในวงล้อมนี้ได้ แม้ว่าตำแหน่งของบรรดาภรรยาของท่านศาสดานั้นสูงส่งอยู่แล้ว ณ พระองค์อัลลอฮ์(ซบ.)",
"title": "อะฮ์ลุลบัยต์"
},
{
"docid": "166885#3",
"text": "คำว่า \"โนโซมิ\" เป็นคำในภาษาญี่ปุ่น มีความหมายว่า \"ความหวัง\" ได้รับการคัดเลือกให้เป็นชื่อเนื่องจากมีความเร็วกว่าบริการรถไฟที่มีอยู่ในขณะนั้นคือ \"ฮิกะริ\" ที่มีความหมายว่า \"แสง\" หรือ \"รังสี\" และ\"โคะดะมะ\" ที่มีความหมายว่า \"เสียงสะท้อน\" ซึ่งในขณะนั้นมีความต้องการรถไฟที่เร็วกว่า\"ฮิระกิ\" และ \"โคะดะมะ\"อยู่มาก",
"title": "โนโซมิ (ขบวนรถไฟ)"
},
{
"docid": "158602#32",
"text": "จุดมุ่งหมายของผู้ปฏิบัติคือการขัดเกลาอุปนิสัย บำเพ็ญตนให้ถูกต้องตามหลักธรรม แก้ไขชะตากรรม เป็นอิสระจาก 3 หนทางแห่งกิเลส กรรมและความทุกข์ ได้มีชีวิตดั่งวลีที่ปรากฏในพระสูตรว่า\"ชีวิตที่สุขสงบมั่นคงในชาตินี้และสิ่งแวดล้อมที่ดีในชาติหน้า\" ท้ายที่สุดคือการบรรลุพุทธภาวะในรูปกายปัจจุบัน (\"โซกูซินโจบุตสึ\") ซึ่งเป็นคำสอนในนิกายนี้ที่ลึกซึ้งที่สุด",
"title": "นิจิเร็นโชชู"
}
] |
3632 | การแปลสิ่งเร้าผิดหมายถึงอะไร? | [
{
"docid": "613876#0",
"text": "การแปลสิ่งเร้าผิด หรือ มายา () หมายถึงความผิดพลาดหรือความบิดเบือนของการรับรู้ทางประสาทสัมผัส\nที่ชี้ให้เห็นถึงวิธีที่สมองจัดระเบียบและแปลผลข้อมูลทางประสาทสัมผัส\nแม้ว่า การแปลสิ่งเร้าผิดจะบิดเบือนความเป็นจริง แต่ก็เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดกับคนโดยมาก",
"title": "การแปลสิ่งเร้าผิด"
},
{
"docid": "613876#3",
"text": "คำว่า การแปลสิ่งเร้าผิด หมายถึงการบิดเบือนความเป็นจริงทางการรับรู้ที่มีลักษณะเฉพาะ \nโดยที่ไม่เหมือนกับอาการประสาทหลอน (hallucination) ซึ่งเป็นความบิดเบือนความเป็นจริงโดยไม่มีสิ่งเร้า\nการแปลสิ่งเร้าผิดเป็นการแปลผลความรู้สึก (อาศัยสิ่งเร้า) ที่มีขึ้นจริง ๆ ผิด\nยกตัวอย่างเช่น การได้ยินเสียงโดยไม่มีเสียงจริง ๆ ในสิ่งแวดล้อมเป็นอาการประสาทหลอน\nแต่ว่า การได้ยินเสียงคนในเสียงน้ำที่กำลังไหลอยู่ (หรือในเสียงอื่น ๆ) เป็นการแปลสิ่งเร้าผิด",
"title": "การแปลสิ่งเร้าผิด"
},
{
"docid": "613876#9",
"text": "การแปลสิ่งเร้าผิดทางสัมผัส () ก็คือ การรู้สึกทางสัมผัสที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือที่ทำให้เกิดความคิดผิด ๆ \nตัวอย่างของการแปลสิ่งเร้าผิดทางสัมผัสรวมทั้งกลุ่มอาการหลงผิดว่าแขนขายังคงอยู่ การลวงสัมผัสตะแกรงเหล็กร้อน การลวงสัมผัสที่ผิวหนังแบบกระต่าย\nและการลวงสัมผัสแปลกอีกอย่างหนึ่ง\nที่เกิดขึ้นเมื่อไขว้นิ้วชี้กับนิ้วกลางแล้วใช้นิ้วทั้งสองลูบที่ดั้งจมูก\nโดยแต่ละนิ้วอยู่ที่แต่ละด้านของจมูก จะมีผลเป็นความรู้สึกว่ามีจมูกสองจมูก",
"title": "การแปลสิ่งเร้าผิด"
}
] | [
{
"docid": "613876#11",
"text": "การแปลสิ่งเร้าผิดสามารถเกิดขึ้นทางประสาทสัมผัสอื่น ๆ รวมทั้งที่ใช้ในการรับรู้เกี่ยวกับอาหาร\nทั้งเสียง \nและสัมผัส \nสามารถลวง (บิดเบือน) ความรู้สึกเกี่ยวกับความเก่า (ความไม่สด) และความกรอบของอาหาร คือพบว่า",
"title": "การแปลสิ่งเร้าผิด"
},
{
"docid": "613876#2",
"text": "การแปลสิ่งเร้าผิดบางอย่างมีเหตุจากข้อสันนิษฐานที่สมองมีเกี่ยวกับความเป็นจริงเมื่อเกิดการรับรู้\nข้อสันนิษฐานเหล่านั้นเกิดขึ้นอาศัยรูปแบบของสิ่งที่รับรู้,\nความสามารถในการรับรู้ความลึกและการรับรู้ความเคลื่อนไหว, \nและความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัยว่า วัตถุหรือลักษณะต่าง ๆ ของวัตถุนั้นไม่มีความเปลี่ยนแปลงแม้ความรู้สึกทางประสาทสัมผัสเกี่ยวกับวัตถุนั้นจะได้เปลี่ยนไปแล้ว\nส่วนการแปลสิ่งเร้าผิดอื่น ๆ เกิดขึ้นอาศัยความเป็นไปในระบบการรับรู้ภายในร่างกาย หรือองค์ประกอบอื่น ๆ ภายนอกร่างกายในสิ่งแวดล้อม",
"title": "การแปลสิ่งเร้าผิด"
},
{
"docid": "613876#8",
"text": "มีความเชื่อโดยทั่ว ๆ ไปว่า มีภาพลวงตาที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ\nและมีภาพลวงตาที่สร้างขึ้นได้โดยใช้กลอุบาย\nที่สามารถใช้ศึกษาให้เข้าใจในระดับพื้นฐานว่า ระบบการรับรู้ในมนุษย์นั้นทำงานอย่างไร\nคือ สมองสร้างโลกจำลองขึ้นในหัวของเราโดยมีพื้นฐานจากข้อมูลที่มันเอามาเป็นตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อม\nแต่ว่า บางครั้ง มันพยายามจัดระเบียบข้อมูลเหล่านั้นโดยวิธีที่คิดว่าดีที่สุด (ที่อาจไม่ตรงกับความเป็นจริง) และบางครั้ง มันก็เติมข้อมูลที่ไม่มีให้เต็มเอง \nวิธีการทำงานของสมองแบบนี้เป็นเหตุของการแปลสิ่งเร้าผิด ๆ\nเสียงลวงหู หรือ การแปลสิ่งเร้าผิดทางหู () ก็คือ การได้ยินเสียงที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือที่ทำให้เกิดความคิดผิด ๆ \nซึ่งก็คือ การได้ยินเสียงที่ไม่มีอยู่ หรือว่าเป็นเสียงที่เป็นไปไม่ได้\nโดยสรุปก็คือ การแปลสิ่งเร้าผิดทางหูชี้ข้อเท็จจริงว่า หูและสมองของมนุษย์เป็นเพียงอวัยวะทางชีวภาพ เป็นเพียงอุปกรณ์ชั่วคราวที่ไว้ใช้เฉพาะหน้า\nไม่ใช่ระบบรับรู้เสียงที่สมบูรณ์ ตัวอย่างของการแปลสิ่งเร้าผิดทางหูอย่างหนึ่งก็คือ Shepard tone ซึ่งเป็นวิธีการทำเสียงให้เหมือนกับกำลังสูงขึ้นหรือทุ้มลงอย่างต่อเนื่อง ๆ ทั้ง ๆ ที่ความจริงไม่ได้ไปทางไหนเลย",
"title": "การแปลสิ่งเร้าผิด"
},
{
"docid": "613876#1",
"text": "การแปลสิ่งเร้าผิดอาจเกิดขึ้นทางประสาทสัมผัสใดก็ได้ในมนุษย์\nแต่ภาพลวงตาเป็นการแปลสิ่งเร้าผิดที่รู้จักกันดีที่สุดและมีความเข้าใจกันมากที่สุด\nที่มีความสนใจในภาพลวงตามากก็เพราะว่า การมองเห็นเป็นประสาทสัมผัสที่มีอิทธิพลมากที่สุด\nซึ่งเห็นได้ในตัวอย่างเช่น คนที่กำลังดูการพูดดัดเสียง (ventriloquism) ได้ยินเสียงว่ามาจากหุ่นที่อยู่ที่มือของคนพูด\nเนื่องจากว่า เห็นหุ่นนั้นขยับปากตามเสียงคำพูด (แต่ไม่เห็นคนพูดขยับปาก)",
"title": "การแปลสิ่งเร้าผิด"
}
] |
1085 | ราชวงศ์ทิพย์จักรปกครองดินแดนล้านนาไท ตั้งแต่ปีใด ? | [
{
"docid": "19985#1",
"text": "ราชวงศ์ทิพย์จักร ได้รับการสถาปนาขึ้นในปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระแห่งอาณาจักรอยุธยา โดย \"หนานทิพช้าง\" ควาญช้างและพรานป่าผู้มีความสามารถ ได้ปราบดาภิเษกขึ้นครองนครลำปาง มีพระนามว่า<b data-parsoid='{\"dsr\":[1545,1566,3,3]}'>พระญาสุลวะฦๅไชย ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามจากราชสำนักกรุงอังวะเป็นพระยาไชยสงคราม ถือเป็นนครรัฐอิสระในปี พ.ศ. 2275",
"title": "ราชวงศ์ทิพย์จักร"
}
] | [
{
"docid": "18639#0",
"text": "พระบรมราชาธิบดี หรือ พระเจ้ากาวิละ () (พ.ศ. 2285 - พ.ศ. 2358) เป็นพระเจ้านครเชียงใหม่พระองค์แรกแห่งราชวงศ์ทิพย์จักร ปกครองดินแดนล้านนาไท 57 เมือง ตลอดรัชสมัยของพระองค์เป็นช่วงเวลาแห่งการศึกสงครามและสร้างบ้านแปงเมือง ทรงเป็นกษัตริย์ชาตินักรบได้ทรงร่วมกับพระอนุชาทั้ง 6 และกองทัพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี กอบกู้อิสรภาพแผ่นดินล้านนาออกจากพม่า และนำล้านนาเข้ามาเป็นประเทศราชแห่งสยาม",
"title": "พระเจ้ากาวิละ"
},
{
"docid": "223340#5",
"text": "ตามความเป็นจริงแล้ว อาจกล่าวได้ว่าจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เป็นเพียงกลุ่มของประเทศที่มีอิสรภาพของตนค่อนข้างมากซึ่งรวมตัวกันอยู่อย่างกระจัดกระจาย จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็เป็นตำแหน่งแต่เพียงในนามไม่มีอำนาจที่แท้จริง เว้นแต่จักรพรรดิที่มาจากราชวงศ์ฮับส์บูร์กที่ปกครองดินแดนส่วนมากของจักรวรรดิ (อาร์ชดัชชีออสเตรียและราชอาณาจักรโบฮีเมีย) เช่นเดียวกับที่ปกครองราชอาณาจักรฮังการี ทำให้ราชวงศ์ฮับส์บูร์กหลายเป็นมหาอำนาจหลักของยุโรป มีประชาชนใต้ปกครองมากกว่าแปดล้านคน นอกจากนี้ราชวงศ์ฮับส์บูร์กยังปกครองราชอาณาจักรสเปน ซึ่งรวมเอาเนเธอร์แลนด์, อิตาลีตอนใต้, หมู่เกาะฟิลิปปินส์ และดินแดนส่วนมากของทวีปอเมริกาไว้ด้วย จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ยังมีอิทธิพลระดับภูมิภาคในรัฐต่างๆ เช่น ดัชชีบาวาเรีย, รัฐผู้คัดเลือกแซกโซนี, รัฐมาร์เกรฟบรันเดนบูร์ก, รัฐผู้คัดเลือกพาลาทิเนต, รัฐแลนด์เกรเวียตแห่งเฮสส์, รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์ และเสรีนครของจักรพรรดิแห่งนูเรมเบิร์ก (มีประชากรอยู่อาศัยรวมกันราวห้าแสนถึงหนึ่งล้านคน) และยังปกครองรัฐอิสระขนาดเล็กเช่น ดัชชี, เสรีนคร, แอบบีย์, ราชรัฐมุขนายก และอนุมณฑลของขุนนาง (บางครั้งอำนาจของขุนนางแบบนี้ก็มีเพียงอำนาจปกครองหมู่บ้านเพียงหนึ่งแห่ง) อีกนับไม่ถ้วนทั่วจักรวรรดิ ซึ่งเขตปกครองขนาดเล็กรูปแบบต่างๆ เหล่านี้ไม่มีอำนาจมากพอที่จะมีบทบาททางการเมืองของจักรวรรดิ ผิดกับออสเตรียและบาวาเรียซึ่งมีบทบาทสำคัญ ด้านการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างรัฐต่างๆ ผ่านทางเครือญาติก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา และบ่อยครั้งที่มีการแบ่งมรดกของขุนนางให้แก่โอรสหลากหลายพระองค์ไปตามรัฐต่างๆ ",
"title": "สงครามสามสิบปี"
},
{
"docid": "19985#8",
"text": "เจ้าชายอ้าย เจ้าฟ้าสิงหราชธานี เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว เจ้านครเขลางค์ (ลำปาง) ประเทศราชของพม่า (2302 - 2317), เป็นพระราชบิดาใน\"พระเจ้ากาวิละ\" ด้วยพระราชโอรสทั้ง 7 พระองค์ ทรงมีบทบาทสำคัญในการกอบกู้ราชอาณาจักรล้านนาจากพม่า และต่อมาเจ้านายบุตรหลานได้ปกครองหัวเมืองเหนือ จึงเป็นที่มาของราชสมัญญาว่า \"เจ้าเจ็ดตน\" หรือ \"เจ้าเจ็ดองค์\" เจ้าหญิงคำทิพ เจ้าหญิงคำปา เจ้าชายพ่อเรือน บิดาในพระยาพุทธวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์ที่ 4 เจ้าหญิงกม (กมลา)",
"title": "ราชวงศ์ทิพย์จักร"
},
{
"docid": "19983#0",
"text": "ราชวงศ์มังราย[1] (Northern Thai: ) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรล้านนา ตั้งแต่รัชสมัยพญามังรายจนถึงพระเจ้าเมกุฎิสุทธิวงศ์ (ท้าวแม่กุ) เป็นเวลายาวนานกว่า 260 ปี จนถึงยุคเสื่อม เมื่ออุปนิกขิต (สายลับ) ที่พระเจ้าบุเรงนองส่งมาฝังตัวเพื่อรายงานสถานการณ์ในเชียงใหม่ แจ้งกลับไปบอกว่าเชียงใหม่ถึงยุคเสื่อมสุดแล้ว ให้ยกทัพหงสาวดีมาชิงเมือง ดังนั้น ใน พ.ศ. 2101 พระเจ้าบุเรงนอง จึงยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ โดยทัพพม่าใช้เวลาเพียงสามวันก็สามารถยึดเมืองเชียงใหม่ได้โดยง่าย กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น ได้หลบหนีไปยังเมือง\"ปาไป่น้อย\"หรือเมืองเชียงแสน ตามหลักฐานของจักรพรรดิจีนราชวงศ์หมิง อีกหกปีต่อมา พม่าก็ปลดพระเจ้าเมกุฎิสุทธิวงศ์ออกจากราชบัลลังก์ในข้อหาแข็งเมืองก่อการกบฏ พระเจ้าบุเรงนองจึงได้แต่งตั้งพระนางวิสุทธิเทวี อันเป็นเชื้อสายราชวงศ์มังรายอีกพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์ พระนางครองเมืองเชียงใหม่ได 14 ปี ก็สวรรคต และสิ้นสุดราชวงศ์มังรายสายพญาแสนภู [2] แต่ราชวงศ์มังรายยังคงเหลือเชื้อสายในราชวงศ์ที่ปกครองเมืองเชียงตุง ซึ่งเป็นสายของพระราชบุตรอีกพระองค์ของพญาไชยสงคราม ซึ่งภายหลังที่อังกฤษเข้ายึดครองพม่า ราชวงศ์เชียงตุงได้อพยพเข้ามาอยู่ในอาณาจักรล้านนา ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)",
"title": "ราชวงศ์มังราย"
},
{
"docid": "185940#14",
"text": "สงครามครูเสดมีจุดเริ่มต้นมาจากการเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากชาติในยุโรปของจักรพรรดิอเล็กซิอุสที่ 1 แห่งจักรวรรดิไบเซนไทน์ เพื่อร่วมกันต่อต้านการคุกคามของมุสลิมเติร์ก ที่กำลังแผ่ขยายอำนาจเข้าสู่ดินแดนของอาณาจักรไบเซนไทน์ และได้ยึดครองนครเยรูซาเลม ดินแดนอันศักดิ์สิทธิของชาวคริสต์ ข้อเรียกร้องดังกล่าวได้รับการยอมรับกันเป็นอย่างดีจากพระสันตปาปาเออร์บับที่ 2 (Urban II) พระองค์ได้ทรงเรียกร้องให้ผู้นำยุโรปในขณะนั้นร่วมมือกันขับไล่มุสลิมเติร์กออกจากนครเยรูซาเลม จักรพรรดิอเล็กซิอุสที่ 1 หาทราบไม่ว่า การเรียกร้องของพระองค์จะเป็น \"“การชักศึกเข้าบ้าน”\" และนำไปสู่การล่มสลายของอาณาจักรของพระองค์เองในที่สุด\nในคริสต์ศตวรรษที่ 7 กาหลิบอูมาร์ (Umar) แห่งอียิปต์ได้ยึดครองนครเยรูซาเล็มจากชาวคริสเตียน ชาวคริสต์ในนครเยรูซาเลมถูกกลั่นแกล้งรังควาน ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1071 เซลจุกเติร์กได้เข้ายึดครองนครเยรูซาเลม และได้เริ่มรุกรานเข้ามายังอานาโตเลีย ดินแดนภายใต้การปกครองของไบเซนไทน์ ณ สมรภูมิเมือง Malazgirt สุลต่าน Alparslan ผู้นำชาวเติร์กเผ่าเซลจุกลามารถเอาชนะกองทัพของจัดรพรรดิโรมันนุสที่ 4 ของไบเซนไทน์ ชัยชนะครั้งนี้ได้เปิดทางให้ชาวเติร์กจากเอเชียกลางหลั่งไหลเข้าสู่อานาโตเลีย การรุกรานของชาวเติร์กทำให้จักรพรรดิอเล็กซิอุสที่ 1 แห่งอาณาจักรไบเซนไทน์ต้องร้องขอความช่วยเหลือไปยังพระสันตปาปาเออร์บันที่ 2 ซึ่งได้รับการตอบสนองเป็นอย่างดี สงครามครูเสดครั้งที่ 1 จึงเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1096 โดยมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อขับไล่เติร์กออกจากนครเยรูซาเลม สงครามครูเสดได้ยืดเยื้อต่อมาอีก 8 ครั้ง ก่อนที่จะยุติลงในปี ค.ศ. 1272 \nในระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 4 กองทหารครูเสดแทนที่จะพยายามบุกยึดนครเยรูซาเลมคืนจากมุสลิมเติร์ก กลับบุกเข้าปล้นนครคอนสแตนติโนเปิลในปี ค.ศ. 1204 และได้แบ่งแยกดินแดนของอาณาจักรไบเซนไทน์ออกเป็นหลายส่วนเพื่อปกครองกันเอง เชื้อพระวงค์ในไบเซนไทน์ซึ่งเสด็จลี้ภัยไปอยู่ที่เมือง Nicaea ทางตะวันตกของอานาโตเลีย ต้องใช้เวลานานเกือบ 60 ปี จึงสามารถยึดนครคอนสแตนติโนเปิลกลับคืนมาได้ แต่อาณาจักรไบเซนไทน์ก็ตกอยู่ในสภาวะที่เสื่อมทรมอย่างหนัก ชนเชื้อสายเติร์กได้เข้าครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ของอานาโตเลีย และสามารถยึดครองนครคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1453",
"title": "ประวัติศาสตร์อานาโตเลีย"
},
{
"docid": "19985#0",
"text": "ราชวงศ์ทิพย์จักร[1] หรือ ทิพจักราธิวงศ์ หรือ ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน[2] [3] เป็นราชวงศ์ที่ปกครองนครลำปาง นครเชียงใหม่ และนครลำพูน",
"title": "ราชวงศ์ทิพย์จักร"
},
{
"docid": "223156#1",
"text": "เมื่อพญามังรายมีอำนาจเหนือล้านนา ทรงแต่งตั้งให้ขุนมาครองนครลำปางสืบต่อมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนกระทั่งพระเจ้าบุเรงนองแห่งกรุงหงสาวดีได้กรีฑาทัพยึดล้านนาไว้ได้ทั้งหมด จึงสิ้นสุดยุคราชวงศ์มังรายในนครลำปาง ตลอดระยะที่พม่าได้ครอบครองอาณาจักรล้านนามาเป็นเวลา 200 ปีนั้น ได้กดขี่ข่มเหงชาวบ้านอย่างมากมาย จนเกิดกบฏหลายครั้ง จนกระทั่งหนานทิพย์ช้างได้ชัยชนะเหนือท้าวมหายศแห่งนครลำพูน(ซึ่งอยู่ในอำนาจของพม่า) และชาวเมืองพร้อมใจสถาปนาหนานทิพย์ช้างเป็นพระญาสุลวะฤๅไชยสงคราม และเริ่มต้นยุคราชวงศ์ทิพย์จักร หรือราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนในนครลำปาง ลูกหลานของพระญาสุลวะฤๅไชยได้ให้ความร่วมมือกับกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ในการขจัดอิทธิพลพม่าออกจากอาณาจักรล้านนาได้ทั้งหมด และสิ้นสุดยุคประเทศราชของพม่าในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี เชื้อสายเจ้าเจ็ดตนได้ครองนครลำปางจนถึง พ.ศ. 2465 ในสมัยเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต",
"title": "รายพระนามเจ้าผู้ครองนครลำปาง"
},
{
"docid": "194384#3",
"text": "ภายหลังการกอบกู้เอกราชของล้านนาโดยการนำของพระเจ้ากาวิละ แต่เดิมพระองค์เป็นพระยานครลำปาง สืบเชื้อสายมาแต่พระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) องค์ปฐมวงศ์ราชวงศ์ทิพย์จักร และเจ้าอนุชารวม 7 องค์ ภายใต้การสนับสนุนทัพหลวงใน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แล้ว ล้านนาจึงได้เข้ามาอยู่ในฐานะประเทศราชของกรุงธนบุรีตั้งแต่นั้น ",
"title": "นครเชียงใหม่"
},
{
"docid": "17168#11",
"text": "หลังจากพระเจ้ากาวิละได้ปลดปล่อยเชียงใหม่ และ อาณาจักรล้านนา จาก พม่าแล้ว พระเจ้ากาวิละทรงพิจารณาเห็นว่าเมืองเชียงใหม่ขณะนั้นเป็นเมืองร้าง เพราะผู้คนหนีภัยสงคราม อีกทั้งในกำแพงตัวเมืองเชียงใหม่ยังมีต้นไม้เถาวัลย์ปกคลุม ชุกชุมด้วยเสือ สัตว์ป่านานาพันธ์ ผู้คนของพระองค์มีน้อยไม่อาจบูรณะซ่อมแซมเมืองใหญ่ได้ ดังนั้นจึงยกทัพไปกวาดต้อนผู้คนโดยไปตีเมืองไตในดินแดน ๑๒ ปันนา ทั้งไตลื้อ ไตโหลง(ไทใหญ่) ไตขึน (คนไตลื้อในเมืองเชียงตุง) ไตลื้อเมืองยอง ไตลื้อเมืองลวง ไตลื้อเมืองพน เมืองหย่วน เมืองล่า มาอยู่ที่เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา และ น่านเป็นจำนวนมาก ซึ่งเรียกกันว่ายุค \"เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง\" อันเป็นวิธีฟื้นฟูอาณาจักรล้านนาวิธีหนึ่ง เพราะในช่วงก่อนนั้น พม่าได้กวาดต้อนชาวล้านนาไปอยู่ที่ พุกาม และ มัณฑะเลย์ ไปจำนวนมาก",
"title": "เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา"
},
{
"docid": "252344#2",
"text": "เจ้าน้อยสุริยะได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น\"เจ้าราชบุตร\" เมื่อปี พ.ศ. 2432 เป็น\"เจ้าราชวงศ์\" ในปี พ.ศ. 2436 และวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2440 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น\"เจ้าอุปราชเมืองนครเชียงใหม่\" ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรแต่งตั้งเป็น\"เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ ดำรงนพีสีนคร สุนทรทศลักษ์เกษตร์ วรฤทธิ์เดชดำรง จำนงยุติธรรมสุจริต วิศิษฐสัตยธาดา มหาโยนางคราชวงษาธิบดี เจ้านครเชียงใหม่\" โดยมีพิธีการตั้งเจ้าผู้ครองนครเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 นับเป็นเจ้านครเชียงใหม่องค์แรก ภายหลังปี พ.ศ. 2442 ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล โดยมีมณฑลพายัพ หรือ มณฑลลาวเฉียง และมณฑลมหาราษฎร์ เป็นมณฑลในอาณาจักรล้านนา โดยราชสำนักกรุงเทพฯ ส่งข้าหลวงขึ้นมาช่วยให้คำแนะนำเจ้านายฝ่ายเหนือในการบริหารราชการ และได้มีการแต่งตั้งตำแหน่งเสนากรมขึ้นมาใหม่ 6 ตำแหน่ง โดยให้คงตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครอยู่ แต่ลดอำนาจลง และในที่สุดในปี พ.ศ. 2442 ล้านนาได้ถูกปฏิรูปการปกครองเป็นแบบ มณฑลเทศาภิบาล เป็นการยกเลิกฐานะหัวเมืองประเทศราช และผนวกดินแดนล้านนาที่อยู่ใต้การปกครองของเชียงใหม่มาเป็นส่วนหนึ่งของสยาม",
"title": "เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์"
},
{
"docid": "14227#0",
"text": "เจ้าดารารัศมี พระราชชายา (Northern Thai: ) (26 สิงหาคม พ.ศ. 2416 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476) เป็นเจ้าหญิงในราชวงศ์ทิพย์จักรจากนครเชียงใหม่ ผู้มีบทบาทสำคัญต่อการรวมล้านนาเข้ากับสยาม โดยการถวายตัวเป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมล้านนา",
"title": "เจ้าดารารัศมี พระราชชายา"
},
{
"docid": "17168#6",
"text": "การอ่อนแอของราชวงค์อาฬโวสวนตาลครั้งแรกเริ่มคราวสมัยสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 3 (ท้าวอ้ายปุง) รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงค์อาฬโวสวนต๋าน จากนั้นเกิดความวุ่นวายเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ สุดท้ายถึงรัชกาลที่ 24 ท้าวอินเมิง (ท้าวอินเมือง) อาณาจักรสิบสองปันนาเริ่มเป็นปึกแผ่นมากที่สุด การขยายอาณาเขตเข้าไปยึดถึงเมืองเชียงตุง เมืองแถน (เดียนเบียนฟู) เชียงแสน ล้านช้าง จึงเป็นเหตุให้การอพยพชาวไทลื้อจากเชียงรุ่งและอีกหลายหัวเมืองลื้อเข้าไปสู่ดินแดนดังกล่าว เพื่อเข้าไปตั้งชุมชนปกครอง หัวเมืองประเทศราช ซึ่งหากมองมาถึงปัจจุบันมีชาวไทลื้อกระจายไปทั่วทั้งเมืองแถน หัวเมืองทางเหนือของลาว ทุกเมือง รัฐฉานของพม่า จนถึงเชียงตุง และแถบไต้คง",
"title": "เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา"
},
{
"docid": "802918#9",
"text": "เหตุผลที่ไทยต้องยอมสูญเสียดินแดนดังกล่าวให้แก่ฝรั่งเศสในครั้งนั้น เพราะไทยต้องการยุติปัญหาการแย่งชิงเมืองเงิน ระหว่างเมืองนครน่าน กับหลวงพระบาง ซึ่งทั้งสองได้เข้ามาแย่งกันปกครองจนเกิดการวิวาทถกเถียงกันเสมอ โดยทุกครั้งไทยต้องพยายามอดกลั้นไม่ใช้กำลังโต้ตอบตลอดมา เพราะไม่ปรารถนาประจัญหน้ากับฝรั่งเศส ผู้สนับสนุนการกระทำของหลวงพระบาง ฉะนั้นเพื่อยุติปัญหาที่ยืดเยื้อไทยจึงต้องยอมยกเมืองเงินและเมืองอื่น ๆ ในบริเวณนั้นให้แก่ฝรั่งเศสตามต้องการ ซึ่งเป็นผลให้การคุกคามของฝรั่งเศสด้านมณฑลพายัพยุติลงด้วย ทำให้ฝ่ายไทยมีโอกาสจัดการปกครองภายในมณฑลพายัพ ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนั้นการสูญเสียดินแดนดังกล่าว เพื่อแลกกับการยึดครองเมืองจันทบุรีที่ฝรั่งเศสยึดไว้เป็นประกันซึ่งเป็นเมืองไทยแท้กว่าเมืองประเทศราช",
"title": "ล้านนาไท 57 เมือง"
},
{
"docid": "33612#21",
"text": "สมัยจักรวรรดิ (The Empire) ประมาณ 1580-1090 ปีก่อนคริสตกาล ผู้เป็นกำลังในการขับไล่พวกฮิกซอสคือ ฟาโรห์อาห์โมสที่หนึ่ง (Ahmos I) ได้สถาปนาราชวงศ์ที่ 18 ขึ้น ทรงเป็นฟาโรห์ที่ทรงอำนาจยิ่งใหญ่ของอียิปต์ อาณาจักรอียิปต์เป็นปึกแผ่นยิ่งกว่าสมัยใดทั้งสิ้น พระองค์ยังทรงตีได้ดินแดนใกล้เคียงเข้ามาอยู่ใต้จักรวรรดิอีกเป็นจำนวนมาก ทรงทำให้อียิปต์มีความรู้สึกรักชาติและสามารถผนึกกำลังขับไล่พวกฮิกซอสออกไปได้สำเร็จ ในสมัยจักรวรรดินี้มีฟาโรห์ปกครองอยู่ 3 ราชวงศ์ จนถึงราชวงศ์ที่ 20 เป็นสมัยที่อียิปต์ทำสงครามแผ่ขยายอำนาจ เนื่องจากมีกองทัพที่มีประสิทธิภาพมาก ฟาโรห์อาห์โมสได้ยกกองทัพเข้าไปยังดินแดนปาเลสไตน์และประกาศยึดครองประเทศซีเรีย \nสมัยจักรวรรดิรุ่งโรจน์ที่สุดในสมัยฟาโรห์ทุตโมสที่สาม (Thutmos III) ทรงขึ้นครองราชสมบัติใน 1479 ปีก่อนคริสตกาล ทรงขยายดินแดนอียิปต์ออกไปจนถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำยูเฟรติสและลงมาถึงบริเวณแก่งน้ำตกทางตอนใต้สุดของแม่น้ำไนล์ พวกฟินิเซียน คานาอัน ฮิตไทต์ (Hittites) และแอสซิเรียนต้องถวายเครื่องบรรณาการยอมเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของพระองค์ \nในสมัยราชวงศ์ที่ 19 (1350-1200 ปีก่อนคริสตกาล) อียิปต์ต้องประสบภัยจากการรุกรานที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง โดยพวกฮิตไทต์เป็นพวกนักรบซึ่งอยู่แถบเอเชียไมเนอร์ ได้ขยายตัวลงมาทางใต้เพื่อไปรุกรานดินแดนซีเรียและปาเลสไตน์ \nในสมัยฟาโรห์รามเสสที่สอง (Rameses II, 1292-1225 ปีก่อนคริสตกาล) พระองค์ได้เข้าร่วมทำสงครามกับพวกฮิตไทต์ เพื่อรักษาพระราชอาณาจักรเป็นเวลาถึง 16 ปี แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะได้ ทั้งสองฝ่ายต่างอ่อนกำลังลงเรื่อยๆ จึงได้ตกลงเปิดการเจรจายุติสงคราม ทำสนธิสัญญาแบ่งดินแดนซีเรียกับชาวฮิตไทต์ (สนธิสัญญาฉบับนี้เป็นฉบับที่เก่าแก่ที่สุดในโลกซึ่งได้เกิดมีขึ้นระหว่างประเทศ เมื่อ 1272 ปีก่อนคริสตกาล) หลังจากนั้นพระองค์ได้ทรงสร้างสิ่งก่อสร้างมากมาย ที่มีชื่อเสียงในความใหญ่โตหรูหราในการสร้างมาจนถึงปัจจุบันนี้ก็คือ “The Great Temple” และ “The Small Temple” เป็นวัดซึ่งพระเจ้ารามเสสโปรดให้สร้างสำหรับพระองค์และพระมเหสี คือพระนางเนเฟอร์ตารี (Nefertari) รัชสมัยของฟาโรห์รามซิสยาวนานถึง 67 ปี และสมัยนี้ได้ชื่อว่าเป็นสมัยที่มีการก่อสร้างมากที่สุดในอียิปต์\nรามเสสที่สาม (Rameses III, 1198-11167 ปีก่อนคริสตกาล) ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบ เป็นฟาโรห์ที่มีพระนามเด่นเป็นองค์สุดท้าย หลังจากนั้นอาณาจักรอียิปต์ได้เสื่อมลงทุกปี หลังจาก 945 ปีก่อนคริสตกาล ได้มีฟาโรห์ราชวงศ์ต่างชาติขึ้นปกครองเรื่อยมา เช่น ราชวงศ์ลิบเบียน (Libyian, ราชวงศ์ที่ 22-24 เมื่อ 945-712 ปีก่อนคริสตกาล) แอสซิเรียน (Assyrian,ราชวงศ์ที่ 25 เมื่อ 670 ปีก่อนคริสตกาล) เปอร์เซียน (Persian,ราชวงศ์ที่ 27-29 เมื่อ 525 ปีก่อนคริสตกาล)\nในที่สุดเมื่อประมาณ 332-323 ปีก่อนคริสตกาล อียิปต์ตกอยู่ใต้อำนาจของกรีกในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งจักรวรรดิมาซิโดเนีย (336-323 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งได้สถาปนาพระองค์เองขึ้นเป็นฟาโรห์ เมื่อสิ้นพระเจ้าอเล็กซานเดอร์แล้ว แม่ทัพของพระองค์นามว่าทอเลมี (Ptolemy) ได้ปกครองอียิปต์ต่อมา สถาปนาราชวงศ์ทอเลมีที่ 30 ขึ้นเมื่อ 305 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์องค์แรกๆแห่งราชวงศ์นี้ได้อุทิศเวลาส่วนใหญ่สร้างเมืองอเล็กซานเดรีย (Alexandria) ขึ้นเป็นศุนย์กลางการค้าและศิลปวิทยา ทอเลมีที่สองฟิลาเดลฟุส (Ptoleme II Pheladephus, 285-246 ปีก่อนคริสตกาล) ได้โปรดสร้างพิพิธภัณฑ์และหอสมุดใหญ่ที่มีชื่อเสียงขึ้น ",
"title": "อียิปต์โบราณยุคราชวงศ์"
},
{
"docid": "44547#3",
"text": "มีบทบาทที่ชัดเจนแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง คือ ช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475\nราชวงศ์ทิพย์จักร เป็นวงศ์ตระกูลในชนชั้นกษัตริย์ปกครองมาตั้งแต่ยุคของพระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ซึ่งปกครองนครลำปางในฐานะนครรัฐอิสระในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในชั้นพระราชนัดดาหรือเจ้าเจ็ดพระองค์พี่น้อง (เจ้าเจ็ดตน) ได้มีบทบาทสำคัญในการช่วยกองทัพสยามสู้รบกับกองทัพพม่า และช่วยขยายพระราชอาณาเขตทั้งในสมัยกรุงธนบุรีและสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ใน ปี พ.ศ. 2275 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้ากาวิละพระเจ้ากาวิละ พระเจ้าเชียงใหม่ ปกครอง 57 หัวเมืองฝ่ายเหนือในฐานะประเทศราช ภายหลังการโปรดเกล้าฯ จากราชสำนักสยาม พระเจ้ากาวิละได้โปรดให้จัดพิธีเถลิงถวัลยราชสมบัติเข้าขึ้นครองอาณาจักรล้านนาตามราชประเพณีในราชวงศ์มังราย ในการนี้เจ้าเจ็ดพระองค์พี่น้องได้ทรงร่วมกันวางระบบการปกครองอาณาจักรฝ่ายเหนือ โดยแบ่งหัวเมืองฝ่ายเหนือออกเป็น 4 ระดับ (พ.ศ. 2275 - 2442) ดังนี้ ",
"title": "เจ้านายฝ่ายเหนือ"
},
{
"docid": "745786#0",
"text": "พระเจ้าทนินกันเว (, ) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอูของพม่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2257 ถึง พ.ศ. 2276 ในช่วงรัชสมัยของพระองค์ราชอาณาจักรไม่มีเสถียรภาพภายในและภายนอก พระองค์เผชิญหน้ากับการจลาจลโดยพระปิตุลาซึ่งเป็นเจ้าเมืองพุกาม ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือมณีปุระขี่ม้าบุกเข้าไปในดินแดนของพม่าในช่วงต้นปี พ.ศ. 2267 การเดินทัพที่จะตอบโต้มณีปุระเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2267 ล้มเหลว ในภาคตะวันออกและภาคใต้ของล้านนา (เชียงใหม่) ที่อยู่ภายใต้การปกครองของพม่าตั้งแต่ พ.ศ. 2101 ก็แยกตัวเป็นอิสระสำเร็จในปี พ.ศ. 2260 พระเจ้าทนินกันเวพยายามที่จะยึดคืนภูมิภาคที่แยกตัวเป็นครั้งที่สองแต่ก็ทรงล้มเหลว โดย พ.ศ. 2275 ภาคใต้ของล้านนาเป็นอิสระ ส่วนทหารพม่าที่เชียงแสนในภาคเหนือของล้านนาก็ถูกคุมขัง เกิดจลาจลไปทั่วหุบเขาปิงรอบเมืองเชียงใหม่",
"title": "พระเจ้าตะนินกันเหว่"
},
{
"docid": "194384#25",
"text": "แม้ล้านนาจะเป็นประเทศราชของสยาม แต่สยามก็ไม่เคยเข้ามาปกครองล้านนาโดยตรง เมืองต่าง ๆ ของล้านนายังคงปกครองตนเองในลักษณะนครรัฐ รวมทั้งระยะทางที่ห่างไกลและยากลำบากจากกรุงเทพฯ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างล้านนาและสยามไม่ได้ใกล้ชิดนัก อีกทั้งในภาคเหนือ ยังมีเทือกเขา ทอดยาวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ ยอดเขาแต่ละแห่งสูงไม่ต่ำกว่า 1,000 เมตร ทำให้การเดินทางระหว่างเมืองต่าง ๆ ในล้านนา ไม่สะดวกนัก ซึ่งมีส่วนทำให้การปกครองของราชวงศ์ทิพย์จักร เป็นแบบกระจายอำนาจ ไม่ได้เป็นรัฐเดี่ยวเสมือนอาณาจักรล้านนาแต่ก่อน เมืองต่าง ๆ ปกครองโดยเจ้านายฝ่ายเหนือที่มีความสัมพันธุ์ใกล้ชิดกันทางเครือญาติ อาทิ เมืองใหญ่ อย่างเชียงใหม่, ลำพูน และ ลำปาง มีอำนาจในการปกครองตนเอง โดยยอมรับเจ้าหลวงเชียงใหม่เป็นประมุขแห่งราชวงศ์ และการติดต่อกับสยาม เจ้าเมืองต่าง ๆ จะติดต่อโดยผ่านเชียงใหม่",
"title": "นครเชียงใหม่"
},
{
"docid": "194384#13",
"text": "ด้วยความช่วยเหลือจากสยามจนทำให้สามารถขับไล่พม่าออกไปได้ ทำให้เมืองต่าง ๆ ในล้านนา ยอมรับอำนาจของสยามและมีความสัมพันธ์กันในฐานะเมืองแม่กับเมืองประเทศราชมาตลอด อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์จะแตกต่างกันไปตามแต่สมัย ในสมัยธนบุรี พระเจ้าตากสิน ปฏิบัติต่อหัวเมืองล้านนาอย่างเข้มงวด จะเห็นได้ว่า พระเจ้าตากสินทรงตัดสินให้ลงโทษพระยากาวิละข้อหาทำร้ายข้าหลวง ด้วยการเฆี่ยน 100 ที และตัดขอบใบหูทั้งสองข้างและจำคุก แต่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ไม่ปรากฏการลงโทษเจ้านายฝ่ายเหนืออย่างรุนแรง มีเพียงการกักตัวไว้ที่กรุงเทพฯ เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างเจ้านายเท่านั้น \nความสัมพันธ์ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ราบรื่นเป็นพิเศษ เนื่องจากความสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างราชวงศ์จักรีและราชวงศ์ทิพย์จักร จากการที่เจ้ารจจา ขนิษฐาของพระเจ้ากาวิละ ได้เป็นพระอัครชายาในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท และเนื่องจากช่วงเวลานั้น ยังมีการรุกรานจากพม่า ทำให้สยามต้องการล้านนาที่มีผู้นำเข็มแข็งเพื่อช่วยต่อต้านพม่า ทำให้สยามใช้นโยบายประนีประนอมและเอาใจ เพื่อให้ล้านนาสวามิภักดิ์และทำหน้าที่ดูแลรักษาชายแดน ตลอดจนการสร้างความผูกพันใกล้ชิด เช่น ราชสำนักสยามส่งหมอหลวงมาดูแลรักษาในยามเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ประชวร หรือส่งสิ่งของเครื่องใช้มาช่วยงานพระศพ",
"title": "นครเชียงใหม่"
},
{
"docid": "5256#26",
"text": "ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1790 กองทัพพม่าถูกขับไล่ออกจากดินแดนรัตนโกสินทร์อย่างถาวร และทำให้แคว้นล้านนาปลอดจากอิทธิพลของพม่าเช่นกัน โดยล้านนาถูกปกครองโดยราชวงศ์ที่นิยมราชวงศ์จักรีนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยามอย่างเป็นทางการ",
"title": "ประวัติศาสตร์ไทย"
},
{
"docid": "114433#6",
"text": "เมืองพยาวหรือภูกามยาว เคยมีสถานะเป็นเมืองลูกหลวงทางทิศใต้ของหิรัญนครเงินยางเชียงแสน กษัตริย์ที่ปกครองเมืองสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์เชียงแสน ภูกามยาวดำรงสถานะนครรัฐอิสระหลังพ้นยุคหิรัญนครเงินยางเชียงแสนและเข้าสู่ยุคต้นของอาณาจักรล้านนาในรัชสมัยพญามังราย จวบจนพ้นรัชสมัยของพญางำเมือง กษัตริย์ลำดับที่ 9 แห่งราชวงศ์เชียงแสน ภูกามยาวก็ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา และในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช ได้ทรงแผ่ขยายพระราชอำนาจออกไปทั่วทุกทิศ ดินแดนล้านนาในยุคสมัยของพระองค์ กินอาณาบริเวณไปจนจรดชายแดนจีนตอนใต้ ยุคสมัยนี้ นอกจากการศึกสงครามแล้ว พระพุทธศาสนาก็มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก มีการส่งทูตไปยังลังกา ทำให้พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาเข้ามามีอิทธิพลอยู่ในล้านนา อีกทั้งยุคสมัยของพระเจ้าติโลกราช ยังมีการสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 8 ของโลก ทำให้เมืองต่าง ๆ ในอาณาจักร ต่างมีการทะนุบำรุงพระศาสนา มีการสร้างวัดและคัดลอกพระไตรปิฎกกันอย่างแพร่หลาย หนึ่งในวัดที่สร้างขึ้นมาในยุคของพระเจ้าติโลกราช ก็คือวัดติโลกอาราม และวัดนี้ ถือเป็นพระอารามหลวงหรือวัดหลวงในรัชสมัยอีกด้วย เนื่องจากเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทรัพย์ให้สร้างและรับเป็นองค์อุปถัมภ์",
"title": "วัดติโลกอาราม"
},
{
"docid": "19985#6",
"text": "นอกจากนั้น เจ้านายในพระราชวงศ์ทิพย์จักรยังได้อภิเษกสมรสกับพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์จักรีหลายพระองค์ พระองค์ที่มีบทบาทสำคัญ ได้แก่ เจ้าศรีอโนชา พระอัครชายา และเจ้าดารารัศมี พระราชชายา ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างสองพระราชวงศ์ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ถือเป็นส่วนสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้พระราชอาณาจักรล้านนาเดิมได้เข้ารวมกับสยามประเทศอย่างสมบูรณ์",
"title": "ราชวงศ์ทิพย์จักร"
},
{
"docid": "19985#5",
"text": "ราชวงศ์ทิพย์จักรถือเป็นราชวงศ์ล้านนาที่เชื่อมความสัมพันธ์กับพระราชวงศ์ล้านนาอันเก่าแก่เดิม อันได้แก่ ราชวงศ์มังรายอันมีพญามังรายมหาราชเป็นองค์ปฐมวงศ์ และราชวงศ์พะเยา พญางำเมือง ด้วยระบบความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติ",
"title": "ราชวงศ์ทิพย์จักร"
},
{
"docid": "44547#5",
"text": "ในการปกครองอาณาจักรฝ่ายเหนือในช่วงแรกตอนที่เจ้าเจ็ดพระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ ราชสำนักล้านนายังได้รับความเกรงพระทัยจากราชสำนักสยามอยู่มาก เนื่องจากเป็นพระประยูรญาติของสมเด็จพระอนุชาธิราช การตั้งเจ้าฟ้า เจ้าเมือง พระราชทานยศบรรดาศักดิ์ พระยา ท้าว อำมาตย์ เป็นไปตามที่พระเจ้าประเทศราชเห็นควร ไม่มีการเข้าแทรกแซงจากราชสำนักสยามทั้งสิ้น นอกจากบางครั้งราชสำนักล้านนาเห็นควร จะทูลเสนอราชสำนักสยามเพื่อขอให้พระราชทานสัญญาบัตรในกรณีตั้งเมืองใหม่ซึ่งไม่ใช้ข้อบังคับแต่อย่างใด การปกครองล้านนาเป็นไปโดยเอกสิทธิ์ความเป็นพระเจ้าประเทศราชนั้น แต่ต่อมาด้วยความขัดแย้งภายในราชสำนักล้านนาเอง โดยเฉพาะเมื่อมีการผลัดเปลี่ยนเจ้าผู้ครองนครประเทศราชเอง มักขออ้างอาญาสิทธิ์จากราชสำนักสยามเข้ามาเป็นเครื่องชี้ขาด จึงเป็นเหตุหนึ่งให้ราชสำนักล้านนาอ่อนแอลง กอปรกับในช่วงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าอนุวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นเจ้าประเทศราช คิดการกบฎ ทำให้ราชสำนักสยามเริ่มหวั่นเกรงพระทัยในราชสำนักล้านนา จึงพยายามทรงลดบทบาทของราชสำนักล้านนาลง ได้ทรงให้มีการจารึกราชอาณาเขตสยามขึ้น อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเห็นถึงคุณูปการณ์ของราชวงศ์ฝ่ายเหนือตั้งแต่อดีตกาลจึงทรงโปรดเกล้าฯ ถวายพระเกียรติสูงสุดอีกครั้ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงยุคล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตก ทุกประเทศรอบสยามล้วนโดนคุกคาม พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริให้ปฏิรูปการปกครองสยามขึ้นใหม่ กอปรกับความทราบถึงพระเนตรพระกรรณที่พระนางเจ้าวิคตอเรียแห่งอังกฤษจะมาทูลขอเจ้าดารารัศมีราชธิดาในพระเจ้าเชียงใหม่ไปเป็นพระราชธิดาบุญธรรม เพื่อแทรกแซงอาณาจักรฝ่ายเหนือของสยาม จึงทรงทูลขอเจ้าดารารัศมี พระราชธิดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ มารับราชการฝ่ายใน เมื่อเจ้าดารารัศมี ได้เข้ามาถวายตัวแล้ว ได้ทรงยกเลิกการปกครองแบบประเทศราช ถือให้สิ้นสุดเมื่อเจ้าประเทศราชพระองค์นั้นถึงพิราลัย กล่าวได้ว่าเจ้านายฝ่ายเหนือและกลุ่มพระประยูรญาติดำรงตนอยู่ในสถานะชนชั้นปกครองตลอดมา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2442 รัฐบาลสยามได้เข้ามาแทรกแซงกิจการในนครเชียงใหม่ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาอย่างเต็มรูปแบบ โดยดำเนินนโยบายผนวกดินแดนและปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล เจ้านายฝ่ายเหนือจึงดำรงสถานะเป็นเสมือนข้าราชการที่มีเงินประจำตำแหน่งเท่านั้น",
"title": "เจ้านายฝ่ายเหนือ"
},
{
"docid": "136697#0",
"text": "สมัยอยุธยาการความสัมพันธ์เต็มไปด้วยความขัดแย้งจากสงครามนับแต่ครั้งอดีต โดยทั้งไทยและพม่าต่างชิงความเป็นใหญ่ในภูมิภาคเพื่อขยายอำนาจทางการเมือง การปกครอง และเป็นการควบคุมจุดยุทธศาสตร์ทางการค้าภายในแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังพม่าได้เป็นใหญ่เหนือดินแดนมอญและไทใหญ่แล้ว พยายามขยายอำนาจเข้ามายังอาณาจักรอยุธยา โดยเดินทัพผ่านดินแดนมอญทางด้านตะวันตกหรือผ่านลงมาทางล้านนาทางด้านเหนือ การที่พม่ายกทัพมารบกับอยุธยาหลายครั้งแสดงให้เห็นถึงความต้องการเป็นใหญ่ในดินแดนแถบนี้ และพม่าต้องการสร้างความเป็นเอกภาพในดินแดนพม่าโดยการรวบรวมชนกลุ่มน้อยให้เป็นหนึ่งอันเดียวกัน แต่อุปสรรคสำคัญของพม่าคืออาณาจักรอยุธยาซึ่งมักสนับสนุนชนกลุ่มน้อยให้ต่อต้านอำนาจของพม่าเสมอ การยึดครองอยุธยาจึงเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเป็นเอกภาพของพม่าด้วย ซึ่ง นำไปสู้การสูญเสียเอกราชของอยุธยา 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2112 และปี พ.ศ. 2310 ซึ่งอาณาจักรอยุธยาก็สามารถกอบกู้อิสรภาพได้ทั้งสองครั้ง",
"title": "ความสัมพันธ์พม่า–ไทย"
},
{
"docid": "55617#4",
"text": "อำเภอแม่แจ่มเป็นดินแดนแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ มีหมู่บ้านอยู่ตามที่ราบและกระจัดกระจายอยู่ตามหุบเขาใหญ่น้อยที่ล้อมรอบเรียงรายอยู่ มองจากที่สูงลงมาจะเหมือนแอ่งกระทะ มีลำน้ำไหลผ่าน ท่ามกลางมวลพฤกษชาตินานาพันธุ์ที่ปรากฏอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ดินแดนแห่งนี้เดิมเป็นที่อาศัยของชนชาติลัวะ (ละว้า) ซึ่งครอบครองดินแดนแถบนี้ตลอดจนถึงบางส่วนของอาณาจักรล้านนาในอดีต ชนเผ่าลัวะมีความเจริญไม่แพ้พวกขอม-มอญ ซึ่งเป็นเจ้าของดินแดนแห่งนี้ร่วมกัน เพียงแต่แยกการปกครองออกเป็นหมู่เหล่า เป็นอิสระไม่ขึ้นตรงต่อพวกใด ชนใดมีความเข้มแข็งก็ตั้งตัวเป็นเจ้าเมืองขึ้นปกครองกันเอง มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย และได้สร้างวัฒนธรรมของตนจนรุ่งเรือง ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นวัดวาอาราม จิตรกรรมฝาผนัง เครื่องปั้นดินเผา อาจจะเป็นเพราะในอดีตเมืองแจ๋มเป็นเส้นทางการค้าขายระหว่าง พม่า ไทย จีน และอินเดียก็เป็นได้ เพราะสินค้าของทุกประเทศตกทอดมาสู่รุ่นลูกหลานซึ่งได้รับจากบรรพบุรุษที่อยู่ในสมัยนั้นด้วย ต่อมาเมื่อมีกลุ่มคนไท-ยวน (ไต) เข้ามามากเข้า อำนาจของลัวะจึงหมดไป แต่ลัวะเริ่มเรืองอำนาจขึ้นมาใหม่อีกครั้งในยุคสมัยของพญามังรายซึ่งถือว่าเป็นเชื้อสายลัวะเหมือนกัน",
"title": "อำเภอแม่แจ่ม"
},
{
"docid": "257328#1",
"text": "ความขัดแย้งครั้งแรกยืนยาวตั้งแต่ ค.ศ. 634 จนถึง ค.ศ. 718 ที่จบลงด้วยการการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่สองที่หยุดยั้งการขยายตัวของจักรวรรดิอาหรับเข้ามายังอนาโตเลีย ความขัดแย้งครั้งเกิดขึ้นระหว่างราว ค.ศ. 800 จนถึง ค.ศ. 1169 เมื่อฝ่ายอิสลามยึดดินแดนทางตอนใต้ของอิตาลีโดยกองกำลังของอับบาซียะห์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 แตไม่ประสบกับความสำเร็จเท่าใดนักในซิซิลี เมื่อมาถึงสมัยการปกครองของราชวงศ์มาซีโดเนียไบแซนไทน์ก็ยึดบริเวณลว้านคืนมาได้ และบุกต่อไปเพื่อที่จะยึดเยรูซาเลมทางตอนใต้ อาณาจักรอีเมียร์แห่งอเล็พโพและอาณาจักรเพื่อนบ้านกลายเป็นอาณาจักรบริวารของไบแซนไทน์ทางตะวันออก ที่อันตรายส่วนใหญ่มาจากจักรวรรดิกาหลิปฟาติมียะห์ในอียิปต์ สถานะการณ์มาเปลี่ยนแปลงเมื่อราชวงศ์เซลจุครุ่งเรืองขึ้นและทำให้อับบาซียะห์ได้ดินแดนลึกเข้าไปในอนาโตเลีย ซึ่งเป็นผลให้จักรพรรดิไบแซนไทน์อเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอสต้องเขียนพระราชสาส์นไปขอความช่วยเหลือจากสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2ที่การประชุมสภาสงฆ์แห่งปิอาเชนซา ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเริ่มสงครามครูเสดครั้งที่ 1",
"title": "สงครามไบแซนไทน์-อาหรับ"
},
{
"docid": "194384#4",
"text": "หลังจากสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว ด้วยความสัมพันธ์ในฐานะพระญาติระหว่างราชวงศ์จักรีและราชวงศ์ทิพย์จักร เนื่องด้วยเจ้าศรีอโนชา พระขนิษฐาในพระเจ้ากาวิละ ได้เป็นพระอัครชายาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กอปรกับพระเจ้ากาวิละและเจ้านายฝ่ายเหนือได้ถวายความจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรีมาแต่ก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงสู้ขับไล่ข้าศึกพม่าให้พ้นแผ่นดินล้านนา ขยายขอบขัณฑสีมาอาณาจักรออกไปอย่างกว้างใหญ่ ได้กวาดต้อนผู้คนและสิ่งของจากหัวเมืองน้อยใหญ่ที่หนีภัยสงครามในช่วงที่พม่ายึดครอง และทรงสร้างบ้านแปงเมืองอาณาจักรล้านนาใหม่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระนามพระยากาวิละขึ้นเป็น \"พระบรมราชาธิบดี\" เป็นพระเจ้าประเทศราชปกครองเมืองเชียงใหม่และ 57 หัวเมืองล้านนา",
"title": "นครเชียงใหม่"
},
{
"docid": "198667#11",
"text": "หลังจากพระเจ้าออทโทคาร์พ่ายแพ้และสวรรคตกลางสมรภูมิให้กับกษัตริย์ชาวเยอรมันในปีพ.ศ. 1821 ออสเตรียได้อยู่ภายใต้อำนาจแห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์กหรือราชวงศ์ออสเตรียยาวนานถึง 640 ปี ราชวงศ์ฮับบูร์กได้ขยายอำนาจปกครองดินแดนทางตะวันออกของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์มากขึ้นจนออสเตรียมีความสำคัญมากขึ้นไปด้วย ราชวงศ์ฮับส์บูรก์ได้ทำการรวบรวมแคว้นหรือดัชชีเล็กๆในอาณาบริเวณของออสเตรียเช่น ดัชชีเล็กๆที่อยู่ใกล้ ๆ ดานูบและสไทเรียที่ได้มาจากสมัยพระเจ้าออตโตกาใกล้ๆออสเตรีย คารินเทียและคานิโอลาได้ตกอยู่ภายใต้ฮับส์บูร์กในปีพ.ศ. 1878 แคว้นไทรอลได้ในปีพ.ศ. 1906 แคว้นเหล่านี้ได้กลายเป็นที่รู้จักกันในนาม \"ดินแดนการสืบทอดของฮับส์บูร์ก\" (the Habsburg Hereditary Lands)และส่วนมากจะเรียกกันอย่างกว้างขวางว่า ออสเตรีย",
"title": "ประวัติศาสตร์ออสเตรีย"
},
{
"docid": "802918#7",
"text": "หัวเมืองขึ้นชั้นที่สาม เป็นหัวเมืองระดับต่ำสุดสยามไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้อง และเจ้าเมืองในหัวเมืองชั้นนี้ก็ไม่ได้เกี่ยวพันเป็นพระญาติวงศ์กับเจ้าผู้ครองนคร เจ้านายในราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนถือว่าเป็น \"ไพร่ผู้น้อย\" ที่เจ้าผู้ครองนครแต่งตั้งให้มีสมศักดิ์นามศักดิ์ครองเมืองเป็น \"พ่อเมือง\" แต่ภายในหัวเมืองขึ้นชั้นที่สามนี้ บางเมืองที่เป็นหัวเมืองขนาดใหญ่ หรือมีการสืบสกุลวงศ์ปกครองภายในบ้านเมืองตนเองมาหลายชั้นชั่วอายุคน ก็ถือว่าตนเป็น \"เจ้าเมือง\" และชาวเมืองก็ถือว่าเป็น \"เจ้า\" จึงนิยมเรียกเจ้าเมืองว่า \"เจ้าพญา\" หรือ \"พ่อเจ้า\" หัวเมืองขึ้นชั้นนี้มีเป็นร้อยหัวเมือง เดิมล้านนามี 57 หัวเมือง แต่ได้ขยายเพิ่มขึ้นอีกมาก เช่นสาเหตุที่อังกฤษเข้ายึดครอง \"รัฐชายขอบล้านนา\" บริเวณหัวเมืองเงี้ยวทั้งห้า และหัวเมืองกะเหรี่ยงตะวันออกเป็นดินแดนรวม 13 หัวเมือง (บริเวณที่เป็นดินแดนของสหภาพพม่าในปัจจุบัน) อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า เพราะความสำคัญทางเศรษฐกิจ ของดินแดนดังกล่าว ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้สัก นอกจากนั้น ยังมีสาเหตุมาจากปัญกากรณีพิพาทเรื่องป่าไม้และปัญหาโจรผู้ร้ายตามหัวเมืองชายแดน ที่ทำให้รายได้ของอังกฤษจากการ เก็บภาษีป่าไม้ที่เมืองมะละแหม่งลดลง อังกฤษถือว่าเป็นการเสียผลประโยชน์มาก และประการสุดท้ายเป็นเพราะเชียงใหม่ ไม่สามารถควบคุมดูแลหัวเมืองชายแดนฝั่งตะวันออกของลุ่มน้ำสาละวินได้ ส่วนรัฐบาลกลางเข้าไปดูแลและแก้ไขสถานการณ์ ไม่ทันท่วงที ขณะที่อังกฤษแทรกอำนาจลงไปรวดเร็วกว่า ด้วยสาเหตุข้างต้นเปิดโอกาสให้อังกฤษยึดครองดินแดนชายขอบล้านนา การเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงในเขตเมืองนครน่าน ให้ฝรั่งเศส เมื่อพ.ศ. 2446 บริเวณฝั่งขวามแม่น้ำโขงเป็นเขตอิทธิพลของล้านนา ถือกันมาแต่โบราณว่าเขตแดนล้านนาจดกับแม่น้ำโขง แม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นล้านนาและล้านช้าง (ลาว) หลักการข้างต้นยังปฏิบัติสืบมาถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 เพราะมีหลักฐานกล่าวถึง เมืองเงิน หรือกุฎสาวดี ตั้งอยู่ฝั่งขวา ริมแม่น้ำโขงอยู่ในความปกครองของเมืองนครน่าน เมื่อ พ.ศ. 2415 คนในบังคับอังกฤษเดินทางเข้ามาค้าขายที่เมืองเงิน ถูกคนร้ายฆ่าตาย เจ้าผู้ครองนครน่านเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหาย หัวเมืองชายแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงที่ขึ้นกับเมืองนครน่าน ประกอบด้วย เมืองเงิน เมืองคอบ เมืองเชียงลม เมืองเชียงฮ่อน เมืองภูคา แม้จะเป็นเมืองชายขอบของเมืองน่าน แต่เมืองนครน่าน ดูแลอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามเมื่อจักรวรรดิ์นิยมมีความต้องการดินแดน ส่วนนี้ก็เข้าแทรกแซงด้วยกำลังที่เหนือกว่า จนกระทั่งได้ไปในที่สุด",
"title": "ล้านนาไท 57 เมือง"
},
{
"docid": "268264#1",
"text": "การพิชิตดินแดนโดยมุสลิมนำมาซึ่งการล่มสลายของจักรวรรดิซาสซานิยะห์และการสูญเสียดินแดนส่วนใหญ่ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ สาเหตุของความสำเร็จของการขยายดินแดนเป็นการยากที่จะเข้าใจเพราะเอกสารที่มาจากสมัยที่ว่ามีหลงเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่าในช่วงนั้นจักรวรรดิซาสซานิยะห์และจักรวรรดิไบแซนไทน์ก็เริ่มเสื่อมโทรมลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการทหารอยู่เป็นเวลาหลายสิบปีอยู่แล้ว นักประวัติศาสตร์ผู้อื่นเสนอความเห็นว่าประชาชนผู้อยู่ภายใต้การปกครองของสองจักรวรรดินี้ที่รวมทั้งชาวยิว และคริสเตียนในจักรวรรดิซาสซานิยะห์ และ ชาวยิว และชาวโมโนฟิซิทิสม์ในซีเรียมีความไม่พึงพอใจต่อประมุขผู้ปกครองในขณะนั้นและอาจจะยินดีที่มีมุสลิมเข้ามาปลดปล่อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางศาสนาของทั้งสองจักรวรรดิ ในกรณีของอียิปต์ไบแซนไทน์, ปาเลสไตน์ และ ซีเรีย ดินแดนเหล่านี้เพิ่งตกไปเป็นของเปอร์เซียไม่นานก่อนหน้านั้น และมิได้ปกครองโดยไบแซนไทน์มาเป็นเวลากว่า 25 ปี แต่เฟรด ดอนเนอร์ แม็คกรอว์เสนอว่าลักษณะการก่อตั้งของรัฐในคาบสมุทร และ การประสานสัมพันธ์ในการเดินทัพ และในทางปรัชญาเป็นสาเหตุสำคัญในความสำเร็จของมุสลิมในการก่อตั้งจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อน แต่ความคิดนี้ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกันเท่าใดนัก การประมาณเนื้อที่ของจักรวรรดิกาหลิปมุสลิมเชื่อกันว่ามีเนื้อที่ทั้งหมดกว่า 5 ล้านตารางกิโลเมตรที่ทำให้เป็นจักรวรรดิที่ใหญ่กว่ารัฐใดๆ ในขณะนั้นนอกไปจากสหพันธรัฐรัสเซีย",
"title": "การพิชิตดินแดนโดยมุสลิม"
}
] |
209 | สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร สิ้นพระชนม์เมื่อใด ? | [
{
"docid": "155491#0",
"text": "พระเจ้าจอร์จที่ 6 ([George VI of the United Kingdom]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help); 14 ธันวาคม ค.ศ. 1895 — 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952) เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในราชวงศ์วินด์เซอร์ และเครือจักรภพอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1936 ถึงปี ค.ศ. 1952 เป็นจักรพรรดิอินเดียพระองค์สุดท้าย (จนกระทั่งปี ค.ศ. 1947) และเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเสรีรัฐไอริชในทางนิตินัยพระองค์สุดท้าย (จนกระทั่งปี ค.ศ. 1949)",
"title": "สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร"
}
] | [
{
"docid": "5513#66",
"text": "Family of Main Page 32.อเล็คซานเดอร์ สวอน16. เจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา8. สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร17. สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร4. สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร18. สมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก9. เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก19. เจ้าหญิงหลุยส์แห่งเฮสส์-คาสเซิล2. สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร20. ดยุกอเล็กซานเดอร์แห่งเวือร์ทเทมแบร์ก10. ดยุกฟรันซิสแห่งเทก21. เคาท์เตสโคลไดน์เรเดย์ ฟอน คิส-เรด5. เจ้าหญิงแมรีแห่งเทก22. เจ้าชายอดอลฟัส ดยุคแห่งแคมบริดจ์11. เจ้าหญิงแมรี อเดเลดแห่งแคมบริดจ์23. เจ้าหญิงออกัสตา แห่งเฮสส์-คาสเซิล1. สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 224. โธมัส ลีออน-โบวส์ ลอร์ดกลาสมิส12. โคลด โบวส์-ลีออน เอิร์ลที่ 13 แห่งสตราธมอร์และคิงฮอร์น25. ชาร์ลอตต์ กริมสตีด6. โคลด โบวส์-ลีออน เอิร์ลที่ 14 แห่งสตราธมอร์และคิงฮอร์น26. ออสวอลด์ สมิธ13. ฟรานซิส ดอรา สมิธ27. เฮนเรีตตา มิลเดรด ฮอดจ์สัน3. สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี28. ลอร์ดชาลส์ เบนทิงค์14. ชาลส์ วิลเลียม เฟรเดอริก คาเวนดิช-เบนทิงค์29. เลดีเบนทิงค์7. เซซิเลีย นีนา คาเวนดิช-เบนทิงค์30. เอ็ดวิน เบอร์นาบี15. แคโรไลน์ ลุยซา เบอร์นาบี31. แอนน์ แคโรไลน์ ซอลส์บรี",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "171835#1",
"text": "เจ้าชายอดอลฟัส ดยุคแห่งแคมบริดจ์ มีพระนามเต็มว่า อดอลฟัส เฟรเดอริค ประสูติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2317 ณ พระราชวังบัคกิงแฮม พระราชโอรสพระองค์ที่เจ็ดในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร และสมเด็จพระราชินีชาร์ลอต เป็นพระอนุชาในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร และสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร",
"title": "เจ้าชายอดอลฟัส ดยุกแห่งเคมบริดจ์"
},
{
"docid": "533340#2",
"text": "คู่อภิเษกสมรสที่เป็นสตรีทุกพระองค์มีสิทธิ์ที่จะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชินี แต่คู่อภิเษกสมรสที่เป็นบุรุษมีอยู่ 2 พระองค์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2251 ไม่ได้เป็นพระมหากษัตริย์พระราชสวามี คือคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรบางพระองค์มิได้ดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชินีเนื่องจากสิ้นพระชนม์หรือการหย่าร้างก่อนพระสวามีครองราชย์ การอภิเษกสมรสเป็นโมฆะ หรืออภิเษกสมรสหลังพระสวามีสละราชสมบัติ ตามกรณีดังต่อไปนี้:นอกจากนี้ยังปรากฏกรณีพิเศษ เช่น แคโรไลน์แห่งเบราน์ชไวก์ ที่ทรงแยกประทับจากพระสวามี พระเจ้าจอร์จที่ 4 เนื่องจากการเสด็จขึ้นครองราชย์ แม้ว่าทรงเป็นคู่อภิเษกสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็ทรงไม่มีพระสถานะใด ๆ ในราชสำนัก ทรงถูกกีดกันไม่ให้เข้าร่วมพระราชพิธีราชาภิเษกของพระสวามีและรับการสวมมงกุฎเป็นสมเด็จพระราชินี ทำให้สาธารณชนออกมาประท้วง",
"title": "รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "155491#7",
"text": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เสด็จสวรรคตเมื่อ 22 มกราคม ค.ศ. 1901 และเจ้าชายแห่งเวลส์ได้สืบราชบัลลังก์ต่อโดยมีพระนามว่า พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งทำให้พระองค์เลื่อนขึ้นมาอยู่ในลำดับที่สามของการสืบราชสันตติวงศ์ในขณะนั้น",
"title": "สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "907440#1",
"text": "เจ้าหญิงวิกตอเรียทรงศึกษาในมาห์โลเฮาส์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระองค์ประสูติ โดยพระองค์ทรงมีความสืนทสนมกับ พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร พระเชษฐาเป็นอย่างมาก \nโดยพระองค์ต่างเป็นที่คาดการว่าทรงเป็นพระคู่หมั้นของ พระเจ้าคาลอสที่ 1 แห่งโปรตุเกส แต่ก็มิได้เสกสมรสกัน โดยพระนางไม่ทรงเสกสมรสกับผู้ใดตลอดพระชนม์ชีพ โดย อเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก พระราชมารดาทรงมีพระราชปรารภถึงพระราชธิดาว่า\nเจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรประสบปัญหาเรื่องพระพลานามัยเป็นอย่างมากทั้งมีปัญหาเรื่อง ระบบประสาท ไมเกรน ซึมเศร้า และอีกหลายโรค โดยพระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2478 พระชนมายุ 67 พรรษา โดยหลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2479 พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร พระเชษฐาก็ได้เสด็จสวรรคตลงด้วยพระชนมายุ 70 พรรษา",
"title": "เจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "155491#3",
"text": "หลังจากพระราชบิดาเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1936 พระเชษฐาก็ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8 แต่ไม่ทันถึงปีพระเจ้าเอดเวิร์ดก็มีพระประสงค์ที่จะแต่งงานกับนางวอลลิส ซิมพ์สัน สตรีหม้ายชาวอเมริกัน แต่ด้วยเหตุผลทางการเมืองและทางศาสนาสแตนลีย์ บอลด์วิน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรถวายคำแนะนำว่าการที่จะอภิเษกสมรสกับวอลลิส ซิมป์สันแล้วยังเป็นพระมหากษัตริย์เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ สมเด็จพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8 จึงทรงสละราชสมบัติเพื่อแต่งงานกับวอลลิส ซิมป์สัน เจ้าชายอัลเบิร์ตซึ่งเป็นดยุกแห่งยอร์กในขณะนั้นจึงทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเชษฐาเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สามในราชวงศ์วินด์เซอร์ทรงพระนามสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 ต่อจากพระเชษฐาซึ่งนักวิชาการได้สันนิษฐานว่าการใช้พระนามจอร์จนั้นเป็นกุศโลบายเพื่อให้ประชาชนไม่ตื่นตระหนักในการเสวยราชสมบัติของพระองค์",
"title": "สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "710474#0",
"text": "เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ ออกัสตา แห่งเวลส์ (; 7 มกราคม ค.ศ. 1796 – 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1817) ทรงเป็นพระราชธิดาและบุตรพระองค์เดียวในเจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์ (ต่อมาคือ พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร) กับเจ้าหญิงคาโรลีนแห่งเบราน์ชไวก์ หากว่าเจ้าหญิงทรงมีพระชนม์ชีพยืนยาวกว่าพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร พระอัยกาและเจ้าชายจอร์จ พระราชบิดา พระนางอาจได้เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ แต่พระนางสิ้นพระชนม์เสียก่อนด้วยพระชนมายุ 21 พรรษา",
"title": "เจ้าหญิงชาร์ลอตต์แห่งเวลส์"
},
{
"docid": "155491#5",
"text": "พระเจ้าจอร์จที่ 6 ประสูติที่นิวยอร์กคอทเทจ ในตำหนักซานดริงแฮมในนอร์ฟลอค์ ในรัชสมัยของพระปัยยิกาคือสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระราชบิดาของพระองค์คือเจ้าชายจอร์จ ดยุกแห่งยอร์ก (ต่อมาคือพระเจ้าจอร์จที่ 5) เป็นพระโอรสองค์ที่สองของเจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเวลส์ (ต่อมาคือพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร และ สมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา พระมารดาของพระองค์คือดัสเชสแห่งยอร์ก (ต่อมาคือสมเด็จพระราชินีแมรี พระธิดาพระองค์ใหญ่และพระองค์เดียวของดยุกและดัสเชสแห่งเท็ค",
"title": "สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "32264#1",
"text": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียประสูติในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1819 เป็นพระราชธิดาในเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเคนต์และสแตรธเอิร์น พระราชโอรสในพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรกับพระนางชาร์ลอตต์แห่งเมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์ พระราชชนนีคือเจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งซัคเซิน-โคบวร์ค-ซาลเฟลด์ พระปิตุลา 2 พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร ได้แก่ พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร และ พระเจ้าวิลเลียมที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "956104#0",
"text": "ลอร์ดเฟรเดอริก วินด์เซอร์ ()\nลอร์ดเฟรเดอริก วินด์เซอร์ เกิดเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2522 ณ โรงพยาบาลเซนต์แมรี กรุงลอนดอน เป็นพระโอรสคนใหญ่ใน เจ้าชายไมเคิลแห่งเคนต์ และ เจ้าหญิงไมเคิลแห่งเคนต์ เป็นพระนัดดาใน เจ้าชายจอร์จ ดยุกแห่งเคนต์ และพระราชปนัดดาใน สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร โดยปัจจุบันอยู่ในลำดับที่ 48 ในการสืบราชบัลลังก์ โดยเขาเป็นประธานในมูลนิธิ โซดิเออรฺ ออร์ และเป็นประธานโครงการการฝึกอบรมพัฒนาอาชีพแห่งสหราชอาณาจักร \nลอร์ดเฟรเดอริก พบกัน ชายาในอนาคตคือ โซฟี วิลเคลแมน ในวันวาเลนไทน์เมื่อปี พ.ศ. 2552 ต่อมา สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมรสกันในวันที่ 12 กันยายน ปีเดียวกัน โดยทั้งคู่มีบุตรดังนี้\nในปี พ.ศ. 2559 ลอร์ดเฟรเดอริกได้รับแต่งตั้งจาก สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้ากองกำลังทหารแห่งสหราชอาณาจักร",
"title": "ลอร์ดเฟรเดอริก วินด์เซอร์"
},
{
"docid": "5513#1",
"text": "เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 พระองค์เป็นประธานเครือจักรภพและพระมหากษัตริย์แห่งเจ็ดรัฐเครือจักรภพ เจ็ดรัฐ ได้แก่ สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้ ปากีสถาน และ ซีลอน พิธีราชาภิเษกของพระองค์ในปีถัดมาเป็นพิธีราชาภิเษกครั้งแรกที่ถ่ายทอดทางโทรทัศน์ ระหว่าง พ.ศ. 2499 ถึง 2535 จำนวนราชอาณาจักรของพระองค์แปรผันเมื่อดินแดนต่าง ๆ ได้รับเอกราชและบ้างกลายเป็นสาธารณรัฐ ปัจจุบัน นอกจากสี่ประเทศแรกที่ได้กล่าวไว้แล้วนั้น สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ยังเป็นพระราชินีนาถแห่งจาเมกา บาร์เบโดส หมู่เกาะบาฮามาส เกรนาดา ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน ตูวาลู เซนต์ลูเซีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ แอนติกาและบาร์บูดา เบลิซ และเซนต์คิตส์และเนวิส พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระชนมายุมากที่สุดของบริเตน เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558 พระองค์เป็นประมุขแห่งรัฐบริเตนที่ทรงราชย์นานที่สุด แซงหน้ารัชกาลของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ผู้เป็นพระมารดาของพระปัยกา (ทวด) ของพระองค์ และเป็นพระราชินีนาถที่ทรงราชย์นานที่สุดในประวัติศาสตร์ พระองค์เป็นพระราชธิดาพระองค์แรกของดยุกและดัชเชสแห่งยอร์ก (ต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 และสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ) พระราชบิดาเป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 กับสมเด็จพระราชินีแมรี พระราชบิดาของพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 พระราชโอรสองค์โตทรงสละราชสมบัติ พระองค์จึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัชทายาทโดยสันนิษฐานแห่งสหราชอาณาจักร",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "118623#0",
"text": "เจ้าชายริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์ (ริชาร์ด อเล็กซานเดอร์ วอลเตอร์ จอร์จ; ประสูติ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2487) ทรงเป็นสมาชิกองค์หนึ่งในราชวงศ์อังกฤษ โดยเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นดยุกแห่งกลอสเตอร์ตั้งแต่พระบิดาสิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2517 และในปัจจุบันทรงอยู่ในอันดับที่สิบแปดของลำดับการสืบราชบัลลังก์อังกฤษ\nเจ้าชายริชาร์ด ประสูติเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ณ นอร์ทแฮมพ์ตัน เป็นพระโอรสพระองค์เล็กใน เจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งกลอสเตอร์ กับ เจ้าหญิงอลิซ ดัชเชสแห่งกลอสเตอร์ ทรงเป็นพระราชนัดดาใน สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร ",
"title": "เจ้าชายริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์"
},
{
"docid": "155034#0",
"text": "สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร () (12 สิงหาคม ค.ศ. 1762 – 26 มิถุนายน ค.ศ. 1830) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์ฮาโนเวอร์ของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ และพระเจ้าแผ่นดินแห่งฮาโนเวอร์ แห่งราชอาณาจักรฮาโนเวอร์ ระหว่างวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 1820 จนสวรรคตเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1830",
"title": "พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "155491#1",
"text": "สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 6 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1895 ณ ตำหนักซานดริงแฮม นอร์โฟลกในอังกฤษ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 และสมเด็จพระราชินีแมรี และครองราชย์ระหว่างวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1936 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 ที่พระราชวังวินด์เซอร์ บาร์คเชอร์",
"title": "สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "155491#2",
"text": "สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 6 มิได้เป็นที่หวังว่าจะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินและทรงใช้เวลาสมัยแรกอยู่เบื้องหลังสมเด็จพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8 พระเชษฐา ทรงรับราชการในราชนาวีระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังสงครามแล้วก็ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจต่าง ๆ ในสังคม ต่อมาเสกสมรสกับเอลิซาเบธ โบวส์-ลีออนในปี ค.ศ. 1923 และมีพระราชธิดาสองพระองค์คือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และเจ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน",
"title": "สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "354661#0",
"text": "เจ้าหญิงหลุยส์แห่งบริเตนใหญ่ สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์(7 ธันวาคม พ.ศ. 2267 - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2294) พระนางเป็นพระราชธิดาองค์สุดท้องในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่กับคาร์โรไลน์แห่งอันสบาค สมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักร และทรงดำรงพระอิศริยยศสมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ โดยทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 5 แห่งเดนมาร์ก พระนางเป็นพระมเหสีพระองค์แรกในพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 5 จนกระทั่งพระนางสิ้นพระชนม์ พระนางทรงเป็นที่นิยมในหมู่ชาวเดนมาร์ก เนื่องจากทรงเป็นผู้อุปถัมภ์วงการศิลปะ การดนตรี การละครเดนมาร์กที่สำคัญพระองค์หนึ่ง และทรงพยายามนำพาเดนมาร์กสู่ความทันสมัย\nเจ้าหญิงหลุยส์แห่งบริเตนใหญ่ทรงประสูติในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2267 ณ พระตำหนักไลเชสเตอร์,ลอนดอน,ประเทศอังกฤษ เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 5 และทรงเป็นบุตรองค์สุดท้องใน เจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่กับโซเฟีย โดโรเธียแห่งเซลล์ และพระมเหสีของพระองค์คือ มาร์เกรฟวีนคาร์โรไลน์แห่งอันสบาค ซึ่งเป็นพระราชธิดาใน จอร์จ เฟรเดอริก มาร์เกรฟแห่งบรานเดนบวร์ก-อันสบาคกับเจ้าหญิงเอเลโอนอร์ เอ็ดมูเทแห่งแซ็กซ์-ไอเซนาช พระชายาองค์ที่สอง ซึ่งทำให้พระนางมีศักดิ์เป็นพระนัดดาในอีเล็กเตอร์แห่งฮาโนเวอร์ เจ้าหญิงทรงเข้ารับพิธีศีลจุ่มในวันที่ 22 ธันวาคม ปีเดียวกัน ",
"title": "หลุยส์แห่งบริเตนใหญ่"
},
{
"docid": "5513#25",
"text": "ช่วงปี พ.ศ 2494 พระพลานามัยของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 เสื่อมถอยลงและบ่อยครั้งที่เจ้าหญิงต้องเสด็จปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ในครั้งที่เสด็จเยือนแคนาดาและสหรัฐอเมริกาในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน ขณะนั้นทรงพบปะกับประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ราชเลขาธิการส่วนพระองค์ มาร์ติน คาร์เตริส ก็ได้จัดทำร่างพระราชดำรัสในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเผื่อกรณีที่พระเจ้าจอร์จที่ 6 เสด็จสวรรคตขณะเจ้าหญิงทรงอยู่ต่างประเทศ[52] ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2495 เตรียมเสด็จเยือนออสเตรเลียและนิวซีแลนด์โดยเสด็จเยือนเคนยาก่อน ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 เมื่อเพิ่งเสด็จถึงบ้านพักที่ประทับซากานาลอดจ์ในเคนยา หลังจากที่คืนก่อนหน้าเสด็จไปประทับที่โรงแรมทรีท็อปส์ ข่าวการสวรรคตของพระเจ้าจอร์จที่ 6 ก็มาถึงและดยุกแห่งเอดินบะระก็ได้ทรงแจ้งข่าวนี้แก่พระราชินีพระองค์ใหม่[53] มาร์ติน คาร์เตริส ได้ทูลถามถึงพระปรมาภิไธยที่จะทรงใช้ พระองค์ทรงเลือก \"เอลิซาเบธ\" เช่นเดิมแน่นอน[54] พระองค์ทรงประกาศตนเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพพระองค์ใหม่หลังจากที่ทรงเร่งรีบเสด็จกลับสหราชอาณาจักร[55] จากนั้นจึงเสด็จย้ายเข้าไปประทับ ณ พระราชวังบักกิงแฮมพร้อมกับดยุกแห่งเอดินบะระ[56]",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "260925#0",
"text": "สมเด็จพระราชาธิบดีปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย หรือทรงเป็นที่รู้จักในพระนาม พระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 คาราจอร์เจวิช (ภาษาเซอร์เบีย, ภาษาโครแอต, ภาษาบอสเนีย, ภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชีย: Petar II Karađorđević อักษรซีริลลิก: Петар II Карађорђевић) (6 กันยายน พ.ศ. 2466 - 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สามและองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ก่อนหน้านี้เรียกว่าราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีนในช่วงก่อน พ.ศ. 2472 พระองค์เป็นพระโอรสพระองค์โตใน สมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย กับ เจ้าหญิงมาเรียแห่งโรมาเนีย พระบิดามารดาอุปถัมภ์ของพระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร กับ สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ โบวส์-ลีออนแห่งสหราชอาณาจักร",
"title": "สมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย"
},
{
"docid": "317102#1",
"text": "พระราชโอรสที่สำคัญในพระเจ้าจอร์จที่ 3 ได้แก่ พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร พระเจ้าวิลเลียมที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร และพระเจ้าแอนสท์ เอากุสท์ที่ 1 แห่งฮันโนเฟอร์ ส่วนพระราชนัดดาที่สำคัญ ได้แก่ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร และพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งฮันโนเฟอร์ อีกทั้งยังมีพระราชปนัดดาที่สำคัญคือ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร และเจ้าชายแอนสท์ เอากุสท์ มกุฎราชกุมารแห่งฮันโนเฟอร์",
"title": "พระราชสันตติวงศ์ในพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "957411#0",
"text": "จอร์จ แลสเซิลส์ เอิร์ลที่ 7 แห่งฮาร์วุด ()\nจอร์จ แลสเซิลส์ เอิร์ลที่ 7 แห่งฮาร์วุด เกิดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 ณ เชอร์เตนเฟรด เฮาส์ เป็นพระโอรสคนใหญ่ใน เจ้าหญิงแมรี พระราชกุมารีและเคาน์เตสแห่งแฮร์วูด และ เฮนรี แลสเซิลส์ เอิร์ลที่ 6 แห่งฮาร์วุด เป็นพระราชนัดดาคนแรกใน พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร และเมื่อเขาเติบใหญ่ เขาได้เข้าร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ พระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร ผู้เป็นพระมาตุลา โดยเมื่อเจริญวัย เขาได้กลายเป็น หทารบังคับบัญชาแห่งอังกฤษใน สงครามโลกครั้งที่สอง ",
"title": "จอร์จ แลสเซิลส์ เอิร์ลที่ 7 แห่งฮาร์วุด"
},
{
"docid": "5513#7",
"text": "เจ้าหญิงเอลิซาเบธเป็นพระราชธิดาองค์แรกในเจ้าชายอัลเบิร์ต ดยุกแห่งยอร์ก (ภายหลังขึ้นเถลิงราชสมบัติเป็นสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6) กับเอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งยอร์ก พระราชบิดาของพระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 กับสมเด็จพระราชินีแมรี พระราชมารดาของพระองค์เป็นธิดาคนสุดท้ายของขุนนางชาวสกอตแลนด์นามว่า โคลด โบวส์-ลีออน เอิร์ลที่ 14 แห่งสตราธมอร์และคิงฮอร์น เจ้าหญิงเอลิซาเบธประสูติโดยการคลอดแบบผ่าท้องเมื่อเวลา 2.40 น. (ตามเวลากรีนิช) ของวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2469 ณ บ้านเลขที่ 17 ถนนบรูตัน เมย์แฟร์ กรุงลอนดอน ซึ่งเป็นของพระอัยกาฝ่ายพระราชมารดา (ตา) ในกรุงลอนดอน[1] ต่อมาวันที่ 29 พฤษภาคม ทรงเข้ารับพิธีบัพติศมานิกายแองกลิคันจากคอสโม กอร์ดอน แลง อาร์ชบิชอปแห่งยอร์ก ณ โบสถ์ส่วนพระองค์ภายในพระราชวังบักกิงแฮม[2][note 2] และได้รับพระนาม เอลิซาเบธ ตามพระราชมารดา, อะเล็กซานดรา ตามสมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา พระปัยยิกา (ย่าทวด) ซึ่งสิ้นพระชนม์ก่อนการประสูติของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ 6 เดือน และ แมรี ตามสมเด็จพระราชินีแมรี พระอัยยิกาฝ่ายพระราชบิดา (ย่า)[3] เจ้าหญิงเอลิซาเบธเป็นพระราชนัดดาหัวแก้วหัวแหวนของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 กล่าวกันว่าเมื่อเจ้าหญิงเอลิซาเบธเสด็จไปเยี่ยมพระอาการประชวรของพระเจ้าจอร์จที่ 5 ในปี พ.ศ. 2472 ทำให้พระเจ้าจอร์จที่ 5 ทรงมีกำลังพระทัยและพระอาการดีขึ้น[4]",
"title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "155034#1",
"text": "สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1762 ที่พระราชวังวินด์เซอร์ บาร์คเชอร์ สหราชอาณาจักร เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร และ สมเด็จพระราชินีชาร์ลอตต์แห่งสหราชอาณาจักร ทรงเสกสมรสกับเจ้าหญิงคาโรไลน์แห่งบรันสวิค ก่อนขึ้นครองราชย์สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เมื่อพระราชบิดา มีพระอาการหนักจากโรคที่ขณะนั้นไม่ทราบสาเหตุที่พระอาการคล้ายกับผู้เป็นโรคจิต แต่ในปัจจุบันเชื่อกันว่าทรงเป็นโรคพอร์ฟิเรีย (porphyria) ",
"title": "พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "92502#0",
"text": "พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร () เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในราชวงศ์วินด์เซอร์ซึ่งทรงสถาปนาขึ้นจากราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทาสายอังกฤษ ในฐานะที่ทรงเป็นประมุขสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพแห่งอังกฤษ พระองค์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอินเดียและปฐมกษัตริย์เสรีรัฐไอร์แลนด์อีกด้วย พระองค์ทรงครองสิริราชสมบัติตั้งแต่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 ผ่านช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2457 ถึง พ.ศ. 2461) จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2479",
"title": "พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "654094#0",
"text": "เจ้าชายจอห์นแห่งสหราชอาณาจักร () หรือพระนามเต็ม จอห์น ชาลส์ ฟรานซิส (; \"ประสูติ\": 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2448; \"สิ้นพระชนม์\": 18 มกราคม พ.ศ. 2462) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 5 ในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักรกับสมเด็จพระราชินีแมรีแห่งเทก เจ้าชายจอห์นประสูติในขณะที่พระราชบิดามีพระยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ และรัชทายาทในราชบัลลังก์แห่งสหราชอาณาจักร ในปีพ.ศ. 2453 สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักรสวรรคต เจ้าชายจอร์จได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เจ้าชายจอห์นจึงอยู่ในลำดับที่ 5 ของลำดับการสืบราชสันตติวงศ์อังกฤษ",
"title": "เจ้าชายจอห์นแห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "539638#0",
"text": "เดวิด อัลเบิร์ต ชาร์ลส์ อาร์มสตรอง-โจนส์, เอิร์ลที่ 2 แห่งสโนว์ดอน () พระโอรสในเจ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน กับอันโทนี อาร์มสตรอง-โจนส์, เอิร์ลที่ 1 แห่งสโนว์ดอน เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 เขาเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร ทั้งยังเป็นพระภาคิไนยใน สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เขาอยู่ในลำดับโปเจียมพระราชวงศ์ฝ่ายหน้าเป็นคนที่ 10 เขาคือผู้สืบทอดตำแหน่งเอิร์ลแห่งสโนว์ดอน<\nเดวิด อาร์มสตรอง-โจนส์, ไวเคานต์ลินลีย์ เป็นพระโอรสคนใหญ่ใน เจ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน และ อันโทนี อาร์มสตรอง-โจนส์ เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 ณ โรงพยาบาลพอร์ตแลนด์ เดวิด เป็นพระภาคิไนยในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร และเป็นพระราชนัดดาใน สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร และถูกจัดให้อยู่ในลำดับที่ 20 ในการสืบราชสันตติวงศ์แห่งราชบัลลังก์สหราชอาณาจักร",
"title": "เดวิด อาร์มสตรอง-โจนส์, เอิร์ลที่ 2 แห่งสโนว์ดอน"
},
{
"docid": "155491#6",
"text": "วันประสูติของพระองค์คือวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2438 ซึ่งตรงกับวันครบรอบวันสิ้นพระชนม์ของพระปัยกา เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี ครบ 34 ปี ซึ่งเป็นที่มาของพระนามของพระองค์ ซึ่งคือ เจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งยอร์ก โดยพระองค์มีชื่อเล่นที่เรียกกันในพระราชวงศ์ว่า \"เบอร์ตี้\" (Bertie) ในขณะนั้นทรงอยู่ในลำดับที่ 4 ของการสืบราชสันตติวงศ์ โดยต่อจากพระอัยกา พระบิดา และพระเชษฐา",
"title": "สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "5518#19",
"text": "ตำแหน่งดยุกแห่งยอร์คโดยทั่วไปจะแต่งตั้งให้กับพระราชโอรสพระองค์ที่สองของพระประมุข การแต่งตั้งครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1927 และรวมเข้ากับราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 2026 ดยุกทุกพระองค์หลังจากนั้นมีทั้งสิ้นพระชนม์โดยปราศจากทายาทหรือเสวยราชสมบัติเป็นกษัตริย์ ฉะนั้นตำแหน่งจึงมิได้ออกไปนอกราชวงศ์ รูปแบบการพระราชทานตำแหน่งดยุกให้พระราชโอรสพระองค์ที่สองในพระประมุขเป็นที่ไม่พอพระทัยแก่สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 1 ซึ่งได้พระราชทานตำแหน่งดยุกแห่งยอร์คและออลบานีให้พระอนุชา สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 พระราชทานตำแหน่งดยุกแห่งยอร์คและออลบานีนี้อีกกับพระราชโอรสพระองค์ที่สองซึ่งได้สิ้นพระชนม์ไปก่อนพระองค์ ตำแหน่งดยุกแห่งยอร์คและออลบานีได้มีบทบาทอีกเป็นครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2327 เมื่อสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 พระราชทานตำแหน่งนี้ให้แก่พระราชโอรสพระองค์ที่สอง นับแต่นั้นมาตำแหน่งดยุกก็ได้มีการตั้งชื่อเป็น \"ยอร์ค\" มากกว่า \"ยอร์คและออลบานี\" ดยุกแห่งยอร์คพระองค์ปัจจุบันคือ เจ้าฟ้าชายแอนดรูว์ พระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2",
"title": "ราชวงศ์สหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "231660#2",
"text": "ตามกฎหมายของสหราชอาณาจักร จุลมงกุฎเจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร ถือเป็นสิ่งต้องห้ามมิให้นำออกจากสหราชอาณาจักรอย่างเด็ดขาด ไม่ว่าในกรณีใดใดทั้งสิ้น แม้แต่การใช้ที่ดูเหมือนจะถูกกฎหมายนอกสหราชอาณาจักรก็ยังห้าม เช่น ในกรณีของมงกุฎใหม่ คือ มงกุฎแห่งอินเดีย ที่ต้องสร้างขึ้นสำหรับสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 เพื่อทรงในฐานะจักรพรรดิแห่งอินเดีย ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่เดลี (Delhi Durbar) เพราะมงกุฎอิมพีเรียลสเตทที่ใช้สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกไม่สามารถนำออกนอกประเทศได้",
"title": "จุลมงกุฎเจ้าชายชาลส์แห่งเวลส์"
},
{
"docid": "173963#1",
"text": "เจ้าชายจอร์จ ดยุกแห่งเคนต์ ประสูติเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2445 ณ ยอร์ค คอทเทจ แซนดริงแฮม พระชนกคือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร พระราชโอรสพระองค์ที่สองใน สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร และ สมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา พระชนนีคือสมเด็จพระราชินีแมรี แห่งเท็คพระราชธิดาในเจ้าชายฟรานซิส ดยุกแห่งเท็ค และเจ้าหญิงแมรี อเดเลดแห่งแคมบริดจ์",
"title": "เจ้าชายจอร์จ ดยุกแห่งเคนต์"
}
] |
1818 | มีผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานเพียงรายเดียวในประเทศไทยได้แก่บริษัทอะไร? | [
{
"docid": "915552#11",
"text": "ปัจจุบันมีผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานเพียงรายเดียวได้แก่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยสถิติในไตรมาสที่ 4 ของปีพ.ศ. 2557 มีผู้ใช้บริการจำนวน 5,687,038 เลขหมายลดลงจากปีพ.ศ. 2551[1]",
"title": "โทรคมนาคมในประเทศไทย"
}
] | [
{
"docid": "38704#2",
"text": "สนุก.คอม เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท สนุก! ออนไลน์ จำกัด (เดิมชื่อบริษัท เอ็มเว็บ (ประเทศไทย) จำกัด) ภายใต้การบริหารของนายกฤตธี มโนลีหกุล สนุก.คอม มีบริการที่ครอบคลุมเนื้อหา สาระ และ บริการที่ครบถ้วนสำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ได้แก่ Sanook! Album, Sanook! Auto, Sanook! Book, Sanook! Campus, Sanook! Game, Sanook! Home, Sanook! Horoscope, Sanook! Men, Sanook! Money, Sanook! Movie, Sanook! Music, Sanook! News, Sanook! Sport, Sanook! Travel, Sanook! TV, Sanook! Video, Sanook! Webboard, และ Sanook! Women รวมไปถึงการให้บริการพจนานุกรม (Dictionary) ออนไลน์ และอื่นๆ อีกมากมายที่สามารถเข้าชมได้ทั้งคอมพิวเตอร์ทั่วไป และบนโทรศัพท์มือถือ",
"title": "สนุก.คอม"
},
{
"docid": "4274#13",
"text": "การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัทอินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย [1]",
"title": "อินเทอร์เน็ต"
},
{
"docid": "567370#9",
"text": "ต่อมา วิธีการส่งเช่น SONET (Synchronous optical networking) เป็นการส่งผ่านใยแก้วนำแสงที่ทำให้การส่งผ่านดิจิทัลก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปอีก แม้ว่าระบบการขนส่งแบบแอนะล็อกที่มีอยู่จะ multiplex ช่องความถี่เสียงแบบแอนะล็อกหลายช่องให้อยู่บนสื่อกลางการส่งเพียงตัวเดียวก็ตาม, การส่งดิจิทัลทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงและได้ช่องทางที่ถูก multiplexed บนสื่อกลางการส่งมากขึ้น วันนี้ อุปกรณ์ปลายทางมักจะยังคงเป็นแอนะล็อก แต่สัญญาณอนาล็อกโดยทั่วไปจะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณดิจิตอล ณ พื้นที่ให้บริการอินเตอร์เฟซ ( หรือ SAI), หรือที่สำนักงานกลาง ( หรือ CO) หรือที่ชุมสาย หรือที่จุดรวมสัญญาณอื่น ๆ อุปกรณ์ Digital loop carriers (DLC) เป็นเครือข่ายดิจิตอลที่ถูกวางใกล้ชิดกับสถานที่ของลูกค้ามากกว่าที่เคย, ผลักไส local loop แบบแอนะล็อกให้กลายเป็นตำนานไปเลยความเชี่ยวชาญของระบบโทรศัพท์ดิจิตอล, ระบบโทรศัพท์ Internet Protocol (IP) เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายแบบดิจิตอลที่เป็นรากฐานอินเทอร์เน็ตเพื่อสร้าง, ส่ง, และรับ sessions การสื่อสารโทรคมนาคมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็น Voice over Internet Protocol (VoIP), สะท้อนให้เห็นถึงหลักการแต่มันก็ถูกเรียกด้วยคำอื่นๆอีกมากมาย VoIP ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นเทคโนโลยีตัวทำลายที่มาแทนที่เทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานของโทรศัพท์แบบดั้งเดิมอย่างรวดเร็ว เมื่อเดือนมกราคม 2005 ผู้ใช้บริการโทรศัพท์ในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ถึง 10 % ได้เปิดใช้บริการโทรศัพท์ดิจิตอลนี้ บทความของนิวสวีค ประจำเดือนมกราคม 2005 ชี้ให้เห็นว่า โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต อาจจะ \"สิ่งที่ยิ่งใหญ่ต่อไป\" ในปี 2006 บริษัท VoIP หลายแห่ง เสนอบริการนี้ให้กับผู้บริโภคและธุรกิจ",
"title": "ระบบโทรศัพท์"
},
{
"docid": "915552#14",
"text": "ในไตรมาสที่ 4 ของปีพ.ศ. 2557 มีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยที่ 97.6 ล้านเลขหมาย คิดเป็นอัตราการเติบโตถึง 146% แบ่งเป็นผู้ใช้บริการแบบเติมเงิน 84.8 ล้านเลขหมาย โดย 99% ของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมดล้วนอยู่ภายใต้ผู้ให้บริการหลัก 3 ราย (รวมถึงผู้ให้บริการในเครือด้วย) ได้แก่ เอไอเอส มีสัดส่วนผู้ใช้บริการอยู่ที่ 46.52% รองลงมาได้แก่ ดีแทค 28.50% และทรูมูฟ เอช 24.26% ส่วนผู้ให้บริการรายอื่นรวมถึงรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ ทีโอที 0.57% และ กสท. โทรคมนาคม 0.15% รวมถึงผู้ประกอบการกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนโครงข่ายเสมือน (MVNO)",
"title": "โทรคมนาคมในประเทศไทย"
},
{
"docid": "915552#3",
"text": "ในช่วงปี พ.ศ. 2530 - 2540 เป็นช่วงการเปิดให้บริการโทรคมนาคมอย่างเสรีกับภาคประชาชน โดยหน่วยงานของรัฐได้แก่ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ปัจจุบัน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)), การสื่อสารแห่งประเทศไทย (ปัจจุบัน บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)) และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (ปัจจุบัน บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)) และแปรสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจในปี พ.ศ. 2546-2547 โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ การที่ รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ได้กำหนดให้คลื่นความถี่ทั้งหมดคือ \"ทรัพยากรการสื่อสารของชาติเพื่อสวัสดิการสาธารณะ\" โดยกำหนดให้มีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระขึ้นซึ้งมีอำนาจในการจัดสรรคลื่นความถี่, ตรวจสอบ และควมคุมการติดต่อสื่อสารในประเทศไทยได้แก่ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงแห่งชาติ (กสช.) ในปี 2541 และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติชุดแรกขึ้นในปี พ.ศ. 2547",
"title": "โทรคมนาคมในประเทศไทย"
},
{
"docid": "237169#0",
"text": "เกมมาสเตอร์ (Gamemaster) หรือ จีเอ็ม (GM) เป็นชื่อของตำแหน่งที่รับผิดชอบงานการดูแล และการให้บริการเกมออนไลน์ ที่ต้องมีการติดต่อกับลูกค้าเป็นอย่างมาก ซึ่งมักมีความสับสนกับ คอลเซ็นเตอร์ เนื่องจากมีลักษณะงานที่ต้องรับผิดชอบคล้ายคลึงกัน โดยมากส่วนที่แตกต่างกันระหว่างสองตำแหน่งนี้คือเกมมาสเตอร์มักมีความอำนาจในการดำเนินการเกี่ยวกับกรณีต่างๆในเกมมากกว่า เช่น มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบตัวละครหน้าที่ในการดูแลการบริการในตัวเกมไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม หรือ การป้องกันการทุจริตของผู้เล่น เป็นต้น ในขณะที่ คอลเซ็นเตอร์นั้นโดยมากมักจะมีหน้าที่ในการติดต่อกับผู้เล่นเป็นตัวกลางที่คอยเชื่อมระหว่างผู้เล่นกับบริษัทผู้ให้บริการเป็นหลักในหลากหลายช่องทาง ได้แก่ การรับสายโทรศัพท์ การตอบคำถามในเวปบอร์ดอย่างไรก็ตามในประเทศไทย บริษัทที่มีการแบ่งหน้าที่ระหว่าง เกมมาสเตอร์ และคอลเซ็นเตอร์อย่างชัดเจนนั้น มีเพียงบริษัทเดียวคือ บริษัท เอเซียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)ส่วนบริษัทอื่นๆมักจะรวบเอาหน้าที่ของทั้งสองตำแหน่งไว้ด้วยกัน เพื่อให้ง่ายในการบริหารงาน และประหยัดทรัพยากรบุคคล.",
"title": "เกมมาสเตอร์"
},
{
"docid": "157144#0",
"text": "ลาวโทรคมนาคม เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Shenington กับรัฐบาลของประเทศลาว ในสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 49 และ 51 ตามลำดับ เพื่อดำเนินกิจการให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมแบบครบวงจรในประเทศลาว โดยมีบริการต่างๆประกอบด้วยบริการโทรศัพท์พื้นฐานระบบ Public Switched Telephone Network (PSTN) บริการโทรศพท์เคลื่อนที่ทั้ง Postpaid และ Prepaid ในระบบ GSM 900, International Direct Dialing (IDD) โทรศัพท์สาธารณะ วิทยุติดตามตัว และบริการอินเทอร์เน็ต",
"title": "ลาวโทรคมนาคม"
},
{
"docid": "8211#10",
"text": "เมื่อมกราคม 2005, ผู้ใช้บริการโทรศัพท์ในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้จำนวนสูงถึง 10 % ได้ เปลี่ยนมาใช้บริการโทรศัพท์แบบดิจิทัลนี้ ในเดือนเดียวกัน บทความของนิวสวีคชี้ให้เห็นว่า โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตอาจจะ \"สิ่งที่ยิ่งใหญ่ต่อไป\" ในปี 2006 บริษัทหลายแห่งให้บริการ VoIP กับผู้บริโภคและธุรกิจ\nจากมุมมองของลูกค้า, ระบบโทรศัพท์ IP ใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบนด์วิธสูง และต้องการอุปกรณ์สถานที่ลูกค้า () หรือ CPE ที่มีลักษณะพิเศษในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต, หรือผ่านเครือข่ายข้อมูลส่วนตัวอื่นๆที่ทันสมัย จริงๆแล้ว อุปกรณ์ของลูกค้าอาจจะเป็นเพียง อะแดปเตอร์โทรศัพท์แอนะล็อก ( ATA ) ซึ่งใช้เชื่อมต่อเครื่องโทรศัพท์แบบอนาล็อกแบบเก่าเข้ากับอุปกรณ์เครือข่าย IP, หรืออาจเป็นเครื่องโทรศัพท์ไอพีที่มีเทคโนโลยีเครือข่ายและอินเตอร์เฟซที่สร้างขึ้นในชุดตั้งโต๊ะ ที่ทำงานเหมือนโทรศัพท์ที่คุ้นเคยแบบเดิม ",
"title": "เครื่องโทรศัพท์"
},
{
"docid": "416330#13",
"text": "ต่อมา ทีโอทีจับมือกับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือใหม่ 5 ราย (MVNO) ได้แก่\nเปิดให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือระยะที่ 3 บนคลื่นความถี่ 2100 เมกกะเฮิร์ต โดยความร่วมมือระหว่างเอไอเอสและทีโอที แต่แท้จริงแล้ว บริการดังกล่าวคือการนำเอาคลื่นความถี่ 1900 เมกะเฮิร์ตที่ทีโอทีมีอยู่จากกิจการไทยโมบาย มาพัฒนาแล้วให้รันเสมือนบนคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิร์ตแทน ซึ่งผู้ให้บริการทั้งหมด 5 รายนี้ จะเข้ามาใช้คลื่นความถี่ของทีโอทีร่วมกันในลักษณะผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง หรือ MVNO",
"title": "3 จีในประเทศไทย"
},
{
"docid": "330870#1",
"text": "ให้บริการระบบ NMT470 (ปัจจุบันปรับระบบไปใช้เป็นโครงข่าย โทรศัพท์สาธารณะเคลื่อนที่ และใช้เป็นระบบโทรศัพท์เพื่อให้บริการแก่ประชาชนในเขตนอกข่ายสายและถิ่นทุรกันดาร โดยใช้เป็นโทรศัพท์ประจำที่ติดตั้งภายในอาคาร มีสายอากาศรับสัญญาณ ภายหลัง พ.ศ. 2551 จึงได้ปรับระบบเป็น CDMA 2001X\nให้บริการระบบ [[3G]] บนโครงข่าย HSPA บนความถี่ 1900MHz (ความถี่ ThaiMobile เดิม) และความถี่ 2100MHz (ความถี่ทดลอง) ในชื่อ TOT[[3G]] ในพื้นที่ กทม.\nเจ้าของโครงข่าย และให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2 เครือข่าย ในระบบ 3G บนเทคโนโลยี CDMA 2000 1x EV-DO ภายใต้ชื่อ \"CATCDMA\" สำหรับบริการทางเสียงและ SMS ของ CAT CDMA ใช้งานได้ 77 จังหวัดทั่วประเทศ สำหรับบริการอินเทอร์เน็ตและสื่อสารข้อมูล ใช้งานได้ 52 จังหวัด ในพื้นที่ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และใต้ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน พะเยา เชียงราย แม่ฮ่องสอน ชัยนาท นครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร ชัยภูมิ อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู ขอนแก่น อุดรธานี เลย หนองคาย บึงกาฬ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต สุราษฏร์ธานี สงขลา สตูล ตรัง พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส\nและให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 3G บนเทคโนโลยี HSPA ความถี่ 850 MHz ภายใต้ชื่อ \"มาย\" (My) เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ปัจจุบันเปิดให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัด\nรับสัมปทานให้บริการระบบ NMT900 จาก [[บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)]] ในชื่อ CELLULAR 900 (ปัจจุบันยกเลิกการให้บริการแล้ว)\nปัจจุบันให้บริการระบบ GSM บนความถี่ 900MHz โดยรับสัมปทานจาก [[บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)]] ในชื่อ GSM Advance และ One-2-Call\nGSM Advance และ One-2-Call ให้บริการทางเสียงและสื่อสารข้อมูล ครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัด บนเทคโนโลยี EDGE/GPRS ความถี่ 900 MHz และ [[3G]] บนเทคโนโลยี HSPA ความถี่ 900 MHz ปัจจุบันทดลองให้บริการอินเทอร์เน็ตและสื่อสารข้อมูล 4G บนเทคโนโลยี [[LTE]] โดยร่วมกับ [[บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)]] ทดสอบระบบในกรุงเทพฯ (บริเวณถนนพระรามที่ 1) ตั้งแต่หน้ามาบุญครองถึงเซ็นทรัลเวิลด์ รวมถึงบริเวณแจ้งวัฒนะในพื้นที่กระทรวงไอซีที ศูนย์ราชการ และสำนักงานทีโอที ใช้ย่านความถี่ 2300 MHz แบบ Time Division Duplex (TDD) ที่แบนด์วิดท์ 20 MHz จะทดสอบการให้บริการบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูง (BWA) มีสถานีฐานทั้งหมด 20 แห่ง \nให้บริการในระบบ GSM บนความถี่ 1800 MHz ภายใต้ชื่อ GSM1800 โดยรับสัมปทานจาก [[บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)]] (ผ่านการซื้อกิจการของ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด ซึ่งเป็นโครงข่ายในชื่อการค้า Hello เดิม) เปิดให้บริการทางเสียงและสื่อสารข้อมูล บนเทคโนโลยี EDGE/GPRS ความถี่ 1800 MHz ปัจจุบันทดลองให้บริการอินเทอร์เน็ตและสื่อสารข้อมูล 4G บนเทคโนโลยี [[LTE]] โดยร่วมมือกับ บมจ.กสท โทรคมนาคม ทดสอบระบบ 4G ในจังหวัดมหาสารคาม บริเวณมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ใช้ความถี่ 1800 MHz แบบ Frequency Division Duplex (FDD) ที่แบนด์วิดท์ 10 MHz มีสถานีฐานทั้งหมด 8 แห่ง\nรับสัมปทานให้บริการระบบ AMPS 800 Band-B จาก [[บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)]] ในชื่อ Wordphone 800 (ปัจจุบันยกเลิกการให้บริการแล้ว)\nรับสัมปทานให้บริการระบบ GSM บนความถี่ 1800 MHz จาก[[บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)]] ในชื่อ Wordphone 1800 ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น \"ดีแทค\" (DTAC) ในระบบจดทะเบียน และ \"แฮปปี้\" (Happy) ในระบบเติมเงิน ดีแทคให้บริการทางเสียงและสื่อสารข้อมูล ครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัด บนเทคโนโลยี EDGE/GPRS ความถี่ 1800 MHz และ [[3G]] บนเทคโนโลยี HSPA ความถี่ 850 MHz ปัจจุบันกำลังทดลองให้บริการอินเทอร์เน็ตและสื่อสารข้อมูล 4G บนเทคโนโลยี [[LTE]]\nรับสัมปทานให้บริการระบบ GSM บนความถี่ 1800 MHz จาก[[บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)]] ปัจจุบันให้บริการ 3G บนโครงข่าย HSPA ความถี่ 850 MHz ในบริเวณบางพื้นที่ของ กทม. และ พัยา เชียงใหม่ ภูเก็ต สัมปทานจะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2556\nผู้ขายต่อบริการ (Reseller) ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ HSPA ในความถี่ 850 MHz และบริการ 3G ในเชิงพาณิชย์ ภายใต้ชื่อ “ทรูมูฟ เอช” (Truemove H) ให้บริการทางเสียงและสื่อสารข้อมูล ครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัด \nตัวแทนผู้ให้บริการด้านการตลาด โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ CDMA20001x ในพื้นที่ กรุงเทพฯ และ 25 จังหวัดจาก [[บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)]] ภายใต้แบรนด์ฮัทช์ (HUTCH)\nปัจจุบันกลุ่มทรูคอร์ปอเรชั่นและกสท. โดยบริษัทเรียล มูฟ จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ได้เข้าซื้อกิจการและโครงข่าย เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2553 ของบริษัท ฮัทชิสัน ไวร์เลส มัลติมีเดีย โฮลดิ้งส์ จำกัด หรือ HWMH และ บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด หรือ BFKT\nเป็นบริษัทที่ก่อตั้งโดยการลงทุนร่วมกันระหว่าง [[บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)]] และ[[บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)]] เพื่อให้บริการระบบ GSM บนความถี่ 1900MHz ในพื้นที่ กทม. แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการให้บริการ ต่อมา[[บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)]] ได้ทำการซื้อหุ้นจาก [[บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)]] 49% กลับมาทั้งหมด เพื่อต้องการให้ได้สิทธิ์ในการบริหารและสิทธิ์การให้บริการ เพื่อนำความถี่ GSM1900 MHz มาพัฒนาระบบระบบ 3G (ปัจจุบันได้ให้บริการระบบ [[3G]] ในความถี่นี้แล้ว และได้ยกเลิกระบบ GSM1900 ในระบบ [[2.75G]])[[หมวดหมู่:โทรศัพท์มือถือ]]",
"title": "โทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย"
},
{
"docid": "13434#9",
"text": "เกม Valiant Online ในเครือทีโอที (ปิดให้บริการแล้ว)จากนโยบายของรัฐบาลในสมัยนั้นที่ต้องการให้ หน่วยงานของรัฐให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แข่งกับเอกชนเพื่อลดราคา จึงได้ให้รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น) โดย ทีโอที กสท และ บจก. วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จัดตั้งบริษัท เอซีที โมบาย จำกัด ชื่อบริษัทมาจากอักษรตัวแรกของทั้ง 3 หน่วยงาน ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใน ระบบ GSM1900 ภายใต้ชื่อ THAImobile\nต่อมา บจก. วิทยุการบินแห่งประเทศไทย ได้ถอนหุ้นไปในปัจจุบัน คงเหลือเพียง ทีโอที และ กสท ที่ยังคงดำรงหุ้นในอัตราส่วน 58 : 42 ต่อมาในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551 ทีโอทีได้ซื้อหุ้นในส่วนของ กสท เพื่อมาบริหารทั้งหมด พร้อมทั้งได้สิทธิ์การให้บริการสามจี และสิทธิ์การใช้คลื่นความถี่วิทยุ 1900 MHz แต่เพียงผู้เดียว เพื่อเตรียมนำไปให้บริการสามจี",
"title": "ทีโอที"
},
{
"docid": "532492#1",
"text": "บริษัทดำเนินการประกอบธุรกิจพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเป็นหลัก โดยการพัฒนาที่ดินพร้อมระบบสาธารณูปโภคต่างๆ อาทิเช่น ถนน ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบโทรศัพท์ ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบกำจัดขยะ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ รวมถึงการให้บริการสาธารณูปโภคดังกล่าวหลังการขายให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ นอกจากนี้บริษัทยังจัดให้มีบริการระบบสาธารณูปโภคอื่นๆ เพิ่มเติม ได้แก่ การจัดการระบบอำนวยความสะดวก (Facility Management) ตลอดจนการจัดให้มีโรงงานสำเร็จรูปเพื่อเช่าและขายสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอีกด้วย \nการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมของบริษัทฯจะเป็นการร่วมดำเนินงานกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ปัจจุบันนิคมอุตสาหกรรมของบริษัทฯมี 4 แห่ง ได้แก่ \nบริษัทได้พัฒนาและบริหารจัดการเขตอุตสาหกรรม 7 แห่ง ได้แก่ ",
"title": "เหมราชพัฒนาที่ดิน"
},
{
"docid": "263349#16",
"text": "ถัดจากนั้นได้ก่อตั้งบริษัทแอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด หรือเอไอเอส ในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2529 เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 900 MHz หรือระบบเซลลูล่าร์ โดยได้รับสัมปทานจากองค์การโทรศัพท์ และยังได้ริเริ่มเป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์เคเบิลทีวีแบบบอกรับสมาชิกซึ่งนับเป็นครั้งแรกของประเทศที่มีการให้บริการในลักษณะดังกล่าว โดยจัดตั้งบริษัท อินเตอร์เนชันแนล บรอดคาสติง คอร์ปอเรชันส์ จำกัด (ไอบีซี) เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2532 โดยเริ่มนำเอาช่องข่าวระดับโลกอย่าง CNN เข้ามาให้ชมได้เป็นครั้งแรก และกลายเป็นช่องทางรับชมข่าวสารที่สำคัญระดับโลกและเหตุการณ์สำคัญในเมืองไทยหลายเหตุการณ์ในเวลาต่อมา",
"title": "ทักษิณ ชินวัตร"
},
{
"docid": "392019#0",
"text": "ทรูมูฟ เอช () หรือ บริษัท เรียลมูฟ จำกัด (Real Move Co., Ltd) และ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TrueMove H Universal Communication Co., Ltd) เป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ทำธุรกิจให้บริการโทรศัพท์มือถือรายหนึ่งในประเทศไทย โดยเป็นตัวแทนขายส่งต่อบริการของ กสท. โทรคมนาคม เดิมคือเครือข่ายฮัทซ์ ของบริษัท ฮัทจิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด ที่ถูกกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น เข้าซื้อกิจการโดยผ่านความเห็นชอบจากกสท. โทรคมนาคม และได้รับอนุญาตในการดำเนินการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือระยะที่ 3 (3G) บนเครือข่ายดับเบิลยูซีดีเอ็มเอ 850 เมกกะเฮิตซ์ บนช่วงความถี่ 15 เมกกะเฮิตซ์ ที่ถือว่ามากที่สุดในกลุ่มผู้ให้บริการในปัจจุบัน (รวมทรูมูฟ) และยังได้รับใบอนุญาตในการดำเนินการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือบนเครือข่ายดับเบิลยูซีดีเอ็มเอ 2100 เมกกะเฮิตซ์ บนช่วงความถี่ 15 เมกกะเฮิตซ์ จาก กสทช. เพื่อมาดำเนินการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือระยะที่ 3 และโครงข่ายโทรศัพท์มือถือระยะที่ 4 (4G LTE) โดยเครือข่าย ทรูมูฟ-เอช กับ ทรูมูฟ ในทางธุรกิจโทรคมนาคมจะถือว่าเป็นคนละเครือข่ายกัน แต่ทั้งสองเครือข่ายมีวิธีดำเนินการเหมือนกันทุกประการ ปัจจุบัน เมื่ออิงตามยอดผู้ใช้งาน ทรูมูฟ เอช เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ อันดับที่ 2 ของประเทศ",
"title": "ทรูมูฟ เอช"
},
{
"docid": "915552#12",
"text": "ผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานครั้งแรกในปีพ.ศ. 2424 โดยกระทรวงกลาโหม ต่อมาได้มีการโอนกิจการให้แก่กรมไปรษณีย์โทรเลข องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ในปีพ.ศ. 2497[2]",
"title": "โทรคมนาคมในประเทศไทย"
},
{
"docid": "915552#13",
"text": "การให้บริการของโทรศัพท์พื้นฐานในอดีตนั้นค่อนข้างมีข้อจำกัดสูง อัตราการเติบโตของธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐานในปีพ.ศ. 2534 อยู่ที่ 3.3 เลขหมายต่อประชากร 100 คน ก่อนที่จะมีการเปิดให้บริษัทเอกชนรับสัมปทานเพื่อสร้างและใช้โทรศัพท์พื้นฐาน 2 รายได้แก่บริษัท เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบัน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)) สำหรับให้บริการในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล และบริษัท ไทย เทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) สำหรับให้บริการในต่างจังหวัด[3]",
"title": "โทรคมนาคมในประเทศไทย"
},
{
"docid": "116698#0",
"text": "ทรู คอร์ปอเรชั่น () (ชื่อเดิม: เทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น; Telecom Asia Corporation ชื่อย่อ: ทีเอ; TA) แต่เดิมเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต(ISP) ด้วยความร่วมมือและสนับสนุนจากบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์(CP) หลังจากที่เริ่มมีการขยายตัว และการแข่งขันในด้านการสื่อสารกันมากขึ้น จึงทำการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์จากเดิมมาเป็น \"กลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น\" พร้อมกับเปลี่ยนชื่อบริษัทในเครือ เช่น จาก \"ทีเอ ออเร้นจ์\" (TA ORANGE) ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (ร่วมทุนระหว่างซีพี และออเร้นจ์ฝรั่งเศส) หลังจากฝรั่งเศสถอนหุ้นกลับไปจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น \"ทรู มูฟ\" ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ อันดับ 3 ของประเทศ และได้ขยายกิจการด้านการโทรคมนาคมอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านโทรศัพท์พื้นฐาน (โทรศัพท์บ้าน) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่เป็นอันดับ 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, โทรศัพท์บ้านพกพา (วีพีซีที), ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ทรู อินเทอร์เน็ต), เคเบิลทีวีระบบบอกรับเป็นสมาชิกรายเดือน ทรูวิชั่นส์ และรวมไปถึงบันเทิง ทั้งด้าน โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต เกมออนไลน์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ตามลำดับ ซึ่งประกอบไปด้วย ทรูวิชั่นส์ ทรูมูฟ ทรูมันนี่ เอ็นซี ทรู ทรู ดิจิตอล คอนเทนท์ แอนด์ มีเดีย (Future Gamer ทรูไลฟ์ Good Game จีสแควร์ ทรูไอพีทีวี)",
"title": "ทรู คอร์ปอเรชั่น"
},
{
"docid": "42279#5",
"text": "CamShin เป็นผู้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการโทรคมนาคมในประเทศกัมพูชาเป็นเวลา 35 ปี มีกำหนดสิ้นสุดในปี 2571 โดยให้บริการโทรศัพท์มือถือ ภายใต้ระบบ Digital GSM 1800 MHz ทั้งแบบ Postpaid และแบบ Prepaid และบริการโทรศัพท์พื้นฐานภายใต้ระบบ Wireless Local Loop System (WLL) ภายใต้ 2 คลื่นความถี่ คือ 450 MHz และ 1800 MHz ในประเทศกัมพูชา และภายหลัง ได้คลื่นเพิ่มบริการความถี่ 900 รวมถึงบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ผ่าน VoIP (Voice over IP) ",
"title": "ไทยคม (บริษัท)"
},
{
"docid": "17806#21",
"text": "เมื่อ พ.ศ. 2546 มีหลายบริษัทเริ่มให้บริการคาราโอเกะผ่านโทรศัพท์มือถือ และยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทว่าไม่สามารถคาดหมายได้ชัดว่าจะเติบโตไปในทิศทางใด อย่างไรก็ตามผู้ให้บริการคาราโอเกะผ่านโทรศัพท์มือถือบางราย เช่น Karaokini ได้เริ่มประสบความสำเร็จในเชิงพานิชย์บ้างแล้ว บริการคาราโอเกะผ่านมือถือมักจะใช้ ภาษาจาวา ซึ่งทำงานด้วยไฟล์ข้อความ บรรจุเป็นคำ และไฟล์ midi พร้อมเสียงดนตรี www.web2txt.co.uk เป็นบริษัทแรกที่เสนอคาราโอเกะผ่านมือถือ ในรูปแบบ 3GP ซึ่งให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า (ในประเทศไทยเคยมีให้บริการร้องคาราโอเกะบนมือถือผ่านเครื่อข่ายระบบฮัทช์)",
"title": "คาราโอเกะ"
},
{
"docid": "418420#21",
"text": "รางวัล Thailand Corporate Excellence Awards 2011 สาขาความเป็นเลิศด้านการตลาด (Marketing Excellence) โดยความร่วมมือของสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มอบให้แก่ทรู ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 รางวัลเกียรติยศ “สถานประกอบการดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานระดับประเทศ” โดยกระทรวงแรงงาน มอบให้แก่ทรู ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 รางวัล “ICT ทำดีเพื่อสังคม” โดยสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งประเทศไทย และวิทยาลัยนวัตกรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มอบให้แก่โครงการ WhiteNet ของบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ในงาน Thailand ICT Management Forum & Thailand ICT Excellence Awards 2011-2012 รางวัล “แบรนด์ที่เชื่อมั่นได้” 2 รางวัล คือ แพลตทินัม อวอร์ด ในหมวดผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และ โกล์ด อวอร์ด ในหมวดผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยบริษัท รีดเดอร์ ไดเจสต์ (ประเทศไทย) จำกัด มอบให้แก่ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น รางวัลสุดยอด Data Center Services Provider of the Year ในประเทศไทย โดยบริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน มอบให้แก่บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด รางวัล “WBA Wi-Fi Industry Award 2012 ประเภท Best Next Generation Hotspot (NGH) Initiative Award” โดยสมาพันธ์ผู้ให้บริการโทรคมนาคมระดับแนวหน้าของโลก (Wireless Broadband Alliance - WBA) มอบให้แก่ทรูมูฟ เอช ในงาน WBA Wi-Fi Global Congress",
"title": "ศุภชัย เจียรวนนท์"
},
{
"docid": "718283#0",
"text": "บริษัท โมโน เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ( ชื่อย่อ : MONO) หรือรู้จักกันในนาม “โมโน กรุ๊ป” () เป็นบริษัทแม่ ซึ่งเป็นผู้นำในการสร้างสรรค์การให้บริการข้อมูลและความบันเทิงแบบครบวงจร () ก่อตั้งขึ้นโดย นายพิชญ์ โพธารามิก เพื่อดำเนินธุรกิจสื่อการให้บริการข้อมูล และความบันเทิง อันได้แก่ ธุรกิจบริการเสริมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ธุรกิจสื่ออินเทอร์เน็ต ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ ธุรกิจสื่อทีวี ธุรกิจสื่อวิทยุ ธุรกิจเพลง และธุรกิจภาพยนตร์ บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2556 และย้ายหลักทรัพย์เข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2558 ",
"title": "โมโน เทคโนโลยี"
},
{
"docid": "227035#23",
"text": "ส่วนของการสื่อสารนั้น หมู่เกาะนี้มีสายโทรศัพท์กว่า 3,000 สาย และมีบริการโทรศัพท์มือถือโดยใช้ระบบจีเอสเอ็ม 850 และจีเอสเอ็ม 900 ส่วนซีดีเอ็มเอยังไม่มีการรองรับ ระบบสื่อสารนั้นเชื่อมต่อผ่านสายเคเบิลใต้สมุทรและสถานีรับสัญญาณดาวเทียมอินเทลแซต สื่อวิทยุมีสถานีวิทยุเอเอ็ม 3 สถานีและเอฟเอ็ม 6 สถานี ส่วนสื่อโทรทัศน์มีบริษัทให้บริการเคเบิลทีวีเพียงบริษัทเดียวคือบริษัทเวสต์อินดีสวิดีโอ ซึ่งทำการควบคุมและออกอากาศเพียงช่องเดียว แต่ก็ยังสามารถรับสัญญาณโทรทัศน์จากบาฮามาสได้ มีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต 2 บริษัท ccTLD สำหรับอินเทอร์เน็ตคือ .tc",
"title": "หมู่เกาะเติกส์และเคคอส"
},
{
"docid": "67502#0",
"text": "เวอไรซอนไวร์เลสส์ (Verizon Wireless) เป็นผู้ให้บริการสัญญาณเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองของสหรัฐอเมริกา รองจากเอทีแอนด์ทีไวร์เลสส์ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองบาสกิ้งริดจ์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ โดยให้บริการผู้ใช้บริการประมาณ 57 ล้านคน และมีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมมากที่สุด บริษัทเกิดจากการร่วมทุนระหว่างเวอไรซอนคอมมิวนิเคชัน ผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของสหรัฐอเมริกา และโวดาโฟน ผู้ให้บริการโทรศัพท์ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลกของอังกฤษ ในอัตราส่วน 55 ต่อ 45",
"title": "เวอไรซอนไวร์เลสส์"
},
{
"docid": "915552#15",
"text": "ในช่วงปีพ.ศ. 2520 - 2540 บริษัทเอกชนจะได้รับสัมปทานสำหรับให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดย ทีโอที และ กสท. ก่อนที่จะเปลี่ยนผ่านการอนุญาตให้บริการจากระบบสัมปทานเป็นขอใบอนุญาตในปี 2545 - 2546 ตามพระราชบัญญัติองค์การจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมฉบับที่ 1 และจัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นเพื่อกำกับดูแลคลื่นความถี่ของชาติ[4] การจัดการที่สำเร็จครั้งแรกได้แก่การจัดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติโดยคณะกรรมการ กสทช. ในปี 2555 โดยจัดสรรคลื่นความถี่ช่วง 2100 ความกว้าง 15 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 3 ใบอนุญาต โดยทั้งสามผู้ให้บริการรายใหญ่ได้ไปรายละ 1 ใบอนุญาต",
"title": "โทรคมนาคมในประเทศไทย"
},
{
"docid": "5708#15",
"text": "ต่อมาในวันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 บจก.วัชรพล ก่อตั้ง<i data-parsoid='{\"dsr\":[11274,11304,2,2]}'>บริษัท เทรนด์ วีจี 3 จำกัด ขึ้นเป็นกิจการในเครือ สำหรับดำเนินธุรกิจสื่อประสม ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คือเว็บไซต์ ไทยรัฐออนไลน์ (www.thairath.co.th), บริการข้อความสั้นผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่, สื่อดิจิตอลหลายรูปแบบ รวมถึงให้บริการรับส่งข้อมูลภาพและเสียง, บริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในเชิงพาณิชย์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งในและต่างประเทศ โดยมีหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารหลัก[14] และมีการจัดทำแอปพลิเคชัน สำหรับระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพาได้แก่ ไอโอเอส แอนดรอยด์ แบล็คเบอร์รี โอเอส วินโดวส์โฟน รวมถึงวินโดวส์ 8 และวินโดวส์ อาร์ทีอีกด้วย โดยแอปพลิเคชันไทยรัฐในอุปกรณ์ไอแพด ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง จากการประกาศผลรางวัลสื่อดิจิตอลยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย ครั้งที่ 3 ในการสัมมนาสื่อดิจิตอลแห่งเอเชีย ซึ่งจัดโดยสมาคมหนังสือพิมพ์และผู้ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์โลก",
"title": "ไทยรัฐ"
},
{
"docid": "363968#56",
"text": "บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และโทรศัพท์พี้นฐานได้รับผลกระทบอย่างมากในพื้นที่ที่มีแผ่นดินไหว ในวันที่เกิดแผ่นดินไหวนั้น บริษัทกระจายเสียงอเมริกัน เอ็นพีอาร์ ไม่สามารถติดต่อใครในเซ็นไดผ่านโทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ตได้เลย บริการอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ที่สาธารณูปโภคพื้นฐานยังคงมีอยู่ แม้แผ่นดินไหวจะสร้างความเสียหายแก่ระบบเคเบิลใต้ทะเลหลายส่วนที่นำขึ้นบกในพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบ ระบบเหล่านี้สามารถเลี่ยงส่วนที่ได้รับผลกระทบไปยังส่วนที่ซ้ำซ้อนกันแทนได้ ในญี่ปุ่น มีเพียงไม่กี่เว็บไซต์เท่านั้นที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ในตอนแรก ผู้ให้บริการฮอตสปอตวายฟายหลายแห่งได้รับมือกับเหตุแผ่นดินไหวโดยให้บริการเข้าถึงเครือข่ายของพวกเขาฟรี และผู้ให้บริการทางโทรคมนาคมและวีโอไอพีอเมริกัน อาทิ เอทีแอนด์ที สปรินท์ เวอไรซอน ที-โมไบล์ และบริษัทวีโอไอพี อาทิ เน็ตทอล์ก และโวแนจ เสนอให้โทรศัพท์ไปญี่ปุ่นได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในเวลาที่กำหนด (บางบริษัทรวมทั้งโทรศัพท์กลับด้วย) เช่นเดียวกับบริษัทด็อยซ์ส เทเลคอมของเยอรมนีด้วย",
"title": "แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "180640#0",
"text": "เทลส์รันเนอร์ (, , ) คือ เกมออนไลน์หลายผู้เล่น ให้บริการโดยบริษัท Rhaon Entertainment ของเกาหลีใต้ โดยมีบริษัท NOWCOM เป็นตัวแทนเผยแพร่นอกเกาหลีใต้ โดยเทลส์รันเนอร์เปิดให้บริการในหลายประเทศ ได้แก่ ฮ่องกง ไต้หวัน ไทย ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา แคนาดา สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย โดยแต่ละประเทศจะมีเซิร์ฟเวอร์เป็นของตนเอง (ไม่สามารถเล่นในเซิร์ฟเวอร์ของประเทศอื่นได้)\n\"เทลส์รันเนอร์\" มีลักษณะผสมกันของเกมสังคม แฟนตาซีและเกมแข่งขัน ผู้เล่นจะต้องทำการแข่งขันโดยการวิ่ง กระโดด พุ่งชน สกี และปีนข้ามสิ่งกีดขวางซึ่งเป็นเวทมนตร์ในเทพนิยาย ตัวเกมตั้งอยู่บนพื้นฐานของเทพนิยายตะวันออกและตะวันตกผสมผสานกัน นอกจากนี้ เกมเทลส์รันเนอร์ยังได้รับการตอบรับในหลายประเทศ รวมถึงที่ประเทศฮ่องกง ที่ได้มีการเชิญนางแบบที่มีชื่อเสียงอย่าง หวง จื่อเฟย มาร่วมแต่งคอสเพลย์ในกิจกรรมที่จัดขึ้นใน ค.ศ. 2007 ",
"title": "เทลส์รันเนอร์"
},
{
"docid": "418420#3",
"text": "ในช่วงระหว่างปี 2535-2539 เป็นยุคเฟื่องฟูของธุรกิจโทรคมนาคมไทย รัฐบาลได้เปิดสัมปทานให้เอกชนมาลงทุนด้านโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์เคลื่อนที่ และบริการสื่อสารใหม่ๆ ทำให้บริษัทเอกชนหลายแห่งต่างกู้เงินทั้งในและต่างประเทศมาลงทุนเป็นจำนวนมาก ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้เข้ามาแข่งขันกับต่างประเทศและชนะการประมูล โดยศุภชัย ได้เข้ามาบุกเบิกธุรกิจนี้ของเครือ ในชื่อ บริษัท เทเลคอม เอเชีย จำกัด (มหาชน) หรือทีเอ [4]",
"title": "ศุภชัย เจียรวนนท์"
},
{
"docid": "42279#6",
"text": "LTC เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Shenington กับรัฐบาลลาว ในสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 49 และ 51 ตามลำดับ เพื่อดำเนินกิจการให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมแบบครบวงจรในประเทศลาว โดยมีบริการต่างๆประกอบด้วยบริการโทรศัพท์พื้นฐานระบบ Public Switched Telephone Network (PSTN), บริการโทรศพท์เคลื่อนที่ทั้ง Postpaid และ Prepaid ในระบบ GSM 900, International Direct Dialing (IDD), โทรศัพท์สาธารณะ วิทยุติดตามตัว และบริการอินเทอร์เน็ต",
"title": "ไทยคม (บริษัท)"
}
] |
316 | วันเดอร์เกิลส์ เป็นวงหญิงล้วนใช่ไหม ? | [
{
"docid": "522881#0",
"text": "ต่อไปนี้เป็นรายชื่อผลงานเพลงของวันเดอร์เกิลส์ (Wonder Girls) วงดนตรีหญิงล้วนสัญชาติเกาหลีใต้",
"title": "รายชื่อผลงานเพลงของวันเดอร์เกิลส์"
},
{
"docid": "519234#0",
"text": "อัน โซ-ฮี (; 27 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – ) หรือชื่อในการแสดงว่า โซฮี (Sohee) เป็นไอดอล นักร้อง นักแสดง นักเต้น นางแบบ และพิธีกรชาวเกาหลีใต้ มีชื่อจากการเป็นสมาชิกวงดนตรีหญิงล้วนวันเดอร์เกิลส์ของค่ายเจวายพีเอนเตอร์เทนเมนต์",
"title": "โซฮี"
}
] | [
{
"docid": "982168#9",
"text": "ซิงเกิลสุดท้าย \"เวนไอคัมอะราวด์\" ก็ได้รับแรงบันดาลใจจากผู้หญิง แต่ครั้งนี้เกี่ยวกับภรรยาเก่าของอาร์มสตรอง เอเดรียน หลังจากที่ทั้งคู่ได้ทะเลาะกัน อาร์มสตรองได้ทิ้งเอเรียนมาอยู่คนเดียวในบางครั้ง มิวสิกวิดีโอมีสมาชิกวง 3 คน เดินไปมาในยามค่ำคืนที่เบิร์กลีย์ และซานฟรานซิสโก จนตอนจบกลับมายังสถานที่เดิม สมาชิกในภายภาคหน้าของวงกรีนเดย์ เจสัน ไวต์ ปรากฏตัวในมิวสิกวิดีโอนี้ด้วยกับแฟนสาวเขาตอนนั้น เพลงนี้เป็นซิงเกิลแรกของวงที่ติดท็อป 10 โดยติดอันดับ 6 บนชาร์ตฮอต 100 แอร์เพลย์ และขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ตมอเดิร์นร็อกแทร็กส์เป็นเวลา 7 อาทิตย์ (นานกว่า \"บาสเกตเคส\" 2 อาทิตย์) ยังขึ้นอันดับ 2 ทั้งชาร์ตเมนสตรีมร็อก และเมนสตรีมท็อป 40 เพลง \"คัมมิงคลีน\" (Coming Clean) พูดเนื้อหาเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งเรื่องรักร่วมสองเพศของเขาเมื่อตอนอายุ 16 และ 17 ปี ในการสัมภาษณ์กับนิตยสาร \"ดิแอดโวเคต\" เขากล่าวว่า ถึงแม้ว่าเขาจะไม่เคยมีความสัมพันธ์กับผู้ชาย แต่เพศสภาพของเขา \"เป็นอะไรที่เขาต้องต่อสู้กับตัวเอง\" บิลลี โจ อาร์มสตรอง เขียนเพลง \"อินดิเอนด์\" (In the End) ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับแม่ของเขาและสามีของเธอ เขาพูดไว้ว่า \"เพลงนี้เกี่ยวกับสามีของแม่ผม เพลงนี้ค่อนข้างไม่เกี่ยวกับผู้หญิง หรือใครบางคนที่ไม่เกี่ยวกับผมโดยตรงในด้านความสัมพันธ์ อินดิเอนด์จึงเป็นเรื่องราวของแม่ผม\"",
"title": "ดูกี"
},
{
"docid": "69792#0",
"text": "วันเดอร์วูแมน () หรือ \"สาวน้อยมหัศจรรย์\" เป็นตัวละครการ์ตูนจาก ดีซีคอมมิกส์ เป็นหญิงสาวเผ่าอเมซอนจากดินแดนที่มีชื่อว่า \"เทอมิสกีร่า\" เกาะสวรรค์ที่ไม่มีผู้ชายอยู่อาศัยเลย วันเดอร์วูแมน มีพลังพิเศษคล้ายกับซูเปอร์แมนโดยการรับพรจากเทพเจ้ากรีก ในชีวิตปกติเป็นหญิงสาวชื่อ ไดอาน่า พรินซ์ และมีศักดิ์เป็นเจ้าหญิงแห่งนครเทอมิสกีร่า หนังสือการ์ตูนวันเดอร์วูแมนถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1941 จากการออกแบบของ วิลเลี่ยม เมาล์ตัน มาร์สตัน (คนเดียวกับผู้คิดค้นเครื่องจับเท็จ).",
"title": "วันเดอร์วูแมน"
},
{
"docid": "272765#0",
"text": "เจ๊วิล คุณนายเกรซ เพื่อนกันไม่มีวันจบ หรือ วิลแอนด์เกรซ () เป็นรายการซีรีส์ทางโทรทัศน์อเมริกัน ออกฉายครั้งแรกทางสถานีเอ็นบีซี ตั้งแต่ปี 1998 ถึง 2006 มีเนื้อเรื่องเกิดขึ้นในนครนิวยอร์ก มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับวิล ทรูแมน ทนายหนุ่มผู้เป็นเกย์ กับเพื่อนซี้สาว เกรซ แอดเลอร์ สาวแท้เชื้อสายยิว ที่ทำธุรกิจส่วนตัวด้านการตกแต่งภายใน และยังมีเพื่อนอีกหลายคนอย่าง แคเรน วอล์กเกอร์ นักสังคมผู้ร่ำรวย แจ็ก แม็กฟาร์แลนด์ นักแสดง/นักร้อง/นักเต้น ผู้เป็นเกย์ ที่ทำอาชีพมาหลากหลายอาชีพ และโรซาริโอ ซาลาซาร์ แม่บ้านของแคเรน ที่มีความสัมพันธ์ที่ทั้งรักทั้งเกลียดเธอ",
"title": "เจ๊วิล คุณนายเกรซ เพื่อนกันไม่มีวันจบ"
},
{
"docid": "172905#0",
"text": "วันเดอร์เกิลส์ (; ) เป็นวงเกิร์ลกรุ๊ปสัญชาติเกาหลีใต้ ก่อตั้งวงโดย JYP Entertainment ไลน์สมาชิกในกลุ่มครั้งสุดท้ายประกอบด้วย ยูบิน, เยอึน, ซ็อนมี และ ฮเยริม สมาชิกก่อนหน้า ฮย็อนอา ออกจากวงในช่วงปลายปี 2007 โซฮี และ ซ็อนเย ออกจากวงอย่างเป็นทางการในปี 2015",
"title": "วันเดอร์เกิลส์"
},
{
"docid": "212336#0",
"text": "เดสทินีส์ไชลด์ () เป็นวงหญิงล้วนแนวอาร์แอนด์บี และป็อป มีสมาชิกคือ นักร้องนำ บียอนเซ่ โนวส์ เคลลี โรว์แลนด์ และ มิเชลล์ วิลเลียมส์ ออกผลงานอัลบั้มหลัก 4 สตูดิโออัลบั้ม และ มีซิงเกิลอันดับ 1 ในอเมริกา 4 ซิงเกิล รวมทั้งออกผลงานเดี่ยวแล้ว พวกเธอมียอดขาย 50 ล้านชุดทั่วโลก และ 17.5 ล้านชุดในสหรัฐอเมริกา และจากการอ้างโดยเวิลด์มิวสิกอวอร์ดส พวกเธอเป็นกลุ่มศิลปินหญิงที่ขายดีที่สุดตลอดกาล นิตยสารบิลบอร์ดจัดอันดับศิลปินกลุ่ม 3 คน พวกเธอก็เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ดนตรีที่ดีที่สุดตลอดกาล",
"title": "เดสทินีส์ไชลด์"
},
{
"docid": "172905#30",
"text": "วงประกอบด้วยสมาชิกห้าคนในช่วงเวลาของการเปิดตัวในปี 2007 ได้แก่ ซ็อนเย , โซฮี , ฮยอนอา , ซ็อนมี และ เยอึน ไม่นานหลังจากนั้นในปีเดียวกันฮยอนอาก็ได้ออกจากกลุ่มเนื่องจากปัญหาเรื่องสุขภาพของเธอซึ่งนำไปสู่การเพิ่ม ยูบิน แทน และต่อมาในปี 2010 ซ็อนมี ได้ถอนตัวออกจากวงเพื่อกลับไปศึกษาต่อ และเด็กฝึกหัด ฮเยริม ได้รับเลือกให้ทำหน้าที่แทนเธอ โซฮีออกจากวงในช่วงปลายปี 2013 หลังจากหมดสัญญากับ JYP Entertainment ในขณะที่ ซ็อนเย ออกจากวงในช่วงปลายปี 2014 วงได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม 2015 สำหรับการคัมแบคของวง ในปี 2015 ซ็อนมี ได้กลับมาร่วมวงและทำหน้าที่เป็นสมาชิกร่วมกับ เยอึน , ยูบิน และ ฮเยริม และต่อมา วันเดอร์เกิลส์ยังคงเป็นวงในรูปแบบวงดนตรีสี่คนจนกระทั่งยุบวงในปี 2017\nสมาชิกวันเดอร์เกิลส์ เป็นที่รู้จักกันในชื่อภาษาอังกฤษได้แก่ Sun , Yenny , Yubin , Mimi , Lim , Sohee และ HyunA",
"title": "วันเดอร์เกิลส์"
},
{
"docid": "343964#0",
"text": "น้ำใสใจจริง เดอะมิวสิกัล เป็นละครเพลงสามองก์ของค่ายดรีมบอกซ์ ดัดแปลงจากนวนิยายเรื่อง น้ำใสใจจริง ของ ว. วินิจฉัยกุล (คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์) เปิดการแสดงครั้งแรกที่โรงละครเอ็มเธียเตอร์ ระหว่างวันที่ 20-22, 27-29 สิงหาคม และ 3-5 กันยายน 2553 รวมทั้งหมด 12 รอบ ในละครเพลงเรื่องนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่นวนิยายของ ว. วินิจฉัยกุล จะได้รับการนำมาจัดแสดงเป็นละครเพลง ผู้กำกับการแสดง สุวรรณดี จักราวรวุธ เล่าไว้ในสูจิบัตรว่า “ น้ำใสใจจริง เป็นอีกหนึ่งผลงานที่อยู่ในแผนงานของดรีมบอกซ์มาเนิ่นนาน เนื่องด้วยความยากลำบากของการคัดเลือกกลุ่มนักแสดงหลักให้ได้ใกล้เคียงบทประพันธ์ที่สุด ละครเรื่องนี้ไม่ได้เป็นละครร้องตลอดเรื่องเหมือนที่ผ่านมา แต่ก็มีจำนวนเพลงกว่า 30 เพลง ซึ่งต้องใช้นักร้องนักแสดงที่อยู่ในวัยไล่เลี่ยกัน และมีทักษะ บุคลิกภาพที่หลากหลาย แต่ผสมผสานเป็นหนึ่งเดียวกันได้...” ส่วนสุธี แสงเสรีชน ในฐานะผู้ประพันธ์ทำนอง อธิบายเรื่องเพลงของน้ำใสใจจริงไว้ว่า “สไตล์เพลงในยุคสมัยของเรื่องจะอยู่ในช่วงปลาย 60’s ซึ่งช่วงนั้นมีทั้ง Swing/Big Band, Rock&Roll, Folk Rock, R&B และยุคต้นของ Disco และในไทยก็จะเป็นเพลงลูกกรุง ลูกทุ่ง วงสตริงคอมโบ้ และโฟล์คซอง ผมค่อนข้างโชคดีที่ได้มีโอกาสเติบโตมากับเพลงยุคนั้นด้วย ได้สัมผัสมาบ้าง ก็ดึงเอาเสน่ห์ของเพลงเหล่านั้นมาผสมผสานให้ร่วมสมัย...”",
"title": "น้ำใสใจจริง เดอะ มิวสิคัล"
},
{
"docid": "820590#5",
"text": "กะเทยแต่งชายร่างท้วม น้ำเสียงทรงพลัง มีดีกรีเป็นนางโชว์ “ตัวแม่” แต่ด้วยความป็นคนรักสนุก และทนงตนกับเสียงสวรรค์ที่มี เคนจึงตัดสินใจลาออกจากผับแบบไม่คิดหน้าคิดหลัง จนทำให้เคนต้องตกงาน และใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก แต่วันหนึ่งโชคชะตาก็ทำให้เคนได้มาเจอกับริน เคนจึงคิดแผนให้รินปลอมตัวเป็นกะเทย ไปประกวด Miss Queen Beauty 2017 หลังซินคว้ารางวัลมาได้ เคนจึงเป็นทั้งผู้จัดการส่วนตัว และพี่สาวของรินในที่สุด",
"title": "ชายไม่จริง หญิงแท้"
},
{
"docid": "120858#0",
"text": "วีนัส บัตเตอร์ฟลาย (Venus Butterfly) กลุ่มศิลปินหญิงล้วนซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 5 คน คือ โหน่ง, เหน่ง, เคธี่, ตาล และอ๋อม Venus Butterfly คือชื่อวงดนตรีหญิงล้วนที่เล่นเพลงร็อก มีจุดกำเนิดเมื่อแปดปีก่อน เมื่อ 'โหน่ง – พิมพ์ลักษณ์ กมลเพชร' ได้รับเชิญให้ขึ้นไปร้องเพลงในงานการกุศลที่มหาวิทยาลัยซึ่งเธอศึกษาอยู่จัดขึ้น ด้วยความรู้สึกที่ไม่อยากขึ้นไปครวญเพลงคลอดนตรีตามลำพัง เธอจึงเอ่ยปากชวน 'เคที่ – คทรีนา กลอส' เพื่อนสนิทให้ขึ้นไปแจมด้วยกัน และความรู้สึกสนุกก็ลากไกลไปถึงระดับที่ต้องการจะฟอร์มวงดนตรีหญิงล้วนขึ้นไปแสดงบนเวทีเลยทีเดียว",
"title": "วีนัส บัตเตอร์ฟลาย"
}
] |
2054 | โทรทัศน์ใช้คลื่นสัญญาณอะไร ? | [
{
"docid": "137600#1",
"text": "คลื่น MMDS ใช้ความถี่ของไมโครเวฟ ระยะตั้งแต่ 2-3 กิกะเฮิร์ตซ์ การรับสัญญาณคลื่นโทรทัศน์ ทำได้โดยใช้เสาไมโครเวฟแบบพิเศษ ที่ติดอยู่บนหลังคา แล้วโยงเข้ากับกล่องรับสัญญาณ สำหรับเชื่อมต่อกับเครื่องรับโทรทัศน์ ซึ่งมีรูปแบบคล้ายกับกล่องรับสัญญาณเคเบิลระบบอนาล็อก เช่นเดียวกับโทรทัศน์บอกรับเป็นสมาชิก",
"title": "บริการกระจายสัญญาณแบบหลายจุดหลายช่อง"
},
{
"docid": "251257#5",
"text": "การใช้คลื่นความถี่ระบบวีเอชเอฟในประเทศไทย แบ่งเป็น \"การส่งวิทยุกระจายเสียง\" ด้วยระบบเอฟเอ็ม สเตอริโอ มัลติเพล็กซ์ ในช่วงความถี่ระหว่าง 87.5-108.0 เมกะเฮิร์ตซ์ และ \"การส่งวิทยุโทรทัศน์\" ในช่วงความถี่ระหว่างช่องสัญญาณที่ 2-12 รวมทั้งสิ้น 11 ช่อง ออกอากาศโดยใช้กำลังส่งภาพระหว่าง 30-300 กิโลวัตต์, กำลังส่งเสียงระหว่าง 1-10 กิโลวัตต์, ความถี่ภาพระหว่าง 40-250 เมกะเฮิร์ตซ์ และ ความถี่เสียงระหว่าง 40-260 เมกะเฮิร์ตซ์",
"title": "วีเอชเอฟ"
},
{
"docid": "43460#20",
"text": "และเมื่อ กสทช.อนุญาตให้แต่ละบริษัท ซึ่งจะรับมอบใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ ดำเนินการทดสอบสัญญาณ ผ่านอุปกรณ์รวมส่งสัญญาณ (MUX) ของผู้ให้บริการโครงข่าย ระหว่างวันที่ 1-24 เมษายน ปีเดียวกัน บีอีซี-มัลติมีเดีย ดำเนินการทดลองออกอากาศ รายการทั้งหมดจากไทยทีวีสีช่อง 3 ในระบบแอนะล็อก โดยคู่ขนานไปทั้ง 3 ช่องรายการในส่วนของบริษัทฯ และตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557 ซึ่ง กสทช.กำหนดเป็นวันเริ่มต้น ออกใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ บีอีซี-มัลติมีเดีย ก็เริ่มออกอากาศรายการต่าง ๆ ตามผังที่กำหนดของแต่ละช่องทั้ง 3 ระหว่างเวลา 16:00 - 00:00 น. ของทุกวัน เนื่องจากผู้รับสัมปทานช่องสัญญาณที่ 32 ของโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเดิม ในชื่อไทยทีวีสีช่อง 3 คือ บจก.บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ เป็นคนละนิติบุคคลกับ ผู้รับใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ทั้ง 3 ของโทรทัศน์ระบบดิจิทัล คือ บจก.บีอีซี-มัลติมีเดีย จึงไม่สามารถนำรายการทั้งหมด จากช่องโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเดิม มาออกอากาศคู่ขนาน ทางช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัลทั้ง 3 ดังที่ดำเนินการมาในระยะทดสอบสัญญาณได้",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3"
},
{
"docid": "141190#17",
"text": "เป็นการจัดตั้งสถานีเครื่องส่งสัญญาณโทรทัศน์ในจังหวัดหรืออำเภอต่างๆ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง โดยใช้คลื่นความถี่ยูเอชเอฟ (UHF) ทางช่อง 29 (จากสถานีที่กรุงเทพมหานคร) และใช้มาตรฐานของ Video ระบบ PAL G ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน CCIR โดยช่องสัญญาณย่านความถี่ UHF สำหรับกิจการโทรทัศน์ในประเทศไทยได้จัดสรรไว้ที่ย่านความถี่ที่ 4 ถึง 5 ตั้งแต่ช่องที่ 26 ถึง 60 หรือมีความถี่อยู่ระหว่าง 510 ถึง 790 MHz.",
"title": "สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส"
},
{
"docid": "529232#0",
"text": "โทรทัศน์ในประเทศไทย ออกอากาศทางภาคพื้นดินเป็นช่องทางหลัก โดยแพร่ภาพผ่านคลื่นวิทยุ ซึ่งระยะแรกที่ออกอากาศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 เริ่มใช้ย่านความถี่สูงมาก (Very High Frequency; VHF) ซึ่งประกอบด้วย ช่วงความถี่ต่ำ (low band) คือช่องสัญญาณที่ 2-4 และช่วงความถี่สูง (high band) คือช่องสัญญาณที่ 5-12 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2538 จึงเริ่มใช้ย่านความถี่สูงยิ่ง (Ultra High Frequency; UHF) คือช่องสัญญาณที่ 26-60 (ช่วงความถี่ต่ำ (low band) คือช่องสัญญาณที่ 26-34 และช่วงความถี่สูง (high band) คือช่องสัญญาณที่ 35-60) ทั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มออกอากาศ จนถึง พ.ศ. 2517 ใช้ระบบสัญญาณแอนะล็อก ในการส่งแพร่ภาพขาวดำ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที (National Television System Committee; NTSC) ซึ่งกำหนดขึ้นโดย คณะกรรมการสื่อสารแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (Federal Communications Committee; FCC ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเต็มเป็น Federal Communications Commission) ต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 จึงเริ่มนำระบบการส่งแพร่ภาพ 625 เส้นต่อภาพ 25 ภาพต่อวินาที (Phase Alternating Line; PAL) ซึ่งกำหนดขึ้นโดย คณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติว่าด้วยคลื่นวิทยุ (Consultative Committee on International Radio; CCIR ปัจจุบันคือ ภาควิทยุคมนาคมโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ International Telecommunication Union Radiocommunication Sector; ITU-R) เข้ามาใช้ในประเทศไทย และเริ่มออกอากาศด้วยภาพสี ภายใต้ระบบดังกล่าวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน",
"title": "โทรทัศน์ในประเทศไทย"
}
] | [
{
"docid": "76087#1",
"text": "บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television Services) เป็นการดำเนินงานออกอากาศวิทยุโทรทัศน์ ด้วยการส่งสัญญาณคลื่นไปตามอากาศ (มิใช่ส่งขึ้นสู่ชั้นอวกาศ) ซึ่งสามารถใช้เสาอากาศรับสัญญาณคลื่นดังกล่าว เพื่อใช้เครื่องรับโทรทัศน์แปลงเป็นสัญญาณโทรทัศน์เพื่อรับชมได้ทันที โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อเข้าถึงการรับชมแต่อย่างใด",
"title": "สถานีโทรทัศน์"
},
{
"docid": "623824#0",
"text": "โลก้า () เป็นช่องโทรทัศน์โทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ต่อจากช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ซึ่งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ออกใบอนุญาตประกอบกิจการ ประเภทรายการเด็กและครอบครัว ให้แก่บริษัท ไทยทีวี จำกัด เป็นผู้ใช้คลื่นความถี่ทางช่องหมายเลข 15 เริ่มทดลองออกอากาศเมื่อวันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 และเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน ปีเดียวกัน จากนั้น บริษัท เอ็มวีเทเลวิชัน (ประเทศไทย) จำกัด เข้าร่วมผลิตรายการเป็นส่วนมาก ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 พร้อมทั้งออกอากาศคู่ขนาน ผ่านเครือข่ายโทรทัศน์ดาวเทียม โดยทาง กสทช.อนุมัติให้ตามข้อเสนอดังกล่าว ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม ปีเดียวกัน เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เคยออกอากาศทีวีดิจิตอล มานาน 1 ปี",
"title": "เอ็มวีทีวีแฟมิลี"
},
{
"docid": "563871#18",
"text": "ช่องทีวีแอนะล็อกจะใช้ความถี่กว้าง 6 MHz ในระบบ NTSC, หรือความถี่กว้าง 8 MHz ในระบบ PAL หรือระบบ SECAM แต่ละช่องอยู่ที่จุดกึ่งกลางของความถี่คลื่นพาหะที่เฉพาะเจาะจงเพื่อให้มีการรบกวนกับช่องหรือฮาโมนิคที่อยู่ติดกัน. เพื่อให้สามารถดูช่องสัญญาณในระบบดิจิตอล, อุปกรณ์ที่บ้านหรือในสถานที่ของลูกค้า (customer-premises equipment, CPE) เช่น โทรทัศน์ดิจิตอล, คอมพิวเตอร์หรือ set-top box จะต้องแปลงสัญญาณ RF ให้เป็นสัญญาณที่เข้ากันได้กับอุปกรณ์แสดงผลเช่นโทรทัศน์แอนะล็อกหรือจอคอมพิวเตอร์ การสื่อสารของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FCC) ได้ตัดสินว่าผู้บริโภคสามารถได้รับบัตรเคเบิลจาก MSO ท้องถิ่นของพวกเขาเพื่ออนุญาตให้สามารถดูช่องดิจิตอลได้",
"title": "เครือข่ายผสมไฟเบอร์โคแอคเชียล"
},
{
"docid": "563871#19",
"text": "โดยการใช้เทคนิคการบีบอัดดิจิตอล, ช่องทีวีหลายมาตรฐาน(NTSC, PAL) และช่องทีวีความละเอียดสูงสามารถถูกขนส่งด้วยความถี่ของคลื่นพาหะที่ความถี่ 6 หรือ 8 MHz ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความจุในช่องทางการขนส่งของเครือข่าย HFC ถึง 10 เท่าหรือมากกว่าเมื่อเทียบกับเครือข่ายแบบแอนะล็อกทั้งหมด พึงสังเกตว่าจูนเนอร์แบบดิจิตอล (เช่นกล่องทีวี set-top box) จะไม่จำเป็นสำหรับมาตรฐานช่องทีวีแอนะล็อกเนื่องจากโทรทัศน์ส่วนใหญ่ได้ติดตั้งจูนเนอร์แบบแอนะล็อกซึ่งสามารถถอดรหัสสัญญาณ เว้นแต่บางส่วนของ scrambling ถูกนำมาใช้",
"title": "เครือข่ายผสมไฟเบอร์โคแอคเชียล"
},
{
"docid": "182492#12",
"text": "ศูนย์ควบคุมข่าย “สายลม” ใช้เสาสายอากาศที่มีความสูงมาก อยู่ในที่โล่งแจ้งพอสมควร จึงประสบปัญหาเรื่องอสุนีบาต หรือ ฟ้าลง เป็นประจำ ในขณะที่ฝนฟ้าคะนองรุนแรง เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ บางคนอยู่ในอาการหวาดผวา ไม่อยากที่จะปฏิบัติหน้าที่ติดต่อกับสถานีลูกข่ายในสภาพอากาศเช่นนั้น ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานคำแนะนำที่เป็นหลักวิชา ข้อปฏิบัติ และวิธีการป้องกันฟ้าผ่าให้เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ ได้มีความรู้และเข้าใจ เช่น การปรับปรุงระบบสายดิน ฯลฯ",
"title": "กิจการวิทยุอาสาสมัคร"
},
{
"docid": "773409#0",
"text": "การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางสูติศาสตร์เป็นการใช้การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในการตั้งครรภ์ ซึ่งใช้คลื่นเสียงสร้างภาพเรียลไทม์ของเอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ที่กำลังเจริญในมดลูก (ครรภ์) มารดา กระบวนการดังกล่าวเป็นส่วนมาตรฐานของการดูแลก่อนกำเนิดในหลายประเทศ เพราะให้สารสนเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพของมารดา กำหนดเวลาและความคืบหน้าของการตั้งครรภ์ และสุขภาพและการเจริญของเอ็มบริโอหรือทารกใครรภ์",
"title": "การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางสูติศาสตร์"
}
] |
2879 | สงครามนางงาม Beauty and the Bitches เป็นละครที่ออกอากาศครั้งแรกเมื่อใด ? | [
{
"docid": "650167#1",
"text": "สงครามนางงามออกอากาศให้ชมทุกคืนวันศุกร์-เสาร์ เวลา 22:15 - 23:15 น. (วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึง วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558) และเวลา 22:20 - 23:20 น. (วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558 ถึง วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ทางช่องวัน รวมทั้งสิ้น 37 ตอน และยังมีการออกอากาศตอนพิเศษทั้งหมด 4 ตอน ได้แก่ สงครามนางงามสเปเชียล ในวันที่ 2 และวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2558 และ กว่าจะมาเป็นสงครามนางงาม ในวันที่ 14 และวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 และได้มีการวางแผนกับทีมเขียนบทละครในการจัดสร้างละคร สงครามนางงาม ซีซั่น 2 อีกด้วย",
"title": "สงครามนางงาม"
}
] | [
{
"docid": "650167#0",
"text": "สงครามนางงาม Beauty and the Bitches เป็นละครชุดแนวโมเดิร์นเรียลลิตี้ดราม่า ผลิตโดย บริษัท ซีเนริโอ จำกัด โดยเป็นละครที่จะตีแผ่เบื้องหลังวงการขาอ่อนที่ทุกคนไม่เคยได้รับรู้ กำกับการแสดงโดย นิพนธ์ ผิวเณร และสร้างบทโทรทัศน์โดย ชวนนท์ สารพัฒน์, วรรณถวิล สุขน้อย, รฐาพัชร์ ตุลยพิทักษ์, มิกิ ยามาโตริ นำแสดงโดย เมทินี กิ่งโพยม และนักแสดงอื่นๆ อีกมากมาย รวมถึงยังเป็นละครที่แจ้งเกิดให้กับนักแสดงสาวแท้และสาวเทียมหน้าใหม่อีกเป็นจำนวนมาก",
"title": "สงครามนางงาม"
},
{
"docid": "960783#0",
"text": "สงครามล่ามนุษย์กลายพันธุ์ ฤดูกาลที่ 1 (อังกฤษ: The Gifted Season 1) เป็นละครโทรทัศน์ทริลเลอร์ภาคที่ 1 ในละครชุด สงครามล่ามนุษย์กลายพันธุ์ ซึ่งมีเค้าโครงเรื่องมาจากหนังสือการ์ตูนของมาร์เวลคอมมิกส์ เรื่อง เอ็กซ์เมน ออกอากาศทางช่อง Fox ในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 2016 เป็นตอนแรก ส่วนในไทยจะออกอากาศทางช่อง โมโน 29 และเมื่อละครซีรีส์เรื่องนี้ออกอากาศจบลง ละครเรื่องนี้ออกอากาศต่อจากละครเรื่อง แก๊งมือปราบพิฆาตทรชน ฤดูกาลที่ 2 และเมื่อละครซีรีส์เรื่องนี้ออกอากาศจบลง ละครเรื่องต่อไปที่ออกอากาศต่อคือ พยัคฆ์ร้ายระห่ำโลก ฤดูกาลที่ 2",
"title": "สงครามล่ามนุษย์กลายพันธุ์ ฤดูกาลที่ 1"
},
{
"docid": "270706#0",
"text": "สวรรค์เบี่ยง เป็นบทประพันธ์ของกฤษณา อโศกสิน ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์แล้วอีก 5 ครั้งโดยครั้งแรก ในรูปแบบภาพยนตร์ นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา กับ เพชรา เชาวราษฎร์ออกฉายเมื่อปี 2513 และต่อมาถูกนำมาสร้างเป็นละคร ในปี 2514 ทางช่อง 4 (สายัณห์ จันทรวิบูลย์ กับ นันทวัน เมฆใหญ่) ในปี 2519 ทางช่อง 9 (อัศวิน รัตนประชา กับ เดือนเต็ม สาลิตุล) ในปี 2531 ทางช่อง 7 (ยุรนันท์ ภมรมนตรี กับ มนฤดี ยมาภัย) ในปี 2541 ทางช่อง 7 (ดนุพร ปุณณกันต์ กับ สุวนันท์ คงยิ่ง) และในปี 2551 ทางช่อง 3 (ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ กับ แอน ทองประสม)",
"title": "สวรรค์เบี่ยง"
},
{
"docid": "628267#0",
"text": "บาดาลใจ เป็นบทประพันธ์ของ กฤษณา อโศกสิน โดยถูกนำมาสร้างครั้งแรกในรูปแบบละครโทรทัศน์ ในปี พ.ศ. 2525 นำแสดงโดย นาท ภูวนัย และ ปวีณา ปิจเปี่ยมกิจ ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ต่อมาได้ถูกสร้างครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2536 นำแสดงโดย ยุรนันท์ ภมรมนตรี และ ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี และได้ถูกนำมาสร้างอีกครั้งในปี พ.ศ. 2551 นำแสดงโดย อธิชาติ ชุมนานนท์ และ ราศรี บาเล็นซิเอก้า ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3",
"title": "บาดาลใจ"
},
{
"docid": "68819#0",
"text": "มือถือไมค์ หัวใจปิ๊งรัก () หรือ มัธยมดนตรี เป็นภาพยนตร์เพลงอเมริกัน ได้รับรางวัลเอ็มมี ออกอากาศทางโทรทัศน์ครั้งแรกวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2549 ในประเทศสหรัฐอเมริกา ทางช่อง ดิสนีย์แชนแนล โดยเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดของค่ายดิสนีย์ รวมถึงภาคที่สอง (มือถือไมค์ หัวใจปิ๊งรัก 2) ซึ่งออกฉายในอเมริกาวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และ ภาคที่ 3 ซึ่งเป็นภาคแรกที่ทำขึ้นเพื่อออกฉายในโรงภาพยนตร์ ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2551 (ประเทศไทย) ส่วนภาคที่ 4 นั้นอยู่ในขั้นตอนของการเขียนบท นอกจากนี้ อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ยังเป็นอัลบั้มขายดีที่สุดในปี พ.ศ. 2549 อีกด้วย และในสัปดาห์แรกเมื่อดีวีดีมือถือไมค์ หัวใจปิ๊งรักวางจำหน่าย มียอดขายมากกว่า 1.5 ล้านแผ่น โดยภาพยนตร์นี้ถ่ายทำที่โรงเรียนมัธยมอีสต์ไฮ ในเมืองซอลต์เลกซิตี รัฐยูทาห์ หอประชุมของโรงเรียนมัธยมเมอร์เร่ย์ และใจกลางเมืองซอลต์เลกซิตี ในประเทศสหรัฐอเมริกา",
"title": "มือถือไมค์ หัวใจปิ๊งรัก"
},
{
"docid": "438376#2",
"text": "นวนิยายของบุษบาพาฝัน ที่ได้รับการสร้างเป็นละครโทรทัศน์เรื่องแรกคือเรื่อง \"เกมร้ายพ่ายเกมรัก\" ดำเนินงานโดย บริษัท ละครไท จำกัด ในปี พ.ศ. 2553 และได้ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2554 โดยเปลี่ยนชื่อเรื่องใหม่เป็น \"เกมร้ายเกมรัก\" นำแสดงโดย ณเดชน์ คูกิมิยะ, อุรัสยา เสปอร์บันด์ \n\"ปาฏิหาริย์รักข้ามขอบฟ้า\" เป็นนวนิยายไทย จากบทประพันธ์โดยนามปากกาของ \"บุษบาพาฝัน\" ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2558 เขียนบทโทรทัศน์โดย ปะณะ กำกับการแสดงโดย บัณฑิต ทองดี ดำเนินงานโดย บริษัท รักละคร จำกัด ควบคุมการผลิตโดย พลังธรรม กล่อมทองสุข นำแสดงโดย วฤษฎิ์ ศิริสันธนะ, ลักษณ์นารา เปี้ยทา และนักแสดงชั้นนำอีกมากมาย เริ่มออกอากาศตอนแรกวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เวลา 18.35 - 19.50 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (ออริจินัล) และทีวีดิจิตอล ช่อง 3 เอชดี ช่อง 33",
"title": "บุษบาพาฝัน"
},
{
"docid": "70553#0",
"text": "มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ หรือ เฟท/สเตย์ ไนท์ () เป็นเอโรเกะ สร้างโดยไทป์-มูน วางจำหน่ายครั้งแรกในปี 2547 ต่อมา สตูดิโอดีน ได้นำไปทำเป็นภาพยนตร์การ์ตูนฉายทางโทรทัศน์ โดยมีเจเนออนเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 6 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2549 นอกจากนี้ในปี 2550 ไทป์-มูน ได้นำมหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์มาสร้างใหม่สำหรับเครื่อง เพลย์สเตชัน 2 ภายใต้ชื่อ \"เฟท/สเตย์ ไนท์ [เรียลตา นัว]\" โดยตัดเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมสำหรับผู้เยาว์ออกทั้งหมด เฟท/สเตย์ ไนท์ ยังถูกดัดแปลงเป็นมังงะ ซึ่งในขณะนี้กำลังตีพิมพ์ลงในนิตยสารโชเน็นเอซ ฉบับรายเดือน",
"title": "มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์"
},
{
"docid": "70553#17",
"text": "เฟท/สเตย์ ไนท์ ในรูปแบบอะนิเมะ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2549 และสิ้นสุดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ความยาวทั้งหมด 24 ตอนโดย Studio DEEN ภายใต้ชื่อว่า Fate Project ด้วยความร่วมมือของ Geneon Entertainment, TBS,CREi,ไทป์-มูน และ Frontier Works Inc. ต่อมาก็ได้ออกอากาศอย่างเป็นสากลในช่อง อะนิแม็กซ์ ในปี 2550 อีกทั้งยังมีฉบับภาษาอังกฤษ เพื่อออกอากาศในเขต เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเดือน เมษายน ปี พ.ศ. 2550 พร้อมทั้งยังมีการเผยแพร่ลิขสิทธิ์ไปยัง อเมริกาเหนือ อีกด้วย ซึ่งเนื้อหาในอะนิเมะนั้นจะเน้นหนักไปในเนื้อหาของเกม ในส่วนของบท\"เฟท\" มีการเสริมเนื้อหาในส่วนของ \"อันลิมิเต็ด เบลด เวิร์คส\" และ \"เฮฟเว่นส ฟีล\" อีกด้วย แต่จะไม่เพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนของ \"เฟท/ฮอลโลว์ อทาราเซีย\" เลยแม้แต่นิดเดียว ซึ่งในฉบับอะนิเมะนี้ ก็ได้คุณ คาวาอิ เคนจิ ซึ่งเป็นผู้แต่งเพลงในซีรีส์ของเฟท ในต้นฉบับของเกม มาเป็นผู้แต่งเพลงให้ในฉบับอะนิเมะด้วย ซึ่งจะเห็นได้จากการนำซาวนด์แทร็กในเกม มารีมิกซ์ใหม่เพื่อใช้ในฉบับอะนิเมะโดยเฉพาะ อย่างเช่นเพลง \"Yakusoku Sareta Shouri No Tsurugi\"(約束されたの剣), \"Emiya\" และ \"This Illusion\" ซึ่งต่อมาได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น \"disillusion\" เพื่อใช้เป็นเพลงเปิดสำหรับฉบับอะนิเมะ",
"title": "มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์"
},
{
"docid": "711412#8",
"text": "\"มายาตวัน\" ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์เรื่องแรกผลิตโดยบริษัทกันตนา ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2538 ต่อมา \"มนต์จันทรา\" ถูกสร้างมาเป็นละครโทรทัศน์เรื่องที่สอง ออกอากาศครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2544 นำแสดงโดย ฉัตรชัย เปล่งพานิช, กัญญารัตน์ จิรรัชชกิจ ออกอากาศทางช่อง 3 และเรื่องสุดท้าย \"ฟ้ากระจ่างดาว\" ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2548",
"title": "3 ทหารเสือสาว (ละครโทรทัศน์)"
},
{
"docid": "2694#30",
"text": "เซนต์เซย์ย่าฉบับภาพยนตร์ ภาคสงครามสุริยเทพอาเบล () หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า \"Legend of Crimson Youth\" ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 มีเนื้อหาเกี่ยวกับ \"อาเบล เทพแห่งสุริยะ\" ผู้เป็นเสมือนพี่ชายของอาเธน่า ซึ่งต้องการให้โลกกลับมาสู่ยุคของเทพเจ้าอีกครั้งหนึ่ง เมื่ออาเธน่ารู้ถึงจุดประสงค์ของอาเบลก็พยายามขัดขวางเจตนาของอาเบลเพียงลำพังโดยการขับไล่พวกเซย์ย่าไม่ให้มาเกี่ยวข้องกับตน แต่อาเธน่าก็ถูกอาเบลสังหารเสียก่อน พวกเซย์ย่ารู้สึกว่ามีอะไรแอบแฝงอยู่จึงได้เดินทางมายังวิหารแห่งสุริยเทพ และต้องช่วยอาเธน่าให้ได้ก่อนที่วิญญาณของอาเธน่าจะเดินทางไปสู่หลุมดำนิรกาล เซย์ย่า ชิริว เฮียวกะ ชุน และอิคคิ ได้ต่อสู้กับเหล่าโคโรน่าเซนต์ และเหล่าโกลเซนต์ที่ถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งโดยอำนาจของอาเบล ในที่สุด ด้วยพลังคอสโมของพวกเซย์ย่าจึงสามารถปลุกอาเธน่าขึ้นมาอีกครั้ง และสังหารอาเบลลงได้โดยใช้ลูกศรทองคำแห่งชุดคลอธซาจิททาเรียส",
"title": "เซนต์เซย์ย่า"
}
] |
234 | กาลิเลโอ กาลิเลอี เกิดที่ไหน? | [
{
"docid": "15703#3",
"text": "เกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 ที่เมืองปิซา ประเทศอิตาลี เป็นบุตรคนโตในจำนวนบุตร 6 คนของวินเชนโซ กาลิเลอี นักดนตรีลูทผู้มีชื่อเสียง มารดาชื่อ จูเลีย อัมมันนาตี เมื่อกาลิเลโออายุได้ 8 ขวบ ครอบครัวได้ย้ายไปตั้งรกรากที่เมืองฟลอเรนซ์ แต่กาลิเลโอต้องพำนักอยู่กับจาโกโป บอร์กีนิ เป็นเวลาสองปี เขาเรียนหนังสือที่อารามคามัลโดเลเซ เมืองวัลลอมโบรซา ซึ่งอยู่ห่างจากฟลอเรนซ์ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 34 กิโลเมตร กาลิเลโอมีความคิดจะบวชตั้งแต่ยังหนุ่ม แต่เขาก็ได้สมัครเข้าเรียนวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยปิซาตามความต้องการของพ่อ กาลิเลโอเรียนแพทย์ไม่จบ กลับไปได้ปริญญาสาขาคณิตศาสตร์มาแทน ปี ค.ศ. 1589 เขาได้รับเลือกเป็นหัวหน้าวิชาคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยปิซา เมื่อถึงปี ค.ศ. 1591 บิดาของเขาเสียชีวิต กาลิเลโอรับหน้าที่อภิบาลน้องชายคนหนึ่งคือ มีเกลัญโญโล เขาย้ายไปสอนที่มหาวิทยาลัยแพดัวในปี ค.ศ. 1592 โดยสอนวิชาเรขาคณิต กลศาสตร์ และดาราศาสตร์ จนถึงปี ค.ศ. 1610 ในระหว่างช่วงเวลานี้ กาลิเลโอได้ทำการค้นพบที่สำคัญมากมาย ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (เช่น จลนศาสตร์การเคลื่อนที่ และดาราศาสตร์) หรือวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (เช่น ความแข็งของวัตถุ และการพัฒนากล้องโทรทรรศน์) ความสนใจของเขายังครอบคลุมถึงความรู้ด้านโหราศาสตร์ ซึ่งในยุคสมัยนั้นมีความสำคัญไม่แพ้คณิตศาสตร์หรือดาราศาสตร์ทีเดียว",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "15703#0",
"text": "กาลิเลโอ กาลิเลอี (; 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 - 8 มกราคม ค.ศ. 1642) เป็นชาวทัสกันหรือชาวอิตาลี ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ผลงานของกาลิเลโอมีมากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการพัฒนาเทคนิคของกล้องโทรทรรศน์และผลสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งานของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสอย่างชัดเจนที่สุด กาลิเลโอได้รับขนานนามว่าเป็น \"บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่\" \"บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่\" \"บิดาแห่งวิทยาศาสตร์\" และ \"บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ยุคใหม่\"",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
}
] | [
{
"docid": "15703#6",
"text": "ปี ค.ศ. 1612 เกิดการต่อต้านแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ปี ค.ศ. 1614 คุณพ่อโทมาโซ คัคชินิ ประกาศขณะขึ้นเทศน์ในโบสถ์ซานตามาเรียโนเวลลา กล่าวประณามแนวคิดของกาลิเลโอที่หาว่าโลกเคลื่อนที่ ว่าเขาเป็นบุคคลอันตรายและอาจเป็นพวกนอกรีต กาลิเลโอเดินทางไปยังโรมเพื่อต่อสู้ข้อกล่าวหา แต่ในปี ค.ศ. 1616 พระคาร์ดินัลโรแบร์โต เบลลาร์มีโน ได้มอบเอกสารสั่งห้ามกับกาลิเลโอเป็นการส่วนตัว มิให้เขาไปเกี่ยวข้องหรือสอนหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีดาราศาสตร์ของโคเปอร์นิคัสอีก ระหว่างปี 1621 ถึง 1622 กาลิเลโอเขียนหนังสือเล่มแรกของเขา คือ \"อิลซัจจาโตเร\" (; หมายถึง \"นักวิเคราะห์\") ต่อมาได้รับอนุญาตให้พิมพ์เผยแพร่ได้ในปี ค.ศ. 1623 กาลิเลโอเดินทางกลับไปโรมอีกครั้งในปี ค.ศ. 1630 เพื่อขออนุญาตตีพิมพ์หนังสือ \"Dialogue Concerning the Two Chief World Systems\" (\"บทสนทนาว่าด้วยโลกสองระบบ\") ต่อมาได้พิมพ์เผยแพร่ในฟลอเรนซ์ในปี 1632 อย่างไรก็ดี ในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้น เขาได้รับคำสั่งให้ไปให้การต่อหน้าศาลศาสนาที่กรุงโรม",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "15703#4",
"text": "แม้กาลิเลโอจะเป็นชาวคาทอลิกที่เคร่งครัด แต่เขากลับมีลูกนอกสมรส 3 คนกับมารินา แกมบา เป็นลูกสาว 2 คนคือ เวอร์จิเนีย (เกิด ค.ศ. 1600) กับลิเวีย (เกิด ค.ศ. 1601) และลูกชาย 1 คนคือ วินเชนโซ (เกิด ค.ศ. 1606) เนื่องจากลูกสาวทั้งสองเป็นลูกนอกสมรส จึงไม่สามารถแต่งงานกับใครได้ ทางเลือกเดียวที่ดีสำหรับพวกเธอคือหนทางแห่งศาสนา เด็กหญิงทั้งสองถูกส่งตัวไปยังคอนแวนต์ที่ซานมัตตีโอ ในเมืองอาร์เชตรี และพำนักอยู่ที่นั่นจวบจนตลอดชีวิต เวอร์จิเนียใช้ชื่อทางศาสนาว่า มาเรีย เชเลสเต เธอเสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1634 ร่างของเธอฝังไว้กับกาลิเลโอที่สุสานบาซิลิกาซานตาโครเช ลิเวียใช้ชื่อทางศาสนาว่า ซิสเตอร์อาร์แคนเจลา มีสุขภาพไม่ค่อยดีและป่วยกระเสาะกระแสะอยู่เสมอ ส่วนวินเชนโซได้ขึ้นทะเบียนเป็นบุตรตามกฎหมายในภายหลัง และได้แต่งงานกับเซสตีเลีย บอกกีเนรี",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "15703#8",
"text": "กาลิเลโอเป็นผู้ริเริ่มการทดลองทางวิทยาศาสตร์เชิงปริมาณซึ่งสามารถนำผลไปใช้ในการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ต่อได้โดยละเอียด การทดลองวิทยาศาสตร์ในยุคนั้นยังเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพอยู่มาก เช่นงานของวิลเลียม กิลเบิร์ตเกี่ยวกับแม่เหล็กและไฟฟ้า พ่อของกาลิเลโอ คือวินเชนโซ กาลิเลอี เป็นนักดนตรีลูทและนักดนตรีทฤษฎี อาจเป็นคนแรกเท่าที่เรารู้จักที่สร้างการทดลองแบบไม่เป็นเชิงเส้นในวิชาฟิสิกส์ขึ้น เนื่องจากการปรับตั้งสายเครื่องดนตรี ตัวโน้ตจะเปลี่ยนไปตามรากที่สองของแรงตึงของสาย ข้อสังเกตเช่นนี้อยู่ในกรอบการศึกษาด้านดนตรีของพวกพีทาโกเรียนและเป็นที่รู้จักทั่วไปในหมู่นักผลิตเครื่องดนตรี แสดงให้เห็นว่าคณิตศาสตร์กับดนตรีและฟิสิกส์มีความเกี่ยวพันกันมานานแล้ว กาลิเลโอผู้เยาว์อาจได้เห็นวิธีการเช่นนี้ของบิดาและนำมาขยายผลต่อสำหรับงานของตนก็ได้",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "15703#21",
"text": "ปี ค.ศ. 1619 กาลิเลโอมีเรื่องยุ่งยากในการโต้เถียงกับคุณพ่อออราซิโอ กราสซี ศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์แห่งวิทยาลัยเกรกอเรียนในลัทธิเยซูอิด เหตุเนื่องมาจากความเห็นขัดแย้งเกี่ยวกับธรรมชาติของดาวหาง เมื่อกาลิเลโอตีพิมพ์เผยแพร่ \"อิลซัจจาโตเร\" () ในปี ค.ศ. 1623 เป็นการวางหมากสุดท้ายในการโต้แย้ง เรื่องก็ลุกลามเป็นข้อวิวาทใหญ่โตเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติโดยทั่วไป เพราะใน \"อิลซัจจาโตเร\" บรรจุแนวคิดมากมายของกาลิเลโอว่าวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องของวิทยาศาสตร์ควรดำเนินการอย่างไร หนังสือนี้ต่อมาเป็นที่อ้างอิงถึงในฐานะคำประกาศแนวคิดวิทยาศาสตร์ของกาลิเลโอ",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "249044#0",
"text": "ท่าอากาศยานนานาชาติกาลิเลโอ กาลิเลอี () เป็นท่าอากาศยานที่ตั้งอยู่ในเมืองปิซา อิตาลี เป็นหนึ่งในท่าอากาศยานหลักของแคว้นทัสกานี โดยอีกแห่งหนึ่งคือท่าอากาศยานเปเรโตลาในฟลอเรนซ์ ท่าอากาศยานแห่งนี้ตั้งชื่อตามกาลิเลโอ กาลิเลอี นักวิทยาศาสตร์ชาวเมืองปิซาที่มีชื่อเสียง ตั้งอยู่ในย่านซานจุสโต ห่างจากสถานีรถไฟกลางไม่ถึง 2 กิโลเมตร ค่อนข้างใกล้กับศูนย์กลางของเมือง",
"title": "ท่าอากาศยานนานาชาติกาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "15703#41",
"text": "กาลิเลโอยังถือว่าเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์กลุ่มแรก ๆ ที่ทำความเข้าใจกับความถี่เสียง แม้จะไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก เขาตอกสิ่วเป็นจังหวะที่ความเร็วต่าง ๆ กัน แล้วเชื่อมโยงระดับเสียงเพื่อสร้างเป็นแผนภาพจังหวะเสียงสิ่ว เป็นการวัดระดับความถี่",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "15703#56",
"text": "ต่อไปนี้เป็นรายชื่อผลงานเขียนของกาลิเลโอ แสดงชื่อในภาษาอิตาลีเป็นหลักการค้นพบทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอและงานวิเคราะห์ที่สนับสนุนทฤษฎีของโคเปอร์นิคัส เป็นผลงานเกียรติยศที่โด่งดังตลอดกาล รวมถึงการค้นพบดวงจันทร์ใหญ่ที่สุด 4 ดวงของดาวพฤหัสบดี (ไอโอ, ยูโรปา, แกนิมีด และ คัลลิสโต) ซึ่งได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขาว่า ดวงจันทร์กาลิเลียน หลักการและสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ อีกมากมายก็ตั้งชื่อตามเขา เช่น ยานอวกาศกาลิเลโอ ซึ่งเป็นยานสำรวจอวกาศลำแรกที่เข้าสู่วงโคจรของดาวพฤหัสบดี ระบบดาวเทียมสำรวจโลกกาลิเลโอ วิธีการแปลงค่าจากระบบ inertial ไปเป็นกลศาสตร์ดั้งเดิมก็ได้ชื่อว่า \"การแปลงกาลิเลียน\" และหน่วยวัด กัล (Gal) ซึ่งเป็นหน่วยวัดความเร่งที่ไม่ได้อยู่ในระบบเอสไอ",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
},
{
"docid": "15703#58",
"text": "กาลิเลโอ ได้รับเลือกให้เป็นสัญลักษณ์สำคัญบนเหรียญที่ระลึกขนาด 25 ยูโร ในชุดเหรียญที่ระลึกปีดาราศาสตร์สากล สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 2009 เพื่อเป็นการระลึกถึงโอกาสที่กาลิเลโอสร้างกล้องโทรทรรศน์ของเขาครบรอบ 400 ปี ด้านหน้าของเหรียญเป็นภาพครึ่งตัวของกาลิเลโอกับกล้องโทรทรรศน์ ด้านหลังเป็นภาพวาดภาพหนึ่งของกาลิเลโอที่วาดผลการสังเกตการณ์ดวงจันทร์ ขอบเงินรอบ ๆ เหรียญนี้เป็นภาพกล้องโทรทรรศน์อื่น ๆ ได้แก่ กล้องโทรทรรศน์ของไอแซก นิวตัน, กล้องของหอดูดาว Kremsmünster Abbey, กล้องโทรทรรศน์วิทยุ, และกล้องโทรทรรศน์อวกาศ",
"title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
}
] |
2973 | ฌัก เรอเน ชีรักมีบุตรกี่คน? | [
{
"docid": "12423#6",
"text": "เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2499 เขาได้เข้าพิธีสมรสกับนางสาวแบร์นาแด็ต แม้ว่าทางครอบครัวของฝ่ายสาวจะไม่เห็นด้วยเนื่องจากชีรักมาจากครอบครัวชาวนา บิดามารดาของแบร์นาแด็ตปฏิเสธที่จะจัดงานมงคลสมรสที่วิหารน้อยแซงต์-กอลตีลด์ ที่สงวนไว้เฉพาะครอบครัวจากวงสังคมชั้นสูงในย่านแซงแชร์แมง พิธีสมรสจัดขึ้นที่ชาเปล ลาส คาสเซส ซึ่งเป็นส่วนขยายของโบสถ์ที่สงวนไว้สำหรับการสอนศาสนา และจัดงานพิธีแบบรวดเร็ว ชีรักมีบุตรสาวกับแบร์นาแด็ตสองคน ชื่อโลร็องส์ (เกิดปี พ.ศ. 2501) และโกลด",
"title": "ฌัก ชีรัก"
}
] | [
{
"docid": "12423#15",
"text": "เพื่อเตรียมการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) ฌัก ชีรัก ได้ทำให้พรรคแอร์เปแอร์กลายเป็นเครื่องจักรกลทางการเมืองที่มีกำลังแรง ด้วยการเป็นพรรคที่มีเสียงข้างมากตลอด รวมจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 150 ที่นั่ง ซึ่งมากกว่าจำนวนส.ส.ของพรรคอูเดเอฟ (พรรคที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2521 เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการเมืองของประธานาธิบดี) ซึ่งแม้กระนั้น สถานการณ์ในพรรครัฐบาลของชีรักก็เข้าขั้นวิกฤติ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) ฌัก ชีรัก ได้ประสบอุบัติเหตุบนถนนในจังหวัดกอแรซ และได้ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลโกชัง ในกรุงปารีส ซึ่งที่นั่น เขาได้ประกาศ \"แถลงการณ์เรียกร้องแห่งโกชัง\" เพื่อแฉพรรค \"การเมืองของชาวต่างชาติ\" ซึ่งเขาหมายถึงพรรคอูเดเอฟนั่นเอง ในปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) ชีรักพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภายุโรป บัญชีรายชื่อผู้สมัครของเขาได้รับคะแนนเสียงเพียง 16.3% ตามหลังพรรคอูเดเอฟ ที่มีนายซีโมน เวย อยู่อันดับแรกในบัญชีรายชื่อ อยู่มาก (27.6%)",
"title": "ฌัก ชีรัก"
},
{
"docid": "12423#52",
"text": "การสะสมดวงตราไปรษณียากร: การไปรษณีย์ของทางการปาเลสไตน์ได้ออกดวงตราไปรษณียากรแผงละสี่ดวง เพื่อเป็นเกียรติแก่ฌัก ชีรัก ในปีค.ศ. 2004 () ฌัก และแบร์นาแด็ต ชีรัก ได้อุปการะเด็กหญิงอา เดา ฝาม ชาวเวียดนามเป็นบุตรบุญธรรม ในการเดินทางมาถึงประเทศฝรั่งเศสของเธอในปีค.ศ. 1979 ชีรักชื่นชอบชาวอินเดียน ไทโน ซึ่งเป็นอินเดียนแดงจากอเมริกากลาง และชนเผ่าพื้นเมืองมาก เขาได้ร่วมเล่าถึงความชอบส่วนตัวในรายการ \"แซร์เคลอ เดอ มีนุย\" (ชมรมเที่ยงคืน) ของ มีเชล ฟีล ในปีพ.ศ. 2537 ชีรักเคยแปลบทกวีภาษาจีนบทหนึ่ง ตั้งแต่สมัยที่เขาเป็นนักเรียน ชีรักพูดภาษาจีนกลางได้อย่างฉะฉาน และยังเคยสนทนาเป็นภาษาจีนกับกง ลี่อีกด้วย การตัดสินใจดำเนินการทดลองนิวเคลียร์ต่อไป ทันทีที่เขาเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศส เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดอัลบั้มรวมเพลงภาษาเยอรมันที่ชื่อว่า \"หยุดชีรัก\" จากแนวคิดของวงดี อาซเตอ และดี ฟานตาสทิสเชน เวียร์ ดี โทเทน โฮเซน รวมถึง เฟตเตส บรอต ภาพปกของอัลบั้มนี้เปรียบเทียบระเบิดนิวเคลียร์ กับองคชาติที่กำลังตื่นตัวอย่างชัดเจน",
"title": "ฌัก ชีรัก"
},
{
"docid": "12423#20",
"text": "ผู้สนับสนุนชีรักต่างเสียกำลังใจ และภรรยาของเขาถึงกลับออกมายืนยันว่า \"ชาวฝรั่งเศสไม่ชอบสามีของดิฉัน\" ชีรักเป็นฝ่ายค้านอีกครั้ง และยังคงดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงปารีส ในปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) เขาได้รับเลือกเข้ามาใหม่ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น และทำงานหนักเพื่อรักษาตำแหน่งผู้นำพรรคฝ่ายค้าน ในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) เขาประกาศว่า \"ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับแผนการของนายฌัก เดลอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ที่พยายามผลักดันให้มีสกุลเงินยูโร\"",
"title": "ฌัก ชีรัก"
},
{
"docid": "12423#41",
"text": "เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ระหว่างการประชุมสุดยอดฝรั่งเศส-อิตาลี ฌัก ชีรัก ได้ตำหนิคณะกรรมาธิการยุโรปที่ไม่ได้ต่อสู้กับการปลดคนงานของฮิวเลตต์-แพคการ์ด ทำให้ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปออกมาตอบโต้ว่าการกล่าวหาดังกล่าว เป็นการ \"ตีปี๊บหาเสียง\" เนื่องด้วยเห็นว่าปัญหาดังกล่าวเป็นเพียงปัญหาระดับชาติ",
"title": "ฌัก ชีรัก"
},
{
"docid": "12423#1",
"text": "ฌัก ชีรัก เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) ที่คลินิกโชฟรัวแซงตีแยร์ (ในเขตห้าของกรุงปารีส) ฌัก ชีรัก เป็นบุตรชายของนายอาแบล-ฟร็องซัว ชีรัก พนักงานธุรการบริษัท (ชาตะ พ.ศ. 2436 มรณะ พ.ศ. 2511) กับนางมารี-หลุยส์ วาแลต (ชาตะ พ.ศ. 2445 มรณะ พ.ศ. 2516) ภรรยาซึ่งเป็นแม่บ้าน ทั้งคู่มาจากครอบครัวเกษตรกร แม้ว่าปู่และตาของเขาจะเป็นอาจารย์ที่ตำบลแซ็งต์-เฟเรออล จังหวัดกอแรซ ชีรักบอกว่านามสกุลของเขา \"มาจากภาษาล็องก์ด็อกของกลุ่มทรูบาดูร์ กวีสมัยยุคกลางในราชสำนักแถบนั้น\"",
"title": "ฌัก ชีรัก"
},
{
"docid": "12423#2",
"text": "ฌัก ชีรักในวัยเด็กเป็นบุตรชายคนเดียว (พี่สาวของเขาเสียชีวิตตั้งแต่เล็กก่อนที่เขาจะเกิด) ได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมัธยมการ์โน จากนั้นก็ได้ย้ายมาที่โรงเรียนมัธยมศึกษาหลุยส์-เลอ-กร็อง หลังจากสอบผ่านข้อสอบมาตรฐานระดับเตรียมอุดมศึกษาแห่งชาติได้ เขาก็ได้สมัครเป็นลูกเรือ และได้ร่วมออกเดินทางกับเรือบรรทุกถ่านหินเป็นเวลาสามเดือน ในปี พ.ศ. 2494 เขาได้เข้าศึกษาต่อในสถาบันการเมืองศึกษาแห่งกรุงปารีส และจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2497",
"title": "ฌัก ชีรัก"
},
{
"docid": "12423#14",
"text": "หลังจากที่ชีรักได้ประกาศตนเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงปารีส (เขาเป็นผู้ที่คัดค้านการเปลี่ยนสถานะของกรุงปารีสมาตั้งแต่แรกเริ่ม) ชีรักก็ได้จัดตั้งพรรคแอร์เปแอร์ขึ้น พรรคลัทธินิยมโกลนี้ ได้เอาฐานเสียงเดิมจากพรรคอูเดแอร์ ซึ่งมีฌัก ชีรักดำรงตำแหน่งประธานพรรค เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) แม้ว่าจะถูกคัดค้านจากแรมง บาร์ ผู้ซึ่งสนับสนุนมีแชล ดอร์นาโน ฌัก ชีรักได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงปารีสคนแรก โดยเป็นตำแหน่งใหม่ที่เพิ่งจัดตั้งขึ้น หลังจากที่ถูกยกเลิกไปตั้งแต่สมัยของของชูล เฟอรี ซึ่งนับเป็นตำแหน่งสำคัญ เนื่องจากมีเงินงบประมาณถึงหนึ่งหมื่นห้าพันล้านฟรังก์ ข้าราชการอีกสี่หมื่นตำแหน่ง จึงนับว่าเป็นก้าวกระโดดทางการเมืองอันสำคัญของชีรัก",
"title": "ฌัก ชีรัก"
},
{
"docid": "12423#33",
"text": "นายลียอแนล ฌ็อสแป็งที่พ่ายการเลือกตั้งประธานาธิบดี ได้ยื่นใบลาออกเองแต่เนิ่น ๆ ประธานาธิบดีชีรัก จึงได้แต่งตั้งนายฌ็อง-ปีแยร์ ราฟาแร็ง สมาชิกพรรคอูเอ็มเป เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งราฟาแร็งก็ได้บริหารประเทศตามบัญชาของประธานาธิบดีอยู่เป็นเวลาหลายสัปดาห์ พรรคอูเอ็มเปที่ถูกสถาปนาขึ้น ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ตามมา ฌัก ชีรักกุมเสียงข้างมากในสภาไว้ได้อีกครั้ง",
"title": "ฌัก ชีรัก"
},
{
"docid": "12423#32",
"text": "ด้วยนโยบายสนับสนุนกลุ่มส.ส.หนุ่มของพรรคแอร์เปแอร์ ชีรักให้ความสำคัญต่อการจัดตั้งพรรคอูเอ็มเป พรรคการเมืองใหม่อย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งพรรคนี้ก็มีแนวโน้มว่าจะรวมเข้ากับพรรคแอร์เปแอร์ พรรคอูเดเอฟ และพรรคเดโมคราซี ลีเบราลในที่สุด แนวนโยบายของพรรคอูเอ็มเป (ที่พรรคอูเดเอฟ นำโดยนายฟรองซัวส์ เบรู ปฏิเสธที่จะรวมพรรคด้วย) พัฒนาอยู่บนแนวคิดเรื่องความมั่นคง และการลดภาษี ชีรักซึ่งบัดนี้มีประสบการช่ำชองในการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี ได้รณรงค์หาเสียงอย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชูประเด็นความไม่มั่นคง ทำให้นายฌ็อสแป็ง คู่แข่งแทบหืดขึ้นคอ เมื่อวันที่ 21 เมษายน ได้มีเรื่องน่าประหลาดใจเกิดขึ้น \"ราวกับสายฟ้าฟาด\" เมื่อนายลียอแนล ฌ็อสแป็งพ่ายการเลือกตั้งตั้งแต่รอบแรก ฌัก ชีรัก ที่มีคะแนนนำอยู่ที่ 19.88 % ต้องชิงตำแหน่งกับนายชอง-มารี เลอ เป็น นักการเมืองอนุรักษนิยมหัวรุนแรง ที่มักจะถูกมองว่า มีความรังเกียจเดียดฉันชาวต่างชาติอยู่ในสายเลือด ชีรักที่แน่ใจว่าต้องได้รับชัยชนะอย่างแน่นอน ได้ปฏิเสธการโต้วาทีกับคู่แข่ง ด้วยเหตุผลที่ว่า \"เมื่อต้องเผชิญหน้ากับการขาดความอดทนอดกลั้นทางสังคม และความเกลียดชัง ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะมีการถ่ายโอนแนวความคิด เป็นไปไม่ได้ที่จะมีการประนีประนอม เป็นไปไม่ได้ที่จะมีการโต้วาที\" บุคคลทั้งสองเกลียดกันและกันมาก ชีรักปล่อยให้กลุ่มคนที่นิยมพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายและคนหนุ่มสาวออกมาประท้วง และเรียกร้องให้เขาเหล่านั้นลงคะแนนให้ตน (สโลแกนของกลุ่มต่อต้านชีรักที่มีข้อความรุนแรงสุดเห็นจะเป็น \"จงลงคะแนนให้คนขี้โกง แต่อย่าลงให้เผด็จการฟาสซิสต์\") และในที่สุด ฌัก ชีรักก็ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสอีกสมัย ด้วยคะแนน 82.21% อย่างที่ไม่มีผู้ใดเคยทำได้มาก่อน",
"title": "ฌัก ชีรัก"
},
{
"docid": "12423#18",
"text": "การจัดตั้งรัฐบาลผสมเปิดโอกาสให้เกิดการงัดข้อทางอำนาจระหว่างนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี ฟร็องซัว มีแตร็อง ที่ตำหนิติเตียนการดำเนินการของนายกรัฐมนตรีอย่างเปิดเผย เขาใช้อำนาจประธานาธิบดีอย่างเต็มที่ ด้วยการไม่ยอมลงนามในกฎหมาย ทำให้ชีรักต้องหันมาพึ่งมาตราที่ 49 ทวิ 3 (รัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐที่ 5 ของฝรั่งเศส) ยุทธวิธีของประธานาธิบดีทำให้สาธารณชนเหนื่อยหน่ายต่อวิธีการและนโยบายปฏิรูปของรัฐบาล ทำให้นายกรัฐมนตรีต้องแก้ไขปัญหาเอาเองหลายต่อหลายครั้ง และต้องยอมล้มเลิกแผนการหลายอย่าง ชีรักยับยั้งอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นสำเร็จ แต่ก็ไม่สามารถจัดการกับปัญหานี้ได้อย่างเด็ดขาด เขาต้องชดใช้การที่กลุ่มคนหนุ่มสาวไม่ไว้วางใจเขาด้วยเช่นกัน ส่งผลให้นายอาแล็ง เดวาเก รัฐมนตรีของเขาถูกโจมตีในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2529 และภาพลักษณ์ของนายชาร์ล ปัสกา รัฐมนตรีอีกคนต้องเสียหายด้วยการได้รับคะแนนนิยมจากพรรคฝ่ายขวา แต่ถูกเกลียดชังโดยพรรคฝ่ายซ้าย ชาร์ล ปัสกา เป็นผู้ไปเจรจาลับให้ปล่อยตัวประกันในกรณีจับตัวประกันชาวฝรั่งเศสในเลบานอน แต่จากการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ กลับระบุว่าไม่มีการจ่ายเงินเรียกค่าไถ่แต่อย่างใด จากนั้นนายกรัฐมนตรีชีรัก ก็ถูกกล่าวหาว่าได้ขายเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของฝรั่งเศส ให้กับอิหร่าน และต้องการสร้างกระแสในหมู่สาธารณชน",
"title": "ฌัก ชีรัก"
},
{
"docid": "12423#22",
"text": "อย่างไรก็ดี เอดัวร์ บาลาดูร์ ได้ตัดสินใจเข้าสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีด้วย เนื่องจากเขาได้รับความนิยมอย่างสูง ผู้แวดล้อมประธานพรรคแอร์เปแอร์ถึงกับประณามเขาว่าเป็นคนทรยศ เนื่องจากในฐานะนายกรัฐมนตรีแล้ว เขายังมี นายนีกอลา ซาร์กอซี และนายชาร์ลส์ ปัสกา สมาชิกพรรคอีกสองคนหนุนหลังอยู่ด้วย ทางด้านของนายฟีลิปป์ เซกัง หลังจากที่ลังเลอยู่ระยะหนึ่ง ก็ได้ตัดสินใจสนับสนุนผู้สมัคร \"โดยชอบธรรม\" และได้ร่วมกับนายอาแล็ง ฌูว์เป และนายอาแล็ง มาเดอาแล็ง เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสนับสนุนชีรักเป็นประธานาธิบดี ซึ่งชีรักก็ได้ออกหาเสียงอย่างกระตือรือร้น และชูประเด็นว่าด้วยเรื่อง \"ความแตกร้าวทางสังคม\" ชีรักเอาชนะเอดัวร์ บาลาดูร์ ในการเลือกตั้งรอบแรกไปได้ และมาเอาชนะนายลียอแนล ฌ็อสแป็ง ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส ได้ในการเลือกตั้งรอบที่สอง ด้วยคะแนนเสียง 52.64% เขาจึงได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสนับแต่นั้นเป็นต้นมา",
"title": "ฌัก ชีรัก"
},
{
"docid": "12423#29",
"text": "โดยการริเริ่มของนายอาร์โน มงต์บูร์ก ส.ส.พรรคสังคมนิยม ส.ส.อีกสามสิบคน (จากพรรคเปเอส 19 คน พรรคสีเขียว 4 คน พรรคซ้ายจัด 4 คน พรรคเปเซเอฟ 2 คน และพรรคเอ็มเอเซ 1 คน) ได้ยื่นรายชื่อขอให้ชีรักขึ้นให้การต่อศาลสูง ชีรักปฏิเสธข้อเรียกร้องดังกล่าว",
"title": "ฌัก ชีรัก"
},
{
"docid": "125932#9",
"text": "ตั้งแต่การลงประชามติในปี พ.ศ. 2543 ประธานาธิบดีฝรั่งเศสจะได้รับการเลือกตั้งโดยตรงโดยมีวาระ 5 ปี (ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีฝรั่งเศสมีวาระ 7 ปี ภายหลังมาลดลงเหลือ 5 ปี ซึ่งเริ่มวาระ 5 ปี ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2545 สมัยประธานาธิบดีฌัก ชีรัก) ฌัก ชีรักได้รับการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2545 ซึ่งไม่มีข้อกำหนด ทำให้ชีรักสามารถเป็นประธานาธิบดีต่อไปได้ แต่เขาเลือกที่จะไม่ดำรงตำแหน่งต่อไป ประธานาธิบดีคนถัดมาคือ นีกอลา ซาร์กอซี ซึ่งดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2550",
"title": "ประธานาธิบดีฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "12423#28",
"text": "ในสมัยนี้เองที่เกิดเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับเงินทุนสนับสนุนทางการเมือง ให้แก่พรรคแอร์เปแอร์ และสำนักงานผู้ว่าราชการกรุงปารีส พรรคแอร์เปแอร์ (เช่นเดียวกับพรรคอูเดเอฟ เปเอส และพรรคเปเซ) ถูกกล่าวหาว่าได้รับเงินทุนสนับสนุนพรรคจากบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ที่ทางกรุงปารีสและเขตปริมณฑลได้ทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างงานโยธามูลค่าสูง ฌัก ชีรักดำรงตำแหน่งประธานพรรคแอร์เปแอร์ในขณะนั้น ซึ่งก่อนหน้านี้ เขาดำรงตำแหน่งผู้ราชการกรุงปารีสด้วย เมื่อเกิดเหตุการณ์ผู้ลงคะแนนเสียงปลอมในเขต 5 กรุงปารีส จึงมีการตั้งข้อหาอดีตผู้ว่าราชการกรุงปารีสว่าด้วยการใช้งบประมาณแผ่นดินผิดปกติ โดยข้อหาแรกเกี่ยวกับการใช้เงินหลวงเพื่อการเดินทางส่วนตัวโดยเครื่องบิน ซึ่งนายแบร์ทร็อง เดอลานอเอ ผู้ว่าราชการกรุงปารีสคนใหม่ ได้มองข้ามข้อกล่าวหาแรกนี้ และได้ขอให้เปิดการสืบสวนคดี เกี่ยวกับการที่ฌัก ชีรัก และนางแบร์นาแด็ต ภริยา ได้ใช้เงินจำนวนกว่าสองล้านยูโร ไปในหมวดของ \"ค่าเลี้ยงรับรอง\" ในขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงปารีส ระหว่างปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) และ พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995)",
"title": "ฌัก ชีรัก"
},
{
"docid": "12423#16",
"text": "ระหว่างการเลือกตั้งประธานาธิบดีหลายครั้ง ชีรักได้ชูประเด็นเกี่ยวกับการลดภาษีมาใช้ในการหาเสียง โดยเขาได้นำแนวความคิดนี้มาจากประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ของสหรัฐ และได้รับคะแนนเสียง 18% จากการเลือกตั้งรอบแรก ซึ่งทำให้เขาถูกนายวาเลรี ชีสการ์ด เดสแตง ทิ้งห่างเป็นอย่างมาก (28%) อีกทั้งยังมีคะแนนตามหลังนายฟร็องซัว มีแตร็อง (26%) ผู้ซึ่งมีชัยในการเลือกตั้งรอบที่สอง สาเหตุอาจเนื่องมาจากเขาได้ประกาศว่า \"โดยส่วนตัวแล้ว\" เขาได้ลงคะแนนให้กับฟร็องซัว มีแตร็อง หัวหน้าพรรคอูเดเอฟ จึงทำให้ผู้ที่สนับสนุนเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนหนุ่มสาว ยึดเอาคำพูดนี้มาขบคิด และลงคะแนนให้กับคู่แข่งในที่สุด",
"title": "ฌัก ชีรัก"
},
{
"docid": "12423#37",
"text": "ในการที่จะนำพาชาวฝรั่งเศสให้เห็นชอบกับรัฐธรรมนูญยุโรป ฌัก ชีรักได้ตัดสินใจจัดการลงประชามติขึ้นเพื่อรับรองแนวคิดดังกล่าว ชีรักที่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการผลักดันให้ตุรกีเข้าร่วมสหภาพยุโรป (\"ความฝันอันสูงสุด\"ของเขา) มองว่า ส.ส. ของเขาบางส่วนจะคัดค้านแนวคิดนี้ และจะทำให้การลงประชามติไม่เป็นไปอย่างเรียบร้อย เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม คณะกรรมาธิการยุโรป 25 คนได้เปิดการเจรจากับตุรกี โครงการแนวนโยบายโบลเคอสไตน์สามารถลดความกังวลทางสังคมที่แผ่ขยายไปทั่วสหภาพยุโรปลงได้ แม้ว่าประธานาธิบดีชีรักจะมีความพยายามลดแรงเสียดทาน ผลการหยั่งเสียงพลิกผันถึงสามครั้ง และการโต้วาทีกระตุ้นความสนใจของชาวฝรั่งเศสได้มาก และสร้างความสนใจแก่สื่อมวลชน จนกระทั่งวันลงประชามติ",
"title": "ฌัก ชีรัก"
},
{
"docid": "12423#40",
"text": "นับแต่นั้นเป็นต้นมา คะแนนนิยมของชีรักก็ตกต่ำลงมาก และเพิ่มขึ้นอย่างเชื่องช้า เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2548 เขาต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลทหารเมืองวาล-เดอ-กรัส อันเนื่องจากโรคหลอดเลือดเส้นประสาท (หลอดเลือดเส้นประสาทล้มเหลว) ทำให้การมองเห็นพร่ามัว โชคดีที่อาการดังกล่าวก็หายเป็นปกติในไม่กี่วัน เขาออกจากโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2548 แต่ก็ถูกห้ามขึ้นเครื่องบินไปอีกหลายสัปดาห์ นายกรัฐมนตรีดอมีนิก เดอ วีลแป็ง จึงเป็นตัวแทนฝรั่งเศสเข้าร่วมการประชุมสุดยอดองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2548 สื่อมวลชนตอบรับการปฏิบัติภารกิจแทนประธานาธิบดี \"หนึ่งร้อยวัน\" ของนายกรัฐมนตรีดอมีนิก เดอ วีลแป็ง เป็นอย่างดี แต่เขาก็ต้องเหนื่อยหน่ายที่ต้องแข่งกับนายนีกอลา ซาร์กอซี ที่ทำตัวโดดเด่นนับตั้งแต่อุบัติเหตุของประธานาธิบดี นักข่าวหลายสำนักต่างยืนยันว่าฌัก ชีรัก จะไม่สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) อีก และปล่อยให้ผู้อื่นเข้าสืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดี",
"title": "ฌัก ชีรัก"
},
{
"docid": "12423#17",
"text": "พรรคแอร์เปแอร์อ่อนแอลงหลังพ่ายการเลือกตั้งประธานาธิบดี และได้ที่นั่งเพียง 83 ที่นั่งในรัฐสภา จากการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่อย่างไรก็ดี ฌัก ชีรัก ได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมากจากผู้มีสิทธิ์ออกเสียงที่นิยมพรรคฝ่ายขวา (อนุรักษนิยม) จากการดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงปารีส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากผลงานที่เขาได้พัฒนานโยบายเกี่ยวกับระบบขนส่งมวลชน การช่วยเหลือผู้สูงอายุ คนพิการ และมารดาที่เลี้ยงบุตรตามลำพัง โดยใช้มาตรการกระตุ้นให้บริษัทตั้งสำนักงานอยู่ในเมือง แต่ก็จัดการสลายตัวย่านที่ผู้คนอาศัยหนาแน่น ในปี ค.ศ. 1983 เขาได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง และครองตำแหน่ง \"แกรนด์สแลม\" ด้วยการได้รับเลือกตั้งจากทั้งหมด 20 เขตของกรุงปารีส ชีรักกลายเป็นผู้นำพรรคฝ่ายค้านนับแต่นั้น ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) ระหว่างการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในระบบสัดส่วน จำนวนที่นั่งในรัฐสภาระหว่างพรรคแอร์เปแอร์ กับอูเดเอฟ รวมกันได้เสียงข้างมากพอดี จึงตามมาด้วยปรากฏการณ์ที่นายแรมง บาร์ เรียกว่า \"การจัดตั้งรัฐบาลผสม\" ฌัก ชีรัก ในฐานะหัวหน้าของพรรคร่วมรัฐบาลเสียงข้างมาก ได้กลายเป็นนายกรัฐมนตรีในที่สุด",
"title": "ฌัก ชีรัก"
},
{
"docid": "12423#49",
"text": "พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2511: รัฐมนตรีกิจการพิเศษประจำกระทรวงกิจการสังคม รับผิดชอบปัญหาว่างงาน (ในรัฐบาลฌอร์ฌ ปงปีดู 4) พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2511: รัฐมนตรีกิจการพิเศษประจำกระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน (ในรัฐบาลฌอร์ฌ ปงปีดู 5) พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2512: รัฐมนตรีกิจการพิเศษประจำกระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน (ในรัฐบาลโมริส กูฟ เดอ มูร์วิลล์) พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2515: รัฐมนตรีกิจการพิเศษประจำกระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน (ในรัฐบาลฌัก ชาบ็อง-แดลมัส) พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2516: รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท (ในรัฐบาลปีแยร์ แม็สแมร์ 1) พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2517: รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท (ในรัฐบาลปีแยร์ แม็สแมร์ 2) พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2517: รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย (ในรัฐบาลปีแยร์ แม็สแมร์ 2) พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2519: นายกรัฐมนตรี (ในรัฐบาลฌัก ชีรัก 1) พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2531: นายกรัฐมนตรี (ในรัฐบาลฌัก ชีรัก 2)",
"title": "ฌัก ชีรัก"
},
{
"docid": "37405#2",
"text": "นอสตราเดมัสเกิดที่เมืองแซ็ง-เรมี-เดอ-พรอว็องส์ แคว้นพรอว็องซาลป์-โกตดาซูร์ ประเทศฝรั่งเศส เชื่อว่าที่เกิดของเขายังมีอยู่ในบัดนี้ นอสตราเดมัสเป็นบุตรคน 1 ของเรอเน เดอ แซ็ง-เรมี (Renée de Saint-Rémy) หรือเรนีแยร์ เดอ แซ็ง-เรมี (Reynière de Saint-Rémy) กับฌัก เดอ โนสทร์ดาม (Jacques de Nostredame) หรือโฌม เดอ โนสทร์ดาม (Jaume de Nostredame) ฌักเป็นพ่อค้าข้าวและพนักงานรับรองเอกสาร นอสตราเดมัสมีพี่น้องอย่างน้อย 8 คน ครอบครัวของฌักมีเชื้อสายยิวด้วย แต่กี กาโซเน (Guy Gassonet) บิดาของฌัก และปู่ของนอสตราเดมัส เข้ารีตเป็นคาทอลิกในราวปี 1455 แล้วเปลี่ยนชื่อแซ่เป็น ปีแยร์ เดอ โนสทร์ดาม (Pierre de Nostredame) ชื่อสกุลนี้ปรากฏว่า ตั้งตามวันพระที่มีการทำพิธีเข้ารีต",
"title": "นอสตราเดมัส"
},
{
"docid": "12423#0",
"text": "ฌัก เรอเน ชีรัก (French: Jacques René Chirac; 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 — ) รัฐบุรุษฝรั่งเศส อดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายกเทศมนตรีกรุงปารีส",
"title": "ฌัก ชีรัก"
},
{
"docid": "166158#0",
"text": "แบร์นาแด็ต ชีรัก (; 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 — ) อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ภรรยานายฌัก ชีรัก ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส",
"title": "แบร์นาแด็ต ชีรัก"
},
{
"docid": "12423#13",
"text": "เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) ประธานาธิบดีวาเลอรี ฌิสการ์ แด็สแต็งได้แต่งตั้งให้ชีรักเป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องด้วยชีรักเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของเขา เขายังรักษาเสียงสนับสนุนจากพรรคอูเดเอฟไว้ได้ (ซึ่งในขณะนั้นมีรัฐมนตรีเพียงห้าคน) และได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค แม้จะไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคมาก่อนก็ตาม ที่ทำเนียบมาตีญง ชีรักได้จัดตั้งทำเนียบรัฐบาลที่มีรูปแบบสบาย ๆ เป็นกันเอง แต่ก็เริ่มการงัดข้อกับประธานาธิบดีด้วยเช่นกัน แม้ว่าทั้งสองต่างก็ต้องการปกครองประเทศ แต่ก็มีบุคลิกต่างกันโดยสิ้นเชิง ทั้งคู่กลายเป็นคู่แข่งกันมาตั้งแต่เหตุดึงเครียดระหว่างการดำรงตำแหน่งในกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1976 ประธานาธิบดีวาเลรี ฌิสการ์ แด็สแต็งได้สั่งการปรับคณะรัฐมนตรีโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรี ผู้ซึ่งปฏิเสธอำนาจการบริหารของเขา และเรียกร้องการดำเนินการทางการเมืองแบบใหม่ทั้งหมด ภายหลังการพบปะที่ป้อมเดอเบรกองซง ฌัก ชีรักได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้ประกาศอย่างเป็นทางการเมืองวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) เขาได้ประกาศผ่านทางโทรทัศน์ว่า \"กระผมไม่มีหนทางที่กระผมคิดว่าจำเป็นต่อการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างมีประสิทธิภาพอีกต่อไป\" ฌัก ชีรัก ยังยืนยันกับวาเลอรี ฌิสการ์ แด็สแต็งอีกด้วยว่า \"เขาต้องการล้างมือจากชีวิตในแวดวงการเมือง [...] และจะทบทวนเกี่ยวกับชีวิตเสียใหม่ และเขายังได้เอ่ยถึงการตั้งหอศิลป์อีกด้วย\"",
"title": "ฌัก ชีรัก"
},
{
"docid": "12423#19",
"text": "ในการเผชิญหน้ากับคะแนนนิยมของนายฟร็องซัว มีแตร็อง ที่สูงขึ้นเป็นอย่างมาก ในการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ฌัก ชีรัก ได้ออกเดินสายหาเสียงทั่วประเทศฝรั่งเศส เพื่ออธิบายแนวนโยบายของเขา ในการเลือกตั้งทั่วไปรอบแรก เขาได้คะแนนเสียงเพียง 19.9% โดยมีนายแรมง บาร์ จี้มาติด ๆ ด้วยคะแนน 16.5% ซึ่งก็ยังห่างไกลจาก มิตแตร์รองด์ ที่ได้ 34.1% ชีรักเผชิญหน้ากับอดีตประธานาธิบดีมิตแตร์รองด์ ที่เพิ่งพ้นจากวาระ ในการโต้วาทีที่เผ็ดร้อนทางโทรทัศน์ ซึ่งมิตแตร์รองด์ยืนยันอย่างแจ่มชัดว่า ไม่มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับการเจรจาวิ่งเต้นปล่อยตัวประกันในเลบานอนเลย ชีรักพ่ายในการเลือกตั้งรอบที่ 2 โดยได้คะแนนเสียงเพียง 45.98%",
"title": "ฌัก ชีรัก"
},
{
"docid": "12423#42",
"text": "นับตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 จากเหตุการณ์วัยรุ่นสองคนถูกไฟฟ้าช็อตเสียชีวิต หลังถูกตำรวจไล่กวด แล้วหลบเข้าไปในสถานีไฟฟ้าย่อยของการไฟฟ้าฝรั่งเศส ที่เมืองคลิชี-ซูร์-บัว และจากคำแถลงการณ์ของนายนีกอลา ซาร์กอซี รัฐมนตรีมหาดไทย ที่มีการใช้ถ้อยคำไม่เหมาะสม ทำให้เกิดเหตุจลาจลขึ้นในคืนถัดมา สื่อมวลชนขนานนามเหตุการณ์นี้ว่าเป็น การลุกฮือของประชาชนในแถบชานเมืองของฝรั่งเศส และได้แผ่ขยายไปทั่วประเทศฝรั่งเศสภายในเวลาไม่กี่วัน (รถยนต์หลายพันคันถูกเผา อาคารสำนักงานและอาคารราชการถูกทำลาย ฯลฯ) วันที่ 8 พฤศจิกายน ประธานาธิบดีชีรักได้บัญชาให้คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีประกาศภาวะฉุกเฉิน ส่วนปกครองท้องถิ่นสามารถประกาศเคอร์ฟิวได้ทั่วพื้นที่ หรือบางส่วน ฌัก ชีรักได้ออกมาแถลงต่อชาวฝรั่งเศสครั้งแรกเกี่ยวกับการลุกฮือครั้งนี้ ผ่านทางโทรทัศน์และวิทยุ เมื่อวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน เมื่อเวลา 20 นาฬิกา ชาวฝรั่งเศสคาดหวังกับการแก้ไขปัญหานี้สูงมาก มีผู้ติดตามสุนทรพจน์ของชีรักกว่า 20 ล้านคนทั่วประเทศ ซึ่งนับว่าเป็นสถิติสูงสุดในการกล่าวสุนทรพจน์ทางการเมือง ชีรักใช้เวลา 14 นาที เพื่อย้ำเตือนถึงอุดมการณ์และค่านิยมของสาธารณรัฐ อีกทั้งเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา",
"title": "ฌัก ชีรัก"
},
{
"docid": "12423#10",
"text": "ในอีกไม่ถึงหนึ่งเดือนต่อมา เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) ชีรักที่ได้รับฉายาจากฌอร์ฌ ปงปีดู ว่า \"รถตักดินของกระผม\" ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน ในรัฐบาลฌอร์ฌ ปงปีดู 3 (และยังคงดำรงตำแหน่งนั้นในอีกหลายรัฐบาลต่อมา ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีโมรีซ กูซเวอ เดอ มูร์วิลล์ ฌัก ชาบ็อง-แดลมัส และปีแยร์ แม็สแมร์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) ผลงานในยุคแรกๆที่มาจากแนวคิดริเริ่มของชีรักได้แก่ สำนักงานแรงงานแห่งชาติ ตลอดเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) เขาได้มีบทบาทสำคัญในข้อตกลงแห่งเกรอเนล และได้กลายเป็นตัวอย่างของคนหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรง ที่ถูกนำไปล้อเลียนในหนังสือการ์ตูนอัสเตริกซ์ ทันทีที่พ้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) ชีรักได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน โดยมีนายวาเลรี ฌิสการ์ แด็สแต็งในวัยหนุ่มรั้งตำแหน่งรัฐมนตรี ทั้งคู่ทำงานร่วมกันด้วยความกินแหนงแคลงใจ ชีรักไม่เห็นด้วยในการลดค่าเงินฟรังก์เมื่อปี พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969)",
"title": "ฌัก ชีรัก"
},
{
"docid": "12423#12",
"text": "ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) อาจจะจากเรื่องอื้อฉาวการดักฟังโทรศัพท์ของหนังสือพิมพ์ เลอ กานาร์ อองเชนเน เขาได้ \"แลก\" ตำแหน่งกับแรมง มาร์เซลอง ที่ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และภายหลังการเสียชีวิตของประธานาธิบดีฌอร์ฌ ปงปีดูเพียงเล็กน้อย เขาได้เลือกที่จะสนับสนุนนายปีแยร์ แม็สแมร์เป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนต่อไปอยู่ช่วงหนึ่ง จากนั้นก็หันไปสนับสนุนนายวาเลรี ฌิสการ์ แด็สแต็ง เพื่อต่อสู้กับนายฌัก ชาบ็อง-แดลมัส ผู้สมัครจากลัทธินิยมโกล เขาได้วิ่งเต้นต่อสู้กับผู้แทนราษฎร 43 คนที่สนับสนุนชาบ็อง-แดลมัส และมีส่วนอย่างยิ่งต่อชัยชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีของวาเลรี ฌิสการ์ แด็สแต็ง ชีรักยังอาศัยความได้เปรียบในพื้นที่ และการรู้จักผู้ได้รับการเลือกตั้งท้องถิ่น ช่วยให้เขาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรอีกอย่างน้อยสองปี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งในกระทรวงสำคัญๆ ที่ทำให้เขามีอำนาจเหนือศูนย์การปกครองส่วนจังหวัด สำนักงานการศึกษาแห่งชาติ และอื่น ๆ",
"title": "ฌัก ชีรัก"
},
{
"docid": "12423#51",
"text": "รายงานข่าวของเล กินโยล (คล้ายกับรายการ \"รัฐบานหุ่น\" ของไทย) นำฌัก ชีรักมาล้อเลียนประจำ โดยนำเสนอในแบบของชายชาวฝรั่งเศสผู้มีอันจะกินทั่วไป และดูน่ารักดีในแบบของเขา จนทำให้เราอาจกล่าวได้ว่า รายการเล กินโยลมีส่วนช่วยให้ชีรักได้รับชัยชนะเหนือนายเอดัวร์ บาลาดูร์ ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2538 (แต่ไม่ใช่ในปี พ.ศ. 2545 ที่รายการเดียวกันนี้นำเสนอชีรักในแบบของ 'คนขี้โกหก' อันไม่น่านิยมชมชอบ) ในรายการเบเบ็ตโชว์ หรือ \"หุ่นหรรษา\" (พ.ศ. 2525-2536) ของชอง รูกา และ สเตฟาโน โคลลาโร ฌัก ชีรัก เป็นอีกาขนสีน้ำเงิน ที่มีชื่อว่า \"แบล็ค ฌัก\" (ออกเสียงคล้ายกับคำว่า เกมไพ่ \"แบล็ค แจ็ค\")",
"title": "ฌัก ชีรัก"
},
{
"docid": "12423#26",
"text": "คณะรัฐบาลของนายอาแล็ง ฌูว์เป ที่สูญเสียคะแนนนิยมอย่างมาก ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ผละงานประท้วงครั้งใหญ่ ตลอดช่วงฤดูหนาวระหว่างปี พ.ศ. 2538-2539 อันเนื่องมาจากการปฏิรูประบบเกษียณอายุในภาคเอกชน และการแช่แข็งเงินเดือนข้าราชการ ก่อนที่รัฐบาลเสียข้างมากของเขาจะหมดแรงต้านทาน ชีรักได้ตัดสินใจเสี่ยงยุบสภาไม่กี่เดือนก่อนวันหมดวาระ ทั้งนี้ อาจจะเนื่องมาจากคำแนะนำของนายดอมีนิก เดอ วีลแป็งก็เป็นได้ อย่างไรก็ดี ไม่มีผู้ใดเข้าใจเหตุผลที่แท้จริงของชีรักต่อการตัดสินใจดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นพรรคของเขาและผู้ลงคะแนนสนับสนุน ในขณะที่ฝ่ายค้านต่างโอดครวญ การเลือกตั้งที่ตามมา ชัยชนะตกเป็นของพรรคฝ่ายซ้ายหลายพรรค นำโดยนายลียอแนล ฌ็อสแป็ง ชีรักจึงได้แต่งตั้งให้เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี",
"title": "ฌัก ชีรัก"
}
] |
2278 | สมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มแต่ พ.ศ. ใด ? | [
{
"docid": "4253#0",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระองค์ที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสวยราชสมบัติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2411 เสด็จสวรรคต เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ด้วยโรคพระวักกะ",
"title": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
}
] | [
{
"docid": "58216#0",
"text": "เนื่องด้วยปี พ.ศ. 2441 (ร.ศ.117) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ในรัชกาลที่ 5 เป็นเวลายาวนาน 2 เท่า ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดจัดงานบำเพ็ญพระราชกุศล ทวีธาภิเศก เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2441 ถวายบรมอัยกาธิราช ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิฉัย และสมโภชสิริราชสมบัติ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท",
"title": "พระราชพิธีทวีธาภิเศกในรัชกาลที่ 5"
},
{
"docid": "351311#9",
"text": "พระกริ่งปวเรศและพระเครื่องวังหน้า ยุคที่ 5 เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2428 ถึง พ.ศ. 2435 ในสมัยของ รัชกาลที่ 5 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เนื่องจากไม่มีตำแหน่งวังหน้า ผู้ที่มีอาวุโสของพระญาติวังหน้า จึงได้มีบทบาทสำคัญยุคสุดท้ายของพระกริ่งวังหน้าในยุคที่ 5สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 13 เคยมีดำรัสถึงเรื่องพระกริ่งปวเรศนี้ว่า ตำราการสร้างพระกริ่งและตำรามงคลโลหะ ที่มีมาแต่โบราณสืบค้นได้ถึงสมัยสมเด็จพระพนรัตนวัดป่าแก้ว ท่านอาจารย์ตรียัมปวาย ได้กล่าวถึงเรื่องพระกริ่งปวเรศไว้ดังนี้ \"พระกริ่งปวเรศที่คนโบราณเขานิยมกันนั้น มีอยู่เนื้อเดียว คือเนื้อนวโลหะผิวกลับดำ เมื่อขัดเนื้อในจะเป็นสีจำปาเทศ และเมื่อทิ้งไว้ถูกกับอากาศจะกลับดำอีกครั้งหนึ่งในเวลาไม่นาน เนื้อนวโลหะ ประกอบไปด้วย โลหะ 9 อย่างได้แก่ ทองคำ เงิน ทองแดง จ้าวน้ำเงิน(พลวง) เหล็กละลายตัว ชิน(ตะกั่ว+ดีบุก) ตะกั่วน้ำนม ปรอท สังกะสี",
"title": "พระกริ่งปวเรศ"
},
{
"docid": "119263#16",
"text": "ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 สยามเริ่มมีพลเมืองมากขึ้น การค้าเศรษฐกิจเจริญเติบโตตามจำนวนประชากร อีกทั้งยังเปิดรับวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามา ในยุคนั้นประชาชนทั่วไปก็ยังไม่นิยมสร้างส้วมในที่อาศัยของตนเอง แต่จะขับถ่ายนอกสถานที่ตามตรอกซอกซอย ถนนหนทาง ริมกำแพงวัด หรือริมน้ำคูคลองต่าง ๆ เกลื่อนกลาดไปด้วยกองอุจจาระ เป็นสิ่งไม่น่าดู ทั้งยังส่งกลิ่นเหม็นรุนแรง และเป็นสาเหตุของโรคระบาดตามมา อีกทั้งเวจหรือถานพระที่มีอยู่ตามวัด ก็ปลูกสร้างแบบปล่อยอุจจาระทิ้งลงน้ำบ้างหรือปล่อยทิ้งลงพื้นเรี่ยราด เป็นเหตุให้มีทั้งสัตว์มาคุ้ยเขี่ยและแมลงวันไต่ตอม จนในปี พ.ศ. 2440 หรือปลายสมัยรัชกาลที่ 5 รัฐโดยกรมสุขาภิบาลซึ่งก่อตั้งในปีเดียวกันนั้น ได้ดำเนินการจัดสร้างส้วมสาธารณะขึ้นครั้งแรกหรือสมัยนั้นเรียกว่า \"เวจสาธารณะ\" ขึ้นตามตำบลต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ พร้อมกันนั้นรัฐได้ออกพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ พ.ศ. 2440 มีผลบังคับให้คนต้องขับถ่ายในส้วม และรัฐได้จัดสร้างส้วมสาธารณะขึ้นตามตำบลต่าง ๆ ตามข้อกำหนดในหมวดที่ 2 มาตรา 8 ที่ให้กรมศุขาภิบาล \"จัดเว็จที่ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะของมหาชนทั่วไป\"",
"title": "ส้วมในประเทศไทย"
},
{
"docid": "351311#7",
"text": "พระกริ่งปวเรศและพระเครื่องวังหน้า ยุคที่ 3 เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 24011 ถึง พ.ศ. 2415 ในสมัยของ รัชกาลที่ 5 กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ตำแหน่ง วังหน้าองค์สุดท้าย และ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ร่วมอธิษฐานจิต",
"title": "พระกริ่งปวเรศ"
},
{
"docid": "16485#21",
"text": "หนึ่งในการปฏิรูปของรัชกาลที่ 5 คือ การนำกฎหมายการสืบพระราชสันตติวงศ์แบบยุโรปมาใช้ ดังนั้น ใน พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชโอรส จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติต่อมา พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาที่วิทยาลัยทหารแซนเฮิสต์ และที่ออกซฟอร์ด ปัญหาหนึ่งของสยาม คือ ช่องว่างที่กว้างขึ้นระหว่างพระราชวงศ์ที่มีแนวคิดแบบตะวันตกกับชนชั้นสูงและประชาชนที่เหลือของประเทศ ต้องใช้เวลาอีก 20 ปี การศึกษาแบบตะวันตกจึงขยายไปยังข้าราชการส่วนที่เหลือและกองทัพ อันเป็นแหล่งความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นได้",
"title": "อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)"
},
{
"docid": "38688#7",
"text": "วันที่หม่อมราชวงศ์ได้เล่าว่าเป็นวันที่ทุกข์ที่สุดก็คือ วันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประพาสยุโรป เมื่อปี พ.ศ. 2450 เนื่องจากก่อนรัชกาลที่ 5 จะเสด็จพระราชดำเนินนั้น มีพระราชดำริที่จะให้เจ้าจอมสดับตามเสด็จไปยุโรปด้วย ในฐานะข้าหลวงในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตตินารี ถึงกับสอนภาษาอังกฤษพระราชทานเองก่อนเสวยพระกระยาหารทุกคืน แต่มีเหตุขัดข้อง จึงมิอาจเป็นไปตามพระราชดำรินั้นได้",
"title": "เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5"
},
{
"docid": "351311#3",
"text": "พระกริ่งในสมัยรัตนโกสินทร์เริ่มสร้างที่มีความโดดเด่นมากในยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2382 จัดได้ว่าเป็นพระกริ่งยุคเริ่มบุกเบิกและมีพลังพุทธนุภาพแรงที่สุด พระกริ่งปวเรศเริ่มมีชื่อเสียงในวงแคบๆตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมาถึงยุคของรัชกาลที่ 5 พระกริ่งที่โด่งดังในอดีตล้วนแต่เป็นพระกริ่งที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ร่วมอธิษฐานจิต เนื่องจากพระกริ่ง และพระกริ่งปวเรศมีจำนวนการสร้างมากแต่จำนวนเกือบทั้งหมดถูกเก็บรักษาไว้ในกรุของวัดพระแก้ว (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) ทำให้บุคคลทั่วๆไปในยุคหลังสมัยรัชกาลที่ 5 แทบไม่เคยพบเห็นและรู้จัก",
"title": "พระกริ่งปวเรศ"
},
{
"docid": "179007#1",
"text": "เจ้าจอมเอี่ยม เกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา เบญจศก จ.ศ. 1235 ตรงกับวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2416 เป็นบุตรคนที่ 7 ในจำนวน 14 คน ของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ที่เกิดกับท่านผู้หญิงอู่ มีพี่น้องร่วมบิดาทั้งสิ้น 62 คน โดยในจำนวนนี้ มี 5 คน ที่เกิดจากท่านผู้หญิงอู่ (สกุลเดิม วงศาโรจน์) และได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน",
"title": "เจ้าจอมเอี่ยม ในรัชกาลที่ 5"
},
{
"docid": "84956#3",
"text": "พระองค์ทรงเป็นเจ้านายพระองค์แรกในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่สิ้นพระชนม์ในวันที่ 31 พฤษภาคม ซึ่ง 8 ปี ต่อมา ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 ได้มีเหตุการณ์สำคัญทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถือเอาวันที่ 31 พฤษภาคม เป็นวันเคราะห์ร้ายอย่างยิ่งของพระองค์ นั่นคือเรือพระประเทียบของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ซึ่งกำลังทรงพระครรภ์อยู่ ล่มที่ตำบลบางพูด ทำให้ทั้งพระองค์และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ พระชันษาได้สองปีต่างก็สิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์ นับแต่นั้นมา ก็ปรากฏว่า พระราชโอรสและพระราชธิดาพระองค์สิ้นพระชนม์ในวันที่ 31 พฤษภาคม อีกหลายพระองค์ ทำให้วันที่ 31 พฤษภาคมเป็นวันถือในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะเป็นที่รู้กันอยู่ในบรรดาพระราชวงศ์และผู้ใกล้ชิดพระองค์เท่านั้น เมื่อใดที่ไม่ได้เสด็จอยู่ในพระนคร เมื่อนั้นก็หมายความว่า ทรงระแวงถึงเหตุร้ายอันจะพึงบังเกิดแก่พระองค์ในวันนั้น จึงทรงแปรพระราชฐานไปประทับยังที่อื่น เป็นการสะเดาะเคราะห์โดยปริยาย และถ้าในวันที่ 31 พฤษภาคมใด ผ่านไปโดยไม่ได้มีเหตุการณ์อันใดเกิดขึ้นแก่พระองค์ ก็จะมีการถวายพระพรชัยแด่พระองค์",
"title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศรวงศ์วรราชกุมาร"
},
{
"docid": "179011#2",
"text": "เจ้าจอมเอิบเข้าถวายตัวรับราชการฝ่ายในเมื่อ พ.ศ. 2434 เมื่ออายุได้ 12 ปี เนื่องจากเจ้าจอมเอิบนั้นเป็นผู้ที่มีสิริโฉมงดงาม กล่าวกันว่าท่านเจ้าจอมเอิบนั้นมีคุณสมบัติตรงตามตำราหญิงงามอันเป็นที่นิยมแห่งยุคสมัยนั้นทีเดียว กล่าวคือที่หน้าตาที่อ่อนหวาน งดงามเยือกเย็น กล่าวกันอีกว่าท่อนแขนของท่านเจ้าจอมเอิบ นั้นงดงามกลมกลึง ราวกับลำเทียน เนื่องจากท่านเป็นคนที่มีรูปร่างไม่ผอมไป หรืออ้วนเกินไป หากแต่อวบและมีน้ำมีนวล กล่าวโดยสรุปคือ ท่านเจ้าจอมเอิบนั้น มีความงามแห่งรูปโฉม และกิริยาที่สอดคล้องกับความนิยมในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก จึงเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพิเศษ ได้ตามเสด็จไปแปรพระราชฐาน ประพาสหัวเมืองเหนือ เมื่อ พ.ศ. 2444 หรือไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน เมื่อ พ.ศ. 2445 และเสด็จประพาสต้นเมื่อ พ.ศ. 2447 เป็นผู้ถวายงานอย่างใกล้ชิด จนกระทั่งสิ้นรัชกาล เช่นเดียวกับเจ้าจอมเอี่ยม ผู้เป็นพี่สาวแท้ๆ",
"title": "เจ้าจอมเอิบ ในรัชกาลที่ 5"
}
] |
2451 | ประเทศสวีเดน มีเมืองหลวงชื่ออะไร ? | [
{
"docid": "17184#0",
"text": "สวีเดน (English: Sweden; Swedish: Sverige [ˈsværjɛ] สฺแวรฺแย) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรสวีเดน (English: Kingdom of Sweden; Swedish: Konungariket Sverige) เป็นประเทศกลุ่มนอร์ดิกตั้งอยู่บนคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ในยุโรปเหนือ เขตแดนทางตะวันตกจรดประเทศนอร์เวย์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดประเทศฟินแลนด์ และช่องแคบ สแกเกอร์แรก (Skagerrak) ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดช่องแคบแคทีแกต (Kattegat) และทางตะวันออกจรดทะเลบอลติก และอ่าวบอทเนีย มีกรุงสต็อกโฮล์มเป็นเมืองหลวง ประเทศสวีเดนมีประชากรที่เบาบาง เว้นแต่ในเขตเมืองใหญ่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศประกอบด้วยป่าไม้ และภูเขาสูง",
"title": "ประเทศสวีเดน"
}
] | [
{
"docid": "505093#0",
"text": "ไบรีกี () เป็นหมู่บ้านและเกาะซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของประเทศคิริบาส ตั้งอยู่ทางในเขตเซาท์ตาระวา ที่นี่เป็นที่ตั้งของศูนย์กลางการบริหารและที่ทำการรัฐบาลของประเทศคิริบาส และเคยเป็นที่ตั้งของรัฐสภาคิริบาส แต่ปัจจุบันย้ายไปแอมโบซึ่งอยู่ระหว่างไบรีกีและบอนรีกี และที่นี่ยังเป็นที่ตั้งของ มหาวิทยาลัยเซาท์แปซิฟิก แหล่งข้อมูลบางแห่งจึงถือเอาชื่อเกาะนี้เป็นชื่อเมืองหลวงของคิริบาส แต่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง รวมทั้งแหล่งข้อมูลส่วนใหญ่ซึ่งพิจารณาว่าตัวเกาะปะการังตาระวาทั้งเกาะเป็นเขตเมืองหลวง",
"title": "ไบรีกี"
},
{
"docid": "59314#0",
"text": "มามเมะ () หรือโวร์ตลันด์ () เป็นชื่อของเพลงชาติโดยพฤตินัยของประเทศฟินแลนด์ ชื่อเพลงมีความหมายว่า \"ประเทศของเรา\" ประพันธ์ดนตรีโดยผู้อพยพชาวเยอรมัน ฟรีดิก ปาซิอุส และเนื้อร้องภาษาสวีเดนโดยชาวฟินแลนด์ที่ใช้ภาษาสวีเดน โยฮัน ลุดวิก รุเนเบิร์ก แสดงครั้งแรกวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2391 เนื้อร้องภาษาฟินแลนด์ที่ใช้ในปัจจุบัน แปลจากภาษาสวีเดนโดยปาโว กายันเดร์ ในปีพ.ศ. 2432",
"title": "มามเมะ"
},
{
"docid": "1821#14",
"text": "กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร กรุงมาดริด ประเทศสเปน อีกมุมหนึ่งของกรุงมาดริด กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี บาร์เซโลนา มิวนิก แฟรงก์เฟิร์ต เมืองที่ใหญ่ที่มั่งคั่งที่สุดของเยอรมนี กรุงเวียนนา เมืองหลวงของประเทศออสเตรีย กรุงลิสบอน เมืองหลวงของประเทศโปรตุเกส กรุงสตอกโฮล์ม เมืองหลวงของประเทศสวีเดน ตึกคูนาร์ดในเมืองลิเวอร์พูล ของสหราชอาณาจักร เมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี เอเธนส์ ประเทศกรีซ อิสตันบูล เมืองคาบเกี่ยว 2 ทวีป ในประเทศตุรกี อังการา เมืองหลวงปัจจุบันของประเทศตุรกี หอไอเฟลในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ประตูบรันเดนบูร์กในกรุงเบอร์ลินประเทศเยอรมนี",
"title": "ทวีปยุโรป"
},
{
"docid": "505097#0",
"text": "เซาท์ตาราวา () เป็นชื่อที่ใช้เรียกบริเวณตอนใต้ของหมู่เกาะปะการังวงแหวนตาราวา ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองหลวงของประเทศคิริบาส ประกอบไปด้วยเกาะเบติโอ ไบรีกี และบอนรีกี ที่นี่เป็นที่ตั้งสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น ทำเนียบรัฐบาลคิริบาส รัฐสภา ท่าอากาศยานนานาชาติ แหล่งข้อมูลบางแห่งจึงถือเอาชื่อเกาะนี้เป็นชื่อเมืองหลวงของคิริบาส แต่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง รวมทั้งแหล่งข้อมูลส่วนใหญ่ซึ่งพิจารณาว่าตัวเกาะปะการังตาระวาทั้งเกาะเป็นเขตเมืองหลวง",
"title": "เซาท์ตาราวา"
},
{
"docid": "422533#14",
"text": "กอเทนเบิร์กพัฒนาเป็นเมืองอุตสาหกรรมสมัยใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 โดยประชากรเมืองได้เพิ่มขึ้นสิบเท่าภายในหนึ่งศตวรรษ จาก 13,000 คนใน ค.ศ. 1800 เป็น 130,000 คนใน ค.ศ. 1900 ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 บริษัทหลักที่ถูกพัฒนาขึ้นได้แก่ SKF (ค.ศ. 1907) และ วอลโว่ (ค.ศ. 1927) \nกอเทนเบิร์กตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตกของทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศสวีเดน อยู่กึ่งกลางระหว่างโคเปนเฮเกน เมืองหลวงของประเทศเดนมาร์ก และออสโลเมืองหวงของประเทศนอร์เวย์ การที่เมืองตั้งอยู่บนปากแม่น้ำเยอตาส่งผลให้เมืองเติบโตเป็นเมืองทางการค้าที่มีความสำคัญ หมู่เกาะของกอเทนเบิร์กประกอบไปด้วยหินและหน้าผา กระแสน้ำอุ่นกัฟสตรีมทำให้เมืองมีภูมิอากาศค่อนข้างอุ่นและมีฝนตกค่อนข้างบ่อย เป็นเมืองใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศสวีเดนรองจากสต็อกโฮล์ม",
"title": "กอเทนเบิร์ก"
},
{
"docid": "280056#5",
"text": "สาเหตุทีสวีเดนในสมัยนั้นสามารถพิชิตดินแดนต่างๆ ได้อย่างง่ายดายถึงแม้ขนาดกองทัพจะเล็กกว่ากองทัพอื่นมากก็เนื่องมาจากความแข็งแกร่งของกองทัพสวีเดนที่ผ่านการฝึกฝนและประสบการณ์หลายๆ ด้านมาแล้ว รวมถึงความทันสมัยของทหารและพลเรือนสวีเดนในศตวรรษที่ 17อีกด้วย อันเนื่องมาจาก ณ ยุคสมัยนั้น สวีเดนภายใต้การปกครองของพระเจ้าชาลส์ที่ 12และราชวงศ์ ทรงควบคุมการใช้ทรัพยากรทั้งในเมืองหลวงและทั่วทั้งจักรวรรดิได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะสมรภูมิไหน กองทัพสวีเดนก็สามารถทำการพิชิตและเจาะทะลวงไปได้อย่างง่ายดาย ด้วยปืนคาบศิลาขนาดเล็กๆ กว่ากองทัพทั่วไปประกอบกับประสบการณ์การใช้อาวุธอย่างชำนาญและการเดินทัพของตัวกองทัพด้วยแล้ว ก็ทำให้สวีเดนสามารถเอาชนะกองทัพต่างๆ ได้",
"title": "มหาสงครามเหนือ"
},
{
"docid": "150503#0",
"text": "เบื้องล่างต่อไปนี้ เป็นข้อมูลธงต่างๆ ในราชอาณาจักรสวีเดนอย่างสังเขป",
"title": "รายชื่อธงในประเทศสวีเดน"
},
{
"docid": "300322#0",
"text": "ฟุตบอลโลก 1958 () เป็นการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 6 ที่จัดขึ้นที่ประเทศสวีเดน ระหว่างวันที่ 8 มิถุนายน - 29 มิถุนายน ค.ศ. 1958 โดยประเทศสวีเดนได้รับเลือกเป็นประเทศเจ้าภาพจากฟีฟ่าเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1950 ผู้ชนะการแข่งขันครั้งนี้คือทีมบราซิล ชนะทีมสวีเดน 5-2 ในรอบตัดสิน ถือเป็นการชนะครั้งแรกของทีมบราซิล และยังเป็นการแจ้งเกิดในเวทีระดับโลกของเด็กหนุ่มวัย 17 ปี ผู้มากความสามารถที่ชื่อ เปเล่",
"title": "ฟุตบอลโลก 1958"
},
{
"docid": "864738#1",
"text": "เควินเกิดที่กรุง สต็อกโฮล์ม เมืองหลวงของประเทศสวีเดนโดยมีคุณพ่อเป็นคนสวีเดนและคุณแม่เป็นคนไทยมีภูมิลำเนาเป็นคน จังหวัดบุรีรัมย์ ",
"title": "เควิน ดีรมรัมย์"
},
{
"docid": "17145#0",
"text": "ลัตเวีย (English: Latvia; Latvian: Latvija) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐลัตเวีย (English: Republic of Latvia; Latvian: Latvijas Republika) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับอีก 2 รัฐบอลติก คือ เอสโตเนียทางทิศเหนือ และลิทัวเนียและเบลารุสทางทิศใต้ จดรัสเซียทางทิศตะวันออก ส่วนทางทิศตะวันตกนั้น ลัตเวียมีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับสวีเดน กรุงรีกา เมืองหลวงของลัตเวียเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาเมืองที่อยู่ในกลุ่มรัฐบอลติก",
"title": "ประเทศลัตเวีย"
},
{
"docid": "17184#6",
"text": "สวีเดน (อังกฤษ: Sweden; สวีเดน: Sverige) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรสวีเดน (อังกฤษ: Kingdom of Sweden; สวีเดน: Konungariket Sverige) เป็นประเทศกลุ่มนอร์ดิกตั้งอยู่บนคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ในยุโรปเหนือ เขตแดนทางตะวันตกจรดประเทศนอร์เวย์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดประเทศฟินแลนด์ และช่องแคบ สแกเกอร์แรก (Skagerrak) ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดช่องแคบแคทีแกต (Kattegat) และทางตะวันออกจรดทะเลบอลติก และอ่าวบอทเนีย มีกรุงสต็อกโฮล์มเป็นเมืองหลวง ประเทศสวีเดนมีประชากรที่เบาบาง เว้นแต่ในเขตเมืองใหญ่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศประกอบด้วยป่าไม้ และภูเขาสูง",
"title": "ประเทศสวีเดน"
},
{
"docid": "17369#0",
"text": "ทาลลินน์ (; เยอรมัน; สวีเดน: Reval \"เรวัล\" เป็นชื่อประวัติศาสตร์ในภาษาเยอรมัน และ ภาษาสวีเดน) เป็นเมืองหลวงและเมืองท่าหลักของประเทศเอสโตเนีย ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลบอลติกทางด้านเหนือของประเทศ อยู่ห่างจากกรุงเฮลซิงกิ (เมืองหลวงของประเทศฟินแลนด์) 80 กิโลเมตร",
"title": "ทาลลินน์"
},
{
"docid": "243784#2",
"text": "พ่อของ อูมาร์ ทำงานอยู่ในสายงานผู้บังคับบัญชาส่วนกลางของปากีสถาน แต่เนื่องจากการเผด็จการทางทหารในขณะนั้น พ่อของเขาจึงตัดสินใจออกจากประเทศและอาชีพดังกล่าวในปี 1984 ไปสวีเดนเพื่อเลี้ยงดูเขาในสภาพแวดล้อมที่สงบ สันติ และเป็นประชาธิปไตย. อูมาร์ อายุได้สองปีตอนย้ายมาที่ อาลานดา เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ในเมืองใหม่ที่สงบสุขที่สุดเมืองหนึ่งของโลก ที่เมืองสต็อกโฮล์ม เมืองหลวงของสวีเดน.",
"title": "อูมาร์ ข่าน"
},
{
"docid": "280056#20",
"text": "ท้ายที่สุด ด้วยกำลังเสริมของสวีเดนที่บุกประชิดเข้ามาทางกรุงโคเปนเฮเกนเรื่อยๆ จนมีกำลังทหารทั้งหมด 10,000 นาย ประกอบกับทัพของเดนมาร์กที่เอาแต่ถอยหลังกลับเมืองหลวง ทำให้เดนมาร์กต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกทราเวนดอลตามที่กล่าวมาอย่างไม่มีทางเลือกในที่สุด\nหลังจากเดนมาร์กพ่ายแพ้ต่อสวีเดนในการเทียบท่าแห่งฮัมเลเบก สวีเดนที่กำลังฮึกเหิมก็ได้เบนความสนใจไปที่จักรวรรดิรัสเซียอันได้ชื่อว่าเป็นภัยคุกคามต่อตนเองทันที นั่นทำให้พระเจ้าชาลส์ที่ 12ยาตราทัพภาคสนามเข้าบุกรัสเซียในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1700 ณ เมืองนาร์วา โดยมีจุดประสงค์ที่จะดันกองทัพรัสเซียกลับไปยังเขตแดนรัสเซียให้ได้ตามประสงค์",
"title": "มหาสงครามเหนือ"
},
{
"docid": "17186#6",
"text": "พ.ศ. 2093 กษัตริย์ของสวีเดน สมเด็จพระราชาธิบดีกุสตาฟที่ 1 ได้ทรงก่อตั้งเมืองเฮลซิงกิขึ้นในชื่อ \"เฮลซิงฟอร์ส\" (Helsingfors)[5] แต่เมืองนี้คงสภาพเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงกว่าสองร้อยปี ชื่อเฮลซิงฟอร์สยังคงเป็นชื่อเมืองเฮลซิงกิในภาษาสวีเดนในปัจจุบัน",
"title": "ประเทศฟินแลนด์"
},
{
"docid": "827#4",
"text": "สำหรับสาขาเศรษฐศาสตร์นั้น ได้เพิ่มเข้ามาเมื่อ พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) โดยธนาคารแห่งชาติสวีเดน โดยชื่ออย่างเป็นทางการคือ Bank of Sweden Prize in Economic Sciences in Memory of Alfred Nobel (รางวัลธนาคารกลางสวีเดน สาขาเศรษฐศาสตร์ ในความทรงจำถึง อัลเฟรด โนเบล) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Nobel Memorial Prize in Economics โดยผู้ตัดสินรางวัลคือ Royal Swedish Academy of Sciences. เนื่องจากรางวัลนี้ไม่ได้อยู่ในความตั้งใจก่อนเสียชีวิตของ อัลเฟรด โนเบล ดังนั้นจึงไม่ได้รับเงินรางวัลจากมูลนิธิโนเบล แต่ได้รับเงินจากธนาคารกลางสวีเดน อย่างไรก็ตาม รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์มีศักดิ์และสิทธิ์เท่ากับรางวัลในสาขาอื่น ๆ การมอบรางวัลนี้ ก็จะมอบในวันเดียวกันกับรางวัลโนเบลสาขาอื่น โดยมีกษัตริย์สวีเดนเป็นผู้มอบตั้งแต่ปี 1902 เป็นต้นมา ได้รับเหรียญตรา และจำนวนเงินเท่าเทียมกัน ซึ่งในตอนแรกนั้นกษัตริย์ออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดนทรงไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการมอบรางวัลที่สำคัญสูงสุดระดับประเทศนี้ให้กับคนต่างชาติ แต่สุดท้ายพระองค์ก็ทรงเปลี่ยนพระทัยเนื่องจากทรงเล็งเห็นว่ารางวัลที่สำคัญนี้จะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ[2]",
"title": "รางวัลโนเบล"
},
{
"docid": "135900#2",
"text": "ในครั้งนั้น ออสเตรเลียเข้มงวดมากเกี่ยวกับกฎหมายกักกันพืชและสัตว์ ก่อนที่จะอนุญาตให้นำม้าเข้าประเทศจะมีกระบวนการที่ยุ่งยากมาก เพื่อตัดปัญหาความยุ่งยากดังกล่าว จึงตัดสินใจให้มีการแข่งขันขี่ม้านอกประเทศ ซึ่งออสเตรเลียเลือกกรุงสต็อกโฮล์ม เมืองหลวงของประเทศสวีเดนเป็นสถานที่แข่งขัน ในขณะที่กีฬาชนิดอื่นๆทั้งหมดทำการแข่งขันที่เมลเบิร์น",
"title": "กีฬาขี่ม้าในโอลิมปิกฤดูร้อน"
},
{
"docid": "448379#0",
"text": "รอสกิลด์ () เป็นเมืองสำคัญในเทศบาลรอสกิลด์ ตั้งอยู่บนเกาะเชลลันด์ ประเทศเดนมาร์ก ตั้งอยู่ตรงปากทางเข้ารอสกิลด์ฟยอร์ด เป็นเมืองโบราณตั้งแต่ในยุคไวกิง เคยเป็นเมืองหลวงของประเทศตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึง ค.ศ. 1443 เป็นสถานที่ลงนามในสัญญาสงบศึกรอสกิลด์ระหว่างเดนมาร์กกับสวีเดนใน ค.ศ. 1658",
"title": "รอสกิลด์"
},
{
"docid": "280103#0",
"text": "อุปซอลา ( ชื่อเก่าสะกดว่า ) เป็นเมืองที่อยู่อาศัยและเป็นเมืองมหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ในเขตมณฑลอุปซอลา และอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ที่เรียกว่าอุปลันด์ (Uppland) มีมหาวิทยาลัยที่สำคัญอยู่สองแห่งคือ มหาวิทยาลัยอุปซอลา (Uppsala universitet) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุด และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แห่งสวีเดน (Sveriges Lantbruksuniversitet) เนื่องจากเป็นเมืองที่เคยเป็นเมืองหลวงเก่าของสวีเดนในยุคไวกิ้ง ทำให้มีหลักฐานทางด้านโบราณคดีหลายอย่าง ทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุ เช่น เมืองเก่าอุปซอลา Gamla Uppsala โบสถ์หลวงประจำเมือง และยังพบศิลาจารึกในยุคไวกิ้งเป็นจำนวนมาก",
"title": "อุปซอลา"
},
{
"docid": "136604#0",
"text": "ตุรกุ หรือโอบู (ฟินแลนด์: ; สวีเดน: ) เป็นเมืองในประเทศฟินแลนด์ ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของฟินแลนด์ ตุรกุเป็นเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์สมัยที่ฟินแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของสวีเดน และเป็นเมืองหลวงของราชรัฐฟินแลนด์ในช่วงปี 1809 ถึง 1812 ก่อนจะเปลี่ยนเป็นเฮลซิงกิ ตุรกุตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำเอาราทางตอนใต้ของประเทศ เป็นเมือง (เขตเทศบาล) ขนาดใหญ่อันดับที่ห้าของฟินแลนด์ มีประชากรราว 1.7 แสนคน (สิ้นปี 2006) ตุรกุเป็นเมืองเอกของจังหวัดฟินแลนด์ตะวันตก ใช้ทั้งภาษาฟินแลนด์และสวีเดนเป็นภาษาทางการของเขตเทศบาล",
"title": "ตุรกุ"
},
{
"docid": "205967#0",
"text": "สถาบันแคโรลินสกา (สวีเดน : Karolinska Institutet) เป็นสถาบันที่สอนทางด้านแพทย์และศัลยศาสตร์ เป็นโรงเรียนแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในสวีเดน และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เป็นศูนย์กลางการรักษาและการศึกษาทางการแพทย์ในประเทศสวีเดน โดยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแคโรลินสกาโซลน่า และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแคโรลินสกาฮุดดิงเง่อ เป็นสถานที่ฝึกสอนและทำวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยทั้งหมดทำงานร่วมกันในชื่อ Academic health sciences center โดยสามารถผลิตบุคลากรทางการแพทย์ได้กว่า 30 เปอร์เซนต์ และมีงานวิจัยกว่า 40 เปอร์เซนต์ของทั้งประเทศ ",
"title": "สถาบันแคโรลินสกา"
},
{
"docid": "749533#1",
"text": "ประเทศสวีเดนมีสถานที่ที่ได้รับขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อพิจารณาเป็นมรดกโลกในอนาคตทั้งสิ้น 1 แห่ง",
"title": "รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศสวีเดน"
},
{
"docid": "479358#1",
"text": "เจนจิรา เกิดประสพ เกิดที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และเติบโตที่ประเทศสวีเดน เธอเริ่มยิงธนูตั้งแต่เมื่อครั้งยังเด็ก ซึ่งเธอชนะการแข่งขันยิงธนูในหลายรายการ และเคยเข้าแข่งขันซีเกมส์ 1997, เอเชียนเกมส์ 1998 รวมถึง เอเชียนเกมส์ 2006 ที่ประเทศกาตาร์ หลังจากนั้น เธอได้เดินทางกลับประเทศสวีเดน เพื่อดูแลพ่อที่ป่วย ภายหลังจากที่ เจนจิรา เกิดประสพ เข้ารับตำแหน่งมิสไทยแลนด์เวิลด์แล้ว เธอก็มีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมการคัดเลือกนักกีฬาร่วมการแข่งขันซีเกมส์ 2009 ที่ประเทศลาว แต่เนื่องด้วยเธอได้ติดภารกิจที่ประเทศสวีเดน เธอจึงขอเลื่อนไป โดยทางสมาคมกีฬายิงธนูแห่งประเทศไทยได้ให้โอกาสแก่เธอเดินทางมาคัดตัวก่อนถึงช่วงสิ้นเดือนกันยายน เพื่อให้โค้ชปรับองศาการยิงให้ ครั้นเมื่อถึงสิ้นเดือนตุลาคม เธอก็ยังไม่สามารถมาได้ ทางสมาคมฯจึงจำเป็นต้องตัดชื่อเธอออกจากทีมชุดซีเกมส์ ในภายหลัง เธอหันไปเล่นให้แก่ทีมชาติสวีเดน และวางแผนเข้าแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ที่ริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล ในขณะเดียวกัน เธอได้ทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนการยิงธนูให้แก่เยาวชนไทย",
"title": "เจนจิรา เกิดประสพ"
},
{
"docid": "38764#4",
"text": "พ.ศ. 2351-52 เกิดสงครามระหว่างรัสเซียและสวีเดน ดินแดนฟินแลนด์ตกเป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนในฐานะราชรัฐปกครองตนเองฟินแลนด์ ชาวฟินแลนด์บางส่วนเริ่มสนับสนุนความคิดการตั้งเฮลซิงกิเป็นเมืองหลวงของราชรัฐ ความคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจากฝั่งรัสเซียเช่นกัน เนื่องจากเฮลซิงกิอยู่ใกล้กับเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กมากกว่า และมีอิทธิพลของสวีเดนน้อยกว่าตุรกุซึ่งเป็นเมืองหลวงเดิม ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 จึงตั้งเฮลซิงกิเป็นเมืองหลวงของฟินแลนด์แทนที่ตุรกุในปีพ.ศ. 2355 จากการที่เฮลซิงกิถูกทำลายด้วยไฟในปี 2351 ทำให้ซาร์วางแผนที่จะสร้างเมืองขึ้นใหม่ ได้มีการแต่งตั้งวิศวกรชาวฟินแลนด์ให้ออกแบบเมืองใหม่ และเชิญสถาปนิกชาวเยอรมันมาร่วมงาน มีการสร้างอาคารใหม่จำนวนมาก รวมถึงการย้ายมหาวิทยาลัยมาจากตุรกุด้วย สถาปัตยกรรมที่สร้างใหม่นี้มีรูปแบบนีโอคลาสสิกตามแบบเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เฮลซิงกิได้กลายมาเป็นศูนย์กลางทางการปกครองและวัฒนธรรม",
"title": "เฮลซิงกิ"
},
{
"docid": "38759#0",
"text": "สต็อกโฮล์ม () เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศสวีเดน ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลทิศตะวันออกของประเทศสวีเดน มีประชากรในเขตเทศบาลสต็อกโฮล์ม 909,000 คน ถ้านับเขตที่อยู่อาศัยโดยรอบทั้งหมดจะมีประชากรประมาณ 2.2 ล้านคน",
"title": "สต็อกโฮล์ม"
},
{
"docid": "502019#0",
"text": "โคเซ กอนซาเลซ ( หรือรู้จักในอีกชื่อว่า José Gonzáles) เกิดในปี ค.ศ. 1978 เป็นนักร้อง-นักแต่งเพลง และนักกีตาร์ แนวอินดีโฟล์กร็อกชาวสวีเดน-อาร์เจนตินา จากเมืองกอเทนเบิร์ก ประเทศสวีเดน กอนซาเลซยังเป็นสมาชิกวงจากสวีเดนที่ชื่อ จูนิป",
"title": "โคเซ กอนซาเลซ"
},
{
"docid": "798688#0",
"text": "ด้านล่างนี้เป็นรายชื่อปีในประเทศสวีเดน",
"title": "รายชื่อปีในประเทศสวีเดน"
},
{
"docid": "996972#1",
"text": "เมืองหลวงของประเทศเดนมาร์ก โคเปนเฮเกน มีพื้นที่บางส่วนตั้งอยู่บนเกาะอาแมเยอร์ โดยเชื่อมโยงกับเกาะที่ใหญ่กว่าของซีลันด์โดย 8 สะพาน และอุโมงค์ใต้ดิน อาแมเยอร์ยังเชื่อมต่อกับเออเรซุนด์ของสวีเดน โดยสะพานเออเรซุนด์",
"title": "อาแมเยอร์"
},
{
"docid": "206085#2",
"text": "มหาวิทยาลัยอุปซอลา มีลักษณะเป็นเมืองมหาวิทยาลัย มีอาคารของมหาวิทยาลัยกระจายอยู่ทั่วไปในเมืองอุปซอลา เมืองอุปซอลายังเป็นเมืองหลวงเก่าที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานของประเทศสวีเดน อัตลักษณ์และวัฒนธรรมของสวีเดนหลายๆอย่างทั้งทางด้านวรรณกรรม ดนตรี การเมืองเกิดขึ้นที่นี่ ประเพณีการมอบหมวกจบการศีกษาของสวีเดนก็มีจุดกำเนิดจากที่นี่เช่นกัน\nมหาวิทยาลัยมีนักศีกษากว่า 24,000 คน นักศึกษาระดับปริญญาดุษฎีกว่า 2,400 คน อาจารย์ 1,800 คน ศาสตราจารย์ 700 คน ในจำนวนนี้มีศาสตราจารย์ที่เป็นผู้หญิงประมาณ 1 ใน 5 รวมเจ้าหน้าที่ทั้งหมดกว่า 6,500 คน มีเงินทุนหมุนเวียนในมหาวิทยาลัยกว่า 5.9 พันล้านโครน่าสวีเดน (ปี คศ. 2013) โดย 30% ใช้ในการเรียนการสอนระดับพื้นฐานและด้านเฉพาะทาง อีก 66% ใช้ในการทำวิจัยและการศึกษาระดับการวิจัย",
"title": "มหาวิทยาลัยอุปซอลา"
}
] |
2918 | ยุคบะกุมะสึ เริ่มต้นเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "481967#0",
"text": "บากูมัตสึ (幕末(bakumatsu), \"ปลายยุคบากูฟุ\") เป็นชื่อเรียกช่วงเวลาปลายยุคเอโดะซึ่งนำไปสู่การสิ้นสุดของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ ชื่อดังกล่าวถูกกำหนดขึ้นจากเหตุการณ์ใหญ่ที่เกิดขึ้นโดยรวมระหว่างปี ค.ศ. 1853 - 1867 ซึ่งเป็นระยะที่ญี่ปุ่นได้ยกเลิกนโยบายปิดประเทศที่เรียกว่า ซาโกกุ และเปลี่ยนผ่านจากรัฐบาลแบบศักดินาของโชกุนไปสู่รัฐบาลสมัยใหม่ในยุคเมจิ การแบ่งแยกทางอุดมการณ์และทางการเมืองในยุคนี้ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็นกลุ่มผู้รักชาติที่เรียกว่า \"อิชินชิชิ\" ซึ่งสนับสนุนจักรพรรดิ และกองกำลังฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลโชกุนตระกูลโทกูงาวะ เช่น กลุ่มชินเซ็งงุมิ เป็นต้น",
"title": "บากูมัตสึ"
}
] | [
{
"docid": "746399#4",
"text": "\"พงศาวดารเหนือ\" คือบันทึกประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานี้ โดยแม้ไม่ทราบแน่ชัดว่าเริ่มบันทึกเมื่อไหร่ เนื้อหาคาดการณ์ว่าอยู่ในช่วง ค.ศ. 500 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 ฉบับล่าสุดนั้นอยู่ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์",
"title": "ประวัติศาสตร์ไทยช่วงต้น"
},
{
"docid": "611697#1",
"text": "โดยจอย ได้ออกอัลบั้มกับวง ที-สเกิ๊ต ชุดแรกเมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยชื่อว่า \"T-Skirt\" เปิดตัวด้วยเพลง \"ไม่เท่าไหร่\" ต่อมาเพลงนี้ได้โด่งดังมากๆ เพราะเป็นเพลงเปิดตัวด้วยจังหวะเร็วสนุกสนาน บวกกับการแต่งตัวเสื้อยืดกระโปรงสั้น จึงทำให้การใส่กระโปรงขาสั้นเป็นที่ฮิตในยุคนั้นถึงยุคปัจจุบัน ต่อด้วยเพลงช้า \"เจ็บแทนได้ไหม\" ต่อด้วย \"ฟ้องท่านเปา\" ซึ่งเป็นอัลบั้มชุดแรกที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก",
"title": "ดวงพร สนธิขันธ์"
},
{
"docid": "897927#0",
"text": "เอเบิล แอนโทนี เจมส์ กาวเวอร์ (; ค.ศ. 1836 ที่ลีวอร์โน ประเทศอิตาลี – 1899?) เป็นกงสุลชาวอังกฤษ ปฏิบัติหน้าที่ในญี่ปุ่น 2 ครั้ง ระหว่างช่วงบะกุมะสึ ที่นะงะซะกิและฮะโกะดะเตะ เขายังเป็นช่างภาพสมัครเล่น",
"title": "เอเบิล กาวเวอร์"
},
{
"docid": "386858#0",
"text": "ในสาขาวิทยาการลำดับเวลาและการแบ่งยุค ต้นยุคอ้างอิง () หมายถึง เหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นและถูกเลือกให้เป็นจุดเริ่มต้นของยุคสมัยหนึ่ง \"ต้นยุคอ้างอิง\" จึงเป็นเสมือนจุดอ้างอิงจากเวลาที่วัด หน่วยการวัดเวลาจะถูกนับจากต้นยุคอ้างอิง เพื่อที่ว่าวันที่และเวลาของเหตุการณ์จะสามารถระบุได้อย่างชัดเจน",
"title": "ต้นยุคอ้างอิง"
},
{
"docid": "284034#1",
"text": "การปฏิรูปครั้งนี้ได้เริ่มดำเนินมาตั้งแต่ช่วงปลายยุคเอะโดะ (江戸時代 \"Edo jidai\") หรือมักเรียกว่าช่วงบะกุมะสึ (幕末 \"Bakumatsu\") (มักเรียก รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะตอนปลาย) จนถึงช่วงต้นของยุคเมจิ (明治時代 \"Meiji-jidai\")",
"title": "การฟื้นฟูเมจิ"
},
{
"docid": "196652#1",
"text": "พลู นักรบแห่งเรฟ และยังเป็นผู้ที่สามารถปลดปล่อยพลังของเรฟได้อีกด้วย ฮารุตกพลูได้ที่เกาะการาจ ทุกอย่างเริ่มต้นที่นั่น พลูสามารถนำทางเพื่อไปหาเรฟได้อีกด้วย ปกติอารมณ์ของพลูนั้น ดูจะเฉยเสมอ และที่สำคัญ ดูเหมือนพลูจะชอบอมยิ้มเอาซะมากๆเลย อาวุธนั้น อันที่จริงก็ไม่เชิงว่าจะเป็นเท่าไหร่ เพราะมันคือ จมูก (เขา) ของพลูนั่นเอง ซึงจมูก (เขา)ของพลูสามารถทำลายดาร์คบริงค์ได้ และยังปลดปล่อยผู้ที่ถูกดาบแซคริฟาครอบงำได้อีกด้วย [เวลาหิวจมูก (เขา) จะงอลง] สาเหตุที่จมูกของพลูทำลายดาร์คบริงค์ำด้เพราะว่า จมูกของพลูนั้นถูกรีซ่าใช้พลังเอเทเลี่ยนใส่นิดหน่อยทำให้เมื่อจมูกของพลูสัมผัสกับดาร์คบริงค์ ทำให้ดาร์คบริงค์ถูกทำลาย",
"title": "พลู (ตัวละคร)"
},
{
"docid": "110663#5",
"text": "ปัจจุบันยังไม่เป็นที่แน่ชัดกว่า หมีน้ำเกิดขึ้นครั้งแรกบนโลกตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ทว่าซากดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุในอยู่ช่วงกลางของยุคแคมเบรียน นับว่ามีความเก่าแก่กว่าไดโนเสาร์เสียอีก โดยจากงานวิจัยพบว่า ซากฟอสซิลของหมีนํ้าที่ค้นพบนั้น มีอายุนานถึง500 ล้านปีเลยทีเดียว",
"title": "หมีน้ำ"
},
{
"docid": "481120#1",
"text": "หูฟังมีต้นกำเนิดมาจาก \"นาทาเนียล บอลด์วิน\" () นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เป็นผู้ประดิษฐ์ชุดหูฟังวิทยุคนแรก แรกเริ่มการคิดค้นยังไม่ได้รับความสนใจจากนักธุรกิจเท่าไหร่ จนกระทั่งช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาได้สั่งซื้อชุดหูฟัง 100 ชุด ทำให้วงการชุดหูฟังเป็นที่รู้จักมากขึ้น หลังจากนั้นนักบินสองคนซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทแพนทรอนิกส์ () ได้เริ่มผลิตชุดหูฟังที่มีน้ำหนักเบาเหมาะสำหรับการสวมใส่ โดยทดลองใช้ในเครื่องบินเป็นครั้งแรก เพื่อแก้ปัญหาความยากลำบากที่ได้รับจากการใช้หูฟังขนาดใหญ่ ทำให้หูฟังเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันเพราะช่างโดม รวมทั้งพัฒนาให้มีการใช้งานไร้สายหรือที่เรียกกันว่า \"บลูทูธ\"",
"title": "หูฟัง"
},
{
"docid": "3207#1",
"text": "รายงานบางฉบับกล่าวว่าชาวไอนุอยู่ในประเทศญี่ปุ่นมานานกว่าชาวญี่ปุ่น และในตำนานของชาวไอนุนั้นก็ได้กล่าวว่า \"\"ชาวไอนุอยู่ที่นี่หลายแสนปีก่อนที่บุตรแห่งพระอาทิตย์จะมา\"\" มีหลายทฤษฏีกล่าวถึงต้นกำเนิดของชาวไอนุ หากแต่ความจริงในเรื่องนี้ยังคงคลุมเครืออยู่มาก ไม่สามารถบอกได้ว่าชาวไอนุมาจากไหน อยู่ที่ฮกไกโดตั้งแต่เมื่อไหร่ หรือสืบเชื้อสายมาจากใคร",
"title": "ชาวไอนุ"
},
{
"docid": "225769#0",
"text": "ชินเซ็นกุมิ () เป็นชื่อของกลุ่มตำรวจพิเศษของประเทศญี่ปุ่นในยุคบะกุมะสึ หรือช่วงปลายแห่งการปกครองของรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ",
"title": "ชินเซ็งงูมิ"
},
{
"docid": "539528#0",
"text": "ไซโต ฮะจิเมะ () เป็นซามูไรชาวญี่ปุ่นในช่วงปลายยุคเอะโดะ (บะกุมะสึ) ซึ่งมีชื่อเสียงในฐานะหัวหน้าหน่วยที่ 3 ของกลุ่มตำรวจพิเศษ \"ชินเซ็งงุมิ\" แห่งรัฐบาลเอะโดะบะคุฟุ เป็นหนึ่งในสมาชิกจำนวนน้อยนิดของชินเซ็งงุมิที่มีชิวิตรอดตายจากหลายสนามรบในช่วงปลายยุคเอะโดะ",
"title": "ไซโต ฮะจิเมะ"
},
{
"docid": "232651#53",
"text": "ในปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบกันแน่ชัดว่าเชื้อไวรัสดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นมาจากที่ไหนหรือเมื่อไหร่[153][154] การวิเคราะห์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ได้เสนอว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ เอช 1 เอ็น 1 ซึ่งเกิดการระบาดอยู่ในปัจจุบันนั้น มีการพัฒนามาจากสายพันธุ์ที่ค้นพบเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 และแพร่สู่มนุษย์เป็นเวลาหลายเดือนก่อนที่จะมีการรับรองอย่างเป็นทางการ และถูกระบุว่าเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่[153][155]",
"title": "การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009"
},
{
"docid": "822853#2",
"text": "นอกจากนี้เพื่อให้สามารถผ่านสถานการณ์รบที่ชะงักงันนี้และรุกคืบต่อไปได้ แนวรบด้านตะวันตกจึงปรากฏเทคโนโลยีทางการทหารรูปแบบใหม่หลายประการ เช่น ก๊าสพิษ อากาศยาน และรถถัง แต่ก็ไม่ได้มีผลมากสักเท่าไหร่ มีเพียงยุทธวิธีและชั้นเชิงการรบที่พัฒนาขึ้นใหม่เท่านั้นที่ช่วยให้สามารถรุกคืบไปได้บางส่วน ต่อมาในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 1918 ผลของสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ที่ยุติการสู้รบในแนวรบด้านตะวันออกบวกกับยุทธวิธีแทรกซึมทางการทหาร ได้ช่วยให้กองทัพเยอรมันสามารถรุกคืบไปทางทิศตะวันตกเป็นระยะทางเกือบ ซึ่งนับเป็นการรุกคืบที่มากที่สุดนับตั้งแต่เริ่มต้นสงครามในปี ค.ศ. 1914 และเกือบช่วยให้ฝ่ายเยอรมันสามารถบุกทะลวงแนวตั้งรับของศัตรูไปได้",
"title": "แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)"
},
{
"docid": "371128#0",
"text": "เรียวมะ จอมคนพลิกแผ่นดิน หรือในชื่อภาษาญี่ปุ่น \"เรียวมะเด็ง\" () เป็นชื่อของละครไทกะ (Taiga Drama) หรือละครอิงประวัติศาสตร์ลำดับที่ 49 ของสถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค ประเทศญี่ปุ่น จำนวนตอนทั้งหมด 48 ตอน ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเคระหว่างวันที่ 3 มกราคม - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เนื้อหาเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ ซะกะโมะโตะ เรียวมะ บุคคลสำคัญผู้มีบทบาทในการปฏิรูปประเทศญี่ปุ่นในช่วงยุคบะกุมะสึ โดยเล่าผ่านมุมมองของอิวะซะกิ ยะทะโร อดีตซามูไรชาวแคว้นโทสะผู้ก่อตั้งบริษัทมิตซูบิชิ",
"title": "เรียวมะ จอมคนพลิกแผ่นดิน"
},
{
"docid": "866557#0",
"text": "การคว่ำบาตรธุรกิจชาวยิว ในนาซีเยอรมนี เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน ปี ค.ศ. 1933 ฝ่ายพรรคนาซีอ้างว่าการคว่ำบาตรครั้งนี้เป็นมาตรการตอบโต้การคว่ำบาตรสินค้าเยอรมันของพวกยิว จากการที่พวกยิวได้เริ่มพากันคว่ำบาตรสินค้าเยอรมันในเดือนมีนาคม 1933 การคว่ำบาตรธุรกิจของชาวยิวครั้งนี้ไม่ประสบความสำเร็จเลย ชาวเยอรมันไม่ค่อยสนใจกับคำรณรงค์ซักเท่าไหร่ ประชากรเยอรมันส่วนใหญ่ยังคงซื้อและใช้สินค้าจากธุรกิจของพวกยิวอย่างตามปกติ เป็นหนึ่งในชนวนเหตุที่ทำให้พรรคนาซีวางแผนถอนรากถอนโคนชาวยิวในเยอรมัน",
"title": "การคว่ำบาตรธุรกิจชาวยิวของนาซี"
},
{
"docid": "194331#3",
"text": "การคัดเลือกสาวงามทั้ง 36 คนเริ่มต้นขึ้นเมื่อพวกเธอต้องเข้าสัมภาษณ์กับไทร่า และเจย์ทั้งสอง สาวๆ ต่างพากันเปิดเผยเรื่องราวของตัวเอง อาทิเช่น คอรีนบอกความจริงถึงเรื่องที่แม่ของเธอติดยา นิโคลถึงกับคุกเข่าขอร้องเพื่อขอให้เธอเข้ารอบ บรีสารภาพว่าเธอไม่ค่อยชอบอาบน้ำซักเท่าไหร่ เจย์ล่าบอกว่าเธอโตมากับพวกเคร่งศาสนา ซูซานน่าเล่าถึงเรื่องมะเร็งเต้านมที่คุกคามเธอ และนิคสร้างความประทับใจให้กับกรรมการอย่างรวดเร็วด้วยลุคส์ที่เหมือนกับนาอิมา โมร่า",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 5"
},
{
"docid": "386858#1",
"text": "ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนต้นยุคอ้างอิงนั้นสามารถกำหนดวันที่ได้โดยการนับย้อนหลังต้นยุคอ้างอิงไป แม้ว่าในทางปฏิบัติแล้ว จะมีต้นยุคอ้างอิงนิยามไว้ในอดีต และต้นยุคอ้างอิงถูกใช้เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสมัยต่อไป จึงเป็นเสมือนจุดสิ้นสุดของยุคสมัยก่อนหน้าด้วย วัตถุประสงค์และเกณฑ์การนิยามดังนี้เพื่อสร้างความชัดเจนและประสานวิชาเกี่ยวกับช่วงเวลา ซึ่งในบางครั้งสามารถใช้ได้แก่ศาสตร์หลายแขนง\nต้นยุคอ้างอิงโดยทั่วไปแล้วจะถูกเลือกให้สะดวกหรือสำคัญโดยมติของผู้ใช้เดิมของมาตรกาล (time scale) หรือโดยคำสั่งของผู้ปกครอง ต้นยุคอ้างอิงมักถูกนิยามโดยเหตุการณ์สำคัญอย่างหนึ่ง เงื่อนไขหรือเกณฑ์ ซึ่งช่วงเวลาหรือยุคสมัยนั้นมักถูกอธิบายหรือแสดงลักษณะ\nตัวอย่าง:",
"title": "ต้นยุคอ้างอิง"
},
{
"docid": "139041#3",
"text": "คำว่า “โรมาเนสก์” ใช้เป็นครั้งแรกโดยนักโบราณคดีชาร์ลส์-อเล็กซีส-อาเดรียน ดูเอริสซิเยร์ เดอ แชวิลล์เมื่อต้นปีคริสต์วรรษที่ 19 เพื่อบรรยายสถาปัตยกรรมตะวันตก ที่เริ่มตั้งแต่คริสต์วรรษที่ 5 จนถึงคริสต์วรรษที่ 13 ในเวลาที่สิ่งก่อสร้างทั้งหลายยังระบุไม่ได้ว่าสร้างเมื่อไหร่ คำนี้ในปัจจุบันจำกัดเวลาแคบลงจากเดิมมาเป็นสถาปัตยกรรมตั้งแต่ปลายคริสต์วรรษที่ 10 จนถึงคริสต์วรรษที่ 12 คำว่า “โรมาเนสก์” บรรยายถึงลักษณะที่เป็นแบบบอกได้แน่นอนว่าเป็นยุคกลางแต่ก่อนสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคแต่ก็ยังรักษารูปลักษณ์แบบสิ่งก่อสร้างโรมันเช่นซุ้มโค้งฉะนั้นจึงดูเหมือนว่าเป็นศิลปะที่ต่อเนื่องมาจากโรมันซึ่งเป็นแบบเรียบง่ายแต่วิธีการก่อสร้างไม่ดีเท่าสิ่งก่อสร้างโรมัน \nคำว่า “สถาปัตยกรรมก่อนโรมาเนสก์” บางครั้งจะหมายถึงสถาปัตยกรรมในประเทศเยอรมนี สมัยคาโรแล็งเชียงและแบบอ็อตโตเนียน (Ottonian) ขณะที่ “สถาปัตยกรรมก่อนโรมาเนสก์ต้น” กล่าวถึงสิ่งก่อสร้างในประเทศอิตาลี ประเทศสเปน และบางส่วนของ ประเทศฝรั่งเศสที่มีลักษณะโรมาเนสก์แต่ก่อนหน้าอิทธิพลของแอบบีคลูนี",
"title": "สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์"
},
{
"docid": "79450#2",
"text": "นำพลเป็นนักมวยที่มีอาวุธเด็ดคือ กอดคอตีเข่า และชกเมื่อไหร่ มักจะได้แผลแตกทุกครั้ง โดยได้มีการเย็บมากที่สุดคือ 72 เข็ม จึงได้รับฉายาจากแฟนมวยว่า \"ขุนเข่าหน้าเปื่อย\" และมีสถิติการเย็บเฉพาะชกที่เวทีลุมพินีจนกระทั่งแขนนวม 268 เข็ม นำพลเป็นนักมวยชกสนุก ชกได้สวยงาม ซ้ำยังมีหน้าตาดี จึงเป็นนักมวยแม่เหล็กดึงดูดแฟนมวยจนอาจเรียกได้ว่า เป็นนักมวยยอดนิยมอันดับหนึ่งในสมัยนั้นก็ว่าได้ โดยเคยปะทะกับมวยไทยร่วมสมัยดังมีรายชื่อข้างต้นมาแล้วมากมาย รวมทั้งเคยปะทะกับนักมวยไทยชาวต่างประเทศมาแล้วหลายคนทั้งในและนอกประเทศ เช่น ราม่อน แด็กเกอร์ เป็นต้น และดีกรีเป็นแชมป์ในรุ่นไลท์ฟลายเวท, ฟลายเวท และเฟเธอร์เวท ของเวทีลุมพินี และได้รับค่าตัวสูงสุด 260,000-240,000 บาท และแบ่งค่าตัวกับทางต้นสังกัดอย่างละครึ่ง",
"title": "นำพล หนองกี่พาหุยุทธ"
},
{
"docid": "644089#2",
"text": "วิฟ แมคกินเนส โค้ชทีมสำรอง ได้รับการเลื่อนขั้นให้มาคุมทีมชุดใหญ่แทนแมตต บัสบี้ ซึ่งเค้าเป็นลูกหม้อเก่าของสโมสรหลังจากที่เข้ามาร่วมทีมตั้งแต่สมัยเป็นนักเตะในช่วงกลางของทศวรรษ 1950 แต่เค้าก็ไม่สามารถที่จะแทนที่ในสิ่งที่บัสบี้เคยทำไว้ได้อย่างรวดเร็ว ยูไนเต็ดเปลี่ยนถ่ายสู่ยุคใหม่ แต่โชคก็ไม่ค่อยเข้าข้างแมคกินเนสเท่าไหร่ แม้ฤดูกาลแรกเค้าจะทำทีมได้ถึงอันดับที่ 8 ซึ่งดีกว่าอันดับที่ 11 ซึ่งเป็นฤดูกาลสุดท้ายที่บัสบี้คุมทีม แต่ฤดูถัดมาทีมเกาะกลุ่ม อยู่ท้ายตารางเสี่ยงที่จะตกชั้น รวมทั้งยังตกรอบลีก คัพ ด้วยน้ำมือของแอสตัน วิลล่า ซึ่งขณะนั้นยังเป็นแค่ทีมกลางตารางของฟุตบอลดิวิชั่น 3 ทำให้แมคกินเนสต้องถูกลดไปคุมทีมสำรองอีกครั้ง และในอีกไม่นานเค้าก็ได้ลาจากทีมไป ",
"title": "ประวัติศาสตร์ของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (ค.ศ. 1969–1986)"
},
{
"docid": "919333#0",
"text": "มะสึไดระ คะตะโมะริ (; 15 กุมภาพันธ์ 1836–5 ธันวาคม 1893) ซะมุไรที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปลาย ยุคเอะโดะ จนถึงช่วงต้นและช่วงกลางของ ยุคเมจิ เป็น ไดเมียว หรือเจ้าแคว้นคนที่ 9 แห่ง แคว้นไอซุ และได้เป็นผู้พิทักษ์พระนครเคียวโตะในระหว่างยุค บะกุมะสึ และในระหว่าง สงครามโบะชิง คะตะโมะริได้นำกองทัพแคว้นไอซุเข้าปะทะกับกองทัพขององค์จักรพรรดิแต่ได้ตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้หลายครั้ง",
"title": "มะสึไดระ คะตะโมะริ"
},
{
"docid": "793241#19",
"text": "เมื่อพิธีกรหมุนได้มูลค่าเท่าไหร่ ให้นำมูลค่าที่ได้ไปบวกกับ 1,000 ดอลลาร์ก่อน และในรอบนี้จะไม่มีการเสียเงินสะสมปัจจุบันเมื่อซื้อสระ เมื่อถึงเทิร์นใดๆ ของคุณให้เลือกตัวอักษรหรือสระมา 1 ตัวให้ทันภายใน 3 วินาที ถ้าปรากฏให้นำมูลค่าดังกล่าวข้างต้นในรอบนี้ไปคูณกับตัวอักษรที่ผู้เล่นเลือกแล้วพบในประโยค และต้องตอบให้ถูกทั้งประโยคให้ได้ภายในเวลาเดียวกันกับตอนเลือกตัวอักษร ถ้าไม่มีหรือตอบทั้งประโยคไม่ได้ เทิร์นต่อไปจะเป็นของอีกคนทันที จนกว่าจะมีคนแก้ประโยคได้ถูกต้อง",
"title": "วีลออฟฟอร์จูน"
},
{
"docid": "300471#5",
"text": "ในฤดูกาลที่ 14 เริ่มต้นด้วยรอบคัดเลือกที่มีสาวๆด้วยกันทั้งสิ้น 33 คน ทุกคนถูกนัดมารวมตัวกันที่ห้องโถงของโรงแรมแห่งหนึ่งใน นิวยอร์ก โดยไทร่าได้เริ่มต้นพูดทักทายกับสาวๆผ่านทาง TVChat ผ่านหน้าเว็บที่มีชื่อว่า MyFIERCEpage.com โดยเมื่อไทร่าทักทายจบเธอก็ออกมาพบกับสาวๆพร้อมทั้ง มิสเจย์ และ มิสเตอร์เจย์ เริ่มต้นรอบคัดเลือกด้วย ขั้นแรก ถ่ายภาพรอบคัดเลือก กับมิสเตอร์เจย์ ขั้นที่สอง ฝึกการเดินแบบ กับมิสเจย์ และหลังจากนั้นสาวๆก็ได้เข้าไปสัมภาษณ์กับกรรมการทั้ง 3 คน ตัวต่อตัว เมื่อการสัมภาษณ์จบลง วันต่อสาวๆก็ได้ไปพบ มิสเตอร์เจย์ โดยข้างหลังของมิสเตอร์มีจอดิจิตอลที่กำลังแสดงภาพรอบคัดเลือกของสาวๆอยู่ โดยเมื่อสาวๆนำนิ้วไปกดที่จอดิจิตอล ก็จะมีเครื่องที่แสดงให้รู้ว่า เข้ารอบ หรือ ไม่ผ่านเข้ารอบขึ้นมาที่ภาพของพวกเธอ โดยต้องมีสาวๆ 12 คนที่ไม่ผ่านเข้ารอบไป หลังจากผ่านมาได้สาวๆที่เหลือต้องแต่งตัว แต่งหน้า และ ทำผมเพื่อเตรียมถ่ายภาพในรอบนี้ โดยหัวข้อคือ ถ่ายภาพเลียนแบบบุคลิกต่างๆของนางแบบชื่อดังที่ชื่นชอบ โดยสาวๆส่วนใหญ่ทำออกมาได้ดี แต่บางคนก็ทำออกมาได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ หลังจากนั้น กรรมการทั้ง 3 คนก็ตัดสินใจครั้งใหญ่ที่จะเลือกสาวๆจากทั้งหมด เพียงแค่ 12 คนเท่านั้น",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 14"
},
{
"docid": "32147#4",
"text": "มนุษย์เรียนรู้การใช้ไฟและในการหลอมโลหะ ตีอุปกรณ์ ทำแก้ว ยุคนี้เป็นยุคเฟื่องฟูของศาสนาและการทำมาค้าขาย ในยุคที่มีการแบ่งชนชั้นมากเช่นนี้ ผู้คนจำเป็นต้องมี การนำของไปถวายหรือบูชา ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรมทางศาสนาหรือว่าการบูชาทำนาย ทำให้มีการทำเหมืองแบบเก่าเป็นจำนวนมาก เพื่อขุดทอง เงินและทองแดง ในการทำเครื่องประดับต่าง ๆ นอกจากนี้เรื่องของเครื่องแต่งกายยังเป็นยุคที่เฟื่องฟูอีกด้วย เชื่อกันว่าผู้คนรู้จักการย้อมผ้าและ แล้วทักยอแบบหยาบ ๆ แล้ว โดยอาศัยตัวไหมและยางจากต้นไม้ ในทางเขตยุโรปผู้คนนิยมทำเครื่องเกราะ ดาบ เครื่องเงิน มงกุฎและอุตสาหกรรมต่อเรือยังเป็นอะไรที่เฟื่องฟูอีกด้วย ผู้คนนิยมเดินทาง โดยเฉพาะชาวฝรั่งเศสและ อังกฤษที่ชอบล่าเมืองขึ้น และบ้านยังเป็นแบบไม้ชั้นเดียวที่ต้องแน่นหนา การประดิษฐ์เป็นแบบพื้น ๆ แล้วศิลปะมากกว่าทางเอเชียหรือแอฟฟริกา ทางเอเชีย การประดิษฐ์ไม่ค่อยเป็นที่ใส่ใจเท่าไหร่ บ้านยังเป็นแบบเก่าที่ทำจากไม้ ผู้คนจะนิยมค้าขายอาหารกิจกรรมทางศาสนามากกว่า เช่นเดียวกับแอฟริกาที่การประดิษฐ์ไม่ค่อยเจริญเทียบเท่ายุโรป",
"title": "สิ่งประดิษฐ์"
},
{
"docid": "27785#2",
"text": "คำทำนายบนโอะมิกุจิมักประกอบด้วยคำทำนายทั่วๆ ไปเกี่ยวกับสุขภาพ ธุรกิจ คนที่กำลังรอ ของหาย การเดินทาง และการแข่งขัน มีธรรมเนียมว่าหากโอะมิกุจิที่จับได้ทำนายว่าโชคไม่ดี คนที่จับได้ต้องนำไปผูกไว้ที่ต้นสนในศาลเจ้าหรือวัดเพื่อป้องกันไม่ให้คำทำนายกลายเป็นจริง เหตุที่ทำเช่นนี้คือการเล่นคำว่า \"ต้นสน\" (松 อ่านว่า มะสึ) กับคำว่า \"รอ\" (待つ อ่านว่า \"มะสึ\" เช่นกัน) โดยกล่าวกันว่าการผูกจะทำให้โชคร้ายรออยู่ที่ต้นสน ไม่ไปเกาะคน ส่วนโอะมิกุจิที่ทำนายว่าโชคดีนั้น ผู้ที่จับได้ควรจะเก็บเอาไว้ แม้ว่าในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีคนเชื่อโอะมิกุจิเท่าไหร่ โอะมิกุจิก็ยังมีให้จับได้ในศาลเจ้าและวัดเกือบทุกแห่งในญี่ปุ่น และยังเป็นของคู่กับศาลเจ้าและวัดญี่ปุ่นตราบจนทุกวันนี้",
"title": "โอะมิกุจิ"
},
{
"docid": "590751#0",
"text": "ด้วยรักคือรัก เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2528 กำกับโดยหม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย นำแสดงโดยธงไชย แมคอินไตย์ หรือเบิร์ด ซึ่งรับบทเป็นพระเอกภาพยนตร์เรื่องแรก ซึ่งขณะนั้นเบิร์ด ยังไม่มีผลงานเพลง โดยประกบคู่แสดงกับนักร้องดังแห่งยุค อัญชลี จงคดีกิจ หรือ \"ปุ๊\" ซึ่งถือว่าเป็นศิลปินหญิงที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในยุคนั้น โดยดนตรีประกอบภาพยนตร์ ใช้เพลง \"หนึ่งเดียวคนนี้\" ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับอัลบั้มดัง ของ อัญชลี จงคดีกิจ \nวิชนีย์ กับพรรคพวกเป็นนักร้องที่ไม่ได้ประสบความสำเร็จในอาชีพนักร้องสักเท่าไหร่ พี่ต้อ ผู้จัดการของวง จึงให้ พรพิชิต เพื่อนที่เป็นเสือผู้หญิงมาวางแผนจัดการ ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงซะใหม่ วิชนีย์กับพรพิชิตในช่วงแรกนั้นไม่ถูกชะตากันเท่าไหร่นัก เพราะความปากจัดและตรงไปตรงมาของพรพิชิต แต่เมื่อการโปรโมทได้ผล วิชนีย์เปลี่ยนชื่อเป็น อัญชลี และเป็นนักร้องดัง ทั้งคู่ก็ยังเล่นเกมเพื่อเอาชนะกัน และเกิดความใกล้ชิดกันขึ้น จนทั้งสองคนรักกัน แต่ว่าพรพิชิตก็ยังรักความเป็นอิสระของตัวเองอยู่ จนกระทั่งวิชนีย์เป็นโรคร้ายและมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่นาน",
"title": "ด้วยรักคือรัก"
},
{
"docid": "41334#13",
"text": "หลังจากที่ยุคของกาลาคติคอสหมดลง เดวิด เบคแคม ได้เซ็นสัญญากับทางแอลเอ แกแลกซีสโมสรเมเจอร์ลีกในสหรัฐอเมริกาด้วยค่าเหนื่อยแพงถึง 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ เดวิด เบคแคมมีส่วนทำให้คนในประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มหันมาดูฟุตบอลกันมากขึ้น ชีวิตค้าแข้งที่เมเจอร์ลีกในสหรัฐอเมริกาของเขาดูเหมือนจะราบรื่นได้ไม่นาน เพราะเขาไม่ค่อยพอใจกับชีวิตค้าแข้งที่เมเจอร์ลีกเท่าไหร่ เดวิด เบคแคมบอกทางผ่านสื่อว่าการที่ได้ไปเล่นให้กับเมเจอร์ลีกในสหรัฐอเมริกานั้นสำหรับดาราอาจจะใช่ แต่สำหรับนักฟุตบอลที่แท้จริงนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง และหลังจากนั้นเค้าได้ถูกยืมตัวให้กับทางสโมสรฟุตบอลเอซี มิลานจึงทำให้เค้าคิดที่จะกลับมาเล่นให้กับสโมสรใหญ่ๆ อีกครั้ง",
"title": "เดวิด เบคแคม"
},
{
"docid": "481968#42",
"text": "หมวดหมู่:สงครามกลางเมือง หมวดหมู่:บะกุมะสึ หมวดหมู่:การฟื้นฟูสมัยเมจิ หมวดหมู่:สงครามเกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น",
"title": "สงครามโบชิน"
},
{
"docid": "492967#0",
"text": "แบล็ก แอนนิส () เป็นผีที่มีต้นกำเนิดจากประเทศอังกฤษ มีลักษณะดวงตากลมโตและขุ่นมัว เหยื่อของแบล็ก แอนนิส คือเด็ก มีความเชื่อว่าถ้ามันเห็นเด็กเมื่อไหร่ มันจะขึ้นไปอยู่บนหน้าอก พร้อมกับดูดเอาลมหายใจ ออกมาจากร่างของเด็กคนนั้น เมื่อลมหายใจหมดแล้ว มันก็จะถลกหนังแล้วกินเนื้อของเด็กผู้เคราะห์ร้ายนั้น",
"title": "แบล็ก แอนนิส"
},
{
"docid": "328988#10",
"text": "สาวๆ เริ่มต้นสัปดาห์ด้วยการเรียนเต้นรำ สาวๆ จะได้เรียนรู้การเต้นแบบต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลก เอมิเลียชื่นชอบและทำออกมาได้เป็นอย่างดีในขณะที่ดาโกต้าไม่ค่อยที่จะให้ความร่วมมือเท่าไหร่ โดยเธออ้างว่าเธอมาเพื่อเป็นนางแบบไม่ใช่มาเป็นแดนซ์เซอร์ ในวันต่อมาสาวๆ ได้ไปที่โรโทรัว เพื่อแข่งกันโพสท่าในลูกบอลขนาดยักษ์ สาวๆ ต่างก็พยายามทำกันอย่างทุลักทุเลและผู้ที่ทำออกมาได้อย่างพริ้วไหวและงดงามที่สุดคือคอร์ทเนย์ และรางวัลของเธอก็คือการไปนวดทำสปาสุดหรู",
"title": "นิวซีแลนด์เน็กซ์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 2"
}
] |
3853 | อำเภอเมืองตาก มีพื้นที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "107448#13",
"text": "อำเภอเมืองตากมีพื้นที่ทั้งสิ้น 1,599.356 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 999,597.5 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.75 ของเนื้อที่จังหวัด (เนื้อที่จังหวัด 16,406,650 ตารางกิโลเมตร) สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของเมืองตาก ประกอบด้วยป่าไม้ และเทือกเขาสูง มีพื้นที่ราบสำหรับการเกษตรน้อย พื้นที่ที่เป็นภูเขาสูง มีอยู่ประมาณร้อยละ 65 ของพื้นที่ ซึ่งปกคลุมไปด้วยป่าไม้โปร่งและป่าเบญจพรรณ และเป็นพื้นที่ราบลาดเอียงลงไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ำปิงและแม่น้ำวัง ทำให้เกิดเป็นพื้นที่ราบแคบๆ ริม 2 ฝั่งแม่น้ำ\nเนื่องจากจังหวัดตากมีสภาพภูมิประเทศแบ่งออกเป็นสองซีก คือ ตะวันออกและตะวันตก โดยมีเทือกเขาถนนธงชัยแบ่งกลาง ทำให้ลักษณะภูมิอากาศของจังหวัดแตกต่างกันไปด้วย เนื่องจากเทือกเขาถนนธงชัยเป็นตัวปะทะมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย และทะเลอันดามัน ทำให้ซีกตะวันออกจะได้รับความชื้นจากลมมรสุมไม่เต็มที่",
"title": "อำเภอเมืองตาก"
}
] | [
{
"docid": "107448#11",
"text": "งานประเพณีลอยกระทงของไทย มีประวัติยาวนานเท่าที่มีบันทึกเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี โดยมีแนวความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาขอขมาต่อแม่พระคงคา ได้มีการพัฒนากระทงเป็นรูปดอกบัวบาน โดยท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศคนแรกในประวัติศาสตร์การลอยกระทง และกลายเป็นประเพณีสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน\nในส่วนของประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวงนั้น มีตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตมาว่า มีสามเณรน้อยชอบทำบาป ยิงนกตกปลา ทำร้ายไก่ วัว เต่า และพญานาค ตาย จึงเกิดสำนึกในบาปที่ตัวเองได้ทำ จึงขออธิษฐานให้ได้เกิดมาเป็นพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ต่อมาเกิดมาเป็นไข่ของกาขาวคู่หนึ่ง และฟักออกมาเป็นเด็กทารก 5 คน คือ เณรน้อย ไก่ วัว เต่า และพญานาค กาขาวที่ตายลงจึงได้เข้าฝันลูก ๆ ทั้ง 5 ว่าถ้าระลึกถึงพ่อแม่ก็ให้นำด้ายมาฟั่นเป็น รูปตีนกา แล้วลอยแม่น้ำคงคาไป ต่อมาเด็กทั้ง 5 คนได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ ดังนั้นการลอยฟั่นด้ายไปเปรียบเสมือนเป็นการบูชาพระคุณของบิดามารดา และเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ด้วย\nหลังจากนั้นจึงได้มีการพัฒนาวัสดุการทำกระทงสายเป็นกะลามะพร้าวที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เนื่องจากชาวเมืองตากนั้นนิยมรับประทานเมี่ยงเป็นอาหารว่าง ถ้าเหลือก็นำมาจำหน่าย “เมี่ยง” ทำจากมะพร้าวใช้เฉพาะส่วนเนื้อ ถั่วลิสง และใบเมี่ยงเป็นส่วนประกอบหลัก จึงมีกะลาที่เหลือจากการทำเมี่ยงเป็นจำนวนมาก จึงเกิดความคิดนำกะลามะพร้าวมาทำเป็นกระทง โดยขัดทำความสะอาดเลือกเฉพาะด้านที่สมบูรณ์ไม่มีรู มาตกแต่งให้สวยงาม ภายในใส่ฟั่นด้ายรูปตีนกาตามตำนานประเพณีที่สืบต่อกันมา โดยเทียนขี้ผึ้งที่ใช้ยึดฟั่นด้ายนำมาจากเทียนจำนำพรรษาของพระสงฆ์ที่ไม่ได้ใช้หลังจากช่วงออกพรรษาไปแล้ว จึงถือว่าเป็นศิริมงคลสำหรับตนเอง\nงานประเพณีกระทงสายไหลประทีปพันดวง เดิมเป็นเพียงการสาธิตการลอยกระทงสายในแม่น้ำปิงเท่านั้น จนปี 2540 ได้มีการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงเกิดเป็นประเพณีการแข่งขันลอยกระทงสายชิงถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กิจกรรมภายในงานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวงนั้น เริ่มตั้งแต่ช่วงเช้าที่มีการกิจกรรมการแข่งขันต่าง ๆ ของเด็กนักเรียนจากชุมชมต่าง ๆ มีการจัดแสดงกระทงพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ จัดการประกวดกระทงนำ กระทงสาย และกระทงตามจากตัวแทนชุมชนต่าง ๆ ในเมืองตาก และกระทงเหล่านี้จะนำไปแข่งลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวงในช่วงตอนค่ำด้วย\nช่วงค่ำเริ่มจากการขบวนอัญเชิญกระทงพระราชทาน ไปประดิษฐาน ณ เวทีแข่งขันกลางแม่น้ำปิง ตามด้วยขบวนเชิญกระทงสายที่จะเข้าแข่งในวันนั้นจากชุมชนต่าง ๆ เมื่อเข้าประจำการแข่งขันลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวงนั้น จะเริ่มแข่งที่ละชุมชน เริ่มที่ปล่อยกระทงนำอันสวยงาม ตามด้วยกระทงตามที่ทำจากกะลาจุดไฟที่ฟั่นด้ายรูปตีนกาพันใบ และปิดท้ายขบวนกระทงด้วยกระทงปิดท้ายที่มีลักษณะคล้ายกระทงนำ แต่มีขนาดเล็กกว่า ขบวนกระทงสายที่สว่างโดดเด่นไหลยาวต่อเนื่องไปตามลำน้ำปิงอย่างสวยงามตามแนวโค้งของสันทรายใต้น้ำ ดูเป็นเส้นสายธารแห่งความหวังของการดำรงไว้ซึ่งประเพณีและวัฒนธรรมที่ควรภาคภูมิใจ ประกอบความตื่นเต้นของกองเชียร์แต่ละชุมชนที่ลุ้นให้ชุมชนของตัวเองมีขบวนกระทงสายที่ต่อเนื่องและงดงามที่สุด\nสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่งที่ทรงได้รับคำต่อท้ายพระนามว่า มหาราชแสดงถึงการประกอบพระราชกรณียกิจ อันเอนกอนันต์ต่อชาติบ้านเมือง โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจในการกอบกู้เอกราช และการรวบรวมคนไทยเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จนเราสามารถเป็นชาติมาได้ในปัจจุบัน พระราชประวัติของพระองค์ก่อนเสวยราชสมบัตินั้น นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าพระองค์ท่านทรงมีเชื้อสายจีน โดยมีบิดาเป็นคนจีน และมารดาเป็นคนไทย จากความสามารถพระองค์ได้เข้ารับราชการในสมัยอยุธยาตอนปลาย และได้ประกอบความดีความชอบมากมายจนได้เป็นถึงเจ้าเมืองตาก ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกพระองค์ท่านทางมีมุมมองอันกว้างไกล และคาดเดาเหตุการณ์ได้ถูกต้องว่า ถ้ายังอยู่ในอยุธยาต่อไปก็คงจะไม่รอดแน่ ดังนั้น จึงทรงรวบรวมไพร่พลตีฝ่าวงล้อมของข้าศึกออกไป แล้วจึงรวบรวมไพร่พลกลับมากู้เอกราชได้ภายในระยะเวลาอันสั้น \nจากพระราชกรณียกิจดังกล่าว ชาวจังหวัดตาก จึงร่วมใจกันจัดงานตากสินมหาราชานุสรณ์ขึ้น เพื่อน้อมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อบ้านเมืองมาในอดีต\nวันที่ 28 ธันวาคม ถึง 3 มกราคม ณ บริเวณศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อำเภอเมือง จังหวัดตาก\nประเพณีดังกล่าวสืบเนื่องมาจากอาชีพส่วนใหญ่ของชาวจังหวัดตาก คือ ทำนา ซึ่งผลผลิตที่ได้จากการทำนา คือ ข้าว นอกจากข้าวเป็นอาหารหลักแล้วยังสามารถแปรรูปได้หลายอย่าง อย่างเช่น ข้าวแคบ หรือ ข้าวเกรียบ โดยเป็นอาหารพื้นเมืองของชาวเมืองตาก และเป็นอาหารว่างชนิดหนึ่ง ที่มีวิธีทำคล้ายข้าวเกรียบปากหม้อ แต่การทำข้าวแคบ เริ่มจากการไล้แผ่นแป้งพร้อมโรยงาดำ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงนำเอาแผ่นแป้งไปตากแดดให้แห้ง การรับประทาน สามารถทำได้รูปแบบ เช่น เมี่ยงคำ ยำข้าวเกรียบ ปิ้งหรือทอด รับประทานได้ในทุกเทศกาลและโอกาสต่าง ๆ \nสถานที่ที่เหมาะสมในการจัดงานประเพณีในครั้งนี้ คือ หาดทรายทอง แม่น้ำปิง จังหวัดตาก ซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนและเล่นน้ำของชาวเมืองตาก นักท่องเที่ยวจังหวัดใกล้เคียง สามารถเดินทางมาท่องเที่ยวและเล่นน้ำได้โดยไม่ต้องเดินทางไปไกลถึงทะเล โดยมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ห่วงยาง อีกทั้งยังเหมาะสำหรับการเล่นกีฬาทางน้ำทุกชนิด รวมถึงการจัดการแข่งขันกีฬา เช่น วอลเล่ย์บอลชายหาด ฟุตบอลชายหาด นับเป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดตากทุกคนอำเภอเมืองตากตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดตาก ตามแนวเทือกเขาถนนธงชัย ระหว่างเส้นรุ้งที่ 16 องศา 52 ลิปดา 54 พิลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 7 ลิปดา 25 พิลิปดาตะวันออก สูงกว่าระดับน้ำทะเล 116.2 เมตร ณ ที่ตั้งที่ศูนย์ราชการจังหวัดตาก (ศาลากลางจังหวัดตาก) อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ประมาณ 1,599.356 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 999,597.5 ไร่ ใหญ่เป็นลำดับที่ 5 ของจังหวัดตาก",
"title": "อำเภอเมืองตาก"
}
] |
2625 | วัดพระราม ๙ ได้รับการยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "276211#0",
"text": "วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เป็นวัดธรรมยุติกนิกาย ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำริให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2538 ตั้งอยู่เลขที่ 999 ซอยพระราม 9 ซอย 19 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร เป็นวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคมสีมา[1] และได้รับการยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงเป็นกรณีพิเศษในตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2542[2]ปัจจุบันมีพระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล) เป็นเจ้าอาวาส[3]",
"title": "วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก"
}
] | [
{
"docid": "441296#1",
"text": "วัดมหาชัย (พระอารามหลวง) เดิมชื่อ “วัดเหนือ” เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองมหาสารคาม ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2408 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยพระเจริญราชเดช (กวด) เจ้าเมืองมหาสารคามคนแรก ร่วมกับประชาชนชาวมหาสารคามช่วยกันสร้างขึ้นให้เป็นวัดประจำเมือง ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 82 ตารางวา มีพระยาครูสุวรรณดี ศีลสังวร เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2472 พระสารคามมุนี (สารภวภูตานนท์) เจ้าอาวาสวัดรูปที่ 18 เป็นเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคามได้ขอเปลี่ยนชื่อจาก “วัดเหนือ” เป็น “วัดมหาชัย” และเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 วัดมหาชัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญและโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้ากฐินให้ส่วนราชการระดับกระทรวง ทบวง กรม อัญเชิญมาทอดถวายเป็นประจำทุกปี เมื่อพุทธศักราช 2519 กรมการศาสนาอนุญาตให้จัดตั้งเป็น “ศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” หรือหอพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น สำหรับเก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุ",
"title": "วัดมหาชัย"
},
{
"docid": "945610#3",
"text": " หลังจากนั้นท่านพระเดชพระคุณพระกิตติสารมุนี เจ้าอาวาสวัดชูจิตธรรมาราม (พระอารามหลวง) และพระเดชพระคุณพระอรรถกิจโกศล ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก ก็ได้เดินทาง มาเยี่ยมชมกิจกรรมและได้มาร่วมตั้งชื่อวัด และวางแนวทางนโยบาย วัตถุประสงค์ ในการบริหาร ของวัดให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยจัดตั้งบริหารในนาม สาขาของวัดชูจิตธรรมาราม ในมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อต่อยอดการศึกษา ของพระภิกษุสามเณร ที่จะมาปฏิบัติศาสนกิจ ในต่างประเทศ เมื่อ ศึกษาจบในระดับชั้นต่าง ๆ ของ โรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย",
"title": "วัดพุทธบารมี ไต้หวัน"
},
{
"docid": "57882#0",
"text": "วัดท่าหลวง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ มีแม่น้ำน่านไหลผ่านด้านหน้าวัด ตั้งอยู่บนถนนบุษบา ตำบลในเมือง เดิมชื่อ ตำบลท่าหลวง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตรวัดท่าหลวง พระอารามหลวง ตั้งอยู่เลขที่ ๖๗๔ ถนนบุษบา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร รหัสไปรษณีย์ ๖๖๐๐๐ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิด สามัญสังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ภาค ๔ หนเหนือ ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่จำนวน ๔๖ไร่ ๓ งาน๑๗.๔ ตารางวา น.ส. ๓ ก เลขที่ ๔๗๐, ๔๗๑ น.ส. ๓ เลขที่ มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน ๒ แปลงมีเนื้อที่จำนวน ๓๐ ไร่ ๒ งาน ๔๒ ตารางวา อยู่ที่ตำบลในเมือง และ ตำบลหนองปลาไหลแห่งละหนึ่งแปลง ตั้งวัดพุทธศักราช ๒๓๘๘ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๙๒ เขตแดนวิสุงคามสีมา กว้าง ๙ เมตร ยาว ๒๖ เมตร เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๐ - ๒๕๑๓ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญเมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๙ นี้มีมาก่อนที่จะย้ายเมืองพิจิตรเก่ามาตั้งอยู่ที่เมืองพิจิตรใหม่ในปัจจุบันแต่เดิมมีฐานะเป็นเพียงสำนักสงฆ์ตั้งอยู่ในป่าพงละเมาะไม้ในเขตหมู่บ้านท่าหลวงอำเภอท่าหลวง จังหวัดพิจิตรซึ่งในขณะนั้นที่ตั้งตัวเมืองพิจิตรอยู่ที่ตำบลเมืองเก่าห่างจากตัวเมืองพิจิตรใหม่ในปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ๘ กิโลเมตรและได้ย้ายเมืองพิจิตรเก่ามาตั้งอยู่ที่เมืองพิจิตรเป็นวัดสำคัญของจังหวัดพิจิตร อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ใกล้ศาลากลางจังหวัด พุทธศักราช 2388 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างวัดท่าหลวง ชื่อของวัดตั้งขึ้นตามชื่อตำบลอันเป็นที่ตั้ง (ในสมัยนั้น) นอกจากนี้วัดท่าหลวงยังมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า วัดราชดิตถาราม แต่ไม่ได้รับความนิยมนำมาใช้เรียกขาน วัดท่าหลวง มีพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร เป็นพระประธานประจำวัด พื้นที่ของวัดมีลักษณะพิเศษคือ ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน โดยมีถนนบุษบาคั่นระหว่างกลางในแนวเหนือ-ใต้ พื้นที่ฝากตะวันออก เป็นเขตพุทธาวาส ประกอบด้วยพระอุโบสถ และศาลาการเปรียญเป็นหลัก ส่วนฝากตะวันตกนั้น ประกอบด้วยเขตสังฆาวาส โรงเรียนปริยัติธรรม เขตประกอบฌาปนกิจ และเขตปฏิบัติธรรมของฆราวาส เป็นหลัก โดยมีการอัญเชิญหลวงพ่อภัทร พระประธานองค์เดิม มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพื้นที่ ซึ่งเรียกตามชื่อของหมู่บ้านที่ตั้งวัดอยู่ คำว่า \"ท่าหลวง\" นั้นเป็นชื่อของหมู่บ้านท่าหลวง คลองท่าหลวง ตำบลท่าหลวง และเคยเป็นชื่อของอำเภอท่าหลวงมาก่อน ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๑เปลี่ยนเป็นอำเภอเมืองพิจิตรจนถึงปัจจุบันทางราชการได้เคยใช้สถานที่วัดท่าหลวงในกาประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาเป็นประจำ ฝากตะวันตกวัดท่าหลวง มีพระพุทธรูปสำคัญ 2 องค์ คือ หลวงพ่อเพชรและหลวงพ่อภัทร",
"title": "วัดท่าหลวง"
},
{
"docid": "108098#0",
"text": "วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีจุดเด่นคือเป็นวัดกลางเมือง ตั้งอยู่ระหว่างศูนย์การค้าสยามพารากอนและห้างเซ็นทรัลเวิลด์ วัดสถาปนาขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2400 และฉลองพระอารามในปี พ.ศ. 2410",
"title": "วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร"
},
{
"docid": "289251#0",
"text": "วัดกวิศรารามราชวรวิหาร (อารามหลวงแห่งเมืองลพบุรี) เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี อันดับ 1 ชนิดราชวรวิหาร ที่ตั้ง ถนนเพทราชา ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี คำว่า วัดกวิศราราม แปลว่า วัดของพระเจ้าแผ่นดิน ปัจจุบันมี พระเทพเสนาบดี (ประเทือง อาภาธโร) เจ้าคณะจังหวัดลพบุรีเป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน และในวันที่ 9 ตุลาคม ปีพุทธศักราช 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินมายังวัดกวิศรารามราชวรวิหาร เป็นการส่วนพระองค์ ได้นำมาซึ่งความปราบปลื้มแก่ชาวลพบุรีเป็นอย่างมาก",
"title": "วัดกวิศรารามราชวรวิหาร"
},
{
"docid": "460719#0",
"text": "วัดคฤหบดี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้กับบ้านปูน เชิงสะพานพระราม8 ตั้งอยู่ที่ถนนจรัญสนิทวงศ์ 44 แขวงบางยี่ขันเขต เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร เป็นวัดที่พระยาราชมนตรีบริรักษ์ (ภู่) ต้นสกุล \"ภมรมนตรี\" เป็นผู้สร้างในปี พ.ศ. 2367 โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระแทรกคำที่ได้มาจากเวียงจันทน์ให้เป็นพระประธานด้วย",
"title": "วัดคฤหบดี"
},
{
"docid": "980866#12",
"text": "ผูกที่ 9 เสด็จประทับดอยคำหลวง 1 คืน รุ่งเช้าเสด็จประทับรอยพระบาทบนหินใต้ต้นไม้ต้นหนึ่ง ทรงรำพึงในพระทัยว่าบริเวณที่นี้ต่อไปจะเป็นมหานคร คอเมืองเชียงใหม่ ภายหน้าพระพุทธศาสนาจักรุ่งเรืองจะเกิดมีมหาอาราม 8 แห่งได้แก่ บุปผาราม (วัดสวนดอก) เวฬุวันอาราม (วัดป่าหกหรือวัดป่าไผ่ได้แก่วัดกู่เต้า) วัดบุพพาราม อโศการาม (วัดป่าแดง) พีชอาราม (วัดหลวงศรีเกิด) สังฆาราม (วัดเชียงมั่น) นันทอาราม (วัดนันทา) และโชติอาราม (วัดเจดีย์หลวง) ในแต่ละแห่งพระองค์ได้ประทานเกศาธาตุเพื่อประดิษฐานแห่งละ 1 องค์ เป็นต้น",
"title": "ตำนานพระเจ้าเลียบโลก"
},
{
"docid": "485593#6",
"text": "วัดศรีโคมคำ ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2523 ถือเป็นพระอารามหลวงแห่งแรกและแห่งเดียวในจังหวัดพะเยา",
"title": "วัดศรีโคมคำ"
},
{
"docid": "6993#84",
"text": "พระธรรมวิสุทธาจารย์ (เหล่ว สุมโน ป.ธ.๕) พระราชาคณะชั้นธรรม อดีตเจ้าอาวาสวัดธาตุ พระอารามหลวง อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๙ นอกจากนี้ท่านยังเป็นบุคคลแรกที่นำการศึกษาด้านภาษาบาลี เข้ามาสู่จังหวัดขอนแก่น เป็นผู้จัดตั้งสำนักเรียนบาลีที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ คือ สำนักเรียนวิเวกธรรมประสิทธิ์วิทยา พระธรรมดิลก (สมาน สุเมโธ ป.ธ.๙, ปร.ด., ศน.ด.) เจ้าคณะภาค ๙ (ธรรมยุต) เจ้าอาวาสวัดป่าแสงอรุณ ตำบลพระลับ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น พระเทพมงคลเมธี (คำพันธ์ โกวิโท ป.ธ.๗) อดีตรองเจ้าอาวาสวัดธาตุ พระอารามหลวง อดีตเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น พระเทพกิตติรังษี (ทองสา วรลาโภ ป.ธ.๘) เจ้าอาวาสวัดธาตุ พระอารามหลวง ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น พระเทพพุทธิมุนี (สันต์ ชุตินฺธโร ป.ธ.๗) เจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ พระอารามหลวง เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธ) พระราชปริยัติโสภณ (ถนนอม ชินวํโส ป.ธ.๖) เจ้าอาวาสวัดหนองกุง เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น หลวงพ่อผาง จิตฺตคุตฺโต พระมหาเถระวิปัสสนาจารย์ ลูกศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่มหาโส กสฺสโป พระมหาเถระ เกจิอาจารย์ พระโสภณวิสุทธิคุณ (หลวงปู่บุญเพ็ง กปฺปโก) พระมหาเถระวิปัสสนาจารย์ ลูกศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระมงคลวุฒิสาร (หลวงปู่จวง ขนฺติโก ป.ธ.๓) อดีตเจ้าอาวาสวัดวุฒาราม อดีตเจ้าคณะอำเภอเมืองขอนแก่น อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเมืองขอนแก่น พระโสภณธรรมสาร (หลวงปู่มงคล ธมฺมจารี) – รองเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธ) วัดศรีประทุมวนาราม ลูกศิษย์ หลวงปู่จันทร์ เขมปตฺโต พระมงคลกิตติวงศ์ (หลวงปู่ทองพูน อุตตโม) – เจ้าคณะอำเภอพล แวงใหญ่ แวงน้อย หนองสองห้อง วัดสระจันทราวาส พระครูศีลาจารนิวิฏฐ์ (หลวงปู่ทองมา สุตธัมโม) – วัดทรงศิลา (วัดถ้ำกวาง) พระครูธรรมสารพินิจ – เจ้าคณะอำเภอเมืองขอนแก่น พระยืน (ธ) วัดโนนชัยวนาราม พระครูประสาทสาสนกิจ – ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอภูเวียง เวียงเก่า (ธ) วัดอาคเนย์ พระครูญาณวรวิสุทธิ์ – เจ้าคณะอำเภอภูเวียง - เวียงเก่า (ธ) วัดสันติการาม พระครูอนันตสารคุณ (หลวงปู่จุฬา สุธัมโม) – เจ้าคณะอำเภอหนองเรือ-บ้านฝาง (ธ) วัดป่าอนันตคุณ พระครูกันตธรรมานุรักษ์ – เจ้าคณะอำเภอชนบท (ธ) วัดศรีสุมังคล์ พระครูจิตตโสภณ (หลวงปู่สม สุจิตโต) – เจ้าคณะอำเภอุบลรัตน์ น้ำพอง กระนวน เขาสวนกวาง (ธ) วัดพระบาทภูพานคำ พระครูสุวัฒนปัญญาคุณ – เจ้าคณะอำเภอบ้านไผ่ บ้านแฮด โนนศิลา (ธ) วัดคุ้มจัดสรรค์ พระครูกิตติมงคลคุณ – เจ้าคณะอำเภอสีชมพู (ธ) วัดศรีแก้ว พระครูกิตติสารโสภณ – เจ้าคณะอำเภอชุมแพ ภูผาม่าน (ธ) วัดป่าศรีบุรี",
"title": "จังหวัดขอนแก่น"
},
{
"docid": "63568#0",
"text": "วัดโพธารามมหาวิหาร พระอารามหลวง เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ (เดิมชื่อวัดเจดีย์เจ็ดยอด หรือ วัดเจ็ดยอด) ตั้งอยู่ที่ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 1998 พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์มังราย ทรงสร้างวัดโพธารามมหาวิหาร สร้างด้วยศิลาแลงประดับลวดลายปูนปั้น เป็นเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย",
"title": "วัดโพธารามมหาวิหาร"
},
{
"docid": "550987#3",
"text": "พระครูศรีธัญญาภรณ์ เจ้าคณะตำบลลำผักกูด (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันได้ปรึกษาพุทธศาสนิกชน มีความเห็นชอบร่วมกันในอันที่จะยกฐานะวัดเขียนเขตขึ้นเป็นพระอารามหลวง เพื่อถวายพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงมีพระราชศรัทธาพระราชทานพระนามาภิไธยย่อ สธ. ประดับหน้าบันพระอุโบสถหลังใหม่ ในวโรกาสที่เฉลิมพระชนมายุครบ 3 รอบ 36 พรรษา ในปี พ.ศ. 2534 ความทราบถึงฝ่าละอองธุลีพระบาท และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดเขียนเขตขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2534 เป็นต้นไป",
"title": "วัดเขียนเขต"
},
{
"docid": "657138#2",
"text": "ตามประกาศสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เรื่อง ยกวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดหนองหอย ตำบลเขาแร้ง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้น ประกาศ ณ วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๕",
"title": "วัดหนองหอย"
},
{
"docid": "32669#4",
"text": "พระอารามหลวงชั้นเอก ได้แก่ วัดที่มีเจดียสถานบรรจุพระบรมอัฐิ หรือเป็นวัดที่มีเกียรติสูง มี 3 ชนิด คือ ชนิดราชวรมหาวิหาร ชนิดราชวรวิหาร ชนิดวรมหาวิหาร พระอารามหลวงชั้นโท ได้แก่ วัดที่มีเจดียสถานสำคัญ มี 4 ชนิด คือ ชนิดราชวรมหาวิหาร ชนิดราชวรวิหาร ชนิดวรมหาวิหาร ชนิดวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นตรี ได้แก่ วัดประจำหัวเมือง หรือวัดที่มีความสำคัญชั้นรอง มี 3 ชนิด คือ ชนิดราชวรวิหาร ชนิดวรวิหาร ชนิดสามัญ (ไม่มีสร้อยนามต่อท้าย โดยส่วนใหญ่จะต่อท้ายว่า พระอารามหลวง)",
"title": "พระอารามหลวง"
},
{
"docid": "354136#11",
"text": "พิธีอุปสมบท 999 รูป ระหว่างวันที่ 9-23 มกราคม 2554 ณ วัดพระราม 9กาญจนาภิเษก และที่วัดศูนย์กลางของทุกจังหวัด ซึ่งดำเนินการโดยคณะกรรมการฝ่ายจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติโดยคู่สมรสคณะรัฐมนตรี[2] การจัดงานสวดมนต์เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติฯ ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค พิธีทางศาสนา 5 ศาสนา พิธีตักบาตร 9 เช้า 9 วัน 9 วัด พิธีเจริญพระพุทธมนต์ 9 ครั้ง การจัดสร้างพัดยศ ย่าม และพัดรองที่ระลึก ซื้อผ้าไตรถวายพระสงฆ์ การจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิตภาวนา ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม 9 ครั้ง พิธีเจริญพระพุทธมนต์จตุรทิศเฉลิมพระเกียรติ การจัดพิมพ์หนังสือคู่มือประกอบพิธีมหามงคลถวายพระพรชัยมงคล การเลื่อนสมณศักดิ์พระสงฆ์ 85 รูป รวมถึงจะยกวัดราษฎร์ให้เป็นพระอารามหลวง 12 วัด[6]",
"title": "พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554"
},
{
"docid": "608595#2",
"text": "วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เป็นวัดตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตั้งอยู่เลขที่ 999 ซอยพระราม 9 กาญจนาภิเษก 19 ถนนพระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2538 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก",
"title": "พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล)"
},
{
"docid": "9103#0",
"text": "วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนการสร้างกรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดจอมทอง ต่อมาพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทรงยกทัพไปสกัดทัพพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรีใน พ.ศ. 2363 เมื่อกระบวนทัพเรือมาถึงวัดจอมทอง ฝั่งธนบุรีทรงหยุดพักและทำพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงคราม พร้อมทรงอธิษฐานขอให้การไปราชการทัพครั้งนี้ได้ชัยชนะ แต่ปรากฏว่าไม่มีทัพพม่ายกเข้ามา เมื่อยกทัพกลับ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่และถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่าวัดราชโอรส ซึ่งหมายถึง พระราชโอรสคือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในปัจจุบันมี พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) เป็นเจ้าอาวาส",
"title": "วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร"
},
{
"docid": "56396#6",
"text": "วัดโพธิ์ชัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเป็นองค์ประธาน ยกช่อฟ้าพระอุโบสถวัดโพธิ์ชัย\nพ.ศ. 2522 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา\nพ.ศ. 2523 ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา \nพ.ศ. 2524 ยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ",
"title": "วัดโพธิ์ชัย"
},
{
"docid": "192210#15",
"text": "ต่อมาวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๑ เนื่องใน โอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ นับแต่ วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ เป็นพระอารามหลวง มีเจ้าอาวาสปกครองวัด ดังนี้",
"title": "วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์"
},
{
"docid": "574731#3",
"text": "เมื่อปรึกษาหารือเป็นที่ตกลงกันแล้วจึงมีใบบอกลงมายังกรุงเทพมหานคร กราบทูลพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ขอประทานพระอนุญาตรวมวัดสร้างใหม่\nสมเด็จพระสังฆราชเจ้าประทานอนุญาต และได้ประทานนามวัดว่า วัดสุทธจินดา และโปรดฯ ให้ยกวัดนี้เป็นพระอารามหลวง เมื่อพ.ศ. 2478",
"title": "วัดสุทธจินดาวรวิหาร"
},
{
"docid": "276211#10",
"text": "ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยกฐานะวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษกเป็นพระอารามหลวงเป็นกรณีพิเศษ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ซึ่งได้ผ่านมติของมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๒ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว",
"title": "วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก"
},
{
"docid": "276211#22",
"text": "หมวดหมู่:พระอารามหลวงชั้นตรี หมวดหมู่:วัดในเขตห้วยขวาง หมวดหมู่:วัดไทยในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย",
"title": "วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก"
},
{
"docid": "82517#0",
"text": "วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้าง สมัยทวารวดี - สุโขทัย มีอายุราว 800 - 1,000 ปี โดยประมาณ เนื่องจากขุดพบซากอิฐสมัยทวารวดีอยู่เป็นจำนวนมาก มีผู้กล่าวว่าวัดมหาธาตุวรวิหารน่าจะเคยเป็นวัดที่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นพระอารามหลวงมาก่อน ต่อมาชำรุดทรุดโทรมลง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2459 ซึ่งพระสุวรรณมุณี (หลวงพ่อชิด ชิตรัตน์) เป็นเจ้าอาวาส ปัจจุบันเจ้าอาวาส คือ พระราชสุวรรณมุนี (แคล้ว อุตฺตโม ป.ธ.7) \nวัดมหาธาตุวรวิหาร เป็นวัดที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี ภายในพระวิหารหลวงของวัดประดิษฐานพระพุทธรุปสำคัญ คือ หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ วัดมหาธาตุ ด้านหลังพระวิหารหลวง คือ พระปรางค์ 5 ยอด อยู่ภายในวิหารคต ทางด้านทิศใต้ของพระวิหารหลวง คือ พระวิหารน้อย และวัดมหาธาตุวรวิหารยังได้สร้าง พิพิธภัณฑ์ของวัด เป็นที่รวมรวมศิลปะ ความเป็นมาต่าง ๆ ของวัดไว้ให้ผู้สนใจได้เข้าชม",
"title": "วัดมหาธาตุวรวิหาร (จังหวัดเพชรบุรี)"
},
{
"docid": "72540#0",
"text": "วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำท่าจีนหรือเรียกอีกชื่อว่าแม่น้ำนครชัยศรี ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย สร้างโดย \"สมเด็จพระพุทธฒาจารย์ (พุก)\" มีหลวงพ่อวัดไร่ขิงซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นพระประธาน ที่ชาวนครปฐมเคารพนับถือ ระหว่างวันขึ้น 13 ค่ำ ถึงแรม 3 ค่ำ เดือน 5 และช่วงเทศการตรุษจีนทุกปีจะมีงานเทศกาลนมัสการปิดทองหลวงพ่อวัดไร่ขิงประจำปี ซึ่งเป็นงานใหญ่ของชาวนครปฐม เดิมเป็นวัดราษฏร์ ต่อมาจึงยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 ",
"title": "วัดไร่ขิง"
},
{
"docid": "285530#1",
"text": "ในปี พ.ศ. 2519 นายแพทย์ขจรและคุณหญิงนิธิวดี อ้นตระการ และครอบครัว ได้ถวายที่ดินเพื่อขอให้สร้างวัดเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่เศษ ต่อมา คณะผู้สร้างวัดได้ซื้อที่ดินเพิ่มรวมได้เนื้อที่ 366 ไร่ 2 งาน 11 ตารางวา เพื่อขอสร้างวัด วัดได้รับการอนุญาตให้สร้างเป็นสำนักสงฆ์ญาณสังวรารามเมื่อ พ.ศ. 2520 และเปลี่ยนเป็นวัดญาณสังวรารามเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตามพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2525 ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๑ มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการในราชกิจจานุเบกษา เรื่อง ยกวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง ความว่า ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดญาณสังวราราม ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งแต่วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ มีผลตั้งแต่ ๔ มีนาคม ๒๕๓๑",
"title": "วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร"
},
{
"docid": "824838#21",
"text": "พ.ศ. 2490 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมบูชาและต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวัดธรรมบูชาได้รับพระราชทานยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง ต่อมาท่านจึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะยก ฝ่ายวิปัสสนา ที่พระธรรมวิโรจนเถร นับเป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมบูชา พระอารามหลวง รูปแรก",
"title": "พระธรรมวิโรจนเถร (พลับ ฐิติกโร)"
},
{
"docid": "7043#78",
"text": "พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล) – เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชบุรี พระเทพวิสุทธิโมลี (พรหมา สปฺปญฺโญ ป.ธ.๙) – รองเจ้าคณะภาค 10 เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ พระเทพปริยัติโมลี (สุทัศน์ วรทสฺสี ปธ.๙) – เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร รองเจ้าคณะภาค ๙ พระราชปัญญาวิสารัท (เหลือง ฉนฺทาคโม) – เจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธ) พระราชปริยัติยาลังการ (วิชัย ฐิตาจาโร ปธ.๔) – ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ฝ่าย (มหานิกาย) และเจ้าอาวาสวัดบ้านบัว พระราชปริยัติกวี (สุพจน์ โชติญาโณ ปธ.๕) – เจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ เจ้าอาวาสวัดกลางพระอารามหลวง จังหวัดบุรีรัมย์ พระโพธิธรรมาจารย์เถร วิ. (สุวัจน์ สุวโจ) – อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าเขาน้อย (ธ.) พระประสาธน์สารคุณ (อาจ อาวุธปญฺโญ) – เจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธ) เจ้าอาวาสวัดทุ่งโพธิ์ พระศรีปริยัติธาดา (ทองสา ฐานิสฺสโร ปธ.๙) – รองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ย่อย ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระสุนทรธรรมเมธี (สุเทพ อาสโภ) – รองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ เจ้าอาวาสวัดท่าสว่าง อาจารย์ประจำวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระราชปริยัติกวี (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ) – ศาสตราจารย์, ดร. ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดปากน้ำ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร,อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระศรีวิสุทธาภรณ์ (บุญร่วม อตฺถกาโม ปธ.๙) – ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร (ธ) พระมงคลสุตกิจ (บุญถิ่น ปุญฺญสิริ ปธ.๗) – ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกลาง (พระอารามหลวง) พระสุธีวีรบัณฑิต (โชว์ ทสฺสนีโย) – ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดศรีสุดาราม แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร",
"title": "จังหวัดบุรีรัมย์"
},
{
"docid": "392600#0",
"text": "พระสุนทรศีลสมาจาร อดีตเจ้าคณะจังหวัดธนบุรี ท่านเกิดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2437 ในแผ่นดินรัชกาลที่ 5 ที่บ้านโคกขาม ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรนายแก้ว นางยิ้ม แก้วเพ็ชร เมื่อวัยเด็กท่านได้มาศึกษาอยู่ที่วัดหนัง ศึกษาหนังสือไทยในสำนักของพระครูสังวรยุตตินทรีย์ (คำ) เรียนภาษาบาลี กับนายมิ่ง รักชินวงศ์ อาจารย์สอนบาลีแห่งวัดหนัง พ.ศ. 2453 เลิกการศึกษากลับไปอยู่บ้านช่วยบิดามารดา ประกอบอาชีพ พ.ศ. 2455 สมัครเข้ารับราชการทหารเรือ \nหลวงพ่อท่านได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2458 ณ พัทธสีมาวัดหนัง ตำบลคุ้งเผาถ่าน (บางค้อ) อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี พระภาวนาโกศลเถร (อี่ยม) วัดหนังเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการนิ่ม แห่งวัดโคกขาม พระปลัดแจ้งแห่งวัดหนัง เป็นคู่กรรมวาจาจารย์ และได้มาจำพรรษาที่วัดหนัง จนกระทั่งมรณภาพ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2478 ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรชั้นผู้ช่วยเจ้าอาวาสชั้นโท หลวงพ่อท่านไม่ใช่นักพูด แต่หลวงพ่อเป็นนักทำ คือทำตนของท่านให้ศิษยานุศิษย์ และสาธุชน ได้เห็นได้ศึกษา ในการประพฤติปฏิบัติของท่าน นับว่าเป็นผลดีของการปกครองในด้านการเผยแผ่ ก็เท่ากับเป็นการเผยแผ่ตัวอย่างที่ดีให้แก่ชนรุ่นหลังได้เห็นได้รู้เอาเป็นครูในการดำเนินรอยตาม งานบูรณปฏิสังขรณ์ก่อสร้างเสนาสนะนั้น หลวงพ่อได้ทำมาก่อนที่ท่านจักได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส จับงานมาแต่สมัยเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส ฉะนั้นงานก่อสร้างปฏิสังขรณ์พระอารามจึงไม่เป็นของแปลก และหนักใจของท่าน ท่านมิได้ถือว่างานก่อสร้างเป็นเรื่องของสมภารเจ้าวัด เอกลาภเป็นของลูกวัด ท่านถือเสียว่างานก่อสร้างทุกชิ้นที่เกิดขึ้นในวัดเป็นสมบัติของพระศาสนาเป็นของส่วนรวม เป็นส่วนกลาง เป็นที่บำเพ็ญกุศลของสาธุชนทั่วไป \nหลวงพ่อท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหนังรูปที่ 7เมื่อปี พ.ศ. 2503 ตลอดระยะเวลา 9 ปีที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส มีการบูรณะซ่อมแซมสิ่งที่ทรุดโทรมให้ดีขึ้นเสมอ ฉะนันในยุคสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ จึงได้ก่อสร้างปฏิสังขรณ์ ปรับปรุงเพิ่มเติม กุฏิคณะไต้ ได้บอกบุญปลูกศรัทธาให้นางชิต นุชเนตรคหปตานี บางขุนเทียน สร้างมณฑปเป็นที่ประดิษฐาน พระบาทจำลอง ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองหน้าวัด ด้านทิศเหนือ ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ เปลี่ยนเครื่องบนมุมกระเบื้อง ยกช่อฟ้าใหม่ ซ่อมศาลาพุทธบาท ศาลาราย บอกบุญสร้างเมรุ ศาลาทึม และปฏิสังขรณ์เสนาสนะไว้ เป็นจำนวนมาก ทำให้พระอาราม เป็นที่เจริญตาเจริญใจ ของสาธุชน ผู้เข้าไปในวัดให้เกิดศรัทธาปสาทะ น้อมใจเข้าสู่แนวทางปฏิบัติ ให้เกิดปัญญาเห็นชัดตามสภาพธรรมในขั้นต่อไป",
"title": "พระสุนทรศีลสมาจาร (ผล คุตฺตจิตฺโต)"
},
{
"docid": "120413#0",
"text": "วัดจันทารามวรวิหาร ตั้งอยู่บนถนนเทอดไท เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นวัดโบราณสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางยี่เรือกลาง หรือวัดกลาง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 พระยาสุรเสนา (ขุนเณร) ได้บูรณะขึ้นใหม่และได้รับพระราชทานนามเป็น วัดจันทาราม และต่อมาภายหลังได้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชนิดวรวิหาร",
"title": "วัดจันทารามวรวิหาร"
},
{
"docid": "35128#17",
"text": "ตั้งอยู่ตำบลบ้านหวด บนถนนพหลโยธิน สายลำปาง-งาว ห่างจากตัวอำเภองาว 10 กิโลเมตร วัดจองคำเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง โดยสถาปัตยกรรมก่อสร้างที่โดดเด่นเป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ สันนิษฐานว่าก่อสร้างโดยชาวพม่าที่มารับจ้างทำสัมปทานป่าไม้ที่เขตอำเภองาว ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด ตัววิหารชัยภูมิศิลปะแบบไทยใหญ่หลังเดิมถูกรื้อย้ายมาไปไว้ ณ เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ หลังที่เห็นปัจจุบันเป็นศิลปะที่สร้างขึ้นมาใหม่ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ได้มีการยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง วัดจองคำได้รับคัดเลือกให้สถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ถือเป็นพระอารามหลวงลำดับที่สามของจังหวัดลำปาง นอกจากนี้ยังเป็นโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดลำปาง แต่ละปีนักเรียนปริยัติธรรมสามารถสอบเปรียญธรรมบาลีได้ตั้งแต่ประโยคหนึ่งจนถึง ป.ธ.9 ได้รับพระราชทานอุปสมบทเป็นนาคหลวงจำนวนมาก เจ้าอาวาสลำดับปัจจุบันและเจ้าสำนักได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามว่า พระเทพปริยัติมงคล",
"title": "อำเภองาว"
}
] |
3947 | ประเทศโรมาเนียเมืองหลวงชื่อว่าอะไร? | [
{
"docid": "560869#3",
"text": "ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1862 (24 มกราคม Old Style) ราชรัฐทั้งสองได้รวมตัวกันอย่างเป็นทางการ กลายเป็น สหราชรัฐแห่งโรมาเนีย, โดยมีกรุงบูคาเรสต์เป็นเมืองหลวง",
"title": "ราชอาณาจักรโรมาเนีย"
}
] | [
{
"docid": "396741#0",
"text": "หลวงปู่หลุย (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 - 25 ธันวาคม พ.ศ. 2532) พระเถระสายอีสานสายหลวงปู่มั่น สายธรรมยุติ เป็นพระอริยสงฆ์ผู้มีศีลวัตรปฏิบัติอันงดงาม\nหลวงปู่หลุย จันทสาโร ท่านเกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายคำฝอย วรบุตร ลูกชายเจ้าเมืองแก่นท้าว แขวงไชยบุรี ประเทศลาว และนางกวย (สุวรรณภา) วรบุตร ในช่วงวัยเด็กท่านศึกษาจบระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และได้ทำงานเป็นเสมียน กับพี่เขยที่เป็นสมุห์บัญชีสรรพากร อ.เชียงคาน และเมื่อปี 2464 ได้ย้ายไปทำงานที่อำเภอแซงบาดาล (ธวัชบุรี) และที่ห้องอัยการภาค จ.ร้อยเอ็ด ด้วยการอุปถัมภ์ของอัยการภาคร้อยเอ็ด ท่านได้นับถือศาสนาคริสต์ อยู่ 5 ปี จนลุงของท่าน เรียกท่านว่า เซนต์หลุยส์ หรือ หลุย ท่านจึงถูกเรียกชื่อว่า หลุย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และต่อมาท่านได้กลับใจเปลี่ยนศาสนามานับถือศาสนาพุทธแทน และได้อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2466 เป็นพระมหานิกาย ณ อ.แซงบาดาล จ.ร้อยเอ็ด ในช่วงพรรษาที่ 1 ท่านได้พยายามศึกษาพระธรรมวินัย ทั้งปริยัติธรรมและปฏิบัติ ครั้นถึงคราวออกพรรษา ท่านได้ลาพระอุปัชฌาย์ไปเข้าร่วมการคัดเลือกเกณฑ์ทหารที่จังหวัดเลย และได้เดินทางไปนมัสการพระธาตุพนม ที่จังหวัดนครพนม",
"title": "หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร"
},
{
"docid": "7156#4",
"text": "ชาลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน เกิดที่เมืองชรูซบรี ชรอพเชอร์ ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 ที่บ้านของตระกูล คือเดอะเมานท์[16] เขาเป็นบุตรคนที่ห้าในจำนวนทั้งหมด 6 คนของครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวยและมีชื่อเสียงครอบครัวหนึ่งของอังกฤษ บิดาของดาร์วินเป็นนายแพทย์ชื่อว่า โรเบิร์ต วอริง ดาร์วิน มารดาชื่อ ซูซานนา ดาร์วิน (สกุลเดิม เวดจ์วูด) เขาเป็นหลานของเอรัสมัส ดาร์วิน กับ โจสิอาห์ เวดจ์วูด ทั้งสองตระกูลนี้เป็นคริสตชนยูนิทาเรียน (Unitarian) ผู้เคร่งครัดที่เชื่อว่ามีพระเจ้าเพียงองค์เดียว แต่ตัวโรเบิร์ต ดาร์วิน นั้นเป็นคนหัวเสรี และให้ชาลส์บุตรชายไปรับศีลในโบสถ์ของนิกายแองกลิกัน แต่ชาลส์กับพี่น้องก็ไปเข้าโบสถ์ของยูนิทาริสต์กับมารดา เมื่อชาลส์อายุ 8 ขวบ ได้หลงใหลในประวัติศาสตร์ธรรมชาติและเริ่มสะสมสิ่งต่างๆ เมื่อเขาเข้าโรงเรียนเมื่อปี ค.ศ. 1817 มารดาของเขาเสียชีวิตเมื่อเดือนกรกฎาคมปีนั้น นับจากเดือนกันยายน ค.ศ. 1818 เขาก็ไปอยู่ประจำที่โรงเรียนซรูซบรีอันเป็นโรงเรียนนิกายแองกลิกัน กับพี่ชายของตนคือ เอรัสมัส อัลวีย์ ดาร์วิน[17]",
"title": "ชาลส์ ดาร์วิน"
},
{
"docid": "832348#0",
"text": "หลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร เป็นพระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ศิษย์ของหลวงปู่ชอบ ฐานสโม เจ้าอาวาสวัดถ้ำสหาย (วัดถ้ำสหายธรรมจันทร์นิมิต) หมู่ที่ ๓ ต.ทับกุง อ.หนองแสง จ.อุดรธานี \nหลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร เกิดเมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ณ.หนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี",
"title": "หลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร"
},
{
"docid": "67758#1",
"text": "การเตรียมไดคลอโรมีเทนสามารถทำได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1840 โดยนักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อว่า อองรี วิกเตอร์ เรโญลต์ (Henri Victor Regnault) โดยแยกไดคลอโรมีเทนออกจากของผสมของคลอโรมีเทนกับคลอรีนระหว่างที่ถูกแสงอาทิตย์",
"title": "ไดคลอโรมีเทน"
},
{
"docid": "55626#4",
"text": "ก่อนที่พระราชพรหมยานจะเกิดนั้น มารดาของท่านฝันว่า เห็นพระพรหมมีสีเหลืองเป็นทองคำเหมือนพระพุทธรูป นอนลอยไปในอากาศ มีเพชรประดับแพรวพราวทั้งตัว เข้าทางหัวจั่วด้านทิศเหนือ เข้ามานั่งที่ตักท่าน มารดาก็กอดไว้ แล้วก็หายเข้าไปในกาย เมื่อเกิดมาใหม่ ๆ หลวงพ่อเล็ก เกสโร ซึ่งมีฐานะเป็นลุง ได้กล่าวว่า เจ้าเด็กคนนี้มาจากพรหม ดังนั้นจึงให้ชื่อว่า \"พรหม\" และต่อมาภายหลัง คนที่จดสำมะโนครัวเขามาเปลี่ยนชื่อให้เป็น \"สังเวียน\" ท่านยายกับชาวบ้านเรียกว่า \"เล็ก\" ส่วนท่านมารดาและพี่ ๆ น้องๆ เรียกว่า \"พ่อกลาง\"",
"title": "พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร)"
},
{
"docid": "149643#10",
"text": "หมอโฮจุน เป็นแพทย์หลวงในราชสำนัก เขียนหนังสือเรื่อง ทงอึยโพกัม (ความวิเศษของการแพทย์ตะวันออก) เริ่มเขียนในพ.ศ. 2139 แต่หยุดไปด้วยสงครามเจ็ดปี และเสร็จสิ้นในพ.ศ. 2152 สมัยองค์ชายควางแฮ\nองค์ชายควางแฮทรงโปรดปรานซังกุงคนหนึ่งมา ชื่อว่า คิมคเยชิ หรือ คิมซังกุง พอพระองค์ทรงครองราชย์ทรงแต่งตั้งเป็น พระสนมซุกวอน ตระกูลคิม",
"title": "เจ้าชายควังแฮ"
},
{
"docid": "936825#7",
"text": "หลวงพ่อนิยมมีความสนใจ และเริ่มศึกษาเรื่องวิทยาคมตั้งแต่มีอายุได้เพียง 10 ขวบ กับโยมตาสืบ เปลี่ยนสี (เป็นอาจารย์ฆราวาสจอมขมังเวท และหมอยาเลื่องชื่อ) อีกทั้งท่านยังได้รับการสักยันต์ และร่ำเรียนวิชาจากพระเกจิอาจารย์แห่งภาคตะวันออกหลายท่าน อาทิ หลวงพ่อเฉย สุชาโต วัดตะเคียนเตี้ย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี, หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม อ.เมือง จ.ระยอง, หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา, หลวงพ่อทัต วรุตฺตโม วัดช่องแสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี, หลวงพ่อสงฆ์ วัดหนองสนม, หลวงปู่คร่ำ ยโสธโร วัดวังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง",
"title": "พระครูเมตตาธิการี (นิยม กนฺตจาโร)"
},
{
"docid": "119779#3",
"text": "โรเบิร์ต ฮันเตอร์ นับได้ว่าเป็นชาวตะวันตกที่สามารถพูดภาษาไทยและเข้าใจคนไทยได้เป็นอย่างดี และมีความรู้จักกับขุนนางในราชสำนักคนสำคัญหลายคน ชีวิตส่วนตัวได้สมรสกับหญิงไทยเชื้อสายโปรตุเกสที่บ้านกุฎีจีน มีชื่อว่า แองเจลิน่า โดยมีชื่อภาษาไทยว่าทรัพย์ เชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาวิชาเยนทร์รุ่นที่สี่ เรียกกันอย่างยกย่องว่า ท่านผู้หญิงทรัพย์ เธอเป็นผู้นำชุมชนกระดีจีน(กุฎีจีน) โดยฮันเตอร์ตั้งใจไว้ว่าจะใช้ชีวิตทั้งหมดอยู่ในประเทศไทย",
"title": "หลวงอาวุธวิเศษประเทศพานิช (โรเบิร์ต ฮันเตอร์)"
},
{
"docid": "40282#42",
"text": "พระองค์ทรงเป็นผู้นำชักชวนสตรีไทย ให้เลิกการคลอดบุตรในลักษณะที่ต้องอยู่ไฟมาใช้วิธีการพยาบาลแบบสากล ที่สุขสบายและได้ผลดีกว่า นอกจากนี้พระองค์ยังมีพระราชดำริจัดตั้งสภาอุณาโลมแดงและได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2436 เพื่อเป็นศูนย์กลางบรรเทาทุกข์ช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย ซึ่งต่อมาภายหลังที่ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศส เรื่องเขตแดนริมฝั่งแม่น้ำโขง เมื่อ พ.ศ. 2436 อันนำมาซึ่งการบาดเจ็บให้กับทหารและราษฎรจำนวนมาก สภาอุณาโลมแดง ได้เป็นศูนย์กลางในการบรรเทาทุกข์ลงอย่างมาก หลังจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว สภาอุณาโลมแดง จึงใช้ชื่อว่า สภากาชาดสยาม ซึ่งแปรเปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และสภากาชาดไทยในปัจจุบัน ซึ่งนับว่าเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรแรกในประเทศไทย[38] ทั้งนี้สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) เป็นสภาชนนี และพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) ทรงดำรงตำแหน่งสภานายิกา ซึ่งพระองค์ได้ทรงดำรงตำแหน่งองค์สภานายิกาสืบต่อมารวมเวลาถึง 26 ปี[39] อีกทั้งพระองค์ยังได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ แก่โรงพยาบาลหลายแห่งทั้งใน กรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด",
"title": "สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง"
},
{
"docid": "832348#3",
"text": "ในปี 2526 หลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร ได้เดินธุดงส์มาจนพบถ้ำสหาย ซึ่งสมัยก่อนเป็นที่อยู่ของพวกสหายคอมมูนิสต์แถวนี้ หลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร จึงตั้งชื่อว่าวัดถ้ำสหายจันทร์นิมิต โดยจันทร์นิมิต ก็มาจากหลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร เป็นผู้นิมิตเห็นนั่นเอง จึงเป็นที่มาของ วัดถ้ำสหาย (วัดถ้ำสหายธรรมจันทร์นิมิต) จนถึงปัจจุบันนี้",
"title": "หลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร"
},
{
"docid": "28282#0",
"text": "หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นพระเถระในสายพระป่าในประเทศไทย",
"title": "หลวงปู่ฝั้น อาจาโร"
},
{
"docid": "179895#0",
"text": "นายนอร์แมน ซัตตัน (Norman Sutton – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2424 – 24 ธันวาคม พ.ศ. 2493) ซึ่งนักเรียนและคนทั่วไปในสมัยนั้นเรียกท่านว่า \"ครูซัตตัน\"อาจารย์ใหญ่โรงเรียนปทุมคงคา รักษาการณ์อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และอาจารย์ใหญ่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ผู้วางโครงการเพิ่มหลักสูตรวิชาคำนวณและภาษาฝรั่งเศส เสนอให้นักเรียนสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงเป็นนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 8 แทนนักเรียนมัธยมปีที่ 6 และปรับปรุงหลักสูตรและวิธีการสอนให้เข้มไปพร้อมจริยศึกษาและพลศึกษา ความเข้มงวดในการอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ให้เป็นคนดีของครูซัตตันเป็นที่เลื่องลือในบรรดาลูกศิษย์และมีการเล่าต่อๆ กันมาอีกหลายรุ่น\n== ประวัติ ==\nครูซัตตันเกิดที่ตำบลโคมซัลใกล้เมืองลีดส์ มณฑลยอร์คเชียร์ ประเทศอังกฤษ เมื่ออายุ 14 ปีได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนแยตเลย์และสอบชิงทุนเข้าเรียนต่อวิชาครูที่วิทยาลัยเบอโรโรด ที่ไอเซิลเวิธได้ในเวลา 4 ปีต่อมา วิทยาลัยครู \"เบอโรโรด\" (Borough Road College) ที่มีชื่อเสียงแห่งนี้มีคนไทยได้รับทุนเล่าเรียนหลวงมาเรียนและจบการศึกษากันหลายคน ได้แก่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาราชนกูร (รื่น ศยามานนท์) พระยาภะรตราชา (มล. ทศทิศ อิศรเสนา) พระยาผดุงวิทยาเสริม (กำจัด พลางกูร) และอื่นๆ อีกหลายท่าน รวมทั้ง “ครูฝรั่ง” ที่รัฐบาลจ้างให้เข้ามาสอนในประเทศไทยจำนวนมาก จึงนับว่าวิทยาลัยแห่งนี้มีสัมพันธ์ด้านการศึกษาที่ดียิ่งกับประเทศสยามในขณะนั้น ",
"title": "นอร์แมน ซัตตัน"
},
{
"docid": "94477#3",
"text": "ต่อมาศิษย์ของท่านชื่อว่า สิทธะนาฬาปาทะ (นโรปะ) ได้แปลคัมภีร์ \"สฬสธัมโมปเทส\" เป็นภาษาบาลี และก็มีลูกศิษย์ของท่านชื่อว่า รัตนเถระ และคณาจารย์จากสถาบันนี้ไปเผยแผ่พุทธศาสนาในทิเบตด้วย คณาจารย์ที่มีชื่อเสียงของสถาบันแห่งนี้ คือ สิทธะนโรปะ สิทธะหลุยปาทะ สิทธะอานังควัชระ สิทธะตาฆนะ สิทธะสาวรีปาทะ สิทธะอาวธูตปาทะ สิทธะนานาโพธะ สิทธะญาณวัชระ สิทธะพุทธญาณปาทะ สิทธะอโมฆนาถะ และสิทธะธรรมสิริเมไตร เป็นต้น ซึ่งบางรูปก็เป็นชาวจิตตะกอง",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศบังกลาเทศ"
},
{
"docid": "25771#0",
"text": "หนานจิง หรือรู้จักกันอีกชื่อว่า นานกิง () เป็นเมืองหลวงของมณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยหนานจิงเป็นหนึ่งในเมืองหลวงเก่าของจีน ปัจจุบันหนานจิงเป็นเมืองใหญ่อันดับสองในภาคตะวันออกของจีน รองจากช่างไห่ และหนานจิงเป็นเมืองหลวงของจีนคณะชาติสมัยปฏิวัติล้มล้างจักรพรรดิจีน ราชวงศ์ชิงหรือแมนจู หนานจิง ที่แปลว่านครหลวงใต้ เคยเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์ จนได้รับสมญานามว่า เมืองหลวงสิบแผ่นดิน และยังเป็น 1 ใน 6 นครโบราณ อันได้แก่ ปักกิ่ง หนานจิง ซีอาน ลั่วหยาง หางโจว และ ไคเฟิง เป็นเมืองหลวงครั้งสุดท้ายระหว่างปี พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2492 โดยรัฐบาลสาธารณรัฐจีน ซึ่งมีผู้นำขณะนั้น คือ นายพลเจียงไคเช็ค หลังสถาปนาเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลใหม่จึงได้ย้ายเมืองหลวงกลับมายังปักกิ่งดังเดิม",
"title": "หนานจิง"
},
{
"docid": "972474#0",
"text": "พระราชพฤฒาจารย์ (ห้อม อมโร) อดีตเป็นเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย อดีตเจ้าอาวาสวัดคูหาสุวรรณ เป็นพระเถราจารย์ที่เป็นศิษย์หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เทโว ที่มีประวัติว่าเคยเดินทางมาศึกษากับสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังษี แห่งวัดระฆัง พร้อมกับคณาจารย์ชาวบ้านสวนอีกหลายท่านอาทิ พ่อเจ็ก วัดหัวฝาย และหลวงพ่อแป๊ะ เจ้าอาวาสวัดคุ้งยางใหญ่ รวม 6 พรรษา จากนั้นหลวงพ่อฤทธิ์ พร้อมคณะคณาจารย์จึงเดินทางกลับสุโขทัย หลวงพ่อห้อมเมื่อบวชในภายหลังจึงได้ไปศึกษาหาความรู้และเป็นที่เคารพนับถือในฐานคณาจารย์สายหลวงพ่อฤทธิ์ และสายสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ที่ถูกนับถือในสุโขทัยและจังหวัดอื่น ๆในวงกว้าง\nหลวงพ่อห้อม อมโร เกิดเมื่อวันอังคาร แรม 13 ค่ำ เดือน ปีวอก ตรงกับปีสากลคือ 19 มกราคม 2451 เวลา 5 โมงเย็นโดยประมาณ เป็นบุตรนายเรื่อง ครุฑนาค มารดาคือ นางมาลัย ครุฑนาค เกิดที่บ้านคลองตะเคียน ตำบลบ้านสวน จังหวัดสุโขทัย ในขณะที่คลอดมีญาติมิตร มาร่วมแสดงความยินดีกันจำนวนมาก ปู่จึงถือนิมิตรนี้ในการตั้งชื่อว่า \"ห้อม\"\nห้อม ครุฑนาค ในวัยถึงแก่การอุปสมบทตามประเพณีของชาวพุทธ ได้เข้าบวชที่พัทธสีมาวัดคุ้งยางใหญ่ ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองจังหวัดสุโขทัย เมื่อ วันพฤหัสบดี แรม 4 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง วันที่19 มีนาคม 2471 โดยมีพระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยสทินฺโน) ในขณะที่มีสมณศักดิ์ที่พระครูวินัยสาร(ทิม ยสทินฺโน) เจ้าคณะอำเภอเมืองสุโขทัย ต่อมาท่านได้เลื่อนขึ้นเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีพระครูสังฆรักเจ๊ก เจ้าอาวาสวัดหัวฝาย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการแป๊ะ เจ้าอาวาสวัดคุ้งยางใหญ่เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีผู้เข้าร่วมอุปสมบทด้วยกันทั้งสิ้น 27 คน เข้าโบสถ์เวลาเช้ามืด ได้นามฉายา อมโร\nหลวงพ่อห้อม อมโร เป็นศูนย์กลางศรัทธาของจังหวัดสุโขทัย ในวงกว้าง ด้วยการที่มีศิษย์ได้นิมนต์ท่านไปสร้างวัดในหลาย ๆ แห่ง อาทิ วัดอมราวาส หรือวัดศูนย์ ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ในเขตตำบลบ้านเกิดของท่าน หรือวัดคลองตะเคียน อันเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน หลวงพ่อห้อมได้ไปริเริมสร้างวัด จนกระทั่งกลายเป็นศูนย์กลางของชุมชนหมู่ 6 ตำบลบ้านสวน ด้วยความที่ท่านเป็นพระสงฆ์ด้านการปกครอง เป็นพระภิกษุนักพัฒนา รวมไปถึงส่งเสริมการพัฒนาวัดในหลายๆ แห่ง จึงทำให้ท่านเป็นที่เคารพนับถือในวงกว้าง",
"title": "พระราชพฤฒาจารย์"
},
{
"docid": "108141#9",
"text": "พระเจ้าจุงจงสวรรคตในปีค.ศ. 1544 รัชทายาทที่เป็นพระโอรสของพระนางชังกย็องจึงได้ขึ้นครองราชย์ต่อเป็นพระเจ้าอินจง (인종, 仁宗) ทำให้ขุนนางฝ่ายยุนใหญ่ขึ้นมามีอำนาจ แต่ก็เป็นเพียงช่วงเวลาอันสั้น พระเจ้าอินโจก็อยู่ในราชสมบัติได้ไม่นานก็สวรรคต พระเจ้าจุงจงมีสุสานหลวงชื่อว่า \"จองนึง\" (정릉, 靖陵)",
"title": "พระเจ้าจุงจง"
},
{
"docid": "485789#0",
"text": "พิงก์ฟรายเดย์: โรแมนรีโลเดด () เป็นสตูดิโออัลบั้มที่สองของศิลปินอเมริกันนิกกี มินาจที่ปล่อยออกมาในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555 โดยทางค่าย Young Money, Cash Money, Universal Republic. ซึ่งอ้างอิงชื่อจากอัลบั้มเปิดตัวของเธอคือ พิงก์ฟรายเดย์ และปล่อยซิงเกิลพิเศษคือ โรมัน รีโหลด. อัลบั้มนี้ได้เปิดตัวซิงเกิลแรกที่ชื่อว่า \"สตาร์ชิพส์\" โดยซิงเกิลนี้สามารถติดชาร์ตเป็นอันดับต้น ๆ ได้",
"title": "พิงก์ฟรายเดย์: โรแมนรีโลเดด"
},
{
"docid": "209184#0",
"text": "สำหรับประเทศไทยปลูกกาแฟโรบัสตาร้อยละ 98 โดยมากปลูกทางภาคใต้ เช่น ระนอง สุราษฎร์ธานี และชุมพร อีกประมาณร้อยละ 2 เป็นกาแฟอะแรบิกาซึ่งปลูกมากตามดอยต่าง ๆ ทางภาคเหนือ กาแฟที่มีชื่อเสียงของไทยได้แก่ กาแฟดอยช้าง ซึ่งปลูกบนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย ถือว่าเป็นกาแฟได้จากกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานระดับสากล และรสชาติดีเทียบเคียงกับกาแฟที่มีชื่อเสียงของโลก ส่วนแหล่งปลูกอื่นๆ ในภาคเหนือได้แก่ บ้านแม่กำปอง อำเภอแม่ออน, บ้านแม่ตอนหลวง อำเภอดอยสะเก็ด, บ้านแม่หลอด อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และ สวนยาหลวง บ้านสันเจริญ อำเภอท่าวังผา, บ้านมณีพฤกษ์ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน เป็นต้น",
"title": "แหล่งปลูกกาแฟที่มีชื่อเสียง"
},
{
"docid": "163651#14",
"text": "ผ้าปักเริ่มด้วยฉากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพผู้ไม่มีพระราชโอรสเพื่อการสืบราชสมบัติ และดูเหมือนว่าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจะทรงส่งฮาโรลด์ กอดวินสันผู้เป็นขุนนางคนสำคัญของอังกฤษไปนอร์ม็องดีแต่ผ้าปักมิได้ระบุเหตุผลของการเดินทางของฮาโรลด์ เมื่อไปถึงนอร์ม็องดีฮาโรลด์ก็ถูกจับเป็นนักโทษโดยกีย์ เคานต์แห่งปองทู พอได้รับข่าวดยุควิลเลียมก็สั่งให้กีย์ส่งตัวฮาโรลด์มาให้พระองค์ ดยุควิลเลียมคงทรงมีความประทับใจในตัวฮาโรลด์ กอดวินสันอยู่บ้างเพราะทรงออกสงครามร่วมกับฮาโรลด์ในการต่อสู้กับโคนันที่ 2 ดยุคแห่งเบรอตาญผู้เป็นศัตรูของดยุควิลเลียม ขณะที่เดินผ่านมง-แซ็ง-มีแชลเพื่อไปยังเบรอตาญ ฮาโรลด์ก็ได้ช่วยนายทหารสองคนของดยุควิลเลียม บารอนเอียน เด ลา โกลด์ฟินช์ และหลวงพ่อพอล เลอ คีนให้รอดจากทรายดูด ฮาโรลด์และดยุควิลเลียมไล่ตามโคนันจากโดลเดอเบรอตาญไปจนถึงแรนส์และในที่สุดดินองเมื่อโคนันยอมแพ้ อาจจะเป็นได้ว่าดยุควิลเลียมอาจจะแต่งตั้งให้ฮาโรลด์เป็นอัศวินหลังจากที่ทรงชนะสงครามต่อโคนันแล้วฮาโรลด์ก็สาบานต่อวัตถุมงคลของนักบุญ สันนิษฐานเป็นรากฐานที่ทำให้พงศาวดารของนอร์มันตีความหมายว่าการสาบานของฮาโรลด์ว่าเป็นการประกาศสนับสนุนดยุควิลเลียมในการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษ แต่ตัวผ้าปักมิได้ระบุดังที่ว่า หลังจากนั้นฮาโรลด์ก็เสด็จกลับอังกฤษและเข้าเฝ้าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้กริ้วที่ฮาโรลด์ไปสาบานต่อดยุควิลเลียม เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตฮาโรลด์ก็ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน ในพรมผนังบาเยอฮาโรลด์ กอดวินสันได้รับการสมมงกุฏโดยสไตกานด์ (Stigand) อัครบาทหลวงแห่งแคนเตอร์บรีผู้ที่ดำรงตำแหน่งอย่างเป็นที่น่าสงสัย หลักฐานอื่นๆ ของนอร์มันต่างก็กล่าวเช่นเดียวกันทำให้ดูราวกับว่าการสวมมงเกุฏเป็นไปโดยไม่ชอบธรรม แต่หลักฐานอังกฤษกล่าวว่าทรงได้รับการสมมงกุฏโดยเอเดรดอัครบาทหลวงแห่งยอร์กซึ่งทำให้รู้สึกว่าการเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษของฮาโรลด์เป็นไปอย่างถูกต้อง",
"title": "พรมผนังบาเยอ"
},
{
"docid": "586595#6",
"text": "เล่าลือกันว่า เมื่อพระยาชัยสุนทร (เก) ได้พบพระพุทธรูปหลวงพ่อองค์ดำแล้ว ก็มีความปรารถนาที่จะนำไปประดิษฐานไว้ที่หอโฮงการเจ้าเมือง (โฮงหรือจวนสำเร็จราชการ) ที่เมืองกาฬสินธุ์ เพื่อเป็นการเสริมบารมีแก่ตน แต่ชาวบ้านในละแวกนั้นไม่ต้องการให้นำหลวงพ่อองค์ดำไปจากหมู่บ้าน เนื่องจากชาวบ้านมีความเคารพนับถือและเลื่อมใสศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อองค์ดำมาแต่โบราณ พระยาชัยสุนทร (เก) จึงได้นำช้างทรง 5 เชือก มาอัญเชิญพระพุทธรูปออกไปให้สมฐานะผู้ปกครองเมือง ทำให้ชาวบ้านยอมถวายหลวงพ่อองค์ดำแก่พระยาชัยสุนทร (เก) ด้วยความไม่เต็มใจ เมื่อพระยาชัยสุนทร (เก) นำหลวงพ่อองค์ดำไปประดิษฐานที่หอโฮงการก็ทำเกิดเหตุอาเพศหลายประการแก่ตน อาทิ พ่อตาผู้เป็นบิดาของหม่อมห้ามถึงแก่กรรมด้วยโรคแปลกประหลาด แม่ยายผู้เป็นมารดาของหม่อมห้ามถึงแก่กรรม เกิดการทะเลาะวิวาทกันระหว่างนางสนมและหม่อมห้ามของพระองค์ เกิดไฟไหม้หอโฮงการ และพระองค์เองก็มีเหตุตกจากหลังช้างทรงจนได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น อาเภทเหล่านี้เป็นเหตุให้หลวงพ่อองค์ดำประดิษฐาน ณ หอโฮงการเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ได้เพียง 1 ปีเศษ ต่อมาพระยาชัยสุนทร (เก) จึงได้อัญเชิญไปถวายไว้เพื่อสืบทอดพระวรพุทธศาสนาและประดิษฐานที่วัดกลางพระอารามหลวง ซึ่งในขณะนั้นอาชญาคูอ้มดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ แต่ได้ไปจำพรรษาที่วัดเหนือและต่อมาได้จำพรรษาที่วัดกลาง จนถึงสมัยของพระครูสุขุมวาทวรคุณ (สุข สุขโณ) จึงได้นำหลวงพ่อองค์ดำประดิษฐานไว้ที่กุฎิเพื่อป้องกันการสูญหาย แต่ทว่าด้วยชื่อเสียงของหลวงพ่อองค์ดำทำให้ชาวบ้านต้องมาสักการะบูชา พระครูสุขุมวาทวรคุณ (สุข สุขโณ) จึงนำหลวงพ่อองค์ดำไปแห่รอบเมืองเพื่อขอฝนเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาชาวเมืองกาฬสินธุ์ เป็นเหตุให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลทำให้ชาวบ้านเรียกหลวงพ่อองค์ดำอีกนามหนึ่งว่า หลวงพ่อซุ่มเย็น ต่อมา ชาวเมืองกาฬสินธุ์เรียกขานนามว่า พระพุทธสัมฤทธิ์นิรโรคันตราย[11]",
"title": "พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์)"
},
{
"docid": "887220#0",
"text": "เซีย เคต อิโซเบลล์ เฟอร์เลอร์ () เกิด 18 ธันวาคม ค.ศ. 1975 เป็นนักร้อง-นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์เพลง และผู้กำกับมิวสิกวิดีโอชาวออสเตรเลีย เธอเริ่มต้นอาชีพนักร้องโดยการเป็นนักร้องในวงแนวแอซิดแจ๊ซในคลับท้องถิ่นที่แอดิเลด กับวงที่ชื่อ คริสป์ (Crisp) ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 ต่อมาในปี ค.ศ. 1997 วงคริสป์แยกวงไป เธอจึงได้ออกผลงานเดี่ยวอัลบั้มสตูดิโอ ใช้ชื่อว่า \"OnlySee\" ในประเทศออสเตรเลีย จากนั้นเธอย้ายมายังกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นนักร้องนำวงดูโออังกฤษ ชื่อวง ซีโรเซเวน (Zero 7)",
"title": "เซีย (นักดนตรี)"
},
{
"docid": "340723#2",
"text": "จากคำบอกเล่าของพระเดชพระคุณหลวงพ่อห้อม อมโร (พระราชพฤฒาจารย์) อดีตเจ้าอาวาสวัดคูหาสุวรรณ เดิมชื่อว่าวัดศิริ ตามที่ชื่อผู้สร้างวัดนี้ขึ้นมาซึ่งเป็นอดีตตาทวดของหลวงพ่อห้อม ที่ชื่อว่า ดี คำว่า วัดน้อย นี้มาจากวัดนี้เป็นวัดเล็กๆอยู่ข้างคลองน้ำ ซึ่งฝั่งตรงข้ามทางทิศใต้ มีวัดชื่อวัดคุ้งยางใหญ่ หรือที่ชาวบ้านต.บ้านสวน เรียกว่า วัดใหญ่ ซึ่งมีอาณาบริเวณกว้างขวางใหญ่โตกว่ามาก ชาวบ้านสวนจึงเรียก วัดศิริ นี้ว่า วัดน้อย ",
"title": "วัดฤทธิ์ศิริราษฎร์เจริญธรรม"
},
{
"docid": "521108#0",
"text": "โรเซนดาล () เป็นทั้งเมืองและเทศบาลทางตอนใต้ของประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่เดิมรวมกับเมืองนิสเพิน ใช้ชื่อว่า โรเซนดาลเอนนิสเพิน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1997 เทศบาลโรเซนดาลเอนนิสเพิน และเวาว์ (Wouw) รวมเป็นเทศบาลเดียวกันใช้ชื่อว่า โรเซนดาล",
"title": "โรเซนดาล"
},
{
"docid": "56394#1",
"text": "พระปทุมวรราชสุริยวงศ์(ท้าวคำผง - ต้นสายสกุล \" ณ อุบล \" ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก ได้ได้ก่อสร้างวัดที่ริมฝั่งแม่น้ำมูล ตั้งชื่อว่า วัดหลวง เพื่อให้เป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลแก่ประชาชนทั่วไป\nเมื่อพระมหาเถระได้เข้ามาอยู่จำพรรษาแล้วท่านเห็นว่า วัดนี้เป็นวัดบ้าน หรือ ฝ่ายคามวาสีไม่เหมาะแก่การปฏิบัติสมณธรรม]วิปัสสนากรรมฐาน จึงได้หาสถานที่ใหม่ คือ ป่าดงอู่ผึ้ง ห่างจากวัดหลวงไปทางทิศเหนือ 100 เส้น มีหนองน้ำ ชื่อว่า หนองสะพัง เป็นสถานที่อันสงบวิเวก เหมาะจึงได้ก่อตั้งขึ้นเป็นสำนักสงฆ์ (พ.ศ. 2322) ชื่อว่า วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ เพื่อให้คู่กับวัดหลวงซึ่งก่อตั้งขึ้นก่อนแล้วนั้น แต่ก็ยังไม่ทันได้ตั้งเป็นวัดให้เรียบร้อยสมบูรณ์ เจ้าเมืองคือ พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวคำผง - ต้นสายสกุล \" ณ อุบล \" ) ได้ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อนเมื่อ พ.ศ. 2338)\nพ.ศ. 2348 เจ้าเมืองคนที่ 2 คือ พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวทิดพรหม - ต้นสายสกุล \" พรหมวงศานนท์ \" ) ได้มาก่อสร้างวิหารอารามในวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ต่อจนสำเร็จใน พ.ศ. 2350 และได้ยกฐานะเป็นวัดชื่อว่า วัดป่าหลวงมณีโชติ แต่ชาวบ้านเรียกว่า วัดหนองตะพังหรือหนองสระพัง ตามชื่อหนองน้ำที่อยู่ใกล้เคียง (มีหลักฐานการสร้างวัดอยู่ที่ ศิลาจารึก ซึ่งตั้งอยู่ข้างหลัง (ด้านซ้าย) ของพระเจ้าใหญ่อินทร์แปงระบุปีที่สร้างวัดนี้ ตรงกับ พ.ศ. 2350) โดยมีพระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก และเป็นผู้สร้างพระพุทธรูปพระอินแปง หรือ พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง ",
"title": "วัดมหาวนาราม"
},
{
"docid": "223003#1",
"text": "โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูลจัดสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2452 เนื่องจากขณะนั้นกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) ต้องการให้ทุกจังหวัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้น พระยาอิศราธิชัย หรือ หมี ณ ถลาง ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ในขณะนั้น จึงได้ริเริ่มสร้างโรงเรียนหลวงขึ้นในเขตวัดแก้วโกรวาราม โดยมีพ่อค้า คหบดีและข้าราชการ ร่วมแรงร่วมใจช่วยกันสร้างโรงเรียนแห่งนี้ขึ้น ให้ชื่อว่า “โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล” โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูงประมาณเมตรเศษ ทรงหลังคาแบบปั้นหยา มุงสังกะสี มี 4 ห้องเรียนตั้งอยู่ที่ตั้งศาลาการเปรียญปัจจุบันนี้",
"title": "โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล"
},
{
"docid": "564796#5",
"text": "หลังจากยอดขายเริ่มลดลง โรเจอส์ ได้เข้าร่วมกับวงแจ๊ซ นามว่า \"The Bobby Doyle Trio\" ซึ่งเล่นดนตรีตามคลับต่างๆมากมาย และยังได้อัดเพลงกับ Columbia Records อีกด้วย\nวงนี้แยกวงในปี 1965 หลังจากนั้นในปี 1966 โรเจอส์ ได้ปล่อยซิงเกิ้ล แจ๊ส-ร็อค ภายใต้ Mercury Records ชื่อว่า \"Here's That Rainy Day\" แต่ไม่ประสบความสำเร็จ\nโรเจอส์ ยังได้ทำงาน ในฐานะโปรดิวซ์เซอร์เพลง นักแต่งเพลง และนักดนตรีให้ศิลปินอื่นด้วย เช่น Mickey Gilley และ Eddy Arnold \nในปี 1966 เขาเข้าร่วมกับวง \"The New Christy Minstrels\" ในฐานะนักร้องและ นักเล่น ดับเบิลเบส",
"title": "เคนนี โรเจอส์"
},
{
"docid": "828796#1",
"text": "โฮงอันเป็นที่ประทับตลอดจนใช้ว่าราชการและสำเร็จราชการงานเมืองของพระมหากษัตริย์ เจ้าผู้ครองนคร และเจ้าเมืองนั้น บ้างก็เรียกว่า หอโฮงหลวง หอโฮงการ โฮงหลวง หอหลวง หอคำ หรือเรียกต่อท้ายด้วยบรรดาศักดิ์และราชทินนามของเจ้าเมืองหรือเจ้านคร เช่น โฮงพระยาประจันตประเทศธานี (เจ้าเมืองสกลนคร) โฮงเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงษ์ (เจ้าเมืองอุบลราชธานี) เป็นต้น",
"title": "โฮง"
},
{
"docid": "61435#6",
"text": "เมื่ออายุได้ได้ 8 ปี โนวส์ได้พบกับ ลาทาเวีย โรเบอร์ซัน ในขณะที่มีการออดิชั่นวงดนตรีหญิงล้วน[13] พวกเธอและเพื่อนของโนวส์ เคลลี โรว์แลนด์ ถูกจัดให้เป็นกลุ่มที่เน้นการเต้นและร้องเพลงแร็ป ใช้ชื่อว่า เกิร์ลสไทม์[8] ในที่สุดพวกเขาก็ได้คัดให้เหลือสมาชิก 6 คน[7] ด้วยโนวส์และโรว์แลนด์ เกิร์ลสไทม์ จึงได้ดึงดูดผู้ชมทั่วประเทศเป็นอย่างมาก เวสต์ คอส โปรดิวเซอร์เพลงแนวอาร์แอนด์บีและอาร์น ฟราเจอร์ ได้เข้าไปในฮิวสตันเพื่อดูแลพวกเธอ และเขาก็ได้พาพวกเธอไปยังสตูดิโอเพลงของเขา เดอะแพลนต์เรเคิดดิงสตูดิโอส์ ในภาคเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนีย ด้วยน้ำเสียงของโนวส์ ทำให้ฟราเจอร์คิดว่าเธอเป็นผู้มีบุคลิกภาพและความสามารถในการร้องเพลง[7] ด้วยความพยายามที่จะให้เกิร์ลสไทม์เป็นกลุ่มดนตรีแนวหน้าในอุตสาหกรรมดนตรี ฟราเจอร์ได้ส่งพวกเธอไปในรายการ สตาร์เสรช[14] ซึ่งเป็นรายการประกวดร้องเพลงที่ดังที่สุดในอเมริกาในขณะนั้น[7] แต่ผลออกมาไม่ค่อยดี เพราะเพลงที่พวกเธอแสดงยังไม่ค่อยสมบูรณ์แบบเท่าไหร่นัก[15][16] โนวส์ได้กล่าวไว้ โนวส์ได้รู้สึกถึงการเสื่อมถ้อยในอาชีพของเธอเป็นครั้งแรกหลังจากที่ไม่ชนะรายการนี้ แต่เธอก็เริ่มกลับมามีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นหลังจากที่ได้เรียนรู้จากบริตนีย์ สเปียรส์ และจัสติน ทิมเบอร์เลค ที่ได้มีมีประสบการณ์เดียวกันกับพวกเธอ[7]",
"title": "บียอนเซ่ โนวส์"
},
{
"docid": "998502#3",
"text": "ในพ.ศ. 2453 นายสุ่นฮี้ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น \"ขุนอนุสารสุนทร\" และในพ.ศ. 2467 ก็ได้เลื่อนเป็น \"หลวงอนุสารสุนทร\" ที่ตำแหน่งกรมการพิเศษเมืองนครเชียงใหม่ หลวงอนุสารสุนทรยังเป็นผู้ริเริ่มกิจการเดินรถโดยสารขึ้นในเชียงใหม่ รับส่งผู้โดยสารระหว่างเชียงใหม่–ลำพูน ในการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาอังกฤษซึ่งมีความจำเป็นอย่างมาก ดังนั้นท่านจึงริเริ่มให้มีโรงเรียนขึ้น โดยหลวงอนุสารสุนทรได้ติดต่อหาครูสอนภาษาอังกฤษมาจากเมืองมะละแหม่งชื่อหม่องส่วยต่อ เปิดเป็นโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษขึ้น ชื่อว่า \"โรงเรียนหม่องส่วยต่อ\" ",
"title": "หลวงอนุสารสุนทร (สุ่นฮี้ ชุติมา)"
},
{
"docid": "806299#33",
"text": "ต่อมา โดยหวังว่าจะพบสารอนุพันธ์ที่ยับยั้งการนำเซโรโทนินไปใช้ใหม่ (reuptake) โดยเฉพาะ\nนักวิทยาศาสตร์ของบริษัทคือ ดร. เดวิด ที วอง (ผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในปี 2554) เสนอที่จะทดสอบสารอนุพันธุ์นอกกาย (in vitro) ว่าเป็นตัวยับยั้งเซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดพามีนหรือไม่\nการทดสอบบรรดาสารสังเคราะห์ที่ทำในปี 2515\nแสดงว่า สารประกอบที่ภายหลังตั้งชื่อว่าฟลูอ็อกเซทีนมีฤทธิ์มากที่สุดและเป็นตัวยับยั้งการนำเซโรโทนินไปใช้ใหม่โดยเฉพาะ\nซึ่ง ดร. วองตีพิมพ์บทความแรกในปี 2517\nและในปีต่อมา ยาก็ได้รับชื่อเป็นทางการและบริษัทได้ตั้งชื่อการค้าว่าโปรแซ็ก\nในปี 2520 บริษัทในเครือข่าย (Dista Products Company) จึงยื่นคำขอเพื่อทดลองฟลูอ็อกเซทีนทางคลินิกระยะที่ 1 ต่อ FDA",
"title": "ฟลูอ็อกเซทีน"
}
] |
1466 | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ของใคร? | [
{
"docid": "4253#1",
"text": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ (ในรัชกาลที่ 6 ได้มีการสถาปนาพระบรมอัฐิเป็น สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) ได้รับพระราชทานนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร ซึ่งคำว่า \"จุฬาลงกรณ์\" นั้นแปลว่า เครื่องประดับผม อันหมายถึง \"พระเกี้ยว\" ที่มีรูปเป็นส่วนยอดของพระมหามงกุฎหรือยอดชฎา",
"title": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "4253#0",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระองค์ที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสวยราชสมบัติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2411 เสด็จสวรรคต เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ด้วยโรคพระวักกะ",
"title": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
}
] | [
{
"docid": "4281#4",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 ณ พระที่นั่งสุทธาศรีภิรมย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามเมื่อการสมโภชเดือนว่า \"สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ชเนศรมหาราชาธิราช จุฬาลงกรณนารถวโรรส อุดมยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภัยปักษนาวิล อสัมภินชาติพิสุทธ์ มหามงกุฎราชพงษบริพรรต บรมขัตติยมหารชดาภิสิญจนพรรโษทัย มงคลสมัยสมากร สถาวรวรัจฉริยคุณ อดุลยราชกุมาร\" พระนามทั่วไปเรียกว่า \"ทูลกระหม่อมเอียดน้อย\"",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "4261#4",
"text": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นองค์ที่ 2 ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ณ พระที่นั่งในพระบรมมหาราชวังชั้นใน มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนนี 7 พระองค์ คือ",
"title": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "4236#1",
"text": "พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม (ภายหลังได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุลาไลย) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม เวลาค่ำ 10.30 น. (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 7 ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริดำรงราชสมบัติได้ 27 ปี",
"title": "พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "9091#1",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชบุตรลำดับที่ 50 หรือพระราชโอรสพระองค์ที่ 27 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 5 ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี แต่เป็นพระองค์ที่ 3 ที่ได้ประสูติเป็นพระองค์ เสด็จพระราชสมภพในรัชกาลที่ 1 เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2351 ณ พระราชวังเดิม คลองบางกอกใหญ่ อันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระราชบิดา ซึ่งในครั้งนั้นเรียกว่าพระบวรราชวังใหม่ เนื่องมาจากในขณะนั้นพระราชบิดายังดำรงพระอิสริยยศที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล โดยมีคุณหญิงนก (ไม่ทราบสกุล) เป็นพระพี่เลี้ยง พระองค์มีพระเชษฐาร่วมพระราชมารดารวมทั้งสิ้น 3 พระองค์ ได้แก่ เจ้าฟ้าราชกุมาร (สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติ) เจ้าฟ้ามงกุฏ (ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) และพระองค์เป็นเจ้าฟ้าพระองค์น้อย (เนื่องจากไม่ได้รับพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระนาม)",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "9091#6",
"text": "ภายหลังพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ยังมิได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดขึ้นดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เพราะในขณะนั้นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่คือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพินิตประชานารถ ยังทรงพระเยาว์ มีพระชนมายุเพียง 12 พรรษา ทำให้เสี่ยงต่อการถูกแย่งชิงราชบัลลังก์ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จึงเสนอพระองค์เจ้ายอดยิ่งเพื่อให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชวินิจฉัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาพระองค์เจ้ายอดยิ่งเป็นเพียงแค่ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ เท่านั้น ก่อนที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงแต่งตั้งกรมหมื่นบวรวิไชยชาญขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์สุดท้าย",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "4253#24",
"text": "หากไม่นับรวมรัชกาลที่ 1-4 แล้ว ถือว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระบรมอรรคราชบรรพบุรุษของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ โดยเป็นสมเด็จพระบรมชนกนาถของพระมหากษัตริย์ไทย 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมเด็จพระบรมอัยกาธิราชของพระมหากษัตริย์ไทยอีก 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รวมถึงยังเป็นสมเด็จพระบรมปัยกาธิราชของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร",
"title": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "53263#1",
"text": "กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าคุณจอมมารดาเอม เมื่อวันพฤหัสบดี แรม 2 คำ เดือน 10 ตรงกับวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2381 เมื่อแรกประสูติพระองค์มีพระอิสริยยศที่หม่อมเจ้า โดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามว่า ยอร์ชวอชิงตัน ตามชื่อของจอร์จ วอชิงตัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนแรก คนทั่วไปออกพระนามว่ายอด ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามให้ใหม่ว่า พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ บวรราโชรสรัตนราชกุมาร และได้รับการสถาปนาเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมที่ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ เมื่อ พ.ศ. 2404 และได้รับพระราชทานอุปราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว",
"title": "กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ"
},
{
"docid": "43682#1",
"text": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระภรรยาเจ้า 9 พระองค์ และมีพระสนม 144 คน รวม 153 พระองค์/คน คือ \nพระองค์มีพระราชโอรส 32 พระองค์ มีพระราชธิดา 44 พระองค์ และมีพระราชบุตรที่ตก 21 พระองค์ รวม 97 พระองค์ คือ",
"title": "พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
}
] |
2729 | พระแก้วมรกต สร้างขึ้นเมื่อใด ? | [
{
"docid": "207283#0",
"text": "พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร ประวัติความเป็นมาของพระแก้วมรกตนี้ได้มีกล่าวไว้ในตำนานซึ่งมีรายละเอียดดังนี้\nตามตำนานพระแก้วมรกต ในบันทึกแนบท้ายพระราชพงศาวดารเหนือ ระบุไว้ว่า พระแก้วมรกตสร้างขึ้นในปี พุทธศักราช 500 โดยพระนาคเสนเถระ วัดอโศการาม กรุงปาฏลีบุตร ในแผ่นดินพระเจ้ามิลินท์ (เมนันเดอร์) โดยเริ่มแรก เริ่มจากพระนาคเสนเถระได้ปวารณา จะสร้างพระพุทธรูปให้สืบต่อพระพุทธศาสนาจรด 5000 พระพุทธศักราช จึงได้เป็นกังวลว่าจะหาวัสดุใดมาสร้างพระพุทธรูปนี้ ด้วยปริวิตกว่า หากใช้ไม้ ก็จะไม่อยู่ถึง 5000 พระชันษา หากใช้เหล็ก ก็อาจจะถูกนำไปหลอมละลายเมื่อคราวจะมีผู้ทำลาย หากจะใช้หินศิลาธรรมดา ก็จะดูเป็นพระพุทธรูปสามัญทั่วไป จึงได้ตกลงปลงใจเลือกใช้แก้วมณีมาจำหลักพระพุทธรูป เพียงแต่ยังกังวลว่าจะใช้แก้วมณีชนิดใด",
"title": "ตำนานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร"
},
{
"docid": "28724#3",
"text": "พระแก้วมรกตสร้างขึ้นในปี พุทธศักราช 500 โดยพระนาคเสนเถระ วัดอโศการาม กรุงปาฏลีบุตร ในแผ่นดินพระเจ้ามิลินท์ (เมนันเดอร์) สมเด็จพระอมรินทราธิราช พร้อมกับพระวิสสุกรรมเทพบุตร ได้นำแก้วโลกาทิพยรัตตนายก อันมีรัตนายกดิลกเฉลิม 1000 ดวง สีเขียวทึบ (หยกอ่อน) นำมาจำหลักเป็นพระพุทธรูปถวายให้พระนาคเสน ถวายพระนามว่า พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต พระนาคเสนจึงได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุลงไปในพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต 7 พระองค์ คือพระโมลี พระนลาฏ พระนาภี พระหัตถ์ซ้าย-ขวา และพระเพลาซ้าย-ขวา แต่เมื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานแล้วนั้น เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้น พระนาคเสนได้พยากรณ์ว่า พระแก้วองค์นี้ จะเสด็จไปโปรดสรรพสัตว์ในเบญจประเทศ คือ ลังกาทวีป กัมโพชะศรีอโยธยา โยนะวิสัย ปะมะหละวิสัย และ สุวรรณภูมิ",
"title": "พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร"
}
] | [
{
"docid": "28724#1",
"text": "พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกอ่อนเนไฟรต์สีเขียวดังมรกต เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน หลักฐานที่ตรงกันระบุว่าพบครั้งแรก ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดป่าญะ ตำบลเวียง เมืองเชียงราย (ปัจจุบันคือวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย) ในปี พ.ศ. 1977 (หรือ ค.ศ. 1434) ฟ้าได้ผ่าลงองค์พระเจดีย์จนพังทลายลง จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง จึงได้นำไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกระเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต จึงกระเทาะปูนออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์",
"title": "พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร"
},
{
"docid": "440173#1",
"text": "วัดพระแก้วมรกต สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2435 จนถึงปี พ.ศ. 2445 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ เค้าโครงและแผนผังของวัดแห่งนี้วาดโดยออกญาเทพนิมิต (รส) แต่มีสถาปนิกฝรั่งเศสชื่อ Alavigne เป็นผู้ดูแลความถูกต้อง ด้านการก่อสร้างและประดับตกแต่งจัดทำโดยช่างเขมรและสถาปนิกฝรั่งเศสชื่อ Andrilleux จนแล้วเสร็จและสมโภชในปี พ.ศ. 2446 รวมเป็นเงินทั้งหมดห้าแสนเรียล พระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ทรงพระบัญญัติให้เรียกวัดแห่งนี้ว่า \"\"วัดอุโบสถรตนาราม\"\" ดังปราฏในหนังสือ \"เอกสารมหาบุรุษเขมร\" ความว่า",
"title": "วัดพระแก้วมรกต"
},
{
"docid": "816869#0",
"text": "พระแทรกคำ (พระแซกคำ) (ພຣະແຊກຄໍາ) เป็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสนยุคปลาย สร้างในปีใด ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด\nพระแทรกคำสร้างเมื่อใดไม่ปรากฏ เดิมอยู่เชียงใหม่ ภายหลังเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชอัญเชิญพระแก้วมรกตจากเมืองเชียงใหม่ก็ได้อัญเชิญพระแทรกคำไปหลวงพระบางด้วย ครั้นเมื่อย้ายราชธานีไปที่เวียงจันทน์ในปี พ.ศ.2103 ก็อัญเชิญพระแทรกคำไปไว้ที่นั่น พร้อมกับพระแก้วมรกต ต่อมาเมื่อเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ขึ้นไปปราบเจ้าอนุวงศ์ในปี พ.ศ.2369 จึงอัญเชิญ พระแทรกคำมาถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานแก่พระยาราชมนตรีบริรักษ์(ภู่) ให้เป็นพระประธานวัดคฤหบดีที่ท่านเป็นผู้สร้าง",
"title": "พระแทรกคำ"
},
{
"docid": "139391#1",
"text": "แต่เดิมหอพระแก้วนั้นเคยเป็นวัดหลวงประจำราชวงศ์ของลาว พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช มีพระราชประสงค์ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2108 เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่ได้อัญเชิญมาจากนครเชียงใหม่ อาณาจักรล้านนา เมื่อต้องเสด็จกลับมาครองราชบัลลังก์ล้านช้างหลังจากที่พระราชบิดาคือพระเจ้าโพธิสารสิ้นพระชนม์ลงในการทำศึกสงครามกับสยาม เมื่อปี พ.ศ. 2322 นครเวียงจันทน์ถูกกองทัพสยามตีแตก กองทัพสยามได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของนครเวียงจันทน์ไป พร้อมทั้งกวาดต้อนราชวงศ์ชาวลาวกลับไปยังกรุงเทพมหานคร",
"title": "หอพระแก้ว"
},
{
"docid": "207283#10",
"text": "หลังจากที่พระแก้วมรกตได้ประดิษฐานอยู่กรุงอินทปัตถ์นานพอสมควร(ไม่ได้ระบุปี) ในแผ่นดินพระเจ้าเสน่ห์ราช เกิดพายุฝนขนาดใหญ่ตกเป็นนิจกาลยาวนานหลายเดือน(ไม่ได้ระบุ) พระเจ้าเสน่ห์ราชก็สวรรคตด้วยอุทกภัยนั้น พระมหาเถระ(ไม่ปรากฏพระนาม) ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นสำเภาหนีไปยังที่ดอน พระเจ้าอติตะราช (อาทิตยราช) เจ้าครองนครอโยธยา(หมายถึงอโยธยาโบราณ) ทราบเรื่องจึงเสด็จกระบวนพยุหยาตรา ไปอัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ในที่ปลอดภัย โดยทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตประดิษฐานในพระมหาเวชยันตปราสาท และได้ประดิษฐานในนครอโยธยาอีกหลายรัชสมัย",
"title": "ตำนานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร"
},
{
"docid": "28724#2",
"text": "หลังจากนั้น พระเจ้าสามฝั่งแกนแห่งเชียงใหม่ทราบข่าวการค้นพบพระพุทธรูปนี้ จึงเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ แต่ช้างทรงพระแก้วมรกตกลับไม่เดินทางไปยังเชียงใหม่ แต่ไปทางลำปางหากช้างนั้นมีพระแก้วมรกตอยู่บนหลังช้าง เชียงใหม่เห็นว่าลำปางก็อยู่ในอาณาจักรล้านนาจึงนำไปไว้ที่วัดพระแก้วดอนเต้า ถึงสมัยพระเจ้าติโลกราช ได้เชิญพระแก้วมรกตมายังเชียงใหม่ สร้างปราสาทประดิษฐานไว้แต่ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง ครั้นเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งล้านช้างซึ่งเป็นญาติกับราชวงศ์ล้านนามาครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาเสด็จกลับหลวงพระบาง ก็เชิญพระแก้วมรกตไปด้วยพร้อมกับพระพุทธสิหิงค์ ทางเชียงใหม่ขอคืนก็ได้แต่พระพุทธสิหิงค์ เมื่อล้านช้างย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาเวียงจันทน์ก็เชิญพระแก้วมรกตลงมาด้วย ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบาง มาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ (ลาว) ในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบางได้คืนให้แก่ลาว",
"title": "พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร"
},
{
"docid": "28724#6",
"text": "หลังจากที่พระแก้วมรกตได้ประดิษฐานอยู่กรุงอินทปัตถ์นานพอสมควร(ไม่ได้ระบุปี) ในแผ่นดินพระเจ้าเสน่ห์ราช เกิดพายุฝนขนาดใหญ่ตกเป็นนิจกาลยาวนานหลายเดือน(ไม่ได้ระบุ) พระเจ้าเสน่ห์ราชก็สวรรคตด้วยอุทกภัยนั้น พระมหาเถระ(ไม่ปรากฏพระนาม) ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นสำเภาหนีไปยังที่ดอน พระเจ้าอติตะราช (อาทิตยราช) เจ้าครองนครอโยธยา(หมายถึงอโยธยาโบราณ) ทราบเรื่องจึงเสด็จกระบวนพยุหยาตรา ไปอัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ในที่ปลอดภัย โดยทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตประดิษฐานในพระมหาเวชยันตปราสาท และได้ประดิษฐานในนครอโยธยาอีกหลายรัชสมัย",
"title": "พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร"
},
{
"docid": "79860#13",
"text": "คติที่กล่าว ๆ มาปรากฏขึ้นในกรุงเทพครั้งแรกเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โปรดให้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานเมื่อ พ.ศ. 2327 ครั้งนั้นโปรดให้อัญเชิญพระบางอันเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองหลวงพระบาง แล้วตกไปเป็นของพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตอยู่ ณ เมืองเวียงจันทน์ พระองค์ได้ทรงอัญเชิญลงมาพร้อมกับพระแก้วมรกต เข้ามาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้านันทเสนบุตร พระเจ้าล้านช้างกราบบังคลทูลว่าผีซึ่งรักษาพระแก้วมรกตกับพระบางเป็นอริกัน พระพุทธรูป 2 พระองค์นั้นอยู่ด้วยกันในที่ใด มักมีเหตุภัยอันตรายอ้างอุทาหรณ์แต่เมื่อครั้งพระแก้วมรกตอยู่เมืองเชียงใหม่ กรุงศรีสุตนาคนหุตก็อยู่เย็นเป็นสุข ครั้งพระเจ้าไชยเชษฐาเชิญพระแก้วมรกตจากเมืองเชียงใหม่ไปไว้ด้วยกับพระบางที่เมืองหลวงพระบาง เมืองเชียงใหม่ก็เป็นกบฏต่อกรุงศรีสุตนาคนหุต แล้วพม่ามาเบียดเบียน จนต้องย้ายราชธานีลงมาตั้งอยู่ ณ นครเวียงจันทน์ ครั้นอัญเชิญพระบางลงมาไว้นครเวียงจันทน์กับพระแก้วมรกตด้วยกันอีก ก็เกิดเหตุจลาจลต่าง ๆ บ้านเมืองไม่ปกติ จนเสียนครเวียงจันทน์ให้แก่กรุงธนบุรี ครั้งอัญเชิญพระแก้วมรกตกับพระบางลงมาไว้ด้วยกันในกรุงธนบุรี ไม่ช้าก็เกิดเหตุจลาจล ขออย่าให้ทรงประดิษฐานพระบางกับพระแก้วมรกตไว้ด้วยกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระราชดำริว่า พระบางก็ไม่ใช่พระพุทธรูปซึ่งมีลักษณะงาม เป็นแต่พวกชาวศรีสัตนาคนหุตนับถือกัน จึงโปรดให้ส่งพระบางคืนขึ้นไปไว้ ณ นครเวียงจันทน์",
"title": "พระบาง"
}
] |
2097 | สร้างแถวลำดับขนาดคงที่ขึ้นมาให้มีขนาดในระดับหนึ่ง เรียกขนาดนี้ว่าอะไร? | [
{
"docid": "148327#3",
"text": "แนวคิดเบื้องต้นของแถวลำดับพลวัตเริ่มต้นด้วยการจองหน่วยความจำพลวัตเพื่อสร้างแถวลำดับขนาดคงที่ขึ้นมาให้มีขนาดในระดับหนึ่ง เรียกขนาดนี้ว่า<b data-parsoid='{\"dsr\":[2458,2486,3,3]}'>ความจุของแถวลำดับพลวัต แถวลำดับที่สร้างมานี้จะประกอบไปด้วยสองส่วนคือ ส่วนที่เก็บข้อมูล</i>ของแถวลำดับพลวัต กับ ส่วนที่ไม่ได้ใช้งาน ขนาดของส่วนที่เก็บข้อมูลนี้เรียกว่า<b data-parsoid='{\"dsr\":[2634,2660,3,3]}'>ขนาดของแถวลำดับพลวัต เมื่อมีการเพิ่มข้อมูลเข้ามาต่อท้ายก็เป็นเพียงการเปลี่ยนส่วนที่ไม่ได้ใช้งานให้มาเป็นส่วนเก็บข้อมูล ในขณะที่การลบข้อมูลออกด้านท้ายก็เป็นการเปลี่ยนส่วนเก็บข้อมูลให้มาเป็นส่วนที่ไม่ได้ใช้งาน ซึ่งการดำเนินการเปลี่ยนพื้นที่ไปมาระหว่าง ส่วนที่เก็บข้อมูล กับ ส่วนที่ไม่ได้ใช้งาน ใช้เวลาคงที่หรือ Θ ( 1 ) {\\displaystyle \\Theta (1)} เท่านั้น",
"title": "แถวลำดับพลวัต"
}
] | [
{
"docid": "148327#15",
"text": "เนื่องจากแถวลำดับพลวัตสามารถลบข้อมูลจากด้านปลายได้ อาจจะเป็นไปได้ที่หลังจากการลบข้อมูลหลาย ๆ ครั้งแล้ว จะมีพื้นที่ส่วนที่ไม่ได้ใช้งานเป็นจำนวนมากซึ่งทำให้ระบบเสียพื้นที่ไปโดยไม่จำเป็น วิธีการแก้ปัญหานี้สามารถทำได้โดยการคืนหน่วยความจำให้กับระบบโดยการลดความจุลง (โดยที่ความจุต้องมากกว่าขนาดของแถวลำดับพลวัตเพื่อให้ยังสามารถเก็บข้อมูลได้) การลดความจุมีวิธีดำเนินการคล้ายกับการขยายความจุ นั่นคือเป็นการสร้างแถวลำดับใหม่ขึ้นมา คัดลอกข้อมูลจากแถวลำดับเดิมไปยังแถวลำดับใหม่ จากนั้นก็คืนหน่วยความจำของแถวลำดับเดิมให้กับระบบ การดำเนินการลดความจุนี้จึงใช้เวลา Θ ( n ) {\\displaystyle \\Theta (n)} เช่นเดียวกับการขยายความจุ ดังนั้นหากดำเนินการลดความจุถี่เกินไป จะทำให้เมื่อถัวเฉลี่ยออกมาแล้วการดำเนินการแต่ละครั้งไม่เป็น Θ ( 1 ) {\\displaystyle \\Theta (1)}",
"title": "แถวลำดับพลวัต"
},
{
"docid": "1938#80",
"text": "การจัดสรรมักให้ความสำคัญแก่แบบอัตโนมัติหรือแบบสถิตมากกว่า เพราะตัวแปลโปรแกรมเป็นส่วนจัดการหน่วยเก็บบันทึก ทำให้โปรแกรมเมอร์ไม่ต้องจัดสรรและเรียกคืนหน่วยเก็บบันทึกจุกจิกด้วยตนเองซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดข้อผิดพลาด อย่างไรก็ตามโครงสร้างข้อมูลหลายชนิดสามารถขยายขนาดได้ในขณะทำงาน และเนื่องจากการจัดสรรสถิต (และการจัดสรรอัตโนมัติในภาษาซี89 และซี90) จะต้องมีขนาดตายตัวขณะแปลโปรแกรม หลายสถานการณ์จึงจำเป็นต้องใช้การจัดสรรพลวัต ก่อนที่จะมีมาตรฐานซี99 แถวลำดับความยาวแปรได้เป็นตัวอย่างปัญหาหนึ่งของกรณีนี้ ",
"title": "ภาษาซี"
},
{
"docid": "513680#11",
"text": "การแยกส่วนของบันได (Ladder decomposition) ใช้แถวลำดับ 'Ladder' มีลักษณะขั้นตอนวิธีแทบจะเหมือนกับการแยกส่วนของวิถียาวสุดทุกประการ แต่แตกต่างตรงที่แถวลำดับ Ladder นอกจากจะเก็บข้อมูลของลูกหลานของรากต้นไม้ย่อยแล้ว ยังเก็บข้อมูลบรรพบุรุษเป็นจำนวนข้อมูลเท่ากับจำนวนลูกหลานที่เก็บไว้ด้วย กล่าวคือหาก LP มีขนาด size(LP) แล้ว จะได้ว่า size(Ladder) เท่ากับ 2 × size(LP) ยกเว้นในกรณีที่บรรพบุรุษขึ้นไปถึงรากของต้นไม้ ซึ่งในกรณีนั้นจะมีสมาชิกน้อยกว่า 2 × size(LP)",
"title": "ปัญหาระดับบรรพบุรุษ"
},
{
"docid": "148327#8",
"text": "เมื่อไม่ทราบจำนวนข้อมูลที่แน่นอน สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาก็คือปัญหาที่<i data-parsoid='{\"dsr\":[5285,5309,2,2]}'>ขนาดของแถวลำดับพลวัต</i>มีค่าเกิน<i data-parsoid='{\"dsr\":[5318,5344,2,2]}'>ความจุของแถวลำดับพลวัต ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่าวิธีการแก้ไขปัญหานี้ก็คือการ<i data-parsoid='{\"dsr\":[5396,5410,2,2]}'>ขยายความจุ ในหัวข้อนี้ จะให้การขยายความจุเพิ่มความจุในแต่ละครั้งเป็นค่าคงที่ c",
"title": "แถวลำดับพลวัต"
},
{
"docid": "148327#0",
"text": "แถวลำดับพลวัต (English: dynamic array) หรืออาจเรียกว่า แถวลำดับที่ขยายได้ (growable array) , แถวลำดับที่เปลี่ยนขนาดได้ (resizable array) , ตารางพลวัต (dynamic table) , รายการแถวลำดับ (array list) หรือ เวกเตอร์ (vector) เป็นรายการประเภทหนึ่ง มีคุณสมบัติการเข้าถึงโดยสุ่มเหมือนแถวลำดับ แต่ต่างจากแถวลำดับธรรมดาตรงที่สามารถขยายขนาดเองได้เมื่อใส่ข้อมูลเพิ่มเข้าไป[1]",
"title": "แถวลำดับพลวัต"
},
{
"docid": "395312#3",
"text": "เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้โดยการทำการค้นแบบกระโดดหลายระดับในแถวลำดับย่อย โดยสำหรับ k ระดับของการค้นแบบกระโดด ที่มีบล็อกขนาด m ที่ l ระดับ จะมีประสิทธิภาพการทำงานเท่ากับ O (n^(k-l))",
"title": "การค้นหาแบบกระโดด"
},
{
"docid": "148327#4",
"text": "ตราบใดที่<i data-parsoid='{\"dsr\":[3017,3041,2,2]}'>ขนาดของแถวลำดับพลวัต</i>มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ<i data-parsoid='{\"dsr\":[3065,3091,2,2]}'>ความจุของแถวลำดับพลวัต</i>ก็จะไม่มีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้น แต่ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ที่มีการเพิ่มข้อมูลจนทำให้<i data-parsoid='{\"dsr\":[3167,3191,2,2]}'>ขนาดของแถวลำดับพลวัต</i>มีค่าเกิน<i data-parsoid='{\"dsr\":[3200,3226,2,2]}'>ความจุของแถวลำดับพลวัต สิ่งที่ต้องทำก็คือการ<b data-parsoid='{\"dsr\":[3248,3264,3,3]}'>ขยายความจุ โดยการสร้างแถวลำดับขนาดคงที่อันใหม่ให้มีขนาดมากกว่าเดิม (มีความจุมากกว่าความจุเดิม) และคัดลอกข้อมูลจากแถวลำดับขนาดคงที่อันเดิมไปแถวลำดับขนาดคงที่อันใหม่ การดำเนินการขยายความจุนี้เสียเวลามาก กล่าวคือหากมีข้อมูลอยู่ n {\\displaystyle n} ตัวในแถวลำดับพลวัต การขยายความจุนี้จะใช้เวลาเชิงเส้น หรือ Θ ( n ) {\\displaystyle \\Theta (n)}",
"title": "แถวลำดับพลวัต"
},
{
"docid": "10150#5",
"text": "เมาท์แบบนี้มีหลายขนาดตามจำนวนช่องที่ใส่แสตมป์ได้ ยิ่งมีจำนวนช่องน้อย แต่ละช่องก็มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อใส่แสตมป์หรือสิ่งสะสมขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ ขนาดมีตั้งแต่ หนึ่งช่อง ไล่ไปจนถึง ห้า หรือ หก ช่อง ถ้าต้องการใส่แสตมป์ที่เป็นแผ่นขนาดเล็ก หรือชีทที่ระลึก เลือกใช้เมาท์ชนิดช่องเดียว ถ้าต้องการใส่แสตมป์บล็อกสี่ (หมายถึงแสตมป์ติดกันสี่ดวง มีสองแถว แถวละสองดวง) อาจใช้เมาท์ชนิดสองช่อง ใส่แสตมป์แนวตั้งใช้เมาท์สี่ช่อง แสตมป์แนวนอนใช้เมาท์ห้าช่อง เป็นต้น",
"title": "เมาท์ (แสตมป์)"
},
{
"docid": "148327#31",
"text": "ในปี 1999 Brodnik et al[8] ได้นำเสนอแถวลำดับพลวัตซึ่งใช้พื้นที่เพียง n {\\displaystyle {\\sqrt {n}}} ในทุก ๆ ขณะของการดำเนินการ เมื่อ n คือจำนวนข้อมูลในแถวลำดับในขณะนั้น นอกจากนี้ยังพิสูจน์ให้เห็นว่าขั้นตอนวิธีในการสร้างโครงสร้างข้อมูลแถวลำดับพลวัตใด ๆ ก็ต้องใช้พื้นที่อย่างน้อยเทียบเท่ากับแถวลำดับพลวัตของเขาหมด ยิ่งไปกว่านั้น การเพิ่มและลบข้อมูลจากปลายของแถวลำดับพลวัตนี้ยังใช้เวลาคงที่เท่านั้นโดยไม่ต้องมีการถัวเฉลี่ยเลย",
"title": "แถวลำดับพลวัต"
},
{
"docid": "1938#69",
"text": "โดยปกติแถวลำดับหลายมิติถูกใช้งานในขั้นตอนวิธีเชิงจำนวนเพื่อเก็บข้อมูล[[เมทริกซ์ (คอมพิวเตอร์)|เมทริกซ์]] (ซึ่งประยุกต์มาจาก[[พีชคณิตเชิงเส้น]]เป็นหลัก) โครงสร้างของแถวลำดับในภาษาซีเหมาะสมเป็นอย่างดีสำหรับงานนี้ แต่เนื่องจากแถวลำดับถูกผ่านค่าด้วยตัวชี้ ขอบเขตของแถวลำดับจึงต้องเป็นค่าที่ทราบและตายตัว หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องผ่านค่าไปพร้อมกับซับรูทีนที่จำเป็นต้องทราบ นอกจากนี้ แถวลำดับของแถวลำดับที่จัดสรรขนาดแบบพลวัต ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยใช้ดัชนีสองชั้น (ตัวอย่างกรณีนี้เช่นการจัดสรรแถวลำดับด้วย \"เวกเตอร์แถว\" ของตัวชี้ไปยังสดมภ์)",
"title": "ภาษาซี"
},
{
"docid": "148327#7",
"text": "ในกรณีที่ทราบว่าแถวลำดับพลวัตจะเก็บข้อมูลเท่าใด สามารถกำหนด<i data-parsoid='{\"dsr\":[4219,4229,2,2]}'>ความจุ</i>ให้เป็นค่าคงที่หนึ่งที่มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับจำนวนของข้อมูล เพื่อรับประกันว่าจะไม่มีปัญหาที่<i data-parsoid='{\"dsr\":[4322,4346,2,2]}'>ขนาดของแถวลำดับพลวัต</i>มีค่าเกิน<i data-parsoid='{\"dsr\":[4355,4381,2,2]}'>ความจุของแถวลำดับพลวัต ซึ่งนำไปสู่การเสียเวลาจากการขยายความจุ นอกจากนี้ เนื่องจากความจุเป็นค่าคงที่ พื้นที่ที่สูญเสียไปโดยไม่จำเป็นก็เป็นค่าคงที่เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติมักจะไม่รู้ถึงจำนวนของข้อมูลที่แน่นอน และการเก็บข้อมูลด้วยแถวลำดับพลวัตที่ความจุเป็นค่าคงที่ในบางสถานการณ์ กลับทำให้สูญเสียพื้นที่โดยไม่จำเป็นอย่างมากมาย เช่นหากมีข้อมูล n {\\displaystyle n} ตัวที่จะนำมาเก็บบนรายการ m {\\displaystyle m} รายการตามคำสั่งที่กำหนด จะได้ว่ารายการหนึ่ง ๆ มีโอกาสที่จะมีข้อมูลมากสุดถึง n {\\displaystyle n} ตัว ดังนั้นหากใช้แถวลำดับพลวัตที่ความจุเป็นค่าคงที่ในการทำรายการทั้ง m {\\displaystyle m} รายการนั้น ก็ต้องหน่วยความจำถึง Θ ( n m ) {\\displaystyle \\Theta (nm)} เพื่อรับประกันว่าข้อมูลจะสามารถเก็บได้หมด แต่ถ้าหากใช้แถวลำดับพลวัตที่ความจุไม่เป็นค่าคงที่ (หัวข้อถัด ๆ ไป) จะใช้หน่วยความจำเพียง Θ ( n + m ) {\\displaystyle \\Theta (n+m)} เท่านั้น",
"title": "แถวลำดับพลวัต"
},
{
"docid": "195963#9",
"text": "การแสดงธงชาติร่วมกับธงอื่นๆ นั้น จะต้องมีขนาดธงที่ใกล้เคียงกันและอยู่ในความสูงระดับเดียวกัน หากธงเหล่านั้นใช้ ชัก หรือแสดงภายนอกอาคาร ธงชาติลัตเวียจะต้องอยู่ทางซ้ายเสมอ ในแถวของธงต่างๆ ที่แสดงร่วมกันนั้น อาจให้มีธงชาติลัตเวียตั้งอยู่ที่หัวแถวและท้ายแถวธงเหล่านั้นด้วยก็ได้ ในกรณีที่เป็นการแสดงธงนานาชาติหรือธงองค์กรระหว่างประเทศร่วมกับธงชาติลัตเวีย ให้เรียงแถวธงดังกล่าวตามลำดับอักษรในภาษาลัตเวียหรือตามธรรมเนียมสากลอื่นๆ เป็นกรณีไป หากแสดงธงชาติลัตเวียคู่กับธงอื่นในอาคารให้ธงชาตินั้นอยู่ทางขวา (หรือกลางขวาในกรณีที่มีธงอื่นด้วยหลายธง โดยธงอื่นๆ นั้นต้องเรียงลำดับอักษรในภาษาลัตเวีย)",
"title": "ธงชาติลัตเวีย"
},
{
"docid": "148327#17",
"text": "สถานการณ์เลวร้ายสุดของการดำเนินการบนแถวลำดับพลวัตก็คือการที่ต้องมีการดำเนินการ<i data-parsoid='{\"dsr\":[11837,11852,2,2]}'>เพิ่มความจุ</i>หรือ<i data-parsoid='{\"dsr\":[11856,11868,2,2]}'>ลดความจุ</i>บ่อย ๆ ดังนั้นเมื่อพิจารณาในสถานการณ์นี้แล้ว สมมุติให้ขณะนี้มีข้อมูลอยู่ n ตัวซึ่ง n เป็นความจุของแถวลำดับพลวัตพอดีด้วย เมื่อใส่ข้อมูลเพิ่มอีกหนึ่งตัวจะเกิดจากขยายความจุ c เท่า มีความจุเป็น nc และมีขนาดเป็น n + 1 หากจะต้องการให้เกิดการลดความจุ จะต้องทำให้ขนาดของแถวลำดับพลวัตลดลงไปจนน้อยกว่า n c / c r {\\displaystyle {nc}/{c_{r}}} นั่นคือต้องลบข้อมูลออกไป n − n c c r = ( c r − c ) c r × n {\\displaystyle n-{{nc} \\over {c_{r}}}={{{(c_{r}-c)} \\over {c_{r}}}\\times n}} และเพื่อที่เมื่อถัวเฉลี่ยกับการคัดลอกข้อมูลซึ่งใช้เวลา Θ ( n ) {\\displaystyle \\Theta (n)} แล้ว การดำเนินการแต่ละครั้งจะได้ใช้เวลา Θ ( 1 ) {\\displaystyle \\Theta (1)} จึงจะได้ว่าเวลาที่ใช้ในการลบข้อมูลจนเกิดการลดความจุต้องมากกว่าเวลาเชิงเส้น หรือ Ω ( n ) {\\displaystyle \\Omega (n)}",
"title": "แถวลำดับพลวัต"
},
{
"docid": "4100#3",
"text": "แผ่นดินไหววัดโดยใช้การสังเกตจากไซสโมมิเตอร์ (seismometer) มาตราขนาดโมเมนต์เป็นมาตราที่ใช้มากที่สุดซึ่งทั่วโลกรายงานแผ่นดินไหวที่มีขนาดมากกว่าประมาณ 5 สำหรับแผ่นดินไหวอีกจำนวนมากที่ขนาดเล็กกว่า 5 แมกนิจูด สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวแต่ละประเทศจะวัดด้วยมาตราขนาดท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ หรือเรียก มาตราริกเตอร์ สองมาตรานี้มีพิสัยความถูกต้องคล้ายกันในเชิงตัวเลข แผ่นดินไหวขนาด 3 หรือต่ำกว่าส่วนใหญ่แทบไม่รู้สึกหรือรู้สึกได้เบามาก ขณะที่แผ่นดินไหวตั้งแต่ขนาด 7 อาจก่อความเสียหายรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง ขึ้นอยู่กับความลึก แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มีขนาดมากกว่า 9 เล็กน้อย แม้จะไม่มีขีดจำกัดว่าขนาดจะมีได้ถึงเท่าใด แผ่นดินไหวใหญ่ล่าสุดที่มีขนาด 9.0 หรือมากกว่า คือ แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2554 และเป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกในญี่ปุ่น ความรุนแรงของการสั่นสะเทือนวัดโดยมาตราเมร์กัลลีที่ถูกดัดแปลง หากตัวแปรอื่นคงที่ แผ่นดินไหวที่อยู่ตื้นกว่าจะสร้างความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้างมากกว่าแผ่นดินไหวที่อยู่ลึกกว่า",
"title": "แผ่นดินไหว"
},
{
"docid": "441664#5",
"text": "หอยเปลือกเดี่ยว มีเปลือกติดต่อเป็นชิ้นเดียวกัน ส่วนมากเปลือกจะมีลักษณะเวียนเป็นเกลียวรอบแกนกลางที่เรียกว่า แกนเปลือก หอยเริ่มสร้างเปลือกจากจุดยอดก่อน เปลือกที่เวียนไปครบ 1 รอบ เรียกว่า 1 วงเกลียว วงเกลียวแรกมีขนาดเล็กที่สุด วงเกลียวต่อ ๆ มามีขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับเนื่องจากตัวหอยมีขนาดโตขึ้น วงเกลียวสุดท้าย หรือ วงเกลียวตัว มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีช่องเปลือก อันเป็นบริเวณที่หอยยื่นหัวและตีนออกมาและเป็นทางให้น้ำและอากาศผ่านเข้าออกด้วย ระหว่างวงเกลียวมีรอยต่อเห็นเป็นร่อง เรียก รอยต่อวงเกลียว ส่วนใหญ่วงเกลียวของเปลือกหอยมักเวียนไปทางขวาในทิศทางเดียวกับการหมุนของเข็มนาฬิกา เรียกว่า เวียนขวา มีน้อยตัวที่เวียนไปทางซ้าย เรียกว่า เวียนซ้าย ",
"title": "เปลือกหอย"
},
{
"docid": "169516#5",
"text": "เนื่องจากแถวลำดับมีขนาดจำกัดในบางครั้งอาจมีการทำแถวคอยวนรอบ (circular array queue) กล่าวคือบางครั้งแถวคอยอาจมีการเข้าแถวและออกจากแถวสลับกัน ทำให้ดัชนีหัวแถวเลื่อนๆออกไปจนจะตกขอบขวาของแถวลำดับ ทำให้มีเนื้อที่ของแถวลำดับด้านหน้าเหลือไม่ได้ใช้ จึงมีการวนเอาหางแถวมาแทนส่วนหน้าของแถวลำดับ กล่าวคือเมื่อท้ายแถวตกขอบขวาของแถวลำดับ ก็จะมีการเริ่มดัชนีท้ายแถวที่ศูนย์ใหม่และต่อท้ายคิวมาเรื่อยๆ ข้อด้อยของวิธีนี้คือ เมื่อท้ายแถวมาทับหัวแถวอีกครั้งจะตีความไม่ได้ว่าข้อมูลเต็มแถวลำดับหรือว่างกันแน่ จึงอาจใช้ตัวแปรขนาด (size) หรือตัวแปรอื่นๆช่วยในการบอกว่าแถวคอยว่างหรือไม่",
"title": "แถวคอย"
},
{
"docid": "167328#7",
"text": "บอลลูนแต่เดิมเป็นสิ่งบินที่เบากว่าอากาศ, ในขณะที่เรือเหาะ()ถูกใช้สำหรับสิ่งบินขนาดใหญ่และใช้เครื่องยนต์ - ปกติจะเป็นปีกคงที่ - แม้ว่ายังไม่มีสักเครื่องที่ถูกสร้างขึ้น. การประดิษฐ์บอลลูนที่ใช้เครื่องยนต์, เรียกว่าบอลลูนที่ควบคุมได้ (), และต่อมาเป็นลำตัวแข็งที่ยอมให้เพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้น, เริ่มที่จะเปลี่ยนวิธีการใช้คำเหล่านี้. สิ่งบินที่เบากว่าอากาศที่มีกำลังสูง, บ่งบอกคุณลักษณะโดยโครงสร้างด้านนอกที่แข็งแกร่งและผิวแบบอากาศพลศาสตร์ที่แยกต่างหากรอบๆถุงใส่แก๊ส, ได้ถูกสร้างขึ้น, ชื่อ Zeppelin ขนาดใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงมากที่สุด. ยังคงไม่มียานอากาศที่มีปีกคงที่หรือบอลลูนที่ไม่แข็งแกร่งที่ใหญ่มากพอที่จะถูกเรียกว่าเรือเหาะได้, ดังนั้น 'เรือเหาะ'ได้กลายมาเป็นคำพ้องของสิ่งบินประเภทนี้.\nจากนั้น หลายๆอุบัติเหตุ, เช่นภัยพิบัติฮินเดนเบอร์กในปี 1937 ได้นำไปสู่การตายของเรือเหาะเหล่านี้. ",
"title": "อากาศยาน"
},
{
"docid": "43197#1",
"text": "ภาพดิจิทัลสามารถนิยามเป็นฟังก์ชันสองมิติ formula_1 โดยที่ formula_2 และ formula_3 เป็นพิกัดของภาพ และแอมพลิจูดของ formula_4 ที่พิกัด formula_5 ใดๆภายในภาพคือค่าความเข้มแสงของภาพ (Intensity) ที่ตำแหน่งนั้นๆ และเมื่อ formula_6 และแอมพลิจูดของ formula_4 เป็นค่าจำกัด (Finite value) จึงเรียกรูปภาพนี้ว่าเป็นภาพดิจิทัล (Digital Image) และถ้ากำหนดให้ภาพ formula_1 มีขนาด M แถวและ N คอลัมน์ และพิกัดของจุดกำเนิด (Origin) ของภาพคือที่ตำแหน่ง formula_5 = (0,0) แล้ว จะสามารถเขียนสมการให้อยู่ในรูปเมทริกซ์ได้ดังนี้\nค่าแต่ละค่าที่อยู่ในเมทริกซ์จะเรียกว่า พิกเซล (Pixel) โดยตำแหน่ง (0,0) จะอยู่ทางด้านซ้ายมือสุดด้านบนของภาพ การจัดลำดับตำแหน่งของจุดภาพจะเรียงจากซ้ายไปขวาในแต่ละเส้นจุดและจัดลำดับของเส้นจุดจะเรียงจากบนลงล่างการเก็บค่าของความเข้มแสงของภาพ\nดิจิทัลลงหน่วยความจำในลักษณะเส้นจุด(raster)นี้จะเรียกภาพบิตแมป (bit-maped image) หรือภาพแรสเตอร์(raster image) แต่ภาพที่จัดเก็บในลักษณะนี้จะมีขนาดใหญ่จึงมีการบีบอัดภาพ(image compression) เพื่อให้ข้อมูลภาพมีขนาดเล็กลง",
"title": "ภาพดิจิทัล"
},
{
"docid": "496074#3",
"text": "แถวลำดับถือได้ว่าเป็นโครงสร้างข้อมูลที่ถือกำเนิดขึ้นพร้อม ๆ กับการเขียนโปรแกรม และสำคัญมากในการเขียนโปรแกรมเช่นเดียวกัน และแทบจะไม่มีโปรแกรมใดเลยที่ไม่ใช้แถวลำดับ โดยแถวลำดับนี้ยังนำไปอิมพลีเมนต์โครงสร้างข้อมูลอื่นอีกมากมายเช่นรายการหรือสายอักขระ แม้แต่หน่วยเก็บข้อมูลที่มีที่อยู่หน่วยความจำก็อาจจะมองหน่วยเก็บข้อมูลเป็นแถวลำดับขนาดยักษ์ก็ได้",
"title": "แถวลำดับ"
},
{
"docid": "618657#30",
"text": "ปีก Rogallo เป็นถุงลมชนิดยืดหยุ่น ประกอบด้วยสองพื้นผิวรูปกรวยที่มีกรวยทั้งสองด้านชี้ไปข้างหน้า. ไม่ได้เป็นทั้งว่าว, เครื่องร่อนหรือชนิดใดของเครื่องบิน, ปีก Rogallo ส่วนใหญ่มักจะ มีให้เห็นในว่าวของเล่น แต่ถูกใช้ในการสร้างร่มชูชีพยานอวกาศในระหว่างการทดสอบเบื้องต้น สำหรับ\"โปรแกรมเจมินี\"ของนาซาในช่วงต้นทศวรรษ 1960s, ร่มชูชีพนำร่องได้, ยานบินขับเคลื่อนขนาดเบามากเหมือนรถสามล้อ, เช่นเดียวกับเครื่องร่อนแขวน. ก่อนสิ้น ปี 1948, วิศวกรการบินอเมริกัน ฟรานซิส Rogallo ได้ประสบความสำเร็จในการประดิษฐ์เป็นครั้งแรกสำหรับ ว่าวที่มีปีกยืดหยุ่นที่เขาเรียกว่า' Flexi-kite'. สิทธิบัตรถูกยื่นขอในปี ค.ศ. 1948 และได้รับการอนุมัติในปี ค.ศ. 1951. ภรรยาของเขา เกอร์ทรูด Rogallo ยังได้ทำผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญกับการประดิษฐ์, ด้วยการเย็บผ้าเป็นขนาดที่จำเป็นโดยใช้อุปกรณ์ในครัวเรือน เช่นผ้าม่านห้องครัว. Rogallo เชื่อว่าปีกที่มีความยืดหยุ่นจะให้เสถียรภาพที่ดีกว่าพื้นผิวที่คงที่, นำไปสู่ การกำจัดเสากระโดงแข็งในระหว่างเที่ยวบิน. ด้วยเหตุนี้ แนวคิด Rogallo จะเห็นเป็นตัวอย่างที่คลาสสิกของความบริสุทธิ์และมีความมีประสิทธิภาพในการบิน.[38][39]",
"title": "ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91)"
},
{
"docid": "473336#0",
"text": "อาร์เอพีดี () เป็นวิธีตรวจลายพิมพ์ดีเอ็นเอโดยใช้เทคนิคพีซีอาร์ แบบหนึ่งที่ไม่จำเป็นต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับลำดับเบสของดีเอ็นเอเป้าหมาย เนื่องจากที่ใช้ไม่จำเพาะเจาะจงกับดีเอ็นเอบริเวณใด (arbitrary primer) วิธีการนี้มีการเรียกชื่อแบบอื่นได้อีก เช่น arbitrarily primed PCR (AP-PCR), DNA amplification fingerprinting (DAF) หรือ multiple arbitrary amplicon profiling (MAAP) ซึ่งแต่ละวิธีที่เรียกนี้มีข้อแตกต่างกันบ้าง คือ ขนาดของไพรเมอร์ที่ใช้ แต่หลักการไม่แตกต่างกัน คือ ใช้ไพรเมอร์ที่มีขนาดสั้นเพียงชนิดเดียวเพื่อเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอแบบสุ่ม มีนักวิจัยบางกลุ่มใช้ไพรเมอร์ 2 ชนิดพร้อมกัน ซึ่งก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน แต่ที่นิยมคือ ใช้ไพรเมอร์เพียงชนิดเดียวและใช้วิธีแบบที่เรียกว่าอาร์เอพีดี คิดค้นขึ้นโดย วิลเลียมส์ และคณะในปี ค.ศ. 1990 โดยใช้ไพรเมอร์ขนาด 10 นิวคลีโอไทด์เพียงชนิดเดียวเพื่อเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอ แล้วแยกขนาดของดีเอ็นเอที่ได้โดยการทำอิเล็กโทรโฟรีซิสในเจลอะกาโรส และย้อมแถวดีเอ็นเอด้วย ",
"title": "อาร์เอพีดี"
},
{
"docid": "148327#24",
"text": "จะเห็นได้ว่าข้อดีทั้งหลายของแถวลำดับพลวัตมาจากข้อดีของแถวลำดับ เช่นการที่สามารถแคชข้อมูล มีความแน่นของข้อมูลมาก (ใช้เนื้อที่น้อย) การเข้าถึงโดยสุ่ม มีเพียงตัวแปรเก็บขนาดและความจุที่ต้องเก็บเพิ่มเท่านั้น ดังนั้นแถวลำดับพลวัตจึงเป็นโครงสร้างข้อมูลที่เหมาะในการทำงานหลาย ๆ อย่าง",
"title": "แถวลำดับพลวัต"
},
{
"docid": "132873#2",
"text": "ATM เป็นระบบเครือข่ายแบบแพ็กเก็ตสวิตซ์ชนิดพิเศษ เนื่องด้วยกลุ่มข้อมูลที่ส่งแบบแพ็กเก็ตสวิตซ์โดยทั่วไปจะเรียกว่า \"แพ็กเก็ต\" แต่ ATM จะใช้ \"เซลล์\" แทน ที่ใช้คำว่าเซลล์เนื่องจาก เซลล์นั้นจะมีขนาดที่เล็กและคงที่ ในขณะที่แพ็กเก็ตมีขนาดไม่คงที่ และใหญ่กว่าเซลล์มาก โดยมาตรฐานแล้วเซลล์จะมีขนาด 53 ไบต์ โดยมีข้อมูล 48 ไบต์ และอีก 5 ไบต์ จะเป็นส่วนหัว (Header) ทำให้สวิตซ์ของ ATM ทำงานได้เร็วกว่าสวิตซ์ของเครือข่ายอื่น ๆ",
"title": "ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา"
},
{
"docid": "64580#8",
"text": "เครื่องไดนาโมประกอบด้วยโครงสร้างติดอยู่กับที่ซึ่งมีสนามแม่เหล็กคงที่และชุดของเส้นลวดหมุนที่หมุนอยูในสนามแม่เหล็กนั้น ในไดนาโมขนาดเล็ก สนามแม่เหล็กคงที่อาจจะถูกจัดให้โดย แม่เหล็กถาวรหนึ่งชุดหรือมากกว่า สำหรับไดนาโมขนาดใหญ่มีสนามแม่เหล็กคงที่จัดให้โดย แม่เหล็กไฟฟ้าหนึ่งชุดหรือมากกว่า ซึ่งมักจะถูกเรียกว่าขดลวดสนาม",
"title": "เครื่องกำเนิดไฟฟ้า"
},
{
"docid": "1938#66",
"text": "ชนิดข้อมูลแถวลำดับ (array) ในภาษาซีแบบดั้งเดิมมีขนาดคงที่และสถิต ซึ่งจะถูกกำหนดตอนแปลโปรแกรม (ในเวลาถัดมา มาตรฐานภาษาซี99 อนุญาตให้สร้างแถวลำดับที่มีความยาวแปรได้) อย่างไรก็ตามแถวลำดับสามารถกำหนดให้จัดสรรเนื้อที่หน่วยความจำขนาดใดก็ได้ขณะทำงาน โดยใช้ฟังก์ชัน codice_187 จากไลบรารีมาตรฐาน แล้วทำให้เป็นแถวลำดับ การทำให้เป็นหนึ่งเดียวระหว่างแถวลำดับและตัวชี้ของภาษาซี ทำให้หมายความว่าแถวลำดับที่แท้จริงและแถวลำดับที่จัดสรรอย่างพลวัตเสมือนใช้แทนกันได้ เนื่องด้วยแถวลำดับเข้าถึงผ่านตัวชี้เสมอ (ในทางปฏิบัติ) การเข้าถึงแถวลำดับจึงไม่มีการตรวจสอบขนาดภายใต้แถวลำดับ แม้ว่าตัวแปลโปรแกรมอาจมีตัวเลือกสำหรับตรวจสอบขอบเขตก็ตาม การใช้งานเกินขอบเขตของแถวลำดับจึงยังคงสามารถเป็นไปได้ ซึ่งเกิดขึ้นค่อนข้างเป็นปกติในรหัสที่เขียนอย่างไม่ระมัดระวัง และนำไปสู่ผลสะท้อนกลับหลายอย่างอาทิ การเข้าถึงหน่วยความจำที่ไม่อนุญาต การทำให้ข้อมูลผิดแปลกไป บัฟเฟอร์ส่วนล้น และสิ่งผิดปรกติขณะทำงาน",
"title": "ภาษาซี"
},
{
"docid": "148327#1",
"text": "แถวลำดับพลวัต<i data-parsoid='{\"dsr\":[1087,1097,2,2]}'>ไม่ใช่แถวลำดับจากการจองหน่วยความจำพลวัต เนื่องจาก<i data-parsoid='{\"dsr\":[1167,1204,2,2]}'>แถวลำดับจากการจองหน่วยความจำพลวัต</i>มีขนาดคงที่ ในขณะที่แถวลำดับพลวัตสามารถขยายขนาดได้ อย่างไรก็ตาม ในการอิมพลีเมนต์แถวลำดับพลวัต ก็อาจใช้แถวลำดับจากการจองหน่วยความจำพลวัตเป็นส่วนประกอบได้[2]",
"title": "แถวลำดับพลวัต"
},
{
"docid": "148526#1",
"text": "ตารางแฮชมักใช้แถวลำดับหรือMapขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการจัดการเก็บข้อมูลจำนวนมาก โดยมีลักษณะการเก็บแบบดัชนีได้ (Indexing) วิธีการเก็บนั้นจะนำข้อมูลที่จะนำมาเก็บผ่านฟังก์ชันฟังก์ชันหนึ่ง(เราจะเรียกข้อมูลที่ผ่านฟังก์ชันนั้นว่า key) ซึ่งเรียกว่าฟังก์ชันแฮชจะได้เลขซึ่งจำเพาะกับข้อมูลนั้น กล่าวคือ ข้อมูลแต่ละตัวเมื่อผ่านฟังก์ชันแฮชแล้ว จะได้เลขที่แตกต่างกัน แล้วจึงนำข้อมูลไปเก็บไว้ในตาราง แถวลำดับ หรือ Map ที่กำหนดไว้",
"title": "ตารางแฮช"
},
{
"docid": "886693#1",
"text": "แบบดีไซน์ของเรือแนวเส้นประจัญบาน ค่อยๆพัฒนาขึ้นตลอดศตวรรษที่ 17 โดยมีลักษณะสำคัญอยู่ที่ การใช้เสากระโดงเรือ 3 เสา และมีท้ายเรือที่ลดต่ำลง โครงสร้างยกระดับที่ท้ายเรือ (อย่างเรือในยุคบุกเบิกการเดินทะเล) หายไป ความยาวมาตรฐานของเรือประเภทนี้อยู่ที่ประมาณ 200 ฟุต มีระวางขับน้ำระหว่าง 1,200 ถึง 2,000 ตัน ใช้ลูกเรือประมาณ 600 ถึง 800 คน อาวุธประจำเรือถูกเรียงเป็นสามชั้น ปืนใหญ่ของหน่วยยิง (battery) แถวล่างมีอำนาจการยิงมากที่สุด โดยอาจมีปืนใหญ่ที่ยิงลูกปืนใหญ่ขนาด 32-48 ปอนด์ ถึงสามสิบกระบอก; หน่วยยิงแถวกลางมีปืนจำนวนเท่ากันแต่ยิงกระสุนขนาดเล็กกว่า (ประมาณ 24 ปอนด์); แถวบนสุดมีปืนยิงกระสุนขนาด 12 ปอนด์ 30 กระบอก หรือมากกว่านั้น\nราชนาวีอังกฤษจัดเรือแนวเส้นประจัญบานออกเป็น 3 ระดับตามจำนวนปืนที่สามาถบรรทุกได้ เรือ \"ชั้นเอก\" (first-rate) กับชั้นโท จะมีแถวยิงสามแถวเหมือนกัน แต่เรือชั้นเอกจะมีปืนมากกระบอกกว่า คือ ประมาณ 100 ถึง 110 กระบอก ส่วนเรือชั้นตรีจะมีแถวยิงเพียงสองแถว ทำให้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เรือปืนสองแถว () เรือธงชั้นเอกของกองเรือ อย่างเช่น เรือหลวง\"วิกตอรี\" (HMS \"Victory\") เรือธงของราชนาวีที่ได้รับชัยชนะในยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์ มีปืนประมาณหนึ่งร้อยกระบอก และอาจใช้ลูกเรือมากถึง 850 นาย ",
"title": "เรือรบแนวเส้นประจัญบาน"
},
{
"docid": "513680#5",
"text": "ขั้นตอนวิธีตัวชี้กระโดด (Jump pointer algorithm) เป็นขั้นตอนวิธีแบบกำหนดการพลวัต อาศัยการคำนวณล่วงหน้าโดยการสร้างแถวลำดับ 2 มิติ ชื่อ \"dp\" ขนาด \"n\" × log \"n\" โดย \"dp\"[\"v\"][\"p\"] จะชี้ไปยังจุดยอดที่อยู่สูงขึ้นไปจากจุดยอด \"v\" เป็นจำนวน \"2\" ขั้น อาศัยความสัมพันธ์ว่า \"dp\"[\"v\"][\"p\"] = \"dp\"[\"dp\"[\"v\"][\"p\" - \"1\"]][\"p\" - \"1\"] และกรณีฐานว่า dp[\"v\"][\"0\"] คือพ่อของจุดยอด \"v\" ก็จะสามารถเติมตาราง \"dp\" ได้ในเวลา O(\"n\" log \"n\")",
"title": "ปัญหาระดับบรรพบุรุษ"
}
] |
3444 | กรุงเทพมีชื่อเต็มว่าอะไร ? | [
{
"docid": "1919#12",
"text": "คำว่า \"กรุงเทพมหานคร\" แปลว่า \"พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร\" มาจากชื่อเต็มว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์[16] มีความหมายว่า \"พระนครอันกว้างใหญ่ ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นมหานครที่ไม่มีใครรบชนะได้ มีความงามอันมั่นคง และเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้ พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้\"[17]",
"title": "กรุงเทพมหานคร"
}
] | [
{
"docid": "210175#1",
"text": "ไมเคิล ไรท์ มีชื่อไทยว่า เมฆ มณีวาจา เกิดเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2483 ที่เมืองเซาแทมป์ตัน (Southampton) ประเทศอังกฤษ ไรท์ เข้ามาในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2504 ทำงานกับธนาคารกรุงเทพ แรกเริ่มในตำแหน่งพนักงานแปลเอกสาร ท้ายที่สุดเป็นตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านต่างประเทศ ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาผ่านฟ้า (ปัจจุบันคือ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)",
"title": "ไมเคิล ไรท์"
},
{
"docid": "124985#3",
"text": "คุณสุภาพร กิตติขจร เริ่มป่วยในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2547 ได้รับการรักษาจากคณะแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าฯ ในเบื้องต้น และคณะแพทย์พยาบาลโรงพยาบาลกรุงเทพ โดยเฉพาะ นพ.นิพนธ์ ลิ้มตระกูล ได้พยายามรักษาพยาบาลอย่างเต็มความสามารถจนกลับบ้านได้ในครั้งแรก ต่อมาภายหลังมีอาการไม่ค่อยดี จึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพอีกครั้ง และมีอาการทรุดลงเรื่อยๆ จนสุดจะเยียวยาได้และจากไปอย่างสงบเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2548",
"title": "สุภาพร กิตติขจร"
},
{
"docid": "97824#0",
"text": "พาลินี งามพริ้ง มีชื่อเล่นว่า ป้อ (ปัจจุบันมีชื่อเล่นว่า พอลลีน) เกิดเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2510 เป็นคนกรุงเทพฯ บิดาชื่อ ร.ต.ต. ธนู งามพริ้ง มารดาคือ นางกรองกาญจน์ งามพริ้ง พาลินี(พินิจ ชื่อเดิม)จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เริ่มทำงานครั้งแรกกับหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เมื่อปี 2532 ในฐานะผู้สื่อข่าวด้านเศรษฐกิจ หลังจากนั้นเมื่อปี 2540 ย้ายไปดำรงตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ที่บริษัท สหวิริยา ซิตี้ จำกัด เขายังคงทำงานด้านสื่อสารการตลาดและประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องทั้งที่ ธนาคารกรุงเทพ ที่ บริษัท โอกิลวี พับลิกรีเลชั่นส์ เวิรล์ดวายด์ จำกัด - บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) - บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ - บริษัท ดีซี คอนซัลแทนซ์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด ในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์ จากนั้นไปทำงานด้านฟุตบอล ในตำแหน่ง ประธานที่ปรึกษา สโมสรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตามมา ด้วยการทำงานที่สถาบันศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์",
"title": "พินิจ งามพริ้ง"
},
{
"docid": "265363#1",
"text": "ภาพยนตร์เปิดเทศกาลครั้งนี้คือภาพยนตร์เรื่อง \"เกียรติยศคนโฉดถล่มเมือง\"() กำกับโดย เวอร์เนอร์ เฮอร์ซอก นำแสดงโดย นิโคลัส เคจ และเอวา เมนเดส ซึ่งเป็นการทำขึ้นมาใหม่ (รีเมก) จาก Bad Lieutenant ภาพยนตร์ต้นฉบับที่ฉายเมื่อปี พ.ศ. 2535 \nพิธีปิดเทศกาลเริ่มด้วยการฉายภาพยนตร์ปิดเทศกาล ซึ่งได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง สวัสดีบางกอก มีเนื้อหาสะท้อนมุมมองของกรุงเทพมหานคร ผ่านภาพยนตร์สั้นของผู้กำกับที่มีชื่อเสียงของไทย 9 คน ในวันที่ 30 กันยายน เวลา 16.00 น. ณ เอสเอฟ เวิลด์ ซีเนม่า จากนั้นจึงเป็นงานเลี้ยงรับรอง พิธีประกาศผลรางวัลกินรีและพิธีปิดเทศกาล ในวันเดียวกัน เวลา 18.00 น. ณ ห้องชาเทรียมบอลรูม โรงแรมชาเทรียม สวีท กรุงเทพ เขตบางคอแหลม โดยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงเป็นองค์ประธาน ในงานประกาศผลมีการมอบรางวัลกินรีสำหรับภาพยนตร์ รางวัลอินทนิลสำหรับภาพยนตร์แอนิเมชัน และรางวัลเกียรติยศความสำเร็จในชีวิตแก่เพชรา เชาวราษฎร์ โดยชรินทร์ นันทนาคร เป็นผู้รับรางวัลแทน\nรางวัลกินรีในปีนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทสายประกวดหลัก (Main Competition) และภาพยนตร์จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA Competition) นอกจากนี้ยังมีประเภทพิเศษคือ NETPAC (Network for the Promotion of Asian Cinema) \nคณะกรรมการตัดสินรางวัลกินรี เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพ ครั้งที่ 7 มีทั้งหมด 9 ท่าน ได้แก่\nเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพยังมีกิจกรรมสำคัญอื่นๆ เช่น เทศกาลภาพยนตร์แอนิเมชันกรุงเทพ ซึ่งจะมีพิธีเปิดที่พารากอนซีนีเพล็กซ์ ในเวลาเดียวกับพิธีเปิดเทศกาลหลัก โดยร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธาน การสัมมนาด้านภาพยนตร์ ณ โรงแรมชาเทรียม สวีท กรุงเทพ งานเลี้ยงรับรองนักแสดง ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ และนิทรรศการเพชรา เชาวราษฎร์ เป็นต้น",
"title": "เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพ ครั้งที่ 7"
},
{
"docid": "177354#0",
"text": "กรุงเทพกรังด์ปรีซ์ มีชื่อเป็นทางการในภาษาไทยว่า การแข่งรถยนต์ระหว่างชาติ รางวัลใหญ่กรุงเทพ ฯ เป็นการเตรียมการเพื่อจัดการแข่งรถ ขนาด 1500 ซีซี บริเวณรอบสนามหลวง และพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2482 ระยะทาง 2 ไมล์ (3.22 กิโลเมตร) จำนวน 60 รอบ ระยะทางรวมทั้งสิ้น 120 ไมล์ (96.56 กิโลเมตร) ",
"title": "กรุงเทพกรังด์ปรีซ์"
},
{
"docid": "19655#35",
"text": "สนามฟุตบอล จากเมื่อก่อนที่เป็นสนามฟุตบอลดิน ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นสนามหญ้าเทียม เนื่องจากสนามฟุตบอลดินเมื่อฝนตกสนามจะเต็มไปด้วยดินและโคลน ประกอบกับนักเรียนชอบดึงหญ้าเล่นตอนมีกิจกรรมต่างๆ ทำให้สนามเสียหาย โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยได้เริ่มทำการสร้างสนามหญ้าเทียมขึ้นเมื่อประมาณปี 2553-2554",
"title": "โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย"
},
{
"docid": "230785#4",
"text": "ในคติชาวบ้าน ในแต่ละเดือนของปี ดวงจันทร์เต็มดวงมีชื่อเรียกหลายชื่อตามฤดูกาลและการเก็บเกี่ยว เช่น harvest moon (จันทร์เพ็ญในฤดูเก็บเกี่ยว) และ snow moon (ดวงจันทร์ในฤดูหนาว) และอาจแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่และวัฒนธรรม เนื่องจากบางปีอาจมีดวงจันทร์เต็มดวงสิบสามครั้ง ในปีนั้นจึงมีอยู่ครั้งหนึ่งที่ดวงจันทร์เต็มดวงไม่ตรงกับฤดูที่ถูกต้อง และจะเรียกดวงจันทร์เต็มดวงครั้งนั้นว่า ดวงจันทร์สีน้ำเงิน หลังจากนั้น ดวงจันทร์เต็มดวงอีกสิบสองครั้งที่เหลืออยู่ในปีนั้นก็จะปรับตรงตามช่วงเวลาดังเดิม",
"title": "ทุติยเพ็ญ"
},
{
"docid": "344937#7",
"text": "เช้าวันต่อมา ลูกเรือฌองบัปติสต์เซย์ยังคงอยู่บนเรือที่เกยตื้น สยามได้ส่งเรือเข้ามาควบคุมเรือกลไฟฌองบัปติสต์เซย์และได้พยายามจมเรือแต่ไม่สำเร็จ จากรายงาน นักโทษได้รับการปฏิบัติที่เลวร้ายและถูกส่งตัวเข้าคุกกรุงเทพ วันต่อมาเรือปืนฝรั่งเศส ฟอร์แฟต (Forfait) ได้มาถึงปากน้ำและส่งเรือพร้อมทหารเต็มลำเข้ายึดเรือฌองบัปติสต์เซย์แต่เมื่อถึงเรือกลับโดนโจมตีขับไล่ถอยไปโดยทหารสยามที่ยึดเรืออยู่ เมื่อพลเรือตรี อูว์มัน มาถึงกรุงเทพ เขาได้ทำการปิดล้อมและหันกระบอกปืนมาทางพระบรมมหาราชวัง ",
"title": "วิกฤตการณ์ปากน้ำ"
},
{
"docid": "486106#1",
"text": "สิริรัตน เรืองศรี มีชื่อเล่นว่า หนูสิ เกิดวันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2531 กำลังศึกษาอยู่ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จังหวัดกรุงเทพ และได้รับรางวัล มิสไทยแลนด์เวิร์ล ปี 2553 เป็นตัวแทนไปประกวด MISS WORLD 2010 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน เพราะมีส่วนสูงที่โดดเด่นถึง 178 เซนติเมตร หรับการประกวด Miss Thailand World 2010 นั้น ระหว่างในช่วงประกวด หนูสิ สิริรัตน์ เรืองศรี เป็นสาวงามคนหนึ่งที่ถูกจับตามอง เพราะนอกจากจะมีหน้าตาไทยแท้แล้วผิวยังสีแทนดูอินเตอร์ แถมหุ่นดีสูงโปร่งสุด ๆ และยังมีความสามารถหลายด้าน ทั้งศิลปะ การเต้นสปอร์ต แอโรบิก ที่สำคัญเธอยังชอบเล่นโยคะเป็นพิเศษอีกด้วย และในรอบตัดสิน Miss Thailand World 2010 หนูสิ สิริรัตน เรืองศรี ยังเป็นสาวไหวพริบดี สามารถตอบคำถามได้ถูกใจกรรมการที่สุดด้วยคำถามที่ว่า วิชาใดเป็นวิชาที่คุณคิดว่าสำคัญที่สุด ซึ่ง หนูสิ สิริรัตน เรืองศรี ก็เลือกที่จะตอบว่า \n\"วิชาจริยธรรม เพราะเด็กไทยต้องไม่ใช่แค่เรียนเก่ง แต่ต้องเรียนเพื่อเป็นคนดีด้วย\" ซึ่งหลังจากเธอตอบคำถามนี้จบ ก็เรียกเสียงปรบมือไปเต็ม ๆ \nจนทำให้เธอคว้ามงกุฎ Miss Thailand World 2010 ไปครอง พร้อมกันนี้ สิริรัตน เรืองศรี ยังคว้ารางวัล \n\"ขวัญใจช่างภาพสื่อมวลชน\" และ \"นางงามรูปร่างดี\" ไปนอนกอดอีก 2 รางวัล ได้เป็นตัวแทนสาวไทยไปประกวดมิสเวิลด์ ปี 2010 ที่ จีน\"https://www.facebook.com/Noo8isirirat\"",
"title": "สิริรัตน เรืองศรี"
},
{
"docid": "141384#12",
"text": "นักศึกษาของคณะศิลปกรรมศาสตร์ นอกจากมีความสนใจในเรื่องของศิลปะและการออกแบบแล้ว นักศึกษาส่วนมากยังสนใจในเรื่องของดนตรีอีกด้วย มีนักศึกษาจำนวนมากที่เล่นดนตรีเป็นงานอดิเรกและมีการตั้งวงดนตรีกันเอง กิจกรรมนี้จึงจัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาได้แสดงความสามารถทางด้านดนตรีออกสู่สาธารณะ ในงานนอกจากมีดนตรีแล้วยังมีการจัดบุฟเฟต์บา-บี-คิว อีกด้วย กิจกรรมนี้จึงมีชื่อว่า \"บา-บี-ชิว\" จะจัดขึ้นประจำทุกปี ณ บริเวณอาคาร 7 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต ทั้งนี้จะต้องซื้อบัตรเข้างาน เนื่องจากจะต้องใช้งบประมาณในการจัดงานสูง",
"title": "คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ"
},
{
"docid": "12279#18",
"text": "มหาวิทยาลัยกรุงเทพจัดให้มีพิธีปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่เป็นประจำทุกปี โดยเป็นการปฐมนิเทศรวมทั้งมหาวิทยาลัย ท่านอธิการบดี คณะผู้บริหาร คณบดี คณาจารย์ ให้เกียรติเข้าร่วมในพิธีดังกล่าวเป็นประจำทุกปี ซึ่งในงานจะมีพิธีบายสีสู่ขวัญ และการแสดงจากพี่จากคณะและชมรมต่างๆ คอนเสิร์ตจากศิลปินดารา เพื่อเป็นการต้อนรับน้องใหม่ ในแต่ละปีจะมีชื่องานที่แตกต่างกันไป เช่น",
"title": "มหาวิทยาลัยกรุงเทพ"
},
{
"docid": "92513#1",
"text": "ชัย ราชวัตร มีชื่อจริงว่า สมชัย กตัญญุตานันท์ เป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี เกิดเมื่อ พ.ศ. 2484 ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน จบการศึกษาจากโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช หลังจากจบการศึกษาที่บ้านเกิดแล้ว ก็เข้ากรุงเทพมาเรียนวิชาบัญชีที่โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย เพราะต้องการทำงานธนาคาร เมื่อเรียนจบก็ได้เข้าทำงานที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา แต่ก็ออกจากงานเนื่องจากความเบื่องาน",
"title": "ชัย ราชวัตร"
},
{
"docid": "200764#0",
"text": "โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ () ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก โดยในอดีตมีชื่อว่า \"โรงแรมโอเรียนเต็ล\" โดยปัจจุบันบริหารงานโดย บริษัท OHTL จำกัด (มหาชน) (เดิมมีชื่อว่า บริษัท โรงแรมโอเรียนเต็ล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)) เป็นโรงแรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย และเคยเป็นหนึ่งในโรงแรมที่ถือว่าดีที่สุดของโลก",
"title": "โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ"
},
{
"docid": "23996#51",
"text": "ปี พ.ศ. 2507 เริ่มการแข่งขันฟุตบอล \"จตุรมิตรสามัคคี\" ระหว่างโรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยและโรงเรียนเทพศิรินทร์ขึ้นเป็นครั้งแรก และนับแต่นั้นก็ได้จัดเป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าทีมฟุตบอลของอัสสัมชัญจะมีชื่อเสียงมากในด้านความแข่งแกร่งในยุคของเขตร แต่ในงานกีฬาจตุรมิตร กีฬาฟุตบอลของอัสสัมชัญยังคงครองอันดับ 3 เหนือเทพศิรินทร์ ทิ้งห่างสวนกุหลาบและกรุงเทพคริสเตียน",
"title": "โรงเรียนอัสสัมชัญ"
},
{
"docid": "316339#1",
"text": "เป็นรูปพระปรางค์วัดอรุณซึ่งมีสีทองประดิษฐานอยู่กึ่งกลางสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีสีเขียวเหนือสายน้ำสีฟ้า โดยรวมอยู่ภายในวงรีสีเงินซึ่งล้อมด้วยวงรีใหญ่สีแดงขอบทอง และภายในพื้นที่วงรีสีแดงนั้นมีชื่อมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีเป็นภาษาไทยสีทองอยู่ด้านบน ซึ่งมีหนังสือและปากกาและอักษรย่อคั่นกลางระหว่างชื่อภาษาอังกฤษสีทองที่อยู่ด้านล่าง ",
"title": "มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี"
},
{
"docid": "15527#2",
"text": "เครื่องหมายไปยาลน้อย นิยมใช้ใน 2 ลักษณะด้วยกัน คือนอกจากนี้อาจใช้ในกรณีอื่น ๆ เพื่อย่อคำให้สั้น แต่เมื่ออ่านหรือเขียนคำอ่าน ต้องอ่านคำเต็ม ห้ามเขียนหรืออ่านคำหน้าแล้วต่อด้วยฯ เช่นกรุง-เทพ-ละ กรุงเทพละเด็ดขาด",
"title": "ไปยาลน้อย"
},
{
"docid": "52894#25",
"text": "อำพล-ฉัตรชัย จากภาพยนตร์เรื่อง 102 ปิดกรุงเทพปล้น สมัยวัยรุ่น หนุ่ย อำพล ลำพูน จากละครเรื่อง ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น โปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง 102 ปิดกรุงเทพปล้น..อีกแบบ",
"title": "อำพล ลำพูน"
},
{
"docid": "340714#0",
"text": "อาเจียว (อักษรจีนตัวเต็ม: 阿嬌) ดารานักแสดงนักร้องสาวชาวฮ่องกง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะนักร้องดูโอในวง ทวินส์ คู่กับ อาซา อาเจียวเกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1981 ที่ฮ่องกง มีชื่อจริงว่า จง ซินถง (อักษรจีนตัวเต็ม: 鍾欣桐, อักษรจีนตัวย่อ: 钟欣桐, พินอิน: zhōng xīntóng) มีชื่อภาษาอังกฤษว่า จิลเลียน ชุง (Gillian Chung) มีชื่อเดิมว่า จง เจียลี่ (อักษรจีนตัวเต็ม: 鍾嘉勵, พินอิน: Zhong Jia Li)",
"title": "อาเจียว"
},
{
"docid": "22941#0",
"text": "สะพานพระราม 3 () เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างถนนรัชดาภิเษกและถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เขตธนบุรี กับถนนเจริญกรุงและถนนพระรามที่ 3 เขตบางคอแหลม สร้างขนานกับสะพานกรุงเทพ (เดิมมีชื่อเรียกกันติดปากว่า สะพานกรุงเทพ 2) เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช",
"title": "สะพานพระราม 3"
},
{
"docid": "303284#2",
"text": "วันหนึ่งครูไสลไปยืนอ่านหนังสือเรื่อง \"ผู้ชนะสิบทิศ\" ตามร้านหนังสือแถวเวิ้งนาครเขษม จากนั้นจึงพาคุณ ชรินทร์ นันทนาคร ไปนั่งริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ครัววังหน้า ซึ่งตอนนี้เป็นสโมสรเทศบาลนครกรุงเทพ นั่งอยู่ในเวลากลางคืนที่มีดวงดาวเต็มท้องฟ้า ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีแต่ต้นลำพูเต็มไปด้วยหิ่งห้อยเป็นล้าน ๆ ตัว ในบรรยากาศซึ่งเงียบ มีแต่เรือแจว เมื่อเห็นเช่นนั้น ครูไสลจึงเริ่มเขียนเพลงนี้ขึ้นมา ฮัมเพลงขึ้นมาทันที...ฟ้าลุ่มอิรวดี คืนนี้มีแต่ดาว... แล้วก็แต่งต่อไปจนจบ นำไปขายได้เงินไม่กี่ร้อยบาท",
"title": "ผู้ชนะสิบทิศ (เพลง)"
},
{
"docid": "52275#2",
"text": "สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ ถือเป็นสโมสรฟุตบอลที่มีชื่อเสียงในอันดับต้นๆของวงการฟุตบอลไทยเสมอมา โดยชนะเลิศ ถ้วย ก 9 สมัย และชนะเลิศ ไทยลีก 1 สมัย\nทว่าหลังจากการแข่งขัน ฟุตบอลไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2551 ปิดฤดูกาลลง สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพซึ่งจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 14 จาก 16 ทีม ต้องตกชั้นไปเล่นไทยลีกดิวิชัน 1 2552 ร่วมกับการที่สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพไม่มีสิทธิจดทะเบียนนิติบุคคล เพราะขัดระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย สโมสรธนาคารกรุงเทพจึงประกาศยุบสโมสรไปในปีนั้นเอง",
"title": "สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ"
},
{
"docid": "19655#0",
"text": "โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (English: Bangkok Christian College ย่อ: ก.ท, BCC) เรียกอย่างย่อว่า กรุงเทพคริสเตียน หรือ คริสเตียน เป็นโรงเรียนเอกชนชายล้วนขนาดใหญ่ ได้รับการสถาปนาขึ้นโดยคณะมิชชันนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน เมื่อปี พ.ศ. 2395 เป็นโรงเรียนแห่งแรกในเครือสภาคริสตจักรในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย 28 โรงเรียน กับ 2 มหาวิทยาลัย[1] ปัจจุบันโรงเรียนมีอายุ 166 ปี เป็นโรงเรียนที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย เป็นโรงเรียนโปรแตสแตนท์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ และเป็นโรงเรียนเพียงแห่งเดียวในปัจจุบันที่ก่อตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยตั้งอยู่ เลขที่ 35 ถนนประมวญ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร[2] โรงเรียนมีศิษย์เก่าเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคน ทั้งองคมนตรี 4 คน นายกรัฐมนตรีไทย 2 คน รัฐมนตรีหลายกระทรวง นักร้อง นักแสดง ผู้จัดรายการหลายคน และ อำนวย เสี่ยงไทร์ แพทย์ชื่อดังโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยเป็นโรงเรียนในเครือจตุรมิตร ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย, โรงเรียนเทพศิรินทร์, โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย",
"title": "โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย"
},
{
"docid": "94681#0",
"text": "คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เดิมเป็นภาควิชาหนึ่งของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ แต่ในเวลาต่อมา เนื่องจากสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เริ่มมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจของประเทศมากขึ้น ในฐานะของสาขาวิชาที่จำเป็นต่อการวางนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล รวมทั้งมีเศรษฐกรที่มีชื่อเสียงจำนวนมากทั้งในและต่างประเทศ จึงทำให้สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เริ่มเป็นที่จับตามอง",
"title": "คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ"
},
{
"docid": "12749#1",
"text": "นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้รับการจัดอันดับด้านการจัดการเรียนการสอนดีเด่น จาก\nจึงนับเป็นข้อดีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ที่เป็นแหล่งรวมความรู้ด้านวิชาชีพจากสถานศึกษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งจะส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนจะพัฒนาก้าวหน้าไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนสีประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ คือ สีเขียว ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นสาธร และเพลงประจำมหาวิทยาลัย คือ เพลงขวัญใจมหาเมฆ",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ"
},
{
"docid": "299970#2",
"text": "ไมเคิล หว่อง เคยมีชื่อเสียงโด่งดังในประเทศไทยด้วยในระหว่างปี พ.ศ. 2536-2537 หลังจากได้แสดงภาพยนตร์โฆษณาผลิตภัณฑ์ชีวาสรีกัลคู่กับ Janet Ma ฉายทางโทรทัศน์ในปี 2535 และได้มาพำนักและทำงานในกรุงเทพเป็นระยะเวลาหนึ่งเป็นหนุ่มสุดฮอตของวงการ ต่อมาได้ออกอัลบั้มเพลงชุดหนึ่งในสังกัดแกรมมี่ เอนเตอร์เทนเมนต์ ปัจจุบันเป็น จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีเพลงที่ได้รับการโปรโมตคือ \"ฉันมาไกล\" ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับอัลบั้ม มีเนื้อร้องเป็นภาษาไทยโดยร้องด้วยการใช้ภาษาคาราโอเกะ นอกจากนี้ในอัลบั้มดังกล่าวยังมีเพลง To Love Somebody และยังนำแสดงในภาพยนตร์เรื่อง \"มังกรเจ้าพระยา\" คู่กับดาวรุ่งดวงใหม่ มรกต มณีฉาย เจ้าของเต้านมมโหฬารขนาด 40 นิ้ว และทอม ดันดี จากการกำกับโดย ฉลอง ภักดีวิจิตร ในเรื่องไมเคิลรับบททายาทเศรษฐีที่กลับมาจากฮ่องกงเพื่อสืบหาสาเหตุการเสียชีวิตของบิดา โดยมีมรกตรับบทนางนกต่อ แต่สุดท้ายก็พลาดท่าเสียทีโดนไมเคิลจับฟาดบนเตียงในที่สุด การถ่ายทำใช้เวลานานเนื่องจากมรกตยังไม่มีประสบการณ์และผู้กำกับต้องการเอาใจดาราหนุ่มฮ่องกง ฉลองเผยว่าเขาได้ถ่ายทำหลายเวอร์ชันไว้เผื่อเลือกโดยในการถ่ายมีแค่เขาและตากล้องเพื่อความสมจริง ฉากดังกล่าวไมเคิลให้สัมภาษณ์ว่าเขาแทบทนไม่ไหวขณะคลุกเคล้าใบหน้าเข้ากับสองก้อนเนื้อขนาดใหญ่ ขณะที่โรมรันกันบนเตียงไมเคิลก็จัดการกับหัวนมอย่างเต็มที่ด้วยมือและปากส่วนมรกตก็ตอบโต้อย่างสุดความสามารถภายใต้ผ้าห่ม เล่นเอาในห้องเต็มไปด้วยเสียงครวญคราง สุดท้ายกว่าจะถ่ายทำเสร็จก็เล่นเอามรกตถึงกับสะบักสะบอม ",
"title": "ไมเคิล หว่อง"
},
{
"docid": "200764#3",
"text": "1 กันยายน พ.ศ. 2551 กลุ่มกิจการแมนดาริน โอเรียนเต็ล ซึ่งเป็นกลุ่มโรงแรมที่มีชื่อเสียงกลุ่มหนึ่งของเอเชีย ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการของโรงแรม หลังจากนั้นก็ได้มีการเปลื่ยนชื่อบริษัทจาก บริษัท โรงแรมโอเรียนเต็ล ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) มาเป็น บริษัท OHTL จำกัด (มหาชน) และโรงแรมได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น \"โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ \" ทำให้มีการปรับภาพลักษณ์และกระบวนทัศน์ของการบริหารงานโรงแรม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในรอบ 132 ปี",
"title": "โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ"
},
{
"docid": "430766#1",
"text": "\"เสน่ห์กรุงเทพ\" หรือ \"สวัสดีบางกอก\" เป็นภาพยนตร์สั้น 9 เรื่อง จาก 9 ผู้กำกับฯ และหลายนักแสดงที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก ความยาวตอนละประมาณ 20 นาที จากการอำนวยการสร้างและผลิตโดย กรุงเทพมหานคร และสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย",
"title": "เสน่ห์กรุงเทพ"
},
{
"docid": "353379#0",
"text": "ตฤณ เศรษฐโชค มีชื่อจริงว่า โชคชัย ตันประเสริฐ เป็นนักแสดงชาวไทย เป็นลูกชายคนเดียวของครอบครัว เข้าเรียนระดับชั้นอนุบาลที่โรงเรียนบ้านเด็ก จากนั้นศึกษาที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ก่อนจะเปลี่ยนมาเรียนมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย",
"title": "ตฤณ เศรษฐโชค"
},
{
"docid": "101270#11",
"text": "การเดินทางไปเกาะล้าน ต้องเดินทางด้วยเรือ ซึ่งจะมีเรือโดยสารให้บริการเที่ยวไป ตั้งแต่เวลา 07.00 น.-18.30 น. ส่วนเที่ยวกลับ เวลา 06.30 น.-18.00 น.ซึ่งเรือโดยสารจะออกจากท่าเรือแหลมบาลีฮาย และจะจอดส่งผู้โดยสารที่ท่า หน้าบ้าน และหาดตาแหวน คิดค่าโดยสารในอัตรา คนละ 30 บาท\nการเดินทางจากกรุงเทพ โดยรถประจำทาง สามารถใช้บริการรถตู้ บริเวณสถานีรถไฟฟ้าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยค่าโดยสารนั้นเพียง 100 บาท รถออกทุกๆ 15 นาที หรือออกเมื่อผู้โดยสารเต็ม\nการเดินทางจากท่าเรือแหลมบาลีฮาย-กรุงเทพ ด้วยรถประจำทาง สามารถใช้บริการรถตู้ บริเวณท่าเรือแหลมบาลีฮาย ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการอยู่ด้านหน้าท่าเรือ",
"title": "เกาะล้าน"
},
{
"docid": "156642#0",
"text": "มีสุข คุณดิลกชัยพัฒน์ นามสกุลเดิม แจ้งมีสุข พิธีกรรายการโทรทัศน์ผู้หญิงถึงผู้หญิง ทางช่อง 3 เกิดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2516 ที่กรุงเทพ โดยมีชื่อแรกเกิดว่า ชินนา แจ้งมีสุข ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น มีสุข แจ้งมีสุข จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปริญญาโท คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์",
"title": "มีสุข คุณดิลกชัยพัฒน์"
}
] |
908 | เดอะบีเทิลส์ เป็นวงดนตรีสัญชาติอะไร? | [
{
"docid": "100687#0",
"text": "เดอะบีเทิลส์ (English: The Beatles) เป็นวงร็อกแอนด์โรลจากเมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ ในปี 1960 ประกอบด้วยสมาชิก ร้องนำและมือกีตาร์ จอห์น เลนนอน ร้องนำและมือเบสพอล แม็กคาร์ตนีย์ มือกีตาร์ จอร์จ แฮร์ริสัน และมือกลอง ริงโก สตาร์ บีเทิลส์ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางให้เป็นวงร็อกที่มีอิทธิพลที่สุดแห่งยุคและเป็นหนึ่งในวงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด[1] ในตอนเริ่มต้นแนวดนตรีของพวกเขาจะเป็นแบบสกิฟเฟิลและร็อกแอนด์โรล แต่ในเวลาต่อมาบีเทิลส์ก็ได้สรรค์สร้างแนวเพลงอีกหลากหลาย นับแต่ไปจนถึงไซเคเดลิก บางครั้งก็ผสมแนวดนตรีคลาสสิกหรือเครื่องดนตรีแบบอื่นๆ ด้วยกระแสนิยมของบีเทิลส์อย่างสูง จนถึงกลับเรียกกระแสเหล่านี้ว่า \"บีเทิลมาเนีย\" (Beatlemania) โดยเฉพาะในช่วงยุค 60 - 70",
"title": "เดอะบีเทิลส์"
}
] | [
{
"docid": "840008#69",
"text": "หมวดหมู่:กลุ่มดนตรีสัญชาติไทย หมวดหมู่:กลุ่มดนตรีป็อปสัญชาติไทย หมวดหมู่:เกิร์ลกรุป หมวดหมู่:บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต หมวดหมู่:วงน้องสาวของเอเคบีโฟร์ตีเอต หมวดหมู่:กลุ่มดนตรีไทยในยุค 2010",
"title": "บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต"
},
{
"docid": "358195#0",
"text": "เฟลม () เป็นวงดนตรีแนวร็อค สัญชาติไทย",
"title": "เฟลม (วงดนตรี)"
},
{
"docid": "43986#0",
"text": "จอห์น วินสตัน โอโนะ เลนนอน (English: John Winston Ono Lennon, MBE) (9 ตุลาคม 1940 - 8 ธันวาคม 1980) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลงชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงทั่วโลก และเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้งวงเดอะบีเทิลส์ วงดนตรีที่ประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ในประวัติศาสตร์วงการดนตรี ร่วมกับสมาชิก พอล แม็กคาร์ตนีย์ เขากลายเป็นคู่หูนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียง",
"title": "จอห์น เลนนอน"
},
{
"docid": "100687#10",
"text": "หมวดหมู่:กลุ่มดนตรีร็อกสัญชาติอังกฤษ หมวดหมู่:ศิลปินสังกัดแคปิตอลเรเคิดส์ หมวดหมู่:ผู้ที่ได้รับรางวัลแกรมมี หมวดหมู่:กลุ่มดนตรีที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2503 หมวดหมู่:ศิลปินสังกัดแอปเปิลเรเคิดส์ หมวดหมู่:วงดนตรี 4 ชิ้น",
"title": "เดอะบีเทิลส์"
},
{
"docid": "319409#0",
"text": "\"อิแมจิน\" () เป็นเพลงที่เขียนและร้องโดยนักดนตรีร็อกชาวอังกฤษ จอห์น เลนนอน เป็นเพลงเปิดตัวในอัลบั้มของเขาชุด \"Imagine\" ออกในปี 1971 หลังจากการแตกของวง เดอะบีเทิลส์ ",
"title": "อิแมจิน (เพลง)"
},
{
"docid": "218044#0",
"text": "เรนโบว์ เป็นวงดนตรีฮาร์ดร็อกสัญชาติอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1975 โดยริทชี แบล็กมอร์ อดีตมือกีตาร์วงดีพเพอร์เพิล ร่วมกับอดีตสมาชิกจากวงเอลฟ์ คือ รอนนี เจมส์ ดิโอ (นักร้องนำ) มิคกี ลี โซล (คีย์บอร์ด) เครก กรูเบอร์ (เบส) และ แกรี ดริสคอล (กลอง) ในเวลาต่อมา ทางวงได้เปลี่ยนนักดนตรีอีกหลายรุ่น โดนมีนักดนตรีหลักคือตัวริทชี แบล็กมอร์ เอง",
"title": "เรนโบว์ (วงดนตรี)"
},
{
"docid": "378018#5",
"text": "เลอวีนมองครอบครัวของตนว่า \"รักดนตรีมาก\" และให้เครดิตแม่ของเขาวา \"ทำให้ผมเริ่มมาเส้นทางสายนี้\" เขายกให้บุคคลที่แม่ยกเป็นตัวอย่าง ซึ่งได้แก่ ไซมอน แอนด์ การ์ฟังเกล ฟลีตวูดแม็ก และเดอะบีเทิลส์ เป็นผู้กำหนดรูปแบบแนวดนตรีของเขา เขาเรียกดนตรีกลุ่มนั้นว่าเป็น \"ส่วนสำคัญในช่วงเติบโตของเขา\" เขาเข้าเรียนที่โรงเรียนเบรนต์วูด และพบกับเจสซี คาร์ไมเคิล และมิกกี แมดเดน ซึ่งต่อมาเป็นเพื่อนร่วมวงดนตรีของเขา เขานำความสนใจด้านดนตรีไปใช้ที่โรงเรียนไฮสกูล เขากล่าวว่า เขา \"หัวรั้นเล็กน้อย ผมไม่อยากทำสิ่งที่เขาสอนผม [ดนตรี] กลืนกินทุกความคิดของผมเลย\"",
"title": "แอดัม เลอวีน"
},
{
"docid": "7083#0",
"text": "รายชื่อกลุ่มดนตรีและวงดนตรีสัญชาติไทย ชื่อในวงเล็บสำหรับกลุ่มที่ใช้ชื่อภาษาต่างประเทศ",
"title": "รายชื่อกลุ่มดนตรีสัญชาติไทย"
},
{
"docid": "961236#2",
"text": "ก่อนเปิดตัวนั้น วงเคยเล่นดนตรีตามร้านอาหารต่าง ๆ จนกลายเป็นที่รู้จักระดับหนึ่ง และได้เซ็นสัญญากับสไปซีดิสก์ในเวลาต่อมา เฮลเมทเฮดส์กล่าวว่าแนวเพลงของพวกเขาได้รับอิทธิพลจากศิลปินยุค 1960 คือ เดอะบีเทิลส์, เดอะคิงส์, เดอะเอาท์ไซเดอร์ และเอลวิส เพรสลีย์ ไปจนถึงการแต่งกายวินเทจ และทรงผมที่คล้ายหมวกกันน็อกเลยเป็นที่มาของชื่อวง",
"title": "เฮลเมทเฮดส์"
},
{
"docid": "187911#1",
"text": "ริชาร์ดนั้นได้ก้าวเข้าสู่วงการบันเทิงอังกฤษ โดยการร้องเพลงแนวร็อกแอนด์โรลตามแบบสไตล์ของนักร้องชาวอเมริกันชื่อดังอย่าง เอลวิส เพรสลีย์ และ ลิตเทิล ริชาร์ด ริชาร์ดได้ร่วมทำเพลงกับวงแบ็กอัพซึ่งเป็นวงดนตรีร็อกแอนด์โรลชื่อดัง อย่างวงเดอะชาโดว์ส ริชาร์ดถูกเสนอว่าเป็นนักร้องอังกฤษที่โด่งดังมากในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 ก่อนและระหว่างที่เดอะบีทเทิลส์จะมีเพลงเข้าชาร์ต เพลงฮิตเพลงแรกของเขา คือเพลง Move It ในปี ค.ศ. 1958 กล่าวได้ว่าเป็น เพลงร็อกแอนด์โรลเพลงแรกในสหราชอาณาจักร ซึ่ง จอห์น เลนนอน อดีตสมาชิกวงเดอะบีเทิลส์ กล่าวไว้ว่า \"ก่อนที่จะมีเพลงของ คลิฟฟ์ ริชาร์ด และ เดอะชาโดว์ส ไม่มีเพลงอะไรน่าฟังเลยในอุตสาหกรรมดนตรีอังกฤษ ",
"title": "คลิฟฟ์ ริชาร์ด"
},
{
"docid": "734185#0",
"text": "เดอะบีเทิลส์ () หรือ ไวต์อัลบั้ม () เป็นสตูดิโออัลบั้มที่เก้าของวงดนตรีแนวร็อกสัญชาติอังกฤษ เดอะบีเทิลส์ ออกจำหน่ายวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1968 อัลบั้มคู่ที่มีเพียงพื้นหลังสีขาว ไม่มีกราฟิกหรือข้อความใด ๆ นอกจากมีชื่อวงทำเป็นตัวนูนไว้ ตั้งใจจะให้แตกต่างจากอัลบั้ม\"ซาร์เจินต์เปปเปอส์โลนลีฮาตส์คลับแบนด์\" (1967) ที่มีภาพสีสันฉูดฉาด แม้ว่าจะไม่มีซิงเกิลออกจำหน่ายในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เพลง \"เฮย์จูด\" และ \"เรโวลูชัน\" ถูกผลิตขึ้นพร้อม ๆ กับเพลงอื่น ๆ ในอัลบั้ม และออกจำหน่ายเป็นซิงเกิลในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1968 แนวเพลงของอัลบั้มมีตั้งแต่บริติชบลูส์ และสกา จนถึงเพลงที่มีอิทธิพลจากวงเดอะบีชบอยส์ และคาร์ลไฮนซ์สตอกเฮาเซน",
"title": "เดอะบีเทิลส์ (อัลบั้ม)"
},
{
"docid": "50682#0",
"text": "เฌอ เป็นวงดนตรีสัญชาติไทยสังกัด KITA Record",
"title": "เฌอ (วงดนตรี)"
},
{
"docid": "516342#5",
"text": "พอล พี่ชายของเลียม และโนลยังยืนยันอีกว่า เลียมในช่วงวัยรุ่นมีท่าทีเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้คน โดยเฉพาะกับโนลพี่ชายของเขาเพราะทั้งสองนอนห้องเดียวกัน เลียมถูกไล่ออกจากโรงเรียนเมื่ออายุ 15 ปี เพราะไปมีเรื่องทะเลาะวิวาท โนลกล่าวว่า เลียมเริ่มแสดงความสนใจในด้านดนตรีในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย เขามั่นใจในความสามารถในการร้องของตนเองเป็นอย่างมาก และเริ่มฟังวงดนตรีดัง ๆ ในสมัยนั้น เช่น เดอะสโตนโรสเซส, เดอะฮู, เดอะคิงส์, เดอะแจม, ที. เรกซ์ โดยเฉพาะวง เดอะบีเทิลส์ เลียมคลั่งไคล้จอห์น เลนนอนเป็นอย่างมาก แกลลาเกอร์ยืนยันอีกว่าเขาคือ เลนนอน ที่กลับชาติมาเกิดใหม่ แม้ว่าแกลลาเกอร์จะถือกำเนิดมาแล้ว 8 ปี ก่อนที่เลนนอนจะถูกฆาตกรรมก็ตาม แกลลาเกอร์ยังเป็นแฟนคลับตัวยงของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี อีกด้วย",
"title": "เลียม แกลลาเกอร์"
},
{
"docid": "50942#0",
"text": "ซิลลี่ ฟูลส์ () วงดนตรีสัญชาติไทย เป็นวงดนตรีที่ได้ประสบความสำเร็จมาแล้ววงหนึ่ง ซิลลี่ ฟูลส์ เป็นวงดนตรีที่มีเอกลักษณ์และมีฝีมือ ไม่ว่าจะเป็นการผสมผสานดนตรีอันลงตัว อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งไม่มีใครลอกเลียนได้ และเป็นต้นแบบของวงเฮฟวี่เมทัลในยุคนี้ และเป็นไอดอลของนักดนตรีหลาย ๆ คน อาทิเช่น แคลช, โลโมโซนิก และ เรโทรสเปกต์, สวีตมัลเล็ต, โปเตโต้, อีโบลา เป็นต้น",
"title": "ซิลลี่ ฟูลส์"
},
{
"docid": "8231#0",
"text": "Bodyslam() เป็นวงดนตรีร็อกสัญชาติไทยจากกรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2545 เป็นวงดนตรีที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย สมาชิกวงที่เป็นที่รู้จักกันดีจากวงนี้คือ นักร้องนำของวง อาทิวราห์ คงมาลัย (ตูน) โดยเพลงส่วนใหญ่ได้อิทธิพลมาจากดนตรีร็อกจากฝั่งสหรัฐอเมริกาในยุคต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ผสมผสานกับดนตรีแนวโพรเกรสซิฟร็อก[1] บอดี้สแลมประสบความสำเร็จกับอัลบั้มชุดแรกของวง ซึ่งมีชื่ออัลบั้มเป็นชื่อเดียวกันกับวง หลังจากนั้นก็ได้ออกจำหน่ายอัลบั้มชุดต่อมา ไดรฟ์ ในปี พ.ศ. 2546 และตามด้วยการออกงานแสดงคอนเสิร์ต",
"title": "บอดี้สแลม"
},
{
"docid": "186201#30",
"text": "ในช่วงแรกของงานดนตรี แนวเพลงที่เพร์รีร้องบ่อย ๆ คือกอสเปล และเธอใฝ่ฝันจะประสบความสำเร็จเหมือนเอมี แกรนต์[213] เมื่ออายุ 15 ปี เธอได้รู้จักเพลง \"คิลเลอร์ควีน\" ของวงควีน และนับว่าเป็นเพลงที่บันดาลใจเธอให้ทำอาชีพดนตรี[214] เธอกล่าวถึงนักร้องนำ เฟรดดี เมอร์คูรี ว่าเป็น \"อิทธิพลใหญ่สุด\" (biggest influence) ของเธอและอธิบายว่า \"การผสมผสานของการแต่งเพลงแบบประชดประชันกับทัศนคติที่ว่า 'ฉันไม่ใส่ใจ' (I don't give a fuck) เป็นแรงบันดาลใจให้เธอได้อย่างไร\"[215] เธอแสดงความนับถือวงดังกล่าวโดยตั้งชื่อน้ำหอมตัวที่สามของเธอว่า คิลเลอร์ควีน[180] เพร์รียังพูดถึงวงเดอะบีชบอยส์ และอัลบั้ม เพ็ตซาวส์ ในฐานะที่เป็นอัลบั้มที่มีอิทธิพลต่อเธออย่างมากว่า \"เพ็ตซาวส์ เป็นหนึ่งในอัลบั้มที่ฉันโปรดปรานที่มีผลต่อเพลงที่ฉันแต่ง ทุก ๆ เมโลดีที่ฉันแต่งขึ้นก็มีที่มาจากอัลบั้ม<i data-parsoid='{\"dsr\":[88111,88124,2,2]}'>เพ็ตซาวส์\"[216] เพร์รีสรรเสริญอัลบั้มเดอะบีเทิลส์ ของวงเดอะบีเทิลส์ และอัลบั้ม เพ็ตซาวส์ อย่างมากและถือว่าเป็น \"อัลบั้มที่ฉันฟังนานถึง 2 ปีติดต่อกัน\"[217]",
"title": "เคที เพร์รี"
},
{
"docid": "365712#1",
"text": "บิยาร์เรอัล มีฉายาว่า \"El Submarino Amarillo\" หรือในภาษาอังกฤษ คือ \"Yellow Submarine\" ที่แปลได้ว่า \"เรือดำน้ำสีเหลือง\" ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับเพลงที่ได้รับความนิยมของเดอะบีเทิลส์ โดยมีที่มาที่ไปมาจากเมื่อปลายยุคทศวรรษที่ 60 ขณะนั้นสโมสรอยู่ในระดับลีกภูมิภาค และกำลังจะถูกเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในระดับดิวิชัน 3 มีบาทหลวงรูปหนึ่งซึ่งเป็นผู้สนับสนุนสโมสร คิดจะหาสิ่งเชื่อมโยงระหว่างสโมสรกับบรรดาผู้สนับสนุน ขณะนั้นบิยาร์เรอัลมีกำหนดจะลงเล่นกับลิเวอร์พูล สโมสรระดับใหญ่ของอังกฤษ บาทหลวงรูปนี้จึงได้เปิดเพลง \"Yellow Submarine\" ของเดอะบีเทิลส์ ซึ่งเป็นวงดนตรีที่มีกำเนิดในเมืองลิเวอร์พูล จากตู้เพลงในบาร์ในคืนวันที่มีการแข่งขัน ซึ่งสีเหลืองก็เป็นสีที่ตรงกับชุดแข่งขันของสโมสรด้วย จึงกลายมาเป็นฉายามาจนถึงปัจจุบัน",
"title": "สโมสรฟุตบอลบิยาร์เรอัล"
},
{
"docid": "859221#0",
"text": "ราโมนส์ () เป็นสตูดิโออัลบั้มเปิดตัวของวงพังก์ร็อกสัญชาติอเมริกา ราโมนส์ เปิดตัวในวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1976 ผ่านทางค่ายไซร์ จุดเริ่มต้นของอัลบั้มนี้เริ่มขึ้นจาก ลิซา โรบินสัน บรรณาธิการของนิตยสารฮิตพาราเดอร์ ได้ชมการแสดงของราโมนส์ในนิวยอร์ก โรมบินสันจึงได้เขียนบทความเกี่ยวกับพวกเขาและได้ติดต่อกับแดนนี ฟีลด์ส เพื่อให้เขามาเป็นผู้จัดการวง ฟีลด์ส ก็ได้ตอบตกลงและโน้มน้าวเคร็ก ลีออน ให้มาเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับวง ราโมนส์ได้เริ่มทำการบันทึกเสียงในรูปแบบของเดโม เพื่อหาค่ายเพลงในอนาคต ลีออน ได้ชักชวนเซย์มัวร์ สไตน์ ประธานค่ายไซร์ มารับชมการแสดงของพวกเขา จนในที่สุดในเวลาต่อมาเขาก็ยินดีเซนต์สัญญาบันทึกเสียงผ่านทางค่าย ราโมนส์ ได้เริ่มบันทึกเสียงในเดือนมกราคม ค.ศ. 1976 โดยมีเวลาให้เพียง 7 วัน กับเงินสดสนับสนุน $6,400 เพื่อใช้ในการบันทึกเสียงครั้งนี้ ราโมนส์ได้ใช้เทคนิคเสียงที่คล้ายคลึงกับเดอะบีเทิลส์ บวกกับเทคนิคขั้นสูงที่คิดค้นโดยลีออน",
"title": "ราโมนส์ (อัลบั้ม)"
},
{
"docid": "120992#3",
"text": "ราโมนส์ได้สร้างชื่อเสียงที่เป็นที่จดจำมากกว่าหลายปี พวกเขาได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางในฐานะหนึ่งในศิลปินร็อกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ทั้งจากการติดโผ \"100 ศิลปินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล\" จากนิตยสาร \"โรลลิงสโตน\" และหัวข้อ \"100 ศิลปินฮาร์ดร็อกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด\" จากนิตยสาร \"วีเอชวัน\" ในปี ค.ศ. 2002 ราโมนส์ ได้รับการจัดอันดับที่ 2 ในฐานะวงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลโดยนิตยสาร \"สปิน\" เป็นรองแค่วงเดอะบีเทิลส์ ในวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 2002 สมาชิกดั้งเดิมทั้ง 4 และมาร์คีย์ ราโมน มือกลอง ก็ได้รับการบรรจุเข้าสู่หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล ในปี ค.ศ. 2011 วงก็ได้รับรางวัลประสบผลสำเร็จในวงการดนตรีของแกรมมี อีกด้วย ",
"title": "ราโมนส์"
},
{
"docid": "755833#1",
"text": "เลมมีเกิดใน สโตก-ออน-เทรนต์ และเติบโตใน นอร์ธเวย์ เขาได้รับอิทธิพลมาจากแนวเพลง ร็อกแอนด์โรล และวงดนตรี เดอะบีเทิลส์ ในช่วงแรก นั้นทำให้เขาได้ร่วมแสดงวงดนตรีร็อคหลากหลายในช่วงทศวรรษ 1960 The Rockin' Vickers ถือเป็นวงที่สร้างชื่อให้เลมมีอย่างมีสำคัญ , โดยเขาเป็นคนยกเครื่องดนตรีในวงให้กับ จิมิ เฮนดริกซ์ และ เดอะไนซ์ ก่อนที่จะถูกเข้ามาเป็นสมาชิกแนวสเปธร็อค ในวงดนตรี Hawkind เมื่อปี ค.ศ. 1971 เลมมียังทำหน้าที่ร้องนำในวง และได้ร่วมร้องเพลง \"Silver Machine\". ซึ่งเป็นซิงเกิ้ลประสบความสำเร็จ กระนั้นเล็มมีก็ถูกไล่ออกจากวง , หลังจากนั้นเขาก่อตั้งวงมอเตอร์เฮดในฐานะนักร้องนำ , มือเบส , นักแต่งเพลง และฟรอนท์แมน มอเตอร์เฮดประสบความสำเร็จอย่างมากในปี ค.ศ. 1980 ถึง ค.ศ. 1981 รวมถึงผลงานซิงเกิ้ลที่เป็นนิยม \"Ace of Spades\" เล็มมียังเดินหน้าอัดเพลงและทัวร์การแสดงอย่างเป็นประจำกับมอเตอร์เฮดกระทั่งเขาเสียชีวิตลงเมื่อธันวาคม 2015",
"title": "เล็มมี"
},
{
"docid": "641677#0",
"text": "เดอะ พาเลซ เป็นวงดนตรีสัญชาติไทยที่ได้รวบรวมอดีตสมาชิกจากวงดนตรี 6 วงยุค 70-80 มาเล่นด้วยกัน",
"title": "เดอะ พาเลซ"
},
{
"docid": "786415#0",
"text": "มาย ไลฟ์ แอส อะลิ โทมัส ( ตัวย่อ: MLAAT) วงดนตรีสัญชาติไทยจากค่ายเพลง \"Warner Music Thailand\" เป็นวงดนตรีที่สร้างชื่อจากการแสดงสดตามงานเทศกาลดนตรีต่างๆ ลักษณะดนตรีเป็นแนวโฟล์คอินดี้ มีการแต่งทำนอง เนื้อร้อง เรียบเรียงดนตรีเอง และการขับร้องเพลงภาษาอังกฤษ ถือว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของวงนี้",
"title": "มาย ไลฟ์ แอส อะลิ โทมัส"
},
{
"docid": "50228#0",
"text": "ซีล (Zeal) เป็นวงดนตรีสัญชาติไทย มีสมาชิกของวง 4 คน ศึกษาที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล จึงได้รวมตัวกันเป็นวงดนตรี ปัจจุบันมีสมาชิกใหม่เพิ่มอีก 1 คน คือ ศิลา นามเทพ ตำแหน่งกีต้าร์",
"title": "ซีล (วงดนตรี)"
},
{
"docid": "120992#33",
"text": "ด้วยดนตรีที่ดัง รวดเร็ว ของราโมนส์ ได้รับอิทธิพลส่วนหนึ่งมาจากดนตรีป็อปในช่วงทศวรรษที่ 1950 และ 1960 มีวงคลาสสิกร็อกตัวอย่างเช่น เดอะบีชบอยส์, เดอะฮู, เดอะบีเทิลส์, เดอะ คิงค์ส, เลด เซพเพลิน, เดอะโรลลิงสโตนส์ และ ครีเดนซ์ เคลียร์วอเทอร์ รีไววอล วงแนวบับเบิลกัมอย่าง 1910 ฟรุ๊คกัมคอมพานี และ โอไฮโอเอ็กซ์เพรส และวงเกิร์ลกรุ้ปเช่น เดอะโรเนตเทส และเดอะแชงกรี-ลาส์ ราโมนส์ยังได้รับอิทธิพลจากวงที่ทำดนตรีหนักๆ เช่น MC5, แบล็กแซ็บบาธ เดอะสทูเกส และนิวยอร์กดอลส์ ซึ่งปัจจุบันต่างได้รับการยกให้เป็นผู้บุกเบิกแนวโปรโทพังก์ที่สมบูรณ์ สไตล์ของราโมนส์นั้นเป็นส่วหนึ่งของการต่อต้านการทำแนวเพลงที่หนักๆ โดยที่แนวเพลงที่มีจังหวะหนักแต่พอฟังได้นั้น เริ่มเข้าครองตลาดบนป็อปชาร์ตในช่วงทศวรรษที่ 1970 โจอี้ได้กล่าวไว้ครั้งหนึ่งว่า \"พวกเราตัดสินใจที่จะเริ่มกลุ่มของพวกเราเพราะว่าพวกเราต่างเบื่อหน่ายกับทุกๆ อย่าง ที่พวกเราฟัง\" \"ในปี ค.ศ. 1974 ทุกๆ อย่างในรุ่น 10 แบบเอลตัน จอห์น ล้วนมีแต่การทำซ้ำๆซากๆ หรือไม่ก็เป็นเพียงแค่ขยะ ทุกอย่างๆ มันอึดอัดยืดยาว โซโล่กีตาร์ที่ทำยาวๆ...พวกเราคิดถึงอดีตที่มีควรจะเป็น\" อิรา รอบบินส์ (Ira Robbins) และสกอตต์ ไอสเลอร์ (Scott Isler) จากนิตยารทรูเซอร์เพรส ได้บรรยายผลลัพธ์นี้ว่า",
"title": "ราโมนส์"
},
{
"docid": "193617#18",
"text": "หมวดหมู่:กลุ่มดนตรีร็อกสัญชาติอังกฤษ หมวดหมู่:ศิลปินสังกัดแคปิตอลเรเคิดส์ หมวดหมู่:กลุ่มดนตรีที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2508 หมวดหมู่:วงทริโอ หมวดหมู่:วงดนตรี 5 ชิ้น หมวดหมู่:วงดนตรี 4 ชิ้น หมวดหมู่:กลุ่มดนตรีจากลอนดอน",
"title": "พิงก์ฟลอยด์"
},
{
"docid": "50690#26",
"text": "หมวดหมู่:กลุ่มดนตรีร็อกสัญชาติไทย หมวดหมู่:กลุ่มดนตรีออลเทอร์นาทิฟร็อกสัญชาติไทย หมวดหมู่:กลุ่มดนตรีไทยในยุค 1990 หมวดหมู่:วงทริโอ หมวดหมู่:ศิลปินสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่",
"title": "โลโซ"
},
{
"docid": "378018#27",
"text": "ความสนใจในดนตรีของเลอวีนเริ่มขึ้นเมื่อเขาอายุ 10 ปี เมื่อเขาเริ่มเล่นกีตาร์ เขาพบว่าดนตรีเป็นทางระบายอารมณ์ เขากล่าวว่า \"ผมหยิบกีตาร์มาเล่นหนึ่งอันแค่นั้นแหละ ผมรู้สึกหลงรักมันแทบบ้า ผมรู้สึกแค่นั้นจริง ๆ\" เขาแสดงสดครั้งแรกที่เดอะทรูบาดอร์เมื่อเขาอายุ 12 ขวบ แต่รู้สึกประหม่าจนเขาเล่นโดยหันหลังให้ผู้ชม ตลอดวัยเด็ก เขาได้รับอิทธิพลจากวงดนตรีหลากหลายกลุ่ม เช่น เดอะบีเทิลส์ ฟลีตวูดแม็ก เดอะฮู เพิร์ลแจม ซาวด์การ์เดน อลิซอินเชนส์ และเนอร์วานา และในช่วยไฮสกูล เขาได้รับอิทธิพลจากบ็อบ มาร์เลย์ บิล วิเทอส์ อัล กรีน สตีวี วันเดอร์ มาร์วิน เกย์ และไมเคิล แจ็กสัน เขาได้นำลักษณะดนตรีของวงเดอะโพลิซ และพรินซ์ มาใส่ในเพลงของเขาด้วย ในบทสัมภาษณ์กับนิตยสาร\"บิลบอร์ด\" เขาอธิบายถึงแนวดนตรีที่หลากหลายที่เขาฟังว่า \"ผมรักดนตรีทุกชนิด ขนาดเพลงป็อปหวานหยดย้อยฃยังสามารถเป็นเพลงที่ดีที่สุดได้ เพลงฟิวชันบ้าคลั่งล้ำยุคความยาว 25 นาทีแบบเฮอร์บี แฮนค็อกในยุค 70 ก็สามารถเป็นได้เช่นกัน\"",
"title": "แอดัม เลอวีน"
},
{
"docid": "480976#0",
"text": "วีวี่โค (VIVICO) เป็นวงดนตรีสัญชาติไทยภายใต้สังกัด \"Crossezone\" เปิดตัวเมื่อปี 2541 โดยมีเพลงเปิดตัวคือ \"โตในรถ\"\n\"วีวี่โค\" (อังกฤษ: Vivico) เป็นเกิร์ลกรุปสัญชาติไทยประกอบด้วยสมาชิกคือเมย์ จีระนันท์ กิจประสาน, เชอร์รี่ อัจฉราศรี เจริญโสภา, กุ๊กกิ๊ก วิจิตรา อัศนีวุฒิกร, มะเหมี่ยว ศิลป์สิริ ประภาวงศ์ และจิ้ง กมลรจน์ เอกวัฒนกิจ มีผลงานอัลบั้มเพลงสองชุดกับสังกัด Crossezone",
"title": "วีวี่โค (วงดนตรี)"
},
{
"docid": "100687#5",
"text": "จอห์น เลนนอน นักร้องและนักกีตาร์วัย 16 ได้ก่อตั้งกลุ่มดนตรีสกิฟเฟิล ชื่อ เดอะควอร์รีเมน (The Quarrymen) ร่วมกับเพื่อนนักเรียนในเมืองลิเวอร์พูลเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1957[4] พอล แม็คคาร์ตนีย์ในวัย 15 ได้เข้าร่วมกลุ่มด้วยในตำแหน่งมือกีตาร์ หลังจากที่เขาได้พบกับเลนนอนเมื่อเดือนกรกฎาคม[5] แม็คคาร์ตนีย์ชวนจอร์จ แฮร์ริสัน วัย 14 มาดูการแสดงของกลุ่มในเดือนกุมภาพันธ์ปีถัดมา แล้วจอร์จก็เข้าร่วมกลุ่มในตำแหน่งกีตาร์นำ[6][7] ปี ค.ศ. 1960 เพื่อนนักเรียนของเลนนอนลาออกจากกลุ่ม ส่วนตัวเขาก็เริ่มเข้าเรียนที่วิทยาลัยศิลปะลิเวอร์พูล นักกีตาร์ทั้งสามยังคงเล่นดนตรีร็อกแอนด์โรลกันเรื่อยๆ ถ้าหามือกลองได้[8] เดือนมกราคม สจ๊วต ซุตคลิฟ มือเบส เพื่อนนักเรียนของเลนนอน เสนอให้เปลี่ยนชื่อวงเป็น The Beetles เพื่อเป็นเกียรติแก่ บัดดี ฮอลลี และวงเดอะคริกเกตส์ ต่อมาพวกเขาเปลี่ยนชื่อวงเป็น The Beatals ในช่วงไม่กี่เดือนต้นปี[9] วงดนตรีเปลี่ยนชื่อไปอีกหลายชื่อ เช่น Johnny and the Moondogs, Long John and the Beetles และ The Silver Beatles ในที่สุดวงก็เปลี่ยนชื่อเป็น The Beatles ในเดือนสิงหาคม[8] การที่วงไม่มีมือกลองประจำเริ่มเป็นปัญหาขึ้นเมื่อ อัลลัน วิลเลียมส์ ผู้จัดการวงอย่างไม่เป็นทางการ ไปรับงานวงดนตรีประจำได้ในเมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี[10] ก่อนสิ้นเดือนสิงหาคม พวกเขาจัดการทดสอบและว่าจ้าง พีท เบสต์ มาเป็นมือกลองประจำวงได้[8] นักดนตรีทั้งห้าเดินทางไปยังฮัมบูร์กในอีก 4 วันถัดไป โดยได้รับสัญญาจ้างจากนักแสดงงานแฟร์กราวน์ ชื่อ บรูโน คอชไมเดอร์ เป็นเวลา 48 คืนๆละ 8 ชั่วโมง",
"title": "เดอะบีเทิลส์"
}
] |
3400 | สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เป็นของเอกชนหรือไม่ ? | [
{
"docid": "34071#3",
"text": "เดือนมกราคม พ.ศ. 2544 คณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่า สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เป็นหน่วยงานอิสระภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการทรัพยสินส่วนพระมหากษัตริย์ และมิใช่หน่วยงานภาครัฐที่อยู่ภายใต้การควบคุมหรือกำกับดูแลของรัฐบาล ต่อมาในเดือนเมษายน คณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นเพิ่มเติมว่า สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีสถานะเป็นพิเศษ ไม่อยู่ในกำกับของคณะรัฐมนตรีหรือกระทรวง ทบวง กรมใด และการที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาจะเข้าไปตรวจสอบกิจการของสำนักงานทรัพย์สินฯ นั้น จะต้องคำนึงถึงสถานะพิเศษของสำนักงานทรัพย์สินฯ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ที่เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยหรือที่ต้องได้รับพระบรมราชานุญาตนั้น ไม่พึงดำเนินการสอบสวนให้เป็นที่กระทบกระเทือนต่อพระราชอำนาจ",
"title": "สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์"
}
] | [
{
"docid": "34071#30",
"text": "ในปี 2553 สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ระบุในรายงานประจำปี 2553 ปฏิเสธข่าวของนิตยสารฟอบส์ที่ลงว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระมหากษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลก โดยอธิบายว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นทรัพย์สินของรัฐและของแผ่นดิน ซึ่งมีรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบ โดยสำนักงานฯ เป็นผู้ดูแลทรัพย์สินของแผ่นดิน มีนโยบายดำเนินงานเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมโดยตลอด พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สำนักงานปฏิรูปที่ดิน (สปก.) นำที่ดินราวกึ่งหนึ่งที่มอบให้สำนักงานฯ ดูแลตั้งแต่ปี 2479 (44,000 กว่าไร่) จัดสรรให้ประชาชน ส่วนที่ดินที่เหลือก็ไม่ได้ใช้แสวงประโยชน์อย่างเอกชน แต่บริหารจัดการโดยมีนโยบายการพัฒนาระยะยาวเพื่อประโยชน์สังคมเป็นหลัก",
"title": "สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์"
},
{
"docid": "34071#22",
"text": "อนึ่ง ก่อนพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 จะมีผลบังคับใช้ ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ได้รับการยกเว้นภาษีอากร เช่นเดียวกับทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479 ในขณะที่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ ในความดูแลของสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีอากร",
"title": "สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์"
},
{
"docid": "34071#8",
"text": "ต่อมาในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๗๑/๒๕๖๑ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2561 คณะรัฐมนตรีได้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. ... ซึ่งเป็นการยกเลิกกฎหมายฉบับเดิมเข้ามาเป็นเรื่องด่วนซึ่งไม่ปรากฏในวาระการประชุมต่อที่ประชุมสภาโดยสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานคือให้มีการเปลี่ยนชื่อสำนักงานจาก สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็น สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา ๗ ซึ่งที่ประชุมมีมติในวาระที่ ๑ ชั้นรับหลักการด้วยคะแนน เห็นด้วย ๑๙๔ เสียง ไม่เห็นด้วย ไม่มี งดออกเสียง ๓ เสียง จากนั้นที่ประชุมได้ประชุมกรรมาธิการเต็มสภาตามข้อเสนอของนาย สมชาย แสวงการ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและเลขานุการ วิป สนช. ซึ่งที่ประชุมมีมติในวาระที่ ๒ และ ๓ ด้วยคะแนน เห็นด้วย ๑๙๙ เสียง ไม่เห็นด้วย ไม่มี งดออกเสียง ๓ เสียง ให้ประกาศใช้ ร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. ... เป็นกฎหมายซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะได้ส่งร่างกฎหมายฉบับนี้กลับไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าเพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธยและลงประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ต่อไป",
"title": "สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์"
},
{
"docid": "34071#34",
"text": "สมศักดิ์สรุปว่า ทรัพย์สินส่วนพระองค์กับทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แทบไม่ต่างกัน เพราะ \"ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์\" ไม่ว่าเป็นการกำหนด \"รายจ่ายประจำ\" หรือการกำหนดให้มี \"คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์\" และ \"สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์\" ก็ล้วนแต่เป็นเรื่องที่ขึ้นกับการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ หรือต้องได้รับพระบรมราชานุญาตเท่านั้น หรือ \"อยู่ในการกำกับดูแลของพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย\" ทั้งสิ้น",
"title": "สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์"
},
{
"docid": "34071#28",
"text": "ภายหลังการมีสถานะเป็นนิติบุคคลในปี พ.ศ. 2491 สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ มีการบริหารงานเช่นเดียวกับองค์กรทั่วไป จนกระทั่งเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจใน พ.ศ. 2540 ซึ่งบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ถือหุ้นอยู่ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก จึงมีการปรับปรุงการบริหารงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และกิจการต่างๆ ที่ลงทุน เริ่มฟื้นตัวได้ในปี พ.ศ. 2546 จึงทำให้สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ มีรายได้ในปีนั้นที่ประมาณ 3,800 ล้านบาท",
"title": "สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์"
},
{
"docid": "34071#5",
"text": "ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ กล่าวโดยสรุปคือ พระราชทรัพย์ของราชวงศ์จักรีที่แยกต่างหากจากทรัพย์สินของราชการ เช่น เงินสะสมจากการแต่งสำเภาค้าขายต่างประเทศในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือที่เรียกว่า \"เงินถุงแดง\" ซึ่งตกทอดถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และนำไปใช้จ่ายค่าปฏิกรรมสงครามแก่ประเทศฝรั่งเศส หลังวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 หรือบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ซึ่งก่อตั้งโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว",
"title": "สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์"
},
{
"docid": "34071#6",
"text": "ต่อมา หลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 กรมพระคลังข้างที่ถูกลดบทบาทมาเป็น \"สำนักงานพระคลังข้างที่\" อยู่ภายใต้การดูแลของนายกรัฐมนตรีโดยตรง ต่อมามีการแยกบัญชี \"ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์\" ออกจาก \"ทรัพย์สินส่วนพระองค์\" และมีการตั้งสำนักงานทรัพย์สินฯ ขึ้นมาดูแลทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีสถานะเป็นกรม สังกัดกระทรวงการคลัง มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานที่ปรึกษา",
"title": "สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์"
},
{
"docid": "34071#33",
"text": "จากการตีความครั้งหลังสุดของคณะกรรมการกฤษฎีกา สมศักดิ์เขียนว่า หากสำนักงานฯ เป็นหน่วยงานของรัฐ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาย่อมมีอำนาจที่จะสอบสวนข้อเท็จจริงการดำเนินการได้ แต่ที่จริง คณะกรรมการกฤษฎีกายังย้ำอีกว่า \"โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ที่เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยหรือ ที่ต้องได้รับพระบรมราชานุญาตนั้น บุคคลใดไม่พึงดำเนินการสอบสวนให้เป็นที่กระทบกระเทือนต่อพระราชอำนาจดังกล่าว\"",
"title": "สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์"
},
{
"docid": "1901#71",
"text": "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นอยู่ในความดูแลของกระทรวงการคลัง เพื่อการนั้น จึงมีการจัดตั้งสำนักงานขึ้นเรียก สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทรัพย์สินส่วนใหญ่ ได้แก่ ที่ดินและหุ้น ทั้งนี้บริษัทซีบีริชาร์ดเอลลิส บริษัทโบรกเกอร์ด้านอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของโลก ได้เคยประมาณการตัวเลขพื้นที่ที่อยู่ในการดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อยู่ที่ 32,500 ไร่ โดยในบางพื้นที่มีมูลค่าสูงกว่า 380 ล้านบาทต่อไร่ ทำให้พระองค์ทรงได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์บ ให้เป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ทั้งนี้ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้ชี้แจงว่า บทความดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เนื่องจากว่าทรัพย์สินที่บทความนำมาประเมินนั้น ในความเป็นจริงมิใช่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ แต่เป็นของแผ่นดิน ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกันกับพระมหากษัตริย์ในประเทศอื่นที่บทความดังกล่าวไม่ได้จัดอันดับ",
"title": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"
}
] |
147 | เมืองหลวงของสาธารณรัฐเช็กคืออะไร? | [
{
"docid": "17189#1",
"text": "เช็กเกียประกอบด้วยภูมิภาคที่เก่าแก่สองส่วน คือ โบฮีเมียและมอเรเวีย และส่วนหนึ่งของภูมิภาคที่สาม เรียกว่า ไซลีเซีย ประเทศนี้ได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เมืองหลวงของประเทศคือ ปราก เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศด้วย เมืองสำคัญอื่น ๆ ของประเทศ ได้แก่ เบอร์โน, ออสตราวา, เปิลเซน, ฮราเดตส์กราลอเว, เชสเกบุดเยยอวีตเซ และอูสตีนัดลาเบม",
"title": "ประเทศเช็กเกีย"
}
] | [
{
"docid": "468718#2",
"text": "ชานักกาเล อยู่ห่างจากกรุงอิสตันบูล เมืองหลวงของตุรกีด้วยการเดินทางทางรถยนต์ประมาณ 4 ชั่วโมง และนั่งเรือเฟอร์รี่ข้ามฟากไป ในอดีต เคยเป็นที่ตั้งของเมืองทรอย ที่ปรากฏในสงครามกรุงทรอย ปัจจุบัน มีซากของกำแพงเมืองที่เป็นหินหนาปรากฏอยู่ จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งทางทีมงานสร้างภาพยนตร์เรื่อง \"Troy\" ในปี ค.ศ. 2004 ได้มอบม้าไม้ที่ใช้ในเรื่อง ให้แก่เมือง ซึ่งปัจจุบัน ได้ตั้งแสดงอยู่ และมีการผลิตเป็นของที่ระลึก",
"title": "ชานักกาเล"
},
{
"docid": "249220#0",
"text": "อักกราเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐกานา อยู่บริเวณชายฝั่งภาคตะวันตกของทวีปแอฟริกา เป็นศูนย์กลางการบริหารประเทศและด้านเศรษฐกิจ ผลผลิตในประเทศประมาณร้อยละ 70 ผลิตในเมืองนี้ อักกราได้เป็นเมืองหลวงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2420 สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจได้แก่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติกานา ซึ่งได้เก็บรักษามรดกที่สำคัญของประเทศไว้ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยปัจจุบัน โรงละครแห่งชาติกานาซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยปัจจุบัน",
"title": "อักกรา"
},
{
"docid": "938916#10",
"text": "รหัสประเทศของสาธารณรัฐเช็กคือ 420 และอัตราการใช้กัญชาที่นั่นนั้นเป็นอันดับต้น ๆ ในโลก นักท่องเที่ยวต่างชาตินั้นคิดว่ากัญชาถูกกฎหมายในยุโรปกลาง แต่ว่าผู้เสพกัญชาในที่สาธารณะจะโดนปรับ และการถือครองกัญชามากกว่า 10 กรัมถือว่าเป็นอาชญากรรม ในปี 2016 สนูป ด็อกก์ได้แสดงความรู้เกี่ยวกับกัญชาในเกมโชว์ $100,000 \"Pyramid\" เขาตอบอย่างรวดเร็วว่ารหัสประเทศของสาธารณรัฐเช็กคือ 420",
"title": "420 (วัฒนธรรมกัญชา)"
},
{
"docid": "460117#0",
"text": "บราซาวีล () เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐคองโก ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคองโก เชื่อมต่อกับชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก จากการสำรวจประชากรในปี ค.ศ. 2001 มีประชากร 1,018,541 คน และราว 1.5 ล้านคนหากรวมกับเขตชานเมือง ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามของกรุงกินชาซา เมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก กรุงบราซาวีลมีประชากรอาศัยอยู่ราว 1 ใน 3 ของประชากรประเทศ ยังเป็นเมืองศูนย์กลางการบริหารและเศรษฐกิจของประเทศ",
"title": "บราซาวีล"
},
{
"docid": "14017#1",
"text": "พรมแดนของรัฐเกอดะฮ์ทางทิศเหนือติดต่อกับรัฐปะลิส และติดต่อกับจังหวัดสงขลาและจังหวัดยะลาของประเทศไทย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐเประก์ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับรัฐปีนัง เมืองหลวงของรัฐคือ อาโลร์เซอตาร์ และเมืองของเจ้าผู้ครองคือ อานักบูกิต เมืองหลักอื่น ๆ ได้แก่ ซูไงเปอตานี (Sungai Petani) และกูลิม (Kulim) บนแผ่นดินใหญ่ รวมทั้งกูวะห์ (Kuah) บนเกาะลังกาวี",
"title": "รัฐเกอดะฮ์"
},
{
"docid": "431818#0",
"text": "ฮาราเร (ก่อน พ.ศ. 2525 ชื่อ ซอลส์บรี) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศซิมบับเว ใน พ.ศ. 2552 มีการประเมินประชากรไว้ที่ 1,606,000 คน โดยมี 2,800,000 คนในเขตปริมณฑล (พ.ศ. 2549) ในทางการปกครอง ฮาราเรเป็นนครอิสระมีฐานะเทียบเท่าจังหวัด เป็นเมืองใหญ่ที่สุดและศูนย์กลางการปกครอง พาณิชย์และการสื่อสารของประเทศซิมบับเว นครนี้เป็นศูนย์กลางการค้ายาสูบ ข้าวโพด ฝ้ายและผลไม้สกุลส้ม การผลิตมีทั้งสิ่งท่อ เหล็กกล้าและเคมีภัณฑ์ ตลอดจนมีการขุดทองในพื้นที่ ฮาราเรตั้งอยู่ที่ความสูง 1,483 เมตรจกระดับน้ำทะเล และภูมิอากาศจัดอยู่ในประเภทอุณหภูมิอบอุ่น",
"title": "ฮาราเร"
},
{
"docid": "30689#0",
"text": "รัฐนิวแฮมป์เชียร์ (, ) เป็นรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกาในเขตนิวอิงแลนด์ เมืองหลวงของรัฐชื่อ คองคอร์ด เมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐคือ แมนเชสเตอร์ รัฐนิวแฮมป์เชียร์มีชื่อเล่นรัฐว่า \"รัฐแกรนิต\" เนื่องจากมีชั้นหินแกรนิตเป็นจำนวนมาก การท่องเที่ยวในนิวแฮมป์เชียร์ที่สำคัญได้แก่สกีในหน้าหนาว และการปีนเขาในหน้าร้อน รัฐนิวแฮมป์เชียร์เป็นที่ตั้งของ สนามแข่งรถนานาชาตินิวแฮมป์เชียร์ () สนามแข่งรถที่ยาวที่สุดในสหรัฐอเมริกา ใช้ในการแข่งขันรถ ลาวดอนคลาสสิก",
"title": "รัฐนิวแฮมป์เชียร์"
},
{
"docid": "52791#3",
"text": "เจียง ไคเชกย้ายที่ตั้งรัฐบาลไปอยู่เมืองหนานจิง (นานกิง) ซึ่งอยู่ใกล้กับภูมิลำเนาเดิมบ้านที่มณฑลเจ้อเจียง แต่จากปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง และถูกซ้ำเติมด้วยการรุกรานของกองทัพญี่ปุ่นจนเกิดความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า เป็นเหตุให้เกิดกลุ่มต่อต้านขึ้นมามากมายเพื่อโค่นล้มการปกครองของพรรคก๊กมินตั๋ง กลุ่มที่สำคัญที่สุดคือ พรรคคอมมิวนิสต์จีน (จงกว๋อก้งฉ่านต่าง) โดยมีเหมาเจ๋อตุง เป็นแกนนำสำคัญของพรรคนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1921 จนกระทั่งกลายเป็นสงครามกลางเมือง ระหว่าง ค.ศ. 1927 ถึง ค.ศ. 1937 และระหว่าง ค.ศ. 1946 ถึง ค.ศ. 1949 แต่บางครั้งทั้งสองฝ่ายก็หันมาร่วมมือกัน เช่น ในสงครามจีน-ญี่ปุ่น ระหว่าง ค.ศ. 1937 ถึง ค.ศ. 1945 และในสงครามโลกครั้งที่สอง",
"title": "เจียง ไคเชก"
},
{
"docid": "87739#0",
"text": "วินด์ฮุก () เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐนามิเบีย เมืองตั้งอยู่ในบริเวณ Khomas มีประชากร 230,000 คน และเป็นศูนย์กลางการค้าใหญ่ของหนังแกะ. จักรวรรดิเยอรมันได้ยึดครองบริเวณดังกล่าวใน ค.ศ. 1885 และมันได้กลายเป็นที่ตั้งของการปกครองอาณานิคมใน ค.ศ. 1892 ในฐานะเมืองหลวงของอาณานิคมแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้-เยอรมัน\nระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง วินด์ฮุกถูกยึดโดยกองทหารแอฟริกาใต้และกลายเป็นดินแดนใต้อาณัติปกครองของแอฟริกาใต้ ภายใต้องค์การสันนิบาตชาติ",
"title": "วินด์ฮุก"
}
] |
2440 | ลาวมีภาษาเป็นของตัวเองหรือไม่ ? | [
{
"docid": "75432#4",
"text": "ภาษาลาว () เป็นภาษาที่ใช้เป็นส่วนใหญ่ในประเทศลาว ส่วนอักษรเขียนอย่างเป็นทางการจะใช้อักษรลาว และเป็นภาษาพูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ประชากรประมาณครึ่งหนึ่งสื่อสารโดยใช้ภาษาของชนกลุ่มน้อยเช่น ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก, ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต, ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และ ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน เป็นต้น",
"title": "ลาว (กลุ่มชาติพันธุ์)"
},
{
"docid": "75432#0",
"text": "ลาว () เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ตระกูลภาษาไท-กะได เป็นชนชาติใหญ่ที่สุดและมีจำนวนมากที่สุดในประเทศลาว มีประชากรประมาณ 14 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นเป็นจำนวนร้อยละ 53.2 ส่วนที่อื่น ๆ อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ชาวลาวบางส่วนได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานที่สหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป ชาวลาวส่วนใหญ่ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาที่พูดกันในชีวิตประจำวัน",
"title": "ลาว (กลุ่มชาติพันธุ์)"
},
{
"docid": "62132#10",
"text": "ระบบการเขียนภาษาลาวในปัจจุบันยังขาดเอกภาพ ไม่มีมาตรฐานในการเขียนและการใช้คำศัพท์ เพราะยังไม่มีองค์กรที่มาควบคุมอย่างเป็นทางการ จึงมีลักษณะต่างคนต่างเขียนตามหลักการของตนเอง ทำให้เกิดความสับสนในการเขียนและการใช้คำศัพท์ ส่วนคนลาวที่อพยพไปอยู่ต่างประเทศหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2518 ก็ยังใช้ภาษาลาวตามแบบที่ 2 ในสมัยที่ยังเป็นราชอาณาจักรลาวอยู่เหมือนเดิม ทำให้เกิดความสับสนระหว่างคนลาวในประเทศกับนอกประเทศ แม้รัฐบาลและประชาชนลาวเริ่มตระหนักถึงความสำคัญในข้างต้นก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีมาตรการใด ๆ ออกมาแก้ไขปัญหาอย่างชัดเจน แต่ในอนาคตคาดว่ารัฐบาลลาวจะจัดตั้งองค์กรออกมาควบคุมเพื่อให้ระบบการใช้ภาษาลาวเป็นมาตรฐานเดียวกัน",
"title": "อักษรลาว"
},
{
"docid": "62132#0",
"text": "อักษรลาว เป็นชื่ออักษรที่รัฐบาลลาวรับรองให้ใช้เขียนภาษาลาว ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการในปัจจุบัน มีพัฒนาการมาจากอักษรลาวเดิม (หรือในอีกชื่อหนึ่ง คือ อักษรไทน้อย) ซึ่งเริ่มพัฒนาขึ้นในสมัยราชวงศ์ล้านช้าง เมื่อราว พ.ศ. 1900 โดยได้รับอิทธิพลจากอักษรลาวโบราณสมัยรัชกาลพระเจ้าฟ้างุ้มเป็นต้นมา ซึ่งรับมาจากอักษรมอญและอักษรเขมร (อักษรขอม) อีกต่อหนึ่ง ลักษณะการใช้งานยังคงมีระบบการเขียนคล้ายอักษรไทยโบราณ ที่ไม่ใช้แล้วในอักษรไทยปัจจุบัน เช่น การใช้ไม้กงแทนเสียงสระโอะเมื่อมีตัวสะกด หรือการใช้ตัวเชิงของอักษร ย แทนสระเอียเมื่อมีตัวสะกด เป็นต้น",
"title": "อักษรลาว"
}
] | [
{
"docid": "75432#5",
"text": "ใน ประเทศลาว มีความแตกต่างเล็กน้อยระหว่างลาวกับกลุ่มชาติพันธ์อื่นๆ มีเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เช่น ชาวไท กับภาษาเข้าใจร่วมกันที่มีการจัดกลุ่มเข้าด้วยกัน เป็น \"ลาวโลม\" หรือ \"ลุ่มลาว\" (ลาว: \"láːu lūm \", Thai: ลาวลุ่ม, IPA: laːw lum) กลุ่มเหล่านี้ส่วนใหญ่มีลักษณะทางวัฒนธรรมร่วมกันหลายอย่างและพูดภาษาหรือสำเนียงที่คล้ายกันมาก มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยในโทนเสียง คำศัพท์และการออกเสียงของคำบางคำ แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการสนทนา แต่หลายกลุ่มเหล่านี้ เช่น ไทญ้อ หรือ ภูไท พิจารณาตัวเองว่ามีแตกต่างกัน และมักมีความแตกต่างในเสื้อผ้าที่แยกความแตกต่างออกไป",
"title": "ลาว (กลุ่มชาติพันธุ์)"
},
{
"docid": "357444#4",
"text": "เอกลักษณ์เฉพาะตัวของชาวลาวครั่งที่สามารถแบ่งแยกได้ทันทีที่พบคือ ภาษาพูด ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่มีเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงสูง ชาวลาวครั่งมักเรียกตัวเองตามสำเนียงภาษาท้องถิ่นว่า “ลาวขี้คัง”หรือ“ลาวคัง” นอกจากนั้น ยังมีวัฒนธรรม ประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษยังคงอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ ได้แก่ประเพณียกธง ที่ยังยึดถือและสืบต่อปฏิบัติกันมาโดยจัดขึ้นในเดือนเมษายนของทุกปี และประเพณีขึ้นศาลจ้าวนาย ชาวลาวครั่งจะมีความผูกพันทางเครือญาติสูงมาก ซึ่งถือว่าเป็นเหตุผลที่มีการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์และการธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เฉพาะตัว สำหรับประเพณียกธงนั้น เป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีและร่วมมือร่วมใจของประชาชนในท้องถิ่น",
"title": "ลาวครั่ง"
},
{
"docid": "678857#0",
"text": "ลาวเทิง (ภาษาลาว: ລາວເທິງ [láːo tʰə́ŋ]) เป็นชื่อกลุ่มชาติพันธุ์อย่างเป็นทางการที่ประเทศลาวใช้เรียกประชาชนในลาวที่ไม่ใช่ลาวลุ่มและลาวสูง มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ส่วนใหญ่พูดภาษาในตระกูลออสโตร-เอเชียติก ใน พ.ศ.2536 คิดเป็น 24% ของประชากรลาวทั้งหมด \nลาวเทิงส่วนใหญ่พูดภาษากลุ่มมอญ-เขมรซึ่งเป็นกลุ่มชนที่เชื่อว่าเคยเป็นชนส่วนใหญ่ในแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเข้ามาในบริเวณนี้ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตามตำนานน้ำเต้าปุงของลาวที่ชาวลาวเทิงออกมาจากน้ำเต้าก่อน ปัจจุบัน ลาวเทิงอยู่ในพื้นที่สูงของลาว เคยทำนามาก่อน จนเมื่อชาวลาวลุ่มเข้ามาถึงลาว จึงอพยพขึ้นไปอยู่ที่สูงขึ้น\nในลาว กลุ่มลาวเทิงมักถูกเรียกในภาษาลาวว่าข่าหรือข้า (ภาษาลาว: ຂ້າ) แสดงว่กลุ่มชนนี้เคยถูกใช้เป็นแรงงานของชาวลาวลุ่มมาก่อน มาตรฐานการดำรงชีวิตของลาวเทิงค่อนข้างต่ำกว่าลาวกลุ่มอื่น",
"title": "ลาวเทิง"
},
{
"docid": "100596#0",
"text": "ภาษาลัวะ หรือ ภาษามัล ภาษาไพร ภาษาถิ่น ภาษาปรัย มีผู้พูดทั้งหมด 26,193 คน เป็นภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก กลุ่มมอญ-เขมร สาขาขมุ ผู้พูดภาษานี้ในประเทศไทยอพยพมาจากประเทศลาว ในไทยพบ 3,000–4,000 คน (พ.ศ. 2525) อยู่ทางตะวันออกของอำเภอปัวและอำเภอเชียงคำ จังหวัดน่าน ใกล้กับชายแดนลาว อยู่ในลาว 23,193 คน (พ.ศ. 2538) ในแขวงไชยบุรีทางตะวันตกของแม่น้ำโขง มีสำเนียงต่าง ๆ มากมาย ผู้พูดภาษาลัวะในไทยมีคำยืมจากภาษาไทยที่นำไปใช้แทนคำดั้งเดิมในภาษาลัวะมาก ไม่สามารถเข้าใจกันได้กับภาษาไพ",
"title": "ภาษาลัวะ"
},
{
"docid": "215655#0",
"text": "ภาษาไทลอย หรือภาษาลอย (Tai Loi) มีผู้พูดทั้งหมด 1,932 คน อยู่ในพม่า 1,432 คน (พ.ศ. 2543) ในน้ำขาม ตรงมุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับชายแดนลาวและจีน อยู่ในลาว 500 คน (พ.ศ. 2538) ในแขวงหลวงน้ำทา อาจจะมีอยู่ในประเทศจีน ใกล้เคียงกับภาษาปาเล ปะหล่อง แต่มีความแตกต่างของเสียงอยู่มาก เป็นคนละภาษากับภาษาปะหล่องในประเทศจีน อยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ภาษากลุ่มมอญ-เขมร สาขามอญ-เขมรเหนือ สาขาย่อยปะหล่อง",
"title": "ภาษาไทลอย"
},
{
"docid": "189009#0",
"text": "ภาษาลาเว (Lave) หรือภาษาเบรา มีผู้พูดทั้งหมด 18,444 คน พบในลาว 12,750 คน (พ.ศ. 2527) ในแขวงอัตตะปือ ตามแนวชายแดนลาว-กัมพูชา พบในกัมพูชา 5,286 คน (พ.ศ. 2523) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา พบในเวียดนาม 313 คน (พ.ศ. 2542) จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ภาษากลุ่มมอญ-เขมร สาขามอญ-เขมรตะวันออก สาขาย่อยบะห์นาริก",
"title": "ภาษาลาเว"
},
{
"docid": "62132#3",
"text": "นักวิชาการลาวเชื่อว่าคนลาวที่อยู่ในดินแดนล้านช้างมีอักษรเป็นของตนเองมานาน อักษรลาวคล้ายกับตัวอักษรไทยเพราะวิวัฒนาการมาจากอักษรเทวนาครี อันเป็นอักษรของพวกอินเดียทางเหนือ มหาสิลา วีระวงส์ เห็นว่าชาติลาวมีตัวหนังสือของตัวเองมาหลายร้อยปี หรืออาจจะเป็นพันปีก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหงของไทย โดยอักษรลาวเป็นอักษรไทพวกหนึ่งที่เรียกว่า อักษรไทน้อย ซึ่งได้กลายเป็นหนังสือลาวในเวลาต่อมา อักษรไทน้อยน่าจะมีที่มาจากอักษรพราหมีของอินเดียดังกล่าวไปแล้ว และมีสายวิวัฒนาการมาพร้อมกันกับอักษรขอมโบราณ อย่างไรก็ดีทฤษฎีนี้ยังมีข้อถกเถียง เนื่องจากอักษรลาวหรือไทน้อยถูกวิวัฒนาการขึ้นก่อนการเกิดขึ้นของอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งเป็นสมัยที่คนเผ่าที่พูดภาษาไททั้งหลายยังไม่ได้แยกออกจากกันเป็นอาณาจักรของตนเอง ทั้งยังเป็นการนำคติชาติพันธุ์นิยมอันเป็นคติสมัยใหม่มาอธิบาย ซึ่งไม่สอดคล้องกับความสัมพันธ์ตามประวัติศาสตร์ระหว่างคนไทเผ่าต่าง ๆ ในอดีต",
"title": "อักษรลาว"
},
{
"docid": "1942#1",
"text": "ในภาษาอังกฤษ คำว่าลาวที่หมายถึงชื่อประเทศลาว สะกดว่า \"Laos\" ส่วนลาวที่หมายถึงคนลาวและภาษาลาวใช้ \"Lao\" ในบางครั้งจะเห็นมีการใช้คำว่า \"Laotian\" แทนเนื่องจากป้องกันการสับสนกับชาติลาวที่สะกดว่า Ethnic Lao",
"title": "ประเทศลาว"
}
] |
3949 | ใครเป็นผู้อำนวยการสร้าง รายการ อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล? | [
{
"docid": "35751#5",
"text": "ในขณะที่ 22 กำลังออกอากาศอยู่นั้น ข่าวการยกเลิกการสร้างรายการ ได้รับการยืนยัน ในวันที่ 14 ตุลาคม 2558 โดยได้ข้อสรุปว่า ในวันที่ 4 ธันวาคม 2558 จะเป็นการออกอากาศครั้งสุดท้ายของรายการ แต่ในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ได้มีการประกาศว่า รายการจะได้กลับมาออกอากาศอีกครั้ง แต่เปลี่ยนช่องทางออกอากาศ เป็นช่อง VH1 และ ไทรา แบงก์ส จะไม่ได้กลับไปเป็นกรรมการหลักในรายการอีกต่อไป แต่จะยังคงทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสร้างเช่นเดิม โดยคณะกรรมการตัดสินจะถูกปรับเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด ต่อมา จึงได้ประกาศว่า นักร้องและนักแสดงชาวอังกฤษชื่อดัง ริต้า โอรา จะได้เป็นกรรมการหลักคนใหม่ให้กับฤดูกาลใหม่ที่จะเริ่มต้นขึ้นในช่วงฤดูใบไม่ร่วง ปี พ.ศ. 2559 โดยมีคณะกรรมการที่เหลือประกอบด้วย คือ สุดยอดนางแบบชื่อดัง แอชลีย์ กราแฮม, หัวหน้าฝ่ายความคิดสร้างสรรค์จากนิตยสาร เปเปอร์ แม็กกาซีน ดรูว์ เอลเลียต และสไตลิสต์ชื่อดัง ลอว์ โรช",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล"
}
] | [
{
"docid": "35751#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล (America's Next Top Model หรือในชื่อย่อว่า ANTM) เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์ที่ทำการคัดเลือกหญิงสาวจากรัฐต่างๆ ของสหรัฐอเมริกา ที่ใฝ่ฝันอยากที่จะเป็นนางแบบ โดยผู้เข้าแข่งขันต้องขับเคี่ยวกันจากบททดสอบมากมาย ตั้งแต่การถ่ายภาพ การถ่ายโฆษณา ที่ล้วนต้องอาศัยความสามารถระดับสูงก่อนจะมาเป็นสุดยอดนางแบบของอเมริกา ซึ่งผู้ชนะในแต่ละฤดูกาลจะได้รับรางวัลดังนี้",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล"
},
{
"docid": "283787#1",
"text": "นิโคลเป็นผู้ผ่านรอบคัดเลือกรอบ 14 คนสุดท้ายของรายการ อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 13 ซึ่งเป็นฤดูกาลสำหรับสาวที่สูงไม่เกิน 5 ฟุต 7 และเธอก็เป็นผู้ชนะในฤดูกาลนั้น ไม่กี่เดือนก่อนที่จะเปิดรอบคัดตัว นิโคลก็ได้พบกับช่างภาพเดนเวอร์ ที่อาร์ทแกลอรี่ ซึ่งเขาได้แนะนำให้เธอลองมาออดิชั่นเหมือนกับที่เคยแนะนำ แอลลิสัน ฮาร์วาร์ด จาก อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 12 มาแล้ว",
"title": "นิโคล ฟ็อกซ์"
},
{
"docid": "728588#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 22 (หนุ่มหล่อ & สาวสวย 3) เป็นฤดูกาลที่ 22 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยในฤดูกาลนี้ จะเป็นครั้งที่ 3 ของรายการ ทีมีผู้เข้าแข่งขันเป็นผู้ชาย ร่วมเข้าแข่งขันในรายการด้วย อีกทั้งรายการยังได้ทำการเปิดรับสมัคร ผู้เข้าแข่งขันที่มีรูปร่างเล็ก ซึ่งต่างจากฤดูกาลที่ผ่านมา ที่มีข้อจำกัดในเรื่องของ ความสูง ซึ่งฤดูกาลนี้จะเริ่ม ออกอากาศในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558 โดยคณะกรรมการยังคงประกอบไปด้วย ไทรา แบงส์, เคลลี่ ครูโทน, เจ.อเล็กซานเดอร์ และ ผู้กำกับการถ่ายภาพ ยู ไซ เช่นเคย และแตกต่างจาก 3ฤดูกาลที่ผ่านมา ในฤดูกาลนี้ จะตัดสินเพียงแค่คะแนนจากคณะกรรมการทั้งสาม และคะแนนจากการแข่งขันชิงรางวัลเท่านั้น โดยจะยกเลิกการใช้ผลโหวตจากผู้ชมทางบ้าน",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 22"
},
{
"docid": "192335#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 11 (America's Next Top Model, Cycle 11) เป็นฤดูกาลที่ 11 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดลโดยความคิดริเริ่มของสุดยอดนางแบบและพิธีกรรายการโทรทัศน์ ไทรา แบงส์ ซึ่งทางรายการได้ออกอากาศเป็นครั้งที่ห้า ทางช่อง CW ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551 ประโยคและธีมที่นำมาใช้โปรโมทฤดูกาลนี้คือ \"ฟีล เดอะ เลิฟ\" ในการแข่งขันครึ่งแรกนั้นได้ถ่ายทำใน ลอสแอนเจลิส โดยที่ได้ย้ายกลับมาจากที่ที่ใช้ถ่ายทำในครั้งก่อนซึ่งก็คือ นิวยอร์ก และในรอบ 6 คนสุดท้ายของฤดูกาลนี้ เป้าหมายในต่างประเทศที่ผู้เข้าแข่งขัน ต้องไปทำการแข่งขันกันต่อ คือ เมืองอัมสเตอร์ดัม ณ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพลงที่ใช้ในการโปรโมตของฤดูกาลนี้คือ When I Grow Up โดย Pussycat Dolls",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 11"
},
{
"docid": "282625#0",
"text": "แคนาดาเน็กซ์ท็อปโมเดล (\"Canada's Next Top Model\" หรือในชื่อย่อว่า \"CNTM\") เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์ที่ทำการคัดเลือกหญิงสาวจากเมืองต่างๆ ของแคนาดา ที่ใฝ่ฝันอยากที่จะเป็นนางแบบ โดยผู้เข้าแข่งขันต้องขับเคี่ยวกันจากบททดสอบมากมาย ตั้งแต่การถ่ายภาพ การถ่ายโฆษณา ที่ล้วนต้องอาศัยความสามารถระดับสูงก่อนจะมาเป็นสุดยอดนางแบบของอเมริกา โดยพิธีกรของรายการก็คือ เจย์ แมนูเอล ผู้ควบคุมด้านศิลป์จากรายการ อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล นั่นเอง",
"title": "แคนาดาเน็กซ์ท็อปโมเดล"
},
{
"docid": "517406#77",
"text": "ยี่สิบนาทีก่อนการเดินแบบ ไทร่า และกรรมการตัดสิน ได้เข้ามาพบกับพวกเขาในห้องแต่งตัว เพื่อแจ้งให้ทราบว่า จะต้องมีผู้เข้าแข่งขันหนึ่งคน ถูกคัดออก ก่อนการเดินแบบครั้งสุดท้าย สร้างความตกตะลึงให้กับพวกเขาเป็นอย่างมาก โดยจะนำภาพถ่ายโฆษณา Guess มาตัดสิน เริ่มจากจอร์แดน ที่ถ่ายภาพออกมาได้อย่างสวยงาม เหมาะกับการโฆษณา แต่ดูธรรมดาเกินไป กับการเป็นแบรนด์ดัง มาร์วิน มีโครงหน้าที่ดูงดงามและข็งแกร่งมากในภาพถ่าย แต่โดยรวมแล้วออกมาไม่เป็นแฟชั่นชั้นสูง และเขายังดูเด็กเป็นอย่างมากในภาพ และโครี่ ที่แสดงความเป็นผู้ชายออกมาได้เป็นอย่างดี แต่ภาพถ่ายโดยรวมดูธรรมดา และไม่ดึงดูดใจ สุดท้ายแล้ว รายการได้จบลงก่อนที่จะประกาศว่า ใครจะได้เป็นผู้เข้าแข่งขันชิงตำแหน่งสองคนสุดท้าย",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 20"
},
{
"docid": "605534#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 21 (หนุ่มหล่อ & สาวสวย2) เป็นฤดูกาลที่ 21 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยในฤดูกาลนี้ จะเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์รายการ ทีมีผู้เข้าแข่งขันเป็นผู้ชาย ร่วมเข้าแข่งขันในรายการด้วย ซึ่งฤดูกาลนี้จะเริ่ม ออกอากาศใน ปี 2557 โดยคณะกรรมการยังประกอบไปด้วย ไทรา แบงส์, เคลลี่ ครูโทน, สุดยอดนายแบบชาย ร็อบ อีวานส์ ถูกเปลี่ยนเป็น เจ.อเล็กซานเดอร์ และ ผู้กำกับการถ่ายภาพ เปลี่ยนจาก จอห์นนี่ วูเจ็ค เป็น ยู ไซ โดยที่ในฤดูกาลนี้ประชาชนยังสามารถโหวตให้คะแนนผู้เข้าแข่งขัน ได้เหมือนใน สองฤดูกาลที่แล้ว ซึ่งจะเป็นปัจจัยในการคัดออกในแต่ละสัปดาห์ได้เหมือนเดิม",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 21"
},
{
"docid": "452159#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 19 เป็นฤดูกาลที่ 19 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยจะได้ผู้เข้าแข่งขัน ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ใน ระดับอุดมศึกษา จากมหาวิทยาลัยชื่อดังของอเมริกา ทั้งหมด 13 คนมาเข้าแข่งขันกัน โดยในฤดูกาลนี้ ประชาชนจะสามารถร่วมโหวตให้คะแนน จากการเผยแพร่ภาพถ่ายของผู้เข้าแข่งขันในแต่ละสัปดาห์ ก่อนที่จะรายการจะออกอากาศ และจะคิดออกมาเป็นคะแนนเฉลี่ย ซึ่งในการคัดออกแต่ละครั้ง จะนำคะแนนในส่วนนี้มารวมกับ คะแนนจากทั้งกรรมการ คะแนนจากการแข่งขันประจำสัปดาห์ ซึ่งให้ได้ตั้งแต่ 1-10 โดยเมื่อรวมคะแนนทั้งหมดออกมาแล้ว จะเป็นตัวตัดสินว่า สาวคนไหนจะได้ถูกส่งกลับบ้านในแต่ละสัปดาห์",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 19"
},
{
"docid": "391196#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 17 เป็นฤดูกาลที่ 17 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ได้จะออกอากาศครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554 โดยในฤดูกาลนี้จะเป็นการรวบรวมผู้เข้าแข่งขันจากฤดูกาลต่างๆที่ผ่านมาทั้งหมด ที่มีบุคลิกโดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งหมด 14คน มาแข่งขันกัน",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 17"
},
{
"docid": "357935#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 16 เป็นฤดูกาลที่ 16 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยออกอากาศครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 16"
},
{
"docid": "605534#97",
"text": "ท้ายที่สุดแล้ว ผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุด และเป็นผู้ชนะที่เป็นผู้ชายคนแรกของประวัติศาสตร์รายการ อเมริกา เน็กซ์ ทอป โมเดล คือ คีธ คาร์ลอส",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 21"
},
{
"docid": "260729#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 13 (America's Next Top Model, Cycle 13) เป็นฤดูกาลที่ 13 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ออกอากาศครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกา ทางช่อง CW ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 สำหรับฤดูกาลนี้มีผู้เข้าแข่งขันจำนวนเท่ากับ ฤดูกาลที่ 10 และ 11 โดยมีทั้งสิ้น 14 คน และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สุดยอดนางแบบ หญิงสาวสูง 5 ฟุต 7 นิ้วและเตี้ยกว่านั้น , ความงามอยู่ภายใต้มาตรฐานความสูง เพื่อก้าวสู่ผู้ชนะ 14 สาวต้องพิสูจน์ความงามที่มาในทุกรูปทรง , ขนาดและความสูง สำหรับคำโฆษณาที่ใช้ในฤดูกาลนี้คือ \"'The Lineup Is 5\"7' And Under. Not The Usual Suspects. BOOK 'EM!\" และเพลงที่ใช้สำหรับประกอบตัวอย่างของรายการในฤดูกาลนี้คือเพลง \"Good Girls Go Bad\" ของ Cobra Starship",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 13"
},
{
"docid": "194331#31",
"text": "บรีปฏิเสธที่จะสุงสิงกับสตีฟ-โอ และลิซ่าพยายามเรียกร้องความสนใจด้วยการฉี่ใส่ผ้าอ้อมต่อหน้าทุกคน ในห้องตัดสิน ภาพของนิค คิม และบรี สร้างความประทับใจให้กับกรรมการเป็นอย่างมาก ในขณะที่ภาพของนิโคล กับ เจย์ล่า ไม่สามารถสร้างความประทับใจให้กับกรรมการได้เลย ทำให้พวกเธอต้องกลายเป็นสองคนสุดท้าย และไทร่าทำให้ทุกคนต้องตกตะลึงเมื่อเธอประกาศออกมาว่าสาวๆ ต้องเก็บกระเป๋าและบินไปแข่งกันต่อที่ลอนดอน โดยที่ไม่มีใครต้องตกรอบเลยและนี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของรายการที่ไม่มีใครถูกคัดออกเลย",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 5"
},
{
"docid": "427956#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 18 เป็นฤดูกาลที่ 18 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยจะออกอากาศครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555\nโดยในฤดูกาลนี้ จะได้ผู้เข้าแข่งขัน 7คน จาก บริเทน เน็กซ์ ท็อป โมเดล ซึ่งได้แข่งขันในฤดูกาลที่ผ่านมาแล้ว มาร่วมแข่งขันกับ นางแบบหน้าใหม่ของ สหรัฐอเมริกา",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 18"
},
{
"docid": "467054#2",
"text": "อเมริกาเน็กซต์ท็อปโมเดล เริ่มฉายในสหราชอาณาจักรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2548 ทางช่อง ลิวิง ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และในปีเดียวกัน บริเตนก็ได้ซื้อลิขสิทธิ์รายการมาได้สำเร็จ สำหรับฤดูกาลแรกของบริเทนส์เน็กซต์ท็อปโมเดล นั้นยังได้ออกอากาศพร้อมกับ อเมริกาเน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 5 อีกด้วย",
"title": "บริเทนส์เน็กซต์ท็อปโมเดล"
},
{
"docid": "467054#1",
"text": "รายการนี้ได้ซื้อลิขสิทธิ์มาจากรายการ อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ซึ่งจัดทำโดยสุดยอดนางแบบและพิธีกรรายการโทรทัศน์ ไทรา แบงส์ โดยเริ่มฉายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 ซึ่งได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก นอกจากนี้หลายๆ ประเทศยังได้ติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์รูปแบบรายการไปสร้างและออกอากาศในประเทศนั้น ๆ ด้วย ",
"title": "บริเทนส์เน็กซต์ท็อปโมเดล"
},
{
"docid": "194336#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 2 ออกอากาศเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 จัดทำโดยสุดยอดนางแบบและพิธีกรรายการโทรทัศน์ ไทร่า แบงคส์ โดยคำโฆษณาประจำฤดูนี้ก็คือ \"They are all gorgeous, but only one has what it takes\"",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 2"
},
{
"docid": "300471#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 14 (America's Next Top Model, Cycle 14) เป็นฤดูกาลที่ 14 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยจะออกอากาศครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกา ทางช่อง CW ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553 สำหรับคำโฆษณาที่ใช้ในฤดูกาลนี้คือ \"Work It Out\" และเพลงที่ใช้สำหรับประกอบตัวอย่างของรายการในฤดูกาลนี้คือเพลง \"Go Getta\" ของ Stella Mwangi",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 14"
},
{
"docid": "317581#0",
"text": "บราซิลเน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 3 เป็นฤดูกาลที่ 3 ของ บราซิลเน็กซต์ท็อปโมเดล, รายการเรียลลิตี้ โชว์ ชื่อดังของบราซิล ดำเนินรายการโดย นางแบบชื่อดังอย่าง เฟอร์นันด้า มอตต้า ซื้อลิขสิทธิ์รายการมาจาก อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล เพื่อค้นหานางแบบแฟชั่นแถวหน้า เริ่มทำการค้นหาในเดือน กรกฎาคม และ สิงหาคม แต่ถูกออกอากาศครั้งแรกเมื่อ 9 กันยายน 2552",
"title": "บราซิลเน็กซ์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 3"
},
{
"docid": "227925#1",
"text": "รายการนี้ได้ซื้อลิขสิทธิ์มาจากรายการ อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ซึ่งจัดทำโดยสุดยอดนางแบบและพิธีกรรายการโทรทัศน์ ไทรา แบงส์ โดยเริ่มฉายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 ซึ่งได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก นอกจากนี้หลายๆ ประเทศยังได้ติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์รูปแบบรายการไปสร้างและออกอากาศในประเทศนั้นๆ ด้วย ",
"title": "นิวซีแลนด์เน็กซ์ท็อปโมเดล"
},
{
"docid": "467054#3",
"text": "ในฤดูกาลที่ 7 ทางรายการได้เปลี่ยนชื่อรายการจาก \"บริเทนส์เน็กซต์ท็อปโมเดล\" มาเป็น \"บริเทนแอนด์ไอร์แลนส์เน็กซต์ท็อปโมเดล\" เพื่อเปิดกว้างการรับสัมครนางแบบในประเทศไอร์แลนด์ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อกลับเป็นเหมือนเดิม แต่ยังคงรับสมัครนางแบบในไอร์แลนด์\nในปี 2555 ผู้เข้าแข่งจากฤดูกาลที่ 2 - 5 ได้เข้าร่วมแข่งขันในรายการ อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 18 ในชื่อว่า อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล:บริทิช อินเวชั่น (America's Next Top Model: British Invasion) โดยทั้งหมดจะต้องไปแข่งขันเป็นทีมกับนางแบบชาวอเมริกัน และ โซฟี่ ซัมเนอร์ จากฤดูกาลที่ 5 ได้คว้าตำแฟน่งผู้ชนะเลิศในฤดูกาลดังกล่าวด้วย",
"title": "บริเทนส์เน็กซต์ท็อปโมเดล"
},
{
"docid": "282625#2",
"text": "รายการนี้เรียกได้ว่าเป็นอีกสาขาหนึ่งของรายการ อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดลเพราะเป็นการจับมือกันระหว่าง CTVglobemedia และ CBS โดยทีมงานผู้จัดส่วนใหญ่ล้วนมาจากรายการ อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ทั้งสิ้น",
"title": "แคนาดาเน็กซ์ท็อปโมเดล"
},
{
"docid": "333259#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 15 เป็นฤดูกาลที่ 15 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยออกอากาศครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553 ในฤดูกาลนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมหลายอย่าง กับตัวรายการเพื่อเพิ่มความสนใจ และน่าติดตามมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตากล้องชื่อดังที่จะมาถ่ายรูปให้กับผู้เข้าแข่งขันแต่ละสัปดาห์ ดีไซเนอร์ชื่อดังที่จะมาคอยให้คำสอนแก่ผู้เข้าแข่งขันและเป็นกรรมการพิเศษในห้องตัดสินในแต่ละสัปดาห์อีกด้วย รว่มด้วย การทำงานกับนิตยสารชื่อดังระดับโลก Vogue Italia ",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 15"
},
{
"docid": "813778#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 23 เป็นฤดูกาลที่จะเริ่มออกอากาศในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ทางช่อง VH1 ซึ่งได้ถูกนำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง หลังจากที่ถูกยกเลิกการผลิตไปในช่อง The CW ในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2558 โดยในฤดูกาลนี้จะกลับมาผลิตเป็นรูปแบบดั้งเดิมของรายการอีกครั้ง ที่รับสมัครผู้เข้าแข่งขันเป็นผู้หญิงทั้งหมด โดยจะยกเลิกการสมัครจากผู้ชาย อีกทั้ง ฤดูกาลนี้ยังจะได้ นักร้องและนักแสดงสาวชาวอังกฤษชื่อดัง ริต้า โอรา มาเป็นกรรมการหลักคนใหม่ แทนที่ ไทรา แบงส์ รวมถึง คณะกรรมการยังได้ทำการเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด โดยจะประกอบไปด้วย สุดยอดนางแบบไซส์ใหญ่ แอชลีย์ เกรแฮม, หัวหน้าฝ่ายความคิดสร้างสรรค์จากนิตยสาร เปเปอร์ แม็กกาซีน ดรูว์ เอลเลียต และสไตลิสต์ชื่อดัง ลอว์ โรช แทนที่กรรมการชุดเก่าคือ เคลลี่ ครูโทน และผู้ฝึกสอนการเดินแบบ มิส เจ.อเล็กซานเดอร์ โดย ไทร่า จะยังคงทำหน้าที่เป็น ผู้อำนวยการผลิต อยู่เช่นเดิม",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 23"
},
{
"docid": "194337#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล (หรือที่รู้จักกันในชื่อ America's Next Top Model, Cycle 1) รายการเรียลลิตี้ที่จัดทำโดยสุดยอดนางแบบและพิธีกรรายการโทรทัศน์ ไทร่า แบงส์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อ \"ค้นหาสุดยอดนางแบบเพียงหนึ่งเดียว\"",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 1"
},
{
"docid": "903745#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 24 เป็นฤดูกาลล่าสุด ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยในฤดูกาลนี้ จะเริ่มออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2561 และเป็นฤดูกาลที่สอง ที่จะออกอากาศ ทางช่อง VH1 โดยในฤดูกาลนี้จะยังคงรับสมัครเฉพาะผู้เข้าแข่งขันที่เป็นผู้หญิงทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ฤดูกาลนี้จะเป็นครั้งแรก ที่ไม่จำกัดอายุในการรับสมัครของผู้เข้าแข่งขัน ไทรา แบงส์ จะกลับมาทำหน้าที่เป็นกรรมการหลักและพิธีกรให้กับฤดูกาลนี้อีกครั้ง หลังจากที่ฤดูกาลที่แล้ว เป็นนักร้องสาวชื่อดัง ริต้า โอรา ในขณะที่คณะกรรมการจะยังคงประกอบไปด้วย สุดยอดนางแบบไซส์ใหญ่ แอชลีย์ เกรแฮม, หัวหน้าฝ่ายความคิดสร้างสรรค์จากนิตยสาร เปเปอร์ แม็กกาซีน ดรูว์ เอลเลียต และสไตลิสต์ชื่อดัง ลอว์ โรช อยู่เช่นเดิม",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 24"
},
{
"docid": "667426#0",
"text": "เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 3 เป็นฤดูกาลที่ 3 ของ เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ที่ต้องการค้นหาสุดยอดนางแบบ เพื่อทำงานในวงการนางแบบ ในระดับมืออาชีพ โดยผู้ที่เข้าแข่งขัน จะต้องมีเชื้อสายของเอเชียเท่านั้น โดยส่วนมากจะมากจากเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ ซึ่งในฤดูกาลนี้จะถ่ายทำรายการ ใน ประเทศสิงคโปร์ เริ่มออกอากาศวันที่ 25 มีนาคม 2558 เป็นวันแรก",
"title": "เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 3"
},
{
"docid": "517406#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 20 (หนุ่มหล่อ&สาวสวย) เป็นฤดูกาลที่ 20 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยในฤดูกาลนี้ จะเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์รายการ ทีมีผู้เข้าแข่งขันเป็นผู้ชาย ร่วมเข้าแข่งขันในรายการด้วย ซึ่งฤดูกาลนี้จะเริ่ม ออกอากาศในเดือนสิงหาคม ของ ปี 2556 โดยคณะกรรมการยังประกอบไปด้วย ไทรา แบงส์, เคลลี่ ครูโทน, ร็อบ อีวานส์ และ ไบรอันบอย เหมือนเดิม โดยที่ประชาชนยังสามารถโหวตให้คะแนนผู้เข้าแข่งขัน ได้เหมือนในฤดูกาลที่แล้ว ซึ่งจะเป็นปัจจัยในการคัดออกในแต่ละสัปดาห์ได้เหมือนเดิม",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 20"
},
{
"docid": "213988#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 12 (America's Next Top Model, Cycle 12) เป็นฤดูกาลที่ 12 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ออกอากาศครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกา ทางช่อง CW ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 หลังจากที่ 2 ฤดูกาลก่อนหน้านี้ได้มีผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 14 ในฤดูกาลนั้จึงกลับมาเป็น 13 คนในแบบฤดูกาลก่อนๆมา ในรอบ 6 คนสุดท้ายของฤดูกาลนี้ ได้ไปแข่งขันต่อที่ เมืองเซาเปาลู ประเทศบราซิล",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 12"
}
] |
1963 | ภัยพิบัติเชียร์โนบีล เกิดขึ้นในประเทศอะไร? | [
{
"docid": "323534#0",
"text": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล[1] ([Чорнобильська катастрофа, Čornobyľśka katastrofa]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help); English: Chernobyl disaster) เป็นอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ขั้นร้ายแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1986 ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีล ตั้งอยู่ที่นิคมเชียร์โนบีล ริมฝั่งแม่น้ำนีเปอร์ ใกล้เมืองพริเพียต แคว้นเคียฟ ทางตอนเหนือของยูเครน ใกล้ชายแดนเบลารุส (ในขณะนั้นยูเครนและเบลารุสยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต) อุบัติเหตุที่เชียร์โนบีลนี้เป็นอุบัติเหตุที่เกิดกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ในแง่ของค่าใช้จ่ายและชีวิต",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
}
] | [
{
"docid": "323534#204",
"text": "หมวดหมู่:ภัยพิบัติในประเทศยูเครน หมวดหมู่:อุบัติเหตุนิวเคลียร์ หมวดหมู่:พ.ศ. 2529",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#198",
"text": "บทความหลัก: ผลกระทบทางวัฒนธรรมของภัยพิบัติเชียร์โนบีลและการอภิปรายพลังงานนิวเคลียร์",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#149",
"text": "รายงานของเชียร์โนบีลฟอรั่มในปี 2005 เปิดเผยว่ามะเร็งต่อมไทรอยด์ในเด็กจะเป็นหนึ่งในหลายผลกระทบหลักต่อสุขภาพจากอุบัติเหตุเชียร์โนบีล ในสิ่งพิมพ์นั้นมากกว่า 4000 กรณีอยู่ในรายงานและไม่มีหลักฐานของการเพิ่มขึ้นของการเกิดโรคมะเร็งหรือโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวอย่างชัดเจน มันบอกว่ามีการเพิ่มขึ้นในปัญหาทางจิตใจในหมู่ประชาชนได้รับผลกระทบ[133] ดร. ไมเคิล Repacholi ผู้จัดการโครงการการฉายรังสีขององค์การอนามัยโลกได้รายงานว่า 4000 กรณีของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์มีผลในการเสียชีวิต 9 ราย[138]",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#138",
"text": "บทความหลัก: ผลกระทบจากภัยพิบัติเชียร์โนบีล",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#197",
"text": "Chernobyl Way เป็นการวิ่งแรลลี่ประจำปีในวันที่ 26 เมษายนโดยฝ่ายค้านในเบลารุสเพื่อเป็นความทรงจำของภัยพิบัติที่เชียร์โนบีล",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#100",
"text": "มุมมองนี้จะสะท้อนให้เห็นในสื่อสิ่งพิมพ์หลายฉบับและในงานศิลปะในแนวความคิดของอุบัติเหตุเชียร์โนบีลที่ปรากฏทันทีหลังจากที่เกิดอุบัติเหตุ[26] และยังคงโดดเด่นเป็นเวลานานในจิตสำนึกของประชาชนและในสื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นที่นิยม",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#2",
"text": "อุบัติเหตุครั้งนี้เป็นหนึ่งในสองครั้งที่ได้รับการจัดความรุนแรงไว้ที่ระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตามมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ อีกครั้งหนึ่งเป็นของภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิในปี 2011[2]",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#166",
"text": "มันเป็นเรื่องยากที่จะจัดทำค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจโดยรวมของภัยพิบัติ ตามที่นาย Mikhail Gorbachev สหภาพโซเวียตใช้เงิน 18 ล้านรูเบิล (เทียบเท่ากับ US$ 18 พันล้านในเวลานั้น) ในการเก็บกักและลบล้างการปนเปื้อน แทบล้มละลาย[3] ในเบลารุสค่าใช้จ่ายทั้งหมดกว่า 30 ปีอยู่ที่ประมาณ US$ 235 พันล้าน (เงินดอลลาร์ในปี 2005)[143] ค่าใช้จ่ายต่อเนื่องเป็นที่รู้จักกันดีในรายงานปี 2003-2005 ของพวกเขา เชียร์โนบีลฟอรั่มกล่าวว่าระหว่าง 5% ถึง 7% ของรัฐบาลที่จ่ายในยูเครนยังคงเกี่ยวข้องกับเชียร์โนบีล ในขณะที่ในเบลารุส มากกว่า $ 13 พันล้านคิดว่าน่าจะได้ใช้จ่ายไประหว่างปี 1991 ถึงปี 2003 ที่มี 22% ของงบประมาณของชาติเป็นการจ่ายเกี่ยวข้องกับเชียร์โนบีลในปี 1991 และลดลง 6% ในปี 2002[143] ค่าใช้จ่ายในปัจจุบันจำนวนมากจะเกี่ยวข้องกับการชำระเงินให้กับผลประโยชน์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับเชียร์โนบีลให้กับประมาณ 7 ล้านคนทั่วทั้ง 3 ประเทศ[143]",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#194",
"text": "โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติในปี 2003 ได้เปิดตัวโครงการเฉพาะที่เรียกว่าโครงการการกู้คืนและพัฒนาเชียร์โนบีล (CRDP) เพื่อกู้คืนพื้นที่ได้รับผลกระทบ[184] โปรแกรมถูกริเริ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2002 ตามคำแนะนำในรายงานเกี่ยวกับผลกระทบที่ตามมากับมนุษย์เนื่องจากอุบัติเหตุนิวเคลียร์เชียร์โนบีล เป้าหมายหลักของกิจกรรมของ CRDP ก็คือการสนับสนุนรัฐบาลของประเทศยูเครนในการบรรเทาผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจ และระบบนิเวศระยะยาวของภัยพิบัติเชียร์โนบีล. CRDP ทำงานอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากเชียร์โนบีลในยูเครน 4 แห่ง ได้แก่ Kyivska, Zhytomyrska, Chernihivska และ Rivnenska",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#157",
"text": "จำนวนผู้เสียชีวิตที่อาจเกิดขึ้นจากภัยพิบัติที่เชียร์โนบีลได้มีการถกเถียงกันอย่างหนัก องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็ง 4000 คนในประเทศโดยรอบในอนาคต[153] การคาดการณ์มีพื้นฐานอยู่บน'รูปแบบไม่มีขีดจำกัดเชิงเส้น (English: Linear no-threshold model (LNT)) ซึ่งสันนิษฐานว่าความเสียหายที่ถูกทำโทษโดยการฉายรังสีในปริมาณที่ต่ำเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณ effective dose[154] นักระบาดวิทยารังสี รอย ชอร์ เชื่อว่าการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพในประชากรจากรูปแบบ LNT \"ไม่ฉลาดเพราะความไม่แน่นอน\"[155]",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#161",
"text": "ผู้เขียนแนะนำว่าส่วนใหญ่ของการเสียชีวิตอยู่ในรัสเซีย เบลารุสและยูเครน แต่ที่อื่น ๆ เกิดขึ้นทั่วโลกจากหลายประเทศที่ได้รับฝุ่นละอองกัมมันตรังสีจากเชียร์โนบีลที่ตกลงมา การวิเคราะห์วรรณกรรมสร้างสิ่งตีพิมพ์กว่า 1,000 ชื่อและสื่ออินเทอร์เน็ตและเอกสารการพิมพ์กว่า 5000 ชุดที่พูดคุยกันเรื่องผลกระทบของภัยพิบัติที่เชียร์โนบีล ผู้เขียนยืนยันว่าสิ่งพิมพ์และเอกสารเหล่านั้นถูกเขียนขึ้นโดยหน่วยงานชั้นนำในยุโรปตะวันออกและส่วนใหญ่ถูกมองว่าด้อยค่าหรือเพิกเฉยโดย IAEA และ UNSCEAR[158] การประมาณการนี้ก็ยังได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าพูดเกินจริง ขาดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสม[22]",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#88",
"text": "ยานพาหนะที่ผู้ชำระบัญชีเหล่านี้ใช้จำนวนมากยังคงจอดอยู่ในสนามในพื้นที่เชียร์โนบีล[80]",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#11",
"text": "ในบทหนึ่งของกรีนพีซ ผู้ก่อตั้งภูมิภาคนั้นชาวรัสเซียยังประพันธ์หนังสือเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า \"เชียร์โนบีล: ผลกระทบของภัยพิบัติที่เกิดกับผู้คนและสิ่งแวดล้อม\" ซึ่งสรุปได้ว่าท่ามกลางผู้คนนับพันล้านคนทั่วโลกที่ได้สัมผัสกับการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีจากภัยพิบัติ เกือบหนึ่งล้านคนเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งก่อนวัยอันควรระหว่างปี 1986 ถึงปี 2004 [19] อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้ล้มเหลวในกระบวนการ peer review [20][21] ในห้าความคิดเห็นที่ตีพิมพ์ในสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ สี่ความคิดเห็นพิจารณาว่าหนังสือเล่มนี้มีข้อบกพร่องและขัดแย้งอย่างรุนแรง และหนึ่งความคิดเห็นยกย่องในขณะที่มีการตั้งข้อสังเกตถึงข้อบกพร่องบางอย่าง ความคิดเห็นโดย M.I. Balonov เผยแพร่โดย 'สถาบันวิทยาศาสตร์นิวยอร์ก' สรุปว่ารายงานมีค่าเป็นลบเพราะมันมีประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์น้อยมากในขณะที่สร้างความเข้าใจผิดอย่างมากให้กับผู้อ่าน มันประมาณการผู้เสียชีวิตเกือบหนึ่งล้านคนในดินแดนของนิยายมากกว่าในดินแดนของวิทยาศาสตร์[22]",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#202",
"text": "ในประเทศเยอรมนี อุบัติเหตุเชียร์โนบีลได้นำไปสู่การก่อตั้งกระทรวงสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลกลาง หลังจากที่หลายรัฐบาลท้องถิ่นได้ก่อตั้งตำแหน่งดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงได้รับอำนาจดูแลความปลอดภัยของเครื่องปฏิกรณ์อีกด้วย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคนปัจจุบันยังคงยึดถือในปี 2015 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังได้รับเครดิตกับการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับความเคลื่อนไหวต่อต้านนิวเคลียร์อีกด้วย ซึ่งถึงจุดสูงสุดในการตัดสินใจที่จะยุติการใช้พลังงานนิวเคลียร์ที่ได้วางแผนไว้โดยรัฐบาล Schröder ระหว่างปี 1998-2005",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#189",
"text": "ในปี 2011 ยูเครนได้เปิดโซนที่ถูกปิดผนึกรอบ ๆ เครื่องปฏิกรณ์เชียร์โนบีลให้กับนักท่องเที่ยวที่ต้องการที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในปี 1986[179][180]",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#112",
"text": "บทความหลัก: ผลกระทบจากภัยพิบัติเชียร์โนบีล",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#75",
"text": "มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีล หนึ่งในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ได้รับความเสียหาย ผลกระทบของการเกิดอุบัติเหตุกำลังได้รับการแก้ไข ความช่วยเหลือได้ถูกส่งไปให้สำหรับคนที่ได้รับผลกระทบ คณะกรรมการสืบสวนได้รับการจัดตั้งขึ้น สัญญลักษณ์ Vremya, 28 เมษายน 1986 (21:00)[63]",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#145",
"text": "สุขภาพในเบลารุสและยูเครนได้แสดงให้เห็นแนวโน้มที่รบกวนตามหลังภัยเชียร์โนบีล ในเบลารุส อุบัติการณ์ของโรคบกพร่องแต่กำเนิดได้เพิ่มขึ้น 40% ภายในหกสิบปีหลังการเกิดอุบัติเหตุไปยังจุดที่มันได้กลายเป็นสาเหตุหลักของการตายของทารก[137]:52 โรคและมะเร็งต่างๆมีเพิ่มขึ้นมากเช่นโรคเกี่ยวกับการย่อยอาหาร โรคไหลเวียนของเลือด โรคประสาท โรคระบบทางเดินหายใจ และโรคต่อมไร้ท่อ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีที่สูง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอำเภอที่ปนเปื้อนหนึ่งของเบลารุส ที่ 95% ของเด็กในปี 2005 ถูกรายงานว่ามีการเจ็บป่วยเรื้อรังอย่างน้อยหนึ่งโรค[135]:129, 199 กระทรวงสาธารณสุขของยูเครนประมาณในปี 1993 อย่างหยาบว่า 70% ของประชากรไม่สบายโดยมีการเพิ่มขึ้นขนาดใหญ่ของโรคในระบบทางเดินหายใจ ในระบบเลือดและในระบบประสาท[88]:27 โดยในปี 2000 ตัวเลขของชาวยูเครนที่อ้างว่าเป็น 'ผู้ประสบภัย' (poterpili) จากรังสีและกำลังรับผลประโยชน์จากรัฐได้เพิ่มขึ้นถึง 3.5 ล้านคนหรือ 5% ของประชากรทั้งหมด คนเหล่านี้หลายคนเป็นประชากรที่อพยพมาจากโซนที่ปนเปื้อนหรือเป็นอดีตคนงานของโรงงานเชียร์โนบีล[81]:4-5 อ้างถึงหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ในเครือของ IAEA การเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเหล่านี้ของสุขภาพที่ไม่ดีส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความตึงเครียดทางเศรษฐกิจในประเทศเหล่านี้และการดูแลสุขภาพและการโภชนาการที่ไม่ดี นอกจากนี้หน่วยงานดังกล่าวยังแนะนำว่าการเฝ้าระวังทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นหลังการเกิดอุบัติเหตุได้หมายความว่าหลายกรณีที่ก่อนหน้านี้ไม่มีใครสังเกตเห็น (โดยเฉพาะของโรคมะเร็ง) ได้กำลังถูกนำมาลงทะเบียนในตอนนี้[88]",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#199",
"text": "อุบัติเหตุที่เชียร์โนบีลดึงดูดความสนใจเป็นอันมาก เพราะความไม่ไว้วางใจของผู้คนจำนวนมาก (ทั้งภายในและภายนอกสหภาพโซเวียต) ที่มีต่อหน่วยงานของสหภาพโซเวียต การอภิปรายจำนวนมากเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เชียร์โนบีลจึงเกิดขึ้นใน'โลกที่หนึ่ง'ในช่วงวันแรก ๆ ของเหตุการณ์ เพราะข้อมูลที่รวบรวมได้มีข้อบกพร่องขึ้นอยู่กับภาพที่ถ่ายจากอวกาศ มีความเข้าใจว่าปฏิกรณ์หน่วยที่สามก็ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุเช่นกัน",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#196",
"text": "The Front Veranda (1986), พิมพ์หินโดยซูซาน โดโรธี White ในหอศิลป์แห่งชาติของออสเตรเลีย[185] เป็นตัวอย่างของการรับรู้ทั่วโลกของเหตุการณ์ น้ำหนัก (English: heavy wator) ภาพยนตร์สำหรับเชียร์โนบีล ได้รับการนำเสนอวโดย Seventh Art ในปี 2006 เพื่อรำลึกถึงภัยพิบัติผ่านทางบทกวีและบัญชีมือแรก[186] ฟิล์มนำเสนอสารคดีเรื่องสั้นที่ดีที่สุดที่เทศกาลภาพยนตร์ Cinequest เช่นเดียวกับรางวัล \"คะแนนที่ดีที่สุด\" ที่โรดไอแลนด์[187] พร้อมกับการคัดกรองที่ Tate Modern[188]",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#74",
"text": "การอพยพเริ่มมานานก่อนที่การเกิดอุบัติเหตุจะเป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนทั่วสหภาพ เฉพาะในวันที่ 28 เมษายน หลังจากที่ระดับรังสีเปิดการเตือนภัยที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Forsmark ในประเทศสวีเดน[62] ที่อยู่ห่างจากโรงงานเชียร์โนบีลกว่า 1,000 กิโลเมตร (620 ไมล์) สหภาพโซเวียตก็ยอมรับกับสาธารณชนว่าอุบัติเหตุได้เกิดขึ้น เมื่อเวลา 21:02 น. ของเย็นวันนั้น มีการอ่านประกาศเป็นเวลา 20 วินาทีในรายการข่าวโทรทัศน์ Vremya:[63][64]",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#171",
"text": "บทความหลัก: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีล§รื้อถอน",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "444456#0",
"text": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีล (, ) เป็นสถานีไฟฟ้านิวเคลียร์ปลดประจำการแล้วใกล้กับนครปริปยัต (Pripyat) ยูเครน ห่างจากนครเชียร์โนบีลไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 18 กิโลเมตร ห่างจากชายแดนยูเครน-เบลารุส 16 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเคียฟไปทางเหนือราว 110 กิโลเมตร เครื่องปฏิกรณ์ที่ 4 เป็นจุดเกิดภัยพิบัติเชียร์โนบีลเมื่อ พ.ศ. 2529 ",
"title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#195",
"text": "โครงการระหว่างประเทศเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพของเชียร์โนบีลอุบัติเหตุ โครงการระหว่างประเทศเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพของอุบัติเหตุเชียร์โนบีล (IPEHCA) ถูกจัดตั้งขึ้นและได้รับ US$ 20 ล้าน ส่วนใหญ่มาจากประเทศญี่ปุ่น ในความหวังของการค้นพบสาเหตุหลักของปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากรังสี 131I เงินทุนเหล่านี้ถูกแบ่งให้กับยูเครน เบลารุสและรัสเซีย ทั้งสามประเทศที่ได้รับผลกระทบหลัก สำหรับการสืบสวนต่อไปของผลกระทบต่อสุขภาพ เนื่องจากมีการคอร์รับชั่นอย่างมีนัยสำคัญในประเทศอดีตสหภาพโซเวียต ส่วนใหญ่ของการช่วยเหลือจากต่างประเทศได้ถูกส่งไปยังรัสเซียและไม่มีผลลัพธ์ด้านบวกจากเงินจำนวนนี้มีการแสดงออกให้เห็น",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#160",
"text": "เชียร์โนบีล: ผลกระทบจากภัยพิบัติสำหรับผู้คนและสิ่งแวดล้อม เป็นภาษาอังกฤษของสิ่งพิมพ์ของรัสเซียในปี 2007 เชียร์โนบีล ซึ่งถูกตีพิมพ์ในปี 2009 โดยสถาบันวิทยาศาสตร์นิวยอร์กในงาน ประวัติศาสตร์ของ New York Academy of Sciences ของพวกเขา สิ่งพิมพ์นำเสนอการวิเคราะห์วรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์และสรุปว่าเวชระเบียนระหว่างปี 1986 (ปีที่เกิดอุบัติเหตุ) และปี 2004 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร 985,000 คนเป็นผลมาจากการปลดปล่อยกัมมันตภาพรังสี[158] แม้กระนั้น มันก็ยังเป็นไปไม่ได้ที่จะตรวจสอบได้อย่างแม่นยำถึงปริมาณของรังสีที่มีผลกระทบกับประชาชนเหล่านั้น เพื่อให้รู้ความจริงที่ว่าปริมาณที่ได้รับแตกต่างกันอย่างมากจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งในกลุ่มประชากรดังกล่าวข้างต้นในที่ซึ่งเมฆกัมมันตรังสีได้เดินทางไปถึง และยังให้รู้ความจริงที่ว่าไม่มีใครสามารถบอกได้อย่างมั่นใจว่าโรคมะเร็งในบุคคลจากอดีตสหภาพโซเวียตเกิดจากรังสีจากอุบัติเหตุเชียร์โนบีลหรือเกิดจากปัจจัยทางสังคมหรือพฤติกรรมอื่น ๆ เช่นการสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์[159]",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#109",
"text": "มุมมองทั้งสองอย่างถูกนำไปชักชวนอย่างมากจากกลุ่มต่าง ๆ รวมทั้งนักออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ บุคลากรของโรงไฟฟ้า และรัฐบาลของโซเวียตและของยูเครน ตามการวิเคราะห์ของ IAEA ในปี 1986 สาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุคือการปฏิบัติของผู้ควบคุมเครื่อง แต่ตามการวิเคราะห์ฉบับปรับปรุงของ IAEA ปี 1993 สาเหตุหลักคือการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ฯ[86] เหตุผลหนึ่งที่มีมุมมองที่ขัดแย้งดังกล่าวและการอภิปรายมากเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุเชียร์โนบีลก็คือข้อมูลหลักที่ครอบคลุมภัยพิบัติ ตามที่ได้รับการบันทึกโดยเครื่องมือและเซ็นเซอร์ ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์อย่างสมบูรณ์ในแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#136",
"text": "สหราชอาณาจักรถูกบังคับให้จำกัดการเคลื่อนที่ของแกะจากพื้นที่สูงเมื่อกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ตกลงทั่วหลายส่วนของไอร์แลนด์เหนือ เวลส์ สกอตแลนด์และภาคเหนือของอังกฤษ ในทันทีหลังเกิดภัยพิบัติในปี 1986 แกะรวม 4,225,000 ตัวถูกจำกัดการเคลื่อนที่ข้ามฟาร์ม 9,700 แห่งเพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์[128] จำนวนของแกะและจำนวนของฟาร์มที่ได้รับผลกระทบเริ่มลดลงตั้งแต่ปี 1986 ไอร์แลนด์เหนือได้หลุดออกจากข้อจำกัดในปี 2000 และปี 2009 ฟาร์ม 369 แห่งที่มีแกะรอบ 190,000 ตัวยังคงอยู่ภายใต้ข้อจำกัดในเวลส์ และในเมือง Cumbria และภาคเหนือของสก็อตแลนด์[128] ข้อจำกัดที่ใช้กับสกอตแลนด์ถูกยกเลิกในปี 2010 ในขณะที่ข้อจำกัดที่ใช้กับเวลส์และคัมเบรีถูกยกเลิกในช่วงปี 2012 ซึ่งหมายความว่าไม่มีฟาร์มในสหราชอาณาจักรจะยังคงถูกจำกัดเพราะฝุ่นละอองจากเชียร์โนบีล[129][130]",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#170",
"text": "หลังการเกิดอุบัติเหตุ มีหลายคำถามเกี่ยวกับอนาคตของโรงงานและชะตากรรมของมันในที่สุด งานทั้งหมดบนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 5 และ 6 ที่ยังไม่เสร็จถูกระงับสามปีต่อมา อย่างไรก็ตามปัญหาที่โรงงานเชียร์โนบีลไม่ได้จบลงพร้อมกับภัยพิบัติในเครื่องปฏิกรณ์หมายเลข 4 เครื่องปฏิกรณ์ที่เสียหายถูกปิดผนึกและ 200 ลูกบาศก์เมตร (260 ลูกบาศ์กหลา) ของคอนกรีตถูกวางอยู่ระหว่างสถานที่เกิดภัยพิบัติและอาคารการดำเนินงาน งานนี้ได้รับการจัดการโดย Grigoriy Mihaylovich Naginskiy รองหัวหน้าวิศวกรของการติดตั้งและผู้อำนวยการก่อสร้าง-90 รัฐบาลยูเครนยังคงยอมให้สามเครื่องปฏิกรณ์ที่เหลือทำงานเพราะปัญหาการขาดแคลนพลังงานในประเทศ",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
},
{
"docid": "323534#139",
"text": "ดูเพิ่มเติม: การเสียชีวิตอันเนื่องมาจากภัยพิบัติที่เชียร์โนบีล",
"title": "ภัยพิบัติเชียร์โนบีล"
}
] |
3006 | ใครเป็นผู้ก่อตั้งวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี)? | [
{
"docid": "268309#0",
"text": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) เดิมชื่อ วิทยาลัยการอาชีพพานทอง ประกาศจัดตั้งเมื่อ 24กุมภาพันธ์2540โดยนายสุขวิช รังสิตพลรัฐมนตรีว่าการกนะทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ต่อมากระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้ร่วมกันจัดทำ<i data-parsoid='{\"dsr\":[1140,1201,2,2]}'><b data-parsoid='{\"dsr\":[1142,1199,3,3]}'>โครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์นำร่อง โดยมีวิทยาลัยการอาชีพพานทอง เป็นสถานศึกษานำร่องแห่งแรก และได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 ต่อมากระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยเมื่อวันที่ 21พฤษภาคม 2552 เพื่อรองรับการขยายผลของนักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบของห้องเรียนพิเศษในสถานศึกษาที่มีอยู่เดิม (school in school)",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
}
] | [
{
"docid": "268309#136",
"text": "นักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ เป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม ที่ผสานความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เข้ากับทักษะด้านช่างเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม รวมถึงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#2",
"text": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) ตั้งอยู่ในพื้นที่ของวิทยาลัยการอาชีพพานทอง(เดิม) เลขที่ 37 หมู่3 ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี รหัสไปรษณีย์ 20160 มีอาณาเขต 64 ไร่ โดยความร่วมมือสนับสนุนจากหลายฝ่าย อาทิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี เจ้าอาวาสวัดบ้านเก่า ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอพานทอง และประชาชนชาวอำเภอพานทอง",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#139",
"text": "โรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ฐานปั้น \"นักเทคโนโลยี\" ระดับหัวกะทิของประเทศ",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#62",
"text": "ภายใต้โครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(นำร่อง) วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#138",
"text": "นักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ที่มีความสามัคคีและร่วมมือร่วมใจกระทำงานร่วมกัน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี เป็นผู้พูดและผู้ฟังอย่างเหมาะสม มีน้ำใจ มีอัธยาศัยดีและเป็นมิตร",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#106",
"text": "เมื่อเริ่มจัดตั้งโครงการฯโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ขึ้น ซึ่งเป็นรูปแบบของโรงเรียนประจำที่นักเรียนจะต้องอยู่หอพัก แต่เดิมนั้นทางโรงเรียนยังไม่มีหอพักนักเรียนให้นักเรียนเข้าพักได้ทันกำหนดการรับนักเรียนเข้าศึกษาของนักเรียนรุ่นที่ 1 จึงทำให้นักเรียนรุ่นที่ 1 ต้องอาศัยอยู่ที่หอพักเอกชนภายนอกและมีรถรับส่งนักเรียนแทน หลังจากนั้นภายในปีการศึกษา ทางโรงเรียนได้ปรับปรุงอาคารอำนวยการและอาคารเรียนหลังเก่า ที่ตั้งอยู่ ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) เขต1 เป็นหอพักนักเรียน และเริ่มรับนักเรียนรุ่นที่ 2 เข้าศึกษา ต่อมาทางโรงเรียนได้รับงบประมาณในการก่อสร้างหอพักนักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ จำนวน 2 หลัง แล้วเสร็จในปี 2557 ปัจจุบันหอพักนักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ มีจำนวน 3 อาคาร คืออาคารหอพักนักเรียนชาย(หอบุษกร) อาคารหอพักนักเรียนหญิง(หอขจรรัตน์) และหอพักใหม่(สร้างเมื่อปีการศึกษา 2559) ที่ตั้งอยู่ในบริเวณวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) เขต 2 โดยชื่อที่ใช้เรียกนั้น เป็นชื่อหอที่เคยใช้เรียกกันตั้งแต่เมื่อครั้งอยู่หอพักเดิม ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) เขต1 โดยมีรูปแบบอาคารที่เหมือนกัน คือ เป็นอาคาร 4 ชั้น บริเวณชั้นล่างมีพื้นที่ส่วนกลาง คือห้อง common room ที่ใช้ในการทำกิจกรรมทางวิชาการ กิจกรรมนั้นทนาการ การจัดการประชุม เป็นต้น",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#70",
"text": "ภายใต้โครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(นำร่อง) วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#125",
"text": "บูมฐานวิทย์ฯ ได้เปิดการบูมขึ้นเป็นครั้งแรก ในงาน Bye’nior นักเรียนรุ่นที่1 ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 ณ สนามกีฬา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) เขต1 โดยผู้เข้าร่วมการบูมครั้งนี้ประกอบด้วยผู้บูมคือนักเรียนรุ่นที่2และ3 บูมให้นักเรียนรุ่นพี่ รุ่นที่1 ซึ่งได้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของเสียงบูม ที่ดังกึกก้องกัมปนาท แฝงด้วยความรัก ความเคารพ และความภาคภูมิใจในการเป็น “นักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์”",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#126",
"text": "นับแต่นั้นเป็นต้นมา บูมฐานวิทย์ฯ จึงเป็นบูมประจำโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ที่ได้นำมาใช้ในงานสำคัญต่างๆ ด้วยเนื้อหาความหมายที่ผู้ประพันธ์ได้รวบรวม “หัวใจหลักแห่งเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์” ผ่านบทประพันธ์ทั้งหมดนี้ บูมฐานวิทย์ฯจึงเป็นบูมที่สถิตอยู่ในใจของนักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ทุกคนตลอดชั่วกาลนาน",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#16",
"text": "การดำเนินโครงการนำร่องที่วิทยาลัยการอาชีพพานทอง ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)สามารถรับนักเรียนรุ่นแรกได้ในปีการศึกษา 2551 จำนวน 29 คน และพัฒนาหลักสูตรแล้วเสร็จ 1 หลักสูตร ในระดับ ปวช. สาขาช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์ที่มีการเรียนการสอนแบบ project-based โดยวิทยาลัยฯ จัดสถานที่พักให้กับนักเรียนเพื่ออยู่ประจำ (ไม่เสียค่าใช้จ่าย) และ สอศ. จัดสรรอัตราบุคลากรเพื่อปฏิบัติหน้าที่ครูพี่เลี้ยง จำนวน 8 คน เพื่อดูแลนักเรียนทั้งด้านวิชาการและชีวิตความเป็นอยู่อย่างใกล้ชิด สำหรับวิชาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สอนโดยอาจารย์มหาวิทยาลัย (มจธ. มทส. มทร. สจล. และจุฬาฯ) และในปีการศึกษา 2552 มีเป้าหมายรับนักเรียน 1 ห้อง ประมาณ 30 คน แม้ว่า ในช่วงแรกโครงการนำร่องจะมีนักเรียนจำนวนไม่มากนัก สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากข้อจำกัดหลายด้าน อาทิ ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ครูพี่เลี้ยงยังขาดประสบการณ์ด้านการเรียนการสอนแบบ project-based teaching and learning การประชาสัมพันธ์ยังไม่เข้มข้นและทั่วถึง ทัศนคติและความเชื่อมั่นของผู้ปกครอง รวมทั้งค่านิยมของสังคมที่มีต่อการเรียนสายอาชีวศึกษา จนเป็นอุปสรรคต่อการจูงใจนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม สอศ. และ สวทน. ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ที่จะจัดการกับข้อจำกัดที่มีอยู่ โดยร่วมกันยกร่างแผนแม่บทโครงการในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2553-2557) เพื่อวางกรอบการขับเคลื่อนให้เกิดผลเต็มประสิทธิภาพ ทั้งการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาความสามารถของครูพี่เลี้ยง แนวทางการคัดสรรนักเรียนที่มีศักยภาพและการปรับระบบบริหารจัดการให้มีความคล่องตัวมากขึ้นในขณะเดียวกัน จำเป็นต้องขยายผลการจัดการศึกษาในรูปแบบดังกล่าวไปยังสถานศึกษาอื่นที่มีศักยภาพของ สอศ. ด้วย ภายใต้ชื่อ “โครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์” เพื่อขยายฐานการผลิตกำลังคนที่มีความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นเชิงเทคโนโลยีที่เปรียบเสมือนเป็นหัวรถจักรของการอาชีวศึกษาซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อภาคการผลิตและบริการต่อไปในอนาคต โดยนำประสบการณ์ที่ได้จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) ปรับใช้ในการจัดการศึกษาระบบนักเรียนประจำของโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดซึ่งมีผลต่อการผลิต และพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นการรองรับกับการพัฒนาประเทศในอนาคต สิ่งสำคัญคือต้องเร่งพัฒนาขยายพื้นที่ห้องเรียนห้องปฏิบัติการ ศูนย์วิทยบริการ เพิ่มปริมาณวัสดุครุภัณฑ์ทางการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีใหม่ๆที่ทันสมัย รวมถึงหอพักอาศัยของนักเรียนและครูผู้ควบคุมดูแล รวมทั้งการพัฒนารูปแบบหรือแนวทางการจัดการเรียนการสอน โดยปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิสังคม ภูมิอาชีพ และสอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ตลอดจนพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาด้านเทคโนโลยีให้หลากหลาย เพื่อเป็นรองรับการการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และเป็นการแก้ไขปัญหาให้แก่สถานศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์จึงได้จัดทำวิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด กลยุทธ์ โครงการของสำนักตรวจและประเมินผล เพื่อใช้เป็นแผนในการปฏิบัติงานประจำปีต่อไป",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#45",
"text": "กระทรวงศึกษาธิการ โดย สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ(สวทน.) (ในระยะแรกสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)ได้รับมอบหมายจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ดูแลและสนับสนุนโครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ต่อมาทางกระทรวงได้เปลี่ยนให้ สวทน. เป็นผู้ให้การดูแลและสนับสนุนแทน) กระทรวงอุตสาหกรรม โดย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#24",
"text": "โครงการนี้ ถือเป็นโครงการใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) เพื่อบ่มเพาะนักเรียนระดับ ปวช. ที่มีศักยภาพด้านการประดิษฐ์คิดค้นเชิงเทคโนโลยี โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 ใช้รูปแบบของห้องเรียนพิเศษในสถานศึกษาที่มีอยู่เดิม (school in school) และนำร่องแห่งแรกที่ “วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)” การดำเนินการในช่วงแรกจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมหลายด้าน และยังมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ แต่หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของผู้บริหาร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ และหน่วยงานพันธมิตรจากภายนอก เช่น สถาบันอุดมศึกษา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ รวมทั้ง การทุ่มเทของผู้บริหารและบุคลากรของวิทยาลัยฯ จนสามารถการสามารถขับเคลื่อนได้ในปีการศึกษา 2551 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#22",
"text": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) เดิมชื่อ วิทยาลัยการอาชีพพานทอง ต่อมาเพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทการดำเนินงานของสถานศึกษา วิทยาลัยการอาชีพพานทองได้มีหนังสือ(ที่ ศธ 0661.15 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552) แจ้งความประสงค์ขอเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยฯ ไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยเมื่อวันที่ 21พฤษภาคม 2552 เพื่อรองรับการขยายผลของนักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#15",
"text": "ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเร่งขยายฐานการศึกษาเพื่อบ่มเพาะและสร้างนักเทคโนโลยีที่สามารถผสมผสานวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เข้ากับทักษะด้านช่างเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม รวมถึงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ อันจะนำไปสู่การยกระดับความสามารถทางเทคโนโลยีให้กับภาคการผลิตและบริการของประเทศต่อไปในอนาคต โดยเร่งพัฒนาหลักสูตรเพื่อรองรับการสร้างบุคลากรกลุ่มนี้ เพื่อให้ประเทศไทยมีฐานกำลังคนที่ครบถ้วนและเพียงพอที่จะเป็นกำลังสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้ร่วมกันจัดทำโครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์นำร่อง โดยมีวิทยาลัยการอาชีพพานทอง จ.ชลบุรี เป็นสถานศึกษานำร่องแห่งแรก และโครงการนำร่องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#132",
"text": "นักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างงาน ที่เกิดจากการเรียนรู้ ประดิษฐ์ ทดลอง ซึ่งไม่ว่าจะมีอุปสรรคกี่ครั้ง ก็สามารถฝ่าฟันจนประสบความสำเร็จ",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#135",
"text": "นักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ เป็นนักเรียนที่ตั้งมั่นอยู่ใน ความดี คุณธรรม จริยธรรม เป็นผู้ที่กระทำกรรมดี ทั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#3",
"text": "โดยมีพื้นที่การศึกษา แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 เขต คือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)เขต1 (ฝั่งโรงฝึกทักษะพื้นฐานและบ้านพักครู) และวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)เขต2 (ฝั่งอาคารอำนวยการ อาคารเรียนและหอพักนักเรียนโครงการฯโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์)",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#93",
"text": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) มีอาคารสถานที่ที่สำคัญ ดังนี้",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#128",
"text": "นักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ เป็นนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษ ที่ถูกบ่มเพาะภายใต้ปรัชญาหลักสูตร “สร้างสรรค์ นักเทคโนโลยี การเรียนรู้แบบ Project Based Learning Hands on, Minds on, Hearts on”",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#56",
"text": "ในคณะกรรมการอำนวยการโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#23",
"text": "โดยกระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติการเปลี่ยนชื่อสถานศึกษาเป็น \"วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)\" ชื่อภาษาอังกฤษ Science Based Technology Vocational College(Chonburi) ตัวย่อ (SBTVC) จากเดิมคือ วิทยาลัยการอาชีพพานทอง ชื่อภาษาอังกฤษ Panthong Industrial and Community Education College ตัวย่อ วก.พานทอง",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#119",
"text": "ผู้ออกแบบ: นายธนาดล วิลาจันทร์(นักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ รุ่นที่ 1)",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#65",
"text": "เพื่อจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่เป็นผู้มีศักยภาพหรือ ความสามารถพิเศษด้านการประดิษฐ์คิดค้น(นักเรียนโครงการฯโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์)ให้มีความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีทักษะที่เพียงพอ เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีบน ฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่เข้มแข็งต่อไปในอนาคต",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "850500#2",
"text": "ปี พ.ศ. 2550 กระทรวงศึกษาธิการและระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ร่วมกันทำ \"โครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์นำร่อง\" เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีทักษะด้านช่าง ในปี พ.ศ. 2552 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยการอาชีพพานทองเป็น วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) เพื่อรองรับการขยายผลของนักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบของห้องเรียนพิเศษในสถานศึกษาที่มีอยู่เดิม (school in school) ",
"title": "สถาบันการอาชีวศึกษา"
},
{
"docid": "268309#105",
"text": "ประกอบด้วยห้องพยาบาล และสำนักงานองค์การวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย ระดับหน่วยวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#130",
"text": "นักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ที่มีจิตใจดีงาม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี มีน้ำใจและกอปรด้วยความรัก ความห่วงใย ที่มีต่อบุพการี โรงเรียน ครูอาจารย์ เพื่อน พี่ น้อง",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#11",
"text": "ที่อยู่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) เลขที่ 37 หมู่3 ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี รหัสไปรษณีย์ 20160",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#59",
"text": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)รายนามผู้อำนวยการวาระการดำรงตำแหน่ง1. นายเด่นดวง คำตรงพ.ศ. 2541-2547 (วิทยาลัยการอาชีพพานทอง)2. นายนเรศ บุญมีพ.ศ. 2547-2551 (วิทยาลัยการอาชีพพานทอง)3. นางจุรี ทัพวงษ์พ.ศ. 2551-25544. นายปริวัฒน์ ถานิสโรพ.ศ. 2554-25545. นายจิระ เฉลิมศักดิ์พ.ศ. 2554-25596. นายนิติ นาชิตพ.ศ. 2559-25607. นายพีรพงษ์ พันธ์โสดาพ.ศ. 2560-ปัจจุบัน",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
},
{
"docid": "268309#21",
"text": "พ.ศ. 2552 เปลี่ยนชื่อวิทยาลัยการอาชีพพานทอง เป็น วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)",
"title": "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก"
}
] |
890 | สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ก่อตั้งขึ้นเมื่อใด ? | [
{
"docid": "59413#1",
"text": "บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นด้วยทุน 10,000,000 บาท เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2510 เพื่อประกอบธุรกิจโฆษณา ขณะที่ปัจจุบัน (พ.ศ. 2556) มีทุนจดทะเบียนที่ 61,000,000 บาท[2] โดยมีรายชื่อผู้ก่อตั้งประกอบด้วย คุณหญิงไสว จารุเสถียร (คำนำหน้าชื่อขณะนั้น; ภริยาจอมพล ประภาส จารุเสถียร), เรวดี เทียนประภาส (น้องสาวคุณหญิงไสว), ร้อยเอกชูศักดิ์ บุณยกะลิน, เฑียร์ กรรณสูต (น้องชายสุชาติ กรรณสูต สามีของเรวดี ซึ่งเสียชีวิตตั้งแต่ พ.ศ. 2501), ชาติเชื้อ กรรณสูต (บุตรชายคนโต), ร้อยโทชายชาญ กรรณสูต (ยศขณะนั้น; บุตรชายคนที่สอง เปลี่ยนมาใช้นามสกุลฝ่ายแม่ เมื่อ พ.ศ. 2517) และสุรางค์ เปรมปรีดิ์ (บุตรสาวคนเล็ก) ซึ่งคณะผู้ก่อตั้งมอบหมายให้สมภพ ศรีสมวงศ์ (ปัจจุบันชื่อสหสมภพ) เป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียนบริคณห์สนธิ กับกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) จากนั้นมีการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 กันยายน ซึ่งมีมติแต่งตั้งให้คุณหญิงไสว เป็นประธานกรรมการบริษัท ส่วนเฑียร์, ชาติเชื้อกับร้อยโทชายชาญ เป็นกรรมการบริษัท ทั้งสี่ถือหุ้นจำนวน 100 หุ้นเท่ากัน, ชวน รัตนรักษ์ ผู้บริหารธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นรองประธานกรรมการ ถือ 50 หุ้น, เรวดีเป็นกรรมการผู้จัดการ ถือ 230 หุ้น และร้อยเอกชูศักดิ์ เป็นกรรมการบริษัท ถือ 20 หุ้น[3]",
"title": "ช่อง 7 เอชดี"
}
] | [
{
"docid": "42149#31",
"text": "รายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค กรมประชาสัมพันธ์ เอ็นบีทีเวิลด์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เอ็มคอตเอชดี สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "492231#7",
"text": "อนึ่ง สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกที่แสดงตราสัญลักษณ์ฯ ที่มุมบนซ้ายของหน้าจอ ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม เวลา 13.45 น. ต่อมาคือสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เริ่มแสดงเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม เวลา 15.45 น. และ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในเวลา 17.00 น. ส่วนสถานีโทรทัศน์แห่งอื่นๆ แสดงตราสัญลักษณ์ฯ เป็นครั้งแรก ในวันที่ 8 พฤษภาคม โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มเวลา 00.00 น. สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ในเวลา 00.53 น. และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เมื่อเวลา 17.00 น.",
"title": "ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554"
},
{
"docid": "649171#4",
"text": "ในคืนวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นวันออกอากาศตอนจบของละครได้มีปัญหาในการออกอากาศดังนี้\nซึ่งทั้ง 2 ปัญหานี้ ทำให้แฟนละครเกิดการท้วงติงการออกอากาศละครของสถานีฯ ซึ่งในเวลาต่อมาทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ได้มีการออกแถลงการณ์ผ่านทาง แฟนเพจเฟสบุ๊คของสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ว่าจะมีการอัปโหลดละครพราว ตอนจบ \"ฉบับสมบูรณ์\" ผ่านทางเว็บไซต์ Bugaboo.tv เว็บไซต์โทรทัศน์ออนไลน์ของช่อง 7 ในเวลา 02:00 น. ของคืนวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557",
"title": "พราว (ละครโทรทัศน์)"
},
{
"docid": "20262#5",
"text": "ปี พ.ศ. 2540 ได้ร่วมหุ้นกับ \"ติ๊ก กลิ่นสี\" (ชาญณรงค์ ขันทีท้าว) พิธีกรและดาวตลกชื่อดัง เปิดบริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด ผลิตรายการเกมโชว์ \"แสบคูณสอง” ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ตามด้วยรายการ \"รักกันสนั่นเมือง\" ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, \"เกมพันหน้า\" ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, \"จิกะไบท์\" ทาง itv (titv), \"ยุทธการบันเทิง\" ทาง itv (titv) และยังเป็นผู้จัดละครให้กับช่อง 7 สี โดยสร้างพล็อตเรื่องและกำกับการแสดงด้วยตนเอง ในละครเรื่อง \"ตลาด โรงเจ ลิเก ความรัก\" และตามด้วยเรื่อง \"รักวันละนิด\" ในปี พ.ศ. 2551 ผลิตรายการสาระเกี่ยวกับสุขภาพชื่อ \"ตะลุยโรงหมอ\" ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ชิดหมอ ทางช่อง 7 สี \nและอีกรายการหนึ่ง คือ \"กลมกิ๊ก\" ทาง ททบ. 5",
"title": "เกียรติ กิจเจริญ"
},
{
"docid": "43460#47",
"text": "รายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 บีอีซี เวิลด์ มิสไทยแลนด์เวิลด์ บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ครอบครัวข่าว 3 เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ ครอบครัวข่าวเช้า เรื่องเด่นเย็นนี้ ข่าววันใหม่ ช่อง 3 แฟมิลี ช่อง 3 เอสดี วิทยุครอบครัวข่าว สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เอ็มคอตเอชดี สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3"
},
{
"docid": "67880#0",
"text": "การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย เป็นความร่วมมือกันระหว่างสถานีโทรทัศน์ต่างๆ ได้แก่ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก, สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 เอชดี, สถานีโทรทัศน์เอ็มคอตเอชดี, สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ และ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (ชื่อเดิมคือสถานีโทรทัศน์ไอทีวีและสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี) เพื่อจัดระดับความเหมาะสมของรายการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ชมสามารถเลือกดูได้ว่ารายการใดที่มีความเหมาะสมต่อตัวเองและคนรอบข้าง อาทิเช่น รายการใดที่เด็กควรดู รายการที่ผู้ใหญ่ควรให้ความแนะนำ หรือรายการที่ไม่เหมาะสมต่อเด็กและเยาวชน",
"title": "การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย"
},
{
"docid": "4801#71",
"text": "รายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์เอ็มคอตเอชดี บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) สถานีวิทยุ อสมท สำนักข่าวไทย เครือข่ายโทรทัศน์ดาวเทียมเอ็มคอท เอ็มคอตแฟมิลี สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส",
"title": "เอ็มคอตเอชดี"
},
{
"docid": "213584#6",
"text": "สาระแน แปซิฟิค ได้ผลิตรายการต่างๆ เป็นจำนวนกว่า 20 รายการ ทั้งเกมโชว์ วาไรตี้โชว์ รายการวันหยุดนักขัตฤกษ์ เพื่อนำเสนอออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์, สถานีโทรทัศน์ไอทีวี, สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี, สถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์ ทีวี, สถานีโทรทัศน์จีเอ็มเอ็มแชนเนล, สถานีโทรทัศน์ช่องวัน และสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, ไลน์ทีวี ปัจจุบันสาระแน แปซิฟิคมีรายการโทรทัศน์ที่กำลังออกอากาศอยู่เป็นจำนวน 4 รายการ เป็นรายการประเภทเกมโชว์ วาไรตี้โชว์ และวาไรตี้คอเมดี้โชว์ ออกอากาศทางช่อง 9MCOT HD ช่องไทยรัฐทีวี HD ช่อง 8 และช่อง7 HD (รายการที่กำลังออกอากาศอยู่ เน้น ตัวหนา)",
"title": "ลักษ์ 666"
},
{
"docid": "170942#2",
"text": "ในสมัยนั้นในช่วงที่มีการแข่งขันในด้านละครจักรๆ วงศ์ๆ มีคู่แข่งทั้ง 7 ช่องรายการ เช่น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์, สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย, สถานีโทรทัศน์ไอทีวี, สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี, และ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส มักจะแข่งขันกันที่เวลา ฐานการรับชม และการออกอากาศเป็นส่วนใหญ่ ในปัจจุบันนี้ ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 9 ช่อง 11 ช่อง NBT ไอทีวี ทีไอทีวี และ ไทยพีบีเอส ยุติการออกอากาศละคร จักร์ๆ วงศ์ๆ แล้วสาเหตุมาจากฐานการรับชมมีน้อย",
"title": "ละครจักร ๆ วงศ์ ๆ"
},
{
"docid": "992866#0",
"text": "เติมเศวตชัย นาคสุข นักแสดงชาวไทย \nเติมเศวตชัย นาคสุข (ชื่อเล่น เติม) นักแสดงชาวไทยสังกัด สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เกิดวันที่\n14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ภูมิลำเนา จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย การศึกษา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ คณะ บริหารธุรกิจ เริ่มเข้าวงการบันเทิง โดยมี เอ ศุภชัย ศรีวิจิตร พาไปแคสติ้งที่ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และได้เซ็นต์สัญญา 5 ปี มีผลงานละครอาทิ ลิขิตริษยา มือปราบเจ้าหัวใจ (ละครชุด ภารกิจรัก) และ ทายาททองหยิบ จนมีผลงานละครหลายๆเรื่องเค้าคือ เติม เติมเศวตชัย นักแสดง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7",
"title": "เติมเศวตชัย นาคสุข"
},
{
"docid": "34424#27",
"text": "รายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก กองทัพบกไทย ไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์ก สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เอ็มคอตเอชดี สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก"
},
{
"docid": "915552#23",
"text": "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 บริหารงานโดยกลุ่มบริษัท บีอีซีเวิลด์ ภายใต้สัมปทานของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก บริหารงานโดยกองทัพบก สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 บริหารงานโดยบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ภายใต้สัมปทานของ กองทัพบก ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี บริหารงานโดยบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย บริหารงานโดย กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส บริหารงานโดย องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย",
"title": "โทรคมนาคมในประเทศไทย"
},
{
"docid": "82514#1",
"text": "ชิงร้อยชิงล้าน เป็นรายการโทรทัศน์ลำดับที่ 2 ที่ผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) โดยออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2533 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 หลังจากนั้นได้ย้ายไปออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2541 หลังจากนั้นได้ย้ายไปออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ตั้งแต่วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 และกลับมาออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 อีกครั้ง เมื่อวันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2549 โดยมี บริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน) ร่วมผลิตด้วยจนถึง พ.ศ. 2552 และกลับมาออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อีกครั้ง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 จนปัจจุบันได้ย้ายมาออกอากาศทาง ช่องเวิร์คพอยท์ ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา",
"title": "ชิงร้อยชิงล้าน"
},
{
"docid": "62053#3",
"text": "ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2531 สมเกียรติเกิดขัดแย้งด้วยนโยบายการเสนอข่าวกับ ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) จึงลาออกไปร่วมงานกับฝ่ายข่าว สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เป็นระยะสั้นๆแล้วขอลาออก หลังมีปัญหาจากรายงานข่าวอาการป่วยของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช จากนั้นสมเกียรติในนาม บจก.แปซิฟิกฯ เข้าร่วมผลิตรายการข่าวกับเครือข่ายวิทยุและโทรทัศน์ของกองทัพบก โดยริเริ่มผลิตรายการ\"เช้าวันนี้\" ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 และสถานีวิทยุ จ.ส. 100 รายงานข่าวการจราจร ซึ่งเริ่มส่งกระจายเสียงเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2534 พร้อมทั้งเป็นผู้ผลิตรายงานข่าวต้นชั่วโมง แก่สถานีวิทยุกระจายเสียงเครือข่ายกองทัพบกทั่วประเทศ อันเป็นที่มาของการก่อตั้ง\"ศูนย์ข่าวแปซิฟิก\" ขึ้นเป็นหน่วยงานย่อยของ บจก.แปซิฟิกฯ",
"title": "สมเกียรติ อ่อนวิมล"
},
{
"docid": "941208#1",
"text": "จีเอ็มเอ็มทีวี (เดิมชื่อ แกรมมี่ เทเลวิชั่น) จดทะเบียนบริษัทเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ด้วยทุนจดทะเบียน 20,000,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์การก่อตั้งบริษัทจากการที่ผู้บริหารของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เล็งเห็นศักยภาพที่จะพัฒนาให้ธุรกิจโทรทัศน์เติบโต แข็งแรง มั่นคง จึงได้แยกฝ่ายการตลาดของบริษัทออกมาเป็นบริษัทเพื่อบริหารงานทางด้านธุรกิจโทรทัศน์โดยเฉพาะ และเริ่มผลิตรายการเกมโชว์และรายการเพลงต่าง ๆ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, โมเดิร์นไนน์ทีวี และสถานีโทรทัศน์ไอทีวี (ปัจจุบันเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส) โดยมี ดวงใจ หล่อเลิศวิทย์ และ สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทในช่วงเวลานั้นตามลำดับ",
"title": "จีเอ็มเอ็มทีวี"
},
{
"docid": "140764#0",
"text": "บริษัท เป่า จิน จง จำกัด () เป็นบริษัทผู้ผลิตละครโทรทัศน์ในประเทศไทย ก่อตั้งโดยนพพล โกมารชุน และ ปรียานุช ปานประดับ เมื่อ พ.ศ. 2541 ในระยะแรกเป็นบริษัทผลิตละครให้กับสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ต่อมาได้เข้ามาเป็นผู้ผลิตละครให้กับสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2551",
"title": "เป่า จิน จง"
},
{
"docid": "34424#1",
"text": "ราวปี พ.ศ. 2495 กระทรวงกลาโหมออกข้อบังคับ ว่าด้วยการมอบหมายงานแก่เจ้าหน้าที่กองทัพบก โดยกำหนดให้กรมการทหารสื่อสาร (สส.) จัดตั้งแผนกกิจการวิทยุโทรทัศน์ ขึ้นตรงต่อกองการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 มีการกำหนดอัตรากำลังพลประจำแผนกโทรทัศน์ ในอัตราเฉพาะกิจ สังกัดกรมการทหารสื่อสาร จำนวน 52 นาย เพื่อปฏิบัติงาน ออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ผลิตและถ่ายทอดรายการโทรทัศน์ จากนั้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการดำเนินการวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ประกอบด้วย พลเอกไสว ไสวแสนยากร เป็นประธานกรรมการ และพันเอก (พิเศษ) การุณ เก่งระดมยิง เป็นเลขานุการ มีหน้าที่จัดทำ<i data-parsoid='{\"dsr\":[3870,3914,2,2]}'>โครงการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก พร้อมทั้งวางแผนการอำนวยการ และควบคุมการดำเนินกิจการวิทยุโทรทัศน์ รวมถึงมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติงานให้ได้ผลตามที่ราชการทหารมุ่งหมาย ต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน มีพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ในบริเวณกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ สนามเป้า ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โดยทำสัญญายืมเงินกับกองทัพบก เพื่อเป็นทุนในการก่อสร้าง และจัดหาอุปกรณ์ จำนวน 10,101,212 บาท สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ชื่อสากล: ATV รหัส: HSATV ชื่อย่อ: ททบ.7) เริ่มต้นออกอากาศเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2501 จากอาคารสวนอัมพร เป็นภาพขาวดำ ใช้ระบบเอฟซีซี (Federal Communication Committee) 525 เส้น ทางช่องสัญญาณที่ 7 ด้วยเครื่องส่งออกอากาศ กำลังส่ง 5 กิโลวัตต์ และทวีกำลังเพิ่มขึ้นอีก 12 เท่า บนสายอากาศสูง 300 ฟุต รวมกำลังส่งออกอากาศทั้งสิ้น 60 กิโลวัตต์ จึงเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยแห่งที่สอง ต่อจากสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) ต่อมา เมื่อก่อสร้างของอาคารสถานีเสร็จสมบูรณ์ จึงเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการในทุกวันพุธ แล้วจึงเพิ่มวันจันทร์และวันศุกร์ในระยะถัดมา โดยรายการส่วนมากเป็นสารคดีและภาพยนตร์ต่างประเทศ จากนั้นในปี พ.ศ. 2506 ททบ.ตั้งสถานีทวนสัญญาณเป็นแห่งแรก บนยอดเขาวงพระจันทร์ อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี โดยใช้เครื่องทรานสเลเตอร์ถ่ายทอดสัญญาณ เริ่มจากถ่ายทอดการฝึกทหารในยามปกติ ซึ่งมีชื่อรายการว่า การฝึกธนะรัชต์ ทั้งนี้ เริ่มจัดรายการภาคกลางวัน ในปีเดียวกันนี้ด้วย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทอดพระเนตรกิจการ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2508 นอกจากนี้ ททบ.5 ยังเริ่มจัดตั้ง สถานีวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม ความถี่ 94.0 เมกะเฮิร์ตซ์ ในปีเดียวกันนี้ โดยในระยะแรกเป็นการถ่ายทอดเสียงภาษาอังกฤษ จากฟิล์มภาพยนตร์ที่ออกอากาศทาง ททบ. และเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ททบ.ร่วมกับสถานีโทรทัศน์อีก 3 แห่งในขณะนั้น ก่อตั้ง โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: ทรท., ทีวีพูล) เพื่ออำนวยการปฏิบัติงาน ระหว่างสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ททบ.ตั้งสถานีทวนสัญญาณเพิ่มเติม ที่จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดนครราชสีมา โดยเปลี่ยนมาใช้ระบบไมโครเวฟแทน จากนั้น ททบ.5 ปรับปรุงระบบเครื่องส่งโทรทัศน์ จากเดิมที่ใช้ระบบ 525 เส้น ภาพขาวดำ ช่องสัญญาณที่ 7 เป็นระบบ 625 เส้น ในย่านความถี่วีเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2517 พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.5) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ททบ.เริ่มออกอากาศด้วยภาพสีในระบบพาล (Phase Alternation Line - PAL) เป็นครั้งแรกด้วยการถ่ายทอดสด พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ณ ลานพระราชวังดุสิต และต่อมา ททบ.5 จึงเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารงานของสถานี และยังมีการเปลี่ยนอีกครั้งหนึ่งด้วย เมื่อปี พ.ศ. 2521 ททบ.ร่วมกับสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เช่าสัญญาณดาวเทียมปาลาปาของอินโดนีเซีย พร้อมตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียมเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ และเริ่มจัดทำห้องส่งส่วนภูมิภาค ในภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่, ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดอุบลราชธานี อนึ่ง ในช่วงทศวรรษนี้ ททบ.ดำเนินการขยายสถานีเครือข่ายในจังหวัดต่างๆ เพิ่มเติมดังต่อไปนี้",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก"
},
{
"docid": "492231#10",
"text": "อย่างไรก็ตาม เมื่อสุดระยะเวลาเฉลิมพระเกียรติ ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 แล้ว สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก นำตราสัญลักษณ์ฯ ออกจากหน้าจอ ตั้งแต่เวลา 00.05 น. ของวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ทว่าสถานีอื่นยังคงแสดงตราสัญลักษณ์ฯ อย่างต่อเนื่องต่อไป ก่อนที่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก จะกลับมาแสดงตราสัญลักษณ์ฯ ตามเดิม ในวันที่ 7 มกราคม เวลา 10.18 น. โดยสถานีโทรทัศน์ทุกแห่ง ทยอยนำตราสัญลักษณ์ฯ ออกจากหน้าจอ เริ่มจากวันที่ 13 มกราคม สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก นำออกจากหน้าจออีกครั้ง ในเวลา 10.33 น. สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ เริ่มเวลา 18.45 น. ต่อมาในวันที่ 14 มกราคม สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย นำตราสัญลักษณ์ฯ ออกจากหน้าจอ ในเวลา 01.15 น. สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ก่อนเวลา 05.00 น. สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อเวลา 06.46 น. และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ในเวลา 16.42 น.",
"title": "ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554"
},
{
"docid": "59413#7",
"text": "27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2529 ภาพอวกาศ ถ่ายเข้ามาที่โลก และเป็นภาพเป็นกลุ่มเมฆ และภาพมหาสมุทร จากการ์ตูนของญิ่ปุ่นเรื่องหนึ่ง และแสดงสัญลักษณ์ช่องสถานี - เสียงยานอวกาศ (หน้าจออวกาศ) เสียงกลอง (หน้าจอกลุ่มเมฆ) เสียง sound effect Ta-Da (หน้าจอมหาสมุทร) และเพลงประจำสถานี ฉากรอง พื้นหลังเป็นอาคารสถานี และแสดงตราสัญลักษณ์กองทัพบก - เพลงประกอบใช้เพลงมาร์ชกองทัพบก 20 สิงหาคม พ.ศ. 2529 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2543 ฉากแรกจะเป็นรูปท้องฟ้ามีกลุ่มเมฆลอยอยู่กลางอากาศ (เปรียบเสมือนเข้าสู่เช้าวันใหม่) และแสดงสัญลักษณ์ของสถานี และข้อความภาษาไทยแบบโค้งเขียนว่า \"สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7\" วางไว้ใต้ตราสัญล้กษณ์ - เพลงประกอบใช้เพลง Mechanised Infantry March ฉากรอง พื้นหลังเป็นสีฟ้า แสดงตราส้ญลักษณ์กองทัพบกแบบโครงเส้นสีขาว และขึ้นข้อความภาษาไทยแบบโค้งเขียนว่า \"สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7\" วางไว้ใต้ตราสัญล้กษณ์ - เพลงประกอบใช้เพลงมาร์ชกองทัพบก 1 เมษายน พ.ศ. 2543 - 24 เมษายน พ.ศ. 2557 ภาพพื้นหลังจะเป็นน้ำเงินไล่สีมีดาวเปล่งประกายเรียงต่อกันหลายๆดวง แสดงสัญล้กษณ์ของสถานี และตราสัญลักษณ์กองทัพบกแบบสีทอง และขึ้นข้อความภาษาไทยแบบโค้งล่างที่มีคำว่า\"สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7\" วางไว้ใต้ตราสัญล้กษณ์ - เพลงประกอบใช้เพลง Mechanised Infantry March ต่อด้วย เพลงมาร์ชกองทัพบก 25 เมษายน พ.ศ. 2557 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 กราฟิกมึสองแบบ โดยสลับใช้วันต่อวัน แบบที่ 1 ใช้กาฟิกพื้นหลังสีเขียว และแบบที่ 2 ใช้กราฟิกพื้นหลังแบบแสงแฟลช ทั้งสองแบบแสดงสัญล้กษณ์ของสถานี และ ตราสัญลักษณ์กองทัพบก มีข้อความภาษาไทยเขียนว่า \"สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7\" วางไว้ใต้ตราสัญล้กษณ์ - เพลงประกอบใช้เพลง Mechanised Infantry March ต่อด้วย เพลงมาร์ชกองทัพบก 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 - 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ใช้ภาพพื้นหลังสีขาว แสดงสัญลักษณ์ของสถานี เพิ่มข้อความสัญลักษณ์ HD (เอชดี) ข้างขวาของโลโก้ และ ตราสัญลักษณ์กองทัพบกแบบ 3 มิติ และขึ้นข้อความภาษาไทยใต้ตราสัญล้กษณ์ว่า \"สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7\" - เพลงประกอบใช้เพลงเดิมที่ใช้ในรูปแบบก่อนหน้านั้น 17 มิถุนายน พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน ใช้ภาพลักษณะเดียวกัน แต่เปลี่ยนรูปแบบเป็นแบบ Bumper คือแสดงสัญลักษณ์ของสถานี เพียงอย่างเดียว เป็นเวลา 5 วินาที",
"title": "ช่อง 7 เอชดี"
},
{
"docid": "59413#0",
"text": "ช่อง 7 เอชดี (Channel 7 HD) (ชื่อเดิม: สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 English: Bangkok Broadcasting Television Channel 7) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินซึ่งออกอากาศด้วยระบบภาพสีแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่ 3 ของประเทศไทย ดำเนินกิจการภายใต้สัญญาสัมปทานกับกองทัพบก เริ่มแพร่ภาพเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 9[1] ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นระบบภาพสี และย้ายการออกอากาศ ไปทางช่องสัญญาณที่ 7 จนถึงปัจจุบัน มีกฤตย์ รัตนรักษ์ เป็นประธานกรรมการบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด และสมเกียรติ เจริญภิญโญยิ่ง เป็นกรรมการผู้จัดการ",
"title": "ช่อง 7 เอชดี"
},
{
"docid": "141190#95",
"text": "รายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส รายนามผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าว สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย สถานีวิทยุไทยพีบีเอสออนไลน์ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เอ็มคอตเอชดี สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย",
"title": "สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส"
},
{
"docid": "37714#2",
"text": "เกมวัดดวง ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (พ.ศ. 2545 - 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553) อี-เม้าท์ ทางช่อง 7 สี (พ.ศ. 2546 - 2553) ไฟว์ ไลฟ์ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (พ.ศ. 2546 - 2549) เปรี้ยวปาก ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (พ.ศ. 2547 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2555) กิ๊กกะไบท์ ทางไอทีวี (พ.ศ. 2547 - 2549) เดอะ โหวต ทางไอทีวี (พ.ศ. 2547 - 2549) คิทเช่น สเน็ค ทางไอทีวี (พ.ศ. 2548 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2549) ทีเด็ดจัง ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (พ.ศ. 2549) รู้จริงปะ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (พ.ศ. 2549 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2555) ฆ่าโง่ ทางไอทีวี (พ.ศ. 2549 - 2550) ตาสว่าง ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี (31 มกราคม พ.ศ. 2551 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552) โคลนนิ่งซิงกิ้งคอนเทสต์ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 The Hunt (พ.ศ. 2553) สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ สะบัดช่อ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (พ.ศ. 2553 - 2555) เกมเผาขน ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (2 มกราคม พ.ศ. 2554 - 29 มกราคม พ.ศ. 2555) เดอะ จ๊อบ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (3 มกราคม - 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) เฮ สเตชัน ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (4 มกราคม - กันยายน พ.ศ. 2554) ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ ซีซั่นที่ 1 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (6 มีนาคม พ.ศ. 2554 - 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554) เทค มี เอาท์ไทยแลนด์ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน) ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ ซีซั่นที่ 2 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (3 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 2 กันยายน พ.ศ. 2555) The Naked Show โทรทัศน์ ทางจีเอ็มเอ็มวัน ก๊วนคึกระทึกล้าน ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (5 มกราคม พ.ศ. 2556 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556) The Snake เกมงูซ่า ทางเวิร์คพอยท์ทีวี (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 27 มีนาคม 2557) ใครคือใคร Identity Thailand ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี และ เวิร์คพอยท์ทีวี (7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559) ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ ซีซั่นที่ 3 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (2 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 25 สิงหาคม 2556) ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ ซีซั่นที่ 4 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (15 มิถุนายน พ.ศ. 2557 - 31 สิงหาคม 2557) Social Nake's World ยอดมนุษย์ออนไลน์ ทางเวิร์คพอยท์ทีวี แบไต๋ไฮเทค Daily 5 Live ทางคมชัดลึก ทีวี, Dude TV, ทรูวิชันส์ 72 ซูเปอร์บันเทิง, เนชั่น แชนแนล (27 มิถุนายน พ.ศ. 2556) 3 แยก TV ทาง GMM ONE (7 กันยายน พ.ศ. 2556 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557) SME ตีแตก ทางเวิร์คพอยท์ทีวี (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 - 26 กันยายน พ.ศ. 2558) เกมวัดดวง2015 ทาง จีเอ็มเอ็มแชนเนล (2558) ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ ซีซั่นที่ 5 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (7 มิถุนายน พ.ศ. 2558 - 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558) The Price is Right Thailand ราคาพารวย ทางช่อง ทรูโฟร์ยู (27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน) Tonight's The Night คืนสำคัญ ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (5 มีนาคม พ.ศ. 2559 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2560) รายการโจ๊ะ ทางช่องวัน ทุกวันอาทิตย์ เวลา 14.00-15.00น. (3 เมษายน พ.ศ. 2559 - 26 มิถุนายน พ.ศ. 2559) เรื่องเล่าเช้านี้ ช่วง ครอบครัวบันเทิง วันจันทร์ - วันอังคาร ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (25 เมษายน พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน) ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ ซีซั่นที่ 6 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (12 มิถุนายน พ.ศ. 2559 - 4 กันยายน พ.ศ. 2559) Singer Auction เสียงนี้มีราคา ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (2 เมษายน พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน) บัลลังก์เสียงทอง ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (6 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2560) The Unicorn สตาร์ทอัพ พันล้าน ทางเวิร์คพอยท์ทีวี (2 มิถุนายน - 25 สิงหาคม พ.ศ. 2560) พิธีกรบนเวทีการประกวดนางสาวถิ่นไทยงาม ประจำปี 2561 (รอบตัดสิน) จากห้องอัลทรา ARENA ศูนย์การค้า SHOW DC เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เดือนมกราคม พ.ศ. 2561 ถ่ายทอดสดทางช่อง 9 เวลา 22.07-00.00 น. คู่กับ สาวิตรี โรจนพฤกษ์ (จูน) Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต ซีซั่นที่ 4 ทางเวิร์คพอยท์ทีวี (17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน) Show me the money Thailand ทาง True4u (24 เมษายน พ.ศ. 2561) ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ ซีซั่นที่ 7 ทางเวิร์คพอยท์ทีวี (6 สิงหาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน) THE ROOM ห้องวัดใจ ทางจีเอ็มเอ็ม 25 (เร็วๆ นี้)",
"title": "เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา"
},
{
"docid": "35359#1",
"text": "เพลงนี้ใช้บรรเลงในงานพิธีการเกี่ยวกองทัพบก เช่น การสวนสนาม และเป็นเพลงบรรเลงบอกสัญญาณการเปิดสถานีโทรทัศน์ในสังกัดกองทัพบก ได้แก่ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (เวลา 04.50 น.) และสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (เวลา 05.00 น.)",
"title": "มาร์ชกองทัพบก"
},
{
"docid": "437167#3",
"text": "เมื่อปี พ.ศ. 2543 สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย นำชื่อการประกวดนางสาวไทย ไปจัดร่วมกับสถานีโทรทัศน์ไอทีวี โดยหลังจากปี พ.ศ. 2551 ก็ย้ายไปจัดร่วมกับบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) โดยสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ จนถึงปี พ.ศ. 2559 นางสาวไทย ได้กลับมาจัดการประกวดที่ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เช่นเดิม ด้วยกรณีดังกล่าว ช่อง 7 สี จึงก่อตั้งการประกวดในชื่อใหม่ว่า\"มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส\" ต่อมาองค์การนางงามจักรวาล มีมติให้ผู้ถือลิขสิทธิ์ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก กำหนดชื่อการประกวด และชื่อตำแหน่งนางงามของแต่ละประเทศ โดยใช้คำว่า\"มิสยูนิเวิร์ส\" และตามด้วยชื่อประเทศนั้น ๆ เป็นผลให้สุรางค์ประกาศ เปลี่ยนชื่อการประกวดเป็น\"มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์\" ในการแถลงข่าวการจัดประกวดในครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555 พร้อมทั้งเปลี่ยนผู้ดำเนินการถ่ายทอดโทรทัศน์ จากช่อง 7 สีไปเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เนื่องจาก บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ มีคำสั่งให้สุรางค์พ้นจากทุกตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ปีเดียวกัน",
"title": "มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์"
},
{
"docid": "59413#36",
"text": "รายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 เอชดี ข่าวช่อง 7 เอชดี 7 สีคอนเสิร์ต บิ๊กซินีม่า มวยไทย 7 สี มิสแกรนด์ไทยแลนด์ ไทยซุปเปอร์โมเดลคอนเทสต์ มิสทีนไทยแลนด์ แชมป์กีฬา 7 สี สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เอ็มคอตเอชดี สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส",
"title": "ช่อง 7 เอชดี"
},
{
"docid": "218073#15",
"text": "กันตนา ได้ผลิตรายการโทรทัศน์หลายประเภทเช่น เกมโชว์ ควิซโชว์ ทอล์คโชว์ วาไรตี้โชว์ เรียลลิตี้โชว์ สารคดี วาไรตี้คอเมดี้โชว์ รายการเพลง รายการเด็ก และละคร เป็นจำนวนกว่า 200 รายการ เพื่อนำเสนอออกอากาศผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี, สถานีโทรทัศน์ไอทีวี(ภายหลังใช้ชื่อว่า สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี และปัจจุบันคือสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส) และสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี ปัจจุบันกันตนา กรุ๊ปมีรายการโทรทัศน์และละครที่กำลังออกอากาศอยู่เป็นจำนวน 14 รายการ ออกอากาศทางช่อง 5 HD ช่อง 7 HD ช่อง 3 HD ช่อง 9 MCOT HD ช่อง 3 SD และช่องไทยรัฐทีวี HD (รายการที่กำลังออกอากาศอยู่ เน้น ตัวหนา รายการที่ออกอากาศหรือขายลิขสิทธิ์ในแอปพลิเคชัน LINE TV หรือ iflix เน้น \"ตัวเอียง\")",
"title": "กันตนา"
},
{
"docid": "63610#1",
"text": "เมื่อปี พ.ศ. 2511 ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ในขณะนั้น ได้แก่ไทยทีวีช่อง 4 ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) และ ททบ.7 (ปัจจุบันคือ ททบ.5) กับช่อง 7 สี ของกองทัพบก ได้ประชุมร่วมกันและมีมติว่า แต่ละสถานีฯ ควรจะได้รวมตัวกันขึ้น เพื่อปรึกษาหารือ และดำเนินการจัดการในเรื่องต่าง ๆ อันจะเกิดประโยชน์ร่วมกันกับทุกสถานีฯ จึงก่อตั้งองค์กรชื่อว่า \"โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย\" เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ปีดังกล่าว โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบด้วยผู้อำนวยการของช่องโทรทัศน์ทั้ง 4 เป็นกรรมการ และมอบให้ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง อันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่ก่อตั้ง ซึ่งต่อมาสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เข้าร่วมเป็นสมาชิกถาวร นับแต่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 ต่อมามีช่องโทรทัศน์ เข้าเป็นสมาชิกสมทบคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และไทยพีบีเอส (เดิมคือสถานีโทรทัศน์ไอทีวี และสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี)",
"title": "โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "34424#0",
"text": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (English: Royal Thai Army Radio and Television; ชื่อย่อ: ททบ.) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) ของกองทัพบกไทย และเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่สองของประเทศไทย เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2501 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 7 จึงเรียกว่า สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ททบ.7) หรือ ช่อง 7 (ขาว-ดำ) ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 จึงย้ายมาออกอากาศด้วยภาพสี ทางช่องสัญญาณที่ 5 จึงเรียกว่า สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.5) จนถึงปัจจุบัน มี พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานกรรมการบริหารกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์กองทัพบก และ พลเอก กิตติเชษฐ์ ศรดิษฐพันธ์ เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่",
"title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก"
},
{
"docid": "251257#6",
"text": "การส่งกระจายเสียงวิทยุในระบบเอฟเอ็มครั้งแรก ดำเนินการโดยสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยสังกัดกรมประชาสัมพันธ์เมื่อปี พ.ศ. 2494 ส่วนการแพร่ภาพวิทยุโทรทัศน์ในระบบวีเอชเอฟครั้งแรก ดำเนินการโดย\"สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4\" ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยออกอากาศทางช่อง 4 ระบบขาวดำ และการแพร่ภาพวิทยุโทรทัศน์สี ในระบบวีเอชเอฟครั้งแรก ดำเนินการโดย\"สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7\" ซึ่งบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ได้รับสัมปทานจากกองทัพบกไทย เมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยออกอากาศทางช่อง 7 ในย่านความถี่ที่ 3",
"title": "วีเอชเอฟ"
},
{
"docid": "343509#3",
"text": "จนเมื่อปี พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) ได้หมดสัญญาการเป็นผู้อำนวยการกองประกวดมิสไทยแลนด์เวิลด์ จึงได้ผันตัวเองมาตั้งเวทีการประกวดสาวงามในปี พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) \nโดยใช้ชื่อว่า \"มิสแกรนด์ไทยแลนด์\" (Miss Grand Thailand) โดยร่วมกับทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 แพร่ภาพออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 \nและนอกจากนั้นยังเป็นประธานและผู้ก่อตั้งเวทีการประกวดสาวงามระดับนานาชาติ โดยใช้ชื่อว่า \"มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล\" (Miss Grand International) ซึ่งถือเป็นเวทีระดับนานาชาติ\nเวทีแรกของโลกที่มีจุดกำเนิดและก่อตั้งโดยคนไทย\nศิลปิน ก้อง สหรัถ สังคปรีชา, ณัฐ ศักดาธร, เบน ชลาทิศ, เจนนิเฟอร์ คิ้ม แขกรับเชิญ อ๊อด คีรีบูน, โต๋ ศักดิ์สิทธิ์ และ แอ๊ด คาราบาว\nศิลปิน วงคาราบาว ร่วมด้วย วงดนตรีออร์เคสตร้า แขกรับเชิญ เบิร์ด กับ ฮาร์ท และ ตั๊ก ศิริพร อยู่ยอด",
"title": "ณวัฒน์ อิสรไกรศีล"
}
] |
1577 | หอยโข่ง เป็นสัตว์หรือไม่ ? | [
{
"docid": "136807#1",
"text": "มีลักษะเหมือนหมึกผสมกับหอยฝาเดี่ยว เป็นสัตว์ที่ว่องไว ว่ายน้ำได้ดี ตาไม่มีคอร์เนียและเลนส์ เป็นแอ่งบุ๋มจากลำตัวเข้ามา มีน้ำทะเลเข้ามาอาบในชั้นเรตินาจึงรับภาพไม่ได้ เยื่อแมนเทิลมีกล้ามเนื้อหนา มีหนวดที่มากถึง 63-94 เส้น ซึ่งมากกว่าหมึกเสียอีกและมีประสาทสัมผัสที่ทำหน้าที่เหมือนเซนเซอร์สำหรับสัมผัสและรับรู้ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ เช่น การหาอาหารและหลบหลีกศัตรู มีเปลือกหุ้มอยู่ภายนอก เปลือกขดเป็นวง มีผนังกั้นภายในตามขวาง แบ่งเป็นช่องอยู่ด้านในคล้ายห้อง ช่องนอกสุดที่มีขนาดใหญ่สุดเป็นช่องที่ตัวหอยอาศัยอยู่ อากาศที่อยู่ในช่องของเปลือกทำให้หอยงวงช้างลอยตัวได้ เมื่อจะดำน้ำลง หอยจะปล่อยอากาศที่อยู่ในช่องเหล่านี้ออกมา แล้วให้น้ำเข้ามาแทนที่ ทำให้ตัวหนักและจมลงได้ อันเป็นหลักการเดียวกับถังอับเฉาในเรือดำน้ำ",
"title": "หอยงวงช้าง"
}
] | [
{
"docid": "844992#6",
"text": "ถ้าคลี่อวัยวะรูปหอยโข่งออก\nก็จะพบส่วนต่าง ๆ ที่ตอบสนองต่อความถี่เสียงโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นปกติของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดและสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก\nโดยส่วนที่ตอบสนองต่อความถี่สูงสุดจะอยู่ใกล้ช่องรูปไข่ (oval window) มากที่สุด ที่ตอบสนองต่อความถี่ต่ำสุดจะอยู่ไกลสุด และความถี่ที่ตอบสนองจะอยู่ในรูปฟังก์ชันยกกำลัง\nในสัตว์บางสปีชีส์ เช่น ค้างคาวและโลมา จะมีบางความถี่ที่ตอบสนองเป็นพิเศษเพื่อสนับสนุนการใช้โซนาร์",
"title": "ระบบการได้ยิน"
},
{
"docid": "998082#0",
"text": "โรคพยาธิหอยโข่ง () เป็นโรคติดเชื้อพยาธิหอยโข่ง (\"Angiostrongylus cantonensis\") จากการทานหอยทาก ทากหรือมอลลัสกาที่ดิบหรือปรุงไม่สุก รวมถึงทานผักและผลไม้หรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด การติดเชื้อพยาธิหอยโข่งในมนุษย์ก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือเยื่อหุ้มสมองกับสมองอักเสบ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษา อย่างไรก็ตาม ในรายที่มีอาการร้ายแรง อาจมีอาการผิดปกติทางระบบประสาทส่วนกลางจนถึงขั้นเสียชีวิต",
"title": "โรคพยาธิหอยโข่ง"
},
{
"docid": "844976#16",
"text": "คอเคลียในรูปแบบก้นหอยพบแต่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น\nส่วนในสัตว์ปีกและสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นที่ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ช่องที่มีเซลล์รับเสียงบ่อยครั้งก็เรียกว่า คอเคลีย เหมือนกัน แม้ว่าจะไม่เป็นรูปหอยโข่ง\nแต่จะเป็นท่อตันที่เรียกว่า cochlear duct",
"title": "หูชั้นในรูปหอยโข่ง"
},
{
"docid": "112051#0",
"text": "หอยมือเสือยักษ์ (; , /ไทร-เดก-นา-ไก-เกส/) เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกมอลลัสกา โดยถูกจัดอยู่ในกลุ่มหอยสองฝา (Bivalves หรือ Pelecypods) มีฝาเปลือก 2 ชิ้นประกบติดกันทางด้านล่าง ขอบด้านบนหยักเป็นคลื่น บนเปลือกเป็นแนวสันยาวโค้งจากฐานมาถึงขอบเปลือกข้างละประมาณ 4–5 แนว มีเกล็ดเปลือกเป็นแผ่นบาง ๆ ระบายเป็นชั้น ๆ ขนานกันในแนวขวางโดยรอบเปลือกด้านนอก ฝาทั้งสองด้านของหอยมือเสือยักษ์ ยึดติดกันด้วยเอ็น ฝาด้านบนจะเปิดออกเพื่อรับแสงและจะแผ่ส่วนเนื้อเยื่อที่เรียกว่าแมนเทิล (Mantle) ซึ่งมีสีสันสวยงามออกมา ลวดลายบนแมนเทิลของหอยแต่ละตัวจะไม่เหมือนกัน ส่วนที่เปลือกประกบกันอยู่เป็นบานพับเปลือก ต่อจากบานพับเปลือกออกมาจะมีส่วนที่ลักษณะเป็นช่องสำหรับให้เส้นใยเนื้อ เยื่อที่เรียกว่า บิสซัส (Byssus) ทำหน้าที่เชื่อมยึดตัวหอยให้เกาะติดกับหินหรือวัสดุใต้น้ำ หอยจะมีน้ำหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม กว้าง 120 เซนติเมตร มีชีวิตยืนยาวได้ถึง 100 ปีหรือมากกว่าจัดเป็นหอยสองฝาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ติดอยู่ในอนุสัญญาไซเตส (CITES) ในน่านน้ำไทยไม่พบตัวที่มียังมีชีวิตอยู่ แต่พบเป็นซากฟอสซิล ปัจจุบันยังไม่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในประเทศไทย",
"title": "หอยมือเสือยักษ์"
},
{
"docid": "844976#18",
"text": "สปีชีส์นกโดยมากไม่ได้ยินเสียงสูงกว่า 4-5 kHz โดยนกแสกได้ยินเสียงสูงสุดอยู่ที่ ~11 kHz\nแต่มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมน้ำบางชนิดที่ได้ยินเสียงสูงถึง 200 kHz\nการมีช่องที่ขดเป็นก้นหอย แทนที่จะเป็นช่องตรง ๆ สั้น ๆ ทำให้มีเนื้อที่สำหรับได้ยินเสียงในพิสัยความถี่ที่กว้างกว่า ทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถมีพฤติกรรมบางอย่างโดยเฉพาะเกี่ยวกับการได้ยินเสียง",
"title": "หูชั้นในรูปหอยโข่ง"
},
{
"docid": "844976#17",
"text": "ความแตกต่างเช่นนี้ดูเหมือนจะวิวัฒนาการไปพร้อม ๆ กับความแตกต่างในการได้ยินพิสัยความถี่เสียงในระหว่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น\nคือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีพิสัยความถี่เสียงที่กว้างกว่า โดยส่วนหนึ่งก็เพราะกลไกโดยเฉพาะในการขยายเสียง (pre-amplification) ที่ใช้การสั่นตัวของเซลล์ขนด้านนอก (OHC)\nแต่ความละเอียดของการได้ยินความถี่เสียงไม่ได้ดีกว่าในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเทียบกับสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีกโดยมาก เพียงแต่ว่า ความถี่เสียงสูงสุดที่ได้ยินมักจะสูงกว่า และบางครั้งจะสูงกว่ามาก",
"title": "หูชั้นในรูปหอยโข่ง"
},
{
"docid": "215329#0",
"text": "ก้อย เป็นอาหารท้องถิ่นทางภาคอีสาน คล้ายกับลาบและส้มตำ นิยมปรุงจากเนื้อสัตว์ดิบรวมถึงไข่และตัวอ่อนของแมลงทีกินได้ เช่น เนื้อวัว เนื้อกวาง เนื้อเก้ง เนื้อหมูป่า เนื้อปลา (ตะเพียน หรือ ปลาขาว) กุ้งฝอย หอยเชอรี่ กิ้งก่า ไข่มดแดง ไข่แมงมัน ตัวอ่อนตัวต่อเป็นต้น ไม่นิยมปรุงจากเนื้อสัตว์ปีก เช่น นก เป็ด ไก่ เพราะจะมีกลิ่นคาวและเหม็นสาบรุนแรง",
"title": "ก้อย"
},
{
"docid": "289900#0",
"text": "หอยเป๋าฮื้อ หรือหอยโข่งทะเล สามารถรับประทานได้มีตั้งแต่ขนาดเล็ก จนถึง ขนาดใหญ่ เป็นสัตว์ในวงศ์ Haliotidae มีฝาเดียว",
"title": "หอยเป๋าฮื้อ"
},
{
"docid": "124346#2",
"text": "หมี่กึง เป็นวัตถุดิบประกอบอาหารแทนเนื้อสัตว์อีกหนึ่งชนิด แต่ไม่ถือเป็นโปรตีนเกษตร เนื่องจากส่วนผสมหลักคือแป้งข้าว เช่น ข้าวเหนียว และ ข้าวสาลี ซึ่งให้คาร์โบไฮเดรต รูปร่างมีได้หลายขนาดหลายแบบ ส่วนใหญ่เป็นก้อนแป้งม้วนลักษณะคล้ายโรตี แต่ปัจจุบันมีการผลิตออกในรูปแบบต่างๆเช่น ลูกชิ้น เนื้อปลาเทียม หรืออื่นๆ โดยหมี่กึงจะอยู่ในรูปของอาหารสดเสมอ ไม่นิยมอบแห้ง เนื่องจากรสสัมผัสจะเปลี่ยน",
"title": "เนื้อสัตว์เทียม"
},
{
"docid": "79354#0",
"text": "หอยเชอรี่ หรือ หอยโข่งอเมริกาใต้ หรือ หอยเป๋าฮื้อน้ำจืด (อังกฤษ: Golden applesnail, Channeled applesnail; ชื่อวิทยาศาสตร์: \"Pomacea canaliculata\") เป็นหอยน้ำจืดจำพวกหอยฝาเดียว มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้",
"title": "หอยเชอรี่"
}
] |
1639 | ใครที่รับบทเป็น แฮร์รี่ พอตเตอร์? | [
{
"docid": "21799#0",
"text": "แดเนียล จาคอบ แรดคลิฟฟ์ (English: Daniel Jacob Radcliffe เกิดวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2532)[1] มีชื่อเสียงจากการเป็นนักแสดงในบท แฮร์รี่ พอตเตอร์ ในภาพยนตร์ชุด<i data-parsoid='{\"dsr\":[798,818,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์ เขาเคยแสดงภาพยนตร์ครั้งแรกเมื่ออายุ 10 ขวบในภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง เดวิด คอปเปอร์ฟิลด์ ออกอากาศทางช่องบีบีซีวัน เมื่อปี พ.ศ. 2542 ตามมาด้วยภาพยนตร์เรื่องพยัคฆ์สายลับซ่อนลาย เมื่อปี พ.ศ. 2544 เมื่ออายุ 11 ขวบ เขาได้รับเลือกเป็นแฮร์รี่ พอตเตอร์ ในภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์</i>เรื่องแรก และแสดงบทดังกล่าวเป็นเวลา 10 ปี จนภาพยนตร์เรื่องที่แปดออกฉายในปี พ.ศ. 2554",
"title": "แดเนียล แรดคลิฟฟ์"
}
] | [
{
"docid": "494668#18",
"text": "ฮอร์ครักซ์ () เป็นหนึ่งในวัตถุเวทมนตร์ในวรรณกรรมเยาวชนชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ โดย เจ. เค. โรวลิ่ง หนึ่งในวัตถุศาสตร์มืดที่ถูกสร้างมาเพื่อรักษาความเป็นอมตะของเจ้าของไว้ \nแนวคิดของฮอร์ครักซ์ ปรากฏครั้งแรกในตอน \"แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเจ้าชายเลือดผสม\" \nและการแสวงหาและทำลายฮอร์ครักซ์ของโวลเดอมอร์ก็เป็นประเด็นหลักของเนื้อเรื่องในสองเล่มสุดท้ายของแฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้แก่ \"แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเจ้าชายเลือดผสม\" และ\"แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเครื่องรางยมทูต\"",
"title": "วัตถุเวทมนตร์ในแฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "110806#4",
"text": "ในนวนิยายชุด \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" ข้าราชการส่วนใหญ่ในกระทรวงเวทมนตร์ดูเหมือนจะมาจากการแต่งตั้งมากกว่าการเลือกตั้ง ผู้สำเร็จการศึกษาเวทมนตร์สามารถเข้าทำงานที่กระทรวงได้ทันที แต่ตำแหน่งต่าง ๆ มีกำหนดระดับการศึกษาและผลสอบไว้ต่างกัน อย่างไรก็ดี มีระบุว่า ตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเวทมนตร์เองมาจากการเลือกตั้ง แต่ไม่เคยมีการอธิบายว่า ใครเป็นผู้เลือกตั้งและถอดถอนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเวทมนตร์ ตลอดเรื่อง \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" ทั้งกระทรวงเวทมนตร์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเวทมนตร์ดูจะอ่อนไหวง่ายกับความเห็นของสาธารณชนชาวพ่อมด จึงพยายามควบคุมความคิดเห็นของผู้คนด้วยข่าวหนังสือพิมพ์",
"title": "กระทรวงเวทมนตร์"
},
{
"docid": "10882#11",
"text": "ในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี เขากลายเป็นจุดสนใจของคนรอบข้างอีกครั้ง เมื่อกลายเป็นผู้เข้าแข่งขันในการประลองเวทไตรภาคี ซึ่งทำให้เพื่อนร่วมบ้านกริฟฟินดอร์ต่างยินดี ยกเว้นรอน ผู้รู้สึกว่าเรื่องนี้เหมือนฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้เขาหมดความอดทนด้วยความที่แฮร์รี่เด่นกว่าเขาในทุกๆ ด้าน รวมถึงบ้านอื่นๆ ที่คิดว่าเขาต้องการเรียกร้องความสนใจ โดยเฉพาะบ้านฮัฟเฟิลพัฟที่มีเซดริก ดิกกอรี่ที่เป็นตัวแทนของฮอกวอตส์อีกคนหนึ่ง แฮร์รี่คืนดีกับรอนในเวลาต่อมา เนื่องจากรอนเห็นแล้วว่าการประลองดังกล่าวอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ในขณะเดียวกันแฮร์รี่และเพื่อนก็สงสัยว่าใครเป็นคนหยอดชื่อของเขาลงไปในถ้วยอัคนี แต่หลังจากที่แฮร์รี่เผชิญหน้ากับลอร์ดโวลเดอมอร์ผู้กลับคืนชีพอีกครั้ง เขาจึงทราบว่าเป็นแผนของโวลเดอมอร์นั่นเอง ในการเผชิญหน้าครั้งนี้แฮร์รี่รอดมาได้อย่างหวุดหวิดจากการที่ไม้กายสิทธิ์ของเขามีแกนกลางเป็นขนนกฟินิกซ์เหมือนกับของโวลเดอมอร์ซึ่งทำให้เกิดปรากฏการณ์ประหลาด ไม้ทั้งสองสะท้อนผลของคาถาซึ่งกันและกัน แต่ก็ต้องแลกกับการตายของเซดริกและเกราะคุ้มกันตัวแฮร์รี่ซึ่งถูกทำลายไปโดยเลือดของเขาเอง ความไว้ใจของแฮร์รี่ยังถูกทดสอบอีกครั้งเมื่อรู้ว่าศาสตร์จารย์มู้ดดี้ที่แฮร์รี่นับถือ แท้ที่จริงแล้วเป็นผู้เสพความตายปลอมตัวมาและทำให้แฮร์รี่เกือบตกอยู่ในอันตรายสูงสุด แต่ดัมเบิลดอร์ก็ช่วยเขาไว้ได้อีกครั้ง",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร)"
},
{
"docid": "10882#29",
"text": "ในภาคที่ 7 แฮร์รี่ได้สัญญากับรอนว่าจะเลิกพบจินนี่เพื่อไม่ให้ความหวังแก่เธอ ซึ่งตลอดทั้งเล่ม แฮร์รี่ทำได้แค่เฝ้ามองดูเธอ แต่ในท้ายที่สุดหลังจากโค่นโวลเดอมอร์ลงได้ แฮร์รี่ก็ได้แต่งงานกับเธอ และ 19 ปีต่อมาทั้งสองก็มีลูกด้วยกันสามคนคือ เจมส์ ซีเรียส พอตเตอร์ อัลบัส เซเวอร์รัส พอตเตอร์ และ ลิลี่ ลูน่า พอตเตอร์ ดังนั้นกล่าวได้ในท้ายที่สุดว่าจินนี่เป็นนางเอกเรื่องนี้ (ในทางที่จริงแล้ว..แฮร์รี่ไม่ควรที่จะยุติความสัมพันธ์ระหว่างเขากับจินนี่ เพราะนั่นจะทำให้ทุกคนคิดว่าแฮร์รี่นั้นโหดร้ายและไม่ยอมสละเวลาเพื่อความรัก)",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร)"
},
{
"docid": "198618#15",
"text": "ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสมได้ชื่อว่าเป็นภาพยนตร์ที่ประสบอุปสรรคและปัญหามากที่สุดเพราะเนื่องจากมีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้นเสมอเริ่มตั้งแต่การเสียชีวิตจากการถูกแทงของโรเบิร์ต น็อกซ์นักแสดงผู้รับบทเป็น มาร์คัส เบลบี้ หน้าผับจนเสียชีวิต อีกทั้งยังการปลอมแปลงโปสเตอร์ที่อ้างว่าทางW.B.เป็นผู้ผลิตทำให้บริษัทต้องกำจัดข่าวทั้งหมด การประท้วงนักเขียนที่อเมริกา แดเนียลผู้รับบทเป็นแฮร์รี่เล่นละครเวทีเปลื้องผ้าทำให้เสียความเป็นแฮร์รี่ การเข้าฉายใกล้เคียงกันระหว่างแฮร์รี่ พอตเตอร์ (21 พฤศจิกายน) กับแวมไพร์ ทไวไลท์ (27 พฤศจิกายน) ซึ่งทำให้รายได้อาจถูกทไวไลท์แย่งไปได้เพราะแฮร์รี่เป็นภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ดังนั้นควรเข้าฉายในช่วงที่ไม่มีภาพยนตร์ที่ใหญ่พอจะสู้ ปัญหาเศรษฐกิจ และที่สำคัญที่สุดคือการเลื่อนฉายภาพยนตร์ที่ทาง W.B.กล่าวว่าต้องการให้ภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์อย่างแฮร์รี่เข้าฉายในช่วงหน้าร้อนและไม่อยากเอามาแข่งกับ แบทแมน เดอะ ดาร์ค ไนท์ที่สร้างรายได้ถล่มทลายโดยในครั้งแรกนั้นแฮร์รี่ พอตเตอร์ภาคที่6 มีกำหนดฉายในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2551 แต่ทาง W.B ออกมายืนยันว่าแฮร์รี่ พอตเตอร์ภาคที่ 6 นั้นจะเลื่อนฉายไปในวันที่ 16 กรกฎาคม ปี 2552 และทางประเทศไทยจะฉายในวันที่ 16 กรกฎาคม การเลื่อนฉายนี้ทำให้แฟนๆ ทั่วโลกไม่พอใจ และคาดเดาว่าเหตุใดถึงเลื่อนฉาย โดยมีการคาดเดาว่า แดเนียล แรดคลิฟฟ์พระเอกของภาพยนตร์เรื่องนี้เล่นละครเวทีเปลื้องผ้า แต่ทาง W.B. ยืนยันว่าต้องการฉายในช่วงหน้าร้อนเพราะภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นหนังฟอร์มยักษ์แห่งปีจึงไม่อยากนำมาแข่งกับ แบทแมน เดอะ ดาร์ค ไนท์ ที่สร้างรายได้ถล่มทลายไปไม่นาน แต่การประกาศครั้งนั้นก็ทำให้แฟนๆยิ่งไม่พอใจเข้าไปใหญ่และมีการส่งจดหมายไปด่า W.B.ว่าเห็นแก่เงิน",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "4336#0",
"text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นชุดนวนิยายแฟนตาซีจำนวนเจ็ดเล่ม ประพันธ์โดยนักเขียนชาวอังกฤษ เจ. เค. โรว์ลิง เป็นเรื่องราวการผจญภัยของพ่อมดวัยรุ่น แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเพื่อนสองคน รอน วีสลีย์ และ เฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ ซึ่งทั้งหมดเป็นนักเรียนโรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ โครงเรื่องหลักเกี่ยวกับภารกิจของแฮร์รี่ในการเอาชนะพ่อมดศาสตร์มืดที่ชั่วร้าย ลอร์ดโวลเดอมอร์ ผู้ที่ต้องการจะมีชีวิตอมตะ มีเป้าหมายเพื่อพิชิตมักเกิ้ล หรือประชากรที่ไม่มีอำนาจวิเศษ พิชิตโลกพ่อมดและทำลายทุกคนที่ขัดขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "197283#0",
"text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ () เป็นภาพยนตร์แนวแฟนตาซีออกฉายเมื่อ ค.ศ. 2002 กำกับโดย Chris Columbus และจัดจำหน่ายโย Warner Bros. Pictures ดัดแปลงจากนวนิยายชื่อเดียวกันของ J. K. Rowling ซึ่งเคยตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1998 เป็นภาคต่อของ \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์\" (2001) และเป็นภาพยนตร์ลำดับที่ 2 ในชุดภาพยนตร์\"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" เป็นผลงานการเขียนบทของ Steve Kloves และอำนวยการสร้างโดย David Heyman เล่าเรื่องการผจญภัยของแฮร์รี่ พอตเตอร์ ในปีที่สองของการศึกษาในโรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ ซึ่งทายาทของซัลลาซาร์ สลิธีริน ได้เปิดห้องแห่งความลับ และปลดปล่อยสัตว์ร้ายภายในออกมาทำให้ผู้คนในโรงเรียนกลายเป็นหิน นำแสดงโดย Daniel Radcliffe รับบทแฮร์รี่ พอตเตอร์ Rupert Grint รับบทรอน วีสลีย์ และ Emma Watson รับบทเฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ นอกจากนี้ยังเป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่ Richard Harris มารับบทเป็นศาสตราจารย์อัลบัส ดัมเบิลดอร์ ก่อนที่จะเสียชีวิตในปีเดียวกันกับที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉาย",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "107269#7",
"text": "ในภาคนี้ บรรดานักเรียนฮอกวอตส์ ปี 5 ต้อง สอบ ว.พ.ร.ส. (วิชาพ่อมดระดับสามัญ)นักเรียนทั้งหลายต่างกดดันเป็นที่สุดโดยเฉพาะแฮร์รี่ เมื่อกระทรวงเวทมนตร์เริ่มครอบงำโรงเรียนฮอกวอตส์ ไม่มีใครเชื่อว่า ลอร์ดโวลเดอมอร์ กำลังเข็มแข็งขึ้นเรื่อยมาหลังจากการประลองเวทไตรภาคี สิ้นสุดลง จนสุดท้ายแฮร์รี่ก็ต้องเจ็บปวดอีกครั้งเมื่อพบกับความสูญเสียครั้งสำคัญ(อีกครั้ง) ทางกระทรวงจะทราบความจริง หรือไม่ และความกดดันของโรงเรียนจะเป็นเช่นไร ต้องติดตาม...เดวิด เยตส์ ได้รับเลือกให้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ หลังจากที่ Mike Newell (ผู้กำกับภาพยนตร์\"แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี\"), Jean-Pierre Jeunet, Matthew Vaughn, และ Mira Nair ปฏิเสธที่จะกำกับ เยตส์เชื่อว่าที่เขามีความเหมาะสมจะกำกับภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเพราะทางสตูดิโอเห็นว่าเขาสามารถกำกับภาพยนตร์ที่ \"มีความสุดขั้วและเต็มไปด้วยอารมณ์\" ซึ่งมี \"เบื้องหลังทางการเมือง\" ได้ดี จากผลงานเก่าของเขาคือละครโทรทัศน์เรื่อง \"Sex Traffic\" นอกจากนี้แล้ว Steve Kloves ผู้เขียนบทที่เคยเขียนบทภาพยนตร์\"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" 4 ภาคก่อนหน้านี้ ติดภารกิจ จึงมีการจัดให้ Michael Goldenberg มาเขียนบทแทน",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "4336#9",
"text": "ลำดับเวลาที่ยอมรับกันทั่วไปคือ แฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นเกิดในปี พ.ศ. 2523 และเรื่องราวในหนังสือเล่มแรกเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2534 โดยเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้ทราบลำดับเวลาของนิยายได้ก็คือเหตุการณ์ในเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ บทที่ 8 ซึ่งเรื่องราวหนังสือเล่มที่สองเกิดขึ้นในเวลาหนึ่งปีให้หลังหนังสือเล่มแรก โดยในบทนี้แฮร์รี่ได้เข้าร่วม\"งานเลี้ยงวันตาย ปีที่ห้าร้อย\" ของตัวละครนิกหัวเกือบขาด และมีการระบุปีบนเค้กวันตายว่า \"ตายวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1492\" (พ.ศ. 2035) เมื่อบวกจำนวนปีแล้วจึงทำให้ทราบว่าเรื่องราวในภาคนี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2535[13] ซึ่งก็หมายความว่าเรื่องของหนังสือเล่มแรกนั้นเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2534 อย่างแน่นอน",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "176513#3",
"text": "ต่อจากนั้นเขาก็มีผลงานภาพยนตร์เรื่อยๆ อย่างเรื่อง \"Sweet November\" (2001), \"Black Hawk Down\" (2001), \"Windtaklers\" (2002) และ \"The Tuxedo\" (2002) และเรื่อง \"แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับ\" (2002) \"แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับนักโทษแห่งอัซคาบัน)\" (2004) \"แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี\" (2005) \"แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับภาคีนกฟีนิกซ์\" (2007) ในบทลูเซียส มัลฟอย และยังร่วมแสดงกับ ฌอน คอนเนอรี่ ใน \"The League of Extraordinary Gentlemen\" และรับบทเป็น กัปตันฮุ๊ค/มิสเตอร์ดาร์ลิ่ง ใน \"Peter Pan\"",
"title": "เจสัน ไอแซ็กส์"
},
{
"docid": "113433#4",
"text": "เขาพบกับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ครั้งแรก ตอนที่เขาไปร้านเสื้อผ้าของมาดามมัลกิ้นส์ที่ตรอกไดแอกอน โดยตอนนั้นเขายังดูอีกฝ่ายไม่ออกว่าคือใคร โดยเขาถามอีกฝ่ายว่า \"พ่อแม่เขาเป็น พวกของเรา (สายเลือดบริสุทธิ์) หรือไม่\" และเขายังบอกอีกว่า คนที่มาจากครอบครัวมักเกิ้ล (พวกไร้เวทมนตร์) นั้นไม่ควรมาเรียนที่ ฮอกวอตส์ ด้วย ก่อนจะจากไปโดยไม่มีการแนะนำตัวกันเลย และเขาพบอีกครั้งก่อนบนรถไฟด่วนฮอกวอตส์และถูกแฮร์รี่ปฏิเสธมิตรภาพของเขา หลังจากที่เขาว่าร้าย รอน วีสลีย์ (คนที่ได้ชื่อว่า เป็นเพื่อนคนแรกของแฮร์รี่ พอตเตอร์)",
"title": "เดรโก มัลฟอย"
},
{
"docid": "10882#0",
"text": "แฮร์รี่ เจมส์ พอตเตอร์</b>เกิดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 (วันเดือนเดียวกับผู้แต่ง เจ. เค. โรว์ลิ่ง ได้เขียนให้แฮร์รี่เกิดวันเดียวกันกับเธอแต่คนละปี) เป็นลูกชายคนเดียวของเจมส์ พอตเตอร์และลิลี่ พอตเตอร์ เป็นตัวละครเอกในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร)"
},
{
"docid": "4336#62",
"text": "โรว์ลิ่งได้เปิดเผยข้อมูลผ่านทวิตเตอร์ในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ซึ่งตรงกับวันครบรอบการวางแผงหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์เล่มแรกว่าละครเวทีแฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นจะใช้ชื่อการแสดงว่า \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเด็กต้องคำสาป\"[130] โดยคาดการณ์ว่าจะเริ่มเปิดการแสดงในช่วงฤดูร้อนของปี พ.ศ. 2559 ที่โรงละครพาเลซเธียเตอร์[131] ซึ่งบัตรเข้าชมในช่วงสี่เดือนแรกหรือช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนถูกขายหมดในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังเปิดจำหน่าย[132] ภายหลังในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ได้มีการเปิดเผยผ่านเว็บไซต์พอตเตอร์มอร์ว่าบทละครจะถูกตีพิมพ์จำหน่ายในรูปแบบหนังสือหนึ่งวันหลังรอบปฐมทัศน์โลกของละครเวที และเหตุการณ์ในเรื่องจะเกิดขึ้นสิบเก้าปีให้หลังจากบทจบของแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต โดยบางกลุ่มได้จัดบทละครที่จะถูกตีพิมพ์นี้เป็นหนังสือเล่มที่แปด แม้จะไม่ได้ถูกเขียนโดยเจ. เค. โรว์ลิ่งที่ก็ตาม[133]",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "144418#0",
"text": "รูเพิร์ต อเล็กซานเดอร์ ลอยด์ กรินต์ ( เกิดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2531) เป็นนักแสดงชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงจากบทรอน วีสลีย์ หนึ่งในตัวละครหลักจากภาพยนตร์ชุด\"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" กรินต์ได้รับเลือกให้เล่นบทรอน วีสลีย์เมื่ออายุ 11 ขวบ โดยก่อนหน้านั้นเขาเคยแสดงละครเวทีในโรงเรียนและในชมรมละครเวทีท้องถิ่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2554 เขาแสดงในภาพยนตร์\"แฮร์รี่ พอตเตอร์\"ทั้งแปดภาคร่วมกับแดเนียล แรดคลิฟฟ์ รับบทแฮร์รี่ พอตเตอร์ และเอ็มมา วอตสัน รับบท เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์",
"title": "รูเพิร์ต กรินต์"
},
{
"docid": "17410#0",
"text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี คือหนังสือเล่มที่สี่ในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง และแปลโดยงามพรรณ เวชชาชีวะจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ตีพิมพ์และวางจำหน่ายเป็นฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 และเป็นฉบับภาษาไทยในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2544 วรรณกรรมชุดนี้ถือว่ายาวมากอย่างไม่น่าจะมีใครทำมาก่อน โดยในฉบับภาษาไทยมีความยาวทั้งหมดถึง 832 หน้า (ฉบับบลูมส์บูรี่มีความยาวทั้งหมด 636 หน้า) หนังสือเล่มนี้สร้างสถิติโดยเป็นหนังสือเล่มแรกที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนมากกว่าชิ้นงานวรรณกรรมเยาวชนอื่นๆ มีเพียงหนังสือเล่มต่อๆ มาในชุดเดียวกันนี้เท่านั้นที่สามารถลบสถิตินี้ได้ นั่นคือแฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์และแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม โดยเฉพาะจากการที่ เจ. เค. โรว์ลิ่งออกมาเตือนผู้อ่านก่อนหนังสือจะตีพิมพ์ว่าจะมีตัวละครเสียชีวิตในเล่มนี้ ซึ่งสร้างกระแสของการคาดการณ์ว่าตัวละครใดจะเสียชีวิต และสร้างปรากฏการณ์ 'คลั่งแฮร์รี่ พอตเตอร์' ทั่วโลก",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี"
},
{
"docid": "685605#0",
"text": "เซอร์ ไมเคิล จอห์น แกมบอน () เกิดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 1940 เป็นนักแสดงชาวอังกฤษ เขามีเสียงจากการรับบทเป็น ศาสตราจารย์ อัลบัส ดัมเบิลดอร์ หนึ่งในตัวละครของภาพยนตร์ \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" หลังจากการเสียชีวิตของนักแสดง ริชาร์ด แฮร์ริส เขาจึงมารับบทแทนตั้งแต่ \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน\" จนถึง \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2\"",
"title": "ไมเคิล แกมบอน"
},
{
"docid": "10882#4",
"text": "เจมส์และลิลี่ พอตเตอร์ พ่อแม่ของแฮร์รี่ถูกสังหารโดยโวลเดอมอร์ใน 31 ตุลาคม พ.ศ. 2524(วันฮาโลวีน) (ค.ศ. 1981) ขณะที่พยายามปกป้องลูกชาย แฮร์รี่จากโวลเดอมอร์ เจมส์ถูกสังหารก่อน ตามด้วยลิลี่ ผู้ปกป้องลูกด้วยการนำตัวเข้าไปขวางคำสาปพิฆาตจากโวลเดอมอร์ขณะพยายามฆ่าแฮร์รี่ การกระทำดังกล่าวทำให้เกิดพันธะปกป้องลึกลับซึ่งเกิดขึ้นจากความรักของแม่ และทำให้คำสาปพิฆาต \"อะวาดา เคดาฟ-รา\" ซึ่งโวลเดอมอร์เป็นผู้สาปมีผลสะท้อนกลับมายังตัวของเขาเอง ทำให้เขาบาดเจ็บสาหัส และสูญเสียพลังทั้งหมดที่เคยมี ในหนังสือเล่มที่สอง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ แฮร์รี่บอกกับโวลเดอมอร์ว่า \"ไม่มีใครรู้ว่าทำไมคุณถึงสูญเสียพลังอำนาจของคุณไปเมื่อคุณทำร้ายผม ผมไม่รู้ด้วยซ้ำไป แต่ผมรู้ว่าทำไมคุณฆ่าผมไม่ได้...\" เมื่อโวลเดอมอร์ไร้พลังอำนาจ จึงจำเป็นต้องหลบซ่อนตัว ในขณะที่แฮร์รี่กลายเป็นผู้โด่งดังและเป็นที่รู้จักในโลกผู้วิเศษว่าเป็น \"เด็กชายผู้รอดชีวิต\" มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นแผลเป็นรูปสายฟ้าตรงกลางหน้าผากซึ่งเกิดจากคำสาปของโวลเดอมอร์",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร)"
},
{
"docid": "38960#74",
"text": "สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ (หนังสือเล่มเสริมจากชุด<i data-parsoid='{\"dsr\":[99216,99236,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์) (1 มีนาคม ค.ศ. 2001) ควิดดิชในยุคต่างๆ (หนังสือเล่มเสริมจากชุด<i data-parsoid='{\"dsr\":[99306,99326,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์) (1 มีนาคม ค.ศ. 2001) นิทานของบีเดิลยอดกวี (หนังสือเล่มเสริมจากชุด<i data-parsoid='{\"dsr\":[99399,99419,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์) (4 ธันวาคม ค.ศ. 2008) Short Stories from Hogwarts of Power, Politics and Pesky Poltergeists (6 กันยายน ค.ศ. 2016) Short Stories from Hogwarts of Heroism, Hardship and Dangerous Hobbies (6 กันยายน ค.ศ. 2016) Hogwarts: An Incomplete and Unreliable Guide (6 กันยายน ค.ศ. 2016) บทภาพยนตร์สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ (19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016)",
"title": "เจ. เค. โรว์ลิง"
},
{
"docid": "19885#2",
"text": "เริ่มเมื่อวันหนึ่งพ่อเลียง (เตอร์ เหลียง) เห็นโฆษณาทางโทรทัศน์ช่องภาษาจีน ประกาศหาสาวน้อยเอเชียรับบท โชแชง ในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี (Harry Potter and the Goblet of Fire) จึงสนับสนุนให้ลูกสาวไปเทสต์หน้ากล้องที่กรุงลอนดอน ลูกสาว (เคที เหลียง) ก็ว่าง่ายเพราะอยากไปช็อปปิ้งในเมืองหลวงอังกฤษ เหลียง (เคที เหลียง) รอ 4 ชั่วโมง เพื่อเข้าไปสัมภาษณ์เพียง 5 นาที และที่สุดเธอได้รับบท โช แชง ในภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน ด้วยเหตุผลพูดภาษาอังกฤษสำเนียงสกอตได้ดีมาก และนั้นทำให้มีผลงานในบทของโช แชง ในหนังภาคต่ออย่างแฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี (พ.ศ. 2547) และ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ (พ.ศ. 2550), แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม (พ.ศ. 2552) และต่อมา เคที เหลียงได้มีผลงานด้านละครและภาพยนตร์ตามาอีกหลายเรื่องได้แก่ Run ในบท Nu-Ying (พ.ศ. 2556), Father Brown ในบท Jia-Li Gerard และ One Child ในบท Mei Ashley (พ.ศ. 2557) เป็นต้น",
"title": "เคที เหลียง"
},
{
"docid": "4336#10",
"text": "นวนิยายเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นรอบตัวแฮร์รี่ พอตเตอร์ เด็กกำพร้าผู้พบว่าตนเองเป็นพ่อมดเมื่ออายุได้สิบเอ็ดปี อาศัยอยู่ในโลกแห่งผู้ไม่มีอำนาจวิเศษหรือมักเกิล ซึ่งถือเป็นประชากรปกติ[14] ความสามารถของเขานั้นมีมาโดยกำเนิดและเด็กจำพวกนี้จึงได้รับเชิญให้เข้าศึกษาในโรงเรียนซึ่งสอนทักษะที่จำเป็นแก่การประสบความสำเร็จในโลกพ่อมด[15] แฮร์รี่กลายมาเป็นนักเรียนที่โรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ และเรื่องราวส่วนใหญ่ในนวนิยายเกิดขึ้น ณ สถานที่แห่งนี้ เมื่อแฮร์รี่เติบโตขึ้นผ่านช่วงวัยรุ่น เขาเรียนรู้ที่จะก้าวข้ามปัญหาที่เผชิญกับเขา ทั้งทางเวทมนตร์ สังคมและอารมณ์ รวมทั้งความท้าทายอย่างวัยรุ่นทั่วไป เช่น มิตรภาพและการสอบ ตลอดจนบททดสอบอันยิ่งใหญ่กว่าที่เตรียมพร้อมเขาสำหรับการเผชิญหน้าที่คอยอยู่เบื้องหน้า[16]",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "4336#54",
"text": "ในปี พ.ศ. 2542 เจ. เค. โรว์ลิง ขายสิทธิ์การสร้างภาพยนตร์จากหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์สี่เล่มแรกให้กับวอร์เนอร์บราเธอร์ส ในราคาหนึ่งล้านปอนด์สเตอร์ลิง[112] โรว์ลิงยืนยันให้นักแสดงหลักเป็นชาวสหราชอาณาจักร รวมถึงต้องใช้ภาษาอังกฤษบริเตนในบทสนทนา ภาพยนตร์สองภาคแรกกำกับโดยคริส โคลัมบัส ภาคที่สามโดยอัลฟอนโซ กวารอน ภาคที่สี่โดยไมค์ นิวเวลล์ และภาคที่ห้าถึงภาคสุดท้ายโดยเดวิด เยตส์[113] บทภาพยนตร์ของสี่ภาคแรกเขียนโดยสตีฟ โคลฟ โดยร่วมงานกับโรว์ลิง บทภาพยนตร์มีความเปลี่ยนแปลงจากหนังสือบ้างตามรูปแบบการนำเสนอของภาพยนตร์และเงื่อนไขเวลา อย่างไรก็ตาม โรว์ลิงได้กล่าวว่าบทภาพยนตร์ของโคลฟนั้นมีความซื่อตรงต่อหนังสือ[114] ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ทุกภาค มีนักแสดงหลักคือแดเนียล แรดคลิฟฟ์ เอ็มม่า วัตสันและรูเพิร์ท กรินท์ แสดงเป็นแฮร์รี่ พอตเตอร์ เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ และรอน วีสลีย์ตามลำดับ โดยสามคนนี้ได้รับเลือกในปี พ.ศ. 2543 จากเด็กหลายพันคน[115]",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "222054#0",
"text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1 () เป็นภาพยนตร์แฟนตาซี-ผจญภัยภาคต่อที่ดัดแปลงจากบทประพันธ์ของเจ. เค. โรว์ลิ่ง ซึ่งดัดแปลงมาจากนิยายเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ตอนที่ 7 ในชื่อ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ แต่เนื่องจากในภาคสุดท้ายนั้นมีรายละเอียดมากและทางผู้สร้างต้องการให้หนังจบลงอย่างสมบูรณ์แบบ จึงแบ่งออกเป็น 2 ตอนคือ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูตตอนที่ 1 และตอนที่ 2 สำหรับตอนที่ 1 เริ่มถ่ายทำเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 และจะเข้าฉายในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ตอนที่ 2 จะเข้าฉายในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ภาพยนตร์มีนักแสดงนำได้แก่ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ รูเพิร์ท กรินท์ และเอ็มม่า วัตสัน กำกับการแสดงโดย เดวิด เยตส์ เขียนบทโดยสตีฟ โคลฟ อำนวยการสร้างโดย เดวิด เฮย์แมน และเดวิด แบร์รอน",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1"
},
{
"docid": "231183#35",
"text": "วิลเลี่ยมส์ได้กลับมาร่วมงานกับโคลัมบัสอีกครั้ง ในปี ค.ศ.2001 ในผลงานภาพยนตร์ของ Warner Bros. เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์ (Harry Potter and the Sorcerer's Stone) ที่ดัดแปลงมาจากนิยายอังกฤษชื่อดังที่ประพันธ์โดย เจ.เค. โรว์ลิง (J.K. Rowling) วิลเลี่ยมส์ทำดนตรีในภาคต่ออีกสองภาค คือ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับ (Harry Potter and the Chamber of Secrets) ใน ค.ศ.2002 กับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับนักโทษแห่งอัซคาบัน (Harry Potter and the Prisoner of Azkaban) ใน ค.ศ.2004 ในปี ค.ศ.2005 วิลเลี่ยมส์จำเป็นต้องปฏิเสธที่จะทำดนตรีประกอบให้กับภาคต่อของแฮร์รี่ พอตเตอร์ เนื่องจากวิลเลี่ยมส์ กำลังทำดนตรีประกอบให้กับหนังเรื่องอื่นอยู่ ซึ่งในปีนั้นเอง วิลเลี่ยมส์มีงานทำดนตรีให้กับภาพยนตร์ถึง 4 เรื่อง (ขณะนั้นวิลเลี่ยมส์อายุ 73 ปี) ตั้งแต่ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ภาคที่ 4 แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี (Harry Potter and the Goblet of Fire) เป็นต้นมา จนถึงภาคสุดท้ายในปี ค.ศ.2011 วิลเลี่ยมส์ก็ไม่ได้กลับมาทำดนตรีประกอบให้อีกเลย แต่เพลง Hedwig's theme ที่วิลเลี่ยมส์ประพันธ์ขึ้น ก็ได้ถูกใช้เป็นเพลงธีมหลักในทุกภาคของแฮร์รี่ พอตเตอร์",
"title": "จอห์น วิลเลียมส์"
},
{
"docid": "209021#3",
"text": "Warner Bros. ผู้ผลิตภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ และเป็นผู้ถือเครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับสื่อแฮร์รี่ พอตเตอร์ รูปแบบดีวีดีของภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ในตอน \"ห้องแห่งความลับ\" \"นักโทษแห่งอัซคาบัน\" และ \"ถ้วยอัคนี\" ก็ปรากฏลำดับเวลาด้วยเช่นกัน Warner Bros. ซึ่งเดิมพัฒนาลำดับเวลาดังกล่าวโดยเป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ\" ในปี ค.ศ. 2002 โรวลิ่งได้ทบทวนและปรับปรุงแก้ไขหลายครั้งจนกระทั่งเธอเห็นควรให้ใช้เป็นลำดับเวลา \"อย่างเป็นทางการ\"",
"title": "ลำดับเวลาในแฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "137619#8",
"text": "ด้วยภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี ทำให้ทั้งวอตสันและภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ มาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญครั้งใหม่ ภาพยนตร์ทำสถิติสำหรับสัปดาห์ออกฉายสัปดาห์แรกของภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นภาพยนตร์ไม่ได้เริ่มฉายในสหรัฐอเมริกาในวันสุดสัปดาห์ของเดือนพฤษภาคม และเป็นภาพยนตร์ที่ฉายสัปดาห์แรกในสุดสัปดาห์ในสหราชอาณาจักร นักวิจารณ์ชื่นชมการเติบโตของวอตสันและการแสดงวัยรุ่นของเธอ หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ชมการแสดงของเธอว่า \"เอาจริงเอาจังอย่างน่าประทับใจ\"[35] สำหรับวอตสัน เรื่องขบขันในภาพยนตร์ส่วนมากเกิดจากความเครียดในหมู่ตัวละครหลักสามคนขณะที่พวกเขากำลังเติบโต เธอกล่าวว่า \"ฉันชอบทุกตอนที่เราทะเลาะกัน ฉันคิดว่ามันเหมือนจริงมากที่พวกเขาทะเลาะกันและที่จะมีปัญหามากมาย\"[36] หลังจากภาพยนตร์เรื่องถ้วยอัคนีได้เข้าชิงสามรางวัล วอตสันชนะรางวัลออตโตเหรียญทองแดง[37][38] ต่อมาในปีนั้น วอตสันกลายเป็นคนที่อายุน้อยที่สุดบนปกนิตยสารทีนโว้ก[39] เมื่อเธอปรากฏตัวอีกครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552[40] ในปี พ.ศ. 2549 วอตสันรับบทเฮอร์ไมโอนี่ในละคร<i data-parsoid='{\"dsr\":[17690,17712,2,2]}'>เดอะควีนส์แฮนด์แบก ตอนพิเศษของแฮร์รี่ พอตเตอร์เพื่อธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษาของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร[41]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "10882#20",
"text": "อย่างไรก็ตาม ข้อเสียในตัวแฮร์รี่ก็มีอยู่หลายประการ เขาโมโหง่ายถ้าพ่อแม่หรือใครก็ตามที่เขาห่วงใยถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือเมื่อไรก็ตามที่มีคนไม่เชื่อถือคำพูดของเขา และเขาก็เหมือนรอนที่เรียนไม่ค่อยเก่งนักในหลายๆ วิชา ในเล่มที่ห้า (ภาคีนกฟีนิกซ์)แฮร์รี่มีอารมณ์โมโหร้ายมากขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการที่สังคมผู้วิเศษเกือบทั้งหมดเชื่อว่าเขาเป็นคนโกหกที่ต้องการเรียกร้องความสนใจ ผนวกกับการเติบโตเป็นวัยรุ่นซึ่งเป็นพัฒนาการทางอารมณ์อย่างหนึ่ง ในบางครั้ง เขาถึงกับโมโหใส่รอนและเฮอร์ไมโอนี่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเวลาที่ทั้งสองคนนั้นทะเลาะกัน อารมณ์โกรธดังกล่าวสามารถยกตัวอย่างได้เช่น ตอนที่รอนทะเลาะกับแฮร์รี่ และแฮร์รี่ไม่ยอมคืนดีเพราะรอนไม่เชื่อว่าเขาไม่ได้หย่อนชื่อตัวเองลงไปในถ้วยอัคนี ในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนีเป็นต้น",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร)"
},
{
"docid": "38960#20",
"text": "ชื่อของหนังสือเล่มที่เจ็ดซึ่งเป็นภาคสุดท้ายของหนังสือชุด<i data-parsoid='{\"dsr\":[33301,33321,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์</i>ได้รับการประกาศในวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2006 โดยใช้ชื่อว่าแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต (The Deathly Hallows) [75] และในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 มีการประกาศว่าโรว์ลิงได้เขียนข้อความลงบนรูปปั้นครึ่งตัวในห้องพักของเธอที่โรงแรมบัลโมรัล เมืองเอดินบะระ ว่าเธอได้เขียนแฮร์รี่ พอตเตอร์เล่มที่เจ็ดเสร็จในห้องนี้เมื่อวันที่ 11 มกราคม ปี 2007[76] แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต</i>วางจำหน่ายในวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 (เวลาเที่ยงคืนหนึ่งนาที)[77] และทำลายสถิติหนังสือที่ขายได้ไวที่สุดตลอดกาลที่ภาคก่อนเคยทำได้สำเร็จ[78] สามารถขายได้ถึง 11 ล้านเล่มในการวางขายวันแรกที่สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา[78] และบทสุดท้ายของหนังสือก็เป็นหนึ่งในบทที่เธอเขียนไว้ตั้งแต่ช่วงปี 1990 แล้ว[79]",
"title": "เจ. เค. โรว์ลิง"
},
{
"docid": "4336#3",
"text": "หนังสือทั้งเจ็ดเล่มถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์โดยวอร์เนอร์บราเธอร์สจำนวนแปดภาค โดยเนื้อเรื่องในหนังสือเล่มที่เจ็ด ผู้สร้างได้แบ่งออกเป็นสองตอน ภาพยนตร์ชุด<i data-parsoid='{\"dsr\":[5767,5787,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นชุดภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล นอกจากนี้ ยังได้มีการผลิตสินค้าควบคู่กันอีกจำนวนมาก ซึ่งทำให้ชื่อยี่ห้อแฮร์รี่ พอตเตอร์มีมูลค่ามากกว่า 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 เนื้อหาที่ไม่ได้เปิดเผยในหนังสือได้เริ่มเผยแพร่ในรูปแบบอีบุ๊กผ่าน \"พอตเตอร์มอร์\"[11] ได้มีการต่อยอดความสำเร็จของแฮร์รี่ พอตเตอร์ไปในหลายรูปแบบ อาทิเช่น สวนสนุกโลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์, สตูดิโอทัวร์ในลอนดอน, ภาพยนตร์ภาคแยกซึ่งดัดแปลงมาจากเนื้อหาของหนังสือสัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ และภายหลังได้มีการดัดแปลงแฮร์รี่ พอตเตอร์สู่รูปแบบละครเวที ใช้ชื่อว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเด็กต้องคำสาป เปิดการแสดงในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ที่โรงละครพาเลซเธียเตอร์ เมืองลอนดอน โดยบทละครเวทียังได้ถูกพิมพ์จำหน่ายโดยสำนักพิมพ์ลิตเติ้ลบราวน์ ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์เดียวกันที่ตีพิมพ์นิยายผู้ใหญ่ของโรว์ลิ่งภายใต้ชื่อ โรเบิร์ต กัลเบรธอีกด้วย[12]",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "197313#0",
"text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน () ภาพยนตร์ลำดับที่ 3 โดยวอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส จากวรรณกรรมเยาวชน แฮร์รี่ พอตเตอร์ และ คริส โคลัมบัส ผู้กำกับภาคที่ 1 และ 2 กับเดวิด เฮย์แมนเป็นผู้เขียนบทภาพยนตร์ จากนิยายโดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง นำแสดงโดย แดเนียล แรดคลิฟฟ์, รูเพิร์ท กรินท์, เอ็มม่า วัตสัน,ไมเคิล แกรมบอลล์ ที่มารับตำแหน่งดัมเบิลดอร์แทนคนก่อนเนื่องจาก คนรับตำแหน่งดัมเบิลดอร์คนก่อนเสียชีวิต ",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน (ภาพยนตร์)"
}
] |
3030 | มหาภารตะ เขียนโดยใคร ? | [
{
"docid": "31531#1",
"text": "ตามตำนานกล่าวว่าผู้แต่งมหากาพย์เรื่องนี้คือ ฤๅษีกฤษณไทวปายน หรือฤๅษีวยาส เชื่อกันว่าแต่งไว้ราว 800-900 ปีก่อนคริสต์ศักราช นับเป็นมหากาพย์ที่ยาวที่สุดในโลก ด้วยมีจำนวนคำ 1.8 ล้านคำ นับว่ายาวกว่ามหากาพย์อีเลียด หรือมหากาพย์โอดิสซี ของกรีกโบราณ มีเนื้อหาซับซ้อน เล่าเรื่องอันยืดยาวที่เกี่ยวข้องกับเทพปกรณัม การสงคราม และหลักปรัชญาของอินเดีย ทั้งนี้ยังมีเรื่องย่อย ๆ แทรกอยู่มากมาย ซี่งหลายเรื่องก็เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในเมืองไทย เช่น ภควัทคีตา ศกุนตลา สาวิตรี พระนล กฤษณาสอนน้อง อนิรุทธ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ยังถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของศาสนาฮินดูด้วย นอกจากนี้ มหาภารตะนี้ยังสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ศาสนา การเมือง ศิลปะหลายแขนง ประวัติความเป็นมาของวงศ์ตระกูลต่าง ๆ ในเรื่อง และธรรมเนียมประเพณีการรบการสงครามของอินเดียยุคโบราณด้วย",
"title": "มหาภารตะ"
}
] | [
{
"docid": "964903#0",
"text": "มหาภารตะ () เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่กล่าวถึงสงครามมหาภารตะ ระหว่างราชวงศ์เการพ กับราชวงศ์ปาณฑพ กำกับโดย อมาน ข่าน มีเค้าโครงเรื่องมาจาก วรรณกรรมภาษาสันสกฤตเรื่อง มหาภารตะ ให้เสียงพากย์โดยนักแสดงชั้นนำของอินเดียมากมาย อาทิ อมิตาภ พัจจัน, อชัย เทวคัน, วิทยา พาลัน, ซันนี่ ดอล, อนิล คาปัวร์, แจ็กกี ชรอฟฟ์, มาโนช บัจพายี, ธิบดี พาวัล ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกจำหน่ายในช่วงเทศกาลคริสมาสต์ ตรงกับวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 2013 ภาพยนตร์เรื่องนี้ถือว่าลงทุนสร้างสูงที่สุดในวงการภาพยนตร์แอนิเมชันของประเทศอินเดีย",
"title": "มหาภารตะ (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2556)"
},
{
"docid": "867575#1",
"text": "มหาภารตะ กล่าวถึงสงครามระหว่าง ตระกูลปาณฑพ ซึ่งประกอบไปด้วยพี่น้อง 5 คน พร้อมด้วยพระนางเทราปตี ชายาของพี่น้องทั้งห้า และตระกูลเการพ ซึ่งมีพี่น้องร้อยคน สงครามครั้งยิ่งใหญ่นี้เกิดขึ้นจากความละโมบของกษัตริย์ตระกูลเการพ ที่คิดจะยึดครองดินแดนไว้แต่เพียงฝ่ายเดียว จึงออกอุบายหลอก ยุธิษฐิระ พี่ใหญ่แห่งตระกูลปาณฑพ ผู้ซึ่งหลงใหลในการพนัน ด้วยเกมทอยลูกเต๋าจนเสียพนันทรัพย์สมบัติและดินแดนทั้งหมดที่มีอยู่ รวมถึงการถูกเนรเทศให้ไปอาศัยอยู่ในป่าห่างไกลจากบ้านเกิดเมืองนอนเป็นเวลา 30 ปี โดยตระกูลเการพสัญญาว่าจะคืนดินแดนให้เมื่อครบกำหนด แต่เมื่อถึงเวลา 13 ปีทางตระกูลเการพกลับผิดสัญญา จึงทำให้เกิดสงครามครั้งยิ่งใหญ่ระหว่างฝ่ายธรรมะกับฝ่ายอธรรม และเมื่อสงครามสิ้นสุดลง เส้นแบ่งระหว่างความดีกับความชั่วกลับเลือนหายไป คนดีก็ไม่ได้ดีไปหมดทุกอย่าง ส่วนคนชั่วก็ไม่ได้ชั่วไปหมดทุกอย่าง เป็นเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น? พบกับคำตอบได้ในละครเรื่อง \"มหาภารตะ\"",
"title": "มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)"
},
{
"docid": "964903#1",
"text": "มหาภารตะ กล่าวถึงสงครามระหว่าง ตระกูลปาณฑพ ซึ่งประกอบไปด้วยพี่น้อง 5 คน พร้อมด้วยพระนางเทราปตี ชายาของพี่น้องทั้งห้า และตระกูลเการพ ซึ่งมีพี่น้องร้อยคน สงครามครั้งยิ่งใหญ่นี้เกิดขึ้นจากความละโมบของกษัตริย์ตระกูลเการพ ที่คิดจะยึดครองดินแดนไว้แต่เพียงฝ่ายเดียว จึงออกอุบายหลอก ยุธิษฐิระ พี่ใหญ่แห่งตระกูลปาณฑพ ผู้ซึ่งหลงใหลในการพนัน ด้วยเกมทอยลูกเต๋าจนเสียพนันทรัพย์สมบัติและดินแดนทั้งหมดที่มีอยู่ รวมถึงการถูกเนรเทศให้ไปอาศัยอยู่ในป่าห่างไกลจากบ้านเกิดเมืองนอนเป็นเวลา 30 ปี โดยตระกูลเการพสัญญาว่าจะคืนดินแดนให้เมื่อครบกำหนด แต่เมื่อถึงเวลา 13 ปีทางตระกูลเการพกลับผิดสัญญา จึงทำให้เกิดสงครามครั้งยิ่งใหญ่ระหว่างฝ่ายธรรมะกับฝ่ายอธรรม และเมื่อสงครามสิ้นสุดลง เส้นแบ่งระหว่างความดีกับความชั่วกลับเลือนหายไป คนดีก็ไม่ได้ดีไปหมดทุกอย่าง ส่วนคนชั่วก็ไม่ได้ชั่วไปหมดทุกอย่าง เป็นเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น? พบกับคำตอบได้ในละครเรื่อง \"มหาภารตะ\"",
"title": "มหาภารตะ (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2556)"
},
{
"docid": "867575#0",
"text": "มหาภารตะ () เป็นละครโทรทัศน์ที่กล่าวถึงสงครามมหาภารตะ ระหว่างราชวงศ์เการพ กับราชวงศ์ปาณฑพ ละครเรื่องสร้างขึ้นโดยรีเมคจากละครเรื่อง มหาภารตะ ที่ออกอากาศในปี พ.ศ. 2531 นำแสดงโดย ซอรับห์ ราจ เจน, ชาเฮียร์ ชีคห์, พูจา ชาร์มา, อฮัม ชาร์มา ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5เป็นตอนแรกในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558",
"title": "มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)"
},
{
"docid": "344389#0",
"text": "มหาภารตะ (เทวนาครี:महाभारत (टीवी धारावाहिक) อังกฤษ: Mahabharat) เป็นละครอินเดียที่เคยมาฉายที่ ช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2533 เป็นการเล่าของมหาภารตะ ทั้งแต่ต้นเรื่อง จนถึงจบเรื่อง และ กล่าวถึง ภควัทคีตา ที่ พระกฤษณะ แสดงให้กับ อรชุน ให้ สนามรบ ตอน สงครามทุ่งกุรุเกษตร ละครอินเดียนี้ นำแสดงโดย นิทิช ภารทวาช",
"title": "มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2531)"
},
{
"docid": "31531#2",
"text": "มหาภารตะ เป็นเรื่องราวความขัดแย้งของพี่น้องสองตระกูล ระหว่าง ตระกูลเการพ และตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็สืบเชื้อสายมาจากท้าวภรต แห่ง กรุงหัสตินาปุระ จนบานปลายไปสู่มหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ซึ่งมีพันธมิตรของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่านี่คือการต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายธรรมะและฝ่ายอธรรม ความดีและความชั่ว ซึ่งในที่สุดแล้ว ฝ่ายปาณฑพก็เป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้",
"title": "มหาภารตะ"
},
{
"docid": "892749#0",
"text": "ศรัทธาไม่เงียบ เป็นภาพยนตร์ดราม่าประวัติศาสตร์ย้อนยุคที่ออกฉายเมื่อปี 2016 ซึ่งกำกับโดยมาร์ติน สกอร์เซซี และเขียนบทร่วมกันโดย เจย์ ค็อกส์และสกอร์เซซี ดัดแปลงจากนวนิยายปี 1966 เรื่อง \"Silence\" เขียนโดย ชูซากุ เอ็นโด มีฉากเป็นเมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ถ่ายทำในไต้หวันและไทเป นำแสดงโดย แอนดรูว์ การ์ฟิลด์, อดัม ไดรฟ์เวอร์, เลียม นีสัน, ทาดาโนบุ อาซาโนะ และเคียรัน ไฮนส์ เล่าเรื่องของนักบวชเยสุอิตสองคนที่เดินทางจากโปรตุเกสไปยังประเทศญี่ปุ่นยุคเอโดะ เพื่อตามหาบาทหลวง Cristóvão Ferreira ผู้เป็นอาจารย์ที่หายสาบสูญไป และเพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาหลังจากกบฎชิมาบาระ (1637-1638) ที่มีต่อรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ ทำให้มีการห้ามประชาชนชาวญี่ปุ่นนับถือศาสนาคริสต์ ทำให้ประชาชนเหล่านี้ต้องหลบซ่อนตัวจากเจ้าหน้าที่ทางการ",
"title": "ศรัทธาไม่เงียบ"
},
{
"docid": "344468#0",
"text": "นิตีศ ภารทวาช () เป็นนักแสดงละครทางโทรทัศน์ของอินเดีย ละครเด่น ๆ ของเขา คือ มหาภารตะ และ พระมหาวิษณุ ผู้หยั่งรู้ ซึ่งบทบาทการแสดงที่ทำให้เขาภูมิใจและมีชื่อเสียงจนทุกคนจำเขาได้จนถึงทุกวันนี้ก็คือ บทบาทที่เขา แสดงเป็น พระกฤษณะ ในเรื่องมหาภารตะ",
"title": "นิตีศ ภารทวาช"
},
{
"docid": "31531#0",
"text": "มหาภารตะ ( \"มหาภารต\") บางครั้งเรียกสั้น ๆ ว่า ภารตะ เป็นหนึ่งในสอง ของ มหากาพย์ ที่ยิ่งใหญ่ของ อินเดีย (มหากาพย์อีกเรื่องคือ รามายณะ) ประพันธ์เป็นโศลกภาษาสันสกฤต มหากาพย์เรื่องนี้นับเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ \"อิติหาส\" (แปลตามศัพท์ว่า \"ประวัติศาสตร์\") และเป็นส่วนหนึ่งทึ่สำคัญยิ่งของ เทพปกรณัมในศาสนาฮินดู",
"title": "มหาภารตะ"
}
] |
1424 | ธาตุเหล็ก เขียนตามสูตรเคมีว่าอย่างไร ? | [
{
"docid": "13988#0",
"text": "เหล็ก ( ออกเสียงว่า \"ไอเอิร์น\" /ˈaɪ.ərn/) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ มีสัญลักษณ์ธาตุ Fe และหมายเลขอะตอม 26 เหล็กเป็นธาตุโลหะทรานซิชันหมู่ 8 และคาบ 4 สัญลักษณ์ Fe ย่อมาจาก \"ferrum\" ในภาษาละติน",
"title": "เหล็ก"
},
{
"docid": "13988#1",
"text": "ธาตุเหล็กนั้นมีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ fe เหล็กนั้นมีประโยชน์อย่างมากในปัจจุบันเป็นธาตุที่พบเห็นได้ในทุกวัน โดยเฉพาะในการก่อสร้าง ในโรงงานอุตสาหกรรมอีกทั้งยังเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใช้ในการสร้างบ้าน อาคาร ต่างๆ เหล็กจึงเป็นธาตุที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากนี้แล้วยังใช้ในการทำเป็นวัสดุต่างๆ ทำเป็นชิ้นส่วนของเครื่องจักร และอื่นๆอีกมากมาย",
"title": "เหล็ก"
}
] | [
{
"docid": "361482#3",
"text": "กลุ่ม (Group) : โอลิวีน (Olivine)สูตรเคมี (Mg, Fe) SiO มี MgO 42.06% , FeO 18.75% , SiO 39.9% ธาตุแมกนีเซียมและเหล็กมีคุณสมบัติในการแทนที่กันได้ โดยที่โครงสร้างของผลึกไม่มีการเปลี่ยนแปลง ถ้าแมกนีเซียมและเหล็กมีคุณสมบัติในการแทนที่กันได้ ถ้าแมกนีเซียมไปแทนที่เหล็กจะได้สูตรเป็น MgSiO เรียกว่า ฟอร์สเตอไรต์ (forsterite) และถ้าเหล็กไปแทนที่แมกนีเซียมก็จะได้สูตรทางเคมีเป็น FeSiOเรียกว่า ฟายาไลต์ (fayalite) โดยปกติแล้ว โอลิวีนจะมีธาตุแมกนีเซียมมากกว่าเหล็ก เนื่องจาก ฟายาไลต์ (fayalite) เป็นโอลิวีนที่ประกอลไปด้วยเหล็กมาก ทำให้ดัชนีหักเหมีค่าสูง , หนัก และมีสีเข้มมากกว่า ฟอร์สเตอไรต์ (forsterite) ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องยากที่จะแยกความแตกต่างของแร่ที่มีทั้งธาตุเหล็กและแมกนีเซียม",
"title": "โอลิวีน"
},
{
"docid": "1743#30",
"text": "ใน พ.ศ. 2407 นักเคมีชาวเยอรมัน ยูลิอุส โลทาร์ ไมเออร์ ได้ตีพิมพ์ตารางธาตุซึ่งประกอบไปด้วยธาตุ 44 ตัวโดยเรียงตามความเป็นวาเลนซ์ ตารางของเขาแสดงให้เห็นว่าธาตุที่มีสมบัติทางเคมีเหมือนกันนั้น บ่อครั้งที่จะมีความเป็นวาเลนซ์ที่เหมือนกันด้วย ในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน นักเคมีชาวอังกฤษ วิลเลียม โอดลิง ตีพิมพ์การจัดเรียงธาตุ 57 ตัว โดยเรียงบนพื้นฐานของมวลอะตอม ด้วยความที่ไม่ปกติและยังมีช่องว่าง เขาทราบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับธาตุเป็นลำดับการเกิดคาบของมวลอะตอม และเขายังบันทึกไว้ว่า \"มันมักจะได้รับการจัดกลุ่ม\" โอดลิงได้พูดถึงเกี่ยวกับความคิดในเรื่องของกฎพิริออดิก แต่เขาก็ไม่ได้สนใจมัน ต่อมาเขาก็ได้นำเสนอ (ใน พ.ศ. 2413) การจัดหมวดหมู่บนพื้นฐานของความเป็นวาเลนซ์",
"title": "ตารางธาตุ"
},
{
"docid": "13988#3",
"text": "ธาตุเหล็กของเรานับว่ามีความสำคัญมากในการใช้งานในปัจจุบัน ซึ่งธาตุนี้ มีการใช้มากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ที่รองลงมาจากอะลูมิเนียม และซึ่งได้ค้นพบจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ มีการใช้งานมาอย่างน้อย 8000 ปี ซึ่งมีหลักฐานยืนยัน ในช่วง คริสต์ศักราช 1000 -2000 นั้น เป็นช่วงที่มนุษย์นำธาตุเหล็กมาจากอุกาบาตที่ตกหรือสะเก็ดดาว และช่วงนี้จะหาธาตุเหล็กได้ยาก หลังจาก คริสต์ศักราช 1000-2000 เป็นต้นมา ได้มีการถลุงเหล็ก จากธาตุเหล็กที่ได้จากธรรมชาติ จึงเกิดการใช้เหล็กทุกยุคทุกสมัย การถลุง เหล็กนั้น จะแตกต่างจากการถลุงเหล็ก ในปัจจุบัน",
"title": "เหล็ก"
},
{
"docid": "912118#1",
"text": "หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยสาขาวิชาความรู้เช่น มิญชวิทยา จิตวิทยา เคมี พยาธิวิทยา ตามคำสั่งสอนที่อยู่ในตำราเล่มนี้มนุษย์จะมีสุขภาพที่ดีได้กับสิ่งเหล่านี้ คือ เลือด (blood) น้ำดีดำ (black bile) น้ำดีเหลือง (yellow bile) และเสมหะ (phlegm) ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อร่างกายของมนุษย์ ตับคืออวัยวะที่สำคัญ ในการดูแลรักษาและผลิตสิ่งที่มนุษย์มีความจำเป็นต่อมัน ท่านอิมามริฎอ(อฺ)ได้กล่าวถึงร่างกายว่า “ร่างกายเปรียบเสมือนระบบการปกครองหนึ่งที่ถูกปกครองโดยราชาและนั่นคือหัวใจ โดยมีเลือด ร่างกาย และสมองเป็นผู้อยู่ภายใต้บัญชา",
"title": "ตำราทองคำ"
},
{
"docid": "940700#0",
"text": "ซิลิคอนคาร์ไบด์ () หรือ คาร์บอรันดัม (carborundum) เป็นสารประกอบที่มีสูตรเคมีคือ SiC ในรูปบริสุทธิ์ไม่มีสี แต่มีสีเขียวถึงดำจากการปนเปื้อนธาตุเหล็ก ซิลิคอนคาร์ไบด์มีรูปแบบผลึกกว่า 250 แบบ แต่พบมากที่สุดในรูปแอลฟา (α-SiC) ซึ่งมีโครงสร้างผลึกแบบหกเหลี่ยม ก่อตัวที่อุณหภูมิสูงกว่า 1700 °C และรูปบีตา (β-SiC) ซึ่งเป็นโครงสร้างแบบซิงก์เบลนด์ ก่อตัวที่อุณหภูมิต่ำกว่า 1700 °C ในธรรมชาติพบในแร่มอยซาไนต์ แต่สามารถสังเคราะห์ได้จากกระบวนการอะคีสัน",
"title": "ซิลิคอนคาร์ไบด์"
},
{
"docid": "823873#0",
"text": "การขาดธาตุเหล็ก\nหรือ ภาวะขาดธาตุเหล็ก\nเป็นการขาดสารอาหารที่สามัญที่สุดในโลก\nธาตุเหล็กมีอยู่ในเซลล์ทั้งหมดของร่างกายมนุษย์และมีหน้าที่สำคัญมากหลายอย่าง เช่น การนำเอาออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ จากปอด โดยเป็นองค์ประกอบกุญแจสำคัญของโปรตีนเฮโมโกลบินในเลือด,\nการเป็นสื่อนำอิเล็กตรอนภายในเซลล์ในรูป cytochrome,\nการอำนวยการใช้และการเก็บออกซิเจนภายในกล้ามเนื้อโดยเป็นส่วนของไมโยโกลบิน,\nและเป็นสิ่งที่จำเป็นในปฏิกิริยาของเอนไซม์ในอวัยวะต่าง ๆ\nการมีธาตุเหล็กน้อยเกินไปสามารถรบกวนหน้าที่จำเป็นต่าง ๆ เหล่านี้ โดยทำให้เกิดโรค และอาจให้ถึงตายได้",
"title": "การขาดธาตุเหล็ก"
},
{
"docid": "823873#4",
"text": "อาการขาดธาตุเหล็กสามารถเกิดขึ้นก่อนลามเป็นภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็ก\nแต่อาการเหล่านี้ไม่เฉพาะเจาะจงต่อการขาดธาตุเหล็กเท่านั้น\nเหล็กจำเป็นต่อการทำงานที่เป็นปกติของเอนไซม์ ดังนั้น อาจจะเกิดอาการต่าง ๆ มากมายในที่สุด โดยเป็นอาการทุติยภูมิจากภาวะโลหิตจาง หรือเป็นอาการปฐมภูมิจากการขาดธาตุเหล็ก\nอาการขาดธาตุเหล็กรวมทั้ง",
"title": "การขาดธาตุเหล็ก"
},
{
"docid": "823873#11",
"text": "การขาดธาตุเหล็กเล็กน้อยสามารถป้องกันและแก้ไขโดยทานอาหารที่สมบูณ์ด้วยเหล็กและการทำอาหารในกระทะเหล็ก\nเนื่องจากธาตุเหล็กเป็นสิ่งจำเป็นต่อสัตว์และพืชโดยมาก จึงมีอาหารมากมายที่มีเหล็ก\nแต่แหล่งที่ดีของธาตุเหล็กจะเป็นแบบ heme-iron (cofactor ที่มีไอออนเหล็ก อยู่ตรงกลางวงแหวนอินทรีย์แบบ heterocyclic ที่เรียกว่า porphyrin ดูรูป) เพราะว่านี่ดูดซึมได้ง่ายที่สุด และยาและสารอาหารอื่น ๆ จะไม่สามารถขัดขวางการดูดซึมได้\nตัวอย่างอาหารที่มีเหล็กแบบนี้คือ เนื้อที่มีสีแดงเมื่อดิบ (เช่น เนื้อวัว เนื้อแกะ) เป็ดไก่ และแมลง",
"title": "การขาดธาตุเหล็ก"
}
] |
2929 | ราชวงศ์โชซ็อน ปกครองประเทศเกาหลีระบอบใด? | [
{
"docid": "163253#1",
"text": "ช่วงเวลาที่ราชวงศ์โชซ็อนปกครองเกาหลีนั้น ได้สร้างการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มั่นคง ส่งเสริมปรัชญาของลัทธิขงจื๊อให้ซึมซาบไปในสังคมโชซ็อน และรับวัฒนธรรมจีน เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมโชซ็อนรุ่งเรือง และมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์โชซ็อนอ่อนแอลงด้วยการรุกรานของญี่ปุ่นและแมนจูเรีย ทำให้โชซ็อนใช้นโยบายปิดประเทศอย่างแข็งกร้าว อาณาจักรโชซ็อนจึงเป็นรู้จักของชาวตะวันตกในนาม อาณาจักรฤๅษี (The Hermit Kingdom) เมื่อสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 อาณาจักรโชซ็อนก็เสื่อมลงด้วยการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายและการแย่งชิงอำนาจและการเผชิญทั้งศึกภายนอกและศึกภายใน จนกระทั่งปี ค.ศ. 1895 เมื่อจักรวรรดิญี่ปุ่นชนะสงครามกับจักรวรรดิชิง (ประเทศจีน) ก็ได้ส่งทหารบุกเข้าพระราชวังเคียงบกเพื่อปลงพระชนม์ พระมเหสีมิน จาย็อง พระมเหสีในพระเจ้าโกจง (ภายหลังได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็น จักรพรรดินีมย็องซ็อง) และบังคับให้อาณาจักรโชซ็อนแยกตัวเป็นเอกราชจากจักรวรรดิชิงตามสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ ใน ค.ศ. 1897 อย่างไรก็ตาม อาณาจักรโชซ็อนโดยพระเจ้าโกจง (พระอิสรยิยศขณะนั้น) โดยการถวายคำแนะนำของรัสเซีย จึงเลื่อนสถานะของอาณาจักรโชซ็อนเป็นจักรวรรดิโชซ็อน และสถาปนาอิสริยยศพระองค์เองใหม่เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิ แต่ในที่สุดก็จบลงด้วยการเข้ายึดครองของจักรวรรดิญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) ตามสนธิสัญญาการเข้ายึดครองเกาหลีของญี่ปุ่น ในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิยุงฮีแห่งจักรวรรดิโชซ็อน (พระเจ้าซุนจง) ด้วยการลดพระอิสริยยศเหลือเพียง กษัตริย์ และบังคับเชื้อพระวงศ์ทุกพระองค์ไปประทับที่ญี่ปุ่นเพื่อเป็นองค์ประกัน",
"title": "ราชวงศ์โชซ็อน"
},
{
"docid": "163253#0",
"text": "ราชวงศ์โชซอน (; ) หรือ ราชวงศ์ลี ที่สถาปนาขึ้นภายหลังการยกสถานะของอาณาจักรโชซอนเป็นจักรวรรดิโชซอนตามพระบรมราชโองการของจักรพรรดิควังมูแห่งจักรวรรดิโชซอน (จักรพรรดิโคจง) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองคาบสมุทรเกาหลีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1392-1910 (อย่างเป็นทางการ) โดยรวมแล้วราชวงศ์โชซอนมีอายุกว่า 600 ปี",
"title": "ราชวงศ์โชซ็อน"
}
] | [
{
"docid": "163253#34",
"text": "หลังจากการสถาปนาเป็นจักรวรรดิโชซ็อนของสมเด็จพระเจ้าควังมู (พระเจ้าโคจง) ราชวงศ์โชซ็อนเดิมได้ถูกเปลี่ยนเป็นราชวงศ์อี จนกระทั่งถูกญี่ปุ่นยึดครองเมื่อปี ค.ศ.1910 และพ้นจากการปกครองของญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1945 นำไปสู่การปกครองเกาหลีที่แยกออกเป็น 2 รัฐเนื่องจากสงครามโชซ็อน แต่ก็ยังคงมีการสืบราชบัลลังก์อยู่จนถึงปัจจุบันในประเทศเกาหลีใต้ซึ่งปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ",
"title": "ราชวงศ์โชซ็อน"
},
{
"docid": "153970#0",
"text": "จักรวรรดิโชซ็อน ( หรือ ประเทศโชซ็อน () คือราชอาณาจักรโชซ็อนที่ประกาศยกสถานะของรัฐจากราชอาณาจักรเป็นจักรวรรดิ ตามพระบรมราชโองการของพระเจ้าโกจง พร้อมกับการเปลี่ยนพระอิสริยยศจาก กษัตริย์ เป็น จักรพรรดิ โดยพระองค์มีพระนามว่า จักรพรรดิควางมูแห่งเกาหลี เพื่อให้ประเทศเอกราชจากจักรวรรดิชิง และยกสถานะของประเทศมีความเท่าเทียมกับจักรวรรดิชิง และ จักรวรรดิญี่ปุ่น แม้ว่าโดยพฤติการณ์แล้วสถานะของเกาหลีไม่ได้เข้าข่ายการเป็นจักรวรรดิเลยก็ตาม จนกระทั่งถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นยึดครองในปี ค.ศ. 1910",
"title": "จักรวรรดิเกาหลี"
},
{
"docid": "133828#11",
"text": "ในเรื่องของชาวจีนที่ไปเป็นกษัตริย์ปกครองโคโจซ็อนนี้ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ของเกาหลีในสองยุคสมัย จึงมักทำให้สับสนว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในยุคสมัยใดกันแน่ เหตุการณ์แรกคือเรื่องของ จี้จื่อ หรือ กีจา นี้เกิดในช่วงของโคโจซ็อนยุคกลาง ตรงกับยุคสมัยราชวงศ์โจว แต่อีกเหตุการณ์หนึ่งนั้นเกิดขึ้นสมัยโคโจซ็อนยุคปลาย ซึ่งตรงกับยุคสมัยราชวงศ์ฮั่นของจีน เหตุการณ์ครั้งหลังนี้ยังนำมาสู่การก่อตั้งอาณาจักรแห่งใหม่ขึ้นอีกแห่งทางตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ในประวัติศาสตร์ช่วงหลังนี้กล่าวถึงขุนพลชาวจีนผู้หนึ่งนามว่า เหว่ยมั่ง ในพ.ศ. 349 เหว่ยมั่งเป็นขุนพลจากแคว้นเอี๋ยน ที่ลี้ภัยเข้าไปอยู่ในอาณาจักรโคโจซ็อน แล้วเข้ารับใช้กษัตริย์จุน ที่ปกครองโคโจซ็อนในขณะนั้น",
"title": "อาณาจักรโชซ็อนโบราณ"
},
{
"docid": "163253#33",
"text": "ขณะเดียวกัน พระเจ้าโกจง ก็ทรงลี้ภัยไปประทับที่สถานกงสุลรัสเซีย ฝ่ายจักรวรรดิญี่ปุ่นได้อำนาจก็ทำการปรับปรุงจักรวรรดิโชซ็อนให้ทันสมัย โดยยกเลิกประเพณีเก่า ๆ โดยเฉพาะสั่งให้ผู้ชายทุกคนตัดจุก (ลัทธิขงจื๊อห้ามตัดผม) สร้างความไม่พอใจแก่ชาวเกาหลีอย่างมาก ชาวโชซ็อนทุกชนชั้นจึงรวมตัวกันเป็น สมาคมเอกราช (ทงนิบ-ฮย็อบพี) ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 พระเจ้าโกจงทรงทนการรบเร้าจากสมาคมเอกราชมิได้ จึงทรงกลับมาประทับที่พระราชวังทอกซู และมีพระบรมราชโองการเลื่อนฐานะของอาณาจักรโชซ็อน เป็นจักรวรรดิโชซ็อนพร้อมเปลี่ยนสถานะของพระองค์จากพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรโชซ็อนเป็น สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโชซ็อน ภายหลังญี่ปุ่นได้สยบพระราชอำนาจของพระองค์ลงได้และสั่งให้นำตัวพระราชวงศ์ทั้งหมดไปอยู่ที่เกาะญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์โชซ็อนที่ยาวนานถึง 600 ปีจึงสิ้นสุดเพียงเท่านี้",
"title": "ราชวงศ์โชซ็อน"
},
{
"docid": "163253#7",
"text": "อาณาจักรโชซ็อนรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยพระเจ้าเซจงมหาราช (พ.ศ. 1961 - พ.ศ. 1993) ทั้งในด้านการปกครองและวัฒนธรรม ทรงได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ที่ตั้งอยู่ในคุณธรรมและเห็นแก่ประชาชน พระเจ้าเซจงทรงให้มีการก่อสร้างจิปฮย็อนจอน สำนักรวบรวมปราชญ์ขงจื๊อเพื่อคอยเป็นที่ปรึกษาให้กับพระองค์และสร้างนักปราชญ์ที่คงแก่เรียนต่อไป สมัยพระเจ้าเซจงมหาราชมีนักประดิษฐ์ชื่อจาง ยองชิล ประดิษฐ์มาตรวัดน้ำฝนอันแรกของโลก และสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ เช่น นาฬิกาแดด สมัยพระเจ้าเซจงมหาราชเป็นสมัยแห่งการแผยแพร่ความรู้ตามแบบเกาหลีโบราณในหลายสาขา เช่น การเกษตร การแพทย์ ดนตรี มีการพิมพ์หนังสือขึ้นหลายเล่ม เกี่ยวกับแขนงวิชาเหล่านี้ และใน พ.ศ. 1986 ทรงสั่งให้มีการประดิษฐ์อักษรฮันกึล เป็นอักษรของชาวเกาหลีชุดแรกแทนที่ฮันจา|อักษรจีนที่ใช้เขียนแทนเสียงภาษาเกาหลี",
"title": "ราชวงศ์โชซ็อน"
},
{
"docid": "311620#3",
"text": "ต้นคริสต์ทศวรรษ 1870 เกาหลี ซึ่งเป็นรัฐในอารักขาของราชวงศ์ชิง และมีราชวงศ์โชซ็อน (Joseon Dynasty) เป็นผู้ปกครอง ต้องเผชิญกับการปะทะทางการเมืองของสองขั้วอำนาจ คือ กลุ่มของแทว็อนกุนฮึงซ็อน (Heungseon Daewongun) พระบิดาของจักรพรรดิโคจง (Emperor Gojong) ที่ต้องการให้ปิดประเทศ กับกลุ่มของจักรพรรดินีมย็องซ็อง (Empress Myeongseong) พระมเหสีของจักรพรรดิโคจง ที่ต้องการให้เปิดเสรีทางการค้า เวลาเดียวกัน ในญี่ปุ่นมีการปฏิรูปเมจิ (Meiji Restoration) ที่ส่งผลให้เกิดนโยบายรุกรานต่างประเทศ ญี่ปุ่นจึงเริ่มท้าทายอำนาจของจีนในคาบสมุทรเกาหลี เกาหลีจำต้องทำสนธิสัญญาคังฮวา (Treaty of Ganghwa) กับญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1876 ซึ่งอนุญาตให้ญี่ปุ่นส่งทูตไปประจำฮันซ็อง (Hanseong) และตั้งสถานีการค้าในอินช็อน (Incheon) กับว็อนซัน (Wonsan) ได้ หลี่ หงจาง (李鴻章) ซึ่งเป็นผู้ว่าจื๋อลี่ (直隸總督) ส่งทหารราชวงศ์ชิงจำนวน 3,000 นายเข้าไปยังเกาหลี โดยมียฺเหวียน ชื่อไข่ เป็นผู้บังคับบัญชา",
"title": "ยฺเหวียน ชื่อไข่"
},
{
"docid": "250291#8",
"text": "กลุ่มพระราชสุสานดงกูรึง (, ) ตั้งอยู่ในเมืองคูรี จังหวัดคย็องกี เป็นพระราชสุสานที่มีพื้นที่กว้างขวางที่สุดในเกาหลีใต้ ประกอบด้วยพระราชสุสาน 9 หลัง โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่พระราชสุสานก็อนว็อลลึง (, ) ที่ฝังพระบรมศพพระเจ้าแทโจ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โชซ็อน และพระราชสุสานอื่น ๆ ที่อยู่ล้อมรอบ ได้แก่ พระราชสุสานมงนึง (, ) ที่ฝังพระบรมศพพระเจ้าซอนโจ พระศพพระมเหสีอึยอิน และพระมเหสีอินมก พระราชสุสานฮย็อลลึง (, ) ที่ฝังพระบรมศพพระเจ้ามุนจง และพระศพพระมเหสีฮยอนด็อค",
"title": "สุสานหลวงราชวงศ์โชซ็อน"
},
{
"docid": "50629#1",
"text": "ประวัติศาสตร์เริ่มจากอาณาจักรโชซ็อนโบราณ สถาปนาขึ้นโดย \"ทันกุน\" ต่อมาสมัยสามอาณาจักรแห่งเกาหลี (โคกูรยอ, แพ็กเจ, และชิลลา) ถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นสหอาณาจักรชิลลา ซึ่งมีพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง และต่อมา ค.ศ. 918 ได้สถาปนาอาณาจักรโครยอซึ่งเป็นชื่อของเกาหลี (Korea) และเมื่อราชวงศ์โชซ็อน (ราชวงศ์ลี) ครองอำนาจเปลี่ยนชื่ออาณาจักรใหม่ ชื่อ อาณาจักรโชซ็อนเมืองหลวงชื่อว่า ฮันยาง (โซล) มีลัทธิขงจื้อ เป็นคติธรรมประจำชาติ และได้ประดิษฐ์อักษรเกาหลี ขึ้น",
"title": "ประเทศเกาหลี"
}
] |
1917 | อุณหภูมิร่างกายปกติของมนุษย์ควรอยู่ที่เท่าไหร่ ? | [
{
"docid": "178327#0",
"text": "การลดลงของอุณหภูมิร่างกายหลังตาย () เป็นการเปลี่ยนแปลงหลังการตายตามธรรมชาติอย่างหนึ่งของร่างกายมนุษย์ เมื่อตายลงด้วยอุบัติเหตุ ฆาตกรรมหรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ฯลฯ อุณหภูมิของร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ คืออุณหภูมิภายในร่างกายจะค่อย ๆ ลดลงตามลำดับเช่น ตามปกติอุณหภูมิของร่างกายมนุษย์จะอยู่ที่อุณหภูมิประมาณ 36-37 องศาเซลเซียส เมื่อตายลงอุณหภูมิเฉลี่ยของร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยปกติหลังจากเสียชีวิต อุณหภูมิของร่างกายจะลดลงเฉลี่ย 1 องศาเซลเซียสต่อชั่วโมง ซึ่งการลดลงของอุณหภูมิร่างกายมนุษย์ อาจจะช่วยให้แพทย์ทางนิติเวชและพนักงานสอบสวน สามารถนำไปใช้ในการคำนวณเพื่อหาระยะเวลาการตายได้",
"title": "การลดลงของอุณหภูมิร่างกายหลังตาย"
},
{
"docid": "281628#0",
"text": "อุณหภูมิปกติของร่างกาย () คือระดับอุณหภูมิที่ขึ้นอยู่กับสถานที่ เวลา และ ระดับกิจกรรมที่ปฏิบัติ ของการวัดอุณหภูมิของร่างกาย แต่โดยทั่วไปแล้วเป็นที่ยอมรับกันว่า 34.0°C หรือ 98.6°F เป็นอุณหภูมิเฉลี่ยของอุณหภูมิปกติของร่างกาย อุณหภูมิ 36.8 ±0.7 °C หรือ 98.2° ±1.3 °F เป็นอุณหภูมิเฉลี่ยที่วัดใต้ลิ้น แต่อุณหภูมิที่วัดทางทวารหนัก หรือ วัดโดยตรงจากภายในร่างกายจะสูงกว่าเล็กน้อย ในรัสเซียหรือในประเทศในอดีตสหภาพโซเวียตอุณหภูมิปกติของร่างกายเฉลี่ย 36.6°C หรือ 97.9°F โดยวัดจากใต้รักแร้ แกนอุณหภูมิของร่างกายของแต่ละคนมักจะลดต่ำสุดในช่วงที่สองของนอนหลับ ที่เรียกว่า “nadir” ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของ",
"title": "อุณหภูมิปกติของร่างกาย"
},
{
"docid": "760831#1",
"text": "ภาวะตัวเย็นเกินมีสองสาเหตุหลัก สาเหตุตรงต้นแบบเกิดจากการได้รับความเย็นสุดขีด อาจเกิดจากภาวะใด ๆ ซึ่งลดการผลิตความร้อนหรือเพิ่มการเสียความร้อน โดยทั่วไปมีภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ แต่ยังมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะเบื่ออาหาร และสูงอายุ เป็นต้น ปกติร่างกายรักษาอุณหภูมิกายไว้ใกล้ระดับคงที่ 36.5–37.5 °C โดยอาศัยการปรับอุณหภูมิกาย หากอุณหภูมิกายต่ำลง จะมีความพยายามเพื่อเพิ่มอุณหภูมิกาย เช่น สั่น มีกิจกรรมใต้อำนาจจิตใจที่เพิ่มขึ้นและสวมเครื่องนุ่งห่มอบอุ่น อาจวินิจฉัยภาวะตัวเย็นเกินได้จากอาการของบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือโดยการวัดอุณหภูมิกายของบุคคล",
"title": "ภาวะตัวเย็นเกิน"
}
] | [
{
"docid": "912118#6",
"text": "ในเริ่มต้นท่านอิมามริฎอ(อฺ)ได้เปรียบร่างกายของมนุษย์เหมือนประเทศหนึ่งซึ่งมีหัวใจเป็นผู้ปกครอง และเส้นเลือดเป็นคือผู้บริหาร และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย คือส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของหัวใจ มือและขาทั้งสอง ตา ปาก ลิ้น สองหู คือมิตรสหาย ท้องและหน้าอกคือขุมทรัพย์\nจากนั้นท่านอธิบายถึงแนวทางและขนาดที่ถูกต้องในการกินการดื่ม ท่านยังคงชี้ให้เห็นถึงหนทางในการป้องกันโรคต่าง ๆ ที่จะเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของดิน ฟ้า อากาศ มนุษย์ควรจะพักผ่อนอย่างไร ควรดูแลสุขภาพของช่องปากและฟันอย่างไร",
"title": "ตำราทองคำ"
},
{
"docid": "101157#12",
"text": "พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ ตั้งอยู่ที่อาคารทันตแพทยศาสตร์เฉลิมนวมราช 80 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดแสดงร่างกายและชิ้นส่วนอวัยวะของมนุษย์ที่ได้รับการบริจาคจากนายคัทสุมิ คาตามูระ ประธานบริษัทเมดิคัลด็อกเตอร์ซอฟท์เฮาส์ จำกัด ซึ่งนับเป็น 1 ใน 11 พิพิธภัณฑ์ของโลกและเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จัดแสดงร่างกายมนุษย์ด้วยเทคนิค plastinated human bodies ที่ใช้สารพลาสติกเหลวแทนที่น้ำและไขมันในเนื้อเยื่อของมนุษย์ ดังนั้น ร่างกายมนุษย์ที่นำมาจัดแสดงจึงไม่มีกลิ่นเหม็นของน้ำยา ไม่มีการเน่าสลาย และสามารถคงสภาพอยู่ได้นาน",
"title": "พิพิธภัณฑ์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
},
{
"docid": "253187#1",
"text": "โดยปกติแล้วน้ำทะเลมีผลในการรักษาโรคต่างๆ ได้ แต่หาไม่สะดวกที่จะไปทะเล เราก็สามารถนำน้ำทะเลเทียม (น้ำเกลือ) ขึ้นโดยการเติมเกลือแกง 2-3 กิโลกรัม ลงในน้ำอุ่น 1 อ่างอาบน้ำ อุณหภูมิของน้ำควรจะอยู่ระหว่าง 90-105 องศาฟาเรนไฮต์ (32-41 องศาเซลเซียส) หรือสูงเท่าที่ร่างกายจะทนได้\nน้ำเกลือจะช่วยกระตุ้นผิวหนังและขับเหงื่อ หลังการแช่น้ำเกลือควรใช้ผ้าห่มคลุมตัวเพื่อให้เหงื่อยังคงออกต่อไป นอกจากนี้น้ำเกลือยังนำมาใช้รักษาโรคผิวหนังและโรคข้อเสื่อมได้อีกด้วย",
"title": "การแช่น้ำยา"
},
{
"docid": "12927#22",
"text": "พฤติกรรมดังกล่าว จะช่วยให้สามารถรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่อยู่ในระหว่าง 36 - 39 องศาเซลเซียส ในขณะที่สภาพภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตลอดเวลา คืออยู่ในระหว่าง 29 - 44 องศาเซลเซียส แต่มีบางชนิดที่สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิที่ร้อนจัดได้เช่น เหี้ยที่อาศัยอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกา ต้องการรักษาอุณหภูมิร่างกายอยู่ที่ 42 องศาเซลเซียส แต่สามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนจัดได้ถึง 47 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมไม่สามารถทนได้",
"title": "สัตว์เลื้อยคลาน"
},
{
"docid": "132168#12",
"text": "มีด้วยทั้งหมด 3 แบบ\nศาสตราจะสถิตอยู่ในเซลล์ของผู้เชื่อมต่อ หากยังไม่สำแดงฤทธิ์จะมีสภาพเช่นเดียวกับร่างกายมนุษย์ทั่วไป มีพลังทำลายล้างสูงแต่แลกด้วยชีวิตของผู้เชื่อมต่อ(อายุขัยสั้น) เช่น แขนซ้ายของอเลน วอคเกอร์ และเขี้ยวของอเลสเตอร์ โครวรี่\nเป็นรูปแบบที่มีจำนวนมากที่สุด เกิดจากการปรามพลังอินโนเซนส์ให้อยู่ในรูปของอาวุธที่เหมาะสมกับผู้เชื่อมต่อคนนั้นๆ เช่น ปืนผู้พิพากษาของเสนาธิการครอส มาเรี่ยน , ชาริตี้เบลล์ของดีชา บารี่ หรือ ค้อนแพนเมอร์ของราวี่\nรูปแบบใหม่ที่เพิ่งถือกำเนิด เกิดจากเลือดของผู้เชื่อมต่อ ดังนั้นจึงตอบสนองกับผู้เชื่อมต่อได้ดีกว่ารูปแบบติดตัว อินโนเซนส์รูปแบบผลึกอันแรกคือดาร์คบู๊ตของรินารี่ ลี และต่อมาคือดาบของคันดะ ยู (ในรัตติกาลที่208) ซึ่งอินโนเซนส์ของทั้งสองวิวัฒน์มาจากรูปแบบติดตัว",
"title": "ดี.เกรย์แมน"
},
{
"docid": "252486#11",
"text": "หลักการของการถ่ายเทความร้อนในระบบวิศวกรรมสามารถนำไปใช้กับร่างกายมนุษย์เพื่อที่จะกำหนดวิธีการที่ร่างกายถ่ายโอนความร้อน ความร้อนที่เกิดขึ้นในร่างกายโดยการเผาผลาญอย่างต่อเนื่องของสารอาหารที่ให้พลังงานสำหรับระบบของร่างกาย ร่างกายมนุษย์จะต้องรักษาอุณหภูมิภายในที่สอดคล้องกันในการที่จะรักษาการทำงานของร่างกายให้มีสุขภาพดี ดังนั้นความร้อนส่วนเกินจะต้องกระจายออกจากร่างกายเพื่อให้อุณหภูมิภายในร่างกายมีความสมดุล เมื่อมีการออกกำลังกายจะทำให้อัตราการเผาผลาญและอัตราการผลิดความร้อนในร่างกายก็จะเพิ่มขึ้น ร่างกายก็จะมีการถ่ายเทความร้อน ออกจากร่างกายเพื่อปรับสมดุลจึงทำให้ร่างกายมีสุขภาพดี",
"title": "การถ่ายเทความร้อน"
},
{
"docid": "230758#6",
"text": "กระสุน 4.6x30 ม.ม.และ 5.7x28 ม.ม.ได้รับคำวิจารณ์ในเรื่องความมีประสิทธิภาพที่ต่ำเมื่อปลายทาง พลังงานเคลื่อนที่แสดงออกมาอย่างชัดเจนในเนื้อเยื่อของมนุษย์ในการยืดออกชั่วคราวของมัน ซึ่งเนื้อเยื่อส่วนใหญ่ยกเว้นตับและเส้นประสาทจะสามารถทนทานต่อสิ่งอันตรายเล็กน้อยได้ มีการมุ่งเน้นไปที่การผสมผสานของแผลขนาดเล็กและการทะลุทะลวงที่ไร้ประสิทธิภาพหลายๆ ครั้ง ทำให้กระสุนพีดีดับบลิวนั้นมีการทำงานที่แย่ในตอนท้าย",
"title": "อาวุธป้องกันประจำบุคคล"
},
{
"docid": "368028#11",
"text": "ผู้ควบคุมเครื่องไม่ได้รับการฝึกอบรมที่จะเข้าใจธรรมชาติที่คลุมเครือของไฟบอกสถานะของวาล์วระบายที่ทำงานด้วยการนำร่องและการมองหาทางเลือกเพื่อยืนยันว่าวาล์วระบายหลักถูกปิดหรือไม่ มีไฟบอกสถานะของอุณหภูมิที่ส่วนปลายของวาล์วระบายที่ทำงานด้วยการนำร่องในท่อหางระหว่างวาล์วระบายและตัวสร้างความดัน () ที่อาจจะได้บอกพวกเขาแล้วว่าวาล์วยังติดขัดและเปิดอยู่ โดยแสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิในท่อหางยังคงสูงกว่าที่มันควรจะเป็นถ้าวาล์วระบายที่ทำงานด้วยการนำร่องถูกปิด อย่างไรก็ตามไฟบอกสถานะของอุณหภูมินี้ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของชุด \"เกรดที่ปลอดภัย\" ที่ออกแบบมาเพื่อนำมาใช้หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผู้ควบคุมเครื่องไม่ได้รับการฝึกอบรมการใช้งาน ที่ติดตั้งของมันก็อยู่ด้านหลังของโต๊ะ ซึ่งหมายความว่ามันต้องการให้อยู่นอกสายตาของผู้ควบคุมเครื่อง",
"title": "อุบัติเหตุนิวเคลียร์เกาะทรีไมล์"
}
] |
2799 | พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์) มีบิดาชื่อว่าอะไร? | [
{
"docid": "586595#1",
"text": "พระยาชัยสุนทร (เก) เป็นบุตรของท้าวฮวด (งวด) ตำแหน่งเจ้าราชบุตรเมืองกาฬสินธุ์ เป็นนัดดา (หลานปู่) ในพระยาไชยสุนทร (หนูม้าว) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ เป็นปนัดดา (เหลนทวด) ในพระไชยสุนทร (หมาสุ่ย) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ พระไชยสุนทร (หมาสุ่ย) เป็นพระราชโอรสในเจ้าโสมพะมิต เจ้าเมืองกาฬสินธุ์พระองค์ที่ 1 ผู้ก่อตั้งเมืองกาฬสินธุ์ กับพระนางหล้าสร้อยเทวีแห่งนครเวียงจันทน์ หลักฐานบางแห่งกล่าวว่า ราชบุตร (ฮวด) ผู้เป็นพระบิดาของพระยาชัยสุนทร (เก) นั้นสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองแสน (ฆ้อนโปง) กรมการขื่อเมืองฝ่ายทหารชั้นผู้ใหญ่แห่งนครเวียงจันทน์ในอดีต คนทั่วไปรู้จักพระองค์ในพระนามเมืองแสนฆ้องโปง ทรงเป็นพระราชอนุชาในพระยาชัยสุนทร (โสมพะมิต) พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิต) และเมืองแสนฆ้องโปง ทรงเป็นพระโอรสในเจ้าองค์ไชยและมีพระมารดาเป็นพระธิดาในเจ้าผ้าขาว ซึ่งเป็นเจ้านายในราชวงศ์เวียงจันทน์ ผู้ก่อตั้งเมืองผ้าขาวและเมืองพันนา เจ้าองค์ไชยทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (พระไชยองค์เว้) พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างพระองค์ที่ ๓๖ หลังย้ายราชธานีมายังนครเวียงจันทน์ในสมัยสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๑ ดังนั้น พระยาชัยสุนทร (เก) จึงสืบเชื้อสายจากราชวงศ์เวียงจันทน์ผ่านทางตระกูลเจ้าผู้ปกครองเมืองกาฬสินธุ์ อนึ่ง ราชทินนนามว่า พระยาไชยสุนทร นี้เป็นราชทินนามสำหรับเจ้าผู้ครองเมืองกาฬสินธุ์",
"title": "พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์)"
}
] | [
{
"docid": "586595#4",
"text": "ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)[9] ครั้งหนึ่ง พระยาชัยสุนทร (เก) ได้เดินทางไปตรวจราชการที่เมืองภูแล่นช้าง และได้พบพระพุทธรูปองค์หนึ่งซึ่งหล่อด้วยทองสำริด เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม ศิลปะสกุลช่างเวียงจันทน์ ประดิษฐานที่วัดนาขาม บ้านนาขาม เมืองภูแล่นช้าง ซึ่งเป็นวัดร้างมาแต่โบราณ ชาวบ้านไม่ได้เอาใจใส่พระพุทธรูปและปล่อยให้สิม (พระอุโบสถ) ผุพังไปตามสภาพกาล มีดินถมพระพุทธรูปจมมิดฐานแอวขัน (ฐานบัลลังก์) พระยาชัยสุนทร (เก) จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นั้นมาประดิษฐาน ณ เมืองกาฬสินธุ์ ปัจจุบันพระพุทธรูปได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดกลาง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์",
"title": "พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์)"
},
{
"docid": "395832#7",
"text": "\"...พระราษฎรบริหารเจ้าเมืองกมลาสัยได้ลำดับพงศาวดารเมืองกาฬสินธุ์และเมืองกมลาสัยและเมืองขึ้นไว้สำหรับบ้านเมืองต่อไป เดิมปู่ย่าตายายเจ้านายได้สืบตระกูลต่อ ๆ มานั้นตั้งบ้านเรือนอยู่หนองหานพระเจดีย์เชียงชุมที่เป็นเมืองเก่า ครั้นอยู่มาจะเป็นปีใดไม่กำหนดครั้งนั้นพระครูโพนเสม็ดเจ้าอธิการวัดที่เรียกว่าพระอรหันตาพายสร้อยได้ต่อยอดพระธาตุพนม และเมื่อเกิดเหตุต่าง ๆ ได้พาครอบครัวพวกเจ้านายท้าวเพี้ยราษฎรยกไปตั้งทะนุบำรุงอยู่ ณ เมืองจำปามหานครที่เป็นเมืองเก่าร้างอยู่ ซึ่งโปรดฯ ตั้งเป็นเมืองนครจำปาศักดิ์เดี๋ยวนี้นั้น ตั้งเจ้าสร้อยศรีสมุทซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์พระเจ้าเมืองเวียงจันทน์นั้นขึ้นเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ ครั้นอยู่มาช้านานหลายชั่วก็เกิดเหตุวุ่นวายขึ้นต่าง ๆ เจ้านายท้าวเพี้ยจึงพร้อมกันพาครัวบุตรภรรยาบ่าวไพร่กลับคืนหนีมาตั้งบ้านเรือนทำมาหากินอยู่ที่หนองหานพระเจดีย์เชียงชุมตำบลบ้านผ้าขาวพรรณาตามเดิม แต่ครอบครัวผู้คนยังค้างอยู่เมืองนครจำปาศักดิ์ก็ยังมาก ครั้นต่อมาภายหลังจะปีและศักราชหลวงเท่าใดไม่มีกำหนดแจ้ง ครั้งนั้นพระยาโสมพะมิต พระยาอุปชา เมืองแสนฆ้อนโปง เมืองแสนหน้าง้ำ ๔ คน เป็นผู้ใหญ่พากันควบคุมท้าวเพี้ยบ่าวไพร่บุตรภรรยาตั้งบ้านเรือนทำมาหากินอยู่บ้านผ้าขาวพรรณาและหนองหานพระเจดีย์เชียงชุมซึ่งเป็นเมืองสกลนครเดี๋ยวนี้ มีท้าวเพี้ยบ่าวไพร่รวมประมาณสัก ๕,๐๐๐ เศษ รับราชการทำส่วยผ้าขาวขึ้นกับเมืองเวียงจันทน์ ครั้นอยู่มาพระยาอุปชากับเมืองแสนฆ้อนโปงถึงแก่กรรมไปแล้ว เจ้าเมืองเวียงจันทน์คิดก่อเหตุเกิดวิวาทบาดหมางขึ้นกับพวกพระยาโสมพะมิต เมืองแสนหน้าง้ำ ๆ อพยพพาครัวบุตรภรรยาท้าวเพี้ยบ่าวไพร่ประมาณ ๒,๐๐๐ เศษ หนีลงมาบรรจบอยู่ด้วยกับพวกพระวอที่แตกหนีอพยพครอบครัวมาแต่หนองบัวลำภูมาตั้งอยู่ ณ บ้านแจละแม ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเมืองอุบลราชธานี แต่พระยาโสมพะมิตนั้นอพยพพาครัวบุตรภรรยาท้าวเพี้ยบ่าวไพร่ประมาณสัก ๓,๐๐๐ เศษ ไปตั้งอยู่ริมน้ำปาวที่เรียกว่าแก่งสำโรง แล้วพระยาโสมพะมิตลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระยาโสมพะมิตเป็นที่พระยาชัยสุนทรเจ้าเมือง ขนานนามแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมืองกาฬสินธุ์ แต่ ณ วันปีจอ จัตวาศก (จุ) ลศักราช ๑๑๖๔ พระยาชัยสุนทรโสมพะมิตเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ชรา มีอายุสัก ๗๐ ปีเศษ หลงลืมสติจึงมอบราชการเมืองให้กับท้าวหมาแพงบุตรของพระยาอุปชานั้นเป็นผู้ว่าราชการเมืองกาฬสินธุ์ต่อมา แล้วพระยาชัยสุนทรโสมพะมิตกับท้าวหมาแพงผู้รับว่าราชการเมืองต่างนั้นปรึกษาพร้อมกันทำแผนที่เมืองกาฬสินธุ์ แบ่งเขตแดนต่อกันกับเมืองเวียงจันทน์ตั้งแต่แม่น้ำลำพองข้างเหนือมาตกชีข้างตะวันตก ตะวันออกนั้นตั้งแต่น้ำลำพองตัดลัดไปห้วยสายบาทไปถึงห้วยไพรจาน ไปเขาภูทอกซอกดาวตัดไปบ้านผ้าขาวพรรณาบ้านเดิม ยอดลำน้ำสงครามตกแม่น้ำโขง เขตฝ่ายตะวันออกต่อแดนเมืองนครพนมและเมืองมุกดาหาร ผ่าเขาภูพานตัดมายังภูเขาหลักทอดยอดยัง ๆ ตกแม่น้ำลำน้ำชีเป็นเขตข้างใต้ ข้างตะวันตกแม่น้ำลำน้ำชีต่อแดนเมืองร้อยเอ็ดและต่อแดนเมืองยโสธรแต่ยังไม่ได้ตั้งเป็นเมืองเป็นบ้านสิงห์โคกสิงห์ท่าอยู่ แล้วส่งแผนที่ลงไปทูลเกล้าฯ ถวาย...พระยาโสมพะมิตเป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์อยู่ได้สามปีก็ถึงแก่กรรม ครั้นถึง ณ ปีขาล อัฐศก ศักราช ๑๑๖๘ ปี ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดเกล้า ฯ ตั้งท้าวหมาแพงขึ้นเป็นพระยาชัยสุนทรเจ้าเมืองกาฬสินธุ์...\"",
"title": "พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร)"
},
{
"docid": "7204#32",
"text": "อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร ( เจ้าโสมพะมิตร ) (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ) วัดกลาง (พระอารามหลวง ชนิดสามัญ) (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ) วัดศรีบุญเรือง (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ) วัดป่ามัชฌิมาวาส (ตำบลลำพาน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์) เขื่อนลำปาว (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ) สวนสะออน (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ) หาดดอกเกด (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ) พระพุทธสถานภูปอ (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ) พิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ) ฟ้าแดดสงยาง (อำเภอกมลาไสย) พระธาตุยาคู (อำเภอกมลาไสย) ใบเสมาบ้านก้อม (อำเภอกมลาไสย) โนนสาวเอ้ (อำเภอกมลาไสย) หมู่บ้านพัฒนาวัฒนธรรมผู้ไทยบ้านโคกโก่ง (อำเภอกุฉินารายณ์) น้ำตกตาดสูง (อำเภอกุฉินารายณ์) พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นผู้ไท (อำเภอกุฉินารายณ์) น้ำตกตาดทอง (อำเภอเขาวง) เครือข่ายอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน บ้านโพนสวรรค์ (อำเภอเขาวง) พระธาตุพนมจำลอง (อำเภอห้วยเม็ก) พิพิธภัณฑ์สิรินธร (พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ภูกุ้มข้าว) (อำเภอสหัสขันธ์) พระพุทธไสยาสน์ถ้ำภูค่าว (อำเภอสหัสขันธ์) พุทธสถานภูสิงห์ (อำเภอสหัสขันธ์) แหลมโนนวิเศษ (อำเภอสหัสขันธ์) หลวงพ่อบันดาลฤทธิ์ผล (อำเภอสหัสขันธ์) พระพุทธอนันตคีรีประดิษฐาน ณ วนอุทยานภูพระ (อำเภอท่าคันโท) ศูนย์วัฒนธรรมชาวผู้ไทยบ้านโพน (ศูนย์วิจิตรแพรวาบ้านโพน) (อำเภอคำม่วง) สะพานเทพสุดา (สะพานข้ามน้ำจืดที่ยาวที่สุดในประเทศ) (อำเภอหนองกุงศรี) ผาเสวย (อำเภอสมเด็จ) วัดป่าบ้านนาขาม เดิมเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปองค์ดำ ปัจจุบันได้อัญเชิญพระองค์ดำไปประดิษฐานที่วัดกลาง จ.กาฬสินธุ์ (อำเภอนาคู) พิพิธภัณฑ์วัดกลางภูแล่นช้าง (อำเภอนาคู) ถ้ำเสรีไทย (อำเภอนาคู) พุทธสถานหลวงปู่ใหญ่ (อำเภอดอนจาน) พระแสนเมือง (หลวงปู่พระแสน) ประดิษฐาน ณ วัดป่ายางเครือ (บ้านเชียงเครือ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์) พระเทพ (หลวงปู่พระเทพ) ประดิษฐาน ณ วัดป่ายางเครือ (บ้านเชียงเครือ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์) วัดป่ายางเครือ วัดโบราณ ประดิษฐานหลวงปู่พระแสนและหลวงปู่พระเทพ (บ้านเชียงเครือ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์) เมืองเชียงเครือ/นครยางเครือ เมืองขอมโบราณ ปกครองโดย พญาเชียงเครือ ราชโอรสในพญาเชียงโสม แห่งเมืองเชียงโสม มีพี่น้อง ได้แก่ พญาจันทราช (พญาเชียงโสม) พญาธรรม พญาเชียงสง พญาเชียงสา พญาเชียงสร้อย /เมืองเชียงเครือเป็นเมืองยุคเดียวกันกับเมืองฟ้าแดดสงยาง มีความเจริญรุ่งเรืองราวพุทธศวรรษที่ 12-16 ( ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์) น้ำตกผานางคอย,น้ำตกผาระแงง (อำเภอนาคู) อ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน อ่างวังคำ (อำเภอเขาวง) วัดป่าโพนวิมาน (วัดป่าพุทธบุตร) พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน ฟอสซิลปลาโบราณ (อำภอเขาวง)",
"title": "จังหวัดกาฬสินธุ์"
},
{
"docid": "7204#3",
"text": "เมื่อ พ.ศ. 2437 เมื่อพระยาชัยสุนทร (ท้าวเก) เป็นเจ้าเมือง มีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองแบบให้เจ้าเมืองปกครองขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร มาเป็นรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล มีมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เมืองร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดร้อยเอ็ด บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ให้ยุบเป็นอำเภอ คือ เมืองกาฬสินธุ์ เป็นอำเภออุทัยกาฬสินธุ์",
"title": "จังหวัดกาฬสินธุ์"
},
{
"docid": "586595#0",
"text": "พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์) นามเดิมว่า ท้าวเก เป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์องค์ที่ 12 (พ.ศ. 2433–2437)[1] หรือเป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์องค์สุดท้ายก่อนปฏิรูปการปกครองเป็นระบบมณฑลเทศาภิบาล (พ.ศ. 2444) เป็นผู้ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามสกุล ณ กาฬสินธุ์ และนับได้ว่าเป็นต้นตระกูล ณ กาฬสินธุ์ แห่งจังหวัดกาฬสินธุ์ในปัจจุบันด้วย[2]",
"title": "พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์)"
},
{
"docid": "130875#5",
"text": "แต่ผู้ที่ได้ใช้นามสกุล พลเยี่ยม อันดับแรก คือ กำนันพรหม เครือญาติกัน ซึ่งรู้หนังสือ และนำใบไปขึ้นทะเบียนที่จังหวัดเป็นคนแรก ซึ่งสมัยนั้นใบตั้งนามสกุลน่าจะเป็นกระดาษปอนด์ ที่สั่งมาจากอังกฤษ พระยาไชยสุนทร เป็นเขยของตระกูล พลเยี่ยม ภายใต้พระราชบัญญัตขนานนามสกุล จึงได้ไช้ นามสกุล พลเยี่ยมไปก่อน เพื่อใช้ไปรับตำแหน่งที่กาฬสินธุ์ ตามที่มีนามสกุล พลเยี่ยม ปรากฏใน ราชกิจจานุเบกษา ต่อมาจึงตั้งนามสกุลใหม่เป็น ศรีกาฬสินธุ์ ตามคำบอกเล่าของลูกหลาน สกุลพลเยี่ยม ซึ่งเป็นอาจารย์ระดับด็อกเตอร์อยู่ที่ จังหวัด กาฬสินธุ์ ซึ่งไปค้นราชกิจจานุเบกษามา พบว่า ท้าวไชยสุนทร ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระยาไชยสุนทร\nพ่อใหญ่วันดี พรหมเยี่ยมตอนไปรบศึกฮ่อ ได้รับคำชมเชยจากผู้ร่วมรบว่ามีพลังช้างสาร สามารถแบกเสาปลูกค่ายด้วยลำพังผู้เดียวได้ จากคำบอกเล่าของยายทองมา ลูกสาวพ่อใหญ่วันดี ระบุว่า พ่อใหญ่วันดี หรือ พ่อใหญ่หาญชนะ ลงเสาล้อมที่นาเพียงลำพังในเวลาคืนข้างเดือน และมีช้างใช้งาน1ตัว เป็นช้างที่มีปัญหาเรื่องสายตา\nพ่อใหญ่วันดี พรหมเยี่ยม ซึ่งในเวลาต่อมาเป็น พ่อใหญ่หาญชนะ พลเยี่ยม เป็นลูกเขยของ พ่อใหญ่อุปฮาด ซึ่งโยกย้ายมาจากเมือง กมลาไสย มาตั้งบ้านเรือนในบริเวณที่ตั้งอำเภอเป็นอันดับแรกในแถบศาลาประชาคม และที่ราชพัสดุข้างคลองในปัจจุบัน แต่ต้องย้ายมาอยู่ข้างไปรษณีย์ในปัจจุบันเนื่องจาก ศึกษานิเทศ ต้องการใช้พื้นที่ในการตั้งอำเภอที่อยู่ใกล้โรงเรียน\nเมื่อจะมีการใช้พื้นที่ในบริเวณตำบลแวงตั้งเป็นอำเภอบรรดาเครือญาติพ่อใหญ่วันดี จึงมาขอพื้นที่ที่หักร้างถางพงเลี้ยงวัวจากพ่อใหญ่อุปฮาดตั้งบ้านเรือนหลังต่อมาและขยายเป็นหมู่บ้าน สมัยนั้นการขอแบ่งที่ดินจากกันเอากล้วยแลกกันได้ และถนน หน้าบ้านพ่อใหญ่อุปฮาด ถูกตั้งชื่อว่า ถนน พ.ศ. 2462 ซึ่งเป็นปี พ.ศ. ที่ตั้งอำเภอตามที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา\nการที่พ่อใหญ่อุปฮาด อพยพมาจากเมืองมลาไสย เนื่องจากจะมีการสัมนาผู้ที่เกี่ยวของกับการปฏิวัติ ซึ่งอาจจะเป็น รศ 130 ที่มีเชื้อพระวงศ์กว่าครึ่งเข้าร่วมด้วย จึงได้มีการสร้างสะพาน รศ 130 ขึ้นในบริเวณแยกเสาวนีย์ ใกล้ๆสวนดุสิต เพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายลึกซึ้ง",
"title": "อำเภอโพนทอง"
},
{
"docid": "395832#6",
"text": "ในพงศาวดารเมืองกาฬสินธุ์ฉบับพระราษฎรบริหาร (ท้าววันทองหรือท้าวทอง) เจ้าเมืองกมลาสัย (เมืองกระมาลาไสย) ซึ่งเขียนด้วยลายมือภาษาลาวอักษรไทยลงบนสมุดข่อยหรือสมุดไทยขาวหมึกดำ เป็นสมบัติเดิมของนางรำไพ อัมมะพะ (สกุลเดิม บริหาร) ทายาทของพระราษฎรบริหาร (วันทอง) ถ่ายสำเนาเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ โดยอาจารย์ธีรชัย บุญมาธรรม อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ สถาบันราชภัฏมหาสารคาม ซึ่งนายบุญมี ภูเดช (เปรียญ) ได้เคยนำมาพิมพ์รวมอยู่ในหนังสือเรื่องพงศาวดารเมืองกาฬสินธุ์และประวัติเมืองขึ้นในยุคเก่า พิมพ์ที่โรงพิมพ์จินตภัณฑ์การพิมพ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ พิมพ์จำนวน ๑,๐๐๐ ฉบับ ในคำปรารภของหนังสือกล่าวว่าได้ต้นฉบับมาจากพระราชพรหมจริยคุณ วัดกลาง เมืองกาฬสินธุ์ ซึ่งพิมพ์จากหนังสือที่พระราษฎรบริหาร (วันทอง) เรียบเรียงไว้ เอกสารดังกล่าวได้กล่าวถึงพระประวัติของพระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) ไว้ดังต่อไปนี้",
"title": "พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร)"
},
{
"docid": "395832#12",
"text": "สายสกุลเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ที่เป็นเครือญาติกับเจ้าโสมพะมิตรที่สำคัญ มีดังนี้อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร",
"title": "พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร)"
},
{
"docid": "586595#8",
"text": "นอกจากนี้ สกุล ณ กาฬสินธุ์ ยังมีสายสกุลที่เกี่ยวข้องทางเครือญาติที่สำคัญอีกหลายสกุล คือ",
"title": "พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์)"
},
{
"docid": "7204#16",
"text": "รายนามเจ้าเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์รายนามวาระการดำรงตำแหน่ง1. พระยาชัยสุนทร (เจ้าโสมพะมิตร) ผู้ก่อตั้งเมืองและเจ้าเมืององค์แรกพ.ศ. 2336 - 23492. พระยาชัยสุนทร (หมาแพง)พ.ศ. 2349 - 23693. พระยาชัยสุนทร (เจียม)พ.ศ. 2371 - 23824. พระยาชัยสุนทร (หล้า)พ.ศ. 2383 - 23885. พระยาชัยสุนทร (ทอง)พ.ศ. 2389 - 23946. พระยาชัยสุนทร (จารย์ละ)พ.ศ. 2394 - 23957. พระยาชัยสุนทร (กิ่ง)พ.ศ. 2395 - 24118. พระยาชัยสุนทร (หนู)พ.ศ. 2411 - 24209. พระยาชัยสุนทร (นนท์)พ.ศ. 2420 - 242510. พระยาชัยสุนทร (พั้ว)พ.ศ. 2425 - 243311. พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์)พ.ศ. 2433 - 243712. พระยาชัยสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ)พ.ศ. 2437 - 244413. หลวงอภัยพ.ศ. 2444 - 245514. พระยาชัยสุนทร (ปุย อินทรตุล)พ.ศ. 2455 - 246115. พระยาชัยสุนทรภักดีพ.ศ. 2461 - 247416. พระเสน่หามนตรี (ชื่น สุคนธหงษ์)[2] [3]พ.ศ. 2474 - 248317. พระอรรถเปศลสรวดี (เจริญ ทรัพยสาร) [4]พ.ศ. 2483 - 249018. ขุนบริบาลบรรพตเขตพ.ศ. 2490 - 249219. ขุนรัตนวรพงศ์พ.ศ. 2492 - 249320. นายปลั่ง ทัศนประดิษฐ์พ.ศ. 2493 - 249621. ขุนบุรราษฎรนราภัยพ.ศ. 2496 - 249722. นายเชวง ไชยสุตพ.ศ. 2497 - 249923. นายพร บุญยประสพ [5]พ.ศ. 2500 - 250224. นายเลื่อน ไขแสงพ.ศ. 2502 - 250925. นายบุรี พรหมลักขโณพ.ศ. 2509 - 251326. นายสง่า จันทรสาขาพ.ศ. 2513 - 251527. นายวิเชียร เวชสวรรค์พ.ศ. 2515 - 251628. นายดำรง วชิโรดมพ.ศ. 2516 - 2519 รายนามเจ้าเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ (ต่อ)รายนามวาระการดำรงตำแหน่ง29. นายอรุณ ปุสเทพพ.ศ. 2519 - 252130. นายกรี รอดคำดีพ.ศ. 2521 - 252331. นายประกิต พิณเจริญพ.ศ. 2523 - 252732. นายสนอง รอดโพธิ์ทองพ.ศ. 2527 - 252833. ร.ต.ปฏิภาณ จูฑะพุทธิพ.ศ. 2528 - 253134. ร.ต.วัฒนา สูตรสุวรรณพ.ศ. 2531 - 253335. พ.ต.ดาวเรือง นิชรัตน์พ.ศ. 2533 - 253536. นายสนิทวงศ์ อุเทศนันทน์พ.ศ. 2535 - 253837. นายชวพงษ์ วัฒนสินธุ์พ.ศ. 2538 - 254038. นายประสิทธิ์ พรรณพิสุทธิ์พ.ศ. 2540 - 254139. นายวีระ เสรีรัตน์พ.ศ. 2541 - 254240. นายชัยรัตน์ มาประณีตพ.ศ. 2542 - 254641. นายวรสิทธิ์ โรจนพานิชพ.ศ. 2546 - 254742. นายนิรันดร์ จงวุฒิเวศย์พ.ศ. 2547 - 254843. นายกวี กิตติสถาพรพ.ศ. 2548 - 255044. นายประชา จิตสุทธิผล1 ต.ค. 2550 - 5 พ.ค. 255145. นายเดชา ตันติยวรงค์6 พ.ค. 2551 - 30 ก.ย. 255246. นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์1 ต.ค. 2552 - 27 พ.ย. 255447. นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต28 พ.ย. 2554 - 28 ต.ค. 255548. นายสุวิทย์ สุบงกฎ12 พ.ย. 2555 - 1 มิ.ย. 255749. นายภุชงค์ โพธิกุฎสัย2 มิ.ย. 2557 - 30 ก.ย. 255850. นายวินัย วิทยานุกูล1 ต.ค. 2558 - 30 ก.ย. 255951. นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป1 ต.ค. 2559 - 4 เม.ย. 256052. นายสุวิทย์ คำดี5 เม.ย. 2560 - 30 ก.ย. 256053. นายไกรสร กองฉลาด1 ต.ค. 2560 - ปัจจุบัน",
"title": "จังหวัดกาฬสินธุ์"
},
{
"docid": "395832#10",
"text": "\"ครั้นพระยาไชยสุนทร (โสมพมิตร) อุปฮาด (คำหวา) ถึงแก่กรรมแล้ว จึ่งโปรดตั้งให้ท้าวหมาแพงบุตรท้าวอุปชา เปนพระยาไชยสุนทรเจ้าเมือง ให้ท้าวหมาสุยเปนอุปฮาด ให้ท้าวหมาพวงเปนราชวงษ์ ทั้งสองคนนี้เปนบุตรพระยาไชยสุนทร (โสมพมิตร) เปนผู้รักษาเมืองกาฬสินธุ์ต่อไป แลโปรดเกล้าฯ ให้ข้าหลวงขึ้นไปสักตัวเลขเปนเลขขึ้นเมืองกาฬสินธุ์มีจำนวนครั้งนั้นรวม ๔๐๐๐ คน แบ่งเปนส่วนขึ้นกับเจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงษ์ตามสมควร\"",
"title": "พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร)"
},
{
"docid": "586595#2",
"text": "ก่อน พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ ร.ศ.116 ยกเลิกระบบการปกครองแบบเก่า ต่อมา กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลอีสาน เสด็จตรวจราชการถึงเมืองกาฬสินธุ์ พบว่าเจ้าเมืองกำลังว่างอยู่ จึงกราบทูลขอตั้งท้าวเกเมื่อครั้งดำรงบรรดาศักดิ์เป็นที่พระสินธุ์ประชาธรรมให้เป็นที่พระยาชัยสุนทรเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ และให้เมืองกมลาไสยมาขึ้นอยู่กับเมืองกาฬสินธุ์เช่นเดิม[3] ต่อมาไม่นาน จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระสินธุ์ประชาธรรม (เก) เป็นที่ พระยาชัยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ต่อมา เมื่อสยามยุบตำแหน่งเจ้าเมืองหรือระบบการปกครองแบบคณะอาญาสี่ลง จึงโปรดฯ ให้ พระยาชัยสุนทร (เก) ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองกาฬสินธุ์ท่านแรก[4] ในปี พ.ศ. 2433 ซึ่งเป็นสมัยที่พระยาชัยสุนทร (เก) ปกครองเมืองกาฬสินธุ์อยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แบ่งการปกครองหัวเมืองลาวตะวันออกออกเป็น 4 กอง ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นายสุดจินดา (เลื่อน) เป็นข้าหลวงกำกับราชการเมืองกาฬสินธุ์ เมืองกมลาไสย และเมืองภูแล่นช้าง เมืองดังกล่าวจัดอยู่ในหัวเมืองลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลลาวกาวและเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอีสาน จากนั้นราว พ.ศ. 2437-2444 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาชัยสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางสุ)[5] ปกครองเมืองกาฬสินธุ์ต่อมาจากพระยาชัยสุนทร (เก) ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หัวเมืองกาฬสินธุ์ขึ้นอยู่กับบริเวณร้อยเอ็ด[6] จากนั้นรัฐบาลสยามได้จัดการเปลี่ยนการปกครองจากการให้เจ้าเมืองปกครองขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ มาจัดการปกครองให้มีภาค จังหวัด อำเภอ และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เมืองร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดร้อยเอ็ด บรรดาหัวเมืองต่างๆ ให้ยุบเป็นอำเภอ คือ เมืองกาฬสินธุ์ เป็นอำเภออุทัยกาฬสินธุ์ จนกระทั่งถึงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2456 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะจังหวัดร้อยเอ็ดขึ้นเป็นมณฑล ยกฐานะอำเภออุทัยกาฬสินธุ์ขึ้นเป็นจังหวัดกาฬสินธุ์ ให้จังหวัดกาฬสินธุ์มีอำนาจปกครองอำเภอ คือ ให้อำเภออุทัยกาฬสินธุ์ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอกมลาไสย อำเภอยางตลาด ขึ้นกับจังหวัดกาฬสินธุ์ และให้จังหวัดกาฬสินธุ์ขึ้นต่อมณฑลร้อยเอ็ด ให้พระภิรมย์บุรีรักษ์เป็นปลัดมณฑลประจำจังหวัดกาสินธุ์ และขุนชัยศรีทรงยศ (ศรี ฆารสินธุ์) เป็นนายอำเภอเมืองกาฬสินธุ์[7] ถือเป็นอันสิ้นสุดระบบอาญาสี่ที่เคยปกครองเมืองกาฬสินธุ์มาอย่างยาวนานถึงสองร้อยกว่าปี และเป็นการยุติบทบาทของเจ้านายจากราชวงศ์เวียงจันทน์ที่ทรงปกครองเมืองกาฬสินธุ์มายาวนานมากถึง 12 องค์[8]",
"title": "พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์)"
},
{
"docid": "395832#9",
"text": "\"...ลุจุลศักราช ๑๑๕๕ ปีฉลูเบญจศก ท้าวโสมพมิตร ท้าวอุปชา ซึ่งเดิมอยู่บ้านผ้าขาวแขวงเมืองศรีสัตนาคนหุต แลพาครอบครัวยกมาตั้งอยู่บ้านท่าแก่งสำโรงริมน้ำปาวนั้น ได้พาพวกญาติพี่น้องมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทณกรุงเทพฯ ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารควบคุมบ่าวไพร่ตัวเลขเก็บผลเร่วส่งทูลเกล้าฯ ถวาย จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ท้าวโสมพมิตรเปนพระยาไชยสุนทรเจ้าเมือง ให้ท้าวคำหวาเปนที่อุปฮาด ยกบ้านแก่งสำโรงขึ้นเปนเมืองกาฬสินธุ์ทำราชการขึ้นกรุงเทพฯ อาณาเขตรเมืองกาฬสินธุ์ครั้งนั้นมีว่า ทิศตวันออกลำพยังตกลำน้ำชี ทิศเหนือเฉียงตวันตกภูเหล็กยอดลำน้ำสงครามมาลำไก่เขี่ย ตัดลงคูไชเถ้าเกาะจนกระทั่งห้วยสายบาทตกลำพวง ทิศเหนือเฉียงตวันออกภูศรีถานยอดลำห้วยหลักทอดตกลำพยัง แต่ภูศรีถานเฉียงเหนือยอดห้วยก้านเหลืองลงน้ำก่ำเมืองหนองหาร เฉียงเหนือภูเหล็กยอดลำน้ำสงครามมาลำน้ำยามถึงลำน้ำอุ่น ตัดมาหนองบัวส้างยอดน้ำลาดตกน้ำหนองหาร\"",
"title": "พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร)"
},
{
"docid": "586595#6",
"text": "เล่าลือกันว่า เมื่อพระยาชัยสุนทร (เก) ได้พบพระพุทธรูปหลวงพ่อองค์ดำแล้ว ก็มีความปรารถนาที่จะนำไปประดิษฐานไว้ที่หอโฮงการเจ้าเมือง (โฮงหรือจวนสำเร็จราชการ) ที่เมืองกาฬสินธุ์ เพื่อเป็นการเสริมบารมีแก่ตน แต่ชาวบ้านในละแวกนั้นไม่ต้องการให้นำหลวงพ่อองค์ดำไปจากหมู่บ้าน เนื่องจากชาวบ้านมีความเคารพนับถือและเลื่อมใสศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อองค์ดำมาแต่โบราณ พระยาชัยสุนทร (เก) จึงได้นำช้างทรง 5 เชือก มาอัญเชิญพระพุทธรูปออกไปให้สมฐานะผู้ปกครองเมือง ทำให้ชาวบ้านยอมถวายหลวงพ่อองค์ดำแก่พระยาชัยสุนทร (เก) ด้วยความไม่เต็มใจ เมื่อพระยาชัยสุนทร (เก) นำหลวงพ่อองค์ดำไปประดิษฐานที่หอโฮงการก็ทำเกิดเหตุอาเพศหลายประการแก่ตน อาทิ พ่อตาผู้เป็นบิดาของหม่อมห้ามถึงแก่กรรมด้วยโรคแปลกประหลาด แม่ยายผู้เป็นมารดาของหม่อมห้ามถึงแก่กรรม เกิดการทะเลาะวิวาทกันระหว่างนางสนมและหม่อมห้ามของพระองค์ เกิดไฟไหม้หอโฮงการ และพระองค์เองก็มีเหตุตกจากหลังช้างทรงจนได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น อาเภทเหล่านี้เป็นเหตุให้หลวงพ่อองค์ดำประดิษฐาน ณ หอโฮงการเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ได้เพียง 1 ปีเศษ ต่อมาพระยาชัยสุนทร (เก) จึงได้อัญเชิญไปถวายไว้เพื่อสืบทอดพระวรพุทธศาสนาและประดิษฐานที่วัดกลางพระอารามหลวง ซึ่งในขณะนั้นอาชญาคูอ้มดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ แต่ได้ไปจำพรรษาที่วัดเหนือและต่อมาได้จำพรรษาที่วัดกลาง จนถึงสมัยของพระครูสุขุมวาทวรคุณ (สุข สุขโณ) จึงได้นำหลวงพ่อองค์ดำประดิษฐานไว้ที่กุฎิเพื่อป้องกันการสูญหาย แต่ทว่าด้วยชื่อเสียงของหลวงพ่อองค์ดำทำให้ชาวบ้านต้องมาสักการะบูชา พระครูสุขุมวาทวรคุณ (สุข สุขโณ) จึงนำหลวงพ่อองค์ดำไปแห่รอบเมืองเพื่อขอฝนเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาชาวเมืองกาฬสินธุ์ เป็นเหตุให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลทำให้ชาวบ้านเรียกหลวงพ่อองค์ดำอีกนามหนึ่งว่า หลวงพ่อซุ่มเย็น ต่อมา ชาวเมืองกาฬสินธุ์เรียกขานนามว่า พระพุทธสัมฤทธิ์นิรโรคันตราย[11]",
"title": "พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์)"
},
{
"docid": "586595#9",
"text": "วงษาภักดี ณ กาฬสินธุ์ หนูไชยะ ณ กาฬสินธุ์ ไชยสิทธิ ต้นสกุลคือท้าวเฉลิม ท้าวเฉลิมเป็นบุตรของท้าวเบ้า เป็นหลานของท้าวราชวงษา เป็นเหลนของเจ้าพระยากำแหงมหึม (หมาฟอง) เป็นโหลนของท้าวเมืองแสนฆ้อนโปง ไชยศิริ ต้นสกุลคือท้าวสมศรี ท้าวสมศรีเป็นบุตรของท้าวพานคำ เป็นหลานของท้าวรส เป็นเหลนของท้าวสุวรรณเกษ เป็นโหลนของท้าวเมืองแสนฆ้อนโปง ทองทวี ต้นสกุลคือท้าวเปลี่ยน ท้าวเปลี่ยนเป็นบุตรของท้าวดี เป็นหลานของท้าวทอง เป็นเหลนของพระยาไชยสุนทร (หมาเจียม) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ เป็นโหลนของท้าวเมืองแสนหน้าง้ำ อาษาไชย ต้นสกุลคือท้าวทา ท้าวทาเป็นบุตรของท้าวดี เป็นหลานของท้าวทอง เป็นเหลนของพระยาไชยสุนทร (หมาเจียม) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์เป็นโหลนของท้าวเมืองแสนหน้าง้ำ ศิริกุล ต้นสกุลคือขุนแก้วไกรสร ขุนแก้วไกรสรเป็นบุตรของท้าวโง่น เป็นหลานของท้าวบัว เป็นเหลนของพระยาไชยสุนทร (จารย์ละ) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ เป็นโหลนของท้าวเมืองแสนหน้าง้ำ บริหาร ต้นสกุลคือพระราษฎรบริหาร (เกษ) เจ้าเมืองกมลาไสยองค์แรก (เดิมเป็นที่ราชวงษ์เมืองกาฬสินธุ์) พระราษฎรบริหาร (เกษ)เป็นบุตรของท้าวโคตร เป็นหลานของเจ้าหญิงหวดกับเจ้าฮวดเมืองนครจำปาศักดิ์ เป็นเหลนของท้าวอุปชา เป็นโหลนของเจ้าองค์ไชยในสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๑ (พระไชยองค์เว้) วงศ์กาฬสินธุ์ ต้นสกุลคือพระยาไชยสุนทร (หล้า) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ พระยาไชยสุนทร (หล้า)เป็นบุตรของเจ้าอุปฮาต (หมาป้อง) เป็นหลานของพระยาไชยสุนทร (โสมพะมิตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ กับพระนางหล้าสร้อยเทวี ศรีกาฬสินธุ์ ต้นสกุลคือพระละคอน พระละคอนเป็นบุตรของเจ้าอุปฮาต (หมาป้อง) เป็นหลานของพระยาไชยสุนทร (โสมพะมิตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ กับพระนางหล้าสร้อยเทวี พิมพะนิตย์ ต้นสกุลคือท้าวธิติษา ท้าวธิติษาเป็นบุตรของเจ้าอุปฮาต (หมาป้อง) เป็นหลานของพระยาไชยสุนทร (โสมพะมิตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ กับพระนางหล้าสร้อยเทวี พูลวัฒน์ ต้นสกุลคือท้าวพรหมจักร ท้าวพรหมจักรเป็นบุตรของเจ้าอุปฮาต (หมาป้อง) เป็นหลานของพระยาไชยสุนทร (โสมพะมิตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ กับพระนางหล้าสร้อยเทวี อักขราสา ต้นสกุลคือท้าวพรหมจักร ท้าวพรหมจักรเป็นบุตรของเจ้าอุปฮาต (หมาป้อง) เป็นหลานของพระยาไชยสุนทร (โสมพะมิตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ กับพระนางหล้าสร้อยเทวี วงศ์กมลาไสย , วงศ์กาไสย ต้นสกุลคือท้าวหมาปุย ท้าวหมาปุยเป็นบุตรของเจ้าอุปฮาต (หมาป้อง) เป็นหลานของพระยาไชยสุนทร (โสมพะมิตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ กับพระนางหล้าสร้อยเทวี สินธุศิริ ต้นสกุลคือ........./........ ปู่อินทิแสง บุตร อุ๋ บาล บง ทุมมา[13]",
"title": "พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์)"
},
{
"docid": "395832#4",
"text": "เมื่อกองทัพของสมเด็จพระเจ้าสิริบุนสารยกมารบกวน ท้าวโสมพะมิตเห็นดังนั้นจึงยกไพร่พลอพยพข้ามสันเขาภูพานลงมาทางทิศใต้ แล้วมาตั้งบ้านเรือนหนาแน่นอยู่ ณ บ้านกลางหมื่นทรงเป็นใหญ่ปกครองไพร่พลในที่นั้น ต่อมาประมาณปีเศษ ในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ จึงทรงอพยพผู้คนไปตั้งบ้านเรือนที่แก่งส้มโฮง (แก่งสำโรง) ดงสงเปือย ริมฝั่งลำแม่น้ำปาว ใน พ.ศ. ๒๓๓๖ ท้าวโสมพะมิตจึงเดินทางไปยังกรุงเทพมหานคร แล้วเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระมหากษัตริย์สยามขอพระราชทานนามเมือง โดยได้นำเครื่องมงคลราชบรรณาการมีค่าเป็นกาน้ำสำริดที่นำติดตัวมาแต่สมัยรับราชการอยู่นครเวียงจันทน์ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายด้วย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมืองพระราชทานมามว่า เมืองกาฬสินธุ์ ด้วยเหตุนำนามของกาน้ำสำริดมาเป็นมงคลนิต พร้อมทั้งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาท้าวโสมพะมิตขึ้นเป็นที่พระยาไชยสุนทร เจ้าผู้ครองเมืองกาฬสินธุ์เป็นพระองค์แรก เมื่อแรกตั้งเมืองนั้นเมืองกาฬสินธุ์มีฐานะเป็นเมืองประเทศราชต่อมาถูกลดฐานะลงเป็นหัวเมืองชั้นเอกแต่ยังไม่มีหัวเมืองขึ้น แต่นั้นมาทางราชสำนักฝ่ายสยามได้ถือว่าบรรดาศักดิ์ที่พระยาชัยสุนทรนี้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชทินนามสำหรับเจ้าผู้ครองเมืองกาฬสินธุ์โดยเฉพาะ",
"title": "พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร)"
},
{
"docid": "395832#3",
"text": "พระยาชัยสุนทร (ท้าวโสมพะมิต) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์พระองค์แรก (พ.ศ. ๒๓๓๖) ประสูติราวปี พ.ศ. ๒๒๗๕ พระบิดาเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๒ (พระไชยองค์เว้ พ.ศ. ๒๒๕๐-๒๒๗๓) พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ฝ่ายพระมารดาทรงเป็นพระนัดดา (หลานสาว) ในเจ้าผ้าขาว ทรงรับราชการในราชสำนักเวียงจันทน์จนได้รับความชอบ พระมหากษัตริย์แห่งนครเวียงจันทน์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระยศเป็นที่ พญาโสมพะมิต ต่อมา ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๒๐ พญาโสมพะมิตร และญาติพี่น้องคือ อุปฮาดเมืองแสนฆ้องโปงและเมืองแสนหน้าง้ำ ได้เกิความขัดแย้งกับสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๓ (พระเจ้าสิริบุนสาร) (พ.ศ. ๒๒๙๔-๒๓๒๒) ผู้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งนครเวียงจันทน์พระองค์ต่อมา จึงทรงรวบรวมผู้คนเป็นสมัครพรรคพวกได้ประมาณหนึ่งหมึ่นคน ข้ามลำน้ำโขงมาตั้งเป็นชุมชนใหญ่ที่บ้านผ้าขาวและบ้านพันนา บริเวณพระธาตุเชิงชุมในจังหวัดสกลนครปัจจุบัน ฝ่ายพระเจ้าศิริบุนสานทรงส่งกองทัพหลวงติดตามมาเพื่อกวาดต้อนผู้คนที่อพยพหลบหนีให้กลับคืนสู่นครเวียงจันทน์",
"title": "พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร)"
},
{
"docid": "586595#3",
"text": "พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์) มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์กรุงสยามมาก โดยเฉพาะรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เมื่อครั้งพระองค์เสด็จประพาสประเทศยุโรปทั้ง 2 ครั้ง พระยาชัยสุนทร (เก) ได้นำบุตรภริยาเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ดื่มน้ำพระพิพัฒสัตยาเพื่อส่งเสด็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ในความจงรักภักดีของพระยาชัยสุนทร (เก) มาก ทรงเคยตรัสเกี่ยวกับพระยาชัยสุนทร (เก) ว่า เป็นเจ้าเมืองรูปงาม ผิวขาว ร่างบอบบาง ทรงโปรดฯ เรียก อ้ายพระยาน้อย ซึ่งเป็นนามที่ทำให้พระยาชัยสุนทร (เก) ปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น พระยาชัยสุนทร (เก) ได้เล่าให้บรรดาบุตรหลานฟังเสมอมา และมักอบรมสั่งสอนให้บุตรหลานทุกคนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระเจ้ากรุงสยามทุกพระองค์ หากบุตรหลานคนใดได้มีโอกาสรับราชการ ก็ขอให้บุตรหลานทุกคนได้ปฏิบัติหน้าที่ของคนไทยด้วยความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ มีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ อย่าได้ฉ้อราษฎร์บังหลวงเป็นอันขาด และขอให้ทุกคนถือว่า คนกาฬสินธุ์คือญาติพี่น้องของเราทุกคน",
"title": "พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์)"
},
{
"docid": "395832#5",
"text": "พระยาชัยสุทร (โสมพะมิตร) ทรงปกครองเมืองกาฬสินธุ์ด้วยความสงบเรียบร้อย ทรงสร้างบ้านแปงเมืองให้เจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๔๕ ทรงชราภาพจึงได้มอบหมายราชการงานเมืองให้ท้าวหมาแพงรักษาดูแลแทนต่อไป",
"title": "พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร)"
},
{
"docid": "586595#7",
"text": "ณ กาฬสินธุ์ เป็น 1 ใน 21 นามสกุล ณ พระราชทานครั้งแรกของประเทศไทย นามสกุลพระราชทานลำดับที่ 1190 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) พระราชทานแก่พระยาไชยสุนทร (เก) หรือพระยาชัยสุนทร (เก) กรมการพิเศษเมืองกาฬสินธุ์ กระทรวงมหาดไท มณฑลร้อยเอ็จ อดีตเจ้าเมืองกาฬสินธุ์องค์สุดท้าย ทรงพระราชทานเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2457 พระปัยกา (ทวด) ชื่อพระไชยสุนทร (หมาสุ่ย) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์องค์ที่ 3 พระอัยกา (ปู่) ชื่อพระยาไชยสุนทร (หนูม้าว) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์องค์ที่ 8 บิดาชื่อราชบุตร (งวด) เชื้อเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ เขียนเป็นอักษรโรมันว่า na Kalasindhu ตามประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งที่ 15 เล่มที่ 31 หน้าที่ 64 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร รับพระบรมราชโองการ[12]",
"title": "พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์)"
},
{
"docid": "395832#2",
"text": "อนึ่ง พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) และเครือญาติบุตรหลานทั้งหมดของพระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) ได้เป็นผู้ปกครองหัวเมืองใหญ่น้อยตั้งแต่สมัยราชอาณาจักรล้านช้างจนเปลี่ยนแปลงการปกครองอยู่หลายหัวเมือง เช่น เมืองผ้าขาว (ปัจจุบันคือบ้านผ้าขาวหรือบ้านปะขาว) เมืองพันนา (ปัจจุบันคือบ้านพรรณา) เมืองกาฬสินธุ์ เมืองกมลาสัย (เมืองกมลาไสย) เมืองสหัสขันธ์ เมืองสกลทวาปี (บ้านธาตุเชียงชุม) เมืองกลางหมื่น (บ้านกลางหมื่น) เป็นต้น",
"title": "พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร)"
},
{
"docid": "395832#11",
"text": "\"ฝ่ายราชวงษ์ (พอง) นั้น กระทำการเกี่ยงแย่งหาเปนสามัคคีกับพระยาไชยสุนทรไม่ จึ่งอพยพครอบครัวแยกไปตั้งอยู่ณบ้านเชียงชุมแล้วไปยอมสมัคขึ้นอยู่กับเมืองเวียงจันท์ (ศรีสัตนาคนหุต)...\"",
"title": "พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร)"
},
{
"docid": "7204#34",
"text": "พระยาชัยสุนทร (เจ้าโสมพะมิต) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์องค์ที่ 1 พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์) เป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์องค์ที่ 11 พระธิเบศรวงศา (กอ) เจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์ คนแรก เมืองบริวารของหัวเมืองกาฬสินธุ์ พระราษฏรบริหาร (เกษ) เจ้าเมืองกระมาลาไสย (กมลาไสย) คนแรก เมืองบริวารของหัวเมืองกาฬสินธุ์ พระพิชัยอุดมเดช เจ้าเมืองภูแล่นช้าง คนแรก เมืองบริวารของหัวเมืองกาฬสินธุ์ พระสุวรรณภักดี เจ้าเมืองท่าขอนยาง คนแรก เมืองบริวารของหัวเมืองกาฬสินธุ์ พระศรีสุวรรณ เจ้าเมืองแซงบาดาล คนแรก เมืองบริวารของหัวเมืองกาฬสินธุ์ พระประชาชนบาล เจ้าเมืองหัสขันธ์ คนแรก เมืองบริวารของหัวเมืองกาฬสินธุ์ พระปทุมวิเศษ เจ้าเมืองกันทรวิชัย คนแรก เมืองบริวารของหัวเมืองกาฬสินธุ์",
"title": "จังหวัดกาฬสินธุ์"
},
{
"docid": "737359#2",
"text": "เจริญใจ สุนทรวาทิน หรือชื่อที่รู้จักโดยทั่วไปว่า “อาจารย์เจริญใจ” เกิดเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2458 เป็นบุตรีของพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) กับคุณหญิงเสนาะดุริยางค์ (เรือน) เกิด ณ บ้านย่านคลองบางไส้ไก่ ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร บิดาเป็นนักดนตรีไทยที่มีชื่อเสียงและเป็นเจ้ากรมพิณพาทย์หลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพี่น้องร่วมมารดาทั้งหมด 4 คน คือ เลียบ เลื่อน เชื้อ และเจริญ (นามเดิม) และมีพี่น้องต่างมารดาจำนวน 2 คน คือ ช้าและเชื่อง ในจำนวนพี่น้องทั้ง 6 คนนั้น มีพี่สาวคือ เลื่อน สุนทรวาทิน (ผลาสินธุ์) เป็นนักร้องเพลงไทยที่มีชื่อเสียง เมื่อแรกเกิดได้ไม่นาน บิดาได้นำทองคำบริสุทธิ์ฝนให้กินวันละหยดเป็นเวลา 3 วัน และได้ตั้งชื่อว่า “เจริญ” ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็น “เจริญใจ” ในภายหลัง และมีชื่อเรียกในหมู่พี่น้องว่า “เล็ก” เนื่องจากเป็นลูกคนสุดท้อง",
"title": "เจริญใจ สุนทรวาทิน"
},
{
"docid": "395832#0",
"text": "พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) หรือพระยาไชยสุนทร เดิมพระนามว่า เจ้าโสมพะมิตร หรือ ท้าวโสมพะมิตร ในเอกสารพื้นเมืองเวียงจันทน์ออกพระนามว่า ท้าวโสมบพิตร ส่วนพงศาวดารเมืองกาฬสินธุ์และเมืองกมลาสัยออกพระนามว่า พระยาสมพมิษ ทรงเป็นเจ้าผู้ปกครองเมืองกาฬสินธุ์ (กาละสินธ์ หรือ กาลสิน) พระองค์แรกและทรงเป็นเจ้าผู้สร้างเมืองกาฬสินธุ์ ปัจจุบันคือจังหวัดกาฬสินธุ์ในภาคอีสานของประเทศไทย เดิมรับราชการในราชสำนักนครเวียงจันทน์เป็นที่พญาโสมพะมิตร ภายหลังได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ของสยามให้เป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์พระองค์แรกในฐานะเมืองประเทศราช พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) ทรงเป็นต้นสกุล วงศ์กาฬสินธุ์ ศรีกาฬสินธุ์ พิมพะนิตย์ พูลวัฒน์ อักขราสา และสกุล วงศ์กมลาไสย หรือ วงศ์กาไสย อีกทั้งทรงเป็นพระราชเชษฐาในเจ้าเมืองแสนฆองโปง ต้นสกุลพระราชทาน ณ กาฬสินธุ์ แห่งจังหวัดกาฬสินธุ์อีกด้วย",
"title": "พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร)"
},
{
"docid": "395832#1",
"text": "พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางหล้าสร้อยเทวีแห่งนครเวียงจันทน์ เป็นพระราชนัดดา (หลาน) ในสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๒ (พระไชยองค์เว้) พระราชบิดาของพระองค์พระนามว่า เจ้าองค์ไชย ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๒ (พระไชยองค์เว้) พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างพระองค์ที่ ๓๖ และพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรเวียงจันทน์พระองค์ที่ ๑ ปฐมกษัตริย์ผู้สถาปนาราชวงศ์เวียงจันทน์ ฝ่ายพระมารดาของพระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) นั้นเป็นพระนัดดาในเจ้าผ้าขาว (เจ้าปะขาว) ผู้สร้างเมืองผ้าขาวและเมืองพันนา (เมืองพนาง) ในจังหวัดสกลนคร สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๒ (พระไชยองค์เว้) ทรงเป็นพระราชนัดดา (หลานอา) ในพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างพระองค์ที่ ๓๒ และเป็นพระราชนัดดา (หลานปู่) ในพระเจ้าต่อนคำพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างพระองค์ที่ ๓๑ ฝ่ายเจ้าผ้าขาว (เจ้าปะขาว) นั้นทรงเป็นพระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์เช่นเดียวกัน ดังนั้น พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) จึงเป็นเจ้าผู้ปกครองเมืองกาฬสินธุ์และเป็นเจ้านายฝ่ายหัวเมืองลาว-อีสานที่สืบเชื้อสายจากราชวงศ์เวียงจันทน์อีกสายหนึ่ง",
"title": "พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร)"
},
{
"docid": "586595#5",
"text": "หลวงพ่อองค์ดำนี้ตามประวัติกล่าวว่า เจ้าพระยาจักรี (ต่อมาได้ปราบดาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี) ได้กวาดต้อนประชาชนชาวผู้ไทมาจากอาณาจักรล้านช้างฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์มีบ่อคำแดงอยู่มากในแถบบริเวณเมืองสุวรรณเขต ประชาชนชาวผู้ไทกลุ่มหนึ่งได้อพยพไปอยู่ที่เมืองภูแล่นช้างแล้วตั้งเป็นหมู่บ้าน ปัจจุบันคือตำบลนาขาม อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ต่อมาอาชญาคูกิวซึ่งเป็นพระเถระที่ได้รับการยกย่องนับถือและเป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกกวาดต้อนมา ได้นำทองแดงและทองคำที่ได้มาจากเมืองสุวรรณเขตมาด้วย ต่อมาอาชญาคูกิวจึงได้หล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2353 โดยมีช่างจากทางล้านนาโบราณที่เชี่ยวชาญมาเป็นผู้ แต่ว่าทองแดงมีจำนวนไม่มากพออาชญาคูกิวจึงเดินทางกลับไปนำทองแดงมาเพิ่มอีกครั้ง ภายหลังเมื่อหล่อพระพุทธรูปสำเร็จแล้ว ปรากฏว่าองค์พระพุทธรูปทำปฏิกิริยาออกซิ-เดชั่นกับออกซิเจนในอากาศเกิดเป็นสนิมสีดำเกาะทั่วองค์พระพุทธรูป เมื่อขัดสนิมออกแล้วจึงเห็นสีทองแดง เมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ก็กลับเกิดเป็นสีดำเช่นเดิม ชาวบ้านจึงขนานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า หลวงพ่อองค์ดำ ต่อมาชาวบ้านได้นำไปประดิษฐานที่วัดนาขาม บ้านนาขาม หลวงพ่อองค์ดำมีพุทธลักษณะเป็นปางซำนะมาร (ปางมารวิชัย) ขัดสมาธิราบ วัสดุทองสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง 41 เซนติเมตร ฐานสูง 37 เซนติเมตร สูงจากฐานถึงยอดพระเมาลี 75 เซนติเมตร ที่ฐานมีจารึกอักษรธรรมลาว (โตธัมม์) สมัยหลวงพระบางความว่า สังกราช ราชาได้ฮ้อย ๗๒ ตัว ปีกด สะง้า เดือน ๒ ขึ้น ๑๕ ค่ำ วัน ๕ มื้อ ฮ่วงเหม่า นักขัตตะฤกษ์ อีกหน่วยซื่อว่า ปุสสยะ สังเฆ สะมะดี มีเจ้าครูนาขาม (กิว) เป็นเค้าเป็นเจ้าอธกศรัทธา ทายก อุปสก อุปาสิกา พ่ำพร้อม น้อมนำมายังตัมพะโลหาเป็นเอกศรัทธา สร้าง พระพุทธรูปองค์นี้ไว้ให้ได้เป็นที่ไหว้และบูชาแก่คนและเทวดา ตาบต่อเท่า ๕๐๐๐ วัสสา นิพพาน ปัจจโย โหติ นิจจัง ธุวัง ธุวัง[10]",
"title": "พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์)"
},
{
"docid": "586595#10",
"text": "หมวดหมู่:บรรดาศักดิ์ชั้นพระยา หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดกาฬสินธุ์ หมวดหมู่:ผู้ครองเมืองกาฬสินธุ์ หมวดหมู่:สกุล ณ กาฬสินธุ์ หมวดหมู่:พระบรมวงศานุวงศ์ลาว",
"title": "พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์)"
},
{
"docid": "421031#1",
"text": "เดิมอยู่ที่โบสถ์วัดนาขาม ตำบลนาคู อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ญาคูนาขามหรือญาคูกิว ร่วมกับอุบาสก อุบาสิกา จัดสร้างขึ้นในปีมะเมีย เดือน 2 ขึ้น 15 ค่ำ วันพฤหัสบดี จ.ศ. 172 ต่อมาพระยาชัยสุนทร (เก)ได้อัญเชิญมาจากบ้านนาขามโดยใส่หลังช้างมาประดิษฐานในโฮงเจ้าเมือง และต่อมาได้อัญเชิญมาประดิษฐานในวิหารวัดกลาง (ปัจจุบันเป็นหอพระ) สมัยนั้น ญาคูอ้มเป็นเจ้าอาวาส ต่อมาพระครูสุขุมวาทวรคุณ (สุข สุขโณ)(สมณศักดิ์ขณะนั้น) เป็นเจ้าอาวาสได้อัญเชิญมาประดิษฐานบนกุฎีของท่าน ทุกปีในวันสงกรานต์ ชาวเมืองกาฬสินธุ์ได้อัญเชิญหลวงพ่อองค์ดำแห่รอบเมืองเพื่อให้ชาวเมืองกาฬสินธุ์ได้สรงน้ำ ปรากฏว่ามีฝนตกทุกครั้งไป ชาวเมืองกาฬสินธุ์จึงเรียกชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า หลวงพ่อชุ่มเย็น\nต่อมา พระวิเชียรกวี (ปราชญ์ อกฺกโชโต)(สมณศักดิ์ขณะนั้น) เจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์และคณะกรรมการวัดพร้อมด้วยผู้มีจิตศรัทธา บริจาคเงินสมทบทุนในการก่อสร้างพระวิหารฯ ได้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2546 โดยมีพระธรรมปริยัติโมลี เจ้าคณะภาค 9 วัดทินกรนิมิต เป็นประธาน และได้อัญเชิญหลวงพ่อองค์ดำขึ้นประดิษฐาน ณ พระวิหารนี้ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2546 ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 12 ปีมะแม จ.ศ. 1365 ซึ่งมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) กรรมการมหาเถรสมาคมเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก วัดสระเกศ เป็นประธานในพิธีเปิดพระวิหารนี้",
"title": "พระพุทธสัมฤทธิ์นิรโรคันตราย"
}
] |
1128 | ลา ฟลอร่าที่ตั้งอยู่ใบนเกาะลึกลับในทะเลใด? | [
{
"docid": "340785#2",
"text": "ทิวา เด็กหญิงชาวไทยผู้ห่างไกลความเป็นกุลสตรี ได้รับคำเชิญให้ไปเรียนที่สถาบันสตรี ลา ฟลอร่า ที่ตั้งอยู่ใบนเกาะลึกลับในทะเลเมดิเตอเรเนียน ทิวาจำใจรับคำเชิญและเดินทางไปเรียน เพราะทิวาต้องการไปสืบหาข่าวของแม่ที่ได้หายสาบสูญไป[5] ที่โรงเรียน ทิวาได้พบเรื่องวุ่นวายและอุปสรรคมากมาย และได้พบมิตรภาพจากเพื่อนๆในโรงเรียน[6]และทิวาก็ได้พบว่ารักเกิดขึ้นได้เพราะตัวเราและความสุขที่ทิวากับเพื่อนๆได้ร่วมสร้างกันนั้นคือมิตรภาพ",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
}
] | [
{
"docid": "340785#24",
"text": "ลา ฟลอร่า GOGO อาเซียน ตอน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับภูตพิพิธภัณฑ์จอมจุ้น ลา ฟลอร่า GOGO อาเซียน ตอน อลวนป่วนโรงเรียนกับเจ้าภูตพิพิธภัณฑ์อาเซียน ลา ฟลอร่า GOGO อาเซียน ตอน พิพิธภัณฑ์มาเลเซียแสนวุ่นวาย ทิวาถูกสลับร่างซะแล้ว... ลา ฟลอร่า GOGO อาเซียน ตอน มาเลเซียทำได้!! ยูริก็ต้องทำได้เจ้าค่ะ... ลา ฟลอร่า GOGO อาเซียน ตอน เหมยฮัวเผชิญหน้ากับมังกรโคโมโดจากอินโดนิเซีย",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "68866#0",
"text": "ทะเลแคริบเบียน (, หรือ ; ) เป็นทะเลเขตร้อนในซีกโลกตะวันตก ส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเม็กซิโก ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของแผ่นเปลือกโลกแคริบเบียน โดยทางทิศใต้จดทวีปอเมริกาใต้ ทางทิศตะวันตกและทิศใต้จดประเทศเม็กซิโกและอเมริกากลาง และทางทิศเหนือและทิศตะวันออกจดหมู่เกาะแอนทิลลีส ได้แก่ เกาะคิวบา เกาะฮิสปันโยลา เกาะจาเมกา และเกาะเปอร์โตริโกในหมู่เกาะเกรตเตอร์แอนทิลลีสทางทิศเหนือ ส่วนหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีส (เช่น เกาะแองกวิลลา เกาะดอมินีกา เกาะเซนต์ลูเซีย) อยู่ทางทิศตะวันออก พื้นที่ทั้งหมดของทะเลแคริบเบียน หมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลนี้ และชายฝั่งที่ติดต่อกัน รวมเรียกกันในชื่อภูมิภาคแคริบเบียน",
"title": "ทะเลแคริบเบียน"
},
{
"docid": "340785#19",
"text": "3. ลา ฟลอร่า ลิตเติ้ล เลดี้ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน อดีตที่สูญหายบนปลายปิ่น",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#17",
"text": "ลา ฟลอร่า ลิตเติ้ล เลดี้ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน กระจกต้องสาปกับวิญญาณเลดี้ที่ถูกลืม",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#0",
"text": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ([LaFlora, the Princess Academy]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help)) เป็นหนังสือการ์ตูนที่แทรกเรื่องราวเกี่ยวกับอารยธรรมและวัฒนธรรมนานาชาติ มี 9 ชุด คือ \"ลา ฟลอร่า\", \"ลา ฟลอร่า ภาค ประเทศฉันสุดยอด\", \"ลา ฟลอร่า บอร์ดเกม\",\"ลาฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่\",\"ลาฟลอร่า คลับเฟสต้า\",\"ลาฟลอร่า แอนิเมชัน\",\"นิยาย ลาฟลอร่า\",\"คอมมิกชันนารี ลา ฟลอร่า โรซารี่ please\" และ \"ลาฟลอร่า ดรีมมี่ คาเฟ่\" โดยในแต่ละเล่มจะมีเนื้อหาและตัวละครที่ต่างกัน[1][2] จากความนิยมอย่างแพร่หลาย และความโดดเด่นของตัวละคร ส่งผลให้ทางผู้ผลิตได้จัดทำในรูปแบบของเกมกระดานในเวลาต่อมา[3]",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#22",
"text": "ลา ฟลอร่า อินเดีย สุดยอด ลา ฟลอร่า อเมริกา สุดยอด ลา ฟลอร่า เนปาล สุดยอด ลา ฟลอร่า รัสเซีย สุดยอด ลา ฟลอร่า บราซิล สุดยอด ลา ฟลอร่า อียิปต์ สุดยอด ลา ฟลอร่า กรีซ สุดยอด ลา ฟลอร่า นิวซีแลนด์ สุดยอด ลา ฟลอร่า อาร์เจนตินา สุดยอด ลา ฟลอร่า อินโดนีเซีย สุดยอด ลา ฟลอร่า เบลเยี่ยม สุดยอด ลา ฟลอร่า แคนาดา สุดยอด ลา ฟลอร่า สวิตเซอร์แลนด์ สุดยอด ลา ฟลอร่า ออสเตรเลีย สุดยอด",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "846050#4",
"text": "ต่อมา ทาลาป่วยหนักและลมหายใจสุดท้ายเธอได้บอกโมอาน่าให้ออกเรือศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในถ้ำนั้นเพื่อตามหามาวอิ ทาลาได้เกิดใหม่เป็นกระเบนราหูและติดตามเธอไปด้วย หลังจากคลื่นไต้ฝุ่นพลิกเรือใบของเธอและซัดเธอจนหมดสติ เธอตื่นขึ้นมาในเช้าวันรุ่งขึ้นบนเกาะที่มาวอิอาศัยอยู่ แต่เขาขังโมอาน่าไว้ในถ้ำและใช้เรือของโมอาน่าเพื่อออกตามหาตะขอตกปลาวิเศษของเขา แต่โมอาน่าหนีออกมาได้ตามมาวอิไป โมอาน่าพยายามโน้มน้าวให้เขาเปลี่ยนใจไปกับเธอ แต่มาวอิปฏิเสธเพราะกลัวว่าพลังของหัวใจแห่งเทฟิติจะดึงดูดสิ่งมีชีวิตที่ร้ายกาจ",
"title": "ผจญภัยตำนานหมู่เกาะทะเลใต้"
},
{
"docid": "340785#30",
"text": "สายลับภูตอาเซียน กับภารกิจป่วน โรงเรียนลาฟลอร่า ลาฟลอร่า x โปเม่ สารพันเจ้าหญิง กุ๊กเวทมนตร์ โนอาห์ x การินจูเนียร์ ไขคดีโลกเร้นลับฉบับโรงเรียนเจ้าชายโนอาห์ ลาฟลอร่า ครอสโอเวอร์ ๑๐๐๑ ราตรีกับกาหลิบการิน",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#16",
"text": "ลา ฟลอร่า ดรีมมี่คาเฟ่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน คลับเก๋ๆรับเพื่อนใหม่ ลา ฟลอร่า ครีมมี่คาเฟ่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน รอยปริศนาบนแคทวอล์คผ้าไหม ลา ฟลอร่า ดรีมมี่คาเฟ่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ดอกไม้น้ำตาลปั้นอันแสนบอบบาง ลา ฟลอร่า ดรีมมี่คาเฟ่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน มงกุฎเคลือบยาพิษกับไข่มุกแห่งชีวิตของเจ้าหญิงเงือก ลา ฟลอร่า ดรีมมี่คาเฟ่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน กำลังใจจากน้ำหอมที่อาบย้อมความเป็นเพื่อน? ลา ฟลอร่า ดรีมมี่คาเฟ่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน รูปปั้นเทพธิดาจากความปรารถนาของหมู่ดาว ลา ฟลอร่า ดรีมมี่คาเฟ่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน พิธีชงชากับคราบน้ำตาในถ้วยเคลือบ ลา ฟลอร่า ดรีมมี่คาเฟ่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน เผยความลับที่ซ่อนไว้ใต้สีลิปที่ลบเลือน ลา ฟลอร่า ดรีมมี่คาเฟ่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน คลี่ปริศนาคาใจด้วยสายใยสีทองแห่งมิตรภาพ ลา ฟลอร่า ดรีมมี่คาเฟ่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ทีมเวิร์คเปล่งประกายกับเพชรพลอยแห่งชัยชนะ",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#31",
"text": "ลาฟลอร่า ตอน ผีเสื้อสีทองแห่งทางช้างเผือก - ฉายครั้งแรกวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556 ณ ห้องออดิทอเรียม ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 41 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 11 (41st National Book Fair and 11th Bangkok International Book Fair 2013) ลาฟลอร่า โก โก อาเซียน ลา ฟลอร่า ตอน มหัศจรรย์วันวุ่นกับหุ่นละครเล็ก",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "19390#1",
"text": "กษัตริย์ในมาลดีฟออกกฎว่า ผู้ใดพบเห็นมะพร้าวทะเล แล้วไม่นำไปถวายพระองค์จะถูกลงอาญาถึงขั้นประหารชีวิต มะพร้าวทะเลจะพบมากที่สุดในทะเลตามหมู่เกาะมัลดีฟ ด้วยเหตุนี้จึงมีคนเรียกชื่อมะพร้าวทะเลนี้ว่า มะพร้าวมัลดีฟ เช่นกัน นอกจากนี้ยังพบในทะเลแถวอารเบีย ศรีลังกา และอินเดียใต้ เกาะสุมาตรา และชายฝั่งแหลมมลายูอีกด้วย แต่เนื่องจากเจอแถวหมู่เกาะมัลดีฟมากกว่าที่อื่น จึงมีชื่อทางวิทยาศาสตร์เป็นภาษาละตินอีกว่า \"Lodoicea maldivica\"",
"title": "มะพร้าวแฝด"
},
{
"docid": "408023#0",
"text": "รายชื่อตัวละครในลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ซึ่งเป็นตัวละครการ์ตูนจากการ์ตูนไทยเรื่อง \"ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง\"อัลแบร์โตรสูง 155 ซม.",
"title": "รายชื่อตัวละครในลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "933481#1",
"text": "ซีลางังมินโดโรเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ซึ่งในปี ค.ศ. 2005 ฟิลิปปินส์ได้กลายเป็นศูนย์กลางความหลากหลายของปลาทะเล และมีระบบนิเวศทางทะเลที่มีความหลากหลายมากที่สุดในโลก ซึ่งถูกค้นพบโดยนักชีววิทยาชาวอเมริกัน เคนต์ คาร์เพนเทอร์ และวิกเตอร์ สปริงเกอร์ ชนิดเฉพาะถิ่นถูกค้นพบในช่องแคบเกาะเวิร์ดระหว่างเกาะมินโดโรกับเกาะลูซอน โดยช่องแคบแห่งนี้มีสิ่งมีชีวิตประมาณ 2,983 สายพันธุ์ในปี ค.ศ. 2005",
"title": "จังหวัดซีลางังมินโดโร"
},
{
"docid": "135349#0",
"text": "ตราแผ่นดินหมู่เกาะบริติชลีเวิร์ดแบบที่ปรากฏในธงชาติ เริ่มมีการใช้ในช่วงพ.ศ. 2413 จนถึง พ.ศ. 2499 ออกแบบโดย เซอร์ เบนจามิน ไพน์ (Sir Benjamin Pine) ข้าหลวงคนแรกของหมู่เกาะแห่งนี้ ลักษณะเป็นตราวงกลม ภายในเป็นรูปชายฝั่งทะเลมีผลสับปะรดขนาดใหญ่อยู่างกลางชายฝั่งนั้น 1 ลูก และมีผลสับปะรดขนาดเล็กอีก 3 ลูก อยู่ทางขวาของลูกใหญ่ ในทะเลนั้นมีเรือใบ 2 ลอยลำอยู่หน้าเกาะขนาดใหญ่ เหนือรูปเกาะนั้นมีรูปตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรอย่างย่อ",
"title": "ตราแผ่นดินของหมู่เกาะบริติชลีเวิร์ด"
},
{
"docid": "467209#0",
"text": "เกาะท่าไร่ เป็นเกาะเล็กๆ ทางตอนใต้ของเกาะแตน อยู่ในเขตตำบลท้องเนียน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่แม้จะเป็นแค่เกาะเล็กๆ แต่ก็หลากหลายไปด้วยหญ้าทะเล ซึ่งเราพบทั้งหมด 4 ชนิดด้วยกัน คือ หญ้าชะเงาใบยาว Enhalus acoroides, หญ้าชะเงาเต่า Thalassia hemprichii, หญ้าเขียวใบแฉก Halodule uninervis และหญ้าใบมะกรูด Halophila ovalis โดยเราจะพบแนวหญ้าทะเลขนานไปตามชายฝั่งของเกาะ และพบสัตว์น้ำนานาชนิดทั้งกุ้ง หอย ปู และปลา อาศัยหลบซ่อนตัวอยู่ในแนวหญ้า นอกจากนี้ยังมีสาหร่ายทะเลหลายชนิดเช่น สาหร่ายใบมะกรูด สาหร่ายข้อ สาหร่ายเห็ดหูหนู ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ต่างๆ ยังคงหลงเหลือให้เห็นได้ที่เกาะท่าไร่แห่งนี้",
"title": "เกาะท่าไร่"
},
{
"docid": "901909#32",
"text": "ชายฝั่งลากูนทางใต้ของเกาะแคโรไลน์ ลากูนของเกาะแคโรไลน์ รอนและแอน ฟอลคอเนอร์ ซึ่งอาศัยอยู่บนอะทอลล์แห่งนี้ในช่วงปี พ.ศ. 2531–2535 น้ำทะเลสะอาดใสของเกาะแคโรไลน์ บราเทอส์ไอลิต เกาะแคโรไลน์ พระอาทิตย์ตกดินเหนือเกาะแคโรไลน์ ซากโบราณสถาน เกาะแคโรไลน์ ต้นคอร์เดียบนนอร์ทแอรันเดลไอลิต เกาะแคโรไลน์ ต้น Psionia เกาะแคโรไลน์ ชาร์กไอลิต เกาะแคโรไลน์ ไม้จำพวกต้นรักทะเลบนวินด์เวิร์ดไอลิต เกาะแคโรไลน์",
"title": "เกาะแคโรไลน์"
},
{
"docid": "340785#13",
"text": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ห้องลับกับเครื่องเรือนนานาชาติ ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ปริศนา? แฟชั่นอังกฤษพิศวง ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ศึกประลองอาหารไทยจีน ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ตุ๊กตานานาชาติกับเรื่องสยองขวัญใน ลา ฟลอร่า ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน มหกรรมขนมหวาน ร้อยรสชาติระดับโลก ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน เทศกาลหรรษากับกีฬาพิสดาร ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ลีลาศอลหม่านกับการแสดงนานาชาติอลวน ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน คฤหาสน์ป่วนกับแก๊งผีเฮี้ยน ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ศิลปะการต่อสู้กับประตูสู่ฝัน ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ตามรอยรหัสลับภาพเขียนบันลือโลก",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#15",
"text": "ลา ฟลอร่า คลับเฟสต้า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ค้นหาความฝัน ผ่านสีสันชมรมจัดดอกไม้ ลา ฟลอร่า.คลับเฟสต้า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน กิจกรรมวัดผล บนเส้นทางฝันช็อกโกลาทีเย่ร์ ลา ฟลอร่า คลับเฟสต้า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน สานฝันชมรมกายกรรม ผ่านลีลาระบำฮาวาย ลา ฟลอร่า คลับเฟสต้า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ศาสตร์ทำนายลี้ลับกับภารกิจชุบชีวิตไพ่ทาโรต์ ลา ฟลอร่า คลับเฟสต้า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ทิวลิปปาร์ตี้ ถึงคราวราตรีโชว์ฝีมือ ลา ฟลอร่า คลับเฟสต้า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน พิสูจน์มิตรแท้ ในแดนทุ่งน้ำแข็งเอสกิโม ลา ฟลอร่า คลับเฟสต้า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ดนตรีเยอรมนีกับเสียงสวรรค์ไวโอลิน ลา ฟลอร่า คลับเฟสต้า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ถักทอกระโจมผ้า ไขปริศนาแห่งทุ่งหญ้ามองโกล ลา ฟลอร่า คลับเฟสต้า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ฟองดูอันเปล่งประกาย หลอมละลายสวิสชีส ลา ฟลอร่า คลับเฟสต้า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ราตรีส่งท้าย เทศกาลนานาชาติ",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#23",
"text": "ลา ฟลอร่า สเปเชียล ตอน ใบไม้เปลี่ยนสีกับคดีจิ้งจอกแห่งเกียวโต ลา ฟลอร่า สเปเชียล ตอน ปริศนาxคำสาปxกุหลาบxวาเลนไทน์ ลา ฟลอร่า สเปเชียล ตอน รหัสลับดาวินชีกับมนุษย์ต่างดาวแห่งเมืองฟลอเรนซ์ ลา ฟลอร่า สเปเชียล ตอน คำสัญญาแห่งดวงดาว ในคืนเทศกาลทานาบาตะ ลา ฟลอร่า สเปเชียล ตอน รอยเลือดเจ้าหญิงหิมะกับคำสาปพ่อมดรัสเซีย ลา ฟลอร่า สเปเชียล ตอน แพรไหมลายน้ำตากับความปรารถนาของดอกมู่หลาน ลา ฟลอร่า สเปเชียล ตอน กระต่ายหมายจันทร์กับคืนวันดีๆของเจ้าหญิงคางูยะ",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#27",
"text": "ลา ฟลอร่า โรซารี่ please บทที่ 1 Speak English พิชิตตัวเลข ลา ฟลอร่า โรซารี่ please บทที่ 2 หนาวบ้างฝนบ้างว่างๆก็ฝึก English ลา ฟลอร่า โรซารี่ please บทที่ 3 แต่งตัวให้พร้อมแล้วไปซ้อม Speak English ลา ฟลอร่า โรซารี่ please บทที่ 4 Birthdayชิลชิลกับการอัพสกิล English ลา ฟลอร่า โรซารี่ please บทที่ 5 ท่องป่าพาเพลิน แล้วไป Learn English ลา ฟลอร่า โรซารี่ please บทที่ 6 อยากเรียนรู้ English แค่คลิกก็ได้เรื่อง ลา ฟลอร่า โรซารี่ please บทที่ 7 เรียนรู้รอบตัวจะได้ไม่ปวดหัวเมื่อเจอ English",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#32",
"text": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ได้รับการตอบรับเชิงบวก โดยมีการจัดแปล 4 ภาษา ได้แก่ ภาษาจีนกลาง, ภาษาอังกฤษ,ภาษามลายู และภาษาเกาหลี รวมถึงได้มีการพัฒนาตัวละครสำหรับแอนิเมชัน ลาฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอนตำนานผีเสื้อสีทองแห่งทางช้างเผือก โดยใน พ.ศ. 2556 ได้มีการเปิดตัวแอนิเมชันชุดดังกล่าวอย่างเป็นทางการที่งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์[7]",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "340785#26",
"text": "ลา ฟลอร่า การ์ดเกม ตอน ภารกิจพิชิตมรดกไทย",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "425230#0",
"text": "หญ้าใบมะกรูดขน ( Ostenf.) เป็นหญ้าทะเลในวงศ์ Hydrocharitaceae ใบแบน บาง รูปไข่ ขอบใบมีรอยหยักและมีขนบนผิวใบทั้ง 2 ด้าน เส้นใบที่เป็นเส้นขวางใบมีไม่เกิน 8 คู่ มีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียเจริญบนแขนงของต้นเดียวกัน (monoecious) โดยมีกาบดอกหุ้มดอกทั้ง 2 ไว้ด้วยกัน หญ้าใบมะกรูดขนพบในน้ำที่มีระดับความลึก 6 -36 เมตร พบในเขตร้อนของมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติกฝั่งตะวันตก พบในน้ำกร่อยได้ด้วยเป็นอาหารของปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเลหลายชนิด หญ้าใบมะกรูดขนถูกรายงานพบเป็นหญ้าทะเลชนิดใหม่ (new species) และเป็นหญ้าทะเลชนิดแรกที่มีการรายงานพบในประเทศไทยเมื่อปี ค.ศ. 1902 จากเกาะกระดาด จ.ตราด ",
"title": "หญ้าใบมะกรูดขน"
},
{
"docid": "340785#21",
"text": "ลา ฟลอร่า อังกฤษ สุดยอด ลา ฟลอร่า ญี่ปุ่น สุดยอด ลา ฟลอร่า ไทย สุดยอด[1] ลา ฟลอร่า จีน สุดยอด ลา ฟลอร่า ฝรั่งเศส สุดยอด ลา ฟลอร่า สเปน สุดยอด ลา ฟลอร่า อิตาลี สุดยอด ลา ฟลอร่า เกาหลี สุดยอด ลา ฟลอร่า มาเลเซีย สุดยอด ลา ฟลอร่า เวียดนาม สุดยอด ลา ฟลอร่า สิงคโปร์ สุดยอด ลา ฟลอร่า เนเธอร์แลนด์ สุดยอด ลา ฟลอร่า เยอรมนี สุดยอด",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "911866#2",
"text": "เขตซีลางังคาบีซายาอัน ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วย 3 หมู่เกาะหลัก ได้แก่ เลเต, บีลีรัน, ซามาร์ ติดกับทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออกและทิศเหนือ โดยมีช่องแคบซันเบอร์นาร์ดิโนคั่นกลางระหว่างเขตนี้กับเกาะลูซอน, ติดต่อกับทะเลคาโมเตสและทะเลวิซายันทางทิศตะวันตก และติดกับทะเลโบโฮลทางทิศใต้ โดยช่องแคบซูรีเกาคั่นกลางระหว่างเขตนี้กับเกาะมินดาเนา โดยเขตนี้มีเนื้อที่ หรือร้อยละ 7.2 ของประเทศ",
"title": "เขตซีลางังคาบีซายาอัน"
},
{
"docid": "340785#25",
"text": "ลา ฟลอร่า บอร์ดเกม ตอน ผจญภัยในแดนสยาม ลา ฟลอร่า บอร์ดเกม ตอน ท่องแดนอาทิตย์อุทัย",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
},
{
"docid": "149041#1",
"text": "เอรากอน เด็กหนุ่มกำพร้า ผู้อาศัยอยู่กับลุงในไร่แห่งหนึ่งในดินแดนอาลาเกเซีย \nเขาพบหินสีน้ำเงินรูปทรงประหลาดขณะออกล่าสัตว์ ก่อนที่เขาจะนำหินก้อนนี้\nไปแลกซื้อเสบียงสำหรับฤดูหนาวให้ครอบครัว หินนั้นกลับฟักเป็นมังกรเสียก่อน \nทั้งๆ ที่ผู้คนต่างเชื่อว่า มังกรได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว เอรากอนแอบเลี้ยงมังกรไว้\nกับตัว และตั้งชื่อให้มันว่า ซาเฟียร่า วันหนึ่งลุงของเขาถูกฆ่าตายด้วยน้ำมือของ\nพวกราซัค ที่เข้ามาในเมืองเพื่อค้นหาหินลึกลับ เอรากอนจึงค้นพบว่า เขาเป็น\nนักรบมังกรคนสุดท้ายที่เหลืออยู่ และเป็นตัวแปรสำคัญในสงครามระหว่าง\nกษัตริย์ผู้ปกครองดินแดนและกลุ่มต่อต้านนามว่าวาร์เดน ที่ประกอบด้วย \nมนุษย์ คนแคระ และเอลฟ์\nกษัตริย์กัลบาทอริกซ์ปกครองดินแดนอาลาเกเซียอย่างโหดเหี้ยม ในอดีตอัน\nไกลโพ้น พระองค์เคยเป็นนักรบมังกร ผู้ถูกความชั่วเข้าครอบงำจนถูกขับ\nไล่ออกจากกลุ่ม ภายหลังพระองค์ได้กลับไปแก้แค้นและสังหารพวกนักรบมังกร\nจนสิ้น ในตอนนี้ พระองค์ต้องการจะสร้างนักรบมังกรขึ้นมาใหม่เพื่อรับใช้พระองค์ \nดังนั้นเอรากอนและซาเฟียราจึงจำต้องทิ้งบ้านเกิดของตน เพื่อหนีจากสมุนของ\nองค์กษัตริย์ ระหว่างเดินทาง เขาได้เรียนรู้วิชาดาบ เวทมนตร์คาถาและภาษา\nโบราณต่างๆ จาก บรอม นักเล่านิทานลึกลับ ผู้ที่โผล่มาช่วยเขาได้ถูกจังหวะ\nอย่างเหลือเชื่อ ในท้ายที่สุดแล้ว เอรากอนจะต้องเลือกว่าจะเข้าร่วมกับฝ่ายใด \nและตัดสินใจว่า แท้จริงแล้ว ตำแหน่งหน้าที่ของตนคือสิ่งใดกันแน่...",
"title": "เอรากอน"
},
{
"docid": "213068#4",
"text": "ทะเลญี่ปุ่นถูกล้อมรอบด้วยแผ่นดินรัสเซียและเกาะซาคาลินทางเหนือ คาบสมุทรเกาหลีทางตะวันตก และหมู่เกาะญี่ปุ่นทางตะวันออก และเชื่อมต่อกับทะเลอื่น ๆ โดยช่องแคบ 5 แห่ง ได้แก่ ช่องแคบตาตาร์ระหว่างทวีปเอเชียกับเกาะซาคาลิน ช่องแคบลาเปรูสระหว่างเกาะซาคาลินกับเกาะฮกไกโด ช่องแคบสึงะรุระหว่างเกาะฮอกไกโดกับเกาะฮนชู ช่องแคบคัมมงระหว่างเกาะฮนชูกับเกาะคีวชู และช่องแคบเกาหลีระหว่างคาบสมุทรเกาหลีกับเกาะคีวชู",
"title": "ทะเลญี่ปุ่น"
},
{
"docid": "340785#14",
"text": "ลา ฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน อลังการคอนเสิร์ตนานาชาติกับเครื่องดนตรีหรรษา ลา ฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน มหัศจรรย์แรลลี่นิทานรอบโลก ลา ฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ศาสตร์การแพทย์หรรษากับสปาอลวน ลา ฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ศึกประชันจ้าวแห่งการละเล่นรอบโลก ลา ฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ตระการตาบุปผานานาชาติในวันพบผู้ปกครอง ลา ฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ก๊วนคุณครูจำเป็นกับตำนานกำเนิดโลก ลา ฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน แรลลี่หรรษากีฬานานาชาติ ลา ฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ประกวดงานฝีมือเลื่องลือหัตถศิลป์ ลา ฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน เกาะสวนสนุก ร้อยสัตว์ประหลาด ลา ฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่ โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ตอน ดีไซน์เพชรพลอย ร้อยอัญมณีพรอบโพลิส",
"title": "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง"
}
] |
3942 | กีฬาฟุตบอลเข้ามาในประเทศไทยเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "52272#1",
"text": "เมื่อปี พ.ศ. 2458 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นผู้ริเริ่มนำกีฬาฟุตบอลเข้ามาเล่นในไทยเป็นครั้งแรก จนกระทั่งเกิดความนิยมแผ่ขยายกว้างขวางไปทั่วประเทศ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้ง<i data-parsoid='{\"dsr\":[859,881,2,2]}'>สโมสรคณะฟุตบอลสยาม ขึ้นโดยมีพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ทรงลงแข่งขันเป็นผู้เล่นเอง และเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 มีการจัดแข่งขันในระดับนานาชาติขึ้นเป็นครั้งแรกระหว่างทีมชาติสยาม (ปัจจุบันคือ ฟุตบอลทีมชาติไทย) กับทีมราชกรีฑาสโมสร ที่สนามราชกรีฑาสโมสร โดยมีดักลาส โรเบิร์ตสัน เป็นกรรมการผู้ตัดสิน[1]",
"title": "ฟุตบอลในประเทศไทย"
}
] | [
{
"docid": "106749#1",
"text": "โดยที่ทาง การกีฬาแห่งประเทศไทย และ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้มีการจัดทำ บันทึกช่วยจำ การจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ระหว่าง การกีฬาแห่งประเทศไทย กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งเป็นเอกสารข้อตกลงในการรวมลีก ทั้ง โปรลีก และ ไทยลีก เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ มีการปรับโครงสร้างลีกและสโมสรเกิดขึ้น โดยในฤดูกาลนี้ ทางสมาคมฯ ในฐานะผู้รับผิดชอบจัดการแข่งขัน จึงได้มีการกำหนดจำนวนทีมและการจัดการแข่งขันร่วมกับทาง กกท. โดยจะให้ทีมสโมสรชนะเลิศและรองชนะเลิศ ของการแข่งขัน โปรลีก 2549 เข้าร่วมการขันของสมาคมฯ ร่วมกับ สโมสรที่แข่งขัน ไทยลีก 2549 อยู่ก่อนแล้ว โดยจะให้มีสโมสรตกชั้นลงไปแข่งขันในดิวิชั่น 1 4 สโมสรเมื่อจบฤดูกาล",
"title": "ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2550"
},
{
"docid": "251453#0",
"text": "ระวิ โหลทอง นักธุรกิจสื่อมวลชนและกีฬาโดยเฉพาะฟุตบอล ผู้ก่อตั้งบริษัท สยามสปอร์ตซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ซึ่งริเริ่มนำเสนอกีฬาฟุตบอลอังกฤษในประเทศไทย และขยายไปสู่ฟุตบอลลีกดังของโลก เช่นเซเรียอา ของอิตาลี, บุนเดสลีกาของเยอรมนี และลาลีกาของสเปน ระวิเริ่มงานจากการเป็นผู้สื่อข่าวกีฬาของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ตำแหน่งสุดท้ายเป็นหัวหน้าข่าวกีฬา ก่อนจะลาออกตั้งแต่ พ.ศ. 2516 เพื่อทำธุรกิจหนังสือพิมพ์กีฬาของตัวเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ระวิเป็นผู้เสนอให้ปรับปรุงระบบการแข่งขันฟุตบอลในประเทศไทย ให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล โดยร่วมกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ก่อตั้งการแข่งขันระบบลีกสูงสุดในชื่อไทยลีก (ปัจจุบันคือ ไทยพรีเมียร์ลีก) ปัจจุบันระวิดำรงตำแหน่งเจ้าของสโมสรฟุตบอลเมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด",
"title": "ระวิ โหลทอง"
},
{
"docid": "52861#2",
"text": "ปี 2549 ทีมฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลกได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์โปรวิลเชี่ยลลีก ดิวิชั่น1 ซึ่งถือว่าเป็นลีกสูงสุดที่มีการกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดการแข่งขัน โดยในปีนี้เองดูเหมือนจะเป็นการชิมลางการรวมลีกการแข่งขันของ 2 ลีกที่มาจาก การกีฬาแห่งประเทศไทย กับ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ซึ่งการแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์โปรวินเชี่ยลลีก ดิวิชั่น1 ประจำปี 2549 ได้ดึงแชมป์และรองแชมป์ของปีก่อนหน้านี้ อย่างทีมฟุตบอลจังหวัดชลบุรีกับทีมฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรีขึ้นไปเล่นในระดับไทยแลนด์ลีกสูงสุด และส่งทีมอย่าง ทีโอทีกับการท่าเรือฯ ในชุดที่ถือว่าเป็นชุดบีเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์โปรวินเชี่ยลลีก ดิวิชั่น1 อีกด้วย โดยในปีนั้นได้มีกฎให้ทุกทีมที่เข้าร่วมแข่งขันจะต้องมีตราสัญลักษณ์ประจำสโมสร ดังนั้น ทีมฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลก จึงได้มีตราสัญลักษณ์ประจำสโมสรเป็นครั้งแรก และใช้สนามกีฬากลางจังหวัดพิษณุโลกเป็นสนามเหย้า โดยในฤดูกาลนั้นทีมฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลกทำผลงานจบลงด้วยอันดับที่ 6 ของตารางการแข่งขัน",
"title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลก"
},
{
"docid": "52371#7",
"text": "ต่อมา ได้มีการจัดตั้ง บริษัท ไทยลีก จำกัด ขึ้นมาแทน บจก.พรีเมียร์ลีกไทยแลนด์ ตามคำแนะนำของ สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย และ สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ โดยได้โอนหุ้นจำนวน 99.98% ที่ทางนายกสมาคมฯ ถือไว้ ให้กับสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย\nต่อมา สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีนโยบายในการพัฒนาศักยภาพสโมสรฟุตบอลลีกอาชีพอย่างยั่งยืน และยกระดับลีกภายในประเทศ ให้ก้าวไปสู่ลีกชั้นนำของอาเซียนและเอเชีย เริ่มจากการตั้งและปรับเปลี่ยนชื่อลีกแต่ละระดับให้อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน เน้นความเรียบง่าย กระชับ น่าจดจำและร่วมสมัยที่สุด",
"title": "ไทยลีก"
},
{
"docid": "52390#1",
"text": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดนครสวรรค์ เริ่มส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันในการแข่งขัน กีฬาแห่งชาติ ฟุตบอลไทยแลนด์คัพ และ กีฬาเยาวชนแห่งชาติ มาอย่างยาวนาน โดยในระดับเยาวชนจะใช้ชื่อ ทีมเยาวชนนครสวรรค์ ซึ่งเคยได้รับตำแหน่งรองชนะเลิศ ฟุตบอลเยาวชนแห่งประเทศไทย ปี 2521, ชนะเลิศ กีฬาฟุตบอลเยาวชนระดับภูมิภาค ปี 2526 และ ในระดับบุคคลทั่วไป ในช่วงที่ไม่มีระบบการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ สโมสรฟุตบอลที่เป็นตัวแทนของจังหวัดนครสวรรค์ บางครั้งก็ส่งในนาม สมาคมกีฬาจังหวัดนครสวรรค์ หรือ ส่งร่วมกับ สมาคมสโมสรอื่นๆ ในจังหวัด โดยเฉพาะ สมาคมสโมสรถาวรฟาร์ม โดยส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันทั้งใน กีฬาแห่งชาติ, ไทยแลนด์ คัพ ",
"title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดนครสวรรค์"
},
{
"docid": "599197#0",
"text": "ฟุตบอลชายหาดทีมชาติไทย เป็นตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันฟุตบอลชายหาดระหว่างประเทศ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมโดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นองค์กรกีฬาฟุตบอลในประเทศไทย",
"title": "ฟุตบอลชายหาดทีมชาติไทย"
},
{
"docid": "52272#11",
"text": "สนามฟุตบอลในประเทศไทยโดยส่วนมาก มักสร้างขึ้นพร้อมกับ สนามแข่งขันกรีฑาและอัฒจันทร์โดยรอบ ในสถานะของสนามหลัก (Main Stadium) ภายในศูนย์กีฬาระดับต่างๆ โดยมักตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือเป็นส่วนหนึ่งของสนามกีฬากลางในแต่ละจังหวัด ต่อมาหลังจากปี พ.ศ. 2552 เมื่อฟุตบอลระบบลีกอาชีพของไทยเป็นที่นิยมอย่างสูง สโมสรฟุตบอลชั้นนำหลายแห่งจึงเริ่มลงทุนจัดสร้างสนามฟุตบอลโดยเฉพาะเป็นของตนเอง",
"title": "ฟุตบอลในประเทศไทย"
},
{
"docid": "52648#0",
"text": "สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลฟุตบอลในประเทศไทย รวมถึงฟุตบอลทีมชาติไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2459 อันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเข้าร่วมกับสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2468 และเข้าร่วมกับสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย เมื่อปี พ.ศ. 2500",
"title": "สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์"
},
{
"docid": "107488#0",
"text": "ไทยลีกดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2550 เป็นการแข่งขันฟุตบอลลีกระดับสาม ของไทย โดยเริ่มตันการแข่งขันตั้งแต่ 21 เมษายน พ.ศ. 2550 ถึง วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550 และเป็นฤดูกาลแรกที่สโมสรจังหวัด จาก โปรวินเชียลลีก เข้าร่วมการแข่งขัน โดยมีสโมสรเข้าร่วมการแข่งขัน 12 สโมสร และหาทีมเลื่อนชั้นสู่ ลีก ดิวิชั่น 1 สองทีม และ ตกชั้นไปยัง ถ้วย ข หรือ แซต แชมเปี้ยนชิพ สองทีม \nโดยที่ทาง การกีฬาแห่งประเทศไทย และ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้มีการจัดทำ บันทึกช่วยจำ การจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ระหว่าง การกีฬาแห่งประเทศไทย กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งเป็นเอกสารข้อตกลงในการรวมลีก ทั้ง โปรลีก และ ไทยลีก เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ มีการปรับโครงสร้างลีกและสโมสรเกิดขึ้น โดยในฤดูกาลนี้ ทางสมาคมฯ ในฐานะผู้รับผิดชอบจัดการแข่งขัน จึงได้มีการกำหนดจำนวนทีมและการจัดการแข่งขันร่วมกับทาง กกท. โดยจะให้ทีมสโมสรอันดับที่ 15 และ 16 ของการแข่งขัน โปรลีก 2549 เข้าร่วมการขันของสมาคมฯ ร่วมกับ สโมสรที่ไม่ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นหรือตกชั้นการแข่งขัน ดิวิชั่น 2 2549 โดยจัดสโมสรแข่งขัน ทั้งหมด 12 ทีม แบบพบกันหมด โดยสโมสรที่ทำผลงานอยู่ใน สองอันดับสุดท้ายจะตกชั้นลงไปแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. หรือ แซต แชมเปี้ยนชิพ",
"title": "ไทยลีกดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2550"
},
{
"docid": "889701#0",
"text": "แกลิคฟุตบอล เป็นกีฬาที่มีการผสมผสานจากหลายกีฬาไม่ว่าจะเป็น ฟุตบอล รักบี้ แฮนด์บอลและบาสเก็ตบอล กีฬาแกลิคฟุตบอลกำเนิดจากประเทศไอร์แลนด์ตั้งแต่สมัยยุคกลางก่อนที่จะถูกปรับเปลี่ยนและตั้งกฏกติการมารตรฐานเมื่อปึพุทธศักราช 2430 และเริ่มเป็นที่แพร่หลายในเวลาต่อมาโดยเฉพาะในประเทศไอร์แลนด์ และเริ่มเป็นที่รู้จักในหลายประเทศที่มีชาวไอร์แลนด์อพยพไปตั้งรกรากทั้งในอเมริกา ออสเตรเลียและฯลฯ ปัจจุบันยังเป็นที่ถกเกียงกันว่ากีฬาแกลิคฟุตบอลถือว่าเป็นต้นกำเนิดของกีฬาออสซี่รูลส์ (Australia Football)เนื่องด้วยพื้นฐานการเล่นการผ่านบอลการทำแต้มที่ความคล้ายคลึงกัน กระนั้นกีฬาแกลิคฟุตบอล เป็นกีฬาที่เหมาะกับสรีระคนไทยเพราะเป็นกีฬาที่อาศัยความคล่องตัว ความเป็นทีม ความเร็ว ความแม่นยำ แท็คติก โดยอาศัยทักษะ การส่งลูกบอลโดยใช้ฝ่ามือหรือกำปั้นเคาะให้บอลออกจากมืออีกข้าง การส่งลูกบอลโดยการเตะ การเดาะลูกบอลขึ้นด้วยเท้าระหว่างเคลื่อนที่ไปข้างหน้า การเด้งลูกบอลระหว่างเคลื่อนที่ไปข้างหน้าและที่สำคัญเป็นกีฬาที่ไม่อาศัยการชนหรือการกระแทกต่างๆนานาๆ",
"title": "แกลิกฟุตบอล"
},
{
"docid": "926010#0",
"text": "ไทยแลนด์ยูธลีก ฤดูกาล 2560 () เป็นการแข่งขัน ฟุตบอลลีกเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่สองของประเทศไทย ภายใต้การดูแลของ การกีฬาแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย โดยเป็นหนึ่งในโครงการ \"สานฝันฟุตบอลไทยไปฟุตบอลโลก\"",
"title": "ไทยแลนด์ยูธลีก ฤดูกาล 2560"
},
{
"docid": "836672#0",
"text": "ไทยแลนด์ยูธลีก ฤดูกาล 2559 () เป็นการแข่งขัน ฟุตบอลลีกเยาวชนแห่งชาติ ครั้งแรกของประเทศไทย ภายใต้การดูแลของ \nการกีฬาแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย \nโดยเป็นหนึ่งในโครงการ \"สานฝันฟุตบอลไทยไปฟุตบอลโลก\"",
"title": "ไทยแลนด์ยูธลีก ฤดูกาล 2559"
},
{
"docid": "52382#3",
"text": "ต่อมาทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้มีนโยบายในการรวมลีกเข้าด้วยกัน ทำให้ทางสมาคมกีฬาฯ ต้องทำการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ทำให้ทางสมาคมกีฬาฯต้อง ปรับปรุงสโมสรให้มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น จึงได้จัดตั้ง บริษัท สโมสรฟุตบอลขอนแก่น จำกัด เพื่อทำการบริหารสโมสร ส่งลงทำการแข่งขัน ไทยลีกดิวิชัน 1 โดยได้จดทะเบียน ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ทะเบียนการค้าเลขที่ 0405550000730\nและได้ทำบันทึกช่วยจำ ร่วมกับ การกีฬาแห่งประเทศไทย และ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ในการเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกที่ทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จัดการแข่งขัน",
"title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดขอนแก่น"
},
{
"docid": "778568#0",
"text": "สนามกีฬาการกีฬาแห่งประเทศไทย บางพลี หรือ เอ็มพาวเวอร์สเตเดี้ยม เป็นสนามฟุตบอลของ สโมสรฟุตบอลสมุทรปราการ ซิตี้ และสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ มีความจุทั้งหมด 6,800 ที่นั่ง ในระหว่างการสร้าง ในอดีตเคยเป็นสนามฟุตบอลของ ซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการ",
"title": "สนามกีฬาการกีฬาแห่งประเทศไทย บางพลี"
},
{
"docid": "306914#12",
"text": "ในประเทศไทย พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และประธานคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นประธานแถลงข่าว “ประเทศไทยเซ็นสัญญาคว้าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018” ซึ่งจะจัดการแข่งขันขึ้นระหว่างวันที่ 14 มิ.ย. - 15 ก.ค. 2561 ที่ประเทศรัสเซีย โดยความสำเร็จในครั้งนี้เกิดจากการผนึกกำลังร่วมกันระหว่างภาครัฐบาล นำโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและการกีฬาแห่งประเทศไทย ร่วมด้วยภาคเอกชน 9 องค์กร ที่ร่วมลงทุนในครั้งนี้ ซึ่งการเจรจาที่ผ่านมามีความล่าช้าไปเล็กน้อย เนื่องจากคิงเพาเวอร์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนเจรจาในตอนต้น เพิ่งได้รับแจ้งถึงนโยบายข้อกำหนดของฟีฟ่าว่า จะเจรจาและลงนามในสัญญาเฉพาะกับบริษัทผู้ประกอบธุรกิจบรอดแคสติ้งเท่านั้น ซึ่งในเวลาที่กระชั้นชิด เพื่อให้ฟีฟ่าอนุมัติได้รวดเร็ว จะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาระดับโลก จึงประสานให้บริษัท ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด เป็นตัวแทนประเทศไทยในการเจรจา และลงนามในสัญญา ทำให้คนในประเทศไทยสามารถรับชมการแข่งขันกีฬาฟุตบอลโลกครั้งนี้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ตั้งแต่รอบแรกจนถึงรอบชิงชนะเลิศ ครบทั้ง 64 แมตช์ โดยสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง ทรูโฟร์ยู ช่อง 24, อมรินทร์ ทีวี ช่อง 34 และช่อง 5",
"title": "ฟุตบอลโลก 2018"
},
{
"docid": "52272#14",
"text": "ซึ่งสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี) กำหนดให้สโมสรที่เข้าร่วมแข่งขัน รายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ต้องมีใบรับรองสโมสร (Club licensing) อย่างถูกต้องตามที่เอเอฟซีกำหนด จึงสามารถใช้สนามเหย้าทำการแข่งขันได้ โดยในปัจจุบัน ประเทศไทยมีอยู่ 8 สนามคือ นิวไอโมบายสเตเดียม, เอสซีจีสเตเดียม, ลีโอสเตเดียม, ชลบุรีสเตเดียม, สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต, สนามกีฬากลางจังหวัดนนทบุรี, มิตรผลสเตเดียม และสนามทุ่งทะเลหลวง นอกจากนี้ ยังมีอีกสองสนาม ที่เอเอฟซีใกล้จะออกใบรับรองสโมสรคือ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา และสนามกีฬากลางจังหวัดชัยนาท สำหรับสนามฟุตบอลที่สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) รับรองมาตรฐาน ในประเทศไทยมีอยู่ 2 สนามคือ นิวไอโมบายสเตเดียม และมิตรผลสเตเดียม",
"title": "ฟุตบอลในประเทศไทย"
},
{
"docid": "376502#0",
"text": "คิงส์คัพ () เป็นการแข่งขันกีฬาที่มีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยนักกีฬาผู้เข้าร่วมแข่งขันจะเป็นผู้ที่ได้รับเชิญ ซึ่งการแข่งขันทั้งหมดนี้เป็นการแข่งขันเพื่อชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของกีฬา ฟุตบอล, มวยไทย, มวยสากลสมัครเล่น, เซปักตะกร้อ, เรือใบ, กอล์ฟ และโปโลช้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาฟุตบอล ที่อาจมีการพิจารณาทีมฟุตบอลจากการแข่งอาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพในบางช่วง",
"title": "คิงส์คัพ (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "52862#0",
"text": "สโมสรฟุตบอลนครปฐม ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากจังหวัดนครปฐม ปัจจุบันเล่นอยู่ในระดับไทยลีก 4 เนื่องจากในการแข่งขันไทยลีก 2 ฤดูกาล 2560 ทางสโมสรถูกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยปรับตกชั้นไปสู่ไทยลีก 4 เนื่องจากไม่สามารถส่งเอกสารเกี่ยวกับคลับไลเซนซิงได้ตามเวลาที่กำหนด สนามเหย้า คือ สนามกีฬาโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครปฐม เคยแข่งขันในไทยพรีเมียร์ลีก 2551 ซึ่งจบฤดูกาลในอันดับ 9 (สูงสุดในประวัติศาสตร์สโมสร) ใน พ.ศ. 2553 เกิดเหตุอื้อฉาวเกี่ยวกับแฟนบอลทำร้ายผู้ตัดสิน",
"title": "สโมสรฟุตบอลนครปฐม ยูไนเต็ด"
},
{
"docid": "984334#0",
"text": "ฟุตบอล โตโยต้า ลีกคัพ รอบชิงชนะเลิศ 2561 เป็นนัดชิงชนะเลิศของ โตโยต้า ลีกคัพ 2561, เป็นฤดูกาลที่ 9 ของฟุตบอลถ้วยลำดับที่สองของการแข่งขันฟุตบอลไทยซึ่งจัดการแข่งขันขึ้นโดย สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. ครั้งนี้จะลงสนามที่ สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต ใน ปทุมธานี, ประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2561, เป็นการโคจรมาพบกันระหว่าง สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด ทีมยักษ์ใหญ่จาก ภาคเหนือ และ บางกอกกล๊าส ทีมยักษ์ใหญ่จาก โซนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ของประเทศไทย.",
"title": "โตโยต้า ลีกคัพ รอบชิงชนะเลิศ 2561"
},
{
"docid": "936#121",
"text": "มวยไทยเป็นกีฬาประจำชาติไทย นักมวยไทยมักเป็นแชมเปียนระดับไลต์เวทของสมาคมมวยโลกเสมอ[197]:107 ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ประเทศไทยรับกีฬาตะวันตกเข้ามาหลายชนิด โดยเริ่มมีการแข่งขันในโรงเรียนในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามมาด้วยในระบบการศึกษาสมัยใหม่[200]:38 ฟุตบอลเป็นกีฬายอดนิยมในประเทศไทย[201] โดยทีมชาติไทยได้แชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน 4 สมัย แต่ยังไม่เคยผ่านเข้ารอบฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ส่วนสนุกเกอร์ แบดมินตัน เทนนิส รักบี้ กีฬาขี่ม้าและกีฬาทางน้ำได้รับความนิยมรองลงมา สำหรับกีฬาไทยเดิมที่ได้รับความนิยมนั้น ได้แก่ ว่าวพนัน (kite fighting) แข่งเรือและตะกร้อ[202]",
"title": "ประเทศไทย"
},
{
"docid": "38909#3",
"text": "ในปี พ.ศ. 2499 พล.ต.เผชิญ นิมิบุตร ซึ่งเป็นนายกสมาคม ได้มีการหาผู้เล่นจากหลายสโมสรเพื่อจัดตั้งทีมที่จะลงแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1956ที่เมลเบิร์น โดยเป็นครั้งแรกของทางทีมที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมในกีฬาโอลิมปิก ในการแข่งขันนั้นเป็นการแข่งขันแบบแพ้คัดออก ทีมไทยจับฉลากพบกับสหราชอาณาจักร ในวันที่ 26 พฤศจิกายน โดยทีมไทยพ่ายแพ้ไป 0-9 (ความพ่ายแพ้ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์) ตกรอบทันที โดยในรอบที่สอง ทีมสหราชอาณาจักรก็พ่ายแพ้ให้กับทีมชาติบัลแกเรีย 6 ประตูต่อ 1 โดยทีมชาติบัลแกเรียได้เหรียญทองแดง ทีมชาติยูโกสลาเวีย ได้เหรียญเงิน และสหภาพโซเวียตได้เหรียญทองไปครอง[2] ภายหลังจากการแข่งขัน หนังสือพิมพ์สยามนิกร ฉบับวันที่ 28 พฤศจิกายน ได้พาดหัวข่าวหน้ากีฬาว่า \"ทีมชาติอังกฤษเฆี่ยนทีมชาติไทย 9 - 0\" ซึ่งภายหลังจบการแข่งขัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีรับสั่งถึงสมาคมฟุตบอลฯ ให้ส่ง พล.ต.ดร.สำเริง ไชยยงค์ หนึ่งในนักฟุตบอลชุดโอลิมปิกไปศึกษาพื้นฐานการเล่นฟุตบอลจากประเทศเยอรมนี เพื่อให้กลับมาสอนการเล่นฟุตบอลให้แก่ทีมไทย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2508 ฟุตบอลทีมชาติไทยก็คว้าเหรียญทองในกีฬาแหลมทอง (ปัจจุบันเรียกว่าซีเกมส์) ครั้งที่ 3 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย จนถึง พ.ศ. 2552 ประเทศไทยชนะเลิศการแข่งขันทุก ๆ สองปีรวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง",
"title": "ฟุตบอลทีมชาติไทย"
},
{
"docid": "855883#1",
"text": "เนื่องด้วยความนิยมในฟุตบอลลีกของไทยในเวลานั้น กระจายแค่อยู่ในวงจำกัดเพียงใน กรุงเทพมหานคร (ในปกติ ไทยลีก จะแข่งขันในสนามเป็นกลางหรือสนามเหย้าซึ่งส่วนใหญ่ ที่ตั้งจะอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล) ทำให้มีความพยายามที่จะส่งเสริมฟุตบอลลีกให้มีความนิยมในเขตภูมิภาคมากขึ้น ทำให้ในปี พ.ศ. 2542 จึงได้จัดการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพขึ้น โดย จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ในขณะนั้น) ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแล การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้ประสานงานกับทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพระดับภูมิภาค โดยใช้ชื่อว่า โปรวินเชียลลีก โดยมี วรวีร์ มะกูดี ซึ่งเป็นเลขาธิการสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ (ในขณะนั้น) ร่วมมือกัน โดยการแข่งขันนี้ เป็นโครงการลีกอาชีพนำร่องของ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ โดยเชิญสมาคมกีฬาจังหวัดต่างๆที่ได้รับการคัดสรร มาเข้าร่วมแข่งขันในระบบลีก",
"title": "โปรวินเชียลลีก ฤดูกาล 2542/43"
},
{
"docid": "52369#4",
"text": "ต่อมาในปี 2549 การกีฬาแห่งประเทศไทย และ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้จัดการแข่งขันเอง และใช้ชื่อการแข่งขันว่า โปรเฟสชั่นนอล ลีก (\"โปรลีก\") และได้มีการจัดทำ บันทึกช่วยจำ การจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ระหว่าง การกีฬาแห่งประเทศไทย กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งเป็นเอกสารข้อตกลงในการรวมลีก ทั้ง โปรลีก และ ไทยลีก เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้โปรลีก แปรสภาพเป็นการแข่งขัน แซต แชมเปียนชิพ (\"SAT Championship\") โดยมีลักษณะการแข่งขันคล้ายคลึงกับ โปรลีก 2 โดยที่ทีมชนะเลิศและรองชนะเลิศ จะได้สิทธิในการไปร่วมเล่นในลีกฟุตบอล ไทยลีกดิวิชัน 2",
"title": "โปรวินเชียลลีก"
},
{
"docid": "668549#0",
"text": "กีฬาเขตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13 หรือ การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 13 เป็นการแข่งขันกีฬาหลายชนิดระดับประเทศของประเทศไทย การแข่งขันครั้งนี้จัดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งกำหนดให้มีการแข่งขันระหว่างวันที่ 23 – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2526 โดยมีนายนิเวศน์ สมสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานกรรมการจัดการแข่งขัน มีการแข่งขันกีฬารวม 15 ชนิดกีฬา คือ กรีฑา แบดมินตัน บาสเกตบอล มวยสากลสมัครเล่น ฟุตบอล ยูโด เทนนิส เซปักตะกร้อ ว่ายน้ำ เทเบิลเทนนิส วอลเลย์บอล ยิมนาสติก จักรยาน ยกน้ำหนัก และรักบี้ฟุตบอล (กีฬาสาธิต วอลเลย์บอลชายหาด) มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน 10 เขต จำนวน 2,359 คน รวมนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทั้งสิ้น 2,848 คน \nกีฬาสาธิต",
"title": "กีฬาเขตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13"
},
{
"docid": "296747#1",
"text": "แรกเริ่มเกิดจากนโยบายทางด้านกีฬาของประเทศไทย ที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในด้านการกีฬา และพัฒนาวงการฟุตบอลอาชีพของไทย ซึ่งจังหวัดมุกดาหารได้เริ่มก่อตั้งทีมสโมสรฟุตบอลเป็นของตัวเอง ลงทะเบียนกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในชื่อเริ่มแรกว่า สโมสรฟุตบอลจังหวัดมุกดาหาร ต่อมาได้มีการร่วมมือด้านกีฬากับแขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลมุกดาหาร-สะหวันนะเขต (Mukdahan-Savannakhet Football Club) โดยมีฉายาในขณะนั้นว่า แก้วมุกดา (The Perfume Flower Trees) ซึ่งเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง และชื่อมีความคล้องจองกับสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นสัญลักษณ์ยุคใหม่ของจังหวัดคือ หอแก้วมุกดาหารหรือหอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก คือ หอสังเกตการณ์ที่มีความสูง 65.50 เมตร สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2539 ในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 ครบ 50 ปี) ทีมสโมสรฟุตบอลมุกดาหาร-สะหวันนะเขตมีการเปลี่ยนโลโก้สัญลักษณ์ จากสัญลักษณ์หลักที่เป็นรูปหอแก้วมุกดาหาร เป็นรูปสัญลักษณ์ของ พญานาค ซึ่งเป็นตำนานตามความเชื่อท้องถิ่นของจังหวัด",
"title": "สโมสรฟุตบอลมุกดาหาร ไชยยืนยง"
},
{
"docid": "52272#12",
"text": "ทั้งนี้สนามฟุตบอลในกรุงเทพมหานคร มีหลายแห่งที่สำคัญเช่น ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น), ราชมังคลากีฬาสถาน, สนามกีฬากองทัพบก, สนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์), สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สนามฟุตบอลเทพหัสดิน, แพตสเตเดียม, สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เป็นต้น ส่วนสนามฟุตบอลที่สำคัญในเขตปริมณฑล มีอาทิ เอสซีจีสเตเดียม, สนามทีโอที แจ้งวัฒนะ ในจังหวัดนนทบุรี, สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต, ลีโอสเตเดียม ในจังหวัดปทุมธานี เป็นต้น",
"title": "ฟุตบอลในประเทศไทย"
},
{
"docid": "52669#21",
"text": "2530 รางวัลดาวซัลโว ฟุตบอลเขตการศึกษาแห่งประเทศไทย 2542 รางวัลดาวซัลโว ซีเกมส์ครั้งที่ 20 ประเทศบรูไน 2543 เกียรติประวัติ ผู้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมไทย “คนต้นแบบ” โดยสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ 2543 รางวัลนักฟุตบอลทรงคุณค่า ไทเกอร์คัพครั้งที่ 3 ประเทศไทย 2543 รางวัลนักกีฬายอดเยี่ยม อีเอสพีเอ็น 2543 รางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยม อีเอสพีเอ็น 2544 รางวัลดาราเอเชีย 2544 รางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยม คมชัดลึกอวอร์ด ครั้งที่ 1 2544 รางวัลนักฟุตบอลดีเด่น ซันโย 2546 รางวัลนักกีฬาต่างชาติยอดเยี่ยม ประเทศเวียดนาม 2547 รางวัลนักกีฬาต่างชาติยอดเยี่ยม ประเทศเวียดนาม 2548 เข็มเกียรติยศ ผู้ทำคุณประโยชน์แก่ฟุตบอลเวียดนาม จากรัฐมนตรีกีฬาประเทศเวียดนาม 2547-ปัจจุบัน ผู้ให้การสนับสนุนกิจการ มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ 2550 โล่ประกาศเกียรติคุณ ชมรมเชียร์ไทย 2551 รางวัลสุดยอดคนต้นแบบ เมืองขอนแก่น 2557 รางวัลผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม สยามกีฬาอวอร์ดส์ ครั้งที่ 8 [36][37][38] 2557 รางวัลผู้ฝึกสอนนักกีฬาสมัครเล่นดีเด่น วันกีฬาแห่งชาติ[39] 2557 รางวัลผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม สยามโกลเดนอวอร์ดส์ 2558 ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง[40] 2558 รางวัลผู้ฝึกสอนนักกีฬาสมัครเล่นดีเด่น วันกีฬาแห่งชาติ 2558 บุคคลแห่งปี สำนักข่าวเนชั่น[41] 2559 Fever Awards 2016 รางวัลนักกีฬาฟีเวอร์ปี 2016",
"title": "เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง"
},
{
"docid": "438044#0",
"text": "สนามกีฬากลางจังหวัดตราด สนามกีฬาหลักของจังหวัดตราดเป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ ตั้งอยู่ที่ถนนเนินตาเแมว ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด เป็นที่ตั้งของ ศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดตราดและโรงเรียนกีฬาจังหวัดตราด ดำเนินการโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด ปัจจุบันใช้สนามฟุตบอลเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลจังหวัดตราด ในการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก 2",
"title": "สนามกีฬากลางจังหวัดตราด"
},
{
"docid": "52399#3",
"text": "ในปี 2550 ทาง การกีฬาแห่งประเทศไทย และ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้มีการจัดทำ บันทึกช่วยจำ การจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ระหว่าง การกีฬาแห่งประเทศไทย กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งเป็นเอกสารข้อตกลงในการรวมลีก ทั้ง โปรลีก และ ไทยลีก เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ มีการปรับโครงสร้างลีกและสโมสรเกิดขึ้น ทำให้สโมสรที่จบอันดับ 4 ถึง 14 ได้เข้าร่วมการแข่งขัน ดิวิชั่น 1 2550 ซึ่งทีมได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน\nซึ่งต่อมาได้มีการควบรวมลีก ทำให้ทีมได้สิทธิ์ทำการแข่งขันใน โดยทีม ได้เข้าร่วมการแข่งขันในสาย บี โดยผลงานของทีมในปีนั้น ไม่ดีนัก โดยจบอันดับที่ 11 ของสาย จาก 12 สโมสร (ฤดูกาลนั้นตกชั้น 5 ทีม) ต้องตกชั้นไปทำการแข่งขันใน ไทยลีกดิวิชัน 2",
"title": "สโมสรฟุตบอลฉะเชิงเทรา ไฮ-เทค"
},
{
"docid": "899606#0",
"text": "เรื่องอื้อฉาวฟุตบอลไทย พ.ศ. 2560 เป็นข่าวอื้อฉาวที่เกิดขึ้นในการแข่งขันไทยลีก และไทยลีก 2 เรื่องราวทั้งหมดถูกตรวจสอบโดยสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยนักเตะผู้กระทำผิดได้มีส่วนเกี่ยวข้อง และสมรู้ร่วมคิดกับนายทุนในการทุจริตผลการแข่งขัน ซึ่งมีความผิดตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. 2560\nนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา ทาง สปอร์ตเรดาห์ หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบการประพฤติมิชอบในวงการกีฬา ได้เปิดเผยข้อมูลกับทาง การกีฬาแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับ หรือ \"ล้มบอล\" โดยได้ให้ความรู้ในการป้องกันการล้มการแข่งขัน และร่วมมือกับทางหน่วยงานของรัฐ ในการตรวจตรา ส่อดส่องการทุจริต ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 โดยทาง สปอร์ตเรดาห์ ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ เงินหมุนเวียน การพนัน การแข่งขันฟุตบอล ไทยพรีเมียร์ลีก ว่ามีจำนวนเงินสูงถึง 52 ล้านบาท ต่อ 1 การแข่งขัน โดยใน ประเทศไทย ทาง กกท. ได้มีกฎหมายที่บังคับใช้กับผู้กระทำผิดในกรณีนี้ไว้แล้ว โดยออกเป็น พระราชบัญญัติ คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยเริ่มมีผลบังคับใชัตั้งแต่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556",
"title": "เรื่องอื้อฉาวฟุตบอลไทย พ.ศ. 2560"
}
] |
937 | ใครเป็นผู้ก่อตั้ง โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา? | [
{
"docid": "60265#1",
"text": "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา ประกาศจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2535 โดยเป็นโรงเรียน 1 ใน 9 โรงเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งเพื่อเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลสมัยที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมมายุ 60 พรรษา ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถว่า \"นวมินทราชินูทิศ\" และโดยที่กระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้อยู่ในความดูแลของโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ในระยะเริ่มแรก กระทรวงศึกษาธิการจึงให้เติมต่อท้ายชื่อ ว่า \"โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา\" และได้รับมอบหมายให้คุณหญิงลักขณา แสงสนิท ผู้อำนวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ในขณะนั้นเป็นผู้ประสานการจัดตั้งและดูแล โดยมีนายอมรรัตน์ ปิ่นเงิน เป็นผู้บริหารคนแรก",
"title": "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา"
},
{
"docid": "60265#3",
"text": "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชาสถาปนาขึ้นเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระชนมายุครบ 5 รอบ ในปี พ.ศ. 2535 ซึ่งกรมสามัญศึกษาพิจารณาที่ดินบริจาคของพัฒน์ กังสานนท์ เมื่อวันที่ 12-13 ตุลาคม พ.ศ. 2534 เพื่อจัดตั้งเป็นโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติในวโรสกาสดังกล่าว และได้มอบหมายการควบคุมการก่อสร้างโรงเรียนแก่คุณหญิงลักขณา แสงสนิท ผู้อำนวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)ในขณะนั้น และใช้ชื่อโรงเรียนในระยะแรกว่า \"โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๓\" ต่อมา เมื่อได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถว่า \"นวมินทราชินูทิศ\" แล้ว จึงเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น \"โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา\" และมีประกาศจัดตั้งโรงเรียนโดยกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2535",
"title": "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา"
},
{
"docid": "60265#7",
"text": "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ พร้อมกันนี้ พระองค์ได้พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อโรงเรียนมัธยมศึกษาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ว่า \"โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ\" และเนื่องจากในระยะเริ่มต้นของการก่อตั้งโรงเรียนนั้น กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นผู้ประสานงานการจัดตั้งโรงเรียน ดังนั้น โรงเรียนนวมินทราชินูทิศแห่งนี้ จึงลงท้ายชื่อโรงเรียนว่า \"บดินทรเดชา\" โดยความหมายของชื่อโรงเรียนนั้น สามารถแยกออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่\nดังนั้น นาม \"นวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา\" จึงมีความหมายว่า โรงเรียนสาขาบดินทรเดชา ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อถวายแด่พระราชินีแห่งพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9",
"title": "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา"
},
{
"docid": "60265#0",
"text": "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา เป็นโรงเรียนในโครงการเฉลิมพระเกียรติ ในกลุ่มโรงเรียน 9 นวมินทราชินูทิศ และเป็นโรงเรียนในเครือบดินทรเดชา แห่งที่ 3 เมื่อวันที่ 12-13 ตุลาคม พ.ศ. 2534 กรมสามัญศึกษาได้พิจารณาดำเนินการรับที่ดินไว้จัดตั้งเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในปี พ.ศ. 2535 กรมสามัญศึกษาได้มอบหมายให้โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นผู้ประสานงานจัดตั้งโรงเรียนในโครงการ 1 ใน 9 โรงเรียน โดยใช้ที่ดินบริจาคของคุณย่าพัฒน์ กังสานนท์ในซอยลาดพร้าว 69 จำนวน 5 ไร่ และใช้ชื่อโรงเรียนว่า \"\"โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๓\"\"",
"title": "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา"
}
] | [
{
"docid": "60265#22",
"text": "เป็นกิจกรรมกีฬาที่จัดขึ้นเพื่อสร้างความสามัคคีระหว่างโรงเรียนในเครือบดินทรเดชา โดยหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพ ซึ่งโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา ได้เป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬา 5 บดินทรครั้งที่ 3 ในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ณ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ",
"title": "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา"
}
] |
2387 | ใครเป็นผู้เขียน ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก? | [
{
"docid": "219712#3",
"text": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก หรือ อะซะกิยูเมะมิชิ เป็นผลงานชิ้นยิ่งใหญ่ในชีวิตของวากิ ยามาโตะ เธอใช้เวลาในการสร้างผลงานทั้งชุด 13 เล่มเป็นเวลา 13 ปี (1980-93) ดัดแปลงเรื่องราวจาก ตำนานเก็นจิ ผลงานของมุระซะกิ ชิคิบุโดยศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ยุคเฮอัน และดัดแปลงตัวละครกับเนื้อเรื่องเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน ผลงานชิ้นยังนับว่าเป็นผลงานการ์ตูนที่สะท้อนภาพเกี่ยวกับยุคเฮอันที่ดีเยี่ยมที่สุดเรื่อง และยังได้รับการตีพิมพ์ซ้ำจนถึงปัจจุบัน",
"title": "วากิ ยามาโตะ"
},
{
"docid": "212399#0",
"text": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก () ดัดแปลงจาก \"Genji Monogatari\" หรือ \"ตำนานเก็นจิ\" วรรณกรรมคลาสสิกของญี่ปุ่นจากยุคเฮอัน (ราว ค.ศ. 794-1192) ว่าด้วยเรื่องราวชีวิตรักของท่านฮิคารุ เกนจิ ผู้สูงส่งทั้งชาติสมบัติและรูปสมบัติ วรรณกรรมเรื่องนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดวรรณกรรมญี่ปุ่นและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก แม้แต่ในหนังสือ Lifetime Reading Plan ของ Clifton Fadiman ก็ยังยกให้เป็นหนึ่งในวรรณกรรมเอกของโลกที่ทุกคนควรจะได้อ่านสักครั้งหนึ่งในชีวิต[1] \"ตำนานเกนจิ\"ฉบับนิยายภาพนี้ เขียนโดย ยามาโตะ วากิ ( Yamato Waki ) ผู้ซึ่งใช้เวลาเนิ่นนานหลายปีกับงานชิ้นนี้ทั้งในการศึกษาเตรียมงานและการดัดแปลงถ่ายทอดเป็นภาคการ์ตูน ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร Mimi ระหว่างปี ค.ศ. 1979-1993 ก่อนจะรวมพิมพ์เป็นเล่มจำนวน 13 เล่มจบ ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ โคดันฉะ ในประเทศญี่ปุ่นเป็นภาษาญี่ปุ่น โดยเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 ถึง 1993 มีจำนวนทั้งหมด 13 เล่ม ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษเป็นบางเล่ม ในชื่อ The Tale of Genji โดย สจ๊วร์ต แอทคิน และ โยโกะ โทโยซะกิ ( Stuart Atkin and Yoko Toyosaki ) โดยแปลเป็นนิยายภาพ 2 ภาษา พิมพ์โดยสำนักพิมพ์โคดันฉะเช่นกัน ได้รับการแปลไทยในฉบับไม่มีลิขสิทธิ์ ในชื่อ ฟ้าใต้แสงจันทร์ โดย สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ และฉบับลิขสิทธิ์ แปลโดย บัณธิต ประสิษฐานุวงษ์ จัดพิมพ์โดย จัดพิมพ์โดย บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด ( มหาชน ) เนื้อหาภายในเรื่องช่วง 10 เล่มแรก เป็นเรื่องราวชีวิตของเกนจิ ส่วน 3 เล่มหลังเป็นเรื่องราวหลังเกนจิเสียชีวิตไปแล้ว โดยตัวละครเด่นคือคาโอรุและองค์ชายนิโออุ",
"title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก"
}
] | [
{
"docid": "212399#57",
"text": "บุตรีของโทโนะจูโจ ได้สมรสกับยูงิริที่เป็นรักแรกเมื่อครั้งยังเล็ก",
"title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก"
},
{
"docid": "212399#14",
"text": "พระราชบิดาของเก็นจิ",
"title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก"
},
{
"docid": "212399#54",
"text": "ทามะคาซึระ",
"title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก"
},
{
"docid": "212399#60",
"text": "พระธิดาซันโนะมิยะ",
"title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก"
},
{
"docid": "212399#11",
"text": "ฮิคารุ เก็นจิ",
"title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก"
},
{
"docid": "212399#65",
"text": "บุตรสาวคนโตของฮะจิโนะมิยะ มีฝีมือในการเล่นบิวะ เป็นสตรีที่คาโอรุหลงรัก และนางก็เสียชีวิตลง",
"title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก"
},
{
"docid": "212399#26",
"text": "อุไดโช เคราดำ",
"title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก"
},
{
"docid": "212399#31",
"text": "ท่านหญิงมุราซากิ",
"title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก"
},
{
"docid": "212399#73",
"text": "อะนิเมะ Genji Monogatari Sennenki: Genji นั้นจะใช้ทีมงานเดียวกันกับที่ถูกวางแผนให้มาดูแลอะนิเมะ Asakiyumemishi แทบทุกประการ โดยอะนิเมะจะกำกับโดยผู้กำกับ Desaki Osamu (Ultraviolet Code:044, The Rose of Versaille, CLANNAD Movie) เขียนบทโดย Konparu Tomoko (Nodame Cantabile, Chi’s Sweet Home) ออกแบบตัวละครโดย Sugino Akio (Ultraviolet Code:044, Ashita no Joe) และดูแลด้านเพลงโดย Suzuki Seiji (CLANNAD Movie, Lupin III) ทำโดย TMS Entertainment (The Rose of Versaille, Lupin III, Detective Conan) และ Tezuka Productions (Black Jack, Ultraviolet Code:044) [5]",
"title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก"
},
{
"docid": "136761#2",
"text": "ต่อมา หมอกต้องไปขายตัวเพื่อหาเงิน อิฐเป็นห่วงเมฆ จึงตามไปถึงที่บ้าน ทรายจึงได้รับรู้เรื่องหมดทุกอย่าง แม่ของเมฆและหมอกก็ผูกคอตาย เมื่อหมดสิ้นแล้วทุกอย่าง เมฆจึงตัดสินใจบุกเดี่ยวไปฆ่าทั้งท่านและเฮีย โดยที่อิฐตามไปทีหลังด้วยความเป็นห่วง\"เพื่อน...กูรักมึงว่ะ\" เป็นภาพยนตร์รัก-ดราม่าของไทยเรื่องแรก ๆ ที่กล่าวถึงชีวิตรักของเกย์ และประชาสัมพันธ์อย่างโจ่งแจ้งว่าเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับชายรักร่วมเพศ",
"title": "เพื่อน...กูรักมึงว่ะ"
},
{
"docid": "212399#38",
"text": "ท่านหญิงอาโออิ",
"title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก"
},
{
"docid": "212399#50",
"text": "ท่านหญิงอาคาชิ",
"title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก"
},
{
"docid": "212399#46",
"text": "โอโบโรซึคิโยะ",
"title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก"
},
{
"docid": "273604#0",
"text": "หมอก (อังกฤษ: fog) คือกลุ่มละอองน้ำที่ลอยตัวอยู่ในระดับต่ำเหนือพื้นดิน ซึ่งเมฆบางครั้งก็ถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของหมอก ตัวอย่างเช่น เมฆที่เคลื่อนตัวในอากาศระดับสูงจะไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นหมอก ขณะที่เมฆที่เคลื่อนตัวมาแบบสัมผัสกับพื้นดิน อาคาร หรือสิ่งก่อสร้างของมนุษย์ ที่มีความสูงขนาดหนึ่ง จะถูกพิจารณาว่าเป็นหมอกมากกว่าเมฆ ซึ่งหมอกแตกต่างจากละอองหมอก (mist) ก็เพียงเฉพาะความหนาแน่นเท่านั้น ผลกระทบของการเกิดหมอกที่เด่นชัดคือการทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลง หมอกปกติทั่วไปอาจลดความสามารถในการมองเห็นน้อยกว่า 1 กิโลเมตร ส่วนละอองหมอกจะลดความสามารถในการมองเห็นให้เหลือในระยะ 1–2 กิโลเมตร มาตรฐานการบินของสหราชอาณาจักรกำหนดไว้ว่าประสิทธิภาพในการมองเห็นที่ระยะ 999 เมตรถึง 2 กิโลเมตร จะพิจารณาสภาพนั้นว่าเป็นละอองหมอก นอกจากนี้ละอองหมอกจะต้องมีระดับความชื้นสัมพัทธ์ไม่ต่ำกว่า 95 เปอร์เซ็นต์หรือสูงกว่า หากมีความชื้นสัมพัทธ์น้อยกว่า 95 เปอร์เซ็นต์เราจะพิจารณาสภาพนั้นว่าเป็นฟ้าหลัว",
"title": "หมอก"
},
{
"docid": "523079#2",
"text": "หญิงสาว อายุ 22 ปี จบปริญญาตรีด้านบริหารการโรงแรม ดูแลกิจการครอบครัวในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายห้องพัก มีนิสัยเอาแต่ใจ แพ้ใครไม่เป็น มีความมั่นใจ มองโลกในแง่ดี มีน้ำใจกับทุกคน อยากมีชีวิตสมบูรณ์แบบ มีแฟนหล่อ รวย นิสัยดีครบ 100 ไม่มีขาด สมัยเรียนแอบชอบธีรภพ ฝันอยากเป็นนักเขียนนิยายชื่อดัง ไม่ชอบทำธุรกิจ อ่อนหัดเรื่องความรักทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญในการเขียนนิยาย จึงต้องแก้ไขจุดอ่อนนี้ เลยตัดสินใจปลอมตัวเป็นผู้ชายชื่อ ซัน เข้ามาเป็นพี่เลี้ยงหมอก",
"title": "ตะวันฉายในม่านเมฆ"
},
{
"docid": "212399#36",
"text": "พระชายาโคกิเด็ง",
"title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก"
},
{
"docid": "212399#1",
"text": "มาจากท่อนหนึ่งของกลอนอิโระฮะ[2]",
"title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก"
},
{
"docid": "212399#44",
"text": "องค์หญิงมาลีเด็ดปลาย",
"title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก"
},
{
"docid": "212399#15",
"text": "คนสนิทและพี่น้องร่วมแม่นมเดียวกันกับเก็นจิ",
"title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก"
},
{
"docid": "211131#71",
"text": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก ( 1-13 ) แปลเป็นภาษาไทยจาก การ์ตูนฉบับภาษาญี่ปุ่นเรื่อง asakiyumemishi เขียนโดย ยามาโตะ วากิ (Yamato Waki ) โดยมีเค้าโครงเรื่องดัดแปลงจาก ตำนานเก็นจิ แปลโดย บัณธิต ประสิษฐานุวงษ์ จัดพิมพ์โดย บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด ( มหาชน ) ตำนานรัก GENJI ( 1 ) แปลเป็นภาษาไทยโดย พิมพ์ทรีย์ จาก การ์ตูนฉบับภาษาญี่ปุ่นเรื่อง Genji Monogatari เขียนโดย MIOU Serina โดยมีเค้าโครงเรื่องดัดแปลงจาก ตำนานเก็นจิ จัดพิมพ์โดย บริษัท บงกช พับลิชชิ่ง จำกัด",
"title": "ตำนานเก็นจิ"
},
{
"docid": "212399#23",
"text": "องค์ชายโฮตารุ",
"title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก"
},
{
"docid": "182353#0",
"text": "ช่อมณี เป็นนามปากกาที่ใช้ในงานเขียนนิยาย ของ มณีรัตน์ อัศวิศราภรณ์ ซึ่งสร้างสรรค์ผลงานเขียนไว้มากมาย นอกจากนั้นในบางนิตยสารยังใช้อีกนามปากกาหนึ่ง คือ \"แพรดาว\"ด้วย งานเขียนเรื่องแรกที่ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารรายปักษ์ \"กาญจนา\"(ปัจจุบันเลิกจำหน่ายไปแล้ว) ด้วยเรื่อง \"ไอรัก ไฟแค้น\" ผลงานซึ่งทำให้ผู้อ่านรู้จัก \"ช่อมณี\" อย่างดี คือ \"หมอกผลัดฟ้า\"ซึ่งตีพิพม์ในนิตยสารรายสัปดาห์ \"บางกอก\" และผลงานอีกหลายเรื่องที่ลงในหนังสือของเครือบางกอกซึ่งสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มนักอ่านไทย โดยมีแนวเขียนที่แปลกตาทั้งเนื้อหาและวิธีเขียนที่กระชับ เข้าใจง่ายและรวดเร็ว จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มนักอ่านรุ่นใหม่ นิยายต่าง ๆ เคยเผยแพร่ในนิตยสารมีชื่อเสียงของเมืองไทย เช่น บางกอก ตะวันสแควร์ ภาพยนตร์บันเทิง ชีวิตรัก หญิงไทย เป็นต้นนิยายที่ได้เผยแพร่และเป็นที่ชื่นชอบในกลุ่มนักอ่าน อาทิเช่น ไอรัก ไฟแค้น หมอกผลัดฟ้า ใต้เงาบาป แปรดาว รัดเกล้าพิศวง นักล่าแต้มศูนย์ ทายาทมนต์ดำ เล่ห์สวรรค์ ทายาทอำพราง รักซ่อนลาย มุกเปื้อนทราย หงส์สะบัดลาย รากบุญ มนต์ชะตา และอื่นๆ ซึ่งมีทั้งเขียนในนามปากกา \"ช่อมณี\"หรือ \"แพรดาว\" มีหลากหลายแนวทั้งสะท้อนสังคมหรือการเมืองและแฟนตาซี ส่วนนิยายเล่มที่พิมพ์จำหน่ายมาแล้ว คือ หมอกผลัดฟ้า สนล้อลม รัดเกล้าพิศวง และ แปรดาว (ข้อมูลล่าสุดในปี พ.ศ. 2551) ต่อมาปี พ.ศ. 2552 ตีพิมพ์เล่มอีก คือ นักล่าแต้มศูนย์ และ บัญชารัก",
"title": "ช่อมณี"
},
{
"docid": "735073#0",
"text": "สืบสวนป่วนกำลังสาม เป็นละครโทรทัศน์ไทย แนวแอ็คชั่น-คอมมาดี้ และเป็นละครภาคต่อจาก สืบสวนป่วนรัก ออกฉายเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ผลิตโดย บริษัท เกโนไก จำกัด บทประพันธ์และบทโทรทัศน์โดย สนุกคิด สนิทเขียน กำกับการแสดงโดย ผิน เกรียงไกรสกุลสายลับรุ่นพี่ เชื่อมั่นตัวเองสูง ใจร้อน ชอบท้าทาย ปีแสงได้เป็นแฟนกับฟ้าครามลูกสาวของลายเมฆ ด้วยความที่ลายเมฆเป็นคนหวงลูกสาว ทั้งคู่จึงกลายเป็นไม้เบื่อไม้เมาทะเลาะกันตลอด แต่ยิ่งอยู่ใกล้ชิดทำให้ปีแสงเรียนรู้และศรัทธาในความเป็นสายลับมืออาชีพของลายเมฆ แต่พอมีสายลับรุ่นน้อง องศา เข้ามาทำให้ปีแสงยิ่งหวงฟ้าคราม\nฟ้าครามสาวสวยน่ารัก จิตใจดี เรียนจบมาก็เป็นผู้สื่อข่าว ฟ้าครามตกลงคบหาดูใจกับปีแสง แต่ด้วยความที่ลายเมฆพยายามกีดกันและคอยจับผิด ยังไม่ยอมรับปีแสงเหมือนเดิม จึงทำให้มีปากเสียงกับลายเมฆมากขึ้นไปอีก ความรักของฟ้าครามกับปีแสง มีองศาเข้ามาทำให้มีปัญหาเพิ่มมากขึ้น\nสายลับรุ่นเก๋าที่อยากปลดระวางตัวเองเพราะต้องการทุ่มเทเวลาให้กับลูกสาวให้มาก ลายเมฆเป็นคนเก่งรอบด้าน ฉลาด รอบคอบ เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว ด้วยความรักและหวงลูกสาวมาก เขาถึงปฏิญาณตนว่า จะทุ่มเทชีวิตเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมด้านมืดให้ขาวสะอาด เพื่อที่ลูกสาวเขาจะได้เติบโตในสังคมที่ดี\nหญิงสาวสวย สุดห้าว เพื่อนนักเรียนตำรวจรุ่นเดียวกับลายเมฆ นิสัยแบบผู้ชาย กล้าได้ กล้าเสีย ทำให้ไม่ใครกล้าจีบ เธอแอบชอบลายเมฆ แต่ก็เก็บความรู้สึกไว้ไม่เคยแสดงออก เมื่อมนัสขอความช่วยเหลือ จอมใจชนกจึงได้กลับมาพบลายเมฆอีกครั้ง เธอได้รับภารกิจปลอมตัวเป็นแฟนลายเมฆ และยอมเสี่ยงตายเพื่อช่วยลายเมฆ\nผู้หมวดหนุ่มรุ่นเดียวกับปีแสง หน้าตาดี ขรึม เป็นคนขาดความมั่นใจ ไร้เสน่ห์ เหตุเพราะดูใสซื่อ จริงใจ ใฝ่ดี มีสัมมาคารวะ องศาจึงมักได้รับความเอ็นดูและให้อภัยจากผู้ใหญ่เสมอ และด้วยความเป็นคนมองโลกแง่ดี มีอารมณ์ขัน องศาจึงเป็นที่ประทับใจของคนใกล้ชิด แต่ภายใต้ความน่ารักน่าหยอกขององศากลับซ่อนไว้ด้วยความโกรธแค้นที่ฝังหัวมาตลอดชีวิต",
"title": "สืบสวนป่วนกำลังสาม"
},
{
"docid": "212399#34",
"text": "พระชายาเรือนฟุจิ",
"title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก"
},
{
"docid": "523079#7",
"text": "เด็กชายวัย 4 ขวบ หลานของเมฆ ลูกชายของธีร์ แต่ธีร์เสียไปตั้งแต่หมอกยังจำความไม่ได้ หมอกจึงเรียกเมฆว่าพ่อ เป็นเด็กน่ารักอารมณ์ดี เข้ากับคนง่าย ไม่ดื้อไม่ซนถ้าหากคนที่เข้ามาหาเป็นค\nพ่อของตะวันฉาย เป็นคนรักลูก รักครอบครัว รวบรวมเงินเก็บ ลงทุนทำรีสอร์ทจนประสบความสำเร็จ จนอยากให้ลูกสาวคนเดียวเจริญรอยตาม นิสัยเป็นคนขี้เล่น แต่เรื่องงานจะเอาจริงเอาจัง ขยันหมั่นเพียร มีความโอบอ้อมอารี รักลูกน้อง และเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดี",
"title": "ตะวันฉายในม่านเมฆ"
},
{
"docid": "212399#29",
"text": "ฮะจิโนะมิยะ",
"title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก"
},
{
"docid": "212399#72",
"text": "ซีรีส์ Asakiyumemishi (ชื่อไทย “ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก” โดย Nation Edutaiment) การ์ตูนผู้หญิงอิงวรรณคดีเก่าแก่ “ตำนานเก็นจิ” มีการ<b data-parsoid='{\"dsr\":[15457,15475,3,3]}'>ประกาศยกเลิก</b>แผนการทำอะนิเมะเดิมที่จะเริ่มฉายในเดือนมกราคมปี 2009 ในไทม์สล็อต Noitamina ของ Fuji TV โดยประกาศอย่างเป็นทางการในเว็บไซต์หลักของอะนิเมะดังกล่าว ซึ่งจะถูกแทนด้วยผลงานอะนิเมะออริจินัลในชื่อเรื่องว่า Genji Monogatari Sennenki: Genji (“เกนจิตำนานพันปี Genji”) แทนในฐานะอะนิเมะครบรอบสหัสวรรษของวรรณคดีต้นฉบับ",
"title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก"
},
{
"docid": "212399#6",
"text": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก[3]",
"title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก"
},
{
"docid": "136761#1",
"text": "เมฆ เป็นมือปืนที่ใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว เมฆมีแต่เพียงแม่และหมอก น้องชายที่ป่วยเป็นโรคเอดส์ทั้งคู่ จากพ่อเลี้ยง เมฆเป็นมือปืนที่ทำงานไม่เคยพลาดและไม่เคยตั้งคำถามใด ๆ ต่อชีวิต วันหนึ่ง เมฆได้รับคำสั่งให้จับตัว อิฐ นายตำรวจหนุ่มคนหนึ่งมาให้เฮียและท่าน อิฐเป็นคนดีที่ไปล่วงรู้เบื้องหลังการโกงกินของท่าน เมฆปฏิเสธที่จะไม่ฆ่าอิฐตามคำสั่งเฮีย เมฆจึงถูกยิงและถูกพาหนีไปโดยอิฐ ทั้งคู่หลบไปอยู่ในห้องพักบนอาคารตึกสูง ในช่วงเวลาที่ทั้งคู่อยู่ด้วยกัน อิฐไม่ปฏิเสธหัวใจตัวเองว่ารักเมฆ แต่เมฆกลับหลบหนีเขา ทำให้ทราย แฟนสาวของอิฐรู้สึกแปลกในความสัมพันธ์ระหว่างกัน",
"title": "เพื่อน...กูรักมึงว่ะ"
}
] |
1361 | กฎหมายของประเทศไทยมีกี่ลำดับศักดิ์์ | [
{
"docid": "263937#3",
"text": "ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่",
"title": "ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย"
}
] | [
{
"docid": "346424#9",
"text": "\"...การตัดสินใจทำประมวลกฎหมายครั้งนี้นับว่ามีความหมายในทางประวัติศาสตร์กฎหมายของไทยเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการเปลี่ยนระบบกฎหมายจากการรับกฎหมายอังกฤษเข้ามาใช้ ซึ่งได้ปฏิบัติกันมาเป็นเวลาครึ่งศตวรรษ...มีความหมายว่าประเทศไทยหันเหจากการรับระบบคอมมอนลอว์ของอังกฤษมาใช้ เปลี่ยนไปรับระบบซีวิลลอว์ซึ่งเป็นระบบกฎหมายของภาคพื้นยุโรปที่มีนิติวิธีที่แตกต่างและตรงกันข้ามกับระบบคอมมอนลอว์ การที่ประเทศไทยประกาศใช้ประมวลกฎหมายจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงจากระบบกฎหมายหนึ่งไปอีกระบบหนึ่งทีเดียว...\"",
"title": "ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "320577#2",
"text": "ประเทศไทยมีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ทำให้มีนกถิ่นเดียวเพียงไม่กี่ชนิด บางทีนกที่สวยงามอย่างนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรซึ่งพบเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว อาจสูญพันธุ์ไปแล้วก็ได้",
"title": "รายชื่อนกที่พบในประเทศไทย"
},
{
"docid": "93741#45",
"text": "ระหว่างนี้ได้มีการออกกฎหมายอาชญากรสงครามมาเพื่อให้ผู้กระทำผิดต้องขึ้นศาลไทย จอมพล ป. พิบูลสงคราม รวมทั้งอดีตผู้ใต้บังคับบัญชาระดับสูงหลายคน เช่น หลวงวิจิตรวาทการ, จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์, พลเอกมังกร พรหมโยธี เป็นต้น จึงถูกจับกุมและถูกดำเนินคดีในประเทศไทย และต่อมาไม่ต้องรับโทษเพราะศาลฎีกาวินิจฉัยว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลังและอ้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ระบุเรื่องสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่ากฎหมายอาชญากรสงคราม ทั้งนี้มีผู้วิจารณ์ว่าการออกกฎหมายอาชญากรสงครามก็เพื่อไม่ให้คนไทยถูกส่งไปดำเนินคดีในต่างประเทศอันจะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศและทำให้เสียเปรียบในการเจรจาหลังสงคราม หรือบางแหล่งก็ว่าเป็นการช่วยเหลือจอมพล ป. ให้พ้นโทษ ในขณะที่อาชญากรสงครามของประเทศอื่นๆ ถูกจับกุมและประหารชีวิตในที่สุด",
"title": "สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย"
},
{
"docid": "720648#15",
"text": "อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้มีการรณรงค์ผลักดันร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิตของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ \"ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต\" เพื่อเปิดทางให้คู่ครองเพศเดียวกันทำการสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งถ้าหากมีการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ จะทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในทวีปเอเชียที่มีการรับรองสถานะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพศเดียวกัน",
"title": "สิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย"
},
{
"docid": "54725#9",
"text": "คือผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว กล่าวคือ คนที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยแต่ยังไม่ได้สัญชาติไทยเพราะทางการยังไม่รับรองทางกฎหมาย เช่น ชนกลุ่มน้อยตามชายแดนหรือชาวเขา กลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ชั่วคราว เช่น นักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย แม้บางคนจะถือพาสปอร์ตประเทศของตน แต่อาจจะมีสามีหรือภรรยาคนไทยจึงไปขอทำทะเบียนประวัติเพื่อให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านสามีหรือภรรยา คนทั้งสองแบบที่ว่านี้ถือว่าเป็นบุคคลประเภท 6",
"title": "เลขประจำตัวประชาชนไทย"
},
{
"docid": "384894#9",
"text": "บางครั้งก็มีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำโดยไม่มีบัญญัติเป็นกฎหมาย ประเพณีและแรงกดดันนอกเหนือกฎหมายจากรัฐบาลหรือสหภาพแรงงานอาจผลักดันให้เกิดเป็นค่าจ้างขั้นต่ำโดยพฤตินัยได้ เช่นเดียวกับที่ความเห็นของสาธารณะระหว่างประเทศกดดันบริษัทข้ามชาติให้จ่ายค่าตอบแทนแก่ลูกจ้างในโลกที่สามมักพบในประเทศอุตสาหกรรมเสียมากกว่า สถานการณ์อย่างหลังนี้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และละตินอเมริกาได้รับการเผยแพร่ในช่วงไม่กี่ปีหลังนี้ แต่มันได้มีขึ้นกับบริษัทในแอฟริกาตะวันตกในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 แล้ว[5] ระดับค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับทุกอุตสาหกรรมยังสามารถกำหนดได้เป็นเปอร์เซ็นต์ของจีดีพีต่อหัวที่มีค่าไม่เปลี่ยนแปลง หรือตามระดับภาษีรายได้ของประเทศ",
"title": "ค่าจ้างขั้นต่ำ"
},
{
"docid": "9169#7",
"text": "กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญมีมานานแล้วในต่างประเทศ โดยเฉพาะภาคพื้นยุโรป ซึ่งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญของไทยมีครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งให้มีพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญรวม 8 ฉบับ ซึ่งปัญหาเรื่องลำดับศักดิ์ของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญยังเป็นที่ถกเถียงกันเรื่อยมา เพราะหากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ในทางกฎหมายนั้นเมื่อรัฐธรรมนูญถูกยกเลิกก็ย่อมทำให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ถูกยกเลิกด้วย แต่ปัญหาดังกล่าวก็ยังไม่คลี่คลายแม้ในช่วงรัฐประหารที่ผ่านมา",
"title": "พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "292545#0",
"text": "คณะกรรมการกฤษฎีกา () เป็นคณะกรรมการกฤษฎีกาแห่งประเทศไทย ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายและยกร่างกฎหมาย กับทั้งให้ความเห็นทางกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ",
"title": "คณะกรรมการกฤษฎีกา (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "550433#15",
"text": "ในอดีต บางท้องที่มีกฎหมายห้ามมนุษย์เพศผู้ร่วมประเวณีกับสัตว์เดรัจฉานเพศเมีย เช่น อัลปากา (Alpaca) และการสังวาสกับอัลปากายังเป็นความผิดตามกฎหมายในประเทศเปรูอยู่ ส่วนในสหรัฐอเมริกานั้น ปรากฏว่า ตั้งแต่ ค.ศ. 2012 เป็นต้นว่า การร่วมประเวณีกับสัตว์นับเป็นความผิดตามกฎหมายของรัฐจำนวนสามสิบเจ็ดรัฐ กฎหมายระดับรัฐเหล่านี้ส่วนใหญ่ตราขึ้นในช่วง ค.ศ. 1999 ถึง ค.ศ. 2012 นี้เอง ในเมืองอีนัมคลอว์ (Enumclaw) รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ยังเคยมีไร่ปศุสัตว์หลายแห่งเปิดเป็น \"โรงค้าประเวณีสัตว์\" (animal brothel) แต่เมื่อเกิดคดีชำเราม้าเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 ซึ่งชายคนหนึ่งไส้แตกตายในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลชมชนอีนัมคลอว์หลังจากร่วมประเวณีกับม้า สภานิติบัญญัติรัฐวอชิงตันซึ่งเป็นเพียงไม่กี่รัฐที่ยังไม่มีกฎหมายป้องกันและปราบปรามการชำเราสัตว์ จึงตรากฎหมายเช่นนั้นขึ้นโดยไม่ชักช้า กระบวนการนิติบัญญัติใช้เวลาเพียงหกเดือน",
"title": "อาการกระสันสัตว์"
},
{
"docid": "292497#2",
"text": "รองศาสตราจารย์ วิมลศิริ ชำนาญเวช รับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นนักกฎหมายที่มีบทบาทในวงการกฎหมายไทย จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในปี พ.ศ. 2548 - 2550 และเป็นนักกฎหมายที่มีบทบาทในการร่วมเป็นคณะกรรมาธิการร่างกฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับเด็กและสตรีของไทย",
"title": "วิมลศิริ ชำนาญเวช"
},
{
"docid": "238617#25",
"text": "ฎ. 563/2532 มูลคดีตามฟ้องเกิดขึ้นในประเทศไทย ต้องบังคับกันตามกฎหมายแห่งประเทศไทย ไม่อาจนำรัฐบัญญัติเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางทะเล ค.ศ. 1936 ของสหรัฐอเมริกามาใช้บังคับเพื่อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งได้ โดย ป.พ.พ. บัญญัติว่า รับขนของทางทะเล ท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับ และไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. ลักษณะรับขนในหมวดรับขนของ อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี",
"title": "ช่องว่างของกฎหมาย"
},
{
"docid": "372834#4",
"text": "สังคมไทยในอดีตเป็นแบบ \"ผัวเดียวหลายเมีย\" หมายความว่า ชายมีสถานะเหนือหญิงในทุกด้าน[7] ในสมัยสุโขทัย ตำหนิชายที่มีชู้กับภรรยาคนอื่น แต่ไม่ห้ามชายมีภรรยาหลายคน ต่อมา ในสมัยอยุธยา กฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ. 1904 ยังได้แบ่งภรรยาออกเป็น 3 ประเภท และชายจะมีภรรยากี่คนก็ได้ ทั้งยังมีภาษิตที่ว่า \"ผู้หญิงเป็นควาย ผู้ชายเป็นคน\"[9] ซึ่งต่อมารัชกาลที่ 4ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าไม่ยุติธรรม ให้ยกเสีย เนื่องจากกรณีถวายฎีกาของอำแดงเหมือน จนกระทั่ง พ.ศ. 2478 จึงมีกฎหมายให้ชายมีภรรยาได้เพียงคนเดียว[7]",
"title": "สตรีในประเทศไทย"
},
{
"docid": "853774#8",
"text": "รัฐสภามีอำนาจในการตรากฎหมายเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นในเรื่องที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้ตัวอย่างของกฎหมายเกี่ยกับองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นได้แก่\nการจัดการทำกฎหมายในรูปแบบประมวลกฎหมายท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์จัดขึ้นเพื่อรวบรวมพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพื้นฐานได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด, องค์บริหารส่วนตำบล, เทศบาล, กฎหมายการกระจายอำนาจหน้าที่และกฎหมายรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งการรวบรวมจะช่วยให้การอ้างอิงข้อกฎหมายทำได้ง่ายขึ้นและเนื้อหาของกฎหมายมีความสอดคล้องกัน ในประเทศต่างๆก็มีกฎหมายที่ใกล้เคียงกับประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยโดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ประเทศฟิลิปปินส์มีกฎหมายที่ชื่อว่า \"ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งฟิลิปปินส์ (The Local Goverment Code of The Philippines)\" ประมวลกฎหมายฉบับบนี้ทำให้เกิดกระบวนการกระจายอำนาจขึ้น และอีกประเทศนึงก็คือ ประเทศญี่ปุ่น \"กฎหมายว่าด้วยความเป็นอิสระของท้องถิ่น ค.ศ.1947(Local Autonomy Law Of 1947)\" และประเทศสหราชอาณาจักร \"พระราชบัญญัติว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ค.ศ.2000(Local Goverment Act Of 2000)\" มีสาระสำคัญที่เหมือนของประเทศไทยคือ รูปแบบการบริหารงานภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การเงิน อำนาจหน้าที่ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าแนวคิดในการจัดทำประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็คือ การรวมเอากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาไว้ในฉบับบเดียวกัน",
"title": "กฎหมายปกครองท้องถิ่น"
},
{
"docid": "292545#6",
"text": "ต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่า แม้จะได้จัดตั้งกระทรวงยุติธรรมและปรับปรุงระบบศาลไทยใหม่แล้ว แต่การเจรจากับต่างประเทศเพื่อขอยกเลิกสนธิสัญญาสงวนสิทธิสภาพนอกอาณาเขตยังไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากกฎหมายที่กองกรรมการชำระประมวลกฎหมายจัดทำขึ้นนั้นยังไม่เป็นที่ยอมรับของชาวต่างประเทศ สมควรที่จะดำเนินการปรับปรุงระบบการร่างกฎหมายใหม่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง กรมร่างกฎหมาย ขึ้นในปี พ.ศ. 2466 โดยยกกองกรรมการชำระประมวลกฎหมายขึ้นเป็นกรมชั้นอธิบดี สังกัดกระทรวงยุติธรรม โดยให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการชำระประมวลกฎหมาย ให้ความเห็นทางกฎหมาย และยกร่างกฎหมายอื่น ๆ เพื่อให้การร่างกฎหมายถูกต้องตามหลักวิชา และเพื่อให้การร่างกฎหมายเป็นระบบระเบียบ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หน่วยงานต่าง ๆ ส่งร่างกฎหมายให้กรมร่างกฎหมายตรวจแก้เสียก่อนที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้",
"title": "คณะกรรมการกฤษฎีกา (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "35725#0",
"text": "ธนาคารแห่งประเทศไทย () เป็นธนาคารกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น โดยมีหน้าที่หลักในการดูแลกำกับเรื่องการเงินของชาติ ทั้งออกกฎเกณฑ์และควบคุมสถาบันการเงิน นำออกหมุนเวียนซึ่งธนบัตรไทยรวมถึงการควบคุมการถ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศ และเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินตราอื่น",
"title": "ธนาคารแห่งประเทศไทย"
},
{
"docid": "253515#1",
"text": "ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2550) มาตรา 197 ถึงมาตรา 228 ศาลไทยมีสี่ประเภทดังต่อไปนี้ประเทศไทยใช้กฎหมายระบบซีวิลลอว์ (Civil law) ดังนั้น คำตัดสิน คำพิพากษา และคำตัดสินของศาลไทย จึงไม่ได้เป็นทั้งกฎหมายไทยและบ่อเกิดของกฎหมายไทย หากเป็นแต่การปรับใช้กฎหมายเท่านั้น",
"title": "ศาลไทย"
},
{
"docid": "795905#1",
"text": "ตอนอายุ 7 ปี เอมิล เคร็บส์พบหนังสือพิมพ์เก่าในภาษาต่างประเทศ ครูสอนภาษาที่โรงเรียนบอกเขาว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่มาจากประเทศฝรั่งเศส แล้วก็พูดติดตลกพร้อมกับส่งพจนานุกรมภาษาฝรั่งเศส-ภาษาเยอรมันให้เคร็บส์ได้เรียนรู้ภาษาในไม่กี่เดือน เขาเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนประถมใน Swiebodzice (เยอรมัน: Freiburg) แล้วเขาเรียนที่โรงยิม Swidnica ที่ๆเขาได้เรียนรู้ภาษาฝรั่งเศสภาษาละตินกรีกและฮีบรู หลังจากได้รับประกาศนียบัตรมัธยมปลายในปี 1887 เขาสามารถสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่วใน 12 ภาษา (รวมทั้งภาษากรีกสมัยกรีก, ตุรกี, อาหรับ, โปแลนด์) และหลังจากที่ภาคการศึกษาที่ศึกษาธรรมที่มหาวิทยาลัย Wroclaw เขาเริ่มที่จะเรียนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ในไลพ์ซิกเขาพบโฆษณาเรื่องการสัมมนาทางภาษาคนจากทางตะวันออกของเบอร์ลิน ความสามารถพิเศษทางภาษาของเขาได้รับการยอมรับและ นอกจากนี้ยังเป็นช่วงเวลาที่เขาอุทิศตัวเองเพื่อการเรียนภาษาเอเชีย เขาผ่านการทดสอบของประเทศในเรื่องกฎหมายและเข้าร่วมกับคณะทูต",
"title": "เอมิล เคร็บส์"
},
{
"docid": "292545#5",
"text": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการปรับปรุงระบบกฎหมายไทยและระบบศาลให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ เพื่อใช้เป็นข้อต่อรองกับต่างประเทศในการยกเลิกสนธิสัญญาสงวนสิทธิสภาพนอกอาณาเขต อันจะทำให้ประเทศไทยได้รับเอกราชทางศาล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิรูประบบศาลไทยใหม่ รวมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง กองกรรมการชำระประมวลกฎหมาย ขึ้น ในปี พ.ศ. 2440 โดยมีกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เป็นองค์ประธานกรรมการ และนักกฎหมายไทยอีกจำนวนหนึ่งเป็นกรรมการ เพื่อทำหน้าที่ชำระและยกร่างประมวลกฎหมายอาญา และต่อมาได้มีการตั้งกรรมการชำระประมวลกฎหมายขึ้นอีกหลายคณะเพื่อชำระและยกร่างประมวลกฎหมายอื่น ในการนี้ โปรด ฯ ให้จัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านการร่างกฎหมายชาวต่างประเทศมาร่วมดำเนินการด้วย",
"title": "คณะกรรมการกฤษฎีกา (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "69653#0",
"text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย</b>เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 20 ฉบับ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560",
"title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย"
},
{
"docid": "332502#1",
"text": "ปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎหมายล้มละลายที่ใช้อยู่คือพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งได้มีการแก้ไขปรับปรุงตามสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในการบัญญัติกฎหมายดังกล่าวนั้น ไทยได้นำการวางหลักกฎหมายส่วนใหญ่มาจากกฎหมายล้มละลายของประเทศสหรัฐอเมริกา",
"title": "กฎหมายล้มละลาย"
},
{
"docid": "344877#5",
"text": "สำหรับในประเทศไทย ลิงเสนเดิมพบได้ทุกภูมิภาค แต่ปัจจุบันมีสถานะในธรรมชาติที่ลดลงเป็นจำนวนมาก จนเหลือเพียงไม่กี่ฝูงเท่านั้น อาทิ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง, อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง, อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง, อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง เป็นต้น มีสถานะทางกฎหมายเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535",
"title": "ลิงเสน"
},
{
"docid": "283925#20",
"text": "เมื่อเห็นว่าการจัดทำประมวลกฎหมายในประเทศสยามไม่คืบหน้า ใน พ.ศ. 2465 รัฐบาลฝรั่งเศสจึงเรียกร้องให้ไทยเร่งปรับปรุงระบบกฎหมายภายในประเทศอย่างไม่ชักช้าด้วยการจัดตั้งกรมร่างกฎหมายขึ้นทำหน้าที่เฉพาะโดยกำหนดให้เป็นเงื่อนไขที่ไทยจะต้องปฏิบัติตามเพื่อขอเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ในปีถัดมา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้ยกฐานะคณะกรรมการร่างกฎหมายขึ้นเป็นกรมร่างกฎหมาย สังกัดกระทรวงยุติธรรม มีอำนาจหน้าที่ร่างกฎหมายแต่โดยลำพัง และให้มีคณะกรรมการร่างกฎหมายชุดใหม่ ประกอบด้วย[22]",
"title": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์"
},
{
"docid": "283925#8",
"text": "\"...การตัดสินใจทำประมวลกฎหมายครั้งนี้นับว่ามีความหมายในทางประวัติศาสตร์กฎหมายของไทยเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการเปลี่ยนระบบกฎหมายจากการรับกฎหมายอังกฤษเข้ามาใช้ ซึ่งได้ปฏิบัติกันมาเป็นเวลาครึ่งศตวรรษ...มีความหมายว่าประเทศไทยหันเหจากการรับระบบคอมมอนลอว์ของอังกฤษมาใช้ เปลี่ยนไปรับระบบซีวิลลอว์ซึ่งเป็นระบบกฎหมายของภาคพื้นยุโรปที่มีนิติวิธีที่แตกต่างและตรงกันข้ามกับระบบคอมมอนลอว์ การที่ประเทศไทยประกาศใช้ประมวลกฎหมายจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงจากระบบกฎหมายหนึ่งไปอีกระบบหนึ่งทีเดียว...\"",
"title": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์"
},
{
"docid": "670357#4",
"text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศไทยซึ่งอยู่เหนือกว่ากฎหมายที่รัฐสภาออก รัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ศาลรัฐธรรมนูญมีเขตอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดความชอบต่อรัฐธรรมนูญ (constitutionality) ของพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา ร่างกฎหมาย การแต่งตั้งและถอดถอนข้าราชการของรัฐ และประเด็นเกี่ยวกับพรรคการเมือง",
"title": "กฎหมายไทย"
},
{
"docid": "224170#39",
"text": "กฎหมายไทย โดย ป.พ.พ. ม.174 ให้อำนาจแก่ศาลเป็นพิเศษ ที่จะสามารถวินิจฉัยให้ถือเอานิติกรรมอันหนึ่งแทนนิติกรรมที่คู่กรณีทำไว้ หรือให้ถือเอาเจตนาอีกอย่างแทนที่คู่กรณีแสดงไว้[22] เช่น นาย ก ทำหนังสือยกที่ดินให้นาย ข ผู้เป็นหลาน โดยเขียนด้วยลายมือตนเองทั้งฉบับ ระบุให้โอนสิทธิในที่ดินนับแต่วันเขียนหนังสือนั้น และตลอดเมื่อนาย ก สิ้นลมไปแล้วก็มิให้ใครมาเรียกร้องแบ่งมรดกไปจากนาย ข ด้วย, แล้วก็มอบหนังสือนี้พร้อมที่ดินให้นาย ข ปกครอง, ต่อมาไม่กี่เดือนนาย ก ก็ตายลง, นาย ค ซึ่งเป็นผู้รับมรดกของนาย ก มาฟ้องเรียกร้องเอาที่ดินคืนจากนาย ข โดยอ้างว่านิติกรรมมอบที่ดินดังกล่าวไม่สมบูรณ์ เพราะไม่ได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ขณะที่กฎหมายกำหนดให้ทำ พินัยกรรมจึงต้องเป็นโมฆะ, ศาลก็อาจวินิจฉัยว่า แม้นิติกรรมการมอบที่ดินให้ระหว่างมีชีวิตจะกลายเป็นโมฆะ แต่มีการทำเป็นหนังสือเขียนด้วยลายมือทั้งฉบับ ทำให้สมบูรณ์ในฐานเป็นพินัยกรรมที่เขียนเองทั้งฉบับได้",
"title": "โมฆะ"
},
{
"docid": "823#123",
"text": "สหรัฐเป็นประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าประเทศเดียวที่ไม่รับประกันการหยุดงานโดยจ่ายค่าจ้าง (paid vacation) แก่คนงาน[430] และเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่ไม่มีการหยุดงานเลี้ยงบุตรโดยจ่ายค่าจ้าง (family leave) เป็นสิทธิตามกฎหมาย โดยมีประเทศอื่น เช่น ปาปัวนิวกินี ซูรินาม ไลบีเรีย[431] แม้ปัจจุบันกฎหมายกลางไม่รับประกันการลาป่วย แต่เป็นผลประโยชน์ทั่วไปของคนงานของรัฐบาลและพนักงานเต็มเวลาของบริษัท[432] ตามข้อมูลของกรมสถิติแรงงาน คนงานอเมริกันเต็มเวลา 74% ลาหยุดงานโดยได้รับค่าจ้าง แม้คนงานไม่เต็มเวลาเพียง 24% ได้รับผลประโยชน์เดียวกัน[432] ในปี 2009 สหรัฐมีผลิตภาพกำลังแรงงานต่อบุคคลสูงสุดเป็นอันดับสามในโลก รองจากลักเซมเบิร์กและนอร์เวย์ สหรัฐมีผลิตภาพต่อชั่วโมงสูงสุดเป็นอันดับสี่ รองจากสองประเทศดังกล่าวและเนเธอร์แลนด์[433]",
"title": "สหรัฐ"
},
{
"docid": "35499#0",
"text": "ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ออกมาเป็นการเฉพาะสำหรับการจัดการหรืออนุรักษ์ต้นไม้ในเมืองโดยตรง มีเพียงบางมาตราในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กล่าวถึงความรับผิดทางละเมิด เช่น มาตรา 434 ว่าด้วยความเสียหายเกี่ยวกับการบกพร่องในการปลูกหรือค้ำจุนต้นไม้หรือกอไผ่ และบทบัญญัติในบรรพ 4 หมวด 2 ว่าด้วยแดนแห่งกรรมสิทธิ์และการใช้กรรมสิทธิ์ เป็นต้น กับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับผิดจากต้นไม้โดยอนุโลมอาจสรุปเฉพาะที่เกี่ยวกับต้นไม้ดังนี้:-จะเห็นได้ว่ากฎหมายข้างต้นเป็นเรื่องของสิทธิและการละเมิดทั่วไปที่มีต้นไม้เข้าไปเกี่ยวข้อง อาจมีกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการป่าไม้ และกฎหมายใหม่ๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศมีกล่าวเกี่ยวกับต้นไม้ไว้บ้าง แต่ยังไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายที่ตราออกมาโดยเฉพาะเพื่อการอนุรักษ์ตัวต้นไม้ไว้หรือเพื่อบังคับให้ปลูกต้นไม้ขึ้นโดยตรง",
"title": "กฎหมายเกี่ยวกับต้นไม้ใหญ่ในเมืองในประเทศไทย"
},
{
"docid": "141190#2",
"text": "ภายหลังการออกอากาศของสถานีไม่กี่ชั่วโมง คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายชั่วคราวขององค์การแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะแห่งประเทศไทย จำนวน 5 คนอันประกอบด้วย ขวัญสรวง อติโพธิ, อภิชาต ทองอยู่, ณรงค์ ใจหาญ, นวลน้อย ตรีรัตน์ และ เทพชัย หย่อง เพื่อปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการนโยบายชั่วคราวจนกว่าจะมีคณะกรรมการนโยบายที่มาจากการสรรหาตามกฎหมาย ในวันเดียวกันคณะกรรมการนโยบายชั่วคราวขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือ ไทยพีบีเอส ได้เปิดแถลงข่าวที่โรงแรมเรดิสัน แต่งตั้ง นายขวัญสรวง อติโพธิ เป็นประธานกรรมการ และมี นายเทพชัย หย่อง เป็น รักษาการผู้อำนวยการสถานีและมีการเปิดตัวโลโก้ของสถานีใหม่ด้วย โดยเป็นรูปลักษณะคล้ายหยดน้ำ และมีตัวอักษรภาษาอังกฤษ TPBS พร้อมกับชื่อเต็มขององค์การฯอยู่ใต้ภาพ[2] กระทั่งเวลา 15.30 นาฬิกาของวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2551 องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยจึงเริ่มดำเนินการ สถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอส อย่างเต็มตัว โดยได้ทดลองออกอากาศรายการพิเศษ \"นับหนึ่งโทรทัศน์สาธารณะไทย TPBS\" จากห้องส่งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย อาคารถนนวิภาวดีรังสิตเป็นครั้งแรก และนับเป็นรายการสดที่ออกอากาศจริงทางสถานีโทรทัศน์ดังกล่าวเป็นครั้งแรก โดยเนื้อหาของรายการเป็นการอธิบายและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาที่ไปของสถานีโทรทัศน์[3] มีณาตยา แวววีรคุปต์ อดีตผู้สื่อข่าวในสมัยสถานีโทรทัศน์ไอทีวีชุดกบฏไอทีวี เป็นผู้ดำเนินรายการ และมีผู้ร่วมรายการประกอบด้วย ขวัญสรวง อติโพธิ ณรงค์ ใจหาญ อภิชาต ทองอยู่ กรรมการนโยบายชั่วคราวขององค์การฯ และ อนุสรณ์ ศรีแก้ว คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต หลังจากนั้น สถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอสกลับมาออกอากาศรายการสารคดีอย่างต่อเนื่อง",
"title": "สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส"
},
{
"docid": "253633#4",
"text": "สำหรับพจนานุกรมกฎหมายฉบับแรกของประเทศไทย คือ พจนานุกรมกฎหมายของ ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์) ซึ่งมีคำโฆษณาบนปกว่า \"\"พจนานุกรมกฎหมายเล่มแรกของประเทศไทย บรรจุคำตั้งแต่โบราณกาลถึงปัจจุบันกาล สำหรับความสะดวกในผู้ใคร่ศึกษาและผู้ต้องการทราบ\"\" อย่างไรก็ดี ที่ว่า \"ปัจจุบันกาล\" บนปกนั้นหมายถึงกาลที่พจนานุกรมพิมพ์ขึ้น คือ พ.ศ. 2474 เท่านั้น แม้ว่าจะได้รับการพิมพ์ซ้ำเป็นครั้งที่สองใน พ.ศ. 2549 แต่พจนานุกรมฉบับนี้ยังมิได้รับการปรับปรุงนับแต่บัดนั้นจนบัดนี้ อย่างไรก็ดี ยังมีพจนานุกรมกฎหมายอีกหลายเล่มในภาษาไทยที่มีการปรับปรุงเสมอ เช่น พจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฯลฯ",
"title": "พจนานุกรมกฎหมาย"
},
{
"docid": "713433#9",
"text": "จะเห็นได้ว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวของไทยนั้นระบุถึงหลักการความโปร่งใสทางการเมืองอย่างชัดเจนเช่นเดียวกันกับที่เกิดขึ้นกับระบบการเมืองการปกครองของโลกตะวันตก แต่จะสังเกตได้ว่าประเทศไทยเองก็เป็นเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่ยังคงมีการสงวนรักษาพื้นที่ที่เรียกว่า \"ความลับของทางการ\" อยู่ด้วยเช่นกัน แตกต่างก็ตรงที่ พื้นที่ตรงจุดนี้ของไทยนั้นยังไม่ได้รับการทำให้เป็นสมัยใหม่ (modernize) โดยการจัดระบบ และทำให้เกิดความชัดเจนให้เกิดขึ้นในบริเวณที่เป็นพื้นที่สีเทานี้ด้วยการตรากฎหมายเฉพาะ ดังเช่นที่เกิดขึ้นในอินเดีย สหรัฐอเมริกา และอีกหลายๆ ประเทศ ดังนั้น ประเทศไทยในปัจจุบันจึงยังคงมีช่องโหว่ของกระบวนการตรวจสอบ และการทำให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐ ทั้งกระบวนการออกนโยบายสาธารณะ และการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการประจำ และข้าราชการทางการเมือง ซึ่งในหลายกรณีมักเกิดขึ้นผ่านข้ออ้างของนักการเมือง และข้าราชการดังที่ระบุในตัวบทกฎหมายว่า เป็นเรื่องของความมั่นคง และความสงบเรียบร้อย ซึ่งไม่อาจมีใครสามารถพิสูจน์ หรือ รับรู้ความเป็นจริงดังกล่าวนั้นได้เลยนอกเสียจากตัวรัฐบาล ดังนั้นก้าวต่อไปของกระบวนการสร้างความโปร่งใสของรัฐบาลไทย จึงอยู่ที่การยอมเปิดเผยพื้นที่สีเทานี้ให้ชัดเจนมากขึ้น ไม่ว่าจะด้วยการออกกฎหมาย หรือ การกำหนดกลไกการตรวจสอบจากองค์กรอิสระต่างๆ จึงจะทำให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเจตนารมณ์ของแนวคิดเรื่องความโปร่งใสทางการเมืองได้อย่างแท้จริง",
"title": "ความโปร่งใส"
}
] |
2191 | ความตลกขบขัน มีผลทางอารมณ์ใช่หรือไม่ ? | [
{
"docid": "837362#37",
"text": "งานศึกษานี้แสดงว่า การหัวเราะสามารถสัมพันธ์กับทั้งอารมณ์เชิงบวก (ความเบิกบานใจและความจั๊กจี้) และอารมณ์เชิงลบ (ตลกเพราะคนอื่นลำบากและคำพูดเสียดสี) โดยมีระดับความตื่นตัวในระดับต่าง ๆ\nจึงนำมาสู่ประเด็นว่าความตลกขบขันมีนิยามว่าอย่างไรกันแน่\nซึ่งก็คือเป็นกระบวนการทางการรู้คิดที่ประกอบด้วยการหัวเราะ และดังนั้น ความตลกขบขันจะรวมทั้งอารมณ์ทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่าง ๆ\nแต่ว่า ถ้าจะจำกัดความตลกขบขันว่าเป็นแค่อารมณ์เชิงบวกและสิ่งที่ให้ผลบวกเท่านั้น ก็จะจำเป็นที่จะต้องจำแนกจากการหัวเราะ และความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลก็ควรจะให้นิยามด้วย",
"title": "ความตลกขบขัน"
},
{
"docid": "837362#38",
"text": "ความตลกขบขันมีหลักฐานว่าช่วยให้ฟื้นสภาพจากความทุกข์และช่วยแก้อารมณ์เชิงลบ\nงานวิจัยปี 2552 พบว่ามันช่วยให้สนใจไปในเรื่องอื่นสำหรับบุคคลที่กำลังเป็นทุกข์\nมีการให้ผู้ร่วมการทดลองดูรูปและประโยคเชิงลบต่าง ๆ หลายอย่าง\nแล้วพบว่า การบำบัดด้วยความตลก (humorous therapy) ช่วยลดอารมณ์เชิงลบที่เกิดหลังจากดูรูปและประโยคเชิงลบ\nนอกจากนั้นแล้ว การบำบัดด้วยความตลกยังมีประสิทธิภาพในการลดอารมณ์เชิงลบ เมื่ออารมณ์แรงขึ้น",
"title": "ความตลกขบขัน"
},
{
"docid": "837362#7",
"text": "อารมณ์ขันในที่ทำงานยังสามารถลดความเครียดและใช้เป็นกลยุทธ์รับมือความเครียด\nจริง ๆ แล้วที่นักวิชาการมีมติร่วมกันมากที่สุดถึงประโยชน์ของอารมณ์ขันก็คือผลต่อความอยู่เป็นสุข (well being) โดยใช้มุกตลกเป็นกลยุทธ์รับมือความเครียดในชีวิตประจำวัน อุปสรรค และความยากลำบากต่าง ๆ\nการแชร์เรื่องตลกกับผู้ร่วมงานอาจช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น ทำให้มีความสุข ซึ่งช่วยให้รู้สึกว่าสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ดีขึ้น\nความสนุกและความเพลิดเพลินเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ในชีวิต และการที่ผู้ร่วมงานหัวเราะในช่วงการทำงานไม่ว่าจะโดยการพูดเย้าแหย่หรือวิธีการอื่น ๆ จะช่วยเสริมความกลมกลืนสามัคคีและความเป็นกลุ่มก้อน",
"title": "ความตลกขบขัน"
},
{
"docid": "837362#8",
"text": "มุกตลกยังสามารถใช้ลดความรู้สึกไม่ดีเกี่ยวกับงานที่ต้องทำและช่วยลดการใช้ถ้อยคำหยาบคาย หรือกลยุทธ์การรับมืออื่น ๆ ที่อาจรับไม่ได้ทางสังคม\nความตลกขบขันไม่เพียงแค่ช่วยลดอารมณ์เชิงลบ แต่ยังสามารถใช้เป็นวิธีการระบายประสบการณ์ที่ทำให้เจ็บใจ โดยพูดแบบเบา ๆ กว่า ซึ่งในที่สุดช่วยลดความวิตกกังวลและช่วยให้อารมณ์สุข เป็นบวก เกิดขึ้นได้บ่อยกว่า",
"title": "ความตลกขบขัน"
}
] | [
{
"docid": "837362#3",
"text": "บางคนยืนยันว่า ความตลกขบขันไม่สามารถและไม่ควรจะอธิบาย\nนักเขียนนายอี.บี. ไวท์ ได้กล่าวไว้ว่า \"ความตลกขบขันสามารถผ่าดูได้เหมือนผ่ากบ แต่มันก็จะตาย และเครื่องในของมันจะไม่น่าชมนอกจากสำหรับพวกนักวิทยาศาสตร์เท่านั้น\"\nแต่ว่าโดยคัดค้านข้ออ้างนี้ ก็มีบุคคลหรือกลุ่มชนผู้ไม่ชอบการ์ตูนน่ารังเกียจ ที่ชวนให้พิจารณาความตลกขบขันหรือความไร้ความตลกของมัน\nกระบวนการผ่าดูความตลกขบขันเช่นนี้ไม่ได้กำจัดอารมณ์ขำแต่แนะให้ใส่ใจในเรื่องการเมือง และว่ามันอาจไม่ตลกสำหรับทุกกลุ่มชน",
"title": "ความตลกขบขัน"
},
{
"docid": "837362#0",
"text": "ความตลกขบขัน\nเป็นประสบการณ์ทางการรู้คิดที่มักทำให้หัวเราะและสร้างความบันเทิงสนุกสนาน\nคำจากภาษาอังกฤษมาจากศัพท์ทางการแพทย์ของชาวกรีกโบราณ ซึ่งสอนว่า ความสมดุลของธาตุน้ำต่าง ๆ ในร่างกายที่เรียกในภาษาละติน ว่า \"humor\" (แปลว่า ของเหลวในร่างกาย) เป็นตัวควบคุมสุขภาพและอารมณ์ของมนุษย์\nมนุษย์ทุกยุคสมัยและทุกวัฒนธรรมตอบสนองต่อเรื่องขบขัน\nมนุษย์โดยมากประสบความขำขัน คือรู้สึกบันเทิงใจ ยิ้ม หรือหัวเราะต่ออะไรที่ขำ ๆ และดังนั้น จึงเรียกได้ว่าเป็นคนมีอารมณ์ขำ (คือมี sense of humour)\nคนสมมุติที่ไม่มีอารมณ์ขำน่าจะพบเหตุการณ์ที่ทำให้ขำว่า อธิบายไม่ได้ แปลก หรือว่าไม่สมเหตุผล\nแม้ว่าปกติความขำขันจะขึ้นอยู่กับรสนิยมส่วนตัว ขอบเขตที่บุคคลพบว่าอะไรน่าขำจะขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายอย่าง รวมทั้งอยู่ในภูมิประเทศไหน ในวัฒนธรรมอะไร อายุ ระดับการศึกษา ความเฉลียวฉลาด และพื้นเพหรือบริบท\nยกตัวอย่างเช่น เด็กเล็ก ๆ อาจชอบเรื่องตลกที่มีการตีกัน (ภาษาอังกฤษเรียกว่า slapstick) ดังที่พบในการ์ตูน เช่นรายการ \"ทอมกับเจอร์รี่\" ที่การกระทบกระทั่งทางกายทำให้เด็กเข้าใจได้\nเทียบกับเรื่องตลกที่ซับซ้อนกว่า เช่น แบบที่ใช้การล้อเลียนเสียดสี (satire) ซึ่งจำเป็นต้องเข้าใจสถานะทางสังคมและดังนั้น ผู้ใหญ่จะชอบใจมากกว่า",
"title": "ความตลกขบขัน"
},
{
"docid": "837362#30",
"text": "ในงานศึกษาเกี่ยวกับอารมณ์ขันกับความเป็นสุขทางจิตใจ งานวิจัยได้สรุปว่า อารมณ์ขันที่เป็นการปรับตัวดีในระดับสูง (คือแบบอำนวยความสัมพันธ์หรือเสริมตนเอง) สัมพันธ์กับความภูมิใจในตน อารมณ์เชิงบวก สมรรถภาพในบุคคล การควบคุมความวิตกกังวล และปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีกว่า\nซึ่งล้วนแต่เป็นส่วนของความรู้สึกเป็นสุขที่ดี\nนอกจากนั้นแล้ว สไตล์ตลกที่เป็นการปรับตัวที่ดีอาจช่วยรักษาความรู้สึกเป็นสุขแม้เมื่อมีปัญหาทางจิตใจ\nเปรียบเทียบกันแล้ว สไตล์ตลกแบบปรับตัวผิด (คือก้าวร้าวหรือหักล้างตัวเอง) สัมพันธ์กับความรู้สึกเป็นสุขทางจิตใจที่แย่กว่า\nโดยเฉพาะก็คือมีระดับความวิตกกังวลและความซึมเศร้ามากกว่า\nและดังนั้น มุกตลกอาจมีผลลบต่อความเป็นสุขทางจิตใจ ทางมุกนั้นมีลักษณะเชิงลบ",
"title": "ความตลกขบขัน"
},
{
"docid": "837362#2",
"text": "ทฤษฎีทางจิตวิทยา คือ benign-violation theory (ไม่เป็นไร-มีการล่วงละเมิด) อธิบายความตลกขบขันว่า\n\"ความตลกขบขันจะเกิดขึ้นเมื่อมีอะไรดูผิดปกติ น่ากังวล หรืออันตราย แต่ก็ยังโอเค ยอมรับได้ และปลอดภัยไปด้วยพร้อม ๆ กัน\"\nอารมณ์ขันสามารถช่วยให้เริ่มคุยกับคนอื่นโดยกำจัดความรู้สึกเคอะเขิน ไม่สบาย หรือกระวนกระวายที่มาจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคม\nส่วนคนอื่น ๆ เชื่อว่า \"การใช้ความตลกขบขันที่สมควรสามารถช่วยอำนวยปฏิสัมพันธ์ทางสังคม\"",
"title": "ความตลกขบขัน"
},
{
"docid": "837362#35",
"text": "ประเด็นหลักอย่างหนึ่งของงานวิจัยและทฤษฎีความตลกขบขันทางจิตวิทยา ก็เพื่อค้นหาและทำให้ชัดเจนเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความตลกกับการหัวเราะ\nสิ่งที่พบหลักโดยหลักฐานอย่างหนึ่งก็คือ การหัวเราะและความตลกขบขันไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กันแบบหนึ่งต่อหนึ่ง\nแม้ว่าทฤษฎีก่อน ๆ จะสมมุติความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งสองจนกระทั่งกับเหมือนเป็นสิ่งเดียวกัน นักวิชาการทางจิตวิทยาก็ได้แยกศึกษาโดยหลักวิทยาศาสตร์และโดยหลักฐานถึงความสัมพันธ์ที่อาจจะมี ผลติดตาม และความสำคัญของมัน",
"title": "ความตลกขบขัน"
},
{
"docid": "837362#36",
"text": "งานปี 2552 ตรวจสอบว่า การหัวเราะสามารถสื่ออารมณ์ต่าง ๆ ให้ผู้ฟังรับทราบได้หรือไม่\nพวกเขาได้จ้างนักแสดงให้หัวเราะอัดเสียงโดยใช้อารมณ์ 4 อย่างที่ทำให้เกิดเอง โดยนักแสดงจะสนใจแต่อารมณ์ของตนอย่างเดียว ไม่สนใจว่าจะต้องแสดงออกอย่างไร\nแล้วพบว่า ในงานทดลองแรก ผู้ร่วมการทดลองสามารถระบุอารมณ์ที่ถูกต้องจากเสียงหัวเราะที่อัตรา 44% โดยความเบิกบานใจ (joy) ที่ 44% จั๊กจี้ (tickle) ที่ 45% ตลกเพราะคนอื่นลำบาก (schadenfreude) ที่ 37% และคำพูดเสียดสี (taunt) ที่ 50%\nงานทดลองที่สองตรวจสอบการระบุมิติต่าง ๆ (ความตื่นตัว, dominance, receiver valence, sender valence) ของเสียงหัวเราะเดียวกัน\nแล้วพบว่า ผู้ร่วมการทดลองระบุมิติ 4 อย่างของเสียงหัวเราะ 4 อย่าง ในระดับต่าง ๆ กัน ซึ่งแสดงว่าผู้ฟังสามารถกำหนดความแตกต่างของการหัวเราะได้แม้จะไม่ได้รับอิทธิพลจากการเลือกประเภทเสียงหัวเราะจาก 4 อย่างที่กำหนดล่วงหน้า",
"title": "ความตลกขบขัน"
}
] |
1966 | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ก่อตั้งขึ้นเมื่อใด ? | [
{
"docid": "12339#1",
"text": "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือกำเนิดจาก \"มหาธาตุวิทยาลัย\" ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นภายในวัดมหาธาตุฯ เมื่อปี พ.ศ. 2430 โดยเริ่มทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2432 ต่อมาได้พระราชทานนามใหม่ว่า \"มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย\" เมื่อคราวทรงสถาปนาอาคารสังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2439 โดยทรงตั้งพระทัยจะให้เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของพระสงฆ์ การดำเนินงานของวิทยาลัยได้เริ่มต้นอย่างจริงจังเมื่อ พ.ศ. 2490 โดยพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตเถร) และมีการดำเนินงานมาตามลำดับจนได้รับการยกฐานะให้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในปี พ.ศ. 2540 ตามความในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 อธิการบดีรูปปัจจุบัน คือพระราชปริยัติกวี (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ),ศาสตราจารย์,ดร.",
"title": "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย"
}
] | [
{
"docid": "397829#2",
"text": "พระราชสิทธิโกศล (เทพ นนฺโท)เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์และเจ้าอาวาสวัดกลางสุรินทร์ในขณะนั้น จึงมีหนังสือนิมนต์เจ้าคณะพระสังฆาธิการของจังหวัดสุรินทร์มาร่วมประชุมปรึกษาหารือที่อุโบสถวัดกลางสุรินทร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2529 ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้จัดตั้ง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ ขึ้น ในปีพุทธศักราช 2530 แต่ทางคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ ไม่สามารถดำเนินการได้ทันที เนื่องจากขาดบุคลากรผู้จะดำเนินการ\nปีพุทธศักราช 2531 คณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์พร้อมทั้งข้าราชการ คณาจารย์ พ่อค้าและประชาชน ได้พร้อมใจกันประชุมอีกครั้งหนึ่ง ที่วัดกลางสุรินทร์ โดยมีพระราชสิทธิโกศล (เทพ นนฺโท) เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และนายเถกิง เจริญศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ที่ประชุมได้มีมติให้ดำเนินการขออนุญาตจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ ขึ้น โดยใช้อาคารสถานที่ของวัดศาลาลอย อำเภอเมืองสุรินทร์ เป็นสำนักงานและอาคารเรียนชั่วคราว ที่ประชุมได้มอบหมายให้ พระศรีธีรพงศ์ รองเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ฝ่ายจัดการศึกษา และพระมหาประจักษ์ จกฺกธมฺโม พุทธศาสตรบัณฑิต พระจริยนิเทศก์ประจำจังหวัดสุรินทร์ เป็นผู้แทนคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ เป็นผู้ดำเนินการขออนุมัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ ต่อมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย",
"title": "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์"
},
{
"docid": "12339#10",
"text": "มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้จัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนเดิมในนามมหาธาตุวิทยาลัยตลอดมา จนกระทั่งวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐ พระมหาเถรานุเถระ ฝ่ายมหานิกายจำนวน ๕๗ รูป มีพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทัตตเถร) เป็นประธานได้ประชุมกัน ณ ตำหนักสมเด็จ วัดมหาธาตุฯ ประกาศให้มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดำเนินการจัดการศึกษาในรูปมหาวิทยาลัย ตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้เปิดการศึกษาในรูปแบบมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นต้นมา",
"title": "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย"
},
{
"docid": "852973#1",
"text": "มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีคำสั่งที่ 8 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2529 แต่งตั้งให้พระราชสารเวที เป็นผู้รักษาการตำแหน่งรองอธิการบดี และแต่งตั้งให้ พระมหาโสวิทย์ โกวิโท เป็นผู้รักษาการตำแหน่งคณบดีคณะพุทธศาสตร์ และมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ได้เปิดภาคการศึกษาครั้งแรกวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 ในคณะพุทธศาสตร์ สาขาวิชาเอกศาสนา มีนิสิตจำนวน 21 รูป และได้กำหนดเปิดป้ายมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2530 โดยมี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) เป็นประธาน",
"title": "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น"
},
{
"docid": "397829#1",
"text": "แนวคิดที่จะตั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ ได้เริ่มมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2529 โดยพระราชสิทธิโกศล (เทพ นนฺโท)เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์และเจ้าอาวาสวัดกลางสุรินทร์ในขณะนั้น และพระศรีธีรพงศ์รองเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ ฝ่ายจัดการศึกษาของคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ปัจจุบันคือ พระธรรมโมลี,ดร. (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ) มีแนวคิดที่จะขยายการศึกษาของคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ให้ครบวงจรขึ้น ทั้งนี้ได้รับความเห็นชอบและความสนับสนุนจาก นายเสนอ มูลศาสตร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ในขณะนั้น",
"title": "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์"
},
{
"docid": "12339#22",
"text": "ความพยายามที่จะให้มีการตราพระราชบัญญัติเกี่ยวกับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๕๐๐ เมื่อรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามได้ยกร่างพระราชบัญญัติรับรองวิทยฐานะปริญญาของมหามกุฏราชวิทยาลัย และมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อสนองต่อสภาผู้แทนราษฎร แต่รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม สิ้นสุดลงเพราะถูกยึดอำนาจการปกครอง ร่างพระราชบัญญัตินี้จึงตกไป",
"title": "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย"
},
{
"docid": "852973#0",
"text": "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น เป็นวิทยาเขตในสังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เริ่มเปิดทำการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2528 ตั้งอยู่ที่ตำบลโคกสี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น\nเมื่อ ปี พ.ศ. 2528 พระราชสารเวที (เหล่ว สุมโน) (สมณศักดิ์สุดท้ายที่ พระธรรมวิสุทธาจารย์) เจ้าอาวาสวัดธาตุ (พระอารามหลวง) และรองเจ้าคณะภาค 9 ในสมัยนั้น มีความดำริให้จัดตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตขอนแก่น เพื่อเป็นสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณรในจังหวัดขอนแก่น ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 9 และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยความสนับสนุนของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) นายกสภา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและพระเถรานุเถระทุกระดับในเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัด ขอนแก่น เมื่อทุกอย่างมีความพร้อมจึงเสนอเรื่องขออนุมัติการจัดตั้งไปยังมหาจุฬาลงกร ณราชวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้อนุมัติให้จัดตั้งวิทยาเขตขอนแก่นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2528 ตามหนังสือที่ ๗๑๔/๒๕๒๘ ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2528 ซึ่งลงนามโดย พระมหานคร เขมปาลี (สมณศักดิ์สุดท้ายที่ พระราชรัตนโมลี) เลขาธิการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ตำแหน่งในขณะนั้น) โดยใช้ชื่อเป็นทางการว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตขอนแก่น”",
"title": "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น"
},
{
"docid": "12339#6",
"text": "มหาธาตุวิทยาลัยได้เปิดทำการสอนเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๒ ต่อมา พระยาภาสกรวงศ์ เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ได้ยกร่างพระราชบัญญัติฉบับแรกของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรียกว่าร่างพระราชบัญญัติมหาธาตุวิทยาลัย ร.ศ.๑๑๑ (พ.ศ. ๒๔๓๕) ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงนำเข้าปรึกษาในที่ประชุมเสนาบดี ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ยังไม่ได้ลงพระปรมาภิไธย จึงถือว่ายังมิได้เป็นพระราชบัญญัติที่มีผลบังคับใช้แต่อย่างใด",
"title": "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย"
},
{
"docid": "12339#20",
"text": "ต่อมาพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทัตตมหาเถร) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ในสมัยนั้นจึงจัดประชุมพระเถรานุเถระฝ่ายมหานิกาย จำนวน ๕๗ รูป เมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐ และประกาศให้มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดำเนินการจัดการศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงในระดับมหาวิทยาลัย เปิดสอนระดับปริญญาตรี คณะพุทธศาสตร์เป็นคณะแรกเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ หลังจากนั้น พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้มีการปรับเปลี่ยนระบบการวัดผลมาเป็นระบบหน่วยกิต โดยกำหนดให้นิสิตต้องศึกษา อย่างน้อย ๑๒๖ หน่วยกิต และปฏิบัติศาสนกิจ ๑ ปีก่อนรับปริญญาบัตร",
"title": "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย"
},
{
"docid": "397829#5",
"text": "ในปีพุทธศักราช 2540 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับพระราชบัญญัติรับรองสถานภาพความเป็นนิติบุคคลของมหาวิทยาลัย และมีพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัย เรียกชื่อว่า พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2540 และประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 114 ตอนที่ 51 ก ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2540",
"title": "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์"
}
] |
1813 | สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ มีชื่อเต็มว่าอะไร? | [
{
"docid": "42827#0",
"text": "สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ () หรือพระนามตามชื่อรัชสมัย คือ จักรพรรดิโชวะ () (29 เมษายน 2444 - 7 มกราคม 2532) (裕仁) ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 124 ของญี่ปุ่น ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2469 - พ.ศ. 2532 (63 ปี)",
"title": "จักรพรรดิโชวะ"
}
] | [
{
"docid": "562012#1",
"text": "วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูที่นครฮิโรชิมะ เย็นวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945 สหภาพโซเวียตประกาศสงครามต่อญี่ปุ่น อันเป็นไปตามความตกลงยอลตา แต่ละเมิดสนธิสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น และไม่นานหลังเที่ยงคืนวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945 สหภาพโซเวียตบุกครองรัฐหุ่นเชิดแมนจูกัวของจักรวรรดิญี่ปุ่น วันเดียวกัน สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูลูกที่สองที่นางาซากิ ความตระหนกจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ทำให้สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะทรงเข้าแทรกแซงและบัญชาให้ผู้นำบิ๊กซิกส์ยอมรับเงื่อนไขยุติสงครามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรตั้งไว้ในแถลงการณ์พอตสดัม หลังการเจรจาหลังฉากหลายวันและรัฐประหารที่ล้มเหลว สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะจึงพระราชทานพระราชดำรัสทางวิทยุที่บันทึกไว้แพร่สัญญาณทั่วจักรวรรดิเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ในพระราชดำรัสดังกล่าว อันเรียกว่า เกียวกุอง โฮโซ พระองค์ทรงประกาศว่าญี่ปุ่นยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร",
"title": "การยอมจำนนของญี่ปุ่น"
},
{
"docid": "42827#2",
"text": "สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะเสด็จพระราชสมภพ ณ พระราชวังอะโอะยะมะ ในกรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 29 เมษายน ปีเมจิที่ 34 (ค.ศ.1901,พ.ศ. 2444) เป็นพระราชโอรสองค์โตในเจ้าชายโยะชิฮิโตะ มกุฎราชกุมาร (ภายหลังคือจักรพรรดิไทโช) และเจ้าหญิงซะดะโกะ มกุฎราชกุมารี (ภายหลังคือจักรพรรดินีเทเม)[1] โดยทรงราชทินนามขณะทรงพระเยาว์ ว่า เจ้ามิชิ (迪宮) ในปี พ.ศ. 2451 ทรงเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนประถมชูอิง",
"title": "จักรพรรดิโชวะ"
},
{
"docid": "792348#1",
"text": "จักรพรรดิฟุชิมิ มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายฮิโระฮิโตะ () ซึ่งเป็นพระนามเดียวกับจักรพรรดิโชวะ (หรือจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ) จักรพรรดิพระองค์ที่ 124 เพียงแต่พระนามของทั้ง 2 เขียนต่างกัน",
"title": "จักรพรรดิฟุชิมิ"
},
{
"docid": "42827#11",
"text": "ภายหลังการสวรรคตของพระราชบิดา สมเด็จพระจักรพรรดิไทโช เจ้าชายฮิโระฮิโตะจึงได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ในนามรัชสมัยใหม่ว่า โชวะ ที่หมายถึงสันติภาพอันส่องสว่าง ซึ่งภายหลังจากการสวรรคตของพระราชบิดาไม่นาน จักรพรรดิโยะชิฮิโตะถูกออกพระนามเป็น \"จักรพรรดิไทโช\"",
"title": "จักรพรรดิโชวะ"
},
{
"docid": "332627#5",
"text": "เนื้อหาหลักของกระแสพระราชดำรัสคือการประกาศการยอมจำนนของญี่ปุ่นโดยจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ อย่างไรก็ตาม คำศัพท์ที่ปรากฏในพระราชดำรัสดังกล่าวเป็นศัพท์สูง ฟังเข้าใจได้ยากยิ่ง คนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยในสมัยนั้นก็ยังไม่แน่ใจในความหมายที่แท้จริงในทันที และจากเนื้อความทั้งหมดที่สมเด็จพระจักรพรรดิทรงประกาศ แม้ว่าเนื้อหาหลักคือการยอมจำนนของญี่ปุ่น แต่ก็ไม่มีส่วนใดเลยที่ระบุคำว่า “ยอมแพ้” ",
"title": "เกียวกุอง โฮโซ"
},
{
"docid": "42827#23",
"text": "ภายหลังญี่ปุ่นยอมแพ้ สหรัฐอเมริกาได้ส่งกำลังทหารส่วนหนึ่งเข้าควบคุมญี่ปุ่น มีการเรียกร้องจากชาติฝ่ายสัมพันธมิตรโดยเฉพาะจากยุโรป ให้นำตัวสมเด็จพระจักรพรรดิมาลงโทษ นายพลดักลาส แมคอาเธอร์ ได้แสดงความคัดค้านอย่างถึงที่สุดในเรื่องนี้ ด้วยมองว่า จักรวรรดิญี่ปุ่นได้ยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข แสนยานุภาพของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นยังคงมีอยู่ และหากจะลงโทษจักรพรรดิแล้ว อาจเกิดการลุกฮือจากกองทัพญี่ปุ่นก็เป็นได้ ซึ่งจะต้องส่งกำลังทหารเข้ามาประจำการในญี่ปุ่นอีกมหาศาล อีกทั้งการบัญชาการทัพญี่ปุ่นในการบุกดินแดนต่าง ๆ เป็นการบัญชาการจากผู้นำรัฐบาลและกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเป็นหลัก ท้ายที่สุดจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ รอดพ้นจากข้อหาอาชญากรสงคราม",
"title": "จักรพรรดิโชวะ"
},
{
"docid": "99113#7",
"text": "ในที่สุด สำนักพระราชวังก็ประกาศกฎหมายเรื่องการอภิเษกสมรสระหว่างมกุฎราชกุมารฮิโระฮิโตะ กับเจ้าหญิงนะงะโกะ ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1923 นับจากวันที่มีประกาศจากสำนักพระราชวังซึ่งมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1921 และผ่านมาด้วยความเรียบร้อยมากว่าสองปี โดยเหลือเวลาเพียงสองเดือนก็จะถึงวันอภิเษกสมรส ขณะนั้นได้เกิดแผ่นดินไหวในแถบคันโต สร้างความเสียหายแก่ประชาชนชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก ทำให้ประชาชนไร้ที่อยู่อาศัยหลายล้านคน เพื่อเป็นการไว้อาลัยในเหตุการณ์ครั้งนี้ สำนักพระราชวังจึงได้เลื่อนกำหนดการอภิเษกสมรส เป็นวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1924 หรืออีกประมาณหนึ่งเดือนเศษ ซึงการอภิเษกสมรสเป็นไปได้อย่างราบรื่น และมกุฎราชกุมารฮิโระฮิโตะได้ประกาศยกเลิกระบบนางห้ามที่อนุญาตให้ชนชั้นสูงมีพระสนมได้หลายคน โดยมกุฎราชกุมารได้ปลดปล่อยพระสนม 39 พระองค์ โดยที่จะมีพระมเหสีเพียงพระองค์เดียว และเจ้าหญิงนะงะโกะ ได้รับการสถาปนาเป็น มกุฎราชกุมารีนะงะโกะ",
"title": "จักรพรรดินีโคจุง"
},
{
"docid": "652821#0",
"text": "กีฬาเฟสปิกเกมส์ 1975 เป็นการแข่งขันกีฬาเฟสปิก ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่ เบ็บปุ จังหวัดโออิตะ ญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 1 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) จำนวนนักกีฬา 973 คน จาก 18 ประเทศ การแข่งขันเฟสปิกเกมส์ครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในภาคพื้นเอเชียตะวันออกไกล และ แปซิฟิกตอนใต้.พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ 9 จัดขึ้นในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ณ สนามกีฬาแห่งชาติบูกิตจาลีล โดย สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ และ สมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุง เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด",
"title": "กีฬาเฟสปิก 1975"
},
{
"docid": "42827#31",
"text": "Family of Main Page 8.โอะซะฮิโตะ, สมเด็จพระจักรพรรดิโคเม4.มุสึฮิโตะ, จักรพรรดิเมจิ9.พระสนมโยะชิโกะ นะกะยะมะ2.โยะชิฮิโตะ, สมเด็จพระจักรพรรดิไทโช10. ทะกะมิสึ ยะนะงิวะระ5. พระสนมนะรุโกะ ยะนะงิวะระ11. อุตะโนะ ฮะเซะงะวะ1.ฮิโระฮิโตะ, สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ 12.เจ้าชายคุโจ ฮิซะตะดะ, ผู้สำเร็จราชการ6.เจ้าชายคุโจ มิชิตะกะ แห่งฟุจิวะระ13. ท่านหญิงสึเนะโกะ คะระฮะชิ3.ซะดะโกะ คุโจ, สมเด็จพระจักรพรรดินีเทเม14. โยะริโอะกิ โนะมะ7. ท่านหญิงอิกุโกะ โนะมะ15.?",
"title": "จักรพรรดิโชวะ"
},
{
"docid": "42827#21",
"text": "แม้กระแสการรบจะพัดย้อนไปกระหน่ำญี่ปุ่นแทน สงครามก็ยังไม่อาจยุติลงได้ ดูเหมือนว่าจักรพรรดิฮิโระฮิโตะกลับเป็นผู้ต่อเวลาทำสงครามออกไปเสียเองถึง 2 ทางด้วยกัน ประการแรก แม้ในช่วงแรก ๆ จะมีขบวนการสันติภาพที่ก่อตั้งขึ้นโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ข้าราชสำนัก และแม้กระทั่งเชื้อพระวงศ์บางองค์ แต่สมเด็จพระจักรพรรดิก็ไม่ทรงยอดปลดโทโจออกตามคำเรียกร้องของสมาชิกขบวนการที่ต้องการจะหยุดยั้งสงครามไว้ให้ได้ เพราะในระหว่างยังไงเสียญี่ปุ่นก็ต้องอาศัยโทโจดำเนินการรบไปจนกว่าสถานะของญี่ปุ่นในการเจรจาสันติภาพจะดีขึ้น และบรรลุเงื่อนไขตามที่ญี่ปุ่นต่อรอง โดยพระองค์ตรัสกับ เจ้าทะกะมะสึ พระอนุชาองค์รองว่า",
"title": "จักรพรรดิโชวะ"
},
{
"docid": "433461#3",
"text": "ราชวงศ์ญี่ปุ่นเป็นราชาธิปไตยแบบสืบสายโลหิตสืบต่อกันมาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[2] ในนิฮงโชะกิ หนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นในคริสต์ศตวรรษที่แปด กล่าวว่า จักรวรรดิญี่ปุ่นถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อ 660 ปีก่อนคริสตกาล โดยจักรพรรดิจิมมุ จักรพรรดิพระองค์ปัจจุบัน คือ จักรพรรดิอะกิฮิโตะ ผู้เสด็จสู่พระราชบัลลังก์เบญจมาศนับแต่พระบรมราชชนก จักรพรรดิโชวะ (ฮิโระฮิโตะ) สวรรคตใน พ.ศ. 1989",
"title": "จักรพรรดิญี่ปุ่น"
},
{
"docid": "618487#0",
"text": "วันโชวะ () คือวันหยุดของประเทศญี่ปุ่น ตรงกับวันที่ 29 เมษายนของทุกปี เพื่อเป็นเกียรติแด่วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่นแห่งยุคโชวะ (สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ) พ.ศ. 2468-2532 จุดประสงค์ของวันหยุดนี้เพื่อที่จะปลุกใจสาธารณชนในช่วงที่สับสนของยุคโชวะ ",
"title": "วันโชวะ"
},
{
"docid": "717935#1",
"text": "อุทยานุสรณ์โชวะถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1983 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของงานเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษกของสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ มีพิพิธพัณฑ์เฉลิมพระเกียรติจักรพรรดิโชวะอยู่ภายในรัฐอุทยาน",
"title": "อุทยานุสรณ์โชวะ"
},
{
"docid": "332627#1",
"text": "พระราชดำรัสของจักรพรรดิฮิโระฮิโตะอาจถือได้ว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่จักรพรรดิญี่ปุ่นมีพระราชดำรัสแก่สามัญชน แม้ว่าจะเป็นพระราชดำรัสผ่านแผ่นเสียงก็ตาม พระราชดำรัสดังกล่าวเผยแพร่ในรูปแบบทางการและใช้ภาษาญี่ปุ่นที่ค่อนข้างพ้นสมัยซึ่งใช้กันในราชสำนักจักรพรรดิแต่โบราณ นอกเหนือจากนั้น พระราชดำรัสของจักรพรรดิฮิโระฮิโตะมิได้หมายความถึงการยอมจำนนโดยตรง แต่ตรัสว่าพระองค์ได้พระราชทานคำแนะนำแก่รัฐบาลในการยอมรับข้อตกลงของปฏิญญาพอตสดัมทั้งหมด สิ่งทำให้เกิดความสับสนในหมู่ผู้ฟังจำนวนมากซึ่งไม่ทราบว่าญี่ปุ่นได้ยอมจำนนหรือพระจักรพรรดิทรงเรียกร้องให้ประชาชนต่อต้านการรุกรานของข้าศึกต่อไป คุณภาพเสียงที่ต่ำของการออกอากาศวิทยุ เช่นเดียวกับภาษาอย่างเป็นทางการที่ใช้กันในราชสำนัก เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสงสัย",
"title": "เกียวกุอง โฮโซ"
},
{
"docid": "341721#4",
"text": "กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรได้เริ่มต้นแผนการทัพที่จะโจมตีแผ่นดินแม่ของญี่ปุ่น ด้วยการรุกรานเกาะไซปันและเกาะอิโวะจิมะ กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรรุกรานเกาะโอะกินะวะในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1945 ซึ่งนับเป็นก้าวถัดมาก่อนการเริ่มแผนการที่เตรียมไว้สำหรับการโจมตีแผ่นดินใหญ่ญี่ปุ่น ในเดือนมีนาคม ในแถลงการสรุปต่อสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะเกี่ยวกับการตอบโต้ของญี่ปุ่นต่อการโจมตีเกาะโอะกินะวะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผู้นำทางทหารของญี่ปุ่นอธิบายว่ากองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นวางแผนที่จะโจมตีทางอากาศเป็นวงกว้างรวมถึงการใช้คะมิกะเซะด้วย ตามที่มีรายงานไว้ สมเด็จพระจักรพรรดิได้ตรัสถามว่า \"แล้วกองทัพเรือละ? พวกเขาจะทำสิ่งใดเพื่อช่วยป้องกันโอะกินะวะ?\" ด้วยความกดดันจากสมเด็จพระจักรพรรดิให้มีการโจมตีบางรูปแบบ ทำให้บรรดาผู้บัญชาการกองทัพเรือคิดปฏิบัติการอัตวินิบาตกรรมขึ้นโดยใช้เรือขนาดใหญ่ที่ยังใช้การได้อยู่ รวมไปถึงเรือประจัญบานยะมะโตะด้วย[3]",
"title": "ปฏิบัติการเท็งโง"
},
{
"docid": "42827#15",
"text": "การก่อกบฏครั้งนี้ได้สร้างความสูญเสียเป็นอย่างมาก นักการเมือง, เจ้าหน้าที่, และนายทหารระดับสูงหลายคนถูกฆ่าตาย มีการบุกทำลายสถานที่ราชการหลายแห่งในใจกลางกรุงโตเกียว การก่อกบฏครั้งนี้ ฝ่ายกบฏอ้างว่าเป็นการต่อสู้ในนามของพระจักรพรรดิ เมื่อจักรพรรดิทรงทราบว่ามีกลุ่มทหารเลือดใหม่ก่อกบฏ ทรงกำชับรัฐมนตรีกลาโหมอย่างเฉียบขาดว่า \"เราให้เวลาท่านหนึ่งชั่วโมงในการปราบกบฏ\" ผลปรากฏว่า รัฐบาลล้มเหลวในการปราบกบฏ วันต่อมาทรงรับสั่งว่า \"ฉัน! ตัวฉันนี่แหล่ะ จะนำกองโคะโนะเอะ(กองราชองค์รักษ์)และปราบพวกเขาเอง\"[6] กลุ่มกบฏได้บุกเข้ามายังพระราชวังหลวงเพื่อต้องการที่จะอ่านสาสน์ต่อสมเด็จพระจักรพรรดิเพื่อให้จักรพรรดิรับรองสถานะของกลุ่มทหารที่ก่อการกบฏ จักรพรรดิฮิโระฮิโตะมีพระราชดำรัสต่อกลุ่มทหารเหล่านั้นว่า \"พวกเจ้ากล้าดีอย่างไรที่เข้ามาในนี้ ไม่รู้หรือว่าฉันเป็นจักรพรรดิของพวกเจ้า\"[7]",
"title": "จักรพรรดิโชวะ"
},
{
"docid": "93741#39",
"text": "สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะทรงประกาศยอมจำนนและมีพระบรมราชโองการให้ทหารญี่ปุ่นทั่วโลกวางอาวุธ รวมทั้งในประเทศไทยด้วย ทางญี่ปุ่นก็ได้ทำพิธียอมจำนนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 ที่อ่าวโตเกียว พันตรี ควง อภัยวงศ์ ได้ออก \"ประกาศสันติภาพ\" มีผลให้การประกาศสงครามของไทยต่อฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นโมฆะ พันตรี ควง อภัยวงศ์ ได้ลาออกจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรี และร้องขอให้ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ด้านหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ก็สามารถเจรจากับอังกฤษและสามารถตกลงกันได้ในที่สุด ",
"title": "สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย"
},
{
"docid": "42827#27",
"text": "จักรพรรดิฮิโระฮิโตะ ทรงดำเนินพระราชกรณียกิจทั่วไปที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ การขจัดทุกข์บำรุงสุขและให้กำลังใจแก่ประชาชน การปรากฏพระองค์ในพิธีการหรือเหตุการณ์สำคัญ นอกจากนี้ ยังทรงมีบทบาทสำคัญในด้านการสร้างภาพลักษณ์ทางการทูตของญี่ปุ่น เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอยู่บ่อยครั้งเพื่อพบปะกับผู้นำต่างประเทศ อาทิ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (พ.ศ. 2514) , ประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ด (พ.ศ. 2518) เป็นต้น",
"title": "จักรพรรดิโชวะ"
},
{
"docid": "885431#0",
"text": "เจ้าชายทะกะฮิโตะ เจ้ามิกะซะ () (2 ธันวาคม พ.ศ. 2458 - 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นพระโอรสองค์สุดท้องใน สมเด็จพระจักรพรรดิไทโช และ สมเด็จพระจักรพรรดินีเทเม และเป็นพระอนุชาในจักรพรรดิโชวะ และเป็นพระปิตุลาของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ หลังจากการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงคิกุโกะแห่งทะกะมะสึ เจ้ามิกะซะถือเป็นเชื้อพระวงศ์ที่พระชนมายุยืนยาวที่สุดในราชวงศ์ญี่ปุ่น",
"title": "เจ้าชายทากาฮิโตะ เจ้ามิกาซะ"
},
{
"docid": "42827#6",
"text": "หลังประสูติได้ไม่นาน เจ้าชายฮิโระฮิโตะอยู่ในความอภิบาลของ คะวะมุระ สึมิโยะชิ นายทหารเรือเกษียณ และภรรยา เมื่อคะวะมุระถึงแก่กรรมลงในปี พ.ศ. 2447 เจ้าชายองค์น้อยได้เสด็จกลับไปประทับร่วมกับพระบิดาและพระมารดาอีกครั้ง ณ พระราชวังโทงู ทรงรู้สึกใกล้ชิดพระบิดาและพระชนนีเท่าใดนั้นยากที่จะกล่าว แต่หนึ่งในบรรดามหาดเล็กที่ถวายการดูแลเจ้าชายอยู่คือ คันโระจิ โอะซะนะงะ ให้ความเห็นว่าเจ้าชายรักและผูกพันกับจักรพรรดิเมจิ ซึ่งเป็นพระอัยกาเป็นพิเศษ และยามที่เสด็จไปหาเสด็จสมเด็จพระอัยกาที่พระราชวังโตเกียว ก็โปรดที่จะเกาะแจอยู่กับพระองค์ แต่ภาพเช่นนั้นก็ไม่ปรากฏบ่อยนัก [3] ทางจักรพรรดิเมจิ นั้น ก็ได้พระราชทานของขวัญแก่พระราชนัดดาองค์น้อยและแย้มพระโอษฐ์ให้ แม้จะตรัสกับพระราชนัดดาน้อยมาก เช่นเดียวกัน จักรพรรดิเมจิแทบจะไม่มีพระราชดำรัสต่อเจ้าชายโยะชิฮิโตะ มกุฎราชกุมารเลย",
"title": "จักรพรรดิโชวะ"
},
{
"docid": "727952#0",
"text": "วิกฤตการณ์การเงินโชวะ () เป็นวิกฤตการทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1927 ปีแรกของรัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ ไม่นานก่อนหน้าภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ทั่วโลก วิกฤตครั้งนี้ทำให้รัฐบาลของวะกะสึกิ เรชิโร ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ และนำไปสู่การให้ \"ไซบะสึ\" เข้ามาจัดการภาคธนาคารของญี่ปุ่น",
"title": "วิกฤตการณ์การเงินโชวะ"
},
{
"docid": "618487#2",
"text": "สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะสวรรคตเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2532 จึงเลิกการเฉลิมฉลองวันที่ 29 เมษายนของทุกปี ในฐานะวันคล้ายวันพระราชสมภพ และเปลี่ยนเป็นวันสีเขียว ซึ่งอยู่ในสัปดาห์ทอง (Golden Week) ของญี่ปุ่นแทน ประกอบด้วยวันสีเขียว (29 เมษายน) วันที่ระลึกรัฐธรรมนูญ (3 พฤษภาคม) วันหยุดราชการ (4 พฤษภาคม) และวันเด็กแห่งชาติ (5 พฤษภาคม) แต่หลังจากออกกฎหมายใหม่ วันสีเขียวย้ายไปเป็นวันที่ 4 พฤษภาคม ส่วนวันที่ 29 เมษายนของทุกปี ตั้งชื่อใหม่เป็นวันโชวะตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549",
"title": "วันโชวะ"
},
{
"docid": "42827#24",
"text": "แม้ว่าสมเด็จพระจักรพรรดิจะรอดพ้นจากข้อหาอาชญากรสงคราม แต่ทรงถูกบังคับ[8] ให้ปฏิเสธการเรียกร้องรัฐชินโตที่จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นเป็น อะระฮิโตะงะมิ หรือพระเจ้าที่มีตัวตน สิ่งนี้เป็นแรงจูงใจจากข้อเท็จจริงที่ว่า ตามรัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น ค.ศ. 1889 บัญญัติให้จักรพรรดิมีพระราชอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมาจากความเชื่อของชินโตที่ว่า พระราชวงศ์แห่งจักรพรรดิญี่ปุ่นเป็นสืบเชื้อสายมาจากจันทรเทพ สึกุโยะมิ และ สุริยะเทพี อะมะเตะระซุ ซึ่งจักรพรรดิฮิโระฮิโตะยืนกรานในความเชื่อนี้ ดังในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2488 ตรัสกับรองสมุหพระราชวัง มิชิโอะ คิโนะชิตะ ว่า \"เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ที่จะบอกว่า ความคิดที่ว่าเท็นโน (จักรพรรดิ) เป็นลูกหลานของเทพเจ้านั้น เป็นความคิดที่ผิด แต่เป็นเรื่องที่ยอมไม่ได้อย่างยิ่งหากจะบอกว่า เรื่องที่เท็นโนเป็นลูกหลานของเทพเจ้า เป็นเรื่องเพ้อเจ้อ \"[9]",
"title": "จักรพรรดิโชวะ"
},
{
"docid": "99113#4",
"text": "ระหว่างที่เจ้าหญิงนะงะโกะทรงศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มกุฎราชมารฮิโระฮิโตะ ได้เสด็จประทับรถม้ามายังโรงเรียนกะคุชูอิน เพื่อหาสตรีชั้นสูงที่มาจากราชสกุลเป็นพระคู่หมั้น ซึ่งในเวลานั้นเจ้าหญิงนะงะโกะ ถือเป็นสตรีที่ถือว่ามีพระสิริโฉมพระองค์หนึ่ง แม้พระองค์จะสวมฉลองพระองค์เป็นกิโนโม และกระโปรงฮากามะ ซึ่งเป็นกระโปรงจับจีบแบบญี่ปุ่น รวบพระเกศาด้วยริบบิ้นสีขาว และถุงพระบาทสีดำ เมื่อมกุฎราชกุมารฮิโระฮิโตะทอดพระเนตรเห็น และให้ความสนพระทัยเจ้าหญิงนะงะโกะ พระองค์ก็ตัดสินพระทัยที่จะเลือกมาเป็นพระคู่หมั้น ซึ่งก่อนหน้านี้มกุฎราชกุมารฮิโระฮิโตะเคยรู้จักคุ้นเคยกับเจ้าหญิงนะงะโกะมาก่อนในสมัยอนุบาล ในสมัยประถมทั้งสองพระองค์ก็เคยเสวยพระกระยาหารกลางวันด้วยกัน แม้ในสมัยมัธยมโรงเรียนกะคุชูอินจะแยกเป็นฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงก็ตาม",
"title": "จักรพรรดินีโคจุง"
},
{
"docid": "223212#5",
"text": "ในระหว่างบริหารประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลานานในช่วงสงคราม เขาเป็นตัวอย่างของนายทหารที่จงรักภักดีต่อสมเด็จพระจักรพรรดิอย่างยิ่งยวด มีหลักฐานหลายครั้งว่าเขาดำเนินนโยบายด้วยความเคารพในแนวทางที่สมเด็จพระจักรพรรดิมีพระประสงค์แม้จะมีเหตุผลด้านอื่นที่ดีกว่า หลังสงครามเขาถูกจับกุมตัวนำขึ้นพิจารณาคดีในศาลอาชญากรสงคราม ในวันที่ถูกจับเขาพยายามยิงตัวตาย แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ คำให้การของเขาต่อศาลอาชญากรสงครามนั้นยืนยันความรับผิดชอบแต่ผู้เดียวในการ ก่อสงคราม รวมไปถึงคำให้การที่ชี้ว่า สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะมิได้ทรงเกี่ยวข้องกับการเริ่มสงคราม",
"title": "ฮิเดกิ โทโจ"
},
{
"docid": "931519#4",
"text": "ในปี 1964 สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ แห่งญี่ปุ่น ทรงกล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาญี่ปุ่น โดยกล่าวว่า",
"title": "รายพระนามและชื่อประธานในพิธีเปิดโอลิมปิก"
},
{
"docid": "792348#2",
"text": "จักรพรรดิฟุชิมิเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ของจักรพรรดิโกะ-ฟุกะกุซะ โดยทรงมาจากสาย Jimyoin-toเจ้าชายฮิโระฮิโตะทรงได้รับการสถาปนาให้เป็นรัชทายาทและผู้สืบราชบัลลังก์ต่อจาก จักรพรรดิโกะ-อุดะ พระญาติของพระองค์ซึ่งมาจากสายราชสกุล ไดกะกุจิ ",
"title": "จักรพรรดิฟุชิมิ"
},
{
"docid": "213324#0",
"text": "เจ้าหญิงยูริโกะ พระชายาในเจ้าชายทากาฮิโตะ (; 4 มิถุนายน พ.ศ. 2466) พระนามเดิม ยูริโกะ ทากางิ () เป็นพระชายาในเจ้าชายทากาฮิโตะ เจ้าชายมิกาซะ พระราชโอรสพระองค์เล็กในจักรพรรดิไทโช กับจักรพรรดินีเทเม พระองค์เป็นพระปิตุลานีในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะและเป็นพระกุลเชษฐ์แห่งราชวงศ์เพียงพระองค์เดียวที่ประสูติในรัชกาลจักรพรรดิไทโชที่ยังทรงพระชนม์",
"title": "เจ้าหญิงยูริโกะ พระชายาในเจ้าชายทากาฮิโตะ"
},
{
"docid": "212919#0",
"text": "เจ้าหญิงคิโกะ พระชายาในเจ้าชายฟูมิฮิโตะ (; 11 กันยายน พ.ศ. 2509) พระนามเดิม คิโกะ คาวาชิมะ () เป็นพระชายาในเจ้าชายฟูมิฮิโตะ เจ้าอากิชิโนะ และเป็นพระสุณิสาในสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ และสมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะ",
"title": "เจ้าหญิงคิโกะ พระชายาในเจ้าชายฟูมิฮิโตะ"
}
] |
2053 | ผู้ประกอบวิชาชีพในสาขา วิศวกรรมไฟฟ้า เรียกว่าอะไร? | [
{
"docid": "5889#0",
"text": "วิศวกรรมไฟฟ้า (English: Electrical Engineering) เป็นสาขาที่ศึกษาทฤษฏีและการประยุกต์ใช้ ไฟฟ้า, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสาขานี้เรียกว่า วิศวกรไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นสาขาที่กว้างประกอบไปด้วยหลายสาขาย่อย",
"title": "วิศวกรรมไฟฟ้า"
}
] | [
{
"docid": "5889#6",
"text": "การศึกษาในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า เริ่มต้นที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2476 คณะเริ่มเปิดสอนหลักสูตรปริญญาบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ โดยทางมูลนิธิ ได้ส่ง ดร.ชารล เอม.สัน. เกวอรฺต ชาวสวีเดน ซึ่งได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา มาช่วยจัดหลักสูตรการสอน และเป็นหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าไปด้วย ในปี พ.ศ. 2478 ก็มีผู้จบการศึกษาและเข้ารับพระราชทานปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นครั้งแรก จำนวน 12 คน ซึ่งต่อมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน และ ได้เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าตามมาเป็นลำดับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้เปิดหลักสูตรระดับปริญญาเอก เป็นแห่งแรกของประเทศไทย",
"title": "วิศวกรรมไฟฟ้า"
},
{
"docid": "2900#0",
"text": "วิศวกรรมโยธา () เป็นศาสตร์ของสาขาหนึ่งในทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ครอบคลุมการก่อสร้างตึก ตึกระฟ้า อาคาร สะพาน ถนน และระบบขนส่งอื่น ๆ รวมถึงระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น เขื่อน คลอง ตลอดจนการทำรังวัดในงานสำรวจและแผนที่ รวมไปถึงการวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ และการบริหารจัดการการก่อสร้าง งานในทางด้านวิศวกรรมจะเน้นทางด้านการใช้วัสดุและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสาขานี้เรียกว่า วิศวกรโยธา หรือเรียกกันว่า นายช่าง ในการทำงานในประเทศไทย ผู้ที่ประกอบวิชาชีพจะขึ้นทะเบียนกับสภาวิศวกรเพื่อรับ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (กว.) โดยมีการจัดสอบระบบใหม่เริ่มต้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2552 ด้วยระบบสุ่มข้อสอบทั้งหมดผ่านระบบคอมพิวเตอร์ (เฉพาะระดับ \"ภาคีวิศวกร\")",
"title": "วิศวกรรมโยธา"
},
{
"docid": "953218#2",
"text": "รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม วินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๔๒ วรรคสาม รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในวิชาเภสัชศาสตร์ หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิก รับรองหลักสูตรต่าง ๆ สำหรับการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการในสาขาต่าง ๆ ของวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันที่ทำการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการในสาขาต่าง ๆ ของวิชาชีพเภสัชกรรม รับรองวิทยฐานะของสถาบันที่ทำการฝึกอบรมใน (4) ออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาต่าง ๆ และออกหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพเภสัชกรรม ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาเภสัชกรรม",
"title": "สภาเภสัชกรรม"
},
{
"docid": "4114#0",
"text": "มนุษย์ คือผู้ที่ประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรม มีหน้าที่ ศึกษาวิเคราะห์ คำนวณ ออกแบบ ตรวจสอบแก้ไขปัญหาและควบคุมการผลิต อาทิ การก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง การออกแบบและผลิตรถยนต์ การควบคุมเครื่องจักรกลโรงงานต่าง ๆ โดยวิศวกรยังแบ่งออกได้เป็นหลายสาขา เช่น วิศวกรโยธา วิศวกรเครื่องกล วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมเกษตร วิศวกรรมอากาศยาน วิศวกรรมการขนถ่ายวัสดุ วิศวกรรมโลหการ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเซรามิก วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมธรณี ฯลฯ",
"title": "วิศวกร"
},
{
"docid": "767935#1",
"text": "ภาควิชาเทคโนโลยีขนถ่ายวัสดุเป็นภาควิชาฯแรกในประเทศไทย ที่ได้ประศาสน์ปริญญา อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.) สาขาเทคโนโลยีขนถ่ายวัสดุ และมีชื่อปริญญาเป็นภาษา อังกฤษว่า Bachelor of Industrial Technology in Material Handling หรือมีชื่อย่อว่า B.Ind.Tech.(MH) และในปี พ.ศ.2542 ทางภาควิชาได้ทำประศาสน์ปริญญา วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ) สาขาวิศวกรรมขนถ่ายวัสดุ เพิ่มขึ้นโดยมีชื่อปริญญาทางภาษาอังกฤษว่า Bachelor of Engineering (Materials Handling Engineering) หรือมีชื่อย่อทางภาษาอังกฤษว่า B.Eng. (Materials Handling Engineering) และผู้ที่จบการศึกษาสามารถสอบใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมเครื่องกล",
"title": "วิศวกรรมขนถ่ายวัสดุ"
},
{
"docid": "50533#0",
"text": "สภาวิศวกร จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 มีสถานะเป็นนิติบุคคล ทำหน้าที่ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม รวมทั้งพิจารณาพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรหรือวุฒิบัตรในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม รับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม รวมทั้งเสนอแนะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการกำหนดและการเลิกสาขาวิศวกรรมควบคุมและออกข้อบังคับสภาวิศวกร โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะสภานายกพิเศษ ปัจจุบันนายกสภาวิศวกรได้แก่ ดร.กมล ตรรกบุตร ซึ่งเป็นนายกสภาตั้งแต่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555 ถึงปัจจุบัน",
"title": "สภาวิศวกร"
},
{
"docid": "45397#4",
"text": "ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม แต่ละสาขาแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ",
"title": "ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "5889#40",
"text": "สภาวิศวกร สถาบันวิชาชีพวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Institute of Electrical and Electronics Engineers, IEEE) วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี",
"title": "วิศวกรรมไฟฟ้า"
},
{
"docid": "50533#2",
"text": "การประกอบวิชาชีพวิศวกรรมมีความเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยมีพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 เป็นแนวทางการควบคุมบังคับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ซึ่งหมายความถึงวิชาชีพการช่างในสาขา วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม โดย คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ก.ว.) ทำหน้าที่ดำเนินกิจการตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุณสมบัติผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ผู้ที่ประสงค์จะประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระราชบัญญัติ โดยต้องมีคุณวุฒิจบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ในสาขาที่ขอรับใบอนุญาต จากสถาบันที่ ก.ว. รับรองหลักสูตร ",
"title": "สภาวิศวกร"
},
{
"docid": "67778#1",
"text": "นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สามารถประกอบวิชาชีพได้หลากหลายแขนง และสามารถขอใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 เพื่อประกอบวิชาชีพวิศวกรได้",
"title": "คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ"
},
{
"docid": "5895#4",
"text": "Electronics เป็นสาขาย่อยภายในวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้า ปริญญาด้วย major ทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถประสิทธ์ประศาสตร์ได้จากมหาวิทยาลัยบางแห่ง ในขณะที่มหาวิทยาลัยบางแห่งให้ปริญญาเป็นวิศวกรรมไฟฟ้าเฉย ๆ วิศวกรไฟฟ้ายังถูกใช้ในโลกของการศึกษาว่ารวมถึงวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์. อย่างไรก็ตามบางคนพิจารณาว่า 'วิศวกรไฟฟ้า' ควรจะสงวนไว้สำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในไฟฟ้ากำลังหรือไฟฟ้าแรงดันสูง ขณะที่คนอื่นพิจารณาว่า'กำลัง'เป็นเพียงหนึ่งในส่วนย่อยของวิศวกรรมไฟฟ้าและใช้ 'power engineering' แทน ปัจจุบัน มีการเรียนการสอนในส่วนของวิศวกรรมไฟฟ้าที่มีการศึกษาในเบื้องลึกและประศาสตร์ปริญญาให้ต่างหาก เช่น 'วิศวกรรมข้อมูล', 'วิศวกรรมระบบ', 'วิศวกรรมระบบสื่อสาร' ซึ่งจะถูกตามท้ายด้วยแผนกการศึกษาที่มีชื่อคล้ายกันและทั่วไปก็ไม่ถือว่าเป็นสาขาหนึ่งของวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์แต่ว่าเป็นวิศวกรรมไฟฟ้า",
"title": "วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์"
},
{
"docid": "667377#9",
"text": "วิศวกรป้องกันอัคคีภัยที่มีคุณสมบัติและมีประสบการณ์ที่เหมาะสมอาจมีสิทธิ์ได้ลงทะเบียนเป็นวิศวกรมืออาชีพ (PE). การรับรู้ของวิศวกรรมป้องกันอัคคีภัยว่าเป็นสาขาที่แยกออกมาจะแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา. NCEES รับรู้ว่าวิศวกรรมป้องกันอัคคีภัยเป็นสาขาที่ออกมาและเสนอเรื่องการสอบ PE. การทดสอบนี้ได้รับการปรับปรุงล่าสุดสำหรับการสอบเดือนตุลาคม 2012 และรวมหัวข้อที่สำคัญดังต่อไปนี้ (ร้อยละบ่งชี้น้ำหนักโดยประมาณของหัวข้อ):ไม่กี่ประเทศนอกสหรัฐอเมริกากำกับดูแลการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมป้องกันอัคคีภัยว่าเป็นสาขาหนึ่ง, แม้ว่าพวกเขาอาจจำกัดการใช้ตำนำหน้าว่า \"วิศวกร\" ในการเชื่อมโยงกับการประกอบวิชาชีพของมัน.",
"title": "วิศวกรรมความปลอดภัยด้านอัคคีภัย"
},
{
"docid": "61536#15",
"text": "คณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมศาสตร์ และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ใน 4 กลุ่มสาขาวิชา คือ วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมเครื่องกล และวิศวกรรมอุตสาหการ คณบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจ หลักสูตรศิลปศาสตร์ และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ใน 3 กลุ่มสาขาวิชา คือ การบัญชี บริหารธุรกิจ และสาขาศิลปศาสตร์ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปบัณฑิต ศิลปกรรมบัณฑิต เทคโนโลยีบัณฑิต วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ เปิดสอนหลักสูตรเตรียมวิศวกรรม เตรียมบริหารธุรกิจ และ วศ.บ.วิศวกรรมอาหาร",
"title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่"
},
{
"docid": "45638#0",
"text": "ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เป็นใบอนุญาตให้สามารถประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ตามสาขาที่เรียนมา โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะต้องมีคุณสมบัติตามที่องค์กรออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกำหนดไว้ ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะไม่สามารถประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ได้ ถ้าฝ่าฝืนจะมีโทษตามที่องค์กรวิชาชีพแต่ล่ะองค์กรกำหนดไว้",
"title": "ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ"
},
{
"docid": "349677#30",
"text": "วิชาสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.)",
"title": "วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๕"
},
{
"docid": "45397#0",
"text": "ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมในประเทศไทย เป็นใบอนุญาตให้บุคคลประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ออกโดยสภาวิศวกร เริ่มต้นในประเทศไทยครั้งแรกตามพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505[1] ปัจจุบันบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542[2] ประกอบด้วยสาขาวิศวกรรมควบคุม ได้แก่ วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมเคมี และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม2543",
"title": "ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "5889#7",
"text": "ถึงแม้ว่าวิศวกรรมไฟฟ้านั้นประกอบไปด้วยสาขามากมาย แต่ทุกสาขาจะมีจุดร่วมคือ จะมีความเกี่ยวพันกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า บางสาขานั้นจะมีการใช้งานสมการของแมกซ์เวลล์โดยตรง ในการทำงานเกี่ยวกับคลื่นวิทยุ บางสาขาก็ทำงานเกี่ยวกับการผลิตและส่งถ่ายพลังงานไฟฟ้า บางสาขาเกี่ยวกับการวิเคราะห์และจัดการกับสัญญาณไฟฟ้า ทั้งนี้จะรวมถึงแง่มุมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎี การประยุกต์ใช้งาน และ อุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้อง",
"title": "วิศวกรรมไฟฟ้า"
},
{
"docid": "5889#31",
"text": "องค์กรวิชาชีพสำหรับวิศวกรไฟฟ้าได้แก่ สถาบันวิชาชีพวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (IEEE) และสถาบันวิศวกรรมและเทคโนโลยี (IET) สถาบัน IEEE อ้างว่าได้ผลิต 30% ของวรรณกรรมในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าของโลก, มีสมาชิกมากกว่า 360,000 คนทั่วโลกและจัดการประชุมกว่า 3,000 ครั้งเป็นประจำทุกปี[18] ที่ IET เผยแพร่ 21 วารสาร มีสมาชิกทั่วโลกกว่า 150,000 คนและอ้างว่าเป็นสังคมวิชาชีพวิศวกรรมที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป[19][20] ความล้าสมัยของทักษะทางเทคนิคสร้างความกังวลอย่างรุนแรงสำหรับวิศวกรไฟฟ้า เพราะฉะนั้น การเข้าเป็นสมาชิกและการมีส่วนร่วมในสังคมด้านเทคนิค, การทบทวนอย่างปกติของวารสารในสาขาและนิสัยของการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาความเชี่ยวชาญ สมาชิกของสถาบันวิศวกรรมและเทคโนโลยี หรือ MIET จะได้รับการยอมรับในยุโรปว่าเป็นวิศวกรไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ (เทคโนโลยี)[21]",
"title": "วิศวกรรมไฟฟ้า"
},
{
"docid": "45397#1",
"text": "ในปี พ.ศ. 2505 ได้มีการประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ต้องมีใบอนุญาต แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ภาคีวิศวกร สามัญวิศวกร และวุฒิวิศวกร ซึ่งใบอนุญาตจะออกให้สำหรับผู้ที่มีอายุไม่น้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์ โดยมี \"คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (ก.ว.) เป็นผู้พิจารณาออกใบอนุญาต สำหรับ ก.ว. จะมีสำนักงานภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย มีปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน ก.ว.",
"title": "ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "4114#1",
"text": "ไทย (กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3 และ 4 (พ.ศ. 2508) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505) กำหนดให้ วิศวกรในบางสาขาจำเป็นต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม หรือที่รู้จักกันว่า \"ใบ กว.\" เพื่อการประกอบอาชีพด้วย ได้แก่ สาขา โยธา เครื่องกล ไฟฟ้ากำลัง ไฟฟ้าสื่อสาร อุตสาหการ เหมืองแร่ สิ่งแวดล้อม และเคมี ใบประกอบวิชาวิศวกรรมแบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้ \nโดยมีสภาวิศวกรเป็นผู้พิจารณาออกใบอนุญาต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ แขนง ลักษณะ และขนาดของงานด้วย แต่ถ้าหากสาขา แขนง ลักษณะ และขนาดของงาน ไม่เข้าข่ายที่กำหนด ก็ไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต ในปัจจุบัน การศึกษาทางด้านวิศวกรรมในประเทศไทย ได้มีการขยายตัวมากขึ้น มีสถาบันการศึกษาหลายสถาบันได้ทำการเปิดสอนในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ทำให้โอกาสทางการศึกษาทางด้านวิศวกรรมมีเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม สถาบันการศึกษาเหล่านั้นก็จะต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของการศึกษาด้วยความเอาใจใส่ เพื่อคุณภาพของนักศึกษา",
"title": "วิศวกร"
},
{
"docid": "764886#10",
"text": "จบการศึกษาระดับไฮสคูล จากโรงเรียนเซนต์เซเวีย เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย \nได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่",
"title": "เฉลิม ทองตัน"
},
{
"docid": "946334#0",
"text": "วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ( ตัวย่อ วศ.บ., B.E., B.Eng., หรือ B.A.I. จากภาษาละติน) เป็นปริญญาทางวิชาการในระดับปริญญาตรีทางวิชาชีพระดับแรกซึ่งมอบให้กับนักศึกษาหลังจากใช้เวลาสี่ถึงห้าปีในการศึกษาทางวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรอง ในสหราชอาณาจักรปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตจะได้รับการรับรองจากหนึ่งในสถาบันวิชาชีพวิศวกรรมของสภาวิศวกรรมให้เหมาะสมสำหรับการขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรจัดตั้ง (Incorporated engineer) หรือวุฒิวิศวกรด้วยการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทต่อไป ในแคนาดา ปริญญาจากมหาวิทยาลัยในแคนาดาสามารถได้รับการรับรองจาก CEAB อีกทางเลือกหนึ่งอาจได้รับการรับรองโดยตรงจากสถาบันวิชาชีพวิศวกรรมมือรายอื่น เช่น สถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในสหรัฐอเมริกา (Institute of Electrical and Electronics Engineers - IEEE) วิศวกรรมศาสตรบัณฑิตมีส่วนในการไปสู่การเป็นวุฒิวิศวกร (สหราชอาณาจักร) วิศวกรจดทะเบียน หรือใบอนุญาตสำหรับสามัญวิศวกร และได้รับการอนุมัติโดยผู้แทนของกลุ่มวิชาชีพ",
"title": "วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต"
},
{
"docid": "45768#4",
"text": "ใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม มีลักษณะเหมือนกับใบประกอบวิชาชีพในสาขาอื่น ๆ เช่น ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรม และ ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทย์ กล่าวคือผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะไม่สามารถประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ได้ ถ้าฝ่าฝืนจะมีโทษตามที่องค์กรวิชาชีพแต่ล่ะองค์กรกำหนดไว้ ในกรณีของสถาปนิกนี้ มีบทลงโทษ ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. สถาปนิก (2543) ว่าจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ",
"title": "ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม"
},
{
"docid": "50533#3",
"text": "ใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของแต่ละสาขา แบ่งประเภทดังนี้",
"title": "สภาวิศวกร"
},
{
"docid": "202262#5",
"text": "การเรียนการสอนด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2495 มีการจัดตั้ง แผนกวิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล (ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดสอนวิชาวิศวกรรมสุขาภิบาลในระดับปริญญาโทขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมี ศาสตราจารย์ อรุณ สรเทศน์ เป็นผู้นำในการดำเนินการ\nกฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2550/2553 แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดเพิ่มเติมสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเป็นสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ได้แก่",
"title": "วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม"
},
{
"docid": "45397#2",
"text": "ในระยะแรกมีการกำหนดวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมไว้ 5 สาขา คือ วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมอุตสาหการ และวิศวกรรมเหมืองแร่ [3]",
"title": "ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "48613#4",
"text": "กำลังไฟฟ้า (English: electric power) เมื่อกระแสไฟฟ้าถูกใชัเพื่อให้กำลังงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า กำลังไฟฟ้าเป็นอัตราที่พลังงานไฟฟ้าที่ถูกถ่ายโอนไปยังวงจรไฟฟ้า มีหน่วย SI เป็นวัตต์ซึ่งเท่ากับหนึ่งจูลต่อวินาที อิเล็กทรอนิกส์ เกี่ยวข้องกับวงจรไฟฟ้าที่ใช้ชิ้นส่วนที่แอคทีฟเช่นหลอดสูญญากาศ, ทรานซิสเตอร์, ไดโอดและวงจรรวม และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ใช้ในการเชื่อมต่อถึงกันแบบพาสซีฟที่เกี่ยวข้อง วิศวกรรมกำลังไฟฟ้า (อังกฤษ: Power engineering) หรือที่เรียกว่า วิศวกรรมระบบไฟฟ้า เป็นสาขาย่อยของวิศวกรรมพลังงานและวิศวกรรมไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้า, การส่งกำลังไฟฟ้า, การกระจายกำลังไฟฟ้า, การใช้ให้เป็นประโยชน์ (อังกฤษ: utilization) และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกับระบบดังกล่าว",
"title": "ไฟฟ้า"
},
{
"docid": "774562#0",
"text": "วิศวกรรมกำลังไฟฟ้า () หรือที่เรียกว่า วิศวกรรมระบบไฟฟ้า เป็นสาขาย่อยของ วิศวกรรมพลังงาน และ วิศวกรรมไฟฟ้า ที่เกี่ยวข้องกับ การผลิตไฟฟ้า, การส่งกำลังไฟฟ้า, การกระจายกำลังไฟฟ้า, การใช้ให้เป็นประโยชน์ () และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกับระบบดังกล่าวจะรวมถึง เครื่องกำเนิดไฟฟ้า, มอเตอร์ และ หม้อแปลงไฟฟ้า แม้ว่าสาขานี้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับปัญหาของ ไฟ AC สามเฟส - ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับการจัดส่งและการจัดจำหน่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่ทั่วโลกสมัยใหม่ - ชิ้นส่วนเล็ก ๆ ที่สำคัญของสาขานี้จะเกี่ยวข้องกับการแปลงระหว่าง กำลังไฟ AC และ DC และการพัฒนาระบบกำลังพิเศษเช่นที่ใช้ในยานอากาศหรือสำหรับเครือข่ายไฟฟ้าระบบราง วิศวกรรมกำลังไฟฟ้าดึงส่วนใหญ่ของฐานทฤษฎีของมันจากวิศวกรรมไฟฟ้าและในขณะที่วิศวกรกำลังไฟฟ้าบางคนอาจได้รับการพิจารณาว่าเป็นวิศวกรพลังงาน, วิศวกรพลังงานมักจะไม่มีพื้นหลังทางทฤษฎีของวิศวกรรมไฟฟ้าที่จะเข้าใจวิศวกรรมกำลังไฟฟ้าได้",
"title": "วิศวกรรมกำลังไฟฟ้า"
},
{
"docid": "5890#13",
"text": "ไม่จำเป็นว่าวิศวกรเครื่องกลทุกคนจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพถึงจะทำงานได้ วิศวกรบางคนอาจจะขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมจากหน่วยงานภาครัฐระดับชาติ, รัฐ หรือมณฑล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกฎหมายที่บังคับใช้ในแต่ละรัฐ แต่สำหรับประเทศไทย สภาวิศวกรคือหน่วยงานเดียวที่สามารถออกใบรับรองให้วิศวกรทั่วประเทศ วิศวกรที่จะได้รับใบประกอบวิชาชีพนั้นคือวิศวกรที่ผ่านการตรวจสอบแล้วว่ามีความรู้เฉพาะทางที่จำเป็น, มีประสบการณ์งานจริง และมีความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานทางวิศวกรรมในระดับผู้เชี่ยวชาญงานวิศวกรรม ในประเทศไทยนั้น วิศวกรที่จะได้รับการรับรองนั้นจะต้องสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลที่สภาวิศวกรรับรอง ",
"title": "วิศวกรรมเครื่องกล"
}
] |
1281 | สมาคมมวยโลกตั้งอยู่ที่ไหน ? | [
{
"docid": "77290#1",
"text": "ปัจจุบัน สมาคมมวยโลก เป็นอีกหนึ่งสถาบันมวยสากลที่ได้รับการยอมรับว่ามีมาตรฐานและได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก มี กิลแบร์โต เมนโดซา ชาวเวเนซุเอลาเป็นประธาน ที่ตั้งสถาบัน ตั้งอยู่ที่กรุงคารากัส ประเทศเวเนซุเอลา [1]",
"title": "สมาคมมวยโลก"
},
{
"docid": "77288#0",
"text": "สภามวยโลก (English: World Boxing Council; ตัวย่อ: WBC, Spanish: Consejo Mundial de Boxeo; ตัวย่อ: CMB) สถาบันที่ดูแลและควบคุมการชกมวยสากลในระดับโลก สภามวยโลกก่อตั้งขึ้นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก โดยเริ่มแรกมีชาติสมาชิก 11+1 ประเทศ",
"title": "สภามวยโลก"
}
] | [
{
"docid": "152223#1",
"text": "อีก 2 ปีต่อมา โอฮาชิได้ครองแชมป์โลกรุ่นมินิมัมเวทของสมาคมมวยโลก ชนะคะแนนชเว ฮี-ย็อง เมื่อ พ.ศ. 2535 แต่พอขึ้นชกป้องกันตำแหน่งครั้งแรกก็เสียแชมป์ให้ชนะ ป. เปาอินทร์ หลังจากนั้น โอฮาชิมีปัญหาเกี่ยวกับดวงตาจนต้องแขวนนวมไปด้วยอายุ 27 ปี\nโอฮาชิได้เปิดค่ายมวยที่โยโกฮามา และทำงานเป็นเทรนเนอร์ โอฮาชิประสบความสำเร็จโดยเป็นเทรนเนอร์ให้กับคัตสึชิเงะ คาวาชิมะ จนได้ครองแชมป์โลกของสภามวยโลก ในเดือนมกราคม 2550 โอฮาชิเป็นหัวหน้าเทรนเนอร์ของทีมญี่ปุ่นในการแข่งขัน BOXING GRAND PRIX 2007 ปัจจุบันป็นประธานสมาคมนักมวยเก่าของญี่ปุ่น",
"title": "ฮิเดยูกิ โอฮาชิ"
},
{
"docid": "290054#2",
"text": "นาซีม ฮาเหม็ด ได้ปะทะกับนักมวยฝีมือดีหลายต่อหลายคนในรุ่นเดียวกันและใกล้เคียง ซึ่งสามารถเอาชนะได้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็น เวย์น แมคคัลลัฟ อดีตแชมป์โลกรุ่นแบนตั้มเวทของสภามวยโลก (WBC) ชาวไอร์แลนด์, มานูเอล เมดินา อดีตแชมป์โลก 2 สมัยใมนรุ่นเฟเธอร์เวทของสภามวยโลก ชาวเม็กซิกัน, เดเนี่ยล อลิเซีย นักมวยดาวรุ่งที่ไม่เคยแพ้ใครชาวเปอร์โตริโก, วิลเฟรโด วาสเควซ อดีตแชมป์โลกรุ่นแบนตั้มเวท, จูเนียร์เฟเธอร์เวท และเฟเธอร์เวท ของสมาคมมวยโลก (WBA) ชาวเปอร์โตริโก รวมทั้งการชกรวบแชมป์โลกในรุ่นเฟเธอร์เวทนี้ ด้วยการเอาชนะน็อกในยกที่ 8 ทอม \"บูม บูม\" จอห์นสัน นักมวยชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นแชมป์ของสหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) และรวบแชมป์ของสภามวยโลกด้วยการเอาชนะคะแนน ซีซาร์ โซโต นักมวยชาวเม็กซิกันอีกราย",
"title": "นาซีม ฮาเหม็ด"
},
{
"docid": "80705#1",
"text": "ในเวลาต่อมา องค์กรมวยโลกได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นอีกหนึ่งสถาบันที่ได้มาตรฐาน มีนักมวยมากมายที่เป็นแชมป์และโดดเด่น มีความสามารถมากกว่าแชมป์โลกในรุ่นเดียวกันของสภามวยโลก (WBC), สมาคมมวยโลก (WBA), สหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) ในบางครั้งเสียอีก เช่น ทอมมี มอร์ริสัน, นาซีม ฮาเหม็ด, ออสการ์ เดอ ลา โฮยา, มาร์โก้ อันโตนิโอ บาร์เรร่า, วิตาลี คลิทช์โก, วลาดิเมียร์ คลิทช์โก เป็นต้น",
"title": "องค์กรมวยโลก"
},
{
"docid": "138452#0",
"text": "สมาคมมวยแห่งทวีปเอเชีย หรือที่นิยมเรียกกันว่า พาบา (; ตัวย่อ: PABA) เป็นสถาบันมวยในเครือข่ายของสมาคมมวยโลก (WBA) ถือกำเนิดขึ้นจากการประชุมที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อ 27 มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยมีประเทศร่วมก่อตั้ง 10 ประเทศ คือ รัสเซีย มองโกเลีย อุซเบกิสถาน คาซัคสถาน นิวซีแลนด์ คีร์กีซสถาน เติร์กเมนิสถาน จีน เวเนซุเอลา และเกาหลีใต้ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่โซล ประเทศเกาหลีใต้",
"title": "สมาคมมวยแห่งทวีปเอเชีย"
},
{
"docid": "351676#0",
"text": "ฟลอยด์ เมย์เวทเธอร์ จูเนียร์ () ยอดนักมวยสากลชาวอเมริกันผู้เป็นเจ้าตำแหน่งแชมเปี้ยนโลก 5 รุ่น และมีสถิติที่ยังไม่เคยแพ้หรือเสมอแก่ใคร ปัจจุบันเป็นแชมป์โลกในรุ่นเวลเตอร์เวท ของสภามวยโลก (WBC), สมาคมมวยโลก (WBA) รวมถึงของนิตยสารเดอะริงด้วย และยังเป็นแชมป์โลกในรุ่นซุเปอร์เวลเตอร์เวท ของสภามวยโลก ( WBC ) และซูเปอร์แชมป์สมาคมมวยโลก (WBA)",
"title": "ฟลอยด์ เมย์เวทเธอร์ จูเนียร์"
},
{
"docid": "153186#3",
"text": "หลังจากเสียแชมป์ กาเมซขยับขึ้นไปชกรุ่นฟลายเวท ได้ครองแชมป์ WBA Fedelatin ชนะคะแนนอะควิเลศ กุซแมน ใน พ.ศ. 2538 และในปีถัดมาได้ขึ้นชิงแชมป์โลกกับแสน ส.เพลินจิตแต่เป็นฝ่ายแพ้คะแนน จากนั้น เสียแชมป์ WBA Fedelatin คืนให้กุซแมน และกลับมาครองแชมป์ Fedelatin อีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2541 ชนะน็อคกิลเบอร์โต กอนซาเลซ และได้ครองแชมป์โลกรุ่นฟลายเวทของสมาคมมวยโลกใน พ.ศ. 2542 ชนะน็อค ฮูโก ราฟาเอล โซโต ต่อมา ขึ้นชกชนะน็อค โฮเซ่ คามาโช่ แชมป์เฉพาะกาลรุ่นซูเปอร์ฟลายเวทของสมาคมมวยโลกได้ แต่สมาคมมวยโลกยังประกาศให้เขาเป็นแชมป์โลกรุ่นฟลายเวทอยู่ จนกระทั่งมาเสียแชมป์โลกให้กับศรพิชัย กระทิงแดงยิม จึงขึ้นชิงแชมป์โลกรุ่นซูเปอร์ฟลายเวทของสมาคมมวยโลกกับฮิเดกิ โทดากะ ปรากฏว่ากาเมซเป็นฝ่ายชนะ ได้ครองแชมป์โลกรุ่นที่สี่ใน พ.ศ. 2543 ก่อนจะเสียแชมป์ให้เซเลส โคบายาชิในปีถัดมา",
"title": "เลโอ กาเมซ"
},
{
"docid": "51163#1",
"text": "วิชิตได้เข้าอันดับโลกครั้งแรกเมื่อไปชกนอกรอบที่ฟิลิปปินส์ ชนะคะแนนริค คิวฮาโน แชมป์ OPBF จึงได้เป็นรองแชมป์โลกของสมาคมมวยโลก วิชิตชกอุ่นเครื่องชนะติดต่อกันหลายครั้งจนได้เป็นรองแชมป์โลกของสภามวยโลกด้วย ใน พ.ศ. 2522 ผู้สนับสนุนจึงได้ติดต่อริคาร์โด คาร์โดน่า แชมป์โลกรุ่นจูเนียร์เฟเธอร์เวท สมาคมมวยโลกมาป้องกันตำแหน่งด้วยที่จังหวัดร้อยเอ็ด แต่หลังจากชั่งน้ำหนัก ฝ่ายผู้จัดหาเงินค่าตัวแชมป์โลกมาจ่ายตามสัญญาไม่ทัน คณะของคาร์โดน่าจึงประกาศยกเลิกการชก เดินทางกลับทันที วิชิตจึงไม่ได้ชิงแชมป์โลก และเกิดเหตุจลาจล แฟนมวยไม่พอใจถึงกับเผาเวทีทิ้ง",
"title": "วิชิต เมืองร้อยเอ็ด"
},
{
"docid": "76015#0",
"text": "ซูเปอร์ฟลายเวท () ชื่อเรียกน้ำหนักรุ่นมวยระหว่างรุ่นฟลายเวทกับรุ่นแบนตั้มเวท โดยนักมวยที่จะชกในรุ่นนี้ต้องมีน้ำหนักมากกว่า 112 ปอนด์ (50.802 กิโลกรัม) และไม่เกิน 115 ปอนด์ (52.163 กิโลกรัม) โดยสถาบันที่เริ่มก่อตั้งรุ่นนี้คือ สภามวยโลก (WBC) ในปี ค.ศ. 1980 โดยเรียกรุ่นนี้ว่า ซูเปอร์ฟลายเวท และในสถาบันสมาคมมวยโลก (WBA) และสหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) จะเรียกว่า จูเนียร์แบนตั้มเวท (Junior bantamweight) แชมป์โลกที่ป้องกันตำแหน่งแชมป์ในรุ่นนี้ไว้ได้มากที่สุดในโลก คือ เขาทราย แกแล็คซี่ โดยป้องกันไว้ได้ทั้งหมด 19 ครั้ง และเป็นสถิติที่มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของเอเชีย และได้รับการยกย่องให้เป็นแชมป์โลกตลอดกาลในรุ่นนี้ ของสมาคมมวยโลก (WBA) ด้วย",
"title": "ซูเปอร์ฟลายเวท"
},
{
"docid": "391886#5",
"text": "ต่อมาในปี ค.ศ. 2006 ได้เลื่อนขึ้นไปชกในรุ่นเวลเตอร์เวทอีกครั้ง และสามารถคว้าแชมป์โลกของสถาบันสมาคมมวยนานาชาติ (IBA) ซึ่งเป็นสถาบันขนาดเล็กมาได้ ด้วยการเอาชนะน็อกในยกที่ 11 ต่อ โทมัส เดมการ์ด นักมวยชาวเดนมาร์ก จากนั้นก็ได้ชกรวมแชมป์โลกในรุ่นนี้กับแชมป์โลกของสมาคมมวยโลก (WBA) กับ คาร์ลอส บัลโดเมียร์ นักมวยชาวอาร์เจนตินา แต่เป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอไปในยกที่ 9 ในปีเดียวกัน และจากนั้นกัตติก็ขึ้นชกอีกหนึ่งครั้งและเป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอไปอีกในยกที่ 7 ",
"title": "อาร์ตูโร กัตติ"
},
{
"docid": "76028#0",
"text": "ซูเปอร์ไลท์เวท () ชื่อเรียกรุ่นมวยรุ่นหนึ่งที่อยู่ระหว่างรุ่นไลท์เวทกับรุ่นเวลเตอร์เวท นักมวยที่จะชกในรุ่นนี้ต้องมีน้ำหนักมากกว่า 135 ปอนด์ (61.235 กิโลกรัม) และไม่เกิน 140 ปอนด์ (63.503 กิโลกรัม) โดยสถาบันสภามวยโลก (WBC) และสมาคมมวยโลก (WBA) ก่อตั้งรุ่นนี้ขึ้นมาพร้อมกันในปี ค.ศ. 1967 โดยเริ่มแรกเรียกว่า ไลท์เวลเตอร์เวท (Light welterweight) ต่อมาทางสภามวยโลกได้เปลี่ยนชื่อรุ่นเป็น ซูเปอร์ไลท์เวท ส่วนทางสมาคมมวยโลกและสหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) เรียกว่า จูเนียร์เวลเตอร์เวท (Junior welterweight) แต่ในวงการมวยสากลสมัครเล่นยังคงเรียกว่า ไลท์เวลเตอร์เวท อยู่",
"title": "ซูเปอร์ไลท์เวท"
},
{
"docid": "549990#0",
"text": "ต่อไปนี้เป็นรายนามนักมวยสากลชาวฟิลิปปินส์ที่ได้ครองแชมป์โลกเฉพาะสถาบันหลักคือ เดอะ ริง (The Ring), สมาคมมวยโลก (WBA), สภามวยโลก (WBC), สหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) และ องค์กรมวยโลก (WBO) ดังต่อไปนี้",
"title": "รายนามนักมวยแชมป์โลกชาวฟิลิปปินส์"
},
{
"docid": "246691#0",
"text": "มีเกล อันเคล กอตโต วาซเกวซ () เป็นนักมวยสากลอาชีพชาว เปอร์โตริโก เกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1980 เป็นนักมวยสากลอาชีพแชมป์โลก 4 รุ่นคนแรกของประเทศเปอร์โตริโกเคยชกกับนักมวยที่มีชื่อเสียงระดับโลกมาแล้วเช่น แซบ จูดาห์ ,เชน มอสลีย์ ,อันโตนิโอ มาร์การิโต ,แมนนี่ ปาเกียว ,ฟลอยด์ เมย์เวทเธอร์ จูเนียร์ ,เซร์คีโอ มาร์ติเนซ เป็นต้น จนได้รับการกล่าวขานว่าเป็นนักมวยชาวเปอร์โตริโกที่ชาวโลกรู้จักดีที่สุด เป็นอดีตแชมป์โลกไลท์เวลเตอร์เวท ของ องค์กรมวยโลก(WBO) เวลเตอร์เวท ของ สมาคมมวยโลก(WBA) องค์กรมวยโลก(WBO) ซูเปอร์เวลเตอร์เวท ของ สมาคมมวยโลก(WBA) และ มิดเดิลเวท ของ สภามวยโลก(WBC) เป็นต้น",
"title": "มีเกล กอตโต"
},
{
"docid": "53683#7",
"text": "จากนั้น จิโร วาตานาเบ้ แชมป์โลกรุ่นเดียวกันของสมาคมมวยโลก (WBA) ติดต่อให้พเยาว์เดินทางไปเดิมพันตำแหน่งล้มแชมป์ด้วยที่เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น แต่เมื่อถึงวันชก สมาคมมวยโลกได้ปลดวาตานาเบ้ออกจากตำแหน่งแชมป์ เนื่องจากไม่เห็นชอบด้วยกับการชก (ซึ่งตำแหน่งแชมป์ของสมาคมมวยโลกที่ว่างลงนี้ ต่อมาผู้ที่ชนะในการชิงแชมป์ว่างคือ เขาทราย แกแล็คซี่) ทำให้การชกในวันนั้นจึงกลายเป็น พเยาว์ ป้องกันตำแหน่งกับ จิโร วาตานาเบ้ แทน ซึ่งผลการชก พเยาว์ทำได้ดี ดูแล้วน่าจะเป็นผู้ชนะ แต่เมื่อครบ 12 ยกแล้ว กรรมการรวมคะแนนให้ จิโร วาตานาเบ้ ชนะ ได้แชมป์ไปครองแทน ท่ามกลางความเห็นแย้งของชาวไทย\nปลายปี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 พเยาว์จึงได้โอกาสล้างตาอีกครั้งกับ จิโร วาตานาเบ้ แต่ผลการชกในครั้งนี้ พเยาว์แพ้น็อกยก 11 ไปอย่างสิ้นสภาพ ไม่มีข้อสงสัย พเยาว์ขึ้นชกมวยครั้งสุดท้ายในชีวิต โดยการเป็นบันไดให้กับ ก้องธรณี พยัคฆ์อรุณ นักมวยสร้างรายใหม่ในขณะนั้น ด้วยการแพ้คะแนน",
"title": "พเยาว์ พูนธรัตน์"
},
{
"docid": "75997#0",
"text": "ไลท์ฟลายเวท () ชื่อน้ำหนักรุ่นมวยที่เล็กเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยนักมวยผู้ที่จะชกในพิกัดนี้ ต้องมีน้ำหนักมากกว่า 105 ปอนด์ (47.727 กิโลกรัม) และไม่เกิน 108 ปอนด์ (48.988 กิโลกรัม) ในสถาบันสภามวยโลก (WBC) และมวยสากลสมัครเล่น จะเรียกรุ่นนี้ว่า ไลท์ฟลายเวท ในสถาบันสมาคมมวยโลก (WBA) และสหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) จะเรียกรุ่นนี้ว่า จูเนียร์ฟลายเวท (Junior flyweight) โดยสถาบันแรกที่เริ่มก่อตั้งพิกัดน้ำหนักรุ่นนี้คือ สภามวยโลก (WBC) ในปี ค.ศ. 1975 ",
"title": "ไลท์ฟลายเวท"
},
{
"docid": "226344#1",
"text": "วะตะนะเบะเคยเป็นนักคาราเต้สายดำมาก่อน และเริ่มชกมวยสากลเมื่อ พ.ศ. 2522 ชกชนะรวดมาตลอดจน พ.ศ. 2524 จึงได้ชิงแชมป์โลกรุ่นซูเปอร์ฟลายเวทของสภามวยโลกแต่ไม่สำเร็จ แพ้คะแนน คิม ซุลโฮ วะตะนะเบะกลับมาชกชนะรวดอีก 4 ครั้ง จึงได้ชิงแชมป์โลกรุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวทของสมาคมมวยโลกเมื่อ พ.ศ. 2525 ชนะคะแนน ราฟาเอล เปโดรซา ได้ครองแชมป์โลกวะตะนะเบะป้องกันตำแหน่งได้ 11 ครั้ง จึงหันมาชกเดิมพันตำแหน่งกับ พเยาว์ พูนธรัตน์ แชมป์โลกรุ่นซูเปอร์ฟลายเวทของสภามวยโลกในขณะนั้น แต่สมาคมมวยโลกไม่รับรอง ประกาศปลดวาตานาเบ้ออกจากตำแหน่ง ทำให้ เขาทราย แกแล็คซี่ได้ชิงแชมป์ที่ว่างกับ ยูเซบิโอ เอสปินัล ในเวลาต่อมา",
"title": "จิโร วะตะนะเบะ"
},
{
"docid": "45964#1",
"text": "ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 ถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีแชมป์โลกเฉพาะสถาบัน เดอะริง (The Ring), สภามวยโลก (WBC), สมาคมมวยโลก (WBA), องค์กรมวยโลก (WBO) และ สหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) ดังต่อไปนี้",
"title": "รายนามนักมวยแชมป์โลกชาวไทย"
},
{
"docid": "77294#1",
"text": "สหพันธ์มวยนานาชาติ (, ตัวย่อ: IBF) สถาบันที่ดูแลและควบคุมการชกมวยสากลในระดับโลก สหพันธ์มวยนานาชาติได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2526 โดย นายโรเบิร์ต ดับเบิลยู. ลี อดีตประธานสมาคมมวยโลกชาวอเมริกัน สหพันธ์มวยนานาชาติได้รับความนิยมอย่างมากในวงการมวยสหรัฐอเมริกา ด้วยเพราะตัวสถาบันและประธานจะเป็นชาวอเมริกัน จึงให้การสนับสนุนนักมวยโดยเฉพาะนักมวยอเมริกันเป็นพิเศษ โดยมีสถาบันสมาคมมวยสหรัฐ (United State Boxing Association - USBA) อยู่ในสังกัดด้วย จึงมีนักมวยชาวอเมริกันเป็นแชมป์มากมาย แต่กระนั้น สหพันธ์มวยนานาชาติ ก็ได้รับการยอมรับว่าเป็น 1 ใน 3 สถาบันมวยระดับโลกเทียบเท่ากับสภามวยโลก (WBC) และสมาคมมวยโลก (WBA) ปัจจุบันมี นายดาริล เจ.พีเพิลส์ ชาวอเมริกันเป็นประธาน มีที่ตั้งอยู่ที่รัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา",
"title": "สหพันธ์มวยนานาชาติ"
},
{
"docid": "204021#1",
"text": "กัตส์เริ่มชกมวยสากลอาชีพเมื่อ พ.ศ. 2509 ในช่วงแรก เขาไม่ได้มีชื่อเสียงมากนัก จนกระทั่งมาได้เทรนเนอร์ชาวสหรัฐ เอ็ดดี้ ทาวน์เซนด์ ช่วยปรับปรุงการชกของเขาให้ดีขึ้น เขาขึ้นชิงแชมป์โลกครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2513 โดยแพ้น็อค อิสมาเอล ลากูนา จากปานามาในยกที่ 13 ชิงแชมปืโลกรุ่นไลท์เวทของสภามวยโลกและสมาคมมวยโลกไม่สำเร็จ ต่อมาใน พ.ศ. 2515 กัตส์ได้ครองแชมป์ OPBF รุ่นไลท์เวท ชนะคะแนน ซูนิชิ กาโดตะ ที่เคยชนะน็อคเขามาก่อนได้ ใน พ.ศ. 2516 เขาขึ้นชิงแชมป์โลกรุ่นไลท์เวทของสมาคมมวยโลก ปรากฏว่าแพ้น็อคโรเบอร์โต ดูรัน ยก 10",
"title": "กัตซ์ อิชิมะสึ"
},
{
"docid": "640167#0",
"text": "ต่อไปนี้เป็นรายนามนักมวยสากลชาวอินโดนีเซียที่ได้ครองแชมป์โลกเฉพาะสถาบันหลักคือ สมาคมมวยโลก (ดับเบิลยูบีเอ), สภามวยโลก (ดับเบิลยูบีซี), สหพันธ์มวยนานาชาติ (ไอบีเอฟ) และองค์กรมวยโลก (ดับเบิลยูโอ) ดังต่อไปนี้",
"title": "รายนามนักมวยแชมป์โลกชาวอินโดนีเซีย"
},
{
"docid": "75230#16",
"text": "โดยหน่วยงานที่กำกับดูแลการชกมวยสากลในประเทศญี่ปุ่น คือ คณะกรรมการมวยแห่งญี่ปุ่น (JBC) ที่ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2495 นับเป็นหน่วยงานที่ค่อนข้างเข้มงวดในเรื่องการดูแลสุขภาพและคุณภาพของนักมวยและการแข่งขัน โดยให้การยอมรับสถาบันมวยสากลเพียง 2 สถาบันเท่านั้น คือ สภามวยโลก (WBC) กับ สมาคมมวยโลก (WBA) เท่านั้น แม้จะมีนักมวยบางรายที่ขึ้นชกในรายการของสถาบันอื่น เช่น องค์กรมวยโลก (WBO), สหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) หรือสถาบันอื่น ๆ แต่นั่นก็มิได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการชุดนี้",
"title": "มวยสากล"
},
{
"docid": "77288#5",
"text": "สภามวยโลก เป็นสถาบันที่ให้มีแชมป์โลกเยาวชน สำหรับนักมวยที่มีอายุไม่เกิน 23 ปี และยังมีแชมป์เข็มขัดเงิน รวมถึงแชมป์เข็มขัดเพชร[4] โดยเริ่มในปี พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2553 สำหรับนักมวยที่ได้ครองแชมป์เหล่านี้จะยังไม่ใช่แชมป์โลก หากแต่มีสถานภาพเป็นเสมือนแชมป์เฉพาะกาล สำหรับรอการชิงแชมป์โลกตัวจริงต่อไป ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่แฟนมวยและสื่อมวลชนว่า ทำให้เกิดความสับสน เพราะทำให้ในแต่ละรุ่นมีแชมป์มากถึง 2-3 คน ทำให้การเป็นแชมป์โลกไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีคุณค่าเหมือนเมื่อก่อน ทั้งที่เดิมในอดีตสภามวยโลกก็มีแชมป์อินเตอร์เนชั่นแนล หรือแชมป์โลกเงา ซึ่งมีสิทธิ์ในการชิงแชมป์โลกได้อยู่แล้ว[5] (เช่นเดียวกับซูเปอร์แชมป์ ของสมาคมมวยโลก หรือ WBA[6]) [7] [8]",
"title": "สภามวยโลก"
},
{
"docid": "221131#3",
"text": "เลนเนิร์ดคว้าแชมป์โลกในรุ่นที่ 2 โดยการเอาชนะน็อกยก 9 อายุบ คาลูเล่ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1981 ได้เป็นแชมป์โลกรุ่นจูเนียร์มิดเดิลเวท ของสมาคมมวยโลก (WBA) แต่ไม่ได้ชกป้องกันตำแหน่งกับใครเลย เพราะเลนเนิร์ดต้องการที่จะชกกับ โธมัส เฮิร์นส์ อีกหนึ่งยอดนักชกที่กำลังมีฟอร์มร้อนแรงในขณะนั้น ซึ่งเฮิร์นส์เป็นเจ้าของแชมป์โลกเวลเตอร์เวท สมาคมมวยโลก จึงเป็นการล้มแชมป์เวลเตอร์สองสถาบัน ระหว่าง เลนเนิร์ด แชมป์ สภามวยโลก(WBC) สามารถชนะน็อกยก 14 เฮิร์นส์ได้ที่ซีซาร์ พาเลซ ลาสเวกัส ทำให้เลนเนิร์ดได้เป็นแชมป์โลกพร้อมกันถึง 2 สถาบัน จากนั้นเลนเนิร์ดก็ประกาศแขวนนวมไปเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982",
"title": "ชูการ์ เรย์ เลนเนิร์ด"
},
{
"docid": "77290#0",
"text": "สำหรับ WBA ความหมายอื่น ดูที่: สโมสรฟุตบอลเวสต์บรอมวิชอัลเบียน สมาคมมวยโลก (English: World Boxing Association, ตัวย่อ: WBA; Spanish: Asociación Mundial de Boxeo, ตัวย่อ: AMB) สถาบันที่ดูแลและควบคุมการชกมวยสากลในระดับโลก สมาคมมวยโลกก่อตั้งขึ้นในวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1962 โดยแยกตัวออกมาจากสถาบันสมาคมมวยแห่งชาติ (National Boxing Association - NBA) ของสหรัฐอเมริกา โดยกลุ่มผู้ร่วมก่อตั้งเป็นบุคคลในวงการมวยชาวอเมริกันและต่อมาจึงมีชาติในสมาชิกกลุ่มลาตินอเมริกาเข้าร่วมด้วยอีกหลายชาติ",
"title": "สมาคมมวยโลก"
},
{
"docid": "77290#5",
"text": "ในต้นปี ค.ศ. 2012 สมาคมมวยโลกได้ทำการคัดเลือกนักมวยที่เคยเป็นแชมป์โลกในแต่ละรุ่นของสถาบัน เพื่อที่หาผู้ที่เป็นสุดยอดแชมป์โลกจริง ๆ ซึ่งได้แก่[11]",
"title": "สมาคมมวยโลก"
},
{
"docid": "75995#0",
"text": "สตรอว์เวท () ชื่อน้ำหนักรุ่นมวยที่เล็กที่สุดในโลก โดยนักมวยผู้ที่จะชกในพิกัดนี้ ต้องมีน้ำหนักไม่เกิน 105 ปอนด์ (47.727 กิโลกรัม) ในสถาบันสภามวยโลก (WBC) จะเรียกรุ่นนี้ว่า สตรอว์เวท ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น มินิมั่มเวท (Minimumweight) ในปี ค.ศ. 2001 ในสถาบันสมาคมมวยโลก (WBA) เรียกว่า มินิมั่มเวท และสถาบันสหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) รวมถึงองค์กรมวยโลก (WBO) จะเรียกรุ่นนี้ว่า มินิฟลายเวท (Mini flyweight) และถ้าหากเป็นวงการมวยไทยและมวยสากลสมัครเล่น (มีเฉพาะซีเกมส์) จะเรียกรุ่นนี้ว่า พินเวท (Pinweight) ",
"title": "สตรอว์เวท"
},
{
"docid": "77290#3",
"text": "สมาคมมวยโลก เป็นสถาบันที่มีซูเปอร์แชมป์ โดยนักมวยที่เป็นซูเปอร์แชมป์นั้นจะเป็นแชมป์โลกที่ป้องกันตำแหน่งได้เกิน 5 ครั้ง จะถูกยกให้เป็นซูเปอร์แชมป์ ขณะที่แชมป์โลกตัวจริงในรุ่นนั้นก็จะว่างลง จึงต้องมีการชกเพื่อหาตัวผู้เป็นแชมป์ หรือแม้กระทั่งนักมวยที่ครองแชมป์โลกของสถาบันอื่นที่ได้รับการยอมรับในระดับเดียวกัน เช่น สภามวยโลก (WBC) หรือสหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) ก็อาจได้รับการสถาปนาให้เป็นซูเปอร์แชมป์ของสมาคมมวยโลกได้เช่นเดียวกัน โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นแชมป์ของสมาคมมวยโลกแต่อย่างใด[3]",
"title": "สมาคมมวยโลก"
},
{
"docid": "75230#14",
"text": "ต่อมาในคริสต์ทศวรรษที่ 1970 และคริสต์ทศวรรษ 1980 ต่อมาถึงคริสต์ทศวรรษ 1990 และจนถึงปัจจุบัน มีนักมวยญี่ปุ่นหลายรายได้เป็นแชมเปี้ยนโลก เช่น โยโกะ กูชิเก้น ซึ่งเป็นแชมป์โลกในรุ่นไลท์ฟลายเวทของสมาคมมวยโลก (WBA) เป็นนักมวยที่ป้องกันแชมป์ได้ 13 ครั้งนับว่าสูงสุดของวงการมวยญี่ปุ่นด้วย, จิโร วาตานาเบ้ ได้เป็นแชมป์โลกในรุ่นซูเปอร์ฟลายเวทถึง 2 สถาบัน, คัตสุย่า โอนิซูกะ แชมป์โลกในรุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวทของสมาคมมวยโลก และโจอิชิโร่ ทัตสุโยชิ แชมป์โลกในรุ่นแบนตั้มเวทของสภามวยโลก (WBC) 2 สมัย นับเป็นนักมวยที่สามารถเรียกผู้ชมในวัยรุ่นและกลุ่มคนที่ไม่ได้ชื่นชอบกีฬาประเภทนี้ให้มาสนใจขึ้นได้",
"title": "มวยสากล"
},
{
"docid": "80373#3",
"text": "สำหรับสถาบันสมาคมมวยโลก (WBA) เริ่มให้มีตำแหน่งแชมป์เฉพาะกาลในปี พ.ศ. 2541 และนักมวยไทยรายแรกที่ครองแชมป์นี้ของสมาคมมวยโลก คือ สงคราม ป.เปาอินทร์ โดยได้มาจากการชนะคะแนน รอนนี่ มากราโม่ นักมวยชาวฟิลิปปินส์ ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2542 ที่พัทยา",
"title": "แชมป์เฉพาะกาล"
},
{
"docid": "176476#1",
"text": "หลังจากนั้น อิโอกะเลื่อนขึ้นไปชกในรุ่นไลท์ฟลายเวท และเป็นฝ่ายคว้าแชมป์โลกของสมาคมมวยโลกมาครองได้ เมื่อเป็นฝ่ายชนะคะแนน ยูห์ เมียงวูได้อย่างพลิกความคาดหมาย ป้องกันแชมป์ไว้ได้สองครั้ง ก่อนจะเสียแชมป์คืนให้ยูห์ไปอีก หลังจากนั้น อิโอกะหวังสร้างประวัติศาสตร์เป็นแชมป์โลก 3 รุ่นของญี่ปุ่น โดยขึ้นมาชกในรุ่นฟลายเวท และชิงแชมป์โลกรุ่นฟลายเวทของสมาคมมวยโลกถึง 3 ครั้ง แต่ก็แพ้ให้เดวิด กรีแมน แสน ส.เพลินจิตและโฮเซ โบนินญาไป จากนั้น อิโอกะขึ้นไปชิงแชมป์โลกรุ่นซูเปอร์ฟลายเวทของสมาคมวยโลก แต่ก็แพ้คะแนนซาโตชิ อิดะอีก อิโอกะขึ้นชกมวยครั้งสุดท้ายเมื่อ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2541 แพ้น็อก มาซาโมริ โทกูยามะ ยก 5 จากนั้นก็แขวนนวมไป",
"title": "ฮิโรกิ อิโอกะ"
}
] |
2443 | ใครเป็นคนแรกที่แล่นเรือเพื่อมาสำรวจทวีปเอเชีย? | [
{
"docid": "274393#3",
"text": "นักเดินทางคนแรกในกลุ่มนี้ก็ได้แก่จิโอวานนิ ดา ปาน เดล คาร์ปิเน (Giovanni da Pian del Carpine) จากอุมเบรียผู้เดินทางไปยังมองโกเลียระหว่างปี ค.ศ. 1241 ถึงปี ค.ศ. 1247[2] แต่นักเดินทางคนสำคัญที่สุดและมีชื่อที่สุดก็เห็นจะเป็นมาร์โค โปโลผู้บันทึกการเดินทางของการสำรวจไปทั่วเอเชียตั้งแต่ ค.ศ. 1271 จนถึง ค.ศ. 1295 และบรรยายว่าได้มีโอกาสเข้าไปในราชสำนักของราชวงศ์หยวนของกุบไล ข่าน การเดินทางของมาร์โค โปโลบันทึกในหนังสือชื่อ “บันทึกการเดินทาง” ซึ่งเป็นหนังสือที่แพร่หลายและอ่านกันไปทั่วยุโรป ในปี ค.ศ. 1439 นิคโคโล เด คอนติ (Niccolò de' Conti) ก็พิมพ์บันทึกการเดินทางไปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างปี ค.ศ. 1466 ถึงปี ค.ศ. 1472 พ่อค้าชาวรัสเซียอฟานาซิ นิคิติน (Afanasy Nikitin) ก็เดินทางไปอินเดียและเขียนบรรยายไว้ในหนังสือ “การเดินทางเลยไปจากสามทะเล” (A Journey Beyond the Three Seas)",
"title": "ยุคแห่งการสำรวจ"
}
] | [
{
"docid": "851047#4",
"text": "นักสำรวจชาวกรีกจากมาร์แซย์ ไพเธียส (380 – ประมาณ 310 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นคนแรกที่แล่นเรือไปถึงเกรตบริเตน สำรวจเยอรมนี และค้นพบทัวเล (โดยทั่วไปส่วนใหญ่คาดว่าเป็นหมู่เกาะเชตแลนด์หรือไอซ์แลนด์)",
"title": "การสำรวจ"
},
{
"docid": "512439#1",
"text": "บาร์ตูลูเมว ดีอัชเป็นอัศวินแห่งราชสำนัก และต้นหนเรือรบเซากริชตอเวา (นักบุญคริสโตเฟอร์) พระเจ้าจอห์นที่ 2 แห่งโปรตุเกสทรงแต่งตั้งให้เขานำคณะสำรวจแล่นรอบใต้สุดของทวีปแอฟริกาด้วยหวังจะพบเส้นทางการค้าสู่อินเดีย เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1487 เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1488 เขาแล่นเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮป และแล่นเรือต่อไปทางตะวันออก และเข้าเขตน่านน้ำที่ปัจจุบันคืออ่าวมอสเซล",
"title": "บาร์ตูลูเมว ดีอัช"
},
{
"docid": "8775#0",
"text": "วัชกู ดา กามา (; ประมาณ พ.ศ. 2003-2068) เป็นนักเดินเรือสำรวจชาวโปรตุเกส เกิดที่เมืองซีนึช แคว้นอาเลงเตฌู ประเทศโปรตุเกส สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการค้บพบเส้นทางการเดินเรือจากยุโรปสู่อินเดียระหว่างปี พ.ศ. 2040-2042 โดยแล่นเรือตรงจากกรุงลิสบอน ไปถึงชายฝั่งมะละบาร์ ตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย โดยแล่นเรืออ้อมผ่านแหลมกู๊ดโฮป ทางตอนใต้ของแอฟริกาซึ่งบาร์ตูลูเมว ดีอัช (Bartolomeu Dias) เป็นผู้ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2031",
"title": "วัชกู ดา กามา"
},
{
"docid": "382596#1",
"text": "ครอบครัวโคฟแนนต์ซึ่งประกอบด้วยพ่อ แม่ และลูกฝาแฝดชื่อ เจสัน กับ จูเลีย ย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองคิลมอร์โคฟ ในคฤหาสน์บนหน้าผาชื่ออาร์โก มีคนดูแลบ้านชราชื่อเนสเตอร์ เมื่อพ่อแม่ต้องไปลอนดอนเพื่อธุระ เจสันกับจูเลีย ได้รู้จักกับริก แบนเนอร์ ทั้งสามได้สำรวจคฤหาสน์และพบประตูที่เปิดไม่ได้กับข้อความลับที่แปลไม่ออกในร่องหน้าผา อีกทั้งเรื่องราวอันเป็นปริศนาของยูลิสซิส มัวร์ เจ้าของคนก่อน กับท่าทางลับลมคมในของเนสเตอร์ และโอบลิเวีย นิวตัน กับมานเฟร็ด ผู้ซึ่งอยากได้คฤหาสน์อาร์โก ในที่สุดทั้งสามสามารถเปิดประตูนั้นได้ด้วยกุญแจรูปสัตว์สี่ดอก เข้าไปยังถ้ำที่มีเรือจอดอยู่ซึ่งไม่สามารถขยับได้จนกระทั่งเจสันนึกแดนดินที่ต้องไป เรือจึงแล่นออกไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งก็คืออียิปต์ ขณะเดียวกันโอบลิเวีย นิวตันได้เปิดประตูแบบเดียวกันกับในคฤหาสน์ด้วยกุญแจรูปสัตว์ เมื่อเด็กมาถึงอียิปต์ก็ตระหนักถึงการผญจภัยซึ่งเพิ่งเริ่มต้นและปริศนามากมาย ใครคือยูลิสซิส มัวร์ เนสเตอร์กุมความลับอะไรไว้ สิ่งที่โอบลิเวีย นิวตันต้องการคืออะไร ประตูกับกุญแจรูปสัตว์ที่แท้จริงคืออะไร ติดตามได้ใน\"ยูลิสซิส มัวร์ ประตูสู่กาลเวลา\"",
"title": "ยูลิสซิส มัวร์"
},
{
"docid": "478666#2",
"text": "โดยเค้าและลูกเรือหันไปเป็นโจรสลัดออกปล้นเรือของสเปนและฝรั่งเศสจำนวนมากในขณะที่แจ็กรอยื่นเรื่องขออภัยโทษ\nจากกษัตร์ เค้าแล่นเรือไปที่ชายฝั่ง New Providenceและพบรักกับ แอนบอนนี่ซึ้งแจ็คคิดจะพาเธอขึ้นเรือไปด้วย\nแต่กฎของเรือโจรสลัดห้ามผู้หญิงขึ้นเรือแจ็คจึงให้แอนปลอมเป็นชายและให้เป็นคนสนิทของเค้าโดยที่คนบนเรือ\nไม่มีใครรู้ความจริง แจ็คสร้างวีรกรรมไว้มากมายและต้องปะทะกับเรือ บาฮามัสที่ร้ายกาจและต้องสูญเสียเรือไป\nแต่แจ็คหนีไปได้แต่เรือของสเปนก็ตามมาติดๆไม่นานแจ็คก็ถูกจับโดย นักล่าโจรสลัดกัปตัน บาเนท (Captain Barnet)",
"title": "คาลิโก แจ็ก"
},
{
"docid": "623202#1",
"text": "เริ่มขึ้นในปีค.ศ. 1492 เมื่อสเปนที่มีหัวหน้าคือคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสได้ค้นพบ“โลกใหม่” ซึ่งก็คือทวีปอเมริกา ในปี ค.ศ. 1500 นักเดินเรือชาวโปรตุเกสเปดรู อัลวาเรซ กาบรัลก็เดินทางไปสำรวจดินแดนในอเมริกาใต้ที่ปัจจุบันเรียกว่าบราซิล การเลี่ยงเส้นทางที่ไม่ให้ทับกันระหว่างสองมหาอำนาจนี้เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งระหว่างสองราชอาณาจักร ในที่สุดพระสันตะปาปาก็เข้ามาแก้ไขปัญหาในปี ค.ศ. 1494 ในข้อตกลงในสนธิสัญญาทอร์เดสซิลลาส (Treaty of Tordesillas) ที่แบ่งโลกระหว่างสองมหาอำนาจ โปรตุเกส “ได้รับ” ทุกอย่างนอกยุโรปทางตะวันออกของเส้นที่แล่น 270 ลีก (League) ทางตะวันตกของหมู่เกาะแหลมแวร์เดที่ทำให้โปรตุเกสมมีอิทธิพลในการควบคุมแอฟริกา, เอเชีย และทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกา (บราซิล) ส่วนสเปนได้ทุกอย่างทางตะวันตกของเส้นแบ่งที่ระบุ ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงเป็นดินแดนที่ยังไม่ได้รับการสำรวจที่มารู้จักกันต่อมาว่าเป็นทางเด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก",
"title": "การทำให้เป็นอาณานิคมของยุโรปในทวีปอเมริกา"
},
{
"docid": "131346#5",
"text": "อังกฤษไม่พยายามก่อตั้งอาณานิคมอีกในทวีปอเมริกาเรื่อยมาจนรัชกาลพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ในช่วงทศวรรษสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ขณะเดียวกันการปฏิรูปโปรแตสแตนต์ทำให้อังกฤษกับสเปนที่นับถือนิกายคาทอลิกเป็นศัตรูกัน ใน ค.ศ. 1562 พระมหากษัตริย์อังกฤษทรงส่งเสริมให้นักเดินเรือส่วนตัว (prirateer) จอห์น ฮอว์กินส์และฟรานซิส เดรก โจมตีปล้นทาสตามเรือสเปนและโปรตุเกสซึ่งแล่นจากชายฝั่งแอฟริกาตะวันตก มีเป้าหมายเพื่อทำลายระบบการค้าแอตแลนติก ความพยายามดังกล่าวถูกหยุดยั้ง และเมื่อสงครามอังกฤษ-สเปนทวีความรุนแรงขึ้น พระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ทรงอนุญาตให้ขยายโจมตีแบบโจรสลัดไปถึงเมืองท่าของสเปนในทวีปอเมริกาและการเดินเรือที่แล่นข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกกลับมา ซึ่งเรือนี้เต็มไปด้วยทรัพย์สมบัติซึ่งขนกลับจากโลกใหม่ ขณะเดียวกัน นักเขียนที่มีอิทธิพล อาทิ ริชาร์ด ฮัคลุยต์ และจอห์น ดี (เป็นคนแรกที่ใช้คำว่า \"จักรวรรดิบริติช\") กำลังเริ่มผลักดันให้มีการก่อตั้งจักรวรรดิของอังกฤษเอง จนถึงเวลานี้ สเปนเป็นชาติที่ครอบงำในทวีปอเมริกาและกำลังสำรวจมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนโปรตุเกสสร้างสถานีการค้าและค่ายทหารตั้งแต่ชายฝั่งทวีปแอฟริกาและบราซิลจนถึงจีน และฝรั่งเศสเริ่มตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์ ที่ต่อมากลายเป็นอาณานิคมนิวฟรานซ์",
"title": "จักรวรรดิบริติช"
},
{
"docid": "274393#17",
"text": "โครงการการสำรวจแรกของยุโรปเหนือในปี ค.ศ. 1497 เป็นโครงการของอังกฤษที่นำโดยชาวอิตาลี, จอห์น แค็บบอท (จิโอวานนิ คาโบโต) ซึ่งเป็นโครงการที่ตามมาด้วยโครงการอื่นอีกหลายโครงการของฝรั่งเศสและอังกฤษในการสำรวจอเมริกาเหนือ สเปนพยายามดำเนินการสำรวจทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาอยู่บ้างแต่ก็ไม่มีกำลังคนพอ เพราะกำลังคนและงบประมาณส่วนใหญ่ไปมุ่งอยู่กับการสำรวจตอนกลางและตอนใต้ของทวีปอเมริกาที่สเปนทราบอยู่แล้วว่าเป็นขุมทอง ในปี ค.ศ. 1524 จิโอวานนิ ดา แวร์ราซซาโน (Giovanni da Verrazzano) กลายเป็นชาวยุโรปคนแรกที่เดินทางไปถึงฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาปัจจุบัน การเดินทางสำรวจของแค็บบอท, ฌาก การ์ตีเย (การสำรวจครั้งแรก ค.ศ. 1534) และนักสำรวจอื่นๆ เป็นการสำรวจที่มีจุดประสงค์ในการแสวงหาช่องทางตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest Passage) ในการใช้เป็นเส้นทางการค้ากับเอเชีย และช่องทางที่ว่าก็ไม่เป็นที่พบ แต่การเดินทางก็ทำให้พบสิ่งอื่นๆ และในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 นักล่าอาณานิคมจากหลายประเทศจากทางตอนเหนือของยุโรปก็เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานทางฝั่งทะเลทางตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ",
"title": "ยุคแห่งการสำรวจ"
},
{
"docid": "538499#8",
"text": "ช่วงปี 1875 โทโงได้แล่นเรือเป็นระยะทางกว่ารอบโลกในฐานะลูกเรือสามัญประจำเรือฝึกหัด\"แฮมป์เชอร์\" ของอังกฤษ ออกเรือในเดือนกุมภาพันธ์ และแล่นโดยไม่ได้แวะจอดเป็นระยะเวลา 70 วันจนเทียบท่าที่เมลเบิร์น ในออสเตรเลีย ระหว่างเดินเรือ เขาต้องรับประทานเพียงเนื้อสัตว์โรยเกลือและขนมปังกรอบ เขาพบสัตว์ประหลาดมากมายที่ทวีปออสเตรเลีย รวมระยะทางที่แล่นไป-กลับกว่าสามหมื่นไมล์ทะเล",
"title": "โทโง เฮฮาจิโร"
},
{
"docid": "3902#2",
"text": "แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ตั้งแต่ยุคโบราณ แอนตาร์กติกาถูกระบุว่าเป็นดินแดนสุดท้ายบนโลกในประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบเพราะไม่มีใครเคยพบเลยจนกระทั่ง พ.ศ. 2363 นักสำรวจชาวรัสเซียเฟเบียน ก็อทลีป ฟอน เบลลิ่งเชาเซนและมิคาอิล ลาซาเรฟที่อยู่บนเรือสลุบ<i data-parsoid='{\"dsr\":[3283,3293,2,2]}'>วอสตอคและเรือสลุบ<i data-parsoid='{\"dsr\":[3329,3342,2,2]}'>เมอร์นีย์ได้สังเกตเห็นหิ้งน้ำแข็งฟิมโบลแต่ก็ไม่ได้สนใจเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตรต่อมนุษย์ ขาดแคลนทรัพยากรในการสำรวจและความห่างไกลของพื้นที่ พ.ศ. 2438 ทีมสำรวจชาวนอร์เวย์ได้รับการยืนยันการมาเยือนดินแดนแห่งนี้เป็นครั้งแรก",
"title": "ทวีปแอนตาร์กติกา"
},
{
"docid": "274393#11",
"text": "โคลัมบัสมิได้พบเส้นทางไปยังเอเชียแต่ไปพบดินแดนที่ชาวยุโรปมาเรียกกันว่า “โลกใหม่” ซึ่งก็คือทวีปอเมริกา ในปี ค.ศ. 1500 นักเดินเรือชาวโปรตุเกสเปดรู อัลวาเรซ กาบรัลก็เดินทางไปสำรวจดินแดนในอเมริกาใต้ที่ปัจจุบันเรียกว่าบราซิล การเลี่ยงเส้นทางที่ไม่ให้ทับกันระหว่างสองมหาอำนาจนี้เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งระหว่างสองราชอาณาจักร[10] ในที่สุดพระสันตะปาปาก็เข้ามาแก้ไขปัญหาในปี ค.ศ. 1494 ในข้อตกลงในสนธิสัญญาทอร์เดสซิลลาส (Treaty of Tordesillas) ที่แบ่งโลกระหว่างสองมหาอำนาจ โปรตุเกส “ได้รับ” ทุกอย่างนอกยุโรปทางตะวันออกของเส้นที่แล่น 270 ลีก (League) ทางตะวันตกของหมู่เกาะแหลมแวร์เดที่ทำให้โปรตุเกสมมีอิทธิพลในการควบคุมแอฟริกา, เอเชีย และทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกา (บราซิล) ส่วนสเปนได้ทุกอย่างทางตะวันตกของเส้นแบ่งที่ระบุ ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงเป็นดินแดนที่ยังไม่ได้รับการสำรวจที่มารู้จักกันต่อมาว่าเป็นทางเด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก",
"title": "ยุคแห่งการสำรวจ"
},
{
"docid": "851047#24",
"text": "ไวทัส เบริง (ค.ศ. 1681–1741) ผู้ได้รับการว่าจ้างจากกองทัพเรือรัสเซีย ได้สำรวจช่องแคบเบริง ทะเลเบริง ชายฝั่งอเมริกาเหนือของอะแลสกา และบางพื้นที่ทางตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก เจมส์ คุก ผู้สำรวจชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย หมู่เกาะฮาวาย และแล่นเรือสำรวจทวีปแอนตาร์กติก",
"title": "การสำรวจ"
},
{
"docid": "345747#2",
"text": "ต้นกำเนิดของกองทัพเรือญี่ปุ่นสามารถสืบย้อนไปถึงตอนต้นของการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในทวีปเอเชีย เริ่มต้นในตอนต้นของยุคกลางและไปถึงจุดสูงสุดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 ในช่วงเวลาของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับมหาอำนาจในทวีปยุโรปในระหว่างยุคแห่งการสำรวจ ผ่านไปสองศตวรรษแห่งความซบเซาระหว่างนโยบายสันโดษภายในใต้โชกุนแห่งยุคเอะโดะ กองทัพเรือญี่ปุ่นถูกเปรียบเทียบกับเมื่อในอดีตเมื่อประเทศถูกบังคับให้เปิดการค้าโดยการแทรกแซงของอเมริกาในปี ค.ศ. 1854 เหตุการณ์นี้นำไปสู่การปฏิรูปสมัยเมจิ ประกอบกับการกลับมาสืบเชื้อสายจักรพรรดิ์ในยุคใหม่ที่เรืองรองและการปรับให้สู่อุตสาหกรรม กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นจึงเกิดขึ้น บางช่วงเวลาก็มีการสู้รบบ้างเช่นใน สงครามจีน-ญี่ปุ่นและสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น และท้ายสุดโดนทำลายล้างเกือบทั้งหมดโดยกองทัพเรือสหรัฐ (USN) ในช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง",
"title": "กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น"
},
{
"docid": "96749#3",
"text": "เออาเรนดิลสร้างเรือวิงกิล็อท (Vingilot) ด้วยความช่วยเหลือของเคียร์ดัน เขามักแล่นเรือไปสำรวจดินแดนต่างๆ ในทะเล ครั้งหนึ่งระหว่างที่เขาแล่นเรือออกไป บุตรแห่งเฟอานอร์ยกทัพมาโจมตีเมืองท่าแห่งซิริออน ด้วยต้องการจะชิงซิลมาริล ซึ่งเอลวิงได้รับสืบทอดต่อมาจากลูธิเอน การศึกครั้งนี้ได้ชื่อว่าเป็นสงครามประหัตประหารญาติ ครั้งที่สาม เมืองท่าซิริออนถูกตีแตก เอลวิงสวมซิลมาริลไว้ที่คอแล้วกระโจนลงทะเล ส่วนเอลรอสและเอลรอนด์ที่ยังเด็กถูกจับตัวไป แต่มากลอร์ โอรสองค์ที่สองของเฟอานอร์ เมตตาสงสารเลี้ยงดูเด็กทั้งสองไว้",
"title": "เออาเรนดิล"
},
{
"docid": "512439#0",
"text": "บาร์ตูลูเมว ดีอัช (; ประมาณ 1451 – 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1500) ขุนนางแห่งราชสำนักโปรตุเกส เป็นนักสำรวจชาวโปรตุเกส เขาแล่นเรือไปถึงแหลมใต้สุดของแอฟริกาในปี ค.ศ. 1488 เป็นชาวยุโรปคนแรกที่ทราบว่าทำสำเร็จ แล้วได้ตั้งชื่อว่า \"แหลมพายุ\"",
"title": "บาร์ตูลูเมว ดีอัช"
},
{
"docid": "258109#20",
"text": "เมื่อมาถึงช่วงเวลานี้โปรตุเกสก็มีอำนาจควบคุมเส้นทางการค้าทางทะเลของแอฟริกาทั้งหมด ซึ่งถ้าสเปนต้องการจะมีอำนาจพอที่จะแข่งขันกับโปรตุเกสได้ก็ต้องพยายามหาเส้นใหม่ ความพยายามครั้งแรกนำโดยคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสแต่แทนที่จะพบเส้นทางไปเอเชียกลับไปพบทวีปอเมริกา แต่ในที่สุดสเปนก็ประสบความสำเร็จเมื่อเฟอร์ดินานด์ มาเจลลันข้ามช่องแคบมาเจลลันเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1520 ซึ่งเป็นการเปิดฝั่งทะเลทางด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาเพื่อการสำรวจ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1521 กองเรือของมาเจลลันก็เดินทางไปถึงฟิลิปปินส์ หลังจากนั้นก็ถึงหมู่เกาะเครื่องเทศ ซึ่งเท่ากับเป็นการก่อตั้งเส้นทางการค้าไปทางตะวันตกไปยังเอเชียเป็นครั้งแรก เมื่อเรือลำสุดท้ายของกองเรือกลับมาถึงสเปนในปี ค.ศ. 1522 ผู้ที่รอดชีวิตมาได้คือกลุ่มคนกลุ่มแรกที่เดินทางรอบโลกสำเร็จ",
"title": "การค้าเครื่องเทศ"
},
{
"docid": "474482#1",
"text": "ทะเลจีนใต้เป็นดินแดนลี้ลับที่ไม่ได้รับการสำรวจ เรือที่ผ่านไปมาบริเวณนี้มักหายไปอย่างไร้ร่องรอยอยู่บ่อย ๆ ท่ามกลางพายุที่โหมซัด พินนิแกน กัปตันเรือรับจ้างต้องพาคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่ทราบที่มาที่ไป นำโดย ฮันโนเวอร์ ไปยังจุด ๆ หนึ่ง ซึ่งเป็นเรือสำราญลำใหญ่ที่เพิ่งออกแล่นทะเลเป็นครั้งแรก ฮันโนเวอร์ หัวหน้าได้แสดงตัวว่าต้องการปล้นเรือ ด้วยหัวรบนิวเคลียร์ และได้บังคับพินนิแกนพร้อมกับลูกเรือทั้งหมดให้ทำตาม",
"title": "เลื้อยทะลวง 20,000 โยชน์"
},
{
"docid": "851047#20",
"text": "ดีโอโก้ เคา (ประมาณ ค.ศ. 1452-1486) ผู้ค้นพบและล่องแม่น้ำคองโกและไปถึงชายฝั่งบริเวณที่เป็นที่ตั้งของแองโกลาและนามิเบียในปัจจุบัน บาร์ตูลูเมว ดีอัช (ประมาณ ค.ศ. 1450-1500) ชาวยุโรปคนแรกที่ไปถึงแหลมกู๊ดโฮปและส่วนอื่น ๆ ของชายฝั่งแอฟริกาใต้ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (ค.ศ. 1451–1506) ผู้นำคณะสำรวจชาวคาสตีล (สเปน) ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกและค้นพบทวีปอเมริกา วัชกู ดา กามา (ค.ศ. 1460-1524) นักเดินเรือผู้เริ่มค้นการเดินทางจากยุโรปไปยังอินเดียและกลับโดยอ้อมแหลมกู๊ดโฮปและค้นพบเส้นทางเดินเรือไปยังตะวันออก เปดรู อัลวารึช กาบรัล (ประมาณ ค.ศ. 1467/68-1520) ผู้ตามรอยเส้นทางของกามา อ้างสิทธิ์ในบราซิล และเป็นผู้นำคณะสำรวจคณะคนแรกที่เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างยุโรป แอฟริกา อเมริกา และเอเชีย ดีโอโก้ ไดแอส ผู้ค้นพบชายฝั่งตะวันออกของมาดากัสการ์และเดินทางล้อมรอบทวีปแอฟริกา เฟอร์นานเดส เปเรย์รา และเปโดร มาสคาเรนฮาส (ค.ศ. 1470–1555) ผู้ค้นพบและทำแผนที่หมู่เกาะมัสคารีนและหมู่เกาะอื่น ๆ แอนโตนิโอ เดอ อับเรอู (ประมาณ ค.ศ. 1480–1514) และ ฟรันซิสโก เซเฮา (ค.ศ. 14?–1521) ผู้นำกองเรือรบยุโรปไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกทางฝั่งตะวันตกเป็นครั้งแรก ผ่านหมู่เกาะซุนดาจนถึงหมู่เกาะโมลุกกะ ควน ปอนเซ เด เลออน (ค.ศ. 1474-1521) ผู้ค้นพบและจัดทำแผนที่ชายฝั่งฟลอริด้า วัชกู นูเนซ เดอ โบอา (ประมาณ ค.ศ. 1475-1519) ชาวยุโรปคนแรกที่ได้เห็นมหาสมุทรแปซิฟิกจากฝั่งอเมริกา (หลังจากข้ามคอคอดปานามา) และยืนยันว่าอเมริกาเป็นทวีปที่แยกจากเอเชีย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน (ค.ศ. 1480-1521) นักเดินเรือคนแรกที่เดินทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก ค้นพบช่องแคบมาเจลลัน ตูอาโมตัส และหมู่เกาะมาเรียนา ซึ่งได้เดินเรือรอบโลกเกือบสมบูรณ์ในการเดินทางหลายครั้งเป็นครั้งแรก ควน เซบาสเตียน เด เอลกาโน่ (ค.ศ. 1476-1526) เป็นคนแรกที่เดินเรือรอบโลกได้สำเร็จ อเลโซ การ์เซีย (ค.ศ. 14? -1527) ผู้สำรวจพื้นที่ในปัจจุบันของบราซิลตอนใต้ ปารากวัย และโบลิเวีย ข้ามกราน ชาโกไปถึงเทือกเขาแอนดีส (ใกล้ซูเกร) จอร์จ เดอ เมเนเซส (ค. ศ. 1498-?) ผู้ค้นพบปาปัวนิวกีนี การ์เซีย โชฟรี เดอ โลไอซา (ค.ศ. 1490-1526) ผู้ค้นพบหมู่เกาะมาร์แชลล์ อัลวาร์ นูเนซ คาเบซา เดอ วาคา (ค.ศ. 1490-1558) ผู้ค้นพบแม่น้ำมิสซิสซิปปีและเป็นชาวยุโรปคนแรกที่แล่นเรือไปยังอ่าวเม็กซิโกและข้ามเท็กซัส ฌัก การ์ตีเย (ค.ศ. 1491-1557) ผู้วาดแผนที่ของภาคกลางและทะเลของแคนาดาเป็นคนแรก อันเดรส เดอ อูร์ดาเนตา (ค.ศ. 1498-1568) ผู้ค้นพบเส้นทางการเดินเรือจากเอเชียไปยังอเมริกา ฟรันซิสโก วาซเกซ เดอ โคโรนาโด (ค.ศ. 1510-1454) ผู้ค้นพบแกรนด์แคนยอนและแม่น้ำโคโลราโด ฟรันซิสโก เดอ โอเรลยานา (ค.ศ. 1511-1546) ชาวยุโรปคนแรกที่ล่องไปตามความยาวของแม่น้ำอเมซอน",
"title": "การสำรวจ"
},
{
"docid": "851047#2",
"text": "ชาวฟินิเชีย (1,550 - 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ทำการค้าขายทั่วทะเลเมดิเตอเรเนียนและเอเชียไมเนอร์แม้ว่าเส้นทางค้าขายจำนวนมากยังคงไม่ปรากฏจนถึงทุกวันนี้ การมีอยู่ของดีบุกในสิ่งประดิษฐ์บางอย่างของชาวฟินิเชียแสดงให้เห็นว่าพวกเขาอาจเดินทางไปถึงบริเตน ตามที่มหากาพย์อีนีอิดของเวอร์จิลและหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ ราชินีในตำนานไดโดซึ่งเป็นชาวฟินิเชียจากไทร์ได้แล่นเรือไปยังแอฟริกาเหนือและก่อตั้งเมืองคาร์เธจ",
"title": "การสำรวจ"
},
{
"docid": "131346#4",
"text": "มีการวางรากฐานจักรวรรดิบริติชตั้งแต่อังกฤษและสกอตแลนด์ยังเป็นราชอาณาจักรแยกกัน ใน ค.ศ. 1496 หลังโปรตุเกสและสเปนประสบความสำเร็จในการสำรวจโพ้นทะเล พระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษทรงแต่งตั้งให้จอห์น คาบ็อตนำการเดินทางทางเรือเพื่อสำรวจหาเส้นทางไปทวีปเอเชียผ่านทางมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ต่อมาใน ค.ศ. 1497 ห้าปีหลังการค้นพบทวีปอเมริกา คาบ็อตแล่นเรือจากอังกฤษ และแม้เขาขึ้นฝั่งเกาะนิวฟันด์แลนด์ได้สำเร็จ (ซึ่งเข้าใจผิดว่าเขาได้ถึงทวีปเอเชียแล้ว เช่นเดียวกับคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส) แต่ไม่มีความพยายามตั้งอาณานิคม คาบ็อตนำการเดินทางด้วยเรือไปทวีปอเมริกาอีกครั้งในปีต่อมา แต่ไม่มีผู้ทราบข่าวจากเรือของเขาอีกเลย",
"title": "จักรวรรดิบริติช"
},
{
"docid": "12943#1",
"text": "ไม่มีใครทราบที่มาของการ์ตีเยในช่วงวัยเด็กของเขา ทราบเพียงว่าในปี พ.ศ. 2063 (ค.ศ. 1520) เขาสมรสกับคัทรีน บุตรสาวของฌัก เดอ กร็องฌ์ แม่ทัพแห่งเมืองแซ็ง-มาโล ซึ่งเป็นการสมรสที่ยกระดับทางสังคมของเขาขึ้นมาเป็นอย่างมาก นักประวัติศาสตร์บางคนได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่าเขาอาจจะได้เดินทางไปยังเมืองแตร์-เนิฟ ร่วมกับเรือประมง เนื่องจากดินแดนแถบนั้นเป็นที่รู้จักอย่างดีในหมู่ชาวประมงจากแคว้นบาสก์และเบรอตาญ ส่วนนักประวัติศาสตร์อีกส่วนหนึ่งได้จินตนาการว่าเขาได้ทำหน้าที่ล่ามในหลายโอกาสหลังจากเกษียณอายุแล้ว จากข้อมูลที่ว่าการ์ตีเยรู้ภาษาโปรตุเกสเป็นอย่างดี และจากบันทึกการเดินทางของเขาที่มักเปรียบเทียบชาวเผ่าอินเดียนแดงจากดินแดนนิวฟรานซ์ในทวีปอเมริกาเหนือกับชาวบราซิล ทำให้เขาได้มีโอกาสเดินเรือพร้อมกับโจวันนี แวรัซซาโนในการเดินทางสำรวจชายฝั่งประเทศบราซิลครั้งหนึ่ง ซึ่งอันที่จริงแล้ว แวรัซซาโนไม่เคยไปสำรวจชายฝั่งของบราซิล แต่หากเป็นชายฝั่งของทวีปอเมริกาเหนือ การ์ตีเยเป็นผู้คนพบนูแวลอ็องกูแลม (ส่วนหนึ่งของรัฐนิวยอร์ก) เป็นคนแรก ในปี พ.ศ. 2075 (ค.ศ. 1532) เขาได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระเจ้าฟรองซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส โดยการแนะนำของชอง เลอ เวอเนอร์ บาทหลวงแห่งมง-แซ็ง-มีแชล ต่อมาไม่นาน พระเจ้าแผ่นดินก็ได้เลือกให้เขาเป็นผู้ออกเดินทางสำรวจ \"\"เกาะและดินแดนบางแห่ง ที่เราน่าจะพบทองคำจำนวนมากและสิ่งของมีค่าอื่น ๆ\"\" เขาได้เดินทางไปยังทวีปอเมริกาเหนือสามครั้ง ระหว่างปีพ.ศ. 2077 และ พ.ศ. 2085 โดยหวังว่าจะได้พบเส้นทางสายตะวันตกเฉียงเหนือไปยังทวีปเอเชีย",
"title": "ฌัก การ์ตีเย"
},
{
"docid": "858702#13",
"text": "เรือส่วนใหญ่ในยุคโบราณนั้นไม่ได้ท่องออกไปในมหาสมุทรแต่จะแล่นไปแค่ชายฝั่งในบริเวณนั้นจึงทำให้มันเป็นเรื่องที่ไม่แปลกถ้าคนสมัยนั้นจะเรียกชายฝั่งบริเวณใกล้เคียงนั้นว่าทวีป จนกระทั่งเฮอรอโดทัสได้เริ่มสร้างแผ่นที่ในยุคโบราณขึ้นโดยมีการเรียกทวีปเอเชียว่า \"bluffs\" และ \"shores\" และมีการวาดแผนที่ซึ่งพอเป็นที่รู้จักโดยเริ่มจากเมือง Phasis ของอาณาจักร Colchis ซึ่งเป็นประเทศจอร์เจียในปัจจุบัน แล้วค่อยๆไล่ไปตามทะเลดำและก็ไล่ไปจนถึงอานาโตเลียไปถึงฟินิเชียและไปถึงทะเลPhoenicia (คือทะเลแดงร่วมกับอ่าวเปอร์เซียและมหาสมุทรอินเดีย) ไปจนถึงอินเดีย (ซึ่งในสมัยนั้นอินเดียยังเป็นดินแดนที่ยังไม่มีคนรู้จัก)",
"title": "ภูมิศาสตร์เอเชีย"
},
{
"docid": "851047#15",
"text": "ช่วงประมาณ ค.ศ. 800 - 1,040 ชาวไวกิงสำรวจยุโรปและฝั่งตะวันตกของซีกโลกเหนือผ่านแม่น้ำและมหาสมุทร ตัวอย่างเช่น เป็นที่ทราบว่าเอริกเดอะเรด (ค.ศ. 950 – 1003) นักสำรวจชาวไวกิงนอร์เวย์ แล่นเรือและตั้งถิ่นฐานที่กรีนแลนด์หลังจากถูกเนรเทศจากไอซ์แลนด์ ขณะที่ลูกชายของเขา เลฟ เอริกสัน นักสำรวจชาวไอซ์แลนด์ (ค.ศ. 980 – 1020) มาถึงนิวฟันด์แลนด์และชายฝั่งอเมริกาเหนือที่อยู่ใกล้เคียง และเชื่อว่าน่าจะเป็นชาวยุโรปคนแรกที่มาถึงแผ่นดินในทวีปอเมริกาเหนือ",
"title": "การสำรวจ"
},
{
"docid": "823#19",
"text": "หลังมาถึงหมู่เกาะฮาวายในปี 1778 กัปตันคุกแล่นเรือขึ้นเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อสำรวจฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือซึ่งอยู่เหนือกว่านิคมสเปนในอัลตาแคลิฟอร์เนีย เขาขึ้นบกที่ฝั่งออริกอนที่ประมาณละติจูด 44°30′ เหนือ โดยตั้งชื่อจุดขึ้นบกนั้นว่า เคปเฟาล์เวเทอร์ ลมฟ้าอากาศเลวบังคับให้เรือของเขาลงใต้ไปประมาณ 43° เหนือก่อนสามารถเริ่มการสำรวจชายฝั่งไปทางเหนือ[68] ในเดือนมีนาคม 1778 คุกขึ้นบกที่เกาะไบล และตั้งชื่อทางเข้าว่า \"คิงจอจส์ซาวด์\" เขาบันทึกว่าชื่อชนพื้นเมือง คือ นุตคาหรือนูตคา[69]",
"title": "สหรัฐ"
},
{
"docid": "25289#2",
"text": "ลักษณะเรือส่วนใหญ่ เป็นเรือมีเสาใบเรือ 2 เสา ใช้ ลมและ พาย เคลื่อนที่ ทำให้เรือในสมัยนี้แล่นด้วยความเร็วสูงและสามารถแล่นได้ทั้งน้ำตื้นและลึก มักทำหัวเรือให้แหลม ซึ่งสามารถพายไปเจาะเรือตรงข้ามได้และทหารเรือก็จะรีบข้ามไปอีกฝั่งของศัตรูหรือไม่ก็ใช้ธนู เพื่อโจมตี เมื่อกล่าวถึงเรือมีฝีพายอย่างน้อย 60 คน ส่วนใหญ่จะให้ทหารเรือ คุมทาส ในการพายแทน แต่เนื่องจากพายนั้นมีขนาดใหญ่และหนัก ต้องใช้คนงานถึง 6 คนในการช่วยกันพาย แต่หลังจากยุคนี้หมดไป นั่นก็คือสมัย โรมันล่มสลายเรือสำเภาก็มาแทนที่\n(Age of Exporation)ประมาณ ศ.ต.ที่ 14-17 ประเทศเด่นๆที่มีเรือพาณิชย์ เรือรบ เรือสินค้า ปรากฏเด่นชัดคือ สเปน หลักสุด รองลงมาคือ โปรตุเกส อิตาลี อังกฤษ ฝรั่งเศส เรือมีความก้าวหน้ามาก ทั้งขนาดที่ใหญ่ขึ้น พื้นที่ใช้สอยมากขึ้น สามารถแล่นอยู่ทะเลกลางมหาสมุทรได้นาน ยุคนี้จึงเป็นยุคแห่งการค้นพบมีนักสำรวจที่มีชื่อเสียงหลายคนในยุคนี้ เช่น เจิ้ง เหอ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสเป็นต้น",
"title": "เรือ"
},
{
"docid": "823#22",
"text": "การเดินเรือเที่ยวสุดท้ายของกัปตันเจมส์ คุกรวมถึงการแล่นตามชายฝั่งทวีปอเมริกาเหนือและอะแลสกาเพื่อแสวงช่องทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเวลาประมาณเก้าเดือน เขากลับฮาวายเพื่อเติมกำลังบำรุง เดิมสำรวจชายฝั่งเมาวีและเกาะใหญ่ ค้าขายกับคนท้องถิ่นแล้วทอดสมอที่อ่าวเกียลาเคกัวในเดือนมกราคม ค.ศ. 1779 เมื่อเรือและพวกของเขาออกจากเกาะ เสาเรือหักในลมฟ้าอากาศเลว บังคับให้พวกเขาหวนคืนในกลางเดือนกุมภาพันธ์ คุกถูกฆ่าในอีกหลายวันต่อมา[80]",
"title": "สหรัฐ"
},
{
"docid": "361708#2",
"text": "เฮนรี ฮัดสันเป็นนักเดินเรือชาวอังกฤษคนหนึ่ง เขาได้นำเรือไปสำรวจเส้นทางเรือไปอินเดียหรือจีนทางทิศตะวันตกดูว่า จะมีทางไปได้หรือไม่ ในปี ค.ศ. 1609 เขาได้แล่นเรือมาถึงฝั่งของอเมริกาเหนือที่เรียกว่า นิวยอร์กฮาร์เบอร์ (New York Harbor) เป็นการสำรวจในนามของฮอลันดา เมื่อเขาไปถึงก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากอินเดียนแดงเผ่าหนึ่งซึ่งขึ้นมาถึงบนเรือและนำเอาใบยาสีเขียนมาเป็นของกำนัล อินเดียนแดงพวกนี้ ผู้หญิงนุ่งผ้าขนสัตว์ และสูบกล้องที่ทำด้วยทองแดง แต่ฮัดสันไม่ได้สนใจกับสิ่งเหล่านี้นัก เขากลับสนใจทางที่ทอดคดเคี้ยวเข้าไปในผืนแผ่นดินใหญ่ว่ามันจะเป็นเส้นทางที่ทะลุออกไปอีกด้านหนึ่งของทวีปได้หรือไม่ ดังนั้น เขาจึงแล่นเรือทวนน้ำขึ้นไปเป็นเวลา 17 วัน จึงเชื่อแน่ว่าเป็นแม่น้ำสายหนึ่งเท่านั้น ปีต่อมาอังกฤษได้ว่าจ้างให้ฮัดสันแสวงหาหนทางใหม่ ไปสู่โลกตะวันออกให้ได้ คราวนี้เขาจึงแล่นเรือขึ้นไปทางทิศเหนือ ทำให้เขาพบอ่าวใหญ่อ่าวหนึ่งทางตอนเหนือของแคนาดา และให้ชื่อว่าอ่าวฮัดสันตามชื่อของเขา และก่อนที่เขาจะล่องเรือออกจากอ่าวได้ก็เป็นฤดูหนาว น้ำในอ่าวจับแข็งทำให้นำเรือแล่นออกมาไม่ได้ ทั้งเขาและลูกเรือจึงติดทะเลน้ำแข็งอยู่ตลอดฤดุหนาว ได้รับความอดอยากเป็นอย่างมาก เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ น้ำทะเลไม่เกาะตัวแข็งอีกต่อไปแล้ว ฮัดสันจะเริ่มเดินทางสำรวจต่อไปอีก แต่การเลี้ยงดูลูกเรือขาดแคลนมาก พวกลูกเรือจึงไม่ยอมเดินทางต่อไป พวกเขาเหล่านั้นได้ก่อการขบถยึดเรือได้ และจับฮัดสันกับคนป่วยทำงานไม่ได้ลงเรือลำเล็ก ปล่อยให้ลอยไปตามยถากรรมในทะเลลึก หลายเดือนต่อมาพวกขบถก็นำเรือกลับอังกฤษ แต่เมื่อความรั่วขึ้นมาว่า พวกนั้นจับฮัดสันกับคนป่วยลอยทะเล ก็ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมฟ้องร้องติดตารางตาม ๆ กัน แม่น้ำและอ่าวที่ฮัดสันได้ไปสำรวจก็ได้รับชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา เขาเป็นผู้นำให้ฮอลันดามีกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนบางส่วนของอเมริกาตอนเหนือ แต่สำหรับตัวเขาเองไม่ได้รับผลดีตอบแทนเลยเพราะหลังจากถูกจับลงเรือลอยทะเลแล้ว ข่าวคราวของเขาก็เงียบหายไปท่ามกลางหิมะ น้ำ และหมอกของมหาสมุทรอาร์กติก",
"title": "เฮนรี ฮัดสัน"
},
{
"docid": "882845#33",
"text": "เหตุการณ์นี้ไม่มีการบันทึกไว้ใน\"จดหมายเหตุสามก๊ก\" เป็นเรื่องที่เสริมแต่งขึ้นมา อย่างไรก็ดี ในจดหมายเหตุ\"เว่ยเลฺว่\"ได้มีการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คล้ายๆกันนี้ในศึกยี่สูในปี ค.ศ. 213 เมื่อซุนกวนได้แล่นเรือไปสำรวจฐานทัพของโจโฉ โจโฉเห็นดังนั้นจึงสั่งให้ทหารยิงเกาทัณฑ์ใส่เรือซุนกวน เกาทัณฑ์หลายดอกติดที่ลำเรือข้างหนึ่งจนเรือเอียงด้วยน้ำหนักของลูกเกาทัณฑ์ ซุนกวนจึงสั่งให้หันเรือให้ลำเรืออีกด้านมารับลูกเกาทัณฑ์ เรือจึงกลับมาตั้งลำตรงดังเก่าแล้วซุนกวนจึงให้แล่นเรือกลับไปค่าย ",
"title": "ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในสามก๊ก"
},
{
"docid": "851047#0",
"text": "การสำรวจ (English: Exploration) คือการค้นหาเพื่อบรรลุเป้าหมายของการค้นพบหรือทรัพยากร การสำรวจเกิดขึ้นในทุกสิ่งมีชีวิตที่มีการเคลื่อนไหวรวมถึงมนุษย์ ในประวัติศาสตรของมนุษย์การสำรวจที่มีอิทธิพลมากที่สุดอยู่ในช่วงยุคแห่งการค้นพบเมื่อนักสำรวจชาวยุโรปแล่นเรือและเขียนแผนที่ในพื้นที่ส่วนที่เหลือของโลกด้วยเหตุผลหลายประการ ตั้งแต่นั้นมาการสำรวจครั้งใหญ่หลังยุคแห่งการสำรวจเกิดขึ้นจากการค้นพบข้อมูลสำคัญเป็นเหตุผลส่วนใหญ่",
"title": "การสำรวจ"
},
{
"docid": "724622#2",
"text": "กองเรือที่หนึ่งจากอังกฤษมาถึงอ่าวบอทานีในเดือนมกราคม ค.ศ. 1788 เพื่อตั้งทัณฑนิคม ในคริสต์ศตวรรษที่ตามมา อังกฤษได้ตั้งอาณานิคมอื่น ๆ บนทวีป และนักสำรวจชาวยุโรปคนอื่น ๆ ได้สำรวจลึกเข้าไปในส่วนในของทวีป ชาวออสเตรเลียพื้นเมืองอ่อนแอลงอย่างมาก ส่วนประชากรก็ลดลงเนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บและความขัดแย้งที่มาพร้อมกับชาวยุโรป",
"title": "ประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย"
}
] |
955 | ภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ มีทั้งหมดกี่ภาค? | [
{
"docid": "4336#3",
"text": "หนังสือทั้งเจ็ดเล่มถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์โดยวอร์เนอร์บราเธอร์สจำนวนแปดภาค โดยเนื้อเรื่องในหนังสือเล่มที่เจ็ด ผู้สร้างได้แบ่งออกเป็นสองตอน ภาพยนตร์ชุด<i data-parsoid='{\"dsr\":[5767,5787,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นชุดภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล นอกจากนี้ ยังได้มีการผลิตสินค้าควบคู่กันอีกจำนวนมาก ซึ่งทำให้ชื่อยี่ห้อแฮร์รี่ พอตเตอร์มีมูลค่ามากกว่า 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 เนื้อหาที่ไม่ได้เปิดเผยในหนังสือได้เริ่มเผยแพร่ในรูปแบบอีบุ๊กผ่าน \"พอตเตอร์มอร์\"[11] ได้มีการต่อยอดความสำเร็จของแฮร์รี่ พอตเตอร์ไปในหลายรูปแบบ อาทิเช่น สวนสนุกโลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์, สตูดิโอทัวร์ในลอนดอน, ภาพยนตร์ภาคแยกซึ่งดัดแปลงมาจากเนื้อหาของหนังสือสัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ และภายหลังได้มีการดัดแปลงแฮร์รี่ พอตเตอร์สู่รูปแบบละครเวที ใช้ชื่อว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเด็กต้องคำสาป เปิดการแสดงในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ที่โรงละครพาเลซเธียเตอร์ เมืองลอนดอน โดยบทละครเวทียังได้ถูกพิมพ์จำหน่ายโดยสำนักพิมพ์ลิตเติ้ลบราวน์ ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์เดียวกันที่ตีพิมพ์นิยายผู้ใหญ่ของโรว์ลิ่งภายใต้ชื่อ โรเบิร์ต กัลเบรธอีกด้วย[12]",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
}
] | [
{
"docid": "338365#5",
"text": "ภายในฤดูใบไม้ร่วงปี 2001 ทอมก็เริ่มเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกใน บทบาท เดรโก มัลฟอย เด็กชายอันธพาลที่เป็นคู่อริกับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ใน ภาพยนตร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับ ศิลาอาถรรพ์ หลังจากนั้นทอมก็ได้ร่วมแสดงในทุกภาคของแฮร์รี่ พอตเตอร์ จนถึงปี 2009",
"title": "ทอม เฟลตัน"
},
{
"docid": "10882#29",
"text": "ในภาคที่ 7 แฮร์รี่ได้สัญญากับรอนว่าจะเลิกพบจินนี่เพื่อไม่ให้ความหวังแก่เธอ ซึ่งตลอดทั้งเล่ม แฮร์รี่ทำได้แค่เฝ้ามองดูเธอ แต่ในท้ายที่สุดหลังจากโค่นโวลเดอมอร์ลงได้ แฮร์รี่ก็ได้แต่งงานกับเธอ และ 19 ปีต่อมาทั้งสองก็มีลูกด้วยกันสามคนคือ เจมส์ ซีเรียส พอตเตอร์ อัลบัส เซเวอร์รัส พอตเตอร์ และ ลิลี่ ลูน่า พอตเตอร์ ดังนั้นกล่าวได้ในท้ายที่สุดว่าจินนี่เป็นนางเอกเรื่องนี้ (ในทางที่จริงแล้ว..แฮร์รี่ไม่ควรที่จะยุติความสัมพันธ์ระหว่างเขากับจินนี่ เพราะนั่นจะทำให้ทุกคนคิดว่าแฮร์รี่นั้นโหดร้ายและไม่ยอมสละเวลาเพื่อความรัก)",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร)"
},
{
"docid": "198618#15",
"text": "ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสมได้ชื่อว่าเป็นภาพยนตร์ที่ประสบอุปสรรคและปัญหามากที่สุดเพราะเนื่องจากมีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้นเสมอเริ่มตั้งแต่การเสียชีวิตจากการถูกแทงของโรเบิร์ต น็อกซ์นักแสดงผู้รับบทเป็น มาร์คัส เบลบี้ หน้าผับจนเสียชีวิต อีกทั้งยังการปลอมแปลงโปสเตอร์ที่อ้างว่าทางW.B.เป็นผู้ผลิตทำให้บริษัทต้องกำจัดข่าวทั้งหมด การประท้วงนักเขียนที่อเมริกา แดเนียลผู้รับบทเป็นแฮร์รี่เล่นละครเวทีเปลื้องผ้าทำให้เสียความเป็นแฮร์รี่ การเข้าฉายใกล้เคียงกันระหว่างแฮร์รี่ พอตเตอร์ (21 พฤศจิกายน) กับแวมไพร์ ทไวไลท์ (27 พฤศจิกายน) ซึ่งทำให้รายได้อาจถูกทไวไลท์แย่งไปได้เพราะแฮร์รี่เป็นภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ดังนั้นควรเข้าฉายในช่วงที่ไม่มีภาพยนตร์ที่ใหญ่พอจะสู้ ปัญหาเศรษฐกิจ และที่สำคัญที่สุดคือการเลื่อนฉายภาพยนตร์ที่ทาง W.B.กล่าวว่าต้องการให้ภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์อย่างแฮร์รี่เข้าฉายในช่วงหน้าร้อนและไม่อยากเอามาแข่งกับ แบทแมน เดอะ ดาร์ค ไนท์ที่สร้างรายได้ถล่มทลายโดยในครั้งแรกนั้นแฮร์รี่ พอตเตอร์ภาคที่6 มีกำหนดฉายในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2551 แต่ทาง W.B ออกมายืนยันว่าแฮร์รี่ พอตเตอร์ภาคที่ 6 นั้นจะเลื่อนฉายไปในวันที่ 16 กรกฎาคม ปี 2552 และทางประเทศไทยจะฉายในวันที่ 16 กรกฎาคม การเลื่อนฉายนี้ทำให้แฟนๆ ทั่วโลกไม่พอใจ และคาดเดาว่าเหตุใดถึงเลื่อนฉาย โดยมีการคาดเดาว่า แดเนียล แรดคลิฟฟ์พระเอกของภาพยนตร์เรื่องนี้เล่นละครเวทีเปลื้องผ้า แต่ทาง W.B. ยืนยันว่าต้องการฉายในช่วงหน้าร้อนเพราะภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นหนังฟอร์มยักษ์แห่งปีจึงไม่อยากนำมาแข่งกับ แบทแมน เดอะ ดาร์ค ไนท์ ที่สร้างรายได้ถล่มทลายไปไม่นาน แต่การประกาศครั้งนั้นก็ทำให้แฟนๆยิ่งไม่พอใจเข้าไปใหญ่และมีการส่งจดหมายไปด่า W.B.ว่าเห็นแก่เงิน",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "197263#3",
"text": "ภาพยนตร์ออกฉายในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2001 ได้รับการตอบรับอย่างดีมาก ทำรายได้ได้มากกว่า 970 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก และได้เข้าชิงรางวัลมากมาย เช่น รางวัลออสการ์ สาขา ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม และ ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม นับถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2014 ภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุดอันดับที่ 21 ตลอดกาล และทำรายได้เป็นอันดับสองในภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นรองจากภาพยนตร์เรื่อง \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2\"",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "197283#0",
"text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ () เป็นภาพยนตร์แนวแฟนตาซีออกฉายเมื่อ ค.ศ. 2002 กำกับโดย Chris Columbus และจัดจำหน่ายโย Warner Bros. Pictures ดัดแปลงจากนวนิยายชื่อเดียวกันของ J. K. Rowling ซึ่งเคยตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1998 เป็นภาคต่อของ \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์\" (2001) และเป็นภาพยนตร์ลำดับที่ 2 ในชุดภาพยนตร์\"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" เป็นผลงานการเขียนบทของ Steve Kloves และอำนวยการสร้างโดย David Heyman เล่าเรื่องการผจญภัยของแฮร์รี่ พอตเตอร์ ในปีที่สองของการศึกษาในโรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ ซึ่งทายาทของซัลลาซาร์ สลิธีริน ได้เปิดห้องแห่งความลับ และปลดปล่อยสัตว์ร้ายภายในออกมาทำให้ผู้คนในโรงเรียนกลายเป็นหิน นำแสดงโดย Daniel Radcliffe รับบทแฮร์รี่ พอตเตอร์ Rupert Grint รับบทรอน วีสลีย์ และ Emma Watson รับบทเฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ นอกจากนี้ยังเป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่ Richard Harris มารับบทเป็นศาสตราจารย์อัลบัส ดัมเบิลดอร์ ก่อนที่จะเสียชีวิตในปีเดียวกันกับที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉาย",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "4336#43",
"text": "ความสำเร็จของนวนิยายชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้สร้างความมั่งคั่งให้แก่ เจ. เค. โรว์ลิง ผู้ประพันธ์ ตลอดไปจนถึงสำนักพิมพ์และผู้ถือสิทธิ์ด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ทั้งหมด โรว์ลิงได้รับผลตอบแทนมากจนกระทั่งนับได้ว่าเป็นนักเขียนเพียงคนเดียวที่ติดอันดับ \"มหาเศรษฐี\" ของโลก[80] มีการจำหน่ายหนังสือไปแล้วกว่า 400 ล้านเล่มทั่วโลก และช่วยนำกระแสนิยมให้แก่ภาพยนตร์ชุดดัดแปลงโดย วอร์เนอร์บราเธอร์ส ด้วย ภาพยนตร์ดัดแปลงในแต่ละตอนต่างประสบความสำเร็จไปตามกัน สามารถติดอันดับเป็นภาพยนตร์ทำเงินตลอดกาลในทุกภาคที่เข้าฉาย[81][82] ชุดภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นได้รับการต่อยอดไปสู่รูปแบบวิดีโอเกมและสินค้าจดลิขสิทธิ์กว่า 400 รายการ ซึ่งมูลค่าโดยประมาณของแบรนด์แฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นมีมูลค่าสูงกว่ากว่า 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] ทำให้โรว์ลิงกลายเป็นมหาเศรษฐีระดับพันล้าน[83] ในรายงานเปรียบเทียบบางแห่งยังกล่าวว่าเธอร่ำรวยกว่าสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเสียอีก[84][85] ทว่าโรว์ลิงชี้แจงว่าเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง[86]",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "209544#0",
"text": "เดวิด เยตส์ เกิดปี ค.ศ. 1963 เป็นผู้กำกับภาพยนตร์จากประเทศอังกฤษ มีผลงานแรกในการกำกับภาพยนตร์คือเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ เขาได้มากำกับภาพยนตร์ในภาคที่5,6และ7ทั้งสองตอน ถึงแม้ว่าเยตส์จะเป็นผู้กำกับมือใหม่และประสบการณ์น้อยแต่เขาก็สามารถแสดงฝีมือการกำกับได้อย่างยอดเยี่ยมในภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ ทำให้เขากลายเป็นผู้กำกับหน้าใหม่ที่กำกับภาพยนตร์ได้ยอดเยี่ยมไปในไม่ช้า และเขายังได้กำกับภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ทุกภาคที่เหลืออีกด้วย",
"title": "เดวิด เยตส์"
},
{
"docid": "898311#0",
"text": "โลกเวทมนตร์ () (หรือชื่อเดิม โลกเวทมนตร์ของเจ. เค. โรว์ลิง ()) เป็น และ จักรวาลสมมติ ที่เป็นฉากหลังของภาพยนตร์มาจากนวนิยายแฟนตาซี ชุด \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" ของนักเขียน เจ. เค. โรว์ลิง จัดจำหน่ายโดยบริษัท วอร์เนอร์บราเธอส์ และผลิตโดยบริษัท เฮย์เดย์ฟิล์มส์ ซึ่งตั้งแต่ ค.ศ. 2000 ได้ผลิตภาพยนตร์ออกมาแล้ว 10 เรื่อง แบ่งเป็นภาพยนตร์ชุด \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" แปดภาคและภาพยนตร์ \"สัตว์มหัศจรรย์\" สองภาค และยังมีอีกสามเรื่องอยู่ในขั้นตอนการผลิต ภาพยนตร์ชุดนี้ทำรายได้มาแล้วกว่า 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก เป็นแฟรนไชส์ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลอันดับที่สาม รองจากจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล และ สตาร์ วอร์ส",
"title": "โลกเวทมนตร์"
},
{
"docid": "107269#7",
"text": "ในภาคนี้ บรรดานักเรียนฮอกวอตส์ ปี 5 ต้อง สอบ ว.พ.ร.ส. (วิชาพ่อมดระดับสามัญ)นักเรียนทั้งหลายต่างกดดันเป็นที่สุดโดยเฉพาะแฮร์รี่ เมื่อกระทรวงเวทมนตร์เริ่มครอบงำโรงเรียนฮอกวอตส์ ไม่มีใครเชื่อว่า ลอร์ดโวลเดอมอร์ กำลังเข็มแข็งขึ้นเรื่อยมาหลังจากการประลองเวทไตรภาคี สิ้นสุดลง จนสุดท้ายแฮร์รี่ก็ต้องเจ็บปวดอีกครั้งเมื่อพบกับความสูญเสียครั้งสำคัญ(อีกครั้ง) ทางกระทรวงจะทราบความจริง หรือไม่ และความกดดันของโรงเรียนจะเป็นเช่นไร ต้องติดตาม...เดวิด เยตส์ ได้รับเลือกให้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ หลังจากที่ Mike Newell (ผู้กำกับภาพยนตร์\"แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี\"), Jean-Pierre Jeunet, Matthew Vaughn, และ Mira Nair ปฏิเสธที่จะกำกับ เยตส์เชื่อว่าที่เขามีความเหมาะสมจะกำกับภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเพราะทางสตูดิโอเห็นว่าเขาสามารถกำกับภาพยนตร์ที่ \"มีความสุดขั้วและเต็มไปด้วยอารมณ์\" ซึ่งมี \"เบื้องหลังทางการเมือง\" ได้ดี จากผลงานเก่าของเขาคือละครโทรทัศน์เรื่อง \"Sex Traffic\" นอกจากนี้แล้ว Steve Kloves ผู้เขียนบทที่เคยเขียนบทภาพยนตร์\"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" 4 ภาคก่อนหน้านี้ ติดภารกิจ จึงมีการจัดให้ Michael Goldenberg มาเขียนบทแทน",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "176513#3",
"text": "ต่อจากนั้นเขาก็มีผลงานภาพยนตร์เรื่อยๆ อย่างเรื่อง \"Sweet November\" (2001), \"Black Hawk Down\" (2001), \"Windtaklers\" (2002) และ \"The Tuxedo\" (2002) และเรื่อง \"แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับ\" (2002) \"แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับนักโทษแห่งอัซคาบัน)\" (2004) \"แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี\" (2005) \"แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับภาคีนกฟีนิกซ์\" (2007) ในบทลูเซียส มัลฟอย และยังร่วมแสดงกับ ฌอน คอนเนอรี่ ใน \"The League of Extraordinary Gentlemen\" และรับบทเป็น กัปตันฮุ๊ค/มิสเตอร์ดาร์ลิ่ง ใน \"Peter Pan\"",
"title": "เจสัน ไอแซ็กส์"
},
{
"docid": "381610#0",
"text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 () เป็นภาพยนตร์แฟนตาซี-ผจญภัยภาคต่อในปี พ.ศ. 2554 ที่ดัดแปลงจากบทประพันธ์ชื่อเดียวกันของเจ. เค. โรว์ลิ่ง อันเป็นตอนสุดท้ายของหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2"
},
{
"docid": "898311#1",
"text": "เดวิด เฮย์แมน และ บริษัทของเขา เฮย์เดย์ฟิล์มส์ อำนวยสร้างให้กับภาพยนตร์ทุกเรื่องใน โลกเวทมนตร์ ขณะที่ คริส โคลัมบัส และ มาร์ค แรดคลิฟฟ์ ทำหน้าที่อำนวยการสร้างให้กับ \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน\", เดวิด บาร์รอน ทำหน้าที่อำนวยการสร้าง \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์\" จนถึง \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2\" และ โรว์ลิง อำนวยการสร้างให้กับภาพยนตร์สองเรื่องสุดท้ายของ ภาพยนตร์ชุด \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" ภาพยนตร์ชุด \"สัตว์มหัศจรรย์\" ทั้งสองเรื่องนั้นอำนวยการสร้างโดย เฮย์แมน, โรว์ลิง, สตีฟ โคลฟส์ และ ไลโอเนล วิแกรม ภาพยนตร์ถูกเขียนและกำกับโดยหลายคน มีนักแสดงในภาพยนตร์จำนวนมาก โดยมีนักแสดงนำ ได้แก่ แดเนียล แรดคลิฟฟ์, รูเพิร์ต กรินต์, เอ็มมา วอตสัน และ เอดดี เรดเมน นอกจากนี้ยังมีอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์วางจำหน่ายด้วย แฟรนไชส์นี้ยังประกอบไปด้วย ละครเวที, สิ่งพิมพ์ดิจิทัล, ค่ายเกมส์ และ สวนสนุก ",
"title": "โลกเวทมนตร์"
},
{
"docid": "21799#0",
"text": "แดเนียล จาคอบ แรดคลิฟฟ์ (English: Daniel Jacob Radcliffe เกิดวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2532)[1] มีชื่อเสียงจากการเป็นนักแสดงในบท แฮร์รี่ พอตเตอร์ ในภาพยนตร์ชุด<i data-parsoid='{\"dsr\":[798,818,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์ เขาเคยแสดงภาพยนตร์ครั้งแรกเมื่ออายุ 10 ขวบในภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง เดวิด คอปเปอร์ฟิลด์ ออกอากาศทางช่องบีบีซีวัน เมื่อปี พ.ศ. 2542 ตามมาด้วยภาพยนตร์เรื่องพยัคฆ์สายลับซ่อนลาย เมื่อปี พ.ศ. 2544 เมื่ออายุ 11 ขวบ เขาได้รับเลือกเป็นแฮร์รี่ พอตเตอร์ ในภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์</i>เรื่องแรก และแสดงบทดังกล่าวเป็นเวลา 10 ปี จนภาพยนตร์เรื่องที่แปดออกฉายในปี พ.ศ. 2554",
"title": "แดเนียล แรดคลิฟฟ์"
},
{
"docid": "4336#58",
"text": "และเมื่อภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 ซึ่งเป็นภาคสุดท้ายของภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์เข้าฉายก็ได้สร้างสถิติต่าง ๆ มากมาย อาทิ ภาพยนตร์ที่เปิดตัววันแรกสูงสุดตลอดการ ทำรายได้วันแรกสูงถึง 91 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำลายสถิติเดิมของแวมไพร์ ทไวไลท์ 2 นิวมูน[124] ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สุดสัปดาห์ที่สูงสุดทำลายสถิติของแบทแมน อัศวินรัตติกาล โดยทำรายได้สัปดาห์แรกที่ 169 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[125]ซึ่งต่อมาถูกทำลายสถิติโดยดิ อเวนเจอร์สและไอรอนแมน 3 และทำลายสถิติภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดทั่วโลกสัปดาห์แรกของที่แฮร์รี่ พอตเตอร์ภาคหกเคยทำไว้ โดยทำเงินรวมทั่วโลกในสัปดาห์แรกสูงถึง 483 ล้านดอลลาร์สหรัฐในสัปดาห์เปิดตัว[126] และทำรายได้ปิดที่ 1,341 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง ณ ตอนนั้นสามารถรั้งอยู่ในอันดับที่ 3 ของภาพยนตร์ทำเงินตลอดกาลเป็นรองเพียงแค่ภาพยนตร์เรื่องอวตารและไททานิกเท่านั้น นอกจากนั้นยังได้รับคำวิจารณ์ในด้านบวกอย่างล้นหลาม โดยเว็บไซต์ Rotten Tomatoes ได้ให้คะแนนภาพยนตร์เรื่องนี้ไว้สูงถึง 96%[127]ซึ่งเป็นคะแนนที่สูงที่สุดในภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ จึงถือว่าภาคสุดท้ายของภาพยนตร์ชุดนี้ประสบความสำเร็จทั้งรายได้และคำวิจารณ์ก็ว่าได้",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "4336#55",
"text": "ภาพยนตร์เรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ถูกแบ่งเป็นสองตอน[116] กำกับโดยเดวิด เยตส์และสตีฟ โคลฟ ทำหน้าที่เขียนบทเช่นเดิม และทาง เจ. เค. โรว์ลิงยังได้มีส่วนร่วมในการควบคุมงานฝ่ายสร้างสรรค์ของภาพยนตร์ภาคสุดท้ายในฐานะผู้อำนวยการสร้างอีกด้วย[117] รวมแล้วตั้งแต่ภาคแรกจนถึงภาคสุดท้ายใช้ในการถ่ายทำเวลานานกว่า 10 ปี",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "898311#2",
"text": "ภาพยนตร์เรื่องแรกของโลกเวทมนตร์นั้นคือ \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์\" (2001) ซึ่งตามด้วยภาคต่ออีกเจ็ดภาค เริ่มจาก \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ\" ในปี ค.ศ. 2002 และจบที่ \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2\" ในปี ค.ศ. 2011 ต่อมา ภาพยนตร์ชุด \"สัตว์มหัศจรรย์\" เริ่มจาก \"สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่\" (2016) เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่เป็นภาคแยกและภาคก่อนของภาพยนตร์ชุด \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" และภาคต่อ \"\" ฉายเมื่อ ค.ศ. 2018 ขณะที่ยังมีภาพยนตร์อีกสามเรื่องอยู่ในขั้นตอนการผลิต โดยภาพยนตร์เรื่องถัดไปมีกำหนดฉายปี ค.ศ. 2020",
"title": "โลกเวทมนตร์"
},
{
"docid": "4336#64",
"text": "หลังจาก แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต วางแผงได้ไม่นานนัก ทางประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการวางแผนและทำแบบแปลนการสร้างสวนสนุกที่ยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ต เมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา โดยจำลองสถานที่ต่าง ๆ ในวรรณกรรมแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่เกี่ยวกับสถานที่ในโลกเวทมนตร์เช่น ฮอกวอตส์และหมู่บ้านฮอกส์มี้ด เป็นต้น สวนสนุกแห่งนี้วางแผนการสร้างโดย จิม ฮิล มีแบบจำลองปราสาทฮอกวอตส์ รวมไปถึงหมู่บ้านฮอกส์มีดส์อีกด้วย ผู้สร้างสวนสนุกยังได้เชิญ เจ. เค. โรว์ลิง ให้มาร่วมทำการเนรมิตสวนสนุกแห่งนี้ เพื่อทำให้เหมือนกับสถานที่ในหนังสือของเธอให้มากที่สุด ซึ่งโรว์ลิงก็ตอบตกลง สวนสนุกตั้งอยู่ในไอส์แลนด์ส ออฟ แอดเวนเจอร์ซึ่งเป็นเกาะรวมเครื่องเล่นแนวผจญภัยของยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ท โดยได้ใช้ชื่อว่าอย่างเป็นทางการว่าโลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์และเปิดให้เข้าชมในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553[135] โดยมีทั้งนักแสดงจากภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ อาทิ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ (แฮร์รี่ พอตเตอร์), ไมเคิล แกมบอน (ศาสตราจารย์ดัมเบิลดอร์), รูเพิร์ท กรินท์ (รอน วีสลีย์) แมทธิว ลิวอิส (เนวิลล์ ลองบัตท่อม) และทอม เฟลตัน (เดรโก มัลฟอย) รวมถึง เจ.เค. โรว์ลิ่ง และผู้ประพันธ์เพลงให้กับภาพยนตร์ 3 ภาคแรกอย่าง จอห์น วิลเลียมส์ มาร่วมงานครั้งนี้ด้วย",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "19885#2",
"text": "เริ่มเมื่อวันหนึ่งพ่อเลียง (เตอร์ เหลียง) เห็นโฆษณาทางโทรทัศน์ช่องภาษาจีน ประกาศหาสาวน้อยเอเชียรับบท โชแชง ในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี (Harry Potter and the Goblet of Fire) จึงสนับสนุนให้ลูกสาวไปเทสต์หน้ากล้องที่กรุงลอนดอน ลูกสาว (เคที เหลียง) ก็ว่าง่ายเพราะอยากไปช็อปปิ้งในเมืองหลวงอังกฤษ เหลียง (เคที เหลียง) รอ 4 ชั่วโมง เพื่อเข้าไปสัมภาษณ์เพียง 5 นาที และที่สุดเธอได้รับบท โช แชง ในภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน ด้วยเหตุผลพูดภาษาอังกฤษสำเนียงสกอตได้ดีมาก และนั้นทำให้มีผลงานในบทของโช แชง ในหนังภาคต่ออย่างแฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี (พ.ศ. 2547) และ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ (พ.ศ. 2550), แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม (พ.ศ. 2552) และต่อมา เคที เหลียงได้มีผลงานด้านละครและภาพยนตร์ตามาอีกหลายเรื่องได้แก่ Run ในบท Nu-Ying (พ.ศ. 2556), Father Brown ในบท Jia-Li Gerard และ One Child ในบท Mei Ashley (พ.ศ. 2557) เป็นต้น",
"title": "เคที เหลียง"
},
{
"docid": "4336#54",
"text": "ในปี พ.ศ. 2542 เจ. เค. โรว์ลิง ขายสิทธิ์การสร้างภาพยนตร์จากหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์สี่เล่มแรกให้กับวอร์เนอร์บราเธอร์ส ในราคาหนึ่งล้านปอนด์สเตอร์ลิง[112] โรว์ลิงยืนยันให้นักแสดงหลักเป็นชาวสหราชอาณาจักร รวมถึงต้องใช้ภาษาอังกฤษบริเตนในบทสนทนา ภาพยนตร์สองภาคแรกกำกับโดยคริส โคลัมบัส ภาคที่สามโดยอัลฟอนโซ กวารอน ภาคที่สี่โดยไมค์ นิวเวลล์ และภาคที่ห้าถึงภาคสุดท้ายโดยเดวิด เยตส์[113] บทภาพยนตร์ของสี่ภาคแรกเขียนโดยสตีฟ โคลฟ โดยร่วมงานกับโรว์ลิง บทภาพยนตร์มีความเปลี่ยนแปลงจากหนังสือบ้างตามรูปแบบการนำเสนอของภาพยนตร์และเงื่อนไขเวลา อย่างไรก็ตาม โรว์ลิงได้กล่าวว่าบทภาพยนตร์ของโคลฟนั้นมีความซื่อตรงต่อหนังสือ[114] ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ทุกภาค มีนักแสดงหลักคือแดเนียล แรดคลิฟฟ์ เอ็มม่า วัตสันและรูเพิร์ท กรินท์ แสดงเป็นแฮร์รี่ พอตเตอร์ เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ และรอน วีสลีย์ตามลำดับ โดยสามคนนี้ได้รับเลือกในปี พ.ศ. 2543 จากเด็กหลายพันคน[115]",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "137619#14",
"text": "การถ่ายทำฉากสำคัญ<!--Principal photography-->ให้ภาพยนตร์<i data-parsoid='{\"dsr\":[25458,25478,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์</i>เรื่องที่หก เริ่มขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2550 โดยในส่วนของวอตสัน ถ่ายทำตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม ถึง 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2551[59][60] แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม ฉายรอบปฐมฤกษ์ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552[61] เลื่อนจากเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551[62] เนื่องจากนักแสดงหลายคนเป็นวัยรุ่นตอนปลาย นักวิจารณ์วิจารณ์พวกเขาในระดับเดียวกับนักแสดงคนอื่น ๆ ในเรื่อง โดยหนังสือพิมพ์<i data-parsoid='{\"dsr\":[26763,26783,2,2]}'>ลอสแอนเจลิสไทมส์</i>บรรยายเป็น \"การแนะนำสู่การแสดงแบบทันสมัย\"[63] หนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันโพสต์รู้สึกว่าวอตสัน \"แสดงได้มีเสน่ห์ที่สุดจนถึงทุกวันนี้\"[64] ขณะที่หนังสือพิมพ์เดอะเดลีเทลิกราฟบรรยายถึงนักแสดงนำว่า \"กระตือรือต้น อิสระ และมีพลังที่จะแสดงสิ่งที่พวกเขามีให้กับส่วนที่เหลือของเรื่อง\"[65] ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 วอตสันกล่าวว่าเธออยากเรียนระดับมหาวิทยาลัยหลังเธอถ่ายทำภาพยนตร์ชุด<i data-parsoid='{\"dsr\":[28041,28061,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์</i>จบทั้งหมด[66]",
"title": "เอ็มมา วอตสัน"
},
{
"docid": "222054#0",
"text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1 () เป็นภาพยนตร์แฟนตาซี-ผจญภัยภาคต่อที่ดัดแปลงจากบทประพันธ์ของเจ. เค. โรว์ลิ่ง ซึ่งดัดแปลงมาจากนิยายเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ตอนที่ 7 ในชื่อ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ แต่เนื่องจากในภาคสุดท้ายนั้นมีรายละเอียดมากและทางผู้สร้างต้องการให้หนังจบลงอย่างสมบูรณ์แบบ จึงแบ่งออกเป็น 2 ตอนคือ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูตตอนที่ 1 และตอนที่ 2 สำหรับตอนที่ 1 เริ่มถ่ายทำเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 และจะเข้าฉายในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ตอนที่ 2 จะเข้าฉายในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ภาพยนตร์มีนักแสดงนำได้แก่ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ รูเพิร์ท กรินท์ และเอ็มม่า วัตสัน กำกับการแสดงโดย เดวิด เยตส์ เขียนบทโดยสตีฟ โคลฟ อำนวยการสร้างโดย เดวิด เฮย์แมน และเดวิด แบร์รอน",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1"
},
{
"docid": "231183#35",
"text": "วิลเลี่ยมส์ได้กลับมาร่วมงานกับโคลัมบัสอีกครั้ง ในปี ค.ศ.2001 ในผลงานภาพยนตร์ของ Warner Bros. เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์ (Harry Potter and the Sorcerer's Stone) ที่ดัดแปลงมาจากนิยายอังกฤษชื่อดังที่ประพันธ์โดย เจ.เค. โรว์ลิง (J.K. Rowling) วิลเลี่ยมส์ทำดนตรีในภาคต่ออีกสองภาค คือ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับ (Harry Potter and the Chamber of Secrets) ใน ค.ศ.2002 กับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับนักโทษแห่งอัซคาบัน (Harry Potter and the Prisoner of Azkaban) ใน ค.ศ.2004 ในปี ค.ศ.2005 วิลเลี่ยมส์จำเป็นต้องปฏิเสธที่จะทำดนตรีประกอบให้กับภาคต่อของแฮร์รี่ พอตเตอร์ เนื่องจากวิลเลี่ยมส์ กำลังทำดนตรีประกอบให้กับหนังเรื่องอื่นอยู่ ซึ่งในปีนั้นเอง วิลเลี่ยมส์มีงานทำดนตรีให้กับภาพยนตร์ถึง 4 เรื่อง (ขณะนั้นวิลเลี่ยมส์อายุ 73 ปี) ตั้งแต่ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ภาคที่ 4 แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี (Harry Potter and the Goblet of Fire) เป็นต้นมา จนถึงภาคสุดท้ายในปี ค.ศ.2011 วิลเลี่ยมส์ก็ไม่ได้กลับมาทำดนตรีประกอบให้อีกเลย แต่เพลง Hedwig's theme ที่วิลเลี่ยมส์ประพันธ์ขึ้น ก็ได้ถูกใช้เป็นเพลงธีมหลักในทุกภาคของแฮร์รี่ พอตเตอร์",
"title": "จอห์น วิลเลียมส์"
},
{
"docid": "197263#1",
"text": "ภาพยนตร์นำแสดงโดยแดเนียล แรดคลิฟฟ์ เป็นแฮร์รี่ พอตเตอร์ รูเพิร์ต กรินต์ เป็นรอน วีสลีย์ และเอ็มมา วัตสัน เป็นเฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ ภาพยนตร์มีภาคต่ออีก 7 ภาค เริ่มจาก \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ\"",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "197263#0",
"text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ () เป็นภาพยนตร์แฟนตาซีออกฉายเมื่อ ค.ศ. 2001 กำกับโดย คริส โคลัมบัส และจัดจำหน่ายโดยวอร์เนอร์บราเธอส์พิกเจอส์ เนื้อเรื่องยึดจากนวนิยายในชื่อเดียวกันของเจ. เค. โรว์ลิง ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาคแรกในภาพยนตร์ชุด\"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" เขียนเรื่องโดยสตีฟ โคลฟส์ และผลิตโดยเดวิด เฮย์แมน เนื้อเรื่องเล่าเกี่ยวกับการเรียนปีแรกของแฮร์รี่ พอตเตอร์ที่ฮอกวอตส์ ที่เขาพบว่าเขาเป็นพ่อมดที่มีชื่อเสียงและเริ่มศึกษาวิชาเวทมนตร์",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "4336#56",
"text": "ภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ประสบความสำเร็จอย่างมากในเรื่องรายได้ของภาพยนตร์ทั้ง 8 ภาค ทำรายได้รวมมากกว่า 7,725 ล้านดอลลาร์สหรัฐและภาพยนตร์ชุดที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลเป็นอันดับที่สองรองจากจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล[118] โดยภาคที่ทำรายได้ไปมากที่สุดคือแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 ซึ่งทำรายได้ไปกว่า 1,341 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[119]",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "4336#57",
"text": "ภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์แต่ละภาคได้รับคำวิจารณ์จากแฟนหนังสือมากมาย ในภาคแรกและภาคที่สองซึ่งกำกับโดยคริส โคลัมบัส ตัวภาพยนตร์เองได้รับการดัดแปลงเล็กน้อยแต่ก็ยังคงเนื้อเรื่องในหนังสือไว้ แต่เนื้อหาของภาพยนตร์ก็เป็นภาพยนตร์ที่เหมาะสำหรับเด็ก จึงทำให้เด็กชมภาพยนตร์ภาคแรกและภาคสองมากกว่าผู้ใหญ่ ในภาคที่สามกำกับโดยอัลฟอนโซ กวารอน ที่ได้ปรับเปลี่ยนตัวปราสาทฮอกวอตส์และใช้บรรยากาศแบบมืดครื้ม แต่ก็มีการปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่องมากกว่าเดิมทำให้ฉากแอ็กชันที่มีในหนังสือลดลงไป ส่วนในภาคที่สี่กำกับโดยไมค์ นิวเวลล์ เน้นหนักในเรื่องฉากแอ็กชันและฉากต่อสู้ที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก แต่การทำฉากแอ็กชันมากเกินไป จึงทำให้เนื้อหาและบทบาทตัวละครในเรื่องลดลงตามไปด้วย และในภาคที่ห้าที่กำกับโดยเดวิด เยตส์ที่ได้มีการปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่องและตัดเนื้อเรื่องบางตอนออกไป เนื่องจากเนื้อหาในหนังสือที่มากกว่าเล่มอื่น ๆ ฉากแอ็กชันจึงลดลงทำให้ภาพยนตร์ออกมาในแนวดรามา แต่ทางทีมงานก็ได้ใช้เทคนิคพิเศษมากกว่าภาคก่อน ๆ ทำให้ภาพยนตร์ภาคที่ห้านี้ทำรายได้ไปถึง 939 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[120] ส่วนในภาคที่หกเดวิด เยตส์ทำหน้าที่กำกับภาพยนตร์เช่นเคยโดยจะเน้นบทดรามามากกว่าฉากแอ็กชันซึ่งมีอยู่น้อยมากและจะเน้นในเรื่องความสัมพันธ์ของตัวละครต่าง ๆ แทน[121] ซึ่งก็ได้รับคำวิจารณ์ที่แตกต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ตามภาพยนตร์ภาคที่หกนี้ก็ได้สร้างสถิติใหม่นั่นก็คือ ภาพยนตร์ทำเงินทั่วโลกสูงสุดในสัปดาห์แรก โดยทำเงินไปทั้งสิ้น 394 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[122]ทำลายสถิติของไอ้แมงมุม 3ที่เปิดตัวด้วยรายรับทั่วโลก 381 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำรายได้รวมไป 934 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายหลังภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1เข้าฉายและทำรายได้รวม 955 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [123] โดยเนื้อเรื่องจะเกี่ยวกับการเดินทางตามหาฮอร์ครักซ์ของพวกแฮร์รี่และจบลงที่การตายของด๊อบบี้ ทำให้โทนหนังของภาคนี้จะเป็นแนวโร้ดมูฟวี่หรือภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับการเดินเสียเป็นส่วนใหญ่",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
},
{
"docid": "197313#7",
"text": "ถึงแม้ภาพยนตร์จะทำรายได้น้อยที่สุดแต่อัลบั้มดนตรีประกอบภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบันกลายเป็นอัลบั้มเพลงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในบรรดาอัลบั้มทุกอัลบั้มของแฮร์รี่ พอตเตอร์ และที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือดนตรีประกอบภาพยนตร์ของเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน ได้รับรางวัลออสการ์สาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมอีกด้วย เพลงในอัลบั้มมีดังนี้",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน (ภาพยนตร์)"
},
{
"docid": "10882#1",
"text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ แสดงโดยแดเนียล แรดคลิฟฟ์ ในภาพยนตร์<i data-parsoid='{\"dsr\":[1081,1101,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์</i>ทุกภาคที่สร้างมา",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร)"
},
{
"docid": "222054#3",
"text": "ส่วนในด้านของผู้กำกับการแสดงทางค่ายวอร์เนอร์ บราเดอร์สได้เลือกให้เดวิด เยตส์ ผู้กำกับจากภาค5และภาค6มารับหน้าที่การกำกับในตอนสุดท้ายของภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ทั้งสองตอน ทำให้เยตส์เป็นผู้กำกับที่รับหน้าที่กำกับการแสดงในภาพยนตร์ชุดนี้กว่า 4ภาค มากที่สุดในบรรดาผู้กำกับของแฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งในการเตรียมงานถ่ายทำทั้งหมดเป็นไปอย่างราบรื่น ทางผู้สร้างต้องสร้างป่าโบราณจำลองในสตูดิโอเพื่อถ่ายทำฉากกวางสาวสีเงิน ซึ่งกการเซ็ตฉากและสเปเชี่ยลเอ็ฟเฟ็คที่ใช้มีรายจ่ายที่สูงมาก ทำให้ภาพยนตร์ตอนแรกมีทุนสร้างถึง 250ล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว ในส่วนของการเตรียมงานทั้งหมดใช้เวลาไป 250 วัน ในขณะที่การถ่ายทำใช้เวลาไป 478 วัน",
"title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1"
}
] |
227 | สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสียชีวิตเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "46830#0",
"text": "สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี (พระนามเดิม: หม่อมเจ้ารำเพย; 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2377 - 9 กันยายน พ.ศ. 2404) เป็นพระมเหสีพระองค์ที่สองในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว",
"title": "สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี"
}
] | [
{
"docid": "46830#5",
"text": "สมเด็จพระนางนาถราชเทวีประชวรพระยอดเม็ดเล็ก ทรงพระกาสะเป็นพระโลหิตปนเสมหะออกมา ทรงพระประชวรอยู่หลายเดือนจนสิ้นพระชนม์เมื่อวันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2404 สิริพระชนมายุได้ 28 พรรษา หลังจากนั้น\"ประกาศการพระราชพิธีลงสรงโสกันต์พระเจ้าลูกเธอ\" จ.ศ. 1224 ได้ออกพระนามพระองค์ว่า พระนางเธอพระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ ต่อมา\"ประกาศพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์\" จ.ศ. 1227 ออกพระนามว่า สมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ และ\"พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4\" ออกพระนามว่าสมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์",
"title": "สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี"
},
{
"docid": "46830#14",
"text": "สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี มีพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้งหมด 4 พระองค์ คือ\nโรงเรียนเทพศิรินทร์ ได้มีแนวคิดว่าน่าจะมีรูปเคารพของพระองค์ไว้บูชานั้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 และได้สำเร็จเป็นผลใน ปี พ.ศ. 2541 โดยอัญเชิญประดิษฐาน ณ บริเวณมุขด้านหน้า อาคารเทิดพระเกียรติ เพื่อเป็นเครื่องแสดงถึงความจงรักภักดี และความกตัญญู กตเวที ที่ชาวเทพศิรินทร์ทุกคนมีต่อสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี และยังเป็นสิ่งที่แสดงถึงเกียรติยศอันสูงสุดของชาวเทพศิรินทร์ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นในการนำพระนามาภิไธยของพระองค์มาเป็นชื่อของสถานศึกษา โดยเมื่อวันที่ 9 กันยายน ของทุกๆปี อันเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระองค์ ได้เวียนมาบรรจบครบ ทางโรงเรียนเทพศิรินทร์ อันประกอบด้วย คณะผู้บริหาร คณะครู นักเรียนเก่า นักเรียนปัจจุบัน และบุคลากรของโรงเรียน ได้จัดพิธีวางพวกมาลา และถวายราชสักการะ ณ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เพื่อเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ โดยเรียกวันนี้ว่า \"วันแม่รำเพย\"พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อ พ.ศ. 2419 ซึ่งเป็นปีที่พระองค์ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 25 พรรษาพอดี พระองค์จึงโปรดฯ ให้สถาปนา วัดเทพศิรินทราวาส ขึ้นเพื่อทรงเฉลิมพระเกียรติ และทรงอุทิศพระราชกุศลสนองพระเดชพระคุณแห่งองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ซึ่งได้เสด็จสวรรคตตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์\nโรงเรียนเทพศิรินทร์ ได้รับการสถาปนาจาก องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2428 ในช่วงแรกของการจัดตั้งโรงเรียนนั้น โรงเรียนเทพศิรินทร์ได้อาศัยศาลาการเปรียญภายในวัดเทพศิรินทราวาสเป็นที่ทำการเรียนการสอน\nพ.ศ. 2438 สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ได้ทรงดำริที่จะสร้างตึกเรียนสำหรับวัดเทพศิรินทราวาสขึ้น เพื่ออุทิศพระราชกุศล สนองพระเดชพระคุณแห่งองค์ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระชนนี และเพื่ออุทิศพระกุศลแก่ หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา ชายาของพระองค์ ตึกเรียนหลังแรกนี้ได้รับการออกแบบให้มีศิลปะเป็นแบบโกธิคซึ่งถือว่าเป็นอาคารศิลปะโกธิคยุคแรกและมีที่เดียวในประเทศไทยโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ออกแบบ และในการนี้ พระยาโชฏึกราชเศรษฐี ได้บริจาคทุนทรัพย์เพื่อสร้างตึกอาคารเรียนขึ้นด้านข้างของตึกเรียนหลังแรกอีกด้วย",
"title": "สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี"
},
{
"docid": "45667#8",
"text": "พระองค์สิ้นพระชนม์ที่วังคันธวาส ถนนวิทยุ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 เวลา 23.15 นาฬิกา ด้วยพระอาการสงบ ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพารตลอดจนผู้ใกล้ชิด นับเป็นพระราชธิดาองค์สุดท้ายของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีที่สิ้นพระชนม์ ในการนี้สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี เสด็จไปงานพระราชทานเพลิงพระศพด้วยพระองค์เอง ซึ่งก่อนหน้านี้สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ ไม่เคยเสด็จไปงานพระราชทานเพลิงพระศพพระราชโอรสธิดาพระองค์ใด เนื่องจากคติโบราณที่ห้ามบิดามารดาเผาศพบุตร มิฉะนั้นต้องเผาอีก แต่ครั้งนี้เป็นพระราชธิดาองค์ท้ายสุด พระองค์จึงได้เสด็จมา และมีพระดำรัสที่มีนัยยะความชอกช้ำพระทัย และประชดประชันในพระชะตาชีวิตว่า \"\"...อ๋อ ไปส่งให้หมด พอกันที ไม่เคยไปเลยจนคนเดียว คนนี้ต้องไปหมดกันที\"\" พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ณ ท้องสนามหลวง",
"title": "สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร"
},
{
"docid": "46830#1",
"text": "สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2377 เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ต้น (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาทรัพย์) พระชนนีคือหม่อมน้อย สตรีชาวบางเขนที่มีเชื้อสายอำมาตย์รามัญกับไทย เป็นธิดาคนหนึ่งของนายบุศย์ ชาวบางเขน ซึ่งไม่ปรากฏวงศ์ตระกูล กับคุณแจ่ม หลานสาวของอำมาตย์มอญ คือพระยารัตนจักร (หงส์ทอง สุรคุปต์) (สมิงสอดเบา หัวเมืองหน้าครัวมอญ) คุณม่วงมารดาของคุณแจ่มเป็นน้องสาวต่างมารดาของเจ้าจอมมารดาป้อม ในรัชกาลที่ 1, เจ้าจอมเพ็ง ในรัชกาลที่ 2 และเจ้าจอมมารดาเอม ในรัชกาลที่ 2 บางแหล่งข้อมูลก็ว่า คุณแจ่มเป็นธิดาของพระยารัตนจักร",
"title": "สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี"
},
{
"docid": "178762#4",
"text": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิลาส กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2388 ด้วยพระอาการตรีสัณทฆาฏ ซึ่งเป็นโรคชนิดหนึ่ง จะเกิดเม็ดขึ้นในดี, หัวใจ, ตับ และลำไส้ ทรงพระบังคนเป็นพระโลหิต และจุกเสียดพระนาภี พระนาภีพองคล้ายท้องมาน และที่สุดจะมีพระโลหิตออกทางทวารทั้งเก้า สิริพระชนมายุ 33 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2388",
"title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ"
},
{
"docid": "46830#9",
"text": "อีกฉบับหนึ่ง ทรงบรรยายถึงการสิ้นพระชนม์ไว้อย่างละเอียดดังนี้",
"title": "สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี"
},
{
"docid": "46830#2",
"text": "พระองค์มีเจ้าพี่เจ้าน้องต่างมารดา 8 องค์",
"title": "สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี"
},
{
"docid": "39365#25",
"text": "สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีทรงเริ่มมีพระอาการประชวรด้วยพระโรคความดันพระโลหิตสูง ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ในขณะที่มีพระชนมายุได้ 71 พรรษา และวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 เวลา 15.50 นาฬิกา พระองค์เสด็จเสด็จสวรรคตด้วยพระหทัยวายโดยพระอาการสงบ ณ พระตำหนักวังศุโขทัย รวมพระชนมายุได้ 79 พรรษา 5 เดือน 2 วัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สำนักพระราชวังจัดการพระบรมศพถวายพระเกียรติยศตามราชประเพณี โดยอัญเชิญพระบรมศพถวายพระลองทองใหญ่ประกอบพระโกศ ประดิษฐานเหนือพระแท่นสุวรรณเบญจดลจำหลักลายประดับรัตนชาติภายใต้สัปตปฎลเศวตฉัตร (ฉัตร 7 ชั้น) ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ภายในพระบรมมหาราชวัง พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทในราชสำนักไว้ทุกข์ถวาย มีกำหนด 100 วัน ตั้งแต่วันสวรรคตเป็นต้นไป นอกจากนี้ สำนักนายกรัฐมนตรีได้ประกาศให้สถานที่ราชการต่าง ๆ ลดธงครึ่งเสาเป็นเวลา 3 วัน และให้ข้าราชการไว้ทุกข์เป็นเวลา 15 วันด้วย",
"title": "สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี"
},
{
"docid": "42383#18",
"text": "สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีสิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคพระปับผาสะพิการในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันเสาร์ เดือน 8 ขึ้น 11 ค่ำ ปีเถาะนพศก จ.ศ. 1289 (9 กรกฎาคม พ.ศ. 2470) ณ ตำหนักสมเด็จ วังบางขุนพรหม พระชนมายุ 66 พรรษา สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี พร้อมด้วยพระนัดดา และพระนัดดาทรงเลี้ยง ทรงหมอบเฝ้าฯ อยู่ข้างพระที่ พระศพอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง พระราชทานพระเกียรติยศถวายไว้อาลัย 100 วันเป็นกรณีพิเศษ พระเมรุ นั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเป็นผู้อำนวยการสร้าง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียบเรียงหนังสือ \"สามก๊ก\" แจกเป็นของที่ระลึก และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงพระนิพนธ์โคลงถวายหน้าพระศพทุกสัตมวาร",
"title": "สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี"
},
{
"docid": "46830#4",
"text": "เมื่อสมเด็จพระนางนาฏบรมอรรคราชเทวีในรัชกาลที่ 4 เสด็จสวรรคต จึงไม่มีพระราชนัดดาฝ่ายในในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เป็นพระองค์เจ้าเหลืออยู่ ในวันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2395 (นับแบบปัจจุบันเป็น พ.ศ. 2396) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้สถาปนาหม่อมเจ้ารำเพยเป็น \"พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์\" ซึ่งมีความหมายว่า \"บุปผชาติที่เป็นที่ยินดีและเป็นที่พักพิงของมวลหมู่ภมร\" ต่อมาพระราชวงศ์และเสนาบดีได้ถวายให้เป็นพระมเหสี ซึ่งประกาศในรัชกาลที่ 4 ออกพระนามว่าสมเด็จพระนางนาถราชเทวี",
"title": "สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี"
}
] |
1505 | ใครเป็นผู้ก่อตั้ง โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน? | [
{
"docid": "69013#3",
"text": "เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2524 ในปีงบประมาณ 2525 โรงเรียนได้ยกฐานะเป็น โรงเรียนสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี 4 มุมเมืองจากรัฐบาล ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของกรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ประกาศเปลี่ยนชื่อ เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2525 เป็นโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน โดยให้ใช้อักษรย่อเป็น ร.ส.ท. และกรมสามัญศึกษา ได้จัดงบประมาณให้อีก 5 ล้านบาท เพื่อต่อเติมอาคารเรียนให้เต็มหลังจำนวน 15 ห้องเรียน กรมสามัญศึกษาได้จัดทำพิธีเจิมแผ่นศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2525 โดย ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธี ในปีงบประมาณ 2526 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างจากกรมสามัญศึกษาเพื่อก่อสร้างอาคารฝึกงาน จำนวน 3,100,100 บาท และต่อเติมอาคารเรียนแบบพิเศษ 1 หลัง จำนวน 7,500,000 บาท อีกทั้งยังได้รับการจัดสรรงบพัฒนาจังหวัดจาก ส.ส. ปลิว ม่วงศิริ สร้างรั้ว 1 ด้าน เป็นเงิน 160,000 บาท ปีงบประมาณ 2527 ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษาเพื่อก่อสร้างรั้ว เขื่อน และสะพาน จำนวน 453,009 อนึ่งทางชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน ได้บริจาคสร้างรั้ว ด้านทิศตะวันออก เรือนพักฝ่ายปกครองและครูเวร จำนวน 225,700 บาท ปีงบประมาณ 2528 โรงเรียนได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษา เพื่อก่อสร้างรั้วและเขื่อนด้านตะวันตก จำนวน 250,000 บาท โดยสมทบกับเงินบำรุงการศึกษา 490,000 บาท รวมเป็นเงิน 740,000 บาท ชมรมผู้ปกครองและครูฯ และผู้มีจิตศรัทธาร่วมก่อสร้างหอประดิษฐานพระพุทธรูป ขนาดหน้าตักกว้าง 39 นิ้ว มอบให้โรงเรียน และได้ทำพิธีเบิกเนตรพระพุทธรูป เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2528 โดยมีนายขุนทอง ภูผิวเดือน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธี ในปีงบประมาณ 2531 โรงเรียนได้งบประมาณจากกรมสามัญศึกษา เพื่อต่อเติมอาคารเรียนแบบพิเศษ 6 ชั้น อีก 12 ห้องเรียน เป็นเงิน 3,170,000 บาท และในปีเดียวกันยังได้รับบริจาคอาคารสำนักงานบริหาร 2 ชั้น ขนาด 13 x 21 เมตร 1 หลัง จากนายมนูญ สุ่มนาย ร่วมกับผู้มีจิตรศรัทธาและชมรมผู้ปกครองและครูฯ เป็นจำนวนเงินรวม 1,111,000 บาท อาคารนี้ใช้เป็นที่ทำงานผู้บริหาร ห้องประชุมและสำนักงานธุรการ โดยผู้บริจาคขอให้ชื่อาคารว่า “อาคารสมยศอนุสรณ์” เป็นอนุสรณ์คุณงามความดีแก่ นายสมยศ เจริญโสภา ผู้ก่อตั้งและเป็นผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียน ในปี 2531 ซึ่งครบวาระ 9 ปี แห่งการก่อตั้งโรงเรียนและชมรมผู้ปกครองฯ ร่วมกันจัดงาน “9 พ.ศ. ร.ส.ท. รำลึก” ในวันที่ 2 กันยายน 2532 โดยจัดให้มีนิทรรศการทางวิชาการ พิธีรับมอบอาคาร พิธีรับบริจาค และจัดงานฉลองอธิบดีกรมสามัญศึกษา นายพะนอม แก้วกำเนิด เป็นประธาน",
"title": "โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน"
}
] | [
{
"docid": "69013#4",
"text": "ปีการศึกษา 2531 กรมสามัญศึกษาได้มอบหมายให้ นายบำเพ็ญ สุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนบางปะกอบวิทยาคม มาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน ท่านได้บริหารงานโรงเรียนอย่างมีหลักการ เหตุผล ด้วยความตั้งใจจริงและความทุ่มเท เสียสละ อดกลั้น ในปีการศึกษา 2533 กรมสามัญศึกษา 2534 ซึ่งเป็นวาระครบ 12 ปีแห่งการก่อตั้ง โรงเรียนและชมรมผู้ปกครองฯ ได้ร่วมจัดงาน “12 พ.ศ. ร.ส.ท. รำลึก” เมื่อวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2535 โดยจัดเป็นงานนิทรรศการทางวิชาการ การทำบุญฉลองโรงเรียน และการหารายได้เพื่อจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับจัดการเรียนการสอน จำนวน 20 เครื่อง โดยได้เงินมาจำนวนประมาณ 80,000 บาท มอบให้คณะกรรมการคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนดำเนินการเปิดสอนคอมพิวเตอร์แก่นักเรียนและบุคคลทั่วไปเพื่อนำเงินที่ได้มาเป็นทุนจัดซื้อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ รุ่น 80286-20 มูลค่า 400,000 บาท และผู้อำนวยการบำเพ็ญ สุวรรณ ได้เกษียณอายุราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนระดับ 9 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2535 จึงนับได้ว่า ท่านเป็นผู้บุกเบิกโรงเรียน สู่ยุคคอมพิวเตอร์ โดยแท้เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2535 นายถวิล บุญภักดี ผู้อำนวยการโรงเรียนบางใหญ่ จ.นนทบุรี ได้รับคำสั่งย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งนี้ และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2535 จึงได้มีการก่อตั้งสมาคมผู้ปกครองและครูฯ เพื่อมาเป็นองค์กรหลังคอยสนับสนุนการจัดการบริหารการศึกษาของโรงเรียน และยังได้รับคัดเลือกจากกลุ่มโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาส่วนกลาง กลุ่มที่ 7 อนึ่งท่านได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนระดับ 9 จากการทำผลงานทางวิชาการที่โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน",
"title": "โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน"
},
{
"docid": "69013#6",
"text": "ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2539 นายจงอาง กล้องเจริญ ผู้อำนวยการโรงเรียนศึกษานารีวิทยา ได้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน ท่านที่ 5 ท่านมีนโยบายว่า จะพัฒนาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนเสริมสร้างนักเรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรมที่ดี และให้ครู-อาจารย์ มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยขณะนี้ท่านได้พัฒนาบรรยากาศในการบริหารงาน ปรับปรุงห้องโสตทัศนศึกษา และนำโรงเรียนเข้าสู่การปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และได้รับมอบหมายให้เป็นประธานกลุ่มโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาส่วนกลาง กลุ่มที่ 7 และประธานสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3",
"title": "โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน"
},
{
"docid": "69013#8",
"text": "วันที่ 16 ธันวาคม 2545 ดร. สาธิต สันนะกิจ ผู้อำนวยการโรงเรียนระดับ 9 อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ได้มาเป็นผู้บริหารโรงเรียนลำดับที่ 7 หลังจากใช้เวลาศึกษาข้อมูล สภาพปัจจุบัน และปัญหาของโรงเรียน ท่านได้ระดมความคิดจากทุกฝ่าย เพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียนให้เข้าสู่ปีที่ 25 แห่งการก่อตั้ง โดยได้ปรับสายการบริหารงาน สำนักงานฝ่ายบริหาร การบริหการอาคารสถานที่ การปรับปรุงห้องเรียน อาคารเรียน-อาคารประกอบ ปรับปรุงลานอเนกประสงค์หน้าโรงอาหารและได้ร่วมกับได้ร่วมกับสมาคมผู้ปกครองและครูฯ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กรรมการเครือข่ายผู้ปกครองจัด งานวันสถาปนาโรงเรียนครบรอบ 24 ปี ในวันที่ 22 มีนาคม 2546 ซึ่งได้จัด พิธีเปิดป้ายอาคารเรียนแบบพิเศษ 7 ชั้น โดย ฯพณฯ ดร.สิริกร มณีรินทร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้เกียรติเป็นประธานในพิธี เปิดงานนิทรรศการทางวิชาการ และทอดผ้าป่าเพื่อการศึกษาเพื่อระดมทรัพยากรมาปรับปรุงห้องสมุด-ห้องประชุม-สำนักงานฝ่ายบริหาร ได้เงินจำนวน 1,300,000 บาท สำหรับแผนการดำเนินงานขั้นต่อไปนอกจากนำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานมาใช้จัดการศึกษา โดยเน้นคุณภาพแล้ว โรงเรียนจะดำเนินการระดมทรัพยากรเพื่อขอรื้อกถอนห้องน้ำนักเรียนและขยายโรงอาหาร ปรับปรุงสนามฟุตบอล สร้างห้องส้วมของนักเรียนใหม่ ปรับปรุงสวนหย่อมข้างอาคารประชาสัมพันธ์ ปรับปรุงบริเวณสนามบาสเกตบอลและจัดการศึกษาตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียนที่กำหนดไว้ว่า นักเรียนมีคุณธรรม นำความรู้ คู่สุขภาพดี เทคโนโลยีเป็นสำคัญ สัมพันธ์ชุมชนรู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีและนำศักยภาพสร้างตนมาเป็นปัจจัยดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข โดยชุมชนมีส่วนร่วมทั้งมีความมุ่งมั่นให้ “รัตนโกสินทร์ สมโภชบางขุนเทียน ก้าว..ต่อไป อย่างไม่หยุดยั้งตามมาตรฐานการศึกษาของกรมสามัญศึกษาตามปรัชญาการศึกษาของโรงเรียน คุณธรรม นำยุค สุขภาพดี มีความรู้ มุ่งสู่อาชีพ”",
"title": "โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน"
},
{
"docid": "69013#1",
"text": "โรงเรียนแห่งนี้ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประเภทสหศึกษาที่ได้เริ่มก่อตั้งโดย นายสมยศ เจริญโสภา อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนคนแรก ในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์โรงเรียนสตรีวัดระฆัง เห็นว่าบริเวณโรงเรียนสตรีวัดระฆังคับแคบมาก เพราะมีเนื้อที่เพียง 2 ไร่ 2 งาน 79 ตารางวา จึงได้ติดต่อกับ อาจารย์พรพรรณ ยรรยงสถิตย์ โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย ภรรยาของ พ.ท.ยิ่งยุทธ ยรรยงสถิตย์ ผู้ตรวจการเคหะแห่งชาติเพื่อขอที่ดินในบริเวณการเคหะชุมชนธนบุรี ถนนธนบุรี-ปากท่อ กิโลเมตรที่ 8.5 ซึ่งพอจะยกให้แก่ โรงเรียนสตรีวัดระฆังได้ จึงได้มีการประชุมปรึกษาหารือกันระหว่างโรงเรียนสตรีวัดระฆังและเจ้าหน้าที่การเคหะแห่งชาติซึ่งมีมติที่ประชุมให้ยกที่ดินการเคหะแห่งชาติ จำนวน 12 ไร่ ให้แก่โรงเรียนสตรีวัดระฆังเพื่อก่อสร้างเป็นโรงเรียนสตรีวัดระฆังแห่งที่ 2 และให้รับทั้งชายหญิง โรงเรียนสตรีวัดระฆังจึงได้แจ้งให้กรมสามัญศึกษา ได้ขอให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาประเภทสหศึกษา กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนบางขุนเทียนวิทยา",
"title": "โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน"
},
{
"docid": "69013#7",
"text": "ในวันที่ 5 มกราคม 2542 นายสวัสดิ์ เกิดศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนวินิตบางแคปานขำ ระดับ 9 ได้ย้ายมารับตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนแทน นายจงอาง กล้องเจริญ ที่ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ในปี 2542 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียนได้รับโล่จากกระทรวงศึกษาธิการในฐานะเป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนได้รับการยกย่องว่าประพฤติดี มีคุณธรรม และบำเพ็ญประโยชน์นอกจากนี้ท่านได้เร่งรัดการพัฒนาการเรียนการสอน นำโรงเรียนเข้าเชื่อมโยงกับเครือข่าย Internet ตามโครงการ Resouce Center เป็นผู้นำปฏิรูปการเรียนรู้ เป็นผู้นำระบบการช่วยเหลือดูแลนักเรียนที่มีโรงเรียนต่าง ๆ มาขอดูงานและเชิญเป็นวิทยากรขยายผลมากมาย นำโรงเรียนเข้าโครงการประเมินตนเองเพื่อประกันคุณภาพการศึกษา รุ่นที่ 2 เป็นประธนสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 และได้ดูแลการดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 7 ชั้น ซึ่งได้รับงบประมาณจากการเสนอขอแปรญัตติโดยท่านอดีต ส.ส. ประเสริฐ ม่วงศิริ จำนวน 35,000,000 บาท จนกระทั่งแล้วเสร็จท่ามกลางวิกฤตทางเศรษฐกิจในช่วงยุค IMF และท่านได้เกษียณอายุราชการไปเมื่อวันที 30 กันยายน 2545",
"title": "โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน"
},
{
"docid": "69013#0",
"text": "โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน () เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 (กรุงเทพมหานคร) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนพระรามที่ 2 ซอย 69 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันมีเนื้อที่ 12 ไร่ เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา และเป็นโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช 4 มุมเมือง",
"title": "โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน"
},
{
"docid": "69013#5",
"text": "เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 นายประสาร อุตมางคบวร ผู้อำนวยการโรงเรียนวิมุตยารามพิทยากรระดับ ได้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน แทนนายถวิล บุญภักดี ที่ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา ซึ่งโรงเรียนกำลังจะพัฒนาไปสู่ศูนย์บริการทางวิชาการแก่ชุมชนในย่านบางขุนเทียนที่มีคุณภาพมีมาตรฐานทางวิชาการ และได้รับการยอมรับจากชุมชนและกลุ่มโรงเรียนฯ ท่านได้วางรากฐานระบบคอมพิวเตอร์โรงเรียนฯ ท่านได้วางรากฐานระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายในโรงเรียน (LAN) ระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายสำหรับจัดข้อมูลการรับนักเรียนชั้น ม.1 ของกลุ่มโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ส่วนกลาง กลุ่มที่ 7 และพัฒนาศูนย์วิชาโดยใช้ระบบดาวเทียมสื่อสาร จนกระทั่งวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2539 ได้ได้รับคำสั่งให้ไปเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนทวีธาภิเศก นับว่า ท่านนำโรงเรียนไปสู่ความเป็นสากล",
"title": "โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน"
},
{
"docid": "69013#2",
"text": "เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2522 และกรมสามัญศึกษาได้อนุมัติให้เปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 145 คน ครู-อาจารย์ 9 คน นักการภารโรง 1 คน โดยอาศัยเรียนที่โรงเรียนวัดนางร่ม (วัดยายร่ม) สังกัดกรุงเทพมหานคร ในปีงบประมาณ 2522 กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณ 343,500 บาท ให้แก่โรงเรียนเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว 1 หลัง จำนวน 5 ห้องเรียน และบ้านพักอาจารย์ใหญ่ 1 หลัง และส้วม 1 หลัง 5 ที่นั่ง ก่อสร้างเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2522 ในปีงบประมาณ 2523 กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณให้แก่โรงเรียน จำนวน 7 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 5 ชั้น จำนวน 25 ห้อง วางศิลาฤกษ์ เมื่อวันพุธที่ 7 พฤษภาคม 2523 เวลา 09.19 น. และได้ย้ายจากโรงเรียนวัดนางร่มมาเรียนที่อาคารถาวรแห่งนี้",
"title": "โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน"
},
{
"docid": "195103#0",
"text": "โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางเขน ได้ก่อตั้งขึ้น ในงานมหามงคล สมัยสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์บางเขนครบ 200 ปี พ.ศ. 2525 เป็นโรงเรียนรัฐบาล ระดับมัธยมศึกษา จัดการศึกษาในระบบสหศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 8 / 1 หมู่ที่ 6 ซอยวัชรพล ถนนรามอินทรา แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220",
"title": "โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางเขน"
}
] |
2844 | เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส วางขายที่ประเทศใด ? | [
{
"docid": "281173#2",
"text": "มีการประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส ทางเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของเดอะซิมส์ 3 เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 และได้กำหนดวันวางจำหน่ายในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 สำหรับทวีปอเมริกาเหนือ และวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 สำหรับทวีปยุโรป สำหรับในประเทศไทยมีกำหนดวันวางจำหน่ายในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552[2]",
"title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส"
}
] | [
{
"docid": "281173#6",
"text": "รูปแบบการเล่นของภาคเสริม เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส คือการหาเควสต่างๆ หรือที่เรียกว่าการผจญภัย ซึ่งการผจญภัยจะประกอบด้วยเป้าหมายต่างๆเชื่อมโยงกันในเรื่องราว ซึ่งมีเป้าหมายทั่วไปรวมถึงการสำรวจสุสานต่างๆหาของมีค่าและพูดคุยกับชาวซิมส์คนอื่นๆ เพื่อสร้างสังคมของซิมส์ เมื่อสำรวจสุสาน ซิมส์ของคุณจะต้องฝ่าฝันอุปสรรคต่างๆ เพื่อปลดล็อกห้องถัดไป เมื่อชาวซิมส์เข้าไปในสุสานครั้งแรก จะเกิดหมอกสงครามขึ้น หมอกสงครามจะหายไปเมื่อชาวซิมส์เดินผ่านห้องต่างๆที่เกิดหมอกสงครามอยู่ ซึ่งสุสานต่างก็มีปริศนาลี้ลับซ่อนเงื่อน เช่น กับดัก, หลุมดำ และสวิทช์เปิดบันได เป็นต้น",
"title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส"
},
{
"docid": "281173#5",
"text": "ภาคเสริมเวิลด์ แอดเวนเจอร์ส ได้เปิดโอกาสให้ผู้เล่นสามารถพาชาวซิมส์ไปยังประเทศอียิปต์,ประเทศฝรั่งเศส และ ประเทศจีน ชาวซิมส์สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวัฒนธรรมขึ้นอยู่กับสถานที่ที่ชาวซิมส์ไป ในประเทศอียิปต์ ชาวซิมส์ สามารถเยี่ยมชมปิรามิดและพบกับปริศนาที่ซ่อนไว้ให้ปิรามิด ในประเทศจีน เยี่ยมชมดอกไม้ไฟรวมทั้งการกินและศิลปะการต่อสู้ และในประเทศฝรั่งเศส ชาวซิมส์สามารถมีส่วนร่วมในการทำไวน์รสชาติกลมกล่อม ระยะเวลาที่ชาวซิมส์จะสามารถอยู่ในประเทศที่ชาวซิมส์เที่ยวได้นั้นขึ้นอยู่กับระดับวีซ่า ระดับวีซ่านี้จะเพิ่มขึ้นไปในการผจญภัยต่างๆ ถ้ามีระดับวีซ่ามากขึ้นเท่าไร ชาวซิมส์จะสามารถซื้อบ้านพักตากอากาศเป็นของตัวเองและขยายเวลาการมาพักร้อนได้เท่านั้น [4][5]",
"title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส"
},
{
"docid": "281173#1",
"text": "สำหรับในภาคเสริมเวิลด์ แอดเวนเจอร์ส ก่อนหน้านี้เคยมีภาคเสริมที่เกี่ยวกับการพักร้อนมาก่อนหน้านี้แล้วคือ \"เดอะซิมส์ วัยรักพักร้อน\" และ \"เดอะซิมส์ 2 ทริปซ่าส์\" แต่ในภาคเสริมเวิลด์ แอดเวนเจอร์สไม่เหมือนกับภาคเสริมที่แล้วมา เพราะภาคเสริมเวิลด์ แอดเวนเจอร์ส จะเน้นไปที่การผจญภัยหาสมบัติมากกว่าการที่จะพาชาวซิมส์ไปพักร้อน โดยมีสถานที่ที่มีอยู่จริง 3 สถานที่ ไม่ว่าจะเป็น ประเทศอียิปต์,ประเทศจีน และประเทศฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังสามารถพาชาวซิมส์ไปเรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ๆ พัฒนาทักษะการฝึกป้องกันตัว ทักษะการถ่ายภาพ และทักษะการทำไวน์ อีกทั้งยังเข้าไปพบปะพูดคุยกับชาวซิมส์ที่อยู่ในประเทศนั้นๆได้ แต่มีอีกอย่างที่เพิ่มเข้ามาคือโหมดสร้างชั้นใต้ดิน โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปปรับระดับของพื้นดินเลย และระดับวีซ่าจะมีผลต่อวันที่ชาวซิมส์จะมาเที่ยว ระดับวีซ่าจะเพิ่มก็ต่อเมื่อพาชาวซิมส์ไปผจญภัยในที่ต่างๆ [1]",
"title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส"
},
{
"docid": "281173#10",
"text": "ทักษะการถ่ายภาพขึ้นอยู่กับการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิทัลพกพา ภาพถ่ายที่ถ่ายโดยใช้มุมมองบุคคลที่หนึ่ง เกมสามารถตรวจสอบเรื่องการถ่ายภาพ เกมมีเป้าหมายให้ผู้เล่นในรูปแบบของทักษะการถ่ายภาพสำหรับชาวซิมส์นั้น นอกจากนี้ผู้เล่นสามารถเลือกรูปแบบภาพต่างๆเช่น รูปแบบทัศนียภาพและโทนสีซีเปียเป็นต้น",
"title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส"
},
{
"docid": "248717#22",
"text": "Nelly Furtado ได้ร้องเพลง \"Manos al Aire\" เป็นภาษาซิมส์สำหรับ เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส ซึ่งตอนนี้มิวสิกวิดีโอเพลงได้อัปโหลดลงยูทูบแล้ว . นอกจากนี้ Katie Melua ยังได้ร้องเพลง \"If the Lights go out\" (ซึ่งต้นฉบับนั้นได้ร้องโดย The Hollies) ในภาคเสริม \"เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส\" และขณะนี้เพลงดังกล่าวได้อัปโหลดลง ยูทูบแล้ว",
"title": "ภาษาซิมส์"
},
{
"docid": "673582#1",
"text": "ชุดเกมเสริม เอาต์ดอร์รีทรีต มีรูปแบบคล้ายคลึงกับ เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส, เดอะซิมส์ 2 ทริปซ่าส์ และ เดอะซิมส์ วัยรักพักร้อน เพียงแต่เน้นในเรื่องการเข้าค่ายพักแรม และการพักผ่อนเป็นหลัก\nเซอร์ไพรส์ครั้งใหม่กำลังรอซิมของคุณอยู่ในป่า ออกสำรวจที่หมายแห่งใหม่ Granite Falls (แกรนิต ฟอลส์) ซิมของคุณจะได้ตั้งแคมป์ ร้องเพลง หรือเล่าเรื่องผีรอบกองไฟ และสนุกกับกิจกรรมใหม่ทุกรูปแบบที่มีให้! เช็ก, เดนมาร์ก, เยอรมัน (DE), อังกฤษ (US), สเปน (ES), ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส (FR), อิตาลี, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เนเธอร์แลนด์, นอร์เวย์, โปแลนด์, โปรตุเกส (BR), รัสเซีย, สวีเดน, จีนกลาง",
"title": "เดอะซิมส์ 4 เอาต์ดอร์รีทรีต"
},
{
"docid": "281173#8",
"text": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส ภาคนี้ ยังเพิ่มทักษะสามทักษะที่มีเป้าหมายใหม่และความท้าทายต่อผู้เล่น ทักษะศิลปะป้องกันตัวซึ่งสามารถฝึกได้กับหุ่นโชว์ เมื่อฝึกไปได้สักพักชาวซิมส์ก็จะสามารถสับไม้และวัตถุอื่นๆ โดยใช้อิฐสองบล็อกเป็นตัวตั้งวัตถุได้ อีกทั้งซิมส์ของคุณยังสามารถร่วมการแข่งขันประลองฝีมือต่างๆเพื่อเพิ่มอันดับของซิมส์ ระดับทักษะของชาวซิมส์จะเห็นได้ตามสายคาดและสีเสื้อที่ชาวซิมส์ใส่อยู่ ตัวอย่างเช่น ถ้าอยู่ในระดับแรก สีของเสื้อจะเป็นสีขาว สายคาดสีดำ แต่พอฝึกไปได้สักพัก สีของเสื้อและสาดคาดจะเปลี่ยนไปเป็นสีอื่นๆ ตามระดับทักษะที่ได้ฝึกไว้ เป็นต้น",
"title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส"
},
{
"docid": "281173#7",
"text": "นอกจากนี้ ตัวเกมยังเปิดโอกาสให้ผู้เล่นสามารถใช้เครื่องมือเข้าไปสร้างหรือปรับแต่งหลุมศพได้ นอกจากนี้ผู้เล่นยังสามารถเข้าไปเพิ่มลักษณะการเล่นเฉพาะวัตถุสำหรับสุสานได้ และยังเพิ่มลักษณะพิเศษต่างๆเพื่อให้เกิดความเร้าใจในการผจญภัยได้",
"title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส"
},
{
"docid": "281173#18",
"text": "เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ได้นำนักร้อง Nelly Furtado, Pixie Lott, Stefanie Heinzmann, Matt and Kim และ Young Punx มาขับร้องเป็น ภาษาซิมส์ สำหรับใช้ในเกมนี้.[13] โดยเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ยังมีศิลปินนักร้องอีกมากมายที่มาขับร้องเพลงในภาคเสริมตัวนี้[14]",
"title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส"
},
{
"docid": "281173#22",
"text": "สำหรับเดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส ภาคเสริม เป็นแกมที่เจ็ดในการจัดอันดับ 10 เกมที่ขายดีที่สุดตามการจัดอันดับของ เอ็นพีดี และนอกจากนี้เกม เดอะซิมส์ 3 ยังได้ชื่อว่าเป็นเกมที่ขายดีที่สุดแห่งปี 2009[21]",
"title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส"
},
{
"docid": "281173#20",
"text": "Audrye Sessions - \"Turn Me Off\" Broken Hearts Club - \"Na Na Na\" Esmee Denters - \"Outta Here\" Fefe Dobson - \"I Want You\" Friday Night Boys - \"Can't Take That Away\" Nelly Furtado - \"Manos al Aire\" Stefanie Heinzmann - \"No One (Can Ever Change My Mind)\" Pixie Lott - \"Mama Do\" Madina Lake - \"Lets Get Outta Here\" Manchester Orchestra - \"I've Got Friends\" Matt and Kim- \"Daylight\" Katie Melua - \"If the Lights Go Out\" Metalkpretty - \"Wake Up, Wake Up\" Natalie Portman's Shaved Head - \"Me + Yr Daughter\" Hot Chelle Rae - \"Say\" LeAnn Rimes - \"You've Ruined Me\" Cassie Steele - \"Summer Nights\" Evan Taubenfeld - \"Pumpkin Pie\" Young Punx - \"Juice and Sim\"",
"title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส"
},
{
"docid": "281173#23",
"text": "หมวดหมู่:ภาคเสริม * หมวดหมู่:เกมสำหรับวินโดวส์ หมวดหมู่:เกมในระบบแมคโอเอสเท็น หมวดหมู่:เกมในโทรศัพท์มือถือไอโฟน หมวดหมู่:เกมสำหรับไอโอเอส หมวดหมู่:วิดีโอเกมที่มีฉากในประเทศอียิปต์ หมวดหมู่:วิดีโอเกมที่มีฉากในประเทศจีน",
"title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส"
},
{
"docid": "281173#3",
"text": "ในช่วงแรกที่เดอะซิมส์ 3 ภาคเสริมเวิลด์ แอดเวนเจอร์สออกวางจำหน่าย เกมนี้ได้รับการตอบรับในด้านบวกจากหลายสำนักเช่น ในเกมโปร วันอัพดอตคอม รวมไปถึงเมตะคริติค โดยได้รับคะแนนการวิจารณ์เกมจาก เมตะคริติค 81 คะแนน[3]",
"title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส"
},
{
"docid": "281173#11",
"text": "สิ่งมีชีวิตในเกมเป็นผีมัมมี่ที่มีความสามารถหลายอย่าง เช่น ไม่ต้องไปนอน พบได้ในสุสาน ผู้เล่นอาจถูกผีมัมมี่ต้องคำสาปได้ถ้าหากไปทำร้ายหรือขัดขืน",
"title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส"
},
{
"docid": "246159#8",
"text": "ภาคเสริมตัวแรกของเดอะซิมส์ 3 มีชื่อว่า เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส ซึ่งพัฒนาโดย The Sims Division ได้วางจำหน่ายแล้ว รวมถึงชุดไอเท็มเสริม ไฮ-เอนด์ ลอฟท์ ซึ่งเป็นชุดไอเท็มเสริมที่ครบรอบ 10 ปี เกมเดอะซิมส์ ได้แถมไอเท็มจากเดอะซิมส์ และเดอะซิมส์ 2 ได้วางจำหน่ายแล้ว และภาคเสริมล่าสุดคือ เดอะซิมส์ 3 แอมบิชันส์ และนอกจากนี้ยังมีสิ่งของเพิ่มเติมให้ดาวน์โหลดอีกใน The Sims 3 Store",
"title": "เดอะซิมส์ (ชุดวิดีโอเกม)"
},
{
"docid": "281173#9",
"text": "ทักษะการทำไวน์จะขึ้นอยู่กับส่วนผสมของผลไม้ที่จะใส่ลงในเครื่องทำไวน์ คุณภาพของไวน์ขึ้นอยู่กับคุณภาพของผลไม้ที่นำไปใส่ลงเครื่องทำไวน์รวมทั้งวิธีการผลิตไวน์ มูลค่าของไวน์จะเพิ่มขึ้นโดยการนำขวดไวน์ไปใส่ในห้องใต้ดินและเก็บไว้ให้นานที่สุด ยิ่งเก็บไวน์ได้นานเท่าไร ก็จะยิ่งมีมูลค่าของไวน์มากขึ้นเท่านั้น",
"title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส"
},
{
"docid": "95098#2",
"text": "เดอะซิมส์ 2 สร้างขึ้นต่อจากเกมเดอะซิมส์เวอร์ชันแรก โดยภาพของเกมนี้จะใช้กราฟิก 3D ช่วยทำให้เกมดูน่าเล่นขึ้นกว่าเดิม วางจำหน่ายครั้งแรกที่อเมริกาเหนือเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) และกลายเป็นเกมชุดที่ประสบความสำเร็จตลอดมา โดยสามารถขายเกมนี้ออกได้ 1,000,000 ก๊อปปี้ใน 10 วันแรก[2] ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากความสำเร็จเชิงพาณิชย์ของเดอะซิมส์ 2 จึง ได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักวิจารณ์[3] และเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เกมเดอะซิมส์ขายออกได้มากกว่า 13 ล้านหน่วยทั่วโลกและเป็นเกมที่ขายดีที่สุดในปี 2004 (พ.ศ. 2547) [4] และเนื่องจากเกมชุดเดอะซิมส์ 2 สามารถขายออกได้มากกว่า 100 ล้านสำเนา จึงได้มีการฉลองยอดขายในเว็บไซต์เดอะซิมส์ 2 เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2551[5] ต่อมา ทาง EA ได้ประกาศถึงการออกวางจำหน่ายของเกมเดอะซิมส์ 3 ภาคต่อของเดอะซิมส์ 2 เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และได้กำหนดวันวางจำหน่ายในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) นี้[6]",
"title": "เดอะซิมส์ 2"
},
{
"docid": "399620#0",
"text": "เดอะซิมส์ 3 สัตว์เลี้ยงจอมยุ่ง () เป็นเกมในภาคเสริมของชุด เดอะซิมส์ 3 ในการเล่น วางจำหน่ายในประเทศไทยวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ",
"title": "เดอะซิมส์ 3 เพท"
},
{
"docid": "281173#14",
"text": "โดยได้สัมภาษณ์ ลินเซย์ เพียร์สัน ผู้ผลิตเกมนี้ได้กล่าวว่า จะเป็นเมืองที่นำมาจากสถานที่จริงและให้ผู้เล่นสามารถปรับแต่งสิ่งปลูกสร้างต่างๆเพื่อแลกเปลี่ยนกันได้ ภาคเสริมนี้แสดงความต้องการที่เธอกล่าวไว้ว่าลักษณะของภาคเสริมนี้แตกต่างจากแต่ก่อน[9]",
"title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส"
},
{
"docid": "281173#12",
"text": "นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือสร้างชั้นใต้ดินใหม่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องทำการปรับระดับของพื้นดินแต่อย่างใด ซึ่งสามารถสร้างชั้นใต้ดินได้สูงสุดถึง 4 ชั้น",
"title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส"
},
{
"docid": "281173#0",
"text": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส (English: The Sims 3 World Adventures) เป็นภาคเสริมตัวแรกของเกมเดอะซิมส์ 3 พัฒนาโดย อีเอแบล็คบอกซ์และเดอะซิมส์ดิวิชัน จัดจำหน่ายโดยอิเล็กโทรนิคอาร์ต",
"title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส"
},
{
"docid": "281173#17",
"text": "ผู้ที่ประพันธ์เพลงให้กับเกม เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส คือ Steve Jablonsky ก่อนหน้านี้เขาได้ประพันธ์เพลงให้กับเกม เดอะซิมส์ 3 ตัวหลักมาก่อนหน้าแล้ว เขาประพันธ์เพลงโดยใช้เครื่องดนตรีทั้งหมด 35 ชิ้นบรรเลงเพลง และใช้วงดนตรีทั้งคณะ และบันทึกเสียงที่ Eastwest Studios ในย่านฮอลลิวูด [12]",
"title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส"
},
{
"docid": "281173#21",
"text": "ภาคเสริมนี้ได้รับการตอบรับมาเป็นอย่างดี สำหรับการวิจารณ์เกมโดย เรชูล มัวร์ จาก เกมโปร วิจารณ์เกมนี้ว่าคุณสมบัติของเกมนี้ดีมาก เพราะเหตุนี้เองสามารถทำให้ผู้เล่นเสียเวลาหลายชั่วโมงไปกับการเล่นเกม[17] สำหรับการวิจารณ์เกมโดย สตีฟ บัทส์ จาก ไอจีเอ็น ได้วิจารณ์เกมนี้ว่า เป็นเกมผจญภัยที่ใช้ทักษะและการแก้ไขปัญหาของการผจญภัย และการพักผ่อนของครอบครัว แต่ในข้อสรุปของเขากล่าวว่า \"ผมหวังว่าในภาคเสริม เวิลด์ แอดเวนเจอร์สนี้ อาจจะเป็นต้นแบบสำหรับภาคเสริมเดอะซิมส์ในอนาคต\"[20]",
"title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส"
},
{
"docid": "281173#16",
"text": "สำหรับเวอร์ชันโทรศัพท์มือถือ ขณะนี้ได้ปล่อยให้ดาวน์โหลดแล้ว ส่วนเวอร์ชันไอโฟน ก่อนหน้านี้จะะปล่อยให้ดาวน์โหลดผ่าน App Store ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 แต่ได้ถูกเลื่อนออกไป เนื่องจากปรับปรุงแก้ไขปัญหาบางส่วนที่เกิดขึ้น โดยกำหนดวันปล่อยให้ดาวน์โหลดผ่าน App Store ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553 ซึ่งตอนนี้ได้ปล่อยให้ดาวน์โหลดผ่าน App Store เรียบร้อยแล้ว[11]",
"title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส"
},
{
"docid": "281173#13",
"text": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส ได้ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552[6] ซึ่งเป็นภาคเสริมของ \"เดอะซิมส์ 3\" โดยแน่นอนได้เลยว่าจะมีการผลิตเหมือนกับ \"เดอะซิมส์\" และ \"เดอะซิมส์\" 2 อย่างแน่นอน [7] โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบที่ให้ชาวซิมส์มีสัตว์เลี้ยง ดาวน์ทาวน์และสถานที่พักผ่อน ซึ่งเหมือนกับภาคเสริมที่ผ่านมา คาดว่าอาจจะได้รวมอยู่ในชุดภาคเสริมในอนาคต เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ได้ประกาศว่าเกมนี้เป็นเกมทองของปีนี้[8]",
"title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส"
},
{
"docid": "246159#17",
"text": "เดอะซิมส์ 3 และ เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส ได้เปิดตัวแล้วบนเครื่อง ไอโฟน และ ไอพอดทัช ส่วนเกมเดอะซิมส์ 3 บนเครื่อง นินเทนโด วี, เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360 และ นินเทนโด ดีเอส กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาเกม",
"title": "เดอะซิมส์ (ชุดวิดีโอเกม)"
},
{
"docid": "281173#15",
"text": "อีกทั้งยังีการประกาศออกมาว่าจะมีไอเท็มพิเศษปล่อยให้ดาวน์โหลดที่ The Sims 3 Store เมื่อภาคเสริมวางจำหน่ายแล้ว เพราะเหตุนี้จึงเป็นการสร้างแรงจูงใจพิเศษสำหรับผู้เล่นที่จะซื้อเกม ลินเซย์ เพียร์สัน ยังกล่าวอีกว่า เมื่อมีภาคเสริมแล้วก็จะให้ของสมนาคุณด้วยการให้เงินสำหรับซื้อของผ่าน The Sims 3 Store [9] USD$10 (£6) SimPoints ซึ่งจะมีให้สำหรับผู้ที่ซื้อภาคเสริมเท่านั้น[10]",
"title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส"
},
{
"docid": "281173#19",
"text": "ด้านล่างนี้คือรายชื่อศิลปินที่มาขับร้องเพลงให้กับภาคเสริม",
"title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส"
},
{
"docid": "281173#4",
"text": "รูปแบบการเล่นของภาคเสริมเดอะซิมส์ 3 นี้เป็นการให้ผู้เล่นได้สัมผัสประเทศใหม่ๆ ตามที่มีอยู่ในความจริง นอกจากนี้ยังพาชาวซิมส์ไปผจญภัย หาขุมทรัพย์ที่ซ่อนตามประเทศต่างๆได้ ผู้เล่นสามารถให้ชาวซิมส์เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ พัฒนาความสัมพันธ์กับชาวต่างชาติได้",
"title": "เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส"
}
] |
2979 | โรคใคร่เด็ก เกิดจากความผิดปกติทางสมองใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "764178#1",
"text": "โรคนี้เรียกว่า pedophilic disorder ตามคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM-5) ของสมาคมจิตเวชอเมริกัน และกำหนดว่าเป็นประเภทหนึ่งของกามวิปริต (paraphilia) ที่มีบุคคลเกิดความรู้สึกทางเพศที่รุนแรงและซ้ำ ๆ หรือมีจินตนาการทางเพศ ต่อเด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ผู้ที่ตนได้มีกิจกรรมร่วม หรือที่เป็นเหตุให้ตนเดือดร้อนลำบากหรือให้มีปัญหาด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล[2] ส่วนบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (ICD-10) ขององค์การอนามัยโลก นิยามคำนี้ว่า เป็น ความต้องการทางเพศต่อเด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์หรือวัยเริ่มเจริญพันธุ์ในระยะต้น ๆ[4]",
"title": "โรคใคร่เด็ก"
}
] | [
{
"docid": "767586#20",
"text": "ส่วนคำว่า โรคกามวิปริต (paraphilia) ใช้เป็นครั้งแรกใน DSM-III ปี 1980 โดยเป็นหมวดหมู่ย่อยของหมวดใหม่คือ ความผิดปกติทางความต้องการทางเพศ (psychosexual disorder) DSM-III-R ในปี 1987 เปลี่ยนชื่อหมวดใหม่เป็น \"ความผิดปกติทางเพศ\" (sexual disorder) เปลี่ยนชื่อโรคกามวิปริตแบบไม่ทั่วไปเป็น \"กามวิปริตที่ไม่ได้กำหนดไว้อย่างอื่น\" (paraphilia NOS) เปลี่ยนชื่อ transvestism (โรคชอบแต่งกายลักเพศ) ไปเป็น transvestic fetishism เพิ่มอาการ frotteurism (โรคถูอวัยวะอนาจาร) และย้ายหมวดโรคใคร่สัตว์ (zoophilia) เข้าไปเป็นส่วนของ paraphilia NOS และก็ยังให้ตัวอย่างโดยไม่ใช่รวมทั้งหมดของ paraphilia NOS ที่นอกเหนือจากโรคใคร่สัตว์ คือ telephone scatologia (โรคโทรศัพท์อนาจาร), อาการชอบสมสู่กับศพ, partialism (โรคใคร่อวัยวะที่ไม่ใช่อวัยวะเพศ), coprophilia (โรคใคร่อุจจาระ), klismaphilia (โรคใคร่การสวนทวารหนัก), และอาการชอบน้ำปัสสาวะ (urophilia)[42]",
"title": "โรคกามวิปริต"
},
{
"docid": "764178#47",
"text": "ความโน้มเอียงในการต่อต้านสังคมโดยทั่วไป การมีอารมณ์ทางเพศสูง และการเมาสุรา[99] เนื่องจากการทารุณเด็กทางเพศไม่ใช่เป็นตัวบ่งชี้อัตโนมัติว่าผู้กระทำผิดเป็นผู้ใคร่เด็ก จึงสามารถแยกผู้ทำผิดได้เป็น 2 ประเภท คือ ผู้ใคร่เด็กและที่ไม่ใช่[100] (หรือชอบเด็กหรือทำตามสถานการณ์[8]) อัตราประเมินของโรคใคร่เด็กในผู้ทำร้ายเด็กทางเพศที่จับได้อยู่ระหว่างประมาณ 25-50%[101] งานศึกษาปี 2006 พบว่า ผู้ทำร้ายเด็กทางเพศที่เป็นตัวอย่างงาน มีผู้ใคร่เด็กในอัตรา 35%[102] แต่ว่าผู้ทำผิดฐานร่วมประเวณีกับญาติสนิทที่เป็นผู้ใคร่เด็กด้วย ดูเหมือนจะไม่สามัญ[103] โดยเฉพาะพ่อหรือพ่อเลี้ยงที่ทำผิด[104] ในงานศึกษาในสหรัฐกับชายผู้กระทำผิดทางเพศ 2,429 คนที่จัดว่าเป็นผู้ใคร่เด็ก มีเพียง 7% ที่แจ้งว่าจำกัดเฉพาะต่อเด็กเท่านั้น ซึ่งแสดงว่า ผู้ทารุณเด็กทางเพศจำนวนมากหรือโดยมากจะตกอยู่ในแบบที่ไม่จำกัดเฉพาะเด็ก[9]",
"title": "โรคใคร่เด็ก"
},
{
"docid": "764178#48",
"text": "ผู้ใคร่เด็กบางคนไม่ทำร้ายเด็กทางเพศ[5][6][12][13] แต่ว่า มีความรู้ยิ่งน้อยเกี่ยวกับกลุ่มประชากรเช่นนี้เพราะว่างานศึกษาโรคใคร่เด็กโดยมากใช้อาชญากรหรือคนไข้ ซึ่งอาจจะไม่เป็นตัวแทนของประชากรคนใคร่เด็กโดยทั่วไป[105] นักจิตวิทยาเพศศึกษาคนหนึ่งเสนอว่า คนใคร่เด็กที่ทารุณเด็กทางเพศทำอย่างนั้นเพราะมีลักษณะต่อต้านสังคมอย่างอื่น ๆ บวกกับความสนใจทางเพศต่อเด็ก เขากล่าวว่า คนใคร่เด็กที่ \"เป็นคนช่างพิจารณา ไวต่อความรู้สึกของผู้อื่น ไม่ชอบเสี่ยง เว้นจากการดื่มเหล้าและยาเสพติด และเห็นด้วยกับทัศนคติและความเชื่อที่สนับสนุนพฤติกรรมความคิดปกติและกฎหมาย\" อาจจะมีโอกาสน้อยกว่าที่จะทารุณเด็ก[13] งานวิจัยปี 2015 พบว่า คนใคร่เด็กที่ทำร้ายเด็กทางเพศมีความแตกต่างทางประสาทจากคนใคร่เด็กที่ไม่ทำผิด คือคนใคร่เด็กที่ทำร้ายเด็กมีความบกพร่องทางประสาทที่แสดงนัยว่า มีความผิดปกติในเขตสมองที่ทำหน้าที่ยับยั้ง ในขณะที่คนใคร่เด็กที่ไม่ทำผิดไม่บกพร่องเช่นนั้น[106]",
"title": "โรคใคร่เด็ก"
},
{
"docid": "718488#14",
"text": "โรคลมชักอาจเป็นภาวะที่ได้มาแต่กำเนิด (จากพันธุกรรม) เป็นผลข้างเคียงจากโรคหรือภาวะอื่นๆซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ป่วย หรืออาจเกิดจากการทำงานร่วมกันของปัจจัยทั้งสองอย่าง สาเหตุของโรคลมชักซึ่งไม่ได้มาจากกรรมพันธ์ ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วได้แก่ การได้รับบาดเจ็บทางสมองอย่างรุนแรง โรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอกสมอง และความผิดปกติซึ่งเกิดจากการติดเชื้อในสมอง มีผู้ป่วยประมาณ 60% ที่ไม่สามารถตรวจพบสาเหตุของโรคลมชักได้ ในเด็กเล็กโรคลมชักมักมีเหตุจาก โรคทางพันธุกรรม ความผิดปกติแต่กำเนิด หรือ ในขณะที่สาเหตุของโรคลมชักในคนสูงอายุมักจะเกิดจาก โรคหลอดเลือดสมอง และ เนื้องอกสมอง",
"title": "โรคลมชัก"
},
{
"docid": "767586#31",
"text": "แม้ว่า DSM-5 จะยอมรับว่า มีความผิดปกติแบบกามวิปริตเป็นโหล ๆ แต่ว่าก็ให้รายชื่อโดยเฉพาะเพียงแค่ 8 อย่างที่สามัญและสำคัญในกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งความผิดปกติถ้ำมอง ความผิดปกติแสดงอนาจาร ความผิดปกติถูอวัยวะอนาจาร ความผิดปกติมาโซคิสม์ ความผิดปกติซาดิสม์ทางเพศ ความผิดปกติใคร่เด็ก ความผิดปกติเกิดอารมณ์จากสิ่งเฉพาะ ความผิดปกติชอบแต่งกายลักเพศ[6] ส่วนกามวิปริตอื่น ๆ จะวินิจฉัยภายใต้หมวด Other Specified Paraphilic Disorder (ความผิดปกติแบบกามวิปริตที่กำหนดอื่น) หรือ Unspecified Paraphilic Disorder (ความผิดปกติแบบกามวิปริตที่ไม่กำหนดอื่น)[48]",
"title": "โรคกามวิปริต"
},
{
"docid": "764178#35",
"text": "APA แจ้งว่า \"ในกรณีความผิดปกติแบบใคร่เด็ก รายละเอียดที่สำคัญในคู่มือใหม่ อยู่ในส่วนที่ไม่ได้เปลี่ยน แม้ว่าจะมีการพิจารณาถึงข้อเสนอต่าง ๆ ตลอดกระบวนการพัฒนา DSM-5 เกณฑ์วินิจฉัยในที่สุดก็เหมือนกับใน DSM-IV TR... ชื่อของความผิดปกติเท่านั้นที่เปลี่ยนจาก pedophilia ไปเป็น pedophilic disorder เพื่อให้เข้ากับรายการอื่น ๆ ที่อยู่ในบทนั้น\"[74] ถ้า APA ได้ยอมรับการวินิจฉัย hebephilia เข้ากับ pedophilia ใน DSM-5 ก็จะกลายเป็นสิ่งที่คล้ายกับนิยามของ pedophilia ใน ICD-10 ที่รวมเด็กเริ่มวัยเจริญพันธุ์ในระยะต้น ๆ อยู่แล้ว[13] และบุคคลอายุน้อยที่สุดที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคก็จะมีอายุเพิ่มจาก 16 ปี ไปเป็น 18 ปี โดยที่ต้องมีอายุอย่างน้อย 5 ปีมากกว่าเด็กที่เป็นเป้าหมายนั้น[23]",
"title": "โรคใคร่เด็ก"
},
{
"docid": "764178#4",
"text": "ในสหรัฐหลังปี 1997 ผู้กระทำผิดทางเพศที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติทางจิตบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคใคร่เด็ก อาจถูกสั่งขังในคดีแพ่งได้อย่างไม่มีกำหนด[19]",
"title": "โรคใคร่เด็ก"
},
{
"docid": "764178#22",
"text": "ยีนหรือปัจจัยเป็นพิษ (noxious factor) อย่างอื่น ๆ ในสิ่งแวดล้อมก่อนคลอด เป็นตัวการทำให้ชายโน้มเอียงไปเพื่อพัฒนาความผิดปกติทางอารมณ์และโรคใคร่เด็ก หรือว่า ความขัดใจ ภยันตราย และความโดดเดี่ยวทางสังคม ที่เกิดจากความต้องการทางเพศที่สังคมรับไม่ได้ หรือว่าเกิดจากการสนองความรู้สึกโดยลับ ๆ ซ่อน ๆ เป็นบางครั้งบางคราว เป็นตัวการทำให้เกิดความวิตกกังวลและความหมดหวัง ?[63]",
"title": "โรคใคร่เด็ก"
},
{
"docid": "764178#2",
"text": "ส่วนโดยนิยมของชาวตะวันตก คำว่า pedophilia มักจะใช้กับความสนใจทางเพศต่อ \"เด็ก\" ทุกอย่าง หรือการทารุณเด็กทางเพศ[5][6] การใช้คำเช่นนี้เป็นการผสมความรู้สึกทางเพศต่อเด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ กับการทารุณเด็กทางเพศ และไม่แยกแยะระหว่างความรู้สึกต่อเด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ กับเด็กวัยหลังจากนั้นที่ยังเรียกว่าเด็กตามกฎหมาย[7][8] นักวิจัยแนะนำไม่ให้ใช้คำอย่างไม่แม่นยำเช่นนี้ เพราะแม้ว่าคนที่ทารุณเด็กทางเพศบางครั้งอาจจะมีความผิดปกตินี้[6][9] แต่ผู้ทารุณเด็กทางเพศอาจจะไม่ใช่คนใคร่เด็ก นอกจากจะมีความสนใจทางเพศ<i data-parsoid='{\"dsr\":[4960,4991,2,2]}'>เป็นหลักหรืออย่างจำกัดเฉพาะ</i>ต่อเด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์[7][10][11] และวรรณกรรมวิชาการก็แสดงว่า มีคนใคร่เด็กที่ไม่ทำร้ายเด็กทางเพศ[5][12][13]",
"title": "โรคใคร่เด็ก"
},
{
"docid": "764178#53",
"text": "เขากล่าวถึงกรณีใคร่เด็กหลายกรณีในหญิงผู้ใหญ่ (โดยได้ข้อมูลจาก น.พ.อีกท่านหนึ่ง) และพิจารณาการทารุณเด็กชายโดยชายรักร่วมเพศว่าเกิดน้อยมาก[110] แล้วกล่าวเรื่องนี้ให้ชัดเจนขึ้นว่า ชายผู้ใหญ่ที่มีความผิดปกติทางการแพทย์หรือทางประสาทแล้วทารุณเด็กชาย จะไม่ใช่คนใคร่เด็กจริง ๆ และตามสังเกตการณ์ของเขา เหยื่อของชายเช่นนี้มักจะมีอายุมากกว่าและถึงวัยเริ่มเจริญพันธุ์แล้ว เขายังลงในรายการ pseudopaedophilia (โรคใคร่เด็กเทียม) ที่เป็นอาการซึ่งสัมพันธ์กันที่ \"บุคคลได้สูญเสียอารมณ์ทางเพศต่อผู้ใหญ่ผ่านการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง แล้วจึงหันไปหาเด็กเพื่อสนองความต้องการทางเพศของตน\" และอ้างว่า สภาวะเช่นนี้มีมากกว่า[110]",
"title": "โรคใคร่เด็ก"
},
{
"docid": "764178#8",
"text": "งานวิจัยโรคใคร่เด็กในผู้กระทำผิดทางเพศต่อเด็กบ่อยครั้งรายงานว่า มันเกิดกับจิตพยาธิอย่างอื่น ๆ เช่น การเคารพตนต่ำ (self-esteem)[28] ความซึมเศร้า ความวิตกกังวล และปัญหาบุคลิกภาพต่าง ๆ ไม่ชัดเจนว่า สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนของโรค ผลของความเอนเอียงโดยการสุ่มตัวอย่าง หรือผลที่เกิดจากการถูกระบุว่าเป็นผู้ทำผิดทางเพศ[18] การทบทวนวรรณกรรมงานหนึ่งสรุปว่า งานวิจัยเรื่องบุคลิกภาพและจิตพยาธิในผู้ใคร่เด็กน้อยครั้งที่จะใช้ระเบียบวิธีที่ถูกต้อง โดยส่วนหนึ่งเกิดจากความสับสนระหว่าง \"คนใคร่เด็ก\" กับ \"ผู้ทำผิดทางเพศต่อเด็ก\" และความยากลำบากที่จะได้ตัวอย่างคนใคร่เด็กจากชุมชนที่เป็นตัวแทนประชากร[29] มีนักวิชาการที่ชี้ว่า คนใคร่เด็กที่ได้จากกระบวนการรักษาอยู่ที่นั่นก็เพราะว่าตนเดือดร้อนเกี่ยวกับความชอบทางเพศของตน หรือเพราะความกดดันจากคนอื่น ซึ่งเพิ่มโอกาสว่า คนเหล่านั้นจะแสดงปัญหาทางจิตต่าง ๆ และโดยนัยเดียวกัน คนใคร่เด็กที่ได้มาจากกระบวนการยุติธรรมก็เป็นผู้ถูกตัดสินว่าผิดในอาชญากรรม ทำให้มีโอกาสมากขึ้นที่จะมีลักษณะต่อต้านสังคมต่าง ๆ[30]",
"title": "โรคใคร่เด็ก"
},
{
"docid": "629506#75",
"text": "โรคเบาหวานและการตั้งครรภ์ ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเป็นโรคเบาหวาน (ไม่ใช่จำกัดเฉพาะการเป็นเบาหวานในขณตั้งครรภ์) และการตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในเด็กรวมถึงการคลอดก่อนกำหนด, ทารกเจริญเติบโตช้ากว่าเกณฑ์ เป็นตัวเร่งการเจริญเติบโตของทารก(ทำให้ทารกตัวโตเกินไป) โรคอ้วนของทารกในครรภ์ (macrosomia) ภาวะที่น้ำคร่ำมากเกินไป(polyhydramnios) และมีการเกิดข้อบกพร่องในทารกแรกคลอด โรค SLE และการตั้งครรภ์(Systemic lupus erythematosus and pregnancy) เป็นตัวเพิ่มอัตราความเสี่ยงของการเสียชีวิตในมดลูกของตัวอ่อนในครรภ์ การแท้งธรรมชาติ (การคลอดก่อนกำหนด) เช่นเดียวกับโรคลูปัส(เป็นโรคภูมิต้านทานตนเองทำลายเนื้อเยื่อตัวเอง) โรคต่อมไทรอยด์ในขณะตั้งครรภ์ ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดผลกระทบต่อทารกในครรภ์และมารดาที่เป็น ผลกระทบที่เป็นอันตรายของความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ยังสามารถขยายกินเวลาไปถึงช่วงหลังการตั้งครรภ์ และการส่งผลต่อการพัฒนาระบบสมองในชีวิตในวัยเด็ก การตั้งครรภ์ปกติก็มีอัตราฮอร์โมนไทรอยด์จะเพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์อยู่แล้วซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติของต่อมไทรอยด์โดยที่ไม่มีใครสังเกตเห็นก่อนที่อาการจะเลวร้ายลงไป เลือดแข็งตัวง่ายในระหว่างตั้งครรภ์ เป็นแนวโน้มของหญิงตั้งครรภ์ที่จะพัฒนาจนไปเป็นการเกิดลิ่มเลือด (เลือดอุดตัด). การตั้งครรภ์เองเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดเลือดแข็งตัวง่าย (การตั้งครรภ์-รวมไปถึงอาการเลือดแข็งตัวง่าย), เป็นกลไกการปรับตัวทางสรีรวิทยาเพื่อป้องกันช่วงภาวะหลังคลอดที่มีเลือดออก.[98] อย่างไรก็ตาม, เมื่อรวมกับภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นภาวะลิ่มเลือดและเส้นเลือดอุดตัน.[98]",
"title": "การตั้งครรภ์"
},
{
"docid": "638081#1",
"text": "โดยประวัติแล้ว EF พิจารณาว่าควบคุมโดยสมองส่วน prefrontal ของสมองกลีบหน้า\nแต่จริง ๆ แล้วก็ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่\nแม้ว่า บทความเกี่ยวกับรอยโรคในส่วน prefrontal ของสมองกลีบหน้าจะกล่าวถึงความผิดปกติของ EF และบทความเกี่ยวกับความผิดปกติของ EF ก็จะกล่าวถึงรอยโรคในส่วน prefrontal ของสมองกลีบหน้า\nบทความปริทัศน์หนึ่งพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง EF กับสมองกลีบหน้าที่ไม่เสียหายและใช้งานได้ มี sensitivity สูง (คือถ้า EF ปกติ สมองกลีบหน้าก็ปกติด้วย) แต่มี specificity ต่ำ (คือถ้า EF ผิดปกติ สมองกลีบหน้าอาจจะปกติ)\nซึ่งหมายความว่า เขตสมองทั้งในส่วนหน้าและไม่ใช่ส่วนหน้าจำเป็นต่อการทำงานปกติในระบบบริหาร\nคือ สมองกลีบหน้าอาจจะต้องมีส่วนร่วมใน EF ทั้งหมด แต่ไม่ใช่สมองส่วนเดียวที่มีบทบาท",
"title": "Executive functions"
},
{
"docid": "764178#9",
"text": "งานวิจัยปี 2002 พบความเสียหายต่อความคิดเกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ในตัวอย่างผู้กระทำผิดทางเพศต่อเด็กที่ผ่านเกณฑ์วินิจฉัยว่าเป็นโรคใคร่เด็ก เป็นความเสียหายที่ผู้เขียนเสนอว่า อาจมีส่วนให้ทำผิดต่อเด็ก คือ คนใคร่เด็กผู้ทำผิดทางเพศในงานวิจัยมีระดับ psychopathy (พฤติกรรมต่อต้านสังคม ความเห็นใจคนอื่นและความเสียใจน้อย พฤติกรรมที่ไม่ยับยั้งชั่งใจ) ที่สูงขึ้นและมีความบิดเบือนทางประชาน เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่เป็นคนปกติจากชุมชน ซึ่งนักวิจัยตีความว่าเป็นมูลฐานของความไม่สามารถห้ามพฤติกรรมทางอาชญากรรมของตน[31] แต่ว่างานในปี 2009 และ 2012 กลับพบว่า ผู้ที่ทำร้ายเด็กทางเพศแต่ไม่ใช่คนใคร่เด็กแสดงลักษณะ psychopathy แต่คนใคร่เด็กผู้ทำร้ายเด็กไม่แสดง[32][33]",
"title": "โรคใคร่เด็ก"
},
{
"docid": "764178#34",
"text": "นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญในเพศวิทยาที่รู้จักกันดีเพราะงานวิจัยเกี่ยวกับโรคใคร่เด็กคือ ดร.เรย์ แบล็งเชิร์ด กล่าวปัญหาเกณฑ์ของ DSM-IV-TR ในการทบทวนวรรณกรรม แล้วเสนอการแก้ปัญหาทั่วไปที่ใช้ได้กับโรคกามวิปริต (paraphilia) ทั้งหมด โดยแยกกามวิปริต (paraphilia) ออกจากความผิดปกติแบบกามวิปริต (paraphilic disorder) และให้การวินิจฉัยความผิดปกติในเรื่องนั้น (เช่น paraphilic disorder หรือ pedophilic disorder) ต้องผ่านเกณฑ์ทั้งที่ 1 และ 2 เทียบกับบุคคลที่ไม่ผ่านเกณฑ์ที่ 2 (คือไม่ทำและไม่เดือดร้อน) ผู้ชัดเจนว่ามีกามวิปริตเพราะผ่านเกณฑ์ที่ 1 แต่ไม่วินิจฉัยว่าเป็นความผิดปกติ (disorder)[65] นอกจากนั้น ดร.แบล็งเชิร์ด และผู้ร่วมงานจำนวนหนึ่งเสนอให้วินิจฉัย hebephilia ว่าเป็นความผิดปกติภายใต้ DSM-5 เพื่อแก้ความความคาบเกี่ยวกันของพัฒนาการทางกายของเด็กเป้าหมายในโรคใคร่เด็กและ hebephilia โดยรวมเข้าใต้หมวดหมู่ ความผิดปกติแบบใคร่เด็ก (pedophilic disorder) แต่ให้กำหนดพิสัยอายุที่เป็นประเด็น[23][72] ซึ่งต่อมา APA ปฏิเสธ[73] แต่ว่า การแยกแยะกามวิปริต (paraphilia) และความผิดปกติแบบกามวิปริต (paraphilic disorder) APA ได้ดำเนินการตามข้อเสนอ และดังนั้น การแยกแยะความใคร่เด็กและความผิดปกติแบบใคร่เด็กก็เช่นกัน[2][74]",
"title": "โรคใคร่เด็ก"
},
{
"docid": "764178#60",
"text": "โรคใคร่เด็กเป็นความผิดปกติทางจิตที่ถูกประณามมากที่สุดโรคหนึ่ง[35] งานศึกษาหนึ่งพบความโกรธ ความกลัว และความรังเกียจทางสังคมในระดับสูง ต่อคนใคร่เด็กแม้ที่ยังไม่ทำอาชญากรรม[128] นักวิชาการเสนอว่า ทัศนคติเช่นนี้อาจจะมีผลลบต่อการป้องกันทารุณกรรมทางเพศต่อเด็ก โดยลดเสถียรภาพทางจิตของผู้ใคร่เด็ก และทำให้หมดกำลังใจในการเสาะหาความช่วยเหลือ[35] ตามนักสังคมศาสตร์คู่หนึ่ง ความเป็นห่วงของสังคมเกี่ยวกับโรคใคร่เด็กขยายเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ซึ่งเกิดพร้อมกับอาชญากรรมอื้อฉาวหลายคดี แต่เกิดในช่วงที่อัตราการทารุณเด็กทางเพศกำลังลดลงโดยทั่วไป พวกเขาพบว่า คำว่า pedophile ปรากฏน้อยมากในหนังสือพิมพ์ เดอะนิวยอร์กไทมส์ (สหรัฐอเมริกา) และ เลอมงด์ (ฝรั่งเศส) ก่อนปี 1996 โดยปรากฏเป็น 0 ในปี 1991[129]",
"title": "โรคใคร่เด็ก"
},
{
"docid": "764178#49",
"text": "ตามนักวิชาการบางท่าน[107] มีความแตกต่างระหว่างลักษณะของผู้ทำร้ายเด็กที่ใคร่เด็ก และผู้ทำร้ายเด็กอื่น ๆ ค่อนข้างมาก คือ ผู้ทำร้ายเด็กอื่น ๆ มักจะทำผิดเมื่อเครียด ทำผิดเมื่ออายุมากกว่า และมีเหยื่อบ่อยครั้งเป็นสมาชิกครอบครัวโดยมีจำนวนน้อยกว่า ในขณะที่ผู้ทำร้ายเด็กผู้ใคร่เด็กมักจะทำผิดเริ่มตั้งแต่อายุน้อย มีเหยื่อเป็นจำนวนมากกว่าและบ่อยครั้งไม่ใช่สมาชิกครอบครัว มีแรงจูงใจจากภายในที่จะทำผิด (ไม่ใช่เป็นเพราะสถานการณ์) และมีค่านิยมและความเชื่อที่สนับสนุนการใช้ชีวิตแบบกระทำผิด งานศึกษาหนึ่งพบว่า ผู้ทำร้ายเด็กที่ใคร่เด็กมีเหยื่อมัธยฐานที่ 1.3 คน สำหรับผู้ที่มีเหยื่อเป็นหญิง และ 4.4 คนสำหรับผู้ที่มีเหยื่อเป็นชาย[101] แต่ว่า ผู้ทำร้ายเด็กทุกคน ไม่ว่าจะใคร่เด็กหรือไม่ ใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อที่จะเข้าถึงเด็กเพื่อเพศสัมพันธ์ บางคนปะเหลาะประเล้าประโลมเตรียมเด็กเพื่อให้ร่วมมือ (child grooming) โดยให้ความสนใจและของขวัญ บางคนขู่ขวัญ บางคนใช้เหล้า ยาเสพติด หรือกำลังทางกาย[108]",
"title": "โรคใคร่เด็ก"
},
{
"docid": "764178#18",
"text": "ในงานศึกษาปี 2008 ที่ใช้ MRI ตรวจโครงสร้างสมอง พบว่า ชายผู้ใคร่เด็กมีปริมาตรของเนื้อขาว (white matter) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม[55] ส่วนงานปี 2007 ที่ใช้ fMRI แสดงว่า ผู้ทำร้ายเด็กที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคใคร่เด็กมีระดับการทำงานของไฮโปทาลามัส (ซึ่งมีโครงสร้างที่ทำงานต่างกันระหว่างเพศชาย-หญิง โครงสร้างเกี่ยวกับพฤติกรรมและรสนิยมทางเพศ) ที่ต่ำกว่า เทียบกับผู้ไม่ใช่คนใคร่เด็กเมื่อดูภาพผู้ใหญ่ที่เร้าอารมณ์ทางเพศ[61] Biol Psychiatry. 2007 Sep 15;62(6):698-701. Epub 2007 Apr 2. Pedophilia is linked to reduced activation in hypothalamus and lateral prefrontal cortex during visual erotic stimulation. Walter M1, Witzel J, Wiebking C, Gubka U, Rotte M, Schiltz K, Bermpohl F, Tempelmann C, Bogerts B, Heinze HJ, Northoff G. งานวิจัยที่สร้างภาพทางสมองโดยกิจ (functional neuroimaging) ในปี 2008 พบว่า การประมวลสิ่งเร้าทางเพศหลักของบุคคลรักต่างเพศที่เป็น \"คนไข้ในผู้ใคร่เด็ก ที่ศาลบังคับให้อยู่ในโรงพยาบาล\" อาจจะเปลี่ยนไปเพราะความผิดปกติในเครือข่ายประสาทกลีบหน้าผากส่วนหน้า (prefrontal network) ซึ่ง \"อาจจะสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่ควบคุมโดยสิ่งเร้า เช่นพฤติกรรมชั่ววูบตามอารมณ์เพศ\" และบอกเป็นนัยว่า \"มีการทำหน้าที่ผิดปกติของการประมวลความตื่นตัวทางเพศในระดับประชาน\"[62]",
"title": "โรคใคร่เด็ก"
},
{
"docid": "764178#17",
"text": "แม้ว่าเหตุให้เกิดความใคร่เด็กจะไม่ชัดเจน นักวิจัยก็เริ่มจะรายงานผลที่สัมพันธ์ความใคร่เด็กกับโครงสร้างและการทำงานของสมอง เริ่มตั้งแต่ปี 2002 โดยตรวจสอบบุคคลที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ รวมทั้งภายในภายนอกกระบวนการยุติธรรม และบุคคลในกลุ่มควบคุม งานวิจัยพบความสัมพันธ์ระหว่างความใคร่เด็กกับระดับเชาวน์ปัญญา (IQ) ที่ต่ำกว่า[46][47][48] คะแนนการทดสอบความจำที่ต่ำกว่า[47] อัตราการถนัดมือซ้ายที่สูงกว่า[46][47][49][50] อัตราการตกสอบในโรงเรียนที่สูงกว่า โดยนอกเหนือไปจากความแตกต่างของระดับเชาวน์ปัญญา[51] ความเตี้ยกว่า[52] โอกาสสูงกว่าที่จะมีการบาดเจ็บที่ศีรษะในวัยเด็กที่มีผลเป็นการหมดสติ[53][54] และความแตกต่าง ๆ ทางโครงสร้างสมองที่เห็นได้ด้วย MRI[55][56][57] โดยนักวิจัยเสนอว่า มีลักษณะทางประสาทหนึ่งอย่างหรือมากกว่าตั้งแต่กำเนิด ที่เป็นเหตุหรือเพิ่มโอกาสให้เป็นคนใคร่เด็ก แต่ว่า มีงานวิจัยที่พบว่า ผู้ทำร้ายเด็กทางเพศที่ใคร่เด็กมีความเสียหายทางประชานน้อยกว่าผู้ทำร้ายเด็กทางเพศอื่น ๆ[58] งานวิจัยปี 2011 พบว่า ผู้ทำร้ายเด็กที่ใคร่เด็ก มีความบกพร่องในการห้ามปฏิกิริยา แต่ไม่มีความบกพร่องในความจำและความยืดหยุ่นทางประชาน (cognitive flexibility)[59] หลักฐานว่ามีการสืบต่อในครอบครัว \"บอกเป็นนัย แต่ว่าไม่ใช่เป็นตัวพิสูจน์ว่า มีปัจจัยทางพันธุกรรมที่เป็นเหตุ\" ของพัฒนาการเป็นความใคร่เด็ก[60]",
"title": "โรคใคร่เด็ก"
},
{
"docid": "764178#7",
"text": "โดยตอบสนองต่อการตีความผิดว่า สมาคมจิตเวชอเมริกัน (American Psychiatric Association ตัวย่อ APA) พิจารณาโรคใคร่เด็กว่าเป็นรสนิยมทางเพศ ไม่ใช่ความผิดปกติ เพราะคำพูดที่พิมพ์ในคู่มือ DSM-5 ซึ่งแยกแยะระหว่างกามวิปริต (paraphilia) และสิ่งที่คู่มือเรียกว่า ความผิดปกติแบบกามวิปริต (paraphilic disorder) ซึ่งมีผลเป็นการแบ่ง pedophilia (ความใคร่เด็ก) และ pedophilic disorder (ความผิดปกติแบบใคร่เด็ก) สมาคมจึงกล่าวว่า \"'รสนิยมทางเพศ' ([S]exual orientation) ไม่ใช่เป็นคำที่ใช้เป็นเกณฑ์วินิจฉัยความผิดปกติแบบใคร่เด็ก และการใช้คำนั้นในคำบรรยายของ DSM-5 เป็นความผิดพลาดที่ควรแก้เป็น 'ความสนใจทางเพศ' (sexual interest)\" และ \"จริงอย่างนั้น APA พิจารณาความผิดปกติแบบใคร่เด็กว่าเป็น 'กามวิปริต' และไม่ใช่ 'รสนิยมทางเพศ' ความผิดพลาดนี้จะแก้ใน DSM-5 รุ่นอิเล็กทรอนิกส์ และในการพิมพ์คู่มือครั้งต่อไป\" APA สนับสนุนอย่างเข้มแข็ง ซึ่งความพยายามที่จะดำเนินคดีอาญา ต่อผู้ที่ทารุณต่อและฉวยประโยชน์ทางเพศจากเด็กและวัยรุ่น และ \"สนับสนุนความพยายามต่อเนื่อง ที่จะพัฒนาการรักษาบำบัดสำหรับผู้ที่มีความผิดปกติแบบใคร่เด็ก เพื่อป้องกันทารุณกรรมที่จะเกิดในอนาคต\"[27]",
"title": "โรคใคร่เด็ก"
},
{
"docid": "764178#6",
"text": "ความใคร่เด็กเกิดขึ้นก่อนหรือระหว่างวัยเริ่มเจริญพันธุ์ และเสถียรในระยะยาว[25] และเป็นสิ่งที่พบในตน ไม่ใช่สิ่งที่เลือก[6] เพราะเหตุนี้ ความใคร่เด็กจึงเรียกว่าเป็นความผิดปกติของความชอบทางเพศ (disorder of sexual preference) คล้ายกับรสนิยมทางเพศเป็นคนรักต่างเพศหรือคนรักร่วมเพศ ที่ไม่ได้เลือก[25] แต่ว่า ธรรมชาติเช่นนี้ไม่ได้ลดระดับ pedophilia ให้ไม่เป็นความผิดปกติทางจิต เพราะว่ากิจกรรมใคร่เด็กสามารถสร้างความเสียหายต่อเด็ก และแพทย์พยาบาลสุขภาพจิตในบางกรณีสามารถช่วยคนใคร่เด็กให้ระงับไม่ทำตามอารมณ์ชั่ววูบซึ่งสร้างความเสียหาย[26]",
"title": "โรคใคร่เด็ก"
},
{
"docid": "767586#19",
"text": "ต่อมาในปี 1968 DSM-II ก็ยังใช้คำว่า ความเบี่ยงเบนทางเพศ อยู่ แต่ไม่ได้เป็นหมวดหมู่ย่อยของความผิดปกติทางบุคลิกภาพอีกต่อไป แต่ว่า เป็นหมวดหมู่กว้าง ๆ ในในระดับเดียวกันชื่อว่า \"ความผิดปกติทางบุคลิกภาพและความผิดปกติทางจิตที่ไม่ใช่วิกลจริตอย่างอื่น ๆ\" (personality disorders and certain other nonpsychotic mental disorders) ประเภทของควาเบ่งเบียนทางเพศใน DSM-II รวมทั้งการรบกวนทางรสนิยมทางเพศ (คือรักร่วมเพศ) การเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะ โรคใคร่เด็ก โรคชอบแต่งกายลักเพศ การแสดงอนาจาร โรคถ้ำมอง โรคซาดิสม์ โรคมาโซคิสม์ และ \"ความเบี่ยงเบนทางเพศอื่น ๆ\" แม้ว่าจะไม่มีนิยามหรือตัวอย่างให้กับ \"ความเบี่ยงเบนทางเพศอื่น ๆ\" แต่ก็หมายจะแสดงถึงความชอบใจทางเพศของบุคคล \"ที่พุ่งไปยังวัตถุแทนที่เพศตรงข้าม ไปยังกิจกรรมทางเพศที่ทั่วไปไม่เกี่ยวกับการร่วมเพศ หรือการร่วมเพศทำในสถานการณ์แปลก ๆ เช่นที่พบในอาการชอบสมสู่กับศพ โรคใคร่เด็ก โรคซาดิสม์ทางเพศ และการเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะ\"[40] ยกเว้นการถอนรักร่วมเพศออกจากคู่มือ DSM-III และฉบับต่อ ๆ มา คำนิยามนี้ก็ได้ใช้เป็นมาตรฐานทั่วไปของการนิยามโรคกามวิปริตประเภทเฉพาะต่าง ๆ ในฉบับต่อ ๆ มาจนถึง DSM-IV-TR[41]",
"title": "โรคกามวิปริต"
},
{
"docid": "764178#30",
"text": "มีบทอภิธานหลายศัพท์ที่ใช้เพื่อแยกแยก \"คนใคร่เด็กจริง ๆ\" จากผู้กระทำผิดที่ไม่ใช่คนใคร่เด็กหรือไม่จำกัดเฉพาะเด็ก หรือเพื่อแยกแยะประเภทของผู้กระทำผิดแบบต่อเนื่อง โดยแยกตามกำลังและความจำกัดเฉพาะของความสนใจใคร่เด็ก และตามแรงจูงใจในการทำผิด (ดู ผู้กระทำความผิดทางเพศต่อเด็ก) เช่น คนใคร่เด็กแบบจำกัดเฉพาะบางครั้งเรียกว่า \"คนใคร่เด็กจริง ๆ\" คือสนใจแต่เด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์เท่านั้น โดยที่ไม่มีความสนใจทางเพศกับผู้ใหญ่ และจะสามารถมีอารมณ์เพศก็ต่อเมื่อจินตนาการหรืออยู่กับเด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์หรือทั้งสอง[16] และเช่นผู้กระทำผิดที่ไม่จำกัดเพาะ บางทีเรียกว่า คนใคร่เด็กแบบไม่จำกัดเฉพาะ และบางครั้งเรียกว่าผู้กระทำผิดที่ไม่ใช่คนใคร่เด็ก แต่ว่าสองคำนี้บางครั้งก็ไม่ใช้เป็นไวพจน์ของกันและกัน (คือใช้ในความหมายที่ไม่เหมือนกัน) ผู้ทำผิดที่ไม่จำกัดเฉพาะ มีความรู้สึกทางเพศต่อทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และสามารถเกิดอารมณ์ทางเพศเพราะเหตุจากเด็กหรือผู้ใหญ่ แต่ว่าอาจจะชอบใจเด็กหรือผู้ใหญ่ทางเพศเป็นพิเศษ และถ้าชอบใจเด็กทางเพศมากกว่า (คือเป็นหลัก) ผู้กระทำผิดเช่นนี้ก็พิจารณาว่าเป็นคนใคร่เด็กเหมือนกับผู้ทำผิดที่จำกัดเฉพาะ[4][16]",
"title": "โรคใคร่เด็ก"
},
{
"docid": "764178#0",
"text": "โรคใคร่เด็ก[1] หรือ ความใคร่เด็ก (English: Pedophilia, paedophilia) เป็นความผิดปกติทางจิตที่ผู้ใหญ่หรือวัยรุ่นตอนปลายมีความต้องการทางเพศเป็นหลักหรืออย่างจำกัดเฉพาะ ต่อเด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์[2][3] ส่วนในการวินิจฉัยทางการแพทย์ เกณฑ์วินิจฉัย \"โรคใคร่เด็ก\" ขยายอายุเด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ไปถึง 13 ปี[2] ผู้ที่รับวินิจฉัยว่ามีโรคนี้ จะต้องมีอายุอย่างน้อย 16 ปี และเด็กวัยรุ่นที่รับวินิจฉัยว่ามีโรค ต้องมีอายุ 5 ปีอย่างน้อยมากกว่าเด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์[2][3]",
"title": "โรคใคร่เด็ก"
},
{
"docid": "405824#45",
"text": "ความใคร่เด็ก (English: Pedophilia, paedophilia) เป็นความผิดปกติทางจิตที่ผู้ใหญ่หรือเด็กปลายวัยรุ่น มีความรู้สึกทางเพศเป็นหลักและจำกัดเฉพาะ ต่อเด็กรุ่นก่อนหนุ่มสาว (ก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์) โดยทั่วไปอายุ 11 ขวบหรือน้อยกว่า ไม่ว่าจะทำการเนื่องกับความชอบใจนั้นหรือไม่[137][138] ส่วนในการวินิจฉัยทางการแพทย์ เกณฑ์เฉพาะของ \"โรคใคร่เด็ก\" ขยายอายุเด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ไปถึง 13 ปี[137] ผู้ที่รับวินิจฉัยว่ามีโรคนี้ ต้องมีอายุอย่างน้อย 16 ปี และเด็กวัยรุ่นที่รับวินิจฉัยว่ามีโรค ต้องมีอายุ 5 ปีอย่างน้อยมากกว่าเด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์[137][138] ผู้ที่มีภาวะเช่นนี้เรียกในภาษาอังกฤษว่า \"pedophile\" (คนใคร่เด็ก)",
"title": "การทารุณเด็กทางเพศ"
},
{
"docid": "764178#3",
"text": "โรคนี้รู้จักเป็นวงกว้างและให้ชื่ออย่างเป็นทางการครั้งแรกในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีงานวิจัยเป็นจำนวนสำคัญที่ทำในเรื่องนี้เริ่มตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 แม้ว่าหลักฐานโดยมากจะพบในชาย แต่ก็มีหญิงที่มีความผิดปกติเช่นนี้[14][15] และนักค้นคว้า (researchers) ได้ตั้งสมมุติฐานว่า มีจำนวนหญิงใคร่เด็กที่มีน้อยกว่าความเป็นจริง[16] ไม่มีวิธีรักษาความผิดปกตินี้ให้หายขาด แต่มีวิธีบำบัดช่วยลดการทารุณเด็กทางเพศ[6] แม้ว่าเหตุของโรคจะยังไม่ชัดเจน[17] แต่ว่าก็มีงานวิจัยในผู้ทำผิดทางเพศต่อเด็ก ที่พบสหสัมพันธ์ของโรคกับความผิดปกติทางประสาทและสภาวะจิตพยาธิหลายอย่าง[18]",
"title": "โรคใคร่เด็ก"
},
{
"docid": "764178#56",
"text": "Pedophilia ไม่ใช่คำที่ใช้ในกฎหมาย[9] และการมีความสนใจทางเพศต่อเด็กอย่างเดียวก็ไม่ได้ผิดกฎหมาย[6] ในวงการบังคับใช้กฎหมาย คำว่า pedophile ใช้อย่างกว้าง ๆ รวมเอาบุคคลที่ทำผิดทางเพศต่อเหยื่อที่มีวัยต่ำกว่าอายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้ (บ่อยครั้งที่ 17 ปี) ซึ่งรวมอาชญากรรมประเภทต่าง ๆ รวมทั้งการทารุณเด็กทางเพศ การข่มขืนโดยกฎหมาย (เช่นมีเพศสัมพันธ์กับเด็กต่ำกว่าอายุแม้ยินยอม) การทำผิดที่เกี่ยวข้องกับสื่อลามกอนาจารเด็ก การปะเหลาะประเล้าประโลมเตรียมเด็กเพื่อทารุณกรรม (child grooming) การให้ความสนใจแบบไม่ต้องการจนเป็นการก่อกวน (stalking) และการแสดงลามกอนาจาร หน่วยหนึ่งของกองบัญชาการสืบสวนการทารุณเด็ก (Child Abuse Investigation Command) ของสหราชอาณาจักรที่รู้จักกันว่า \"หน่วยคนใคร่เด็ก\" มีความชำนาญพิเศษในการสืบสวนและบังคับใช้กฎหมายออนไลน์[117] หนังสือนิติเวชศาสตร์บางเล่มยังใช้คำนี้หมายถึงผู้ทำผิดที่ตั้งเป้าหมายที่เหยื่อเด็ก แม้ว่าเด็กอาจจะไม่ใช่ความสนใจทางเพศหลักของผู้ทำผิด[118] แต่ว่า เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ แยกแยะระหว่างคนใคร่เด็กและผู้ทำร้ายเด็กทางเพศ[119]",
"title": "โรคใคร่เด็ก"
},
{
"docid": "764178#57",
"text": "ในสหรัฐอเมริกาหลังปี 1997 ผู้กระทำผิดทางเพศที่วินิจฉัยว่ามีผิดปกติทางจิตบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคใคร่เด็ก อาจถูกกักขังได้อย่างไม่มีกำหนด[19][120][121] เพราะว่ามีความผิดปกติทางจิตที่ \"เป็นสภาพแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง ที่มีผลต่อสมรรถภาพทางอารมณ์และทางสัญเจตนา (volitional) ที่โน้มเอียงให้บุคคลทำผิดทางเพศแบบรุนแรง จนกระทั่งว่าบุคคลนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้อื่น\" และอาจถูกกักขังไม่ว่าจะได้รับการบำบัดจากรัฐหรือไม่[122][123][124] รวมทั้งบุคคลที่ได้ถูกตัดสินว่าผิดในคดีสื่อลามกอนาจารเด็ก[121][125] โดยสาเหตุว่า \"เป็นบุคคลที่ได้ทำผิดหรือได้พยายามทำผิดทางเพศแบบรุนแรง หรือทำร้ายเด็กทางเพศ ผู้เป็นอันตรายทางเพศต่อผู้อื่น\" และ \"จะมีความยากลำบากอย่างยิ่งที่จะเว้นจากการทำผิดทางเพศแบบรุนแรง หรือการทำร้ายเด็กทางเพศ ถ้าปล่อยตัว\"[126]",
"title": "โรคใคร่เด็ก"
},
{
"docid": "767586#18",
"text": "ในจิตเวชศาสตร์อเมริกัน ก่อนจะมีคู่มือ DSM-I กามวิปริตจัดอยู่ในหมวดหมู่ \"บุคลิกภาพต่อต้านสังคมพร้อมกับเพศสภาพที่เป็นจิตพยาธิ\" (psychopathic personality with pathologic sexuality) ต่อมาในปี 1952 คู่มือ DSM-I รวม \"ความเบี่ยงเบนทางเพศ\" (sexual deviation) โดยเป็นแบบย่อยของ \"ความผิดปกติทางบุคลิกภาพต่อต้านสังคม\" (sociopathy) ส่วนแนวทางวินิจฉัยเดียวที่คู่มือกล่าวถึงก็คือ ความเบี่ยงเบนทางเพศควร \"จำกัดให้กับเพศสภาพที่เบี่ยงเบน ที่ไม่ใช่เป็นส่วนของกลุ่มอาการที่กว้างขวางกว่านั้น เช่น โรคจิตเภทหรือโรคย้ำคิดย้ำทำ\" แพทย์รักษาจะเป็นผู้กำหนดบทที่ให้รายละเอียดโดยเฉพาะของความผิดปกติ (supplementary term) ในการวินิจฉัยความเบี่ยงเบนทางเพศนั้น โดยไม่มีกำหนดใน DSM-I ว่า คำนั้นจะเป็นอะไรได้บ้าง[38] แต่ว่า มีตัวอย่างที่ให้โดย DSM-I รวมทั้ง \"รักร่วมเพศ โรคชอบแต่งกายลักเพศ (transvestism) โรคใคร่เด็ก การเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะ (fetishism) และความซาดิสม์ทางเพศรวมทั้งการข่มขืน การทำร้ายทางเพศ การทำให้เสียอวัยวะ\"[39]",
"title": "โรคกามวิปริต"
},
{
"docid": "764178#20",
"text": "แม้ว่าจะไม่ใช่เหตุของโรคใคร่เด็ก ทารุณกรรมในวัยเด็กโดยผู้ใหญ่ หรือปัญหาทางใจที่เกิดร่วมกับโรค เช่น ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (personality disorder) และการใช้ยาเสพติด (substance abuse) เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการทำผิดต่อเด็กเนื่องจากอารมณ์ใคร่ชั่ววูบ[6] แต่ว่าในเรื่องปัญหาที่เกิดร่วมกับโรค นักวิชาการกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า",
"title": "โรคใคร่เด็ก"
}
] |
3969 | มูฮัมหมัด อาลี เกิดเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "220283#0",
"text": "มูฮัมหมัด อาลี (English: Muhammad Ali) เป็นอดีตยอดนักมวยชาวอเมริกันในรุ่นเฮฟวี่เวทผู้เป็นตำนาน อาลีมีชื่อจริงแต่กำเนิดว่า เคสเซียส มาเซลลัส เคลย์ จูเนียร์ (Cassius Marcellus Clay Jr.) แต่นิยมเรียกว่า เคสเซียส เคลย์ (Cassius Clay) เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1942 ที่เมืองหลุยส์วิลล์ รัฐเคนตักกี้ สหรัฐอเมริกา",
"title": "มูฮัมหมัด อาลี"
}
] | [
{
"docid": "675043#0",
"text": "อาลี มาห์ดิ มูฮัมหมัด (, ); เกิด พ.ศ. 2481) เป็นผู้ประกอบการและนักการเมืองชาวโซมาเลีย เขาเคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีโซมาเลียตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2534 - มกราคม พ.ศ. 2540",
"title": "อาลี มาห์ดิ มูฮัมหมัด"
},
{
"docid": "220283#11",
"text": "ผลการชก โฟร์แมนเป็นฝ่ายเดินเข้าหาและปล่อยหมัดใส่อาลีตั้งแต่ยกแรก ขณะที่อาลีได้แต่ปัดป้องและถอยพิงเชือก จนกระทั่งถึงยกที่ 8 ขณะที่โฟร์แมนเริ่มหมดแรง อาลีเริ่งระดมปล่อยหมัดจนกระทั่งชนะน็อกโฟร์แมนได้กลับมาเป็นแชมป์โลกสมัยที่ 2 ได้ในที่สุด ซึ่งในอีกหลายปีต่อมาโฟร์แมนได้เปิดเผยว่า ตนถูกฝ่ายอาลีและดอน คิง เอาเปรียบทุกอย่างและมีการเตรียมเชือกกั้นเวทีให้หย่อนกว่าปกติเพื่อที่อาลีจะได้โยกหลบหมัดของตนได้อย่างเต็มที่",
"title": "มูฮัมหมัด อาลี"
},
{
"docid": "300269#0",
"text": "รายพระนามพระคู่ครองในราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี เป็นพระยศของคู่สมรสของกษัตริย์แห่งอียิปต์ในช่วงราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี ซึ่งตำแหน่งนี้ได้เริ่มการใช้ในรัชสมัยของพระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์ (\"ครองราชย์\" 1917-1936) ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงพระยศของพระองค์เองจากสุลต่านแห่งอียิปต์เป็นกษัตริย์แห่งอียิปต์พร้อมกับตำแหน่งพระคู่สมรสด้วย โดยผู้ที่ได้รับแต่งตั้งพระยศสมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์พระองค์แรกคือ สมเด็จพระราชินีนาซลีแห่งอียิปต์ (1919-1936) ส่วนพระราชินีองค์สุดท้ายคือสมเด็จพระราชินีฟาดิลาแห่งอียิปต์ (1976-1999) แม้ว่าจะเสกสมรสภายหลังจากที่พระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์ สละราชบัลลังก์แล้วก็ตาม แต่พระองค์ก็ยังถือเป็นผู้อ้างสิทธิในตำแหน่งสมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์ ภายหลังฟาดิลาก็ได้หย่าขาดจากพระราชสวามี ปัจจุบันจึงดำรงพระยศเป็นเจ้าหญิงนอกราชบัลลังก์",
"title": "รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี"
},
{
"docid": "220283#14",
"text": "มูฮัมหมัด อาลี ถือว่าเป็นนักมวยผู้เป็นตำนานในหลายด้าน นอกจากบุคลิกที่โดดเด่น กล้าคิด กล้าพูด หลายเรื่องที่อาลีแสดงความเห็นและแสดงออกทางสังคมล้วนแต่มีนัย มีความหมายทั้งสิ้น ประกอบกับกระแสการเมืองทั้งในสหรัฐอเมริกาและการเมืองโลกขณะนั้นยิ่งทำให้อาลีกลายเป็นบุคคลที่โดดเด่นขึ้นมา ได้รับเชิญให้ไปบรรยายในมหาวิทยาลัยและสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ จนได้รับการคัดเลือกให้เป็นบุคคลแห่งปีของหลายสถาบัน และได้รับเลือกให้เป็นบุคคลในวงการกีฬาแห่งปี ค.ศ. 1974 ของนิตยสารสปอร์ตอิลลัสเตรด อีกทั้งยังเป็นนักมวยรายแรกที่กล้าทำนายผลการชกของตัวเองล่วงหน้า แม้จะฟังดูว่าอวดตัวเอง แต่อาลีก็สามารถทำได้ในหลายต่อหลายครั้ง จนทำให้มีจอห์นนี เวคกิน นักดนตรีชาวอังกฤษแต่งเพลงให้แก่อาลีชื่อ \"Black Superman\" ซึ่งต่อมาคำนี้ได้กลายเป็นฉายาของอาลีในภาษาอังกฤษด้วย และในส่วนของแฟนมวยชาวไทยได้ให้ฉายาแก่อาลีในแบบที่สอดคล้องกับชื่อภาษาอังกฤษว่า \"สิงห์จอมโว\"",
"title": "มูฮัมหมัด อาลี"
},
{
"docid": "531927#0",
"text": "สุลต่านมูฮัมหมัด อาลี () เป็นพระราชโอรสของ สุลต่านอับดุล จาลิลุล จับบาร์ ทรงขึ้นครองราชย์เป็นสุลต่านแห่งบรูไนดารุสซาลาม เมื่อ พ.ศ.2203 ครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาของพระองค์ และสวรรคตในปีถัดมา คือ พ.ศ. 2204 อดีตอัครมหาเสนบดี ฮักกุล มูบิน ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์",
"title": "สุลต่านมูฮัมหมัด อาลี แห่งบรูไน"
},
{
"docid": "220283#5",
"text": "ในปี ค.ศ. 1966 อาลีได้รับหมายเกณฑ์เพื่อเข้าร่วมรบในสงครามเวียดนามเขาถูกจัดให้อยู่ในประเภท A-1 (ดีเยี่ยม) โดยทางการให้สัญญาว่า ตำแหน่งของเขาจะอยู่ห่างจากสมรภูมิหลายร้อยไมล์ แต่อาลีก็ตอบโต้คำสั่งด้วยประโยคที่เป็นอมตะว่า \"ผมไม่เคยมีเรื่องราวอะไรกับพวกเวียดกง\" (I ain't got no quarrel with them Viet Cong) นั่นทำให้ในวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1967 อาลีปฏิเสธอย่างเป็นทางการว่าจะไม่เข้าร่วมในกองทัพ อีก 10 วันต่อมาเขาถูกดำเนินคดีที่ฮุสตันในข้อหาหลีกเลี่ยงทหาร ผู้พิพากษา โจ อิงแกรม ตัดสินให้เขาได้รับโทษสูงสุดคือจำคุก 5 ปี และปรับเป็นเงิน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในระหว่างการยื่นอุทธรณ์อาลีถูกสั่งห้ามชก",
"title": "มูฮัมหมัด อาลี"
},
{
"docid": "301721#0",
"text": "ซุปเปอร์แมน vs มูฮัมหมัด อาลี () เป็นหนังสือการ์ตูน ที่นำเอาซุปเปอร์ฮีโร่ที่มีชื่อเสียงอย่าง ซุปเปอร์แมน มาสู้กับนักมวยสากลรุ่นเฮฟวี่เวทนามว่า มูฮัมหมัด อาลี \"(เจ้าของฉายา แบล็คซุปเปอร์แมน)\" ในรูปของลายเส้นการ์ตูน จัดพิมพ์โดย \"สนพ.ดีซีคอมิกส์\" ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ. 1978 หนา 72 หน้ากระดาษ ราคาแรกจำหน่าย 2.50 ดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 2010 ได้มีการจัดพิมพ์ขึ้นมาใหม่อีกครั้งด้วยเช่นกัน",
"title": "ซุปเปอร์แมน vs มูฮัมหมัด อาลี"
},
{
"docid": "961416#0",
"text": "เจ้าชายมูฮัมหมัด อาลี เจ้าชายแห่งซาอิด () เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2522 ณ ไคโร ประเทศอียิปต์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน พระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์ และ ดอมีนิก-ฟร็องซ์ โลบ ปีการ์ ทรงเป็นองค์รัชทายาทในราชบัลลังก์อียิปต์และซูดาน พระองค์และครอบครัวถูกเนรเทศขณะพระองค์มีพระชนมายุไม่ถึง 1 พรรษา พระองค์ทรงเติบโตใน โมร็อกโก และ ยุโรป เมื่อทรงเจริญวัย ทรงงานด้วยอสังหาริมทรัพย์ใน ปารีส ",
"title": "เจ้าชายมูฮัมหมัด อาลี เจ้าชายแห่งซาอิด"
},
{
"docid": "79679#0",
"text": "ดอน คิง () มีชื่อเต็มว่า โดนัลด์ ดอน คิง (Donald Don King) เกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1931 ที่เมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา เมื่อตอนอายุ 14 เคยติดคุกข้อหาฆ่าคนตายมาแล้ว ดอน คิง เริ่มอาชีพในวงการมวยด้วยการเป็นผู้จัดการให้กับ เออร์นี่ เชฟเวอร์ นักมวยรุ่นเฮฟวี่เวท และเริ่มมีชื่อเสียงจากการเป็นโปรโมเตอร์ผู้จัดศึก \"The Rumble in the Jungle\" ในปี ค.ศ. 1974 ที่กรุงกินชาซา ประเทศซาอีร์ ซึ่งเป็นการป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกในรุ่นเฮฟวี่เวทระหว่าง จอร์จ โฟร์แมน กับ มูฮัมหมัด อาลี ซึ่งมวยคู่นี้ได้สร้างปรากฏการณ์หลายอย่างให้เกิดขึ้นในโลกด้วย ไม่เพียงแต่เป็นการแข่งขันกีฬาธรรมดา แต่ยังมีนัยแฝงทางการเมืองรวมอยู่ด้วย เนื่องจากขณะนั้นกระแสทางการเมืองทั่วโลกกำลังต่อต้านชนชาติผิวสี แต่การที่ดอน คิง กล้าเข้าไปจัดมวยชิงแชมป์โลกถึงใจกลางทวีปแอฟริกา นับเป็นการท้าทายอย่างยิ่ง และมวยคู่นี้จบลงที่อาลีเป็นฝ่ายชนะน็อกไปในยกที่ 8 ได้กลับมาเป็นแชมป์โลกสมัยที่ 2 ทั้ง ๆ ที่เกมการชกก่อนหน้านั้นเป็นไปอย่างชนิดที่อาลีเป็นรองสุดกู่ ท่ามกลางเสียงครหาว่าผู้จัดเจตนาขึงเชือกกั้นเวทีให้หย่อน เพื่อที่จะให้อาลีพยายามโยกหลบหมัดของโฟร์แมนได้สะดวก อีกทั้งฝ่ายโฟร์แมนเองก็ได้บอกภายหลังการชกว่า ตนถูกเอาเปรียบแทบทุกอย่าง",
"title": "ดอน คิง"
},
{
"docid": "220283#6",
"text": "ตัวอย่างของอาลียังทำให้ มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ ที่ยังลังเลที่จะต่อต้านนโยบายของรัฐบาลประธานาธิบดีจอห์นสัน ได้แสดงแนวความต่อต้านสงครามของตนออกมาเป็นครั้งแรก[3]",
"title": "มูฮัมหมัด อาลี"
},
{
"docid": "220283#10",
"text": "อีกครั้งหนึ่งที่นับเป็นการชกครั้งประวัติศาสตร์ของอาลีและของวงการมวยโลก คือ การพบกับ จอร์จ โฟร์แมน ซึ่งขณะนั้นโฟร์แมนเป็นแชมป์โลกอยู่ และเป็นการชิงแชมป์โลกครั้งที่ 3 ในชีวิตของอาลี ในศึกที่มีชื่อว่า \"The Rumble in the Jungle\" ที่กรุงกินซาซ่า ประเทศซาอีร์ การชกครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการจัดชกมวยระดับโลกเป็นครั้งแรกใจกลางทวีปแอฟริกาด้วย แต่หากยังมีนัยทางการเมืองแฝงอยู่ด้วย เพราะในขณะนั้นกระแสการเหยียดสีผิวกระเพื่อมรุนแรงมากในทั่วทุกมุมโลก โดยโปรโมเตอร์ผู้จัดครั้งนี้คือ ดอน คิง ซึ่งต่อมาศึกครั้งนี้ได้สร้างชื่อให้กับดอน คิง แจ้งเกิดได้ในวงการมวยระดับโลกมาจนปัจจุบัน",
"title": "มูฮัมหมัด อาลี"
},
{
"docid": "220283#22",
"text": "นอกจากนี้แล้ว มูฮัมหมัด อาลี ยังได้เคยออกสตูดิโออัลบั้มกับโคลัมเบียเรเคิดส์ ในปี ค.ศ. 1963 ใช้ชื่อว่า \"I Am The Greatest\" มีเพลงเด่น คือ Stand by Me ซึ่งคัฟเวอร์มาจากต้นฉบับของเบน อี. คิง[1]",
"title": "มูฮัมหมัด อาลี"
},
{
"docid": "220283#20",
"text": "อีกครั้งในปี ค.ศ. 2001 ในชื่อ \"Ali\" (ชื่อภาษาไทย อาลี กำปั้นท้าชนโลก ฉายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 2002) เป็นภาพยนตร์เรื่องราวชีวประวัติของอาลีล้วน ๆ กำกับโดย ไมเคิล แมนน์ นำแสดงเป็นอาลี โดย วิลล์ สมิธ ภาพยนตร์ได้มีชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ในสาขารางวัลดารานำชายและดาราประกอบชาย ถึง 2 รางวัลด้วยกัน",
"title": "มูฮัมหมัด อาลี"
},
{
"docid": "342557#0",
"text": "มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ (; ) เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2419 เป็นบิดาแห่งปากีสถาน และเป็นผู้แยกดินแดนระหว่างฮินดูกับมุสลิม เป็นดินแดนของประเทศปากีสถาน จินนาห์เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2491 สิริอายุได้ 71 ปี",
"title": "มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์"
},
{
"docid": "220283#17",
"text": "นอกจากนี้แล้ว อาลียังเป็นที่รับรู้กันดีว่าเป็นโรคพาร์กินสันหรือโรคเมาหมัด ซึ่งเป็นผลจากการชกมวย แต่ในพิธีเปิดโอลิมปิคที่แอตแลนต้า อาลีได้รับเกียรติจากคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ให้เป็นบุคคลสุดท้ายที่จุดคบเพลิงด้วยมือที่สั่นเทา แต่อาลีก็สามารถทำได้ เป็นที่ประทับใจของผู้คนทั่วโลก แม้กระทั่งบิล คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ผู้เป็นประธานพิธีเปิดถึงกับหลั่งน้ำตาด้วยความซาบซึ้ง[1]",
"title": "มูฮัมหมัด อาลี"
},
{
"docid": "220283#1",
"text": "อาลีขึ้นชกมวยครั้งแรกเมื่ออายุได้เพียง 12 ปี โดยมีครูฝึกเป็นตำรวจเชื้อสายไอริชชื่อ โจ มาร์ติน จุดประสงค์แรกก็คือให้อาลีใช้เป็นทักษะการต่อสู้เพื่อปกป้องจักรยานราคา 60 ดอลลาร์ของตนจากเด็กละแวกบ้านเดียวกัน อาลีได้พัฒนาฝีมือการชกขึ้นเป็นลำดับจนกระทั่งคว้าแชมป์มวยสากลสมัครเล่นรุ่นไลท์เฮฟวี่เวทของเมืองหลุยส์วิลล์ จากนั้นได้ครองแชมป์ระดับภูมิภาคของชิคาโก ได้แชมป์มวยสากลสมัครเล่นแห่งชาติ และประสบความสำเร็จสูงสุดจากการได้เหรียญทองในรุ่นไลท์เฮฟวี่เวทในการแข่งขันโอลิมปิคที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี แต่การเดินทางด้วยเครื่องบินในครั้งนั้น อาลีกลัวเครื่องบินจะตกมาก ถึงขนาดสวมใส่เสื้อชูชีพไว้ตลอดการเดินทาง[1]",
"title": "มูฮัมหมัด อาลี"
},
{
"docid": "588621#1",
"text": "การจัดตั้งสันนิบาตมุสลิมนี้ เกิดขึ้นหลังจากการแบ่งแคว้นเบงกอลของอังกฤษเป็นเบงกอลตะวันตกที่คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดูกับเบงกอลตะวันออกที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม ใน พ.ศ. 2448 ซึ่งมุสลิมในอินเดียเห็นด้วยแต่ผู้นับถือศาสนาฮินดูคัดค้าน ทำให้ชาวมุสลิมเชื่อมั่นในความคิดของเซอร์ไซยิด อาหมัด ข่านที่เห็นว่าผู้นับถือศาสนาฮินดูและมุสลิมเป็นคนละเชื้อชาติ จึงได้จัดตั้งสันนิบาตเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของมุสลิม และยังเรียกร้องให้อังกฤษจัดตั้งเขตเลือกตั้งพิเศษเฉพาะชาวมุสลิม ซึ่งอังกฤษได้ดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2452 ผู้นำในระยะแรกของสันนิบาตมุสลิมคือ โมฮัมหมัด อาลี และได้ชักชวนมูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ให้เข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ. 2456 หลังจากอาลีถึงแก่กรรมใน พ.ศ. 2473 มูฮัมมัด อิกบาลได้เป็นผู้นำต่อมา และเป็นผู้เสนอความคิดที่จะจัดตั้งรัฐมุสลิมขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ซึ่งต่อมา เชาธารี ราห์มัด อาลีนำไปสานต่อเป็นแนวคิดการจัดตั้งปากีสถาน",
"title": "สันนิบาตมุสลิมแห่งอินเดีย"
},
{
"docid": "446206#0",
"text": "ราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลีเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศอียิปต์ระหว่างปี ค.ศ. 1805-ค.ศ. 1953",
"title": "รายพระนามพระมหากษัตริย์ราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี"
},
{
"docid": "220283#7",
"text": "จากนั้นอาลีได้ทำในสิ่งที่ชาวโลกตะลึง เมื่อจู่ ๆ เขาประกาศว่าเขาหันมานับถือศาสนาอิสลาม โดยคำสอนของศาสนาไม่ให้ไปเข่นฆ่าผู้คน ดังนั้นการเกณฑ์เป็นทหารจึงเป็นสิ่งที่เขารับไม่ได้ และได้เปลี่ยนชื่อจากเคสเซียส เคลย์ มาเป็น มูฮัมหมัด อาลี อย่างที่รู้จักกันแพร่หลาย ซึ่งชื่อนี้ อีไลจาห์ มูฮัมหมัด ผู้นำมุสลิมในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ตั้งให้ โดยมีความหมายว่า \"ควรค่าแก่การสรรเสริญ\" แต่อย่างไรก็ตาม อาลีเคยให้สัมภาษณ์ว่า ในตอนแรกทีขึ้นชกมวยเขาเคยใช้ชื่อว่า \"เคสเซียส เอ็กซ์\" (Cassius X) ตามแบบแมลคัม เอ็กซ์ นักต่อสู้เพื่อสิทธิคนผิวดำในสหรัฐอเมริกา[1]",
"title": "มูฮัมหมัด อาลี"
},
{
"docid": "675043#1",
"text": "มูฮัมหมัดขึ้นสู่อำนาจหลังจากที่รัฐบาลของกลุ่มต่อต้านติดอาวุธรวมทั้งตัวเขาเอง รัฐสภาแห่งสหรัฐโซมาลี สามารถปลดประธานาธิบดีไซอัด บาร์รีผู้ครองอำนาจอย่างยาวนาน อย่างไรก็ตามมูฮัมหมัดไม่สามารถที่จะใช้อำนาจของเขาเกินกว่าส่วนของเมืองหลวงได้ อำนาจได้รับการแทนที่โดยผู้นำกลุ่มอื่นๆ ในภาคใต้ ครึ่งหนึ่งของประเทศ และโดยหน่วยงานของดินแดนปกครองตนเองในภาคเหนือ",
"title": "อาลี มาห์ดิ มูฮัมหมัด"
},
{
"docid": "220283#13",
"text": "สำหรับการชกที่ถือว่าอาลีต้องเจ็บตัวมากที่สุด คือการพ่ายแพ้แก่ เคน นอร์ตัน นักมวยโนเนมในขณะนั้น เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1973 แม้จะเป็นฝ่ายแพ้คะแนน แต่หลังการชกอาลีถูกตรวจพบว่าถึงกับกรามหักจากฤทธิ์หมัดของนอร์ตัน",
"title": "มูฮัมหมัด อาลี"
},
{
"docid": "3648#11",
"text": "ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1882 อังกฤษส่งเรือรบไปยังเมืองท่าอเล็กซานเดรีย และยึดครองอียิปต์ได้สำเร็จ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษได้ประกาศว่าอียิปต์เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวอียิปต์ที่รักชาติได้เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราช ใน ค.ศ. 1922 อังกฤษได้ให้เอกราชแก่อียิปต์ โดยเมื่อแรกรับเอกราช ได้สถาปนาเป็นราชอาณาจักรอียิปต์ ปกครองโดยราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี ที่สืบเชื้อสายจากสุลต่านแห่งอียิปต์ โดยสุลต่านฟูอัด ได้สถาปนาพระองค์เป็น พระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์ และปกครองต่อมาอีกสองพระองค์คือ พระเจ้าฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์ และพระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์ ก็เป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี และระบอบกษัตริย์แห่งอียิปต์ โดยได้มีการทำรัฐประหารเป็นระบอบสาธารณรัฐจนถึงปัจจุบัน",
"title": "ประเทศอียิปต์"
},
{
"docid": "220283#19",
"text": "ชีวิตของมูฮัมหมัด อาลี ได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์อย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1996 กับเรื่อง \"When We Were Kings\" เป็นภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับเรื่องราวของศึก Rumble in the Jungle ที่ซาอีร์ ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จอย่างมากเมื่อได้รับรางวัลออสการ์ ประเภทภาพยนตร์สารคดีในปีนั้นด้วย (ในประเทศไทยได้นำมาฉายที่โรงภาพยนตร์ที่เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ในชื่อภาษาไทยว่า \"วันเวลาของราชันย์\" และต่อมาทางสหมงคลฟิล์มผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ก็ได้ออกวิดีโอออกมาจัดจำหน่ายและให้เช่า)",
"title": "มูฮัมหมัด อาลี"
},
{
"docid": "285829#1",
"text": "พระเจ้าฟุอาดที่ 1 แห่งอียิปต์ เสด็จราชสมภพเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1868 ณ พระราชวังกีซา กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 7 ในเคดีฟอิสมาอิล พาชากับฟาเรียล คาดิน โดยพระองค์สืบเชื้อสายจากมูฮัมหมัดอาลี พาชา และมีเชื้อสายแอลเบเนีย เมื่อพระองค์ประสูติอียิปต์ยังไม่ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ แต่อังกฤๅก็เข้ามามีอิทธิพลต่ออียิปต์จนสุลต่านอิสมาอิล พาชา พระบิดาของพระองค์ ได้ส่งพระองค์เข้าไปศึกษายังประเทศอิตาลี ก่อนศึกษาวิชาทหารที่ตูริน พระองค์เป็นกษัตริย์องค์ที่เก้าแห่งราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี โดยพระองค์ครองราชย์เป็นสุลต่านแห่งอียิปต์และซูดานเมื่อ ค.ศ. 1917 ",
"title": "พระเจ้าฟุอาดที่ 1 แห่งอียิปต์"
},
{
"docid": "220283#9",
"text": "นักมวยรุ่นเฮฟวี่เวทในระยะเวลาเดียวกันนั้นที่นับได้ว่าเป็นคู่ปรับคนสำคัญของอาลีคือ โจ ฟราเซียร์ ทั้งคู่พบกันบนเวทีหลายครั้ง และทุกครั้งก็นับการเป็นการชกครั้งประวัติศาสตร์ ในครั้งแรกฟราเซียร์สามารถเอาชนะคะแนนอาลีได้ในเวลา 15 ยก แต่กระนั้นฟราเซียร์ก็ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลนานถึง 10 เดือน ด้วยฤทธิ์หมัดของอาลี ต่อมาทั้งคู่ชกกันอีกที่ฟิลิปปินส์ ในศึกที่มีชื่อว่า \"Thrilla in Manila\" คราวนี้ฟราเซียร์เป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอไปในยกที่ 14",
"title": "มูฮัมหมัด อาลี"
},
{
"docid": "220283#4",
"text": "อาลีขึ้นชิงแชมป์โลกครั้งแรกกับซอนนี่ ลิสตัน นักมวยจอมโหดผู้เคยผ่านการติดคุกมาแล้ว เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1964 ในการชกครั้งนี้หลายฝ่ายคาดว่าอาลีคงต้องถูกน็อกอย่างแน่ แต่อาลีกลับเป็นฝ่ายที่สามารถชนะน็อกลิสตันได้ และได้ชื่อเสียงมาในเวลาเพียงชั่วข้ามคืน",
"title": "มูฮัมหมัด อาลี"
},
{
"docid": "220283#8",
"text": "คำร้องอุทธรณ์ของอาลีมาประสบความสำเร็จในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1971 คำตัดสินของศาลสูงสุดยกฟ้องด้วยเสียง 8:0 นับเป็นระยะเวลา 3 ปีที่อาลีไม่ได้ขึ้นเวทีชกมวยเลย ซึ่งปัจจุบันหลายฝ่ายเห็นว่า นั่นคือช่วงเวลาที่ดีที่สุดในชีวิตของเขา น่าจะเป็นช่วงที่อาลีขึ้นถึงจุดสูงสุดในชีวิตการชกมวยได้ แต่กลับต้องเลยผ่านไปอย่างน่าเสียดาย",
"title": "มูฮัมหมัด อาลี"
},
{
"docid": "220283#16",
"text": "หลังแขวนนวม มูฮัมหมัด อาลี ได้ทำงานเกี่ยวกับสาธารณกุศลไปทั่วโลก และในสงครามอ่าวเปอร์เซีย เมื่อปี ค.ศ. 1990 เมื่ออิรักบุกยึดคูเวตได้แล้ว กองทัพอิรักได้จับกุมตัวประกันชาวอเมริกันได้กว่า 2,000 ราย อาลีได้เสนอตัวเข้าไปเป็นผู้เจรจาปล่อยตัวประกันด้วยตนเองกับประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซน ถึงกรุงแบกแดก ด้วยคิดว่าชื่อเสียงของเขาและการที่เป็นชาวมุสลิมเหมือนกันจะช่วยให้การเจรจาเป็นไปได้ด้วยดี ปรากฏว่าความพยายามของอาลีเป็นที่สำเร็จ เมื่อทางฮุสเซนยอมปล่อยตัวประกันออกมา 15 ราย หลังจากใช้เวลาเจรจาเพียง 50 นาที [1]",
"title": "มูฮัมหมัด อาลี"
},
{
"docid": "220283#21",
"text": "มูฮัมหมัด อาลี ได้รับเกียรติเป็นตัวละครสำคัญในหนังสือการ์ตูน Superman vs Muhammad Ali ซึ่งวางจำหน่ายช่วงปี ค.ศ. 1978 ซึ่งในฉบับนี้หน้าปกยังมีบุคคลดังในยุคนั้นแฝงอยู่อีกหลายคน เช่น แฟรงก์ ซินาตรา, เดอะแจ็กสันไฟฟ์ หรือแม้กระทั่งบุคคลสมมติเช่น เล็กซ์ ลูเธอร์ และแบทแมน และจัดพิมพ์ใหม่อีกครั้งในช่วงปี ค.ศ. 2010",
"title": "มูฮัมหมัด อาลี"
}
] |
1449 | อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล เป็นรายการค้นหานางแบบใช่หรือไม่ ? | [
{
"docid": "35751#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล (America's Next Top Model หรือในชื่อย่อว่า ANTM) เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์ที่ทำการคัดเลือกหญิงสาวจากรัฐต่างๆ ของสหรัฐอเมริกา ที่ใฝ่ฝันอยากที่จะเป็นนางแบบ โดยผู้เข้าแข่งขันต้องขับเคี่ยวกันจากบททดสอบมากมาย ตั้งแต่การถ่ายภาพ การถ่ายโฆษณา ที่ล้วนต้องอาศัยความสามารถระดับสูงก่อนจะมาเป็นสุดยอดนางแบบของอเมริกา ซึ่งผู้ชนะในแต่ละฤดูกาลจะได้รับรางวัลดังนี้",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล"
}
] | [
{
"docid": "517406#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 20 (หนุ่มหล่อ&สาวสวย) เป็นฤดูกาลที่ 20 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยในฤดูกาลนี้ จะเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์รายการ ทีมีผู้เข้าแข่งขันเป็นผู้ชาย ร่วมเข้าแข่งขันในรายการด้วย ซึ่งฤดูกาลนี้จะเริ่ม ออกอากาศในเดือนสิงหาคม ของ ปี 2556 โดยคณะกรรมการยังประกอบไปด้วย ไทรา แบงส์, เคลลี่ ครูโทน, ร็อบ อีวานส์ และ ไบรอันบอย เหมือนเดิม โดยที่ประชาชนยังสามารถโหวตให้คะแนนผู้เข้าแข่งขัน ได้เหมือนในฤดูกาลที่แล้ว ซึ่งจะเป็นปัจจัยในการคัดออกในแต่ละสัปดาห์ได้เหมือนเดิม",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 20"
},
{
"docid": "497778#0",
"text": "เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 1 เป็นฤดูกาลแรกของ เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ที่ต้องการค้นหาสุดยอดนางแบบ เพื่อทำงานในวงการนางแบบ ในระดับมืออาชีพ โดยสาวๆ ที่เข้าแข่งขัน จะต้องมีเชื้อสายของเอเชียเท่านั้น โดยส่วนมากจะมากจากเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้",
"title": "เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 1"
},
{
"docid": "728588#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 22 (หนุ่มหล่อ & สาวสวย 3) เป็นฤดูกาลที่ 22 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยในฤดูกาลนี้ จะเป็นครั้งที่ 3 ของรายการ ทีมีผู้เข้าแข่งขันเป็นผู้ชาย ร่วมเข้าแข่งขันในรายการด้วย อีกทั้งรายการยังได้ทำการเปิดรับสมัคร ผู้เข้าแข่งขันที่มีรูปร่างเล็ก ซึ่งต่างจากฤดูกาลที่ผ่านมา ที่มีข้อจำกัดในเรื่องของ ความสูง ซึ่งฤดูกาลนี้จะเริ่ม ออกอากาศในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558 โดยคณะกรรมการยังคงประกอบไปด้วย ไทรา แบงส์, เคลลี่ ครูโทน, เจ.อเล็กซานเดอร์ และ ผู้กำกับการถ่ายภาพ ยู ไซ เช่นเคย และแตกต่างจาก 3ฤดูกาลที่ผ่านมา ในฤดูกาลนี้ จะตัดสินเพียงแค่คะแนนจากคณะกรรมการทั้งสาม และคะแนนจากการแข่งขันชิงรางวัลเท่านั้น โดยจะยกเลิกการใช้ผลโหวตจากผู้ชมทางบ้าน",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 22"
},
{
"docid": "192335#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 11 (America's Next Top Model, Cycle 11) เป็นฤดูกาลที่ 11 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดลโดยความคิดริเริ่มของสุดยอดนางแบบและพิธีกรรายการโทรทัศน์ ไทรา แบงส์ ซึ่งทางรายการได้ออกอากาศเป็นครั้งที่ห้า ทางช่อง CW ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551 ประโยคและธีมที่นำมาใช้โปรโมทฤดูกาลนี้คือ \"ฟีล เดอะ เลิฟ\" ในการแข่งขันครึ่งแรกนั้นได้ถ่ายทำใน ลอสแอนเจลิส โดยที่ได้ย้ายกลับมาจากที่ที่ใช้ถ่ายทำในครั้งก่อนซึ่งก็คือ นิวยอร์ก และในรอบ 6 คนสุดท้ายของฤดูกาลนี้ เป้าหมายในต่างประเทศที่ผู้เข้าแข่งขัน ต้องไปทำการแข่งขันกันต่อ คือ เมืองอัมสเตอร์ดัม ณ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพลงที่ใช้ในการโปรโมตของฤดูกาลนี้คือ When I Grow Up โดย Pussycat Dolls",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 11"
},
{
"docid": "339344#0",
"text": "ฤดูกาลที่ 6 ของ ออสเตรเลียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล เป็นการค้นหานางงามของออสเตรเลีย โดยฤดูกาลนี้ ซาร่าห์ เมอร์ด็อช เจ้าของรายการ และ ผู้ตัดสินได้ออกค้นหานางแบบในรอบคัดเลือกตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 และได้เริ่มการแข่งขันจริงกับสาวๆที่ผ่านการคัดเลือกถึง 16 ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553",
"title": "ออสเตรเลียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 6"
},
{
"docid": "282625#0",
"text": "แคนาดาเน็กซ์ท็อปโมเดล (\"Canada's Next Top Model\" หรือในชื่อย่อว่า \"CNTM\") เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์ที่ทำการคัดเลือกหญิงสาวจากเมืองต่างๆ ของแคนาดา ที่ใฝ่ฝันอยากที่จะเป็นนางแบบ โดยผู้เข้าแข่งขันต้องขับเคี่ยวกันจากบททดสอบมากมาย ตั้งแต่การถ่ายภาพ การถ่ายโฆษณา ที่ล้วนต้องอาศัยความสามารถระดับสูงก่อนจะมาเป็นสุดยอดนางแบบของอเมริกา โดยพิธีกรของรายการก็คือ เจย์ แมนูเอล ผู้ควบคุมด้านศิลป์จากรายการ อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล นั่นเอง",
"title": "แคนาดาเน็กซ์ท็อปโมเดล"
},
{
"docid": "605534#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 21 (หนุ่มหล่อ & สาวสวย2) เป็นฤดูกาลที่ 21 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยในฤดูกาลนี้ จะเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์รายการ ทีมีผู้เข้าแข่งขันเป็นผู้ชาย ร่วมเข้าแข่งขันในรายการด้วย ซึ่งฤดูกาลนี้จะเริ่ม ออกอากาศใน ปี 2557 โดยคณะกรรมการยังประกอบไปด้วย ไทรา แบงส์, เคลลี่ ครูโทน, สุดยอดนายแบบชาย ร็อบ อีวานส์ ถูกเปลี่ยนเป็น เจ.อเล็กซานเดอร์ และ ผู้กำกับการถ่ายภาพ เปลี่ยนจาก จอห์นนี่ วูเจ็ค เป็น ยู ไซ โดยที่ในฤดูกาลนี้ประชาชนยังสามารถโหวตให้คะแนนผู้เข้าแข่งขัน ได้เหมือนใน สองฤดูกาลที่แล้ว ซึ่งจะเป็นปัจจัยในการคัดออกในแต่ละสัปดาห์ได้เหมือนเดิม",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 21"
},
{
"docid": "452159#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 19 เป็นฤดูกาลที่ 19 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยจะได้ผู้เข้าแข่งขัน ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ใน ระดับอุดมศึกษา จากมหาวิทยาลัยชื่อดังของอเมริกา ทั้งหมด 13 คนมาเข้าแข่งขันกัน โดยในฤดูกาลนี้ ประชาชนจะสามารถร่วมโหวตให้คะแนน จากการเผยแพร่ภาพถ่ายของผู้เข้าแข่งขันในแต่ละสัปดาห์ ก่อนที่จะรายการจะออกอากาศ และจะคิดออกมาเป็นคะแนนเฉลี่ย ซึ่งในการคัดออกแต่ละครั้ง จะนำคะแนนในส่วนนี้มารวมกับ คะแนนจากทั้งกรรมการ คะแนนจากการแข่งขันประจำสัปดาห์ ซึ่งให้ได้ตั้งแต่ 1-10 โดยเมื่อรวมคะแนนทั้งหมดออกมาแล้ว จะเป็นตัวตัดสินว่า สาวคนไหนจะได้ถูกส่งกลับบ้านในแต่ละสัปดาห์",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 19"
},
{
"docid": "317583#0",
"text": "บราซิลเน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 4 เป็นฤดูกาลที่ 4 ของ บราซิลเน็กซต์ท็อปโมเดล, รายการเรียลลิตี้ โชว์ ชื่อดังของบราซิล ดำเนินรายการโดย นางแบบชื่อดังอย่าง เฟอร์นันด้า มอตต้า เพื่อค้นหานางแบบแฟชั่นแถวหน้า เริ่มทำการค้นหาในเดือน กรกฎาคม และ สิงหาคม แต่ถูกออกอากาศครั้งแรกเมื่อ 9 กันยายน 2552",
"title": "บราซิลเน็กซ์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 4"
},
{
"docid": "754150#0",
"text": "เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 4 เป็นฤดูกาลที่ 4 ของ เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ที่ต้องการค้นหาสุดยอดนางแบบ เพื่อทำงานในวงการนางแบบ ในระดับมืออาชีพ โดยสาวๆ ที่เข้าแข่งขัน จะต้องมีเชื้อสายของเอเชียเท่านั้น โดยส่วนมากจะมากจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในฤดูกาลนี้จะถ่ายทำรายการ ใน ประเทศสิงคโปร์ เริ่มออกอากาศวันที่ 9 มีนาคม 2559 เป็นวันแรก โดยในฤดูกาลนี้จะเป็นครั้งแรกที่จะตัดสินโดยการให้คะแนนจากการแข่งขันประจำสัปดาห์และคะแนนจากคณะกรรมการในห้องตัดสิน",
"title": "เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 4"
},
{
"docid": "260729#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 13 (America's Next Top Model, Cycle 13) เป็นฤดูกาลที่ 13 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ออกอากาศครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกา ทางช่อง CW ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 สำหรับฤดูกาลนี้มีผู้เข้าแข่งขันจำนวนเท่ากับ ฤดูกาลที่ 10 และ 11 โดยมีทั้งสิ้น 14 คน และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สุดยอดนางแบบ หญิงสาวสูง 5 ฟุต 7 นิ้วและเตี้ยกว่านั้น , ความงามอยู่ภายใต้มาตรฐานความสูง เพื่อก้าวสู่ผู้ชนะ 14 สาวต้องพิสูจน์ความงามที่มาในทุกรูปทรง , ขนาดและความสูง สำหรับคำโฆษณาที่ใช้ในฤดูกาลนี้คือ \"'The Lineup Is 5\"7' And Under. Not The Usual Suspects. BOOK 'EM!\" และเพลงที่ใช้สำหรับประกอบตัวอย่างของรายการในฤดูกาลนี้คือเพลง \"Good Girls Go Bad\" ของ Cobra Starship",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 13"
},
{
"docid": "427956#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 18 เป็นฤดูกาลที่ 18 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยจะออกอากาศครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555\nโดยในฤดูกาลนี้ จะได้ผู้เข้าแข่งขัน 7คน จาก บริเทน เน็กซ์ ท็อป โมเดล ซึ่งได้แข่งขันในฤดูกาลที่ผ่านมาแล้ว มาร่วมแข่งขันกับ นางแบบหน้าใหม่ของ สหรัฐอเมริกา",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 18"
},
{
"docid": "467054#2",
"text": "อเมริกาเน็กซต์ท็อปโมเดล เริ่มฉายในสหราชอาณาจักรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2548 ทางช่อง ลิวิง ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และในปีเดียวกัน บริเตนก็ได้ซื้อลิขสิทธิ์รายการมาได้สำเร็จ สำหรับฤดูกาลแรกของบริเทนส์เน็กซต์ท็อปโมเดล นั้นยังได้ออกอากาศพร้อมกับ อเมริกาเน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 5 อีกด้วย",
"title": "บริเทนส์เน็กซต์ท็อปโมเดล"
},
{
"docid": "467054#1",
"text": "รายการนี้ได้ซื้อลิขสิทธิ์มาจากรายการ อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ซึ่งจัดทำโดยสุดยอดนางแบบและพิธีกรรายการโทรทัศน์ ไทรา แบงส์ โดยเริ่มฉายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 ซึ่งได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก นอกจากนี้หลายๆ ประเทศยังได้ติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์รูปแบบรายการไปสร้างและออกอากาศในประเทศนั้น ๆ ด้วย ",
"title": "บริเทนส์เน็กซต์ท็อปโมเดล"
},
{
"docid": "194336#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 2 ออกอากาศเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 จัดทำโดยสุดยอดนางแบบและพิธีกรรายการโทรทัศน์ ไทร่า แบงคส์ โดยคำโฆษณาประจำฤดูนี้ก็คือ \"They are all gorgeous, but only one has what it takes\"",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 2"
},
{
"docid": "822961#0",
"text": "โคเรียส์เน็กซ์ท็อปโมเดล (; คำแปล: Challenge Supermodel Korea; ตัวย่อ: KNTM; ) เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์ค้นหาสุดยอดนางแบบของประเทศเกาหลีใต้ โดยได้ซื้อลิขสิทธิ์มาจากรายการอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ออกอากาศผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ออนสไตล์ (OnStyle) ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 2010 และออกอากาศครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014",
"title": "โคเรียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล"
},
{
"docid": "329939#0",
"text": "=ข้อมูลการแข่งขัน=\nฤดูกาลที่ 6 ของ ออสเตรเลียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล กลับพร้อมกันการค้นหาสุดยอดนางแบบของออสเตรเลียอีกครั้ง โดยครั้งนี้ ซาร่าห์ เมอร์ด็อช เจ้าของรายการ และ ผู้ตัดสินได้ออกค้นหานางแบบในรอบคัดเลือกตั้งแต่ต้นเดือน มกราคม พ.ศ. 2553 และได้เริ่มการแข่งขันจริงกับสาวๆที่ผ่านการคัดเลือกถึง 16 ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553",
"title": "ออสเตรเลียเน็กซ์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 6"
},
{
"docid": "300471#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 14 (America's Next Top Model, Cycle 14) เป็นฤดูกาลที่ 14 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยจะออกอากาศครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกา ทางช่อง CW ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553 สำหรับคำโฆษณาที่ใช้ในฤดูกาลนี้คือ \"Work It Out\" และเพลงที่ใช้สำหรับประกอบตัวอย่างของรายการในฤดูกาลนี้คือเพลง \"Go Getta\" ของ Stella Mwangi",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 14"
},
{
"docid": "589564#0",
"text": "เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 2 เป็นฤดูกาลที่ 2 ของ เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ที่ต้องการค้นหาสุดยอดนางแบบ เพื่อทำงานในวงการนางแบบ ในระดับมืออาชีพ โดยสาวๆ ที่เข้าแข่งขัน จะต้องมีเชื้อสายของเอเชียเท่านั้น โดยส่วนมากจะมากจากเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ ซึ่งในฤดูกาลนี้จะถ่ายทำรายการ ใน ประเทศมาเลเซีย และเริ่มออกอากาศวันที่ 8 มกราคม 2557 เป็นวันแรก",
"title": "เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 2"
},
{
"docid": "317581#0",
"text": "บราซิลเน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 3 เป็นฤดูกาลที่ 3 ของ บราซิลเน็กซต์ท็อปโมเดล, รายการเรียลลิตี้ โชว์ ชื่อดังของบราซิล ดำเนินรายการโดย นางแบบชื่อดังอย่าง เฟอร์นันด้า มอตต้า ซื้อลิขสิทธิ์รายการมาจาก อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล เพื่อค้นหานางแบบแฟชั่นแถวหน้า เริ่มทำการค้นหาในเดือน กรกฎาคม และ สิงหาคม แต่ถูกออกอากาศครั้งแรกเมื่อ 9 กันยายน 2552",
"title": "บราซิลเน็กซ์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 3"
},
{
"docid": "838221#0",
"text": "เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 5 เป็นฤดูกาลที่ 5 ของ เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ที่ต้องการค้นหาสุดยอดนางแบบ เพื่อทำงานในวงการนางแบบ ในระดับมืออาชีพ โดยสาวๆ ที่เข้าแข่งขัน จะต้องมีเชื้อสายของเอเชียเท่านั้น โดยส่วนมากจะมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในฤดูกาลนี้จะถ่ายทำรายการ ใน ประเทศสิงคโปร์ เริ่มออกอากาศ 5 เมษายน 2560 โดยในฤดูกาลนี้จะยังคงตัดสินโดยการให้คะแนนจากการแข่งขันประจำสัปดาห์และคะแนนจากคณะกรรมการในห้องตัดสินเช่นเดียวกันกับ ฤดูกาลที่ผ่านมา โดยธีมของฤดูกาลนี้ คือ \"คาดหวังในสิ่งที่ไม่คาดคิด\" (Expect The Unexpected)",
"title": "เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 5"
},
{
"docid": "467054#3",
"text": "ในฤดูกาลที่ 7 ทางรายการได้เปลี่ยนชื่อรายการจาก \"บริเทนส์เน็กซต์ท็อปโมเดล\" มาเป็น \"บริเทนแอนด์ไอร์แลนส์เน็กซต์ท็อปโมเดล\" เพื่อเปิดกว้างการรับสัมครนางแบบในประเทศไอร์แลนด์ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อกลับเป็นเหมือนเดิม แต่ยังคงรับสมัครนางแบบในไอร์แลนด์\nในปี 2555 ผู้เข้าแข่งจากฤดูกาลที่ 2 - 5 ได้เข้าร่วมแข่งขันในรายการ อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 18 ในชื่อว่า อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล:บริทิช อินเวชั่น (America's Next Top Model: British Invasion) โดยทั้งหมดจะต้องไปแข่งขันเป็นทีมกับนางแบบชาวอเมริกัน และ โซฟี่ ซัมเนอร์ จากฤดูกาลที่ 5 ได้คว้าตำแฟน่งผู้ชนะเลิศในฤดูกาลดังกล่าวด้วย",
"title": "บริเทนส์เน็กซต์ท็อปโมเดล"
},
{
"docid": "667426#0",
"text": "เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 3 เป็นฤดูกาลที่ 3 ของ เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ที่ต้องการค้นหาสุดยอดนางแบบ เพื่อทำงานในวงการนางแบบ ในระดับมืออาชีพ โดยผู้ที่เข้าแข่งขัน จะต้องมีเชื้อสายของเอเชียเท่านั้น โดยส่วนมากจะมากจากเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ ซึ่งในฤดูกาลนี้จะถ่ายทำรายการ ใน ประเทศสิงคโปร์ เริ่มออกอากาศวันที่ 25 มีนาคม 2558 เป็นวันแรก",
"title": "เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 3"
},
{
"docid": "282625#2",
"text": "รายการนี้เรียกได้ว่าเป็นอีกสาขาหนึ่งของรายการ อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดลเพราะเป็นการจับมือกันระหว่าง CTVglobemedia และ CBS โดยทีมงานผู้จัดส่วนใหญ่ล้วนมาจากรายการ อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ทั้งสิ้น",
"title": "แคนาดาเน็กซ์ท็อปโมเดล"
},
{
"docid": "194337#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล (หรือที่รู้จักกันในชื่อ America's Next Top Model, Cycle 1) รายการเรียลลิตี้ที่จัดทำโดยสุดยอดนางแบบและพิธีกรรายการโทรทัศน์ ไทร่า แบงส์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อ \"ค้นหาสุดยอดนางแบบเพียงหนึ่งเดียว\"",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 1"
},
{
"docid": "219734#0",
"text": "ออสเตรเลีย เน็กซ์ ท็อป โมเดล ( หรือในชื่อย่อว่า AusNTM) เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์ค้นหาสุดยอดนางแบบของประเทศออสเตรเลีย ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2548 โดยได้ซื้อลิขสิทธิ์มาจากรายการ อเมริกาส์เน็กต์ท็อปโมเดล ออกอากาศผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ฟ็อกซ์8 ทั่วทั้งประเทศออสเตรเลีย",
"title": "ออสเตรเลียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล"
},
{
"docid": "333259#0",
"text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 15 เป็นฤดูกาลที่ 15 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยออกอากาศครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553 ในฤดูกาลนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมหลายอย่าง กับตัวรายการเพื่อเพิ่มความสนใจ และน่าติดตามมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตากล้องชื่อดังที่จะมาถ่ายรูปให้กับผู้เข้าแข่งขันแต่ละสัปดาห์ ดีไซเนอร์ชื่อดังที่จะมาคอยให้คำสอนแก่ผู้เข้าแข่งขันและเป็นกรรมการพิเศษในห้องตัดสินในแต่ละสัปดาห์อีกด้วย รว่มด้วย การทำงานกับนิตยสารชื่อดังระดับโลก Vogue Italia ",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 15"
},
{
"docid": "939106#0",
"text": "เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 6 เป็นฤดูกาลที่ 6 ของ เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ที่ต้องการค้นหาสุดยอดนางแบบ เพื่อทำงานในวงการนางแบบในระดับมืออาชีพ โดยสาวๆ ที่เข้าแข่งขัน จะต้องมีเชื้อสายของเอเชียเท่านั้น โดยส่วนมากจะมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในฤดูกาลนี้จะเป็นฤดูกาลแรกที่จะถ่ายทำรายการ ใน ประเทศไทย เริ่มออกอากาศ 22 สิงหาคม 2561 โดยในฤดูกาลนี้จะยังคงตัดสินโดยการให้คะแนนจากการแข่งขันประจำสัปดาห์และคะแนนจากคณะกรรมการในห้องตัดสินเช่นเดียวกันกับ ฤดูกาลที่ผ่านมา และในฤดูกาลนี้จะมีโมเดลเมนเทอร์คอยดูแลและให้คำแนะนำแก่ผู้เข้าแข่งขัน ซึ่งมี โมนิกา ซานตา มาเรีย อดีตผู้เข้าแข่งขันจาก ฤดูกาลที่ 3 ชิคิน โกเมซ และ มิญ ตู้ เหงียน อดีตผู้เข้าแข่งขันจาก ฤดูกาลที่ 5 มาทำหน้าที่ในครั้งนี้ โดยธีมของฤดูกาลนี้ คือ \"\"เหนือขีดจำกัด\" (Beyond Limits)\"",
"title": "เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 6"
},
{
"docid": "295822#0",
"text": "เน็กซ์ท็อปโมเดล () เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์ค้นหาสุดยอดนางแบบของประเทศกรีซ โดยได้ซื้อลิขสิทธิ์มาจากรายการอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ออกอากาศผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ANT1 ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2009 และออกอากาศครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 2010",
"title": "เน็กซ์ท็อปโมเดล (รายการโทรทัศน์ประเทศกรีซ)"
}
] |
1558 | มาร์เวลคอมิกส์ ก่อตั้งเมื่อใด ? | [
{
"docid": "217876#0",
"text": "บริษัท มาร์เวลเวิลด์ไวด์ (English: Marvel Worldwide, Inc.) หรือเรียกทั่วไปว่า มาร์เวลคอมิกส์ (English: Marvel Comics) และชื่อก่อนหน้านีนี้<b data-parsoid='{\"dsr\":[1319,1347,3,3]}'>บริษัท มาร์เวลพับลิชิง (English: Marvel Publishing, Inc.) และ มาร์เวลคอมิกส์กรุป (English: Marvel Comics Group) เป็นค่ายการ์ตูนและสื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับซูเปอร์ฮีโรของสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1939 โดย มาร์ติน กูดแมน ในนามของไทม์ลีคอมิกส์ มีนักเขียน นักวาดคนสำคัญ เช่น สแตน ลี แจ็ก เคอร์บี สตีฟ ดิตโก เป็นต้น มาร์เวลคอมิกส์ มีชื่อเสียงโด่งดังและรู้จักกันดี เช่น เอ็กซ์เมน สไปเดอร์-แมน ฮัลก์ กัปตันอเมริกา ไอรอนแมน ธอร์ เป็นต้น และศัตรูที่โด่งดังและรู้จักกันดี เช่น กรีนก็อบลิน แม็กนีโต ด็อกเตอร์ดูม โลกิ กาแล็กตัส และเรดสกัล เป็นต้น มาร์เวลคอมิกส์ และคู่แข่งสำคัญมายาวนานคือดีซีคอมิกส์ ร่วมหุ้นกันไป 80 % ของตลาดหนังสือการ์ตูนอเมริกันในปี ค.ศ. 2008 ปัจจุบันมาร์เวลคอมิกส์เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์",
"title": "มาร์เวลคอมิกส์"
}
] | [
{
"docid": "577250#0",
"text": "คนพลังกายสิทธิ์ () หรือ รีด ริชาร์ดส () เป็นตัวละครการ์ตูนซูเปอร์ฮีโรที่ปรากฏในหนังสือการ์ตูนของมาร์เวลคอมิกส์ สร้างสรรค์โดยนักเขียน สแตน ลี และจิตรกร/พลอตเตอร์ร่วม แจ็ค ไคร์บี ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูนเดอะแฟนแทสติกโฟร์ ฉบับที่ 1 (พฤศจิกายน 1961) เป็นสมาชิกของแฟนแทสติกโฟร์ ริชาร์ดมีความเชี่ยวชาญในวิศวกรรมเครื่องกล ,การบินและอวกาศ และวิศวกรรมไฟฟ้า ,เคมี ,ทุกระดับของฟิสิกส์ และชีววิทยาของมนุษย์และมนุษย์ต่างดาว ในนิตยสารBusinessweek ระบุให้มิสเตอร์แฟนแทสติกเป็นหนึ่งในสิบของตัวละครที่อัจฉริยะที่สุดในหนังสือการ์ตูนอเมริกัน เขาเป็นนักประดิษฐ์ของยานอวกาศที่ถูกรังสีคอสมิกในการเดินทางครั้งแรก ให้มีพลังในแฟนแทสติกโฟร์ ริชาร์ดสามารถยืดร่างกายของเขาให้เป็นรูปร่างใดก็ได้ตามที่เขาต้องการ",
"title": "คนพลังกายสิทธิ์"
},
{
"docid": "335484#0",
"text": "กัปตันอเมริกา (English: Captain America) เป็นตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ในหนังสือการ์ตูนอเมริกันที่จัดพิมพ์โดยมาร์เวลคอมิกส์ สร้างสรรค์โดย โจ ไซมอน (Joe Simon) และ แจ็ก เคอร์บี (Jack Kirby) ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือ Captain America Comics เล่มที่ 1 (มีนาคม ค.ศ. 1941) ซึ่งจัดพิมพ์โดยไทม์ลีคอมิกส์ บริษัทก่อนหน้ามาร์เวลคอมิกส์ โดยกัปตันอเมริกาถูกออกแบบให้เป็นซูเปอร์โซลเยอร์รักชาติที่เคยรบกับฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นตัวละครที่เป็นที่นิยมมากที่สุดของไทม์ลีคอมิกส์ในช่วงยุคสงคราม ต่อมาสงครามได้ทำให้ความนิยมในซูเปอร์ฮีโร่ลดลงจน Captain America Comics ต้องปิดตัวในปี 1950 ต่อมามาร์เวลคอมิกส์ได้นำตัวละครนี้กลับมาในปี 1953 ซึ่งโลดแล่นได้ไม่นานก็ปิดตัวลงไป ภายหลังได้นำตัวละครนี้กลับมาอีกครั้งในปี 1964 ซึ่งนับตั้งแต่นั้น ตัวละครกัปตันอเมริกาก็โลดแล่นอยู้ในจักรวาลมาร์เวลมาจนถึงปัจจุบัน",
"title": "กัปตันอเมริกา"
},
{
"docid": "217876#6",
"text": "ดีซีคอมิกส์ รายชื่อตัวละครมาร์เวลคอมิกส์ รายชื่อภาพยนตร์โดยมาร์เวลคอมิกส์ จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล มาร์เวลสตูดิโอส์",
"title": "มาร์เวลคอมิกส์"
},
{
"docid": "569804#0",
"text": "อาร์เมอร์ () เป็นตัวละครการ์ตูนซูเปอร์ฮีโรจากมาร์เวลคอมิกส์ โดยปรากฏตัวในการ์ตูนเรื่อง Astonishing X-Men ฉบับที่ 3 หน้าที่ 4",
"title": "อาร์เมอร์ (มาร์เวลคอมิกส์)"
},
{
"docid": "217876#1",
"text": "มาร์ติน กูดแมน ได้ก่อตั้งบริษัทซึ่งต่อมาที่รู้จักกันดีในนามของมาร์เวลคอมิกส์ ภายใต้ชื่อไทม์ลีพับลิเคชั่นส์ ในปี ค.ศ. 1939[1] เผยแพร่ในรูปแบบหนังสือการ์ตูนภายใต้สำนักพิมพ์ไทม์ลีคอมิกส์[2] กู๊ดแมน ผู้เผยแพร่นิตยสารเยื่อกระดาษที่ได้เริ่มต้นผลิตนิยายตะวันตกเยื่อกระดาษในปี ค.ศ. 1933 ได้ขยายตัวในตลาด และได้รับความนิยมอย่างสูงในรูปแบบใหม่ปานกลางของหนังสือการ์ตูน การเปิดตัวของเขาจากสำนักงานของบริษัท ที่มีอยู่ที่เลขที่ 330 ตะวันตก ถนนที่ 42 นครนิวยอร์ก เขาได้จัดตั้งบรรณาธิการ บรรณาธิการบริหาร และผู้จัดการธุรกิจอย่างเป็นทางการ ที่มีอับราฮัม กูดแมน เป็นผู้เผยแพร่ที่ระบุอย่างเป็นทางการ[1]",
"title": "มาร์เวลคอมิกส์"
},
{
"docid": "334763#0",
"text": "ฮอรัส () เป็นตัวละครในมาร์เวลคอมิกส์ โดยมีต้นแบบมาจากเทพฮอรัสของตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์",
"title": "ฮอรัส (มาร์เวลคอมิกส์)"
},
{
"docid": "868481#0",
"text": "ชี.ล.ด์. () เป็นหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายในหนังสือการ์ตูนอเมริกัน ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มาร์เวลคอมิกส์",
"title": "ชีลด์ (องค์กร)"
},
{
"docid": "778638#0",
"text": "จิ๊กซอว์ () เป็นตัวละครโดยมาร์เวลคอมิกส์ สร้างสรรค์โดยเลน ไวน์และรอสส์ แอนดรู ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูน \"ดิอะเมซิงสไปเดอร์แมน\" เล่มที่ 162 (พฤศจิกายน 1976) เป็นหนึ่งในศัตรูของพันนิชเชอร์",
"title": "จิ๊กซอว์ (มาร์เวลคอมิกส์)"
},
{
"docid": "576430#0",
"text": "แดร์เดวิล () เป็นตัวละครการ์ตูนซูเปอร์ฮีโรสัญชาติอเมริกันจากมาร์เวลคอมิกส์ แดร์เดวิลสร้างสรรค์โดยนักเขียน สแตน ลี และนักวาด บิลล์ เอเวอเรตต์ โดยปรากฏตัวครั้งแรกในการ์ตูนเรื่อง แดร์เดวิล ฉบับ 1 (เมษายน ค.ศ. 1964) ",
"title": "แดร์เดวิล (มาร์เวลคอมิกส์)"
},
{
"docid": "422562#0",
"text": "มาร์เวลพินบอล () เป็นวิดีโอเกมพินบอล ที่ได้รับการพัฒนาโดยเซ็นสตูดิโอ เกมนี้มีโต๊ะพินบอลรูปแบบมาร์เวลคอมิกส์ โดยสามารถเล่นได้ในระบบเพลย์สเตชัน 3 กับเพลย์สเตชันเน็ตเวิร์ก และสามารถดาวน์โหลดรายการได้สำหรับ \"พินบอลเอฟเอ็กซ์ 2\" ในระบบเอ็กซ์บ็อกซ์ 360 และ เอ็กซ์บ็อกซ์ไลฟ์อาเขต เกมนี้เป็นเกมพินบอลอันดับสองสำหรับระบบเพลย์สเตชัน 3 ภายหลังจากที่ประสบความสำเร็จจากเกม \"เซ็นพินบอล\" เกมได้รับการเปิดตัว ณ วันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2010 สำหรับระบบเอ็กซ์บ็อกซ์ 360 และ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2010 สำหรับระบบเพลย์สเตชัน 3",
"title": "มาร์เวลพินบอล"
},
{
"docid": "199456#0",
"text": "ร็อกแมน (Rockman) เป็นตัวละครการ์ตูนซูเปอร์ฮีโรจากมาร์เวลคอมิกส์ โดยปรากฏตัวในการ์ตูนเรื่อง U.S.A. Comics ฉบับเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1941 โดยในช่วงเวลานั้น ผู้วาด และผู้ออกแบบตัวละครไม่ได้มีการระบุไว้ภายในหนังสือการ์ตูน อย่างไรก็ตามผู้วาดและออกแบบหน้าปกวาดโดย ชาลส์ นิโคลัส และ เบซิล วูลเวอร์ตัน",
"title": "ร็อกแมน (มาร์เวลคอมิกส์)"
},
{
"docid": "771840#0",
"text": "แบล็กแพนเทอร์ () เป็นตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ในหนังสือการ์ตูนอเมริกันที่จัดพิมพ์โดยมาร์เวลคอมิกส์ สร้างสรรค์โดย สแตน ลี (Stan Lee) และ แจ็ก เคอร์บี (Jack Kirby) ปรากฏตัวครั้งแรกใน \"Fantastic Four\" ชุดที่ 1 เล่มที่ 52 (กรกฎาคม 1966) โดยตัวละครนี้เป็นซูเปอร์ฮีโร่ผิวสีคนแรกของมาร์เวลคอมิกส์ แบล็กแพนเทอร์ถูกออกแบบให้เป็นตัวละครชายเชื้อชาติแอฟริกันที่ปกครองและพิทักษ์ประเทศสมมุติในแอฟริกาที่ชื่อ วาคานดา (Wakanda) ซึ่งมีฉากหน้าเป็นประเทศที่ยากจน แต่แท้จริงแล้วเป็นหนึ่งในประเทศที่มีวิทยาการล้ำหน้าที่สุดในโลก ",
"title": "แบล็กแพนเทอร์"
},
{
"docid": "298291#0",
"text": "ฮัลค์ () หรือ ดร.โรเบิร์ต \"บรูซ\" แบนเนอร์ () เป็นตัวละครยอดมนุษย์ในหนังสือการ์ตูนปรากฏเป็นครั้งแรกในหนังสือการ์ตูนของมาร์เวลคอมิกส์ เรื่อง \"The Incredible Hulk\" ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อค.ศ. 1962ของมาร์เวลคอมิกส์ (Marvel Comics) ออกแบบโดยสแตน ลี (Stan Lee) และแจ็ค เคอร์บี้",
"title": "ฮัลค์"
},
{
"docid": "96522#47",
"text": "หมวดหมู่:การ์ตูนอเมริกัน หมวดหมู่:ตัวละครมาร์เวลคอมิกส์ หมวดหมู่:ยอดมนุษย์",
"title": "สไปเดอร์-แมน"
},
{
"docid": "234707#0",
"text": "สำหรับตัวละครในมาร์เวลคอมิกส์ ดูที่ วูล์ฟเวอรีน (ตัวละคร)",
"title": "วุลเวอรีน"
},
{
"docid": "610462#0",
"text": "อัลฟา () เป็นตัวละครซุเปอร์ฮีโรของมาร์เวลคอมิกส์ ปรากฎตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูน \"The Amazing Spider-Man\"",
"title": "อัลฟา (มาร์เวลคอมิกส์)"
},
{
"docid": "867787#0",
"text": "ไฮดร้า () เป็นองค์กรก่อการร้ายจากมาร์เวลคอมิกส์ โดยชื่อไฮดร้านั้นมีที่มาจากไฮดร้าซึ่งเป็นสัตว์ในตำนานกรีก",
"title": "ไฮดร้า (หนังสือการ์ตูน)"
},
{
"docid": "673374#0",
"text": "รายชื่อของตัวละครในจักรวาลมาร์เวล ที่ถูกสร้างขึ้นและเป็นลิขสิทธิ์ของมาร์เวลคอมิกส์",
"title": "รายชื่อตัวละครมาร์เวลคอมิกส์"
},
{
"docid": "217876#8",
"text": "on Facebook on Twitter on YouTube Vassallo, Michael J. , Comicartville Library, 2005, p.2. . .",
"title": "มาร์เวลคอมิกส์"
},
{
"docid": "867794#0",
"text": "การ์เดียนส์ออฟเดอะกาแล็กซี่ () เป็นทีมซูเปอร์ฮีโรในหนังสือการ์ตูนอเมริกัน ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มาร์เวลคอมิกส์",
"title": "การ์เดียนส์ออฟเดอะกาแล็กซี่"
},
{
"docid": "217876#2",
"text": "การตีพิมพ์ครั้งแรกของไทม์ลีโดยหนังสือการ์ตูน มาร์เวลคอมิกส์ ฉบับที่ 1 (ตุลาคม 1939) รวมทั้งการปรากฏตัวครั้งแรกของซุเปอร์ฮีโรแอนดรอยด์ของคาร์ล บูร์กอส ชื่อฮิวแมนทอร์ช และการปรากฏตัวครั้งแรกของแอนตีฮีโรของบิลล์ อีเวอเรตต์ชื่อ กะลาสีนามอร์ ประสบความสำเร็จที่ดี และพิมพ์ครั้งที่สองต่อมาขายต่อเดือนรวมเกือบ 900,000 เล่ม[3] ในขณะที่เนื้อหาของมันมาจากบรรจุด้านนอกของ บริษัท ฟันนีส์ ไทม์ลีในปีต่อไปมีพนักงานของตัวเอง",
"title": "มาร์เวลคอมิกส์"
},
{
"docid": "771726#1",
"text": "การ์ตูนชุดนี้เป็นการ์ตูนเรื่องหนึ่งที่อยู่ในชุดอัลทิเมต มาร์เวล (Ultimate Marvel) ของมาร์เวลคอมิกส์",
"title": "อัลทิเมต สไปเดอร์-แมน"
},
{
"docid": "776538#0",
"text": "นี่คือรายชื่อภาพยนตร์โดยมาร์เวลคอมิกส์",
"title": "รายชื่อภาพยนตร์โดยมาร์เวลคอมิกส์"
},
{
"docid": "576430#3",
"text": "ตัวละครนี้ปรากฎตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูนมาร์เวลคอมิกส์ แดร์เดวิล #1(เม.ย. ค.ศ.1964)สร้างขึ้นโดยนักเขียนสแตน ลี และนักวาดบิล เอเวอร์เรตต์ และออกแบบตัวละครโดยแจ็ก เคอร์บีให้มีกระบองเป็นอาวุธ",
"title": "แดร์เดวิล (มาร์เวลคอมิกส์)"
},
{
"docid": "44079#0",
"text": "เวนอม ( /ˈvenəm/ 'เวเนิม) เป็นตัวละครในการ์ตูนของมาร์เวลคอมิกส์ ซึ่งเป็นศัตรูที่ร้ายกาจของสไปเดอร์-แมน",
"title": "เวนอม"
},
{
"docid": "867598#0",
"text": "มาสเตอร์ออฟอีวิล () เป็นกลุ่มตัวร้ายในการ์ตูนเรื่องอเวนเจอร์สจาก มาร์เวลคอมิกส์",
"title": "มาสเตอร์ออฟอีวิล"
},
{
"docid": "577538#0",
"text": "แวนซ์ แอสโตรไวค์ () หรือ จัสติส () หรือชื่อก่อนหน้าที่รู้จักกันดีคือ มาร์เวลบอย () เป็นตัวละครกลายพันธุ์ซูเปอร์ฮีโร่ในมาร์เวลคอมิกส์ เขาเป็นยอดมนุษย์ที่สามารถใช้พลังจิตได้ แอสโตรไวค์ได้รับเข้าเป็นสมาชิกของนิว วอร์ริเออร์ส และดิ อเวนเจอร์ส ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูน Giant-Size Defenders ฉบับที่ 5 (กรกฎาคม 1975) สร้างสรรค์โดย ดอน เฮค และเจอร์รี่ คอนเวย์",
"title": "แวนซ์ แอสโตรไวค์"
},
{
"docid": "771657#0",
"text": "ธอร์ () เป็นตัวละครหลักของมาร์เวลคอมิกส์ ปรากฏตัวครั้งแรก\"Journey into Mystery\" เล่มที่ 83 ส.ค. 1962 สร้างขึ้นโดยสแตน ลี,แลร์รี่ ลีเบอร์,แจ็ค เคอร์บี้ เป็นตัวละครที่สร้างมาจากธอร์ เทพเจ้าสายฟ้าของตำนานเทพปกรณัมนอร์ส ",
"title": "ธอร์ (มาร์เวลคอมิกส์)"
},
{
"docid": "957052#0",
"text": "โกสต์ () เป็นตัวละครของมาร์เวลคอมิกส์ สร้างสรรค์โดยเดวิด มิเชลินีและบ็อบ เลย์ตัน ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูน \"ไอรอนแมน\" เล่มที่ 219 (มิถุนายน 1987) เดิมเขาเคยเป็นวิศวกรบริษัทออมนิเซเพียนต์ (Omnisapient) แต่ภายหลังถูกบริษัทหลอกใช้และทรยศ ทำให้เขากลายเป็นตัวร้ายที่ใช้ความสามารถในการเจาะระบบคอมพิวเตอร์และชุดที่มีเทคโนโลยีล่องหนและตรวจจับไม่ได้ในการทำลายบริษัทยักษ์ใหญ่ รวมถึงสตาร์กอินดัสตรีส์ โกสต์จึงเป็นศัตรูกับไอรอนแมน ต่อมาโกสต์เข้าร่วมทีมธันเดอร์โบลส์และช่วยทีมอเวนเจอร์สสู้กับบริษัทออสคอร์ปของนอร์แมน ออสบอร์นและบริษัทแฮมเมอร์อินดัสตรีส์ของจัสติน แฮมเมอร์",
"title": "โกสต์ (มาร์เวลคอมิกส์)"
}
] |
2456 | พระอัฐิของพระพุทธเจ้า หมายถึงกระดูกของพระพุทธเจ้าใช่หรือไม่ ? | [
{
"docid": "57360#0",
"text": "พระบรมสารีริกธาตุ (Sanskrit: शरीर; Śarīra) เรียกโดยย่อว่า<b data-parsoid='{\"dsr\":[216,232,3,3]}'>พระบรมธาตุ คือ พระอัฐิของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ได้ทรงอธิษฐานไว้ก่อนปรินิพพาน ให้คงเหลือไว้หลังจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธบริษัท[1]",
"title": "พระบรมสารีริกธาตุ"
}
] | [
{
"docid": "48101#54",
"text": "ฐานเขียง ฐานชั้นล่างสุด ยกพื้นเจดีย์ให้สูงกว่าพื้นดิน ฐานปัทม์ หรือฐานบัว (ปทุม) แสดงถึงดอกบัวที่รองรับพระพุทธเจ้าในทุกอิริยาบถของพระพุทธองค์ บัวถลา เป็นลักษณะที่รับมาจากลังกาแต่เอาชั้นบัวหงายออก บัวปากระฆัง เป็นฐานบัวชั้นบน องค์ระฆัง หรือ เรือนธาตุ บรรจุพระพุทธรูป หรือพระบรมสารีริกธาตุ หรือพระบรมอัฐิ และพระอัฐิ บัลลังก์ คงความหมายเดิม ก้านฉัตร เป็นก้านของฉัตร (ตามความหมายเดิม) บัวฝาละมี บัวคว่ำด้านบน กางกั้นฉัตรให้เรือนธาตุ ปล้องไฉน เปรียบเสมือนตัวฉัตร (ตามความหมายเดิม) ปลียอด ชี้ขึ้นฟ้า เส้นทางสู่พระนิพพาน หยาดน้ำค้าง หมายถึงรัตนะ",
"title": "เจดีย์"
},
{
"docid": "437237#5",
"text": "ความหมายของธงสัญลักษณ์นั้น ใบโพธิ์ หมายถึง การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า สีเขียวแห่งใบโพธิ์ หมายถึง ความเจริญงอกงามของพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ธรรมจักรกลางผืนธงฉัพพรรณรังสี หมายถึง หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า กนกลายไทยชูช่อฟ้า หมายถึง ผืนแผ่นดินไทยได้เชิดชูพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ",
"title": "พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้"
},
{
"docid": "57820#1",
"text": "เป็นท่านั่งสมาธิที่พระบรมโพธิสัตว์ ประทับนั่งหลังจากที่ รับหญ้าคา 8 กำ จากนายโสตถิยพราหมณ์แล้ว ทรงนำไปปูใต้ต้นศรีมหาโพธิ์แล้วทรงประทับนั่ง ในท่าขัดสมาธิเพชรนี้แล้วทรงอธิษฐานว่า \"เนื้อและเลือดในสรีระนี้ แม้จะเหือดแห้งไปหมดสิ้น จะเหลือแต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที ถ้าเรายังไม่บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณก็จักไม่ทำลายบัลลังก์นี้\" ด้วยพระหฤทัยที่แน่วแน่มั่นคง และทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในเวลาต่อมา หรืออีกนัยหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จออกไปโปรดสัตว์ในเวลาเช้า เสวยแล้วทรงพักกลางวัน ทรงพระอิริยาบถนั่ง คือนั่งสมาธิ",
"title": "ปางขัดสมาธิเพชร"
},
{
"docid": "266473#4",
"text": "แต่เนื่องจากพระนาลกะมีอายุมาก ซ้ำประพฤติโมเนยยะอย่างอุกฤษฏ์ สังขารร่างกายจึงบอบช้ำมาก จึงได้พิจารณาอัตตภาพตน พบว่าถ้าประพฤติโมเนยยปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์ต่อไปจะตายภายใน 7 วัน แต่ได้นึกถึงว่าจะรักษาธรรมหรือจะรักษาชีวิตพิจารณาว่าจะรักษาธรรม จึงประพฤติต่อไป มีกล่าวไว้ว่า วันที่จะนิพพานนั้น ท่านรู้ตัวดีจึงสรงน้ำชำระกายแล้วครองผ้าอย่างเรียบร้อย ท่านยืนหันหน้าไปทางที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ซึ่งคาดว่าขณะนั้นพระพุทธเจ้าคงประทับอยู่ ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ จากนั้นท่านก็ก้มลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วลุกขึ้นยืนพิงภูเขาหิงคุละ ประนมมือนิพพานด้วยอาการสงบ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบด้วยพระญาณว่าพระนาลกะนิพพานแล้ว พระพุทธเจ้าก็เสด็จมายังภูเขาหิงคุละพร้อมด้วยพระสาวกหลายรูป ครั้นรับสั่งให้ฌาปนกิจศพท่านแล้วก็ทรงรับสั่งให้สร้างพระเจดีย์บนภูเขาหิงคุละและนำอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ เพื่อให้พุทธบริษัทได้สักการะ\nได้รับเอตทัคคะว่าเป็นผู้เลิศด้วยการประพฤติโมเนยยปฏิบัติ [?] ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง จะมีผู้ประพฤติโมเนยยปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์และบรรลุพระอรหัตจากการประพฤติโมเนยยปฏิบัติ จะมีได้แค่เพียงรูปเดียวในศาสนาพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งๆ",
"title": "พระนาลกะ"
},
{
"docid": "673#7",
"text": "พระโพธิสัตว์ หมายถึง ท่านผู้ที่กำลังบำเพ็ญ บารมี 10 (โดยยิ่งยวด 30 ทัศ) คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา และ จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า อังคีรส หมายถึง ท่านผู้มีรัศมีแผ่ออกมาจากพระกาย พระมหาบุรุษ เป็นคำที่ใช้เรียก พระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ อีกความหมายหนึ่งคือ บุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ตถาคต เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงพระองค์เองมี ความหมาย 8 อย่างคือ พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น พระผู้ทรงเห็นอย่างนั้น พระผู้ตรัสอย่างนั้น พระผู้ทำอย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า ตถาคตโพธิสัทธา หมายถึง การเชื่อถือปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต ธรรมราชา หมายถึง ท่านผู้เป็นราชาแห่งธรรม ธรรมสวามิศร, ธรรมสามิสร หมายถึง ท่านผู้เป็นใหญ่โดยเป็นเจ้าของธรรม ธรรมสามี หมายถึง ท่านผู้เป็นเจ้าของธรรม ธรรมิศราธิบดี หมายถึง ท่านผู้เป็นอธิปดีในธรรม เป็นคำกวีหมายถึงพระพุทธเจ้า บรมศาสดา, พระบรมศาสดา หมายถึง ท่านผู้เป็น ศาสดาอันยอดยิ่ง พระผู้เป็นครูสูงสุด พระบรมครู พระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าหมายถึง ท่านผู้รู้ดี รู้ชอบ ด้วยตนเองก่อนแล้ว สอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ พระศาสดา หมายถึง ท่านผู้ทรงสอนชนทั้งปวง พระสัมพุทธเจ้า, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า, สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึง พระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ภควา หมายถึง ท่านผู้เป็นผู้มีโชค หรือ ท่านผู้จำแนกแจกธรรม มหาสมณะ โลกนาถ, พระโลกนาถ หมายถึง พระผู้เป็นที่พึ่งแห่งโลก สยัมภู, พระสัมภู หมายถึง ท่านผู้ตรัสรู้ได้โดยตนเอง ไม่มีใครมาสั่งสอน สัพพัญญู, พระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า หมายถึง ท่านผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง พระสุคต, พระสุคโต หมายถึง ท่านผู้เสด็จไปดีแล้ว",
"title": "พระพุทธเจ้า"
},
{
"docid": "32409#13",
"text": "หลักการสำคัญประการหนึ่งของมหายานอยู่ที่หลักเรื่อง ตรีกาย อันหมายถึงพระกายทั้ง 3 ของพระพุทธเจ้า ในกายตรัยสูตรของมหายาน พระอานนท์ทูลถามถึงเรื่องพระกายของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงตรัสแก่พระอานนท์ว่า ตถาคตมีกายเป็น 3 สภาวะคือตรีกาย อันได้แก่",
"title": "มหายาน"
},
{
"docid": "32556#1",
"text": "พระสงฆ์ จัดเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย ซึ่งได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์ในพระรัตนตรัยหมายถึงเฉพาะพระอริยสงฆ์ คือบุคคลไม่ว่าคฤหัสถ์หรือนักบวช และไม่ว่ามนุษย์หรือเทวดา ที่ปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุมรรคผล แต่โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าพระสงฆ์คือภิกษุหรือภิกษุณี คือมนุษย์ที่ได้ฟังคำสั่งสอนแล้วเกิดความเลื่อมใสจนสละเรือนออกบวชตามพระพุทธเจ้า เพราะต้องการจะได้บรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้ ถือเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา พระภิกษุปฏิบัติตามสิกขาบทที่กำหนดไว้จำนวน 227 ข้อ ส่วนพระภิกษุณีรักษาสิกขาบท 311 ข้อ บางครั้งเรียกว่าสงฆ์ ภิกษุรูปแรกในพระศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้าคือพระอัญญาโกณฑัญญะ",
"title": "พระสงฆ์"
},
{
"docid": "111437#6",
"text": "พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนอยู่เป็นประจำ ณ นครสาวัตถี จนมีประชาชนจำนวนมากหันมาเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงเป็นเหตุทำให้เหล่าเดียรถีย์เสื่อมลง (เดียรถีย์ หมายถึง นักบวชประเภทหนึ่งมีมาก่อนพระพุทธศาสนาและเป็นปฏิปักษ์ต่อพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง มีพุทธบัญญัติว่า หากเดียรถีย์จะมาขอบวชในพระพุทธศาสนาต้องมารับการฝึก เพื่อตรวจสอบว่ามีความเลื่อมใสแน่นอนเสียก่อน เรียกว่า ติตถิยปริวาส) พวกเดียรถีย์เดือดร้อนจึงคิดหาวิธีที่จะทำลายพระพุทธศาสนาโดยการกล่าวร้ายพระพุทธเจ้า สาวก แต่ประชาชนก็ยังเลื่อมใสศรัทธาเหมือนเคย ในที่สุดเดียรถีย์จึงใช้อุบายทำลายพระพุทธศาสนาโดยการใช้พุทธบัญญัติที่ว่า “พระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกสิ้นท่าหมดอิทธิฤทธิ์ แล้วงดการแสดง ตรงข้ามกับเหล่าคณาจารย์เดียรถีย์ ซึ่งมีปาฏิหาริย์อบรมมั่นคงเต็มที่และมีความพร้อมที่จะแสดงให้เห็นได้ทุกเมื่อ ถ้าไม่เชื่อก็เชิญพระพุทธเจ้ามาแสดงปาฏิหาริย์แข่งกันก็ย่อมได้ เพื่อพิสูจน์ว่าใครจะเก่งกว่าใคร “",
"title": "ตักบาตรเทโว"
},
{
"docid": "5759#0",
"text": "พระธรรม หมายถึงธรรมะซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำออกเผยแผ่ หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับความจริงตามธรรมชาติของทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นแต่เริ่มสืบทอดกันด้วยวิธีท่องจำแบบปากต่อปาก เรียกว่า \"มุขปาฐะ\" สมัยต่อมาจึงได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร คัมภีร์ที่บันทึกพระธรรมของพระพุทธเจ้านั้น เรียกว่า พระไตรปิฎก และยังมีคัมภีร์อื่นๆ ที่แต่งภายหลังเพื่อขยายความอีก ได้แก่ อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ตามลำดับ",
"title": "พระธรรม (ศาสนาพุทธ)"
},
{
"docid": "62794#14",
"text": "ผนังในพระอุโบสถโดยรอบมีภาพจิตรกรรมฝาผนังบนแผ่นผ้าใบ เรื่องราวประวัติของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน บนภาพพระพุทธประวัติ มีภาพสีฝุ่นเทมเพอราในกรอบแก้วเล่าเรื่องราวของพระแก้วมรกต ผนังด้านหลังมีที่บรรจุอัฐิของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และภรรยา",
"title": "วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร"
},
{
"docid": "32409#42",
"text": "มหายานมีมติว่า พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์มีจำนวนมากมายดุจเมล็ดทรายในคงคานที และในจักรวาลอันเวิ้งว้างนี้ ก็มีโลกธาตุที่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติแสดงพระสัทธรรมเทศนาอยู่ทั่วไปนับประมาณมิได้ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต แม้ในโลกธาตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะดับขันธปรินิพพานไปแล้ว แต่ในขณะนี้ ณ โลกธาตุอื่นก็มีพระพุทธเจ้าองค์อื่น ๆ ทรงดำรงพระชนม์อยู่ และกำลังสั่งสอนสรรพสัตว์ โลกธาตุที่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัตินั้น บางทีเรียกว่า “พุทธเกษตร” บางพุทธเกษตรบริสุทธิ์สมบูรณ์ด้วยทิพยภาวะน่ารื่นรมย์ พุทธเกษตรนั้นไม่ใช่นิพพาน เกิดขึ้นด้วยอำนาจปณิธานของพระพุทธเจ้า เป็นสถานที่สรรพสัตว์ในโลกธาตุอื่น ๆ ควรมุ่งไป\"เกิด\" พุทธเกษตรสำคัญที่เป็นที่รู้จักกันกว้างขวางในหมู่พุทธศาสนิกชนคือ สุขาวดีพุทธเกษตรของพระอมิตาภพุทธะ อยู่ทางทิศตะวันตกแห่งโลกธาตุนี้ พุทธเกษตรของพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาอยู่ทางทิศตะวันออก เป็นพุทธเกษตรซึ่งมีรัศมีไพโรจน์แล้วด้วยมณีไพฑูรย์ พุทธเกษตรของพระอักโษภยะแห่งหนึ่ง และมณฑลเกษตรของพระเมตไตรยโพธิสัตว์ในดุสิตสวรรค์อีกแห่งหนึ่ง เกษตรทั้ง 4 นี้ ปรากฏว่าสุขาวดีพุทธเกษตรของพระอมิตาภะ เป็นที่นับถือของพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานมากที่สุด ถึงกับสามารถตั้งเป็นนิกายโดยเอกเทศต่างหาก",
"title": "มหายาน"
},
{
"docid": "156282#5",
"text": "(หมายเหตุ พระโคดมพุทธเจ้าในอดีตได้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรกเมื่อ 20 อสงไขยกับอีกหนึ่งแสนกัปที่แล้วโดยในครั้งนั้นพระองค์เห็นพระธุดงค์อยู่ในป่าแล้วศรัทธาถวายผ้าเก่า ดังที่พระองค์ตรัสเล่าไว้เองใน พุทธาปทานชื่อปุพพกรรมปิโลติ (พระไตรปิฎกเล่มที่ 32)[2] ไม่ใช่ปรารถนาครั้งแรกตอนแบกมารดาว่ายข้ามแม่น้ำอย่างที่เข้าใจกันตามข้อมูลในหนังสือมุนีนาถทีปนี [3] และหลังจากที่ได้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรกแล้วก็บำเพ็ญบารมีอย่างต่อเนื่องจนได้มาพบกับพระทีปังกรพุทธเจ้าแล้วได้รับพยากรณ์จากพระทีปังกรพุทธเจ้าว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน)",
"title": "รายพระนามพระพุทธเจ้า"
},
{
"docid": "48101#52",
"text": "ฐานเขียง ฐานชั้นล่างสุด ยกพื้นเจดีย์ให้สูงกว่าพื้นดิน ฐานปัทม์ หรือฐานบัว (ปทุม) แสดงถึงดอกบัวที่รองรับพระพุทธเจ้าในทุกอิริยาบถของพระพุทธองค์ บัวถลา เป็นลักษณะที่รับมาจากลังกาแต่เอาชั้นบัวหงายออก บัวปากระฆัง เป็นฐานบัวชั้นบน องค์ระฆัง หรือ เรือนธาตุ บรรจุพระพุทธรูป หรือพระบรมสารีริกธาตุ หรือพระบรมอัฐิ และพระอัฐิ บัลลังก์ คงความหมายเดิม ก้านฉัตร เป็นก้านของฉัตร (ตามความหมายเดิม) บัวฝาละมี บัวคว่ำด้านบน กางกั้นฉัตรให้เรือนธาตุ ปล้องไฉน เปรียบเสมือนตัวฉัตร (ตามความหมายเดิม) ปลียอด ชี้ขึ้นฟ้า เส้นทางสู่พระนิพพาน หยาดน้ำค้าง หมายถึงรัตนะ",
"title": "เจดีย์"
},
{
"docid": "560843#1",
"text": "ในสมัยพุทธกาล พระโมะกุเร็ง หรือพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าเป็นพระผู้ยิ่งใหญ่เหนือใครในโลก เป็นผู้กำพร้ามารดา ต่อมาได้บวชเป็นพระภิกษุ และฝึกสมาธิตนเองจนสามารถเห็นนรกเห็นสวรรค์ ครั้นได้ท่องไปในเมืองนรกได้พบกับมารดาของตนเอง กำลังตกระกำลำบากต้องอดๆอยากๆน่าเวทนา เมื่อพระโมะกุเร็งมีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า จึงได้เล่าเรื่องราวที่ได้พบมารดาของตนให้แก่พระพุทธเจ้าเพื่อให้พระพุทธเจ้าได้ชี้ทางช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานของมารดา เมื่อได้ฟังเรื่องราวพระพุทธเจ้าได้กล่าวแก่พระโมะกุเร็งว่า \"ดูกรโมะกุเร็ง ไม่ใช่ว่าจะคิด ช่วยแต่เฉพาะคนคนเดียว ไม่ใช่ว่าจะคิดช่วยแต่แค่มารดาของตนแต่เพียงอย่างเดียว จงคิดช่วย ไปถึงบุคคลอื่นๆ ทุกคนที่ได้ตายไปครั้งก่อนๆ ที่ไม่ใช่ญาติของเราก็ตาม ท่านจงอุทิศส่วน กุศลและแผ่เมตตาให้กับเขาเหล่านั้นทุกคนเสียด้วย\"",
"title": "เทศกาลบง"
},
{
"docid": "27504#11",
"text": "ขณะที่ เสถียร โพธินันทะ แสดงความเห็นว่า การที่ตำนานมหาปุริสลักษณะว่า พระชิวหาของมหาบุรุษนั้น แลบติดถึงหน้าผากได้ แลบซ้ายขวาถึงใบหู ลิ้นยาว แลบซ้ายขวาถึงใบหู มือยาวถึงเข่า ถ้าคนมือยาวถึงเข่า ล้วนแต่เป็นคำอุปมา ท่านพรรณนาเป็นบุคลาธิษฐาน เช่นพรรณนาอสีติญาณพยัญชนะว่ารอยเท้าของพระพุทธเจ้านั้น มีรูปภูเขาหิมพานต์ มีรูปพัด มีรูปพระพรหม มีรูปพระอินทร์ มีรูปต่าง ๆ เครื่องสูงต่าง ๆ เป็นราชกกุธภัณฑ์ต่าง ๆ การพรรณนาอย่างนั้น ความหมายก็มีว่า สมบัติเหล่านั้น คือ พรหมสมบัติ อินทร์สมบัติ สักกะสมบัติ จักรพรรดิสมบัติ มนุษย์สมบัติ สมบัติต่าง ๆ เหล่านี้ที่เป็นรูปต่าง ๆ ในฝ่าเท้าพระบาทพระพุทธเจ้านั้น สมบัติเหล่านี้ พระศาสดาได้ทรงละแล้ว ทรงอยู่เหนือสมบัติเหล่านี้ อยู่ใต้อุ้งบาทแล้ว สมบัติเหล่านี้ไม่สามารถที่จะทำให้พระองค์ทรงกำเริบ ทรงต้องการความปรารถนาอีกแล้ว เป็นของต่ำในสายพระเนตรของพระองค์ ทรงชนะอินทร์สมบัติ ทรงชนะพรหมสมบัติ ทรงชนะจักรพรรดิสมบัติ ทรงชนะมนุษยสมบัติ เราถือว่า อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ จักรพรรดิ มนุษย์ เราขวนขวายอยากได้ อยากมีกัน สิ่งเหล่านั้นพระองค์ทรงเหยียบไว้ใต้ฝ่าพระบาทหมด ไม่มีความหมาย เหมือนหนึ่งอิฐกรวดดินทราย ความหมายของท่านต้องการอย่างนี้ แต่ในการเทศนาโวหารสั่งสอนคนซึ่งมีหลายชั้นที่เป็นปัญญาบุคคลก็มี ไม่ใช่ปัญญาบุคคลก็มี จึงต้องมีการใช้บุคคลาธิษฐานเป็นอุบายโกศลในชักจูงให้ผู้คนเกิดความเลื่อมใสศรัทธา \"จึงต้องพรรณนาเป็นรูปว่า ใต้ฝ่าอุ้งพระบาท มีภูเขาหิมพานต์ มีพระพรหม มีพระอินทร์ มีเครื่องสูงพระหมากษัตริย์ มีกงจักร มีนางแก้ว ขุนคลังแก้ว ต่าง ๆ นานา เห็นเป็นภาพใต้อุ้งฝ่าพระบาท ทีนี้คนดูเห็นภาพเหล่านั้นก็นึกว่าของเหล่านี้ เป็นประเสริฐถึงเพียงนี้ แต่ยังมาติดอยู่ที่พระบาทของพระศาสดาของเรา ก็แสดงว่าพระศาสดาของเรานี่เหนือกว่าสมบัติเหล่านี้ ต้องการเพียงแค่นี้ ความหมายในเรื่องรูปต่าง ๆ ในอุ้งฝ่าพระบาทเป็นอย่างนี้\" [7]",
"title": "มหาปุริสลักขณะ"
},
{
"docid": "59540#1",
"text": "พระอัญญาโกณฑัญญะตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นบุตรคหบดีมหาศาลชาวหงสวดี วันหนึ่งเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับพวกชาวเมืองเพื่อฟังธรรม เห็นพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระสาวกรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านรัตตัญญู (แปลว่า ผู้รู้ราตรีนาน หมายถึงได้บวชก่อนใครได้รู้ได้ฟังมาก) แล้วเกิดศรัทธาปรารถนาจะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง ท่านแสดงศรัทธาให้ปรากฏด้วยการถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกติดต่อกัน 7 วัน วันสุดท้ายได้สั่งให้เปิดเรือนคลังเก็บผ้า นำผ้าเนื้อดีเลิศมาวางถวายไว้แทบยุคลบาทของพระพุทธเจ้าและถวายพระสาวกแล้วกราบทูลว่า “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอให้ข้าพระองค์ได้เป็นเหมือนภิกษุรูปที่พระองค์ทรงแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเมื่อ 7 วันก่อนจากนี้ด้วยเถิด นั่นคือขอให้ได้บวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าในอนาคตแล้วได้รู้แจ้งธรรมก่อนใครหมด” พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูความเป็นไปในอนาคตของท่านด้วยพระญาณแล้ว ทรงเห็นว่าความปรารถนาของท่านสำเร็จได้แน่จึงทรงพยากรณ์ว่า",
"title": "พระอัญญาโกณฑัญญเถระ"
},
{
"docid": "108273#7",
"text": "\"\"...พระพุทธเจ้าตรัสว่า ลัทธิที่สวนทางกับหลักพระพุทธศาสนามีอยู่สามลัทธิ คือ 1. ลัทธิแล้วแต่กรรมเก่า, 2. ลัทธิแล้วแต่พระเจ้าบันดาล, 3. ลัทธิแล้วแต่โชคชะตาจะพาให้เป็นไป...ลัทธิทั้งสามนี้พึงทราบว่าเป็นลัทธินอกพระพุทธศาสนา ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า ใครสมาทานเข้าก็มีแต่เสื่อมลง มองไม่เห็นทางว่าจะสร้างสรรค์พัฒนาชีวิตให้เจริญก้าวหน้าไปได้อย่างไร เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้ลัทธิทั้งสามจะไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า แต่คนไทยก็เชื่อมั่นในลัทธิกรรมเก่ากันอย่างแน่นแฟ้น จนทุกวันนี้ ใครมีปัญหาชีวิตอะไร ก็พานยกให้เป็นเรื่องที่เนื่องมาแต่กรรมเก่าไปเสียทั้งหมด\"\"",
"title": "ทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม"
},
{
"docid": "38809#31",
"text": "1) หนึ่งของเรื่องที่พูดถึงกันเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพระชนม์ชีพในอดีตชาติของพระเจ้าอโศก คือ เมื่อพระองค์เป็นกุมารน้อย นามว่า ชะยะ (Jaya) ในขณะนั้น ชยกุมารกำลังเล่นอยู่ที่ริมถนน พระพุทธเจ้าเสด็จมาถึง กุมารก็หยิบดินเต็มกำมือใส่ในชามขอทาน(บาตร)ของพระพุทธเจ้าถวายเป็นทานเพื่อประกาศความปรารถนาของตนที่จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่และเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า กล่าวกันว่าพระพุทธเจ้าทรงแย้มพระโอษฐ์ การแย้มนั้น ได้ส่องสว่างทั่วจักรวาลพร้อมด้วยรัศมีแห่งแสงสว่าง รัศมีแห่งแสงสว่างเหล่านั้นมีแล้วก็กล่าวถึงการเข้าไปสู่อุ้มพระหัตถ์เบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า มีความหมายว่าชยกุมารนี้จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิในอนาคต พระพุทธเจ้าได้ทรงหันไปตรัสกับพระอานนท์ศิษย์ของพระองค์ และตรัสพยากรณ์ว่ากุมารนี้จะได้เป็นจักรพรรดิทรงธรรมผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ปกครองจักรวรรดิจากเมืองหลวงปาฏลีบุตร",
"title": "พระเจ้าอโศกมหาราช"
},
{
"docid": "166429#3",
"text": "ครั้งก่อนพุทธกาลของพระโคดม มีดาบสกลุ่มหนึ่งไปในเมืองแล้วชาวบ้านเลี้ยงอาหารอย่างดี ต่อมาพระโคดมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ชาวบ้านก็เลี้ยงอาหารดาบสเหล่านี้น้อยลง กลุ่มดาบสถามว่าเกิดอะไรขึ้น ชาวบ้านก็ตอบว่า ตอนนี้มีพระพุทธเจ้าและสาวกเกิดขึ้นในโลกแล้ว ดาบสยินดีแล้วก็ถามต่อว่าแล้ว พระพุทธเจ้ากับเหล่าสาวกฉันกลิ่นดิบคือเนื้อและปลาไหม ชาวบ้านตอบว่าฉัน ดาบสเหล่านี้ก็ร้อนใจเลยรีบไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วทูลถามว่า พระองค์ฉันเนื้อและปลาที่เป็นกลิ่นดิบหรือ พระโคดมพุทธเจ้าตอบโดยสรุปว่าฉันเพราะได้มาโดยสุจริต ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ ว่าเขาฆ่ามาให้เรา จึงถือว่าเนื้อและปลาเป็นของที่บริสุทธิไม่ใช่ของดิบ และก็เล่าต่ออีกว่าในอดีตสมัยพระพุทธเจ้าองค์ก่อน คือ กัสสปพุทธเจ้าก็มีดาบสชื่อติสสะไปถามเรื่องแบบนี้เหมือนกัน ดังรายละเอียดใน อามคันธสูตรที่ ๒ ซึ่งเนื้อหาในพระสูตรดังกล่าวสรุปได้ว่า\nเนื้อและโภชนะไม่ใช่กลิ่นดิบ (ของดิบ) เลย ชนเหล่าใดในโลกนี้ ไม่สำรวมในกามทั้งหลาย ยินดีใน รสทั้งหลาย เจือปนไปด้วยของไม่สะอาด มีความเห็น ว่าทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล มีการงานไม่เสมอ บุคคลที่ว่ายากไม่ฟังคำแนะนำที่ดีของผู้อื่น ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น ",
"title": "พระกัสสปพุทธเจ้า"
},
{
"docid": "32556#0",
"text": "พระสงฆ์ หมายถึง หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตร ปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัยที่พระบรมศาสดาสั่งสอนและกำหนดไว้",
"title": "พระสงฆ์"
},
{
"docid": "28166#10",
"text": "วันนั้นท่านมีความสุขตลอดทั้งวัน ดวงธรรมขั้นต้นซึ่งเป็นดวงใสก็ยังเห็นติดอยู่ตรงศูนย์กลางกายตลอดเวลา ในช่วงเย็น หลังจากได้ร่วมลงฟังพระปาฏิโมกข์กับเพื่อนภิกษุ ท่านได้เข้าไปในพระอุโบสถแล้วตั้งสัตยาธิษฐานว่า \"แม้เลือดเนื้อจะ แห้งเหือดหายไป เหลือแต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ตามที ถ้านั่งลงไปแล้ว ไม่บรรลุธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงเห็น จะไม่ยอมลุกขึ้นจากที่จนตลอดชีวิต\" เมื่อ ตั้งจิตอธิษฐานเสร็จ จึงเริ่มนั่งและตั้งจิตอ้อนวอนแด่พระพุทธเจ้าว่า",
"title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)"
},
{
"docid": "55670#1",
"text": "ตู่พุทธพจน์ ใช้เรียกการที่พูดหรือเขียนข้อความหรือข้อธรรมไปตามความคิดเห็นของตนเองแล้วอ้างว่านี่เป็นพระพุทธพจน์ เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ จะอ้างด้วยไม่รู้ ด้วยเข้าใจผิด หรือด้วยจงใจก็ตาม หากข้อที่อ้างถึงนั้นมิใช่พระพุทธพจน์ มิใช่พระดำรัสของพระพุทธเจ้า หรือใช่บ้างไม่ใช่บ้าง หรือนำมาอ้างผิด ๆ ถูก ๆ ชื่อว่าตู่พุทธพจน์ได้ทั้งสิ้น เรียกการตู่พุทธพจน์แบบนี้อีกอย่างหนึ่งว่า จับใส่พระโอษฐ์",
"title": "ตู่พุทธพจน์"
},
{
"docid": "31485#0",
"text": "วัดมหาธาตุ เป็นชื่อเรียกของวัดที่ที่มีพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ที่บรรจุพระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า อาจหมายถึง:",
"title": "วัดมหาธาตุ"
},
{
"docid": "155115#0",
"text": "วัดพระธาตุดอยหยวก ตั้งอยู่บ้านหนุน หมู่ที่ 6 ตำบลปง อำเภอปง จังหวัดพะเยา เป็นปูชนียสถานที่มีความสำคัญคู่อำเภอปง และเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระเกศา และพระอัฐิจักษุ (กระดูกริมตาข้างขวา) ของพระพุทธเจ้า ระยะทางจากตัวอำเภอ 2 กิโลเมตร",
"title": "วัดพระธาตุดอยหยวก"
},
{
"docid": "48101#4",
"text": "ธาตุเจดีย์ สิ่งก่อสร้างบรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า พระมหากษัตริย์พระปรินิพพาน บริโภคเจดีย์ สังเวชนียสถานอันเป็นสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า ธรรมเจดีย์ คาถาที่แสดงพระอริยสัจ หรือ คัมภีร์ในพระพุทธศาสนา เช่น พระไตรปิฎก อุเทสิกะเจดีย์ ของที่สร้างขึ้นโดยเจตนาอุทิศแด่พระพุทธเจ้า ไม่กำหนดว่าจะต้องทำเป็นอย่างไร เช่น สร้างบัลลังก์ให้หมายแทนพระพุทธองค์",
"title": "เจดีย์"
},
{
"docid": "679689#20",
"text": "หลวงปู่ชาเคยกล่าวเกี่ยวกับข้อวัตรปฏิบัติไว้ในการบรรยายธรรมอบรมภิกษุสามเณรที่วัดหนองป่าพงความว่า \"ข้อวัตรปฏิบัติ กฎกติกาที่ตั้งไว้ คือทางแห่งมรรคผลนิพพาน ถ้าใครไปฝ่าฝืนข้อกติกานั้นแล้ว ก็ไม่ใช่พระ ไม่ใช่คนที่ตั้งใจมาปฏิบัติ เขาจะไม่ได้พบเห็นอะไรเลย ถึงแม้จะอยู่กับผมทุกคืนทุกวันก็ไม่เห็นผม จะอยู่กับพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้า\"[1][9]",
"title": "วัดหนองป่าพง"
},
{
"docid": "32409#19",
"text": "พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานมิได้ปฏิเสธพระไตรปิฎกดั้งเดิม หากแต่ถือว่าอาจยังไม่เพียงพอ เนื่องจากเกิดมีแนวคิดว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นโลกุตรสภาวะ ไม่อาจดับสูญ ที่ชาวโลกคิดว่าพระพุทธองค์ดับสูญไปแล้วนั้นเป็นเพียงภาพมายาของรูปขันธ์ แต่ธรรมกายอันเป็นสภาวธรรมของพระองค์เป็นธาตุพุทธะบริสุทธิ์ยังดำรงอยู่ต่อไป มหายานถือว่ามนุษย์ทุกคนมี พุทธธาตุ เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า หากมีกิเลสอวิชชาบดบังธาตุพุทธะจึงไม่ปรากฏ หากกิเลสอวิชชาเบาบางลงเท่าใดธาตุพุทธะก็จะปรากฏมากขึ้นเท่านั้น มหายานมีแนวคิดว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิและมีความสามารถที่จะบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ และสามารถตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้ หากฝึกฝนชำระจิตใจจนบริสุทธิ์ผุดผ่องด้วยบารมีทั้ง 10 ประการ พระโพธิสัตว์ของฝ่ายมหายานจึงมีมากมาย แม้พระพุทธเจ้าก็มีปริมาณที่ไม่อาจคาดคำนวณได้ และพระโพธิสัตว์ทุกองค์ย่อมโปรดสรรพสัตว์เช่นเดียวกับจริยาของพระพุทธเจ้า คำสอนของพระโพธิสัตว์จึงมีน้ำหนักเท่ากับพระไตรปิฎก ในพุทธศาสนามหายานจึงมีคัมภีร์สำคัญระดับเดียวกับพระไตรปิฎกเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก เพื่อให้เหมาะสมกับจริตและอินทรีย์ของสรรพสัตว์แต่ละจำพวก อีกทั้งเพื่อเป็นกุศโลบายในการสั่งสอนพุทธธรรม ทั้งนี้ก็เพื่อเจตจำนงจะเกื้อกูลสรรพชีวิตทั้งมวลให้ถึงพุทธรรมและบรรลุความหลุดพ้นจากสังสารวัฏ คัมภีร์ของมหายานดั้งเดิมเขียนขึ้นด้วยภาษาสันสกฤต แต่ก็มิใช่สันสกฤตแท้ หากเป็นภาษาสันสกฤตที่ปะปนกับภาษาปรากฤตตลอดจนภาษาบาลีและภาษาท้องถิ่นอื่นๆ เรียกว่าภาษาสันสกฤตทางพุทธศาสนา คัมภีร์เหล่านี้กล่าวในฐานะเป็นพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าบ้าง คำสอนพระโพธิสัตว์บ้าง หรือแม้แต่ทวยเทพต่างๆ โดยมีเนื้อหาหลากหลาย สันนิษฐานว่าพระสูตรปรัชญาปารมิตา เป็นพระสูตรมหายานรุ่นเก่าที่สุด และได้มีการเขียนพระสูตรขึ้นต่อมาอีกอย่างต่อเนื่องจนถึงสมัยคุปตะ พระสูตรบางเรื่องก็เกิดขึ้นในประเทศจีน และในหมู่คณาจารย์ของมหายานเองก็เขียนคัมภีร์ที่แสดงหลักปรัชญาอันลึกซึ้งของตน เรียกว่าศาสตร์ซึ่งเทียบได้กับอภิธรรมของฝ่ายเถรวาท ที่มีชื่อเสียงคือ มาธยมกศาสตร์, โยคาจารภูมิศาสตร์, อภิธรรมโกศศาสตร์, มหายานศรัทโธตปาทศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนี้ในประเทศต่างๆ ที่นับถือมหายาน ก็มีการรจนาคัมภีร์ขึ้นเพื่อสั่งสอนหลักการของตนเองอีกเป็นอันมาก คัมภีร์ของมหายานจึงมีมากมายเท่าๆกับความหลากหลายและการแตกแยกทางความคิดในหมู่นักปราชญ์ของมหายาน",
"title": "มหายาน"
},
{
"docid": "744712#0",
"text": "ขุนลัวะอ้ายก้อม เป็นผีหลวงหรือผีใหญ่ที่ดูแลบริเวณพระธาตุช่อแฮทั้งหมดตามความเชื่อของชาวแพร่ โดยในบริเวณนี้เดิมเป็นที่อยู่ของชาวลัวะมาก่อน ในตำนานพระธาตุช่อแฮ ขุนลัวะได้เกิดแรงศรัทธาจากการที่พระพุทธเจ้าฉันหมากที่ทำให้เมาโดยไม่เป็นอันตราย พระพุทธเจ้าได้มอบเส้นเกศาให้ขุนลัวะ ขุนลัวะจึงนำมาใส่ผอบฝังไว้ ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานจึงได้นำพระธาตุส่วนกระดูกศอกข้างซ้ายมาไว้ที่นี่ ",
"title": "ขุนลัวะอ้ายก้อม"
},
{
"docid": "27504#9",
"text": "ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาพุทธหลายท่าน แสดงความคิดเห็นว่า รายละเอียดที่ปรากฏในมหาปุริสลักขณะ หรือ มหาปุริสลักษณะ นั้น อาจมิใช่เพียงลักษณะทางกายภาพของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงอย่างเดียว แต่อาจนับเป็นบุคลาธิษฐานอย่างหนึ่งด้วย หนึ่งในนั้นคือ พุทธทาสภิกขุ ซึ่งแสดงความเห็นไว้ในหนังสือ “พุทธจริยา” ไว้ว่า โดยความหมายทางตรงแล้ว พุทธลักษณะหมายถึงลักษณะของพระพุทธเจ้า ซึ่งคำว่าลักษณะนี้แปลว่าเครื่องกำหนด มาจากคำว่า ดูเห็น สิ่งใดที่เราดูเราเห็นได้สิ่งนั้นเป็นลักษณะพุทธลักษณะก็คือสิ่งที่เราจะดูจะเห็นที่องค์พระพุทธเจ้า ดังเช่นการที่พระองค์ประกอบไปด้วยมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ และอนุพยัญชนะ 80 ประการ ซึ่งพรรณนาพุทธลักษณะตามแนวทางนี้ โดยผิวเผินแล้วเป็นลักษณะทางร่างกายที่ผิดจากบุคคลอื่น ถ้าถือเอาตามตัวหนังสือนั้นแล้วจะผิดมากจนดูเป็นมนุษย์ที่มีรูปร่างประหลาดที่สุดก็ได้",
"title": "มหาปุริสลักขณะ"
}
] |
2418 | จังหวัดนราธิวาส มีพื้นที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "7013#0",
"text": "นราธิวาส เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นหนึ่งในจังหวัดชายแดนใต้สุดของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลตะวันออกของแหลมมลายู ห่างจากกรุงเทพฯ ทางรถยนต์ประมาณ 1,149 กิโลเมตร โดยมีเนื้อที่ประมาณ 4,475.43 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,797,143.75 ไร่ ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดปัตตานีในเขตอำเภอสายบุรี อำเภอไม้แก่น และอ่าวไทย ทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทยและรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดยะลาในเขตอำเภอบันนังสตา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้และภูเขา 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด มีป่าพรุประมาณ 361,860 ไร่ ทางแถบทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดทิวเขาสันกาลาคีรีซึ่งเป็นแนวกั้นพรมแดนไทย-มาเลเซีย ลักษณะพื้นที่จะมีความลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออก พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่บริเวณติดกับอ่าวไทยและที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำ 4 สาย คือ แม่น้ำบางนรา แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำตากใบ และแม่น้ำโก-ลก มีประชากรจำนวน 796,239 คน แยกเป็นชาย 393,837 คน หญิง 402,402 คน โดยจังหวัดนราธิวาสมีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการอุตสาหกรรมอยู่ที่อำเภอสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่และมีความเจริญกว่าตัวจังหวัดมาก",
"title": "จังหวัดนราธิวาส"
}
] | [
{
"docid": "10159#18",
"text": "ในปีเดียวกัน ทักษิณ ชินวัตร กล่าวว่า \"ไม่มีการแบ่งแยกดินแดน ไม่มีผู้ก่อการร้ายอุดมการณ์ มีแต่โจรกระจอก\" แต่ในปี พ.ศ. 2547 เขาได้เปลี่ยนท่าที และจัดว่าสถานการณ์ดังกล่าวเป็นสงครามต่อต้านการก่อการร้ายในประเทศ มีการประกาศกฎอัยการศึกในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2547[30]โดยสื่อมวลชนและนักวิชาการถือว่าเหตุการณ์ปล้นปืนครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547 ที่กองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เป็นจุดเริ่มต้นของความรุนแรงในพื้นที่รอบใหม่ในวันที่ 4 ตุลาคม 2547 รัฐบาลจัดตั้งกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามคำสั่ง สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 260/2547[31]โดยยกเลิกคำสั่งเดิม",
"title": "ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย"
},
{
"docid": "326459#2",
"text": "เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 คณะรัฐมนตรีได้มีการประชุมและอนุมัติในหลักการให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดนราธิวาสและจังหวัดนครพนม โดยการหลอมรวมสถาบันการศึกษาที่มีอยู่แล้วในจังหวัด เพื่อจะได้ใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการลงทุนน้อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้โดยไม่ขัดต่อปรัชญาการศึกษา และภารกิจของสถาบันการศึกษาเดิม การบริหารจัดการ และการดำเนินการมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับสภาวการณ์ของประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่เป็นรอยต่อออกไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นอกจากกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้กับประชาชนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงแล้ว ยังสามารถที่จะรองรับการศึกษา และการใช้บริการทางการอุดมศึกษาของประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านได้อีกด้วย และได้สถาปนามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ในปี พ.ศ. 2548 ซึ่งได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนที่ 14 ก เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2548 แล้ว โดยหลอมรวมกิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ รายได้ หนี้สิน บุคลากรของสถาบันการศึกษาที่มีศักยภาพในการพัฒนาในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 4 สถาบัน คือ วิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส วิทยาลัยการอาชีพตากใบ และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนราธิวาส ",
"title": "วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "50748#11",
"text": "ส่วนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนครพนมเกิดจาการหลอมรวมสถาบันต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตนครพนม วิทยาลัยเทคนิคนครพนม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครพนม วิทยาลัยการอาชีพธาตุพนม วิทยาลัยการอาชีพนาหว้า วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม เข้าด้วยกัน ทั้งนี้เนื่องจากจังหวัดนราธิวาสและนครพนมเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่เป็นรอยต่อออกไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน การจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาทั้งที่จังหวัดนราธิวาสและนครพนมนอกจากจะเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้กับประชาชนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงแล้ว ยังเพิ่มโอกาสที่จะรองรับการศึกษาต่อและการใช้บริการทางการอุดมศึกษาให้กับประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านได้อีกด้วย",
"title": "มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "386369#175",
"text": "จนถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประกาศภาวะภัยพิบัติฉุกเฉินตามระเบียบกระทรวงการคลังในกรุงเทพมหานครรวม 32 เขต[246] ต่อมาวันที่ 26 พฤศจิกายน จังหวัดนราธิวาส[247] ได้ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติทั้งจังหวัด วันที่ 27 พฤศจิกายน จังหวัดปัตตานี ได้ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติ ทั้งจังหวัด[248]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "109429#8",
"text": "นับแต่ปี พ.ศ. 2516 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ได้เสด็จแปรพระราชฐานประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส เพื่อทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในท้องถิ่นต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสและจังหวัดใกล้เคียงในภาคใต้ ทรงพบเห็นราษฎรประสบปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนมากมายเช่น ด้านโรคภัยไข้เจ็บ ด้านการศึกษา การประกอบอาชีพ เป็นต้น จึงมีพระราชดำริที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ",
"title": "พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์"
},
{
"docid": "852008#0",
"text": "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา เป็นพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งหนึ่งในประเทศไทย ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศ เป็นผืนป่าที่ประกอบไปด้วยผืนป่าสองผืน คือ ป่าฮาลา ในพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา และอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส และ ป่าบาลา ในพื้นที่อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส แม้ป่าทั้งสองผืนนี้จะไม่ได้ติดเป็นป่าผืนเดียวกัน แต่ทว่าในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าร่วมกัน",
"title": "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา"
},
{
"docid": "288321#0",
"text": "วิทยาลัยชุมชนยะลา เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในกลุ่มสถาบันวิทยาลัยชุมชน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 เนื่องจากรัฐบาล และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาพื้นที่พิเศษภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และ 5 อำเภอของจังหวัดสงขลา จึงได้มีการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนขึ้นใน 4 พื้นที่ดังกล่าว เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น ",
"title": "วิทยาลัยชุมชนยะลา"
},
{
"docid": "10159#24",
"text": "หลังจากรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งทำให้ ทักษิณ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่ง รัฐบาล สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีการประกาศกฎอัยการศึกในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักรในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ต่อมาในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2550 รัฐบาลคงกฎอัยการศึกในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดสงขลา เฉพาะอำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี อำเภอสะเดา อำเภอสะบ้าย้อย[39] ใน31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 รัฐบาลคงกฎอัยการศึกในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดสงขลา เฉพาะอำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี อำเภอสะเดา อำเภอสะบ้าย้อย[40] นับว่ารัฐบาล สุรยุทธ์ จุลานนท์ ใช้อำนาจตามกฎหมายมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ กล่าวคือใช้อำนาจตาม พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดยะลา และขยายพื้นที่กฎอัยการศึกในจังหวัดปัตตานี และจังหวัดสงขลาเฉพาะอำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี อำเภอสะเดา อำเภอสะบ้าย้อย",
"title": "ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย"
},
{
"docid": "17498#1",
"text": "ทิศเหนือ มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดินแดนที่อยู่ทางเหนือสุดของภาคคือ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ทิศตะวันออก มีพื้นที่ติดต่อกับอ่าวไทย ดินแดนบนแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ทางตะวันออกสุดของภาคคือ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ทิศใต้ มีพื้นที่ติดกับประเทศมาเลเซีย ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาค (และของประเทศไทย) คือ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ทิศตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อกับทะเลอันดามัน ดินแดนบนแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ทางตะวันตกสุดของภาคคือ อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา",
"title": "ภาคใต้ (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "333865#3",
"text": "คณะวิทยาการจัดการ เป็นคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2549 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 118 ก เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้นักศึกษาในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีโอกาสศึกษาต่อเนื่องจนถึงระดับปริญญาตรี โดยได้เปิดรับนักศึกษาในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต(ต่อเนื่อง) สาขาวิชาการจัดการทั่วไป รุ่นแรกเมื่อปีการศึกษา 2548 โดยมีที่ตั้งสำนักงานที่อาคาร 14 วิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส เลขที่ 49 ถ.ระแงะมรรคา ต.บางนาค อ.เมือง จ.นราธิวาส",
"title": "คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "74252#8",
"text": "ป่าพรุ (Firm Forest, Peat Swamp Forest) เป็นสังคมป่าที่อยู่ถัดจากบริเวณสังคมป่าชายเลน โดยอาจจะเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีการทับถมของซากพืชและอินทรียวัตถุที่ไม่สลายตัว และมีน้ำท่วมขังหรือชื้นแฉะตลอดปี จากรายงานของกองสำรวจดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2525) พื้นที่ที่เป็นพรุพบในจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้ นราธิวาส 283,350 ไร่ นครศรีธรรมราช 76,875 ไร่ ชุมพร 16,900 ไร่ สงขลา 5,545 ไร่ พัทลุง 2,786 ไร่ ปัตตานี 1,127 ไร่ และตราด 11,980 ไร่ ส่วนจังหวัดที่พบเล็กน้อย ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ตรังกระบี่ สตูล ระยอง จันทบุรี เชียงใหม่ (อ.พร้าว) และจังหวัดชายทะเลอื่น ๆ รวมเป็นพื้นที่ 400,000 ไร่ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกบุกรุกทำลายระบายน้ำออกเปลี่ยนแปลงสภาพเป็นสวนมะพร้าว นาข้าว และบ่อเลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลา คงเหลือเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ในจังหวัดนราธิวาสเท่านั้น คือ พรุโต๊ะแดง ซึ่งยังคงเป็นป่าพรุสมบูรณ์ และพรุบาเจาะ ซึ่งเป็นพรุเสื่อมสภาพแล้ว (ธวัชชัย และชวลิต, 2528)\nแบ่งเป็นย่อย ๆ ได้ 2 ชนิดคือ ",
"title": "ป่า"
},
{
"docid": "50748#4",
"text": "จังหวัดนราธิวาส มีสถาบันอุดมศึกษา รวม 7 แห่ง โดยมีประชากรกลุ่มอายุที่ได้รับการศึกษาระดับนี้เพียงร้อยละ 2.4 ซึ่งต่ำที่สุดของประเทศ โดยอัตราการเรียนต่อระดับอุดมศึกษาของผู้จบมัธยมศึกษาตอนปลาย ปี พ.ศ. 2543 มีเพียงร้อยละ 37.2 ซึ่งต่ำกว่าอัตราการเรียนต่อระดับอุดมศึกษาเฉลี่ยทั่วประเทศ ในปีเดียวกัน ที่ร้อยละ 81.1 ค่อนข้างมาก\nภาคใต้ตอนล่าง โดยเฉพาะพื้นที่ 3 จังหวัดชาแดนภาคใต้ คือ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส มีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดของประเทศ ประมาณร้อยละ 80 ของชาวมุสลิมที่มีอยู่ทั่วประเทศ และยังไม่มีสถาบันอุดมศึกษาที่มีการบูรณาการหลักการทางศาสนาอิสลามที่เปิดสอนถึงระดับอุดมศึกษา ทำให้ปัจจุบันจึงมีนักเรียนมุสลิมของไทยต้องเดินทางไปศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาที่จังหวัดนราธิวาส นอกจากจะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่ประชาชนในพื้นที่และประหยัดงบประมาณของประเทศในการสูญเสียดุลการค้าระหว่างประเทศแล้ว ยังเป็นการช่วยเสริมสร้างเอกภาพและคมมั่นคงของชาติ ต้องการเชื่อมโยงการศึกษากับศาสนาเข้าสู่วิถีชีวิตของประชาชนชาวมุสลิม ช่วยก่อให้เกิดความรัก ความผูกพัน และสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม วัฒนธรรมและประเทศชาติอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน รวมทั้งเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างรัฐและประชาชนชาวมุสลิม ให้เกิดความรัก ความสามัคคี ลดความขัดแย้งทางสังคมและการเมือง รวมทั้งการก่อความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้\nในระยะแรกของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยใช้ชื่อว่าโครงการจัดตั้ง \"มหาวิทยาลัยนราธิวาส\" ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2546 หลังจากนั้นจึงได้มีการยกฐานะขึ้นเป็น \"มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์\" เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีพระวินิจฉัย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2549 พระราชทานตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ รูปมงกุฎสีทอง ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ ตอนกลางเป็นอักษรย่อพระนาม กว. และอักษรชื่อมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นสีน้ำทะเล ซึ่งสีฟ้าน้ำทะเล หรือสีฟ้าอมเขียว ของอักษรพระนามย่อ และอักษรชื่อมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นสีประจำพระองค์ ",
"title": "มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "375785#14",
"text": "ในอนาคตปี 2013 สโมสรฟุตบอลนรา ยูไนเต็ด เตรียมจะทำการย้ายสนามเหย้าอีกครั้ง จากเดิม สนามองค์การบริหารส่วนจังหวัด นราธิวาส มาใช้สนามกีฬากลาง จังหวัดนราธิวาส สเตเดียม แทน ซึ่งถือเป็นสนามใหม่ล่าสุด และเป็นสนามที่มีอัฒจันทร์ล้อมรอบเป็นแห่งแรกในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้",
"title": "สโมสรฟุตบอลนรา ยูไนเต็ด"
},
{
"docid": "78627#0",
"text": "โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อพัฒนาพื้นที่พรุในจังหวัดนราธิวาส โดยมีที่ตั้งโครงการ อยู่ที่ ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส\nพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๙ และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส ในระหว่างวันที่ 18 สิงหาคม - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2524 พระองค์ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรโดยทั่วไปในเขตพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ทอดพระเนตรเห็นสภาพพื้นที่และความจำเป็นที่จะยกระดับความเป็นอยู่ ภาระเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่จังหวัดให้ดีขึ้น จึงมีพระราชดำริและพระราชกระแสรับสั่งต่อเจ้าหน้าที่และผู้ติดตามเสด็จ ให้พิจารณาปรับปรุงกิจการพัฒนาด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่พรุ โดยมีพระราชกระแสรับสั่งต่อ หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ องคมนตรี (ในขณะนั้น) นายชิต นิลพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส (ในขณะนั้น) นายเล็ก จินดาสงวน ผู้ช่วยอธิบดีกรมชลประทาน (ในขณะนั้น) นายวารินทร์ บุษบรรณ เกษตรจังหวัดนราธิวาส (ในขณะนั้น) นายอำเภอท้องที่ และข้าราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้",
"title": "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง"
},
{
"docid": "51190#7",
"text": "ส่วนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนครพนมเกิดจาการหลอมรวมสถาบันต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตนครพนม วิทยาลัยเทคนิคนครพนม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครพนม วิทยาลัยการอาชีพธาตุพนม วิทยาลัยการอาชีพนาหว้า วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม เข้าด้วยกัน ทั้งนี้เนื่องจากจังหวัดนราธิวาสและนครพนมเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่เป็นรอยต่อออกไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน การจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาทั้งที่จังหวัดนราธิวาสและนครพนมนอกจากจะเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้กับประชาชนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงแล้ว ยังเพิ่มโอกาสที่จะรองรับการศึกษาต่อและการใช้บริการทางการอุดมศึกษาให้กับประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านได้อีกด้วย",
"title": "มหาวิทยาลัยนครพนม"
},
{
"docid": "78352#2",
"text": "เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดนราธิวาส นั่นก็คือ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยเป็นมหาวิทยาลัยที่จัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพและสังคมศาสตร์ที่ได้มาตรฐานสากล\nคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ก็เป็นคณะหนึ่งที่จัดตั้งตามความปรัชญาของมหาวิทยาลัยคือ การผลิตบัณฑิตด้านสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพจากแนวทางดังกล่าว มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ได้เสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ประกอบกับการที่ประเทศไทยมีปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนที่สำคัญคือ การขาดแคลนแพทย์ ทั้งจำนวนและการกระจาย โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค สิ้นปีพุทธศักราช 2545 ประเทศไทยมีจำนวนประชากร 62,779,872 คน แต่มีแพทย์ที่ทำงานจริงจำนวน 22,879 คน คิดเป็นสัดส่วนแพทย์ต่อประชากร 1:2,745 คน และแพทย์ส่วนใหญ่ยังกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานคร และเมืองใหญ่ๆ เท่านั้น ดังนั้นพื้นที่ที่มีแพทย์ต่อประชากรน้อยคือส่วนภูมิภาคและพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส เป็นพื้นที่มีสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรน้อยที่สุด",
"title": "คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "867082#0",
"text": "ตากใบ หมายถึงพื้นที่ในจังหวัดนราธิวาสและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ดังกล่าว",
"title": "ตากใบ"
},
{
"docid": "50748#5",
"text": "แรกเริ่มศูนย์กลางการจัดการศึกษา มีศูนย์กลางการบริหารงานตั้งอยู่ที่ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เป็นที่ตั้งของสำนักงานกลาง อยู่ที่อำเภอเมืองนราธิวาส ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารสำนักงานอธิการบดี ณ ศูนย์ราชการใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เพื่อเป็นที่จัดตั้งพื้นที่การศึกษาของมหาวิทยาลัยต่อไปในอนาคต",
"title": "มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "42818#43",
"text": "ในส่วนกองบัญชาการกองทัพเรือไทย มีที่ตั้งหลักอยู่ในบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และริมชายฝั่งทะเลทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน 3 แห่ง คือ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ พื้นที่ภาคตะวันออกในจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด พื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออกในจังหวัดสงขลาและนราธิวาส และพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกในจังหวัดพังงา ภูเก็ต และสตูล เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของกองทัพเรือทั้งในส่วนของกองเรือยุทธการ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ปฏิบัติการ",
"title": "กองทัพเรือไทย"
},
{
"docid": "326459#5",
"text": "วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส ตั้งอยู่ เลขที่ 102 หมู่ 5 ตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส โดยมีพื้นที่ของวิทยาเขตครอบคลุม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส ตั้งอยู่เลขที่ 102 หมู่ที่ 5 ตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส รหัสไปรษณีย์ 96130 อยู่ห่างจากตัวจังหวัด 24 กิโลเมตร เดิมมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 997 ไร่ และในปี พ.ศ. 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมฯ มอบที่ดินให้วิทยาลัยเพิ่มเติมอีก 811 ไร่ ปัจจุบันมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 1,808 ไร่ อาณาเขตติดต่อ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส ได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน\nส่วนที่ 1. เนื้อที่เดิม 997 ไร่ มีอาณาเขตดังนี้\nส่วนที่ 2. เนื้อที่ใหม่ 811 ไร่ มีอาณาเขตดังนี้",
"title": "วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "50748#26",
"text": "เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลและควบคุมมาตรฐานการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยทั้งหมดมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ อยู่ระหว่างการก่อสร้างโครงการก่อสร้างอาคาร ในพื้นที่การก่อสร้างอาคารของแต่ละคณะและแต่ละหน่วยงานนั้นคำนึงถึงกลุ่มสาขาวิชาเป็นหลัก โดยมีคณะ และสำนักงานต่างๆ แบ่งออกเป็น กลุ่มอาคารสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เกษตรศาสตร์และเทคโนโลยีเกษตร โดยพื้นที่การสร้างมหาวิทยาลัยแห่งใหม่จะประกอบไปด้วย สาธารณูปโภค และสวัสดิการต่างๆที่เอื้ออำนวยความสะดวก แก่เจ้าหน้า อาจารย์ และนักศึกษาและมีถนนเชื่อมต่อเข้าสู่อาคารต่างๆ โดยแบ่งพื้นที่การศึกษา และเนื้อที่ใช้สอยต่างๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้\n1. งานออกแบบ2. งานควบคุมงานก่อสร้าง\nหลังจากที่ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ได้จัดตั้งแล้วและรวมวิทยาลัยต่างๆเข้าด้วยกัน จึงได้ขยายพื้นที่ไปที่ อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอระแงะ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยมุ่งหวังให้แต่ละศูนย์เขตการศึกษาเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านเฉพาะตามที่วิทยาลัยเดิมจัดการศึกษาอยู่แล้ว มีคณะที่จัดตั้งได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะแพทยศาสตร์ โครงการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะศิลปศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ โดยพื้นที่คณะเกษตรศาสตร์ และวิทยาลัยการอาชีพตากใบนั้น มิได้จัดการบริหารแบบวิทยาเขตแต่อย่างใด",
"title": "มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "327304#1",
"text": "เป็นศูนย์กลางการศึกษา การวิจัย และการพัฒนาบุคลากรและนวัตกรรมด้านเกษตรศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และวิทยาการเพื่อชุมชนภาคใต้ และของประเทศสำนักงานวิทยาเขตเกษตรศาสตร์ ตั้งอยู่ เลขที่ 102 หมู่ 5 ตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส โดยมีพื้นที่ของวิทยาเขต จำนวน 1,808 ไร่ ในอดีตพื้นที่ของสำนักวิทยาเขต เป็นที่ตั้งของ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส และได้ดำเนินการจัดการศึกษาในระบบเปิดสอนนักศึกษา ระดับ ปวช.ม ปวส., ระดับ ปริญญาตรี และจัดการศึกษานอกระบบโดยจัดฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมแก่เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2548 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส ได้ถูกหลอมรวม กับอีก 3 วิทยาลัย คือ วิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส วิทยาลัยพยาบาล และวิทยาลัยการอาชีพตากใบ เป็น มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ปัจจุบัน สำนักงานวิทยาเขตเกษตรศาสตร์ เป็นหน่วยงานภายในในการประสานงานต่างๆ ภายใน คณะเกษตรศาสตร์และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส\nวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส ได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน",
"title": "สำนักงานวิทยาเขตเกษตรศาสตร์"
},
{
"docid": "50748#12",
"text": "เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรของประเทศที่มีอยู่แล้ว ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการประหยัดงบประมาณของรัฐ โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนด้านสิ่งก่อสร้างจำนวนมาก สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศ \nเพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะที่ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม นับถือศาสนาอิสลาม และประชาชนทั่วไป ได้มีโอกาสเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษามากขึ้น อันจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชากรู้ \nส่งเสริมการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการจัดการศึกษา ตามแนวทางที่กำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 รวมทั้งเป็นการพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากร ตลอดจนหน่วยงานในท้องถิ่น ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้น กับทั้งยังสามารถจัดการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนมากขึ้น \nช่วยเสริมสร้างเอกภาพและความมั่นคงของชาติ ด้วยการเชื่อมโยงการศึกษากับศาสนาเข้าสู่วิถีชีวิตของประชาชนมุสลิม ช่วยก่อให้เกิดความรัก ความผูกพัน และสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม วัฒนธรรม และประเทศชาติอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน ลดความขัดแย้งทางสังคม การเมือง และการก่อความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ \nเป็นการพัฒนาให้จังหวัดนราธิวาส เป็นศูนย์กลางทางการศึกษา \nวิจัยโดยเฉพาะด้านอิสลามศึกษาในภูมิภาค \nอันจะช่วยลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศของเยาวชนที่ต้องเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศ \nขณะเดียวกันยังจะสามารถดึงดูดนักศึกษาจากต่างชาติให้เข้ามาศึกษาในประเทศเพิ่มขึ้น \nนราธิวาสราชนครินทร์ คือ สร้อยพระนามทรงกรมที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยศักดิ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน เป็นพระองค์แรกในรัชกาล ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อเป็นเกียรติแก่จังหวัดนราธิวาส เสมือนเป็นเจ้าแห่งเมืองนราธิวาส ",
"title": "มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "343829#1",
"text": "โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 400 เตียง ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 180 ถนนระแงะมรรคา ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 71 ไร่ 90 ตารางวา เปิดให้บริการด้านสุขภาพอนามัยแก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดใกล้เคียง เมื่อปี พ.ศ. 2484 แรกเริ่มเป็นเพียงสุขศาลาเท่านั้น จวบจนปี พ.ศ. 2495 กระทรวงสาธารณสุขได้ยกฐานะขึ้นเป็นโรงพยาบาลชื่อว่า \"โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์\" โดยมีนายแพทย์สุรินทร์ พรหมพิทักษ์ เป็นผู้อำนวยการคนแรก ขณะนั้นมีเตียงผู้ป่วย 16 เตียง ต่อมาได้ดำเนินการพัฒนาเรื่อย ๆ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-4 จนมีขีดความสามารถตามมาตรฐานของโรงพยาบาลทั่วไป กระทรวงสาธารณสุข ",
"title": "โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "824091#0",
"text": "รักนิด ๆ คิดเท่าไหร่ เป็นละครโทรทัศน์แนวโรแมนติก-คอมเมดี้ บทประพันธ์ของ นุกูล บุญเอี่ยม, วัชระ ปานเอี่ยม บทโทรทัศน์โดย พิสุทธิ์ แพร่แสงเอี่ยม กำกับการแสดงโดย นุกูล บุญเอี่ยม ผลิตโดย บริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัดออกอากาศทุกวันเสาร์–อาทิตย์ เวลา 11.00–11.45 น. ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 นำแสดงโดย เคลลี่ ธนะพัฒน์, น้ำฝน โกมลฐิติ และนักแสดงชั้นนำอีกมากมาย",
"title": "รักนิด ๆ คิดเท่าไหร่"
},
{
"docid": "78352#3",
"text": "ดังนั้นเพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประชาชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ในการประชุมเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งได้มีมติให้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้น โดยมี อาจารย์ นพ.สมัย ขาววิจิตร เป็นรักษาการคณบดีคนแรก โดยมีเป้าหมายในการรับนักศึกษาโดยตรงจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี เพื่อการแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์อย่างรุนแรงในพื้นที่ และยังเป็นวัตกรรมทางการศึกษาที่กระจายโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมให้นักเรียนที่มีการเรียนสะสมดี มีโอกาสเข้าศึกษาและระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อระหว่างการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษาที่ดี และเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลด้านความมั่นคง โดยการใช้การศึกษาเป็นกลยุทธ์หลักการแก้วิกฤติการณ์ปัญหาความรุนแรงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันนำมาซึ่งความสมานฉันท์ ลดความขัดแย้ง รุนแรง และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขภายใต้ความหลากหลายทางวิถีชีวิตและวัฒนธรรม",
"title": "คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "155642#1",
"text": "โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์เป็นโรงพยาบาลศูนย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยสืบเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากเหตุการณ์ความไม่สงบ ทำให้แพทย์ลาออกมากขึ้น จึงเกิดการแก้ไขโดยโครงการผลิตแพทย์เพื่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยรับนักเรียนในพื้นที่จังหวัด ยะลา นราธิวาส และปัตตานี ที่มีความรู้และเจดคติที่ดีในการศึกษาด้านแพทยศาสตร์ โครงการผลิตแพทย์เพื่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นความร่วมมือในการร่วมผลิตแพทย์ระหว่างคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และกระทรวงสาธารณสุข ในปีพุทธศักราช 2547 กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทด้จัดตั้งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกจำนวน 3 แห่ง ในโรงพยาบาลยะลา โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ และโรงพยาบาลปัตตานี โดยรับนักศีกษาแพทย์รุ่นแรก ในปีการศึกษา 2548 จำนวน 30 คน โดยแบ่งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกละ 10 คน",
"title": "ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์"
},
{
"docid": "386369#89",
"text": "วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ธนน เวชกรกานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่มจังหวัดนราธิวาส ได้ประกาศให้พื้นที่ทั้งจังหวัดเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ อย่างไรก็ตาม ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ รายงานสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสว่า มีพื้นที่เดือดร้อน 63 ตำบล 221 หมู่บ้าน มีผู้ประสบภัย 48,583 คน รวม 13,473 ครัวเรือน เจ้าหน้าที่ได้อพยพชาวบ้าน 82 ครัวเรือน 388 คน นอกจากนี้ ในพื้นที่อำเภอจะแนะ มีผู้เสียชีวิตเนื่องจากมีโรคประจำตัวและยืนแช่น้ำเป็นเวลานานอีก 1 ราย[127]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "50748#27",
"text": "มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ อยู่ในจังหวัดนราธิวาส ตั้งอยู่บนพื้นที่ 2 แห่ง ได้แก่\nพื้นที่บริเวณอำเภอเมือง เป็นศูนย์กลางของมหาวิทยาลัย โดยแบ่งออกได้ 3 บริเวณ ได้แก่\nมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เลขที่ 49 ถ.ระแงะมรรคา ต.บางนาค อ.เมืองนราธิวาส จ.นราธิวาส 96000 โทรศัพท์ 0-7351-1174, 0-7351-1192 โทรสาร 0-7351-1905 อีเมล: [email protected]",
"title": "มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์"
}
] |
2770 | ชุมชนที่มีความประสงค์จะขอรับการจัดสรรงบประมาณตามโครงการชุมชนพอเพียง ต้องเป็นชุมชนที่จัดตั้งขึ้นเมื่อใด? | [
{
"docid": "240435#5",
"text": "ชุมชนที่มีความประสงค์จะขอรับการจัดสรรงบประมาณตามโครงการชุมชนพอเพียง ต้องเป็นชุมชนที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2552 ตามประกาศ ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ประกาศของกรุงเทพมหานคร และประกาศของเทศบาล ต้องมีความรู้ความเข้าใจในแนวทางของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้เพื่อปฏิบัติได้ โครงการชุมชนพอเพียงมีการจัดฝึกอบรมให้กับตัวแทนชุมชน ณ ศูนย์ฝึกอบรม 100 แห่งทั่วประเทศ ระยะเวลา 3 วัน โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อให้ตัวแทนชุมชนที่เข้ามารับการฝึกอบรมสามารถเขียนโครงการขออนุมัติงบประมาณกับรัฐบาลได้ทันที และเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการดำเนินโครงการภายใต้กรอบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน โดยหัวข้อในการฝึกอบรมจะมีตั้งแต่การเขียนโครงการให้ประสบความสำเร็จ การวิเคราะห์ชุมชนของตนจากการทำบัญชีชุมชน ขั้นตอนการบริหารจัดการโครงการที่ยั่งยืน เป็นต้น",
"title": "โครงการชุมชนพอเพียง"
}
] | [
{
"docid": "174948#4",
"text": "ดำเนินการจัดตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้ชีวิตสดใส” ขึ้นในชุมชนเพื่อเสริมสร้างสังคมให้เกิดความปรองดอง ความเป็นปึกแผ่นของประชาชนในท้องถิ่นและการยอมรับในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตท้องถิ่น โดยอัญเชิญกระแสพระราชดำรัส “รู้รักสามัคคี” มาเป็นแนวทางควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการใช้ชีวิตร่วมกันตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยในระยะเริ่มต้นโครงการได้ใช้สถานที่ซึ่งมีความพร้อมและทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมในการกระจายความช่วยเหลือไปยังหมู่บ้าน วัด มัสยิด และโรงเรียน",
"title": "มูลนิธิชีวิตสดใส"
},
{
"docid": "52028#11",
"text": "สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการอุดมศึกษาและจัดทำข้อเสนอนโยบายและมาตรฐานการอุดมศึกษา จัดทำแผนพัฒนาการอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติและพันธสัญญาที่เป็นไปตามข้อเสนอตกลงระหว่างประเทศ พร้อมทั้งวิเคราะห์ หลักเกณฑ์ และแนวทางการสนับสนุนทรัพยากร จัดตั้ง จัดสรรงบประมาณอุดหนุนสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัยชุมชนตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กำหนด ตลอดจนเสนอแนะการจัดตั้ง ยุบ รวม ปรับปรุงและยกเลิกสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัยชุมชน\nนอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษายังมีหน้าที่ประสานและส่งเสริมการดำเนินงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสักยภาพนักศึกษา รวมทั้งผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ในระบบอุดมศึกษา และการประสาน ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างองคืความรู้ใหม่ และเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศ รวมทั้งพัฒนาระบบและดำเนินการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการอุดมศึกษา และการรวบรวมข้อมูล จัดทำสารสนทเศด้านการอุดมศึกษา และดำเนินงานฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการการอุดมศึกษาและคณะกรรมการข้าราชการผลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย",
"title": "สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ประเทศไทย)"
},
{
"docid": "240435#16",
"text": "ทุกคนมีสิทธิ์เสนอปัญหาและความต้องการ (คณะทำงานห้ามเสนอ) และต้องมีการบันทึกอย่างโปร่งใส เปิดเผย โดยมีผู้สนับสนุนปัญหาและความต้องการอย่างน้อย 10 คน ให้ทุกคนยกมือได้ลงคะแนนเพื่อคัดเลือกโครงการได้ทุกโครงการ แล้วรวมคะแนน เพื่อจัดเรียงลำดับก่อนหลัง และให้ระบุระยะเวลาและงบประมาณของโครงการ (หากเงินไม่พอทำโครงการสามารถกู้จาก ธ.ออมสิน หรือ ธกส. หรือขอจาก อบต. หรืออบจ. หรือสำนักงานเขต หรือเทศบาล ได้) โครงการที่จัดลำดับเรียบร้อยแล้วพร้อมวงเงินต้องปิดประกาศให้ประชาชนทราบ นำรายชื่อผู้เข้าประชุม รายงานการประชุม และโครงการ ให้นายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขตหรือนายกเทศมนตรีรับรอง (ศพช. 01,02,03) เพื่อนำส่งสำนักงาน จังหวัดและกรมการปกครองดำเนินการต่อไป เมื่อโครงการอนุมัติแล้วให้ชุมชนไป ธ.ออมสินหรือธกส. เพื่อเปิดบัญชีเงินฝากธนาคาร โดยจะได้รับเงินตามขนาดของชุมชน",
"title": "โครงการชุมชนพอเพียง"
},
{
"docid": "240435#18",
"text": "ให้คณะผู้รับผิดชอบในการดำเนินโครงการ ทำหน้าที่กำหนดขั้นตอนการทำงาน ระยะเวลา รายการวัสดุอุปกรณ์และงบประมาณ",
"title": "โครงการชุมชนพอเพียง"
},
{
"docid": "322865#1",
"text": "คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี เพื่อเปิดการเรียนการสอนด้านการแพทย์-สาธารณสุข แต่ประสบปัญหาด้านงบประมาณ จึงทำให้โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรีประสบปัญหาการจัดตั้งคณะเพื่อทำการเรียนการสอนเปิดสอนได้เพียง หลักสูตรต่อเนื่อง สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต 2 ปี ภายหลังได้ถูกทักท้วงจากสำนักงานคณะกรรมการอุมศึกษา (สกอ.)ว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่และมีชื่อเสียงไม่ควรเปิดหลักสูตรต่อเนื่อง ทางโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรีจึงได้หยุดรับนิสิตในหลักสูตรนี้ตั่งแต่หลัง รุ่น 9 และทางวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนครได้เสนอเปิดการเรียนการสอน หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต 4 ปี พร้อมทั้งเสนอจัดตั้งเป็นคณะสาธารณสุขศาสตร์เมื่อมีความพร้อม สำหรับหลักสูตร ณ วิทยาเขตสุพรรณบุรีนั้น จะปรับมาใช้เป็นการรับเทียบโอนผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านการสาธารณสุข (อนุปริญญา)เพื่อเรียนในชั้นปีที่ 3-4 (2 ปี) แทนหลักสูตรต่อเนื่อง สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต 2 ปี โดยใช้หลักสูตรเดียวกับวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร โครงการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ ดำเนินการภายใต้คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มีสถานะเป็นภาควิชา เปิดสอนในสอง แขนงวิชา แขนงวิชาอนามัยชุมชน แขนงวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม",
"title": "คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"
},
{
"docid": "240435#0",
"text": "โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน เป็นโครงการของรัฐบาลที่ต้องการสร้างเศรษฐกิจระดับชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง[1] โดยรัฐบาลมุ่งจัดสรรงบประมาณโดยตรงไปยังชุมชนทั่วประเทศ ให้ทุกชุมชนมีโอกาสในการได้รับความช่วยเหลือจากงบประมาณของภาครัฐอย่างรวดเร็ว กำหนดเป้าหมายการใช้เงินไว้ 4 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาอาชีพสำหรับผู้ด้อยโอกาส การพัฒนาการเกษตร การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการอนุรักษ์พลังงาน โดยมุ่งให้ทุกภาคส่วนในชุมชนร่วมกันบริหารจัดการและพัฒนาศักยภาพของตนเองที่มีอยู่อย่างมีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ การลดต้นทุนและปัจจัยการผลิต พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชนให้มีมูลค่าเพิ่ม และสร้างโอกาสในการพัฒนาหรือเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชน",
"title": "โครงการชุมชนพอเพียง"
},
{
"docid": "7892#17",
"text": "ในสังคมระดับกลุ่ม อย่างเช่น บุชแมน ซึ่งแต่ละกลุ่มมักประกอบด้วย 20-50 คน ไม่ค่อยมีหัวหน้าเท่าใดนักและการตัดสินใจต่าง ๆ อาศัยความเห็นชอบจากคนส่วนใหญ่มากกว่า ในเมลานีเซีย เดิมชุมชนหมู่บ้านกสิกรรมมีความเท่าเทียมกัน และมีการปกครองแบบเอกาธิปไตยที่แข็งแรงจำนวนน้อย แม้อาจมีคนใดคนหนึ่งมีอิทธิพลเหนือกว่าผู้อื่นซึ่งอิทธิพลดังกล่าวมีผลต่อการแสดงทักษะความเป็นผู้นำอย่างต่อเนื่อง และความประสงค์ของชุมชน ทุกคนถูกคาดหวังให้แบ่งปันหน้าที่ในชุมชน และให้สิทธิร่วมการตัดสินใจของชุมชน อย่างไรก็ตาม แรงกดดันอย่างหนักของสังคมกระตุ้นให้เกิดความลงรอยกันและลดการตัดสินใจเพียงลำพัง[31]",
"title": "ประชาธิปไตย"
},
{
"docid": "240435#10",
"text": "การจัดสรรงบประมาณตามโครงการชุมชนพอเพียงจะจัดสรรโดยยึดขนาดจำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร์ของชุมชน เป็น 7 ขนาด ดังนี้",
"title": "โครงการชุมชนพอเพียง"
},
{
"docid": "240435#4",
"text": "เพื่อจัดสรรงบประมาณโดยตรงไปยังชุมชนทั่วประเทศ เพื่อให้ทุกชุมชนได้รับโอกาสในการเข้าถึงแหล่งงบประมาณของภาครัฐอย่างรวดเร็ว และครอบคลุมทั่วถึง เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนในชุมชนร่วมกันบริหารจัดการและพัฒนาศักยภาพของตนเองที่มีอยู่ให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างงาน สร้างรายได้ ลดต้นทุนและปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เพื่อพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชนให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น และสร้างโอกาสในการพัฒนาหรือเพิ่มขีดความสามารถในการเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานรากให้กับชุมชน",
"title": "โครงการชุมชนพอเพียง"
},
{
"docid": "240435#21",
"text": "นายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขตหรือนายกเทศมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจติดตามประเมินผลระดับอำเภอหรือสำนักงานเขตหรือเทศบาล ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนอำเภอหรือสำนักงานเขตหรือเทศบาล ผู้แทนธนาคารผู้แทนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนภาคเอกชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้านหรือประธานชุมชน และบุคคลที่นายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขตหรือนายกเทศมนตรีเห็นสมควร ทำหน้าที่ตรวจติดตามประเมินผลโครงการของชุมชน ว่าได้รับประโยชน์ด้านใด มีข้อจำกัด ปัญหา อุปสรรค รวมทั้งข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเสร็จแล้ว รายงานให้นายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขตหรือนายกเทศมนตรีทราบ และรายงานต่อสำนักงานเพื่อรวบรวมผลที่ได้ไปสู่การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานในอนาคต ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันทำการ นับแต่วันครบกำหนด กรณีมีผู้ร้องเรียนและ/หรือตรวจสอบพบว่า ชุมชนมีการบริหารจัดการไม่โปร่งใส โดยดำเนินโครงการขัดต่อแนวทางการดำเนินงานตามโครงการชุมชนพอเพียง หรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือกระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนในชุมชน หากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีมูลเพียงพอ จะแจ้งหนังสือไปยังธนาคารเพื่อระงับการเบิกจ่ายเงินงบประมาณในบัญชีเงินฝากธนาคารของชุมชนไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเสร็จ หากผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าเป็นการกระทำผิดทางอาญาจะดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดต่อไป",
"title": "โครงการชุมชนพอเพียง"
},
{
"docid": "240435#2",
"text": "หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ผ่านการพิสูจน์มานานและสร้างผลสำเร็จอย่างมากมาย โดยมีผู้น้อมนำมาทดลองปฏิบัติจนประสบความสำเร็จและเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าไม่ใช่เพียงการสร้างความพออยู่พอกินเท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างรายได้ให้มีความมั่นคงในอาชีพได้อีกด้วย ซึ่งแนวคิดในการแก้ปัญหาความยากจนของรัฐบาลคือ ปัญญา บวก เงินเมื่อชาวบ้านมีปัญญา รัฐก็จะมอบเงินให้มาช่วยแก้ปัญหาแบบยั่งยืน แนวทางให้ยึดหลักพึ่งตนเอง ลดการพึ่งพาจากภายนอก ซึ่งเศรษฐกิจพอเพียงในขั้นต้นคือ การพออยู่ พอกิน พอใช้ เมื่อชุมชนพึ่งตนเองได้แล้ว ก็หมายถึงว่าได้พ้นจากความยากจนแล้ว จากนั้นก็จะสามารถก้าวต่อไปในระดับที่ก้าวหน้าได้ โดยนำผลผลิตที่เหลือใช้มาแปรรูปให้เกิดเป็นการต่อยอด สร้างร้ายได้เพิ่มเติม ชุมชนอาจรวมกลุ่มมาดำเนินการ เป็นธุรกิจโอท็อป หรือวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี ได้",
"title": "โครงการชุมชนพอเพียง"
},
{
"docid": "237733#13",
"text": "พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา มีลักษณะเป็นอาคารโถงสองชั้น หลังคาทรงไทย ภายในอาคารจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ไว้ตามมุมต่าง ๆ และที่ตู้จัดแสดง กว่า 20 ตู้ จำแนกเป็นกลุ่มได้ 13 กลุ่ม คือ\nปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา ดำเนินการในรูปแบบคณะกรรมการ ซึ่งมาจากผู้บริจาคโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ให้กับทางพิพิธภัณฑ์นับร้อยคน เพื่อเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม และการสานเสวนาเพื่อการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ โดยมาจากการแต่งตั้งของเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา ตามคำสั่งเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา ที่ 2/2555 เรื่อง จัดตั้งพิพิธภัณฑ์วัดคุ้งตะเภา ภายใต้คำขวัญ \"\"พิพิธภัณฑ์ของชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชน\"\" และวัตถุประสงค์การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา ทั้ง 4 ข้อ ดังนี้ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา ดำเนินการโดยใช้งบประมาณทั้งหมดจากศรัทธาของพระสงฆ์และประชาชนในชุมชน",
"title": "พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา"
},
{
"docid": "354136#13",
"text": "โครงการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และให้ประชาชนหรือชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำโดยน้อมนำแนวพระราชดำริไปปรับใช้ในการจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชน รวมถึงการขยายผลจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริเพิ่มเติมอีก จำนวน 840 แห่ง โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย โดยส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงใน 3 มิติ คือ ด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ดำเนินการระดับหมู่บ้านใน 75 จังหวัด ทุกอำเภอ ๆ ละ 2 หมู่บ้าน รวม 1,756 หมู่บ้าน โครงการ 84 ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอต้นแบบ และจัดกิจกรรม \"9 กิจกรรม ตามรอยพ่อหลวง ผู้ครองใจราษฎร์\" ดำเนินการทั่วประเทศ[13]",
"title": "พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554"
},
{
"docid": "44102#7",
"text": "นาย กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ กล่าวเสริมอีกว่า \"การจัดทำโครงการนี้ต้องการให้ชาวบ้านได้พัฒนาภูมิปัญญาให้มีความคิดสร้างสรรค์สู่กระแสโลก และการจำหน่ายจะมีการทำการตลาดสมัยใหม่ผสมผสาน โดยจะให้มีการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างตำบลภายใต้เครือข่ายสหกรณ์ และให้จัดร้านค้าชุมชนริมถนนเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ พร้อมจัดตั้งศูนย์ข้อมูลชุมชน จัดศูนย์ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมในตำบล ตลอดจนเปิดร้านอาหารท้องถิ่นสำหรับแม่บ้าน และทำการตลาดเพื่อเชื่อมชุมชนชนบทและชุมชนเมือง\"",
"title": "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์"
},
{
"docid": "68402#12",
"text": "เดิมนั้นคือสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชน เป็นสถานพยาบาลประจำตำบลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) โดยเกือบทั้งหมดจะไม่รับผู้ป่วยใน และไม่มีแพทย์ทำงานอยู่เป็นประจำ แต่จะอาศัยความร่วมมือกับแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน ในปี พ.ศ. 2552 รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีนโยบายที่จะพัฒนาสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชนให้มีศักยภาพมากขึ้น จึงจัดสรรงบประมาณในโครงการไทยเข้มแข็ง พ.ศ. 2555 เพื่อยกระดับสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชนให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นโรงพยาบาลในสังกัดของสภากาชาดไทย คือโรงพยาบาลที่ขึ้นตรงกับสภากาชาดไทย (โดยไม่ได้จัดเป็นหน่วยงานรัฐบาล)) เป็นสภากาชาดประจำประเทศไทย มีภารกิจปกป้องชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เดิมเรียก \"สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม\" มีอยู่ทั้งหมด 2 แห่ง",
"title": "โรงพยาบาลในประเทศไทย"
},
{
"docid": "240435#8",
"text": "ทั้งนี้ ชุมชนสามารถลงทุนร่วมดำเนินโครงการกับชุมชนใกล้เคียง หรือองค์การภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ หรือนอกพื้นที่ได้ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง",
"title": "โครงการชุมชนพอเพียง"
},
{
"docid": "240435#22",
"text": "การขับเคลื่อนโครงการให้เดินไปข้างหน้า ภาคชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ภาควิชาการ สถาบันการศึกษา นักวิชาการอิสระ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม และภาครัฐบาล ได้รวมพลังเป็น เบญจภาคี ช่วยกันสร้างความเข้าใจ และเป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมชน โดยในวันเปิดโครงการเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2552 ปรากฏรายชื่อกลุ่มที่มาเข้าร่วม ภาควิชาการ ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ (โพธิวิชาลัย) ภาคประชาสังคม ได้แก่ นายมีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง และเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านกว่า 100 เครือข่าย ภาคเอกชนได้แก่ บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) จึงเชื่อว่าโครงการนี้จะประสบผลสำเร็จที่ดีอย่างแน่นอน",
"title": "โครงการชุมชนพอเพียง"
},
{
"docid": "240435#17",
"text": "ให้คณะผู้รับผิดชอบในการเบิกจ่ายเงินและการจัดทำบัญชี ทำหน้าที่เปิดบัญชีเงินฝาก เบิกจ่าย นำฝากเงิน จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของชุมชนและโครงการ โดยเหรัญญิกเป็นผู้เก็บรักษาสมุดคู่ฝากบัญชี เงินสด และใบเสร็จรับเงิน การเปิดบัญชีเงินฝาก ให้ผู้รับผิดชอบฯ 3 คน นำเอกสาร ศพช. 02,22 ไปธนาคารเพื่อเปิดบัญชีฯ การเบิกจ่ายเงินจากธนาคาร สามารถเบิกเงินก่อนดำเนินโครงการโดยนำเอกสาร ศพช. 02, 04,05,06 พร้อมหนังสือสัญญามาเบิกเงิน หรือเมื่อดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้วให้นำเอกสาร ศพช. 02,04,05,06) พร้อมหลักฐานการใช้จ่ายเงินมาเบิกเงิน ทั้งนี้ ให้ประธาน เหรัญญิก และตัวแทนประชาชน อย่างน้อย 2 ใน 3 คน เป็นผู้ลงนามตรวจรับและลงนามกำกับหลักฐานการเบิกจ่ายเงินทุกฉบับ สำหรับเงินงบประมาณที่ชุมชนได้รับการจัดสรรและดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในบัญชีเงินฝากธนาคารของชุมชนตามโครงการชุมชนพอเพียง รายได้ที่เป็นส่วนเพิ่มจากการนำเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรตามหลักเกณฑ์ไปลงทุน ลิขสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ และ/หรือทรัพย์สินสืบเนื่องที่เกิดจากการนำเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรตามโครงการชุมชนพอเพียงไปดำเนินการ ให้ขึ้นทะเบียนเป็นกรรมสิทธิ์ของชุมชนเพื่อนำไปบริหารจัดการเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม",
"title": "โครงการชุมชนพอเพียง"
},
{
"docid": "362890#8",
"text": "รัฐบาลอภิสิทธิ์เข้ามาบริหารประเทศภายใต้ข้อกล่าวหาที่ว่า โครงการชุมชนพอเพียงมูลค่า 26 พันล้านบาทเป็นโครงการที่ปนเปื้อนไปด้วยการทุจริต โครงการนี้เป็นนโยบายประชานิยมต่อต้านโครงการยุคทักษิณที่ทำในชนบทของเมืองไทย อภิสิทธิ์ชี้แจงข้อกล่าวหาว่า “สิ่งที่กล่าวหาว่าบกพร่องต่อหน้าที่นั้นอาจเริ่มมาจากโครงการอุตสาหกรรมขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ (SML)... โครงการเอสเอ็มแอลนี้กำเนิดมาจากรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร” กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน และน้องชายของเขา ประพจน์ สภาวสุ เป็นรองผู้อำนวยการ เรื่องอื้อฉาวนี้ขยายออกไปเป็นวงกว้าง เป็นสาเหตุให้กอร์ปศักดิ์ลาออกจากตำแหน่ง แต่ยังคงเป็นรองนายกรัฐมนตรีอยู่ พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้งคณะกรรมการสอบสวนเรื่องนี้ขึ้นมา คณะกรรมการพบว่าทั้งกอร์ปศักดิ์และน้องชายของเขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทุจริต ต่อมากอร์ปศักดิ์ถูกเลื่อนตำแหน่งเป็นเลขาของอภิสิทธิ์",
"title": "การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"
},
{
"docid": "240435#11",
"text": "ชุมชนขนาดที่ 1 ชุมชนที่มีชื่อชาวบ้านตามทะเบียนบ้าน 1-50 คน ได้เงิน 100,000 บาท ชุมชนขนาดที่ 2 ชุมชนที่มีชื่อชาวบ้านตามทะเบียนบ้าน 51-150 คน ได้เงิน 200,000 บาท ชุมชนขนาดที่ 3 ชุมชนที่มีชื่อชาวบ้านตามทะเบียนบ้าน 151-250 คน ได้เงิน 300,000 บาท ชุมชนขนาดที่ 4 ชุมชนที่มีชื่อชาวบ้านตามทะเบียนบ้าน 251-500 คน ได้เงิน 400,000 บาท ชุมชนขนาดที่ 5 ชุมชนที่มีชื่อชาวบ้านตามทะเบียนบ้าน 501-1,000 คน ได้เงิน 500,000 บาท ชุมชนขนาดที่ 6 ชุมชนที่มีชื่อชาวบ้านตามทะเบียนบ้าน 1,001-1,500 คน ได้เงิน 600,000 บาท ชุมชนขนาดที่ 7 ชุมชนที่มีชื่อชาวบ้านตามทะเบียนบ้าน 1,500 คน ขึ้นไป ได้เงิน 700,000 บาท",
"title": "โครงการชุมชนพอเพียง"
},
{
"docid": "240435#9",
"text": "ชื่อชุมชน รายชื่อคณะผู้รับผิดชอบในการดำเนินโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการ วงเงินงบประมาณในการดำเนินโครงการ วิธีการและขั้นตอนการดำเนินการตามโครงการ ระยะเวลาในการดำเนินการตามโครงการ ผลที่คาดว่าจะได้รับ",
"title": "โครงการชุมชนพอเพียง"
},
{
"docid": "299136#2",
"text": "ชุมชนปาดังเบซาร์ เป็นชุมชนชายแดนไทย – มาเลเซีย มีการติดต่อซื้อขายระหว่างกันมาเป็นเวลานานแล้ว และเป็นชุมชนที่มีความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีผู้เข้ามาทำการค้า รวมทั้ง มาตั้งหลักแหล่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในระยะหนึ่งได้มีความเจริญ พอสมควรจึงได้ขอจัดตั้งเป็นสุขาภิบาล ซึ่งกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศยกฐานะชุมชนปาดังเบซาร์เป็นสุขาภิบาล ตามประกาศ ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2510 ในท้องที่บางส่วนของตำบลทุ่งหมอ ครอบคลุม พื้นที่ หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 โดยอาศัยความตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 ให้ชื่อว่า “ สุขาภิบาลปาดังเบซาร์” ในปี พ.ศ. 2511 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศมอบหมายให้สุขาภิบาลปาดังเบซาร์ จัดหาประโยชน์ในที่ดินของรัฐ ในท้องที่ หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 ตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เพื่อนำรายได้มาบำรุงท้องถิ่น ต่อมาราษฎรเข้ามาตั้งหลักแหล่งมากขึ้น ทำให้เกิด ความหนาแน่นของชุมชนจึงมีการแบ่งแยกพื้นที่ของตำบลทุ่งหมอบางส่วนเป็นตำบลปาดังเบซาร์",
"title": "เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์"
},
{
"docid": "240435#6",
"text": "โครงการที่เสนอขออนุมัติต้องมีความยั่งยืนของการดำเนินโครงการ โดยมีผลต่อเนื่องไม่สิ้นสุดในครั้งเดียว และเข้าหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้",
"title": "โครงการชุมชนพอเพียง"
},
{
"docid": "174593#2",
"text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 สภามหาวิทยาลัยได้แนะนำให้เปลี่ยนชื่อเป็น “โครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน” และให้จัดการเรียนการสอนบนปรัชญาที่ว่า “ยึดคนเป็นศูนย์กลาง สาขาวิชาต้องรับใช้คนและสังคม สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการระดับสากล บนพื้นฐานของสังคมไทย” โดยในการจัดทำหลักสูตรต่างๆ ให้มีรายวิชาที่ประกอบด้วยความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ เพื่อให้บัณฑิตเป็นผู้ที่มีความรอบรู้และรู้กว้าง และให้มีความรู้ ความชำนาญ และมีทักษะทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่ศึกษา รวมทั้งส่งเสริมความรู้ด้านการพัฒนา เพื่อให้คนมีจิตวิญญาณของการนำความรู้ต่างๆ ไปพัฒนา และการประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 4/2546 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2546 มีมติให้เปลี่ยนจาก โครงการจัดตั้งฯ เป็น “คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน” และกำหนดแผนการเปิดหลักสูตรในระดับปริญญาตรีใน 2 กลุ่มสาขา คือ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร ซึ่งปีการศึกษา 2545 และปีการศึกษา 2546 คณะฯได้เปิดสอนระดับปริญญาตรี จำนวน 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ ปีการศึกษา 2547 - ปัจจุบัน",
"title": "คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ"
},
{
"docid": "240435#20",
"text": "เมื่อชุมชนได้ดำเนินโครงการครบรอบ 6 เดือน หรือ 1 ปี นับถัดจากวันทีที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ หรือตามที่สำนักงานร้องขอ คณะกรรมการชุมชนจะต้องจัดทำสรุปผลการดำเนินโครงการ เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และติดประกาศให้ประชาชนในชุมชนรับทราบโดยทั่วกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน และแจ้งให้นายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขตหรือนายกเทศมนตรีรับทราบภายใน 5 วันทำการ นับแต่วันติดประกาศ",
"title": "โครงการชุมชนพอเพียง"
},
{
"docid": "127466#6",
"text": "โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นสถานพยาบาลประจำตำบลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) ได้รับการยกฐานะจากสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชน ตามนโยบาลของรัฐบาลรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อปี พ.ศ. 2552 ซึ่งได้จัดสรรงบประมาณภายใต้ แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 เพื่อยกระดับสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชนให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีการให้บริการสาธารณสุขที่หลากหลาย อาทิ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเกือบทั้งหมดจะไม่รับผู้ป่วยใน และไม่มีแพทย์ทำงานอยู่เป็นประจำ แต่จะอาศัยความร่วมมือกับแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนที่ขนาดใหญ่พอจะเป็นหน่วยส่งต่อได้",
"title": "สถานีอนามัย"
},
{
"docid": "240435#3",
"text": "รัฐบาลภายใต้การบริหารงานของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินนโยบายตามที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ให้มีการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียงขึ้น เพื่อจัดสรรงบประมาณโดยตรงไปยังหมู่บ้านและชุมชนทั่วประเทศเพิ่มเติมจากวงเงินงบประมาณที่เคยได้จัดสรรเดิม ทั้งนี้ไม่ได้เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัติเงินคงคลังพ.ศ. 2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แต่ดำเนินการในรูปแบบของ“โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน” ซึ่งคณะรัฐมนตรี ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2552 ลงมติเห็นชอบให้มีการจัดตั้งโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน (ศพช.) หรือ โครงการชุมชนพอเพียง และให้มีสำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน (สพช.) หรือ สำนักงานชุมชนพอเพียง เป็นหน่วยงานภายในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 18/2552 ลงวันที่ 20 มกราคม 2552 ทำหน้าที่บริหารจัดการโครงการ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เป็นประธานกรรมการ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายกนก วงษ์ตระหง่านและนายมีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน เป็นรองประธานกรรมการ พร้อมกรรมการอีก 21 คน มี ดร.สุมิท แช่มประสิทธิ์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานฯ ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีการคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน โดยได้แต่งตั้งให้ นายมีชัย วีระไวทยะ เป็นประธานกรรมการบริหารโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งแต่งตั้ง นายกำพล แกล้วทนงค์ เป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน",
"title": "โครงการชุมชนพอเพียง"
},
{
"docid": "240435#12",
"text": "ทั้งนี้ สำหรับชุมชนที่ไม่ได้รับเงินโครงการ SML ปี 2551 จะได้เงินตามขนาด ส่วนชุมชนที่ได้รับเงินโครงการ SML ปี 2551 แล้ว จะได้เงินครึ่งหนึ่งของขนาด",
"title": "โครงการชุมชนพอเพียง"
},
{
"docid": "240435#19",
"text": "ให้คณะผู้รับผิดชอบในการจัดซื้อจัดจ้าง ทำหน้าที่จัดซื้อจัดจ้าง โดยไม่ต้องอิงระเบียบของทางราชการ เพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่คุณภาพดี ราคาเหมาะสม ตามความต้องการของคณะผู้รับผิดชอบในการดำเนินโครงการ ทั้งนี้สามารถจัดทำได้หลายวิธี เช่น การสืบ-เสนอราคา การตกลงราคา การประมูลราคา เมื่อชุมชนได้ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ ให้ขึ้นทะเบียนทรัพย์สินเป็นบัญชีของชุมชนตามคู่มือการบริหารจัดการโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชนที่กำหนดไว้ และแจ้งให้อำเภอหรือสำนักงานเขตหรือเทศบาลทราบ เพื่อออกหนังสือรับรองสิทธิ์ต่อไป",
"title": "โครงการชุมชนพอเพียง"
}
] |
992 | หม่า ฮั่วเถิง เป็นนักธุรกิจสัญชาติใด ? | [
{
"docid": "978918#0",
"text": "หม่า ฮั่วเถิง (Chinese:马化腾; พินอิน: Mǎ Huàténg; 29 ตุลาคม ค.ศ. 1971 – ) ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม โพนี หม่า (English: Pony Ma)[2] เป็นทั้งนักธุรกิจระดับพ่อค้าใหญ่, นักลงทุน, นักการกุศล, วิศวกร, ผู้ประกอบการด้านอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีชาวจีน เขาเป็นทั้งผู้ก่อตั้ง, ประธาน และกรรมการผู้จัดการเทนเซ็นต์ ซึ่งเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดในเอเชีย หนึ่งในบริษัทด้านอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุด รวมถึงกลุ่มการลงทุน, การเล่นเกม และความบันเทิงที่ใหญ่ที่สุดในโลก[3][4][5] บริษัทควบคุมบริการส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีบนมือถือที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน และบริษัทย่อยให้บริการสื่อ, การบันเทิง, ระบบการชำระเงิน, สมาร์ตโฟน, บริการที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต, บริการคุณค่าเพิ่ม และบริการการโฆษณาออนไลน์ ทั้งในประเทศจีนและทั่วโลก",
"title": "หม่า ฮั่วเถิง"
}
] | [
{
"docid": "978918#10",
"text": "หลังจากคดีเอโอแอล หม่า ฮั่วเถิง ตัดสินใจขยายผลงานทางธุรกิจของเทนเซ็นต์ ในปี ค.ศ. 2003 เทนเซ็นต์ได้เปิดตัวพอร์ทัลของตัวเอง (QQ.com) และทำการบุกในตลาดเกมออนไลน์ ภายในปี ค.ศ. 2004 เทนเซ็นต์กลายเป็นผู้บริการส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีของจีนที่ใหญ่ที่สุด (ครอบครอง 74 เปอร์เซ็นต์ของตลาด)[28] กระตุ้นให้หม่าเข้าจดทะเบียนบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง[25] หลังจากที่บริษัทได้ระดมทุน 200 ล้านดอลลาร์ในการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน หม่ากลายเป็นหนึ่งในคนที่ร่ำรวยที่สุดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของจีนได้อย่างรวดเร็ว",
"title": "หม่า ฮั่วเถิง"
},
{
"docid": "978918#2",
"text": "หม่า ฮั่วเถิง เป็นหนึ่งใน \"ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกของนิตยสารฟอร์จูน\"[10] เขาเป็นที่รู้จักกันในรูปแบบผู้ประกอบการที่โลว์โปรไฟล์เมื่อเทียบกับบุคลิกที่เข้าสังคมได้ง่ายของแจ็ก หม่า ทั้งนี้ หม่า ฮั่วเถิง ได้รับการเปรียบเทียบอย่างละเอียดกับวอร์เรน บัฟเฟตต์ เนื่องจากความคล้ายคลึงกันในการลงทุน และมักได้รับการพรรณาในฐานะ \"ผู้เข้าซื้อกิจการที่มีความห้าวหาญ\"[11][12][13][14][15][16][17]",
"title": "หม่า ฮั่วเถิง"
},
{
"docid": "978918#17",
"text": "เนื่องจากการครอบงำของเทนเซ็นต์ในโซเชียลเน็ตเวิร์กและตลาดส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีในประเทศจีน ความสัมพันธ์ระหว่างหม่า ฮั่วเถิง กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนจึงได้รับการตรวจสอบซ้ำหลายครั้ง พูดถึงการเซ็นเซอร์ในการประชุมเทคโนโลยีในประเทศสิงคโปร์ หม่าได้รับการกล่าวถึงคำคมที่ว่า \"ผู้คนจำนวนมากคิดว่าพวกเขาสามารถพูดออกมา และพวกเขาสามารถที่จะไม่รับผิดชอบ ผมคิดว่านั่นผิด […] เราเป็นผู้สนับสนุนที่ดีของรัฐบาลในแง่ของการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เราพยายามที่จะมีการจัดการและการควบคุมอินเทอร์เน็ตให้ดีขึ้น\"[34]",
"title": "หม่า ฮั่วเถิง"
},
{
"docid": "978918#16",
"text": "ตามเว็บไซต์เทนเซ็นต์อย่างเป็นทางการ หม่าเป็นการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ประชาชนเซินเจิ้นครั้งที่ 5 และการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติจีนครั้งที่ 12 [5]",
"title": "หม่า ฮั่วเถิง"
},
{
"docid": "978918#3",
"text": "ตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2018 เขาได้เป็นคนที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศจีน และร่ำรวยที่สุดอันดับ 14 ของโลก ด้วยมูลค่าสุทธิ 51.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017 เขาแซงหน้าทั้งแลร์รี เพจ และเซอร์เกย์ บริน ซึ่งกลายเป็นคนร่ำรวยที่สุดอันดับเก้าของโลก และเป็นชาวจีนคนแรกที่เข้ามาในรายการผู้ชายที่ร่ำรวยที่สุด 10 อันดับของนิตยสารฟอร์บ[18][19][20][21]",
"title": "หม่า ฮั่วเถิง"
},
{
"docid": "498981#0",
"text": "เทนเซ็นต์ (English: Tencent) ชื่อมาจากวลีภาษาจีน十分 (พินอิน: Shifen) ได้ก่อตั้งบริษัทขึ้นเมื่อปี 2541 ขึ้นด้วยเงินทุน 500,000 หยวน ในช่วงแรกบริษัท เทนเซ็นต์ (English: Tencent) ให้บริการด้าน System Integration หรือบริการวางระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสำหรับองค์กรเป็นหลัก[1] และเปิดตัวโปรแกรมคิวคิว ครั้งแรกเมื่อเดือน ก.พ. 2542 พร้อมกับการเปิดตัวเว็บไซต์ คิวคิว (www.qq.com) หลังการเปิดให้บริการ คิวคิว ประสบความสำเร็จอย่างงดงามในตลาดจีนและกลายเป็นโปรแกรมไอเอ็ม ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในจีน ด้วยตัวเลขสมาชิกสูงถึง 448 ล้านคน (สถิติถึงครึ่งปีแรกของปี 2552) ส่งผลให้นายหม่า ฮั่วเถิง (Ma Huateng) ผู้ก่อตั้งบริษัท Tencent กลายเป็นคนดังในสังคมจีนอย่างรวดเร็ว หนุ่มจีนวัย 38 ปีในปัจจุบัน ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารไทม์ ให้เป็น 1 ใน 100 บุคคลที่มีอิทธิพลต่อโลกเมื่อปี 2551 ซึ่งใน 100 บุคคลนี้มีชาวจีนแผ่นดินใหญ่ติดอันดับเพียง 5 คนเท่านั้น วันที่ 16 มิถุนายน 2004, เท็นเซ็นต์ โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด จำกัด (มหาชน) (SEHK 700[2]) ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง [3]",
"title": "เทนเซ็นต์"
},
{
"docid": "978918#7",
"text": "พูดถึงการก่อตั้งเทนเซ็นต์ เขากล่าวกับไชนาเดลีในการสัมภาษณ์เมื่อปี ค.ศ. 2009 ว่า “หากผมได้เห็นมากไปกว่านี้ ก็คือการยืนบนไหล่ของยักษ์” ซึ่งเป็การถ่ายความอ้างถึงไอแซก นิวตัน และการอ้างอิงความคล้ายคลึงกันระหว่างไอซีคิวและโอไอซีคิว \"เรารู้ว่าผลิตภัณฑ์ของเรามีอนาคต แต่ในเวลานั้นเราก็ไม่สามารถจ่ายได้\" หม่าทบทวนความจำ[25] เพื่อที่จะแก้ปัญหา หม่าถามเรื่องเงินกู้ยืมจากธนาคารและได้พูดคุยเกี่ยวกับการขายบริษัท[28]",
"title": "หม่า ฮั่วเถิง"
},
{
"docid": "978918#22",
"text": "}}]] [[Category:{{subst:#switch:{{subst:uc:}}",
"title": "หม่า ฮั่วเถิง"
},
{
"docid": "978918#1",
"text": "ในปี ค.ศ. 2007, 2014 [6] และ 2018 นิตยสารไทม์ ยกให้เขาเป็นหนึ่งในผู้มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก[7] ในขณะที่ปี ค.ศ. 2015 นิตยสารฟอร์บ ให้เครดิตเขาว่าเป็นหนึ่งในคนที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก ส่วนในปี ค.ศ. 2017 นิตยสารฟอร์จูน ได้จัดอันดับให้เขาเป็นหนึ่งในนักธุรกิจชั้นนำแห่งปี[8][9] หม่าเป็นผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์ประชาชนเซินเจิ้นและเป็นตัวแทนในการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติจีนครั้งที่ 12 [5]",
"title": "หม่า ฮั่วเถิง"
},
{
"docid": "978918#19",
"text": "ความมั่งคั่งของหม่า ฮั่วเถิง มาจากสัดส่วนการถือหุ้น 9.7 เปอร์เซ็นต์ในเทนเซ็นต์โฮลดิง มีรายงานว่าเขาเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกงและชิ้นงานศิลปะมูลค่า 150 ล้านเหรียญ[36] เขาเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยที่มีการปรับปรุงใหม่จำนวน 19,600 ตารางฟุตในฮ่องกง[36]",
"title": "หม่า ฮั่วเถิง"
},
{
"docid": "978918#6",
"text": "หม่า ฮั่วเถิง ไปเป็นผู้ร่วมก่อตั้งเทนเซ็นต์ในปี ค.ศ. 1998 พร้อมเพื่อนร่วมชั้นอีก 4 คน ผลิตภัณฑ์แรกของบริษัทมีมาหลังจากที่หม่าได้เข้าร่วมในงานนำเสนอสำหรับไอซีคิว ที่เป็นบริการส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีทางอินเทอร์เน็ตรายแรกของโลก ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1996 โดยบริษัทของประเทศอิสราเอล[25] แรงบันดาลใจจากแนวคิดดังกล่าว หม่าและทีมงานของเขาได้เปิดตัวซอฟต์แวร์ที่คล้ายคลึงกันในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1999 ด้วยอินเตอร์เฟซภาษาจีนและชื่อที่แตกต่างกันเล็กน้อย ในชื่อโอไอซีคิว (หรือ โอเพนไอซีคิว)[26] ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และรวบรวมผู้ใช้ที่ลงทะเบียนไว้แล้วกว่าล้านรายภายในสิ้นปี ค.ศ. 1999 ทำให้เป็นหนึ่งในบริการที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน[27]",
"title": "หม่า ฮั่วเถิง"
},
{
"docid": "978918#4",
"text": "หม่าเกิดที่เขตเฉาหยาง ซัวเถา มณฑลกวางตุ้ง เมื่อหม่า เฉินชู่ ซึ่งเป็นพ่อของเขาได้รับตำแหน่งผู้จัดการท่าเรือในเซินเจิ้นใกล้ฮ่องกง หม่าในวัยหนุ่มก็ได้เดินทางมาพร้อมกับเขา[22] หม่า ฮั่วเถิง เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเซินเจิ้นในปี ค.ศ. 1989 และสำเร็จการศึกษาในปี ค.ศ. 1993 ด้วยปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์[23]",
"title": "หม่า ฮั่วเถิง"
},
{
"docid": "729303#0",
"text": "แจ็ก หม่า () หรือชื่อจริงว่า หม่า หยุน (; เกิด 10 กันยายน 1964) เป็นเจ้าสัวธุรกิจและผู้ใจบุญชาวจีน เขาเป็นผู้ก่อตั้งและประธานบริหารของกลุ่มอาลีบาบาซึ่งประสบความสำเร็จในธุรกิจอินเทอร์เน็ต เขาเป็นผู้ประกอบการจีนคนแรกที่ปรากฏบนหน้าปกของนิตยสารฟอร์บ ในเดือนมิถุนายน 2018 เขาเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในประเทศจีน (ไม่รวมฮ่องกง) และเป็นบุคคลรวยที่สุดอันดับที่ 11 ของโลก โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิประมาณ 50.3 พันล้านดอลลาร์ตาม Bloomberg Billionaires Index (ดัชนีมหาเศรษฐีบลูมเบิร์ก)",
"title": "แจ็ก หม่า"
},
{
"docid": "978918#15",
"text": "ในเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 2015 หม่าประกาศว่าเทนเซ็นต์จะสร้าง \"โรงพยาบาลอินเทอร์เน็ต\" ขึ้นที่เมืองอูเจิ้นซึ่งจะให้การวินิจฉัยทางไกลและการจัดส่งยา[33]",
"title": "หม่า ฮั่วเถิง"
},
{
"docid": "978918#11",
"text": "ในปี ค.ศ. 2004 เทนเซ็นต์ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มเกมออนไลน์และเริ่มจำหน่ายสินค้าเสมือนเพื่อสนับสนุนเกมที่เผยแพร่บนแพลตฟอร์มดังกล่าว (อาวุธ, พลังในเกม) รวมทั้งอีโมติคอนและริงโทน[27]",
"title": "หม่า ฮั่วเถิง"
},
{
"docid": "978918#12",
"text": "ตามคำสั่งของหม่า เทนเซ็นต์ได้เปิดตัว Paipai.com ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ที่เป็นคู่แข่งโดยตรงกับอีคอมเมิร์ซยักษ์อย่างอาลีบาบา[31]",
"title": "หม่า ฮั่วเถิง"
},
{
"docid": "978918#9",
"text": "หลังจากเอโอแอล (อเมริกาออนไลน์) ซื้อไอซีคิวในปี ค.ศ. 1998 บริษัทได้ฟ้องเทนเซ็นต์ต่อศาลอนุญาโตตุลาการแห่งชาติในสหรัฐ โดยอ้างว่าชื่อโดเมนของคิวไอซีคิวอย่าง QICQ.com และ QICQ.net มีการละเมิดสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาของไอซีคิว ซึ่งเทนเซ็นต์เป็นฝ่ายแพ้คดีและต้องปิดเว็บไซต์[25] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2000 เพื่อป้องกันการฟ้องร้องคดีอื่น ๆ หม่าได้เปลี่ยนชื่อซอฟต์แวร์เป็น \"คิวคิว\" (โดย \"คิว\" และ \"คิวคิว\" ใช้แทนคำว่า \"คิวต์\" ที่แปลว่า \"น่ารัก\")[30]",
"title": "หม่า ฮั่วเถิง"
},
{
"docid": "978918#5",
"text": "งานแรกของหม่าคือไชนาโมชันเทเลคอมดีเวลลอปเมนท์ ผู้จัดจำหน่ายบริการและผลิตภัณฑ์โทรคมนาคม ที่ซึ่งเขารับผิดชอบการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับวิทยุติดตามตัว เขาได้รับรายได้ 176 ดอลลาร์ต่อเดือน[24] เขายังทำงานให้กับบริษัท เซินเจิ้นรุ่นซุ่นคอมมูนิเคชัน จำกัด ในแผนกวิจัยและพัฒนาสำหรับบริการโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต[25]",
"title": "หม่า ฮั่วเถิง"
},
{
"docid": "808577#0",
"text": "โปเยโปโลเย เย้ยฟ้าแล้วก็ท้า ( ) เป็นภาพยนตร์กำลังภายในสัญชาติฮ่องกง ปี ค.ศ. 1997 นำแสดงโดย เลสลี จาง, หวัง จู่เสียน และ อู๋ หม่า กำกับภาพยนตร์โดย เฉิงเสี่ยวตง และอำนวยการสร้างโดย ฉีเคอะ ภาพยนตร์เรื่องนี้ดัดแปลงเนื้อหามาจากนวนิยายเรื่อง โปเยโปโลเย โดยมีภาคต่อคือ โปเยโปโลเย เย้ยฟ้าแล้วก็ท้า ภาค 2",
"title": "โปเยโปโลเย เย้ยฟ้าแล้วก็ท้า"
},
{
"docid": "978918#8",
"text": "ตั้งแต่บริการโอไอซีคิวที่มีค่าของเทนเซ็นต์ ถูกนำเสนอโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย บริษัทได้มองหานายทุนร่วมเพื่อรองรับต้นทุนการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น ในปี ค.ศ. 2000 หม่าหันไปหาศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตของบริษัทที่ลงทุนในสหรัฐ และบริษัทแปซิฟิกเซ็นจูรีไซเบอร์เวิร์ก (PCCW) ผู้ให้บริการโทรคมนาคมในฮ่องกง ซึ่งซื้อหุ้น 40 เปอร์เซ็นต์ของเทนเซ็นต์จำนวน 2.2 ล้านดอลลาร์[29] ด้วยตลาดเพจเจอร์ซึ่งอายุมากแล้ว หม่าได้ปรับปรุงแพลตฟอร์มการรับส่งข้อความโดยให้ผู้ใช้คิวคิวส่งข้อความไปยังโทรศัพท์มือถือ ครั้นแล้ว 80 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ของบริษัทมาจากข้อตกลงกับผู้ประกอบการโทรคมนาคมที่ตกลงที่จะแบ่งปันค่าข้อความ[28]",
"title": "หม่า ฮั่วเถิง"
},
{
"docid": "572496#2",
"text": "เหตุผลที่บุคคลไร้สัญชาตินั้นมีอยู่มากมายทั่วโลก ปรกติแล้ว สัญชาติได้มาโดยหลักสองประการ คือ หลักดินแดน (jus soli) กับหลักสืบสายโลหิต (jus sanguinis) หลักดินแดนระบุว่า บุคคลเกิดในดินแดนของรัฐใด ย่อมได้สัญชาติของรัฐนั้น ส่วนหลักสืบสายโลหิตว่า บิดามารดาถือสัญชาติใด บุคคลย่อมถือสัญชาติตามนั้นด้วย ปัจจุบัน รัฐส่วนใหญ่ใช้หลักทั้งสองนี้ควบคู่กัน และการขัดกันของกฎหมายสัญชาติก็เป็นสาเหตุหนึ่งของความไร้สัญชาติ เป็นต้นว่า แม้รัฐหลายรัฐจะเปิดให้บุคคลได้สัญชาติตามบุพการี ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเกิดที่ใดก็ตาม แต่หลายรัฐก็ยังไม่ยอมรับให้บุคคลได้สัญชาติจากมารดาซึ่งถือสัญชาติของตน ความขัดข้องนี้ส่งผลให้เกิดอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women) ซึ่งห้ามเลือกปฏิบัติในการให้สัญชาติเพราะเหตุแห่งเพศ",
"title": "ความไร้สัญชาติ"
},
{
"docid": "729303#1",
"text": "หม่าเกิดที่เมืองหางโจว ในมณฑลเจ้อเจียง เป็นหลานชายของนักธุรกิจเจ้าของที่ดินรายใหญ่ในหางโจว และเป็นลูกชายของศิลปินที่ทำการแสดงท้องถิ่นโบราณ หลังการถึงแก่อสัญกรรมของเหมา เจ๋อตุง ประเทศจีนได้เปิดประเทศ มีนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวตะวันตกหลั่งไหลมามากขึ้น โดยเฉพาะที่หางโจว ซึ่งเป็นเมืองที่สวยงาม มีทะเลสาบซีหูที่ขึ้นชื่ออยู่ ณ ที่นี่เองที่หม่าได้ฝึกฝนทักษะภาษาอังกฤษจนเชี่ยวชาญกว่าเพื่อนร่วมรุ่น เขาขี่จักรยานเป็นเวลา 45 นาทีทุกเช้าเพื่อไปยังโรงแรมที่อยู่ใกล้เคียงและพูดคุยกับชาวต่างชาติ โดยจะทำหน้าที่เป็นไกด์พาพวกเขาไปรอบเมืองให้ฟรีเพื่อที่จะฝึกฝนและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของเขา ต่อมาในวัยหนุ่ม แม้ว่าเขาจะประสบความล้มเหลวในการสอบเข้าถึงสองครั้ง แต่แล้วเขาก็ได้เข้าศึกษาต่อที่สถาบันครูหางโจว และสำเร็จการศึกษาในปี ค.ศ. 1988 ด้วยวุฒิปริญญาตรีสาขาวิชาภาษาอังกฤษ หลังจากนั้น เขาก็กลายเป็นอาจารย์ผู้สอนในวิชาภาษาอังกฤษและการค้าระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัยหางโจวเตี้ยนจื่อ ในการเป็นอาจารย์นั้น หม่าได้ชื่อว่าเป็นอาจารย์ที่ไม่สอนตามตำราหรือระเบียบวิธีการสอนทั่วไป ไม่เคยแม้แต่จะเตรียมตัวการสอนด้วยซ้ำ เขามักใช้วิธีด้นสด แต่นั่นก็ทำให้เขากลายเป็นขวัญใจของเหล่านักศึกษาอย่างยิ่ง หม่าเป็นอาจารย์อยู่ 5 ปี จึงลาออก เนื่องจากเขาเห็นว่าสมควรได้เวลาที่ตนเองจะทำธุรกิจ",
"title": "แจ็ก หม่า"
},
{
"docid": "978918#20",
"text": "ในปี ค.ศ. 2016 หม่าโอนหุ้นเทนเซ็นต์จำนวน 2 พันล้านเหรียญให้แก่มูลนิธิการกุศลของเขา อย่างไรก็ตาม นิตยสารฟอร์บไม่ได้ลดมูลค่าสุทธิของเขาเนื่องจากหุ้นยังคงอยู่ภายใต้ชื่อของเขา[37]",
"title": "หม่า ฮั่วเถิง"
},
{
"docid": "978918#18",
"text": "หม่าใช้ชื่อเล่นว่าโพนี ซึ่งมาจากการแปลภาษาอังกฤษของนามสกุลของเขา ที่หมายถึง “ม้า”[28] หม่า ฮั่วเถิง ไม่ค่อยปรากฏตัวในสื่อและเป็นที่รู้จักสำหรับไลฟ์สไตล์ที่ซ่อนเร้นของเขา[35] ทั้งนี้ เขาเชื่อในหลักคำสอน: “แนวคิดไม่สำคัญในประเทศจีน – หากแต่เป็นการลงมือทำ”[32]",
"title": "หม่า ฮั่วเถิง"
},
{
"docid": "978918#23",
"text": "}}]] หมวดหมู่:มหาเศรษฐีชาวจีน หมวดหมู่:นักธุรกิจคอมพิวเตอร์ชาวจีน",
"title": "หม่า ฮั่วเถิง"
},
{
"docid": "978918#13",
"text": "จากการจำลองไมโครซอฟท์ของบิล เกตส์ หม่า ฮั่วเถิง สร้างทีมวิศวกรที่แข่งขันกันสองทีมในปี ค.ศ. 2010 และคิดค่าบริการด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ หลังจากสองเดือน ทีมหนึ่งได้นำเสนอแอปสำหรับการส่งข้อความและการแชทเป็นกลุ่มคือเวยซิ่น ซึ่งเปิดตัวในเดือนมกราคม ค.ศ. 2011 ส่วนในปี ค.ศ. 2015 เวยซิ่น (หรือวีแชทในภาษาอังกฤษ) ได้เป็นแพลตฟอร์มการส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีการใช้ 48 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด[27][32]",
"title": "หม่า ฮั่วเถิง"
},
{
"docid": "978918#14",
"text": "บริการที่หลากหลายอื่น ๆ โดยเทนเซ็นต์รวมถึงเว็บพอร์ทัล, การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และเกมออนไลน์หลายผู้เล่น[8] เกมออนไลน์ เช่น หยู่หลง และเลเจนด์ออฟซวนหยวน ช่วยเพิ่มรายได้ให้มากกว่าครึ่งหนึ่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 5.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีกำไรสุทธิ 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ[7]",
"title": "หม่า ฮั่วเถิง"
},
{
"docid": "978918#21",
"text": "{{subst:#if:|}} [[Category:{{subst:#switch:{{subst:uc:1971}}",
"title": "หม่า ฮั่วเถิง"
},
{
"docid": "845636#1",
"text": "ภาพยนตร์เรื่องนี้กล่าวถึง หม่า ฮั่นเฉียง ตำรวจหนุ่มจากฮ่องกงที่เดินทางมาสหรัฐอเมริกาเพื่อดูแลธุรกิจร้านค้าของลุงหม่าเปียวในเขตบร็องซ์ โดยที่เอเลน กำลังจะมาซื้อกิจการร้านลุงเปียวต่อ แต่กลับมีกลุ่มอันธพาลที่นำโดย โทนี่ เข้ามาปล้นของที่ร้าน เขาก็เลยสั่งสอน แต่ไม่นานกลุ่มของโทนี่ก็มาเอาคืน จนหม่า ฮั่นเฉียงบาดเจ็บสาหัส แต่หลังจากหายเจ็บได้ไม่นาน หม่า ฮั่นเฉียงก็ต้องเข้ามาพัวพันกับเพชรจำนวนหนึ่ง ที่พวกมาเฟียกำลังตามหาอยู่ งานนี้เขาจะแก้สถานการณ์อย่างไร …",
"title": "ใหญ่ฟัดโลก"
}
] |
4009 | เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อใด ? | [
{
"docid": "230186#0",
"text": "บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (เดิม: บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด) เป็นบริษัทที่ดำเนินการผลิต ละคร เกมโชว์ วาไรตี้ ให้กับช่องวัน และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด ผู้ถือใบอนุญาตประกอบกิจการดิจิทัลทีวีช่องวันในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จาก กสทช. ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ในชื่อ บริษัท จีเอ็มเอ็มวัน ทีวี เทรดดิง จำกัด โดยจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และ กลุ่มของนายถกลเกียรติ วีรวรรณ ประกอบไปด้วย ถกลเกียรติ วีรวรรณ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด และบริษัท วัน ทำ ดี จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วน 51% ต่อ 49% ด้วยทุนจดทะเบียน 900,000,000 บาท ภายหลังได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 1,275,000,000 บาท และได้บริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด บริษัทในกลุ่มปราสาททองโอสถ ของ ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ มาร่วมเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 3,810,000,000 บาท",
"title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์"
}
] | [
{
"docid": "230186#1",
"text": "ในยุคเริ่มแรก ถกลเกียรติ วีรวรรณ หนึ่งในกรรมการบริษัทของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ก่อตั้ง บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และควบตำแหน่งทั้งเป็นผู้จัดละครโทรทัศน์ ผู้กำกับ และผู้จัดการทั่วไป โดยรับจ้างผลิตละคร เกมโชว์ ทอล์คโชว์ วาไรตี้โชว์ เพื่อป้อนลงสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ซึ่งเริ่มจัดตั้งบริษัทในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 และเริ่มออกอากาศละครซิตคอม เรื่อง \"3 หนุ่ม 3 มุม\" เป็นรายการแรกของบริษัท ต่อมา ในปี พ.ศ. 2535 ได้สร้างละครดราม่าเรื่องแรกของบริษัทเรื่อง รักในรอยแค้น และในปี พ.ศ. 2546 ถกลเกียรติ ได้ก่อตั้ง บริษัท ซีเนริโอ จำกัด โดยถือหุ้นเอง 75% และให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ถือหุ้น 25% โดยมีจุดประสงค์เดียวกับเอ็กแซ็กท์ คือเป็นบริษัทที่ดำเนินการผลิต ละคร เกมโชว์ วาไรตี้ และละครเวที เพื่อป้อนลงช่องต่าง ๆ ตลอดมา",
"title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์"
}
] |
2946 | ใครเป็นผู้ก่อตั้ง สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ? | [
{
"docid": "147755#0",
"text": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ หรือสมุทรปราการ เอฟซี ก่อตั้งจากแรงบันดาลใจที่ต้องการจะมีทีมฟุตบอลบ้านเกิดของ พีรพัฒน์ ถานิตย์",
"title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ"
}
] | [
{
"docid": "147755#14",
"text": "พลังบริสุทธิ์จากกลุ่มกองเชียร์ที่ชื่อว่า \"ฟอร์เทรสเซี่ยน\" นี้ คือผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จทุกอย่างของสมุทรปราการเอฟซี ทุกนัด ทุกชั่วโมง ทุกนาที ทุกวินาที และทุกๆ หยาดเหงื่อที่นักฟุตบอลสมุทรปราการเอฟซีเสียไปในเกมการแข่งขัน ผู้เล่นคนที่ 12 คนนี้ ก็เหน็ดเหนื่อย และสูญเสียพลังงานไปไม่แพ้กัน",
"title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ"
},
{
"docid": "426043#0",
"text": "สโมสรฟุตบอลสมุทรปราการ ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2553 ตั้งอยู่ที่ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับไทยลีก 4 โซนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล",
"title": "สโมสรฟุตบอลสมุทรปราการ ยูไนเต็ด"
},
{
"docid": "770580#0",
"text": "สโมสรฟุตบอลไทยซัมมิท สมุทรปราการ คืออดีตสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นสโมสรฟุตบอลของบริษัทไทยซัมมิท ออโตพาร์ต อินดัสทรี จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนรถยนต์ เคยสร้างผลงานเป็นตัวแทนของสมาคมกีฬาจังหวัดสมุทรปราการ ลงแข่งขันในโปรวินเชียลลีกและคว้าแชมป์ได้ในโปรวินเชียลลีก 2551 ทำให้ได้สิทธิเลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2",
"title": "สโมสรฟุตบอลไทยซัมมิท"
},
{
"docid": "147755#24",
"text": "สู่การเป็นทีมฟุตบอลอาชีพอย่างแท้จริง สมุทรปราการเอฟซี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพแบบเต็มตัว นั่นคือการที่สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน ด้วยการบริหารจัดการด้านสิทธิประโยชน์ต่างๆ ในรูปแบบบริษัท โดยได้ทำการจดทะเบียนบริษัทขึ้นมาในชื่อ \"บริษัท สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ จำกัด\" เพื่อการบริหารจัดการสู่ธุรกิจฟุตบอลอาชีพอย่างแท้จริง มีหลักฐานการทำทีมทุกอย่างที่โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ โดยรายได้หลักของสโมสรฯ จะเกิดจากผลงานในสนาม อันจะนำมาซึ่งแฟนคลับ ก่อนกระจายออกวงกว้างสู่การได้รับการสนับสนุนจากสปอนเซอร์ และต่อยอดไปสู่การเป็น \"แบรนด์\" ชั้นนำ ที่สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตัวเอง ตามแบบฉบับของทีมฟุตบอลอาชีพ",
"title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ"
},
{
"docid": "426043#3",
"text": "สโมสรฟุตบอลสมุทรปราการ ยูไนเต็ด ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 โดยนายสายันห์ แสงวงค์ และได้รับสิทธิในการลงแข่งขันในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ต่อจากสโมสรฟุตบอลไทยซัมมิทที่ยุบสโมสรไปก่อนหน้านี้ ",
"title": "สโมสรฟุตบอลสมุทรปราการ ยูไนเต็ด"
},
{
"docid": "147755#8",
"text": "\"พลัง\" จาก \"ศรัทธา\" ของแฟนบอลในวันนั้น ทำให้สมุทรปราการเอฟซี สามารถยืนบนเส้นทางของฟุตบอลอาชีพต่อได้ เพราะแรงกระเพื่อมจากคอนเสิร์ตดังกล่าว ยังผลให้จังหวัดสมุทรปราการมองเห็น \"พลัง\" อันบริสุทธิ์ของแฟนบอล จึงได้ช่วยเหลือเรื่องงบประมาณมายังสโมสรฯ จวบจนทุกวันนี้",
"title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ"
},
{
"docid": "2810#21",
"text": "สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) – สมเด็จพระราชาคณะ อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานสมัชชามหาคณิสสร เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุง ศรีวิไล – นักแสดงและนักการเมือง คะนึงนิจ จักรสมิทธานนท์ – นักแสดง นาม ยิ้มแย้ม – ประธานคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง ปัญญา ถนอมรอด – ประธานศาลฎีกา เมืองทอง สมยาประเสริฐ – นักร้องเพลงลูกทุ่ง สดใส รุ่งโพธิ์ทอง – นักร้องเพลงลูกทุ่ง ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุด แสงวิเชียร – ราชบัณฑิต แพทย์ดีเด่น และหนึ่งในแพทย์ผู้ชันสูตรพระบรมศพรัชกาลที่ 8 สุรศักดิ์ ตังสุรัตน์ – อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทยและอดีตโค้ชทีมเมืองทองยูไนเต็ด อภิเชษฐ์ พุฒตาล – อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย วัฒนา อัศวเหม – ประธานพรรคเพื่อแผ่นดิน ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม – นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ อำนวย รัศมิทัต – อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ธนภณ คารมปราชญ์ – อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ภัทรวดี อภิเด่นเลิศนภาลัย – อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ธนภัท ธญธนพัต – อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ บุญเกิด ธรรมวาสี – นักวิชาการ ผู้คิดค้นเกมอักษรไขว้ภาษาไทย ปาณรวัฐ กิตติกรเจริญ – นักร้องวง D2B รำลึก ธีรพงษ์ – นักกีฬาหมากรุกไทย และครูหมากรุกไทยชื่อดัง สารัช อยู่เย็น – นักฟุตบอลทีมชาติไทย สังกัด สโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด สิทธิชัย สุวรประทีป – นักกรีฑาทีมชาติไทย เหรียญชัย สีหะวงษ์ – นักกรีฑาทีมชาติไทย อัญชะลี ไพรีรัก − สื่อมวลชนชาวไทย ฝนทิพย์ วัชรตระกูล – มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส 2553 นักแสดงสังกัด ช่อง7 พรรัมภา สุขได้พึ่ง – นักแสดงสังกัดช่อง 7 อรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์ – สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 1 ประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย – สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 2 อนุสรา ยังตรง – สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 3 วรชัย เหมะ – สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 4 พิมพ์ ญาดา – นักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย สลิลทิพย์ สุขวัฒน์ – สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 5 เรวดี รัศมิทัศ – สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 6 ประชา ประสพดี – สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 7 ธนากร ศรีบรรจง – นักแสดงตลกเดอะ คอมเมเดียน ไทยแลนด์ ศิรชัช เจียรถาวร – นักแสดง วโรดม เข็มมณฑา – นักแสดง นักร้อง ดีเจ อิทธิพัทธ์ ฐานิตย์ – นักแสดง นายแบบ ธนบูรณ์ เกษารัตน์ – นักฟุตบอลทีมชาติไทย สังกัดสโมสร เชียงราย ยูไนเต็ด ณพสิน แสงสุวรรณ – อดีตนักร้องนำวง กะลา (วงดนตรี) ปัจจุบันเป็นนักร้องเดี่ยวสังกัดค่าย จีนี่เรคอร์ดส ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ในนาม “หนุ่ม กะลา” อนุชิต สพันธุ์พงษ์ – นักร้อง นักแสดง กานต์ธีรา วัชรทัศนกุล (เนย BNK48) – นักร้อง จุฑามาศ คลทา (เข่ง BNK48) – นักร้อง สิริการย์ ชินวัชร์สุวรรณ (ผักขม BNK48) – นักร้อง จณิสตา ตันศิริ (แบมบู BNK48) – นักร้อง นันท์นภัส เลิศนามเชิดสกุล (มิวนิค BNK48) – นักร้อง",
"title": "จังหวัดสมุทรปราการ"
},
{
"docid": "52283#2",
"text": "ต่อมาเมื่อ สมาคมสันนิบาตสงเคราะห์ จังหวัดสมุทรปราการ ได้รับตำแหน่งรองชนะเลิศการแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ประจำปี 2539 ทางกลุ่มผู้ดูแลทีมฟุตบอลฯ ได้มีการเจรจาขอรวมทีม จึงได้ก่อตั้งเป็น สโมสรฟุตบอลชลบุรี–สันนิบาตฯ สมุทรปราการ และได้เข้าแข่งขันใน ดิวิชัน 1[3]",
"title": "สโมสรฟุตบอลชลบุรี"
},
{
"docid": "531570#2",
"text": "ต่อมาเมื่อทาง สมาคมกีฬาจังหวัดชลบุรี ได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขัน โปรวินเชียลลีก ทางผู้บริหารจึงทำการได้แยกสโมสรฟุตบอลชลบุรี-สันนิบาตฯ สมุทรปราการ ออกจากกัน ซึ่งในขณะนั้นลงเล่นในดิวิชั่น 1 อยู่ โดยชลบุรีนั้นได้นำผู้เล่นจากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี แทน แต่ก็ยังมาดูแลสโมสรอยู่ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2550 ฉัตรชัย ทิมกระจ่าง นายกเทศมนตรีเมืองศรีราชา (ในขณะนั้น) ได้รับช่วงการบริหารสโมสรชลบุรี-สันนิบาต สมุทรปราการ และทำการเปลื่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลศรีราชา-สันนิบาตฯ เพื่อลงทำการแข่งขัน ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2550 โดยได้รับเกียรติจาก สนธยา คุณปลื้ม, วิทยา คุณปลื้ม และ ชาญวิทย์ ผลชีวิน รับเป็นที่ปรึกษาของสโมสรฯ และมี ทรงยศ กลิ่นศรีสุข เป็นผู้ฝึกสอน และใช้ สนามกีฬาสิรินธร ภายใน โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา เป็นสนามเหย้าของทีม โดยนักฟุตบอลในทีมส่วนใหญ่มาจาก โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา, โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ชลบุรี และ โรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี โดยในปีแรก สโมสรฯ ทำผลงานจบที่อันดับ 6 ",
"title": "สโมสรฟุตบอลศรีราชา"
},
{
"docid": "147755#26",
"text": "ปัจจุบันสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ ถือเป็นทีมในระดับ ดิวิชั่น 2 ลำดับต้นๆ ที่ผ่านเกณฑ์ คลับไลเซนซิ่ง ที่ทางสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย กำหนดไว้ ทั้งในเรื่องโครงสร้าง การจัดการ สนามแข่งขัน ที่ถูกต้องตามมาตรฐาน",
"title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ"
},
{
"docid": "778568#0",
"text": "สนามกีฬาการกีฬาแห่งประเทศไทย บางพลี หรือ เอ็มพาวเวอร์สเตเดี้ยม เป็นสนามฟุตบอลของ สโมสรฟุตบอลสมุทรปราการ ซิตี้ และสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ มีความจุทั้งหมด 6,800 ที่นั่ง ในระหว่างการสร้าง ในอดีตเคยเป็นสนามฟุตบอลของ ซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการ",
"title": "สนามกีฬาการกีฬาแห่งประเทศไทย บางพลี"
},
{
"docid": "52283#3",
"text": "ต่อมาเมื่อทาง สมาคมกีฬาจังหวัดชลบุรี ได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขัน โปรวินเชียลลีก ในปี 2543 จึงได้ออกมาก่อตั้ง ทีมฟุตบอลจังหวัดชลบุรี โดยได้แยก สโมสรฟุตบอลชลบุรี-สันนิบาตฯ สมุทรปราการ ซึ่งในขณะนั้นลงเล่นในดิวิชั่น 1 ออกจากกัน โดยผู้เล่นของทีมส่วนใหญ่ ได้นำผู้เล่นจาก โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี โดยใน ฤดูกาลแรกที่เข้าร่วมแข่งขัน (โปรลีก 2543/44) สโมสรจบอันดับที่ 3 ของตาราง",
"title": "สโมสรฟุตบอลชลบุรี"
},
{
"docid": "770580#3",
"text": "ปี พ.ศ. 2546 บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด โดย ดร.สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ที่เป็นประธานกรรมการบริษัท ได้ก่อตั้งชมรมฟุตบอลของบริษัทขึ้น เพื่อส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันต่างๆในเขตอุตสาหกรรมภายในจังหวัดสมุทรปราการ และใกล้เคียง โดยชนะเลิศฟุตบอลอุตสาหกรรม 3 ปี ติดต่อกัน ในปี 2546–2548",
"title": "สโมสรฟุตบอลไทยซัมมิท"
},
{
"docid": "770580#2",
"text": "ต่อมาหลังจบฤดูกาล 2553 สโมสรได้ประกาศยุบทีมและส่งคืนสิทธิในการลงแข่งขันให้กับจังหวัดสมุทรปราการ โดยทางจังหวัดสมุทรปราการได้ส่งมอบสิทธิในการลงเล่นดิวิชัน 2 ต่อให้กับสโมสรฟุตบอลสมุทรปราการ ยูไนเต็ด",
"title": "สโมสรฟุตบอลไทยซัมมิท"
},
{
"docid": "147755#6",
"text": "คอนเสิร์ตบ่าววีเพื่อสมุทรปราการเอฟซี คอนเสิร์ตแห่งแรงพลังศรัทธา \"พ.อ.อ. วีระยุทธิ์ นานช้า\" หรือที่เรารู้กันในวงกว้างว่า \"บ่าววี\" นักร้องชื่อดัง ผู้ก้าวเข้ามาเป็น \"ศิลปิน-นักกีฬา\" คนแรกของสโมสรสมุทรปราการเอฟซี ได้ทำการระดมทุนจากแฟนคลับเพื่อช่วยหาเงินในการพยุงสมุทรปราการเอฟซี ไม่ให้ต้องถูกยุบ ด้วยการจัดคอนเสิร์ตที่ชื่อว่า \"บ่าววีเพื่อสมุทรปราการเอฟซี\"",
"title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ"
},
{
"docid": "147755#16",
"text": "ด้วยสโลแกนการเชียร์สุดเท่ \"90 นาทีไม่มีหยุด...สุภาพบุรุษ สมุทรปราการ\" ทำให้ในทุกๆ นัดที่สมุทรปราการเอฟซีลงแข่งขัน ไม่มีเลยสักครั้งที่ความเงียบจะเข้ามากลืนกินอัฒจันทร์ฝั่งที่ \"ฟอร์เทรสเซี่ยน\" ไปยืนทำหน้าที่อยู่ นี่คืออีกหนึ่งเคล็ดลับและเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้สมุทรปราการเอฟซี สร้างตำนานแล้ว...ตำนานเล่า จนสโมสรฟุตบอลสีฟ้า-ขาวสโมสรนี้ กำลังขยับเข้าใกล้ความเป็น \"สถาบัน\" เข้าไปทุกขณะ",
"title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ"
},
{
"docid": "770580#9",
"text": "ฤดูกาล 2553 สโมสรย้ายมาแข่งขันในโซนกรุงเทพและปริมณฑล และจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 7 ก่อนจะยุบทีมในเวลาต่อมา โดยคืนสิทธิในการลงแข่งขันให้กับจังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรปราการได้มอบสิทธิในการลงเล่นลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2554 ให้กับสโมสรฟุตบอลสมุทรปราการ ยูไนเต็ด",
"title": "สโมสรฟุตบอลไทยซัมมิท"
},
{
"docid": "147755#1",
"text": "ปฐมบทของตำนานฟ้า-ขาว ชาวสมุทรปราการ 30 ตุลาคม 2551 สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ ก่อตั้งขึ้นโดยเป็นสโมสรสมาชิกของสมาคมกีฬาจังหวัดสมุทรปราการ เลขที่สมาชิก 1507 พร้อมการลงนามรับรองจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอย่างถูกต้อง ให้สิทธิ์เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนจังหวัดสมุทรปราการ พร้อมกับสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพครั้งแรกของจังหวัดสมุทรปราการ ในรายการ \"ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2\" ประจำปี 2009 และนี่คือทีมฟุตบอลอาชีพทีมแรกในจังหวัดสมุทรปราการ ทีมตัวแทนจังหวัด ทีมที่เต็มไปด้วยเรื่องราวต่างๆ มากมาย",
"title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ"
},
{
"docid": "147755#19",
"text": "ผนึกกำลัง สองสิงห์ บนหน้าประวัติศาสตร์สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ เมื่อ คุณสมพร สิงห์รื่นรมย์ นักธุรกิจหนุ่มเจ้าของธุรกิจจำหน่ายอะไหล่รถจักรยานยนต์รายใหญ่หลายสาขา และเจ้าของฟุตบอลหญ้าเทียม สองสิงห์ อารีน่า สปอร์ตคลับ ได้ก้าวเข้ามานั่งแท่นรองประธานสโมสรฯ พร้อมทำหน้าที่ผู้จัดการทีม",
"title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ"
},
{
"docid": "147755#28",
"text": "สมุทรปราการเอฟซี ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับโรงเรียนลูกหนังหลายต่อหลายแห่งในจังหวัด อาทิ โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว และโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ รวมถึงทำการเปิดสอนฟุตบอลอะคาเดมี่ เพื่อสรรค์สร้างเยาวชนร่วมกันเพื่อป้อนเมล็ดพันธ์เหล่านี้สู่ทีมจังหวัดสมุทรปราการในอนาคตต่อไป",
"title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ"
},
{
"docid": "426043#1",
"text": "โดยสโมสรเข้ามาสู่การแข่งขันในฟุตบอลลีกอาชีพ จากการรับช่วงสิทธิในการลงแข่งขันต่อจากสโมสรไทยซัมมิท สมุทรปราการที่ยุบทีมไปและได้คืนสิทธิให้กับสมาคมกีฬาจังหวัดสมุทรปราการ ก่อนที่ในเวลาต่อมาสมาคมกีฬาจังหวัดสมุทรปราการจะมอบสิทธิในการลงแข่งขันในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ต่อให้กับสโมสรฟุตบอลสมุทรปราการ ยูไนเต็ด",
"title": "สโมสรฟุตบอลสมุทรปราการ ยูไนเต็ด"
},
{
"docid": "147755#13",
"text": "ผู้เล่นคนที่ 12 เรียกเขาว่า \"ฟอร์เทรสเซี่ยน\" ผู้เล่นหมายเลข 12 ของสมุทรปราการเอฟซีไม่ใช่ผู้ตัดสินในสนาม ไม่ใช่มือลึกลับจากเบื้องบน ไม่ใช่ผู้มีอำนาจนอกสารบบ แต่ผู้เล่นคนดังกล่าวของสมุทรปราการเอฟซีคือ \"ฟอร์เทรสเซี่ยน\" แฟนบอลฟ้า-ขาว ผู้มีใจรักป้อมปราการป้อมนี้จนสุดหัวใจต่างหาก",
"title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ"
},
{
"docid": "988577#0",
"text": "สโมสรฟุตบอลสมุทรปราการ ซิตี้ () เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยจากจังหวัดสมุทรปราการ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2561 จากการย้ายที่ตั้งและเปลี่ยนชื่อสโมสรจากพัทยา ยูไนเต็ด",
"title": "สโมสรฟุตบอลสมุทรปราการ ซิตี้"
},
{
"docid": "746963#0",
"text": "ชาคร พิลาคลัง เป็นนักฟุตบอลอาชีพชาวไทย จากจังหวัดสมุทรปราการ สังกัดสโมสรฟุตบอลชลบุรี เอฟซี ตำแหน่งผู้รักษาประตู ปัจจุบันสังกัด สโมสรฟุตบอลชลบุรี ได้รับโอกาสลงสนามนัดแรก ในเวทีไทยพรีเมียร์ลีก เกมที่ ชลบุรี เอฟซี ชนะ สโมสรฟุตบอลราชนาวี 2 - 1 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558\nชาคร พิลาคลัง เกิดที่จังหวัดสมุทรปราการ แต่ไปเติบโตที่ จังหวัดร้อยเอ็ด เข้ามาคัดตัวกับอะคาเดมี่ ของชลบุรี ตั้งแต่อายุ 10 ปี ปัจจุบันถูกดันขึ้นทีมชุดใหญ่ของชลบุรี เอฟซี ในระดับไทยพรีเมียร์ลีก และลงทำหน้าที่ในลีกสูงสุด ในนัดที่เจอกับสโมสรฟุตบอลราชนาวี ซึ่งโชว์ฟอร์มได้อย่างประทับใจ ชาคร พิลาคลัง มีชื่อติดทีมชาติไทยชุดอายุไม่เกิน 19 ปี ชิงแชมป์อาเซียน ที่ สปป.ลาว และ สามารถคว้าแชมป์มาครองได้สำเร็จ",
"title": "ชาคร พิลาคลัง"
},
{
"docid": "150540#3",
"text": "ระหว่างนั้นก็มีบทบาทในวงการกีฬาระดับชาติ เคยเป็นนักฟุตบอลเยาวชนทีมชาติไทย อดีตผู้ตัดสินฟุตบอลนานาชาติของฟีฟ่า และอดีตผู้ฝึกสอนฟุตบอลทีมสมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร รวมถึงเคยเป็นประธานสโมสรวอลเลย์บอลจังหวัดสมุทรปราการอีกด้วย ปัจจุบันเป็นข้าราชการบำนาญ ที่ปรึกษาผู้อำนวยการโรงเรียนพิชญศึกษา จังหวัดนนทบุรี และโรงเรียนประภามนตรี 2 จังหวัดสมุทรปราการ สมรสกับ นางนวลทวี วุฑฒิโชติ",
"title": "สุโข วุฑฒิโชติ"
},
{
"docid": "147755#25",
"text": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ ยังเดินหน้าพัฒนาอย่างเป็นระบบ ด้วยการดำเนินการจดแจ้งสโมสรกีฬาอาชีพ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมลีกอาชีพ กับการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยเป็นสมาชิกเลขที่ 062 เพื่อให้ได้มาตรฐาน คลับไลเซนซิ่ง หรือ ข้อกำหนดที่สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า)",
"title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ"
},
{
"docid": "147755#17",
"text": "รังเหย้าลำดับที่ 10 ใครจะเชื่อว่าจากอดีตจนถึงปัจจุบัน “ป้อมปราการ” จะผ่านการใช้สนามเหย้าในการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพมาแล้วทั้งสิ้น 10 สนามด้วยกัน!!! โดยไล่เรียงลำดับได้ตามนี้คือ สนามสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ (อุดมสุข), สนามฟุตบอลโรงเรียนนายเรือ จ.สมุทรปราการ,สนามกีฬามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, สนามการกีฬาแห่งประเทศไทย จ.สมุทรปราการ (กกท. บางพลี), สนามกีฬาศูนย์เฉลิมพระเกียรติ (บางมด), สนามราชมังคลากีฬาสถาน, สนามเทพหัสดิน, สนามลาดกระบัง 54, สนามเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามีนบุรี, สนามกีฬาจังหวัดสมุทรปราการ (สนามบางปลา), สนามกีฬาเทศบาลตำบลแหลมฟ้าผ่า",
"title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ"
},
{
"docid": "531570#1",
"text": "สโมสรฟุตบอลศรีราชา แต่เดิมเป็นสโมสรฟุตบอลของ สมาคมสันนิบาตสงเคราะห์ จังหวัดสมุทรปราการ และ ได้เข้าร่วมแข่งขัน ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ต่อมาได้ได้เจรจา เพื่อร่วมการแข่งขัน โดยใช้สิทธิ์การบริหารสโมสร สโมสรสันนิบาตฯ สมุทรปราการ โดยใช้ชื่อ สโมสรฟุตบอลชลบุรี–สันนิบาตฯ สมุทรปราการ และได้เข้าแข่งขันใน ดิวิชัน 1 ",
"title": "สโมสรฟุตบอลศรีราชา"
},
{
"docid": "147755#37",
"text": "หมวดหมู่:สโมสรฟุตบอลในประเทศไทย หมวดหมู่:จังหวัดสมุทรปราการ หมวดหมู่:สโมสรกีฬาที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2546",
"title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ"
}
] |
2334 | ริสเพอริโดนมีประสิทธิผลในการรักษาอาการฟุ้งพล่านสำหรับโรคอารมณ์สองขั้วใช่หรือไ่ม่? | [
{
"docid": "815767#8",
"text": "สำหรับโรคอารมณ์สองขั้ว ยารักษาโรคจิต (antipsychotic) รุ่นสองต่าง ๆ รวมทั้งริสเพอริโดนมีประสิทธิผลในการรักษาอาการฟุ้งพล่าน (mania) ไม่ว่าจะเป็นแบบฉับพลัน (acute) หรือเป็นความแย่ลงแบบผสม (mixed exacerbation) ของโรค[16][17][18] ในเด็กและวัยรุ่น ริสเพอริโดนอาจมีประสิทธิผลดีกว่า lithium หรือ divalproex แต่มีผลข้างเคียงทางเมแทบอลิซึมมากกว่า[19] ส่วนสำหรับการรักษาแบบดำรงสภาพ (maintenance) ยามีประสิทธิผลในการป้องกันคราวฟุ้งพล่าน (manic episode) แต่ไม่มีสำหรับคราวซึมเศร้า[20] ยาแบบฉีดที่มีฤทธิ์ยาวอาจมีข้อได้เปรียบกว่ายารักษาโรคจิตรุ่นแรกที่มีฤทธิ์ยาวอื่น ๆ เพราะว่าคนไข้ทนยาได้ดีกว่า (เพราะมีผล extrapyramidal effects น้อยกว่า) และเพราะว่า ยารักษาโรคจิตรุ่นแรกแบบฉีดที่มีฤทธิ์ยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อความซึมเศร้า[21]",
"title": "ริสเพอริโดน"
}
] | [
{
"docid": "815703#8",
"text": "การรักษาเบื้องต้นสำหรับอาการฟุ้งพล่าน (mania) และอาการโรคจิตฉับพลัน ร่วมกับยาลำดับต้น (first-line) เช่น lithium, haloperidol, หรือริสเพอริโดน[26][27] กลุ่มอาการคนตัวแข็งทื่อ (Hyperekplexia)[28] สามารถใช้รักษารูปแบบต่าง ๆ ของการละเมอ (parasomnia) และความผิดปกติทางการนอนหลับอื่น ๆ[29] ไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันไมเกรน[30]",
"title": "คโลนะเซแพม"
},
{
"docid": "815773#6",
"text": "คนไข้ส่วนน้อยจะมีพรสวรรค์ เช่น ความคิดสร้างสรรค์สูง อารมณ์ศิลป์ หรือความสามารถอื่น ๆ\nและก่อนถึงความรุนแรงเกินไป ลักษณะอาการฟุ้งพล่านต่าง ๆ รวมทั้งพลัง ความทะเยอทะยาน ความกระตือรือร้น และความรู้สึกยิ่งใหญ่บ่อยครั้งจะทำให้คนที่มีโรคนี้ได้สร้างผลงานชิ้นเอกของชีวิต",
"title": "ความผิดปกติทางอารมณ์"
},
{
"docid": "815767#9",
"text": "เทียบกับยาหลอก ยาลดพฤติกรรมปัญหาบางอย่างในเด็กโรคออทิซึม รวมทั้งความก้าวร้าว การทำร้ายตัวเอง ความงอแง และอารมณ์ที่เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว และหลักฐานที่แสดงประสิทธิผลดูเหมือนจะมากกว่าการรักษาด้วยยาอื่น ๆ[22] น้ำหนักเพิ่มเป็นผลที่ไม่พึงประสงค์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง[23][24]",
"title": "ริสเพอริโดน"
},
{
"docid": "813101#51",
"text": "ปัญหาอีกอย่างหนึ่งของการใช้ยาแก้ซึมเศร้าคือโอกาสที่จะมีอาการฟุ้งพล่าน (mania) ในคนไข้โรคอารมณ์สองขั้ว\nผู้อาจมีอาการคล้ายคนไข้โรคซึมเศร้าแบบขั้วเดียว (unipolar) มาก \nและดังนั้น อาจจะได้วินิจฉัยที่ผิดว่าเป็นโรคแบบขั้วเดียวแล้วให้ยาแก้ซึมเศร้า\nงานศึกษาต่าง ๆ แสดงว่า อาการฟุ้งพล่านที่เกิดจายาแก้ซึมเศร้าสามารถเกิดขึ้นในคนไข้โรคอารมณ์สองขั้วได้ถึง 20-40%\nสำหรับโรคนี้ ยาแก้ซึมเศร้า ซึ่งบ่อยที่สุดเป็นยากลุ่ม SSRI สามารถจุดชนวนหรือทำอาการฟุ้งพล่านหรืออาการเกือบฟุ้งพล่าน (hypomania) ให้แย่ลง",
"title": "ยาแก้ซึมเศร้า"
},
{
"docid": "815767#4",
"text": "ริสเพอริโดนโดยหลักใช้รักษาโรคจิตเภท โรคอารมณ์สองขั้ว และความหงุดหงิดของคนไข้โรคออทิซึม[7]",
"title": "ริสเพอริโดน"
},
{
"docid": "815773#5",
"text": "โรคอารมณ์สองขั้ว (BD) เป็นสภาวะทางจิตที่ไม่เสถียรกำหนดโดยวงจรที่มีอารมณ์ครึกครื้น คืออาการฟุ้งพล่าน (mania) ที่คงยืนและผิดปกติ สลับกับอารมณ์ซึมเศร้า\nซึ่งเคยรู้จักในชื่อว่า \"manic depression\" และในบางราย จะมีวงจรที่สลับขั้วอย่างรวดเร็ว หรือมีอารมณ์ผสมผเสกัน หรือมีอาการโรคจิต (psychosis)\nโรคแบ่งเป็นหมวดย่อย ๆ รวมทั้ง\nมีการประเมินว่า ประมาณ 1% ของประชากรผู้ใหญ่มีโรค bipolar I, อีก 1% มีโรค bipolar II หรือ cyclothymia, และอีกประมาณ 2-5% มีโรคแบบเกือบถึงเกณฑ์ (sub-threshold)\nนอกจากนั้นแล้ว โอกาสมีโรคเมื่อพ่อหรือแม่คนหนึ่งมี อยู่ที่ระหว่าง 15-30%\nและถ้าทั้งพ่อแม่มี โอกาสอยู่ที่ 50-75%\nในระหว่างพี่น้อง โอกาสเสี่ยงอยู่ที่ 15-25% แต่ถ้าเป็นแฝดเหมือน โอกาสอยู่ที่ 70%",
"title": "ความผิดปกติทางอารมณ์"
},
{
"docid": "747322#59",
"text": "งานวิเคราะห์อภิมานหนึ่งแสดงความสำคัญของการอำพรางสองด้าน เมื่อตรวจสอบประสิทธิผลของ CBT เมื่อพิจารณากลุ่มควบคุมด้วยการรักษาหลอก (placebo control) และการอำพรางในการทดลอง\nงานได้วิเคราะห์ข้อมูลรวมกันจากการทดลอง CBT ในโรคจิตเภท โรคซึมเศร้า และโรคอารมณ์สองขั้ว ที่ใช้กลุ่มควบคุมที่ได้รับการบำบัดที่ไม่ได้เจาะจง (non-specific)\nงานสรุปว่า CBT ไม่ได้ดีกว่าการแทรกแซงที่ไม่ได้เจาะจงของกลุ่มควบคุมในการบำบัดโรคจิตเภท และไม่ได้ลดการกำเริบของโรค, ผลการบำบัด MDD มีขนาดน้อยมาก, และไม่เป็นกลยุทธ์การบำบัดที่ดีเพื่อป้องกันการกำเริบของโรคอารมณ์สองขั้ว\nสำหรับ MDD ผู้เขียนให้ข้อสังเกตว่า ผลต่าง (effect size) ที่ได้รวมกันน้อยมาก\nอย่างไรก็ดี ก็มีนักวิชาการอื่นที่ตั้งข้อสงสัยในระเบียบวิธีการเลือกงานวิจัยเพื่อใช้วิเคราะห์ในงานวิเคราะห์อภิมานนี้ และในคุณค่าของผลที่ได้",
"title": "การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม"
},
{
"docid": "815773#7",
"text": "ความผิดปกติทางอารมณ์สามารถจัดเป็นแบบที่เกิดจากสาร (substance-induced) ถ้าสมุฏฐานของโรคสามารถสืบไปยังผลทางสรีรภาพโดยตรงของยาที่มีฤทธิ์ทางจิต (psychoactive drug) หรือสารเคมีอื่น ๆ หรือว่า โรคเกิดพร้อมกับการเมาสาร หรือการขาดยา\nนอกจากนั้นแล้ว บุคคลอาจจะมีความผิดปกติทางอารมณ์เกิดขึ้นพร้อมกับการติดสารเสพติด (substance abuse) บางอย่าง\nความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดจากสารอาจมีคราวฟุ้งพล่าน เกือบฟุ้งพล่าน อารมณ์ผสมผเส หรือคราวซึมเศร้า\nสารโดยมากสามารถทำให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์หลายอย่าง\nยกตัวอย่างเช่น สารกระตุ้นเช่นแอมเฟตามีน methamphetamine และโคเคน สามารถก่อทั้งคราวฟุ้งพล่าน เกือบฟุ้งพล่าน อารมณ์ผสมผเส และคราวซึมเศร้า",
"title": "ความผิดปกติทางอารมณ์"
},
{
"docid": "747322#22",
"text": "ความเอนเอียงทางประชานเหล่านี้ว่องไวที่จะทำการอนุมานเชิงลบ ที่ทั่วไป และที่เป็นเรื่องตัวเอง และเพิ่มกำลังให้กับ schema แบบลบ\nในโรคจิต (Psychosis) ระยะยาว CBT ใช้เสริมการใช้ยาและจะปรับให้เข้ากับคนแต่ละคน\nการรักษาแทรกแซงที่มักจะใช้ในอาการเหล่านี้รวมทั้งการตรวจสอบว่ารู้ความจริงเท่าไหน การเปลี่ยนอาการหลงผิดและประสาทหลอน การตรวจสอบปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการอีก (relapse) และการบริหารจัดการอาการที่เกิดขึ้นอีก\nมีงานวิเคราะห์อภิมานหลายงานที่เสนอว่า CBT มีประสิทธิผลกับโรคจิตเภท\nและ APA รวม CBT ในแนวทางการบำบัดโรคจิตเภทว่าเป็นการบำบัดที่อ้างอิงหลักฐาน\nแต่ว่า มีหลักฐานจำกัดว่า CBT มีผลสำหรับโรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder)\nและโรคซึมเศร้าแบบรุนแรง",
"title": "การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม"
},
{
"docid": "709039#11",
"text": "ระยะไฮโปเมเนียเป็นระยะฟุ้งพล่านแบบไม่รุนแรง มีอาการเหมือนระยะฟุ้งพล่านแต่มีระยะเวลาอย่างน้อย 4 วัน[1]",
"title": "โรคอารมณ์สองขั้ว"
},
{
"docid": "631884#0",
"text": "การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า () เดิมเรียก การช็อกไฟฟ้า เป็นการรักษามาตรฐานทางจิตเวชศาสตร์ซึ่งเหนี่ยวนำให้ผู้ป่วยชักด้วยไฟฟ้าเพื่อการแก้การเจ็บป่วยทางจิตเวช ปกติ ECT ใช้เป็นการรักษาวิธีสุดท้ายสำหรับโรคซึมเศร้า จิตเภท อาการฟุ้งพล่านและอาการเคลื่อนไหวน้อยหรือมากเกิน แนวปฏิบัติปกติของ ECT เกี่ยวข้องกับการบริหารหลายครั้ง ตรงแบบให้สองหรือสามครั้งต่อสัปดาห์กระทั่งผู้ป่วยไม่มีอาการทรมานอีก จิตประสาทแพทย์ชาวอิตาลี อูโก แชร์เลตติและลูซิโอ บีนี เป็นผู้ริเริ่มใน ค.ศ. 1938 และได้รับความนิยมเป็นรูปแบบการรักษาในบรรดาจิตแพทย์ในคริสต์ทศวรรษ 1940 และ 1950",
"title": "การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า"
},
{
"docid": "747322#23",
"text": "แต่งานวิเคราะห์อภิมานปี 2009 พบว่า ไม่มีการทดลองแบบอำพรางและการควบคุมด้วยการรักษาหลอกที่แสดงว่า CBT มีผลต่อโรคจิตเภทหรือโรคอารมณ์สองขั้ว และผลต่าง (effect size) ของ CBT มีน้อยในโรคซึมเศร้า (major depressive disorder)\nและพบว่า ไม่มีหลักฐานที่สรุปได้ว่า CBT มีผลในการป้องกันการกำเริบของโรคอารมณ์สองขั้ว\nหลักฐานว่า ความซึมเศร้าแบบรุนแรงลดระดับได้โดย CBT ก็ไม่มีด้วย โดยมองว่า การใช้ยาแก้โรคซึมเศร้ามีประสิทธิผลที่ดีอย่างสำคัญกว่า CBT\nแม้ว่า ผลสำเร็จต่อโรคซึมเศร้าของ CBT จะพบเริ่มตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990",
"title": "การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม"
},
{
"docid": "242400#56",
"text": "ส่วนโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) หรือรู้จักอีกอย่างว่า manic-depressive disorder เป็นโรคที่ระยะความซึมเศร้าจะสลับกับระยะความฟุ้งพล่าน (mania) หรือระยะฟุ้งพล่านย่อย (hypomania) แม้ว่าปัจจุบันโรคซึมเศร้าจะจัดว่าเป็นโรคต่างหาก แต่ก็มีการคัดค้านว่า บุคคลที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะประสบกับความฟุ้งพล่านย่อย ซึ่งแสดงว่าอาจเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่สืบเนื่องกัน[155]",
"title": "โรคซึมเศร้า"
},
{
"docid": "974717#6",
"text": "ดอมเพริโดนสามารถใช้บรรเทาอาการทางเดินอาหารสำหรับโรคพาร์คินสัน\nเพราะมันระงับการทำงานของหน่วยรับโดพามีนแบบดี2 แต่ก็ไม่ข้าม ดังนั้น จึงไม่มีผลต่ออาการ extrapyramidal ของโรค\nอนึ่ง ยาอาจเพิ่มความพร้อมใช้ทางชีวภาพ (bioavailability) ของ levodopa ซึ่งเป็นยาหลักในการรักษาโรคพาร์คินสันอย่างหนึ่ง",
"title": "ดอมเพริโดน"
},
{
"docid": "815767#14",
"text": "แม้ว่ายารักษาโรคจิตเช่นริสเพอริโดน จะมีประโยชน์เล็กน้อยกับคนไข้ภาวะสมองเสื่อม (dementia) แต่ก็สัมพันธ์กับอัตราการตายและโรคหลอดเลือดสมองที่สูงขึ้น[29] เพราะความเสี่ยงตายที่สูงขึ้น การรักษาอาการโรคจิต (psychosis) ที่เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมจึงไม่ได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ[30]",
"title": "ริสเพอริโดน"
},
{
"docid": "242400#49",
"text": "คราวซึมเศร้า (major depressive episode) กำหนดโดยการมีอารมณ์ซึมเศร้าอย่างรุนแรงที่คงยืนอย่างน้อย 2 อาทิตย์[12] คราวแสดงออกอาจจะเกิดขึ้นโดยลำพังหรือเกิดขึ้นซ้ำ ๆ และจัดว่า อ่อน (mild) คือมีออาการที่เกินเกณฑ์กำหนด ปานกลาง (moderate) หรือรุนแรง (severe) คือมีผลชัดต่อกิจกรรมทางสังคมหรือการงาน ส่วนคราวแสดงออกที่มีอาการโรคจิต ที่เรียกโดยสามัญว่า psychotic depression จัดว่าเป็นแบบรุนแรงโดยอัตโนมัติ ถ้าคนไข้มีอาการฟุ้งพล่าน (mania) หรือมีอารมณ์ครึกครื้นอย่างเด่นชัด (hypomania) จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder)[138] ความซึมเศร้าที่ไม่มีอาการฟุ้งพล่านบางครั้งกำหนดว่า unipolar (ขั้วเดียว) เพราะว่าอารมณ์อยู่ที่เพียงขั้วเดียวคือเศร้า[139]",
"title": "โรคซึมเศร้า"
},
{
"docid": "826993#0",
"text": "อาการฟุ้งพล่าน หรือ เมเนีย () เป็นภาวะการเร้า อารมณ์และระดับกำลังที่เพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือ \"ภาวะการกระะตุ้นโดยรวมเพิ่มสูงขึ้นโดยมีการแสดงออกทางอารมณ์มากกว่าปกติ ร่วมกับมีอารมณ์กลับกลายง่าย\" แม้มักถือว่าอาการฟุ้งพล่านเป็น \"ภาพกระจก\" ของภาวะซึมเศร้า แต่อารมณ์ที่เพิ่มขึ้นนั้นอาจเป็นได้ทั้งเคลิ้มสุขหรือหงุดหงิด ซึ่งเมื่ออาการฟุ้งพล่านรุนแรงขึ้น ความหงุดหงิดอาจแสดงออกมามากขึ้นจนกลายเป็นความรุนแรงในที่สุด",
"title": "อาการฟุ้งพล่าน"
},
{
"docid": "709039#0",
"text": "โรคอารมณ์สองขั้ว (English: bipolar disorder) เดิมเรียก โรคซึมเศร้า (manic-depressive illness)หรือเรียกอย่างหนึ่งว่า ไบโพล่า ซึ่งมีลักษณะ คือ มีช่วงที่ครึ้มใจและช่วงที่ซึมเศร้า อารมณ์ครึ้มใจมีความสำคัญและเรียก อาการฟุ้งพล่าน (mania) หรือภาวะไฮโปเมเนีย (hypomania) ขึ้นอยู่กับความรุนแรงหรือมีโรคจิตหรือไม่ ระหว่างภาวะฟุ้งพล่าน ปัจเจกบุคคลรู้สึกหรือแสดงออกว่ามีความสุข มีกำลังหรือหงุดหงิดผิดปกติ มักตัดสินใจไม่ดีโดยไม่คำนึงถึงผลลัพธ์ ความต้องการนอนหลับมักลดลง ระหว่างช่วงซึมเศร้า อาจมีการร้องไห้ เลี่ยงการสบตากับผู้อื่นและมองชีวิตในแง่ลบ ความเสี่ยงการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยโรคนี้สูงที่กว่า 6% ในเวลา 20 ปี ขณะที่การทำร้ายตัวเองเกิด 30–40% โรคนี้ปกติสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตอื่น เช่น โรควิตกกังวลและโรคการใช้สารเสพติด",
"title": "โรคอารมณ์สองขั้ว"
},
{
"docid": "815767#16",
"text": "หนังสือการจ่ายยาของสหราชอาณาจักร (British National Formulary) แนะนำให้ลดยารักษาโรคจิตอย่างช้า ๆ เพื่อเลี่ยงอาการขาดยาแบบฉับพลันหรือโรคกำเริบอย่างรวดเร็ว[32] นักวิชาการบางท่านอ้างว่า อาการอื่นทางกายและทางจิตเวชที่เกี่ยวกับความไวของระบบโดพามีนในระดับสูง รวมทั้ง อาการยึกยือเหตุยา (dyskinesia) และอาการโรคจิตฉับพลัน (acute psychosis) เป็นอาการขาดยาที่สามัญในบุคคลผู้รักษาด้วยยากลุ่ม neuroleptics[33][34][35][36] ซึ่งทำให้นักวิชาการบางท่านเสนอว่า กระบวนการขาดยาเองอาจจะเลียนอาการโรคจิตเภท เพราะว่าคนไข้ที่ก่อนหน้านี้ไม่มีโรคก็เกิดอาการโรคจิตเภทด้วย ซึ่งแสดงความเป็นไปได้ของโรคจิตเหตุยาในคนไข้ที่ปัจจุบันหรือที่อดีตรักษาด้วยยารักษาโรคจิตในระดับอัตราที่ยังไม่ปรากฏ ประเด็นนี้ยังไม่มีข้อยุติ และเป็นเรื่องสร้างความขัดแย้งในระดับสูงสำหรับวงการแพทย์และสุขภาพจิต และในสาธารณชน[37]",
"title": "ริสเพอริโดน"
},
{
"docid": "815767#24",
"text": "องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) อนุมัติให้ใช้ยารักษาโรคจิตเภทในปี พ.ศ. 2536[45] ในปี 2550 เป็นยาเดียวที่อนุมัติให้รักษาโรคจิตเภทในเด็กอายุระหว่าง 13-17 ปี และอนุมัติให้ใช้รักษาโรคอารมณ์สองขั้วในเด็กอายุ 10-17 ปี เพิ่มจากยา lithium ที่ได้ใช้มาก่อน ในปี 2546 FDA อนุมัติให้ใช้รักษาระยะฟุ้งพล่าน (manic) หรือผสม (mixed) ที่สัมพันธ์กับโรคอารมณ์สองขั้วในระยะสั้น ในปี 2549 FDA อนุมัติให้ใช้บำบัดความหงุดหงิดในเด็กและวัยรุ่นที่มีโรคออทิซึม[46] โดยมีเหตุส่วนหนึ่งจากงานศึกษาในคนไข้โรคออทิซึมที่มีปัญหารุนแรงและคงยืนเกี่ยวกับความรุนแรง ความก้าวร้าว และการทำร้ายตัวเอง แต่ว่า ไม่แนะนำให้ใช้ยาในคนไข้ที่มีความก้าวร้าวขั้นเบาและพฤติกรรมที่ระเบิดขึ้นแต่ไม่คงยืน[47]",
"title": "ริสเพอริโดน"
},
{
"docid": "815767#7",
"text": "งานวิจัยพบว่า ยาฉีดรักษาโรคจิตที่มีฤทธิ์ยาวช่วยการได้ยาตามคำสั่งแพทย์และลดอัตราการเกิดโรคอีกเทียบกับยาทาน[13][14] ส่วนประสิทธิผลของยาฉีดริสเพอริโดนที่มีฤทธิ์ยาวดูหมือนจะคล้ายกับยารักษาโรคจิตรุ่นแรกแบบฉีดที่มีฤทธิ์ยาวอื่น ๆ[15]",
"title": "ริสเพอริโดน"
},
{
"docid": "747322#15",
"text": "งานปริทัศน์เป็นระบบปี 2011 ที่ทบทวน CBT ที่ใช้ในโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวลสรุปว่า \"CBT ที่ทำในระดับปฐมภูมิ (primary care) โดยเฉพาะที่ทำโดยช่วยเหลือตนเองผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือทางอินเทอร์เน็ต อาจจะมีประสิทธิผลกว่าการรักษาธรรมดาทั่วไป และสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิผลโดยผู้ให้การรักษาพยาบาลระดับเบื้องต้น\"\nเริ่มมีหลักฐานที่แสดงนัยว่า CBT อาจมีบทบาทในการบำบัดโรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder),\nโรคไฮโปคอนดริเอซิส,\nการรับมือกับผลกระทบของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง,\nการบำบัดปัญหาการนอนเนื่องจากอายุ,\nอาการปวดระดู (dysmenorrhea),\nและโรคอารมณ์สองขั้ว\nแต่ควรจะมีการศึกษาเพิ่มและผลที่มีควรตีความอย่างระมัดระวัง",
"title": "การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม"
},
{
"docid": "815773#0",
"text": "ความผิดปกติทางอารมณ์ หรือ โรคอารมณ์แปรปรวน () เป็นกลุ่มโรคในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM) ที่ปัญหาทางอารมณ์ (mood) สันนิษฐานว่าเป็นอาการหลักของโรค\nส่วนในบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (ICD) เป็นกลุ่มที่เรียกว่า mood (affective) disorders ซึ่งแปลได้อย่างเดียวกัน\nจิตแพทย์ชาวอังกฤษเสนอหมวดโรคที่ครอบคลุมเรียกว่า \"affective disorder\" ในปี พ.ศ. 2477\nต่อมาจึงแทนชื่อว่า \"mood disorder\" เพราะว่าคำหลังหมายถึงสภาวะอารมณ์ที่เป็นเหตุโดยตรง\nเทียบกับคำแรกซึ่งหมายถึงการแสดงออกภายนอกที่คนอื่นสังเกตเห็นได้\nความผิดปกติจะจัดอยู่ในกลุ่มพื้นฐาน 3 กลุ่ม คือ\nมีกลุ่มย่อย ๆ ของกลุ่มโรคซึมเศร้า (depressive disorders) หรือว่าอาการทางจิตเวชอื่น ๆ ที่มีอาการรุนแรงน้อยกว่า เช่น Dysthymia (คล้ายกับโรคซึมเศร้าแต่เบากว่า) และ Cyclothymia (คล้ายกับ BD แต่เบากว่า)\nความผิดปกติทางอารมณ์อาจเกิดจากสารหรือเป็นการตอบสนองต่ออาการของโรคอื่น ๆ\nโรคซึมเศร้า (Major depressive disorder ตัวย่อ MDD) เป็นโรคที่บุคคลมีคราวซึมเศร้า (major depressive episode) หนึ่งครั้งหรือมากกว่านั้น\nดังนั้น หลังจากมีคราวซึมเศร้าครั้งเดียว ก็จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า (คราวเดียว)\nและหลังจากคราวแรก ก็จะวินิจฉัยเป็นโรคซึมเศร้า (ซ้ำ)\nโรคซึมเศร้าที่ไร้ระยะฟุ้งพล่าน (mania) บางครั้งเรียกว่าโรคซึมเศร้าขั้วเดียว (unipolar depression) เพราะว่าอารมณ์ติดอยู่ที่ขั้วซึมเศร้า โดยไม่ย้ายไปที่ขั้วฟุ้งพล่านเหมือนกับที่พบในโรคอารมณ์สองขั้ว (BD)",
"title": "ความผิดปกติทางอารมณ์"
},
{
"docid": "815767#18",
"text": "ริสเพอริโดนจะผ่านการสลายตัวในตับและการขับออกทางไต แนะนำให้ใช้ยาขนาดต่ำสำหรับคนไข้ที่มีโรคตับหรือไตหนัก[30] เมแทบอไลต์ออกฤทธิ์ของยา คือ paliperidone ก็ใช้เป็นยารักษาโรคจิตเหมือนกัน (antipsychotic)[39]",
"title": "ริสเพอริโดน"
},
{
"docid": "815767#0",
"text": "ริสเพอริโดน (English: Risperidone) หรือชื่อทางการค้าคือ ไรสเปอร์ดัล (Risperdal) เป็นยาระงับอาการทางจิต[1] ใช้โดยหลักเพื่อรักษาโรคจิตเภท โรคอารมณ์สองขั้ว และความหงุดหงิดของคนไข้โรคออทิซึม เป็นยาที่ใช้รับประทานหรือฉีดในกล้ามเนื้อ[1] โดยแบบฉีดมีฤทธิ์ยาวนานประมาณ 2 อาทิตย์[2]",
"title": "ริสเพอริโดน"
},
{
"docid": "815703#6",
"text": "โรควิตกกังวล เช่นโรคกลัวสังคม (social phobia)[15] โรคตื่นตระหนก[16] ประสิทธิผลของยาในการรักษาโรคตื่นตระหนกในระยะสั้นพบในงานทดลองทางคลินิกแบบมีกลุ่มควบคุม และมีงานระยะยาวที่แสดงประโยชน์ของยาจนถึง 3 ปีโดยไม่เกิดอาการชินยา แต่ว่าการทดลองเหล่านี้ไม่ได้ควบคุมด้วยยาหลอก ยายังมีประสิทธิผลในการจัดการอาการฟุ้งพล่านแบบฉับพลัน (acute mania) อีกด้วย[17]",
"title": "คโลนะเซแพม"
},
{
"docid": "815767#11",
"text": "ในโรคซึมเศร้า ถ้ายาที่รักษาในเบื้องต้น (ซึ่งปกติเป็นยากลุ่ม SSRI) ไม่ช่วยบรรเทาอาการพอเพียง มีเทคนิคให้ยาเพิ่ม (adjuncts) คือ ใช้ยารักษาโรคจิต (antipsychotic) รวมกับยาแก้ซึมเศร้า โดยเฉพาะยารักษาโรคจิตแบบ atypical เช่น aripiprazole, quetiapine, olanzapine, และ ริสเปอริโดน[27]",
"title": "ริสเพอริโดน"
},
{
"docid": "815767#6",
"text": "ประโยชน์ของยาเพื่อรักษาแบบดำรงสภาพ (maintenance) มีข้อสรุปที่ต่าง ๆ กัน งานปริทัศน์เป็นระบบปี 2555 สรุปว่า มีหลักฐานที่หนักแน่นว่าริสเพอริโดนมีประสิทธิผลกว่ายาระงับอาการทางจิตรุ่นแรก ทั้งหมดยกเว้น haloperidol แต่หลักฐานที่สนับสนุนว่าดีกว่ายาหลอกไม่ชัดเจน[10] ส่วนงานทบทวนวรรณกรรมปี 2554 สรุปว่า ยามีประสิทธิผลป้องกันการเกิดขึ้นอีกของโรคมากกว่ายารักษาโรคจิตรุ่นแรกและรุ่นสองทังหมดยกเว้น olanzapine และ clozapine[11] ส่วนงานทบทวนแบบคอเครนปี 2553 พบประโยชน์เล็กน้อยในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกในการรักษาโรคจิตเภท แต่งานก็อ้างปัญหาด้วยว่ามีความเอนเอียง (bias) ว่ายามีประโยชน์[12]",
"title": "ริสเพอริโดน"
},
{
"docid": "815773#23",
"text": "DSM-5 ที่เผยแพร่ในเดือนพฤษภาคม 2556 ได้แยกบทเรื่องความผิดปกติทางอารมณ์ที่พบใน DSM-IV-TR ออกเป็น 2 ภาค คือ Depressive and Related Disorders และ Bipolar and Related Disorders\nโดยโรคอารมณ์สองขั้วตกอยู่ระหว่างความผิดปกติแบบซึมเศร้า และ Schizophrenia Spectrum and Related Disorders (โรคที่เกี่ยวกับโรคจิตเภท)\n“เพื่อให้การยอมรับบทบาทของโรคว่าเป็นสะพานที่เชื่อมเกณฑ์วินิจฉัยสองหมวดโดยอาการ ประวัติครอบครัว และพันธุกรรม”\nโรคอารมณ์สองขั้วใน DSM-5 เปลี่ยนหลายอย่าง ที่เด่นที่สุดก็คือการเพิ่มอาการที่เฉพาะเจาะขึ้นเกี่ยวกับสภาวะเกือบฟุ้งพล่าน (hypomanic) และสภาวะอารมณ์ผสมผเส (mixed manic states)",
"title": "ความผิดปกติทางอารมณ์"
}
] |
2738 | วิชาชีววิทยามีแขนงย่อยกี่กลุ่ม? | [
{
"docid": "729#1",
"text": "มีแขนงย่อย 4 กลุ่ม",
"title": "ชีววิทยา"
}
] | [
{
"docid": "28483#3",
"text": "ปีการศึกษา 2522 คณะวิทยาศาสตร์เปิดรับนักศึกษาในเขตภูมิภาคตะวันตกให้เข้าศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์โดยการสอบคัดเลือกแบบโควตาพิเศษเป็นครั้งแรก ในขณะนั้น คณะวิทยาศาสตร์ผลิตบัณฑิต 6 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาสถิติ สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาชีววิทยา สาขาวิชาฟิสิกส์ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ซึ่งมีสาขาย่อยดังนี้ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวฟิสิกส์ สาขาวิชาเคมีชีววิทยา และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวสถิติ",
"title": "คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร"
},
{
"docid": "1011#10",
"text": "ทุกวันนี้ แขนงวิชาต่าง ๆ ของภาษาศาสตร์เชิงประยุกต์จะเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้กับคอมพิวเตอร์อย่างชัดเจน ในการสังเคราะห์เสียง () และการรู้จำเสียง () มีการนำเอาความรู้ด้านสัทศาสตร์และพยางค์ ( and ) มาใช้เพื่อสร้างส่วนติดต่อคอมพิวเตอร์ด้วยเสียง การประยุกต์ใช้งานภาษาศาสตร์เชิงคำนวณในการแปลภาษาด้วยเครื่อง () การแปลภาษาแบบเครื่องช่วย () และการประมวลผลภาษาธรรมชาตินั้น จัดเป็นแขนงวิชาที่เป็นประโยชน์อย่างมากของภาษาศาสตร์เชิงประยุกต์ ซึ่งเริ่มเข้ามามีบทบาทในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตามสมรรถนะการคำนวณของคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มสูงขึ้น อิทธิพลของภาษาศาสตร์เชิงคำนวณได้ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อทฤษฎีของวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ เนื่องด้วยการออกแบบทฤษฎีทางวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์บนคอมพิวเตอร์ จะจำกัดประสิทธิภาพของทฤษฎีเหล่านั้นด้วยโอเปอเรชั่นที่คำนวณได้ () และทำให้เกิดทฤษฎีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่แม่นยำ (ข้อมูลเพิ่มเติมในหัวข้อ ทฤษฎีการคำนวณได้)",
"title": "ภาษาศาสตร์"
},
{
"docid": "515198#0",
"text": "สัทวิทยา, สรวิทยา หรือ วิชาระบบเสียง () เป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับเรื่องเสียงในภาษา โดยแยกย่อยออกเป็น 2 แขนง คือ สัทศาสตร์ (phonetics) และสรศาสตร์ (phonemics)",
"title": "สัทวิทยา"
},
{
"docid": "729#24",
"text": "สัตววิทยา (zoology) ศึกษาชีววิทยาของสัตว์ ตั้งแต่สัตว์ชั้นต่ำพวก ฟองน้ำ แมงกะพรุน พยาธิตัวแบน พยาธิตัวกลม กลุ่มหนอนปล้อง สัตว์ที่มีข้อปล้อง กลุ่มสัตว์พวกหอย ปลาดาว จนถึง สัตว์มีกระดูกสันหลัง และ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พฤกษศาสตร์ (Botany) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพืช ศึกษาทั้งในด้านโครงสร้าง การเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ กระบวนการสร้าง (แอแนบอลิซึม) และสลาย (แคแทบอลิซึม) โรค และคุณสมบัติทางเคมีและความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ การกระจายของพืชในส่วนต่าง ๆ ของโลก จุลชีววิทยา (Microbiology) คือการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็ก ส่วนมากมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งเรียกว่าจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย อาร์เคีย ไวรัส เชื้อรา และ ยีสต์ กีฏวิทยา (Entomology) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ในกลุ่มของแมลง การจัดจำแนก สรีรวิทยา สัณฐานวิทยา และนิเวศวิทยาของแมลง ปักษีวิทยา (Ornithology) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับนก เห็ดวิทยา ราวิทยาหรือ กิณวิทยา (Mycology) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับเห็ด และ รา มีนวิทยา (Ichthyology) ศึกษาปลา ลักษณะรูปร่างภายนอกของปลา ระบบต่าง ๆ ภายในตัวปลา การจัดจำแนกปลาออกเป็นกลุ่มหรือประเภทต่าง ๆ และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปลา สังขวิทยา (Malacology) ศึกษาหอย โดยเฉพาะหอยน้ำจืดที่เป็นเจ้าบ้านส่งผ่านของพยาธิ ปรสิตวิทยา (Parasitology) ศึกษาปรสิต ซึ่งดำรงชีพโดยเป็นตัวเบียฬของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เช่น พยาธิตัวกลม พยาธิตัวแบน",
"title": "ชีววิทยา"
},
{
"docid": "152372#15",
"text": "การวิจัยทางกายวิภาคในช่วงร้อยปีที่ผ่านมามีการพัฒนาอย่างรวดเร็วเพราะการเจริญของเทคโนโลยี และความเข้าใจในวิทยาศาสตร์แขนงอื่นๆ เช่น ชีววิวัฒนาการ (evolutionary biology) และอณูชีววิทยา (molecular biology) ซึ่งช่วยให้เกิดความเข้าใจอวัยวะและโครงสร้างของมนุษย์มากขึ้น ความเข้าใจในวิชาวิทยาต่อมไร้ท่อ (endocrinology) ทำให้สามารถอธิบายหน้าที่ของต่อมต่างๆ ที่ในอดีตไม่เคยได้รับการอธิบาย อุปกรณ์ทางการแพทย์เช่น การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (MRI) หรือการตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ศึกษาอวัยวะของคนที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือเสียชีวิตไปแล้ว ความก้าวหน้าทางกายวิภาคศาสตร์ในปัจจุบันมุ่งไปที่การเจริญเติบโต วิวัฒนาการ และหน้าที่ของโครงสร้างทางกายวิภาค เนื่องจากความรู้ด้านมหกายวิภาคศาสตร์ (macroscopic anatomy) ได้ถูกรวบรวมอย่างเป็นระบบแล้ว สาขาย่อยของกายวิภาคศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ (non-human anatomy) ก็มีความสำคัญในปัจจุบัน เพราะนักกายวิภาคสมัยใหม่กำลังพยายามทำความเข้าใจหลักการพื้นฐานของการจัดระบบของกายวิภาคศาสตร์โดยผ่านเทคนิคสมัยใหม่ตั้งแต่การใช้ finite element analysis ไปจนถึงอณูชีววิทยา",
"title": "ประวัติวิชากายวิภาคศาสตร์"
},
{
"docid": "190619#2",
"text": "เดิมคณะรัฐศาสตร์สังกัดคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ตอนแรกมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้ริเริ่มจัดตั้งคณะนิติศาสตร์ก่อน โดยอาจารย์ทางรัฐศาสตร์ช่วยสอนวิชาพื้นฐาน จากนั้นไม่นานกลับปรากฏว่างานทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ขยายตัว เนื่องจากแนวโน้มของการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นและการพัฒนาความรู้ทางด้านจัดการภาครัฐแนวใหม่ อีกทั้งการศึกษารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์มีความเด่น เป็นที่รู้จักแพร่หลายและเป็นวิชาชีพที่มีประโยชน์ต่อการปฏิบัติโดยตรง ขณะเดียวกันความต้องการของผู้เรียนในพื้นที่ก็มีเพิ่ม มากขึ้นเรื่อย ๆ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยหลักในภาคอีสานตอนใต้จึงต้องการพัฒนาเพื่อเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอนและการวิจัยทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ การที่รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์รวมอยู่กับนิติศาสตร์ในตอนต้นนั้นจึงกลายเป็นอุปสรรค เพราะลักษณะวิชานิติศาสตร์กับรัฐศาสตร์แตกต่างกันมาก กับทั้งในทรรศนะของมหาวิทยาลัย อื่น ๆ แล้ว ต่างก็เป็นคณะที่ใหญ่ด้วยกัน ซึ่งแต่ละคณะมีกลุ่มเป้าหมายและสาขาแยกย่อยออกไปอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะการพัฒนาทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์มีหลักสูตร ที่แตกแขนงออกถึง 8 หลักสูตร ได้แก่",
"title": "คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี"
},
{
"docid": "224112#15",
"text": "อาคารเรียนของโรงเรียนสตรีนครสวรรค์มีทั้งหมด 10 อาคาร ดังนี้\nปัจจุบัน\nชั้นที่1 เป็นที่ตั้งของห้องสมุด resource center ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (สาขาวิชาชีววิทยา) ห้องปฏิบัติการชีววิทยา1 ห้องปฏิบัติการชีววิทยา2 และห้องเรียนพิเศษวิทยาศาตร์ ระดับชั้นม.4\nชั้นที่2 เป็นที่ตั้งของห้องโครงงานวิทยาศาสตร์ ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (สาขาวิชาฟิสิกส์) ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์1 ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์2 และห้องเรียนพิเศษวิทยาศาตร์ ระดับชั้นม.5",
"title": "โรงเรียนสตรีนครสวรรค์"
},
{
"docid": "729#0",
"text": "ชีววิทยา (English: Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน[1] โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า \"bios\" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ \"logos\" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล อาจารย์กรองทิพย์สอนไม่รู้เรื่องเลย เปลี่ยนคนสอนที",
"title": "ชีววิทยา"
},
{
"docid": "729#12",
"text": "ชีววิทยาเป็นสาขาวิชาที่ใหญ่มากจนไม่อาจศึกษาเป็นสาขาเดียวได้ จึงต้องแยกออกเป็นสาขาย่อยต่าง ๆ ในหัวข้อนี้จะแบ่งสาขาย่อยออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งเป็นสาขาที่ศึกษาโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต อย่างเช่นเซลล์ ยีน เป็นต้น กลุ่มที่สองศึกษาการทำงานของโครงสร้างต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับเนื้อเยื่อ ระดับอวัยวะ จนถึงระดับร่างกาย กลุ่มที่สามศึกษาประวัติศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มที่สี่ศึกษาความสัมพันธ์ในระหว่างสิ่งมีชีวิต อย่างไรก็ตาม การแบ่งกลุ่มนี้เป็นเพียงการจัดหมวดหมู่ให้สาขาต่าง ๆ ในชีววิทยาให้เป็นระเบียบและเข้าใจง่าย แต่ความจริงแล้ว ขอบเขตของสาขาต่าง ๆ นั้นไม่แน่นอน และสาขาวิชาส่วนใหญ่ก็จำเป็นต้องใช้ความรู้จากสาขาอื่นด้วย ตัวอย่างเช่น สาขาชีววิทยาของวิวัฒนาการ ต้องใช้ความรู้จากสาขาอณูวิทยา เพื่อจัดลำดับของดีเอ็นเอ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจความแปรผันทางพันธุกรรมของประชากร หรือสาขาวิชาสรีรวิทยา ต้องใช้ความรู้จากสาขาชีววิทยาของเซลล์ เพื่ออธิบายการทำงานของระบบอวัยวะ",
"title": "ชีววิทยา"
},
{
"docid": "7854#0",
"text": "รายชื่อสาขาวิชา หรือ สาขาการศึกษา (academic discipline หรือ field of study) หมายถึงสาขาความรู้ หรือ การวิจัยที่เปิดสอนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย คำว่า \"สาขาวิชา\" ได้รับการนิยามและยอมรับโดย วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และโดยสมาคมผู้รู้ () และโดยภาควิชาหรือคณะวิชาที่บุคคลผู้อยู่ในสาขาวิชานั้นๆ สังกัด โดยปกติ สาขาการศึกษาต่างๆ มักมีสาขาย่อยหรือแขนงวิชาแตกออกไป เส้นแบ่งระหว่างสาขาย่อยมักยังมีความคลุมเครือและมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน",
"title": "รายการสาขาวิชา"
},
{
"docid": "81633#0",
"text": "กฎ () คือ ข้อบังคับ ที่อยู่ในความเป็นจริง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและ ชีวิต แต่อย่างไรก็ตามกฎในบางแขนงวิชาเช่นชีววิทยามีโอกาสถูกล้มล้างได้ โดยมีความจริงในตัวของมันเองสามารถทดสอบได้ และได้ผลเหมือนเดิมทุกครั้งโดยไม่มีข้อโต้แย้ง เช่น [กฎการถ่ายทอดพันธุกรรมของเมนเดล] (mendel's law )",
"title": "กฎ"
},
{
"docid": "219005#0",
"text": "ชีววิทยาระบบ () เป็นการศึกษาชีววิทยาที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบแยกย่อยของสิ่งมีชีวิตในภาพรวม (แทนการศึกษาส่วนประกอบย่อยๆ ทีละส่วน) แนวคิดทางชีววิทยาระบบคล้ายคลึงกับวิชาสรีรวิทยาในแง่ของการศึกษากลไกภายใต้ปรากฏการณ์ทางชีววิทยาผสมผสานกับเทคโนโลยีหลังยุคจีโนมที่ช่วยให้นักชีววิทยาศึกษาส่วนประกอบย่อย ๆ หลาย ๆ ส่วนได้พร้อมๆกัน",
"title": "ชีววิทยาระบบ"
},
{
"docid": "4308#0",
"text": "ในวิชาชีววิทยา ชนิด[1] หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (English: species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น \"ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด\" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma))",
"title": "สปีชีส์"
},
{
"docid": "37125#0",
"text": "บรรพชีวินวิทยา () คือ วิชาที่ศึกษาลักษณะรูปร่าง ลักษณะความเป็นอยู่ และประวัติการวิวัฒนการของสิ่งมีชีวิต ได้แก่สัตว์และพืชในธรณีกาล โดยอาศัยข้อมูลหรือร่องรอยต่างๆ ของสัตว์และพืชนั้นๆที่ถูกเก็บบันทึกและรักษาไว้ในชั้นหิน จัดเป็นแขนงหนึ่งของวิชาธรณีวิทยา ที่อาศัยความรู้ทางชีววิทยาปัจจุบันไปเปรียบเทียบกับหลักฐานที่ได้สภาพซากดึกดำบรรพ์ เพื่อให้เข้าใจสภาพแวดล้อมในอดีตในช่วงที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาศัยอยู่ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ เรียกว่า นักบรรพชีวินวิทยา",
"title": "บรรพชีวินวิทยา"
},
{
"docid": "54275#1",
"text": "วิศวกรรมผันกลับ เป็นวิทยาศาสตร์โดยพื้นฐาน ที่ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ (ในทางกลับกัน วิศวกรรม อาจถูกมองว่าเป็น 'วิทยาศาสตร์ย้อนกลับ' ก็ได้) วิชาชีววิทยาถือได้ว่าเป็น วิศวกรรมย้อนกลับของ'เครื่องจักรชีวะ' วิชาฟิสิกส์เป็นวิศวกรรมย้อนกลับของโลกทางกายภาพ วิศวกรรมย้อนกลับถือเป็นสาขาย่อยในวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มีความเป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง ส่วนสาขาย่อยอื่นๆในวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นจัดเป็น วิศวกรรมการสร้าง'ไปข้างหน้า'",
"title": "วิศวกรรมผันกลับ"
},
{
"docid": "62225#0",
"text": "ประสาทชีววิทยา (English: Neurobiology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเซลล์ชนิดต่างๆ ในระบบประสาท และการจัดระเบียบของเซลล์เหล่านี้ให้สามารถทำงานเชื่อมต่อกันเป็นวงจรเพื่อใช้ประมวลผลข้อมูลและการแสดงออกทางพฤติกรรม ประสาทชีววิทยาเป็นแขนงวิชาย่อยของชีววิทยาและประสาทวิทยาศาสตร์ ประสาทชีววิทยาแตกต่างจากประสาทวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่กว้างและเกี่ยวข้องกับการศึกษาระบบประสาทในหลายรูปแบบ นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาประสาทชีววิทยาเรียกว่านักประสาทชีววิทยา (neurobiologist)",
"title": "ประสาทชีววิทยา"
},
{
"docid": "44984#8",
"text": "เป็นกลุ่มของศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างทางเคมีของตัวยา, รูปแบบเภสัชภัณฑ์, การวิเคราะห์ยา การค้นหาตัวยาจากแห่งธรรมชาติและการสังเคราะห์ทางเคมี ตลอดจนการศึกษาผลของยาต่อร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ อาทิ เคมี, ฟิสิกส์, ชีววิทยา, คณิตศาสตร์, สถิติศาสตร์ และ วิศวกรรมเคมี วิทยาศาสตร์เภสัชกรรมประกอบด้วยแขนงวิชาหลัก 5 สาขา อันประกอบด้วย เภสัชวิทยา, เภสัชเคมี, เภสัชวิเคราะห์, เภสัชภัณฑ์ และ เภสัชเวท ",
"title": "เภสัชศาสตร์"
},
{
"docid": "729#4",
"text": "สาขาวิชาพันธุศาสตร์เป็นการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง สาขาวิชาพฤติกรรมวิทยาเป็นการศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มสิ่งมีชีวิต สาขาวิชาพันธุศาสตร์ประชากรเป็นการศึกษาพันธุศาสตร์ในระดับประชากรของสิ่งมีชีวิต การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งกับสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง และระหว่างสิ่งมีชีวิตกับถิ่นที่อยู่อาศัย จัดอยู่ในสาขาวิชานิเวศวิทยาและชีววิทยาของวิวัฒนาการ",
"title": "ชีววิทยา"
},
{
"docid": "865119#0",
"text": "ในทางชีววิทยา วงศ์วานวิวัฒนาการ () (Greek: φυλή, φῦλον - \"phylé\", \"phylon\" = เผ่าพันธุ์, ชาติพันธุ์ + γενετικός - \"genetikós\" = ต้นกำเนิด, แหล่งที่มา, ชาติกำเนิด) เป็นแขนงหนึ่งของชีววิทยา (Biology) ที่ศึกษาเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์การวิวัฒนาการ และความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม หรือสมาชิกของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากสิ่งมีชีวิตในโลกนี้มีมากมายหลายล้านสปีชีส์ นักวิทยาศาสตร์จึงใช้วิธีการจัดกลุ่มเป็นระบบซับเซ็ท เรียงลำดับเป็นระดับ 7 ชั้น จากกลุ่มใหญ่ไปยังกลุ่มย่อย จากรายละเอียดน้อยไปรายละเอียดมาก ซึ่งเรียกว่า อนุกรมวิธาน (Taxanomy) โดยมี อาณาจักร (Kingdom) มีระดับที่ใหญ่ที่สุด และ สปีชีส์ (Species) เป็นระดับที่เล็กที่สุด โดยความเกี่ยวข้องระหว่างสิ่งมีชีวิตในกลุ่มความสัมพันธ์ต่างๆ (เช่น คลาส, ออเดอร์, สกุล, วงศ์, สปีชีส์) ต้องอาศัยการวิเคราะห์ลักษณะร่วมที่สืบทอดทางพันธุกรรมได้ ไม่ว่าโดยทาง DNA หรือ ในทางสัณฐานวิทยา (morphology)",
"title": "วงศ์วานวิวัฒนาการ"
},
{
"docid": "7854#4",
"text": "\"ดูบทความประกอบ\": รายชื่อศาสนา ()\"ดูบทความประกอบ\": แขนงของวิชาภาษา () , แขนงของวิชาภาษาศาสตร์ () , แขนงของสาขาวิชาภาษาศาสตร์มานุษยวิทยา ()\"ดูบทความประกอบ:\" แขนงของสาขาวิชามานุษยวิทยา ()\"ดูบทความประกอบ:\" แขนงของสาขาวิชาโบราณคดี \"\n\"ดูบทความประกอบ:\" แขนงของสาขาวิชาภูมิภาคศึกษา ()\"ดูบทความประกอบ:\" แขนงของสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ()\n\"ดูบทความประกอบ\": แขนงของสาขาวิชาภูมิศาสตร์ ()\"ดูบทความประกอบ\": แขนงของสาขาวิชารัฐศาสตร์ ()\"ดูบทความประกอบ\" แขนงของสาขาวิชาจิตวิทยา () , ประเภทของจิตบำบัด (Types of psychotherapy)\"ดูบทความประกอบ\": แขนงของสาขาวิชาสังคมวิทยา ()\"ดูบทความประกอบ:\" แขนงของสาขาวิชาดาราศาสตร์ ()",
"title": "รายการสาขาวิชา"
},
{
"docid": "3647#0",
"text": "วิทยาศาสตร์โลก, โลกวิทยา, โลกศาสตร์, พิภพวิทยา, วิทยาศาสตร์พื้นพิภพ (Earth Sciences) เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกครอบคลุมแขนงต่าง ๆ ของวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับดาวเคราะห์โลก วิทยาศาสตร์โลกอาจถือได้ว่าเป็นกรณีพิเศษของวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ เนื่องจากโลกเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวเท่าที่เรารู้จักที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ แนวทางในการศึกษาวิทยาศาสตร์โลกนั้น มีทั้งคตินิยมแบบลดทอนและแบบองค์รวม สาขาวิชาสำคัญ ๆ ของวิทยาศาสตร์โลกเท่าที่ผ่านมานั้น จะใช้วิชาฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ เคมี และชีววิทยา เพื่อสร้างความเข้าใจเชิงปริมาณในพื้นที่หรือ\"ภาค (sphere)\" หลัก ๆ ของระบบโลก ซึ่งได้แก่",
"title": "วิทยาศาสตร์โลก"
},
{
"docid": "482121#2",
"text": "ปัจจุบัน วิชาเคมีที่ศึกษาเกี่ยวกับสารประกอบโคออร์ดิเนชัน เรียกว่า เคมีโคออร์ดิเนชัน (coordination chemistry) ซึ่งได้แตกแขนงออกเป็นสาขาวิชาย่อยมากมาย อาทิ เคมีของสารประกอบโลหอินทรีย์ (organometallic chemistry) เคมีซุปราโมเลกุลาร์ (supramolecular chemistry) และเป็นพื้นฐานของศาสตร์แขนงใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบโครงสร้างของของแข็งโดยเฉพาะสารประกอบที่เรียกว่า โคออร์ดิเนชันพอลิเมอร์ (coordination polymers) และ โครงข่ายโลหะ-สารอินทรีย์ (metal-organic frameworks) เป็นต้น",
"title": "สารประกอบโคออร์ดิเนชัน"
},
{
"docid": "995959#0",
"text": "พฤฒาวิทยา () คือวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับแง่มุมของชีวิตชราภาพ ทั้งในด้านสังคม, วัฒนธรรม, จิตวิทยา, ปริชาน วิชานี้เป็นคนละแขนงกับเวชศาสตร์ผู้สูงอายุที่มุ่งเน้นแต่เพียงศึกษาด้านการรักษาดูแลผู้สูงวัยเท่านั้น แต่วิชาพฤฒาวิทยานั้นเน้นการศึกษาและปฏิบัติในทุกแง่มุมของชีวิตของผู้สูงวัย ทั้งด้านชีววิทยา พยาบาลศาสตร์, การแพทย์, อาชญาวิทยา, ทันตกรรม, งานสังคม, การบำบัดทางร่างกายและจิตใจ, จิตวิทยา, จิตเวช, สังคมวิทยา, เศรษฐศาสตร์, การเมือง, สถาปัตยกรรม, ภูมิศาสตร์, เภสัชกรรม, สาธารณสุข, ที่อยู่อาศัย และมานุษยวิทยา",
"title": "พฤฒาวิทยา"
},
{
"docid": "16848#0",
"text": "กายวิภาคศาสตร์ (; \"anatomia\", มาจาก ἀνατέμνειν \"ana\": การแยก และ \"temnein\": การตัดเปิด) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาชีววิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต คำนี้หมายรวมถึงกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (human anatomy) , กายวิภาคศาสตร์สัตว์ (animal anatomy หรือ zootomy) และกายวิภาคศาสตร์พืช (plant anatomy หรือ phytotomy) ในบางแง่มุมกายวิภาคศาสตร์ก็มีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับวิชาคัพภวิทยา (embryology) , กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative anatomy) และคัพภวิทยาเปรียบเทียบ (phylogenetics หรือ comparative embryology) โดยมีรากฐานเดียวกันคือวิวัฒนาการ (evolution)",
"title": "กายวิภาคศาสตร์"
},
{
"docid": "7854#3",
"text": "เครื่องหมายดอกจัน * แสดงเป็นหมายเหตุว่าสาขาวิชานั้นยังเป็นที่ถกเถียงถึงสถานภาพว่าควรนับไว้ในสายวิชาใด เช่น วิชามานุษยวิทยา และวิชาภาษาศาสตร์ควรจัดไว้ในกลุ่มสังคมศาสตร์ หรือ มนุษยศาสตร์ เป็นที่สังเกตได้ว่าบางท่าน โดยเฉพาะนักทฤษฎีวิจารณ์มักให้ความสำคัญในการบ่งชี้การจัดกลุ่มที่เข้มงวดในทุกสายวิชา รวมทั้งความชัดเจนของโครงสร้างของแนวคิดโดยรวมของแต่ละวิชาซึ่งยังเป็นถกเถียงได้มากสำหรับบางคน\"ดูบทความประกอบ\": แขนงของสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ()\"ดูบทความประกอบ\": แขนงของสาขาวิชาปรัชญา ()",
"title": "รายการสาขาวิชา"
},
{
"docid": "76333#0",
"text": "กะพ้อ (ชื่อวิทยาศาสตร์ : \"Licuala paludosa\" Griff.) เป็นปาล์มลำต้นเตี้ย สูง 1-3 ม. ลำต้นแตกหน่อเป็นกอ ใบมีลักษณะคล้ายฝ่ามือ เรียงเวียนสลับ รูปกลม ก้านใบรูปสามเหลี่ยม มีหนามแหลมสีดำ ใบประกอบด้วยกลุ่มใบย่อย 6-9 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีใบย่อย 3-4 ใบ ใบย่อยรูปแถบ ปลายเบี้ยว และเว้าเป็นหางปลา โคนสอบ ออกเป็นกลุ่มชิดกันที่ปลายก้านใบ โคนก้านใบมีเส้นใยประสานกันหุ้มหนาแน่น กาบใบเล็กเป็นหลอดสีเขียว ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงสั้น แยกแขนงเป็นช่อเชิงลด 5-7 ช่อ ห้อยลง ดอกไม่มีก้าน กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปถ้วย เมื่อดอกเจริญขึ้นกลีบเลี้ยงจะฉีกออกทางด้านข้าง กลีบดอกรูปคนโท โคนติดกัน ปลายแยกเป็น 3 แฉก เกสรเพศผู้ 6 อัน ติดกันเป็นวงรอบกลีบดอก เกสรเพศเมียเล็ก รังไข่ตอนบนตัดแบน ผลกลม แก่จัดสีส้ม เนื้อบาง เมล็ดกลม",
"title": "กะพ้อ"
},
{
"docid": "250632#2",
"text": "การแพร่เป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญในสาขาย่อยๆของวิชา ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา\nตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานมีดังต่อไปนี้",
"title": "การแพร่"
},
{
"docid": "5186#55",
"text": "จากการที่มีข้อมูลลำดับพันธุกรรมปริมาณมากจึงเริ่มมีการพัฒนาศาสตร์ใหม่อย่างจีโนมิกส์ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาและวิเคราะห์รูปแบบที่มีอยู่ในจีโนมของสิ่งมีชีวิต โดยเป็นแขนงวิชาย่อยของชีวสารสนเทศ ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางชีววิทยาปริมาณมหาศาลได้",
"title": "พันธุศาสตร์"
},
{
"docid": "729#25",
"text": "กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) เป็นการศึกษาโครงสร้างและการจัดเรียงตัวของร่างกายมนุษย์ สาขาวิชาหลักของกายวิภาคศาสตร์ได้แก่ มหกายวิภาคศาสตร์ (Gross anatomy) ซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงสร้างที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จุลกายวิภาคศาสตร์ หรือมิญชวิทยา หรือวิทยาเนื้อเยื่อ (Histology) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษากายวิภาคศาสตร์ในระดับจุลภาคซึ่งต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ สัณฐานวิทยา (Morphology) ศึกษาโครงสร้างและรูปร่างของสิ่งมีชีวิต สรีรวิทยา (Physiology) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของระบบต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิต ทั้งในด้านกลศาสตร์ ด้านกายภาพ และด้านชีวเคมี แบ่งเป็น 2 สาขาย่อย คือ สรีรวิทยาของพืช และสรีรวิทยาของสัตว์ * อณูชีววิทยา (Molecular biology) หรือ ชีววิทยาโมเลกุล เป็นสาขาย่อย ที่แตกออกมาจากชีวเคมี เน้นศึกษาโครงสร้างและการทำงานของยีน (gene) ซึ่งเป็นรหัสพันธุกรรมบนสายดีเอ็นเอ หรือ อาร์เอ็นเอ ตลอดจนการควบคุมการทำงานของยีน ในระดับต่าง ๆ จนออกมาเป็น สาย อาร์เอ็นเอ และ เป็น โปรตีน พันธุศาสตร์ (Genetics) คือ สาขาแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ซึ่งว่าด้วยการศึกษาหน่วยพันธุกรรม หรือ ยีน, กรรมพันธุ์ (heredity) , และวิวัฒนาการในสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ลักษณะทางพันธุกรรม การถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต จากชั่วชีวิตหนึ่งไปอีกชั่วชีวิตหนึ่ง เซลล์พันธุศาสตร์ (Cytogenetics) ศึกษาพันธุศาสตร์ในระดับเซลล์ รูปร่าง ลักษณะ และจำนวนของโครโมโซมในสิ่งมีชีวิต ตำแหน่งที่ตั้งของยีนบนโครโมโซม และการแบ่งเซลล์ในสิ่งมีชีวิต นิเวศวิทยา (Ecology) คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับถิ่นที่อยู่และสิ่งแวดล้อม คัพภวิทยา หรือ วิทยาเอ็มบริโอ (Embryology) เป็นการศึกษาการเจริญของเอ็มบริโอ เอ็มบริโอคือขั้นหนึ่งของการเจริญของสิ่งมีชีวิตก่อนคลอดหรือออกจากไข่ หรือในพืชคือในระยะก่อนการงอก (germination) ชีววิทยาของเซลล์ (cell biology) หรือ วิทยาเซลล์ (cytology) เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับเซลล์ ทั้งในด้านคุณสมบัติทางสรีรวิทยา, โครงสร้าง, ออร์แกเนลล์ที่อยู่ภายใน, ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม, วัฎจักรเซลล์, การแบ่งเซลล์, และการตายของเซลล์ มหพยาธิวิทยา (Gross pathology) หมายถึงลักษณะแสดงในระดับมหัพภาค (หรือระดับตาเปล่า) ของโรคที่เกิดในอวัยวะ, เนื้อเยื่อ และช่องตัว ศัพท์ดังกล่าวใช้กันทั่วไปในวิชาพยาธิกายวิภาค (anatomical pathology) เพื่อหมายถึงการตรวจเพื่อวินิจฉัยหาข้อมูลในชิ้นเนื้อตัวอย่างหรือการชันสูตรพลิกศพ (autopsy)",
"title": "ชีววิทยา"
}
] |
816 | ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์ มีชื่อภาษาอังกฤษว่าอย่างไร? | [
{
"docid": "780313#0",
"text": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์ (English: Time-Domain Reflectometer) หรือ TDR เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้การวัดสัญญาณสะท้อนกลับด้วยขอบเขตของเวลา (English: time-domain reflectometry) เพื่อหาลักษณะเฉพาะและจุดเสียในสายเคเบิลโลหะ (ตัวอย่างเช่น สายคู่บิด หรือ สายแกนร่วม)[1] มันยังสามารถนำไปใช้ในการค้นหาหน้าสัมผัสที่ bad contact ในหัวเชื่อมต่อ (English: connector), ใน แผงวงจรพิมพ์ หรือเส้นทางไฟฟ้าอื่น ๆ อุปกรณ์เทียบเท่าที่ใช้กับ ใยแก้วนำแสง เรียกว่า optical time-domain reflectometer หรือ OTDR",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
}
] | [
{
"docid": "780313#14",
"text": "โปรดสังเกตุว่าถ้ามีการบรรจบอย่างสมบูรณ์แบบในทางทฤษฎีที่ปลายสุดของสายเคเบิล พัลส์ที่ใส่เข้าไปในเคเบิลจะดูดซึมอย่างหมดสิ้น จึงไม่ก่อให้เกิดการสะท้อนใด ๆ ในกรณีนี้มันจะเป็นไปไม่ได้ที่จะวัดความยาวจริงของสายเคเบิล โชคดีที่การบรรจบอย่างสมบูรณ์แบบนี้สามารถหาได้ยากมากและการสะท้อนขนาดเล็กบางส่วนจะเกิดขึ้นได้เกือบตลอดเวลา",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#20",
"text": "อุปกรณ์ TDR ยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการวิเคราะห์ความล้มเหลวของแผงวงจรพิมพ์ความถี่สูงที่ทันสมัยที่มีเส้นวาดสัญญาณที่สร้างขึ้นมาเพื่อเลียนแบบสายส่ง โดยการสังเกตการสะท้อนกลับ หมุดที่บัดกรีไว้ไม่ดีใด ๆ ของอุปกรณ์แผงกลมของกริดจะสามารถตรวจพบได้ หมุดที่ลัดวงจรก็สามารถตรวจพบได้ในลักษณะคล้ายกัน",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#11",
"text": "TDR ของขั้นบันไดเข้าที่หัวตัวผู้ของสาย SMA ที่ปล่อยลอยอยู่ (non-precision open) แนวนอน: 1ns/ช่อง แนวตั้ง: 0.5ρ/ช่อง TDR ของขั้นบันไดเข้าที่ APC-7mm connector ที่ปล่อยลอยอยู่ TDR ของขั้นบันไดเข้าที่ APC-7mm precision open TDR ของขั้นบันไดเข้าที่ APC-7mm precision load TDR ของขั้นบันไดเข้าที่ APC-7mm precision short TDR ของขั้นบันไดเข้าที่ APC-7mm precision open แนวนอน: 20ps/ช่อง TDR ของขั้นบันไดเข้าที่ BNC connector pair; ยอดสัญญาณสะท้อนสูงสุดเป็น 0.04 แนวนอน: 200ps/ช่อง แนวตั้ง: 20mρ/ช่อง",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#16",
"text": "เมื่อ Zo ถูกกำหนดให้เป็นอิมพีแดนซ์ลักษณะของตัวกลางการส่งและ Zt เป็นอิมพีแดนซ์ที่ปลายสุดของสายส่ง",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#4",
"text": "เพราะความไวของการเปลี่ยนแปลงอิมพีแดนซ์ ทำให้ TDR สามารถนำมาใช้ในการตรวจสอบคุณลักษณะด้านอิมพีแดนซ์ของสายเคเบิ้ล, การบรรจบปลายสายแบบหลอมละลาย (English: fusion splicing) และตำแหน่งของคอนเนกเตอร์ และการสูญเสียพลังงานที่เกี่ยวข้อง, และความยาวโดยประมาณของสายเคเบิล",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#28",
"text": "การใช้งานอีกอย่างหนึ่งของ TDRs ในด้านวิศวกรรมปฐพีเทคนิคคือการกำหนดเนื้อหาความชื้นในดิน ซึ่งสามารถทำได้โดยการวาง TDR แต่ละตัวในชั้นดินที่แตกต่างกันและทำการวัดเวลาของการเริ่มต้นของการตกของหยาดน้ำฟ้าและเวลาที่ TDR บ่งบอกถึงการเพิ่มขึ้นในเนื้อหาของความชื้นในดิน ความลึกของ TDR (d) เป็นปัจจัยที่รู้แล้ว และอีกปัจจัยหนึ่งคือเวลาที่ใช้ของน้ำที่หยดลงที่จะไปถึงความลึก (t); ดังนั้นความเร็วของการแทรกซึมของน้ำ (อุทกวิทยา) (v) จะสามารถกำหนดได้ นี้เป็นวิธีการที่ดีสำหรับการประเมินประสิทธิภาพของวิธีการจัดการที่ดีที่สุด (BMPs) ในการลดพื้นที่การพังทลายของผิวหน้าดินเนื่องจากการไหลบ่าของน้ำฝน",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#18",
"text": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์ถูกใช้ทั่วไปในสถานที่ที่มีการทดสอบสายเคเบิลที่ยาวมาก แต่มันเป็นไปไม่ได้ที่จะขุดหรือรื้อขึ้นมาในสิ่งที่อาจจะเป็นสายเคเบิลที่ยาวหลายกิโลเมตร พวกมันมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการบำรุงรักษาเชิงป้องกันสำหรับสายการสื่อสารโทรคมนาคม โดย TDR สามารถตรวจสอบความต้านทานที่หัวต่อและจุดเชื่อมต่อเนื่องจากการเป็นสนิมและมีการรั่วไหลเพิ่มขึ้นของฉนวนหุ้มเนื่องจากการเสื่อมสมรรถภาพทำให้มีน้ำเข้าไปในหัวต่อ เป็นเวลานานก่อนที่สายไฟภายในเส้นใดเส้นหนึ่งจะล้มเหลวจนเกิดปัญหารุนแรง เมื่อใช้ TDR มันก็เป็นไปได้ที่จะระบุจุดที่เกิดปัญหาภายในระยะเป็นเซนติเมตร",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#1",
"text": "TDR จะวัดการสะท้อนกลับของสัญญาณภายในสายไฟตัวนำ เพื่อที่จะวัดการสะท้อนเหล่านั้น TDR จะส่งสัญาณไฟฟ้าตกกระทบขนาดหนึ่งเข้าไปในสายไฟตัวนำนั้นและฟังสัญญาณสะท้อนกลับ ถ้าตัวนำมีอิมพีแดนซ์สม่ำเสมอและมีการบรรจบปลาย (English: terminate) อย่างเหมาะสม ดังนั้นมันจะไม่มีการสะท้อนกลับและสัญญาณตกกระทบที่เหลือจะถูกดูดซับที่ปลายสายจากการบรรจบสายนั้น แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงในอิมพีแดนซ์ บางส่วนของสัญญาณตกกระทบจะสะท้อนกลับไปยังแหล่งกำเนิดของมัน TDR จะมีหลักการคล้ายกับเรดาร์",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#5",
"text": "TDR ใช้สัญญาณตกกระทบได้หลายแบบที่แตกต่างกัน TDR บางตัวส่งสัญญาณชีพจร เข้าไปในตัวนำ; ความละเอียดของเครื่องมือดังกล่าวมักจะเป็นความกว้างของพัลส์ พัลส์ที่แคบสามารถให้ความละเอียดที่ดีแต่ความถี่สูงสามารถลดทอนสัญญาณในสายเคเบิลที่ยาว รูปร่างของพัลส์มักจะเป็นคลื่นซายน์ครึ่งรอบ[2] สำหรับสายที่ยาวขึ้น จะใชัพัลส์ที่กว้างกว่า",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#15",
"text": "ขนาดของการสะท้อนจะถูกเรียกว่าค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนหรือ ρ มีช่วงจาก 1 (วงจรเปิด) ถึง -1 (ลัดวงจร) ค่าเป็นศูนย์หมายถึงว่าไม่มีการสะท้อน ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนสามารถคำนวณได้ดังนี้:",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#23",
"text": "กลุ่มสนใจความปลอดภัยของเขื่อนของ CEA Technologies, Inc (CEATI) บริษัทร่วมการงานขององค์กรพลังงานไฟฟ้าแห่งหนึ่ง ได้ใช้ TDR แบบการแพร่กระจายคลื่นเพื่อระบุความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในสายสมอเขื่อนคอนกรีต ประโยชน์ที่สำคัญของ TDR ที่เหนือกว่าวิธีการทดสอบแบบอื่นก็คือการทดสอบวิธีนี้เป็นการทดสอบแบบไม่ทำลาย[8]",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#21",
"text": "หลักการ TDR ถูกใช้ในการตั้งค่าทางอุตสาหกรรม ในสถานการณ์ที่หลากหลายเช่นการทดสอบของแพคเกจวงจรรวมเพื่อวัดระดับของของเหลว ในการทดสอบของแพคเกจวงจรรวม TDR จะใช้เพื่อแยกจุดที่ล้มเหลวในแพคเกจเดียวกัน ในการวัดระดับของของเหลวส่วนใหญ่จะจำกัดตามกระบวนการทางอุตสาหกรรม",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#29",
"text": "TDR ที่ใช้ในการวิเคราะห์ความล้มเหลวของสารกึ่งตัวนำเป็นวิธีการที่ไม่ทำลายสำหรับตำแหน่งของข้อบกพร่องต่าง ๆ ในแพคเกจอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ TDR จะมอบลายเซ็นไฟฟ้าของร่องรอยสื่อกระแสไฟฟ้าแต่ละอย่างในแพคเกจอุปกรณ์และมันเป็นประโยชน์สำหรับการกำหนดตำแหน่งของวงจรเปิดและวงจรช๊อตทั้งหลาย",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#30",
"text": "TDR โดยเฉพาะอย่างยิ่ง TDR แบบแพร่กระจายคลื่น ถูกใช้ในการการบำรุงรักษาเชิงป้องกันสไหรับสายไฟในอากาศยาน รวมทั้งการหาตำแหน่งของจุดผิดพลาด[9] TDR แบบแพร่กระจายคลื่นมีความได้เปรียบตรงที่มีความแม่นยำในการกำหนดตำแหน่งของความผิดปกติภายในหลายพันไมล์ของการเดินสายไฟในอากาสยาน นอกจากนี้เทคโนโลยีนี้คุ้มค่าในการพิจารณาเพื่อนำมาใช้ในการเฝ้าดูแบบเวลาจริงของอากาศยานเพราะการสะท้อนแบบแพร่กระจายคลื่นความถี่สามารถทำงานในสายที่มีไฟ",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#24",
"text": "บทความหลัก: การวัดชิ้นส่วนที่ชื้นโดยการใช้ TDR",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#31",
"text": "วิธีการนี้้ได้แสดงให้เห็นว่ามีประโยชน์ในการกำหนดตำแหน่งของความผิดพลาดทางไฟฟ้าที่เกิดแบบไม่สม่ำเสมอ[10]",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#19",
"text": "TDR ยังเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากอีกด้วยสำหรับมาตรการตอบโต้แบบการเฝ้าระวังทางเทคนิค โดยมันจะช่วยตรวจสอบการดำรงอยู่และสถานที่ตั้งของสายลักลอบเชื่อมต่อเพื่อดักฟัง (English: wire tap) การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในอิมพีแดนซ์ที่เกิดจากการแทปหรือการประกบสายจะปรากฏขึ้นบนหน้าจอของ TDR เมื่อมีการเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#22",
"text": "ในอุปกรณ์ตรวจวัดระดับที่ีพื้นฐานจาก TDR อุปกรณ์นั้นจะสร้างแรงกระตุ้น (English: impulse) ที่แพร่กระจายลงท่อนำคลื่นชนิดบาง (ที่เรียกว่าหัววัด (English: probe)) ซึ่งโดยปกติจะเป็นแท่งโลหะหรือสายเคเบิลเหล็ก เมื่อแรงกระตุ้นนี้กระทบผิวหน้าของสื่อกลางที่จะทำการวัด ส่วนหนึ่งของแรงกระตุ้นจะสะท้อนกลับมาที่ท่อนำคลื่น อุปกรณ์จะกำหนดระดับของเหลวโดยการวัดความแตกต่างของเวลาระหว่างเวลาที่ส่งแรงกระตุ้นออกไปกับเวลาที่สะท้อนกลับมา ตัวรับรู้สามารถส่งระดับที่วิเคราะห์ได้ออกเป็นสัญญาณแอนาล็อกอย่างต่อเนื่องหรือสัญญาณเอ้าพุทแบบสลับ ในเทคโนโลยีของ TDR, ความเร็วของแรงกระตุ้นจะได้รับผลกระทบเป็นหลักโดยค่า permittivity ของตัวกลางที่พัลส์แพร่กระจายผ่านเข้าไป ซึ่งสามารถแตกต่างกันอย่างมากตามความชื้นและอุณหภูมิของตัวกลาง ในหลายกรณี ผลกระทบนี้สามารถแก้ไขได้โดยไม่ยากเกินควร ในบางกรณีเช่นในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิสูงและ/หรือเดือด การแก้ไขอาจจะยากลำบาก ในกรณีเฉพาะอย่าง การกำหนดความสูงของฟอง (โฟม) และระดับของของเหลวที่ทรุดตัวลงในตัวกลางที่เป็นฟอง/เดือดอาจจะยากลำบากมาก",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#26",
"text": "และกลุ่มเพื่อนของ Topp (1980) ความคิดเห็นล่าสุดและงานอ้างอิงของเนื้อเรื่องจะรวมถึง Topp และเรโนลด์ (1998), Noborio (2001), Pettinellia และเพื่อน (2002), Topp และ Ferre (2002) และโรบินสันและเพื่อน (2003) วิธี TDR เป็นเทคโนโลยีสายส่งอย่างหนึ่ง และเป็นตัวกำหนด permittivity (Ka) อย่างชัดเจนจากเวลาในการเดินทางของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แพร่กระจายไปตามสายส่ง มักจะเป็นแท่งโลหะสองแท่งหรือมากกว่าที่ขนานกันฝังอยู่ในดินหรือตะกอน โพรบมักจะมีความยาวระหว่าง 10 ถึง 30 ซม. และเชื่อมต่อกับ TDR ผ่านสายโคแอกเซียล",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#2",
"text": "โดยทั่วไปสัญญาณที่สะท้อนกลับมาจะมีรูปร่างเหมือนสัญญาณที่ตกกระทบ แต่เครื่องหมายและขนาดของมันจะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของอิมพีแดนซ์ ถ้าอิมพีแดนซ์เพิ่ม สัญญาณสะท้อนกลับจะมีเครื่องหมายเดียวกันกับสัญญาณที่ตกกระทบ; ถ้าอิมพีแดนซ์ลดลง ที่สะท้อนกลับจะมีเครื่องหมายตรงกันข้าม ขนาดของสัญญาณสะท้อนกลับจะไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับปริมาณของการเปลี่ยนแปลงของอิมพีแดนซ์เท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับค่าการสูญเสียพลังงานในตัวนำอีกด้วย",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#25",
"text": "TDR จะใช้ในการตรวจสอบชิ้นส่วนที่ชื้นในดินและตัวกลางที่มีรูพรุน มากกว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าที่สำคัญในการวัดความชื้นในดิน, ในเมล็ดพืช, ในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอาหาร, และในตะกอน กุญแจสู่ความสำเร็จของ TDR ก็คือความสามารถของมันในการตรวจสอบอย่างแม่นยำใน permittivity (ค่าไดอิเล็กทริกคงที่) ของวัสดุจากการกระจายคลื่น, เนื่องจากความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งระหว่าง permittivity ของวัสดุกับปริมาณน้ำของมัน อย่างที่ได้แสดงให้เห็นในผลงานบุกเบิกของ Hoekstra และ Delaney (1974)",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#8",
"text": "เส้นวาดต่อไปนี้สร้างโดยทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์ที่ทำจากเครื่องมือทั่วไปในห้องปฏิบัติการ มีการเชื่อมต่อเข้ากับสายเคเบิลแกนร่วมยาวประมาณ 100 feet (30m) ที่มีค่า อิมพีแดนซ์ลักษณะ เท่ากับ 50โอห์ม ความเร็วการกระจายสำหรับเคเบิลประเภทนี้อยู่ที่ประมาณ 66% ของความเร็วแสงในสูญญากาศ",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#10",
"text": "เส้นวาดต่อไปนี้สร้างขึ้นโดยเครื่อง TDR ในทางพานิชย์โดยใช้คลื่นขั้นบันไดที่มีเวลาขึ้นเท่ากับ 25ps และหัวเก็บตัวอย่าง (English: sampling head) ที่มีเวลาขึ้นเท่ากับ 35ps และสายเคเบิลแกนร่วมมีหัวเป็น SMA (RF Coaxial connector) ที่มีความยาว 18-inch (0.46m)[7] ปลายสายของเคเบิ้ลถูกปล่อยให้เปิดหรือต่ออยู่กับอะแดปเตอร์อื่นที่แตกต่างกัน มันต้องใช้เวลาประมาณ 3นาโนวินาทีสำหรับพัลส์ที่จะเดินทางไปถึงปลายเคเบิล สะท้อนกลับ และเดินทางกลับมาถึงหัวเก็บตัวอย่าง สัญญาณสะท้อนกลับตัวที่สอง (ที่ประมาณ 6ns) อาจมองเห็นได้ในบางเส้นวาดเนื่องจากการสะท้อนกลับอาจมองเห็นการไม่แมทช์กันขนาดเล็กที่หัวเก็บตัวอย่างซึ่งทำให้เกิดคลื่น \"ตกกระทบ\" อีกตัวหนึ่งที่จะเดินทางไปที่ปลายสาย",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#3",
"text": "การสะท้อนกลับสามารถวัดได้เป็นอัตราส่วนส่งออก/นำเขัา โดย TDR จะแสดงหรือพล็อตในแกนของเวลา อีกวิธีหนึ่งก็คือการแสดงผลสามารถอ่านได้เป็นค่าของความยาวของสายเคเบิล เพราะความเร็วของสัญญาณที่วิ่งเข้าไปในสายตัวนำเกือบจะคงที่สำหรับตัวกลางที่ใช้ในการส่งสัญญาณหนึ่ง ๆ",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#6",
"text": "มีการนำคลื่นขั้นบันไดที่มี เวลาขึ้น (English: rise time) ที่เร็วมากมาใช้ แทนที่จะมองหาสัญญาณสะท้อนที่เป็นพัลส์เต็มรูป TDR จะสนใจเฉพาะขอบขึ้น (English: rising edge) ที่จะเร็วมาก ๆ[3] TDR ที่ใช้เทคโนโลยีของทศวรรษที่ 1970 ใช้คลื่นขั้นบันไดที่มีเวลาขึ้นเท่ากับ 25ps.[4][5][6]",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#17",
"text": "จุดขาดบนสายเคเบิลใด ๆ สามารถมองว่าเป็นอิมพีแดนซ์ของการบรรจบและถูกแทนค่าด้วย Zt ซึ่งรวมถึงการอย่างกระทันหันในอิมพีแดนซ์ลักษณะของสายเคเบิลนั้นด้วย ตัวอย่างเช่นเส้นวาดบน TDR ที่วัดได้ที่ช่วงกลางของแผงวงจรมีความกว้างเป็นสองเท่าอาจหมายถึงสายวงจรขาด บางส่วนของพลังงานจะถูกสะท้อนกลับไปยังแหล่งที่มา; พลังงานที่เหลือจะถูกส่งออกไป ปรากฏการณ์นี้เรียกว่ารอยต่อกระเจิง (English: scattering junction)",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#13",
"text": "ผลที่คล้ายกันจะเกิดขึ้นถ้าปลายสุดของสายเคเบิลเป็นวงจรเปิด (ถูกบรรจบแบบให้อิมพีแดนซ์มีค่าเป็นอนันต์) แต่ในกรณีนี้การสะท้อนจากปลายสุดจะมีขั้วเดียวกันกับพัลส์เดิม ดังนั้นหลังจากที่มีการล่าช้าในการเดินทางไปกลับ แรงดันที่ TDR จึงแสดงเส้นวาดออกมาเป็นพัลส์สองตัวมีค่าเท่ากัน",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#7",
"text": "TDR บางตัวยังคงใช้วิธีการส่งสัญญาณที่ซับซ้อนและตรวจจับการสะท้อนด้วย correlation techniques ดูทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์แบบกระจายสเปกตรัม",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
},
{
"docid": "780313#32",
"text": "หมวดหมู่:ฟิสิกส์ของดิน",
"title": "ทามโดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์"
}
] |